The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมคำพิพากษา-แผนกคดีแรงงาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2024-01-31 21:12:27

รวมคำพิพากษา-แผนกคดีแรงงาน

รวมคำพิพากษา-แผนกคดีแรงงาน

๑๙๐ ทำงานจากลูกจาง พ.ศ. ๒๕๕๑ ขอ ๔ สัญญาค้ำประกันระหวางโจทกกับจำเลยที่ ๒ จึงมีผลผูกพัน จำเลยที่ ๒ และไมตกเปนโมฆะดังที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย สำหรับปญหาที่วาจำเลยที่ ๒ และ ที่ ๓ ตองรวมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ เพียงใดนั้น เห็นวา ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจาก ลูกจาง พ.ศ. ๒๕๕๑ ขอ ๓ กำหนดวาใหยกเลิกประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑและวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงาน จากลูกจาง ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๑ ซึ่งไมไดจำกัดวงเงินค้ำประกันที่นายจางจะเรียกใหผูค้ำ ประกันรับผิดไว ขอ ๑๐ กำหนดวา ในกรณีที่นายจางเรียกหรือรับหลักประกันโดยการค้ำประกัน ดวยบุคคล วงเงินค้ำประกันที่นายจางเรียกใหผูค้ำประกันรับผิดตองไมเกิน ๖๐ เทาของอัตรา คาจางรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจางไดรับ และขอ ๑๒ กำหนดใหนายจางที่เรียกหรือรับหลักประกัน การทำงานเกินจากที่กำหนดไวกอนวันที่ประกาศมีผลใชบังคับ ดำเนินการใหมีหลักประกันไมเกิน จำนวนมูลคาของหลักประกันตามที่กำหนดไวในประกาศดวย เมื่อประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑและวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการ ทำงานจากลูกจาง พ.ศ. ๒๕๕๑ มีผลใชบังคับตั้งแตวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ความรับผิดของ ผูค้ำประกันจะตองพิจารณาวาความเสียหายอันกอใหเกิดหนี้ที่ผูค้ำประกันตองรวมรับผิดตอ นายจางเกิดขึ้นในวันใด หากหนี้ที่ผูค้ำประกันตองรวมรับผิดเกิดขึ้นกอนวันที่ประกาศมีผลบังคับใช ผูค้ำประกันตองรับผิดเต็มจำนวนคาเสียหายที่เกิดขึ้น แตหากหนี้ที่ผูค้ำประกันตองรวมรับผิด เกิดขึ้นตั้งแตหรือหลังจากวันดังกลาว ความรับผิดของผูค้ำประกันจะถูกจำกัดไวไมเกิน ๖๐ เทา ของอัตราคาจางรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจางไดรับ และหากขอเท็จจริงไมชัดแจงวาหนี้ที่ผูค้ำประกัน ตองรวมรับผิดเกิดขึ้นในชวงเวลาใดเปนการแนนอน กรณีจำตองตีความไปในทางที่เปนคุณแก ผูค้ำประกันซึ่งเปนผูไดรับความคุมครองจากกฎหมายพิเศษนี้ โดยใหผูค้ำประกันรับผิดไมเกิน ๖๐ เทา ของอัตราคาจางรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจางไดรับเทานั้น เมื่อปรากฏวาจำเลยที่ ๑ กอใหเกิดความ เสียหายขึ้นในขณะทำงานตำแหนงเจาหนาที่บัญชีระหวางป ๒๕๔๒ ถึงประมาณเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ โดยไมสามารถกำหนดแนนอนไดวาคาเสียหายกอนหรือตั้งแตขณะประกาศกระทรวง แรงงานมีผลใชบังคับวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ชวงใด มีจำนวนเทาใด อันเปนผลใหไมทราบวา หนี้ที่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเปนผูค้ำประกันตองรวมรับผิดเต็มจำนวนคาเสียหายมีเพียงใด จำตองตีความการใชกฎหมายไปในทางที่เปนคุณแกผูค้ำประกัน จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จึงไมตอง รับผิดเต็มจำนวนคาเสียหายที่เกิดขึ้น โดยตองรวมรับผิดตอโจทกไมเกิน ๖๐ เทาของอัตราคาจาง รายวันโดยเฉลี่ยที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเปนลูกจางไดรับ ไมใชวาเมื่อโจทกมิไดดำเนินการตามประกาศ


๑๙๑ กระทรวงแรงงานดวยการแกไขสัญญาค้ำประกันใหจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ รับผิดไมเกิน ๖๐ เทาของ อัตราคาจางรายวันโดยเฉลี่ยที่จำเลยที่ ๑ ไดรับใหแลวเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแตวันที่ประกาศ กระทรวงแรงงานมีผลใชบังคับแลว สัญญาค้ำประกันจะตกเปนโมฆะตามประมวลกฎหมายแพง และพาณิชย มาตรา ๑๕๐ ดังที่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ อุทธรณ และเมื่อจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตางยอมตน เขาเปนผูค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ ๑ ตอโจทกซึ่งเปนหนี้รายเดียวกัน แมการค้ำประกัน จะทำขึ้นตางวาระกันและเปนคนละฉบับกัน ก็ตกอยูในบังคับบทบัญญัติแหงประมวลกฎหมายแพง และพาณิชย มาตรา ๖๘๒ วรรคสอง ที่ผูค้ำประกันจะตองรับผิดอยางลูกหนี้รวม จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จึงตองรวมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ใชคาเสียหายแกโจทก ๖๐ เทาของอัตราคาจางรายวันโดยเฉลี่ย ที่จำเลยที่ ๑ ไดรับอัตราสุดทายเปนเงิน ๖๑,๓๐๐.๒๐ บาท ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวยในผลบางสวน อุทธรณของโจทกสวนนี้และอุทธรณของ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ฟงไมขึ้น สำหรับอุทธรณขออื่นของโจทก ไมเปนสาระแกคดี เพราะไมอาจ ทำใหผลคดีเปลี่ยนแปลง พิพากษาแกเปนวา ใหจำเลยที่ ๒ รวมรับผิดกับจำเลยที่ ๓ ใชคาเสียหาย ๖๑,๓๐๐.๒๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินดังกลาว นับถัดจากวันฟอง จนกวาชำระเสร็จ แกโจทก นอกจากที่แกใหเปนไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง. กรรณิกา อัศวเมธา - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ (อนันต คงบริรักษ - วัฒนา สุขประดิษฐ - สุวรรณา แกวบุตตา)


๑๙๒ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๑๙๓ - ๔๓๐๕/๒๕๖๒ นายบรรเทอง เลิศรัตนติกรกุล กับพวก โจทก บริษัทกรุงเทพโทรทัศน และวิทยุ จํากัด จำเลย พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑, ๑๒๒, ๑๔๖ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ คาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ ไมใชเงินตามกฎหมายวาดวยการคุมครอง แรงงานที่เปนกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบรอยของประชาชน การที่โจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ ที่ ๙๙ และที่ ๑๐๗ สมัครใจลงลายมือชื่อ เพื่อยอมรับเงินชวยเหลือที่จําเลยเสนอ ใหและสละสิทธิอื่นใดอีก จึงหมายรวมถึงคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมแลว โจทกดังกลาวไมมีอํานาจฟองเรียกคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมจากจําเลยอีก  พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑ เปนบทบัญญัติคุมครองลูกจาง ที่ถูกเลิกจางเพราะเหตุที่นายจางปรับปรุงหนวยงาน กระบวนการผลิต การจําหนาย หรือ การบริการ อันเนื่องมาจากการนําเครื่องจักรมาใชหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเปนเหตุใหตองลดจํานวนลูกจาง ดังนั้น ลูกจางที่ถูกเลิกจางจึงตองเปนลูกจางที่ไดรับ ผลกระทบโดยตรงจากการที่นายจางนําเครื่องจักรมาใชหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือ นําเทคโนโลยีมาใชทดแทนการทํางานของลูกจาง เมื่อโจทกจํานวน ๓๖ คน ซึ่งมีตําแหนง เปนเจาหนาที่รักษาความปลอดภัย ไมมีหนาที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการใชอุปกรณ เครื่องรับสงสัญญาณโทรทัศนซึ่งเกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีระบบรับสงสัญญาณ โดยตรง จึงมิใชกรณีจําเลยนําเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใชทดแทนการทํางานของลูกจาง ตําแหนงเจาหนาที่รักษาความปลอดภัย โจทกดังกลาวจึงไมมีสิทธิไดรับคาชดเชยพิเศษ แทนการบอกกลาวลวงหนาและคาชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากคาชดเชยตามปกติ  พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑ วรรคสอง กําหนดหลักเกณฑ การจายคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนาวา ในกรณีที่นายจางไมแจงใหลูกจาง ที่จะเลิกจางทราบลวงหนา หรือแจงลวงหนานอยกวาระยะเวลา ๖๐ วัน นอกจากจะไดรับ คาชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แลว ใหนายจางจายคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนา


๑๙๓ เทากับคาจางอัตราสุดทาย ๖๐ วัน ดังนั้น เมื่อจําเลยแจงการเลิกจางใหโจทกซึ่งทํางานใน ตําแหนงชางเทคนิค ๖๕ คน และตําแหนงเจาหนาที่รักษาความปลอดภัย ๓๖ คน ทราบ ลวงหนากอนวันเลิกจางเกิน ๖๐ วันแลว แมจําเลยไมไดแจงใหพนักงานตรวจแรงงานทราบ ตามมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง ซึ่งเปนความผิดตามมาตรา ๑๔๖ ก็ตาม แตก็ไมเปนเหตุให จําเลยตองจายคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนาใหแกโจทกดังกลาว  การที่จําเลยจายเงินชวยเหลือใหแกโจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ และที่ ๙๙ โดยมี เงื่อนไขวาใหสละสิทธิเรียกรองเงินอื่นใดจากจําเลยอีก จึงไมใชการใหโดยเสนหา เมื่อเงิน ชวยเหลือไมใชเงินตามกฎหมายที่จําเลยจะตองจายใหแกโจทกดังกลาวเมื่อเลิกจาง ศาลแรงงานกลางจึงวินิจฉัยใหจําเลยตองจายเงินคาชดเชยพิเศษใหแกโจทกดังกลาว โดยใหนําเงินที่จําเลยจายชวยเหลือไปแลวมาหักออกจากคาชดเชยพิเศษที่โจทกดังกลาว แตละคนไดรับได  คาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนาและคาชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจาก คาชดเชยตามปกติเปนเงินตามกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงานที่เปนกฎหมายเกี่ยวกับ ความสงบเรียบรอยของประชาชน นายจางและลูกจางจะตกลงสละสิทธิเงินสวนนี้ไมได บันทึกขอตกลงในสวนนี้ที่จําเลยทํากับโจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ ที่ ๙๙ และที่ ๑๐๗ ไมมี ผลใชบังคับ โจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสามสำนวนฟองและแกไขคำฟอง ขอใหบังคับจำเลยจายคาชดเชย พิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนา คาชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากคาชดเชยตามปกติ และคาเสียหาย จากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมใหแกโจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสาม พรอมดอกเบี้ยและเงินเพิ่มตามคำขอ ทายคำฟองของโจทกแตละคน จำเลยทั้งหนึ่งรอยสิบสามสำนวนใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยจายเงินใหแกโจทกที่ ๑ เปนคาชดเชยพิเศษ แทนการบอกกลาวลวงหนา ๖๙,๔๔๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๓๒๙,๘๔๐ บาท โจทกที่ ๒ เปน คาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนา ๑๐๒,๓๔๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๔๘๖,๑๑๕ บาท โจทกที่ ๓ เปนคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนา ๔๘,๓๒๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๑๘๑,๒๐๐ บาท โจทกที่ ๖ เปนคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนา ๖๑,๘๒๐ บาท และ คาชดเชยพิเศษ ๒๑๖,๓๗๐ บาท โจทกที่ ๗ เปนคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนา


๑๙๔ ๔๓,๖๐๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๑๕๒,๖๐๐ บาท โจทกที่ ๑๐ เปนคาชดเชยพิเศษแทนการ บอกกลาวลวงหนา ๔๓,๖๐๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๑๕๒,๖๐๐ บาท โจทกที่ ๑๑ เปนคาชดเชย พิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนา ๙๑,๘๐๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๕๕๐,๘๐๐ บาท โจทกที่ ๑๒ เปนคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนา ๑๒๒,๕๐๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๗๓๕,๐๐๐ บาท โจทกที่ ๑๓ เปนคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนา ๕๓,๕๘๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๒๑๔,๓๒๐ บาท โจทกที่ ๑๖ เปนคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนา ๑๒๒,๕๐๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๗๓๕,๐๐๐ บาท โจทกที่ ๑๘ เปนคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาว ลวงหนา ๑๒๒,๕๐๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๗๓๕,๐๐๐ บาท โจทกที่ ๑๙ เปนคาชดเชยพิเศษ แทนการบอกกลาวลวงหนา ๙๑,๘๐๐ บาท และคาชดเชยพิเศษ ๕๕๐,๘๐๐ บาท และจายคาชดเชย พิเศษใหแกโจทกที่ ๑๗ จำนวน ๒๐๘,๔๕๕ บาท โจทกที่ ๒๓ จำนวน ๑๗๐,๕๘๐ บาท โจทกที่ ๒๔ จำนวน ๑๓๕,๐๐๐ บาท โจทกที่ ๒๕ จำนวน ๕๘๗,๕๒๐ บาท โจทกที่ ๒๖ จำนวน ๕๘๘,๙๖๐ บาท โจทกที่ ๒๗ จำนวน ๓๙๔,๙๐๕ บาท โจทกที่ ๒๘ จำนวน ๕๕๐,๘๐๐ บาท โจทกที่ ๒๙ จำนวน ๕๕๐,๘๐๐ บาท โจทกที่ ๓๒ จำนวน ๗๐๗,๕๒๐ บาท โจทกที่ ๓๓ จำนวน ๔๖๓,๐๕๐ บาท โจทกที่ ๓๔ จำนวน ๒๒๔,๔๘๐ บาท โจทกที่ ๓๕ จำนวน ๕๖๕,๓๒๐ บาท โจทกที่ ๓๗ จำนวน ๙๘,๓๒๕ บาท โจทกที่ ๓๘ จำนวน ๒๒๘,๓๗๕ บาท โจทกที่ ๓๙ จำนวน ๒๑๗,๐๘๐ บาท โจทกที่ ๔๑ จำนวน ๕๕,๗๐๐ บาท โจทกที่ ๔๔ จำนวน ๔๓๓,๕๕๐ บาท โจทกที่ ๔๕ จำนวน ๕๓๘,๖๕๐ บาท โจทกที่ ๔๖ จำนวน ๒๙๑,๘๔๐ บาท โจทกที่ ๔๙ จำนวน ๑๕๒,๖๐๐ บาท โจทกที่ ๕๐ จำนวน ๕๖๐,๔๕๐ บาท โจทกที่ ๕๓ จำนวน ๗๑๐,๑๖๐ บาท โจทกที่ ๕๕ จำนวน ๕๔๖,๔๘๐ บาท โจทกที่ ๕๖ จำนวน ๒๐๑,๐๐๐ บาท โจทกที่ ๕๗ จำนวน ๕๔๗,๕๐๐ บาท โจทกที่ ๖๐ จำนวน ๓๕๕,๙๕๐ บาท โจทกที่ ๖๑จำนวน ๕๐๐,๔๖๐ บาท โจทกที่ ๖๒ จำนวน ๒๙๐,๖๐๕ บาท โจทกที่ ๖๔ จำนวน ๗๔๘,๘๐๐ บาท โจทกที่ ๖๕ จำนวน ๒๗๙,๓๐๐ บาท โจทกที่ ๖๗ จำนวน ๑๔๗,๓๕๕ บาท โจทกที่ ๖๘ จำนวน ๖๑๒,๓๗๐ บาท โจทกที่ ๖๙ จำนวน ๔๔๐,๗๐๐ บาท โจทกที่ ๗๐ จำนวน ๓๗๗,๔๐๐ บาท โจทกที่ ๗๑ จำนวน ๔๕๑,๒๒๐ บาท โจทกที่ ๗๔ จำนวน ๓๔๒,๘๐๐ บาท โจทกที่ ๗๕ จำนวน ๗๕๘,๖๔๐ บาท โจทกที่ ๗๗ จำนวน ๖๑๖,๘๐๐ บาท โจทกที่ ๗๘ จำนวน ๖๗๐,๐๘๐ บาท โจทกที่ ๗๙ จำนวน ๕๐๑,๐๐๐ บาท โจทกที่ ๘๑ จำนวน ๔๐๗,๑๐๐ บาท โจทกที่ ๘๔ จำนวน ๓๖๒,๗๐๐ บาท โจทกที่ ๘๕ จำนวน ๓๒๙,๕๘๐ บาท โจทกที่ ๘๖ จำนวน ๔๕๙,๕๐๐ บาท โจทกที่ ๘๗ จำนวน ๑๘๙,๖๐๕ บาท โจทกที่ ๘๘ จำนวน ๕๔๑,๓๒๐ บาท โจทกที่ ๙๐ จำนวน ๕๓๗,๙๑๕ บาท โจทกที่ ๙๑ จำนวน ๔๙๑,๕๒๐ บาท โจทกที่ ๙๒ จำนวน ๓๖๔,๓๒๐ บาท โจทกที่ ๙๓ จำนวน ๓๗๐,๒๔๐ บาท โจทกที่ ๙๔ จำนวน ๗๔๘,๘๐๐ บาท โจทกที่ ๙๕


๑๙๕ จำนวน ๑๓๙,๐๘๐ บาท โจทกที่ ๙๖ จำนวน ๖๘๖,๗๖๐ บาท โจทกที่ ๙๗ จำนวน ๕๑๙,๓๐๐ บาท โจทกที่ ๙๘ จำนวน ๒๒๕,๕๒๐ บาท โจทกที่ ๙๙ จำนวน ๓๖๖,๔๘๐ บาท โจทกที่ ๑๐๐ จำนวน ๔๒๙,๗๐๐ บาท โจทกที่ ๑๐๑ จำนวน ๔๕๖,๘๐๐ บาท โจทกที่ ๑๐๓ จำนวน ๓๔๘,๑๐๐ บาท โจทกที่ ๑๐๕ จำนวน ๗๓๗,๒๘๐ บาท โจทกที่ ๑๐๘ จำนวน ๗๑๐,๔๐๐ บาท โจทกที่ ๑๐๙ จำนวน ๖๕๔,๔๘๐ บาท โจทกที่ ๑๑๑ จำนวน ๗๓๗,๒๘๐ บาท โจทกที่ ๑๑๒ จำนวน ๖๖,๕๗๕ บาท และโจทกที่ ๑๑๓ จำนวน ๔๐๐,๗๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป สำหรับโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๑๐ ถึงที่ ๑๓ ที่ ๑๖ ที่ ๑๘ ที่ ๑๙ นับแตวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๐ สำหรับโจทก ที่ ๑๗ ที่ ๒๓ ถึงที่ ๒๙ ที่ ๓๒ ถึงที่ ๓๕ ที่ ๓๗ ถึงที่ ๓๙ ที่ ๔๑ ที่ ๔๔ ถึงที่ ๔๖ ที่ ๔๙ ที่ ๕๐ ที่ ๕๓ ที่ ๕๕ ถึงที่ ๕๗ ที่ ๖๐ ถึงที่ ๖๒ ที่ ๗๘ นับแตวันที่ ๑ กุมภาพันธ ๒๕๖๑ สำหรับโจทก ที่ ๖๔ ที่ ๖๕ ที่ ๖๗ ถึงที่ ๗๑ ที่ ๗๔ ที่ ๗๕ ที่ ๗๗ ที่ ๗๙ ที่ ๘๑ ที่ ๘๔ ถึงที่ ๘๘ ที่ ๙๐ ถึงที่ ๑๐๑ ที่ ๑๐๓ ที่ ๑๐๕ ที่ ๑๐๘ ที่ ๑๐๙ ที่ ๑๑๑ ถึงที่ ๑๑๓ นับแตวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เปนตนไป จนกวาจะชำระเสร็จ คำขออื่นใหยก และยกฟองโจทกที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๘ ที่ ๙ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๒๐ ถึงที่ ๒๒ ที่ ๓๐ ที่ ๓๑ ที่ ๓๖ ที่ ๔๐ ที่ ๔๒ ที่ ๔๓ ที่ ๔๗ ที่ ๔๘ ที่ ๕๑ ที่ ๕๒ ที่ ๕๔ ที่ ๕๘ ที่ ๕๙ ที่ ๖๓ ที่ ๖๖ ที่ ๗๒ ที่ ๗๓ ที่ ๗๖ ที่ ๘๐ ที่ ๘๒ ที่ ๘๓ ที่ ๘๙ ที่ ๑๐๒ ที่ ๑๐๔ ที่ ๑๐๖ ที่ ๑๐๗ และที่ ๑๑๐ โจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสามสำนวนและจำเลยทั้งหนึ่งรอยสิบสามสำนวนอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ขอเท็จจริงที่คูความไมโตแยงกัน ฟงไดวา จำเลยเปนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการและดำเนินการรับสงวิทยุ และโทรทัศนเพื่อแพรเสียงและภาพทั้งในและนอกประเทศ จำเลยไดรับสัมปทานจากกองทัพบก ในการเชาและใชเวลาออกอากาศสถานีโทรทัศนสีกองทัพบกชอง ๗ มีกำหนดระยะเวลา ๒๕ ป ครบกำหนดสัญญาในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ ตามหนังสือสัญญาตางตอบแทน โจทกทั้งหนึ่งรอย สิบสามเปนลูกจางจำเลยทำงานประจำที่สถานีเครือขายเพื่อเชื่อมโยงกลุมเครื่องสงหรือถายทอด สัญญาณเสียงหรือภาพโทรทัศนรวม ๓๗ สถานีทั่วประเทศไทย โดยโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๑๐ ถึงที่ ๑๓ ที่ ๑๖ ถึงที่ ๑๙ ที่ ๒๓ ถึงที่ ๒๙ ที่ ๓๒ ถึงที่ ๓๕ ที่ ๓๗ ถึงที่ ๓๙ ที่ ๔๑ ที่ ๔๔ ถึงที่ ๔๖ ที่ ๔๙ ที่ ๕๐ ที่ ๕๓ ที่ ๕๕ ถึงที่ ๕๗ ที่ ๖๐ ถึงที่ ๖๒ ที่ ๖๔ ที่ ๖๕ ที่ ๖๗ ถึงที่ ๗๑ ที่ ๗๔ ที่ ๗๕ ที่ ๗๗ ถึงที่ ๗๙ ที่ ๘๑ ที่ ๘๔ ถึงที่ ๘๘ ที่ ๙๐ ถึงที่ ๑๐๑ ที่ ๑๐๓ ที่ ๑๐๕ ที่ ๑๐๘ ที่ ๑๐๙ และที่ ๑๑๑ ถึงที่ ๑๑๓ รวม ๗๗ คน ทำงานตำแหนงชางเทคนิค สวนโจทกที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๘ ที่ ๙ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๒๐ ถึงที่ ๒๒ ที่ ๓๐ ที่ ๓๑ ที่ ๓๖ ที่ ๔๐ ที่ ๔๒ ที่ ๔๓ ที่ ๔๗ ที่ ๔๘ ที่ ๕๑ ที่ ๕๒ ที่ ๕๔ ที่ ๕๘ ที่ ๕๙ ที่ ๖๓ ที่ ๖๖ ที่ ๗๒ ที่ ๗๓ ที่ ๗๖ ที่ ๘๐ ที่ ๘๒ ที่ ๘๓ ที่ ๘๙ ที่ ๑๐๒


