493
หลักการของปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งและการประยกุ ตใ์ ช้
การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องเข้าใจหลักการซ่ึง
เป็นองค์รวมทั้งหมด หรือหลักพิจารณาเพ่ือทำความเข้าใจ ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้เพ่ือให้เกิด
ความพอดใี นการดำเนนิ ชีวิตและการประกอบกิจใด ๆ ดงั มรี ายละเอยี ดต่อไปน้ี
หลักการของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง
หลักการโดยรวมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่กรอบแนวคิด
คณุ ลักษณะ คำนิยาม เง่อื นไข ผลที่คาดหมาย (ปรียานุช พิบูลสราวุธ, 2549, หน้า 9) ดังรายละเอียด
ต่อไปน้ี
1. กรอบแนวคิด (framework) เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวถิ ี
ปฏิบัติที่ควรจะเป็นโดยมีพ้ืนฐานมาจากวิถีชีวิตของสังคมไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลท่ี 9 ทรงมีพระราชดำรัสช้ีแนะแก่พสกนิกรชาวไทย เพ่ือให้รอดพ้น สามารถพ่ึงพาตนเองและ
ดำรงอย่ไู ดอ้ ย่างมัน่ คงยงั่ ยนื ภายใตก้ ระแสโลกาภิวัตนแ์ ละการเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ
2. คุณลักษณะ (characteristics) เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาท่ีช้ีถึงแนวการดำรง
อยู่และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการ
พฒั นาและบรหิ ารประเทศใหด้ ำเนนิ ไปในทางสายกลาง พัฒนาอยา่ งเป็นขัน้ ตอน และระมัดระวงั ในแต่
ละขน้ั ตอน โดยเฉพาะการพฒั นาเศรษฐกจิ เพ่ือให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
3. คำนิยาม (definition) พอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึง
ความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวท่ีดีพอสมควรเพ่ือพร้อมรับผลกระทบใด ๆ อันเกิดจาก
การเปลี่ยนแปลง
4. เงือ่ นไข (condition) การปฏิบัติตามคำนิยามพอเพียง มีเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ
ได้แก่ ความรู้ และคุณธรรม
5. ผลที่คาดหมาย (expected result) การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยกุ ต์ใช้
คาดหมายว่าทุกภาคส่วนมีความพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดข้ึนอย่างรวดเร็ว และ
กว้างขวางจากโลกภายนอก นำไปสู่การพัฒนาท่ีสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมได้เปน็ อยา่ งดี
โดยสรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาเพ่ือทำความเข้าใจ 5 ส่วน ได้แก่
1) กรอบแนวคดิ คือ การรอดพ้นและดำรงอยไู่ ด้อยา่ งมั่นคงยั่งยนื 2) คุณลักษณะ คือดำเนินไปในทาง
สายกลางและเป็นไปตามลำดับข้ัน ประยุกต์ใช้ได้กับประชาชนและองค์การทุกภาคส่วน 3) คำนิยาม
ความพอเพียงต้องประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันท่ีดีในตัว 4) เง่ือนไข
ได้แก่ ความรู้และคุณธรรม และ 5) ผลท่ีคาดหมายว่าจะได้รับจากการนำปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
มาประยุกตใ์ ช้ คือ การพฒั นาทีส่ มดลุ มน่ั คง และยัง่ ยนื
494
3 หว่ ง 2 เงือ่ นไข
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักการสำคัญในส่วนของคำนิยามและเงื่อนไข ซ่ึงมักเรียกกัน
โดยทั่วไปว่า 3 ห่วง 2 เง่อื นไข เสมือนเป็นวิธกี ารและปัจจัยนำเขา้ ซ่ึงทำให้เกิดผลลัพธ์คือการพัฒนาที่
สมดุลและพร้อมรับการเปล่ียนแปลงต่าง ๆ ท่ีนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายสำคัญคือ ความสมดุล มั่นคง
และยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยรายละเอียดคำนิยามและเงื่อนไขมี
ดังน้ี
1. คำนิยามความพอเพียง คุณลักษณะของความพอเพียงมี 3 ประการ หรือที่เรียกกันว่า
3 หว่ ง ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมภี ูมคิ ุ้มกนั ที่ดีในตวั (จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา,
2549, หน้า 27-28; สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550, หน้า 13-15; เมตต์
เมตต์การุณ์จิต, 2556, หนา้ 175-177) ดงั รายละเอยี ด
1.1 ความพอประมาณ (moderation) หมายถึง ความพอดี ไม่มากเกินไป และไม่
น้อยเกินไปตามความจำเป็นและมีความเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมท้ัง
วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่ทำอะไรเกินตัว ไม่โลภมาก หรือเล็งผลเลิศจนเกินไป ไม่เบียดเบียน
ตนเองและผู้อื่น เช่น การใช้จ่ายในระดับที่พอประมาณตามฐานะ ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีความพอดีในการผลิต
และการบริโภค ฯลฯ อีกท้ังไม่ก่อหนี้สินโดยไม่จำเป็น แต่ต้องพิจารณาจากต้นทุนทมี่ ีอยแู่ ละดำเนินการ
ใหเ้ หมาะสมกบั ต้นทนุ ที่มีอยูจ่ รงิ
1.2 ความมีเหตุผล (reasonableness) หมายถึง การตัดสินใจเก่ียวกับระดับของ
ความพอเพียงน้ันจะต้องเป็นไปอย่างพอประมาณตามอัตภาพ มีเหตุผล ไม่ทำด้วยอารมณ์หรือ
ความรู้สึก ไม่ทำตามกันโดยไม่มีเหตุผล แต่กระทำด้วยความรู้จริงและรู้เท่าทัน มีวัตถุประสงค์ในการ
กระทำท่ีชัดเจน รู้จักเลือกระบบ กระบวนการวิธี เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีให้เหมาะสม ท่ี
สำคัญก่อนการตัดสินใจดำเนินการในเร่ืองใด ๆ ควรตระหนักคิดถึงเหตุและปัจจัยท่ีเกี่ยวข้องอย่าง
รอบคอบ ละเอียดถ่ีถ้วนตามหลกั วิชาการ หลกั กฎหมาย หลักศีลธรรม จรยิ ธรรมและวัฒนธรรมท่ดี งี าม
ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามมาอย่างรอบคอบจากการกระทำนั้น ๆ ทั้งในระยะส้ันและ
ระยะยาวไม่วา่ จะเกดิ ข้ึนกับตนเอง ผู้อนื่ สงั คม หรือส่งิ แวดลอ้ ม
1.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว (self-immunity or risk management) หมายถึง
ความไม่ประมาทและมีสติที่จะเตรียมตัวให้พร้อมรบั และปรบั ตัว เพื่อให้มีความเข้มแข็งสามารถรับมือ
กบั การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทั้งจากภายในและภายนอกทคี่ าดว่าจะเกดิ ข้ึน
ในอนาคตอนั ใกลแ้ ละไกลไดอ้ ย่างทันทว่ งที
2. เง่อื นไข การดำเนินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นไปอยา่ งสมบูรณ์ต้องอาศัย
2 เงือ่ นไข (มานติ กิตติจูงใจ, 2556, หน้า 42-51; เมตต์ เมตตก์ ารุณจ์ ิต, 2556, หนา้ 175-177) ดงั น้ี
2.1 เง่ือนไขความรู้ (knowledge condition) หมายถึง ความรอบรู้ (all around
knowledge) ทั้งรู้ตัวเองและความรู้ในวงวิชาการต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน และสามารถนำ
ความรู้ท่ีเหมาะสมนั้นมาใช้เช่ือมโยงหรือบูรณาการเพ่ือการวางแผนและการตัดสินใจดำเนินการใด ๆ
ตลอดจนลงมอื ปฏบิ ตั ิในทุกขนั้ ตอนอย่างรอบคอบ (prudence) และระมัดระวัง (careful)
495
2.2 เง่ือนไขคุณธรรม (moral condition) หมายถึง ความถูกต้องดีงามซ่ึงต้อง
ปลกู ฝังใหเ้ กดิ ข้นึ ในจิตใจ จนเกิดความสำนกึ และมีความตระหนกั โดยเฉพาะในเร่อื งความซอ่ื สัตยส์ จุ ริต
ความอดทน ความเพียร การแบ่งปัน และปัญญา กล่าวคอื ความซื่อสัตย์สุจริต (integrity) หมายถึง
มีความตรงตงั้ มนั่ ในศลี ธรรม จริงใจ ไมเ่ อนเอียง ไมม่ ีเลห่ เ์ หลีย่ ม ไมค่ ิดคดโกง สว่ นความอดทน (patience)
หมายถึง ความยืนหยัดด้วยจิตใจทเี่ ข้มแข็งในการกระทำการใด ๆ ที่ดี แม้มีอุปสรรคขัดขวาง ตลอดจน
ยับยั้งช่ังใจและระงับอารมณ์จากสิ่งย่ัวยุในทางท่ีไม่ดีต่าง ๆ ความเพียร (perseverance) หมายถึง
ความมานะบากบั่น อุตสาหะ ขยนั ไม่ท้อถอย ปฏิบัตอิ ย่างสมำ่ เสมอ ไมย่ อมลม้ เลิกในการทำงานใด ๆ
หรือการกระทำใด ๆ ที่ดี เพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าจนเกิดความสำเร็จ การแบ่งปัน (sharing) หมายถึง
การให้ความเอ้ือเฟ้ือ เผื่อแผ่ และช่วยเหลือในสิ่งต่าง ๆ เท่าที่จะให้ได้แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ และ
เหมาะสมตามกำลังความสามารถที่มีของตน และการมีปัญญา (wisdom) หมายถึง รู้ผิดชอบช่ัวดี
รู้บาปบญุ คุณโทษ รู้ถงึ เหตุและผล เพ่ือกำกับให้เกิดการกระทำที่เหมาะสม กล่าวกันวา่ สตินำพาให้เกิด
ปัญญา สตมิ าปัญญาเกิด
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายของคำว่าพอเพียง ซ่ึงประกอบด้วย 3
คุณลักษณะ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว โดยมีเง่ือนไข 2
ประการ คือ ความรู้ และคุณธรรม ที่ทำให้การดำเนินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นไปอย่าง
สมบูรณ์ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์คือการพัฒนาท่ีสมดุลและพร้อมรับการเปล่ียนแปลง และบรรลุเป้าหมายใน
ด้านเศรษฐกจิ สังคม สงิ่ แวดล้อม และวฒั นธรรม ท่มี ีความสมดุล ม่นั คง และยัง่ ยนื ดังสรุปตามภาพที่ 9.1
เปา้ หมาย ความสมดุล ม่นั คง และยง่ั ยนื
ของเศรษฐกจิ สงั คม สิ่งแวดล้อม และวฒั นธรรม
ผลลพั ธ์ การพฒั นาทส่ี มดลุ และพร้อมรบั การเปลี่ยนแปลงดา้ นต่าง ๆ จากภายนอก
ทางสายกลาง ความพอประมาณ ทางสายกลาง
วิธกี าร ความมเี หตผุ ล การมภี มู คิ มุ้ กนั
ท่ีดใี นตวั
ปัจจัย คุณธรรม
+นำเข้า ความซ่ือสตั ย์สุจรติ ความอดทน
ความรู้ ความเพยี ร การแบ่งปัน ปัญญา
รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
ภาพที่ 9.1 หลักการของปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง
496
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องสมบูรณ์ท้ัง 3 ห่วง และ 2 เง่ือนไข ดังกล่าวข้างต้น
เสมือนเป็นตัวแบบให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระดับบุคคลไปจนถึงองค์การระดับต่าง ๆ เพ่ือ
กอ่ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม แต่อย่างไรก็ดีหากนำไปประยุกต์ใช้เพียงบางองค์ประกอบ
ย่อมไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย เช่น ในองค์การมีแผนการทำงานที่ดีถูกต้องตามหลักวิชาความรู้ที่ได้
ศึกษาหาข้อมูล อีกทั้งผู้นำแผนไปปฏิบัติงานมีความรู้ที่ดี มีความสามารถในการทำงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ แต่หากขาดคุณธรรมในจิตใจ การดำเนินงานขององค์การย่อมเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ท่ีจะได้รับ อาจเกิดพฤติกรรมทุจริตในหน้าที่การงานจากความรู้ความสามารถท่ีมีของผู้ปฏิบัติงานซ่ึง
ทำได้อย่างซับซ้อนและยากจะจับผิด หรือหากการดำเนินงานขององคก์ ารใดเป็นไปอย่างพอประมาณ
มีเหตุผล ด้วยพื้นฐานของความรู้และคุณธรรม แต่ขาดการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี อาจยากที่จะรับมือกับ
ความเส่ียงท่ีเกิดข้ึนจากการเปล่ียนแปลงภายนอกองค์การก็เป็นได้ ฯลฯ ดังนั้นการนำหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ต้องให้ครบทุกองค์ประกอบ เพื่อให้เป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่สมบูรณ์แบบอย่าง
แท้จริงและสามารถบรรลผุ ลตามหลักการของปรัชญา คอื ความสมดลุ ม่ันคง และยั่งยนื
การดำเนนิ ชีวิตตามหลกั ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาท่ีมีความเป็นสากล คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกศาสนา
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตหรือการประกอบหน้าที่การงานใด ๆ อย่างไรก็ดีผู้คน
จำนวนไม่น้อยท่ียังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนและมีทัศนคติท่ีไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงในทำนองว่า ความพอเพียงเหมาะท่ีจะใช้กับคนจน ซ่ึงเป็นความคิดที่ผิด เพราะเศรษฐกิจ
พอเพียงเป็นธรรมะและหลักเศรษฐศาสตร์ไปพร้อมกัน จึงใช้ได้กับชีวิตประจำวันของทุกคน และทุก
องค์การ แต่การนำไปประยุกต์ใช้ ต้องให้เหมาะกับตัวเอง เพราะแต่ละคนมีความต่างกันในหลายด้าน
เช่น ต่างกันด้วยอายุ ต่างกันด้วยฐานะการเงิน ต่างกันด้วยสถานะทางสังคม ต่างกันด้วยสิ่งแวดล้อม
ฯลฯ ดังน้ันจึงต้องประมาณให้ได้ว่าตัวเราเป็นเช่นใด และควรดำเนินชีวิตอย่างไรจึงเหมาะสม (สมยศ
ศภุ กจิ ไพบูลย์ และคณะ, 2560, หน้า 173) นอกจากนห้ี ลายคนยังมีความคิดในลกั ษณะท่ีวา่ รายได้ยัง
ไม่เพียงพอ ไม่พอกิน ไม่พอใช้ แล้วจะใช้ชีวิตพอเพียงได้อย่างไร แต่ถ้าหากพิจารณากันในเชิงลึกกลับ
พบว่าผู้คนเหล่านัน้ บริโภคหรือใช้จา่ ยเกนิ พอดี ดังน้ันหากปรับการดำเนินชีวิตให้เป็นตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง จะพลิกจากความไม่เพียงพอ ให้กลายเป็นความพอเพียงในชีวิต เพราะการใช้ชีวิต
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไมเ่ พียงทำให้พอมี พอกิน พอใช้เท่าน้ัน แต่ยังช่วยพัฒนาหัวคิดให้
เกิดความรู้พอกพูน และพัฒนาจิตใจด้านคุณธรรมให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น จึงเห็นได้ว่าปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง ไมไ่ ด้บอกให้กินน้อย ใช้น้อย แล้วถงึ จะเรียกว่าพอเพียง แต่นำมาซ่ึงวิถีพอเพียง ให้
อยู่ได้โดยไม่ขัดสน พออยู่ พอกิน พ่ึงพาตนเองได้ และพัฒนาไปสู่การเผ่ือแผ่แบ่งปัน ที่สำคัญคือ
คำนึงถงึ อนาคต กล่าวคือไม่ใช่เพยี งมกี ินมีใชแ้ ค่ช่วงสัน้ ๆ แตต่ อ้ งมีความต่อเนื่องไปในระยะยาว (คณะ
วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร, 2556, หน้า 26-27)
การใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ใช่การกระเบียดกระเสียนจนเกิน
สมควร หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้ตามอัตภาพที่มี ไม่ใช้จ่ายเกินตัว หรือเกินฐานะท่ีหามาได้ เห็นได้ว่า
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิดท่ีมุ่งเน้นให้คนเราไม่ว่าอยู่ในฐานะผู้ผลิตหรือผู้บริโภค พยายามเร่ิมต้น
ผลิตหรือบริโภคภายใต้ขอบเขตความสามารถ หรือข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน
497
ซึง่ ก็คอื การพึ่งพาตนเอง เพิ่มขีดความสามารถในการควบคมุ การผลิตหรอื การบริโภคได้ด้วยตนเอง ลด
ภาวะการเสี่ยงจากความไม่สามารถของตนเอง ซ่ึงนำไปสู่การสร้างความมัน่ คงทางเศรษฐกจิ ได้ (วิสันต์
ท้าวสูงเนิน, 2560, หนา้ 50) เศรษฐกิจพอเพยี งเป็นปรัชญาทมี่ ีคณุ ค่าของสงั คมไทย ซงึ่ ชีแ้ นะแนวทาง
ให้บุคคล เน้นการพ่ึงตนเองเป็นหลัก กระทำการใดด้วยความพอดี ความสมเหตุสมผล เตรียมตัวให้
พร้อมรับกับผลกระทบจากการเปล่ียนแปลงของสภาพแวดล้อมท้ังภายในและภายนอก พัฒนาอย่าง
เป็นขั้นเป็นตอน อย่างรู้จรงิ รอบคอบ และระมัดระวัง ตลอดจนตง้ั ม่ันในคุณธรรม เพ่ือความสมดุลใน
การดำรงอยู่และดำเนินไปในทางสายกลาง ท้ังนบ้ี ุคคลท่ีนำหลักปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงไปใช้ในการ
ดำเนินชีวิต หรือประกอบหน้าท่ีการงานใด ๆ อย่างได้ผล จะถูกหล่อหลอมให้มีคุณสมบัติเหมือนกัน
หลายอย่าง เช่น มีความเพียร มีความซ่ือสัตย์ สนุกสนานกับการเรียนรู้และการสร้างปัญญาให้กับ
ตนเอง เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในสังคม และการอยู่ร่วมกับระบบนิเวศอย่างสมดุล มักคำนึงถึง
การบริโภคอย่างยั่งยืน มีความเคารพธรรมชาติ และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ฯลฯ ยิ่งถ้า
หากบุคคลรู้จักท่ีจะประเมินสถานการณ์ หรือประเมินตัวเองอย่างสม่ำเสมอให้รู้เท่าทันการ
เปลี่ยนแปลงและปฏิบัติเป็นกิจวัตรย่อมบังเกิดประโยชน์สุขตามมาที่ไม่เพียงเกิดแก่ตนเอง แต่ยังเกิด
แก่ครอบครัว องค์การ ชุมชน ท้องถ่ิน และประเทศชาติ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ, 2555, หน้า 78)
อย่างไรก็ดีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มิใช่
เพ่ือให้เกิดความพอดีเฉพาะเร่ืองเศรษฐกิจ แต่ควรให้ครอบคลุมทุกด้านท่ีเก่ียวข้องกับการใช้ชีวิต
กล่าวคือมีความพอดีทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ดา้ นจติ ใจ ดา้ นสังคมและวัฒนธรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และส่ิงแวดล้อม และด้านเทคโนโลยี (สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550, หน้า
22-23) ดังรายละเอียดตอ่ ไปนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ (economic aspect) คือ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด คิด
และวางแผนอย่างรอบคอบ มภี ูมิคุม้ กันไม่เสีย่ งเกนิ ไป การเผื่อทางเลอื กสำรอง
2. ด้านจิตใจ (mental aspect) คือ การฝึกตนให้มีจิตใจเข้มแข็ง ทำตนให้เป็นที่พึ่ง
ของตนเอง มจี ติ สำนกึ ท่ดี ี เอ้อื อาทร เห็นแก่ประโยชนส์ ่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตวั
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม (social and cultural aspect) โดยเน้นการช่วยเหลือ
เก้ือกูลซึ่งกันและกัน มีความรู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน ร่วมกันรักษา
เอกลกั ษณ์ ภาษา ภูมปิ ัญญา และวฒั นธรรมไทย
4. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม (natural resources and environment
aspect) คือ การรู้จักใช้และจัดการอยา่ งฉลาดและรอบคอบ ฟ้ืนฟูทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม
เพอ่ื ความยั่งยนื และคงอยชู่ วั่ ลูกหลาน
5. ด้านเทคโนโลยี (technological aspect) คือ การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
สอดคลอ้ งกบั ความต้องการและสภาพแวดล้อม ตลอดจนพฒั นาเทคโนโลยจี ากภมู ปิ ญั ญาชาวบา้ น
จากงานวิจัยซ่ึงสำรวจความรู้ความเข้าใจและการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
ของบุคคลและองค์กรต่างๆ โดยแนวทางการศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก
บุคคลที่มีบทบาทสำคัญและมีความรู้เก่ียวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ท้ังเกษตรกร นักวิชาการ นัก
ธุรกจิ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ และผ้นู ำชุมชน พบว่าผู้ให้ข้อมูลคนสำคญั ทุกกลมุ่ มคี วามรู้ความเข้าใจ
498
เป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มนักธุรกิจและนักวิชาการให้ความสำคัญกับ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสามหลักเท่ากัน คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมี
ภมู คิ ุ้มกันที่ดี ขณะท่กี ล่มุ เกษตรกรจะให้ความสำคัญกับหลักพอประมาณ ส่วนหลักอื่นเป็นผลพลอยได้
(สุขสันต์ อิทธวิทยาวาทย์, หน้า 95) เช่นเดียวกับการศึกษาในกลุ่มคนแวดวงอาชีพต่าง ๆ ซ่ึงรายงานว่า
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมระดับมาก (ชมพูนุท ศรีพงษ์, 2555,
หน้า 153; ไพบูลย์ พันธุวงศ์, จักรพงษ์ พวงงามชื่น, นคเรศ รังควัต และสายสกุล ฟองมูล, 2559, หน้า
190)
การศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าประชาชนประยุกต์ใช้ต่างกัน
ตามสภาพแวดล้อมและพ้ืนฐานอาชีพ แต่การประยุกต์ใช้ท้ังหมดล้วนต้ังอยู่บนหลัก 3 ห่วง 2 เง่ือนไข
ของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงอยา่ งเคร่งครัด (สขุ สันต์ อิทธวิทยาวาทย์, หน้า 95) เช่นเดียวกับการศึกษา
ซ่ึงรายงานว่า ทัศนคติต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ของประชาชนในสามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้แปรตามอาชีพ และความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกท้ังประชาชนใน
พ้ืนท่ีน้ีมีทัศนคติต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตทุกด้านในระดับ
มาก โดยประยุกต์ใช้ด้านเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาคือด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ด้านจิตใจ ดา้ นเทคโนโลยี และด้านสงั คม (ชมพนู ุท ศรีพงษ,์ 2555, หนา้ 153) นอกจากนีม้ ีรายงาน
การศึกษาซึ่งระบุว่า การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตท่ีดีของ
พนักงาน และยังพบว่าการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณ มีความ
สมั พันธ์กบั คุณภาพชวี ิตในด้านการพฒั นาการเรยี นรู้มากที่สดุ แสดงให้เหน็ ว่าหากมคี วามพอดี รู้จักคิด
และไตร่ตรองถึงการใช้จ่ายไม่ให้ฟุ่มเฟือยจนเกนิ ไป ใช้ปญั ญาได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาข้อมูลก็จะ
เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ทำให้รู้และเข้าใจการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมากข้ึน
และชว่ ยให้มีคณุ ภาพชวี ิตท่ีดขี ้ึนได้ ส่วนการดำเนินชีวิตตามหลักปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความ
มีเหตุผล มคี วามสัมพันธก์ บั คุณภาพชวี ติ ในด้านสภาพการอย่อู าศัย และด้านการพฒั นาการเรียนรู้มาก
ท่ีสุด แสดงให้เห็นว่าเม่ือตดั สินใจอย่างมีเหตุผล รอบคอบ ตลอดจนคำนึงถึงผลที่จะเกดิ ในอนาคตก็จะ
ส่งผลให้มีการตระหนักถึงสภาพแวดล้อมที่ดีและถูกสุขอนามัย เพื่อสร้างความสุข ความอบอุ่นให้กับ
คนในครอบครัว และการใช้ปัญญาไตร่ตรองหาเหตุผลอย่างเป็นระบบ จะสามารถช่วยในการพัฒนา
ตนเองให้ก้าวทันการเปลย่ี นแปลงของสังคม สิ่งแวดล้อม เพ่ือเปน็ ประโยชน์ต่อตนเองได้อีกด้วย อกี ท้ัง
การดำเนนิ ชีวิตตามหลักปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการมภี ูมคิ ุ้มกัน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชวี ิต
ในด้านความม่ันคงทางเศรษฐกิจมากที่สุด เนื่องมาจากการวางแผนโดยคำนึงถึงผลท่ีจะเกิดข้ึนใน
อนาคต ทำให้สามารถวางแผนทางด้านการเงินด้วยการออมเงินและเพ่ิมรายได้ เพื่อให้เพยี งพอต่อการ
ใช้จ่ายในอนาคตซ่ึงจะส่งผลให้ฐานะทางเศรษฐกิจของพนักงานมีความมั่นคงสูงขึ้นและมีคุณภาพชีวิต
ท่ีดีขึ้นได้ (วิโรจน์เจษฎาลักษณ์, ชนัญชิดา เจริญวัฒ, และหทัยชนก เตสยานนท์, 2558, หน้า 1,096-
1,097) นอกจากน้ีการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ
ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจส่วนตัวขนาดเล็ก (ธีระวฒั น์ จันทึก และจรีรัตน์ อินทรจำนงค์, 2557,
หนา้ 109)
499
จากตัวอย่างการศึกษาวิจัยทีก่ ลา่ วมาข้างต้นจงึ เห็นไดว้ ่า ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่
เพยี งแนวคิดทางอดุ มคติ หากแต่สามารถนำไปปฏบิ ัติใหบ้ งั เกดิ ความดีงามในการดำเนนิ ชวี ิต หรอื การ
ประกอบหน้าที่การงานใด ๆ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงช้ีแนะแนวทางและ
ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ดังนั้นประชาชนชาวไทยทุกภาคส่วนจึงต้องไม่เพียงแค่ได้ยิน ได้ฟัง หรือแค่
รับรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ควรพร้อมใจน้อมนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิตหรือการ
ดำเนินงานใด ๆ อย่างจริงจัง ตามรอยพระยุคลบาทของพระองค์ท่าน ให้สมกับการเป็นประชาชนชาวไทย
ผทู้ ่ีสำนึกในพระมหากรุณาธคิ ุณที่พระองค์ทา่ นทรงมีแก่แผ่นดนิ ไทยอย่างหาทส่ี ุดไม่ได้ หากทุกคนร่วมด้วย
ช่วยกนั ย่อมเกิดผลท่ีดีตอ่ ตนเอง สังคม และการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปอย่างสมดุล มั่นคงและย่ังยืน
นำพาความร่มเย็นเปน็ สุขแก่ประชาชนชาวไทยตลอดไป
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งกับภาคธุรกจิ และการประยุกตใ์ ช้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการ
ปฏิบัติหน้าท่ีการงานใด ๆ ของประชาชนทุกหมู่เหล่า และการบริหารงานของทุกภาคส่วนรวมไปถึง
การบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ด้วยการมีความพอประมาณ มีเหตุผล และมี
ภมู ิคุ้มกันท่ีดีในตัว โดยอาศัยความรคู้ ู่คุณธรรมเป็นเง่ือนไขพ้ืนฐาน เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง
จากภายนอกท่ีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบันท่ีมีความโลกาภิวัตน์ พลเมืองโลกสามารถติดต่อ
