The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมคำพิพากษา-แผนกคดีแรงงาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2024-01-31 21:12:27

รวมคำพิพากษา-แผนกคดีแรงงาน

รวมคำพิพากษา-แผนกคดีแรงงาน

คำนิยม นโยบายประการหนึ่งที่กำหนดไวเมื่อมาดำรงตำแหนงประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ คือการเสริมสรางความเปนเอกภาพของคำพิพากษาของศาลและสงเสริมใหกระบวนการพิจารณา และพิพากษาในศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษรอบคอบ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การรวบรวมคำพิพากษาของศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกตาง ๆ ที่เคยถูกจัดเก็บไวรูปแบบ หลากหลายและยากแกการเขาถึงมาจัดทำเปนหนังสือซึ่งเปนสื่อที่สะดวกแกการคนควาใชงาน และยังไมสามารถทดแทนโดยสื่อหรืออุปกรณอื่นอยางสมบูรณเพื่อเผยแพรเปนภารกิจหนึ่งที่จะเปน แนวทางใหนโยบายดังกลาวประสบความสำเร็จ จึงเปนที่มาของการแตงตั้งคณะทำงานเพื่อรวบรวม และเผยแพรคำพิพากษาของศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษนับตั้งแตศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ เริ่มเปดทำการจนถึงปจจุบัน การจัดทำหนังสือเลมนี้ไมใชแตเพียงไดประโยชนในการใชเปน แหลงขอมูลในการเรียนรู สืบคน และใชเปนแนวทางในการทำงานของผูพิพากษาและผูประกอบ วิชาชีพกฎหมายเทานั้น แตจะเปนประโยชนแกนักศึกษากฎหมายและผูสนใจทั่วไปดวย ทั้งยัง ถือเปนตัวอยางที่ดีในการนำนโยบายมาแปรเปลี่ยนเปนรูปธรรมใหสัมฤทธิ์ผลตามนโยบาย ที่กำหนดไวอีกดวย ทั้งนี้ ดิฉันขอขอบคุณสำนักงานศาลยุติธรรมที่เล็งเห็นถึงความสำคัญและสนับสนุน งบประมาณในการจัดทำหนังสือเลมนี้ ขอชื่นชมและขอบคุณคณะทำงานฯ ที่ปรึกษาของคณะทำงานฯ และผูที่เกี่ยวของที่รวมแรงรวมใจกันจัดทำใหหนังสือเลมนี้สำเร็จขึ้นดวยความวิริยอุตสาหะของ ทุกทาน และขอขอบคุณทานรองประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษทั้งหาแผนกที่ใหคำแนะนำ ทรงคุณคาแกคณะทำงานฯ และสละเวลาตรวจทานความถูกตองของหนังสือเลมนี้จนสมบูรณ บรรลุวัตถุประสงคทุกประการ (นางอโนชา ชีวิตโสภณ) ประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ


คำปรารภ หนังสือรวมคำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ แผนกคดีแรงงานนี้ เปนสวนหนึ่ง ของการรวบรวมคำพิพากษาในศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษตั้งแตเปดทำการศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ จนถึงปจจุบัน ดวยความตั้งใจของประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ ที่จะเผยแพรหลักขอกฎหมายคดีแรงงานและคดีที่เกี่ยวของตามคำพิพากษาขององคคณะผูพิพากษา ที่มีความรูความเชี่ยวชาญตลอดทั้งคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแกนักกฎหมาย นักวิชาการ และผูที่มีความสนใจไดเขาถึงแหลงขอมูลทางวิชาการ อันจะชวยเสริมสรางความรู และสรางแนวคิดในการแกไขปญหาสังคมเกี่ยวกับขอพิพาทแรงงาน และหวังเปนอยางยิ่งวา หนังสือเลมนี้จะเปนเอกสารที่มีคุณคาและเปนประโยชนแกผูที่มีความสนใจพอสมควร กระผมขอขอบคุณประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่มีความตั้งใจในการเผยแพร คำพิพากษาและคำวินิจฉัยดังกลาวอยางมุงมั่น และขอขอบคุณผูพิพากษาศาลอุทธรณและ ผูพิพากษาศาลชั้นตนประจำกองผูชวยผูพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงาน คณะทำงานจัดทำหนังสือ ตลอดจนผูที่มีสวนเกี่ยวของทุกทาน ที่รวมแรงรวมใจกันทำใหการจัดทำ หนังสือเลมนี้สำเร็จลุลวงอยางราบรื่นทุกประการ (นายอนันต คงบริรักษ) รองประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ


คำนำ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๘ เปดทำการเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชำนัญพิเศษ ซึ่งคำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษของแตละ แผนกคดีไดรับการพิจารณาพิพากษาโดยองคคณะผูพิพากษาที่มีความรูความเชี่ยวชาญในแตละ แผนกคดีและมีความสำคัญตอสภาพเศรษฐกิจและสังคม การเผยแพรคำพิพากษาศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษทั้งหาแผนกคดีที่สำคัญไวในที่แหงเดียวกันจึงเปนประโยชนอยางยิ่งแกผูพิพากษา นักกฎหมาย และผูสนใจทั่วไป ครั้นทานอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเขารับตำแหนง เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ไดมีนโยบายใหรวบรวมคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ และคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ไดรับแจงการอานแลวตั้งแตวันที่ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเปดทำการจนถึงปจจุบัน ตอมาจึงมีคำสั่งแตงตั้งคณะทำงานรวบรวม คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษและคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษ ที่ ๓๒/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๕ และคำสั่งที่ ๓๔/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ โดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินการใหเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๕ บัดนี้ การจัดทำหนังสือรวบรวมคำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษทั้งหาแผนกคดี ตั้งแตวันที่ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเปดทำการจนถึงปจจุบัน (เดือนมิถุนายน ๒๕๖๕) ตามคำสั่ง ประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ ที่ ๓๒/๒๕๖๕ และ ๓๔/๒๕๖๕ ไดเสร็จสิ้นลงแลว คณะทำงานฯ หวังวาหนังสือรวบรวมคำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเลมนี้จะเปนประโยชนตอผูพิพากษา ตลอดจนนักกฎหมายและผูสนใจทั่วไป ขอขอบพระคุณประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ คณะทำงานฯ ที่ปรึกษา และผูที่ เกี่ยวของทุกทานที่ทุมเทเสียสละในการจัดทำหนังสือรวบรวมคำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ ทั้งหาแผนกคดีจนบรรลุวัตถุประสงคซึ่งเปนประโยชนอยางยิ่งตอราชการศาลยุติธรรมสืบไป (นายพิทักษ หลิมจานนท) ประธานคณะทำงานรวบรวมคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษและคำวินิจฉัย ของประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ


สารบัญ หนา ๑. เรื่องเกี่ยวกับการเลิกจาง คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๗๘๖/๒๕๖๑ ๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๕๔๓/๒๕๖๒ ๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕๗๘ - ๑๕๘๐/๒๕๖๓ ๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๘๓๓/๒๕๖๓ ๑๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๘/๒๕๖๔ ๑๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๓๑๒/๒๕๖๔ ๒๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๕๐๐/๒๕๖๔ ๓๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๒๒ - ๖๒๓/๒๕๖๔ ๓๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๓๐/๒๕๖๔ ๓๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๕๘/๒๕๖๔ ๔๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๑๗๘/๒๕๖๔ ๕๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๘๑๗/๒๕๖๔ ๕๘ ๒. เรื่องเกี่ยวกับการไมปฏิบัติตามสัญญาจาง หรือขอตกลงเกี่ยวกับสภาพการจาง คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๑๐๘/๒๕๖๑ ๖๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๓๕๓/๒๕๖๑ ๖๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๙๐๔/๒๕๖๒ ๗๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๒๕๐/๒๕๖๓ ๗๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๒๕/๒๕๖๔ ๘๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๔๐/๒๕๖๔ ๙๒ ๓. เรื่องเกี่ยวกับการไมปฏิบัติตามกฎหมายคุมครองแรงงาน และประเด็นคดีแรงงานตาม ป.พ.พ. คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๔๘๘/๒๕๖๐ ๙๗ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๔๓๖/๒๕๖๑ ๑๐๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๖๘๔/๒๕๖๑ ๑๐๗ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๐๔๒/๒๕๖๑ ๑๑๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๒๑๔/๒๕๖๒ ๑๑๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๒๒๔/๒๕๖๒ ๑๒๐


หนา คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๒๖๖/๒๕๖๒ ๑๓๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๓๕๑/๒๕๖๒ ๑๓๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๓๗๔/๒๕๖๒ ๑๔๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕๖๗/๒๕๖๒ ๑๔๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕๖๘/๒๕๖๒ ๑๔๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕๙๗/๒๕๖๒ ๑๕๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๖๓๙/๒๕๖๒ ๑๖๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๗๙๕/๒๕๖๒ ๑๖๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๘๑๘/๒๕๖๒ ๑๗๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๙๐๓/๒๕๖๒ ๑๗๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๓๔๒๒ - ๓๔๒๓/๒๕๖๒ ๑๗๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๑๗๑/๒๕๖๒ ๑๘๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๑๙๓ - ๔๓๐๕/๒๕๖๒ ๑๙๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๕๕๑ - ๔๕๕๓/๒๕๖๒ ๒๐๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๕๕๗/๒๕๖๒ ๒๐๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๓๗๗/๒๕๖๒ ๒๑๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๙๓๘๓ - ๙๔๓๓/๒๕๖๒ ๒๑๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๑๕ - ๖๓๑/๒๕๖๓ ๒๒๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๗๗/๒๕๖๓ ๒๒๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๙๕๙/๒๕๖๓ ๒๓๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๔๑๖ - ๑๔๑๙/๒๕๖๓ ๒๔๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๖๔๓/๒๕๖๓ ๒๔๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๘๐๕ - ๒๘๐๗/๒๕๖๓ ๒๕๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๔๑/๒๕๖๔ ๒๕๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕๘ - ๑๖๔/๒๕๖๔ ๒๖๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๓๕/๒๕๖๔ ๒๗๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๑๗๗/๒๕๖๔ ๒๗๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕๙๓/๒๕๖๔ ๒๘๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๘๐๑ - ๑๘๐๔/๒๕๖๔ ๒๙๑ (ประชุมใหญ)


หนา ๔. เรื่องเกี่ยวกับการไมปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๕๔๐/๒๕๖๐ ๓๐๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๕๕/๒๕๖๒ ๓๐๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๙๘ - ๓๓๖/๒๕๖๒ ๓๑๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๔๖๒ - ๑๔๗๑/๒๕๖๒ ๓๑๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๑๗๓/๒๕๖๒ ๓๒๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๕๖๘ - ๔๕๖๙/๒๕๖๒ ๓๒๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๙๓๖ - ๖๙๓๗/๒๕๖๒ ๓๓๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๐๐๘/๒๕๖๓ ๓๓๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕๕๙/๒๕๖๓ ๓๓๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๗๖๑ - ๒๗๖๔/๒๕๖๓ ๓๔๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๕๕/๒๕๖๔ ๓๔๗ ๕. เรื่องเกี่ยวกับการใชสิทธิทางศาล กฎหมายวิธีพิจารณา และการบังคับคดี คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๗๑๓ - ๑๗๑๕/๒๕๖๐ ๓๕๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๒๘/๒๕๖๑ ๓๕๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๐๙๘/๒๕๖๑ ๓๖๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๒๒๔/๒๕๖๑ ๓๖๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๘๒๑/๒๕๖๑ ๓๗๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๙๐๒/๒๕๖๑ ๓๗๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๗๕๕/๒๕๖๑ ๓๘๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๘๖๒/๒๕๖๒ ๓๘๗ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๕๖๖/๒๕๖๒ ๓๙๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๕๗๐ - ๔๕๗๑/๒๕๖๒ ๔๐๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๔๒๓/๒๕๖๒ ๔๐๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๔๕๘/๒๕๖๒ ๔๑๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๕๔๑/๒๕๖๒ ๔๑๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๐๑๕/๒๕๖๒ ๔๑๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๑๐๒/๒๕๖๒ ๔๒๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๑๙๒/๒๕๖๒ ๔๓๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๒๘๙ - ๗๓๘๘/๒๕๖๒ ๔๓๕


หนา คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๙๑๘๑ - ๙๑๘๕/๒๕๖๒ ๔๔๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๗๓/๒๕๖๓ ๔๔๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๐๑๙/๒๕๖๓ ๔๕๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๕๗๑ - ๒๕๗๖/๒๕๖๓ ๔๕๗ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๘๓๕ - ๒๙๓๙/๒๕๖๓ ๔๖๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๕๖/๒๕๖๔ ๔๖๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๕๗/๒๕๖๔ ๔๗๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๓๓๓ - ๓๓๔/๒๕๖๔ ๔๘๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๑๗/๒๕๖๔ ๔๘๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๓๒/๒๕๖๔ ๔๘๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๐๐/๒๕๖๔ ๔๙๘ ๖. เรื่องเกี่ยวกับการอุทธรณคำสั่ง หรือคำวินิจฉัย คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๑/๒๕๖๔ ๕๐๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๕๕/๒๕๖๔ ๕๐๖ ๗. เรื่องเกี่ยวกับการละเมิดของนายจางและลูกจาง และการกำหนดคาเสียหาย คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๕๖๒/๒๕๖๒ ๕๐๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๙๔๒/๒๕๖๓ ๕๑๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๗๑๘/๒๕๖๓ ๕๑๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๐๒/๒๕๖๔ ๕๒๒ ๘. เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายเงินทดแทน คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๙๓/๒๕๖๒ ๕๒๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕๙๕/๒๕๖๒ ๕๓๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๕๖๑/๒๕๖๔ ๕๓๕ ๙. เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายประกันสังคม คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๗๖๑/๒๕๖๐ ๕๔๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๕๔๒/๒๕๖๒ ๕๔๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๘๐/๒๕๖๒ ๕๔๙


หนา ๑๐. เรื่องเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๕๗๔/๒๕๖๒ ๕๕๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๙๓๔/๒๕๖๒ ๕๕๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๙๖๓/๒๕๖๓ ๕๖๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕๗๔/๒๕๖๓ ๕๖๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๘๑๑/๒๕๖๓ ๕๗๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๗๗/๒๕๖๔ ๕๗๖ ๑๑. เรื่องเกี่ยวกับขอพิพาทแรงงานตามกฎหมายอื่น ๆ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๓๒๕/๒๕๖๐ ๕๘๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๔๖/๒๕๖๑ ๕๘๗ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๒๓๐/๒๕๖๑ ๕๙๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๓๔๘ - ๔๓๔๙/๒๕๖๑ ๕๙๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๑๕/๒๕๖๒ ๖๐๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๓๔๓/๒๕๖๒ ๖๑๐ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๕๖๐/๒๕๖๒ ๖๑๗ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๓๖๘/๒๕๖๒ ๖๒๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๓๗๒/๒๕๖๒ ๖๒๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๐๖๕/๒๕๖๒ ๖๒๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๐๘/๒๕๖๓ ๖๓๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๐๑ - ๘๑๔/๒๕๖๓ ๖๔๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๕๔๗ - ๒๕๔๘/๒๕๖๓ ๖๕๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๓๙๒/๒๕๖๔ ๖๖๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๒๒/๒๕๖๔ ๖๖๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๐๘/๒๕๖๔ ๖๗๓


คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๗๘๖/๒๕๖๑ นางสาวสุจินตนา สมัครสมาน โจทก บริษัทวายเอส เทค (ไทยแลนด) จำกัด จำเลย ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ เมื่อไมปรากฏขอเท็จจริงวาการเลิกจางโจทกนั้นเปนกรณีโจทกกระทำการ อันตองหามอยางหนึ่งอยางใดตามที่ระบุไวใน ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ และ พ.ร.บ. คุมครอง แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ โจทกจึงมีสิทธิไดรับสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา และคาชดเชยตามกฎหมาย อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณแหงคดีวาโจทกมี พฤติกรรมชูสาวกับหัวหนางานของโจทก ลูกจางคนอื่นตางสงสัยวาอาจเปนสาเหตุที่ทำให โจทกไดสิทธิทำงานลวงเวลามากกวาลูกจางคนอื่น และไดรับการประเมินผลการทำงาน ในระดับเกรดบีบวก ทำใหผูบริหารของจำเลยตองเรียกโจทกและหัวหนางานมาสอบถาม จนเปนเหตุใหมีการเลิกจางโจทก เมื่อไมปรากฏขอเท็จจริงวาผูบริหารของจำเลยกระทำ ไปเพื่อกลั่นแกลงโจทกแตประการใด การที่จำเลยเลิกจางโจทกอันเนื่องมาจากมูลเหตุ ดังกลาวดวยพฤติกรรมของโจทกที่จำเลยไมไววางใจใหทำงานตอไปได จึงถือวามีเหตุ สมควรเพราะหากยังใหโจทกทำงานตอไปอาจกระทบกระเทือนตอระบบการบริหารงาน บุคคลของจำเลยจนขาดประสิทธิภาพในการทำงานได เนื่องจากโจทกมีพฤติกรรมชูสาว กับหัวหนางานของตน อันมีผลกระทบตอการปกครองระหวางหัวหนางานซึ่งเปนผูบังคับ บัญชา กับโจทกซึ่งเปนผูใตบังคับบัญชา ทั้งเพื่อนรวมงานของโจทกก็ตางระแวงสงสัยวา หัวหนางานดังกลาวเอื้อประโยชนใหแกโจทกมากกวาพนักงานคนอื่น ซึ่งมีผลกระทบตอ หลักการบริหารทรัพยากรมนุษยจึงไมใชการเลิกจางที่ไมเปนธรรม โจทกฟอง ขอใหบังคับจำเลยจายคาชดเชย ๑๓๒,๓๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงินดังกลาว สินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา ๗,๐๕๖ บาท และคาเสียหาย ๑


จากการเลิกจาง โดยไมเปนธรรม ๑๓๒,๓๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของ ตนเงินแตละจำนวนดังกลาว นับแตวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก และจายเงิน โบนัสประจำป ๒๕๕๘ เปนเงิน ๕๖,๒๗๑.๖๐ บาท แกโจทก จำเลยใหการและแกไขคำใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานภาค ๒ พิพากษาใหจำเลยจายคาชดเชย ๑๓๒,๓๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ย อัตรารอยละ ๑๕ ตอป สินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา ๗,๐๕๖ บาท และคาเสียหายจาก การเลิกจางโดยไมเปนธรรม ๑๓๒,๓๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงิน แตละจำนวนดังกลาว นับแตวันฟอง (ฟองวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๙) จนกวาชำระเสร็จแกโจทก คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก จำเลยอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานภาค ๒ ฟงขอเท็จจริง และวินิจฉัยวาจำเลยจางโจทกเปนลูกจางเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ โจทกไดรับคาจางอัตรา สุดทายวันละ ๔๔๑ บาท จำเลยจายคาจางทุกวันที่ ๑๕ และทุกวันสิ้นเดือน เมื่อโจทกเลิกทำงาน ลวงเวลากะดึก ในเวลาประมาณ ๘.๓๐ นาิกา ของวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ โจทกและ นายศานติ ลูกจางจำเลยตำแหนงหัวหนาแผนกกลึงอะไหลเกียรรถยนต ซึ่งเปนหัวหนางานของ โจทก เขาพบนายรุงเพ็ชร ลูกจางจำเลยตำแหนงผูจัดการทั่วไปฝายบริหาร กับนางสาวเบญจวรรณ ลูกจางจำเลยตำแหนงผูจัดการฝายผลิต และนางสาวผลัฏฐกร ลูกจางจำเลยตำแหนงผูจัดการ ฝายบุคคล ที่หองประชุมตามคำสั่งของบุคคลทั้งสาม จากนั้นฝายจำเลยคือ นายรุงเพ็ชร นางสาว เบญจวรรณ และนางสาวผลัฏฐกร สอบถามโจทกและนายศานติกรณีมีหนังสือรองเรียนเรื่องชูสาว อีกทั้งนายรุงเพ็ชรไดพูดเรื่องโจทกทำงานลวงเวลามากกวาลูกจางอื่นกับเรื่องผลการประเมินการ ทำงานของลูกจางรั่วไหล เมื่อโจทกปฏิเสธไมลาออกก็หยิบยกเรื่องตาง ๆ รวมถึงผลกระทบตอ นางสาวอรทัย บุตรสาวโจทกที่ยังเปนลูกจางจำเลยขึ้นพูดรวมเปนเวลา ๑ ชั่วโมงเศษ เพื่อกดดัน บีบบังคับจนเปนเหตุใหโจทกไมสามารถทนไดเพื่อใหโจทกลาออกตามความประสงคของประธาน กรรมการบริษัทจำเลย โจทกจึงมิไดเขียนใบลาออกดวยความสมัครใจเอง แตเขียนเพราะถูกจำเลย กดดันบีบบังคับใหเขียน การที่จำเลยเลิกจางโจทกจึงเปนการเลิกจางโดยไมเปนธรรม และจำเลย ตองจายสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนาและคาชดเชยตามอัตราคาจางสุดทาย ๓๐๐ วัน แกโจทก แตเมื่อไมมีพยานหลักฐานใดมายืนยันวาโจทกไดรับการประเมินการทำงานในระดับ เกรดบีบวกดังที่อางในคำฟอง ทั้งไมมีพยานหลักฐานใดมายืนยันวาโจทกไดรับการประเมินการ ทำงานในระดับเกรดใด อันจะเปนผลใหโจทกมีสิทธิไดรับเงินโบนัสประจำป ๒๕๕๘ ประกอบกับ ๒


จำเลยประกาศจายเงินโบนัสประจำป ๒๕๕๘ ใหแกลูกจางในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ตาม ประกาศที่ ๑๑/๒๕๕๘ เรื่องโบนัสประจำป ๒๕๕๘ ซึ่งตามประกาศดังกลาวกำหนดไวในขอที่ ๖. วาลูกจางที่พนสภาพการเปนลูกจางกอนวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเปนวันที่จำเลยจายเงิน โบนัสประจำป ๒๕๕๘ จะไมไดรับเงินโบนัสประจำป ๒๕๕๘ โจทกจึงไมมีสิทธิไดรับเงินโบนัส ประจำป ๒๕๕๘ จากจำเลย คดีคงมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยขอ ๒.๑ ซึ่งเปนอุทธรณที่รับไวพิจารณา เพียงขอเดียวในขอกฎหมายวา จำเลยตองจายสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา คาชดเชยและ คาเสียหายจากการเลิกจางโดยไมเปนธรรมแกโจทกหรือไม เห็นวา คดีนี้ศาลอุทธรณคดีชำนัญ พิเศษไมรับอุทธรณของจำเลยขอ ๒.๒ และขอ ๒.๓ เพราะเปนอุทธรณในขอเท็จจริง จึงตองรับฟง ขอเท็จจริงเปนยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒ วาโจทกมิไดเขียนใบลาออกดวยความ สมัครใจเอง แตเขียนเพราะถูกจำเลยกดดันบีบบังคับใหเขียน อันถือวาเปนการเลิกจางโจทก เมื่อไมปรากฏขอเท็จจริงวาการเลิกจางโจทกนั้นเปนกรณีโจทกกระทำการอันตองหามอยางหนึ่ง อยางใดตามที่ระบุไวในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๕๘๓ และพระราชบัญญัติ คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ โจทกจึงมีสิทธิไดรับสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา และคาชดเชยตามกฎหมาย ดังนั้น จำเลยตองจายสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา และคาชดเชย พรอมดอกเบี้ยตามฟองใหแกโจทก อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณแหงคดีวาโจทกมี พฤติกรรมชูสาวกับหัวหนางานของโจทก ลูกจางคนอื่นตางสงสัยวาอาจเปนสาเหตุที่ทำใหโจทกได สิทธิทำงานลวงเวลามากกวาลูกจางคนอื่นและไดรับการประเมินผลการทำงานในระดับเกรดบีบวก ทำใหผูบริหารของจำเลยตองเรียกโจทกและหัวหนางานมาสอบถามจนเปนเหตุใหมีการเลิกจางโจทก เมื่อไมปรากฏขอเท็จจริงวาผูบริหารของจำเลยกระทำไปเพื่อกลั่นแกลงโจทกแตประการใด การที่ จำเลยเลิกจางโจทกอันเนื่องมาจากมูลเหตุดังกลาวดวยพฤติกรรมของโจทกที่จำเลยไมไววางใจ ใหทำงานตอไปได จึงถือวามีเหตุสมควร เพราะหากยังใหโจทกทำงานตอไปอาจกระทบกระเทือน ตอระบบการบริหารงานบุคคลของจำเลยจนขาดประสิทธิภาพในการทำงานได เนื่องจากโจทกมี พฤติกรรมชูสาวกับหัวหนางานของตน อันมีผลกระทบตอการปกครองระหวางหัวหนางานซึ่งเปน ผูบังคับบัญชา กับโจทกซึ่งเปนผูใตบังคับบัญชา ทั้งเพื่อนรวมงานของโจทกก็ตางระแวงสงสัยวา หัวหนางานดังกลาวเอื้อประโยชนใหแกโจทกมากกวาพนักงานคนอื่น ซึ่งมีผลกระทบตอหลักการ บริหารทรัพยากรมนุษย จึงไมใชการเลิกจางโดยไมเปนธรรม ดังนั้น จำเลยไมจำตองจายคาเสียหาย จากการเลิกจางใหแกโจทกที่ศาลแรงงานภาค ๒ วินิจฉัยมาในปญหาขอนี้นั้น ศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวยบางสวนเทานั้น อุทธรณของจำเลยจึงฟงขึ้นในผลเพียงบางสวน ๓


๔ พิพากษาแกเปนวา ใหยกคำขอของโจทกในสวนที่เรียกคาเสียหายจากการเลิกจางโดย ไมเปนธรรม นอกจากที่แกคงเปนไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๒. มนุเชษฐ โรจนศิริบุตร - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ (ธีระพล ศรีอุดมขจร - อนุวัตร ขุนทอง - กนกรดา ไกรวิชญพงศ)


คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๕๔๓/๒๕๖๒ นายสวิชญา ปรีชานุรักษ โจทก บริษัทเรียลแอสเสท ดีเวลลอปเมนท จํากัด จำเลย ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๔)  พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มิไดใหความหมายคําวา “ทุจริต” ไวและ มิไดใชคําวา “โดยทุจริต” ตามที่บัญญัติไวใน ป.อ. มาตรา ๑ (๑) จึงตองใหความหมายวา “ทุจริต” ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไมซื่อตรง สวนการจะถือวากรณีใด เปนการฝาฝนขอบังคับเกี่ยวกับการทํางานเปนกรณีที่รายแรง มิใชจะดูแตเพียงขอบังคับ เกี่ยวกับการทํางาน แตจะตองวิเคราะหถึงปจจัยตาง ๆ ประกอบกันหลายประการ อาทิ ตําแหนงหนาที่การงานของลูกจาง ลักษณะและพฤติการณการกระทําความผิดของลูกจาง ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทําผิดวามีมากนอยเพียงใด เมื่อศาลแรงงาน กลางฟงขอเท็จจริงวา โจทกในฐานะลูกจางจําเลยมิไดปฏิบัติหนาที่เพื่อรักษาผลประโยชน ของจําเลย แตพฤติการณของโจทกเปนการเอื้อประโยชนใหแก ผูรับเหมากอสราง และ ประพฤติตนเสมือนหนึ่งเปนผูรับเหมากอสรางเพื่อรับงานของจําเลยเสียเอง ทั้งที่โจทกมี หนาที่ควบคุมผูรับเหมากอสรางใหปฏิบัติงานตามสัญญาจางรับเหมา และโจทกรูระเบียบ และแนวปฏิบัติของจําเลย จําเลยจึงใหโจทกสรรหาและนําเสนอผูรับเหมากอสรางอันแสดง ใหเห็นวาโจทกไดรับความไววางใจจากจําเลย แตโจทกกลับใชตําแหนงหนาที่และความ ไววางใจของจําเลยในการเอื้อประโยชนใหแกผูรับเหมากอสรางและประพฤติตนเสมือน หนึ่งเปนผูรับเหมากอสรางเสียเองเชนนี้ การกระทําของโจทกจึงเปนการประพฤติไมซื่อตรง อันเปนการทุจริตตอหนาที่ และยินยอมใหผูอื่นแสวงหาประโยชนใด ๆ จากจําเลยอันเปน การฝาฝนขอบังคับเกี่ยวกับการทํางานของจําเลยกรณีที่รายแรง จําเลยจึงเลิกจางโจทก ไดโดยไมตองจายคาชดเชยตาม พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๔) ทั้งยังเปนการกระทําอันไมสมแกการปฏิบัติหนาที่ของตนใหลุลวงไป โดยถูกตองและสุจริต จําเลยจึงเลิกจางโจทกไดโดยไมตองบอกกลาวลวงหนาตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ และมิใชเปนการเลิกจางโดยไมเปนธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ ๕


โจทกฟอง ขอใหบังคับจําเลยจายสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา ๕๐,๔๘๗ บาท คาเสียหายจากการเลิกจางโดยไมเปนธรรม ๕๐๔,๘๗๖ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอปของตนเงินแตละจำนวน และคาชดเชย ๓๓๖,๕๘๔ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอปของตนเงินจำนวนดังกลาว ทั้งนี้ นับแตวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชําระเสร็จแกโจทก จําเลยใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานกลาง พิพากษายกฟอง โจทกอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชํานัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงวา เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ โจทกเขาทำงานเปนลูกจางจำเลย ตำแหนงสุดทายวิศวกรอาวุโส ฝายบริการหลังการขาย ไดรับคาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๔๒,๐๗๓ บาท กำหนดจายคาจาง ทุกวันสิ้นเดือน ตอมาวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑ จำเลยเลิกจางโจทกโดยใหมีผลในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ และวินิจฉัยวา โจทกเปนลูกจางจําเลย จึงมีหนาที่ทํางานตอบแทนใหแกจําเลยโดยการ ตรวจสอบการทํางานของผูรับเหมากอสรางใหเปนไปตามความตองการของลูกคา มิใชทําหนาที่ เพื่อรักษาผลประโยชนใหแกผูรับเหมากอสราง การที่โจทกทราบดีวาผูรับเหมากอสรางที่แทจริง คือ นายศิวพร แตใชชื่อของนางสาววรรณลพร ซึ่งเปนนองสาวของนายศิวพรมาเสนอเปนผูรับเหมา กอสรางตอบริษัทจําเลย โดยนายศิวพรอางวาเพื่อใหตนจายภาษีเงินไดบุคคลธรรมดานอย ลงนั้น ถือเปนการทุจริตตอบริษัทจําเลยเพราะหากนายศิวพรกระทำผิดสัญญารับเหมากอสราง จําเลยก็ไมสามารถฟองรองหรือดําเนินคดีใด ๆ กับนายศิวพรซึ่งเปนคูสัญญาที่แทจริงใหปฏิบัติ ตามสัญญาหรือรับผิดตอจําเลยได ทั้งการที่นายศิวพรตองการจายภาษีเงินไดบุคคลธรรมดานอยลง ก็ไมใชธุระของโจทกที่จะตองดําเนินการใหเปนไปตามความประสงคของนายศิวพร ที่โจทกอางวา โจทกเขาไปชวยดูแลอํานวยความสะดวกใหแกผูรับเหมา เชน ควบคุมงานกอสรางแทนนายศิวพร จายเงินคาจางใหชางกอสราง และทวงเงินจากจําเลยที่จะตองจายใหแกผูรับเหมากอสรางนั้น ลวนแตแสดงใหเห็นวาโจทกในฐานะลูกจางของจําเลยไมไดปฏิบัติหนาที่เพื่อรักษาผลประโยชน ของจําเลย แตพฤติการณของโจทกเปนการเอื้อประโยชนใหแกผูรับเหมากอสรางและประพฤติตน เสมือนหนึ่งเปนผูรับเหมากอสรางเพื่อรับงานของจําเลยเอง ทั้งที่โจทกมีหนาที่ตองควบคุมผูรับเหมา กอสรางใหปฏิบัติงานตามสัญญาจางรับเหมา ที่โจทกอางวา จําเลยเปนผูลงนามอนุมัติการเลือก ผูรับเหมากอสรางและจําเลยจายเงินใหแกผูรับเหมากอสรางตามใบเสนอราคาที่ฝายควบคุม ราคาอนุมัตินั้น โจทกเปนวิศวกรอาวุโส ฝายบริการหลังการขาย เปนผูรูระเบียบและแนวทางปฏิบัติ ของจําเลยรวมทั้งรูราคากลางของจําเลยในการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง จําเลยจึงใหโจทกสรรหา ๖


