รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจดั ทำเคร่ืองช้ีวัดและแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพ้ืนฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพ้ืนฐาน
ระดบั หมู่บา้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ชว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ว่าความไม่เท่าเทียมกันในการครอบครองทรัพยากรของคนในสังคมเป็นเหตุของปัญหาการพัฒนาที่
ไม่สมดุลประการหนึ่ง การเรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจการพัฒนาถือเป็นปฏิบัติการแรก ๆ ของ
วาทกรรมการพฒั นาที่ยั่งยืนโดยเฉพาะในทศวรรษ 2530 เหน็ ไดช้ ัดจากขบวนการเรยี กร้องสทิ ธิชุมชนใน
การจดั การทรัพยากรในช่วยต้นทศวรรษ 2530 เปน็ ตน้ มา แนวคดิ เรอ่ื งการกระจายอำนาจ จัดได้ว่าเป็น
องคป์ ระกอบหน่งึ ของรปู แบบการพัฒนาทยี่ ง่ั ยืนซ่ึงสะท้อนถึงการบริหารจัดการทีด่ ี (Good governance)
ของการพฒั นาที่ย่งั ยนื อันเปน็ หลักการสากลและไม่อาจแบ่งแยกออกจากการพัฒนาทางการเมืองไป
รปู ธรรมของการนำแนวคดิ การพัฒนาที่ย่งั ยืนสกู่ ารปฏบิ ตั ิ
ประเทศไทยนำแนวคิดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนมาใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
สะท้อนผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจสเี ขียว (Green Economy) ซึ่งได้รับความสนใจทั้งในฐานะการพัฒนาที่
ย่งั ยืน การแสดงออกซ่งึ ความรบั ผิดชอบของผู้ผลติ และกระแสการอนรุ ักษธ์ รรมชาติอนั เกิดจากการต่ืนตัว
ด้านสิ่งแวดล้อมในหมู่ผู้บริโภคที่สร้างตลาดใหม่ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ กล่าวได้ว่า แนวคิดการพัฒนา
เศรษฐกิจสีเขียวเกิดขึ้นและพัฒนาไปพร้อมกับการผลิตแบบ low-carbon development หรือรูปแบบ
การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจที่มีกระบวนการลดการใช้พลังงานคาร์บอนและเพิ่มสัดส่วน
ของพลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นคือการช่วยลดการปล่อยคาร์บอน
อันเป็นสาเหตุของปัญหาเรือนกระจกและโลกร้อน และเป้าหมายระยะยาวคือสร้างระบบอุตสาหกรรม
และเศรษฐกจิ ท่ีเปน็ มติ รกบั สภาพแวดลอ้ มอย่างยง่ั ยืน (Lynn R. Kahle, Eda Gurel-Atay, Eds, 2014)
แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ถูกให้ความสำคัญมากขึ้นในระดับโลก
จากวิกฤตการเงินในปี 2008 และความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภมู ิอากาศอนั เป็นผลมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ยงิ่ ทำให้เศรษฐกจิ สีเขียวดจู ะเป็นทางเลือกท่ี
หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับอนาคตของมนุษยชาติ การประชุม Rio+20 (United Nations Conference on
Sustainable Development: UNCSD) ในปี 2012 เศรษฐกิจสีเขียวจึงถูกยกให้เป็นประเด็นถกเถียง
สำคัญในเวทีเจรจาระหว่างรัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยนิยามของเศรษฐกิจสีเขียวนั้นมีจดุ รว่ มที่สำคัญ คือ
ม่งุ บรรลุเปา้ หมายในการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของมนุษย์และความเท่าเทยี มกนั ในสงั คม ลดความเสี่ยงด้าน
ส่งิ แวดล้อม ลดผลกระทบทางลบจากกิจกรรมของมนุษย์ และลดความขาดแคลนของทรัพยากรธรรมชาติ
และระบบนเิ วศ (UNEP, 2011)
สำหรับประเทศไทย แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ถูกนำมาใช้ตาม
กระแสการพัฒนาที่ยั่งยืน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตื่นตัวในวงการภาคธุรกิจ
อุตสาหกรรมและการเกษตรแต่ยังคงไม่แพร่หลายมากนักเมื่อเทียบกับนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวที่เกิดขึ้น
จำนวนมาก มีงานวิชาการงานศึกษาวจิ ยั ในประเทศไทยจำนวนไมน่ ้อยที่กล่าวถงึ เศรษฐกจิ สีเขียวท่ีเด่นชัด
เช่น งานชุดความรู้เศรษฐกิจสีเขียวโดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ สนับสนุนโดยสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) งานชุดความรู้เศรษฐกิจสีเขียวดังกล่าว
ประกอบด้วย (1) เส้นทางเศรษฐกิจสีเขียว (2) ตัวชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียว (3) การค้าระหว่างประเทศกับ
สิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาความตกลงว่าด้วยสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม (4) ภาคเกษตรไทย บนเส้นทาง
ของเศรษฐกิจสีเขยี วและการพัฒนาท่ีย่ังยืน และ (5) เทคโนโลยสี เี ขียวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกจิ สีเขียวใน
ประเทศไทย กล่าวคอื
39
รายงานฉบบั สมบูรณ์โครงการจัดทำเครอ่ื งชี้วดั และแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพนื้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พน้ื ฐาน
ระดบั หมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
งานศึกษาเรื่อง “เส้นทางเศรษฐกิจสีเขียว” โดย รศ.ดร. โสภารัตน์ จารุสมบัติ
คณุ นติ ยา โพธิน์ อก และ อ.ดร. จารุพล เรืองสวุ รรณ (โสภารตั น์ จารุสมบัติ (บก.), 2562) คณะรฐั ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง 3 ส่วน คือ แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว กรณีศึกษาตัวอย่างที่ดีของ
นโยบายเศรษฐกิจสีเขียวในต่างประเทศและนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวของไทย หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอ
ความเป็นมาของแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว (green economy) ความหมายของแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว
รวมถึงความหมายของแนวคิดที่เกี่ยวข้องเช่น การเติบโตสีเขียว (green growth) และการพัฒนาอย่าง
ยั่งยืน (sustainable development) ตลอดจนความสำคัญของแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวในด้านต่าง ๆ
รวมถึงเป้าหมายและการวัดความสำเร็จของเศรษฐกิจสีเขียว ได้ศึกษาเปรียบเทียบนโยบายเศรษฐกิจสี
เขียวของเยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ทั้งระดับนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ ของแนวคิด
เศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว และการออก
มาตรการตามนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติ หนังสือเล่มนี้ได้กลับมาสำรวจนโยบาย กฎหมาย และมาตรการ
ตามนโยบายเศรษฐกจิ สีเขียวของไทย เปรียบเทียบนโยบายและมาตรการของไทยกับตา่ งประเทศ พร้อม
ทั้งนำเสนอช่องว่างทางโยบายและช่องทางการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนข้อเสนอแนะ
เพ่ือสง่ เสริมนโยบายเศรษฐกจิ สเี ขยี วในประเทศไทย
งานศึกษาเรื่อง “ตัวชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียว” โดย ผศ.ดร. อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์
(2562) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง ความเป็นมาและความหมายของ
เศรษฐกิจสีเขียว (green economy) และการเติบโตสีเขียว (green growth) ตลอดจนความสำคัญและ
จำเป็นของดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียว ได้ทบทวนและวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียวและการเติบโต
สีเขียว ทั้งระดับประเทศและดับพื้นที่จากองค์กรต่างประเทศจำนวน 9 หน่วยงาน อันประกอบด้วย
(1) ดัชนีของบริษัท Dual Citizens (2) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations
Environmental Programme: UNEP) (3) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
(Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) (4) The Green Growth
Knowledge Platform (GGKP) (5) ธนาคารโลก (world bank)(6) องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรป
(European Environment Agency: EEA) (7) Carbon Disclosure Project (8) Economist Intelligence
Unit (EIU) และ (9) การศึกษาของ Orenis Brilhante and Jannes Klass
นอกจากนี้ ยังได้ทบทวนและวิเคราะห์ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสีเขียวของ
ประเทศไทยอีก 3 หน่วยคือ คือ (1) ดัชนีวัดเมืองสิ่งแวดล้อม ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(2) ดัชนีวัดการพัฒนาระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ และ (3) ดัชนีวัดเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
งานศึกษานี้ได้ทดลองนำเสนอดัชนีชี้วัดการพัฒนาในระดับประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสีเขียว ของ
ประเทศไทยในดา้ นต่าง ๆ เชน่ ตัวช้วี ัดด้านส่งิ แวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ตวั ชวี้ ัดด้านผลติ ภาพและ
ความเข้มข้นของการใช้ทรัพยากร ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชนจากสภาวะแวดล้อม ตัวชี้วัดด้าน
ความเสี่ยงและโอกาส และตัวชี้วัดด้านการใช้เครื่องมือเชิงนโยบาย พร้อมทั้งได้นำเสนอดัชนีชี้วัดระดับ
เมอื ง/จังหวดั และตวั อย่างการคำนวณตัวช้ีวดั เศรษฐกิจสเี ขียวของไทยโดยสังเขป
40
รายงานฉบับสมบรู ณโ์ ครงการจัดทำเครื่องชวี้ ดั และแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเปน็ พนื้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พ้ืนฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรับใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
งานศกึ ษาเรอ่ื ง "การคา้ ระหวา่ งประเทศกบั สงิ่ แวดล้อม กรณีศกึ ษาความตกลงวา่ ด้วย
สินค้าและบริการสงิ่ แวดล้อม" โดย ผศ. สิทธิกร นพิ ภยะ (2562) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
วา่ ดว้ ยการนำเสนอสาเหตุปัญหาส่ิงแวดล้อมในมุมเศรษฐศาสตร์ ความสัมพนั ธร์ ะหว่างการเปิดเสรีการค้า
ระหว่างประเทศกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเหตุผลความจำเป็นของการทำความตกลงระหว่าง
ประเทศ นำเสนอภาพรวมบทบัญญัติด้านสิ่งแวดล้อมในความตกลงเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ
ท้งั ความตกลงเปิดเสรกี ารคา้ ระดับพหภุ าคภี ายใต้องคก์ ารการค้าโลก และความตกลงเปดิ เสรกี ารค้าระดับ
ภูมิภาค เช่น ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ตลอดจนความเป็นมาและเนื้อหาการเจรจา
เปิดเสรีการค้าสินค้าด้านสิ่งแวดล้อมและการเปิดเสรีการค้าบริการด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับพหุภาคี
ภายใต้องค์การการค้าโลก และระดับภูมิภาคทั้งส่วนของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก และ
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ตลอดจนวิเคราะห์ถึงผลกระทบของความตกลงเปิดเสรี
การค้าสินคา้ และบริการด้านสง่ิ แวดลอ้ มว่าเปน็ ไปตามเปา้ หมายท่ตี ัง้ ไว้หรือไม่เพียงใด
งานศึกษาเรื่อง "ภาคเกษตรไทย บนเส้นทางของเศรษฐกิจสีเขียวและการพัฒนาท่ี
ยั่งยืน" โดย นนท์ นุชหมอน (2562) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ นำเสนอและเชื่อมโยง
แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
กับภาคเกษตรกรรม การสังเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจสีเขียวใน
ภาคเกษตรกรรมของไทย ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมการเติบโตและเพิ่มผลิตภาพภาคเกษตรกรรม
มิติทางสังคม การลดความเหลื่อมล้ำและการเพิ่มศักยภาพเกษตรรายย่อย และมิติด้านสิ่งแวดล้อม
การส่งเสริมรูปแบบการเกษตรทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการลดความเสี่ยงด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนำเสนอระบบเกษตรกรรมทางเลือกที่นำไปสู่การพัฒนา
อย่างยั่งยืน ทั้งระบบการผลิตทางเลือกและระบบการตลาดการเกษตรและอาหารทางเลือก พร้อมทั้ง
ยกตัวอย่างมาตรการที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ส่งเสริมระบบเกษตรกรรมทางเลือกที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตลอดจนนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมของไทยให้บรรลุเป้าหมาย
การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน
งานศึกษาเรื่อง "เทคโนโลยีสีเขียวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในประเทศไทย"
โดย ผศ.ดร. ชโลทร แก่นสันติสุขมงคล (2563) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอ
ช่องว่างทางนโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย พร้อมทั้งได้
เชื่อมโยงมุมมองของทฤษฎีการพัฒนาเทคโนโลยี กับสภาพการณ์ ความสำคัญ และความเร่งด่วนของ
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อที่จะวิเคราะห์ประเมินสถานภาพ
ทางเลือก และข้อเสนอแนะเชิงมาตรการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว ให้บรรลุเป้าหมายของ
การผลติ และการบริโภคท่ียง่ั ยนื
งานวิจัยอื่น ๆ เช่น การพัฒนาเกษตรยั่งยืนและเศรษฐกิจสีเขียวด้วยเครือข่ายวิจัย
การประเมินวัฏจักรชีวิตและพัฒนาฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตด้านเกษตรและอาหาร (การผลิตสัตว์น้ำ)
ระดับชาติ โดย ดำรง ศรีพระราม และคณะ (2556) โครงการแผนที่นำทางงานวิจัยด้านการประเมิน
วัฏจักรชวี ติ ผลติ ภณั ฑเ์ กษตรและอาหารเพื่อการเกษตรย่ังยืนและเศรษฐกจิ สีเขยี ว โดย รัตนาวรรณ มั่งคั่ง
และคณะ (2556) และรูปแบบการบริโภคสีเขียวของผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ Green Consumption
Pattern: Chiang Mai, Thailand โดย นศิ าชล ลรี ัตนากร (2556) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปน็ ต้น
41
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำเคร่อื งชวี้ ัดและแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พ้นื ฐาน
ระดบั หมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ช่วงแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
2.2.2 แนวคิดความมัน่ คงของมนษุ ย์
กล่าวได้ว่า ความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) เป็นแนวคิดที่ชูขึ้นโดย
องค์การสหประชาชาตินำเสนอหลัก “เสรีภาพจากความต้องการพื้นฐาน” (freedom from want) และ
“เสรีภาพจากความหวาดกลัว” (freedom from fear) สำหรับประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับแนวคิด
“ความมั่นคงของมนุษย์” โดยยึดหลักพื้นฐานศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และได้มีการดำเนินงานด้าน
สิทธิมนษุ ยชน การจัดบริการใหเ้ กิดความเสมอภาคเปน็ ธรรมแกป่ ระชาชน การลดความเหล่อื มลำ้ ในสังคม
สอดคล้องกับคำนิยามโดยทั่วไปของความมั่นคงของมนุษย์ตามคำจำกัดความของโครงการพัฒนาแห่ง
สหประชาชาติ (UNDP) หมายถึง “การที่ประชาชนสามารถแสดงออกในทางเลือกของตนอย่างปลอดภัย
และเป็นอิสระ ประชาชนควรจะมีศักยภาพและได้รับอำนาจมากพอที่จะดูแลรับผิดชอบตัวเอง มีโอกาส
ทจี่ ะแสวงหาความต้องการของตนเองและรายได้ทเี่ พยี งพอในการดำรงชีวิต”
ย้อนกลับไปที่ต้นกำเนิดแนวคิด “ความมั่นคงของมนุษย์” เริ่มขึ้นอย่างชัดเจนใน
ราวทศวรรษ 1970 และได้รับการบรรจุในวาระการประชุมของสหประชาชาติต้ังแต่ต้นทศวรรษ 1990
จนกระทั่งปัจจุบัน สหประชาชาติและรัฐต่าง ๆ ทั่วโลกล้วนเห็นความสำคัญของความมั่นคงมนุษย์โดย
ความมั่นคงของมนุษย์จะให้ความสำคัญแก่ความเป็นอยู่ที่ดีของ “มนุษย์” เพื่อสามารถดำรงชีวิตได้
บนพื้นฐานของการมีเสรีภาพและปลอดจากความหวาดกลัว มีเสรีภาพและปลอดจากความต้องการ
รวมทงั้ มศี ักด์ิศรขี องความเป็นมนษุ ย์ ความหมายของคำวา่ “ความมัน่ คงของมนุษย์” (Human Security)
มีหลากหลายเนื่องจากนักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศได้ให้คำนิยามไว้
จำนวนมากซง่ึ สามารถนำมาจดั กลมุ่ ได้ 2 ลักษณะ (Taylor Owen, 2010) คือ
กลุ่มที่หนึ่ง บุคคลหรือองค์กรที่นิยามความหมายความมั่นคงของมนุษย์แบบกว้าง
ความหมายความมั่นคงของมนุษย์แบบกว้างที่ได้รับการอ้างอิงและแพร่หลายมากที่สุดคื อ คำนิยาม
ซึ่งนำมาใช้ครั้งแรกในรายงานการพัฒนามนุษย์ฉบับ ค.ศ. 1994 (Human Development Report:
HDR, 1994) ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program:
UNDP) ที่ระบุว่า ความมั่นคงของมนุษย์ คือ “เสรีภาพหรือการปลอดจากความกลัว” (freedom from
fear) และ “เสรีภาพหรือการปลอดจากความต้องการ” (freedom from want) ซึ่งคำนิยามดังกล่าว
เป็นการตอกย้ำเสรีภาพขั้นพืน้ ฐานของมนุษย์ที่พึงมี 4 ประการตามแนวคิดของประธานาธบิ ดีแฟรงคลิน
ดี โรสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) แห่งสหรัฐอเมริกาที่เคยกล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ประจำปีของ
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาต่อรัฐสภา (State of Union) เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1993 กล่าวคือ
เสรีภาพในการพูดและแสดงออก เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพจากความต้องการและเสรีภาพ
จากความกลัว ดังนั้นความมั่นคงของมนุษย์ตามกรอบของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
จึงครอบคลุมมิติการดำรงชีวิตบนพื้นฐานของความปลอดภัยจากภัยคุกคามที่เรื้อรัง เช่น ความหิวโหย
โรคติดต่อ และการกดขี่ รวมทัง้ มนุษย์ควรได้รับการป้องกันจากเหตุการณร์ ุนแรงต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งต่อมาในการประชุมใหญ่สมัชชาแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 66 ใน ค.ศ. 2012 สหประชาชาติได้
เพิ่มเติมคำว่า “เสรีภาพในการดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี” (freedom to live in dignity) ในแนวคิด
เก่ียวกับความมน่ั คงของมนุษย์
42
รายงานฉบับสมบรู ณโ์ ครงการจดั ทำเครอื่ งช้ีวดั และแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พนื้ ฐาน (จปฐ.) และขอ้ มลู พืน้ ฐาน
ระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งที่นิยามความมั่นคงของมนุษย์ในความหมาย
แบบกว้าง เช่น ซาบีนอัลไคร์ (Sabine Alkire) ให้ความหมายความมั่นคงของมนษุ ย์ว่า “เป็นการป้องกัน
สิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ทุกคน (vital core) ให้รอดพ้นจากภัยคุกคามที่กำลังแพร่ขยายอย่าง
ต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายของมนุษย์ในระยะยาว” ซึ่งสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ (vital core) คือ
สทิ ธิมนุษยชน ความตอ้ งการและสมรรถนะพ้ืนฐานของมนุษย์ โดยเฉพาะ อมาตยา เซน (Amartya Sen)
ประธานร่วมของคณะกรรมาธิการว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์ (CHS) ระบุว่า “ความมั่นคงของมนุษย์
ต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 4 ประการ คือ ต้องเน้นชีวิตของปัจเจกชน เน้นสภาพความเป็นอยู่ทาง
สังคมของมนุษย์ ลดความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเสรีภาพของมนุษย์ และเน้นสิทธิมนุษยชน ดังน้ัน
ความมั่นคงของมนุษย์จึงเน้นศักยภาพที่จะรับมือกับภาวะถดถอยและตกต่ำ ขณะที่การพัฒนามนุษย์
จะเน้นความก้าวหน้าในเงื่อนไขของชีวิตมนุษย์” หรือ ลีนนิ่ง และ อารีย์ (Leaning and Arie) นิยามว่า
“ความมั่นคงของมนุษย์ต้องสนใจปัจจัยทางสังคมการเมือง จิตวิทยาที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถมีสภาพ
ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีตลอดเวลาซึ่งรวมถึงการตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น น้ำ
อาหาร ที่พัก และครอบคลุมปัจจัยที่จับต้องไม่ได้ เช่น อัตลักษณ์ การยอมรับ การมีส่วนร่วมและสิทธิ
การปกครองตนเอง” (Taylor Owen, 2010)
กลุ่มที่สอง บุคคลหรือองค์กรที่นิยามความหมายความมั่นคงของมนุษย์แบบแคบ
กล่าวคือ ความหมายความมั่นคงของมนุษย์แบบแคบหมายถึงแนวคิดที่มาจากรัฐบาลแคนาดา หรือ
เรียกว่า “แนวทางของแคนาดา” (Canadian Approach) ซึ่งยอมรับแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ตาม
กรอบโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติว่าเป็นแผนการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์แต่แคนาดาจะเน้น
ตัวแปรเสริมเกี่ยวกับภัยคุกคามที่เป็นความรุนแรงต่อบุคคลซึ่งรวมถึงการค้ายาเสพติด ทุ่นระเบิดสังหาร
บคุ คล ความขดั แยง้ ทางชาติพนั ธุ์รัฐล้มเหลวและการลกั ลอบค้าอาวุธขนาดเล็ก เน่อื งจากเห็นว่าการนิยาม
ความมั่นคงของมนุษย์แบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้นจะช่วยการให้ความช่วยเหลือทำได้อย่า งทันท่วงที
มากกวา่ การใช้คำนยิ ามแบบกวา้ งที่เป็นการวางแผนระยะยาวซ่ึงมีวัตถุประสงคเ์ พ่ือการพัฒนาอย่างย่ังยืน
(sustainable development) (P. H. Liotta and Taylor Owen, 2006)
อย่างไรก็ตาม Taylor Owen (2010) เสนอว่าแนวความคิดด้านความมั่นคงของ
มนษุ ยส์ ามารถนำมาจัดหมวดหมู่ได้ทัง้ หมด 4 กลมุ่ เม่อื ถกู นำมาใชใ้ นทางปฏิบตั ิ กล่าวคอื
1) กลุ่มทนี่ ำแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์มาใช้เป็นหลักการในนโยบายต่างประเทศ
หรือแนวทางการปฏิบัติงานขององค์การระหว่างประเทศ เชน่ แคนาดา ญ่ปี นุ่ และนอร์เวย์ ซ่ึงเป็นรัฐที่นำ
เร่ืองความมนั่ คงของมนุษย์มาบรรจุไว้ในนโยบายตา่ งประเทศเพื่อดำเนนิ ความสัมพันธ์กับรฐั อ่ืน รวมทั้งใช้
ในการกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันองค์การระหว่างประเทศ เช่น
โครงการพฒั นาแห่งสหประชาชาติยงั ได้อาศัยกรอบแนวคิดในรายงานการพัฒนามนุษย์ฉบับ ค.ศ. 1994
เป็นแนวทางในการสง่ เสรมิ ความมนั่ คงของมนุษย์ในประชาคมโลกซ่ึงต่อมาสหประชาชาติไดน้ ำมาบรรจุไว้
ในเปา้ หมายการพฒั นาอยา่ งย่งั ยืนอกี ด้วย
2) กลุ่มที่นำแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น
นักวิชาการ องค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ ได้นำแนวคิดความมั่นคงของมนุษยม์ าใชใ้ นการศกึ ษาวจิ ัยในหัวข้อ
ที่ตนสนใจโดยแบ่งกลุ่มไว้หลากหลาย เช่น เรื่องการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล การค้าอาวุธขนาดเล็ก
43
รายงานฉบบั สมบูรณ์โครงการจดั ทำเครื่องช้วี ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพ้ืนฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพ้นื ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรับใช้ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
การศึกษา การส่งเสริมสุขภาพสาธารณะ การค้ามนุษย์ ความมั่นคงทางอาหาร ความขัดแย้งและอื่น ๆ
เปน็ ตน้
3) กลุ่มที่นำแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือชี้วัดความมั่นคง
ของมนุษย์ในโครงการต่าง ๆ เช่น การสร้างตัวแบบทางเศรษฐกิจชี้วัดการพัฒนา การวิเคราะห์ทางสถิติ
ของการพฒั นาในระดับท้องถ่นิ ระดับชาติรวมถึงระดับโลก
4) กลุ่มที่นำแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์มาใช้เพื่อสร้างกรอบแนวคิดทฤษฎีทาง
วิชาการเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่น กลุ่มทฤษฎีประกอบสร้าง (constructivism) นำแนวคิด
ความมั่นคงของมนุษย์มาวิพากษ์แนวคิดของกลุ่มสัจนิยมใหม่ที่เน้นวิเคราะห์เฉพาะรัฐหรือโครงสร้าง
ของรัฐจนละเลยการศึกษาวิเคราะห์ปัจเจกบุคคล กลุ่มองค์กรอื่น ๆ ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษาทาง
สังคมศาสตรเ์ ช่นกนั
Taylor Owen (2010) กล่าวอีกว่า ความเคลื่อนไหวจากการประชุมครั้งสำคัญ ๆ
ในชว่ งทศวรรษ 1990 ถึงปัจจบุ นั มบี ทบาทชัดเจนในด้านความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่
1) การประชมุ กรงุ สตอกโฮล์มเกยี่ วกบั ความมน่ั คงและธรรมาภิบาลของโลก (Stockholm
Initiative on Global Security and Governance) ในค.ศ. 1991 นำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการด้าน
ธรรมาภิบาลของโลก (Commission on Global Governance) ซ่งึ เป็นองค์กรอิสระใน ค.ศ. 1992
2) การประชุมและการต้ังหน่วยงานเก่ยี วกับความม่ันคงของมนุษย์ภายใต้กรอบของ
สหประชาชาติทีส่ ำคัญ ๆ ได้แก่ การประชมุ ของโครงการพฒั นาแห่งสหประชาชาติและรายงานการพัฒนา
มนุษย์ประจำปี ค.ศ. 1994 (HDR 1994) ได้กล่าวถึงแนวคิดด้านความมั่นคงมนุษย์อย่างชัดเจนเป็น
ครั้งแรกโดยกล่าวถึง “มิติใหม่ของความมั่นคงของมนุษย์” (New Dimensions of Human Security)
และระบุว่าความมั่นคงของมนุษย์คือ “เสรีภาพหรือการปลอดจากความกลัวและเสรีภาพหรือการปลอด
จากความต้องการ” ซึ่งความมั่นคงของมนุษย์มีคณุ ลักษณะสำคัญ 4 ประการ (UNDP, 1994) คอื
(1) ความมั่นคงของมนษุ ยเ์ ป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาในระดับสากลเน่ืองจากมนุษย์
ทุกคนทั้งในประเทศร่ำรวยและยากจนต่างเผชิญกับภัยคุกคามคล้าย ๆ กัน ในทุกพื้นที่ เช่น การว่างงาน
ปญั หายาเสพติด อาชญากรรม มลพษิ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนซ่ึงปัญหาดังกลา่ วเพิม่ มากขึ้นเรื่อย ๆ
ในทกุ สงั คมซึ่งจะมีความแตกต่างกันเพยี งระดบั ของปญั หา
(2) ความมั่นคงของมนุษย์เป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องพึ่งพากัน กล่าวคือ
เมื่อประชาชนในพื้นที่แห่งหนึ่งในโลกกำลังเผชิญกับภัยคุกคามทางความมั่นคงของมนุษย์ย่อมส่งผล
กระทบตอ่ ประเทศอื่น ๆ ในโลกด้วย เชน่ สิทธสิ ตรี ส่ิงแวดลอ้ ม การลักลอบค้ายาเสพตดิ การก่อการร้าย
ความขดั แย้งทางชาติพนั ธุ์ รวมทั้งความแตกแยกในสังคม เป็นตน้
(3) ความมั่นคงของมนุษย์เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ง่ายกว่าการเข้าไปแทรกแซงเพื่อ
แก้ไขปัญหา เช่น การให้ความรู้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์สามารถทำได้ง่ายและประหยัด
กว่าค่าใชจ้ า่ ยในการรกั ษาพยาบาลและสญู เสียทรัพยากรมนุษยใ์ นระยะยาว
(4) ความมั่นคงของมนุษย์เป็นเรื่องมนุษย์เป็นศูนย์กลาง โดยพิจารณาว่าประชาชน
มคี วามเปน็ อยอู่ ย่างไร มอี ิสระเสรที ่ีจะเลอื กส่ิงตา่ ง ๆ ในชวี ิตหรอื ไม่ มคี วามสามารถทจี่ ะเข้าถึงโอกาสทาง
เศรษฐกิจและสงั คมมากนอ้ ยเพียงใดท้ังในสถานการณท์ ี่มคี วามขัดแยง้ และสันติภาพ
44
รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจดั ทำเครือ่ งช้วี ัดและแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเปน็ พน้ื ฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พื้นฐาน
ระดบั หมู่บ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ชว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
นอกจากนี้ การตั้งกองทุนเพื่อความมั่นคงของมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (The
United Nations Trust Fund for Human Security: UNTFHS) ใน ค.ศ. 1999 โดยสหประชาชาติ
และรัฐบาลญีป่ ุ่นได้ร่วมกนั ต้ังหน่วยงานดังกล่าวเพื่อรับผิดชอบด้านความม่ันคงของมนุษย์ มีหน้าที่ให้เงิน
ช่วยเหลือโครงการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ที่เน้นด้านสุขภาพ การศึกษา การเกษตร และ
โครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็กโดยเงินส่วนใหญ่มาจากสหประชาชาติ และคำประกาศแห่งสหัสวรรษ