เช่ือมโยงถึงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทั้งในระดับปัจเจกชน ธุรกิจ และรัฐ ดังน้ันหากเกิดเหตุการณ์
ทางด้านสังคม หรือด้านเศรษฐกจิ หรือด้านอ่ืน ๆ ทเี่ กดิ ขึ้นในส่วนใดของโลกย่อมส่งผลกระทบต่อสว่ น
อื่นของโลกอย่างกว้างขวาง เม่ือเป็นเช่นนี้หากทุกภาคส่วนสามารถปรับตัวและพร้อมเผชิญรับการ
เปลี่ยนแปลงได้อย่างเข้มแข็ง ย่อมพัฒนาไปได้อย่างสมดุลและดำรงอยู่ได้อย่างม่ันคงและยั่งยืน
สำหรับการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ เริ่มมีขึ้นหลังจาก
ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ซ่ึงทำให้ผู้บริหารภาคธุรกิจได้เรียนรู้ ปรับตัว
และให้ความสนใจกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาประยุกต์กันอย่างกว้างขวางเพิ่มมากข้ึน
นับต้ังแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
2555, หน้า 25)
หลกั ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งกบั ความก้าวหน้าทางธุรกิจ
หากพิจารณาถึงการดำเนินงานทางธุรกิจ ผู้ประกอบการทุกรายต่างมุ่งหวังผลกำไรตอบแทน
และต้องการให้ธุรกิจเติบโตก้าวหน้าต่อไป ทำให้หลายคนมีความรู้สึกว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
น่าจะเหมาะสมกับภาคเกษตรกรรมและวถิ ีชีวิตของคนในชนบทมากกว่า หรืออาจมีความรู้สึกค้านในใจ
กบั การนำมาใช้ในการบรหิ ารธุรกจิ เพราะถ้าพอเพียงแล้วก็เหมือนกับว่าเป็นการจำกัดการแสวงหากำไร
หรือจำกัดการเจริญตบิ โตและความก้าวหนา้ ของธุรกิจ จึงดูเหมือนว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงดำเนนิ ไป
คนละทิศคนละทางกับการดำเนินงานทางธุรกิจท่ีต้องแข่งขัน เพื่อให้สินค้าหรือบริการจำหน่ายได้ มี
ลูกค้าเพิ่ม นำมาซึ่งรายได้และกำไรท่ีเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายท่ีต้องการ (อาชว์ เตาลานนท์, 2555, หน้า
1-2) แต่อันที่จริงแล้วปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ขัดกับหลักในการทำกำไร แต่การได้มาซ่ึงกำไรของ
ธรุ กิจจะตอ้ งไม่เอาเปรยี บผู้อ่ืน ไม่แสวงหากำไรจนเกินตัว ไม่เบียดเบียนประโยชน์ตา่ ง ๆของสังคม และ
500
ไม่ทำลายส่ิงแวดล้อม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555, หน้า
24) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังไม่ขัดแย้งเร่ืองระบบคิดของบรรษัทภิบาล เนื่องจากไม่ได้เน้นกำไร
สูงสุด เพราะเน้นความพอเพียงของทุกฝ่าย การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจหรือ
อุตสาหกรรมจึงตอ้ งไม่เพียงมุ่งความมปี ระสิทธภิ าพสูงสุดของการจดั การเพอื่ ใหก้ ิจการอยู่ได้อย่างดี ยัง
ตอ้ งม่งุ ประโยชน์แก่ผู้เก่ียวข้องด้วย (อภิชัย พันธเสน สรวิชญ์ เปรมชื่น และพิเชษฐ์ เกียรตเิ ดชปัญญา,
2546, หนา้ 259-260)
ในปัจจุบันการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ มุ่งเน้นในเร่ืองความยั่งยืนของธุรกิจเป็นเป้าหมาย
สำคัญมากกว่าเร่ืองผลกำไร กล่าวคือการดำเนินธุรกิจเมื่อก่อนน้ันต้องการปัจจัยหลักคือ เงินทุน
พนักงาน กระบวนการ และลูกค้า แต่มาในระยะหลังเริม่ ให้ความสำคญั กบั การรับผดิ ชอบตอ่ ผู้มสี ่วนได้
ส่วนเสียต่าง ๆ ของธุรกิจตลอดจนสิ่งแวดล้อม เน่ืองจากบทบาทของการเป็นบรรษัทภิบาลและความ
รับผดิ ชอบต่อสังคมกำลังอยู่ในกระแสสังคมทัว่ โลกและส่งผลกระทบมากข้ึนต่อธรุ กจิ เพราะหากไม่ทำ
ในเรื่องดังกล่าว ธุรกิจก็จะขาดการสนับสนุนจากผู้บริโภคและองค์การต่าง ๆ ในสังคม ทำให้อยู่ไม่ได้ใน
ท่สี ุด อย่างไรก็ดีการดำเนนิ การในเรือ่ งความรับผดิ ชอบต่อสังคมและส่ิงแวดล้อมของธรุ กิจส่วนใหญ่ยัง
ขาดจิตวิญญาณในการทำอยา่ งมีคุณธรรมที่แท้จรงิ เพราะยงั ทำเพียงเพ่อื ประชาสัมพันธ์ จึงทำใหธ้ รุ กิจ
ไมส่ ามารถยนื หยัดอยู่ได้อยา่ งม่ันคง ดงั น้นั ต้องทำให้คนของธรุ กจิ มีจติ วญิ ญาณในการขบั เคล่ือนซงึ่ ตอ้ ง
สร้างจิตวิทยาในการดำเนินงานน่ันก็คือการน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้
(อาชว์ เตาลานนท์, 2555, หนา้ 1-2) กล่าวกนั วา่ เง่อื นไขคุณธรรมของหลักปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งก็
ครอบคลุมและเป็นพลังของการขับเคลื่อนบรรษัทภิบาล รวมท้ังความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้น
เพื่อประโยชน์ทุกฝ่ายที่เก่ียวข้องกับธุรกิจอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงเพื่อสร้างภาพลักษณ์ท่ีดีและ
ประโยชน์ของธุรกิจเท่านั้น ดังนั้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นเสมือนกรอบท่ีครอบ
กระบวนการตัดสินใจทั้งหมดของการบริหารธุรกิจ เพราะเน้นทั้งเร่ืองความรู้และคุณธรรมที่จะ
นำมาใชใ้ นการตดั สินใจโดยการใช้เหตุผล ความพอประมาณ และการดูแลเรื่องความเสี่ยงเพ่ือให้ธุรกิจ
ดำรงอยู่ได้ อีกทั้งหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความจำเป็นและเป็นส่วนหน่ึงท่ีแยกส่วนออกไป
ไม่ได้ในการบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นแนวคิดการพัฒนาธุรกิจให้พร้อมรับกับการ
เปลี่ยนแปลงทั้งด้านต้นทุน ปัจจัยการผลิต สังคม สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยเน้นการบริหาร
ความเส่ียง ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันในตวั ท่ีดี ไม่ประมาท ไม่โลภเกินไป ขยายธุรกิจให้เหมาะสมกับกำลัง
ทุนและศักยภาพความถนัดของตนบนพ้ืนฐานการใช้ความรู้ คุณธรรม และการดำเนินการด้วยความ
รอบคอบระมัดระวงั (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555, หน้า 25)
จากบทสัมภาษณ์คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือ
เจริญโภคภัณฑ์ ผู้บริหารองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดระดับโลก ระบุว่า
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ปฏิเสธโลกาภิวัตน์ ไม่ย้อนสู่โลกยุคเก่า แต่ช่วยให้พ่ึงพาตนเองได้ ปฏิบัติตน
บนทางสาย และรบั มือกับกระแสโลกสมัยใหมไ่ ด้ ความพอเพียงจงึ ไม่ใช่การหยดุ นิ่งอย่กู ับที่ ขณะทโี่ ลก
กำลังก้าวหน้าอยู่ แต่คือความพอเหมาะพอสมควรกับช่วงท่ีเรากำลังเจริญเติบโต เพียงแต่อย่าทำอะไรท่ี
เกินตัว (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550, หน้า 97) และจากผล
สำรวจทัศนคติท่ีมีต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารระดับสูง ที่เป็นสมาชิกสมาคมส่งเสริม
สถาบันกรรมการบริษัทไทย พบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ขัดแย้ง
501
กบั เป้าหมายการดำเนินธรุ กจิ และยังชว่ ยส่งผลให้การระดมเงินทนุ ของธุรกิจงา่ ยขนึ้ ตลอดจนสามารถ
แข่งขันกับบริษัทอ่ืนในตลาดได้ ผู้บริหารยังมีความเห็นว่าการดำเนินธุรกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงส่งผลให้มูลค่าหนุ้ ของบริษัทดีขนึ้ และช่วยให้บริษัทดึงดดู ผู้ลงทุนได้มากขึ้น นอกจากนี้เมื่อนำ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ทำให้องค์การธุรกิจต่าง ๆ สามารถผ่านช่วงเวลาแห่งความ
ยากลำบากในคราววิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 นั้นมาได้ รวมทั้งยังช่วยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจที่มีระบบ
บรรษัทภิบาล ควบคุมกิจการให้มีความโปร่งใสภายใต้กรอบของจริยธรรมท่ีดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้
สว่ นเสียรอบด้าน สามารถดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ ยุติธรรม และโปรง่ ใสมากข้นึ บรหิ ารความ
เสี่ยงได้รัดกุมมากข้ึนอย่างต่อเน่ือง ตลอดจนมีมาตรการและกฎกติกาในการสร้างความเข้มแข็งทาง
ธุรกิจมากขึ้น เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันตนเอง (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ, 2555, หน้า 29-30) และมีรายงานการศึกษาซึ่งระบุว่าการบรหิ ารธุรกิจตามแนวคิดปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงมีอทิ ธิพลต่อผลสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (นฤมล สุ่นสวัสด์ิ, 2560,
หน้า 113)
นอกจากนี้การศึกษาการนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปทดลองใช้พัฒนาธุรกิจ พบว่า
กลุ่มตัวอย่างท่ีดําเนินกิจกรรมทางธุรกิจภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีต้นทุนต่ำกว่ากลุ่ม
ตัวอย่างท่ีดำเนินธุรกิจตามทฤษฎีบริหารธุรกิจของต่างประเทศ อีกท้ังมียอดจำหน่ายและมีผลกำไร
มากกว่ากลุ่มตัวอย่างท่ีดำเนินธุรกิจตามทฤษฎีบริหารธุรกิจของต่างประเทศ (สุชีรา ธนาวุฒิ, 2560,
หน้า 66) และมีผลการศึกษาในกลุ่มอุตสาหกรรมซ่ึงรายงานว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี
อทิ ธพิ ลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการดําเนินงาน หมายความว่าหากประยุกต์ใชห้ ลักปรชั ญา
เศรษฐกิจพอเพียงแล้วจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดําเนินงานดีขึ้น (สุกานดา กล่ินขจร และขวัญกมล
ดอนขวา, 2560, หน้า 5) เช่นเดียวกับการศึกษาในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งรายงานว่าความรู้และการ
ปรับประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (ไพบูลย์ พันธุวงศ์, จักรพงษ์ พวงงามช่ืน, นคเรศ รังควัต และสายสกุล ฟองมูล, 2559,
หน้า 190) และพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงกับผลการดำเนินงาน
(วาสนา ดษิ ฐพรม, 2556, หน้า 95) ในทำนองเดียวกับการศกึ ษาในกลุ่มวสิ าหกิจขนาดย่อมและขนาด
กลาง (SMEs) ซึ่งพบว่า การบริหารจัดการองค์การตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภาวะ
ผู้นำ สง่ ผลให้การดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดย่อมมีรายได้และยอดขายเพิ่ม รวมทั้งมีต้นทุนการผลิต
ท่ีเหมาะสม ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการ (เกศรินทร์ บัดทิม, 2558, หน้า 92) และ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่กำหนดไว้ในนโยบายหรือแผนการตลาด มีความสัมพันธ์กับความรู้สึก
มัน่ คงในการทำธรุ กิจ (กุณฑลี รื่นรมย์, 2556, หนา้ 50) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งยังเป็นแนวทางหน่ึง
ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถฟันฝ่าวกิ ฤตการณ์และอยู่รอดได้อย่างย่ังยืน แม้ว่าต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อม
ท่ีเปล่ียนแปลงและแข่งขันกันอย่างรุนแรงก็ตาม (นงลักษณ์ แสงมหาชัย, 2559, หน้า 155) ดังนั้น
ความเข้าใจที่ว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของความล้าสมัย ถอยหลังเข้าคลอง ขัดแย้งกับ
เป้าหมายการเติบโตของธุรกิจ สวนกระแสโลกาภิวัตน์ จึงไม่เป็นความจริงแต่อยา่ งใด แต่หลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง คือคำตอบของคำถามท่ีว่าจะบริหารธุรกิจอย่างไรให้บรรลุตามเป้าหมายที่ไม่ใช่
เพียงแค่ผลกำไร แต่ต้องบรรลุเป้าหมายสูงสุดคือความย่ังยืนอย่างมีความสุข ดังน้ันปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงไม่เพียงแต่ไม่ขัดขวางการแสวงหากำไรและความเจริญเติบโตของธุรกิจ แต่กลับเก้ือหนุนให้
502
ธุรกิจเติบโตอย่างเข้มแข็ง ช่วยให้ธุรกิจมีกำไรที่ต่อเนื่องในระยะยาว สามารถท่ีจะยืนหยัดอยู่ได้อย่าง
ยงั่ ยืน รวมไปถึงมคี วามมน่ั คง และเกดิ สมดุลในดา้ นต่าง ๆ ของธรุ กิจอกี ด้วย
การประยุกตใ์ ช้ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งในภาคธุรกิจ
จากบทสัมภาษณ์ คุณโฆสิต ป้ันเป่ียมรัษฎ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ ได้ให้แนวทางการน้อมนำ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจว่า ควรเร่ิมจากการเข้าใจสภาพธุรกิจของ
ตัวเอง และไม่ว่าธุรกิจอยู่ในสภาพไหนก็ปรับใช้ได้ ฉะน้ันกระบวนการเรียนรู้จึงมีความสำคัญ รวมทั้ง
ต้องทำความเข้าใจกับปัจจัยภายนอกในเร่ืองโลกาภิวัฒน์และเร่ืองอื่น ๆ ด้วย อีกท้ังการนำปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ต้องระเบิดจากข้างใน คือ มีศรทั ธา เชอ่ื ม่ัน เห็นคุณค่า และนำไปปฏิบัติอย่าง
จรงิ จัง (สำนกั งานพฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ, 2550, หน้า 18, 32)
การศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชน อย่างงานวิจัย
ระดับประเทศ เร่อื งการประยุกตพ์ ระราชดำรเิ ศรษฐกจิ พอเพียงกับอตุ สาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
ได้ระบุแนวทางการประยุกต์ใช้ไว้ 9 ประการ ได้แก่ 1) ใช้เทคโนโลยีท่ีถูกหลักวิชาการแต่มีราคาถูก 2) ใช้
ทรัพยากรทกุ ชนดิ อยา่ งประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด 3) เน้นการจ้างงานเป็นหลักโดยไม่นำเทคโนโลยี
มาทดแทนแรงงาน ยกเว้นกรณีก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลิตภัณฑ์ 4) มีขนาดการผลิตท่ีเหมาะสม
สอดคลอ้ งกับความสามารถในการบริหารจัดการ 5) ไม่โลภเกินไปและไม่เนน้ กำไรระยะสัน้ 6) ซื่อสัตย์
สุจริตในการประกอบการ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ไม่เอารัดเอาเปรียบแรงงาน และผู้จัดจำหน่าย
วตั ถุดิบ 7) เน้นการกระจายความเสี่ยงจากการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และหรือมีความ สามารถใน
การปรบั เปลี่ยนผลผลิตได้ง่าย 8) เน้นการบริหารความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อหนี้จนเกินขีด
ความสามารถในการบริหารจัดการ และ 9) เน้นการใช้วัตถุดิบท่ีมีภายในท้องถิ่นและการตอบสนอง
ตลาดภายในท้องถ่ิน ภูมิภาคตลาดภายในประเทศและตลาดตา่ งประเทศ (อภิชัย พันธเสน และคณะ,
2546, หน้า 259)
งานวิจัยระดับประเทศอีกโครงการ คือ การศึกษาพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการดำเนิน
ธรุ กิจอยา่ งย่งั ยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึงเก็บข้อมูลจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน
อุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ พบว่ามี 10 ประการ ได้แก่ 1) มองการณ์ไกลในการบริหารจัดการ และ
ตดั สินใจเชิงนโยบาย ไม่มุ่งหวังกำไรในระยะส้ัน แตค่ ิดถึงผลกระทบระยะยาว 2) ให้คุณค่าแก่พนักงาน
อย่างจริงใจและพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงการปลดพนักงานออกแม้แต่ในยามทุกข์ยาก
ทางเศรษฐกิจ 3) จริงใจและหวังดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจทั้งหมด รวมถึงประชากรและสังคม
4) ให้ความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมท่ัวทั้งองค์การ ไม่ใช่แต่เฉพาะผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ
เพียงอย่างเดยี ว 5) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสทิ ธิภาพและประสิทธิผล 6) ใช้และพัฒนาเทคโนโลยี
ในการผลิตหรือให้บริการทม่ี ปี ระสิทธภิ าพแต่ราคาไม่สูง โดยเฉพาะเทคโนโลยีในแบบไทย ๆ หรือแบบ
พื้นบ้าน 7) ขยายธุรกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปเม่ือพร้อมทุกด้านเท่าน้ัน ไม่ควรขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว
เพียงเพราะมีความตอ้ งการสินค้าหรือบริการในตลาดสูง 8) ลดความเส่ียงโดยมีผลิตภัณฑ์ท่ีหลากหลาย
มีตลาดที่หลากหลาย และลงทุนที่หลากหลายโดยอยู่บนพื้นฐานของความรู้จริง 9) แบ่งปันองค์ความรู้
ท่ีมีเพื่อพัฒนาตลาด และผลประโยชน์ที่ตกแก่ผู้บริโภคและสังคม และ 10) สร้างวัฒนธรรมองค์การท่ี
503
แขง็ แกร่งและมีจรยิ ธรรม ความอดทน ความขยนั หมั่นเพยี ร เป็นค่านยิ มพน้ื ฐาน (สุขสรรค์ กนั ตะบตุ ร,
2553, หนา้ 82-83)
จากงานวิจยั ท้ัง 2 โครงการข้างต้น พบว่ามแี นวปฏิบัติในการนำปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง
ไปประยุกตใ์ ช้กบั ภาคธุรกจิ ดงั ตอ่ ไปนี้
1. ใชท้ รัพยากรอย่างมีประสทิ ธิภาพ
2. ใชเ้ ทคโนโลยีที่ถกู หลักวิชาการแต่ราคาไม่สูง
3. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและรกั ษากำลงั คนให้คงอยู่กบั องค์การ
4. เน้นกำไรระยะยาว
5. กระจายความเสยี่ งด้วยการมีผลิตภณั ฑห์ ลากหลาย
6. รักษาประโยชน์และมคี วามซ่อื สัตยส์ ุจรติ ต่อผู้มีส่วนได้เสยี ของธรุ กจิ
7. ดำเนนิ และขยายธรุ กจิ ในขนาดทีเ่ หมาะสมกบั ความสามารถในการบริหารจัดการ
8. บรหิ ารความเสย่ี ง
9. ใชว้ ตั ถุดิบภายในท้องถิ่นและตอบสนองตลาดภายในทอ้ งถิ่นในเบื้องตน้
10. พฒั นานวตั กรรมในการดำเนนิ งานทุกมติ ิ
11. สร้างวัฒนธรรมองค์การใหแ้ ข็งแกรง่ ดว้ ยหลกั คุณธรรม
12. แบ่งปันองค์ความร้รู ะหวา่ งองค์การเพื่อประโยชน์แกผ่ ู้บรโิ ภคและสังคม
นอกจากนี้แนวปฏิบัติในการดำเนนิ ธุรกิจให้ยั่งยืนตามหลกั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้ถูก
จดั แบ่งเป็นออกเป็น 2 ระดับ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555,
หน้า 26-28) ดงั รายละเอียดต่อไปนี้
1. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับพื้นฐาน ประกอบด้วยการใช้ทรัพยากร
อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการบริหารความเส่ียง ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ทุกองค์การธุรกิจ
ดำเนินการอยู่แลว้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงธุรกิจท่ีจดทะเบยี นในตลาดหลักทรัพย์
2. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับก้าวหน้า ประกอบด้วยการมองการณ์ไกล
ในการบริหารจัดการและตัดสินใจเชิงนโยบาย การคำนึงถึงผลระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ขยายธุรกิจ
อย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนและผู้บริหารทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม
นำเทคโนโลยีมาใช้และพัฒนานวัตกรรมในทุกมิติอยา่ งต่อเนื่อง รักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้และ
สว่ นเสียของธรุ กิจ ที่สำคัญคือมีวัฒนธรรมองค์การท่ีเขม้ แข็ง เน้นจริยธรรม คุณธรรม ความเพียร และ
การแบง่ ปันความรู้เป็นคา่ นิยมรว่ มขององคก์ าร
จากการศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนซึ่งประกอบ
กิจการประเภทต่าง ๆ ได้แก่ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และธุรกิจบริการ ผลการวิจัย
พบวา่ แนวปฏิบัติที่มีความเป็นไปได้สูง ได้แก่ การทำธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบผทู้ ี่
เก่ียวข้องทุกฝ่าย รองลงมา ได้แก่ การจัดการธุรกิจท่ีเน้นการบริหารความเส่ียงต่ำ ไม่ก่อหน้ีเกินกำลัง
และดำเนินธุรกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่มีความม่ันคงในระยะยาว และหลักการไม่โลภมากจนเกินไป
และไม่เน้นกำไรระยะส้ันเป็นหลัก (ธนวุฒิ พิมพ์กิ และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์, 2557, หน้า 1) สำหรับ
ธุรกิจท่ีจะลงทุนในไอทีตามบริบทของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากผลการศึกษาวิจัยพบว่าต้อง
พิจารณาถึงความพอประมาณ กล่าวคือผู้บริหารไอทีต้องมีความเข้าใจในลักษณะและรูปแบบธุรกิจ
504
ของกิจการ ลงทุนในไอทีให้มีความเหมาะสมกับสภาพของกิจการ อีกทั้งต้องพิจารณาถึงความพร้อม
ตอ่ การเปล่ยี นแปลงหรือผลกระทบที่อาจเกิดข้ึนในอนาคต ซง่ึ เรยี กว่าภูมคิ ุ้มกันไอที โดยกิจการควรให้
ความสําคัญต่อการศึกษาหาความรู้ในไอทีอยู่เสมอ ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ
ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนหรือเผยแพร่ความรู้ในหน่วยงาน ทั้งน้ีการมีภูมิคุ้มกันไอทีและความ
พอประมาณในไอทีเป็นสองสิ่งท่ีต้องดําเนินการก่อน ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อความสมเหตุสมผลในไอที
โดยความสมเหตุสมผลในไอทีก่อให้เกิดประโยชน์แกก่ ิจการต่อไป (ณัทณรงค์ จตรุ ัส, ธีรวัฒน์ ไพบูลยก์ ุลกร
และวรี ยทุ ธ เจริญเรืองกิจ, 2555, หน้า 154-157)
อย่างไรก็ดีมีรายงานการศึกษาเก่ียวกับการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการ
จัดการธุรกิจของกลุ่มตัวอย่างจากภาคธุรกิจ พบว่าการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน
ตามลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ และลักษณะองค์การธุรกิจในบางประเด็น เช่น แตกต่าง
ตามอายุของผ้ปู ระกอบการ ลักษณะการดำเนนิ กิจการ เงินทุนเรมิ่ ต้นกิจการ ประเภทธรุ กิจ ระยะเวลา
ในการประกอบธุรกิจ และความเข้มแข็งของกิจการ (สุธาพร บำรุงยา และวุฒิชาติ สุนทรสมัย, 2558,
หน้า 72; ประภาพรรณ ไชยานนท์, 2553, หน้า 53-54; สุบรรณ เอ่ียมวิจารณ์, 2556, หน้า 161-162;
ทรงพล วันสูงเนิน และปิยนุช เวทย์ววิ รณ์, 2559, หน้า 1; ศศิเพ็ญ พวงสายใจ, สุขมุ พันธ์ุณรงค์ และ
พิมลพรรณ บุญยะเสนา, 2558, หน้า 39) แต่มีผลการศึกษาซ่ึงรายงานว่าการนำปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงไปประยุกต์ใช้ไม่ได้ขึ้นกับขนาดธุรกิจ (กุณฑลี ร่ืนรมย์, 2556, หน้า 50) และประเภทธุรกิจ
(ศศิธร มนัสวรากุล, 2554, หน้า 47-48) นอกจากน้ีมีรายงานการวิจัยซ่ึงระบุว่า ลักษณะของผู้บริหารธุรกิจ
การพัฒนากลยุทธ์การตลาด ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดย่อมตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง (ชัยวิชญ์ ม่วงหมี, 2559, หน้า 90-101) และจากการศึกษาในกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน
พบว่า การจัดการแบบพึ่งพาตนเอง และการจัดการเรียนรู้ของชุมชน มีอิทธิพลต่อการดำเนนิ งานตาม
หลกั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านชุมชนพอประมาณ (เสริมศรี สุทธิสงค์, เบญจ์ พรพลธรรม, พลศักดิ์
จริ ไกรศิริ และอำนวย บุญรันตไมตรี, 2557, หน้า 95) อีกท้ังวัฒนธรรมการทำงานและภาวะผ้นู ำแบบ
สร้างความเปล่ียนแปลงของผู้บริหารธุรกิจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการทำงานตามหลัก
ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สุรนิ ทร์ ชุมแก้ว และวิชยั อุตสาหจติ , 2559, หน้า 162) และมีรายงาน
การศึกษาซึ่งมีข้อค้นพบว่า คุณลักษณะผู้นำบารมี 4 ปัจจัย ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์เข้มแข็ง ความสามารถ
ทางการบริหาร การมุ่งปฏิบตั ิให้บรรลุผล และแบบอยา่ งทางจติ ใจเชิงคุณธรรม มีความสัมพันธ์อย่างมี
นัยสำคัญกับผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (นคเรศ ณ พัทลุง และยุวัฒน์
วฒุ เิ มธี, 2555, หนา้ 131)
สรุปได้ว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถน้อมนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกธุรกิจ
แต่การปรับใช้อาจแตกตา่ งกนั ไปตามบรบิ ทของธุรกิจ อย่างไรกด็ ีการประยุกต์ใช้ในเบื้องตน้ ส่ิงทีส่ ำคัญ
คือการเรียนรู้ ทั้งมีความรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้เก่ียวกับสภาพธุรกิจของตน และสภาพแวดล้อม
ภายนอกทส่ี ่งผลกระทบกับธรุ กจิ นอกจากนี้ต้องดำเนนิ งานในด้านต่าง ๆ ของกิจการให้อยู่บนพ้ืนฐาน
ของหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และมี
ความรู้คู่คุณธรรม โดยปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ย่อมนำพาธุรกิจให้รอดพ้นจากการคุกคามของ
สภาพแวดล้อมท่ีเกิดขึ้น แต่ที่สำคัญผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการขับเคล่ือนการดำเนินงานตามหลัก
505
ปรัชญาเศรษฐกิจ ตลอดจนเสริมสร้างความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับในการ
ปฏบิ ัติอยา่ งเหน็ คณุ ค่า มคี วามเชื่อมั่นถึงประโยชนส์ ขุ ทจี่ ะได้รับตามมาท้ังต่อตนเองและตอ่ องค์การ
ตวั อย่างการประยุกตใ์ ช้หลักปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งในภาคธุรกิจ
