The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักการบริหารธุรกิจ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ahlam.j, 2022-07-06 03:51:25

หลักการบริหารธุรกิจ

หลักการบริหารธุรกิจ

Keywords: หลักการบริหารธุรกิจ

หลักการบริหารธุรกจิ

ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ชมพูนทุ ศรีพงษ์
คณะวิทยาการจดั การ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั ยะลา



คำนำ

การบริหารธุรกิจมีความสำคัญย่ิงต่อการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จและเกิดความ
ม่นั คงอย่างยั่งยืนแก่ธุรกิจ ดังนัน้ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมแนวคิด ทฤษฎี และข้อมูลตา่ ง ๆ ที่เก่ียวข้องเพื่อ
เรียบเรียงตำราหลักการบริหารธุรกิจดังที่ปรากฏ โดยมีเนื้อหาทั้งหมด 9 บท ประกอบด้วยบทที่ 1
ธุรกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ บทท่ี 2 การดำเนินงานทางธุรกิจ เพ่อื ให้ผู้อ่านได้เขา้ ใจถึงภาพรวม
ของธุรกิจและการดำเนินงานทางธุรกิจในปัจจุบัน จากบทที่ 3 ถึงบทท่ี 8 มีเน้ือหาครอบคลุมหน้าที่
การบริหารธรุ กิจ เรม่ิ ด้วยบทท่ี 3 การบญั ชี ในบทนี้อธิบายถึงการจัดทำบัญชีของธุรกจิ และเทคโนโลยี
กับการบัญชี บทที่ 4 การเงิน มีเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่งานทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน ตลาด
การเงิน สถาบันการเงิน และธุรกรรมการเงินออนไลน์ บทท่ี 5 การผลิตและการดำเนินงาน เป็นบทที่
อธิบายเก่ียวกับระบบและขอบเขตงานของการจดั การผลิตและการดำเนินงาน บทท่ี 6 การตลาด ซง่ึ มี
เน้ือหาครอบคลุมการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด การแบ่งส่วนตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย
และการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ รวมทั้งส่วนประสมทางการตลาด และการตลาดในยุค 4.0 บทท่ี 7
การจัดการองค์การ มีเนื้อหาเก่ียวกับองค์การ และหน้าที่งานการจัดการไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การ
จัดองคก์ าร การนำ และการควบคุม รวมทั้งการจดั การเชงิ กลยทุ ธ์ บทท่ี 8 การจดั การทรพั ยากรมนษุ ย์
โดยอธิบายถงึ แนวคดิ และกิจกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจดั การทรพั ยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุค 4.0 สุดท้ายบทที่ 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในการบริหารธุรกิจ บทน้ีอธิบายถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้โดยเฉพาะในการ
บริหารธุรกิจ ท้ังนี้เนื้อหาในแต่ละบทของตำราได้เรียบเรียงโดยใช้คำบรรยายที่ง่ายต่อการทำความ
เข้าใจ ยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย เล่าเรื่องท่ีน่าสนใจทางธุรกิจ และมีแบบฝึกหัดทบทวนความรู้
รวมทัง้ มเี อกสารอา้ งองิ ท่ที ันสมัยและครบถ้วน เพอื่ ประโยชน์สงู สุดแก่ผอู้ ่าน

ผู้ เขียน ห วังเป็ นอ ย่างยิ่งว่าเน้ือ ห าในต ำราเล่ มนี้ จะเป็ น ป ระโยช น์ ส ำห รับ นั กศึกษ า
นกั วชิ าการ ตลอดจนผู้สนใจทางด้านธรุ กิจ ในการเพ่ิมพูนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ
ได้เป็นอย่างดี สุดท้ายนผี้ ู้เขยี นขอขอบพระคุณอาจารยแ์ ละนกั วชิ าการทกุ ท่านท่ีผเู้ ขียนได้กล่าวอ้างเพื่อ
ประโยชน์ทางการศึกษาในตำราเล่มนี้ และขอขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านซ่ึงให้คำแนะนำ
และให้กำลังใจในการจัดทำตำราจนเสรจ็ สนิ้ สมบรู ณ์

ชมพูนุท ศรีพงษ์
30 ตุลาคม 2564



สารบัญ

หน้า

คำนำ………………………………………………..……..…………………………………………………………………………...ก
สารบัญ…………………………………………………………………………………………………………………………………ค
สารบญั ภาพ………………………………………..……………………………………………………….………………………..ช
สารบัญตาราง……………………………………….……………………………………………..…………………………….…ฌ
บทท่ี 1 ธรุ กจิ และสภาพแวดลอ้ มทางธุรกจิ ………………………………………..……….…………………………..1

ความรู้พนื้ ฐานเก่ียวกบั ธรุ กิจ………………………………………………………………………………….1
วิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม วสิ าหกจิ ชุมชน วสิ าหกจิ เรม่ิ ตน้
และวสิ าหกจิ เพ่ือสังคม……………………………………………………………………….………………..9
รปู แบบองค์การธรุ กจิ …………………………………………………………………………………………15
การจดทะเบียนพาณิชย์………………………………………………………………………………………27
สภาพแวดล้อมทางธุรกจิ …………………………………………………………………………………….30
ธรุ กจิ ในยคุ ดิจทิ ัล……………………………………………………………………………………………….41
บทสรุป…………………………………………………………………………………………………………….49
แบบฝกึ หดั ท้ายบท…………………………………………………………………………………..…………51
เล่าเรอ่ื งทางธุรกจิ ……………….……………………………………………………………………………..52
เอกสารอา้ งอิง……………………………………………………………………………………………………56
บทท่ี 2 การดำเนินงานทางธุรกิจ………………….…………….…………………………………………………………61
ความรพู้ ้นื ฐานในการดำเนินงานทางธุรกิจ…………………………………………………………….61
ระบบการดำเนนิ งานทางธรุ กิจ…………………………………………………………………………….69
การดำเนินงานทางธุรกจิ ในยุค 4.0…………………………………………………………………………73
ธรรมาภบิ าล จรยิ ธรรมทางธุรกิจ และความรบั ผิดชอบต่อสงั คม…….…………………………85
คุณลักษณะผู้ประกอบการและหนา้ ท่ีพื้นฐานในการบรหิ ารธรุ กิจ…………………………..103
บทสรปุ …………………………………………………………………………………………………………..107
แบบฝกึ หัดทา้ ยบท...…………………………………..……………………………………………………108
เลา่ เร่ืองทางธุรกิจ….…..………………………………….…………………………………………………109
เอกสารอ้างอิง…………………………………………………………………………………………………113
บทที่ 3 การบัญชี……………………………………………………………………………………………………………….119
หน้าทใี่ นการจดั ทำบัญชีของธุรกจิ ………………………………………………………………………119
ความรพู้ ื้นฐานเกี่ยวกับการบัญชี………………………………………………………………………..122
สมการบญั ชีและหมวดรายการทางบญั ชี…………………………………………………………….128
การจดั ทำบญั ชีตามวงจรการบญั ชี……………………………………………………………………..135
เทคโนโลยกี บั การบญั ชี……………………………………………………………………………………..178



สารบญั (ตอ่ )

หนา้

บทสรปุ …………………………………………………………………………………………………………..186
แบบฝึกหัดทา้ ยบท...………………………………………………………………………………………..188
เล่าเร่ืองทางธุรกิจ….…..………………………………….…………………………………………………190
เอกสารอ้างอิง…………………………………………………………………………………………………192
บทที่ 4 การเงิน…………………………………………………………………………………………………..……………..195
ความรู้พืน้ ฐานเกี่ยวกบั การเงิน…………………………………………………………………………..195
การวิเคราะห์งบการเงนิ …………………………………………………………………………………….201
ตลาดการเงินและสถาบันการเงิน……………………………………………………………………….217
เงนิ ทนุ และการจดั หาเงนิ ทุนของธรุ กิจ………………………………………………………….…….221
ธรุ กรรมการเงนิ ออนไลน…์ ………………………………………………………………………………..239
บทสรปุ …………………………………………………………………………………………………..………242
แบบฝกึ หัดท้ายบท...………………………………………………..………………………………………244
เลา่ เรือ่ งทางธุรกจิ ….…..………………………………….…………………………………………………245
เอกสารอ้างองิ …………………………………………………………………………………………………248
บทท่ี 5 การผลติ และการดำเนินงาน……………………………………………………………………………………251
ความรพู้ น้ื ฐานเกย่ี วกับการผลิตและการดำเนินงาน………………………………………………….251
แนวคิดการจัดการการผลติ และการดำเนินงาน………………………………………………………..257
การออกแบบการผลิตและการดำเนินงาน……………………………………………………………….261
การปฏิบัตกิ ารในการผลติ และการดำเนินงาน………………………………………………………….275
การจดั การผลติ และการดำเนินงานในยุค 4.0………………………………………………………….301
บทสรปุ …………………………………………………………………………………………………..………304
แบบฝึกหัดทา้ ยบท...………………………………………………………………………………………..305
เล่าเรือ่ งทางธุรกจิ ….…..………………………………….…………………………………………………306
เอกสารอ้างอิง…………………………………………………………………………………………………309
บทที่ 6 การตลาด………………………………..…………………………………………………………………………….313
ความร้พู ื้นฐานเกี่ยวกบั การตลาด………………………………….……………………………………313
การวิเคราะหส์ ภาพแวดล้อมทางการตลาด………………………………………………………….320
การแบ่งสว่ นตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย และการวางตำแหน่งผลติ ภณั ฑ์………….326
ส่วนประสมทางการตลาด Ps Cs และ Es………………………………………………………….333
การตลาดในยคุ 4.0………………………………………………………………………………………….359
บทสรปุ …………………………………………………………………………………………………..………363
แบบฝกึ หดั ท้ายบท...………………………..………………………………………………………………365
เลา่ เรอ่ื งทางธรุ กจิ ….…..………………………………….…………………………………………………366



สารบญั (ตอ่ )

หนา้

เอกสารอา้ งองิ …………………………………………………………………………………………………368
บทที่ 7 การจัดการองค์การ………………………………..……………………………………………………………….371

ความรูพ้ ืน้ ฐานเกี่ยวกบั องคก์ ารและการจดั การ……………….…………………………………..371
การวางแผน……………………………………………………………………………………………………384
การจดั องค์การ………………………………………………………………………………………………..390
การนำ……………………………………………………………………………………………………………398
การควบคมุ …………………………………………………………………………………………………….405
การจดั การเชงิ กลยทุ ธ์………………………………………………………………………………………409
บทสรปุ …………………………………………………………………………………………………..………412
แบบฝึกหดั ทา้ ยบท...………………………………………………………………………………………..414
เล่าเร่ืองทางธุรกจิ ….…..………………………………….…………………………………………………415
เอกสารอา้ งองิ …………………………………………………………………………………………………418
บทที่ 8 การจดั การทรพั ยากรมนุษย์…………………………………….………………………………………………421
ความรพู้ น้ื ฐานเก่ียวกบั การจัดการทรพั ยากรมนษุ ย์……………………………………….……..421
การวางแผนกำลงั คน การสรรหา และการคัดเลอื ก……………………………………………..425
การปฐมนิเทศ การฝกึ อบรมและการพฒั นา ……………………………………………………..439
การประเมินผล การเปล่ยี นตำแหน่งงาน การให้ผลตอบแทน
และการดำเนนิ การทางวนิ ัย………………………………………………………………………………445
การจัดการทรัพยากรมนษุ ย์เชิงกลยุทธ์………………………………………………………………458
การจดั การทรพั ยากรมนษุ ย์ในยุค 4.0………………………………………………………………..465
บทสรปุ …………………………………………………………………………………………………..………473
แบบฝกึ หดั ท้ายบท...………………………………………………………………………………………..475
เลา่ เรอื่ งทางธรุ กจิ ….…..………………………………….…………………………………………………476
เอกสารอา้ งอิง…………………………………………………………………………………………………479
บทท่ี 9 การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งในการบริหารธุรกจิ …………………………….….….483
ความเป็นมาของปรัชญาเศรษฐกจิ กจิ พอเพียง……………………………………………………..483
ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งคืออะไร……………………………………………………………………..489
หลกั การปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้….………………….………………….493
ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งกับภาคธรุ กจิ และการประยุกต์ใช้…………………………………..499
การบรหิ ารธรุ กิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง…………………………………………….510
บทสรุป……………………………………………………………………………………..…………..………519
แบบฝึกหัดท้ายบท...………………………………………………………………………………………..521



สารบญั (ตอ่ )

หนา้

เล่าเรอื่ งทางธรุ กจิ ….…..………………………………….…………………………………………………522
เอกสารอา้ งอิง…………………………………………………………………………………………………526
บรรณานกุ รม……………..………………………………………………………………………………………………………533



สารบัญภาพ

ภาพท่ี หน้า

1.1 ตวั อยา่ งใบทะเบยี นพาณิชย์……………………………………………………………………………………………..29
1.2 แบบจำลองแรงผลกั 5 ประการ (five forces model)……..………………………………………………..38
2.1 ระบบการดำเนินงานทางธุรกจิ .……..……………………………………………………………………….…………70
4.1 ตัวอย่างใบส่งสินคา้ ……………………………………………………………………………………………………….224
4.2 ตวั อย่างใบเสร็จรับเงนิ …………………………………………………………………………………………………..224
4.3 ตวั อย่างตว๋ั สญั ญาใชเ้ งนิ …………………………………………………………………………………………………226
4.4 ตัวอย่างตว๋ั แลกเงนิ ……………………………..…………………………………………………………………………227
4.5 ตัวอยา่ งตว๋ั สญั ญาใช้เงนิ จากการกูเ้ งนิ ธนาคาร…………………………………………………..……………..228
4.6 ตวั อยา่ งต๋ัวแลกเงนิ ท่ีออกขายโดยธนาคาร…………….…………………………………………………………229
4.7 ตัวอยา่ งสมดุ เช็ค……….………………………………………………………………………………………………….231
4.8 ตวั อยา่ งการส่ังจา่ ยเช็ค…………………………………………………………………………………………………..232
4.9 ตวั อยา่ งการขีดคร่อมเชค็ แบบทั่วไป…………………………………………………………………………………233
4.10 ตวั อย่างการขีดคร่อมเช็คแบบเฉพาะ……………………………………………………………………………..233
4.11 ตวั อย่างแคชเชียร์เช็ค………………………………………………………………………………………………….234
4.12 ตัวอย่างเชค็ ของขวัญ…………………………………………………………………………………………………..235
4.13 ตัวอย่างตัว๋ แลกเงินของธนาคาร……………………………………………………………………………………235
4.14 ตวั อย่างการเสนอขายห้นุ กู้ด้อยสิทธิ……………………..……………………………………………………….238
4.15 ตวั อย่างการเสนอขายหุน้ กูไ้ มด่ ้อยสิทธิ……………………..…………………….……………………………..238
5.1 ระบบการผลิตและการดำเนนิ งาน…………………………………………………………………………………..254
6.1 การวางตำแหน่งผลติ ภัณฑ์ธรุ กิจน้ำพริกแสนสขุ ……………………….……………………………………….332
6.2 การวางตำแหนง่ ผลติ ภัณฑ์ธรุ กจิ กระเปา๋ จกั สานจากกระจดู กรมทหารราบที่ 151………………….333
6.3 ตัวอย่างเครื่องหมายตราสนิ ค้า………………………………………………………………………………………..335
7.1 กระบวนการจัดการ………………………………………………………………………………………………………383
7.2 โครงสรา้ งองค์การตามหนา้ ท่ีธุรกจิ …………………………………………………………………………………….392
7.3 โครงสรา้ งองค์การแบบแบง่ ส่วนงาน………………………………………………………………………………..393
7.4 โครงสรา้ งองค์การแบบเมตริกซ์………………………………………………………………………………………393
7.5 โครงสรา้ งองค์การแบบเครือข่าย…………………………………………………………………………………….394
7.6 โครงสร้างองคก์ ารแบบพีระมิดหัวกลบั …………………………………………………………………………….395
7.7 โครงสร้างองค์การแบบแชมรอค……………………………………………………………………………………..396
9.1 หลักการของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง…………..……………………………………………………………….495
9.2 รูปแบบการบรหิ ารธรุ กิจตามหลกั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง....……………………………..……………519



สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า

1.1 ขนาดธุรกิจ………………………………………………………………………………………………………………………8

1.2 ความแตกต่างระหว่างบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล……………………..………………………………………15

1.3 ขอ้ ดแี ละข้อเสียของกจิ การเจ้าของคนเดียว……………………….……………………………………………….18

1.4 ความแตกต่างระหวา่ งหา้ งหุ้นสว่ นสามญั และห้างห้นุ สว่ นจำกดั …………………………………………….19

1.5 ขอ้ ดแี ละข้อเสียของห้างหุ้นส่วน………………………………………………………………………………………..21

1.6 ขอ้ ดีและข้อเสียของบรษิ ัท………………………………………………………………………………………………..26

1.7 ความแตกต่างระหว่างธุรกิจแบบดงั้ เดิมและธรุ กจิ ยคุ ดจิ ทิ ลั ………………………………………………….48

5.1 ความแตกตา่ งระหว่างสนิ คา้ และบริการ…………………………………………………………………………..252

6.1 การวเิ คราะห์สภาพแวดลอ้ มทางการตลาดธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรปู ของกล่มุ แม่บ้านแสนสขุ

ด้วยเทคนิค SWOT Analysis………………………………………………………………………………………….323

6.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดธุรกจิ กระเป๋าจักสานจากกระจูด กรมทหารราบท่ี 151

ด้วยเทคนิค SWOT Analysis………………………………………………………………………………………………..325

บทที่ 1
ธรุ กจิ และสภาพแวดลอ้ มทางธรุ กจิ
(Business and the Business Environment)

ปัจจุบันนี้สภาพแวดล้อมทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และอื่น ๆ เปล่ียนแปลงไป
อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดธุรกิจประเภทต่าง ๆ มากมาย ซ่ึงผลิตหรอื จำหน่ายสินค้าหรือให้บริการเพอื่ มา
ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคซ่ึงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี และขณะเดียวกันก็สร้างรายได้และ
ผลตอบแทนกลับมายังผู้ประกอบธุรกิจ นอกจากน้ีธุรกิจซ่ึงดำเนินงานและมีสินค้าหรือการบริการที่
ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมอันดีงาม ยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมท้ังเรื่องการ
สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความเจริญให้กับประเทศ สำหรับในประเทศไทยแม้เผชิญกับวิกฤติ
เศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศอื่นท่ัวโลก แต่จำนวนธุรกิจที่เปิดใหม่ยังมีอย่างต่อเน่ืองทุกปี ประกอบกับ
รัฐบาลให้ความสำคัญและสนับสนุนภาคธุรกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะการนำ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมลู ค่าเพ่ิมให้แก่สนิ ค้าหรอื บริการ และสามารถพัฒนา
ต่อยอดได้ ซึ่งเอ้ือต่อการเติบโตและสร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจ รวมท้ังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วย
ยกระดับศักยภาพของประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0 จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่าธุรกิจมี
ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ดังน้ันเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ เนื้อหาในบทนี้จึงอธิบายถึง
รายละเอียดพนื้ ฐานเกีย่ วกบั ธุรกิจ วสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ ม วิสาหกิจชุมชน วสิ าหกจิ เริ่มต้น
รวมท้ังองค์การธุรกิจในรูปแบบหลัก ไดแ้ ก่ เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และบรษิ ัท ตลอดจนการจด
ทะเบียนพาณชิ ย์ สภาพแวดล้อมทางธุรกจิ และการประกอบธรุ กิจในยุคดจิ ิทัล

ความรู้พืน้ ฐานเกีย่ วกับธรุ กิจ

ในเบ้ืองต้นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ ควรเข้าใจถึงความหมาย และลักษณะ
พ้ืนฐานท่ีสำคัญของธุรกิจ ประโยชนข์ องธุรกิจที่มตี ่อสังคมและประเทศชาติ การจดั แบ่งประเภทธรุ กิจ
และขนาดของธุรกจิ ในปจั จุบนั ดงั มรี ายละเอียดตอ่ ไปนี้

ความหมายของธรุ กจิ
ธุรกิจ (business) หมายถึง องค์การต่าง ๆ ของเอกชนที่นำเอาทรัพยากรมาแปรสภาพ
ก่อให้เกิดสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยมุ่งหวังผลกำไรตอบแทน
(ชุติมันต์ สะสอง, 2559, หน้า 2) หรือหมายถึงกิจกรรมซ่ึงดำเนินงานโดยบุคคลหรือองค์การเพ่ือก่อ
ให้เกิดรายได้ มุ่งหวังผลกำไรจากการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย การซ้ือสินค้ามาจำหน่ายต่อ หรือการ
บริการ (ธนวุฒิ พิมพ์กิ, 2558, หน้า 1) หรือนิยามได้ว่า ธุรกิจเป็นกระบวนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการให้บริการ เพื่อตอบสนองความตอ้ งการแก่ผู้บรโิ ภคให้เกิดความ
พึงพอใจสูงสุดโดยมีการซือ้ ขายแลกเปลี่ยนกัน และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประโยชน์หรอื กำไรจาก
การทำกิจกรรมนั้น ๆ (ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, 2559, หน้า 2-5) กล่าวได้ว่า ธุรกิจเป็นความพยายาม
ของบุคคล เพื่อให้ได้ผลกำไรจากการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองความ
ตอ้ งการของสงั คม (Pride, Hughes & Kapoor, 2012, p.10) จากความหมายของธุรกิจท่ีนักวิชาการ

2

ได้ให้ไว้ข้างต้น สรุปได้ว่าธุรกิจ หมายถึงการดำเนินการผลิต หรือการจำหน่าย หรอื การให้บริการของ
บคุ คลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้มีสินค้าหรือบริการมาตอบสนองความต้องการของผ้บู รโิ ภค และเกิดการ
ซือ้ ขายแลกเปล่ียนกัน โดยมุง่ หวังใหไ้ ดร้ ับกำไรหรือประโยชน์อน่ื ๆ เปน็ การตอบแทน นอกจากน้ีหาก
กล่าวถงึ ธุรกิจยังมคี วามหมายในแงก่ ิจการ หรอื องค์การหนึ่ง ๆ

องค์ประกอบของธุรกิจ
จากความหมายของธุรกิจข้างตน้ สามารถสรุปองคป์ ระกอบสำคญั ของธรุ กิจ ได้ดังน้ี
1. ผู้ประกอบธุรกจิ (businessman) หมายถงึ ผูจ้ ัดต้ังและดำเนินงานทางธุรกิจ ซ่ึงก็คือ
เจ้าของธุรกิจ (business owner) ที่ควรมีคุณสมบัติเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) ซ่ึงไม่ใช่แค่เป็น
เพียงผู้ริเร่ิมจัดตั้งและดำเนินธุรกิจในสถานะเจ้าของธุรกิจ แต่ต้องเป็นผู้ท่ีมีความคิดสร้างสรรค์ในการ
หาโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ มีความอดทน มุ่งม่ัน กล้าตัดสินใจ และกล้าเส่ียงนำความคิดสร้างสรรค์
ใหม่ ๆ มาปฏิบตั ิเพ่ือให้เกิดผลคุ้มคา่ ในเชิงพาณิชย์ (บุณฑวรรณ วงิ วอน, 2556, หน้า 27) หรือกล่าวว่า
ผู้ประกอบการ หมายถึงคนที่มองหาโอกาสในการเริ่มต้นธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของ
ผ้บู รโิ ภค ในขณะที่คนอื่นอาจไม่ได้สังเกตเห็นและมองข้ามไป (Mariotti & Glackin, 2014, p.14) หรือ
เป็นบุคคลผู้ทำหน้าท่ีรับผิดชอบโดยนำทรัพยากรต่าง ๆ มาจัดระเบียบและบริหารองค์การธุรกิจ ยอมรับ
ความเสี่ยงเพ่ือให้บรรลุวตั ถปุ ระสงค์ตามทีก่ ำหนดไว้ (ธนวุฒิ พมิ พ์กิ, 2556, หน้า 1) ผ้ปู ระกอบการยัง
หมายถงึ บุคคลท่ีสร้างหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แสวงหาประโยชน์เพ่ือกำไรจากนวัตกรรมใหม่ ๆ
ยอมรบั ความเส่ียง เคล่อื นย้ายทรัพยากรไปยังทีซ่ ่ึงมโี อกาสได้รับผลตอบแทนสูง (Burns, 2016, p.10)
สรุปได้ว่าผู้ประกอบการ หมายถึงผู้ที่ริเร่ิมแสวงหาโอกาสในการประกอบธุรกิจโดยยอมรับความเส่ียง
และปัญหาท่ีจะเกิดขึ้น และขณะเดียวกันต้องใช้ความพยายามในด้านต่าง ๆ เพ่ือทำให้ธุรกิจประสบ
ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จึงเห็นได้ว่าผู้ประกอบการเป็นคุณสมบัติซึ่งผู้ประกอบธุรกิจ
หรือเจ้าของธุรกิจทุกคนพึงมี
2. กิจกรรมหลัก (core activity) คือ การดำเนินการท่ีเกี่ยวข้องกับการผลิต หรือการ
จำหนา่ ย หรือการใหบ้ รกิ าร
3. สินค้าหรือบริการ (goods and service) คือ ผลิตภัณฑ์ของธุรกิจซ่ึงถูกนำเสนอ
ขายให้แกผ่ ู้บริโภคกล่มุ เปา้ หมาย

3.1 สนิ ค้า (goods) คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีตวั ตน จับตอ้ งได้ มองเห็นได้ สามารถขนสง่ ได้
หรือเคลอ่ื นยา้ ยเพอ่ื การซือ้ ขายโอนกรรมสิทธ์ิได้ ทัง้ น้ีบางธุรกจิ ไม่มีสินคา้ แต่มีเฉพาะการบริการ

3.2 บริการ (service) คือ การดำเนินการต่าง ๆ จากผู้ให้บริการหรือผู้ขาย เพื่ออำนวย
ประโยชน์ให้ตรงกับความต้องการ และเพ่ือสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค แม้ธุรกิจท่ีจำหน่ายสินค้า
ย่อมต้องให้บริการแก่ผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้าควบคู่ไปกับการจำหน่ายสินค้าด้วย เพ่ือจูงใจและสร้าง
ความพงึ พอใจ

การบริการมีความแตกต่างจากสินค้าตรงที่ผู้ซอื้ ไม่สามารถจับต้องได้ (intangibility)
แตเ่ ม่ือได้รับบรกิ ารนน้ั ๆ แล้ว จึงสามารถรับรวู้ ่าบริการนั้นดหี รอื ไมด่ ีอยา่ งไร อกี ทั้งการบรกิ ารไมส่ ามารถ
แบ่งแยกได้ (inseparability) คือไม่สามารถแยกกระบวนการให้บริการจากผู้ขายและการรับบริการ
ของผู้ซื้อ แต่การให้บริการและการรับบริการจะต้องเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ต่างจากสินค้าซ่ึงมีกระบวนการ
ผลิตแยกจากการบริโภค รวมทั้งการบริการยังมีความไม่แน่นอน (variability) ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่

3

เก่ียวข้องของการให้บริการในแต่ละคร้ัง ทำให้การบริการจัดทำมาตรฐานได้ยาก (heterogeneous)
ตา่ งจากการผลิตสินค้าซงึ่ สามารถจดั ทำมาตรฐานได้อยา่ งชัดเจนและตรวจสอบได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
นอกจากนี้การบริการไม่สามารถคงคลังได้ (perishability) เนื่องจากการบริการเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมี
การรบั บริการ จึงไม่สามารถเก็บไว้ได้เหมอื นสินคา้ ทผ่ี ลติ

4. ความพยายามของบุคคล (individuals’ effort) คือ การมุ่งให้การดำเนนิ กิจกรรม
หลักเกิดผลลัพธค์ ือ สินคา้ หรือบริการซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการผูบ้ ริโภคได้ เกิดการแลกเปลย่ี น
ซ้อื ขาย และเกิดผลกำไรหรือผลประโยชน์อื่นตอบแทนกลับมา

5. ผ้บู รโิ ภค (consumer) คือ ผู้ท่ีได้รับการเสนอและถูกชกั ชวนให้ซอ้ื สนิ ค้าหรือบรกิ าร
จากธรุ กิจ หากผู้บรโิ ภคซ้ือสนิ ค้าและบริการจะกลายมาเป็นลกู ค้า (customer) ของธุรกจิ

ธุรกิจจึงเป็นการดำเนินการทีเ่ กิดจากบุคคลหรอื กลุ่มบุคคล ซ่ึงเรยี กว่าผู้ประกอบธุรกิจที่
ควรมีคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีความคดิ ริเรมิ่ ยอมรบั ความเสี่ยง และใชค้ วามพยายามที่จะทำ
ให้การดำเนินกิจกรรมหลักไมว่ า่ จะเปน็ การผลติ หรือการจำหนา่ ย หรือการบริการ ประสบความสำเร็จ
ตามความมุง่ หวงั ท่ตี ้องการ

