The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการสอน_161429 เล่มที่ 2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Narin Nonthamand, 2021-05-04 13:58:10

เอกสารประกอบการสอน_161429 เล่มที่ 2

เอกสารประกอบการสอน_161429 เล่มที่ 2

330

คำไหนสะกดได้ถกู ต้อง

อินเทอรเ์ น็ต หรือ อินเตอรเ์ น็ต
เฟชบุก๊ หรือ เฟสบุค๊
ไลก์ หรือ ไลค์

คอมเมนต์ หรือ คอมเม้น
ดิจทิ ลั หรือ ดิจติ อล
กราฟิก หรือ กราฟฟิก

แอปพลิเคชนั หรือ แอปพลิเคช่นั

แผนการสอนประจำบทที่ 11

การผลิตวดิ ีโอการสอน

หัวข้อเนือ้ หา

1. ประวัติความเป็นมาของวิดโี อ
2. ความหมายของวิดีโอ
3. ความหมายของวิดีโอการสอน
4. ความสำคญั ของวิดโี อการสอน
5. ภาพรวมของการผลิตวิดโี อการสอน
6. ไฟล์ภาพหรอื กราฟิกที่ใชใ้ นงานวิดีโอ
7. รูปแบบไฟล์เสียง
8. รปู แบบไฟล์วิดีโอ
9. ขั้นตอนการผลติ วิดีโอ
10. ข้ันก่อนการผลติ วิดีโอ
11. ขั้นการผลิตวิดีโอ
12. ขั้นหลงั การผลิตวิดีโอ
13. Green Screen
14. เทคนิคการตดั ต่อวิดีโอ
15. วิธีการประเมนิ วิดีโอการสอน
วตั ถปุ ระสงค์เชิงพฤติกรรม
หลงั จากจบการเรียนการสอนบทนแี้ ล้ว นิสติ มีความสามารถดงั นี้
1. บอกประวตั ิความเปน็ มาของวิดโี อได้
2. บอกวามหมายของวิดีโอได้
3. ยกตวั อย่างวิดีโอการสอนได้

332

4. บอกความสำคญั ของวิดโี อการสอนได้
5. บอกวิธีการผลติ วิดีโอการสอนได้
6. บอกความแตกต่างของไฟล์ภาพหรือกราฟิกที่ใชใ้ นงานวิดีโอได้
7. บอกความแตกต่างของรูปแบบไฟลเ์ สียงได้
8. บอกความแตกต่างของรปู แบบไฟลว์ ิดีโอได้
9. บอกข้ันตอนการผลิตวิดีโอได้
10. บอกสิง่ ทีจ่ ะต้องทำในข้ันก่อนการผลิตวิดีโอได้
11. บอกสิง่ ที่จะต้องทำในข้ันการผลิตวิดีโอได้
12. บอกสิง่ ทีจ่ ะต้องทำในข้ันหลังการผลิตวิดีโอได้
13. ผลติ วิดีโอโดยใช้เทคนิค Green Screen ได้
14. บอกเทคนิคการตดั ตอ่ วิดีโอ
15. บอกวิธีการประเมนิ วิดีโอการสอน
กิจกรรมการเรยี นการสอน
ก่อนเข้าชั้นเรยี น

1. ให้ผู้เรยี นศึกษาวิดีโอการสอน เรื่อง (1) เรือ่ งการผลิตวิดีโอการสอน ตอนที่
1 (2) การผลิตวิดีโอการสอน ตอนที่ 2 (3) การผลิตวิดีโอการสอน ขั้นก่อนการผลิต (Pre
Production) (3) การผลิตวิดีโอการสอน ตอนที่ 3 (4) การผลิตวิดีโอการสอนการผลิต
(Production) (5) การผลิตวิดีโอการสอน ตอนที่ 4 (6) การผลิตวิดีโอการสอน ขั้นหลังการผลิต
(Pre Production) (6) พืน้ ฐานการตัดต่อวิดีโอ (7) เทคนิคกรีนสกรีนในงานวิดีโอเบือ้ งต้น (Green
Screen Techniques for Video)

2. ให้ผู้เรยี นทำแบบฝกึ หดั หลงั จากดูวิดีโอการสอน เร่อื ง การผลิตวิดีโอการ
สอน

ในช้ันเรยี น
3. ผู้สอนบรรยายสรุปแบบมีปฏิสัมพันธ์ โดยระหว่างบรรยายใช้คำถาม
ระหว่างการบรรยายดังน้ี
- ทำไมต้องใชว้ ิดีโอในการสอน วดิ ีโอมีจดุ เดน่ อะไร วิดีโอมีลักษณะทีส่ ่อื
อืน่ ทำไม่ได้ อย่างไร
- คำใดสะกดถกู ระหว่าง (1) วิดีโอ กับ วดี ิโอ (2) วีดิทัศน์ กับ วิดีทัศน์
- NTSC / PAL / SECAM แตกตา่ งกันอย่างไร

333

- Frame Rate คืออะไร
- 1080i / 1 0 8 0 p / 1 0 8 0 i60 / 1080i50 / 1 0 8 0 p60 / 1080p50

i กับ p แตกต่างกันอย่างไร
- ยกตัวอยา่ งภาพจากหลกั การจดั องคป์ ระกอบภาพ เชน่ Rule of Thirds,

Balance, Lines, Framing, Avoiding Mergers แล้วให้นิสิตเลือกว่าภาพ
ใดจดั องคป์ ระกอบได้ถกู ต้อง
4. ผสู้ อนพูดคยุ เกี่ยวกบั (1) การตงั้ คา่ กล้องเพื่อถา่ ยวิดีโอ (2) อปุ กรณท์ ี่ใช้ถ่าย
วิดีโอ (3) กระบวนการทำงานในการผลิตวิดโี อ (4) รูปแบบวิดีโอการสอน (5) การตัดต่อวิดีโอ
5. ผสู้ อนให้ผู้เรยี นแสดงความคดิ เห็นเกี่ยวกับการเรียนในเน้ือหา
6. มอบหมายงานให้ผู้เรยี น คือ (1) ให้นสิ ิตออกแบบ storyboard สำหรับการ
ผลติ วิดีโอการสอน โดยใหผ้ ู้เรียนเลือกเนือ้ หาในสาขาวิชาเอกของนสิ ิต โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. เรื่อง
2. เวลา
3. วัตถปุ ระสงค์
4. กลมุ่ เป้าหมาย
5. มีประโยชนอ์ ย่างไร
6. รปู แบบการนำเสนอ
แล้วให้นิสติ วาดรปู ในตารางช่อง storyboard ทีก่ ำหนด รวมไปถึง ภาพ กราฟิก
แบบตัวอกั ษร โทนสี อปุ กรณ์ที่ใชใ้ นการถา่ ยทำ (2) ให้นิสติ เขียนแผนผังการทำงานของตนเอง
7. ให้ผู้เรียนออกแบบและผลิตกราฟิกที่ใช้ในการผลิต วิดีโอการสอนด้วย
ตนเองตาม storyboard และแผนผงั การทำงานที่ได้ออกแบบไว้
8. ให้ผู้เรียนถ่ายทำตาม storyboard และแผนผังการทำงานที่ได้ออกแบบไว้
โดยผู้สอนคอยช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์ในการถ่ายทำ เช่น ไมโครโฟน และขาตั้งกล้อง และให้
คำปรึกษาผเู้ รียนเมื่อผู้เรยี นมีขอ้ สงสัย รวมถึงให้ขอ้ แนะนำระหวา่ งการถ่ายทำ
9. ผู้สอนแนะนำและนำพาผเู้ รียนตัดต่อวิดีโอการสอนจากวิดโี อทีถ่ า่ ยทำ
10. ผู้สอนสรปุ สิง่ ที่ได้เรียน และสอบถามว่าผเู้ รียนมีขอ้ สงสัยส่วนไหนบ้าง
11. นดั หมายวนั และเวลาส่งงานกบั ผเู้ รียน

334

หลงั จากช้ันเรยี น
8. มอบหมายใหผ้ เู้ รียนผลติ วิดีโอการสอนที่ได้วาด storyboard และแผนผังการ

ทำงานที่ได้ออกแบบไว้ หากผู้เรยี นมีขอ้ สงสยั สามารถติดตอ่ ผู้สอนได้ตลอดทกุ ชอ่ งทาง
สื่อการเรียนการสอน

1. เอกสารประกอบการสอนบทที่ 11 เรื่อง การผลิตวิดโี อการสอน
2. วิดีโอการสอน เรื่อง (1) เรื่องการผลิตวิดีโอการสอน ตอนที่ 1 (2) การผลิตวิดีโอ
การสอน ตอนที่ 2 (3) การผลิตวิดีโอการสอน ขั้นก่อนการผลิต (Pre Production) (3) การผลิต
วิดีโอการสอน ตอนที่ 3 (4) การผลิตวิดีโอการสอนการผลิต (Production) (5) การผลิตวิดีโอ
การสอน ตอนที่ 4 (6) การผลิตวิดีโอการสอน ขั้นหลังการผลิต (Pre Production) (6) พื้นฐาน
การตัดต่อวิดีโอ (7) เทคนิคกรีนสกรีนในงานวิดีโอเบื้องต้น (Green Screen Techniques for
Video)
3. แบบฝกึ หัดหลังจากดวู ิดีโอการสอน เรอ่ื ง การผลิตวิดีโอการสอน
4. PowerPoint เรื่อง การผลิตวิดโี อการสอน
5. ระบบการจดั การเรียนการสอน (https://lms.up.ac.th)
6. ใบงาน Storyboard
การวัดและประเมินผล
1. การทำแบบฝกึ หัดหลังจากดูวิดีโอการสอน เรือ่ ง การผลิตวิดโี อการสอน
2. การร่วมอภิปรายและตอบคำถามในชน้ั เรียน
3. การสังเกตจากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามระหว่างการบรรยายสรุป
แบบมีปฏิสัมพนั ธ์ ในข้อคำถามดังน้ี (1) ทำไมต้องใชว้ ิดีโอในการสอน วิดีโอมีจดุ เด่นอะไร วิดีโอ
มีลักษณะที่สื่ออื่นทำไม่ได้อย่างไร (2) คำใดสะกดถูก ระหว่าง (1) วิดีโอ กับ วีดิโอ (2) วีดิทัศน์
กับ วิดีทัศน์ (3) NTSC / PAL / SECAM แตกต่างกันอยา่ งไร (4) Frame Rate คืออะไร (5) 1080i
/ 1080p / 1080i60 / 1080i50 / 1080p60 / 1080p50 i กับ p แตกต่างกันอย่างไร (6)
ยกตัวอย่างภาพจากหลักการจัดองค์ประกอบภาพ เช่น Rule of Thirds, Balance, Lines,
Framing, Avoiding Mergers แล้วให้นิสติ เลือกว่าภาพใดจดั องค์ประกอบได้ถกู ต้อง
4. งานของผู้เรยี น คือ (1) Storyboard ที่ผู้เรยี นได้ออกแบบ (2) วิดีโอการสอนที่ผู้เรียน
ได้ผลิตข้นึ (3) ภาพถา่ ยระหว่างการถา่ ยทำ (4) แผนผงั การผลิตวิดโี อของผเู้ รียน
5. ความสนใจและความรับผดิ ชอบในการเรียน

335

บทท่ี 11

การผลิตวิดีการสอน

วิดีโอเปน็ การเลา่ เรอ่ื งดว้ ยภาพ โดยภาพจะทำหนา้ ที่หลกั ในการนำเสนอโดยมีเสียงที่จะ
เข้ามาช่วย เสริมในส่วนของภาพ เพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น วิดีโอจะเป็นสื่อในลักษณะที่
นำเสนอเป็น ภาพเคลื่อนไหวและสร้างความต่อเนื่องของการกระทำของวัตถุจากเรื่องราว
ต่าง ๆ โดยสามารถสร้างความรู้สึก ใกล้ชิดกับผู้ชม เป็นสื่อที่เข้าถึงง่าย ซึ่งมีความรวดเร็ว จึง
ทำให้สามารถนำเสนอเหตุการณ์ได้ทันที เป็นสื่อที่เข้าถึงง่าย และเป็นสื่อที่แสดงถึงสิ่งที่กำลัง
เกิดขึ้น หรือ ถ่ายทอดเรื่องราว เล่าเรื่องได้ รวมไปถึงยังสร้างความผูกพันทางอารมณ์และสื่อ
อารมณไ์ ด้ดีกวา่ สอ่ื อื่นๆ เนื่องจากวิดโี อนำเสนอทั้งภาพและเสียง

วิดีโอหรือวีดิทัศน์ ในปัจจุบันเป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นทีน่ ิยมในวงการศึกษาเนื่องจาก
วิดีโอเปน็ อปุ กรณท์ ีส่ ามารถบันทึกภาพและเสียงไว้ได้พร้อมกัน สามารถแก้ไขและบันทึกลงใหม่
ได้ อีกทั้งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทันที สามารถดูซ้ำ และเลือกความเร็วหรือตอนได้ตาม
ต้องการ และนำเสนอในรูปแบบผสานเวลาและไม่ผสานเวลา โดยใช้ในลักษณะของส่ือการสอน
เครื่องมือในการจัดกิจกรรม และเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เป็นการเรียนที่ใช้เวลาน้อยที่สุด
และให้คุณค่าทางการเรียนมากที่สดุ โดยการ

ประวัติความเป็นมาของวิดีโอ
วิดีโอถูกผลิตขึ้นคร้ังแรกโดยบริษัทบิง กอสบี เอนเตอร์ไพรส์ (Bing Grosby Enterprise)

โดยถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่างในการสาธิต การบันทึกภาพสีขาวดำ ที่มีความสามารถในการ
บันทึกภาพเพียงอย่างเดียว แต่ไม่สามารถนำมาเล่นซ้ำหรือตัดต่อได้ โดยเมื่อวันที่
11 พฤศจิกายน ค.ศ.1951 ในเวลา 3 ปีต่อมา บริษัท แอมเพ็กซ์ คอร์เปอเรชั่น (Ampex
Corporation) ได้นำเครื่องวิดีโอที่สามารถใช้งานได้จริงออกมาสาธิตเป็นครั้งแรกและได้มีการ
วางจำหนา่ ยในวงการการศกึ ษา และตลาดอตุ สาหกรรม

ปี ค.ศ.1954 ซึ่งได้แก้ปัญหาที่บริษัทบิง กอสบี เอนเตอร์ไพร์ส ทำไม่สำเร็จ คือ วิดีโอ
สามารถใช้เล่นกลับและตัดต่อภาพได้แต่ยังต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงประกอบอื่น ๆ อีกมากมาย
จงึ ไม่มีความสะดวกในการนำมาใช้งาน

ปี ค.ศ.1963 ในรายการแข่งขันฟุตบอลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการนำเครื่อง
บันทึกวิดีโอไปบันทึกภาพและสามารถนำไปเล่นกลับได้ทันทีหลังจากบันทึกภาพเสร็จซึ่งการ
ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ทำให้การรับชมรายการแข่งขันกีฬาทางโทรทัศน์ได้รับความนิยม
มากทีส่ ดุ

336

ปี ค.ศ.1964 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการผลติ เครือ่ งวิดีโอที่มขี นาดเล็กลง และมีน้ำหนักเบา
เพียง 120 ปอนด์ อีกท้ังยงั สามารถใช้เทคนิคในการถ่ายภาพได้มากขึ้น ซึ่งถูกคิดค้นโดย บริษัท
โซนี่ คอร์เปอเรชัน่ (Sony Corporation) และ บริษัทมัตซิ ชู ิตะ อีเล็กทริค (Mutsushita Electric)

ปี ค.ศ.1974 วิดีโอได้ถูกนำมาใช้งานในรูปแบบอีเอ็นจี (ENG : Electronic News
Gathering) ซึ่งในสมัยนั้นมี สงครามเวียดนาม ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงใช้วิดีโอเพื่อถ่ายภาพ
เหตุการณ์ในสนามรบ และเผยแพร่ ให้ประชาชนในสหรัฐอเมริการับชม และในปีเดียวกันนี้เอง
สถานีโทรทัศน์ซีบีเอส (CBS) ของประเทศญี่ปุ่นร่วมกับบริษัทอิเคกามิ (Ikegami) ได้สร้างกล้อง
วิดีโอขนาดเลก็ สำหรบั พกพาแบบกระเป๋าห้ิว ที่มี อุปกรณ์ทุกอย่างรวมอย่ใู นชดุ เดียวกัน

ปีค.ศ. 1975 บริษัทโซนี่คอร์เปอเรชั่น ได้พัฒนากล้องวิดีโอแบบกระเป๋าหิ้วให้มีความ
เหมาะสมในการถ่ายทำอีกสถานที่ซึ่งสามารถตัดต่อภาพและทำ เทคนิคพิเศษในภาพได้ทันที่
เรียกว่าอเี อฟพี (EFP : Electronic Fields Production)

โดยทั้งนี้วิดีโอในอดีตที่กล่าวมาจะมีการบันทึกภาพด้วยระบบแอนะล็อก (Analog) ที่
เป็นสัญญาณไฟฟ้าทีม่ ลี ักษณะต่อเนื่องกันตลอด (Linear) และถ้านำข้อมลู ภาพและเสียงมาวาด
เป็นกราฟจะเห็นว่ากราฟที่ได้มีลักษณะขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่คงที่ไม่แน่นอน ทำให้ข้อมูลผิดเพี้ยนได้
งา่ ย โดยมีข้อจำกัดหลายประการเช่น

ด้านคุณภาพ คือ คุณภาพของภาพ และเสียงไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมี
การส่งสัญญาณออกไปไกล ๆ หรือบันทึกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ก็จะยิ่งทำให้ข้อมูลผิดเพี้ยนไปจาก
เดิม

ด้านความสะดวกในการใช้งาน คือ ตัดต่อวิดีโอได้ยากกว่าระบบดิจิทัล การเก็บข้อมูล
ทำได้ยากลำบากกวา่ เพราะต้องบันทึก ลงในม้วนเทป ซึ่งสามารถเกบ็ ไว้ได้ในระยะเวลาที่จำกัด

ด้านการนำไฟล์ไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่น ๆ ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงมีการ
พัฒนาต่อมา เกิดเป็นการบันทึกภาพในระบบดิจิทัล (Digital) ที่เก็บข้อมูลเป็นตัวเลขฐานสอง
เป็นรหัสที่มีความหมายว่าใช้หรือไม่ใช้ ถูก หรือผู้ เปิดหรือปิดเท่านั้น ใช้ตัวเลข 0 และ1 แทน
ท้ังหมด ได้แก่ 00 01 10 11 การทำงานในระบบดิจทิ ลั มีลกั ษณะการทำงานทีไ่ ม่ต่อเนือ่ ง (Non-
linear) ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนได้เป็นอย่างดี ทำให้การบันทึกภาพใน
ระบบดิจทิ ัล มีคณุ ภาพ คมชัดมากกวา่ ระบบแอนะล็อก ระบบเสียงและภาพเสมอื นจรงิ มากกว่า
สามารถส่งสัญญาณออกไปไกล ๆ ได้อย่างเที่ยงตรงและแม่นยำไม่ผิดเพี้ยน สามารถบีบอัด
ข้อมลู ใหม้ ีขนาดเลก็ ลงเพื่อสะดวกในการรับส่งขอ้ มลู ทางอนิ เทอร์เน็ตได้ และสามารถทำงานได้
สะดวกรวดเร็วขึ้นเพราะสามารถทำงานโดยไม่ต่อเนื่องได้ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในระบบดิจิทัลไม่
สามารถจับต้องได้ ทำให้การถ่ายโอนหรือเชื่อมต่อข้อมูลสามารถทำได้อย่างง่ายดายและ

