The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงการวิจัย การบริหารราชการแผ่นดิน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by SEP Action, 2022-04-18 09:28:41

รายงานผลการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย

โครงการวิจัย การบริหารราชการแผ่นดิน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่1)

Keywords: sepaction,เศรษฐกิจพอเพียง

โครงการวิจัย
การบรหิ ารราชการแผ่นดินบนพ้ืนฐานหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะท่ี ๑)

สินค้าพืชและควบคุมตามกฎหมาย โดยมี 4 หน่วยงาน คือ กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐาน
สินค้าพืช สำนักงานควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สำนักงานคุ้มครองพันธ์พืช และกองการยาง
4) กลุ่มบริหารจัดการในพื้นที่ จะมีสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร แบ่งออกเป็น 8 เขต
(ยกเวน้ กรุงเทพมหานคร) เปน็ กลไกสำคัญในการดำเนนิ ภารกจิ ของกรม

2.7.3 วสิ ัยทัศน์
“กรมวิชาการเกษตรเป็นองค์การที่เป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพืช
เครื่องจักรกลการเกษตร และเป็นศูนย์กลางรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรด้านพืชในระดับสากล
บนพน้ื ฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม”

2.7.4 พันธกิจ
1) สร้างและถ่ายทอดองค์ความรูจ้ ากงานวจิ ัยด้านพืชและเครื่องจักรกลการเกษตร

สกู่ ลมุ่ เป้าหมาย
2) กำหนดและกำกับดูแลมาตรฐานระบบการผลิต และผลติ พันธพุ์ ืชและปัจจัยการ

ผลิต พัฒนาระบบตรวจรับรองสนิ ค้าการเกษตรด้านพชื ให้เปน็ ท่ียอมรับในระดับ
สากล
3) อนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืช
แมลง และจลุ นิ ทรีย์
4) กำกบั ดูแล และพัฒนากฎหมายทก่ี รมวิชาการเกษตรรับผดิ ชอบ

2.7.5 คา่ นยิ มองคก์ ร
ซื่อสตั ย์ โปร่งใส งานวจิ ยั มคี ุณภาพ

2.7.6 บทบาทหนา้ ที่
กรมวิชาการเกษตร มีบทบาทหน้าที่และภารกิจเกี่ยวกับพืช โดยศึกษา วิจัยและ
พัฒนาพืช เครื่องจักรกลการเกษตร และปัจจัยการผลิต รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชสู่
กลมุ่ เป้าหมายท้งั ภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรองมาตรฐาน
สินค้าพืช ตลอดจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิต และผลิตภัณฑ์พืช
เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและการพัฒนาผลผลิตพืชให้มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภคตาม
มาตรฐานสากล และเพ่อื ใหบ้ รกิ ารการส่งออกสินค้าเกษตรทมี่ ีคุณภาพไดม้ าตรฐาน

378

สถาบนั บณั ฑติ พัฒนบรหิ ารศาสตร์

2.8 กรมหม่อนไหม

2.8.1 ประวัตแิ ละความเปน็ มา
กรมหม่อนไหมตง้ั ข้ึนเพ่อื เปน็ หนว่ ยงานหลักในการดำเนนิ งานส่งเสรมิ ดา้ นหม่อนไหม
ของประเทศ ทั้งด้านการวิจัย การส่งเสริม การอนุรักษ์ และการคุ้มครอง แต่เดิมราษฎรไทยในยุคต้น
รัตนโกสินทร์มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในช่วงนอกฤดูกาลทำนา โดยเฉพาะในเขตภาคอีสาน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี 5 ทรงมอบหมายให้กระทรวงเกษตราธิการ
(ขณะนั้น) เชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาหม่อนไหมไทย
เนื่องจากคุณภาพของไหมในประเทศไทยยังไม่ดีพอจึง ต้องมีการนำเข้าไหมจากต่างประเทศเพิ่มข้ึน
ทุกปี “กรมช่างไหม” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2446 โดยมีพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่น พิไชยมหิ
นทโรดม เป็นอธิบดีพระองค์แรก ต่อมากรมช่างไหมได้ถูกเปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2525
ได้มีการเปลีย่ นชื่อกรมเป็น “สถาบันหม่อนไหม” โดยมีศูนย์วิจัยและสถานีทดลองงานวิจัยด้านหม่อน
ไหม ปี พ.ศ. 2547 ได้มีการจัดตั้ง “สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนาง
เจ้าสิริกิต์ิ ฯ จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2552 จึงได้มีการสถาปนาเป็น “กรมหม่อนไหม” ในสังกัดกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ (กรมหม่อนไหม, 2564)

2.8.2 โครงสรา้ งการบรหิ ารราชการ
กรมหม่อนไหม แบ่งการบริหารออกเป็นหน่วยงาน ได้แก่ กลุ่มตรวจสอบภายใน
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักบริหารกลาง สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม สำนักอนุรักษ์และ
ตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีหม่อนไหม และกองแผนงาน
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ 6 เขต และศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ 21
ศนู ย์ ซงึ่ เป็นเครือขา่ ยสงั กัดสำนักงานหม่อนไหมฯ โดยรายละเอียดของสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระ
เกยี รติสมเดจ็ พระนางเจ้าสิริกติ ์ิฯ เขต 1 ถึง 6 มีดังต่อไปนี้
1) สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 1 จังหวัดแพร่: มีศูนย์หม่อนไหม

เฉลิมพระเกียรติฯ เครือข่าย 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ
เชียงใหม่ ตาก น่าน และแพร่
2) สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 2 จังหวัดอุดรธานี: มีศูนย์หม่อน
ไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เครือข่าย 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิม
พระเกียรตฯิ เลย สกลนคร หนองคาย และอุดรธานี

379

โครงการวิจัย
การบริหารราชการแผน่ ดินบนพ้ืนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะท่ี ๑)

3) สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 3 จังหวัดขอนแก่น: มีศูนย์หม่อน
ไหมเฉลิมพระเกยี รติฯ เครือข่าย 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกยี รติ
ฯ ขอนแก่น ชยั ภูมิ มกุ ดาหาร และร้อยเอด็

4) สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 4 จังหวัดนครราชสีมา: มีศูนย์
หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เครือข่าย 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิม
พระเกียรติฯ นครราชสีมา บรุ รี ัมย์ สระบรุ ี และสรุ ินทร์

5) สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 5 จังหวัดชุมพร: มีศูนย์หม่อนไหม
เฉลิมพระเกียรติฯ เครือข่าย 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ
กาญจนบรุ ี ชมุ พร และนราธวิ าส

6) สำนักงานหมอ่ นไหมเฉลิมพระเกียรตฯิ เขต 6 จังหวดั ศรสี ะเกษ: ศนู ยห์ ม่อนไหม
เฉลิมพระเกียรติฯ เครือข่าย 2 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ
อุบลราชธานีและศรีสะเกษ

2.8.3 วิสยั ทศั น์
"องคก์ รนำดา้ นหมอ่ นไหมในอาเซียน พัฒนาไหมไทยอยา่ งยั่งยืนสสู่ ากล”

2.8.4 พันธกจิ
1) อนุรักษ์และคุ้มครองพันธุกรรมหม่อนไหม และวัสดุย้อมสี สืบสานวัฒนธรรม

ภูมปิ ัญญาเกี่ยวกบั หมอ่ นไหม
2) วจิ ัยและพฒั นาเทคโนโลยดี ้านหมอ่ นไหมแบบครบวงจร
3) บริการวิชาการและปจั จยั การผลิตด้านหม่อนไหมทม่ี คี ุณภาพ ไดม้ าตรฐาน
4) ส่งเสริม พัฒนาการผลิต สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ

ด้านไหม
5) ส่งเสริมและพัฒนาการตลาดหม่อนไหม การตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน

การผลติ และสนิ คา้ หมอ่ นไหม
6) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในภารกิจที่รับผิดชอบและ

เป็นองคก์ ารแหง่ ความผาสกุ
7) ดำเนินการเก่ยี วกบั ความรว่ มมือกับต่างประเทศด้านหม่อนไหม

380

สถาบนั บณั ฑติ พัฒนบรหิ ารศาสตร์

2.8.5 ค่านยิ มองค์กร (SILK) มีความรบั ผิดชอบต่อสังคม
S = Social Responsibility ยดึ มนั่ คุณธรรม
I = Integrity ความเปน็ ผนู้ ำ
L = Leadership มีองค์ความรู้
K = Knowledge

2.8.6 บทบาทหน้าที่
กรมหม่อนไหม มีภารกิจเกี่ยวกับหม่อนไหมทั้งระบบ โดยครอบคลุมถึงการพัฒนา
พันธุ์ การอนุรักษ์และคุ้มครองพันธุกรรมหม่อนไหม การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานหม่อนไหม
การส่งเสริม การสนับสนนุ และการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านหม่อนไหม รวมทั้งการส่งเสริมเอกลักษณ์
และการสร้างค่านิยมเกี่ยวกับหม่อนไหม โดย ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะ และจัดทำนโยบายและ
ยุทธศาสตร์หม่อนไหมของประเทศ รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือกับต่างประเทศด้าน
หม่อนไหม ศึกษา วิจัย ทดลอง และพัฒนาเกี่ยวกับพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต การอารักขา วิทยาการ
หลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป มาตรฐานเกี่ยวกับหม่อนไหม ผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม ดำเนินการ
เกี่ยวกับการอนุรักษ์และคุ้มครองพันธุกรรมหม่อนไหม นวัตกรรม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้าน
หม่อนไหม ผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม ตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานหม่อนไหม ผลิตภัณฑ์จาก
หม่อนไหม ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาระบบการจัดการสินค้าหม่อนไหม
การแปรรูป นวัตกรรม ผลิตภัณฑจ์ ากหม่อนไหม สง่ เสริม สนับสนุน เผยแพรอ่ งคค์ วามรู้ บรกิ ารข้อมูล
และพพิ ธิ ภัณฑ์การเรียนรูด้ ้านหม่อนไหม ส่งเสริมเอกลักษณแ์ ละสร้างค่านิยมเกี่ยวกบั หม่อนไหมกับวิถี
ชีวติ คนไทย

2.9 กรมชลประทาน

2.9.1 ประวตั แิ ละความเป็นมา
งานชลประทาน เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีการขุดลอกคลองขึ้นใหม่ในบริเวณ ทุ่งราบภาคกลาง ในปี 2445 รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้ตั้ง "กรมคลอง" เพื่อทำหน้าที่ดูแลทำนุบำรุงคลองต่างๆ ไม่ให้ตื้นเขิน ต่อมา ในปี 2457
ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "กรมทดน้ำ"ขึ้นแทนกรมคลอง รวมทั้งจัดสร้างโครงการ
ชลประทาน ป่าสักใต้ โครงการสร้างเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ คือ เขื่อนพระราม 6 ขึ้นที่ตำบลท่าหลวง
อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 680,000 ไร่
ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย ต่อมา ปี 2470 ได้เปลี่ยนชื่อจาก

381

โครงการวิจัย
การบริหารราชการแผ่นดินบนพืน้ ฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะท่ี ๑)

“กรมทดน้ำ” เป็น “กรมชลประทาน” โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบงานการขุดคลอง การทดน้ำ
การส่งน้ำ และการสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง จนถึงปัจจุบันมีการพัฒนาแหล่งน้ำ
ทวั่ ประเทศมาแล้วประมาณ 2,000 โครงการ (กรมชลประทาน, 2564)

2.9.2 โครงสร้างการบริหารราชการ
โครงสร้างของกรมประทานแบ่งออกเป็น การบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ซึ่งส่วนราชการบริหารส่วนกลางทั้งหมดมี 20 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขานุการกรม กองการเงิน
และบัญชี สำนกั กฎหมายและที่ดิน กองแผนงาน กองพสั ดุ ศนู ย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร
สำนักเครอื่ งจักรกล สำนกั บริหารโครงการ สำนกั บรหิ ารทรพั ยากรบุคคล สำนักวจิ ัยและพัฒนา สำนัก
บริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา สำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปตั ยกรรม สำนักบริหารจัดการนำ้
และอุทกวิทยา สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ สำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
กลุ่มตรวจสอบภายใน กองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถาบันพัฒนาการ
ชลประทานและกองสง่ เสริมการมสี ่วนรวมของประชาชน
ส่วนภมู ภิ าคจะมสี ำนักงานชลประทานที่ 1-17 และมีโครงการชลประทานจงั หวดั ท้งั หมด 20
จังหวัด โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ทั้งหมด 20 ที่ สำนักงานก่อสร้าง ทั้งหมด 14 ที่ และมีศูนย์
ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน
อันเนอ่ื งมาจากพระราชดำริ

2.9.3 วสิ ยั ทัศน์
"กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ ( Water
Security) เพ่อื เพมิ่ คณุ ค่าการบริการ ภายในปี 2580"

2.9.4 พนั ธกจิ
1) พัฒนาแหลง่ นำ้ และเพิ่มพ้นื ที่ชลประทานตามศกั ยภาพของลุม่ น้ำให้เกิดความ

สมดลุ
2) บรหิ ารจัดการนำ้ อย่างบรู ณาการให้เพียงพอ ท่วั ถึง และเป็นธรรม
3) ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภยั อันเกดิ จากน้ำตามภารกิจอย่างเหมาะสม
4) เสริมสรา้ งการมสี ่วนร่วมในกระบวนการพฒั นาแหล่งนำ้ และการบรหิ ารจดั การ

น้ำ

382

สถาบันบัณฑติ พฒั นบริหารศาสตร์

2.9.5 ค่านิยมหลกั องคก์ ร (WATER for all)

