The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักการบริหารธุรกิจ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ahlam.j, 2022-07-06 03:51:25

หลักการบริหารธุรกิจ

หลักการบริหารธุรกิจ

Keywords: หลักการบริหารธุรกิจ

43

ยุคดิจิทัล 4.0 ยุค Machine-to-Machine เป็นยุคท่ีใช้เทคโนโลยีทุกอย่างตั้งแต่ยุค
ดิจิทัล 1.0-3.0 มารวมกันไว้ แล้วพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีเพ่ือลดบทบาทและข้อจำกัดต่างๆของมนุษย์
เกิดการคิดค้นสร้างสรรค์และพัฒนาสมรรถนะของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถ
ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ อีกท้ังมีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่
ทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่าง ๆ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้นเสมือนมีสมองท่ีชาญฉลาดคอยส่ังการ
อกี ท้ังเคร่ืองมอื อปุ กรณ์ เคร่อื งจกั ร สามารถส่อื สารระหวา่ งกนั เองได้โดยอัตโนมัติโดยคำนึงถงึ ผู้บริโภค
เป็นหลกั ที่เรียกกันว่า machine-to-machine (M2M) จากการเช่ือมโยงในระบบอินเทอร์เน็ต จนมีคำ
กล่าวกันว่า อินเทอร์เน็ตในทุกส่ิง (internet of things: IoT) ทำให้มนุษย์สามารถส่ังการและควบคุม
การใช้งานผ่านทางเครือข่ายของอินเทอร์เน็ต จึงช่วยลดเวลา ลดการใช้กำลังกาย ลดค่าใช้จ่าย และ
อำนวยความสะดวกสบายมากยิง่ ข้ึน

ในยุคนี้หลายธุรกิจต่างพยายามปรับตัวให้เท่าทันเพื่อยกระดับมาตรฐานและศักยภาพทาง
ธรุ กิจให้สูงข้ึน เช่น การผลิตสินคา้ หรือการให้บริการที่รองรับการเช่ือมต่อกับอินเทอร์เน็ต การปรับเปลี่ยน
กระบวนงานต่าง ๆ ท่ีสามารถทำงานรว่ มกนั ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การจำลองเหตุการณ์สถานการณ์
โดยที่ไม่ตอ้ งเดินทางไปถงึ สถานที่จริงด้วยเทคโนโลยีซิมูเลช่ัน (simulation) เพ่ือประโยชน์ในการวางแผน
ธุรกิจ เพ่ือฝึกอบรมพนักงาน ฯลฯ ประกอบกับในยุคน้ีข้อมูลในลักษณะบิ๊กดาต้าทวีจำนวนมากขึ้น
เพราะผู้คนในสงั คมเข้าสู่โลกออนไลน์เพิ่มขน้ึ มาอย่างต่อเน่ืองจากยุคก่อน มีเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ซงึ่ ช่วยสนบั สนุนการเติบโตและลดต้นทุนของธรุ กิจได้อย่างมากมายโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ อีกทั้งมี
ธุรกิจจัดต้ังขึน้ มาใหม่อย่างมากมาย ทั้งที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอี และวิสาหกิจ
เริ่มต้นหรือสตาร์ทอัพ ซึ่งเน้นใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจและการแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตของ
ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการแข่งขันทางธุรกิจมีแนวโน้ม
สูงข้ึนในการใช้เทคโนโลยี และการเข้าถึงผบู้ ริโภคในโลกออนไลน์ หากธุรกิจท่ีทำกันมาในแบบเดมิ ๆ
ไมป่ รับตัวให้ทันกบั พฤตกิ รรมของผ้บู รโิ ภคท่เี ปลยี่ นไปกจ็ ะเรมิ่ ถดถอยออกไปจากอุตสาหกรรม

จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลท่ีเกิดข้นึ และยังคงพัฒนาต่อเนื่องไปอย่างไมห่ ยดุ ยั้ง
เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ท่ีทรงอิทธิพลต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ ท้ังอาจเป็นปัจจัยคุกคามหรือ
เป็นปัจจัยท่ีจะเป็นโอกาสสำคัญต่อธุรกิจมาตั้งแต่ยุคดิจิทัล 1.0 จวบจนยุคดิจิทัล 4.0 ในทุกวันน้ี ดังน้ัน
องค์การธรุ กิจจำเปน็ ต้องปรบั ตัวใหท้ นั ตามยุคสมยั ที่เปลย่ี นแปลงไป แน่นอนว่าในอนาคตข้างหน้าย่อม
มยี คุ ดิจทิ ลั 5.0 และกา้ วหน้าเป็นลำดับตอ่ ๆ ไปอยา่ งไมส่ น้ิ สดุ

ธรุ กจิ ดิจทิ ลั
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ
ให้มีประสิทธิภาพเพ่ิมมากข้ึน สำหรับภาคธุรกิจน้ันเทคโนโลยีต่างๆ ท่ีพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่อินเทอร์เน็ตใน
ยุคดิจิทัล 1.0 หรือโซเชียลมีเดียในยุคดิจิทัล 2.0 หรือ บ๊ิกดาต้า (big data) ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์
ข้อมูล (data analytic) คลาวด์คอมพิวต้ิง (cloud computing) และแอปพลิเคชัน (application) ใน
ยุคดิจัล 3.0 หรือเทคโนโลยีท่ีทำให้เคร่ืองมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร สามารถสื่อสารระหว่างกันเองได้โดย
อตั โนมัติ (machine-to-machine: M2M) ในยุคดิจิทัล 4.0 เทคโนโลยีซ่ึงพัฒนาข้ึนเหล่าน้ีลว้ นกลายเป็น
เคร่อื งมือสำคัญในการดำเนินงานของธุรกิจ และทำให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและตอบโจทย์ความต้องการ

44

ได้อย่างรวดเร็ว อันจะนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว แน่นอนว่าผู้ประกอบการต้อง
ปรับเปลยี่ นวิถีการทำธุรกิจแบบเดิมมาเป็นธรุ กิจดจิ ิทลั

ธุรกิจดิจิทัล (digital business) เป็นการดำเนินงานที่ใช้เทคโนโลยีให้เป็นข้อได้เปรียบ
จากสถานการณภ์ ายในและภายนอกธรุ กิจ (Komprise, 2017) กลา่ วไดว้ ่าเป็นการสร้างหรือการออกแบบ
ธุรกิจแบบใหม่ท่ีเช่ือมโยงผู้คนและธุรกิจเข้าด้วยกันผ่านเทคโนโลยี เพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพการดำเนินงาน
และสร้างรายได้ให้มากข้ึน ธุรกิจดิจิทัลช่วยขจัดอุปสรรคในเรื่องการเชื่อมโยงธุรกิจกับลูกค้าให้หมดไป
จากท่ีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบด้ังเดิม (traditional business) ประสบอยู่ ขณะเดียวกันก็สร้างโซ่
คุณค่าใหม่และโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ซ่ึงธุรกิจแบบดั้งเดิมไม่สามารถทำได้ (Fischer, 2016) สรุปว่า
ธุรกิจดิจิทัลเป็นการประกอบการไม่ว่าจะเป็นการผลิต การขาย หรือการบริการ แต่นำเทคโนโลยีมาใช้
เพื่อสร้างคุณค่าทางธุรกิจและเพิ่มความสามารถในการดำเนินงาน ซึ่งทำให้เกิดความได้เปรียบธุรกิจใน
รปู แบบดง้ั เดิม

องคป์ ระกอบพนื้ ฐานของธุรกิจดจิ ทิ ัล
องค์ประกอบพื้นฐานท่ีสำคัญของธุรกิจดิจิทัล แยกออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การสนับสนุน
ธรุ กจิ ดิจทิ ัล รากฐานของธุรกิจดิจิทัล ช่องทางดิจิทัลในการปฏิสัมพันธ์กบั ลูกค้า และเส้นทางนำไปสกู่ าร
เป็นลูกค้าดิจทิ ลั (Hinchcliffe & Mann, 2015) โดยมรี ายละเอียดพอสังเขปดังนี้
1. การสนับสนุนธุรกิจดิจิทัล (digital business supporting) ปัจจัยซ่ึงสนับสนุนการ
เปน็ ธุรกิจดิจทิ ลั มีรายละเอียดดงั นี้

1.1 ภาวะผู้นำธุรกิจดิจิทัล (digital business leadership) ท่ีมีวิสัยทัศน์และ
ผลักดันการดำเนินงาน การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีดิจิทัล และวัฒนธรรมการทำงานเพื่อ
นำพาสูก่ ารเปน็ ธรุ กิจดิจทิ ลั

1.2 สถาปัตยกรรมทางธุรกิจดิจิทัล และการกำกับดูแลในเรื่องความปลอดภัย
(digital business architecture and security governance) โดยพัฒนาโครงสร้างด้านธุรกิจ
เกี่ยวกับการบริหารงานภายใน ด้านข้อมูลเกี่ยวกับการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ทาง
ธรุ กิจ ด้านระบบงานเก่ียวข้องกับระบบสารสนเทศ และด้านเทคนิค คือโครงสร้างเก่ียวกับเทคโนโลยี
ทั้งหมด เพ่ือรองรับการเป็นธุรกิจดิจิทัล รวมไปถึงการกำกับดูแลในเรื่องความปลอดภัยและป้องกัน
ความเสี่ยงตา่ ง ๆ ของการดำเนินงานและการทำธุรกรรมของธุรกิจ

1.3 สร้างตราสินค้าและเน้ือหา (branding and content) การสร้างตราสินค้า
หรอื การสรา้ งแบรนด์ของธุรกิจ เพื่อให้ผบู้ ริโภคจดจำได้ นอกจากนต้ี ้องสรา้ งเนื้อหาหรือคอนเทนต์ คือ
เนอ้ื หาเก่ยี วกบั แบรนด์ในลักษณะอธบิ ายคณุ ค่าแบรนด์ของธรุ กจิ

1.4 การจัดการชุมชน (community management) การสร้างชุมชนของแบรนด์
ธุรกิจขึ้นมาโดยใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ แอปพลิชันที่สามารถสร้างกลุ่มและ
พูดคุย ฯลฯ เพ่ือส่ือสารแบรนด์ของธุรกิจ กิจกรรมการตลาด การพูดคุยแลกเปล่ียนความคิดเห็น และ
สร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกในชุมชนของแบรนด์ธุรกิจ อีกทั้งหากการส่ือสารน้ันน่าสนใจย่อมทำให้
สมาชิกในชุมชนส่งต่อออกไปนอกชุมชน มุ่งหวังให้แบรนด์ของธุรกิจเป็นที่รู้จัก สมาชิกได้รับ
ประสบการณ์ทด่ี ี และกระต้นุ การซือ้ สินค้าหริอบริการ

45

1.5 แชมป์การเปล่ียนแปลง (change champion) หมายถึง การสื่อสารให้บุคลากร
รับรู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงท่ีจะเกิดข้ึนกับองค์การ ตลอดจนพัฒนาทักษะให้พร้อมรับและจัดการกับ
การเปลี่ยนแปลงน้ันเพื่อการเติบโตขององค์การ รวมถึงการเฟ้นหาบุคลากรที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการ
เปล่ียนแปลง เสริมแรงจูงใจและความคิดเชิงบวกของบุคลากรเหล่านั้นให้นำผู้อื่น สิ่งสำคัญคือการพัฒนา
บุคลากรใหเ้ ป็นผูน้ ำการเปลย่ี นแปลง ไมใ่ ชเ่ พยี งรอการเปลย่ี นแปลงแลว้ ปรบั ตาม

1.6 ศาสตร์แห่งการวเิ คราะห์ข้อมูลมหาศาล (big data analytic) การใช้ข้อมูลตา่ ง ๆ
มาวิเคราะห์รวมกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ได้สารสนเทศเพ่ือประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา
ธรุ กจิ โดยเฉพาะในงานด้านการตลาด

2. รากฐานของธุรกิจดิจิทัล (digital business foundation) ปัจจัยพ้ืนฐานสำคัญของ
ธุรกิจดจิ ิทัล ไดแ้ ก่

2.1 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce หรือ e-commerce) ธุรกิจ
ต้องซื้อขายสินคา้ หรือการบริการ รวมทง้ั โฆษณาผา่ นทางสือ่ อิเล็กทรอนิกสต์ ่าง ๆ

2.2 การบริการเศรษฐกิจความร่วมมือ (collaborative economy services) หรือ
เศรษฐกิจแบ่งปัน (sharing economy) เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดกับผู้สร้างแพลตฟอร์ม ผู้บริการ
ผ่านแพลตฟอร์ม และลูกค้าผู้ใช้บริการ เช่น ธุรกิจสร้างแพลตฟอร์มจับคู่เจ้าของบ้านที่มีห้องว่างกับ
นกั ทอ่ งเทย่ี วท่ีตอ้ งการหาท่ีพักตามทตี่ ้องการ แลว้ ธุรกจิ ได้รับผลตอบแทนจากการบรหิ ารจัดการน้นั ฯลฯ

2.3 แพลตฟอร์มความร่วมมือของพนักงาน (employee collaboration platforms)
ธุรกิจต้องสร้างแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ แอปพลิเคชัน ระบบการพูดคุย (chat)
ฯลฯ ท่ที ำให้การทำงานและการประสานความร่วมมือกนั ของพนักงานมีความสะดวก รวดเร็ว และมีความ
คล่องตัวมากขึน้

2.4 การจัดการประสบการณ์ของลูกค้า (customer experience management)
ธุรกิจต้องทำให้ลูกคา้ เกิดความประทับใจมากทส่ี ุดจากทุกจุดท่ีลูกคา้ ได้พบเจอเร่อื งราวของธุรกิจ หรือทุก
ชอ่ งทางท่ีลกู คา้ ได้ติดต่อและมีปฏิสมั พันธ์กบั ธุรกิจ

2.5 เครือข่ายนักพัฒนา การทำงานของ API และระบบบิลล่ิง (developer network,
API operation, and billing) คือ การที่ธุรกิจมีเครือข่ายนักพัฒนางานทางด้านเทคนิคเก่ียวกับและ
ฮารด์ แวร์ และซอฟต์แวร์ซง่ึ เป็นการเขียนโปรแกรมต่างๆ ตามทตี่ ้องการใช้งาน รวมทั้งมีระบบการทำงาน
API หรือ application programming interface ซึ่งเป็นช่องทางท่ีทำให้ระบบปฏิบัติการโปรแกรม
ประยุกต์ (applications) หรอื แอปพลิเคชันต่างๆ สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ตลอดจนมีแอปพลิเคชัน
ทร่ี องรบั การขาย การให้บริการลกู คา้ และการรบั ชำระเงิน

3. จุดปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในเชิงดิจิทัล (digital touch points) เป็นการสร้างจุดหรือ
ชอ่ งทางที่ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างปฏสิ มั พันธก์ ับลูกค้าผ่านช่องทางดิจทิ ัล ดงั รายละเอยี ดต่อไปน้ี

3.1 การทำตลาดดิจิทัลและตลาดเพื่อสังคม (digital and social marketing) เพื่อ
เปล่ียนแปลงพฤติกรรมของสังคมท่ีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีข้ึน หรือออกแบบกิจกรรมการตลาดเพ่ือ
เสริมสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม โดยทำการตลาดผ่านสื่อดิจิทัลต่างๆ หรือนำส่ือดิจิทัลมาใช้เสริมในการ
ดำเนินกจิ กรรมทางการตลาด

46

3.2 การค้นหา (searching) คือ การสื่อสารองค์การและทำการตลาดผ่านเคร่ืองมือ
คน้ หาบน อนิ เทอร์เน็ต ท่ีทำให้ลูกค้าค้นหาธุรกิจหรือติดต่อกับธรุ กจิ ได้อย่างรวดเร็ว

3.3 การทำเว็บไซต์องค์การ (corporate site) คือ การจัดทำเว็บไซต์เพ่ือส่ือสาร
ข้อมูลธุรกิจ สินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า ทั้งน้ีเว็บไซต์ควรแสดงผลได้ดีกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ และ
อปุ กรณ์พกพาเช่น โทรศพั ทม์ อื ถอื แทบ็ เล็ต ฯลฯ

3.4 โปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคล่ือนท่ี (mobile applications) คือ การ
พัฒนาโปรแกรมประยุกต์หรอื แอปพลิเคชันสำหรบั อุปกรณเ์ คลื่อนท่ี เชน่ โทรศัพทม์ อื ถอื แบบสมารท์ โฟน
แท็บเล็ต ฯลฯ เพ่ือทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซ้ือสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจนำเสนอ ได้อย่างสะดวกและ
งา่ ยดายผ่านอปุ กรณ์เคล่อื นท่ี

3.5 ชุมชนของลูกค้า (customer communities) คือ การทำแพลตฟอร์มสำหรับ
ลกู ค้าได้เข้าเป็นสมาชิกของธุรกิจ ได้สื่อสาร พูดคุย มีกจิ กรรมท่ีน่าสนใจและจูงใจ รวมถึงช่วยให้ลูกค้าได้
เชื่อมโยงส่ือสารเกี่ยวกับธุรกิจ และสินค้าหรือบริการของธุรกิจไปยังชุมชนของลูกค้าเอง ซ่ึงช่วยเพ่ิม
สมาชิกในชมุ ชนของธุรกจิ ไปในตัว

3.6 เปิด APIs (open APIs) เป็นการเปิดช่องทางอย่างกว้างขวางที่ทำให้แอปพลิเคชัน
สามารถสื่อสารระหว่างกันได้และรองรับการบริการลูกค้า เช่น แอปพลิเคชันของธุรกิจสามารถเช่ือมโยง
ค้นหาแผนที่ต้ังธุรกิจจาก Google maps หรือเช่ือมโยงการชำระค่าสินค้าผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร
ต่าง ๆ ฯลฯ

4. เส้นทางนำไปสู่การเป็นลูกค้าดิจิทัล (digital customer journey) หรือการเดินทาง
ของลูกค้าดิจิทัล เพราะลูกค้าคือคนสำคัญของธุรกิจ จึงต้องคำนึงเส้นทางนำไปสู่การเป็นลูกค้าของธุรกิจ
โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ท่ีจะทำให้ลูกค้าบอกเล่าประสบการณ์ท่ีดีเก่ียวกับแบรนด์สินค้าหรือบริการ
ของธุรกิจ ต้ังแต่การรับรู้และเกิดความต้องการสินค้าหรือบริการ การมีส่วนร่วม การซ้ือขาย และได้รับ
คุณคา่ จากสนิ ค้าหรือบริการอย่างเต็มที่ ตลอดจนเกดิ ความภักดีทม่ี ตี ่อแบรนด์ไปในระยะยาว

องค์ประกอบพ้ืนฐานดังกล่าวคือกำลังเสริมในการเปล่ียนแปลงทางธุรกิจจากแบบด้ังเดิม
ไปสู่ธุรกิจดิจิทลั

ปจั จัยสำคัญในการขับเคล่ือนธรุ กิจดิจิทลั
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจดิจิทัลเกิดขึ้นและดำเนินงานไปได้ด้วยดี ได้แก่ การเคลื่อนท่ี
สังคม ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ข้อมลู และคลาวด์ (Fischer, 2016) ดงั มีรายละเอียดต่อไปน้ี
1. การเคล่ือนที่ (mobility) จากการพัฒนาเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ท่ีช่วยให้การส่ือสารใน
ปัจจุบันเป็นแบบไร้สายสำหรับระบบโทรศัพท์มือถือ ทำให้การใช้โทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์เคล่ือนที่
(mobile phone) กลายเป็นท่ีนิยมอย่างแพร่หลายของผู้คน เพราะสามารถพกพาติดตัวไปได้ทุกหนแห่ง
ประกอบกับการพัฒนาระบบสัญญาณโทรศัพท์ที่มีความเร็วสูง และครอบคลุมพ้ืนท่ีอย่างกว้างขวาง
รวมท้ังความทันสมัยและสมรรถนะของตัวเครื่องโทรศัพท์ ล้วนเอ้ือให้การดำเนินงานของธุรกิจเกิดการ
เช่ือมต่อกับพนักงานและลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากข้ึน ย่ิงในทุกวันนี้การค้าแบบ m-commerce
หรือ mobile commerce ซ่ึงเป็นการดำเนินกจิ กรรมทางการค้าผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในแบบ
สมารท์ โฟนนน้ั ทำได้อย่างง่ายดาย ย่อมชว่ ยเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับธุรกิจดจิ ิทลั

47

2. สังคม (social) ถ้ากล่าวถึงสังคมในยุคดิจจิทัลนี้จะหมายถึง สังคมในโลกออนไลน์
ปัจจุบันแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Facebook Instagram Twitter Line ฯลฯ กลายเป็น
เหมือนเวทีสำหรบั การมีส่วนร่วมของผู้คนในกระบวนการทางธุรกิจประจำวัน และแพลตฟอร์มเหล่านี้
พฒั นาให้มีประสิทธิภาพดยี ิ่งขึ้นในการเชื่อมต่อและการใช้งานทางธุรกิจ จึงเอ้ือประโยชน์ต่อการทำงาน
และการประสานงานภายในองค์การ ตลอดจนการส่ือสารองค์การไปยังผู้มีส่วนไดส้ ว่ นเสียของธุรกิจได้
เป็นอยา่ งดี โดยเฉพาะการแบ่งปันขอ้ มลู และการติดต่อสือ่ สารไปยังลูกค้าเพ่ือทำการตลาดในแบบดจิ ิทัล
นอกจากนี้ยังเอื้อให้ธุรกิจเชื่อมต่อและส่ือสารไปยังลูกค้าด้วยการผสานทั้งช่องทางออนไลน์ของธุรกจิ กับ
ช่องทางออฟไลน์ท่ีเป็นการขายหน้าร้าน ในรูปแบบ omni-channel เพ่ือสร้างประสบการณ์ท่ีดีให้แก่
ลกู ค้าไดเ้ ป็นอย่างดี

3. ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ (analytics) เป็นการนำข้อมูลต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
เช่น ลักษณะส่วนบุคคลและพฤตกิ รรมการซือ้ สนิ ค้าของลูกค้า กระแสความนยิ ม อัตราคา่ จ้าง ฯลฯ ซึ่ง
ธุรกิจได้มาทุกช่องทาง มาวิเคราะห์ร่วมกันตามโมเดลคณิตศาสตร์ เพ่ืออธิบายสถานการณ์ทางธุรกิจที่
เกิดข้ึน วิเคราะห์แนวโน้ม พยากรณ์อนาคตและให้คำแนะนำทางเลือกต่าง ๆ ในการดำเนินงาน โดย
แสดงผลวิเคราะห์ได้อย่างทันที เรียกดูได้ตามที่ต้องการในแบบเรียลไทม์ และยิ่งหากธุรกิจสามารถ
ตอบสนองผลลัพธจ์ ากการวเิ คราะห์นั้นไดอ้ ย่างทนั ท่วงทีภายใต้กรอบเวลาเดยี วกัน ย่อมเสริมประสิทธภิ าพ
การดำเนินงานโดยเฉพาะด้านการตลาดดิจิทัล เช่น การจัดการแบรนด์ การตลาดข้ามแพลตฟอร์มท่ีเป็น
สงั คมออนไลน์ การปรับแตง่ ข้อเสนอของธรุ กิจสำหรับการตลาดมุ่งเฉพาะบุคคล การโฆษณา ฯลฯ

4. คลาวด์ (cloud) ในปัจจุบันมีธุรกิจท่ีให้บริการคลาวด์หรือการประมวลผลกลุ่มเมฆ
ซึ่งเป็นเสมือนระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก ๆ ท่ีรองรับการทำงานของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นในแบบ
software as a service (SaaS) ซึ่งเป็นการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตในลักษณะการ
ให้เช่าตามที่ผู้ซ้ือต้องการใช้งาน โดยธุรกิจไม่ตอ้ งติดต้ังโปรแกรมลงเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือบริการใน
แบบ platform as a service (PaaS) สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน และในแบบ infrastructure
as a service (IaaS) ซึ่งบริการโครงสร้างพ้ืนฐานทางคอมพิวเตอร์อย่างหน่วยประมวลผล ระบบการ
จัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย ฯลฯ โดยการให้บริการมีทั้งในรูปแบบคลาวด์ส่วนตัว (private cloud)
ซ่ึงใช้งานเฉพาะในองค์การหน่ึง ๆ หรือจะเป็น คลาวด์สาธารณะ (public cloud) เช่น Google
Microsoft หรือจะเป็นคลาวด์แบบผสม (hybird cloud) ซึ่งผสานการทำงานระหว่างคลาวด์ส่วนตัว
และคลาวด์สาธารณะ ท่ีสำคัญการให้บริการเหล่านี้พัฒนาก้าวหน้าอย่างตอ่ เนื่อง (เอกฉัตร บ่ายคล้อย
และประสงค์ ปราณีตพลกรัง, 2560, หน้า 24-25) จงึ เอื้อประโยชน์ต่อการจัดการกระบวนการภายใน
ของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจดิจิทัลสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็วจากการใช้งานผ่านระบบ
คลาวด์ นับว่าเป็นความทา้ ทายที่สำคัญสำหรับองค์การธุรกิจในรปู แบบดั้งเดิมทมี่ ีมายาวนาน กล่าวกันว่า
ความสามารถของระบบคลาวด์เป็นเครื่องมือสำคัญของธุรกิจดิจิทัล ในการสร้างภาวะหยุดชะงักให้กับ
ธุรกจิ แบบดงั้ เดิม

จึงเห็นได้ว่าจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
โครงสรา้ งพ้ืนฐานและกระบวนงานของธรุ กิจ โดยเริ่มมาต้ังแต่เม่ืออินเทอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องพื้นฐานที่ใช้
กันอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจ การเปล่ียนแปลงน้ีนำไปสู่การปรับเปล่ียนวิถีการดำเนินธรุ กิจท่ีเป็นอยู่
ให้ต่างไปจากเดิมแต่เกิดผลลัพธ์ที่ดีข้ึน ซ่ึงสะท้อนถึงประโยชน์สูงสุดของสินทรัพย์ประเภทข้อมูล และ

48

ความคิดริเร่ิมที่มุง่ เน้นเทคโนโลยีในการประกอบการ ดงั นั้นหลายธุรกิจพยายามปรับและเร่งกระบวนการ
ทางธุรกิจเพ่ือใช้ประโยชน์ในเชิงกลยุทธ์จากโอกาสที่เกิดข้ึนจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ธรุ กิจใดซึ่ง
ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดข้ึนน้ีได้อย่างเต็มท่ี ย่อมไม่ถูกรบกวนหรือเกิดการหยุดชะงัก (disruption)
จากการเปลยี่ นผ่านส่ดู ิจทิ ัล (digital transformation) แตย่ ังคงยนื หยัดและเติบโตต่อไปไดใ้ นยุคดิจิทัล

ความแตกตา่ งระหวา่ งธุรกิจแบบดั้งเดิมและธุรกิจยคุ ดิจิทลั

จากที่กล่าวมาข้างต้นเก่ียวกับธุรกิจยุคดิจิทัล หากพิจารณาถึงความแตกต่างกับธุรกิจ

แบบด้ังเดมิ สรุปประเดน็ ความแตกตา่ งที่สำคัญ ดังตารางท่ี 1.7

ตารางท่ี 1.7 ความแตกตา่ งระหว่างธรุ กจิ แบบด้งั เดมิ และธุรกจิ ยุคดิจิทลั

ธรุ กิจแบบด้งั เดมิ ธุรกิจยุคดิจทิ ัล

1. บคุ ลากรมที ักษะ ความรู้ ความสามารถในการ 1. บุคลากรมีความรู้ความชำนาญ มีความเปน็

ทำงานทวั่ ไป และเฉพาะตำแหน่ง มืออาชีพ มคี วามเข้าใจและมีชุดทกั ษะใหม่ ๆ ท่ี

จำเปน็ โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจทิ ลั

2. เนน้ การใช้ทรพั ยากรมนุษย์ในการปฏบิ ัตงิ าน 2. เนน้ การนำเทคโนโลยีมาชว่ ยในการทำงาน

มคี วามอัตโนมตั ิ ลดกำลังกายและข้อจำกัดของ

ทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธภิ าพ

กระบวนงาน ทั้งเร่ืองความถูกตอ้ ง รวดเรว็ และ

สะดวกคลอ่ งตวั

3. สินทรัพยธ์ ุรกิจจะเปน็ ลกั ษณะกายภาพ 3. สนิ ทรัพยม์ ที ้งั ทีเ่ ป็นกายภาพแบบเดิมและที่

(physical assets) เชน่ ทด่ี ิน อาคาร รา้ นคา้ มเี พิ่มเตมิ คือสนิ ทรัพย์ดิจิทัล (digiatal assets)

สนิ ค้า ฯลฯ เชน่ Blog (บล็อก) แพลตฟอร์ม (platform)

ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชนั ฯลฯ

4. ดำเนนิ งานในลักษณะทมุ่ เททรพั ยากรตา่ ง ๆ 4. ใช้เทคโนโลยแี ละนวตั กรรม ขบั เคลอื่ นและ

เพือ่ ใหไ้ ดส้ ินค้าหรือบริการตามทลี่ ูกค้าต้องการ สรา้ งขอ้ ได้เปรยี บทางการแข่งขัน เพอ่ื ใหไ้ ด้

และเนน้ การเพ่ิมมูลคา่ สินค้าเชงิ นวัตกรรม หรือการบริการทแ่ี ตกต่าง

ตรงตามทลี่ กู คา้ ต้องการ โดยเนน้ การเพิ่มมลู คา่

และคุณค่า

5. มุมมองดา้ นทรัพยากรท่ีต้องการตามขนาด 5. มมุ มองดา้ นทรัพยากรท่ตี อ้ งการตามขนาด

อุปทาน หรอื ความต้องการขายสนิ คา้ และบริการ อุปสงค์คือความตอ้ งการซ้ือสินค้าหรือบรกิ าร

6. ใช้เทคโนโลยีส่อื สารแบบพ้ืนฐาน ลักษณะ 6. ใช้เทคโนโลยีการส่อื สารผ่านครอื ข่าย

ระหว่างบคุ คลต่อบุคคลในแต่ละคร้ัง เช่น อินเทอร์เนต็ ทช่ี ว่ ยสง่ ข่าวสารในแต่ละครั้งทำ