ลกั ษณะพ้ืนฐานของธรุ กจิ
ธรุ กจิ ใด ๆ ล้วนมีลกั ษณะพ้ืนฐานทส่ี ำคัญ 5 ประการ สรุปได้ดังน้ี
1. การใช้ทรัพยากร (usage of resources) การดำเนินธุรกิจใด ๆ ย่อมต้องใช้ทรัพยากร
ซ่ึงอาจจะเปน็ ทีด่ ิน เงินทนุ แรงงาน วตั ถุดบิ วสั ดุ เคร่ืองมือ หรืออืน่ ๆ ทจี่ ำเป็น ซ่ึงทรพั ยากรเหล่านี้มี
อยู่อย่างจำกัด จึงต้องใช้อย่างคุ้มค่าและให้เกิดประโยชน์สูงสุดในกระบวนงานของธุรกิจ ซ่ึงอาจเป็นการ
ผลติ การค้า หรอื การบรกิ าร เพอื่ ให้มสี นิ ค้าหรือบริการจำหน่ายแกผ่ บู้ รโิ ภค
2. การแลกเปล่ียนสินค้าหรือบริการ (exchanges goods and services) การดำเนิน
ธุรกิจต้องแลกเปล่ียนสินค้าหรือบริการ หรือโอนความเป็นเจ้าของสินค้าจากธุรกิจในฐานะผู้ขายให้ไป
เป็นของลูกค้าในฐานะผู้ซ้ือ หรือผู้ซื้อได้รับบริการจากผู้ขาย โดยผู้ขายได้รับส่ิงแลกเปลี่ยนกลับมาคือ
เงนิ ตราหรืออนื่ ๆ ตามมูลคา่ ของสนิ คา้ หรอื บริการนั้น
3. การทำธุรกรรมอย่างตอ่ เนือ่ ง (continuous transaction) กิจกรรมทางธุรกิจมีอยู่
อย่างต่อเน่ือง ไม่ใช่กิจกรรมท่ีทำเพียงคร้งั เดียวแล้วไม่ทำอีกเลย กิจกรรมยังคงทำซ้ำตราบเท่าที่ธุรกิจ
ยังคงดำเนินงาน เช่น การเจรจาซื้อขายแลกเปล่ียน การให้บริการ การติดต่อทางธุรกิจ กิจกรรมเก่ียวกับ
การเงนิ ฯลฯ เพยี งแต่รูปแบบและรายละเอียดกิจกรรมอาจปรับเปลย่ี นตามความเหมาะสม
4. วัตถุประสงค์หลักคือกำไร (profit is the main objective) กล่าวได้ว่ากำไร คือ
สิ่งจูงใจในการประกอบธุรกิจ อีกทั้งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้และเติบโตก้าวหน้าต่อไป
ในอนาคต
5. ความเส่ียงและความไม่แน่นอน (risks and uncertainties) การดำเนินธรุ กิจยอ่ ม
มคี วามเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่าง ๆ เชน่ รายได้ทไี่ ด้รับไม่แน่นอน สินค้าหรือบริการของธรุ กิจอาจ
ได้รับความสนใจและการสนับสนุนจากผู้บริโภคหรอื ไมก่ ็ได้ ยอดขายอาจได้ตามเปา้ หมาย สูงกว่า หรือ
ตำ่ กว่าเปา้ หมายก็เปน็ ได้ ธรุ กิจมีผลกำไรท่ดี ีหรอื อาจขาดทนุ กไ็ ด้ ฯลฯ

4

อนึ่ง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินที่เกิดจากการ
ดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการซือ้ การขาย และการใช้ทรัพย์สนิ ตลอดจนมอี ิสระในการตัดสินใจในการ
ดำเนินงานทางธุรกิจ เช่น ลักษณะกิจการ รูปแบบองค์การธุรกิจ ที่ต้ัง การบริหารงานภายในกิจการ
ฯลฯ รวมท้งั มสี ทิ ธใิ นการแสวงหากำไรจากการดำเนินธุรกจิ และการแขง่ ขนั ทางธรุ กิจ

ประโยชน์ของธรุ กิจ
ธุรกิจต่าง ๆ ในปัจจุบัน ท่ีดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้สร้างประโยชน์ใน
หลายประเดน็ สรุปได้ดังนี้
1. ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในสังคม (respond to the needs of
consumers in society) ธุรกิจประเภทต่าง ๆ ท้ังที่ผลิต จัดจำหน่ายสินค้า หรือให้บริการ ต่าง
พยายามพัฒนาสินค้าหรือการบรกิ ารที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ตรงตามความตอ้ งการ
และสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคซ่ึงมีความต้องการสินค้าหรือการบริการต่าง ๆ อีกท้ังการที่
สังคมปัจจุบันมีสินค้าและการบริการมากมายอย่างครบครันจากธุรกิจ ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คน
ซง่ึ เปน็ ผู้บริโภคนนั้ ได้รับความสะดวกสบายมากย่งิ ขนึ้
2. เกิดการจ้างงาน (provide employment) การดำเนินงานของหลายธุรกิจจำเป็น
ตอ้ งมีแรงงานคนเพื่อปฏิบัติหน้าท่ีในส่วนงานต่าง ๆ ทำให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ปฏบิ ัติงาน
ซึ่งเป็นการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เพราะช่วยลดอัตราการว่างงานและปัญหาสังคมที่
ตามมา อีกทั้งเม่ือประชาชนมีงานทำย่อมมีรายได้มาใช้จับจ่ายซ้ือหาสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เอื้อ
ประโยชน์ต่อการดำเนินชวี ิตของตนเองหรือครอบครัว ทำให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคมดีขึ้น
รวมทั้งการใช้จา่ ยเพือ่ การบริโภคของประชาชนยังชว่ ยกระตุ้นเศรษฐกจิ อกี ด้วย
3. สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ (contribute to the country’s progress)
ธรุ กิจหลายประเภทได้นำทรัพยากรทม่ี ีอย่ภู ายในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมท้งั สรา้ งมูลค่าเพิ่ม
ดว้ ยการแปรรูปให้เป็นสินค้าเพ่ือจำหน่ายแก่ประชาชนในประเทศได้อุปโภคบรโิ ภค และถ้าหากสินค้า
มีคุณภาพและมาตรฐานท่ดี ี ตรงตามความตอ้ งการและเป็นท่ียอมรบั ของผบู้ ริโภค ย่อมสามารถสง่ ออก
ไปจำหน่ายยังต่างประเทศ สร้างรายได้กลับเข้าสู่ประเทศช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น อีกทั้งยัง
ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ จากการคิดค้นพัฒนาการผลิตสินค้าหรือบริการรูปแบบใหม่ ๆ
นอกจากน้ีผู้ประกอบธุรกิจมหี น้าท่ีเสยี ภาษใี ห้รฐั บาลตามท่ีกฎหมายกำหนด รวมถงึ จากการจ้างงานของ
ภาคธุรกิจทำให้ผู้ปฏิบัติงานท่ีมีรายได้ตามท่ีกฎหมายกำหนดล้วนมีหน้าท่ีต้องเสียภาษีด้วยเช่นกัน ทำให้
รัฐบาลมีรายได้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาความเจริญในด้านต่าง ๆ ให้กับประเทศ เช่น
การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคมสื่อสาร ส่ิงแวดล้อม ฯลฯ เพ่ือยกระดับมาตรฐานการครองชีพและ
คุณภาพชวี ติ ทีด่ ขี องประชาชน

นอกจากน้ีผู้ประกอบการธุรกิจต่างพยายามคิดค้น สร้างสรรค์ หรือเสาะแสวงหา
นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ รวมทั้งก่อสร้างอาคารสิ่ งปลูกสร้างต่าง ๆ เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิตหรือการบริการ ก่อให้เกิดสินค้าและการบริการท่ีมีคุณภาพสูง มีขีด
ความสามารถในการแข่งขันท่ีดีขึ้น ย่อมช่วยพัฒนาประเทศให้มีความเจริญทั้งทางเทคโนโลยีและ

5

เศรษฐกิจ ประกอบกับการมีธุรกิจเกิดขึ้นในพ้ืนท่ีต่าง ๆ ของประเทศ ย่อมเป็นการสร้างความเจริญ
และกระจายรายไดไ้ ปสู่ท้องถ่นิ

4. อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ (conserve the nation’s arts and culture)
ธุรกิจหลายรายซึ่งผลิตสินค้าโดยใช้ภูมิปัญญาของคนในท้องถน่ิ และสอดแทรกศิลปวัฒนธรรมท่ีมีอยู่ใน
ท้องถ่ิน ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและมีเอกลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรม ท้ังน้ีหากสามารถพัฒนาคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานตรงความต้องการของตลาดสากล ย่อมไม่เพียงช่วยสืบสานศิลปวัฒนธรรม
ประจำถ่ินของชาติ แต่ยังช่วยสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ สร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้กบั ผู้ประกอบการ
และชมุ ชนอกี ดว้ ย

ธุรกิจต่าง ๆ ล้วนมีความสำคัญและสร้างประโยชน์หลายหลายมิติ ได้แก่ การตอบสนอง
ความต้องการของผู้บริโภคในสังคม ก่อให้เกิดการจ้างงานที่นำไปสู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
ตลอดจนสรา้ งความเจริญกา้ วหน้าให้กบั ประเทศ และยังชว่ ยรกั ษาศิลปวฒั นธรรมของชาติ

ประเภทของธรุ กจิ
ในปัจจุบันมีธุรกิจเกิดข้ึนใหม่มากมาย หากจัดแบ่งธุรกิจตามมาตรฐานอุตสาหกรรม
(ประเทศไทย) จดั แบ่งได้ 21 ประเภท (กรมพัฒนาธรุ กจิ การคา้ , 2555, หนา้ 84-454) ดังนี้
1. เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง (agriculture, forestry and fishing) ธุรกิจ
ประเภทนี้ครอบคลุมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติท้ังท่ีเป็นพืชและสัตว์ รวมทั้งการใช้
ประโยชนผ์ ลผลติ จากสัตว์ที่อยใู่ นฟารม์ เลี้ยงหรอื จากท่ีอยูอ่ าศยั ตามธรรมชาติ
2. การทำเหมืองแรแ่ ละเหมืองหิน (mining and quarrying) ธุรกิจประเภทนีค้ รอบคลุม
การขุดแร่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งในสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซ การทำเหมืองเกลือ
สมทุ รและเกลอื สนิ เธาว์ รวมถงึ กจิ กรรมต่าง ๆ ที่เก่ียวเน่อื งกบั การทำเหมอื งแร่
3. การผลิต (manufacturing) ธุรกิจประเภทนี้ครอบคลุมการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็น
ผลติ ภณั ฑ์ชนิดต่าง ๆ การเปล่ียนแปลง การปรับปรุง และการนำสนิ คา้ มาประกอบใหม่ ทั้งทำในโรงงาน
อุตสาหกรรมหรือในครัวเรือน รวมถึงการติดตั้งและการซ่อมบำรุงเคร่ืองจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์
ต่าง ๆ การซ่อมเรือ และอากาศยาน
4. ไฟฟ้า ก๊าซ ไอนำ้ และระบบปรับอากาศ (electricity, gas, steam and air conditioning
supply) ธรุ กิจประเภทน้ีครอบคลุมกิจกรรมการผลติ การจัดหา การจดั จำหน่ายกระแสไฟฟา้ กา๊ ซ ไอนำ้
และระบบปรบั อากาศ
5. การจัดหาน้ำ การระบายน้ำ การจัดการน้ำเสียและของเสีย (water supply, sewerage,
waste management and remediation activities) ธุรกิจประเภทน้ีครอบคลุมการจัดหา การเก็บกัก
และการจ่ายน้ำเพอื่ ใชใ้ นครัวเรอื น อตุ สาหกรรม และการเกษตร รวมถงึ การบำบัด การกำจดั ของเสยี
6. การก่อสร้าง (construction) ธุรกิจประเภทนี้ครอบคลุมกิจกรรมการเตรียมพื้นที่
กอ่ สร้าง การกอ่ สร้างทั่วไป การก่อสร้างเฉพาะทางและงานดา้ นวิศวกรรมโยธา รวมถงึ การตดิ ต้ังระบบ
ต่าง ๆ ที่เกย่ี วขอ้ ง การตดิ ต้งั ส่วนประกอบและการตกแต่งอาคาร การซ่อม และการตอ่ เติม
7. การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ (wholesale and
retail trade, repair of motor vehicles and motorcycles) ธุรกิจประเภทน้คี รอบคลมุ การขายส่ง

6

และขายปลีกสนิ ค้าต่าง ๆ รวมถึงการบำรุงรักษาเครือ่ งยนต์ และชิ้นส่วนยานยนตแ์ ละจกั รยานยนต์
8. การขนส่งและการเก็บสินค้า (transportation and storage) ธุรกิจประเภทนี้

ครอบคลุมการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าท้ังทางบก ทางอากาศ ทางราง รวมถึงการขนส่งก๊าซและ
ของเหลวทางระบบท่อลำเลียง การบริการลากจูงและดันเรือลำเลียง สิ่งก่อสร้างลอยน้ำที่ดำเนินการ
ทางน้ำ กิจกรรมการดำเนินงานเกยี่ วกับสง่ิ อำนวยความสะดวกและสนับสนุนของการขนส่ง กิจกรรมท่ี
เกี่ยวกับคลงั สนิ คา้ และการจัดเก็บสินคา้ รวมทั้งกิจกรรมไปรษณยี แ์ ละการรบั ส่งเอกสารหรอื สิง่ ของ

9. ท่ีพักแรมและบริการด้านอาหาร (accommodation and food service activities)
ธุรกิจประเภทนี้ครอบคลุมเก่ียวกับการให้บริการที่พักประเภทต่าง ๆ ในระยะส้ัน ลานต้ังค่ายพักแรม
การบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ ทั้งในภัตตาคาร ร้านอาหาร แผงลอย ตลาด
รา้ นอาหารแบบเคล่อื นที่ การบรกิ ารจัดเล้ียง การบริการอาหารสำหรบั กิจการขนส่ง