๑๙๖ ที่ ๑๐๔ ที่ ๑๐๖ ที่ ๑๐๗ และที่ ๑๑๐ รวม ๓๖ คน ทำงานตำแหนงเจาหนาที่รักษาความปลอดภัย เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๗ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน และกิจการ โทรคมนาคมแหงชาติ (กสทช.) ออกใบอนุญาตใหจำเลยเปนผูใชคลื่นความถี่และประกอบกิจการ โทรทัศนเพื่อใหบริการโทรทัศนภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ จำเลยประกาศเลิกจางลูกจางรวม ๒๒๐ คน ที่ประจำสถานีเครือขาย ๓๗ สถานี ตามเอกสารหมาย ล.๒๘ โดยแจงการเลิกจางโจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสามแบงเปน ๓ ระยะ ระยะที่ ๑ เลิกจางเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๐ ระยะที่ ๒ เลิกจางเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ ๒๕๖๑ และระยะที่ ๓ เลิกจางเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ โจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสามไดรับคาจาง เปนรายเดือน จำเลยจายเงินคาจาง คาชดเชย คาจางสำหรับวันหยุดพักผอนประจำปที่ไมไดใช ตามสวน และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหแกโจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสามแลว รายละเอียดตำแหนง งาน ระยะเวลาการทำงาน วันที่เลิกจาง อัตราคาจางสุดทายของโจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสามแตละคน และเงินที่จำเลยจายใหแกโจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสามแลว ปรากฏตามบัญชีรายละเอียด ปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ ที่ ๙๙ และที่ ๑๐๗ วา โจทกดังกลาวมีอำนาจฟองจำเลยเรียกคาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมหรือไม เห็นวา คาเสียหายจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ ไมใชเงินตามกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงานที่เปน กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบรอยของประชาชน ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยวา โจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ ที่ ๙๙ และที่ ๑๐๗ สมัครใจลงลายมือชื่อเพื่อยอมรับเงินชวยเหลือที่จำเลยเสนอ ใหและสละสิทธิอื่นใดอีก ซึ่งรวมหมายถึงการสละสิทธิในการเรียกรองคาเสียหายจากการเลิกจาง ที่ไมเปนธรรมแลว โจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ ที่ ๙๙ และที่ ๑๐๗ ไมมีอำนาจฟองเรียกคาเสียหาย อันเกิดจากการเลิกจางที่ไมเปนธรรมจากจำเลยอีกจึงชอบแลว ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณขอนี้ของโจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ ที่ ๙๙ และที่ ๑๐๗ ฟงไมขึ้น ปญหาตองวินิจฉัยตอไปตามอุทธรณของโจทกที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๘ ที่ ๙ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๒๐ ถึงที่ ๒๒ ที่ ๓๐ ที่ ๓๑ ที่ ๓๖ ที่ ๔๐ ที่ ๔๒ ที่ ๔๓ ที่ ๔๗ ที่ ๔๘ ที่ ๕๑ ที่ ๕๒ ที่ ๕๔ ที่ ๕๘ ที่ ๕๙ ที่ ๖๓ ที่ ๖๖ ที่ ๗๒ ที่ ๗๓ ที่ ๗๖ ที่ ๘๐ ที่ ๘๒ ที่ ๘๓ ที่ ๘๙ ที่ ๑๐๒ ที่ ๑๐๔ ที่ ๑๐๖ ที่ ๑๐๗ และที่ ๑๑๐ รวม ๓๖ คน ที่ทำงานตำแหนงเจาหนาที่รักษาความปลอดภัยวา โจทกดังกลาวมีสิทธิ ไดรับคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนาและคาชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากคาชดเชยตาม ปกติตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑ และมาตรา ๑๒๒ หรือไม เห็นวา พระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑ เปนบทบัญญัติคุมครองลูกจางที่ถูกเลิกจาง


๑๙๗ เพราะเหตุที่นายจางปรับปรุงหนวยงาน กระบวนการผลิต การจำหนาย หรือการบริการ อันเนื่อง มาจากการนำเครื่องจักรมาใชหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเปนเหตุใหตองลด จำนวนลูกจาง ดังนั้น ลูกจางที่ถูกเลิกจางจึงตองเปนลูกจางที่ไดรับผลกระทบโดยตรงจากการที่ นายจางนำเครื่องจักรมาใชหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือนำเทคโนโลยีมาใชทดแทนการทำงาน ของลูกจางดังกลาว เมื่อโจทกดังกลาวมีตำแหนงเปนเจาหนาที่รักษาความปลอดภัย ไมไดมีหนาที่ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการใชอุปกรณเครื่องรับสงสัญญาณโทรทัศนซึ่งเกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีระบบรับสงสัญญาณโดยตรง จึงมิใชกรณีที่จำเลยนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช ทดแทนการทำงานของลูกจางตำแหนงงานเจาหนาที่รักษาความปลอดภัย โจทกดังกลาวจึงไมมี สิทธิไดรับคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนาและคาชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากคาชดเชย ตามปกติตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑ และมาตรา ๑๒๒ ที่ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของโจทกที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๘ ที่ ๙ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๒๐ ถึงที่ ๒๒ ที่ ๓๐ ที่ ๓๑ ที่ ๓๖ ที่ ๔๐ ที่ ๔๒ ที่ ๔๓ ที่ ๔๗ ที่ ๔๘ ที่ ๕๑ ที่ ๕๒ ที่ ๕๔ ที่ ๕๘ ที่ ๕๙ ที่ ๖๓ ที่ ๖๖ ที่ ๗๒ ที่ ๗๓ ที่ ๗๖ ที่ ๘๐ ที่ ๘๒ ที่ ๘๓ ที่ ๘๙ ที่ ๑๐๒ ที่ ๑๐๔ ที่ ๑๐๖ ที่ ๑๐๗ และที่ ๑๑๐ ฟงไมขึ้น ปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๘ ที่ ๙ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๑๗ ที่ ๒๐ ถึงที่ ๑๑๓ วา จำเลยตองจายคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนาใหแกโจทกดังกลาวหรือไม เห็นวาพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑ วรรคสอง บัญญัติหลักเกณฑ การจายคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนาวา “ในกรณีที่นายจางไมแจงใหลูกจางที่จะ เลิกจางทราบลวงหนา หรือแจงลวงหนานอยกวาระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะไดรับ คาชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แลว ใหนายจางจายคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนาเทากับ คาจางอัตราสุดทายหกสิบวัน...” ดังนั้น เมื่อจำเลยแจงการเลิกจางใหโจทกดังกลาวทราบลวงหนา กอนวันเลิกจางเกิน ๖๐ วันแลว แมจำเลยไมไดแจงการเลิกจางโจทกดังกลาวใหพนักงาน ตรวจแรงงานทราบตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง ซึ่งเปนความผิดตามมาตรา ๑๔๖ ก็ตาม แตก็ไมเปนเหตุใหจำเลยตองจายคาชดเชยพิเศษแทนการ บอกกลาวลวงหนา ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมานั้นชอบแลว ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของโจทกดังกลาวฟงไมขึ้น ที่โจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสามอุทธรณวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงไมครบถวนและ ขัดตอพยานหลักฐานในสำนวน เห็นวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงและวินิจฉัยวา สาเหตุที่ จำเลยเลิกจางโจทกทั้งหมดเนื่องจากการยุติการรับสงสัญญาณโทรทัศนในระบบแอนะล็อก กสทช.


๑๙๘ ซึ่งเปนองคกรอิสระของรัฐที่รับผิดชอบกำกับดูแลการรับสงสัญญาณโทรทัศนโดยตรง มีนโยบาย ในการเปลี่ยนผานการรับสงสัญญาณโทรทัศนในระบบแอนะล็อกไปสูระบบดิจิตอลและตองการ คลื่นความถี่เดิมมาบริหารจัดการใหมอันเปนประโยชนตอสาธารณะ ซึ่งเปนการเปลี่ยนแปลงและ พัฒนาระบบโทรทัศนทั้งหมดของประเทศไทย แมจำเลยเคยยืนยันขอยุติการสงสัญญาณโทรทัศน ในระบบแอนะล็อกตามอายุสัญญาสัมปทานในป ๒๕๖๖ แต กสทช. เรงรัดตองการใหยุติในป ๒๕๖๑ โดยเชิญจำเลยไปหารือแนวทางยุติการประกอบกิจการโทรทัศนในระบบแอนะล็อกหลายครั้ง ประกอบกับกองทัพบกซึ่งเปนคูสัญญาสัมปทานกับจำเลยตกลงใหความรวมมือกับ กสทช. ในการ ปฏิบัติตามนโยบายดังกลาว โดยจัดตั้งคณะทำงานกำหนดแนวทางการจัดทำแผนยุติการสงสัญญาณ โทรทัศนในระบบแอนะล็อก ทำใหจำเลยจำเปนตองยุติการสงสัญญาณในระบบเดิมเร็วกวาระยะ เวลาในสัญญาสัมปทานที่เหลือกับกองทัพบก ปจจุบันสถานีโทรทัศนทั้งหมดเวนแตสถานีโทรทัศน ไทยทีวีสีชอง ๓ ยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อกแลว การที่จำเลยตองเลิกจางลูกจางประจำ สถานีเครือขายทั้งหมดเปนผลมาจากการตองปฏิบัติตามนโยบายหนวยงานของรัฐที่ควบคุมโดยตรง จึงถือวามีเหตุผลจำเปนตามสมควร ในสวนของกระบวนการเลิกจางไดความวา จำเลยรับสง สัญญาณโทรทัศนทั้งในระบบแอนะล็อกและระบบดิจิตอลคูขนานกันตั้งแตป ๒๕๕๗ กอนยุติการ สงสัญญาณในระบบแอนะล็อกเดิมในป ๒๕๖๐ ถือวาเปนการเปดโอกาสใหลูกจางในระบบเดิม รับรูสถานการณและเตรียมตัวลวงหนาเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จำเลยประกาศ แจงแผนการยุติการสงสัญญาณผานสถานีเครือขายทั้ง ๓๗ สถานี ตามนโยบายและที่ไดรับอนุมัติ จาก กสทช. ใหลูกจางทราบลวงหนาแลว ตามประกาศที่ ๐๐๔/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ และมีการแจงเลิกจางลูกจางโดยบอกกลาวลวงหนานานพอสมควร จำเลยเลิกจางลูกจาง ที่ทำงานประจำสถานีเครือขายทั่วประเทศทั้งหมด ๒๒๐ คน ไมมีลักษณะเปนการกลั่นแกลงเจาะจง เลิกจางลูกจางบางสวนแตอยางใด แมจำเลยไมไดจัดใหลูกจางไปทำงานตำแหนงอื่น แตลูกจาง ที่ถูกเลิกจางสวนใหญมีภูมิลำเนาอยูตางจังหวัดตามพื้นที่ตั้งสถานีเครือขายเดิม เมื่อยุติการสง สัญญาณในระบบแอนะล็อก จำเลยตองสงคืนพื้นที่หรือรื้อถอนอาคารโดยไมไดประกอบกิจการอื่น ใดในพื้นที่นั้นอีก นายพัฒนพงค กรรมการจำเลยเบิกความวา การรับสงสัญญาณในระบบดิจิตอล คูขนานกับระบบเดิมตั้งแตป ๒๕๕๗ จำเลยมีลูกจางรับผิดชอบในระบบดิจิตอลประจำอยูแลว จำเลยจางเหมาบริษัท Outsource มาบริการรักษาความปลอดภัยตั้งแตป ๒๕๕๔ จึงไมสามารถ รับโจทกที่เปนเจาหนาที่รักษาความปลอดภัยมาทำงานอีก ประกอบกับจำเลยเสนอใหเงินชวยเหลือ แกลูกจางที่ถูกเลิกจางดังกลาวทุกคนเทากับคาจางอีกคนละ ๔ เดือน เพิ่มเติมจากคาชดเชย ที่จายตามกฎหมายแลว จึงถือวาจำเลยปฏิบัติตามกระบวนการในการดูแลลูกจางที่ถูกเลิกจางได


๑๙๙ เหมาะสมพอสมควร การเลิกจางโจทกทั้งหมดไมเปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรม จึงไมกำหนด คาเสียหายสวนนี้ให ดังนั้น อุทธรณของโจทกดังกลาวจึงเปนอุทธรณโตแยงดุลพินิจในการรับฟง พยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสูปญหาขอกฎหมายวา การเลิกจางโจทกทั้ง หนึ่งรอยสิบสามเปนการเลิกจางที่ไมเปนธรรม อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหามมิให อุทธรณตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย สวนที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๑๐ ถึงที่ ๑๓ ที่ ๑๖ ถึงที่ ๑๙ ที่ ๒๓ ถึงที่ ๒๙ ที่ ๓๒ ถึงที่ ๓๕ ที่ ๓๗ ถึงที่ ๓๙ ที่ ๔๑ ที่ ๔๔ ถึงที่ ๔๖ ที่ ๔๙ ที่ ๕๐ ที่ ๕๓ ที่ ๕๕ ถึงที่ ๕๗ ที่ ๖๐ ถึงที่ ๖๒ ที่ ๖๔ ที่ ๖๕ ที่ ๖๗ ถึงที่ ๗๑ ที่ ๗๔ ที่ ๗๕ ที่ ๗๗ ถึงที่ ๗๙ ที่ ๘๑ ที่ ๘๔ ถึงที่ ๘๘ ที่ ๙๐ ถึงที่ ๑๐๑ ที่ ๑๐๓ ที่ ๑๐๕ ที่ ๑๐๘ ที่ ๑๐๙ และที่ ๑๑๑ ถึงที่ ๑๑๓ ที่ทำงานในตำแหนง ชางเทคนิครวม ๗๗ คน อุทธรณวา จำเลยตองจายเงินเพิ่มของคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาว ลวงหนาและคาชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากคาชดเชยตามปกติตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๙ วรรคสอง เพราะจำเลยทราบดีอยูแลววา การเลิกจางโจทกทั้งหนึ่งรอย สิบสามเนื่องจากการเปลี่ยนผานการรับสงสัญญาณโทรทัศนในระบบแอนะล็อกเปนระบบดิจิตอล จำเลยจะตองจายคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนาและคาชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจาก คาชดเชยตามปกติตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑ และมาตรา ๑๒๒ จำเลยมีความสามารถในการจายและมีเงินเพียงพอที่จะจาย แตไมจายโดยไมมีเหตุผลอันสมควร เพราะตองการกลั่นแกลงโจทกดังกลาวนั้น เห็นวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงและวินิจฉัยวา ที่โจทกขอใหจำเลยจายเงินเพิ่มรอยละ ๑๕ ของคาชดเชยที่คางจายทุกระยะเวลา ๗ วัน ตามมาตรา ๙ วรรคสอง แหงพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กรณีดังกลาวตองเปนการที่นายจาง จงใจผิดนัดไมจายคาชดเชยเมื่อพนกำหนดเวลา ๗ วัน นับแตวันที่ถึงกำหนดจายโดยปราศจาก เหตุผลอันสมควร แตกรณีนี้จำเลยจายคาชดเชยปกติใหโจทกทั้งหมดและลูกจางคนอื่นที่ถูกเลิกจาง ในกรณีเดียวกันตามกฎหมายแลว สวนคาชดเชยพิเศษแทนการบอกกลาวลวงหนาและคาชดเชย พิเศษเพิ่มขึ้นจากคาชดเชยตามปกติเปนเรื่องที่จำเลยเห็นวาไมเขาหลักเกณฑที่จะตองจายตาม กฎหมาย จึงยังไมชำระถือวาเปนกรณียังมีขอโตแยงกันระหวางนายจางกับลูกจางวาจะตองรับผิด จายเงินดังกลาวหรือไม จำนวนเทาไร ยังฟงไมไดวาจำเลยจงใจไมจายคาชดเชยพิเศษแทนการ บอกกลาวลวงหนาและคาชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากคาชดเชยตามปกติใหแกโจทกทั้ง ๗๗ คน ดังกลาวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรจึงไมกำหนดใหจำเลยตองจายเงินเพิ่มสวนนี้ ดังนั้น อุทธรณของโจทกดังกลาวจึงเปนอุทธรณโตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐานของ


๒๐๐ ศาลแรงงานกลาง อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหามมิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัยเชนกัน ปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ และที่ ๙๙ วา ศาลแรงงานกลางใหนำเงินที่จำเลยจายชวยเหลือแกโจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ และที่ ๙๙ ไปแลว เทากับคาจางคนละ ๔ เดือน มาหักออกจากคาชดเชยพิเศษที่โจทกดังกลาวแตละคนจะไดรับตาม กฎหมาย เปนการไมชอบเพราะจำเลยใหเงินชวยเหลือดังกลาวโดยเสนหา และตามเอกสารไมมี ขอความระบุวาใหนำเงินดังกลาวมาหักออกจากคาชดเชยพิเศษที่โจทกดังกลาวแตละคนจะไดรับนั้น เห็นวา ขอเท็จจริงที่คูความไมโตแยงกันฟงไดวา จำเลยจายเงินคาจาง คาจางสำหรับวันหยุดพักผอน ประจำปที่ไมไดใชตามสวน คาชดเชย และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหแกโจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสาม ครบถวนแลว จำเลยเสนอจายเงินชวยเหลือเทากับคาจางคนละ ๔ เดือน ใหแกโจทกทั้งหนึ่งรอย สิบสาม โดยมีขอตกลงวาลูกจางที่รับเงินชวยเหลือไปแลวสละสิทธิเรียกรองเงิน ทรัพยสิน หรือ สิทธิอื่นใดจากจำเลยอีก โจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ และที่ ๙๙ ลงลายมือชื่อในบันทึกขอตกลง ดังนั้น การที่จำเลยจายเงินชวยเหลือดังกลาวโดยมีเงื่อนไขใหโจทกที่รับเงินชวยเหลือสละสิทธิ เรียกรองเงินอื่นใดจากจำเลยอีก จึงมิใชการใหเงินชวยเหลือโดยเสนหา เมื่อเงินชวยเหลือดังกลาว ไมใชเงินตามกฎหมายที่จำเลยจะตองจายใหแกโจทกดังกลาวเมื่อเลิกจาง ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยใหจำเลยตองจายคาชดเชยพิเศษใหแกโจทกที่ทำงานตำแหนงชางเทคนิคอีกซึ่งรวมทั้ง โจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ และที่ ๙๙ โดยใหนำเงินที่จำเลยจายชวยเหลือแกโจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ และที่ ๙๙ ไปแลวมาหักออกจากคาชดเชยพิเศษที่โจทกดังกลาวแตละคนจะไดรับ จึงชอบแลว ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของโจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ และที่ ๙๙ ฟงไมขึ้น ปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยสำนวนโจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ ที่ ๙๙ และที่ ๑๐๗ วา โจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ ที่ ๙๙ และที่ ๑๐๗ ลงลายมือชื่อในบันทึกขอตกลง รับเงินชวยเหลือจากจำเลย ซึ่งมีขอความสละสิทธิเรียกรองเงิน ทรัพยสิน หรือสิทธิอื่นใดจาก จำเลยอีก โจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ ที่ ๙๙ และที่ ๑๐๗ มีอำนาจฟองเรียกคาชดเชยพิเศษแทนการ บอกกลาวลวงหนาและคาชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากคาชดเชยตามปกติหรือไม เห็นวา คาชดเชยพิเศษ แทนการบอกกลาวลวงหนาและคาชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากคาชดเชยตามปกติตามพระราชบัญญัติ คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑ และมาตรา ๑๒๒ เปนเงินตามกฎหมายวาดวยการ คุมครองแรงงานที่เปนกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบรอยของประชาชน นายจางและลูกจางจะ