W = Work Smart เกง่ งาน เกง่ คิด

A = Accountability รบั ผดิ ชอบงาน

T = Teamwork & Networking ร่วมมือ รว่ มประสาน

E = Expertise เชยี่ วชาญงานที่ทำ

R = Responsiveness นำประโยชน์ส่ปู ระชาชน

2.9.6 บทบาทหน้าท่ี
กรมชลประทาน มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้
เพียงพอ และจัดสรรน้ำให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท เพื่อให้ผู้ใช้น้ำได้รับน้ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ตลอดจนป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ โดยดำเนินการจัดให้ได้มาซึ่งน้ำ หรือกักเก็บ รักษา
ควบคุม ส่ง ระบายหรือจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรการพลังงาน การสาธารณูปโภค หรือการ
อุตสาหกรรม

2.10 กรมฝนหลวงและการบนิ เกษตร

2.10.1 ประวตั แิ ละความเปน็ มา
การทำฝนเทียมหรือที่เรียกกันติดปากว่า “ฝนหลวง” เป็นโครงการอันเนื่องมา
จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อทรงเสด็จ
เยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2498 พระองค์ได้ทรงรับทราบปัญหาความ
เดือดร้อนในการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคของราษฎร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน
โครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธ์ิ เทวกุล ไปดำเนินการในการคิดค้นและ
ทดลองดัดแปรงสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝน ต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติ
การฝนเทียม สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประสบความสำเร็จในปี
พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎกี าก่อตั้ง “สำนักงานปฏิบัติการ
ฝนหลวง” กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้น เพื่อรองรับโครงการพระราชดำริ ในปี พ.ศ. 2535
จึงมีการรวมสองหน่วยงานซึ่งปฏิบัติงานร่วมกันมาโดยตลอดคือ “กองการบินเกษตร”
และ “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” เข้าเป็นหน่วยงานเดียวกันและยกฐานะเป็น “สำนักฝนหลวง
และการบินเกษตร” สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นการเพิ่มขีด
ความสามารถในการรบั มือภาวะแห้งแลง้ ท่ีครอบคลุมพื้นที่หลายสิบจังหวัด จนกระทง่ั ในปี พ.ศ. 2556
“สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร” ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็น “กรมฝนหลวงและการบินเกษตร”

383

โครงการวจิ ยั
การบรหิ ารราชการแผ่นดนิ บนพ้นื ฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง (ระยะท่ี ๑)

เพื่อให้การบริหารจัดการการปฏิบัติการฝนหลวง เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีความ
คล่องตัวในการบรู ณาการภารกจิ ร่วมกับส่วนราชการอืน่ (กรมฝนหลวงและการบินเกษตร, 2564)

2.10.2 โครงสร้างการบรหิ ารราชการ
กรมฝนหลวงและการบินเกษตรมีส่วนราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย กองบริหาร
การบินเกษตร กองปฏิบัติการฝนหลวง กองแผนงาน กลุ่มตรวจสอบภายใน กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
สำนักงานเลขานุการกรม กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง และกองส่งเสริมและเผยแพร่
โครงการพระราชดำริ สำหรับในส่วนภูมิภาคนั้นเป็นฝ่ายปฏิบัติการฝนหลวง โดยมีการจัดตั้งศูนย์
หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงประจำในแต่ละภาค สามารถปฏิบัติงานครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายได้ทุก
จังหวดั เข่ือนเปา้ หมาย 40 เขอื่ น และลุ่มนำ้ เป้าหมาย 28 ลมุ่ นำ้

2.10.3 วิสัยทศั น์
“กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นองค์กรช้ันนำในระดับโลกด้านการดัดแปร
สภาพอากาศตามศาสตร์ฝนหลวงพระราชทาน ภายในปี 2580”

2.10.4 พันธกิจ
1) บริหารจัดการน้ำในชั้นบรรยากาศให้เกิดฝนในปริมาณและการกระจายที่

เหมาะสมเพื่อการพัฒนาการเกษตร การบริหารจดั การทรัพยากรน้ำการอนุรักษ์
และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และการบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่าง
บูรณาการ
2) วจิ ยั และพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝน เพ่อื เพมิ่ ประสทิ ธิภาพการบรหิ ารจัดการน้ำ
ในชั้นบรรยากาศและการดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาภัย
พบิ ตั ิ อันเน่อื งมาจากความผันแปรของภมู อิ ากาศและสภาวะโลกร้อน
3) บริหารจัดการด้านการบินในภารกิจการทำฝน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
และภารกจิ ดา้ นการเกษตร

2.10.5 วัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กรของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ประกอบด้วยแนวคิดหลัก 6
ดา้ น คอื ใฝ่ใจเปน็ ผนู้ ำ (Leadership) มงุ่ สูค่ วามเปน็ เลิศ (Expertise) รว่ มทำงานเปน็ ทมี (Teamwork
and Networking) สร้างความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) เติบโตอย่างยั่งยืน (Growth)
เปดิ ใจกว้างพร้อมบรกิ าร (Open and Service Mind)

384

สถาบันบณั ฑติ พัฒนบริหารศาสตร์

2.10.6 บทบาทหนา้ ท่ี
กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการปฏิบัติการโดยอาศัย
เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ในการทำฝนเทียม เพื่อช่วยให้เกิดฝนตามธรรมชาติในสภาวะที่ฝนตาม
ธรรมชาติไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติไม่เพียงพอต่อความต้องการในด้าน
เกษตรกรรมหรือในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะ ในสภาวะแห้งแล้งที่มีความรุนแรงมากขึ้นทุกปีตามสภาวะ
โลกร้อน เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับการบริโภคอุปโภคและการเกษตร หรือ
เพิ่มปริมาณน้ำให้แก่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรืออ่างและเขื่อนกักเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการผลิต
กระแสไฟฟ้า การชลประทาน น้ำประปา อุตสาหกรรม และน้ำใต้ดิน รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา
เทคโนโลยีฝนหลวง กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นผู้กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผน
แม่บทเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในชั้นบรรยากาศ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากร
น้ำแบบบูรณาการตลอดจนให้บริการด้านการบินและการสือ่ สารเพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการเกษตร
และอน่ื ๆ อกี ดว้ ย

2.11 กรมพัฒนาทีด่ ิน

2.11.1 ประวตั แิ ละความเปน็ มา
กรมพัฒนาที่ดิน แต่เดิมอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงสหกรณ์ ในช่วงระหว่าง
ปี พ.ศ.2495 ถึง พ.ศ. 2506 เมื่อมกี ารยบุ เลกิ กระทรวงสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2506 และมจี ดั ตงั้ กระทรวง
พัฒนาการแห่งชาติขึ้นในปีเดียวกัน กรมพัฒนาที่ดินจึงถูกโอนย้ายมาสังกัดกระทรวงพัฒนาการ
แห่งชาติ ต่อมาเมื่อมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติในปี พ.ศ. 2515 กรมพัฒนาที่ดินจึงถูก
โอนย้ายมาสังกดั กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท่ีจดั ต้ังขน้ึ ใหม่ จนถึงปจั จบุ นั (กรมพัฒนาที่ดิน, 2564)

2.11.2 โครงสร้างการบรหิ ารราชการ
โครงสร้างของกรมพัฒนาที่ดินมีส่วนราชการบริหารส่วนกลาง คือ สำนักงาน
เลขานุการกรม กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดนิ กองแผนงาน กองวิจัยและ
พัฒนาการจัดการที่ดิน กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร สำนักเทคโนโลยีการสำรวจและทำแผนท่ี สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน และ
สำนักวิศวกรรมเพื่อการพัฒนาที่ดิน สำหรับส่วนราชการส่วนภูมิภาค กรมพัฒนาที่ดินมีสำนักงาน
พัฒนาที่ดินแบ่งออกเป็น 12 เขต ครอบคลุมทุกจังหวัดของประเทศ (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร)
เปน็ กลไกสำคญั ในการดำเนนิ ภารกจิ ของกรม

385

โครงการวจิ ยั
การบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ บนพน้ื ฐานหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะที่ ๑)

2.11.3 วิสยั ทศั น์
“เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน เพื่อขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่
(ภายในปี 2570)”

2.11.4 พันธกจิ
1) สนับสนุนงานโครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำริ
2) เสริมสร้างพัฒนางานวิจัยด้านการพัฒนาที่ดิน และส่งเสริมเทคโนโลยีด้าน

การพัฒนาทดี่ นิ ให้เกดิ เป็นรูปธรรมเชิงนวัตกรรม สามารถนำไปถ่ายทอด เพื่อให้
เกิดประโยชนส์ งู สุดกับเกษตรกร
3) พัฒนาฐานข้อมูลดิน โดยการสำรวจ วิเคราะห์ และจำแนกดิน เพื่อกำหนด
แผนการใช้ทดี่ นิ
4) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาที่ดิน โดยการอนุรักษ์ดินและน้ำ
การฟื้นฟู ปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และ
สามารถใชป้ ระโยชน์ทด่ี นิ ไดอ้ ยา่ งย่งั ยืน
5) พัฒนาหมอดินอาสา เกษตรกร ยุวเกษตรกร หมอดินน้อย และกลุ่มเครือข่าย
เกษตรกรให้มีความรู้ ความเขา้ ใจดา้ นการพฒั นาท่ีดิน สามารถนำไปประยุกต์ใช้
ได้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิต และยกระดับ
ศักยภาพชุมชน ให้เข้มแข็ง
6) พัฒนาองค์การเพือ่ ให้เป็นองค์การทีเ่ ปน็ เลิศดา้ นการพัฒนาทด่ี ินกรมพัฒนาที่ดิน
ได้กำหนดแผนยทุ ธศาสตร์

2.11.5 ค่านยิ มองค์กร (THAI LDD)

T = Trust เช่ือม่นั คือไว้วางใจซึ่งกันและกนั

H = Happiness สุขสนั ต์ คอื ทำงานอย่างมีความสขุ

A = Accomplishment สำเรจ็ คอื ทำงานประสบผลสำเร็จ

I = Integration บูรณาการ คือบูรณาการร่วมกัน

L = learning เรยี นรู้ คอื องคก์ รแห่งการเรียนรู้

D = Developing พัฒนา คอื องค์กรแห่งการพัฒนา

D = Delighting ปิติยินดี คือองค์กรแห่งความก้าวหน้า

386

สถาบนั บณั ฑติ พัฒนบรหิ ารศาสตร์

2.11.6 บทบาทหน้าท่ี
กรมพัฒนาที่ดิน มีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดินใน
พื้นที่เกษตรกรรม โดยการสำรวจสำมะโนครัว จัดทำแผนที่ เพื่อกำหนดนโยบาย วางแผนการใช้ที่ดิน
ควบคุมการใช้ที่ดิน กำหนดเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนการปรับปรุงบำรุงดิน และให้บริการและ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินแก่ประชาชน เพื่อส่งเสริมให้ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์
สามารถทำการเกษตรและเพิ่มผลผลติ ได้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพและยั่งยนื
สำนักงานพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยราชการในส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 12 เขต ครอบคลุม
ทุกจังหวัดของประเทศ (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) ในระดับเขตซึ่งครอบคลุมหลายจังหวัดน้ัน
ได้มกี ารแบง่ โครงสรา้ งหน่วยงานไวโ้ ดยมี 1 ฝ่ายคอื ฝ่ายบรหิ ารท่วั ไป และ 4 กลมุ่ คอื
1) กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน มีหน้าที่ในการศึกษา วิจัย ทดสอบ ดิน/ที่ดิน

รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำด้านวิชาการตลอดจนถ่ายทอดเทคโนยีการพัฒนา
ทดี่ ิน
2) กลมุ่ วางแผนการใช้ทด่ี นิ มีหนา้ ทใ่ี นการสำรวจสภาพดิน เพอื่ ใหท้ ราบถึงศกั ยภาพ
การใช้ประโยชน์ที่ดินและเพื่อการวางแผนกำหนดแนวทางการบริหาร
ทรัพยากรดนิ
3) กลุ่มสำรวจและทำแผนท่ี มีหน้าที่ในการสำรวจ จัดทำแผนที่ ขอบเขต ออกแบบ
ระบบอนุรักษ์ดิน/น้ำ ตลอดจนการสร้างระบบ การบำรุงรักษา โครงข่ายหมุด
หลกั ฐานภาคพืน้ ดิน โดยใหบ้ รกิ ารแก่หน่วยราชการ เอกชน และประชาชน
4) กลุ่มวิเคราะห์ดิน มีหน้าที่ในการให้บริการตรวจสอบ วิจัย วิเคราะห์ดิน น้ำ พืช
ปุ๋ย แนะนำการปรับปรุงดนิ /ปุ๋ย ถา่ ยทอดเทคโนโลยแี ก่เกษตรกร
นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตยังประกอบไปด้วย สถานีพัฒนาที่ดิน ศูนย์ศึกษา/ศูนย์
ปฏิบัติการในแต่ละจังหวัด มีหน้าที่ในการศึกษา วิจัย ทดสอบ เพื่อการพัฒนาที่ดิน รวมทั้งสาธิต
ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ประชาชน ทั้งน้ี จำนวนของศูนย์ศกึ ษา/ศูนย์ปฏิบัติการ ขึ้นอยู่กับสภาพเฉพาะ
ทางภมู ิศาสตร์ ลกั ษณะประชากรและอาชพี ในแตล่ ะจงั หวัด

2.12 สำนกั งานการปฏิรูปท่ีดนิ เพอื่ เกษตรกรรม

2.12.1 ประวตั แิ ละความเป็นมา
แนวทางการปฏริ ูปทดี่ ินในประเทศไทยเกิดขึ้นจากความพยายามในการรับมือปัญหา
ความเดือดร้อน เนื่องจากการไม่มีที่ดินเพื่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรที่ยากจน

387

โครงการวจิ ยั
การบรหิ ารราชการแผน่ ดินบนพ้ืนฐานหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง (ระยะท่ี ๑)