10. ข้อมูลขา่ วสารและการสื่อสาร (information and communication) ธุรกิจประเภทนี้
ครอบคลุมเกี่ยวกับการผลิต จำหน่าย จัดหา เผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารและผลิตผลทางวฒั นธรรมผ่านสื่อ
ประเภทต่าง ๆ รวมถงึ การดำเนินการท่ีเกีย่ วข้องกับภาพยนตร์ วีดทิ ัศน์ รายการโทรทัศน์ การออกอากาศ
ทางวิทยุ การตัดตอ่ ภาพและเสียง การทำคอมพิวเตอรก์ ราฟฟิก แอนิเมช่ันและเทคนิคพิเศษ กิจกรรม
การดูแลสทิ ธิในการผลิตซ้ำ การบริการอินเทอร์เน็ต การบริการโทรคมนาคม ระบบโทรศัพท์เคล่ือนท่ี
กิจกรรมการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ การ
ประมวลผลขอ้ มลู และการบริการด้านข้อมลู ข่าวสารอ่นื ๆ

11. กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย (financial and insurance activities)
ธุรกจิ ประเภทนีค้ รอบคลุมกิจกรรมการบริการทุกรูปแบบทางการเงนิ การประกันภัย กองทุนบำเหน็จ
บำนาญ รวมถงึ กิจกรรมสนับสนนุ การบริหารทางการเงนิ

12. กิจกรรมเก่ียวกับอสังหาริมทรัพย์ (real estate activities) ธุรกิจประเภทน้ีครอบคลุม
การซ้ือ การขาย การเช่า การดำเนินการและบริการอื่น ๆ ท่ีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงกิจกรรม
ของตัวแทนและนายหน้าอสังหารมิ ทรพั ย์

13. กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และวิชาการ (professional, scientific and
technical activities) ธุรกิจประเภทน้คี รอบคลุมกิจกรรมให้บริการและให้คำปรึกษาทางวิชาชีพ เช่น
กฎหมาย บัญชี การบริหารจัดการ ฯลฯ รวมถึงการให้บริการและให้คำปรึกษางานด้านวิทยาศาสตร์
แขนงต่าง ๆ การสำรวจ การวิจัยและการพัฒนาทดลอง กิจกรรมต่าง ๆ เหล่าน้ีผู้ให้บริการต้องใช้
ความรู้ความสามารถสงู หรอื ตอ้ งใหค้ วามร้แู ละทักษะพเิ ศษแกผ่ ใู้ ชบ้ รกิ าร

14. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน (administrative and support services
activities) ธุรกิจประเภทนีค้ รอบคลุมการให้เช่า และการเช่าซื้อแบบสิสซิง่ ยานยนต์ อุปกรณ์ เคร่อื งมือ
และเคร่ืองจกั รต่าง ๆ รวมไปถึงกจิ กรรมการจัดหาทรพั ยากรมนษุ ย์ ตวั แทนธุรกิจการเดนิ ทาง นำเทยี่ ว
มัคคุเทศก์ การรักษาความปลอดภัย การทำความสะอาด การดูแลรักษาภมู ทิ ัศน์ การถ่ายเอกสาร และ
กจิ กรรมทส่ี นับสนนุ งานสำนกั งาน การจดั ประชุม การจดั แสดงสินค้า

*ลิสซิ่ง (leasing) คือ การเช่าซื้อซึ่งมักเป็นทรัพย์สินราคาแพงหรือต้องการใช้ใน
ปริมาณมาก เช่น เครื่องจักร สินค้าที่มีเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฯลฯ โดยผู้เช่าชำระเงินค่าเช่า

7

เป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินและเวลาที่กำหนดในสัญญา เมื่อสนิ้ สุดสัญญาเชา่ ผเู้ ช่าสามารถเลือกได้ว่า
จะซ้ือ หรือตอ่ สัญญาเชา่ หรือว่าส่งคนื ทรัพย์สนิ ให้กับผูใ้ หเ้ ชา่

15. การบริหารราชการ การปกป้องประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ (public
administration defense and compulsory social security) ธุรกิจประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการ
ดำเนินกิจกรรมการบริหาร การป้องกันประเทศ รักษาความม่ันคงปลอดภัย และความเป็นระเบียบ
ของรัฐบาล การบริหารจัดการโปรแกรมต่าง ๆ ของรัฐ รวมถึงกิจกรรมท่ีเกี่ยวข้องกับการสนับสนุน
เงนิ ทนุ และกองทุนประกันสังคมทร่ี ัฐเป็นผจู้ ัด

16. กิจกรรมการศึกษา (education) ธุรกิจประเภทน้ีเก่ียวข้องกับการศึกษาทุกระดับ
ทุกวิชาชพี

17. กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ (human health and social work
activities) ธุรกจิ ประเภทนี้คลอบคลุมกิจกรรมการดูแลสุขภาพโดยบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล
และจากหน่วยบริการสุขภาพอื่น ๆ ตลอดจนการจัดหาท่พี ักสำหรบั การดแู ลสุขภาพ การสังคมสงเคราะห์
โดยไม่ต้องใช้บคุ ลากรทางการแพทย์

18. ศิลปะ ความบันเทิง และงานนันทนาการ (arts, entertainment and recreation)
ธุรกิจประเภทน้ีรวมกิจกรรมต่าง ๆ ในด้านวัฒนธรรม ความบันเทิง นันทนาการ การแสดงมหรสพ การ
แสดงพิพิธภัณฑ์ การเส่ียงโชค การกีฬาและกจิ กรรมนันทนาการอืน่ ๆ

19. กิจกรรมการบริการด้านอ่ืน ๆ (other service activities) ธุรกิจประเภทนี้รวม
กจิ กรรมตา่ ง ๆ ทเ่ี กี่ยวกบั การบริการสว่ นบุคคลซง่ึ ไมป่ รากฏในประเภทใด ๆ ขา้ งตน้

20. กิจกรรมการจ้างงานในครัวเรือน การผลิตสินค้าและการบริการท่ีทำข้ึนเพื่อใช้ใน
ครัวเรือน ซ่ึงไม่สามารถจำแนกกิจกรรมได้อย่างชัดเจน (activities of households as employers;
undifferentiated goods and services-producing activities of households use) เปน็ ลักษณะ
กจิ กรรมการใหบ้ ริการในครัวเรือนโดยมีนายจ้างส่วนบคุ คล

21. กิจกรรมขององค์การระหว่างประเทศและภาคีสมาชิก (activities of extraterritorial
organizations and bodies) เป็นกิจกรรมขององค์การระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก องค์การ
เพื่อพฒั นาความร่วมมอื ดา้ นต่าง ๆ ฯลฯ

ดังนั้นหากแบ่งประเภทธุรกิจโดยรวมกลุ่มกิจกรรมข้างต้นสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3
ประเภทใหญ่ ได้แก่

1. การผลิต (manufacturing) หมายถึง ธุรกิจท่ีดำเนินกิจกรรมในลักษณะนำปัจจัย
การผลิต เช่น แรงงาน เคร่ืองจักร เครื่องมือ วัตถุดบิ มาใช้เพ่ือทำให้เกิดเป็นผลผลิตคือสินค้า ทั้งที่ทำ
ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือในครัวเรือน รวมไปถึงการทำเหมืองแร่ และการเกษตรกรรม ซ่ึงครอบคลุม
กสกิ รรม ปศุสตั ว์ การประมง และการปา่ ไม้

2. การค้า (trading) หมายถึง ธุรกิจซ่ึงดำเนินกิจกรรมการซ้ือขายสินค้า โดยกิจกรรม
ดงั กล่าวแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การค้าส่ง (wholesaling) และการค้าปลีก (retailing) กล่าวคือ
การค้าส่งเป็นธุรกิจซึ่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิต แล้วนำไปขายเป็นจำนวนมากให้กับผูซ้ อ้ื คือพอ่ ค้าปลีกซึ่งนำ
สินค้าไปจำหน่ายต่อ หรือผู้ซื้อสินค้าเพ่ือนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าต่อไป ส่วนการค้าปลีก
เปน็ ธุรกจิ ทซี่ อ้ื สนิ คา้ จากผผู้ ลิตหรือผู้ค้าส่ง แลว้ นำไปจำหน่ายเปน็ รายชิ้นใหแ้ กผ่ ู้บรโิ ภคคนสุดท้าย

8

3. การบรกิ าร (service) หมายถึง ธุรกิจซ่ึงดำเนินกิจกรรมการอำนวยความสะดวกแก่
ธุรกิจการผลิตและการค้า ตลอดจนผู้บริโภค ธุรกิจประเภทนี้มุ่งให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์
เพราะเป็นผใู้ ห้บริการทจี่ ะสรา้ งความพึงพอใจให้แกล่ ูกค้า

ในปัจจุบันมีธุรกิจเกิดขึ้นจำนวนมากดำเนินกิจกรรมแตกต่างกันหลายลักษณะ จัดแบ่ง
เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท ไดแ้ ก่ ธุรกิจการผลิต ธุรกจิ การค้า และธุรกจิ การบรกิ าร

ขนาดของธุรกจิ

การจัดแบ่งขนาดธรุ กิจ โดยใช้เกณฑ์การกำหนดจำนวนการจ้างงาน และมูลค่าสินทรัพย์

ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามกฎกระทรวง พ.ศ.2545 (กองบริหารภาษีธุรกิจ

ขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมสรรพากร, 2556) มาเป็นฐานในการแบ่งขนาดธุรกิจ ดังนั้นจึงแบ่งธุรกิจ

ออกเป็น 3 ขนาด ไดแ้ ก่ ขนาดเลก็ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ดังแสดงในตารางท่ี 1.1

ตารางที่ 1.1 ขนาดธุรกจิ

ขนาด ประเภท เกณฑ์

จำนวนการจา้ งงาน มูลคา่ สินทรพั ยถ์ าวร

เลก็ ธรุ กจิ การผลติ ไมเ่ กิน 50 คน ไม่เกิน 50 ลา้ นบาท

ธรุ กจิ การบริการ ไมเ่ กิน 50 คน ไมเ่ กิน 50 ลา้ นบาท

ธุรกจิ การคา้

ค้าส่ง ไม่เกนิ 25 คน ไมเ่ กิน 50 ล้านบาท

ค้าปลีก ไม่เกนิ 15 คน ไมเ่ กนิ 30 ล้านบาท
กลาง ธุรกจิ การผลิต 51-200 คน มากกว่า 50 ลา้ นบาท
แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท
ธรุ กิจการบรกิ าร 51-200 คน มากกว่า 50 ล้านบาท
แต่ไมเ่ กนิ 200 ลา้ นบาท
ธุรกจิ การคา้ 26-50 คน
คา้ สง่ มากกวา่ 50 ล้านบาท
16-30 คน แต่ไม่เกนิ 100 ลา้ นบาท
ค้าปลีก มากกว่า 30 ล้านบาท
มากกว่า 200 คน แตไ่ มเ่ กิน 60 ล้านบาท
ใหญ่ ธุรกิจการผลติ มากกว่า 200 คน มากกวา่ 200 ล้านบาท
ธรุ กจิ การบรกิ าร มากกวา่ 200 ลา้ นบาท
ธุรกิจการค้า มากกว่า 50 คน
ค้าส่ง มากกวา่ 30 คน มากกวา่ 100 ล้านบาท
คา้ ปลกี มากกว่า 60 ลา้ นบาท

การระบุขนาดธรุ กจิ นอกจากพจิ ารณาแยกตามจำนวนการจ้างงาน และมูลคา่ สนิ ทรพั ย์
ถาวรแล้ว ตอ้ งพิจารณาถงึ ความแตกต่างของประเภทธุรกจิ อีกดว้ ย

9

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเร่ิมต้น และวิสาหกิจเพื่อ
สงั คม

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเร่ิมต้น และวิสาหกิจเพ่ือ
สังคม กำลังอยู่ในกระแสสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564) ท่ีได้ระบุจุดเน้นและประเด็นการพัฒนาท่ี
สำคัญประการหนึ่งคือ การพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดเล็กและขนาดกลาง วิสาหกิจชุมชน และ
วิสาหกิจเพ่ือสังคม เพ่ือขยายฐานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความครอบคลุมมากข้ึน เป็นการ
สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับกลุม่ ต่าง ๆ ในสังคม โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาและส่งเสริม
สงั คมผู้ประกอบการ (สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559, หน้า 17) ทำให้รัฐบาลต้อง
ให้ความสำคัญในการนำแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
รฐั บาลจึงมนี โยบายและดำเนินงานในด้านตา่ ง ๆ เพ่อื สง่ เสริมและสนับสนนุ วสิ าหกิจดงั กล่าว

วิสาหกิจ (enterprise) คำนี้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้
ความหมาย คือการประกอบการท่ียาก สลับซับซ้อน หรือเส่ียงต่อการขาดทุน ล้มละลาย (สำนักงาน
ราชบณั ฑิตยสภา, 2554) อาจกล่าวไดว้ ่าวิสาหกิจ เป็นการประกอบการท่ีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต้องใช้
ความพยามในการนำทรพั ยากรต่าง ๆ มาใช้ดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ วิสาหกิจครอบคลุม
กิจการหลายลักษณะ ท้ังกิจการทางธุรกิจ (business enterprise) ซึ่งดำเนินงานโดยเอกชนที่มุ่ง
แสวงหาผลกำไร กิจการซึ่งดำเนินงานโดยภาครัฐ (state enterprise) รวมไปถึงกิจการที่ไม่แสวงหา
ผลกำไร (non-profit enterprise) กิจการที่มุ่งท้ังเป้าหมายทางการเงินและเป้าหมายทางสังคมควบคู่
กันไป (social enterprise) ฯลฯ รายละเอยี ดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วสิ าหกิจชุมชน
วิสาหกิจเรมิ่ ตน้ และวิสาหกจิ เพ่อื สงั คม อธบิ ายพอสงั เขปดังนี้

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม
ความหมายและลักษณะของวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (small and medium enterprises) กล่าวได้ว่า
เป็นช่ืออย่างเป็นทางการในการเรียกกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก นอกจากน้ียังเรียกกันโดยทั่วไปว่า
เอสเอ็มอี (SMEs) ซ่ึงเป็นคำย่อจากคำภาษาอังกฤษคือ small and medium enterprises ซ่ึงในประเทศไทย
มีกฎหมายสำหรับเอสเอ็มอี ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการคือ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 โดยในมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติน้ีระบุว่า วิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม ได้แก่ กิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง กิจการค้าปลีก หรือ
กิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2557,
หน้า 1) ท้ังน้ีกิจการใดเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พิจารณาจากจำนวนการจ้างงานและ
มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเป็นหลัก ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2545 กล่าวคือ หากเป็นกิจการภาคผลิตและภาค
บริการ กำหนดการจ้างงานไม่เกิน 200 คน หรือมีสินทรัพย์ถาวรไมเ่ กิน 200 ล้านบาท สว่ นภาคการค้า
กำหนดการจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 100 ล้านบาท (สำนักงานส่งเสริม
วิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม, 2558)