๒๐๑ ตกลงสละสิทธิเงินดังกลาวไมได ขอตกลงสละสิทธิเรียกรองเงินดังกลาวตามบันทึกขอตกลง จึงไมมี ผลใชบังคับ โจทกที่ ๑๗ ที่ ๙๑ ถึงที่ ๙๓ ที่ ๙๙ และที่ ๑๐๗ มีอำนาจฟองเรียกเงินดังกลาวจาก จำเลย ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของ จำเลยขอนี้ฟงไมขึ้น สวนที่จำเลยอุทธรณวา จำเลยเลิกจางโจทกทั้งหนึ่งรอยสิบสามเพราะสาเหตุที่จำเลย ปรับปรุงหนวยงาน กระบวนการผลิต หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใชหรือ เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี เห็นวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงและวินิจฉัยวา ธุรกิจ หลักของจำเลยคือการดำเนินการรับสงวิทยุและโทรทัศนเพื่อแพรเสียงและภาพตามที่ระบุไวใน หนังสือรับรองมีลักษณะเปนธุรกิจประเภทการใหบริการ จำเลยรับสงสัญญาณโทรทัศนในระบบ แอนะล็อกมาตลอดแลวเริ่มสงสัญญาณในระบบดิจิตอลคูขนานกันไปตั้งแตป ๒๕๕๗ จากนั้นจำเลย ยุติการรับสงสัญญาณในระบบแอนะล็อกระหวางป ๒๕๖๐ ถึงป ๒๕๖๑ คงเหลือแตการรับสง สัญญาณในระบบดิจิตอล แสดงวาจำเลยยังคงประกอบกิจการโทรทัศนอยูเชนเดิม แตเปลี่ยนแปลง ระบบรับสงคลื่นสัญญาณใหม โดยตองใชอุปกรณเครื่องรับสงสัญญาณในระบบดิจิตอลและสงผาน สายสัญญาณไฟเบอรออปติกของ ททบ.๕ แทนสถานีเครือขายเดิม เมื่อพิจารณาประกาศของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน และกิจการโทรคมนาคมแหงชาติเรื่องแผน การเปลี่ยนระบบการรับสงสัญญาณวิทยุโทรทัศนเปนระบบดิจิตอลตามแผนการในหัวขอ ๑.๑ กฎหมายที่เกี่ยวของ ระบุวา “...จึงถือไดวาการรับสงสัญญาณวิทยุโทรทัศนในระบบดิจิตอลเปน กลไกหลักที่สำคัญในการพัฒนากิจการโทรทัศน ซึ่งนอกจากจะเปนการพัฒนาในดานเทคโนโลยี ที่มีความกาวหนาและสามารถทำใหใชประโยชนจากคลื่นความถี่อยางมีประสิทธิภาพมากขึ้นแลว ยังสงผลตอโครงสรางอุตสาหกรรมดานกิจการโทรทัศน...” นอกจากนี้ในหัวขอ ๑.๔ แนวทางการ สงเสริมการแขงขันเสรีอยางเปนธรรม ซึ่งแสดงภาพเปรียบเทียบหวงโซของการใหบริการโทรทัศน ระบบแอนะล็อกและระบบดิจิตอล ก็ระบุดวยวา “...การเปลี่ยนระบบรับสงสัญญาณวิทยุโทรทัศน ไปสูระบบดิจิตอล นอกจากจะเปนการปรับปรุงประสิทธิภาพการใชคลื่นความถี่วิทยุใหสามารถ รองรับชองรายการที่มากขึ้น และเพิ่มคุณภาพในการรับสัญญาณใหดีขึ้นแลว ถือไดวาเปนการ ปฏิวัติโครงสรางกิจการโทรทัศนจากเดิม...” ประกอบกับนายพสุ และพันเอกบัณฑิต พยานของ จำเลย กับนายมนตรี พยานโจทก ลวนเปนผูทรงคุณวุฒิและมีความรูเกี่ยวกับการรับสงสัญญาณ โทรทัศนของประเทศไทย พยานดังกลาวเปนบุคคลภายนอกไมมีสวนไดเสียกับคูความในคดีตาง เบิกความในทำนองเดียวกันวา การรับสงสัญญาณโทรทัศนระบบดิจิตอลมีการพัฒนาขึ้นจากเดิม ในระบบแอนะล็อก ทั้งในดานคุณภาพของการรับชมมีความคมชัดมากขึ้นและมีการรับสงสัญญาณ


๒๐๒ โทรทัศนไดจำนวนชองมากกวา ซึ่งถือเปนความกาวล้ำทางวิทยาการอีกระดับหนึ่ง สอดคลองกับ ความหมายของคำวา “เทคโนโลยี” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ วา “วิทยาการที่นำเอาความรูทางวิทยาศาสตรมาใชใหเกิดประโยชนในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม เปนตน” ดังนั้น การที่จำเลยตัดทอนขั้นตอนการบริการในสวนของสถานีเครือขายในระบบแอนะล็อก เดิม ๓๗ สถานี ดวยวิธีการไปใชการใหบริการโครงขายจาก ททบ.๕ แทน ซึ่งเปลี่ยนแปลงระบบ รับสงสัญญาณโทรทัศนเปนระบบดิจิตอลที่สามารถสงสัญญาณไดมากขึ้นและคุณภาพดีขึ้น จึงถือ เปนการปรับปรุงการบริการในธุรกิจรับสงสัญญาณโทรทัศนของตน โดยการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยีแลว สวนการที่จำเลยใชบริการโครงขายไฟเบอรออปติกของ ททบ.๕ แทนที่ สถานีเครือขายของตน โดยจำเลยไมไดเปนเจาของสถานีโครงขายและอุปกรณสงสัญญาณหรือ ไดรับอนุญาตใหบริการโครงขายระบบดิจิตอล เนื่องจากตามวัตถุประสงคของพระราชบัญญัติ คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๒๑ มุงคุมครองลูกจางที่ถูกเลิกจางโดยการที่นายจางนำ เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีเขามาใชแทนการทำงานของลูกจางซึ่งเปนมนุษย โดยไมไดจำกัดวา เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีดังกลาวจะตองเปนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่นใดของนายจางหรือไม หรือจัดหา ไดมาอยางไร จึงรับฟงวาจำเลยมีการปรับปรุงการบริการอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยีซึ่งเปนเหตุใหตองยกเลิกสถานีเครือขายในการรับสงสัญญาณระบบเดิมซึ่งตอง เลิกจางลูกจางในสถานีดังกลาว ดังนั้น อุทธรณของจำเลยดังกลาวจึงเปนอุทธรณโตแยงดุลพินิจ ในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหามมิให อุทธรณตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย พิพากษายืน. (ชาตรี หาญไพโรจน - สัญชัย ลิ่มไพบูลย - ยุคนธร พาณิชปฐมพงศ) กิตติ เนตรประเสริฐชัย - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ


๒๐๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๕๕๑ - ๔๕๕๓/๒๕๖๒ นายปยะ ธนกาญจน กับพวก โจทก บริษัทโรช ไทยแลนด จำกัด จำเลย พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ แมจำเลยจายเงินเบี้ยเลี้ยง ซึ่งประกอบดวยคาพาหนะ คาที่จอดรถ คาอาหารและ ที่พัก และคาใชจายอื่น ๆ ใหแกโจทกที่ ๑ จำนวนเทากันทุกเดือน โดยโจทกที่ ๑ ไมตองนำ ใบเสร็จหรือหลักฐานมาแสดงแกจำเลย แตเมื่อคูมือพนักงานจำเลยนิยามคำวา “คาจาง” หมายถึง เงินที่บริษัทจายเปนคาตอบแทนในการทำงานในระยะการทำงานปกติที่พนักงาน มีสิทธิไดรับตามสัญญาจาง ไดแก เงินเดือน สำหรับพนักงานรายเดือน แสดงวาจำเลย มีเจตนาตั้งแตแรกที่จะกำหนดใหเฉพาะเงินเดือนเทานั้นที่ถือเปนคาจาง และใบการจายเงิน เดือนของโจทกที่ ๑ ยังระบุเงินเดือนแยกไวตางหากจากคาพาหนะ คาที่จอดรถ คาอาหาร และที่พัก และคาใชจายอื่น ๆ ซึ่งศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงมาวาจำเลยจายเงินดังกลาว เนื่องจากโจทกที่ ๑ ไปปฏิบัติงานประจำอยูในเขตพื้นที่ภาคเหนือ การจายเงินเบี้ยเลี้ยง แกโจทกที่ ๑ จึงมีลักษณะเปนเงินชวยเหลือการปฏิบัติงานและเปนสวัสดิการแกลูกจาง ไมใชจายเปนคาตอบแทนในการทำงานปกติตามสัญญาจาง จึงไมเปนคาจางที่ตองนำมา คำนวณจายเปนคาจางสำหรับวันหยุดพักผอนประจำปแกโจทกที่ ๑ โจทกทั้งสามฟองและแกไขคำฟอง ขอใหบังคับจำเลยจายคาเสียหายจากการเลิกจางที่ ไมเปนธรรมใหแกโจทกที่ ๑ เปนเงิน ๑,๖๑๗,๔๐๐ บาท โจทกที่ ๒ เปนเงิน ๘๖๑,๑๕๐ บาท และ โจทกที่ ๓ เปนเงิน ๘๕๙,๓๕๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินแตละจำนวน ดังกลาว นับแตวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จ กับจายคาทำงานในวันหยุด ๑๘,๗๘๕ บาท และคาจางคงคางสำหรับวันหยุดพักผอนประจำป ๑๕,๒๖๒ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงินแตละจำนวนดังกลาว นับแตวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ เปนตนไปจนกวาจะชำระ เสร็จแกโจทกที่ ๑ และออกใบสำคัญแสดงการทำงานแกโจทกที่ ๑


๒๐๔ จำเลยใหการและแกไขคำใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยจายคาจางสำหรับวันหยุดพักผอนประจำป ๑๕,๒๖๒ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป นับแตวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จ แกโจทกที่ ๑ กับใหจำเลยออกใบสำคัญแสดงการทำงานตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๕๘๕ ใหแกโจทกที่ ๑ คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก และใหยกฟองโจทกที่ ๒ และที่ ๓ โจทกทั้งสามและจำเลยอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง วา โจทกทั้งสามเปนลูกจางจำเลย โจทกที่ ๑ เขาทำงานวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๐ ตำแหนงสุดทาย เปนผูแทนพื้นที่อาวุโส ไดรับเงินตามหลักฐานการจายเงินเดือนละ ๘๐,๘๗๐ บาท ประกอบดวย เงินเดือน ๔๗,๕๗๐ บาท คาอาหารและที่พัก ๑๙,๒๐๐ บาท คาที่จอดรถ ๒๐๐ บาท คาพาหนะ ๑๓,๕๐๐ บาท และคาใชจายอื่น ๆ ๔๐๐ บาท โจทกที่ ๒ เขาทำงานวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ ตำแหนงสุดทายเปนผูจัดการเขต ไดรับเงินตามหลักฐานการจายเงินเดือนละ ๕๗,๔๑๐ บาท ประกอบดวยเงินเดือน ๔๒,๙๑๐ บาท และคาเบี้ยเลี้ยง ๑๔,๕๐๐ บาท โจทกที่ ๓ เขาทำงานวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ตำแหนงสุดทายเปนผูจัดการเขต ไดรับเงินตามหลักฐานการจายเงินเดือนละ ๕๗,๒๙๐ บาท ประกอบดวยเงินเดือน ๔๒,๗๙๐ บาท และคาเบี้ยเลี้ยง ๑๔,๕๐๐ บาท กำหนด จายคาจางทุกวันที่ ๒๘ ของเดือน เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ จำเลยเรียกโจทกทั้งสามกับลูกจาง รายอื่น ๆ เขามาพูดคุย แตโจทกที่ ๑ ไมตกลง ตอมาวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ จำเลยเรียกโจทกที่ ๑ มาคุยอีกครั้ง โจทกทั้งสามไดลงลายมือชื่อในขอตกลงยุติสัญญาจางแรงงานที่จำเลยทำขึ้น แลววินิจฉัยวาเอกสารดังกลาวไมมีขอความระบุวาจำเลยเลิกจางโจทกทั้งสาม เอกสารดังกลาว เปนเพียงหนังสือที่นายจางเสนอคาตอบแทนจำนวนที่สูงกวาคาชดเชยเพื่อใหลูกจางพิจารณาวา จะทำขอตกลงยุติสัญญาจางกันหรือไม มิใชหนังสือบอกเลิกจางลูกจาง โจทกทั้งสามยินยอม ลงลายมือชื่อในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นดังกลาวดวยความสมัครใจของทั้งสองฝายเพื่อเปนการยุติ สัญญาจาง จึงมิใชกรณีที่จำเลยเลิกจางโจทกทั้งสาม โจทกทั้งสามไมมีสิทธิเรียกคาเสียหายจาก การเลิกจางที่ไมเปนธรรม สำหรับเงินคาอาหาร คาที่พัก คาที่จอดรถ คาพาหนะ และคาใชจาย อื่น ๆ จำเลยจายใหโจทกที่ ๑ เนื่องจากจำเลยมีคำสั่งใหโจทกที่ ๑ ปฏิบัติงานประจำในเขตพื้นที่ ภาคเหนือ โดยจายเปนจำนวนเทากันทุกเดือน และไมตองนำใบเสร็จหรือหลักฐานตาง ๆ มาแสดง มิใชเงินที่จายเปนสวัสดิการ จึงเปนคาจางที่ตองมาคำนวณจายคาจางสำหรับวันหยุดพักผอน ประจำป สวนคาทำงานในวันหยุดนั้น ตามรายงานการทำงานของโจทกที่ ๑ ไมปรากฏวาโจทกที่ ๑ ไดมาทำงานในวันหยุด โจทกที่ ๑ จึงไมมีสิทธิไดรับเงินดังกลาว


๒๐๕ ที่โจทกทั้งสามอุทธรณตามขอ ๓.๑ ขอ ๓.๒ และขอ ๔ วา ตามเอกสารจำเลยทำขึ้นใน รูปแบบจดหมายเลิกจางเพื่อใหเปนผลเลิกสัญญา เปนการเลิกจางตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ไมมีขอความใดแสดงใหเห็นวาโจทกทั้งสามและจำเลยไดตกลง เพื่อที่จะยุติสัญญาจาง เปนการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจางของจำเลยแตเพียงฝายเดียวก็ดี อุทธรณ วาเอกสารดังกลาว จำเลยทำขึ้นในรูปแบบเดียวกับจดหมายแจงการเลื่อนตำแหนงของโจทกทั้งสาม ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙ มิใชเอกสารที่ทำขึ้นดวยความสมัครใจของทั้งสองฝาย เปนการแสดง เจตนาของบุคคลเพียงฝายเดียว เปนเพียงนิติกรรมการบอกเลิกสัญญาก็ดี จำเลยไดยื่นขอแกไข คำแปลเอกสารดังกลาวโดยคำวา acknowledge จากแปลวา รับทราบ เปน ยอมรับ ไมถูกตองใน การแปลความหมายในรูปประโยคดังกลาว เพื่อใหศาลแรงงานกลางรับฟงขอเท็จจริงผิดไปจาก ความเปนจริงก็ดี อุทธรณวาศาลแรงงานกลางหยิบยกเฉพาะบางถอยคำและตัวอักษรในเอกสาร เลิกจางดังกลาวมาพิเคราะหตีความการแสดงเจตนาของโจทกทั้งสามวาทำขึ้นดวยความสมัครใจ ของทั้งสองฝาย มิใชทำขึ้นโดยจำเลยเพียงฝายเดียวก็ดี หยิบยกถอยคำและตัวอักษรคำวา “คาตอบแทนการยุติสัญญา” และ “ยอมรับหนังสือและเงื่อนไขตามที่ระบุไว” มาพิเคราะหแปลความ ไมถูกตองตามความหมายของคาตอบแทนจากการทำขอตกลงยุติสัญญาที่แทจริง มิชอบดวย ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๗๑ ก็ดีนั้น เห็นวา อุทธรณของโจทกทั้งสามดังกลาว ลวนเปนการอุทธรณโตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่ฟงขอเท็จจริง มาวา เอกสารดังกลาวเปนหนังสือที่นายจางเสนอคาตอบแทนจำนวนที่สูงกวาคาชดเชยเพื่อให ลูกจางพิจารณาวาจะทำขอตกลงยุติสัญญาจางกันหรือไม มิใชหนังสือบอกเลิกจางลูกจาง โจทกทั้งสาม ยินยอมลงลายมือชื่อในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นดังกลาวดวยความสมัครใจของทั้งสองฝายเพื่อเปนการ ยุติสัญญาจาง จึงมิใชกรณีที่จำเลยเลิกจางโจทกทั้งสาม อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหาม มิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย ที่โจทกทั้งสามอุทธรณขอ ๓.๓ วา ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไมครบถวนในประเด็นแหงคดี เปนคำพิพากษาที่มิชอบดวยกฎหมาย เพราะศาลแรงงานกลางยังมิไดวินิจฉัยขอเท็จจริงที่จำเลย บอกเลิกจางโจทกที่ ๑ ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ ซึ่งโจทกที่ ๑ รับทราบการเลิกจางของ จำเลยดังกลาวแลว การแสดงเจตนาเลิกจางของจำเลยยอมมีผลตามกฎหมาย จำเลยไมอาจถอน การแสดงเจตนาดังกลาวไดนั้น เห็นวา โจทกที่ ๑ ฟองวา เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ จำเลย เลิกจางโจทกที่ ๑ ใหมีผลในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ และศาลแรงงานกลางจดประเด็นขอพิพาท ในขอ ๑ เพียงวาโจทกที่ ๑ ลงลายมือชื่อในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๙