นำไปสู่การชุมนมุ เรยี กรอ้ งขอความช่วยเหลอื จากรฐั บาลหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงหลังปี พ.ศ. 2516
ซึ่งมีบรรยากาศการตื่นตัวทางการเมืองสูง ส่งผลให้รัฐบาลในยุคนั้นต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
มีการออกพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เพื่อปรับปรุงสิทธิการถือครอง
ที่ดิน โดยจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินไม่เพียงพอแก่
การครองชีพ ทงั้ น้ี รฐั บาลดำเนินการช่วยเหลือด้วยการจัดซ้ือหรือเวนคืนท่ีดนิ จากเจ้าของที่ดินซ่ึงมิได้
ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สำนักงาน
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีฐานะ
เทียบเท่ากรม มีเลขาธิการสำนักงานการปฏริ ูปที่ดินเป็นหัวหน้าสำนักงาน (สำนักงานการปฏิรูปที่ดนิ
เพอ่ื เกษตรกรรม, 2564)

2.12.2 โครงสร้างการบริหารราชการ
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2552 ได้กำหนดให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดำเนินงาน
ปฏิรูปที่ดินภายใต้การกำกับดูแลของ “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.)” ในส่วน
ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วยหน่วยงาน สำนักบริหารกลาง กองการเจ้าหน้าที่
ศูนย์สารสนเทศ สำนักกฎหมาย สำนักจัดการปฏิรูปที่ดิน สำนักจัดการแผนที่และสาระบบที่ดิน
สำนักบริหารกองทุน สำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และสำนัก
วิชาการ สำหรับส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค มี “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.)”
กำกับดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพ่ือ
เกษตรกรรมจังหวัด) โดยมีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ 72 จังหวัดทั่วประเทศ (ยกเว้น กรุงเทพมหานคร
นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม) นอกจากนั้นยังมี กองทุนการปฏิรูปทีด่ ินเพอ่ื
เกษตรกรรมซึ่งเป็นองค์การทางการเงิน จัดตั้งขึ้นในกระทรวงการคลงั ตามพระราชบัญญัตกิ ารปฏริ ปู
ท่ดี ินเพอ่ื เกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เพ่อื ให้เป็นทนุ หมนุ เวียนและใช้จ่ายเพ่ือการปฏิรปู ท่ดี ิน

2.12.3 วสิ ยั ทศั น์
“องค์การด้านการบริหารจัดการพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน เพิ่มศักยภาพพื้นที่เกษตรกรรม
ยกระดบั คณุ ภาพชวี ิตเกษตรกร สคู่ วามผาสุก”

2.12.4 พนั ธกจิ
1) บริหารจัดการพ้ืนที่ ส.ป.ก.
2) เพิม่ ศักยภาพพนื้ ที่ ส.ป.ก. เพอ่ื การเกษตรกรรม
388

สถาบนั บัณฑติ พัฒนบริหารศาสตร์

3) พฒั นาอาชพี เกษตรกรรมในพนื้ ที่ ส.ป.ก. ให้มคี วามยงั่ ยนื
4) การสนับสนนุ เงนิ ทุนการปฏิรปู ท่ีดินเพือ่ เกษตรกรรม
5) พัฒนาองค์การใหท้ นั สมยั

2.12.5 คา่ นิยมองค์กร (ALRO) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ หมายถึง ปฏิบัติ
A: Achievement Motivation หน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ดำเนนิ งานให้แลว้ เสร็จตามวัตถุประสงค์
L: Learning and Development และใช้ทรพั ยากรอยา่ งคุ้มค่า
การเรียนรู้และพัฒนา หมายถึง เรียนรู้
R: Responsibility และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา เรียนรู้
O: Organizational Commitment และพฒั นาตัวเองอย่างต่อเนื่องและกล้า
เผชิญกับสถานการณท์ ่เี ปลี่ยนแปลงไป
ความรับผิดชอบ หมายถึง รับผิดชอบ
ต่องานในห น ้ า ท ี ่ ต ่ อ ก า ร ต ั ด ส ินใจ
ต่อการกระทำ และตอ่ ผลงาน
ความผูกพันต่อองค์กร หมายถึง
ความรสู้ ึกดๆี ที่บุ คลากรมีต่อองค์กร
ตอ่ เพื่อนร่วมงาน ต่อผ้บู ังคับบัญชา และ
ม ี ค ว า ม เ ต ็ ม ใ จ ท ี ่ จ ะ ง า น เ พ่ื อ
ความกา้ วหน้าและประโยชน์ขององคก์ ร

2.12.6 บทบาทหน้าท่ี
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการ
ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มุ่งหมายให้เกษตรกรได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดิน โดยทาง
สำนักงานปฏิรูปท่ีดนิ เพื่อเกษตรกรรมเปน็ ผูจ้ ัดหา จดั ซ้ือ กำหนดเขต เวนคืน ทีด่ นิ จากทงั้ ท่ีเป็นของรัฐ
หรือเอกชน แล้วนำมาจัดสรรให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรรมที่ได้รับการคัดเลือกให้เช่า/เช่าซื้อ
เพื่อทำประโยชน์ในทางเกษตรกรรม สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ยังมีกองทุนให้
การสนับสนุนด้านการเงิน (สินเชื่อ) รวมทั้งการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจน การพัฒนา
ส่งเสริมอาชพี แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดนิ อีกด้วย

389

โครงการวิจยั
การบรหิ ารราชการแผ่นดินบนพืน้ ฐานหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะท่ี ๑)

2.13 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

2.13.1 ประวัติและความเป็นมา
งานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2459 อยู่ในรัชสมัยรัชกาล
ที่ 6 ซึ่งในขณะนั้นงานการตรวจบัญชีสหกรณ์อยู่ในความรับผิดชอบของแผนกงานสหกรณ์
กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ต่อมาในปี 2495 มีการปรับปรุง
กระทรวง ทบวงกรมใหม่ จึงได้รับการเลื่อนฐานะเป็นกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ อยู่ในสังกัดของ
กระทรวงการสหกรณ์ ในปีพ.ศ. 2515 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ก็เปลี่ยนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์จนถึงปัจจุบัน ระบบการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์แต่เดิมนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีทั้งหมดจะ
รวมกันอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของกรมฯ ในกรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว การปฏิบัติงานไม่คล่องตัว
เท่าที่ควรจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้เริ่มกระจายงานการตรวจสอบบัญชี
ออกไปยังส่วนภูมิภาค โดยการจัดตั้งสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ประจำจังหวัดขึ้น เพื่อให้ความ
ช่วยเหลือแนะนำด้านการเงิน การบัญชี ให้สถาบันเกษตรกรทุกจังหวัดทั่วประเทศ (กรมตรวจบัญชี
สหกรณ์, 2564)

2.13.2 โครงสร้างการบรหิ ารราชการ
โครงสร้างของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์แบ่งการบริหารราชการ โดยมีหน่วยงานดังน้ี
กองกำกับการสอบบัญชีสหกรณ์ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์กรุงเทพมหานคร สำนักมาตรฐาน
การบัญชีและการสอบบัญชี สำนักส่งเสริมพัฒนาการบัญชีและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานบริหาร
กลาง สำนักแผนงานและโครงการพิเศษ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นอกจากนี้แล้ว
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มีสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ประจำอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
โดยมีสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1 - 10 ทำหน้าที่คอยกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงาน
ตรวจบญั ชีสหกรณ์ดว้ ย

2.13.3 วสิ ัยทัศน์
“ภายในปี 2565 สหกรณ์และเกษตรกรมีความเข้มแข็งด้านการเงินการบัญชีที่มี
คณุ ภาพ เชอื่ ถอื ได้”

2.13.4 พนั ธกจิ
1) ตรวจสอบบัญชีและควบคุมคุณภาพการสอบบัญชีสหกรณ์ให้เป็นไปตาม

มาตรฐานท่กี ำหนด

390

สถาบันบณั ฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร์

2) พัฒนาการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร
และวสิ าหกจิ ชุมชน

3) กำกับการสอบบัญชีสหกรณ์ที่ดำเนินการโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
และบุคคลอนื่

4) พฒั นาเทคโนโลยดี ิจทิ ลั และการเตอื นภัยทางการเงนิ สหกรณ์
5) ถ่ายทอดความรู้ด้านการตรวจสอบกิจการและการจัดทำบัญชีแก่เกษตรกรและ

ประชาชนทวั่ ไป

2.13.5 ค่านิยมหลักองคก์ ร (AUDITOR)

A = Accurate แม่นยำในกฎเกณฑ์ (มีความแม่นยำใน

กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานวิชาชีพ

บญั ชี)

U = Understanding รู้เขา (รู้จักผู้รับบริการและผู้มีผลประโยชน์ส่วน

ร่วม รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์และ

สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่าง

รอบดา้ น)

D = Development Oriented พัฒนาให้เติบโต (มีจิตที่จะพัฒนาสหกรณ์

ให้เติบโตและสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่

สหกรณไ์ ด้)

I = In-Depth รู้เชิงลึก (ต้องรู้เชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดข้ึน

และสามารถวางแนวการทำงานเพื่อแก้ปัญหา

ภายใตส้ ถานการณท์ ่เี ปลีย่ นแปลงอยตู่ ลอดเวลา)

T = Timely รู้ทันสถานการณ์ (รู้ทันสถานการณ์ เท่าทัน

สหกรณ์ รู้กลยทุ ธ์รฐั บาล ทำงานทนั เวลา)

O = Opportunity Provider เพ่ิมโอกาสใหพ้ ฒั นา (รู้จักเรยี นรูส้ งิ่ ใหม่ ๆ มอง

ทกุ อยา่ งเปน็ เร่ืองที่ต้องเรียนรู้)

R = Reliable ไวว้ างใจได้ (เช่ือถอื ได้ มคี วามซ่อื สตั ย์ สจุ ริต

เทีย่ งตรง)

391

โครงการวจิ ัย
การบริหารราชการแผน่ ดินบนพน้ื ฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะท่ี ๑)

2.13.6 บทบาทหนา้ ท่ี
ดำเนินการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
และกฎหมายอ่ืนท่ีเก่ียวข้อง กำหนดระบบบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีให้เหมาะสมกับธุรกิจของ
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้คำแนะนำและให้ความรู้ด้านการบริหารการเงินและการบัญชีแก่
คณะกรรมการและสมาชิกของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และบุคลากรเครือข่าย ถ่ายทอดความรู้และ
ส่งเสริมการจัดทำบัญชีให้แก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเป้าหมายตาม
โครงการพระราชดำริ เกษตรกร และประชาชนท่วั ไป กำกับดแู ลการสอบบัญชีสหกรณโ์ ดยผู้สอบบัญชี
ภาคเอกชน จัดทำรายงานภาวะเศรษฐกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อเป็นพื้นฐานใน
การกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

2.14 กรมสง่ เสริมการเกษตร

2.14.1 ประวัตแิ ละความเปน็ มา
วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2504 กระทรวงเกษตรได้เสนอโครงการจัดตั้งกรมส่งเสริม
การเกษตร ไปยังคณะรัฐมนตรี ต่อมาได้มีคำสั่งกระทรวงเกษตร เพื่อจัดตั้งสำนักงานส่งเสริม
การเกษตรข้นึ เม่อื วนั ท่ี 12 มกราคม พ.ศ. 2505 โดยปฏบิ ัติการในรปู แบบงานส่งเสริมการเกษตรตาม
ทฤษฎีเกษตรแนวทางใหม่ไปพร้อมกัน รวมถึงการรายงานผลความก้าวหน้าต่อคณะรัฐมนตรีเป็น
ครั้งคราว จนกระทั่งวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
ไดพ้ จิ ารณารายงานของสำนักงานสง่ เสริมการเกษตร แล้วมคี ำส่ังเห็นว่าสมควรจดั ต้ังเป็นกรมได้และได้
เสนอให้คณะรัฐมนตรีได้ทราบ กรมแพร่ขยายการเกษตร พร้อมทั้งมีการโอนงานการส่งเสริม
การเกษตรจากทุกกรมในสังกัดกระทรวงเกษตรมาร่วมไว้ในกรมน้ี ต่อมากระทรวงเกษตรได้เสนอร่าง
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พร้อมกันนั้นก็ได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น “กรมส่งเสริม
การเกษตร” ซึ่งที่ประชุมลงมติรับหลักการและได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายให้ ตั้งกรมส่งเสริม
การเกษตรได้เมอ่ื วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510 (กรมสง่ เสริมการเกษตร, 2564)

2.14.2 โครงสร้างการบริหารราชการ
โครงสร้างของกรมส่งเสริมการเกษตรมีส่วนราชการบริหารส่วนกลาง มีหน่วยงาน
ดังนี้ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานเลขานุการกรม กองการเจ้าหน้าที่
กองคลัง กองแผนงาน กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริการจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร
กองพัฒนาเกษตรกร กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานเกษตรพื้นที่กรงุ เทพมหานคร สำนักงานส่งเสริม
392

สถาบนั บัณฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร์

และพัฒนาการเกษตร ที่ 1-6 (มีศูนย์ปฏิบัติการ 50 ศูนย์) สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กองขยายพันธ์
พืช (ศูนย์ขยายพันธ์พืช 1-10) สำหรับการบริหารสว่ นภูมภิ าค มีสำนักงานเกษตรจังหวัดประจำแต่ละ
จังหวัด จำนวน 76 จังหวัด (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) และสำนักงานเกษตรอำเภอ 878 อำเภอ
เปน็ กลไกสำคญั ในการดำเนนิ ภารกิจของกรม

2.14.3 วิสยั ทัศน์
“เกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และ
รายไดท้ ่มี นั่ คง”

2.14.4 พนั ธกิจ
1) ส่งเสรมิ และพฒั นาเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและสามารถพงึ่ ตนเองได้
2) ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีขีดความสามารถในการผลิตและจัดการสินค้า

เกษตรตามความตอ้ งการของตลาด
3) ให้บริการทางการเกษตรและผลิตปัจจัยทางการเกษตร เพื่อสนับสนุนและ

จำหนา่ ยแกเ่ กษตรกรและหนว่ ยงานทเี่ กย่ี วข้อง
4) ศกึ ษา วิจัย พัฒนางานดา้ นการส่งเสริมการเกษตร และบูรณาการการทำงานกับ

ทุกภาคส่วน

2.14.5 ค่านิยมองคก์ ร
“มงุ่ มน่ั บริการ ทมี งานเป็นเลิศ เชดิ ชคู ณุ ธรรม ผนู้ ำการเปล่ยี นแปลง”

