The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการสอน_161429 เล่มที่ 2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Narin Nonthamand, 2021-05-04 13:58:10

เอกสารประกอบการสอน_161429 เล่มที่ 2

เอกสารประกอบการสอน_161429 เล่มที่ 2

280

สามารถทำงานได้ในช่วงเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องใช้ไฟบ้าน เหมาะกับงานส่วนบุคคลและงาน
สำนักงานที่จำเป็นต้องออกนอกสถานที่

5.4.4.2.2 เน็ตบุ๊ค (Netbook Or Laptop)

ภาพที่ 10.43 เน็ตบคุ๊
ภาพจาก : https://shopee.co.th
คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้
เพือ่ นำติดตวั ไปใช้ตามที่ตา่ งๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนกั เบา
5.4.4.2.3 อัลตรา้ บุ๊ค (Ultra Book)

ภาพที่ 10.44 อลั ตร้าบุ๊ค
ภาพจาก : https://notebookspec.com/
คอมพิวเตอรท์ ี่มขี นาดเลก็ กว่าไมโครคอมพิวเตอร์และมีขนาดเทา่ กบั โน้ตบุ๊ก ถกู
ออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามทีต่ า่ งๆ และน้ำหนักเบากว่าโน้ตบุ๊ค และเนน้ ความ สวยงาม
ทันสมยั แปลกใหม่

281

5.4.4.2.4 แทบ็ เลต็ คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)

ภาพที่ 10.45 แทบ็ เล็ต คอมพิวเตอร์
ภาพจาก : https://sites.google.com/site/cp5910122113084/tablet
คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถ ใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอ
สัมผัสในการทา งานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ด เสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งาน
แทนที่แป้นพิมพ์คียบ์ อร์ด และมีความหมายครอบคลุม ถึงโน๊คบุ๊คแบบ Convertible ที่มีหน้าจอ
แบบสมั ผัสและมีแป้นพมิ พค์ ียบ์ อรด์ ติดมาด้วยไม่วา่ จะเปน็ แบบหมุนหรอื แบบสไลด์ก็ตาม

5.4.4.2.5 คอมพิวเตอร์ฝา่ มือ (Hand-held Personal
Computer) หรอื เครื่องพซี ีขนาดมอื ถือ หรอื เครื่องพีดเี อ(Personal Digital Assistant-PDA)

ภาพที่ 10.46 คอมพิวเตอร์ฝา่ มอื
ภาพจาก : https://www.indiamart.com/mens-trust/handheld-pc.html
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับเครื่องคิดเลขขนาดเล็ก น้ำหนักเบามาก จึง
สามารถวางบนฝ่ามือได้โดยมีสมรรถนะในการทำงานเฉพาะกับโปรแกรมสำหรับงานส่วน
บุคคล เช่น การรับส่งอีเมล์ การบันทึกตารางนัดหมาย และการเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
เครื่อง PDA(Personal Digital Assistant) บางครั้งก็ เรียกว่า Pen-based Computer เนื่องจาก
เป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใช้ปากกาที่เรียกว่า สไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ในการบันทึก
ข้อมูล ในบางครั้งก็จะใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลด้วยลายมือลงบนหน้าจอ และในบางครั้ง

282

อาจจะใช้ปากกานี้สำหรับเป็นอุปกรณ์เพื่อเลือกการทำงานบนจอภาพ ซึ่ง Personal Digital
Assistant ในปัจจุบันนอกจากจะทำหน้าที่พื้นฐานทั่วไปแล้วยังสามารถรับ-ส่งอีเมล์ และส่ง
โทรสาร (Fax) ได้ดว้ ย

5.4.4.2.6 คอมพิวเตอรแ์ บบฝัง (Embedded Computer) หรือ
ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller)

ภาพที่ 10.47 คอมพิวเตอร์แบบฝัง

ภาพจาก : http://comedu.nstru.ac.th/5581135059/index.php/2016-03-07-06-09-16/2/2016-03-07-
07-40-09

เปน็ คอมพิวเตอรข์ นาดเล็กมากทีใ่ ชไ้ มโครโพรเซสเซอรช์ นิดพิเศษเพือ่ ฝัง (Embed) ไว้ใน
อุปกรณ์ประเภทต่างๆ เช่น บัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card) โทรศัพท์มือถือ ตู้เย็น เตา
ไมโครเวฟ และรถยนต์ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มคุณลักษณะและความสามารถพิเศษบางประการ เช่น
การเก็บข้อมลู สว่ นบุคคล การให้บริการดา้ นบนั เทิง การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การควบคมุ เรื่องเวลาและอณุ หภมู ิ และการให้ขอ้ มูลเพื่อชว่ ยในการเดินทาง เป็นต้น
6. องคป์ ระกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล

ในยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นการใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องโดยเอกเทศ
คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นจะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเพียงอย่างเดียวไม่มีหน้าที่ ในการสื่อสาร
ข้อมลู ตอ่ มาเมือ่ มีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวางมากขึ้นพบว่าการใช้งานใน บางกรณี
จำเป็นต้องมีจุดป้อนข้อมูลหรือเรียกดูข้อมูลหลายจุดพร้อมกัน ดังนั้นจึงเกิดระบบการใช้งานที่
เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multi-user system) แต่กรณีนี้ยังเป็นการประมวลผลจากหน่วย
ประมวลผลกลางเพียงเครื่องเดียวแต่มี การติดตั้งเครื่องปลายทาง (Terminal) สำหรับป้อน
ข้อมลู และเรยี กดขู ้อมลู พรอ้ มกันได้หลายจดุ เทา่ นั้น จงึ ยงั ไม่ถือเปน็ ระบบการส่อื สารข้อมูล

ในยุคต่อมา เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาใช้งานที่อยู่ในระบบงานเดียวกัน
จงึ พบ วา่ มีความจำเปน็ ต้องเชือ่ มโยงข้อมูลที่ทำการประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ต่าง เคร่ืองกัน
เข้าด้วยกัน แรก ๆ ที่ทำโดยวิธีนี้ผลลพั ท์ทีไ่ ด้จากอปุ กรณส์ ่งออกของคอมพิวเตอร์เคร่ืองหนึ่งไป
ป้อนใหม่เป็นข้อมูลเข้าของคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึง่ เมื่อต้องทำด้วยวิธีการที่ไม่สะดวกเช่นนี้

283

บ่อย ๆ เข้าจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลขึ้นโดย องค์ประกอบขั้นพื้นฐาน
ของระบบสือ่ สารข้อมูล สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้สง่ (Sender)
2. ผู้รบั (Receiver)
3. สอ่ื กลาง (Medium)
4. ข้อมลู ข่าวสาร (Message)
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการ
สื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรยี มสร้างขอ้ มูล เช่น ผพู้ ูด โทรทัศน์ กล้องวิดโี อ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง
เครือ่ งรบั โทรทศั น์ เครื่องพมิ พ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทาง
ไปยังปลายทางสื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือ
คลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่าน
ดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร
ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเปน็ 5 รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น
รหสั แอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอ
สกีแต่จะถกู แปลงเปน็ เลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาด
ของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพ
เพราะข้อมูลเสียงจะเปน็ สัญญาณต่อเนือ่ งกนั ไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพ
หลาย ๆ รปู
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใชใ้ นการส่ือสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับ
และผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อน
ลว่ งหนา้ แล้ว ในคอมพิวเตอรโ์ ปรโตคอลอยู่ในสว่ นของซอฟตแ์ วรท์ ี่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน

284

ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ
TCP/IP เป็นต้น

สื่อกลางในการสือ่ สารข้อมลู
สื่อกลาง, ตวั กลาง หรอื สายเช่อื มโยง เปน็ สว่ นทีท่ ำให้เกิดการเช่อื มตอ่ ระหว่างอุปกรณ์
ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอปุ กรณ์ทีย่ อมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผสู้ ่งไปสผู่ ู้รับ สื่อกลางที่
ใช้ในการส่อื สารข้อมลู มีอย่หู ลาย ประเภท แตล่ ะประเภทมีความแตกตา่ งกันในด้านของปริมาณ
ข้อมูลที่สื่อกลางนั้นๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลา ขณะใดขณะหนึง่ การวัดปริมาณหรือความ
จุในการน าข้อมูลหรือที่เรียกกันว่า แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) มีหน่วย เป็นจำนวน บิต ข้อมูลตอ่
วินาที (bits per second: bps)
สื่อกลางแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือสื่อกลางจำพวกที่มีสายได้ เช่น สายเกลียวคู่
สายโคแอกเชียล และสายไฟเบอรอ์ อปติก และสือ่ กลางจำพวกที่ไม่มีสายหรือไร้สาย เช่น คลื่น
ไมโครเวฟ คล่นื วิทยุ และคลน่ื ดาวเทียม
ลกั ษณะของตัวกลางต่างๆ มีดงั ตอ่ ไปน้ี

1. สายคู่บิดเกลียว (twisted pair cable) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้ม
ด้วยฉนวน พลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
จากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรอื จากภายนอก เนือ่ งจากสายคู่บิดเกลียว นี้ยอมให้
สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่าน สายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับ
ความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สาย ทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่ง
สัญญาณไฟฟ้ากำลัง แรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูงโดยทั่วไปแล้วสำหรับการ
ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะ คลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่ง
ข้อมูลได้ถึง100เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว
มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมลู ได้ดี จงึ มกี ารใชง้ าน อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น

ภาพที่ 10.48 สายคบู่ ิดเกลียว
ภาพจาก : https://networkencyclopedia.com/shielded-twisted-pair-stp-cabling/

285

1.1 สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็น
สายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถักชั้นนอกที่หนาอีกชั้นเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่น
แม่เหลก็ ไฟฟ้า

ภาพที่ 10.49 สายคูบ่ ิดเกลียวชนดิ หุ้มฉนวน

ภาพจาก : http://computernetworkingtopics.weebly.com/unshielded-twisted-pair-utp-cable.html

1.2 สายคู่บิดเกลียวชนิดไมห่ ุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP)
เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นทำให้สะดวกในการ โค้ง งอแต่สามารถป้องกัน
การรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่า ชนิด แรก แต่ก็มีราคาต่ำกว่า จึงนิยมใช้ในการ
เชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่าง ของสายสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน ที่เห็นใน
ชีวติ ประจำวนั คือ สายโทรศพั ทท์ ี่ใชอ้ ยู่ในบ้าน

ภาพที่ 10.50 สายคบู่ ิดเกลียวชนิดไมห่ มุ้ ฉนวน

ภาพจาก : https://www.indiamart.com/proddetail/rg6-36-64-coaxial-cable21162387530.html

2. สายโคแอกเชียล (coaxial cable) หรือสายโคแอก เป็นสายสื่อสารที่มี
คุณภาพดีกว่า สายเกลียวคู่ มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากาศของโทรทัศน์ สาย
โคแอกเชียลที่ใชท้ ่ัวไปมี 2 ชนิดคอื 50 โอหม์ ซึง่ ใช้ส่งข้อมลู แบบดิจติ อล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่ง
ใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายประกอบด้วย ลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้ม
ด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่วจากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจาก ลวดทองแดงถัก
เป็นเปีย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้ม
ชั้นนอก สดุ ด้วยฉนวนพลาสตกิ ลวดทองแดงที่ถกั เป็นเปียนีเ้ อง เป็น ส่วนหนึง่ ทีท่ ำให้สายแบบนี้
มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้า สามารถผ่านได้สูงมากและนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณ แอ
นะล็อกเช่อื มโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดนิ

286

ภาพที่ 10.51 สายคบู่ ิดเกลียวชนดิ ไมห่ มุ้ ฉนวน

ภาพจาก : https://www.optcore.net/the-difference-between-optical-fiber-and-optical-fiber-cable/

3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber optic cable) หรือ เส้นใย แก้วนำแสง แกนกลาง
ของ สายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นพลาสติกขนาดเล็ก ภายในกลวงหลายๆ เส้น อยู่
รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมี ขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยแต่ละเส้น ห่อหุ้มด้วย
เส้นใยอีกชนดิ หนง่ึ กอ่ นจะหมุ้ ช้ันนอกสดุ ด้วย ฉนวน การส่งขอ้ มลู ผา่ นทางสอ่ื กลางชนิดนี้ ข้อมูล
จะอยู่ ในรูปของคลื่นแสง ที่สะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสาย ชั้นในใยแก้วน าแสงจากต้นทางไป
ยงั ปลายทาง โดยมีตวั ไดโอดที่ทำหนา้ ทีใ่ นการแปลง สญั ญาณข้อมลู ทางไฟฟ้าใหเ้ ป็นแสง และ
สัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า สายใยแก้วนำแสงมักใช้ในการส่งข้อมูลระยะไกล
สามารถมีช่องสัญญาณได้ถึง 20,000 - 100,000 ช่องทาง และ สามารถส่งข้อมูลได้เร็วที่สุด
เนื่องจากความสามารถในการส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นสูง และไม่มีการ ก่อกวนของ
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพกราฟิก หรือ
วีดิทศั นไ์ ด้ในเวลาเดียวกนั อีกทั้งยงั มีความปลอดภัยในการส่งสงู แต่อยา่ งไรก็มีข้อเสียเนื่องจาก
การบิดงอสายสัญญาณจะทำให้เส้น ใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางชนิดนี้ในการเดินทางตาม
มุมตึกได้ เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับ เชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้นจึงเหมาะที่จะ
ใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร หรือระหว่างเมืองกับเมือง เส้นใยนำแสงจึงถูก
นำไปใช้เปน็ สายแกนหลกั

สือ่ กลางประเภทไมม่ ีสาย
1. อินฟาเรด (Intrared)
เป็นลักษณะของคลืน่ ที่ใช้ในการส่งข้อมลู ระยะใกล้ๆ ในช่วง ความถี่ทีแ่ คบมาก
ใช้ช่องทางสื่อสารน้อย มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง ระหว่างตัวส่งกับตัว รับ
สัญญาณ โดยต้องใช้ วิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง ระยะทางไม่ เกิน 1 – 2 เมตร ความเร็ว
ประมาณ 4 -5 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การสง่ สัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังโทรทัศน์ การ
เช่อื มตอ่ คอมพิวเตอรส์ องเครือ่ งโดย ผ่านพอร์ตไออารด์ ีเอ เป็นต้น

287

2. บลทู ูธ
คือ เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะใกล้แบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล
(wireless personal area networks: WPAN) เป็นมาตรฐานที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการ
เช่อื มตอ่ อุปกรณ์ไร้สายขนาดเล็ก เช่น เครือ่ งพดี ีเอ (personal digital assistant : PDA) อุปกรณ์
สื่อสารแบบพกพาหรือเคลื่อนที่รวมไปถึงการ เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์
ปลายทางทีใ่ ห้บริการ
3. คลื่นวิทยุ (radio frequency)
ใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูล โดยมีการ แพร่กระจาย ซึ่ง
สามารถเดินทางด้วยความเร็วเท่ากบั ความเร็วแสง คือ 3x108 เมตร/วินาที ส่วนประกอบทั่วไป
ของระบบที่ใช้คลื่น วิทยุประกอบด้วย เครื่องส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ เครื่องรับสัญญาณ และ
สายส่งและสายอากาศ เช่น การสอ่ื สารในระบบวิทยเุ อฟเอม็ เอเอ็ม
4. ไมโครเวฟ (microwave)
จะใช้การส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อม กับข้อมูลที่
ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณ ไมโครเวฟจะ
เดินทาง เป็นเส้นตรงไม่สามารถ เลี้ยวหรือโค้งตามขอบ โลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ – ส่ง
ข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานี จนกว่าจะถึงสถานี
ปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าของตึกสูง ยอดเขา เป็นต้น เพื่อ
หลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีด ขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่
ห่างไกล และทรุ กนั ดาร
5. ดาวเทียม (Satellite)
ดาวเทียมก็คือสถานีไมโครเวฟลอยฟ้า ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อ หลีกเลียง
ข้อจำกัดของสถานีรับ – ส่ง ไมโครเวฟบนผิวโลก เพื่อใช้เป็นสถานี รับ – ส่ง สัญญาณ
ไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลก ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวน
สัญญาณข้อมลู รบั และสง่ สัญญาณ ข้อมลู กับสถานีดาวเทียมที่อยบู่ นพืน้ โลก สถานีดาวเทียม
ภาคพื้นจะทำการ ส่งสัญญาณ ข้อมูล ไปยังดาวเทียมซึ่ง จะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมี
ตำแหน่งคงที่เมื่อเทียบกับตำแหน่งบน พื้นโลก ดาวเทียม จะถูกส่งขึ้นไปให้ ลอยอยู่สูงจากพื้น
โลกประมาณ 35,600 ไมล์ หรือ 23,300 กม. เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียม
(Transponder) จะรับสัญญาณ ข้อมูลจากสถานี ภาคพื้นซึ่งมีกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย
จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณ และตรวจสอบตำแหน่งของ สถานี ปลายทาง แล้วจึงส่ง
สัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่ในอีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานี ปลายทาง การส่งสัญญาณ