337

สะดวกรวดเร็ว สามารถนำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบดิจิทัลได้
โดยตรง อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้กับระบบอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้สะดวกและเข้าถึงได้ง่ายจาก
ทั่วทุกมุมโลก ค่าใช้จ่ายน้อยลงมาก ในขณะที่คุณภาพและเทคโนโลยีในการบันทึกและการตัด
ต่อก้าวหน้าขึ้นมหาศาล ทำให้ในปัจจุบันสามารถผลิตวิดีโอที่มีคุณภาพดี ออกมาได้อย่าง
แพรห่ ลาย ใช้ทีมงาน น้อย และค่าใชจ้ ่ายไมส่ งู (สุธี พลพงษ์, 2548)
ความหมายของวิดีโอ

วีดิทัศน์ หรือที่เป็นที่นิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษ ว่า วีดิโอ ตามพจนานุกรมเวบ
เตอร์อ่านว่า วิดีโอ เป็นภาษาลาติน แปลว่าฉันเห็น (I see) (นภาภรณ์ อัจฉริยระกุล และ พิไล
พรรณ ปุกหุต, 2529) ส่วน คำว่าวีดิโอนี้ ศัพทานุกรมสื่อสารมวลชนของคณะวารสารศาสตร์
และสือ่ สารมวลชน มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ได้ให้ความหมายว่า สว่ นที่มองเห็น (Visual) หรือ
ส่วนที่เป็น ภาพ (Picture, Image) ในรายการวิทยุโทรทัศน์หรือจากการฉายภาพหรือภาพยนต์
ซึ่งแตกต่างจาก ส่วนของเสียง (Audio) ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมาย ของคำว่า วีดิทัศน์
ไว้หลากหลายซึง่ แต่ละแนวคิดจะกลา่ วถึงวีดิทัศน์แตกต่างกันออกไปตามลักษณะดังน้ี

Hills (1982) ได้กลา่ วถึง วีดิทศั น์ (Videotape Recorder หรอื VTR) เปน็ การบนั ทึกภาพ
จากโทรทัศน์ โดยใช้เทปบันทึกภาพแบบม้วนเปิด ซึ่งสามารถบันทึกรายการโทรทัศน์ที่กำลัง
ออกอากาศอยู่หรือบันทึกขณะที่ถ่ายทำจากการเชื่อมต่อจากกล้องโทรทัศน์จากแนวคิด
ดังกล่าว จะเห็นว่าความหมายของวีดิทัศน์หรือวีดิโอเทป หรือเทปวีดิทัศน์ มีลักษณะสอง
ลักษณะ คือในส่วนที่เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นลักษณะวิธีการนำ
สัญญาณมาผสมผสาน เป็นลักษณะภาพและเสียงโดยใช้อุปกรณช์ ่วยซึ่งการนำมาใช้ประโยชน์
ในการศึกษานั้นจำเป็นต้อง นำเอาวิธีการและอุปกรณ์มาผสมผสานกันเพื่อสร้างสื่อการเรียน
อันกอ่ ประโยชนส์ ำหรับผู้เรยี น

Mcinnes (1980) ได้ให้ความหมายของวีดิทัศน์ หมายถึง วิธีการชนิดหนึ่งซึ่งสร้างภาพ
และเสียง ให้เกิดขึ้นพร้อมกันโดยการชักกล้องถ่ายภาพ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องบันทึกเทป
และจอฉาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2555) ได้บัญญัติศัพท์ “วีดิทัศน์” ไว้ว่าคำว่าวีดิ
มาจากคำภาษาบาลีว่า “วิติ” ซึ่งหมายถึง แสง และออกเสียงคล้ายศัพท์เดิมคือ วีดิทัศน์ ใน
ภาษาอังกฤษ แต่หลายแห่งใช้คำเรียกที่แตก ต่างกันไปบางแห่งจึงใช้คำว่าแถบวีดีทศั น์บ้างบาง
แห่งจึงใช้คำว่าภาพทัศน์บ้าง บางแห่งจึงใช้คำว่า แถบบันทึกภาพบ้าง เทปโทรทัศน์บ้าง หรือ
เรียกทบั ศัพท์ว่า วีดิทัศนเ์ ทปบ้าง ดงั นน้ั คำวา่ วีดีทัศน์ หรอื ภาพทศั น์ ก็คือ วีดิทัศน์ (video) และ

338

คำว่า แถบวีดีทัศน์ แถบบันทึกภาพ เทปโทรทัศน์ หรือเทปภาพทัศน์ หรือเทปวีดีทัศน์ ก็คือ
วดี ิทัศน์เทป (video tape) ความหมายอย่างเดียวกนั นนั่ เอง

รัชนก ถิระแก้ว (2555) ได้ให้ความหมายของวีดิทัศน์ว่า หมายถึง เครื่องมือหรือ
อุปกรณ์ที่ใช้ บันทึกได้ทั้งภาพและเสียงได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน สามารถเก็บวีดิทัศน์ที่
บันทึกไวเรียกกลับมาดูได้ทุกเวลาและสามารถลบการบันทึกออกได้ซึ่งวีดิทัศน์นั้นครอบคลุม
รวมไปทั่วทกุ แหง่ หน

ชูชาติ มงคลเมฆ (2553) ได้ให้ความหมายของวีดิทัศน์ว่า หมายถึง สื่อที่นำเสนอทั้ง
ภาพและเสียง โดยถ่ายทอดผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างความบันเทิง
ให้ความรู้ ให้ข่าวสาร รวมไปถึงการให้ผลทางด้านความรู้สึก อารมณ์ ความเชื่อค่านิยม
ทศั นคติ โดยมีจุดประสงคใ์ นการใช้ ตา่ งกนั ออกไป และนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนดว้ ย

ศตพร ศีรหาคา (2551) ได้ให้ความหมายของวีดิทัศน์ว่า หมายถึง กระบวนการบันทึก
สัญญาณ ด้านภาพและสัญญาณทางเสียงในสื่อกลางที่เป็นวัสดุทางแม่เหล็กไฟฟ้า รวมไปถึง
กระบวนการถา่ ยทอดทางภาพและเสียง โดยผ่านอปุ กรณ์ทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์ไปสู่ผรู้ บั ด้วย

ประทิน คล้ายนาค (2550) ได้ให้ความหมายของวีดิทัศน์ว่า ในปัจจุบันวีดิทัศน์มี
ความหมายกว้างมากจะรวม ไปถึงเครื่องมือและอุปกรณ์โทรทัศน์ที่ใช้ตามบ้าน สถาบัน และ
หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งยังรวมไปถึงอุปกรณ์ตามสถานีวิทยุโทรทัศน์อีกด้วย เช่น เทปวีดิทัศน์
เครือ่ งบนั ทึกเทปวีดิทัศน์ กล้องโทรทัศน์ และเคร่อื งตัดตอ่

กลั ย์กมล ปานสันเทียะ (2548) ได้ให้ความหมายของวีดิทัศน์วา่ หมายถึง วัสดอุ ุปกรณ์
ซึ่งเป็นแถบเคลือ่ นแม่เหลก็ สามารถเก็บบันทึกข้อมลู ได้หลายมิติ เช่น ภาพ เสียง ในรปู แบบคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้า สามารถตัดต่อเพิ่มเติมลบออกได้โดยมีเครื่องรับโทรทัศน์เป็นเครื่องแสดงภาพ
และเสียง

กิดานันท์ มลิทอง (2543) ได้ให้ความหมายของวีดิทัศน์ว่า ราชบัณฑิตยสถาน จะ
เรียกว่า วีดีทัศน์โดยแบ่งเป็นวัสดุ คือแถบวีดีทศั น์ และอุปกรณ์เครื่องเล่นวีดีทัศน์ แถบวีดีทศั น์
เป็นวัสดุที่สามารถใช้บันทึกภาพและเสียงไว้ได้พร้อมกันในแถบเทป ในรูปแบบของคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้า และสามารถลบแล้วบันทึกใหม่ได้และแถบวีดีทัศน์ทำด้วยสารโพลีเอสเตอร์
นอกจากนั้นได้กล่าวถึง การใช้วีดีทัศน์เพื่อให้ความรู้ใน การศึกษาและใช้ในการสอนโดยตรง
เป็นการให้ความสะดวกท้ังผสู้ อนและผเู้ รียน ท้ังนสี้ ามารถส่ง การสอนไปยังผเู้ รียนที่อยู่ห่างไกล
ได้ ผสู้ อนสามารถบันทึกการสอนของตนไว้ใช้สอนได้อีก หรอื จะ ขอยืมวีดีทัศน์จากแหล่งอื่นมา
ใช้สอนในห้องเรียน สามารถเลือกดูภาพที่ต้องการบังคับแถบเทปให้เลื่อนเดินหน้า ถอยหลัง ดู
ภาพชา้ หรอื หยุดดเู ฉพาะภาพได้ แตภ่ าพที่หยุดดจู ะไมค่ มชัดเท่าทีค่ วร ใน เครือ่ งเล่นบางชนิดยัง

339

ปรับภาพให้ขยายเพื่อดูได้ใหญ่ชัดเจนยิ่งขึ้น การบันทึกวีดีทัศน์เพื่อใช้เป็น บทเรียนสามารถทำ
ได้ในหอ้ งสตูดิโอหรอื ภาพในหอ้ งปฏิบตั ิการ

สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534 ) ได้ให้คำจำกัดความของเทปวีดีทัศน์ (Video Tape) ไว้ใน
อีกทัศนะหนึ่งว่า เทปวีดีทัศน์สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวลงในเส้นเทปบันทึกภาพในรูปของ
สนามแม่เหล็ก โดยใช้ถ่ายภาพทางโทรทัศน์เปลี่ยนภาพเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าแล้วนำ
สัญญาณทางไฟฟ้ามา บนั ทึกไว้ในรปู ของสนามแม่เหล็กบนเส้นเทปโดยใช้เครอ่ื งเทปบันทึกภาพ
(Video Tape Recorder) เมื่อต้องการจะดูภาพเครื่องบันทึกภาพจะสามารถนำเอาภาพที่เก็บไว้
ในรูปของสนามแม่เหล็กบน เส้นเทปเปลี่ยนกลับมาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ส่งต่อไปยัง
เครื่องรับโทรทัศน์หรือมอนิเตอร์จะเกิด ภาพเคลื่อนไหวปรากฏบนจเครื่องงรับได้เป็น
ภาพเคลือ่ นไหวมสี ีสวยงามเหมอื นธรรมชาติ

วาสนา ชาวหา (2533) ได้ให้ความหมายของวีดิทัศน์ ว่า เทปโทรทศั น์ สามารถบันทึก
ได้ทั้งภาพและเสียงพร้อมกันหลังการบันทึกสัญญาณแล้ว สามารถฉายดูได้ทันที่โดยไม่ต้อง
ผ่านกระบวนการล้างเหมือนฟิล์มภาพยนตร์และยังสามารถลบสัญญาณเดิม และบันทึกใหม่ได้
หลายครั้ง เช่นเดียวกับการบันทึกเสียง เนื้อเทปและวัสดุที่เคลื่อนผิวเส้นเทปคล้ายกับเทป
บันทึกเสียง ดังนั้นการบันทึกสัญญาณ ภาพและเสียงลงเทป จึงอยู่ในรูปของสัญญาณ
แม่เหล็กไฟฟ้า เชน่ เดียวกับเทปบันทึกเสียง

จากการให้ความหมายของวีดิทัศน์ ของนักวิชาการ ที่กลา่ วมา ข้างตน้ สามารถสรุปได้
ว่า วีดิทัศน์ หรือ วิดีโอ (Video) คือ สื่อที่นำเสนอทั้งภาพและเสียง เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ
และนำเสนอเสียงซึ่งจะเข้ามาช่วยเสริมในส่วนของภาพ เพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น สร้าง
ความรสู้ ึกใกล้ชิดกับผชู้ ม เป็นสือ่ ทีเ่ ข้าถึงงา่ ย มีความรวดเรว็ หลงั จากบันทึกสญั ญาณภาพและ
เสียงแล้ว สามารถนำไปใช้งานได้ทนั ที่
ความหมายของวดิ ีโอการสอน

วิดีโอเพื่อการเรียนการสอนเป็นสื่อการศึกษารูปแบบหนึ่ง ที่มีบทบาท และสำคัญมาก
ปัจจุบันวิดีโอเป็นสื่อที่สำคัญ และได้รบั ความนยิ มทั้งจากวงการบนั เทิง และวงการศึกษา เพราะ
สามารถนำไปใช้งานได้สะดวก โดยเฉพาะในปัจจุบันวิดีโอได้ปรับเปลี่ยนไปประยุกต์เข้ากับ
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จึงทำให้มีการรับชม
แพร่หลาย และการเข้าถึงวิดีโอได้ง่าย ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมาย ของวิดีโอการสอน
ไว้หลากหลายตามลกั ษณะดังน้ี

340

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2528) ได้ให้ความหมายของวิดีโอการสอน คือ
1. ใช้เป็นสื่อการสอนที่สมบูรณ์ เพราะมีทั้งภาพและเสียง ซึ่งสามารถอำนวย

ประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ทุกสมัย
2. ใชเ้ ปน็ ส่วนหนง่ึ ของชุดการสอนรว่ มกับสือ่ อน่ื ๆ
3. ใช้เป็นสื่อการสอน ที่ผู้สอนหลายคน หรือวิชาที่มีผู้สอนร่วมสามารถใช้สื่อ

รว่ มกันได้
วาสนา ชาวหา (2534) ได้ให้ความหมายของวิดีโอการสอน คือ
1. เป็นสื่อที่สามารถดึงดดู ความสนใจได้เปน็ อย่างดีเนือ่ งจากให้ภาพและเสียงมี

สีสัน เหมอื นธรรมชาติ
2. เป็นสื่อที่ช่วยแก้ปัญหาจำนวนผู้เรียนมาก แต่ผู้สอนมีจำกัดเพราะสามารถ

แพรภ่ าพและเสียงไป ยงั หอ้ งเรียนต่าง ๆ หรอื ในทีพ่ กั อาศัยได้ในเวลาเดียวกนั
3. เป็นสื่อที่สามารถแสดงสิ่งสำคัญๆ เพื่อให้ทุกคนเห็นได้อย่างชัดเจน โดยให้

เทคนิคการถ่ายใกล้ (Close up) ซึ่งในสภาพจริงไม่สามารถกระทำได้ ถ้าจำนวนผเู้ รียนมีจำนวน
มากและสิ่งทีต่ อ้ งการแสดงมี ขนาดเล็ก จงึ ควรใช้โทรทัศนเ์ ป็นสือ่ เพือ่ การสาธิต

4. ช่วยปรับปรุงการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพขึ้น โดยใช้เป็นเครื่องมือ
ในการให้ขอ้ มูลย้อนกลบั เพือ่ ประเมินผลการสอนของตนเอง

5. ทำให้มคี วามรทู้ นั สมยั ทนั ต่อการเปลี่ยนแปลงของสงั คม
พิไลพรรณ ปุกหุต (2538) ได้ให้ความหมายของวิดีโอการสอน คือ เป็นสื่อวิดีโอที่มี
ลักษณะดังน้ี

1. เป็นสื่อที่ใกล้ตัวและมีอิทธิพลกว้างไกล ซึ่งเป็นลักษณะร่วมกันของวิดีโอ
และวิทยุ วิดีโอยังเปน็ สื่อทีใ่ ห้ท้ังภาพและเสียงดว้ ย

2. การนำเสนอโสตทัศนูปกรณ์แบบเก่าเกือบทั้งหมด อาทิเช่น หุ่นจำลอง
กราฟ ภาพถา่ ยสไลดภ์ าพยนตรว์ ิทยุ สามารถนำเสนอได้ดว้ ยวิดโี อ และโทรทัศน์

3. วิดีโอ และโทรทัศน์เปิดใช้ง่าย ไม่ต้องปิดห้องมืด เพียงการปรับปุ่มสองหรือ
สามปุม่ ก็สามารถเริม่ ต้นการรบั ชมได้แลว้

4. วิดีโอ และโทรทัศน์กระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความใกล้ชิดเสมือนหนึ่งเป็นสื่อ
ส่วนตวั

วิภา อุตมฉันท์ (2538) ได้ให้ความหมายของวิดีโอการสอน คือ วิดีโอจัดเป็นสื่อที่นำมา
ช่วยสอน และช่วยเสริมให้ผู้เรียนเพิ่มพูน ประสบการณ์ให้กว้างขวางคือมีประสบการณ์ในมิติ
แห่งความเป็นจริง มีประสบการณ์ในมิติ แห่งกาลเวลา และมีประสบการณ์ในมิติของสถานที่

341

กล่าวได้วา่ วีดีทัศน์ช่วยขยาย โลกของผเู้ รียนใหก้ ว้างขวางข้ึน โดยผ่านประสบการณ์ทางอ้อมใน
ที่สดุ จะ นำพาผู้เรยี นไปสู่ประสบการณท์ างตรง

กิดานันท์ มลิทอง (2543) ได้ให้ความหมายของวิดีโอการสอน คือ การใช้วิดีโอเพื่อให้
ความรใู้ นการศกึ ษาและใช้ ในการสอนโดยตรงเปน็ การให้ความสะดวกท้ังผสู้ อนและผู้เรียนทั้งนี้
สามารถสง่ การสอนไปยงั ผเู้ รียนที่อยู่ห่างไกลได้ ผสู้ อนสามารถบนั ทึกการสอนของตนไว้ใช้สอน
ได้อีก หรือจะขอยืมวิดีโอจากแหล่งอื่น มาใช้สอนในห้องเรียน สามารถเลือกดูภาพตามที่
ต้องการโดยใช้การบงั คับแถบเทปใหเ้ ลื่อนเดินหน้า ถอยหลัง ดูภาพชา้ หรอื หยุดดูเฉพาะภาพได้
แต่ภาพที่หยุดดูจะไม่คมชัดเท่าที่ควร ในเครื่องเล่นบาง ชนิดยังปรับภาพให้ขยายเพื่อดูได้ใหญ่
ชัดเจนยิ่งขึ้น การบันทึกวิดีโอเพื่อใช้เป็นบทเรียนสามารถทำ ได้ในห้องสตูดิโอ หรือภายใน
หอ้ งปฏิบตั ิการ

ชูชาติ มงคลเมฆ (2553) ได้ให้ความหมายของวิดีโอการสอน คือ สื่อที่นำเสนอท้ังภาพ
และเสียง โดยถ่ายทอดผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างความบันเทิง ให้ความรู้
ให้ข่าวสาร รวมไปถึงการให้ผลทางด้านความรู้สึก อารมณ์ ความเชื่อค่านิยม ทัศนคติ โดยมี
จดุ ประสงคใ์ นการใช้ ตา่ งกันออกไปในการนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน

รชั นก ถิระแก้ว (2555) ได้ให้ความหมายของวิดีโอการสอน คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์
ที่ใช้ บันทึกได้ทั้งภาพและเสียงได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน สามารถเก็บวิดีโอที่บันทึกไว
เรียกกลับมาดูได้ทุกเวลาและสามารถลบการบันทึกออกได้ซึ่งวิดีโอนั้นครอบคลุมรวมไปทัว่ ทกุ
แหง่ หน