๒๐๖ ดังกลาวดวยความสมัครใจของทั้งสองฝายเพื่อเปนการเลิกสัญญาจางหรือไม หาไดกลาวถึงประเด็น จำเลยบอกเลิกจางโจทกที่ ๑ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ แตอยางใด ดังนั้นอุทธรณขอนี้ของโจทก ทั้งสามจึงเปนการอุทธรณนอกประเด็น ถือไดวาเปนอุทธรณในขอที่ไมไดยกขึ้นวากันมาแลวโดย ชอบในศาลแรงงานกลาง ซึ่งตองหามมิใหอุทธรณตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัยเชนกัน มีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกทั้งสามขอ ๕ วา โจทกที่ ๑ มีสิทธิไดรับ คาทำงานในวันหยุดตามฟองหรือไม เห็นวา แมตามคูมือพนักงานจำเลยไมไดระบุหลักเกณฑการ ทำงานในวันหยุดวาตองเขียนรายงานในใบแสดงรายงานการทำงานก็ตาม แตหลักเกณฑดังกลาว ขอ ๔.๑ ระบุวาจำเลยอาจจะใหพนักงานทำงานในวันหยุดเทาที่จำเปน โดยผูบังคับบัญชาจะแจงให ทราบลวงหนา และการทำงานในวันหยุดตองไดรับอนุมัติลวงหนาจากผูบังคับบัญชา ดังนั้นการให พนักงานทำงานในวันหยุดจึงตองมีคำสั่งผูบังคับบัญชาอนุมัติลวงหนาและแจงพนักงานทราบดวย แตตามเอกสารที่โจทกที่ ๑ อางวามีการใชสัญลักษณ P’Ya มอบหมายใหโจทกที่ ๑ ปฏิบัติงานใน วันหยุดนั้น หาไดปรากฏชัดเจนวาเปนคำสั่งอนุมัติใหโจทกที่ ๑ ทำงานในวันหยุดหรือเปนการแจง ใหทราบลวงหนาตามคูมือพนักงานจำเลยแตอยางใด และศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงมาวา ตามรายงานการทำงานของโจทกที่ ๑ ก็ไมปรากฏวาโจทกที่ ๑ ไดมาทำงานในวันหยุดดังกลาว ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยวาโจทกที่ ๑ ไมมีสิทธิไดรับคาทำงานในวันหยุดนั้น ศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของโจทกทั้งสามขอนี้ฟงไมขึ้น มีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยวา เงินเบี้ยเลี้ยงอันประกอบดวย คาพาหนะ คาที่จอดรถ คาอาหารและที่พัก และคาใชจายอื่น ๆ ที่จำเลยจายใหแกโจทกที่ ๑ เปนคาจางที่ตอง นำมาคำนวณจายเปนคาจางสำหรับวันหยุดพักผอนประจำปแกโจทกที่ ๑ หรือไม เห็นวา คาจาง ตามมาตรา ๕ ดังกลาว หมายความวา เงินที่นายจางและลูกจางตกลงกันจายเปนคาตอบแทนใน การทำงานตามสัญญาจางสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ แมขอเท็จจริงไดความวา เงินเบี้ยเลี้ยง ดังกลาว ซึ่งประกอบดวยคาพาหนะ ๑๙,๒๐๐ บาท คาที่จอดรถ ๒๐๐ บาท คาอาหารและที่พัก ๑๓,๕๐๐ บาท และคาใชจายอื่น ๆ ๔๐๐ บาท จำเลยไดจายใหโจทกที่ ๑ จำนวนเทากันทุกเดือน โดยโจทกที่ ๑ ไมตองนำใบเสร็จหรือหลักฐานมาแสดงแกจำเลยก็ตาม แตตามคำนิยามในคูมือ พนักงานจำเลย ขอ ๓ ระบุวา คาจาง หมายถึง เงินที่บริษัทจายเปนคาตอบแทนในการทำงาน ในระยะการทำงานปกติที่พนักงานมีสิทธิไดรับตามสัญญาจาง ไดแก เงินเดือน สำหรับพนักงาน รายเดือน แสดงใหเห็นวาจำเลยมีเจตนาตั้งแตแรกที่จะกำหนดใหเฉพาะเงินเดือนเทานั้นที่ถือ


๒๐๗ เปนคาจาง และใบการจายเงินเดือนของโจทกที่ ๑ พรอมคำแปล ยังระบุเงินเดือน ๔๗,๕๗๐ บาท แยกไวตางหากจากคาพาหนะ คาที่จอดรถ คาอาหารและที่พัก และคาใชจายอื่น ๆ ซึ่งศาลแรงงาน กลางฟงขอเท็จจริงมาวาจำเลยจายเงินดังกลาวเนื่องจากโจทกที่ ๑ ไปปฏิบัติงานประจำอยูในเขต พื้นที่ภาคเหนือ ดังนั้นการจายเงินดังกลาวจึงมีลักษณะเปนเงินชวยเหลือการปฏิบัติงานและเปน สวัสดิการแกลูกจาง ไมใชจายเปนคาตอบแทนในการทำงานปกติตามสัญญาจาง จึงไมเปนคาจาง ที่ตองนำมาคำนวณจายเปนคาจางสำหรับวันหยุดพักผอนประจำปแกโจทกที่ ๑ แตอยางใด ที่ศาลแรงงานกลางนำคาเบี้ยเลี้ยงดังกลาวมาคำนวณใหจำเลยจายคาจางสำหรับวันหยุดพักผอน ประจำปแกโจทกที่ ๑ เพิ่มขึ้นอีก ๑๕,๒๖๒ บาท นั้น ไมตองดวยความเห็นของศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษ อุทธรณของจำเลยขอนี้ฟงขึ้น พิพากษาแกเปนวา จำเลยไมตองจายคาจางสำหรับวันหยุดพักผอนประจำป ๑๕,๒๖๒ บาท พรอมดอกเบี้ยแกโจทกที่ ๑ นอกจากที่แกใหเปนไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง. (ปณิธาน วิสุทธากร - วิโรจน ตุลาพันธุ - ไพรัช โปรงแสง) กรรณิกา อัศวเมธา - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ


๒๐๘ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๕๕๗/๒๕๖๒ บริษัทซิงเกอรประเทศไทย จำกัด (มหาชน) โจทก นายอัครพล หงษสวัสดิ์ กับพวก จำเลย ป.พ.พ. มาตรา ๖๘๖ วรรคสอง ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ จําเลยที่ ๑ ซึ่งเปนลูกหนี้ผิดนัดชําระเงินตามสัญญารับผิดชดใชความเสียหาย ตั้งแตงวดเดือนกันยายน ๒๕๕๙ โจทกจึงตองมีหนังสือบอกกลาวเรื่องที่จําเลยที่ ๑ ผิดนัด ไปถึงจําเลยที่ ๒ ซึ่งเปนผูค้ำประกันภายใน ๖๐ วัน นับแตวันที่จําเลยที่ ๑ ผิดนัด แตปรากฏวา โจทกมีหนังสือถึงจําเลยที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๐ อันเปนวันที่พนกําหนดระยะ เวลาดังกลาวแลว จําเลยที่ ๒ ยอมหลุดพนจากความรับผิดในดอกเบี้ยอันเปนอุปกรณแหงหนี้ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากพนกําหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖๘๖ วรรคสอง ปญหานี้ แมคูความไมไดอุทธรณหรือศาลแรงงานภาค ๕ มีคําสั่งไมรับอุทธรณของจําเลยที่ ๒ แตเปนปญหาขอกฎหมายอันเกี่ยวดวยความสงบเรียบรอยของประชาชน ศาลอุทธรณ คดีชํานัญพิเศษเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ โจทกฟองและแกไขคำฟอง ขอใหบังคับจำเลยทั้งสองรวมกันชำระเงิน ๒๗๓,๒๑๗ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงิน ๒๔๒,๘๖๐ บาท นับตั้งแตวันถัดจากวันฟอง เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก จำเลยที่ ๑ ขาดนัด และขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ ๒ ใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานภาค ๕ พิพากษาใหจำเลยทั้งสองรวมกันชำระเงิน ๒๗๓,๒๑๗ บาท พรอม ดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงิน ๒๔๒,๘๖๐ บาท นับถัดจากวันฟอง (ฟองวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐) เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก


๒๐๙ จำเลยที่ ๒ อุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานภาค ๕ ฟงขอเท็จจริง และวินิจฉัยวา จำเลยที่ ๑ ผิดสัญญาวาจางและกอความเสียหายแกโจทก ตอมาวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ จำเลยที่ ๑ ทำหนังสือยินยอมรับผิดชดใชคาเสียหายเปนเงิน ๓๑๒,๖๖๐ บาท ตกลงผอนชำระเปนงวดรายเดือน ๆ ละ ๘,๓๐๐ บาท ชำระทุกวันที่ ๓๐ ของเดือน เริ่มชำระงวดแรก วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ เปนตนไปจนกวาจะครบถวน หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งใหถือวา ผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดและยินยอมชำระดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงินคงเหลือ ในวัน เดียวกันจำเลยที่ ๒ ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ไว สัญญาค้ำประกันดังกลาวระบุขอความไว ชัดเจนกอนจำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อวาขอเขาค้ำประกันผูชดใชความเสียหาย ทั้งจำเลยที่ ๒ รับวา ลงลายมือชื่อดวยตนเองและอานออกเขียนได นาเชื่อวาจำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อดวยความสมัครใจ ที่จำเลยที่ ๒ อุทธรณขอ ๒.๒ วา โจทกมีหนังสือบอกกลาวทวงถามใหจำเลยที่ ๒ ในฐานะผูค้ำประกัน ชำระหนี้เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๐ กอนมีหนังสือบอกกลาวทวงถามไปยังจำเลยที่ ๑ ซึ่งเปน ลูกหนี้ชั้นตนเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ ๒๕๖๐ เปนการไมชอบ โจทกจึงไมมีอำนาจฟอง เห็นวา เปนการยกขอเท็จจริงขึ้นมาใหมและเปนขอที่ไมไดยกขึ้นวากันมาแลวโดยชอบในศาลชั้นตน เปนการไมชอบ อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง จำเลยที่ ๒ ไมอาจอุทธรณไดตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง และที่จำเลยที่ ๒ อุทธรณขอ ๒.๓ วา พยานจำเลยที่ ๒ ฟงไดวา จำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาค้ำประกันในขณะที่ยังไมมี การกรอกขอความใด ๆ ทั้งจำเลยที่ ๒ สำคัญผิดในสาระสำคัญ พยานโจทกฟงไมไดวามีการทำ เอกสารจริง เปนอุทธรณโตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค ๕ จึงเปน อุทธรณในขอเท็จจริงเชนเดียวกัน ตองหามมิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย อนึ่ง ที่ศาลแรงงานภาค ๕ พิพากษาใหจำเลยทั้งสองรวมกันชำระเงิน ๒๗๓,๒๑๗ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงิน ๒๔๒,๘๖๐ บาท นับถัดจากวันฟองเปนตนไป จนกวาจะชำระเสร็จแกโจทกนั้น เห็นวา หนังสือสัญญาค้ำประกันไมไดระบุใหจำเลยที่ ๒ ในฐานะ ผูค้ำประกันตองรับผิดอยางลูกหนี้รวม และปรากฏขอเท็จจริงยุติตามคำฟองโจทกซึ่งคูความไมได โตแยงกันวา จำเลยที่ ๑ ซึ่งเปนลูกหนี้ผิดนัดชำระเงินตั้งแตงวดเดือนกันยายน ๒๕๕๙ โจทกจึง ตองมีหนังสือบอกกลาวเรื่องที่จำเลยที่ ๑ ผิดนัดไปถึงจำเลยที่ ๒ ภายใน ๖๐ วัน นับแตวันที่จำเลยที่ ๑ ผิดนัด แตปรากฏวาโจทกมีหนังสือถึงจำเลยที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๐ ตามใบตอบรับ


๒๑๐ ในประเทศ อันเปนวันที่พนกำหนดเวลาดังกลาวแลว จำเลยที่ ๒ ยอมหลุดพนจากความรับผิด ในดอกเบี้ยอันเปนอุปกรณแหงหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากพนกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพง และพาณิชย มาตรา ๖๘๖ วรรคสอง โจทกไมอาจเรียกใหจำเลยที่ ๒ ชำระดอกเบี้ย ๓๐,๓๕๗ บาท ซึ่งโจทกคำนวณตั้งแตวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๐ จนถึงวันฟอง และดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟอง เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จตามคำขอโจทกได ดังนั้นการที่ศาลแรงงานภาค ๕ พิพากษาให จำเลยทั้งสองรวมกันชำระเงินดังกลาวขางตนนั้นแกโจทกไมชอบ ปญหานี้แมคูความไมไดอุทธรณ หรือศาลแรงงานภาค ๕ มีคำสั่งไมรับอุทธรณขอ ๒.๑ ของจำเลยที่ ๒ แตเปนปญหาขอกฎหมาย อันเกี่ยวดวยความสงบเรียบรอยของประชาชน ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ พิพากษาแกเปนวา ใหจำเลยที่ ๑ ชำระเงิน ๒๗๓,๒๑๗ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรา รอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงิน ๒๔๒,๘๖๐ บาท นับถัดจากวันฟอง (ฟองวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐) เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก ถาจำเลยที่ ๑ ไมชำระ ใหจำเลยที่ ๒ ชำระแทนเปนเงิน ๒๔๒,๘๖๐ บาท คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก. (สัญชัย ลิ่มไพบูลย - ชาตรี หาญไพโรจน - ยุคนธร พาณิชปฐมพงศ) ธนวรรณ นราวิริยะกุล - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ


๒๑๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๓๗๗/๒๕๖๒ สหกรณออมทรัพย กระทรวงมหาดไทย จํากัด โจทก นางจันเพ็ญ ฟุงทวีวงศ หรือแขมโคกกรวด กับพวก จำเลย ป.พ.พ. มาตรา ๖๘๒ วรรคสอง  ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕)  พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖  พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗  ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑและวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทํางาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทํางานจากลูกจาง พ.ศ. ๒๕๕๑ การเรียกหรือรับหลักประกันในการทํางานหรือหลักประกันความเสียหายในการ ทํางานจากลูกจางนั้น นายจางจะตองปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทํางานหรือหลักประกันความเสียหายในการทํางาน จากลูกจาง พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ในกรณีที่นายจางเรียกหรือรับหลักประกันโดยการค้ำประกันดวยบุคคล วงเงินค้ำประกัน ที่นายจางเรียกใหผูค้ำประกันรับผิดตองไมเกิน ๖๐ เทาของอัตราคาจางรายวันโดยเฉลี่ย ที่ลูกจางไดรับ และในกรณีที่มีการเรียกหรือรับหลักประกันเกินที่กําหนดไวมากอนวันที่ ประกาศฉบับนี้มีผลใชบังคับ นายจางตองดําเนินการใหมีหลักประกันไมเกินมูลคาดังกลาว นายจางและลูกจางไมอาจตกลงนอกเหนือจากหลักเกณฑและเงื่อนไขที่ประกาศกําหนดได เมื่อประกาศฉบับนี้มีผลใชบังคับตั้งแตวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ความรับผิดของจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเปนผูค้ำประกัน จึงตองพิจารณาวาความ เสียหายอันกอใหเกิดหนี้ที่จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตองรวมรับผิดกับจําเลยที่ ๑ ตอโจทก เกิดมีขึ้น ในวันใด หากหนี้ที่ตองรวมรับผิดเกิดมีขึ้นกอนวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ อันเปนวันที่ ประกาศมีผลใชบังคับ จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ก็ตองรับผิดเต็มจํานวนตามสัญญาค้ำประกัน แตหากหนี้ที่ตองรวมรับผิดเกิดมีขึ้นตั้งแตหรือหลังจากวันดังกลาว ความรับผิดหาตกเปน


๒๑๒ โมฆะไม เพียงแตจะถูกจํากัดไวไมเกิน ๖๐ เทาของอัตราคาจางรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจาง ไดรับเทานั้น  จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตางแสดงเจตนาเขาเปนผูค้ำประกันการทํางานหรือประกัน ความเสียหาย ในการทํางานของจําเลยที่ ๑ ถือเปนการค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ จึงมีความรับผิดอยางลูกหนี้รวมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖๘๒ วรรคสอง อันเปน ปญหาขอกฎหมายที่เกี่ยวดวยความสงบเรียบรอยของประชาชน แมคูความไมไดอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชํานัญพิเศษมีอํานาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยไดตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ โจทกฟอง ขอใหบังคับจำเลยทั้งสามรวมกันใชคาเสียหาย ๓,๔๐๔,๔๘๖.๔๐ บาท พรอม ดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินดังกลาว นับถัดจากวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชำระ เสร็จแกโจทก จำเลยที่ ๑ ขาดนัด จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยที่ ๑ ชำระเงิน ๓,๔๐๔,๔๘๖.๔๐ บาทพรอมดอกเบี้ย อัตรารอยละ ๗.๕ ตอป นับถัดจากวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก โดยใหจำเลยที่ ๒ รวมรับผิดในวงเงิน ๒,๘๘๘,๑๒๓.๔๐ บาท และจำเลยที่ ๓ รวมรับผิดในวงเงิน ๑๘,๒๐๐ บาท คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก จำเลยทั้งสามอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา มีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณ ของจำเลยที่ ๑ วา ฟองโจทกเปนฟองซอนกับคดีหมายเลขดำที่ ๓๙๖๓/๒๕๖๐ ของศาลแรงงาน กลางหรือไม เห็นวา เมื่อคดีหมายเลขดำที่ ๓๙๖๓/๒๕๖๐ ของศาลแรงงานกลางเปนการฟองให รับผิดในหนี้คนละสวนกับหนี้ในคดีนี้ มูลเหตุแหงคดีจึงเปนคนละเรื่อง แมจะเปนคูความเดียวกัน ก็ไมเปนฟองซอน ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาชอบแลว ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของจำเลยที่ ๑ ฟงไมขึ้น ปญหาที่ตองวินิจฉัยตอไปตามอุทธรณของจำเลยที่ ๑ มีวา จำเลยที่ ๑ กระทำละเมิด โดยทุจริตเบียดบังเงินของโจทกไปหรือไม ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงวา โจทกวาจางผูสอบ บัญชีเอกชนและผูสอบกิจการมาตรวจสอบงานบัญชีและการเงินของโจทกตลอดมาเพื่อเสนองบดุล


๒๑๓ ตอที่ประชุมใหญของโจทก จำเลยที่ ๑ ทุจริตเงินโจทกไปโดยอาศัยความไวเนื้อเชื่อใจของสมาชิก โจทก ดำเนินการดานธุรกรรมใหและใหสมาชิกโอนเงินเขาบัญชีจำเลยที่ ๑ ถือวาโจทกไดดำเนิน การบริหารงานดานบัญชีการเงินตามมาตรฐานแลว และสมาชิกโอนเงินเขาบัญชีจำเลยที่ ๑ สอดคลองกับรายการเดินบัญชีธนาคารของจำเลยที่ ๑ ซึ่งปรากฏการโอนเงินเขาบัญชีของจำเลยที่ ๑ ที่จำเลยที่ ๑ อุทธรณวา การโอนเงินเขาบัญชีไมมีขอความใดแสดงวาเงินที่โอนเขามาในบัญชี ดังกลาวเปนเงินของสมาชิกคนใดของหนวยงานกรมราชทัณฑ เอกสารดังกลาวไมใชหลักฐานแหงหนี้ ที่แนนอน ดังนั้นเงินที่โอนเขามาจึงไมนาเชื่อวาเปนเงินของสมาชิกในหนวยงานกรมราชทัณฑ ที่โอนมาจริงหรือไม และไมมีพยานหลักฐานใดแสดงวาสมาชิกของหนวยงานกรมราชทัณฑดำเนินคดี ทั้งทางแพงและอาญากับจำเลยที่ ๑ ทั้งโจทกไดวาจางผูสอบบัญชีเอกชนและผูสอบกิจการมา ตรวจสอบงานบัญชีและการเงินของโจทกตลอดมาเพื่อเสนองบดุลตอที่ประชุมใหญของโจทกโดย มีการตรวจสอบบัญชีทุกป แตไมมีสมาชิกคนใดของโจทกโตแยงเรื่องมีขอพิรุธดานการทุจริต จึงไมอาจ รับฟงไดวา จำเลยที่ ๑ กระทำละเมิดโดยทุจริตเบียดบังเงินจำนวน ๓,๔๐๔,๔๘๖.๔๐ บาท ของโจทกไป จำเลยที่ ๑ จึงไมตองรับผิด จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเปนผูค้ำประกันก็ไมตองรับผิดดวย เห็นวา ขออางของจำเลยที่ ๑ เปนการยกขอกลาวอางขึ้นมาใหม เปนอุทธรณในขอเท็จจริง ตองหาม มิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย ปญหาที่ตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ มีวา สัญญาค้ำประกันของ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เปนโมฆะหรือไม เห็นวา การเรียกหรือรับหลักประกันในการทำงานหรือ หลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจางนั้น นายจางจะตองปฏิบัติตามประกาศกระทรวง แรงงาน เรื่องหลักเกณฑและวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความ เสียหายในการทำงานจากลูกจาง พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แหงพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ในกรณีที่นายจางเรียกหรือรับหลักประกัน โดยการค้ำประกันดวยบุคคล วงเงินค้ำประกันที่นายจางเรียกใหผูค้ำประกันรับผิดตองไมเกิน ๖๐ เทา ของอัตราคาจางรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจางไดรับ และในกรณีที่มีการเรียกหรือรับหลักประกัน เกินที่กำหนดไวมากอนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใชบังคับ นายจางตองดำเนินการใหมีหลักประกัน ไมเกินมูลคาดังกลาว นายจางและลูกจางไมอาจตกลงนอกเหนือจากหลักเกณฑและเงื่อนไขที่ ประกาศกำหนดได เมื่อประกาศฉบับนี้มีผลใชบังคับตั้งแตวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือ วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ความรับผิดของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเปนผูค้ำประกันจึงตองพิจารณา วาความเสียหายอันกอใหเกิดหนี้ที่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตองรวมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ตอโจทก