และนําเสนอผูรับเหมากอสรางโดยจำเลยคัดเลือกผูรับเหมากอสรางตามที่โจทกเสนอ และจายเงิน ใหแกผูรับเหมากอสรางตามใบเสนอราคาและตามสัญญารับเหมากอสราง อันแสดงใหเห็นวาโจทก ไดรับความไววางใจจากจําเลยใหทําหนาที่ในการสรรหาและตอรองราคากับผูรับเหมากอสราง แตโจทกกลับใชตําแหนงหนาที่และความไววางใจของจําเลยในการเอื้อประโยชนใหแกผูรับเหมา กอสรางและประพฤติตนเสมือนหนึ่งเปนผูรับเหมากอสรางเสียเองดังนี้ การกระทําของโจทกจึง เปนการแสวงหาหรือยินยอมใหผูอื่นแสวงหาประโยชนใด ๆ จากจําเลยอันเปนความผิดตาม ขอบังคับเกี่ยวกับการทํางานของจําเลย ขอ ๗.๒ (๖) ถือเปนการทุจริตตอหนาที่และกระทำประการ อื่นอันไมสมแกการปฏิบัติหนาที่ของตนใหลุลวงไปโดยถูกตองและสุจริต และไมเปนการเลิกจาง โดยไมเปนธรรม จำเลยจึงไมตองจายคาชดเชย สินจางแทนการบอกกลาวลวงหนาและคาเสียหาย จากการเลิกจางโดยไมเปนธรรม ที่โจทกอุทธรณวา โจทกมีหนาที่เพียงควบคุมราคาที่จะจัดซอมเบื้องตนที่ผูรับเหมา กอสรางเสนอมาเทานั้น ไมมีอํานาจอนุมัติใหผูรับเหมากอสรางเขาทํางานก็ดี หากโจทกกระทํา ผิดกฎหมายอาญาอยางรายแรงดังที่จำเลยกลาวหา เหตุใดจําเลยไมดําเนินการแจงความรองทุกข ดําเนินคดีอาญาหรือดําเนินการฟองรองคดีอาญา และเรียกรองคาเสียหายใด ๆ กับโจทกก็ดี นางสาววรรณลพร เปนคูสัญญาที่แทจริงกับจําเลยเนื่องจากเอกสารทั้งหมดในการรับงานที่เสนอ กับจําเลยระบุชื่อนางสาววรรณลพร และนางสาววรรณลพรไมเคยทําความเสียหายหรือผิดสัญญา จางกับจำเลยก็ดี และโจทกมีหนาที่ตามปกติที่ตองเขาไปสั่งงานกับชางรับเหมากอสรางเพื่อใหงาน ออกมาเสร็จสมบูรณถูกตองตรงตามเวลาตามความตองการของจําเลยและลูกคาของจําเลย และ การประเมินของลูกคาถือวาโจทกทำงานไดดีมากก็ดีนั้น เห็นวา อุทธรณของโจทกดังกลาวลวนแต เปนการอุทธรณโตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่ฟงขอเท็จจริงวา โจทกไมไดปฏิบัติหนาที่เพื่อรักษาผลประโยชนของจำเลยและใชตำแหนงหนาที่และความไววางใจ ของจำเลยในการเอื้อประโยชนใหแกผูรับเหมากอสรางอันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหาม มิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชํานัญพิเศษไมรับวินิจฉัย มีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกวา การกระทำของโจทกเปนการทุจริตตอ หนาที่ ฝาฝนขอบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่รายแรง และจำเลยเลิกจางโจทกโดย ไมเปนธรรมหรือไม เห็นวา พระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มิไดใหความหมายคำวา “ทุจริต” ไวและมิไดใชคำวา “โดยทุจริต” ตามที่บัญญัติไวในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑) จึงตองใหความหมายวา “ทุจริต” ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไมซื่อตรง สวนการ ๗


๘ จะถือวากรณีใดเปนการฝาฝนขอบังคับเกี่ยวกับทํางานเปนกรณีที่รายแรงหรือไม มิใชจะดูแตเพียง ขอบังคับเกี่ยวกับการทํางาน แตจะตองวิเคราะหถึงปจจัยตาง ๆ ประกอบกันหลายประการ อาทิ ตำแหนงหนาที่การงานของลูกจาง ลักษณะและพฤติการณการกระทำผิดของลูกจาง ตลอดจน ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดวามีมากนอยเพียงใด เมื่อศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง แลววาโจทกในฐานะลูกจางจําเลยมิไดปฏิบัติหนาที่เพื่อรักษาผลประโยชนของจําเลย แตพฤติการณ ของโจทกเปนการเอื้อประโยชนใหแกผูรับเหมากอสราง และประพฤติตนเสมือนหนึ่งเปนผูรับเหมา กอสรางเพื่อรับงานของจําเลยเสียเอง ทั้งที่โจทกมีหนาที่ควบคุมผูรับเหมากอสรางใหปฏิบัติงาน ตามสัญญาจางรับเหมา และโจทกรูระเบียบและแนวทางปฏิบัติของจําเลย รวมทั้งรูราคากลาง ในการคัดเลือกผูรับเหมากอสราง จําเลยจึงใหโจทกสรรหาและนําเสนอผูรับเหมากอสรางอันแสดง ใหเห็นวาโจทกไดรับความไววางใจจากจำเลยใหทําหนาที่สรรหาและตอรองราคากับผูรับเหมา กอสราง แตโจทกกลับใชตำแหนงหนาที่และความไววางใจของจำเลยในการเอื้อประโยชนใหแก ผูรับเหมากอสรางและประพฤติตนเสมือนหนึ่งเปนผูรับเหมากอสรางเสียเองเชนนี้ การกระทำ ของโจทกจึงเปนการประพฤติไมซื่อตรงอันเปนการทุจริตตอหนาที่ และเปนการยินยอมใหผูอื่น แสวงหาประโยชนใด ๆ จากจำเลยอันเปนการฝาฝนขอบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณี ที่รายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจางโจทกไดโดยไมตองจายคาชดเชยตามพระราชบัญญัติคุมครอง แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ (๑) และ (๔) ทั้งยังเปนการกระทำอันไมสมแกการปฏิบัติ หนาที่ของตนใหลุลวงไปโดยถูกตองและสุจริต จำเลยจึงเลิกจางโจทกไดโดยไมตองบอกกลาว ลวงหนาตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๕๘๓ และเปนการเลิกจางที่มีเหตุสมควร จึงมิใชการเลิกจางโดยไมเปนธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดี แรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟองโจทกมานั้น ศาลอุทธรณ คดีชํานัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของโจทกฟงไมขึ้น พิพากษายืน. ฐานุตร เล็กสุภาพ - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ (เกื้อ วุฒิปวัฒน - สุจินต เชี่ยวชาญศิลป - วิชชุพล สุขสวัสดิ์)


๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๕๗๘ - ๑๕๘๐/๒๕๖๓ นางอาภาพรรณ นุชเนื่อง กับพวก โจทก บริษัทสยาม ไอ.เค.เค. จำกัด จำเลย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ จําเลยประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทําใหยอดขายสินคาลดลงอยางมาก และ รายรับเพิ่มเติมจากลูกคารายใหมไมสามารถชดเชยรายรับที่ลดลงได ทําใหจําเลยตอง แบกรับภาระคาใชจายที่เพิ่มขึ้น และเมื่อพิจารณาผลประกอบการในป ๒๕๕๙ จําเลยมี กําไรประมาณ ๓๗ ลานบาทเศษ ป ๒๕๖๐ จําเลยมีกําไรประมาณ ๒๓ ลานบาทเศษ แตป ๒๕๖๑ จําเลยกลับขาดทุนสูงถึง ๓๑ ลานบาทเศษ แสดงใหเห็นวา ผลประกอบการของ จําเลยในชวงปหลัง ๆ มีแนวโนมกําไรลดลงอยางตอเนื่องจนถึงขั้นขาดทุนอยางหนักในป ๒๕๖๑ จากสภาพการณดังกลาวหากจําเลยไมมีมาตรการใด ๆ ในการแกไขปญหาที่เกิดขึ้น ยอมจะนําไปสูการปดกิจการลงอยางแนนอน ซึ่งจะสงผลกระทบในวงกวางตอลูกจาง จําเลยทุกคน เมื่อจําเลยพยายามแกไขปญหาดังกลาวโดยการปรับโครงสรางองคกรและ ลดพนักงานที่ไมจําเปนลงอันเปนมาตรการที่จําเปนอยางหนึ่ง ปรับโครงสรางองคกรใหม และยกเลิกการจางงานในตําแหนงใหมที่ไมจําเปน รวมทั้งเพิ่มมาตรการลดคาใชจายเทาที่ จําเปนตอการประกอบกิจการอีกมาตรการหนึ่ง อันแสดงใหเห็นวาจําเลยพยายามแกไข ปญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำดวยมาตรการที่จําเปนแลว การที่จําเลยมีหนังสือแจงการ เลิกจางโจทกทั้งสามเปนกรณีที่มีเหตุผลเชื่อมโยงถึงมาตรการที่จําเปนของจําเลยในการ แกไขปญหาดังกลาวขางตน ประกอบกับตําแหนงหนาที่งานของโจทกทั้งสามตางก็มี เนื้องานที่เกี่ยวของกับเรื่องยอดขายสินคาของจําเลยทั้งสิ้น การที่จําเลยตัดสินใจปรับลด จํานวนพนักงานในสวนที่เกี่ยวของกับยอดขายสินคาลงบางจึงเปนการใชอํานาจในกรอบ การบริหารงานองคกรที่มีเหตุผลเพื่อความอยูรอดของจําเลยตอไป มิใชเปนการใชอํานาจ ตามอําเภอใจ ทั้งกอนการเลิกจางจําเลยยังจายคาจาง คาชดเชย และสินจางแทนการบอก กลาวลวงหนา ใหแกโจทกทั้งสามครบถวนตามกฎหมาย และยังจายคาเสียหายอันเนื่อง มาจากการเลิกจางใหแกโจทกทั้งสามเพิ่มเติมอีกสวนหนึ่งดวย เมื่อไมปรากฏขอเท็จจริง วาการที่จําเลยเลิกจางโจทกทั้งสามเปนการเลือกปฏิบัติหรือมีเจตนากลั่นแกลงโจทกทั้งสาม


๑๐ กรณีจึงถือไดวาจําเลยเลิกจางโจทกทั้งสามโดยมีเหตุผลอันสมควรเพียงพอ ไมใชการ เลิกจางที่ไมเปนธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ โจทกทั้งสามฟองและแกไขคำฟอง ขอใหบังคับจำเลยจายคาเสียหายจากการเลิกจาง ที่ไมเปนธรรมใหแกโจทกที่ ๑ เปนเงิน ๙๖๙,๙๕๓ บาท โจทกที่ ๒ เปนเงิน ๗๒๘,๒๙๙ บาท และโจทกที่ ๓ เปนเงิน ๓๐๙,๑๘๗ บาท (ที่ถูก ๓๐๙,๑๘๗.๕๐ บาท) พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินแตละจำนวนนับแตวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทกทั้งสาม จำเลยใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานภาค ๑ พิพากษาใหจำเลยจายคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรม ใหแกโจทกที่ ๑ เปนเงิน ๖๔๐,๐๐๐ บาท โจทกที่ ๒ เปนเงิน ๓๘๐,๐๐๐ บาท และโจทกที่ ๓ เปนเงิน ๑๗๐,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินดังกลาวทุกจำนวน นับตั้งแตวันฟอง (ฟองวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑) เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทกทั้งสาม จำเลยอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานภาค ๑ ฟงขอเท็จจริงวา จำเลยเปนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการผลิตเม็ดเหล็กชนิดกลม เม็ดเหล็ก ชนิดเหลี่ยม และเหล็กหลอพิเศษ เพื่อการจำหนายทั้งภายในและภายนอกประเทศ โจทกทั้งสาม เปนลูกจางจำเลย โดยโจทกที่ ๑ เขาทำงานตั้งแตวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๓๔ ตำแหนงเจาหนาที่ ซัพพลายเชน ไดรับคาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๓๖,๖๐๒ บาท โจทกที่ ๒ เขาทำงานตั้งแตวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔ ตำแหนงผูชำนาญการดานเทคนิค ไดรับคาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๑๑๒,๐๔๖ บาท และโจทกที่ ๓ เขาทำงานตั้งแตวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ตำแหนงผูจัดการ ฝายขายไดรับคาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๔๑,๒๒๕ บาท กำหนดจายคาจางแกโจทกทั้งสาม ทุกวันสิ้นเดือน ตอมาวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๑ จำเลยมีหนังสือเลิกจางโจทกทั้งสาม แลววินิจฉัย วา เมื่อพิจารณาผลการประกอบกิจการของจำเลยในป ๒๕๕๙ จำเลยกำไรประมาณ ๓๗ ลานบาทเศษ ป ๒๕๖๐ จำเลยกำไรประมาณ ๒๓ ลานบาทเศษ และป ๒๕๖๑ จำเลยขาดทุนประมาณ ๓๑ ลานบาทเศษ แมวาผลการประกอบการในป ๒๕๖๑ จำเลยจะขาดทุนก็ตาม แตจำเลยเริ่ม จดทะเบียนเปนนิติบุคคลเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๓๑ ดวยทุนจดทะเบียน ๔๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และจากผลประกอบการของจำเลยตามแบบนำสงงบการเงินปรากฏวา จำเลยมีสินทรัพยรวมในป


๒๕๖๑ เปนเงิน ๕๓๐,๑๔๗,๘๖๕ บาท ป ๒๕๖๐ เปนเงิน ๕๘๕,๑๑๔,๘๘๙ บาท ป ๒๕๕๙ เปนเงิน ๕๗๓,๑๘๒,๓๘๔ บาท และป ๒๕๕๘ เปนเงิน ๕๓๕,๘๒๐,๒๑๖ บาท และมีหนี้สินรวมในป ๒๕๖๑ เปนเงิน ๘๑,๘๕๙,๒๓๙ บาท ป ๒๕๖๐ เปนเงิน ๘๐,๒๖๑,๘๗๗ บาท ป ๒๕๕๙ เปนเงิน ๗๘,๐๗๐,๕๒๒ บาท และป ๒๕๕๘ เปนเงิน ๖๖,๐๙๑,๔๕๗ บาท และมีกำไรที่ยังไมไดจัดสรร ในป ๒๕๖๑ เปนเงิน ๓๙๕,๔๘๘,๖๒๖ บาท ป ๒๕๖๐ เปนเงิน ๔๕๒,๐๕๓,๐๑๒ บาท ป ๒๕๕๙ เปนเงิน ๔๔๒,๓๑๑,๘๖๒ บาท และป ๒๕๕๘ เปนเงิน ๔๑๖,๙๒๘,๗๕๙ บาท แสดงใหเห็นวา จำเลยมีทรัพยสินและมีกำไรจากการประกอบการมาตั้งแตจำเลยเริ่มจดทะเบียนจนถึงป ๒๕๖๑ โดยจำเลยมีสินทรัพยเปนเงิน ๕๓๐,๑๔๗,๘๖๕ บาท และมีกำไรที่ยังไมไดจัดสรรในป ๒๕๖๑ เปนเงิน ๓๙๕,๔๘๘,๖๒๖ บาท เปนขอบงชี้วา ในป ๒๕๖๑ ผลประกอบการของจำเลยยังไมได ขาดทุนจนถึงขนาดที่จำเลยไมสามารถประกอบกิจการตอไปได แมวาจำเลยจะประสบภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำทำใหยอดขายสินคาลดลงอยางมาก และรายรับเพิ่มเติมจากลูกคารายใหมไมสามารถชดเชย รายรับที่ลดลงได ทำใหจำเลยตองแบกรับภาระคาใชจายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แตกิจการของจำเลย ยังมีสินทรัพยและมีกำไรจากการประกอบกิจการอยูจำนวนมาก เพียงแตขาดทุนในป ๒๕๖๑ เพียงปเดียวเทานั้น กรณียังไมไดความวาจำเลยขาดทุนทุกปจนไมสามารถดำเนินกิจการตอไปได แมการเลิกจางดังกลาวมีสาเหตุตามที่จำเลยกลาวอางอยูบางแตก็ไมใชสาเหตุที่จำเปนหรือสมควร จนถึงขนาดตองเลิกจางโจทกทั้งสาม เมื่อจำเลยเลิกจางโจทกทั้งสามโดยไมปรากฏวาโจทกทั้งสาม กระทำความผิด กรณีจึงเปนการเลิกจางที่ยังไมมีเหตุอันสมควรและเพียงพอ เปนการเลิกจางที่ ไมเปนธรรม จำเลยจึงตองรับผิดชดใชคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมใหแกโจทกทั้งสาม คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยในประการแรกวา การที่จำเลยเลิกจาง โจทกทั้งสามเปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรมหรือไม เห็นวา คดีนี้ศาลแรงงานภาค ๑ ฟงขอเท็จจริง แลววา จำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำใหยอดขายสินคาลดลงอยางมาก และรายรับเพิ่ม เติมจากลูกคารายใหมไมสามารถชดเชยรายรับที่ลดลงได ทำใหจำเลยตองแบกรับภาระคาใชจาย ที่เพิ่มขึ้น และเมื่อพิจารณาผลประกอบการในป ๒๕๕๙ จำเลยมีกำไรประมาณ ๓๗ ลานบาทเศษ ป ๒๕๖๐ จำเลยมีกำไรประมาณ ๒๓ ลานบาทเศษ แตป ๒๕๖๑ จำเลยกลับขาดทุนสูงถึง ๓๑ ลานบาทเศษ ประกอบงบกำไรขาดทุนเอกสารหมาย ล.๓๐ และ ล.๓๑ อันแสดงใหเห็นวา ผลประกอบการของจำเลยในชวงปหลัง ๆ มีแนวโนมกำไรลดลงอยางตอเนื่องจนถึงขั้นขาดทุนอยาง หนักในป ๒๕๖๑ จากสภาพการณดังกลาวหากจำเลยไมมีมาตรการใด ๆ ในการแกไขปญหาที่ เกิดขึ้นยอมจะนำไปสูการปดกิจการลงอยางแนนอน ซึ่งจะสงผลกระทบในวงกวางตอลูกจาง จำเลยทุกคน เมื่อขอเท็จจริงปรากฏวา จำเลยพยายามแกปญหาดังกลาวโดยการปรับโครงสราง ๑๑