จากการให้ความหมายของวิดีโอการสอน ของนักวิชาการ ที่กล่าวมาข้างต้น สามารถ
สรุปได้ว่า วิดีโอการสอน หมายถึง การนำเสนอเนื้อหาโดยการใช้ภาพและเสียง อธิบายเนื้อหา
เล่าเรื่องราว ยกตัวอย่าง อันเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพ ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ และมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น และสนใจเนื้อหามากขึ้น สามารถใช้ทบทวนเนื้อหาได้หลาย ๆ
คร้ังเพื่อศกึ ษาบทเรียนใหม้ ีความรคู้ วามเข้าใจมากขนึ้ อีกทั้งวิดีโอการสอน ยงั เป็นสือ่ ที่ถา่ ยทอด
เรื่องราวไปยังผู้เรียนจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกันได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้
ด้วยการรบั สมั ผสั ทางตา และหู
ความสำคญั ของวิดีโอการสอน

สือ่ ทางการศกึ ษาทีไ่ ด้มีการนำไปใช้เป็นเครอ่ื งมือช่วยในการเรียนการสอนนั้น สื่อวิดีโอ
เป็นสื่อหนึ่งที่เข้ามามี บทบาท และอิทธิพลตอ่ การศึกษาเปน็ อย่างยิง่ เพราะคุณสมบัติของวิดีโอ
นั้นเอื้ออำนวยให้เกิดประโยชนใ์ นการศึกษาหลาย ประการ และคุณประโยชน์ของสื่อวิดีโอด้าน
การเรียนการสอน เป็นสื่อที่แสดงทั้งภาพและเสียง จึงสามารถให้ความรู้ได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่

342

ความรู้ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นที่เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนได้วิดีโอ จึงได้ถูกนำมาใช้กันอย่าง
กว้างขวางในวงการศกึ ษา เพราะคุณสมบตั ิของวิดีโอ คือสามารถบนั ทึกภาพแล้วนามาเปิดดูได้
ทันที่หรือการนำมาตัดต่อเนื้อหาที่เอื้ออำนวยต่อบทเรียน หรือนำมาแก้ไขปรับปรุงได้ ซึ่งมี
นกั วิชาการได้ให้ความสำคัญของวิดีโอการสอน ไว้หลากหลายดังนี้

Geddes & Sturtridge (1982) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของวิดีโอการสอนว่า เป็นสื่อที่
สามารถชมภาพและได้ยินเสียงไปพร้อม ๆ กันทำให้ภาษามีชีวิตชีวาและมีความหมาย มาก
ยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นการนำชีวิตจริง (Real world) มาสู่ห้องเรียนอีกด้วย ผู้เรียนมีโอกาสได้ยิน
ภาษาที่ใช้จริงในปริบทต่าง ๆ เช่น ในสถานการณ์ทางการแพทย์ วิศวกรรม และที่สำคัญวิดีโอ
ยังช่วย ฝกึ การฟังเพื่อความเข้าใจได้อยา่ งดี ทั้งความเข้าใจในภาพรวมและในรายละเอียด

Lemlech (1998) ได้กลา่ วถึง ความสำคญั ของวิดีโอการสอนว่า เปน็ เทคโนโลยีที่จูงใจใน
การเรียนและให้ข้อมูลได้มากกว่าหนังสือเรียน รวมทั้งยังสามารถเปิดย้อนกลับซึ่งทำให้ผู้เรียน
ค้นหาตัวบ่งชี้และข้อมูล เพิ่มเติมได้หลังจากการชมวิดีโอแล้ว ผู้เรียนยังนำข้อมูลที่ได้มาช่วยใน
การแก้ปัญหา (Problem-solving) ต่อไป วิดีโอเป็นเครื่องมือที่ช่วยเปิดโลกภายนอกสู่ห้องเรียน
ซึ่งเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มากกว่าในห้องเรียนแต่จะต้องใช้สือ่ ให้เหมาะสมกับ
ผเู้ รียนด้วย ดังนนั้ ผู้สอนควรต้องประเมินค่าสื่อ ทีจ่ ะนำมาสอนให้ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ของการ
เรียน ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนทัศนคติของ ผเู้ รียนด้วย

Stempleski (2003) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของวิดีโอการสอนว่าในการใช้วิดีโอการ
สอนของครูเป็นสื่อว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคญั ในการทีจ่ ะทำให้การเรียนการสอนในชั้นเรียนโดย
ใช้วดิ ีโอประสบผลสำเรจ็ หรอื ล้มเหลวเนื่องจากผสู้ อนเปน็ ผู้ดำเนินการทกุ ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การ
เลือกวิดีโอใหเ้ หมาะสมกับผเู้ รียนและวตั ถปุ ระสงค์การเรียนรู้ จดั กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้
ผเู้ รียนควบคไู่ ปกบั การชม

Acadnets Infocom (2018) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของวิดีโอการสอนว่า ลักษณะภาพ
และเสียงของวิดีโอช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน ดึงดูดผู้เรียนในวงกว้างลดอุปสรรคของ
สถานที่และเวลาลงอย่างมาก จงึ สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังน้ี

1. การมีปฏิสัมพันธ์ การใช้เครื่องมือการเรียนรู้ด้วยวิดีโอ จะทำให้ชั้นเรียนที่ใช้วิดีโอมี
ลักษณะทีน่ า่ สนใจ และโต้ตอบได้มากกว่าเม่อื เทียบกบั เครื่องมือสอ่ื สิง่ พิมพ์ หวั ข้อที่ยากที่จะทำ
ความเข้าใจจะถูกสร้างขึ้นอย่างง่ายดายผ่านทางวิดีโอ ถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มอัตราการ
ตอบสนองของนกั เรียนได้มากขึ้นเป็นสีเ่ ทา่

343

2. ความสามารถในการเข้าถึงได้งา่ ย
ด้วยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นักเรียนสามารถเป็นผู้ควบคุมวิดีโอนับล้านที่มีอยู่บนเว็บได้ โดย
สามารถเข้าถึงได้บนอุปกรณ์หลายประเภท เช่น โทรศพั ท์มือถือ เดสกท์ อ็ ป แล็ปท็อป แท็บเล็ต
ฯลฯ ยังสามารถสตรีมไปยังบทแนะนำวิดีโอได้ทุกที่ทุกเวลา โดย ข้อจำกัด ด้านเวลายังคงไม่
เป็นอุปสรรคอีกตอ่ ไปในกระบวนการเรียนรู้

3. ความสามารถทางการทำซ้ำ
การเรียนรู้ด้วยวิดีโอสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ โดยความสามารถในการดูวิดีโอ 100 ครั้งดู
เหมอื นจะง่ายขึ้น และยงั สามารถเลน่ ซ้ำหยุดชวั่ คราวย้อนกลับ หรอื สง่ ต่อ วิดีโอได้ตามตอ้ งการ

4. สร้างการเรยี นรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึน้
ด้วยเทคโนโลยีของวิดีโอผู้เรียนสามารถรับ ภาพที่ซับซ้อนที่สุดได้ในคลิกเดียว คือการศึกษา
สามารถกลายเปน็ เรื่องจริงมากขึ้นแทนที่จะเป็นนามธรรมผ่านการแทรกแซงของวิดีโอในระบบ
การสอน

5. สามารถสร้าง หอ้ งเรียนกลบั ด้าน
ในปัจจุบันผู้สอนสามารถติดตามเส้นทางการเรียนรู้แบบผสมผสาน หรือเทคนิคการเรียนแบบ
พลิกห้องเรยี น โดยวิดีโอการสอนทำหน้าที่ช่วยสำหรบั วิธีการสอนดังกล่าว โดยส่งเสริมแนวคิด
ที่ถกู ต้องกลายเปน็ ง่าย สำหรับผู้เรยี น โดยใช้วดิ ีโอการเรียนรู้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ

6. สามารถใหข้ ้อเสนอแนะ และให้ความชว่ ยเหลอื ทีเ่ หมาะสม
คุณลักษณะข้อเสนอแนะในชั้นเรียนที่ใช้วิดีโอ จะมีคุณลักษณะที่สำคัญที่สุด ซึ่งช่วยอำนวย
ความสะดวกให้ผู้สอนเข้าใจนักเรียนในทางที่ดีขึ้น ให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับความต้องการของ
นักเรียน หรอื พืน้ ที่ทีน่ กั เรียนกำลังสงสัย ด้วยเหตุน้คี รูจึงสามารถระบุจุดที่นักเรียนต้องทบทวน
หรอื วิดีโอทีด่ กี ว่าได้ภายในเวลาไมน่ าน

Max Bevan (2019) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของวิดีโอการสอนว่า นักเรียนในปัจจุบัน
ใช้วิดีโอเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ทุกอย่างตั้งแต่ทักษะพื้นฐาน เช่นการเปลี่ยน
ยางรถยนต์ไปจนถึงความคลั่งไคล้ในสิ่งต่างๆที่ตนเองชอบ ที่น่าสังเกต คือคนรุ่นใหม่ คิดเป็น
92% ของผู้ชมที่ดูวิดีโอ หัวข้อนามธรรมที่ครั้งหนึ่งเคยดูยากในการสอน และเรียนรู้สามารถ
เข้าถึง และเข้าใจได้มากขึ้นเนื่องจากมีวิดีโอเพื่อการศกึ ษาสำหรบั การเรียนรู้ออนไลน์ และ การ
ใช้คลิปวิดีโอส้ัน ๆ ช่วยใหก้ ารประมวลผล และการทบทวนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะภาพ
และการได้ยินของวิดีโอดึงดูดผู้ชมจำนวนมาก และช่วยให้ผู้ใช้แต่ละรายประมวลผลข้อมูลใน
ลกั ษณะทีเ่ ป็นธรรมชาติสำหรับพวกเขา สรปุ วิดีโอคือครทู ีด่ ี โดยมีลกั ษณะดงั น้ี

344

1. วิดีโอช่วยสร้างประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสที่ดึงดูดมากกว่าการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
เพียงอย่างเดียว ผเู้ รียนจะได้เหน็ และได้ยินแนวคิดที่สอนและสามารถประมวลผลได้ในลักษณะ
เดียวกบั ที่พวกเขาประมวลผลปฏิสัมพันธใ์ นชีวติ ประจำวนั

2. เป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถรับชมได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต วิดีโอ
สามารถเข้าถึงได้บนอปุ กรณ์หลายประเภทรวมถึงแล็ปท็อปแทบ็ เลต็ และสมาร์ทโฟน ซึง่ ช่วยให้
สามารถรบั ชมได้ตามความสะดวกของนกั เรียนและจากทุกที่

3. วิดีโอช่วยเพิ่มการรักษาความรู้เนื่องจากสามารถหยุด และเล่นซ้ำได้หลายครั้งตาม
ต้องการ นอกจากนีย้ ังสามารถทบทวนได้นานหลังจากสอนบทเรียนเบือ้ งตน้ แลว้

4. ช่วยอย่างมากในการเรียนรู้ของทุกวิชา แต่โดยเฉพาะหัวข้อที่มีความซับซ้อนและ /
หรือมองเห็นได้ชัดเจนเช่นขั้นตอนทีละขั้นตอนการแก้ปัญหา หรือสูตรทางวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์

5. เพิ่มความเชี่ยวชาญในการรู้หนังสือดิจิทัล และการสื่อสารซึ่งเป็นทักษะสำคัญใน
ศตวรรษที่ 21

Anna Windermere (2020) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของวิดีโอการสอนว่า วิดีโอมี
ความสำคัญต่อนักเรียนเพราะสามารถเพิ่มมิติในการเรียนรู้อีกมิติหนึ่งที่ทำให้ประสบการณ์
การศึกษาของนักเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิดีโอช่วยให้บรรยากาศในชั้นเรียนมีชีวิตชีวาขึ้น
โดยนำเสนอมมุ มอง และเครือ่ งมือต่างๆที่โดยปกติแล้วนักเรียนอาจไม่สามารถใช้ประโยชน์จาก
การเรียนรไู้ ด้ โดยมีลกั ษณะ ดงั น้ี

1. ชว่ ยในการเรียนทางไกล
วิดีโอนั้นมีการใช้งานสามารถดูได้บนคอมพิวเตอร์ ผ่านดีวีดี หรือ สตรีมออนไลน์
รวมถึงอปุ กรณ์เคลือ่ นที่ พวกเขาให้การเข้าถึงสำหรับผเู้ รียนที่ไม่สามารถอยู่ในห้องเรียนได้ แม่
ของเด็กเล็กสามารถเรียนรู้จากที่บ้านได้ในขณะที่ยังเรียนกับลูก ๆ วิดีโอการสอนช่วยนักเรียน
และผู้ใหญ่ประหยัดค่าขนส่ง และเวลาเดินทาง อนุญาตให้นักเรียนที่ไม่สามารถเข้าชั้นเรียนที่
โรงเรียน หรือวิทยาลัยได้ เนื่องจากเจ็บป่วย หรือพักร้อนเพื่อติดตามบทเรียนที่พลาดจาก
สถานที่ใดก็ได้ วิดีโอแนะนำยังช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนจากอาจารย์ที่เป็นที่รู้จัก
กันดีว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตน แต่นักเรียนไม่สามารถเข้าถึงได้เนื่องจากระยะทางเช่น
อาจารยใ์ นตา่ งประเทศ อาจารย์ด้านวิดีโอเหล่านี้อาจเพิ่มมิติอน่ื ใหก้ บั การเรียนรู้ของนักเรียนใน
สาขาทีโ่ รงเรียนในพื้นที่ไมส่ ามารถใหบ้ ริการได้

345

2. การทำซ้ำ
ความสามารถในการหยุดชั่วคราวย้อนกลับหยุด และเล่นวิดีโอบทแนะนำที่บันทึกไว้
จากดีวีดี หรือออนไลน์ช่วยให้นักเรียนเล่นซ้ำประเด็นสำคัญที่พวกเขาต้องจำซึ่งจำเป็นสำหรับ
การรักษาความจำในการเตรียมตัวสำหรับการสอบ ในห้องเรียนสดการพลาดสิง่ ที่ผู้สอนพูดใน
ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นเรื่องง่าย แต่ด้วยวิดีโอสอนการใช้งานบันทึกย่อสามารถตรวจสอบ
ความถกู ต้องได้ บทเรียนในรปู แบบวิดีโอช่วยใหน้ กั เรียนสามารถมุ่งเน้นไปที่กลมุ่ เฉพาะและเล่น
ข้อมลู ได้อย่างครบถ้วน
3. มีมัลติมเี ดียชว่ ยส่งเสริม
วิดีโอสอนช่วยนำเสนอประสบการณ์หลายมิติซึ่งอาจรวมแผนภูมิสไลด์ภาพถ่ายกราฟิก
คำบรรยายภาพหน้าจอคำบรรยายบนหน้าจอ เพลง และวิดีโอสด สิ่งนี้ช่วยให้นักเรียนที่มี
ความสามารถในการเรียนรู้ทีแ่ ตกต่างกันสามารถเกบ็ ข้อมูลไว้ในวิธีการที่เหมาะสมกบั พวกเขา
มากขึ้น ยิ่งมีการใช้เครื่องมือในวิดีโอสอนมากเท่าไหร่นักเรียนก็จะต้องมุ่งเน้นทำความเข้าใจ
และเก็บรักษาข้อมูลมากขึ้นเท่านั้น สื่อมัลติมีเดียเหล่านี้อาจมีความซับซ้อนหรือใช้เวลานาน
เกินไปในการใชเ้ ปน็ ประจำในสภาพแวดล้อมในห้องเรยี นจริง
4. การโต้ตอบ
วิดีโอแนะนำการใช้งานที่อนุญาตให้มีการโต้ตอบ เช่นบทเรียนเกี่ยวกับซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์เป็นแนวทาง "ลงมือปฏิบัติ" ที่สามารถช่วยเสริมสร้างข้อมูล แทนที่จะได้ยินหรือ
เห็นข้อมูลนักเรียนสามารถตอบสนองต่อการแจ้งเตือนโดยใช้แป้นพิมพ์และเมาส์เพื่อตอบ
คำถามหรือเข้าถึงคุณลักษณะการเรียนรู้เพิ่มเติม วิดีโออาจมาพร้อมกับเอกสารที่สามารถ
ดาวน์โหลดได้โดยมีโครงร่างของบทเรียนวิดีโอ หรือโน้ตพร้อมช่องว่างเพือ่ ให้นักเรียนพิมพเ์ มื่อ
ดูวิดีโอบทแนะนำ ด้วยการใช้คุณลักษณะแบบโต้ตอบเหล่านี้นักเรียนอาจได้รับประโยชน์จาก
การรู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ การโต้ตอบอีกประเภทหนึ่งเกี่ยวข้องกับการสื่อสารสองทางที่
สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างนกั เรียนและครูวิดีโอหากวิดีโอถูกส่งแบบสดทางออนไลน์แม้ว่าจะอยู่
ในสถานที่ทางกายภาพที่แตกต่างกนั ก็ตาม – ผ่านเวบ็ แคมไมโครโฟน และซอฟตแ์ วร์แชท
นิชิโมโต (2538) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของวิดีโอการสอนว่า การนำเสนอด้วยภาพ
และเสียงได้พัฒนาในรูปของสื่อโทรทัศน์และวิดีโอซึ่งเปิดใช้ง่าย โดย ไม่ต้องปิดห้องมืด เพียง
การปรับปมุ่ สองหรอื สามปุ่มก็สามารถเริ่มต้นการรับชม อีกท้ังยงั กระตนุ้ ให้ผู้ชม เกิดความรู้สึก
ใกล้ชิดเสมือนหนึ่งเป็นสื่อส่วนตวั ดังนั้น วิดีโอจึงเป็นสื่อที่มีอำนาจมากในการช่วยเสริม และ
ทดแทนภาระหน้าที่ในการสื่อสารขั้นหนึ่งของผู้สอน โดยสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์ของ
ผู้เรียนให้กว้างขวางใน 3 ด้านด้วยกันคือประสบการณ์ในมิติแห่งความจริง (Reality) มิติแห่ง

346

การเวลา (Time) และมิติแห่งสถานที่ (Space) ยิ่งกว่านั้นการนำเสนอแสง เสียง ดนตรี
ภาพสวย ๆ และขนบธรรมเนยี ม ประเพณีทางวิดโี อยิง่ เปน็ เสน่หด์ ึงดูดมากยิ่งข้ึน

กิดานันท์ มลทิ อง (2543) ได้กลา่ วถึง ความสำคญั ของวิดีโอการสอนว่า มีดงั นี้
1. สามารถใช้สภาพการณ์ที่ผู้เรียนมีจำนวนมาก และผู้สอนมีข้อจำกัดเพราะ

สามารถแพร่ ภาพและเสียงไปตามหอ้ งเรียนต่าง ๆ และผเู้ รียนที่อยูต่ ามบ้านได้
2. เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันได้สะดวก

ในรปู แบบสื่อ ประสม
3. เปน็ สือ่ ทีช่ ว่ ยเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอนได้โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ

หรอื ผทู้ ีม่ ี ความสามารถพิเศษในแต่ละแขนงวิชา มาสอนโดยใช้วดิ ีโอได้
4. สามารถสาธิตได้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนเห็นสิ่งที่ต้องการเน้น โดยใช้

เทคนิคการถา่ ยใกล้ (Close up) เพื่อขยายภาพหรอื วัสดุใหผ้ เู้ รียนเหน็ ท่ัวถึงกันอย่างชดั เจน
5. ช่วยปรับปรงุ เทคนิคการสอนของครูประจำและครฝู กึ สอน
6. เปน็ สือ่ ที่สามารถนำรปู ธรรม มาประกอบการสอนได้สะดวกรวดเรว็ ช่วยให้