2.14.6 บทบาทหน้าที่
กรมส่งเสริมการเกษตร มีภารกิจเกีย่ วกับการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ครอบครัว
เกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มศักยภาพการผลิต
การแปรรูป การเพ่ิมมลู คา่ การพฒั นาคุณภาพสนิ คา้ เกษตรและผลิตภัณฑ์ โดยการศกึ ษา วิจัย พัฒนา
กำหนดมาตรการและแนวทางในการส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และการให้บริการทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีและ
พ่งึ พาตวั เองได้อย่างยง่ั ยนื

393

โครงการวจิ ัย
การบริหารราชการแผน่ ดนิ บนพนื้ ฐานหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะที่ ๑)

2.15 กรมสง่ เสริมสหกรณ์

2.15.1 ประวตั แิ ละความเป็นมา
กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานราชการที่ดำเนินภารกิจเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์
ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกโดยใช้ชือ่ ว่า แผนกการสหกรณ์ สังกัดกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระ
คลังมหาสมบัติ ในปี พ.ศ. 2458 นับเป็นจุดกำเนิดของการสหกรณ์ของประเทศไทย โดยมีพระราชวร
วงศ์เธอกรมหม่ืนพิทยาลงกรณ์ ซึ่งถือเป็น “พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย” เป็นนายทะเบียนสหกรณ์
พระองค์แรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2463 เมอ่ื กรมพาณิชย์และสถติ ิพยากรณ์ ถูกยกฐานะข้ึนเป็น
กระทรวง แผนกการสหกรณ์จึงถูกปรับเปลี่ยนเป็นกรม ผู้นำรัฐบาลในยุคถัดมาได้เล็งเห็นถึง
ความสำคัญของกิจการสหกรณ์ จงึ ไดก้ ำหนดให้เป็นนโยบายหลักในการพฒั นาเศรษฐกิจ และได้จัดตั้ง
กระทรวงสหกรณ์ขึ้นในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2495 ถึง พ.ศ. 2506 ภายหลังมีการยุบเลิกกระทรวง
สหกรณ์ในปี พ.ศ. 2506 งานทั้งหมดของกระทรวงสหกรณ์จึงถูกโอนไปเป็นของกระทรวงพัฒนาการ
แห่งชาติที่ตั้งขึ้นใหม่ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2515 ได้มีการยุบเลิกกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติและมีการ
จัดต้ังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึน้ การดำเนนิ งานเกี่ยวกบั กจิ การสหกรณ์จงึ อยูภ่ ายใต้กรมส่งเสริม
สหกรณ์ สังกดั กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นับแต่น้นั มา (กรมส่งเสริมสหกรณ,์ 2564)

2.15.2 โครงสรา้ งการบริหารราชการ
กรมส่งเสริมสหกรณ์มีส่วนราชการบริหารส่วนกลาง คือ สำนักงานเลขานุการกรม
กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง กองแผนงาน กองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์ กองพัฒนาสหกรณ์
ด้านการเงินและร้านค้า กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ศูนย์เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 สำนักงานส่งเสริม
สหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 และสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ สำหรับ
ส่วนราชการส่วนภูมิภาค กรมส่งเสริมสหกรณ์มีศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ 20 แห่ง
ตามจังหวดั ต่าง ๆ และมีสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระจายอยูท่ ั่วทุกจงั หวดั (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร)
เป็นกลไกสำคัญในการดำเนนิ งานของกรมสง่ เสริมสหกรณ์

2.15.3 วิสัยทศั น์
“การสหกรณ์มั่นคง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง เศรษฐกิจและสังคมของ
ชมุ ชนยั่งยนื ”

394

สถาบันบณั ฑติ พัฒนบรหิ ารศาสตร์

2.15.4 พันธกจิ
1) กำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้อยู่ในกรอบของกฎหมายและทันต่อ

สถานการณ์
2) เสริมสร้างการเรียนรู้และทักษะด้านการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์และ

ประชาชนทว่ั ไป
3) ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีการดำเนินการอย่างมี

ประสิทธิภาพและเข้มแข็ง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ตามปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพยี ง
4) สนับสนุนด้านเงนิ ทนุ สารสนเทศ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้แกส่ หกรณ/์ กลุ่ม
เกษตรกร

2.15.4 ค่านิยมองคก์ ร
ริเริ่มสร้างสรรค์ มุ่งมั่นฟันฝ่า พัฒนาสหกรณ์ (Creative Thinking, Proactive,
Develop Cooperatives)

2.15.5 บทบาทหนา้ ที่
กรมส่งเสริมสหกรณ์มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม เสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพ
ทั้งในด้านการจัดตั้ง การดำเนินงาน การบริหารจัดการภายในองค์การ และด้านธุรกิจ ให้แก่กลุ่ม
สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรในประเทศ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งยังมุ่งหวังให้เกิดการ
พัฒนา รวมท้ังให้สหกรณ์เป็นกลไกหรือมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับ
ชุมชนไดอ้ ยา่ งเข้มแข็งและยัง่ ยนื สำนกั งานสหกรณ์จงั หวดั ในแตล่ ะจังหวัดต่างมีการกำหนด วิสัยทัศน์
พนั ธกจิ และเปา้ ประสงค์ของตนเอง โดยมีความแตกต่างในเปา้ หมายหรือจดุ มุ่งเน้นตามบริบทของแต่
ละจังหวัด เนื่องจากลักษณะเฉพาะในทางภูมิศาสตร์ ประชากร และอื่น ๆ ทั้งยังต้องมีการบูรณาการ
ภารกิจของหน่วยงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดแต่ละจังหวัดด้วย โครงสร้างหน่วยงาน
ภายในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด มีการแบ่งเป็น 1 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารทั่วไป และ 4 กลุ่ม
งาน คอื
1) กลุ่มจัดต้ังและส่งเสริมสหกรณ์ มีหน้าท่ีในการให้คำปรึกษา แนะนำเก่ียวกับการ

จัดตง้ั สหกรณ์
2) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการสหกรณ์ มีหน้าที่ในการเผยแพร่

ให้ความรู้ในดา้ นการบริหารจัดการสหกรณ์

395

โครงการวิจยั
การบรหิ ารราชการแผ่นดนิ บนพื้นฐานหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ ๑)

3) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ มีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ การบริหาร
จัดการ วิธีการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต การตลาด ธุรกิจให้แก่สหกรณ์
และกลุ่มเกษตรกร

4) กลุ่มตรวจการสหกรณ์ มีหน้าท่ีในการตรวจสอบสหกรณ์ใหเ้ ปน็ ไปตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังมกี ลุ่มสง่ เสริมสหกรณ์ มหี น้าทเี่ ผยแพร่ ใหค้ วามรู้ หลักการ วิธีการ แก่บุคลากร
ของสหกรณ์และประชาชน และหน่วยนคิ มสหกรณใ์ นท้องถ่ิน มหี นา้ ทีใ่ นการจดั การที่ดนิ และปกครอง
สมาชิกนคิ ม ตลอดจนสง่ เสริมกิจการสหกรณ์ ซ่งึ มจี ำนวนแตกต่างกนั ไปในแต่ละจังหวัด

396

โครงการวจิ ัย
การบริหารราชการแผ่นดนิ บนพ้นื ฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง (ระยะท่ี ๑)

ภาคผนวกท่ี 3
บรบิ ทของกระทรวงมหาดไทย

397

โครงการวิจยั
การบริหารราชการแผน่ ดินบนพ้นื ฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ ๑)

398

สถาบนั บัณฑติ พฒั นบริหารศาสตร์

3. บรบิ ทของกระทรวงมหาดไทย

3.1. โครงสรา้ งและบทบาทหนา้ ทขี่ องกระทรวงมหาดไทย
ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าท่ี
เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษา ความสงบ เรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็น
ธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วน
ภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร
ความมนั่ คงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพฒั นาเมอื งและราชการอนื่ ตามทีม่ ีกฎหมายกำหนดให้
เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย
(กระทรวงมหาดไทย, 2564)

โครงสรา้ งกระทรวงมหาดไทยมีโครงสรา้ งปฏบิ ตั ิราชการดังนี้

1) ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย สำนักงานรัฐมนตรีและ
สำนักงานปลดั กระทรวง

2) กลุ่มภารกิจ ประกอบด้วย 1) กลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
ประกอบด้วย กรมการปกครองและกรมทดี่ นิ
2) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วย
กรมการพัฒนาชุมชนและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 3) กลุ่มภารกิจ
ดา้ นสาธารณภัยและพัฒนาเมือง ประกอบดว้ ย กรมปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภัย
และกรมโยธาธิการและผงั เมอื ง

3) รัฐวิสาหกิจ 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค องค์การตลาด และองค์การจัดการ
นำ้ เสยี

นอกจากนี้การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มีส่วนราชการของกรมต่าง ๆ ในสั งกัด
กระทรวงมหาดไทย ภายในจังหวัด ได้แก่ สำนักงานจังหวัด ที่ทำการปกครองจังหวัด/อำเภอ
สำนักงานที่ดินจังหวัด/อำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ สำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ทอ้ งถ่ินจงั หวัด/อำเภอ สำนกั งานป้องกนั และบรรเทาสาธารณภยั จังหวัด และสำนักงานโยธาธิการและ
ผังเมืองจังหวัด ในส่วนการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาลนคร เทศบาลเมอื ง เทศบาลตำบล องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบล และองคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่น
รปู แบบพเิ ศษ (กรงุ เทพมหานครและพัทยา) รายละเอยี ดแสดงในภาพที่ 3.1

399

โครงการวิจัย
การบรหิ ารราชการแผ่นดนิ บนพน้ื ฐานหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะท่ี ๑)

ภาพท่ี ผ 3.1
โครงสรา้ งกระทรวงมหาดไทย

3.2 หน้าที่และความรบั ผดิ ชอบของกระทรวงมหาดไทย
สำหรับขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยที่มีอยู่ตามบทบัญญัติของกฎหมาย
มภี ารกิจและอำนาจหนา้ ทข่ี องกระทรวงมหาดไทย สรุปได้ 4 ด้าน คือ

1) ด้านการเมืองการปกครอง กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
การอำนวยการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ทางการเมืองทุกระดับ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริยเ์ ป็นประมุข การปกครองและการบรหิ ารหนว่ ยราชการส่วนภูมิภาค
และส่วนทอ้ งถิน่ และการรักษาความม่นั คงของชาติ

2) ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและ
ความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจะต้องประสานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับส่วน
ราชการต่าง ๆ ของกระทรวง ทบวง กรมตา่ ง ๆ ที่เกย่ี วขอ้ ง นอกจากน้ยี ังรับผิดชอบ
การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร การคุ้มครองผู้เช่านา การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
ขนาดเลก็ นอกเขตชลประทานและการชลประทานราษฎร์ เปน็ ต้น

400

สถาบันบณั ฑติ พัฒนบรหิ ารศาสตร์

3) ด้านสังคม กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนและ
การรักษาความสงบเรยี บรอ้ ยของสงั คม เปน็ ต้น

4) ด้านการพัฒนาทางกายภาพ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัด
ชุมชนการจัดที่ดิน การให้บริการขั้นพื้นฐานในชนบท การจัดผังเมืองรวม ผังเมือง
เฉพาะ และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมอื ง เป็นตน้

3.3 วิสัยทัศน์
“ประชาชนมีรากฐานการดำรงชีวิตและพัฒนาสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและสมดุลตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง”
จากวิสัยทัศน์ของกระทรวงมหาดไทยให้นิยามของแต่ละความหมายดังนี้ รายละเอียดแสดง
ในตารางที่ 3.1

401

โครงการวจิ ยั
การบริหารราชการแผน่ ดนิ บนพ้นื ฐานหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะท่ี ๑)

ตารางท่ี ผ 3.1
นยิ ามวสิ ัยทศั นก์ ระทรวงมหาดไทย

วสิ ยั ทัศน์ ความหมาย
รากฐานการดำรงชวี ิต
พัฒนาส่อู นาคต – ดแู ลประชาชนทุกช่วงชีวติ ตงั้ แต่เกิดจนตาย
มนั่ คง – ลดความยากจน
– เข้าถึงบรกิ ารภาครฐั
สมดุล – พัฒนาสู่ Thailand 4.0 และ S Curve
หลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ – ส่งเสรมิ เศรษฐกิจและสังคมดจิ ิทัล
พอเพียง – ส่งเสริมการพฒั นาภาค เมอื ง และพนื้ ท่ีเศรษฐกจิ
– มั่นคงจากสาธารณภัย
– มนั่ คงในพ้นื ทจี่ ังหวดั ชายแดนภาคใต้
– มั่นคงในการถือกรรมสทิ ธท์ิ ี่ดนิ
– มั่นคงในการรกั ษาความสงบเรยี บร้อยและรบั มือ
ภัยคกุ คาม รปู แบบใหม่ เช่น ยาเสพติด
แรงงานตา่ งด้าว การค้ามนุษย์ เป็นตน้
– สมดลุ ระหวา่ งคนกบั คน
– สมดลุ ระหว่างคนกบั ธรรมชาติ
– สมดลุ ด้านสิง่ แวดล้อม
– คำนึงถงึ ความพอประมาณ ความมเี หตุผล และ
การมภี ูมคิ ุ้มกนั ที่ดใี นตวั ภายใตเ้ งื่อนไขการใช้ความรู้
ควบคูก่ บั การมีคุณธรรมเป็นพ้ืนฐานในการตดั สนิ ใจและ
การกระทำ

3.4 พันธกจิ
1) รกั ษาความสงบเรียบรอ้ ย ความปลอดภัย และความม่ันคงภายใน
2) เสรมิ สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกจิ ฐานราก
3) สง่ เสรมิ การพัฒนาเมืองและโครงสรา้ งพ้นื ฐาน
4) สง่ เสริมและสนบั สนุนการบรหิ ารราชการในระดบั พนื้ ที่