ผู้บริหารในหลายวงการธรุ กิจท่ัวประเทศไทยได้นอ้ มนำหลักปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงไป
ประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน พบว่าเกิดผลลัพธ์ท่ีดีทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม ดังการประยุกต์ใช้ใน
ธรุ กจิ ต่อไปนี้ซึ่งนำมาเปน็ ตัวอย่างในการศกึ ษาพอสงั เขป
บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (ธุรกิจขนาดใหญ่) ภายหลังจากเกิด
วิกฤตเศรษฐกจิ ส่งิ ที่บริษัททำอันดับแรกคือ ความพอประมาณ ด้วยการลดค่าใช้จ่าย ตัดทอนธุรกิจที่
ไม่มีความเช่ียวชาญ มุ่งเฉพาะธุรกิจที่เป็นจุดแข็งของบริษัท คือ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อส ร้าง ธุรกิจ
เคมีภัณฑ์ และธุรกิจกระดาษ ประเมินตัวเองด้านความสามารถในการลงทุน ไม่ทำให้มีภาระมาก
จนเกินไป ทำตามความสามารถที่มีอยู่ ไม่ทุ่มสุดตัว คำนึงถึงคำว่า พอ ตามกำลังและศักยภาพท่ีมี
ขณะเดียวกันกิจการมีความเจริญก้าวหน้าด้วย แต่การก้าวหน้าน้ีไม่ใช่เพียงเพื่อประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้น
เพียงอย่างเดียว ต้องสร้างคุณค่าให้สังคมและประเทศชาติด้วย ดังนั้นจำเป็นต้องบริหารและใช้
ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกทั้งกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การให้ชัดเจน เพ่ือเป็น
ทิศทางให้พนักงานท้ังองค์การมุ่งไป รวมถึงดำเนินการเตรียมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเป็น
ระบบ รับบุคลากรตามความจำเป็นและมีเหตุผล ดำเนินการสรรหา คัดเลือก และประเมินบุคลากร
โดยเน้นการบริหารตามหลักความสามารถ กำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจนเพื่อเป็นทิศทางการทำงานแก่
พนักงานทว่ั ท้ังองค์การได้มุง่ ไป จัดทำแผนและลงมือปฏิบตั อิ ยา่ งเป็นข้ันเป็นตอนตามช่วงเวลา
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน
และสังคม อีกท้ังลดต้นทุนสินค้าเพ่ือให้สามารถแข่งขันได้ ประกอบกับพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ
ท่ีสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ใช้งาน เน้นผลติ ภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมท่ีราคาไม่สูงขึ้นกว่าเดิม และสร้าง
จติ สำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมให้แก่ลูกค้าผ่านการใช้สินค้า พัฒนาทีมงานออกไปขายสินค้าในต่างประเทศ
เพ่ือชดเชยความต้องการท่ีลดลงในประเทศ มีเหตุและผลในการลงทุนท่ีต้องเข้าใจตลาดอย่างแท้จริง
กล่าวคือ ต้องรูจ้ ักลกู ค้าและให้ลูกค้ารู้จกั สินคา้ เราก่อน ขณะเดียวก็สร้างชื่อเสียงของสินค้าไปพร้อม ๆ กัน
หาหุ้นส่วนท่ีมีนสิ ัยใกลเ้ คียง สรา้ งภูมิคุม้ กันด้วยการพัฒนาบุคลากรซงึ่ เป็นคนในท้องถิ่นหรือในประเทศ
ทไ่ี ปลงทุนให้เป็นผู้นำทสี่ ามารถบริหารจดั การเองได้ มิใช่ส่งบุคลากรเดิมไปควบคุมคนในทอ้ งถิ่นนั้น ๆ
ให้ความสำคัญแก่บุคลากรทุกระดับในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของบรษิ ัทตลอดจนพัฒนาบุคลากรเพื่อ
เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต ในเร่ืองความรู้ โดยได้จัดการความรู้อย่างเป็นระบบ จัดตั้งกลุ่มช้าง
อาวุโสซึ่งเป็นบุคลากรของบริษัทที่เกษียณอายุไปแล้ว เพ่ือให้บริษัทได้อาศัยภูมิปัญญาและ
ความสามารถเมื่อจำเป็น พัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องและเพียงพอเพ่ือสร้างความได้เปรียบในระยะยาว
ส่งเสรมิ ให้พนักงานมีคุณธรรมสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การ คือเป็นทั้งเป็นคนเก่งและคนดีในแบบ
เครือซิเมนต์ไทย (ชลธร ดำรงศักดิ์, 2558, หน้า 35-40; มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตาม
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, 2555, หน้า 3-5; สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ, 2555, หนา้ 30)
506
บริษัทโตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด (ธุรกิจขนาดใหญ่) ผู้บริหารได้น้อมนำหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ดำเนินธุรกิจตามหลักพอประมาณ คือ
ไม่ได้มุ่งเน้นผลกำไรเป็นหลักอย่างเดียว แต่ยังเป็นเร่ืองของเทคโนโลยีท่ีสามารถนำมาเพิ่มการเรียนรู้
ใหค้ นไทย เน้นความประหยัดซึ่งไม่เพียงแคก่ ารใช้เงิน แต่ยังหมายถึงการใช้ส่ิงของให้มีความคุ้มคา่ มาก
ที่สุด มีเหตุผลด้วยการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงเหตุและผลอย่างรอบคอบ ส่วนในเร่ือง
ภมู ิคุ้มกนั ในตัวที่ดดี ้วยการมรี ะบบการตรวจสอบ การจัดการความเสยี่ ง จัดการองค์ความรู้ ใช้วัตถุดิบ
และใช้แรงงานในประเทศโดยเฉพาะการจ้างงานในพ้ืนที่ อีกท้ังผู้บริหารให้ความสำคัญในเรื่องการ
ส่ือสารกับพนักงานทุกระดับเพราะช่วยสร้างความเข้าใจและรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่จะต้องแก้ไข
ตลอดจนยังได้ใจพนักงาน หากธุรกิจประสบปัญหาใด ๆ พนักงานก็พร้อมสู้ไปด้วยกันกับบริษัท
สามารถฟันฝ่าอุปสรรคและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ นอกจากน้ีเห็นคุณค่าบุคลากรทุกระดับ มุ่ง
พัฒนาทักษะ ความรู้อย่างสอดคล้องกับการพัฒนาธุรกิจ เพื่อการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ปลูกฝัง
คุณธรรมในการประกอบอาชีพการงานให้แก่พนักงาน เน้นการมีใจสู้ ความพากเพียรเพื่อจะเรียนรู้สิ่ง
ใหม่ ๆ และพัฒนานวัตกรรมใหม่อย่างต่อเน่ือง อีกทั้งยังจัดกิจกรรมพอเพียงในระดับบุคคลให้แก่
พนักงาน รวมท้ังใส่ใจผู้มีส่วนเก่ียวข้องในการดำเนินธุรกิจทุกภาคส่วน (กนิษฐ (สุริยสัตย์) เมืองกระจ่าง,
2558, หน้า 111-116)
บริษัท ปตท.จำกดั (มหาชน) (ธุรกิจขนาดใหญ่) การดำเนินธุรกจิ ด้วยปรชั ญาเศรษฐกิจ
พอเพียงอยู่บนพื้นฐานของการไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น คำนึงถึงความเส่ียงท่ีจะกระทบต่อธุรกิจ และ
ไม่ขัดกับการแสวงหาผลกำไร ภายใต้การดำเนินธุรกิจด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักการ 3 ห่วง
2 เง่ือนไข กล่าวคือ 1) ความพอประมาณ เน้นการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักความพอดี ไม่เบียดเบียน
ตนเองและผู้อื่น เน้นการเติบโตอย่างเป็นข้ันเป็นตอน ให้ความสำคัญกับการมีผลกำไรท่ีพอเหมาะ
พิจารณาถึงผลกระทบในกระบวนการผลิต ทั้งต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นอกกิจการกลุ่มต่าง ๆ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งการผลิต การบริโภค และการใช้
ประโยชน์ 2) ความมีเหตุผล เน้นการเห็นคุณค่าและให้ความใส่ใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกล่มุ ได้แก่
พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่ค้า ลูกค้า คู่แข่ง เจ้าหน้ี ชมุ ชนและสังคม นอกจากนี้ให้ความสำคัญและดำเนินการ
วิเคราะห์สถานการณ์ทางธุรกิจ ส่ิงแวดล้อม และสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแผนการบริหารจัดการ
ทรัพยากรอย่างเป็นรูปธรรม อีกท้ังบริหารจัดการความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่าง
สมดุล เพ่ือนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของกิจการ 3) การมีภูมิคุ้มกัน โดยองค์การมีนโยบายและ
แผนการบริหารที่แสดงถึงความใส่ใจด้านความเสี่ยง ทั้งด้านธุรกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม คำนึงถึง
ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ และดำเนินการปรับตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ
เปล่ียนแปลงด้านต่าง ๆ ท่ีเกิดขึ้น นอกจากน้ีองค์การมีเครือข่ายทางสังคมจากการสร้างความสัมพันธ์
กับผมู้ ีสว่ นได้ส่วนเสียต่าง ๆ อีกทั้งจัดทำแผนและแนวทางการพัฒนาพนกั งานและครอบครวั โดยเน้น
สุขภาวะทด่ี ี ความปลอดภัย และการสร้างรายไดเ้ พิ่มแก่พนักงานและครอบครัว รวมท้ังจัดทำโครงการ
ด้านสังคมและส่ิงแวดล้อมในกระบวนการดำเนินธุรกจิ หลักอย่างเป็นรปู ธรรมและต่อเน่ือง 4) เง่ือนไข
ความรู้ ได้นำหลักความรู้และวิชาการที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการวางแผนและการบริหารจัดการของ
องค์การ เพ่ือให้เกิดความสมดุล ความย่ังยืน และการพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงขององค์กา ร
507
นอกจากน้ีส่งเสริมกระบวนการเผยแพร่ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง และประยุกต์ใช้กับพนักงาน ชมุ ชน
องค์การ ธุรกิจท่ีเก่ียวข้อง และสังคม 5) เง่ือนไขด้านคุณธรรม โดยส่งสริมให้พนักงานดำเนินชีวิตตาม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งมุ่งดำเนินงานธุรกิจด้วยความซ่ือสัตย์ สุจริต ภายใต้หลัก
คุณธรรมและจรยิ ธรรม นอกจากนสี้ ่งเสริมให้ผู้บรหิ ารและพนกั งานมจี ิตอาสาทำงานเพ่อื สังคม (บริษัท
ปตท.จำกัด (มหาชน), 2556, หน้า 24-31)
ชุมพรคาบาน่ารีสอร์ทและศูนย์กีฬาดำน้ำ (ธุรกิจขนาดกลาง) เน้นการทำธุรกิจเฉพาะ
ดา้ นที่ชำนาญ ต่อยอดธุรกิจหลกั เท่านั้น พ่ึงพาตนเองโดยผลิตสิ่งของใช้เอง และพ่ึงพาอาศัยกันโดยให้
พนักงานและครอบครัวผลิตส่ิงของมาขายให้กับองค์การ พ่ึงพิงกันโดยนำสิ่งของท่ีมีอยู่มากนั้นไป
แลกเปล่ียนกับสง่ิ ของบางอยา่ งจากชาวบ้าน มีเหตุผลดว้ ยการใช้ทรพั ยากรในท้องถ่ินอย่างค้มุ คา่ ครบ
วงจร และประหยัด เพ่ือลดต้นทุน จัดโครงสร้างองค์การใหม่ให้เรียบง่าย สร้างภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
ด้วยการใช้ภูมิปญั ญาท้องถิ่นในการสร้างสรรค์การใหบ้ ริการ มกี ารบริหารทหี่ ลากหลาย สร้างเครอื ข่าย
พันธมติ รทางธุรกิจระดับชุมชนและระดบั ต่างประเทศ นำภูมิปัญญาท้องถ่ินมาปรับใช้เพือ่ ต่อยอดเป็น
นวัตกรรม ในเรื่องความรู้ ดำเนินการโดยส่งเสริมและเปิดโอกาสให้พนักงานพัฒนาศักยภาพอย่าง
ต่อเน่ือง ส่งเสริมให้พนักงานได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร อบรมถ่ายทอดความรู้เศรษฐกิจพอเพียงแก่
พนักงาน ในด้านคุณธรรม เน้นการจ้างงานในพื้นที่เป็นสำคัญและดูแลพนักงานเหมือนสมาชิกของ
ครอบครัว ส่งเสริมการทำงานด้วยความซ่ือสัตย์สุจริต ช่วยเหลือกัน รักษาสภาพแวดล้อมและสร้าง
ทรัพยากรมาทดแทน ตลอดจนสนับสนุนชมุ ชน (สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย, 2552,
หนา้ 79; กระทรวงการตา่ งประเทศ, 2558, หนา้ 143)
บริษัทบาธรูม ดีไซน์ จำกัด (ธุรกิจขนาดกลาง) น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
ไม่เพียงเฉพาะในการดำเนินงานทางธรุ กิจ แต่ยังส่งเสริมการประยกุ ต์ใช้กบั การดำเนินชวี ิตของพนักงาน
ท้ังน้ีในการบริหารงานต้ังอยู่บนฐานคิดพอประมาณ เลือกดำเนนิ ธุรกิจท่ีมีความชำนาญ มีประสบการณ์
และทำได้ดีทีส่ ุด ขยายกิจการอย่างระมัดระวังโดยใช้เงินกำไรสะสมและเงินกใู้ นประเทศบางส่วน ไม่กู้
มากเกินความสามารถของกิจการ บรหิ ารจัดการสัดส่วนหนี้สินไม่ให้เกินเงินทุนด้วยอัตราหน่ึงต่อหน่ึง
และบริหารการเงินให้กระแสเงินสดรับมากกว่ากระแสเงินสดจ่าย พร้อมท้ังบริหารสินค้าคงคลังให้
เหลอื น้อยที่สุดและหมุนเวียนเร็ว ในด้านความมีเหตุผลโดยใช้มาตรฐานการรับรองคุณภาพมาควบคุม
กระบวนการผลิต ตลอดจนคำนึงและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนเก่ียวข้องและผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม
เพราะย่อมเกดิ ประโยชน์ต่อธรุ กิจตามมา สร้างภูมิคุ้มกันให้กบั ธุรกจิ ด้วยการดำเนินงานอยา่ งบูรณาการ
ที่สามารถป้องกันผลกระทบจากภายนอก จัดให้มีระบบที่ช่วยในการตรวจสอบการทำงาน จัดต้ัง
หน่วยงานเพ่ือบริหารจัดการความเสี่ยงโดยเฉพาะ วางแผนงานและงบประมาณด้านการตลาดเพ่ือ
สร้างตราสินค้าในตลาดโลก วิจัยและพัฒนาอย่างต่อเน่ืองเพ่ือคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ นอกจากน้ียึด
หลักรอบรดู้ ้วยการมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในองคก์ ารอย่างต่อเน่ือง และเรียนรูท้ ี่จะคิดค้น
นวัตกรรมใหม่ในการผลิตสินค้าและการดำเนินงาน ตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้เข้ามา
เรียนรู้ สำหรับในเรอ่ื งคุณธรรม ทางบริษัทยึดมัน่ บรหิ ารงานดว้ ยหลกั ธรรมมาภิบาล และดำเนินธรุ กิจ
508
อย่างมีคุณธรรมและจรยิ ธรรม ตลอดจนจัดทำและปฏิบัติตามคู่มือจรรยาบรรณของบริษัทอย่างเคร่งครัด
(มูลนิธสิ ถาบันวจิ ยั และพัฒนาประเทศตามปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง, 2555, หน้า 5-6)
บริษัทนิธิฟู้ดส์ จำกัด (ธุรกจิ ขนาดย่อม) สร้างแบรนด์สินค้าของตนเองจากความรู้ความ
ชำนาญในธุรกจิ อุตสาหกรรมอาหาร ใช้เงินทุนและกำลงั การผลติ ท่ีมอี ย่ใู ห้มปี ระสิทธภิ าพ ขยายกิจการ
ตามกำลังทุนและความสามารถ มุ่งความมีเหตุผลด้วยการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตอย่าง
ประหยัดและคมุ้ คา่ วิจัยและพฒั นาเพอ่ื เพม่ิ มลู ค่าผลิตภณั ฑห์ รือผลผลิตในทอ้ งถ่ินอยา่ งสมำ่ เสมอ เน้น
นโยบายการผลิตและการจัดการผ่านการรบั รองมาตรฐานสากล มีแผนวจิ ัยและพฒั นาสินคา้ โดยวัดผล
ทกุ 3 เดือน สรา้ งพันธมติ รร่วมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลติ ที่มีประสิทธิภาพ เพ่อื ทดแทนการ
นำเข้า สร้างผลิตภัณฑ์ท่มี ีเอกลกั ษณ์ สำหรับการมีภูมิคุ้มกัน ทำโดยปรับปรงุ และพฒั นาองค์การอย่าง
ต่อเนื่อง อบรมความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน กระจายความเสี่ยงโดยการหาผลิตภัณฑ์ใหม่ และขยายฐาน
ลกู คา้ บรหิ ารความเสี่ยง เช่น วางแผนงานทางการตลาด การผลิต ฯลฯ ในเร่อื งความรู้ คือการพัฒนา
และออกแบบเคร่ืองจักรใช้เองกวา่ รอ้ ยละ 95 นำวิชาการความรู้มาใช้ในการจดั การธรุ กจิ ให้เป็นระบบ
พฒั นาบุคลากรอย่างต่อเน่ือง ในเรอื่ งคณุ ธรรม คอื มุ่งบริหารอย่างเปิดเผยและเป็นธรรมต่อผู้เกี่ยวข้อง
ทุกฝ่าย มีจริยธรรม ซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร เอ้ือเฟื้อเสียสละ แก้ปัญหาทันทีเม่ือมีข้อร้องเรียน ดูแล
พนักงานด้วยการจัดสวัสดิการและให้ค่าตอบแทนท่ีมากกว่ากฏหมายกำหนด จ้างงานในชุมชน ใช้
ทรัพยากรในท้องถ่ินและคำนึงถึงผลกระทบท่ีเกิดกับชุมชน ปรับราคาสินค้าตามความจำเป็นเพ่ือให้
ลูกค้าได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ท่ีสำคัญตรวจสอบและรักษาคุณภาพสินค้า (สมาคมการจัดการงาน
บุคคลแหง่ ประเทศไทย, 2552, หนา้ 93; กระทรวงการตา่ งประเทศ, 2558, หนา้ 143)
บริษัทพรทิพย์ (ภูเก็ต) จำกัด (ธุรกิจขนาดย่อม) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกนำมา
ประยุกต์ใช้ในการบริหารธุรกิจของบริษัทจนทำให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ยึด
ความพอประมาณเป็นที่ตัง้ ไมเ่ น้นทำธรุ กจิ เพอ่ื แสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดยี ว แต่เน้นการพฒั นาแบบ
มีส่วนร่วมกับชุมชนและอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม พัฒนาธุรกิจและต่อยอดภูมิปัญญาท่ีมีอยู่ในท้องถ่ินจาก
ความชำนาญที่มี บริหารสภาพคล่องทางการเงนิ โดยจัดระบบเง่ือนไขของการชำระเงนิ ให้ได้มาเร็วกว่า
รายจ่าย จ้างแรงงานในจำนวนท่ีพอเหมาะกับงาน ดำเนินธุรกิจและขยายการลงทุนอย่างเป็นข้ันตอน
โดยเน้นเงินทุนจากกำไรสะสม และเงินกู้จากธนาคารของรัฐบางส่วน มีเหตุผลด้วยการจัดทำแผน
ธรุ กิจ เน้นคุณภาพของสินค้าบริการท่ีสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ พัฒนาสินค้าจาก
ภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่นและเลือกใช้วัตถุดิบท่ีมีอยู่ภายในท้องถ่ินและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นหลัก สำรวจ
ความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อให้มีฐานข้อมูลในการพัฒนาธุรกิจ ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะจากพนักงานทุกระดับเพ่ือสร้างความรู้สึกร่วมในการดำเนินธุรกิจ บริษัทได้สร้าง
ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจด้วยการจัดทำระบบมาตรฐานต่าง ๆ กระจายความเส่ียงด้วยการมีสินค้า
หลากหลาย ขยายตลาดไปยังห้างโมเดิร์นเทรดและต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับการรักษาลูกค้า
ประจำและสร้างลูกค้าใหม่ด้วยสินค้าที่มีคุณภาพสูง ตลอดจนพัฒนาสินค้าและการบริการให้เป็นท่ี
ประทับใจ ให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ และพันธมิตรธุรกิจ สำหรับเงื่อนไขความรู้ ดำเนินการ
โดยส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเพ่ิมทักษะ ความรู้ ความสามารถแก่พนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เปิด
509
โอกาสให้กลุ่มบุคคลภายนอกท้ังภาครัฐและเอกชนได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนศึกษา
วิเคราะห์รูปแบบธุรกิจของตนเองและคู่แข่ง รวมทั้งความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อใช้เป็นข้อมูลการ
วางแผนต่อไป สำหรับหลักคุณธรรมคือ ดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมมาภิบาล และความซื่อสัตย์สุจริต
ไม่ผลิตสินค้าแข่งขันกับชุมชนแต่ให้การสนับสนุน และร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นไปด้วยกัน อีกทั้ง
เปิดโอกาสให้ชุมชนสง่ สินคา้ เข้ามาขายในบริษัทได้ (มลู นธิ ิสถาบันวจิ ัยและพัฒนาประเทศตามปรชั ญา
เศรษฐกิจพอเพียง, 2555, หน้า 6-8)
จากผลการศึกษาวิเคราะห์ถอดบทเรียนประสบการณ์การดำเนินธุรกิจท่ีหลากหลายท้ัง
ธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ พบว่า
การดำเนินธุรกิจมีลักษณะดังนี้ 1) ยอมรับกำไรในระดับท่ีพอประมาณ ไม่แสวงหากำไรโดยการเอา
เปรียบผู้บริโภค หรือกระทำการที่ผิดกฎหมาย 2) ไม่ปฏิเสธการส่งออก แต่สร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
เพอ่ื ให้พรอ้ มรับกับการเปล่ียนแปลงต่าง ๆ 3) กู้เงนิ มาลงทุนเพือ่ ทำให้มีรายได้เพิ่ม แตม่ ีความสามารถ
ชำระหน้ี 4) ดำเนินธุรกิจอยา่ งมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ขยนั พากเพียร อดทน และมีความรบั ผิดชอบ
ต่อสังคม 5) พฒั นาประสิทธิภาพการผลิต 6) รักษาความสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธรุ กิจแก่
ผ้มู สี ว่ นไดเ้ สยี ไดแ้ ก่ พนกั งาน ผู้บริโภค และสงั คมโดยรวม 7) ไมไ่ ด้มีเป้าหมายสดุ ท้ายทีผ่ ลกำไร แต่อยู่
ท่ีการแบ่งปันเพื่อสร้างสังคมให้ดีข้ึน โดยมองตนเองว่าเป็นส่วนหน่ึงของชุมชน สังคม หากชุมชนอยู่
ไม่ได้ ธุรกิจของตนกอ็ ยู่ไม่ได้เช่นกัน
นอกจากน้ีการศึกษาองค์ประกอบรปู แบบการบริหารองค์การตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต กรณีศึกษาผู้ได้รับรางวัลการประกวดผลงานตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง พบวา่ รูปแบบการบรหิ ารท่ีทำให้ธุรกิจมีผลประกอบการทด่ี ี และมีความม่ันคงผา่ นพ้น
วิกฤตเศรษฐกิจมาได้ แบ่งเป็น 4 ส่วน กล่าวคือ ส่วนท่ี 1 มุมมองด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต
โดยมีรูปแบบการบริหารคือ การพัฒนาความสามารถของพนักงาน พร้อมทั้งส่งเสริมและช่วยเหลือ
พนักงานในด้านต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการพัฒนา การสร้างสรรค์นวัตกรรม และการคงคุณภาพ
วัตถุดิบ ส่วนท่ี 2 มุมมองด้านกระบวนการภายใน มีรูปแบบการบริหารคือ การใช้ทรัพยากรอย่างมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพฒั นาเทคโนโลยีการผลิต การบริหารความเส่ยี ง การแบง่ ปันความรู้
ท่ีมีเพื่อให้เกิดการพัฒนาในท้องถ่ินอ่ืน และการแบ่งปันข้อมูลที่มีเพื่อประโยชน์ร่วมกัน การจ้างแรงงาน
ประจำและแรงงานชั่วคราวจากในท้องถ่ิน เพ่ือกระจายรายได้สู่ชุมชน จ้างแรงงานท่ีมีความสามารถ
มีขนาดการผลิตที่สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการและสถานการณ์ ส่วนที่ 3 มุมมอง
ด้านลูกค้า มีรูปแบบการบริหารคือ การรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย การใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ
การเน้นตอบสนองตลาดในท้องถิ่น และการรักษาลูกค้าเก่าสรรหาลูกค้าใหม่ ส่วนท่ี 4 มุมมองด้าน
การเงิน พบว่ารูปแบบการบริหารคือ การมองการณ์ไกลในการบริหารจัดการ การขยายธุรกิจอย่าง
ค่อยเป็นค่อยไป การเน้นการบริหารความเส่ียงต่ำ การบัญชีโปร่งใสตรวจสอบได้ การเพ่ิมรายได้และ
ลดรายจ่าย (ณชพล สุริยเสนีย์, สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล, เกรียงศักด์ิ เจริญวงศ์ศักดิ์ และไวพจน์ กุลาชัย,
2560, หนา้ 43-45)
510
จากท่ีกล่าวมาจะเห็นได้ว่าการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ
สามารถนำไปใช้ได้กับกิจการทุกขนาด ไม่ว่าจะดำเนินธุรกิจประเภทใด โดย ปรับประยุกต์ใช้ให้
เหมาะสมกบั บรบิ ทของกจิ การและดำเนนิ การจริงจงั ย่อมเกิดผลลัพธ์ทดี่ ีตามมาแกธ่ รุ กิจอยา่ งแน่นอน
การบรหิ ารธรุ กิจตามหลกั ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง
การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพ่ือให้บรรลุเป้าหมายสำคัญคือ การ
พัฒนาที่สมดุล ม่ันคง และย่ังยืน มีหลักการสำคัญท่ีต้องปฏิบัติตามคำนิยามของคำว่าพอเพียง คือ
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี อีกท้ังวิถีแห่งความพอเพียงนี้ต้องอยู่บน
พื้นฐานของเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม ดังน้ันการบริหารธุรกิจให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล ม่ันคง และ
ย่ังยืน จึงต้องเป็นไปตามหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว และควรนำไปประยุกต์ใช้ให้
ครอบคลุมกิจกรรมหรือหน้าท่ีหลักของการบริหารธุรกิจทั้ง 5 ประการ ได้แก่ การเงินและการบัญชี
การผลิตและการดำเนินงาน การตลาด การจัดการองค์การ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดังมี
รายละเอียดตอ่ ไปนี้
1. การบริหารธุรกิจบนพ้ืนฐานของความพอประมาณ (business administration
based on moderation) ดำเนนิ ธุรกิจในขนาดท่ีพอดีตามกำลงั ความสามารถ เติบโตอย่างค่อยเป็น
ค่อยไป จัดหาทรัพยากรท่ีจำเปน็ และเพียงพอต่อการดำเนินงาน ตลอดจนใช้อย่างคุ้มค่าเกดิ ประโยชน์
สงู สุด บริหารงานให้เหมาะสมสอดรับกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง
ไปในแตล่ ะช่วงเวลา ทง้ั น้ีหน้าท่งี านการบริหารธุรกิจบนพ้นื ฐานของความพอประมาณ สรุปได้ดังนี้
1.1 ด้านการเงินและบัญชี วางแผนจัดหาเงินทุนและจัดสรรเงินทุนในการดำเนินงาน
อย่างเหมาะสมกับธุรกิจ ไม่ลงทุนเกินกำลัง ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ใช้จ่ายผิดประเภทในส่ิงท่ีไม่เก่ียวกับ
ธุรกจิ ลดคา่ ใชจ้ ่ายคงที่ และไม่สะสมสินทรัพย์ซ่งึ ไม่จำเป็นหรือไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธรุ กิจ ยอมรับ
กำไรในระดับที่พอประมาณมิใช่แสวงหาเพียงกำไรสูงสุดในทางบัญชี หวังผลกำไรในระยะยาวมากกว่า
ระยะส้ัน ท้ังน้ีเพื่อความมั่นคงและย่ังยืนของธุรกิจ หากมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาลงทุนเพ่ือให้เกิด
ประโยชน์ต่อการสร้างรายได้นน้ั ต้องมีความเหมาะสม ไมก่ ู้ยืมมากเกินไป คำนึงถึงความสามารถในการ
ชำระหนีห้ รอื ภาระผูกพนั ทางการเงิน
1.2 ด้านการผลิตและการดำเนินงาน จัดหาปัจจัยนำเข้าและเทคโนโลยีในการผลิต
อย่างเหมาะสมกับธุรกิจ โดยพยายามพ่ึงพาตนเองให้มากท่ีสุดก่อนจัดหาจากภายนอก เลือกผลิต
สินค้าหรือให้บริการในสิ่งท่ีธุรกิจถนัด ตามกำลังความสามารถ เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า
เพื่อให้กจิ การสามารถอยูร่ อดได้ และไมเ่ ส่ียงกบั การมสี นิ ค้าคงคลังมากเกนิ ไป
