The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานฉบับสุดท้าย_เล่มที่ 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ONEP-EEC, 2021-12-22 13:33:58

รายงานฉบับสุดท้าย_เล่มที่ 1

รายงานฉบับสุดท้าย_เล่มที่ 1

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม

แผนระดับที่ ๑ ยุทธ

แผนระดับที่ ๒ แผนแม่บท
๒๒๒๒๑ แผนการปฏิรปู ประเทศ

แผนพัฒนาเศรษฐก
นโยบายและแผนระด

แผนระดบั ท่ี ๓ ๑. ยุทธศาสตร์การจดั การมลพษิ ๒๐ ปี และแผนจดั การมลพิษ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕
๓๒๒๒๒๑ ๒. ยทุ ธศาสตรบ์ ริหารจัดการทรพั ยากรนา้ บาดาลระยะ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕
๓. นโยบายและแผนการส่งเสรมิ และรักษาคณุ ภาพส่งิ แวดลอ้ มแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๖
๔. แผนจดั การคณุ ภาพส่งิ แวดลอ้ ม พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔
๕. แผนอนุรกั ษพ์ ลงั งาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙
๖. แผนแม่บทการบรหิ ารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔)
๗. แผนแมบ่ ทรองรบั การเปลยี่ นแปลงสภาพภมู ิอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๙๓
๘. แผนแมบ่ ทการบรหิ ารจัดการทรัพยากรนา้ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐

๙. แผนขับเคล่อื นการผลติ และการบรโิ ภคทยี่ งั่ ยืน พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙

๑๐.แผนปฏบิ ตั ิการจดั การความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔
๑๑. ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
๑๒. แผนความมน่ั คงแห่งชาตทิ างทะเล (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๔
๑๓. แผนยทุ ธศาสตร์อนามัยส่งิ แวดลอ้ มแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔
๑๔. แผนพฒั นาการเกษตรในช่วงแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี
๑๕. แผนพฒั นาการทอ่ งเทยี่ วแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
๑๖. ยุทธศาสตรก์ ารบริหารจดั การแร่ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙)
๑๗. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอตุ สาหกรรมไทย ๔.๐ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕
๑๘ ยุทธศาสตรก์ ระทรวงทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม ระยะ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒

ภาพท่ี ๒ - ๓ ความเช่อื มโยงของแผนสิ่งแว

โครงการจดั ทาแผนสงิ่ แวดลอ้ มในพนื้ ทีเ่ ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕

รายงานฉบบั สุดท้าย

ธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐)

ทภายใตย้ ทุ ธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐)
ศด้านทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม และฉบับปรบั ปรงุ
กจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔
ดบั ชาตวิ ่าดว้ ยความมน่ั คงแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)

๕๖๔ ๑. แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกจิ ภาคตะวนั ออก พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔
๕๗๙ ๒. แผนปฏิบัตกิ ารการพฒั นาและส่งเสริมการทอ่ งเที่ยวในเขตพัฒนาพเิ ศษภาค
๖๐ – ๒๕๗๙ ตะวันออก
๓. แผนภาพรวมเพ่อื การพฒั นาเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๕
) ๔. แผนการใชป้ ระโยชน์ในทดี่ นิ ในภาพรวม
๕. แนวทางการขบั เคล่ือนพืน้ ทสี่ เี ขียว

๖. แผนสงิ่ แวดล้อมในพน้ื ทเี่ ขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑-
๒๕๖๔ อยู่ระหว่างการปรบั ปรุงเป็น แผนสงิ่ แวดล้อมในพื้นท่เี ขตพัฒนา
พเิ ศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙

๔ ๗. แผนปฏิบตั กิ ารการพฒั นาโครงสร้างพน้ื ฐานรองรับการพฒั นาเขตพฒั นา
๑๒ พเิ ศษภาคตะวนั ออก
๘. แผนปฏบิ ตั กิ ารพฒั นาโครงสรา้ งพื้นฐานด้านดจิ ทิ ัลเพื่อรองรับเขตพัฒนา
๕๗๙) พิเศษภาคตะวนั ออก
๒๕๖๐-๒๕๗๙ ๙. แผนปฏิบัตกิ ารการพฒั นาบคุ ลากร การศึกษา การวิจยั และเทคโนโลยี
รองรบั การพัฒนาเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก

วดล้อมกับแผนในระดับต่าง ๆ ทีเ่ ก่ียวขอ้ ง

๕-๒๕๖๙ ๒-๙

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม รายงานฉบบั สดุ ท้าย

๒.๒.๑ แผนระดบั ตา่ ง ๆ
๒.๒.๑.๑ แผนระดับที่ ๑ ยุทธศาสตร์ชาติ
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) มี ๖ ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ท่ีเก่ียวข้องกับ

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ด้านการสร้างการเติบโตบน
คุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มี ๖ ประเด็น ประกอบด้วย (๑) สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคม
เศรษฐกิจสีเขียว (๒) สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจทางทะเล (๓) สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
บนสงั คมท่ีเป็นมิตรตอ่ สภาพภูมอิ ากาศ (๔) พัฒนาเมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนเิ วศ มุ่งเน้น
ความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง (๕) พัฒนาความม่ันคงทางน้า พลังงาน และเกษตรท่ีเป็นมิตรต่อ
สง่ิ แวดล้อม และ (๖) ยกระดับกระบวนทศั นเ์ พือ่ กาหนดอนาคตประเทศ

๒.๒.๑.๒ แผนระดบั ท่ี ๒
๑) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) มี ๒๓ ประเด็น มี ๑๔ ประเด็น
ท่ีเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังน้ี (๑) ประเด็นการต่างประเทศ
ในแผนย่อยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความร่วมมือเพ่ือการพัฒนาระหว่างประเทศ (๒) ประเด็น
การเกษตร ในแผนย่อยเกษตรปลอดภัย แผนย่อยเกษตรชีวภาพ แผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ และแผนย่อยการ
พัฒนาระบบนิเวศเกษตร (๓) ประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ในแผนย่อยอุตสาหกรรมชีวภาพ
(๔) ประเด็นการท่องเที่ยว ในแผนย่อยการพัฒนาระบบนิเวศการท่องเท่ียว (๕) ประเด็นพื้นท่ีและเมืองน่าอยู่
อัจฉริยะ ในแผนย่อยเมืองน่าอยู่อัจฉริยะและแผนย่อยการพัฒนาพ้ืนที่เมือง (๖) ประเด็นโครงสร้างพ้ืนฐาน
ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล ในแผนย่อยโครงสร้างพ้ืนฐานด้านพลังงาน (๗) ประเด็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ในแผนย่อยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (๘) ประเด็นการปรับเปล่ียนค่านิยมและวัฒนธรรม
ในแผนย่อยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเสริมสร้างจิตสาธารณะและการเป็นพลเมืองท่ีดี
และแผนยอ่ ยการสรา้ งค่านิยมและวัฒนธรรมท่ีพึงประสงคจ์ ากภาคธรุ กจิ (๙) ประเดน็ การเสริมสรา้ งใหค้ นไทย
มีสุขภาวะท่ีดี ในแผนย่อยการใช้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมท่ีเอื้อต่อการมีสุขภาวะท่ีดี และ
แผนย่อยการพัฒนาและสร้างระบบรับมือและปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
สภาพภมู อิ ากาศ (๑๐) ประเดน็ พลังทางสังคม ในแผนย่อยการเสริมสร้างทนุ ทางสงั คม (๑๑) ประเด็นเศรษฐกิจ
ฐานราก ในแผนย่อยการสร้างสภาพแวดล้อมและกลไกท่ีส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (๑๒) ประเด็น
การเติบโตอย่างยั่งยืน ในแผนย่อยการสร้างการเตบิ โตอย่างย่ังยืนบนสงั คมเศรษฐกิจสีเขียว แผนย่อยการสร้าง
การเติบโตอย่างยั่งยนื บนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล แผนย่อยการสร้างการเตบิ โตอย่างยั่งยืนบนสงั คมท่ีเปน็ มติ ร
ต่อสภาพภูมิอากาศ แผนยอ่ ยการจัดการมลพิษท่มี ีผลกระทบตอ่ สิ่งแวดล้อมและสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบ
ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และแผนย่อยการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกาหนดอนาคตประเทศ
(๑๓) ประเด็นการบริหารจัดการน้าท้ังระบบ ในแผนย่อยการพัฒนาการจัดการน้าเชิงลุ่มน้าทั้งระบบเพ่ือเพิ่ม
ความม่ันคงด้านน้าของประเทศ แผนย่อยการเพ่ิมผลิตภาพของน้าท้ังระบบในการใช้น้าอย่างประหยัด และ
แผนย่อยการอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้าลาคลองและแหล่งน้าธรรมชาติทั่วประเทศ (๑๔) ประเด็นการวิจัยและ
พัฒนานวัตกรรม ในแผนย่อยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ และแผนย่อยการวิจัยและพัฒนา
นวตั กรรมด้านสิ่งแวดลอ้ ม

โครงการจดั ทาแผนส่ิงแวดลอ้ มในพื้นทเ่ี ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๖๙ ๒ - ๑๐

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม รายงานฉบบั สดุ ท้าย

๒) แผนปฏิรูปประเทศ และแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ ได้บัญญัติให้มีการปฏิรูปประเทศ
ซ่ึงต้องดาเนินการเพ่ือบรรลุเป้าหมาย ๓ ประการ ได้แก่ (๑) ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคี
ปรองดอง มีการพฒั นาอยา่ งยงั่ ยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนา
ด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ (๒) สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกัน เพ่ือขจัด
ความเหลื่อมล้า และ (๓) ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตท่ีดีและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและ
การปกครองในระบอบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตรยิ ท์ รงเป็นประมุข

วันท่ี ๖ เมษายน ๒ ๕๖ ๑ ราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้แผนการปฏิรูปประเทศ
จานวน ๑๑ ดา้ น ประกอบด้วย ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการ
ยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน
เทคโนโลยี สารสนเทศ ด้านสังคม ด้านพลังงาน และด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติ
มชิ อบ

วันท่ี ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบและแต่งต้ัง
เพิ่มเติมคณะกรรมการปฏิรูปด้านเพิ่มเติม รวม ๑๓ ด้าน คือ ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงานและการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ ท้ังนี้ ให้ดาเนินการตามมตคิ ณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๓ ธนั วาคม ๒๕๖๒ ทเ่ี ห็นชอบการปรับปรุง
แผนการปฏิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ และมติคณะรัฐมนตรีที่เก่ียวข้อง
และมอบหมายคณะกรรมการปฏิรูปประเทศดาเนินการตามขั้นตอนและกรอบระยะเวลาของกฎหมาย
โดยกาหนดประเด็นในการปรับปรุง ๖ ประเด็น ได้แก่ (๑) การกาหนดเป้าหมายและตัวช้ีวัดในระดับแผนให้
ชัดเจน สามารถวัดผลการดาเนินการได้ (๒) การปรับตัดกิจกรรมท่ีเข้าข่ายเป็นภารกิจปกติของหน่วยงานและ
คัดเลือกเฉพาะกิจกรรมปฏิรูปประเทศท่ีจะส่งผลให้เกิดการเปล่ียนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสาคัญ
(Big Rock) (๓) การทบทวนกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ โดยคัดเลือกเฉพาะกฎหมายท่ีมี
ความสาคัญ รวมท้ังจัดลาดับความสาคัญของการเสนอกฎหมาย (๔) การทบทวนข้อเสนอให้จัดต้ังหน่วยงาน
ของรัฐตามแผนการปฏิรูปประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๒ (๕) พิจารณาความเห็น
ของหน่วยงานรับผิดชอบตามแผนการปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ ของพระราชบัญญัติฯ
และ (๖) ปรับเค้าโครงของแผนการปฏิรปู ประเทศแตล่ ะด้านให้เปน็ รูปแบบเดยี วกัน

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) แล้วเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม
๒๕๖๓ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ และวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ ตามลาดับ โดยแผนการปฏิรูปประเทศ
(ฉบับปรับปรุง) ยังคงเป็นแผนระดับที่ ๒ โดยต้องส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ และแผน
แม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซ่ึงทุกหน่วยงานตอ้ งดาเนนิ การตามกจิ กรรมปฏิรปู ประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการ
เปลย่ี นแปลงตอ่ ประชาชนอย่างมีนัยสาคัญ (Big Rock) นาไปส่กู ารปฏิบัตติ ามหลักความสัมพนั ธ์เชงิ เหตุและผล
(Causal Relationship) เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธ์ิตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติของแต่ละช่วงเวลา
๕ ปี โดยแผนการปฏิรูปประเทศ ฉบบั ปรับปรุงจะดาเนินการคขู่ นานไปกับเลม่ แผนการปฏิรปู ประเทศฉบบั เดิม
ทป่ี ระกาศใช้เม่อื เดอื นเมษายน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ท่เี ปน็ กิจกรรมในลักษณะภารกจิ ปกตขิ องหน่วยงาน

โครงการจัดทาแผนสง่ิ แวดลอ้ มในพืน้ ท่ีเขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๑๑

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม รายงานฉบับสุดท้าย

ท้ังน้ี แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม มีเป้าประสงค์
เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้รับการดูแล รักษา และฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ
และมีความสมบูรณ์ย่ังยืน เป็นฐานการพัฒนาประเทศท้ังทางเศรษฐกิจ สังคม ส่ิงแวดล้อม พร้อมท้ังเกิด
ความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ ลดความขัดแย้งของการพัฒ นาที่ใช้ฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติ บรรเทาผลกระทบส่ิงแวดล้อม และลดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และมีระบบบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพบนพ้ืนฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามแนวทาง
ประชารัฐ มี ๖ ประเด็นหลัก คือ (๑) ทรัพยากรทางบก (๒) ทรัพยากรน้า (๓) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝ่ัง
(๔) ความหลากหลายทางชีวภาพ (๕) ส่งิ แวดลอ้ ม (๖) ระบบบริหารจดั การทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยกาหนดกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมี
นัยสาคัญ (Big Rock) จานวน ๔ กิจกรรม ประกอบด้วย ๑) เพ่ิมและพัฒนาพ้ืนท่ีป่าไม้ให้ได้ตามเป้าหมาย
๒) การบริหารจัดการเขตทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวดั ๓) การบริหารจดั การน้าเพ่ือสร้างเศรษฐกจิ ชุมชนใน
พื้นที่นอกเขตชลประทาน ๔) ปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษ
มาบตาพุด ท้ังนี้ ในการดาเนินการดังกล่าวจะส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมคี วามอุดมสมบูรณ์
และย่ังยืน มีพ้ืนที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น ท้ังในเขตเมืองและชุมชน มลพิษทางอากาศดีข้ึน และเกิดความสมดุล
ระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ท้ังทรัพยากรทางบก ทรัพยากรน้า ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพ สิง่ แวดล้อม และระบบการบรหิ ารจดั การทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม

ความก้าวหน้าในการดาเนินงานตามกจิ กรรมปฏิรปู ประเทศที่เก่ยี วขอ้ งในพน้ื ที่พัฒนาพิเศษภาค
ตะวันออก ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ในส่วนของกิจกรรมปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพษิ สรุปได้
ดังนี้ จากแผ น การด าเนิ น งาน (Timeline) ที่ ค าด ว่าจะแล้ วเสร็จต าม เป้ าห ม ายย่อ ย ปั จจุบั น
การดาเนินงานอยู่ระหว่างเป้าหมายย่อยท่ี ๑.๔ (มีนาคม ๒๕๖๔) ถึง เป้าหมายย่อยท่ี ๑.๕ (ตุลาคม ๒๕๖๔)
โดยเป้าหมายที่ ๑.๔ คือการเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการ/กิจกรรม ของหน่วยงานที่ดาเนินการตาม
แผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ ส่วนเป้าหมายย่อยที่ ๑.๕ คือ ข้อเสนอในการออกกฎระเบียบการลงโทษ /
เกบ็ คา่ ใชจ้ ่าย เพอ่ื ป้องกนั และฟ้นื ฟูสิ่งแวดล้อมจากผทู้ กี่ ่อมลพิษส่ิงแวดลอ้ มในเขตควบคุมมลพิษ

รายงานความก้าวหนา้ ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ไตรมาสที่ ๓ ไดม้ ีการดาเนนิ งานดังนี้
๑. ทบทวนผลการปฏิบัติตามมาตรการของเขตควบคุมมลพษิ

๒. จดั ลาดับความสาคญั ของผลกระทบส่งิ แวดลอ้ มในเขตควบคุมมลพษิ

๓. ใช้คณะอนกุ รรมการกากับดูแลและติดตามผลการดาเนินงานพ้นื ที่เขตควบคมุ มลพิษจังหวัด

ระยอง (ภายใต้คณะกรรมการส่ิงแวดล้อมแห่งชาติ) เป็นกลไกการดาเนินงานของผู้ว่า

ราชการจังหวดั ในการกากับดแู ลการดาเนนิ การของเจา้ พนักงานทอ้ งถ่ิน

๔. เสนอขอตงั้ งบประมาณและมีหนงั สือแจ้งหน่วยงานทเี่ กย่ี วข้องเสนอขอต้ังงบประมาณ

โครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานที่ดาเนินการตามแผนปฏบิ ัติการลดและขจัดมลพิษ

โครงการจดั ทาแผนสงิ่ แวดล้อมในพืน้ ท่ีเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๑๒

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม รายงานฉบับสดุ ท้าย

๕. ศึกษาและจัดทาข้อเสนอการออกกฎระเบียบในการลงโทษ/เก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการป้องกัน

และฟ้ืนฟูสิ่งแวดล้อมจากผู้ท่ีก่อมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ และกาหนดวิธีการใช้

งบประมาณท่ีสามารถดาเนินการเพื่อลดและขจดั มลพษิ ในพน้ื ที่

ซึ่งหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องได้ดาเนินงานขอต้ังงบประมาณในปี ๒๕๖๕ ตามแผนการดาเนินงาน
ในขณะท่ีการดาเนินงานตามเป้าหมายย่อยที่ ๑.๕ มีความกา้ วหนา้ ในการดาเนินการ โดยกรมควบคุมมลพิษได้
ดาเนินการศกึ ษากฎหมายท่ีเกีย่ วข้องการออกกฎระเบียบในการลงโทษ/เก็บคา่ ใช้จ่ายเพือ่ การปอ้ งกันและฟ้ืนฟู
ส่ิงแวดล้อมจากผู้ทก่ี ่อมลพิษในเขตควบคุมมลพษิ และกาหนดวิธีการใช้งบประมาณท่สี ามารถดาเนินการเพ่ือลด
และขจัดมลพิษในพ้ืนท่ีเขตควบคุมมลพิษแล้วเสร็จ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องในการ
ประชุม คณะทางานประสานการดาเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและ
สง่ิ แวดล้อม (ฉบับปรับปรุง) กิจกรรมปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษ
มาบตาพดุ คร้งั ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันท่ี ๗ มิถุนายน ๒๕๖๔

๓) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ มี ๑๐
ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม คือ
ยุทธศาสตร์ ที่ ๔ ประกอบด้วย (๑) การรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สร้างสมดุลของการอนุรักษ์และ
ใช้ประโยชน์อย่างย่ังยืนและเป็นธรรม (๒) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้า เพื่อให้เกิด
ความม่ันคง สมดุล และยั่งยืน (๓) แก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม (๔) ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคท่ีเป็น
มิตรกับส่ิงแวดล้อม (๕) สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว
ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (๖) บริหารจัดการเพื่อลดความเส่ียงด้านภัยพิบัติ (๗) พัฒนาระบบ
การบริหารจัดการและกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม (๘) การพัฒนา
ความร่วมมือด้านสงิ่ แวดล้อมระหว่างประเทศ

กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ มีองค์ประกอบหลักของการ
ขับเคลื่อนประเทศสู่ “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างย่ังยืน” (Hi-Value and Sustainable
Thailand) เนื่องด้วยเป้าประสงค์ที่ต้องการให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทาหน้าที่ระบุทิศ
ทางการพัฒนาประเทศที่ควรมุ่งเน้นได้อย่างชัดเจน การกาหนดกรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ จึงมุ่งเน้น
คัดเลือกประเด็นการพัฒนาที่มีลาดับความสาคัญสูงในการพลิกโฉมประเทศไทยสู่ Hi-Value and
Sustainable Thailand ในองค์ประกอบสาคัญ ๔ ประการ ได้แก่ ๑) เศรษฐกิจมูลค่าสูงท่ีเป็นมิตรต่อ
ส่ิงแวดล้อม (High Value-Added Economy) ๒) สังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาค (High Opportunity
Society) ๓) วิถีชีวิตที่ยั่งยืน (Eco-Friendly Living) และ ๔) ปัจจัยสนับสนุน การพลิกโฉมประเทศ
(Key Enablers for Thailand’s Transformation) โดยภายใต้องค์ประกอบในแต่ละด้าน ได้มีการกาหนด
“หมุดหมาย” (Milestones) ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงสิ่งท่ีประเทศไทยปรารถนาจะ ‘เป็น’ มุ่งหวังจะ ‘มี’
หรือต้องการจะ ‘ขจัด’ ในช่วงระยะเวลา ๕ ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ เพ่ือสะท้อนประเด็นการพัฒนา
ท่ีมีความสาคัญต่อการพลิกโฉมประเทศสู่การเป็น Hi-Value and Sustainable Thailand ภายในปี พ.ศ.
๒๕๗๐ โดยรายละเอียดขององค์ประกอบทั้ง ๔ ด้าน และหมุดหมาย มีดังนี้ ๑) เศรษฐกิจมูลค่าสูงท่ีเป็นมิตร

โครงการจัดทาแผนสง่ิ แวดล้อมในพนื้ ท่เี ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๑๓

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม รายงานฉบับสดุ ท้าย

ตอ่ สง่ิ แวดล้อม หมุดหมายที่ ๑ ไทยเปน็ ประเทศชนั้ นาดา้ นสนิ คา้ เกษตรและเกษตรแปรรูปมลู คา่ สงู หมุดหมาย

ท่ี ๒ ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเท่ียวท่ีเน้นคุณค่าและความย่ังยืน หมุดหมายที่ ๓ ไทยเป็นฐานการผลิต

ยานยนต์ไฟฟา้ ของอาเซียน หมดุ หมายที่ ๔ ไทยเปน็ ศูนยก์ ลางทางการแพทย์และสขุ ภาพมูลค่าสูง หมดุ หมายที่
๕ ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและจุดยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ท่ีสาคัญของภูมิภาค หมุดหมายที่ ๖ ไทย
เป็นฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและบริการดิจิทัลของอาเซียน ๒) สังคมแห่งโอกาสและความเสมอ
ภาค หมุดหมายท่ี ๗ ไทยมี SMEs ที่เขม้ แข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ หมุดหมายที่ ๘ ไทยมีพื้นที่

และเมืองหลักของภูมิภาคที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ ทันสมัย และนา่ อยู่ หมุดหมายท่ี ๙ ไทยมีความยากจน

ข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมท่ีเพียงพอ เหมาะสม ๓) วิถีชีวิตที่ย่ังยืน

(Eco-Friendly Living)

หมุดหมายท่ี ๑๐ ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่า หมุดหมายท่ี ๑๑

ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ
๔) ปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศ (Key Enablers for Thailand’s Transformation) หมุดหมายท่ี
๑๒ ไทยมีกาลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเน่ือง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต หมุดหมายท่ี ๑๓
ไทยมภี าครัฐที่มสี มรรถนะสงู

๔) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความม่ันคงแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ส่วนท่ี

เก่ียวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ นโยบายท่ี ๑๑ รักษาความมั่นคงของ

ฐานทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม และนโยบายที่ ๑๒ เสริมสรา้ งความมั่นคงทางพลังงาน
๒.๒.๑.๓ แผนระดับท่ี ๓
แผนระดับท่ี ๓ ที่เก่ียวข้องในพ้ืนที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อาจแยกออกได้เป็น ๒ กลุ่ม

ใหญ่ คือ แผนปฏิบัติการเชิงพื้นที่ท่ีดาเนินงานเฉพาะพื้นท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และแผนปฏิบัติการ
รายสาขาท่เี กี่ยวข้องกบั ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม

๑) แผนปฏิบัติการเชิงพื้นที่ที่ดาเนินงานเฉพาะพื้นท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ประกอบด้วย ๘ แผน แยกลกั ษณะที่มาของแผนไดเ้ ป็น ๒ ลักษณะ คือ แผนที่จัดทากอ่ นมีพระราชบัญญัติเขต

พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ ซ่งึ แผนส่ิงแวดล้อมในเขตพื้นท่ีพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกระยะท่ี ๒

เปน็ แผนท่ีจัดอย่ใู นกลมุ่ นี้ และแผนทีจ่ ัดทาตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัตเิ ขตพฒั นาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ มีรายละเอยี ดดังต่อไปนี้

๑.๑) แผนที่จัดทาก่อนมีพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑

ประกอบดว้ ย ๖ แผนดังตอ่ ไปน้ี

๑.๑.๑) แผนงานพฒั นาระเบียงเศรษฐกจิ ภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔

ความเป็นมา วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนโยบายเขต

พัฒนาเศรษฐกิจพเิ ศษในรปู แบบคลัสเตอร์ วันท่ี ๑๗ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๘ คณะรฐั มนตรมี ีมตเิ ห็นชอบขอ้ เสนอ

๑๐ อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคล่ือนเศรษฐกิจเพ่ืออนาคต (New Engine of Growth) ตามท่ี
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แบ่งเป็น (๑) การต่อยอด ๕ อุตสาหกรรมเดิมท่ีมีศักยภาพ (First Scurve)
(๒) การเติม ๕ อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙ คณะกรรมการบริหารการ

โครงการจดั ทาแผนส่งิ แวดล้อมในพื้นทเี่ ขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๑๔

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อม รายงานฉบบั สดุ ท้าย

พฒั นาพน้ื ที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (คบพ.) มีมติเห็นชอบแนวทางการจดั ต้ังเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ

พน้ื ทีช่ ายฝง่ั ทะเลตะวนั ออก โดยให้ใช้ชอื่ ว่า “ระเบยี งเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor

: EEC)” วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรไี ด้มีมติเห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ
ภาคตะวนั ออก และให้จัดทาแผนการดาเนินโครงการและงบประมาณค่าใช้จ่ายในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ -
๒๕๖๑ โดยให้มีรายละเอียดครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังน้ี (๑) การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการ
ขนส่งที่เชื่อมโยงทั้งระบบด้านพลังงาน ด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่เกี่ยวข้อง รวมท้ังด้านการวิจัย

และพัฒนา (๒) แผนดาเนินการด้านผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การ

บริหารจัดการขยะ และมลภาวะต่าง ๆ ท้ังนี้ ให้คานึงถึงผลกระทบทางด้านส่ิงแวดล้อมและประชาชนในพื้นท่ี

ดว้ ย (๓) กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนและดงึ ดูดการลงทุนจากภาคเอกชน โดยเฉพาะการ

ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี สิทธกิ ารเช่าท่ีดิน และการจัดหาแรงงาน รวมท้ังการจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จการ

ลงทุน (One Stop Service) เพื่ออานวยความสะดวกแก่นักลงทุนในการขออนุมตั ิอนุญาตการประกอบกิจการ
และใหส้ ิทธิประโยชน์ต่าง ๆ (๔) แผนการพัฒนาศูนย์ซอ่ มบารุงอากาศยาน

สาระสาคั ญ ข อ งแ ผ น งาน พั ฒ น าระเบี ยงเศ รษ ฐกิจ ภ าค ต ะวัน อ อ ก
(พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)

วัตถุประสงค์ (๑) ยกระดับพ้ืนท่ีระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นเขตเศรษฐกิจ

ช้ันนาของเอเชีย รองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster และอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ซ่ึงจะสนับสนุนการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(๒) พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน เช่ือมโยงระบบคมนาคมขนส่งโลจิสติกส์ ทางบก ทางราง ทางเรือ และทาง
อากาศให้เชื่อมโยงทัง้ ระบบและบูรณาการอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ (๓) ส่งเสรมิ การพฒั นาเมอื งและสภาพแวดล้อม
เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตในพ้ืนท่ี (๔) อานวยความสะดวกแก่ผู้
ลงทุน การให้สิทธิประโยชน์ และการนาแนวคิดการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรมาปรับใช้ในการ

ใหบ้ รกิ ารของภาครัฐ (๕) สง่ เสริมการลงทนุ อตุ สาหกรรมท่ีใชเ้ ทคโนโลยขี น้ั สูง และการท่องเที่ยว

เป้าหมายการพัฒนา เพ่ือพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซูเปอร์คลัสเตอร์ และ ๑๐

อุตสาหกรรมเปา้ หมาย: กลไกขบั เคลอื่ นเศรษฐกจิ เพอ่ื อนาคต (New Engine of Growth)

แนวทางการพัฒนา เพ่ือยกระดับการพัฒนาพ้ืนที่ต่อยอดสู่การเป็นพื้นท่ีเศรษฐกิจ
ช้ันนาของเอเชีย ประกอบด้วย ๕ แนวทาง ดังนี้ (๑) พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เป็น
มติ รกบั สิ่งแวดลอ้ ม และสอดคล้องกบั ศักยภาพของพน้ื ท่ี (๒) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนสง่ เชอ่ื มโยงพื้นท่ี

เศรษฐกิจที่มีศักยภาพ รองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและเชื่อมโยงสู่ตลาดโลก (๓) พัฒนาระบบ

สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐานและบริการทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน

(๔) พัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองสาคัญของจังหวัดให้เปน็ เมอื งน่าอยู่ เออ้ื ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม

อย่างมีสมดุล เช่น ฉะเชิงเทรา : พัฒนาเป็นเมืองท่ีอยู่อาศัยชั้นดีท่ีทันสมัยรองรับการขยายตัวของกรุงเทพฯ

และ EEC พัทยา : พัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ สุขภาพและนันทนาการ ศูนย์ประชุมและศูนย์แสดง
สินค้านานาชาติช้ันนาของอาเซียน และศูนย์การให้บริการด้าน การแพทย์ระดับนานานาชาติ (Medical
Tourism) อู่ตะเภา : พัฒนาเป็นศูนย์ธุรกิจการบินและโลจิสติกส์อาเซียน และระยอง : พัฒนาเป็นเมืองแห่ง

โครงการจัดทาแผนสิ่งแวดลอ้ มในพน้ื ทเ่ี ขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๑๕

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม รายงานฉบบั สดุ ท้าย

การศึกษาและวิทยาศาสตร์ เมืองนานาชาติทม่ี ธี ุรกจิ ทันสมยั (๕) ให้สิทธิประโยชน์และการอานวยความสะดวก

เพ่ือดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งในด้านภาษี การจัดต้ังกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ

อตุ สาหกรรมเปา้ หมาย
แผนการลงทุน (๑) แผนงานพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ (๒) แผนงานพัฒนา

คมนาคมและโลจิสติกส์ (๓) แผนงานพัฒนาเมือง ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สิ่งแวดล้อมเมือง
ท่องเทยี่ วและสาธารณสุข (๔) การบริหารจัดการ

๑.๑.๒) แผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสรา้ งพื้นฐานรองรับการพัฒนาเขตพฒั นา

พิเศษภาคตะวันออก

ความเป็นมา

มติคณะรัฐมนตรีเมอ่ื วันท่ี ๒๒ กันยายน ๒๕๕๘ เร่ืองนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ

พิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ (Cluster) โดยมีมตเิ ห็นชอบตามที่สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
เสนอ ดังนี้ (๑) เห็นชอบนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์และมอบหมายให้หน่วยงานที่
เก่ียวข้อง ประกอบด้วย สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ร่วมกับสานักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) พิจารณาดาเนินการเพ่ือ

สนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไป (๒) มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เป็นหน่วยงานหลัก

รับผิดชอบการขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ให้เป็นรูปธรรม และทาหน้าที่

เป็นศูนย์กลางประสานงานการพฒั นาในแตล่ ะคลสั เตอร์
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ เร่ือง โครงการพัฒนาระเบียง

เศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ร่วมกับกระทรวงคมนาคม (คค.) กองทัพเรือ และหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง พิจารณา
จดั ทารายละเอียดโครงการเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวันออก ดาเนินการใน ๓ จังหวดั ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี

ระยอง และฉะเชิงเทรา แบ่งออกเป็นเขตอุตสาหกรรม เขตพฒั นาโครงสรา้ งพืน้ ฐาน และเขตพัฒนาเมือง โดยให้

มีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งท้ังทางบก ทางราง ทางน้า และทางอากาศท้ังระบบที่คานึงถึง

การเชื่อมโยงทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน แผนดาเนินการด้านผังเมือง การพัฒนาอุตสาหกรรมสี

เขยี ว และผลประโยชน์ทป่ี ระชาชนในพืน้ ทจี่ ะไดร้ บั
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคาส่ังท่ี ๒/๒๕๖๐ เร่ือง การพัฒนา

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เม่ือวันท่ี ๑๗ มกราคม ๒๕๖๐ กาหนดมาตรการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ

พิเศษภาคตะวันออกข้ึนเพ่ือดาเนินการไปพลางก่อนการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการนี้ เพ่ือให้การดาเนินการ

ดังกล่าวเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยแต่งตั้ง (๑) คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ

พิเศษภาคตะวันออก โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน (๒) คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ

พิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน และ (๓) สานักงานเพ่ือ

การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) เป็นหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรม เพ่ือทา
หน้าที่เป็นสานักงานเลขานุการสนับสนุนการดาเนินการของคณะกรรมการนโยบายฯ และ กรศ. และ
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้มีมตใิ นการประชุม ครั้งท่ี ๑/๒๕๖๐

โครงการจัดทาแผนส่งิ แวดล้อมในพ้นื ทเ่ี ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๑๖

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม รายงานฉบับสดุ ทา้ ย

เม่ือวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ เร่ืองการจัดทาแผนการพัฒนาพ้ืนท่ีระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดย
เห็นชอบกรอบแผนภาพรวมเพ่ือการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และให้ดาเนินการจัดทาแผน
ภาพรวมเพือ่ การพัฒนาเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวันออกใหแ้ ล้วเสรจ็

สาระสาคัญของแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนา
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก

วิสัยทัศน์ “พัฒนาโลจิสติกส์แบบไร้รอยต่อ เชื่อมโยงท้ังทางบก น้า อากาศ รองรับ
EEC มงุ่ สูก่ ารเป็นศนู ยก์ ลางเศรษฐกิจของภูมิภาค”

พันธกิจ (๑) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพ่ือรองรับการพัฒนา EEC ในฐานะพื้นท่ี
เศรษฐกิจระดับโลก (๒) สนับสนุนให้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางและเมืองการบินของภูมิภาค
(๓) สนับสนุนให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูเศรษฐกิจของ CLMV และอนุภูมิภาค (๔) สนับสนุนกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจของภาคเอกชนท้ังในภาคการบริการและการท่องเที่ยว (๕) ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพ้ืนที่
จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบรุ ี และระยอง

แผนงาน มี ๖ แผนงาน (๑) การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางถนน จานวน
๙๐ โครงการ (๒) การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง จานวน ๙ โครงการ (๓) การพัฒนาระบบคมนาคม
ขนส่งทางน้า จานวน ๑๙ โครงการ (๔) การพัฒนาสนามบิน และระบบโลจิสติกส์ที่เก่ียวข้อง จานวน
๒๐ โครงการ (๕) การพัฒนาระบบไฟฟ้า จานวน ๑๒ โครงการ (๖) การพัฒนาระบบประปา จานวน
๑๘ โครงการ รวม ๑๖๘ โครงการ

๑.๑.๓) แผนปฏิบตั ิการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเทยี่ วในเขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวนั ออก

ความเป็นมา มติที่ประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เม่ือวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
เห็นชอบทิศทางการท่องเท่ียวและเส้นทางการท่องเท่ียวเชื่อมโยง EEC ตามศักยภาพของพื้นที่ ได้แก่ เส้นทาง
การท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว กลุ่มธุรกิจและการลงทุนระดับนานาชาติ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
ประเพณี วถิ ีไทยและชมุ ชนริมนา้ และเกษตรกรรมทันสมัย รวมถงึ ท่องเทย่ี วเชงิ สุขภาพ โดยมกี ารเช่ือมโยงการ
ท่องเท่ียวด้วยระบบคมนาคมขนส่งและสิ่งอานวยความสะดวกที่ทันสมัย ตลอดจนพิจารณาในเรอ่ื งการเปล่ียน
ภาพลักษณ์ของพัทยา มติทปี่ ระชุม คร้งั ท่ี ๒/๒๕๖๐ เม่ือวนั ศกุ ร์ที่ ๙ มถิ ุนายน ๒๕๖๐ เหน็ ชอบแนวทางการ
ท่องเที่ยวใน EEC ภายใต้ชื่อ “B-Leisure Destination” – Harmony of Business & Leisure ซ่ึงผ่านความ
เห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ททช.) และเป็นคาจากัดความท่ีมีความนิยมใช้ใน
อตุ สาหกรรมการท่องเท่ียวในหลายประเทศท่ัวโลก และมอบหมาย สนข. เป็นหน่วยงานหลักในการศึกษาการ
ทาระบบโลจิสติกส์ และเส้นทางของระบบขนส่งสาธารณะภายใน ๓ จังหวัด EEC มติท่ีประชุมครั้งท่ี
๓/๒๕๖๐ วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวในพ้ืนที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ และมอบฝ่ายเลขานุการ
วิเคราะห์รายละเอียดของแต่ละโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับแผนการท่องเท่ียว เพ่ือจัดลาดับความสาคัญราย
โครงการ รวมทั้งประสานงานกับ ๓ จังหวัดเพื่อพิจารณาว่าโครงการท่ีควรจะอยู่ในแผนบูรณาการ EEC โดย

โครงการจดั ทาแผนสงิ่ แวดล้อมในพืน้ ทเ่ี ขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๑๗

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม รายงานฉบับสดุ ท้าย

กาหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ชัดเจนด้วย และมอบจังหวัดชลบุรีหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพ่ือหาข้อยุติ

รว่ มกันว่าจะพัฒนาพื้นท่แี หลมบาลีฮายเป็นท่าเรือเฟอร์รี่หรือ Cruise Terminal ก่อนจะศกึ ษาเพอื่ พฒั นาพื้นท่ี

ต่อไป และมอบผู้แทนจังหวัดระยองพิจารณาโครงการ ท่ีสอดคล้องกับบทบาทของการพัฒนาการท่องเท่ียว
จังหวัดระยองอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๑ ฝ่ายเลขานุการได้ปรึกษากับรัฐมนตรวี ่าการกระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา (นายวีระศักด์ิ โควสุรัตน์) เห็นชอบให้เพ่ิมประเด็น จุดเน้นการพัฒนาไปที่สนามบินอู่
ตะเภาเช่ือมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่กับการท่องเที่ยวเชิงชุมชนและวิถีชีวิตชุมชน รวมทั้งการจัดการ

สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการกาจัดขยะตามแนวชายฝั่งทะเลและเกาะท่องเท่ียวสาคัญ อาทิ เกาะล้าน แล้วให้

เสนอคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ในการนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้

เสนอ(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ต่อคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ในการประชุมเมื่อวันท่ี ๑๗ มกราคม ๒๕๖๑ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการและให้ฝ่ายเลขานุการนา

เสนอ (รา่ ง) แผนปฏิบตั ิการฯ ตอ่ คณะกรรมการนโยบายการพฒั นาระเบียงเศรษฐกจิ พเิ ศษภาคตะวันออกต่อไป
สาระสาคัญของแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขต

พฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก
วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่ ๓ จังหวัดในภาค

ตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง สู่การท่องเที่ยวระดับโลกรองรับนักท่องเท่ียวกลุ่มรายได้ดี

และกลุ่มเชิงสุขภาพ โดยมีพัทยา สัตหีบ และระยอง เป็นวงแหวนการท่องเที่ยวหลักขยายสู่ฉะเชิงเทรา

ซึง่ เปน็ แหล่งท่องเท่ยี วเชงิ วฒั นธรรมและแหลง่ ท่องเทยี่ วธรรมชาติ และขยายสู่แหล่งท่องเท่ยี วอื่น ๆ
แนวทางการพัฒนาที่สาคัญ (๑) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดและจูงใจ

ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเท่ียวในพ้ืนที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ส่งเสริมให้เกิดเทรนด์ท่องเที่ยวใหม่
ท่ีมีความหลากหลายรองรับกลุ่มนักท่องเท่ียวได้มากย่ิงขึ้น สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ (Man-made
Attractions) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาไปท่ีสนามบินอู่ตะเภาเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่กับการท่องเที่ยว

เชิงชุมชนและวิถีชีวิตชุมชน รวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการกาจัดขยะตามแนวชายฝ่ังทะเลและ

เกาะท่องเที่ยวสาคัญ อาทิ เกาะล้าน (๒) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่ิงอานวยความสะดวก

เพ่ือรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเท่ียว และอานวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา

ท่องเท่ียวได้สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย รวมท้ังช่วยกระจายตัวของนักท่องเที่ยวไปสู่เมืองท่องเท่ียวรอง
ด้วยการสนับสนุนการลงทุนพัฒนาคมนาคมและโลจิสติกส์ภายใต้แผนงาน EEC เพ่ือรองรับอุตสาหกรรม
ท่องเท่ียว (๓) การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเท่ียว เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเพียงพอต่อ

ความต้องการของตลาด และครอบคลุมทุกสาขาการท่องเท่ียว โดยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ

ภาคเอกชนและชุมชนในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรท่ีเก่ียวข้องกับการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเท่ียว

ทีส่ อดคล้องความต้องการของตลาดแรงงาน โดยใช้ “สัตหบี โมเดล” ในการเรยี นรคู้ วบคู่กบั การทางาน เพอ่ื เพิ่ม

ศักยภาพบุคลากร และสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านการท่องเท่ียวสนับสนุนบุคลากรให้มี

สมรรถนะข้ันพื้นฐานตามตาแหนง่ งาน และได้รับการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานสากล (๔) การสรา้ งความเชือ่ ม่ัน
ของนักท่องเที่ยว เพ่ือเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับพื้นท่ี EEC
และประเทศไทย ด้วยการเสริมสร้างภาพลักษณ์คุณภาพและความปลอดภัยให้กับพื้นที่ EEC โดยเฉพาะการ

โครงการจดั ทาแผนสง่ิ แวดลอ้ มในพ้นื ทเ่ี ขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๑๘

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม รายงานฉบับสดุ ท้าย

สร้างภาพลักษณ์ใหม่ของการท่องเที่ยวเมืองพัทยา และมุ่งเน้นการสื่อสารคุณค่าและภาพลักษณ์ของ EEC
ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม (Preferred Destination) ท่ีมีคุณภาพสูงต่อนักท่องเท่ียว มีมาตรการรักษา
ความปลอดภัยและมาตรการป้องกัน ข้อควรปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัย และส่ิงที่ควรกระทาในกรณีฉุกเฉิน
รวมทง้ั สนับสนนุ การเข้าถงึ ขอ้ มลู การทอ่ งเที่ยวในพื้นที่ EEC

๑.๑.๔) แผนปฏิบตั กิ ารพัฒนาโครงสร้างพ้นื ฐานด้านดิจิทลั เพ่อื รองรบั เขต
พัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก

ความเป็นมา การจัดทาแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เร่ิมจากการประชุม
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (กนศ.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันท่ี
๑ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๖๑ ได้มีมติกาหนดให้โครงสร้างพ้ืนฐานด้านดิจิทัลรวมอยูใ่ นแผนปฏบิ ตั ิการโครงสร้างพน้ื ฐาน
เพื่อจัดทาแผนงาน/โครงการรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และมอบหมายหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคม รับไปดาเนินการให้บรรลุเป้าหมาย และต่อมา กนศ.
ได้รายงานเร่ืองดังกล่าวตอ่ คณะรฐั มนตรีเพื่อทราบในวันท่ี ๖ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๖๑

สาระสาคัญของแผนปฏิบัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพ่ือรองรับ
เขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก

วิสัยทัศน์ “พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านดิจิทัลเพ่ือรองรับ EEC
ใหเ้ ปน็ ศนู ยก์ ลางด้านเศรษฐกิจของภมู ิภาค”

วัตถุประสงค์ “เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพ้ืนฐานและบริการด้านดิจิทัล
ใหส้ ามารถรองรับการพฒั นาในพ้นื ท่ี EEC ไดอ้ ยา่ งพอเพียงและมีประสิทธิภาพ”

แนวทางการพัฒนา (๑) การเร่งพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านดิจิทัลรวมท้ัง Digital
Park เพ่ือรองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคตและการสื่อสารข้อมูลเคลื่อนท่ีความเร็วสูง โดยการดาเนินการท้ังด้าน
การลงทุน กฎระเบียบ และบุคคลากรรองรับ (๒) การใช้ระบบ “การร่วมใช้โครงสร้างพ้ืนฐานด้านดิจิทัล”
(digital infrastructure and platform sharing) โดยเฉพาะในการรองรับโครงการของรัฐ เพ่ือเพิ่ม
ประสิทธิภาพของการลงทุนในโครงสร้างพ้ืนฐานด้านดิจิทัล ลดการลงทุนซ้าซ้อน และประหยัดงบประมาณ
(๓) การส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลท่ีมีมูลค่าการลงทุนสูงหรือใช้
เทคโนโลยีระดับสูง (๔) ภาครัฐเพ่ิมบทบาทเชิงรุกในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ในกรณีท่ี
ผลตอบแทนการลงทุนทางธุรกิจตา่ แต่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสงั คม โดยเฉพาะเมือ่ เกิดประโยชน์สงู ในการลด
ความเหลื่อมล้า และเพม่ิ โอกาสของประชาชน

แผนงาน มี ๘ แผนงาน คือ (๑) แผนโครงสร้างพื้นฐาน ท่อร้อยสาย เคเบิ้ลใยแก้ว
นาแสงและเสา (i-Pole) (๒) แผน ASEAN Digital Hub (๓) แผนการพัฒนา Advanced Big Data, Cloud
and Data Center (ABCD) (๔) แผนการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน IoT (๕) แผนการสร้างศูนย์ทดสอบ 5G
และเตรียมโครงสร้างพ้ืนฐานในพ้ืนท่ีนาร่อง (๖) แผนการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
(Digital Park Thailand) และสถาบัน IoT (๗) แผน IoT SMART City (๘) แผนการพัฒนาศูนย์กระจายพัสดุ
ภัณฑอ์ ตั โนมัติ (Automated Postal Distribution Center)

โครงการจัดทาแผนสงิ่ แวดล้อมในพืน้ ท่เี ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๑๙

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานฉบับสดุ ท้าย

๑.๑.๕) แผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี

รองรับการพฒั นาระเบยี งเศรษฐกิจพเิ ศษภาคตะวันออก

ความเป็นมา วันท่ี ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ หัวหน้า คสช. ได้มีคาส่ัง ๒ ฉบับ คือ
คาส่ังที่ ๒๗/๒๕๖๐ เร่ืองการพัฒนาการศึกษาของประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคาสั่งท่ี
๒๙/๒๕๖๐ เร่ืองการส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ
มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุญาตให้สถานศึกษาท่ีมีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอน

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้คุณภาพและมาตรฐานเป็นท่ียอมรับในระดับสากลเข้ามาดาเนิ นการจัด

การศึกษาในพ้ืนท่ีระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายตามที่

คณะกรรมการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกาหนด วันท่ี ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนากาลังคนตามข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนเขต

พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) และปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ มีกรอบวงเงิน
๖๑๖ ล้านบาท สาหรบั การดาเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ใช้งบประมาณปกติของส่วนราชการ โดยให้
หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องจัดทาแผนบูรณาการการพัฒนาบุคลากรเพ่ือรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคตของ
ประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก วันท่ี ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ มติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนา

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในการประชุมคร้ังที่ ๒/๒๕๖๐ อนุมัติให้ประกาศ “เขตนวัตกรรม

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi)”

เป็น “เขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” โดยมีพื้นท่ีประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ บริเวณวังจันทร์
วัลเล่ย์ จังหวัดระยอง และพื้นท่ี ๑๒๐ ไร่ บริเวณอุทยานรังสรรค์นวัตกรรม อวกาศ อาเภอศรีราชา
จังหวัดชลบุรี และอนุมัติให้ประกาศ “เขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก: เขตส่งเสริม
อุตสาหกรรม และนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand : EECd)” พื้นท่ี ๗๐๙-๐-๓๙ ไร่ บริเวณอาเภอศรี
ราชา จังหวัดชลบุรี ในการจัดทาแผนปฏิบัติการนี้ ได้นาคาสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มติคณะรัฐมนตรี

และมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก แผนการพัฒนาการศึกษาใน

พ้ืนท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) รวมท้ังข้อแนะนาของ

อนุกรรมการ มาประกอบกบั การวเิ คราะหแ์ ละจัดทาข้อเสนอแผนงานโครงการดว้ ย

สาระสาคัญของแผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และ
เทคโนโลยี รองรับการพฒั นาระเบียงเศรษฐกจิ พเิ ศษภาคตะวันออก

วัตถุประสงค์ (๑) เพ่ือผลิตกาลังคนให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของ

อตุ สาหกรรมเป้าหมาย (๒) เพื่อสนับสนุนการวิจยั การสร้างนวัตกรรม และการพฒั นาเทคโนโลยี ซ่ึงจะนาไปสู่

การขบั เคลอ่ื นอตุ สาหกรรมเป้าหมายและการต่อยอดในเชงิ พาณชิ ย์ตอ่ ไป

เป้าหมายระยะเร่งด่วน (สัมฤทธิ์ผลภายใน ๑ ปี ใช้งบประมาณ ๒๕๖๐ - ๒๕๖๑)

(๑) ผลิตครูหรือวิทยากรต้นแบบในอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างน้อย ๑๕๐ คน สาหรับบุคลากรท่ีอยู่ในระบบ

เพื่อปรับเข้าสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย (๒) เด็กและเยาวชนได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หุ่นยนต์
ระบบอัตโนมัติ และระบบสารสนเทศ จานวนอย่างน้อย ๔๐,๐๐๐ คน (๓) เกษตรกรอย่างน้อย ๑๐,๐๐๐ ราย
ไดร้ บั การถา่ ยทอดเทคโนโลยอี งคค์ วามรู้ใหมจ่ ากมหาวิทยาลัย

โครงการจัดทาแผนสงิ่ แวดลอ้ มในพ้ืนท่ีเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๒๐

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อม รายงานฉบับสดุ ทา้ ย

เป้าหมายระยะปานกลาง (สัมฤทธ์ิผลใน ๒ - ๕ ปี ใช้งบประมาณ ๒๕๖๒ -
๒๕๖๔) (๑) ภายใน ๒ ปี จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ และศูนย์บริการ อย่างน้อย ๑๐ ศูนย์ (๒) ภายใน ๒ ปี จัดทา
หลักสูตรการเรียนการสอน และฝึกอบรมเพิ่มขึ้นไม่นอ้ ยกวา่ ๖๐ หลักสตู ร (๓) ภายใน ๕ ปี บคุ ลากรท้ังภาครัฐ
และเอกชนผ่านการอบรมหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๔๒,๐๐๐ คน เด็ก เยาวชน และผู้ท่ีเก่ียวข้องได้เรียนรู้ทักษะ
การประกอบอาชีพใน ๑๐ อุตสาหกรรมเป้าหมาย และเข้าค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า ๘,๐๐๐
คน พร้อมทั้งจัดทุนการศึกษาระดับปริญญาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่น้อยกว่า ๔๔๐ ทุน
(๔) ภายใน ๕ ปี ผลติ กาลงั คนอาชีวะรองรบั EEC มากกว่า ๔๐,๐๐๐ คน หรอื ปีละประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน (๕)
ภายใน ๕ ปี กาลงั แรงงานระดับปริญญาดา้ นรถยนต์ไฟฟา้ และหุน่ ยนตอ์ ุตสาหกรรม เพิม่ ข้ึนจนถงึ ๓๕๐ คนต่อ
ปีหรือมากกว่า (๖) ภายใน ๕ ปี ร่วมลงทุนกับบริษัทการบินชั้นนาฝึกอบรมนักบินและบุคลากรด้านนักบิน
ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ คน/ปี และช่างซ่อมเคร่อื งบินเพิ่มขน้ึ ไม่นอ้ ยกว่า ๕๐๐ คนตอ่ ปี

๑.๑.๖) แผนส่ิงแวดล้อมในพื้นท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑-
๒๕๖๔

ความเป็นมา ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ภาคตะวันออก คร้ังที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ นายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์
โอชา) ได้มีข้อส่ังการมอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทาแผนสิ่งแวดล้อมเพ่ือให้เกิด
ความม่ันใจเร่ืองส่ิงแวดล้อมในพื้นที่ EEC และมอบหมายให้สานักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ภาคตะวันออกเป็นผู้ประสาน รวบรวม และนาเสนอคณะกรรมการนโยบาย ต่อไป เม่ือวนั ที่ ๒๓ พฤศจกิ ายน
๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) ได้แตง่ ต้ัง
คณะกรรมการจัดทาแผนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นท่ีปรึกษาคณะกรรมการ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และส่ิงแวดล้อมเป็นประธานกรรมการ และมีหัวหน้าส่วนราชการจากกระทรวงต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้อง ร่วมเป็น
กรรมการ และสานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปน็ ฝ่ายเลขานกุ าร