288

ข้อมูล ขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัพลิงค์" (Up-link) และการส่งสัญญาณข้อมูล
กลบั ลงมายังพืน้ โลก เรียกว่า "สญั ญาณ ดาวนล์ งิ ค์ (Down-link)

โพรโตคอล (Protocol)
โพรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลใน
เครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์
กับอุปกรณ์อื่น ๆ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ เครือข่ายที่ใช้โพรโตคอลชนิดเดียวกัน
เทา่ น้ันจึงจะสามารถติดต่อและส่งข้อมลู ระหว่างกนั ได้ โพรโตคอลมีลกั ษณะ เชน่ เดียวกับภาษา
ที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งต้องใช้ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ
องคป์ ระกอบหลักของโพรโตคอล จะประกอบด้วย 3 สว่ นหลกั ๆ คือ
1. Syntax หมายถึงรปู แบบ (Format) หรอื โครงสรา้ ง (Structure) ของขอ้ มูล
เชน่ กำหนดว่า ใน 8 บิตแรกจะหมายถึงแอดเดรส(address) ของผู้สง่ อกี 8 บิตถดั มาหมายถึง
แอดเดรสของผรู้ ับ สว่ นที่เหลือจึงจะ เป็นข้อมูลจรงิ ๆ ถ้าไม่มีการกำหนด syntax แล้วแอนตติ ี้
จะไมส่ ามารถทราบได้เลยว่าบิตแต่ละบิตที่ได้รบั มานน้ั คือ อะไร
2. Semantics หมายถึง ความหมายของขอ้ มูลที่ได้รับมา เชน่ เม่ือได้รับข้อมูล
แล้ว เอนติต้ีรู้ syntax แล้ว แต่จะยังไม่รู้ว่าบิตแต่ละบิตน้ันทำอะไรได้บ้าง ดังน้ันจึงต้องมาท า
การแปลความหมายของบิต เหลา่ นั้นเสียกอ่ น เช่น เมอ่ื ทราบแอดเดรสของผู้รบั แล้ว เอนติต้ี จะ
สามารถทำการหาเส้นทาง
3. Timing เป็นข้อกำหนดของเวลาในการรับส่งขอ้ มลู เน่ืองจากเอนติต้แี ต่ละตัว
น้ันมาความเร็ว ในการรับส่งที่ไม่เท่ากัน เชน่ ตัวหนึ่งมคี วามเร็วของการสง่ 100 Mbps แต่อกี ตัว
มีความเรว็ ในการรับแค่ 1 Mbps ถ้าไมม่ โี พรโตคอลแล้วข้อมลู โดยสว่ นใหญ่จะหายไป เนอ่ื งจาก
เอนติต้ีที่ทำงานช้ากวา่ จะไม่สามารถรบั ข้อมูลได้ทนั
โพรโตคอลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารข้อมูล ดังนั้นจึง
จำเป็นต้องมีมาตรฐาน(Standard) เพื่อให้เกิดความเป็นสากล และเนื่องจากมีการใช้อุปกรณ์
มากมายหลากหลายชนิดสำหรับการสื่อสารข้อมูลใน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังมี
ผู้ผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวกระจายอยู่ทั่วโลก ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนด มาตรฐานเอาไว้ เพื่อให้
อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถทำงานร่วมกันได้สำหรับมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลเราสามารถแบ่ง
มาตรฐานออกได้ 2 ประเภท คือ
1. de facto เปน็ มาตรฐานทีเ่ กิดข้ึนจากการยอมรับของคนท่ัวไป ไมต่ ้องมี
องค์กรใด ๆ ทำ หนา้ ที่ในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานนั้น โดยส่วนใหญแ่ ล้วผผู้ ลติ จะ
เปน็ ผู้กำหนดไว้ ถ้าผใู้ ช้ยอมรบั และมี การใช้งานกันอยา่ งกว้างขวาง ก็จะถือเปน็ มาตรฐานได้

289

2. de jure เปน็ มาตรฐานทีไ่ ด้ผา่ นการรบั รองอย่างถูกกฎหมายแล้ว ซึ่งท่วั โลก
มีองคก์ รที่ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานอยหู่ ลายองค์กร เช่น International Organization
for Standardization (ISO) เปน็ องค์กรทีส่ มาชกิ จากทั่วโลกมาชว่ ยกนั กำหนดมาตรฐานขึน้ โดย
จะเน้นกำหนดมาตรฐานทางดา้ นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ เป็นต้น

สำหรับโพรโตคอลการสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันมีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้เราจะมาทำ
ความรจู้ ัก กับโพรโตคอลที่มกี ารใชง้ านอยา่ งกว้างขวางคอื TCP/IP, FTP, HTTP และ HTTPS

1. โพรโตคอล TCP/IP TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการ สื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยัง ปลายทางได้ และ
สามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้ เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่าน
เครือข่ายที่มีปญั หา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นใน การส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้
ชุดโปรโตคอลนี้ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งถูก ใช้เป็นครั้งแรกในเครือข่าย ARPANET
ซึ่งต่อมาได้ขยาย การเชื่อมต่อไปทั่วโลกเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ TCP/IP เป็นที่ยอมรับ
อย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน TCP/IP มีจุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน 3 ประการ
คือ

1. เพื่อใชต้ ิดตอ่ ส่ือสารระหว่างระบบทีม่ คี วามแตกต่างกัน
2. ความสามารถในการแก้ไขปญั หาทีเ่ กิดขึน้ ในระบบเครือข่าย เช่น ในกรณีที่ผู้
ส่งและผู้รับยังคงมีการ ติดต่อกันอยู่ แต่โหนดกลางที่ใช้เป็นผู้ช่วยรับ-ส่งเกิดเสียหายใช้การ
ไม่ได้ หรือสายสื่อสารบางช่วงถูกตัดขาด กฎ การ สื่อสารนี้จะต้องสามารถจัดหาทางเลือกอื่น
เพื่อทำให้การส่อื สารดำเนนิ ต่อไปได้โดยอัตโนมตั ิ
3. มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความ
เร่งด่วน เช่น การจัดส่งแฟ้มข้อมูล และแบบที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น
การสอ่ื สารแบบ real-time และทั้งการส่อื สารแบบ เสียง (Voice) และข้อมลู (data)
2. โพรโตคอล FTP FTP ย่อมาจาก (File Transfer Protocol) คือ รูปแบบมาตรฐานบน
โครงข่าย (standard network protocol) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับ การส่งไฟล์ หรือรับไฟล์ (receive
file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า ไคลเอนต์ (client) กับ
เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายที่ส่วน ใหญ่จะเรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์
(server) โดยที่การ ตดิ ตอ่ กันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกนั ทาง Port 21 ซึง่ ก่อนที่จะเข้าใช้งานได้
นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้ เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน โปรแกรม

290

สำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม ไฟล์ซิลลา
CuteFTP หรอื WSFTP ในการตดิ ตอ่ เปน็ ต้น

3. โพรโตคอล HTTP Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็นกลุ่มของกฎสำหรับการ
แลกเปลี่ยนไฟล์ (เช่น ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และไฟล์ มัลติมีเดียต่าง ๆ) บน
World Wide Web ที่สัมผัสกับชุดโปรโตคอลแบบ TCP/IP (ซึ่ง ท าหน้าที่แลกเปลี่ยนสารสนเทศ
บน อินเตอร์เน็ต) โดย HTTP เป็นโปรโตคอล แบบประยุกต์ แนวคิดสำคัญของ HTTP คือ ไฟล์
ต่าง ๆ สามารถเก็บการอ้างอิงไฟลอ์ ื่น เพื่อเรียกหรือดึงไฟลท์ ี่ต้องการ ใน Web server ที่มีไฟล์
HTML และไฟลอ์ ืน่ ที่ เรียกว่า HTTP daemon ซึ่งเป็นโปรแกรมได้รับการออกแบบให้คอยรับและ
รักษาการขอ HTTP เมื่อการขอของ HTTP นั้นมาถึง ใน web browser ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้จะเป็น HTTP client เพื่อส่งการขอไปยังเครื่องแม่ข่ายเมื่อมีการเรียกไฟล์จาก browser ของ
ผู้ใช้ โดยเปิดไฟล์ของเว็บ (ด้วยการพิมพ์ชื่อ URL) หรือคลิกที่ Hypertext link จากนั้น browser
จะสร้างการขอ HTTP และไปยัง IP address ที่ชี้โดย URL เมื่อ HTTP daemon ในเครื่องแม่ข่าย
ปลายทางได้รบั การขอ และประมวลผลเรียบร้อย จะส่งไฟล์ทีข่ อกลบั มา

4. โพรโตคอล HTTPS HTTPS (Hypertext Transfer Protocol over Secure Socket Layer
หรือ HTTP over SSL) เป็น โปรโตคอลเว็บที่พัฒนาโดย Netscape และฝังอยู่ใน browser ที่
encrypt และ decrypt คำขอเพจของผู้ใช้ และเพจทีไ่ ด้รบั การสง่ ออกโดยแม่ข่ายเวบ็ HTTPS เป็น
เพียงการใช้ Secure Socket Layer (SSL) บน Netscape ในระดับย่อยภายใต้ HTTP บนชั้น
application (HTTPS ใช้พอร์ต 443 แทนที่ HTTP พอร์ต 80 ในการปฏิสัมพันธ์กับชั้นต่ำกว่า
TCP/IC) ขนาดคีย์ของ SSL เป็น 40 บิตสำหรับอัลกอริทึม RC4 stream encryption ซึ่ง ได้รับการ
พิจารณาว่าองศา encryption เพียงส าหรับการแลกเปลี่ยน เชิงพาณิชย์ ถ้า browser ที่ใช้คือ
Netscape ในการเยี่ยมชมรายการสินค้าออนไลน์ เมื่อเตรียมการสั่งซื้อ จะได้รับ แบบฟอร์ม
สั่งซื้อจาก Uniform Resource Locator (URL) ทีเริ่มต้นด้วย “https://” เมื่อคลิก “send” เพื่อส่ง
เพจกลับที่ผู้ขาย ชั้น HTTPS ของ browser จะทำการ encrypt การรับรู้ที่รับจากแม่ข่ายจะ
เดินทางพร้อมกันใน ฟอร์มที่ encrypt มาถึงด้วย https:// URL และได้รับการ decrypt โดยชั้น
ยอ่ ย HTTPS ของ browser
7. ความหมายของอินเทอรเ์ นต็

นั้นย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection network” ซึ่ง
หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้
ด้วยกนั เพื่อให้เกิดการส่อื สาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกนั โดยอาศัยตัวเชอ่ื มเครือข่าย
ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการ

291

ติดต่อสอ่ื สารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนีจ้ ะช่วยใหค้ อมพิวเตอร์ที่มี
ฮารด์ แวร์ที่แตกตา่ งกนั สามารถติดตอ่ ถึงกนั ได้

เพือ่ อำนวยความสะดวกในการ ให้บริการสอ่ื สารข้อมลู สมใจ บุญศริ ิ (2538) กลา่ วว่า
อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงระหว่าง ระบบเครือข่ายจำนวนมหาศาลทั่วโลกเข้าด้วยกัน
สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลถึงกันได้ โดยสะดวก รวดเร็ว ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ใน
รูปแบบใด อาจเป็นตัวอักษร หรือข้อความภาพ เสียง ดังนั้นระยะทางจึงไม่เป็นปัญหาในการ
ติดต่อสื่อสารของมนุษย์อีกต่อไป ส่วน วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ (2539) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ต คือ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยระบบสื่อสาร แบบทีซีพี ไอพี เครือข่ายที่
เป็นสมาชิกของอินเทอรเ์ นต็ เปน็ เครือขา่ ยซึ่งกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก โดยการ
เชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายหรือ Network จำนวนมหาศาลทั่วโลกเข้าด้วยกัน ภายใต้หลักเกณฑ์
มาตรฐานเดียวกัน ซึง่ จะทำให้ผคู้ นสามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมลู ถึงกันได้ สะดวก รวดเร็ว
ไมว่ ่าข้อมูลเหล่าน้ัน จะอยู่ในรปู แบบใด อาจจะเป็นตัวอกั ษร ข้อความ หรอื เสียง และประโยชน์
เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล นอกจากนั้น กิดานันท์ มลิทอง (2543)
กล่าวว่า อินเทอร์เน็ต คือ ระบบของการเชื่อมโยงเครือข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มาก
ครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการการสื่อสารข้อมูล เช่น การ
บันทึก เข้าระยะไกล (Remote Login) การถ่ายโอนแฟ้มไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่ม
อภิปราย อินเทอร์เน็ต เป็นวิธีการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ให้ขยายออกไปอย่าง
กว้างขวาง เพื่อการเข้าถึงของแตล่ ะระบบที่มสี ่วนร่วมอยู่ และ ครรชิต มาลยั วงศ์ (2540) กล่าว
ไว้ว่า ได้อธิบายว่าอินเทอร์เนต็ เป็นเครือขา่ ยคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่โตที่สุดของโลกปัจจุบันนี้
อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ทั่วโลกนับล้าน เครื่องเข้าด้วยกัน
คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เหล่านี้ยังเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอีกมากมาย ทำให้มีผู้ที่
เป็นสมาชิกเครอื ขา่ ยอินเทอรเ์ น็ตอย่ทู ว่ั โลกหลายสิบล้านคน

กล่าวโดยสรปุ อินเทอรเ์ น็ต มีความหมายเกี่ยวข้องกับระบบการเช่ือมโยงเครือข่ายงาน
คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ครอบคลมุ ไปท่วั โลกโดยกฏเกณฑ์มาตรฐานเดียวกนั เพื่อสนองความ
สนใจ และความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม และสามารถทำให้คนจำนวนมากสื่อสารข้อมูลทั้งใน
รูปแบบ ตวั อักษร ขอ้ ความ ภาพและเสียงได้อยา่ งสะดวก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกสาขา

การที่มีระบบอินเตอรเ์ นต็ ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมลู จากที่หนึ่งไปยังอีกที่
หน่งึ ได้ โดยไมจ่ ำกดั ระยะทาง ส่งขอ้ มลู ได้หลายรปู แบบ ทั้งข้อความตวั หนังสือ ภาพ และ เสียง
โดยอาศัยเครือขา่ ยโทรคมนาคมเป็นตวั เชื่อมต่อเครอื ข่ายอินเตอร์เน็ตนบั เป็นอภริ ะบบเครือข่าย
ที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลก

292

ทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือน
เป็นบ้านหนึง่ ทีท่ กุ คนในบ้านสามารถพดู คุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยดั เวลา ค่าใช้จ่าย แต่
เกิดประโยชนต์ ่อสังคมโลกปัจจุบนั มาก
8. ข้อดีของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน
ดังน้ี