(Millennium Declaration 2000) สหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับวาระการพัฒนามากขึ้นโดย
การประชุมสุดยอดของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 189 ประเทศในเดือนกันยายน ค.ศ. 2000
สมัชชาใหญแ่ ห่งสหประชาชาตไิ ด้มขี อ้ มติรบั รอง “คำประกาศแหง่ สหัสวรรษ” ซ่ึงประเทศสมาชกิ เห็นพ้อง
ทจ่ี ะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือ (1) เสรมิ สรา้ งสนั ติภาพ ความมัน่ คงและการลดอาวุธ (2)การพัฒนาและ
ขจดั ความยากจน (3) การปกป้องสิ่งแวดล้อม (4) ส่งเสรมิ สทิ ธมิ นุษยชน ประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล
(5) การปกป้องผู้ที่อ่อนแอกว่า (6) ตอบสนองต่อความจำเป็นและความต้องการของกลุ่มประเทศ
แอฟริกาและ (7) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สหประชาชาติโดยผู้นำประเทศสมาชิกสหประชาชาติ
ยังรับรอง “เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ” (Millennium Development Goals: MDGs) ใน
การร่วมกันขจัดความยากจนให้หมดไปภายใน ค.ศ. 2015 ซึ่งประกอบด้วย 8 เป้าหมาย คือ (1) ขจัด
ความยากจนและหิวโหย (2) ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษา (3) ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและ
ส่งเสริมบทบาทผู้หญิง (4) ลดอัตราการตายของเด็ก (5) การพัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์ (6) การต่อสู้
โรคเอดส์ มาเลเรีย และโรคสำคัญอื่น ๆ (7) รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ (8) ส่งเสริม
การเป็นหุน้ สว่ นเพอื่ การพฒั นาในประชาคมโลก ซงึ่ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหสั วรรษดังกล่าวครอบคลุม
มิตคิ วามมนั่ คงของมนุษยอ์ ย่างชดั เจน ส่งผลให้มีการต้งั “คณะกรรมาธกิ ารอิสระวา่ ด้วยความม่ันคงของมนุษย์”
(The Independent Commission on Human Security: CHS) ใน ค.ศ. 2001(United Nations,
2000)
ต่อมา ใน ค.ศ. 2003 คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอรายงานเรื่อง “ความมั่นคงของมนุษย์
ในปัจจุบัน”(Human Security Now) ให้แก่เลขาธิการสหประชาชาติและเห็นว่าเรื่องความมั่นคงของ
มนุษย์จำเป็นต้องอาศัยกระบวนทัศน์ใหม่ 2 ประการ คือ (1) ความมั่นคงของมนุษย์มีความจำเป็น
เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามทั้งรูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่ตั้งแต่ความยากจนไปจนถึงความรุนแรงทาง
ชาติพันธ์ุ การคา้ มนุษย์ การเปลยี่ นแปลงของสภาพอากาศ การก่อการร้ายสากลและปญั หาทางเศรษฐกิจ
ที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันซึ่งภัยคุกคามดังกล่าวต้องได้รับการแก้ไขโดยก้าวข้ามมิติทางความมั่นคง
แบบดั้งเดิมที่คำนึงถึงเฉพาะกำลังทหาร (2) ความมั่นคงของมนุษย์ต้องการวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างรอบ
ด้านและมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทั้งด้านการพัฒนา ด้านสิทธิมนุษยชน และความมั่นคงของชาติ
นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯ ยังได้ตั้งคณะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของมนุษย์ (Advisory Boardon
Human Security: ABSH) เพื่อให้คำปรึกษาแก่เลขาธิการสหประชาชาติในการบริหารกองทุนเพื่อ
ความมั่นคงของมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UNTFHS) และทำหน้าที่ติดตามการดำเนินนโยบายของ
คณะกรรมาธิการว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์ (CHS) ตลอดจนการตั้ง “หน่วยงานด้านความมั่นคงของ
มนุษย์” (Human Security Unit: HSU) ขึ้นเป็นหน่วยงานหนึ่งในสำนักงานเพื่อการประสานงานด้าน
มนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ(UN Office for the Coordination of Humanitarian Affairs: OCHA)
(Commission on Human Security, 2003)
45
รายงานฉบบั สมบรู ณ์โครงการจัดทำเครื่องชวี้ ัดและแบบสอบถามข้อมลู ความจำเปน็ พื้นฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพืน้ ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แนวคิดด้านความมั่นคงของมนุษย์เริ่มขึ้นอย่างชัดเจนใน
ราวทศวรรษ 1970 และไดร้ บั การบรรจุในวาระการประชุมของสหประชาชาตติ ้ังแต่ต้นทศวรรษ 1990
จนกระทั่งปัจจุบัน สหประชาชาติและรัฐต่าง ๆ ทั่วโลกล้วนเห็นความสำคัญของความมั่นคงมนุษย์และ
ถอื เปน็ ส่วนหน่งึ ของวาระแห่งชาติรวมท้งั ประเทศไทยซึ่งกระทรวงพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
เป็นหนว่ ยงานหลักรบั ผิดชอบในเร่ืองดังกล่าว กลา่ วได้วา่ ในปจั จุบันแนวคดิ ว่าดว้ ยความม่ันคงของมนุษย์
ได้เพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะที่เป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับนำมาประกอบการจัดทำนโยบายของ
ภาครฐั ดา้ นการพฒั นาทรัพยากรมนุษย์ รวมท้ังนโยบายด้านการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระหว่าง
ประเทศและนโยบายต่างประเทศของรฐั
ทั้งนี้ยังแสดงให้เหน็ ว่า ความมั่นคงของมนุษย์เน้นการทำงานบนพื้นฐานของการป้องกนั
และเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่บุคคลหรือชุมชนซึ่งต้องอาศัยการดำเนินงานตลอดกร ะบวนการท้ัง
จากระดับบนลงล่าง (top-down) และจากระดับล่างขึ้นข้างบน (bottom-up) มีประเด็นครอบคลุมใน
ทุกมิติที่เป็นปัญหาคุกคามความมั่นคงของมนุษย์ เช่น สิทธิพลเมือง เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและ
วัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาทั้งระดับภูมิภาคและแบบพหุภาคีทำให้มี
ความเกี่ยวพันกับหลายภาคส่วนซึ่งต้องอาศัยการบูรณการองค์ความรู้และการทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้
ผลลพั ธ์สงู สดุ นอกจากนคี้ วามม่นั คงของมนษุ ย์ยังมีบรบิ ทเฉพาะตวั ทำใหป้ ัญหาที่แสดงออกมาแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เวลาและปัจจัยแวดล้อม ดังนั้น ความมั่นคงของมนุษย์จึงมีพลวัตซึ่งจำเป็นต้องแสวงหา
แนวทางออกที่เหมาะสมสำหรับแต่ละท้องถิ่นด้วยการสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมเนื่องจาก
ภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน เน้นการปอ้ งกันล่วงหน้า รวมทั้งต้องกำหนด
รากเหง้าของปัญหา มีเกณฑ์ในการเทียบเคียงและประเมินผลกระทบเพื่อความสมบูรณ์ของภาพรวมท่ี
ครอบคลมุ ความมั่นคงของมนุษย์อย่างแท้จริง
2.2.3 แนวคดิ การพัฒนามนษุ ย์
ธีระ นชุ เปยี่ ม (2561) กล่าววา่ การพฒั นามนุษย์เป็นมติ ิสำคญั ดา้ นหนง่ึ ของความคิด
เรื่องการพัฒนาที่สะท้อนความสนใจหลักในปัจจุบันด้านการพัฒนาในประเด็นปัญหาความยากจน ชีวิต
ความเป็นอยู่ รวมไปถึงสุขภาพ สุขอนามัยและด้านอื่น ๆ ของชีวิต ความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมและ
การกดขี่เอารัดเอาเปรียบ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสตรี เด็ก และชาติพันธุ์กลุ่มน้อยในสังคม ตลอดจน
ประเด็นด้านความมั่นคงมนุษย์ รากฐานทางความคิดสำคัญประการหน่ึงของการพัฒนามนุษย์คอื แนวคดิ
ทางทฤษฎีของอมรรตยะ เสน (Amartya Kumar Sen) เรื่อง “ความสามารถ” กล่าวคือ แนวคิดน้ี
ประกอบด้วยหลักคิด 2 ประการ ประการแรกคือความคิดที่ว่าเสรีภาพที่จะมีความเป็นอยู่ที่ดี ( well-
being) มีความสำคัญยิ่งในทางศีลธรรม และประการที่สอง เสรีภาพที่จะบรรลุถึงความเป็นอยู่ที่ดี
ดังกล่าว คือ การมีโอกาสที่แท้จริงที่จะทำและเป็นในสิ่งที่พวกเขามีเหตุผลที่จะให้คุณค่า จึงกล่าวได้ว่า
การพัฒนามนุษย์เป็นแนวคิดแบบองค์รวมที่บูรณาการแนวทางต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน จำเป็นต้องมี
ยุทธศาสตรแ์ ละแนวทางปฏิบัติด้านการพัฒนามนุษย์ที่หลากหลายแตกต่างกนั ไป และคงเป็นไปไม่ได้ท่ีจะ
มียุทธศาสตร์หรือแนวทางการดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการพัฒนามนุษย์จะมี
ยทุ ธศาสตร์และแนวปฏบิ ัติอยา่ งไร แนวทางสำคัญจะต้องเปน็ ยุทธศาสตรท์ ีย่ ึดถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง
มิใช่ยทุ ธศาสตร์ทีย่ ดึ ถอื สินคา้ หรอื การผลิตเปน็ หลัก
46
รายงานฉบับสมบูรณโ์ ครงการจัดทำเคร่ืองชี้วดั และแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพน้ื ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพ้ืนฐาน
ระดับหมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรับใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
กล่าวได้ว่า การพัฒนามนุษย์ (human development) เป็นมิติสำคัญดา้ นหนึ่งของ
ความคดิ เรอ่ื งการพฒั นาทีเ่ ป็นความสนใจทางวิชาการมาตั้งแต่ชว่ งหลงั สงครามโลกคร้ังที่ 2 สอดคล้องกับ
การจัดทำรายงานการพัฒนามนุษย์ฉบับแรกที่ UNDP เสนอขึ้นมาใน ค.ศ. 1990 แง่หนึ่งกลา่ วไดว้ ่าเปน็
ปฏิกิรยิ าตอบโต้และหาทางออกจากสภาวการณ์ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาต้องเผชิญอยู่ขณะนั้นคือการเสนอ
แนวทางการพัฒนาท่ียึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและเป็นการมองประชาชนในภาพรวมเปน็ ทางเลือกใหม่
นอกเหนือไปจากแนวทางเสรีนิยมใหม่ที่ทรงอิทธิพลขณะนั้น รายงานฉบับนี้และฉบับต่อ ๆ มาที่ออกมา
อย่างสม่ำเสมอเกือบทุกปีโดยเว้นเพยี ง 1 หรอื 2 ปี ทำให้แนวคิดเร่ืองการพัฒนามนุษย์เป็นที่รับรู้ทั่วโลก
ภายในระยะเวลาเพียง 1-2 ปีประเทศต่าง ๆ ก็เริ่มผลิตรายงานการพัฒนามนุษย์ของประเทศตนโดยใช้
แนวทางนี้กับปัญหาและนโยบายของประเทศ เมื่อถึงปัจจุบันมีการผลิตรายงานประเภทนี้ออกมาแล้ว
หลายร้อยฉบับในกว่า 140 ประเทศทั่วโลก นอกจากนั้น ยังปรากฏรายงานระดับภูมิภาคออกมาด้วย
ในทางวิชาการมีการตีพิมพ์วารสาร Journal of Human Development and Capabilities (2000)
ต้ังแต่ต้น ค.ศ. 2000 และใน ค.ศ. 2004 มกี ารต้ังสมาคมการพัฒนาและความสามารถมนุษย์ Human
Development & Capability Association ข้ึน (Richard Jolly et al, 2004)
ปัจจบุ นั เราถอื ว่าการพัฒนามนุษยเ์ ปน็ “แนวทาง” (approach) อยา่ งหนงึ่ ในการพัฒนา
ลักษณะเด่นของแนวทางนี้ คือ “ประชาชนต้องมาก่อน” (people first) แนวทางนี้ปรากฏอยู่ในชื่อรอง
ของผลงานตีพมิ พข์ องสมาคมการพัฒนาและความสามารถมนุษย์ ชอื่ An Introduction to the Human
Development and Capability Approach: Agency and Freedom (2009) ในทางสังคมศาสตร์
คำว่า “agency” มีนัยสำคัญของความสามารถของบุคคลที่จะกระทำและเลือกได้อย่างเป็นอิสระด้วย
ตนเอง ในแง่ของความคิดเชิงทฤษฎีแนวทาง หรือ “กระบวนทัศน์” (paradigm) นี้ อาศัยความคิดของ
อมรรตยะ เสนอเรื่อง “ความสามารถมนุษย์” (human capabilities) ในแง่ที่ว่าประชาชนสามารถจะ
“เป็น” หรือ “ทำ” สิ่งอันพึงประสงค์ในชีวิตหรือไม่ในแง่ของแนวคิด (concept) การพัฒนามนุษย์เป็น
แนวทางการพัฒนาที่มุ่งก่อให้เกิดความก้าวหน้าในชีวิตความเป็นอยู่ (well-being) ของผู้คน ประเด็น
สำคัญในแนวคิดนี้คือ “การพัฒนามนุษย์...เป็นเรื่องของการขยายความมัง่ คั่ง (richness) ของชีวิตมนุษย์
แทนที่จะเป็นเพียงความมั่งคั่งของระบบเศรษฐกิจที่มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่เป็นส่วนหนึ่ง การพัฒนามนุษย์เป็น
แนวทางซึ่งมีจุดประสงค์อยู่ที่ประชาชน โอกาส และทางเลือกของพวกเขา” (Séverine Deneulin with
Lila Shahani (eds.), 2009)
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การพัฒนามนุษย์เป็นเรื่องของการเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชน
และการเสริมสร้างความสามารถของพวกเขาในการที่จะ “เป็น” (being) หรือ “ทำ” (doing) ประเด็น
สำคัญอยู่ที่ประชาชนมีเสรีภาพที่จะเลือก (freedom of choice) “เป็น” หรือ “ทำ” นั่นเอง “เป็น” ในที่นี้
หมายถึง การมีหรือการอยู่ในสภาพอย่างใดอย่างหนึง่ ตัวอย่างเชน่ “มีกินมีใช้” (well fed) “มีที่พักพิง”
(sheltered) หรอื “มสี ขุ ภาพดี” (healthy) ในขณะที่ “ทำ” มนี ยั ของการเขา้ ไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการ
อยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ เชน่ ทำงาน การศึกษาหาความรู้ การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งหรือการมสี ว่ นร่วมใน
วิถชี ีวติ ของชุมชน ดงั นัน้ การมี “เสรภี าพในการเลอื ก” บางคนเลอื กทจี่ ะหิวโหย (เชน่ ในชว่ งของการถือศีล
อด) แต่การอยู่ในสภาพหิวโหยเช่นนี้ ต่างกันโดยสินเชิงกับผู้ที่หิวโหยเพราะไม่สามารถจะซื้อหาอาหาร
มารับประทานได้ ประชาชนสามารถเลือกได้อย่างหลากหลาย แต่ในแนวคิดนี้ มีอยู่ 3 สิ่งที่เป็นพื้นฐาน
สำคัญ ซึ่งประชาชนควรจะสามารถแสวงหามาได้ คือ การมีชีวิตที่ยืนยาว มีสุขภาพดี และมีความสร้างสรรค์
47
รายงานฉบบั สมบรู ณ์โครงการจดั ทำเครอ่ื งช้วี ดั และแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพนื้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พนื้ ฐาน
ระดับหมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ช่วงแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
การมีความรู้ และการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่เหมาะสม (Jon
Hall and John Helliwell, 2014)
2.2.4 แผนยทุ ธศาสตรค์ วามมนั่ คงของมนุษย์ พ.ศ. 2556-2566
แผนยุทธศาสตรค์ วามม่ันคงของมนุษย์คือรูปธรรมของการนำแนวคิดความมั่นคงของ
มนุษย์สู่การปฏิบัติ ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ.2556 - 2566 ซึ่งจัดทำ
โดยกระทรวงการพัฒนาสงคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2556) ร่วมกับศูนย์ศึกษาสันติภาพและ
ความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี)
เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัยใน 4 ส่วน คือ 1) การวิเคราะห์กลไกเชิงสถาบัน 2) การสนทนากลุ่ม 5
กลุ่มเป้าหมายท่ีเป็นกลุ่มเสี่ยง 3) ยุทธศาสตร์เชื่อมโยงและ 4) เวทีรับฟังความคดิ เห็นต่อร่างยทุ ธศาสตร์
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยมีกลุ่มเสี่ยงที่ถือว่ามีความเปราะบางที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 กลุ่ม คือ
กลมุ่ ผู้สงู อายุ กล่มุ เกษตรกร กล่มุ แรงงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติ กลมุ่ ชาติพนั ธแุ์ ละชนเผ่า และ
กลมุ่ ประชากรในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฉบับนเี้ พื่อมุ่งหวังให้ยุทธศาสตร์น้ี
เป็นเครื่องชี้นำการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์โดยอาศัยความร่ วมมือของภาคี
ระดบั ตา่ ง ๆ อยา่ งกว้างขวางท้งั ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาชน เพือ่ ใหเ้ กิดการบูรณาการ
ในการจดั การอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ
หากพิจารณาความหมายของ “ความมั่นคงของมนุษย์” ตามคำจำกัดความของ
แผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2545 - 2549) หมายถึง
การที่ประชาชนได้รับหลักประกันด้านสิทธิความปลอดภัย การตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีไม่ประสบปัญหาความยากจน ไม่สิ้นหวัง และมีความสุข
ตลอดจนได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง กระทรวงฯ จึงให้จัดทำ
“ยทุ ธศาสตร์ความมนั่ คงของมนษุ ย์ พ.ศ. 2556 - 2566” เพื่อเป็นเคร่อื งชี้นำการขบั เคลือ่ นและผลักดัน
ให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์โดยอาศัยความร่วมมือของภาคีระดับต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน ภาควชิ าการ และภาคประชาชน เพ่อื ใหเ้ กิดการบูรณาการในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น แนวคิดในการจัดทำยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ในสังคมไทยมาจาก
พื้นฐานแนวความคิดที่ว่าความมั่นคงของมนุษย์เป็นเรื่องที่มีขอบเขตกว้างขวาง ดังที่โครงการพัฒนา
แห่งสหประชาชาติได้ระบุองค์ประกอบไว้ 7 มิติ ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ
ความมั่นคงส่วนบุคคล ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางชุมชน
และความมั่นคงทางการเมือง ส่วนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ระบุมิติต่าง ๆ
ของความมั่นคงของมนุษย์ไว้ 12 มิติ และได้จัดทำตัวชี้วัดและเกณฑ์มาตรฐานสำหรับแต่ละมิติ ได้แก่
ทอี่ ยอู่ าศยั สขุ ภาพ อาหาร การศกึ ษา การมีงานและมรี ายได้ครอบครัว ชมุ ชนและการสนับสนุนทางสังคม
ศาสนาและวัฒนธรรม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สิทธิและความเป็นธรรม การเมือง และ
สิ่งแวดล้อมทรัพยากร/พลังงาน เมื่อพิจารณามิติต่าง ๆ เหล่าน้ี จะพบว่า ความมั่นคงของมนุษย์จึงไม่ใช่
เรื่องที่หน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดจะสามารถดำเนินการได้โดยลำพัง และการจัดการที่จะมีผลต่อ
การยกระดับความมั่นคงของมนุษย์ อาทิ เรือ่ งสุขภาพการศกึ ษา การมีงานทำ ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบ
ของหน่วยงานจำนวนมาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะหน่วยงานหลัก
ที่รับผิดชอบการขับเคลื่อนความมั่นคงของมนุษย์จึงกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ในลักษณะ
48
รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจัดทำเคร่อื งช้วี ดั และแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พืน้ ฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพืน้ ฐาน
ระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
“ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ” หรือ “ยุทธศาสตร์เชื่อมโยง” เพื่อแสวงหาและพัฒนาความร่วมมือระหว่าง
หน่วยงานองคก์ รทกุ ภาคส่วน
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ มีวิสัยทัศน์ คือ ความมั่นคงมนุษย์เป็นวาระหลัก
ของรฐั และสงั คมไทย
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ มีพันธกิจ ได้แก่ 1) พัฒนาคน ชุมชน และสังคม
ให้มีขีดความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินและของสังคมไทย
2) ขยายเครือข่ายความร่วมมือเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์
3) พัฒนากลไกเชิงสถาบันที่เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบไปด้วย 5
ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1) ยุทธศาสตร์ความรู้ เพื่อให้หน่วยงานองค์กรและประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้
ความเข้าใจเก่ียวกบั ความมน่ั คงของมนุษย์สามารถกำหนดทางเลือกการพฒั นาบนฐานการมสี ว่ นร่วม และ
มีระบบข้อมูลสนับสนุน โดยการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ พัฒนาข้อมูล
และระบบข้อมลู ประชากรกลุ่มเส่ียง
2) ยุทธศาสตร์นโยบายและกฎหมาย เพ่อื กฎหมายที่มีความสำคญั ต่อการเสริมสร้าง
ความม่นั คงของมนษุ ยไ์ ด้รบั การพัฒนา/ทบทวนและมีการบังคบั ใช้อยา่ งมีประสิทธิภาพมากขนึ้ โดยพฒั นา
นโยบายและกฎหมาย บังคบั ใช้กฎหมาย
3) ยุทธศาสตร์การบูรณาการและระบบงาน มีการบูรณาการและระบบงานเพื่อ
สนับสนุนความร่วมมอื ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการเสริมสร้างความม่ันคงของมนุษย์ที่มปี ระสิทธภิ าพ
โดยแต่งตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ พัฒนาเครือข่ายและโครงการความร่วมมือ
ระหว่างหน่วยงาน
4) ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม องค์กรชุมชน และองค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนร่วม
ในการเสริมสร้างความม่ันคงของมนษุ ย์ โดยพัฒนาโครงสร้างเชิงสถาบันเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ
ภาคสว่ นตา่ ง ๆ พัฒนาเครอื ขายความร่วมมือภาครัฐ ประชาสังคม
5) ยุทธศาสตร์การติดตามประเมินผล ทุกภาคส่วนสามารถติดตามความก้าวหน้า
และปัญหาอุปสรรคของการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์เพื่อทบทวนและปรับยุทธศาสตร์และ
การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำระบบการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานการเสริมสร้าง
ความมนั่ คงของมนุษย์ จัดทำรายงานสถานการณ์ความมัน่ คงของมนุษย์
ทั้งนี้ แนวทางสำคัญของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คือการพัฒนาความร่วมมือ
ระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ให้เป็นระบบและเข้มแข็งในการเชื่อมโยงและต่อยอดงานที่แต่ละ
ฝ่ายดำเนินงานอยู่อันจะเป็นการขยายผลกระทบทางบวกและลดผลกระทบทางลบต่อความมั่นคงของ
มนษุ ย์
2.2.5. การจัดทำเปา้ หมายการพฒั นาที่ยงั่ ยนื (Sustainable Development Goals: SDGs)
จากที่กล่าวไปแล้วว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development: SD) เริ่มต้นข้ึน
จากการประชุมสหประชาชาติ ครั้งที่ 2 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในปี 2535 ประเทศสมาชิก
ต่าง ๆ ประชุมร่วมกันในหัวข้อว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Environment and Development)
และได้เห็นชอบให้ประกาศหลักการแห่งสิ่งแวดล้อมและแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) สำหรับ
49
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจดั ทำเคร่ืองช้ีวัดและแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และขอ้ มลู พนื้ ฐาน
ระดบั หมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ทศวรรษ 1991 – 1999 และศตวรรษที่ 21 เพอ่ื เป็นแผนแม่บทของโลกสำหรับการดำเนินงานที่จะทำ
ให้เกิดการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนทั้งในด้านสงั คม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และในเวลาต่อมาไดม้ ีการจดั ทำ
เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ซึ่งเกิดขึ้นจาก
การประชุมสดุ ยอดสหสั วรรษของสหประชาชาติ (Millennium Summit) เมือ่ เดอื นกนั ยายน พ.ศ. 2543 ผู้นำ
ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 189 ประเทศ ได้ให้คำรับรองปฏิญญาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ ซึ่งกำหนด
วาระการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคนและลดช่องว่างการพัฒนาให้เป็นจุดเริ่มต้นศตวรรษใหม่
โดยปฏิญญาดังกล่าวเป็นท่ีมาของเป้าหมายของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และที่ประชุมได้ตกลงร่วมกัน
ที่จะใช้เป้าหมายการพัฒนาที่กำหนดกรอบระยะเวลาชัดเจนและวัดผลได้ในการต่อสู้กับความยากจน
ความอดอยากหิวโหย การไม่รู้หนังสือ โรคภัยต่าง ๆ ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ และความเสื่อมโทรม
ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการสำคัญคือ การแบ่งสรรความรับผิดชอบระหว่าง
ประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน ( United
Nations, 2015ก)
เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs)
จำนวน 8 เปา้ หมาย ครอบคลมุ ระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ. 2543 - 2558) ไดแ้ ก่
เปา้ หมายท่ี 1 ขจัดความยากจนและความหวิ โหย
เป้าหมายที่ 2 ใหเ้ ดก็ ทกุ คนไดร้ บั การศกึ ษาระดบั ประถมศกึ ษา
เปา้ หมายที่ 3 ส่งเสรมิ ความเท่าเทียมกนั ทางเพศและสง่ เสริมบทบาทสตรี
เปา้ หมายท่ี 4 ลดอตั ราการตายของเด็ก
เป้าหมายท่ี 5 พฒั นาสุขภาพสตรมี ีครรภ์
เปา้ หมายท่ี 6 ต่อสโู้ รคเอดส์ มาลาเรยี และโรคตดิ ตอ่ อนื่ ๆ
เปา้ หมายที่ 7 รกั ษาและจัดการสงิ่ แวดลอ้ มอยา่ งยง่ั ยืน
เป้าหมายท่ี 8 ส่งเสรมิ ความเป็นหนุ้ สว่ นการพัฒนาในประชาคมโลก
สำหรับประเทศไทย เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษกับประเทศไทย คณะรัฐมนตรี
มีมติเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิ จและ
สังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นแกนกลางในการจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามเป้าหมาย MDGs ของ
ประเทศไทย โดย สศช. ได้จัดทำรายงานฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งได้นำเสนอผลการพัฒนา
ความก้าวหน้าและความท้าทายในการดำเนินงาน เพื่อบรรลุเป้าหมาย MDGs โดยไทยดำเนินการตาม
แนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับหลักการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) และ
ไดบ้ รรลุเป้าหมายดา้ นความยากจน ความหวิ โหย ความไมเ่ ท่าเทียมทางเพศ โรคเอดส์และมาลาเรีย ก่อน
กำหนดเวลากวา่ 10 ปี
ประเทศสมาชิกทั่วโลกต่างขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
(Millennium Development Goals – MDGs) โดยสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2558 องค์การสหประชาชาติ
หรือ UN จึงได้ริเร่ิมกระบวนการหารือเพือ่ กำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 (post-2015
development agenda) ตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยประเด็นสำคัญของวาระการ
พฒั นาภายหลังปี พ.ศ. 2558 คอื การจัดทำเปา้ หมายการพฒั นาที่ย่งั ยืน (Sustainable Development
Goals–SDGs) (United Nations, 2017)
50
รายงานฉบับสมบูรณโ์ ครงการจัดทำเครอื่ งชว้ี ัดและแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพนื้ ฐาน
ระดับหมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่สหประชาชาติ
ได้ประกาศเมื่อเดือนกันยายนปี 2559 ที่ผ่านมา โดยชูหลักการสำคัญ 5 P คือ People (ประชาชน)
Prosperity (ความรุ่งเรอื ง) Peace (สนั ตภิ าพ) Participation (การมสี ่วนร่วม) และ Planet (ความยั่งยืน
ของนิเวศธรรมชาติ) จากหลักการดังกล่าวได้แปรออกมาเป็นเป้าหมาย 17 ประการ ที่ครอบคลุมทุกมิติ
ของการพัฒนาที่ยั่งยืน ก่อนหน้านี้ สหประชาชาติได้เคยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
(MDGs) แต่ก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร อันมีหลายปัจจัย ทั้งปัญหาด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม
และการเมอื งโลก ทข่ี บั เคลอื่ นไปแนวทางทนุ นยิ มเสรี การเติบโตของรัฐ-ชาตินยิ ม สภาวะสงครามเยน็ รอบ
ใหม่ที่นำมาซึ่งความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระดับโลกที่ซับซ้อนขึ้น ประกอบกับการที่แต่ละประเทศยัง
ไมส่ ามารถสร้างพลังการขบั เคลื่อนจากประชาสงั คมฐานรากโดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเท่าท่ีควร ดังน้ัน
ในการพัฒนา SDGs สหประชาชาติจงึ เนน้ การพฒั นาประเดน็ จากปัญหา ความต้องการ และการเรียกร้อง
ของประชาชนฐานล่าง พร้อมไปกับสร้างระบบ กระบวนการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้เข้ามามี
บทบาทผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภาคเอกชนซึ่งถูกมองว่าเป็นผู้สร้างปัญหา
การพัฒนาและไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนเท่าที่ควร (United Nations,2015ข, United