กรอบแนวคิดและทิศทางการจัดทาแผนสิ่งแวดล้อม กาหนดให้แผนมีระยะเวลา
ดาเนินการ ๔ ปี ต้ังแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ ถือเป็นแผนระยะแรกที่จะจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ๓
จังหวัด EEC ซึ่งสอดคล้องกับแผนขับเคล่ือนการพัฒนา EEC ท่ีช่วงเวลาดังกล่าว เป็นระยะการวางแผนหรือ
ก่อนการก่อสร้าง โดยคาดว่า EEC จะแล้วเสร็จและเปิดดาเนินการอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ดังน้ัน
แผนสิ่งแวดล้อมฉบับน้ี จึงเป็นกรอบแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ท่ีเน้น
จัดการปญั หาสิ่งแวดล้อมที่มใี นปัจจบุ ัน และเตรียมความพรอ้ ม รเู้ ท่าทัน ในการจดั การคุณภาพสงิ่ แวดล้อมและ
รักษาทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต ควบคู่กับการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อมท่ีใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
สามารถเขา้ ถึงทรพั ยากรธรรมชาติได้อยา่ งเทา่ เทยี มกนั อนั เปน็ การสรา้ งความมน่ั ใจด้านสงิ่ แวดล้อม

ส า ร ะส า คั ญ ข อ ง แ ผ น ส่ิ งแ ว ด ล้ อ ม ใ น พื้ น ท่ี เข ต พั ฒ น า พิ เศ ษ ภ า ค ต ะ วั น อ อ ก
พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔

โครงการจดั ทาแผนสิ่งแวดลอ้ มในพืน้ ทเ่ี ขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๒๑

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานฉบบั สดุ ท้าย

วิสัยทัศน์ “พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเติบโต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

และชมุ ชน ก่อเกิดความม่ันใจ สมดุล และย่ังยืน”

พ้ืนที่เป้าหมาย พ้ืนท่ีจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวมท้ังพ้ืนที่ทาง
ทรพั ยากรธรรมชาตทิ ่ีอยใู่ นระบบนิเวศเดียวกนั หรอื พื้นทค่ี าบเกย่ี วกัน

วตั ถุประสงค์ (๑) จัดการส่ิงแวดล้อมให้มีคุณภาพท่ีดีเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชวี ิตที่ดี
ของประชาชน (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบนพื้นฐานการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมี

สว่ นรว่ มของชุมชนและประชาชน (๓) อนรุ กั ษ์และฟ้ืนคืนทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ

เพ่ือรักษาความสมดลุ ในระบบนิเวศและให้มกี ารใช้ประโยชนอ์ ย่างคุ้มค่าและเป็นธรรมสูก่ ารเป็นฐานการพัฒนา

ทย่ี ัง่ ยนื

ยุทธศาสตร์ แนวทางการดาเนินงาน และแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย

๔ ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการฯ มี ๘๖ โครงการ รวมวงเงินท้ังสิ้น ๑๓,๕๗๒.๖๐๔ ล้านบาท โดย
หน่วยงานขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน รวม ๙,๒๙๘.๘๐๔ ล้านบาท และงบการให้เอกชนร่วมลงทุน
ในกิจการของรฐั (PPP) จานวน ๔,๒๗๓.๘๐๐ ล้านบาท ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การจัดการคุณภาพส่ิงแวดล้อมท่ีดี แนวทางการจัดการให้

ความสาคัญในการลดมลพิษ โดยเน้นการบาบัด กาจัดของเสีย และควบคุมมลพิษจากแหล่งกาเนิด เร่งกาจัด

ขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กาจัดในพ้ืนท่ี รวมท้ังจัดหาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการของเสีย

ทง้ั จากภาคชุมชนและอุตสาหกรรมได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ มี ๒๗ โครงการ วงเงิน ๙,๒๘๗.๒๒๑ ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชนอย่างน่าอยู่

แนวทางการจัดการมุ่งเน้นส่งเสริมการเพิ่มพ้ืนท่ีสีเขียวในเขตเมือง ป่าในเมือง และเมืองอุตสาหกรรม เพื่อเพ่ิม
พื้นท่ีดูดซับมลพิษทางอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ รวมท้ัง สนับสนุนการพัฒนาเมืองในรูปแบบท่ีเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม มี ๑๔ โครงการ

วงเงิน ๔๑๗.๗๑๖ ลา้ นบาท

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและ

สิ่งแวดล้อม แนวทางการจัดการ ส่งเสริมการผลิต บริการ และบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริม

มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเรียนรู้และการ
ส่ือสารที่เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน ส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายชุมชนจัดการ
ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม มี ๘ โครงการ วงเงนิ ๑๓๔.๑๕๐ ลา้ นบาท

ยุทธศาสตร์ท่ี ๔ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการจัดการ เร่งฟ้ืนฟูพ้ืนที่ป่าต้นน้าลาธาร ทรัพยากรดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ บริหาร

จัดการทรัพยากรน้าเพ่ือสร้างความมั่นคงของน้าภาคการผลิต และอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและ

ชายฝ่ัง ส่งเสริมและสนับสนุนเพ่ิมพื้นที่ป่าต้นน้าให้เกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศ ฟ้ืนฟูป่าชายเลนและป้องกัน

การกัดเซาะชายฝ่ัง เพ่มิ พ้ืนที่ทมี่ ีการพัฒนา ฟ้ืนฟสู ่ิงแวดล้อม และพ้ืนท่ีอนุรักษ์ขึ้นในแต่ละจงั หวัด และลดการ
รุกล้าพื้นท่ีเกษตรกรรมลงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ในแต่ละจังหวัด มี ๓๗ โครงการ วงเงิน ๓,๖๓๓.๕๑๗
ล้านบาท

โครงการจัดทาแผนสิง่ แวดล้อมในพ้นื ท่เี ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๒๒

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม รายงานฉบับสุดทา้ ย

๑.๒) แผนที่ดาเนินตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาค

ตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกอบด้วย

(๑.๒.๑) แผนภาพรวมเพ่ือการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.
๒๕๖๐-๒๕๖๕

ความเป็นมา พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา
๒๙ กาหนดให้สานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) “…จัดทานโยบาย

และแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แผนการใช้ประโยชน์ในท่ีดินในภาพรวม

แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค แผนการดาเนินงาน และแผนการให้บริการภาครัฐ

แบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ...” ในการจัดทาแผนภาพรวมเพ่ือการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ได้นาแผนปฏิบัติการ ๓ แผน ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค การพัฒนาและ

ส่งเสริมการท่องเท่ียว และการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี และรับทราบ ๑ แผน คือ
การพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะน่าอยู่ ท่ีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
(กนศ.) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิ เศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ มากรอบในการดาเนินงาน โดยแผนภาพรวมเพ่ือการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกนี้

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้มีมติเห็นชอบในการประชุมคร้ังท่ี ๒/๒๕๖๑

เม่ือวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๑ และต่อมาได้เห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้าน

ดิจิทัล ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๑ พร้อมท้ังได้เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ
แล้วในการประชุมเม่ือวันท่ี ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ สกพอ. จึงได้ปรับปรุงแผนภาพรวมฯ โดยนาสาระสาคัญของ
แผนปฏิบตั ิการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านดิจิทัลมาผนวกรวมเป็นแผนภาพรวมฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย
แนวทางการพัฒนา ๖ แนวทาง พร้อมแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย แผนงาน/โครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ
กรอบวงเงินงบประมาณเบ้ืองต้น และระยะเวลาการดาเนินงาน เพ่ือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนาไปจัดทา

แผนปฏิบัติการในรายละเอียดและดาเนินการต่อไป โดยสานักงานจะทาหน้าท่ีในการประสานการขับเคลื่อน

และร่วมกับสานักงบประมาณในการติดตามและประเมินผลสาเร็จ นอกจากน้ันแผนภาพรวมน้ีได้บรรจุเป็น

ส่วนหนึง่ ของแผนแม่บทภายใตย้ ุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ประเดน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพ่อื ให้เกิด

การขับเคล่ือนนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้อยา่ งต่อเนื่อง
สาระสาคัญของแผนภาพรวมเพ่ือการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๕

วิสัยทัศน์ “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นต้นแบบพัฒนาเชิงพื้นที่

ท่ีสมบูรณ์แบบ ช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้นโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และให้ประเทศ

ไทยก้าวข้ึนสู่ระดบั ประเทศพัฒนาโดยเรวทีส่ ดุ ”

วัตถุประสงค์ (๑) เพื่อส่งเสริมการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจท่ีทันสมัยและเป็น

มิตรกับส่ิงแวดล้อม เพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (๒) เพื่อให้มีโครงสรา้ งพื้นฐานและระบบ
สาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่อง ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกและเชื่อมโยงกันอย่าง
เป็นระบบโดยสมบูรณ์ (๓) เพ่ือพฒั นาเมอื งใหน้ ่าอยู่ มคี วามทนั สมยั ระดบั นานาชาตทิ ี่เหมาะสมต่อการอยูอ่ าศัย

โครงการจดั ทาแผนส่ิงแวดลอ้ มในพ้ืนที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๒๓

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม รายงานฉบบั สดุ ท้าย

อย่างสะดวกปลอดภัยเข้าถึงได้โดยทั่วหน้า สามารถประกอบกิจการอย่างมีคุณภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิต

ของประชาชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (๔) เพื่อเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในฐานะ

ประตูของภูมิภาคเอเชียในบรบิ ทโลก
เป้าหมายระดับจังหวัด (๑) เป้าหมายจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเมืองน่าอยู่ และ

ศูนย์กลางโลจิสติกส์ (logistics hub) เชื่อมโยง ภาคตะวันออกกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว และ
จีน ภายใน ๑๐ ปี (๒) เป้าหมายจังหวัดชลบุรี เป็นเมืองท่องเท่ียวเชิงคุณภาพและการศึกษา เป็นศูนย์กลาง

ทางการเงนิ และการวิจัยและพัฒนา ภายใน ๑๐ ปี (๓) เป้าหมายจังหวัดระยอง เปน็ เมืองนวัตกรรม การวิจัย

และพัฒนา และการท่องเทยี่ วเกษตร ภายใน ๑๐ ปี

แนวทางการพัฒนาเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก ประกอบด้วย ๖ แนวทางหลกั

ดังนี้

๑) พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานและระบบสาธารณูปโภค โดยเฉพาะการเชื่อมโยง
ระบบ คมนาคมขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multi Modal Transport) อย่างไร้รอยต่อ (Seamless) ทั้งทาง
ถนน ทางราง ทางน้า และทางอากาศ รวมทั้งระบบโลจิสติกส์ที่เก่ียวข้อง เพือ่ เช่ือมโยงพื้นท่ีเศรษฐกิจหลักของ
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทั้งพื้นท่ีอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และกับประเทศเพ่ือนบ้าน รวมทั้ง ประสาน

การพฒั นาระบบคมนาคม โลจิสตกิ ส์ และโครงการ EEC Track การปรับปรุงแผน ภาพรวมและการขยายพื้นท่ี

ตลอดจนการเตรียมสาธารณูปโภค โดยเฉพาะด้านไฟฟ้าและน้าประปา ให้พร้อมและเพียงพอ เพื่อเพ่ิมขีด

ความสามารถในการแขง่ ขันของเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวันออก
๒) การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายท่ีใช้เทคโนโลยีข้ันสูงและนวัตกรรม เพื่อปรับ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจสู่อุตสาหกรรมท่ีมีมูลค่าสูง และมีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีข้ันสูง เป็นมิตรกับ
ส่ิงแวดล้อมในพืน้ ที่เขตส่งเสริมเศรษฐกจิ พิเศษ เพื่อสะสมทนุ เทคโนโลยแี ละเป็นฐานในการพัฒนาต่อยอดตอ่ ไป
พร้อมท้ังให้สิทธิประโยชน์พิเศษจูงใจให้ลงทุน เพื่อรัฐจะสามารถบริหาร กากับ และติดตามการพัฒนา

ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ รวมท้ังประกาศเขตส่งเสริมพิเศษในพ้ืนท่ีนิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีการควบคุมคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาและป้องกันผลกระทบในพื้นที่ ตลอดจนการ

ประชาสัมพันธ์ เพ่ือนาไปสู่ความสาเร็จในการแข่งขันระยะยาวอย่างยั่งยืน ปัจจุบันมีการประกาศเขตส่งเสริม

อตุ สาหกรรมแล้ว ๒๑ เขต มีพื้นท่ีรองรับการลงทนุ ใหม่ ๒๘,๖๖๖ ไร่
๓) การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเท่ียว เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในเขตพัฒนา

พิเศษภาคตะวันออกสู่การท่องเที่ยวระดับโลกอย่างยั่งยืน รองรับนักท่องเท่ียวกลุ่มรายได้ดี กลุ่มเชิงสุขภาพ

และนกั ท่องเทย่ี วกลุ่มธุรกจิ (B-leisure) โดยยกระดบั แหลง่ ทอ่ งเท่ียวทม่ี แี นวคดิ สร้างสรรคแ์ ละนวตั กรรม

๔) การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพ่ือผลิต

บุคลากร และงานวิจัยให้ตรงความต้องการของอุตสาหกรรม ทาให้เกิดฐานความรู้ เทคโนโลยี งานวิจัยท่ีมี

ประสิทธิภาพสาหรับอุตสาหกรรมข้ันสูง จัดทาหลักสูตรศึกษาและการอบรมแรงงาน เตรียมบุคลากรในทุก

ระดบั เพ่ือรองรับระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีมาตรการภาครัฐสนับสนุน พร้อมท้ังพฒั นาโครงสร้างพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ท่ีมีลักษณะผสมผสานเทคโนโลยีหลายสาขาเพื่อหลอมรวมให้เกิด
นวัตกรรมชน้ั นา นาไปสู่การพฒั นาเศรษฐกิจและความอยดู่ ีกินดีของประชาชนอยา่ งยั่งยนื

โครงการจัดทาแผนส่ิงแวดลอ้ มในพ้ืนทเ่ี ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๒๔

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม รายงานฉบับสุดท้าย

๕) การพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะน่าอยู่ มหานครการบินภาคตะวันออก และ

ศูนย์กลางการเงิน เพ่ือสร้างสภาพแวดล้อมเมืองให้มีคุณภาพชีวิตขั้นสูง สนับสนุนนวัตกรรม กิจกรรมท่ีสร้าง

มูลค่าสูงข้ึน พัฒนาให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจและอุตสาหกรรมท่ีเก่ียวเน่ืองกับการบิน โลจิสติกส์ อากาศยาน
และธุรกิจภายในสนามบินอู่ตะเภา จัดต้ังสานักงานและพัฒนาเมืองใหม่อัจฉรยิ ะตัวอย่างนาร่อง นาเทคโนโลยี
สารสนเทศและการส่ือสารมาเพ่ิมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเมือง และธุรกรรมทางการเงิน เพ่ือ
ยกระดบั คุณภาพชีวิตของประชาชนที่เข้าอยู่อาศยั ให้มีความสะดวกสบาย ปลอดภัย มสี ังคมคณุ ภาพและรักษา

คณุ ภาพสงิ่ แวดลอ้ ม พร้อมทั้งมกี จิ กรรมทางเศรษฐกจิ ทมี่ ีการจ้างงานในพื้นท่ี

๖) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านดิจิทัล

สนับสนุนการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ รองรับพืน้ ทีเ่ ศรษฐกจิ หลกั พ้ืนท่ีเมืองอัจฉริยะ และ

สถาบันการศึกษา การท่องเที่ยว การค้นคว้าและงานวิจัย รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพ้ืนท่ี

อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีข้ันสูง รวมทั้งพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตท่ีมีคุณภาพที่ดี เป็น Enabling
Factor และความต้องการจากอุตสาหกรรมและธุรกิจอ่ืน ๆ ให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว เป็นจุดดึงดูดใน
การลงทุนของบรษิ ทั ชน้ั นาของโลก สร้างความเขม้ แข็งในระยะยาวของเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก

แนวทางการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกทั้ง ๖ ด้าน นาไปสู่แผนปฏิบัติ

การ ๖ แผน ดังนี้ (๑) แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค (๒) การพัฒนาอุตสาหกรรม

เป้าหมาย รวม ๘๒ โครงการ (๓) แผนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวม ๕๓ โครงการ (๔) แผนพัฒนา

บุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี รวม ๗๓ โครงการ (๕) แผนพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะน่าอยู่และ
ศูนย์กลางการเงิน รวม ๒๗ โครงการ และ (๖) แผนพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านดิจิทัล รวม ๒๒ โครงการ
มรี ายละเอียดดงั นี้

(๑.๒.๒) แผนการใชป้ ระโยชนใ์ นทีด่ นิ ในภาพรวม
ความเป็นมา แผนการใชป้ ระโยชนใ์ นทดี่ นิ ในภาพรวม เป็นหนึ่งในแผนงานทีม่ าตรา

๒ ๙ แห่ งพ ระราชบั ญ ญั ติเขตพั ฒ น าพิ เศษ ภ าคตะวัน ออก พ .ศ. ๒ ๕ ๖ ๑ กาหน ดให้ สานั กงาน

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จัดทาขึ้นซ่ึงประกอบไปด้วย แผนภาพรวมเพื่อการ

พัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แผนการใช้ประโยชน์ในท่ีดินในภาพรวม แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

และระบบสาธารณูปโภค แผนการดาเนินงาน และแผนการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรที่สะดวก
และรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนในพื้นท่ีได้รบั ประโยชนส์ ูงสุดและให้การใช้พ้ืนที่มีประสิทธิภาพ พรอ้ มทั้งกาหนด
หน่วยงานของรัฐท่ีเกี่ยวขอ้ งซึ่งรับผดิ ชอบ การดาเนินการเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเพ่ือให้ความเห็นชอบ

และเม่ือคณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบแล้ว ให้เป็นหน้าท่ีของหน่วยงานดังกล่าวในการดาเนินการ

เว้นแตค่ ณะกรรมการนโยบายจะกาหนดเปน็ อยา่ งอ่นื

สานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงได้ยกร่าง

แผนการใช้ประโยชน์ในท่ีดินในภาพรวมเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

พิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งสาระของแผนงานฉบับน้ีประกอบด้วย สถานการณ์ปัจจุบัน วัตถุประสงค์
เป้าหมาย และกรอบแนวคิดของแผน รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในท่ีดินของกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
เขตสง่ เสรมิ เศรษฐกิจพิเศษ โครงสร้างพ้ืนฐานและสาธารณูปโภค เมืองใหมอ่ ัจฉรยิ ะน่าอยู่ ศูนย์กลางโลจิสติกส์

โครงการจัดทาแผนสิ่งแวดลอ้ มในพน้ื ท่ีเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๒๕

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม รายงานฉบับสุดทา้ ย

แหล่งท่องเท่ียว พื้นที่เกษตร แหล่งน้า และพ้ืนที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เพ่ือให้
กรมโยธาธิการและผังเมืองใช้เป็นแนวทางในการจัดทาแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนา
โครงสร้างพ้ืนฐานและระบบสาธารณูปโภคท่ีมีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับโครงสร้างพ้ืนฐานและระบบ
สาธารณูปโภคของพื้นที่ต่อเน่ืองกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องนาไปใช้เป็น
แนวทางในการดาเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตลอดจนสามารถ
บรรลเุ ปา้ หมายท่ีกาหนดไว้ตอ่ ไป

วิสัยทัศน์ “เพื่อกาหนดทิศทางการใช้ที่ดินใน EEC สาหรับกิจกรรมสาคัญต่าง ๆ
ในช่วงระยะเวลา ๒๐ ปี ให้ สอดคลอ้ งกับแผนภาพรวมเพ่ือการพัฒนาเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก”

แผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในภาพรวม (๑) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษสาหรับ
กจิ การพิเศษ (๒) เขตส่งเสรมิ เศรษฐกิจพิเศษสาหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ (๓) โครงสรา้ งพืน้ ฐานขนาด
ใหญ่ และสาธารณูปโภค (๔) พ้ืนท่ีพัฒนาเมืองใหม่ และพ้ืนท่ีศูนย์กลางธุรกิจ (๕) พ้ืนที่พัฒนารองรับ
ศูนย์กลางโลจิสติกส์ (๖) แหล่งท่องเที่ยวสาคัญ (๗) พื้นทเี่ กษตรแหลง่ น้าพ้ืนที่อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและ
ส่งิ แวดลอ้ ม และพน้ื ที่นิคมอตุ สาหกรรมเดมิ สถานไี ฟฟา้ ประปา

๒) แผนปฏิบัติการรายสาขาที่เก่ียวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประกอบดว้ ย ๑๘ แผนดงั ตอ่ ไปนี้

๒.๑) ยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ระยะ ๒๐ ปี พ.ศ.
๒๕๖๐-๒๕๗๙ โดยมีวิสัยทัศน์ คือ “อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เพื่อเป็น
รากฐานการพัฒนาอย่างสมดุล” มี ๖ ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตรท์ ี่ ๑ อนุรักษ์ คุ้มครอง ฟ้ืนฟู สง่ เสริม และ
พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ท่ี ๒ บริหารจัดการ
ทรพั ยากรน้า ท้งั น้าผิวดินและน้าใตด้ ิน แบบมีส่วนร่วม เปน็ ธรรม และเพียงพอ ยุทธศาสตรท์ ี่ ๓ ป้องกัน รักษา
และฟื้นฟู คุณภาพสงิ่ แวดล้อม ยทุ ธศาสตรท์ ่ี ๔ ขับเคลอื่ นการผลติ และการบรโิ ภคท่เี ป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม ใน
การพัฒนาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมท่ีมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ท่ี ๕ ลดก๊าซเรือน
กระจกและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ยุทธศาสตร์ที่ ๖
พัฒนากลไก ระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัด การ
องค์กรอยา่ งมีธรรมาภิบาลและทันต่อการเปลยี่ นแปลง

๒.๒) ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ ๒๐ ปี และแผนจัดการมลพิษ พ.ศ. ๒๕๖๐ –
๒๕๖๔ มี ๓ ยุทธศาสตร์ คอื (๑) การปอ้ งกันและลดการเกิดมลพิษท่ีตน้ ทาง (๒) เพิ่มประสทิ ธิภาพในการยายัด
กาจัดของเสีย และควบคุมมลพิษจากแหล่งกาเนดิ (๓) การพัฒนาระบบการบริหารจดั การมลพิษ

๒.๓) ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้าบาดาล ระยะ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ –
๒๕๗๙ มี ๔ ยุทธศาสตร์ คอื (๑) สารวจและผลติ น้าต้นทุนเพ่ือตอบสนองความต้องการน้าดา้ นอุปโภค บริโภค
เกษตร อุตสาหกรรม ทอ่ งเที่ยว และบริการ (๒) เสริมสร้างศกั ยภาพการบริหารจดั การทรัพยากรนา้ บาดาล (๓)
เสริมสร้างขบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนท่ีเกี่ยวข้องกับน้าบาดาล (๔) เสริมสร้างการใช้เทคโนโลยีและ
นวตั กรรมในการวิจัยและพฒั นาทเ่ี ก่ียวข้องกับทรพั ยากรนา้ บาดาล

โครงการจดั ทาแผนสิ่งแวดล้อมในพ้นื ท่เี ขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๒๖

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ ม รายงานฉบบั สุดท้าย

๒.๔) นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ โดยมีวิสัยทัศน์ คือ “ประเทศไทยมีฐาน ทรัพยากรธรรมชาติที่สมดุล และยั่งยืน และเป็น
สังคมท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” มี ๔ นโยบาย ประกอบด้วย (๑) จดั การฐานทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมั่นคง
เพื่อความสมดุล เป็นธรรม และย่ังยืน (๒) สร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม เพื่อความมั่งค่ังและยั่งยืน
(๓) ยกระดับมาตรการในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อม (๔) สร้างความเปน็ หุ้นส่วนใน
การบริหารจดั การทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม

๒.๕) แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ๔
ยุทธศาสตร์ คือ (๑) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม (๒) การจัดการคุณภาพ
ส่ิงแวดล้อมที่ดี ได้รับการป้องกัน บาบัดและฟื้นฟู (๓) เพ่ิมประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ
ส่ิงแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและย่ังยืน (๔) สร้างศักยภาพเพื่อรองรับการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัย
ธรรมชาติ และส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ (สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ
สง่ิ แวดล้อม, ๒๕๖๐)

๒.๖) แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ มี ๑๐ มาตรการ ดังนี้
(๑) มาตรการการจัดการโรงงานและอาคารควบคุม (๒) มาตรการใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคาร (๓) มาตรการใช้
เกณฑ์มาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์ (๔) มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานการประหยัดพลังงานสาหรับ
ผู้ผลิตและจาหน่ายพลังงาน (EERS) (๕) มาตรการสนับสนุนด้านการเงิน (๖) มาตรการส่งเสริมการใช้หลอด
แอลอีดี (๗) มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง (๘) มาตรการส่งเสริมการศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยี
อนุรักษ์พลังงาน (๙) มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน (๑๐) มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างปลูก
จติ สานกึ การอนุรักษ์พลังงาน

๒.๗) แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๕๙ –
๒๕๖๔) มี ๓ มาตรการ คือ (๑) มาตรการลดการเกิดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายท่ีแหล่งกาเนิด
(๒) มาตรการเพิ่มศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย (๓) มาตรการส่งเสริมการบริหาร
จัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

๒.๘) แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๙๓
มี ๓ เรื่องหลัก คือ (๑) การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (๒) การลดก๊าซเรือน
กระจกและส่งเสริมการเติบโตท่ีปล่อยคาร์บอนต่า (๓) การสร้างขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการการ
การเปล่ียนแปลงสภาพภมู อิ ากาศ

๒.๙) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้า ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐)
มี ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านท่ี ๑ การจัดการน้าอุปโภค บริโภค ด้านที่ ๒ การสร้างความม่ันคงของน้าภาคการผลิต
ด้านที่ ๓ การจัดการน้าท่วมและอุทกภัย ด้านที่ ๔ การจัดการคุณภาพน้าและอนุรักษ์ทรัพยากรน้า ด้านที่ ๕
การอนุรักษ์ ฟน้ื ฟูสภาพป่าตน้ น้าท่เี ส่อื มโทรมและป้องกันการพงั ทลายของดนิ ด้านที่ ๖ การบริหารจดั การ

๒.๑๐) แผนขับเคลอื่ นการผลิตและการบรโิ ภคท่ียั่งยนื พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ มี ๓
ยุทธศาสตร์ คือ (๑) ยุทธศาสตร์การยกระดับสังคมไทยสู่การผลิตท่ียั่งยืน (๒) ยุทธศาสตร์การยกระดับ

โครงการจดั ทาแผนส่งิ แวดล้อมในพืน้ ทีเ่ ขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๒๗

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอ้ ม รายงานฉบับสุดทา้ ย

สังคมไทยสู่การบริโภคท่ียั่งยืน (๓) ยุทธศาสตร์การยกระดับสังคมไทยสู่การใช้ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาท่ี
ยั่งยืน

