The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมคำพิพากษา-แผนกคดีแรงงาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iprd.pic, 2024-01-31 21:12:27

รวมคำพิพากษา-แผนกคดีแรงงาน

รวมคำพิพากษา-แผนกคดีแรงงาน

๖๔๐ ลูกคาแตละรายจึงเปนหนี้ที่จำเลยแตละคนที่มีหนาที่จัดทำ Credit Scoring และ Pre-checking ตรวจสอบเลมประเมินราคาหลักประกันและรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีกับธนาคารอันเปน สวนหนึ่งของการตรวจสอบคุณสมบัติของลูกคาเบื้องตน ใหความเห็นชอบในการตรวจสอบ คุณสมบัติของลูกคาเบื้องตนวาลูกคามีความสามารถที่จะกูเงินและชำระหนี้เงินกูไดหรือไม โดยมีการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชาเกี่ยวของกันในลูกคาแตละราย จำเลยทั้งสิบจึงตอง รวมรับผิดดวยกันมิอาจแบงแยกจากกันได สิทธิเรียกรองของโจทกตอจำเลยทุกคนที่มีหนาที่ เกี่ยวของในการตรวจสอบคุณสมบัติของลูกคาแตละรายเบื้องตนในโครงการเดียวกันนั้นยอม เปนสิทธิอันเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ ๗ และที่ ๑๐ ยกอายุความ ๑๐ ปนับแตวันทำละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่ง ขึ้นตอสู และจำเลยที่ ๙ ยกอายุความ ๑๐ ปนับแตขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกรองไดเปนตนไปตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๙๓/๓๐ และอายุความ ๑๐ ปนับแตวันทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่ง ขึ้นตอสู ถือไดวาจำเลยที่ ๔ ถึงที่ ๖ และที่ ๘ ยกอายุความขึ้นตอสูแลว เชนกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๕๙ (๑) ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย มาวาฟองโจทกขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ ๔ ถึงที่ ๑๐ นั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ เห็นพองดวยในผล อุทธรณของโจทกในปญหาขอนี้ฟงไมขึ้น เมื่อฟองโจทกขาดอายุความแลว จึงไมจำตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกตอไปวา จำเลยที่ ๔ ถึงที่ ๑๐ ตองรับผิดชดใชคาเสียหาย เปนจำนวนเงินตามฟองหรือไม เพราะไมทำใหผลคดีเปลี่ยนแปลงไป พิพากษายืน. (สุจินต เชี่ยวชาญศิลป - วิชชุพล สุขสวัสดิ์ - วรศักดิ์ จันทรคีรี) กิตติ เนตรประเสริฐ - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ


๖๔๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๐๑ - ๘๑๔/๒๕๖๓ นายอุทัย ธารีจิตร กับพวก โจทก มูลนิธิคณะเซนตคาเบรียล แหงประเทศไทย กับพวก จำเลย ป.พ.พ. มาตรา ๗๐, ๗๗, ๘๒๐ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๔, ๘๖ วรรคหนึ่ง, ๑๖๖ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและครูโรงเรียน เอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๒, ๓๓ (๔), ๓๕ (๑) คดีนี้โจทกทั้งสิบสี่ซึ่งเปนครูโรงเรียนเอกชนลูกจางฟองจําเลยที่ ๑ ในฐานะผูรับ ใบอนุญาตและฟองจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ในฐานะโรงเรียนเอกชนนายจางที่มีคําสั่งเลิกจาง ขอใหจายคาชดเชยและเงินบํานาญอันเปนสิทธิประโยชนอื่น เปนขอพิพาทเกี่ยวดวยสิทธิ หรือหนาที่ตามสัญญาจางแรงงานหรือตามขอตกลงเกี่ยวกับสภาพการจางตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) ซึ่งตาม พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติใหโรงเรียนเอกชน ไมอยูภายใตบังคับกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงาน กฎหมายวาดวยแรงงานสัมพันธ กฎหมายวาดวยการประกันสังคม และกฎหมายวาดวยเงินทดแทน กรณีจึงตองบังคับ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทํางานของครูใหญและครู โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๒ ที่กําหนดใหผูรับใบอนุญาตจายคาชดเชยใหแกครู ที่ทํางานติดตอกันครบ ๑๐ ปขึ้นไปที่เลิกสัญญาการเปนครู ไมนอยกวา ๑๐ เดือน ของ เงินเดือนเดือนสุดทาย และขอ ๓๓ (๔) ใหผูรับใบอนุญาตตองจายคาชดเชยดังกลาวเมื่อ บอกเลิกสัญญาโดยที่ครูไมไดกระทําความผิด เมื่อโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ลาออกเพราะ เกษียณอายุ ซึ่งถือเปนกรณีที่จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ เลิกจางโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ไมใชเพราะไมประสงคจะทํางานกับจําเลยที่ ๒ หรือที่ ๓ ซึ่งถือวาเปนการลาออกโดย สมัครใจตามขอ ๓๕ (๑) และไมไดรับคาชดเชย ดังนั้น โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จึงมีสิทธิไดรับ คาชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทํางานของครูใหญ และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๒


๖๔๒ แมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทํางานของครูใหญและ ครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๒ กําหนดใหผูรับใบอนุญาตเปนผูจายคาชดเชยแกครู แตระเบียบดังกลาวออกโดยอาศัยอํานาจตาม พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งตอมา ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยพระราชบัญญัติสองฉบับมีความ แตกตางกัน การนําระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทํางานของครูใหญ และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ออกตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ มาใช บังคับจึงตองใชโดยอนุโลมเทาที่ไมขัดหรือแยงกับ พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามที่บัญญัติไวในมาตรา ๑๖๖ โดยที่ตามมาตรา ๒๔ แหง พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติวา เมื่อไดรับใบอนุญาตใหจัดตั้งโรงเรียนในระบบแลวใหโรงเรียนในระบบเปน นิติบุคคลนับแตวันที่ไดรับอนุญาต และใหผูรับใบอนุญาตเปนผูแทนของนิติบุคคล แต พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ไมไดกําหนดเรื่องความรับผิดของผูรับใบอนุญาตไวเปนการ เฉพาะตางหาก ดังนั้น จึงตองบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา ๗๐, ๗๗ ประกอบมาตรา ๘๒๐ เมื่อการกระทําของจําเลยที่ ๑ เปนการกระทําแทนจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ดังนั้น จําเลยที่ ๑ จึงไมตองรับผิดเปนการสวนตัว สําหรับเงินบํานาญ ตามคูมือครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนจําเลยที่ ๒ และคูมือครูโรงเรียนจําเลยที่ ๓ สรุปไวเกี่ยวกับเงินบํานาญซึ่งเปนสวัสดิการที่ครูใน โรงเรียนจําเลยที่ ๒ และจําเลยที่ ๓ จะไดรับเมื่อเกษียณอายุการทํางาน ๖๐ ป วาใหเปน ไปตามระเบียบหรือประกาศของมูลนิธิคณะเซนตคาเบรียลแหงประเทศไทย จําเลยที่ ๑ ซึ่งสอดคลองกับระเบียบโรงเรียนของจําเลยที่ ๑ วาดวยบําเหน็จและบํานาญ พ.ศ. ๒๕๓๔ และระเบียบโรงเรียนของจําเลยที่ ๑ วาดวยบําเหน็จและบํานาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ออกโดย ผูรับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งในขณะนั้นคณะกรรมการ บริหารของโรงเรียนในระบบไมไดมีหนาที่บริหารจัดการ ออกกฎ ระเบียบ และขอบังคับ ตาง ๆ ระเบียบโรงเรียนของจําเลยที่ ๑ วาดวยบําเหน็จและบํานาญดังกลาวจึงเปนระเบียบ ที่ออกโดยชอบ และเปนสวนหนึ่งของสภาพการจางที่กําหนดใหครูที่เกษียณอายุการทํางาน ๖๐ ป มีสิทธิไดรับเงินบํานาญ ระเบียบโรงเรียนของจําเลยที่ ๑ วาดวยบําเหน็จและบํานาญ พ.ศ. ๒๕๓๔ และระเบียบโรงเรียนของจําเลยที่ ๑ วาดวยบําเหน็จและบํานาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ จึงมีผลผูกพันจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ดวย โจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ จึงมีสิทธิไดรับเงินบํานาญ ตามระเบียบโรงเรียนของจําเลยที่ ๑ วาดวยบําเหน็จและบํานาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ ขอ ๑๕ กําหนดวา ครูที่ไดรับบํานาญจะไดรับการพิจารณาขึ้นเงินบํานาญทุกปการศึกษาใหม


๖๔๓ ในอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบํานาญที่ไดรับในเดือนพฤษภาคม การขึ้นเงินบํานาญตามขอ ๑๕ ของระเบียบดังกลาวจึงกําหนดไวชัดเจนวาขึ้นเงินบํานาญในอัตรารอยละ ๑๐ ของทุกป โดยไมปรากฏขอยกเวนไวในระเบียบวาใหเปนดุลพินิจของจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ที่จะพิจารณาขึ้นเงินบํานาญหรือไมก็ได หรือขึ้นไมถึงอัตราสูงสุดตามเพดานที่กําหนด ไวก็ได โดยพิจารณาผลประกอบการของจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ หรือสภาวการณใด ๆ ทั้งสิ้น จึงตองแปลความอยางเครงครัด เมื่อขอเท็จจริงฟงยุติวา ระเบียบโรงเรียนของ จําเลยที่ ๑ วาดวยบําเหน็จและบํานาญ พ.ศ. ๒๕๓๔ และระเบียบโรงเรียนของจําเลยที่ ๑ วาดวยบําเหน็จและบํานาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ เปนสภาพการจางที่มีผลผูกพันโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ และจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ใหยึดถือปฏิบัติ การที่จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ขึ้นเงินบํานาญใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ไมเทากันทุกคนและไมถึงอัตรารอยละ ๑๐ ในปการศึกษาที่ผานมาทุกป จึงปฏิบัติไมถูกตองตามระเบียบดังกลาว จําเลยที่ ๑ และ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ยังมีเงินบํานาญคางจายหรือเงินสวนตางของเงินบํานาญที่ตองชําระแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ จึงตองรับผิดตอโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จายเงินสวนตาง ที่ขึ้นเงินบํานาญไมถึงอัตรารอยละ ๑๐ พรอมดอกเบี้ยระหวางผิดนัดอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป สวนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยวา จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ พิจารณาปรับขึ้นเงินบํานาญ ใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ แลว ไมมีสวนตางของเงินบํานาญที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จะไดรับอีก แตกลับพิพากษาใหจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ พิจารณาขึ้นเงินบํานาญใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ทุกปการศึกษาใหมในอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบํานาญที่โจทกแตละคนไดรับ ในเดือนพฤษภาคม จึงเปนการวินิจฉัยที่ขัดแยงกันเองไมชอบดวยกฎหมาย แตอยางไร ก็ตามเมื่อจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองปรับขึ้นเงินบํานาญใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ทุกปการศึกษาใหมในอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบํานาญที่ไดรับในเดือนพฤษภาคม แมโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จะไมไดมีคําขอทายฟองขอใหบังคับจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ปรับขึ้นเงินบํานาญ อัตรารอยละ ๑๐ ทุกปการศึกษาใหม แตโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ บรรยายมาในคําฟองขอ ๔.๑ วา จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองคํานวณการขึ้นเงินบํานาญทุกปการศึกษาใหมอัตรา รอยละ ๑๐ ใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ดังนั้น จึงเห็นสมควรเพื่อความเปนธรรม โดยอาศัย อํานาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๒ กําหนดใหจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ขึ้นเงินบํานาญแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ทุกปการศึกษาใหม ในอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบํานาญที่โจทกแตละคนไดรับในเดือนพฤษภาคม


๖๔๔ การที่จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ไมจายคาชดเชยภายหลังเลิกจางทันที เนื่องจาก ยังมีขอโตแยงระหวางโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ กับจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ วาจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองจายคาชดเชยหรือไม จึงยังถือไมไดวาจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ จงใจไมจายคาชดเชยแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ จึงไมตองเสียเงินเพิ่มใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ รอยละสิบหา ๑๕ ของเงิน ที่คางจายทุกระยะเวลา ๗ วัน เมื่อจําเลยที่ ๑ มีฐานะเปนผูกระทําการแทนจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ดังนั้น จําเลยที่ ๑ จึงไมตองรวมรับผิดในเงินบํานาญกับจําเลยที่ ๒ และที่ ๓ ในฐานะสวนตัว ______________________________ คดีทั้งสิบสี่สำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งใหรวมพิจารณาเปนคดีเดียวกัน โดยใหเรียก โจทกในคดีหมายเลขดำที่ ๘๒๑-๘๒๖/๒๕๖๑, ที่ ๙๐๑-๙๐๔/๒๕๖๑ และที่ ๔๕๑๑-๔๕๑๔/๒๕๖๑ วาโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๔ ตามลำดับ เรียกจำเลยที่ ๑ ทุกสำนวนวา จำเลยที่ ๑ เรียกจำเลยที่ ๒ ในคดีหมายเลขดำที่ ๘๒๒/๒๕๖๑, ที่ ๘๒๔/๒๕๖๑, ที่ ๙๐๑/๒๕๖๑, ที่ ๙๐๒/๒๕๖๑ และ ที่ ๔๕๑๑/๒๕๖๑ วา จำเลยที่ ๒ และเรียกจำเลยที่ ๒ ในคดีหมายเลขดำที่ ๘๒๑/๒๕๖๑, ที่ ๘๒๓/๒๕๖๑, ที่ ๘๒๕/๒๕๖๑, ที่ ๘๒๖/๒๕๖๑, ที่ ๙๐๓/๒๕๖๑, ที่ ๙๐๔/๒๕๖๑ และที่ ๔๕๑๒-๔๕๑๔/๒๕๖๑ วา จำเลยที่ ๓ โจทกทั้งสิบสี่สำนวนฟองขอใหบังคับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ รวมกันหรือแทนกัน จายเงินสวนตางของเงินบำนาญที่คางจายพรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป คาชดเชยพรอม ดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงินแตละจำนวน จนกวาจะชำระเสร็จแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ และจายเงินเพิ่มรอยละ ๑๕ ทุกระยะเวลา ๗ วัน นับตั้งแตวันผิดนัดจนกวาจะชำระเสร็จ ใหจำเลย ที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ รวมกันหรือแทนกันจายเงินบำนาญตั้งแตเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑ เปนตนไป พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินจำนวนดังกลาว นับแตวันผิดนัดเปนตนไป จนถึงวันฟอง และจายเงินบำนาญตามระเบียบตอไปจนกวาโจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ จะถึงแกความตาย ใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ เพิ่มเงินบำนาญทุกปการศึกษาใหมอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบำนาญ ที่ไดรับในเดือนพฤษภาคมของทุกป ตั้งแตวันที่โจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ เกษียณอายุการทำงานเปน ตนไป หรือคำนวณเงินบำนาญเพิ่มตามสภาพที่เปนคุณตอโจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ ยิ่งกวา จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ขอใหยกฟอง