ผเู้ รียน ได้รับความรทู้ ี่ทนั สมัย
ภัทรวดี สว่างภพ (2554) ได้กลา่ วถึง ความสำคญั ของวิดีโอการสอนวา่ มีดังนี้
1. สามารถนำสง่ิ ที่อยู่ภายนอกหอ้ งเรียนเข้ามาสู่ผเู้ รียนในหอ้ งได้
2. สามารถใช้เทคนิคในการถ่ายทำเพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นสิ่งที่เล็กมากๆได้อย่าง

ชัดเจนดว้ ยตาเปล่าทั้งนีก้ ด็ ้วย วิธีการถ่ายทำคือ การจับภาพระยะใกล้ (closeup), (extreme
close up) หรอื ให้ได้เหน็ ภาพแบบกว้างไกล (angle long shot and wide)

3. สามารถใช้เทคนิคการถ่ายทำให้ผู้เรียนเห็น และเกิดความเข้าใจใน
กระบวนการบางอย่างซึ่งมนุษย์เราไม่ สามารถเห็นได้ตามปกติ เช่น เทคนิคการถ่ายทำภาพ
อนิเมชนั่ (animation) ช่วยทำให้สิ่งทีไ่ ม่มชี ีวติ เคลื่อนไหวได้เหมอื นกับ สิ่งมีชีวติ

4. สามารถใช้เทคนิคการซ้อนภาพ (superimposition) จากแหล่งสัญญาณภาพ
2 แหลง่ ใหป้ รากฏอยูใ่ นจอได้ ในเวลาเดียวกนั

5. สามารถเสนอภาพและเสียงจากสื่ออื่น ๆ ที่ใช้กันในสถานการณ์การเรียน
การสอนได้เกือบทกุ ชนิดซึง่ ทำให้รายการสอนน้ันน่าสนใจ และชวนใหน้ า่ ติดตามมากขึ้น

6. สามารถตดั ตอ่ แก้ไข หรอื เพิม่ เติมเน้ือหาให้ทันสมัยอยูเ่ สมอ ทำให้การเรียน
การสอนเกิดประโยชน์ตรงกับ ความต้องการของผู้สอน โดยไม่สิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่าย
มากขึ้น

347

7. สามารถเผยแพร่ความรู้ออกไปได้อย่างกว้างขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการ
บันทึกภาพมีขนาดเล็ก จึงสามารถ นำไปถ่ายทำรายการได้สะดวก สามารถบันทึกเหตุการณ์
หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ในทันที และเก็บไว้สอนต่อไปได้ไม่จำกัด เวลา และสถานที่ และเมื่อ
สอนไปแล้วจะนำมาสอนอีกคร้ังก็ได้

8. วิดีโอการสอน เอื้ออำนวยให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้
เพราะสามารถดซู ้ำได้หลายคร้ังจนกว่า จะเข้าใจหรอื จดจำได้

9. วิดีโอการสอน สามารถช่วยครูผสู้ อนได้ด้วยการบันทึกภาพการสอนของครู
แล้วนำมาเปิด ชมเพื่อดูความบกพร่อง และข้อผิดพลาดนั้น ๆ เพื่อพัฒนาการสอนให้ได้ผลดี
ยิ่งข้นึ ได้ตลอดเวลา

จากการให้กล่าวถึง ความสำคัญของวิดีโอการสอน ของนักวิชาการ ที่กล่าวมาข้างต้น
สามารถสรุปได้ว่า ความสำคัญของวิดีโอการสอน เป็นวิดีโอที่เป็นสื่อที่สามารถ นำเสนอได้ทั้ง
ภาพ เสียง แสง สี ไปพร้อม ๆ กัน สามารถช่วยกระตุ้น และดึงดูดความสนใจต่อผู้เรียน
ที่สำคัญสามารถรวม เอาสื่อหลากหลายชนิดไว้ในวิดีโอ เพียงชิ้นเดียว ทำให้ดึงดูดความสนใจ
ของผู้เรยี น และยังใช้สอนผู้เรยี นได้ ท้ังรายบุคคล กลมุ่ ผู้ที่เรียนขนาดเล็ก และกลุ่มผู้เรียนขนาด
ใหญ่อีกทั้งสามารถเปิดชมได้ทุกเวลาตามต้องการ และสามารถบังคับการเลื่อนลำดับภาพ
เดินหน้า ถอยหลังหรือหยุดดูภาพได้ทุกที่ทุกเวลา และยังสามารถทบทวนดูวนซ้ำได้ตาม
ต้องการ ทุกที่ทุกเวลาทีผ่ ู้เรยี นสะดวก
ภาพรวมของกระบวนการผลิตวิดีโอการสอน

ในการผลิตวิดีโอการสอนสิ่งที่ผู้สอนจำเป็นต้องทราบถึงรายละเอียดเพื่อวางแผนใน
การถา่ ยทำ ในการใช้เคร่อื งมอื ต่าง รวมไปถึงการตงั้ ค่าขนาดของวิดโี อ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ความละเอียดของวิดีโอ (Video Resolution)

ความละเอียดของวิดีโอหรือขนาดของวิดีโอ เป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดอุปกรณ์ในการ
ถา่ ยทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรบั ผสู้ อนที่ต้องการกล้องสำหรบั บันทึกวิดีโอ เร่ืองแรกที่จะต้อง
ดูคือ คุณภาพของวิดีโอ ว่ากล้องนั้น ๆ บันทึกวิดีโอได้คุณภาพสูงหรือมีความ
ละเอียด (Resolution) สูงขนาดไหน รองรับกับงานของผู้สอนหรือไม่ จะต้องเลือกคุณภาพไฟล์
แบบไหน รูปแบบไฟล์ใด เครื่องบันทึกสามารถรองรับกับไฟล์นั้น ๆ ได้หรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว
เวลาที่เรยี กความละเอียดหรอื คุณภาพของไฟล์วิดีโอ จะเรียกขนาดภาพในแนวตั้งเป็นหลัก เช่น
Full HD 720P 1080p 4K เป็นต้นแสดงตามภาพ

348

ช่อื ความละเอียดของวดิ โี อ ขนาดของวดิ ีโอ ช่อื เรียนอืน่ ๆ
8K
2K 7680 x 4320 pixels 8K, 8K UHD
4K
2560 x 1440 pixels 4K, 4K UHD
1080P
720P 3840 x 2160 pixels 4K, 4K Ultra HD, 4K Ultra-High
480P
Definition
360P
240P 1920 x 1080 pixels Full HD, FHD, HD, High Definition

1280 x 720 pixels HD, High Definition

640 x 480 pixels Standard Definition
854 x 480 pixels

640 x 360 pixels

320 x 240 pixels

ภาพที่ 11.1 ความละเอยี ดของวดิ ีโอ

ภาพจาก นรินธน์ นนทมาลย,์ 2563

ภาพที่ 11.2 ความละเอยี ดของวดิ ีโอ
ภาพจาก

เมื่อผู้สอนทราบถึงความละเอียดของวิดีโอที่ต้องการใช้ จะทำให้ผู้สอนออกแบบการ
เลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายทำ ปัจจุบันกล้องถ่ายภาพที่สามารถถ่ายวิดีโอได้หรือสมาร์ท
โฟนสามารถถ่ายวิดีโอได้ในความละเอียดที่สูง สิ่งต่อมาที่ผู้สอนควรพิจารณาคือ ในการตั้งค่า
ระบบในการถ่ายทำ หรืออดีตจะเรียกว่า ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ประกอบไปด้วย
NTSC PAL SECAM โดยแตล่ ะระบบมีรายละเอียดดงั นี้

349

NTSC (National Televion Standards Committee) เป็นระบบโทรทัศน์สีระบบแรกที่ใช้
งานในประเทศสหรัฐอเมรกิ า ประเทศทีใ่ ช้ระบบนีต้ ่อ ๆ มาได้แก่ ญีป่ ุ่น แคนาดา และเมก็ ซิโก

PAL (Phase Alternation Line) เป็นระบบโทรทัศน์ที่พัฒนามาจากระบบ NTSC ทำให้มี
การเพี้ยนของสีน้อยลง ในประเทศทางแถบยุโรป คือ อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล
เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน และประเทศในแถบเอเซียที่ใช้กันคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมไปถึง
ประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้

SECAM (SEQuentiel A Memoire (memory sequential) เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบ
หนึ่งคิดค้นขึ้นโดย Dr.Henry D.France เริ่มใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 นิยมใช้กันอยู่หลายประเทศ
แถบยุโรปตะวนั ออก ได้แก่ ฝรัง่ เศส เยอรมนั ตะวันออก ฮงั การี ตูนีเซีย รมู าเนีย และรสั เซีย

โดยทั้ง 3 ระบบ NTSC PAL SECAM มีข้อแตกต่างกันที่ ความเร็วในการแสดง
ภาพเคลื่อนไหวต่อหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นเฟรมต่อวินาที ( fps) หรือ Frame Rate
เปรียบเสมอื นนำภาพนิ่งทีม่ ีขนาดภาพ หรอื มมุ กล้องแตกต่างกนั มาเรียงต่อกัน ซึ่งหากวิดีโอที่มี
ค่า Frame Rate จะทำให้วิดีโอมีการเคลื่อนไหวของภาพสมจริงและดูเนียนตาไม่ทำให้รู้สึกขัด
มากขึ้นเท่านั้น วิดีโอออกมา สมูท ลื่นไหล ถ้าหากกล้องที่สามารถถ่ายวิดีโอโดยตั้งค่า Frame
Rate สูง ๆ ได้ กล้องก็จะมีราคาสูงด้วยเช่นกัน โดยแต่ละระบบมีรายละเอียดของ Frame Rate
ดังน้ี

ระบบต่างๆ Frame Rate (fps)

ฟิลม์ภาพยนตร์ทั่วไป 24

วิดีโอระบบ NTSC 29.79

วิดีโอระบบ PAL 25

วิดีโอระบบ SECAM 25

ซีดรี อมและเว็บไซต์ 15

งาน 3D Animation 30 (Non Drop Frame)

ภาพที่ 11.3 เปรียบเทียบระบบ NTSC PAL SECAM กบั Frame Rate

350
อีกความแตกต่างของ ระบบ NTSC PAL SECAM คือ ระบบไฟฟ้าของแต่ละประเทศทีม่ ี

ความแตกต่างกัน อธิบายได้ตามภาพ

ภาพที่ 11.4
ภาพจาก https://jaijing.com/pal-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-ntsc/
ประเทศทีใ่ ช้กระแสไฟฟ้า 110v จะใช้เปน็ ระบบ NTSC ส่วนประเทศไทยใช้ไฟฟ้า 220V

ภาพที่ 11.5
ภาพจาก https://jaijing.com/pal-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-ntsc/

351
พอมาถึงในยดุ ปจั จุปัน ผสู้ อนอาจจะเลือกใช้ความละเอียดของวิดีโอ เป็น 720P 1080P
ซึ่งเป็นวิดีโอความละเอียดสูง ซึ่งผู้สอนอาจจะเคยเห็นคำว่า 1080i และ 1080p บางครั้งอาจะ
เป็น 1080i60 ,1080i50 และ 1080p60 ,1080p50 ซึ่งด้านหน้าจะเป็นความละเอียดของวิดีโอ
แล้วจะตามด้วย i หรือ p แล้วตามด้วยเลข 50 60 ซึ่งเลขด้านหลังเป็นจำนวนเลขของ Frame
Rate ที่แตกต่างกัน ซึ่งสิ่งที่เพิ่มเข้ามาในส่วนนี้ให้ผู้สอนสังเกตสิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็คือ i และ p
ซึ่ง i กับ p มีความแตกต่างกัน คือ i ก็คือ Interlaced p ก็คือ Progressive หมายถึงระบบ Scan
ภาพ อธิบายได้ดังภาพ

ภาพที่ 11.6 – 11.7 เปรียบเทียบการสแกนภาพแบบ Interlaced และ Progressive
https://jaijing.com/pal-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-ntsc/

352

p คือการ scan ภาพแบบ Progressive คือเรียกครอบทุกเส้นไม่มีเว้น เหมื่อนภาพ บน
แสดงภาพออกมาให้เห็นครบถ้วนทุก fields ใน 1 วินาทีมี 60 fields จะแสดงภาพที่เห็นเต็มทั้ง
ภาพ 60 ภาพ หรอื frames ซึ่งต่างจาก Interlaced ต้องนำสองภาพมารวมกันเราจึงจะเห็นภาพ
ได้สมบูรณ์การ scan ภาพมีมานานแล้วโดยในยุคแรกนำมาให้ใน computer ซึ่งบางครั้งเมื่อดู
ภาพผ่าน TV หรือ smartphone เราอาจจะไม่เห็นความต่าง ซึ่งจะเห็นความแตกต่างทันที่เมื่อ
ภาพเคลือ่ นที่เรว็ ดู ตามภาพตัวอย่าง

ภาพที่ 11.8 เปรียบเทียบการสแกนภาพแบบ Interlaced และ Progressive
ภาพจาก https://jaijing.com/pal-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-ntsc/

ภาพที่ 11.9 เปรียบเทียบการสแกนภาพแบบ Interlaced และ Progressive
ภาพจาก https://jaijing.com/pal-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-ntsc/

ภาพที่ 11.10 เปรียบเทียบการสแกนภาพแบบ Interlaced และ Progressive
ภาพจาก https://jaijing.com/pal-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-ntsc/

353

ไฟลภ์ าพหรอื กราฟิกทใ่ี ชใ้ นงานวิดีโอ
ไฟล์ภาพหรือกราฟิกที่ใช้ในงานวิดีโอแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ Vector กับ Bitmap ซึ่ง

Vector กบั Bitmap สามารถนำไปใช้ในการผลิตวิดโี อได้ทั้ง 2 ประเภท มีรายละเอียดคือ
1. Vector คือ ภาพชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม โดยใช้การวาดเส้นหรือวัตถุทรง

เรขาคณิตซึ่งมีความสามารถที่จะย่อและขยายได้โดยไม่เสียคุณภาพงาน ภาพไม่แตก ต้องใช้
โปรแกรมในการสร้างเวคเตอร์เท่านั้นในการเปิดเพื่อแก้ไขงาน โดยโปรแกรม Vector ที่นิยม
อย่าง เช่น โปรแกรม Illustrator (อิลาสเตเตอร์) GIMP Corel Draw Inkscape Vectr LibreOffice
Draw DrawBerry Boxy SVG Autodesk Graphic Pixelmator Pro Affinity Designer Sketch ข้อดี
ของไฟล์ vector คือทำงานใหญ่ ๆ ขยายงานได้แล้วภาพที่ได้จะไม่แตก ข้อเสียต้องใช้โปรแกรม
เฉพาะในการเปิดและไฟลน์ ั้นค่อนข้างหนกั รปู แบบไฟล์ เช่น PDF, SVG, EPS, AI

2. Bitmap คือไฟล์ภาพที่เห็นกันได้ปกติทั่วไปเช่น JPEG, BMP, Tiff, PNG, GIF ภาพที่
เกิดจากการนำจุดสีเล็ก ๆ มาเรียงตัวกันจนเกิดเป็นรูปภาพหรือที่เรียกว่าจุด Pixel ซึ่งภาพ
Bitmap เป็นภาพที่สามารถเปิดดูได้ง่ายไม่ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะทางแบบไฟล์ Vector แต่การ
ปรับขยายงานนั้นจะทำให้คณุ ภาพลดลงหรอื ภาพแตกได้ซึ่งต้องเลือกภาพมาให้ขนาดเหมาะสม
กับงานโดยที่ภาพยังคมชัดและดูสวยงาม ภาพไม่แตก ข้อดีคือสามารถดูได้ง่ายหลากหลาย
โปรแกรม ข้อเสียภาพทีม่ กี ารเรียงตัวเม็ดสีน้อย ๆ เมื่อขยายใหญ่มากภาพจะยิง่ แตก

ไฟล์ทั้ง 2 ประเภทนี้ไม่มีไฟล์ไหนที่ดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน เพราะไฟล์
แตล่ ะประเภทถูกสร้างข้ึนมาให้รองรับงานที่ต่างกัน ขนึ้ อยูก่ ับว่าเราจะใช้ทำงานประเภทไหน

ภาพที่ 11.11 เปรียบเทียบภาพ Vector กบั Bitmap
ภาพจาก https://crjdesign.co.uk/2019/11/15/vector-vs-bitmap-images/

354

ภาพที่ 11.12 – 11.13 เปรียบเทียบภาพ Vector กบั Bitmap
ภาพจาก https://crjdesign.co.uk/2019/11/15/vector-vs-bitmap-images/
รปู แบบไฟลเ์ สียง
เสียง ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการผลิตวิดีโอ เนืองจากวิดีโอนำเสนอทั้งภาพ
และเสียง โดยทว่ั ไปแล้วประเภทของไฟล์เสียงแบง่ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ Lossy Audio และ
Lossless Audio โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดคือ
1. Lossy Audio คือไฟล์ที่มีการบีบอัดแล้วเสียข้อมลู ไปบ้าง ยิ่งบีบอัดให้จำนวน Bitrate
น้อยลงเท่าไหร่ คุณภาพเสียงก็จะลดทอนลงไปเท่านั้น เสียงเพลงจากที่ได้ยินรายละเอียด
ครบถ้วนก็อาจจะลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ กลุ่มนี้จะค่อนข้างพบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ ไฟล์
ประเภท MP3, AAC, OGG, WMA เปน็ ต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.1 ไฟล์ MP3: ไฟล์เสียงที่ได้รับความนิยมที่สุดในปัจจุบัน ชนิดที่ว่าไม่มีใครไม่
รู้จักไฟล์นี้ MP3 เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดข้อมูลทำให้ไฟล์ประเภทนี้มีขนาดเล็กลงมาก ลดลง
ประมาณ 10 เท่าเมื่อเทียบกับไฟล์ wave อีกทั้งยังให้คุณภาพเสียงที่ดีและรองรับได้หลาย
อุปกรณอ์ ีกด้วย ปจั จุบนั มีการพัฒนาขึน้ มาเป็น .mp4 ซึ่งมีขนาดเลก็ ลงอกี แต่ได้คุณภาพเสียงที่
ดีข้ึน โดยยงั ไม่เป็นที่นิยมมากนกั

1.2 ไฟล์ WMA: ย่อมาจาก Windows Media Audio เป็นไฟล์เฉพาะของทาง
ไมโครซอฟต์ ถือเป็นคู่แข่งโดยตรงกับไฟล์ .mp3 เลยทีเดียว เนื่องจากมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน
แต่มีขนาดไฟล์ที่เล็กกว่านั่นเอง ทั้งนี้ .wma ยังรองรับการ Streaming ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย

355

เนื่องจากขนาดไฟล์เล็ก ทำให้ผู้ใช้บริการโหลดคอ่ นข้างไว ถือว่าได้รับความนิยมในมุมของการ
เล่นเพลงผ่านอินเทอร์เนต็ พอสมควร

1.3 ไฟล์ AAC: ถูกพัฒนามาจากไฟล์ประเภท MPEG-2 ซึ่งจุดเด่นของ .aac จะ
มีขนาดไฟล์ที่เล็กมาก อีกทั้งยงั ได้คณุ ภาพทีด่ ีสูงกว่า .mp3 อีกด้วย รองรับอัตราการเล่นไฟล์ที่
สูงถึง 576 Kbps นอกจากนีย้ ังสามารถแยกเสียงได้ถึงระบบ Dolby Digital 5.1 ด้วยเชน่ กัน