402

สถาบันบณั ฑติ พฒั นบริหารศาสตร์

3.5 ยุทธศาสตร์
1) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
แบ่งการดำเนินการที่สำคัญออกเป็น 1) ธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ
2) เตรียมความพร้อมในการรับมอื ภยั คุกคามทุกรูปแบบ และ 3) สร้างความพรอ้ มใน
การปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั
2) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาภูมิภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
แบ่งการดำเนินการที่สำคัญออกเป็น 1) พัฒนาภูมิภาค เมือง ให้สอดคล้องกับ
ศักยภาพของพื้นที่ 2) พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะให้มีขีดความสามารถในการ
แขง่ ขนั และ 3) บรู ณาการการบรหิ ารการจดั การเชิงพ้ืนท่ี
3) ประเด็นยุทธศาสตรท์ ี่ 3 การเสริมสร้างความสุขของชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐาน
ราก แบ่งการดำเนินการที่สำคัญออกเป็น 1) พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
2) เสรมิ สรา้ งความสุขของชุมชน และ 3) พฒั นาเศรษฐกิจฐานราก
4) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสภาพแวดล้อมสู่อนาคต
แบ่งการดำเนินการที่สำคัญออกเป็น 1) พัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสม
และเติบโตอย่างยั่งยืน 2) บริหารจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ
3) สนับสนนุ การบริหารจัดการนำ้ ทงั้ ระบบ
5) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การวางรากฐานการพัฒนาองค์กรอย่างสมดุล
แบ่งการดำเนินการที่สำคัญออกเป็น 1) ยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน
2) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กร 3) สร้างความโปร่งใสใน
การบรหิ ารงานองค์การ และ 4) เพมิ่ ประสทิ ธภิ าพองคก์ รปกครองสว่ นท้องถ่ิน

3.6 นโยบายสำคัญของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายในการดำเนินภารกจิ โดยได้แบง่ งานรับผิดชอบไปยังกรม
ภายใต้สังกัด เพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน นโยบายสำคัญของ
กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ 1) การปกป้องและเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ โดยเสริมสร้างความรับรู้
และร่วมกับประชาชนขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ 2) การเสริมสร้างความรู้และจัดการความรู้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับต่าง ๆ 3) การสกัดกั้น
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ
ติด ลดผู้เสพผู้ติดยาเสพติด (Demand) และดำเนินการจัดการกับผู้ค้าผู้ผลิตยาเสพติด (Supply)
5) การดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลัก

403

โครงการวจิ ัย
การบริหารราชการแผน่ ดินบนพ้ืนฐานหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง (ระยะที่ ๑)

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) 6) การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.)
7) การบรหิ ารจดั การน้ำในระดับพื้นท่ี โดยบรู ณาการหน่วยงานทีเ่ กยี่ วขอ้ งบริหารจดั การน้ำให้เพียงพอ
ต่อความต้องการประชาชน ครอบคลุมทั้งการแก้ปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วม 8) การบูรณาการแก้ไข
ปัญหาผักตบชวา 9) การนำสายไฟฟา้ และสายสาธารณปู โภคต่าง ๆ ลงดนิ 10) การบรหิ ารจดั การขยะ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการจัดการน้ำเสีย 11) การดำเนินการขับเคลื่อนจังหวัดที่มี
ผลสัมฤทธิส์ งู (High Performance) 12) การสง่ เสรมิ การท่องเทย่ี วภายในจังหวัดตามนโยบายรัฐบาล
และมาตรการที่ ศบค. กำหนด 13) การประสานแผนพัฒนาในระดับพื้นที่ One plan กับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น 14) การดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม โดยบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ใน
การแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ให้เกิดผลสำเร็จ และ 15) การพัฒนาและยกระดับคะแนน
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and
Transparency Assessment: ITA)

4. บรบิ ทหนว่ ยงานภายใตก้ ารกำกบั ดแู ลของกระทรวงมหาดไทย

การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาหน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง ระดับกระทรวง กรม และ
สำนักงาน โดยใช้กระทรวงมหาดไทยเป็นหนึ่งของหน่วยงานตัวอย่างในกระทรวงมหาดไทย
โดยพิจารณาความครอบคลุมกลุ่มภารกิจทั้ง 3 กลุ่มภายใต้กระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้
คดั เลือกหนว่ ยงานจำนวน 8 หน่วยงาน ดงั นี้

4.1 สำนักงานปลดั กระทรวงมหาดไทย

4.1.1 ประวัติและความเปน็ มา
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เริ่มมีการก่อตั้งขึ้นพร้อมกันกับการก่อต้ัง
กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 มีพระราชบัญญัติจัดตั้ง
กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 โดยแบ่งส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยออกเป็น 10 ส่วนราชการ
ส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ใช้ชื่อว่า "กรมปลัด" ต่อมามีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
จงึ เปลี่ยนชือ่ เป็น "สำนักงานปลดั กระทรวงมหาดไทย" (สำนกั งานปลัดกระทรวงมหาดไทย, 2564)

4.1.2 โครงสรา้ งการบริหารราชการ
โครงสร้างการบริหารราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สามารถ
แบง่ ออกเป็น 5 กล่มุ คอื

404

สถาบนั บณั ฑติ พัฒนบริหารศาสตร์

1) ราช การบริหารส่ว นกลาง ได้แก่ กองกลาง กองการเจ้าหน้าที่
กองการต่างประเทศ กองคลัง กองสารนิเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการ
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สำนักตรวจราชการและเรื่องราว
ร้องทุกข์ สำนักนโยบายและแผน สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการ
จงั หวัด และศนู ย์ปฏิบัตกิ ารข่าวกระทรวงมหาดไทย

2) ราชการบรหิ ารสว่ นภูมภิ าค ได้แก่ สำนกั งานจังหวดั
3) หน่วยงานรับผิดชอบขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ กลุ่มตรวจสอบ

ภายใน กลมุ่ พฒั นาระบบบรหิ าร และศนู ยป์ ฏบิ ตั กิ ารตอ่ ตา้ นการทจุ รติ
4) หน่วยงานภายในที่จัดตั้งขึ้นและให้รายงานตรงต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย

ได้แก่ สำนักงานที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กลุ่มงานสนับสนุนปลัดกระทรวง
สำนักงานศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ศูนย์ดำรงธรรม
กระทรวงมหาดไทย กลุ่มขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและ
การสร้างความสามัคคีปรองดอง และศูนย์ขับเคลื่อนงานจิตอาสา
กระทรวงมหาดไทย
5) หน่วยงานภายในท่จี ดั ตง้ั และให้รายงานตรงต่อปลดั กระทรวงมหาดไทยหรือรอง
ปลัดกระทรวงมหาดไทยที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการเป็นรายพื้นที่ คือ
กลุ่มยทุ ธศาสตรก์ ารพัฒนาภาค

4.1.3 วิสัยทัศน์
“เป็นองคก์ รชั้นนำในการพัฒนาและแกไ้ ขปัญหาในระดับพืน้ ท่ี”

4.1.4 พันธกจิ
1) พัฒนายุทธศาสตรแ์ ละแปลงนโยบายไปส่กู ารปฏบิ ตั ใิ นระดับพ้ืนท่ี
2) สง่ เสริมการบริหารงานจงั หวดั และกลุม่ จงั หวัดแบบบรู ณาการ
3) ส่งเสรมิ การบริหารจดั การภาครฐั แบบมสี ่วนร่วมท่ีมปี ระสิทธิภาพ

4.1.5 ยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การบูรณาการและแปลงนโยบาย/ยุทธศาสตร์ไปสู่
การปฏิบตั ใิ นระดบั พืน้ ท่ี

405

โครงการวจิ ัย
การบรหิ ารราชการแผ่นดินบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะที่ ๑)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริม สนับสนุนการบริหารงานจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
แบบบรู ณาการ

ประเดน็ ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 3 การบริหารจดั การทม่ี ีประสทิ ธิภาพภายใตห้ ลกั ธรรมภบิ าล

4.1.6 บทบาทหนา้ ที่
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์และ
แปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนการปฏิบัติงาน จัดสรรทรัพยากร และบริหารราชการทั่วไปของ
กระทรวงการรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยและอำนวยความเป็นธรรม และ
การส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธ์ิ
ตามภารกจิ ของกระทรวง โดยใหม้ ีอำนาจหนา้ ทด่ี ังต่อไปนี้
- ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์
ของกระทรวง
- พัฒนายทุ ธศาสตร์การบรหิ ารของกระทรวง
- แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏบิ ตั ิงาน
- จดั สรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวงเพ่ือใหเ้ กดิ การประหยดั คมุ้ คา่ และมปี ระโยชน์
- ดำเนนิ การเกี่ยวกบั การตรวจราชการและตรวจสอบภายในราชการทั่วไปของกระทรวง
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารเพ่ือใช้ในการบริหารงานและให้บริการ
ดา้ นการสอื่ สารแก่สว่ นราชการต่าง ๆ และจงั หวดั
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถ่ิน
ตามกฎหมายวา่ ดว้ ยระเบยี บบริหารงานบคุ คลสว่ นทอ้ งถ่นิ
- ดำเนินการและประสานการแปลงยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน
ระดับชาติไปสู่การบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดและกลุ่มจังหวัดส่งเสริม และ
สนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดการยื่นคำขอ
งบประมาณของจงั หวัดและกลุ่มจังหวดั ตลอดจนติดตามและประเมนิ ผลการบริหารและ
พฒั นาจังหวดั และกลมุ่ จังหวดั และสนบั สนุนการปฏิบตั ริ าชการส่วนภูมิภาค
- ดำเนินการเกี่ยวกับระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงและ
กระทรวง ตลอดจนการสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ การบริหารทรพั ยากรบคุ คลของจงั หวัดและ
กลุ่มจังหวดั

406

สถาบันบัณฑติ พัฒนบริหารศาสตร์

- ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายในความรับผิดชอบของกระทรวงและกฎหมายอื่นที่
เก่ียวขอ้ ง รวมทัง้ งานนิติกรรมและสัญญางานเกยี่ วกบั ความรับผิดทางแพ่งและอาญางาน
คดปี กครอง และงานคดีอน่ื ที่อยใู่ นอำนาจหน้าทข่ี องกระทรวง

- ดำเนินการเกย่ี วกบั ความชว่ ยเหลือและความรว่ มมอื กบั ต่างประเทศ
- อำนวยการ บรู ณาการ และเปน็ ศูนยก์ ลางของกระทรวงในการประสานงานด้านการข่าว

ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน รวมถึงการข่าวท่ี
เกยี่ วกบั การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามท่ีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าท่ีของสำนักงานปลัดกระทรวง
หรอื ตามท่ีรฐั มนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

4.2 กรมการปกครอง

4.2.1 ประวัติและความเปน็ มา
กระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2435
รับผิดชอบงานมหาดไทยหรืองานการปกครองประเทศ และได้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่าง
กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหมให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกันโดยให้กระทรวงมหาดไทย
รับผิดชอบรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดเพียงกระทรวงเดียว (กรมการปกครอง, 2564)
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคได้กำหนดรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า
"เทศาภิบาล" ขึ้นมาใช้และได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแลโดยจัดแบ่ง
หัวเมืองออกเป็นมณฑล เมืองและอำเภอโดยมีสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอ
เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตท้องที่นั้น ๆ
และมีกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานในระดับตำบลและหมู่บ้าน
กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภังจึงเป็นต้นกำเนิดของกรมการปกครองซึ่งได้มี
การเปล่ียนชื่อและปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในมาเป็นลำดับ ดังน้ี
- พ.ศ. 2458 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมปกครองและกรมฝ่ายเหนือ
- พ.ศ. 2459 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมปกครองท้องที่และ
กรมการเมือง
- พ.ศ. 2460 กรมปกครองมีส่วนราชการ 2 แผนก คือ แผนกปกครองท้องที่และ
แผนกการเมือง
- พ.ศ. 2466 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมปกครอง และกรมการเมือง

407

โครงการวิจัย
การบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ บนพ้ืนฐานหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง (ระยะท่ี ๑)

- พ.ศ. 2467 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ การภายในกรมภายนอก
และกรมทะเบียน

- พ.ศ. 2469 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย คือ กรมปกครอง กรมทะเบียนและ
กรมราชทัณฑ์

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น
ระบอบ ประชาธิปไตยแล้วในปี พ.ศ. 2476 กรมพลำภังได้เปล่ียนชื่อเป็นกรมมหาดไทยต่อมาในปี
พ.ศ. 2505 จึงเปลี่ยนมาใช้ช่ือ "กรมการปกครอง" จนถึงปัจจุบัน

4.2.2 โครงสรา้ งการบริหารราชการ
โครงสรา้ งการบริหารราชการของกรมการปกครอง แบ่งออกเป็น 5 กลุม่ คอื
1) ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม

กองการเจ้าหน้าที่ กองการสอื่ สาร กองคลงั กองวชิ าการและแผนงาน วิทยาลัย
การปกครอง สำนักงานสอบสวนและนิติการ สำนักงานกิจการความมั่นคง
ภายใน สำนักงานบริหารการทะเบียน สำนักงานบริหารการปกครองท้องท่ี
และสำนกั อำนวยการกองอาสารักษาดนิ แดน
2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย ที่ทำการปกครองจังหวัด ที่ทำการ
ปกครองอำเภอ และท่ที ำการปกครองกิ่งอำเภอ
3) หนว่ ยงานรบั ผิดชอบขนึ้ ตรงตอ่ อธบิ ดกี รมปกครอง ประกอบดว้ ย กลมุ่ ตรวจสอบ
ภายในและกลมุ่ พัฒนาระบบบริหาร
4) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเป็นการภายใน ประกอบด้วย กองส่งเสริมองค์กรศาสนา
อสิ ลามและกิจการฮจั ย์ กองตรวจราชการและเร่ืองราวร้องทุกข์ ศนู ย์สารสนเทศ
เพอื่ การบริหารงานปกครอง และศูนย์ปฏบิ ตั กิ ารตอ่ ตา้ นการทจุ ริต