๖๔๕ ระหวางพิจารณาของศาลแรงงานกลาง จำเลยที่ ๑ ยื่นคำรองอางวา คดีอยูในอำนาจ พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง มิใชศาลยุติธรรม ขอใหศาลแรงงานกลางสงคำรองให คณะกรรมการวินิจฉัย ชี้ขาดอำนาจหนาที่ระหวางศาลวินิจฉัยชี้ขาด ศาลแรงงานกลางมีคำสั่ง จำหนายคดีชั่วคราวเพื่อรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหนาที่ระหวางศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหนาที่ระหวางศาลวินิจฉัยวา คดีนี้เปนคดีแรงงาน ที่อยูในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ รวมกันจายคาชดเชยใหแกโจทกที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๙ และที่ ๑๐ พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงินแตละจำนวน นับแตวันเกษียณอายุเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทกที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๙ และที่ ๑๐ ดังนี้ โจทกที่ ๑ เปนเงิน ๓๘๒,๙๕๐ บาท แตดอกเบี้ยนับถึงวันฟองไมเกิน ๑๖๗,๑๓๔.๐๗ บาท โจทกที่ ๓ เปนเงิน ๑๖๙,๙๙๐ บาท แตดอกเบี้ยนับถึงวันฟองไมเกิน ๒๕๒,๖๗๙.๖๖ บาท โจทกที่ ๕ เปนเงิน ๒๓๖,๕๐๐ บาท แตดอกเบี้ยนับถึงวันฟองไมเกิน ๑๓๘,๖๙๒.๖๗ บาท โจทกที่ ๖ เปนเงิน ๒๓๕,๑๙๐ บาท แตดอกเบี้ยนับถึงวันฟองไมเกิน ๑๓๗,๙๒๔.๔๔ บาท โจทกที่ ๙ เปนเงิน ๒๘๒,๗๐๐ บาท แตดอกเบี้ยนับถึงวันฟองไมเกิน ๒๐๘,๕๓๙.๖๖ บาท โจทกที่ ๑๐ เปนเงิน ๓๓๑,๔๘๐ บาท แตดอกเบี้ยนับถึงวันฟองไมเกิน ๓๙๓,๖๘๙.๒๖ บาท ใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ รวมกันจายคาชดเชยใหแกโจทกที่ ๒ ที่ ๔ ที่ ๗ และที่ ๘ พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงินแตละจำนวน นับแตวันเกษียณอายุเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทกที่ ๒ ที่ ๔ ที่ ๗ และที่ ๘ ดังนี้ โจทกที่ ๒ เปนเงิน ๑๘๗,๘๙๐ บาท แตดอกเบี้ยนับถึงวันฟองไมเกิน ๒๗๙,๒๘๖.๙๐ บาท โจทกที่ ๔ เปนเงิน ๒๕๓,๔๐๐ บาท แตดอกเบี้ยนับถึงวันฟองไมเกิน ๓๐๑,๔๗๖.๕๘ บาท โจทกที่ ๗ เปนเงิน ๒๒๖,๖๖๐ บาท แตดอกเบี้ยนับถึงวันฟองไมเกิน ๓๐๓,๘๔๘.๖๐ บาท โจทกที่ ๘ เปนเงิน ๑๙๘,๐๗๐ บาท แตดอกเบี้ยนับถึงวันฟองไมเกิน ๒๓๕,๘๙๓.๒๓ บาท ใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ รวมกันจายเงินบำนาญใหแกโจทกที่ ๑๑ และ จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ รวมกันจายเงินบำนาญใหแกโจทกที่ ๑๒ ถึงที่ ๑๔ นับแตวันที่โจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ แตละคนเกษียณอายุเปนตนไปจนกวาโจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ จะถึงแกความตาย พรอม ดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินแตละจำนวน เมื่อครบกำหนดการจายในแตละคราว โดยกำหนดเปนเงินบำนาญงวดแรกของโจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑ ดังนี้ โจทกที่ ๑๑ เปนเงิน ๒๑,๓๖๑.๗๓ บาท โจทกที่ ๑๒ เปนเงิน ๒๖,๒๗๗.๒๔ บาท โจทกที่ ๑๓ เปนเงิน ๑๓,๑๘๙.๙๑ บาท โจทกที่ ๑๔ เปนเงิน ๑๒,๓๕๐ บาท แตทั้งนี้จำเลยที่ ๑ ไมตองรับผิด ในเงินบำนาญเปนการสวนตัว และใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ พิจารณาขึ้นเงินบำนาญให


๖๔๖ แกโจทกทั้งสิบสี่ทุกปการศึกษาใหมในอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบำนาญที่โจทกแตละคนไดรับ ในเดือนพฤษภาคม คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก โจทกทั้งสิบสี่ จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ อุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง ยุติวา จำเลยที่ ๑ เปนนิติบุคคลประเภทมูลนิธิ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เปนโรงเรียนเอกชนซึ่งเปน นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มีจำเลยที่ ๑ เปนผูรับใบอนุญาต ตามสำเนาหนังสือแจงขอมูลของสำนักงานคณะกรรมการสงเสริมการศึกษาเอกชน โจทกที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๙ ที่ ๑๐ และที่ ๑๒ ถึงที่ ๑๔ เปนลูกจางทำงานในตำแหนงครูใหแกโรงเรียน จำเลยที่ ๓ สวนโจทกที่ ๒ ที่ ๔ ที่ ๗ ที่ ๘ และที่ ๑๑ เปนลูกจางทำงานในตำแหนงครูใหแก โรงเรียนจำเลยที่ ๒ ตอมาเมื่อโจทกทั้งสิบสี่อายุครบ ๖๐ ปบริบูรณ จึงเกษียณอายุการทำงาน โดย โจทกที่ ๑ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๘ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๓๘,๒๙๕ บาท โจทกที่ ๒ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๑ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๑๘,๗๘๙ บาท โจทกที่ ๓ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๑ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๑๖,๙๙๐ บาท โจทกที่ ๔ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๓ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๒๕,๓๔๐ บาท โจทกที่ ๕ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๗ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๒๓,๖๕๐ บาท โจทกที่ ๖ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๗ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๒๓,๕๑๙ บาท โจทกที่ ๗ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๒๒,๖๖๖ บาท โจทกที่ ๘ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๓ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๑๙,๘๐๗ บาท โจทกที่ ๙ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๖ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๒๘,๒๗๐ บาท


๖๔๗ โจทกที่ ๑๐ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๓๓,๑๔๘ บาท โจทกที่ ๑๑ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๓๕,๖๐๒.๘๘ บาท โจทกที่ ๑๒ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๔๒,๓๐๒ บาท โจทกที่ ๑๓ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๓๔,๕๔๕ บาท โจทกที่ ๑๔ เกษียณอายุเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทาย ๓๐,๘๗๕ บาท จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จายเงินบำนาญใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ และจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จายคาชดเชยใหแกโจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ แลววินิจฉัยวา จำเลยที่ ๑ เปนผูรับใบอนุญาตและเปน ผูแทนนิติบุคคล มีอำนาจกระทำการแทนโรงเรียนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จำเลยที่ ๑ ถือเปน นายจางโจทกทั้งสิบสี่ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ เลิกจางโจทกทั้งสิบสี่ดวยเหตุเกษียณอายุ ระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๓๔ และระเบียบโรงเรียน ของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ ใชบังคับกับโรงเรียนจำเลยที่ ๒ และ ที่ ๓ ดวย จึงมีผลผูกพันโจทกทั้งสิบสี่ การที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ไมจายคาชดเชยให แกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ และไมจายเงินบำนาญใหแกโจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ เปนการไมปฏิบัติตาม ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๓๔ และระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งถือเปนขอตกลง เกี่ยวกับสภาพการจาง แตอยางไรก็ตามการปรับขึ้นเงินบำนาญตามระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ เปนดุลพินิจของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ เมื่อไม ปรากฏขอเท็จจริงวา จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ใชหลักเกณฑการประเมินเพื่อปรับขึ้นเงินบำนาญ ใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ โดยกลั่นแกลงหรือเลือกปฏิบัติอยางไร จึงถือวาจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือ ที่ ๓ ปรับขึ้นเงินบำนาญใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ แลว ไมมีสวนตางของเงินบำนาญที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จะไดรับอีก จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ จึงไมตองจายเงินสวนตางเงินบำนาญใหแก โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เมื่อจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ เลิกจางดวยเหตุที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เกษียณอายุ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองจายคาชดเชยใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จำเลยที่ ๑


๖๔๘ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ไมไดจงใจไมจายคาชดเชยโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยที่ ๑ และ ที่ ๒ หรือที่ ๓ จึงไมตองเสียเงินเพิ่มใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ สำหรับการจายเงินบำนาญ มีวัตถุประสงคแตกตางจากการจายคาชดเชย เมื่อจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ยังไมไดจายเงิน บำนาญใหแกโจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ จึงตองจายเงินบำนาญใหแก โจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ นับแตวันที่เกษียณอายุเปนตนไป คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ วา โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ มีสิทธิไดรับคาชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงาน ของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม เห็นวา คดีนี้โจทกทั้งสิบสี่ซึ่งเปนครูโรงเรียน เอกชนลูกจางฟองจำเลยที่ ๑ ในฐานะผูรับใบอนุญาตและฟองจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ในฐานะโรงเรียน เอกชนนายจางที่มีคำสั่งเลิกจางขอใหจายคาชดเชยและเงินบำนาญอันเปนสิทธิประโยชนอื่น เปนขอพิพาทเกี่ยวดวยสิทธิหรือหนาที่ตามสัญญาจางแรงงานหรือตามขอตกลงเกี่ยวกับสภาพ การจางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) ซึ่งตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติ ใหโรงเรียนเอกชนไมอยูภายใตบังคับกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงาน กฎหมายวาดวยแรงงาน สัมพันธ กฎหมายวาดวยการประกันสังคม และกฎหมายวาดวยเงินทดแทน กรณีจึงตองบังคับตาม ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๒ ที่กำหนดใหผูรับใบอนุญาตจายคาชดเชยใหแกครูที่ทำงานติดตอกันครบ ๑๐ ปขึ้นไปที่เลิกสัญญาการเปนครู ไมนอยกวา ๑๐ เดือน ของเงินเดือนเดือนสุดทาย และขอ ๓๓ (๔) ใหผูรับใบอนุญาตตองจายคาชดเชยดังกลาวเมื่อบอกเลิกสัญญาโดยที่ครูไมไดกระทำความผิด เมื่อศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงยุติวา โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ลาออกเพราะเกษียณอายุ ซึ่งถือ เปนกรณีที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ เลิกจางโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ไมใชเพราะไมประสงค จะทำงานกับจำเลยที่ ๒ หรือที่ ๓ ซึ่งถือวาเปนการลาออกโดยสมัครใจตาม ขอ ๓๕ (๑) และไมได รับคาชดเชย ดังนั้น โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จึงมีสิทธิไดรับคาชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ วาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๒ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาและวินิจฉัยใหโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ มีสิทธิไดรับคาชดเชยจึงชอบแลว อยางไรก็ดี แมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและครู โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๒ กำหนดใหผูรับใบอนุญาตเปนผูจายคาชดเชยแกครู แตระเบียบดังกลาวออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งตอมาถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยพระราชบัญญัติสองฉบับ


๖๔๙ มีความแตกตางกัน การนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญ และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ มาใชบังคับ จึงตองใชโดยอนุโลมเทาที่ไมขัดหรือแยงกับพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามที่บัญญัติไวในมาตรา ๑๖๖ โดยที่ตามมาตรา ๒๔ แหงพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติวา เมื่อไดรับใบอนุญาตใหจัดตั้งโรงเรียนในระบบแลวใหโรงเรียนในระบบ เปนนิติบุคคลนับแตวันที่ไดรับอนุญาต และใหผูรับใบอนุญาตเปนผูแทนของนิติบุคคล แตพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ไมไดกำหนดเรื่องความรับผิดของผูรับใบอนุญาตไวเปนการเฉพาะ ตางหาก ดังนั้น จึงตองบังคับตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๗๐, ๗๗ ประกอบ มาตรา ๘๒๐ เมื่อการกระทำของจำเลยที่ ๑ เปนการกระทำแทนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ดังนั้น จำเลยที่ ๑ จึงไมตองรับผิดเปนการสวนตัว ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยสวนนี้มานั้น ศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษไมเห็นพองดวย สำหรับเงินบำนาญนั้น เห็นวา ตามคูมือครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนจำเลยที่ ๒ และคูมือครูโรงเรียนจำเลยที่ ๓ สรุปไวเกี่ยวกับเงินบำนาญซึ่งเปนสวัสดิการ ที่ครูในโรงเรียนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ จะไดรับเมื่อเกษียณอายุการทำงาน ๖๐ ป วาใหเปนไป ตามระเบียบหรือประกาศของมูลนิธิคณะเซนตคาเบรียลแหงประเทศไทย จำเลยที่ ๑ ซึ่งสอดคลอง กับระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๓๔ และระเบียบโรงเรียน ของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ออกโดยผูรับใบอนุญาตตาม พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งในขณะนั้นคณะกรรมการบริหารของโรงเรียน ในระบบไมไดมีหนาที่บริหารจัดการ ออกกฎ ระเบียบ และขอบังคับตาง ๆ ระเบียบโรงเรียนของ จำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญดังกลาวจึงเปนระเบียบที่ออกโดยชอบและเปนสวนหนึ่ง ของสภาพการจางที่กำหนดใหครูที่เกษียณอายุการทำงาน ๖๐ ป มีสิทธิไดรับเงินบำนาญ ระเบียบ โรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๓๔ และระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ดวย จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองรวมกันจายเงินบำนาญใหแกโจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ โจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ จึงมีสิทธิไดรับเงินบำนาญตามเหตุผลที่ศาลแรงงานกลางไดวินิจฉัยไวโดยชอบแลว ศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ สวนนี้ฟงไมขึ้น สวนที่จำเลยที่ ๑ อุทธรณวา จำเลยที่ ๑ ไมใชนายจางโจทกทั้งสิบสี่นั้น เห็นวา เมื่อได วินิจฉัยตามเหตุผลขางตนวาจำเลยที่ ๑ เปนผูรับใบอนุญาตซึ่งมีหนาที่ตองจายคาชดเชยใหแก โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ และระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญมีผลผูกพัน สามารถใชบังคับแกจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ได จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองรวมกันจายเงินบำนาญ


๖๕๐ ใหแกโจทกที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ ดังนั้น อุทธรณของจำเลยที่ ๑ ในประเด็นดังกลาวจึงไมเปนสาระแกคดี อันควรไดรับการวินิจฉัยอีก เพราะไมทำใหผลของคดีเปลี่ยนแปลง คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกทั้งสิบสี่และอุทธรณของจำเลยที่ ๒ และ ที่ ๓ วา จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ คางจายเงินบำนาญแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ หรือไม เพียงใด และคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่พิพากษาใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ พิจารณาขึ้นเงินบำนาญ ใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ทุกปการศึกษาใหมในอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบำนาญที่โจทกแตละคน ไดรับในเดือนพฤษภาคมชอบดวยกฎหมายหรือไม โดยโจทกทั้งสิบสี่อุทธรณวา การขึ้นเงินบำนาญ ตามระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ จะตองขึ้นในอัตรา รอยละ ๑๐ ของเงินบำนาญที่ไดรับในเดือนพฤษภาคมของปที่ผานมาเปนอัตราเทากันทุกป ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาและวินิจฉัยวาการขึ้นเงินบำนาญไมจำตองขึ้นในอัตรารอยละ ๑๐ เทากันทุกป เปนการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน สวนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ อุทธรณวา ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยวาการปรับขึ้นเงินบำนาญเปนดุลพินิจของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ไมมีบทบังคับ ใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองปรับขึ้นเงินบำนาญในอัตรารอยละ ๑๐ เทากันทุกป แตศาลแรงงานกลางกลับพิพากษาใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ พิจารณาขึ้นเงินบำนาญ ใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ทุกปการศึกษาใหมในอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบำนาญที่โจทกแตละคน ไดรับในเดือนพฤษภาคมจึงไมชอบดวยกฎหมายนั้น เห็นวา ตามระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ ขอ ๑๕ กำหนดวาครูที่ไดรับบำนาญจะไดรับการพิจารณา ขึ้นเงินบำนาญทุกปการศึกษาใหมในอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบำนาญที่ไดรับในเดือนพฤษภาคม ดังนี้ การขึ้นเงินบำนาญตามขอ ๑๕ ของระเบียบดังกลาวจึงกำหนดไวชัดเจนวาขึ้นเงินบำนาญ ในอัตรารอยละ ๑๐ ของทุกป โดยไมปรากฏขอยกเวนไวในระเบียบวาใหเปนดุลพินิจของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ที่จะพิจารณาขึ้นเงินบำนาญหรือไมก็ได หรือขึ้นไมถึงอัตราสูงสุดตามเพดาน ที่กำหนดไวก็ได โดยพิจารณาผลประกอบการของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ หรือสภาวการณใด ๆ ทั้งสิ้น จึงตองแปลความอยางเครงครัด เมื่อขอเท็จจริงฟงยุติวา ระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๓๔ และระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จ และบำนาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ เปนสภาพการจางที่มีผลผูกพันโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ และจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ใหยึดถือปฏิบัติ การที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ขึ้นเงินบำนาญใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ไมเทากันทุกคนและไมถึงอัตรารอยละ ๑๐ ในปการศึกษาที่ผานมาทุกป จึงปฏิบัติไมถูกตอง ตามระเบียบดังกลาว ฟงไดวาจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ยังมีเงินบำนาญคางจายหรือเงินสวนตาง ของเงินบำนาญที่ตองชำระแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ จึงตองรับผิด