1.4 ไฟล์ OGG: รูปแบบไฟล์เสียงใหม่ล่าสุด ย่อมาจาก Ogg Vorbis ที่ใช้
เทคโนโลยีการบีบอัดไฟล์แบบใหม่ มีขนาดเล็กกว่า .mp3 แต่ให้คุณภาพเสียงที่ดีมาก รองรับ
Steaming ผ่านอินเทอร์เนต็ อีกด้วย สามารถเข้ารหัสเสียงได้ตั้งแต่แบบ Mono, Stereo ไปจนถึง
ระบบ 5.1 Surround Sound

2. Lossless Audio หมายถึง ไฟลท์ ี่ปราศจากการสูญเสีย ซึง่ จุดเดน่ ของไฟล์ประเภท
นี้อยู่ที่คุณภาพของเสียงที่ค่อนข้างทัดเทียมกับแผ่น CD จะสังเกตได้ว่าขนาดของไฟล์ค่อนข้าง
ใหญ่ ไฟล์กลมุ่ นอี้ าจจะพบเจอและตามหาได้ยาก แตห่ ากพบไฟล์นามสกุลจำพวกนีร้ ับรองได้ใน
ระดับหนึ่งเลยว่าเป็น Lossless แน่นอน ได้แก่ FLAC, M4A, Wav, Cda, THM, Aiff, APE, TTA,
WavPack เป็นต้น

2.1 ไฟล์ FLAC: ย่อมาจาก Free Lossless Audio Codec เป็นรูปแบบการ
บันทึกเสียงชนิดหนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูล แบบไม่สูญเสียของไฟล์เสียง
ดิจิทัล โดยขั้นตอนวิธีของไฟล์ FLAC จะสามารถประหยัดพื้นที่ขึ้น 50-60% ของไฟล์ต้นฉบับ
แต่ถ้าหากเปรียบเทียบในกบั ไฟล์ประเภท LOSSY Audio จะพบวา่ FLAC ที่เปน็ LOSSLESS จะมี
ขนาดใหญ่กว่ามาก เชน่ จากเดิมไฟลข์ นาด 5mb อาจเพิ่มเป็น 10mb

2.2 ไฟล์ M4A: พัฒนามาจาก AAC เดิม ซึ่งผู้ผลิต .m4a คือบริษัท Apple
หลาย ๆ คนที่เคยใช้ iTune จะคุ้นเคยกันดีกับไฟล์ประเภทนี้ เมื่อเทียบกับ .aac เดิมจะพบว่า
คุณภาพการบีบอัดของ .m4a จะมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังรองรับ Tagging Standard
ซึ่งสามารถเก็บได้ทั้งชือ่ เพลงและอลั บั้ม

2.3 ไฟล์ Wav: ถือเป็นไฟล์ Lossless ที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด สังเกตได้จาก
ไฟล์ที่มีนามสกุล .wav จัดเป็นไฟล์เสียงมาตรฐานที่ใช้กับ Windows เป็นหลัก จุดเด่นของไฟล์
ประเภทนี้ คือสามารถครอบคลุมความถี่เสียงได้ทั้งหมด ทำให้คุณภาพเสียงดีมากถึงมากที่สดุ
และยังให้เสียงในรูปแบบ Stereo แต่ข้อเสียคือไฟล์ .wav มีขนาดใหญ่ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ใน
การเกบ็ ข้อมูลมากเชน่ กนั

2.4 ไฟล์ Cda: จริงๆแล้ว CDA ย่อมากจาก CD Audio เป็นไฟล์ทีอ่ ยู่ในแผ่น CD
ซึ่งถูกจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล เหมือนกับไฟล์ Wave แต่ถูกบรรจุไว้ในแผ่นซีดีเพลงด้วยรปู แบบ

356

พิเศษ มีขนาดไฟล์ค่อนข้างใหญ่ ถ้าลองซื้อแผ่นซีดีเพลงมาหนึ่งแผ่นจะพบว่ามีเพลงประมาณ
10-12 เพลง แต่เนื้อที่ซีดีถกู ใช้จนเกือบหมด (500-800mb) แสดงให้เห็นว่าขนาดไฟล์ค่อนข้าง
ใหญ่ ถูกบีบอัดชนิดที่ว่าไม่สูญเสียเลยก็ว่าได้ แต่ข้อเสียคือไฟล์นี้จะถูกบรรจุในแผ่น CD
ไม่สามารถนำลงเคร่อื งได้เหมอื นไฟล์ท่ัว ๆ ไป ตอ้ งใชโ้ ปรแกรมพิเศษ

อย่างไรก็ดีไฟล์เสียงที่เห็นโดยทั่วไปก็จะมีประมาณนี้ แต่ก็ยังมีไฟล์เสียงที่ให้คุณภาพดี
ยิ่งกว่า LOSSLESS อีกอย่างเช่นพวก DSD (Direct Stream Digital) ที่จะให้ความละเอียดกว่า
CD ธรรมดาหลายเท่ามาก หากผู้สอนเข้าใจพื้นฐานและรู้จักประเภทไฟล์เสียงแล้ว อย่างน้อยๆ
ผสู้ อนก็สามารถเลือกไฟลเ์ สียงใหเ้ หมาะกับการผลิตวิดโี อ

รูปแบบไฟล์วิดีโอ
ผสู้ อนบางทา่ นอาจเคยได้ยินและรู้จกั สกลุ ไฟลว์ ิดีโอกันอยูบ่ ้าง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ผู้ที่คลุก

คลีอยู่กับงานวิดีโอตลอดก็ตาม และก็อาจจะไม่รู้ว่าแต่ละนามสกุลไฟล์นั้น หมายถึงอะไร และ
ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งรูปแบบไฟล์วิดีโอที่ความสำคัญในการผลิตวิดีโอ โดยสกุลไฟล์
วิดีโอที่ได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เช่น AVI WMV MPEG MPEG4 MOV DivX DAT
FLV MKV VOB 3GP เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดงั นี้

1. รูปแบบไฟล์ .avi หรือ Audio Video Interleave พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ เปน็ รูปแบบ
การบีบอัดไฟล์ข้อมูลที่น้อย เมื่อเทียบกับ Format อื่นๆ จึงทำให้ได้ไฟล์ที่มีคุณภาพที่ดีทั้งภาพ
และเสียง แต่มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่กว่า .MPEG และ .MOV สามารถนำไปใช้งานได้หลาย
สถานการณ์ เหมาะกับงานตดั ตอ่ ทีต่ ้องการคุณภาพสงู แตอ่ าจเปน็ ปญั หากับผใู้ ช้ที่มีพื้นที่จำกัด
หรือคอมพิวเตอร์ที่ไม่แรงพอได้ นอกจากนี้ AVI ยังรองรับการใช้งานกับเครื่องเล่น MP-3 หรือ
MP-4 และ Window Media Player ได้ ซึง่ ถือวา่ เปน็ ไฟล์ต้นฉบับของ window ก็ว่าได้

2. รูปแบบไฟล์ .wmv หรือ Window Media Video เป็นรูปแบบไฟล์ที่ได้รับการพัฒนา
จากไมโครซอฟทเ์ ช่นเดียวกันกบั .avi มีใหใ้ ช้งานในระบบปฏิบตั ิการ Window และเป็นมาตรฐาน
ที่ใช้งานได้กับโปรแกรม Window Media Player นั่นเอง ไฟล์ WMV มักจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก
เมื่อพิจารณาจากจำนวนข้อมูลวิดีโอที่เก็บไว้ ด้วยขนาดที่เล็กทำให้ WMV สามารถใช้งานไดบ้ น
เว็บไซต์โดยไม่ต้องเพิ่มความเร็วในการโหลด ข้อเสียที่สำคัญของ WMV คือความเข้ากันได้กบั
แพลตฟอร์มทีไ่ มใ่ ช่ Windows

3. MPEG file หรือ Moving Picture Experts Group เป็นรูปแบบไฟล์ที่ได้รับความนิยม
มากเช่นกัน มีการบีบอัดมาก ทำให้ได้ไฟล์ขนาดเล็กแต่ยังให้คุณภาพที่ดี แบ่งได้ 3 รูปแบบคือ
MPEG-1 (MPEG (Motion Picture Export Group) layer1) เป็นไฟล์ที่ให้ความละเอียดของภาพ
ระดับปานกลางและใช้เป็นไฟล์พื้นฐานที่จะนำไปบันทึกในรูปแบบ VCD, MPEG-2 (MPEG

357

(Motion Picture Export Group) layer2) เป็นไฟล์วิดีโอที่มีคุณภาพสูงขึ้น มีความคมชัดของภาพ
ในระดับที่ดี แต่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและเป็นไฟล์พื้นฐานในการนำไปบันทึกในรูปแบบ DVD และ
MPEG 4 (MPEG (Motion Picture Export Group) layer2) ถือเป็นรูปแบบไฟล์ที่ได้รับความนิยม
เพิ่มมากเพราะให้คุณภาพของการแสดงผลได้ดีแต่เป็นไฟล์ที่มีขนาดไฟล์เล็ก จึงเหมาะสำหรับ
นำไปใช้งานในอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถเปิดชมได้ทั้งจากคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนด้วย
เชน่ กัน

**ไฟล์ XAVC S ของโซนี่เป็นการบันทึกฟอร์แมต MP4 ด้วยบิตเรตสูง ให้คุณภาพดี
รองรับความละเอียดสูงระดับ 4K ส่วนไฟล์ AVCHD เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างโซนี่และพา
นาโซนิค บันทึกด้วยไฟล์ MP4 H264 ขนาดไฟล์เลก็ กวา่ XAVC S แตบ่ ิตเรตตำ่ กว่า รองรบั ความ
ละเอียดระดับ HD มีความสามารถในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์จัดเก็บอื่นๆ นอกเหนือจาก
คอมพิวเตอร์สงู กวา่

4. MOV เป็นไฟล์ที่ได้รับการพัฒนาโดยแอปเปิล รองรับการเปิดชมผ่านโปรแกรม
Quick Time เพื่อการใช้งานบนเวบไซต์และมัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งถึงแม้จะเป็นของแอปเปิล แต่ก็
สามารถเปิดไฟล์ได้จากระบบปฏิบัติการ Window ด้วยเช่นกัน ไฟล์ MOV จะเก็บเสียงวิดีโอ
ไทม์โคด และแทรคข้อความ ซึ่งสามารถใช้ในการจัดเก็บและซิงโครไนซ์สื่อประเภทต่าง ๆ ได้
แตแ่ อพพลิเคชันจะต้องสามารถรบั รู้รหัสเฉพาะทีใ่ ช้ในไฟล์ ซึง่ ถือว่าเป็นไฟล์ต้นฉบบั ของ Apple
ก็วา่ ได้

5. DivX เป็นรูปแบบไฟล์วิดีโอที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากให้ความคมชัดระบบ
เดียวกบั DVD แตม่ ขี นาดไฟล์ที่เลก็ พอๆ กบั MPEG-4 เปิดใชง้ านกบั Divx Player หรอื ใช้ Codec
เพื่อให้รองรบั กับ Window Media Player ได้เช่นกัน

6. DAT.dat เป็นนามสกุลไฟลว์ ิดีโอทีใ่ ชใ้ นการบันทึกเป็น VCD มีการเข้ารหัสและบีบอัด
ไฟลค์ ล้ายๆ กบั MPEG-1 รองรบั การเปิดชมได้ท้ังเครือ่ งเลน่ VCD และโปรแกรมในคอมพิวเตอร์
อย่าง Power DVD หรอื Window Media Player เชน่ กนั

7. FLV .flv เปน็ ไฟลว์ ิดีโอประเภท Flash ที่ใชง้ านใน youtube มีการบีบอัดไฟล์ที่มีขนาด
เล็ก แตย่ งั ให้คุณภาพทีด่ แี ละรกั ษารายละเอียดของตน้ ฉบบั ไว้ได้เปน็ อยา่ งดี รวมทั้งยงั ใช้งานกับ
อปุ กรณอ์ ื่นๆ ที่รองรบั ระบบ Flash ด้วยเช่นกันแตป่ จั จบุ ันไม่ได้รบั การนยิ มมากนัก

8. MKV ไฟล์ MKV หรือที่รู้จักกันในชื่อไฟล์ Matroska Video มีต้นกำเนิดในรัสเซียในปี
2002 Lasse Kärkkäinenผู้พัฒนานำได้ร่วมงานกับผู้ก่อตั้ง Matroska, Steve Lhomme และทีม
โปรแกรมเมอร์เพื่อสร้างรูปแบบไฟล์คอนเทนเนอร์มัลติมีเดียที่ครอบคลุม มันได้รับชื่อมาจาก
คำภาษารัสเซียสำหรับ Nesting Dolls, matryoshka โครงการ Matroska ได้รับการพัฒนาเป็น

358

โครงการมาตรฐานแบบเปิดซึ่งหมายความว่าเป็นโครงการโอเพ่นซอร์สและไม่มีค่าใช้จ่าย
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ส่วนตัว บริษัท ยังมีทรัพยากรจำนวนมากบนเว็บไซต์ของพวกเขารวมถึง
รายการตัวเลือกการเล่น Matroska หรือ Matroska Multimedia Container ยังเป็นรูปแบบ
Container เหมือนกล่องที่บรรจุเอา ไฟล์ภาพ เสียง ซับไตเติล เข้าด้วยกัน ซึ่งไม่ใช่การ
Compression หรือการบีบอัด ทำให้ไม่สูญเสียคุณภาพของภาพหรือเสียงแต่อย่างใด โดย MKV
สามารถบรรจุ วิดีโอ เสียง รูปภาพ ซับไตเติล แต่ละชนิดบรรจุได้มากกว่า 1 ไฟล์ โดยมี
ฟอร์แมตต่างๆคือ .MKV files (matroska video), .MKA files (matroska audio) and .MKS files
(subtitles) Mastroska เป็นรูปแบบไฟล์ประเภท Open Source สามารถนำไปพัฒนาได้โดยไม่ติด
ลิขสิทธ์ โปรแกรมจำพวก Tools หรอื Player จงึ มใี ห้ใชก้ นั ได้ฟรี

9. VOB ไฟล์ VOB เป็นไฟล์ข้อมูลภาพยนตร์จากแผ่น DVD ซึ่งโดยปกติจะเก็บไว้ใน
โฟลเดอร์ VIDEO_TS ที่รูทของดีวีดี ประกอบด้วยข้อมูลส่วนใหญ่ที่เก็บไว้ในแผ่นดิสกซ์ ึ่งรวมถึง
วิดีโอเสียงคำบรรยายเมนู DVD และเนื้อหาการนำทางอื่น ๆ โดยปกติแล้วไฟล์ VOB จะ
จัดรูปแบบเป็นสตรีมระบบ MPEG-2 และสามารถเปิดได้โดยโปรแกรมการเล่นวิดีโอต่าง ๆ
เนื่องจาก DVD เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ใช้การคุ้มครองลิขสิทธิ์บางประเภทไฟล์ VOB ที่ดึงมาจาก
DVD อาจถูกเข้ารหสั ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดเมื่อพยายามคัดลอกไฟล์ไปยังตำแหน่งอื่น มี
โปรแกรมถอดรหัสจำนวนมากสำหรับการเล่นไฟล์ VOB โดยไม่มีข้อมูลประจำตัวที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตามโปรแกรมอาจผิดกฎหมายในบางประเทศ

10. 3GP ไฟล์ 3GP เป็นไฟล์มัลติมีเดียที่บันทึกในรูปแบบไฟล์เสียงและวิดีโอที่พัฒนา
โดยโครงการ Generation 3 Partnership (3GPP) จัดเก็บวิดีโอและกระแสข้อมูลเสียงที่ส่ง
ระหว่างโทรศัพท์มือถือ 3G และผ่านทางอินเทอร์เน็ต รูปแบบ 3GP จัดเก็บวิดีโอสตรีมเป็น
H.263 หรอื H.264 และสตรีมเสียงเป็น AMR-WB, AMR-WB +, AMR-NB, AM-AAC v1, AAC-
LC หรือ Enhanced aacPlus ไฟล์ 3GP มักใช้งานโดยโทรศัพท์มือถือ 3G ที่รองรับการจับภาพ
วิดีโอ แตอ่ าจเลน่ บนโทรศพั ท์ 2G และ 4G บางรนุ่
ขน้ั ตอนการผลิตวิดีโอ

ขั้นตอนในการผลติ วิดีโอสามารถแบง่ ออกเป็น 3 ขั้นตอน คอื (1) ขน้ั ก่อนการผลิต
(Pre – production) (2) ขน้ั การผลิต (Production) (3) ขนั้ หลังการผลติ (Post – Production)

359

1. ข้ันก่อนการผลิตวิดีโอ (Pre Production)
ในขั้นตอนแรกในการผลิตวิดีโอ คือ การวางแผน เนื้อหา บท (Planning / Content /

Scripting) ประกอบไปด้วยข้ันตอนทั้งหมดในภาพรวมคือ
1.1 วางแผน (Planning) แบง่ ออกเปน็
1.1.1 กำหนดวัตถปุ ระสงค์
1.1.2 กำหนดเป้าหมาย
1.1.3 จดั ลำดบั ข้ันตอนการทำงาน
1.1.4 กำหนดรูปแบบของการถา่ ยทำ
1.1.5 กำหนดสถานทีถ่ า่ ยทำ
1.1.6 กำหนดผู้รบั ผดิ ชอบในแตล่ ะขั้นตอน (Production team)
1.1.7 กำหนดงบประมาณ ค่าใชจ้ า่ ย
1.2 เนือ้ หา (Content) แบ่งออกเป็น
1.2.1 หาข้อมูลจากแหล่งตา่ งๆ
1.2.2 วิเคราะหข์ อ้ มลู เรียบเรียงเนือ้ หาให้ถูกต้อง
1.3 บท (Scripting) คือแปลงเรื่องราวออกมาเป็นภาพ เริ่มต้นที่ความคิด (Idea)

แล้ว ลงมือเขียนร่าง (Draft) เขียนให้เข้าใจง่าย (Simplify) ชัดเจน (Clarify) และ ตรงเป้าหมาย
(Aim) แบ่งออกเปน็

1.3.1 กำหนด Theme
1.3.2 เขียนบท Script , Shooting script โดยอาจจะเริ่มจาก (1) การเกริ่นนำ
(Introduction) หรือบทนำ (2) เนื้อเรื่องหรือตัวเรื่อง (Body) เพื่อขยายความ เนื้อเรื่อง และจุด
ไคลแมกซ์ (3) การสรปุ หรอื สง่ ท้าย (Conclusion)
1.3.3 กำหนด storyboard
1.3.4 ตรวจแก้ไขก่อนนำไปถ่ายทำ
ในข้ันการวางแผนผสู้ อนควรคำนึงถึง คือ (1) ผลติ รายการอะไร (2) เป้าหมายคือใคร
(3) เนือ้ หาอยา่ งไร (4) รูปแบบไหน (5) งบประมาณเทา่ ไร โดยมีรายละเอียด ดังน้ี

1.1.1 การกำหนดวัตถปุ ระสงค์
การกำหนดวัตถุประสงค์เป็นการคาดหวังถึงผล ที่จะเกิดกับผู้ชม เมื่อได้รับชม
รายการไปแล้ว ทุกเรื่องที่นำมาจัด และผลิตวิดีโอ ผู้ผลิตจะต้องกำหนด วัตถุประสงค์วามุ่งจะ
ให้ผู้รับได้รับหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ หรือพฤติกรรมในด้านใดบ้าง การกำหนด
วัตถุประสงค์อาจตง้ั หลายวตั ถปุ ระสงคก์ ไ็ ด้