ด้านการศึกษา
1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชา หรืออ่านหนังสือ
ออนไลน์
2. ระบบเครือข่ายอินเตอรเ์ นต็ จะทำหนา้ ทีเ่ สมอื นเป็นหอ้ งสมุดออนไลน์
3. นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อ
ค้นหาข้อมลู ที่กำลงั ศึกษาอยไู่ ด้ ท้ังทีข่ อ้ มูลทีเ่ ปน็ ขอ้ ความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เปน็ ต้น
4. สามารถทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอรเ์ น็ตได้
ด้านการพาณชิ ย์
1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพือ่ ชว่ ยในการตดั สินใจทางธุรกิจ
2. สามารถซือ้ ขายสินค้า ผ่านระบบเครือขา่ ยอินเตอร์เน็ต
3. ทำการตลาดการโฆษณาผา่ นเครือขา่ ยอินเตอรเ์ น็ต
4. ผใู้ ช้ที่เป็นบริษทั หรอื องคก์ รต่าง ๆ กส็ ามารถเปิดให้บริการ และสนบั สนุนลูกค้าของ
ตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่
ลูกค้า แจกจา่ ยตวั โปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรอื โปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เปน็ ต้น
ด้านการบันเทงิ
1. การพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
อ่านหนังสือพมิ พแ์ ละข่าวสารอน่ื ๆ โดยมีภาพประกอบ
2. การเล่นเกมออนไลน์
3. สามารถฟังวิทยุหรือดูการถา่ ยทอดสดผา่ นระบบเครือข่ายอินเตอรเ์ น็ตได้
4. สามารถดึงขอ้ มลู (Download) ภาพยนตรต์ ัวอยา่ งทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเกา่ มาดไู ด้
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในระบบอินเตอร์เน็ตยังมีบริการอื่นๆ อีกมากมาย
พอจะสรุปได้ว่า อินเตอร์เน็ต มีความสำคัญ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมยั
การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก

293

อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่
รวดเรว็ ชว่ ยในการตดั สินใจ และบริหารงานท้ังระดับบคุ คลและองคก์ ร
ปัจจบุ ันอินเตอรเ์ น็ตได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสือ่ สารและแลกเปลี่ยนข้อมูลก่อให้เกิดประโยชน์
มากมายได้แก่

1. ด้านการติดต่อสื่อสาร เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
หรอื การพดู คุยด้วยการส่งสัญญาณภาพและเสียง

2. เปน็ ระบบสือ่ สารพืน้ ที่จำลอง (Cyberspace) ไม่มีขอ้ จำกัดทางศาสนา เช้ือชาติ ระบบ
การปกครอง กฎหมาย

3. มีระบบการเรียนการสอนผา่ นเครือขา่ ยอินเตอรเ์ น็ต
4. สามารถค้นหาข้อมูลในด้านต่างๆ ได้ผ่านบริการ World Wide Web
5. การบริการทางธุรกิจ เช่น สัง่ ซื้อสนิ ค้า หรอื การโฆษณาสินค้าตา่ งๆ
6. การบริการด้านการบันเทิงตา่ งๆ เช่น การดูภาพยนตรใ์ หม่ๆ การฟังเพลง ในระบบ
เครือข่ายอินเตอร์เนต็ การเกมออนไลน์ เปน็ ต้น
9. ข้อเสียของอินเทอรเ์ น็ต
โทษของอนิ เทอร์เน็ต มหี ลากหลายลกั ษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งขอ้ มลู ทีเ่ สียหาย, ข้อมลู ไมด่ ี
ไม่ถูกต้อง แหล่งซือ้ ขายประกาศของผดิ กฏหมาย ขายบริการทางเพศ ทีร่ วมและกระจายของ
ไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ ดงั นี้
1. อนิ เทอร์เนต็ เปน็ ระบบอิสระ ไมม่ เี จา้ ของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
2. มีขอ้ มูลทีม่ ีผลเสียเผยแพร่อยูป่ ริมาณมาก
3. ไม่มรี ะบบจดั การขอ้ มูลทีด่ ี ทำใหก้ ารค้นหากระทำได้ไมด่ ีเทา่ ทีค่ วร
4. เติบโตเร็วเกินไป
5. ขอ้ มลู บางอย่างอาจไมจ่ ริง ตอ้ งดใู ห้ดเี สียกอ่ น อาจถกู หลอกลวง กลั่นแกล้งจาก
ผอู้ ืน่
6. ถ้าเลน่ อินเทอรเ์ น็ตมากเกินไปอาจจะเสียการเรียนหรอื การทำงานได้
7. ข้อมลู บางอย่างก็ไม่เหมาะกบั เยาวชน
8. ขณะทีใ่ ช้อินเทอร์เน็ต โทรศพั ท์จะใช้งานไม่ได้ (น่นั จะเป็นเฉพาะการต่ออินเทอร์เน็ต
แบบ Dial up แตใ่ นปจั จบุ ันอินเทอรเ์ น็ตความเรว็ สงู จะสามารถใช้งานโทรศพั ท์ที่ต่ออนิ เทอร์เน็ต
ได้ดว้ ย)
9. เป็นสถานที่ที่ใชต้ ิดตอ่ สื่อสาร เพื่อกอ่ เหตรุ า้ ย เชน่ การวางระเบิด หรอื ล่อลวงผู้อื่น
ไปกระทำชำเรา

294

10. ทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใชอ้ ินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว
โรคติดอินเทอรเ์ นต็

โรคติดอนิ เทอรเ์ น็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจติ ประเภทหน่ึง ซึ่งนักจิตวิทยา
ชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4
ประการ เปน็ เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงวา่ เป็นอาการตดิ อินเทอรเ์ น็ต

1. รสู้ ึกหมกม่นุ กบั อินเทอรเ์ น็ต แมใ้ นเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เนต็
2. มีความตอ้ งการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยเู่ ร่อื ยๆ ไม่สามารถควบคุม
การใชอ้ ินเทอรเ์ นต็ ได้
3. รู้สกึ หงุดหงิดเม่อื ใช้อนิ เทอร์เนต็ น้อยลง หรอื หยุดใช้
4. คิดวา่ เมอ่ื ใช้อนิ เทอรเ์ นต็ แล้ว ทำให้ตนเองรสู้ ึกดีขนึ้
5. ใช้อนิ เทอรเ์ น็ตในการหลกี เลี่ยงปัญหา
6. หลอกคนในครอบครวั หรอื เพือ่ น เรือ่ งการใชอ้ ินเทอร์เนต็ ของตนเอง
7. มีอาการผิดปกติเม่อื เลิกใช้อนิ เทอรเ์ น็ต เชน่ หดหู่ กระวนกระวาย
ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติด
อินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกายทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน
สภาพสังคมของคนๆ น้ันต่อไป
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้อง
ยอมรับความจริงก็ คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่นและข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัว
เทคโนโลยีเอง และมาจากปญั หาอน่ื ๆ เชน่ บุคคลทีม่ จี ุดประสงคร์ า้ ย
ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอรเ์ ป็นปญั หาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง
เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากทีส่ ุดก็คือ
อินเทอรเ์ นต็ นับวา่ รนุ แรงกวา่ ปัญหาไวรสั คอมพิวเตอรเ์ สียด้วยซ้ำ
หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง
จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบ
ซอฟตแ์ วร์ ฮารด์ แวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่าง
สม่ำเสมอต่อเนื่องแต่ไม่วา่ จะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอรก์ ม็ ีอยู่
เรื่อยๆ ทั้งนีร้ ะบบการโจมตที ีพ่ บบ่อยๆ ได้แก่
1. Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รบั การยอมรับว่ามีผลกระทบตอ่ สงั คมไอที
เป็นอยา่ งยิง่

295

2. บคุ ลากรในองคก์ ร หน่วยงานใดที่ไล่พนักงานออกจากงานอาจสร้างความไม่
พึงพอใจให้กบั พนักงานจนมาก่อปญั หาอาชญากรรมได้เช่นกนั

3. Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบ
ได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากร
ระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่ง
ส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการ
แฮงค์ของระบบ เชน่ การสร้างฟอร์มรบั ส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผไู้ ม่ประสงคอ์ าจจะใช้ฟอร์มนั้นใน
การสง่ ขอ้ มลู กระหน่ำระบบได้

4. Backdoors นกั พฒั นาเกือบทกุ ราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อชว่ ยอำนวย
ความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors
น้ันได้เชน่ กัน

5. CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็น
ชอ่ งโหว่รนุ แรงอีกทางหนึ่งได้เชน่ กนั

6. Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหสั แบบ
Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดู
รหัสคำสงั่ (Source Code) กส็ ามารถตรวจสอบและนำมาใช้งานได้ทนั ที

7. Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไป
ปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไปจู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่
เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอต์ฟแวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สาย
เกินไปเสียแล้ว

8. Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทาง
บราวเซอร์ แมก้ ระทง่ั รหสั ผ่านต่างๆ ซึง่ บราวเซอร์บางรุ่น หรอื รุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถ
ในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้
เชน่ กัน

9. Malicious scripts จะมีการเขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์
ดูบนเครื่องของตน อย่างมั่นใจหรือว่าไม่เจอปัญหาอะไร อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแฝง
ในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั้นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงาน
ตามทีก่ ำหนดไว้อย่างงา่ ยดาย โดยทีผ่ ู้ใชจ้ ะไมท่ ราบว่าตนเองเป็นผู้สง่ั รนั โปรแกรมนน้ั เอง

296

10. Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะ
กำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมือ่ มีการเรียกดูเว็บไซตท์ ี่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกัน
ทีจ่ ะเขียนโปรแกรมแฝงอกี ชิน้ ให้ส่งคุกกีท้ ีบ่ ันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใชส้ ่งกลับไปยงั อาชญากร

11. ไวรสั คอมพิวเตอร์ ภยั ร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เร่ิมแรก และดำรง
อยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001 พบว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็น
มูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa
ตามลำดับที่ไม่หย่อนกว่ากัน ปัญหาของโลกไอที มีหลากหลายมาก การทำนายผลกระทบที่มี
ข้อมูลอ้างอิงอย่างพอเพียง การมีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม ประเมินผล
อยา่ งสม่ำเสมอ คงจะช่วยใหร้ อดพ้นปัญหานไี้ ด้บ้าง
10. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ภาพที่ 10.52 ระบบเครือขา่ ยคอมพิวเตอร์

ภาพจาก : http://straighttechnologygroup.com/wp-content/uploads/2017/01/new_computer_network.jpg

ระบบเครือข่าย (Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมา
เชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์
ต่างๆ ในเครือข่าย ร่วมกันได้ เครือข่ายมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วย
คอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพือ่ ใช้งานในบ้านหรือในบริษทั เลก็ ๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาด
ใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ระบบเครือข่าย ภายในบ้าน (Home Network) จะเป็นระบบ LAN
(Local Area Network) ซึ่งเป็นระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก โดยการนำ เครื่อง

297

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มาเชื่อมต่อกันให้อยู่ภายในระบบ เครือข่ายเดียวกัน ทำให้เกิด
ประโยชนใ์ นการใชค้ อมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น

1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้
สะดวกและประหยดั คา่ ใชจ้ ่าย เพราะไม่ต้องลงทนุ ซือ้ เครื่องพมิ พ์หลายเครื่อง

2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเครือข่ายแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูล
ร่วมกนั หรอื การแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเรว็ โดยไมต่ อ้ งใชอ้ ุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ
ในการโอนย้าย ข้อมูล ตัดปัญหาเรือ่ งความจุของสื่อบันทึก ยกเว้นอปุ กรณใ์ นการจัดเก็บข้อมูล
หลกั อย่างฮารด์ ดิสก์ หากพนื้ ทีเ่ ตม็ กค็ งตอ้ งหามาเพิ่ม

3. การติดต่อสื่อสาร คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่ายสามารถติดต่อกับ
เครื่องอื่นๆ โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
เชน่ เดียวกนั หรอื การใชอ้ ีเมล์ ภายในก่อใหเ้ ครือข่ายภายในบ้าน หรอื เครือขา่ ยภายในองคก์ ร

4. การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่าย
สามารถใช้ งานอินเทอรเ์ น็ตได้ทกุ เครื่อง โดยมีโมเดม็ เพียงหน่ึงเครือ่ ง

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเปน็ สว่ นหนง่ึ ขององค์กร สถาบนั การศกึ ษา และ
ตาม บ้านต่างๆ การใชท้ รัพยากรรว่ มกนั ได้ท้ังไฟล์ เคร่ืองพิมพ์ ตอ้ งใชร้ ะบบเครือข่ายเปน็
พืน้ ฐาน ดังนนั้ ระบบเครือข่ายจะหมายถึง การนำคอมพิวเตอรต์ ั้งแต่ 2 เครือ่ งขึน้ ไปมาเชอ่ื มตอ่
กันเพือ่ จะทำการแชร์ ขอ้ มูล และทรัพยากรร่วมกนั ระบบเครือขา่ ยสามารถแบ่งได้ดังน้ี คือ

10.1 LAN (Local Area Network)

ภาพที่ 10.53 ระบบ LAN

ภาพจาก : https://steemit.com/steemstem/@muadzis/networking-fundamental-local-area-network-lan-
077cd3bfc51a

ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้ องใช้
โครงข่าย การสื่อสารขององค์การโทรศัพท์เป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือ
ต่างอาคาร ในระยะ ที่ใกล้เคียงกัน พัฒนาการของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการ

298

เชื่อมต่อเทอร์มินอล (Terminal) เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainframe Computer)
หรือเชื่อมต่อกับมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ซึ่งการควบคุมการสื่อสารและการ
ประมวลผลต่างๆจะถูกควบคุมและดำเนินการโดยเคร่ือง เมนเฟรมหรอื มินิคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจ
เรียกอีกอย่างว่าโฮสต์ (Host) โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างโฮสต์กับ เทอร์มินอล ส่วนเทอร์มินอล
ทำหนา้ ที่เปน็ เพียงจดุ รบั ข้อมลู และแสดงขอ้ มูลเทา่ นั้น

สำหรับเครือข่ายในปัจจุบันมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้ง
การ เข้าถึงและการใช้งานทรัพยากรที่มีอยบู่ นเครอื ข่าย เชน่ เครื่องพมิ พ์ ดิสก์ หรืออุปกรณ์อื่น
ๆ ซึ่งปจั จบุ ัน เรียกเทอร์มนิ อลทีม่ คี วามสามารถเล่านี้ว่าโหนด (Node) ลักษณะการกระจายการ
ทา งานแบบการกระจาย ศูนย์ (Distributed System) ซึ่งเป็นการกระจายภาระและหน้าที่การ
ทำงานไปให้โหนดบนเครือขา่ ยท้ัง ภายใน และภายนอกหน่วยงาน ซึง่ จะช่วยลดภาระการทำงาน
ของโฮสตล์ งได้เปน็ อยา่ งมาก

10.2 MAN (Metropolitan Area Network)

ภาพที่ 10.54 ระบบ MAN

ภาพจาก : https://steemit.com/steemstem/@muadzis/networking-fundamental-local-area-network-lan-
077cd3bfc51a

ระบบเครือข่ายระดับเมือง เป็นระบบเครือขา่ ยที่มขี นาดอยู่ ระหว่าง Lan และ Wan เป็น
ระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้นการเชื่อมโยง จะต้องอาศัยระบบบริการ
เครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา
เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึง มีความเร็วในการ
สื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวน มีความ
หลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่น
ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล

299

10.3 WAN (Wide Area Network)

ภาพที่ 10.55 ระบบ WAN
ภาพจาก : https://sites.google.com/site/kanyaphat16305/kherux-khay-
khxmphiwtexr/kherux-khay-wng-kwang-hrux-waen-wide-area-network-wan
ระบบเครือข่ายกว้างไกล ของระบบเครือข่าย โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ
การสื่อสารข้ามทวีป หรือการสื่อสารทั่วโลก จะต้องใช้ตัวกลางการสื่อสาร (Media) ในการ
สื่อสารของ องค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ (dial-up),
คสู่ ายเช่า (Leased line), การสง่ ขอ้ มลู เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน (ISDN: lntegrated Service
Digital Network)) ระบบ เครือข่ายระยะไกล เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณ
กว้าง โดยมีการส่งข้อมูลในลักษณะ เป็นแพ็คเก็ต (Packet) ซึ่งต้องเดินทางจากเครื่อง
คอมพิวเตอรต์ ้นทางไปสูเ่ คร่อื งคอมพิวเตอร์ปลายทาง แพก็ เกต็ นี้ถูกสง่ จากเคร่ืองคอมพิวเตอร์
หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยมีสายสื่อสาร หรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นในการ
เชื่อมต่อถึงกันในลักษณะเปน็ ลูกโซ่ หรือเป็นทอดๆ อาศัยเครื่อง คอมพิวเตอรท์ ี่อยู่ระหวา่ งทาง
แต่ละตัวจะรับข้อความนั้นเก็บจำเอาไว้และส่งต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ถัดไปในเส้นทางทีใ่ กล้
ที่สุด รูปแบบของเครือข่ายที่แตกต่างกันไป ตามลักษณะของอลักอริทึมสำหรับ การคำนวณใน
การส่งแพค็ เกต็