โทรศพั ท์ โทรสาร ฯลฯ ไดร้ วดเรว็ หลายรูปแบบ เช่นขอ้ ความ ภาพ

เสยี ง วดิ ีโอ ฯลฯ และสามารถแพร่กระจาย ถึง

บุคคลจำนวนมากอย่างไม่มที ี่สิน้ สุด โตต้ อบไป

มาได้ และจัดเกบ็ ข้อมลู การสื่อสารได้

49

ตารางท่ี 1.7 (ต่อ) ธรุ กิจยุคดิจทิ ัล
ธุรกิจแบบดงั้ เดมิ
7. ใช้เทคโนโลยจี ัดเกบ็ ขอ้ มูลแบบคลาวน์
7. การบันทึกจดั เกบ็ ข้อมลู ลงในสมดุ และ และสามารถดงึ ข้อมลู มาใช้ได้แบบทันทหี รือ
ฐานข้อมูลทสี่ ร้างในคอมพิวเตอร์ เรียลไทม์

8. การบริหารจดั การ และการตดั สินใจทางธุรกิจ 8. การบริหารจัดการและการตัดสนิ ใจทาง
มกั ใช้ความรู้สึกมากกว่าข้อมลู ธรุ กจิ อยบู่ นพืน้ ฐานข้อมลู และสารสนเทศ
เป็นหลัก
9. การดำเนนิ งานทางธรุ กจิ จำกัดเวลาและ
สถานที่ 9. การดำเนนิ งานทางธรุ กิจทำไดท้ ุกท่ี ทุกเวลา
10. เนน้ ชอ่ งทางการตลาดแบบออฟไลน์ ตราบเท่าท่ีสามารถเชอ่ื มตอ่ อินเทอรเ์ นต็

10. ผสานชอ่ งทางการตลาดแบบออฟไลน์
และออนไลน์

จากที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีความเจริญก้าวหน้าและเข้ามีบทบาทกับทุกภาคส่วนในสังคม
มากขึ้นเร่ือย ๆ ในภาคธุรกิจจึงต้องปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น
อินเทอร์เน็ตในยุคดิจิทัล 1.0 สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียในยุคดิจิทัล 2.0 บ๊ิกดาต้า ศาสตร์แห่ง
การวเิ คราะห์ข้อมูล ระบบประมวลผลแบบคลาวด์ และแอปพลิเคชันในยคุ ดจิ ิทัล 3.0 และ machine-to-
machine ในยุค 4.0 เทคโนโลยีเหล่าน้ีล้วนเป็นเครื่องมือสำคัญของธุรกิจดิจิทัลที่ใช้สร้างข้อได้เปรียบ
ทางการแขง่ ขนั ให้แตกต่างไปจากธุรกจิ แบบดั้งเดิมอยา่ งส้ินเชงิ

บทสรุป

ธรุ กิจ คือการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของบคุ คล หรือกล่มุ บุคคลเพ่อื ใหม้ สี ินค้าหรือบรกิ าร
ซ่ึงสามารถจำหน่ายหรือให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยมุ่งหวังผลกำไรและ
ประโยชน์อ่ืน ๆ ตอบแทน ทั้งนีธ้ ุรกจิ ซ่ึงประกอบการอย่างถูกต้องตามกฎหมายล้วนก่อให้เกิดประโยชน์
ในหลายด้าน ได้แก่ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในสังคม เกิดการจ้างงาน สร้างความ
เจรญิ ก้าวหน้าให้กับประเทศ และอนุรกั ษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ในปัจจบุ ันน้ีมีธรุ กิจซ่ึงประกอบการ
หลายลักษณะเกดิ ข้ึนอย่างมากมาย แต่สามารถจัดกลุ่มธุรกิจแบง่ เป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่ การผลิต
การค้า และการบริการ อยา่ งไรก็ดีในกระแสทางด้านสงั คม เศรษฐกิจ และการให้ความสำคญั เก่ียวกับ
ธุรกิจของรัฐบาล มักพูดถึงการดำเนินธุรกิจท่ีเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน
วสิ าหกิจเริ่มต้น และวิสาหกิจเพ่ือสังคม ทั้งน้ีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือท่ีเรียกกนั ทั่วไปว่า
เอสเอ็มอี คือกิจการขนาดไม่ใหญ่ซึ่งผลิตสินค้า หรือให้บริการ หรือการค้าในแบบค้าส่งและค้าปลีก
ส่วนวิสาหกิจชุมชน คือ กิจการของชุมชนที่ดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลท่ีมีความผูกพันและมีวิถีชีวิต
ร่วมกนั ส่วนวสิ าหกิจเร่ิมต้นหรอื สตาร์ทอัพ คือ กิจการซึ่งเกิดขึ้นจากแนวคิดการแก้ปญั หาชีวิตประจำวัน
โดยนำเทคโนโลยี หรือนวตั กรรมมาใช้ในการสร้างกิจการ ออกแบบธุรกจิ ท่ีสามารถทำซำ้ ขยายกจิ การ
ได้งา่ ย และกิจการเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด สำหรบั วิสาหกิจเพ่ือสังคม คือรูปแบบองค์การ
ทมี่ ีเป้าหมายในเร่ืองผลกำไรร่วมกับการมีเป้าหมายทางสังคม อยา่ งไรก็ตามไม่วา่ กิจการประกอบธุรกิจ

50

ประเภทใดต้องเลือกรูปแบบองค์การธุรกิจให้เหมาะสมต่อการดำเนินงาน โดยรูปแบบองค์การธุรกิจ
สำหรับการเร่ิมต้นประกอบการมี 6 รูปแบบ ได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วน
สามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ทั้งนี้แต่ละรูปแบบมีความ
แตกต่างทั้งลกั ษณะการระดมเงนิ ทุน การจดั ต้ังหรือเลกิ กจิ การ สถานะทางกฎหมาย ระเบยี บข้อบังคับ
ของภาครัฐท่ีเก่ียวข้อง การจัดสรรผลตอบแทน ความรับผิดชอบในหน้ีสิน และการบริหารงานภายใน
นอกจากน้ีหากธุรกิจท่ีประกอบการเข้าข่ายจดทะเบียนพาณิชย์ ต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ตาม
ระยะเวลาทกี่ ำหนดและปฏิบัติตามหนา้ ทข่ี องผปู้ ระกอบพาณชิ ยกจิ ทม่ี ีทะเบยี นพาณิชย์

ในการประกอบธุรกิจต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจซึ่งเป็นปัจจัยต่าง ๆ ท้ัง
ภายในและภายนอกองค์การที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการ ทั้งน้ีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แบ่ง
ออกเป็นสภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก ซ่ึงถ้าหากวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
จะทำให้ทราบว่าการดำเนินธุรกิจมีจุดแข็ง หรือมีจุดอ่อนในประเด็นใดบ้าง เช่น ทรัพยากรขององค์การ
โครงสร้างองค์การ วัฒนธรรมองค์การ ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ แต่ถ้าหากวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
ทำให้ทราบว่าการดำเนินธุรกิจมีโอกาสหรอื มอี ุปสรรคในประเด็นใดบ้างซ่ึงเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อม
ทั่วไป เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยี ฯลฯ หรือเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อม
ในงาน เช่น ลูกค้า ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ พันธมิตรธุรกิจ ชุมชน คู่แข่ง ฯลฯ อย่างไรก็ดีการพิจารณา
สภาพแวดล้อมภายนอกควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน โดยสามารถใช้เครื่องมือแรงผลัก
ทั้ง 5 ประการ ในการวิเคราะห์ ซง่ึ ได้แก่ การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่
อำนาจตอ่ รองของผู้ขายวัตถุดิบ อำนาจต่อรองของผูซ้ ้อื และการคกุ คามจากผลิตภณั ฑท์ ดแทน

ในปัจจุบันนี้การทำธุรกิจอยู่ในยุคดิจิทัล ซึ่งเกิดข้ึนจากความเจริญก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีที่ตั้งแต่มีอินเทอร์เน็ตในยุคดิจิทัล 1.0 มีโซเชียลมีเดียในยุคดิจิทัล 2.0 มีบิ๊กดาต้า ศาสตร์
แห่งการวิเคราะห์ข้อมูล คลาวด์คอมพิวติ้ง และแอปพลิเคชันในยุคดิจัล 3.0 ถัดมาในยุคดิจิทัล 4.0
เคร่ืองมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร สามารถส่ือสารระหว่างกันเองได้โดยอัตโนมัติ (machine-to-
machine: M2M) เทคโนโลยซี ่ึงพัฒนาข้ึนเหล่าน้ีล้วนกลายเป็นเคร่ืองมือสำคัญในการดำเนินงานของ
ธุรกจิ และทำให้ธุรกจิ เข้าถึงกลมุ่ ลูกค้าและตอบโจทยค์ วามตอ้ งการได้อยา่ งรวดเรว็ อันจะนำไปสู่ความ
ได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว แน่นอนว่าผู้ประกอบการต้องปรับเปล่ียนวิถีการทำธุรกิจ
แบบเดิมมาเป็นธรุ กจิ ดจิ ิทัล ซ่งึ หมายถึงธรุ กิจที่ใช้เทคโนโลยใี หเ้ ป็นข้อไดเ้ ปรียบในการดำเนินงาน โดย
องค์ประกอบพ้ืนฐานของธุรกิจดิจิทัล คือ ปัจจัยการสนับสนุนธุรกิจดิจิทัล การวางรากฐานของธุรกิจ
ดิจิทัล จุดปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในเชิงดิจิทัล และเส้นทางนำไปสู่การเป็นลูกค้าดิจิทัล หากพิจารณาถึง
ความแตกต่างกับธุรกิจยุคด้ังเดิม สิ่งที่เห็นอย่างชัดเจนในธุรกิจดิจิทัล คือ บุคลากรมีความเป็นมือ
อาชีพ มีความเข้าใจและมีชดุ ทักษะใหม่ ๆ ทจี่ ำเป็นโดยเฉพาะเทคโนโลยดี ิจทิ ัล เนน้ การนำเทคโนโลยี
มาช่วยในการทำงาน มีสินทรัพย์ดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขับเคลื่อนและสร้างข้อได้เปรียบ
ทางการแขง่ ขนั ของธุรกิจ มุมมองด้านทรัพยากรท่ีต้องการตามขนาดอปุ สงค์คือความต้องการซอื้ สนิ ค้า
หรือบริการ ใช้เทคโนโลยีการส่ือสารที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวน์ การบริหาร
จัดการและการตัดสินใจทางธุรกิจอยู่บนพื้นฐานข้อมูลและสารสนเทศเป็นหลัก การดำเนินงานทาง
ธุรกิจทำได้ทุกท่ี ทุกเวลา ตราบเท่าที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และผสานช่องทางการตลาดแบบ
ออฟไลน์และออนไลน์ได้อย่างไร้รอยต่อ

51

แบฝึกหดั ท้ายบท

1. จงอธิบายความหมายของธรุ กจิ
2. จงอธิบายประโยชนข์ องธุรกจิ
3. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างวิสาหกิจเร่ิมต้น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจ
ชุมชน
4. จงอธิบายลกั ษณะการดำเนินงานของวิสาหกจิ เพือ่ สงั คม
5. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างบคุ คลธรรมดาและนติ ิบุคคล
6. จงอธบิ ายความแตกต่างระหว่างรปู แบบธุรกจิ แบบกจิ การเจา้ ของคนเดยี ว ห้างห้นุ ส่วน และบริษัท
7. จงอธิบายรายละเอียดการจดทะเบยี นพาณิชย์มาพอสงั เขป
8. จงอธิบายสภาพแวดล้อมทางธรุ กจิ ภายในและภายนอกองคก์ าร
9. จงอธิบายวิวัฒนาการของยคุ ดิจิทลั ในโลกธุรกจิ
10. จงอธิบายความแตกต่างระหวา่ งธุรกิจแบบด้งั เดิมและธรุ กิจดจิ ทิ ัล

52

เลา่ เรอ่ื งทางธุรกิจ

เมากาแฟ ผลผลติ จากเครอื ข่ายแหง่ มติ รภาพ
ร้านเมากาแฟ เริ่มต้นประกอบกิจการเมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2558 ในอำเภอเมือง

จังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้งธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัด โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการอาหารและ
เครื่องดื่ม จุดเร่ิมต้นของธุรกิจมาจากเครือข่ายแห่งมิตรภาพของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ 18 คน คุณวิริญณ์
สุวรรณ์อารี หน่ึงในผู้ร่วมก่อต้ังร้านเมากาแฟ เล่าว่าพวกเราต้ังใจอยากจะทำธุรกิจเล็ก ๆ ร่วมกัน เพื่อ
รกั ษามิตรภาพท่ีดีกันไว้ จึงโหวตว่าจะทำอะไรดี ช่วงแรกก็มีเสนอกันมาหลายอย่าง จนกระทั่งมาจบที่
รา้ นกาแฟ และเราเช่ือว่าการทำอะไรที่ทุกคนชอบและรักน่าจะทำได้ดีและไปไดด้ ีกว่า หลังจากน้ันเรา
จึงเริ่มต้นประชุมเพื่อวางแผนการทำธุรกิจนานกว่า 5 เดือน นับตั้งแต่หาสถานที่ คิดคอนเซ็ปต์ร้าน
และต้ังชื่อร้าน จนออกมาเป็นรา้ นเมากาแฟ ซึ่ง “เมา” ในภาษาเหนือแปลว่า รัก ชอบ หลงใหล และ
ยงั สอดคลอ้ งกับคอนเซ็ปต์ของร้านทเี่ สริ ์ฟกาแฟในขวดแบนคล้ายกับขวดเหล้า และมกี าแฟซิกเนเจอร์
หรือกาแฟท่ีเป็นเอกลักษณ์ คือ มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในช่ือ เมากาแฟ เมนูเคร่ืองดื่มท่ีน่ีเป็นการ
สร้างประสบการณ์ท่ีแปลกใหม่ให้กับลูกค้า ด้วยการเสิร์ฟเครื่องด่ืมโดยให้ลูกค้าผสมด้วยตัวเองแบบ
เดียวกับการชงเหล้า แต่เปลี่ยนจากโซดาเปน็ นมสด เมนูอ่ืน ๆ ก็มีเช่น เมานม เมาช็อค ฯลฯ นอกจาก
เมนูกาแฟและเครื่องด่ืมชนิดต่าง ๆ ก็ยังมีขนมและเบเกอรรี่โฮมเมดสูตรเฉพาะของร้านมีไว้บริการด้วย
เช่นกัน แน่นอนว่าส่ิงเหล่านี้ คือกิมมิกในการดึงดูดลูกค้าให้อยากมาทดลองชิมมากยิ่งข้ึน กลุ่มลูกค้าของ
ทางร้านไม่จำกัดอยู่แค่นักท่องเที่ยว เราใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่ให้คนในพ้ืนที่สามารถมาใช้บริการได้ทุกวัน
ในจำนวนนี้มีเครื่องด่ืมท่ีตั้งราคาให้เหมาะสมกับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ รวมถึงติดตาม
และคาดการณ์กระแสความชื่นชอบของลูกค้า จัดทำแคมเปญทดี่ ึงดูดความสนใจอยู่เสมอ ประกอบกับ
การทำตลาดโดยใช้ส่ือโซเชยี ลเน็ตเวิรก์ ไปยงั กลุ่มเป้าหมาย ทำให้ร้านของเราเป็นที่รู้จักและถูกแชร์ใน
โลกออนไลน์อย่างรวดเรว็ ผลตอบรับถล่มทลายต้ังแต่ 2 สัปดาหแ์ รก จนเราตอ้ งปรบั แผนธุรกิจกันใหม่
เนอื่ งจากพนักงานไมพ่ อท่ีจะใหบ้ ริการรองรบั ปรมิ าณลกู ค้า และต้องเช่าพื้นทจี่ อดรถเพิ่ม

ความสำเร็จที่เกิดขึ้น คุณวิริญณ์มองว่านอกจากคอนเซ็ปต์ร้านท่ีแตกต่างจากร้านกาแฟ
อื่น ๆ ในเชียงใหม่ และการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กในการโฆษณาประชาสัมพันธ์แล้ว อีกปัจจัยหนึ่งซ่ึง
สำคัญมาก คือเครือข่ายทางธุรกิจที่กว้างขวางของผู้ถือหุ้นทุกคนซ่ึงเรียกว่าเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกัน และ
แตล่ ะคนมีประสบการณ์การบรหิ ารธรุ กิจของตัวเองที่หลากหลาย เช่น ทำธุรกจิ กอ่ สรา้ ง เปดิ ร้านอาหาร
มีกิจการโรงแรม เป็นสถาปนิก ฯลฯ อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าแต่ละคนจะมีภูมิหลังชีวิตและการทำธุรกิจท่ี
แตกต่างกัน แต่หุ้นส่วนส่วนใหญ่นั้นเป็นคนพ้ืนเพเชียงใหม่ หรือไม่ก็ย้ายมาทำธุรกิจและใช้ชีวิตอยู่ใน
เมืองเชียงใหม่หลายปี ซ่ึงนับเป็นจุดแข็งท่ีทำให้พวกเราเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในท้องถ่ินว่าช่ืนชอบ
และมีไลฟ์สไตล์แบบใด ในการทำร้านกาแฟน้ันบอกได้เลยว่าเราทุกคนไม่มีใครเคยมีประสบการณ์กัน
มาก่อน จึงนับเป็นธุรกิจใหม่ท่ีแต่ละคนต้องมาเร่ิมต้นเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน และจากท่ีพวกเราต่างก็มี
ประสบการณ์ความชำนาญในฐานธุรกิจเดิมท่ีไม่เหมือนกันและไม่ซ้ำกัน มีความสามารถ มีวิธีการคิด
การตัดสินใจที่แตกต่างในการทำงาน พวกเราจึงแบ่งหน้าที่กันบริหารร้านตามความถนัด ตามหลัก
ทฤษฏีห่านบิน ท่ีดึงความถนัดของแต่ละคนมาใช้ให้เกิดศักยภาพอย่างเต็มท่ี เช่น กลุ่มนี้ดูแลเร่ือง
การตลาดและการประชาสัมพันธ์ อีกกลุ่มดูแลเร่ืองการก่อสร้างและการออกแบบตกแต่งร้าน ส่วนอีก
กลมุ่ ดเู รื่องงานบคุ คล ฯลฯ เรยี กว่าใครเชี่ยวชาญส่วนไหนก็จะทำในสว่ นงานน้ัน ๆ โดยมีไลน์กลุ่มย่อย

53

สำหรับส่ังงาน และไลน์กลุ่มใหญ่สำหรับปรึกษาหาข้อสรุปร่วมกัน เมื่อต้องตัดสินใจในเร่ืองใหญ่ ๆ ที่มี
ความสำคัญ กน็ ัดมาคุยกนั ในทป่ี ระชมุ เดอื นละคร้งั

หลายคนอาจมีความคิดว่าการทำธุรกิจกับเพื่อนนั้นเป็นเร่ืองที่ยุ่งยาก และมักจะเกิด
ปัญหาขัดแย้งตามมาในการบริหารธุรกิจที่ได้ยินได้ฟังกันอยู่บ่อยครั้ง การลงหุ้นกัน 4-5 คนถือเป็น
เรื่องยากอยู่แล้ว แต่น่ีรวมกันถึง 18 คน สำหรับพวกเรากลับมองว่าการมีหุ้นส่วนธรุ กิจจำนวนมากนั้น
เป็นข้อดีและเป็นข้อได้เปรียบ นอกจากเงินลงทุนที่ทุกคนมีบทบาทหน้าที่ในส่วนนี้ เรายังแบ่งงานกัน
ไปรบั ผิดชอบ แบ่งหน้าที่งานกันอย่างชัดเจน ตามความถนดั และไม่ก้าวก่ายกัน การกระทบกระทง่ั กัน
น้อยมาก อาจเพราะด้วยพวกเราทำงานรวมกลุ่มกันมาตลอดระยะเวลา 3 เดือนในช่วงฝึกอบรม
รว่ มกัน ทำให้เรามองเห็นศักยภาพของสมาชิกทเ่ี ป็นหนุ้ ส่วนแต่ละคนว่าใครถนัดด้านใด มจี ุดแข็งอะไร
พอมาเริ่มทำธุรกจิ ร้านเมากาแฟ ก็สามารถวางแผนการบริหารได้ทันที ซ่ึงแตกต่างจากการทำธุรกิจใน
แบบเจ้าของคนเดียวต้องบริหารหลักอยู่คนเดียว จะคอ่ นข้างเหน่ือยกว่า การทำธุรกิจแบบรวมกนั เป็น
หุ้นส่วนกันแบบนี้ แต่ละคนจะช่วยเสริมจุดเด่นลดจุดด้อยของกันและกัน จะทำอะไรหรือคิดอะไรก็
เหมือนกบั มีเพ่ือนคูค่ ดิ หากจุดน้ีเราไม่ถนัด แตห่ ุ้นส่วนอีกคนถนดั ก็รับไปทำซง่ึ ชว่ ยให้งานสำเร็จเรว็ ขึ้น
บางคร้ังก็มีไอเดียดี ๆ ท่ีเราคิดไม่ถึง และเวลามีปัญหาเกิดขึ้นก็มาระดมความคิดช่วยกันแก้ไข หลาย
หวั ดีกว่าหัวเดยี วอย่แู ล้ว

ข้อดีอีกอย่างหน่ึงท่ีเห็นได้ชดั จากการมีหุ้นส่วนคือ เร่ืองคอนเนกช่ัน (connection) หรือ
สายสัมพันธ์ ซึ่งช่วยให้การทำธุรกิจของเราดำเนินไปได้อย่างสะดวกราบรื่น เช่น เม่ือตอนก่อสร้างและ
ปรับปรุงร้าน หุ้นส่วนคนหน่ึงเขาขายวัสดุก่อสร้าง ทำให้ได้ราคาท่ีถูกลงกว่าท่ัวไป ต้นทุนร้านก็ลดลง
อีกท้ังคอนเนกชน่ั ทหี่ นุ้ ส่วนแต่ละคนมี อย่างหนุ้ ส่วนอกี คนเขามเี พ่ือนทำธุรกิจขายอปุ กรณ์ทำกาแฟอยู่
ก็ได้ในเรื่องราคา ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำกับพวกเรา จึงเห็นได้ว่าการทำธรุ กิจ
โดยใช้เน็ตเวิร์ก (network) หรือเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งเครือข่ายแบบบุคคล และเครือข่ายในโซเชียล
เน็ตเวิร์ก ได้ประโยชน์เยอะแยะมากมาย ท้ังย่นเรอ่ื งเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย เสริมจุดเด่น เติมเต็มข้อดี
ลดข้อด้อยให้กับธุรกิจ พลังเครือข่ายบนฐานของมิตรภาพจึงเป็นส่วนสำคัญแห่งความสำเร็จของร้าน
เมากาแฟ มาจนถึงทุกวันน้ี

* gimmick หมายถึง จดุ ทช่ี ่วยให้จำ ลกู เลน่ กลเม็ด

ทม่ี า (กองบรรณาธกิ าร K SME inspired, 2558, หน้า 30-31; กรงุ เทพธรุ กจิ , 3 กรกฎาคม 2558)

54

สตาร์ทอพั Skootar Driver เมสเซนเจอร์มือโปรในยคุ ดิจทิ ัล
จากประสบการณ์ตรงของคนทำธุรกิจเอสเอ็มอี ซ่ึงต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องผู้ส่งเอกสาร

หรอื เมสเซนเจอรม์ านานหลายปี คุณสุวฒั น์ ปฐมภควันต์ เล่าว่าการจ้างเมสเซนเจอรส์ ักคน เราต้องมี
งานมากพอให้ทำ อีกท้ังยังต้องมีค่าใช้จ่ายอย่างประกนั สังคม โบนัส และในการดูแลอื่น ๆ อันที่จริงท่ี
ผ่านมาก็เคยจ้างเมสเซนเจอร์ แต่ประสบปัญหาคือบางวันงานเยอะ บางวันก็ไม่มีงานเลย หรือบางที
เขาลาป่วยตรงกับวันที่ธุรกิจมีงานพอดี ทำให้ต้องสง่ เอง หรือไมก่ ต็ ้องออกไปหามอเตอร์ไซค์รบั จ้าง ซ่ึง
ส่วนใหญ่จะไมเ่ คยว่ิงงานเอกสาร คนที่เคยวิง่ งานลักษณะนี้มาก่อนก็จะคิดราคามาตรฐาน ให้บริการได้ดี
ไม่มีปัญหาอะไร แต่สำหรบั คนที่ไม่เคยก็จะเรียกเอาตามใจชอบ ซงึ่ บางคร้ังเขาเรียกมาเท่าไรเราก็ต้อง
ยอมจ่าย เพราะจำเป็นอย่างเช่นต้องรับเช็ควันสุดท้าย นี่คือชีวิตธุรกิจเอสเอ็มอีเลย เจอปัญหาแบบนี้
ก็คิดในใจตลอดว่ามันต้องมวี ิธีท่ีดีกว่านี้ เป็นเจ้าของธุรกิจควรเอาเวลามาคิดหาโอกาสขยายธุรกิจของ
ตัวเองดีกว่า ไม่ใช่ออกไปวิ่งส่งเอกสารเอง คุณสุวัฒน์บอกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาของเอสเอ็มอี
ขนาดเล็กรายอื่นๆ ด้วยเช่นกัน จึงทำให้มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ เลยชักชวนเพื่อนอีกสองคนมาร่วมกัน
คดิ ทำธุรกิจ โดยใชเ้ ทคโนโลยีมอื ถอื สร้างระบบข้ึนมาให้ธุรกิจสามารถใช้เมสเซนเจอร์ร่วมกันได้ในนาม
Skootar Driver

Skootar Driver เป็นระบบจับคู่ผู้ต้องการส่งเอกสารหรือผู้สั่งงานกับเมสเซนเจอร์ เมื่อมี
ผู้ส่ังงานผ่านแอปพลิเคชัน ทั้งแอนดรอยด์ และ iOS หรือเว็บไซต์ ระบบจะแจ้งไปยังเมสเซนเจอร์ที่อยู่
ใกล้ละแวกน้ัน เมสเซนเจอร์คนไหนกดรับงานได้ก่อนก็จะได้งานไป ซึ่งลูกค้าสามารถตรวจสอบได้
ตลอดว่าถึงข้ันตอนไหนแล้ว เราปรับรปู แบบบริการให้เข้ากับความต้องการของเอสเอ็มอี เช่น ต้องไป
รบั เอกสารก่อนเพ่ือไปรับเช็ค แล้วเอากลบั คืนมาให้ หรือไปรบั เช็คแล้วเอาเข้าแบงก์ให้เลย โดยค่าบริการ
จะเริ่มต้นท่ี 70 บาท หลังจากน้ันคิดเป็นระยะทางกิโลเมตรละ10 บาท ขากลับจะคิดแค่ 50% ของขาไป
ในกรณีที่ลูกค้าให้รับเอกสารกลับมาให้ด้วย โดยเร่ิมคิดระยะทางจากจุดที่ให้รับของไปส่ง ผู้ร่วมก่อต้ัง
Skootar Driver กล่าวต่อวา่ การใช้งานระบบไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพียงลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์หรือผ่าน
แอปพลิเคชันก็สามารถเรียกใช้บริการได้ทันที โดยในการจ่ายค่าบริการ ลูกค้าสามารถเลือกจ่ายได้
หลายช่องทาง ท้ังเงินสด เครดิตการ์ด หรือจะจ่ายผา่ นออนไลน์ หรือให้วางบิลเป็นรายเดือนก็ได้ อีกท้ัง
ใบเสร็จที่ลกู คา้ ได้รบั สามารถนำไปใชเ้ ปน็ คา่ ใช้จา่ ยในการหักภาษไี ด้ด้วย จากการทำธุรกจิ เมสเซนเจอร์
ออนไลน์ คุณสุวัฒน์บอกว่าได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี มีลูกค้าเพ่ิมขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเน่ืองมาจาก
Skootar Driver ให้ความสำคัญกับคุณภาพการบรกิ าร โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเร่อื งความน่าเชื่อถอื ของ เม
สเซนเจอร์ ซ่ึงเป็นผู้ให้บริการกบั ลูกคา้ โดยตรง รวมท้งั การสร้างคุณค่างานบรกิ ารตรงนใ้ี ห้ลูกคา้ ม่ันใจได้
ว่าเมสเซนเจอร์ของธุรกิจเป็นมืออาชีพจริงๆ เมสเซนเจอร์ของเราแต่ละคนจะรับสมัครทางออนไลน์
เท่าน้ัน เพ่ือตรวจสอบเบื้องต้นถึงความสามารถในการใช้เทคโนโลยีมือถือ หลังจากนั้นเรียกสัมภาษณ์
ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และฝึกอบรมประมาณคร่ึงวัน ถ้าทุกอย่างผ่านหมดจึงจะให้เร่ิมงาน
สำหรับการควบคุมการทำงานของเมสเซนเจอร์เพื่อรักษามาตรฐานการบริการน้ัน เรามีแอปพลิเคชัน
ทสี่ ามารถจัดเรตต้ิง โดยลกู คา้ เป็นผู้ให้ดาวคุณภาพบริการ และรีวิวเมสเซนเจอร์ที่ให้บรกิ ารได้ ถ้าหาก
เมสเซนเจอร์คนใดถูกรีวิวทางลบ จะตักเตือนก่อนในคร้ังแรก แต่ถ้ายังทำอีกจะถูกตัดสิทธิ์ในการรับ
งานครั้งต่อไป

55

ปัจจุบัน Skootar Driver มีเมสเซนเจอร์พร้อมให้บริการจำนวน 900 คน กระจายอยู่ทั่ว
กรุงเทพฯ และปริมณฑล อย่างไรก็ดีการให้บริการในช่วงพีกที่ลูกค้าเรียกใช้เข้ามาพร้อมกันมาก ๆ ก็อาจ
เกิดปัญหาอยู่บ้างเพราะไม่สามารถหาเมสเซนเจอร์รองรับงานได้ ซ่ึงเป็นอีกเร่ืองที่ต้องรีบหาทางแก้ไข
ช่วงหลัง ๆ งานเข้ามาเยอะมาก จนไม่สามารถหาเมสเซนเจอร์รับงานได้หมด อย่างช่วงหลังสงกรานต์
ลูกค้าส่งเอกสาร วางบิลกันเยอะมาก เป็นช่วงสองอาทิตย์ท่ีงานเข้ามามากจนเมสเซนเจอร์ไม่พอ ด้วย
ข้อจำกัดเร่ืองเวลาและสถานที่ ลูกค้าหลายรายกำหนดเวลาไม่เกินบ่ายสอง บางรายให้ไปรับเอกสารใน
สถานท่ีไกลมาก ไม่มีเมสเซนเจอร์อยู่แถวน้ันก็ต้องขอโทษลูกค้าไป ทุกวันน้ีถ้าลูกค้าสั่งจากกรุงเทพฯ
แล้วให้ไปสง่ ชานเมอื งกย็ งั พอหาเมสเซนเจอร์ไปใหไ้ ดบ้ ้าง แต่ถ้าส่งั จากชานเมืองเข้ามาในกรงุ เทพฯ จะ
หายากหน่อย ซ่ึงในการแจ้งยกเลิกเราจะเสนอทางเลือกแก่ลูกค้า เช่น ยกเลิกเลย หรือรอให้ทางเรา
พยายามหาเมสเซนเจอร์สัก 10-20 นาที คุณสุวัฒน์ย้ำว่าการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการอย่าง
ต่อเน่ืองเป็นแนวทางหลักท่ีใช้ในการพัฒนาธุรกิจ และเป็นเหตุผลให้ฐานลูกค้าเพิ่มข้ึนอย่างต่อเนื่อง โดย
กว่า 80% เป็นลูกค้าเดิมที่กลับมาใช้ซ้ำและบอกต่อ ม่ันใจว่า Skootar Driver จะเติบโตเพิ่มข้ึนจากเดิม
เป็น 10 เท่าภายในปีน้ีอย่างแน่นอน
ที่มา (ขวญั ตา แซเ่ ตยี และกฤษฎา ศิลปไชย, 2559, หนา้ 46-47)

56

เอกสารอ้างองิ

กรมพฒั นาธรุ กจิ การค้า. (2555). การจดั ประเภทธุรกิจของนิตบิ คุ คลตามหลักการจดั ประเภท
มาตรฐานอตุ สาหกรรม (ประเทศไทย) ปี 2552 กระทรวงแรงงาน. นนทบุรี:
กรมพฒั นาธรุ กิจการค้า.
. (ม.ป.ป.). การจดทะเบยี นพาณิชย์ [Online]. Available: http://www.dbd.go.th/
ewt_news.php?nid=373 [2560, เมษายน 17].
. (ม.ป.ป.). การจดทะเบยี นพาณิชยสําหรับธรุ กจิ พาณชิ ยอ์ ิเลก็ ทรอนิกส์ [Online].
Avaliable: https://www.trustmarkthai.com/media/k2/attachments/
Register_Por_KO_0403.pdf [2560, เมษายน 17].
. (ม.ป.ป.). คำแนะนำในการจดทะเบยี นเลกิ และชำระบญั ชีบรษิ ทั จำกดั [Online].
Available: http:// www.dbd.go.th/download [2560, เมษายน 16].
. (ม.ป.ป.). คำแนะนำในการจดทะเบยี นเลิกและชำระบญั ชหี า้ งหุน้ ส่วน [Online].
Available: http://www.dbd.go.th/download/downloads/
02_hs/intro_step_hs_dissolve.pdf [2560, เมษายน 16].
. (2553). คู่มือการจดทะเบยี นพาณิชย์ ตามพระราชบญั ญัตทิ ะเบียนพาณิชย์
พ.ศ. 2499. นนทบุรี: กรมพัฒนาธุรกิจการคา้ .
. (ม.ป.ป.). คำแนะนำการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นสว่ นสามัญนติ ิบุคคลรูปแบบ
องค์กรธรุ กจิ [Online]. Available: http://www.dbd.go.th/download/
downloads/02_hs/intro_step_hs_estab.pdf [2560, เมษายน 16].
. (ม.ป.ป.). รปู แบบองค์กรธรุ กิจ [Online]. Available: http:// www.dbd. go.th/
ewt_news.php?nid=381&filename=index [2560, เมษายน 16].
. (2557). รวมคำศัพท์เทคนิค ภารกจิ กรมพฒั นาธรุ กจิ การค้า. นนทบรุ ี: กรมธุรกิจการค้า.
. (2558). คมู่ ือเริ่มตน้ ธุรกจิ อยา่ งมีทศิ ทาง. นนทบรุ ี: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.