10

หนว่ ยงานสนับสนนุ วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม
ในปัจจุบันมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถึงร้อยละ 95 ของธุรกิจท้ังหมดใน
ประเทศ และมีการจ้างงานกว่าร้อยละ 50 ของธุรกิจท้ังหมด จึงเห็นได้ว่าวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม มีส่วนสำคัญต่อการสร้างงาน สรา้ งรายได้ และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ของ
ประเทศ อีกทั้งยังเปน็ แหลง่ ผลติ สินคา้ ใหม่ ๆ ท่ีสร้างมลู ค่าเพ่ิม ลดการนำเข้าสนิ คา้ จากต่างประเทศ มี
ส่วนเช่ือมโยงกับธุรกิจขนาดใหญ่ และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาธุรกิจให้มีขนาดใหญ่ต่อไป ทำให้
โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีความม่ันคงและเข้มแข็งข้ึน (บรรษัทประกันสินเช่ือ
อุตสาหกรรมขนาดย่อม, 2560) รัฐบาลจึงได้จัดตั้งหลายหน่วยงานเพ่ือสนับสนุนการดำเนินงานของ
วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น สำนักงานส่งเสริมวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
ที่มุ่งส่งเสริมเอสเอ็มอีของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล
(smart SMEs) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME
BANK) ซ่งึ ทำหน้าที่ช่วยเหลอื และสนับสนนุ ทางการเงินใหแ้ ก่เอสเอม็ อีของไทย บรรษัทประกันสินเชื่อ
อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ทำหน้าที่ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่าน
กลไกการคำ้ ประกนั สนิ เชอ่ื สรา้ งความเชอ่ื ม่ันใหก้ ับสถาบันการเงินในการอนุมตั สิ นิ เช่อื มากขึน้ ฯลฯ

วิสาหกิจชุมชน
ความหมายของวสิ าหกจิ ชมุ ชน
ตามพระราชบญั ญัตสิ ่งเสริมวิสาหกิจชมุ ชน พ.ศ. 2548 ได้ใหค้ วามหมาย วิสาหกิจชมุ ชน
(community enterprise หรือ small and micro community enterprises: SMCEs) คือกิจการ
ของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอ่ืน ๆ ที่ดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลท่ีมีความ
ผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกัน และรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด
หรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพ่ึงพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน
(สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2556, หน้า 1) ทั้งนี้นิติบุคคล (juristic persons) หมายถึง บุคคล
ตามกฎหมายและรับรองใหม้ ีสิทธหิ น้าทเ่ี ช่นเดยี วกับบุคคลธรรมดา นอกจากน้ีวสิ าหกิจชุมชนยังหมายถึง
การประกอบการขนาดเล็กและขนาดจ๋ิวในการจัดการทุนของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพ่ึงพา
ตนเองและความเพียงพอของครอบครัวและชุมชน วิสาหกิจชุมชนต้องประกอบการในลักษณะท่ีใช้
ภูมิปัญญาของชุมชนหรือเครือข่าย โดยมีสมาชิกในชุมชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต รวมท้ังใช้ปัจจัย
การผลิตและทรัพยากรเพื่อให้เกิดผลท้ังทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นเป้าหมายของวิสาหกิจชุมชน
จึงไม่ได้มุ่งเพียงกำไรทางการเงินเหมือนธุรกิจชุมชน แต่ยังรวมถึงกำไรทางสังคม ได้แก่ คนในชุมชน
สามารถพงึ่ พาตนเองได้อย่างยั่งยืน เกิดความเข้มแข็งของชุมชน และความสงบสุขของสังคม (กญั ญามน
อนิ หวา่ ง, สุพจน์ อนิ หว่าง และอภิชาติ วรรณภิระ, 2554, หนา้ 1-2) นอกจากนีก้ ลา่ วได้ว่าวสิ าหกจิ ชุมชน
เป็นชื่อเรียกกลุ่มเล็ก ๆ ในชุมชนตั้งแต่ 7-8 คนข้ึนไป รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
ได้แก่ การผลิต การแปรรูป การจัดการ การขาย มีทั้งแบบพื้นฐานท่ีเน้นการผลิตเพื่อการบริโภคหรือ
ขายในท้องถิน่ และแบบก้าวหน้าซ่ึงนำสินคา้ ออกขายสูต่ ลาดขนาดใหญ่ภายนอก ถา้ วสิ าหกจิ ชุมชนใด
มีผลติ ภัณฑ์ท่ีดีมาก และผลติ ภัณฑผ์ ่านการคดั สรรก็กลายเป็นสนิ ค้าโอทอป วิสาหกจิ ชุมชนจึงเปน็ ฐานราก

11

ของเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจไทยโดยรวม เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็ง สังคมไทยก็จะเข้มแข็งด้วย
(เสรี พงศพ์ ิศ, 2557)

คุณสมบตั ขิ องวิสาหกจิ ชุมชน
กิจการซึ่งสามารถจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (ส่วนทะเบียนและ
ขอ้ มูลวิสาหกิจชุมชน กรมสง่ เสรมิ การเกษตร, 2548, หนา้ 1)
1. เป็นกิจการที่เก่ยี วกับการผลิตสนิ ค้า การให้บริการ หรอื การอื่น ๆ ท่ีทำให้เกิดการพฒั นา
และแกไ้ ขปญั หาของชุมชน
2. เป็นกิจการท่ีดำเนินการหรือประสงค์จะดำเนินการร่วมกันในชุมชน โดยคณะบุคคลท่ี
เป็นนิติบุคคล หรือไม่เป็นนิติบุคคล และประกอบด้วยสมาชิกท่ีอยู่ร่วมกันในชุมชนไม่น้อยกว่า 7 คน
โดยบคุ คลดงั กล่าวตอ้ งไม่อย่ใู นครอบครัวเดียวกัน
3. เปน็ กิจการทมี่ วี ัตถุประสงค์เพอ่ื สรา้ งรายได้ เพ่ือการพ่ึงพาตนเอง และเพ่อื ประโยชนส์ ุข
ของคนในชมุ ชน
4. เป็นกิจการทไ่ี ม่ขัดตอ่ กฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือศลี ธรรมอนั ดขี องประชาชน

การจดทะเบยี นวสิ าหกิจชมุ ชนและประโยชน์ที่ได้รบั
การไปยื่นจดทะเบียนวิสาหกจิ ชมุ ชน สมาชิกกลมุ่ ตอ้ งเตรียมขอ้ มลู เพ่ือกรอกรายละเอยี ด
เก่ียวกับชื่อและที่ต้งั ของวสิ าหกิจชุมชน ช่ือและท่ีอยู่ของผู้มีอำนาจทำการแทนวิสาหกิจชุมชน รวมท้ังช่ือ
และที่อยู่ของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ลักษณะกิจการที่มีความประสงค์จะดำเนินการ โดยสถานท่ีซึ่ง
สามารถย่ืนจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรก่ิงอำเภอ
สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในเขต
พนื้ ที่ซ่ึงเป็นที่ต้ังของวิสาหกิจชุมชน โดยกิจการจะไดร้ ับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนวสิ าหกิจชุมชน ท้ังนี้
การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ทำให้กิจการได้รับประโยชน์ต่าง ๆ ได้แก่ การประกอบกิจการได้รับ
การรับรองตามกฎหมาย มีสิทธิในการขอรับการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากิจการตามมาตรการที่
คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกจิ ชุมชนกำหนดให้มีตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548
(กองสง่ เสรมิ วิสาหกิจชมุ ชน กรมสง่ เสริมการเกษตร, 2557)

วสิ าหกิจเรม่ิ ตน้
ความหมายของวสิ าหกิจเร่ิมตน้
วิสาหกิจเริ่มต้น (startup enterprise) หรือท่ีมักนิยมเรียกทับศัพท์ว่า สตาร์ทอัพ คือ
กจิ การที่เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ เพื่อการเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ออกแบบธรุ กิจท่ีสามารถ
ทำซ้ำ (repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (scalable) กิจการเกิดข้ึนจากแนวคิดการแก้ปัญหาใน
ชีวิตประจำหรือการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจซ่ึงยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน โดยนำเทคโนโลยี หรือ
นวัตกรรมมาใช้ในการสร้างกิจการ เดมิ สตาร์ทอัพเปน็ คำที่นิยมใช้เรียกกิจการเกิดใหมท่ างด้านเทคโนโลยี
ในซิลิคอน วาเลย์ (Silicon Valley) ประเทศสหรฐั อเมริกา แตใ่ นปัจจุบันก็ใช้เรียกกิจการโดยทั่วไปท่ีมี
รูปแบบธุรกิจดังกล่าวข้างต้น (ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี, 2560, หน้า 6-11) นอกจากนี้กล่าวได้ว่า สตาร์ทอัพ

12

เป็นกิจการขนาดเล็กท่ีหาโอกาสเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาประจำวัน มีทีมงานขนาดเล็ก
มผี ู้ก่อตั้งเป็นศูนย์กลาง ไม่จำเป็นต้องมีการบริหารจดั การท่ีซับซ้อน แต่เน้นนวัตกรรม มีทรัพยากรการ
ดำเนินงานที่จำกัด ประสบการณ์การทำงานทางธุรกิจไม่ได้มีมาอย่างยาวนาน การดำเนินงานมีความ
กดดันด้านเวลาเพ่ือการเติบโตอย่างเร็ว (Paternoster, Giardino, Unterkalmsteiner, Gorschek,
Abrahamsson, 2014, p.1202)

ลักษณะสำคัญของวิสาหกจิ เร่ิมตน้
วิสาหกิจเริ่มต้นมีลักษณะสำคัญคือ เป็นธุรกิจที่สร้างความเปล่ียนแปลง หรือแก้ปัญหา
สำคัญอยา่ งท่ีไม่เคยมีมาก่อน เป็นธุรกิจที่มีนวัตกรรมทแ่ี ตกต่างจากการดำเนินการธุรกิจเดมิ เช่น การ
เรียกใช้บริการรถแท็กซผ่ี ่านแอปพลิเคชนั ในมือถือ เปน็ ธรุ กิจที่สามารถขยายธรุ กจิ โดยทำซำ้ ในตลาดท่ี
อ่ืนได้ ไม่จำเปน็ ต้องออกแบบแผนธุรกิจใหม่ เป็นธรุ กจิ ท่สี ามารถขยายตลาดด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ทำให้ขอบเขตธุรกิจไม่จำกดั นอกจากนี้ตอ้ งเตบิ โตอย่างก้าวกระโดด (ณรงค์ ศริ ิเลิศวรกุล, 2559) การ
เติบโตของวิสาหกิจเร่ิมต้น ไม่ใช่เติบโตแบบเส้นตรง จึงเปรียบเปรยการเติบโตของธุรกิจเสมือนตำนาน
เทพนิยายแห่งซิลิคอน วาเลย์ เพราะเร่ิมต้นจากการสร้างนวัตกรรมในโรงรถ และเติบโตอย่างรวดเร็ว
แบบทวีคูณ แต่ทั้งนี้วิสาหกิจเร่ิมต้นจะเติบโตและประสบความสำเร็จได้ต้องมีองค์ประกอบที่ดีในด้าน
ความคิด ด้านผลิตภัณฑ์หรือการบริการ ด้านทีมงาน และด้านการลงมือปฏิบัติ (ศุจิมาลย์ สุวรรณโรจน์,
ประกิต สังข์ป่า, วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์, ธันวดี เนตนันท์, วราพร จิระพันธ์ุทอง และจิตติมา ศังขมณี, 2560,
หนา้ 2-3)
บริษัทระดับโลกหลายกิจการล้วนเติบโตจากการเป็นวิสาหกิจเร่ิมต้นหรือสตาร์ทอัพมา
ก่อน เช่น Google, Facebook, Paypal ฯลฯ อีกท้ังมีหลายบริษัทท่ีมาจากสตาร์ทอัพ สามารถสร้าง
มูลค่าธุรกิจจนเป็นระดับยูนิคอร์น (unicorn) คือมีมูลค่าธุรกิจเกิน 1 พันล้านเหรียญ (1 billion dollar)
หรือประมาณ 3.3 หม่ืนล้าน โดยที่ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น Uber, Airbnb, Snapchat
ในประเทศไทยแม้ปัจจุบันยังไม่มีบริษัทที่มาจากสตาร์ทอัพซึ่งสามารถสร้างมูลค่าธุรกิจถึงในระดับ
ยูนิคอร์น แต่หลาย ๆ บริษัทกำลังอยู่ในช่วงการเติบโตและมีอนาคตทางธุรกิจท่ีดี เช่น Ookbee เป็น
สตารท์ อัพรุ่นบุกเบิกด้านอีบุ๊ค โดยกอ่ ตัง้ ในปี พ.ศ. 2554 และเติบโตต่อเนอื่ งอย่างก้าวกระโดดจนเป็น
ร้านหนังสืออีบุ๊คที่ใหญ่ท่ีสุดในอาเซียน และมีผู้ใช้งานกว่า 8.5 ล้านคน มีมูลค่าธุรกิจ 3 พันล้านบาท
อีกตัวอย่างคือ Wongnai ที่เริ่มต้นจากการเป็นเว็บไซต์รีวิว (review) คือแสดงความเห็นเก่ียวกับ
ร้านอาหารในปี พ.ศ. 2553 จนปัจจุบันได้พัฒนาเป็นแอปพลิเคชันท่ีสามารถค้นหาร้านอาหารทั่ว
ประเทศไทยมากกว่า 2 แสนร้านได้สะดวกมากขึน้ มผี ู้ใช้มากกว่า 2.2 ล้านคน ธุรกจิ มีรายได้หลกั จาก
การโฆษณา รวมถึงการขายดลี (deal) คือการขายสิทธพิ ิเศษต่าง ๆ จากร้านอาหารให้กบั ลูกค้า อกี ทั้ง
ยังขยายเนื้อหาการรีวิวและดีลต่าง ๆ ไปยังธุรกิจความงามและสปา ปัจจุบันมีมูลค่าธุรกิจประมาณ
1 พันล้านบาท จะเห็นได้ว่าสตาร์ทอัพเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ก่ีปี (ณฤทธ์ิ วรพงษ์ดี,
2560, หนา้ 6-11)