360

1.1.2 กำหนดเป้าหมาย
ในการผลิตสื่อทุกชนิดจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายหลัก (target
group) เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถเลือกใช้สื่อได้ตรงตามที่กลุ่มเป้าหมายเปิดรับ สามารถกำหนด
เนื้อหา และรูปแบบได้ตรงตามที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ ซึ่งจะทำให้การผลิตสื่อประสบ
ความสำเร็จ วิธีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายช่วยให้คุณกำหนดผู้ที่ต้องการเข้าถึงได้
กลมุ่ เป้าหมายคือกลุ่มคนทีม่ ีความสนใจ เป้าหมาย และข้อมลู ประชากรเฉพาะตามที่ ประมาณ
ไว้ ซึง่ ได้แก่
กลุ่มประชากร : เลือกอายุ เพศ สถานะความเป็นบิดามารดา
ข้อมูลประชากรโดยละเอียด : การเข้าถึงผู้ใช้ตามคุณสมบัติร่วมแบบกว้างๆ
เพิ่มเติมเชน่ นกั ศึกษาวิทยาลัย หรอื พ่อแม่มอื ใหม่
ความสนใจ : เลือกหมวดหมู่กลุ่มเป้าหมายที่มี เพื่อให้เข้าถึงผู้ที่สนใจหัวข้อใด
หัวข้อหนึ่ง แม้ว่าอาจกำลังเข้าชมเกี่ยวกับหัวข้ออื่นๆ อยู่ก็ตาม ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
กลมุ่ เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มความสนใจ : เพิ่มการรับรู้ และกระตุ้นการพิจารณา
วิดีโอ โดยการเข้าถึงผู้ที่มคี วามสนใจอยา่ งมากในหัวข้อทีเ่ กี่ยวข้องอยู่แล้ว
กลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มความสนใจที่กำหนดเอง : สำหรับกลุ่มเป้าหมายตาม
กลุ่มความสนใจที่กำหนดเอง คุณจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะวิดีโอของตนเองได้มากกวา่
กลุ่มเป้าหมายของเราที่มคี วามสนใจในลักษณะที่กว้างอย่างผชู้ มโทรทัศน์
1.1.3 จัดลำดับขั้นตอนการทำงาน
ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ในการจัดลำดับขั้นตอนการทำงาน
ไมว่ า่ จะเปน็ การวางแผนการผลิต การเตรียมการผลิต การใชว้ สั ดุอุปกรณ์ในการผลิต และการ
ประเมินผลการผลิต กำหนดรูปแบบของการถ่ายทำ รวมไปถึงด้านบุคลากรที่จะต้องปฏิบัติ
หน้าที่ต่าง ๆ ต้องมีการวางแผนในการผลิตให้ครอบคลุมในสิ่งที่ต้องการมากที่สุด และผู้ชม
เข้าใจได้งา่ ย โดยมีวิธีการจดั ลำดับข้ันตอนการทำงานดงั น้ี (ปิยะดนัย วิเคียน, 2560)

1.1.3.1. Why (ผลิตรายการทำไม)
ในการผลิตรายการก่อนอืน่ ใดทั้งหมด ผู้ผลิตจะต้องเข้าใจตนเองอยา่ ง
ชดั เจนก่อนว่ามีวตั ถปุ ระสงคอ์ ะไร หรือมีความจำเปน็ อะไรทีจ่ ะต้องทำการผลิต เช่น

– เพื่อการสอน (รายการเพื่อการศกึ ษา)
– เพื่อแจ้งข่าวสาร (รายการขา่ ว)
– เพื่อบนั ทึกเหตกุ ารณ์ (รายการสารคดี)

361

– เพือ่ ให้ความเพลิดเพลิน (รายการบันเทิง)
1.1.3.2. Who (เพื่อใคร)
ข้อสำคัญต่อมากค็ ือ ผู้ชมทีเ่ ปน็ เป้าหมายคือใคร เช่น

– เดก็ นกั เรียน นักศึกษา
– ครู ปัญญาชน
– ผใู้ หญ่
– ผชู้ มทวั่ ไป
1.1.3.3. What (ผลติ เรือ่ งอะไร)
เมื่อกำหนดเป้าหมายของกลมุ่ ผู้ชมได้แลว้ จะต้องกำหนดเนือ้ หาสาระ
ซึง่ ต้องสอดคล้องกบั วัตถปุ ระสงค์ด้วย เชน่
– จะสอนเรื่องอะไร
– จะแจง้ ข่าวอะไร– จะบันทึกเหตกุ ารณอ์ ะไร
– จะให้ความบันเทิงอะไร
1.1.3.4. How (รูปแบบอย่างไร)
ในการผลิตรายการวีดิทัศน์ผผู้ ลติ จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบวา่ จะ
ผลติ รายการในรูปแบบใด จึงจะสอดคล้องกับเนือ้ หาให้มากที่สดุ เชน่
– รูปแบบการอา่ นรายงาน (Announcing)
– รูปแบบการสนทนา (Dialogue)
– รปู แบบสารคดี (Documentary)
– รูปแบบละคร (Drama)
1.1.3.5. มีความเข้าใจในการใช้เครื่องมือ เทคนิควิธีการในการผลิต
โดยท่วั ไป เช่น เข้าใจการถ่ายภาพ มมุ มองภาพในระยะต่าง ๆ การเขียนบท ตลอดจนเจ้าหน้าที่
ทีเ่ กี่ยวกับกบั การผลิต
1.1.3.6. ต้องตระหนักว่าทุกภาพ ทุกเสียงที่แพร่ไปถึงผู้ชมต้องมี
ความหมายกระจ่างชัดในตัวของมันเอง ทั้งนี้สื่อวีดิทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียว ไม่สามารถ
ซกั ถาม และตอบโต้ตอบได้
1.1.3.7. ผผู้ ลติ จะต้องเตรียมการให้ครอบคลุมข้ันตอนตา่ ง ๆ ดงั น้ี
1.1.3.7.1 เนื้อหาของรายการ (Program Content) เนื้อหาของ
รายการจะต้องนา่ สนใจและดงึ ดูดผชู้ ม

362

1.1.3.7.2 ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการ (Budget) ผู้ผลิต
รายการตอ้ งคำนึงถึงงบประมาณในการผลติ แต่ละครั้ง

1.1.3.7.3 บทวีดิทัศน์ ผู้ผลิตรายการต้องเขียนบทหรือจ้าง
เขียนบท และตอ้ งนำบทวีดิทัศนท์ ี่เรียบร้อยให้แก่ผู้เกีย่ วข้องในการผลิต

1.1.3.7.4 ผู้รับผิดชอบในการผลิต (Teams) ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการผลิต ผู้ผลิต ผู้เขียนบท ผู้กำกับรายการ ผู้จัดการกองถ่าย และฝ่ายทำหน้าที่หลัง
กองถ่าย

1.1.3.7.5 ตัวแสดง (Talent) ควรเลือกผู้แสดงให้สอดคล้องกับ
บทวีดิทัศน์

1.1.3.7.6 อปุ กรณ์ทางเทคนิค (Technical Facilities) ได้แก่ ฉาก
และวัสดุ โดยผู้ผลิตต้องคุยเกี่ยวกับแนวคิดของรายการกับผู้ออกแบบฉาก เพื่อให้ออกแบบได้
ถกู ต้อง และเหมาะสมกบั วตั ถปุ ระสงค์ของรายการวีดีทศั น์

ดังนั้นก่อนการผลิตวิดีโอการสอน ผู้ผลิตจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ
ไม่วา่ จะเป็นด้านการวางแผนการผลิต การเตรียมการผลิต การใชอ้ ปุ กรณ์ในการผลิต และการ
ประเมินผลการผลิต

1.1.4 กำหนดรูปแบบของการถ่ายทำ
กำหนดรูปแบบของการถ่ายทำ หมายถึงการกำหนดสถานที่ในการผลิต
รายการแบ่งออกเป็น 2 แห่ง คือ ภายในห้องผลิตรายการและภายนอกห้องผลิตรายการ
สำหรบั การผลิตรายการในห้องผลติ รายการ (Studio) นั้น ผผู้ ลติ จะต้องเตรียมการจองห้องผลิต
และตัดต่อร่ายการล่วงหน้า กำหนดวันเวลาที่ชัดเจน กำหนดฉาก และวัสดุอุปกรณ์ประกอบ
ฉากให้เรียบร้อย ซึ่งจะต้องมีการจัดแสง จัดไฟ และสิ่งต่าง ๆ หรืออาจจะวางแผนการถ่ายทำ
Indoor หรือ outdoor แล้วในการถ่ายนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้าง ซึ่งปัจจุบัน อุปกรณ์ต่าง ๆ มี
ขนาดเล็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก โดยเฉพาะอยา่ งยิ่ง ถ้าหากต้องมีการจัดไฟในการ
ถ่ายทำ ผผู้ ลติ ควรมีการเตรียมความพร้อมในเรือ่ งของไฟคือ

363

ประเภทไฟในสตดู ิโอ

ภาพที่ 11.14 การจัดไฟในสตูดิโอ
ภาพจาก : research-system.siam.edu › DigitalMedia
การจัดแสงไฟในสตูดิโอเพื่อการถ่ายภาพนั้นจะมีการจัดแสงตำแหน่งหลักอยู่ 4 อย่าง
คือ
1. ไฟหลัก (key light or main light)
เป็นไฟทำหน้าที่ให้แสงสว่างกับสิ่งที่ถ่าย ตำแหน่งของไฟโดยทั่ว ๆ ไป จะอยู่
ใกล้กับกล้องถ่าย ภาพยนตร์ ในทิศทางเดียวกนั จะห่างจากเส้นแกนของเลนสไ์ มเ่ กิน 90 องศา
ไฟหลกั จะใช้สปอรต์ ไลท์ เปน็ ตวั ให้แสงสว่าง ดงั นน้ั ไฟทีเ่ กิดจากไปดวงนจี้ งึ เป็นเงาที่ดำเขม้
2. ไฟเสริม (fill light)
เนื่องจากแสงที่เกิดจากไฟหลัก เป็นแสงที่เข้มจึงทำให้ด้านที่โดนกับแสงจะ
สว่าง และด้านที่ไม่ โดนแสงจะมืด นอกจากนั้นแล้ว จะทำให้เกิดเงาที่น่าเกลียดบนวัตถุที่ถ่าย
จงึ จำเปน็ ต้องใช้ไฟหลบเงา เข้าชว่ ย เพื่อทำให้เงาอนั เกิดจากไฟหลกั จางลบไป อีกท้ังยังช่วยเพิ่ม
แสงในด้านมืดให้มีอัตราส่วนที่พอเหมาะกับด้านสว่างด้วย เพื่อช่วยให้บันทึกภาพในส่วนที่มืด
(ไฟหลักส่องไม่ถึง) มีรายละเอียดของ ภาพเพิ่มขึ้น ชนิดของไฟที่นำมาใช้กับไฟสว่ นนี้ จะเป็นไฟ
ที่ให้แสงนุ่มนวล เปน็ จำพวก OPEN LIGHT FLOOD

364

3. ไฟแยก (separation light or back light)
ไฟจากสองข้อแรกสามารถที่จะถ่ายภาพออกมาได้โดยมีรายละเอียดดีพอควร
แต่เพื่อเป็นการเน้นให้สิ่งที่ถา่ ยเด่นขึ้นแยกตัวออกมาจากฉาก จึงใช้ไฟดวงนี้ส่องไปยังสิ่งที่ถ่าย
อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะช่วย ให้มิติที่สามของสิ่งที่ถ่ายมีมากขึ้นไฟดวงนี้จะใช้สปอร์ตไลท์ที่มีกำลังไฟ
สูง โดยปกติจะสูงกว่าไฟหลัก (KEY LIGHT) อัตราส่วนระหว่าง 1/2 -1/6 ซึ่งแล้วแต่ความ
ต้องการของผู้ถ่ายตำแหนง่ ของไฟก็จะอยู่ ตรงข้ามกับไฟหลัก (KEY LIGHT) คือส่องมาจากท่สี ูง
ด้านหลงั ของสิง่ ทีถ่ า่ ย
4. ไฟฉาก (background light)
ไฟที่ส่องไปยังฉาก เพื่อให้ฉากมีความสว่าง โดยปกติจะใช้ไฟ ประเภท flood
light ซึ่งจะให้แสงที่นิ่มนวลไฟชนิดนี้ จะเป็นตัวสร้างบรรยากาศของฉาก ให้มีมากยิ่งขึ้นตาม
ความประสงค์
ความเขม้ ข้นของแสง
การถ่ายภาพอาหารการที่ใช้แสงมีความเข้มข้นมากเกินไปจะทำให้อาหารนั้นขาวซีด
มากเกินไป เพราะแสงที่ใช้แรงมากเกินไป เราจึงต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมแสงอย่างเช่น ซอฟท์
บอ๊ กซ์ (Softbox) รม่ ทะลุ หรอื ไม่กว็ างวตั ถุโปรง่ แสงสีขาวเอาไว้ด้านแหล่งด้านหน้าแหล่งกำเนิด
แสงหรือถ้าแสงที่ส่องจ้า หน้าต่างร้อนแรงมาก คุณก็อาจจะหากระดาษ, ผ้า หรืออะไรก็ได้ที่
โปร่งแสงในระดับหน่งึ มาก้ันไว้ เพือ่ ให้แสงนุม่ ลง

ภาพที่ 11.15 ซอฟทบ์ ๊อกซ์ (Softbox) และ ร่มทะลุ

ภาพจาก : https://camerarentalsvancouver.com/rentals/lighting-and-grip/tungsten/photoflex-large-softbox-kit/

365

http://www.dslrshop.net/store/product/view/set_%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%8
0%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87_105w_%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A2%E0%
B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8

%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87-22661160-th.html

ระยะทาง
ที่ตั้งและระยะทางระหว่างแสงกับตัววัตถุมีความสำคัญที่จะทำให้แสงดูนุ่มนวลและ
ควบคุมเงา ให้เบาบางลงโดยการใช้ซอฟท์บ๊อกซ์ หรือร่มทะลุ แล้วจะสามารถเลื่อน
แหลง่ กำเนิดแสงเข้าไปใกล้วัตถุ ได้มากขึ้นจะทำใหแ้ สงนั้นดนู วลนุ่ม แต่ถ้าต้องการเงาแสงที่ตัด
กนั คมเราสร้างสามารถถอดซอฟท์บอ๊ กซ์ หรอื รม่ ทะลุออกแล้วเลือ่ นแหล่งกำเนิดแสงออกจาก
วัตถุได้ไกลมากขึ้นเพือ่ คงระดบั แสงไว้ได้
ไฮไลต์
เวลาถ่ายภาพอาหาร สิ่งที่ต้องระวังไม่ให้รายละเอียดตรงพื้นที่ใด ๆ ก็ตามในภาพ
หายไป ถ้า คุณภาพที่ถ่ายสว่างมาก ๆ และมีพื้นที่สีขาวอยู่เยอะ ภาพอาจจะขาวโพลน และ
สูญเสียรายละเอียด บางส่วนเอาได้ง่าย ๆ ฉะนั้น ดูให้แน่ใจว่าพื้นที่สีขา แต่ก็ห้ามสาดแสงใส่
มากเกินไปจนลาย ละเอียดในบริเวณนี้หายไป

ภาพที่ 11.16 รูปแบบการจดั แสงเขา้ ข้างหลัง
ภาพจาก : research-system.siam.edu › DigitalMedia

366

แสงหลัง
แสงที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพอาหาร คือแสงหลัง (Blacklight) วิธีถ่ายให้ได้ภาพที่ใช้แสง
หลงั แบบสวย ๆ นั้นใหค้ ณุ จัดแสงไว้ด้านหลังตวั แบบุหรอื วางไว้ ด้านหลังแบบเฉียง ๆ หนอ่ ย
ประเภทของแสงท่ใี ชใ้ นการถ่ายวิดีโอ
ส่วนประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการถ่ายภาพคือแหล่งแสงและทิศทางของ
แสง ถ้าไมม่ ี แสงสว่างก็ถ่ายภาพไม่ได้ ในวิชาการถ่ายภาพซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Photograph
กม็ ี ความหมายวา่ การเขียนด้วยแสงสวา่ ง (Light writing) และถึงแม้จะมีแสงสว่างเพียงพอที่จะ
ถ่ายภาพ ได้ การรู้จักเลือกใช้ ชนิดของแสง ตลอดจนการกำหนดทิศทางของแสงได้อย่าง
ถกู ต้องและเหมาะสมแลว้ กส็ ามารถ สร้างสรรคค์ วามงามให้กับภาพถา่ ยได้สวยงามยิ่งข้ึน

1. แสงธรรมชาติ (Natural light) คือ แสงสว่างที่ได้จากแหล่งกำเนิดแสง
ธรรมชาติ ได้แก่ ดวงอาทิตย์และแสงที่ได้ จากการสะท้อนทางอ้อมในเวลากลางวัน ส่วนแสง
จำกดั วงจนั ทรแ์ ละดวงดาวน้ันมบี ้างแต่มีโอกาส ได้ใช้ ค่อนขา้ งนอ้ ย

2. แสงประดิษฐ์ (Artificial light) ได้แก่ แสงสวา่ งจากหลอดไฟทกุ ชนิด ตลอดจน
แสงที่เกิดจากสิง่ ที่มนษุ ยป์ ระดิษฐข์ ึน้ เช่น แสงจากหลอดแฟลชอิเลก็ ทรอนิกส์ (Electronic flash)
แสงจาก หลอดไฟโฟโตฟ้ลัด (Photoflood light) แสงจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent
light) และแสง อืน่ ๆ เชน่ แสงไฟ จากตะเกียงเทียนไข

ทศิ ทางของแสง
ในการถ่ายภาพโดยใช้แสงจากธรรมชาติ เชน่ แสงจำกดั วงอาทิตย์ จำเปน็ ต้องทำความ
เข้าใจกับ ทิศทางของดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในเวลาที่แตกตา่ งกัน มุมตกกระทบของแสง
จะทำให้ส่วนที่รับแสงและเงาของวัตถุเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยแต่ถ้าใช้แสงไฟประดิษฐ์เรา
สามารถควบคุมทิศทาง ความสงู ของหลอดไฟ ตลอดจนความเข้มของแสงสว่างได้ ทิศทางของ
แสง สามารถแยกแนวการสอ่ ง สว่างได้เปน็ 2 ทางดว้ ยกันคือ

1. ทิศทางแสงตามแนวราบหรือแนวนอน (Horizontal light placement) แสง
ตามแนวนอนน้ั มที ิศทางและมมุ การส่องสว่างแตกต่างกนั ดงั นี้

- แสงด้านหลัง (Back light) ได้แก่ แสงที่ส่องมาจากด้านหลังของวัตถุที่จะ
ถ่าย อยู่ ตรงกันข้ามกับ กล้องถ่ายภาพ ถ้าฉากหลังเป็นสีขาวจะได้ภาพถ่ายของวัตถุเป็นภาพ
เงา บนพื้นขาว และถ้าฉาก หลังเป็นสีดำเข้มจะได้ภาพถ่ายของวัตถุเป็นภาพเงาดำมีแสง สว่าง
จับตามขอบรอบ ๆ วตั ถทุ ำให้มองเหน็ วตั ถแุ ยกออกจากพืน้ ฉากหลังชัดเจน

367

- แสงเฉียงหน้า (Semi-front light) ได้แก่ แสงที่ส่องเป็นมุมเฉียงทางด้านหน้า
ของวัตถุ ทั้งทางดา้ นซ้าย หรอื ด้านขวา การจัดไฟใหแ้ สงเฉียงด้านหน้าจะใหค้ วามกลมกลืนของ
แสงกับเงาได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรบั การถา่ ยภาพวตั ถทุ ีม่ ลี กั ษณะทรงกลม