๒.๑๑) แผนปฏิบัติการจดั การความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔
ประกอบด้วยยทุ ธศาสตร์หลัก ๔ ด้าน ดงั นี้ ยุทธศาสตร์ท่ี ๑ บูรณาการคุณค่าและการจัดการความหลากหลาย
ทางชีวภาพโดยการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ยุทธศาสตร์ท่ี ๒ อนุรักษ์และฟ้ืนฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศและบริหารจัดการเพ่ือเพิ่มพูนและแบ่งปัน
ผลประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพโดยสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว ยุทธศาสตร์ท่ี ๔
พัฒนาองคค์ วามรู้และระบบฐานข้อมลู ดา้ นความหลากหลายทางชวี ภาพให้เปน็ มาตรฐานสากล

๒.๑๒) ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ท่ี
เกีย่ วขอ้ งกบั การจัดการสง่ิ แวดลอ้ ม คือ ยทุ ธศาสตร์ท่ี ๓ การพัฒนาพลังงานท่ียงั่ ยืนและเป็นมิตรต่อสง่ิ แวดลอ้ ม

๒ .๑ ๓ ) แผน ความ มั่น คงแห่ งชาติท างท ะเล (พ .ศ. ๒ ๕ ๕ ๘ – ๒ ๕ ๖ ๔ )
มี ๖ ยุทธศาสตร์ คือ (๑) การพัฒนาศักยภาพความมั่นคงของชาติทางทะเล (๒) การคุ้มครองการใช้ประโยชน์
จากทะเล (๓) การสร้างความสงบเรียบร้อยและการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางทะเล (๔) การสร้างความ
สมดุลและยั่งยืนของทรัพยากรและส่ิงแวดล้อมทางทะเล (๕) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์ความรู้ และ
ความตระหนกั รู้ความสาคญั ของทะเล (๖) การบริหารจดั การผลประโยชนของชาติทางทะเลโดยองค์กรของรฐั

๒.๑๔) แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับท่ี ๓ พ.ศ. ๒๕๖๐ –
๒๕๖๔ ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ คือ (๑) ป้องกันและลดปัจจัยเส่ียงด้านสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ (๒) สร้าง
ความร่วมมือพหุภาคีและองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินตามแนวทางประชารัฐ (๓) สร้างความเข้มแข็งระบบ
บริหารจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (๔) เสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน บุคลากร และภาคี
เครอื ข่ายดา้ นอนามัยสิง่ แวดล้อมให้มคี วามรอบรู้ด้านส่งิ แวดลอ้ มทีส่ ง่ ผลต่อสขุ ภาพ

๒.๑๕) แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ
ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ท่ีเก่ียวข้องกับการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
อย่างสมดลุ และยงั่ ยืน

๒.๑๖) แผนพัฒนาการท่องเท่ียวแห่งชาติ ฉบับท่ี ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก ๕ ด้าน ดังนี้ ยุทธศาสตร์ท่ี ๑ การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเท่ียว สินค้าและ
บริการให้เกิดความสมดุล และย่ังยืน ยุทธศาสตร์ท่ี ๒ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ สิ่งอานวยความ
สะดวก เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาบุคลากรด้านการ
ทอ่ งเท่ียว และสนับสนนุ การมสี ่วนรว่ มของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การสร้างความสมดุล
การท่องเที่ยวไทยผ่านการตลาดเฉพาะกลุ่ม การส่งเสริมวิถีไทย และการสร้างความเช่ือมั่นของนักท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเท่ียว และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ
กรมการท่องเทย่ี ว

โครงการจดั ทาแผนสงิ่ แวดล้อมในพน้ื ทีเ่ ขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๒๘

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม รายงานฉบับสดุ ทา้ ย

๒.๑๗) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) มี ๔

ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การจาแนกเขตแหล่งแร่ (๒) การกาหนดนโยบายบริหารจัดการแร่ให้เกดิ ประโยชน์สงู สุด

(๓) การพฒั นากลไกการกากบั ดแู ล และอานวยความสะดวก (๔) การเสริมสรา้ งและสง่ เสริมการมสี ่วนร่วม
๒.๑๘) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ๔.๐ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ -

๒๕๗๙) มี ๓ ยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคล่ือนอุตสาหกรรม ประกอบด้วย (๑) การปฏิรูปอุตสาหกรรม
(๒) การปฏริ ูปนเิ วศอุตสาหกรรม และ (๓) การเชื่อมโยงอตุ สาหกรรมไทยกบั เศรษฐกิจโลก

(๑.๒.๓) แนวทางการขบั เคลอื่ นพน้ื ทส่ี เี ขียว

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ไดจัดทา

“แผนปฏิบัติการเชิงนโยบายด้านการจัดการพ้ืนท่ีสีเขียวชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน” ซ่ึงผ่านความเห็นชอบจาก

คณะกรรมการส่ิงแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมคร้ังท่ี ๗/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และ

คณะรัฐมนตรไี ดมีมติรับทราบ เม่ือวันท่ี ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐ โดยแผนปฏิบัติการดงั กล่าวมีความมุง่ หมายให้
ทุกภาคส่วนท้ังภาครัฐ เอกชน ชุมชน และประชาชน ร่วมกันพัฒนาและดูแลรักษาพื้นที่สีเขียวให้คงอยู่อย่าง
ย่ังยืน และ สผ. ไดดาเนินการผลักดัน ให้หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นาแผนปฏิบัติการฯ ไปใช้เป็น
กรอบแนวทางในการเพิ่ม พื้นท่ีสีเขียวย่ังยืน โดยไดเผยแพรประชาสัมพันธ์ เสริมสร้างศักยภาพแกภาคส่วนที่

เก่ียวของ สงเสริมการประสานงานและบูรณาการความร่วมมือ รวมทั้งติดตามประเมินผลการดาเนินงาน ตาม

แผนปฏิบัติการฯ ซึ่งพบปญหาอุปสรรคในการดาเนินงาน อาทิ ความจากัดของสถานที่ ทาให้ไม่สามารถเพ่ิม

พน้ื ที่สีเขียวอยางย่ังยืน การขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนการจัดทา และดูแลรักษาพื้นท่ีสีเขียว ตัวช้ีวัดขาด
ความชดั เจน จึงมแี นวคิด ดงั น้ี

๑) การพัฒนาท่ียั่งยืน เป็นหลักการท่ีให้ความสาคัญกับการพัฒนาประเทศที่มีดุลย
ภาพ เป็นการพฒั นาแบบองค์รวม คือ บูรณาการทั้งดา้ นเศรษฐกิจ สงั คม และสง่ิ แวดล้อม

๒) ระบบนิเวศพัฒนา เป็นแนวคิดของการผสมผสานระหว่างการอนุรักษ์กับการ

พฒั นา ซ่งึ ต้องสอดคลอ้ งกับศักยภาพของพ้ืนที่

๓) ดา้ นวิสัยทัศน์ในการจดั การพนื้ ท่ีสเี ขียว สารถกาหนดใหเ้ ป็น ๒ ส่วน ดงั นี้

๓.๑) วิสยั ทัศน์ดา้ นการดูแลรักษาทรพั ยากร ภายใตป้ รัชญาของการอนุรักษ์

๓.๒) วิสัยทัศน์ด้านพ้ืนที่สีเขียว พ้ืนท่ีนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวและบริการ
เปน็ การดาเนินการภายใตแ้ นวคิดของการทอ่ งเทย่ี วแบบย่ังยนื

๔) เรอ่ื งคุณคา่ และมลู ค่า เปน็ การประยกุ ต์ภูมปิ ัญญาชาวบ้านมาใช้ในการจดั การ

นอกจากน้ี สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้

จัดทา “แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการพื้นท่ีสีเขียวอย่างย่ังยืน” และได้นาเสนอต่อคณะกรรมการ

ส่ิงแวดลอ้ มแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๑ เม่ือวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบ

และต่อมาคณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติคร้ังดังกล่าว เมื่อวันท่ี ๒๖

พฤศจกิ ายน ๒๕๖๑ แนวทางการขบั เคลื่อนการจัดการพน้ื ที่สีเขียวอยา่ งย่ังยืนมวี ัตถุประสงค์คือ (๑) ให้มีพ้นื ท่ีสี
เขียวที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยการวางแผนและผังที่ดี (๒) ให้มีการกระจายตัวของพ้ืนท่ีสีเขียวอย่าง
ท่ัวถึงและประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก (๓) ให้มีการเช่ือมต่อของพื้นท่ีสีเขียวและพ้ืนท่ีโล่งเป็นโครงข่าย เพื่อ

โครงการจัดทาแผนส่ิงแวดล้อมในพืน้ ทีเ่ ขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๒๙

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม รายงานฉบบั สุดท้าย

ประโยชน์ทางส่ิงแวดล้อม ระบบนิเวศ และการกระจายตัว (๔) ให้มีพื้นท่ีสีเขียวท่ีมีความหลากหลายทาง
ชีวภาพ โดยมีไม้ยืนต้นเป็นองค์ประกอบหลัก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเมือง (๕) ให้มีความยั่งยืน โดยบูรณา
การพืน้ ที่สีเขียวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเปน็ องค์รวม ให้ความสาคญั กบั เครือข่ายความร่วมมอื ตลอดจน
จัดใหม้ ีเคร่ืองมือ กลไก การส่งเสริมงานวิจัย นาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพ่ือให้พื้นท่ีสีเขียว เกิดขึน้ อย่าง
เป็นรูปธรรมและดารงอยู่อย่างย่ังยืน โดยแนวทางขับเคลื่อนการจัดการพ้ืนท่ีสีเขียวอย่างยั่งยืน มี ๔ แนวทาง
คือ (๑) ทุกภาคส่วนมีจิตสานึกและหน้าท่ีในการบริหารจัดการพื้นท่ีสีเขียว (๒) เมืองมีความม่ันคงทางอาหาร
สามารถรองรับภัยพิบัติ และมีฐานทรัพยากรเพื่อเออ้ื ตอ่ การดารงชวี ิตของประชาชน (๓) เคร่อื งมือ กลไก เพื่อ
เอื้อต่อการเพ่ิมและการจัดการพื้นที่สีเขียว (๔) ตระหนักในภูมิปัญญาท้องถ่ิน และส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อสร้าง
พลงั ทางสังคม

๒.๒.๒ ผลการวิเคราะหค์ วามสัมพันธ์ของแผนส่ิงแวดล้อมในพ้นื ทีเ่ ขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ กบั แผนและนโยบายท่เี กีย่ วข้อง

แผนส่ิงแวดล้อมในพ้ืนท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ เป็นกรอบการ
ดาเนินการของทุกภาคส่วน ในการร่วมกันรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพ้ืนที่ EEC เพ่ือสร้างความมั่นใจด้าน
สิ่งแวดล้อมและเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ส่งเสริมการพัฒนาพ้ืนท่ีเขตพัฒนา
พิเศษภาคตะวันออกให้เติบโตเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม เกิดความม่ันคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน และผลของแผน
ส่ิงแวดล้อมฯ ต่อทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในพื้นที่ และประเภทการใช้ประโยชน์ท่ีดินพบว่า เป็น
แผนที่ให้ความสาคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันกาหนดกรอบแนวทางการบริหาร
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพส่ิงแวดล้อมแบบภาพรวม ในพ้ืนท่ีจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัด
ชลบุรี จังหวัดระยอง และพื้นที่คาบเกี่ยวตามระบบนิเวศทางธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นการจัดการ ป้องกัน และ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ได้ตามมาตรฐาน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน รวมท้ัง อนุรักษ์และฟื้นคืน
ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นรากฐานในการพัฒนาท่ีเข้มแข็งของประเทศ สอดคล้องกับแนวทางการสร้างการ
เติบโตบนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนนี้จึงมีผลดีต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมทุกประเภทในภาพรวมของพื้นที่ แต่เน่ืองจากมขี ้อจากัดในการนาแผนไปสู่
การปฏิบัติที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางงบประมาณอย่างจริงจงั รวมถึงการมีสว่ นรว่ มของภาคประชาชนท่ียงั คง
เป็นระดับการมีส่วนร่วมในระดับเบื้องต้น ยังไม่ถึงระดับของการร่วมจัดทา ร่วมปฏิบัติ และร่วมรับประโยชน์
อยา่ งแท้จริง จึงทาให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมตามแผนไมเ่ ป็นไปตามความคาดหวังอยา่ ง
ท่ีควร

ผลการวิเคราะห์ความสมั พันธ์ของแผนสิ่งแวดลอ้ มในพ้ืนทเ่ี ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก พ.ศ. ๒๕๖๑ -
๒๕๖๔ กบั แผนและนโยบายที่เกี่ยวขอ้ ง มีรายละเอยี ด ดงั น้ี

๑) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแผนส่ิงแวดล้อมในพ้ืนท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ กับแผนและนโยบายระดับท่ี ๑ ระดับท่ี ๒ และระดับท่ี ๓ ที่เป็นแผนปฏิบัติการเฉพาะ
พ้ืนทีเ่ ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวันออก มีรายละเอียดดงั ตารางที่ ๒ - ๑

โครงการจัดทาแผนสิ่งแวดลอ้ มในพืน้ ทเ่ี ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๓๐

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม รายงานฉบับสุดท้าย

ตารางที่ ๒ - ๑ ผลการวิเคราะหค์ วามสัมพันธข์ องแผนสิ่งแวดล้อมในพื้นท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ กบั แผนและนโยบายท่คี รอบคลุมเฉพาะพ้นื ท่เี ขตพัฒนาพิเศษภาค

ตะวันออก

นโยบายและแผน การวิเคราะหค์ วามสัมพันธข์ องแผนสงิ่ แวดล้อมในพ้นื ท่ีเขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก

ทีเ่ กยี่ วขอ้ ง พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ กับแผนและนโยบายท่คี รอบคลมุ เฉพาะพนื้ ท่เี ขตพัฒนาพิเศษภาค

ตะวนั ออก

ยุทธศาสตรช์ าติ แผนส่งิ แวดลอ้ มสอดคลอ้ งกับยทุ ธศาสตรช์ าติที่ ๕ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชวี ติ ท่ี

เปน็ มิตรตอ่ สิง่ แวดลอ้ ม

แผนแมบ่ ทภายใต้ ตอบสนองกับประเด็นทเ่ี ก่ียวขอ้ งกับการบริหารจัดการทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม

ยุทธศาสตรช์ าติ ใน ๑๔ ประเด็น (รายละเอยี ดปรากฏใน หวั ขอ้ ๒.๒.๑.๒)

แผนการปฏิรูปประเทศ ตอบสนองกับประเดน็ ดา้ นทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม มี ๖ ประเด็น (รายละเอยี ด

ปรากฏใน หัวขอ้ ๒.๒.๑.๒)

แผนพฒั นาเศรษฐกิจและ ตอบสนองยทุ ธศาสตร์ที่ ๔ ท่เี กย่ี วข้องกบั การบรหิ ารจดั การทรัพยากรธรรมชาตแิ ละ

สงั คมแห่งชาติ สิ่งแวดล้อม (รายละเอยี ดปรากฏใน หวั ข้อ ๒.๒.๑.๒)

นโยบายและแผนระดับชาติ เกยี่ วขอ้ งกบั การบรหิ ารจดั การทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม คือ นโยบายท่ี ๑๑ รกั ษา

ว่าด้วยความมน่ั คงแหง่ ชาติ ความม่ันคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม และนโยบายที่ ๑๒ เสรมิ สร้างความ

มน่ั คงทางพลังงาน

แผนท่ีปฏิบัตกิ ารเฉพาะพ้ืนท่ี EEC ท่ีจัดทากอ่ นมพี ระราชบัญญัตเิ ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑

แผนงานพัฒนาระเบยี ง ๑. ความสัมพนั ธ์ของแผนสิ่งแวดล้อมฯ ต่อแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกจิ ฯ พบว่าแผนงาน

เศรษฐกิจภาคตะวันออก พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจฯ เป็นแผนส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการพัฒนา

พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ และ อุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งเช่ือมโยงพื้นท่ีเศรษฐกิจ

การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณปู การ และการพฒั นาสภาพแวดลอ้ มเมืองสาคัญ

ของจงั หวัดให้เปน็ เมอื งน่าอยู่ ไปพร้อมกนั ส่วนแผนสิ่งแวดล้อมฯ จะเนน้ ความสาคัญของการ

คุม้ ครองสงิ่ แวดล้อมควบคกู่ บั การพฒั นาในทุกด้าน

แผนปฏิบตั กิ ารการพฒั นา ๒. ผลของแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจฯ ต่อแผนสิ่งแวดล้อมฯ ที่เก่ียวข้องกับ
โครงสรา้ งพน้ื ฐานรองรบั ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในพื้นที่ และประเภทการใช้ประโยชน์ท่ีดิน พบว่า การ
การพฒั นาเขตพัฒนาพเิ ศษ พัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและ
ภาคตะวนั ออก สาธารณูปการ และการพัฒนาสภาพแวดล้อมเมืองเป็นแรงกดดันท่ีส่งผลกระทบโดยตรงต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ มและประเภทการใช้ประโยชนท์ ี่ดินทุกประเภทในพน้ื ท่ีท่ีมี
การพัฒนา และส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมและประเภท
การใช้ประโยชน์ที่ดินทุกประเภทในพ้ืนท่ีใกล้เคียงกับพื้นท่ีที่มีการพัฒนา ท้ังน้ี ความรุนแรง
ของผลกระทบ จะข้นึ กับหลายปจั จยั เช่น ขนาดของโครงการ การลดผลกระทบของโครงการ
และความออ่ นไหวของทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ มในพื้นที่ เป็นตน้
๑. ความสัมพันธ์ของแผนสิ่งแวดล้อมฯ ต่อแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ
พบว่า เป็นแผนเพื่อพัฒนาโลจิสติกส์แบบไร้รอยต่อ เช่ือมโยงทั้งทางบก น้า อากาศ รองรับ
EEC มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค เพื่อ (๑) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ
รองรับการพัฒนา EEC ในฐานะพ้ืนท่ีเศรษฐกิจระดับโลก (๒) สนับสนุนให้ท่าอากาศยานอู่

โครงการจัดทาแผนส่งิ แวดลอ้ มในพืน้ ท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๓๑

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอ้ ม รายงานฉบับสุดท้าย

นโยบายและแผน การวิเคราะหค์ วามสัมพนั ธข์ องแผนสิ่งแวดล้อมในพ้ืนท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก
ทเ่ี กีย่ วขอ้ ง พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ กับแผนและนโยบายทค่ี รอบคลมุ เฉพาะพ้ืนทเี่ ขตพัฒนาพิเศษภาค

แผนปฏบิ ตั ิการการพฒั นา ตะวันออก
และสง่ เสรมิ การท่องเท่ียว ตะเภาเป็นศูนย์กลางและเมืองการบินของภูมิภาค (๓) สนับสนุนให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็น
ในเขตพฒั นาพิเศษภาค ประตูเศรษฐกิจของ CLMV และอนุภูมิภาค (๔) สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ
ตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๐ - ภาคเอกชนทั้งในภาคการบริการและการท่องเท่ียว (๕) ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนใน
๒๕๖๔ พืน้ ทจี่ งั หวดั ฉะเชิงเทรา ชลบรุ ี และระยอง

๒. ผลของแผนปฏิบัตกิ ารการพัฒนาโครงสรา้ งพนื้ ฐานฯ ต่อแผนสงิ่ แวดล้อมฯ ท่ีเก่ยี วขอ้ งกับ
ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อมในพนื้ ที่ และประเภทการใช้ประโยชน์ท่ีดนิ พบว่า แผนนี้
มีความสัมพนั ธ์กบั แผนสง่ิ แวดล้อมฯ โดยตรง เพราะตอ้ งใช้ทรพั ยากรธรรมชาตเิ ปน็ ฐานในการ
สนับสนุนดาเนินการตามแผน และผลการดาเนินการตามแผนจะส่งผลต่อสงิ่ แวดลอ้ มในพ้นื ที่
จงึ จาเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการของแผนส่ิงแวดล้อมฯ เพ่ือรักษาส่ิงแวดล้อมในพ้ืนท่ี ทั้งนี้
ความรนุ แรงของผลกระทบ จะขน้ึ กับหลายปจั จยั เชน่ ขนาดของโครงการ การลดผลกระทบ
ของโครงการ และความอ่อนไหวของทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ มในพ้ืนที่ เป็นต้น
๑. ความสัมพันธ์ของแผนสิ่งแวดล้อมฯ ต่อแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการ
ท่องเท่ียวฯ พบว่า เป็นแผนเพ่ือให้หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องใช้เป็นแผนปฏิบัติในการดาเนินการ
ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการยกระดับการท่องเท่ียวใน
พ้ืนที่สามจังหวัด ได้แก่ จังหวดั ฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง สู่การท่องเที่ยว
ระดับโลกรองรับนักท่องเท่ียวกลุ่มรายได้ดี และกลุ่มเชิงสุขภาพ โดยมี พัทยา สัตหีบ และ
ระยอง เป็นวงแหวนการท่องเที่ยวหลัก ขยายสู่ฉะเชิงเทราซ่ึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมและแหล่งท่องเท่ียวธรรมชาติ และขยายสู่แหล่งท่องเท่ียวอ่ืน ๆ เพื่อสร้างรายได้
จากการท่องเทยี่ วใหป้ ระชาชนในพ้นื ท่ีให้สงู ข้นึ

๒. ผลของแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวฯ ต่อแผนสิ่งแวดล้อมฯ
ท่เี ก่ยี วข้องกบั ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อมในพื้นท่ี และประเภทการใชป้ ระโยชน์ทดี่ ิน
พบว่า แผนน้ีมีความสัมพันธ์กับแผนส่ิงแวดล้อมฯ โดยตรง เพราะต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นฐานในการสนับสนุนดาเนินการตามแผน และผลการดาเนินการตามแผนจะส่งผลต่อ
ส่ิงแวดล้อมในพื้นที่ จึงจาเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการของแผนสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อรักษา
สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยแผนนี้มีแนวทางการพัฒนาท่ีสาคัญ ๔ ด้าน มี ๒ ด้าน คือ (๑) การ
พัฒนาแหล่งท่องเท่ียว (๒) การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานและสิ่งอานวยความสะดวก เป็น
แนวทางท่ีเก่ียวข้องและส่งผลกระทบโดยตรงต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและ
ประเภทการใชป้ ระโยชนท์ ่ีดินทุกประเภทในพน้ื ทท่ี มี่ กี ารพัฒนา และส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมและประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินทุกประเภทในพ้ืนที่
ใกล้เคียงกับพ้ืนที่ที่มีการพัฒนา ท้ังน้ี ความรุนแรงของผลกระทบ จะขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น
ขนาด ของโค รงการ การลด ผ ลกระท บ ของโค รงการ แล ะค วาม อ่อนไห วของ
ทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ มในพ้ืนที่ เปน็ ตน้

โครงการจัดทาแผนส่ิงแวดล้อมในพ้ืนทีเ่ ขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๓๒

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อม รายงานฉบับสดุ ทา้ ย

นโยบายและแผน การวิเคราะหค์ วามสัมพนั ธข์ องแผนส่ิงแวดลอ้ มในพื้นทเี่ ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ที่เกย่ี วข้อง พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ กบั แผนและนโยบายทค่ี รอบคลมุ เฉพาะพืน้ ทเ่ี ขตพฒั นาพิเศษภาค

ตะวนั ออก

แผนปฏิบัตกิ ารพฒั นา ๑. ความสัมพันธ์ของแผนสิ่งแวดล้อมฯ ต่อแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้าน
โครงสร้างพ้นื ฐานดา้ นดจิ ิทลั ดิจิทัลฯ พบว่าเป็นแผนเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านดิจิทัลเพื่อรองรับ
เพอ่ื รองรบั เขตพฒั นาพเิ ศษ EEC ให้เปน็ ศนู ยก์ ลางด้านเศรษฐกจิ ของภมู ภิ าค
ภาคตะวนั ออก ๒. ผลของแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลฯ พบว่า มีความเก่ียวข้อง
ตอ่ แผนสิ่งแวดลอ้ มฯ ที่เก่ยี วข้องกบั ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ มในพ้นื ที่ และประเภท
การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในด้านความเหมาะสมของการเลือกทต่ี ้ังโครงสร้างพื้นฐานทุกประเภท
เช่น ท่อร้อยสาย เคเบิ้ลใยแกว้ นาแสงและเสา รวมท้งั การเลือกทต่ี ง้ั โครงการ เช่น เขตสง่ เสริม
อุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ท่ีต้องไม่ส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม หรือมีมาตรการที่
เคร่งครัดในการลดผลกระทบส่ิงแวดลอ้ มท่ีอาจเกดิ ขน้ึ

แผนปฏบิ ตั กิ าร การพฒั นา ๑. ความสัมพันธ์ของแผนส่ิงแวดล้อมฯ ต่อแผนปฏิบัติการ การพัฒนาบุคลากร การศึกษาฯ
บุคลากร การศกึ ษา การวิจัย พบวา่ เป็นแผนที่ใหห้ น่วยงานท่ีเก่ียวข้องใช้เป็นแนวทางดาเนินการในช่วงปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔
และเทคโนโลยี รองรับการ ให้สามารถบรรลุเป้าหมาย ในการยกระดับการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและ
พฒั นาเขตพัฒนาพเิ ศษภาค เทคโนโลยีในพื้นที่สามจังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
ตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๐ - อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพ่ือนาการพัฒนาเขต
๒๕๖๔ พัฒนาพเิ ศษภาคตะวันออกให้เป็นพ้ืนท่ียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนและยกระดบั การพัฒนา

ของประเทศตามนโยบายประเทศไทย ๔.๐ เป็นแหล่งลงทุนสาหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายท่ี
ใช้เทคโนโลยีสูงและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ท่ีใช้เทคโนโลยีสูง และเป็นแหล่งสะสมทุน
และเทคโนโลยเี พื่ออนาคตทยี่ ่งั ยืนของประเทศไทย
๒. ผลของแผนปฏิบัติการ การพัฒนาบุคลากร การศึกษาฯ พบว่า ไม่เก่ียวข้องโดยตรงต่อ
แผนสิ่งแวดล้อมฯ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในพื้นท่ี และประเภท
การใชป้ ระโยชนท์ ่ีดนิ

แผนทด่ี าเนนิ ตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบญั ญัติเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก พ.ศ. ๒๕๖๑
แผนภาพรวมเพ่ือการพัฒนา ๑. ความสัมพันธ์ของแผนส่ิงแวดล้อมฯ ต่อแผนภาพรวมฯ พบว่าเป็นแผนเพื่อ (๑) เพ่ือ
เข ต พั ฒ น า พิ เศ ษ ภ า ค สง่ เสริมการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจท่ีทันสมัยและเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม (๒) เพ่ือให้มี
ตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๐ - โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคท่ีมีประสิทธิภาพ มีความต่อเน่ือง (๓) เพื่อพัฒนา
๒๕๖๕ เมืองให้น่าอยู่ มีความทันสมัยระดับนานาชาติท่ีเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยอย่างสะดวก