กรมสรรพากร. (2555). มารูจ้ กั ภาษมี ูลคา่ เพ่ิมกันก่อนดีม๊ัย. กรุงเทพฯ: กรมสรรพากร.
. (2559). คูม่ ือภาษสี ำหรบั Start-up. กรงุ เทพฯ: กรมสรรพากร.

กรงุ เทพธรุ กิจ. (2558, กรกฎาคม 3). เมากาแฟ ความสำเร็จของมิตรภาพทางธรุ กจิ กลมุ่ นักธุรกิจ
เลือดแรง ใน กรุงเทพธรุ กจิ [Online]. Available: http://www.bangkokbiznews.
com/recommended/detail/37 [2560, เมษายน 15].

กองบรรณาธิการ K SME inspired. (2558). เมากาแฟ ผลผลติ จากเครอื ข่ายแหง่ มิตรภาพ. K SME
inspired, 2, 30-31.

กองบริหารภาษีธรุ กจิ ขนาดกลางและขนาดเลก็ . (2556). ลักษณะของ SMEs [Online].
Available: http://www.rd.go.th/publish/38056.0.html [2560, เมษายน 15].

กองส่งเสริมวสิ าหกิจชมุ ชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). วิสาหกิจชุมชนควรรู้ [Online].
Available: http://www.sceb.doae.go.th [2560, เมษายน 15].

57

กญั ญามน อนิ หวา่ ง, สุพจน์ อินหวา่ ง และอภิชาติ วรรณภิระ. (2554). การจัดการวิสาหกิจชุมชน.
พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

ขวญั ตา แซเ่ ตีย และกฤษฎา ศลิ ปะไชย. (2559). Skootar Driver เมสเซนเจอร์มอื โปร เพื่อธุรกจิ
เอสเอ็มอี. K SME inspired, 2, 46-47.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2558). การจัดการธรุ กจิ ขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: ซีเอด็ ยูเคชัน่ .
ชมพูนทุ ศรีพงษ์, สนั ติ อารักษ์คุณากร, วลั ยล์ ดา พรมเวียง, ปยิ ะดา มณีนลิ และสสั ดี กำแพงด.ี

(2559). การพัฒนาวสิ าหกจิ ชุมชนแม่บา้ นทหารกองทัพภาคท่ี 4 กองทัพบกไทย ใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั ยะลา.
ชนินทร์ ชุณหพนั ธรกั ษ์. (2559). ความรทู้ ว่ั ไปเก่ยี วกบั การบรหิ ารธุรกจิ ใน ความรเู้ บ้อื งต้น
เกย่ี วกบั การบริหาร หน่วยท่ี 1-7 (พิมพค์ รั้งท่ี 4) (หน้า 2-1-2-36). นนทบรุ :ี
มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
ชตุ ิมนั ต์ สะสอง. (2559). ความรู้เบื้องต้นในการประกอบธรุ กจิ . เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภฏั
เชียงใหม่.
ชุติมา หวงั เบญ็ หมดั และธนัชชา บนิ ดเุ หล็ม. (2557). ปจั จยั แหง่ ความสำเร็จของการประกอบการ
ธรุ กิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม (SMEs) ในอำเภอหาดใหญ่ จงั หวดั สงขลา. วารสาร
วทิ ยาการจัดการ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสรุ าษฎร์ธานี, 1(1), 109-123.
ณรงค์ ศิรเิ ลศิ วรกุล. (2559). สวทช. แนะนำ รจู้ ักSTARTUP THAILAND ตามแผนยทุ ธศาสตร์
ไทยแลนด์ 4.0 [Online]. Available: http://www.manager.co.th/
smes/ViewNews.aspx? NewsID=9590000043461[2560, เมษายน 15].
ณฤทธ์ิ วรพงษ์ดี. (2560). Set Your Startup Business Guild รูจ้ กั ธุรกิจสตารท์ อัพ. กรุงเทพฯ:
ตลาดหลักทรพั ย์แห่งประเทศไทย.
ตลาดหลกั ทรัพย์แหง่ ประเทศไทย . (ม.ป.ป). คำศพั ทเ์ กี่ยวกับตราสารหน้ี [Online]. Available:
https://www.set.or.th/th/products/bonds/files/Glossary_thai.pdf [2560,
เมษายน 18].
. (ม.ป.ป). ตราสารทนุ [Online]. Available: https://www.set.or.th/th/products/
Equities/equities_p1.html [2560, เมษายน 18].
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). การจดั การและการพฒั นาวิสาหกจิ ชมุ ชน. สงขลา:
สถาบนั สนั ตศิ กึ ษา มหาวทิ ยาลัยสงขลานครนิ ทร.์
ธนวัฒน์ วรรณประภา. (2560). สื่อสงั คมออนไลนก์ บั การศกึ ษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัย
มหาสารคาม, 11(1), 1-20.
ธนวุฒิ พมิ พก์ ิ. (2556). การเปน็ ผ้ปู ระกอบการทางธรุ กิจ. กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร์.
. (2558). การบริหารธรุ กจิ ขนาดยอ่ ม. กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร์.
บรรษทั ประกนั สินเชือ่ อตุ สาหกรรมขนาดย่อม. (2560). สถิตจิ ำนวน SMEs ในประเทศไทย [Online].
Available: http://www.tcg.or.th [2560, เมษายน 15].
บุญฑวรรณ วงิ วอน. (2556). การเป็นผปู้ ระกอบการยุคโลกาภวิ ัตน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

58

ปุณฑรกิ า สุคนธสิงห.์ (2559). ปัจจยั ทีม่ ผี ลตอ่ ความสำเร็จของกลมุ่ อาชพี : กรณศี ึกษากลมุ่ อาชีพ
ผลิตภณั ฑ์จากผา้ ในเขตจงั หวดั เพชรบรู ณ.์ ใน รายงานสืบเนอ่ื งการประชมุ วิชาการ
ระดับชาติ ครั้งที่ 2 นวัตกรรมการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยง่ั ยืน, วันท่ี 11
พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (หน้า 883-892). กรุงเทพฯ: วทิ ยาลยั เทคโนโลยสี ยาม.

พรรณุภา ธวุ นิมติ รกุล. (2558). การเงนิ ธรุ กิจ (พิมพ์ครัง้ ที่ 7). กรงุ เทพฯ: มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์.
พิบลู ทปี ะปาล และธนวฒั น์ ทีปะปาล. (2559). การจดั การเชิงกลยทุ ธ.์ กรงุ เทพฯ: อมรการพิมพ.์
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2558). บทบาทของซีเอสอาร์และวสิ าหกิจเพื่อสังคมกบั การแก้ปัญหาสงั คม.

Journal of Social Development, 17(2), 13-34.
ไพโรจน์ ปยิ ะวงศว์ ฒั นา. (2557). การจดั การเชงิ กลยุทธ์ เทคโนโลยีและนวตั กรรม (พิมพค์ ร้ังท่ี 3).

กรงุ เทพฯ: สำนักพิมพแ์ ห่งจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ ไววานิชกิจ. (2560). พนั ธกจิ สำคญั ขององค์กรยุคดิจทิ ัล. วารสารวชิ าการ กสทช, 572-592.
มาร์เก็ตเธยี ร์ทีม. (2559). เปิดยคุ Digital 1.0-4.0 [Online]. Available: https://marketeeronline.co/

archives/24632 [2560, สงิ หาคม 20].
เยาวลักษณ์ ชาตบิ ัญชาชัย และโสภณ เพม่ิ ศริ วิ ลั ลภ. (2559). คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เก่ียวกับ Big

data และ Data Analytics. Boardroom, 48, 30-35.
ศจุ มิ าลย์ สวุ รรณโรจน์, ประกติ สงั ขป์ ่า, วิลาส ฉำ่ เลิศวัฒน์, ธันวดี เนตนนั ท์, วราพร จริ ะพันธท์ อง

และจิตติมา ศงั ขมณี. (2560). รายงานสรุปโครงการศึกษาวิจยั Thailand ISO Startup
Profile. กรงุ เทพฯ: สภาอตุ สาหกรรมแหง่ ประเทศไทย.
สมเกียรติ สกุลสุรเอกพงศ์. (2559). ปัจจัยท่ีมีอิทธิพลต่อประสิทธภิ าพกิจการเพ่ือสังคมในประเทศไทย.
วารสารการเมอื ง การบริหาร และกฎหมาย, 8(1), 139-161.
สมคิด บางโม. (2555). การเปน็ ผปู้ ระกอบการ (พิมพ์ครง้ั ที่ 5). กรุงเทพฯ: เอสเค บุ๊คส์.
สว่ นทะเบียนและขอ้ มลู วสิ าหกิจชมุ ชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). สรปุ สาระสำคัญ แนวทาง
ปฏบิ ตั ิและการเตรยี มการจดทะเบียนวสิ าหกิจชมุ ชนและเครอื ขา่ ยวสิ าหกิจชุมชน.
กรุงเทพฯ: สว่ นทะเบียนและข้อมลู วิสาหกิจชมุ ชน กรมส่งเสรมิ การเกษตร.
สำนกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2557). พระราชบญั ญตั ิสง่ เสรมิ วิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม
พ.ศ. 2543. กรงุ เทพฯ: สำนกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า.
. (2556). พระราชบญั ญตั ิส่งเสริมวสิ าหกิจชมุ ชน พ.ศ. 2548. กรงุ เทพฯ: สำนกั งาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา.
สำนกั งานคณะกรรมการกำกับหลกั ทรพั ย์และตลาดหลักทรัพย์. (ม.ป.ป.). การออกหลกั ทรพั ย์ของ
บริษัท [Online]. Available: http://www.sec.or.th/TH/AboutUs /Pages/ Page1-
344/32-38.aspx [2560, เมษายน 18].
สำนกั งานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต.ิ (2559). แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบบั ทส่ี บิ สอง พ.ศ. 2560-พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สงั คมแหง่ ชาติ.
สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร. (2558). สภาปฏริ ปู แหง่ ชาติ วาระปฏิรูปพิเศษ 1: วิสาหกิจ
เพือ่ สงั คม. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร.

59

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). วิสาหกจิ ใน พจนานุกรมฉบบั ราชบณั ฑติ สถานพ.ศ. 2554
[Online]. Available: http://www.royin.go.th/dictionary/ [2560, เมษายน 15].

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม. (2558). ลงทะเบยี นผ้ปู ระกอบการ SMEs
[Online]. Available: http://www.sme.go.th/th/index.php/member
[2560, เมษายน 15].

เสรี พงศ์พิศ. (2557). ประเทศไทยเดนิ หน้าด้วยวิสาหกจิ ชมุ ชน [Online]. Available:
http://www.phongphit.com [2560, เมษายน 15].

แสงเดือน ผอ่ งพฒุ . (2556). สื่อสังคมออนไลน์: แนวทางการนำมาประยุกตใ์ ช้. วารสารสำนกั วชิ าการ
สำนักงานเลขาธกิ ารวฒุ สิ ภา, 3(20), 1-18.

อญั ณฐิ า ดิษฐานนท์ และภริตา พงษ์พาณิชย์. (2560). ปจั จยั หลกั ในการตัดสนิ นำระบบคลาวด์คอมพวิ ต้ิง
มาใชใ้ นอตุ สาหกรรมธรุ กิจประกันชีวิตของประเทศไทย. วารสารการจัดการสมยั ใหม่,
15(1), 99-112.

อไุ รพร ชลสริ ริ งุ่ สกลุ . (2559, มิถนุ ายน, 27). พลิกโฉมธรุ กิจไทยด้วยดจิ ิทัล 4.0 ใน กรงุ เทพธุรกิจ
[Online]. Available: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/704291
[2560, เมษายน 20].

เอกฉัตร บ่ายคล้อย และประสงค์ ประณีตพลกรัง. (2560). ความเสี่ยงและความม่ันคงปลอดภัย
สารสนเทศในระบบประมวลผลแบบคลาวด์. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 3(2),
22-29.

Alonso, A. D. & Duarte, A. (2016). A resource-based view of the firm and micro and
small Italian wine firms. International Journal of Wine Business Research,
28(4), 349-368.

Barney, J. B. (1991). Firm Resources and Sustained Competitive Advantage. Journal of
Management, 17(1), 99-120.

Bouazza, A. B., Ardjouman, D. & Abada, O. (2015). Establishing the Factors Affecting
the Growth of Small and Medium-Sized Enterprises in Algeria. American
International Journal of Social Science, 4(2), 101-115.

Burns, P. (2016). Entrepreneurship and small business (4 th ed.). NY: Palgrave
Macmillan.

Chowdhury, M. S., Alam, Z. & Arif, M. I. (2013). Success Factors of Entrepreneurs of Small
and Medium Sized Enterprises: Evidence from Bangladesh. Business and
Economic Research, 3(2), 38-52.

Dlabay, L. R., Burrow, J. L. & Kleindl, B. A. (2015). Principles of Business (9 th ed.).
MA: South-Western Cengage Learning.

Eruemegbe, G. O. (2015). Impact of Business Environment on Organization Performance
in Nigeria – A Study of Union Bank of Nigeria. European Scientific Journal,
(November, Special Edition), 478-494.

60

Fischer, K. (2016). What Is Digital Business and Why It Matters?. [Online]. Available:

https://www.dvt.co.za/news-insights/insights/item/97-what-is-digital-business-
and-why-it-matters [2017, July 20].
Hinchcliffe, D. & Mann, S. (2015). The Element of Digital Business. [Online]. Available:
https://blogs.perficient.com/2015/02/23/the-digital-business-landscape-circa-
2015/[2017, July 20].
Komprise. ( 2017). Digital Business. [Online]. Available: https://www.komprise.com/
glossary_terms/digital-business/ [2017, July 20].
Kumar.D. & Rajeev, P.V. (2016). Value Chain: A Conceptual Framework. International
Journal of Engineering and Management Sciences. 7(1), 74-77.
Majumdar, S. & Bhattacharya, P. P. (2014). Porter Five Forces Analysis of the
Leading Mobile Cellular Telephony Service Provider in India. International
Journal of Computer Science and Mobile Computing, 3(2), 146-152.
Mariotti, S. & Glackin, C. (2014). Entrepreneurship: Starting and Operating a Small
Business (3 rd ed.). Harlow, Essex: Pearson.
Nickels, W. G., McHugh, J. M. & McHugh, S. M. (2012). Business Connecting Principles
to Practice. NY: McGraw-Hill.
Olarewaju, A. A. & Folarin, E. A. (2012). Impacts of External Business Environment on
Organizational Performance in the Food and Beverage Industry in Nigeria.
British. Journal of Arts and Social Science, 6(2), 194-201.
Paternoster, N., Giardino, C., Unterkalmsteiner, M., Gorschek, T. & Abrahamsson. P.
(2014). Software Development in Startup Companies: A Systematic
Mapping Study. Information and Software Technology, 56(10), 1200-1218.
Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior
Performance. NY: The Free Press.
. (1998). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and
Competitors. NY: The Free Press.
Pride, W. M., Hughes, R. J. & Kapoor, J. R. (2012). Business (11 th ed.). OH: South-
Western.
Rachapila, T. & Jansirisak, S. (2013). Using Porter’s Five Forces Model for Analyzing the
Competitive Environment of Thailand’s Sweet Corn Industry. International
Journal of Business and Social Research (IJBSR), 3(3), 174-184.

61

บทท่ี 2
การดำเนินงานทางธรุ กจิ
(Business Operations)

การดำเนินงานทางธุรกิจหากเป็นไปได้ด้วยดีและมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ธุรกิจมีความ
ได้เปรียบทางการแข่งขัน เจริญเติบโตก้าวหน้า รวมทั้งสามารถยืนหยดั อย่ไู ดอ้ ย่างม่ันคงและยั่งยืน ทั้งนี้
การดำเนินงานทางธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วและยากที่จะคาดเดาใน
มิติต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ฯลฯ ซ่ึงเป็นเร่ืองที่ท้าทายความสามารถในการบริหารงาน
ดังน้ันผู้ประกอบการหรือผู้ท่ีทำหน้าที่ในการบริหารธุรกิจต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้
เกี่ยวกับธุรกิจซ่ึงดูแลรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากรท่ีจำเป็นต้องใช้ และปัจจัยต่างๆ ที่มี
ความสำคัญต่อการดำเนินงาน รวมทั้งต้องเข้าใจระบบธุรกิจโดยองค์รวมและแต่ละองค์ประกอบย่อย
อีกทั้งต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ดี ดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล มี
จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนบริหารงานในแต่ละหน้าท่ีทั้งการเงินและบัญชี
การตลาด การผลิต การจัดการองค์การ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี สามารถบูรณาการ
เพ่ือเชื่อมโยงความสัมพันธ์แต่ละหน้าที่งานดังกล่าว และเป็นไปในทิศทางซึ่งสอดรับกับสถานการณ์
ทางธุรกิจทเี่ กดิ ขึ้นในยุค 4.0 เพอื่ ความสำเร็จตามเป้าหมายทางธุรกิจทตี่ ้องการ

ความร้พู น้ื ฐานในการดำเนนิ งานทางธุรกิจ

การดำเนินงานทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนสามารถดำเนิน
ธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่องและย่ังยืน ผู้ทำหน้าท่ีในการบริหารธุรกิจควรทำความเข้าใจเบ้ืองตน้ เกี่ยวกับ
วัตถุประสงค์การดำเนินงานทางธุรกิจ ทรัพยากรสำคัญที่ต้องใช้ และปัจจัยพื้นฐานสำหรับการ
ดำเนินงานทางธุรกิจในปัจจุบัน ดงั มรี ายละเอียดตอ่ ไปน้ี

วัตถุประสงค์การดำเนินงานทางธรุ กจิ
การดำเนินงานทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใด มีขนาดใด หรือจดทะเบียนใน
รูปแบบใดก็ตามน้ัน ผู้ประกอบการแต่ละคนย่อมมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปในรายละเอียด แต่มี
วตั ถปุ ระสงคห์ ลกั สำคญั ทเี่ ปน็ ไปในทศิ ทางเดยี วกนั ดงั น้ี
1. วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ (economic objectives) เป็นความมุ่งหมายของ
ผู้ประกอบการที่จะดำเนินงานให้เกิดผลลัพธ์ท่ีดีท่ีสุดต่อธุรกิจ ท้ังน้ีวตั ถุประสงค์ทางเศรษฐกิจท่ีสำคัญ
มรี ายละเอียดดงั ต่อไปนี้

1.1 เพื่อให้ธุรกิจสามารถทำกำไร (profitability) กำไรเป็นผลตอบแทน หรือ
ผลประโยชน์ท่ีผู้ประกอบการต้องการจากการลงทุนลงแรงในการดำเนินงานทางธุรกิจ ทั้งน้ีกำไรมา
จากรายได้จากการจำหน่ายสินค้าหรือการให้บริการทมี่ ีมูลค่ามากกว่าต้นทุนท่ีจ่ายไป ดังน้ันผู้ประกอบการ
จึงมุ่งดำเนินการโดยวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำให้สินค้าหรือบริการของธุรกิจจำหน่ายได้และสร้างผลกำไร
ตลอดจนย่อมต้องการเพ่ิมผลกำไรซึ่งมักทำโดยเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น หรือลดต้นทุนของธุรกิจลง

62

1.2 เพ่ือให้ธุรกิจก้าวหน้า (progress) ผลกำไรท่ีได้รับคือปัจจัยสำคัญท่ีนำไปใช้ใน
การสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ไม่วา่ จะในลกั ษณะการขยายกจิ การที่มุ่งเน้น
ความชำนาญในธุรกิจเดิมของตน หรือขยายการดำเนินงานไปยังธุรกิจประเภทอื่นท่ีเกี่ยวข้องกับธรุ กิจ
เดมิ หรอื ธรุ กิจประเภทอ่ืนซึง่ ไมเ่ กย่ี วขอ้ งกบั ธุรกจิ เดิม

1.3 เพื่อให้ธุรกิจมีความยั่งยืน (sustainability) ผู้ประกอบการย่อมต้องการให้
ธรุ กิจดำรงอยไู่ ด้อยา่ งต่อเน่ืองในระยะยาว ดังน้ันจึงต้องดแู ลเอาใจใส่ และหาวิธกี ารดำเนนิ งานที่จะทำ
ให้สินค้าหรือการบริการของธุรกิจเป็นที่ต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค สามารถจำหน่ายได้
สร้างรายได้และผลกำไรทด่ี ีอย่างต่อเน่ืองกลับมาสู่ธุรกิจ

2. วตั ถุประสงค์ทางสังคม (social objectives) เป็นความมงุ่ หมายของผปู้ ระกอบการ
ท่ีจะบริหารงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ (business stakeholders) ได้แก่
ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ คู่แข่ง ชุมชน และประเทศ ดังนั้นการดำเนินงาน
ของธุรกิจจึงต้องรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังกล่าว เช่น ผลิตสินค้าหรือให้บริการท่ีมีคุณภาพ
ในราคาท่ีเป็นธรรมแก่ลูกค้า ใช้หลักคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล ดำเนินงานอย่างโปร่งใส สามารถ
ตรวจสอบได้และเปิดเผยข้อมูลท่ีถูกต้องแก่ผู้ถือหุ้น สร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า
ไม่กล่ันแกล้ง ข่มขู่ หรือให้ร้ายคู่แข่ง ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อประเพณีและศีลธรรมอันดี
งามของสังคม คำนึงถึงสภาพแวดล้อม มีส่วนร่วมพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ฯลฯ
การให้ความสำคัญและดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ทางสังคม ย่อมช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
อย่างย่ังยืนตามวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจที่ต้องการดังกล่าวข้างต้น อาจกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ทาง
สงั คม เปน็ ความมงุ่ หมายให้ธรุ กิจดำเนนิ งานอย่างมีจรยิ ธรรมและรับผิดชอบต่อสงั คม

ในการประกอบธุรกิจนั้นเป็นท่ีแน่นอนว่าผู้ประกอบการย่อมมุ่งหวังผลกำไรเพื่อให้ธุรกิจ
สามารถดำเนินงานต่อไปได้ แต่การแสวงกำไรเพียงอย่างเดียวอาจมิใช่หลักประกันความอยู่รอดและ
การเติบโตของธุรกิจ เพราะธุรกิจเป็นองค์การหนึ่งในสังคม ต้องมีปฏิสัมพันธ์รวมทั้งได้รับประโยชน์
จากหลาย ๆ ภาคสว่ นท่เี กี่ยวขอ้ ง ดงั นน้ั ธรุ กิจต้องใหค้ วามสำคัญและมคี วามรับผดิ ชอบต่อทุกภาคส่วน
ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสังคม สภาพแวดล้อม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ เพ่ือทำให้ธุรกิจสามารถ
อยู่ร่วมกันได้กับภาคส่วนดังกล่าว และท่ีสำคัญยังเกิดประโยชน์ย้อนกลับไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์
ทางเศรษฐกจิ อยา่ งยัง่ ยืนของธุรกจิ อกี ดว้ ย

ทรพั ยากรในการดำเนินงานทางธุรกิจ
การดำเนินงานทางธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งท่ีผู้ประกอบการหรือผู้ทำหน้าที่ในการบริหาร
ธุรกิจต้องนำทรัพยากร (resources) ที่มีหรือจัดหามา และใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพมาก
ที่สุด โดยทรัพยากรท่ีสำคัญมี 4 ประการ ได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากร
สารสนเทศ และทรัพยากรทางการเงนิ (Pride, Hughes & Kapoor, 2012, p.10-11) ดังมีรายละเอียด
ต่อไปนี้
1. ทรัพยากรมนุษย์ (human resources) หมายถึง บุคคลทุกระดับต้ังแต่ผู้ใช้แรงงาน
จนถึงระดับผู้บริหารซ่ึงทำงานให้กับธุรกิจ โดยธุรกิจจ่ายผลตอบแทนการทำงานให้กับบุคคลเหล่าน้ัน
กลา่ วได้ว่าทรัพยากรมนษุ ย์นน้ั มคี ุณคา่ มากที่สุดในบรรดาทรพั ยากรทั้งปวงของธรุ กจิ เพราะทรพั ยากร

63

ประเภทอ่ืนสามารถจัดหามาได้เหมือน ๆ กัน และบริหารโดยไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน แต่ทรัพยากร
มนุษย์น้ันมีความแตกต่างเฉพาะแต่ละบุคคล มีชีวิตจิตใจ เป็นผู้ใช้ทรัพยากรอ่ืน ๆ ของธุรกิจให้เกิด
ประโยชน์ต่อการดำเนินงาน มีความยากในการบรหิ าร ดังน้นั ถ้าหากธรุ กจิ ได้บุคลากรท่ีดีและมีความรู้
ความสามารถเข้ามาทำงาน ประกอบกับธุรกิจส่งเสริมพัฒนาและบำรุงรักษาให้บุคลากรอยู่กับธุรกิจ
ไปไดน้ าน ๆ ย่อมมสี ่วนสำคัญตอ่ ประสิทธิภาพและประสทิ ธิผลของธุรกจิ

2. ทรัพยากรทางกายภาพ (physical resources) หมายถึง วัตถุดิบ อุปกรณ์ เคร่ืองจักร
ตลอดจนที่ดินและสิ่งก่อสร้างท่ีต้องใช้ในการดำเนินงานของธุรกิจ ดังน้ันผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร
ธุรกิจต้องจัดหาทรัพยากรดังกล่าวน้ีตามความจำเป็นที่ต้องการให้มีความเหมาะสมและมีคุณภาพที่ดี
ที่สุด เพื่อชว่ ยสง่ เสริมให้กจิ กรรมทางธุรกจิ มีประสิทธิภาพมากยิง่ ขึ้น

3. ทรัพยากรสารสนเทศ (information resources) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
ที่ผ่านการวิเคราะหห์ รือประมวลผล และแปลความหมายเป็นขอ้ ความที่สามารถนำไปใชป้ ระโยชน์เพื่อ
การดำเนินงานทางธรุ กิจ ทรัพยากรประเภทน้ีมีบทบาทและมคี วามสำคญั อย่างย่ิงต่อธรุ กจิ ท่ีต้องเผชิญ
กับสภาพการแข่งขันท่ีมีสูง ประกอบกับในปัจจุบันนี้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจด้านต่าง ๆ เช่น
เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค คู่แข่ง ฯลฯ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหาก
ทรัพยากรสารสนเทศของธุรกิจมีความถูกต้องแม่นยำและทันต่อเหตุการณ์ ย่อมมีส่วนสำคัญต่อการ
วางแผนและการตัดสนิ ใจเชงิ กลยุทธข์ องธรุ กจิ