๒๑๔ เกิดมีขึ้นในวันใด หากหนี้ที่ตองรวมรับผิดเกิดมีขึ้นกอนวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ อันเปนวันที่ประกาศ มีผลใชบังคับ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ก็ตองรับผิดเต็มจำนวนตามสัญญาค้ำประกัน แตหากหนี้ที่ ตองรวมรับผิดเกิดมีขึ้นตั้งแตหรือหลังจากวันดังกลาว ความรับผิดหาตกเปนโมฆะไม เพียงแตจะ ถูกจำกัดไวไมเกิน ๖๐ เทาของอัตราคาจางรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจางไดรับเทานั้น ที่ศาลแรงงาน กลางพิพากษาใหจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ รวมกันรับผิดกับจำเลยที่ ๑ เฉพาะในความเสียหายที่จำเลยที่ ๑ กอขึ้นนับแตวันทำสัญญาค้ำประกันจนถึงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยไมตองรวมกันรับผิด สำหรับความเสียหายที่จำเลยที่ ๑ กอขึ้นตั้งแตวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๑ นั้น ศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษไมเห็นพองดวย เมื่อพิจารณาความเสียหายที่จำเลยที่ ๑ กอขึ้นแลว จำเลยที่ ๒ ตองรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ ๑ กอขึ้นตั้งแตวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๔ ถึงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เปนเงิน ๒,๘๘๘,๑๒๓.๔๐ บาท และจำเลยที่ ๓ ตองรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ ๑ กอขึ้นตั้งแตวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เปนเงิน ๑๘,๒๐๐ บาท สวนความรับผิดของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ในความเสียหายที่จำเลยที่ ๑ กอขึ้นตั้งแตวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ หลังจากประกาศกระทรวงแรงงานดังกลาวมีผลใชบังคับนั้น จำเลยที่ ๑ ไดรับ อัตราคาจางเดือนละ ๓๐,๖๕๐ บาท จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จึงตองรวมกันรับผิดในตนเงินไมเกิน ๖๑,๓๐๐ บาท อนึ่ง ตามขอเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟงมา จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตางแสดงเจตนา เขาเปนผูค้ำประกันการทำงานหรือประกันความเสียหายในการทำงานของจำเลยที่ ๑ ถือเปน การค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จึงมีความรับผิดอยางลูกหนี้รวมกันตาม ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๖๘๒ วรรคสอง ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดใหจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตางรับผิดรวมกันกับจำเลยที่ ๑ มีผลทำใหจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตองรับผิดเกินไปกวา ความรับผิดในฐานะลูกหนี้รวมกัน ซึ่งไมถูกตองตามกฎหมาย อันเปนปญหาขอกฎหมายที่เกี่ยวดวย ความสงบเรียบรอยของประชาชน แมคูความไมไดอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษมีอำนาจ หยิบยกขึ้นวินิจฉัยไดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗


๒๑๕ พิพากษาแกเปนวา ใหจำเลยที่ ๒ รวมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ชำระเงิน ๒,๙๔๙,๔๒๓.๔๐ บาท แกโจทก และใหจำเลยที่ ๓ รวมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ชำระเงิน ๗๙,๕๐๐ บาท แกโจทก นอกจากที่แกใหเปนไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง. ธนวรรณ นราวิริยะกุล - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ (นงนภา จันทรศักดิ์ ลิ่มไพบูลย - เริงศักดิ์ วิริยะชัยวงศ - นาวี สกุลวงศธนา)


๒๑๖ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๙๓๘๓ - ๙๔๓๓/๒๕๖๒ นายอนุชา กิตตินาทอง กับพวก โจทก บริษัทลินฟอกซทรานสปอรต (ประเทศไทย) จำกัด จำเลย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๖ วรรคสอง และวรรคสาม กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ขอ ๖ คาเที่ยว เปนเงินที่นายจางจายเปนคาตอบแทนในการทํางานในวันทํางานใหแก ลูกจางเมื่อมีการขับรถบรรทุกตูคอนเทนเนอรตามคําสั่งของนายจางทั้งในเวลาทํางานปกติ และนอกเวลาทํางานปกติ ยอมถือไดวา คาเที่ยวเปนทั้งคาจางตามผลงานสําหรับการขับรถ ที่เปนจํานวนชั่วโมงทํางานปกติและเปนคาตอบแทนการทํางานเกินเวลาทํางานปกติใน วันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทําปะปนอยูดวยกัน และคาจางของลูกจางในคดีนี้จึงไดแก เงินเดือนประจํารวมกับคาเที่ยวเฉพาะสวนที่เปนการขับรถที่เปนจํานวนชั่วโมงทํางานปกติ แตโดยที่คาตอบแทนการทํางานเกินเวลาทํางานปกติในวันทํางานที่ลูกจางมีสิทธิไดรับใน ชวงเวลาตามฟอง จําตองอาศัยฐานขอมูลอัตราคาจางตอชั่วโมงในวันทํางานซึ่งตองรวม คํานวณจากคาจางสวนเงินเดือนประจําและคาจางตามผลงานสําหรับการขับรถที่เปน จํานวน ชั่วโมงทํางานปกติของแตละวันทํางาน กับฐานขอมูลจํานวนชั่วโมงการทํางาน เกินเวลาทํางานปกติใน แตละวันทํางานตามความเปนจริงของลูกจาง ซึ่งฐานขอมูล ดังกลาวนี้แตกตางกัน และเมื่อคํานวณเปน คาตอบแทนการทํางานเปนเวลาทํางานปกติ ในวันทํางานในชวงเวลาตามฟองก็อาจมีจํานวนนอยกวา เทากับ หรือมากกวาจํานวนเงิน คาเที่ยวเหมาจายตามขอบังคับเกี่ยวกับการทํางานขอ ๕.๑ ก็เปนได ดังนี้ การที่ขอบังคับ เกี่ยวกับการทํางานขอ ๕.๑ กําหนดใหคาเที่ยวเปนการเหมาจายรวมคาตอบแทน การทํางานลวงเวลาและการทํางานเกินเวลาทํางานปกติไวดวยกันแลวในทุกกรณีจึงขัดตอ กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. (๒๕๔๑) ขอ ๖ ยอมไมมีผลใชบังคับ  สําหรับแนวทางการคํานวณคาตอบแทนการทํางานเกินเวลาทํางานปกติใน วันทํางานในชวงเวลาตามฟองคือ หากวันทํางานใดไมมีเวลาทํางานที่เกินเวลาทํางานปกติ คาเที่ยวที่นายจางจายใหแกลูกจางในวันทํางานนั้นทั้งจํานวนก็จะถือเปนคาจางตาม


๒๑๗ ผลงานสําหรับการทํางานในเวลาทํางานปกติ แตหากมีชั่วโมงทํางานเกินเวลาทํางานปกติ คาเที่ยวในวันทํางานนั้นจะมีทั้งคาจางตามผลงานสําหรับการทํางานที่เปนจํานวนชั่วโมง ทํางานปกติและเปนคาตอบแทนการทํางานเกินเวลาทํางานปกติในวันทํางานปะปน อยูดวยกัน จะตองนําคาเที่ยวในวันที่มีชั่วโมงทํางานเกินเวลาทํางานปกตินี้หารดวยจํานวน ชั่วโมงทํางานทั้งหมดในวันทํางานไดเปนอัตราคาเที่ยวตอชั่วโมงในวันทํางานนั้น ใหนํามา คูณแปดอันเปนจํานวนชั่วโมงทํางานปกติก็จะไดคาจางเฉพาะสวนที่เปนคาจางตามผลงาน สําหรับการทํางานในเวลาทํางานปกติในวันทํางานนั้น เมื่อนําคาเที่ยวที่นายจางไดจาย ใหแกลูกจางในวันทํางานดังกลาวลบดวยคาจางตามผลงานสําหรับการทํางานในเวลา ทํางานปกติในวันทํางานดังกลาวก็จะไดเปนคาตอบแทนการทํางานเกินเวลาทํางานปกติ ในวันทํางานนั้นที่จําเลยไดจายตามจริงใหแกลูกจางไป (หากลบแลวไมเหลือผลลัพธเลย ก็ถือไดวาในวันทํางานนั้น จําเลยยังไมไดจายคาตอบแทนการทํางานเกินเวลาทํางานปกติ ในวันทํางานนั้นใหแกลูกจางเลย) แลวนํามาเปรียบเทียบกับคาตอบแทนการทํางานเกิน เวลาทํางานปกติในวันทํางานนั้นที่ถูกตองตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ขอ ๖ ซึ่งจะตองคํานวณไดจากฐานขอมูลอัตราคาจางตอชั่วโมงในวันทํางาน คูณกับฐานขอมูล จํานวนชั่วโมงการทํางานเกินเวลาทํางานปกติในวันทํางาน ทั้งนี้ฐานขอมูลอัตราคาจาง ตอชั่วโมงในวันทํางานของแตละวันทํางานก็โดยนําคาจางสวนเงินเดือนประจําหาร ๓๐ ไดเปนคาจางสวนเงินเดือนประจําในอัตราหนึ่งวัน ใหนํามาบวกกับคาจางตามผลงาน สําหรับการขับรถที่เปนจํานวนชั่วโมงทํางานปกติในวันทํางานไดเปนอัตราคาจางตอวัน ในวันทํางานนั้น เมื่อหารดวยแปดอันเปนจํานวนชั่วโมงทํางานปกติก็จะไดอัตราคาจาง ตอชั่วโมงในวันทํางานนั้น สวนฐานขอมูลจํานวนชั่วโมงการทํางานเกินเวลาทํางานปกติ ของแตละวันทํางานดูจากในวันทํางานนั้น โจทกแตละคนทํางานกี่ชั่วโมง เกิน ๘ ชั่วโมง หรือไม ถาไมเกิน ๘ ชั่วโมง คาเที่ยวที่นายจางจายไปในวันทํางานทั้งจํานวนก็จะถือเปน คาจางตามผลงานสําหรับการทํางานในเวลาทํางานปกติในวันทํางานดังกลาวมาแลว แตหากเกิน ๘ ชั่วโมงไปกี่ชั่วโมงก็จะไดจํานวนชั่วโมงทํางานเกินเวลาทํางานปกติใน วันทํางานดังกลาว เมื่อนําอัตราคาจางตอชั่วโมงในวันทํางานมาคูณกับจํานวนชั่วโมง การทํางานเกินเวลาทํางานปกติในวันทํางานก็จะไดผลลัพธคาตอบแทนการทํางานเปน เวลาทํางานปกติในวันทํางานนั้นที่ถูกตองตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ขอ ๖ แตศาลแรงงานภาค ๑ ยังไมไดฟงขอเท็จจริงวา ในชวงเวลาตามฟอง ลูกจางมีวันทํางาน คือวันใดบาง แตละวันทํางานเปนจํานวนชั่วโมงทํางานปกติกี่ชั่วโมง และเปนจํานวนชั่วโมง


๒๑๘ ทํางานเกินเวลาทํางานปกติกี่ชั่วโมง คิดเปนอัตราคาจางตอชั่วโมงในแตละวันทํางานเปน เงินเทาใด นายจางจายคาเที่ยวในแตละวันทํางานใหแกลูกจางแลวเทาใด และลูกจาง มีสิทธิไดรับคาตอบแทนการทํางานเกินเวลาทํางานปกติในแตละวันทํางานเพิ่มเติมอีกหรือไม เพียงใด เปนเหตุใหศาลอุทธรณคดีชํานัญพิเศษไมมีขอเท็จจริงเพียงพอที่จะพิพากษา ถึงจํานวนคาตอบแทนการทํางานเปนเวลาทํางานในวันทํางานที่ถูกตองสําหรับชวงเวลา ตามฟองใหแกลูกจางได จึงตองยอนสํานวนใหศาลแรงงานภาค ๑ ฟงขอเท็จจริงตามนัย ดังกลาวกอน แลวพิพากษาคดีเสียใหมตามรูปคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๖ วรรคสอง และวรรคสาม คดีทั้งหาสิบเอ็ดสำนวน ศาลแรงงานภาค ๑ มีคำสั่งใหรวมการพิจารณาเปนคดีเดียวกัน โดยใหเรียกโจทกเรียงตามลำดับสำนวนวาโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๕๑ และใหเรียกจำเลยทุกสำนวนวา จำเลย โจทกทั้งหาสิบเอ็ดฟองขอใหบังคับจำเลยจายคาตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงาน ปกติในวันทำงานพรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป นับแตวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชำระ เสร็จตามคำขอทายฟองของโจทกแตละคนแกโจทกทั้งหาสิบเอ็ด จำเลยใหการและแกไขคำใหการ ขอใหยกฟอง ระหวางพิจารณาของศาลแรงงานภาค ๑ โจทกทั้งหาสิบเอ็ดแถลงรับขอเท็จจริงโดยให คิดเวลาทำงานเฉพาะเวลาที่ขับรถ (ลอหมุน) ศาลแรงงานภาค ๑ พิพากษายกฟอง โจทกทั้งหาสิบเอ็ดอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ขอเท็จจริงยุติในชั้นพิจารณา ของศาลแรงงานภาค ๑ และตามที่ศาลแรงงานภาค ๑ ฟงมาวา จำเลยประกอบกิจการขนสงสินคา ทางบกโดยใชรถยนตบรรทุกสงสินคาใหแกหางสรรพสินคาเทสโก โลตัส โจทกทั้งหาสิบเอ็ดเปน ลูกจางจำเลยทำหนาที่ขับรถบรรทุกตูคอนเทนเนอรบรรจุสินคาไปสงสินคาใหแกหางสรรพสินคา เทสโก โลตัส ตามสาขาทั่วประเทศ ไดรับคาจางเปนสองสวนคือเงินเดือนและคาเที่ยว กำหนดจาย ทุกวันที่ ๒๕ และวันที่ ๑๕ ของเดือนตามลำดับ คาเที่ยวจายตามผลงานที่ทำไดในวันทำงาน โดยเหมารวมระยะเวลาทำงานปกติและเกินเวลาทำงานปกติเขาดวยกัน คำนวณตามระยะทางที่ ขับรถไปสงสินคาและระยะเวลาในการขับรถ และจายใหเปนรายเที่ยวในลักษณะเปนหนวยการทำงาน


๒๑๙ ในแตละหนวย จำเลยใชวิธีการกำหนดคาเที่ยวเพื่อตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติให แกลูกจางตลอดมา โจทกทั้งหาสิบเอ็ดกับลูกจางซึ่งเปนพนักงานขับรถคนอื่น นอกจากลูกจาง ๔๒ คน ผูเปนโจทกตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๖๓๑-๓๖๖๗/๒๕๕๒ มีขอตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจางในขอบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับใหมและในสัญญาจางฉบับใหม แตกตางไปจาก สภาพการจางเดิมของลูกจาง ๔๒ คน โดยมีขอตกลงเกี่ยวกับคาเที่ยวในชวงป ๒๕๕๑ และ ๒๕๕๒ ระบุ ไววาเปนเงินที่จำเลยจายใหแกลูกจางเพื่อตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติแบบเหมาจาย แลววินิจฉัยวา คาเที่ยวสวนที่เปนคาจางจายใหโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจางทำไดในเวลา ทำงานปกติของวันทำงาน คาเที่ยวตั้งแตวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๑ (ที่ถูก วันที่ ๑๐) พฤษภาคม ๒๕๕๙ ขาดอายุความสองปตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยมาตรา ๑๙๓/๓๔ โจทกทั้งหาสิบเอ็ดมีสิทธิฟองเรียกคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานสำหรับ การขับรถนับแตวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ เทานั้น แมเดิมหลักเกณฑ การจายคาเที่ยวจะไมมีกำหนดไวในขอบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับเดิม แตมีการตกลงกันใหม ตางหากและปฏิบัติตอกันมาตลอด และตอมามีการแกไขขอบังคับเกี่ยวกับการทำงานในหมวดที่ ๕ ขอ ๕.๑ ตามสำเนาขอบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งกำหนดวา จำเลยจะจายคาตอบแทนเรียกวา คาเที่ยว เปนการเหมาจายโดยรวมคาตอบแทนการทำงานลวงเวลาและการทำงานเกินเวลาทำงาน ปกติอยูในคาเที่ยว โดยโจทกทั้งหาสิบเอ็ดไมคัดคาน ขอกำหนดดังกลาวจึงเปนสภาพการจางโดย ปริยาย จำเลยไมมีคาเที่ยวหรือคาทำงานเกินเวลาทำงานปกติคางชำระตอโจทกทั้งหาสิบเอ็ด มีปญหาที่ตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกทั้งหาสิบเอ็ดวาคาเที่ยวเปนคาจาง ตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ หรือเปนคาตอบแทนการทำงานเกิน เวลาทำงานปกติในวันทำงานตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) และตั้งแตวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ จำเลยตองจายคาตอบแทนการทำงานเกินเวลา ทำงานปกติในวันทำงานใหแกโจทกทั้งหาสิบเอ็ดหรือไม เพียงใด เห็นวา พระราชบัญญัติคุมครอง แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ นิยามคำวา “คาจาง” หมายความวาเงินที่นายจางและลูกจางตกลง กันจายเปนคาตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจางสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเปน รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาหรายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจายใหโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจาง ทำไดในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และใหหมายความรวมถึงเงินที่นายจางจายใหแกลูกจาง ในวันหยุดและวันลาที่ลูกจางมิไดทำงาน แตลูกจางมีสิทธิไดรับตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากนี้ ในงานขนสงทางบกตองอยูภายใตบังคับกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกโดยอาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๒๒ แหงพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑


๒๒๐ ซึ่งขอ ๖ กำหนดวา “ในกรณีที่นายจางใหลูกจางในงานขนสงทางบกทำงานลวงเวลาในวันทำงาน และทำงานลวงเวลาในวันหยุด ใหนายจางจายคาตอบแทนเปนเงินเทากับอัตราคาจางตอชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ เวนแตนายจางตกลงจายคาลวงเวลาหรือคาลวงเวลาในวันหยุด ใหแกลูกจางดังกลาว” คดีนี้ขอเท็จจริงในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานภาค ๑ รับฟงเปนที่ยุติ แลววา งานที่โจทกทั้งหาสิบเอ็ดตองปฏิบัติใหแกจำเลยคือการขับรถบรรทุกตูคอนเทนเนอรบรรจุ สินคาไปสงที่หางสรรพสินคาเทสโก โลตัส ตามสาขาตาง ๆ ทั่วประเทศ มีวันทำงานเปนรอบรอบละ ๖ วัน ติดตอกันแลวจึงหยุดพัก ๑ วัน ไดรับคาจางเปน ๒ สวน สวนแรกเปนเงินเดือนและอีกสวน หนึ่งเปนคาเที่ยว กำหนดจายทุกวันที่ ๒๕ และวันที่ ๑๕ ของเดือนตามลำดับ คาเที่ยวที่จำเลย กำหนดเปนเงินที่จำเลยจายโดยคำนึงถึงปจจัยตาง ๆ ซึ่งรวมถึงระยะเวลาในการทำงานที่โจทก แตละคนตองทำงานเกินเวลาทำงานปกติเขาไวดวย ดังนี้ คาเที่ยวจึงเปนเงินที่จำเลยจาย เปนคา ตอบแทนในการทำงานในวันทำงานใหแกโจทกทั้งหาสิบเอ็ดเมื่อมีการขับรถบรรทุกตูคอนเทนเนอร ตามคำสั่งของจำเลยทั้งในเวลาทำงานปกติและนอกเวลาทำงานปกติ ยอมถือไดวา คาเที่ยวสำหรับ โจทกทั้งหาสิบเอ็ดเปนคาจางตามผลงานสำหรับการขับรถทั้งที่เปนจำนวนชั่วโมงทำงานปกติ (ในเวลาทำงานปกติ) และเปนคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำปะปนอยูดวยกัน กับคาจางของโจทกทั้งหาสิบเอ็ดแตละคนในคดีนี้จึงไดแกเงินเดือน ประจำรวมกับคาเที่ยวเฉพาะสวนที่เปนการขับรถที่เปนจำนวนชั่วโมงทำงานปกติ แตโดยที่ คาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานที่โจทกแตละคนมีสิทธิไดรับในชวงเวลา ตั้งแตวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ จำตองอาศัยฐานขอมูลอัตรา คาจางตอชั่วโมงในวันทำงานซึ่งตองรวมคำนวณจากคาจางทั้งสวนเงินเดือนประจำและคาจางตาม ผลงานสำหรับการขับรถที่เปนจำนวนชั่วโมงทำงานปกติของแตละวันทำงาน กับฐานขอมูลจำนวน ชั่วโมงการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในแตละวันทำงานตามความเปนจริงของโจทกแตละคน ซึ่งฐานขอมูลดังกลาวนี้แตกตางกัน และเมื่อคำนวณเปนคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงาน ปกติในวันทำงานของโจทกแตละคนในชวงเวลาดังกลาวอาจมีจำนวนนอยกวา เทากับ หรือมากกวา จำนวนเงินคาเที่ยวเหมาจายตามขอบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ขอ ๕.๑ ก็เปนได ดังนี้ การที่ ขอบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ขอ ๕.๑ กำหนดใหคาเที่ยว เปนการเหมาจายรวมคาตอบแทน การทำงานลวงเวลาและการทำงานเกินเวลาทำงานปกติไวดวยกันแลวในทุกกรณีจึงขัดตอกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ขอ ๖ ยอมไมมีผลใชบังคับ ทั้งนี้ การจะไดฐานขอมูลทั้งสองดังกลาว จะตองไดขอเท็จจริงวา ในชวงเวลาดังกลาว โจทกแตละคนมีวันทำงานคือวันใดบาง ในแตละวัน ทำงานนั้นโจทกแตละคนทำงานเกินเวลาทำงานปกติหรือไม กี่ชั่วโมง โดยถาไมมีเวลาทำงานที่