13

แหลง่ เงนิ ทนุ ของวิสาหกิจเร่มิ ตน้
การเติบโตของวิสาหกิจเร่ิมต้นจำเป็นต้องใช้เงินทุน แต่การหาเงินทุนโดยการกู้ยืมจาก
ธนาคารเหมือนธรุ กิจ SMEs ทำได้คอ่ นข้างยาก เน่อื งจากการดำเนินธรุ กิจมีรปู แบบใหม่ที่แตกต่างจาก
ธุรกิจทั่วไปอย่างสิ้นเชิงและมีความเส่ียงมากกว่า ดังน้ันแหล่งเงินทุนของธุรกิจจึงมาจากช่องทาง
ต่อไปนี้ เงินทุนของตัวเองหรือครอบครัว หรือที่เรียกว่า bootstrap นอกจากน้ีอาจจะมาจากเงินทุน
ของเพ่ือนผู้ร่วมก่อต้ังธุรกิจ (co-founder) กลุ่มนักลงทุนอิสระ (angle investor) หน่วยงานบ่มเพาะ
หรือเร่งการเติบโตของธุรกิจ (incubator/accelerator) การระดมเงินทุนจากสาธารณะ (crowd funding)
โดยทำได้หลายลักษณะ เช่น การระดมทุนแบบขอรับบรจิ าค การระดมทุนแลกกับสิทธิพเิ ศษบางอย่าง
(reward) นอกจากนี้คือกลุ่มนักลงทุนในรูปแบบสถาบัน (venture capital) โดยอาจเป็นการจัดตั้ง
กองทุนเพื่อรวบรวมเงินทุนจากนักลงทุนรายใหญ่ที่มีความเข้าใจในวิสาหกิจเร่ิมต้น และยอมรับความ
เสยี่ งได้คอ่ นขา้ งมาก (ณฤทธิ์ วรพงษด์ ี, 2560, หนา้ 74-78)

ความแตกตา่ งระหว่างวิสาหกิจเรมิ่ ตน้ และวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
วิสาหกิจเริ่มตน้ หรือสตาร์ทอัพทุกกิจการอาจกล่าวได้ว่าเป็นเอสเอ็มอี หรือเอสเอ็มอีบาง
กิจการเป็นสตาร์ทอัพ ส่ิงที่แตกต่างอย่างเห็นไดช้ ัดเจนระหวา่ งเอสเอม็ อีและสตาร์ทอัพ คอื โครงสร้าง
ทางการเงิน การเติบโต และการตลาด กล่าวคอื เอสเอม็ อีเป็นธุรกิจท่ีลงทุนโดยผู้ประกอบการ เติบโต
อย่างค่อยเป็นค่อยไป เน้นลูกค้าท่ัวไป ส่วนสตาร์ทอัพ ไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง สามารถเสนอขาย
แนวคิดธุรกิจซง่ึ เปน็ ที่ตอ้ งการในตลาดขนาดใหญ่ หรือขายโมเดลธุรกิจแบบใหม่ เพือ่ ดึงดดู นักลงทุนให้
มาร่วมทนุ วางแผนเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด เน้นทำตลาดในกลุ่มผู้บริโภคท่ีใชส้ มาร์ทโฟน
และสามารถใช้งานแอปพลิเคชันตา่ ง ๆ ได้

วสิ าหกิจเพือ่ สังคม
ความหมายและลกั ษณะการดำเนนิ งานของวิสาหกจิ เพอ่ื สงั คม
วิสาหกิจเพื่อสังคม (social enterprise) คือรูปแบบองค์การท่ีประสานจุดแข็งของการ
จัดการท่ีมีประสิทธิภาพ ร่วมกับการมีเป้าหมายทางสังคม อยู่ระหว่างกลางธุรกิจ (business) ท่ีแสวงหา
กำไรสูงสุด และองค์การกุศล (non-profit organization: NPO) ที่มุ่งสร้างประโยชน์ให้สังคม แต่มี
รายไดห้ ลักมาจากการบรจิ าค อาจกล่าวไดว้ ่าวิสาหกิจเพ่ือสังคม คือธุรกิจรปู แบบหนึง่ ท่ีถูกตง้ั ข้ึนโดยมี
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางสังคมเป็นหลัก และนำผลกำไรที่เกิดข้ึนส่วนใหญ่กลับไปลงทุนซ้ำเพื่อ
บรรลุวัตถุประสงค์ทางสงั คมท่ีต้ังไว้ ไม่ใช่เพ่ือการสร้างความมั่นคงและประโยชน์ส่วนบุคคล ท้ังน้ีหาก
พิจารณาในมุมมององค์การทางสังคมและรัฐ ระบุว่าวิสาหกิจเพ่ือสังคม หมายถงึ รูปแบบองค์การท่ีนำเอา
การจัดการท่ีมีประสิทธิภาพและใช้กลไกการตลาดทางธุรกิจมาเปน็ หลักในการดำเนินงาน เพ่ือให้องค์การ
สามารถพ่งึ พาตนเองทางการเงิน ลดการพ่ึงพาเงินสนบั สนนุ จากรัฐหรือเงินบริจาคซึ่งไม่แน่นอนและไม่
ต่อเนื่อง ทำให้องค์การมีผลกำไรจากการประกอบกิจการไปแก้ไขปัญหาหรือไปสร้างประโยชน์แก่
ชมุ ชนหรอื สังคม (สำนกั งานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร, 2558, หน้า 12-14)

14

ความแตกต่างระหวา่ งวสิ าหกิจเพ่ือสงั คมและการทำกิจกรรมด้านความรับผดิ ชอบต่อ
สังคมของธุรกจิ

วิสาหกิจเพื่อสังคมไม่ใช่ธรุ กจิ ทแ่ี คท่ ำกจิ กรรมดา้ นความรบั ผิดชอบต่อสังคม (corporate
social responsibility: CSR) ซึ่งเป็นการตอบแทนคืนสู่สังคมในรูปแบบใดรูปแบบหน่ึงเมื่อธุรกิจมี
กำไรหรือมั่นคงแล้ว แต่วิสาหกิจเพื่อสังคมมุ่งแสวงหารายได้ เพ่ือนำผลกำไรไปพัฒนากิจการให้ย่ังยืน
รวมท้ังพัฒนาชุมชน สังคม หรือส่ิงแวดล้อม อาจกล่าวได้ว่าวิสาหกิจเพ่ือสังคมไม่ได้หวังเพียงกำไรเข้า
สู่กิจการ แต่การดำเนินงานยังมุ่งสร้างประโยชน์เพ่ือสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้มีส่วนเก่ยี วข้องหรือ
ได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจการได้อย่างสมดุล เป็นหนทางในการสร้างสังคมที่มีความสุข (สมเกียรติ
สกุลสุรเอกพงศ์, 2559, หน้า 142-143) กล่าวกันว่าการทำกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมทั้ง
วิสาหกิจ (CSR-as-enterprise) เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ดังนั้นวิสาหกิจเพ่ือสังคมสามารถพัฒนาจาก
การทำกิจกรรมเพื่อสังคมของกิจการ จนกระทั่งการทำกิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากชุมชน
ในการสร้างคณุ ค่า และมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน อีกท้ังวิสาหกิจเพือ่ สังคมสามารถ
จัดต้งั ไดเ้ ลยโดยไมต่ ้องพฒั นามาจากการทำกิจกรรมเพื่อสงั คม (พพิ ัฒน์ นนทนาธรณ์, 2558, หน้า 18)

ตัวอยา่ งวสิ าหกจิ เพือ่ สังคมในประเทศไทย
ตัวอย่างวสิ าหกิจเพื่อสังคมซึง่ ประสบความสำเร็จในประเทศไทย เช่น มูลนิธแิ ม่ฟ้าหลวง
ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับโครงการพัฒนาดอยตุงอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ซ่ึงมุ่ง
แก้ปัญหาความยากจนของชมุ ชนชาวเขา เปล่ียนวถิ จี ากการปลกู และเสพฝิ่น ทำไร่เล่ือนลอย ให้หันมา
ทำการเกษตรปลูกพืชผักเมืองหนาว ดำเนินการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปและ
ผลติ ภัณฑจ์ ากผ้าท่ผี ลิตโดยชุมชนชาวเขา จนสามารถเล้ยี งตวั เองได้ มคี วามมั่นคงทางการเงินควบคู่ไป
กับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดล้อมของชุมชนชาวเขา อีกตัวอย่างคือ มูลนิธิโรงพยาบาลอภัยภูเบศร์
จังหวัดปราจีนบุรี นำรายได้จากการผลิตและจำหน่ายยาสมุนไพรไทยซ่ึงเพียงพอต่อการดำเนินงาน
และเหลือกำไรมาใช้สนับสนุนค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ตลอดจนนำมาลงทุนซ้ำและเผยแพร่ความรู้
ดา้ นสมุนไพร โดยส่งเสรมิ ใหช้ าวบ้านเพาะปลูกสมนุ ไพรอนิ ทรยี ์โดยใช้ระบบสญั ญารบั ซ้ือลว่ งหนา้ อกี ท้ัง
สนับสนุนกิจกรรมทางสังคมกับชุมชน นอกจากน้ีคือ บริษัทสังคมสุขภาพ (เลมอนฟาร์ม) ซ่ึงยกระดับ
การดำเนินงานมาจากรูปแบบสหกรณ์ มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเข้าถึงอาหารสุขภาพท่ีปลอดภัยและ
ราคาเป็นธรรมแกผ่ ู้บรโิ ภค โดยดำเนนิ ธุรกจิ รับซอื้ สินค้าอนิ ทรียจ์ ากชมุ ชนซ่งึ เป็นสมาชิกกว่า 200 ราย
นำไปจำหน่ายผ่านร้านค้าทั้ง 12 สาขาของบรษิ ัทซ่ึงต้ังกระจายอยู่ในกรุงเทพฯ ผลกำไรท่เี กิดขึ้นนำไป
ลงทุนซ้ำและยังนำไปปันผลให้กับสมาชิกสหกรณ์ พัฒนายกระดับเกษตรกรให้เข้ามาอยู่ในระบบการ
เพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งนำไปสร้างกิจกรรมทางสังคมให้แก่กลุ่มสมาชิกลูกค้าในเมือง
(สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร, 2558, หนา้ 12-14)
จากตัวอย่างข้างต้นเห็นได้ว่าวิสาหกิจเพ่ือสังคมมีคุณลักษณะสำคัญ คือ มีเป้าหมายเพื่อ
พฒั นาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน แก้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม มุ่งดำเนินธรุ กิจตามหลักธรรมาภิบาล
รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้คนในชุมชนหรือคนที่ด้อยโอกาสในสังคมได้มีส่วน
ร่วมในการดำเนินงาน ธุรกิจมีความม่ันคงทางการเงิน พึ่งพาตนเองได้ นำผลกำไรไปลงทุนซ้ำและ

15

กลับคืนสู่การพัฒนาสังคมตามเป้าหมายท่กี ำหนดไว้ ดังนนั้ วิสาหกิจเพื่อสังคมจึงมีบทบาทสำคัญตอ่ การ
พฒั นาชุมชนซึ่งเปน็ ฐานรากของการพัฒนาประเทศ

โดยสรปุ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วสิ าหกิจชุมชน วิสาหกจิ เรมิ่ ต้น และวิสาหกิจ
เพื่อสังคม ล้วนคือองค์การท่ีช่วยกันขับเคล่ือนเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็ง วิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ครอบคลุมธุรกิจประเภทการผลิต การค้า และการบรกิ าร หากเป็นธุรกิจ
การผลิตหรือบริการ ต้องมีมูลคา่ สินทรพั ยถ์ าวรไม่เกินสองรอ้ ยล้านบาท จา้ งงานไม่เกนิ สองร้อยคน แต่
หากเปน็ ธรุ กิจการคา้ มสี นิ ทรัพยถ์ าวรไม่เกินหนง่ึ ร้อยล้านบาท จ้างงานไม่เกนิ ห้าสิบคน ส่วนวิสาหกจิ ชุมชน
เป็นการประกอบกิจการในลักษณะต่าง ๆ เช่นเดียวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่แตกต่าง
ตรงท่ีผู้ดำเนินกิจการคือสมาชิกในชุมชน สำหรับวิสาหกิจเร่ิมต้นหรือที่นิยมเรียกว่าสตาร์ทอัพ คือ ธุรกิจ
ทมี่ ีรูปแบบซ่ึงสามารถทำซ้ำและขยายกิจการไดง้ ่าย นำเทคโนโลยี หรอื นวัตกรรมมาใชใ้ นการสร้างกิจการ
วางแผนเตบิ โตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด และสำหรับวิสาหกิจเพอื่ สังคม เป็นองค์การที่ทำธุรกจิ เพื่อ
หากำไร และนำผลกำไรคนื กลับส่กู ารพฒั นาคน สงั คม และสิง่ แวดล้อม

รปู แบบองค์การธรุ กจิ

ในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องตัดสินใจเลือกรูปแบบองค์การธุรกิจ (form of

business organization) ให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจท่ีดำเนินการ เพราะว่าแต่ละรูปแบบมีความ

แตกต่างกันต้งั แต่การจดั ตงั้ ไปจนถึงลักษณะการบริหารงาน และการยตุ ิการดำเนินงาน

ปจั จัยท่ีควรพิจารณาในการเลอื กรูปแบบธุรกิจ

การเลือกรูปแบบองค์การธรุ กิจทีจ่ ัดจัดตั้ง ควรพจิ ารณาในประเดน็ ต่าง ๆ ไดแ้ ก่ ลกั ษณะ

การลงทุนเป็นการลงทุนคนเดียวหรือหาผู้ร่วมลงทุน ความสะดวกในการจัดตั้ง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

ความรับผิดชอบในหน้ีสิน อำนาจการบริหารงาน ความต่อเนื่องของกิจการ ข้อบังคับทางกฎหมาย

และสถานะทางกฎหมายซึ่งมี 2 แบบ ได้แก่ บุคคลธรรมดา (ordinary person) คือ บุคคลซ่ึงมีสิทธิ

และหน้าท่ีตามกฎหมาย และนิติบุคคล (juristic person) หมายถึง กลุ่มบุคคลหรือองค์การซึ่งกฎหมาย

บัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งและมีสิทธิและหน้าท่ีตามกฎหมาย ท้ังน้ีธุรกิจซึ่งมีสถานะทาง

กฎหมายเป็นบคุ คลธรรมดาและนิติบุคคล มีความแตกต่างกันดังแสดงในตารางที่ 1.2 (กรมสรรพากร,

2559, หน้า 4-5)

ตารางที่ 1.2 ความแตกต่างระหวา่ งบุคคลธรรมดาและนิตบิ คุ คล

บคุ คลธรรมดา นิติบคุ คล

1. สถานะบคุ คลธรรมดาเกดิ ข้ึนเองโดยการ 1. สถานะนติ ิบุคคล ต้องจดทะเบยี นจดั ต้ัง

ปฏบิ ัติ ไมจ่ ำเป็นต้องจดทะเบียนจดั ตั้งเป็น เช่น ห้างห้นุ ส่วนจำกดั บริษัทจำกดั

บคุ คลธรรมดา เช่น กจิ การเจ้าของคนเดียว

2. ทรพั ย์สนิ กิจการไมแ่ ยกจากทรัพยส์ ินของ 2. ทรัพยส์ ินกจิ การแยกจากทรัพย์สนิ ของ

เจ้าของกิจการ ทำให้เจา้ หนีม้ ีสิทธิเรียกร้องใช้ เจา้ ของกจิ การ ทำให้เจา้ หน้ีไมม่ สี ิทธิเรยี กร้อง

หนจ้ี ากทรัพยส์ ินส่วนตวั ได้ หากทรัพย์สินของ ใช้หนจ้ี ากทรัพย์สนิ ส่วนตัวได้ หากทรพั ยส์ นิ

ธุรกิจไมเ่ พียงพอชำระหนี้ ของธรุ กิจไมเ่ พยี งพอชำระหน้ี

16

ตารางที่ 1.2 (ต่อ) ความแตกต่างระหวา่ งบุคคลธรรมดาและนติ บิ คุ คล

บคุ คลธรรมดา นิติบุคคล

3. เสียภาษเี งินไดบ้ ุคคลธรรมดา 3. เสียภาษีเงนิ ได้นติ ิบคุ คล

ภาษีเงินไดบ้ คุ คลธรรมดา = อัตราภาษี x เงินได้สทุ ธิ ภาษเี งินได้นติ ิบคุ คล= อัตราภาษี x กำไรสทุ ธิ

เงนิ ไดส้ ทุ ธิ = เงินไดพ้ งึ ประเมิน-คา่ ใช้จา่ ย-ค่าลดหย่อน

4. การจัดทำบัญชภี ายในกจิ การไม่จำเป็น 4. ขอ้ บังคับทางกฎหมายระบุให้จดั ทำรายงาน

ต้องจัดให้มผี ู้ตรวจสอบบญั ชี ทางบญั ชแี ละต้องจดั ให้มผี ูต้ รวจสอบรายงาน

ทางบญั ชดี ้วย

การแบ่งรูปแบบองค์การธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดแบ่งรูปแบบองค์การธุรกิจในประเทศไทย
ออกเป็น 7 แบบ ได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนส่วนสามัญนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และองค์การธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้
กฎหมายเฉพาะ (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ม.ป.ป.) อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นจัดตั้งธุรกิจโดยทั่วไปจะ
เปน็ 6 รูปแบบแรก เพราะรูปแบบที่ 7 คือ องค์การธรุ กจิ จัดตง้ั หรอื จดทะเบยี นภายใตก้ ฎหมายเฉพาะ
เป็นลักษณะการรวมกลุ่มกิจการ ได้แก่ สมาคมการค้า และหอการค้า กล่าวคือสมาคมการค้า (trade
of association) เปน็ สถาบนั ท่บี ุคคลไม่นอ้ ยกว่า 3 คน ซ่ึงเป็นผปู้ ระกอบธรุ กิจการคา้ หรอื อตุ สาหกรรม
หรือการเงิน หรือทางการประมง หรือทางเกษตรกรรม หรือธุรกิจอ่ืนใดในทางเศรษฐกิจ จัดต้ังขึ้นเพ่ือ
ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจนั้นๆ มิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ส่วนหอการค้า
(chamber of commerce) คือ สถาบันที่มบี ุคคลไม่นอ้ ยกว่า 5 คน จัดต้งั ขนึ้ เพอ่ื ส่งเสริมการค้า การ
บรกิ าร การประกอบวิชาชีพอิสระ อตุ สาหกรรม เกษตรกรรม การเงิน หรือเศรษฐกิจ โดยมใิ ช่เปน็ การ
หาผลกำไรหรือรายได้มาแบง่ ปนั กนั (กรมพฒั นาธรุ กจิ การคา้ , 2557, หน้า 10)
รูปแบบองค์การธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับการเร่ิมต้นจัดต้ังธุรกิจดังกล่าวข้างต้น แบ่ง
อธิบายเป็น 3 กลุ่ม คือ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และบริษัท โดยมีรายละเอียดดังน้ี (สมคิด
บางโม, 2555, หน้า 26-40; กรมพัฒนาธรุ กิจการค้า, 2557, หน้า 3-22; ฉตั ยาพร เสมอใจ, 2558, หน้า
92-107; กรมพฒั นาธุรกิจการคา้ , 2558, หน้า 21-24)
1. กิจการเจา้ ของคนเดียว (sole proprietorship) คอื การประกอบการท่ีมีบคุ คลคน
เดียวเป็นเจ้าของ ไม่มีผู้ร่วมลงทุน เป็นรูปแบบธุรกิจท่ีมีอยู่จำนวนมาก กิจการมักมีขนาดเล็ก ใช้เงิน
ลงทุนน้อย การดำเนินงานไม่ซับซ้อน ผู้ประกอบการควบคุมการดำเนินงานเองท้ังหมด มีความคล่องตัว
ในการตัดสนิ ใจ หากธุรกิจประสบผลสำเร็จมีผลกำไร ผปู้ ระกอบการก็ได้รับผลประโยชน์เพยี งคนเดียว
ในขณะเดียวกันก็ต้องรับภาระเพียงคนเดียวหากกิจการขาดทุน มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย สถานะ
ทางกฎหมายเรยี กว่า บุคคลธรรมดา

17

การจดั ต้งั และเลกิ ธรุ กิจรูปแบบกิจการเจา้ ของคนเดยี ว
การจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียวทำได้โดยง่ายไม่ต้องจดทะเบียนจัดต้ัง สามารถ
ดำเนินการทันทีหากผู้ประกอบการมีความพร้อมเปิดกิจการ อย่างไรก็ดีถ้าประเภทธุรกิจที่
ประกอบการเข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
ผูป้ ระกอบการต้องดำเนินการดงั น้ี (กรมพฒั นาธุรกจิ การค้า, ม.ป.ป.)
1. จดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นบั ตั้งแต่วนั เร่ิมประกอบธุรกิจ ถ้าหากธุรกิจมี
สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ย่ืนจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการ
คลัง หรือสำนักงานเขตในท้องท่ีซึ่งเป็นที่ต้ังธุรกิจ แต่ถ้าธุรกิจมีสำนักงานใหญ่อยู่ในภูมิภาคให้ย่ืนจด
ทะเบียนพาณิชย์ได้ที่เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณีตามที่ต้ัง
ธุรกิจ ท้ังน้ีผู้ประกอบการต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
และจัดใหม้ ีปา้ ยชื่อท่ีใช้ในการประกอบพาณชิ ยกิจไวห้ น้าสำนักงานใหญแ่ ละสำนักงานสาขา
2. ขอใบอนุญาตต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจจากหน่วยงานภาครัฐท่ีเกี่ยวข้อง เช่น การ
ขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล การขออนุญาตจัดต้ังสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานท่ี
สะสมอาหาร การขออนุญาตประกอบกิจการท่ีเป็นอนั ตรายต่อสุขภาพ ฯลฯ
3. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพ่ิม (value added tax: VAT) หากกิจการมีรายรับจาก
การขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษี
มูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เขต หรืออำเภอ ในท้องท่ีท่ีสำนักงานใหญ่ของธุรกิจตั้งอยู่
โดยจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตง้ั แต่วันเร่ิมประกอบกิจการขายสินค้าหรือบริการ ท้ังนี้ภาษีมูลค่าเพ่ิม
เปน็ การเรยี กเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขัน้ ตอนการผลิตและการจำหน่าย
สินค้าหรือบริการท้ังที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เม่ือผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษมี ูลค่าเพิ่มแล้ว กรมสรรพากรจะออกใบทะเบยี นภาษีมูลค่าเพ่ิม (แบบ ภพ. 20) ผู้ประกอบการต้องนำใบ
ทะเบียนดังกล่าวแสดงไว้ในท่ีซึ่งเห็นได้ง่ายและเปิดเผยภายในสถานประกอบการ สำหรับการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพ่ิมท่ีต้องเสียคือส่วนต่างระหว่างภาษีขายที่มากกว่าภาษีซ้ือ แต่ถ้าภาษีซ้ือมากกว่าภาษีขาย
คือภาษีท่ีมีสิทธิขอคืน ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ถ้ามี) ทุกเดือน ไม่ว่าจะขายหรือให้บริการหรือไม่ก็ตาม โดยให้ยื่นแบบภายใน 15 วันของเดือนถัดไป
อย่างไรก็ดีสำหรบั ธุรกิจบางประเภทท่ีไม่สามารถเรียกเกบ็ ภาษีมูลค่าเพ่ิมอย่างมปี ระสิทธิภาพ ธุรกจิ ต้อง
จดทะเบยี นภาษธี รุ กิจเฉพาะแทนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรมสรรพากร, 2555, หนา้ 1-9)
อย่างไรก็ดีหากระหว่างดำเนินธุรกิจเกิดการเปล่ียนแปลงรายการใด ๆ จากท่ีจด
ทะเบียนพาณิชย์ ต้องขอจดทะเบียนเปล่ียนแปลงรายการจดทะเบียนพาณิชย์ และถ้าหากเลิกกิจการ
ต้องขอจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ

18

ข้อดแี ละขอ้ เสยี ของกิจการเจา้ ของคนเดียว

การจดั ต้งั ธุรกจิ แบบกิจการเจา้ ของคนเดียวมีขอ้ ดีและข้อเสียดังแสดงในตารางที่ 1.3

ตารางท่ี 1.3 ขอ้ ดีและขอ้ เสียของกิจการเจ้าของคนเดยี ว

ขอ้ ดี ข้อเสยี

1. การจัดต้งั และเลิกกจิ การทำได้งา่ ย 1. ขยายกิจการได้ยากเพราะมเี งนิ ทุนจำกัด

2. มีอสิ ระในการตดั สินใจ ทำให้เกิดความรวดเรว็ 2. ความสามารถในการคดิ การบรหิ ารงานมี

คล่องตวั ในการดำเนินงาน จำกัด ตลอดจนการตดั สินใจอาจมขี ้อบกพร่อง

3. ผู้ประกอบการไดร้ บั ผลกำไรทง้ั หมดเพียงคน เพราะเกิดจากเจ้าของเพียงคนเดียว

เดยี ว 3. เจา้ ของกิจการรับผิดชอบในหนส้ี นิ ไม่จำกดั

4. รกั ษาความลับของกิจการไดด้ ี จำนวนแตเ่ พียงคนเดียว

5. มขี ้อบังคับทางกฎหมายนอ้ ยมาก 4. อายุกิจการไมย่ ืนยาว หรอื การดำเนินงาน

อาจไม่ต่อเนื่อง หากเกดิ เหตุกับผูป้ ระกอบการ

เชน่ เจ็บปว่ ย ถึงแกก่ รรม ฯลฯ

5. ความน่าเช่ือถือของกิจการมนี ้อย

2. ห้างหุ้นส่วน (partnerships) คือ การประกอบการท่ีมีบุคคล 2 คนขึ้นไป ทำสัญญา
เพื่อกระทำกิจการร่วมกัน โดยนำเงินสด ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงทุน และแบ่งผลกำไรอันพึงได้จาก
กิจการ หา้ งหุ้นสว่ นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ห้างหุน้ สว่ นสามัญ และห้างหุ้นสว่ นจำกดั

2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ordinary partnership) คือ การประกอบการที่ผู้เป็น
หนุ้ สว่ นทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นสว่ นโดยไม่จำกัดจำนวน ดังน้นั ผู้เปน็ หุ้นสว่ น
ทุกคนจึงมีสิทธิบริหารงานและเป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนได้ เว้นแต่แต่งต้ังหุ้นส่วนคนใดเป็นผู้มี
อำนาจทำการแทนห้างหุ้นส่วน หรือท่ีเรียกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ (managing partner) ห้างหุ้นส่วน
ประเภทนจี้ ะจดทะเบยี นเปน็ นิติบคุ คลหรือไมจ่ ดก็ได้

2.1.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนน้ีมีสถานะทางกฎหมาย
เป็นบุคคลธรรมดา ดังนั้นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่แยกจากทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วน ทำให้
เจ้าหน้ีสามารถเรียกร้องใช้หน้ีจากทรัพย์สินส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนได้ หากทรัพย์สินของธุรกิจไม่
เพียงพอชำระหนี้ การเรียกช่ือธุรกิจทำได้หลายแบบ เช่น ธุรกิจช่ือเอบีซี สามารถเรียกหรือทำป้าย
รา้ นค้าวา่ เอบีซี หรอื หา้ งเอบซี ี หรอื หา้ งหนุ้ สว่ นเอบีซี หรอื หา้ งหนุ้ ส่วนสามญั เอบีซี

2.1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
(registered ordinary partnership) ห้างหุ้นส่วนนี้มีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคล ดังนั้น
ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนแยกจากทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วน ทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกร้องใช้หน้ี
จากทรัพย์สินสว่ นตวั ของผ้เู ป็นหุน้ ส่วนได้ หากทรัพย์สนิ ของธุรกจิ ไม่เพียงพอชำระหนี้ การเรยี กชอ่ื หา้ ง
ตอ้ งใช้คำว่า หา้ งหนุ้ ส่วนสามัญนติ ิบุคคลประกอบหนา้ ช่ือเสมอ เช่น หา้ งหุ้นสว่ นสามญั นิติบคุ คลเอบซี ี

2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด (limited partnership) คือ การประกอบการท่ีมีหุ้นส่วน
2 จำพวก ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (limited liability partnership) และหุ้นส่วนไม่จำกัดความ
รบั ผิด (partner without limited liability) กล่าวคือหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรบั ผิด คือหุ้นสว่ นซ่ึง