๖๕๑ ตอโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จายเงินสวนตางที่ขึ้นเงินบำนาญไมถึงอัตรารอยละ ๑๐ พรอมดอกเบี้ย ระหวางผิดนัดอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป อุทธรณของโจทกทั้งสิบสี่ฟงขึ้น สวนที่ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยวา จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ พิจารณาปรับขึ้นเงินบำนาญใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ แลว ไมมีสวนตางของเงินบำนาญที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จะไดรับอีก แตกลับพิพากษาใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ พิจารณาขึ้นเงินบำนาญใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ทุกปการศึกษาใหมอัตรา รอยละ ๑๐ ของเงินบำนาญที่โจทกแตละคนไดรับในเดือนพฤษภาคม จึงเปนการวินิจฉัยที่ขัดแยง กันเองไมชอบดวยกฎหมาย แตอยางไรก็ตามเมื่อไดวินิจฉัยไปขางตนแลววาจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองปรับขึ้นเงินบำนาญใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ทุกปการศึกษาใหมในอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบำนาญที่ไดรับในเดือนพฤษภาคม แมโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ จะไมไดมีคำขอทายฟองขอให บังคับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ปรับขึ้นเงินบำนาญอัตรารอยละ ๑๐ ทุกปการศึกษาใหม แตโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ บรรยายมาในคำฟองขอ ๔.๑ วา จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองคำนวณ การขึ้นเงินบำนาญทุกปการศึกษาใหมอัตรารอยละ ๑๐ ใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ดังนั้น จึงเห็นสมควรเพื่อความเปนธรรมโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๒ กำหนดใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ขึ้นเงินบำนาญ แกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ทุกปการศึกษาใหมในอัตรารอยละ ๑๐ ของเงินบำนาญที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ไดรับในเดือนพฤษภาคม ตั้งแตวันที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เกษียณอายุเปนตนไป อุทธรณของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ฟงขึ้นบางสวน คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกทั้งสิบสี่ประการตอไปวา จำเลยที่ ๑ และ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองเสียเงินเพิ่มใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ หรือไม เห็นวา ศาลแรงงานกลางฟง ขอเท็จจริงวาตามพฤติการณที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ไมจายคาชดเชยใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เนื่องจากระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๓๔ และ ระเบียบโรงเรียนของจำเลยที่ ๑ วาดวยบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ. ๒๕๔๙ รวมทั้งระเบียบของ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ มิไดกำหนดหลักเกณฑการจายคาชดเชยไวโดยชัดแจง ทั้งกรณีที่ครูมีสิทธิ และไมมีสิทธิไดรับคาชดเชย ดังนั้น คาชดเชยที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ไมจายแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ภายหลังเลิกจางทันที เนื่องจากยังมีขอโตแยงระหวางโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ วาจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ ตองจายคาชดเชยหรือไม จึงยังถือไมไดวา จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ จงใจไมจายคาชดเชยแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ โดยปราศจากเหตุผล อันสมควร จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ จึงไมตองเสียเงินเพิ่มใหแกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ รอยละ ๑๕ ของเงินที่คางจายทุกระยะเวลา ๗ วันแตอยางใด ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้นจึงชอบแลว ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของโจทกทั้งสิบสี่ฟงไมขึ้น


คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกทั้งสิบสี่ประการสุดทายวา คำพิพากษา ของศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยวาจำเลยที่ ๑ ไมตองรับผิดในเงินบำนาญเปนการสวนตัวตอโจทก ทั้งสิบสี่โดยไมไดวินิจฉัยหรือแสดงเหตุผลแหงคำวินิจฉัยวาเพราะเหตุใดจึงไมตองรับผิดเปนการ สวนตัวเปนการไมชอบ ตองยอนสำนวนไปใหศาลแรงงานกลางพิพากษาใหมนั้น เห็นวา คำพิพากษา ของ ศาลแรงงานกลางที่ไมไดวินิจฉัยหรือแสดงเหตุผลแหงคำวินิจฉัยเทากับศาลแรงงานกลาง ยังไมไดวินิจฉัยชี้ขาดขอเท็จจริงวาจำเลยที่ ๑ ไมตองรับผิดในเงินบำนาญเปนการสวนตัว ไมชอบ ดวยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๑ อยางไรก็ตามเมื่อคดีขึ้นมาสู ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแลว ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ เห็นสมควรวินิจฉัยโดยไมตองยอนสำนวนไปใหศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม และ เห็นวา เมื่อไดวินิจฉัยไปแลววา จำเลยที่ ๑ มีฐานะเปนผูกระทำการแทนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ดังนั้น จำเลยที่ ๑ จึงไมตองรวมรับผิดในเงินบำนาญกับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เปนการสวนตัว อุทธรณ ของโจทกทั้งสิบสี่ฟงไมขึ้น พิพากษาแกเปนวา ใหขึ้นเงินบำนาญทุกปการศึกษาใหมในอัตรารอยละ ๑๐ ของ เงินบำนาญที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ แตละคนไดรับในเดือนพฤษภาคม ตั้งแตวันที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เกษียณอายุเปนตนไป แลวใหจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือที่ ๓ รวมกันชำระเงินสวนตางของเงินบำนาญ แกโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เสียใหม พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของเงินสวนตางนับแต วันที่โจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เกษียณอายุเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จ โดยคิดจากเงินบำนาญงวดแรก ของโจทกที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ ดังนี้ โจทกที่ ๑ จำนวน ๒๘,๓๓๘.๓๐ บาท โจทกที่ ๒ จำนวน ๙,๓๙๔.๕๐ บาท โจทกที่ ๓ จำนวน ๔,๐๑๕.๘๒ บาท โจทกที่ ๔ จำนวน ๑๘,๗๕๑.๖๐ บาท โจทกที่ ๕ จำนวน ๖,๐๒๐ บาท โจทกที่ ๖ จำนวน ๕,๙๘๖.๖๕ บาท โจทกที่ ๗ จำนวน ๑๕,๘๖๖.๒๐ บาท โจทกที่ ๘ จำนวน ๗,๕๖๓ บาท โจทกที่ ๙ จำนวน ๑๔,๑๓๕ บาท และโจทกที่ ๑๐ จำนวน ๒๒,๕๔๑ บาท โดยจำเลยที่ ๑ ไมตองรับผิดในคาชดเชยและเงินบำนาญเปนการสวนตัวรวมกับจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ นอกจากที่แกใหเปนไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง. (สุจินต เชี่ยวชาญศิลป - วิชชุพล สุขสวัสดิ์ - วรศักดิ์ จันทรคีรี) อิศเรศ ปราโมช ณ อยุธยา - ยอ สุโรจน จันทรพิทักษ - ตรวจ ๖๕๒


๖๕๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๒๕๔๗ - ๒๕๔๘/๒๕๖๓ นายเพชรายุทธ หลาปวงคำ กับพวก โจทก บริษัทจัดหางาน ซี แอล ซี อินเตอรเนชั่นแนล (๑๙๙๙) จำกัด จำเลย ป.พ.พ. มาตรา ๔๑๒ ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๗ พ.ร.บ. จัดหางานและคุมครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๒๖, ๔๖, ๔๗, ๗๙ จําเลยใหการวา เหตุตามฟองเกิดตั้งแตป ๒๕๕๔ นับถึงวันนี้เปนระยะเวลากวา ๘ ป แลว ขอเรียกรองของโจทกทั้งสองมีอายุความ ๒ ป จึงขาดอายุความ โดยไมได บรรยายวาคดีโจทกทั้งสองขาดอายุความเมื่อใด โจทกทั้งสองมีสิทธิเรียกรองตั้งแตเมื่อใด นับแตวันใดถึงวันฟองคดีขาดอายุความไปแลว คำใหการดังกลาวไมไดแสดงเหตุแหง การขาดอายุความใหปรากฏโดยชัดแจง จึงไมชอบดวย ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง คดีจึงไมมีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้เปนการวินิจฉัย นอกประเด็นจึงไมชอบ พ.ร.บ. จัดหางานและคุมครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔๖ วรรคสอง บัญญัติวา “ในกรณีที่คนหางานไมสามารถทํางานไดจนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กําหนด ไวในสัญญาจัดหางานเพราะถูกเลิกจางโดยมิใชสาเหตุจากคนหางาน ผูรับอนุญาตจัดหางาน ตองคืนคาบริการและคาใชจายที่เรียกเก็บจากคนหางานไปแลวเปนอัตราสวนกับ ระยะเวลาที่คนหางานไดทํางานภายในสามสิบวันนับแตวันที่คนหางานขอรับคืน” จากบทบัญญัติดังกลาวจะเห็นไดวาการคืนคาบริการและคาใชจาย ในกรณีคนหางานไมสามารถ ทํางานไดจนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กําหนดไวในสัญญาจัดหางาน เพราะถูกเลิกจาง ซึ่งกฎหมายไดบัญญัติความรับผิดของผูรับอนุญาตไวโดยเฉพาะแลว โดยใหพิจารณาวา การถูกเลิกจางนั้นมีสาเหตุจากคนหางานหรือไม เมื่อปรากฏวาบริษัทนายจางเลิกจาง โจทกทั้งสองเนื่องจากภัยสงครามกอนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กําหนดไวในสัญญาจัดหางาน จึงเปนการที่โจทกทั้งสองถูกเลิกจางโดยมิใชสาเหตุจากโจทกทั้งสอง จําเลยตองคืนคาบริการ และคาใชจายแกโจทกทั้งสองเปนอัตราสวนกับระยะเวลาที่โจทกทั้งสองไดทำงาน


๖๕๔ เมื่อโจทกที่ ๑ และจําเลยแถลงรับขอเท็จจริงรวมกันวา “กอนออกเดินทางไป ทํางานที่สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย จําเลยโดยตัวแทนจําเลยไดเรียก เก็บคานายหนาในการจัดหางานจากโจทกที่ ๑ ซึ่งโจทกที่ ๑ ไดจายเงินจํานวนดังกลาว แกจําเลยไปแลว” อันเปนการที่โจทกที่ ๑ และจําเลยยอมรับขอเท็จจริงกันแลววา จําเลย เรียกเก็บคานายหนาในการจัดหางาน ซึ่งโจทกที่ ๑ ไดจายเงินคานายหนาในการจัดหางาน เปนจํานวนเงินตามคําฟองใหแกจําเลยไปแลว มีผลใหขอเท็จจริงในสวนนี้ยุติไป ตามคํารับของคูความ คดีจึงไมมีประเด็นโตเถียงกันอีกตอไปวาจําเลยเรียกเก็บคานายหนา ในการจัดหางานจากโจทกที่ ๑ และโจทกที่ ๑ จายคานายหนาในการจัดหางานดังกลาว แกจําเลยไปแลวหรือไม เปนจํานวนเงินเทาใด ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย พยานหลักฐานแลวฟงวาจําเลยเรียกเก็บเฉพาะคาดําเนินการ ซึ่งหมายถึงคาบริการและ คาใชจายจากโจทกที่ ๑ เทานั้น หรืออีกนัยหนึ่งคือฟงวาจําเลยไมไดเรียกเก็บคานายหนา ในการจัดหางานจากโจทกที่ ๑ และโจทกที่ ๑ ไมไดจายคานายหนาในการจัดหางาน ดังกลาวแกจําเลย จึงเปนการวินิจฉัยนอกประเด็น ไมชอบดวย ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ปญหาดังกลาวเปนปญหาขอกฎหมายอันเกี่ยวดวยความสงบเรียบรอยของ ประชาชน ศาลอุทธรณคดีชํานัญพิเศษมีอํานาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยไดเองตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ ขอเท็จจริงในสวนนี้จึงยุติไปตามคํารับของโจทกที่ ๑ และจําเลย การที่โจทกที่ ๑ อุทธรณขอใหจําเลยคืนคานายหนาในการจัดหางานแกโจทกที่ ๑ นั้น พ.ร.บ. จัดหางานและคุมครองคนงาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔๗ ประกอบมาตรา ๒๖ กําหนดหามมิใหผูรับอนุญาตจัดหางานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพยสินอื่นใดจากคนหางาน นอกจากคาบริการหรือคาใชจาย คาบริการหรือคาใชจายใหเรียกหรือรับไดไมเกิน อัตราที่รัฐมนตรีวาการกระทรวงแรงงานกําหนด ทั้งยังกําหนดโทษผูที่ฝาฝนมาตรา ๔๗ ไวตามมาตรา ๗๙ อันเปนบทบัญญัติในกฎหมายที่ตองหามโดยชัดแจงมิใหผูรับอนุญาต เรียกหรือรับเงินหรือทรัพยสินอื่นนอกจากคาบริการและคาใชจายจากคนหางาน การที่ โจทกที่ ๑ จายคานายหนาในการจัดหางานแกจําเลยซึ่งเปนเงินที่แยกตางหากจากคาบริการ และคาใชจายที่ พ.ร.บ. จัดหางานและคุมครองคนงาน พ.ศ. ๒๕๒๘ อนุญาตใหเรียกจาก คนหางานได คานายหนาในการจัดหางานดังกลาวเปนเงินที่นอกเหนือจากคาบริการ หรือคาใชจายตามมาตรา ๔๗ ซึ่ง พ.ร.บ. จัดหางานและคุมครองคนงาน พ.ศ. ๒๕๒๘