1.3 ด้านการตลาด เลือกส่วนตลาดท่ีเหมาะสมกับศักยภาพของธุรกิจในการเข้าไป
แขง่ ขนั กำหนดลูกคา้ กลุ่มเป้าหมายอย่างพอประมาณทำให้เกดิ ความชดั เจนถึงลักษณะและพฤติกรรม
การบริโภคของลูกค้า อันเป็นประโยชน์ต่อการผลิตสินค้าหรือให้บริการท่ีสามารถตอบสนองความ
ตอ้ งการของลูกค้าได้เป็นอยา่ งดี และทำให้สินคา้ หรอื บริการมีคุณค่าในสายตาของลูกคา้ ต้ังราคาอย่าง
เหมาะสมกับคุณภาพ สามารถแข่งขันได้และพอมีกำไร ส่งเสริมการตลาดด้วยการเลือกใช้ส่ือท่ีมี
ประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายในระดับท่ีพอควร เลือกช่องทางการจัดจำหน่ายท่ีเหมาะสมไม่เกินกำลัง
ของธุรกจิ ในการดำเนนิ งาน ขยายตลาดอย่างค่อยเป็นค่อยไปบนฐานทรัพยากรและความสามารถที่มี
511
1.4 ด้านการจัดการองค์การ วางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นข้ันตอนบนฐานของ
ทรัพยากรที่มี จัดโครงสร้างและอำนาจหน้าท่ีอย่างเหมาะสม ผู้บริหารเป็นแบบอย่างของการ
ดำเนินงานใด ๆ ท่ีมีความเรียบง่าย ใช้ทรัพยากรท่ีมีอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด ติดตาม
และควบคุมการดำเนินงานในระดับพอประมาณบนทางสายกลาง คือไม่จุกจิกจู้จี้ลงรายละเอียดมาก
เกินไป หรอื ปลอ่ ยปละละเลยอยา่ งไมส่ นใจ
1.5 ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วางแผนกำลังคนและคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติ
ตรงกับความต้องการในปริมาณท่ีเพียงพอต่อการดำเนินงาน บำรุงขวัญและกำลังใจพนักงานอย่าง
เหมาะสม ผู้บริหารต้องพอประมาณในความคิดและการแสดงความเห็นของตนเอง เพื่อเปิดโอกาสให้
พนักงานได้คิดและร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้พนักงานรู้สึกได้ว่าผู้บริหารให้ความสำคัญ ย่อมช่วย
เสริมสร้างแรงจูงใจในปฏบิ ตั ิงาน
“…คนเราเม่ือมีความสามารถที่ดีเป็นทนุ รอนอยู่ ก็จะไม่มีวันอับจน ย่อมหาทางสร้างตัว
สร้างฐานะให้กา้ วหนา้ ได้เสมอ ข้อสำคัญในการสรา้ งตัว สร้างฐานะน้ัน จะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป
ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วย
ความเรง่ รีบ ผลที่เกดิ ข้นึ จึงจะแน่นอนมีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชนแ์ ท้และยงั่ ยืน…”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เม่ือวันที่ 18
ธันวาคม พ.ศ. 2540 (สำนกั งานพฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ, 2550, หนา้ 7)
“…การรู้จกั ประมาณตน ได้แก่ การรู้จกั และยอมรบั ว่าตนมีภูมิปัญญาและความสามารถ
ด้านไหน เพียงใด และควรจะทำงานด้านไหน อย่างไร การรู้จักประมาณตนนี้ จะทำให้เรารู้จักใช้
ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับงาน และได้ประโยชน์สู งสุดเต็มตาม
ประสิทธิภาพ ทั้งยังทำให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ เพ่ือ
ปรบั ปรงุ ส่งเสรมิ ศักยภาพที่มอี ยใู่ นตนเองใหส้ งู ขึ้น…”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เม่อื วนั ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 (ซัม สาวพตั ร์, 2559, หนา้ 42)
“…การกู้เงินท่ีนำมาใช้ในสิ่งท่ีไม่ทำรายได้น้ันไม่ดี อันนี้เป็นข้อสำคัญเพราะว่าถ้ากู้เงิน
และทำใหม้ รี ายได้ กเ็ ท่ากบั ทำให้ใช้หนีไ้ ด้ ไมต่ อ้ งติดหนี้ ไมต่ ้องเดอื ดร้อน ไมต่ อ้ งเสยี เกยี รติ…”
พระราชดำรัสในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เม่ือวันท่ี 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
(สำนกั งานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550, หนา้ 35)
2. การบริหารธรุ กิจบนพ้ืนฐานของความมีเหตุผล (business administration based
on reasonableness) เป็นการตระหนักคิดถึงเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลท่ีคาดว่า
จะเกิดข้ึนและผลกระทบที่ตามมาจากการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่มีต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียของ
ธุรกิจอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจ ท้ังน้ีหน้าท่ีงานการบริหารธุรกิจบนพ้ืนฐานของความมีเหตุผล
สรุปไดด้ งั น้ี
512
2.1 ด้านการเงินและบัญชี การลงทุนหรือใช้จ่ายเงินเพื่อการดำเนินกิจกรรมใด ๆ
ของธุรกิจให้อยู่ในระดับพอประมาณ การกู้ยืมเงินหากมีความจำเป็นเพ่ือนำมาใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจ
ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบบนฐานความรู้จริง คำนึงถึงเหตุและผล ความเหมาะสมกับฐานะทางการ
เงินของธุรกิจ ความเป็นไปได้ ความคุ้มค่า ตลอดจนสามารถอธิบายความดังกล่าวได้อย่างชัดเจนเพื่อ
ประกอบการตดั สินใจได้อย่างถกู ต้อง และการรับรูเ้ ข้าใจท่ถี ูกต้องตรงกนั โดยไม่เคลือบแคลงสงสัยของ
ผมู้ ีสว่ นได้สว่ นเสียท่เี กย่ี วข้อง
2.2 ด้านการผลิตและการดำเนินงาน พิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจ และการวาง
แผนผังการผลิตภายในธุรกิจอย่างรอบคอบ คำนึงถึงทรัพยากรการผลิตท่ีมีภูมิปัญญาท้องถ่ินและ
ความรู้ดั้งเดิมจากฐานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในพ้ืนท่ี ใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างมี
ประสิทธิภาพ ไตร่ตรองขอ้ ดขี อ้ เสียของเทคโนโลยเี พื่อเลอื กใช้ให้เหมาะสม วางแผนการผลิตให้มีสินค้า
หรือการบริการในปริมาณและในห้วงเวลาที่ต้องการ เพ่ือให้เกิดความสมดุลกับความต้องการของ
ผู้บริโภค อีกทั้งมีความยืดหยุ่นในการปรับเปล่ียนการผลิตสินค้าหรือบริการตามความต้องการและ
กระแสความนยิ ม
2.3 ด้านการตลาด การตัดสินใจดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด
ท้ังผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด และด้านอื่น ๆ ต้องพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ
ท่ีเก่ียวข้อง ตลอดจนวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบถึงความเหมาะสมกับต้นทุนและความคุ้มค่าที่
ธรุ กิจจะไดร้ ับตอบแทนกลบั มา และผลกระทบท่มี ตี ่อผมู้ สี ่วนได้เสีย
2.4 ด้านการจัดการองค์การ พิจารณาถึงเหตุและผลในการดำเนินการโดยต้องให้มี
ความเช่ือมโยงและสอดรับกันท้ังองค์รวมของหน้าท่ีงานการจัดการ คือ การวางแผน การจัดองค์การ
การนำ และการควบคุม อกี ท้ังสองคล้องกบั บริบทองค์การ
2.5 ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีเหตุผลตามหลักวิชาความรู้ หลักกฎหมาย
ศีลธรรม และกฎเกณฑ์ทางสังคม ในการดำเนนิ กิจกรรมการจัดการทรัพยากรมนษุ ย์ เชน่ การวางแผน
กำลังคน การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรมพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจ่าย
ผลตอบแทน ฯลฯ
“…ทุกคนจำเป็นต้องหม่ันใช้ปัญญาพิจารณาการกระทำของตนให้รอบคอบอยู่เสมอ
ระมัดระวังทำการทุกอย่างด้วยเหตุผล ด้วยความมีสติและด้วยความรู้ตัว เพ่ือเอาชนะความช่ัวร้ายทั้ง
มวลให้ได้โดยตลอด และสามารถก้าวไปถงึ ความสำเรจ็ ทแ่ี ท้จรงิ ทง้ั ในการงานและการครองชีวติ …”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวนั ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 (ซมั สาวพตั ร์, 2559, หนา้ 79)
“…ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่มีทางแก้ไขได้ ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก การคิด
ได้ดีน้ัน มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกล เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมาก
เพียงใดก็ตาม ก็ยังไม่มีเคร่ืองมือวิเศษชนิดใดสามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ การ
คบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญาคือคิดด้วยสติ รู้ตัวอยู่เสมอ เพ่ือหยุดยั้งและป้องกันความ
513
ประมาทผิดพลาดและอคติต่าง ๆ ไม่ให้เกิดข้ึน ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เป็นไป
อย่างเท่ยี งตรง ทำให้เห็นเหตเุ ห็นผลทเี่ กย่ี วเนือ่ งกันเป็นกระบวนการได้กระจา่ งชดั ทุกขนั้ ตอน…”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวันท่ี 1 สิงหาคม พ.ศ. 2539 (ซมั สาวพตั ร์, 2559, หน้า 79)
“…ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดท่ีเป็นอยู่แก่เราในวันนี้ ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเร่ืองนั้นคือ
เหตุ สิ่งท่ีได้รับคือ ผล และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก คือ ทำ
ให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานท่ีต้องการได้ แล้วการทำงานของท่าน ก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ
ต่อเน่ืองกันไปอีก ไม่หยุดย้ัง ดังน้ันท่ีพูดกันว่า ให้พิจารณาเหตุผลให้ดีน้ัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้
พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีน่ันเอง คนเราโดยมากมักนึกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เรา
ทราบไม่ได้ แต่ท่ีจริงเราย่อมจะทราบได้บ้างเหมือนกัน เพราะอนาคต ก็คือ ผลของการกระทำใน
ปจั จุบนั …”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมอื่ วันท่ี 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (ศูนย์บรหิ ารกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, 2554)
3. การบริหารธุรกิจบนพื้นฐานภูมิคุ้มกันท่ีดีในตัว (business administration based
on self-immunity or risk management) พิจารณาถึงการเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึ้น และเข้าใจ
ธรรมชาติของการเปล่ยี นแปลง กล่าวคือ ทุกส่ิงทุกอยา่ งยอ่ มเปลย่ี นแปลง มีเหตุปัจจัยท่ีทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงซ่ึงเหตุปัจจัยนั้นอาจจะมาจากภายนอกหรือภายใน รวมท้ังเป็นเหตุปัจจัยท่ีควบคุมได้หรือ
ควบคุมไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงเป็นวงจรท่ีมีทั้งขาขึ้นและขาลง ผลกระทบจากการเปล่ียนแปลง ได้แก่
ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ซ่ึงอาจเกิดรุนแรงและกว้างขวางได้ (เกษม วัฒนชัย,
2551, หน้า 16) นอกจากนี้ต้องพิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต
เพื่อตระหนักถึงความไม่ประมาท และเตรียมความพร้อมอย่างเป็นพลวัตตามกระแสการเปลี่ยนแปลง
ย่อมช่วยให้ธุรกิจมีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง สามารถก้าวข้ามวิกฤตการณ์ซ่ึงส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวของธุรกิจก็คือการบริหารและควบคุมความเสี่ยง
นั่นเอง ท้ังน้ีการบริหารธุรกิจบนพื้นฐานภูมิคุ้มกันท่ีดีในตัวตามหน้าที่งานหลักของการบริหารธุรกิจ
สรปุ ไดด้ ังน้ี
3.1 ด้านการเงินและบัญชี กำหนดกำไรสะสมไว้เป็นทุนหมุนเวียนท่ีเหมาะสม และ
เป็นเงินสำรองเพื่อการลงทุนขยับขยายพัฒนาธุรกิจ ลดการพึ่งพาหรือการกู้ยืมจากภายนอกเท่าท่ีจะ
ทำได้ สรา้ งภมู ิคมุ้ กนั ด้วยการจัดสรรเงนิ ทุนในระบบประกันภัย เพ่ือลดความเสยี่ งจากเหตุการณ์ต่าง ๆ
ท่ีไม่คาดคิดในอนาคต การใช้เคร่ืองมือทางการเงิน เช่น ตราสารอนุพันธ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากความ
ผันผวนของค่าเงิน อัตราดอกเบ้ีย ฯลฯ ประเมินความเสี่ยงทางการเงินอย่างสม่ำเสมอเพ่ือกำหนด
มาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้า ตลอดจนนำเสนอข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียอื่นที่เกี่ยวข้อง เพ่ือสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจ นอกจากนี้หากจำเป็นต้องกู้ยืมเงินมา
ลงทุนในการดำเนินงานเพ่ือกอ่ ใหเ้ กิดรายได้ ควรเลอื กแหล่งเงินทุนชนิดท่ีมีความเส่ียงต่ำ พยายามลดหนี้
และปลดหนี้ใหไ้ ด้
514
3.2 ด้านการผลิตและการดำเนินงาน ส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตในท้องถ่ินเป็น
เบ้ืองต้นเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลและสร้างสัมพันธ์ท่ีดีกับคนในท้องถ่ิน คาดคะเนถึงความต้องการสินค้า
หรือบริการในอนาคต เพ่ือเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเตรียมปัจจัยการผลิตและ
เทคโนโลยี เพ่ือปรับปรุงพัฒนาสินค้าหรือการบริการให้ทันกับความต้องการของลูกค้า มีสินค้าหรือ
บริการท่ีหลากหลายแต่อยู่ในลทู่ างที่ถนดั สร้างพันธมิตรหรือเครือข่ายการดำเนนิ งานทางธรุ กิจท่ีดีกับ
บุคคลหรือองค์การอน่ื ภายนอก เชน่ ผู้จัดหาปัจจัยการผลติ ให้กบั ธรุ กิจ แหล่งผลติ อืน่ ภายนอก ฯลฯ
3.3 ด้านการตลาด การเลือกตลาดที่จะเข้าไปดำเนินงาน ต้องศึกษาและเข้าใจถึง
สภาพตลาดน้ัน ๆ ในมิติต่าง ๆ อย่างถ่องแท้ เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค สภาพการแข่งขัน สังคม
วัฒนธรรม กฎระเบียบ ฯลฯ อีกท้ังศึกษาในเรื่องดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
หรือความผิดพลาดใด ๆ พัฒนาสินค้าหรือบริการให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นท่ียอมรับและมีความ
หลากหลาย รวมทัง้ สร้างสมั พนั ธ์อนั ดีกบั ลกู คา้ เพอ่ื มดั ใจให้ลกู ค้ามีความภักดตี อ่ สินค้าหรอื บริการของ
ธุรกิจ ตลอดจนส่งเสริมการตลาดและมีช่องทางการตลาดที่หลากหลายตามความสามารถท่ีจะทำได้
เพ่อื เปน็ ทางเลือกแกล่ ูกค้าท่ีจะเขา้ ถึงสินค้าและบริการของธุรกจิ ไดส้ ะดวกขน้ึ
3.4 ด้านการจัดการองค์การ เตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ท้ัง
ภายในและภายนอกซึ่งคาดว่าจะเกิดข้ึนและส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ด้วยการวางแผนการดำเนินงาน
ตลอดจนแผนการบริหารความเส่ียงทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกจิ ใหพ้ ร้อมเผชิญและรับมือได้
อย่างมีประสิทธิภาพ รวมท้ังการปรับโครงสร้างงานและอำนาจหน้าที่เพื่อให้มีโครงสร้างองค์การซึ่ง
สามารถรองรับการดำเนินงานตามแผน ตลอดจนมีความคล่องตัวและสะดวกรวดเร็ว ผู้บริหารต้อง
พัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นำสมัยใหม่ที่ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง เลือกใช้เทคโลยีที่เหมาะสมและมี
ความคุ้มค่าต่อการบริหารงานภายในองคก์ าร ตลอดจนมีพลังกายและใจที่เข้มแขง็ ในการบริหารงาน อีกทั้ง
เสริมสรา้ งวัฒนธรรมและบรรยากาศการทำงานทด่ี ี บำรุงขวัญและกำลงั ใจแก่ผู้ใต้บังคับบญั ชา นอกจากนี้
ต้องวางระบบการควบคุมการดำเนินงานท้ังระบบงานและระบบคน เพ่ือให้งานเป็นไปตามแผนอย่างมี
ประสิทธิภาพ ผู้ปฏิบัติงานมีพฤติกรรมการทำงานที่ดี เกิดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่า
ป้องกันการสูญเสยี และความเสยี หายใด ๆ ทีจ่ ะเกิดแกธ่ ุรกจิ
3.5 ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการใช้แรงงานในท้องถิ่น พัฒนาพนักงาน
อย่างต่อเน่ือง เพื่อให้มีสมรรถนะท่ีเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
เพราะพนักงานเป็นศูนย์กลางของการสร้างรากฐานองค์การธุรกิจให้เข้มแข็ง สร้างเสริมบรรยากาศ
การเรียนรูแ้ ละการแลกเปล่ียนเรียนรรู้ ะหว่างพนักงาน เพอื่ การพฒั นาตนเองและพัฒนางาน ตลอดจน
กระชับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้ความสำคัญถึงคุณค่าของพนักงาน เข้าใจในความแตกต่างของ
พนักงาน เสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ เพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรม
การปฏิบัตงิ านทีด่ ีและภักดตี ่อองค์การ พยายามเลี่ยงการปลดพนักงานออกแม้ในยามที่ธรุ กิจเผชญิ กับ
ปัญหาทางเศรษฐกิจ เพราะพนักงานคอื สินทรัพย์ขององค์การที่มคี ณุ ค่าและสามารถพัฒนาได้
515
“…การปฏิบัติงานให้ได้ผลดังปรารถนาน้ัน จำเป็นต้องมีหลักและวิธีการท่ีถูกต้อง
เหมาะสม หลักสำคญั ประการหน่งึ คอื การศึกษาสภาพความจริงของงาน ของบุคคล ของสังคม ภาวะ
แวดล้อมอน่ื ๆ ให้กระจา่ งอยา่ งทว่ั ถึง…”
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ
วนั ท่ี 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 (ไทยรัฐออนไลน์, 18 ตุลาคม 2559)
“…วิถชี วี ติ มนุษย์นนั้ จะใหม้ คี วามปกติสขุ อยา่ งเดียวไม่ได้ จะต้องมที ุกข์ มภี ัย มีอุปสรรค
ผ่านเข้ามาด้วยเสมอ ยากจะหลีกเลี่ยงพ้น ข้อสำคัญอยู่ท่ีทุกๆ คน จะต้องเตรียมกาย เตรียมใจ และ
เตรียมการณ์ให้พร้อมทุกเวลา เผ่ือเผชิญและแก้ไขความไม่ปกติและเดือดร้อนท้ังนั้น ด้วยความไม่
ประมาท ด้วยเหตุผล ด้วยหลักวิชา และด้วยความสามัคคีธรรม จึงจะผ่อนหนักให้เบา และกลับร้ายให้
กลายเป็นดไี ด้…”
พระราชดำรัสพระราชทางแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสข้ึนปีใหม่ เมื่อวันท่ี 31 ธันวาคม
พ.ศ. 2527 (วชั รินทร์ เรยี ม, 2559, หนา้ 90)
“….การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญน้ันจะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มี
อยู่ก่อนท้ังส้ิน ถ้าพ้ืนฐานไมด่ ีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพ่ิมเติมเสริมต่อให้เจรญิ ขึ้นไปอีกน้ัน
ยากนักที่จะทำได้ จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังต้องพยายาม
รักษาพ้ืนฐานให้ม่ันคง ไม่บกพร่อง พร้อม ๆ กันไปด้วย การรักษาพื้นฐานก็คอื การปฏิบัติบริหารงานท่ี
ทำอยเู่ ปน็ ประจำน้นั ไมใ่ ห้บกพรอ่ ง…”
พระบรมราโชวาทในพธิ ีพระราชทานปรญิ ญาบัตรแกบ่ ัณฑติ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย เม่ือ
วนั ท่ี 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (ศูนยบ์ ริหารกลาง จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั , 2554)
4. เงื่อนไขความรู้ในการบริหารธุรกิจ (knowledge condition for business administration)
การก้าวให้ทนั ตอ่ กระแสโลกาภวิ ัตน์ ต้องรอบรู้ในธุรกจิ ท่ีดำเนินการ ติดตามขอ้ มูลสารสนเทศตา่ ง ๆ ที่
เป็นประโยชน์ในการประกอบการเพื่อเสริมสร้างความรู้ รวมท้ังศึกษาความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้อง
ใช้ความรู้อย่างเหมาะสม รอบคอบ และระมัดระวัง เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ท่ีเอื้อ
ประโยชน์ต่อการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากย่ิงขึ้น รายละเอียดของเง่ือนไขความรู้ในหน้าท่ีงาน
หลักของการบรหิ ารธรุ กจิ สรุปไดด้ งั น้ี
4.1 ดา้ นการเงินและบัญชี การตดั สินใจลงทุนต้องศึกษาสภาพแวดล้อมและหาขอ้ มูล
ที่เกี่ยวข้องเพื่อการลงทุน รวมไปถึงการจัดหาแหล่งเงินทุนท่ีเหมาะสมกับประเภทธุรกิจและมีความ
เสยี่ งจากความผันผวนจากปัจจยั ตา่ ง ๆ จากภายนอกให้น้อยทสี่ ุด วเิ คราะห์ถึงความคุ้มค่าอย่างถูกตอ้ ง
ตามหลักวิชาการ ตลอดจนบันทึกและสรุปข้อมูลทางการเงินได้อย่างถูกต้องและตรงตามหลักการทาง
บัญชี และสามารถนำมาใช้ประโยชนเ์ พ่ือการตัดสนิ ใจทางธรุ กจิ
4.2 ด้านการผลิตและการดำเนินงาน ศึกษาวิทยาการต่าง ๆ ที่ทันสมัยและเลือก
นำมาประยุกต์ใช้เพ่ือการควบคุมปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิตให้มีคุณภาพและมีปริมาณท่ี
เหมาะสม รวมท้ังใช้และพัฒนาเทคโนโลยีจากฐานความรู้ใหม่และภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิม พัฒนา
516
นวัตกรรมการผลติ และการดำเนินงาน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพผลิตภณั ฑ์อย่างต่อเน่ือง นอกจากน้ีคือ
สร้างเอกลักษณ์ท่ีโดดเด่นและแตกต่างเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าหรือบริการ ตอบสนองความต้องการของ
ผบู้ ริโภคได้อยา่ งรวดเร็ว และเพ่มิ ความสามารถในการแขง่ ขัน
4.3 ด้านการตลาด เข้าใจธุรกิจตน หมั่นตรวจสอบถึงความต้องการและพฤติกรรม
การซ้ือสินค้าหรือบริการของลูกค้า ศึกษาการดำเนินงานของคู่แข่ง เพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการให้
ตรงตามความต้องการ สามารถแข่งขันได้ ยังคงสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมและเพ่ิมลูกค้าใหม่
พฒั นาการเรียนรู้และพัฒนานวตั กรรมเพอ่ื สร้างโอกาสทางการตลาด
4.4 ด้านการจัดการองค์การ พิจารณาการเปล่ียนแปลงจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
รวมทั้งกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกิดข้ึน รู้เท่าทัน และรอบรู้ในศาสตร์ท้ังปวงท่ีเก่ียวข้องกับธุรกิจ เพื่อ
นำมาใช้ประโยชน์ต่อการวางแผน การตัดสินใจดำเนินงาน และการควบคุมได้อย่างชาญฉลาด
ตลอดจนพัฒนาระบบขอ้ มูลข่าวสารและข้อสนเทศต่าง ๆ ในธรุ กิจให้มีความทันสมัย สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างในการใฝ่เรียนรู้เพ่ือ
พฒั นาการทำงานอย่างผู้ท่มี ีความรอู้ ยา่ งแท้จรงิ และแสดงผลงานใหเ้ ป็นท่ปี ระจกั ษ์
4.5 ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะในการ
ทำงานของผู้บริหารและพนักงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เท่าทันการเปล่ียนแปลงต่าง ๆ และสามารถ
แสวงหาโอกาสจากการเปลยี่ นแปลงนั้น ๆ เพอื่ พัฒนางาน ส่งเสริมการเรยี นรูแ้ ละสรา้ งบรรยากาศการ
เรยี นรู้ เปิดโอกาสให้คดิ และแสดงความสามารถในการพฒั นานวัตกรรมการทำงานจากฐานภูมิปัญญา
ทีม่ ีอยู่ขององคก์ าร รวมทง้ั ส่งเสรมิ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พฒั นานวัตกรรมร่วมกับองค์การภายนอกอ่ืน
เพ่ือเพมิ่ ประสทิ ธภิ าพการดำเนนิ งาน และสานสมั พันธ์ท่ดี ตี อ่ กัน
“…ความรูใ้ นวชิ าการ เป็นสง่ิ หน่ึงท่ีจะทำให้สามารถฟันฝ่าอปุ สรรคได้ และทำใหเ้ ป็นคน
ท่ีมีเกียรติ เป็นคนที่มีความสามารถ เป็นคนท่ีจะมีความพอใจได้ในตัวว่า ทำประโยชน์แก่ตนเองและ
แก่ส่วนรวม นอกจากวิชาความรู้ ก็จะต้องฝึกฝนในสิ่งที่ตัวจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสังคม
สอดคล้องกับสมัย และสอดคล้องกับศีลธรรมอนั ดีงาม ถ้าได้ทั้งวิชาการ ทั้งความรู้รอบตวั และความรู้
ในชวี ติ ก็จะเปน็ คนท่ีครบคน ที่จะภูมิใจได้…”
พระบรมราโชวาทพระราชทานเนื่องในโอกาสเปิดภาคเรียนโรงเรียนจิตรลดา เมื่อ
วันท่ี25 มีนาคม พ.ศ. 2515 (ซมั สาวพัตร์, 2559, หน้า 39)
“…การจะประกอบกิจการอาชีพใดๆ จะต้องอาศัยความรู้ ความรู้จักสังเกตพิจารณา
ตลอดจนต้องขยันหมั่นเพียร และมีความบากบ่ันอดทน ต้องขวนขวายหาความรู้อันก้าวหน้ามา
เพ่มิ เตมิ อยู่เสมอ เพื่อชว่ ยให้พฒั นายงิ่ ๆ ขึ้นไป…”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร
แมโ่ จ้ เมอ่ื วันท่ี 2 มีนาคม พ.ศ. 2521 (มหาวทิ ยาลัยแมโ่ จ้, 2558)
“…ความรู้น้ันสำคัญยิ่งใหญ่ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดความฉลาด ความสามารถ และ
ความเจริญก้าวหน้า…การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงท่ีว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความฉลาดรู้ คือ
517
รู้แล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้มีข้อ
ปฏิบัติที่น่าจะยึดเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรกเมื่อจะศึกษาส่ิงใดเรื่องใดให้รู้จริง ควร
จะศึกษาให้ตลอด ครบถ้วนทุกแง่มมุ ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแต่เพยี ง
บางแง่บางมุม อีกประการหน่ึงซึง่ จะต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอ คือต้องพิจารณาศึกษา
เร่ืองนั้น ๆ ด้วยความคิดจิตใจท่ีตั้งม่ันเป็นปกติ และเที่ยงตรงเป็นกลาง ไม่ยอมให้รู้เห็นและเข้าใจตาม
อำนาจความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเปน็ อคติฝา่ ยชอบหรอื ฝ่ายชัง มิฉะน้ันความรู้ที่เกิดข้ึนจะไม่เป็น
ความรู้แท้ หากแต่เป็นความรู้ที่ถูกอำพรางไว้ หรือที่คลาดเคลื่อนวิปริตไปต่าง ๆ จะนำไปใช้ให้เป็น
ประโยชน์จรงิ ๆ โดยปราศจากโทษไม่ได้...”