4. ทรัพยากรทางการเงิน (financial resources) หมายถึง เงินทุนที่ใช้เพ่ือดำเนินงาน
ของธุรกิจ เป็นทรัพยากรสำคัญท่ีช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถจัดหาทรัพยากรอ่ืน ๆ ที่ต้องใช้ในการ
ประกอบการ (Jasra, Khan, Hunjra, Rehman & I-Azam, 2011, p. 279) กล่าวได้ว่าทรัพยากร
ทางการเงินมีความจำเป็นอย่างย่ิงต่อธุรกิจต้ังแต่การเริ่มต้นกิจการ ระหว่างการดำเนินกิจการ
ตลอดจนการขยายกิจการในอนาคต ดงั นน้ั ธุรกิจต้องพิจารณาเลือกแหล่งเงินทนุ ท่ีเหมาะสมและไมเ่ กิด
ความเสี่ยงทางการเงินมากเกินไป

ทรพั ยากรท้ังส่ีประการดังทกี่ ล่าวไว้ข้างต้นต้องนำมาใชป้ ระกอบกันในการดำเนนิ งานทาง
ธุรกิจ ขาดทรัพยากรใดทรัพยากรหน่ึงไปไม่ได้ แต่เน้นการใช้ทรัพยากรเม่ือต้องการอย่างแท้จริง
(resource on demand) ดังนั้นการวางแผนเพ่ือให้ได้มาซ่ึงทรัพยากรดังกล่าว และบริหารให้เกิด
ประโยชน์อยา่ งคุ้มค่าจึงมีความจำเปน็ อยา่ งย่ิงตอ่ การดำเนนิ ธุรกิจ

ปจั จัยพน้ื ฐานในการดำเนินงานทางธุรกิจ
ในยุคปจั จุบันที่ธรุ กจิ ต่างเผชิญกบั สภาพการแขง่ ขันที่มีสูง ดังนนั้ การทธี่ รุ กิจยงั คงอยู่
ได้อยา่ งต่อเนื่องในอตุ สาหกรรมไมว่ ่าจะเป็นประเภทใดซง่ึ ไดเ้ ข้าไปดำเนนิ การแล้ว หรือเพ่ิงเร่มิ ตน้
ดำเนินธุรกจิ ลว้ นตอ้ งอาศยั ปจั จัยพ้นื ฐานที่สำคญั 8 ประการ หรอื มกั เรียกกนั ว่า 8 Ms in
business ท้งั นปี้ จั จัยบางประการคอื ทรัพยากรในการดำเนินงานทางธุรกิจ ดังมีรายละเอียด
ต่อไปนี้
1. คน (man) คอื ทรัพยากรมนษุ ย์ทขี่ ับเคลื่อนใหอ้ งค์การธรุ กิจดำเนินงานไปได้ สามารถ
สรา้ งสรรคผ์ ลงานที่มคี ุณค่าและมลู ค่าเพมิ่ ให้กับธุรกิจจากกำลังความคดิ สติปญั ญา รวมไปถงึ กำลงั กาย

64

ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรในสถานะหรือตำแหน่งงานใดก็ตาม ตั้งแต่ผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้บริหาร
พนักงานในตำแหน่งงานต่าง ๆ รวมไปถึงบุคลากรท่ีไม่ใช่พนักงานประจำ เช่น พนักงานพาร์ทไทม์
(part-time) ท่ีทำงานแบบไม่เต็มเวลา ฟรีแลนซ์ (freelance) ซึ่งเป็นผู้รับจ้างอิสระ หรือจะเป็นในแบบ
เอาท์ซอร์ซ (outsource) ซ่ึงเป็นทีมงานของธุรกิจอื่น หรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมี
ความเช่ียวชาญเฉพาะด้านซึ่งเข้ามาทำงานให้กับธุรกิจในบางส่วนงาน หรืออาจจะทุกส่วนงาน ฯลฯ
บุคลากรท่ีไม่ใช่พนักงานประจำของธุรกิจดังกล่าว เริ่มเป็นท่ีนิยมจ้างมาเป็นกำลังคนสำคัญในการ
ดำเนินงานทางธุรกิจ เพราะสามารถจ้างงานตามความต้องการเฉพาะคราว (on-demand) ของธุรกิจ
และตัดปัญหาเรือ่ งการดูแลสวัสดิการต่างๆ โดยบุคลากรซ่ึงไม่ใช่พนักงานประจำเหล่าน้ีมกั เรยี กกันว่า
gig worker ในระบบ gig economy ซึ่งหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยงานคร้ังคราว หรือ
งานท่ีรับจ้างและจบเป็นครั้งๆ ไป ท้ังนี้จากข้อมูลของสถาบันวิจัย Brookings ในประเทศสหรัฐอเมรกิ า
ได้รายงานวา่ การจ้างงานใน gig economy กำลังเติบโตรวดเร็วย่ิงกว่าในตลาดงานประจำเสียด้วยซ้ำ
สำหรับในประเทศไทยนั้น gig economy เติบโตขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการเปิดตัวเว็บไซต์
จัดหางานสำหรับชาวฟรีแลนซ์โดยเฉพาะอย่าง Fastwork และ Freelancebay รวมทั้งแพลตฟอร์ม
ออนไลน์ใหม่ ๆ อย่างเช่น Lalamove FindMaid และ Helpster ก็เป็นส่วนช่วยให้ gig worker ใน
ประเทศไทยเพมิ่ จำนวนขึน้ อย่างรวดเรว็ (กลั ยรกั ษ์ นยั รักษเ์ สรี, 2560)

ดังนั้นเม่ือองค์การมีทรัพยากรมนุษย์พร้อมสมบูรณ์เพื่อการดำเนินงาน ส่ิงสำคัญคือ
ต้องบริหารจัดการบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะความสามารถของบุคลากรมีความสัมพันธ์
ในทิศทางเดียวกับผลตอบแทนท่ีเพ่ิมข้ึนจากการลงทุนของธุรกิจ (นฤมล สุวิมลเจริญ และปรารถนา
ปุณณกิติเกษม, 2559, หน้า 156) และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ยังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (นรเศรษฐ วาสะศิริ และณฐวัฒน์ พระงาม, 2560, หน้า 185) อีกทั้งมี
อิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (จิตรลดา ตรีสาคร,
2559, หน้า 28) กล่าวได้ว่า ทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การให้คงอยู่ต่อไป
ท่ามกลางสภาวการณ์แขง่ ขัน อีกท้ังเป็นปัจจัยนำพาองคก์ ารบรรลุเป้าหมายและความสำเร็จ (มนสิชา
อนิ ทจักร และอภญิ ญา ศักดาศิโรรตั น์, 2557, หนา้ 7)

2. เงิน (money) คือเงินทุนที่จัดหามาท้ังจากแหล่งเงินทุนภายในกิจการ และแหล่ง
เงินทุนภายนอกกิจการไม่ว่าจะเป็นเงินทุนระยะสั้นหรือระยะยาว เพ่ือใช้สำหรับการดำเนินงานธุรกิจ
ตงั้ แต่เร่มิ ต้นประกอบการในการจัดซื้อหรือจัดหาทรัพยากรต่างๆ ท่ีต้องการ และไวใ้ ช้ในกระบวนงาน
ของธุรกิจ ดังน้ันผู้ประกอบการหรือผู้ทำหน้าที่บริหารธุรกิจต้องจัดหาเงินทุนมาจากแหล่งเงินทุนท่ี
เหมาะสม และตัดสินใจนำเงินทุนไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าการลงทุน
ทั้งในลักษณะท่ีเป็นเงินทุนคงท่ี คือมีไว้สำหรับซื้อหรือไว้ใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซ่ึงสินทรัพย์ถาวรต่าง ๆ
เช่น ท่ีดิน อาคารสถานท่ี เคร่ืองจักร อุปกรณ์ ฯลฯ และในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ซ่ึงสำรองไว้
สำหรบั ใช้จา่ ยในการดำเนินธุรกจิ ในแต่ละวัน สามารถชำระหน้ีได้เม่ือถึงกำหนด ช่วยเสรมิ สภาพคล่อง
ทำให้การดำเนินงานลื่นไหลไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด หรือไม่เกิดการหยุดชะงักหากมีเหตุการณ์
จำเป็นท่ีต้องใช้เงินข้ึนมา ถ้าธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนท่ีดีย่อมเพ่ิมโอกาสทางธุรกิจได้มากขึ้น เพราะ
ธรุ กิจมีเงนิ ทุนในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือบริการมาจำหน่ายให้กับลูกค้าได้ตามต้องการ สามารถ
ชำระหนี้ได้ตรงเวลา และสร้างความน่าเช่อื ถือหรอื เครดติ ท่ดี ีให้กับธุรกจิ

65

3. วัสดุ (material) คือ วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือ ชิ้นส่วนอะไหล่ ผลิตภัณฑ์ ซึ่งนำ
มาใช้โดยตรงหรือมีส่วนสนับสนุนการผลิตสินค้าหรือบริการของธุรกิจ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ เคร่ืองใช้
สำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในแบบสำเร็จรูป หรือแบบโปรแกรม
ประยุกต์สำหรับงานเฉพาะ หรือโปรแกรมประยุกต์ท่ีเรียก แอปพลิเคชัน (application) ที่ออกแบบ
มาสำหรับอุปกรณ์เคล่อื นท่ีอย่างเชน่ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แทบ็ เล็ต อกี ทั้งวัสดุอ่นื ๆ ที่ช่วยอำนวยความ
สะดวกในการดำเนินงาน ท้ังน้ีการได้มาซึ่งวัสดุเหล่าน้ีต้องวางแผนเพื่อกำหนดคุณสมบัติให้มีความ
เหมาะสมกับการใช้งานให้มากท่ีสุด และกำหนดจำนวนที่ต้องการใช้ในช่วงเวลาหน่ึง รวมทั้งจัดหา
จัดซื้อเพื่อให้ธุรกิจได้วัสดุที่มีคุณภาพตรงตามต้องการและเพียงพอต่อการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง โดย
พจิ ารณาแหล่งซอ้ื หรอื ผูข้ ายให้ครอบคลุมในเรื่องคุณภาพสนิ ค้าหรอื บริการ ราคา ความสามารถในการ
ส่งมอบ ระยะเวลาการส่งมอบ และการให้บริการ อีกท้ังพิจารณาในเรื่องวิธีการจัดซื้อ เพราะวัสดุ
บางอย่างในปัจจุบันโดยเฉพาะซอฟต์แวร์ไม่จำเป็นต้องซ้ือมาติดตั้งลงในเคร่ืองคอมพวิ เตอร์ แตส่ ามารถ
เช่าใช้งานตามที่ต้องการทางระบบออนไลน์ ท่ีเรียก Software as a Service (SaaS) นอกจากนี้เม่ือ
ธรุ กิจได้มาซ่ึงวัสดุแล้ว ต้องตระหนักในเร่ืองการเก็บรักษา การควบคุมดูแลป้องกันความเสียหายและ
การสูญหาย เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ท่ีเก่ียวกับวัสดุซ่ึงจ่ายออกไปล้วนคือต้นทุนในการดำเนินงานของ
ธรุ กิจ

4. เครื่องจักร (machine) เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า
ไม่ว่าจะเป็นเคร่ืองจักรซ่ึงทำหน้าท่ีในส่วนใดของกระบวนการผลิตก็ตาม แต่มีส่วนทำให้วัตถุดิบหรือ
ชิน้ งานกลายเป็นสินค้าหรือบริการของธุรกิจ ท้ังนี้ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง
ไปอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ทำใหเ้ กิดนวตั กรรมด้านเคร่ืองจักรสมัยใหมท่ ่ีประยุกต์ใช้เทคโนโลยดี ิจิทัล
เช่น เป็นระบบอัตโนมัติ มีระบบการควบคุมการทำงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตท่ีสามารถเห็น
กระบวนงานท่ีเกิดข้ึนได้อย่างทันทีทันใดในแบบเรียลไทม์ (real time) ฯลฯ แน่นอนว่าการมีเคร่ืองจักร
ที่ทันสมยั ยอ่ มช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลติ ผอ่ นแรงการทำงานของบุคลากร หรือเอ้อื ต่อ
งานที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ และช่วยเพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือการบริการ ก่อให้เกิดคุณค่าเชิง
เศรษฐกิจแก่ธรุ กิจ และสง่ ผลต่อการประหยัดตน้ ทุนการผลิตไปในระยะยาว แม้ว่าในเบื้องต้นจะลงทุน
สูงก็ตาม แต่อย่างไรกด็ ีสิง่ สำคญั ในการจัดซ้ือหรือจัดหาเครื่องจักรมาใช้ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึง
ความจำเป็นของธรุ กิจ ประเมินความพร้อมของธุรกิจ เปรียบเทียบวิธีการในการได้มาซง่ึ เคร่อื งจักร ไม่ว่า
จะเป็นการซ้ือขาด การเช่า และการเช่าช้ือ รวมท้ังพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน การควบคุม
ดแู ล และการซอ่ มบำรุงรักษาเครื่องจกั รอกี ดว้ ย

5. การจัดการ (management) คือ กระบวนการทำงานหรือกิจกรรมท่ีอาศัยความรู้
ความสามารถและทักษะของผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร เพื่อทำให้งานต่าง ๆ ในองค์การประสบกับ
ความสำเร็จตามเปา้ หมายท่ีต้องการ ทั้งนี้กระบวนการจัดการจะเกี่ยวข้องกบั หนา้ ท่ีงานในการวางแผน
การจดั องค์การ การส่ังการหรอื การนำองค์การ และการควบคมุ

เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการจัดการ
ในปัจจุบันการดำเนินงานทางธุรกิจมีการแข่งขันสูง สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในด้าน
ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วภายใต้ยุคสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล ทิศทางการดำเนินงานของ
ธุรกิจต้องปรับเปลย่ี นให้เป็นธุรกจิ ดิจิทัลมากข้ึน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ช่วยเสริมงานการจัดการ

66

ให้มีความทันสมัย สะดวกรวดเร็วและคล่องตัวตามความเหมาะสมของธุรกิจ โดยเฉพาะเทคโนโลยีใน
กลุ่ม SMAC ที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมและการดำเนินธุรกิจอย่างเป็น
รูปธรรม ประกอบด้วย ส่ือสังคม (social media) อุปกรณ์เคล่ือนท่ี (mobility devices) การวิเคราะห์
(analytics) และการประมวลผลแบบคลาวด์ (cloud computing) (วิไลพร ทวีลาภพันทอง และศรัณย์
ชูเกียรติ, 2559) ดงั มรี ายละเอยี ดดังต่อไปนี้

5.1 ส่ือสังคม (social media) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศท่ีเป็นผลพวงมาจากการ
วิวัฒนาการของยุคดิจิทัล2.0 โดยสื่อสังคมอาจเป็นโปรแกรมหรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้ในการ
ติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) เครือข่ายสังคม (social network) เป็นสื่อ
สังคมที่ใช้สร้างข้อมูลส่วนบุคคล และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในสร้างข้อมูลของธุรกิจ เช่น
Facebook Google+ Instagram Twitter LinkedIn Line ฯลฯ 2) การทำงานร่วมกันทางสังคม
(social collaboration) เป็นสื่อสังคมที่ทำให้เกิดการช่วยเหลือหรือร่วมมือกันของคนในสังคม โดย
นำมาใช้เพ่ือช่วยให้พนักงานภายในธุรกิจสามารถสื่อสารระหว่างกัน หรือส่ือสารไปยังลูกค้า
ตัวอย่างเช่น chatbot ซ่ึงเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ท่ีสนทนาตอบกลับด้วยตัวอักษรโดยอัตโนมัติ
Facebook Messenger Line ฯลฯ 3) การเผยแพร่ทางสังคม (social publishing) เป็นส่ือสังคมท่ี
ใช้จัดเก็บข้อมูลเพ่ือวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ สำหรับสื่อที่เด่นมากในกลุ่มนี้ ได้แก่ YouTube และ Flickr
4) ข้อแนะนำทางสังคม (social feedback) เป็นสื่อสังคมท่ีเปิดให้มีการแลกเปล่ียนหรือแสดงความ
คดิ เห็นในประเด็นต่าง ๆ เช่น Facebook YouTube Flickr ฯลฯ (วิไลพร ทวีลาภพันทอง และศรัณย์
ชเู กียรติ, 2559)

5.2 อุปกรณ์เคล่ือนที่ (mobility devices) ในปัจจุบันการติดต่อส่ือสารระหว่างกัน
โดยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนท่ีแบบสมาร์ทโฟน และแทบ็ เล็ต ซึ่งสามารถเช่ือมต่อผ่านเครอื ขา่ ยอินเทอร์เน็ต
ไรส้ าย กลายเป็นเรื่องปกตขิ องคนในสังคมและองค์การต่าง ๆ โดยท่ัวไป ดังนั้นเพื่อให้บุคลากรสามารถใช้
งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกในการทำงาน การรับส่งข่าวสารข้อมูลภายในองค์การ การติดต่อส่ือสาร
และประสานงานระหว่างกันของบุคลากรภายในองค์การ หรือกับบุคคลภายนอกที่เก่ียวข้อง หรือติดต่อ
กับลูกค้า เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ติดขัด และทันเวลา ดังน้ันการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตแบบไร้สายให้มีเสถียรภาพเพื่อรองรับการดำเนินงานของธุรกิจจึงเป็นส่ิงจำเป็น นอกจากน้ี
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรืออื่น ๆ กลายเป็นวัสดุที่ต้องจัดซื้อไว้ใช้
ประจำส่วนงานต่างๆ ของธุรกิจเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน และสามารถรายงานผลได้ทันที
ขณะดำเนินการแบบแบบเรยี ลไทม์ นอกจากนี้ต้องมีระบบการจัดการอุปกรณ์เคล่ือนที่ (mobile device
management) เพ่ือความปลอดภัยของข้อมูลท่ีเปน็ ความลับทางธุรกิจขององค์การ

5.3 การวิเคราะห์ (analytics) เป็นลกั ษณะศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ข้อมลู ทางธุรกิจ
ท้ังนี้ในปจั จุบันจากทอี่ ปุ กรณ์ต่างๆได้ถูกเช่ือมโยงสู่โลกอินเทอร์เน็ต ดงั ที่กลา่ วกันวา่ อนิ เทอรเ์ น็ตในทกุ ส่ิง
(internet of things: IoT) ซ่ึงเป็นผลให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาล (big data) ดังนั้นการใช้ศาสตร์
แห่งการวิเคราะห์ (data analytics) โดยใช้ขอ้ มูลต่าง ๆ จากหลายแหล่งมาวิเคราะหร์ ่วมกัน ในรปู แบบ
ต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐาน แบบพยากรณ์ แบบให้คำแนะนำทางเลือก ฯลฯ ย่อมเป็น
ประโยชน์ต่อการปรับปรุงธุรกิจ โดยเฉพาะทางด้านการตลาด อีกท้ังข้อมูลเหล่าน้ีเป็นฐานที่จะนำไปสู่
ความเข้าใจทลี่ ึกซึ้งของส่ิงทเ่ี กี่ยวข้องกับธุรกจิ และพฤติกรรมผบู้ รโิ ภค (วันเพ็ญ ผลศิ ร, 2559, หนา้ 45)

67

5.4 การประมวลผลแบบคลาวด์ (cloud computing) หรือเรียกว่าระบบการ
ประมวลผลกลุ่มเมฆ จากที่ธุรกิจมีข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาล การเก็บข้อมูลท่ีดี และการลด
คา่ ใช้จ่ายในการบํารุงรักษาเครอ่ื งคอมพิวเตอรแ์ ม่ข่ายและระบบเครือข่าย จึงเปน็ สิง่ หนงึ่ ทีค่ วรคำนึงถึง
ท้ังนี้เทคโนโลยีซ่ึงตอบโจทย์ดังกล่าวและกำลังเป็นที่นิยมคือ การประมวลผลแบบคลาวด์ ซ่ึงมีข้อดี
ดังนี้ สามารถปรบั เปล่ยี นขนาดปริมาณงานตามความต้องการ รองรบั ผใู้ ชง้ านจำนวนมากได้พร้อม ๆกัน
ก่อให้เกิดความเช่ือถือในระบบไดเ้ ป็นอย่างดีเพราะผ่านศนู ย์บริการ internet data center ท่ีเชื่อถือได้
มีความปลอดภัยสำหรบั ขอ้ มูลและทรพั ยากรของระบบ มีประสิทธิภาพและมีความเสถียรสำหรับการ
ให้บริการ อีกท้ังระบบการประมวลผลแบบคลาวด์ชว่ ยเพ่ิมความประสิทธิภาพการใช้งานระบบ เพราะ
ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระบบและเข้าถึงข้อมูลได้ ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดหรือจะใช้งานในเวลาใดก็ตาม ระบบ
การประมวลผลแบบคลาวด์ยังช่วยลดค่าใชจ้ ่ายด้านการลงทนุ ในระบบทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
ของธุรกิจ รวมถึงทำให้ธุรกจิ สามารถจดั ซื้อซอฟต์แวร์หรือปรับปรุงรุ่นของซอฟต์แวร์ให้มีความทันสมัย
และช่วยลดต้นทนุ ในส่วนของสถานที่อกี ด้วย (วันเพญ็ ผลศิ ร, 2559, หน้า 43-44; เอกฉตั ร บา่ ยคลอ้ ย
และประสงค์ ปราณีตพลกรัง, 2560, หน้า 24-25)

การจัดการในยุคน้ีจึงต้องวางแผนให้ยืดหยุ่น สามารถปรับเปล่ียนเพ่ือรองรับกับการ
เปล่ียนแปลงที่เกิดขึ้น เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การในการมีส่วนร่วมและเห็นถึงความสำคัญในการ
ปรับตัวให้ก้าวทันกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เกิดข้ึน เรียนรู้และนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
ส่ือสารมาประยุกต์ใช้ เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้ธุรกิจยังคงยืนหยัดอยู่ได้ในยุคที่โลก
ขับเคล่ือนด้วยดิจิทัล หรือไม่หยุดชะงักจากการเปล่ียนแปลงที่เกิดข้ึนอันเน่ืองมาจากความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีดิจิทัล (digital disruption) จนทำให้มีนวัตกรรมใหม่ซ่ึงอาจเป็นผลิตภัณฑ์ หรือธุรกิจ
รปู แบบใหม่ หรอื อนื่ ๆ ทีส่ ง่ ผลกระทบตอ่ สนิ คา้ หรือบรกิ ารและการดำเนินงานทางธุรกิจทเี่ ปน็ อยู่

6. การตลาด (marketing) ในการดำเนินงานทางธุรกิจย่อมมุ่งหวังรายได้และผลกำไร
จากการประกอบการ ซ่ึงแน่นอนว่าแหล่งที่มาของรายได้คือการจำหน่ายสินค้าหรือบริการของธุรกิจ
ให้แก่ลูกค้า ดังนั้นสินค้าหรือบริการจะจำหน่ายได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการตลาดของธุรกิจเป็น
สำคัญ เพราะการตลาดคือการทำกิจกรรมเพื่อค้นหาความจำเป็นและความต้องการของผู้บริโภค
กลุ่มเป้าหมาย แล้วนำเสนอสื่อสารสินค้าหรือบริการท่ีมีคุณค่าของธุรกิจไปยังผู้บริโภคเพ่ือตอบสนอง
ความพึงพอใจและสร้างประสบการณ์ท่ีดี จนเกิดการแลกเปลี่ยนซ้ือขาย ขณะเดียวกันบรรลุตาม
เป้าหมายทางธุรกิจที่กำหนดไว้ การดำเนินงานทางด้านการตลาดในปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิทัล 4.0 ต้อง
ศึกษาทำความเข้าใจเก่ียวกับลักษณะผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เน่ืองด้วยความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ส่ือสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์
ตลอดจนการท่ีผู้บรโิ ภคเปล่ียนจากการเป็นผู้ซอื้ สินค้าตามทีผ่ ู้ผลิตนำมาป้อนในตลาด มาเป็นผู้บรโิ ภค
ในแบบ prosumer คือเป็นผู้บริโภคท่ีมีความเป็นมืออาชีพ กระตือรือร้นออกแบบสินค้าและบริการท่ี
เหมาะกับตัวเอง ดังนั้นการดำเนินธุรกิจจึงต้องมุ่งม่ันสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภคในยุคน้ีท่ีเต็มไปด้วย
ความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถทางด้านนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี หรือมอบ
อรรถประโยชน์และสร้างความเก่ียวพันกับผู้บริโภค สร้างปฏิสัมพันธ์และการร่วมสร้าง คือต้องทำให้
ผู้บริโภครู้สึกเป็นส่วนหน่ึงหรือร่วมพัฒนาสินค้าหรือบริการ สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภคในทุกจุด
สัมผัสกับแบรนด์ ผสานการทำตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ บริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และ

68

ดำเนินธรุ กจิ ด้วยการคดิ ดีเพ่ือสังคมส่วนรวมตามหลักคุณธรรมจรยิ ธรรม (วรรณี งามขจรกุลกจิ , 2559,
หน้า1252-1255; เสรี วงษ์มณฑา และชษุ ณะ เตชคณา, 2560, หนา้ 1-15)

7. ข่าวสาร (message) ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยกี ารส่ือสารมีความเจรญิ ก้าวหน้าเชือ่ มโยง
ผู้คนได้ท่ัวโลก ผู้คนต่างรับรู้และรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดข้ึนในท่ีต่าง ๆ เสมือนอยู่ในสังคมเดียวกัน
อย่างไร้พรมแดน ที่เรียกว่าสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ข้อมูลข่าวสารในสังคมมีมากมายไร้ขีดจำกัดผ่านทาง
สื่อตา่ ง ๆ และสามารถแสวงหาความรแู้ ละข้อมูลท่ตี ้องการได้อยา่ งง่ายดายโดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์
อีกท้ังสามารถทำ crowdsourcing คือสื่อสารเกี่ยวกับปัญหาหรือวิธีการปรับปรุงพัฒนาการดำเนิน
ธุรกิจไปยังกลุ่มคนในโลกออนไลน์ เพ่ือให้ช่วยแก้ปัญหาหรือเสนอแนะแนวทางแก่ธุรกิจ นอกจากน้ี
ข่าวสารต่าง ๆ สามารถเช่ือมโยงส่งตอ่ ถึงกัน ท้ังระหวา่ งบุคคล กลุ่มคน หรือระหว่างองค์การ ได้อย่าง
สะดวกรวดเร็ว และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมีมากมายหลายช่องทาง โดยเฉพาะผ่านทางโทรศัพท์
แบบสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตซึ่งเช่ือมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายที่เหมือนจะเป็นปัจจัยท่ีห้าในการ
ดำเนินชีวิตของผคู้ นในสังคมปัจจุบันไปเสียแลว้ ดังนนั้ ขอ้ มูลข่าวสารท่ีเกิดขึน้ มากมายในแต่ละวนั โดย
เฉพาะท่ีเกี่ยวกับวิถีการใช้ชีวิตและพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย การตลาด การแข่งขันทางธุรกิจ
เศรษฐกิจสังคม และอ่ืน ๆ ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ ท้ังการรับข้อมูลข่าวสาร
และการส่งข้อมูลข่าวสารจากธุรกิจกลับไปยังสังคม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที
(information technology : IT) ในการจัดเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล อีกทั้งผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เหล่านี้ต้องนำไปสู่แผนและการปฏิบัติการทางธุรกิจท่ีมีประสิทธิภาพ ซ่ึงจะช่วยส่งเสริมความสามารถ
ทางการแขง่ ขนั และเพิ่มโอกาสทางธรุ กิจ

8. ขวัญและกำลังใจ (morale) แม้วา่ ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจภายใต้สังคมที่เทคโนโลยี
เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ แต่ผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนางานคือบุคลากรซ่ึงเป็น
ผู้ปฏิบัติงานให้ธุรกิจ ดังน้ันการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานจึงเป็นเรื่องท่ีมีความสำคัญ
เพราะขวัญกำลังใจในการทำงาน คือความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสภาพแวดล้อม บุคคลท่ีมีขวัญดีย่อม
แสดงพฤติกรรมท่ีส่งผลดีต่อองค์การ ในทางกลับกันหากบุคคลขาดขวัญกำลังใจย่อมเกิดความท้อแท้
เบื่อหน่าย ไม่เต็มใจทำงาน ไม่อยากรับผิดชอบ และมีแนวโน้มขาดงาน (สมศักด์ิ ประเสริฐสุข, 2554,
หน้า 112) บุคลากรท่ีมีขวัญต่ำในการทำงาน ยังส่งผลให้แรงจูงใจในการทำงานลดน้อยลง และส่งผล
กระทบต่อผลิตภาพและความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจ (Shaban, Al-Zubi, Ali & Alqotaish,
2017, p.1) ทั้งนี้ปัจจัยซึ่งส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจในการทำงาน ได้แก่ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน (อรกาญจน์ ฉีดเสน และอดุล นา
คะโร, 2557, หน้า 96) ความก้าวหน้า การบังคับบัญชา และค่าตอบแทนที่ได้รับ (กริชชัย ขาวจ้อย,
แกว้ ตา ผิวพรรณ, ชชั ากร คชั มาตย์ และบัณฑิตา ขาวจอ้ ย, 2559, หนา้ 115) อีกทง้ั พบวา่ วัฒนธรรม
องค์การส่งผลกระทบต่อขวัญในการทำงานของบุคลากร และขวัญที่ดีในการทำงานนำไปสู่การมี
ประสิทธิภาพขององค์การ (Arunchand & Ramanathan, 2013, p.1) ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจึงต้องให้
ความสำคญั และส่งเสริมขวัญกำลงั ใจในการทำงานให้มแี ก่บุคลากร เพ่ือความสำเร็จในการดำเนนิ งาน

ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญทั้ง 8 ประการข้างต้นล้วนช่วยส่งเสริมการดำเนินงานทางธุรกิจใน
ยุคดิจิทัลที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่ิงสำคัญคือการปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์การ
และสภาพการณท์ างธรุ กจิ ท่เี กิดข้ึน

69

ระบบการดำเนินงานทางธุรกิจ

ระบบการดำเนินงานทางธุรกิจ (business operation system) หมายถึง องค์ประกอบ
ต่าง ๆ ท่ีมีความสัมพันธ์กันหรือต้องพ่ึงพาซึ่งกันและกันในการดำเนินงานธุรกิจ หากองค์ประกอบใด
เปล่ียนแปลงก็จะส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบอ่ืนด้วย เมื่อพิจารณาองค์ประกอบหลักของระบบการ
ดำเนินงานทางธุรกิจประกอบไปด้วย 3 ส่วน ซึ่งเช่ือมโยงต่อเน่ืองกัน ได้แก่ ส่ิงนำเข้า กระบวนการ ส่ิง
ส่งออก แต่ทั้งน้ีหากวิเคราะห์ระบบธุรกิจในลักษณะการดำเนินงานท่ีต้องควบคุมเพ่ือการพัฒนา จะมี
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องเพ่ิมอีกประการ คือ ข้อมูลย้อนกลับ ทำให้ระบบธุรกิจมีองค์ประกอบ 4 ส่วน
ได้แก่ สงิ่ นำเข้า กระบวนการ ส่งิ สง่ ออก และขอ้ มูลยอ้ นกลบั โดยมรี ายละเอยี ดดงั ตอ่ ไปนี้

1. ส่ิงนำเข้าหรือปัจจัยนำเข้า (input) คือทรัพยากรท่ีผู้บริหารธุรกิจต้องจัดหาอย่าง
เหมาะสมและเพียงพอเพื่อให้การดำเนนิ งานเป็นไปอยา่ งมีประสิทธภิ าพและประสทิ ธิผล ประกอบด้วย

1.1 ทรัพยากรมนษุ ย์ คือ ผู้ปฏบิ ัตงิ านในตำแหน่งงานต่าง ๆ ของธุรกจิ กล่าวได้ว่าเป็น
ทรัพยากรที่มีคุณค่ามากท่ีสุดในบรรดาทรัพยากรใด ๆ ของธุรกิจ เสมือนเป็นกลไกสำคัญท่ีทำให้งาน
ของธรุ กจิ ดำเนินไปได้

1.2 ทรพั ยากรทางกายภาพ คือ วัตถดุ ิบ อุปกรณ์ เคร่ืองมอื เคร่ืองจกั ร รวมทงั้ ที่ดนิ
และส่ิงก่อสร้าง ทต่ี อ้ งใชเ้ พอื่ การดำเนินธุรกิจ

1.3 ทรัพยากรสารสนเทศ คอื ขอ้ มลู ข่าวสารต่าง ๆ ท่ีเกย่ี วขอ้ งซ่งึ ผา่ นการประมวลผล
สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพ่ือการบริหารธุรกิจ ทรัพยากรประเภทน้ีมีบทบาทและย่ิงทวีความสำคัญ
มากขน้ึ ต่อการบรหิ ารธรุ กจิ ในยุคปจั จุบัน

1.4 ทรัพยากรทางการเงิน คือ เงินทุนทีใ่ ช้ตง้ั แต่เริ่มกิจการและใช้ในการดำเนนิ งาน
ท้ังนี้การจดั หาส่ิงนำเขา้ ซ่ึงเปน็ ทรัพยากรทางการเงินน้ันอาจมาจากที่มีอยู่เดิมของผปู้ ระกอบการ หรือ
อาจจดั หามาจากภายนอกกิจการ

2. กระบวนการ (process) คือ การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจมีสินค้าหรือ
บรกิ ารจำหนา่ ยไดต้ รงตามความต้องการและสรา้ งความพึงพอใจให้แกผ่ ู้บริโภค นำมาซึ่งรายได้และผล
กำไรแก่ธุรกจิ อย่างยงั่ ยืน ประกอบด้วยกจิ กรรมหลกั ดงั นี้

2.1 กิจกรรมด้านการผลิตและการดำเนินงาน เกย่ี วข้องกับการนำเอาปัจจัยการผลิต
มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดสินค้าและบริการท่ีมีคุณค่าซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการ
และสร้างความพงึ พอใจให้แก่ผู้บริโภค

2.2 กจิ กรรมด้านการตลาด เก่ียวข้องกับความพยายามในการส่ือสารถึงคุณค่าของ
ผลิตภัณฑ์หรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจและซ้ือสินค้าหรือ
บรกิ ารของธรุ กจิ

2.3 กจิ กรรมด้านการเงนิ เก่ยี วขอ้ งกบั การบริหารจัดการ และการตดั สนิ ใจทางการเงนิ
ของธุรกจิ

2.4 กจิ กรรมด้านการจัดการองค์การ เกยี่ วขอ้ งกับการวางแผน การจดั องค์การ การนำ
และการจงู ใจ รวมท้ังการควบคมุ การดำเนินงานภายในธุรกิจ

2.5 กิจกรรมด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการในส่วนท่ี
เกยี่ วขอ้ งกบั บุคลากรซง่ึ เปน็ ผู้ปฏบิ ัตงิ านของธุรกิจ

70

ท้ังนี้ธุรกิจแต่ละประเภทย่อมมีกระบวนการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว
แตกต่างกันไป และแตกต่างกันตามศักยภาพของแต่ละธุรกิจ อย่างไรก็ดีการบริหารธุรกิจต้องบูรณาการ
กจิ กรรมเหลา่ นเ้ี พ่ือให้ธุรกจิ สามารถตอบโจทยค์ วามตอ้ งการของผู้บรโิ ภค

3. ส่ิงส่งออกหรือผลผลิต (output) คือสินค้าหรือการบริการของธุรกิจท่ีออกจำหน่าย
หรือให้บริการแก่ผู้บริโภค ท้ังน้ีผู้บรหิ ารต้องพัฒนากระบวนการในการดำเนินงาน เพ่ือให้มีสินค้าหรือ
การบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค ตลอดจนสามารถ
แข่งขันไดเ้ มอ่ื เทียบเคยี งกับกจิ การอ่ืนที่ทำธรุ กิจในลักษณะเดียวกัน

4. ขอ้ มลู ยอ้ นกลับ (feedback) คือ ข้อคิดเหน็ ข้อเสนอแนะ หรือข้อสารสนเทศต่าง ๆ
ท้ังในเชิงบวกหรือเชิงลบที่เกิดขึ้นเม่ือธุรกิจผลิตผลผลิตออกมา หรือเมื่อผลผลิตซึ่งเป็นสินค้าหรือ
บริการได้ออกจำหน่ายไปยังผู้บริโภค ข้อมลู ดังกลา่ วน้ีจะย้อนกลับไปยังกระบวนการ หรือย้อนกลับไป
ยังส่ิงนำเข้า หรือข้อมูลจากกระบวนการย้อนกลับไปยังส่ิงนำเข้า เพื่อควบคุมให้การทำงานของทุก
องค์ประกอบของระบบเป็นไปตามมาตรฐานและเพื่อพัฒนาระบบให้ดีข้ึน เช่น หากผู้ประกอบการ
พบวา่ กระบวนการของกจิ กรรมบางอย่างประสบกับปัญหา หรอื ดำเนินงานไดไ้ ม่ดีเทา่ ทค่ี วร จงึ มขี ้อมูล
ย้อนกลับเพื่อไปควบคุมคณุ ภาพของส่ิงนำเข้าซึ่งก็คือทรพั ยากรท่จี ำเป็นต่อการประกอบการ หรือหาก
พบว่าผลผลติ ที่ออกมายังไม่ได้ตามมาตรฐานท่ีกำหนด ทำให้มีขอ้ มูลย้อนกลับไปที่กระบวนการและส่ิง
นำเขา้ เพ่ือนำไปสู่การปรบั ปรงุ กระบวนการ หรอื พิจารณาปรบั เปลี่ยนสิ่งนำเขา้ ฯลฯ

สภาพแวดล้อมภายนอก
(external environment)

ระบบการดำเนินงานทางธุรกิจ กระบวนการ สง่ิ ส่งออก
(business operation system) (process) (output)
-กจิ กรรมดา้ นการผลิต - สนิ ค้าหรอื บรกิ าร
สง่ิ นำเขา้ และการดำเนนิ งาน เพือ่ จำหน่ายหรือ
(input) -กิจกรรมด้านการตลาด ใหบ้ ริการแก่ผู้บรโิ ภค
- ทรพั ยากรมนุษย์ -กจิ กรรมดา้ นการเงิน
- ทรัพยากรทางกายภาพ -กิจกรรมดา้ นการจดั การ
- ทรพั ยากรสารสนเทศ องค์การ
- ทรพั ยากรทางการเงิน -กิจกรรมด้านการจัดการ
ทรัพยากรมนุษย์

ข้อมูลย้อนกลับ (feedback)

สภาพแวดล้อมภายนอก
(external environment)

ภาพที่ 2.1 ระบบการดำเนินงานทางธรุ กิจ

71

อย่างไรก็ดีทุกธุรกิจในปัจจุบันล้วนเป็นระบบเปิด ดังนั้นย่อมเก่ียวข้องสัมพันธ์กับ
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ ซ่ึงล้วนประกอบไปด้วยพลังท่ีมีอิทธิพลต่อการดำเนนิ งาน มีผลกระทบ
ต่อการตัดสินใจและกิจกรรมต่าง ๆ อีกท้ังอาจช่วยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของธุรกิจ
(จินตนา บุญบงการ, 2556, หน้า 6) เช่น ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ คู่แข่ง ลูกค้า สภาพเศรษฐกิจ กฎหมาย
เทคโนโลยี ฯลฯ สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ย่อมมีอิทธิพลท้ังในเชิงบวกและลบต่อส่ิงนำเข้า
กระบวนการ และสิ่งส่งออกของระบบธุรกิจ อีกท้ังยังเป็นแหล่งของส่ิงนำเข้าต่าง ๆ ท่ีต้องใช้ในการ
ดำเนินงาน นอกจากน้ียังเป็นแหล่งข้อมูลย้อนกลับมายังธุรกิจอีกด้วย เช่น คำแนะนำติชมจากลูกค้า
สารสนเทศเก่ียวกับพฤติกรรมผู้บริโภค รายละเอียดเก่ียวกับวัตถุดิบจากผู้ส่งปัจจัยการผลิต ฯลฯ
ข้อมูลเหล่านี้ย่อมเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการดำเนินงานทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและ
ประสทิ ธิผลมายิง่ ขึ้น

หลักพจิ ารณาในการปรบั ปรุงระบบการดำเนินงานทางธุรกิจในยุคดิจิทัล 4.0
ระบบการดำเนนิ งานทางธรุ กิจในปจั จุบนั ตอ้ งปรบั เปลย่ี นให้ทนั กับยคุ สมยั ท่ีเปลย่ี นแปลง
ไปโดยเฉพาะการเปลี่ยนผา่ นสู่ยุคดจิ ิทลั (digital transformation) เพ่ือให้ธุรกิจสามารถดำรงอยู่ไดใ้ น
อุตสาหกรรมทเี่ ข้าไปแข่งขนั และเติบโตตอ่ ไปอย่างม่ันคง การปรบั ปรุงระบบการดำเนินงานทางธุรกิจ
มีหลักพิจารณาพื้นฐานสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ ปัญหา การเปลี่ยนแปลง สิ่งประดิษฐ์ การแข่งขัน และ
ความก้าวหนา้ ทางเทคโนโลยี (Mariotti & Glackin, 2014, p.14) ดงั มีรายละเอียดต่อไปนี้
1. ปัญหา (problems) ผู้บริหารธุรกิจต้องพยายามมองปัญหาที่เกิดข้ึนของผู้คนในสังคม
และสถานการณ์สภาพแวดล้อมที่ปรากฎในปัจจุบัน มาเป็นโจทย์หรือมาเป็นไอเดียในการทำธุรกิจ
หรือออกแบบสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ หรือปรบั ปรุงสินคา้ หรอื บริการเดิม เพื่อแกไ้ ขปัญหาความยุ่งยาก
ต่างๆ ให้กับผู้บริโภค เช่น ธุรกิจ Dropbox มาช่วยแก้ปัญหาการเก็บไฟล์ข้อมูลจำนวนมากให้เป็น
ระเบียบและสามารถแบ่งปนั ไฟล์ไปให้ผูอ้ ่ืนได้อย่างงา่ ยดาย ธุรกิจ Uber และธรุ กิจ GrabTaxi เกิดข้ึน
จากการแก้ปัญหาการหาแท็กซี่ยากของผู้ที่ต้องการเดินทาง และแก้ปัญหาความต้องการรายได้เพ่ิม
ของคนที่มีรถยนต์ส่วนตัว จึงกลายเป็นธุรกิจให้บริการแท็กซี่รายใหญ่ในทุกวันนี้ ธุรกิจ Amazon
home services ที่แก้ปัญหาเร่ืองการหาช่างมาซ่อมแซมบ้าน หรือซ่อมและประกอบอุปกรณ์เครื่องใช้
ในบ้าน และงานอื่น ๆ ท่ีเก่ียวกับบ้าน ธุรกิจ Foodpanda และธุรกิจ LINEMAN ที่แก้ปัญหาให้กับผู้คน
ที่ต้องการทานอาหาร แต่ไม่อยากเดินทางไปซ้ือ จึงเกิดเป็นบริการรวมเมนูจากร้านอาหารต่างๆ ที่มา
เป็นคู่ค้าและบริการจัดส่งอาหารถึงลูกค้าผู้สั่ง ธุรกิจสตาร์ทอัพสัญชาติไทยอย่าง Skootar Driver ที่
แก้ปัญหาการหาแมสเซ็นเจอร์ส่งเอกสารให้กับธุรกิจโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ธรุ กจิ
Health at Home แก้ปัญหาการหาคนมาดแู ลผู้สงู อายุและคนไข้ ฯลฯ
2. การเปลี่ยนแปลง (changes) ในการดำเนินงานทางธุรกิจต้องพิจารณาถึงการ
เปล่ียนแปลงต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึน โดยเฉพาะในเรื่องข้อบังคับทางกฎหมาย สถานการณ์ต่าง ๆ แนวโน้ม
พฤติกรรม วิถีการใช้ชีวิตและความนิยมของผู้บริโภค เพื่อให้การดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย
เป็นที่ยอมรับในสังคม และปรับกระบวนการให้บริการหรือนำเสนอสินค้าให้สอดรับกับความต้องการ
และพฤติกรรมของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการเพ่ิมช่องทางจำหน่ายสินค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
หรือที่เรียกกันว่า อีคอมเมิร์ซ (e-commerce) เช่น เว็บไซต์ของธุรกิจ เว็บไซต์ที่ให้บริการร้านค้า

72

ออนไลน์หรือเป็นคนกลางจำหน่ายสินค้า อาทิ Lazada Shopee LnwShop หรือผ่านทางโซเชียล
คอมเมิร์ซ (social commerce) ทั้งเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook และการขาย
ผา่ นโมบายแอปพลเิ คชนั เช่น Line Instagram ฯลฯ การเพิ่มช่องทางการชำระเงนิ เช่น QR payment
โดยธุรกิจมี QR Code เพื่อรับชำระเงินจากลูกค้าโดยลูกค้าไม่ต้องพกเงินสด การชำระด้วยบัตรเดบิต
บัตรเครดิต พร้อมเพย์ (PromptPay) การชำระเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-banking ฯลฯ
การสร้างช่องทางให้ลูกค้าได้แสดงความคิดเห็นในลักษณะชุมชนของแบรนด์ธุรกิจ การสื่อสาร
การตลาดผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์ เช่น ป้ายประกาศ สื่อสังคมออนไลน์ อีเมล
โมบายแอปพลิเคชนั ฯลฯ

3. สิ่งประดิษฐ์ (invention) ในที่น้ีหมายถึง สินค้าหรือการบริการของธุรกิจที่ต้องมี
รปู แบบใหม่ ๆ เพ่อื ดงึ ดดู ใจและสรา้ งความพึงพอใจใหแ้ ก่ผูบ้ รโิ ภค เชน่ สินคา้ ในเชงิ นวัตกรรม สินคา้ ท่ี
ออกแบบเฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่มบุคคล หรือเฉพาะสำหรับธุรกิจประเภทหน่ึง ๆ ฯลฯ หรือการบรกิ าร
ในรูปแบบใหม่ นอกจากน้ีรวมไปถึงการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ (new business model) ใน
ลักษณะเศรษฐกิจแบ่งปัน (sharing economy) ได้ประโยชน์ร่วมกันสามฝ่ายทั้งลูกค้าผู้ใช้บริการ
ผู้ให้บริการ และธุรกิจที่สร้างแพลตฟอร์ม (platform) ซึ่งเสมือนเป็นคนกลางเชื่อมระหว่างลูกค้า
ผู้ใชบ้ ริการและผใู้ ห้บริการ ตวั อย่างเช่น Airbnb ธุรกิจซ่ึงเป็นตัวกลางจับคเู่ จ้าของบา้ นท่วั โลกทีม่ พี ้ืนท่ี
ว่างตอ้ งการปล่อยเช่าให้กับนักท่องเที่ยวท่ีหาท่ีพัก Uber และ Grab ธุรกิจบริการรถขนส่งสาธารณะ
เรียกผ่านแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ โดยที่ Uber และ Grab ไม่ได้เป็นเจ้าของรถแม้แต่คันเดียว
Alibaba ธุรกิจตัวกลางค้าปลีกและค้าส่งในลักษณะ e-commerce ที่ใหญ่ท่ีสุดในโลก Ginja (กินจ๊ะ)
ธุรกิจบริการรับสั่งอาหารจากร้านอาหารชื่อดังผ่านทางออนไลน์และจัดส่งให้กับลูกค้าในบางย่านของ
กรุงเทพฯ ฯลฯ

4. การแข่งขัน (competition) ผู้บริหารต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
ทางธุรกจิ และแนวโนม้ กระแสสังคมทส่ี ง่ ผลตอ่ ธรุ กิจมาใช้ให้เกดิ ประโยชน์ในการดำเนินงาน ตลอดจน
ปรับปรุงพฒั นาระบบการดำเนนิ งานภายในของธรุ กจิ ไม่ว่าจะเป็นงานดา้ นการผลิต การตลาด การเงิน
และบัญชี และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความทันสมัยสอดรับกับสถานการณ์ทางธุรกิจท่ี
เกิดข้ึน และเลือกนำเทคโนโลยีมาใช้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมในกระบวนงานดังกล่าว
เพื่อให้สินค้าหรือการบริการของธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการ วิถีการใช้ชีวิต และพฤติกรรม
การซื้อสินค้าของลูกค้า รวมท้ังเกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านต่าง ๆ เช่น นวัตกรรม ความ
รวดเร็ว คณุ ภาพ ราคา ฯลฯ

5. ความก้าวหนา้ ทางเทคโนโลยี (technological advances) ในยคุ ดิจิทัลปัจจบุ ันน้ี
มีการคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆ ออกมากมาย ผู้ประกอบการหรือผู้ทำหน้าท่ีบริหารธุรกิจต้องเลือกนำเอา
เทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อระบบการดำเนินงานทางธุรกิจ ต้ังแต่การนำเข้าปัจจัย
การผลิต กระบวนการภายใน ตลอดจนส่งสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้า เพ่ือให้ธุรกิจมีสินค้าหรือการ
บริการทตี่ รงกับความต้องการ หรือเหนือความคาดหวังของผู้บริโภค ตัวอย่างเทคโนโลยีทน่ี ิยมใช้กนั ใน
ปัจจุบัน เช่น เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวต้ิง(cloud computing) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ
จัดการโซ่อุปทาน การใช้เทคโนโลยีสำหรับการผลิตท่ีเป็นอัตโนมัติ การใช้เทคโนโลยีสามมิติเพื่อการ

73

ออกแบบสินค้า การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และโมบายแอปพลิเคชัน เข้ามาใช้ในการบริหารงาน
ภายในและงานดา้ นการตลาด ฯลฯ

โดยสรุประบบการดำเนินงานทางธุรกิจประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่ิง
นำเข้า กระบวนการ และสิ่งส่งออก แต่ถ้าหากพิจารณาระบบในลักษณะของการทำงานทีต่ ้องควบคุม
ให้ไดม้ าตรฐานหรือเพื่อการปรับปรุงพัฒนา องค์ประกอบของระบบจะมดี ้วยกัน 4 ส่วน คือ สิ่งนำเข้า
กระบวนการ สงิ่ ส่งออก และข้อมูลย้อนกลับ อย่างไรก็ดีธุรกิจเป็นระบบเปิด ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึง
ส่งิ แวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลทั้งเชิงบวกและลบที่มีต่อระบบธุรกิจอีกด้วย นอกจากน้ีผู้บริหารธรุ กิจ
ยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกิดข้ึนและหาทางปรบั ปรุงระบบธุรกิจ โดยมี
หลักพ้ืนฐานในการพิจารณา5 ประการ ได้แก่ ปัญหา การเปลี่ยนแปลง สิ่งประดิษฐ์ การแข่งขัน และ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพ่ือสรา้ งโอกาสในการประกอบการผา่ นสินค้าหรอื บรกิ ารต่าง ๆ อันเป็น
ผลผลิตของระบบการดำเนินงานทางธุรกิจ รวมทั้งเพื่อสร้างความม่ันคงแก่ธุรกิจไม่ให้ตกอยู่ในสภาวะ
ที่ถูกทำให้หยุดชะงักจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (technology disruption) หรือการที่ธุรกิจไม่
สามารถปรบั เปลีย่ นให้ทันกับยุคสมัยท่ีเปล่ียนไป หรือถกู ธรุ กจิ อนื่ ซงึ่ ดำเนนิ ธุรกิจในรปู แบบใหม่เข้ามา
แขง่ ขนั (disruptive challenge)

การดำเนินงานทางธรุ กิจในยคุ 4.0

การดำเนินงานทางธุรกิจในยุค 4.0 ต้องศึกษาทำความเข้าใจเก่ียวกับสถานการณ์ต่าง ๆ
ที่เกดิ ขึน้ จากการเปลย่ี นแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกในปัจจบุ ัน ซ่ึงเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญ
อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ดังน้ันธรุ กิจต้องสามารถเลือกนำจุดเปล่ียนที่เป็นโอกาสมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ต่อการดำเนินงาน และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่มีแนวโน้มจะเป็นภัยคุกคาม เพื่อนำพาธุรกิจให้
อยู่รอดได้และเดนิ หน้าตอ่ ไปไดอ้ ย่างม่นั คง

สถานการณ์ทางธรุ กิจในยคุ 4.0
ในยุค 4.0 ทุกวันน้ี สถานการณ์หรือสภาพท่ีเป็นอยู่ หรือสภาพท่ีกำลังเป็นไปทางธุรกิจได้
แตกต่างออกไปจากเดิมในประเด็นหลัก ได้แก่ สภาพแวดล้อมท่ีมีความพลวัต สภาพการแข่งขันที่รุนแรง
ความไม่มั่นคง การแพร่กระจายไปท่ัวโลก การสร้างเครือข่าย และตลาดของอุปสงค์ (Wirtz, 2016, p.82)
การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมของการดำเนินธุรกิจชุดใหม่ และ
ธรุ กิจรูปแบบใหม่ ดังมรี ายละเอยี ดต่อไปนี้
1. สภาพแวดล้อมท่ีมีความพลวัต (dynamic environment) การดำเนินธุรกิจใน
ปัจจุบันเปลี่ยนจากแบบเดิมซึ่งมีสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ค่อนข้างคงท่ี ไม่หวือหวา เรียบง่าย เปล่ียนไป
เปน็ สภาพแวดล้อมทางธรุ กจิ ที่มีความพลวัต คอื เปล่ยี นแปลงอย่ตู ลอดเวลา รวดเร็ว และสลบั ซับซ้อน
จนยากทจ่ี ะคาดเดา
2. สภาพการแข่งขันท่ีรุนแรง (high intensity of competition) เปลย่ี นจากสภาพ
การแข่งขันของการดำเนินธุรกิจแบบเดิมที่ไม่ได้มีความรุนแรงมากนัก มาเป็นสภาพการแข่งขันท่ีมี
ความรุนแรงและเข้มข้นมากขนึ้ สืบเน่ืองมาจากท่ีเทคโนโลยเี ปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมของผู้บริโภค
ปรับเปล่ียนไปจากเดิม ทำให้แต่ละองค์การธุรกิจพยายามปรับวิถีการดำเนินงานด้วยการใช้ความคิด
สร้างสรรค์ การเลือกนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนงาน การนำเสนอสินค้าหรือบริการแบบใหม่ ๆ ผ่าน

74

ชอ่ งทางตา่ ง ๆ ทตี่ รงกับพฤตกิ รรมผบู้ ริโภคในปัจจุบัน ประกอบกับในปัจจุบนั ตลาดเปิดกวา้ ง คแู่ ข่งจึง
ไมจ่ ำกัดอย่แู คใ่ นพื้นทตี่ ั้งธุรกิจแต่มมี ากมายและเกิดข้ึนอย่างรวดเรว็ ท่วั ทกุ มมุ โลก

3. ความไม่มั่นคง (insecurity) ในอดีตการทำธุรกิจค่อนข้างมีความม่ันคง แต่ในโลก
ยุค 4.0 ความม่ันคงทางธุรกิจมีลดน้อยลง เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่เปล่ียนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ประกอบกับการแข่งขันท่ีรุนแรงมากข้ึนในทุกแวดวงธุรกิจ หากผู้บริหารธุรกิจไม่สามารถปรับการ
ดำเนินงานให้สอดรับกับการเปล่ียนแปลงต่าง ๆ ไม่สามารถควบคุมต้นทุนให้ลดต่ำลง ไม่มีจุดขาย
สำหรบั สินค้าหรือบริการ หรือขาดความโดดเด่นหรือความแตกต่างไปจากคู่แข่ง ย่อมไม่สามารถจูงใจ
และสรา้ งความพงึ พอใจแกผ่ บู้ รโิ ภค จงึ เปน็ การยากที่จะยืนหยัดอยู่ในวงการธรุ กิจไดอ้ ย่างม่ันคง

4. การแพร่กระจายไปทั่วโลก (globalized) จากสภาพธุรกิจแบบเดิม ๆ ที่ติดต่อค้าขาย
ทำธุรกรรมกันภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศ แต่ในปัจจุบันนี้ตลาดกว้างขวางขึ้นในสภาพท่ีไร้
พรมแดน อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร และการคมนาคม
ขนสง่ เรียกไดว้ ่าเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ (globalization) ทำให้ธุรกจิ สามารถขยายตลาดไปยังผูบ้ รโิ ภคได้
ทั่วโลก และสังคมในโลกใบนี้เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ผู้คนสามารถติดต่อระหว่างกันได้อย่างสะดวก
รวดเร็ว การกระจายความเจริญเป็นไปอย่างกว้างขวาง การรับรู้ข่าวสาร ค่านิยม ทัศนคติ พฤติกรรม
และการใช้ชีวิตของของประชาคมโลกเป็นไปในลักษณะท่ีคล้ายคลึง นอกจากนี้หากเกิดการเปลี่ยนแปลง
ในมิติใดๆ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ประชาคมโลกย่อมได้รับ
ผลกระทบรว่ มกนั จากการเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึ้น อีกทั้งเกดิ เสรีในการเคล่ือนไหลของทุน สินค้าบริการ
และผู้คน จนเป็นโลกที่เช่ือมต่อกันอย่างสนิท (connected world) จากท่ีกล่าวกันว่า หนึ่งประเทศ
หน่ึงจุดหมาย (one country, one destiny) เป็นหนึ่งโลก หน่ึงจุดหมาย (one world, one destiny)
(กองบริหารงานวจิ ัยและประกันคุณภาพการศึกษา, 2559, หนา้ 4) นอกจากน้ีจากกระแสโลกาภิวัตน์
ทำให้แนวโน้มการดำเนินงานทางธุรกิจปรับเปลี่ยนไป โดยมุ่งให้ความสำคัญในเร่ืองเทคโนโลยี ข้อมูล
ข่าวสาร ตลาดเพื่อโลกสเี ขียว ธุรกิจครบวงจร การแข่งขันแบบเสรี การสร้างภาพลักษณ์ การบรกิ ารท่ี
สมั ผสั ได้ การพัฒนาคณุ ภาพคน และจรรยาบรรณวิชาชีพ (จินตนา บุญบงการ, 2556, หนา้ 6)

5. การสร้างเครือข่าย (networking) แนวโน้มการสร้างเครือข่ายธุรกิจมีเพิ่มมากขึ้น
เน่ืองมาจากในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจโดยลำพังไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความช่วยเหลือ การพ่ึงพา
เกื้อหนุนจากหลาย ๆ ฝ่าย จึงต้องมีเครือข่ายทางธรุ กิจที่ดี ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งปัจจัยการผลิต คู่ค้า หน่วยงาน
ภาครัฐ และลกู คา้ โดยนิยมสร้างเครือข่ายในลักษณะชุมชน หรือเป็นสมาชิกของแบรนด์ธุรกิจ นอกจากน้ี
คือผู้จำหน่ายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับธุรกิจท่ีดูเหมือนเป็นคู่แข่งขัน แต่รวมกลุ่มเป็นเครือข่าย
พันธมิตรช่วยเหลือร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกันในทางธุรกิจ เช่น สมาคมค้าทองคำ สตาร์อัลไลแอนซ์
(Star alliance) ซ่ึงเป็นเครือข่ายพันธมิตรสายการบินขนาดใหญ่ท่ีสุดในโลก การเป็นพันธมิตรระหว่าง
WeChat และ Facebook ฯลฯ ดังคำกล่าวที่ว่า“การแข่งขันอาจไปได้เร็ว แต่ความร่วมมือกันไปได้ไกล
(competition makes us faster but collaboration makes us better)” หากธุรกิจมีเครือข่ายที่ดี
ย่อมช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจ ช่วยสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ
เอ้ือให้ธุรกิจตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
ย่งิ ข้ึน