๖๕๕ ไมไดอนุญาตใหเรียกจากโจทกที่ ๑ จึงเปนเงินที่เรียกหรือรับโดยฝาฝนตอกฎหมาย เมื่อ พ.ร.บ. จัดหางานและคุมครองคนงาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มีเจตนารมณที่จะคุมครอง คนหางานทั้งงานภายในประเทศและงานในตางประเทศไมใหถูกหลอกลวงใหไปสมัครงาน แลวไมมีงานทํา ไมใหถูกเรียกคาบริการและคาใชจายเกินสมควร ไมใหเดินทางไป ตางประเทศแลวไมมีงานทําตามที่ตกลง หรือถูกเอาเปรียบในประการอื่น การที่จําเลยซึ่ง เปนผูประกอบธุรกิจจัดหางานและไดรับอนุญาตใหจัดหาคนงานไปทํางานตางประเทศ เรียกเงิน นอกเหนือจากเงินที่กฎหมายอนุญาตใหเรียกจากคนหางานได โดยเรียกเงิน ในจํานวนสูงเกินกวาผลรวมของคาบริการและคาใชจายหลายเทา จึงเปนการเรียกและ รับเงินโดยเอารัดเอาเปรียบคนหางานเพียงฝายเดียว อันมิใชการรับเงินไวโดยสุจริต จําเลยจึงตองคืนเงินคานายหนาในการจัดหางานเต็มจํานวนตามฟอง พรอมดอกเบี้ย แกโจทกที่ ๑ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๑๒ _______________________________ โจทกทั้งสองสำนวนฟอง ขอใหบังคับจำเลยคืนคานายหนาในการจัดหางาน คาบริการ และคาใชจาย กับจายคาจางคางจาย และชดใชคาเสียหายพรอมดอกเบี้ยตามคำขอทายฟองของ โจทกแตละคน จำเลยทั้งสองสำนวนใหการ ขอใหยกฟอง ระหวางพิจารณาของศาลแรงงานกลาง คูความแถลงรับขอเท็จจริงรวมกันวา จำเลย ในฐานะตัวแทนบริษัท LIBYAN BRAZILILIAN CONSTRUCTION AND DEVELOPMENT นายจางตัวการ ซึ่งอยูสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบียและมีภูมิลำเนาในสาธารณรัฐ สังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย ทำสัญญาจัดหางานเพื่อใหโจทกทั้งสองไปทำงานในตางประเทศ จำเลยโดยตัวแทนจำเลยเรียกเก็บคานายหนาในการจัดหางานจากโจทกทั้งสอง ซึ่งโจทกทั้งสอง จายเงินจำนวนดังกลาวใหแกจำเลยไปแลว โจทกทั้งสองเดินทางไปถึงสาธารณรัฐสังคมนิยม ประชาชนอาหรับลิเบียเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ และวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ตามลำดับ จากนั้นเจาหนาที่บริษัทอโมนารันฮิลล จำกัด เรียกโจทกทั้งสองเขาอบรมและทำสัญญาจางมี ระยะเวลาการจาง ๒ ป อัตราคาจางโจทกที่ ๑ เดือนละ ๖๕๐ ดอลลารสหรัฐ โจทกที่ ๒ เดือนละ ๕๕๐ ดอลลารสหรัฐ โจทกทั้งสองทำงานไดเพียง ๙ เดือน ยังไมครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา จัดหางาน บริษัทนายจางประกาศปดดำเนินการกอสรางและลูกจางทุกคนหยุดงานรอการอพยพ เนื่องจากภัยสงคราม รัฐบาลไทยเปนผูจัดการใหลูกจางเดินทางกลับประเทศไทย โจทกทั้งสอง เดินทางกลับถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔


๖๕๖ ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยคืนคาบริการและคาใชจายแกโจทกที่ ๑ เปนเงิน ๑๐,๓๓๙.๗๔ บาท และโจทกที่ ๒ เปนเงิน ๑๑,๘๖๐.๒๙ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินแตละจำนวนดังกลาวนับแตวันฟองเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทกทั้งสอง คำขออื่นนอกจากนี้ใหยก โจทกที่ ๑ และจำเลยอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริง และวินิจฉัยวา จำเลยจัดหางานใหโจทกทั้งสองไปทำงานในสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับ ลิเบีย โดยเรียกเก็บคาดำเนินการ ซึ่งหมายถึงคาบริการและคาใชจายจากโจทกทั้งสองคนละ ๓๗,๐๐๐ บาท จำเลยและโจทกทั้งสองมีสัญญาจัดหางานเพื่อใหคนหางานไปทำงานในตางประเทศ สำหรับโจทกที่ ๑ ทำเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ โจทกที่ ๒ ทำเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ และมีสัญญาจางระหวางโจทกทั้งสองกับบริษัทนายจาง โดยสัญญาดังกลาวตางกำหนดระยะ เวลาการจางไว ๑ ป เดือนมีนาคม ๒๕๕๔ เกิดภัยสงครามในสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชน อาหรับลิเบีย บริษัทนายจางเลิกจางลูกจาง โจทกทั้งสองถูกสงตัวกลับและเดินทางกลับถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ซึ่งยังไมครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจัดหางาน โจทกทั้งสอง ยังไมไดรับเงินชวยเหลือคนละ ๒๗,๐๐๐ บาท จากจำเลย จำเลยเปนฝายผิดสัญญาจึงตองคืน คาบริการและคาใชจายที่เรียกเก็บจากโจทกทั้งสองไปแลวเปนอัตราสวนกับระยะเวลาที่โจทก ทั้งสองไดทำงานเปนเงิน ๑๐,๓๓๙.๗๔ บาท และ ๑๑,๘๖๐.๒๙ บาท ตามลำดับ สิทธิเรียกรอง ใหคืนคาบริการและคาใชจายดังกลาวกฎหมายมิไดกำหนดอายุความไวจึงมีกำหนด ๑๐ ป ฟองโจทกทั้งสองไมขาดอายุความ สวนคาจางคางจายและคาเสียหาย จำเลยมิใชนายจางโจทกทั้งสอง จึงไมตองรับผิดในสวนนี้ ที่จำเลยอุทธรณวา โจทกทั้งสองไดรับเงินชวยเหลือจากจำเลยคนละ ๒๗,๐๐๐ บาท และลงลายมือชื่อสละสิทธิเรียกรองแลว สิทธิในการนำคดีมาฟองของโจทกที่ ๑ ยอมหมดไป คำเบิกความของผูรับมอบอำนาจโจทกทั้งสองที่เบิกความวาโจทกทั้งสองยังไมไดรับเงินชวยเหลือ จากจำเลยไมมีน้ำหนัก ไมนาเชื่อถือ พยานจำเลยมีน้ำหนักนาเชื่อถือมากกวาพยานโจทกนั้น เห็นวา อุทธรณของจำเลยเปนการโตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งฟงขอเท็จจริงวา โจทกทั้งสองยังไมไดรับเงินชวยเหลือ ๒๗,๐๐๐ บาท จากจำเลย อันเปน อุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหามมิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับ วินิจฉัย


๖๕๗ ที่โจทกที่ ๑ อุทธรณวา จำเลยเรียกเก็บคาดำเนินการจากโจทกที่ ๑ เกินกวา ๓๗,๐๐๐ บาท มิใชเรียกเก็บเพียง ๓๗,๐๐๐ บาท นั้น เห็นวา อุทธรณของโจทกที่ ๑ เปนการโตแยงดุลพินิจ ในการรับฟงพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งฟงขอเท็จจริงวา จำเลยเรียกเก็บคาดำเนินการ ซึ่งหมายถึงคาบริการและคาใชจายจากโจทกที่ ๑ จำนวน ๓๗,๐๐๐ บาท อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหามมิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย ที่โจทกที่ ๑ อุทธรณวา เมื่อโจทกที่ ๑ มิไดทำงานจนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา จัดหางาน แมจะเกิดจากภัยสงครามก็ถือวาบริษัทนายจางเลิกจาง จำเลยผูรับอนุญาตจัดหางาน เพื่อไปทำงานในตางประเทศถือวาผิดสัญญา เพราะไมสามารถจัดใหโจทกที่ ๑ ทำงานไดตามที่ กำหนดไว จำเลยจึงตองรับผิดในคาจางที่บริษัทนายจางคางจาย และคาเสียหายจากการที่โจทกที่ ๑ ถูกบริษัทนายจางเลิกจางดวยนั้น เห็นวา อุทธรณของโจทกที่ ๑ ไมไดโตแยงคัดคานคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางดวยเหตุที่พิพากษาใหจำเลยคืนคาบริการและคาใชจายเปนอัตราสวนกับระยะ เวลาที่โจทกที่ ๑ ไดทำงาน และจำเลยไมตองรับผิดในคาจางคางจายและคาเสียหายดังกลาววา ไมถูกตองอยางไรหรือเพราะเหตุใด จึงเปนอุทธรณที่ไมชัดแจง ไมชอบดวยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับ วินิจฉัย คดีมีปญหาวินิจฉัยตามอุทธรณของจำเลยวา จำเลยตองคืนคาบริการและคาใชจายแก โจทกทั้งสองหรือไม เพียงใด เห็นวา พระราชบัญญัติจัดหางานและคุมครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔๖ วรรคสอง บัญญัติวา “ในกรณีที่คนหางานไมสามารถทำงานไดจนสิ้นสุดระยะเวลา ตามที่กำหนดไวในสัญญาจัดหางานเพราะถูกเลิกจางโดยมิใชสาเหตุจากคนหางาน ผูรับอนุญาต จัดหางานตองคืนคาบริการและคาใชจายที่เรียกเก็บจากคนหางานไปแลวเปนอัตราสวนกับระยะ เวลาที่คนหางานไดทำงานภายในสามสิบวันนับแตวันที่คนหางานขอรับคืน” จากบทบัญญัติดังกลาว จะเห็นไดวาการคืนคาบริการและคาใชจายในกรณีคนหางานไมสามารถทำงานไดจนสิ้นสุดระยะ เวลาตามที่กำหนดไวในสัญญาจัดหางาน เพราะถูกเลิกจาง ซึ่งกฎหมายไดบัญญัติความรับผิด ของผูรับอนุญาตไวโดยเฉพาะแลว โดยใหพิจารณาวาการถูกเลิกจางนั้นมีสาเหตุจากคนหางาน หรือไม เมื่อปรากฏวาบริษัทนายจางเลิกจางโจทกทั้งสองเนื่องจากภัยสงครามกอนสิ้นสุดระยะเวลา ตามที่กำหนดไวในสัญญาจัดหางาน จึงเปนการที่โจทกทั้งสองถูกเลิกจางโดยมิใชสาเหตุจากโจทก ทั้งสอง จำเลยตองคืนคาบริการและคาใชจายแกโจทกทั้งสองเปนอัตราสวนกับระยะเวลาที่โจทก


๖๕๘ ทั้งสองไดทำงานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุมครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔๖ วรรคสอง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณ ของจำเลยขอนี้ฟงไมขึ้น ที่จำเลยอุทธรณวา โจทกทั้งสองนำคดีมาฟองนับแตวันเกิดเหตุเกินกวา ๘ ป สิทธิเรียกรอง ใหคืนคาบริการและคาใชจายจึงขาดอายุความแลวนั้น เห็นวา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ กำหนดใหจำเลยแสดงโดยแจงชัดในคำใหการวา จำเลยยอมรับหรือ ปฏิเสธขออางของโจทกทั้งสิ้นหรือบางสวน รวมทั้งเหตุแหงการปฏิเสธนั้นดวย กลาวคือตอง บรรยายวาคดีโจทกทั้งสองขาดอายุความเมื่อใด โจทกทั้งสองมีสิทธิเรียกรองตั้งแตเมื่อใด นับแต วันใดถึงวันฟองคดีขาดอายุความไปแลว จำเลยใหการเพียงวา เหตุตามฟองเกิดตั้งแตป ๒๕๕๔ นับถึงวันนี้เปนระยะเวลากวา ๘ ปแลว ขอเรียกรองของโจทกมีอายุความ ๒ ป จึงขาดอายุความ คำใหการดังกลาวไมไดแสดงเหตุแหงการขาดอายุความใหปรากฏโดยชัดแจง จึงไมชอบดวย บทบัญญัติแหงกฎหมายดังกลาว จึงไมมีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ประเด็นนี้ใหเปนการวินิจฉัยนอกประเด็นจึงไมชอบ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย ประเด็นนี้ให คดีมีปญหาวินิจฉัยตามอุทธรณของโจทกที่ ๑ วา จำเลยตองคืนคานายหนาในการจัด หางานแกโจทกที่ ๑ หรือไม เพียงใด เห็นวา โจทกที่ ๑ ฟองวากอนออกเดินทางไปทำงานใน สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย จำเลยโดยตัวแทนจำเลยไดเรียกเก็บคานายหนา ในการจัดหางาน คาบริการและคาใชจายจากโจทกที่ ๑ ซึ่งโจทกที่ ๑ จายคานายหนาในการจัด หางาน คาบริการและคาใชจายดังกลาวแกจำเลยไปแลว และมีคำขอบังคับใหจำเลยคืนคานายหนา ในการจัดหางานแกโจทกที่ ๑ ดวย จำเลยใหการตอสูวาไมเคยเรียกรองประโยชนใด ๆ จากโจทกที่ ๑ เกินกวาที่กฎหมายกำหนด และไมตองคืนคานายหนาในการจัดหางาน คาบริการและคาใชจาย ตามคำฟองของโจทกที่ ๑ ดังนี้ เรื่องคานายหนาในการจัดหางานจึงเปนประเด็นขอพิพาทโดยตรง ดังที่ศาลแรงงานกลางจดไวในชั้นกำหนดประเด็นขอพิพาท แตเมื่อโจทกที่ ๑ และจำเลยแถลง รับขอเท็จจริงรวมกันตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๒ วา “กอนออกเดินทางไปทำงานที่สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย จำเลยโดยตัวแทนจำเลย ไดเรียกเก็บคานายหนาในการจัดหางานจากโจทกที่ ๑ ซึ่งโจทกที่ ๑ ไดจายเงินจำนวนดังกลาว แกจำเลยไปแลว” อันเปนการที่โจทกที่ ๑ และจำเลยยอมรับขอเท็จจริงกันแลววา จำเลยเรียกเก็บ คานายหนาในการจัดหางาน ซึ่งโจทกที่ ๑ ไดจายเงินคานายหนาในการจัดหางานเปนจำนวนเงิน


๖๕๙ \ไมมีประเด็นโตเถียงกันอีกตอไปวา จำเลยเรียกเก็บคานายหนาในการจัดหางานจากโจทกที่ ๑ และโจทกที่ ๑ จายคานายหนาในการจัดหางานดังกลาวแกจำเลยไปแลวหรือไม เปนจำนวนเงิน เทาใด เพราะถือวาโจทกที่ ๑ และจำเลยรับขอเท็จจริงกันแลวในศาลตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๘๔ (๓) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ กรณีดังกลาว แมจะมีพยานมาสืบขอเท็จจริงอยางใด ก็หา อาจรับฟงใหนอกเหนือแตกตางไปจากขอเท็จจริงที่โจทกที่ ๑ และจำเลยแถลงรับกันไดไม ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานแลวฟงวาจำเลยเรียกเก็บเฉพาะคาดำเนินการ ซึ่งหมายถึงคาบริการและคาใชจายจากโจทกที่ ๑ เทานั้น อีกนัยหนึ่งคือฟงวาจำเลยไมไดเรียก เก็บคานายหนาในการจัดหางานจากโจทกที่ ๑ และโจทกที่ ๑ ไมไดจายคานายหนาในการจัดหา งานดังกลาวแกจำเลย จึงเปนการวินิจฉัยนอกประเด็น ไมชอบดวยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพง มาตรา ๑๔๒ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ปญหาดังกลาวเปนปญหาขอกฎหมายอันเกี่ยวดวยความ สงบเรียบรอยของประชาชน ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยไดเองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ ขอเท็จจริงในสวนนี้จึงยุติไปตามคำรับ ของโจทกที่ ๑ และจำเลย การที่โจทกที่ ๑ อุทธรณขอใหจำเลยคืนคานายหนาในการจัดหางาน แกโจทกที่ ๑ นั้น พระราชบัญญัติจัดหางานและคุมครองคนงาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔๗ ประกอบมาตรา ๒๖ กำหนดหามมิใหผูรับอนุญาตจัดหางานเรียกหรือรับเงินหรือทรัพยสินอื่นใด จากคนหางานนอกจากคาบริการหรือคาใชจาย คาบริการหรือคาใชจายใหเรียกหรือรับไดไมเกิน อัตราที่รัฐมนตรีวาการกระทรวงแรงงานกำหนด ทั้งยังกำหนดโทษผูที่ฝาฝนมาตรา ๔๗ ไวตาม มาตรา ๗๙ โดยกำหนดโทษจำคุกไมเกินหนึ่งป และปรับหาเทาของคาบริการและหรือคาใชจาย ที่เรียกเกิน หรือสามเทาของเงินหรือทรัพยสินอยางอื่นที่รับไวเปนประกันคาบริการและหรือ คาใชจายดังกลาว อันเปนบทบัญญัติในกฎหมายที่ตองหามโดยชัดแจง มิใหผูรับอนุญาตเรียกหรือ รับเงินหรือทรัพยสินอื่นนอกจากคาบริการและคาใชจายจากคนหางาน การที่โจทกที่ ๑ จายคานายหนา ในการจัดหางานแกจำเลยซึ่งเปนเงินที่แยกตางหากจากคาบริการและคาใชจายที่พระราชบัญญัติ จัดหางานและคุมครองคนงาน พ.ศ. ๒๕๒๘ อนุญาตใหเรียกจากคนหางานได คานายหนาใน การจัดหางานดังกลาวเปนเงินที่นอกเหนือจากคาบริการหรือคาใชจายตามมาตรา ๔๗ ซึ่ง พระราชบัญญัติจัดหางานและคุมครองคนงาน พ.ศ. ๒๕๒๘ ไมไดอนุญาตใหเรียกจากโจทกที่ ๑