พระบรมราโชวาทในพิธพี ระราชทานปรญิ ญาบัตรแกบ่ ัณฑติ มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เมอ่ื วันท่ี 22 มิถนุ ายน พ.ศ. 2523 (สุทิน ล้ีปยิ ะชาติ, 2559)
5. เง่อื นไขคณุ ธรรมในการบรหิ ารธุรกิจ (moral condition for business administration)
เป็นความถูกต้องดีงามทั้งปวงของจิตใจและการประพฤติท่ีพึงมีในการดำเนินธุรกิจ และความรับผิดชอบ
ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจ โดยรายละเอียดของเง่ือนไขคุณธรรมในหน้าที่งานหลักของการ
บรหิ ารธรุ กจิ สรปุ ไดด้ งั น้ี
5.1 ด้านการเงินและบัญชี เงินลงทุนต้องมีท่ีมาอย่างถูกต้องโดยชอบ ไม่ผิด
กฎหมายและศีลธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต พากเพียร และอดทนในการประกอบการเพ่ือแสวงหา
รายได้และมีระดับกำไรที่พอควร ไม่โลภมาก โดยกำไรท่ีได้มาต้องไม่มาจากการเอารัดเอาเปรียบ
ผู้บริโภค ไม่เบียดเบียนประโยชน์ของสังคม จัดทำบัญชีและรายงานทางการเงินท่ีถูกต้อง
ตรงไปตรงมา โปร่งใสและตรวจสอบได้ พิจารณาแบ่งปนั ผลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เก่ียวข้องของ
ธุรกิจอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม จัดสรรกำไรบางส่วนเพ่ือประโยชน์ต่อสังคม คือยอมเสียสละและ
เปน็ ผู้ใหบ้ ้าง ซึ่งดเู หมือนธุรกิจตอ้ งจ่ายเพ่ิมข้ึน แต่หากมองให้ไกลถึงประโยชน์สขุ ของสังคมที่ได้รับจาก
ธรุ กิจ และธุรกิจไดร้ บั ผลตอบแทนกลับมา คอื กำไรในระยะยาวของธุรกิจ ทั้งภาพลกั ษณ์ที่ดีของธุรกิจ
ในสังคม การยอมรับและการสนับสนุนสินค้าหรือบริการของธุรกิจจากผู้บริโภค ตลอดจนความสุขใจ
จากการเป็นผู้ให้ ดังท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสว่า ขาดทุนคือ
กำไร (our loss is our gain)
5.2 ด้านการผลิตและการดำเนินงาน ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่คำนึงถึงคุณภาพ
และความปลอดภัยของผบู้ ริโภค ไม่ละเมดิ ทรัพย์สนิ ทางปัญญา ใส่ใจกระบวนการผลิตหรือการบริการ
ที่มคี วามปลอดภัยแก่พนักงาน ตลอดจนไม่ให้เกิดผลกระทบซึ่งสรา้ งความเสียหายต่อส่ิงแวดล้อมและ
สงั คม นอกจากน้สี ง่ เสริมการแบ่งปันความรู้ด้วยการถ่ายทอดภมู ปิ ัญญาของกิจการส่ชู มุ ชน
5.3 ด้านการตลาด มีความซ่ือสัตย์ ไม่หลอกลวงผู้บริโภคและคู่ค้า รับผิดชอบต่อ
สินค้าหรือบริการท่ีจำหน่ายแก่ลูกค้า รับฟังข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนจากลูกค้า รักษาความลับ
ของลกู ค้าอย่างเคร่งครัด ไมแ่ ขง่ ขนั ทางการตลาดในแบบที่ทำรา้ ยและทำลายคู่แข่งขัน แต่แขง่ ขันอยา่ ง
สรา้ งสรรค์
5.4 ด้านการจัดการองค์การ ผู้บริหารต้องมีธรรมมาภิบาลและยึดมั่นความถูกต้อง
ในการบริหารงาน เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานและ ยังเสริม
518
ภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจอีกด้วย เป็นแบบอย่างในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ความเพียร ความอดทน
การชว่ ยเหลือแบ่งปัน ตลอดจนสรา้ งวัฒนธรรมคณุ ธรรมใหเ้ กดิ ขน้ึ ในองคก์ าร
5.5 ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เคารพในสิทธิมนุษยชน กำหนดเงื่อนไขการ
ทำงานอย่างเป็นธรรม จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่พนักงานอย่างเหมาะสมตามสมรรถนะ ให้ความ
ยุติธรรมแก่พนักงานทุกคนอย่างเสมอภาค ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและความสามัคคีของพนักงาน
ทุกคน ปลูกฝังและช่ืนชมยกย่องพนักงานท่ีมีคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนส่งเสริมให้พนักงานบำเพ็ญ
ประโยชน์เพื่อสังคม
“…การที่จะทำงานให้สัมฤทธ์ิผลท่ีพึงปรารถนาคือที่เป็นประโยชน์และความเป็นธรรม
ดว้ ยนั้นจะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมไิ ด้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบรสิ ุทธ์ิใจและความ
ถูกตอ้ งเป็นธรรมประกอบดว้ ย….”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
เมอ่ื วนั ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 (สมพร เทพสิทธา, 2549, หน้า 99)
“…คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความม่ันคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์
ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคญั อนั ใดได้ ผู้ทม่ี คี วามสุจริตและความมุ่งมั่นเทา่ น้ัน จึงจะทำงานสำคัญยิง่ ใหญ่
ทเ่ี ป็นคณุ ประโยชนแ์ ทจ้ ริงไดส้ ำเรจ็ …”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ลัย
เมือ่ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 (ซัม สาวพัตร์, 2559, หน้า 30)
“…ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากประพฤติชอบและการหาเล้ียงชีพชอบ
เปน็ หลักสำคัญ ผู้ทจ่ี ะสามารถประพฤตชิ อบและหาเล้ียงชพี ชอบไดด้ ้วยนั้น ยอ่ มจะมีท้งั วิชาความรู้ ทั้ง
หลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสำหรับใช้กระทำการทำงาน ส่ิงหลังเป็นปัจจัยสำหรับ
สง่ เสริมความประพฤติ และการปฏบิ ัตงิ านให้ชอบคือให้ถกู ต้องและเป็นธรรม...”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ครูโรงเรียนราษฎร์
สอนศาสนาอิสลาม 4 จังหวัดภาคใต้ เม่ือวันท่ี 24 สิงหาคม พ.ศ. 2519 (ศูนย์บริหารกลาง จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลัย, 2554)
การบริหารธุรกิจบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรประยุกต์ใช้ในทุกหน้าท่ีงาน
โดยเฉพาะหน้าท่งี านหลกั ของการบริหารธุรกจิ ซึ่งได้แก่ หน้าท่ีงานด้านการเงินบัญชี ด้านการผลติ และ
การดำเนินงาน ด้านการตลาด ด้านการจัดการองค์การ และด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยพิจารณา
ถึงการเปล่ียนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การธุรกิจ อีกทั้งการบริหารธุรกิจ
บนพ้ืนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องคำนึงถึงความเป็นพลวัตคือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ท่ีเปลี่ยนแปลงได้ และให้สมาชิกขององค์การมีส่วนร่วมในการประยุกต์ใช้ เพ่ือนำไปสู่
ความมั่นคงและความย่ังยืนของธุรกิจ ตลอดจนประโยชน์สุขของสมาชิกและผู้มีส่วนได้เสียของธุรกิจ
ทง้ั นร้ี ูปแบบการบรหิ ารธรุ กิจบนพ้นื ฐานปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง แสดงดงั ภาพท่ี 9.2
519
ความมน่ั คงและยั่งยนื ของธุรกิจ และประโยชน์สขุ ของสมาชิกและผมู้ ีสว่ นได้เสยี ของธุรกจิ
ธรุ กจิ พัฒนาอย่างสมดุลพร้อมเผชญิ กับการเปลี่ยนแปลง
ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง การบรหิ ารธุรกจิ ตามหน้าทีง่ าน การเปลี่ยนแปลง
-ด้านการเงินบัญชี ของสภาพแวดลอ้ ม
ทางสายกลาง -ด้านการผลติ และการดำเนนิ งาน ในดา้ นตา่ ง ๆ
-พอประมาณ -ดา้ นการตลาด -ภายในธุรกจิ
-มีเหตผุ ล -ด้านการจัดการองค์การ -ภายนอกธุรกจิ
-มีภมู ิคุม้ กันในตัวทด่ี ี -ดา้ นการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ความรู้+คุณธรรม หลักการ
-มคี วามเปน็ พลวัตเหมาะสมกับ
สถานการณ์
-บริหารอยา่ งมสี ่วนรว่ ม
ภาพท่ี 9.2 รปู แบบการบรหิ ารธุรกิจตามหลกั ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง
การประยกุ ต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งในการบริหารธุรกิจไม่มีสูตรสำเร็จ แตต่ ้องให้มี
ครบทุกองค์ประกอบตามคำนิยามของความพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมี
ภูมิคุ้มกันท่ีดีในตัว ประกอบกับเง่ือนไขหลักคือ ความรู้ และคุณธรรม ดังนั้นการประยุกต์ใช้ในหน้าท่ี
งานหลักของการบริหารธุรกิจ ผู้บริหารควรพิจารณาตามความเหมาะสมกับธุรกิจและสภาพแวดล้อม ตาม
หลักการทวี่ ่าต้องมีความเปน็ พลวัตเหมาะสมกบั สถานการณ์ และใหบ้ ุคลากรได้เข้ามามีส่วนรว่ มในการ
ประยุกต์ใช้อย่างเห็นคุณค่า เห็นประโยชน์ และปฏิบัติกันอย่างจริงจัง จึงจะบังเกิดผลแห่งวิถีการ
พัฒนาท่ีเช่ือมโยงความสำคัญของทุกสรรพส่ิงที่เป็นทรัพยากรในการบรหิ าร ผ่านกระบวนการบริหาร
ในหน้าท่ีงานต่าง ๆ อย่างเป็นข้ันเป็นตอนที่ช่วยเสริมสร้างให้ฐานรากของธุรกิจมีความแข็งแรง พึ่งพา
ตนเองได้ นำไปสู่ความม่ันคง ความยั่งยืนของธุรกิจ และประโยชน์สุขแก่ทั้งผู้ประกอบการ พนักงาน
และผมู้ ีส่วนได้สว่ นเสยี ทุกฝ่ายของธรุ กิจอย่างสมดลุ ในระยะยาว
บทสรปุ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั รัชกาลท่ี 9
ท่ีทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเพื่อชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตและการพัฒนาประเทศ มา
ตง้ั แต่ปี พ.ศ. 2517 เน้นการพัฒนาฐานรากให้มั่นคงแลว้ จึงค่อยสร้างความเจรญิ ในระดับที่สูงขนึ้ ต่อมา
เมื่อประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินอย่างรุนแรงในปี พ.ศ. 2540 แนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเริ่มได้รับความสนใจและขานรับอย่างกว้างขวางเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาท่ีเกิดข้ึนใน
520
ทุกภาคส่วน จนเกิดผลสำเร็จให้เห็นได้อย่างชัดเจน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมทั้งในมิติทาง
เศรษฐกิจ มิติทางจิตใจ รวมไปถึงมิติทางสังคม และมิติทางวัฒนธรรม ซ่ึงต่างจากทฤษฎีทางเศรษฐกิจ
แบบทุนนิยมของตะวันตกซ่ึงมุ่งเฉพาะเรื่องวัตถุ ทั้งนี้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่
5 ส่วน ได้แก่ 1) กรอบแนวคิด คือ การรอดพ้นและดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงย่ังยืน 2) คุณลักษณะ คือ
ดำเนินไปในทางสายกลางและเป็นไปตามลำดบั ขนั้ ประยกุ ต์ใช้ไดก้ ับประชาชนและองคก์ ารทกุ ภาคสว่ น
3) คำนิยามความพอเพียง ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
4) เง่ือนไข ได้แก่ ความรู้และคณุ ธรรม และ5) ผลทค่ี าดหมาย คอื การพัฒนาทสี่ มดลุ มัน่ คง และยงั่ ยนื
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาท่ีมีความเป็นสากลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับ
ประชาชนทุกหมู่เหล่า การประยุกต์ใช้ควรให้ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ จิตใจ สังคมและวัฒนธรรม
ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม และเทคโนโลยี หากน้อมนำไปประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจ ควรให้
ครอบคลุมหน้าที่หลักของการบริหารธุรกิจท้ัง 5 ประการ ได้แก่ การเงินและการบัญชี การผลิตและ
การดำเนินงาน การตลาด การจัดการองค์การ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ นั่นหมายถึงการ
ดำเนินการในหน้าทดี่ ังกลา่ วตอ้ งอยบู่ นพ้ืนฐานของความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดีจาก
ปัจจัยเส่ียงต่าง ๆ โดยอาศัยเง่ือนไขสำคัญคือ ความรู้และคุณธรรม ท้ังนี้ในการประยุกต์ใช้ไม่ได้มี
กฎเกณฑ์ที่ตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทองค์การหรือการเปลี่ยนแปลงตา่ ง ๆ ใน
ห้วงเวลานั้น ๆ และควรให้บุคลากรของธุรกิจได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประยุกต์ใช้ปฏิบัติจริงในการ
ทำงาน ย่อมนำมาซ่ึงความมั่นคงและย่ังยืนของธุรกิจ ตลอดจนประโยชน์สุขแก่สมาชิกองค์การธุรกิจ
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายของธุรกิจอย่างสมดุลสืบไป ดังที่ธุรกิจหลายประเภท หลายขนาด
ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนจนเป็นท่ีประจักษ์ จากการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา
ประยกุ ต์ใช้
521
แบบฝึกหัดทา้ ยบท
1. จงอธบิ ายท่ีมาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. จงอธบิ ายเป้าหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
3. จงอธิบายคำนิยามของคำว่าพอเพียง
4. จงอธิบายเง่ือนไขของเศรษฐกิจพอเพยี ง
5. จงอธิบายการประยกุ ต์ใชเ้ ศรษฐกจิ พอเพียงในดา้ นเศรษฐกิจ ด้านจิตใจ ด้านสงั คมและวัฒนธรรม ดา้ น
ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดล้อม และด้านเทคโนโลยี
6. จงอธบิ ายการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารธรุ กิจดา้ นการเงินและบัญชี
7. จงอธิบายการประยกุ ต์ใช้เศรษฐกจิ พอเพยี งกบั การบริหารธุรกิจด้านการผลิตและการดำเนินงาน
8. จงอธบิ ายการประยกุ ตใ์ ชเ้ ศรษฐกจิ พอเพยี งกบั การบริหารธุรกิจดา้ นการตลาด
9. จงอธบิ ายการประยุกตใ์ ชเ้ ศรษฐกิจพอเพยี งกับการบรหิ ารธุรกจิ ด้านการจัดการองค์การ
10. จงอธิบายการประยุกตใ์ ช้เศรษฐกิจพอเพยี งกับการบริหารธรุ กิจด้านการจดั การทรพั ยากรมนุษย์
522
เล่าเร่อื งทางธรุ กิจ
วสิ าหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา
ชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ชาวบ้านส่วนใหญ่เคยทำอาชีพเล้ียง
โคนม แต่ประสบปัญหาต้นทุนสูง และขาดแรงงาน ต่อมารวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อทำอาชีพเสริมให้มี
รายได้เพม่ิ และจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชมุ ชนในปี พ.ศ. 2549 สมาชิกได้นำโรงเรือนท่ีเคยเล้ียงโคนม
มาเป็นสถานท่ีในการแปรูปผลิตภัณฑจ์ ากเห็ด เช่น น้ำพริกเผาเห็ด แหนมเห็ด กะหรปี่ ั๊บเห็ด ฯลฯ จน
มาสู่การทำกล้วยตากจากกล้วยน้ำว้าพันธ์ุดั้งเดิมของชุมชน คือพันธ์ุมะลิอ่อง โดยผ่านการผลิตตาม
กรรมวิธบี ่มในแบบฉบบั ภมู ปิ ัญญาโบราณของบรรพบรุ ุษ ภายใต้แบรนด์กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์
กุ่มทอง ซ่ึงเป็นหน่ึงในผลิตภัณฑ์จาก 20 วิสาหกิจชุมชน ท่ีได้รับการคัดเลือกให้เสิร์ฟเป็นของว่างแก่
ผโู้ ดยสารของสายการบินไทย ทกุ วนั นี้ขายดจี นผลิตกันแทบไม่ทัน แต่กว่าจะมาถึงวันน้ตี ้องผ่านปญั หา
และอุปสรรคมากมายท่ีทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้จนเกิดเป็นองค์ความรู้ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงทเ่ี ห็นคุณค่า ใชป้ ระโยชน์จากทุกส่ิงอย่างคุ้มค่า และพึ่งพาตวั เองได้
คุณคะนอง โปรักษ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนาได้เล่าว่า ตอนที่ไปดูงาน
ในจังหวัดพิษณุโลก เห็นการทำกล้วยตาก ก็นึกว่าบ้านเราเองก็มีกล้วยเยอะ เลยเกิดไอเดยี วา่ เราน่าจะ
เอามาทำ แต่จะไม่เลียนแบบใคร ก็ไปถามคนเฒ่าคนแก่รุ่นปู่ทวดว่า เม่ือก่อนตากกล้วยกันแบบไหน
ต้องเคลือบน้ำผึ้งหรือไซรัปไหม ผู้เฒ่าผู้แก่เขาบอกว่า กล้วยมีความหวานอยู่แล้ว แต่การทำให้เกิด
น้ำหวานต้องมีจังหวะมีระยะเวลา ต้องหมักให้เกิดน้ำผ้ึงกล้วย (ไซรัปกล้วย) แล้วค่อยเอามาตาก เราก็
นำเอาภูมิปัญญาจากคนรุ่นเก่ามาใช้เป็นหลักในการผลิต ทำให้ได้กล้วยตากซึ่งมีความหวานตาม
ธรรมชาติที่เกิดจากการบ่มในจังหวะเวลาท่ีเหมาะสม ได้รสชาติอร่อยกำลงั ดีและไม่เลี่ยน น่ีคือจุดแข็ง
ของกล้วยตากกุ่มทองที่ไม่เหมือนของใคร เม่ือผลิตผลของชุมชนประสบความสำเร็จด้วยดี สมาชิกจึง
เกิดแนวคิดการทำการเกษตรแบบครบวงจรในกระบวนการผลิตกล้วยตาก โดยน้อมนำหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ด้วยการส่งเสริมการปลูกกล้วยในชุมชน ระหว่างแปลงกล้วยก็ปลูกแซม
ด้วยผักสวนครัวอย่างผักชี พริก มะเขือ ฯลฯ ซ่ึงสามารถใช้บริโภคในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่าย และยัง
สร้างรายได้ต่อเดือน ในกระบวนการจัดการเน้นการใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งอย่างคุ้มค่าให้ของเหลือใช้
เปน็ ศูนย์ โดยนำเปลือกกลว้ ยและต้นกล้วยไปเลี้ยงวัวนม หมู เป็ดและไก่ ทดแทนอาหารสัตว์ทต่ี ้องซื้อ
มูลจากสัตว์นำไปตากแห้งเป็นปุ๋ยอินทรีย์กลับเข้าสู่แปลงกล้วย เพื่อทำให้กล้วยมีคุณภาพคงที่ อีกท้ังน้ำ
ไซรัปกล้วยท่ีเหลือจากการอบได้คิดนำไปเพ่ิมมูลคา่ จึงเกิดโครงการแปรรูปไซรปั กล้วยเป็นครมี มาร์กหน้า
และสบู่ โดยพยายามหาความรู้ และได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
นอกจากนอ้ี ยู่ในขัน้ ตอนทดลองทำซเี รยี ลกล้วยน้ำวา้ ซึง่ ทำเป็นแหง่ แรกของประเทศอกี ดว้ ย
วิธีการบริหารงานในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คุณคะนองบอกว่า ใช้หลักการไม่เอาเปรียบ
สมาชิก และรับซ้ือกล้วยจากชาวบ้านทุกรายแบบไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือ
ตอ้ งการขายแบบผลหรือหวี และรับซอื้ กล้วยในราคาสูงกว่าพ่อค้าคนกลาง เปน็ ราคาทีพ่ อใจและอยู่ได้
ทัง้ 2 ฝ่าย โดยทางกล่มุ วิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนาจะรับซ้ือกล้วยในราคาเฉลี่ยหวลี ะ 25 บาท จาก
ปกติท่ีนำไปขายพ่อค้าคนกลางส่วนใหญ่จะได้เพียงหวีละ 10 บาท จากนั้นทางกลุ่มจะนำมาแปรรูปเป็น
กล้วยตากด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ บรรจุซองละ 2 ลูก ขายส่งราคา 7.75 บาท เดือนหน่ึงขาย
ได้ 40,000 ซอง รายได้เกือบ 300,000 บาท ย้อนไปในชว่ งเรมิ่ ตน้ ผลติ เป็นกลว้ ยตากแบบขายเปน็ กโิ ล
523
แล้วแพ็กใส่ถุงพลาสติกใส ติดฉลาก จำหน่ายก่อน เมื่อได้รับความสนใจและความนิยมเพิ่มข้ึน จึง
พยายามพัฒนาปรับปรุงท้ังวิธีการผลิต กระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อเพื่อให้เกิดความสะอาด
ปลอดภัย จนได้เครื่องหมาย อย. และเทคโนโลยีมาใช้เพ่ือลดต้นทุน รวมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใน
รปู แบบซองฟอยล์และห่อพลาสติกใส โดยซองฟอยล์จะส่งให้กับทางสายการบินไทยตามจำนวนส่งั ซื้อ
ในแตล่ ะคราวท่ีกำหนด ส่วนตลาดทวั่ ไปทางกลมุ่ กำหนดบรรจุภัณฑ์ไว้ 2 ลักษณะ คือ อย่างแรกบรรจุ
ซองฟอยล์ โดยมีกล้วยตาก 2 ลูก ราคาขายปลีก 10 บาท และรวมหลายห่อมามาบรรจุใส่กล่อง อีก
ลักษณะหน่ึงบรรจุในห่อพลาสติกใส ขนาดห่อละคร่ึงกิโลกรัม กลุ่มวางแผนเตรียมขยายกำลังผลิต
เท่าทีท่ ำได้ตามกำลัง คือ 2,000 ห่อต่อวัน ทกุ วนั น้ีในบางครงั้ ประสบปญั หาวัตถดุ ิบในพ้ืนที่ไม่เพียงพอ
ในการผลติ กไ็ ด้กลว้ ยจากเครือข่ายทมี่ ีมาชว่ ยสมทบ ทำให้ผลติ ได้อยา่ งต่อเนอื่ ง
นอกจากนี้ที่น่ียังเป็นแหล่งท่องเท่ียวเชิงเกษตร ภายใต้คอนเซ็ปการท่องเที่ยวตามรอย
ในหลวงรัชกาลท่ี 9 และเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้เกษตรครบวงจร ต้ังแต่กระบวนสาธิต
การปลูกกล้วย การเล้ียงวัว การแปรรูปทางการเกษตร ฯลฯ ทางกลุ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้าง
ความเข้มแข็ง มุ่งบริหารทรัพยากรในพ้ืนท่ีได้อย่างสมบูรณ์และคุ้มค่า ทุกวันน้ีสมาชิกทุกคนพึ่งพา
ตนเองได้อย่างมีความสุข พร้อมหาเลี้ยงครอบครัวได้ภายในถ่ินฐานบ้านเกิดของตนเอง จากการน้อม
นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใชไ้ ดอ้ ย่างเป็นรูปธรรม จนไดร้ ับรางวัลวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับ
จังหวัด จากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรางวัลครอบครัวร่มเย็น
ประจำปี พ.ศ. 2559 จากจังหวดั ราชบรุ ี