300

10.4 CAN (Controller Area Network)

ภาพที่ 10.56 ระบบ CAN

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/krujoekomsanti/8-chnid-khxng-kherux-khay-
khxmphiwtexr?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1

คือการควบคุมพื้นที่เครือข่าย(การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมา
เชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อใช้ข้อมูล โปรแกรมหรืออุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน) ซึ่ง CAN คือ
มาตรฐานการติดต่อสื่อสารแบบอนุกรม, มันต้องการการส่งข้อมูลเป็นรหัสจังหวะทางไฟฟ้า
โดยการใช้สายสัญญาณการติดต่อสื่อสารเพียง 2 เส้น, ซึ่งได้รับมาตรฐาน ISO 11898.
ลกั ษณะสำคญั และการใชป้ ระโยชน์ ของ CAN

- ราคาต้นทุนต่ำ เพราะ ใช้สายสัญญาณเพียง 2 เส้นในการติดต่อสื่อสาร, มีการผลิต
เป็นจำนวนมากเพือ่ ใช้อุตสาหกรรมยานพาหนะ

- มีความน่าเชื่อถือ เพราะ มีตัวตรวจหาความผิดพลาดและมีกลไกการจัดการความ
ผดิ พลาดขณะทีก่ ำลงั สง่ ขอ้ มูล ซึ่งมีความน่าเช่อื ถือสูง, ข้อผิดพลาดถูกค้นพบและถูกทำซ้ำ

- ในสถานะทีแ่ ท้จริงน้ัน CAN สามารถส่งข้อมูลที่ความเรว็ 1Mbit/Sec ที่ระยะ 40 เมตร
(สามารถส่ง ข้อมูลที่ระยะ 1 กิโลเมตร ที่ความเร็ว 40Kbit/Sec ซึ่งเป็นความสามารถสูงสุดของ
CAN)

- เปลี่ยนแปลงได้ เพราะ สามารถที่จะเข้าถึงลักษณะเฉพาะของ จุดทุกๆจุดของ CAN
ได้ ซึ่งเปน็ เรือ่ งงา่ ย ทีจ่ ะเชอ่ื มต่อ หรอื หยดุ การเช่อื มต่อ

- ลดการเดินสายสัญญาณในการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ตัวอย่างการใช้
ประโยชนข์ อง CAN

- ใช้ในระบบเครื่องยนต์ยานพาหนะ (cars, trucks, buses) ทำให้สามารถติดต่อสื่อสาร
ระหว่างหน่วยควบคุมทางไฟฟ้า (ECU) และการควบคุมเครื่องจักรกล เช่น ระบบเบรก ABS,
การควบคมุ ระบบเกียร์, ระบบกันสะเทือน

301

- ใช้ในระบบการติดต่อสื่อสารของเครื่องจักรแทนคนในภาคอุตสาหกรรม (Industrial
Automation) เช่น การติดต่อสื่อสารของระบบการขนส่งชิ้นงาน,การติดต่อสื่อสารเพื่อควบคุม
การทำงานของแขนกล ฯลฯ

- ใช้ในระบบการตดิ ตอ่ สื่อสารทางดา้ นการแพทย์ เชน่ เครือ่ ง X-Ray, ระบบทนั ตกรรม
, รถ Wheel Chairs

- ใช้ในระบบการติดต่อสื่สารเครื่องจักรภายในอาคาร เช่น ลิฟต์, บรรไดเลื่อน, ระบบ
แสงสว่าง, ระบบความรอ้ น (Heating), ระบบการรกั ษาความปลอดภัย ฯลฯ

10.5 SAN (Storage Area Network)

ภาพที่ 10.57 ระบบ SAN

ภาพจาก : http://publib.boulder.ibm.com/tividd/td/ITSANN/SC23469702/en_US/HTML/btacpi1361.htm

เทคโนโลยีการจัดเก็บขอมูลปริมาณมหาศาล รวมทั้งความเร็วสูง และมีความ
เชื่อถือไดใน ระดับสูงกําลังจะกลายเปนของคูกันสําหรับระบบเครือขายคอมพิวเตอร ขนาด
กลางและขนาดใหญใน อนาคตในบานเรา แตสาํ หรับในตางประเทศ เรือ่ งนกี้ ลายเปนเร่ืองปกติ
และมีความจําเปนตองใชงาน อยางมาก โดยเฉพาะหนวยงานราชการหรอื เอกชนที่มีคลังขอมูล
ขนาดกลางและใหญ ดังนั้น เทคโนโลยีนี้มีความนาสนใจประการใด การทํางานของมัน รวมทั้ง
แนวทางการออกแบบและ ประยุกตใชงานเทคโนโลยีที่เราเรียกวา SAN หรือ Storage Area
Network

Storage Area Network หรือ SAN เปนระบบโครงสรางที่มีการเชื่อมตอทาง
ขอมูลขาวสารระหวางกลุมของอุปกรณจัดเก็บขอมูลที่ล้ําหนา ที่จะชวยใหสามารถจัดเก็บและ
ดึงขอมูลขนาดใหญ หรอื ปริมาณ มหาศาล ออกมาใชงานไดอยางรวดเร็ว ปลอดภัย และงายต่อ
การบริหารจัดเก็บขอมูล ระบบของ SAN ไมใชระบบคอมพิวเตอร แตอยูเบื้องหลังความสําเรจ็
ของการจัดเก็บขอมูลในระบบเครือขายคอมพิวเตอร หมายความวา SAN ไมไดอยูในเครือขาย
แลน แตอยูดานหลังของเซิรฟเวอรตางๆ โดยทําหนาที่ดูแล การจัดเก็บ และปลดปลอยขอมูล
เพื่อสนองตอบกลุมของเซิรฟเวอร ซึ่งไดรับการรองขอจากกลุมของ ไคลเอนตบนเครือขายอีกที
หนง่ึ ดงั นนั้ SAN จงึ ไมใชอปุ กรณตวั ใดตวั หนึ่ง หรอื คอมพิวเตอรเซิรฟเวอร เครือ่ งใดเคร่ืองหนึ่ง

302

แตเปนระบบบริหารการจัดเก็บและดูแลกลุมของอุปกรณการจดั เกบ็ ขอมลู ทีม่ ี ประสิทธิภาพสูง
โดยกลุมของอุปกรณการจัดเก็บขอมูลเหลานี้ มีการเชื่อมตอกันทางดานเครือขายก็จริง แตไม
ไดเช่อื มตอผานทาง Switching Hub ธรรมดา แตอาจเชื่อมตอกันดวยระบบ Fiber Channel Hub
หรอื Switch หรอื เทคโนโลยีอืน่ ๆ ที่กําลังจะมีมาในอนาคต

SAN สามารถใหความยืดหยุนในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัด
Configuration ซึ่งในที่นี้ หมายถึง ความยืดหยุนสูงในการกําหนดขนาดหรือลดขนาดการบรรจุ
เก็บขอมูลขาวสารของระบบ ทานสามารถเพิ่มหรือลดจํานวนของเซิรฟเวอรหรืออุปกรณ
จัดเก็บไดเต็มที่ โดยไมกระทบตอประสิทธิภาพการทํางานของ SAN นอกจากนี้ภายใตระบบ
SAN สามารถมีเซิรฟเวอรหลาย ๆ ตัว หรือเปนจํานวนมากที่สามารถเขามา Access ใชงาน
ในกลุมของอปุ กรณจัดเก็บขอมลู ที่ดแู ลภายใต SAN ไดอยางมปี ระสิทธิภาพ

SAN ใหความสะดวกแกทานในการจัดรูปแบบของการวางอุปกรณจัดเก็บ
ขอมูลรวมทั้งการมุงเนน เรื่องของการเชื่อมตอ ประสิทธิภาพ ความนาเชื่อถือ อยางใดอยาง
หนง่ึ หรอื ทั้ง 3 อยางน้ี

SAN สามารถแกหรือลดปญหาความลาชาที่มาจากการตอบสนองการรอง
ขอขอมูลจากไคลเอนต บนเครือขายไดเปนอยางมาก ชวยใหไคลเอนตบนเครือขายไดรับขอมู
ลจากอปุ กรณจดั เก็บในปริมาณสงู ตอครั้ง ชวยลดเวลาการประมวลผลของไคลเอนต รวมทั้งให
การสนับสนุนการทํา Backup ขอมูลไดอยาง รวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถทําสํารองขอมูลที่อยู
ห่างไกลจากศูนยขอมูลไดจํานวนมากดวยขนาดทีไ่ มจํากัดระยะทางดวยการเชือ่ มตอทางสายใย
แกวนาํ แสงจะชวยใหทานสามารถวางแผนการทําสํารองขอมูล หรอื โยกยายถายเทขอมูลจากที่
หนง่ึ ไปยังอีกที่หนึง่ ที่อยูหางไกลกันมาก ในกรณีทีเ่ กิดปญหาทางภัยจาก ธรรมชาติ

เนื่องจาก SAN มิใชระบบฮารดแวรโดยตรง แตเปนระบบควบคุมดูแลการ
จัดเก็บขอมูลที่ไมไปยุงกับการจัดConfigure ของระบบแลน ดังนั้นมันจึงใหการสนับสนุน
ระบบปฏิบัติการทุกประเภท ทุกแบบ และ สามารถใหบริการ ทั้งเครื่องคอมพิวเตอรธรรมดา
บนระบบแลนไปจนถึงเครื่องคอมพวิ เตอรในระดับ เมนเฟรม

303

10.6 WLAN (Wireless LAN)

ภาพที่ 10.58 ระบบ WLAN

ภาพจาก : https://www.kdcybergroup.com

ระบบการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลแบบไม่มีสายนำสัญญาณ โดยการส่ง
สัญญาณและข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนกันนั้นจะใช้การส่งคลื่นวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด
ผา่ นอากาศไปยงั เครอ่ื งรบั สัญญาณโดยตรง โดยคลืน่ วทิ ยุที่ถกู ส่งจากเครื่องสง่ จะสามารถผ่าน
ทะลุวตั ถุทีข่ วางกนั ได้ทำให้การใช้ Wireless LAN (WLAN) สามารถครอบคลุมพื้นที่การใช้งานได้
เหมือนกับระบบเครือข่ายที่ใช้สายสัญญาณอย่าง LAN (Local Area Network) เป็นการเชื่อมตอ่
คอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย แบบไร้สาย เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวกในการ
เดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการ ความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ เช่น สนามบิน
โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น หลักการทำงาน ของระบบเครือข่ายไร้สาย การทำงานจะมี
อุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณ (Access Point) การทา งานจะ ใช้คลื่นวิทยุเป็นการรับส่ง
สัญญาณ โดยมีใหเ้ลือกใช้คลน่ื ความถี่ 2.4 กิกะเฮิรต์ ซ์ และ 5.1 กิกะเฮิร์ตซ์

10.7 Extranet & Intranet
10.7.1 Extranet

ภาพที่ 10.59 Extranet

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/modtanoihathaipat/extranet

304

เครือขา่ ยภายนอกองค์กร หรอื เอกซท์ ราเน็ต (Extranet) คือระบบเครือข่ายซึ่ง
เชื่อเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่ง
อินทราเน็ต กล่าวคือ เอกส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร
ดงั นน้ั จะมีบางส่วนของ เครือข่ายที่เปน็ เจ้าของร่วมกันระหว่างสององคก์ รหรือบริษัท การสร้าง
อินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วย เทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความ
ปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กร จะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้
ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบ อินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การเข้ากับระบบ
คอมพิวเตอรท์ ี่อยภู่ ายนอกองค์กร เชน่ ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จดั จำหน่าย หรือของ
ลูกค้า โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการ
เชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่าย
ผา่ นอินเทอร์เน็ตกไ็ ด้

ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกของ
องค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่าน
เครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจ
ทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป
ตวั อยา่ งของเอกซ์ทราเนต็ Countrywide Home Loans ได้สรา้ งเอกซ์ทราเนต็ ทีเ่ รยี กว่าPlatinum
Lender Access สำหรับหุ้นส่วนกู้ยืม นายหน้า และธนาคารประมาณ 500 แห่ง ให้สามารถ
เข้าถึงอินทราเน็ตและฐานข้อมูลการเงิน เข้าถึงบัญชีและสารสนเทศรายการเปลี่ยนแปลง
สถานะเงินกู้ และประกาศของบริษัท ผใู้ ห้กู้และนายหน้าแต่ละรายถูกระบุตัวอัตโนมัติโดยเอกซ์
ทราเน็ต ซึ่งได้จัดเตรียมสารสนเทศในเรื่องของอัตราเบี้ยประกัน ส่วนลด และข้อตกลงพิเศษ
อื่นๆ Marshall Industries ใช้เอกซ์ทราเน็ตเพื่อให้ลูกค้าและผู้ขายสามารถเข้าถึงทรัพยากร
อินทราเน็ตของ Marshall ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เรียกว่า Partner Net เช่น ผู้ขายสามารถใช้
ระบบจุดขาย (Point–of-sale) เพื่อรายงานสถานะของสินค้าคงคลังได้ทุกเวลา ลูกค้าสามารถ
ตรวจสอบสถานะของสินค้าที่ต้องการ เช่นเดียวกับสถานะคำสั่งซื้อที่ได้สั่งซื้อไว้ก่อนหน้า ซึ่ง
เอกซ์ทราเนต็ ได้ช่วยเพิม่ ยอดขายและกำไร ขณะที่ตัดพนกั งานขายและค่าใช้จา่ ยลง

305

10.7.2 Intranet

ภาพที่ 10.60 Intranet

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/areeyamindd/intranet

อินทราเนต็ เปน็ เครือขา่ ยส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอรเ์ น็ต เช่น เวบ็ , อีเมล
, FTP เป็นต้น อินทราเนต็ ใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรบั การรับส่งข้อมูลเชน่ เดียวกับอินเทอร์เน็ต
ซึ่ง โปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท
ฮาร์ดแวร์ที่ ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้
อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กร
ใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูล จะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ
โลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์
ข้อมลู อนิ เทอรเ์ น็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใด ที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เม่ือเชื่อมต่อ
เข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของ บริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการ
ค้นหาข้อมูลหรอื ทำธรุ กิจตา่ ง ๆ

โดยอินทราเน็ตมีรูปแบบ การใช้ระบบเว็บเป็นศูนย์บริการข้อมูลและข่าวสารภายใน
สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อน ไหวและเป็นเครือ่ งมือที่ง่ายต่อ
การใช้งานโดยได้ผนวกบริการข้อมูลอื่นรวมไว้ในตัวเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่าย
โอนย้ายแฟ้มขอ้ มูล หรอื กระดานข่าว เป็นต้น อินทราเน็ตจะชว่ ย ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจดั การ
เอกสารจากเดิมใชว้ ิธีทำสำเนาแจกจ่ายไม่ว่าจะเป็นข่าว ประกาศ รายงาน สมดุ โทรศพั ท์ภายใน
ขอ้ มลู บคุ ลากร มาจัดทำให้อยใู่ นรปู อิเล็กทรอนิกส์ แทนผใู้ ช้สามารถเรียกค้น ข้อมูลข่าวสารได้
เมื่อต้องการการประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในหน่วยงานถือเป็นการปฏิรูปในองค์กรและก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยให้การ

306

ดำเนินงานเป็น ไปได้อย่างคล่องตัว และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมาก หากมีการวางแผนงาน
และเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะช่วยเพิม่ ประสทิ ธิภาพการดำเนิน งานขององค์กรให้สงู ข้นึ