75

6. ตลาดของอุปสงค์ (market of demand) การดำเนินธุรกิจในยุค 4.0 เปล่ยี นจาก
แบบเดิมที่เนน้ ตลาดของการผลิต (market of production) คือ ตลาดท่ีมีความต้องการสินค้าท่ธี ุรกิจ
ผลิต เปลี่ยนมาเป็นตลาดของอุปสงค์ คือตลาดท่ีมีความต้องการสินค้าซ่ึงเกิดจากตัวผู้บริโภค ดังน้ันผู้
บริหารธุรกิจต้องศึกษาถึงความต้องการสินค้าหรือบริการของตลาดก่อน ให้ความสำคัญกับผู้บริโภค
เป็นหลัก เพ่ือผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง รวมทั้งสื่อสารไปยังผู้บริโภคในลักษณะ
omni channel คือ ผสมผสานทั้งช่องทางที่เป็นออฟไลน์ด้วยการขายหน้าร้าน และช่องทางออนไลน์
ไม่วา่ จะเป็นอีคอมเมิร์ซ (e-commerce) หรือผ่านทางโซเชียลคอมเมิร์ซ (social commerce) เพอ่ื ให้
สนิ ค้าหรือบริการของธุรกจิ เขา้ ถึง สามารถสร้างประสบการณท์ ดี่ ี และมดั ใจลกู คา้ ให้ไดม้ ากทส่ี ดุ

7. การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (digital transformation) ในยุคซ่ึงโลกขับเคล่ือนด้วย
เทคโนโลยีดิจิทัล (digital technology) อย่างเต็มตัว และเทคโนโลยีน้ียังคงเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
และต่อเนื่อง เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทอย่างมากมายกับทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้งเป็นแรงผลักดันที่
บังคับให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัว ยิ่งภาคธุรกิจจำเป็นอยา่ งย่ิงท่ีจะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปล่ียนผ่านสู่
ดจิ ิทัล นิยามของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล คือ การเร่งกิจกรรม กระบวนการ ขีดความสามารถและ
รปู แบบทางธรุ กิจเพ่อื ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงและโอกาสของเทคโนโลยีดิจิทัลและผลกระทบ
ที่เกิดขึ้นในเชิงกลยุทธ์ รวมทั้งต้องก้าวให้ทันกันกับการพลิกโฉมดิจิทัล เพ่ือความสามารถทางการ
แข่งขนั ภายใตส้ ภาพแวดล้อมทางธรุ กจิ ท่ีพฒั นาไปอย่างรวดเรว็ (เศรษฐพงษ์ มะลิสวุ รรณ, 2560, หนา้ 7)
กล่าวได้ว่าใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงธุรกิจให้มีความพร้อมใน
โลกดิจิทัลมากข้ึน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกระบวนงาน ช่องทางการติดต่อกับลูกค้า หรือการบริการ
ฯลฯ อยา่ งไรก็ดีการเปล่ียนผ่านสู่ดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบของธุรกจิ นอกจากการนำเทคโนโลยีมา
ใช้แล้ว สิ่งสำคัญคือการวางยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์การ รวมถึงการมีวิสัยทัศน์
ของผู้นำซึ่งก้าวข้ามแบบแผนทางธุรกิจแบบเดิม ๆ ย่ิงในปัจจุบันการแข่งขันมีสูง การเปล่ียนผ่านสู่
ดิจิทลั ของธรุ กิจ คอื ส่วนสำคัญในการสรา้ งศกั ยภาพในการแข่งขนั ทำใหธ้ ุรกจิ ดำเนินไปได้อย่างเทา่ ทัน
เทคโนโลยีและสามารถพัฒนาไปสู่สิ่งที่ลูกค้าคาดหวังได้ (เอาเวอร์กรีนฟิช, 2560) เพ่ือโอกาสทาง
ธุรกิจและความอยู่รอด ในปัจจุบันหลาย ๆ ธุรกิจได้ปรับตัวจากการทำการค้าแบบเดิม (traditional
trade) มาสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การให้บริการลูกค้าซ้ือสินค้าหรือบริการผ่านทางส่ือสังคม
ออนไลน์ บริการทำธรุ กรรมทางการเงินผ่านทางแอปพลเิ คชนั ในสมาร์ทโฟน ฯลฯ

8. พฤติกรรมผู้บริโภคเปล่ียนแปลง (changes in consumer behaviors) จากความ
เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ทำให้การใช้ชีวิตของผู้บริโภคเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
อินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การติดต่อกันในสังคม การสืบค้นข้อมูล การเลือกซื้อสินค้า
เดนิ ทาง ท่องเทีย่ ว ฯลฯ จนเรยี กกันวา่ วิถกี ารดำเนินชวี ิตดจิ ิทัล (digital lifestyle) สาเหตุหลักมาจาก
ความสะดวกในการเช่ือมต่อกับเครือข่ายส่ือสารไร้สายเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านเครือข่าย Wi-Fi และ
เครือข่ายโทรศัพท์เคล่ือนที่ อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าผู้บริโภคทุกคนจะต้องเช่ือมต่อออนไลน์
ตลอดเวลา แต่สะท้อนว่าข้อจำกัดการใช้ชีวิตลดน้อยลงกว่าในอดีตมาก ธุรกิจจึงต้องมีช่องทางเข้าถึง
ผู้บริโภคโดยเฉพาะการผ่านโลกออนไลน์ อีกทั้งผู้บริโภคมีช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลหลากหลาย มี
ตัวเลือกของสินค้าและบริการที่มากมายจากหลายธุรกิจ และการพัฒนาของเทคโนโลยีท่ีรวดเร็วมาก
ทำให้นวัตกรรมหรือสินค้าใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดถูกสินค้าหรือบริการอ่ืนพัฒนาข้ึนมาท้าทายได้อย่าง

76

รวดเร็ว ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของธุรกิจก่อนที่จะถูกคู่แข่งเข้ามาแย่งส่วน
แบ่งการตลาดหรือถึงข้นั ทำลายฐานผู้บริโภคเริ่มสั้นลงเร่อื ย ๆ นอกจากนี้ผู้บรโิ ภคมีปากมีเสียงมากขึ้น
ผู้บริโภคใช้การเช่ือมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตในการสร้างกระแสการบริโภค ประกอบกับการเชื่อมต่อ
ระหว่างกันของผู้คนในสังคมด้วยแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือโซเชียลเน็ตเวิร์กที่มีอยู่
หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook Line Instagram ฯลฯ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์เน้ือหาข้อมูล
ธรุ กิจ (content) ในหมู่ผ้คู นไดท้ ั่วโลก และเกดิ ปรากฏการณ์แพร่ข้อมลู แบบไฟลามทุ่ง (viral) ไดอ้ ย่าง
รวดเร็ว จนบ่อยคร้ังมากท่ีผู้บริโภคกลายเป็นผู้กำหนดและเรียกร้องว่าตนต้องการสินค้าและบริการ
ประเภทใด แนวโน้มท่ีเกิดขึ้นเช่นน้ีจะรุนแรงและชัดเจนข้ึนเรื่อยๆ ทำให้การดำเนินงานทางธุรกิจยาก
ขึ้น เพราะไม่สามารถใช้อำนาจของสื่อโฆษณาในการชักจูงจิตใจของผู้บริโภคง่ายๆ ได้เหมือนในอดีต
(ไพโรจน์ ไววานชิ กิจ, 2560, หน้า 574)

9. วัฒนธรรมของการดำเนินธุรกิจชุดใหม่ (new cultures of business operation)
กล่าวคือ ในอดีตการประกอบธุรกิจ ยึดติดกับหลักการ economies of scale คือยิ่งผลิตมากเท่าไร
ต้นทนุ ย่ิงถูกลงเท่านัน้ ซือ้ มากเท่าไร ราคายิ่งถูกลงมากเท่านัน้ แต่ ณ วนั น้ีโลกได้เปล่ียนแปลงไปในยุค
ดิจิทัลซึ่งเอ้ือให้ธุรกิจขนาดไม่ใหญ่อย่างเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ มีโอกาสทางธุรกิจและเติบโตมากขึ้น
สบื เนื่องมาจากปัจจัยต่อไปนี้ 1) เศรษฐกิจนวัตกรรมแบบเปิด (open innovation economy) กระแส
เศรษฐกิจลักษณะน้ีอยู่บนหลักคิด NEA ประกอบด้วย N: nobody owns คือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของท่ี
แท้จริง E: everybody can use it คือทุกคนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ได้ และ A: anybody can
improve it คือ ใคร ๆ ก็สามารถเข้าไปแก้ไขและปรับปรุงให้ดีข้ึนได้ 2) เศรษฐกิจแบ่งปัน (sharing
economy) แนวคิดนี้เน้นใช้พลังความร่วมมือกันทำธุรกิจผ่านสิ่งของหรือบริการของฝ่ายหนึ่ง หรือ
ผา่ นแพลตฟอร์มของอกี ฝา่ ยหน่ึงทำให้เกดิ รูปแบบสินค้าและบรกิ ารใหม่ๆ ท่ีตอบรับความต้องการของ
ผู้คนในวงกว้าง ได้ประโยชน์ทั้งผู้สร้างแพลตฟอร์ม ผู้ให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม และผู้ใช้บริการซ่ึงก็
คือลูกค้า ตัวอย่างธุรกิจตามแนวคิดนี้ เช่น ธุรกิจ Uber และ Grab ท่ีมาในรูปบริการรถโดยสารของ
คนที่มีรถยนต์ท่ัวไปให้กับผู้ใช้บริการคือผู้คนที่ต้องการเดินทางในเวลาน้ัน โดยผ่านแอปพลิเคชันของ
Uber หรือ Grab จากในโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจ Airbnb ซ่ึงบริการท่ีพักจากเจ้าของบ้านที่ต้องการหา
รายได้โดยเปิดบริการท่ีพักช่ัวคราวให้แก่นักท่องเท่ียวฯลฯ และ 3) กระแสเศรษฐกิจทำได้ด้วยตัวเอง
(do it yourselves economy) หรือเรียกกันว่า DIY ทำให้ผู้สร้างและผู้ซ้อื แยกกนั ไมอ่ อกเหมือนอยา่ ง
ในอดีต จงึ เกิดคำว่า prosumer คือบริโภคสามารถเป็นทั้งผู้ผลิต (producer) และผู้บริโภค (consumer)
ในเวลาเดยี วกัน ดังนั้นการทำธุรกิจในยคุ นี้เรม่ิ จากการคิดค้นนวัตกรรมเพ่ือสรา้ งมูลค่าผ่านนวตั กรรม
ในผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมในกระบวนการผลิต และนวัตกรรมเชิงธุรกิจ เป็นสำคัญ กระบวนทัศน์การ
ประกอบธุรกิจในยุคนี้คือ การดูแลและแบ่งปัน (care&share) (กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพ
การศึกษา, 2559, หน้า 5-6)

10. ธุรกิจรูปแบบใหม่ (new business model) ในทุกวันนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคที่
เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก โดยการเปล่ียนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วอย่างหาจุดส้ินสุดไม่ได้ เกิดการ
เปล่ียนแปลงอย่างพลิกผันด้วยดิจิทัล (digital disruption) หรือการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันที
ด้วยดิจิทัล เป็นการเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาข้ึนถึงจุดท่ีสร้างนวัตกรรมใหม่
ให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นได้ทั้งผลิตภัณฑ์ แพลตฟอร์ม หรือโมเดลธุรกิจ ซ่ึงเปล่ียนแปลงไปจากเดิมอย่าง

77

ส้ินเชิง มีความทันสมัยและทรงพลังมากกว่าเดิม ส่งผลกระทบต่อการหยุดชะงักลงของผลิตภัณฑ์
แบบเดิม หรือธุรกิจซึ่งมีแบบแผนการดำเนินงานแบบเดิม (traditional business) เน่ืองจากธุรกิจ
รูปแบบใหมซ่ ่ึงใช้ดิจิทัล เขา้ ถึงลูกคา้ ได้ง่ายข้ึน สอดรับกบั พฤตกิ รรมผู้บริโภคในปจั จุบัน และใช้ต้นทุน
ไม่มาก อีกทั้งยังใช้เวลาไม่นานก็สามารถทำลายล้างธุรกิจเดิมท่ีไม่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ถ้า
หากธรุ กิจแบบเดิมน้ันไม่ปรบั ตัว จงึ เห็นได้ว่าในยุคนี้เป็นชว่ งเวลาการเปลยี่ นแปลงอย่างฉับพลัน (the
age of disruption) กล่าวกนั วา่ เปน็ ยุคแหง่ การทำลายลา้ งเพือ่ การสร้างสรรค์

การเปล่ยี นแปลงแบบผลิกพันด้วยดิจทิ ัล แบ่งออกเปน็ 3 ประเภทหลกั ตามส่ิงทีเ่ ข้า
ไปเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) เปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาด (transformation of market demand)
คอื ทำให้เกิดความตอ้ งการซ้อื สินคา้ หรือบริการท่ีเกิดขึ้นใหม่มากกว่าท่ีมีอยู่เดมิ และเคยเป็นท่ีตอ้ งการ
เช่น ฟิล์มสีโกดักส์ต้องเลิกผลิตไปเพราะการมาของกล้องดิจิทัล โทรศัพท์เคลื่อนท่ีแบบเดิมถูกแทนท่ี
ด้วยสมาร์ทโฟน การใช้แอปพลิเคชันเรียกรถ เช่น Uber แทนการโบกรถเรียกแท็กซ่ี ร้านเช่าวิดีโอ
ได้ถูกแทนที่ด้วยบริการให้เช่าวิดีโอออนไลน์อย่างเช่น Netflix ฯลฯ 2) เปลี่ยนแปลงการซ้ือขายและ
จ่ายเงิน (transformation of shopping and purchase) เดิมการซ้ือขายอิงกับเวลาและสถานท่ี อีกท้ัง
ต้องจ่ายเงินสด แต่ในปัจจุบันข้อจำกัดในเร่ืองดังกล่าวได้หายไป ลูกค้าสามารถซื้อขายผ่านออนไลน์
และจ่ายเงินออนไลน์ได้ รวมถึงมีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการทั้งท่ีเป็นธนาคารและไม่ใช่
ธนาคาร (non-bank) เช่น True Money Rabbit Line Pay Airpay ฯลฯ และ 3) การเปล่ียนแปลง
การสื่อสาร (transformation of communication) ในแบบเดมิ มาใช้ช่องทางใหม่ เช่น แพลตฟอร์ม
โซเชียลมีเดีย หากผลลัพธ์ท่ีเกิดข้ึนจากการดำเนินการดังกล่าว คือการเปล่ียนแปลงในตลาด เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในวัฏจักรและการหมุนเวียนในตลาด และการเปล่ียนแพลตฟอร์มการให้บริการ ย่อม
สง่ ผลกระทบตอ่ ธรุ กิจดง้ั เดิมทีจ่ ะถูกทำลายล้างลงหากไมป่ รบั ตัว (เพียร์ พาวเวอร์, 2560)

ธุรกิจรูปแบบใหม่หรือโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ๆ ในโลกยุคดิจิทัล ที่ถูกเทคโนโลยี
เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงและทำให้รูปแบบเดิมๆ โดนแย่งชิงบทบาทจนแทบจะหายไปหรืออาจ
หายไปในที่สดุ มีโมเดลหลัก ๆ ดังนี้ (มาร์เก็ตตงิ้ อ๊ปู , 21 มนี าคม 2559; เพียร์ พาวเวอร์, 2560)

10.1 subscription model ดำเนินธุรกิจในลักษณะบอกรับสมาชิก และเก็บ
เงินรายเดือนจากลูกค้า โดยลูกค้าสามารถใช้บริการได้อย่างไม่จำกัด หรือจ่ายเฉพาะเท่าที่ใช้งานจริงก็ได้
มักเป็นกลุ่มสินค้าภาพยนตร์ เพลง ซอฟต์แวร์ เช่น Netflix Primetime iFlix และ Apple Music
ฯลฯ ท่เี ขา้ มาแทนทีร่ ูปแบบเดมิ ทใี่ ชว้ ิธีการขายขาด

10.2 freemium model เป็นการให้บริการฟรีแบบจำกัด และเร่ิมเกบ็ เงินเมื่อ
มีการใช้งานที่มากข้ึนตามเง่ือนไขท่ีกำหนด ท้ังน้ีการใช้บริการฟรีแบบจำกัดในเบื้องต้น มีข้อดีแก่
ผู้บริโภคคือได้เรียนรู้ประสิทธิภาพ ได้ใช้งานจริง แต่อาจต้องแลกกับการชมโฆษณา หรือแลกเปลี่ยน
กับข้อมลู ส่วนบุคคลบางอย่าง ธุรกจิ ที่มโี มเดลลักษณะน้ี เช่น Spotify, Dropbox ฯลฯ

10.3 free model เปน็ โมเดลธุรกิจที่ให้ผู้บริโภคใชบ้ รกิ ารฟรีโดยไม่มีนโยบายเกบ็ เงิน
เช่น Google Facebook Instagram แต่ความเป็นจริงแล้วผู้บริโภคเสียค่าใช้งานทางอ้อม ด้วยข้อมูล
ส่วนบุคคลที่ให้ไป และเสพโฆษณาจากแบรนด์สินค้าต่าง ๆ ท่ีจูงใจจนเกิดการจ่ายเงินซ้ือสินค้าหรือ
บรกิ ารตามมาภายหลงั

78

10.4 the access-over-ownership model การดำเนินธุรกิจในลักษณะเป็น
ตัวกลางผา่ นแพลตฟอร์มที่สรา้ งขน้ึ เพ่ือนำผบู้ รโิ ภคเข้าถึงสินคา้ หรือบริการจากเจ้าของ ตวั อย่างท่ีเห็น
ได้ชัดเจน เช่น AirBnB FavStay ที่บริการจับคู่ที่พักของผู้สนใจให้เช่า กับลูกค้าผู้ใช้บริการท่ีต้องการ
หาทพี่ ัก โดยธรุ กิจเกบ็ รายได้จากคา่ บรหิ ารจดั การ

10.5 ecosystem model ธุรกิจตามโมเดลลักษณะน้ีท่ีเห็นได้ชัดคือ Google
และ Apple โดยขายสินค้าและให้บริการท่ีเชื่อมโยงถึงกันทั้งระบบ และต้องซื้อต่อเนื่องกันไป เช่น
สมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชัน ฯลฯ ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อเพิ่มข้ึนเร่ือย ๆ เพื่อประโยชน์
สงู สดุ ในการใช้งาน เทา่ กบั เป็นการสร้างระบบการพ่ึงพาท่ปี ฏิเสธไมไ่ ด้

10.6 experience model เป็นลักษณะการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้เกิด
ขึน้ กับผใู้ ช้สินค้าและบริการ จากการคิดคน้ นวตั กรรมใหมต่ ่อยอดจากเทคโนโลยีผสมกบั ความต้องการ
เติมเต็มความรู้สกึ ของมนุษย์ เช่น ทัวร์อวกาศ ทัวร์ท่องเทยี่ วทตี่ า่ ง ๆ โดยไมต่ ้องเดนิ ทางไปสถานที่จริง
ฯลฯ

10.7 marketplace model เป็นลักษณะต้ังตลาดออนไลน์ข้ึนมาเพ่ือให้คนซื้อ
และคนขายมาเจอกัน ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ไม่เสียเวลา เช่น eBay iTunes
Appstore ฯลฯ

10.8 hypermarket model มีลักษณะตลาดขนาดใหญ่ และmarketplace โดย
ขายสินค้าเหมือนกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และเป็นตัวกลางเพื่อให้คนซ้ือและคนขายมาเจอกัน
ในทางออนไลน์ ลกู ค้าสามารถซ้อื สนิ ค้าไดท้ ุกทท่ี กุ เวลา เช่น Amazon Lazada Shopee ฯลฯ

ธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันด้วยดิจิทัล นับว่าเป็น
โอกาสสำหรับธุรกิจที่เร่ิมใหม่ แต่จะกลายเปน็ อุปสรรคสำหรับธุรกิจรูปแบบเดมิ หากไมม่ ีแผนการทด่ี ีพอ
และเหมาะสมเพื่อปรับเปล่ียนการดำเนินงานให้รบั มอื กับสถานการณ์ทางธุรกจิ ท่ีเกดิ ข้ึน

สภาพการณ์ทางธุรกิจในยุค 4.0 เปล่ียนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก การดำเนินธุรกิจ
แบบเดิมซ่ึงเคยสำเร็จในอดีต ไม่สามารถใช้ได้ในสถานการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ดังน้ันผู้
บริหารธุรกิจต้องติดตามข้อมูลการเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึ้น และปรับเปลี่ยนพัฒนาธุรกิจให้มีความ
ทันสมัยข้ึนด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เท่าทันกระแสการเปล่ียนแปลง ตลอดจน
คำนึงถึงผู้บริโภคเป็นสำคัญ เพ่ือจะได้ผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพและมีคุณค่าสูงซ่ึงสามารถ
ตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค นำไปสู่ความสามารถในการแข่งขัน และ
ความอยรู่ อดของธรุ กิจอย่างยง่ั ยนื

สถานการณท์ างธรุ กจิ ในประเทศไทยยุค 4.0
หากพิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอกท่ีทำให้สถานการณ์ทางธุรกิจในยุค 4.0 ของ
ประเทศไทยเปล่ียนแปลงไป ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเกิดธุรกิจแบบใหม่ การ
เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของชุมชนเมือง (กรมส่งเสริม
อุตสาหกรรม, 2559) นโยบายประเทศไทย 4.0 นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ผลติ ภัณฑ์ทเี่ ป็นมติ รกับสิง่ แวดล้อม กระแสการใสใ่ จสุขภาพ ดงั มรี ายละเอียดตอ่ ไปนี้

79

1. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (technological change) เทคโนโลยีท้ังฮาร์ดแวร์
และซอฟต์แวร์ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว อีกท้ังการพัฒนาเทคโนโลยีใช้เวลาสั้นลง แต่มีประสิทธิภาพ
ทด่ี กี ว่าเดิม มรี าคาถกู ลง และมีวธิ ีการซือ้ ไดห้ ลายแบบ เช่น ซือ้ ขาด เช่าซอ้ื เชา่ ฯลฯ รวมถึงชว่ ยทำให้
ผลิตภัณฑ์มีรูปลักษณ์ที่สวยงามมากขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น นอกจากน้ีเทคโนโลยียังช่วยทำให้เกิดการ
เปล่ียนแปลงและอำนวยความสะดวกสบายในหลายๆ ด้าน และยงั มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิต
ประจำวันของผู้บริโภคโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นการดำเนินธุรกิจในยุคนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่จะต้องศึกษาและเลือกนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในกระบวนงานของธุรกิจ การเข้าถึง
ผบู้ รโิ ภค และการอำนวยความสะดวกใหแ้ ก่ผู้บริโภค

2. การเกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ (new model business occurrence) สืบเนื่องจาก
ความเจรญิ ก้าวหนา้ ของเทคโนโลยีและการส่ือสารยุคใหม่ซง่ึ เชื่อมโยงกันดว้ ยเครือขา่ ยไร้สาย ประกอบ
กับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุค 4.0 เปล่ียนแปลงไปในลักษณะที่ต้องการความสะดวกสบาย ความ
รวดเร็ว ต้องการมีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล และใช้ชีวิตอยู่กับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากข้นึ รวมท้ัง
รัฐบาลให้การสนับสนุนธุรกิจรูปแบบใหม่ซ่ึงสร้างนวัตกรรมใหม่ และดำเนินธุรกิจโดยใช้อินเทอร์เน็ต
เป็นช่องทางในการตลาดและการเพิ่มผลผลิต เพ่ิมผลงาน ทำให้ธุรกิจรูปแบบใหม่เพ่ิมจำนวนมากข้ึน
ในประเทศไทย ประกอบกับลักษณะธุรกิจรูปแบบใหม่นี้ใช้ข้อมลู ข่าวสารและวิทยาการทางเทคโนโลยี
ดิจิทัลเข้าไปเป็นฐานสนับสนุนการดำเนินงาน จึงทำให้เกิดข้อได้เปรียบธุรกิจในรูปแบบเดิม ทั้งเรื่อง
การใช้เวลาดำเนินงานท่ีลดน้อยลง การลดต้นทุน และการสร้างมูลค่าเพ่ิมท่ีมากกว่าให้แก่สินค้าและ
บริการ ธุรกิจรปู แบบใหม่ ๆ น้ีมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีมลู ค่ามหาศาลแซงหน้าธุรกิจในรูป
แบบเดิม

3. การเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกจิ (economic change) โดยเฉพาะอย่างย่ิงจากการ
เข้าสปู่ ระชาคมอาเซียนมาต้ังแต่ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ทำให้ประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน
ใกล้ชิดกันมากขึ้น ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากย่ิงข้ึนจากการเปิดเสรีทั้งทาง
การค้า การเคล่ือนย้ายแรงงาน และการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกที่มีมากข้ึน การรวมกลุ่มทำให้
กำแพงภาษหี ายไป ส่งผลใหภ้ าคการเกษตร และภาคพาณิชย์สามารถนำเขา้ และส่งออกสินค้าระหวา่ ง
ประเทศได้ง่ายข้ึน ดังนั้นจึงเกิดธุรกิจรายย่อยที่ค้าขายระหว่างประเทศมีจำนวนเพ่ิมมากขึ้นอย่าง
รวดเรว็ กวา่ ท่ีผา่ นมาในอดตี

4. การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค (change in consumer profiles) จากกระแสการ
เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในประเทศท่ีเกิดขึ้น หากธุรกิจผลิตสินค้าหรือบริการ รวมทั้งมีกิจกรรมทาง
ธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการท่ีเปล่ียนแปลงไปของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ย่อมเป็นโอกาส
ทางธุรกจิ ในยคุ นี้ กระแสการเปล่ยี นแปลงทเ่ี ห็นไดอ้ ยา่ งชดั เจนมีดังน้ี

4.1 ผู้หญิงมีจำนวนมากขึ้นและมีรายได้สูงขึ้น ผู้หญิงท่ัวโลกรวมทั้งในประเทศไทยมี
แนวโน้มการศึกษาดีกว่าผู้ชาย และอยู่ในภาคส่วนการทำงานต่าง ๆ ในตำแหน่งท่ีดี อีกท้ังมีบทบาท
เพิ่มมากข้ึนอย่างมีนัยสำคญั ทั้งทางดา้ นสงั คม การเมืองและเศรษฐกจิ แนวโน้มนีท้ ำใหต้ ลาดผลิตภัณฑ์
ผหู้ ญิงโตเรว็ กวา่ ผลิตภัณฑ์ผู้ชาย กลา่ วกันว่าเป็นพลังหญิงขับเคล่ือนเศรษฐกิจ (she –economy) ซ่ึง
มคี วามสำคัญตอ่ การขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของประเทศ

80

4.2 ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย ในขณะท่ีวิถีการดำเนินชีวิตของอนาคต
ผสู้ ูงวัยกลุม่ นจี้ ะกลายเป็นตวั ช้นี ำความต้องการใหม่ ๆ ของกลมุ่ ผบู้ ริโภค และอำนาจการซอ้ื ไม่ตา่ งจาก
ผู้บริโภคกลุ่มอื่น แนวโน้มตลาดสินค้าและบริการที่จะมารองรับลูกค้ากลุ่มนี้จึงเป็นตลาดท่ีใหญ่มาก
และยงั เติบโตต่อไป

4.3 คนต่างด้าวท่ีมาทำงานในประเทศไทยจะมีมากข้ึน กลุ่มคนต่างด้าวเหล่าน้ีแยก
เป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกคือ กลุ่มต่างด้าวมีเงิน เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฯลฯ ท่ีเข้ามาทำงานใน
ฐานะผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการ กลุ่มท่ีสอง คือคนต่างด้าวที่ทำงานในระดับแรงงาน เช่น เมียนมา
ลาว และกัมพูชา ฯลฯ ดังนั้นสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนเหล่านี้
ยอ่ มมีทิศทางการเตบิ โตอย่างต่อเนื่อง

4.4 ทารกทองคำ เนอ่ื งจากครอบครัวยุคใหม่มีลูกเพยี ง 1-2 คนเท่านัน้ ทำใหพ้ อ่ แม่จะ
ทุ่มเทให้เด็กๆ เหล่าน้ีมาก ทั้งในด้านอาหาร เคร่ืองแต่งกาย โดยตลาดใหญ่มากคือ การศึกษาเสริมใน
หลักสตู รพเิ ศษ เช่น ภาษาตา่ งประเทศ คณิตคิดเร็ว ดนตรี ศิลปะ ปอ้ งกนั ตัว กีฬา ฯลฯ

4.5 ผู้บริโภคมีความเป็นตัวตนสูงข้ึน ต้องการทำอะไรด้วยตัวเอง ในลักษณะการทำ
ผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเองที่เรียกกันว่า DIY (do it yourself) ดังน้ันหากธุรกิจสามารถสร้างเนื้อหา (content)
ซ่ึงเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคจากสินค้าของธุรกิจ ย่อมเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ท่ีดีและทำให้ผู้บริโภค
กลายมาเป็นลกู คา้ ของธรุ กิจ

5. การขยายตัวของชุมชนเมือง (urban expansion) สังคมเมืองในประเทศขยายตัว
ออกไปอยา่ งรวดเร็ว โดยมเี มืองหลักเกิดขน้ึ ก่อน แลว้ เมืองเล็กๆ ที่อยรู่ อบข้างจะเชื่อมโยงเขา้ มา ทำให้
ขอบเขตของเมืองหลักขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง การขยายตัวของชุมชนเมืองไม่เพียงก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงในแง่ของวิถีการดำรงชวี ิต การทำงาน การจับจ่ายใช้สอย และการเดนิ ทาง แต่ยงั ทำให้
เกิดความจำเป็นในการสร้างโครงการขนาดใหญ่ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค
ขนาดใหญ่ เช่น สนามบิน สถานีขนส่ง หรือท่าเรือขนส่งสินค้า รวมถึง ระบบการศึกษา ระบบประกัน
สุขภาพ และการจา้ งงานต่างๆ รวมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการซึ่งสามารถรองรับวิถี
ชีวิตและตอบสนองความตอ้ งการของคนเมือง

6. นโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0 policy) ทิศทางการพัฒนาประเทศไทย
ตามวสิ ัยทัศน์ ม่นั คง ม่งั คั่ง และยัง่ ยืน ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของการรูจ้ ักเติม รจู้ กั พอ และ
รู้จกั ปัน ผ่านกลไกประชารฐั นำพาประเทศกา้ วสโู่ มเดล 4.0 เพื่อให้ประเทศหลุดพน้ จากกับดักประเทศ
รายได้ปานกลาง ความเหล่ือมล้ำของความม่ังค่ัง และความไม่สมดุลในการพัฒนา รวมทั้งเพื่อให้สามารถ
รับมือกับโอกาสและภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในศตวรรษท่ี 21(ค.ศ. 2001-ค.ศ.2100) การเปลี่ยนผ่าน
ประเทศเน้นเศรษฐกิจขับเคล่ือนด้วยนวัตกรรม (value-based economy) ทำน้อย ได้มาก อาศัย
กลไกการใช้องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เสริมความ
ไดเ้ ปรียบในการแข่งขันเพื่อการสรา้ งมลู ค่าไมใ่ ช่แค่เพยี งเพ่มิ มูลคา่ โดยมุ่งเปลี่ยนแปลงอยา่ งน้อย 3 มิติ
สำคัญ คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม เปล่ียนจากการขับเคล่ือน
ประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
ตลอดจนเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่ภาคการบริการมากขึ้น เกิดสมดุลระหว่างมนุษย์
และเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องความม่ังคั่ง อีกท้ังใช้กลไกการ

81

กระจายรายได้ โอกาส ความมั่งค่ังอย่างเท่าเทียม ขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทำให้เศรษฐกิจกระจายตัว
เพ่ือปรับสมดลุ ระหว่างมนุษยแ์ ละมนุษย์ เพ่ือความมั่นคงและย่ังยืน รวมทั้งกลไกการพัฒนาท่เี ป็นมิตร
ต่อส่ิงแวดล้อม เพื่อให้เกิดความสมดุลของการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ด้วยการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติและอนุรักษ์ไปพร้อม ๆ กันได้อย่างชาญฉลาด (สุวิทย์ เมษินทรีย์, 2 พฤษภาคม
2559; 7 กันยายน 2560; กองบรหิ ารงานวจิ ยั และประกนั คณุ ภาพการ ศกึ ษา, 2559, หนา้ 10-14)

ในส่วนวาระการพัฒนาที่เก่ียวข้องกับธุรกิจ คือ การบ่มเพาะผู้ประกอบการและพัฒนา
เครือข่ายวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยเปล่ียนเกษตรกรแบบด้ังเดิมให้เป็นเกษตรกรที่
ทนั สมยั (smart farmers) เปล่ยี นเอสเอม็ อีแบบด้ังเดิม เป็นเอสเอ็มอที ่ีทนั สมยั (smart SMEs) เปลีย่ น
ธุรกิจบริการแบบดั้งเดิมเป็นธุรกิจที่ให้บริการที่มีมูลค่าสูง (high value services) และการส่งเสริม
พัฒนาวิสาหกิจเร่ิมใหม่หรือสตาร์อัพ (startups) นอกจากน้ีคือ วาระการพัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยี
และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซ่ึงเน้นพัฒนา 10 อุตสาหกรรม โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มแรก
คือ การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม (the first s-curves) เพ่ือสร้างมูลค่าเพ่ิมและสามารถแข่งขันได้
ในเวทีโลก ประกอบด้วยอุตสาหกรรมต่อไปน้ี ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยว
กล่มุ รายไดด้ ีและการทอ่ งเท่ียวเชิงสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชวี ภาพ และอาหารแห่งอนาคต
กลุ่มท่ีสองคือ การสร้าง 5 อุตสาหกรรมใหม่ (the new s-curves) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถรองรับ
การแข่งขันในอนาคต ประกอบด้วยอุตสาหกรรมต่อไปนี้ การบินและโลจิสติกส์ หุ่นยนต์เพื่อการ
อุตสาหกรรม เช้ือเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิทัล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (กอง
บริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา, 2559, หน้า 30-48) ดังนั้นการทำธุรกิจที่ขานรับกับ
นโยบายย่อมไดร้ บั การสนับสนุนและสง่ เสริมจากภาครฐั เปน็ อย่างดี

7. นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (digital economy policy) เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นการ
นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร ซึ่งเป็นกลไกสำคัญมาใช้ขับเคล่ือนการปฏิรูปกระบวนการ
ผลิต การดำเนินธุรกิจ การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดิน รวมท้ังกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจและสังคมอ่ืนๆ ท่ีส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
รวมทั้งการดำเนินงานตามนโยบายที่เช่ือมโยง และสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐท่ีครอบคลุมถึง
ประเทศไทย 4.0 (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน), 2560, หน้า 20)
โดยเป้าหมายปลายทางของการดำเนินงานในช่วง พ.ศ.2560 -2564 ได้แก่ ประเทศมีระบบอินเทอร์เน็ต
ความเร็วสูงถึงทุกหมู่บ้านและเชื่อมกับประเทศในภูมิภาคอ่ืน ภาคเกษตร การผลิต และการบริการ
เปลีย่ นมาทำธุรกจิ ด้วยดิจทิ ลั ตลอดจนส่งเสริมดจิ ทิ ัลสตารท์ อพั ประชาชนเชือ่ ม่ันในการใช้ดจิ ิทลั และ
เข้าถึงบริการผ่านระบบดิจิทัล ภาครัฐเชื่อมโยงและบูรณาการเหมือนองค์การเดียว กำลังคนสามารถ
ทำงานผ่านระบบดิจิทัลแบบไร้พรมแดน ประเทศมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการทำธุรกรรมดิจิทัลโดยมี
ระบบอำนวยความสะดวกและมีมาตรฐาน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ, 2560, หน้า 6) ดังน้ันในยุคดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ซึ่งอำนวย
ความสะดวกสบายและทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวนั ของผ้บู ริโภคเปล่ียนแปลงไป ประกอบกับ
รัฐบาลผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ แน่นอนว่าผู้ประกอบการต้องปรับ
แบบแผนการดำเนินธุรกจิ ใหส้ อดรับกับการเขา้ สู่สังคมเศรษฐกิจดิจทิ ัลเพ่อื สร้างโอกาสทางธรุ กิจ หาก
ยงั คงทำธุรกิจในรูปแบบเดิม ย่อมไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจของสตารท์ อัพรุ่นใหม่ท่ีมีความเชี่ยวชาญ

82

ด้านเทคโนโลยีและดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ท่ีเปล่ียนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง และอาจเข้ามาแทนท่ียึด
ครองส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจในรปู แบบเดิม

8. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce หรือ e-commerce) การทำ
ธรุ กิจในแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการซอ้ื ขายสินค้าหรือการบริการ และการโฆษณาผ่านทางส่ือ
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ แต่ที่ใช้งานมากที่สุดคือผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ยิ่งเมื่อมีเครือข่ายสังคมโดย
เว็บไซต์ต่าง ๆ จากการเช่ือมต่ออินเทอร์เน็ต และจากท่ีเทคโนโลยีปัจจุบันท่ีสนับสนุนให้การเข้าถึง
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายมากขึ้น ย่ิงช่วยส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งน้ี
จากการสำรวจผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยพบว่า จำนวนผู้ประกอบและมูลค่า
ธุรกิจเพิ่มขึ้นทุกปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 และคาดการณ์ในปี พ.ศ.2560 ประมาณ 2,812,592.03 ล้าน
บาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตอย่างแน่นอน เนื่องมาจากปัจจัยสนับสนุนหลัก 4
ประการ ได้แก่ 1) การสนับสนุนและส่งเสริมจากภาครัฐบาล 2) ผู้ประกอบการเพม่ิ ช่องทางการขายสินค้า
และบริการผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากข้ึน 3) การเติบโตด้านตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ของไทย มีแนวโนม้ และศกั ยภาพในการเติบโตไดอ้ ีกมากในอนาคต เพราะพฤติกรรมการใชอ้ ินเทอร์เน็ต
ของคนไทยมีแนวโน้มเพ่ิมจำนวนมากขึ้น และ 4) นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในธุรกิจพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน), 2560, หน้า 20)
จงึ เห็นไดว้ า่ พาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ของไทยยังเตบิ โตอยา่ งต่อเนือ่ ง นอกจากนี้การพัฒนาของเทคโนโลยีที่
ทำให้การจา่ ยเงินหรือการทำธรุ กรรมทางการเงนิ ผา่ นระบบอเิ ล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ทำได้งา่ ยขึ้น
และมีแนวโน้มสู่การเป็นสงั คมไร้เงินสด (cashless society) รวมไปถึงการมีแพลตฟอร์มที่หลากหลาย
ขึ้นซ่ึงทำให้ลูกค้าผู้ใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของผู้ขาย และทำธุรกรรมทางธุรกิจได้อย่าง
สะดวกสบายผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ประกอบกับรัฐบาลเร่งผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
ซึ่งสนับสนุนนโยบายประเทศไทย 4.0 ยิ่งทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอนาคตท่ีสดใส และเต็มไปด้วย
โอกาสทางธุรกจิ สำหรบั ทุกคนในยุคดิจิทลั

9. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม (environmentally friendly products) ใน
ยุคปัจจุบันซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากข้นึ ในการดำเนนิ ชีวิตประจำวันของผู้คน และดูเหมือนจะ
เป็นปัจจัยสำคัญท่ีขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว แม้เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าไปเพียงใด มนุษย์ยังคงต้องการใช้
ชีวิตท่ามกลางส่ิงแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดีด้วย แต่กลับพบว่าปัญหาเกี่ยวกับส่ิงแวดล้อมท่ีเกิดข้ึนโดย
ส่วนใหญ่ล้วนมาจากการกระทำของมนุษย์ และส่งผลกระทบทางลบต่อการดำรงอยู่และการมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดีของมนุษย์เอง ผู้คนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีความต่ืนตัวและหันมาใส่ใจ
ดูแลส่ิงแวดล้อมกันมากข้ึน เกิดกระแสความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ผลิตภัณฑ์แนวรักษ์
โลกหรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือท่ีเรียก eco products ซึ่ง
จัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียว (green products) ท่ีมีนัยของการลดใช้ทรัพยากรและพลังงาน รวมทั้ง
อนุรักษ์ทรัพยากรและลดการปล่อยมลพิษ โดยผลิตภัณฑ์ท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องมีกระบวนการ
ผลิต หรอื มีกระบวนการใช้ท่ีทำลายส่ิงแวดล้อมน้อยกว่า หรือปล่อยมลพิษน้อยกว่า หรือไม่ปล่อยมลสาร
อกี ท้ังกระบวนการผลิตหรือกระบวนการใช้ดังกล่าวนั้น เป็นผลพวงมาจากการปรับเปล่ียนวิธีการผลิต
หรือการลงทุนใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต หรือปรับวิธีการใช้ประโยชน์ หรือการบริการที่คำนึงถึง
ปัญหาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ต้องมีลักษณะที่สามารถใช้แทนผลิตภัณฑ์แบบเดิมซึ่งไม่ได้เป็นมิตรกับ

83

ส่ิงแวดล้อมได้ (นิรมล สุธรรมกิจ, 2559) ดังน้ันธุรกิจซ่ึงสามารถผลิตสินค้าหรือให้บริการ รวมถึงการ
เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ ท่ีสอดรบั กับกระแสดังกล่าวได้เป็นอย่างดีย่อมมีโอกาสทางธุรกิจท่ีดีอย่างแน่นนอน
จึงเห็นได้ว่าการทำธุรกิจในยคุ นีต้ ้อง smart & care world

10. กระแสการใส่ใจสุขภาพ (healthcare trend) ปัจจุบันแม้ว่าปัจจัยสภาพแวดล้อม
ทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ค่อนข้างผันผวน ทำให้การดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับ
สถานการณ์ไม่ค่อยดีนัก แต่พบว่าธุรกิจที่เกาะไปกับกระแสเพ่ือสุขภาพกลับไม่ค่อยได้รับผลกระทบ
มากนัก และยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ
และความงามกันมากข้ึนกว่าเดิม โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานในกลุ่มคนรุ่นใหม่ (millennials) ที่
เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2543 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 31 ของประชากรไทย และกลุ่ม
ผู้สูงอายุซึ่งเน้นในส่วนสินค้าหรือบริการเพื่อสุขภาพ กลุ่มน้ีมีสัดส่วนกว่าร้อยละ11 ของประชากรไทยแต่
มีแนวโน้มเพิ่มข้ึนอย่างตอ่ เน่ือง แค่เฉพาะสินคา้ กลุ่มวิตามนิ และผลติ ภัณฑ์อาหารเสริม ก็มีมูลค่าตลาดถึง
60,000 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2560 ซ่ึงขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ11.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน (ศูนย์วิจัย
กสิกรไทย, 2560, หน้า 1) สะท้อนให้เห็นว่าตลาดสุขภาพและความงามมีขนาดใหญ่ และยังคงเติบโต
ตอ่ ไปเพราะกระแสใส่ใจสุขภาพท้ังเร่ืองการออกกำลังกาย การพักผอ่ น การเลือกรับประทานอาหาร และ
การเลือกซ้ือสินค้าหรือใช้บริการเพ่ือสุขภาพยังคงอยู่ในความสนใจและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคไปอีก
ยาวนาน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันท่ีเป็นยุคดิจิทัล 4.0 ผู้บริโภคสามารถรับรู้และเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับ
สขุ ภาพได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และพรอ้ มแบ่งปันแก่สาธารณะ หากธุรกิจเลือกใช้กระแสนไ้ี ปเป็นจุดขาย
ซง่ึ ไม่ใช่ทำเพียงเพื่อเกาะกระแส แต่ตอ้ งทำใหส้ ินค้าหรือบริการของธรุ กิจสร้างคุณค่าท่ดี ีและตอบโจทย์
ความต้องการในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคอย่างแท้จริง จึงจะมัดใจลูกค้าได้ในระยะยาวเพ่ือความ
ยงั่ ยนื ของธุรกจิ

จากสถานการณ์ทางธุรกิจท่ีเกิดขนึ้ ในประเทศไทยดังกล่าวมาข้างต้น ผปู้ ระกอบการต้อง
ศึกษา ทำความเข้าใจเลือกนำมาใช้หรือปรับเปล่ียนการดำเนินงานให้เท่าทันเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองการเปล่ียนแปลงทางเทคโนโลยี การเกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ การเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจ การเปล่ียนแปลงของผู้บริโภค การขยายตัวของชุมชนเมือง นโยบายประเทศไทย 4.0 นโยบาย
เศรษฐกจิ ดจิ ทิ ลั พาณชิ ย์อเิ ลก็ ทรอนิกส์ ผลติ ภณั ฑท์ ีเ่ ป็นมติ รกับสงิ่ แวดล้อม และกระแสการใส่ใจสุขภาพ

โดยสรุปการดำเนินงานทางธุรกิจในยุค 4.0 ต้องทำความเข้าใจสถานการณ์ทางธุรกิจใน
ระดับโลก และทำความเข้าใจสถานการณ์ทางธุรกิจที่ใกล้ตัวภายในประเทศไทย เพื่อเริ่มต้นธุรกิจให้
พร้อมสำหรับการเติบโต หรือพัฒนาธุรกิจซึ่งดำเนินการไปแล้วด้วยการปรับเปล่ียนวถิ ีการดำเนินธุรกิจ
ใหม้ คี วามเหมาะสมสอดรบั กับสถานการณ์ทเ่ี กิดข้นึ และโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกจิ

หลักการดำเนินงานทางธุรกิจในยุค 4.0
จากสถานการณ์ทางธุรกิจต่าง ๆ ดังกล่าวท่ีเกิดข้ึนเป็นส่ิงท่ีหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการดำเนิน
งานทางธุรกิจ แต่ต้องปรับตัวและรับมือให้ได้ไม่ว่าสถานการณ์นั้นจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในด้านใด
ดังน้ันการดำเนินงานทางธุรกิจในยุค 4.0 มีหลักการสำคัญโดยล้อตามยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่าน
ประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 คือ การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน และการเชื่อมโยงโลก ซ่ึงมีท่ีมา
จากการน้อมนำและถอดความพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลท่ี 9 ทีใ่ หไ้ ว้ ความตอนหน่ึงวา่

84

“การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับข้ัน ต้องสรา้ งพ้ืนฐาน คือความพอมี พอกิน
พอใช้ของประชาชนเป็นเบ้ืองต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ท่ีประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา
เมื่อได้พื้นฐานม่ันคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะทาง
เศรษฐกิจข้ันท่ีสูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นได้
รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชน
โดยสอดคลอ้ งด้วย จะเกิดความไม่สมดุลในเร่ืองต่าง ๆ ได้ ซ่ึงอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวในท่ีสุด”
พระราชดำรัสในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันท่ี 18 กรกฎาคม
พ.ศ. 2517 (กองบริหารงานวจิ ัยและประกนั คุณภาพการศึกษา, 2559, หนา้ 10)

หลกั การดำเนนิ งานทางธุรกจิ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน และการเชื่อมโยงโลก
อธบิ ายรายละเอียดไดด้ ังน้ี

1. การสร้างความเขม้ แขง็ จากภายใน (strength from within) ดว้ ยการเสริมจุดแข็ง
ลดจุดด้อยทั้งในเร่ืองระบบคนและระบบงานภายในองคก์ าร

1.1 ระบบคน ต้องส่งเสริมให้บุคลากรเปิดรับท่ีจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และเรยี นรู้อย่างไม่
หยุดนิ่ง เพื่อให้ทันยุคทันสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และป้องกันไม่เกิดความต่ืนตระหนกจากการ
เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะความเข้าใจและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งทักษะการคิดในเชิง
นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ เน่ืองจากในปัจจุบันน้ีเทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตและ
การทำงานมากยงิ่ ขน้ึ ประกอบกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่ว่าจะออกมาในรูปสนิ ค้าหรือบริการ
กระบวนงาน การบริหารจัดการธุรกิจ ย่อมช่วยเสริมสร้างคุณค่า สร้างความโดดเด่นและเพ่ิมขีด
ความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจ นอกจากนี้เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การให้เป็นองค์การแห่ง
การเรียนรู้และความร่วมมือ พร้อมปรับตัวเพื่อเผชิญการเปล่ียนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจไป
ด้วยกัน รวมไปถึงดูแลและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันต่อ
องค์การ ทัศนคตทิ ่ดี แี ละความภาคภมู ิใจของบุคลากรทมี่ ตี ่อองค์การ

1.2 ระบบงาน การดำเนินงานต้องมีทิศทางที่ชัดเจน วางแผนงานให้พร้อมรองรับกับ
การเปลี่ยนแปลงและการขับเคลือ่ นไปในทิศทางที่กำหนด จัดโครงสร้างองค์การให้มรี ูปแบบที่เรียบง่าย
และคล่องตัวในการทำงาน ปรับระบบหรือวิถีการทำงานให้มีความทันสมัยสอดรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ
กระชับ ไมซ่ ้ำซ้อน มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสมกบั ภารกจิ หรอื สถานการณท์ างธุรกิจ
ที่เกิดขึ้น เลือกนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ฯลฯ
มาใช้ประโยชน์เพ่ือการพัฒนางาน การทำงานร่วมกัน และการส่ือสารของบุคลากรทั้งภายในองค์การ
ระหว่างองค์การ และระหว่างบุคคล หรอื กลมุ่ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียกับธรุ กจิ เช่น ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน
ฯลฯ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย ลดข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ รวมทั้งบริหารจัดการ
ข้อมูลและข้อสารสนเทศ ตลอดจนใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ นอกจากนี้นำเทคโนโลยี
ดิจิทัลและเทคโนโลยีอ่ืน ๆ มาใช้อย่างเหมาะสมเพ่ือปรับปรุงงานด้านต่าง ๆ ทั้งโซ่คุณค่าของธุรกิจซึ่ง
ครอบคลุมกระบวนการตั้งแต่การนำเข้าทรัพยากรการดำเนินงาน จนกระท่ังส่งมอบสินค้าหรือบริการ
ไปยังลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน หรืออาจจะปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินธุรกิจหรือโมเดลธุรกิจ
แบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อน ทั้งนี้ตามความเหมาะสมกับบริบทธุรกิจและความเป็นไปได้

85

อย่างไรก็ดีต้องใช้ทรัพยากรการดำเนินงานทางธุรกิจได้อย่างคุ้มค่า ตลอดจนการทำงานต้องสามารถ
บูรณาการงานด้านต่างๆ ภายในองค์การร่วมกัน เพื่อผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้มาตรฐาน นำไปสู่ความ
สำเร็จตามเป้าหมายองคก์ าร

2. การเชื่อมโยงโลก (connect to the world) ด้วยการดำเนินงานทางธุรกิจอย่าง
สนใจและใส่ใจต่อการเปล่ียนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และสภาวการณ์ทางธุรกิจที่เกิดข้ึนท้ัง
ในสังคมใกลต้ ัวระดับชมุ ชน ระดบั ประเทศ ตลอดจนระดบั นานาชาติหรือระดับโลก เพ่ือใหม้ ีทิศทางการ
ดำเนินธุรกิจได้อยา่ งเหมาะสมสอดรบั กับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง เลือกนำโอกาสที่เกิดขึ้นจากการ
เปล่ียนแปลงไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานทางธุรกิจให้มากท่ีสุด ขณะเดียวกันปรับตัวเพ่ือ
ไม่ให้การเปล่ียนแปลงใดมาทำให้การดำเนินงานทางธุรกิจต้องหยุดชะงัก (disruption) โดยเฉพาะการ
เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (digital transformation) ซ่งึ เทคโนโลยีดจิ ิทลั มบี ทบาทในการดำเนินชีวติ ของผู้คน
ในสังคมมากย่ิงข้ึน ดังนั้นจึงต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานทางธุรกิจให้
พร้อมรับและเชื่อมโยงโลกธุรกิจ โดยเฉพาะกับผู้มีส่วนได้เสียคนสำคัญของธุรกิจ คือลูกค้าในสังคม
ดิจิทัลในปัจจุบันให้มากข้ึน รวมทั้งเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีผ่านช่องทางต่าง ๆ ท้ังท่ีเป็นลักษณะ
ออนไลน์และออฟไลน์ นอกจากนี้ต้องสร้างเครือข่ายทางธุรกิจทีส่ ามารถพึ่งพาและร่วมมือกนั ในรูปแบบ
พันธมิตรเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ อีกทั้งต้องดำเนินงานทางธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยเหลือและตอบแทนประโยชน์คืนกลับแก่สังคมและประเทศชาติ ตลอดจนมี
จรยิ ธรรมทางธุรกิจ ซึ่งจะชว่ ยเสริมสร้างให้ผคู้ นในสังคมมีทศั นคติทีด่ ี เช่อื มั่น ไว้วางใจธรุ กจิ และใหก้ าร
สนับสนนุ สินค้าหรือบรกิ ารของธุรกิจ

การดำเนินงานทางธุรกิจในยุค 4.0 ต้องสร้างความเข้มแข็งภายในองค์การทั้งระบบงาน
และระบบคน รวมทั้งเช่ือมโยงโลกอย่างรู้เท่าทันและพร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ทางธุรกิจ
ตลอดจนดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพ่ือความมั่นคง มั่งค่ัง และ
ยง่ั ยืนของธุรกจิ สืบไป

ธรรมาภบิ าล จริยธรรมทางธรุ กจิ และความรับผิดชอบต่อสังคม

ความอยู่รอดและความม่ันคงในระยะยาวของธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้ คงไม่ใช่แค่เพียงมุ่ง
แต่เป้าหมายทำกำไรสูงสุด แต่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับเรื่องธรรมาภิบาล จริยธรรมในการ
ดำเนินงาน รวมท้ังมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซ่ึงเป็นเร่ืองท่ีส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและจิตใจของ
สมาชิกในองค์การ และประชาชนในสังคม ประกอบกับกระแสความตื่นตัวทางจริยธรรมมีมากขึ้นใน
ปัจจุบัน อาจเนื่องมาจากการเกิดเหตุการณ์ในทางลบกับประชาชนที่มีต้นเหตุมาจากธุรกิจ และย่ิงทุก
วันนี้สือ่ สังคมออนไลน์ต่าง ๆ มคี วามทนั สมัย ทำให้ข่าวสารท่ีเปน็ ประเด็นวา่ ผบู้ ริหารขาดธรรมาภิบาล
ธุรกิจขาดจริยธรรมในการประกอบการ หรือไม่มีความรบั ผิดชอบต่อสังคมนั้นแพร่กระจายไปได้อย่าง
รวดเร็วและกว้างขวางไปยังกลุ่มคนทั้งผู้บริโภค และเจ้าหน้าท่ีหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล
ธุรกิจ ส่งผลให้ความเช่ือม่ันของผู้คนในสังคมที่มีต่อธุรกิจน้ัน ๆ ลดลด หรืออาจทำให้ผู้คนเกิดการ
ต่อต้านธุรกจิ และธุรกิจถูกเข้าควบคมุ โดยภาครัฐก็เป็นได้ ดังน้ันผบู้ ริหารธุรกิจจงึ ต้องทำหน้าทท่ี ั้งการ
แสวงหากำไรในเชิงเศรษฐกิจ และการดำเนินงานทางธุรกิจที่ยึดม่ันหลักธรรมาภิบาลในการ
บรหิ ารงานภายในองคก์ าร มศี ีลธรรมอันดีงาม และมีความรับผดิ ชอบต่อสังคม

86

ธรรมาภบิ าลในการดำเนนิ งานทางธรุ กิจ
หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกจิ ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2540 ทำให้ทุกฝ่ายในสังคมหันมาให้
ความสนใจเรื่องธรรมาภิบาลมากข้ึน เพ่ือแก้ปัญหาข้อบกพร่องต่าง ๆ ท่ีเกิดข้นึ จากการขาดระบบการ
บริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ขาดการปลูกฝังจิตสำนึกจริยธรรม ทำให้ภาครัฐปฏิรูปการบริหารตาม
แนวทางธรรมาภิบาล (good governance) อย่างจริงจัง ในประเทศไทยได้ใช้คำอ่ืนแทนคำว่า ธรรมาภิบาล
เช่น การบริหารกิจการบ้านเมืองและสงั คมที่ดี ธรรมรัฐ ธรรมราษฎร์ สุประศาสนาการ การปกครองท่ีดี
การบริหารจัดการที่ดี ฯลฯ (สำนักงานพัฒนาระบบราชการ, 2555, หน้า 15) โดยมีความหมายว่า
เป็นหลักการบริหาร การปกครองที่มุ่งประโยชน์สูงสุดของประชาชน และประเทศชาติ โดยยึดหลัก
เหตุผลและความเป็นธรรรม (ปธาน สุวรรณมงคล, 2558, หน้า 5) ธรรมาภิบาล ยังหมายถึงแนวคิดที่
กำหนดข้ึนเพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการควบคุมดูแล หรือกำกับให้กิจการมีระบบการทำงานท่ีดี
ดำเนินงานด้วยหลักคุณธรรม มีความโปร่งใส สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้กับผู้มี
สว่ นเกย่ี วข้อง โดยองค์การสามารถดำรงอยู่ได้และผู้มสี ่วนเกีย่ วข้องมีความสุข (อนิวัช แก้วจำนงค์ 2556,
หน้า 142) ท้ังนี้ในภาคเอกชนได้ปฏิรูปการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้คำว่า บรรษัทภิบาลที่ดี
หรือการกำกับดูแลกิจการท่ีดี (good corporate governance) ซึ่งเป็นการควบคุมท่ีดีโดยรวมของ
กิจการ และการควบคุมนี้ต้องอาศัยผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ อีกท้ังเป็นวิธีการหนึ่งท่ีทำให้การบริหารมี
จริยธรรมอย่างแท้จริง (จินตนา บุญบงการ, 2553, หน้า 179-180) จึงกล่าวได้ว่า ธรรมาภิบาลในการ
บริหารธุรกิจ คือ หลักการพื้นฐานในกำกับและดูแลให้การดำเนินงานทางธุรกิจมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล โดยเป็นไปในครรลองคลองธรรมและความถูกต้อง ทำให้กิจการดำเนินงานต่อไปได้อย่าง
มน่ั คง และเกิดประโยชนส์ ขุ แกผ่ มู้ สี ว่ นได้ส่วนเสียที่เก่ียวข้อง
ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดี ประกอบด้วย 10 หลักการสำคัญ ได้แก่
ประสิทธภิ าพ ประสิทธิผล การตอบสนอง ภาระรับผิดชอบ ความโปร่งใส นิตธิ รรม ความเสมอภาค การ
กระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม/การมุ่งเน้นฉันทามติ และคุณธรรมจริยธรรม จึงเห็นได้ว่าธรรมาภิบาล
เป็นการปกครองควบคุมดูแลกิจการให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี เป็นหลักการที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้ง
ภาครัฐและภาคเอกชน (สำนักงานพัฒนาระบบราชการ, 2555, หน้า 15, 21-22) หากนำไปใช้ใน
ภาคเอกชนย่อมทำให้การบริหารกิจการได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อความสามารถทางการ
แข่งขัน นอกจากนี้หากภาครัฐบริหารบ้านเมืองท่ีดีตามหลักธรรมาภิบาล ย่อมเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจ
กล่าวคือ ภาครัฐมคี วามโปรง่ ใสในการดำเนินงาน เรยี กเก็บผลประโยชน์นอ้ ยลง ทำใหต้ ้นทุนธรุ กิจเป็น
ตน้ ทุนท่ีแท้จริง ที่สำคัญทำให้ประเทศแขง่ ขนั ในเวทีการค้าโลกไดอ้ ยา่ งไมเ่ สยี เปรียบ โดยมีการบริหาร
ภาครฐั สนับสนุนเอื้ออำนวยการดำเนนิ งานของภาคธรุ กิจเอกชน (ปธาน สุวรรณมงคล, 2558, หน้า 31)

หลกั ธรรมาภบิ าลในการดำเนินงานทางธรุ กจิ
การนำหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดีดังกล่าวข้างต้น มาประยุกต์ใช้
ในการดำเนนิ งานทางธุรกิจ มีรายละเอยี ดในแตล่ ะองค์ประกอบดังนี้
1. ประสทิ ธิภาพ (efficiency) หมายถึง การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในการดำเนินงานทาง
ธุรกิจอย่างประหยัดและคุ้มค่า ตลอดจนคิดหาแนวทางลดขั้นตอนการทำงานเพื่อประหยัดเวลา และ
ต้นทนุ แต่ยังคงรกั ษาคุณภาพทั้งกระบวนงาน