๖๖๐ จึงเปนเงินที่เรียกหรือรับโดยฝาฝนตอกฎหมาย เมื่อพระราชบัญญัติจัดหางานและคุมครอง คนงาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มีเจตนารมณที่จะคุมครองคนหางานทั้งงานภายในประเทศและงานใน ตางประเทศไมใหถูกหลอกลวงใหไปสมัครงานแลวไมมีงานทำไมใหถูกเรียกคาบริการและคาใชจาย เกินสมควร ไมใหเดินทางไปตางประเทศแลวไมมีงานทำตามที่ตกลง หรือถูกเอาเปรียบในประการอื่น การที่จำเลยซึ่งเปนผูประกอบธุรกิจจัดหางานและไดรับอนุญาตใหจัดหาคนงานไปทำงาน ตางประเทศเรียกเงินนอกเหนือจากเงินที่กฎหมายอนุญาตใหเรียกจากคนหางานได โดยเรียกเงิน ในจำนวนสูงเกินกวาผลรวมของคาบริการและคาใชจายหลายเทา จึงเปนการเรียกและรับเงิน โดยเอารัดเอาเปรียบคนหางานเพียงฝายเดียว อันมิใชการรับเงินไวโดยสุจริต จำเลยจึงตอง คืนเงินคานายหนาในการจัดหางานเต็มจำนวนตามฟอง พรอมดอกเบี้ยแกโจทกที่ ๑ ตามประมวล กฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๔๑๒ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ ไมเห็นพองดวย อุทธรณของโจทกที่ ๑ ขอนี้ฟงขึ้น พิพากษาแกเปนวา ใหจำเลยจายเงินคานายหนาในการจัดหางาน ๑๒๕,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงินดังกลาวนับแตวันฟอง (ฟองวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒) เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทกที่ ๑ นอกจากที่แกใหเปนไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง. (ไพรัช โปรงแสง - วิโรจน ตุลาพันธุ - ปณิธาน วิสุทธากร) สุรพัศ เพ็ชรคง - ยอ วัชรินทร ฤชุโรจน - ตรวจ


๖๖๑ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๓๙๒/๒๕๖๔ ธนาคารอาคารสงเคราะห โจทก นายสิริวัฒน พรหมบุรี จำเลย ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๘ ป.พ.พ. มาตรา ๔๐๖, ๑๓๓๖ พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๗, ๑๓, ๑๔ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีฐานะเปนนิติบุคคลตางหากแยกจากโจทกตาม พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๗ และเมื่อโจทกในฐานะนายจางจายเงินสมทบ เขากองทุนสำรองเลี้ยงชีพแลว การจัดการกองทุนจะดำเนินการโดยโจทกผูเปนนายจาง ไมไดแลวตามมาตรา ๑๓ แตผูมีสิทธิจัดการกองทุนไดคือผูจัดการกองทุนตามมาตรา ๑๔ ดังนั้น การฟองเรียกคืนเงินสมทบและผลประโยชนของเงินสมทบฝายนายจางกลับคืน สูกองทุนจึงเปนอำนาจของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มิใชอำนาจของโจทก โจทกจึงไมมี อำนาจฟองเรียกคืนเงินสมทบและผลประโยชนของเงินสมทบฝายนายจางจากจำเลย คดีนี้โจทกฟองเรียกเงินโบนัสคืนจากจำเลยโดยอางเหตุวาเมื่อจำเลยถูกไลออก จากการเปนพนักงานโดยมีความผิดทางวินัย จึงไมมีสิทธิไดรับเงินโบนัสตามมติคณะกรรมการ ธนาคารโจทกที่ไมใหจายเงินโบนัสแกพนักงานที่ถูกไลออกหรือถูกใหออกโดยมีความผิด ขอใหบังคับจำเลยชำระเงินโบนัสคืนแกโจทก ซึ่งเปนการฟองโดยอางสิทธิติดตามเอาคืน สวนคดีของศาลแรงงานกลางนั้นเปนกรณีที่โจทกฟองขอใหบังคับจำเลยชดใชเงิน คาสินไหมทดแทนจากการกระทำของจำเลยที่ขณะดำรงตำแหนงกรรมการผูจัดการอนุมัติ ผอนผันรับลูกคารายยอย เปนการปฏิบัติหนาที่ผิดไปจากระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อ พฤติการณ ยอมถือวากระทำโดยเจตนายอมเล็งเห็นผลถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได อันเปน การจงใจกอใหเกิดความเสียหายแกโจทก ขอใหบังคับจำเลยรับผิดชดใชคาสินไหมทดแทน ซึ่งเปนการฟองในมูลหนี้ละเมิดและมูลหนี้ผิดสัญญาจางแรงงาน จึงเปนการฟองคนละ มูลหนี้และมีคำขอบังคับตางกัน ดังนั้น ประเด็นที่จะวินิจฉัยมิใชอาศัยเหตุอยางเดียวกัน คดีนี้จึงไมเปน ฟองซ้ำกับคดีของศาลแรงงานกลางดังกลาว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๘ ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑


๖๖๒ แมมีมติคณะกรรมการธนาคารโจทกที่ไมใหจายเงินโบนัสแกพนักงานที่ถูกไลออก หรือถูกใหออกโดยมีความผิด แตการที่โจทกจายเงินโบนัสประจำป ๒๕๔๗ (ผลงานป ๒๕๔๖) ใหแกจำเลยไปเมื่อป ๒๕๔๗ เปนไปตามมูลหนี้สัญญาจางหรือเนื่องจากการปฏิบัติหนาที่ ในฐานะลูกจางกอนที่จำเลยจะลาออกจากการเปนพนักงานโจทกเมื่อประมาณกลางป ๒๕๔๖ ภายหลังโจทกจึงไดรับหนังสือจากสำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อปลายป ๒๕๕๑ แจงวา คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไดมีมติวา การกระทำของจำเลยมีมูลเปนความผิดทางวินัยและมีมูลเปนความผิด ทางอาญา ขอใหโจทกพิจารณาโทษทางวินัยแกจำเลย หลังจากนั้นโจทกจึงมีคำสั่งเมื่อ ปลายป ๒๕๕๑ ไลจำเลยออกจากการเปนพนักงาน โดยใหมีผลตั้งแตเมื่อป ๒๕๔๖ ซึ่งเปน วันที่จำเลยลาออก เมื่อขณะโจทกจายเงินโบนัสใหแกจำเลยนั้นโจทกยังมิไดรับหนังสือ จากสำนักงาน ป.ป.ช. และมีคำสั่งไลจำเลยออกจากการเปนพนักงาน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะ พึงรับเงินโบนัสได การรับเงินโบนัสของจำเลยไมใชการไดมาโดยปราศจากมูลอันจะอาง กฎหมายได จึงมิใชมูลหนี้ลาภมิควรไดตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๐๖ แมตอมาโจทกจะมีคำสั่ง เมื่อปลายป ๒๕๕๑ ไลจำเลยออกจากการเปนพนักงานโดยมีความผิด อันจะเปนผลให จำเลยไมมีสิทธิไดรับเงินโบนัสตามมติคณะกรรมการธนาคารโจทกก็ตาม ก็มีผลเพียงทำให จำเลยไมมีสิทธิจะยึดถือเงินโบนัสดังกลาวไวตอไปและตองคืนเงินที่รับมานั้นแกโจทก การที่จำเลยไมคืนเงินโบนัส โจทกในฐานะเจาของเงินโบนัสยอมมีสิทธิติดตามเอาเงิน ดังกลาวคืนไดตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๓๖ ซึ่งไมมีกำหนดอายุความ ______________________________ โจทกฟอง ขอใหบังคับจำเลยชำระเงิน ๑๒,๖๓๓,๐๖๕.๓๔ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรา รอยละ ๗.๕ ตอป ของตนเงิน ๕,๗๑๖,๙๕๖.๓๖ บาท นับถัดจากวันฟองเปนตนไปจนกวาจะ ชำระเสร็จแกโจทก จำเลยใหการและแกไขคำใหการ ขอใหยกฟอง ศาลแรงงานกลาง พิพากษายกฟอง โจทกอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงวา จำเลยเปนพนักงานโจทกตั้งแตวันที่ ๙ กุมภาพันธ ๒๕๒๕ จนถึงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ เมื่อประมาณเดือนมกราคม ๒๕๔๖ จำเลยถูกรองเรียนตอคณะกรรมการปองกันและปราบปราม การทุจริตแหงชาติวา ขณะจำเลยดำรงตำแหนงผูชวยผูจัดการ รองกรรมการผูจัดการ และกรรมการ


๖๖๓ ผูจัดการ อนุมัติเงินกูโดยมิชอบและโดยทุจริตใหแกโครงการจัดสรร ๔ โครงการ ตอมาวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ จำเลยลาออกจากการเปนพนักงานโจทก โจทกจายเงินสมทบและผลประโยชน ของเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝายนายจางใหแกจำเลย ๔,๒๙๙,๖๕๗.๕๗ บาท และเงินโบนัส ประจำป ๒๕๔๗ (ผลงานป ๒๕๔๖) ใหแกจำเลย ๑,๔๑๗,๒๙๘.๗๙ บาท หลังจากนั้นโจทกไดรับ หนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติแจงวา คณะกรรมการ ปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติไดพิจารณาสำนวนการไตสวนขอเท็จจริงแลวมีมติเอกฉันทวา การกระทำของจำเลยมีมูลเปนความผิดทางวินัยและมีมูลเปนความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติ วาดวยความผิดของพนักงานในองคการหรือหนวยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๑ ขอใหโจทกพิจารณาโทษทางวินัยแกจำเลย หลังจากนั้นโจทกมีคำสั่งที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ไลจำเลยออกจากการเปนพนักงานโจทก โดยใหมีผลตั้งแตวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ซึ่งเปนวันที่จำเลยลาออกจากการเปนพนักงานโจทก และตอมาเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ โจทกมีคำสั่งที่ ว.๘๒/๒๕๕๑ แตงตั้งคณะกรรมการสอบขอเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของจำเลย ซึ่งไดมีความเห็นวา จำเลยตองรับผิดชดใชคาสินไหมทดแทน ๔,๙๘๗,๒๗๓.๙๗ บาท และโจทก มีคำสั่งที่ ว.๗๘/๒๕๕๒ แตงตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองสำนวนการสอบสวนขอเท็จจริงความ รับผิดทางละเมิดของจำเลย ซึ่งก็มีมติเห็นพองกับความเห็นของคณะกรรมการสอบขอเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิดของจำเลย เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ โจทกจึงฟองจำเลยตอ ศาลแรงงานกลางเปนคดีหมายเลขดำที่ ๕๑๐๒/๒๕๕๓ ขอใหบังคับจำเลยชำระเงิน ๔,๙๘๗,๒๗๓.๙๗ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป จำเลยยื่นคำใหการและฟองแยง ขอใหเพิกถอนคำสั่ง โจทกที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ ว.๘๒/๒๕๕๑ และ ว.๗๘/๒๕๕๒ วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๙ ศาลแรงงานกลาง มีคำพิพากษาเปนคดีหมายเลขแดงที่ ๒๘๔๒/๒๕๕๔ พิพากษายกฟองโจทกและใหเพิกถอน คำสั่งโจทกที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ ว.๘๒/๒๕๕๑ และ ว.๗๘/๒๕๕๒ โจทกยื่นอุทธรณคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางตอศาลฎีกา ตอมาวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๒ ศาลแรงงานกลางอานคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ ๖๖๐๘/๒๕๖๑ ซึ่งพิพากษาแกเปนวา ไมเพิกถอนคำสั่งโจทกที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ ว.๘๒/๒๕๕๑ และ ว.๗๘/๒๕๕๒ นอกจากที่แกใหเปนไปตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง แลววินิจฉัยวา ขอบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารอาคารสงเคราะห ซึ่งจดทะเบียนแลว ขอ ๖.๓ ที่กำหนดวา กรณีที่สมาชิกที่พนจากการเปนสมาชิกดวยเหตุถูกไลออก สมาชิกผูนั้นไมมีสิทธิไดรับเงินสมทบ และผลประโยชนของเงินสมทบ แตยังคงมีสิทธิไดรับเงินสะสมและผลประโยชนอันเกิดจากเงินสะสม ในสวนของสมาชิกผูนั้น ไมขัดแยงกับวัตถุประสงคของการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใหเปนประโยชนแกพนักงานซึ่งเปนสมาชิก หาใชเปนขอกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑการจายเงิน


๖๖๔ เมื่อลูกจางสิ้นสมาชิกภาพที่ตัดสิทธิของลูกจางโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรไม ขอบังคับกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารอาคารสงเคราะห ซึ่งจดทะเบียนแลว จึงชอบดวยพระราชบัญญัติกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ และไมไดขัดแยงตอพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๙ (๘) สวนที่โจทกฟองขอใหบังคับจำเลยชำระเงินพรอมดอกเบี้ยใหแกโจทกในมูลหนี้ สองจำนวน คือ เงินสมทบและผลประโยชนของเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝายนายจาง และเงินโบนัสประจำป ๒๕๔๗ (ผลงานป ๒๕๔๖) นั้น ในสวนมูลหนี้เงินสมทบและผลประโยชน ของเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝายนายจาง เมื่อมีการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารอาคารสงเคราะห ซึ่งจดทะเบียนแลว ตั้งแตวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๓๗ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังกลาวจึงเปนนิติบุคคลแยกตางหากจากโจทก ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๗ แมเงินสมทบและผลประโยชนของเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝายนายจางตาม ฟองเคยเปนของโจทก แตเมื่อจายเขากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบและผลประโยชนของเงิน สมทบยอมตกเปนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไมใชของโจทกอีกตอไป ทั้งตามพระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๑๓ ก็ไดบัญญัติหามไมใหนายจางดำเนินการเกี่ยวกับ การจัดการกองทุน เมื่อการฟองคดีเพื่อเอาคืนซึ่งเงินสมทบและผลประโยชนของเงินสมทบเปน กิจการการจัดการกองทุนอยางหนึ่ง โจทกจึงไมมีอำนาจฟองจำเลยเพื่อใหจายเงินสมทบและ ผลประโยชนของเงินสมทบได จำเลยจึงไมตองชำระเงินสมทบและผลประโยชนของเงินสมทบ พรอมดอกเบี้ยใหแกโจทก สำหรับในสวนมูลหนี้เงินโบนัสนั้น เนื่องจากมติคณะกรรมการธนาคาร โจทกครั้งที่ ๖/๒๕๒๖ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๖ ไมใหจายเงินโบนัสแกพนักงานที่ถูกไลออก หรือถูกใหออกโดยมีความผิด ตามมติคณะกรรมการธนาคารโจทกเอกสารหมาย จ.๒๑ เงินโบนัส ที่จำเลยไดรับจากโจทกยอมเปนการไดมาซึ่งทรัพยเพราะการที่โจทกกระทำเพื่อชำระหนี้โดย ปราศจากมูลอันจะอางกฎหมายได ดังเชนที่ปรากฏขอความในหนังสือทวงหนี้ของโจทกและเปน ทางใหโจทกเสียเปรียบ จึงเปนลาภมิควรไดตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๔๐๖ ดังนั้น อายุความในการฟองเรียกใหคืนเงินโบนัสที่โจทกจายไปและจะตองคืนเปนจำนวนเทาใด ยอมเปนไปตามบทบัญญัติในเรื่องลาภมิควรได กรณีมิใชจำเลยไดยึดถือเงินโบนัสไวโดยไมมีสิทธิ อันจะทำใหโจทกสามารถติดตามเอาคืนไดตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๓๓๖ แตอยางใด โจทกจึงตองฟองคดีภายในกำหนดหนึ่งปนับแตเวลาที่โจทกรูวาตนมีสิทธิเรียกคืนตาม มาตรา ๔๑๙ แหงประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย เมื่อโจทกมีคำสั่งที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ลงโทษไลจำเลยออกจากการเปนพนักงานโจทก จึงฟงไดวาในวันดังกลาว เปนเวลาที่โจทกรูวาตนมีสิทธิเรียกคืนเงินโบนัสที่โจทกจายไปใหแกจำเลยอันเปนการจายใหแก