10.8 IP Address

ภาพที่ 10.61 IP Address

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/abcgraphic1/ip-address

IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือ หมายเลขประจำเครื่อง
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ถ้าเปรียบเทียบก็คือ
บ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับ
คอมพิวเตอร์ และอปุ กรณอ์ ืน่ ๆ ที่ตอ้ งการ IP ท้ังนีเ้ วลามีการโอนย้ายข้อมูล หรอื สง่ั งานใดๆ จะ
สามารถทราบตำแหน่งของเครื่องทีเ่ ราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่ง
ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชดุ มีเคร่อื งหมายจุดขั้นระหวา่ งชุด เชน่ 192.168.100.1 หรอื 172.16.10.1
เป็นต้น โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่ง
ตัวเลข 4 ชุดนีบ้ อก คือ Network ID กบั Host ID ซึ่งจะบอกใหร้ ู้ว่า เครื่อง Computer ของเราอยู่
ใน Network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ
Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยูก่ ับวา่ IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร

เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address
ออกเปน็ หมวดหม่นู ้ันเอง สิง่ ที่จะเปน็ ตวั จำแนก class ของ network กค็ ือ bit ทางซ้ายมือสุดของ
ตัวเลขตวั แรกของ IP Address (ทีแ่ ปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นน่ั เอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุด
เป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP
Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112)
จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน
class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิด

307

หน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น
network ใน class A จะมีคา่ ตัวเลขตัวแรก ในชว่ ง 1 ? 126

สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ อย่างเช่น Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับ
การส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูก
สงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูก
นำมาใช้งานในภาวะปกติ

ตัวอย่าง IP Address
Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
Class C ต้ังแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx

10.9 Wifi

ภาพที่ 10.62 Wifi
ภาพจาก : https://www.freepik.com/
Wi-Fi หรือที่ย่อมาจาก Wireless Fidelity เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย LAN 802.11b
ใช้ หลักการทำงานไร้สาย โดยใช้จุดเชื่อมต่อสัญญาณ hotspots ติดตั้งตามจุดต่าง ๆ ทำให้
สามารถนา Notebook ที่มี wireless lan และ CPU Intel Centrino ไปใช้ได้ทุกที่ที่ติดตั้งจุด
เชื่อมต่อสัญญาณ hotspots ไว้ ให้สามารถทา งานได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ สนามบิน
หา้ งสรรพสินค้าโรงแรม ให้ใชง้ านผ่านเครือข่ายในการถ่ายโอนข้อมลู และใช้อนิ เตอร์เน็ตได้ทุกที่
ทีม่ สี ัญญาณจาก hotspot

308

10.10 Bluetooth

ภาพที่ 10.63 Bluetooth
ภาพจาก : https://www.cleanpng.com/
เป็นเทคโนโลยีไร้สายระยะสั้นที่สนับสนุนการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายระหว่างอุปกรณ์
ดิจิตอล อย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และกล้องถ่ายภาพดิจิตอล เทคโนโลยีไร้สาย
BLUETOOTH สามารถใช้งานได้ภายในช่วงระยะ 10 เมตรการเชื่อมต่ออุปกรณ์สองชิ้นเข้า
ด้วยกันเป็นรูปแบบการใช้งานตามปกติ แต่อุปกรณ์บางชนิดสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น
มากกว่าสองชิ้นได้ในเวลาเดียวกัน ท่านไม่จำเป็นต้องใช้สายเคเบิ้ลเพื่อทำการเชื่อมต่อ และไม่
จำเป็นต้องวางอุปกรณ์ใกล้กันและหันเข้าหากันเหมือนการใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด
ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้จากกระเป๋าถือหรือกระเป๋าเสื้อ/กางเกงมาตรฐาน
BLUETOOTH เป็นมาตรฐานสากลทีไ่ ด้รับการสนบั สนุนจากหลายพนั บริษัททัว่ โลก และมีบริษัท
จำนวนมากนำไปใช้งานจนแพร่หลายทวั่ โลก
ระยะสงู สุดท่สี ามารถใช้สื่อสารข้อมูลอาจส้นั ลงไดใ้ นกรณตี ่อไปน้ี
- มีสิ่งกีดขวางอย่างเช่น คน, โลหะ หรือกำแพง อยู่ระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้กับอุปกรณ์
BLUETOOTH
- มีอุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กบั อปุ กรณข์ องทา่ น
- มีไมโครเวฟใช้งานอย่ใู นบริเวณใกล้กับอปุ กรณ์ของทา่ น
- มีอุปกรณ์ทีส่ รา้ งรังสีคลื่นแม่เหลก็ ไฟฟ้าใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กบั อุปกรณข์ องท่าน
เนื่องจากอุปกรณ์ BLUETOOTH และระบบ LAN ไร้สาย (IEEE802.11b/g) ใช้งานความถี่
เดียวกนั อาจทำให้เกิดการรบกวนกนั ของคล่นื ไมโครเวฟได้ ส่งผลใหค้ วามเรว็ การส่ือสารข้อมูล
ลดลง, เกิดสัญญาณรบกวน หรือไม่สามารถทำการเชื่อมต่อได้ หากใช้งานอุปกรณ์ของท่าน
ใกล้กับอุปกรณ์ LAN ไร้สาย หากเกิดกรณีดงั กล่าว ให้ดำเนินการดังนี้

309

- ใช้งานอุปกรณท์ ี่ระยะห่างอย่างน้อย 10 เมตรจากอปุ กรณ์ LAN ไร้สาย
- หากใช้งานอุปกรณ์ภายในระยะ 10 เมตรจากอุปกรณ์ LAN ไร้สาย ให้ปิดอุปกรณ์
LAN ไร้สาย คลืน่ ไมโครเวฟที่แผ่ออกมาจากอปุ กรณ์ BLUETOOTH อาจส่งผลรบกวนการทำงาน
ของอุปกรณ์อิเลก็ ทรอนิกส์ทางการแพทย์ได้ ให้ปิดอุปกรณ์ของท่านและอุปกรณ์ BLUETOOTH
อืน่ ในสถานทีต่ ่อไปนี้ เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบตั ิเหตุได้
- ในบริเวณที่มีก๊าซติดไฟง่าย, ในโรงพยาบาล, รถไฟ, เครื่องบิน หรือในสถานีบริการ
น้ำมัน
- ใกล้ประตูอตั โนมัตหิ รอื อุปกรณ์แจง้ เตอื นไฟไหม้
10.11 Wireless

ภาพที่ 10.64 Wireless

ภาพจาก : http://advcomtec.lnwshop.com/

Wireless คือการสื่อสารไร้สายด้วยคลื่นความถี่วิทยุทุกประเภทรวมถึง วิทยุ FM, AM,
วิทยุสื่อสาร, Microwave (Fiber optic ใช้ลำแสงเป็นตัวนำสัญญาณ) แต่ในยุคปัจจุบัน คำว่า
Wireless โดยทั่วไปจะเข้าใจในความหมายของการสื่อสารไร้สายของอุปกรณ์เครือข่าย
คอมพิวเตอร์

10.12 Usb

ภาพที่ 10.65 Usb
ภาพจาก : https://www.technointrend.com/usb-version-3/
USB (Universal Serial Bus) คือ ช่องทางการสือ่ สารความเรว็ สงู อีกชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับ
ตอ่ พ่วงอปุ กรณอ์ ืน่ ๆ เข้ากบั คอมพิวเตอร์ ไมว่ ่าจะเปน็ เครือ่ งพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์
โมเดม็ และอื่นๆ ก็สามารถนำมาต่อเชอ่ื มเข้ากบั USB port นไี้ ด้ ลกั ษณะของ USB port จะเป็น

310

ช่องเสียบเหลี่ยมขนาดเลก็ ปกติจะติดตง้ั ไว้ด้านหลังของเครือ่ ง แต่คอมพิวเตอร์บางรนุ่ กต็ ิดตง้ั
ไว้ดา้ นหน้า เดิม USB รนุ่ ที่เราใชก้ ัน จะเปน็ เวอร์ช่นั USB 1.1 ต่อมาได้มีการพฒั นาให้เป็นเวอร์
ชน่ั 2.0 ซึ่งจะทำงานในการรบั -สง่ ขอ้ มลู ได้สูงข้ึน

พัฒนาการของ USB
- USB 3.0 เปน็ พัฒนาการมาจาก USB 2.0 โดยเฉพาะความสามารถในเรือ่ งของ

ความเรว็ ที่มกี ารเพิ่มขนึ้ ถึงประมาณ 10 เท่า หรอื ประมาณ 4.8 Gbps (600 MB/s)
สำหรบั อตั ราการใชพ้ ลังงานจะอยู่ที่ 900 mA
- USB 2.0 มีความเรว็ ในการรับสง่ ขอ้ มลู 480 Mbps (60 MB/s) สำหรับอัตราการใช้
พลงั งานจะอยทู่ ี่ 500 mA
- USB 1.1
10.13 wifi direct

ภาพที่ 10.66 wifi direct

ภาพจาก : https://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/wifi-direct/

สมาคมผู้พัฒนาเทคโนโลยีไว-ไฟ (Wi-Fi Alliance) ได้ออกมาพัฒนาเทคโนโลยี WIFI
Direct ขึ้นเป็นการพัฒนามาจากการใช้ไวไฟแบบเดิมให้สามารถเชื่อมต่อกันได้สะดวกขึ้น
หลังจากมีการพัฒนาได้ไม่นานก็มีการประกาศรองรับมาตรฐานใหม่ให้กับอุปกรณ์ที่ใช้งาน
WIFI Direct ให้เป็นมาตรฐานใหม่ ที่หลายคนก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า WIFI Direct จะเป็น
เทคโนโลยีที่จะมาทดแทนการเชื่อมต่อด้วย บูลทูธ (Bluetooth) เพราะข้อจำกัดหลายอย่างของ
การเช่อื มต่อแบบบูลทูธ ซึง่ WIFI Direct สามารถแก้ไขข้อจำกัดเหล่าน้ไี ด้ เชน่ เร่อื งของระยะทาง
ในการเชื่อมต่อจะได้ไกลกว่าแบบการเชื่อมต่อด้วยบูลทูธ และเรื่องความปลอดภัยที่ WIFI
Direct สามารถรกั ษาความปลอดภยั ของขอ้ มูลด้วยการเข้ารหสั WPA2

WIFI Direct นอกจากจะสามารถจับคู่กับอปุ กรณท์ ี่มี WIFI Direct ด้วยกันในระยะท่ไี กล
แล้ว WIFI Direct ยังสามารถจับคู่ได้มากกว่าหนึ่งอุปกรณ์อีกด้วย นอกจากข้อดีเรื่องของ
ระยะทางแล้ว การเชอ่ื มต่อแบบ WIFI Direct ยงั ไมจ่ ำเปน็ ต้องเลือกเครือข่ายหรือระบบกระจาย
สัญญาณ Wi-Fi (Hotspot) เพราะการเชื่อมต่อในระบบของ WIFI Direct นั้นไม่จำเป็นต้องมี

311

ตัวกลาง การเชื่อมต่อในระบบ WIFI Direct จะเป็นการเชื่อมต่อแบบ Point-to-Point คือเครื่อง
ต่อเครื่อง อุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ หรืออุปกรณ์ต่างอุปกรณ์ที่มีความสามารถ WIFI Direct
เหมือนกัน โดยการเชื่อมต่อนี้เครื่องที่เปิดใช้งาน WIFI Direct จะทำการค้นหาในรัศมีรอบ
ตัวเครื่องว่าเครื่องไหนมีความสามารถ WIFI Direct บ้างถ้าเครื่องที่ไม่มีความสามารถนี้ก็จะไม่
สามารถเชื่อมต่อด้วยกันได้

ด้านความเร็วในการส่งไฟล์ข้อมูลที่มีการอ้างว่าการเชื่อมต่อแบบ WIFI Direct นั้น
สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้เรว็ ถึง 52Mbps เรว็ กวา่ การรบั ส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth 3.0 มากกว่า 2
เท่า เหมาะมากกับการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ ซึ่งผู้พัฒนาต่างคาดหวังว่าจะมีการใช้ WIFI Direct ใน
รูปแบบของแอพพลิเคชั่น Instant Messaging : IM (แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการแชร์รูปภาพวิดีโอ
และในการแชรไ์ ฟล์หรือเกมที่สามารถเล่นเกมระหว่างมอื ถือสองเคร่อื งพร้อมกันได้) ให้มากขึ้น
ด้วยความสามารถในการโอนถา่ ยไฟล์ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องมีการบีบอัดไฟล์ทำ
ให้มกี ารพัฒนาอปุ กรณ์ทีร่ องรบั WIFI Direct ให้มากขึ้น

ในปัจจบุ นั นี้อุปกรณห์ ลากหลายมีการรองรบั การทำงานแบบ WIFI Direct แล้ว อาทิเช่น
มอื ถือ ทีวี เครือ่ งพมิ พ์ โปรเจคเตอร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึง่ อุปกรณท์ ีก่ ลา่ วมาเหลา่ น้ีสามารถ
เชอ่ื มตอ่ กนั ได้โดยไม่ต้องใหเ้ ครือ่ งทำความรจู้ ักกันก่อนเหมอื นกับการเช่อื มตอ่ ในสมยั กอ่ น

ยกตัวอย่าง อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อและพัฒนาอุปกรณ์ให้สามารถเชื่อมต่อในแบบ
WIFI Direct มาอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์ของทางซัมซุง (Samsung) เกือบทุกผลิตภัณฑ์จะ
สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยผ่าน WIFI Direct อาทิเช่นคุณมีเกมที่เล่นอยู่ในมือถือ แต่รู้สึกว่ามือ
ถือนั้นไม่สนุกอยากจะเล่นบนทีวีของซัมซุงก็สามารถเชื่อมตอ่ เพื่อเล่นเกมบนทีวีได้เช่นกัน หรือ
จะเปน็ การแสดงภาพหรอื วิดีโอผา่ นการเชือ่ มต่อ WIFI Direct ก็ได้

หลายคนอาจจะสงสยั ว่าแล้วอุปกรณ์ชนิดไหนบ้างที่รองรับการใช้งานแบบ WIFI Direct
ส่วนมากแล้วในอดีตที่เพิ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ อุปกรณ์หลายตัวอาจจะไม่รองรับการ
ทำงาน แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานเกือบทุกยี่ห้อจะมีการใส่ความสามารถของ WIFI
Direct ลงไปด้วยแม้กระทั่ง เครือ่ งปรบั อากาศยังมกี ารใช้ WIFI Direct ในการควบคมุ ได้เลย หรือ
จะเป็นเนวิกเกเตอร์ก็มีการเชื่อมต่อด้วยระบบ WIFI Direct ได้เช่นกัน แต่ถ้าอยากจะแน่ใจว่า
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีอยู่นั้นสามารถเชื่อมต่อแบบ WIFI Direct ได้หรือไม่ก็สามารถเข้าไป
ตรวจสอบได้จากเวบ็ ไซต์ http://www.wi-fi.org/product-finder

ส่วนอุปกรณ์มือถือที่ไม่มีระบบ WIFI Direct ก็ไม่ใช่เรื่องลำบากเพราะเราสามารถหา
โหลดแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเพิ่มความสามารถให้อุปกรณ์นั้นๆสามารถใช้งาน WIFI Direct ซึ่งเรา

312

สามารถเข้าไปหาใน Google Play หรือจะอยากจะเล่นเกมแบบ WIFI Direct ก็สามารถเข้าที่
เว็บไซต์ Google Play Game ได้เช่นกนั

ประโยชนข์ อง WIFI Direct
จากความสามารถของ WIFI Direct ทีก่ ลา่ วมาแล้วข้างต้นเราสามารถจำแนก
ประโยชน์ของ WIFI Direct ได้หลายอยา่ ง
1. WIFI Direct สามารถเชื่อมต่อกับเครือ่ งต่อเครือ่ งโดยมีระบบความปลอดภัย
ด้วยการเข้ารหสั แบบ WPA2
2. มีระยะการเชือ่ มต่อทีไ่ กลกว่าการเชอ่ื มตอ่ ด้วยบลู ทธู
3. มีความสามารถจบั คู่อุปกรณ์ได้มากกวา่ 1 อปุ กรณ์ในคราวเดียว
4. ความเรว็ ในการส่งถ่ายข้อมูลน้ันสูงกวา่ แบบบูลทธู อย่างมากด้วยความเร็วที่
52Mbps เร็วกว่าการรบั ส่งไฟล์ผ่านBluetooth 3.0 มากกว่า2เทา่ เหมาะกับการส่งไฟล์ที่มีขนาด
ใหญ่
5. สามารถประยุกตใ์ ช้งาน WIFI Direct ได้หลากหลาย อาทิ การเปลี่ยนมือถือ
ให้กลายเป็น Walkie talkie ได้อีกด้วย หรือจะเปลี่ยนมือถือเป็นรีโมทใช้ในการสั่งงาน
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีระบบ WIFI Direct ความสามารถเหล่านี้ที่กล่าวมาจำเป็นต้องมีแอพพลิเคชั่น
ช่วยในการทำงานเสมอ
6. การใช้งานไม่ยุ่งยากสามารถเชื่อมต่อได้รวดเร็วและสะดวกสบาย
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนลงความเห็นว่าในอนาคต WIFI Direct จะมาทดแทนการใช้งานและการ
เชื่อมต่อด้วยบูลทูธ หลังจากมีการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆให้รองรับการทำงาน WIFI Direct มาก
ขนึ้
10.14 พัฒนาการ 1G 2G 3G 4G 5G