ปลอดภัยเขา้ ถงึ ได้โดยทว่ั หน้า (๔) เพื่อเสริมสรา้ งบทบาทของประเทศไทยในฐานะประตูของ
ภูมิภาคเอเชียในบริบทโลก
๒. ผลของแผนภาพรวมฯต่อแผนส่ิงแวดล้อมฯ ท่ีเก่ียวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและ
สงิ่ แวดลอ้ มในพื้นที่ และประเภทการใช้ประโยชนท์ ีด่ ิน พบว่าการดาเนินการตามวัตถุประสงค์
ของแผนภาพรวมฯ ทั้งการพัฒนากจิ กรรมทางเศรษฐกจิ การพฒั นาอตุ สาหกรรม การพฒั นา
โครงสร้างพ้ืนฐาน การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และการพัฒนา
สภาพแวดลอ้ มเมอื งส่งผลกระทบโดยตรงตอ่ ทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ มและประเภท
การใช้ประโยชน์ท่ีดินทุกประเภทในพ้ืนที่ที่มีการพัฒนา และส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินทุกประเภทในพ้ืนท่ี

โครงการจัดทาแผนสิง่ แวดล้อมในพ้ืนท่ีเขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๓๓

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม รายงานฉบบั สดุ ทา้ ย

นโยบายและแผน การวิเคราะห์ความสัมพนั ธ์ของแผนสง่ิ แวดลอ้ มในพ้ืนทเ่ี ขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก

ท่ีเกี่ยวข้อง พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ กบั แผนและนโยบายทคี่ รอบคลมุ เฉพาะพ้นื ทเ่ี ขตพัฒนาพิเศษภาค

ตะวันออก

ใกล้เคียงกับพ้ืนที่ท่ีมีการพัฒนา ท้ังน้ี ความรุนแรงของผลกระทบ จะขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น

ขนาด ของโค รงการ การลด ผ ลกระท บ ของโค รงการ แล ะค วาม อ่อนไห วของ

ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อมในพนื้ ที่ เปน็ ต้น

แผนการใชป้ ระโยชน์ในทดี่ นิ ๑. ความสัมพันธ์ของแผนสิ่งแวดล้อมฯ ต่อแผนการใช้ประโยชน์ในท่ีดินฯ พบว่าเป็นแผนเพ่ือ

ในภาพรวม กาหนดทิศทางการใชท้ ี่ดินใน EEC สาหรับกิจกรรมสาคัญต่าง ๆ ในชว่ งระยะเวลา ๒๐ ปี ให้

สอดคล้องกับแผนภาพรวมเพ่ือการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยกาหนดเขต

และกิจกรรมการพฒั นา ๗ ดา้ นทสี่ อดคลอ้ งกับวสิ ัยทัศน์ของแผนการใชป้ ระโยชนใ์ นทด่ี นิ ฯ ดั

งนี้ (๑) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษสาหรับกิจการพิเศษ (๒) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ

สาหรับอตุ สาหกรรมเป้าหมายพเิ ศษ (๓) โครงสรา้ งพืน้ ฐานขนาดใหญ่ และสาธารณปู โภค (๔)

พื้นท่ีพัฒนาเมืองใหม่ และพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ (๕) พื้นที่พัฒนารองรับศูนย์กลางโลจิสติกส์

(๖) แหล่งท่องเท่ียวสาคัญ (๗) พื้นท่ีเกษตรแหล่งน้าพ้ืนที่อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและ

ส่งิ แวดลอ้ ม และพ้นื ท่ีนิคมอตุ สาหกรรมเดิม สถานไี ฟฟ้า ประปา

๒. ผลของแผนการใช้ประโยชน์ในท่ีดินฯ ต่อแผนส่ิงแวดล้อมฯ เก่ียวข้องโดยตรงกับการ

จัดการประเภทการใช้ประโยชน์ท่ีดิน และทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในพ้ืนท่ี โดย

แผนการใช้ประโยชน์ในท่ีดินฯ ทั้ง ๗ ด้าน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมและประเภทการใช้ประโยชน์ท่ีดินทุกประเภทในพื้นที่ที่มีการพัฒนา และส่งผล

กระทบโดยออ้ มต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ มและประเภทการใชป้ ระโยชน์ท่ีดินทุก

ประเภทในพื้นที่ใกล้เคียงกับพ้ืนท่ีท่ีมีการพัฒนา ท้ังน้ี ความรุนแรงของผลกระทบ จะข้ึนกับ

หลายปัจจัย เช่น ขนาดของโครงการ การลดผลกระทบของโครงการ และความอ่อนไหวของ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพน้ื ท่ี เปน็ ตน้

๒) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแผนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ กับแผนและนโยบายรายสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
ส่ิงแวดล้อม โดยได้ทบทวน ยุทธศาสตร์/นโยบาย/แผน/แผนแม่บท ท่ีเกี่ยวข้องใน ๑๘ เรื่อง พบว่า
ทั้ง ๑๘ เร่ือง มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับแผนสิ่งแวดล้อมฯ ในการอนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแลและรักษา
สง่ิ แวดลอ้ ม ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซง่ึ จะช่วยสง่ เสรมิ ให้มีการดาเนินการตามแผนส่ิงแวดล้อม
ได้อยา่ งเปน็ รปู ธรรมมากขนึ้

อย่างไรก็ตาม พบว่าระดับความสาคัญและความเข้มข้นของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแ ละ
สิ่งแวดล้อมในยุทธศาสตร์/นโยบาย/แผน/แผนแม่บท ทั้ง ๑๘ เรื่อง จะมีมาก หรือมีน้อย จะกาหนดตาม
บทบาท หน้าที่ของหนว่ ยงานทเ่ี ป็นผู้จดั ทายุทธศาสตร/์ นโยบาย/แผน/แผนแมบ่ ท

โครงการจดั ทาแผนส่ิงแวดล้อมในพื้นทีเ่ ขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๓๔

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม รายงานฉบับสดุ ท้าย

๒.๒.๓ ความเชื่อมโยงของผลการรวบรวม ทบทวนข้อมูลนโยบายและแผนท่ีเกี่ยวข้องกับพ้ืนท่ีเขต

พฒั นาพิเศษภาคตะวันออกไปสู่แนวคดิ ของการดาเนนิ งานระดับปฏบิ ัติ และความสอดคลอ้ ง

กบั การดาเนินงานโครงการ
กรอบการดาเนินการศึกษา และวิธีการศึกษาในหัวข้อการรวบรวม ทบทวนข้อมูล นโยบายและแผนท่ี
เก่ียวขอ้ งกับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก ประกอบดว้ ย ผลการรวบรวม ทบทวนข้อมูลนโยบายและแผน
ท่ีเกี่ยวข้องกับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแผนสิ่งแวดล้อมใน

พ้นื ที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ กับยุทธศาสตร์ แผน และนโยบายท่ีเก่ียวข้อง แยก

ออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ การพิจารณาความสอดคล้องของแผนที่จะจัดทาต่อแผนระดับที่ ๑ และระดับที่ ๒

ประกอบกับ การนาไปใช้เป็นกรอบในการจัดทาแผนสิ่งแวดล้อมในพ้ืนท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

(ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙ ทม่ี ีการบูรณาการรว่ มกับแผนปฏิบัติการรายสาขาอืน่ ๆ ท่ีเกย่ี วขอ้ งอืน่ ๆ

๒.๓ ผลการทบทวนกฎหมายทเี่ ก่ยี วข้องกบั พืน้ ท่ีเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวันออก
พืน้ ทเี่ ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกท่มี ีเป้าหมายเพอ่ื การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกจิ ของประเทศ และ

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ มีวิสัยทัศน์ส่วนหนึ่งคือการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดคล้อง
กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังน้ันในการทบทวนกฎหมายจึงพิจารณากฎหมายที่อาจส่งผลกระทบ

เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมใ นพ้ืนที่เขตพัฒนาพิเศษภาค

ตะวนั ออก ดงั นี้

๒.๓.๑ พระราชบัญญตั กิ ารผังเมือง พ.ศ. ๒๕๖๒
เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมาย: โดยที่ระบบการผังเมืองของประเทศจาเป็นต้อง มีกรอบนโยบาย
การใช้ประโยชน์พื้นที่ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด เพื่อเป็นกรอบนโยบาย และ
ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศในด้านการใช้พ้ืนที่เพ่ือให้หน่วยงานของรัฐดาเนินการ โดยการนาไปสู่
การปฏิบัติในรูปแบบของผังกาหนดการใช้ประโยชน์ท่ีดิน ซ่ึงเป็นแนวทางและแผนงานการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ในพ้ืนที่หนึ่งพ้ืนที่ใดเพื่อการพัฒนาทางด้านกายภาพและการดารงรักษาเมือง กรณีจึงมีความจาเป็นที่จะต้องมี

กฎหมายเพื่อกาหนดรูปแบบการวางและจัดทาผังเมืองทุกระดับ พร้อมทั้งบริหารจัดการผังเมืองให้มีรูปแบบ

การดาเนินการและการบริหารจัดการที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ

และส่ิงแวดลอ้ ม โดยการวางกรอบนโยบายการพฒั นาพ้ืนทีแ่ ละการใชป้ ระโยชนท์ ี่ดินระดับประเทศ ระดับภาค
ระดับจังหวัด ระดับเมือง และระดับชนบท ตลอดจนกระจายอานาจในการวางและจัดทาผังเมืองให้แก่องค์กร
ปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ รวมท้ังการสรา้ งการมีส่วนรว่ มของประชาชนผา่ นกระบวนการรับฟังความคิดเหน็ จากทุก

ภาคส่วน และโดยท่ีการกาหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์พื้นท่ีและการใช้ประโยชน์ท่ีดินต้องสอดคล้องกับ

นโยบายและยุทธศาสตร์เพอ่ื การพัฒนาประเทศ กรณีจึงมีความจาเป็นท่ีจะต้องมคี ณะกรรมการท่เี ป็นผกู้ าหนด

นโยบายในภาพรวม และคณะกรรมการที่เป็นผู้กากับดูแลหน่วยงานภาครัฐให้ปฏิบัติการเพ่ือให้บรรลุ

วัตถุประสงค์ ของการผังเมือง ประกอบกบั ในการดาเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถปุ ระสงค์ของการผงั เมอื งบางกรณี

จาเป็นท่ีรัฐ ต้องใช้สิทธิเหนือเคหสถานและทรัพย์สิน รวมถึงการได้มาซ่ึงอสังหาริมทรัพย์ของเอกชนเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะ และการจากัดขอบเขตในการเลือกถ่ินท่ีอยู่หรือการประกอบกิจการของบุคคล อีกทั้ง
กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่เอื้ออานวยต่อการพัฒนาพื้นท่ีหรือการเพ่ิมศักยภาพใน

โครงการจัดทาแผนสิง่ แวดล้อมในพนื้ ที่เขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๓๕

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม รายงานฉบบั สดุ ทา้ ย

การแข่งขันของประเทศกับ นานาประเทศ สมควรปรับปรุงเสียในคราวเดียวกัน จึงจาเป็นต้องตรา
พระราชบญั ญัตินี้

การวางผังเมืองรวม หรือ แผนผังการใชป้ ระโยชนท์ ีดิน ในเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก มีความสาคัญ
ในฐานะเป็นกรอบช้ีนาการพัฒนาเชิงพื้นที่ในพ้ืนท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มีผลต่อการขยายตัวของ
พน้ื ที่เมืองจากกระบวนการพฒั นาพ้ืนทีต่ ามท่ีกาหนดไว้แผนผงั การใชป้ ระโยชน์ท่ีดนิ ดังกล่าว อันจะมีผลตอ่ การ
เปล่ียนแปลงการใช้ที่ดินโดยเฉพาะที่ดินเพ่ือการเกษตรกรรมและคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในพน้ื ที่

การวางและจัดทาผงั เมอื งรวมและผงั เมอื งเฉพาะ ตามมาตรา ๒๒ และมาตรา ๔๐ แห่ง พระราชบญั ญัติ
การผังเมือง พ.ศ. ๒๕๖๒ มีความสาคัญในการกาหนดพ้ืนที่และประเภทการใช้ท่ีดินในพ้ืนท่ีพัฒนาเศรษฐกิจ
พเิ ศษภาคตะวันออก จากองค์ประกอบของการวางและจัดทาผังเมือง ประกอบด้วย ๒ ลักษณะ ตามมาตรา ๘
ไดแ้ ก่

๑) ผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ คือ การกาหนดกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ของการพัฒนา
ประเทศในการด้านการใช้พ้ืนท่ีเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดาเนินการ แบ่งเป็นสามประเภท คือ ผังนโยบาย
ระดับประเทศ ผงั นโยบายระดบั ภาค และผังนโยบายระดับจังหวดั

๒) ผังกาหนดการใช้ประโยชน์ท่ีดิน คือ การกาหนดกรอบแนวทางและแผนงานการใช้ประโยชน์ที่ดนิ ใน
พ้ืนที่ใดเพื่อการพัฒนาเมืองและการดารงรักษาเมือง บริเวณท่ีเก่ียวข้อง และชนบท แบ่งเป็นสองประเภท คือ
ผงั เมอื งรวม และผังเมอื งเฉพาะ

ซึ่งการดาเนินการวางและจัดทาผังนโยบายระดับจังหวัดจะต้องสอดคล้องและเช่ือมโยงกับผังนโยบาย
ระดับภาค และผังนโยบายระดับภาคต้องเชื่อมโยงกับผังระดับประเทศ ตามมาตรา ๑๐ เช่นเดียวกับการวาง
และจัดทาผังเมืองรวมจาเป็นต้องสอดคล้องกับผังนโยบายระดับภาคและผังนโยบายระดับจังหวัด ตามมาตรา
๒๕ โดยองคป์ ระกอบของผงั เมืองรวม ปรากฏตามมาตรา ๒๒ ประกอบด้วย

๑) วัตถุประสงคใ์ นการวางและจัดทาผงั เมืองรวม
๒) แผนท่แี สดงเขตของผังเมืองรวม โดยแสดงข้อมูลภูมปิ ระเทศ ระดบั ชน้ั ความสงู และพิกดั ทาง
ภูมศิ าสตร์
๓) แผนผงั ทที่ าขึ้นเป็นฉบบั เดยี วหรือหลายฉบับ โดยมีสาระสาคญั ดงั ต่อไปนี้

ก) แผนผงั กาหนดการใช้ประโยชนท์ ีด่ ินตามทไ่ี ด้จาแนกประเภท
ข) แผนผังแสดงทโี่ ลง่
ค) แผนผังแสดงโครงการการคมนาคมและการขนสง่
ง) แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค สาธารณปู การ และบริการสาธารณะ
จ) แผนผังแสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม
ฉ) แผนผงั แสดงผังน้า
ช) แผนผงั อ่นื ๆ ท่ีจาเป็น
๔) รายการประกอบแผนผงั

โครงการจัดทาแผนสง่ิ แวดล้อมในพ้นื ท่ีเขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๓๖

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม รายงานฉบบั สดุ ท้าย

๕) ขอ้ กาหนดการใชป้ ระโยชน์ท่ดี ินท่ีจะให้ปฏิบตั ิหรอื ไม่ให้ปฏบิ ัตเิ พอ่ื ใหเ้ ป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผัง

เมืองรวมและแผนผงั ตาม (๓) ทกุ ประการ ดงั ต่อไปนี้

ก) ประเภทและขนาดโครงการ
ข) ประเภท ชนิด ขนาด ความสูง และลกั ษณะของอาคาร
ค) อัตราส่วนพ้ืนทอ่ี าคารรวมกันทุกชน้ั ของอาคารทุกหลังต่อพ้ืนทแ่ี ปลงท่ดี ินที่ใช้เป็นที่ตัง้ อาคาร
ง) อัตราส่วนพื้นท่ีอาคารปกคลุ่มดินต่อพ้ืนที่แปลงที่ดินท่ีใช้เป็นที่ตั้งอาคาร หรืออัตราส่วนพื้นที่ว่าง

อนั ปราศจากส่งิ ปกคลมุ ดินของแปลงท่ีดินที่อาคารต้ังอยู่ต่อพื้นที่ใชส้ อยรวมของอาคาร

จ) ระยะถอยร่นจากแนวธรรมชาติ ถนน แนวเขตท่ีดิน อาคาร แหล่งทรัพยากรน้าสาธารณะ และ

สถานทอ่ี ่ืน ๆ ท่จี าเป็น รวมท้งั พ้นื ท่แี นวกันชนด้วย

ฉ) ขนาดของแปลงที่ดินทจ่ี ะอนญุ าตให้กอ่ สรา้ งอาคาร

ช) ข้อกาหนดอน่ื ทจ่ี าเปน็ โดยรฐั มนตรีประกาศกาหนดตามคาแนะนาของคณะกรรมการผังเมือง
ซึ่งองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าท่ีและอานาจดาเนินการวางและจัดทาผังเมืองรวม ตามมาตรา ๒๓
เชน่ เดยี วกับหนา้ ท่ีและอานาจในการดาเนินการวางและจัดทาผังเมืองเฉพาะ ตามมาตรา ๔๑ โดยองค์ประกอบ
ของผังเมืองเฉพาะ ตามมาตรา ๔๐ ประกอบดว้ ย

๑) วัตถปุ ระสงคใ์ นการวางและจัดทาผังเมืองเฉพาะ

๒) แผนทีแ่ สดงเขตของผังเมืองเฉพาะ

๓) แผนผังทีท่ าขึน้ เปน็ ฉบบั เดยี วหรือหลายฉบบั โดยมสี าระสาคัญ ดงั ตอ่ ไปน้ี
ก) แผนผังแสดงการกาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินซ่ึงจาแนกเป็นประเภทกิจการ พร้อมท้ังแนวเขต

การแบง่ ทดี่ ินออกเป็นประเภทและย่าน
ข) แผนผังแสดงโครงการการคมนาคมและการขนส่ง
ค) แผนผงั แสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะ ตามโครงสร้าง

พน้ื ฐาน

ง) แผนผงั แสดงทโ่ี ลง่

จ) แผนผังแสดงการกาหนดระดับพ้ืนดิน

ฉ) แผนผังแสดงบริเวณที่ตั้งของสถานท่ีหรือวัตถุท่ีมีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม
สถาปตั ยกรรม และประวัตศิ าสตรห์ รือโบราณคดี ท่จี ะพงึ สง่ เสรมิ ดารงรกั ษาหรอื บูรณะ

ช) แผนผงั แสดงบริเวณท่มี ที รัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม หรือภมู ิประเทศทีง่ ดงามหรอื มีคณุ ค่า

ในทางธรรมชาติ รวมท้งั ตน้ ไม้เดีย่ วหรอื ตน้ ไมห้ มทู่ จี่ ะพงึ ส่งเสริมหรอื บารุงรักษา

ซ) แผนผังแสดงพ้ืนท่สี เี ขยี วและพนื้ ทอ่ี นรุ กั ษ์

๔) รายการและคาอธิบายประกอบแผนผัง ตาม (๓) รวมท้ังประเภทและชนิดของอาคารท่ีจะอนุญาต

หรอื ไมอ่ นุญาตใหก้ อ่ สร้าง

๕) ข้อกาหนดการใช้ประโยชนท์ ่ีดินท่ีจะให้ปฏิบัตหิ รือไม่ให้ปฏิบตั ิเพ่อื ให้เป็นไปตามวัตถปุ ระสงคข์ องผัง
เมอื งเฉพาะ ดงั ตอ่ ไปนี้

ก) แนวเขตของทางและขนาดของที่ดนิ ของเอกชนเพ่ือใช้เป็นท่ีอุปกรณ์

โครงการจัดทาแผนส่งิ แวดลอ้ มในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๓๗

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม รายงานฉบบั สดุ ทา้ ย

ข) ประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด ความสูง และจานวนของอาคารท่ีจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้

ก่อสรา้ ง

ค) ประเภทและขนาดของกจิ การทจี่ ะอนญุ าตหรือไมอ่ นุญาตใหด้ าเนนิ การ
ง) ประเภท ชนิด ขนาด จานวนและลกั ษณะของอาคารท่ีชารุดทรุดโทรม หรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่
น่ารังเกียจหรือน่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้อาศัยหรือสัญจรไปมาซ่ึงจะถูกส่ังให้ร้ือหรือเคลื่อนย้ายตามคาสั่งของ
คณะกรรมการการบริหารการผังเมอื งสว่ นทอ้ งถนิ่ ตามมาตรา ๕๓

จ) การใช้ประโยชน์ของอาคารที่อนุญาตให้ก่อสร้างขึ้นใหม่ หรืออนุญาตให้เปล่ียนแปลงอันผิดไป

จากการใชป้ ระโยชนต์ ามทไี่ ดข้ อไว้เมื่อขออนุญาตก่อสรา้ ง ซึง่ จะตอ้ งได้รบั อนุญาตจากเจา้ พนักงานท้องถนิ่

ฉ) ขนาดของแปลงที่ดินท่ีจะอนุญาตให้เป็นที่ก่อสร้างอาคารที่ใช้เพ่ือประโยชน์ต่าง ๆ ตามท่ีได้ระบุ

ไว้ในผงั เมอื งเฉพาะ รวมทงั้ บรเิ วณของท่ีดนิ ท่ีกาหนดให้เป็นทโ่ี ลง่ เพอ่ื ประโยชน์ตามท่ีระบุไว้

ช) การส่งเสริมดารงรักษาหรือบูรณะสถานท่ีหรือวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม
สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตรห์ รอื โบราณคดี

ซ) การดารงรกั ษาท่ีโลง่
ฌ) การส่งเสรมิ หรอื บารุงรกั ษาตน้ ไมเ้ ดย่ี วหรอื ต้นไม้หมู่

ญ) การดดั แปลง รื้อถอน หรือเคลอ่ื นย้ายอาคาร

ฎ) การอ่ืนที่จาเป็นเพื่อให้เป็นไปตามวตั ถปุ ระสงค์ของผงั เมอื งเฉพาะ

๖) รายละเอยี ดที่ดนิ ของเอกชนเพื่อใชเ้ ปน็ ท่ีอปุ กรณเ์ พ่ือประโยชน์ในการดาเนินการตามผงั เมืองเฉพาะ
๗) รายละเอียดและแผนที่ระบุท่ีดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นซ่ึงเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
หรือซ่ึงกระทรวง ทบวง กรม จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของ
ผคู้ รอบครอง หรอื ผดู้ ูแล ซ่ึงจะนามาใช้เพ่อื ประโยชน์แกก่ ารผังเมือง
๘) แผนที่ แผนผัง หรือรายละเอียดอืน่ ๆ ตามความจาเป็น

๒.๓.๒ พระราชบัญญัตสิ ่งเสริมและรกั ษาคุณภาพสงิ่ แวดลอ้ ม พ.ศ. ๒๕๓๕ และท่แี กไ้ ขเพิม่ เตมิ

ฉบบั ที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๑

เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมาย: โดยที่กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

แห่งชาติท่ีใช้ บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการควบคุมและแก้ไขปญั หาสิ่งแวดล้อมได้ อย่างพอเพียงสมควร
ปรบั ปรงุ ใหม่โดย

(๑) สง่ เสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีสว่ นร่วมในการสง่ เสริมและรกั ษาคุณภาพส่งิ แวดล้อม

(๒) จัดระบบการบริหารงานดา้ นส่ิงแวดลอ้ มใหเ้ ป็นไปตามหลักการจัดการคุณภาพส่ิงแวดล้อม

(๓) กาหนดอานาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถ่ินให้เกิดการประสานงาน

และมีหน้าท่ีร่วมกันในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและกาหนดแนวทางปฏิบัติในส่วนที่ไม่มี

หน่วยงานใดรบั ผิดชอบโดยตรง

(๔) กาหนด มาตรการควบคุมมลพิษด้วยการจัดให้มีระบบบาบัดอากาศเสียระบบบาบัดน้าเสีย ระบบ
กาจัดของเสีย และเครอ่ื งมือหรอื อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปญั หาเกีย่ วกบั มลพิษ

(๕) กาหนดหน้าทค่ี วามรับผิดชอบของผทู้ ่เี ก่ียวข้องกบั การก่อให้เกิดมลพษิ ใหเ้ ปน็ ไปโดยชดั เจน

โครงการจัดทาแผนสิ่งแวดลอ้ มในพืน้ ทีเ่ ขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๓๘

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอ้ ม รายงานฉบบั สุดท้าย

(๖) กาหนดใหม้ มี าตรการสง่ เสริมดา้ นกองทนุ และความชว่ ยเหลอื ดา้ นตา่ ง ๆ เพอ่ื เปน็ การจูงใจใหม้ ี

การยอมรับท่ีจะปฏิบัติหนา้ ที่ในการรกั ษาคุณภาพสง่ิ แวดลอ้ ม จงึ จาเป็นต้องตราพระราชบัญญัติน้ี

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีขอบเขตการดาเนินงานที่ครอบคลุมในหลาย
ประเด็น ที่ต้องการการสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการอย่างเหมาะสม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา
คุณภาพส่ิงแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเครื่องมือทางกฎหมายท่ีเกี่ยวข้องต่อการดูแลรักษา บริหารจัดคุณภาพ
ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งใน

ภาพรวมและในเชิงพนื้ ที่ ซงึ่ มีสาระทส่ี าคญั ดังนี้

หมวด ๒ กองทุนสิ่งแวดลอ้ ม มาตรา ๒๓ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ที่เก่ียวขอ้ งกับการลงทุนและ

ดาเนินงานระบบบาบัดน้าเสียหรือของเสียรวม ระบบบาบัดอากาศ รวมถึงการช่วยเหลือและอุดหนุนกิจการที่

เก่ยี วกับการส่งเสรมิ และรักษาคุณภาพสง่ิ แวดลอ้ มตามความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุน

หมวด ๓ การคุม้ ครองสงิ่ แวดลอ้ ม ประกอบดว้ ย
- การจัดทาแผนจดั การคุณภาพส่ิงแวดล้อม ตามมาตรา ๓๕ และ ๓๖
- การกาหนดเขตอนุรักษ์และพื้นท่ีคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา ๔๓ หรือ มาตรา ๔๕ ท้ังนี้ต้องมี
สภาพแวดล้อมตามเงื่อนไขท่ีกาหนด โดย มาตรา ๔๓ กาหนดให้พ้ืนที่ท่ีมีลักษณะเป็นพ้ืนท่ีต้นน้าลาธารหรือมี

ระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติท่ีแตกต่างจากพ้ืนที่อ่ืนโดยทั่วไป หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่อาจถูกทาลาย

หรืออาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ได้โดยง่ายหรือเป็นพ้ืนที่ที่มีคุณค่าทาง

ธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์และพื้นท่ีนั้นยังมิได้ถูกประกาศ กาหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ให้
รัฐมนตรีโดยคาแนะนาของคณะกรรมการส่ิงแวดล้อมแห่งชาติมีอานาจออกกฎกระทรวงกาหนด ให้พ้ืนที่นั้น
เป็นเขตพนื้ ทค่ี ุม้ ครองสิง่ แวดล้อม

ในขณะท่ี มาตรา ๔๕ กาหนดให้พื้นท่ีใดท่ีได้มีการกาหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ เขตผังเมืองรวม เขตผัง
เมืองเฉพาะ เขตควบคุมอาคาร เขตนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือเขตควบคุมมลพิษตาม

พระราชบัญญัติน้าไว้แล้ว แต่ปรากฏว่ามีสภาพปัญหาคุณภาพสิ่งแวดลอ้ มรุนแรงเข้าขั้นวกิ ฤตซึ่งจาเป็นจะต้อง

ได้รับการแก้ไขโดยทันทีและส่วนราชการท่ีเก่ียวข้องไม่มีอานาจตามกฎหมายหรือไม่สามารถที่จะทาการแก้ไข

ปัญหาได้ ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการส่ิงแวดล้อมแห่งชาติ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีขอ

อนุมัติเข้าดาเนินการเพื่อใช้มาตรการคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตามมาตรา ๔๔ ตามความ
จาเป็นและเหมาะสม เพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาในพ้ืนท่ีน้ันได้ เม่ือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้
รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษากาหนดเขตพื้นท่ี รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองและกาหนด

ระยะเวลาทีใ่ ช้มาตรการคมุ้ ครองดงั กลา่ วในพ้นื ที่นั้น

โดยเขตพื้นท่ีคุ้มครองสง่ิ แวดล้อม สามารถกาหนดมาตรการคุ้มครองอย่างใดอย่างหน่งึ หรือหลายอยา่ ง

ดงั ตอ่ ไปน้ี

๑) กาหนดการใช้ประโยชน์ในท่ีดินเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติหรือมใิ ห้กระทบกระเทือนต่อระบบนิเวศน์

ตามธรรมชาติ หรือคณุ ค่าของสงิ่ แวดล้อมศลิ ปกรรม
๒) ห้ามการกระทาหรือกิจกรรมใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบในทางเปลี่ยนแปลง

ระบบนิเวศน์ของพน้ื ที่นั้นจากลกั ษณะตามธรรมชาตหิ รอื เกิดผลกระทบต่อคุณคา่ ของสงิ่ แวดลอ้ มศิลปกรรม

โครงการจดั ทาแผนส่ิงแวดลอ้ มในพ้ืนทีเ่ ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๓๙

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม รายงานฉบับสดุ ทา้ ย

๓) กาหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่จะ

ทาการก่อสรา้ งหรือดาเนินการในพื้นท่ีน้นั ให้มหี นา้ ทต่ี อ้ งเสนอดรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบส่ิงแวดลอ้ ม

๔) กาหนดวิธีจัดการโดยเฉพาะสาหรับพ้ืนท่ีนั้นรวมทั้งการกาหนดขอบเขต หน้าที่และความรับผิดชอบ
ของสว่ นราชการทเี่ ก่ยี วขอ้ ง เพ่ือประโยชนใ์ นการรว่ มมือและประสานงานใหเ้ กิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
เพอ่ื รกั ษาสภาพธรรมชาตหิ รอื ระบบนเิ วศนต์ ามธรรมชาติหรอื คณุ ค่าของส่งิ แวดลอ้ มศิลปกรรมในพนื้ ที่น้นั

๕) กาหนดมาตรการคมุ้ ครองอน่ื ๆ ตามที่เหน็ สมควรและเหมาะสมแกส่ ภาพของพน้ื ทน่ี นั้

จากเง่ือนไขของการกาหนดพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ และลักษณะของ

มาตรการคุ้มครองตาม มาตรา ๔๔ มคี วามเป็นไปได้สาหรับการใช้ดาเนินการเพื่อการส่งเสริมและรักษาพ้ืนที่ที่

มคี วามหลากหลายทางชวี ภาพไว้โดยมกี ฎหมายรองรับอยา่ งเปน็ ทางการ

- การจัดทารายงานการประเมินผลกระทบส่ิงแวดล้อม ตามมาตรา ๔๖ ๔๗ ๔๘ คอื กระบวนการศึกษา

และประเมินผลที่อาจเกิดข้ึนจากการดาเนินโครงการหรือกิจการหรือการดาเนินการใดของรัฐหรือท่ีรัฐจะ
อนุญาตให้มีการดาเนินการท่ีอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย
คณุ ภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ท้ังทางตรงและทางออ้ ม โดยผ่านกระบวนการการ
มีสว่ นร่วมของประชาชน เพื่อกาหนดมาตรการปอ้ งกันแกไ้ ขผลกระทบดงั กล่าว

หมวด ๔ การควบคุมมลพิษ

โดยท้องท่ีใดมีปัญหามลพิษซ่ึงมีแนวโน้มท่ีจะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของ

ประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพส่ิงแวดล้อม สามารถกาหนดให้ท้องที่นั้นเป็นเขต
ควบคุมมลพิษเพื่อดาเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษได้ มาตรา ๕๙ และเม่ือท้องที่ใดท่ีได้ประกาศ
กาหนดใหเ้ ป็นเขตควบคุมมลพิษแลว้ ให้เจ้าพนกั งานท้องถ่ินในท้องทน่ี ้ัน จดั ทาแผนปฏิบัติการเพ่ือลดและขจัด
มลพิษในเขตควบคุมมลพิษนน้ั เสนอตอ่ ผวู้ ่าราชการจังหวดั เพื่อรวมไว้ในแผนปฏิบัติการเพอื่ การจัดการคุณภาพ
สง่ิ แวดลอ้ มในระดับจังหวดั ตามมาตรา ๓๗ ตอ่ ไป

กระบวนการตามมาตรานีอ้ าจใช้เป็นอีกกลไกหน่ึงสาหรับให้เพือ่ การบรหิ ารจัดการคณุ ภาพส่งิ แวดลอ้ ม

๒.๓.๓ พระราชบญั ญตั ทิ รัพยากรนา้ พ.ศ. ๒๕๖๑

เหตุผลและความจาเป็นในการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัติน้ี เพ่ือให้

การบริหารทรัพยากรน้า ทั้งในมิติด้านการจัดสรร การใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบารุงรักษา
การฟื้นฟู การอนุรักษ์ และสิทธิในน้ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันจะเป็นประโยชน์แก่การบริการ
สาธารณูปโภคและประโยชน์สาธารณะอยา่ งอ่นื

นิยาม “ทรัพยากรน้า” หมายความว่า น้า ทรัพยากรน้าสาธารณะ แหล่งต้นน้าลาธาร แหล่งกักเก็บ

น้า คลองส่งน้า พ้ืนที่ทางน้าหลาก ไมว่ ่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งอื่นที่ใช้เพือ่ การ

บริหารจัดการน้า และให้หมายความรวมถึงน้าจากแหล่งน้าระหว่างประเทศและแหล่งน้าต่างประเทศที่

ประเทศไทยอาจน้ามาใช้ประโยชน์ได้

การให้อานาจรัฐในการใช้ทรัพยากรน้า ตามมาตรา ๖ รัฐมีอานาจใช้ พัฒนา บริหารจัดการ
บารุงรักษา ฟ้ืนฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรน้าให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างสมดุลและยั่งยืน ท้ังนี้ ตาม
หลักเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแหล่งน้าหรือขยายพ้ื นท่ีของแหล่ง

โครงการจัดทาแผนสิง่ แวดล้อมในพืน้ ทีเ่ ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๔๐

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม รายงานฉบับสุดทา้ ย

น้าก็ได้ แต่ถ้าเป็นการลดพ้ืนท่ีหรือให้เลิกใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะต้องดาเนินการถอนสภาพตามประมวล
กฎหมายทดี่ นิ

เพ่ือประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรน้าสาธารณะที่มิใช่ทางน้าชลประทานตามกฎหมายว่าด้วยการ
ชลประทาน และน้าบาดาลตามกฎหมายว่าด้วยน้าบาดาล นายกรัฐมนตรีอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กาหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดเป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลและบารุงรักษา
ทรัพยากรนา้ สาธารณะแห่งใดกไ็ ด้

ให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินท่ีรับผิดชอบตามวรรคสอง มีอานาจออกระเบียบ
หรือข้อบัญญัติท้องถ่ิน แล้วแต่กรณี เพื่อกาหนดหลักเกณฑ์การเข้าใช้สอยทรัพยากรน้าสาธารณะนั้น ตาม
กรอบแนวทางที่คณะกรรมการทรัพยากรน้าแห่งชาติกาหนดโดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องมิใช่หลักเกณฑ์
เก่ยี วกับการจัดสรรนา้ และการใช้น้าตามทก่ี าหนดไว้ในหมวด ๔ การจัดสรรน้าและการใช้นา้

การกาหนดสิทธิในการใช้น้า ปรากฏในมาตรา ๗ บุคคลมีสิทธิใช้หรือกักเก็บทรัพยากรน้าสาธารณะได้
เท่าท่ีจาเป็นแก่ประโยชน์ในกิจกรรมหรือในที่ดินของตน โดยไม่เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่
บุคคลอ่ืนซ่ึงอาจใช้น้านั้น และมาตรา ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินซึ่งมีน้าพุเกิดขึ้นหรือมีน้าไหลผ่านตาม
ธรรมชาติไมว่ ่าบนดินหรอื ใตด้ ิน ย่อมมสี ิทธิใชห้ รือเกบ็ กกั นา้ นนั้ ไดเ้ ท่าท่ีจาเป็นแกป่ ระโยชนใ์ นท่ีดินของตน และ
ไมเ่ ปน็ เหตุใหเ้ กดิ ความเดือดร้อนหรือเสยี หายแก่บุคคลอ่ืน

หมวด ๓ การบริหารจัดการทรัพยากรน้า ตามมาตรา ๙ กาหนดให้มี คณะกรรมการทรัพยากรน้า
แห่งชาติ (กนช.) โดยมีหน้าท่ีและอานาจเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้าเพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการบูร
ณาการเก่ียวกับการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบารุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า
ให้เกิดความเป็นเอกภาพ รวมทั้งให้มีหน้าที่และอานาจ ตามมาตรา ๑๗ และเพ่ือประโยชน์ในการบริหาร
จัดการทรัพยากรน้า ให้มีการกาหนดลุ่มน้า โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา ๒๕ และเมื่อได้มีพระ
ราชกฤษฎีกากาหนดลุ่มนา้ แล้วให้มีคณะกรรมการลมุ่ น้าประจาลมุ่ น้าน้ัน โดยคณะกรรมการลุ่มน้ามีหนา้ ท่แี ละ
อานาจเก่ยี วกบั การบรหิ ารทรัพยากรน้าในเขตลุ่มนา้ ตามมาตรา ๓๕

ในกรณีผู้ใช้น้า (มาตรา ๓๘) มีสิทธิรวมตัวกันจดทะเบียนก่อตั้งองค์กรผู้ใช้น้าเพ่ือประโยชน์ร่วมกัน
เกี่ยวกับการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบารุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้าในหมู่
สมาชิกขององค์กรผู้ใช้น้า โดยวัตถุประสงค์ หน้าท่ีและอานาจ และการดาเนินงานขององค์กรผู้ใช้น้า รวมทั้ง
หลักเกณฑ์ ข้ันตอนและวิธีการก่อต้ังองค์กรผู้ใช้น้าให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวงที่ออกโดย
นายกรัฐมนตรี

หมวด ๔ การจดั สรรนา้ และการใชน้ า้ ตามมาตรา ๔๑ ได้แบง่ ประเภทการใชท้ รพั ยากรน้าสาธารณะ
ออกเปน็ ๓ ประเภท ประกอบด้วย

ประเภทท่ี ๑ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้าสาธารณะเพ่ือการดารงชีพการอุปโภคบริโภคใน
ครัวเรือน การเกษตรหรอื การเลยี งสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรอื น การรกั ษาระบบนิเวศ จารีต
ประเพณี การบรรเทาสาธารณภัย การคมนาคม และการใช้นา้ ใน ปรมิ าณเลก็ นอ้ ย

โครงการจดั ทาแผนสิง่ แวดล้อมในพนื้ ทีเ่ ขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๔๑

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม รายงานฉบับสดุ ทา้ ย

ประเภทที่ ๒ ไดแ้ ก่ การใช้ทรัพยากรน้าสาธารณะเพือ่ การอุตสาหกรรม อตุ สาหกรรมการ
ทอ่ งเทยี่ ว การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาและกจิ การอ่นื

ประเภทท่ี ๓ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้าสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ ท่ีใช้น้าปริมาณ
มาก หรอื อาจก่อใหเ้ กิดผลกระทบขา้ มลุ่มนา้ หรอื ครอบคลมุ พ้ืนท่อี ยา่ งกว้างขวาง

ซึ่งการใช้น้าประเภทท่ี ๒ ต้องได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา ๔๓ และ การใช้น้าประเภทที่ ๓
ตอ้ งไดร้ ับใบอนญุ าต ตามมาตรา ๔๔

หมวด ๖ การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้าสาธารณะ มาตรา ๗๓ ในกรณีที่เห็นว่า พ้ืนท่ีใดมี
ลักษณะเป็นแหล่งต้นน้าลาธารหรือพ้ืนท่ีชุ่มน้า สมควรสงวนไว้เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า
สาธารณะ ให้ กนช. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมพิจารณา
ดาเนินการให้พื้นที่นั้นเป็นเขตพื้นท่ีคุ้มครองส่ิงแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สงิ่ แวดล้อมแหง่ ชาติ

มาตรา ๗๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของ กนช. มอี านาจออกกฎกระทรวง
กาหนดหลักเกณฑก์ ารใช้ประโยชนท์ ดี่ ินทีอ่ าจสง่ ผลกระทบกับทรัพยากรนา้ สาธารณะเพื่อมใิ ห้เกิดอันตรายหรือ
ความเสียหายต่อทรัพยากรน้าสาธารณะ หรือเพ่อื ประโยชน์ในการอนรุ ักษ์หรือพฒั นาทรัพยากรน้าสาธารณะให้
เป็นไปไดโ้ ดยเหมาะสมได้

หลักเกณฑก์ ารใชป้ ระโยชน์ทด่ี ินท่กี าหนดในกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งจะกาหนดให้เร่ืองใดเร่ืองหน่ึงใช้
บงั คับเป็นการทว่ั ไปทุกท้องท่ี หรอื ใหใ้ ชบ้ ังคับเฉพาะท้องทใ่ี ดท้องทห่ี นงึ่ กไ็ ด้

ในกรณีที่มีกฎกระทรวง ประกาศ หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือ
กฎหมายอ่ืนกาหนดหลักเกณฑ์เก่ียวกับการใช้ประโยชน์ท่ีดินในบริเวณเดียวกันหรือในเรื่องเดียวกัน ขัดหรือ
แย้งกับกฎกระทรวงตามวรรคหน่ึง ให้บังคับตามกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่กฎกระทรวงประกาศ หรือ
ข้อบญั ญตั ทิ อ้ งถนิ่ ซ่ึงออกตามกฎหมายดังกลา่ วจะมีข้ึนเพ่อื คมุ้ ครองประโยชน์สาธารณะท่ีสาคญั ย่ิงกวา่ และ

มาตรา ๗๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยความเห็นชอบของ
กนช. มีอานาจออกกฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้า
สาธารณะ ในเรอ่ื งหน่ึงเรื่องใดดังตอ่ ไปน้ี ได้

(๑) กาหนดการใช้ประโยชน์ทรพั ยากรนา้ สาธารณะหรอื ทรพั ยากรธรรมชาตทิ ี่เกี่ยวข้อง
(๒) กาหนดห้ามการกระทาใด ๆ ที่มีผลเป็นการเสื่อมสภาพแหล่งน้าหรือเส่ือมประโยชน์ต่อ
การใช้น้า หรือทาให้เกิดภาวะมลพิษแก่แหล่งน้า หรือระบบนิเวศแหล่งน้า หรือทาให้น้ามีสภาพเป็นพิษจน
น่าจะเปน็ อันตรายต่อแหล่งนา้ หรอื ระบบนิเวศแหลง่ นา้ หรือสุขภาพของบคุ คล
(๓) กาหนดให้ผ้ใู ช้นา้ ซึง่ มีท่ีดนิ ตดิ ต่อหรือใกล้เคยี งกับทรัพยากรนา้ สาธารณะ จดั ใหม้ สี ่ิงก่อสรา้ ง
ติดต้ังอุปกรณ์หรือเครื่องมือ หรือใช้กรรมวิธีใดตามที่กาหนด เพ่ือตรวจสอบแหล่งท่ีก่อให้เกิดอันตราย หรือ
ความเสยี หายแกค่ ณุ ภาพน้า หรือเพอื่ ป้องกันหรือแกไ้ ขอันตรายหรือความเสียหายแก่คุณภาพน้า
(๔) กาหนดหลักเกณฑ์ในการดาเนินการกับสิ่งก่อสร้างหรือกิจกรรมที่ได้ดาเนินการภายในเขต
พ้ืนที่ที่กาหนดก่อนที่จะมีการออกกฎกระทรวง โดยจะกาหนดให้สามารถดาเนินการต่อไปได้ภายใต้เง่ือนไขท่ี

โครงการจัดทาแผนส่งิ แวดล้อมในพ้ืนท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๔๒

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม รายงานฉบบั สุดท้าย

กาหนด หรือให้ระงับการดาเนินกิจกรรม หรือร้ือถอนส่ิงก่อสร้างท่ีส่งผลกระทบต่อทรัพยากรน้าสาธารณะ

โดยไดร้ บั ค่าชดเชยตามความเหมาะสม

(๕) กาหนดมาตรการค้มุ ครองอื่น ๆ ตามทเี่ ห็นสมควรและเหมาะสมแก่สภาพของพ้นื ท่นี นั้
กฎกระทรวงตามวรรคหน่ึงจะกาหนดให้ใช้บังคับเป็นการท่ัวไปหรือใช้บังคับในท้องท่ีใดท้องที่
หน่ึง และจะกาหนดขอ้ ยกเว้นการใช้บงั คับท้ังหมดหรือบางสว่ นสาหรบั กจิ กรรมบางประเภทหรือบางพื้นทีก่ ็ได้
๒.๓.๔ พระราชบัญญตั ิเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑

เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมาย: โดยที่ภาคตะวันออกเป็นพื้นท่ีที่มีศักยภาพ ทางเศรษฐกิจสูง

หากมีการพัฒนาพื้นท่ีอย่างต่อเน่ือง เป็นระบบและโดยสอดคล้องกับหลักการพัฒนา อย่างย่ังยืนแล้วจะทาให้

การใช้ท่ีดินในภาคตะวันออกเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสภาพและศักยภาพของพ้ืนท่ี ได้อย่างแท้จริง ทั้งยัง

จะช่วยเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมให้มีการ

ประกอบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อ
ส่ิงแวดล้อมและการเกษตรกรรมดั้งเดิม ตลอดจนวิถีชีวิตของชุมชนในพ้ืนที่ดังกล่าว แต่กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่
ในปัจจบุ ันไม่เอื้อต่อการพฒั นาพื้นท่ีตามแนวทางดังกล่าว ไม่มีการวางแผน การบริหารพ้ืนที่แบบองค์รวม การ
พฒั นาด้านต่าง ๆ จึงเปน็ ไปอย่างแยกส่วนและกระจัดกระจาย ผลของการขาดการบูรณาการดังกลา่ ว ทาให้ไม่

สามารถพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งการจัดทาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของ

หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ยังขาดความต่อเน่ืองและ เชื่อมโยงกัน กรณีจึงสมควรกาหนดให้ภาคตะวันออกเป็น

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีการวางแผน การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นท่ีชัดเจนแน่นอนโดยเหมาะสมกับ
สภาพและศักยภาพของพ้ืนที่ สอดคล้องกับ หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการบูรณาการการจัดทาโครงส ร้าง
พ้ืนฐานและสาธารณูปโภคให้ต่อเนื่องและ เชื่อมโยงกันทั้งในและนอกเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พัฒนา
เมืองให้มีความทันสมัยระดับนานาชาติ ที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยและการประกอบกิจการ มีการให้บริการ
ภาครัฐแบบเบ็ดเสรจ็ ครบวงจร รวมทง้ั ให้สิทธิประโยชนแ์ ก่ผู้ประกอบกจิ การในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพเิ ศษเป็น

การเฉพาะ จึงจาเป็นตอ้ งตรา พระราชบัญญตั ิน้ี

ทิ ศ ท า งก า ร พั ฒ น า ห รื อ ก า ร เติ บ โ ต ท าง เศ ร ษ ฐ กิ จ ส่ ง ผ ล ต่ อ ทิ ศ ท า งก า ร ข ย า ย ตั ว ข อ งพื้ น ที่ เมื อ ง

ซึ่งมีผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมหรือการฟื้นฟูรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพ้ืนที่โดยตรง

ประกอบกับพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ ให้อานาจในการกาหนดทิศทางการ
พัฒนาพ้ืนที่ภาคตะวันออกไว้ค้อนข้างเบ็ดเสร็จผ่านคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ซ่ึงสามารถปรับแก้ไข กฎ ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค ในการดาเนินการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษภาค

ตะวันออก โดยมสี าระสาคัญ ดังน้ี

๑) องคป์ ระกอบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก ประกอบดว้ ย

นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เก่ียวข้อง ผู้อานวยการสานัก

งบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการ

ส่งเสริมการลงทุน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
ไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวฒุ ิ เป็นกรรมการ เลขาธิการสานักงานคณะกรรมการนโยบาย
เขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวันออก เป็นกรรมการและเลขานุการ

โครงการจัดทาแผนสิ่งแวดล้อมในพน้ื ท่ีเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๔๓

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม รายงานฉบับสุดทา้ ย

ภายใต้หน้าที่และอานาจของคณะกรรมการฯ ตามมาตรา ๑๑ คณะกรรมการฯ สามารถพิจารณาให้มี

การดาเนินปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคาสั่ง ที่เห็นว่าก่อให้เกิดความสะดวกหรือ

เป็นอุปสรรค เพ่ือให้การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว ได้ตาม
มาตรา ๙ (ในการใช้อานาจตามมาตรา ๑๑ อาจส่งผลต่อการเปล่ียนแปลงพ้ืนท่ีของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
ได้หากนโยบายไม่ไดใ้ ห้ความสาคญั ตอ่ การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในพืน้ ทม่ี ากนัก)

๒) การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก

กาหนดให้จัดทานโยบายและแผนภาพรวมเพ่ือการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แผนการใช้

ประโยชน์ในที่ดนิ ในภาพรวม แผนพัฒนาโครงสร้างพ้นื ฐานและระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ ตามมาตรา ๒๙ และ

ให้ใช้แผนผังการใช้ประโยชน์ในท่ีดิน แทนผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองสาหรับแต่ละจังหวัดท่ี

อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก ตามมาตรา ๓๐ และ มาตรา ๓๒

ในกรณีที่มีความจาเป็นที่จะต้องดาเนินการใดเพ่ือการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แต่การ
ดาเนินการดังกล่าวเป็นหน้าที่และอานาจของหน่วยงานของรัฐหน่วยใดหน่วยหน่ึงหรือหลายหน่วยงาน
คณะรัฐมนตรสี ามารถกาหนดให้หนว่ ยงานของรัฐหน่วยใดหน่วยหนึ่ง หรือสานกั งานฯ เป็นผูด้ าเนินการแตเ่ พยี ง
หน่วยเดียว หรือในกรณี มีกฎหมายกาหนดให้ผู้ดาเนินการน้ันตอ้ งได้รับอนุมัตหิ รืออนุญาตหรือต้องได้รับความ

เห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐหน่วยใด ให้คณะกรรมการนโยบายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติหรืออนุญาตหรือให้

ความเห็นขอบแทนหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายวา่ ดว้ ยการน้ัน ตามมาตรา ๓๓ หรือ ในกรณีมีความจาเปน็ ใช้

ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คณะรัฐมนตรีมีอานาจให้สานักงานฯ เข้า
ใช้ประโยชน์ท่ีดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมเพ่ือการดาเนินการหรือประกอบ
กิจการอ่ืนใดนอกเหนือจากที่กาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดิ นเพ่ือการเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้อง
ดาเนนิ การเพิกถอนเขตปฏิรูปท่ดี ิน ตามมาตรา ๓๖

มาตรา ๓๗ เพ่ือให้การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตามมาตรา ๖

และนโยบายและแผนตามมาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการนโยบายเป็นผู้มีอานาจอนุมัติ อนุญาต ให้สิทธิ หรือให้

สัมปทานแก่บุคคลซ่ึงดาเนินการอันเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกตาม

กฎหมายดังต่อไปนีด้ ้วย แต่ในกรณีเป็นการดาเนินการภายนอกเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวันออกจะต้องเป็นเรื่อง

ทีเ่ ช่ือมโยงกันและต้องไดร้ บั ความเหน็ ชอบจากรัฐมนตรีผู้รกั ษาการตามกฎหมายนน้ั
(๑) ประกาศของคณะปฏวิ ัติ ฉบับที่ ๕๘ ลงวนั ท่ี ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๕
เวน้ แต่ในส่วนท่เี กยี่ วขอ้ งกบั หนา้ ทแี่ ละอานาจของกระทรวงการคลัง

(๒) กฎหมายว่าดว้ ยการเดินเรือในนา่ นน้าไทย

(๓) กฎหมายว่าดว้ ยการชลประทานหลวง

(๔) กฎหมายวา่ ดว้ ยการประกอบกจิ การพลังงาน

(๕) กฎหมายวา่ ด้วยทางหลวงสมั ปทาน

(๖) กฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพ่ือสนั ติ
ในการอนุมัติ อนุญาต ให้สิทธิ หรือให้สัมปทานตามวรรคหน่ึง ให้คณะกรรมการนโยบายคานึงถึง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขท่ีกาหนดไว้ตามกฎหมายน้ัน แต่ในกรณีท่ีคณะกรรมการนโยบายเห็นว่าหากมี

โครงการจดั ทาแผนส่ิงแวดล้อมในพืน้ ท่ีเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๔๔

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อม รายงานฉบับสดุ ท้าย

การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเง่ือนไขเช่นว่าน้ันจะทาให้การอนุมัติ อนุญาต ให้สิทธิ หรือให้

สัมปทานดังกล่าวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ให้แจ้งให้ผู้มีหน้าท่ีและอานาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพ่ือเสนอ

ความเห็น และเม่ือคณะกรรมการนโยบายพิจารณาแล้ว ให้ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเง่ือนไขท่ี
เห็นสมควรในราชกิจจานุเบกษา และให้คณะกรรมการนโยบายอนุมัติ อนุญาต ให้สิทธิ หรือให้สัมปทาน ตาม
หลักเกณฑ์ วิธกี าร หรอื เงือ่ นไขท่ีแก้ไขเพ่มิ เติมนัน้