Nations Division for Global Communications, 2020)
ดังนั้นวาระการพัฒนายุคหลัง ปี ค.ศ. 2015 จึงเน้นย้ำกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ
พัฒนาประเทศเพื่อขจัดความยากจน ความหิวโหย ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม เทคโนโลยี
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดูแลสิ่งแวดล้อม และ พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อีกทั้งเพิ่ม
เนื้อหาการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ครอบคลุมโดยยึดถือหลักสำคัญว่า “No one left behind” (United
Nations Division for Global Communications, 2020)
สำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals:
SDGs) ใน 15 ปขี า้ งหนา้ ท่ีจะใชเ้ ป็นทิศทางการพัฒนาของประชาคมโลก องคก์ ารสหประชาชาติประจำ
ประเทศไทย (UN Thailand) ไดเ้ ผยแพร่ Sustainable Development Goals – SDGs ทปี่ ระชาคมโลก
ตกลงร่วมกันที่จะใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานด้านการพัฒนา ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือน
สิงหาคม 2573 ครอบคลมุ ระยะเวลา 15 ปี ประกอบไปดว้ ย 17 เปา้ หมาย (Goals) (United Nations
Division for Global Communications, 2020) ได้แก่
เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน (End poverty in all its forms everywhere)
การยุติความยากจนมุ่งให้เกิดการพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมอย่างถ้วนหน้าที่มีเป้าหมาย
เพื่อปกป้องคุ้มครองตลอดช่วงชีวิตของคนทุกคน เป้าหมายนี้เรียกร้องให้หาทางกำหนดวิธีการเฉพาะ
เพื่อบรรเทาความเปราะบางจากภัยธรรมชาติและระบุพื้นที่เป้าหมายทีด่ ้อยโอกาส และสมควรเร่งให้เกดิ
การพฒั นา เพื่อหลุดพน้ จากความยากจน
เปา้ หมายที่ 2 ยุตคิ วามหิวโหยบรรลคุ วามมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ
สำหรับทุกคนในทุกวัย (End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote
sustainable agriculture) เนื่องจากแนวโน้มความอดอยากที่เพิ่มมากขึ้นด้วยสาเหตุจากความขัดแย้ง
ภยั แลง้ และภยั พิบัติทเ่ี ชอ่ื มโยงกบั การเปลยี่ นแปลงด้านสภาพอากาศ เป้าหมายการยตุ ิความหิวโหยจึงถือ
ให้การสร้างความมนั่ คงทางอาหารเปน็ หนง่ึ ในเปา้ หมายสำคัญ
51
รายงานฉบับสมบรู ณ์โครงการจดั ทำเคร่อื งช้วี ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พนื้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ชว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และส่งเสริมสวัสดิภาพ
สำหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all age) แม้ว่า
ในยุคนี้ประชาชนจำนวนมากจะมีสภาวะทางสุขภาพที่ดีกว่ายุคก่อนหน้า แต่ประชาชนจำนวนมาก
ยังทนทุกขจ์ ากโรคภยั ท่ีสามารถปอ้ งกันได้ และมีประชาชนจำนวนมากทเ่ี สยี ชีวติ กอ่ นวัยอนั ควร เป้าหมาย
เพื่อการเอาชนะโรคภัยและอาการเจ็บป่วยต้องอาศัยความเพียรพยายามร่วมกัน โดยมุ่งเป้าให้
ความช่วยเหลือแก่กลมุ่ ประชากรและภมู ภิ าคทีย่ ังไมไ่ ดร้ ับการดแู ลอย่างเพยี งพอ
เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุม
และเท่าเทยี ม และสนบั สนนุ โอกาสในการเรยี นรู้ตลอดชวี ติ (Ensure inclusive and equitable quality
education and promote lifelong learning opportunities for all) เน่อื งจากเด็กและวัยรนุ่ มากกว่า
ครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรยังไม่มีทักษะการอ่าน และการคำนวณได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
จึงจำเป็นตอ้ งปรับปรงุ คุณภาพการศึกษาใหส้ ูงขนึ้ นอกจากนี้ ความไมเ่ ทา่ เทียมทางการศึกษาระหว่างเพศ
ความไม่เท่าเทียมระหว่างพื้นที่เมืองและพื้นที่ชนบท และความไม่เท่าเทียมจากปัจจัยอื่น ๆ ยังคงเกิดขึ้น
ในการจัดการศึกษายังฝังรากลึก เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้จึงจำเป็นต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทาง
การศกึ ษาทีม่ ากข้ึน
เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้
แก่สตรีและเด็กหญิง (Achieve gender equality and empower all women and girls) แม้ปัจจุบัน
การกีดกันทางเพศต่อสตรีและเด็กผู้หญิงในบางด้านกำลังลดลง แต่ความไม่เท่าเทียมทางเพศยังคงกดขี่
ผู้หญิงและผักเอาสิทธิ์ขั้นพื้นฐานและโอกาสต่าง ๆ จากตัวพวกเขา เป้าหมายนี้ต้องการเสริมพลังสตรีให้
มากขึ้นและเรียกร้องให้กำหนดประเด็นเชิงสถาบันเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ อาทิ บรรทัดฐาน
ทางสังคมและทัศนคติที่ไม่เท่าเทียม และการพัฒนากรอบทางกฎหมายที่ก้าวหน้าเพื่อส่งเสริมความเท่า
เทียมทางเพศระหวา่ งหญิงและชายใหเ้ กดิ ขนึ้ จรงิ
เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำ และสุขอนามัยสำหรับทุกคน
และมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน (Ensure availability and sustainable management of water
and sanitation for all) มีประชาชนจำนวนมากที่ขาดการเข้าถึงระบบน้ำประปาที่ปลอดภัยและ
การสุขาภิบาลปัญหาการขาดแคนน้ำ ปัญหาน้ำท่วม และการขาดแคลนระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม
เป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ เป้าหมายนี้มุ่งเพิ่มการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
และการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีความสำคัญเพื่อสร้างความสมดุลของการแข่งขัน และ
ความตอ้ งการด้านนำ้ ทเี่ พิม่ ขน้ึ จากผู้ใช้นำ้ หลายภาคสว่ น
เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ย่ังยืนใน
ราคาที่ย่อมเยา (Ensure access yo affordable, reliable, sustainable and modern energy for
all) การทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ราคาไม่แพง เชื่อถือได้ และทันสมัยเป็น
เรื่องสำคัญ รวมถึงความก้าวหน้าที่มากขึ้นจากพัฒนาการกระบวนการผลิตไฟฟ้า และการปรับปรุง
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานทางอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม เป้าหมายนี้มุ่งจัดลำดับความสำคัญด้าน
พลงั งานของชาติ และพัฒนาแรงจูงใจทางนโยบาย อันจะเสรมิ สร้างใหบ้ รรลุเป้าหมายดังกลา่ วได้
52
รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจัดทำเครือ่ งชี้วัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพ้ืนฐาน
ระดับหมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุม และยั่งยืน
การจ้างงานเต็มท่ี มผี ลติ ภาพ และการมงี านที่เหมาะสมสำหรับทุกคน (Promote sustained, inclusive
and sustainable economic growth, full and productive employment and decent work for
all) แมว้ า่ ทศิ ทางในระดับโลกแสดงถึงผลติ ภาพแรงงานที่สงู ข้ึนและอัตราการว่างานท่ลี ดลง แต่เป้าหมาย
นี้มุ่งสร้างความก้าวหน้าเพื่อเพิ่มโอกาสด้านแรงงานโดยเฉพาะให้แก่คนหนุ่มสาว การลดการจ้างงาน
ที่ไม่เป็นทางการ และความไม่เท่าเทียมของตลาดแรงงาน การส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงาน
ที่ปลอดภัย และการปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการเงิน เพื่อรักษาความยั่งยืนการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจท่ีทุกคนไดร้ ับประโยชนอ์ ยา่ งทว่ั ถึง
เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทานส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม
ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม (Build resilient infrastructure, promote inclusive
and sustainable industrialization and foster innovation) ปัจจุบันภาคหัตถอุตสาหกรรมเป็น
ภาคส่วนที่มีความก้าวหน้าอย่างเข้มแข็งจนถึงปัจจุบัน เป้าหมายนี้มุ่งให้เกิดการบรรลุกระบวนการพัฒนา
อตุ สาหกรรมที่ทุกคนไดร้ ับประโยชนแ์ ละยั่งยืน รวมถงึ การแข่งขันทางเศรษฐกจิ ผ่านการสร้างการจ้างงาน
และรายได้การอำนวยความสะดวกการค้าระหว่างประเทศ และการอนุญาตให้ใช้ทรัพยากรอย่างมี
ประสิทธิภาพ
เป้าหมายท่ี 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหวา่ งประเทศ (Reduce
inequality within and among countries) เป้าหมายนี้มงุ่ ลดความไม่เท่าเทียมทางรายได้ทั้งภายในประเทศ
และระดับระหว่างประเทศ เพิ่มการตั้งพิกัดศุลกากรสำหรับการส่งออกที่ร้อยละ 0 ในกลุ่มประเทศ
ด้อยพัฒนาและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา การสนับสนุนให้กับประเทศด้อยพัฒนาและประเทศในกลุ่ม
หมเู่ กาะ รวมถงึ เร่งลดความเหลื่อมลำ้ ภายในประเทศและระหวา่ งประเทศดว้ ย
เป้าหมายที่ 11 ทำใหเ้ มืองและการตง้ั ถ่นิ ฐานของมนุษยม์ ีความครอบคลุม ปลอดภัย
มีภูมิต้านทาน และยั่งยืน (Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and
sustainable) เนื่องจากเมืองจำนวนมากในโลกเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงของการบริหารจัดการ
การพัฒนา กลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว เป้าหมายนี้มุ่งการพัฒนาที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐานให้
เพียงพอ เพื่อรองรับการเติบโตของจำนวนประชากร และการจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของ
การขยายตวั ของเมอื ง รวมถึงบรรเทาความเปราะบางของเมอื งจากภัยธรรมชาติ
เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
(Ensure sustainable consumption and production patterns) การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแยกขาด
ออกจากกันระหว่างมิติการบริโภค และมิติการผลิตเป็นอย่างหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดของ
มนุษยชาติ เป้าหมายนี้มุ่งการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพผ่านการอาศัยนโยบายที่สร้างสภาพแวดล้อม
ทีเ่ ออื้ อำนวยต่อความเปลย่ี นแปลงตอ่ สังคม และต่อโครงสรา้ งพื้นฐานทางกายภาพและตลาด รวมถึงทำให้
เกิดความเปลย่ี นรปู ของการดำเนินงานทางธุรกจิ ตามหว่ งโซม่ ูลค่าโลก (Global Value Chains: GVCs)
เป้าหมายที่ 13 แรงต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศและผลกระทบ
ที่เกิดขึ้น (Take urgent action to combat climate change and its impacts) จากการวิเคราะห์
โดย World Meteorological Organization แสดงว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วงห้าปีระหว่าง ค.ศ. 2013
ถึง 2017 เพิ่มขึ้นสูงที่สุดจากที่เคยมกี ารบันทึกมาโลกในปัจจบุ ันเผชญิ กับการเพิม่ ขึ้นของระดับน้ำทะเล
53
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำเครอื่ งช้วี ัดและแบบสอบถามข้อมลู ความจำเป็นพืน้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พืน้ ฐาน
ระดบั หมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
สภาพอากาศที่สุดข้ัวและการเพิ่มขึ้นของการกระจุกตัวของก๊าซเรือนกระจกเป้าหมายนี้ต้องการให้
ทุกประเทศเร่งดำเนินการนำข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Paris Agreement on
Climate Change) ไปปฏบิ ัติ
เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทาง
ทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Conserve and sustainably use the oceans, seas
and marine resources for sustainable development) เป้าหมายนี้ยกระดับการรักษามหาสมุทร
อย่างยั่งยืนโดยอาศัยกลยุทธ์และการจัดการที่มีประสิทธิผล เพื่อต่อสู้กับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จาก
การจับปลาเกินขนาด (overfishing) การเพิ่มสภาพความเป็นกรดในมหาสมุทร (ocean acidification)
และปรากฏการณ์ยูทูฟิเคชั่น (eutrophication) ตามชายฝั่ง รวมถึงการขยายพื้นที่คุ้มครอง เพื่อสร้าง
ความหลากหลายทางชวี ภาพทางทะเล การเร่งพฒั นาศักยภาพวจิ ัยและการเพ่ิมเงนิ ทุนสนบั สนุนด้านสมุด
สาดสำหรับการรกั ษาทรัพยากรทางทะเล
เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน
จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพ
กลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ((Protect, restore and promote
sustainable use of terrestrial ecosystems, sustainably manage forests, combat desertification,
and halt and reverse land degradation and halt biodiversity loss) ปัจจุบันการรักษาป่าไม้และ
ระบบนิเวศบนพื้นดินมีความสำคัญมากขึ้น เช่นเดียวกับการลดการสูญเสียป่าไม้ เป้าหมายนี้มุ่งให้เกิด
การคุม้ ครองระบบนิเวศบนพื้นดิน เร่งดำเนินการเพือ่ คุ้มครองความหลากหลายทางชวี ภาพ ผลิตภาพของ
ที่ดิน (Land Productivity) กับทรัพยากรพันธุกรรมพืช (genetic resources) รวมถึงลดการสูญพันธ์ุ
อกี ดว้ ย
เป้าหมายที่ 16 สง่ เสรมิ สังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพฒั นาท่ยี ่ังยืน ให้ทุกคน
เข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบนั ที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบ และครอบคลุมในทกุ ระดับ ((Promote
peaceful and inclusive societies for sustainable development, provide access to justice
for all and build effective, accountable and inclusive institutions at all levels) ปัจจุบันใน
หลายภูมิภาคทัว่ โลกเผชิญกับการทนทุกขจ์ ากผลกระทบจากความขัดแยง้ ทางการทหารและความรุนแรง
ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในระดับสังคมและในระดับครัวเรอื น เป้าหมายนี้มุ่งยกระดับเพื่อส่งเสริมนิติรฐั
และการเข้าถึงความยุติธรรมยังขาดความต่อเนื่องและไม่แน่นอน การส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงข้อมูล
ข่าวสารของภาครัฐให้เกิดความทางก้าวหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกับการส่งเสริมให้เกิด
ความเขม้ แขง็ เชงิ สถาบนั ในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนขึ้นในระดับชาติ
เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วน
ความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Strengthen the means of implementation and
revitalize the global partnership for sustainable development) การเสริมสร้างการเป็นหุ้นส่วน
ในระดับโลกเพื่อสนับสนุนและบรรลุเป้าหมายของ SDGs การทำให้รัฐบาลระดับชาติทำงานร่วมกันกับ
ชมุ ชนนานาชาติ ประชาสงั คม ภาคเอกชน และตัวแสดงอนื่ ๆ แม้วา่ จะมพี ฒั นาการท่ีก้าวหนา้ ในการสร้าง
ความร่วมมอื ในระดับโลกกจ็ ริงแต่ก็ยังคงต้องมีการเร่งให้เกิดความก้าวหนา้ รวมถึงให้ตวั แสดงทุกฝ่ายต้อง
มกี ารปรบั มุมมองและใหค้ วามสำคญั เพ่ือเรง่ สร้างความรว่ มมือในเรื่องที่ยงั ไม่เกดิ ความกา้ วหนา้ เทา่ ที่ควร
54
รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจดั ทำเคร่ืองชว้ี ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพ้ืนฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพนื้ ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรับใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ทุก ๆ ปีนับตั้งแต่ปี 2016 มูลนิธิแบร์เทลส์มนั น์ (Bertelsmann Stiftung) ร่วมกบั
เครือข่ายการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Solutions Network
(SDSN) จัดทำรายงานการศึกษา SDGs Development Report เพื่อรายงานผลการตอบสนองต่อ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ของแต่ละประเทศ โดยใช้
ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ธนาคารโลก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization,
WHO) เป็นตน้ รวมไปถงึ สถาบันวิจัยและองค์กรทไี่ ม่แสวงกำไร รายงานการศกึ ษา SDGs Development
Report ไม่ใช่เครื่องมือที่ติดตามการปฏิบัติตามเป้าหมายความยั่งยืน 17 ข้อที่เป็นทางการ เพียงแต่เป็น
สว่ นเสรมิ จากท่ีแตล่ ะประเทศได้มกี ารปฏบิ ัตดิ ้วยความสมัครใจอยแู่ ลว้ (United Nations, 2019)
ในปี ค.ศ. 2019 รายงานได้รวมผลของ 162 ประเทศ รวมทั้งได้ปรบั ปรุงดัชนีชี้วดั
และวิธีการ (ชล บุนนาค, 2553) วิเคราะห์ว่า โดยรวมแล้วคะแนนและอันดับดัชนีความยั่งยืน (SDG
Index) ขึ้นอยู่กับวิธีการของผลรวมและการให้นำ้ หนัก การตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอยา่ งย่งั ยนื
17 ข้อที่ได้มีการตกลงในเวทีระหว่างประเทศเมื่อปี 2015 ผ่านดัชนีความยั่งยืนของแต่ละประเทศน้ัน
ได้มีการให้น้ำหนักที่เท่ากันในแต่ละเป้าหมาย โดยคะแนน 0 หมายถึง มีการปฏิบัติที่แย่สุด ขณะท่ี
คะแนน 100 หมายถึง มีการตอบสนองเป้าหมายดีที่สุด สำหรับผลการศึกษาในปี ค.ศ. 2019 พบว่า
3 ประเทศในกล่มุ นอรด์ ิก คอื เดนมารก์ สวเี ดน และฟินแลนด์ มคี ะแนนนำ โดยเดนมารก์ ได้คะแนนสูงถึง
85 คะแนนแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 ข้อแม้มีความท้าทายใน
การปฏบิ ัตติ ามเป้าหมายไมว่ า่ หน่งึ ขอ้ หรอื หลายข้อ อยา่ งไรกต็ าม ยังไมม่ ปี ระเทศไหนที่มีแนวโน้มจะบรรลุ
ทั้ง 17 เป้าหมาย แม้แต่ประเทศที่มีคะแนนสูง โดยเฉพาะเป้าหมาย SDGs ข้อ 12 การบริโภคและ
การผลิตที่ยั่งยืน เป้าหมาย SDGs ข้อ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมาย SDGs
ข้อ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เป้าหมาย SDGs ข้อ 15 การใช้
ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก กล่าวได้ว่า ในกลุ่ม 20 อันดับแรกที่มีคะแนนสูงเป็นประเทศในกลุ่ม
องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation
and Development, OECD) อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศที่มีการตอบสนองต่อเป้าหมาย SDGs ที่ดีที่สุด
ก็ยังได้คะแนนต่ำกว่า 100 คะแนน และทุกประเทศยังมีคะแนนต่ำในอย่างน้อย 1 เป้าหมาย SDGs
ชล บุนนาค (2553) วิเคราะห์อีกว่าประเทศรายได้สูงมีการตอบสนองค่อนข้างแย่เมื่อเปรียบเทียบใน
ตัวชี้วัดผลต่อภายนอก โดยหลายประเทศไม่ได้มีความคืบหน้าในการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค
และการผลิตที่ยั่งยืน รวมทั้งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ
เป้าหมาย SDGs ข้อ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล ซึ่งเป็นจุดที่ประเทศ
รายได้สงู ยังเฉ่อื ย ในขณะท่ี ประเทศรายได้ตำ่ ส่วนใหญ่มคี ะแนนต่ำแต่เป็นเพราะเป้าหมาย SDGs หลัก ๆ
เพื่อขจัดความยากจนและการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานและสาธารณูปโภคพื้นฐาน ( SDGs ข้อ 1-9)
นอกจากนี้ประเทศยากจนก็มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่เพียงพอและขาดกลไกที่จะจัดการกับ
ประเดน็ หลักของสิ่งแวดล้อมตามเป้าหมาย SDGs ยกเวน้ ประเทศท่ปี ระสบกบั ความขัดแย้งทางกองกำลัง
และมีสงครามกลางเมือง
55
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำเครอื่ งช้วี ัดและแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพ้ืนฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพ้นื ฐาน
ระดบั หมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรับใช้ชว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals
(SDGs) ประเทศไทย
ในส่วนของประเทศไทยภายหลังจากเข้าร่วมพันธะสัญญาทางการเมืองในระดับผ้นู ำ
เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ในการประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำเพื่อรับรองวาระ
การพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 เมื่อ 25-27 กันยายน 2558 ณ สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ซึ่งมี
การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ร่วมกันนั้น รัฐมี
แนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ คือการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการขับเคลื่อนให้เกิดแผน
การปฏิรูปประเทศ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางสำคัญ คือ
การขับเคลื่อนประเทศตามโมเดลการพัฒนา “ประเทศไทย 4.0” ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย
การสร้าง “ความเข้มแข็งจากภายใน” ขับเคลื่อนตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยการสาน
พลงั ของทุกภาคสว่ นดว้ ยกลไก “ประชารฐั ” อันจะนำประเทศไทยไปสู่การพฒั นาที่ “มัน่ คง ม่ังคงั่ ยัง่ ยนื ”
สอดคล้องกบั เป้าหมายการพัฒนาที่ยง่ั ยนื (SDG)
ในรายงานการศกึ ษา Sustainable Development Goals Report 2019 ประเทศ
ไทยติดอันดับที่ 40 จาก 162 ประเทศด้วยคะแนน 73 และคะแนนเฉล่ียระดับภมู ภิ าค 65.7 ประเทศ
ไทยประสบความสำเร็จดีในเป้าหมาย SDGs ข้อ 1 ขจัดความยากจน โดยบรรลุเป้าหมายเต็ม 100
คะแนน และประสบความสำเร็จใน 2 เป้าหมายย่อย คือ กลุ่มประชากรที่มีรายได้ 1.90 ดอลลาร์ต่อวนั
และกลุ่มประชากรที่มีรายได้ 3.20 ดอลลาร์ต่อวัน สำหรับความท้าทายระดับแรกที่มีอยู่ คือ เป้าหมาย
SDGs ข้อ 4 ความเท่าเทียมทางการศึกษา แม้มีความคืบหน้า ขณะที่ความท้าทายใหญ่ยังมีถึง 11
เป้าหมาย คือ เป้าหมาย SDGs ข้อ 2 ขจัดความหิวโหย, เป้าหมาย SDGs ข้อ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ,
เป้าหมาย SDGs ข้อ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล, เป้าหมาย SDGs ข้อ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคน
เข้าถึงได้, เป้าหมาย SDGs ข้อ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ, เป้าหมาย SDGs
ขอ้ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพนื้ ฐาน, เป้าหมาย SDGs ข้อ 11 เมอื งและถ่ินฐานมนุษย์อย่าง
ยั่งยืน, เป้าหมาย SDGs ข้อ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน, เป้าหมาย SDGs ข้อ 15 การใช้
ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก, เป้าหมาย SDGs ข้อ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก และ
เปา้ หมาย SDGs ขอ้ 17 ความร่วมมอื เพื่อการพัฒนาทย่ี ั่งยนื สว่ นความทา้ ทายในระดับสูงมี 4 เป้าหมาย
ได้แก่ เป้าหมาย SDGs ข้อ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี, เป้าหมาย SDGs ข้อ 10 ลดความ
เหลอื่ มล้ำ, เปา้ หมาย SDGs ขอ้ 13 การรบั มือการเปล่ียนแปลงสภาพภมู ิอากาศ และเป้าหมาย SDGs ขอ้
14 การใชป้ ระโยชน์จากมหาสมทุ รและทรัพยากรทางทะเล (ชล บนุ นาค, 2553)
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาประเทศไทยสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยภายใต้ประเด็น
งานวิจยั ที่สนับสนนุ เป้าหมายการพฒั นาท่ีย่ังยืน (SDGs) เชน่ โครงการประสานงานการวจิ ัยเพื่อสนับสนุน
การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในการขับเคลื่อน SDGs ด้วยความรู้และงานวิจัยนั้นมียุทธศาสตร์ 4 ประการ
ที่สำคัญ คือ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ SDGs ที่เข้าถึงได้โดยคน
ทุกกลุ่ม (2) การสร้างเครือข่ายนักวิชาการที่จะเข้ามาช่วยกันหาทางออกให้กับปัญหาความยั่งยืนใน
ประเทศไทย ในรูปแบบของ Sustainable Development Solution Network (SDSN) (3) การสร้าง
องคค์ วามรแู้ ละพัฒนาแนวทางในการนำ SDGs ไปปฏิบัตจิ รงิ ในพื้นที่ (Localizing SDGs) (4) การทำงาน
56
รายงานฉบบั สมบูรณโ์ ครงการจดั ทำเครอื่ งช้วี ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พ้ืนฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พืน้ ฐาน
ระดบั หมู่บ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
กบั ภาครฐั เพ่ือให้เกิดการเปล่ียนแปลงวธิ ีการทำงานให้สอดคล้องกับหลักการของ SDGs ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะ
กับหน่วยงานของรัฐในส่วนกลางซึ่งเป็นสว่ นที่ทำหนา้ ท่ีกำหนดนโยบาย (ชล บุนนาค และคณะ, 2561)
ผลการศึกษาของชล บุนนาค และคณะ (2561) พบว่า จากรายงานวิจัยที่ศึกษา
สถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจำนวน 12 เป้าหมาย และได้จำแนกเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
(Strategic Classification) ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) เป้าประสงคท์ ีใ่ กล้บรรลุเป้าหมาย (2) เป้าประสงค์
เร่งด่วน และ (3) เป้าประสงค์ที่ยังเป็นจุดบอด พบว่าประเทศไทยมีเป้าประสงค์ที่ใกล้บรรลุเป้าหมาย
ได้แก่ การขจัดความยากจนขั้นรุนแรง ความครอบคลุมของประชากรที่ได้รับความคุ้มครองทางสังคม
ขั้นพื้นฐาน ความครอบคลุมของประชากรที่เข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การมียุทธศาสตร์การลดความเสี่ยง
จากภัยพิบัติ ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น การเข้าถึงและร้อยละของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น
ป.3 ป.6 และ ม.3 (เฉพาะดา้ นปริมาณเทา่ น้นั ) การเข้าถึงการพฒั นา การดแู ล และการจดั การศึกษาก่อน
ประถามศึกษาของเด็กชายและเด็กหญิง (ปฐมวัย) ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศในการเข้าถึงการศึกษา
ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงการศึกษาและบริการด้านสุขภาพระหว่างเพศสภาพ การเข้าถึงพลังงาน
ไฟฟา้ ความเทา่ เทียมกันด้านรายได้เฉลย่ี รายช่ัวโมงของผู้มีงานทำ จำแนกตามเพศ และอตั ราการว่างงาน
จำแนกตามเพศ รอ้ ยละและจำนวนของเดก็ อายุ 5-17 ปี ที่เป็นแรงงานเด็ก จำแนกตามเพศและกลุ่มอายุ
การเข้าถึงบริการทางการเงิน ทั้งผ่านทางสาขาธนาคารพาณิชย์และตู้เอทีเอ็ม และบัญชีธนาคารผ่าน
ระบบโทรศพั ทเ์ คล่ือนที่
สมพร โกมารทัต และคณะ (2560) ชี้ให้เห็นวา่ สถานะเป้าหมายการพัฒนาที่ย่งั ยนื
ในบรบิ ทประเทศไทย เปา้ หมายท่ี 1 ขจัดความยากจน พบวา่ สถานะปจั จุบันในประเด็นของความยากจน
ขั้นรุนแรงของประชาชนอยู่เลยเส้นความยากจนสากลที่ 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน แต่ในส่วนเกณฑ์
เสน้ ความยากจนสากลที่ 1.90 ดอลลาร์สหรฐั ตอ่ วันยงั ไม่พบข้อมูลที่ชัดเจน ในประเด็นท่ีเก่ียวกับสัดส่วน
ของประชาชนที่ยากจน การคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐาน การจัดสรรทรัพยากร และการสร้างกรอบ
นโยบายเพื่อขจัดความยากจนมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการขจัดความยากจนขององค์การ
สหประชาชาติ เป้าประสงค์ที่สำคัญและต้องดำเนินการเป็นอันดับแรกสำหรับประเทศไทยในการบรรลุ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ เป้าประสงค์ 1.3 และประเทศไทยมีความพร้อมในการบรรลุเป้าหมาย
ที่ 1 ในทุกเป้าประสงค์เนื่องจากมีองค์ความรู้ และนโยบาย มาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเป้าประสงค์และ
ตัวชี้วัดในเป้าหมายที่ 1 ทั้งนี้ รัฐมีมาตรการเชิงนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคมและกฎหมายเพื่อแก้ไข
ปัญหาความยากจนและได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529) จนกระทั่งถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตฉิ บับที่ 12 (พ.ศ.