ภาพที่ 10.67 พัฒนาการ 1G 2G 3G 4G 5G
ภาพจาก : https://itinfozone.com/

313

1G
การใชง้ านโทรศพั ทเ์ คลื่อนที่ในยุคแรกเริ่มต้นขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1950 ถึง ประมาณ ค.ศ.
1980 โ ด ย เ ร ิ ่ ม ต ้ น จ า ก ร ะ บ บ 1G ห ร ื อ The first generation of wireless mobile
telecommunications ซึง่ โทรศพั ท์เคลื่อนทีย่ ุค 1G เปน็ โทรศัพทร์ ะบบแอนะล็อก มีตัวเคร่อื งขนาด
ใหญ่ มีราคาแพง และสามารถใช้งานได้เพียงการส่ือสารด้วยเสียงผ่านการโทรเข้าและโทรออก
เท่านั้น ในช่วงแรก มีการเริ่มใช้งานโทรศัพท์ระบบ 1G ในประเทศญี่ปุ่น และในประเทศยุโรป
ตอนเหนอื
2G
ต่อมาในปี ค.ศ. 1982 องค์กรบริหารงานไปรษณีย์และโทรคมนาคมของสหภาพยุโรป
หรอื The European Conference of Postal and Telecommunications Administrations (CEPT) ได้
กำหนดมาตรฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G โดยมีเทคโนโลยีหลัก คือ Global
System for Mobile communications (GSM) ซึ่งได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลกในปี ค.ศ.
1991 ลักษณะเด่นของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคนี้ คือ การส่งสัญญาณด้วยระบบดิจิทัล ซึ่งมี
ความทนทานต่อสญั ญาณรบกวนมากกวา่ ระบบแอนะล็อก ทำให้เสียงทีไ่ ด้รบั มีความคมชัดมาก
ขึ้น นอกจากนี้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2G ยังสามารถส่งข้อความ หรือ SMS และสามารถเข้า
ใช้งานอินเตอรเ์ น็ตในเบอื้ งตน้ ได้ด้วย
3G
ยุคที่ 3 ของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือยุค 3G เป็นยุคเริ่มต้นของการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูง (Mobile broadband) โดยตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2000 โทรศัพท์มือถือถูกใช้งานใน
รูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้เพียงแค่โทรเข้าและโทร
ออกอีกต่อไป แต่มีการรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตหรือ data service ไม่ว่าจะเป็น การ
โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต (Voice over IP) การพูดคุยผ่านวิดีโอ การเล่นเกมและดูทีวีออนไลน์
โดยมาตรฐานที่มากำหนดการใช้งานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 3 นี้ คือ มาตรฐาน IMT-
2000 และยุค 3G ยังเป็นยุคที่เริ่มมีการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มีความซับซ้อนและ
ความสามารถใช้งานมากขึ้น ทีเ่ ราเรียกกันว่า สมาร์ทโฟน นั่นเอง
4G
ต่อมา เทคโนโลยี 3G ได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดระบบ Long Term Evolution หรือ
LTE ซึ่งระบบ LTE นี้ได้รับการยอมรับให้เป็นจุดเริ่มต้นของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G โดย
ม า ต ร ฐ า น ท ี ่ ส ำ ค ั ญ ข อ ง ร ะ บ บ 4G ค ื อ ม า ต ร ฐ า น IMT-Advanced ข อ ง International
Telecommunication Union Radiocommunication Sector (ITU-R) และมาตรฐาน LTE Release

314

10 ของ 3GPP ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวทั้งสองมาตรฐานได้มีการกำหนดระบบที่มีอัตราการส่ง
ข้อมูลที่สูงขึ้น มีประสิทธิภาพการใช้งานคลื่นความถี่เพิ่มขึ้นและความหน่วง (Latency) ของ
ระบบลดลง

เทคนิคหลักในการเพิ่มประสิทธิภาพของโทรศัพท์มือถือในยุคนี้ คือ การใช้เทคนิค
Carrier Aggregation หรือการรวมช่องความถี่จำนวนมากเพื่อให้ได้ความจุที่มากขึ้นและ
สามารถส่งข้อมูลได้เรว็ ขึ้น และการใชเ้ ทคนิค Multiple Input Multiple Output (MIMO) หรือการ
ใช้สายอากาศจำนวนมากสำหรับการส่งและรับสัญญาณเพื่อให้ได้อัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้น
3GPP ได้ออกมาตรฐาน LTE เพิ่มเติม คือ Release 11 12 และ 13 โดยมีการเพิ่มเทคนิคใหม่ ๆ
เข้ามา เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ และการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้
ส่งผลใหร้ ะบบโครงข่ายสามารถรองรบั การใชง้ านอุปกรณ์จำนวนมากขึ้นได้อีกด้วย

5G
การพัฒนามาตรฐานส าหรับระบบ 5G หรอื มาตรฐาน IMT for 2020 and beyond ของ
ITU-R นั้นมีวัตถุประสงค์หลักแตกตา่ งจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ผ่านมาตั้งแต่ยุค 1G ถึง
4G โดยระบบ 5G ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง การรองรับการ
ติดต่อส่อื สาร และการเข้าถึงขอ้ มูลของคน (Humancentric communication) เพียงอย่างเดียวอีก
ต่อไป แต่ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับความต้องการในการติดต่อสื่อสารของสรรพสิ่ง
(Machine-centric communication) ในภาคสว่ นต่างๆ ของเศรษฐกิจ หรอื ที่เราเรียกว่า Verticals
ซึ่งได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่ง ภาคการเงิน หรอื ภาคของสื่อ เป็นต้น อีกด้วย
การที่ระบบ 5G สามารถรองรับการติดต่อสื่อสารในภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจ จะ
ส่งผลให้โลกของเราก้าวสู่ยุคที่ 4 ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเป็นยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่
สงั คมดิจิทัลอย่างเตม็ ตวั แนวโน้มอุตสาหกรรมจะมีการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และเคร่ืองมือ
ต่างๆ หรือที่เรียกว่า Internet of things (IoT) และการทำงานแบบอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาท
สำคัญ โดยการทำงานต่างๆที่เป็นกิจวัตรของมนุษย์ในปัจจุบันอาจถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี
อตุ สาหกรรมจะมีความแข็งแกร่งข้ึน รวดเร็วขึ้น และฉลาดขึน้ เทคโนโลยีสอ่ื สารจะไม่เป็นเพียง
แค่ส่วนประกอบหนึ่งในวิถีชีวิตของเราอีกต่อไป แต่จะเป็นสิ่งจำเป็นที่เราขาดไม่ได้ใน
ชีวิตประจำวัน รวมทั้งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ขนาดใหญ่
และข้อมูลเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตของ
มนุษย์ ไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจหรือสังคมเนื่องจากเทคโนโลยี 5G จะทำให้อัตราความเร็วใน
การส่งข้อมูลแบบไร้สายนั้นเทียบเท่า กับการเชื่อมต่อแบบไฟเบอร์เทคโนโลยี 5G จึงจะมี
บทบาทสำคญั ในด้านตา่ งๆ มากมาย ไม่วา่ จะเป็น เกษตรกรรม ยานยนต์ การขนส่ง สิ่งก่อสร้าง

315

พลังงาน การเงินสุขภาพ อุตสาหกรรมการผลิต การบันเทิงความมั่นคงปลอดภัย และ
พฤติกรรมผู้บริโภคทั้งนี้ ITU-R ได้กำหนดมาตรฐาน IMT for 2020 and beyond ซึ่งมีขีด
ความสามารถในด้านตา่ งๆเพิ่มข้นึ จากมาตรฐาน IMT-Advanced ของระบบ 4G

เราจะเหน็ ว่าระบบ 5G จะมีอตั ราการส่งขอ้ มูลสูงสุด (Peak data rate) เพิ่มขนึ้ 20 เท่า,
อัตราการส่งข้อมูลที่ผู้ใช้ได้รับ (User experienced data rate) เพิ่มขึ้น 10 เท่า, ความหน่วงของ
ระบบ (Latency) ลดลง 10 เท่า, ความสามารถในการรับข้อมูลในขณะเคลื่อนที่ (Mobility) โดย
สามารถรองรับการเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า, ความหนาแน่นในการเชื่อมต่อ
(Connection density) ซึ่งหมายถึงจำนวนอุปกรณ์ที่ระบบสามารถรองรับได้ เพิ่มขึ้น 10 เท่า,
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโครงข่าย (Energy efficiency) เพิ่มขึ้น 100 เท่า,ประสิทธิภาพ
การใช้คลื่นความถี่ (Spectrum efficiency) เพิ่มขึ้น 3 เท่า และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดต่อพื้นที่
(Area traffic capacity) เพิ่มขึ้น 100 เท่า ซึ่งขีดความสามารถที่มากขึ้นเหล่านี้ จะตอบสนอง
ความสามารถในรองรบั การทำงานของ ระบบ 5G ใน 3 ด้านหลกั ดงั น้ี

- eMBB หรือ enhanced Mobile Broadband คือ การใช้งานในลักษณะที่ต้องการ
การส่งข้อมูลความเร็วสูงในระดับกิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ซึ่งการใช้งานลักษณะนี้ตอบสนอง
ความตอ้ งการการสง่ และรบั ข้อมูลทีม่ ากขึ้นเรอ่ื ย ๆ

- mMTC หรือ massive Machine Type Communications คือการใช้งานที่มีการ
เชื่อมต่อของอุปกรณ์จำนวนมากในพื้นที่เดียวกัน โดยมีปริมาณมากถึงระดับล้านอุปกรณ์ต่อ
ตารางกิโลเมตร โดยการส่งข้อมูลของอุปกรณ์ในการใช้งานลักษณะนี้ จะเป็นการส่งข้อมูล
ปริมาณน้อยๆ ที่ไม่ต้องการความเร็วสูง หรือความหน่วงเวลาต่างอุปกรณ์โดยทั่วไปมีราคาถูก
และมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่มากกว่าอุปกรณ์ทั่วไป ซึ่งความสามารถนี้ทำให้ระบบ 5G
เหมาะสมกบั การท างานของอปุ กรณจ์ ำพวก IoT

- URLLC หรือ Ultra-reliable and Low Latency Communications คือการใช้
งานที่ต้องการความสามารถในการส่งข้อมูลที่มีความเสถียรมาก รวมทั้งมีความหน่วงเวลา
(latency) หรือความหน่วงในการส่งข้อมูลต่างในระดับ 1 มิลลิวินาที (ระบบ 4G ในปัจจุบัน
รองรับความหน่วงเวลาในระดับ 10 มิลลิวินาที) ซึ่งความสามารถนี้ทำให้ระบบ 5G เหมาะกับ
การใช้งานระบบที่ต้องการความแม่นยำสูง (critical application) เช่น การผ่าตัดทางไกล การ
ควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน หรอื การควบคุมรถยนตไ์ ร้คนขับ เป็นต้น

316

11. อปุ กรณ์เชือ่ มตอ่ เครือขา่ ยคอมพิวเตอร์
11.1 สายแลน (Lan Cable)

ภาพที่ 10.68 สายแลน
ภาพจาก : https://www.jib.co.th/
เป็นสายนำสัญญาณที่ใช้ต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายอย่าง Switch หรือ
Hub และสายแลนก็ใช้ต่อกับโมเด็มเราเตอร์เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย การ
สง่ ขอ้ มูลระหว่างคอมพิวเตอรก์ ับคอมพิวเตอรโ์ ดยตรงกส็ ามารถที่จะใช้สายแลนในการเชื่อมต่อ
ได้เชน่ กัน
ประเภทของสาย
- ประเภทที่หนึง่ UTP CAT5 คือ สายแลน ที่เปน็ สายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ
ความเร็วสูงสดุ อยู่ที่ 100 Mbps สายชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้งานกนั ซักเท่าไรเนือ่ งด้วยอความเร็ว
ในการถ่ายโอนข้อมูลที่ตำ่
- ประเภทที่สอง UTP CAT5e คือ สายแลนที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่
ตำ่ ความเร็วสูงสดุ อย่ทู ี่ 1 Gpbs
- ประเภททีส่ าม UTP CAT6 คือ สายแลนทีเ่ ป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ
ความเรว็ สงู สุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยทู่ ี่ 250MHz
- ประเภททีส่ ่ี UTP CAT7 คือ สายแลนที่เปน็ สายทองแดงที่มคี วามเรว็ ที่ตำ่
ความเร็วสูงสดุ อยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 600MHz

317

11.1.1.สายแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)

ภาพที่ 10.69 สายแบบมีฉนวนหุ้ม
ภาพจาก : https://www.indiamart.com/proddetail/shielded-twisted-pair-cable-

18128417091.html
สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียว มารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวน
ป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวน
จากคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนีว้ ่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสญั ญาณ ทีไ่ ด้รับการ
พัฒนาตอ่ จากสาย UTP โดยเพิม่ การชีลดก์ ันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้ คณุ สมบัติโดยรวมของ
สัญญาณดีมากขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตรา
การบน่ั ทอน ครอสทอร์
ข้อดีของสาย STP
- สามารถส่งขอ้ มลู ด้วยความเร็วสงู กว่า UTP
- สามารถป้องกันคลืน่ แมเ่ หล็กไฟฟ้า และคลืน่ วิทยุ
ข้อเสียของสาย STP
- มีขนาดใหญ่และไม่คอ่ ยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนกั
- ราคาแพงกว่าสาย UTP
11.1.2. สายคบู่ ิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหมุ้ (UTP : Unshielded Twisted
Pair)

ภาพที่ 10.70 สายค่บู ิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม
ภาพจาก : https://networkencyclopedia.com/unshielded-twisted-pair-utp-cabling/

318

สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยัง
อุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการ
เชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มี จำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่
ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอด
ทั้งสายนั้นจะถูกหมุ้ ด้วยพลาสติก (Plastic Cover)

ปัจจุบนั เปน็ สายที่ได้รับความนยิ มมากทีส่ ดุ เนอ่ื งจากราคาถูกและติดตั้ง
ได้งา่ ย สาย UTP จะมีสายสัญญาณอยูจ่ ำนวน 4 คู่ 8 เส้น ประกอบด้วย

เขียว - ขาวเขียว
ส้ม - ขาวส้ม
น้ำเงิน - ขาวน้ำเงิน
น้ำตาล – ขาวน้ำตาล
ข้อดีของสาย UTP
- ราคาถกู
- ติดต้ังง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
- มีความยืดหย่นุ และสามารถโค้งงอได้มาก
ขอ้ เสียของสาย UTP
- ไม่ เหมาะในการเชือ่ มตอ่ กับอปุ กรณท์ ีห่ ่างไกลมาก เพราะสัญญาณทีว่ ง่ิ บน
สายจะถกู ลดทอนลงไปตามความยาวของสาย (มีความยาวของสายในการเชื่อมตอ่ ได้ไมเ่ กิน
100 เมตร)
11.1.3. แบบมีฟรอยดห์ มุ้ (FTP : Foil Twisted Pair หรอื ScTP : Shield
Twisted Pair)

ภาพที่ 10.71 สายคบู่ ิดเกลียวแบบไมม่ ีฉนวนหุ้ม
ภาพจาก : https://www.indiamart.com/proddetail/foil-twisted-pair-cable-