๒๒๑ เกินเวลาทำงานปกติ คาเที่ยวที่จำเลยจายใหแกโจทกแตละคนในวันนั้นทั้งจำนวนก็จะถือเปน คาจางตามผลงานสำหรับการทำงานในเวลาทำงานปกติ แตหากมีชั่วโมงทำงานเกินเวลาทำงานปกติ คาเที่ยวที่จำเลยจายใหแกโจทกแตละคนในวันทำงานนั้นจะมีทั้งคาจางตามผลงานสำหรับการ ทำงานที่เปนจำนวนชั่วโมงทำงานปกติ และเปนคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติใน วันทำงานปะปนอยูดวยกันจะตองนำคาเที่ยวในวันที่มีชั่วโมงทำงานเกินเวลาทำงานปกตินี้ หารดวยจำนวนชั่วโมงทำงานทั้งหมดในวันทำงานไดเปนอัตราคาเที่ยวตอชั่วโมงในวันทำงานนั้น ใหนำมาคูณแปดอันเปนจำนวนชั่วโมงทำงานปกติก็จะไดคาจางเฉพาะสวนที่เปนคาจางตามผลงาน สำหรับการทำงานในเวลาทำงานปกติในวันทำงานนั้น เมื่อนำคาเที่ยวที่จำเลยจายใหแกโจทก แตละคนในวันทำงานลบดวยคาจางตามผลงานสำหรับการทำงานในเวลาทำงานปกติในวันทำงาน นั้นก็จะไดเปนคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานนั้นที่จำเลยไดจายตามจริง ใหแกโจทกแตละคนไป (หากลบแลวไมเหลือผลลัพธเลยก็ถือไดวาในวันทำงานนั้น จำเลยยัง ไมไดจายคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานนั้นใหแกโจทกแตละคนเลย) แลวนำมาเปรียบเทียบกับคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานนั้นที่ถูกตอง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ขอ ๖ ซึ่งจะตองคำนวณไดจากฐานขอมูลอัตราคาจาง ตอชั่วโมงในวันทำงาน คูณกับฐานขอมูลจำนวนชั่วโมงการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน ทั้งนี้ฐานขอมูลอัตราคาจางตอชั่วโมงในวันทำงานของแตละวันทำงานก็โดยนำคาจางสวนเงินเดือน ประจำหารสามสิบไดเปนคาจางสวนเงินเดือนประจำในอัตราหนึ่งวัน ใหนำมาบวกกับคาจางตาม ผลงานสำหรับการขับรถที่เปนจำนวนชั่วโมงทำงานปกติในวันทำงานนั้นไดเปนอัตราคาจางตอวัน ในวันทำงานนั้น เมื่อหารดวยแปดอันเปนจำนวนชั่วโมงทำงานปกติก็จะไดอัตราคาจางตอชั่วโมง ในวันทำงานนั้น สวนฐานขอมูลจำนวนชั่วโมงการทำงานเกินเวลาทำงานปกติของแตละวันทำงาน ดูจากในวันทำงานนั้นโจทกแตละคนทำงานกี่ชั่วโมง เกิน ๘ ชั่วโมงหรือไม ถาไมเกิน ๘ ชั่วโมง คาเที่ยวที่จำเลยจายไปในวันทำงานทั้งจำนวนก็จะถือเปนคาจางตามผลงานสำหรับการทำงาน ในเวลาทำงานปกติในวันทำงานดังกลาวมาแลว แตหากเกิน ๘ ชั่วโมงไปกี่ชั่วโมงก็จะไดจำนวน ชั่วโมงทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานดังกลาว เมื่อนำอัตราคาจางตอชั่วโมงในวันทำงาน มาคูณกับจำนวนชั่วโมงการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานนั้นก็จะไดผลลัพธคาตอบแทน การทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานนั้นที่ถูกตองตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ขอ ๖ ตัวอยางเชน ลูกจางรายหนึ่งเปนพนักงานขับรถบรรทุกตูคอนเทนเนอร ไดรับคาจางเปนเงิน เดือนประจำเดือนละ ๙,๖๐๐ บาท และคาเที่ยวตามระยะเวลาที่ทำงาน ไดขับรถนำสินคาจาก ศูนยกระจายสินคากรุงเทพมหานครไปสงยังสถานที่นายจางมอบหมายที่จังหวัดเชียงใหม แลวขับรถ


๒๒๒ กลับถึงศูนยกระจายสินคาคิดเปน ๑ เที่ยว ใชเวลาขับรถ ๒๐ ชั่วโมง ไดรับคาเที่ยว ๔๐๐ บาท คาจางของลูกจางในวันทำงานนั้นคือ เงินเดือนประจำเฉลี่ยตอวัน ๓๒๐ บาท (๙,๖๐๐ บาท หาร ดวย ๓๐ วัน) รวมกับคาจางตามผลงานในสวนคาเที่ยวเฉพาะสวนที่เปนการขับรถที่เปนจำนวน ชั่วโมงทำงานปกติในวันทำงานนั้น ๑๖๐ บาท (๔๐๐ บาท หาร ๒๐ ชั่วโมง คูณ ๘ ชั่วโมง) แลว คิดเปนเงิน ๔๘๐ บาท อัตราคาจางตอชั่วโมงในวันทำงานนั้นจึงเทากับ ๖๐ บาท (๔๘๐ หาร ๘) สวนจำนวนชั่วโมงทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานนั้นคือ ๑๒ ชั่วโมง (๒๐ ลบ ๘) ดังนี้ ลูกจางรายดังกลาวจะตองไดรับคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานเปนเงิน เทากับอัตราคาจางตอชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) คือ ๖๐ คูณกับ ๑๒ คิดเปนเงิน ๗๒๐ บาท แตนายจางจายคาตอบแทนการทำงาน เกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานในสวนคาเที่ยวแลว ๒๔๐ บาท (คาเที่ยวที่จาย ๔๐๐ บาท ลบ คาจางตามผลงานในสวนคาเที่ยวเฉพาะสวนที่เปนการทำงานในเวลาทำงานปกติในวันทำงานนั้น ๑๖๐ บาท) นายจางจึงจายคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานนั้นนอยกวา ที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ขอ ๖ กำหนดไว เปนเงิน ๔๘๐ บาท (๗๒๐ ลบ ๒๔๐) และมีหนาที่ตองจายคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานนั้นเพิ่มอีก ๔๘๐ บาท และดวยแนวทางนี้ จะทำใหทราบวา รวมตลอดชวงเวลาตั้งแตวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ถึง วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ จำเลยตองจายคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน เพิ่มขึ้นอีกหรือไม เพียงใด แตศาลแรงงานภาค ๑ ยังไมไดฟงขอเท็จจริงวา ในชวงเวลาตั้งแตวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ โจทกแตละคนมีวันทำงานคือวันใดบาง แตละ วันทำงานนั้นเปนจำนวนชั่วโมงทำงานปกติกี่ชั่วโมงและเปนจำนวนชั่วโมงทำงานเกินเวลาทำงาน ปกติกี่ชั่วโมง คิดเปนอัตราคาจางตอชั่วโมงในแตละวันทำงานของโจทกแตละคนเปนจำนวนเทาใด จำเลยจายคาเที่ยวในแตละวันทำงานใหแกโจทกแตละคนแลวเทาใด และโจทกแตละคนมีสิทธิได รับคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานเพิ่มเติมอีกหรือไม เพียงใด เปนเหตุ ใหศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมมีขอเท็จจริงเพียงพอที่จะพิพากษาถึงจำนวนคาตอบแทนการ ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานที่ถูกตองสำหรับชวงเวลาตั้งแตวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ใหแกโจทกแตละคนได จึงตองยอนสำนวนใหศาลแรงงาน ภาค ๑ ฟงขอเท็จจริงตามนัยดังกลาวขางตนกอน แลวพิพากษาคดีเสียใหมตามรูปคดี และเมื่อ วินิจฉัยเชนนี้แลว จึงไมจำตองวินิจฉัยอุทธรณของโจทกทั้งหาสิบเอ็ดที่เหลืออีกตอไป


๒๒๓ พิพากษาแกเปนวา ใหยกคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๑ เฉพาะประเด็นวา คาเที่ยว เปนคาจางตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ หรือเปนคาตอบแทนการ ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตาม ความในมาตรา ๖ และมาตรา ๒๒ แหงพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ขอบังคับ เกี่ยวกับการทำงานขอ ๕.๑ เปนการเปลี่ยนแปลงสภาพการจางที่เกิดจากขอตกลงโดยปริยาย หรือไม และจำเลยตองจายคาตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานใหแกโจทก ทั้งหาสิบเอ็ดหรือไม เพียงใด แลวใหศาลแรงงานภาค ๑ ฟงขอเท็จจริงเพิ่มเติมตามนัยดังกลาว ขางตน แลวพิพากษาคดีเสียใหมตามรูปคดี ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๖ วรรคสอง และวรรคสาม นอกจากที่แกใหเปนไปตาม คำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๑. (สุจินต เชี่ยวชาญศิลป - วิชชุพล สุขสวัสดิ์ - วรศักดิ์ จันทรคีรี) วิฑูรย ตรีสุนทรรัตน - ยอ ฤทธิรงค สมอุดร - ตรวจ


๒๒๔ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๖๑๕ - ๖๓๑/๒๕๖๓ นางวีณา จารุโยธิน กับพวก โจทก บริษัทฮอนดาออโตโมบิล จำกัด หรือบริษัทฮอนดาออโตโมบิล ประเทศไทย) จำกัด กับพวก จำเลย พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๕, ๕๔ วรรคหนึ่ง พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง มีเจตนารมณคุมครอง ใหลูกจางรับเหมาคาแรงกับลูกจางตามสัญญาจางโดยตรงที่ทํางานในลักษณะเดียวกันได รับสิทธิประโยชนและสวัสดิการอยางเทาเทียมกัน ดังนั้น แมโจทกทั้งสิบเจ็ดจะเปนลูกจาง ของจําเลยที่ ๑ ซึ่งเปนผูประกอบกิจการก็ตาม แตการที่ลูกจางรับเหมาคาแรงจะมีสิทธิได รับสิทธิประโยชนและสวัสดิการที่เปนธรรมโดยไมเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกลาวนั้น จะตองไดความวาลูกจางรับเหมาคาแรงทํางานในลักษณะเดียวกันกับลูกจางตามสัญญาจาง โดยตรงดวย เมื่องานที่ลูกจางรับเหมาคาแรงทําไมมีลักษณะเดียวกันกับที่ลูกจางตามสัญญา จางโดยตรงของจําเลยที่ ๑ ทํา จึงหาใชเปนกรณีที่จําเลยที่ ๑ ตองดําเนินการใหโจทก ทั้งสิบเจ็ดไดรับสิทธิประโยชนและสวัสดิการที่เปนธรรมเชนเดียวกับลูกจางตามสัญญาจาง โดยตรงโดยไมเลือกปฏิบัติไม  การสืบพยานในคดีแรงงานเปนดุลพินิจของศาลที่เห็นสมควรเพื่อประโยชนแหง ความยุติธรรมที่จะเรียกพยานหลักฐานใดมาสืบหรือไมก็ได อุทธรณของโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ถึงที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ ที่วา ศาลแรงงานภาค ๑ ไมไดใชอํานาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๕ โดยหมายเรียก พยานบุคคลซึ่งเปนลูกจางตามสัญญาจางโดยตรงของจําเลยที่ ๑ ที่ปฏิบัติงานลักษณะ เดียวกันกับโจทกทั้งสิบเจ็ดมาสืบเอง ทั้งที่เห็นอยูแลววาโจทกทั้งสิบเจ็ดไมสามารถเอามา เบิกความได จึงเปนการโตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค ๑ เปนอุทธรณขอเท็จจริง ตองหามมิใหอุทธรณตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง


๒๒๕ แมอุทธรณของโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ถึงที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ จะเปนเรื่องการตีความบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง แตการวินิจฉัยปญหาดังกลาวไดจะตองพิจารณาขอเท็จจริงจากพยานบุคคล ประกอบวา ลูกจางตามสัญญาจางโดยตรงของจําเลยที่ ๑ ทํางานในลักษณะเดียวกันกับ โจทกทั้งสิบเจ็ดหรือไมอยางไรเสียกอน จึงเปนการโตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐาน ของศาลแรงงานภาค ๑ เพื่อนําไปสูการวินิจฉัยขอกฎหมาย เปนอุทธรณในขอเท็จจริง ที่ศาลแรงงานภาค ๑ ไดวินิจฉัยเปนยุติแลว ตองหามมิใหอุทธรณตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง คดีทั้งสิบเจ็ดสำนวนนี้ เดิมศาลแรงงานภาค ๑ สั่งใหรวมพิจารณาเปนคดีเดียวกันกับ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๒๙/๒๕๕๘ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๓๔/๒๕๕๘ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๓๘/๒๕๕๘ และคดีหมายเลขแดงที่ ๒๔๑/๒๕๕๘ ของศาลแรงงานภาค ๑ โดยใหเรียกโจทกในคดีดังกลาววา โจทกที่ ๔ ที่ ๙ ที่ ๑๓ และที่ ๑๖ กับใหเรียกโจทกในคดีทั้งสิบเจ็ดสำนวนนี้วา โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๐ ถึงที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๗ ถึงที่ ๒๑ แตคดีสำหรับโจทกที่ ๔ ที่ ๙ ที่ ๑๓ และที่ ๑๖ ยุติไปตามคำสั่งอนุญาตใหถอนฟองของศาลแรงงานภาค ๑ คงขึ้นมาสูการพิจารณา ของศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเฉพาะคดีทั้งสิบเจ็ดสำนวนนี้ โจทกทั้งสิบเจ็ดสำนวนฟอง ขอใหบังคับจำเลยทั้งสองจายคาจาง สิทธิประโยชนและ สวัสดิการตามจำนวนตามคำขอทายฟองของโจทกแตละคนพรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ทุกระยะ ๗ วัน นับแตวันผิดนัดเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทกแตละคน จำเลยทั้งสองทุกสำนวนใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานภาค ๑ พิพากษายกฟอง โจทกทั้งสิบเจ็ดอุทธรณ ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานภาค ๑ ใหศาลแรงงาน ภาค ๑ ฟงขอเท็จจริงเพิ่มเติมในประเด็นลักษณะงานของโจทกทั้งสิบเจ็ดเมื่อเปรียบเทียบกับลูกจาง ตามสัญญาจางโดยตรงของจำเลยที่ ๑ วามีลักษณะเดียวกันหรือไม และไดรับสิทธิประโยชนและ สวัสดิการที่เปนธรรมโดยไมเลือกปฏิบัติหรือไม แลวพิพากษาใหมตามรูปคดี ศาลแรงงานภาค ๑ พิพากษายกฟอง


๒๒๖ โจทกทั้งสิบเจ็ดสำนวนอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานตรวจวินิจฉัยวา ศาลแรงงานภาค ๑ รับฟง ขอเท็จจริงยุติวา โจทกทั้งสิบเจ็ดเปนลูกจางจำเลยที่ ๒ โดยจำเลยที่ ๒ จัดใหโจทกทั้งสิบเจ็ดซึ่ง เปนลูกจางรับเหมาคาแรงไปปฏิบัติงานที่หนวยงานสงมอบรถยนตใหมของจำเลยที่ ๑ โดยโจทก ที่ ๑ ทำหนาที่พนักงานเคลือบฟลม โจทกที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๕ และที่ ๖ ทำหนาที่พนักงานขับรถที่ทำ การตรวจสอบคุณภาพเรียบรอยแลวไปจอด ณ สถานที่ที่จำเลยที่ ๑ กำหนดไว โจทกที่ ๗ ทำหนาที่ พนักงานตรวจสอบคุณภาพภายนอกรถยนตหลังจากที่ทำการประกอบเสร็จแลว โจทกที่ ๘ และ ที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๐ ทำหนาที่พนักงานลางรถหลังจากที่คนขับรถจอดรถและลงจากรถ แลวพนักงาน ตรวจสอบ หลังจากนั้นจะทำการฉีดน้ำและใชผาเช็ดทำความสะอาดใหเรียบรอยกอนเขาสูขั้นตอน การตรวจสอบคุณภาพ โจทกที่ ๑๐ ถึงที่ ๑๒ ทำหนาที่ลางรถหลังจากที่พนักงานตรวจสอบ RE-PDI และพนักงานขับรถขับเขาชองทำความสะอาดแลว โจทกที่ ๑๐ ถึงที่ ๑๒ จะทำความสะอาดให เรียบรอยกอนเขาสูการตรวจสอบคุณภาพ โจทกที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๗ ทำหนาที่พนักงานตรวจสอบ คุณภาพภายนอกรถยนตที่ประกอบเสร็จแลว และโจทกที่ ๒๑ ทำหนาที่พนักงานบันทึกขอมูล ทำการตรวจสอบคุณภาพภายนอกรถยนตเปนขั้นตอนสุดทาย และฟงขอเท็จจริงเพิ่มเติมตาม คำพิพากษาศาลฎีกาวา งานในตำแหนงหนาที่การงานที่โจทกทั้งสิบเจ็ดทำไมมีลูกจางตามสัญญา จางโดยตรงของจำเลยที่ ๑ ทำในลักษณะเดียวกันกับโจทกทั้งสิบเจ็ดที่จะเปนขอเปรียบเทียบกัน ไดวาโจทกทั้งสิบเจ็ดมีสิทธิไดรับประโยชนและสวัสดิการตาง ๆ นอยกวาลูกจางตามสัญญาจาง โดยตรงในตำแหนงเดียวกัน ที่ไมเปนธรรมหรือโดยเลือกปฏิบัติอยางไร แลววินิจฉัยวา โจทก ทั้งสิบเจ็ดไมมีสิทธิเรียกรองคาจางและสิทธิประโยชนและสวัสดิการจากจำเลยทั้งสอง คดีมีปญหาวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ ประการแรกวา ตำแหนงงานของโจทกทั้งสิบเจ็ดมีลูกจางโดยตรงตามสัญญา จางของจำเลยที่ ๑ ทำงานอยูดวยทุกตำแหนง เมื่อโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ เปนลูกจางจำเลยที่ ๑ แลว โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ ยอมตองปฏิบัติตามขอบังคับเกี่ยวกับสภาพการจางของจำเลยที่ ๑ เชนเดียวกับลูกจางโดยตรงตามสัญญาจางของจำเลยที่ ๑ ดังนั้น โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ จึงชอบที่จะไดรับสิทธิประโยชนและสวัสดิการที่เปนธรรม โดยไมเลือกปฏิบัติเชนเดียวกันตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง คำวินิจฉัยของศาลแรงงานภาค ๑ จึงไมชอบดวยกฎหมาย เห็นวาพระราชบัญญัติ คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง บัญญัติวา “ใหผูประกอบกิจการดำเนินการ ใหลูกจางรับเหมาคาแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจางตามสัญญาจางโดยตรง ไดรับสิทธิ