๑๒ องคกรและลดพนักงานที่ไมจำเปนลงอันเปนมาตรการที่จำเปนอยางหนึ่ง โดยจำเลยพยายามปรับ ลดพนักงานใหนอยลงกลาวคือ เมื่อตนป ๒๕๕๙ จำเลยมีพนักงานทั้งสิ้น ๗๕ คน เมื่อมีพนักงาน ลาออกหรือพนสภาพการเปนลูกจาง จำเลยจะใหพนักงานที่มีอยูปฏิบัติหนาที่แทนโดยไมมีการ จางพนักงานใหม ทำใหเหลือพนักงานทั้งสิ้น ๖๖ คน ตอมาป ๒๕๖๐ จำเลยปรับโครงสรางองคกร ใหมโดยการควบรวมหนวยงานซัพพลายเชนกับหนวยงานสนับสนุนการขายเขาเปนหนวยงาน เดียวกัน และเมื่อตนป ๒๕๖๑ จำเลยไดยกเลิกการจางในตำแหนงใหมที่ไมจำเปน ๓ อัตรา คือ ตำแหนงผูจัดการฝายขาย ตำแหนงภูมิภาคประจำประเทศอินโดนีเซียและประเทศเวียดนาม และ ตำแหนงหัวหนางานฝายบริหารคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ นอกจากนี้เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๑ จำเลยยังเพิ่มมาตรการลดคาใชจายเทาที่จำเปนตอการประกอบกิจการอีกหนึ่งมาตรการ คือ มาตรการควบคุมการจายเงินที่มีมูลคาเกินกวา ๑,๐๐๐ บาท ตอครั้ง ตองไดรับอนุญาตจาก ผูจัดการทั่วไป อันแสดงใหเห็นวาจำเลยพยายามแกไขปญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำดวยมาตรการ ที่จำเปนแลว การที่จำเลยมีหนังสือแจงการเลิกจางโจทกทั้งสามจึงเปนกรณีที่มีเหตุผลเชื่อมโยง ถึงมาตรการที่จำเปนของจำเลยในการแกไขปญหาดังกลาวขางตน ประกอบกับตำแหนงหนาที่ งานของโจทกทั้งสามตางก็มีเนื้องานที่เกี่ยวของกับเรื่องยอดขายสินคาของจำเลยทั้งสิ้น การที่ จำเลยตัดสินใจปรับลดจำนวนพนักงานในสวนที่เกี่ยวของกับยอดขายสินคาลงบางจึงเปนการใช อำนาจในกรอบการบริหารงานองคกรที่มีเหตุผลเพื่อความอยูรอดของจำเลยตอไปมิใชเปนการ ใชอำนาจตามอำเภอใจ ทั้งกอนการเลิกจางจำเลยยังจายคาจาง คาชดเชย และสินจางแทนการ บอกกลาวลวงหนาใหแกโจทกทั้งสามครบถวนตามกฎหมาย และยังจายคาเสียหายอันเนื่องมาจาก การเลิกจางใหแกโจทกทั้งสามเพิ่มเติมอีกสวนหนึ่งดวย เมื่อไมปรากฏขอเท็จจริงวาการที่ จำเลยเลิกจางโจทกทั้งสามเปนการเลือกปฏิบัติหรือมีเจตนากลั่นแกลงโจทกทั้งสาม กรณีจึงถือ ไดวาจำเลยเลิกจางโจทกทั้งสามโดยมีเหตุผลอันสมควรเพียงพอ ไมใชการเลิกจางที่ไมเปนธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ ที่ศาล แรงงานภาค ๑ วินิจฉัยวาการที่จำเลยเลิกจางโจทกทั้งสามเปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรมนั้น ไมตองดวยความเห็นของศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ อุทธรณของจำเลยขอนี้ฟงขึ้น เมื่อไดวินิจฉัย ดังนี้แลว กรณีจึงไมจำตองวินิจฉัยอุทธรณของจำเลยขออื่นอีกตอไป พิพากษากลับใหยกฟองโจทกทั้งสาม. ฐานุตร เล็กสุภาพ - ยอ วัชรินทร ฤชุโรจน - ตรวจ (ธีระพล ศรีอุดมขจร - อนุวัตร ขุนทอง - กนกรดา ไกรวิชญพงศ)


๑๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๘๓๓/๒๕๖๓ นางสาวสุเจดา ชัยสวัสดิ์อารี โจทก บริษัทครัวการบินกรุงเทพ จำกัด กับพวก จำเลย พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ แมคณะกรรมการของจําเลยที่ ๑ เทานั้นที่มีอํานาจกําหนดนโยบายหรือแนวทาง การดําเนินกิจการของบริษัทจําเลยที่ ๑ รวมทั้งกิจการของบริษัทในเครือ แตการที่โจทก เปนลูกจางจําเลยที่ ๑ มีตําแหนงประธานเจาหนาที่บริหารฝายการเงิน ซึ่งเปนหนึ่งในคณะ ทํางานระดับสูงของบริษัทจําเลยที่ ๑ ที่ไดรับมอบหมายใหทําหนาที่เปนกรรมการบริษัท ในเครือ โดยโจทกมีหนาที่เขารวมประชุมผูบริหารและประชุมกรรมการบริษัทดวย แมการ แสดงความเห็นของโจทกในที่ประชุมผูบริหารมีลักษณะขัดแยงกับการทํางานของคณะ ทํางานฝายบริหารรวมทั้งกรรมการผูจัดการทําใหจําเลยที่ ๒ ไดรับความอับอาย ก็เปนเรื่อง ของการทํางานในหนาที่ที่มีความเห็นขัดแยงกัน ถือไมไดวาเปนความประพฤติที่เสื่อมเสีย ถึงขั้นที่จําเลยที่ ๑ จะเลิกจางโจทกเสียไดทันที กรณีจึงยังไมมีเหตุอันสมควรเพียงพอแก การเลิกจางโจทก จําเลยที่ ๑ เลิกจางโจทกไมเปนธรรม การเปนนายจางตาม พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ (๒) ในกรณี ที่นายจางเปนนิติบุคคล ผูที่เปนนายจางใหหมายความรวมถึงผูมีอํานาจกระทําการแทน นิติบุคคลและผูซึ่งไดรับมอบหมายจากผูมีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลใหทําการแทน ดวย ดังนั้นการที่จําเลยที่ ๑ เปนนายจางของโจทก และจําเลยที่ ๑ มีจําเลยที่ ๒ เปนกรรมการ ผูจัดการ มีอํานาจกระทําการแทนจําเลยที่ ๑ จําเลยที่ ๒ จึงมีฐานะเปนนายจางดวยตาม บทบัญญัติขางตน แตอยางไรก็ตามฐานะของจําเลยที่ ๒ ที่เปนนายจางโจทกก็เปนใน นามของจําเลยที่ ๑ ซึ่งเปนนิติบุคคล จําเลยที่ ๒ เพียงรวมรับผิดกับจําเลยที่ ๑ ซึ่งเปน นิติบุคคลเทานั้น ไมตองรับผิดเปนสวนตัว ที่ศาลแรงงานภาค ๑ วินิจฉัยวา จําเลยที่ ๒ ไมตอง รวมรับผิดกับจําเลยที่ ๑ ในการชําระคาเสียหายแกโจทก จึงไมตองดวยบทบัญญัติของ กฎหมายดังกลาว


๑๔ โจทกฟอง ขอใหบังคับจำเลยทั้งสองรวมกันชำระคาเสียหายจากการเลิกจางไมเปนธรรม และการทำละเมิด ๕,๑๘๔,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป นับแตวันเลิกจาง เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก ใหจำเลยทั้งสองรวมกันออกหนังสือประกาศแกไขขาวให โจทกโดยสงทางจดหมายอิเล็กทรอนิกสแกพนักงานทุกคนและปดไว ณ สำนักงานของจำเลยที่ ๑ และบริษัทในเครือในสถานที่เปดเผยเปนเวลาหนึ่งเดือนวาโจทกไมมีพฤติกรรมดังที่ระบุไวในหนังสือ เลิกจาง จำเลยทั้งสองใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานภาค ๑ พิพากษาใหจำเลยที่ ๑ ชำระคาเสียหายจากการเลิกจางไมเปน ธรรม ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป นับถัดจากวันฟอง (ฟองวันที่ ๑ กุมภาพันธ ๒๕๖๒) เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก และยกฟอง จำเลยที่ ๒ โจทกและจำเลยที่ ๑ อุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ขอเท็จจริงรับฟงไดวา จำเลย ที่ ๑ เปนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยที่ ๒ เปนประธานกรรมการบริหารและเปนหนึ่งใน คณะกรรมการบริษัท โจทกเปนลูกจางจำเลยที่ ๑ ตั้งแตวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๗ ตำแหนงสุดทาย เปนประธานเจาหนาที่บริหารฝายการเงิน ไดรับคาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๒๑๖,๐๐๐ บาท วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๑ จำเลยที่ ๑ มีหนังสือเลิกจางโจทกอางวา โจทกมีความประพฤติและปฏิบัติ ตนไมเหมาะสมกับตำแหนงผูบริหารระดับสูงขององคกร กลาวคือ โจทกปฏิบัติตนขัดแยงกับ นโยบายที่ไดรับมอบหมายจากกรรมการผูจัดการเปนประจำและตอเนื่อง กระทำโดยตั้งใจและ เจตนาทำใหกรรมการผูจัดการไดรับความอับอายในที่ประชุมผูบริหารประจำสัปดาห ประจำเดือน และประชุมกรรมการบริษัทมาโดยตลอด สรางความแตกแยกในองคกรในเรื่องนโยบายการตลาด ที่แตกตางจากนโยบายของบริษัท ไมยอมรับใน Code of Conduct ขอกำหนดในการทำงานและ การบริหารงานของกรรมการผูจัดการ มีพฤติกรรมเปนปฏิปกษตอกรรมการผูจัดการทั้งตอหนา และลับหลังในที่สาธารณะ และเปดเผยขอมูลภายในของบริษัทใหบุคคลภายนอกทำใหบริษัท เสื่อมเสียชื่อเสียงและไดรับความเสียหาย คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยที่ ๑ วา มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่ จำเลยที่ ๑ จะเลิกจางโจทก จึงไมใชการเลิกจางไมเปนธรรมหรือไม เห็นวา แมคณะกรรมการของ จำเลยที่ ๑ เทานั้นที่มีอำนาจกำหนดนโยบายหรือแนวทางการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ ๑ รวมทั้งกิจการของบริษัทในเครือ แตการที่โจทกเปนลูกจางจำเลยที่ ๑ มีตำแหนงประธานเจาหนาที่


๑๕ บริหารฝายการเงิน ซึ่งเปนหนึ่งในคณะทำงานระดับสูงของบริษัทจำเลยที่ ๑ ที่ไดรับมอบหมาย ใหทำหนาที่เปนกรรมการบริษัทในเครือโดยโจทกมีหนาที่เขารวมประชุมผูบริหารและประชุม กรรมการบริษัทดวย แมการแสดงความเห็นของโจทกในที่ประชุมผูบริหารมีลักษณะขัดแยงกับ การทำงานของคณะทำงานฝายบริหารรวมทั้งกรรมการผูจัดการ ทำใหจำเลยที่ ๒ ไดรับความ อับอาย เมื่อการแสดงความเห็นของโจทกในที่ประชุมผูบริหารดังกลาวนี้ไมใชการแสดงอำนาจ หนาที่ไปในทางกำหนดนโยบายหรือแนวทางการดำเนินกิจการของจำเลยที่ ๑ เสียเอง อันจะเปน การกระทำที่ขัดหรือแยงกับคำสั่งหรือนโยบายที่ไดรับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งเปน การกระทำนอกเหนือหนาที่และตอตานการบริหารงานของจำเลยที่ ๒ ผูเปนกรรมการผูจัดการ ของจำเลยที่ ๑ และอาจสงผลใหธุรกิจของจำเลยที่ ๑ ดำเนินไปไมราบรื่นเทาที่ควร ทั้งการนำเรื่อง การทำหนาที่บกพรองของพนักงานอื่นที่ไมเกี่ยวของในการประชุมมาพูดในที่ประชุม ก็มิใชเปน การเปดเผยขอมูลภายในของบริษัทจำเลยที่ ๑ แกบุคคลภายนอก ที่จะสงผลใหจำเลยที่ ๑ เสียชื่อเสียงและไดรับความเสียหาย สวนขออางเรื่องการใชบัตรเครดิตสวนตัวของโจทกจายคาเดินทาง ของพนักงานในบริษัทเพื่อใหเกิดประโยชนแกตนเองวาเปนการขัดตอจรรยาบรรณในการปฏิบัติ หนาที่ทางธุรกิจของจำเลยที่ ๑ ศาลแรงงานภาค ๑ รับฟงขอเท็จจริงแลววา มิใชโจทกเพียงคน เดียวที่ใชบัตรเครดิตสำรองจายคาใชจายในบางเรื่อง จำเลยที่ ๒ และกรรมการบริษัทก็ปฏิบัติ เชนเดียวกันในกรณีจำเปน อีกทั้งเปนการใชจายจริงไมปรากฏการทุจริตเกี่ยวกับการใชบัตรเครดิต ดังกลาว สำหรับการสรางความแตกแยกในองคกร ศาลแรงงานภาค ๑ ไดวินิจฉัยวา ไมปรากฏ พฤติการณของโจทกที่มีตอลูกจางจำเลยที่ ๑ อยางไรวาเปนเหตุใหเกิดความแตกแยกในองคกร ทั้งความบกพรองในเรื่องของการจายเงินเดือนพนักงาน การจายเงินใหบริษัทคูคาลาชานั้น มีการ ประชุมหารือเพื่อแกปญหาดานการบริหารของฝายการเงินในชวงเดือนมีนาคม ๒๕๖๐ กอนที่มี การเลิกจางโจทก ๑ ปเศษ โดยไมปรากฏวาโจทกยังคงปลอยปละละเลยใหเกิดปญหาเชนเดิม หรือไมแกไขปญหาดังกลาวอีก แมจำเลยที่ ๑ จะไดพิจารณาแลวเห็นวา โจทกยังคงกระทำผิด จนกระทั่งเกิดเหตุการณที่โจทกพูดในการประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๑ ทำใหจำเลยที่ ๒ ไดรับความอับอายในที่ประชุม เปนเหตุใหจำเลยที่ ๑ ตองเลิกจางโจทกตามที่ อุทธรณก็ตาม แตพฤติกรรมของโจทกดังที่ศาลแรงงานภาค ๑ รับฟงมานั้น เปนการแสดงออก ถึงความเห็นที่ขัดแยงกับจำเลยที่ ๒ ยังไมมีผลกระทบตอการบริหารกิจการงานของจำเลยที่ ๑ อยางชัดเจน การที่โจทกมีพฤติกรรมในการทำงานที่กระทบตออารมณความรูสึกของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเปนกรรมการผูจัดการใหไดรับความอับอายในที่ประชุม ก็เปนเรื่องของการทำงานในหนาที่ ที่มีความเห็นขัดแยงกัน ถือไมไดวาเปนความประพฤติที่เสื่อมเสียถึงขั้นที่จำเลยที่ ๑ จะเลิกจาง