2559 - 2564) และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) และได้ผลในระดับหนึง่
เสถียร ฉันทะ และคณะ (2560) ชีว้ า่ สถานะเป้าหมายการพฒั นาท่ียั่งยืน เป้าหมาย
ที่ 2 นั้นประเทศไทยยังไม่มีการนิยามความหมายในแต่ละเป้าประสงค์ที่ชัดเจนและเข้ากับบริบทของ
ประเทศไทย เมื่อเราทบทวนการนิยามความหมายของแต่ละเป้าประสงค์ตามการนิยามขององค์กร
ที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศและในประเทศแล้วจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจต่อความหมายคำจัดความที่
ตรงกนั ของหน่วยงานและภาคสว่ นต่าง ๆ ทเ่ี ก่ียวขอ้ ง ซง่ึ จะเป็นการสร้างความเขา้ ใจท่ตี รงกันและสามารถ
จะผลักดันขับเคลื่อนการทำงานไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การสำรวจ
สถานการณ์การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารและการยุติความหิวโหยในประเทศไทยนั้น
57
รายงานฉบบั สมบูรณ์โครงการจัดทำเครอ่ื งช้ีวดั และแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเปน็ พ้ืนฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพน้ื ฐาน
ระดบั หมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
พบว่า ประเทศไทยมีสถานการณ์ที่ดีเกี่ยวกับการที่จะบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากการดำเนินงานของประเทศ
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการยุติ
ความหิวโหย การสร้างหลักประกันด้านความมั่นคงทางอาหาร การยกระดับภาวะโภชนาการและ
การสง่ เสริมเกษตรกรรมย่ังยืน แตม่ ีเป้าประสงค์และตัวช้วี ัดบางประการท่ีต้องมีการปรับเปล่ียนตัวชี้วัดให้
เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ประเทศไทยมีการดำเนินเกี่ยวกับมาตรการทางเศรษฐกิจและ
มาตรการทางสังคมที่สอดแทรกไว้ในยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาต่าง ๆ ส่วนมาตรการทางกฎหมาย
มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับกับการดำเนินงานของมาตรการการขจัดความหิวโหย ความมั่นคงทาง
อาหาร การยกระดับภาวะโภชนาการและการส่งเสริมเกษตรกรรมย่ังยืนแตย่ ังมีลักษณะทก่ี ระจัดกระจาย
และขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ ทำให้กฎหมายไม่เอื้อหรือสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือบางที
กฎหมายกลบั เป็นอปุ สรรคต่อการพัฒนา ประการทีส่ ี่ การจัดลำดับความสำคญั เพ่ือนำเสนอเป้าหมายและ
ตัวชี้วัดที่เหมาะสมของประเทศไทยให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์และตัวชี้วัด
แต่ละประเด็นมีความสำคัญและสัมพันธ์กันการเรียงลำดับตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดมามี
ความเหมาะสม
นิตยา พรมกันทา และคณะ (2562) ชี้ว่าสถานะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เปา้ หมายที่ 3 ประเทศไทยมีองคค์ วามรู้นยิ ามความหมายทุกเป้าประสงค์และตัวชีว้ ดั ตาม Metadata UN
SDGs มีมาตรการดำเนินงาน ด้านความพร้อมสามารถดำเนินการบรรลุเป้าประสงค์ได้ด้วยปัจจัย
องค์ประกอบพื้นฐาน เช่น หน่วยงานที่รับผิดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความพร้อมเชื่อมโยง
สัมพันธ์ภายในเป้าหมายกับเป้าหมายอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านสุขภาพและสวัสดิภาพที่เกี่ยวกับสารเคมี
อันตราและมลพิษต่าง ๆ จึงเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือทั้งด้านข้อมูล
พื้นฐานและเป้าหมายการดำเนินงานให้สอดคล้องรองรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั้งยืนอย่างสอดคล้อง
สัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกัน
ชาญศักดิ์ ศรีสวัสดิส์ กุล และคณะ (2560) ชี้ว่าสถานะเป้าหมายการพัฒนาทีย่ ่งั ยนื
เป้าหมายที่ 4 มุ่งเน้นพัฒนาด้านการศึกษาที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ เป็นอีกเป้าหมายที่มีความสำคัญ
เป็นอย่างมาก เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ สังคม เศรษฐกิจ และเป้าหมาย
อื่น ๆ ในวงกว้าง ประเทศไทยเองได้มีการดำเนินการตามแผนเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็น
ประเทศแรก ๆ ของโลก ยิ่งกว่านั้นแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนยังอยู่ในระหว่างพัฒนาและจำเป็นที่จะต้อง
ปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศเพื่อให้สามารถเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
ในการสำรวจสถานะของเป้าหมายที่ 4 ของประเทศไทยในปัจจุบันผลจากงานวิจัยสามารถนำเสนอ
คำแปล ความหมายและนิยามของเป้าประสงค์ของตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับประเทศไทย อีกทั้งจาก
การตรวจสอบสถานะของเปา้ ประสงคต์ ่าง ๆ พบวา่ มเี ปา้ ประสงคจ์ ำนวน 5 ตวั ที่สามารถหาขอ้ มูลเพ่ือมา
ตอบได้ทุกตัวชี้วัด มี 4 เป้าประสงค์ที่ไม่มีข้อมูลเลย มี 2 เป้าประสงค์ที่มีข้อมูลบางส่วนเท่านั้น ผลของ
สถานะตัวชี้วัดนี้แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อน ปัญหา ของเป้าประสงค์ที่มีปัญหาและผลกระทบต่อเป้าหมาย
อื่นๆมากที่สุดซึ่งก็คือเป้าประสงค์ที่ 4.1 และ 4.2 งานวิจัยยังได้นำเสนอมาตรการทางเลือกต่าง ๆ เพื่อ
พัฒนาระบบการศึกษาของไทยให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นไปเพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยเข้าใกล้การพัฒนาทีย่ ั่งยืน
ดา้ นการศึกษาต่อไป
58
รายงานฉบับสมบรู ณโ์ ครงการจัดทำเคร่อื งช้วี ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพ้นื ฐาน
ระดับหม่บู า้ น (กชช. 2ค) สำหรับใชช้ ว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
กรกิต ชุ่มกรานต์ และคณะ (2560) ชี้ว่าสถานะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 5 สถานะของประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลาง เพราะยังปรากฏช่องว่างระหว่างเป้าหมาย
ตามที่องค์การสหประชาชาติกำหนดกับตัวเลขเชิงสถิติของประเทศไทย สำหรับด้านความพร้อมของ
ประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมาย ได้มีการสำรวจการดำเนินการของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พบว่า ประเทศไทยมีความพร้อมทางด้านกฎหมาย แนวนโยบายปฏิบัติในระดับชาติ แต่ยังขาดกลไกใน
การกำกับติดตามที่มีประสิทธิภาพ ในประเด็นนี้หากประเทศไทยสามารถพัฒนาระบบกลไกในการกำกบั
ติดตามที่ดีแล้ว คณะผู้วิจัยเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ 5 ได้ภายในระยะเวลาท่ี
กำหนด สำหรับการจัดลำดับความสำคัญของเป้าประสงค์นั้น พบว่า เป้าประสงค์ 5.5 ขจัดความรุนแรง
ทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั้งในที่สาธารณะและที่รโหฐาน รวมถึง การค้ามนุษย์ การกระทำ
ทางเพศและการแสวงหาผลประโยชนใ์ นรูปแบบอื่น ควรเปน็ เปา้ ประสงค์เรง่ ดว่ นในการแก้ไข เพราะสง่ ผล
ถงึ ระบบสงั คม เศรษฐกจิ และภาพลักษณ์ของประเทศในสายตานานาชาติ และเป้าประสงค์ท่ี 5.1 ยุติการ
เลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่ ควรได้รับการจัดลำดับความสำคัญตาม
ผลกระทบมากที่สุด เพราะถ้าบรรลุเป้าประสงค์นี้ได้ จะเกิดความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนชั้นพื้นฐานด้าน
ความเท่าเทียมระหว่างเพศและส่งผลต่อเปา้ ประสงค์อืน่ ในทางบวก
เสถียร ฉันทะ และคณะ. (2562) ชว้ี า่ สถานะเป้าหมายการพัฒนาทีย่ ัง่ ยืน เป้าหมาย
ท่ี 6 ประเทศไทยมีความพร้อมท้ัง 3 ดา้ น ในการขับเคล่ือนกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนของเปา้ หมายท่ี 6
โดยมาตรการทั้งสามด้านนั้นมีการผสมผสานในกระบวนการขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน เพียงแต่มีรายละเอียด
ในแต่ละมาตรการที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบ้างเท่านั้น ซึ่งหากมองความพร้อมของประเทศไทยแล้ว
มาตรการทางเศรษฐกิจและมาตรการทางสงั คมมีการตรยี มความพรอ้ มโดยใช้แผนพัฒนายุทธศาสตรช์ าติ
20 ปี เป็นกรอบใหญ่ มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติฉบับท่ี 12 เป็นกรอบการขับเคลื่อนงาน
โดยหน่วยงานส่วนกระทรวง และกรมต่าง ๆ นำเอาแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวไปเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำ
แผนยุทธศาสตร์ของตนเองในการขับเคลื่อนงานที่หน่วยงานตนเองรับผิดชอบ และที่สำคัญมีการกำหนด
แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 20 ปี (2561 - 2580) ขึ้นมาเป็นแนวทาง
การดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบูรณาการทำงานร่วมกันโดยมีหน่วยงาน
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นกลไกกลางในการประสานงาน ทำให้เป้าประสงค์ทั้งหมด
ถกู บรรจุไว้ในแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำดังกล่าวในช่วง 20 ปี และเปน็ เคร่ืองมือที่สำคัญ
ของมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเปา้ เหมายการพัฒนาท่ยี ั่งยืน
ของเป้าหมายที่ 6 สำหรับมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับเป้าหมายที่ 6 นั้น ประเทศไทยมีการผ่าน
กฎหมายพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ขึ้นมาใช้เป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำควบคู่กับการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ทำให้ประเทศ
ไทยมีความพร้อมที่สามารถจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 ได้ในอนาคตตามกรอบ
ระยะเวลาท่กี ำหนดไว้ได้
อำนาจ ผดงุ ศลิ ป์ และคณะ (2560) ชวี้ า่ สถานะเป้าหมายการพัฒนาท่ียง่ั ยืน เปา้ หมายที่
7 ประเทศไทยมีการดำเนินการที่ดีกว่าระดับเฉลี่ยของโลกภายใต้ 3 เป้าประสงค์ ในแง่ของความพร้อม
นน้ั พบว่า ตวั ช้ีวัดที่ 7.1.1 มคี วามพร้อมมากทีส่ ุด รองลงมาคือ ตวั ชี้วดั ท่ี 7.1.2, 7.3.1, 7.2.1, 7.a.1,
และ 7.b.1 ตามลำดับ สำหรับการจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดที่ 7.3.1 สำคัญที่สุด
59
รายงานฉบบั สมบูรณ์โครงการจัดทำเครื่องชวี้ ดั และแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพืน้ ฐาน
ระดับหมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรับใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
รองลงมาคือ ตัวชี้วัดที่ 7.2.1, 7.1.2, 7.1.1, 7.b.1, และ 7.a.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังทำการประมาณ
ตัวชี้วัดโดยใช้แบบจำลองพลังงานที่มีอยู่เพื่อศึกษาถึงทางเดินไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายที่ 7 ในปี
ค.ศ. 2030 ในท้ายทส่ี ุดงานวิจยั สรุปว่าประเทศไทยมีโอกาสทจ่ี ะประสบความสำเรจ็ ตามเป้าหมายที่ 7
ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์, วรัทยา ชินกรรม และคณะ (2560) ชี้ว่าสถานะเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 8 นั้นพบว่า มีช่องว่างของการพัฒนาในหลายประเด็น เช่น เป้าประสงค์
ที่ 8.2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริงต่อประชากรผู้มีงานทำ ซึ่งพบว่า ยังมีการเติบโตที่ผันผวน
เป้าประสงค์ที่ 8.3 ที่พิจารณาถึงสัดส่วนการจ้างงานนอกระบบนอกภาคการเกษตร แต่ในบริบทของ
ประเทศไทยพบว่า แรงงานนอกระบบของไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนว่าทำงานในภาค
การเกษตรหรือนอกภาคเกษตร ดังนั้นการใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวอาจจะยังไม่เหมาะสมในบริบทของ
ประเทศไทย เป้าประสงค์ที่ 8.10 กล่าวถึง การสร้างศักยภาพของสถาบันการเงินในประเทศ ซึ่งพบว่า
ถึงแม้ตัวชี้วัดด้านการเข้าถึงบริการทางการเงินด้านธนาคารจะแสดงให้เห็นถึงการเข้าถึงที่สูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง แต่ตัวชี้วัดดังกล่าวอาจยังไม่ครอบคลุม เนื่องจากไม่ได้พิจารณาถึงบริการด้านการเงินอื่น ๆ
นอกจากนี้ ในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา จากการศึกษาทำการพิจารณาความสำคัญของ
เป้าประสงค์และตวั ชีว้ ดั ใน 2 มติ ิ ได้แก่ มิตดิ า้ นความเร่งด่วน และมิตดิ า้ นผลกระทบ พบวา่ เปา้ ประสงค์ที่
8.1 และเป้าประสงค์ที่ 8.4 ยังคงเป็นเป้าประสงค์ที่ควรดำเนินการก่อนให้บรรลุผลเป็นอันดับแรก
เนื่องจากเป็นเป้าประสงค์ที่มีความเร่งด่วนอยู่ในระดับสูง หากดำเนินการล่าช้าอาจก่อให้เกิดผลเสีย
อย่างร้ายแรง รวมไปถึงการมีผลกระทบอยู่ในระดับสูง เป็นเป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่จะเชื่อมโยงผลไปสู่
เปา้ ประสงค์อน่ื ๆ รวมถงึ เป้าหมายอนื่ ๆ ของการพฒั นาอยา่ งย่งั ยืน
ดวงจันทร์ วรคามิน และคณะ(2560) ชี้ว่าสถานะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 9 ประเทศไทย ประกอบด้วย 3 ประเด็นสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ โครงสร้าง
พนื้ ฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรม และนวตั กรรม การพัฒนาอตุ สาหกรรมของไทยประสบความสำเรจ็ อย่าง
มากในทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดแนวคิดในมาตรฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทยก็มี
ความพร้อมในการบรรลุมาตรฐานดังกล่าว ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในอนาคตคือการวางแผนระยะ
ยาวในด้านนวัตกรรม รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมี
เสถียรภาพทางเศรษฐกจิ รวมทงั้ ความเช่อื มนั่ ของนักลงทนุ
จิตรบุษบา มารมย์ (2560) ชี้ว่าสถานะเปา้ หมายการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน เป้าหมายที่ 11
ประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบสอดคล้องกับการจัดทําข้อมูล รวมถึงมีพันธกิจหลักที่ตรงกับข้อมูล
นน้ั ๆ ท้ังการออกนโยบายภาพรวม และการดำเนินการ อกี ท้งั มฐี านข้อมูลสำหรับการจัดทำตัวชี้วัดน้ัน ๆ
ให้บรรลุได้โดยไม่ติดขัดในแต่ละตัวชี้วัดหรือขาดข้อมูล กล่าวคือ ตัวชี้วัดนี้ได้ใกล้บรรลุแล้ว แต่อาจจะยัง
ขาดการติดตามประเมินผลและเผยแพร่ข้อมูลบางสว่ น ในขณะที่จุดบอดคือข้อมูลน้ัน ๆ ไม่ครบถ้วนหรือ
อาจจะต้องมีการปรับปรุง แก้ไขข้อมูลเพ่ือให้ตอบกับวัตถุประสงค์ได้ กล่าวคือตัวชี้วัดนี้ต้องการที่จะให้
ความสำคัญเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงข้อมูลหรือการดำเนินการให้สอดคล้องกับบริบทสากลมากขึ้นและ
สิ่งเร่งด่วน คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบในตัวชี้วัด ไม่ตรงกับพันธกิจหลักในการดำเนินงาน หรือมีสถานะ
ที่ไม่แน่นอนในการรับผิดชอบตัวชี้วัด หรือตัวชี้วัดนั้น ๆ ไม่ครอบคลุมกับหน่วยงานทั้งหมดในนัยยะของ
ตัวชี้วัดนั้น ๆ หรือส่วนของข้อมูลเพื่อประกอบตัวชี้วัดนั้นไม่มีการจัดเก็บข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งควรจะต้องมี
การปรกึ ษาหารอื ในประเด็นตวั ช้วี ัดน้ี อยา่ งเร่งด่วน
60
รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจดั ทำเคร่ืองชี้วัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พ้นื ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพ้นื ฐาน
ระดับหมูบ่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรับใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
สุพจน์ ชุณหโชติอนันต์ และ ธิตา อ่อนอินทร์ (2560) ชี้ว่าสถานะเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 ประเทศไทยมีความพร้อมด้านการรายงานข้อมูลมากพอสมควร ซึ่งระบบเก็บ
ข้อมลู เพือ่ รายงานผลตามตวั ชว้ี ดั ในเปา้ ประสงค์ท่ี 12 สว่ นใหญ่มีอยู่แล้ว แตท่ งั้ นมี้ ีบางส่วนที่ตอ้ งปรบั ปรุง
เล็กน้อย และมีส่วนน้อยที่ต้องพัฒนาระบบเก็บข้อมูล ส่วนความพร้อมของแผนดำเนินการปัจจุบันเทียบ
กับสภาพปญั หาทม่ี อี ยใู่ นระดับพร้อมพอสมควรเชน่ กัน ซ่งึ เป้าประสงคส์ ว่ นใหญม่ ีแผนงานรองรับที่ชัดเจน
แต่การวัดผลที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ประสิทธิภาพในการดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ สำหรับช่องโหว่
ส่วนมากมาจากการขับเคลื่อนเชิงพฤติกรรม การวางแผนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้การสนับสนุน
การขับเคลื่อนต้องใช้ทั้งเวลา งบประมาณ และการทำงานโดยร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งเป็นอุปสรรค
สำคัญสำหรบั หน่วยงานภาครัฐ
กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ และคณะ (2560) ชี้ว่าสถานะเป้าหมายการพัฒนาที่
ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 ประกอบด้วย 5 เป้าประสงค์ แต่มี 3 เป้าประสงค์ที่มีความสอดคล้องกับบริบท
ของประเทศไทย ได้แก่ เป้าประสงค์ที่ 13.1 พบว่า การดำเนินงานของประเทศไทยด้านการเสริมสร้าง
ภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการรับมือและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติมีความคืบหน้าไปมาก
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เป็นแผนยุทธศาสตร์
หลกั ของประเทศด้านการลดความเส่ียงจากภัยพิบัตทิ ั้งในระดับชาตแิ ละระดับท้องถน่ิ อีกทั้ง กรมป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลความสูญเสียและ
ผลกระทบจากภัยพิบตั ิอย่างเป็นระบบ ชอ่ งวา่ งท่สี ำคัญ คอื ขาดการติดตามการนำแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ
รวมถึงควรมกี ารกำหนดเปา้ หมายในการลดผลกระทบจากภัยพิบัติอย่างเปน็ รูปธรรม สำหรับเป้าประสงค์
ที่ 13.2 ประเทศไทยมกี ารบูรณาการการดำเนินการตามนโยบาย/ยทุ ธศาสตร/์ แผนด้านการเปล่ียนแปลง
สภาพภูมิอากาศ เช่น ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และแผนแม่บทการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พ.ศ. 2558 - 2593 เป็นต้น แต่ขาดการติดตามว่ามีการดำเนินการตามแผนที่วางไว้หรือไม่สำหรับ
เป้าประสงค์ที่ 13.3 ซึ่งเน้นเรื่องการเสริมสร้างความตระหนักและขีดความสามารถในการปรับตัวและ
ลดผลกระทบที่เกดิ ข้ึนจากภัยพิบัตแิ ละการเปล่ียนแปลงภูมิอากาศ ถึงแมป้ จั จบุ นั กระทรวงศึกษาธิการจะ
อยู่ระหว่างการปรับปรุงหลักสูตรกลางสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มี
การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มี
การจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมหรือโครงการพัฒนาศกั ยภาพด้านการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตวั
การลดผลกระทบ และการเตือนภัยล่วงหน้า รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลง
ภูมอิ ากาศอยา่ งเปน็ ระบบ
อำไพ หรคุณารักษ์ และคณะ (2560) ชี้ว่าสถานะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 14 มีความสำคัญเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานและโครงการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ของไทย ซึ่งแสดงถึงโอกาสและศักยภาพของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายส่วนใหญ่ภายในปี
พ.ศ. 2573 ประเทศไทยควรเร่งดำเนินการ เน้นประเด็นด้านประมงทะเล ได้แก่ เป้าประสงค์ที่ 14.4
(การประมงอย่างยั่งยนื ) และ 14.6 (ยกเลกิ มาตรการอุดหนุนการประมง) โดยมงุ่ ป้องกันการจับสัตว์น้ำท่ี
เกินศักยภาพ ขณะเดียวกันมีการจัดการปัญหาด้านการประมงผิดกฎหมายและยกเลิกระบบอุดหนุน
การทำประมงที่มีผลทำลายทรัพยากรและระบบนิเวศธรรมชาติที่รัฐควรให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน
61
รายงานฉบบั สมบูรณ์โครงการจัดทำเครื่องชว้ี ดั และแบบสอบถามข้อมูลความจำเป็นพน้ื ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพ้นื ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ่วงแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ การกำหนดขอบเขตและแนวทางการดำเนนิ งานเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ที่ 14.1
ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภท โดยเฉพาะมลพิษจากชายฝั่ง ซึ่งรวมถึงขยะ ของเสีย และ
มลพิษทางน้ำที่เกิดจากสารอาหาร เป้าประสงค์ที่ 14.3 ลดและแก้ไขผลกระทบของภาวะความเปน็ กรด
ในน้ำทะเล เป้าประสงค์ที่ 14.7 การจัดการทรัพยากรทางประมงอย่างยั่งยืน และเป้าประสงค์ที่ 14.b
ประมงพน้ื บ้านรายเลก็
นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ และ อุทัย เจริญวงศ์ (2560) ชี้ว่าสถานะเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 15 ประเทศไทยได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ ดิน
น้ำ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการดำเนินการในเบื้องต้นของ
ประเทศไทยอาจจะยังไม่มีเป้าหมายเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาท่ี
ยั่งยืน ดังนั้นจงึ พบว่าข้อมูลในแต่ละทรัพยากรมีความไม่เป็นเอกภาพ ตัวชวี้ ดั ที่มีความเป็นไปได้ เรียงจาก
ที่มีศักยภาพจากมาก-ปานกลางคือ ดัชนีที่ 15.3.1 สัดส่วนของพื้นที่เสื่อมโทรมต่อพื้นที่ทั้งหมด ดัชนีที่
15.1.1 สัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นทีท่ ั้งหมด ดัชนีที่ 15.1.2 สัดส่วนของพื้นที่ท่ีมีความสำคัญสำหรับ
พืน้ ทบี่ นบกและน้ำจืดที่ครอบครองพ้ืนทคี่ ุ้มครองโดยระบบนิเวศต่าง ๆ และความคบื หน้าการจดั การป่าไม้
อย่างยง่ั ยืน และสำหรับตวั ชว้ี ัดท่อี ยู่ในระดับปานกลาง-น้อย คอื 15.7.1 สัดส่วนของสตั ว์ป่าที่ถูกลักลอบ
นำเข้าหรือการค้าที่ผิดกฎหมาย ดัชนีที่ 15.b.1 ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA)
และค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
ทีย่ ่งั ยืนดัชนีที่ 15.4.1, 15.4.2, 15.5.1, 15.6.1 มีค่าคะแนนเทา่ กนั และ ดัชนีท่ี 15.8.1 , 15.9.1,
15.a.1 และ 15.c.1มีค่าคะแนนเท่ากันที่ต่ำสุด ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคือองค์ความรู้ในเชิง
วทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเชงิ สงั คม ขอ้ มลู สถิติ หน่วยงานทรี่ ับผิดชอบ กฎหมาย การจดั สรรทรพั ยากร
อย่างพอเพยี ง
จิรวัฒน์ สุริยะโชติชยางกูล และคณะ (2560) ชี้ว่าสถานะเป้าหมายการพัฒนา
ทีย่ ง่ั ยืน เป้าหมายที่ 16 เป็นหวั ใจสำคัญอันนำไปสู่การสรา้ งความเป็นสงบสขุ ความยตุ ิธรรม และสถาบัน
ที่เข้มแข็ง โดยจะเชื่อมโยง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สังคมที่สงบสุข 2) การเข้าถึงความยุติธรรม และ
3) สถาบันที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบและบูรณาการ ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบจำเป็นที่จะต้องมี
การกำหนดนิยามใหช้ ัดเจน พบว่าความสอดคล้องกับบรบิ ทประเทศไทยน้นั มีแคบ่ างตวั ชว้ี ัดท่ีประเทศไทย
สามารถจัดเก็บข้อมูลและวัดผลได้ทันทีและในกรณีที่ประเทศไทยจัดเก็บหรือมีข้อมูลที่สามารถวัดผลได้
เพียงบางส่วน ก็จะต้องอาศัยรายงานตัวชี้วัดตัวแทน (proxy) เพื่อสามารถวัดผลได้เหมาะสมกับบริบท
สากลมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดในบริบทของสากลที่กำหนดขึ้นมานั้น บางตัวไม่สามารถวัดผล
เปา้ ประสงค์น้นั ๆ ได้ทั้งหมด อาจจะต้องใช้ขอ้ มูลอนื่ ใดมาสนับสนุนในการวัดผล ซงึ่ ขอ้ มูลเหลา่ น้นั อาจจะ
เป็นขอ้ มลู ทีอ่ ยู่ในรปู ของตวั ชี้วดั หนุนเสรมิ (supplementary indicator) มขี นึ้ มาเพ่ือเสริมตัวชี้วดั พ้ืนฐาน
(complementary indicator) ในกรณีที่เป้าประสงค์นั้นมีความซับซ้อนในการวัดผล ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ประเทศต่าง ๆ ในการกำหนดขน้ึ มาใหเ้ ขา้ กบั บรบิ ทของประเทศนั้น ๆ สถานะปจั จบุ นั ของเปา้ หมายท่ี 16
ในบริบทของประเทศไทย ขณะนี้มีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายดังกล่าวจำนวน 10 ตัวชี้วัด และ
จำเป็นท่ีจะต้องตรวจสอบตัวช้ีวัดที่เหลืออีก 13 ตวั ชว้ี ดั วา่ เหมาะสมหรือไม่ในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำ
ตัวชี้วัด ในการนี้มีหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลและตัวชี้วัด
โดยกระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็น
62
รายงานฉบับสมบรู ณโ์ ครงการจัดทำเครอ่ื งชี้วัดและแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพน้ื ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพืน้ ฐาน
ระดบั หมูบ่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรับใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ผู้ดำเนินการหลักในการบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาเสริมเพื่อให้การการวัดผล
สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินสำนกั งานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติ
แห่งชาติสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สำนักงานตำรวจแหง่ ชาติสำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวิจัย และสำนกั งานสถติ ิแหง่ ชาติ เป็นตน้
กลุ บตุ ร โกเมนกลุ , นงนชุ ตนั ตสิ ันติวงศ์ และ ชาริกา ชาญนันทพิพฒั น์ (2562) ชี้วา่
สถานะเปา้ หมายการพฒั นาที่ยง่ั ยืน เป้าหมายที่ 17 ในด้านการเงินและการคา้ ความสอดคล้องกับบริบท
ของประเทศไทย พบว่า มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีความเกี่ยวข้องในขอบเขตเป้าประสงค์ที่ 17.1-17.5
และ 17.10-17.12 จากการสำรวจแผนงานนโยบาย โครงการต่าง ๆ ที่สมั พนั ธ์กบั ยทุ ธศาสตร์ชาตริ ะยะ
20 ปีและแผนงานและแผนพัฒนาของหน่วยงานของรัฐที่สอดคล้องกับแต่ละเป้าประสงค์การกำหนด
ตัวชี้วัดมีความเหมาะสมและชัดเจนต่อกระบวนการติดตาม และประเมินสถานะปัจจุบันของตัวชี้วัด
รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะมีบทบาทเป็นผู้นำในภูมิภาคและความพยายามในการให้ความช่วยเหลือประเทศ
เพอื่ นบ้านจึงควรมีการปรับใชห้ รือปรับนิยามใหม่ให้มคี วามเหมาะสมกบั บริบทประเทศไทย อย่างไรก็ตาม
ประเทศไทยควรมุ่งความสำคัญกับเป้าประสงค์ที่ 17.3 เป้าประสงค์ถัดมาที่ประเทศไทยควรให้
ความสำคัญคือเป้าประสงค์ที่ 17.1 เป้าประสงค์ที่ 17.11 เป้าประสงค์ที่ 17.2 และเป้าประสงค์
ท่ี 17.4 ตามลำดับ
ในขณะที่ วุฒิสาร ตันไชย (2561) เห็นว่าในการพัฒนาแนวคิดทฤษฎีและกรณีศึกษา
ของการพัฒนาแบบปัญญาเชิงปฏิบัติ (phronêsis) สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นสามารถนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs)
บางด้านมากำหนดเป็นแนวคิดเบื้องต้นในการวางทิศทางการพัฒนาได้ รวมถึงสามารถนำเอากรณีศึกษา
ที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนกับเป้าหมายการพัฒนามาเป็นบทเรียนและประสบการณ์ที่ใช้ได้จริงใน
การพัฒนาของแต่ละท้องถิ่นได้ ซึ่งการพัฒนาแนวคิดทฤษฎีและกรณีศึกษาของการพัฒนาแบบปัญญา
เชงิ ปฏบิ ัตสิ ำหรบั องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิ่นอาจเร่ิมจากขน้ั ตอนงา่ ย ๆ 3 ขน้ั ตอน คอื
1) เลือกพิจารณาเป้าหมายมากำหนดเป็นแนวคิดหลักเบื้องต้นแล้วจึงค่อยต่อยอด
ไปสู่แนวคิดย่อย ๆ ที่จำเป็นและสามารถนำมาสนับสนุนแนวคิดหลักเพื่อให้มีแนวคิดสนับสนุนและ
ครอบคลุมพอทีจ่ ะใชใ้ นการบรรลุเป้าหมาย
2) พิจารณาสถานการณแ์ ละภาพรวมในประเดน็ การพัฒนา ทัง้ ในระดับภาพรวมของ
โลกหรือประเทศ และในระดับภูมิภาค และท้องถิ่น เพื่อให้ทราบสถานการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับเป้าหมาย
และความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเพ่ือบรรลุเป้าหมาย รวมถึงการจัดลำดบั ความสำคัญมิติและโครงการ
ตา่ ง ๆ ทีเ่ กีย่ วขอ้ งเพือ่ ใช้ในการบรรลุเป้าหมายให้ตรงจุด
3) นำเอากรณีศึกษาที่มีแนวทางปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ที่เป็นไปได้มาพิจารณาว่า
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ โดยที่กรณีศึกษาอาจอยู่ในรูปของโครงการหรือกิจกรรมที่เคยเกิดขึ้นและ
ประสบความสำเร็จ ซึ่งการศกึ ษานน้ั ต้องเขา้ ใจในรายละเอยี ดและวธิ ีการปฏบิ ตั ิอยา่ งทองแท้วา่ จะสามารถ
นำไปใชก้ ับองคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่นได้ในลักษณะใด
63
รายงานฉบับสมบรู ณ์โครงการจัดทำเครือ่ งชว้ี ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พื้นฐาน (จปฐ.) และขอ้ มลู พน้ื ฐาน
ระดบั หมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
จากรายงานการศึกษาข้างต้น ในปี 2562 นับเป็นปีที่ SDG Index ถูกพูดถึงใน
ประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะรัฐบาลที่นำ Index ตัวนี้มานำเสนอให้เห็นความก้าวหน้าของ
ประเทศไทย เหตุผลที่มันถูกพูดถึงอย่างมากเพราะเป็นปีที่ประเทศไทยมีอันดับสูงที่สุดนับตั้งแต่มี SDG
Index มา และอนั ดบั สงู สดุ ในกลุม่ ประเทศอาเซียนอีกด้วย โดยในรายละเอียดนั้นประเทศไทยอยู่อันดับที่
40 จากการประเมินประเทศที่มีข้อมูลทั้งหมด 162 ประเทศ โดยได้คะแนนรวมทั้งหมด 73.0 คะแนน
จากคะแนนเต็ม 100 ซ่งึ คะแนนดังกลา่ วสูงกว่าคา่ เฉลยี่ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียง
ใต้ที่อยู่ที่ 65.7 นอกจากนี้หากเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มี
อนั ดบั สงู สุดคือ อันดบั ที่ 40 ตามมาดว้ ยประเทศเวยี ดนามท่ีอยู่ในอันดับ 54 ประเทศสิงคโปร์ อยู่อันดับ
ที่ 66 และประเทศมาเลเซีย อยู่อันดับที่ 68 ซึ่ง ณ จุดนี้อาจมีคนตั้งคำถามแล้วว่าเป็นไปได้อย่างไร
ท่สี ิงคโปร์มอี นั ดบั ทต่ี ่ำกว่าประเทศไทย เหตุผลสำคัญ กค็ อื แมว้ า่ สงิ คโปรจ์ ะมถี ึง 4 เปา้ หมายที่ยั่งยืนแล้ว
คือ เป้าหมายที่ 1 การขจัดความยากจน เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ เป้าหมายที่ 7 การเข้าถึง
พลงั งานสะอาด และเปา้ หมายที่ 9 โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมและนวัตกรรม ในหลายตวั ชว้ี ัดที่ SDG
Index พิจารณานั้น สิงคโปร์ไม่มีข้อมูลเหล่านี้ นอกจากนี้สิงคโปร์ยังขาดข้อมูลของเป้าหมายท่ี 10 คือ
Gini Coefficient adjusted for top income ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเดียวของเป้าหมายที่ 10 ในดัชนีนี้อีกด้วย
(ชล บุนนาค, 2553) ในขณะเดียวกัน แนวโน้มการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDG ของประเทศไทยมีทิศทาง
ที่ดีและมีความตื่นตัวจากหลายภาคส่วน ทั้งบทบาทของไทยในเวทีโลกและภูมิภาค การนำเอาเป้าหมาย
SDG บรรจุในนโยบายชาติและความพยายามในการปฏิวัติการทำงานเพื่อบรรลุ SDGs ของภาครัฐ
การขับเคลื่อนเปา้ หมาย SDG ของภาคเอกชน ความตื่นตวั การขับเคล่ือนเป้าหมาย SDG ของภาคประชาสังคม
รวมทงั้ ความตืน่ ตัวของภาควชิ าการและในมหาวทิ ยาลยั ไทย
สำหรบั ประเทศไทยการกำหนดเปา้ หมายการพฒั นาท่ีย่ังยืนหรือ SDG มีกรอบการพัฒนา
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างย่งั ยนื คอื หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เปา้ หมายการพัฒนา
ประเทศภาพรวมในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจ
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยการยกระดับศักยภาพของ
ประเทศในหลากหลายมิติ พฒั นาคนในทกุ มติ ิทกุ ช่วงวัยไหมเ้ ปน็ คนดี เก่ง และมคี ุณภาพ สรา้ งโอกาสและ
ความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตทางคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของ
ประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม ในกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติจึงให้ความสำคัญ
กับการนำแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDG มาพิจารณาร่วมในการกำหนดประเด็นนโยบาย
(Policy issues) โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ภาวะโลกร้อนและสภาวะภูมิอากาศที่ผัน
ผวน ก่อให้เกดิ ภยั ธรรมชาติท่ีทวคี วามรนุ แรงมากขน้ึ เปน็ แรงกดดันให้มกี ารผลติ และการบรโิ ภคท่ีเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม ราคาน้ำมันมีความผันผวนและการผลิตพืชพลังงานทดแทนส่งผลต่อความมั่นคงทาง
อาหารของโลก ความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อจำกัดและกฎเกณฑ์การใช้พื้นที่และ
ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสง่ ผลต่อภาคธุรกิจและการใช้ชีวิตของ
ประชาชน
กล่าวได้ว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy:
SEP) มีความสอดคล้องกบั เป้าหมายการพัฒนาท่ีย่ังยืน (SDG) อย่างกลมกลนื เพราะมีเปา้ หมายปลายทาง
ที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ ทั้ง SEP และ SDGs ต่างมุ่งพัฒนาและสร้างความสมดุลในมิติสังคม เศรษฐกิจ
64
รายงานฉบับสมบูรณโ์ ครงการจัดทำเคร่อื งชว้ี ดั และแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเปน็ พนื้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พื้นฐาน
ระดบั หม่บู า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
และสิ่งแวดล้อม ส่วนที่เหลื่อมกันอยู่แต่ไม่ขัดกัน ก็คือ SEP เน้นมิติวัฒนธรรมด้วย ขณะที่ใน SDGs มิติ
วัฒนธรรมแฝงอยู่ในหลายเป้าหมาย และมีส่วนของสันติภาพและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเพิ่มเข้ามา
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาปรากฏอยู่ในการประยุกต์ใช้ SEP ในภาคเกษตร คือ เกษตรทฤษฎีใหม่
ในระยะที่ 3 หลังจากชุมชนมีความเข้มแข็งแล้วจึงขยายความร่วมมือมายังองค์กรภายนอกชุมชน ซึ่งใน
ส่วนนี้ SDGs จะมีความชัดเจนกว่า SEP ในแง่ที่ว่า SDGs ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมายด้าน
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างชัดเจนในรายละเอียดของเป้าหมาย (Goals) 17 ประการ และ
เป้าประสงค์ (Targets) 169 ประการ (สศช., 2562) จุดเน้นของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ
ความยั่งยืนและได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ
ประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จึงกล่าวได้ว่า การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืนหรือ SDG ได้
ปรากฏในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) จัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนนี้ให้ความสำคัญกับ
การพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมท่ีเกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะและการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
นวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนา นอกจากน้ียังเน้นความสมดุลกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมนี้
ยังคงมงุ่ เน้นปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย 3 หลักการ คอื ความพอประมาณ ความสมเหตุสมผล
และความรอบคอบ ตลอดจนนโยบายประเทศไทย 4.0 ประเทศไทย 4.0 สะท้อนให้เห็นถงึ การบูรณาการของ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นการออกแบบระบบเศรษฐกิจฐานคุณค่าโดยการเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ควบคู่ไปกับการปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการนำพาประเทศไทยออกจาก
กบั ดกั รายได้ปานกลางและผลกั ดันประเทศไทยเข้าสู่ประเทศทมี่ ีช่วงรายได้สงู
ในส ่ว นแผ นการขับเคล ื่อนเป้าหมายการ พัฒนา ที่ยั่งยื นส ำหรับปร ะเท ศ ไ ท ย
(Thailand’s SDG Roadmap) ปี 2562 (สศช., 2562) พบว่า คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(กพย.) ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ
ร่างแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Thailand’s SDG Roadmap)
ซ่ึงแผนการขบั เคลอื่ นฯ ครอบคลุมการดำเนินการหลักใน 6 ดา้ น ดงั น้ี
1) การสร้างการตระหนักรู้ ดำเนินการให้ทุกภาคส่วนมีความรู้และความเข้าใจใน
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการดำเนินการทั้งในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น เพื่อให้ทุกภาค
สว่ นมีสว่ นร่วมในการขบั เคลือ่ นประเทศสคู่ วามยง่ั ยืน
2) การเชื่อมโยงเปา้ หมายการพฒั นาทย่ี ่ังยืนกบั แผน 3 ระดับของประเทศขับเคล่ือน
การพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับอื่น ๆ
ซึง่ สอดคล้องกับเปา้ หมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สรา้ งประเทศให้มั่นคง โดยไมท่ ง้ิ ใครไวข้ ้างหลัง
3) กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน มีคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป็นกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนในระดับนโยบาย และหน่วยงานภาครัฐบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน
ของสังคม เพอ่ื นำไปส่กู ารปฏบิ ัติที่เป็นรูปธรรม
4) การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดำเนินงานโดยยึดหลัก
ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล เพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการที่สำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืนและยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งขยายผลสู่การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับพื้นท่ี
(SDG Localization)
65
รายงานฉบับสมบรู ณ์โครงการจดั ทำเครือ่ งช้วี ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพน้ื ฐาน
ระดบั หมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรับใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
5) ภาคีการพัฒนาสนับสนุนความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งในประเทศและภาคี
การพัฒนาระหวา่ งประเทศ เพื่อร่วมขับเคล่อื นประเทศไทยใหบ้ รรลุเป้าหมายการพัฒนาทีย่ ่งั ยนื
6) การติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนติดตามและ
ประเมินผลการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยระบบฐานข้อมูลกลางที่มีการรายงาน
ความก้าวหน้าจากหน่วยงานทีเ่ กย่ี วขอ้ งอยา่ งสม่ำเสมอ
2.2.6 ตัวช้วี ัดการพฒั นามนษุ ย์ (Human Development Index (HDI))
ท่ีมา: Human Development Index Human Development Report. By UNDP, 2020.
ตัวชี้วัดการพัฒนามนุษย์หรือดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development
Index) หรือ HDI เป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงการพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ วัดจาก Life Expectancy
หรอื อายขุ ยั โดยเฉล่ียของประชากร ด้านการศึกษา วดั จาก Adult Literacy rate หรอื อตั ราการอ่านออก
เขียนได้และการเข้าชั้นเรียนโดยเฉลี่ย ด้านเศรษฐกิจ วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GDP
ทั้ง 3 ตัวชี้วัดนี้นำมาประกอบเป็นดัชนีการพัฒนามนุษย์ ใช้จัดลำดับการพัฒนามนุษย์ในแต่ละประเทศ
เป็น 4 กลุ่ม ยิ่งประเทศใดมีระดับของอายุขัยโดยเฉลี่ย การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัวมาก ก็จะย่ิง
ส่งผลให้ระดับการพฒั นามนุษย์มากตามไปดว้ ย โดยค่า HDI จะมคี า่ ระหว่าง 0 ถึง 1 ซ่ึงการพัฒนามนุษย์
นั้นถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างความก้าวหน้าและมั่นคงให้แต่ละประเทศ ทั้งนี้ HDI ถูกพัฒนา
โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถาน มาห์บับ อุล ฮัก ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย อมรรตยะ เสน
ซึ่งได้วางกรอบการศึกษาไว้ว่าผู้คนสามารถที่จะ "เป็น" หรือ "กระทำ" สิ่งที่ตนปรารถนาในชีวิตได้หรอื ไม่
และเผยแพรร่ ายงานการศึกษาโดยโครงการพัฒนาแหง่ สหประชาชาติ (Elizabeth, 2007)
ดัชนกี ารพัฒนามนุษยว์ ัดความสำเรจ็ โดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศในการพัฒนามนุษย์
สามด้านหลัก ๆ ได้แก่ การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี วัดจากอายุขัย ความรู้ วัดจากการรู้หนังสือ
และอัตราส่วนการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา มาตรฐานคุณภาพชีวิต
วัดจากผลิตภัณฑม์ วลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ต่อหวั และความเท่าเทียม
กันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity - PPP) ในแต่ละปี รัฐสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
จะถูกจัดอันดับตามดัชนีนี้ ประเทศที่ได้รับการจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ มักจะโฆษณาผลการจัดอันดับ
ดังกล่าวเพื่อที่จะดึงดูดให้บุคลากรที่มีความสามารถอพยพเข้ามาในประเทศของตนมากขึ้น (เพื่อเป็น
ทรัพยากรมนุษย์ในทางเศรษฐกิจ) หรือเพื่อที่จะลดแรงจูงใจในการอพยพย้ายออก อย่างไรก็ดี องค์การ
สหประชาชาติยังมีวิธีการวัดความยากจนในแต่ละประเทศอีกด้วย โดยการใช้ดัชนีความยากจนมนุษย์
(Human Poverty Index) (Elizabeth, 2007)
66
รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจัดทำเครื่องชว้ี ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พ้นื ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพืน้ ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
กล่าวได้ว่า ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) เป็นการวัดผลโดยสรุปของผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนโดยเฉลี่ย ชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีมีความรู้และมีมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสม HDI
ถูกสร้างขึ้นเพื่อเน้นย้ำว่าผู้คนและขีดความสามารถของพวกเขาควรเป็นเกณฑ์ขั้นสูงสุดในการประเมิน
การพฒั นาของประเทศไมใ่ ช่การเตบิ โตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว HDI ยังสามารถใชเ้ พ่ือต้ังคำถามกับ
การเลือกนโยบายระดับชาติโดยถามว่าสองประเทศที่มีระดับ GNI ต่อหัวเท่ากันสามารถลงเอยด้วย
ผลลัพธ์การพัฒนามนุษย์ที่แตกต่างกนั ได้อย่างไร ความแตกต่างเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิดการถกเถยี ง
เกีย่ วกบั ลำดับความสำคญั ของนโยบายของรัฐบาลได้ (UNDP, 2020)
อย่างไรก็ตาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายสาเหตุรวม
ทั้งถูกกล่าวหาว่าขาดการพิจารณาการพัฒนาทางเทคโนโลยีหรือการมีส่วนร่วมต่ออารยธรรมมนุษย์
โดยมุ่งเน้นที่ผลงานและการจัดอันดับของประเทศ โดยเฉพาะการขาดความสนใจในการพัฒนาจาก
มุมมองทั่วโลก ข้อผิดพลาดในการวัดผลของสถิติพื้นฐานและการเปลี่ยนแปลงสูตรของ UNDP ซึ่งอาจ
นำไปสู่การจำแนกประเภทที่ผิดอย่างรุนแรงในการจัดหมวดหมู่ของประเทศที่พัฒนามนุษย์ "ต่ำ"
"ปานกลาง" "สงู " หรอื "สงู มาก" (Wolff, Hendrik; Chong, Howard; Auffhammer, Maximilian, 2011)
UNDP (2020) ได้แสดงข้อมูลการพัฒนามนุษย์จากทุกประเทศ สำหรับประเทศ
ไทยชี้ให้เห็นลำดับการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทย ปี 2563 อยู่ในลำดับที่ 79 ของโลก ในขณะที่
สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 11 มาเลเซียอันดับที่ 62 และเวียดนามอันดับที่ 117 โดยการพิจารณา รายได้
มวลรวมประชาชาติเฉล่ียต่อคน จำนวนปเี ฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา จำนวนปีทคี่ าดว่าจะได้รับการศึกษาและ
อายคุ าดเฉล่ียเด็กแรกเกิด
ท่มี า: Human Development Report. By UNDP, 2020.
67
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำเครอ่ื งชี้วดั และแบบสอบถามข้อมูลความจำเป็นพนื้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พืน้ ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ดัชนีการพัฒนามนุษย์รวมทั้งค่าของตัวบ่งชี้ทุกตัวนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ของ
ประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ บางประเทศในทวีปเอเชียพบว่าประเทศไทยถือว่ามี
การพัฒนามนุษย์ในระดับปานกลาง นั่นคือ ประชาชนในประเทศไทยมีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง
โดยมเี พียง 2 ประเทศ ทม่ี ีระดับการพัฒนามนุษย์สูงกว่าประเทศไทย ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ซ่ึงมีระดับ
การพัฒนามนุษย์ในระดับสูงและประเทศจีนซึ่งมีการพัฒนาในระดับปานกลางแต่มีดชั นีการพัฒนามนุษย์
สงู กว่าประเทศไทย ทงั้ น้ี แนวโนม้ ของดชั นกี ารพฒั นามนษุ ยข์ องประเทศไทย พบว่า แม้วา่ ดัชนีการพัฒนา
มนุษย์ของประเทศไทยจะยังมีค่าไม่สูงมากนัก รวมทั้งยังมีการพัฒนามนุษย์เพียงในระดับปานกลาง คือ
ประชาชนในประเทศยังมีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลางแต่ก็ถือว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเม่ือ
พิจารณาจากแนวโนม้ ของดชั นกี ารพฒั นามนุษย์ของประเทศไทยตั้งแต่เริ่มตน้ มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากน้ี
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบดัชนีการพัฒนามนษุ ย์ของประเทศไทยกับค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวนั ออก
และโลกก็พบว่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคและโลกอย่าง
ต่อเนื่องทำให้ อาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยยังมีการพัฒนามนุษย์ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค
และโลก เมื่อพิจารณาจากดัชนีการพัฒนามนุษย์ของอาเซียน พ.ศ. 2560 ปรับปรุงข้อมูลโดยศูนย์
สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ (สิงหาคม 2562) แสดงให้เห็นดัชนีการพัฒนามนุษย์ของกลุ่มประเทศ
อาเซียนเชิงเปรียบเทยี บ ดงั นี้
ที่มา: ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของกลุ่มประเทศอาเซียน (Human Development Index: HDI). โดย สำนกั งาน
สถิตแิ ห่งชาติ, ศูนยส์ ารสนเทศยทุ ธศาสตรภ์ าครัฐ, สงิ หาคม 2562.
68
รายงานฉบบั สมบูรณโ์ ครงการจดั ทำเครอ่ื งชว้ี ดั และแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพน้ื ฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพื้นฐาน
ระดับหมู่บา้ น (กชช. 2ค) สำหรับใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ทม่ี า: ดัชนกี ารพฒั นามนุษย์ของกลุ่มประเทศอาเซยี น (Human Development Index: HDI). โดย สำนักงาน
สถิตแิ ห่งชาติ, ศนู ยส์ ารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครฐั , สิงหาคม 2562.
ท่ีมา: ดชั นกี ารพัฒนามนุษย์ของกลุ่มประเทศอาเซียน (Human Development Index: HDI). โดย สำนักงาน
สถติ แิ ห่งชาติ, ศนู ย์สารสนเทศยทุ ธศาสตรภ์ าครฐั , สงิ หาคม 2562.
ต่อมา ในรายงานการพัฒนามนษุ ย์ปี 2562 หรอื Human Development Report
2019 (UNDP,2019) ระบุว่าประเทศไทยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index -
HDI) 0.765 ในปี 2561 ซึ่งทำให้ประเทศถูกจัดอยู่ในหมวดหมูป่ ระเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูง
และเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลกในการจัดอันดับ HDI ในช่วงปี 2556-
2561 ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 77 ในการจัดอันดับโลก (จาก 189 ประเทศ) สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึง
การพัฒนาของประเทศอย่างต่อเนื่องในเรื่องอายุขัยของประชากร การเข้าถึงการศึกษา และรายได้
ประชากรต่อหัว ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของไทยลดลงร้อยละ 16.9 โดยมีค่าดัชนีอยู่ที่ 0.635 ซึ่งหาก
ไม่เร่งแก้ไขจะย่ิงเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพ
ภูมิอากาศ และการหยุดชะงักทางเทคโนโลยี ซึ่งกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหา
ดังกล่าวคือกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุด ในรายงานยังชี้อีกว่าไทยความไม่เท่าเทียมทางเพศยังเป็นปัญหา
69
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำเคร่อื งช้วี ัดและแบบสอบถามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพนื้ ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
เรื้อรัง ค่าเฉลี่ยการพัฒนามนุษย์ของผู้หญิงเท่ากับ 0.763 ส่วนของผู้ชายเท่ากับ 0.766 ทั้งนี้เกิดจาก
โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและรายได้ที่ต่ำของผู้หญิง ท้ายสุดรายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นว่าแม้จะมี
ความกา้ วหนา้ ในการแกป้ ัญหาความยากจน ความอดอยาก และรกั ษาโรคต่าง ๆ ในหลายประเทศทั่วโลก
แต่ปัญหาความเหลือ่ มล้ำยงั เป็นปญั หาที่แก้ไม่ตก
ในปี 2562 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยในภาพรวมมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เม่ือ
พิจารณาจากดัชนีการพัฒนามนุษย์(Human Development Index: HDI) ของโครงการพัฒนาแห่ง
สหประชาชาติ (UNDP) ซง่ึ เพ่มิ ขน้ึ จาก0.749 ในปี 2558 เปน็ 0.777 ในปี 2562 โดยเปน็ ผลมาจาก
การยกระดับสุขภาวะ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา และระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (สศช.,
2564)
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่มีการจัดทำรายงานการพฒั นามนุษย์ UNDP ได้มีการพัฒนา
ตัวบ่งชี้สำหรับดัชนีการพัฒนามนุษย์อย่างต่อเนื่อง โดยจะพบว่าปัจจุบันมิติของการพัฒนาและตัวบ่ง ชี้
สำหรับดัชนกี ารพฒั นามนุษย์ (UNDP, 2020) ได้แก่
มิติการพฒั นา ตวั บง่ ช้ี
ด้านสุขภาพ ความคาดหมายการคงชพี เม่ือแรกเกิด (ปี)
ดา้ นการศึกษา จำนวนปเี ฉลย่ี ท่ไี ด้รบั การศึกษา (ปี) และ จำนวนปที คี่ าดว่าจะได้รับ
การศกึ ษา (ปี)
ด้านมาตรฐานการครองชพี รายได้ประชาชาติมวลรวมตอ่ บคุ คล (ดอลลาร์สหรฐั )
ดา้ นความเหลอื่ มลำ้ ทางรายได้ สัมประสทิ ธิ์ความไมเ่ สมอภาค
ด้านความเทา่ เทียมทางเพศ อัตราส่วนที่นั่งในสภาผูแ้ ทนราษฎรของผู้หญิงต่อผู้ชาย และอัตราส่วน
ประชากรเพศหญิงที่มีการศึกษาอย่างน้อยระดับมัธยมศึกษาต่อ
ด้านความยง่ั ยืน ประชากรเพศชาย
ดา้ นความมนั่ คงของมนษุ ย์ ปรมิ าณการปลอ่ ยกา๊ ซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อบุคคล (ตัน)
อตั ราการฆาตกรรม(คนต่อประชากร 100,000 คน)
2.2.7 ตัวชว้ี ัดความอยู่ดมี ีสขุ (Well-being Composite Index)
นบั ตง้ั แตแ่ ผนพฒั นาเศรษฐกจิ ฯ ฉบับที่ 8 ในชว่ งปี 2540 - 2544 ได้มกี ารปรบั เปลีย่ น
แนวคิดหลักจากการเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวมาเป็นการให้ความสำคัญกับ
การพัฒนาคนโดยการทำให้คนเป็นศูนย์กลางและเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาซึ่งแนวคิดนี้ถือว่า
คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดและเชื่อว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่อาจแก้หรือ
ขจัดปัญหาความยากจนได้เสมอไป ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับความอยู่ดีมีสุขในฐานะมาตรฐาน
การพัฒนาประเทศและได้มีการพัฒนาดัชนีวดั ความอยู่ดีมสี ุขในหลายหน่วยงาน ท่สี ำคญั ได้แก่ มาตรฐาน
และตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ได้กล่าวไป
แล้วข้างต้น) ดัชนีวัดความ “อยู่เย็น เป็นสุข” ความสุขมวลรวมของหมู่บ้านและชุมชน (Gross Village
Happiness: GVH) โดยกรมการพัฒนาชุมชน และ "ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย"
โดยสำนกั งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ (สศช.)