408

สถาบนั บณั ฑติ พฒั นบริหารศาสตร์

4.2.3 วสิ ัยทัศน์
“การบริหารราชการในระดับพื้นที่มีความเข้มแข็ง เพื่อความมั่นคงและการพัฒนา

อย่างยงั่ ยนื ”

4.2.4 พนั ธกจิ
1) บูรณาการการบริหารราชการ การปกครองท้องที่ อำนวยความเป็นธรรม

การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในทุกระดับในพื้นที่ให้
สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน นโยบายรัฐบาล การพัฒนาประเทศ
และกรอบความรว่ มมอื ระหว่างประเทศ
2) ปกป้องเทิดทูนสถาบันหลักของชาติและการเสริมสร้างความปรองดอง
สมานฉนั ทใ์ นระดบั พน้ื ทีใ่ ห้มีความเข้มแข็งและมศี ักยภาพ
3) อำนวยการบังคับใช้กฎหมายในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและ
ความมัน่ คงภายในการอำนวยความเปน็ ธรรมในภารกจิ กรมการปกครอง
4) บริการประชาชนด้านงานทะเบียนราษฎร บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียน
ทั่วไปและทะเบียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและ
ความม่ันคงภายใน
5) บริหารจัดการระบบเทคโนโลยีการปฏิบัติงาน การบริการ และพัฒนาระบบ
ฐานข้อมูลกลางให้มีคุณภาพ เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างบูรณาการของ
ภาครฐั และภาคเอกชน รวมถงึ การเชอื่ มโยงฐานข้อมลู ระหว่างประเทศ
6) พฒั นาองค์กรให้มสี มรรถนะสงู บนฐานธรรมาภบิ าล
7) ส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของฝ่ายปกครองในการประสานงาน สนับสนุนและ
การตรวจสอบกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการระดับ
ภมู ิภาค

4.2.5 ยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
แบบบรู ณาการในระดับพื้นที่ใหม้ ีความเขม้ แข็ง
ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ที่ 2 การรักษาความสงบเรียบร้อยและอำนวยความเป็นธรรมให้
สงั คมสงบสขุ

409

โครงการวิจัย
การบริหารราชการแผ่นดนิ บนพนื้ ฐานหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง (ระยะท่ี ๑)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างความมั่นคงภายในทุกระดับในพื้นที่ให้
เข้มแขง็ มเี อกภาพ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริการและข้อมูลบุคคลให้ทันสมัย
มีคุณภาพ เพอื่ ความมน่ั คงและการพฒั นาประเทศ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ยึดหลักธรรมาภิบาล
และพฒั นาบคุ ลากรให้มีสมรรถนะสูง

4.2.6 บทบาทหนา้ ท่ี
กรมการปกครอง มีภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง

ภายในประเทศ การอำนวยความเป็นธรรม การปกครองท้องที่ การอาสารักษาดินแดน และ
การทะเบียนเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัย ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และให้เกิด
ความสงบสุขในสังคมอย่างยั่งยืน โดยให้มีอำนาจหน้าท่ี ดังต่อไปน้ี

1) เสนอแนะนโยบายและจัดทำแผน มาตรการ ติดตาม และประเมินผล
ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความม่ันคงภายใน

2) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย การสืบสวนสอบสวน
คดีอาญาในหน้าท่ีพนักงานฝ่ายปกครอง และการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่
ประชาชน

3) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายใน งานการข่าว งานกิจการ
ชายแดน งานควบคุมดูแลชาวเขาและชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพและผู้หลบหนี
เข้าเมือง งานสัญชาติ และงานกิจการมวลชน

4) สนับสนุนและส่งเสริมการปกครองในระบบประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง
ทุกระดับ

5) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองอาสารักษาดินแดน
6) ดำเนินการพัฒนาและบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ

ตำบลและหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องท่ี
7) ดำเนินการและพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัว

ประชาชนและงานทะเบียนอื่น รวมท้ังการบริหารจัดการฐานข้อมูลกลางเพื่อ
การใช้ประโยชน์ร่วมกันท้ังภาครัฐและภาคเอกชน
8) ดำเนินการพัฒนาบุคลากรในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและ
ความม่ันคงภายใน

410

สถาบนั บณั ฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร์

9) ดำเนินการสื่อสารเพื่อการบริหารงาน การรักษาความสงบเรียบร้อยและ
ความม่ันคงภายใน

10) อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่และ
ความรับผิดชอบของนายอำเภอ

11) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือ
ตามท่ีรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

4.3 กรมการพฒั นาชุมชน
4.3.1 ประวตั ิและความเป็นมา
แนวคิดการพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2483 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

การพัฒนาในกลุม่ ประเทศเครือจกั รภพจากเดิมมาเปน็ การพัฒนาท่ีเห็นว่าประชาชนเป็นแกนกลางของ
พลังขับเคลื่อนทางสังคม เม่อื แนวคิดการพฒั นาชุมชนนีเ้ ผยแพร่ออกไปจนก่อเกิดเป็นปรัชญาเก่ียวกับ
การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับรัฐบาลในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่
ซ่ึงเรียกว่า ขบวนการพัฒนาชุมชน ขบวนการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาในประเทศไทย
ดว้ ยเชน่ กัน (กรมการพัฒนาชมุ ชน, 2564)

ในปี พ.ศ. 2483 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้แผนการบูรณะชนบทพัฒนา
โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ สร้างสรรค์ชีวิตจิตใจของประชาชนในชนบทให้เหมาะสมที่จะเป็น
พลเมอื งดี และส่งเสริมให้ประชาชนมีการครองชีพทดี่ ีขึน้ และได้จดั ต้งั สำนักงานพัฒนาการท้องถิ่นข้ึน
ในปี พ.ศ. 2499 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น และมีการริเริ่ม
โครงการพัฒนาท้องถิ่นในปีถัดมาโดยมีปลัดพัฒนากรเป็นผู้ปฏิบัติงานซึ่งเ รียกกันในภายหลังว่า
พัฒนากร

ในปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม ฉบับที่
10 และจัดตั้งกรมการพัฒนาชุมชน ขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกดั กระทรวงมหาดไทยเม่ือวันที่ 1 ตุลาคม
พ.ศ. 2505 ภารกิจในระยะแรกของกรมการพัฒนาชุมชนคือ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนใน
ชนบทโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนา ตนเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าพัฒนากรต้องทำงาน
กับประชาชน ไมใ่ ช่ทำใหป้ ระชาชน

411

โครงการวิจัย
การบรหิ ารราชการแผ่นดนิ บนพนื้ ฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ ๑)

4.3.2 โครงสร้างการบริหารราชการ
โครงสร้างการบรหิ ารราชการของกรมการพฒั นาชุมชน แบ่งออกเปน็ 2 กลมุ่ คอื
1) หน่วยงานส่วนกลาง ประกอบด้วย กองคลัง กองแผนงาน กองการเจ้าหน้าที่

กองนิติการ กลุ่มตรวจสอบภายใน กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มงานคุ้มครอง
จริยธรรม กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สหกรณ์ออมทรัพย์ สำนักตรวจราชการ
สำนักงานเลขานุการกรม สถาบันการพัฒนาชุมชน ศูนย์สารสนเทศเพ่ือ
การพัฒนาชุมชน สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน สำนักพัฒนาทุนและ
องค์กรการเงนิ ชมุ ชน และสำนกั ส่งเสรมิ ภูมปิ ญั ญาท้องถิ่นและวสิ าหกิจชมุ ชน
2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและ
สำนักงานพัฒนาชมุ ชนอำเภอ

4.3.3 วสิ ัยทัศน์
“เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชมุ ชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี 2565”
กรมการพัฒนาชุมชนได้มุ่งขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อ
ประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ทำให้มีความง่าย ท้าทาย และเป็นไปได้ใน
การปฏิบัติให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 –
2564) ยทุ ธศาสตรข์ องประเทศไทย นโยบายของรฐั บาล สถานการณส์ ภาพแวดลอ้ มในปัจจุบัน เพอ่ื ให้
บุคลากรทุกคนใช้เป็นกรอบทิศทางการปฏิบัติงาน โดยสามารถกำหนดรูปแบบ นำไปประยุกต์สู่
การปฏิบัติงานไดต้ ามความเหมาะสม และกรมการพัฒนาชุมชนไดก้ ำหนดให้ปี 2560 ขับเคลื่อนวาระ
กรมการพัฒนาชุมชน (Agenda) เพื่อมุ่งมั่นว่ากรมการพัฒนาชุมชนพร้อมขับเคลื่อน สัมมาชีพชุมชน
เข้มแข็งภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อก้าวไปสู่ “เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคง
ประชาชนใชช้ ีวติ อย่ใู นชมุ ชนอยา่ งมคี วามสขุ ”

4.3.4 พนั ธกจิ
1) พฒั นาระบบกลไกการมสี ่วนรว่ มและการเรยี นร้กู ารพ่งึ ตนเอง
2) พฒั นาการบรหิ ารจัดการชุมชนใหพ้ ง่ึ ตนเองได้
3) สร้างระบบกลไกและกิจกรรมทางเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงตามหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพยี ง
4) พัฒนาองคก์ รให้มขี ีดสมรรถนะสูง และบคุ ลากรมอี ดุ มการณ์ในงานพฒั นาชุมชน

และเชีย่ วชาญการทำงานเชิงบูรณาการ

412

สถาบันบัณฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร์

4.3.5 ยทุ ธศาสตร์
ประเด็นยทุ ธศาสตร์ท่ี 1 สรา้ งสรรคช์ มุ ชนใหพ้ ึ่งตนเอง
ประเด็นยุทธศาสตรท์ ี่ 2 ส่งเสรมิ เศรษฐกิจฐานรากใหข้ ยายตัว
ประเดน็ ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 3 เสรมิ สรา้ งทนุ ชุมชนให้มีประสิทธภิ าพและมีธรรมาภิบาล
ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4 เสริมสร้างองค์กรให้มสี มรรถนะสงู

4.3.6 บทบาทหนา้ ท่ี
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552 กรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริม
กระบวนการเรยี นรู้ และการมสี ่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกจิ ชุมชนฐานรากให้มี
ความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยสนับสนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ในการพฒั นาชมุ ชน เพอื่ ใหเ้ ปน็ ชมุ ชนเขม้ แข็งอย่างย่งั ยนื โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังตอ่ ไปน้ี
1) กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการพัฒนาชุมชน

ระดบั ชาติ เพ่อื ให้หนว่ ยงานของรฐั เอกชน และผมู้ สี ่วนเก่ียวขอ้ งดา้ นการพัฒนา
ชุมชนได้ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถ
และความเขม้ แขง็ ของชมุ ชน
2) จัดทำและพัฒนาระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับ
ประเมินความก้าวหนา้ และมาตรฐานการพัฒนาของชมุ ชน
3) พัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้
การอาชีพ การออม และการบริหารจัดการเงินทุนของชมุ ชน เพื่อเสริมสร้างขีด
ความสามารถของประชาชน ชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน และเครือข่าย
องค์การชุมชน
4) สนบั สนนุ และพฒั นาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน ส่งเสริมการใชป้ ระโยชน์และ
การใหบ้ ริการข้อมลู สารสนเทศชมุ ชน เพอื่ ใชใ้ นการวางแผนบรหิ ารการพัฒนาได้
อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ
5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในงานพัฒนาชุมชน
และการจัดทำยทุ ธศาสตร์ชุมชน
6) ฝกึ อบรมและพัฒนาข้าราชการ เจ้าหนา้ ทท่ี เ่ี ก่ยี วข้อง ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน
และเครือข่ายองค์การชุมชนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะ

413

โครงการวิจัย
การบริหารราชการแผ่นดินบนพน้ื ฐานหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง (ระยะท่ี ๑)

ในการทำงาน รวมทั้งให้ความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาชุมชนแก่
หนว่ ยงานทง้ั ในประเทศและต่างประเทศ
7) ปฏิบัตกิ ารอ่ืนใดตามท่ีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหนา้ ที่ของกรม หรือตามที่
กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรมี อบหมาย

4.4 กรมท่ีดนิ

4.4.1 ประวตั แิ ละความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อม ให้กระทรวงเกษตราธิการจัดการ ออกโฉนดที่ดินครั้งแรกที่เมอื งกรุงเก่า (ปัจจุบันคือ
จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา) โดยโฉนดท่ีดนิ ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2444 (รัตนโกสินทร์
ศก 120) และได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมที่ดินขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2444 (รตั นโกสินทร.์ .ศก 120) ตอ่ มาได้มีการยา้ ยสงั กดั และเรยี กชอ่ื ต่าง ๆ กนั (กรมท่ดี ิน, 2564)
ดงั แสดงในตารางท่ี 3.2

ตารางที ผ 3.2

ประวตั ิการย้ายสังกัดของกรมทีด่ ิน

วนั ที่ ชื่อ สงั กัด

17 กมุ ภาพันธ์ 2444 กรมทะเบียนทีด่ ิน กระทรวงเกษตราธิการ
29 กุมภาพนั ธ์ 2475 กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
30 กรกฎาคม 2475 กรมท่ีดนิ และโลหะกจิ กระทรวงมหาดไทย
12 เมษายน 2476 กรมที่ดินและโลหะกิจ กระทรวงเศรษฐการ
1 เมษายน 2478 กรมทด่ี ินและโลหะกจิ กระทรวงเกษตราธิการ
19 สิงหาคม 2484 กรมที่ดนิ กระทรวงมหาดไทย

4.4.2 โครงสร้างการบรหิ ารราชการ
โครงสรา้ งการบรหิ ารราชการของกรมทดี่ นิ ออกเป็น 2 กลุ่มคอื
1) ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วย สำนักจัดการที่ดินของรัฐ

กองเทคโนโลยีทำแผนท่ี สำนักมาตรฐานและสง่ เสริมรังวัด สำนักงานมาตรฐาน
ทะเบียนที่ดิน สำนักมาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ สำนักส่งเสริมธุรกิจ