๑๖ โจทกเสียไดทันที กรณีจึงยังไมมีเหตุอันสมควรเพียงพอแกการเลิกจางโจทก จำเลยที่ ๑ เลิกจาง โจทกไมเปนธรรม ที่ศาลแรงงานภาค ๑ วินิจฉัยมานั้นตองดวยความเห็นของศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษ อุทธรณของจำเลยที่ ๑ ฟงไมขึ้น ที่โจทกอุทธรณวา ศาลแรงงานภาค ๑ กำหนดคาเสียหายจากการเลิกจางไมเปนธรรม แกโจทกเปนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ไมชอบดวยกฎหมาย ตามคำฟองโจทกไดอธิบายโดยชัดแจง ซึ่งสภาพแหงขอหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง เกี่ยวกับระยะเวลาการทำงานและอัตราเงินเดือน สวนคำเบิกความพยานโจทกก็เบิก ความในรายละเอียดและอางพยานเอกสารไวครบถวนแลว เมื่อพิจารณาประกอบคำเบิกความ ของพยานจำเลย แสดงใหเห็นวาโจทกไดรับความเสียหายจริง ศาลแรงงานภาค ๑ กำหนด คาเสียหายใหแกโจทกในจำนวนที่นอยเกินไป ไมไดไตสวนขอเท็จจริงใหชัดแจงเพื่อใหทราบจำนวน ความเสียหายที่แทจริง เปนการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไมครบถวนสมบูรณ กรณีตองมีการ ไตสวนเพื่อรับฟงและกำหนดคาเสียหายขึ้นใหม ขอใหพิพากษาใหจำเลยทั้งสองชดใชคาเสียหาย ๕,๑๘๔,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยแกโจทก เห็นวา อุทธรณของโจทกดังกลาวเปนการโตเถียง ดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค ๑ เพื่อนำไปสูขอกฎหมายวา ศาลแรงงาน ภาค ๑ รับฟงพยานหลักฐานชอบหรือไม และกำหนดคาเสียหายชอบหรือไม เปนการอุทธรณ โดยยกเหตุอื่น ๆ ขึ้นเพื่อโตแยงดุลพินิจในการกำหนดคาเสียหายของศาลแรงงานภาค ๑ อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหามมิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกวา จำเลยที่ ๒ จะตองรวมกับจำเลยที่ ๑ รับผิดในคาเสียหายตอโจทกหรือไม เห็นวา การเปนนายจางตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ (๒) ในกรณีที่นายจางเปนนิติบุคคล ผูที่เปนนายจางใหหมายความรวมถึง ผูมีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผูซึ่งไดรับมอบหมายจากผูมีอำนาจกระทำการแทน นิติบุคคลใหทำการแทนดวย ดังนั้นการที่จำเลยที่ ๑ เปนนายจางของโจทก และจำเลยที่ ๑ มีจำเลย ที่ ๒ เปนกรรมการผูจัดการ มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ จึงมีฐานะเปนนายจาง ดวยตามบทบัญญัติขางตน แตอยางไรก็ตามฐานะของจำเลยที่ ๒ ที่เปนนายจางโจทกก็เปน ในนามของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเปนนิติบุคคล จำเลยที่ ๒ เพียงรวมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ซึ่งเปนนิติบุคคล เทานั้น ไมตองรับผิดเปนสวนตัว ที่ศาลแรงงานภาค ๑ วินิจฉัยวา จำเลยที่ ๒ ไมตองรวมรับผิด กับจำเลยที่ ๑ ในการชำระคาเสียหายแกโจทก จึงไมตองดวยบทบัญญัติของกฎหมายดังกลาว อุทธรณของโจทกขอนี้ฟงขึ้น


๑๗ พิพากษาแกเปนวา ใหจำเลยที่ ๒ รวมกับจำเลยที่ ๑ ชำระคาเสียหายจากการเลิกจาง ไมเปนธรรมพรอมดอกเบี้ยแกโจทก แตจำเลยที่ ๒ ไมตองรับผิดเปนสวนตัว นอกจากที่แกใหเปน ไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๑. ธัชวุทธิ์ พุทธิสมบัติ - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ (ผจงธรณ วรินทรเวช - โสภณ พรหมสุวรรณ - พิเชฏฐ รื่นเจริญ)


๑๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๑๘/๒๕๖๔ นายบัญญัติ กองวัง โดยนางพัณณชิตา ทุมวัน ผูเขาเปนคูความแทน โจทก บริษัททศท คอรปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) จำเลย ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชนของพนักงาน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๓๔ ขอ ๔๕ (๓) ขอ ๔๖ แมจําเลยอางวาไดดําเนินการสอบสวนทางวินัยโจทกโดยถูกตองตามหลักเกณฑ วิธีปฏิบัติขององคกรตามขั้นตอนเปนลําดับ และเปนไปตามระเบียบขอบังคับของจําเลย วาดวย การพนักงาน พ.ศ. ๒๕๓๖ ที่กําหนดไวโดยเครงครัดดวยความเปนธรรมทุกขั้นตอน ไมเปนการกลั่นแกลงโจทกก็ตาม การพิจารณาวาโจทกกระทําผิดวินัยรายแรงหรือไม หาไดพิจารณาเพียงการสอบสวนวาเปนไปโดยถูกตองตามลําดับขั้นตอนหรือไมเทานั้น เนื่องจากมิไดเปนสิ่งที่ชี้ใหเห็นวาโจทกกระทําผิดวินัยรายแรงหรือไมแตตองพิจารณา จากพยานหลักฐานอื่นประกอบดวย โจทกไมไดกระทําผิดวินัยอยางรายแรงตามขอบังคับ องคการโทรศัพทแหงประเทศไทย วาดวย การพนักงาน พ.ศ. ๒๕๓๖ ขอ ๔๔ และขอ ๔๖ เมื่อจําเลยมีคําสั่งไลออกโจทกอันเปนการเลิกจางโดยไมเขาขอยกเวนที่ไมตองจาย คาชดเชยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๓๔ ขอ ๔๖ จําเลยจึงตองจายคาชดเชยใหแกโจทกตาม ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธฉบับดังกลาว ขอ ๔๕ (๓) หลักเกณฑและเงื่อนไขในการจายเงินโบนัสหรือสิทธิที่ลูกจางจะไดรับเงินโบนัส ยอมเปนไปตามขอตกลงระหวางนายจางกับลูกจางนั้น เมื่อจําเลยไดกําหนดหลักเกณฑ เกี่ยวกับเงินโบนัสไวตามคําสั่งจําเลยที่ รง.๖/๒๕๔๗ เรื่อง โบนัส โดยกําหนดเกี่ยวกับจํานวน


๑๙ โบนัส การนับเวลาการปฏิบัติงานในปสํารวจโบนัส พนักงานที่มีสิทธิไดรับโบนัส การหัก โบนัส วิธีการคํานวณอัตราเงินเดือนเฉลี่ยตอเดือน การชะลอการจายโบนัส การดําเนิน การจายโบนัส โดยขอ ๔ กําหนดไววา “พนักงานที่มีสิทธิไดรับโบนัสประจําป จะตองเปน ผูที่มีเวลาปฏิบัติงานในปสํารวจโบนัส ไมนอยกวา ๓ เดือน หรือ ๙๐ วัน และตองเปนผูที่ ไมถูกลงโทษทางวินัยถึงขั้นใหออก ไลออก หรือเลิกจางโดยมีความผิด” เมื่อศาลแรงงานกลาง ฟงขอเท็จจริงแลววาโจทกไมไดกระทําผิดวินัยอยางรายแรง โจทกจึงยังคงมีสิทธิไดรับ เงินโบนัสตามหลักเกณฑที่จําเลยกําหนดไว โจทกเปนผูนําเครื่องโทรศัพทเคลื่อนที่ยี่หอ NOKIA รุน CITY MAN หมายเลขเครื่อง ๖๑๙๘๑ หมายเลข ปท. ๖๓๖๓๘/๓๓ ระบบ ๔๗๐ MHz หมายเลขโทรศัพท ๐๑-๒๑๐xxxx ซึ่งเปนหนึ่งในของกลางที่เจาพนักงานตํารวจกองปราบปรามยึดไดจากบานของนาย ร. มาขายใหแกนาย ร. ประกอบกับพฤติการณแหงคดีที่โจทกถูกกลาวหาวาใชอํานาจ ในตําแหนงโดยทุจริตนําขอมูลเลขหมายโทรศัพทเคลื่อนที่ ระบบ ๔๗๐ MHz และรหัสผาน จํานวน ๔๐ เลขหมาย ซึ่งเปนความลับในราชการแจงใหนาย ร. เพื่อนําขอมูลไปขายหรือ ใหเชาโดยไมตองชําระคาโทรศัพทตามจํานวนที่ใชงานจริงจนถูกคณะกรรมการปองกัน และปราบปรามการทุจริตแหงชาติไตสวนขอเท็จจริงและแจงผลขอใหจําเลยพิจารณาโทษ ทางวินัยแกโจทก และมีการฟองดําเนินคดีอาญากับโจทก พฤติการณการกระทําของโจทก ดังกลาวยอมมีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จําเลยจะไมไววางใจใหโจทกปฏิบัติงานตอไปได ทั้งยังถือไดวาเปนการกระทําอันไมสมแกการปฏิบัติหนาที่ของตนใหลุลวงไปโดยถูกตอง และสุจริต การที่จําเลยเลิกจางโจทกเปนการเลิกจางที่มีเหตุอันสมควร ไมใชการเลิกจาง ที่ไมเปนธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ จําเลยไมตองจายคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมและสินจาง แทนการบอกกลาวลวงหนาแกโจทก โจทกฟองและแกไขคำฟอง ขอใหบังคับจำเลยชำระคาชดเชย คาจางแทนการบอกกลาว ลวงหนา เงินโบนัสประจำปนับแตวันถูกไลออกจากงาน คาตอบแทนความชอบในการทำงานชวง กอนเกษียณอายุ และคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรม พรอมดอกเบี้ยตามฟองแกโจทก กับใหจำเลยออกหนังสือรับรองการทำงานใหแกโจทก


๒๐ จำเลยใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยชำระคาชดเชย ๑๖๙,๒๐๐ บาท สินจางแทนการ บอกกลาวลวงหนา ๒๘,๒๐๐ บาท เงินโบนัส ๒๘,๒๐๐ บาท และคาเสียหายจากการเลิกจางที่ ไมเปนธรรม ๘๐๐,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของเงินดังกลาวทุกจำนวน นับแตวันฟอง (ฟองวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๖) เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก กับให จำเลยออกหนังสือรับรองการทำงานใหโจทกโดยมีขอความระบุระยะเวลาการทำงาน ตำแหนง งานและอัตราคาจางสุดทาย คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก โจทกและจำเลยอุทธรณตอศาลฎีกา ระหวางพิจารณาของศาลฎีกา นายบัญญัติ โจทกถึงแกความตาย นางพัณณชิตา ผูรอง ยื่นคำรองขอเขาเปนคูความแทน ศาลฎีกาอนุญาต ศาลฎีกา พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ใหศาลแรงงานกลางพิจารณา พิพากษาใหมตามรูปคดี ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยจายคาชดเชย ๑๖๙,๒๐๐ บาท สินจางแทนการ บอกกลาวลวงหนา ๒๘,๒๐๐ บาท เงินโบนัส ๒๘,๒๐๐ บาท และคาเสียหายจากการเลิกจางที่ ไมเปนธรรม ๘๐๐,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของเงินดังกลาวทุกจำนวน นับแตวันฟอง (ฟองวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๖) เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก กับให จำเลยออกหนังสือรับรองการทำงานใหโจทกโดยมีขอความระบุระยะเวลาการทำงาน ตำแหนง และอัตราคาจางสุดทาย คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก จำเลยอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ใหศาลแรงงานกลาง พิจารณาพิพากษาใหมตามรูปคดี ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยจายคาชดเชย ๑๖๙,๒๐๐ บาท สินจางแทนการ บอกกลาวลวงหนา ๒๘,๒๐๐ บาท เงินโบนัส ๒๘,๒๐๐ บาท และคาเสียหายจากการเลิกจาง ที่ไมเปนธรรม ๘๐๐,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของเงินดังกลาวทุกจำนวน นับแตวันฟอง (ฟองวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๖) จนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก กับใหจำเลยออก หนังสือรับรองการทำงานใหโจทกโดยมีขอความระบุระยะเวลาการทำงาน ตำแหนง และอัตรา คาจางสุดทาย คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก


จำเลยอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ขอเท็จจริงที่ยุติในชั้นพิจารณา ของศาลแรงงานกลางและที่ศาลแรงงานกลางฟงมาปรากฏวา จำเลยเปนรัฐวิสาหกิจ โจทกเคยเปน ลูกจางจำเลย เริ่มทำงานเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ ๒๕๒๔ ตำแหนงสุดทายเปนนายชาง ๖ คาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๒๘,๒๐๐ บาท โจทกเปนผูนำเครื่องโทรศัพทเคลื่อนที่ยี่หอ NOKIA รุน CITY MAN หมายเลขเครื่อง ๖๑๙๘๑ หมายเลข ปท. ๖๓๖๓๘/๓๓ ระบบ ๔๗๐ MHz หมายเลข โทรศัพท ๐๑-๒๑๐๕xxx ซึ่งเปนหนึ่งในของกลางที่เจาพนักงานตำรวจกองปราบปรามยึดได จากบานของนายระจินตมาขายใหแกนายระจินต จำเลยมีคำสั่ง ที่ ต.๕๘๖/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๗ ลงโทษโจทกดวยการไลออก ตอมาพนักงานอัยการฟองโจทกเปนคดีอาญา ฐานความผิดตอเจาพนักงานและความผิดตอพระราชบัญญัติองคการโทรศัพทแหงประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๗ และศาลฎีกามีคำพิพากษาที่ ๓๕๒๙/๒๕๕๖ วา พยานหลักฐานของโจทกเทาที่นำสืบ ยังมีความสงสัยตามสมควรวาจำเลย (โจทกในคดีนี้) กระทำความผิดตามฟองหรือไม เห็นสมควร ยกประโยชนแหงความสงสัยใหจำเลย ใหยกฟอง แลววินิจฉัยวา ในคดีอาญาดังกลาวนายระจินต เบิกความยืนยันวาประมาณตนป ๒๕๔๒ โจทกนำหมายเลขโทรศัพทเคลื่อนที่ระบบ ๔๗๐ MHz พรอมรหัสปลดล็อกมาเสนอขายในราคาหมายเลขละ ๑๐๐ บาท นายระจินตถือวามีสวนรวมกระทำ ความผิด คำเบิกความที่กลาวอางวาโจทกนำหมายเลขโทรศัพทเคลื่อนที่และรหัสปลดล็อกมาขายให จึงตองฟงดวยความระมัดระวัง เรื่องที่นายระจินตอางวานำเงินไปชำระใหโจทกดวยการโอนเงิน เขาบัญชีธนาคาร สาขาสะพานขาว นายระจินตไมยืนยันรายการใดบางที่นายระจินตโอนเงินเขา บัญชี ลำพังการรูเพียงวาโจทกมีบัญชีธนาคาร สาขาสะพานขาว ไมมีน้ำหนักใหรับฟงวามีการโอน เงินเขาบัญชีโจทก สวนการชำระเงินสดเปนขอเท็จจริงที่รูเห็นระหวางโจทกกับนายระจินต แมจะ มีนายบุนยศักดิ์เบิกความสนับสนุนวานายระจินตเคยใหนายบุนยศักดิ์นำเงินไปใหแกโจทก แต นายบุนยศักดิ์เปนพี่ชายของนายระจินตจึงตองฟงดวยความระมัดระวัง ในชั้นพิจารณานายบุนยศักดิ์ เบิกความวา เงินที่นำไปใหโจทกนายระจินตไมไดบอกวาใหไปชำระคาอะไรและบางครั้งบอกวา ใหไปชำระหนี้ ซึ่งขัดกับคำใหการในชั้นสอบสวน สวนเรื่องคาตอบแทนในการซื้อหมายเลขโทรศัพท นายระจินต นายบุนยศักดิ์ และนางเรณูตางเบิกความในชั้นพิจารณาและใหการในชั้นสอบสวน เรื่องราคาหมายเลขโทรศัพทแตกตางกันมาก และกรณีรหัสปลดล็อกมีขอเท็จจริงหลายกรณีที่ บุคคลอื่นนอกจากโจทกอาจรูหมายเลขรหัสปลดล็อกไปใช ทางนำสืบของจำเลยมีแตเพียงวา ๒๑


คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติมีคำสั่งใหจำเลยตั้งคณะกรรมการสอบสวน ความผิดทางวินัยแกโจทกและจำเลยดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการปองกันและปราบปราม การทุจริตแหงชาติเทานั้น จึงไมอาจฟงไดวา โจทกกระทำผิดวินัยอยางรายแรงตามขอบังคับ องคการโทรศัพทแหงประเทศไทย วาดวย การพนักงาน พ.ศ. ๒๕๓๖ ขอ ๔๔ และขอ ๔๖ ฐานปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหนาที่การงานโดยมิชอบเพื่อใหตนเองหรือผูอื่นไดรับประโยชน ที่มิควรไดเปนการทุจริตตอหนาที่ และฐานเปดเผยความลับขององคการโทรศัพทและทางราชการ อันเปนเหตุใหเสียหายแกจำเลยและทางราชการอยางรายแรง เมื่อจำเลยเลิกจางโจทกโดยไมมี ความผิดจำเลยตองจายคาชดเชย สินจางแทนการบอกกลาวลวงหนาและคาเสียหายจากการ เลิกจางที่ไมเปนธรรมพรอมดอกเบี้ยแกโจทก การที่จำเลยเลิกจางโจทกวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๗ ยังไมครบกำหนดการจายเงินโบนัส แตโจทกไมมีความผิดและทำงานกับจำเลยในปดังกลาว เปนเวลา ๗ เดือนเศษ เห็นควรใหมีสิทธิไดรับโบนัสตามสัดสวนเทากับคาจางอัตราสุดทาย หนึ่งเดือน คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยวา คำสั่งจำเลยที่ ต.๕๘๖/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๗ เรื่อง ลงโทษไลออก ดวยเหตุโจทกกระทำผิดวินัยอยางรายแรงตามขอบังคับ องคการโทรศัพทแหงประเทศไทย วาดวย การพนักงาน พ.ศ. ๒๕๓๖ ขอ ๔๔ และขอ ๔๖ เปน คำสั่งที่ชอบดวยกฎหมายหรือไม และจำเลยตองจายคาชดเชย สินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา คาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรม และเงินโบนัสแกโจทกตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง หรือไม เพียงใด เห็นวา แมจำเลยอางวาไดดำเนินการสอบสวนทางวินัยโจทกโดยถูกตองตาม หลักเกณฑวิธีปฏิบัติขององคกรตามขั้นตอนเปนลำดับ และเปนไปตามระเบียบขอบังคับของจำเลย วาดวย การพนักงาน พ.ศ. ๒๕๓๖ ที่กำหนดไวโดยเครงครัดดวยความเปนธรรมทุกขั้นตอน ไมเปน การกลั่นแกลงโจทกก็ตาม แตเมื่อศาลแรงงานกลางไดพิจารณาพยานหลักฐานที่คูความนำสืบใน สำนวนประกอบเอกสารตาง ๆ แลวฟงขอเท็จจริงวา ทางนำสืบของจำเลยมีเพียงวา ทางคณะกรรมการ ปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติมีคำสั่งใหจำเลยตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิด ทางวินัยแกโจทก และจำเลยไดดำเนินการตามคำสั่งคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการ ทุจริตแหงชาติเทานั้น ขอเท็จจริงไมอาจฟงไดวาโจทกกระทำผิดวินัยอยางรายแรงตามขอบังคับ องคการโทรศัพทแหงประเทศไทย วาดวย การพนักงาน พ.ศ. ๒๕๓๖ ขอ ๔๔ และขอ ๔๖ ฐานปฏิบัติหรือละเวนการปฏิบัติหนาที่การงานโดยมิชอบเพื่อใหตนเองหรือผูอื่นไดรับประโยชน ๒๒


ที่มิควรได เปนการทุจริตตอหนาที่ และฐานเปดเผยความลับขององคการโทรศัพทและทางราชการ อันเปนเหตุใหเสียหายแกจำเลยและทางราชการอยางรายแรง การพิจารณาวาโจทกกระทำผิด วินัยรายแรงหรือไม หาไดพิจารณาเพียงการสอบสวนวาเปนไปโดยถูกตองตามลำดับขั้นตอน หรือไมเทานั้น เนื่องจากมิไดเปนสิ่งที่ชี้ใหเห็นวาโจทกกระทำผิดวินัยรายแรงหรือไมแตตองพิจารณา จากพยานหลักฐานอื่นประกอบดวย กรณีจึงตองฟงขอเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง มาวา โจทกไมไดกระทำผิดวินัยอยางรายแรงตามขอบังคับองคการโทรศัพทแหงประเทศไทย วาดวย การพนักงาน พ.ศ. ๒๕๓๖ ขอ ๔๔ และขอ ๔๖ เมื่อจำเลยมีคำสั่งไลออกโจทกอันเปนการ เลิกจางโดยไมเขาขอยกเวนที่ไมตองจายคาชดเชยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๓๔ ขอ ๔๖ จำเลยจึงตอง จายคาชดเชยใหแกโจทกตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธฉบับดังกลาว ขอ ๔๕ (๓) สวนเงินโบนัสประจำปที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยใหจำเลยจายใหแกโจทกตามสัดสวนเทากับ คาจางอัตราสุดทายหนึ่งเดือนนั้น เห็นวา หลักเกณฑและเงื่อนไขในการจายเงินโบนัสหรือสิทธิที่ ลูกจางจะไดรับเงินโบนัส ยอมเปนไปตามขอตกลงระหวางนายจางกับลูกจางนั้น เมื่อจำเลยได กำหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับเงินโบนัสไวตามคำสั่งจำเลยที่ รง.๖/๒๕๔๗ เรื่อง โบนัส โดยกำหนด เกี่ยวกับจำนวนโบนัส การนับเวลาการปฏิบัติงานในปสำรวจโบนัส พนักงานที่มีสิทธิไดรับโบนัส การหักโบนัส วิธีการคำนวณอัตราเงินเดือนเฉลี่ยตอเดือน การชะลอการจายโบนัส การดำเนินการ จายโบนัส โดยขอ ๔ กำหนดไววา “พนักงานที่มีสิทธิไดรับโบนัสประจำป จะตองเปนผูที่มีเวลา ปฏิบัติงานในปสำรวจโบนัส ไมนอยกวา ๓ เดือน หรือ ๙๐ วัน และตองเปนผูที่ไมถูกลงโทษ ทางวินัยถึงขั้นใหออก ไลออก หรือเลิกจางโดยมีความผิด” เมื่อศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงแลววา โจทกไมไดกระทำความผิดวินัยอยางรายแรง โจทกจึงยังคงมีสิทธิไดรับเงินโบนัสตามหลักเกณฑ ที่จำเลยกำหนดไว ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยใหจำเลยจายคาชดเชยและเงินโบนัสพรอมดอกเบี้ย แกโจทกนั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของจำเลยสวนนี้ฟงไมขึ้น อยางไร ก็ตาม การเลิกจางที่จะถือวาเปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรมนั้นตองพิเคราะหถึงเหตุแหงการเลิกจาง วานายจางมีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จะเลิกจางหรือไม ซึ่งเปนคนละเหตุกับการเลิกจางโดยไมตอง จายคาชดเชย เมื่อขอเท็จจริงที่คูความไมไดโตแยงกันไดความวา โจทกเปนผูนำเครื่องโทรศัพท เคลื่อนที่ยี่หอ NOKIA รุน CITY MAN หมายเลขเครื่อง ๖๑๙๘๑ หมายเลข ปท. ๖๓๖๓๘/๓๓ ระบบ ๔๗๐ MHz หมายเลขโทรศัพท ๐๑-๒๑๐๕xxx ซึ่งเปนหนึ่งในของกลางที่เจาพนักงานตำรวจ ๒๓


กองปราบปรามยึดไดจากบานของนายระจินตมาขายใหแกนายระจินต ประกอบกับพฤติการณ แหงคดีที่โจทกถูกกลาวหาวาใชอำนาจในตำแหนงโดยทุจริตนำขอมูลเลขหมายโทรศัพทเคลื่อนที่ ระบบ ๔๗๐ MHz และรหัสผานจำนวน ๔๐ เลขหมาย ซึ่งเปนความลับในราชการแจงใหนายระจินต เพื่อนำขอมูลไปขายหรือใหเชาโดยไมตองชำระคาโทรศัพทตามจำนวนที่ใชงานจริง จนถูก คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติไตสวนขอเท็จจริงและแจงผลขอใหจำเลย พิจารณาโทษทางวินัยแกโจทกและมีการฟองดำเนินคดีอาญากับโจทก พฤติการณการกระทำ ของโจทกดังกลาวยอมมีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จำเลยจะไมไววางใจใหโจทกปฏิบัติงานตอไปได ทั้งพฤติกรรมที่โจทกมีความเกี่ยวของกับนายระจินตดังกลาวขางตนยังถือไดวาเปนการกระทำ อันไมสมแกการปฏิบัติหนาที่ของตนใหลุลวงไปโดยถูกตองและสุจริต การที่จำเลยเลิกจางโจทก จำเลยไมจำตองจายสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนาตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๕๘๓ และเปนการเลิกจางที่มีเหตุอันสมควร จึงไมใชการเลิกจางที่ไมเปนธรรมตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ จำเลย ไมตองจายสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนาและคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมแกโจทก ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหจำเลยจายสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนาและคาเสียหายจาก การเลิกจางที่ไมเปนธรรมพรอมดอกเบี้ยแกโจทกนั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมเห็นพองดวย อุทธรณของจำเลยสวนนี้ฟงขึ้น สวนที่จำเลยอุทธรณในตอนทายวา ในคดีอาญาที่ศาลฎีกาพิพากษายกฟองโจทกนั้น เนื่องจากมีเหตุเกี่ยวกับความสงสัยในพยานหลักฐานวาไมชัดแจงเทานั้น ไมไดบอกวาโจทกไมได กระทำผิด จะนำผลในสวนคดีอาญาที่พิพากษายกฟองมาใชในคดีสวนแพงเกี่ยวกับความเสียหาย ที่เกิดขึ้นไมไดนั้น เห็นวา คดีนี้ศาลแรงงานกลางไดพิจารณาพยานหลักฐานที่คูความนำสืบประกอบ เอกสารตาง ๆ ในสำนวนคดีนี้และสำนวนคดีอาญาแลวใชดุลพินิจฟงขอเท็จจริงวา โจทกไมได กระทำผิดวินัยอยางรายแรงตามขอบังคับองคการโทรศัพทแหงประเทศไทย วาดวย การพนักงาน พ.ศ. ๒๕๓๖ ขอ ๔๔ และขอ ๔๖ หาใชเปนกรณีที่ศาลแรงงานกลางไดนำผลในสวนคดีอาญาที่ พิพากษายกฟองมาใชในคดีสวนแพงโดยตรงแตประการใดไม อุทธรณของจำเลยขอนี้ฟงไมขึ้น ๒๔


๒๕ พิพากษาแกเปนวา จำเลยไมตองจายคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมและ สินจางแทนการบอกกลาวลวงหนาพรอมดอกเบี้ยแกโจทก นอกจากที่แกใหเปนไปตามคำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง. พรรณทิพย วัฒนกิจการ - ยอ วัชรินทร ฤชุโรจน - ตรวจ (ปณิธาน วิสุทธากร - วิโรจน ตุลาพันธุ - ไพรัช โปรงแสง)


๒๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๓๑๒/๒๕๖๔ นางสาววารินทร จงสมสุข โจทก บริษัท ๓ เอ็ม ประเทศไทย จำกัด จำเลย ป.พ.พ. มาตรา ๓๘๖, ๕๘๒ พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๗, ๑๑๘ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ นายจางมีหนาที่จายสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา คาชดเชย และคาเสียหาย จากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมใหแกลูกจางตอเมื่อไดบอกเลิกสัญญาจางหรือเลิกจาง ลูกจางตามหลักเกณฑที่บัญญัติไวในมาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๑๘ แหง พ.ร.บ. คุมครอง แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕๘๒ แหง ป.พ.พ. มาตรา ๔๙ แหง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ คดีนี้โจทกฟองเรียกสินจางแทนการบอกกลาว ลวงหนา คาชดเชย และคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรม โดยอางเหตุวาจําเลย เลิกจางโจทกโดยไมไดกระทําผิดและไมไดบอกกลาวลวงหนาเปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรม จําเลยใหการตอสูวา โจทกพนสภาพจากการเปนลูกจางจําเลยเนื่องจากลาออก จึงไมมี สิทธิไดรับเงินดังกลาว กรณีจึงมีขอพิจารณาสําคัญวาจําเลยเลิกจางโจทกหรือไม เมื่อ ขอเท็จจริงไดความตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมาเปนยุติวา โจทกสมัครใจลาออกเอง โดยมิไดถูกจําเลยบังคับขมขูดังที่อาง พฤติการณยอมถือไดวาเปนการที่ลูกจางบอกเลิก สัญญาจางโดยสมัครใจ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๘๖ ไมใชกรณีนายจางเลิกจางลูกจางอันจะ ทําใหนายจางมีหนาที่ตองจายเงินแกลูกจางตามบทบัญญัติขางตน ดังนั้น โจทกจึงไมมี สิทธิไดรับสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา คาชดเชย และคาเสียหายจากการเลิกจาง ที่ไมเปนธรรมจากจําเลย โจทกฟอง ขอใหบังคับจำเลยจายสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา ๓๙๗,๙๘๖.๔๕ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอปนับแตวันฟองจนกวาจะชำระเสร็จ คาชดเชย ๕,๓๐๖,๔๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป นับแตวันฟองจนกวาจะชำระเสร็จ คาเสียหายจากการ


๒๗ เลิกจางที่ไมเปนธรรม ๗๒,๑๙๙,๓๙๖.๘๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป นับแต วันฟองจนกวาจะชำระเสร็จ คาหุนบริษัทจำเลยประจำป ๒๕๖๒ จำนวน ๑๑๔ หุน หุนละ ๑๕๐ ดอลลารสหรัฐ คิดเปนเงิน ๕๕๕,๔๐๘ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป นับแตวันฟอง จนกวาจะชำระเสร็จ กับใหจำเลยออกหนังสือรับรองการทำงานแกโจทก จำเลยใหการ ขอใหยกฟอง ระหวางพิจารณา โจทกขอสละประเด็นเรื่องหนังสือรับรองการทำงาน ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยชำระคาหุนบริษัทจำเลยประจำป ๒๕๖๒ เปนเงิน ๕๕๕,๔๐๘ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินดังกลาวนับแตวันฟอง (ฟอง วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓) เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก โจทกอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง วา จำเลยเปนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการคาฟลมกรองแสงทุกชนิด โจทกเปน ลูกจางจำเลย เขาทำงานเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๗ ตำแหนงสุดทายเปนผูอำนวยการกลุม ธุรกิจขนสงและอิเล็กทรอนิกสและเปนกรรมการผูมีอำนาจจำเลย มีหนาที่กำกับดูแลธุรกิจฟลมติด รถยนต ไดรับคาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๓๙๗,๙๘๖.๔๕ บาท กำหนดจายคาจางทุกวันสิ้นเดือน เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ ๒๕๖๓ โจทกเขียนจดหมายขอลาออกยื่นตอจำเลย ใหมีผลตั้งแตวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ โดยกอนที่โจทกเขียนจดหมายขอลาออก เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ ๒๕๖๓ จำเลยมีคำสั่งแตงตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทกกลาวหาวาโจทกฝาฝนหรือหลีกเลี่ยง ไมปฏิบัติตามขอบังคับเกี่ยวกับการทำงานและจรรยาบรรณของบริษัทวาดวยความขัดแยงดาน ผลประโยชน เนื่องจากไดรับการรองเรียนวาโจทกและสามีไดรับผลประโยชนจากการประกอบธุรกิจ รวมกับลูกคาผูแทนจำหนายฟลมกรองแสงรถยนตของจำเลยบางราย คณะกรรมการสอบสวน ใหโจทกมาใหถอยคำเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ ๒๕๖๓ หลังจากนั้นวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ ๒๕๖๓ ตัวแทนของจำเลยแจงผลการสอบสวนใหโจทกทราบวาโจทกกระทำผิดวินัยรายแรง และจำเลย มีมติตามที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นใหเลิกจาง แตอยูระหวางการรวบรวมพยาน หลักฐานเพื่อพิสูจนความเสียหายเปนตัวเงิน แลววินิจฉัยวา โจทกเปนฝายเสนอขอใหจำเลย เปลี่ยนเปนโจทกลาออกเพื่อยุติเรื่องที่จำเลยแตงตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก ซึ่งจะ ทำใหโจทกมีสิทธิไดรับผลประโยชนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในสวนเงินสมทบของนายจาง เปนการที่โจทกสมัครใจลาออกเอง มิไดถูกจำเลยบังคับขมขู จำเลยไมไดเลิกจางโจทก โจทกจึง ไมมีสิทธิไดรับคาชดเชย สินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา และคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไม


๒๘ เปนธรรม คงมีสิทธิไดรับเฉพาะคาหุนบริษัทจำเลยประจำป ๒๕๖๒ จำนวน ๑๑๔ หุน จึงกำหนด ใหจำเลยชำระคาหุนพรอมดอกเบี้ยแกโจทก ที่โจทกอุทธรณวา โจทกมิไดลาออกเอง แตเปนเพราะจำเลยมีเจตนาเลิกจางโจทกมา แตแรก โดยแตงตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทกกลาวหาวาโจทกฝาฝนขอบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานและจรรยาบรรณของบริษัทวาดวยความขัดแยงดานผลประโยชนซึ่งไมมีมูลความจริง และ นำผลการสอบสวนที่ไมชอบมาบังคับกดดันใหโจทกลาออก ทำใหโจทกเกิดความกลัวเสื่อมเสีย ประวัติและไมไดรับเงินใด ๆ อันเปนสิทธิตามกฎหมาย จึงเปนการลาออกโดยไมสมัครใจนั้น เห็นวา เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟงพยานหลักฐานแลววินิจฉัยขอเท็จจริงวา โจทกเปนฝายเสนอขอให จำเลยเปลี่ยนเปนโจทกลาออก เพื่อยุติเรื่องที่จำเลยแตงตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก ซึ่งจะทำใหโจทกมีสิทธิไดรับผลประโยชนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในสวนเงินสมทบของนายจาง เปนการที่โจทกสมัครใจลาออกเอง มิไดถูกจำเลยบังคับขมขูดังที่อาง ดังนี้ อุทธรณของโจทก ดังกลาวจึงเปนการโตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อใหรับฟง ขอเท็จจริงเปนดังที่โจทกอุทธรณ จึงเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหามมิใหอุทธรณตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย คงมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกวา โจทกมีสิทธิไดรับสินจางแทนการบอก กลาวลวงหนา คาชดเชย และคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมจากจำเลยซึ่งเปนนายจาง หรือไม เห็นวา นายจางมีหนาที่จายสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนา คาชดเชย และคาเสียหาย จากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมใหแกลูกจางตอเมื่อไดบอกเลิกสัญญาจางหรือเลิกจางลูกจางตาม หลักเกณฑที่บัญญัติไวในมาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๑๘ แหงพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕๘๒ แหงประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย และมาตรา ๔๙ แหงพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ คดีนี้โจทกฟองเรียกสินจางแทนการ บอกกลาวลวงหนา คาชดเชย และคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรม โดยอางเหตุวาจำเลย เลิกจางโจทกโดยไมไดกระทำผิดและไมไดบอกกลาวลวงหนา เปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรม จำเลย ใหการตอสูวา โจทกพนสภาพจากการเปนลูกจางจำเลยเนื่องจากลาออก จึงไมมีสิทธิไดรับเงิน ดังกลาว กรณีจึงมีขอพิจารณาสำคัญวาจำเลยเลิกจางโจทกหรือไม เมื่อขอเท็จจริงไดความตาม ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมาเปนยุติวา โจทกสมัครใจลาออกเอง โดยมิไดถูกจำเลยบังคับขมขู ดังที่อาง พฤติการณยอมถือไดวาเปนการที่ลูกจางบอกเลิกสัญญาจางโดยสมัครใจ ตามประมวล กฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๓๘๖ ไมใชกรณีนายจางเลิกจางลูกจางอันจะทำใหนายจางมี


๒๙ หนาที่ตองจายเงินแกลูกจางตามบทบัญญัติขางตน ดังนั้น โจทกจึงไมมีสิทธิไดรับสินจางแทน การบอกกลาวลวงหนา คาชดเชย และคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมจากจำเลย ที่ศาล แรงงานกลางวินิจฉัยปญหานี้มานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของโจทก ฟงไมขึ้น พิพากษายืน. กิตติ เนตรประเสริฐชัย - ยอ วัชรินทร ฤชุโรจน - ตรวจ (โสภณ พรหมสุวรรณ - ผจงธรณ วรินทรเวช - พิเชฏฐ รื่นเจริญ)


คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๕๐๐/๒๕๖๔ นางสาวสุภาภรณ จินตสุภัค โจทก บริษัทไทยชิมิสึ จำกัด จำเลย ป.พ.พ. มาตรา ๗, ๒๒๔ ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙, ๕๗ พ.ร.ก. แกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย พ.ศ. ๒๕๖๔ การเลิกจางที่จะถือวาเปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรมนั้นตองพิเคราะหถึงเหตุแหง การเลิกจางในขณะที่เลิกจางวา นายจางมีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจางหรือไม แมจําเลยจะอางวาจําเลยมีรายไดลดลงและมีผลขาดทุนในป ๒๕๖๒ ก็ตาม แตเมื่อศาล แรงงานกลางฟงขอเท็จจริงแลววา ชวงเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน ๒๕๖๓ ซึ่งเปน ชวงเวลาที่จําเลยเลิกจางโจทก จําเลยมีรายไดจากการประกอบธุรกิจกอสรางจากผูวาจาง หลายรายและหลายโครงการ มิไดขาดทุนตามที่กลาวอาง การที่จําเลยเลิกจางโจทกเพราะ เหตุปริมาณงานลดลง จําเลยตองลดจํานวนพนักงานบางสวนและไมมีงานตอเนื่องรองรับ ในอนาคตอันใกลเปนไปเพื่อประโยชนของจําเลยซึ่งเปนนายจางเพียงฝายเดียว โดยไม ปรากฏวาจําเลยประกอบธุรกิจขาดทุนจนไมสามารถพยุงฐานะทางการเงินของจําเลย ใหอยูรอดตอไปได ทั้งยังไดความวาจําเลยจะจายโบนัสและเพิ่มเงินเดือนใหแกพนักงาน นอกจากนี้โจทกก็มิไดกระทําผิดขอบังคับเกี่ยวกับการทํางานของจําเลย เชนนี้การที่จําเลย เลิกจางโจทกเพราะเหตุดังที่กลาวอางมาในอุทธรณ จึงยังไมมีเหตุที่สมควรและเพียงพอ เปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรมอยูนั่นเอง อนึ่ง ระหวางการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณคดีชํานัญพิเศษปรากฏวามีการ ประกาศใช พ.ร.ก. แกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งมีผล ใชบังคับตั้งแตวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ โดยพระราชกําหนดดังกลาวไดแกไข ป.พ.พ. มาตรา ๗ และมาตรา ๒๒๔ เปนผลใหอัตราดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป เปนอัตรารอยละ ๕ ตอป หรืออัตราดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยน โดยตราเปนพระราชกฤษฎีกาแตไมกระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหวาง ชวงเวลากอนที่พระราชกําหนดนี้ใชบังคับ ศาลอุทธรณคดีชํานัญพิเศษจึงตองกําหนด ๓๐


๓๑ ดอกเบี้ยตามพระราชกําหนดดังกลาว ซึ่งการกําหนดอัตราดอกเบี้ยตามพระราชกำหนด ดังกลาวเปนขอกฎหมายอันเกี่ยวดวยความสงบเรียบรอยของประชาชน ศาลอุทธรณ คดีชํานัญพิเศษเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยไดเองแมไมมีคูความฝายใดยื่นอุทธรณในประเด็นนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ โจทกฟอง ขอใหบังคับจำเลยจายคาเสียหายจากการเลิกจางไมเปนธรรมเทากับคาจาง รายเดือนรวม ๑๕ เดือน เปนเงิน ๔๓๕,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป นับแต วันฟองเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก จำเลยใหการและฟองแยง ขอใหยกฟองและบังคับใหโจทกใชคาเสียหาย ๑๖๐,๐๐๐ บาท แกจำเลย ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไมรับฟองแยงของจำเลย ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยจายคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรม ๔๓๕,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป นับแตวันฟอง (วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๓) เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก จำเลยอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง วา เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ ๒๕๔๘ จำเลยจางโจทกเขาทำงานเปนลูกจาง ตำแหนงสุดทายเปน พนักงานบัญชี ไดรับคาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๒๙,๐๐๐ บาท กำหนดจายคาจางทุกวันที่ ๒๕ ของเดือน ตอมาวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๓ จำเลยมีหนังสือเลิกจางโจทกอางเหตุวา จำเลยตอง เลิกจางพนักงานซึ่งไมมีงานทำ หรือมีงานเล็กนอยและไมมีงานตอเนื่องรองรับในอนาคตอันใกล โดยใหมีผลในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๓ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๓ โจทกไดรับคาชดเชยจาก จำเลยเปนเงิน ๓๒๖,๘๐๐ บาท แลววินิจฉัยวา เมื่อพิจารณารายละเอียดโครงการของจำเลย พบวาในชวงเดือนมีนาคมและเมษายน ๒๕๖๓ ซึ่งเปนชวงเวลาเดียวกับที่จำเลยเลิกจางโจทก จำเลยมีรายไดจากการประกอบธุรกิจกอสรางกับผูวาจางหลายรายและหลายโครงการประมาณ ๓๐ โครงการ มิไดขาดทุนตามที่จำเลยกลาวอาง ดังนั้น การที่จำเลยเลิกจางโจทกอางเหตุปริมาณ งานของจำเลยลดลง จำเลยตองลดจำนวนพนักงานบางสวนซึ่งไมมีงานหรือมีงานเล็กนอยและ ไมมีงานตอเนื่องรองรับในอนาคตอันใกล จึงเปนไปเพื่อประโยชนของจำเลยซึ่งเปนนายจางเพียง


ฝายเดียว โดยไมปรากฏวาจำเลยประกอบธุรกิจขาดทุนจนไมสามารถพยุงฐานะทางการเงินของ บริษัทใหอยูรอดไดตอไป แตกลับไดความวาจำเลยจะจายโบนัสใหแกพนักงานและจายเงินเดือน สูงขึ้นใหพนักงานที่ไดเลื่อนตำแหนงที่สูงขึ้น ทั้งโจทกมิไดกระทำผิดขอบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การที่จำเลยเลิกจางโจทกจึงเปนการเลิกจางที่ไมมีเหตุอันสมควรและเปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรม คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยวา ที่จำเลยเลิกจางโจทกเปนการเลิกจาง ที่ไมเปนธรรมหรือไม เห็นวา การเลิกจางที่จะถือวาเปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรมนั้นตองพิเคราะห ถึงเหตุแหงการเลิกจางในขณะที่เลิกจางวา นายจางมีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจางหรือไม แมจำเลยจะอางวาจำเลยมีรายไดลดลงและมีผลขาดทุนในป ๒๕๖๒ ก็ตาม แตเมื่อศาลแรงงาน กลางฟงขอเท็จจริงแลววา ชวงเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน ๒๕๖๓ ซึ่งเปนชวงเวลาที่จำเลย เลิกจางโจทก จำเลยมีรายไดจากการประกอบธุรกิจกอสรางจากผูวาจางหลายรายและหลาย โครงการ มิไดขาดทุนตามที่กลาวอาง การที่จำเลยเลิกจางโจทกเพราะเหตุปริมาณงานลดลง จำเลยตองลดจำนวนพนักงานบางสวนและไมมีงานตอเนื่องรองรับในอนาคตอันใกลเปนไปเพื่อ ประโยชนของจำเลยซึ่งเปนนายจางเพียงฝายเดียว โดยไมปรากฏวาจำเลยประกอบธุรกิจขาดทุน จนไมสามารถพยุงฐานะทางการเงินของจำเลยใหอยูรอดตอไปได ทั้งยังไดความวาจำเลยจะจาย โบนัสและเพิ่มเงินเดือนใหแกพนักงาน นอกจากนี้โจทกก็มิไดกระทำผิดขอบังคับเกี่ยวกับการทำ งานของจำเลย เชนนี้การที่จำเลยเลิกจางโจทกเพราะเหตุดังที่กลาวอางมาในอุทธรณ จึงยังไมมี เหตุที่สมควรและเพียงพอ เปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรมอยูนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย มานั้นศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของจำเลยฟงไมขึ้น อนึ่ง ระหวางการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษปรากฏวามีการประกาศ ใชพระราชกำหนดแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งมีผลใชบังคับ ตั้งแตวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ โดยพระราชกำหนดดังกลาวไดแกไขประมวลกฎหมายแพงและ พาณิชยมาตรา ๗ และมาตรา ๒๒๔ เปนผลใหอัตราดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป เปนอัตรารอยละ ๕ ตอป หรืออัตราดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตรา เปนพระราชกฤษฎีกาแตไมกระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหวางชวงเวลากอนที่ พระราชกำหนดนี้ใชบังคับ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษจึงตองกำหนดดอกเบี้ยตามพระราชกำหนด ดังกลาวซึ่งการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามพระราชกำหนดดังกลาวเปนขอกฎหมายอันเกี่ยวดวย ความสงบเรียบรอยของประชาชน ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยไดเอง แมไมมีคูความฝายใดยื่นอุทธรณในประเด็นนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ ๓๒


๓๓ พิพากษาแกเปนวา ใหจำเลยจายคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรม ๔๓๕,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป นับแตวันฟอง (วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๓) เปนตนไป จนถึงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๔ และใหจายดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๕ ตอป นับแตวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก ทั้งนี้ใหปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกา แตตองไมเกินรอยละ ๗.๕ ตอป นอกจากที่แกใหเปนไปตามคำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง. พรรณทิพย วัฒนกิจการ - ยอ วัชรินทร ฤชุโรจน - ตรวจ (ดํารงค ทรัพยผล - อนันต คงบริรักษ - สุวรรณา แกวบุตตา)