ทีม่ า (เทคโนโลยชี าวบ้าน, 2559; ชชั รนิ ทร์ สุรพฒั น์, 2560; เดลินวิ ส์, 24 มีนาคม 2560)
รอดชีวิตมาได้เพราะคำวา่ พอเพียง
คุณปกรณ์ เตชสิทธิ์วรโชติ เจ้าของโรงค่ัวกาแฟวังน้ำเขียว เล่าว่าก่อนที่จะมาทำโรงค่ัว
กาแฟ ได้ทำธุรกิจส่วนตัวนำเข้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่คอมพิวเตอร์ แต่ก็เจอกับวิกฤตหลาย
อย่าง ทั้งเร่ืองเศรษฐกิจ ภัยน้ำท่วม ทำให้ธุรกิจมีปัญหา จากท่ีมาคิดทบทวนแล้วบอกได้ว่าทุกส่ิงทุก
อย่างที่เกดิ ข้นึ มาจากที่ตวั เราเองไม่ประมาณตน มีความประมาท มีความโลภ ในตอนน้ันอายุแค่ 25 ปี
แต่เป็นหน้ีกว่า 50 ล้าน จำได้ว่าขับรถกลับบ้าน ใจลอยฝ่าไฟแดงไปหลายคร้ัง เลยตัดสินใจไปบวชที่
วดั ป่าในจงั หวดั กาญจนบรุ ีซ่งึ เป็นบ้านเกิด พอเรมิ่ มีสติ สภาพจติ ใจเร่ิมดีขึ้นก็กลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
มารับผิดชอบในส่ิงต่าง ๆ เพราะไม่อยากให้คนข้างหลังต้องลำบากโดยเฉพาะพ่อกับแม่ วันหนึ่งได้ขับ
รถมาเท่ียวแถววังน้ำเขียว มาเห็นชาวบ้านที่นี่เขาปลูกกาแฟ แต่ก็ปลูกไปแบบงั้น ๆ ไม่ได้เอาไปใช้
ประโยชน์ เพราะกาแฟไม่ใช่พืชเศรษฐกิจหลักของที่นี่ แต่โดยส่วนตัวมองเห็นถึงโอกาสถึงมูลค่าท่ี
สามารถสรา้ งได้จากกาแฟ ประกอบกบั ตัวเองชอบกาแฟอยแู่ ล้ว แล้วยงิ่ เราได้มาเห็นธรรมชาติ เห็นน้ำ
เห็นดิน ได้สัมผัสอากาศ ความรู้สึกมันบอกว่าที่น่ีแหละเราอยู่ได้ จะมาทำเกษตร ในตอนน้ันมีเงินติด
ตัวมาแสนกว่าบาทกับรถยนต์หน่ึงคัน โชคดีที่เราเป็นลูกชาวไร่ชาวนา พอมีพ้ืนฐาน มีภูมิต้านทาน
อดทนได้ เพราะเคยผ่านความลำบากมาก่อน หลังจากตดั สนิ ใจว่าจะปลูกกาแฟก็เร่ิมศึกษาข้อมูลอยา่ ง
จริงจังตั้งแต่ประวัติ การปลูก การดูแล ดูว่าท่ีวังน้ำเขียวมีใครปลูกกาแฟบ้าง ปลูกกันแถวไหน ปลูก
อย่างไร แล้วก็วางแผนโดยคิดว่าเราต้องสร้างเรื่องราวของกาแฟอีสานออกมา ต้องดึงคาแรคเตอร์
ออกมา แลว้ จึงเรม่ิ ดำเนนิ การ
524
อย่างไรก็ดีกอ่ นที่จะเริ่มต้นโรงคั่วกาแฟวงั น้ำเขยี ว คุณปกรณ์เล่าวา่ จะพูดกับตัวเองเสมอว่า
“ต้องไม่เป็นแบบเดิม ต้องทำธุรกิจแบบพอดีตัว ทำเท่าที่กำลังเราไหว ไม่ละโมบโลภมากแล้ว” มาถึง
ทกุ วันน้ีบอกได้เลยว่าตัวเองและธุรกิจรอดมาได้ เหมือนมีชวี ิตใหม่อีกคร้ังก็เพราะคำว่า “พอเพียงและ
ประมาณตน” ซึ่งอยู่ในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 คำว่าประมาณตน
ก็คือความหมายหน่ึงของคำว่าพอเพียง ทำอะไรแต่พอดี ไม่ประมาท ทำเท่าท่ีกำลังเราไหว ให้พอมี
และพออยู่พอกิน ไม่ไปเบียดเบียนใคร และคำนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นคนจนเท่าน้ันที่จะใช้ได้
ไมใ่ ช่ให้เรามาปลกู ผกั ปลกู ข้าวกนิ ไปวันๆ แต่ไม่มีเงินเก็บ ไม่มีเงินสง่ ลูกเรียนไม่ใช่แบบน้ัน แตค่ ือให้เรา
ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ต่อยอดและรู้จักศึกษาพัฒนาความรู้ไปเร่ือยๆ อย่างการทำเกษตรก็ต้องรู้จัก
นำนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์จากองค์ความรู้เก่าที่มีแล้วทำให้เกิดรายได้เลี้ยงตัวเองได้ ส่วนตัวก็
เพ่ิงเข้าใจก็ตอนทไ่ี ด้ลงมือทำเอง ถึงได้ร้วู ่าส่ิงที่พระองค์ท่านสอนและทำให้พวกเราได้เห็นเป็นแบบอยา่ ง
คือส่ิงท่ีมีคุณค่าอย่างมหาศาล ถ้าเรานำมาปฏิบัติก็จะเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม อย่างตอนที่
เรม่ิ ต้นท่ีน่ีก็ทำโดยใชท้ รัพยากรต่าง ๆ ท่มี ีอยู่ ไม่ได้ไปกู้เงนิ จากธนาคารเพราะตอ้ งใช้หนเ้ี ก่าให้หมดก่อน
คิดแค่ว่าทำอย่างไรให้ประหยัดท่ีสุด จึงเขียนแบบขึ้นมาเองโดยดัดแปลงโรงเลี้ยงวัวเก่าให้มาเป็นร้าน
กาแฟเล็กๆ เร่ิมจากค่ัวกาแฟในกระทะ ต้มจากโมก้าพอท แล้วดริปขาย ท่ีใช้คำว่าโรงคั่วกาแฟก็เพราะ
พวกเราปลูก ผลิต และแปรรูปเอง ต้องการสื่อว่าเราคือเกษตรกรคนหนึ่งที่เข้ามาบุกเบิกกาแฟอีสาน
และทำการแปรรูปเอง ภายหลังจากนั้นกค็ ่อย ๆ มาจัดการพ้ืนที่ 5 ไร่ของเราในส่วนอ่ืน โดยแบ่งออกเป็น
แปลงเกษตร ปลูกกาแฟ ปลูกข้าว ใช้พื้นที่ใหเ้ กิดประโยชน์สูงสุด สรา้ งโกดังเกบ็ กาแฟโดยออกแบบให้
ลมผ่านได้ทุกทาง มีโรงค่ัวและโรงสีกาแฟ ในส่วนของออฟฟิศและร้านค้าสำหรับจำหน่ายสินค้าก็ได้
ดดั แปลงมาจากโกดงั เก่า
ต่อมาไดเ้ รม่ิ ทำโฮมสเตย์โดยทำให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ อยากถ่ายทอดประสบการณ์ในส่ิง
ที่เราทำและสัมผัสมาตลอดระยะเวลา 3 ปี ท่ีได้มาทำตรงน้ีให้กับผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่เขา
อยากมชี ีวติ แบบน้ี ได้อยกู่ ับธรรมชาติ สามารถทำงานอยู่ในบ้านเกิดตัวเองได้ ความรทู้ ี่เราให้จะชว่ ยให้
เขาสามารถมีรายได้เล้ียงดูครอบครัวและตัวเอง บางคนกลับไปทำเกษตรแบบพอเพียงในที่ดินของ
ตัวเอง ไมต่ ้องปลกู กาแฟก็ได้ ปลูกในสิ่งท่ีเขาถนัด แค่นี้กภ็ ูมใิ จแล้ว คุณปกรณย์ ังมมี ุมมองว่าเม่ือเรามา
เปน็ เกษตรกร ต้องรจู้ ักเอานวตั กรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ดว้ ย เราเป็นเกษตรรุ่นใหม่ทมี่ ีแหล่งข้อมูล
มากมายให้ได้ศึกษา ที่สำคัญต้องนำมาพัฒนาควบคู่ไปกับองค์ความรู้เดิมของพ่อแม่เรา อีกอย่างคือเรา
ปลูก ผลิต แปรรูป จำหน่ายและกำหนดราคาได้เองไม่ตอ้ งขึ้นอยู่กับราคาตลาด ทำใหเ้ ราพึ่งพาตัวเองได้
ใครบอกว่าเกษตรกรเป็นอาชีพของคนจน ไม่จริงเลยนะ ทำดี ๆ มีเงินเก็บ มีเงินส่งลูกเรียนโรงเรียนดี ๆ
เลี้ยงตัวเองเล้ยี งครอบครัวได้เลย อย่างเรอ่ื งกาแฟทราบกันดีวา่ เก็บผลผลิตได้แค่ปลี ะ 1 คร้งั เกษตรกร
จึงคิดว่ามันไม่สามารถสร้างรายได้ให้ได้ตลอดท้ังปี แล้วระหว่างที่ไม่ได้เก็บกาแฟจะเอาอะไรกิน แต่
จริง ๆ เราสามารถจัดการพ้ืนท่ี ทำเกษตรแบบผสมผสานได้ เช่น พ้ืนท่ี 1 ไร่ เราสามารถปลูกกาแฟ
สลับกับไม้ผลอื่นๆ ได้ เช่น กล้วยน้ำว้า ทุเรียน ชา หรือปลูกผักท่ีไม่ต้องการแสงแดดจัด อย่างเช่นผัก
สลัดกไ็ ด้ การทำอาชีพเกษตรน้ันตอ้ งรจู้ ักการปรับตัว เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ท้ังในเร่ือง
ของสภาพภูมอิ ากาศ หรือแมก้ ระทัง่ เรอ่ื งของเทคโนโลยี
การปรับตัวเป็นส่ิงที่ต้องทำ แต่สิ่งท่ียากกว่าน้ันในการทำเกษตร คุณปกรณ์บอกว่าคือ
การเข้าหาเกษตรกรในพ้ืนท่ีเพื่อท่ีจะไปชักชวนให้เขามาทำในแบบท่ีเราทำ หันมาปลูกกาแฟแบบ
525
ปลอดสาร แล้วนำมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าให้เพ่ิมข้ึนน้ีค่อนข้างยาก เพราะพวกเขาทำเกษตรมาทั้ง
ชีวิต คิดแค่ว่าถ้าปลูกกาแฟแล้วจะเอาไปขายท่ีไหน ซ่ึงคิดกันคนละแบบกับเราเลย เราคิดถึงความ
ยงั่ ยนื ดังนั้นสง่ิ ที่เราทำได้ก็คอื การลงมอื ทำให้เขาเหน็ วา่ ทำอย่างไร ทำแบบไหน กาแฟสามารถแปรรูป
ไปเป็นอะไรไดบ้ ้าง พอเขาเหน็ วา่ เราทำได้แล้วมันเกิดรายได้จริง เขาถงึ จะเปล่ยี นความคดิ แรกเร่ิมเดิมที
เร่ิมตน้ ชักชวนเกษตรกรบริเวณนั้นมาปลูกประมาณ 50 ไร่ เราก็เริ่มขยับมาเรื่อย ๆ จนมาเปน็ 400 ไร่
เรียกว่าเป็นการปลกู ป่าดว้ ย แล้วชาวบา้ นมีรายได้ดว้ ย ในระยะเวลา 4 ปี ตง้ั แต่ปี พ.ศ. 2557-2560 ก็
เลยรวมกลุ่มเกษตรกรกันอยา่ งจริงจัง จนในท่ีสุดจัดต้ังเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกกาแฟวังน้ำเขียว
ซ่ึงนอกจากผลิตเมล็ดกาแฟค่ัว เรายังมีผลิตภัณฑ์อื่นออกมาเรื่อย ๆ แต่ที่โดดเด่นในตอนนี้มากท่ีสุดก็
คือแชมพูกาแฟ และโฟมล้างหนา้ กาแฟ ที่มียอดขายดีมาก แปลกใหม่ และโรงค่ัวทอ่ี ่ืนยังไม่ทำ จะเห็น
ว่าเรามองถึงความย่ังยืน ฉะน้ันต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของการดำเนินงานมันจะจบท่ีวังน้ำเขียว ไม่ต้อง
ไปโดนพ่อคา้ คนกลางกดราคา ไม่ตอ้ งไปส่งตามห้างทีต่ ้องให้เครดิตเป็นเวลานาน เพราะกำลังสายปา่ น
เราไม่ยาวพอ แต่วันน้ีผู้บริโภคสามารถมาซ้ือตรงจากผู้ผลิต แล้วเขาก็มีความม่ันใจเพราะเขาได้เห็น
กระบวนการ และเรื่องราวท่ีเราสร้าง อีกอย่างเมื่อเป็นวิสาหกิจชุมชนทำให้ช่วยเหลือสมาชิกกันได้ทั้ง
ในแบบรูปธรรมและนามธรรม เกิดความเข้มแข็ง เกิดการแบ่งปันความรู้ หากมีปัญหาก็ช่วยกันแก้ไข
เม่ือใดก็ตามท่ีเราเข้มแข็ง แต่เราไม่ได้มองแค่ตัวเอง ยังนึกถึงผู้อ่ืนไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือชุมชน
กล่าวกนั ว่าเม่อื ต้นน้ำดี ปลายนำ้ กจ็ ะดี มองว่านก่ี ็คงเป็นอกี ความหมายหนง่ึ ของคำว่าพอเพียง
คำว่า “พอเพียง” คำสอนของพระองค์จะเป็นหลักนำชีวิตให้กับคนไทยทุกคนถ้าเรา
เข้าใจและปฏิบัติตามโดยเร่ิมต้นจากตัวเรา ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ ผลลัพธ์ที่ดีย่อมตามมา
ดังนั้นความหมายท่ีแท้จริงของคำว่าพอเพียงจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า เราให้คำจำกัดความของคำน้ีว่าอย่างไร
แต่ส่งิ ที่สำคัญคือ เรานำคำน้ไี ปใช้ในการดำเนินชวี ิตอยา่ งไรต่างหาก
ที่มา (แอดคิดเชน่ , 2559; เอสเอม็ อีรีพอร์ท, 2560)
526
เอกสารอา้ งองิ
กนิษฐ (สรุ ิยสตั ย์) เมืองกระจา่ ง. กรณีศึกษาทีป่ ระสบความสำเร็จในการนอ้ มนำหลกั ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการบริหารดา้ นอุตสาหกรรม ใน การขับเคลื่อนปรชั ญา
เศรษฐกิจพอเพยี งในต่างประเทศ: รวมคำบรรยายจากการสัมมนา ณ กระทรวงการ
ต่างประเทศ. (หนา้ 111-116). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กระทรวงการต่างประเทศ. (2558). รปู ธรรมแห่งความสำเร็จจากเศรษฐกิจพอเพยี ง ใน การขับเคลอื่ น
ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงในต่างประเทศ: รวมคำบรรยายจากการสมั มนา ณ กระทรวง
ตา่ งประเทศ. (หนา้ 142-143). กรงุ เทพฯ: ภาพพิมพ์.
. (2558). อะไร ทำให้หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งเป็นหลักแหง่ วิถีการพัฒนาสู่
ความยงั่ ยืน ใน การขับเคล่ือนปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งในต่างประเทศ: รวมคำบรรยาย
จากการสมั มนา ณ กระทรวงตา่ งประเทศ. (หน้า 141). กรุงเทพฯ: ภาพพมิ พ์.
กองบรรณาธกิ าร GPP. (2550). ประมวลพระราชดำรัสดบั วกิ ฤตชิ าติ. กรุงเทพฯ: กรีน-ปัญญาญาณ.
กุณฑลี รื่นรมย์. (2556). การประยุกตป์ รัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงในนโยบายและแผนการตลาดของ
วิสาหกจิ ขนาดย่อมและขนาดกลาง (SMEs). จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปรทิ ัศน์, 35(135), 49-79.
เกศรินทร์ บดั ทิม. (2558). ภาวะผ้นู ำการเปลี่ยนแปลงและการบรหิ ารจัดการองค์กรตามแนวคดิ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งกบั ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัด
นครราชสีมา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 92-105.
เกษม วฒั นชัย. (2551). เส้นทางสคู่ วามพอเพยี ง. กรงุ เทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพฒั นาการ
เศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาต.ิ
. (2558). แก่นแท้ของปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ใน การขบั เคลื่อนปรชั ญาเศรษฐกจิ
พอเพียงในต่างประเทศ: รวมคำบรรยายจากการสมั มนา ณ กระทรวงการตา่ งประเทศ.
(หน้า 13-23). กรุงเทพฯ: ภาพพมิ พ์.
คณะวทิ ยาการจดั การ มหาวทิ ยาลัยศิลปากร. (2556). พอเพยี งทีย่ ังไมเ่ พยี งพอ. กรงุ เทพฯ: สมาร์ท ทู เวิร์ค.
จิตรภาดา (นามแฝง). (2549). แผ่นดินทอง แผ่นดินธรรม ตามคำพอ่ สอน. กรุงเทพฯ: มาย แบง็ ค็อค.
จริ ายุ อศิ รางกูร ณ อยุธยา. (2549). พอเพยี งตามแนวพระราชดำร.ิ วารสารอันเนื่องมาจากพระราช
ดำริ, 4, 27-28.
ชมพนู ทุ ศรีพงษ.์ (2555). ทัศนคติของประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใตต้ ่อการประยุกต์ปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตภายใตบ้ รบิ ทสภาพสังคมและเศรษฐกจิ ในปัจจบุ นั .
วารสารมหาวิทยาลยั ราชภฏั ยะลา, 7(2), 153-162.
ชลธร ดำรงศักดิ์ (2558). กรณีศกึ ษาทป่ี ระสบความสำเร็จในการนำหลกั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งไป
ปรบั ใชใ้ นการบริหารและพัฒนาภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ใน การขบั เคล่ือนปรชั ญาเศรษฐกิจ
พอเพยี งในต่างประเทศ: รวมคำบรรยายจากการสัมมนา ณ กระทรวงการตา่ งประเทศ.
(หน้า 35-40). กรงุ เทพฯ: ภาพพิมพ์.
527
ชชั รินทร์ สรุ พัฒน์. (2560, กันยายน 13). เรอื่ งเลา่ ประทบั ใจ ผลิตผลชุมชนบา้ นกุ่มพัฒนา จากวิถี
แห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง กา้ วสแู่ บรนด์ระดบั ชาติ ใน ทนี วิ ส์ [Online].
Available: http://www.tnews.co.th/contents/357834# 2560, กันยายน 22].
ชยั วชิ ญ์ มว่ งหมี. (2559). กลยุทธ์การตลาดของธรุ กจิ ขนาดย่อมตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง.
วารสารสารสนเทศ, 15(1), 90-101.
ซัม สาวพตั ร์. (2559). พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส. กรุงเทพฯ: ย้อนรอย.
ณชพล สรุ ิยเสนีย์, สหนนท์ ตงั้ เบญจสริ ิกลุ , เกรียงศักด์ิ เจรญิ วงศ์ศกั ดิ์ และไวพจน์ กลุ าชัย. (2560).
การศกึ ษาองคป์ ระกอบรูปแบบการบรหิ ารองคก์ รตามแนวปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง
สำหรบั อุตสาหกรรมการผลติ : กรณศี กึ ษาผ้ไู ด้รับรางวลั การประกวดผลงานตามปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง. วารสารบัณฑติ ศึกษา มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชปู ถมั ภ์, 11(2), 37-46.
ณัทณรงค์ จตรุ สั , ธรี วฒั น์ ไพบลู ย์กุลกร และวีรยุทธ เจริญเรืองกจิ . (2555). การลงทุนในไอทีในบรบิ ท
ของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 22(1),
150-159.
เดลินิวส์. (2560, มีนาคม 24). กลว้ ยตากจากเกษตรกร บนเคร่ืองการบนิ ไทย ใน เดลนิ วิ ส์ [Online].
Available: https://www.dailynews.co.th/agriculture/563548
[2560, กันยายน 22].
ทรงพล วันสงู เนนิ และปยิ นชุ เวทยว์ ิวรณ์. (2559). การประยุกต์ใชห้ ลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในการบริหารจดั การผู้รบั เหมาก่อสร้างขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย.
วิศวกรรมสารฉบบั วิจัยและพัฒนา, 27(4), 1-17.
เทคโนโลยชี าวบา้ น. (2559). ทึ่ง…ชาวบ้านก่มุ พัฒนา เมอื งโอ่ง ผลิตกล้วยตากส่งการบินไทย.
[Online]. Available: https://www.technologychaoban.com/marketing/
article_4697 [2560, กันยายน 15].
ไทยรัฐออนไลน์. (2559, ตลุ าคม 18). คำพ่อสอน เร่ืองการทำงานใหป้ ระสบความสำเร็จ ใน ไทยรัฐ
ออนไลน์ [Online]. Available: https:// www.thairath.co.th/content/754102
[2560, กนั ยายน 15].
ธนวุฒิ พิมพ์กิ และจนั ทนา ฤทธส์ิ มบูรณ์. (2557). การประยกุ ตใ์ ชแ้ นวพระราชดำริเศรษฐกจิ พอเพียง
กบั วิสาหกจิ ชุมชนในจงั หวดั จนั ทบรุ ี. วารสารวจิ ยั มสด, 10(1), 1-21.
ธีระวัฒน์ จันทกึ และจรีรตั น์ อนิ ทรจำนงค์. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการดําเนนิ ชวี ติ ตามแนว
ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงที่นําไปสูความสําเร็จการประกอบธุรกิจสวนตัวขนาดเลก็
ในเขตจังหวดั นครปฐม. วารสารวชิ าการมหาวิทยาลัยกรงุ เทพธนบุรี, 3(1), 109-122.
นคเรศ ณ พัทลุง และยวุ ฒั น์ วฒุ ิเมธี. (2555). 6 คณุ ลกั ษณะภาวะผู้นำท่ีมผี ลต่อการพัฒนา
ตามหลกั ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง. วารสารมหาวทิ ยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย,
32(2), 131-143.
528
นงลักษณ์ แสงมหาชัย. (2559). เศรษฐกิจพอเพยี งในมุมมองทางการเงิน. วารสารวิชาการ
บริหารธรุ กิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี, 5(2), 146-156.
นฤมล สุ่นสวสั ดิ์. (2560). ปัจจัยท่ีส่งผลสำเรจ็ ในการบรหิ ารธรุ กจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวคิด
ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง. วารสารสารสนเทศ, 16(1), 113-123.
บริษทั ปตท. จำกัด (มหาชน). (2556). พอเพียงใด. กรงุ เทพฯ: พราวเพรส (2002).
ประภาพรรณ ไชยานนท์. (2553). การประยุกต์ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงกบั วิสาหกิจรายย่อยและ
วสิ าหกิจขนาดเลก็ ในจังหวดั เชียงราย. วารสารวทิ ยาการจดั การ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฎ
เชียงราย, 5(1), 53-81.
ประเวศ วะสี. (2549). พระเจ้าอยู่หัวกบั รหสั การพฒั นาใหม่ (พิมพค์ ร้งั ที่ 3). กรงุ เทพฯ: ร่วมด้วย
ช่วยกัน.
ประสาน บุญเสริม. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงกบั พลงั การพัฒนา. จุลสารเศรษฐศาสตร์, 5 (4), 12-22.
ปราโมทย์ ไม้กลัด. (2555). การทรงงานของพ่อในความทรงจำ (พิมพ์ครัง้ ที่ 2). กรงุ เทพฯ: สมาคม
สงเคราะหส์ ัตว์ ในพระบรมราชปู ถัมภ์.
ปรียานชุ พิบูลสราวุธ. (2549). เอกสารประกอบการบรรยายหลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพยี ง.
กรงุ เทพฯ: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.
ไพบลู ย์ พนั ธวุ งศ,์ จักรพงษ์ พวงงามชืน่ , นคเรศ รังควตั และสายสกุล ฟองมูล. (2559). ความเขม้ แข็ง
ของวสิ าหกิจชมุ ชนตาํ บลสะลวง อําเภอแม่ริม จังหวดั เชียงใหม่, วารสารวิชาการ
มหาวทิ ยาลัยราชภฏั อตุ รดติ ถ์, 11(2), 190-202.
มติชน. (2560, ตุลาคม 11). ทงึ่ ชาวบ้านกุ่มพฒั นา เมอื งโอง่ ผลติ กลว้ ยตากสง่ การบินไทย ใน
เทคโนโลยชี าวบา้ น [online]. Available:http://www.technologychaoban.
com /marketing/article_4697 [2560, กนั ยายน 22].
มหาวิทยาลัยแมโ่ จ้. (2558). Commencement Books: สูจบิ ัตรพระราชทานปริญญาบัตร.
[Online]. Available: https:// www.archives.mju.ac.th/web/?page_id=129
[2560, กันยายน 15].
มานติ กิตตจิ ูงใจ. (2556). ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงเปน็ ทางออกของชีวติ . กรงุ เทพฯ: กิจอกั ษร.
มลู นิธิพระดาบส. (2559). คำพ่อสอน: ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับความสุข
ในการดำเนินชวี ิต (พิมพ์ครงั้ ท่ี 11). กรงุ เทพฯ: กรุงเทพ.
มูลนธิ ิสถาบันวจิ ยั และพฒั นาประเทศตามปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง. (2555). ตัวอยา่ งการบรหิ ารธุรกิจ
กับปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง ใน การประยกุ ต์ใชป้ รชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงของภาค
ธุรกิจเอกชน (หน้า3-8). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพยี ง.
เมตต์ เมตตก์ ารุณ์จิต. (2556). ยทุ ธศาสตร์การพฒั นา: จากทฤษฎสี กู่ ารปฏิบตั เิ ชิงรุก. นนทบรุ :ี
บ๊คุ พอยท์วิชาการ.
วชั รินทร์ เรียม. (2559). 9 คณุ ธรรมของพอ่ . กรงุ เทพฯ: ไทยควอลติ บ้ี คุ๊ ส์ (2006).
529
วชิ ติ วงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2556). พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัวกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: แสงดาว.