70
รายงานฉบบั สมบูรณโ์ ครงการจัดทำเครอ่ื งชวี้ ดั และแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเปน็ พนื้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพน้ื ฐาน
ระดบั หม่บู า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ความอยู่ดีมีสขุ (Well-being) หมายถึง การมคี ณุ ภาพชีวติ ที่ดี เปน็ แนวคิดที่มมี านาน
นับศตวรรษ จากแนวคิดเรื่องความอยู่ดีมีสุขที่พิจารณาจากขอบเขตของความสำเร็จของแต่ละปัจเจก
บุคคลไม่ใช่เพียงแค่การพิจารณา “เครื่องมือ” ที่ประชาชนเป็นเจ้าของและใช้ไปสู่จุดหมายปลายทาง
เท่านั้น มาตรฐานการดำรงชีวติ (The standard of living) ไม่ใช่เป็นเร่ืองของการเป็นเจ้าของสนิ คา้ และ
บริการแต่เป็นเรื่องของการดำรงชีวิต สาสินี เทพสุวรรณ์ (2550) อธิบายว่าแนวคิดเกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุข
ได้แบ่งลักษณะของความอยู่ดีมีสุขเป็น 2 แบบ ด้วยกัน คือ ความอยู่ดีมีสุขในเชิงภาวะวิสัย (Objective
Happiness) และความอยู่ดีมีสุขในเชิงอัตตวิสัย (Subjective Happiness) โดยความอยู่ดีมีสุขใน
เชิงภาวะวิสัย (Objective Happiness) นั้น จะวัดความอยู่ดีมีสุขจากกฎเกณฑ์ภายนอกของสังคม โดยมี
กระบวนการทางเทคนิคที่จะหาขอบเขตของความสุขนั้นโดยไม่เน้นประสบการณ์ในอดีตของคนจะวัด
ความสขุ ในขณะน้ันโดยมาตรฐานความสุขทสี่ ังคมยอมรับ ในขณะทค่ี วามสุขในเชิงอัตตวสิ ัย (Subjective
Happiness) วัดความสุขจากการประเมินของแต่ละบุคคลว่ามีการรับรู้ถึงความสุขอย่างไร โดยคำนึงถึง
ประสบการณ์ในอดีตของแต่ละคนว่ามีการรับรู้อะไรมาบ้าง ซึ่งความสุขในเชิงอัตตวิสัยนี้ สามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาที่เปลี่ยนไปและผลกระทบต่อความรู้สึก ประเด็นด้านการรับรู้ มีความเกี่ยวข้อง
กบั เร่อื งความยตุ ิธรรม ตลอดจนการเปรียบเทียบเหตุการณต์ ่าง ๆ ท่เี กิดขน้ึ โดยยึดเอาประสบการณ์ที่เคย
ผ่านมามาเป็นส่วนประกอบในการรับรู้ผลกระทบต่อความรู้สึก แสดงออกในรูปของอารมณ์ซึ่งเกิดจาก
การที่บุคคลประเมินสถานการณ์ที่ตนประสบ ณ เวลานั้น ในขณะที่องค์ประกอบของการรับรู้อ้างถึง
เหตุผลทางสติปัญญาของความรู้สึกว่ามีความเป็นอยู่ที่ดี การรับรู้ดังกล่าวจะแสดงออกมาทั้งในด้าน
ร่างกายและจิตใจซึ่งทางกายภาพแล้วจะส่งผ่านการรับรู้ความรู้และแปรสภาพเป็นความสุขที่เกิดขึ้นใน
จิตใจ ในขณะที่จิตใจจะส่งผ่านความรู้สึกจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อตีความสิ่งที่เกิดขึ้นและส่งผลของ
ความรู้สึกไปทางร่างกายเพื่อแสดงออกซึ่งความรู้สึกนั้น กล่าวคือ ความอยู่ดีมีสุขไม่ใช่สิ่งที่ไม่สามารถ
เปลย่ี นแปลงได้แตส่ ามารถเปล่ียนแปลงไดต้ ามสถานการณภ์ าวะและสงั คมทเ่ี ปน็ อยู่
องค์ประกอบและตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุข ประกอบด้วย 7 ด้าน (สาสินี เทพสุวรรณ์,
2550) ได้แก่
องค์ประกอบที่ 1 คือ ด้านสุขภาพอนามัยและโภชนาการ ซึ่งยังประกอบด้วย
องค์ประกอบย่อยอีก 4 ด้าน คือ ความยืนยาวของอายุ การปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ โภชนาการและ
การให้บรกิ ารสาธารณสุข
องค์ประกอบที่ 2 คือ การศึกษาซึ่งครอบคลุมสาระต่าง ๆ ในกระบวนการเรียนรู้
ความรพู้ ื้นฐานและทักษะต่างๆ รวมทง้ั การเขา้ ถงึ บริการและคณุ ภาพการศึกษา
องค์ประกอบที่ 3 คือ ชีวิตการทำงาน เนื่องจากประชาชนจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยูก่ ับ
การทำงานการพิจารณาสภาพแวดล้อม การทำงาน จึงเป็นส่วนประกอบทีส่ ำคัญมากและชวี ติ การทำงาน
ทีม่ คี ณุ ภาพเกย่ี วข้องกับการจ้างงานและความพอใจในคา่ จ้างที่ได้รบั องค์ประกอบด้านนี้ ยังรวมถึงปัจจัย
องคป์ ระกอบยอ่ ยในด้านการใชแ้ รงงานเด็กและผหู้ ญงิ และระบบประกันสงั คมด้วย
องค์ประกอบที่ 4 คือ ชีวิตครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัวถือเป็นประเด็น
สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ “ความอยู่ดีมีสุข” โครงสร้างและขนาดของครอบครัวเป็นตัวกำหนดระดับ
ความเป็นอยู่ของสมาชิกแต่ละคน ครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น ต้องรับรู้ความต้องการของสมาชกิ
แตล่ ะคนและดแู ลสมาชิกทุกคนอยา่ งเทา่ เทียมกันโดยไมเ่ ลือกปฏบิ ตั ิ
71
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำเคร่อื งชี้วัดและแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเปน็ พ้ืนฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พ้ืนฐาน
ระดบั หมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ่วงแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
องคป์ ระกอบท่ี 5 คอื การเตบิ โตทางเศรษฐกิจความยากจน การกระจายรายได้และ
สวัสดกิ ารเปน็ เคร่ืองมือสำคัญทนี่ ำไปสู่การบรรลุเปา้ หมายความอยู่ดมี ีสุข ฉะน้ันการพัฒนาท่ียั่งยืนจึงเป็น
ปจั จยั สำคัญของความอยู่ดีมีสุข การมีปญั หาความยากจนท่ีรนุ แรงและความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ใน
ระดับสูงสะท้อน “การอยู่อย่างมีทุกข์” ในสังคม ประเด็นเหล่านี้ จึงนับเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของ
เคร่อื งช้ีวัด “ความอยดู่ มี ีสขุ ” ด้วย
องค์ประกอบที่ 6 คอื ส่งิ แวดล้อมและความปลอดภัย การดแู ลรกั ษาทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็นต่อ “ความอยู่ดีมีสุข” เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน องค์ประกอบนี้รวมถึง
ประเด็น สภาพแวดล้อมด้านที่อยู่อาศัย การอนามัยแวดล้อม ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
โดยเฉพาะจากปญั หาอาชญากรรม
องค์ประกอบท่ี 7 คอื ดา้ นประชารฐั หมายถงึ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งรฐั กับประชาชน
การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันจะนำมาซึ่ง “ความอยู่ดีมีสุข” การส่งเสริมบทบาทการมี
ส่วนร่วมของประชาชนเป็นการเพิ่มพูนและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ให้เต็มขีดความสามารถ
เป็นเครื่องมือของการยกระดับความอยู่ดีมีสุข องค์ประกอบนี้จะรวมประเด็นเรื่อง ความยุติธรรม
สทิ ธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพทางการเมืองรวมท้งั การกระจายอำนาจการบรหิ ารจดั การ
การพัฒนาดัชนีวัดความอยู่ดีมีสุขของประเทศไทย พบว่า มีดัชนีวัดความ “อยู่เย็น
เปน็ สขุ ” ความสุขมวลรวมของหมูบ่ า้ นและชมุ ชน (Gross Village Happiness: GVH) โดยกรมการพฒั นา
ชุมชน (2554) ความอยู่เย็นเป็นสุข หมายถึง สภาวะที่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
ทั้งจิต กาย ปัญญาที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวมและสัมพันธ์กันได้
ถูกต้องดีงาม นำไปสู่การอยู่รว่ มกันอย่างสันติระหว่างคนกับคนและการอยู่ร่วมกนั อย่างสมดุลระหว่างคน
กับธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม มีองคป์ ระกอบ 6 ประการในการสรา้ งความอยดู่ ีมีสขุ ร่วมกัน ไดแ้ ก่
1) การมีสุขภาวะ ภาวะที่บุคคล ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บมีร่างกายแข็งแรง มีอายุ
ยืนยาว มีจิตใจที่ดียึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะ และใฝ่รู้ สามารถ
“คิดเปน็ ทำเป็น” มีเหตมุ ผี ล อยู่ในสงั คมได้อยา่ งเป็นสุข แยกไดเ้ ป็น 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ สุขภาพ
กายและจิตดี มีคุณธรรมสติปญั ญาและใฝร่ ู้
2) ครอบครัวอบอุ่น กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันกันทางอารมณ์และจิตใจใน
การดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างมีจุดหมายในบรรยากาศที่สงบสุข ด้วยการทำบทบาทหน้าที่ครอบครัวได้
อย่างเหมาะสมและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน แยกได้เป็น 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ บทบาทหน้าที่ของ
ครอบครวั สมั พนั ธภาพในครอบครวั และการพึ่งพิงตนเอง
3) ชุมชนเข็มแข็ง ชุมชนที่มีการรวมตัวกันเป็นปึกแผ่น มีศักยภาพในการพึ่งตนเอง
และการเรียนรู้ในระดับสูงมีองค์กรในชุมชน กลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลง และภาคีเครือข่ายการพัฒนา
ที่เข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งมีความสามัคคี เอื้ออาทร อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และธำรงไว้ซึ่งคุณค่าของ
ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน/ท้องถิ่นหรือเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้
อยา่ งตอ่ เนือ่ ง แยกไดเ้ ป็น 2 องค์ประกอบยอ่ ย ได้แก่ ชุมชนพง่ึ ตนเองได้ และชมุ ชนเกอื้ กลู กนั
4) เศรษฐกิจเข้มแข็งและเป็นธรรม เศรษฐกิจที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคลที่มี
สัมมาชีพที่มั่นคง ก่อให้เกิดรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต มีความมั่นคงและปลอดภัยในการทำงาน
อยู่ภายใต้เศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เสถียรภาพมีการกระจายรายได้และกระจาย
ผลประโยชน์การพัฒนาในกลมุ่ ต่าง ๆ ในสังคมอยา่ งเป็นธรรมและเทา่ เทียม นำไปส่กู ารลดความเหล่ือมล้ำ
72
รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจดั ทำเคร่อื งช้ีวดั และแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พ้ืนฐาน (จปฐ.) และขอ้ มลู พนื้ ฐาน
ระดบั หมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรับใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบบั ที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ของรายได้และหลุดพน้ จากปัญหาความยากจน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การมีสัมมาชีพ
เศรษฐกจิ เขม้ แข็ง และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
5) สภาพแวดลอ้ มและระบบนเิ วศสมดลุ การเข้าถงึ ปัจจัยพืน้ ฐานในการดำรงชีวิตที่มี
คณุ ภาพ อาศยั อยู่ในสงั คมทีด่ มี ีความปลอดภยั ในชีวติ และทรัพย์สิน มสี ง่ิ แวดล้อมท่มี ีคุณภาพ และมีระบบ
นเิ วศทสี่ มดลุ เกอ้ื กลู ตอ่ การดำรงชวี ติ ให้อย่ใู นสังคมอยา่ งมีความสุขและยั่งยืน แยกไดเ้ ป็น 3 องค์ประกอบ
ย่อยไดแ้ ก่ ความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ ส่ิงแวดล้อมมคี ุณภาพดี และระบบนเิ วศสมดลุ
6) สังคมประชาธิปไตยทีม่ ีธรรมาภิบาล คนมีศักดิ์ศรี มีสิทธิเสรีภาพ มีความสัมพันธ์
ตอ่ กันบนพ้นื ฐานของความยตุ ิธรรม ยอมรบั เคารพและปฏิบัตติ อ่ ผอู้ น่ื โดยคำนึงถงึ ความเทา่ เทยี มกนั และ
ร่วมกันบริหารจัดการประเทศกับภาครัฐเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลที่มีความโปร่งใส คุ้มค่า และเป็นธรรม
นำไปสู่สังคมสมานฉันท์ มีสันติสุขอย่างยั่งยืน สามารถอยู่ร่วมกับนานาอารยะประเทศได้อย่างเป็นมิตร
แยกได้เป็น 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การมีจิตสำนึกประชาธิปไตย สังคมที่มีธรรมาภิบาล และ
ความสมานฉนั ท์ทางสังคม
กรมการพัฒนาชุมชน (2562) ได้รายงานระดับความสุขเฉลี่ยของคนไทย พบว่า
ในภาพรวมทั้งประเทศ ครัวเรือน จำนวน 12,975,931 ครัวเรือน ครอบครัวมีความอบอุ่น จำนวน
12,944,492 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99.76 ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 31,439 ครัวเรือน คิดเป็น
รอ้ ยละ 0.24
เช่นเดยี วกับการจัดทำ "ดัชนชี ้วี ัดความอยู่เยน็ เป็นสุขร่วมกัน" (Green and Happiness
Society) ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554) กล่าวคือ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
มีเป้าประสงค์หลักเพื่อมุ่งสู่ "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงจำเป็นต้องพัฒนา "ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันใน
สังคมไทย" เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทย โดยวัตถุประสงค์การ
จดั ทำเพื่อพฒั นากรอบแนวคิดและจัดทำดชั นชี ้วี ดั บนพ้ืนฐานการมีสว่ นรว่ มของภาคีการพัฒนาท่ีเกี่ยวข้อง
ให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อใช้เปน็ เครื่องมือในการปรับเปลี่ยนวิธคี ิดและค่านิยมของคนไทยใหเ้ กิดคุณค่าใหมใ่ น
การนำไปปฏิบัติให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีความสุข และใช้บ่งชี้สถานะของประเทศและแนวโน้ม
การเปลี่ยนแปลง ติดตามประเมินผลการพัฒนา รวมทั้งสามารถนำไปใช้ปรับทิศทางการพัฒนาประเทศ
และกำหนดนโยบายสาธารณะให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ตลอดจนเพื่อวางแนว
ทางการพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่จำเป็นต่อการจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข ให้สามารถใช้
วิเคราะห์ วางแผนและรายงานผลได้อย่างรวดเรว็ มีประสทิ ธภิ าพ (สศช., 2554)
การพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย พัฒนามาจากแนวคิด
พื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) การปฏิบัติตาม "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" 2) การพัฒนาแบบ
บูรณาการเป็นองค์รวมทีย่ ึด "คนเป็นศูนย์กลางการพฒั นา" และ 3) "วิสัยทัศนป์ ระเทศไทย" ในแผนพัฒนาฯ
ฉบบั ท่ี 10 ซ่งึ ไดจ้ ากการระดมความคิดของประชาชนในทุกภาคสว่ น คือ มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่ "สังคม
อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) โดยมีหลักการในการพัฒนาว่า แนวคิด
"ความสุข" หรือ "ความอยู่เย็นเป็นสุข" เป็นค่านิยมร่วมของการดำรงชีวิตและการพัฒนาสังคมไทยตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งควรกำหนดจากปัจจัยร่วมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับร่วมกัน
โดยการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข เป็นการสะท้อนเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา และต้อง
73
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจดั ทำเคร่อื งชี้วดั และแบบสอบถามข้อมูลความจำเปน็ พื้นฐาน (จปฐ.) และขอ้ มลู พืน้ ฐาน
ระดบั หมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ช่วงแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
พิจารณาเชื่อมโยงให้สะท้อนถึงวิธีการต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายความอยู่เย็นเป็นสุขด้วย
โดยแบ่งดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับสังคมไทย 2) ระดับชุมชน และ
3) ระดับครอบครัว/บุคคล จากแนวคิดพื้นฐานและหลักการดังกล่าว ทำให้สามารถกำหนดความหมาย
ของ "ความอยู่เย็นเป็นสุข" ได้ว่า หมายถึง "ความพอใจในการดำเนินวิถีชีวิตของคนทั้งจิต กาย ปัญญา
ที่เชื่อมโยงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวมและสัมพันธ์กันได้ถูกต้องและดีงาม
มีดุลยภาพ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภายใต้ระบบบรหิ ารจัดการท่ีเป็นธรรม"
นอกจากนี้ ภารณี วัฒนา (2557) ไดว้ ิเคราะห์เปรียบเทียบดัชนวี ัดความอยู่เย็นเป็น
สุขร่วมกันในสังคมไทย ดัชนีความสุขมวลรวมประชาติ และดัชนีความอยู่ดีมีสุขของประเทศแคนาดา
พบข้อมลู น่าสนใจ ดังนี้
ประเดน็ เปรยี บเทยี บ ดชั นีความอยู่เยน็ ดชั นคี วามสขุ มวล ดัชนคี วามอยดู่ มี ีสุข
เป็นสขุ ร่วมกันใน รวมประชาชาติ ของประเทศแคนาดา
สงั คมไทย เนน้ การวัดความอย่ดู ี
แนวคิดในการพฒั นา เน้นการวดั ความอยู่เย็น เนน้ การวดั ความสขุ มีสขุ ซงึ่ ขยายออกไป
ดชั นี เป็นสุข ซึง่ ขยายออกไป ซ่งึ ขยายออกไปจาก จากการวดั เพยี ง
จากการวัดเพยี ง การวดั เพยี งความ ความเจรญิ เติบโต
ความเจรญิ เตบิ โต เจริญเตบิ โตทาง ทางด้านเศรษฐกจิ
ทางดา้ นเศรษฐกจิ ด้านเศรษฐกจิ ใชก้ ระบวนการ
กระบวนการจัดทำดชั นี จัดทำโดยภาครฐั จัดทำโดยภาครัฐ มีส่วนรว่ ม
โดยผา่ นกระบวนการ มอี งคป์ ระกอบเร่ือง
มีส่วนร่วม การใชเ้ วลา
องค์ประกอบของดัชนี ไม่มีองค์ประกอบเร่ือง มีองคป์ ระกอบเรื่อง ขอ้ มูลทุติยภมู ิ
การใช้เวลา การใช้เวลา ใช้ปฐี านในการคำนวณ
วิธกี ารจดั เกบ็ ข้อมูล ขอ้ มูลทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภมู ิ และรายงานเปน็
การคำนวณดัชนแี ละ ใช้ค่ามาตรฐานใน ใช้คา่ มาตรฐานใน คา่ เฉลีย่ ของร้อยละ
รายงานผล การคำนวณ และ การคำนวณ และ ทเ่ี พิ่มขนึ้ จากปฐี าน
รายงานเป็นค่าร้อยละ รายงานเป็นคา่ ร้อยละ
ท่แี บ่งเปน็ 5 ระดบั ของประชากรในแต่ละ ไมม่ หี นว่ ยงาน
ระดบั ความสุขท่ี รบั ผดิ ชอบเป็นรูปธรรม
แบ่งเป็น 4 ระดบั มกี ารปรบั ปรุงดชั นี
การนำดชั นีไปใช้งาน ไมม่ ีหนว่ ยงาน มหี นว่ ยงานรบั ผิดชอบ อย่างสมำ่ เสมอผ่าน
รับผิดชอบเปน็ รูปธรรม เปน็ รูปธรรม และระบุ กระบวนการมสี ว่ นร่วม
ในรัฐธรรมนญู
การปรับปรุงดชั นี มีการปรบั ปรุงดัชนเี ม่ือ ยงั ไมม่ กี ารปรับปรุง
เปลย่ี นแผนพฒั นา ดชั นีหลงั จากออก
ประเทศ โดยผ่าน รายงานการประเมนิ
กระบวนการมสี ่วนร่วม
74
รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจดั ทำเครอื่ งชี้วัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพ้นื ฐาน (จปฐ.) และขอ้ มลู พน้ื ฐาน
ระดบั หม่บู ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ชว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
2.3 หลักการและความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (เครื่องชี้วัด จปฐ.
ปี 2565 - 2569)
การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ประจำปี 2565 – 2569 เป็นภารกิจสำคัญ
ของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพฒั นาชมุ ชนดำเนินการจัดเกบ็ ข้อมลู ความจำเป็นพน้ื ฐานเปน็ ประจำ
ทุกปีและมีการปรับปรุงเครื่องชี้วัด ทุก 5 ปี ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสังกัด ตลอดจน
หนว่ ยงานอืน่ ๆ ท่ีเก่ยี วข้องได้นำขอ้ มูลไปใช้ประโยชนเ์ พ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนใหด้ ขี ้นึ
กรมการพฒั นาชุมชน กระทรวงมหาดไทย (2559) ได้กลา่ วถงึ หลกั การและความสำคัญของ
ขอ้ มูลความจำเปน็ พื้นฐานไว้ว่า ข้อมลู ความจำเป็นพ้ืนฐาน (จปฐ.) คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนท่ีแสดงถึง
สภาพความจำเป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐาน
ขั้นต่ำเอาไว้วา่ คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างไรในชว่ งระยะเวลาหนึ่ง ๆ ข้อมูลความจำเป็น
พื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของ
เครื่องชี้วัดว่าอย่างน้อยคนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ
และทำให้ประชาชนสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่าในขณะนี้คณุ ภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึง
หมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะตอ้ งแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามี
ส่วนรว่ มในการพัฒนาตนเอง ครอบครวั และสังคม อนั เปน็ นโยบายสำคญั ในการพฒั นาประเทศ
สำหรับหลักการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานเพื่อใช้เครือ่ งชีว้ ดั ความจำเป็นพื้นฐานเปน็
เครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน
ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองและหมู่บ้าน/ชุมชนว่าบรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐา นแล้ว
หรือไม่ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการความจำเป็นพื้นฐาน
นับตั้งแต่การ เพื่อกำหนดปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา ตลอดจน
การประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อ ใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานเป็นแนวทางในการคัดเลือก
โครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของหมู่บ้าน/ชุมชน สามารถใชท้ รัพยากร
ทีม่ อี ยอู่ ย่างจำกดั ไดอ้ ยา่ งทวั่ ถึงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง มกี ารประสานระหว่างสาขาในด้านการปฏิบัติ
มากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัว
ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานเป็น
เครอื่ งมือ
การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ประจำปี 2565 – 2569 ประกอบด้วย
5 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 สุขภาพ หมวดที่ 2 มาตรฐานความเป็นอยู่ หมวดที่ 3 การศึกษา หมวดที่ 4
เศรษฐกจิ หมวดท่ี 5 การคุม้ ครองทางสงั คมและการมีสว่ นร่วม
หมวดที่ 1 สขุ ภาพ
เนื่องจากสุขภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนามนุษย์นับตั้งแต่แรกเกิดจนชราภาพ การ
จัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานในหมวดสุขภาพจึงมีความสำคญั เพราะการมสี ุขภาพดีเป็นองค์ประกอบ
สำคัญในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ถ้าสุขภาพไม่แข็งแรง จะไม่สามารถประกอบอาชีพหรือทำกิจกรรม
อื่นใดเพื่อให้ชีวิตมีความสุขได้ ดังนั้นการพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็น
หมวดแรกในการพัฒนาคุณภาพชวี ติ ตามแนวคิดความจำเป็นพืน้ ฐาน
75
รายงานฉบับสมบรู ณ์โครงการจัดทำเคร่อื งชวี้ ดั และแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพ้นื ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพน้ื ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ด้านสุขภาพของประเทศไทย องค์การอนามัยโลก (2560) ได้
วเิ คราะห์ถึงความท้าทายด้านสขุ ภาพของประเทศไทย คอื โรคไม่ตดิ ตอ่ และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทาง
ถนน วาระสขุ ภาพแหง่ ชาติของประเทศไทยควรใหค้ วามสำคัญกับประเดน็ ปัญหาสขุ ภาพประชากรย้ายถ่ิน
หรือกระทั่งปัญหาที่ได้รับความสนใจในระดับโลก เช่น การดื้อยาต้านจุลชีพ การดูแลอย่างต่อเนื่องใน
โรควัณโรค มาลาเรีย การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากภาวะการเปลี่ยนแปลง
ของสภาพภมู อิ ากาศ และสขุ ภาวะของวยั ร่นุ กล่าวคือ
กลุ่มโรคไม่ติดต่อ นับเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสขุ ไทย การเสียชีวิตจากโรคไมต่ ิดต่อคิด
เปน็ ร้อยละ 71 ของการเสยี ชีวติ ของประชากรไทยกวา่ 501,000 ราย ในปี พ.ศ. 2557 และคาดการณ์
ว่าจะเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว (World Health Organization, 2014) ตัวเลขประมาณ
การการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อในสังคมไทยอยู่สูงถึง 2.8 แสนล้านบาทในปี
พ.ศ. 2556 การเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเพียงอย่างเดียวคิดเป็นร้อยละ 29 ในขณะที่
การเสยี ชวี ิตจากโรคติดต่อการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรและภาวะทุพโภชนาการรวมกัน คิดเป็นร้อยละ
18 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด ภาระโรคที่หนักที่สุดจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย ได้แก่
โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคหลอดเลือดสมอง
ซึ่งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและแนวคิดเรื่องการบริโภคนิยมนับเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคดังกล่าว
(Ministry of Public Health, 2011) สำหรับสาเหตุซึ่งเป็นปัจจัยด้านลบอื่น ๆ ได้แก่ การขาด
การควบคุมและป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพหรือการใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยและเป็น
อันตรายต่อสุขภาพ (เช่น ชาวนาใช้สารเคมีฆ่าแมลง เป็นต้น) ปัจจัยด้านพฤติกรรมทีเ่ กี่ยวข้องกับวิถชี ีวติ
สมัยใหม่และการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ เช่น การรับประทานอาหารแปรรูป อาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
การสูบบุหรี่ การบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ขาดการ
เคลื่อนไหวและกิจกรรมทางกาย ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลให้ความชุกของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้น
พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้เกิดโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง น้ำตาลในเลือด
สงู ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ซึง่ ล้วนแล้วแต่นำไปสโู่ รคไม่ตดิ ต่อทัง้ สิน้ (องค์การอนามัยโลก, 2560)
องค์การอนามัยโลก (2560) ยังวิเคราะห์ถึงการดื้อยาต้านจุลชีพ ( Antimicrobial
resistance - AMR) ได้เพิ่มสัดส่วนมากขึ้นจนถึงจุดวิกฤติทั่วโลก สำหรับประเทศไทยการประมาณ
การเบ้อื งต้น ในปี พ.ศ. 2553 พบว่าจำนวนวันท่รี ักษาตัวในโรงพยาบาล 3.24 ล้านวนั และมีผู้เสียชีวิต
จากการดื้อยากว่า 38,481 รายต่อปี นับเป็นค่าใช้จ่ายร้อยละ 0.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 มีเป้าหมายมุ่งลดอัตรา
การเจ็บป่วยและเสียชีวิต รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเชื้อดื้อยา แผนยุทธศาสตร์นี้ได้รับ
การรับรองจากคณะรัฐมนตรีในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559 โดยมีเป้าประสงค์ดังนี้ การเจ็บป่วยจากเช้ือ
ดื้อยาลดลงร้อยละ 50 การใช้ยาต้านจลุ ชีพสำหรบั มนุษย์และสัตว์ลดลงรอ้ ยละ 20 และ 30 ตามลำดับ
ประชาชนมคี วามรเู้ ร่ืองเช้ือด้อื ยาและตระหนกั ในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพ่ิมข้ึนร้อยละ 20
เช่นเดียวกับ ปัญหาความปลอดภัยทางถนนยังนับวา่ เป็นปัญหาสาธารณสุขทีส่ ำคัญอย่างย่งิ
ของประเทศไทย จากรายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลกในปี
พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการชนบนถนนสูงเป็นอันดับสองของโลก โดยมีอัตรา
การเสียชีวิตอยู่ที่ 36.2 รายต่อประชากร 100,000 รายต่อปี ซึ่งคำนวณเป็นความสูญเสียร้อยละ 3
76
รายงานฉบับสมบูรณโ์ ครงการจดั ทำเครื่องชว้ี ัดและแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเปน็ พ้นื ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพนื้ ฐาน
ระดบั หมู่บา้ น (กชช. 2ค) สำหรับใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ การเสียชีวิตที่กระจุกอยู่ในหมู่ผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยงเป็นเรื่องท่ี
นา่ ตกใจย่งิ เพราะสาเหตดุ งั กล่าวนับเป็นร้อยละ 83 ของการเสยี ชวี ิตจากการชนบนถนนทัง้ หมด เทยี บกับ
สถิติของโลกซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 49 เนื่องจากมีความตระหนักถึงปัญหานี้ในระดับโลก ความปลอดภัยทาง
ถนนจึงรวมอยู่ในเป้าหมายที่ 3.6 ของ SDGs ที่มุ่งลดจำนวนผูบ้ าดเจ็บและเสียชีวิตจากอบุ ตั ิเหตุบนถนน
ลงใหไ้ ด้ครง่ึ หน่ึงภายในปี พ.ศ. 2563 (องคก์ ารอนามัยโลก, 2560)
องค์การอนามัยโลก. (2560) วิเคราะห์ว่าอุบัติการณ์ของโรคมาลาเรีย โรควัณโรค เอชไอวี
ยังมีนัยสำคัญต่อสุขภาพคนไทย กล่าวคือ แม้ว่าอุบัติการณ์โรคมาลาเรียของประเทศไทยลดลงจาก 5.2
ตอ่ ประชากร 1,000 คน ในปี พ.ศ. 2533 เหลอื 1.36 ในปี พ.ศ. 2543 และ 0.17 ในปี พ.ศ. 2555
ในปี 2558 มจี ำนวนผปู้ ว่ ยโรคมาลาเรียเพียง 24,850 คน หรอื ลดลงประมาณร้อยละ 85 และมีอัตรา
การเจ็บปว่ ยอยู่ที่ 0.38 ต่อประชากร 1,000 คน อย่างไรก็ตาม ประชากรที่มีความเสี่ยงในประเทศไทย
มีประมาณ 17 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมด มีความพยายามเพ่ิมมากข้ึนเพื่อยับยง้ั
การดื้อยามาลาเรียหลายชนิดรวมทั้งการดื้อยากลุ่มอาร์ติมิซินิน (artemisinin) โดยจัดทำยุทธศาสตร์
การกำจดั โรคมาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2569 เพ่อื ใชร้ ่วมกับแผนปฏบิ ัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.