๒๒๗ ประโยชนและสวัสดิการที่เปนธรรมโดยไมเลือกปฏิบัติ” อันมีเจตนารมณมุงหมายที่จะคุมครองให ลูกจางทั้งสองประเภทดังกลาวที่ทำงานในลักษณะเดียวกันไดรับสิทธิประโยชนและสวัสดิการอยาง เทาเทียมกัน ดังนั้น แมศาลฎีกาฟงขอเท็จจริงและวินิจฉัยวา โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ เปนลูกจางจำเลยที่ ๑ ก็ตาม แตการที่ลูกจางรับเหมาคาแรงจะ มีสิทธิไดรับสิทธิประโยชนและสวัสดิการที่เปนธรรมโดยไมเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกลาวนั้น จะตองไดความวาลูกจางรับเหมาคาแรงทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจางตามสัญญาจาง โดยตรงดวย เมื่อขอเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค ๑ ฟงเปนยุติวา งานที่ลูกจางรับเหมาคาแรงทำ ไมมีลักษณะเดียวกันกับที่ลูกจางตามสัญญาจางโดยตรงของจำเลยที่ ๑ ทำ จึงหาใชเปนกรณีที่ ผูประกอบกิจการตองดำเนินการใหลูกจางรับเหมาคาแรงไดรับสิทธิประโยชนและสวัสดิการที่เปน ธรรมเชนเดียวกับลูกจางตามสัญญาจางโดยตรงโดยไมเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกลาวไม โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ จึงไมมีสิทธิไดรับคาจาง และสิทธิประโยชนและสวัสดิการตามฟองโจทกแตละคนจากจำเลยทั้งสอง ที่ศาลแรงงานภาค ๑ พิพากษามานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ ประการนี้ฟงไมขึ้น ที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ อุทธรณ ประการตอมาวา ศาลแรงงานภาค ๑ ไมไดใชอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๕ เพื่อประโยชนแหงความยุติธรรมในอันที่จะใหได ความแจงชัด ในขอเท็จจริงแหงคดี โดยหมายเรียกพยานบุคคลซึ่งเปนลูกจางตามสัญญาจางโดยตรง ของจำเลยที่ ๑ ที่ปฏิบัติงานลักษณะเดียวกันกับโจทกทั้งสิบเจ็ดมาสืบเอง ทั้งที่ในชั้นพิจารณา ศาลแรงงานภาค ๑ เห็นอยูแลววาโจทกทั้งสิบเจ็ดไมสามารถเอามาเบิกความได คำพิพากษาของ ศาลแรงงานภาค ๑ จึงไมชอบดวยกฎหมายนั้น เห็นวา การสืบพยานในคดีแรงงานเปนดุลพินิจของ ศาลที่เห็นสมควร เพื่อประโยชนแหงความยุติธรรมที่จะเรียกพยานหลักฐานใดมาสืบหรือไมก็ได อุทธรณของโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ จึงเปนการ โตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค ๑ อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหามมิใหอุทธรณ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย สวนที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๓ ที่ ๕ ถึงที่ ๘ ที่ ๑๒ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๑๘ ถึงที่ ๒๑ อุทธรณ วาศาลแรงงานภาค ๑ ตีความคำวา “งานลักษณะเดียวกัน” ตามมาตรา ๑๑/๑ วรรคสองแหง พระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ อยางแคบ ไมเปนไปตามเจตนารมณของกฎหมาย


๒๒๘ ทำใหลูกจางรับเหมาคาแรงเสียเปรียบ เปนการไมชอบนั้น เห็นวา แมอุทธรณดังกลาวจะเปนเรื่อง การตีความบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง ก็ตาม แตการจะวินิจฉัยปญหาดังกลาวไดจะตองพิจารณาขอเท็จจริงจากพยานบุคคลประกอบวา ลูกจางตามสัญญาจางโดยตรงของจำเลยที่ ๑ ทำงานในลักษณะเดียวกันกับโจทกทั้งสิบเจ็ดหรือไม อยางไรเสียกอน เทากับเปนการอุทธรณโตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงาน ภาค ๑ เพื่อนำไปสูการวินิจฉัยขอกฎหมาย อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค ๑ ไดวินิจฉัยเปนยุติแลว จึงเปนกรณีที่ตองหามมิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับ วินิจฉัยเชนกัน ที่โจทกที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๗ อุทธรณวา แมโจทกที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๗ จะไมมีพยาน ซึ่งเปนลูกจางโดยตรงของจำเลยที่ ๑ มาเบิกความก็ตาม ก็ถือไดวาไดนำสืบถึงลักษณะการทำงาน ของโจทกที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๗ กับลูกจางโดยตรงของจำเลยที่ ๑ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันแลว เพราะพยานโจทกที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๗ ที่นำสืบมาไดรูเห็นและรับรูดวยตัวเองและเปนประจักษ พยานที่พบเห็นและรับทราบเหตุการณรวมทั้งคาจาง สวัสดิการ และสิทธิประโยชนตาง ๆ ของ จำเลยที่ ๑ นั้น เห็นวา ศาลแรงงานภาค ๑ ฟงขอเท็จจริงเปนยุติวา ในสวนงานและตำแหนงหนาที่ การงานที่โจทกที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๗ ทำ ไมมีลูกจางตามสัญญาจางโดยตรงของจำเลยที่ ๑ ทำในตำแหนงหนาที่เดียวกันกับโจทกที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๗ ที่โจทกที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๗ อุทธรณวาพยานหลักฐานของโจทกที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๗ ไดสืบถึงลูกจางรับเหมาคาแรงที่ทำงาน ในลักษณะเดียวกันกับลูกจางตามสัญญาจางโดยตรง จึงเปนการอุทธรณโตแยงดุลพินิจในการ รับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค ๑ เพื่อใหศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษฟงขอเท็จจริง แตกตางจากที่ศาลแรงงานภาค ๑ ฟงไว อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริงซึ่งตองหามมิใหอุทธรณ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัยเชนกัน พิพากษายืน. (สุจินต เชี่ยวชาญศิลป - วิชชุพล สุขสวัสดิ์ - วรศักดิ์ จันทรคีรี) กรรณิกา อัศวเมธา - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ


๒๒๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๗๗๗/๒๕๖๓ บริษัทฮอนดา อารแอนดดี เซาทอีสท เอเซีย จำกัด โจทก นายนวพล ปลอดโปรง จำเลย พ.ร.บ. วาดวยขอสัญญาที่ไมเปนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๔/๑ การที่โจทกลงทุนสงจำเลยไปฝกงานที่บริษัทแมของโจทกที่ประเทศญี่ปุนดวยการ ออกคาใชจายทั้งหมดให นับเปนทางหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรของโจทก ทั้งการฝกงาน ดังกลาวไมวาโจทกหรือจำเลยตางฝายตางไดรับประโยชนดวยกัน ถือไดวาเปนสัญญาตาง ตอบแทน ประกอบกับขอตกลงที่กำหนดใหจำเลยตองกลับมาทำงานใหแกโจทก มิฉะนั้น ตองชดใชคาใชจายในการฝกงานคืนโจทกพรอมเบี้ยปรับ มีลักษณะเปนการปกปองกิจการ ของโจทก นอกจากนี้ จำเลยสามารถเลือกไดวาจะกลับมาทำงานใหแกโจทก หรือชดใช คาใชจายในการฝกงานคืนโจทกพรอมเบี้ยปรับ จึงมิไดเปนการปดโอกาสและความสามารถ ในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพการงานอื่นโดยเด็ดขาด แตจำเลยไปฝกงาน ๒ ป มีคาใชจายในการฝกงานเพียง ๒,๒๖๔,๖๑๔ บาท ขอตกลงที่กำหนดใหจำเลยตองกลับมา ทำงานใหแกโจทกในตำแหนงและหนาที่ที่โจทกกำหนดเปนเวลาถึง ๑๐ ป จึงนานเกินสมควร เปนขอตกลงที่ทำใหจำเลยตองรับภาระมากกวาที่จะพึงคาดหมายไดตามปกติ พิเคราะห ทางไดเสียอันชอบดวยกฎหมายของโจทกและจำเลยแลว จึงใหขอตกลงดังกลาวมีผลบังคับ ไดเพียง ๖ ป เทาที่เปนธรรมและพอสมควรแกกรณีตาม พ.ร.บ. วาดวยขอสัญญาที่ไมเปนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง จำเลยสมัครใจเขาทำสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุนกับโจทก แสดงวา เปนสัญญาที่อยูบนพื้นฐานนิติสัมพันธจางแรงงาน ถือวาเปนสัญญาที่เกี่ยวเนื่องหรือ เกิดขึ้นเนื่องจากการจางแรงงานที่อยูภายใตบังคับ พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๔/๑ และเมื่อไดวินิจฉัยขางตนมาแลววา ขอตกลงในสัญญาการฝกงานระยะยาว ที่ประเทศญี่ปุน ขอ ๓ ที่กำหนดใหจำเลยตองกลับมาทำงานใหแกโจทกในตำแหนงและ หนาที่ที่โจทกกำหนดเปนเวลาถึง ๑๐ ป เปนขอตกลงที่ทำใหจำเลยตองรับภาระมากกวา ที่จะพึงคาดหมายไดตามปกติ สถานะของโจทกยอมเหนือกวาจำเลย กรณีจึงเปนสัญญา ที่ทำใหนายจางไดเปรียบลูกจางเกินสมควร จึงใหสัญญาดังกลาวมีผลใชบังคับเพียง ๖ ป


๒๓๐ เทาที่เปนธรรมและพอสมควรแกกรณีตาม พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๔/๑ อนึ่ง ในสวนของคาเสียหาย เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยวา คาเสียหายที่กำหนด วิธีการคำนวณไวในสัญญามีลักษณะเปนเบี้ยปรับและสูงเกินสวน สมควรลดลงโดยกำหนด ใหจำเลยชดใชคาเสียหายเทากับคาใชจายในการสงจำเลยไปฝกงานพรอมเบี้ยปรับ ๑ เทา หักตามสัดสวนของระยะเวลาที่จำเลยกลับมาทำงานใหแกโจทกแลว จึงเปนการที่ ศาลแรงงานกลางใชดุลพินิจในการกำหนดคาเสียหายอันเปนขอเท็จจริง เมื่อไมปรากฏวา การใชดุลพินิจดังกลาวเปนการไมชอบ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมอาจกาวลวงเขาไป วินิจฉัยได โจทกฟอง ขอใหบังคับจำเลยชดใชคาเสียหาย ๙,๖๑๑,๗๕๖ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรา รอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงินดังกลาว นับถัดจากวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก จำเลยใหการและฟองแยง ขอใหยกฟอง และบังคับโจทกโดยขอใหสัญญาการฝกงาน ระยะยาวที่ประเทศญี่ปุนระหวางโจทกกับจำเลยมีผลใชบังคับไดเพียง ๒ ป โจทกใหการแกฟองแยง ขอใหยกฟองแยง ระหวางพิจารณาของศาลแรงงานกลาง จำเลยขอสละประเด็นเรื่องฟองเคลือบคลุม ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยชำระเงิน ๒,๙๐๖,๒๕๔.๖๓ บาท พรอมดอกเบี้ย อัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินดังกลาว นับถัดจากวันฟอง (ฟองวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๒) เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก และยกฟองแยง จำเลยอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง และวินิจฉัยวา โจทกเปนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ รถจักรยานยนต และเครื่องยนตเอนกประสงค เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ โจทกจางจำเลยเปน ลูกจางรายเดือน ตำแหนงสุดทายเปนผูชวยวิศวกรอาวุโส ระดับอาร ๕ (R๕) ไดรับคาจางเดือนละ ๖๒,๔๑๔ บาท ตอมาวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ จำเลยทำสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศ ญี่ปุนกับโจทก เพื่อเดินทางไปฝกงานที่ประเทศญี่ปุนระหวางวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยโจทกเปนผูออกคาใชจายใหทั้งหมด จำเลยไปฝกงาน ๒ ป โจทกเสีย คาใชจายในการสงจำเลยไปฝกงานสูง สวนจำเลยไดรับความรูความสามารถ และประสบการณ


๒๓๑ ในการทำงานจากตางประเทศติดตัว รวมทั้งทักษะทางภาษาญี่ปุน แมขอตกลงในสัญญาการฝกงาน ระยะยาวที่ประเทศญี่ปุน ขอ ๓ และขอ ๔ จะกำหนดใหจำเลยตองกลับมาทำงานใหแกโจทกหลัง จากเสร็จสิ้นการฝกงาน โดยไมลาออก หรือกระทำการใด ๆ ที่ไมเหมาะสม หรือไมสมควรจนเปน เหตุใหตองพนจากตำแหนงหนาที่การงานของโจทกอยางนอย ๕ ป ตอการสงไปฝกงาน ๑ ป จะเปนการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพการงาน แตเปนเรื่องปกติที่บริษัทซึ่งประกอบ กิจการวิจัยและพัฒนาเชนโจทกจะใชสัญญาดังกลาวเพื่อพัฒนาบุคลากร ทั้งคูสัญญาตางไดรับ ประโยชนจึงมีลักษณะเปนสัญญาตางตอบแทน กอนทำสัญญาโจทกแจงใหจำเลยทราบถึง ขอกำหนดดังกลาวหลายครั้ง ในการเขาทำสัญญาไมปรากฏวาจำเลยตกอยูในภาวะจำยอม ลูกจาง ทุกคนที่โจทกสงไปฝกงานที่ประเทศญี่ปุนตั้งแตป ๒๕๕๒ เปนตนมาลวนใชขอตกลงเดียวกันกับ จำเลย เมื่อจำเลยกลับมาทำงานใหแกโจทกก็มิไดถูกตัดทอนคาตอบแทนการทำงาน ทั้งโจทก ยังไดรับการเลื่อนตำแหนงที่สูงขึ้นและปรับเพิ่มเงินสวัสดิการคาภาษาญี่ปุนใหแกโจทกอีกดวย ขอตกลงในสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุน ขอ ๓ และขอ ๔ ไมทำใหโจทกไดเปรียบ จำเลย หรือทำใหจำเลยถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพตองรับภาระมากกวาที่จะพึงคาดหมายไดตาม ปกติ จึงไมใชขอสัญญาที่ไมเปนธรรมตามพระราชบัญญัติวาดวยขอสัญญาที่ไมเปนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ สัญญาดังกลาวมีผลบังคับได กรณีไมมีเหตุที่จะกำหนดใหมีผลบังคับไดเพียง ๒ ป ตามที่ จำเลยฟองแยง นอกจากนี้ สัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุนเปนสัญญาที่แยกตางหาก จากสัญญาจางแรงงาน และมิไดเปนขอบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งของนายจาง จึงไมใชกรณีสัญญาจางระหวางนายจางกับลูกจาง ขอบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่ง ของนายจางที่ทำใหนายจางไดเปรียบลูกจางเกินสมควร สัญญาดังกลาวจึงไมขัดตอพระราชบัญญัติ คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๔/๑ อันศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจสั่งใหมีผลใช บังคับเพียงเทาที่เปนธรรมและพอสมควรแกกรณี โจทกเสียคาใชจายในการสงจำเลยไปฝกงาน ๒,๒๖๔,๖๑๔ บาท โดยเงินเดือนและเงินพิเศษที่จายในประเทศไทย กับเงินเดือนและภาษีเงินได บุคคลธรรมดาที่จายในประเทศญี่ปุนเปนคาจาง ไมใชคาใชจายในการสงจำเลยไปฝกงาน จำเลย กลับมาทำงานใหแกโจทก ๓ ป ๗ เดือน หรือ ๔๓ เดือน แลวลาออกจากการเปนลูกจางโจทก คงเหลือระยะเวลาทำงานใหแกโจทกอีก ๗๗ เดือน จำเลยผิดสัญญา แตคาเสียหายที่กำหนดวิธี การคำนวณไวในสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุน มีลักษณะเปนเบี้ยปรับและสูงเกินสวน สมควรลดลงโดยกำหนดใหจำเลยชดใชคาเสียหายเทากับคาใชจายในการสงจำเลยไปฝกงาน พรอม เบี้ยปรับ ๑ เทา หักตามสัดสวนของระยะเวลาที่จำเลยกลับมาทำงานใหแกโจทกแลว จำเลยตอง ชดใชคาเสียหายแกโจทก ๒,๙๐๖,๒๕๔.๖๓ บาท


๒๓๒ ที่จำเลยอุทธรณวา ขอตกลงในสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุนระหวางโจทกกับ จำเลยที่กำหนดใหจำเลยตองกลับมาทำงานใหแกโจทก ๑๐ ป ขัดตอรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ใหสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพของบุคคลนั้น เห็นวา จำเลยอุทธรณ ในขอที่ไมไดกลาวไวในคำใหการและฟองแยง จำเลยเพิ่งยกเรื่องนี้ขึ้นกลาวอางในชั้นอุทธรณ จึงเปนอุทธรณในขอที่ไมไดยกขึ้นวากันมาแลวโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ไมชอบดวยประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ ไมรับวินิจฉัย ที่จำเลยอุทธรณวา นอกจากคาจางแลว คาเรียนภาษา คาตั๋วเครื่องบิน คาขนสง คาวีซา และคาที่พักที่จายในประเทศไทย ก็ไมถือวาเปนคาใชจายในการสงจำเลยไปฝกงาน ทั้งคาเรียน ภาษา เงินเตรียมตัว คาวีซา คาขนสง และคาที่พักที่จายในประเทศญี่ปุน ผูที่ออกใหจำเลย คือ บริษัทแมของโจทกหาใชโจทกไม โจทกจึงนำคาใชจายทั้งสองกรณีมารวมเปนคาใชจายในการสง จำเลยไปฝกงานไมไดนั้น เห็นวา อุทธรณของจำเลยดังกลาวเปนการโตแยงดุลพินิจในการรับฟง พยานหลักฐานเพื่อกำหนดคาเสียหายของศาลแรงงานกลางซึ่งฟงขอเท็จจริงวา เฉพาะเงินเดือน และเงินพิเศษที่จายในประเทศไทย กับเงินเดือนและภาษีเงินไดบุคคลธรรมดาที่จายในประเทศ ญี่ปุนเทานั้นที่ไมใชคาใชจายในการสงจำเลยไปฝกงานและโจทกเสียคาใชจายในการสงจำเลยไป ฝกงาน ๒,๒๖๔,๖๑๔ บาท อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหามมิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย คดีมีปญหาวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยวา ขอตกลงในสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ ประเทศญี่ปุนระหวางโจทกกับจำเลย ขอ ๓ และขอ ๔ ทำใหจำเลยถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพตอง รับภาระมากกวาจะพึงคาดหมายไดตามปกติหรือไม และมีผลบังคับไดเพียงใด เห็นวา กอนทำสัญญา การฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุน จำเลยทำงานเปนลูกจางโจทก มีหนาที่ในการเขียนแบบรางแบบ ของชิ้นสวนรถจักรยานยนต เมื่อโจทกประกอบกิจการวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับรถจักรยานยนต และเครื่องยนตอเนกประสงค การที่โจทกลงทุนสงจำเลยไปฝกงานที่บริษัทแมของโจทกที่ประเทศ ญี่ปุนดวยการออกคาใชจายทั้งหมดให นับเปนทางหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรของโจทก การที่จำเลย กลับมาทำงานใหแกโจทกหลังจากเสร็จสิ้นการฝกงาน และจำเลยไดรับการเลื่อนตำแหนงที่สูงขึ้น รวมทั้งการปรับเพิ่มเงินสวัสดิการคาภาษาญี่ปุนใหแกจำเลย แสดงวาจำเลยมีความรู ประสบการณ และคุณวุฒิมากขึ้น จึงยอมเปนที่ตองการของบริษัทอื่นเพราะไมตองลงทุนสงคนไปฝกงาน ทั้งการ