๓๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๒๒ - ๖๒๓/๒๕๖๔ นางสาวสุวินันท จันทรดี กับพวก โจทก นางสาวสุภาวิตา บวรชัยฤทธิ์ ในฐานะพนักงาน ตรวจแรงงาน กับพวก จำเลย พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ วรรคสอง พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ วรรคสอง บัญญัติวา การเลิกจาง ตามมาตรานี้ หมายความวา การกระทำใดที่นายจางไมใหลูกจางทำงานตอไปและ ไมจายคาจางให ไมวาจะเปนเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจางหรือเหตุอื่นใด และหมายรวมถึง กรณีที่ลูกจางไมไดทำงานและไมไดรับคาจางเพราะเหตุที่นายจางไมสามารถดำเนินกิจการ ตอไป ดังนั้น ในความหมายของการเลิกจางดังกลาวขางตน จะตองเปนกรณีที่นายจาง ตองกระทำการใดที่ไมใหลูกจางทำงานตอไปและไมจายคาจางให การที่นาย ฤ. ผูจัดการของ จำเลยที่ ๒ พูดวาเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒ นาจะไดรับคาจางครั้งสุดทายและเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ จะไมไดรับคาจาง ใครอยูก็ไดแตไมไดเงินใครไมอยูใหไปหางานทำ ถาจำเลยที่ ๒ ยังไมไดจายคาเชาใหกับเจาของตึก ราน ม. นาจะเปดถึงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ และ นางสาว ผ. ภริยาของนาย ฤ. พูดวาไมตองมาทำงานแลวไมไดเงินเดือนดีกวามาทำงาน แตไมไดเงินเดือนจะเสียความรูสึกกัน ก็เปนเพียงคำพูดในลักษณะที่คาดการณลวงหนา ของบุคคลทั้งสองที่ไมมีลักษณะเปนการพูดเจาะจงวาจำเลยที่ ๒ ไมใหโจทกทั้งสองมาทำงาน และจะไมจายคาจางใหอยางแนนอน สวนขอความที่นาย ฤ. สงในแอพพลิเคชั่นไลนวา “แจงพนักงานทุกทานวันนี้ไดมีการประชุมมีมติใหพนักงานทำเรื่องลาออก และจะมีการ แจงออกจากประกันสังคมใหภายในวันนี้...” ก็เปนเพียงขอเสนอของจำเลยที่ ๒ ที่ใหพนักงาน ที่เปนลูกจางตัดสินใจวาจะลาออกหรือไมเทานั้น ยังไมมีลักษณะเปนการเลิกจางแตอยางใด การที่ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงแลววาไมปรากฏขอเท็จจริงวาจำเลยที่ ๒ ไดบอกเลิก สัญญาจางแรงงานกับโจทกทั้งสอง และไมปรากฏขอเท็จจริงวาจำเลยที่ ๒ ไมใหโจทกทั้งสอง ทำงานตอไปและไมจายคาจางให และเมื่อโจทกทั้งสองใชสิทธิลาหยุดตามประเพณีตั้งแต วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๒ จนถึงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ แลวไมกลับมาทำงานใหแก จำเลยที่ ๒ อีกเลย จึงเปนกรณีที่โจทกทั้งสองเปนฝายแสดงเจตนาเลิกสัญญาจางแรงงาน กับจำเลยที่ ๒ โดยปริยาย ไมใชเปนกรณีที่จำเลยที่ ๒ เลิกสัญญาจางกับโจทกทั้งสอง


โจทกทั้งสองสำนวนฟอง ขอใหเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการ และคุมครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๙ ที่ ๗๙/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๓ ของ จำเลยที่ ๑ และขอใหบังคับจำเลยที่ ๒ จายคาจางในวันหยุดพักผอนประจำปของป ๒๕๖๒ ใหแก โจทกที่ ๑ จำนวน ๗,๙๓๓.๓๓ บาท คาจางแทนการบอกกลาวลวงหนาใหแกโจทกทั้งสองคนละ ๒๖,๐๖๖.๖๖ บาท คาชดเชยแกโจทกที่ ๑ จำนวน ๕๑,๐๐๐ บาท และใหแกโจทกที่ ๒ จำนวน ๑๗,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงินแตละจำนวนดังกลาว นับแต วันผิดนัด (วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๒) เปนตนไปจนกวาชำระเสร็จแกโจทกที่ ๑ พรอมดอกเบี้ยอัตรา รอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงินแตละจำนวนดังกลาว นับแตวันเลิกจาง (วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒) เปนตนไปจนกวาชำระเสร็จแกโจทกที่ ๒ และคาจางของเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ใหแกโจทกทั้งสอง คนละ ๙,๐๖๖.๖๖ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป นับแตวันผิดนัด (วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓) เปนตนไปจนกวาชำระเสร็จแกโจทกทั้งสอง จำเลยที่ ๑ ใหการ ขอใหยกฟอง จำเลยที่ ๒ ไมใหการ ขาดนัดและขาดนัดพิจารณา ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการ และคุมครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๙ ที่ ๗๙/๒๕๖๓ บางสวน โดยเพิกถอนเฉพาะขอ ๒.๑ หนาที่ ๑๖ และขอ ๓.๑ หนาที่ ๑๗ และพิพากษาใหจำเลยที่ ๒ ชำระคาจางตั้งแตวันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ เปนเงินคนละ ๙,๐๖๖.๖๖ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป นับแต วันผิดนัด (วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓) เปนตนไปจนกวาชำระเสร็จแกโจทกทั้งสอง คำสั่งพนักงาน ตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุมครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๙ ที่ ๗๙/๒๕๖๓ ในสวนอื่นชอบดวยกฎหมายไมมีเหตุใหเพิกถอน จึงพิพากษายกฟองโจทกทั้งสองในสวนที่ไม เพิกถอน โจทกทั้งสองอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง วา โจทกทั้งสองเปนลูกจางจำเลยที่ ๒ ทำงานตำแหนงพนักงานตอนรับอยูที่รานแมกซิมัส ยิม ไดรับคาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๑๗,๐๐๐ บาท กำหนดจายคาจางทุกวันที่ ๑ ของเดือน โจทก ทั้งสองทราบจากนายฤกษสุริยา ผูจัดการรานวาเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒ นาจะไดรับคาจางครั้ง สุดทายและเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ จะไมไดรับคาจาง ใครอยูก็ไดแตไมไดรับเงิน แตถาใครไมอยูให ไปหางานทำ ถาจำเลยที่ ๒ ยังไมจายคาเชาตึก จำเลยที่ ๒ นาจะเปดกิจการถึงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ และนางสาวผกากรอง (ไมทราบนามสกุล) ภริยานายฤกษสุริยาพูดวาไมตองมาทำงาน ๓๕


แลวไมไดเงินเดือนดีกวามาทำงานแตไมไดเงินเดือนจะเสียความรูสึกกัน และในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ นายฤกษสุริยาลงขอความในแอพพลิเคชั่นไลนวาที่ประชุมมีมติใหพนักงานทำเรื่องลาออก โจทกทั้งสองใชสิทธิลาหยุดตามประเพณีตั้งวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ แลววินิจฉัยวาการที่โจทกทั้งสองใชสิทธิลาหยุดตามประเพณีจนถึงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ แลวไมกลับมาทำงานอีกเลยถือวาโจทกทั้งสองเปนฝายเลิกสัญญาจางแรงงานกับจำเลยที่ ๒ โดยปริยาย ไมใชเปนกรณีที่จำเลยที่ ๒ เลิกจางโจทกทั้งสอง โจทกทั้งสองจึงไมมีสิทธิไดรับคาจาง แทนการบอกกลาวลวงหนา คาชดเชย และคาจางสำหรับวันหยุดพักผอนประจำป แตโจทกทั้งสอง มีสิทธิไดรับคาจางถึงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ เปนเงินคนละ ๙,๐๖๖.๖๖ บาท พรอมดอกเบี้ย อัตรารอยละ ๑๕ ตอป มีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกทั้งสองวา จำเลยที่ ๒ เลิกจางโจทกทั้งสอง หรือไม เห็นวา พระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ วรรคสอง บัญญัติวา การเลิกจางตามมาตรานี้ หมายความวา การกระทำใดที่นายจางไมใหลูกจางทำงานตอไปและ ไมจายคาจางให ไมวาจะเปนเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจางหรือเหตุอื่นใด และหมายรวมถึงกรณีที่ ลูกจางไมไดทำงานและไมไดรับคาจางเพราะเหตุที่นายจางไมสามารถดำเนินกิจการตอไป ดังนั้น ในความหมายของการเลิกจางดังกลาวขางตน จะตองเปนกรณีที่นายจางตองกระทำการใดที่ไม ใหลูกจางทำงานตอไปและไมจายคาจางให การที่นายฤกษสุริยา ผูจัดการของจำเลยที่ ๒ พูดวา เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒ นาจะไดรับคาจางครั้งสุดทายและเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ จะไมไดรับ คาจาง ใครอยูก็ไดแตไมไดเงินใครไมอยูใหไปหางานทำ ถาจำเลยที่ ๒ ยังไมไดจายคาเชาใหกับ เจาของตึก รานแมกซิมัส ยิม นาจะเปดถึงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ และนางสาวผกากรองพูดวา ไมตองมาทำงานแลวไมไดเงินเดือนดีกวามาทำงานแตไมไดเงินเดือนจะเสียความรูสึกกัน ก็เปน เพียงคำพูดในลักษณะที่คาดการณลวงหนาของบุคคลทั้งสองที่ไมมีลักษณะเปนการพูดเจาะจงวา จำเลยที่ ๒ ไมใหโจทกทั้งสองมาทำงานและจะไมจายคาจางใหอยางแนนอน สวนขอความที่นาย ฤกษสุริยาสงในแอพพลิเคชั่นไลนวา “แจงพนักงานทุกทาน วันนี้ไดมีการประชุมมีมติใหพนักงาน ทำเรื่องลาออก และจะมีการแจงออกจากประกันสังคมใหภายในวันนี้...” ก็เปนเพียงขอเสนอของ จำเลยที่ ๒ ที่ใหพนักงานที่เปนลูกจางตัดสินใจวาจะลาออกหรือไมเทานั้น ยังไมมีลักษณะเปนการ เลิกจางแตอยางใด การที่ศาลแรงงานกลางฟงแลววาไมปรากฏขอเท็จจริงวาจำเลยที่ ๒ ไดบอก เลิกสัญญาจางแรงงานกับโจทกทั้งสอง และไมปรากฏขอเท็จจริงวาจำเลยที่ ๒ ไมใหโจทกทั้งสอง ทำงานตอไปและไมจายคาจางให และเมื่อโจทกทั้งสองใชสิทธิลาหยุดตามประเพณีตั้งแตวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๒ จนถึงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ แลวไมกลับมาทำงานใหแกจำเลยที่ ๒ อีกเลย ๓๖


๓๗ จึงเปนกรณีที่โจทกทั้งสองเปนฝายแสดงเจตนาเลิกสัญญาจางแรงงานกับจำเลยที่ ๒ โดยปริยาย ไมใชเปนกรณีที่จำเลยที่ ๒ เลิกสัญญาจางกับโจทกทั้งสอง ตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของโจทกทั้งสองฟงไมขึ้น พิพากษายืน. มนุเชษฐ โรจนศิริบุตร - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ (อนุวัตร ขุนทอง - ธีระพล ศรีอุดมขจร - สิริพร เปรมาสวัสดิ์ สุรมณี)


๓๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๓๐/๒๕๖๔ วาที่รอยตรีกิติชัย สุขอราม โจทก บริษัทอารอี ไบโอฟูเอลส จำกัด จำเลย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙, ๕๔ วรรคหนึ่ง การทดลองงานเปนกรณีที่นายจางกำหนดระยะเวลาเพื่อทดสอบความรู ความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติงาน ทัศนคติในการทำงาน ปฏิสัมพันธกับผูรวมงานและ ผลการปฏิบัติงานของลูกจางกอนพิจารณาวาจะจางลูกจางตอไปหรือไม หากผลการทดลอง ปฏิบัติงานของลูกจางเปนที่พอใจของนายจาง นายจางก็จะรับเขาทำงานเปนลูกจางประจำ หากผลงานไมเปนที่พอใจ นายจางก็มีสิทธิเลิกจางลูกจางนั้นได ทั้งนี้ เพื่อที่นายจางจะได คัดเลือกเฉพาะลูกจางที่มีคุณภาพใหไดทำงานกับนายจางตอไป อันเปนปกติของการ บริหารงานบุคคล การที่จำเลยประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทกวาต่ำกวาเกณฑมาตรฐาน จึงเปนการพิจารณาไปตามมาตรฐานการทำงานที่พึงคาดหมายได หาใชนำหลักเกณฑที่ เพิ่งกำหนดขึ้นมาใช หรือเปนการประเมินที่ไมโปรงใสและไมเปนธรรม แมโจทกไมได ทำงานผิดพลาดทุกหัวขอในใบบรรยายลักษณะงาน แตก็แสดงใหเห็นแลววาโจทกขาด ความระมัดระวัง ไมรอบคอบ ไมมุงมั่นตั้งใจทำงาน หากจำเลยใหโจทกทำงานตอไปมีแต จะกอใหเกิดปญหามากขึ้น นับวามีเหตุสมควรเพียงพอที่จำเลยจะไมไววางใจใหโจทก ทำงานกับจำเลยตอไป ทั้งไมมีกฎหมายใดบัญญัติวาการประเมินผลการทำงานของโจทก ซึ่งเปนลูกจางทดลองงานตองปรากฏวาโจทกปฏิบัติหนาที่ผิดพลาดบกพรองอยางไรจึงจะ มีสิทธิเลิกจางโจทกได การที่จำเลยเลิกจางโจทกจึงไมถือวาเปนการเลิกจางไมเปนธรรม โจทกฟอง ขอใหบังคับจำเลยชำระคาเสียหายจากการเลิกจางไมเปนธรรม ๓๐๐,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยในอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป นับแตวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จ สินจาง แทนการบอกกลาวลวงหนาเปนเงิน ๕๖,๘๓๓.๓๓ บาท พรอมดอกเบี้ยในอัตรารอยละ ๑๕ ตอป นับแตวันผิดนัดเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จ และใหจำเลยออกหนังสือรับรองการผานงานแกโจทก จำเลยใหการ ขอใหยกฟอง


ศาลแรงงานกลาง พิพากษายกฟอง โจทกอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง และปรากฏขอเท็จจริงที่คูความมิไดโตแยงกันเปนยุติวา จำเลยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับกาซ CBG มีบริษัทสากล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) เปนผูถือหุนรายใหญและมีนายธนาพณ ประธาน เจาหนาที่ฝายปฏิบัติการของบริษัทสากล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) เปนกรรมการผูมีอำนาจของ จำเลย หลังจากจำเลยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท นายธนาพณมอบหมายใหนายสุรพงษ พนักงาน ของบริษัทสากล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) และนายชินดิษฐ ผูจัดการทั่วไปของจำเลยชวย บริหารงานในบริษัทจำเลย นายสุรพงษกับนายชินดิษฐรวมกันศึกษาวางแผนงานติดตอกับลูกคา และดำเนินการเกี่ยวกับอุปกรณในการใชกาซมาเปนระยะเวลาหนึ่ง จนงานใกลแลวเสร็จอยูระหวาง ติดตั้งอุปกรณรับกาซ นายชินดิษฐลาออก จำเลยจึงจางโจทกเขาทำงานในตำแหนงผูจัดการทั่วไป มีระยะเวลาทดลองงาน ๙๐ วัน ตั้งแตวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๒ ไดรับคาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๕๕,๐๐๐ บาท กำหนดจายคาจางทุกวันสิ้นเดือน นายธนาพณมอบหมายใหนายสุรพงษกำกับ ดูแลการทำงานของโจทก นายสุรพงษสอนงานโจทกและพาโจทกไปพูดคุยกับลูกคา โจทกติดตอ กับบริษัทนอรทอีส รับเบอร จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท NER ซึ่งเปนลูกคาเพียงรายเดียวของ จำเลย เกี่ยวกับราคาซื้อขาย กำหนดระยะเวลาในการวางบิล แตโจทกใหขอมูลผิดพลาดแกฝาย กฎหมาย ไมตรวจสอบขอมูลในรางสัญญา จนลูกคาสงสัญญาคืนมาใหจำเลยแกไข ๒ ครั้ง นายสุรพงษรายงานนายธนาพณวาโจทกจัดทำเอกสารผิดพลาดและปฏิบัติงานผิดพลาดหลายครั้ง จนตองตักเตือนโจทกดวยวาจา โจทกมีหนาที่จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนและ รายงานงบประมาณประจำปของจำเลยเสนอตอนายธนาพณ เพื่อใชในการรายงานผลการดำเนินงาน และแผนการดำเนินงานในปถัดไปใหผูถือหุนของ บริษัทสากล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) รับทราบ แตโจทกละเลยไมตรวจสอบรายงานงบประมาณประจำป ๒๕๖๓ วาระบุรายไดจากการขายกาซ CBG ในหนาที่แสดงกระแสเงินสด (Cash Flow) กับหนาที่แสดงงบกำไรขาดทุนไมตรงกัน ระบุ รายไดจากการขายกาซ CBG ในปเดียวกันใหแกบริษัทเดียวกันในเอกสารสองฉบับแตกตางกัน สรุปงบกำไรขาดทุนในปเดียวกันฉบับหนึ่งวากำไร อีกฉบับวาขาดทุน ทำใหเกิดความสับสน ไมสามารถเขาใจไดวาบริษัทไดกำไรหรือขาดทุน นายธนาพณสั่งใหโจทกแกไขรายงานงบประมาณ ประจำป ๒๕๖๓ โดยตัดทอนขอความเรื่องการจายสวัสดิการโบนัสแกพนักงานออก เนื่องจาก จำเลยประกอบกิจการขาดทุนมาตลอด แตโจทกไมแกไข ทำใหที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท สากล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) ไมเห็นดวย นายธนาพณตองแกไขปญหาเฉพาะหนาดวยการ ๓๙


Click to View FlipBook Version