2560 - 2564)
ในขณะที่ อุบัติการณ์โรควัณโรค พบว่า ประเทศไทยเป็นหน่ึงใน 30 ประเทศทั่วโลกที่ยงั คง
มผี ูป้ ่วยวัณโรคอยู่ในประเทศจำนวนมากและสถานการณ์ได้ลดความรุนแรงลงอย่างช้า ๆ ประมาณการว่า
มีผู้ป่วยรายใหม่กว่า 176,000 รายต่อปี ห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านวัณโรคของประเทศไทย ได้รายงาน
ว่าผู้ป่วย 510 รายในปี พ.ศ. 2555 มีภาวะเชื้อวัณโรคดื้อต่อยา INH และrifampicin (MDR-TB)
อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกประมาณการว่ามีผู้ป่วยดื้อยาในประเทศไทยจำนวน 2,190 คนต่อปี
นอกจากนี้ ความเกี่ยวโยงระหว่างการระบาดของการติดเช้ือเอชไอวีและสถานการณ์วัณโรคยังคงเป็น
ประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมา มีการตรวจพบวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ประมาณร้อยละ 13
ซึ่งการจัดการการติดเชื้อร่วมดังกล่าว (HIV-TB co-infection) นับเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ไขและในปี
พ.ศ. 2558 มีการประมาณการว่ามีผู้ติดเช้ือเอชไอวีกว่า 440,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศไทย
ซึ่งในจำนวนน้ีเปน็ ผู้ป่วยเดก็ 4,100 คน และในเดือนมิถนุ ายน พ.ศ.2559 ประเทศไทยได้รับการรับรอง
การยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิสจากมารดาสู่ทารกจากองค์การอนามัยโลกนับเป็นประเทศที่
สองในโลกท่ไี ดร้ ับการรับรอง (องคก์ ารอนามยั โลก, 2560)
ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ อนามัยมารดา ทารกแรกเกิด เด็ก และวัยรุ่น มีรายงานจาก
Maternal Mortality Estimation Inter- Agency Group ที่ประมาณการว่าระหว่างปี พ.ศ. 2533
ถึง 2558 อัตราตายมารดาในประเทศไทยลดลงกว่าครึ่งหนึ่งจาก 40 รายเหลือ 20 ราย ต่อการเกิดมี
ชีพ 100,000 รายประเทศไทยยังประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการดำเนินงานตามแผนงาน
สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (EPI) และถือเป็นพันธกิจที่สำคัญที่จะต้องกำจัดโรคโปลิโอให้หมดไปภายในปี
พ.ศ. 2560 และโรคหัดในปี พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายของโรคที่ยังหลงเหลือใน
ชายแดนภาคใต้และในกลุ่มประชากรย้ายถิ่น อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไทยยังคงมีจำนวนสูงที่สุดใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันในจำนวนเด็กหญิง 1,000 ราย ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 19
มีมากกว่า 50 รายที่ได้ให้กำเนิดทารกในแต่ละปี มารดาวัยรุ่นกว่ารอ้ ยละ 80 รายงานว่าตนเองตั้งครรภ์
โดยไม่ได้ตั้งใจและเกือบหนึ่งในสามอาศัยการทำแท้ง ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ออก
77
รายงานฉบบั สมบูรณ์โครงการจดั ทำเครือ่ งชี้วดั และแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพน้ื ฐาน
ระดบั หมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
พระราชบญั ญัตกิ ารป้องกนั และแก้ไขปญั หาการตง้ั ครรภ์ในวยั รุ่น พ.ศ. 2559 โดยภายใต้ 23 มาตราน้ัน
ไดบ้ รรจเุ รอื่ งการจัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาในโรงเรยี นและการเข้าถึงการจัดบริการที่มีคุณภาพไว้
ดว้ ย (องค์การอนามยั โลก, 2560)
นอกจากนี้ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษที่มุ่งให้ประชาชนได้เข้าถึงน้ำดื่มและสุขอนามัย
ขั้นพื้นฐานนับว่าประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่าประเทศไทยจะยังไม่สามารถบรรลุ
เป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพน้ำดื่ม ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจนระหว่างเขตเมืองและเขตชนบท
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นด้านสาธารณสุขที่ประเทศไทยยังคงทำผลงานได้ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับประเทศ
อื่น ๆ ที่มีการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจระดับเดียวกัน ประเด็นเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของวาระ
สาธารณะที่จะต้องดำเนินการต่อไป ได้แก่ การป้องกันการขาดไอโอดีนโดยมาตรการเกลือเสริมไอโอดีน
ถ้วนหน้า รวมถงึ การพัฒนาอนามยั สง่ิ แวดลอ้ มและอาชีวอนามยั (องค์การอนามยั โลก, 2560)
ด้านนักวิชาการ วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI
ได้นำเสนอแนวโน้มทางสุขภาพของประเทศช่วงปี 2561 - 2563 ไว้ว่า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและ
ความเหลื่อมล้ำ ด้านเทคโนโลยี และด้านการเมืองและการปกครองส่งผลสำคัญต่อภาวะสุขภาพคนไทย
มากขนึ้ อยา่ งไรกต็ าม ขอ้ มลู แนวโน้มด้านสุขภาพที่พบ ไดแ้ ก่ อายุคาดเฉลยี่ ของคนไทยสงู ขนึ้ กว่าค่าเฉลี่ย
ของประชากรโลก โดยเม่อื ปี พ.ศ. 2558 อายคุ าดเฉล่ยี เม่อื แรกเกิดเท่ากับ 74.9 ปี และอายคุ าดเฉล่ียท่ี
มีสุขภาวะอยู่หรือ health adjusted life expectancy (HALE) เท่ากับ 66.8 ปี อัตราการตายในเด็ก
อายุต่ำกว่า 5 ปี เท่ากับ 12 คนต่อการเกิดมีชีพหนึ่งพันคน และการจมน้ำตายเป็นสาเหตุหลักของ
การตายที่ป้องกันได้ในเด็กวัยดังกล่าว โดยแนวโน้มลดลงเพียงเล็กน้อยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ความสญู เสียปีสุขภาวะของประชากรไทยปี 2557 เทา่ กับ 14.9 ลา้ นปี คำนวณเปน็ ความสญู เสียเท่ากับ
2.4 ล้านล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (noncommunicable
diseases) และอุบัติเหตุ ในปัจจุบัน คนวัยทำงานเป็นโรค NCDs เพิ่มมากขึ้น และพบในคนอายุน้อยลง
เปน็ ลำดับ โดยสัดสว่ นการตายก่อนวัยอันควรจากโรคติดต่อเร้ือรังสูงเกนิ ร้อยละ 50 (วิวฒั น์ โรจนพิทยากร,
2562)
หมวดที่ 2 มาตรฐานความเป็นอยู่
คุณภาพชีวิต คือ การดำรงชีวิตของมนุษย์ในระดับที่เหมาะสมตามความจำเป็นพื้นฐานใน
สังคมหนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ความจำเป็นพื้นฐานเกี่ยวข้องกับการดูแลตอบสนองความต้องการข้ัน
พน้ื ฐานของประชาชนทีจ่ ำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากกว่าการคำนงึ ถึงรายได้ในภาพรวม ถา้ ประชาชนได้รับ
บริการตามความจำเป็นพื้นฐานดีมากขึ้นจะช่วยยกระดับความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ดังน้ัน
ในการกล่าวถึงคุณภาพชวี ิตโดยทวั่ ไปมักจะกล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพชวี ิตประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้
มีโอกาสใชช้ ีวติ อยา่ งสะดวกสบายและประสบความสำเรจ็ ความหมายของการพัฒนาคณุ ภาพชวี ิตจึงมุ่งไป
ที่การพัฒนาเพื่อให้บุคคลสามารถใช้ชีวิตหรือมีชีวิตยืนยาวอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ องค์ประกอบของ
ความจำเป็นพ้ืนฐานที่เหมาะสมอย่างน้อยก็น่าจะมีอาหารที่เพียงพอ มีเครื่องนุ่งห่ม มีที่อยู่อาศัย
ที่เหมาะสม มีสุขภาพกายและจิตใจดี ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
รวมทั้งได้รับการบริการพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อประกอบการดำรงชีพอย่าง
ยตุ ธิ รรม ซ่ึงสอดคลอ้ งกบั ความหมายของ “ความอยูเ่ ยน็ เป็นสุข” ซ่งึ หมายถึง “สภาวะทคี่ นมีคณุ ภาพชีวิต
ที่ดี ดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพทั้งจิต กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่าง
78
รายงานฉบับสมบรู ณโ์ ครงการจัดทำเคร่อื งชวี้ ดั และแบบสอบถามขอ้ มูลความจำเป็นพนื้ ฐาน (จปฐ.) และขอ้ มลู พน้ื ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
เปน็ องค์รวมและสมั พนั ธก์ นั ไดถ้ กู ต้องดงี าม นำไปส่กู ารอยูร่ ่วมกันอยา่ งสันติระหว่างคนกบั คนและระหว่าง
คนกบั ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม” (สศช., 2554)
ความจำเป็นพื้นฐานนับเป็นแนวคิดที่เน้นการพัฒนาที่ตัวคนเป็นหลัก ในลักษณะของ
การปรับปรงุ คุณภาพชีวิตของประชาชนและการพฒั นาสังคม ซง่ึ แนวคดิ นีถ้ อื ว่าคนเปน็ ทรัพยากรท่ีสำคัญ
ที่สุดและเชื่อว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่อาจแก้หรือขจัดปัญหาความยากจนได้
เสมอไป มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่อาจได้สิ่งซึ่งตนต้องการเป็นพื้นฐาน ดัชนีบ่งชี้คุณภาพชีวิตของ
ประชากรที่ใช้กันมาก ได้แก่ ความยืนยาวของชีวิต สุขภาพพลานามัยที่ดี การศึกษา ความเสมอภาค
ทางเพศ รวมทั้งเสรีภาพทางสังคมและการเมือง เป็นต้น (คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยวัฒนธรรมและ
การพัฒนา, 2541)
ความจำเป็นพ้นื ฐานท่ีให้มคี ณุ ภาพชีวิตทด่ี สี ามารถแยกออกได้ เปน็ 2 ส่วน คอื
1) ส่วนที่จะเป็นระดับพื้นฐาน ประกอบด้วย (1) ปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พักอาศัย
และบริการด้านการแพทย์ (2) สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ ไม่พิการหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง (3) ชีวิตที่มั่งคง
ปลอดภัย เช่น มีงานทำ ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย มีฐานะทาง เศรษฐกิจและสภาพทางสังคมในระดับที่น่า
พอใจ ปลอดภัยจากภาวะสงคราม (4) มอี ิสระเสรตี ามสทิ ธมิ นษุ ยชน ไม่อย่ใู นสภาวะถกู จองจำ หรอื คุมขัง
สามารถ ใช้สิทธิเสรภี าพในขอบเขตแหง่ กฎหมายหรือประเพณขี องสังคมที่ตนเป็นสมาชกิ อยู่
2) ส่วนที่จำเป็นต่อการเพิ่มคุณภาพชีวิต ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ (1) สภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสมทั้งทางร่างกายและทางสังคม เช่น มีมลภาวะ (Pollution) น้อยท่ีสุด และใกล้ชิดธรรมชาติ
มากที่สุด อยู่ในสภาพที่สงบ สะดวก และยุติธรรม เอื้ออำนวยแก่พัฒนาตนเอง (2) คุณสมบัติส่วนบุคคล
ทเี่ หมาะสมซึ่งจะทำใหบ้ ุคคลนัน้ สามารถยกระดับ คุณภาพชีวิตของตนเองไดเ้ ชน่ การมจี ดุ มุ่งหมายในชีวิต
ความสามารถในการตัดสินใจอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม ความมานะพยายาม ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ
ตนเองและสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่ ซึ่งจะช่วยให้บุคคลนั้นสามารถปรับตวั ได้ดีและกลมกลืนกับสิ่งท่ี
อยู่รอบตัว (3) คุณสมบัติที่ส่งเสริมอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี เช่น ความมักน้อย รู้จักประหยัด ซึ่งจะทำให้
บุคคลน้นั ไม่คดิ เบียดเบียนหรือเอาเปรยี บคนอื่น การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีวินยั ในตนเอง มีคุณธรรม
และจริยธรรมที่สังคมยอมรับ (เย็นใจ เลาหวณิช, 2523) ด้วยเหตุนี้ การจัดเก็บข้อมูลในหมวดที่ว่าด้วย
มาตรฐานความเป็นอยู่จึงมีความสำคัญเพื่อแสดงถึงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ไ ด้กำหนด
มาตรฐานว่าคนควรจะมคี ุณภาพชวี ติ ในแตล่ ะเรือ่ งอยา่ งไรในชว่ งระยะเวลาหนึง่ ๆ
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตคนไทย พบว่า ปัญหามลพิษที่กำลัง
ส่งผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติเป็นอันดับ
ตน้ ๆ มี 3 ประการ (สศช., 2564) ดงั นี้
1) ปัญหาขยะ การขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและรูปแบบการใช้ชวี ิตของประชากร
ที่ปรับเปลี่ยนไปส่งผลให้ปริมาณขยะในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณขยะในช่วง 10 ปี
ทผี่ า่ นมา (ปี 2553-2562) เพิม่ ขน้ึ เฉล่ยี รอ้ ยละ 2 ต่อปี แมว้ า่ ทผ่ี า่ นมาประเทศไทยจะมรี ะบบการกำจัด
ขยะที่ถกู วิธีมีศกั ยภาพสงู ตลอดจนนำขยะไปหมุนเวียนใช้ใหม่เป็นสัดสว่ นท่ีเพ่ิมข้ึนก็ตาม แต่ปริมาณขยะ
ชุมชนประมาณร้อยละ 22 หรือ 6.4 ล้านตัน ในปี 2562 ยังคงตกค้างไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม
ซึ่งขยะส่วนนี้จะกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพแหล่งน้ำและสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญ
ของการมีขยะตกค้างเป็นปริมาณมากในประเทศ มีสาเหตุมาจากระบบการจัดการขยะที่มีอยู่ขาด
79
รายงานฉบับสมบรู ณ์โครงการจดั ทำเคร่ืองชีว้ ัดและแบบสอบถามข้อมลู ความจำเปน็ พนื้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พน้ื ฐาน
ระดบั หมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ศักยภาพไม่สามารถรองรับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและ
สงั คมของประเทศท่เี พ่ิมสงู ข้ึนได้ ประกอบกบั การขาดการคัดแยกขยะต้ังแตต่ ้นทางจงึ ทำให้การนำขยะไป
ใชป้ ระโยชนซ์ ้ำไม่สามารถดำเนนิ การไดอ้ ยา่ งเต็มรูปแบบ
2) มลพิษทางอากาศ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่คงเหลือจาก
กระบวนการเผาไหม้ของยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และการปล่อยก๊าซเสียใน
ภาคอุตสาหกรรม เป็นมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นและมีปริมาณเกินค่ามาตรฐานเป็นประจำทุกปี
โดยเฉพาะในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมและเมืองใหญ่ที่มีประชากรและการจราจรหนาแน่น เช่น สระบุรี
กรุงเทพ และเชียงใหม่ เป็นต้น ทั้งนี้ ด้วยขนาดอนุภาคที่เล็กมาก ทำให้ PM2.5 สามารถแพร่กระจาย
เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมปอดและกระแสเลือดได้โดยตรง และมีโอกาสที่จะสร้างผลกระทบ
ร้ายแรงก่อให้เกิดโรคที่ส่งผลในระยะยาวต่อสุขภาพ อาทิ ปอดอักเสบ มะเร็งปอด และหัวใจขาดเลือด
ซงึ่ เปน็ ท่มี าของการเสยี ชีวิตก่อนวัยอนั ควร
3) มลพษิ ทางนำ้ การระบายนำ้ เสยี ที่ไม่ไดร้ ับการบำบัดที่ได้มาตรฐานลงสู่แหลง่ น้ำและทะเล
โดยตรงเป็นสาเหตุสำคัญของความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของ
ประชาชน ทั้งนี้ ระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนในปัจจุบันยังมีจำนวนและศักยภาพไม่เพียงพอที่จะรองรับ
ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น โดยปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้องมีปริมาณสูงถึง 1.7
ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของปริมาณน้ำเสียชุมชนที่เกิดขึ้นทั้งหมด ใน
ขณะเดียวกันแนวโน้มการขยายตัวของเมืองยังทำให้ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีแนวโน้มเพ่ิม
สงู ข้นึ
4) สถานการณด์ า้ นทรัพยากรน้ำ ในช่วงทผ่ี ่านมาประเทศไทยไดม้ ีการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งแหล่งน้ำต้นทุนที่เป็นแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน แต่ยังพบว่าปริมาณ
ความต้องการใช้น้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำตามธรรมชาติ รวมถึง
การเปลี่ยนแปลงของฝนที่ทำให้แหล่งน้ำต้นทุนหลายแห่งมปี ริมาณน้ำทีเ่ กบ็ กักได้ลดลงจากในอดตี ส่งผล
ให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำยังคงเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีและเป็นความท้าทายที่สำคัญของการบริหาร
จัดการนำ้ ของประเทศตงั้ แต่อดีตจนถงึ ปจั จุบนั (สศช., 2564)
ในขณะเดียวกัน สถานการณ์สังคมไทยในปี 2563 พบว่า ครัวเรือนประเทศไทยยังประสบ
ปัญหาทสี่ ่งผลต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ ไดแ้ ก่ สถานการณอ์ ุทกภัยไดส้ รา้ งความเสียหายต่อครวั เรือนและ
พน้ื ทีท่ างการเกษตรอย่างต่อเน่ืองตั้งแตช่ ว่ งตน้ ไตรมาสสี่ ปจั จบุ นั มี 35 จงั หวัด ทีไ่ ด้รับผลกระทบจากน้ำ
ทว่ มโดยเฉพาะภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีพ้นื ที่การเกษตรเสียหายแลว้ กว่า 1.99 แสนไร่
ปัญหาการว่างงาน จากการว่างงานและการลดชั่วโมงการทำงานอย่างต่อเนื่องทำให้แรงงานได้รับรายได้
ลดลงและอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงคุณภาพชีวิตของแรงงาน ความสามารถในการชำระหน้ี
และปัญหาความยากจน และที่สำคัญคือผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ยังมี
ความไม่แน่นอนของการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่และผลกระทบต่อเศรษฐกิจการระบาด
ระลอกใหมจ่ ะสง่ ผลกระทบต่อผปู้ ระกอบการที่ยังไม่ฟื้นตวั จากผลกระทบในคร้งั แรก โดยมคี วามเส่ียงจาก
การปรบั ลดตำแหนง่ งานลงรวมท้ังการเปล่ียนรปู แบบการจ้างงานโดยเฉพาะแรงงานในสถานประกอบการ
ขนาดเล็กสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ค้าปลีกและค้าส่ง ขณะที่ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะมีรายได้ลดลงจาก
การชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชน ท้ังนี้ หากยงั ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ รวมท้ัง
80
รายงานฉบบั สมบูรณโ์ ครงการจดั ทำเครอ่ื งชี้วัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพืน้ ฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพ้นื ฐาน
ระดับหมู่บา้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
มีความล่าช้าในการได้รับวัคซีนและกระจายให้กับประชาชน แรงงานอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงและ
ยาวนานขึ้น มีผลให้รายได้ลดลงและกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน ตลอดจนสถานการณ์ภัยแล้ง
จากปริมาณน้ำในเขื่อนที่มีปริมาณลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนในปี 2564
มนี อ้ ย ปริมาณน้ำท่ใี ช้การไดใ้ นอา่ งเก็บน้ำขนาดใหญ่ ณ วนั ที่ 14 กุมภาพนั ธ์ 2564 มปี รมิ าณ 16,151
ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีน้อยกว่าปี 2563 ถึง 1,176 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงอาจเกิดภาวะขาดแคลนน้ำ
ในฤดูแล้ง กระทบตอ่ การเพาะปลูกของเกษตรกรโดยเฉพาะในกลุ่มพืชท่ใี ชน้ ้ำมาก (สศช., 2563)
หมวดที่ 3 การศกึ ษา
เนื่องจากการศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจัดเก็บข้อมูล
ความจำเป็นพื้นฐานในหมวดการศึกษาจึงมีความสำคัญเพราะเป็นรากฐานในการพัฒนาคน พัฒนาทักษะ
แรงงานที่สะท้อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายด้านการศึกษาได้รับการพัฒนาและ
มคี วามกา้ วหน้ามาโดยตลอด แตส่ ถานการณ์ดา้ นการศึกษาของคนไทยยงั มคี วามทา้ ทายอยู่มาก
เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ด้านการศึกษา พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กและเยาวชน
ที่อยู่ในวัยเรียนจำนวนหนึ่งยังขาดโอกาสทางการศึกษา จากข้อมูลของกสศ. (มติชนออนไลน์ , 2563)
พบว่า ประเทศไทยยังมีสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีนักเรียนยากจนด้อยโอกาสกว่า 2.1
ล้านคน มีเด็กนอกระบบ (6-14 ปี) 4.3 แสนคน มีเด็กและเยาวชนพิการ 62.58% ในขณะที่คุณภาพ
โรงเรียนในชนบทล้าหลังเมื่อเทียบกับโรงเรยี นในเมือง และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 หากอ้างอิงจากรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนยากจนพิเศษ ในปีที่ผ่านมา
พบว่าจำนวนนักเรียนยากจนพิเศษเพิ่มขึ้นถึง 300,000 คน ที่เสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษา
เด็กยากจนเหล่านี้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเฉลี่ยเพียง 5% ต่อรุ่น โดยช่องว่างการเข้าถึง
การศึกษาระหว่างคนรายได้น้อยกับปานกลางห่างกันถึง 20 เท่า ด้านสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่ง
การเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เปิดเผยว่าแม้กฎหมายประเทศไทยระบุว่าเด็กทุกคนมีสิทธิได้รับ
การศึกษาข้ันพนื้ ฐาน 12 ปี อยา่ งถ้วนหน้า แตใ่ นความเป็นจริงแค่การศึกษาภาคบงั คับ 9 ปี (ม.3) พบว่า
มีเยาวชนหลุดจากระบบการศึกษา ปญั หาเดก็ นอกระบบการศึกษามสี าเหตุสำคัญคือความยากจน ปัญหา
ครอบครัว ปัญหาในการปรับตัวของนักเรียน ปัญหานักเรียนต้องคดี ปัญหาการเจ็บป่วยหรือได้รับ
อุบัติเหตุ รวมถึงย้ายภูมิลำเนาการอพยพเพื่อติดตามผู้ปกครองและการหาเลี้ยงครอบครัว ดังนั้น จึงต้อง
อาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศในด้าน
การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเด็กนอกระบบการศึกษา (สสค., 2559) โดยเฉพาะ
เมื่อต้องเผชิญกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 21 ไมว่ ่าจะเป็นความก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีสารสนเทศ การแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ในเวทีโลก และภัยคุกคามจากการ
เข้าสู่สังคมผ้สู ูงอายุ
ด้วยเหตุนี้ การจดั การศึกษาของประเทศไทยจงึ ต้องเนน้ การพัฒนาในเชิงคุณภาพให้สามารถ
สนองตอบความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาคุณภาพคนให้
สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ (area based) และความต้องการของตลาดแรงงานที่มีความซับซ้อน
หลากหลายมากขน้ึ ในชว่ งปี พ.ศ. 2560 - 2561 ประเทศไทยมกี ารเปลีย่ นแปลงดา้ นการศึกษาทั้งด้าน
กฎหมาย กลไก และนวัตกรรมการศึกษาหลายประการ อาทิ การยก (ร่าง) พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. … การจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา การประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติระยะ
81
รายงานฉบับสมบรู ณ์โครงการจดั ทำเครือ่ งชว้ี ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพน้ื ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐาน
ระดบั หมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรับใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) และมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 เป็นต้น (มติชนออนไลน์,
2563)
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้า จุดอ่อน และประเด็นที่ต้องให้
ความสำคัญในการจัดการศึกษาของไทยเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคือการศึกษาที่ยั่งยืน (SDG4) (เทวธิดา
ขันคามโภชก์ และคณะ, 2562) พบว่า มีแนวโน้มสถานการณ์เกี่ยวกับการศึกษาไทยที่น่าสังเกต ดังน้ี
ประการแรก คือ แนวโน้มการเข้าถึงการศึกษาดีขึ้น โดยภาพรวมพบว่าสัดส่วนของเด็กที่ไม่อยู่ในระบบ
การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาปฐมวัยอยู่ในระดับที่ต่ำมาก นักเรียนอยู่ในระบบการศึกษายาวขึ้น
สะท้อนจากอัตราการเข้าเรียนในระดับมัธยมปลายและ ปวช. จำนวนปีการศึกษาเฉล่ียของประชากรอายุ
15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากมาตรการสนับสนุน เช่น โครงการเรียนฟรี 15 ปี กองทุนเงินให้กู้ยืม
เพือ่ การศกึ ษา (กยศ.) การจัดการศกึ ษาสำหรับผู้อยู่นอกระบบโรงเรียน อยา่ งไรกต็ ามยังมีความเหลื่อมล้ำ
ในการเขา้ ถงึ การศึกษาโดยเฉพาะเดก็ และเยาวชนที่อยู่ในครอบครวั ยากจน พบวา่ ในปี 2562 มีนกั เรียน
ที่ผ่านการคัดกรองเพื่อรับเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนจาก สพฐ. และเงินอุดหนุนแ บบมี
เงื่อนไขของ กสศ. ประมาณ 2.6 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีเด็กและเยาวชนพิการ ไม่ปรากฏสัญชาติและ
อยู่ในพ้ืนทีห่ า่ งไกลท่ีเข้าไม่ถึงบริการการศึกษาทุกระดับด้วยเหตุปจั จัยแตกต่างกนั ไปอีกดว้ ย ความเหลื่อม
ล้ำมีผลต่อการศึกษา เมื่อพิจารณาจากระดับคะแนนเฉลี่ย O-NET เด็กไทยมีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 50
หรือระดับคะแนนเฉลี่ย PISA และ TIMSS ที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างชัดเจน ผลประเมิน PISA
2018 พบว่า นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยในด้านการอ่าน 393 คะแนน คณิตศาสตร์ 419 คะแนน
วิทยาศาสตร์ 426 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ทุกด้าน ผลการทดสอบนี้สะท้อนให้เห็นถึง
ความเหลื่อมล้ำในเชิงคุณภาพ กล่าวคือ นักเรียนที่มีสถานะได้เปรียบทางเศรษฐกิจและสังคม
มีผลการทดสอบในทุกวิชาดีกว่านักเรียนที่เสียเปรียบ อีกทั้งมีความไม่เท่าเทียมในการจัดการศึกษา
เมอ่ื พิจารณาจากความพรอ้ ม/ไม่พร้อม ดา้ นครูและเครื่องมือสำหรับจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป
ในแต่ละโรงเรยี น
ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาของแต่ละพื้นที่ยังคงปรากฏ เมื่อพิจารณาจากอัตรา
การเข้าเรียนรวมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา คะแนนเฉลี่ยการทดสอบ O-NET มัธยมศึกษา
ตอนปลาย ค่าเฉลี่ยระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็กนักเรียนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า 5 จังหวัด
ที่มีความก้าวหน้าด้านการศึกษาน้อยที่สุด คือ นราธิวาส ปัตตานี แม่ฮ่องสอน หนองบัวลำภู และตาก
ขณะที่ 5 จังหวัด ที่มีความก้าวหน้าด้านการศึกษามากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นนทบุรี
นครปฐม และภูเก็ต นำไปสู่ข้อเสนอที่ต้องให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพการศึกษาและ
ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างพื้นที่ โดยปรับระบบบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กให้มีการใช้
ทรัพยากรร่วมกัน พัฒนาระบบประเมินคุณภาพสถานศึกษาที่ยึดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นหลัก รวมทั้ง
ให้การช่วยเหลืออุดหนุนและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล เพื่อเพิ่มอัตรา
การเข้าเรยี นต่อระดับมัธยมปลายและอาชวี ศึกษา ในอนาคต ความรู้จะมีอายสุ ั้นลง เปลี่ยนไว ไม่แน่นอน
ซับซ้อน และคลุมเครือ การจัดการศึกษาจึงต้องสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ผู้เรียนมีทง้ั
ความรู้พื้นฐาน (knowledge) เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ทัศนคติ/อุปนิสัย (attitude) เช่น
การใฝ่หาความรู้ ความ อดทน ความรับผิดชอบ ฯลฯ และทักษะ (skill) ในด้านความคิดสร้างสรรค์
ความเป็นนวัตกร ความคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะส่ือสารและทำงานเป็นทมี ทีจ่ ะช่วยให้ผเู้ รียนสามารถปรับตัว
82
รายงานฉบบั สมบูรณโ์ ครงการจัดทำเคร่อื งชวี้ ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเป็นพนื้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพนื้ ฐาน
ระดบั หม่บู ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
เข้ากับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การศึกษาทั่วโลก (Global Education
Monitoring Report: GEM) ภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโกที่เสนอให้ประเทศต่าง ๆ ไม่หยุด