เม่ือคณะกรรมการนโยบายได้อนุมัติ อนุญาต ให้สิทธิ หรือให้สัมปทานตามวรรคหน่ึงแล้วให้เลขาธิการ

หรือพนักงานของสานักงานซึ่งเลขาธิการมอบหมายมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซ่ึงมีหน้าที่

และอานาจในการบงั คับการใหเ้ ป็นไปตามกฎหมายตามวรรคหนึง่ ดว้ ย

๓) เขตส่งเสรมิ เศรษฐกิจพเิ ศษ

ตามมาตรา ๓๙ คณะกรรมการนโยบายฯ อาจกาหนดให้มีเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพ่ือส่งเสริม

อตุ สาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ใน ๑๐ กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบดว้ ย ๑) ยานยนต์สมัยใหม่ ๒) อิเล็กทรอนิกส์
อจั ฉริยะ ๓) การท่องเท่ียวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ๔) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ๕)
การแปรรูปอาหาร ๖) หุ่นยนต์ ๗) การบินและโลจิสติกส์ ๘) เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ๙) ดิจิทัล ๑๐)
การแพทยแ์ ละสุขภาพครบวงจร

โดยการดาเนินงานในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ท่ีต้องได้รับอนุมัติ อนุญาต ใบอนุญาต หรือความ

เห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐหรือคณะกรรมการตามกฎหมายน้ัน หรือต้องจดทะเบียนหรือแจ้งต่อหน่วยงาน

ของรัฐหรือคณะกรรมการตามน้ันก่อน ให้ถือว่าเลขาธิการฯ เป็นผู้มีอานาจอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต
หรอื ใหค้ วามเหน็ ชอบ หรอื เปน็ ผ้มู อี านาจในการรบั จดทะเบียนหรอื รบั แจง้ ตามกฎหมายนน้ั ตามมาตรา ๔๓

มาตรา ๔๓ การดาเนินการหรือการกระทาใดภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษท่ีเก่ียวข้องกับกฎหมาย
ดังต่อไปน้ี หากกฎหมายกาหนดให้ผู้ดาเนินการหรือผู้กระทาต้องได้รับอนุมัติ อนุญาต ใบอนุญาต หรือความ
เห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐหรือคณะกรรมการตามกฎหมายน้ัน หรอื ตอ้ งจดทะเบยี น หรอื แจ้งตอ่ หนว่ ยงาน

ของรัฐหรือคณะกรรมการตามกฎหมายนั้นก่อน ให้ถือว่าเลขาธิการเป็นผู้มีอานาจอนุมัติ อนุญาต ออก

ใบอนญุ าต หรือให้ความเห็นชอบ หรอื เป็นผู้มอี านาจในการรับจดทะเบียนหรอื รับแจ้งตามกฎหมายน้นั

(๑) กฎหมายวา่ ดว้ ยการขุดดินและถมดิน

(๒) กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๓) กฎหมายวา่ ด้วยการจดทะเบยี นเครื่องจักร
(๔) กฎหมายวา่ ด้วยการสาธารณสุข

(๕) กฎหมายว่าดว้ ยคนเข้าเมือง เฉพาะเพื่อการอนุญาตให้คนตา่ งดา้ วตามมาตรา ๕๔ (๑)

หรือ (๒) อยู่ต่อในราชอาณาจักร

(๖) กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณชิ ย์

(๗) กฎหมายวา่ ด้วยโรงงาน

(๘) กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
เม่ือได้รับอนุมัติ อนุญาต ใบอนุญาต หรือความเห็นชอบจากเลขาธิการหรือได้จดทะเบียนหรือแจ้งต่อ
เลขาธิการตามวรรคหน่ึงแล้ว ให้ถือว่าผู้ดาเนินการหรือผู้กระทาการน้ันได้รับอนุมัติ อนุญาต ใบอนุญาต หรือ

โครงการจัดทาแผนส่งิ แวดล้อมในพ้นื ที่เขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๔๕

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม รายงานฉบับสดุ ท้าย

ความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐหรือคณะกรรมการตามกฎหมายน้ันแล้ว หรือได้จดทะเบียนหรือแจ้งต่อ
หนว่ ยงานของรัฐหรอื คณะกรรมการตามกฎหมายน้นั แล้ว

๔) กองทุน
มาตรา ๖๑ ใหจ้ ดั ตงั้ กองทนุ พัฒนาเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก โดยมวี ตั ถปุ ระสงค์เพื่อเป็นทุน
สนับสนนุ การพัฒนาพ้นื ที่ ชมุ ชน และประชาชนท่ีอย่ภู ายในหรอื ท่ไี ด้รับผลกระทบจากการพฒั นาเขตพฒั นา
พิเศษภาคตะวนั ออก
โดยมาตรา ๖๓ กาหนดให้สานกั งานฯ เป็นผู้บริหารจดั การเงนิ กองทุน และ
มาตรา ๖๔ เงินกองทนุ ใหใ้ ชจ้ ่ายเพ่ือกจิ การ ดงั ต่อไปน้ี
๑) เพ่ือการพัฒนาพื้นทห่ี รือชุมชน รวมตลอดท้งั ช่วยเหลือ หรอื เยยี วยาประชาชนและชุมชน บรรดาท่ี

อาจไดร้ บั ผลกระทบจาการพัฒนาเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวันออก
๒) สนับสนนุ และส่งเสรมิ การศึกษาและให้ทนุ การศึกษาแก่ประชาชนท่อี ยู่อาศยั ในเขตพฒั นาพิเศษภาค

ตะวนั ออกหรือที่อย่ใู กลเ้ คยี งและได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก
๓) คา่ ใชจ้ ่ายอนื่ ท่ีจะส่งเสริมใหเ้ กิดประสิทธิภาพและความรวดเรว็ ในการพฒั นาเขตพฒั นาพเิ ศษภาค

ตะวันออกตามท่คี ณะกรรมการนโยบายกาหนด
๔) คา่ ใช้จา่ ยในการบริหารกองทุน
จากข้อกาหนดการใช้จ่ายของเงินกองทุนตามมาตรา ๖๔ ดังกล่าว ความจาเป็นในเรื่องการสนับสนุน
กิจกรรมการติดตาม ดูแล และฟ้ืนฟูคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดูเหมือนจะอยู่นอกขอบเขต
การใช้จ่ายของเงิน “กองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” ดังนั้น ความต้องการการสนับสนุน
กจิ กรรมการติดตาม ดูแล และฟ้ืนฟูคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาจต้องพิจารณาหาแนวทาง
อน่ื
๒.๓.๕ ประกาศของคณะปฏิวตั ิ ฉบบั ที่ ๕๘ ลงวันท่ี ๒๖ มกราคม ๒๕๑๕
วัตถุประสงค์ของกฎหมาย เพ่ือการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่ง
สาธารณชน แต่กฎหมายว่าด้วยการกาหนดเจ้าหน้าที่รักษาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องท่ีใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มี
บทบัญญัติควบคมุ การประกอบกิจการ จึงสมควรกาหนดการควบคุมกจิ การนั้นไว้ในกฎหมายท่ีปรับปรุงใหมใ่ น
คราวเดียวกัน กาหนดให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงของกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
รัฐมนตรวี ่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ รฐั มนตรวี ่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
เศรษฐกจิ รกั ษาการตามประกาศของคณะปฏวิ ตั ฉิ บับน้ี สาระสาคัญทเ่ี กยี่ วข้อง
โดย ให้กระทรวงการคลังมีอานาจและหน้าท่ีเก่ียวกับกิจการด้านการเงินและการคลัง กระทรวง
คมนาคมมีอานาจและหน้าท่ีเก่ียวกับกิจการการรถไฟและการเดินอากาศ กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมี
อานาจและหน้าท่เี กี่ยวกบั กจิ การชลประทานและการขุดคลอง กระทรวงมหาดไทยมีอานาจและหน้าที่เกีย่ วกับ
กิจการการรถราง การประปา การไฟฟ้า และการผลิตเพื่อจาหน่ายก๊าซโดยระบบเส้นท่อไปยังอาคารต่าง ๆ
กระทรวงเศรษฐกิจการมีอานาจและหน้าท่ีเกี่ยวกับกิจการประกันภัยและการคลังสินค้า หรือกิจการท่ีมีสภาพ
คล้ายคลึงกัน

โครงการจดั ทาแผนสิ่งแวดล้อมในพนื้ ทีเ่ ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๔๖

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม รายงานฉบับสดุ ท้าย

๒.๓.๖ พระราชบัญญตั กิ ารเดนิ เรอื ในน่านนา้ ไทย พ.ศ. ๒๔๕๖ และท่ีแกไ้ ขเพิ่มเตมิ
มาตรา ๘ แห่งใดมีบัญญัติว่าด้วยการออกอนุญาตอย่างใด ๆ ตามซ่ึงเจ้าท่าเห็นจาเป็นจะต้องออกเป็น
หนังสือ ให้เจ้าท่ามีอานาจเรียกค่าธรรมเนียมสาหรับใบอนุญาตเช่นนั้นตามอัตราท่ีกาหนดโดยกฎกระทรวงแต่
ไม่เกินหนงึ่ รอ้ ยบาท
มาตรา ๑๒ รฐั มนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมอี านาจออกกฎกระทรวง ดงั ต่อไปนี้

(๑) กาหนดแนวแมน่ า้ ลาคลองหรอื ทะเลอาณาเขตแห่งใดเปน็ เขตทา่ เรือและเขตจอดเรือ
(๒) กาหนดทางเดินเรือทั่วไปและทางเดินเรือในเขตท่าเรือนอกจากทางเดินเรือในเขต

ทา่ เรือกรุงเทพฯ
(๓) กาหนดแนวทะเลแห่งใดภายในน่านน้าไทยเปน็ เขตควบคมุ การเดนิ เรอื
๒.๓.๗ พระราชบญั ญัตกิ ารชลประทานหลวง พ.ศ. ๒๔๘๕ และทแ่ี ก้ไขเพ่มิ เติม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปน็ ผรู้ ักษาการตามพระราชบญั ญัติน้ี
มาตรา ๕ เพื่อประโยชนแ์ หง่ พระราชบัญญัตนิ า้ ทางน้าชลประทานแบง่ ออกเปน็ ๔ ประเภท คอื
ประเภท ๑ ทางน้าที่ใช้ในการสง่ ระบาย กัก หรือกนั้ น้าเพ่ือการชลประทาน
ประเภท ๒ ทางน้าท่ีใช้ในการคมนาคมแต่มีการชลประทานร่วมอยู่ด้วย เฉพาะภายในเขตท่ี

ไดร้ บั ประโยชนจ์ ากการชลประทาน
ประเภท ๓ ทางนา้ ท่สี งวนไว้ใชใ้ นการชลประทาน
ประเภท ๔ ทางน้าอันเปน็ อปุ กรณแ์ ก่การชลประทาน
ใหร้ ัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานเุ บกษาว่าทางนา้ ใดเปน็ ทางนา้ ชลประทานและเปน็ ประเภทใด
มาตรา ๖ นายช่างชลประทานมีอานาจใช้พ้ืนที่ดินที่ปราศจากสิ่งปลูกสร้างซ่ึงอยู่ในเขตการชลประทาน
ได้เป็นครั้งคราวตามระยะเวลาท่ีจาเป็นแก่การชลประทาน โดยแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง
ที่ดินน้ันทราบลว่ งหนา้ ไมน่ ้อยกว่าเจด็ วัน แต่ถา้ มีการเสยี หายเกิดขน้ึ ตอ้ งชดใช้ค่าสินใหม่ทดแทน
มาตรา ๗ ในกรณีฉุกเฉินเพ่ือป้องกันอันตรายอาจเกิดแก่การชลประทานนายช่างชลประทานมีอานาจท่ี
จะใช้ท่ีดินหรือสิ่งของของบุคคลใด ๆ ในท่ีใกล้เคยี งหรือในบริเวณทอ่ี าจเกดิ อันตรายได้เท่าทีจ่ าเป็น แต่ถ้ามีการ
เสียหายเกดิ ข้ึนต้องชดใช้คา่ สินไหมทดแทน
มาตรา ๘ รัฐมนตรีมีอานาจเรียกเก็บค่าชลประทานจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองท่ีดินในเขต
ชลประทานหรือจากผ้ใู ช้น้าจากทางน้าชลประทาน ไม่ว่าผ้ใู ช้น้าจะอยู่ในหรือนอกเขตชลประทานโดยออกเป็น
กฎกระทรวงกาหนด
มาตรา ๙ เพ่ือให้ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน ถ้าไม่สามารถจะทาได้โดยวิธีอื่นให้เจ้าของที่ดินท่ี
อยหู่ ่างทางน้าหรอื แหลง่ น้าใดมีสิทธิทาทางน้าผา่ นท่ีดินของผู้อน่ื ได้ ในเมอ่ื นายช่างชลประทาน ขา้ หลวงประจา
จังหวัด หรือนายอาเภอได้อนุญาตและกาหนดให้โดยกว้างรวมท้ังท่ีทิ้งดินด้วยไม่เกินสิบเมตร แต่ต้องใช้ค่า
สินไหมทดแทนใหแ้ กเ่ จา้ ของและผูค้ รอบครองทีด่ นิ ท่ีทางนา้ นั้นผา่ น
ในการที่จะให้อนุญาตและกาหนดทางน้านั้น ให้คานึงถึงประโยชน์ของเจ้าของและผู้ครอบครองท่ีดินท่ี
ทางน้าผ่าน และให้กาหนดให้ทาตรงที่ท่จี ะเสียหายแก่เจา้ ของและผู้ครอบครองท่ดี นิ นัน้ น้อยทสี่ ุด

โครงการจดั ทาแผนส่งิ แวดลอ้ มในพ้ืนท่ีเขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๔๗

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ ม รายงานฉบบั สุดทา้ ย

มาตรา ๑๑ เมือ่ มคี วามจาเป็นท่ีจะต้องได้มาซ่ึงอสังหารมิ ทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ถ้ามิได้
ตกลงในเร่ืองการโอนไว้เป็นอย่างอืน่ ให้ดาเนนิ การเวนคืนตามกฎหมายวา่ ดว้ ยการเวนคนื อสังหาริมทรัพย์

มาตรา ๑๔ รฐั มนตรมี อี านาจออกกฎกระทรวงเพอ่ื ดาเนนิ การ ดงั ต่อไปนี้
(๑) กาหนดเง่ือนไขการใช้เรอื แพ ในทางนา้ ชลประทานประเภท ๑ และประเภท ๒
(๒) วางระเบียบการขอและการอนุญาตเดินเรือยนต์หรือเรือกลไฟในทางน้าชลประทาน
ประเภท ๑ และการขอและการออกใบอนุญาตเดินเรือยนต์หรือเรือกลไฟรับจ้างขนส่ง
คนโดยสารหรือสนิ ค้าหรือรบั จ้างลากจงู ในทางน้าชลประทานประเภท ๒
(๓) กาหนดค่าบารุงทางน้าชลประทานที่จะเรียกเก็บจากผู้ใช้เรือ แพ ผ่านประตูน้า ประตู
ระบายหรือผ่านบริเวณทานบ หรือประตูระบายโดยทางสาล่ี ไม่เกินอัตราในบัญชี ก.
ท้ายพระราชบัญญตั ินี้ และยกเว้นคา่ บารงุ ทางนา้ ชลประทานแกเ่ รอื บางประเภท
(๔) กาหนดค่าบารุงทางน้าชลประทานที่จะเรียกเก็บจากผู้รับใบอนุญาตเดินเรือยนต์หรือ
เรือกลไฟรับจ้างขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าหรือรับจ้างลากจูงในทางน้าชลประทาน
ประเภท ๒ เป็นรายปี ไมเ่ กินอตั ราในบญั ชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติน้ี
(๕) กาหนดคา่ ธรรมเนียมไม่เกนิ อตั ราในบัญชี ค. ท้ายพระราชบัญญตั นิ ้ี
(๖) กาหนดเครื่องมือและวิธีที่จะใช้ในการจับสัตว์น้า ตลอดจนกาหนดเขตห้ามจับสัตว์น้า
ในทางนา้ ชลประทาน เพอ่ื ป้องกนั ความเสียหายแก่การชลประทาน

๒.๓.๘. พระราชบญั ญตั ิการประกอบกจิ การพลงั งาน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๔๗ การประกอบกิจการพลังงานไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ต้องได้รับใบอนุญาตจาก
คณะกรรมการ
ในการออกใบอนุญาต ให้คณะกรรมการประกาศกาหนดประเภทและอายุใบอนุญาตให้สอดคล้องกับ
ขนาดและลักษณะของกิจการพลังงานประเภทต่าง ๆ โดยให้คานึงถึงผลกระทบต่อประชาชน ความคุ้มค่าทาง
เศรษฐกิจ สังคม และการลงทุน รวมถึงลักษณะการแข่งขันของกิจการแต่ละประเภทและอาจกาหนดเงื่อนไข
เป็นการเฉพาะรายดว้ ยก็ได้
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่การปลูกสร้างอาคาร หรือการตั้งโรงงานเพื่อการประกอบกิจการพลังงานต้อง
ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือ
กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ให้การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการน้ันเป็นอานาจหน้าที่
ของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตนิ ้ี
๒.๓.๙ พระราชบัญญตั กิ ารขุดดนิ และถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ และทแ่ี ก้ไขเพม่ิ เตมิ
มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอ่ืนที่จาเป็น
เพ่ือปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีโดยนาแนะนาของคณะกรรมการมีอานาจออกกฎกระทรวง
กาหนด
(๑) บรเิ วณหา้ มขุดดนิ หรอื ถมดนิ

โครงการจดั ทาแผนสง่ิ แวดล้อมในพืน้ ทเ่ี ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๔๘

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม รายงานฉบับสดุ ท้าย

(๒) ความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดินตามชนิดของดิน ความลึกและขนาดของ
บอ่ ดินที่จะขุดดิน ความสูงและพ้ืนทีข่ องเนินดินที่จะถมดนิ และระยะห่างจากขอบบอ่ ดินหรือเนิน
ดนิ ถงึ เขตทดี่ ินหรือสิง่ ปลูกสรา้ งของบุคคลอื่น

(๓) วธิ กี ารปอ้ งกันการพงั ทลายของดนิ หรือสง่ิ ปลูกสร้าง
(๔) วิธีการให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่คนงานและบุคคลภายนอก
(๕) หลักเกณฑ์ วธิ ีการ และเงอื่ นไขอน่ื ในการขดุ ดนิ หรอื ถมดนิ
มาตรา ๗ ในกรณีที่ได้มีการออกกฎกระทรวงกาหนดเร่ืองใดตามมาตรา ๖ แล้ว ให้องค์กรปกครองส่วน
ทอ้ งถนิ่ ถอื ปฏบิ ตั ติ ามกฎกระทรวงนนั้
ในกรณีท่ียังมิได้มีการออกกฎกระทรวงเร่ืองใดตามมาตรา ๖ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอานาจ
ออกขอ้ บัญญตั ิทอ้ งถิน่ กาหนดเรอ่ื งนั้นได้
มาตรา ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะทาการขุดดินโดยมีความลกึ จากระดบั พื้นดินเกินสามเมตรหรือมพี น้ื ที่ปากบ่อ
ดนิ เกินหน่ึงหม่ืนตารางเมตร หรอื มีความลึกหรอื พ้ืนที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิน่ ประกาศกาหนด ให้แจง้ ต่อเจ้า
พนักงานทอ้ งถิ่นตามแบบทีเ่ จา้ พนกั งานท้องถน่ิ กาหนด
มาตรา ๒๖ ผู้ใดประสงค์จะทาการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับท่ีดินต่างเจ้าของท่ีอยู่
ข้างเคียง และมีพ้ืนท่ีของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร หรือมีพ้ืนที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถ่ินประกาศ
กาหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้าเพียงพอท่ีจะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือ
บคุ คลอ่นื
การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร หรือมีพื้นท่ีเกินกว่าท่ีเจ้าพนักงานท้องถ่ินประกาศกาหนด
ตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้าตามวรรคหน่ึง ต้องแจ้งการถมดินน้ันต่อเจ้าพนักงาน
ท้องถน่ิ ตามแบบทเี่ จ้าพนักงานทอ้ งถ่ินกาหนด
๒.๓.๑๐ พระราชบญั ญตั คิ วบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ มีความสาคัญในฐานะที่เป็นเคร่ืองมือของท้องถิ่นใช้ในการ
ควบคุม การก่อสร้างให้เป็นไปตามลักษณะเอกลักษณ์ และส่งเสริมพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ ที่มีความปลอดภัย
สอดคล้องตามประเภทกรใช้ท่ีดินตามท่ีกาหนดไว้ในผังเมืองรวมของพื้นที่ ซ่ึงมีสาระสาคัญท่ีเกี่ยวข้อง
ดงั ต่อไปนี้
มาตรา ๘ ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ เพ่ือประโยชน์แห่งความมั่นคง
แข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การ
สถาปัตยกรรม และการอานวยความสะดวกแก่การจราจร ตลอดจนการอ่ืนที่จาเป็นเพ่ือปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติ (ควบคุมอาคาร) น้ี ให้รัฐมนตรีโดยคาแนะนาของคณะกรรมการควบคุมอาคารมีอานาจออก
กฎกระทรวงกาหนด ดงั ตอ่ ไปน้ี
๑) ประเภท ลกั ษณะ แบบ รูปทรง สดั ส่วน ขนาด เนอ้ื ท่ี และที่ตัง้ ของอาคาร
๒) การรบั น้าหนกั ความต้านทาน ความคงทน ตลอดจนลกั ษณะและคณุ สมบตั ิของวัสดุที่ใช้
๓) การรบั นา้ หนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินทรี่ องรบั อาคาร

โครงการจัดทาแผนสง่ิ แวดลอ้ มในพน้ื ทเ่ี ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๔๙

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม รายงานฉบบั สุดทา้ ย

๔) แบบและวิธีการเก่ียวกับการติดตั้งระบบประปา ก๊าซ ไฟฟ้า เครื่องกล ความปลอดภัยเกี่ยวกับ

อัคคภี ยั หรือภัยพบิ ตั อิ ย่างอ่นื และการปอ้ งกันอันตรายเมอื่ มีเหตุชุลมนุ วนุ่ วาย

๕) แบบและจานวนของหอ้ งน้าและหอ้ งส้วม
๖) ระบบการจัดการเก่ียวกับสภาพแวดล้อมของอาคาร เช่น ระบบการจัดแสงสว่าง การระบายอากาศ
การปรับอากาศ การฟอกอากาศ การระบายนา้ การบาบดั นา้ เสยี และการกาจดั ขยะมลู ฝอย และส่ิงปฏกิ ลู
๗) ลักษณะ ระดบั ความสูง เนอ้ื ที่ของที่วา่ งภายนอกอาคาร หรือแนวอาคาร

๘) ระยะหรือระดับระหว่างอาคารกับอาคารหรือเขตที่ดินของผู้อื่น หรือระหว่างอาคารกับถนน ตรอก

ซอย ทางเท้า ทาง หรือท่ีสาธารณะ

๙) พื้นท่ีหรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถสาหรับอาคารบางชนิด

หรอื บางประเภท ตลอดจนลกั ษณะและขนาดของพื้นที่หรอื สง่ิ ทส่ี รา้ งขนึ้ ดังกลา่ ว

๑๐) บริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปล่ียนการใช้อาคารชนิดใดหรือ
ประเภทใด

๑๑) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่อื นไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง ร้ือถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปล่ียนการใช้
อาคาร

๑๒) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การต่ออายุ ใบอนุญาต การโอน

ใบอนุญาต การออกใบอนญุ าต การออกใบรับรอง และการออกใบแทนตามพระราชบญั ญัติน้ี

๑๓) หน้าท่ีและความรับผิดชอบของผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้ดาเนินการ ผู้ครอบครองอาคาร และ
เจ้าของอาคาร

๑๔) คุณสมบัติเฉพาะและลักษณะต้องห้ามของผู้ตรวจสอบ ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใน
การขอขนึ้ ทะเบยี น และการเพกิ ถอนการขน้ึ ทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ

๑๕) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบอาคาร ติดตั้งและตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบของ

อาคาร

๑๖) ชนิดหรือประเภทของอาคารที่เจ้าอาคาร หรือผู้ครอบครอง หรอื ผู้ดาเนินการต้องทาการประกนั ภัย

ความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกประกอบกับ ในพื้นที่ท่ียังไม่มีการ

กาหนดให้เป็นบริเวณห้ามก่อสร้างอาคาร แต่มีเหตุสมควรห้ามการก่อสร้างอาคาร ท้องถ่ินสามารถเสนอ
รฐั มนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ห้ามการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคล่ือนย้าย และใช้หรือเปลี่ยน
การใช้อาคารในบรเิ วณนั้นเปน็ การชว่ั คราวได้ ได้ตามมาตรา ๑๓ ดังนน้ั อานาจในการกาหนดมาตรการควบคุม

อาคารดังที่ได้กล่าวถึงใน มาตรา ๘ และมาตรา ๑๓ ดังกล่าว เป็นโอกาสท่ีสามารถประยุกต์ใช้ในการรับรอง

แผนผงั พื้นทสี่ ีเขียวเพ่ือให้มคี วามย่ังยืนอยา่ งเป็นทางการได้อีกแนวทางหน่งึ

๒.๓.๑๑ พระราชบญั ญัตจิ ดทะเบยี นเครอื่ งจกั ร พ.ศ. ๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพม่ิ เติม

มาตรา ๖ เจ้าของเครื่องจักรใดประสงค์จะจดทะเบียนเครื่องจักร ให้ยื่นคาขอต่อนายทะเบียนตาม

พระราชบญั ญัตนิ ี้ ตามหลักเกณฑ์ วธิ ีการและแบบทก่ี าหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๑ เจ้าของเครือ่ งจักรท่ีได้จดทะเบยี นไว้ตามพระราชบัญญัตินี้ประสงค์จะย้ายเครื่องจกั รออกไป

นอกบริเวณสถานที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่ได้ระบุไว้ในหนังสือสาคัญแสดงการจดทะเบียนเคร่ืองจักร

โครงการจดั ทาแผนส่ิงแวดล้อมในพืน้ ที่เขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๕๐

สานกั งานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม รายงานฉบบั สุดทา้ ย

เพื่อนาไปติดต้ัง ณ สถานท่ีประกอบกิจการอุตสาหกรรมแห่งใหม่หรือไปเก็บไว้ในสถานที่อื่น ให้แจ้งความ

ประสงค์จะขอย้ายและวันที่จะย้ายเคร่ืองจักรเสร็จ โดยทาเป็นหนังสือแจ้งต่อนายทะเบียนก่อนวันท่ีจะย้าย

เครอื่ งจักรน้นั ไม่น้อยกวา่ สบิ หา้ วนั ...
ในกรณีท่ีเป็นการย้ายเครื่องจักรไปติดต้ัง ณ สถานท่ีประกอบกิจการอุตสาหกรรมแห่งใหม่หรือไป

เก็บไว้ในสถานท่ีอื่นท่ีอยู่ภายในอานาจหน้าท่ีของสานักงานทะเบียนต่างแห่งกัน ให้เจ้าของเครื่องจักร
ดาเนินการตามวรรคหนึ่ง และให้นายทะเบียนแห่งท้องท่ีที่เครื่องจักรน้าได้จดทะเบียนไว้ส่งเร่ืองขอย้ายไปยัง

นายทะเบียนแห่งท้องทีท่ ่ีเครอ่ื งจักรนนั้ จะไปตดิ ตั้งใหม่หรือไปเกบ็ ไว.้ ..