- แสงเฉียงหลัง (Semi-back light) ได้แก่ แสงที่ส่องเป็นมุมเฉียงด้านหลังของ
วัตถุทั้ง ด้านซ้าย หรือด้านขวา การจัดไฟให้แสงเฉียงด้านหลังจะช่วยเน้นรูปทรงของวัตถุที่จะ
ถ่าย ให้เหน็ เดน่ ชดั แยกจาก พืน้ ฉากหลงั ได้เป็นอยา่ งดี

2. ทิศทางของแสงตามแนวตั้ง (Vertical light placement) เป็นทิศทางของแสง
ที่มาจากตำแหน่ง โดยรอบของวัตถุที่จะถ่ายแต่เป็นทิศทางจาก ตำแหน่งด้านบน, ด้านล่าง,
ด้านหน้า, ด้านหลังเฉียงหน้า ทั้งส่วนบนและส่วนล่างและเฉียงหลังทั้ง ส่วนบนและส่วนล่าง
ภาพถ่ายที่ปรากฏออกมาจากการให้แสง ตามตำแหน่งทิศทางต่างๆ ตาม แนวตั้งจะให้ผลของ
แสงและเงาของวตั ถทุ ี่ถา่ ยเหมอื นกนั กับการให้แสง ตำแหน่งทิศทางของแสงตามแนวราบ

อุปกรณ์ถา่ ยวิดีโอหรอื ถ่ายภาพในสตูดิโอ
อปุ กรณ์ถา่ ยภาพในสตูดิโอประกอบด้วย อุปกรณ์ดงั น้ี

1. ขาตั้งกล้อง

ภาพที่ 11.17 ขาต้ังกล้องวิดีโอ

ภาพจาก : https://www.icamplus.co.th/product/555/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%
B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8

%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD-sirui-sh15-video-tripod-kit-new

368

ในสตูดิโอส่วนใหญ่เป็นการจัดฉากเพื่อให้ได้องค์ประกอบตามต้องการจึง
จำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเพื่อให้การจัดองค์ประกอบมีความสะดวก และคล่องตัวขึ้น ดังนั้นขา
ตั้งกล้องที่ใช้ในสตูดิโอจำเป็นต้องเลือกชนิดที่มีคุณภาพสูง เพื่อความมั่นคงแข็งแรง โดยทั่วไป
ขาตั้งกล้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นส่วนขา และส่วนหัว สามารถเลือกใช้ตามความ
เหมาะสมกับลักษณะของงาน นำมาประกอบเข้าด้วยกันด้วยเกลียว มาตรฐานซึ่งใช้กันได้ทุก
ยี่ห้อขนาด 1/4 นิ้ว (มาตรฐานอเมริกัน) หรือ 3/8 นิ้ว (มาตรฐานยุโรป) หัว ขาตั้งกล้องปรับได้
ทั้ง 3 ทาง คือปรับก้ม - เงย พลิกซ้าย - ขวา และหมุนรอบตัว บางรุ่นมีระบบ ถอดประกอบ
เรว็ โดยใช้เพลท หกเหลี่ยมขนั ติดกบั หัวกล้อง เมื่อตอ้ งการใช้เพียงแตส่ วมลงไปจะมี ระบบล็อค
อัตโนมัติ หัวตั้งกล้องอีกชนิดหนึ่งที่มีความคล่องตัวสูงคือแบบหัวบอล จุดหมุนทำ เป็น รูปทรง
กลมทำให้สามารถปรับกล้องพลิกไปมาหรือก้มเงยได้อย่างอิสระทุกทิศทาง (ศุภชัย แพเทพย์
และคณะฯ, 2534)

2. รม่ สะท้อนแสง

ภาพที่ 11.18 ร่มสะท้อนแสง

ภาพจาก :
https://shopee.co.th/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8

%99-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B3-
%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%8A-

%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-
%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%9F-%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94-70-
%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7-180-CM-i.2381661.2406963498

369

โดยทั่วไปแสงที่ส่องตรงมาจากไฟแฟลช หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จะมี กำลังไฟ
ค่อนข้างสูง ไม่นิยมใช้ในการถา่ ยภาพมากนกั จงึ ตอ้ งทำให้แสงมกี ำลังไฟลดลงโดยการใช้ แสงที่
สะท้อนแทนที่จะใช้แสงตรง โดย การใช้ร่มสะท้อนแสงที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในการถ่ายภาพ
โดยเฉพาะ แสงที่สะท้อนกระจายออกมาต้องมีอุณหภูมิสีเท่าเดิมและมีการกระจายแสงที่
สมำ่ เสมอ รม่ ที่มีขนาดใหญจ่ ะกระจายแสงได้มากกว่า หรอื อาจจะใช้โคมสะท้อนแสงอ่ืน ๆ เช่น
แผ่นโฟมสีขาวหรือผ้าขาวขึงบนเฟรมให้ตึงก็ได้ แต่การกระจายแสงให้ได้ออกมาทุกทิศทางทำ
ได้ยากกว่าการใช้รม่ สะท้อนแสง

3. กล่องแสงนุ่ม กล่องแสงนุ่ม (soft box)

ภาพที่ 11.19 กล่องแสงนมุ่ (soft box)

ภาพจาก : https://thai.alibaba.com/product-detail/professional-studio-continuous-flash-softbox-lighting-set-portable-softbox-1458725018.html

แม้ว่าแสงที่สะท้อนมาจากร่มสะท้อนแสงหรือแผ่นสะท้อนจะมี กำลังไฟลดลง
แต่ความแตกต่างระหว่างส่วนมืดและส่วนสว่างยังสูงอยู่ ไม่เหมาะสำหรับนำมาใช้ใน
การถ่ายภาพที่ต้องการรายละเอียดมาก ๆ ดังนั้นต้องควบคุมให้ได้แสงที่กระจายมากขึ้น
ตามทฤษฎี แสงที่ผ่านการสะท้อน หรือผ่านการกรองแสงมากเท่าใดกำลังไฟก็จะลดลงมาก
เท่านั้น ทวา่ แสงจะ สะท้อนออกไปในทุกทิศทาง ปริมาณแสงจึงสญู เสียไปมาก ต้องใช้วธิ ีบังแสง
ให้กระจายไปยังตำแหน่งที่ต้องการเท่านั้น เราจึงใช้กล่องแสงนุ่มในการบังแสง กล่องแสงนุ่ม
ชนิดสำเร็จรูปทา ด้วย โครงพลาสติก หรืออลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบา ด้านหน้าใช้ผ้าสีขาวกรอง
แสงใหน้ มุ่ การใชง้ านเพียง สวมใช้สวมหัวประกอบเข้ากับตวั แฟลชหรอื ไฟทงั สเตน

370

4. เครื่องวดั แสงแฟลช

ภาพที่ 11.20 เครือ่ งวัดแสงแฟลช

ภาพจาก : https://www.xn--l3cb3a7br5b7a4el.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%
B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B 9
%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%

B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87/polaris_flash_meter

เครื่องวัดแสงแฟลชแบบมือถือเปืนที่นิยมใช้กันมากที่สุดใน ปัจจุบัน ส่วนใหญ่
สามารถเลือกระบบการทำงานได้ว่าจะวัดแสงธรรมชาติหรือแสงแฟลช ลักษณะ การทำงาน
แทบจะเหมือนกันทุกอย่างเพียงแต่การใช้ระบบวัดแสงแฟลชไม่ต้องพะวงเรื่องความเร็ว
ชัตเตอร์มากนกั ปรับตั้งได้ทุกความเรว็ แต่ไม่ควรสูงกว่าช่วงแวบของแฟลช โดยศึกษาจากค่มู ือ
ของ แฟลชที่ใช้ว่ามีค่าช่วงแวบเท่าใด เช่น โมโนแฟลช 500 W/S มีค่าช่วงแวบ 1/250 วินาที่ไม่
ควรปรับ ความเร็วชัดเตอร์ที่เครื่องวัดแสงให้สูงไปกว่านี้ เพราะอาจทำให้เครื่องวัดแสงอ่านค่า
ได้น้อยกว่า ความเป็นจริงและปรับตั้งความเร็ว ชัตเตอร์ที่ตัวกล้องให้ตรงกับที่ใช้ในเครื่องวัด
แสง หากปรับตั้ง ต่ำกว่าภาพอาจได้รับแสงมากเกินไป และต้องพิจารณาความเร็วชัตเตอร์ที่
สัมพนั ธ์กับแฟลชของ กล้องทีใ่ ชด้ ้วย

5. ไฟถ่ายภาพ
ไฟทีน่ ยิ มใช้ถา่ ยภาพในสตูดิโอมี 2 ชนิด ดงั นี้

5.1 ไฟทังสเตน

ภาพที่ 11.21 ไฟทังสเตน

ภาพจาก : https://www.cabuildingbridges.org/%D9%81%D9%84%D8%A7%D8%B4-%D8%A7%D8%B6%D8%A7%D8%A1%D8%A9-
%D9%85%D8%B3%D8%AA%D9%85%D8%B1%D8%A9

371

ไฟทังสเตน ป็นไฟที่มีขนาดกะทัดรัดและหาได้ง่าย ประหยัดงบประมาณของ
ช่างภาพได้ดี ทวา่ กำลังของแสงอาจไม่เพียงพอตอ่ ภาพที่ต้องการจงึ ไมส่ ามารถควบคุมระยะชัด
ได้ ตามความต้องการ สีของแสงไฟทังสเตนมีสีออกไปทางส้มแดง อุณหภูมิสีต่ำ ประมาณ
3,200 องศาเคลวนิ จึงมีสีที่ผิดเพี้ยนไปจากสีจริง จึงต้องใช้ฟิลเตอร์ในการแก้ไขสีให้ถูกต้อง
อย่างไรกต็ าม ไฟทังสเตน้ันไม่สามารถนำมาใช้รว่ มกับแสงแฟลชได้ (John Hedgecoe, 2001)

5.2 ไฟอิเล็กทรอนิกส์แฟลช

ภาพที่ 11.22 ไฟอิเล็กทรอนิกส์แฟลช
ภาพจาก : https://www.protog.com.au/hd-400-ttl-battery-monolight/JBHD400

ไฟอิเล็กทรอนิกส์แฟลช เป็นไฟที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพ เพราะสนอง
ความตอ้ งการของนกั ถ่ายภาพได้เปน็ อย่างดี ในแงข่ องความสะดวก ความคล่อง ตวั การควบคุม
แสง อุปกรณ์ ประกอบและความประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ จุดเด่นของแฟลช คือมีอุณหภูมิสี
คงที่ประมาณ 5,500 องศาเคลวิน ให้แสงสีขาวตรงกับแสงจำกัดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน
และช่วงเวลาการฉายแสงสั้น เช่น 1/5,000 หรือ 1/1,000 วินาที่ทำให้สามารถถ่ายภาพสิ่ง
เคลือ่ นไหวใหห้ ยุดนิง่ ได้โดยงา่ ย

1.1.5 กำหนดสถานทถ่ี ่ายทำ
การกำหนดสถานที่ถ่ายทำเป็นการที่ผู้ผลิตระบุว่าจะถ่ายทำที่ได้ในช่วงใดฉากไหนถ่าย
ทำที่ใดบ้างเปรียบเสมือนเป็นการวางแผนและกำหนดสถานที่ในการถ่ายทำ ก่อนที่จะถ่ายทำ
จรงิ ส่วนการเตรียมสถานที่นอกห้องผลติ รายการผู้ผลิตจะต้องดูแลในเรื่องของการควบคุมแสง
สว่าง ควบคุมเสียงรบกวน โดย จะต้องมีการสำรวจสถานที่จริงก่อนการถ่ายทำ เพื่อทราบ
ข้อมูลเบื้องต้น และเตรียมแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพื่อจะได้ประหยัดเวลาในการถ่ายทำ
ซึ่งในการหาสถานที่ถา่ ยทำภาพยนตรม์ ขี ้ันตอนดังน้ี (พฒุ ิพงษ์ จนั ดาโชต, 2560)

372

1. แยกงานสถานที่จากบท และรวมกลุ่มสถานที่ การเริ่มหาสถานทีใ่ ห้
นำบทมาอ่านแล้วลำดับรายชื่อสถานที่เกิดขึ้นในบท จากนั้นก็มารวมกลุ่มกันโดยคำนึงถึงกลุ่ม
สถานที่ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อความสะดวก เช่น ฉากทะเล ภูเขา หมู่บ้าน ชาวประมง
ร้านอาหารริมทะเล หรือบ้านไม้ ซอยแคบ ถนนลูกรัง หรือโรงภาพยนตร์ ซุปเปอร์มาเกต ร้าน
ไอศกรีม ฯลฯ

2. ติดต่อสอบถาม เมื่อได้รายชื่อสถานที่แล้ว ให้ติดต่อสอบถามแหล่ง
ต่างๆ เช่น จากเพื่อน ผู้ช่วยผู้กำกับกองถ่ายอื่น เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่าง ๆ
ดูจากนิตยสารการท่องเที่ยว โปสการด์ แผ่นพบั เพื่อให้ได้ข้อมลู ขน้ั ต้น ไมใ่ ชอ่ อกหาสถานที่เลย
เพราะจะประหยดั เวลา ค่าเดินทาง ค่าที่พกั และคา่ อาหารได้มาก

3. บริหารการเดินทาง การออกหาสถานทีถ่ ่ายทำ หากเชา่ รถแล้วควร
เริ่มออกแต่เช้าตรู่ บุคคลที่ไปหาไม่ควรเกิน 2 คน คือ ฝ่ายธุรกิจหนึ่ง และผู้ช่วยฝ่ายศิลป์หนึ่ง
ฝ่ายธุรกิจดูแลการจัดการ เช่น ระยะทาง ค่าเช่าที่พัก การติดต่อขออนุมัติ ส่วนฝ่ายศิลปะดู
ความสวยงามทางศิลปะทีส่ อดคล้องกบั บท ใช้กล้องและฟลิ ์มราคาถูกถ่ายภาพมุมต่าง ๆ ที่เห็น
เหมาะ บางสถานที่ขอภาพถ่ายที่เขามีอยู่แล้ว หรือขอแผ่นพับโฆษณาก็ได้ ในขณะเดียวกันร่าง
แผนทีแ่ ละแผนผังพื้นทีม่ าด้วย

4. นำภาพถ่ายเข้าที่ประชุม นำภาพถ่ายแผ่นพับ แผนผัง และข้อมูลที่
ได้มาเพื่อเข้าทีป่ ระชมุ และคดั เลือก

5. ดูสถานที่จริง เมื่อคัดเลือกสถานที่ขั้นต้นได้แล้ว ขั้นต่อไปผู้กำกับ
ผู้กำกับภาพและผู้กำกับฝ่ายศิลป์ จะเดินทางไปดูสถานที่จริงจะเพิ่มเติมดัดแปลงอะไร จะวาง
กล้องตรงไหนจะได้ปรึกษากับตอนนี้ เบอร์โทรศัพท์ แผนที่ วันเวลาเปิดปิด เงื่อนไขการเข้า
สถานที่ก็ยืนยนั ความแน่นอนตอนน้ี

ขอ้ ควรคำนึงในการหาสถานที่ถา่ ยทำ
สถานที่ถ่ายทำทีด่ ีจะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือมีความเหมาะสม
ในแงก่ ารจดั การ และมีคุณค่าทางศิลปะ ความเหมาะสมในการจดั การ ก็คือ

1. ใกล้ที่ทำงาน ถ้าเป็นได้สถานที่นั้นไม่ควรไกลจากที่ทำงาน
เพื่อความสะดวกหากลืมสิง่ ของที่จำเปน็ จะประหยดั ค่าเดินทาง

2. มีความหลากหลาย สถานที่นั้นหากไปที่เดียวแล้วถ่ายได้
หลายฉาก จะเป็นสถานที่ถ่ายทำที่ดีมาก เราจะไม่ต้องเคลื่อนย้ายกองถ่ายบ่อยๆ เช่น ไป
หมู่บ้านจัดสรรก็จะได้ร้านค้า บ้าน สวนสาธารณะ โรงเรียนอนุบาล สนามเด็กเลน่ สนามกอล์ฟ

373

คลบั หอ้ งอาหาร สระว่ายน้ำ ถนนในหมบู่ ้าน ฯลฯ จะมีความสะดวกในการถ่ายทำ เวลาจะย้าย
กองถา่ ยก็ย้ายกองถ่ายใกล้ๆ ประหยดั เวลาและค่าใช้จา่ ยได้มาก

3. มีความสะดวกในการถ่ายทำ คือ มีโทรศัพท์ติดต่อ มีที่จอด
รถสะดวก ห้องน้ำมีหลายห้อง มีพื้นที่ว่างสำหรับแต่งกายและแต่งหน้า มีความสูงของเพดาน
สำหรับติดตั้งดวงไฟ มีพื้นที่สำหรับเก็บพักอุปกรณ์ถ่ายทำ มีพื้นที่สำหรับจัดส่วนรับประทาน
อาหารของกองถ่าย ไม่มีเจา้ ถิน่ ทีค่ อยรบกวน

4. ราคาไม่แพง สถานที่ควรเก็บค่าเช่าไม่แพงนัก หากไม่
เสียเลยได้ยิง่ ดี เพียงแต่เสียคา่ แมบ่ ้านทำความสะอาด หรอื ชว่ ยคา่ น้ำคา่ ไฟบ้างเทา่ น้ัน เช่น บ้าน
เพือ่ น หนว่ ยราชการ สถานทีเ่ พื่อการกุศล สถานที่ทำการบริการ หากแลกเปลี่ยนกับการขึ้นไต
เติลให้ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย การหาสถานที่ที่ขายบริการ เช่น ร้านอาหาร ไนท์คลับ โรงแรม
สวนสนุก ควรหาที่ที่เปิดกิจกรรมใหม่ๆ จะไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะกิจการเหล่านั้นจะอยู่ในช่วง
ประชาสมั พนั ธแ์ ละส่งเสริมการขาย

5. ไมม่ ีสิ่งที่จะเสียหายง่าย ควรหาสถานทีถ่ ่ายทำที่จะเสี่ยงต่อ
การชดใช้ของเสียหายน้อยที่สุด เช่น สถานที่ที่มีของราคาแพง เช่น พรม เครื่องลายคราม
เครื่องแก้ว ไม้ประดบั ราคาสูง เพราะหากหาย หรอื เสียหายขึน้ มาจะยุง่ ยากตอ่ การชดใช้

6. เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวนใดๆ ที่จะทำให้บันทึกเสียงไม่ได้
เชน่ สถานที่มีเสียงเครื่องจกั ร เสียงอซู่ อ่ มจักรยานยนต์ เสียงเด็กออ่ น บ้านทีเ่ ลี้ยงสุนัข ถนนที่มี
รถเสียงดังวง่ิ ผา่ น โครงการก่อสร้าง ฯลฯ

7. มีความสะดวกในการจัดฉาก การจัดฉากภาพยนตร์ไม่
เหมือนละครเวที มีการเปลี่ยนแปลงทุกวินาทีแล้วแต่สถานการณ์ บางครั้งต้องย้ายมุมกล้อง
หรือผู้กำกับนึกภาพออกมาอย่างกระทันหัน สถานที่ที่ดีควรจะมีอุปกรณ์ประกอบฉากอยู่ใน
บริเวณใกล้เคียง ที่จะหยิบยืม นำมาจัดฉากได้ง่าย เช่น โต๊ะ ต้นไม้ กระถาง รูปภาพ แจกัน
เครื่องเรอื นชดุ สนามทีส่ ามารถยกมาจัดแต่งเพิ่มเติมได้ทันที