เพียงแค่การทำให้เด็กและเยาวชนวัยเรียนเข้าสู่ระบบการศกึ ษาเท่าน้ัน แต่ต้องไปให้ถงึ ผลลพั ธ์การเรียนรู้
และการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศด้วย ขณะเดียวกัน
หนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญของ SDG4 คือ การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
เชน่ เรือ่ งสทิ ธมิ นุษยชน ความเทา่ เทยี มทางเพศ สันตศิ กึ ษา ความเปน็ พลเมืองโลก เปน็ ตน้ คณะทำงานฯ
ได้เสนอให้มีการบรรจุสาระการเรียนรู้ในประเด็นสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนา
ท่ีย่ังยืนไว้ในหลกั สตู รการศึกษาระดับต่าง ๆ ดว้ ย เป้าหมายการพฒั นาท่ีย่ังยืน (Sustainable Development
Goals: SDGs) เป็นวาระการพัฒนาระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2559 - 2573) ที่มีเป้าหมายหลัก 17 ข้อ
สำหรับด้านการศึกษานั้น กำหนดเป็นเป้าหมาย SDG4: Quality Education สร้างหลักประกันว่าทุกคน
มีการศึกษาทีม่ ีคณุ ภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทยี ม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรตู้ ลอดชีวิต
ขณะเดยี วกัน รายงานของ สศช. (2564) ยงั พบว่า แรงงานไทยสว่ นมากยังมีระดับการศึกษาต่ำ
แรงงานถึงร้อยละ 42.1 ไม่มีการศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาไม่เกินระดับประถมศึกษา ขณะที่อีกร้อยละ
34.5 สำเร็จการศึกษาเพียงระดับมัธยมศึกษาและมีแรงงานสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพียงร้อยละ
22.567 นำมาซึ่งปัญหาการขาดแคลนทักษะแรงงานที่สอดคล้องกับภาคการผลิตเป้าหมายและบริบท
การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน โดยเมื่อพิจารณาจากดัชนีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก
(Global Competitiveness Index: GCI) ของWorld Economic Forum (WEF) ในส่วนของตัวชี้วัด
ด้านทักษะ พบว่า อันดับความสามารถปรับตัวลดลงจากอันดับท่ี 66 ในปี 2561 - 2562 เป็นอันดับ
ที่ 73 จาก 141 ประเทศทั่วโลก หรืออันดับที6่ ของภูมิภาคอาเซียน ในปี 2562 - 2563 อีกทั้ง ยังมี
เด็กและเยาวชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้เรียนหรือไม่ได้ทำงานใด ๆ ซึ่งแนวโน้มของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ได้
เพม่ิ สงู ขนึ้
จากการวิเคราะห์ดังกล่าว สศช. (2564) เห็นว่าสังคมไทยยังมีความเสี่ยงด้านความเหลือ่ ม
ล้ำทางการศึกษาและการพัฒนาทักษะ จากความไม่พร้อมทางเทคโนโลยีและความแตกต่างระหวา่ งพืน้ ที่
แม้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะมีคุณูปการยิ่ง แต่อาจมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลให้ปัญหา
ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษาและการพัฒนาทักษะที่มีอยู่แต่เดิมปรากฏให้เห็นชัดเจน
มากยิ่งขึ้น อันเป็นผลมาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital Divide) ระหว่างกลุ่มคนที่มีและ
กลุ่มคนที่ขาดความพร้อมทางด้านทักษะและเครื่องมืออุปกรณ์ดิจิทัล เช่นเดียวกับแนวโน้มการขยายตัว
ของความเป็นเมือง ซึ่งอาจส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ระหว่างเขตเมืองและชนบททวีความรุนแรง
มากยิ่งขึ้น เนื่องจากความแตกต่างของระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการสาธารณะ
ดงั ท่ปี รากฏให้เห็นในชว่ งสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคโควิด-19 ซง่ึ มนี ักเรยี นในชนบทจำนวนมาก
ท่ีขาดความพร้อมและไมส่ ามารถเขา้ ถึงการเรยี นการสอนแบบออนไลนไ์ ด้
หมวดที่ 4 เศรษฐกิจ
เมื่อพิจารณาจากสถานการณด์ า้ นเศรษฐกิจในมติ ิของแรงงานในประเทศและการสร้างรายได้
จะพบว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี 2548 (มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด) โดยในปี 2563 มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุรวม 11,136,059 คน
คิดเป็นร้อยละ 16.73 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนือ่ ง และภายในปี 2566 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาฯ
83
รายงานฉบับสมบรู ณ์โครงการจัดทำเครื่องชวี้ ัดและแบบสอบถามข้อมูลความจำเปน็ พืน้ ฐาน (จปฐ.) และขอ้ มูลพนื้ ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ่วงแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ฉบับที่ 13 (สศช., 2562) คาดว่าจะมีประชากรสูงวัย สูงถึงประมาณร้อยละ 20.1 ของประชากร
ทั้งหมด สวนทางกับประชากรวัยเรียนและวัยแรงงานที่มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะประชากรวัยเรียน
(อายุ 3 – 21 ปี) ซึ่งคาดวา่ จะมีสัดสว่ นลดลงเหลือรอ้ ยละ 21.81 ในปี 2566 และลดลงอย่างต่อเน่อื ง
จนเหลอื เพียงร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งหมดในปี 2570 หรอื มีจำนวนลดลงมากกว่า 715,000
คน ในช่วงระยะเวลาของแผนพฒั นาฯ ฉบบั ที่ 13 ในขณะเดียวกัน ความกา้ วหน้าทางเทคโนโลยี ได้ส่งผล
ให้ความต้องการทักษะแรงงานเปลี่ยนแปลงไป โดยทักษะที่มีแนวโน้มความต้องการมากยิ่งขึ้น ได้แก่
ทักษะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สถานการณ์ตลาดแรงงานใน
ประเทศจึงยังมีความทา้ ทายมากยิ่งข้ึนเมื่อพิจารณาถึงแนวโนม้ การใช้ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมตั ิ
ซึ่งจะเข้ามาทดแทนแรงงาน โดยเฉพาะงานที่มีลักษณะการทำซ้ำเป็นแบบแผนซึ่งเป็นลักษณะงาน
ส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม มีการคาดการณ์ว่าแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของไทยจำนวน 3 ล้านคน
หรือประมาณร้อยละ 55 มคี วามเสี่ยงสูงที่จะถกู แทนที่ด้วยเทคโนโลยีภายในระยะ 10 – 20 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้แรงงานที่ถูกเลิกจ้างบางส่วนอาจผันตัวไปเป็นแรงงานนอกระบบเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไป
(สศช., 2564)
จากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคโควดิ -19 ตั้งแต่ชว่ งตน้ ปี 2563 เปน็ ตน้ มาส่งผลทำ
ให้เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง รวมถึงการว่างงานและเคลื่อนย้ายไปทำงานนอกระบบมากขึ้น ยังเป็น
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรจากการมีรายได้ระดับสุขภาวะและโอกาสใน
การเข้าถึงการศึกษาที่ลดลง ซึ่งจะกระทบต่อระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวม อีกทั้งการหด
ตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานในเขตเมืองยังส่งผลให้เกิดแนวโน้มแรงงานคืนถิ่นหรือ
การเคลื่อนย้ายกลับไปทำงานในภูมิลำเนาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและกระจาย
ความเจริญไปสู่ระดับพน้ื ทเี่ พ่ือดูดซบั แรงงานคืนถนิ่ ทวคี วามสำคญั มากยงิ่ ขึน้ (สศช., 2564)
สถานการณ์ความยากจนของประเทศไทย สศช. (2564) วิเคราะห์ว่าแม้ในภาพรวมมี
แนวโน้มดีขึ้นตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยสัดส่วนคนจนลดลงอยา่ งต่อเน่ืองจากร้อยละ 65.2 ในปี
2531 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.2 หรือประมาณ 4.3 ล้านคน ในปี 2562 จนสามารถบรรลุเป้าหมายของ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ซึ่งตั้งเป้าให้สัดส่วนคนจนลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 6.5 โดยสัดส่วนคนจนท่ี
ลดลงเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจและมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐ อย่างไร
ก็ตาม แม้ว่าสถิติตัวเลขความยากจนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จะสะท้อนว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จ
ในการแก้ปัญหาความยากจน แต่การติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความยากจนส่วนใหญ่ที่ผ่านมา
มักใช้การวิเคราะห์เชิงสถิติ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านข้อมูลพื้นที่ระดับประเทศในระยะยาวตัวเลขสดั ส่วน
ความยากจนจึงเป็นค่าเฉลี่ยในภาพรวม ไม่สามารถอธิบายพลวัตของความยากจนได้ว่าคนจน/ครัวเรือน
ยากจนที่ต้องการความช่วยเหลือที่สุด ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนา สามารถหลุดพ้น
ความยากจนได้หรือไม่โดยมีการคาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะส่งผลให้ความยากจน
เพิ่มสูงขึ้นมากในปี 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2564 เนื่องจากผลกระทบด้านรายได้และการว่างงาน ใน
ขณะเดยี วกันการเปล่ียนแปลงโครงสรา้ งประชากรเข้าสสู่ งั คมสงู วยั จะส่งผลให้อัตราการพ่ึงพงิ ในครัวเรือน
(จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้สูงอายุต่อวัยแรงงาน) โดยเฉพาะครัวเรือนยากจนซึ่งมีอัตรา
การพงึ่ พิงสงู ถงึ ร้อยละ 98.6 อยแู่ ล้วยิง่ เพิม่ สงู ขนึ้ อกี คนจนในวัยแรงงานจึงตอ้ งรบั ภาระการดูแลผู้สงู อายุ
มากขน้ึ และมีโอกาสน้อยลงในการหลดุ พน้ จากกบั ดักความยากจน เช่นเดยี วกันกบั การเปลยี่ นแปลงสภาพ
84
รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจัดทำเครอ่ื งช้ีวดั และแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พ้นื ฐาน (จปฐ.) และข้อมลู พืน้ ฐาน
ระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) สำหรบั ใชช้ ว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ภูมิอากาศ ซึ่งอาจส่งผลให้ความยากจนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนจนส่วนใหญ่เป็นแรงงานสูงอายุในภาค
การเกษตรที่มีรายได้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าเกษตรเป็นหลัก รวมถึงการเปล่ียนแปลงทางเทคโนโลยีอย่าง
พลิกผันซง่ึ จะทำให้คนจนที่ไมส่ ามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีทีจ่ ำเป็น และไม่มีทักษะความรู้ที่
เพียงพอและเหมาะสมสำหรับการทำงานในรูปแบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป มีโอกาสน้อยลงในการขยับ
สถานะใหพ้ น้ จากกบั ดักความยากจนจนกระทง่ั เกิดการส่งต่อความยากจนไปสู่รุน่ ลูกหลานและเพิ่มปัญหา
ความเหลื่อมล้ำในที่สุด สอดคล้องกับข้อมูลแนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนที่คาดว่าหนี้ครัวเรือนจะ
เพิ่มขึ้น ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนด้อยลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ท่ีกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้ล่าช้าออกไปและ
เพิ่มความเสี่ยงทางการเงินต่อครัวเรือนโดยเฉพาะครัวเรือนที่มีปัญหาสภาพคล่องและยังต้องพึ่งพา
ความช่วยเหลอื จากมาตรการช่วยเหลอื ลกู หน้ีตา่ ง ๆ ดังกลา่ วมา จากการวเิ คราะหข์ อง สศช. ประเทศไทย
จึงยังคงเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะในส่วนของความเหลื่อมล้ำด้าน
รายได้ โดยรายได้เฉลี่ยของประชากรที่มฐี านะทางเศรษฐกิจตำ่ สดุ กับกลุ่มท่ีมีฐานะดีที่สุดยังคงห่างกันถึง
เกอื บ 16 เท่า
หมวดท่ี 5 การคุ้มครองทางสงั คมและการมสี ว่ นร่วม
ในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายภาครัฐที่ผ่านมาล้วนให้ความสำคัญกับประเด็น
การคุ้มครองทางสังคมและการมีส่วนร่วม การสร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับ
คนทุกช่วงวัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสและ
ความเสมอภาคในสังคม โดยที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายความ
คุ้มครองทางสังคมให้ประชากรไทยในหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม สำนักงานสภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2564) ได้วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการคุ้มครองทางสังคมว่าแม้ประเทศ
ไทยจะมีความคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมคนทุกช่วงวัย เช่น เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด หลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า และเบี้ยยังชีพผูส้ ูงอายุ แต่สิทธิประโยชน์ของความคุ้มครองทางสงั คมหลายประเภทยงั
อยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอต่อความจำเป็นและความต้องการของบางกลุ่มเป้าหมายและไม่สามารถ
ยกระดับคุณภาพชวี ิตของผู้รับได้ ในขณะเดียวกัน ระบบความคุ้มครองทางสังคมในภาพรวมยังมีลักษณะ
แยกส่วนขาดการบรู ณาการตงั้ แตร่ ะดับนโยบาย ฐานข้อมลู ระดับปฏบิ ตั ิจนถงึ กลไกการติดตามประเมินผล
เนื่องจากบริหารจัดการโดยหลากหลายหน่วยงานที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนและซ้ำซ้อน
ในบางสิทธิประโยชน์/กลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมสูงวัย
ยังนำไปสู่ความท้าทายด้านความยั่งยืนทางการคลังในการจัดความคุ้มครองทางสังคมจากภาระทาง
การคลังในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในด้านการสร้างความมั่นคงดา้ นรายได้และด้านสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น และ
ความสามารถในการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐที่มีจำกัด เนื่องจากฐานการจัดเก็บภาษีแคบและสัดส่วน
ประชากรวัยแรงงานที่มีแนวโน้มลดลง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และแนวโน้ม
การเกิดวิกฤตและภัยพิบัติที่บ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการและเน้นย้ำถึงความ
จำเป็นในการพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมให้เพียงพอ ครอบคลุม และยั่งยืนเพื่อรองรับและ
จัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะสำหรับคนจน ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเปราะบาง รวมถึงแรงงาน
นอกระบบ
85
รายงานฉบบั สมบูรณ์โครงการจดั ทำเคร่อื งช้ีวัดและแบบสอบถามข้อมลู ความจำเปน็ พนื้ ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐาน
ระดบั หมบู่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรับใช้ชว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
ในปี 2563 ยังพบว่าสัดส่วนแรงงานนอกระบบหรือผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง
หรอื ไม่มหี ลกั ประกันทางสังคมจากการทำงานมสี ูงถงึ ร้อยละ 53.87 จากจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด 37.9
ล้านคน ในขณะที่ สัดส่วนของแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม (รวมมาตรา 33, 39 และ 40) อยู่ที่
เพยี งรอ้ ยละ 43.0 ของกำลงั แรงงานรวม ทำให้แรงงานนอกระบบเหล่าน้ีขาดความมั่นคงทางรายได้และ
อยู่นอกเหนอื กลไกของภาครฐั ที่จะสามารถดูแลไดอ้ ยา่ งท่ัวถึง อีกทง้ั ยงั มีความเสีย่ งที่จะประสบปัญหาจาก
การทำงานมากกว่าแรงงานในระบบ อาทิ การขาดความม่ันคงทางอาชีพ การไดร้ บั ค่าตอบแทน/สวัสดกิ าร
ไม่เพียงพอ ขาดโอกาสในการฝึกอบรมยกระดับทักษะฝีมือแรงงานอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง รวมถึงมี
ปัญหาสภาพแวดล้อมและความไม่ปลอดภัยในการทำงานและยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจาก
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19อย่างรุนแรง ทั้งในด้านการสูญเสียรายได้และการเข้าไม่ถึงมาตรการ
ช่วยเหลือของภาครัฐ นอกจากนี้ การมีกำลังแรงงานนอกระบบขนาดใหญ่ยังส่งผลกระทบต่อรายได้ของ
ภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากภาครัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีจากแรงงานกลุ่มดังกล่าวได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นแรงงานนอกระบบดังกล่าว อาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตเนื่องจาก
แรงงานในระบบเดิมอาจต้องออกจากระบบประกันสังคมไปเป็นแรงงานนอกระบบจากผลกระทบของ
วิกฤตโควิด-19 รวมถึงแนวโน้มการขยายตัวของแรงงานนอกระบบแบบใหม่ การประกอบอาชีพของ
คนรนุ่ ใหมน่ ำไปสคู่ วามเสี่ยงท่จี ะไมไ่ ดร้ บั การคุ้มครองจากระบบประกันสงั คมในรปู แบบเดมิ
ในด้านหลักประกันด้านรายได้สำหรับผู้สูงอายุไทย พบว่า แรงงานไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน
จำนวน 37.9 ล้านคน ตามหลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุที่มีอยู่ จะพบว่า แรงงานไทยอย่างน้อยอยู่ใน
หลักประกันรายได้รูปแบบใดรปู แบบหนึ่ง กล่าวคอื (1) แรงงานในระบบจำนวน 17.5 ล้านคน มีกองทุน
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39
รองรับ ซึ่งจะได้รับบำนาญจากทั้งกองทุนประกันสังคมและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และ (2) แรงงานนอก
ระบบจำนวน 20.4 ล้านคน ซึ่งไม่มีการออมภาคบังคับแต่มีการออมภาคสมัครใจที่รัฐจัดให้ แบ่งเป็น
กองทุนประกันสังคมมาตรา 40 จำนวน 3.5 ล้านคน (ณ เดือนพฤศจิกายน 2563) และกองทุน
การออมแห่งชาติ 2.4 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563) ซึ่งทั้งสองกลุ่มจะได้รับ
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยโดยแรงงานที่เหลือ 14.5 ล้านคนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
อย่างเดียว (สศช., 2563) ดังนั้นแนวโน้มของระบบประกันสังคมและความคุ้มครองทางสังคมในระยะ
ต่อไปจำเป็นต้องเร่งปรับตัวใหม้ ีความยืดหยุ่นและเพียงพอเหมาะสมกบั รูปแบบความต้องการท่ีเปล่ยี นไป
รวมถึงสอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการเฉพาะรายบุคคลยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กระแส
การตระหนักรขู้ องสาธารณชนและความต้องการมสี ว่ นร่วมในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ ยงั นำมาซึ่งโอกาส
ในการขยายการมีส่วนร่วมในการให้ความคุ้มครองทางสังคมไปยังภาคส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากภาครัฐ
ส่วนกลาง อาทิ การจัดสวัสดิการชุมชน การเพิ่มสิทธิประโยชน์ในสถานประกอบการเอกชน รวมไปถึง
การจัดตง้ั วสิ าหกิจเพื่อสังคมซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลดตี ่อประสิทธิภาพและความยั่งยนื ทางการคลังภาครัฐ
ในการในระยะยาว (สศช., 2564)
86
รายงานฉบบั สมบรู ณโ์ ครงการจัดทำเครื่องชวี้ ัดและแบบสอบถามขอ้ มลู ความจำเปน็ พืน้ ฐาน (จปฐ.) และขอ้ มลู พ้ืนฐาน
ระดับหมูบ่ ้าน (กชช. 2ค) สำหรับใชช้ ว่ งแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
2.4 หลักการและความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (เครื่องชี้วัด
กชช. 2ค ปพี .ศ. 2565 – 2569)
ข้อมูลพื้นฐานระดับหมูบ้าน หรือ กชช. 2ค คือข้อมูลหมู่บ้านที่แสดงให้เห็นสภาพทั่วไป
และปัญหาของหมูบ้านชนบทด้านต่าง ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ สภาพแรงงาน สุขภาวะและ
อนามัย ความรู้และการศึกษา การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยจากภัยพิบัติและความเสี่ยงในชุมชน ซึ่งหลักการและความสำคัญของ
การจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวเพื่อจะนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหาของหหมู่บ้าน ตำบล ของหน่วยงาน
ราชการทีเ่ กยี่ วข้องหรือกลุม/องค์กรประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้มีชวี ิตความเป็นอยู่ทดี่ ีขึ้น ขอ้ มูล กชช.
2ค เป็นข้อมูลที่จัดเก็บทุกหมูบ้านในชนบทเป็นประจำทุก 2 ปีตามมติคณะรัฐมนตรีนับตั้งแต่วันที่ 22
กันยายน 2530 โดยเป็นการจัดเก็บข้อมลู จากหน่วยงานที่เกยี่ วข้องและการสัมภาษณ์จากผู้นำท้องถิ่นใน
แต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาอำเภอและแผนพัฒนา
จังหวัด ดังนั้น วัตถุประสงค์ของข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) จึงเพื่อใช้ข้อมูล กชช. 2ค
เป็นเครื่องมือในการสำรวจสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละหมู บ้านทั่วประเทศสำหรับ
การวางแผน การกำหนดนโยบายและเป็นข้อมูลการประเมินผลการพัฒนาโดยส่วนรวม เพื่อให้หนว่ ยงาน
ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล กชช. 2ค ในการวางแผนการติดตามและประเมินผลการพัฒนา
ชนบท และเพื่อใช้ยกระดับการพัฒนาของหมูบ้านจากข้อมูล กชช. 2ค กำหนดพื้นที่เป้าหมายใน
การพฒั นาของแตล่ ะจังหวดั อำเภอ และตำบล (กรมการพฒั นาชุมชน, 2559)
การจัดเกบ็ ข้อมลู พน้ื ฐานระดับหมบู่ ้าน (กชช. 2ค) มกี ระบวนการปรบั ปรงุ แบบสอบถามและ
เครื่องชี้วัดในทุกช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ทุก 5 ปี) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือใน
การกำหนดปัญหาและเป้าหมายการพัฒนาเพื่อจัดสรรงบประมาณให้ตรงตามสภาพความเป็นจริง โดย
ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เป็นต้นมา ข้อมูล กชช. 2ค ได้ใช้เป็นเครื่องมือ
ของท้องถิ่นมากขึ้นควบคู่ไปกับการสนับสนุนงานพัฒนาชนบท ระดับนโยบายกระทรวงและภูมิภาค
ดงั นัน้ ความสำคัญของข้อมลู พนื้ ฐานระดบั หมบู่ ้าน (กชช. 2ค) ได้แก่
1) เปน็ ข้อมูลกลางของประเทศทีใ่ ชเ้ ปน็ เคร่ืองมือในการบริหารการพัฒนาชนบทและยังเป็น
ข้อมูลชุดเดียวที่จัดเก็บทุกหมู่บ้านทั่วประเทศที่มีอยู่ในขณะนี้โดยมีการนำข้อมูล กชช. 2ค มาใช้เพื่อ
ประโยชน์ทงั้ ในระดับนโยบายและการแปลงสู่การปฏบิ ตั ิของส่วนภมู ิภาคและท้องถิ่น
2) ข้อมูล กชช. 2ค ยังเป็นข้อมูลท่หี น่วยปฏิบัติในสว่ นภูมภิ าคสามารถค้นหาปญั หาเบ้ืองต้น
ในส่วนท่เี ก่ยี วขอ้ งเพือ่ ใช้ในการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนนิ การ เช่น การส่งเสรมิ อตุ สาหกรรม
ในครัวเรือน และการส่งเสริมฟื้นฟูสภาพแวดล้อมสำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถก่อให้เกิดรายได้ใน
ท้องถิ่น ซึ่งหน่วยงานปฏิบัติสามารถจัดสรรงบประมาณให้ตรงตามปัญหาที่พบจากข้อมูล กชช. 2ค ได้
เปน็ ตน้ (กรมการพัฒนาชุมชน, 2559)
กล่าวได้ว่า ประโยชน์ของข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านชุมชน (กชช. 2ค) คือ ประชาชนใน
แตล่ ะหมบู ้านทว่ั ประเทศสามารถทราบถงึ คุณภาพชีวิต สภาพความเปน็ อยู่และสภาพปัญหาของหมูบ้าน/
ชุมชนของตนเองว่าเป็นอย่างไร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามาร ถใช้
ประโยชน์จากข้อมูล กชช. 2ค ในการวางแผนการติดตามและประเมินผลการพัฒนาชนบท การจัดระดับ
87
รายงานฉบบั สมบรู ณ์โครงการจดั ทำเคร่ืองชวี้ ัดและแบบสอบถามข้อมูลความจำเปน็ พ้นื ฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพ้นื ฐาน
ระดับหมบู่ า้ น (กชช. 2ค) สำหรับใช้ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 13 (พ.ศ. 2565 - 2569)
การพัฒนาของหมู่บ้าน การจัดทำแผนพัฒนาในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการกำหนดพื้นที่เป้าหมายใน
การพัฒนาของหน่วยงานแต่ละระดับทั้งส่วนกลาง จังหวัด อำเภอ และตำบล นอกจากนี้ ภาคเอกชน
ยังสามารถนำข้อมูลจาก กชช. 2ค มาใช้ในการตัดสินใจและวางแผนในการบริหารจัดการเพื่อลงทุนทาง
ธรุ กจิ ได้ด้วย (กรมการพัฒนาชุมชน, 2559) เมอ่ื ดำเนนิ การจัดเก็บบันทึก และประมวลผลข้อมูลพ้ืนฐาน
ระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) ในทุกหมู่บ้านเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลจากระบบรายงาน
ผลไดห้ ลายรูปแบบ ดังน้ี
1) สรปุ ข้อมลู กชช.2ค (แบบยอ่ ) ระดบั หมู่บา้ นทำให้ทราบข้อมูลทุกด้านของหมู่บ้านเฉพาะ
เรื่องทสี่ ำคัญ ๆ จำนวน 5 หน้า (จากแบบสอบถามทั้งหมด 50 หน้า) ทำใหท้ ราบภาพรวมของหมู่บ้านว่า
มศี กั ยภาพในด้านตา่ ง ๆ เป็นอย่างไร สามารถพัฒนาให้ดขี นึ้ ได้หรอื ไม่ อยา่ งไร
2) ผลการวิเคราะห์ตัวชี้วัดระดับหมู่บ้านทำให้ทราบว่าหมู่บ้านมีปัญหาในด้านต่าง ๆ ตาม
เคร่ืองช้วี ดั เรอ่ื งใดบ้างท่ีมีปญั หามาก (1 คะแนน) หรอื มีปญั หาปานกลาง (2 คะแนน) หรอื มปี ญั หาน้อย/
ไม่มีปัญหา (3 คะแนน) รวมทั้งทราบระดับการพัฒนาของหมู่บ้านด้วยว่าเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา
อันดับใด (เร่งรัดพัฒนาอันดบั 1 อันดับ 2 หรืออันดับ 3) ซึ่งจะช่วยให้วางแผนแก้ไขปัญหาไดต้ ามสภาพ
ความเปน็ จริงและความตอ้ งการ
3) เกณฑ์ชี้วัดระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน จะทำให้ทราบว่าแต่ละหมู่บ้านของตำบลได้
คะแนนเท่าใด (1 คะแนน 2 คะแนน หรือ 3 คะแนน) ในแต่ละตัวชี้วัดและระดับการพัฒนาของแต่ละ
หมู่บา้ นเป็นระดับใด (เร่งรัดพฒั นาอันดับ 1 อันดับ 2 หรอื อันดับ 3)
4) ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหามากของแต่ละตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาคและภาพรวม
ทง้ั ประเทศ จะทำให้ทราบว่าปัญหาใด (ตัวชวี้ ัดใด) ท่ีเปน็ ปญั หามากสำหรับหมู่บ้านส่วนใหญ่ (เรียงลำดับ
จากมากไปหาน้อย) ซึ่งจะทำให้ อบต. /สภาตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ จังหวัดและส่วนกลาง ทราบว่า
มีปัญหาทั้งหมดกี่เรื่องกี่หมู่บ้านและสามารถแก้ไขปัญหาที่หมู่บ้านส่วนใหญ่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องตรงกับ
ความต้องการของประชาชน
5) ผลการวิเคราะหต์ วั ชวี้ ัดในแต่ละด้านของแต่ละตำบล อำเภอ/ก่ิงอำเภอ จงั หวดั ภาคและ
ภาพรวมทั้งประเทศ จะทำให้ทราบว่าแต่ละตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาค และทั่วประเทศใน
แตล่ ะตัวช้วี ัดได้ 1 คะแนน (มปี ัญหามาก) ได้ 2 คะแนน (มปี ัญหาปานกลาง) หรือได้ 3 คะแนน (มปี ัญหา
น้อย/ไม่มีปัญหา) กี่หมู่บ้านซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาหมู่บ้านในทุกระดับให้
เจริญกา้ วหนา้ ยิง่ ขนึ้ ในทกุ ระดับ
6) รายชื่อหมู่บ้านที่มีปัญหามากในแต่ละตัวชี้วัดของแต่ละตำบล อำเภอ /กิ่งอำเภอ และ
จังหวัด จะทำให้ทราบว่าแต่ละตัวชี้วัด (ในแต่ละปัญหา) ของตำบลอำเภอ/กิ่งอำเภอ และจังหวัด
มีหมู่บา้ นในที่มีปัญหามาก ซงึ่ ควรได้รบั การแก้ไขปญั หาและพัฒนาใหด้ ขี ึ้น
7) รายชอื่ หมบู่ ้านเร่งรัดพฒั นาอันดับ 1 (ลา้ หลัง) ของแต่ละตำบล อำเภอ / กิ่งอำเภอ และ
จงั หวดั จะทำใหท้ ราบรายชื่อหมูบ่ า้ นเปา้ หมายท่คี วรไดร้ ับการวางแผนแก้ไขปญั หาและพฒั นาคณุ ภาพชีวิต
ของประชาชนเป็นลำดับแรก
8) ระดับการพัฒนาหมู่บ้านของแต่ละตำบล อำเภอ /กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาคและภาพรวม
ทั้งประเทศ จะทำให้ทราบว่าแต่ละตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ จังหวัด ภาค และภาพรวมทั้งประเทศมี
หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 (ล้าหลัง) อันดับ 2 (ปานกลาง) หรืออันดับ 3 (ก้าวหน้า) กี่หมู่บ้าน ซึ่งจะ
88