๖๖๕ ผูไมมีสิทธิไดรับ เมื่อโจทกฟองคดีนี้ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ จึงพนกำหนดหนึ่งปนับแต เวลาที่โจทกรูวามีสิทธิเรียกคืนเงินโบนัสดังกลาว คดีของโจทกในสวนนี้ขาดอายุความแลวตาม ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๔๑๙ นอกจากนี้การที่โจทกฟองเรียกเงินโบนัสที่ จายใหแกจำเลยไปกอนจำเลยถูกโจทกไลออกจากการเปนพนักงานตามคำสั่งโจทกที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ การเรียกคืนเงินโบนัสอาศัยมติคณะกรรมการธนาคารโจทก ครั้งที่ ๖/๒๕๒๖ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๖ ที่ไดมีมติไมใหจายเงินโบนัสแกพนักงานที่ถูกไลออกหรือถูกใหออกโดยมีความผิด ตามมติคณะกรรมการธนาคารโจทกเอกสารหมาย จ.๒๑ ซึ่งกอนคดีนี้โจทกไดฟองจำเลยเปนคดี หมายเลขดำที่ ๕๑๐๒/๒๕๕๓ ของศาลแรงงานกลาง ขอใหบังคับจำเลยชำระเงิน ๔,๙๘๗,๒๗๓.๙๗ บาท พรอมดอกเบี้ยใหแกโจทก และจำเลยยื่นคำใหการและฟองแยง ขอใหเพิกถอนคำสั่งโจทกที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ ซึ่งเปนคำสั่งไลจำเลยออก โดยศาลแรงงานกลางไดกำหนดประเด็นขอพิพาทไวดวยวา กรณีมีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งโจทกที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ หรือไม อยางไร และศาลฎีกาไดวินิจฉัยปญหา ตามอุทธรณของโจทกที่วามีเหตุเพิกถอนคำสั่งโจทกที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ เรื่อง ลงโทษไลออก หรือไม ในคดีดังกลาวปรากฏวาศาลฎีกาไดมีคำพิพากษาโดยวินิจฉัยประเด็นแหงคดีแลวตามคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ ๖๖๐๘/๒๕๖๑ และศาลแรงงานกลางไดอานคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๒ อันทำใหคดีกอนถึงที่สุดแลว ดังนั้น เมื่อคดีนี้โจทกฟองในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ซึ่งเปน เวลาหลังจากที่คดีกอนถึงที่สุดแลว โดยโจทกบรรยายฟองในคดีนี้วา ขอเรียกคืนเงินโบนัส การฟองคดีทั้งสองดังกลาวของโจทกจึงเปนการฟองที่อาศัยเหตุอยางเดียวกันคือ เหตุที่มาจาก การที่จำเลยถูกไลออกตามคำสั่งโจทกที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ เมื่อโจทกฟองคดีเดิมโจทกอาจเรียกรอง ใหพิจารณาถึงสิทธิตาง ๆ ตามที่โจทกฟองคดีนี้อยูแลว โดยคาเสียหายในสวนของเงินโบนัส โจทกสามารถฟองเรียกรองไดในคดีกอนเพราะสิทธิเรียกคืนเงินของโจทกเกิดมีขึ้นตั้งแตวันที่ โจทกมีคำสั่งลงโทษไลจำเลยออกตามคำสั่งโจทกที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ มิใชวาสิทธิในการเรียกคืนเงิน พึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีกอน เมื่อการที่โจทกนำคดีมาฟองเปนคดีนี้มีกรณีที่ ตองพิจารณาจากคำสั่งโจทกที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ ที่โจทกลงโทษไลจำเลยออกดวย อันจะทำใหโจทก ไมตองจายเงินโบนัสใหกับพนักงานที่ถูกไลออกตามมติคณะกรรมการธนาคารโจทกเอกสารหมาย จ.๒๑ ซึ่งเปนประเด็นที่คดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแลว ขออางตามฟองโจทกในคดีนี้จึงมีประเด็นที่จะ ตองวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอยางเดียวกันกับคดีเดิมที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดแลวและเปนคูความ เดียวกัน การฟองคดีนี้จึงเปนฟองซ้ำกับคดีกอนตองหามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๔๘ ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ดังนั้น จำเลยจึงไมตองชำระเงินโบนัสประจำป ๒๕๕๗ พรอมดอกเบี้ยใหแกโจทก


๖๖๖ คดีมีปญหาตองวินิจฉัยตามอุทธรณโจทกขอ ๒.๑ เปนประการแรกวา โจทกมีอำนาจ ฟองเรียกเงินสมทบและผลประโยชนของเงินสมทบพรอมดอกเบี้ยจากจำเลยหรือไม เห็นวา กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารอาคารสงเคราะห ซึ่งจดทะเบียนแลว มีฐานะเปนนิติบุคคลตางหาก แยกจากโจทกตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๗ และเมื่อโจทก ในฐานะนายจางจายเงินสมทบเขากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารอาคารสงเคราะห ซึ่งจดทะเบียนแลว การจัดการกองทุนจะดำเนินการโดยโจทกผูเปนนายจางไมไดแลวตามพระราชบัญญัติกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๑๓ แตผูมีสิทธิจัดการกองทุนไดคือผูจัดการกองทุนตาม พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๑๔ ดังนั้น การฟองเรียกคืนเงินสมทบ และผลประโยชนของเงินสมทบฝายนายจางกลับคืนสูกองทุนจึงเปนอำนาจของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารอาคารสงเคราะห ซึ่งจดทะเบียนแลว มิใชอำนาจของโจทก โจทกจึงไมมีอำนาจฟองเรียกคืน เงินสมทบและผลประโยชนของเงินสมทบฝายนายจางจากจำเลย ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย มาในปญหาขอนี้นั้นจึงชอบแลว ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเห็นพองดวย อุทธรณของโจทก ขอนี้ฟงไมขึ้น ปญหาที่ตองวินิจฉัยประการตอไปตามอุทธรณโจทกขอ ๒.๒ มีวา คดีโจทกในสวนเงิน โบนัสขาดอายุความแลวหรือไม และตามอุทธรณโจทกขอ ๒.๓ มีวา การฟองคดีนี้ในสวนของ เงินโบนัสเปนฟองซ้ำกับคดีหมายเลขดำที่ ๕๑๐๒/๒๕๕๓ ของศาลแรงงานกลาง หรือไม เห็นสมควรวินิจฉัยในปญหาตามอุทธรณโจทกขอ ๒.๓ เปนประการตอไปกอนวา การฟองคดี นี้ในสวนของเงินโบนัสเปนฟองซ้ำกับคดีหมายเลขดำที่ ๕๑๐๒/๒๕๕๓ ของศาลแรงงานกลาง หรือไม เห็นวา คดีนี้โจทกฟองเรียกเงินโบนัสคืนจากจำเลยโดยอางเหตุวาเมื่อจำเลยถูกไลออก จากการเปนพนักงานโดยมีความผิดทางวินัย จึงไมมีสิทธิไดรับเงินโบนัสตามมติคณะกรรมการ ธนาคารโจทกครั้งที่ ๖/๒๕๒๖ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๖ ที่ไมใหจายเงินโบนัสแกพนักงาน ที่ถูกไลออกหรือถูกใหออกโดยมีความผิด ขอใหบังคับจำเลยชำระเงินโบนัสคืนแกโจทก ซึ่งเปน การฟองโดยอางสิทธิติดตามเอาคืน สวนคดีหมายเลขดำที่ ๕๑๐๒/๒๕๕๓ ของศาลแรงงานกลางนั้น เปนกรณีที่โจทกฟองขอใหบังคับจำเลยชดใชเงินคาสินไหมทดแทนจากการกระทำของจำเลยที่ ขณะดำรงตำแหนงกรรมการผูจัดการอนุมัติผอนผันรับลูกคารายยอย เปนการปฏิบัติหนาที่ผิด ไปจากระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อและปฏิบัติหนาที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑมาตรฐานอยางมาก ผิดวิสัยที่ผูบริหารธนาคารโจทกจะพึงกระทำ พฤติการณจำเลยยอมถือวากระทำโดยเจตนา ยอมเล็งเห็นผลถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได อันเปนการจงใจกอใหเกิดความเสียหายแกโจทก ขอใหบังคับจำเลยรับผิดชดใชคาสินไหมทดแทนตามสำเนาคำฟองคดีหมายเลขดำที่ ๕๑๐๒/๒๕๕๓


๖๖๗ ของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเปนการฟองในมูลหนี้ละเมิดและผิดสัญญาจางแรงงาน จึงเปนการฟอง คนละมูลหนี้กันและมีคำขอบังคับตางกัน ดังนั้น ประเด็นที่จะวินิจฉัยมิใชอาศัยเหตุอยางเดียวกัน คดีนี้จึงไมเปนฟองซ้ำกับคดีหมายเลขดำที่ ๕๑๐๒/๒๕๕๓ ของศาลแรงงานกลาง ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๔๘ ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ แตอยางใด ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามา ในปญหาขอนี้นั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษจึงไมเห็นพองดวย อุทธรณของโจทกขอนี้ฟงขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังกลาวแลว คดีจึงยังคงมีปญหาที่ตองวินิจฉัยตามอุทธรณโจทกขอ ๒.๒ ตอไปเปนประการสุดทายวา คดีโจทกในสวนเงินโบนัสขาดอายุความแลวหรือไม เห็นวา แมมี มติคณะกรรมการธนาคารโจทกครั้งที่ ๖/๒๕๒๖ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๖ ที่ไมใหจายเงิน โบนัสแกพนักงานที่ถูกไลออกหรือถูกใหออกโดยมีความผิดตามมติคณะกรรมการธนาคารโจทก แตการที่โจทกจายเงินโบนัสประจำป ๒๕๔๗ (ผลงานป ๒๕๔๖) จำนวน ๑,๔๑๗,๒๙๘.๗๙ บาท ใหแกจำเลยไปในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เปนไปตามมูลหนี้สัญญาจางหรือเนื่องจาก การปฏิบัติหนาที่ในฐานะลูกจางกอนที่จำเลยจะลาออกจากการเปนพนักงานโจทกในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ภายหลังโจทกจึงไดรับหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการปองกันและ ปราบปรามการทุจริตแหงชาติฉบับลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ แจงวา คณะกรรมการปองกัน และปราบปรามการทุจริตแหงชาติไดพิจารณาสำนวนการไตสวนขอเท็จจริงแลว มีมติเอกฉันทวา การกระทำของจำเลยมีมูลเปนความผิดทางวินัยและมีมูลเปนความผิดทางอาญา ขอใหโจทก พิจารณาโทษทางวินัยแกจำเลย หลังจากนั้นโจทกจึงมีคำสั่งที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ไลจำเลยออกจากการเปนพนักงานโจทก โดยใหมีผลตั้งแตวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ซึ่งเปนวันที่จำเลยลาออก เมื่อขณะโจทกจายเงินโบนัสใหแกจำเลยนั้นโจทก ยังมิไดรับหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ และมี คำสั่งไลจำเลยออกจากการเปนพนักงานโจทก จำเลยจึงมีสิทธิที่จะพึงรับเงินโบนัสได การรับ เงินโบนัสของจำเลยไมใชการไดมาโดยปราศจากมูลอันจะอางกฎหมายได จึงมิใชมูลหนี้ลาภมิควร ไดตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๔๐๖ แมตอมาโจทกจะมีคำสั่งที่ ว.๘๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ไลจำเลยออกจากการเปนพนักงานโจทกโดยมีความผิด อันจะ เปนผลใหจำเลยไมมีสิทธิไดรับเงินโบนัสตามมติคณะกรรมการธนาคารโจทกก็ตาม ก็มีผลเพียง ทำใหจำเลยไมมีสิทธิจะยึดถือเงินโบนัสดังกลาวไวตอไปและตองคืนเงินที่รับมานั้นแกโจทก การที่จำเลยไมคืนเงินโบนัส โจทกในฐานะเจาของเงินโบนัสยอมมีสิทธิติดตามเอาเงินดังกลาว คืนไดตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๓๓๖ ซึ่งไมมีกำหนดอายุความ


๖๖๘ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยวากรณีเปนเรื่องลาภมิควรไดแลวนำอายุความ ๑ ป ตามประมวล กฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๔๑๙ มาใชบังคับนั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษไมเห็นพองดวย อยางไรก็ตาม แมการเรียกคืนเงินโบนัสเปนหนี้เงินซึ่งโจทกมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหวางผิดนัด อัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง แตจำเลยจะตกเปนผูผิดนัดและชำระดอกเบี้ยตอเมื่อโจทกทวงถาม เมื่อขอเท็จจริงปรากฏวา โจทกมีหนังสือทวงหนี้เงินดังกลาวไปยังภูมิลำเนาของจำเลยและระบุวาใหจำเลยชำระเงินแกโจทก ภายใน ๑๕ วัน นับแตวันที่ไดรับหนังสือนี้ โดยมีผูรับไวแทนเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒ จำเลยจึงตองชำระดอกเบี้ยนับแตวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เปนตนไป อุทธรณของโจทกขอนี้ ฟงขึ้นบางสวน พิพากษาแกเปนวา ใหจำเลยจายเงินโบนัส ๑,๔๑๗,๒๙๘.๗๙ บาท พรอมดอกเบี้ย อัตรารอยละ ๗.๕ ตอปของตนเงินดังกลาว นับแตวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เปนตนไปจนกวา จะชำระเสร็จแกโจทก นอกจากที่แกใหเปนไปตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง. (ธีระพล ศรีอุดมขจร - สิริพร เปรมาสวัสดิ์ สุรมณี - อนุวัตร ขุนทอง) กิตติ เนตรประเสริฐชัย - ยอ วัชรินทร ฤชุโรจน - ตรวจ


๖๖๙ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๔๒๒/๒๕๖๔ บริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร จำกัด (มหาชน) ผูรอง นายโรนัลด สตีเฟน ลาวาเตอร ผูคัดคาน ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) วรรคหนึ่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๐, ๔๕ วรรคสอง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๕ วรรคสอง บัญญัติวา การอุทธรณ คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ ใหอุทธรณตอศาลฎีกาหรือศาลปกครอง สูงสุดแลวแตกรณี จึงเปนกรณีที่กฎหมายวางหลักเกณฑในเรื่องของการอุทธรณ คำพิพากษาศาลชั้นตนไวโดยเฉพาะวาใหอุทธรณไปยังศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุด การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับอุทธรณของผูรองและใหสงอุทธรณพรอมสำนวนมายัง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเพื่อพิจารณา ยอมไมตองดวยบทบัญญัติมาตรา ๔๕ วรรคสอง ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษหามีอำนาจรับคดีนี้ไวพิจารณาพิพากษาไดไม ปญหาขอกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบรอยของประชาชน แมคูความมิได อุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองไดตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ ______________________________ ผูรองยื่นคำรอง ขอใหมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ สถาบัน อนุญาโตตุลาการ ในขอพิพาทหมายเลขดำที่ ๕๘/๒๕๖๐ หมายเลขแดงที่ ๑๒๓/๒๕๖๒ ฉบับ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๒ และคำสั่งของคณะอนุญาโตตุลาการในการแกไขคำชี้ขาดฉบับ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ผูคัดคานยื่นคำคัดคาน ขอใหยกคำรองและมีคำบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหยกคำรองของผูรองและบังคับใหผูรองปฏิบัติตามคำชี้ขาด ของคณะอนุญาโตตุลาการ