2820253862.html

319

สาย FTPนั้นมีส่วนของ Foil ที่หุ้มสายทองแดงทั้ง 4 คู่เอาไว้อีกชั้นหนึ่งและมี
สาย Strain Wire ที่ช่วยในการเชื่อม Ground ทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางเพื่อป้องกัน
คลืน่ รบกวนทีจ่ ะเข้ามาในสายสัญญาณซึง่ สายแบบ UTP ไมส่ ามารถทำได้

สายแลน หรือ UTP ย่อมาจาก Unshield Twisted Pair เป็นสายสัญญาณที่
มีขนาดเล็กที่ไม่มีชิลด์ห่อหุ้ม ตีเกลียวเป็นคู่เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน มีไว้เพื่อเชื่อมต่อ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายเข้าด้วยกัน เช่น การใช้งานตามบ้านพักที่อยู่อาศัย
สามารถทำให้คอมพิวเตอร์หรือ Smart TV ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ด้วยการต่อสายแลนไปยังเร้า
เตอร์ หรือตามองค์กรต่างๆ ที่มีระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ก็นิยมใช้สายแลนเป็นสื่อในการ
เช่อื มต่อคอมพิวเตอรแ์ ละอปุ กรณ์ IT ต่างๆ เข้าด้วยกัน

11.2 Switch

ภาพที่ 10.72 Switch
ภาพจาก : http://routerconnection.blogspot.com/2010/09/switch.html

เป็นอุปกรณ์เครือข่ายเช่นเดียวกันกับฮับ (hub) และมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก
แต่มีความแตกต่างที่ ในแต่ละพอร์ต (port) จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่า เช่น
สวิตช์ที่มีความเร็ว 10 Mbps นั้น จะหมายความว่า ในแต่ละพอร์ตจะสามารถส่งข้อมูลได้ที่
ความเร็ว 10 Mbps และนอกจากนั้นเครื่องทุกเครื่องที่ต่อมายังสวิตช์ยังไม่ได้อยู่ใน Collision
Domain เดียวกันด้วย (ซึ่งถ้าฮับจะอยู่) นั่นหมายความว่าแต่ละเครื่องจะได้ครอบครอง
สายสัญญาณแต่เพียงผู้เดียว จะไม่เกิดปัญหาการแย่งสายสัญญาณ และการชนกันของ
สัญญาณเกิดขึ้น สวิตช์จะมีความสามารถมากกว่าฮับ แต่ยังมีการใช้งานอยู่ในวงจำกัดเพราะ
ราคายังค่อนข้างสูงกว่าฮับอยู่มาก ดังนั้นจึงมีการนำสวิตช์มาใช้ในระบบเครือข่ายที่ต้องการ
แบง่ domain เพื่อเพิ่มความเร็วในการตดิ ต่อกบั ระบบ โดยอาจนำสวิตช์มาเป็นศนู ย์กลาง และใช้
ต่อเข้ากับเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครื่อง

320

เซิร์ฟเวอร์ เพื่อจะได้สง่ ข้อมูลได้ทีละมาก ๆ และสง่ ด้วยความเรว็ สงู การที่สวิตชส์ ามารถทำงาน
ได้เร็วกว่าฮับนั้น นอกจากสวิตช์จะสามารถส่งข้อมูลออกได้มากกว่าแล้ว ในสวิตช์ยังมี route
table ซึ่งเป็นหน่วยความจำของสวิตช์ ที่สามารถจำได้ว่าพอร์ตใดมี IP address หรือ MAC
address ใดทำการเชื่อมต่ออยู่บ้าง ซึ่งทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และยังไม่เป็น
การส่งข้อมูลในลักษณะกระจายไปทุกเครื่องของเครือข่ายที่เรียกว่า broadcast ซึ่งเป็นการ
สิน้ เปลือง bandwidth โดยไมจ่ ำเป็น

สวิตช์นั้นทำงานในระดับของ layer 2 ซึ่งเป็นการทำงานในระดับของ data-link
layerในกรณีของ ethernet นั้น ก็จะมีความเกี่ยวพันกับเรื่องของ frame และพวก MAC ,
LLCswitch นั้น เป็นอุปกรณ์ที่มีหลักการในการทำงานในลักษณะเดียวกับ อุปกรณ์จำพวก
bridgeซึ่งจะมีหลักการทำงานก็คือจะส่งข้อมูลจาก port อันนึง ไปยังปลายทางที่เฉพาะเจาะจง
เท่านั้นข้อมูลนั้นจะไม่ถูกส่งออกไปยัง port อื่นๆ ยกเว้นมีความจำเป็นในบางกรณี เช่น ข้อมูลที่
ส่งกันไม่มีผู้รับที่เชื่อมต่ออยู่ใน switch ของตัวเอง หรือ ข้อมูลที่ต้องส่งนั้น เป็นข้อมูลที่ต้อง
สง่ ออกไปในลักษณะของ broadcast หรอื multicast

การที่ port ใดๆ จะส่งข้อมูลถึงกันนั้น switch ก็จะทำการตรวจสอบ mac
address ของอุปกรณ์ที่เชือ่ มตอ่ กนั อยู่ และมีการทำ table เอาไว้เพื่อเก็บข้อมลู เหล่านี้ และเมื่อ
เวลามีการส่งข้อมูลระหว่างกันก็จะเอา mac address ปลายทาง ที่อยู่ในส่วน header ของ
frame มาเทียบกับตารางที่ตัวเองมีอยู่ซึ่งถ้าหากว่า มีข้อมูล mac address อันนั้นอยู่ในตาราง
และได้มีการบันทึกเอาไว้ว่าเป็นของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่กับ port ไหนswitch ก็จะทำการส่ง
ข้อมลู ไปยัง port น้ันทนั ที

11.3 HUB

ภาพที่ 10.73 Switch
ภาพจาก : https://www.advice.co.th/
เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณ
ของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกันการจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักกัน
หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ปัจจุบันฮับถูกเปรียบเทียบกับ Switch ซึ่งมี

321

ความสามารถสูงกว่าและถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่ใช้สำหรับเ ชื่อมโยงสัญญาณใน
ระบบเครือข่าย โดยทั่วไปจะมีลกั ษณเหมือนกล่องสีเหลี่ยมแต่แบนมีความสูงประมาณ 1-3 นิ้ว
แล้วแต่รุ่นมีช่องเล็กๆ เอาไว้เสียบสายแลนแต่ละเส้นที่ลากโยงมาจากคอมพิวเตอร์มีหลายรุ่น
เชน่ Hub 4 Ports, 8 Ports, 16 Ports, 24 Ports หรอื 48 Ports เปน็ ต้น

การทำงานของ ฮบั
เมือ่ ใดที่มคี อมพิวเตอรภ์ ายในเครือข่ายต้องการส่งขอ้ มลู ฮับทำจะหนา้ ที่ในการ
ทำสำเนาข้อมูลและส่งไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่าย ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์ แต่รวมถึง
อุปกรณ์อื่นๆ ด้วยเช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น เรียกว่าส่งข้อมูลไปทั้งหมด และถ้าข้อมูลนี้เป็นของ
อุปกรณ์ใดอุปกรณ์นั้นก็จะรับเองอัตโนมัติและจุดด้อยของฮับที่ควรทราบคือเวลามีอุปกรณ์ใด
ส่งข้อมูลในเครือข่ายผ่านฮับอุปกรณ์อื่นๆจะต้องรอให้การส่งสมบูรณ์ก่อนเปรียบเทียบได้กับ
ถนน One-Way หา้ มส่งข้อมลู สวนทางกัน

ความเร็วในการรับส่งขอ้ มูลของฮับ
• ความเรว็ ต่ำสดุ คือ 10 MBPS
• ความเร็วสูงสดุ คือ 100 MBPS
• บางรนุ่ รองรับทั้ง 10 และ 100 เรียกว่า 10/100 MBPS
MBPS ย่อมาจาก MegaBit Per Second (เมกกะบิตตอ่ วินาที) hub น้ันทำงานใน
ระดับ layer 1 ซึ่งเป็น layer เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่งสัญญาณออกไปสู่ media หรือ
สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องของการเข้ารหัสสัญญาณเพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่า
ต่างๆในทางไฟฟ้า และ เป็น layer ที่กำหนดถึงการเชื่อมต่อต่างๆที่เป็นไปในทาง physical hub
นั้นจะทำงานในลักษณะของการทวนสัญญาณ หมายถึงว่าจะทำการทำซ้ำสัญญาณนั้นอีกครั้ง
ซึง่ เป็นคนละอย่างกับการขยายสัญญาณพอทำแล้วก็จะส่งออกไปยงั เครอื ข่ายที่เชื่อมต่ออยู่โดย
จะมีหลักว่าจะส่งออกไปยังทุกๆ port ยกเว้น portที่เป็นตัวส่งสัญญาณออกมาและเมื่อ
ปลายทางแต่ละจุดรับข้อมูลไปแล้วก็จะต้องพิจารณาข้อมูลที่ได้มาว่าข้อมูลนั้นส่งมาถึงตัวเอง
หรอื ไมถ่ ้าหากไมใ่ ช่ขอ้ มลู ทีจ่ ะส่งมาถึงตวั เองก็จะไมร่ ับข้อมลู ที่สง่ มาน้ัน
การทำงานในระดับนี้ ถ้าดูในส่วนของตัว hub เองนั้น จะเห็นได้ว่า ตัวของ hub
นั้น เวลาส่งขอ้ มูลออกไป จะไม่มีการพจิ ารณาข้อมูลอย่างพวก mac address ของ layer 2 หรือ
ip address ซึ่งเป็นของ layer 3 เลย

322

11.4 Router

ภาพที่ 10.74 Switch
ภาพจาก : https://www.officemate.co.th/
เปน็ อุปกรณค์ อมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่หาเส้นทางและส่ง(forward)แพ็กเกตข้อมูล
ระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยงั เครือข่ายปลายทางที่ต้องการ เราเตอรท์ ำงานบนเลเยอร์ที่
3 ตามมาตรฐานของ OSI Model เราเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับสองเส้นทางหรือมากกว่าจาก
เครือข่ายที่แตกตา่ งกัน (ต่างจากสวิทชท์ ีเ่ ชื่อมต่อสายข้อมูลภายในเครือข่ายเดียวกัน) เมื่อแพค็
เก็ตข้อมูลเข้ามาจากเส้นทางหนึ่ง เราเตอร์จะอ่านข้อมูล address ที่อยู่ในแพ็คเก็ตเพื่อค้นหา
ปลายทางสุดท้าย จากนั้น, ด้วยข้อมูลในตารางเส้นทางหรือนโยบายการส่ง, จะส่งแพ็กเก็ตไป
ยังเครือข่ายข้างหน้าตามเส้นทางนั้น เราเตอร์จะดำเนินการ "กำกับการจราจร" บนเส้นทางนั้น
ด้วย แพ็คเก็ตข้อมูลโดยทั่วไปจะถูกส่งจากเราเตอร์หนึ่งไปยังอีกเราเตอร์หนึ่งผ่านเครือข่ายที่
เปน็ Internetwork จนกวา่ จะถึงโหนดปลายทาง
เราเตอร์ประเภทที่คุ้นเคยมากที่สุดคือ เราเตอร์ที่บ้านและสำนักงานขนาดเล็ก
ที่เพียงส่งผ่านข้อมูลเช่นหน้าเว็บ, อีเมล์, IM และวิดีโอระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านและ
อินเทอร์เน็ต เราเตอร์ดังกล่าวอาจเปน็ เคเบิลโมเด็มหรือ DSL โมเด็มที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
ผา่ น ISP เราเตอร์ทีม่ คี วามซบั ซ้อนมากขนึ้ เช่นเราเตอร์ขององค์กรธุรกิจเช่ือมตอ่ กับธุรกิจขนาด
ใหญ่หรือกับเครือข่ายผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เข้ากับคอร์เราเตอร์กำลังสูงที่สามารถส่งข้อมูล
ไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูงตามแนวเส้นใยแก้วนำแสงของอินเทอร์เน็ตแบ็คโบน แม้ว่าเราเตอร์
โดยปกติจะเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยฮาร์ดแวร์ก็ตาม การใช้เราเตอร์ที่ทำงานด้วยซอฟต์แวร์มี
การเจรญิ เติบโตมากขึ้น
หนา้ ทีห่ ลักของ Router คือการหาเส้นทางในการสง่ ผา่ นข้อมูลที่ดีทีส่ ุด และเป็น
ตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น โดยเราเตอร์จะทำการเชื่อมต่อเข้ากับสอง
เส้นทางหรอื มากกวา่ จากเครือข่ายที่แตกตา่ งกัน และเมือ่ แพ็คเกต็ ข้อมลู เข้ามาจากเส้นทางหนึ่ง
เราเตอร์ก็จะทำการอ่านข้อมูล Address ที่อยู่ในแพ็คเก็ตเพื่อค้นหาปลายทางสุดท้าย จากนั้น

323

การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด;แล้วทำการสร้างตารางเส้นทางขึ้นมาเก็บไว้บนตัว
เราเตอรเ์ อง จากน้ันเราเตอรก์ จ็ ะส่งแพ็กเก็ตข้อมูลไปยังเครือข่ายข้างหน้าตามเส้นทางน้ันที่เก็บ
ไว้ ซึ่งในปัจจุบนั นั้นเราเตอร์มีให้เลือกใช้ทั้งรุ่นแบบมีสาย (Wire) และแบบไร้สาย (Wireless) ซึ่ง
แบบ Wireless นี้จะสามารถส่งสัญญาณไวไฟ (Wi-fi) ออกมา เพื่อให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
อื่นๆที่สามารถรับสัญญาณ Wi-fi ได้ สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่ายได้ทันที และยัง
สามารถใช้ Wi-fi นีใ้ นการต่อเช่อื มอินเตอรเ์ น็ตได้อกี ด้วย

ขอ้ ควรปฏิบัติในการใช้งาน
1. เลือกพื้นทีส่ ำหรบั ติดตงั้ ทีไ่ ม่ร้อน อากาศถ่ายเท ไม่อบอ้าว การเลือกพื้นที่ใน
การตดิ ต้ัง Router น้ัน นับเป็นเรื่องสำคญั ทีค่ วรคำนึงถึงไม่น้อย นอกจากความสะดวกในการใช้
งานแล้ว พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการติดตั้ง ยังควรเป็นพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อน หรือ
อบั จนเกินไปอีกด้วย เพือ่ ป้องกนั ความร้อนใหแ้ ก่ Router ของเรา
2. ปิด Router บ้าง เพื่อช่วยระบายความร้อน ถึงแม้ว่า Router จะถูกออกแบบ
มาให้รองรับการใช้งานที่ยาวนานในแต่ละวัน หรือตลอดเวลาได้ แต่หากว่าในพื้นที่ที่เรา
จำเป็นต้องติดตั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้น มีอุณหภูมิความร้อนที่สูง ทั้งยังอยู่ในพื้นที่ปิด ก็อาจ
ส่งผลให้ Router ของเรามีความร้อนมากกว่าที่ควรจะเป็นได้ ดังนั้นแล้ว เมื่อเลิกใช้งาน
อินเทอร์เนต็ จงึ ควรปิด Router บ้างในบางวัน เพื่อเป็นการพักการใชง้ านและระบายความร้อน
3. ควรปิดและถอดปลั๊ก Router ในวันที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง ช่วงหน้าฝน ใน
วันทีม่ ฝี นตกหนัก มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในบริเวณที่เราใช้งานอินเทอร์เน็ต เพื่อป้องกัน
เหตุที่ไม่คาดฝันจากการเกิดฟ้าผ่า ที่อาจสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ Router ในบ้านของ
เรา จึงควรหยุดการใช้งานชั่วคราว ปิดและถอดปลั๊ก Router ออก เท่านี้ ก็สามารถช่วยรักษา
Router ให้มอี ายกุ ารใชง้ านที่นานขึน้ ได้
11.5 LAN card