87

2. ประสิทธิผล (effectiveness) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดผลสำเร็จ
ตามเป้าหมายของธุรกจิ โดยติดตาม ประเมิน และปรับปรุงพัฒนาให้ดีข้ึนอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง

3. การตอบสนอง (responsive) หมายถึง การดำเนินงานทางธุรกิจหรือผลของงาน
ตรงตามความคาดหวังหรือความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และทำให้บุคคลเหล่านี้เกิดความ
เชอื่ มั่นและไว้วางใจต่อธุรกจิ

4. ภาระรับผิดชอบ (accountability) หมายถึง การเอาใจใส่และจัดการงานให้สำเร็จ
ตามเป้าหมายที่กำหนด รวมท้ังยอมรับผลที่เกิดข้ึนจากการดำเนินธุรกิจท้ังในทางท่ีดีและไม่ดี
ตลอดจนมสี ำนึกท่ตี อ้ งดูแลและแกไ้ ขหากเกิดผลในทางที่ไมด่ ี

5. ความโปร่งใส (transparency) หมายถึง การดำเนินธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้
และปราศจากการให้อามสิ สินจา้ งเพอื่ กระทำการใดท่ีไม่ถกู ต้อง

6. นิติธรรม (rule of Law) หมายถึง การกำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกา
ต่าง ๆ ท่ีเหมาะสมและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นทีย่ อมรบั ของผูม้ ีส่วนได้สว่ นเสียของธรุ กิจ

7. ความเสมอภาค (equity) หมายถึง การปฏิบัติต่อบุคคลต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องกับธุรกิจ
ในกรณเี ดียวกนั อย่างเทา่ เทียม

8. การกระจายอำนาจ (decentralization) หมายถึง การมอบอำนาจหน้าท่แี ละการ
ตดั สินใจอย่างเหมาะสมใหก้ ับพนักงาน

9. การมีส่วนร่วม (participation) การเปิดโอกาสให้พนักงานหรือผู้ที่เก่ียวข้องได้ร่วม
แสดงความคดิ เห็นและตัดสินใจในการดำเนนิ งานของธรุ กจิ

10. คณุ ธรรม/จริยธรรม (morality/ethics) หมายถึงมีจิตสำนึกท่ีถูกต้องดีงาม รู้ผิดชอบ
ชั่วดี ยดึ ม่นั ในศลี ธรรมและแสดงออกอย่างเป็นรปู ธรรมในการดำเนนิ ธรุ กิจ

การดำเนนิ งานทางธรุ กิจตามหลักธรรมาภิบาลย่อมนำความเจริญมาสู่ธรุ กิจ เพราะทำให้
ธรุ กิจมีการจดั การทด่ี ี ได้รบั การยอมรับและความเชื่อถือจากผู้มสี ว่ นไดส้ ว่ นเสียท้ังภายในและภายนอก
ธุรกิจ จึงช่วยเสริมสรา้ งความสามารถในการแข่งขันทจี่ ะเพ่มิ โอกาสและคุณค่าให้แก่ธุรกิจในระยะยาว

จรยิ ธรรมทางธุรกจิ
จริยธรรมทางธุรกิจ (business ethics) หมายถึง หลักการหรือมาตรฐานท่ีเป็นตัวชี้นำ
พฤติกรรมในโลกธุรกิจ (นภาพร ขันธนภา, 2559, หน้า 3) หรือเป็นการนำเอาหลักจริยธรรมไปใช้กับ
พฤติกรรมธุรกิจ จึงเป็นพลังที่สะท้อนถึงคุณค่าในกระบวนการตัดสินใจและการกระทำของธุรกิจท่ี
กำหนดวา่ คณุ ค่าดังกล่าวกระทบตอ่ ผ้มู ีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) อยา่ งไร (เสนาะ ติเยาว์, 2558,
หน้า 38) หรือหมายถึง การนำหลักการและมาตรฐานจริยธรรมทั่วไปมากำหนดแนวพฤติกรรมและแนว
ปฏิบัติที่ดีของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ โดยจริยธรรมทางธุรกิจสัมพันธ์กับประเด็นทางศีลธรรม
และทางเลือกของผู้ประกอบการในส่ิงดีเลว ถูกผิด ในการตัดสินใจทางธุรกิจ (พรชัย ศักดานุวัฒน์วงศ์,
2559, หนา้ 15-11) กล่าวได้ว่าเป็นการประยุกตใ์ ช้มาตรฐานทางศีลธรรมในสถานการณ์ธุรกิจ (Pride,
Hughes & Kapoor, 2012, p.67) สรุปจริยธรรมทางธุรกิจ หมายถึงข้อควรประพฤติปฏิบัติท่ีดีงาม
ตามหลักของศีลธรรมในการดำเนินงานทางธุรกิจ ทั้งนี้การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมเร่ิมจากการ
ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมท้ังตามระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ ตลอดจนปฏิบัติตามจารีต

88

ประเพณแี ละวัฒนธรรมในสงั คม จะเหน็ ได้วา่ จรยิ ธรรมเป็นเรื่องของสามัญสำนึกภายในจติ ใจ เป็นสิง่ ท่ี
สูงกว่าขอ้ บงั คับทางกฎหมาย

อนึง่ มีคำอกี คำท่ีมักจะได้ยนิ คกู่ บั จรยิ ธรรมทางธุรกิจ และว่าด้วยหลักประพฤติปฏิบตั ทิ ด่ี ี
ด้วยเช่นกัน คือคำวา่ จรรยาบรรณทางธุรกิจ (business code of conduct) ซ่ึงเปน็ เอกสารที่เป็น
ทางการที่ธุรกิจคาดว่าจะก่อให้เกิดพฤติกรรมท่ีมีจริยธรรม ทำให้พนักงานได้รู้ว่าพฤติกรรมใดควร
ปฏิบัติ เสมอื นเปน็ กฎกติกาให้พนักงานปฏิบัติตาม จรรยาบรรณทางธรุ กิจมักกล่าวถึงข้อควรปฏบิ ัติใน
สถานการณ์ท่ีหลากหลาย เช่น การปฏิบัติงานภายในธุรกิจ การผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือการ
ให้บรกิ าร การทำการตลาด การเปดิ เผยขอ้ มลู ทางการเงนิ ฯลฯ (นภาพร ขันธนภา, 2559, หน้า 174)
หรือเป็นข้อกำหนดความประพฤติที่ควรปฏิบัติของผู้ประกอบวชิ าชีพธรุ กิจ โดยทั่วไปแล้วมักเป็นเรื่อง
ความยุติธรรมและการสร้างสรรค์ส่งิ ดีงาม (สมคิด บางโม, 2555, หน้า 22) สรปุ ไดว้ ่าจรรยาบรรณทาง
ธุรกิจ คือประมวลความประพฤติหรือแนวทางปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมท่ีแต่ละธุรกิจกำหนดขึ้น เสมือน
เป็นอุดมคติของการประกอบธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ใช่จริยธรรมท่ัว ๆ ไปในภาพกว้าง อีกท้ังต้องมีความ
เป็นไปได้ สะท้อนภาพลักษณ์ของธุรกิจ เพื่อให้สมาชิกได้ยึดถือและปฏิบัติตามเพ่ือรักษาและส่งเสริม
ชื่อเสียงในฐานะสมาชิก

การจัดทำแผนงานด้านจริยธรรมทางธุรกจิ
การจดั ทำแผนงานด้านจริยธรรมทางธุรกจิ มีหลกั เกณฑท์ ี่สำคัญคือ การกำหนดมาตรฐาน
และแนวปฏบิ ัตอิ ย่างชัดเจน รวมทั้งกำหนดวิธีการตดิ ตาม ตรวจสอบ รายงานการกระทำผิดจริยธรรม
และบังคับใช้อย่างสม่ำเสมอ มีบทลงโทษที่ชัดเจนหากเกิดกรณีการขาดจริยธรรม ตลอดจนต้องปรับปรุง
แผนงานด้านจริยธรรมอย่างต่อเน่ือง (นภาพร ขันธนภา, 2559, หนา้ 172) ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ
อย่างแท้จริง ในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดข้ึนในองค์การ รวมท้ังจัดทำคู่มือหรือระเบียบ
ปฏิบัติเพื่อให้พนักงานทุกฝ่ายขององค์การมีแนวปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เพราะการตั้งเป้าหมาย
เพียงอยา่ งเดียวแต่ไม่กำหนดวิธีการ อาจทำให้พนักงานกำหนดวิธีการขนึ้ เอง โดยไม่ตระหนกั ถึงปัญหา
ด้านจริยธรรม หรือเกิดการนิ่งเฉยโดยไม่ให้ความสำคัญต่อการกระทำใด ๆ ท่ีจะบรรลุเป้าหมายด้าน
จริยธรรมทางธุรกิจขององค์การ ดังนั้นผู้ประกอบการหรือผู้บริหารจึงต้องเป็นแกนนำในการกำหนด
วิธีการหรือแนวปฏิบัติที่ควรยึดถือ ให้คำแนะนำ และส่ือสารเพ่ือถ่ายทอดเกี่ยวกับจริยธรรมทางธุรกิจ
(หรรษมน เพ็งหมาน, 2559, หน้า 810) นอกจากนี้ต้องเสริมสร้างให้พนักงานเกิดความตระหนักและ
เห็นถึงความสำคัญของจริยธรรมทางธุรกิจท่ีจะนำมาซ่ึงชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจ ความ
น่าเชื่อถือ ตลอดจนก่อให้เกิดความทุ่มเทของพนักงาน และก่อให้เกิดการทำงานอย่างมีความสุข เกิด
เป็นองค์การแห่งความสุข (happy workplace) ซ่ึงส่งผลต่อความสำเร็จและความอยู่รอดอย่างย่ังยืน
ของธุรกิจ (พรชยั ศักดานุวัฒนว์ งศ์, 2559, หน้า 15-13; ชนินทร์ ชุณหพันธรกั ษ,์ 2559, 2-27-2-28)

องคป์ ระกอบจริยธรรมทางธรุ กิจ
องค์ประกอบทางจริยธรรมท่ีผู้ประกอบการหรือผู้บริหารธุรกิจควรมีในแผนงานและใช้
ยึดถือปฏิบัติในการดำเนนิ ธุรกิจ มี 6 ประการสำคญั ไดแ้ ก่ ความซ่อื สตั ย์ ความยตุ ิธรรม ความรับผิดชอบ
การเคารพสทิ ธิสว่ นบุคคล การสรา้ งความไวว้ างใจ และการบำรงุ รักษาสงิ่ แวดลอ้ ม (ชนินทร์ ชณุ หพนั ธรกั ษ,์

89

2559, 2-27-2-28) ดงั มรี ายละเอียดตอ่ ไปนี้
1. ความซ่อื สัตย์ (honesty) คือ มีความจริงใจ บริสทุ ธใิ์ จ ยึดถือหลักความจริง มีความ

ตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนข้อมูล ไม่คดโกง และไม่โกหกหลอกลวงผู้ท่ีเกี่ยวข้องในการดำเนินงานทาง
ธรุ กจิ

2. ความยุติธรรม (justice) คือ มีความเที่ยงธรรมในการค้า ให้บริการลูกค้าอย่างเท่าเทียม
ให้ความเสมอภาคแก่พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจอ่ืน ๆ โดยไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เอนเอียง
เข้าขา้ งใดขา้ งหนงึ่

3. ความรับผิดชอบ (responsibility) คือ มีความสนใจและเอาใจใส่ปฏิบัติหน้าท่ีด้วย
ความละเอียดรอบคอบเพือ่ ให้บรรลเุ ปา้ หมายที่กําหนดไว้ ตลอดจนมีภาระหน้าทท่ี ต่ี ้องปฏิบัติตามหลัก
ความซื่อสัตย์แก่บุคคลผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจท้ังภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสังคม
สิ่งแวดล้อมและประเทศชาติ

4. การเคารพสิทธิส่วนบคุ คล (respect the rights) คือ การไม่ละเมดิ สิทธสิ ่วนบุคคล
หรอื ทำใหผ้ ู้อืน่ เกดิ ความเสยี หาย เพ่อื หาประโยชน์แก่ธุรกิจ

5. การสร้างความไว้วางใจ (trust) คือ การประพฤติปฏิบัติ รวมท้ังดำเนินงานใด ๆ ท่ี
ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธรุ กิจเกิดความเชื่อมั่นต่อธุรกิจ ต่อสินค้าหรือบริการของธุรกิจ รวมถึงต่อ
ตวั ผู้ประกอบการหรอื ผู้บริหารธรุ กจิ

6. การบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม (environmental concern) คือ การดูแลให้ส่ิงแวดล้อม
อยู่ในสภาพดีอย่างย่ังยืน โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ค้นคว้าส่ิงใหม่มาใช้ทดแทน การ
อนุรกั ษท์ รัพยากรธรรมชาติ การควบคุมการปล่อยของเสยี ต่าง ๆ สู่สงิ่ แวดลอ้ ม

จากการศึกษาเกี่ยวกับจริยธรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม มีรายงานว่าจริยธรรมทางธุรกิจด้านความซ่ือสัตย์ ด้านการเคารพสิทธิของบุคคลมี
ความสัมพันธ์และส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการที่มี
ประเภทกิจการและระยะเวลาการดำเนินงานทางธุรกิจแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมี
จริยธรรมทางธุรกิจไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ประกอบการที่มีทุนในการดำเนินงานแตกต่างกัน มีความ
คิดเห็นเกี่ยวกับการมีจริยธรรมทางธุรกิจแตกต่างกัน (ทยากร สุวรรณปักษ์, 2556, หน้า 46) อีกท้ังมี
รายงานการศึกษาที่ระบุวา่ จริยธรรมธุรกิจด้านความรบั ผิดชอบและด้านการเคารพในสิทธิของบุคคล
มีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบเชิงบวกกับภาพลักษณ์องค์การ ส่วนจริยธรรมธุรกิจด้านความ
ยุติธรรมและด้านความรับผิดชอบ มีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จของ
องค์การ ดังน้ันผู้บริหารควรตระหนักและให้ความสำคัญเก่ียวกับจริยธรรมธุรกิจ โดยการสร้างแนว
ปฏิบัตใิ หบ้ ุคลากรเกิดความซอื่ สตั ย์ มีความยุติธรรม มีความรับผิดชอบ และเคารพสิทธิของบุคคลเพื่อ
สร้างภาพลักษณ์ท่ีดี นำมาซ่ึงความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การต่อไป (ทิพวรรณ ทรัพย์สุวรรณ,
จินดารัตน์ ปีมณี และการุณย์ ประทุม, 2557, หน้า 219) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าจริยธรรมด้าน
พฤติกรรมของผู้บังคับบัญชา และด้านนโยบายบริษัท มีผลตอ่ ความผูกพันทางบวกที่มีตอ่ องค์การของ
พนักงานบรษิ ทั เอกชนต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร (ศศิธร ทพิ โชติ และมนู ลีนะวงศ์, 2557, หนา้ 344)

90

ความจำเป็นท่ีตอ้ งมจี ริยธรรมทางธรุ กจิ
การดำเนินธุรกิจในสังคมปัจจุบันต้องเก่ียวข้องกับบุคคล ชุมชน องค์การต่าง ๆ รวมไป
ถึงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในฐานะท่ีธุรกิจเป็นผู้ใช้และได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
จากความเกยี่ วขอ้ งสัมพันธก์ ันนั้นจึงเป็นท่ีมาของสาเหตุความจำเปน็ ท่ีตอ้ งมีจรยิ ธรรมทางธรุ กจิ ได้แก่
ความสามารถในการแข่งขนั ของธุรกิจ การเพ่ิมผลผลิต การสร้างความสัมพนั ธ์ระหวา่ งธุรกจิ กบั ผูม้ สี ว่ น
ได้ส่วนเสีย กฎข้อบังคับของรัฐ และความห่วงใยในด้านสภาพแวดล้อม (จินตนา บุญบงการ, 2553,
หน้า 46-48) ดังมรี ายละเอยี ดสรปุ เปน็ แนวทางการศึกษาไดด้ ังน้ี
1. ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ (business competitiveness) การทำ
ธรุ กิจทุกประเภทล้วนต้องแข่งขันในฐานของสังคมท่ีอยู่ร่วมกัน ถ้าผู้บริหารกิจการขาดจริยธรรม ย่อม
ตดั ทอนขวัญกำลังใจและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ทำให้อัตราการขาดงาน การลาออกมี
มากขึ้น หรือเกิดการไต่สวนหาข้อมูลต่าง ๆ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจลดลง แต่
ในทางกลับกันการบริหารงานอย่างมีจริยธรรม ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งกับงานและพนักงาน ทำให้
ความสามารถในการแข่งขนั ของธรุ กจิ มมี ากขน้ึ
2. การเพ่ิมผลผลิต (increasing productivity) การมีจริยธรรมในการทำธุรกิจ ย่อม
ทำให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานไม่เกิดความวิตกกังวลและความรู้สึกไม่สบายใจท่ีจะถูกสอบสวนจากการ
ขาดจริยธรรมในการดำเนินงานทางธุรกิจ ทำงานได้อย่างมีความสุข นอกจากน้ีการบริหารงานภายใน
ธรุ กิจอย่างมีจริยธรรมย่อมทำให้พนักงานมีทัศนคติทางบวกตอ่ การบริหารงานของผู้ประกอบการหรือ
ผู้บริหาร ซึ่งส่งเสรมิ ให้พนกั งานเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความเตม็ ใจและเกิดความผูกพัน
ที่จะทำงานใหก้ ับธรุ กจิ อยา่ งเตม็ กำลังความสามารถ นำไปสู่การเพิ่มผลผลิตของธรุ กจิ
3. ความสัมพันธ์ระหวา่ งธุรกิจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (relationship between business
and stakeholders) การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมย่อมส่งผลกระทบทางบวกต่อผู้มีส่วนได้ส่วน
เสียภายนอกธุรกิจ เช่น ลูกค้า ผู้คนในชุมชน ฯลฯ เพราะทำให้ลูกค้าและผู้คนในชุมชนหรือในสังคม
ได้รับสินค้าและการบริการที่ดี มีคุณภาพปลอดภัย และอยู่ร่วมกับธุรกิจโดยไม่ได้รับมลพิษใด ๆ ย่อม
ทำให้ธุรกิจเป็นที่ยอมรับและเช่ือถือของสาธารณชน นำไปสู่ความมั่นคงและดำเนินงานได้อย่าง
ต่อเนื่องในระยะยาว
4. กฎข้อบังคับของรัฐ (rules and regulations of the state) คือการออกกฎข้อบังคับ
ต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อควบคุมการกระทำของธุรกิจให้เป็นไปอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดีแนวโน้มที่รัฐจะออก
กฎเกณฑ์และข้อบังคับมีมากข้ึนจากการขาดจริยธรรมของภาคธุรกิจ ดังนั้นการทำธุรกิจและการ
บริหารธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ย่อมช่วยลดความจำเป็นท่ีรัฐต้องออกกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่ง
ถ้าหากยงิ่ มีปลกี ย่อยมากเกินไปกย็ ิง่ ทำใหธ้ ุรกิจขาดความคล่องตวั ในการดำเนนิ งาน
5. ความห่วงใยในด้านสภาพแวดล้อม (environmental concerns) กระแสความ
ห่วงใยด้านสภาพแวดล้อมมีมากข้ึนเรียกว่าเป็นกระแสระดับประชาคมโลกก็ว่าได้ และมีหลายกลุ่ม
หรือหลายหน่วยงานที่จัดต้ังข้ึนและมีบทบาทต่อสู้เพื่อเรียกร้องและปกป้องสภาพแวดล้อม หากการ
ดำเนินงานของธุรกิจเป็นไปอย่างมีจริยธรรมย่อมช่วยลดแรงกดดันจากกลุ่มหรือหน่วยงานที่ดูแลใน
เร่ืองดงั กลา่ ว

91

จริยธรรมทางธุรกจิ เป็นความจำเป็นทผ่ี ูป้ ระกอบการธุรกิจพึงมีและพงึ กระทำให้เป็นแบบ
แผนพฤติกรรม เนื่องด้วยกฎข้อบังคับของรัฐ และกระแสความห่วงใยในด้านสภาพแวดล้อม แต่ท่ี
สำคัญเป็นหนทางท่ีจะนำมาซึ่งความสัมพันธ์ท่ีดีระหว่างธุรกิจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและ
ภายนอกองคก์ าร ตลอดจนความสามารถในการเพม่ิ ผลผลิตและการแขง่ ขันของธุรกจิ

จรยิ ธรรมทางธุรกจิ ตอ่ ผู้มีส่วนไดเ้ สีย
จากท่ีกล่าวข้างต้นว่าจริยธรรมทางธุรกิจ เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติที่ดีงามของสมาชิก
ในองค์การธุรกิจ ทั้งนี้ธุรกิจย่อมเก่ียวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ซ่ึงได้รับผลกระทบทั้งใน
ลักษณะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการหรือผู้ทำหน้าที่
บรหิ ารธุรกิจตอ้ งมจี ริยธรรมทางธุรกจิ ตอ่ ผู้มีส่วนได้เสียกลมุ่ หลกั ๆ ดังนี้
1. ผู้ถือหุ้น (shareholders/ stockholders) การเจริญเติบโตหรือการอยู่รอดของธุรกิจ
ย่อมได้รับอิทธิพลจากผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ลงทุนกับธุรกิจ ดังนั้นผู้บริหารธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญและมี
จริยธรรมทางธุรกิจกับผู้ถือหุ้น เช่น บรหิ ารงานอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ
แจ้งข้อมูลข้าวสารทถี่ กู ตอ้ งโดยไม่ปดิ บังซ่อนเร้น จา่ ยเงนิ ปนั ผลตามข้อตกลง ฯลฯ
2. ลูกค้า (customers) บุคคลท่ีมีความสำคัญยิ่งต่อทุกธุรกิจ คือ ลูกค้าซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า
หรอื บริการจากธรุ กิจ ทำใหธ้ ุรกิจมีรายได้และดำรงอยู่ได้ ท้งั นแี้ ต่ละธรุ กิจย่อมมีลักษณะการดำเนินงาน
และความสัมพันธ์กับลูกค้าแตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามทุกธุรกิจต้องปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมี
จริยธรรม เช่น จำหน่ายสินค้าหรือให้บริการตามท่ีตกลงในราคายุติธรรม ไม่เอากำไรเกินควร ไม่โก่ง
ราคาหรอื ปรบั ขน้ึ ราคาสนิ ค้าหรือบรกิ ารอย่างไร้เหตผุ ล คำนงึ ถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสนิ ค้า
หรือบริการ ไม่โฆษณาอวดอ้างเกินจริง ไม่หลอกลวงลูกค้า ดูแลเอาใจใส่ลูกค้าทุกคนด้วยความเสมอภาค
และเท่าเทียมกัน ตลอดจนมีอัธยาศัยไมตรีอันดี ไม่กดดันหรือบีบบังคับให้ลูกค้าทำตามหรือควบคุม
การตดั สนิ ใจของลกู คา้ ฯลฯ
3. พนักงาน (employees) งานและกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจดำเนินไปได้ต้องอาศัย
พนักงานซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่งานต่าง ๆ ดังน้ันผู้บริหารต้องพึงมีจริยธรรมต่อพนักงาน เช่น
เคารพสิทธิสว่ นบุคคล ให้เกียรติ ให้ความเชื่อถือและไว้วางใจ ให้ผลตอบแทนอย่างเหมาะสมและเป็น
ธรรมกับความรู้ ความสามารถ และลักษณะของงาน ให้การดูแลเอาใจใส่สภาพการทำงานและชีวิต
ความเป็นอยู่ของพนักงาน ให้ความยุติธรรมแก่พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ตลอดจน ให้คำแนะนำ
ปรึกษาด้วยความเต็มใจท้ังเร่ืองงานและเร่ืองส่วนตัว ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาความรู้
ความสามารถ ทักษะ เพอ่ื ประสิทธิภาพในการทำงาน ฯลฯ
4. ผู้ขายปัจจัยการผลิต (suppliers) จัดเป็นผู้มีส่วนเก่ียวข้องในการประกอบการเพราะ
ช่วยให้ธุรกิจมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อการผลิตหรือการจำหน่ายอย่างต่อเน่ือง เสมือนเป็นคู่ค้า
กับธุรกิจ ดังน้ันธุรกิจจึงต้องมีจริยธรรมทางธุรกิจกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ เช่น ชำระเงินตรงเวลา ไม่ถือโอกาส
ให้ข้อมลู การรบั วตั ถดุ ิบทเ่ี ปน็ เทจ็ และกดราคาสินค้า ฯลฯ
5. พันธมิตรทางธุรกิจ (business alliances) เป็นการตกลงร่วมมือกันหรือแลกเปลี่ยน
แบ่งปันทรัพยากรและความสามารถระหว่าง 2 ธุรกิจข้ึนไป โดยอาจเป็นความร่วมมือกันในด้านการ
ซ้ือวัตถุดิบ การผลิต การแลกเปล่ยี นความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือในเรื่องอ่ืนๆ ก็ได้ ท้ังนีเ้ พ่ือ

92

เสรมิ ความสามารถในการแขง่ ขันและความอยู่รอดของธรุ กิจ ดังนน้ั ธรุ กจิ ต้องมีจริยธรรมต่อคูพ่ ันธมิตร
เชน่ ทำธรุ กิจรว่ มกนั อยา่ งซอ่ื สตั ย์สุจรติ รกั ษาความลบั ไมจ่ ารกรรมขอ้ มูลทางธุรกจิ ฯลฯ

6. เจ้าหนี้ (creditors) ในการดำเนินธรุ กิจหากผู้ประกอบการมีเงินทุนไม่เพียงพอ ต้อง
ไปกู้ยืมเงิน หรือระดมเงินทุนในลักษณะท่ีทำให้ธุรกิจมีเจ้าหน้ีขึ้นมา และธุรกิจอยู่ในฐานะลูกหน้ี
ดงั นน้ั ธุรกจิ จงึ ควรมจี รยิ ธรรมตอ่ เจา้ หน้ีดว้ ยการปฏิบัตติ ามเงื่อนไขขอ้ ตกลงอย่างตรงไปตรงมา

7. คู่แข่งขัน (competitors) การแข่งขันถือเป็นเรือ่ งธรรมชาติของการทำธุรกิจ ดังนั้น
ธุรกิจส่วนใหญ่ย่อมมีคู่แข่งซ่ึงหมายถึงธุรกิจซึ่งประกอบการเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ต้องแข่งขันกัน
ด้านการขายและการให้บริการ อันท่ีจริงหากคิดในเชิงบวกการมีคู่แข่งขันย่อมทำให้ผู้บริหารและ
พนักงานระดับต่าง ๆ เกิดความกระตือรือร้นที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาการดำเนินงานให้มีขีด
ความสามารถทางการแข่งขัน อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการหรือผู้บริหารต้องพึงมีจริยธรรมทางธุรกิจกับ
คู่แข่งขัน เช่น ไม่กระทำการใดเพื่อเป็นการให้ร้ายหรือกลั่นแกล้ง ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่
จารกรรมข้อมลู ทางธรุ กจิ ของคู่แขง่ ขัน ฯลฯ

8. หน่วยงานภาครัฐ (government agencies) คือส่วนราชการต่าง ๆ ท่ีจัดตั้งเพื่อ
การบริหารงานของรัฐบาล เพ่อื ความสงบเรียบร้อย และเพ่ือความเจรญิ ก้าวหน้าของบ้านเมือง ในการ
ดำเนินของธุรกิจย่อมต้องเก่ียวข้องกับหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแล รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐบาง
หน่วยงานเป็นท้ังเจ้าของปัจจัยการผลิตในระบบเศรษฐกิจ ผู้ผลิต และผู้บริโภคท่ีต้องเก่ียวข้องกับ
ธุรกิจเช่นกัน ดังน้ันธุรกิจต้องมีจริยธรรมที่พึงปฏิบัติต่อหน่วยงานภาครัฐ เช่น ปฏิบัติตามข้อบังคับ
ของกฎหมาย ให้ความร่วมมือกับทางราชการ ไม่ทำการใดเพื่อติดสินบนเจ้าพนักงาน ไม่ให้ความร่วมมือ
หรือกระทำการใดเพื่อสนับสนุนเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีเจตนาทุจริต ทำธุรกิจกับหน่วยงานภาครัฐอย่าง
ซือ่ สัตยส์ จุ ริต ฯลฯ

9. สังคมและสภาพแวดล้อม (society and environment) ธุรกิจเป็นสถาบันหนึ่ง
ในสงั คม ดังนนั้ ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารธุรกิจจึงต้องทำหน้าทีด่ ำรงตนให้เป็นพลเมอื งที่ดีของสงั คม
ร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดี รับผิดชอบต่อสังคมและสภาพแวดล้อม เพ่ือการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมี
ความสุข โดยมีจริยธรรมทางธุรกิจต่อสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ประกอบธุรกิจท่ีถูกต้องตามกฎหมาย
และถูกหลักศีลธรรม ประกอบธุรกิจที่ไม่ทำลายหรือสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและ
สภาพแวดล้อม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชน
ควบคมุ ไมใ่ ห้การดำเนินงานของธุรกิจเปน็ ต้นเหตใุ ห้เกิดมลพิษตอ่ คนในชมุ ชนและสภาพแวดล้อม ฯลฯ

จรยิ ธรรมทางธุรกิจเปน็ เรื่องท่ีมีความสำคัญต่อการดำเนินงานทางธรุ กิจ และควรพึงมตี ่อ
ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ของธุรกิจ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน ผู้ขายปัจจัยการผลิต พันธมิตร
ทางธุรกจิ เจา้ หนี้ คู่แขง่ ขัน หนว่ ยงานภาครัฐ รวมไปถึงสงั คมและสภาพแวดล้อม

ตัวอยา่ งจริยธรรมทางธุรกิจ
บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในหลักการกำกับ
ดูแลกิจการที่ดี และปฏิบัติตามหลักจริยธรรมทางธุรกิจอย่างเคร่งครัด ด้วยเช่ือว่าเป็นวิถีทางท่ีทำให้
คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใส
ตรวจสอบได้ เพ่ือเสริมสร้างความเช่ือม่ันในระยะยาวให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้


Click to View FlipBook Version