vasusamran55 Download PDF
  • 2
  • 1
โครงการจัดทำเครื่องชี้วัดและแบบสอบถามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2565-2569)
การพัฒนาเครื่องชี้วัดและแบบสอบถามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐาน
ระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) เป็นเครื่องมือในการวางแผนพัฒนาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ และจะมีการปรับปรุงทุก ๆ 5 ปี ในปี พ.ศ. 2565 เป็นปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2565 - 2569) จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องชี้วัด เกณฑ์ชี้วัดและ
แบบสอบถามชุดใหม่สำหรับจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และข้อมูล กชช. 2ค ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) และการควบคุม
คุณภาพการจัดเก็บข้อมูลและรูปแบบการรายงานด้วยระบบสารสนเทศที่รองรับความต้องการของทุก
ภาคส่วน การศึกษาครั้งนี้มีวิธีศึกษาจากการวิเคราะห์ประมวลผลจากการสอบถามความคิดเห็นผู้ใช้ข้อมูล
จปฐ. และข้อมูล กชช. 2ค เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล (ส่วนภูมิภาค) กระจายตาม
ภูมิภาค จำนวน 8 จังหวัด จังหวัดละ 5 หน่วยงาน รวม 40 หน่วยงาน และการวิเคราะห์ประมวลผลจาก
ประชุมรับฟังความคิดเห็นของคณะทำงานปรับปรุงเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชน และ
คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน (พชช.)
ผลการศึกษา พบว่า การใช้แบบสอบถามข้อมูล จปฐ. และแบบสอบถามข้อมูล กชช. 2ค
สำหรับใช้ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ปรับระยะเวลาการเริ่มใช้ให้สอดคล้อง
กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงเริ่มใช้ระหว่าง
พ.ศ.2566 – 2570 เครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ. ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่ 13 ( พ.ศ.2566 - พ.ศ. 2570) ประกอบด้วย 5 หมวด 38 ตัวชี้วัด ได้แก่ หมวดที่ 1
สุขภาพ มี 12 ตัวชี้วัด หมวดที่ 2 มาตรฐานความเป็นอยู่ มี 9 ตัวชี้วัด หมวดที่ 3 การศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด
หมวดที่ 4 เศรษฐกิจ มี 4 ตัวชี้วัด และหมวดที่ 5 การคุ้มครองทางสังคมและการมีส่วนร่วม มี 8 ตัวชี้วัด
และเครื่องชี้วัดข้อมูล กชช. 2ค สำหรับใช้ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
(พ.ศ. 2566 - 2570) ประกอบด้วย 7 หมวด 44 ตัวชี้วัด ดังนี้ หมวดที่ 1 โครงสร้างพื้นฐาน มี 10
ตัวชี้วัด หมวดที่ 2 สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ มี 10 ตัวชี้วัด หมวดที่ 3 สุขภาวะและอนามัย มี 7
ตัวชี้วัด หมวดที่ 4 ความรู้และการศึกษา มี 4 ตัวชี้วัด หมวดที่ 5 การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็ง
ของชุมชน มี 5 ตัวชี้วัด หมวดที่ 6 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี 5 ตัวชี้วัด และหมวดที่ 7
ความเสี่ยงของชุมชนและภัยพิบัติ มี 3 ตัวชี้วัด สำหรับกลไกและกระบวนการบริหารจัดเก็บข้อมูลให้มี
คุณภาพ ต้องมีกลไกควบคุมคุณภาพในทุกระดับ ดังนี้ คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของประชาชน (พชช.) คณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับจังหวัด คณะทำงานบริหารการจัดเก็บ
ข้อมูลฯ ระดับอำเภอ คณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับตำบล และคณะผู้จัดเก็บข้อมูลระดับ
หมู่บ้าน โดยมีกระบวนการที่มีคุณภาพ ดังนี้การสร้างความรู้ความเข้าใจ การออกแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูล การบันทึกและประมวลข้อมูล การตรวจทานข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลเพื่อการใช้
ประโยชน์ร่วมกันในทุกระดับ ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลควรให้คนในชุมชนและ
องค์กรหน่วนงานที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญในการให้ข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลโดยการสร้างการมี
ส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูล และควรมีการฝึกอบรมและเพิ่มองค์ความรู้ให้กับผู้จัดเก็บข้อมูลอย่างเข้มข้น
รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลรวมกันทั้งประเทศ

คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตประชาชน,ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.),ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค)
View Text Version Category : 47
  • Follow
  • 0
  • Embed
  • Share
  • Upload
Related publications