๒.๓.๑๒ พระราชบัญญตั ิการสาธารณสขุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพมิ่ เตมิ ถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.

๒๕๖๐

มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ให้รัฐมนตรโี ดยคาแนะนาของ

คณะกรรมการมอี านาจออกกฎกระทรวงดังต่อไปนี้
(๑) กาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการในการควบคุมหรือกากับดูแลสาหรับกิจการหรือการ

ดาเนินการในเร่อื งต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตนิ ้ี
(๒) กาหนดมาตรฐานสภาวะความเป็นอยทู่ ่ีเหมาะสมกับการดารงชพี ของประชาชน และวิธีดาเนินการ

เพื่อตรวจสอบควบคุมหรือกากับดูแล หรือแก้ไขส่ิงท่ีจะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ท่ีเหมาะสมกับการ

ดารงชีพของประชาชน

มาตรา ๕๔ ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติให้การประกอบกิจการใดหรือการกระทาใดต้องได้รับ
ใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถ่ิน ให้ราชการส่วนท้องถ่ินมีอานาจออกข้อบัญญัติท้องถ่ินกาหนดหลักเกณฑ์
วธิ กี ารและเงอ่ื นไขการขอ และการออกใบอนญุ าตในเรอ่ื งนั้นได้

๒.๓.๑๓ พระราชบญั ญัตคิ นเข้าเมอื ง พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๑๙ ในการตรวจและพิจารณาว่าคนต่างด้าวผู้ใดต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรหรือไม่

พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้นั้นไปพักอาศัยอยู่ ณ ที่ที่เห็นสมควร โดยให้คา

รับรองว่าจะมาพบพนักงานเจ้าหน้าท่ีเพื่อรับทราบคาส่ังตามวัน เวลา และสถานที่ที่กาหนดก็ได้ หรือถ้า

พนกั งานเจา้ หน้าที่จะกักตวั ผนู้ นั้ ไว้ ณ สถานทใ่ี ดตามทเี่ หน็ เหมาะสมเพื่อดาเนนิ การตามพระราชบัญญัตินีก้ ็ได้

ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าคนต่างด้าวผู้ใดเข้ามาในราชอาณาจักรเพ่ือการอันระบุในมาตรา ๑๒(๘) หรือมี
สว่ นเกี่ยวข้องกับการนั้น หรือหญิงหรือเด็กคนใดเขา้ มาเพ่อื การเช่นวา่ นั้นพนักงานเจ้าหน้าที่อาจอนุญาตใหเ้ ข้า
มาในราชอาณาจักรได้ชั่วคราวโดยสั่งให้บุคคลดังกล่าวมารายงานตนและตอบคาถามของพนักงานเจ้าหน้าที่

หรือจะสั่งให้ไปรายงานตนและตอบคาถามของเจ้าพนักงานตารวจ ณ สถานีตารวจท้องที่ท่ีผู้นั้นอาศัยอยู่ ตาม

ระยะเวลาท่ีพนักงานเจา้ หน้าท่ีกาหนดก็ได้ แต่ระยะเวลาท่ีกาหนดให้รายงานตนและตอบคาถามต้องห่างกันไม่

นอ้ ยกวา่ เจ็ดวันตอ่ ครง้ั

มาตรา ๒๐ ในการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กักตัวคนต่างด้าวผู้ใดไว้ตามมาตรา ๑๙ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี

อานาจกักตัวคนต่างด้าวผู้น้ันได้เท่าที่จาเป็นตามพฤติการณ์แห่งกรณี แต่ห้ามมิให้กักตัวไว้เกินส่ีสิบแปดชั่วโมง
นับแต่เวลาที่ผู้ถูกกักตัวมาถึงท่ีทาการของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่มีเหตุจาเป็นจะยืดเวลาเกินสี่สิบแปด
ชวั่ โมงก็ได้ แต่มิให้เกินเจด็ วันและใหพ้ นกั งานเจา้ หนา้ ที่บนั ทึกเหตุจาเป็นทตี่ ้องยืดเวลาไว้ให้ปรากฏดว้ ย

โครงการจดั ทาแผนส่ิงแวดลอ้ มในพ้นื ท่ีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๕๑

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม รายงานฉบับสุดทา้ ย

ในกรณีที่มีเหตุจาเป็นต้องกักตัวคนต่างด้าวผู้ใดไว้เกินกาหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าท่ี

ย่ืนคาร้องต่อศาลขอให้มีอานาจกักตัวคนต่างด้าวผู้น้ันไว้ต่อไปอีกได้ และศาลอาจส่ังให้มีอานาจกักตัวไว้เท่าที่

จาเป็นคร้ังละไม่เกินสิบสองวัน แต่ถ้าศาลเห็นสมควรจะสั่งใหป้ ล่อยตัวไปชั่วคราวโดยเรียกประกัน หรือเรียกทั้ง
ประกันและหลกั ประกนั ก็ได้

มาตรา ๕๔ คนต่างด้าวผู้ใดเข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตน้ัน
ส้นิ สดุ หรือถูกเพิกถอนแล้ว พนกั งานเจ้าหน้าท่จี ะสง่ ตัวคนตา่ งดา้ วผนู้ นั้ กลบั ออกไปนอกราชอาณาจักรก็ได้

ถ้ามีกรณีต้องสอบสวนเพ่ือส่งตัวกลับตามวรรคหน่ึง ให้นามาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับ

อนโุ ลม

ในกรณีที่มีคาสั่งให้ส่งตัวคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ในระหว่างรอการส่งกลับ

พนักงานเจา้ หน้าท่ีมีอานาจอนุญาตให้ไปพักอาศัยอยู่ ณ ท่ีใด โดยคนตา่ งด้าวผนู้ ้ันตอ้ งมาพบพนักงานเจ้าหน้าที่

ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กาหนด โดยต้องมีประกัน หรือมีทั้งประกันและหลักประกันก็ได้ หรือพนักงาน
เจ้าหน้าท่ีจะกักตัวคนต่างด้าวผู้น้ันไว้ ณ สถานท่ีใดเป็นเวลานานเท่าใดตามความจาเป็นก็ได้ ค่าใช้จ่ายในการ
กักตัวนใ้ี ห้คนต่างดา้ วผูน้ น้ั เป็นผเู้ สยี

๒.๓.๑๔ พระราชบญั ญัติทะเบียนพาณชิ ย์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และทแ่ี กไ้ ขเพม่ิ เติม

มาตรา ๔ แห่ง พระราชกฤษฎีกากาหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ.๒๕๔๖ แก้ไขให้รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงพาณิชยร์ ักษาการตามพระราชบญั ญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. ๒๔๙๙

มาตรา ๖ ใหถ้ อื กจิ การตอ่ ไปนเี้ ป็นพาณชิ ยกิจตามความหมายแหง่ พระราชบัญญัตนิ ี้
(๑) การซอื้ การขาย การขายทอดตลาด การแลกเปล่ียน
(๒) การให้เช่า การใหเ้ ชา่ ซื้อ
(๓) การเป็นนายหนา้ หรอื ตวั แทนคา้ ต่าง
(๔) การขนส่ง

(๕) การหัตถกรรม การอตุ สาหกรรม

(๖) การรับจา้ งทาของ

(๗) การให้กยู้ มื เงิน การรับจานา การรับจานอง

(๘) การคลังสินคา้
(๙) การรับแลกเปลี่ยนหรือซ้ือขายเงินตราต่างประเทศ การซอ้ื หรือขายตัว๋ เงิน การธนาคาร

การเครดิตฟองซิเอร์ การโพยก๊วน

(๑๐)การรบั ประกันภัย

(๑๑)กิจการอน่ื ซ่งึ กาหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

พระราชกฤษฎีกากาหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๓ กาหนดให้กิจการต่อไปนี้เป็น

พาณชิ ยกิจตามความหมายแห่งพระราชบญั ญัติทะเบียนพาณชิ ย์ พ.ศ.๒๔๙๙

(๑) การใหบ้ รกิ ารเครื่องคอมพวิ เตอร์เพื่อใชอ้ นิ เตอร์เน็ต
(๒) การใหบ้ รกิ ารฟังเพลงและรอ้ งเพลงโดยคาราโอเกะ
(๓) การใหบ้ รกิ ารเครือ่ งเลน่ เกมส์

โครงการจัดทาแผนส่ิงแวดลอ้ มในพ้ืนท่เี ขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๕๒

สานกั งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม รายงานฉบบั สุดทา้ ย

(๔) การใหบ้ รกิ ารตเู้ พลง

มาตรา ๙ ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นสานักงานกลางทะเบียนพาณิชย์มีหน้าท่ี

กากบั ดูแลการรับจดทะเบียนพาณิชยต์ ามพระราชบญั ญัตินี้
ให้กรุงเทพมหานคร เมอื งพัทยา และองค์การบริหารส่วนจงั หวัดเป็นสานักงานทะเบียนพาณิชย์ เพ่ือรับ

จดทะเบียนพาณชิ ยใ์ นท้องทข่ี องตน
ให้รัฐมนตรีมีอานาจกาหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินอื่นท่ีมีความพร้อมเป็นสานักงานทะเบียน

พาณิชย์เพื่อรับจดทะเบียนพาณิชย์ในท้องท่ีของตนได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในการนี้ให้องค์การ

บริหารส่วนจังหวัดยังคงมีอานาจรับจะทะเบียนพาณิชย์เฉพาะในท้องท่ีนอกเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่

รฐั มนตรปี ระกาศกาหนด

มาตรา ๑๐ การจดทะเบียนน้ัน ผู้ประกอบพาณิชยกิจตั้งสานักงานแห่ งใหญ่อยู่ในท้องท่ีใด

ให้จดทะเบยี น ณ สานกั งานทะเบียนพาณชิ ย์ในทอ้ งทนี่ ้ัน
ถ้าสานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ และมาประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย สานักงานสาขา

ใหญ่ต้ังอยู่ในท้องทใ่ี ด ใหจ้ ดทะเบยี น ณ สานักงานทะเบียนพาณิชย์ในทอ้ งที่นนั้
มาตรา ๑๑ ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจย่ืนคาขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สานักงานทะเบียนพาณิชย์แห่ง

ทอ้ งทตี่ ามแบบทกี่ าหนดในกฎกระทรวง ภายในสามสิบวนั นับแต่วนั ทรี่ ฐั มนตรีไดป้ ระกาศตามมาตรา ๘

๒.๓.๑๕ พระราชบัญญตั โิ รงงาน พ.ศ.๒๕๓๕ และทแ่ี กไ้ ขเพ่ิมเตมิ (ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๒)

จังหวัดระยองและชลบุรีเป็นพื้นท่ีส่งเสริมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม และปัจจุบันถูกกาหนดให้เป็น
พน้ื ทพ่ี ัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ดงั นน้ั การควบคุมดูแลการจัดการของเสียจากโรงงานจงึ เป็นสงิ่ สาคัญทจี่ ะทา
ให้การพัฒนาในพ้ืนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพส่ิงแวดล้อม ซึ่ง พรบ. โรงงาน เป็นเครื่องมือทางกฎหมายท่ี
สาคัญในการควบคุมดูแลการดาเนินการภาคอุตสาหกรรมไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมถึง
การควบคุมทิศทางการขยายตัวของโรงงานในพ้ืนท่ีร่วมกับกฎหมายอื่น เช่น พรบ.ผังเมือง หรือ พรบ.ส่งเสริม

และรกั ษาคุณภาพสง่ิ แวดลอ้ ม ผา่ น มาตรการท่ีสาคัญ ดังน้ี

การกาหนด นิยาม ของโรงงาน ซ่ึงตามมาตรา ๕ แห่ง พรบ.โรงงาน พ.ศ.๒๕๓๕ “โรงงาน หมายความ

ว่า อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกาลังรวมตั้งแต่ห้าแรงม้าหรือกาลังเทียบเท่าต้ังแต่ห้า

แรงม้าข้ึนไป หรือใช้คนงานตั้งแต่เจ็ดคนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สาหรับ ผลิต ประกอบ บ รรจุ
ซ่อม ซ่อมบารุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลาเลียง เก็บรักษา หรือทาลายส่ิงใด ๆ ทั้งนี้ ตามประเภทหรือ
ชนิดของโรงงานทกี่ าหนดในกฎกระทรวง”

ในขณะที่ มาตรา ๔ แห่ง พรบ.โรงงาน (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๖๒ ได้ยกเลิกนิยาม คาว่า “โรงงาน” ใน

มาตรา ๕ แห่งพรบ.โรงงาน พ.ศ.๒๕๓๕ และเปลี่ยนนยิ ามโรงงานเป็น “โรงงาน หมายความว่า อาคาร สถานที่

หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมกี าลงั รวมต้ังแตห่ ้าสิบแรงม้าหรอื กาลังเทียบเท่าตั้งแตห่ ้าสบิ แรงม้าข้ึนไป หรือ

ใช้คนงานตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปโดยใช้เคร่ืองจักรหรือไม่ก็ตามเพื่อประกอบกิจการโรงงาน ทั้งน้ี ตามประเภท

หรือชนดิ ของโรงงานท่กี าหนดในกฎกระทรวง”
การเปลี่ยนนิยาม ของโรงงานตาม พรบ. โรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๒ ส่งผลต่อกิจกรรมการผลิตที่

เกิดขนึ้ ในพ้ืนที่ โดย กิจกรรมการผลติ (เคร่ืองจกั รมกี าลังรวมตั้งแตห่ ้าแรงมา้ หรือกาลังเทยี บเทา่ ต้งั แตห่ ้าแรงม้า

โครงการจดั ทาแผนสง่ิ แวดล้อมในพนื้ ทเี่ ขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๕๓

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม รายงานฉบบั สดุ ท้าย

ข้ึนไป หรือใช้คนงานตั้งแต่เจ็ดคนขึ้นไปโดยใช้เคร่ืองจักรหรือไม่ก็ตาม) ท่ีเคยเข้าข่ายเป็น “โรงงาน”
ตามความหมายของ พรบ. โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภายหลังจากการประกาศบังคับใช้ พรบ.โรงงาน (ฉบับท่ี ๒)
พ.ศ.๒๕๖๒ กิจกรรมการผลิตในลักษณะดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น ไม่ถือว่าเป็น “โรงงาน” ตามกฎหมายโรงงาน
จึงไม่ต้องดาเนินงานหรืออยู่ในกระบวนการควบคุมการประกอบกิจการโรงงาน ตามมาตรา ๘ แห่งพรบ.
โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕

ในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อกังวลเกี่ยวกับการควบคุมดูแลของเสียที่จะเกิดขึน้ จากกิจกรรมดังกล่าว และการ
ปล่อยของเสียออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกจะมีการควบคุมดูแลให้มีประสิทธิภาพได้มากน้อยเพียงใด ใน
ขณะเดียวกัน ภาระการดูแลเรื่องสภาพแวดล้อมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินเป็นผู้รับผิดชอบดูแลจะมี
ประเดน็ การจดั การทซี่ บั ซอ้ นเพ่ิมมากขน้ึ

๒.๓.๑๖ พระราชบญั ญตั ิจัดสรรท่ีดนิ พ.ศ. ๒๕๔๓ และท่ีแก้ไขเพิม่ เตมิ
มาตรา ๑๔ คณะกรรมการมีอานาจหน้าที่กากับดูแลการจัดสรรท่ีดินภายในจังหวัดให้เป็นไปตาม
พระราชบญั ญตั นิ ี้ รวมทัง้ ให้มีอานาจหนา้ ที่ดังต่อไปนี้

(๑) ออกขอ้ กาหนดเก่ียวกับการจัดสรรท่ีดินโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการจดั สรร
ท่ีดินกลาง

(๒) พิจารณาเกี่ยวกับคาขออนุญาต การออกใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตหรือการเพิก
ถอนการโอนใบอนญุ าตให้จดั สรรท่ดี นิ

(๓) ตรวจสอบการจัดสรรที่ดินเพ่ือให้เป็นไปตามแผนผัง โครงการ หรือวิธีการที่ได้รับ
อนุญาต

(๔) ปฏบิ ัตกิ ารอนื่ ตามท่บี ญั ญตั ิไว้ในพระราชบญั ญัติน้หี รอื กฎหมายอนื่
มาตรา ๒๑ ห้ามมิให้ผูใ้ ดทาการจดั สรรทด่ี นิ เว้นแตจ่ ะได้รับอนญุ าตจากคณะกรรมการ
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขที่กาหนดใน
กฎกระทรวง
๒.๓.๑๗ ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวันออก เรอื่ ง แผนผงั การใช้

ประโยชนท์ ี่ดินและแผนผังโครงสร้างพน้ื ฐานและระบบสาธารณปู โภค เขตพัฒนาพเิ ศษภาค
ตะวนั ออก พ.ศ.๒๕๖๒
ใน พ้ื น ที่ เขต พั ฒ น าพิ เศษ ภ าคต ะวั น ออ กมีการ ป ระกาศแผ น ผั งการใช้ ป ร ะ โย ช น์ ท่ี ดิ น ท้ าย ป ระกาศ
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เร่ือง แผนผังการใช้ประโยชน์ท่ีดิน และแผนผังการ
พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกจิ สังคม การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การคมนาคมและการ
ขนส่ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพ่ือให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และรองรับ
การพฒั นาเมืองและชมุ ชนในอนาคต และแผนผังการใช้ประโยชนใ์ นทด่ี นิ กาหนดประเภทท่ีดินไว้ ๑๑ ประเภท
ได้แก่

โครงการจัดทาแผนส่งิ แวดล้อมในพนื้ ทีเ่ ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๕๔

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม รายงานฉบบั สุดท้าย

๑) ที่ดินประเภท พ. กาหนดไว้เปน็ สีแดง ให้เป็นท่ีดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม ใหใ้ ชป้ ระโยชน์ที

ดินเพ่ือพาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ สาธารณูปโภค สาธารณูปการและกิจการอื่นนอกจากข้อ

หา้ มท่กี าหนด
๒) ที่ดินประเภท ม. กาหนดไว้เป็นสีส้ม ให้เป็นที่ดินประเภทชุมชนเมือง ให้ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่

อาศัย พาณิชยกรรม สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และกจิ การอืน่ นอกจากข้อหา้ มท่ีกาหนด
๓) ที่ดินประเภท รม. กาหนดไว้เป็นสีส้มอ่อนมีจุดสีขาว ให้เป็นท่ีดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง ให้

ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย พาณิชยกรรม สถาบันราชการ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และกิจการ

อน่ื นอกจากขอ้ หา้ มทกี่ าหนด

๔) ที่ดินประเภท ขก. ที่กาหนดไว้เป็นสีน้าตาล ให้เป็นที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อ

กิจการพิเศษ ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพ่ืออุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การอยู่อาศัย เกษตรกรรม

สถาบันการศึกษา สถาบันราชการ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ กิจการวิจัยและพัฒนาและกิจการอ่ืนที่
เก่ียวขอ้ งกับเขตสง่ เสริมเศรษฐกจิ เพื่อกิจการพิเศษ ประกอบด้วย ๕ เขตหลกั คือ เขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูง
เช่ือม ๓ สนามบิน เขตเมืองการบินภาคตะวันออก เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล เขต
นวัตกรรมระเบียงเศรษฐกจิ พิเศษภาคตะวันออก และเขตนวตั กรรมการแพทย์ครบวงจรธรรมศาสตร์ (พทั ยา)

๕) ท่ีดินประเภท ขอ. กาหนดไว้เป็นสีม่วง ให้เป็นท่ีดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพ่ือกิจการ

อุตสาหกรรม ให้ใช้ประโยขน์ในท่ีดินเพื่ออุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การอยู่อาศัย เกษตรกรรม สถาบัน

ราชการ การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ กิจการวิจัยและพัฒนา และกิจการอื่นท่ีเกี่ยวข้องกับเขตส่งเสริม
เศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม อันประกอบด้วย ๑๒ อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วยกลุ่ม
อุตสาหกรรมเดิม (First S-curve) คือ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็คทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี
การท่องเท่ียวเชิงสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร ต่อยอดกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่
(New S-curve) คือ หุ่นยนต์เพ่ืออุตสาหกรรม การแพทย์และสุขภาพครบวงจร การขนส่งการบินและ

โลจิสติกส์ เชือ้ เพลิงชีวภาพและเคมีชวี ภาพ ดจิ ิตอล การปอ้ งกันประเทศ พัฒนาบุคลากรและการศกึ ษา

๖) ท่ีดินประเภท อ. กาหนดไว้เป็นสีม่วงอ่อนมีจุดสีขาว ให้เป็นท่ีดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม ให้ใช้

ประโยชน์ในท่ีดินเพ่ืออุตสาหกรรมหรือเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม คลังสินค้า สถาบันราชการ สาธารณูปโภค

สาธารณปู การและกจิ การอื่นนอกจากขอ้ ห้ามท่ีกาหนด
๗) ที่ดินประเภท ชบ. กาหนดไว้เป็นสีเหลืองอ่อน ให้เป็นที่ดินประเภทชุมชนชนบท ให้ใช้ประโยชน์ใน

ท่ดี ินเพ่ือการอยูอ่ าศัย เกษตรกรรม สถาบันราชการ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และกิจการอื่นนอกจากข้อ

หา้ มทก่ี าหนด

๘) ที่ดินประเภท สก. กาหนดไว้เป็นสีเขียวอ่อน ให้เป็นที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม ให้ใช้

ประโยชน์ในท่ีดินเพ่ือ เกษตรกรรม อนุรักษ์เกษตรกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ สาธารณูปโภค

สาธารณปู การ และกิจการอื่นนอกจากขอ้ ห้ามทีก่ าหนด

๙) ที่ดินประเภท ปก. กาหนดไว้เป็นสีเหลืองมีเส้นทแยงสเี ขียว ให้เป็นที่ดินประเภทท่ีพระราชกฤษฎีกา
กาหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพ่ือการปฏิรูปท่ีดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วย
การปฏิรูปท่ีดินเพอ่ื เกษตรกรรม สาธารณูปโภค สาธารณปู การ หรือสาธารณประโยชนเ์ ท่าน้นั

โครงการจัดทาแผนสง่ิ แวดลอ้ มในพืน้ ที่เขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๕๕

สานักงานนโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม รายงานฉบบั สดุ ท้าย

ที่ดินประเภทนี้ซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายให้ใช้ประโยชน์ในท่ีดิน
เช่นเดียวกับท่ีดินประเภท ชบ. ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพ่ือการอยู่อาศัย เกษตรกรรม สถาบันราชการ
สาธารณปู โภค สาธารณปู การ และกิจการอน่ื นอกจากขอ้ หา้ มทกี่ าหนด

๑๐) ที่ดินประเภท ล. กาหนดไว้เป็นสีเขียวมีเส้นทแยงสีฟ้า ให้เป็นที่ดินประเภทที่โล่งเพ่ือการรักษา
คุณภาพส่ิงแวดล้อมเฉพาะท่ีดินซึ่งเป็นของรัฐ ให้ใช้ประโยชน์ในท่ีดินเพ่ือนันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับ
นันทนาการ การรักษาคุณภาพส่ิงแวดล้อม การประมงหรือเกี่ยวข้องกับการประมง หรือสาธารณะประโยชน์
เท่านัน้

ทีด่ ินประเภทนี้ซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายให้ใช้ประโยชน์ในท่ีดินเพ่ือ
นันทนาการหรือเกี่ยวข้องกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพส่ิงแวดล้อม การอยู่อาศัย พาณิชยกรรม
เกษตรกรรม การประมง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และกจิ การอ่ืนนอกจากขอ้ ห้ามที่กาหนด

๑๑) ท่ีดินประเภท อป. ท่ีกาหนดไว้เป็นสีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว ให้เป็นที่ดินประเภทอนุรกั ษ์ป่าไม้
ให้ใช้ประโยชน์ในท่ีดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบารุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้า ลาธาร และ
ทรัพยากรธรรมชาติอ่ืน ๆ ตามมติคณะรฐั มนตรีและกฎหมายเกีย่ วกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
และการส่งเสรมิ และรักษาคณุ ภาพส่งิ แวดลอ้ มแห่งชาตเิ ท่าน้นั

ทด่ี ินประเภทนี้ซ่ึงเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายให้ใช้ประโยชน์ในทดี่ ินเพื่อ
เกษตรกรรม การอยู่อาศัย พาณิชยกรรม สาธารณูปโภค สาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น และ
หา้ มใช้ประโยชน์ในที่ดินเพอื่ กจิ การตามทก่ี าหนด

นอกจากน้ีใน ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในท่ีดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค เขต
พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้ใช้บังคับแผนผังการใช้ประโยชน์ในท่ีดิน และแผนผังการพัฒนา
โครงสร้าง พื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในท้องท่ีจังหวัดฉะเชิงเทรา
กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ภายในแนวเขตตามแผนที่ ที่แสดง
ท้ายประกาศนี้ (ภาพที่ ๒ - ๔) โดยการกาหนดประเภทการใช้ประโยชน์ท่ีดนิ ๔ กลุ่ม ๑๑ ประเภท ได้แก่ พืน้ ที่
พัฒนาเมือง พ้ืนท่ีพัฒนาอุตสาหกรรม พ้ืนที่พัฒนาเกษตรกรรม พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สง่ิ แวดล้อม (สานกั งานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวนั ออก, ๒๕๖๒)

โครงการจดั ทาแผนสง่ิ แวดลอ้ มในพืน้ ทเ่ี ขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๕๖

สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม รายงานฉบบั สุดท้าย

ที่มา: แผนผังการใชป้ ระโยชน์ที่ดนิ ทา้ ยประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพฒั นาพเิ ศษภาคตะวนั ออก เรอื่ ง แผนผังการใช้
ประโยชนท์ ีด่ ิน และแผนผังการพฒั นาโครงสร้างพ้นื ฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพฒั นาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.
๒๕๖๒

ภาพท่ี ๒ - ๔ แผนผังการใชป้ ระโยชน์ทีด่ นิ พ.ศ. ๒๕๖๒

โครงการจัดทาแผนส่งิ แวดล้อมในพ้นื ทเ่ี ขตพฒั นาพิเศษภาคตะวนั ออก (ระยะที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙ ๒ - ๕๗


Click to View FlipBook Version