ภาพที่ 10.75 LAN card
ภาพจาก : https://www.lazada.co.th/

324

คือ Card ที่จะติดตั้งภายในเครื่อง PC ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก เท่ากับ VGA
Card หรือ Sound Card เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรบั ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครือ่ งหน่ึง
ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็
จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่อ
อินเตอรเ์ น็ต ADSL ตามบ้าน มกั จะใชก้ าร์ดแลนเป็นตวั เชื่อเมตอ่ อีกด้วย การใชก้ ารด์ แลน จะใช้
ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e,
CAT6 เป็นต้น สำหรับ Lan Card ยังแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นกับความเร็วที่ ต้องการ
เชน่ 10 Mbps, 10/100 Mbps, 100 Mpbs

1. NIC (Network Interface Card) การด์ เน็ตเวิรก์ หรอื การด์ แลนด์ มีการนา มา
ใช้ งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ IBM PC นานร่วม 15 ปี มีหน้าที่ติดต่อสื่อสารและรับ-ส่ง
ข้อมลู ระหวา่ งเครือ่ งเมนเฟรม และ เครื่องไมโคคอมพิวเตอร์ ในอดีตการ์ดเนต็ เวิร์กจะเป็นแบบ
บัส ISA ซึ่งใช้เสียบลงไปบนสลอต ISA บนเครื่องคอมพิวเตอร์และต้องมานั่งเซตจั๊มเปอร์ของ
IRQ. Address เพือ่ ไม่ใหไ้ ปชนกับอุปกรณ์อื่นๆ

2. PCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นระบบบัสที่ได้รับความนิยม
สูง มากซึ่งได้เข้ามาแทนบัสแบบ ISA PCI บัสมีอัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 133 เมกกะไบต์
ต่อวินาที นอกจากนี้ยังสามารถ กำหนดค่า IRQ,DMA, Memory Address ให้อุปกรณ์และการ์
อินเทอร์เฟซ อัตโนมัติ เมื่อเสียบการ์ดเน็ตเวิร์ก แบบ PCI ลงไปบนเครื่องแล้ว ส่วนมาจะ
มองเหน็ และใชง้ านได้ ทนั ที

3. PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Association) เปน็
การด์ เสียบขนาดเล็ก เทา่ กับบัตรเครดิต เป็นอุปกรณ์ขยายระบบให้คอมพิวเตอร์ Notebook เช่น
การด์ หนว่ ยความจำแฟกซ์ โมเดม็ การ์ดเน็ตเวิร์ก หรอื ฮารด์ ดสิ ก์ขนาดเลก็

4. USB Port (Universal Serial Bus) เป็นพอร์ตเชื่อมต่อแบบใหม่ที่สามารถจะ
นำ อปุ กรณ์เข้ามาเชอ่ื มตอ่ ได้ จำนวนมากถึง 100 กว่าตวั

325

11.6 Repeaters

ภาพที่ 10.76 Repeaters
ภาพจาก : https://www.liberaldictionary.com/repeaters/
เป็นอปุ กรณ์สำหรับช่วยขยายเขตการติดต่อ โดยทำหนา้ ที่เป็นตัวรับสัญญาณ
อ่อนที่ส่งเข้ามาและทำการส่งออกไปด้วยกำลังที่สูงขึ้น ระบบที่ใช้กันมากคือการส่งออกทันที
ด้วยความถี่ต่างกัน (Duplex Repeater) ในระบบรีพีทเตอร์ย่าน VHF ของวิทยุสมัครเล่นนั้น
ความถี่ที่รบั จะใชค้ วามถีต่ ่ำกว่าความถี่ส่งอยู่ 600 kHz (-600 kHz) แตใ่ นรีพที เตอร์บางแบบจะ
ใช้ความถี่ขาเข้าและขาออกด้วยความถี่เดียว(Simplex Repeater) กัน แต่หน่วงเวลาเพื่อรับ
ข้อความขาเข้าจนจบแล้วจึงทำการสง่ ออกไป
ระบบรีพีทเตอร์มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยให้การติดต่อในกลุ่มนักวิทยุ
สมัครเล่นทำได้ง่ายขึ้นและระยะทางไกลมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยระบบสาบอากาศประจำ
สถานีที่สูงมากนัก โดยเฉพาะช่วงเกิดภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินระบบรีพีทเตอร์จะมีบทบาท
อย่างโดดเด่นทุกครั้ง รีพีทเตอร์บางกลุ่มในสหรัฐอเมริกาจะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย
เช่อื มโยงการติดตอ่ ได้ตลอดเส้นทางหลวงของประเทศท้ังหมด
ข้อควรปฏิบัติในการใช้งาน
การใช้รีพีทเตอร์อย่างเหมาะสมนั้นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ระบบบริการรี
พีทเตอร์มิได้ออกแบบมาให้ใช้งานแทนการติดต่อโดยตรงเหมือนระบบ Simplex (รับและส่ง
ความถีเ่ ดียวกนั )แต่การใชง้ านทีถ่ กู ต้องและมีประสทิ ธิภาพนั้น การตดิ ต่อผ่าน
รีพีทเตอร์ให้สั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ทำตัวเป็นผู้ยึดครองรี
พีทเตอร์เพื่อใช้เฉพาะกลุ่มของตัวเอง เป็นที่น่าเห็นใจว่ามิใช่ว่านักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะ
สามารถติดตั้งสายอากาศให้ติดต่อโดยตรงในระยะไกลได้ทั้งหมด การใช้รีพีทเตอร์สำหรับบาง
คนจะเป็นหนทางเดียวที่จะติดต่อกับสถานีอื่นๆได้ ถึงกระนั้นก็ต้องมีสามัญสำนึกอยู่เสมอว่ารี
พีทเตอรเ์ ป็นบริการสาธารณทีต่ ้องเปิดโอกาสใหผ้ อู้ ื่นได้ใชด้ ้วย

326

ในการติดต่อปกติถ้าพบว่าสามารถติดต่อกับคู่สถานีได้โดยตรงแล้ว ควร
หลีกเลี่ยงการติดต่อผา่ นรีพีทเตอรโ์ ดยเร็วซึ่งนับมารยาทและหลักปฏิบัติ ที่น่าชื่นชม แต่เรามัก
พบว่ามีนักวิทยุที่ขาดสามัญสำนึกในข้อนี้และถือโอกาสที่ไม่มีใคร ใช้งานรีพีทเตอร์อย่าง
ต่อเนื่องโดยไม่นึกถึงเหตุผลและความถกู ต้อง แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจซึ่ง นักวิทยุที่
รู้จักมัก คุ้นอยู่ด้วยกันจะสามารถชี้แจงให้เข้าใจได้ ซึ่งพวกเราทุกคนสามารถสร้างความเข้าใจ
และปฏิบตั ิตามเพือ่ ให้กิจกรรมวทิ ยุสมัครเล่นเป็นเรือ่ งที่มรี ะเบียบนา่ ชืน่ ชมต่อไปในอนาคต
สรปุ ท้ายบท

ในปัจจุบนั มเี ทคโนโลยีที่ใช้ในการส่ือสารเพือ่ เข้าถึงและเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน ผ่าน
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการเชือ่ มต่อข้อมูลเหล่านั้นไม่ว่า
จะเปน็ การจัดการเรียนการสอนการสอ่ื สารจัด ข้อมลู ดังนนั้ ผู้สอน ควรเข้าใจถึงระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ ประเภทของคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล
อินเทอร์เน็ต รวมไปถึงข้อดีและข้อจำกัดของการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่จะเชื่อมโยงกับ พรบ
คอมพิวเตอร์ อีกทั้ง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ ผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจ
และออกแบบและเลือกใช้ระบบ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมบริบทของผู้สอน อีกทั้งยัง
สามารถเลือกอปุ กรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้ใชง้ านได้ตามความเหมาะสม
คำถามท้ายบท

1. จงอธิบายความหมายของคอมพิวเตอร์
2. จงอธิบายสว่ นประกอบของคอมพิวเตอร์
3. จงเปรียบเทียบพฒั นาการของคอมพิวเตอร์ในแตล่ ะยุค
4. จงเปรียบเทียบคอมพิวเตอร์แตล่ ะชนิด
5. จงอธิบายองคป์ ระกอบของระบบการสอ่ื สารข้อมูล
6. จงอธิบายความหมายของอินเทอรเ์ นต็
7. จงอธิบายข้อดขี องอนิ เทอรเ์ น็ตอยา่ งน้อย 5 ข้อ
8. จงอธิบายข้อจำกัดหรอื ข้อเสียของอนิ เทอรเ์ น็ตอย่างนอ้ ย 5 ขอ้
9. จงเปรียบเทียบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในแตล่ ะรบบว่ามีความแตกตา่ งกันอย่างไร
10. จงอธิบายอุปกรณ์เชือ่ มตอ่ เครือขา่ ยคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 5 อุปกรณ์ พร้อมท้ังบอก

ว่าอปุ กรณเ์ หล่าน้ันมีหน้าที่ไว้ทำอะไร และอุปกรณท์ ีเ่ ลือกมามคี วามสมั พันธก์ นั อย่างไร

327

เอกสารอา้ งอิง

กิดานันท์ มลทิ อง (2543). เทคโนโลยีการศกึ ษาและนวัตกรรม. พมิ พค์ รั้งที่ 2.
กรงุ เทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

กลุ ยา นิ่มสกลุ . (2534). ความรพู้ ืน้ ฐานทางคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซน็ เตอร์, ม.ป.ป.
ครรชิต มาลยั วงศ์. (2530). ไมโครคอมพิวเตอร์กบั การศกึ ษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ กรมการ

ศาสนา.
จรสั ศรี รุ่งรตั นาอุบล (2548). คอมพวิ เตอร์สารสนเทศขั้นพ้ืนฐาน(เอกสารประกอบการสอน).

มหาวิทยาลัยนเรศวร
ฉันทมน บญุ ชนานนท์ (2563). ยุคของคอมพิวเตอร์. [ออนไลน์]. แหลง่ ที่มา:

https://sites.google.com/site/chantamonmai/the-era-of-computers/the-sixth-
generation
ชชั วิทย์ อาภรณเ์ ทวญั . (2560). เอกสารคำสอนรายวิชา 2301274 ระบบคอมพิวเตอร์ คณะ
วิทยาศาสตร์ จฬุาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . [ออนไลน์]. แหลง่ ทีม่ า :
https://www.scribd.com/document/448586352/MyBook-01-ComputerEvolution
บญุ สืบ โพธิศ์ รี และ คณะ. (2554). ระบบฐานขอ้ มูล. กรงุ เทพฯ : ศูนยส์ ่งเสริมอาชีวะ.
บริษัท เค.ดี. ไซเบอร์ กรุ๊ป จำกดั . Wireless LAN (WLAN) คืออะไร มีกีแ่ บบ มปี ระโยชน์
อย่างไร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.kdcybergroup.com/
ฝา่ ยตำราวิชาการคอมพิวเตอร.์ (2557). พจนานุกรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ.
กรงุ เทพฯ : ซีเอด็ ยูเคชั่น.
พิษณุ ปุระศริ ิ (2553). คู่มือเรียนรู้และใช้งานคอมพิวเตอรเ์ บือ้ งตน้ . กรุงเทพฯ: ไอดีซี พรเี มียร์.
ยาใจ โรจนวงศ์ชัย. (2550). คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมยใั หม่. กรุงเทพฯ :
แมคกรอฮิล.
ราชบณั ฑติ ยสถาน. (2542). พจนานกุ รมฉบับราชบณั ฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ:
นานมบี ุคส พับลิเคช่ัน.โรงเรียนอดุ มศึกษาพัฒนาการ. องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมลู . ใบ
ความรขู้ องวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบสื่อสาร
ข้อมลู . รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี
วิกิพีเดีย. (2558). คอมพิวเตอร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org
วิทยา เรอื งพรวิสุทธิ์. (2539). คู่มือการเข้าสอู่ ินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เร่มิ ต้น. กรุงเทพฯ: ซีเอด็
ยเู คชัน่ .

328

วิโรจน์ ทวีปวรเดช. (2555). การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ : Computer programming.
ขอนแก่น : มหาวิทยาลยั ขอนแก่น.

ศริ ิรตั น์ กระจาดทอง. (2555). การพฒั นาบทเรียนคอมพิวเตอรช์ ว่ ยสอน วชิ าคอมพิวเตอร์
เบือ้ งตน้ เรอ่ื ง ส่วนประกอบของคอมพิวเตอรข์ องนกั เรียนชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีที่ 2
โรงเรียน ศรีประจันต์ “เมธีประมข”ุ จังหวัดสุพรรณบรุ ี. การค้นคว้าอิสระศกึ ษา
ศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศกึ ษา, บัณฑติ วิทยาลัย, มหาวิทยาลัย
ศลิ ปากร.

สมุินท์ พลพิทกัษ์. (2550). พืน้ ฐานเครอื ข่ายคอมพิวเตอร์. วิชา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ง
30206 [ออนไลน์]. แหล่งทีม่ า : https://network30206.weebly.com/

สมใจ บญุ ศริ ิ. (2538). อินเตอร์เนต็ : นานาสาระแห่งการบริการ = Internet : variety services.
กรงุ เทพฯ : สถาบันวิทยบริการ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั .

สิทธิชัย ประสานวงศ์. (2526). ความรเู้ กี่ยวกบั คอมพิวเตอร์เบือ้ งตน้ . กรงุ เทพฯ: Business
computer centre.

สทุ ธิพร อินชัย. (2550). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาของ
โรงเรียนปรินส์รอย แยลสว์ ิทยาลยั . การคน้ คว้าแบบอิสระ วทิ ยาศาสตรมหาบณั ฑติ
สาขาวิชา เทคโนโลยี สารสนเทศและการจัดการ บณั ฑิตวิทยาลยั
มหาวิทยาลยั เชียงใหม่

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติ. (2561). 5G: คลื่นและเทคโนโลยี. [ออนไลน์]. แหลง่ ทีม่ า :
http://www.nbtc.go.th/getattachment/Services/quarter2560/%E0%B8%9B%E0%B
8%B52561/33173/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%
B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%9A.pdf

สำนกั วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลยั ราชภัฏนครสวรรค์. ความรเู้ บือ้ งตน้
เกีย่ วกับอินเทอรเ์ น็ต. เอกสารประกอบการอบรมไมโครซอฟทอ์ อฟฟิศและการใชง้ าน
อินเทอรเ์ น็ตเบอื้ งตน้ . นครสวรรค์: มหาวิทยาลยั ราชภัฏนครสวรรค์.

หัทยาพร สภุ าสูรย์. (2560). การทำงานของคอมพิวเตอร์. [ออนไลน์]. แหลง่ ที่มา :
https://sites.google.com/site/com1krumook58/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-2-reuxng-
kar-thangan-khxng-khxmphiwtexr/hnwy-pramwl-phlk-lang/hnwy-khanwn-
laea-trrka

อดิศักดิ์ ดันดาปกุล. (2553). ไมโครคอมพิวเตอร.์ กรุงเทพฯ: ซีเอด็ ยูเคชน่ั .

329

David L. Ferro. (2007). Computers: The Life Story of a Technology, The Johns Hopkins
University Press, 1st edition.

Ed L. (2010). Computer Science: Past, Present, and Future. Saul Gorn Memorial Lecture.
Univ. of Pennsylvania.

Georges I. (2002). The Universal History of Computing: From the Abacus to the Quantum
Computer, Wiley, 1st edition.

itnews4u. (2558). เราเตอร์ (Router) คืออะไร ทำงานอย่างไร พรอ้ มวิธีเลือกซือ้ Router
อย่างไรถึงจะคุ้มค่าที่สุด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://itnews4u.com/what-is-
Router.html

mindphp.com. (2561). จอคอมพิวเตอร์ Computer Monitor. [ออนไลน์]. แหลง่ ทีม่ า :
https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0
%B8%B2%E0%B8%A1/212-network/5713-computer-
monitor.html?bb_limitstart=180

Paul E. Ceruzzi. (2012). A History of Modern Computing, The MIT Press, 2nd edition.
Sony ประเทศไทย. (2561). ฟีเจอร์ Wi-Fi Direct คืออะไร?. [ออนไลน์].

แหลง่ ทีม่ า : https://www.sony.co.th/th/electronics/support/articles/00013745
Peter N. (2005). Introduction to Computers. (6th ed.International ed.). Singapore : McGraw

– Hill Companies.
William A. (2004). Computer: A History of the Information Machine, Westview Press, 2nd

edition.


Click to View FlipBook Version