ความเหมาะสมเร่อื งสถานที่ในแง่ศิลปะ คือ
1. ถูกต้องตามข้อเท็จจริง สถานที่นั้นจะต้องสมจริงตรงตาม

บท ไมม่ จี ุดอ่อนทีจ่ ะจับผดิ ได้ สอดคล้องกับรูปแบบ และยุคสมัยตามท้องเรื่อง
2. ได้บรรยากาศและความรู้สึก สถานที่จะต้องมีบรรยากาศ

มีโครงสีใหค้ วามรู้สึกที่ดี เช่น ในบทบอกว่าชาวนากำลังมีความรกั ก็จะเป็นท้องนาเหลืองอร่าม
น้ำเปี่ยมคลอง หรือในบทบอกว่านางเอกเดินเศร้าคิดถึงพระเอก ก็ควรจะเป็นฉากที่พื้นสีเทา
(ลานดิน ลานซีเมนต์) มีเสาไฟฟ้าโดดเดี่ยว หรือมีต้นไม้แห้งใบโกร๋น หรือนางเอกอยู่ในภาวะ

374

อันตราย เช่น ทางเดินในซอกตึกแคบ ๆ ที่ผนังตึกบีบทำให้รู้สึกอึดอัด ดังนี้เป็นต้น โครงสีของ
สถานที่มีส่วนสร้างอารมณ์ความรู้สึกได้มาก สถานที่ทีม่ ีโครงสีโทนใดโทนหนึ่ง เครื่องแต่งกาย
และอุปกรณ์ประกอบฉากก็จะต้องออกแบบสีให้มีศิลปะ เช่น นางเอกไปวัดผ่านทุ่งนาสีเขียว
เหลือง เครื่องแต่งกายและร่ม อาจจะเป็นสีแดงสดใส เป็นต้น การออกแบบสีจะทำให้ภาพมี
ชีวติ ชีวา โดยเฉพาะโครงสที ี่ให้อารมณเ์ ดน่ ชัด เชน่ เทา ม่วง ให้อารมณ์เหงา , ชมพู เหลือง ฟ้า
ให้อารมณส์ ดใส

3. มีพื้นที่ และหลืบสลับซับซ้อน สถานที่ถ่ายทำไม่ควรจะมี
ฉากหลังแบนที่ดูแล้วทึบตัน เช่น ถนน ตรอก ซอย ควรจะลึกสุดสายตา มุมตึกควรจะมีหลืบ
และซอกต่างๆ เพราะเมื่อจัดแสง ภาพจะเกิดน้ำหนักสวยงาม อีกทั้งระยะลึกจะทำให้เห็นมีสิ่ง
ต่างๆ หลากหลาย เช่น ฉากตรอกซอยลึก เราจะได้ร้านค้า รถตุ๊กตุ๊ก กองขยะ ลังไม้ รถเข็น
เดก็ เลน่ แบดมินตัน ซึง่ จะทำให้ภาพดมู ีชีวติ ชีวา

4. มีความหมายเชิงนัยนะ การหาสถานที่ถ่ายทำในบางครั้ง
อาจจะหาสถานที่ที่มีความหมายเชิงนัยยะ หมายถึง สถานที่มีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นนัยของ
ความรสู้ ึก เช่น โบสถ์ที่มเี งาไม้กางเขนทาบลงบนพืน้ แล้วเราใช้สถานทีน่ น้ั ในฉากทีต่ ัวละครตาย
แล้วมีเงาพาดผ่าน ทุ่งดอกไม้สีชมพู เมื่อพระเอกนางเอกพบรักกัน หรือหน้าผาสูงที่ตัวละคร
ทะเลาะกัน จะเกิดความรู้สึกหมิ่นเหม่เหมือนจะตกหน้าผา ได้ความรู้สึกของความสัมพันธ์ขาด
สะบั้นลง หรือฉากที่มีพื้นกระเบื้องยางตารางหมากรุกดำและขาวก็จะเป็นความรู้สึกขัดแย้งกัน
หรอื ฉากเด็กเลก็ ทีก่ ำลงั จะถูกลกั พาตวั แล้วถูกอุ้มวิง่ ผ่านสวนกระบองเพชร จะทำให้ได้อารมณ์
ความรู้สึกของสถานที่เหล่านี้อยู่ที่การตีความของผู้กำกับ ที่จะเลือกสถานที่ได้ความรู้สึกและ
ความหมายทางศิลปะ

1.1.6 กำหนดผู้รับผิดชอบในแตล่ ะขั้นตอน (Production team)
การกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน (Production team) คือ กำหนดผู้รับผิดชอบ
แต่ละขั้นตอน มอบหมายในแต่ละกิจกรรม ระบุ หน้าที่ขอบเขตในการทำงานให้ชัดเจน โดย
คำนงึ ถึงคุณภาพของงาน และความรคู้ วามสามารถของคนอย่า ให้คนล้นงาน (คนมากกวา่ งาน)
เชน่ ในการผลิตวิดีโอการสอนหน่ึงคร้ังจะต้องมีผู้รับผดิ ชอบใดบ้างเช่นผู้สอนเป็นผู้บรรยายมีทีม
กราฟฟิกสำหรับออกแบบมีทีมถ่ายทำใครจะเป็นคนดูแล เรื่องกล้องเรื่องเสียงเรื่องไฟ เรื่อง
สถานที่ประสานงานต่างๆหรือว่าทั้งหมดนี้ผู้สอนสามารถ จัดการและควบคุมการผลิตได้ด้วย
ตนเองเชน่ กัน

375

1.1.7 กำหนดงบประมาณ ค่าใช้จ่าย
ผผู้ ลติ รายการจะต้องจัดต้ังงบประมาณ เพื่อการผลิต รายการคา่ เขียนบท ค่าวิทยากร
ค่าสถานที่อุปกรณ์ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ค่างานกราฟิก ค่าสร้าง ฉาก ค่าอุปกรณ์ประกอบ
ฉาก ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าตัดต่อภาพและเสียงในขั้นวางแผนกล่าวโดย สรุปได้ดังนี้ คือ
ประชุมผู้บริหารเพื่อหาแนวคิดในการจัดรายการกำหนดวัตถุประสงค์ของรายการและ
กลุ่มเป้าหมาย เขียนบทโทรทัศน์และเลือกรูปแบบรายการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ผลิต
รายการผู้กำกับรายการช่างเทคนิค ช่างแสง - เสียง ช่างออกแบบฉากและเครื่องแต่งกาย
เพือ่ ให้การปฏิบัติงานีเ้ ปน็ ไปในแนวทางเดียวกันโดยท่ัวไปจะมีการตงั้ งบประมาณไว้กอ่ นแล้ว แต่
ในขั้นนี้จะเป็น การกำหนดการใช้งบประมาณโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการ
ดำเนินการผลิต เช่น ค่าตอบแทนผู้ร่วมดำเนินการผลิต รายการค่าผลิตงานกราฟิก ค่าวัสดุ
รายการคา่ เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าที่พัก และคา่ พาหนะ เปน็ ต้น
สรุป ขั้นการวางแผน จะประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์การกำหนดเป้าหมาย
การจัดลำดับข้ันตอนการทำงาน การกำหนดรปู แบบของการถ่ายทำการกำหนดสถานที่ถ่ายทำ
การกำหนดผรู้ บั ผิดชอบในแตล่ ะขน้ั ตอน และการกำหนดงบประมาณ คา่ ใชจ้ ่าย
1.2 เนื้อหา (Content) แบ่งออกเป็น (1) หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ (2) วิเคราะห์ข้อมูล
เรียบเรียงเนื้อหาให้ถูกต้อง ส่วนของเนื้อหา ก่อนที่จะผลิตรายการผู้สอนควรหาข้อมูลจาก
แหล่งต่างๆและนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เรียบเรียงเนื้อหาให้ถูกต้อง ซึ่งเนื้อหา ที่ใช้เขียน
บทจะต้องถูกต้องชัดเจนและมีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาจะต้องไม่ส่งผลกระทบ
ในทางที่เสื่อมเสียต่อสังคม มีสาระที่ให้ข้อคิดที่ดีมีประโยชน์ต่อผู้ชมโดยมีที่มาของแหล่งข้อมูล
ด้วยวิธีต่าง ๆ หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ คือ การรวบรวม ค้นคว้าหาข้อมูลจาก เอกสาร ใน
ห้องสมุด ผลงานวิจัย บุคคลที่เกี่ยวข้องผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สถานที่โดยการออกไปสำรวจ
ยังแหล่งพื้นที่จริง (Scout location) วิเคราะห์ข้อมูล เรียบเรียงเนื้อหาให้ถูกต้อง คือ การ
วิเคราะห์ข้อมูลที่ค้นคว้ารวบรวมมา สรปุ จดั ทำ เป็นร่างเน้ือหา โดยเป็นการจัดทำ เน้ือหาเรียบ
เรียงให้ถกู ต้อง เพื่อใช้เปน็ แนวทางในการเขียนบท
1.3 บท (Scripting) คือ การแปลงเรื่องราวออกมาเป็นภาพ เริ่มต้นที่ความคิด (Idea)
แล้ว ลงมือเขียนร่าง (Draft) เขียนให้เข้าใจง่าย (Simplify) ชัดเจน (Clarify) และ ตรงเป้าหมาย
(Aim) แบ่งออกเป็น การนำเอาเนื้อหา เรื่องราวที่มีอยู่หรือจินตนาการขึ้นมา เพื่อนำเสนอให้ผ้ดู ู
ผชู้ ม ได้รับรู้อย่างพอใจ ประทับใจ ด้วยเหตุน้เี องจงเป็นทีย่ อมรบั กันว่าบทโทรทัศนเ์ ปน็ หวั ใจของ
การผลิตรายการโทรทศั น์ ผเู้ ขียนบทโทรทัศน์ (Script Writer) จงึ จำเป็นทีจ่ ะต้องมีความรอบรู้ใน
ศาสตร์และศิลป์ด้านต่าง ๆ มีความเข้าใจในธรรมชาติการรับรู้ของมนุษย์ ความชอบ ความ

376

สนใจ ความเชื่อความศรทั ธา หลายสิ่งหลายอยา่ งทีจ่ ะไมท่ ำให้เขากระทบกระทั่งหรือกี่ระทำผิด
ไปจากที่สังคมทัว่ ไปยอมรับการเขียนบทโทรทัศน์ควรกำหนดได้ว่ารูปแบบของการูนำเสนอเป็น
ลักษณะใดการแนะนำหน่วยงานองค์กรเป็นสารคดีการสาธิต หรือปฏิบัติการรูปแบบจะใช้การ
บรรยาย การเล่าเรื่องหรือการใช้พิธีกรแนะนำ บทโทรทัศน์ควรจะมีการใช้ ภาษาที่สละสลวย
ชวนอ่านชวนฟัง มีการเกริ่นนำการดำเนินเรื่องและบทสรุปที่กระชับ สอดคล้องกัน รู้จัก
สอดแทรกมุขตลก เกร็ดความรู้หรือเทคนิคแปลก ๆ มีลีลาที่น่าสนใจเพื่อเป็นสีสันของเรื่องราว
การเขียนบทโทรทัศน์จะมีทั้งการร่างบทโทรทัศน์ และการเขียนบทโทรทัศน์ ฉบับสมบูรณ์
(ถาวร สายสืบ, 2546) การนำเอาเนื้อหาเรือ่ งราวทีม่ อี ยู่หรอื จนิ ตนาการขึ้นมา เพื่อนำเสนอให้ผู้
ดูผชู้ ม ได้รับรู้อย่างพอใจ ประทับใจ ด้วยเหตุน้เี องจึงเป็นทีย่ อมรับกัน วา่ บทโทรทัศน์เป็นหัวใจ
ของการผลิตรายการโทรทัศน์ผู้เขียนบทโทรทัศน์ (Script Writer) จงึ จำเป็นที่จะต้องมีความรอบ
รู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านต่าง ๆ มีความเข้าใจ จิตวิทยาการรับรู้ของมนุษย์ความชอบ ความ
สนใจ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อและความศรัทธารวมทั้งการใช้ภาษาที่เหมาะสมการเขียน
บทโทรทศั นค์ วรกำหนดได้ว่า รูปแบบของ รายการเป็นลักษณะใด การแนะนำ หน่วยงานองคก์ ร
เป็นสารคดีการสาธิต หรือปฏิบัติการรูปแบบจะใช้การบรรยายการเล่าเรื่องหรือการโฆษณา
สินค้าบริการซึ่งจะช่วยให้ผู้กำกับรายการช่างภาพ ผู้แสดง และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจเนื้อหา
ของเรอ่ื งบทโดยรวม (สงั คม ภมู พิ นั ธุ์, 2530) บท สามารถแบง่ เปน็ รูปแบบ ดงั น้ี

1.บทแบบสมบูรณ์ (Fully Scripted Show)
บทแบบสมบูรณ์เป็นบทแสดงรายละเอียดของภาพที่จำเป็นและทางด้านเสียง
จะบอกคำพดู ทกุ คำที่ผู้พูดจะพดู ใน รายการตงั้ แต่ต้นจนจบพร้อมกบั บอกรายละเอียดด้านภาพ
และเสียงโดยสมบูรณ์บางครั้งจึงเรียกรายการที่ใช้บทประเภทนี้ว่า Fully Scripted Show
รายการที่ใช้บทประเภทนี้ได้แก่รายการละคร รายการตลกรายการข่าว และรายการโฆษณา
สินค้า ที่สำคัญในรายการเพื่อการศึกษาบทประเภทนี้จะนำมาใช้เมื่อมั่นใจว่าผู้แสดงรู้จักการ
พูดบทแทนการอ่านบทในขณะแสดง มิฉะนั้นจะทำให้รายการน่าเบื่อได้ประโยชน์ของการเขียน
บทประเภทนี้ก็คือสามารถมองภาพของรายการได้อย่างทะลุปรุโปร่งเพราะมีการกำหนด มุม
กล้องขนาดของภาพ การเคลื่อนไหวกล้องอย่างชัดเจนสตอรี่บอร์ด (Story Boards) เป็น
กระบวนการก่อนการผลิต (Pre Production) เป็นการร่างแนวความคิดเชิงรูปธรรมที่ ทีมงาน
จินตนาการถึงเนื้อหา (บทประพันธุ์ ) ให้ผู้ผลิตรายการทำการกำกับ มุมภาพ กำกับนักแสดง
กำกับการถ่ายทา บันทึกเสียง บรรยากาศสถานที่รวมทั้งแนวทางการตัดต่อให้คล้ายคลึงกับ
สถานที่จรงิ มากทีส่ ุดหากเขียน หรอื กำหนดได้มากเท่าใดก็จะเป็นการงา่ ยในการเตรยี มการผลิต
มากยิ่งขึ้นบางครั้งผู้กำหนดสตอรี่บอร์ด อาจใช้ภาพถ่ายเป็นตัวกำหนดมุมภาพ แทนการวาดก็

377
ได้เช่นกัน ส่วนใหญ่ใช้กับการถ่ายทำภาพยนตร์ภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งมีทุนสูงและมีความ
ละเอียดออ่ นในการผลิตมาก

ภาพที่ 11.23 ตัวอย่าง Story Board
ภาพจาก : https://celt.li.kmutt.ac.th/wp/index.php/2016/06/24/story-board/

\
ภาพที่ 11.24 ตวั อยา่ งการเขียนสคริปต์แบบสมบรู ณ์

ภาพจาก : https://sites.google.com/a/nps.ac.th/kruchainan/home/shortfilm1/kar-kheiyn-bth

378

2. บทแบบกึง่ สมบรู ณห์ รอื แบบย่อ (Semi -Scripted Show)
บทแบบกึ่งสมบูรณ์หรือแบบย่อ เป็นบทที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบสมบรู ณ์
ส่วนแต่ไม่กำหนดรายละเอียดของมุมกล้องแต่ว่างไว้เพื่อให้ผู้กำกับรายการได้กำหนดเองแต่
บางรายการอาจกำหนดคำสั่งลงบนด้านภาพบ้าง ทางดา้ นคา พดู คำบรรยายบ้าง บทสนทนาก็
ไม่ได้ระบุหมดทุกตัวอักษรหรือทุกคำเพียงแต่ให้ประโยคเริ่มต้นประเด็นที่จะพูด และประโยค
สุดท้ายเพื่อเป็นสัญญาณชี้แนะเท่านั้นจึงเรียกรายการที่ใช้บทประเภทนี้ว่า "Semi -Scripted
Show" รายการที่ใช้บทประเภทนี้ได้แก่รายการเพื่อการศึกษา รายการปกิณกะ รายการ
สัมภาษณ์ เป็นต้น ที่ผู้สนทนาหรือ ผู้บรรยายพูดเองเป็นส่วนใหญ่ไม่มีระบุในบท ดังตัวอย่าง
การเขียน สคริปต์รูปแบบรายการประชาสัมพันธ์ คณะบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี

ภาพที่ 11.25 ตวั อยา่ งการเขียนสคริปตแ์ บบกึ่งสมบรู ณ์
ภาพจาก : http://www.research-system.siam.edu/images/1130/05-ch2.pdf

3. บทแบบกำหนดการแสดง และชว่ งเวลา (Show Format)
บทแบบกำหนดการแสดงและช่วงเวลา เป็นบทที่เขียนบอกเฉพาะคา สั่งของ
ส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญในรายการฉากที่สำคัญลำดับรายการและกำหนดเวลาของรายการแต่ละ
ตอนเรียกรายการที่ใช้บทประเภทนี้ว่า The Show Format รายการที่ใช้บท ประเภทนี้ได้แก่
รายการประจำของสถานีอาทิรายการสนทนารายการข่าวสั้น รายการปกิณกะรายการ
อภปิ ราย รายการนติ ยสารและ Variety Show

379

ภาพที่ 11.26 ตวั อย่างการเขยี นสคริปตแ์ บบกำหนดการแสดงและช่วงเวลา
ภาพจาก : http://www.research-system.siam.edu/images/1130/05-ch2.pdf

4. บทแบบเรียงลำดับเรือ่ งที่เสนอ
บทแบบเรียงลำดับเรื่องที่เสนอเป็นบทที่เขียนเพื่อแสดงรายการที่จะ นำเสนอ
ทางหน้ากล้องตามลำดับก่อนหลังของเหตุการณ์โดยระบุสิ่งที่จะต้องเสนอโดยคร่าว ๆ ไม่มี
คำสั่งหรือรายละเอียดเกี่ยวกับ ภาพและเสียงโดยเฉพาะใช้เพื่อ บันทึก หรือถ่ายทอดสด
บางครั้งบริษัทโฆษณาจะเขียน และเตรียมบทประเภทนี้ให้กับผู้ผลิตรายการว่า ต้องการให้มี
ภาพสินค้าอะไรบ้างที่ออกอากาศและมีคำพูดโฆษณาอย่างไรบ้างพอสังเขป ผู้กำกับรายการ
จำเป็นต้องนา บทประเภทนี้มากำหนดช่วงเวลาก่อน-หลังเพื่อให้ทีมงานทั้งหมดได้เข้าใจว่า
เขาควรจะ ทำงานตามขั้นตอนอย่างไรบทประเภทนี้นิยมใชน้ ำ เสนอในรายการถ่ายทอดสด

ภาพที่ 11.27 ตวั อยา่ งการเขยี นสคริปตแ์ บบเรียงลำดับเรื่องทีเ่ สนอ
ภาพจาก : http://www.research-system.siam.edu/images/1130/05-ch2.pdf


Click to View FlipBook Version