วโิ รจน์ เจษฎาลกั ษณ์, ชนัญชดิ า เจรญิ วัฒ, และหทัยชนก เตสยานนท์. (2558). ความสัมพนั ธ์
ระหวา่ งการดำเนินชีวติ และคุณภาพชวี ิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งของพนกั งาน
โรงงานฝ่ายผลติ ในจงั หวดั สมุทรสาคร. Veridian E-Journal,Slipakorn University
ฉบบั ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตรส์ งั คมศาสตร์และศลิ ปะ, 8(2), 1090-1101.
วิสันต์ ทา้ วสงู เนนิ . (2560). หลักการทรงงานของในหลวง. นนทบรุ :ี บุตร-บอส บุ๊คเซน็ เตอร.์
วาสนา ดษิ ฐพรม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลกั การเศรษฐกิจพอเพียง การทำกิจกรรม
โซ่คณุ ค่า และผลการดำเนินงานของกจิ การวิสาหกจิ ชุมชนกลุม่ ผลิตผ้าทอ/เส้ือผ้า
ในจังหวัดเลย. วารสารวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 8(25), 95-107.
ศศธิ ร มนสั วรากลุ . (2554). ระดับการประยุกต์ใชเ้ ศรษฐกิจพอเพยี งของระบบการผลติ และ
การจดั การของวิสาหกจิ ชุมชนในจังหวดั เชยี งราย. วารสารวทิ ยาการจดั การ
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเชยี งราย, 6(2), 47-67.
ศศเิ พ็ญ พวงสายใจ, สขุ มุ พนั ธุณ์ รงค์ และพมิ ลพรรณ บุญยะเสนา. (2558). การศึกษาผลสมั ฤทธ์ขิ อง
การใหบ้ รกิ าร Microfinance ทีเ่ กิดกับคนและชุมชนท้องถิ่นตามแนวทางปรชั ญา
เศรษฐกิจพอเพยี ง: กรณีศึกษา 8 จงั หวัดภาคเหนือตอนบน. วารสารเศรษฐศาสตร์
มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่, 19(2), 39-65.
ศนู ย์บริหารกลาง จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั . (2554). พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว.[Online]. Available: http://www.cca.chula.ac.th/
protocol/graduate-chulalongkorn.html [2560, กนั ยายน 11].
สมพร เทพสทิ ธา. (2549). การเดนิ ตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพยี ง ช่วยแกป้ ัญหาความ
ยากจนและการทุจริต (พิมพ์ครัง้ ท่ี 5). กรงุ เทพฯ: ธรรมสาร.
สมยศ ศุภกิจไพบลู ย์ และคณะ. (2560). ตามรอยพระมหาชนก ตามรอยพ่อ. กรงุ เทพฯ: ย้อนรอย.
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย. (2552). การบริหารทรัพยากรบุคคลตามหลักปรชั ญา
เศรษฐกจิ พอเพยี ง. กรงุ เทพฯ: สมาคมการจดั การงานบุคคลแหง่ ประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ. (2544). แผนพฒั นาเศรษฐกิจและ
สงั คมแห่งชาติ ฉบบั ท่ีเกา้ พ.ศ. 2545-2549. กรงุ เทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต.ิ
. (2550). โฆษติ ป้นั เปี่ยมรัษฎ์ ใน ชวี ติ พอเพยี ง (หน้า 28-37). กรงุ เทพฯ: ดอกเบ้ยี .
. (2550). ธนนิ ท์ เจยี รวนนท์ ใน ชวี ิตพอเพยี ง (หนา้ 97-101). กรุงเทพฯ: ดอกเบ้ีย.
. (2550). ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ.
. (2550). นานาคำถามเกี่ยวกบั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง (พมิ พ์ครั้งท่ี 5). กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ.
. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงนำสังคมอยู่เยน็ เปน็ สขุ ร่วมกัน. กรงุ เทพฯ:
ยเู นยี นอลุ ตร้าไวโอเรต็ .
530
. (2555). จากปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงสกู่ ารปฏบิ ตั ิ กวา่ 1 ทศวรรษ (พิมพค์ รง้ั ท่ี 2).
กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ์ คอมมนู เิ คชัน่ .
. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ ฉบับทส่ี ิบสอง พ.ศ. 2560-2564.
กรงุ เทพฯ: สำนกั งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการขา้ ราชการพลเรือน. (2559). ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งและการประยุกตใ์ ช้.
[Online]. Available: https://www.ocsc.go.th [2560, กนั ยายน 11].
สุกานดา กล่ินขจร และขวัญกมล ดอนขวา. (2560). ประสทิ ธิภาพในการดําเนนิ งานของอุตสาหกรรม
มนั สาํ ปะหลังโดยการประยุกตใ์ ช้หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งในภาค
ตะวันออกเฉยี งเหนอื . วารสารมหาวทิ ยาลยั นครพนม, 7(2), 1-9.
สขุ สันต์ อทิ ธวิทยาวาทย์. (2559). ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง: การศกึ ษาแนวคดิ และการประยุกตใ์ ช้
ในสังคมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(38), 95-104.
สุขสรรค์ กนั ตะบุตร. (2553). เศรษฐกิจพอเพยี งในองคก์ รธุรกิจเพ่ือความย่งั ยนื . กรงุ เทพฯ:
มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์.
สชุ รี า ธนาวฒุ .ิ (2560). การนําปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งไปทดลองใช้ในการพัฒนาธุรกิจ.
วารสารวิจัยกาสะลองคำ, 11(1), 57-70.
สุทนิ ลีป้ ยิ ะชาติ. (2559). เรยี นร้ตู ามรอยพระยุคลบาท: การศกึ ษาเรยี นรู้และการทำหน้าที่ครู.
ใน สยามรฐั . [Online]. Available: http://www.siamrath.co.th/web/?q [2560,
กันยายน 15].
สุธาพร บำรุงยา และวุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2558). การประยุกต์ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการ
จัดการธุรกจิ ของผผู้ ลติ และจดั จำหนา่ ยเกษตรอนิ ทรียภ์ ายใต้สญั ลักษณผ์ ลิตภัณฑ์เกษตร
อนิ ทรยี ท์ ี่ไดม้ าตรฐานของประเทศไทย. วารสารการจัดการธรุ กิจ มหาวิทยาลยั บรู พา,
4(1), 72-87.
สุบรรณ เอย่ี มวิจารณ์. (2556). การประยกุ ต์ใชป้ รชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกจิ ค้าปลีกกลุ่ม
จงั หวดั ลำดับท่ี 12 ของไทย. วารสารพัฒนบรหิ ารศาสตร์, 53(1), 161-190.
สเุ มธ ตนั ตเิ วชกุล. (2543). ใตเ้ บื้องพระยคุ ลบาท (พิมพ์ครงั้ ที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.
. (2556). ตามรอยพระยคุ ลบาท ครขู องแผน่ ดนิ . กรุงเทพฯ: จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั .
สุรินทร์ ชุมแก้ว และวิชัย อุตสาหจิต. (2559). วัฒนธรรมการทำงานในองค์การ ภาวะผู้นำแบบสร้าง
ความเปลย่ี นแปลง และพฤติกรรมการทำงานตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งของ
ผบู้ ริหารในองคก์ ารเอกชน. วารสารพฒั นบริหารศาสตร์, 56(3), 162-193.
เสรมิ ศรี สทุ ธิสงค์, เบญจ์ พรพลธรรม, พลศักด์ิ จิรไกรศิริ และอำนวย บุญรันตไมตรี. (2557).
ความสมั พนั ธ์ระหว่างการจดั การวิสาหกิจชมุ ชนกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง:
กรณศี ึกษาวิสาหกจิ ชมุ ชนกลุ่มผผู้ ลิตผา้ ไหมภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื . วารสารวชิ าการ
และวจิ ัยสงั คมศาสตร์, 9(25), 95-106.
อภชิ ัย พนั ธเสน สรวิชญ์ เปรมชืน่ และพิเชษฐ์ เกยี รตเิ ดชปญั ญา. (2546). การประยุกตพ์ ระราชดำริ
เศรษฐกจิ พอเพียงกับอตุ สาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. กรงุ เทพฯ: สำนักงาน
กองทนุ สนบั สนุนการวิจยั (สกว.).
531
อาชว์ เตาลานนท์. (2555). ประสบการณ์การประยกุ ตใ์ ชป้ รัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งดา้ นการ
บริหารธรุ กิจ ใน การประยุกต์ใชป้ รชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงของภาคธุรกจิ เอกชน
(หน้า 1-3). กรงุ เทพฯ: มูลนิธิสถาบนั วจิ ัยและพฒั นาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง.
เอสเอ็มอรี ีพอรท์ . (2560). โรงคว่ั กาแฟวงั น้ำเขียว จากความหลงใหลในเมล็ดพนั ธุ์ สู่การเข้าใจ
ความหมายของความพอเพยี งท่ซี ่อนอยู่. [Online]. Available:
http://www.smesreport .com/column.php?id=006683 [2560, กนั ยายน 15].
แอดคิดเชน่ . (2559). ชีวิตแบบพอเพยี งที่โรงค่ัวกาแฟวงั น้ำเขยี ว ของปกรณ์ เตชสิทธวิ์ รโชติ.
[Online]. Available: https://atkitchenmag.com/roasting-plant-coffee-
wangnamkhiao/ [2560, กันยายน 15].
532
บรรณานกุ รม
กนกพร กระจ่างแสง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ.์ (2560). อิทธพิ ลของแรงจงู ใจในการทํางานและการ
สนับสนนุ จากองค์กรท่ีส่งผลต่อคุณภาพในการปฏิบัติงานผ่านความผูกพนั ต่อองค์กรของ
บุคลากรโรงพยาบาลนครธน. วารสารวชิ าการมหาวทิ ยาลยั ธนบุรี, 11(26), 116-129.
กนิษฐ (สุริยสัตย์) เมอื งกระจา่ ง. กรณีศึกษาทปี่ ระสบความสำเร็จในการน้อมนำหลักปรชั ญาของ
เศรษฐกิจพอเพยี งไปปรับใชใ้ นการบรหิ ารด้านอุตสาหกรรม ใน การขับเคลอ่ื นปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงในต่างประเทศ: รวมคำบรรยายจากการสัมมนา ณ กระทรวง
ต่างประเทศ. (หนา้ 111-116). กรงุ เทพฯ: ภาพพิมพ์.
กมลทิพย์ คำใจ. (2556). ระบบสารสนเทศทางการบญั ชี. เชยี งใหม่: มหาวทิ ยาลัยราชภฏั เชียงใหม่.
กรชิ ชัย ขาวจ้อย, แก้วตา ผวิ พรรณ, ชัชากร คัชมาตย์ และบัณฑติ า ขาวจ้อย. (2559). ปจั จัยที่มีผลต่อ
ขวญั และกำลงั ใจในการทำงานของสมาชิกกลมุ่ วิสาหกจิ ชมุ ชนในเขตตำบลท่าพล อำเภอ
เมือง จงั หวดั เพชรบรู ณ์. ใน การประชมุ วชิ าการระดบั ชาติคร้ังที่ 2 นวตั กรรมการศึกษา
เพื่อการพฒั นาทย่ี ั่งยืน, วันท่ี 11 พฤศจิกายน 2559 (หน้า 115-116) กรุงเทพฯ: วิทยาลัย
เทคโนโลยีสยาม.
กรมพัฒนาธรุ กิจการค้า. (2555). การจดั ประเภทธุรกจิ ของนิติบคุ คลตามหลักการจัดประเภท
มาตรฐานอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) ปี 2552 กระทรวงแรงงาน. นนทบุรี:
กรมพัฒนาธรุ กจิ การค้า.
. (ม.ป.ป.). การจดทะเบยี นพาณชิ ย์ [Online]. Avaliable:
http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=373 [2560, เมษายน 17].
. (ม.ป.ป.). การจดทะเบยี นพาณชิ ยสําหรับธุรกจิ พาณิชยอเิ ลก็ ทรอนิกส [Online].
Avaliable: https://www.trustmarkthai.com/media/k2/attachments/
Register_Por_KO_0403.pdf [2560, เมษายน 17].
. (ม.ป.ป.). คำแนะนำในการจดทะเบยี นเลิกและชำระบญั ชีบริษัทจำกดั [Online].
Avaliable: http:// www.dbd.go.th/download [2560, เมษายน 16].
. (ม.ป.ป.). คำแนะนำในการจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีหา้ งหุ้นส่วน [Online].
Avaliable: http://www.dbd.go.th/download/downloads/
02_hs/intro_step_hs_dissolve.pdf [2560, เมษายน 16].
. (2553). คู่มือการจดทะเบียนพาณชิ ย์ ตามพระราชบัญญตั ิทะเบยี นพาณชิ ย์
พ.ศ. 2499. นนทบรุ ี: กรมพัฒนาธรุ กิจการค้า.
. (ม.ป.ป.). คำแนะนำการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามญั นติ ิบคุ คลรูปแบบ
องค์กรธุรกิจ [Online]. Avaliable: http://www.dbd.go.th/download/
downloads/02_hs/intro_step_hs_estab.pdf [2560, เมษายน 16].
. (ม.ป.ป.). รูปแบบองค์กรธรุ กจิ [Online]. Avaliable: http:// www.dbd.
go.th/ewt_news.php?nid=381&filename=index [2560, เมษายน 16].
533
. (2557). รวมคำศัพท์เทคนิค ภารกจิ กรมพัฒนาธรุ กิจการค้า. นนทบุรี:
กรมธรุ กิจการค้า.
. (2558). คมู่ ือเริ่มตน้ ธุรกจิ อยา่ งมีทศิ ทาง. นนทบุรี: กรมพัฒนาธุรกจิ การค้า.
กรมสง่ เสรมิ อุตสาหกรรม. (2559). ทำไมองค์กรตอ้ งปรับตัวให้ทนั การเปลีย่ นแปลง. [Online].
Available: https://bsc.dip.go.th/en/category/marketing2/qs-
whybusinesschange [2560, ตลุ าคม 20].
กรมสรรพากร. (2559). คู่มือภาษสี ำหรับ Start-up. กรุงเทพฯ: กรมสรรพากร.
. (2555). มารูจ้ ักภาษีมูลคา่ เพม่ิ กนั ก่อนดมี ัย๊ . กรุงเทพฯ: กรมสรรพากร.
กระทรวงการตา่ งประเทศ. (2558). รปู ธรรมแหง่ ความสำเรจ็ จากเศรษฐกิจพอเพยี ง ใน การขับเคล่ือน
ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งในต่างประเทศ: รวมคำบรรยายจากการสมั มนา ณ กระทรวง
ตา่ งประเทศ. (หนา้ 141-143). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
. (2558). อะไร ทำให้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักแห่งวิถีการพัฒนาสู่
ความยั่งยืน ใน การขับเคล่ือนปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงในต่างประเทศ: รวมคำบรรยาย
จากการสมั มนา ณ กระทรวงต่างประเทศ. (หนา้ 141). กรุงเทพฯ: ภาพพมิ พ.์
กระทรวงแรงงาน. (2552). สทิ ธินายจา้ งลูกจา้ ง [Online]. Avaliable: http://www.mol.go.th/
employer/duty. [2560, สงิ หาคม 25].
. กระทรวงแรงงาน. (2552). สวสั ดิการแรงงาน [Online]. Avaliable:
http://www.mol.go.th/employee/Welfare_workers. [2560, สงิ หาคม 25].
กราจิวสกี้, ลี. เจ. และ ริชแมน, ลาสร่ี พี. (2553). การจัดการดำเนินงาน กระบวนการและหว่ งโซ่
มูลคา่ . แปลโดย มัลลิกา ธรรมจรยิ าวัฒน์, ศรัณยู วิริยเวชกลุ และกำธร เกิดทา่ ไม้.
กรงุ เทพฯ: ว.ี พรนิ ท์ (1991).
กฤติน กลุ เพง็ . (2555). กลยุทธ์การสรรหาบุคลากร. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร.์
กฤษฎา เชียรวัฒนสขุ . (2558). เอกสารประกอบการบรรยายหวั ข้อการจัดการโซ่อุปทาน [ออนไลน]์ .
Available: http://www.slideshare.net/DrKrisada/11-43433022
[2560, กรกฎาคม 20].
กฤษณช์ าครติ ส ณ วฒั นประเสรฐิ . (2558). การจดั การโลจิสตกิ สแ์ ละซัพพลายเชนเชงิ วศิ วกรรม.
กรงุ เทพฯ: ปัญญาชน.
กฤษณะ สุกพันธ์, อสิ ราภรณ์ ทนุผล และเนตรดาว ชัยเขต. (2558). รูปแบบค่าตอบแทนท่สี ง่ ผลตอ่
การดำเนินงานของธุรกจิ โรงแรมในเขตภาคตะวนั ออก. วารสารการจดั การธรุ กจิ
มหาวิทยาลยั บรู พา, 5(1), 1-14.
กองบรรณาธกิ ารนิตยสาร BrandAge Essential. (2560). Brand Age Essential เสาหลกั
การตลาด 4.0. กรงุ เทพฯ: ไทยคณู -แบรนดเ์ อจ.
กองบรรณาธิการ GPP. (2550). ประมวลพระราชดำรสั ดบั วกิ ฤตชิ าติ. กรงุ เทพฯ: กรนี -ปัญญาญาณ.
กองบรรณาธกิ าร K SME inspired. (2558). เมากาแฟ ผลผลิตจากเครือขา่ ยแห่งมติ รภาพ. K SME
inspired, 2, 30-31.
. (2559). ชนุ เซง้ ฟารม์ . K SME inspired, 2, 30-31.
534
. (2559). ถอดรหัสความสำเร็จนธิ ฟิ ดู้ เสน้ ทางสู่การเตบิ โตอยา่ งย่งั ยืน. K SME
inspired,
4, 31.
. (2559). เช็คสุขภาพธรุ กิจด้วยสภาพคลอ่ งเงินสด. K SME inspired, 4, 28-30.
. (2560). โชค บูลกลุ ความสำเร็จทไี่ ม่มีวันสน้ิ สุด. K SME inspired, 3, 62-64.
กองบรหิ ารงานวจิ ยั และประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พมิ พ์เขียว Thailand 4.0 โมเดล
ขับเคลอื่ นประเทศไทยสคู่ วามม่งั คง่ั ม่ันคง และย่ังยืน. กรงุ เทพฯ: สถาบนั ส่งเสริมการ
จดั การความร้เู พ่อื สังคม.
กองบริหารภาษธี รุ กจิ ขนาดกลางและขนาดเลก็ . (2556). ลักษณะของ SMEs [Online].
Avaliable: http://www.rd.go.th/publish/38056.0.html [2560, เมษายน 15].
. (2559). รปู แบบบัญชแี ละรายงาน [Online]. Avaliable: http://www.rd.go.th/
publish/38052.0.html [2560, มถิ ุนายน 7].
กองส่งเสริมวิสาหกจิ ชุมชน กรมสง่ เสริมการเกษตร. (2557). วิสาหกจิ ชมุ ชนควรรู้ [Online].
Avaliable: http://www.sceb.doae.go.th [2560, เมษายน 15].
กญั ญามน อินหว่าง, สพุ จน์ อินหว่าง และอภชิ าติ วรรณภริ ะ. (2554). การจดั การวสิ าหกิจชุมชน.
พษิ ณโุ ลก: มหาวิทยาลัยพษิ ณุโลก.
กัลยรักษ์ นัยรักษ์เสรี. (2560). Gig Economy: โลกยคุ ใหม่ของคนทำงาน. [Online]. Available:
https://www.scbeic.com/th/detail/product/4070 [2560, ตุลาคม 19].
กัลยานี ภาคอตั . (2556). การวเิ คราะหง์ บการเงนิ และการพยากรณท์ างการเงิน ใน การจดั การการเงิน
หน่วยที่ 1-7ฉบบั ปรับปรงุ คร้ังที่ 3 (พิมพ์คร้ังท่ี 1) (หน้า 3-1-3-80) นนทบรุ :ี
มหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช.
กลั ยารัตน์ ธีระธนชัยกลุ . (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรงุ เทพฯ: ปญั ญาชน.
กณุ ฑลี รน่ื รมย์. (2556). การประยกุ ต์ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งในนโยบายและแผนการตลาดของ
วสิ าหกิจขนาดยอ่ มและขนาดกลาง (SMEs). จฬุ าลงกรณ์ธุรกิจปริทศั น์, 35(135), 49-
79.
กลุ ธดิ า เดน่ วิทยานันท์. (2559). ก้ยู ืมแบบ “Peer-to-Peer lending” โอกาสหรือความเส่ียง.
[Online]. Avaliable: https://www.pwc.com › pwc-thailand-blogs › blog-
20160922 [2560, สิงหาคม 30].
กานต์นภัส บุญลึก. (2554). บญั ชเี บือ้ งตน้ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคช่นั .
เกศรินทร์ บดั ทิม. (2558). ภาวะผูน้ ำการเปลีย่ นแปลงและการบรหิ ารจดั การองคก์ รตามแนวคดิ
ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งกับผลการดำเนนิ งานของวสิ าหกิจขนาดย่อมในจงั หวัด
นครราชสีมา. วารสาร มทร.อสี าน ฉบบั มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 92-105.
เกษม พิพัฒนป์ ัญญานุกูล. (2557). การควบคมุ คุณภาพ. กรุงเทพฯ: ท้อป.
เกษม วฒั นชัย. (2551). เส้นทางสู่ความพอเพยี ง. กรงุ เทพฯ: สำนกั งานคณะกรรมการพฒั นาการ
เศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ.
535
. (2558). แก่นแท้ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน การขับเคล่อื นปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงในตา่ งประเทศ: รวมคำบรรยายจากการสมั มนา ณ กระทรวงต่างประเทศ.
(หน้า 13-23). กรุงเทพฯ: ภาพพมิ พ์.
โกศล ดศี ลี ธรรม. (2551). โลจิสตกิ ส์และโซ่อุปทานสำหรับการแข่งขันยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.
ขวัญตา แซ่เตีย. (2559). วรวุฒิ อุ่นใจ การเรียนรู้คือบันไดต่อยอดความสำเร็จ. K SME inspired, 4,
60-62.
ขวัญตา แซเ่ ตยี และกฤษฎา ศลิ ปะไชย. (2559). Skootar Driverเมสเซนเจอร์มอื โปร เพ่ือธรุ กิจ
เอสเอม็ อี. K SME inspired, 2, 46-47.
คณะกรรมการกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการเพ่ือพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจัยด้าน
บริหารธุรกิจแห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ.
กรุงเทพฯ: เมจิกเพลส.
คณะวทิ ยาการจัดการ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร. (2556). พอเพียงทยี่ งั ไม่เพียงพอ. กรงุ เทพฯ:
สมาร์ท ทู เวริ ค์ .
คนงึ นิจ อนุโรจน์. (2560). การรกั ษาคนเก่งให้คงอยคู่ ู่กับองค์กร. NDC Security Review, 8, 1-27.
คำนาย อภปิ รัชญาสกุล. (2559). การพัฒนาด้วยระบบคุณภาพและการเพมิ่ ผลผลิต. กรงุ เทพฯ: โฟกัส
มเี ดยี แอนด์ พับลชิ ช่งิ .
ฆณาการ ปุปะระ และฤกษ์ชยั ฟปู ระทีปศริ .ิ (2559). ปัจจัยการกำกับดแู ลกจิ การของบรษิ ัททีส่ ่งผลต่อ
ผลการดำเนินงาน: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินท่ีจดทะเบียนในตลาด
หลกั ทรพั ยแ์ หง่ ประเทศไทย. วารสารวชิ าการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุมศึกษา เอกชน
แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,
5(1), 34-42.
จตรุ งค์ ศรวี งษว์ รรณะ. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรงุ เทพฯ: โอเดียนสโตร์.
จรนิ ทร์ อาสาทรงธรรม. (2554). เทคโนโลยีสำหรบั โลจิสตกิ สย์ คุ ใหม่. วารสารนักบรหิ ารมหาวทิ ยาลยั
กรุงเทพ, 31 (4), 8-14.
จติ รภาดา (นามแฝง). (2549). แผ่นดนิ ทอง แผน่ ดนิ ธรรม ตามคำพ่อสอน. กรงุ เทพฯ: มาย แบ็งค็อค.
จิตรลดา ตรีสาคร. (2559). ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อความสำเร็จของ
ผูป้ ระกอบการวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครและปรมิ ณฑล.
วารสารวชิ าการบรหิ ารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี, 5(2), 28-44.
จนิ ตนา ธนวิบูลยช์ ยั . (2559). การจัดการทรัพยากรมนษุ ย์สำหรบั ผปู้ ระกอบการ ใน การสร้างธุรกิจและ
การเปน็ ผูป้ ระกอบการ หนว่ ยที่ 9-15 (พิมพ์คร้งั ท่ี 5) (หนา้ 9-1-9-53) นนทบุร:ี
มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
จินตนา บุญบงการ. (2553). จริยธรรมทางธุรกจิ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรงุ เทพฯ: สำนกั พิมพ์แห่ง
จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั .
. (2556). สภาพแวดลอ้ มทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรายุ อศิ รางกูร ณ อยธุ ยา. (2549). พอเพยี งตามแนวพระราชดำริ. วารสารอันเนอื่ งมาจากพระราช
536
ดำริ, 4, 27-28.
จางเยีย่ น. (2559). ปรัชญาชีวติ ของแจ็ค หม่า. แปลโดย ชาญ ธนประกอบ. กรงุ เทพฯ: โพสต์บ๊กุ ส์.
ฉตั ยาพร เสมอใจ. (2558). การจดั การธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2557). หลักการจัดการ องค์การและการจดั การสมัยใหม่ (พิมพ์คร้ังที่ 2).
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนติ า ร่งุ เรอื ง และเสรี ชดั แช้ม. (2559). กรอบความคดิ เติบโต: แนวทางใหมแ่ หง่ การพัฒนาศกั ยภาพ
มนษุ ย.์ วทิ ยาการวจิ ยั และวิทยาการปัญญา 14(1), 1-13.
ชนินทร์ ชณุ หพนั ธรักษ์. (2559). ความรทู้ วั่ ไปเกีย่ วกับการบริหารธุรกิจ ใน ความรูเ้ บ้ืองตน้
เกี่ยวกบั การบรหิ าร หนว่ ยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งท่ี 4) (หน้า 2-1-2-36). นนทบุร:ี
มหาวทิ ยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
. (2559). การจัดการผลิต ใน ความรู้เบอื้ งตน้ เกี่ยวกบั การบริหาร หนว่ ยท่ี 1-7
(พิมพ์ครงั้ ท่ี 4) (หน้า 4-1-4-37). นนทบุรี: มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช.
ชมพูนทุ ศรีพงษ.์ (2549). พฤตกิ รรมการบรหิ ารของผ้บู ริหารภาคธุรกจิ เอกชนในสามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้. วารสารมหาวทิ ยาลัยราชภัฏยะลา, 1(2), 102-111.
. (2555). ทัศนคติของประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการประยกุ ต์ปรชั ญา
เศรษฐกิจพอเพยี งในการดำเนินชีวติ ภายใตบ้ รบิ ทสภาพสงั คมและเศรษฐกจิ ในปจั จบุ นั .
วารสารมหาวิทยาลัยราชภฏั ยะลา, 7(2), 153-162.