๖๗๐ ผูรองอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ขอเท็จจริงฟงไดวา เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ ผูรองทำสัญญาจางผูคัดคานใหปฏิบัติหนาที่ในตำแหนงประธานเจาหนาที่ บริหาร เปนเวลา ๔ ป เริ่มวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๙ คาจางปละ ๖๕๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐอเมริกา ตามสัญญาจางแรงงาน โดยในสัญญาจางแรงงาน ขอ ๑๔ กำหนดวิธีการระงับขอพิพาทไวโดย วิธีอนุญาโตตุลาการ หลังจากผูคัดคานทำงานใหผูรอง ๙๑ วัน ตอมาวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ผูรองเลิกจางผูคัดคาน โดยจายเงินคาตอบแทน ๑ เดือน ถือเปนการจายแทนการบอกกลาวลวงหนา และอีก ๑ เดือน ถือเปนเงินชวยเหลือรวมเปนเงิน ๑๐๘,๓๓๓ เหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ ๓,๖๘๓,๓๓๓ บาท ใหแกผูคัดคาน วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ ผูคัดคานยื่นขอเรียกรองตอ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม เปนขอพิพาทหมายเลขดำที่ ๕๘/๒๕๖๐ ขอให ผูรองชำระคาชดเชย เงินโบนัสคาเซ็นสัญญา เงินชดเชยวันลาประจำป คาบัตรโดยสารเครื่องบิน คาประกันสุขภาพ คาเดินทางกลับบาน คาเชาบาน คาเสียหายและคาใชจายเพิ่มเติมอันเนื่องมา จากการกระทำของผูรองและดอกเบี้ย ผูรองยื่นคำคัดคานคำรองของผูคัดคานวา ผูคัดคาน ไมมีความเหมาะสมและไมมีความสามารถในการปฏิบัติหนาที่โดยซื่อสัตยและขยันขันแข็ง รวมทั้ง ทำผิดกฎระเบียบและคำสั่งหลายครั้ง โดยมีการแจงเตือนใหผูคัดคานทราบแลว การเลิกจางเปน ไปอยางถูกตองตามกฎหมายและยุติธรรม อันเปนการเลิกจางโดยมีสาเหตุ ผูรองทำงานติดตอกัน ไมเกิน ๑๑๙ วัน และถูกเลิกจางในระยะเวลาเพียง ๙๑ วัน ระหวางการทดลองงาน จึงไมมีสิทธิ ไดรับคาชดเชย เงินโบนัสคาเซ็นสัญญาจะตองจายตอเมื่อผูคัดคานยังเปนพนักงานอยูและตราบ เทาที่สัญญายังใชบังคับระหวางคูความ ผูรองจายเงินคาชดเชยวันลาประจำปใหผูคัดคานเต็มจำนวน ของการลาหยุดประจำปแลว คาประกันสุขภาพเปนสวัสดิการอยางหนึ่งที่ผูรองจัดใหแกเจาหนาที่ ฝายบริหารและลูกจางในระหวางที่ทำงานอยูเทานั้น ไมมีขอสัญญาใหผูรองจายคาบัตรโดยสาร เครื่องบินหรือคาเดินทางกลับบานกรณีการเลิกจางโดยมีสาเหตุ ผูรองตกลงจะจายคาเชาบาน ตราบเทาที่ผูคัดคานยังเปนพนักงานของผูรองอยูเทานั้น ผูรองจายเงินอีก ๒ เดือน เปนคาตอบแทน หลังจากเลิกจาง ๑ เดือน ถือเปนการจายแทนการบอกกลาวลวงหนา และอีก ๑ เดือน ถือเปน เงินชวยเหลือ รวมเปนเงินทั้งสิ้นจำนวน ๑๐๘,๓๓๓ เหรียญสหรัฐอเมริกา และผูรองยื่นขอเรียกรอง แยงใหผูคัดคานชดใชคาเสียหาย ๔๒,๘๒๕,๑๒๐.๗๒ บาท ใหแกผูรองดวย คณะอนุญาโตตุลาการเสียงขางมากมีคำชี้ขาดใหผูรองชดใชคาชดเชย ๖๕๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐอเมริกา เงินโบนัสคาเซ็นสัญญา ๗๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐอเมริกา เงินชดเชยวันลา ประจำปบางสวน ๑,๘๐๕ เหรียญสหรัฐอเมริกา คาเดินทางกลับบาน ๒๓,๘๘๘ เหรียญสหรัฐอเมริกา


๖๗๑ และคาเชาบาน ๑๑,๑๗๖.๔๗ เหรียญสหรัฐอเมริกา รวมเปนเงิน ๗๖๑,๘๖๙.๔๗ เหรียญสหรัฐ อเมริกา และดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๗.๕ ตอป ตั้งแตวันที่เลิกจาง (วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) จนกระทั่งถึงวันที่ผูคัดคานไดรับคาชดเชยจำนวน ๖๕๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐอเมริกา และดอกเบี้ย รอยละ ๗.๕ ตอป จากวันที่ยื่นคำรองสำหรับขอเรียกรองนี้ (วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐) จนกวา จะมีการจายใหผูคัดคานครบสำหรับเงินจำนวนอื่นที่มีการชี้ขาด เปนขอพิพาทหมายเลขแดงที่ ๑๒๓/๒๕๖๒ อนุญาโตตุลาการเสียงขางนอยทำความเห็นแยงวา ผูคัดคานทำงานไดเพียง ๙๑ วัน ซึ่งถือเปนระยะเวลาทดลองงานตามกฎหมาย ไมครบระยะเวลาที่จะไดรับคาชดเชย จำนวน คาชดเชยที่กำหนดไวในสัญญาเปนการกำหนดคาเสียหายไวลวงหนา อันมีลักษณะเปนเบี้ยปรับ อนุญาโตตุลาการชอบที่จะลดลงตามสวนเชนเดียวกับการพิจารณาคดีของศาลตามประมวล กฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๓๘๓ เมื่อพิจารณาจำนวนเงินที่ผูรองชำระใหผูคัดคานไป ในระหวางการปฏิบัติงานตามสัญญาและเงินชวยเหลือหลังจากบอกเลิกสัญญาจางแรงงานแลว คุมกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งการเลิกจางเกิดจากการทำงานของผูคัดคานและผูรองมีหนังสือ เตือนจากตัวแทนผูรองซึ่งถือเปนนายจางตามกฎหมายแรงงานแลว ผูรองจึงไมมีความรับผิด ที่จะตองชดใชเงินคาชดเชยและคาเสียหายอื่น ๆ ใหแกผูคัดคานอีก หลังจากคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดดังกลาว ในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๒ ผูคัดคาน ยื่นคำรองตอสถาบันอนุญาโตตุลาการขอใหแกไขคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ฉบับ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๒ โดยผูรองยื่นคำคัดคาน ตอมาวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ คณะอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งอนุญาตใหแกไข โดยเห็นวาเปนการแกไขคำผิดเล็กนอยและไมมี ผลกระทบตอคำชี้ขาด โดยมีอนุญาโตตุลาการลงชื่อสองคน จากคณะอนุญาโตตุลาการทั้งหมด สามคน เนื่องจากอนุญาโตตุลาการอีกคนหนึ่งไมเห็นดวย เห็นสมควรวินิจฉัยปญหาขอกฎหมายเสียกอนวา ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษมีอำนาจ รับอุทธรณของผูรองไวพิจารณาพิพากษาหรือไม เห็นวา ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๕ วรรคสอง บัญญัติวา “การอุทธรณคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล ตามพระราชบัญญัตินี้ ใหอุทธรณตอศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุด แลวแตกรณี” จึงเปนกรณี ที่กฎหมายวางหลักเกณฑในเรื่องของการอุทธรณคำพิพากษาศาลชั้นตนไวโดยเฉพาะวาใหอุทธรณ ไปยังศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุด เมื่อคดีนี้ขอเท็จจริงยุติวา ผูรองยื่นคำรองตอศาลแรงงานกลาง เพื่อขอใหศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการอันเปนการคัดคานคำชี้ขาดของ คณะอนุญาโตตุลาการตามบทบัญญัติมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่งและวรรคสองแหงพระราชบัญญัติ


๖๗๒ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังนั้น การที่ตอมาศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำรองของผูรอง และบังคับใหผูรองปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการนั้น แลวผูรองยื่นอุทธรณ คำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง โดยศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับอุทธรณของผูรองและใหสง อุทธรณพรอมสำนวนมายังศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษเพื่อพิจารณา ยอมไมตองดวยบทบัญญัติ มาตรา ๔๕ วรรคสอง ซึ่งกำหนดใหอุทธรณไปยังศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเปนศาลที่มีอำนาจพิจารณา พิพากษาอุทธรณในคดีขอใหเพิกถอนคำชี้ขาดกับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ภายใตพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ เพียงศาลเดียวเทานั้น ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ หามีอำนาจรับคดีนี้ไวพิจารณาพิพากษาไดไม เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับอุทธรณแลว จะตองสงอุทธรณพรอมสำนวนไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาพิพากษาโดยเร็ว เชนนี้ การที่ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งใหสงอุทธรณของผูรองพรอมสำนวนมายังศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษนั้น จึงเปนการไมชอบ แมคูความมิไดอุทธรณโตแยงในปญหาขอนี้ แตเปนปญหาขอกฎหมายที่ เกี่ยวกับความสงบเรียบรอยของประชาชน ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย เองไดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ คดีไมจำตองวินิจฉัย อุทธรณของผูรองตอไป พิพากษาใหยกอุทธรณของผูรอง ใหศาลแรงงานกลางสงอุทธรณของผูรองพรอมสำนวน ไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยเร็ว. (สุรพงษ ชิดเชื้อ - สมเกียรติ เมาลานนท - นงนภา จันทรศักดิ์ ลิ่มไพบูลย) กรรณิกา อัศวเมธา - ยอ วัชรินทร ฤชุโรจน - ตรวจ


๖๗๓ คำพิพากษาศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษที่ ๘๐๘/๒๕๖๔ นางวีรยา กรณสกุล โจทก โรงเรียนเทพเสนานุสรณ จำเลย พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘๖ กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความใน พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและครูโรงเรียน เอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๒ โจทกฟองคดีโดยขอใหจำเลยจายคาชดเชยแกลูกจางที่เกษียณอายุซึ่งเปนประโยชน ตอบแทนไมนอยกวาที่กำหนดไวในกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงาน แมโจทกจะไม บรรยายฟองมาตั้งแตตนวา รัฐบาลมีคำสั่งใหสถานศึกษาของรัฐและเอกชนปดเรียนดวย เหตุสถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จึงมีเหตุทำใหโจทก จำเปนตองหยุดงาน แตเมื่อจำเลยใหการวา โจทกหยุดงานในเดือนเมษายน ๒๕๖๓ โดยไมมีเหตุผล จำเลยจึงหยุดจายคาจางตั้งแตเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓ เปนตนมา และ การที่โจทกไมมาทำงาน จำเลยตองขาดครูสอนหนังสือ ทำใหไดรับความเสียหายตอ ชื่อเสียง ตามขอบังคับของจำเลยถือวาโจทกกระทำความผิดรายแรงเปนเหตุใหจำเลย เลิกจางได คดีจึงมีประเด็นขอพิพาทวา โจทกกระทำผิดขอบังคับของจำเลยกรณีรายแรง หรือไม การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดเปนประเด็นขอพิพาทและวินิจฉัยในคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางวา โจทกกระทำผิดขอบังคับของจำเลยกรณีรายแรงหรือไมนั้น เปน การกำหนดประเด็นขอพิพาทและวินิจฉัยไปตามคำฟองและคำใหการของคูความแลว อีกทั้งสถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ นั้นยอมเปนที่ ทราบกันโดยทั่วกันวารัฐบาลมีคำสั่งใหสถานศึกษาของรัฐและเอกชนปดเรียนจนถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ เพื่อปองกันการแพรระบาด จำเลยในฐานะโรงเรียนเอกชนยอม ทราบคำสั่งดังกลาวเปนอยางดีและสามารถคนหาคำสั่งของรัฐบาลไดโดยตรง การที่ ศาลแรงงานกลางหยิบยกเรื่องคำสั่งของรัฐบาลใหปดโรงเรียน และวินิจฉัยตอไปวา โจทกไมไดมาทำงานเพราะจำเลยปดโรงเรียน โจทกไมไดกระทำผิดขอบังคับของจำเลย กรณีรายแรงนั้น จึงเปนการวินิจฉัยตามประเด็นขอพิพาทไปตามขอตอสูของคูความ โดยชอบดวยกระบวนวิธีพิจารณาความแลว


๖๗๔ แมโจทกจะฟองขอใหบังคับจำเลยจายคาชดเชยตามกฎหมายวาดวยการคุมครอง แรงงานก็ตาม แตศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงยุติมาแลววา จำเลยเปนนิติบุคคล ประเภทโรงเรียนเอกชน สังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ จดทะเบียนจัดตั้งเปนโรงเรียน ในระบบ สวนโจทกเปนครูและเปนลูกจางจำเลย ซึ่งมี พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘๖ กำหนดใหกิจการของโรงเรียนเอกชนในระบบเฉพาะในสวนของครูไมอยู ภายใตบังคับกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงาน แตครูตองไดรับประโยชนตอบแทน ไมนอยกวาที่กำหนดไวในกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงาน และตามกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความใน พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนดมิใหใช พ.ร.บ. คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ บังคับแกนายจางซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายวาดวยโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้ เฉพาะในสวนที่เกี่ยวกับครูนั้น แตอยางไรก็ตาม จำเลยผูไดรับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนยังมีหนาที่ตองจายคาชดเชยใหแกโจทกที่ทำงาน เปนครูตามที่กำหนดไวในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงาน ของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๒ ที่กำหนดใหผูรับใบอนุญาตตอง จายคาชดเชยใหแกครูที่เลิกสัญญาการเปนครู การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยใหจำเลย จายคาชดเชยแกโจทกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงาน ของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเปนการชอบดวยกฎหมายแลว ______________________________ โจทกฟอง ขอใหบังคับจำเลยจายคาชดเชย ๒๐๐,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรารอยละ ๑๕ ตอป นับแตวันผิดนัดเปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จแกโจทก จำเลยใหการและแกไขคำใหการ ขอใหยกฟอง ระหวางพิจารณาของศาลแรงงานกลาง จำเลยแถลงขอสละประเด็นที่วา คดีนี้เปน คดีปกครองไมอยูในอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิจารณาพิพากษาได ศาลแรงงานกลาง พิพากษาใหจำเลยชำระเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยอัตรา รอยละ ๑๕ ตอป ของตนเงินดังกลาว นับแตวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ เปนตนไปจนกวาจะชำระเสร็จ แกโจทก จำเลยอุทธรณ ศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยวา ศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงวา จำเลยเปนนิติบุคคลประเภทโรงเรียนเอกชน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จดทะเบียนจัดตั้งเปน โรงเรียนในระบบ โจทกไดรับใบอนุญาตใหบรรจุครูและไดรับใบอนุญาตใหเปนผูประกอบวิชาชีพครู