๒๓๓ ฝกงานดังกลาวไมวาโจทกหรือจำเลยตางฝายตางไดรับประโยชนดวยกัน ถือไดวาเปนสัญญา ตางตอบแทน ประกอบกับขอตกลงที่กำหนดใหจำเลยตองกลับมาทำงานใหแกโจทก มิฉะนั้นตองชดใช คาใชจายในการฝกงานคืนโจทกพรอมเบี้ยปรับ มีลักษณะเปนการปกปองกิจการของโจทกไมให สูญเสียลูกจางที่อุตสาหลงทุนสงไปฝกงานจนมีความรู ประสบการณ และคุณวุฒิมากขึ้น และเปน ขอสนับสนุนความคาดหวังของโจทกที่มุงประสงคใหลูกจางนำความรูและประสบการณดังกลาวมา พัฒนากิจการของโจทก รวมทั้งถายทอดความรูและประสบการณที่ไดรับจากการฝกงานแกลูกจาง คนอื่น อันจะเปนประโยชนในการทำงานตอไป นอกจากนี้ จำเลยสามารถเลือกไดวาจะกลับมา ทำงานใหแกโจทก หรือชดใชคาใชจายในการฝกงานคืนโจทกพรอมเบี้ยปรับ จึงมิไดเปนการปด โอกาสและความสามารถในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพการงานอื่นโดยเด็ดขาด ลูกจาง คนอื่นที่โจทกสงไปฝกงานตั้งแตป ๒๕๕๒ เปนตนมาตางก็ใชหลักเกณฑ วิธีการและมีรายละเอียด ขอตกลงในสัญญาเปนอยางเดียวกันกับจำเลย เมื่อจำเลยรับรูรายละเอียดขอตกลงในสัญญา ทั้งมี เวลาคิดไตรตรองถึงทางไดเสียแลวสมัครใจเขาทำสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุนกับ โจทก จำเลยยอมคาดหมายถึงหนาที่ที่ตองรับผิดชอบตามสัญญาได แตจำเลยไปฝกงาน ๒ ป มีคาใชจายในการฝกงานเพียง ๒,๒๖๔,๖๑๔ บาท ขอตกลงที่กำหนดใหจำเลยตองกลับมาทำงาน ใหแกโจทกในตำแหนงและหนาที่ที่โจทกกำหนดเปนเวลาถึง ๑๐ ป จึงนานเกินสมควร เปน ขอตกลงที่ทำใหจำเลยตองรับภาระมากกวาที่จะพึงคาดหมายไดตามปกติ พิเคราะหทางไดเสีย อันชอบดวยกฎหมายของโจทกและจำเลยแลว จึงใหขอตกลงดังกลาวมีผลบังคับไดเพียง ๖ ป เทาที่ เปนธรรมและพอสมควรแกกรณีตามพระราชบัญญัติวาดวยขอสัญญาที่ไมเปนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยวาขอตกลงในสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศ ญี่ปุน ขอ ๓ ไมทำใหจำเลยถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ ตองรับภาระมากกวาที่จะพึงคาดหมายได ตามปกติ และมีผลบังคับไดนั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมเห็นพองดวย อุทธรณของจำเลย ฟงขึ้นบางสวน คดีมีปญหาวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยวา สัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุน ระหวางโจทกกับจำเลยอยูภายใตบังคับพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๔/๑ หรือไม และมีผลใชบังคับเพียงใด เห็นวา การที่โจทกสงจำเลยไปฝกงานที่ประเทศญี่ปุน เปนการดำเนินการตามโครงการของบริษัทแมของโจทก โดยมีวัตถุประสงคเพื่อสรางความเขาใจ ใหเกิดขึ้นในระดับนานาชาติผานงานวิจัยและพัฒนาดวยการทำงานในตางประเทศ ซึ่งการจะเขารวม โครงการหรือไมขึ้นอยูกับจำเลยทั้งสิ้น และเมื่อตัดสินใจเขารวมโครงการแลว จำเลยสมัครใจ เขาทำสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุนกับโจทก แสดงวาเปนสัญญาที่อยูบนพื้นฐาน


๒๓๔ นิติสัมพันธจางแรงงาน ถือวาเปนสัญญาที่เกี่ยวเนื่องหรือเกิดขึ้นเนื่องจากการจางแรงงานที่อยู ภายใตบังคับพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๔/๑ และเมื่อไดวินิจฉัยขางตน มาแลววา ขอตกลงในสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุน ขอ ๓ ที่กำหนดใหจำเลยตอง กลับมาทำงานใหแกโจทกในตำแหนงและหนาที่ที่โจทกกำหนดเปนเวลาถึง ๑๐ ป เปนขอตกลง ที่ทำใหจำเลยตองรับภาระมากกวาที่จะพึงคาดหมายไดตามปกติ สถานะของโจทกยอมเหนือกวา จำเลย กรณีจึงเปนสัญญาที่ทำใหนายจางไดเปรียบลูกจางเกินสมควร จึงใหสัญญาดังกลาวมีผล ใชบังคับเพียง ๖ ป เทาที่เปนธรรมและพอสมควรแกกรณีตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๔/๑ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมเห็น พองดวย อุทธรณของจำเลยฟงขึ้น อนึ่ง เมื่อกำหนดใหขอตกลงในสัญญาการฝกงานระยะยาวที่ประเทศญี่ปุนระหวางโจทก กับจำเลยและสัญญาดังกลาว ขอ ๓ มีผลบังคับได และมีผลใชบังคับเพียง ๖ ป เทาที่เปนธรรมและ พอสมควรแกกรณี ในสวนของคาเสียหาย เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยวา คาเสียหายที่กำหนด วิธีการคำนวณไวในสัญญามีลักษณะเปนเบี้ยปรับและสูงเกินสวน สมควรลดลงโดยกำหนดให จำเลยชดใชคาเสียหายเทากับคาใชจายในการสงจำเลยไปฝกงานพรอมเบี้ยปรับ ๑ เทา หักตาม สัดสวนของระยะเวลาที่จำเลยกลับมาทำงานใหแกโจทกแลว จึงเปนการที่ศาลแรงงานกลางใช ดุลพินิจในการกำหนดคาเสียหายอันเปนขอเท็จจริง เมื่อไมปรากฏวาการใชดุลพินิจดังกลาวเปน การไมชอบ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมอาจกาวลวงเขาไปวินิจฉัยได ดังนั้น แมอุทธรณของ จำเลยจะฟงขึ้นแตก็ไมทำใหผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป พิพากษายืน. (ไพรัช โปรงแสง - วิโรจน ตุลาพันธุ - ปณิธาน วิสุทธากร) กรรณิกา อัศวเมธา - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ


๒๓๕ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๙๕๙/๒๕๖๓ นายเกรแฮม จอหน แฮรรีย โจทก บริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ผูรอง นายไตรสรณ วรพิศุทธ ในฐานะพนักงาน ตรวจแรงงาน จำเลย พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง สัญญาจางบริการที่ปรึกษาระหวาง บริษัท บ. กับผูรอง มุงประสงคตอความสำเร็จ ในการไดรับบริการดานการปรึกษาเปนสำคัญ มิไดมุงประสงคตอการจัดหาแรงงานมา ทำงานในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผูรอง สัญญาดังกลาวจึงเปน สัญญาจางทำของ แมสัญญาคำสั่งบริการฉบับหลักเลขที่ ๑๑๘๒๖๘๔ จะมีบัญชีแนบทาย สัญญา ก ประเภทงาน ขอ ๑ ระบุวาผูรับจางจะตองใหบริการดานแรงงานตามที่ระบุไว เพิ่มเติมในคำสั่งบริการแตละฉบับ ก็เปนการระบุไวในสัญญาจางเปนการทั่วไป ไมได หมายเฉพาะเจาะจงถึงตัวโจทก และแมโจทกจะตองไปทำงานที่สำนักงานของผูรองซึ่งตั้งอยูที่ เลขที่ ๑๙ อาคารไทยพาณิชยปารคพลาซา ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยตองทำงานสัปดาหละ ๕ วัน วันละ ๘ ชั่วโมง เมื่อทำงานที่ทำงาน บนฝง หากปฏิบัติงานนอกชายฝงใหทำงานทุกวัน วันละ ๑๒ ชั่วโมง และไดรับคาจางอัตรา สุดทายวันละ ๑,๕๑๑ ดอลลารสหรัฐ โดยจายคาจางเดือนละครั้ง ตามที่ผูรองกำหนดก็เปน การปฏิบัติไปตามเงื่อนไขที่ระบุไวในสัญญาระหวางผูรองกับบริษัท บ. ซึ่งเปนนายจางของ โจทก เพื่อใหงานสำเร็จตามสัญญาจางที่ปรึกษาเทานั้น มิใชเปนกรณีที่ผูรองใชอำนาจ ควบคุมบังคับบัญชาโจทก อันจะทำใหสัญญาจางบริการระหวางผูรองกับบริษัท บ. กลายมาเปนสัญญาจางแรงงาน โจทกจึงไมใชลูกจางเหมาคาแรง อันจะถือวาผูรองเปน นายจางตาม พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง โจทกจึงไมมี สิทธิไดรับคาชดเชยจากผูรอง


๒๓๖ โจทกฟอง ขอใหเพิกถอนคำสั่งจำเลย สำนักงานสวัสดิการและคุมครองแรงงาน กรุงเทพมหานครพื้นที่ ๙ ที่ ๑๕๕/๒๕๖๑ เรื่อง คาชดเชย และใหบังคับบริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด รวมกับบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด จายคาชดเชยใหแก โจทก ๔๕๓,๓๐๐ ดอลลารสหรัฐพรอมดอกเบี้ยในระหวางผิดนัดรอยละ ๑๕ ตอป จำเลยใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหแกไขคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการ และคุมครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๙ ที่ ๑๕๕/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เฉพาะสวนที่วินิจฉัยวาบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ไมมีหนาที่ตองรับผิด จายคาชดเชยใหแกโจทก เปนใหบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด รวมรับผิดจาย คาชดเชย ๔๕๓,๓๐๐ ดอลลารสหรัฐ พรอมดอกเบี้ยผิดนัดอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ใหแกโจทกดวย นอกจากที่แกใหเปนไปตามคำสั่งเดิม ผูรองยื่นคำรองสอด ขอใหยกฟอง โจทกยื่นคำรองคัดคาน ขอใหยกคำรอง จำเลยไมยื่นคำคัดคาน ศาลแรงงานกลาง พิพากษาวาผูรองมีสวนไดเสียเกี่ยวกับการบังคับคดี มีเหตุที่จะยื่น คำรองสอดเขามาในชั้นบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงมาตรา ๕๗ (๑) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ได และถือวาผูรองเปนนายจางของโจทก จึงตองรวมรับผิดกับบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด จายคาชดเชยใหแกโจทก ใหยกคำรองของผูรอง จำเลยและผูรองอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง วาบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด ประกอบกิจการบริการใหคำปรึกษาเกี่ยวกับ สัมปทานปโตรเลียมไดตกลงจางโจทกทำงานโดยสงไปปฏิบัติงานใหแกผูรอง ซึ่งไดรับสัมปทาน ในการขุดเจาะและผลิตปโตรเลียมที่สำนักงานเลขที่ ๑๙ ตามสัญญาคำสั่งบริการฉบับหลักเลขที่ ๑๑๘๒๖๘๔ และสัญญาคำสั่งบริการระหวางบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด กับผูรอง ตั้งแตวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๖ ในตำแหนงที่ปรึกษาดานธรณีวิทยาและสำรวจพื้นผิวโลก อัตรา คาจางสุดทายวันละ ๑,๕๑๑ ดอลลารสหรัฐ ทำงานสัปดาหละ ๕ วัน วันละ ๘ ชั่วโมง เมื่อทำงาน ที่สำนักงานบนฝง หากปฏิบัติงานนอกชายฝงประเทศไทยใหทำงานทุกวัน วันละ ๑๒ ชั่วโมง กำหนดจายคาจางเดือนละครั้ง เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ บริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี


๒๓๗ (ไทยแลนด) จำกัด มีหนังสือเลิกจางโจทกโดยใหมีผลในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เนื่องจาก ผูรองไมประสงคจะจางโจทกตอไปโดยไมจายคาชดเชยใหโจทก โจทกยื่นคำรองตอพนักงานตรวจ แรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุมครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๙ จำเลยในฐานะพนักงาน ตรวจแรงงานมีคำสั่งที่ ๑๕๕/๒๕๖๑ ใหบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด จายคาชดเชย ใหแกโจทก ๔๕๓,๓๐๐ ดอลลารสหรัฐ พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป สวนผูรองไมเปนนายจาง โจทกตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง ผูรองจึงไมตอง รับผิดจายคาชดเชยใหแกโจทก แลววินิจฉัยวา การที่บริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด ทำสัญญาจางโจทกซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ผูรองกำหนดและสงโจทกไปปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน ของผูรองตลอดมานับตั้งแตป ๒๕๔๖ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่งมีลักษณะการจางเปน แบบปตอปตอเนื่องกันโดยบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด เปนเพียงผูดำเนินการขอ ใบอนุญาตทำงานเเละยื่นภาษีแทนโจทกเทานั้น สวนคาจางนั้นไดความวาโจทกตองสงใบบันทึก เวลาทำงานใหบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด เพื่อสงตอใหผูรองตรวจสอบและอนุมัติ กอนที่ผูรองจะจายคาจางรายวันในอัตราตามคำสั่งบริการและแบบแตงตั้งที่ปรึกษา คำนวณตาม วันที่โจทกมาทำงานจริงบวกดวยคาบริการตามสัญญาใหบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด และในการทำงานโจทกตองทำงานสัปดาหละ ๕ วัน วันละ ๘ ชั่วโมง เมื่อทำงานที่สำนักงาน บนฝง หากปฏิบัติงานนอกชายฝงประเทศไทยใหทำงานทุกวัน วันละ ๑๒ ชั่วโมง หากลาหยุดตอง แจงใหผูรองทราบ ดังนี้ เมื่อบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด ไมไดประกอบธุรกิจ จัดหางานและการทำงานของโจทกในตำแหนงที่ปรึกษาดานการสำรวจผิวโลก มีหนาที่ใหคำแนะนำ ฝายบริหารของผูรองในงานสำรวจพื้นผิวโลกซึ่งในบริษัทผูรองไมมีพนักงานคนอื่นทำหนาที่ เชนเดียวกับโจทกอีก งานที่โจทกทำจึงเปนงานสวนหนึ่งสวนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความ รับผิดชอบของผูรอง และในการทำงานโจทกตองรายงานการปฏิบัติงานตอผูรองโดยตรง การหยุดงาน ก็ตองแจงใหผูรองทราบ นอกจากนี้ ตามสัญญาคำสั่งบริการฉบับหลักขอ ๒.๑๑ (ค) กำหนด ใหผูรองแจงเปลี่ยนบุคคลากรที่จัดสงมาไดหากไมพึงพอใจ และการจายคาจาง ผูรองก็เปนผูจาย คาจางโดยผานบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด แสดงวาผูรองมีอำนาจควบคุมดูแล การทำงานและรับผิดชอบในการจายคาจางใหแกคนที่มาทำงานนั้นดวย จากขอเท็จจริงดังที่วินิจฉัยมา จึงถือวาผูรองเปนผูประกอบกิจการและเปนนายจางโจทกตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง ที่จำเลยนำสืบตอสูวาสัญญาคำสั่งบริการฉบับหลักและคำสั่ง บริการเปนสัญญาจางทำของ ซึ่งมุงประสงคผลสำเร็จของงานคือรายงานความเห็น และหรือ ขอเสนอแนะของผูเชี่ยวชาญในแตละดานนั้นขัดแยงกับลักษณะการทำงานของโจทกที่กำหนดเวลา


๒๓๘ วันทำงานไวอยางแนชัด หากลาหยุดก็ตองแจงใหผูรองทราบ เห็นไดวาการทำงานของโจทกอยูใน การควบคุมบังคับบัญชาของผูรอง และยังไดความวาผูรองกำหนดรหัสพนักงานใหแกโจทก การให บริการตามสัญญานั้นมุงถึงตัวบุคคลเปนสาระสำคัญ ทั้งตามสัญญาระบุวาผูรับจางตองใหบริการ ดานแรงงานตามที่ระบุไวเพิ่มเติมในคำสั่งบริการแตละฉบับ นอกจากนี้สัญญายังกำหนดใหผูรอง ชดใชคาชดเชยและสินจางแทนการบอกกลาวลวงหนาคืนใหแกบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด อันเปนความรับผิดเพิ่มเติมกวาคาจางตามสัญญาจางทำของ สัญญาคำสั่งบริการฉบับหลัก และคำสั่งบริการจึงมิใชสัญญาจางทำของ ที่จำเลยอางคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๒๕๓/๒๕๖๐ ขอเท็จจริงในคดีดังกลาวไมตรงกับคดีนี้ ขอเท็จจริงฟงไดวา ผูรองเปนนายจางโจทกตามพระราชบัญญัติ คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง ผูรองจึงตองจายคาชดเชย ๔๕๓,๓๐๐ ดอลลารสหรัฐ ใหแกโจทก ปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยและผูรองมีวา ผูรองเปนนายจางโจทกตาม พระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือไม เห็นวา พระราชบัญญัติ คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง บัญญัติวา “ในกรณีที่ผูประกอบกิจการ มอบหมายใหบุคคลหนึ่งบุคคลใดเปนผูจัดหาคนมาทำงานอันมิใชการประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเปนสวนหนึ่งสวนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของ ผูประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเปนผูควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจายคาจาง ใหแกคนที่มาทำงานนั้นหรือไมก็ตาม ใหถือวาผูประกอบกิจการเปนนายจางของคนที่มาทำงาน ดังกลาว” ตามบทบัญญัติกฎหมายมาตรานี้ ผูประกอบกิจการตองมอบหมายใหบุคคลหนึ่งบุคคล ใดจัดหาคนมาทำงานและการทำงานนั้นเปนสวนหนึ่งสวนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจใน ความรับผิดชอบของผูประกอบกิจการ โดยกฎหมายมาตรานี้ไมไดบัญญัตินิติสัมพันธระหวาง ผูประกอบกิจการกับผูรับมอบหมายใหจัดหาคนมาทำงานวาเปนสัญญาประเภทใด ขอสำคัญคือ การทำงานตองเปนสวนหนึ่งสวนใดของกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของ ผูประกอบกิจการขอเท็จจริงคดีนี้ไดความวาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ ผูรองซึ่งประกอบกิจการ ขุดเจาะและผลิตปโตรเลียม ทำสัญญาจางบริการกับบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด ซึ่งประกอบกิจการใหคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสัมปทานปโตรเลียม จัดหาบุคลากรทางดาน วิศวกรรมและผูเชี่ยวชาญทางดานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาสัมปทานปโตรเลียม หลังจากนั้น บริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด ทำสัญญาจางแรงงานกับโจทกแลวมอบหมายให โจทกไปทำงานใหแกผูรองตั้งแตวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ในตำแหนงที่ปรึกษาดานธรณีวิทยา และสำรวจพื้นผิวโลก เห็นไดวา สัญญาจางบริการที่ปรึกษาระหวางบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี


๒๓๙ (ไทยแลนด) จำกัด กับผูรองดังกลาว มุงประสงคตอความสำเร็จในการไดรับบริการดานการปรึกษา เปนสำคัญ มิไดมุงประสงคตอการจัดหาแรงงานมาทำงานในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความ รับผิดชอบของผูรอง สัญญาดังกลาวจึงเปนสัญญาจางทำของ แมสัญญาคำสั่งบริการฉบับหลัก เลขที่ ๑๑๘๒๖๘๔ จะมีบัญชีแนบทายสัญญา ก ประเภทงาน ขอ ๑ ระบุวาผูรับจางจะตองให บริการดานแรงงานตามที่ระบุไวเพิ่มเติมในคำสั่งบริการแตละฉบับ ก็เปนการระบุไวในสัญญาจาง เปนการทั่วไป ไมไดหมายเฉพาะเจาะจงถึงตัวโจทก และแมโจทกจะตองไปทำงานที่สำนักงานของ ผูรองซึ่งตั้งอยูที่เลขที่ ๑๙ โดยตองทำงานสัปดาหละ ๕ วัน วันละ ๘ ชั่วโมง เมื่อทำงานที่ทำงาน บนฝง หากปฏิบัติงานนอกชายฝงใหทำงานทุกวันวันละ ๑๒ ชั่วโมง และไดรับคาจางอัตราสุดทาย วันละ ๑,๕๑๑ ดอลลารสหรัฐ โดยจายคาจางเดือนละครั้ง ตามที่ผูรองกำหนดก็เปนการปฏิบัติไป ตามเงื่อนไขที่ระบุไวในสัญญาระหวางผูรองกับบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด ซึ่งเปน นายจางโจทก เพื่อใหงานสำเร็จตามสัญญาจางที่ปรึกษาเทานั้น มิใชเปนกรณีที่ผูรองใชอำนาจ ควบคุมบังคับบัญชาโจทก อันจะทำใหสัญญาจางบริการระหวางผูรองกับบริษัทบรูเนล เอ็นเนอรยี (ไทยแลนด) จำกัด กลายมาเปนสัญญาจางแรงงาน โจทกจึงไมใชลูกจางเหมาคาแรง อันจะถือวา ผูรองเปนนายจางตามพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง โจทกจึงไมมีสิทธิไดรับคาชดเชยจากผูรอง คำสั่งของจำเลยที่ ๑๕๕/๒๕๖๑ ที่วินิจฉัยวา ผูรองไมมี หนาที่ตองรับผิดจายคาชดเชยใหแกโจทก ชอบดวยกฎหมายแลว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษา ใหผูรองรวมรับผิดจายคาชดเชย ๔๕๓,๓๐๐ ดอลลารสหรัฐ พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ใหแกโจทก ไมตองดวยความเห็นของศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ อุทธรณของจำเลยและผูรอง ฟงขึ้น พิพากษากลับใหยกฟองโจทก. (พิเชฐ โพธิวิจิตร - สุจินต เชี่ยวชาญศิลป - วิชชุพล สุขสวัสดิ์) มนุเชษฐ โรจนศิริบุตร - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ


Click to View FlipBook Version