ชมพนู ทุ ศรีพงษ,์ วัลย์ลดา พรมเวียง, ปิยะดา มณนี ิล และสัสดี กำแพงด.ี (2559). การพัฒนา
วสิ าหกิจชมุ ชนแมบ่ ้านทหารกองทัพภาคท่ี 4 กองทัพบกไทย ในจังหวัดชายแดนภาคใต้.
ยะลา: มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏยะลา.
. (2560). การพฒั นาวิสาหกิจชมุ ชนแม่บา้ นทหารกองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย
ในจังหวดั ชายแดนภาคใต้. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภฏั ยะลา.
ชลธร ดำรงศักด์ิ (2558). กรณศี ึกษาท่ีประสบความสำเรจ็ ในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งไป
ปรบั ใช้ในการบรหิ ารและพัฒนาภาคธรุ กจิ ขนาดใหญ่ ใน การขบั เคลอ่ื นปรชั ญาเศรษฐกจิ
พอเพยี งในต่างประเทศ: รวมคำบรรยายจากการสมั มนา ณ กระทรวงต่างประเทศ.
(หน้า 35-40). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ชลธิชา ทพิ ยป์ ระทุม, จิราวรรณ คงคลา้ ย และเฉลมิ ชยั กิตติศักด์ินาวนิ . (2560). บทบาทของรางวัลในการ
บรหิ ารทรัพยากรมนุษย์. วารสารบัณฑติ ศึกษา มหาวิทยาลยั ราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชปู ถมั ภ์, 11(1), 190-201.
ชัชรนิ ทร์ สุรพัฒน์. (2560, กันยายน 13). เร่ืองเลา่ ประทับใจ ผลติ ผลชุมชนบา้ นกมุ่ พฒั นา จากวิถี
แหง่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง ก้าวสแู่ บรนดร์ ะดับชาติ ใน ทีนิวส์ [Online].
Available: http://www.tnews.co.th/contents/357834# 2560, กันยายน 22].
ชัยวิชญ์ มว่ งหมี. (2559). กลยุทธก์ ารตลาดของธุรกิจขนาดย่อมตามแนวคิดปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง.
วารสารสารสนเทศ, 15(1), 90-101.
ชยั เสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผนู้ ำร่วมสมยั . กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
537
ชตุ มิ ันต์ สะสอง. (2559). ความรูเ้ บอื้ งตน้ ในการประกอบธุรกจิ . เชียงใหม่: มหาวทิ ยาลัยราชภฏั
เชียงใหม่.
ชุตมิ า หวังเบ็ญหมัด และธนัชชา บนิ ดเุ หล็ม. (2557). ปจั จัยแหง่ ความสำเรจ็ ของการประกอบการ
ธุรกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอำเภอหาดใหญ่ จงั หวดั สงขลา. วารสาร
วิทยาการจดั การ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสรุ าษฎร์ธานี, 1(1), 109-123.
ชุลวี รรณ โชติวงษ์. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (พิมพค์ รั้งท่ี 3). กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลยั
เทคโนโลยพี ระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชศู ลี ตรงั ตรีชาติ. (2556). ค่มู ือบริหารธุรกจิ ส่วนตวั ฉบับสมบรู ณ์. นนทบุร:ี ธงิ ค์ บยี อนด์ บุ๊คส์.
เชฐธดิ า กศุ ลาไสยานนท์. (2559). การจดั การโลจิสติกส์ที่มีผลต่อประสทิ ธิภาพในการทำงานของ
อตุ สาหกรรมโรงสขี ้าวในจังหวดั นครปฐม. วารสารวชิ าการอตุ สาหกรรมศึกษา, 10(1),
9-18.
เชาวนะ ฉายแสง และทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์. (2558). ความคดิ เหน็ ต่อปจั จยั ที่มีอิทธิพลต่อการ
เลอื กเข้ารบั การฝกึ อบรมกับบริษทั ภายนอก กรณีศึกษาบริษัทผลติ ข้อต่อประปาโลหะ.
วารสารวิชาการ ศิลปศาสตรป์ ระยุกต์, 8(1), 44-53.
ซมั สาวพตั ร์. (2559). พระบรมราโชวาทและพระราชดำรสั . กรุงเทพฯ: ยอ้ นรอย.
ญาลดา พรประเสรญิ . (2558). การจดั การผลติ และการปฏิบัติการ. กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลยั ราชภัฏ
สวนสนุ นั ทา.
ฐานเศรษฐกิจ. (2560, มิถุนายน 24). ความท้าทายใหมข่ องผู้บรหิ ารหนมุ่ แหง่ ผงหอมศรจี นั ทร์ ใน
ฐานเศรษฐกจิ [Online]. Avaliable: http://www.thansettakij.com/content/
165119 [2560, สงิ หาคม 4].
ฐาปนา ฉ่นิ ไพศาล. (2558). การเงนิ ธรุ กิจ. กรงุ เทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
. (2560). การจัดการเชิงกลยทุ ธ์. กรงุ เทพฯ: ธนธชั การพมิ พ.์
ฐาปนา บุญหลา้ และนงลักษณ์ นิมิตรภวู ดล. (2555). การจดั การโลจิสติกส์: มติ ซิ ัพพลายเชน
ภาคทฤษฎแี ละปฏบิ ัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอด็ ยเู คช่ัน.
ฑัชวงษ์ จลุ สวัสดิ์. (2558). ความรบั ผดิ ชอบต่อสังคมขององคก์ รกบั ผลกระทบทีม่ ตี ่อพฤติกรรมการ
เป็น สมาชกิ องค์กรทีด่ ีของพนักงาน. วารสารปญั ญาภวิ ฒั น์, 7(3), 251-262.
ณชพล สุรยิ เสนยี ์, สหนนท์ ตงั้ เบญจสิรกิ ลุ , เกรยี งศกั ด์ิ เจรญิ วงศศ์ กั ดิ์ และไวพจน์ กุลาชัย. (2560).
การศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารองคก์ รตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง
สำหรบั อตุ สาหกรรมการผลติ : กรณศี กึ ษาผไู้ ดร้ ับรางวัลการประกวดผลงานตามปรชั ญา
เศรษฐกจิ พอเพยี ง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถมั ภ์, 11(2), 37-46.
ณรงค์ ศิริเลิศวรกลุ . (2559). สวทช. แนะนำ รู้จักSTARTUP THAILAND ตามแผนยุทธศาสตร์
ไทยแลนด์ 4.0 [Online]. Avaliable: http://www.manager.co.th/
smes/ViewNews.aspx? NewsID=9590000043461[2560, เมษายน 15].
ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี. (2560). Set Your Startup Business Guild รู้จกั ธรุ กจิ สตารท์ อัพ. กรุงเทพฯ:
ตลาดหลกั ทรพั ย์แห่งประเทศไทย.
538
ณฐั อมรภญิ โญ. (2556). รูปแบบการประสบความสำเร็จท่ียั่งยืนของผปู้ ระกอบการรายย่อยในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีประทุม ชลบรุ ี, 9(3), 57-66.
ณฏั ฐา อุย่ มานะชัย. (2554). สอ่ื โฆษณาออนไลน์ จากอดตี สู่อนาคต. วารสารนักบริหาร, 31(2),
167-172.
ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2560). Digital Marketing: Concept & Case Study 4.0 th Edition.
นนทบุรี: ไอดซี .ี
ณทั ณรงค์ จตรุ ัส, ธีรวฒั น์ ไพบลู ยก์ ุลกร และวีรยทุ ธ เจริญเรอื งกิจ. (2555). การลงทนุ ในไอทีในบรบิ ท
ของปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง. วารสารวชิ าการพระจอมเกลา้ พระนครเหนือ, 22(1),
150-159.
ดวงสมร อรพินท,์ กชกร เฉลิมกาญจนา, แพร กรี ะสุนทรพงษ,์ ปรญิ ดา มณีโรจน์ และสมพงษ์
พรอปุ ถมั ภ์. (2557). การบัญชกี ารเงิน (พิมพ์ครง้ั ที่ 10). กรงุ เทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เดลนิ วิ ส์. (2560, มีนาคม 24). กล้วยตากจากเกษตรกร บนเคร่ืองการบนิ ไทย ใน เดลนิ วิ ส์ [Online].
Available: https://www.dailynews.co.th/agriculture/563548
[2560, กันยายน 22].
ดสุ ิต ขาวเหลอื ง. (2554). การฝกึ อบรมที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะ. วารสารการศกึ ษาและการ
พฒั นาสงั คม, 7(1), 18-32.
ตลาดหลกั ทรัพย์แหง่ ประเทศไทย. (ม.ป.ป). คำศัพท์เกยี่ วกบั ตราสารหนี้ [Online]. Avaliable:
https://www.set.or.th/th/products/bonds/files/Glossary_thai.pdf [2560,
เมษายน 18].
. (ม.ป.ป). ตราสารทนุ [Online]. Avaliable: https://www.set.or.th/th/products/
Equities/equities_p1.html [2560, เมษายน 18].
. (2558). เจาะลกึ ลกั ษณะตราสารหนี้ [Online]. Avaliable: https://
www.set.or.th/education/th/begin/bond_content01.pdf [2560, มิถุนายน 18].
. (2560). รายชื่อบริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [Online]. Avaliable:
https://www.set.or.th/ set/memberlist.do [2560, มถิ นุ ายน 19].
ตัน ภาสกรนที. (2554). วถิ ี (ไม่ตนั ) ฉบับตัน ภาสกรนที. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธรุ กิจ.
ตลุ า มหาพสุธานนท์. (2554). หลักการจดั การ. กรงุ เทพฯ: พีเอน็ เคแอนด์สกายพร้นิ ต้ิงส์.
ทยากร สวุ รรณปักษ.์ (2556). จริยธรรมทางธรุ กิจและผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดยอ่ มในจงั หวดั มุกดาหาร. วารสารมนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์, 4(1), 46-66.
ทรงพล วันสูงเนนิ และปิยนุช เวทย์วิวรณ์. (2559). การประยุกต์ใช้หลักปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง
ในการบรหิ ารจดั การผู้รบั เหมาก่อสร้างขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย.
วิศวกรรมสารฉบบั วจิ ัยและพัฒนา, 27(4),1-17.
ทายวฒุ ิ โพธิท์ องแสงอรณุ และนทยา กัมพลานนท์. (2560). กระบวนการเพ่ิมประสทิ ธภิ าพการบรหิ าร
จัดการระบบโลจสิ ตกิ ส์ กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล กรณศี กึ ษาโรงงานน้ำตาลกลุ่มวัง
ขนาย. วารสารวชิ าการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(2), 371-378.
539
ทพิ วรรณ ทรัพย์สุวรรณ จินดารัตน์ ปีมณี และการุณย์ ประทมุ . (2557). ความสมั พันธร์ ะหว่าง
จริยธรรมธุรกจิ ภาพลกั ษณ์องค์กร และความสำเรจ็ ขององค์กรสำนักงานบัญชีในเขต
ภาคกลาง. วารสารมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33( 2),
219-233.
เทพศักด์ิ บุณยรตั พันธุ์. (2557). แนวคิดเกีย่ วกับองค์การ การจดั การ และการจดั การทรัพยากร
มนษุ ย.์ ใน องค์การและการจัดการ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1-8 (พมิ พ์
ครงั้ ท่ี 6) (หน้า 1-1-1-25) . นนทบรุ ี: มหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช.
เทคโนโลยีชาวบา้ น. (2559). ทึ่ง…ชาวบ้านกมุ่ พัฒนา เมอื งโอง่ ผลติ กลว้ ยตากสง่ การบนิ ไทย.
[Online]. Available: https://www.technologychaoban.com/marketing/
article_4697 [2560, กันยายน 15].
เทิดศักดิ์ ทวีธรี ะธรรม. (2558). เอกสารประกอบการบรรยายการวิเคราะห์งบการเงินเบ้ืองต้น.
กรงุ เทพฯ: บมจ. หลักทรพั ย์เอเซียพลัส.
ไทยรฐั ออนไลน์. (2558, กรกฎาคม 21). ซีอโี อ-ประธาน 'โตชบิ า' ลาออก ยอมรบั แตง่ กำไรบรษิ ทั นาน
หลายปี ใน ไทยรัฐออนไลน์ [Online]. Avaliable: https://www.thairath.co.th/
content/513235 [2560, มิถนุ ายน 10].
.(2559, ตลุ าคม 18). คำพ่อสอน เร่อื งการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ใน ไทยรฐั
ออนไลน์ [Online]. Available: https:// www.thairath.co.th/content/754102
2560, กนั ยายน 15].
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). การจดั การและการพัฒนาวิสาหกจิ ชมุ ชน. สงขลา:
สถาบนั สันติศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั สงขลานครนิ ทร.์
ธนะรตั น์ รตั นกูล. (2560). การบำรงุ รกั ษาทวีผลแบบทกุ คนมีส่วนรว่ มเพ่ือเพม่ิ ค่าประสิทธิผล
โดยรวมของเครื่องจักรในอตุ สาหกรรมเหลก็ รูปพรรณ. วารสารวิชาการคณะ
เทคโนโลยอี ตุ สาหกรรม มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั ลำปาง, 10(1), 50-62.
ธนวุฒิ พมิ พก์ ิ. (2556). การเป็นผู้ประกอบการทางธรุ กจิ . กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร์.
. (2558). การบริหารธุรกิจขนาดยอ่ ม. กรุงเทพฯ: โอเดยี นสโตร.์
ธนวุฒิ พมิ พ์กิ และจันทนา ฤทธ์สิ มบรู ณ์. (2557). การประยกุ ตใ์ ชแ้ นวพระราชดำริเศรษฐกจิ พอเพยี ง
กับวสิ าหกจิ ชุมชนในจังหวดั จนั ทบรุ ี. วารสารวิจยั มสด, 10(1), 1-21.
ธนวัฒน์ วรรณประภา. (2560). ส่ือสังคมออนไลนก์ บั การศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั
มหาสารคาม, 11(1), 1-20.
ธนาคารกสกิ รไทย. (2560). แป้งพัฟเงนิ ลา้ น แปลกใหม่ ใหญ่ ดงั [Online]. Available:
https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/
SMEStory/Pages/Millionaire-Pressed-Powder Babalah.aspx [2560, สงิ หาคม 9].
ธนาคารไทยพาณชิ ย์ จำกัด (มหาชน). (2560). การเสนอขายหุ้นกู้บรษิ ัท อติ าเลยี นไทย ดเี วลอ็ ปเมนต์
จำกัด(มหาชน) [Online]. Available: https://www.scb.co.th/th/about-
us/news/jun- [2560, มถิ นุ ายน 17].
540
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน). (2555). การเสนอขายหุน้ กู้ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน).
[Online]. Available https://www.thanachartbank.co.th/ tbankcmsfrontend/
promotiondetailth.aspx?typeid=13&id=421 [2560, มิถุนายน 17].
ธันย์ชนก ธติ ิพงศ์ววิ ัฒน์, ณกั ษ์ กุลิสร์ และสุพาดา สริ ิกุตตา. (2552). ปจั จยั ทมี่ ีผลต่อความสำเรจ็ ใน
การปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่, วารสาร
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒ, 12, 42- 52.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานธุรกรรมการชำระเงนิ ประจำไตรมาส 2 ปี 2560.
กรงุ เทพฯ: ธนาคารแหง่ ประเทศไทย.
ธนาศกั ดิ์ ขา่ ยกระโทก, สริ ิมา บูรณก์ ุศล และกนกกาญจน์ ศรสี ุรินทร์. (2560). พฤติกรรมการเลอื กซื้อ
สนิ ค้าออนไลนข์ องผบู้ ริโภคในจังหวัดอบุ ลราชธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอ
ผลงานวจิ ัยระดบั ชาติ ราชธานวี ชิ าการครง้ั ที่ 2 การวจิ ยั 4.0 เพอื่ การพัฒนาประเทศสู่
ความมั่นคง ม่ังคั่ง และย่งั ยนื , วนั ท่ี 26-27 กรกฎาคม 2560. (1189-1200)
อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
ธญั ญรัศม์ วศวรรณวัฒน์. (2557). ความรู้ท่ัวไปเกย่ี วกบั การจดั การทางการเงิน. ใน การจัดการการเงนิ
การตลาด และการผลิต หน่วยที่ 1-8 (พิมพ์คร้ังที่ 2) (หน้า 1-1-1-57). นนทบุรี:
มหาวิทยาลัย สโุ ขทัยธรรมาธิราช.
ธันย์ชนก ธิติพงศ์วิวัฒน์, ณักษ์ กุลิสร์ และสุพาดา สิริกุตตา. (2552). ปัจจัยท่ีมีผลต่อความสำเร็จใน
การปฎิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่. วารสาร
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ, 12, 42-52.
ธรี ะวฒั น์ จนั ทึก และจรรี ตั น์ อินทรจำนงค์. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการดาํ เนินชีวิตตามแนว
ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงท่ีนําไปสูความสําเร็จการประกอบธุรกจิ สวนตัวขนาดเลก็ ใน
เขตจงั หวดั นครปฐม. วารสารวชิ าการมหาวทิ ยาลยั กรุงเทพธนบรุ ี, 3(1), 109-122.
ธารนันท์ สโุ นภักดิ์ และมนตรี วบิ ูลยรตั น์. (2557). ปจั จยั ดา้ นการตลาดบริการและพฤติกรรมท่มี ีผลตอ่
การตดั สนิ ใจซ้ือสินคา้ นำเขา้ ภายในซปุ เปอร์มารเ์ ก็ต ในเขตกรงุ เทพมหานคร. วารสาร
วจิ ัยมข. มส. (บศ.) 2(2), 74-84.
ธารณา จนั ตะเภา และนิเวศน์ ธรรมะ. (2557). อิทธพิ ลของการตระหนักถึงความรับผิดชอบตอ่ สังคม
ขององค์กร ต่อความพงึ พอใจและความจงรักภกั ดขี องลูกคา้ บริษัท โทเท่ลิ แอ็คเซส็
คอมมูนเิ คชน่ั จำกดั (มหาชน) (DTAC). วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย,
21(1), 26-38.
นคเรศ ณ พัทลุง และยวุ ัฒน์ วุฒเิ มธ.ี (2555). 6 คุณลกั ษณะภาวะผนู้ ำที่มผี ลต่อการพัฒนา
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย,
32(2), 131-143.
นงลกั ษณ์ แสงมหาชยั . (2559). เศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองทางการเงนิ . วารสารวิชาการ
บรหิ ารธรุ กิจ สมาคมสถาบันอุดมศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์
สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี, 5 (2), 146-156.
541
นพพร วงศ์อนนั ต์. (2558). คำนยิ ม ชีวประวตั ิ แจค็ หม่า นกั สู้ ผูย้ ิง่ ใหญ่ [Online]. Available:
http://www.forbesthailand.com [2560, เมษายน 26].
นภดล เหลืองภิรมย์ และวนั ชยั มชี าติ. (2559). แนวคดิ เกยี่ วกับการบริหาร ใน ความรู้เบ้ืองตน้
เกี่ยวกบั การบรหิ าร หนว่ ยท่ี 1-7 (พิมพ์คร้ังท่ี 4) (หน้า 1-9-1-69). นนทบรุ :ี
มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช.
นภวรรณ คณานรุ ักษ์. (2559). กลยทุ ธก์ ารตลาด (พมิ พค์ รัง้ ที่ 3). กรุงเทพฯ: ทรปิ เพ้ิลกรุ๊ป.
นภทั ร คล้ายคลึง และเสาวนีย์ สมนั ต์ตรพี ร. (2557). ความรบั ผิดชอบต่อสงั คมขององค์กร (CSR) และ
ความพงึ พอใจของลูกคา้ ที่มีผลตอ่ ความจงรกั ภักดีในสายการบินนกแอร์. รมยสาร, 12(1),
93-101.
นภาพร ขันธนภา. (2559). จรยิ ธรรมทางธุรกจิ . กรงุ เทพฯ: ทอ้ ป.
นราธิป ศรรี าม. (2557). การจัดองค์การ. ใน องคก์ ารและการจัดการ และการจดั การทรัพยากรมนุษย์
หนว่ ยท่ี 1-8. (พิมพ์ครง้ั ท่ี 6) (หนา้ 4-1-4-51). นนทบุรี: มหาวทิ ยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
นรเศรษฐ วาสะศิริ และณฐวฒั น์ พระงาม. (2560). การบริหารจดั การทรัพยากรมนุษย์กบั ประสิทธภิ าพ
การปฏิบตั ิงานของเจา้ หน้าที่ในมหาวิทยาลยั พิษณโุ ลก. วารสารการวิจยั กาสะลองคำ
มหาวิทยาลัยราชภฏั เชียงราย, 11(พิเศษ), 185-195.
นฤมล สุ่นสวสั ด์ิ. (2560). ปัจจยั ทีส่ ่งผลสำเร็จในการบริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวคิด
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสารสนเทศ, 16(1), 113-123.
นฤมล สุวิมลเจริญ และปรารถนา ปณุ ณกิตเิ กษม. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของ
พาณชิ ย์อิเล็กทรอนิกส์ของธรุ กจิ ออนไลน์ ในกลุ่มอตุ สาหกรรมลวดสลิง. วารสารสทุ ธิ
ปรทิ ัศน,์ 30( 95), 156-175.
นันทสารี สขุ โต. (2557). การตลาดระดับโลก (พิมพ์ครง้ั ท่ี 2). กรงุ เทพฯ: จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั .
นริ มล สุธรรมกิจ. (2559). สนิ คา้ สีเขยี ว (green product) คอื อะไร. [Online].
Available: https://progreencenter.org/2016/02/22 [2560, สิงหาคม 9].
นิศารตั น์ สังข์เสอื และพลดา เดชพลมาตย์. (2560). การบริหารจัดการวสิ าหกจิ ชุมชน: กรณีศกึ ษา
กลุ่มผ้ผู ลติ เมลด็ พนั ธ์ุขา้ วศรนี คร อำเภอศรนี คร จังหวดั สุโขทัย ใน การประชุมวชิ าการ
ระดับชาติ นเรศวรวิจยั คร้งั ที่ 13 วิจัย และนวตั กรรม ขบั เคล่อื นเศรษฐกิจและสงั คม,
วนั ที่ 20-21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (หน้า 868-877). พษิ ณุโลก: มหาวิทยาลยั นเรศวร.
นชุ สทั ธาฉตั รมงคล และอรรถพล ธรรมไพบูลย์ .(2559). ผูน้ ำการเปลีย่ นแปลงในยุคโลกาภิวัตน์สู่การ
พฒั นาอย่างยัง่ ยนื . วารสารธรุ กจิ ปริทศั น์, 8(1), 167-182.
บรรษทั ประกันสนิ เชอื่ อุตสาหกรรมขนาดย่อม. (2560). สถิตจิ ำนวน SMEs ในประเทศไทย [Online].
Avaliable: http://www.tcg.or.th [2560, เมษายน 15].
บริษทั การบนิ ไทย จำกัด (มหาชน). (2558). รายงานการพฒั นาอย่างยง่ั ยนื ประจำปี 2558. กรงุ เทพฯ:
บรษิ ัทการบินไทย จำกัด (มหาชน).
542
. (ม.ป.ป). จรรยาบรรณการบนิ ไทย (Code of Conduct). กรุงเทพฯ: บรษิ ัทการบนิ ไทย
จำกัด (มหาชน).
บริษัท ปตท. จำกดั (มหาชน). (2556). พอเพียงใด. กรงุ เทพฯ: พราวเพรส (2002).
บริษทั พฤกษา โฮลดงิ้ จำกัด (มหาชน). (2560). ประวัติบริษทั [Online]. Avaliable:
http://www.psh.co.th/th/about/history [2560, เมษายน 15].
บรษิ ทั อีซ่ี บาย จำกดั (มหาชน). (2557). จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกจิ . กรุงเทพฯ: บรษิ ัท
อซี ่ี บาย จำกดั (มหาชน).
.(2558). ความรับผดิ ชอบตอ่ สังคม [Online]. Available: http://www.easybuy.
co.th/th/Csr?TabID=c_1 [2560, เมษายน 28].
บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผปู้ ระกอบการยคุ โลกาภิวัตน.์ กรงุ เทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั .
บญุ ยนื ตันเยี่ยน. (2555). เทคโนโลยสี ารสนเทศและระบบสารสนเทศทางการบัญชี ใน เทคโนโลยี
สารสนเทศสำหรบั การบัญชกี ารเงนิ และการบญั ชีเพื่อการจัดการ หนว่ ยที่ 1-7
(หน้า 1-1-1-49). นนทบุร:ี มหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช.
บญุ อนนั ต์ พนิ ัยทรพั ย.์ (2560). การจัดการทรพั ยากรมนุษย.์ นนทบุรี: รนั ตนไตร.
เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภญิ โญ. (2556). หลกั การบัญชี. กรุงเทพฯ: ซเี อด็ ยูเคชน่ั .
. (2557). สนกุ รูบ้ ญั ชีเร่ิมต้นจากศูนย์. นครราชสมี า: แพนด้าเลริ น์ นิ่งบุ๊ค.
ปฐมพงษ์ บำเริบ. (2559). การพาณิชย์บนโทรศัพทเ์ คลอื่ นทกี่ ุญแจดอกสำคญั ในการขับเคล่ือนระบบ
เศรษฐกจิ ไทย. วารสารกสทช. ประจำปี 2559, 468-488.
ปธาน สวุ รรณมงคล. (2558). การบรหิ ารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรงุ เทพฯ: สถาบนั
พระปกเกล้า.
ปภาวดี มนตรวี ัต. (2559). การบริหารทรพั ยากรมนษุ ย์. ใน ความรเู้ บอ้ื งตน้ เก่ยี วกบั การบริหาร
หน่วยท่ี 1-7 (พมิ พค์ รงั้ ท่ี 4) (หน้า 7-1-7-48). นนทบุรี: มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช.
ประกายดาว แบ่งสันเทียะ. (2556, กุมภาพันธ์ 15). บญุ ชยั โชควัฒนา ภาวะผู้นำจากคำสอนพ่อ ใน
กรุงเทพธุรกิจ [Online]. Avaliable: http://www.bangkokbiznews.com/nesw/
detail/489453 [2560, สงิ หาคม 4].
ประกาศกระทรวงพาณชิ ย์. (2544). ราชกิจจานุเบกษา, 118 (ตอนพิเศษ 14 ง), 8.
ประกาศกรมทะเบียนการค้า. (2544). ราชกิจจานุเบกษา, 118 (ตอนพิเศษ 58 ง), 21-27.
ประจวบ กลอ่ มจิตร. (2556). โลจสิ ตกิ ส์-โซ่อปุ ทาน : การออกแบบและจดั การเบื้องต้น. กรงุ เทพฯ:
ซเี อ็ดยูเคช่ัน.
ประภาพรรณ ไชยานนท์. (2553). การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจรายย่อยและ
วิสาหกิจขนาดเล็กในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎ
เชียงราย, 5(1), 53-81.
ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช. (2557). การออกแบบระบบการผลิต ใน การจัดการการเงิน การตลาด
และการผลติ (พิมพ์ครงั้ ที่ 2) (หน้า 12-1-12-67). นนทบรุ ี: มหาวทิ ยาลัย
สุโขทัยธรรมาธริ าช.