๖๗๕ โจทกทำงานเปนลูกจางจำเลยตั้งแตวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๓๖ ขณะมีอายุ ๓๘ ป และทายสุดโจทก ทำงานในตำแหนงครูประจำชั้น ไดรับคาจางอัตราสุดทายเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท มีกำหนดจาย คาจางทุกวันสิ้นเดือน แลววินิจฉัยวา เมื่อไมมีบทกฎหมายหรือระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับใดกำหนดใหโจทกตองยื่นคำรองตอคณะกรรมการคุมครองกอนจึงจะฟองคดีได ดังนั้น การที่โจทกฟองคดีนี้จึงมิใชเปนการกระทำขามขั้นตอน โจทกจึงมีอำนาจฟองจำเลย ตามระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๘ กำหนดวา การขอแตงตั้งและบรรจุครูตองมีสัญญาตอกันระหวางผูรับใบอนุญาตกับครู โดยจะกำหนดระยะเวลาการจางไมได โจทกทำงานกับจำเลยจนอายุ ๖๕ ปเศษ โดยจำเลย จายเงินเดือนใหแกโจทกตลอดมา ซึ่งเปนขอตกลงที่ลูกจางตกลงจะทำงานใหแกนายจาง และนายจาง ตกลงจะใหสินจางแกลูกจางตลอดเวลาที่ทำงานใหแกกัน จึงเปนสัญญาจางแรงงานที่ไมมีกำหนด ระยะเวลาการจางกันไว การที่โจทกมีหนังสือขอเกษียณอายุไปถึงจำเลยเปนการบอกกลาวลวงหนา เปนหนังสือใหจำเลยทราบ ในเมื่อถึงหรือกอนจะถึงกำหนดจายเงินเดือนคราวหนึ่งคราวใด เพื่อใหเปนผลเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจายเงินเดือนคราวถัดไปขางหนาก็ไดตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๑ นั้น มิใชเปนกรณีที่โจทกขอลาออกจากการเปนครู โจทกไมไปทำงานในเดือน เมษายน ๒๕๖๓ เนื่องมาจากจำเลยปดโรงเรียนตามคำสั่งของรัฐบาลดวยเหตุพิเศษเพราะมี สถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ฟงไมไดวา โจทกละทิ้งหนาที่เปน เวลา ๗ วันติดตอกันโดยไมมีเหตุอันสมควร ไมเปนเหตุใหเสียหายแกโรงเรียนอยางรายแรง หรือ จงใจหรือเล็งเห็นไดวาจงใจทำใหเกิดความเสียหายแกโรงเรียนตามขอบังคับของจำเลย โจทกจึง ไมไดกระทำผิดขอบังคับของจำเลยในกรณีรายแรง สวนเงินทุนเลี้ยงชีพไมใชคาชดเชยหรือเงินบำเหน็จ โจทกมีสิทธิไดรับเงินทุนเลี้ยงชีพไปตามหลักเกณฑที่กำหนดไวในระเบียบคณะกรรมการกองทุน สงเคราะหวาดวยการสงเคราะหผูอำนวยการ ผูบริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเปน เงินทุนเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งเปนคนละสวนกับคาชดเชยที่โจทกมีสิทธิเรียกรองจากจำเลย ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ แมตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘๖ และกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ จะมิใหนำกฎหมาย วาดวยการคุมครองแรงงานมาใชบังคับแกครูโรงเรียนเอกชน แตจำเลยหรือผูรับใบอนุญาต โรงเรียนเอกชนยังมีหนาที่ตองจายคาชดเชยใหแกครู ตามที่กำหนดไวในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ วาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๒ (๕) เมื่อโจทกทำงานติดตอกันครบ ๑๐ ปขึ้นไป ไดรับเงินเดือนเดือนสุดทายเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท


๖๗๖ โจทกจึงมีสิทธิไดรับคาชดเชย ๑๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อโจทกเลิกสัญญาการเปนครูและจำเลย ไมปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกลาว จำเลยจึงตองจายคาชดเชย ๑๕๐,๐๐๐ บาท พรอมดอกเบี้ยระหวางผิดนัดอัตรารอยละ ๑๕ ตอป นับแตวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ ซึ่งเปนวันที่ มีผลเปนการเลิกสัญญาการเปนครูใหแกโจทก ที่จำเลยอุทธรณในประการแรกวา โจทกมีหนังสือขอเกษียณอายุลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ โดยใหมีผล ๓๐ วันนับแตวันที่จำเลยไดรับหนังสือ เมื่อจำเลยไดรับหนังสือวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓ แตโจทกยื่นฟองคดีในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓ การแสดงเจตนาตามหนังสือขอเกษียณอายุ ของโจทกจึงไมครบ ๓๐ วัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๕๗๕ กำหนดให นายจางตองใหสินจางตลอดเวลาที่ทำงานให โจทกไดรับสินจางถึงเดือนเมษายน ๒๕๖๓ ขณะมี หนังสือขอเกษียณอายุโจทกยังไมไดรับสินจาง จึงมิไดรับสินจางตลอดเวลาถึงวันที่เกษียณอายุ และมาตรา ๕๘๒ กำหนดใหการเลิกจางตองบอกกลาวลวงหนาในเมื่อถึงหรือกอนจะถึงกำหนด การจายสินจาง โจทกใชคำวาโดยใหมีผลเมื่อครบ ๓๐ วันนับแตวันที่จำเลยไดรับหนังสือดังกลาว เชนนี้จึงเปนหนังสือขอลาออกจากการเปนครู มิใชหนังสือขอเกษียณอายุซึ่งเปนการบอกเลิก สัญญาการเปนครูกับจำเลยนั้น เห็นวา ประเด็นนี้ศาลแรงงานกลางไดวินิจฉัยไวแลววา สัญญา จางแรงงานระหวางโจทกกับจำเลยเปนสัญญาจางที่ไมมีกำหนดระยะเวลาการจางไว โจทกขอ เกษียณอายุขณะมีอายุ ๖๕ ป ๑๑ เดือน ประกอบขอความตามหนังสือขอเกษียณอายุแสดงใหเห็นวา โจทกประสงคจะบอกเลิกสัญญาการเปนครูกับจำเลย โจทกไดบอกกลาวลวงหนาเปนหนังสือให จำเลยทราบ ในเมื่อถึงหรือกอนจะถึงกำหนดจายเงินเดือนคราวหนึ่งคราวใด เพื่อใหเปนผลเลิก สัญญาเมื่อถึงกำหนดจายเงินเดือนคราวถัดไปขางหนา โจทกไดปฏิบัติตามขั้นตอนในการบอก เลิกสัญญาการเปนครู ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของ ครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอ ๓๑ แลว ขอที่จำเลยอุทธรณมาวา โจทกทำ หนังสือขอลาออกจากการเปนครู จึงเปนอุทธรณเพื่อโตแยงดุลพินิจในการรับฟงพยานหลักฐาน ของศาลแรงงานกลาง อันเปนอุทธรณในขอเท็จจริง ซึ่งตองหามมิใหอุทธรณตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ คดีชำนัญพิเศษไมรับวินิจฉัย คดีมีปญหาตองวินิจฉัยอุทธรณของจำเลยประการตอไปวา ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย เกินไปจากคำฟองของโจทกหรือไม เห็นวา โจทกเริ่มตนฟองคดีโดยขอใหจำเลยจายคาชดเชย แกลูกจางที่เกษียณอายุเปนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเปนประโยชนตอบแทนไมนอยกวาที่กำหนด ไวในกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงาน แมโจทกจะไมบรรยายฟองมาตั้งแตตนวา รัฐบาลมี คำสั่งใหสถานศึกษาของรัฐและเอกชนปดเรียนดวยเหตุสถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อ


๖๗๗ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จึงมีเหตุทำใหโจทกจำเปนตองหยุดงาน แตเมื่อจำเลยใหการวา โจทกหยุดงาน ในเดือนเมษายน ๒๕๖๓ โดยไมมีเหตุผล จำเลยจึงหยุดจายคาจางตั้งแตเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓ เปนตนมา และการที่โจทกไมมาทำงาน จำเลยตองขาดครูสอนหนังสือ ทำใหไดรับความเสียหาย ตอชื่อเสียง ตามขอบังคับของจำเลยถือวาโจทกกระทำความผิดรายแรงในขอ ๒๗.๔ ละทิ้งหนาที่ ของตนเปนเหตุใหเสียหายแกโรงเรียนอยางรายแรง ในขอ ๒๗.๙ การจงใจหรือเล็งเห็นไดวา จงใจทำใหเกิดความเสียหายแกโรงเรียน และในขอ ๒๗.๒๒ การละทิ้งหนาที่เปนเวลา ๗ วัน ติดตอกันโดยไมมีเหตุอันสมควร เปนเหตุใหจำเลยเลิกจางไดตามขอ ๒๙ คดีจึงมีประเด็น ขอพิพาทวา โจทกกระทำผิดขอบังคับของจำเลยกรณีรายแรงหรือไม การที่ศาลแรงงานกลาง กำหนดเปนประเด็นขอพิพาทขอ ๓ วา โจทกกระทำผิดขอบังคับโรงเรียนจำเลยเปนเหตุใหจำเลย เลิกจางโจทกไดหรือไม และวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลแรงงานกลางขอ ๔ วา โจทกกระทำผิด ขอบังคับของจำเลยกรณีรายแรงหรือไมนั้น เปนการกำหนดประเด็นขอพิพาทและวินิจฉัยไปตาม คำฟองและคำใหการของคูความแลว แมโจทกจะมิไดบรรยายฟองมาตั้งแตตนวา ในชวงเดือน เมษายน ๒๕๖๓ มีสถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ แตในประเด็น ดังกลาวนี้ จำเลยนำสืบพยานโดยมีนายเกษม สงวนนภาพร ผูรับมอบอำนาจเบิกความวา ตั้งแต วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ โจทกหยุดทำงานไปเองโดยไมมีเหตุผล จำเลยยังจายเงินเดือนในเดือน เมษายน ๒๕๖๓ ให และตั้งแตเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓ จำเลยไมจายเงินเดือนใหโจทก การที่ โจทกหยุดงาน จำเลยตองขาดครูสอนหนังสือ ทำใหไดรับความเสียหายตอชื่อเสียง การกระทำ ของโจทกถือวาเปนความผิดรายแรงตามขอบังคับของจำเลยวาดวยการทำงานของครูและ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ ขอ ๒๗ โดยโจทกไดนำสืบในชั้นพิจารณาตอสูในประเด็นนี้วา มีสถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จำเลยปดโรงเรียนตามคำสั่ง ของรัฐบาลตั้งแตปลายเดือนมีนาคมจนถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ โจทกจึงไมไดไปทำงานให จำเลยนั้น เห็นวา สถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ นั้นยอมเปน ที่ทราบกันโดยทั่วกันวารัฐบาลมีคำสั่งใหสถานศึกษาของรัฐและเอกชนปดเรียนจนถึงเดือน มิถุนายน ๒๕๖๓ เพื่อปองกันการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จำเลยในฐานะ โรงเรียนเอกชนยอมทราบคำสั่งดังกลาวเปนอยางดีและสามารถคนหาคำสั่งของรัฐบาลไดโดยตรง การที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเรื่องคำสั่งของรัฐบาลใหปดโรงเรียน และวินิจฉัยตอไปวา โจทก ไมไดมาทำงานเพราะจำเลยปดโรงเรียน โจทกไมไดกระทำผิดขอบังคับของจำเลยกรณีรายแรงนั้น จึงเปนการวินิจฉัยตามประเด็นขอพิพาทไปตามขอตอสูของคูความโดยชอบดวยกระบวน วิธีพิจารณาความแลว อุทธรณของจำเลยขอนี้ฟงไมขึ้น


๖๗๘ คดีมีปญหาตองวินิจฉัยอุทธรณของจำเลยประการสุดทายวา ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ใหจำเลยจายคาชดเชยแกโจทกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงาน ของครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ เปนการชอบหรือไม เห็นวา แมโจทกจะฟอง ขอใหบังคับจำเลยจายคาชดเชยตามกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงานตามขออุทธรณของ จำเลยก็ตาม แตศาลแรงงานกลางฟงขอเท็จจริงยุติมาแลววา จำเลยเปนนิติบุคคลประเภท โรงเรียนเอกชน สังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ จดทะเบียนจัดตั้งเปนโรงเรียนในระบบ สวน โจทกเปนครูและเปนลูกจางจำเลย ซึ่งมีพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘๖ กำหนดใหกิจการของโรงเรียนเอกชนในระบบเฉพาะในสวนของผูอำนวยการ ครูและบุคลากร ทางการศึกษา ไมอยูภายใตบังคับกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงาน กฎหมายวาดวยแรงงาน สัมพันธ กฎหมายวาดวยการประกันสังคม และกฎหมายวาดวยเงินทดแทน แตผูอำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนตองไดรับประโยชนตอบแทนไมนอยกวาที่กำหนดไว ในกฎหมายวาดวยการคุมครองแรงงาน และตามกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความใน พระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ (๑) กำหนดมิใหใชพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ บังคับแกนายจางซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายวาดวยโรงเรียน เอกชน ทั้งนี้ เฉพาะในสวนที่เกี่ยวกับครูใหญและครู และ (๓) กำหนดมิใหใชบทบัญญัติเรื่อง คาชดเชยบังคับแกนายจางซึ่งจางลูกจางทำงานที่มิไดแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจนั้น แตอยางไร ก็ตาม จำเลยผูไดรับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนยังมีหนาที่ตองจายคาชดเชยใหแกโจทกที่ทำงาน เปนครูตามที่กำหนดไวในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของ ครูใหญและครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ในขอ ๓๒ ที่กำหนดใหผูรับใบอนุญาตตองจาย คาชดเชยใหแกครูที่เลิกสัญญาการเปนครู การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยใหจำเลยจายคาชดเชย แกโจทกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการคุมครองการทำงานของครูใหญและ ครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเปนการชอบดวยกฎหมายแลวอุทธรณของจำเลยฟงไมขึ้น พิพากษายืน. (ชะรัตน สุวรรณมา - สัญชัย ลิ่มไพบูลย - ยุคนธร พาณิชปฐมพงศ) กิตติ เนตรประเสริฐชัย - ยอ วัชรินทร ฤชุโรจน - ตรวจ


ฉันทนา ชมพานิชย รุงระวี โสขุมา อิสรา วรรณสวาท มณฑาทิพย ตั้งวิชาชาญ มนุเชษฐ โรจนศิริบุตร สุธรรม สุธัมนาถพงษ รติมา ชัยสุโรจน อัมภัสชา ดิษฐอำนาจ นภกมล หะวานนท สวางแจง ปทมา สมานเกียรติสกุล จุฑามาศ สุนทรชีววุฒิ แมนสรวง มณีโชติ สุวัฒน ชูจันทร ศักดา เขตเจริญ สนธยา ถนอมจิตร กฤตภาส ทองฟูมเดือน รณิดา เอ็บศรี กานตพิชาณัช ตัญจพัฒนกุล นันทิกานต เทียนวรรณกิจ ภัทรสุดา วรสาร วนรัตน คงทอง เบญจวรัตถ ทองกูล เพชรลดา สำลีทอง สุทธวิชญ แพเรือง คณะที่ปรึกษา ประธานคณะที่ปรึกษา ประธานคณะทำงาน สุโรจน จันทรพิทักษ วิรัตน วิศิษฏวงศกร วีนัส นิมิตกุล พาชื่น แสงจันทรเทศ นิภา ชัยเจริญ วัชรินทร ฤชุโรจน คณะทำงานรวบรวมคำพิพากษาหรือคำสั่งคำรองศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ และคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณคดีชำนัญพิเศษ อโนชา ชีวิตโสภณ พิทักษ หลิมจานนท คณะทำงาน คณะทำงานและผูชวยเลขานุการ


Click to View FlipBook Version