414

สถาบนั บณั ฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร์

อสังหาริมทรัพย์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักกฎหมาย สำนักงานที่ดิน
กรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการกรม กองคลัง กองการพิมพ์
กองการเจ้าหน้าที่ กองพัสดุ กองฝึกอบรม กองแผนงาน สำนักงาน
คณะกรรมการช่างรังวัดเอกชน กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มตรวจสอบภายใน
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านทุจริต กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม สำนักงานตรวจ
ราชการ ศูนย์ข้อมูลแผนที่รูปแปลงที่ดิน และสำนักงานบริหารโครงการพัฒนา
กรมที่ดนิ และเร่งรดั การออกโฉนดท่ดี นิ ทว่ั ประเทศ
2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย สำนักงานที่ดินจังหวัดและสาขา
สำนกั งานทด่ี นิ อำเภอ และสำนกั งานทีด่ นิ ส่วนแยก

4.4.3 วิสัยทัศน์
“ขับเคลื่อนการจัดการทีดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและการพัฒนา
ประเทศ ด้วยมาตรฐานการจดั การ การบรกิ ารระดับสากล”

นยิ ามของวิสัยทศั น์
1) ขับเคลื่อนการจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน หมายถึง

การคุ้มครองสิทธิด้านที่ดินให้กับประชาชนให้เป็นไปตามกฎหมาย และ
การบรู ณาการร่วมกนั ของหนว่ ยงานท่ีเก่ยี วขอ้ งกบั การออกโฉนดท่ีดินแก่ประชน
ชนมีความเป็นเอกภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ ทั้งเชิงนโยบาย
และการปฏบิ ัติ
2) ขับเคลื่อนการจัดการที่ดินเพื่อการพัฒนาประเทศ หมายถึง กรมที่ดินเป็นศูนย์
ข้อมูลที่ดนิ และแผนที่แห่งชาติ ระบบฐานขอ้ มูลท่ีดนิ ของประเทศเป็นมาตรฐาน
เดียวกัน สามารถรองรับการใช้ประโยชน์จากที่ดินในการพัฒนาประเทศ
ทั้งดา้ นเศรษฐกจิ สงั คม และความม่ันคง
3) มาตรฐานการจดั การ การบริการ ระดับสากล หมายถึง ระบบการให้บรกิ ารด้าน
การลงทะเบียนทีด่ ินของประเทศมีความทันสมยั บริการออนไลน์ทั่วทั้งประเทศ
และเชื่อมโยงกับสากล บุคลากรด้านทะเบียนที่ดินของประเทศไทยมีความ
ทันสมัย มีขีดความสามารถสูงในระดับสากล ระบบบริหารจัดการภายในได้
มาตรฐานผ่านเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award:
TQA)

415

โครงการวจิ ยั
การบรหิ ารราชการแผ่นดินบนพืน้ ฐานหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง (ระยะที่ ๑)

4.4.4 พนั ธกิจ
1) คมุ้ ครองสทิ ธดิ า้ นท่ีดนิ ใหแ้ ก่ประชาชนใหเ้ ปน็ ไปตามกฎหมาย
2) บูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกโฉนดที่ดินแก่ประชาชน

มีความเป็นเอกภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศทั้งเชิงนโยบายและ
การปฏบิ ตั ิ
3) เป็นศูนย์ข้อมูลที่กินและแผนที่แห่งชาติที่มีระบบฐานข้อมูลที่ดินของประเทศ
เป็นมาตรฐานเดียวกันสามารถรองรับการใช้ประโยชน์จากที่ดินในการพัฒนา
ประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกจิ สังคม และความมั่นคง
4) ให้บริการด้านการทะเบียนที่ดินของประเทศไทยที่มีความทันสมัยบริการ
ออนไลน์ทั่วทั้งประเทศและเชือ่ มโยงกับสากล พร้อมทั้งมีบุคลากรด้านทะเบยี น
ทีด่ ินของประเทศทีม่ ขี ีดความสามารถสงู ในระดับสากล
4.4.5 ยทุ ธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการจัดการที่ดินของรัฐให้มีประสิทธิภาพเกิด
ประโยชนส์ งู สุด
ประเด็นยทุ ธศาสตร์ท่ี 2 พัฒนาระบบการออกเอกสารสิทธิให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ท่วั ประเทศ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบข้อมูลที่ดินและแผนที่แห่งชาติ ที่มีศักยภาพ
รองรบั การพัฒนาประเทศและรองรบั การบริการในระดับสากล
ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4 พฒั นาระบบการบริหารประชาขนด้วยระบบออนไลน์ท่ัวท้ัง
ประเทศมมี าตรฐานสากล ด้วยบุคลากรท่มี ีขีดความสามารถสูง

416

สถาบนั บัณฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร์

4.4.6 บทบาทหนา้ ท่ี
กรมที่ดินมีภารกิจหลักเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธใิ นที่ดินของบคุ คล และจัดการที่ดนิ
ของรัฐโดยการรังวัดทำแผนที่ การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน การให้บริการจดทะเบียนสิทธิและ
นิติกรรม เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์การส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการบริหารจัดการข้อมูล
สารสนเทศทีด่ ิน เพอ่ื ให้บุคคลมีความมน่ั คงในการถอื ครองทีด่ ิน และได้รับการบรกิ ารทม่ี ีประสิทธิภาพ
ตลอดจนการบริหาร จัดการที่ดินของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้มี
อำนาจหนา้ ท่ีดงั ตอ่ ไปนี้
1) ดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

กฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กฎหมายว่าด้วยช่างรังวัดเอกชน กฎหมายว่าด้วย
การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และกฎหมายอื่นที่
เกี่ยวขอ้ ง
2) ดำเนนิ การดา้ นกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดนิ กฎหมายวา่ ดว้ ยการจัดสรร
ที่ดินกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กฎหมายว่าด้วยช่างรังวัดเอกชน กฎหมายว่า
ด้วยการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และกฎหมาย
อน่ื ทเี่ กี่ยวขอ้ ง
3) จัดทำและประสานแผนงานของกรมให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและ
กระทรวง รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานตาม
แผนงานของหน่วยงานในสังกัด ตลอดจน ดำเนินการเกี่ยวกับงานสถิติ
ประมวลผล และวเิ คราะห์ประเมินสถานการณท์ ่ีเก่ียวขอ้ งกบั ภารกจิ ของกรม
4) พัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานที่ดินให้เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์ และวิธกี ารบรหิ ารกิจการบา้ นเมอื งทดี่ ี
5) ดำเนินการบริหารจดั การข้อมลู สารสนเทศ
6) ปฏบิ ตั กิ ารอนื่ ใดตามท่ีกฎหมายกำหนดให้เปน็ อำนาจหนา้ ท่ีของกรม หรือตามท่ี
รัฐมนตรหี รอื คณะรัฐมนตรีมอบหมายยุทธศาสตร์

417

โครงการวจิ ัย
การบรหิ ารราชการแผ่นดินบนพน้ื ฐานหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง (ระยะที่ ๑)

4.5 กรมปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั

4.5.1 ประวตั ิและความเป็นมา
จากนโยบายของรัฐบาลที่วางแนวทางในการปฏิรูประบบราชการ โดยดำเนิน
การปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการต่าง ๆ ให้เป็นระบบ ซึ่งมีการก่อต้ัง
หน่วยงานขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติภารกิจที่เคยซ้ำซ้อนอยู่ในหน่วยงานอื่น ๆ
ให้เป็นระบบเปรียบเสมือนเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์ของประชาชนและ
ประเทศชาติเป็นหลัก ทั้งยังเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยมีหน่วยงานใหม่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ
คือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีภารกิจหน้าที่ในการจัดทำแผนแม่บท วางมาตรการ
ส่งเสริมสนับสนุน การป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟูจากสาธารณภัย โดยกำหนดนโยบายด้านความ
ปลอดภัย สร้างระบบป้องกัน เตือนภัย ฟื้นฟูหลังเกิดภัย และการติดตามประเมินผล เพื่อให้
หลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย,
2564)
กรมปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบดว้ ยบุคลากรทีถ่ า่ ยโอนมาจาก 5 หนว่ ยงาน คือ
1) กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท 2) กองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง 3) กองป้องกันภัย
ฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง 4) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ สำนักปลัดสำนัก
นายกรัฐมนตรี กรมการพัฒนาชุมชน (งานบริการด้านช่างพ้ืนฐาน) และ 5) กองสงเคราะหผ์ ปู้ ระสบภัย
กรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งบุคลากรจากหน่วยงานเหล่านี้จะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันใจการปฏิบัติงาน
ป้องกัน บรรเทา และฟื้นฟู ด้วยระบบการบริหารจัดการสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ และเกิด
ผลสัมฤทธใ์ิ นการลดความสูญเสยี ทีเ่ กิดขน้ึ จากสาธารณภยั ทุกประเภทอยา่ งเปน็ รูปธรรม

4.5.2 โครงสรา้ งการบรหิ ารราชการ
โครงสร้างการบริหารราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ออกเป็น 2 กลุ่ม
คือ
1) ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วย สำนักผู้ตรวจราชการกรม สำนักงาน

เลขานุการกรม กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กองมาตรการ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กองส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์เตอื นภยั พิบัตแิ ห่งชาติ สำนักชว่ ยเหลอื
ผู้ประสบภัย สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ กองบูรณาการความ

418

สถาบนั บัณฑติ พฒั นบริหารศาสตร์

ปลอดภัยทางถนน กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง กองกฎหมาย กองเผยแพร่และ
ประชาสัมพันธ์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มตรวจสอบ
ภายใน กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม และกองโรงงาน
เครอ่ื งจักรกล
2) ส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค ได้แบ่งเขตพื้นที่การรับผิดชอบเป็น 18 กลุ่ม
จังหวัด ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1-18 และสำนักงาน
ปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั จงั หวัด

4.5.3 วิสัยทศั น์
“กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นองค์กรชั้นนำด้านการจัดการความเสี่ยง
จากสาธารณภยั ในระดับสากล เพ่อื ให้ประเทศไทยปลอดภยั ยั่งยนื ”

4.5.4 พนั ธกิจ
1) พัฒนาระบบกลไกการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศไทยและ

ดำเนินการจัดการสาธารณะภัย ทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัยให้
มมี าตรฐานสากล
2) บูรณาการความร่วมมือองค์กรและเครือข่ายด้านการจัดการสาธารณภัย
ทัง้ ภายในประเทศและตา่ งประเทศ
3) พัฒนาระบบ ทรัพยากร และเครือข่ายให้มีความพร้อมและเพียงพอใน
การปอ้ งกัน และลดความเสี่ยงจากสาธารณภยั อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ
4) ศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรดู่ า้ นการจัดการความเส่ยี งจากสาธารณภยั
5) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงจาก
สาธารณภยั เพือ่ สร้างการรับรู้และตระหนกั ให้แกท่ ุกภาคส่วน
6) ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย
พัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นให้ทั่วถึงและ
เป็นธรรม
7) ฟืน้ ฟบู ูรณะพ้นื ที่ประสบภยั ท่ีไดร้ บั ความเสียหายจากสาธารณภัยให้กลับสู่สภาพ
ปกติโดยเร็วและพฒั นาใหด้ ีขึน้ กว่าเดิม
8) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับ

419

โครงการวจิ ัย
การบรหิ ารราชการแผ่นดนิ บนพนื้ ฐานหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง (ระยะท่ี ๑)

4.5.5 ยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มศักยภาพการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
การช่วยเหลือสงเคราะห์และฟ้ืนฟูให้มีประสทิ ธิภาพและมีมาตรฐานตามหลักสากล
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
ระหว่างหนว่ ยงานและเครือขา่ ยทุกภาคส่วนทง้ั ในและต่างประเทศใหม้ ีความเปน็ เอกภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเข็มแข็งแก่ประชาชน เอกชน ชุมชน ท้องถิ่น
อาสาสมัครและเครือขา่ ย ให้มคี วามรู้ ตระหนักมวี ฒั นธรรมความปลอดภัย และมีส่วนร่วมใน
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภยั ตามแนวทางประชารฐั
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์กรและบุคลากรไปสู่การเป็นองค์กรที่มีขีด
สมรรถนะสงู และสามารถรองรับความเปลย่ี นแปลงได้

4.5.6 บทบาทหนา้ ที่
จัดทำแผนแม่บทวางมาตรการส่งเสริมสนับสนุนการป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟู
จากสาธารณภัย โดยการกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย สร้างระบบป้องกัน เตือนภัย ฟื้นฟูหลัง
เกิดภัย และการติดตามประเมินผล เพื่อให้หลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและ
ทรพั ยส์ ิน

4.6 กรมโยธาธิการและผังเมอื ง

4.6.1 ประวัติและความเปน็ มา
กรมโยธาธิการและผังเมือง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 จากการรวมกรม
โยธาธกิ ารและกรมการผงั เมืองเขา้ ด้วยกนั ซ่ึงเป็นผลจากการปฏริ ปู ระบบราชการ โดยบูรณาการงานที่
เกี่ยวเนื่องกันของทั้งสองกรมเข้าด้วยกัน และมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาเมืองที่สัมฤทธิ์ผล
ตามวัตถปุ ระสงค์ของการผังเมืองอย่างแทจ้ ริง อนั จะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างย่ังยืน
(กรมโยธาธกิ ารและผงั เมือง, 2564)

2 กล่มุ คอื 4.6.2 โครงสรา้ งการบรหิ ารราชการ
โครงสร้างการบริหารราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แบ่งออกเป็น

1) ราชการบริหารส่วนกลาง ได้แก่สำนักงานเลขานุการกรม กองการเจ้าหน้าที่
กองคลัง กองควบคุมการก่อสร้าง กองนิติการ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

420

สถาบันบัณฑติ พฒั นบริหารศาสตร์

กองแผนงาน กองวิเคราะห์วิจัยและทดสอบวัสดุ กองออกแบบก่อสร้าง
พลับพลาพิธีและโครงการพิเศษ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันพัฒนา
บุคลากรด้านการพัฒนาเมือง สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร สำนักผัง
ประเทศและผังภาค สำนักผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ สำนักพัฒนา
มาตรฐาน สำนักวศิ วกรรมการผังเมอื ง สำนักวิศวกรรมโครงสร้างและงานระบบ
สำนักสถาปตั ยกรรม และสำนกั สนบั สนนุ และพฒั นาตามผังเมือง
2) สว่ นราชการบริหารสว่ นภูมภิ าค ประกอบดว้ ย สำนักงานโยธาธกิ ารและผังเมือง
จังหวัด

4.6.3 วสิ ัยทัศน์
“เป็นองค์กรแกนนำของประเทศ ในด้านการผังเมือง การพัฒนาเมือง และ
การอาคาร ใหม้ ีความนา่ อยู่ ปลอดภยั รักษาสภาพแวดลอ้ ม ประหยดั พลงั งาน และมอี ัตลกั ษณ์”

4.6.4 พนั ธกิจ
1) สนับสนุน กำหนด กำกับ และพัฒนาปรับปรุงให้งานผังเมืองและโยธาธิการ

มีมาตรฐานวิชาการที่สามารถสนองต่อความต้องการทางสังคม เศรษฐกิจ
และส่ิงแวดลอ้ ม เพอ่ื การพัฒนาอยา่ งยงั่ ยืน
2) สร้างการมีส่วนร่วมกับภาครัฐและประชาชนในการวางแผนการดำเนิน
การพฒั นาเมือง ทอ้ งถน่ิ และชมุ ชน
3) พัฒนา ปรับปรุง ส่งเสริมธรรมาภิบาลและประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย
การใช้ประโยชน์ที่ดิน การผังเมืองและโยธาธิการ เพื่อประโยชน์สุขของ
ประชาชน

4.6.5 ยทุ ธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 วางผังเมืองบนความตกลงใจของคนในชุมชนในการใช้
ประโยชน์ที่ดิน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยมีผังประเทศ ผังภาค และผังอนุภาค
เป็นระดับผังนโยบายถ่ายทอดส่กู ารวางผังระดับจังหวัด
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาให้เมืองมีความปลอดภัยจากธรรมชาติ
มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่มีมาตรฐาน โดยมีระบบป้องกันน้ำท่วม
พืน้ ทช่ี มุ ชน เขอ่ื นป้องกนั ตล่ิง ระบบโครงสรา้ งพื้นฐาน และการจัดรูปที่ดินเพ่อื พฒั นาพืน้ ท่ี

421

โครงการวิจัย
การบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ บนพื้นฐานหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะที่ ๑)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เพื่อให้อาคารมั่นคง ปลอดภัย มีอัตลักษณ์ ประหยัด
พลังงานและลดภาวะโลกร้อนโดยการออกกฎหมายควบคุมอาคาร ตรวจสอบระบบและพัฒนา
มาตรฐานความปลอดภยั ในอาคาร

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 มุ่งให้บริการงานชา่ งทุกระดับ ในฐานะช่างของแผ่นดนิ โดย
ใหบ้ รกิ ารด้าน การออกแบบอาคาร ทดสอบวัสดุและใหค้ ำปรกึ ษาด้านชา่ ง

4.6.6 บทบาทหน้าท่ี
1) ด้านการผังเมือง มีหน้าที่วางผงั เมอื งบนความตกลงใจของคนในชมุ ชนในการใช้

ประโยชน์ที่ดิน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยมีผังประเทศ
ผังภาค และผังอนุภาค เป็นระดับผังนโยบายถ่ายทอดสู่การวางผังระดับจังหวดั
ด้านการพัฒนาเมือง มีหน้าที่พัฒนาให้เมืองมีความปลอดภัยจากธรรมชาติ
มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่มีมาตรฐาน
โดยมีระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน เขื่อนป้องกันตลิ่ง ระบบโครงสร้าง
พนื้ ฐาน และการจัดรูปท่ดี นิ เพ่ือพฒั นาพื้นท่ี
2) ด้านการอาคาร มีหน้าที่เพื่อให้อาคารมั่นคง ปลอดภัย มีอัตลักษณ์ ประหยัด
พลังงานและลดภาวะโลกร้อนโดยการออกกฎหมายควบคุมอาคาร ตรวจสอบ
ระบบและพฒั นามาตรฐานความปลอดภยั ในอาคาร
3) ด้านการบรกิ ารด้านช่าง มีหนา้ ที่มุ่งให้บริการงานช่างทุกระดับ ในฐานะช่างของ
แผ่นดินโดยให้บริการด้านการออกแบบอาคาร ทดสอบวัสดุและให้คำปรึกษา
ดา้ นชา่ ง
4.7 กรมสง่ เสริมการปกครองสว่ นท้องถิ่น

4.7.1 ประวัตแิ ละความเป็นมา
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในสั งกัด
กระทรวงมหาดไทยที่มีบทบาทภารกิจสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้ อำนาจหน้าที่และโครงสร้างส่วนราชการ ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นไปตาม
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2545
(กรมส่งเสริมการปกครองส่วนทอ้ งถน่ิ , 2564)
ต่อมาในปี พ.ศ.2551 ได้มีการประกาศใช้กฎกระทรวงแบง่ ส่วนราชการกรมส่งเสรมิ
การปกครองท้องถ่นิ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2551 โดยกำหนดใหม้ ีราชการบริหารสว่ นภูมภิ าค และ

422

สถาบันบัณฑติ พฒั นบริหารศาสตร์

จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดขึ้นในกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อทำ
หน้าที่ประสานงานและปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของกรมในราชการส่วนภูมิภาค และจัดตั้งกลุ่ม
ตรวจสอบภายในและกล่มุ พัฒนาระบบบรหิ ารขึน้ ในกรมส่งเสรมิ การปกครองท้องถิ่น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ไดจ้ ดั ตงั้ กองยทุ ธศาสตร์และแผนงานเป็นสว่ นราชการภายใน
กรมสง่ เสริมการปกครองท้องถ่ิน โดยแยกภารกิจด้านแผนงานและการจดั ทำงบประมาณของกรมของ
สำนักงานเลขานุการกรมออกมาดำเนินการ และแก้ไขอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเลขานุการกรม
เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งยุทธศาสตร์และแผนงาน รวมทั้งจัดตั้งกองส่งเสริมและพัฒนาการจัด
การศึกษาท้องถิ่นเป็นส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยแยกภารกิจ
ด้านการศึกษาของสำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น ออกมาดำเนินการและเปลี่ยนชื่อ
สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่นเป็นกองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น
และแก้ไขอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกองส่งเสริมและ
พัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่นโดยกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ในการประสาน รวบรวม วิเคราะห์
และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
เพ่อื ประกอบการจดั ทำคำของบประมาณรายจา่ ยประจำปีของกรม

4.7.2 โครงสร้างการบริหารราชการ
การแบ่งสว่ นราชการกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถน่ิ แบง่ ออกเปน็ 2 สว่ นคือ
1) ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองการ

เจ้าหน้าที่ กองคลัง กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น กองตรวจสอบระบบ
การเงินบัญชีท้องถิ่น กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น
ศูนยเ์ ทคโนโลยีสารสนเทศท้องถนิ่ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น สำนักบริหาร
การคลังท้องถน่ิ และสำนักพฒั นาระบบบรหิ ารงานบุคคลส่วนทอ้ งถ่นิ
2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นจงั หวดั

4.7.3 วิสยั ทัศน์
“ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้จัดบริการสาธารณะได้ตามมาตรฐานเพื่อ
ประชาชนมคี ุณภาพท่ีดี”

423

โครงการวิจัย
การบริหารราชการแผน่ ดนิ บนพ้นื ฐานหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง (ระยะที่ ๑)

4.7.4 พันธกจิ
1) ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้าใจในการจัดบริการ

สาธารณะตามมาตรฐานการดำเนินงาน
2) พัฒนาปรับปรุงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความสามารถในการจัดบริการ

สาธารณะได้อย่างท่วั ถงึ
3) ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตาม

มาตรฐานบริการสาธารณะ
4) ส่งเสริมการติดตามประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรฐานบริการสาธารณะ
5) บริหารและพัฒนากรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถปฏิบัติงาน

ตามอำนาจหนา้ ทกี่ ฎหมาย และนโยบายทก่ี ำหนด

4.7.5 ยทุ ธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาผู้บริหาร สมาชิกสภาและบุคลากรท้องถิ่นใน
การปฏบิ ัตงิ านตามมาตรฐานบรกิ ารสาธารณะ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบการเงิน การคลัง และปรับปรุงระเบียบ
กฎหมายรองรบั การปฏิบตั งิ านขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสรมิ สนับสนุน และพัฒนาการดำเนินการจัดบริการ
สาธารณะขององค์กรปกตรองส่วนทอ้ งถ่ินให้มีมาตรฐาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาวางระบบและดำเนินงานติดตามประเมินผล
การปฏบิ ัตงิ านขององค์กรปกครองสว่ นท้องถ่ิน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการปฏิบัติงานของกรมส่งเสริมการปกครอง
ส่วนทอ้ งถน่ิ ตามอำนาจหน้าท่ี ภารกิจ และนโยบายท่ีได้รบั มอบหมาย

4.7.6 บทบาทหน้าท่ี

1) ดำเนนิ การพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้างขององคก์ รปกครองสว่ นท้องถิน่
2) ส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดทำ ประสาน และบูรณาการแผนพัฒนาท้องถิ่น

และวางระบบในการติดตามและประเมิน ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนา
ทอ้ งถนิ่

424

สถาบนั บัณฑติ พัฒนบริหารศาสตร์

3) ดำเนินการจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถนิ่ รวมท้งั ใหค้ ำปรึกษา แนะนำ และกำกบั ดูแลการปฏิบตั งิ าน
ตามอำนาจ หนา้ ทีข่ ององค์การปกครองส่วนท้องถ่ิน

4) กำหนดแนวทางและจัดทำมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริการงานบุคคล
สว่ นทอ้ งถิน่

5) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานด้านการเงิน การคลัง
การงบประมาณ การพัสดุการจัดเก็บรายได้ และการประกอบกิจการพาณิชย์
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งวางระบบตรวจสอบระบบการเงิน
การบัญชี และ การพสั ดขุ ององคก์ ารปกครองส่วนท้องถน่ิ

6) ส่งเสริมสนับสนุนและประสานการจัดการบริการสาธารณะและการศึกษาใน
อำนาจหนา้ ทขี่ ององค์กรปกครองส่วนท้องถน่ิ

7) กำหนดแนวทาง วางระบบ และสร้างตัวชี้วัดเพื่อเป็นมาตรฐานการดำเนินงาน
ขององคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่น ตลอดจนกำกับดแู ลใหเ้ ป็นไปตามมาตรฐาน

8) ส่งเสริมภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารงานและตรวจสอบ
การดำเนนิ งานขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่นิ

9) พฒั นาระบบข้อมูลสารสนเทศเพอื่ การบรกิ ารขององคก์ ารปกครองส่วนทอ้ งถ่นิ
10) พฒั นาบคุ ลากรขององคก์ ารปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ และของกรม
11) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามท่ี

กระทรวงหรอื คณะรัฐมนตรมี อบหมาย

4.8 สำนักงานรัฐมนตรี

4.8.1 ประวตั ิและความเปน็ มา
สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย เป็นส่วนราชการที่ไม่ได้มีฐานะเป็นกรม
เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นกรม อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เดิมมีชื่อว่า "สำนักงาน
เลขานุการรัฐมนตรี" ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2476 เมื่อครั้งก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย มีการจัดตั้ง
"กองมหาดไทยกลาง" ทำหน้าที่ทั่วไปซึ่งไม่ใช่งานของกรมใดกรมหนึ่งในกระทรวง หรือเปรียบเสมือน
กับสำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวงในปัจจุบัน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2476 ภายหลัง
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไดม้ กี ารจดั ตง้ั "กรมเลขานุการรัฐมนตรี" ขึน้ ซ่งึ ภายหลงั จากนั้นไม่นาน

425

โครงการวจิ ยั
การบริหารราชการแผน่ ดนิ บนพืน้ ฐานหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะท่ี ๑)

ก็มีการเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี" ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง
กระทรวง ทบวง กรม และมีการจัดตั้งให้สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีให้ ใช้ชื่อว่า "สำนักงาน
รัฐมนตร"ี (สำนักงานรฐั มนตร,ี 2564)

4.8.2 โครงสร้างการบรหิ ารราชการ

โครงสร้างของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลมุ่ บรหิ าร กลุ่มงานการเมอื ง และกลุม่ งานร้องทุกข์

4.8.3 บทบาทหนา้ ท่ี
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2545 ลงวันท่ี 9 ตุลาคม 2545 กำหนดให้สํานักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย มีภารกิจ
เกี่ยวกับราชการทาง การเมือง เพื่อสนับสนุนภารกจิ ของรัฐมนตรี ประสานนโยบายระหว่างกระทรวง
มอี ำนาจหน้าที่ ดงั ต่อไปน้ี
1) รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์กลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอ

ความเห็น ประกอบการวินจิ ฉยั ส่ังการของรฐั มนตรี
2) สนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีในการดำเนินงานทางการเมืองระหว่าง

รัฐมนตรี คณะรฐั มนตรี รัฐสภา และประชาชน
3) ประสานงานการตอบกระทู้ ชี้แจงญัตติ ร่างพระราชบัญญัติ และกิจการอื่น

ทางการเมือง
4) ดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือร้องขอความช่วยเหลือต่อ

รฐั มนตรี
5) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน

รัฐมนตรี หรือตามท่ี รัฐมนตรหี รือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

426

โครงการวจิ ยั
การบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ บนพื้นฐานหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระยะที่ ๑)

ภาคผนวกที่ 4
เครื่องมอื เก็บขอ้ มลู และตวั อย่างหนังสือติดต่อหนว่ ยงาน

427


Click to View FlipBook Version