19

รับผิดชอบในหน้ีสินที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุนในห้าง
หนุ้ ส่วน ซง่ึ หุ้นสว่ นประเภทน้ีไม่มีสทิ ธิบริหารงานแตม่ ีสิทธิออกความเหน็ และเปน็ ท่ปี รกึ ษา ดังนนั้ ทุนที่
นำมารว่ มลงทนุ ในห้างหุ้นส่วนจงึ เปน็ เงนิ หรอื ทรพั ย์สินเทา่ นั้น สว่ นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกดั ความรบั ผิด
คือ หุ้นส่วนซึ่งต้องรับผิดชอบในหน้ีสินท่ีเกิดข้ึนจากการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัด
จำนวน หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิเข้าบริหารงานของห้างหุ้นส่วน ดังนั้นทุนท่ีนำมาร่วมลงทุนในห้าง
หนุ้ ส่วนจงึ เป็นเงิน ทรพั ย์สิน หรือแรงงานกไ็ ด้

ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย หากยังไม่ได้จด
ทะเบียนจะถอื วา่ เปน็ ห้างหุ้นส่วนสามัญไมจ่ ดทะเบียน ในการเรยี กช่อื หา้ งตอ้ งใช้คำว่า “ห้างหุ้นสว่ นจำกดั ”
ประกอบหนา้ ชือ่ เสมอ เช่น ห้างหุน้ ส่วนจำกัดเอบซี ี

ความแตกตา่ งระหว่างหา้ งห้นุ ส่วนสามัญและหา้ งห้นุ ส่วนจำกดั

ห้างหุ้นส่วนสามัญและหา้ งหุน้ สว่ นจำกดั มีความแตกต่างกัน ดงั แสดงในตารางท่ี 1.4

ตารางที่ 1.4 ความแตกตา่ งระหวา่ งหา้ งหุน้ สว่ นสามญั และหา้ งห้นุ สว่ นจำกัด

หา้ งหนุ้ สว่ นสามัญ หา้ งหนุ้ สว่ นจำกดั

1. มีหนุ้ ส่วนจำพวกเดยี ว คือ หนุ้ ส่วนทไ่ี มจ่ ำกดั 1. มีหุน้ สว่ นสองจำพวก คือ หุน้ ส่วนที่ไมจ่ ำกัด

ความรบั ผิด คอื รับผิดชอบในหน้สี นิ ทงั้ ปวง ความรบั ผิด และหุ้นส่วนทจ่ี ำกดั ความรับผิด

โดยไม่จำกัดจำนวน เพยี งจำนวนเงนิ ท่นี ำมาลงทุน

2. ห้นุ สว่ นทุกคนสามารถลงทุนดว้ ยเงินสด 2. ห้นุ สว่ นจำพวกทไ่ี มจ่ ำกดั ความรับผิดเท่านัน้ ท่ี

ทรัพยส์ ินหรือแรงงานก็ได้ สามารถลงทนุ ดว้ ยเงินสด ทรัพยส์ นิ หรือแรงงาน

แตห่ ้นุ ส่วนจำพวกทีจ่ ำกัดความรับผดิ ลงทนุ ได้

เฉพาะเงนิ สดและทรพั ยส์ นิ

3. หุ้นสว่ นทุกคนมีสิทธิเปน็ หุ้นส่วนผจู้ ัดการ 3. หุน้ ส่วนจำพวกทไ่ี มจ่ ำกดั ความรับผดิ เท่าน้ัน

แลว้ แต่การตกลงร่วมกนั ทม่ี สี ทิ ธิเป็นหนุ้ ส่วนผจู้ ดั การ

4. จดทะเบยี นเปน็ นิตบิ ุคคลหรือไมจ่ ดกไ็ ด้ 4. ต้องจดทะเบียนเปน็ นติ ิบุคคล

การจดั ตง้ั และเลกิ ธุรกจิ รปู แบบหา้ งหุ้นส่วนสามัญไมจ่ ดทะเบียน
การจัดต้ังทำได้โดยง่ายไม่ต้องจดทะเบียนจัดตั้งเช่นเดียวกับกิจการเจ้าของคนเดียว
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนหรือที่เรียกโดยท่ัวไปว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ เกิดขึ้นทันทีเม่ือผู้เป็น
หุ้นส่วนทำความตกลงร่วมกันในเรื่องที่เป็นสาระสำคัญต่าง ๆ เช่น จำนวนเงินลงทุนหรือส่ิงท่ีผู้เป็น
หุ้นส่วนแต่ละคนจะนำมาลงทุน การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ฯลฯ
โดยอาจทำความตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ การดำเนินธุรกิจเริ่มต้นเม่ือผู้เป็น
ห้นุ สว่ นทกุ คนลงความเห็นพร้อมเปิดกิจการ อยา่ งไรกด็ ีถ้าประเภทธรุ กิจท่ปี ระกอบการเข้าข่ายต้องจด
ทะเบียนพาณชิ ย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 (ดังแสดงรายละเอยี ดในหัวข้อการ
จดทะเบียนพาณิชย)์ ผปู้ ระกอบการต้องดำเนนิ การดงั น้ี
1. จดทะเบยี นพาณิชย์ภายใน 30 วนั นบั แต่วันเรม่ิ ประกอบธรุ กิจ
2. ขอใบอนุญาตต่าง ๆ ทจี่ ำเป็นต่อธุรกจิ จากหนว่ ยงานภาครฐั ทเี่ ก่ียวข้อง

20

3. ขอมีเลขประจำตัวผูเ้ สียภาษีอากรภายใน 60 วัน นบั ตัง้ แต่วันท่มี ีเงินได้พึงประเมิน
โดยยน่ื แบบคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพ้ืนท่ใี นท้องที่ทีก่ ิจการตง้ั อยู่

4. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากกิจการมีรายรับจากการขายสินค้าหรือการบรกิ าร
เกินกว่า 1.8 ลา้ นบาทตอ่ ปี

ทั้งน้ีหากระหว่างดำเนินธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงรายการใด ๆ จากที่จดทะเบียน
พาณชิ ย์ ต้องขอจดทะเบยี นเปลีย่ นแปลงรายการจดทะเบยี นพาณิชย์ และถา้ หากเลิกกิจการต้องขอจด
ทะเบียนเลกิ ประกอบพาณิชยกจิ

การจัดตั้งและเลิกธรุ กิจรูปแบบห้างหุ้นสว่ นสามญั นติ ิบุคคลและหา้ งหนุ้ ส่วนจำกัด
การจัดตั้งธุรกิจรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด มี
รายละเอียดดังนี้ (กรมพัฒนาธุรกจิ การค้า, ม.ป.ป.)
1. จดทะเบียนจดั ตง้ั ห้างหุ้นส่วนสามัญนติ บิ คุ คล และหา้ งห้นุ ส่วนจำกัด

1.1 ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเร่ืองสำคัญ ๆ เช่น จำนวนเงินลงทุน
หรือส่ิงท่ีผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุน วัตถุประสงค์การประกอบกิจการ การแบ่งส่วนผลกำไร
ขาดทนุ การแตง่ ต้งั หนุ้ ส่วนผจู้ ดั การ สถานท่ีต้งั สำนักงานใหญ่ ฯลฯ

1.2 ตรวจสอบชื่อและจองช่ือ เพ่ือไม่ให้ซ้ำหรือมีเสียงเรียกขานตรงกันหรือ
คลา้ ยคลึงกันกบั ชอื่ ที่ไดจ้ องหรอื ไดจ้ ดทะเบยี นไว้ก่อนแลว้

1.3 จัดเตรียมคำขอจดทะเบยี นและเอกสารประกอบต่าง ๆ รวมท้ังจดั ทำตรายาง
ของหา้ งหุ้นสว่ น

1.4 ย่ืนขอจดทะเบียนจัดต้ังห้างหุ้นส่วน ไม่ว่ากิจการจะมีสำนักงานใหญ่ต้ังอยู่ใน
เขตจังหวัดใด สามารถยื่นขอจดทะเบียน ณ หน่วยงานในสงั กัดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวง
พาณิชย์ ซง่ึ ตง้ั อยใู่ นทกุ จงั หวัดทวั่ ประเทศ หรอื ยืน่ ขอจดทะเบยี นทางอินเทอร์เนต็

2. จดทะเบยี นพาณชิ ย์ภายใน 30 วนั นบั แต่วนั เรม่ิ ประกอบธรุ กจิ
3. ขอใบอนุญาตตา่ ง ๆ ท่จี ำเป็นต่อธุรกิจจากหนว่ ยงานภาครฐั ท่เี ก่ียวขอ้ ง
4. ขอมเี ลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรภายใน 60 วนั นบั ต้ังแต่วนั ทีม่ ีเงนิ ได้พงึ ประเมิน
โดยยน่ื แบบคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นทใ่ี นท้องที่ทีก่ ิจการต้ังอยู่
5. จดทะเบียนภาษมี ูลค่าเพิ่ม หากกิจการมรี ายรับจากการขายสนิ ค้าหรือการให้บริการ
เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
ทั้งน้ีหากระหวา่ งดำเนินธุรกิจเกิดการเปล่ียนแปลงรายการใดจากท่ีจดทะเบียน ต้อง
จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนจัดต้ัง และขอจดทะเบียนเปล่ียนแปลงรายการจด
ทะเบียนพาณิชย์ และถ้าหากเลิกกิจการตอ้ งขอจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ และขอจดทะเบียน
เลิกห้างหุ้นส่วนภายใน 14 วนั นับต้ังแต่วนั ท่ีมีผลเลิกตามมติท่ีประชุมผถู้ ือหุ้น หรือศาลมีคำพิพากษา
และขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบญั ชภี ายใน 14 วนั นับจากวนั ทป่ี ระชุมผู้ถือหุน้ อนุมัตกิ ารชำระบัญชี

21

ขอ้ ดีและข้อเสียของห้างหนุ้ สว่ น

รูปแบบองคก์ ารธรุ กจิ แบบหา้ งหนุ้ ส่วนมขี อ้ ดีและขอ้ เสีย ดังแสดงในตารางท่ี 1.5

ตารางที่ 1.5 ข้อดแี ละขอ้ เสยี ของหา้ งห้นุ ส่วน

ขอ้ ดี ขอ้ เสีย

1. การจดั ต้ังและเลิกกจิ การไมย่ ุ่งยากเมอื่ เทียบ 1. การตัดสนิ ใจในการบรหิ ารงานอาจเกิด

กับบรษิ ัท แตจ่ ะยุ่งยากขน้ึ เล็กนอ้ ยเม่ือเทยี บกับ ความล่าชา้ เพราะไม่สามารถตัดสินใจโดย

กจิ การเจา้ ของคนเดยี ว ลำพงั

2. ความเปน็ ไปไดใ้ นการเติบโตของกิจการ 2. อาจเกิดปญั หาในการบรหิ ารจัดการ

มีมากข้นึ เน่อื งจากสามารถระดมเงนิ ทุน หากผูเ้ ปน็ หนุ้ ส่วนมีความเห็นขดั แย้งกัน

รวมความคดิ ความรู้และทักษะท่หี ลากหลาย และไมซ่ อ่ื สตั ยต์ ่อกนั

จากผเู้ ป็นห้นุ ส่วน 3. อายขุ องกิจการไม่แนน่ อนหากเกดิ เหตุใด ๆ

3. การตดิ ตอ่ ทางธุรกิจทำได้กวา้ งขวางขึน้ แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน เช่น เจ็บปว่ ย ถงึ แก่กรรม

จากการช่วยกันของผู้เปน็ หุ้นส่วน ตอ้ งการเลิกดำเนินการ ฯลฯ

4. ภาระความเสี่ยงจากผลดำเนนิ งาน สามารถ 4. มคี วามย่งุ ยากในการเปลย่ี นโอนความเป็น

กระจายไปยังผู้เป็นหุ้นสว่ น เจา้ ของหรือความเปน็ หนุ้ สว่ นให้แก่บุคคลอ่ืน

5. กรณีหา้ งห้นุ สว่ นทม่ี ีสถานะเปน็ นิตบิ คุ คล 5. การถอนเงินทนุ ในการเขา้ หนุ้ ทำได้ยาก

ทรพั ย์สินของหา้ งหุน้ ส่วนแยกจากทรพั ยส์ นิ ของ 6. กรณหี ้างหนุ้ สว่ นทม่ี ีสถานะเปน็ นิติบคุ คล

ผเู้ ป็นหุ้นสว่ น ทำใหเ้ จา้ หนี้ไม่สามารถเรียกร้อง ผ้ปู ระกอบการเสยี ภาษซี ้ำซ้อน ท้ังภาษีเงนิ ได้

ใชห้ นีจ้ ากทรพั ย์สนิ สว่ นตัวได้ หากทรัพยส์ นิ ของ บคุ คลธรรมดาของตัวเอง และภาษเี งินได้

ธรุ กจิ ไมเ่ พยี งพอชำระหน้ี นติ บิ คุ คลจากกำไรสุทธิของห้างหนุ้ สว่ น แตถ่ า้

ขาดทนุ ไมต่ ้องเสยี ภาษี

3. บริษัท (company) เป็นรูปแบบธุรกิจท่ีแบ่งทุนออกเป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่มมี ูลค่าเท่ากัน
หรือที่เรียกว่าหุ้น (stock/share) โดยผู้ถือหุ้น (stockholder/shareholder) รับผิดชอบในหนี้ไม่เกิน
จำนวนมลู ค่าหุ้นทชี่ ำระไม่ครบ หากชำระครบแล้วผถู้ ือหุ้นไมต่ ้องรับผิดใด ๆ การได้รับผลกำไรตามส่วน
ของเงินที่ได้ลงทุนซ้ือหุ้น บริษัทแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บริษทั จำกัด และบรษิ ัทมหาชน จำกัด
ดงั รายละเอียดตอ่ ไปน้ี

3.1 บริษัทจำกัด (company limited: Ltd.) องค์การธุรกิจในรูปแบบน้ีจัดต้ังข้ึน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสถานะเป็นนิติบุคคล โดยมีผกู้ ่อตงั้ เริ่มต้น 3 คนข้นึ ไป และมี
จำนวนผู้ถือหุ้น 3-99 คน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในราชอาณาจักร ทนุ จดทะเบียนไม่กำหนด แต่มี
มูลค่าหุ้นไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท ระดมเงินทุนส่วนใหญ่โดยออกหุ้นทุน (capital stock) ทั้งน้ีตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทจำกัดไม่สามารถออกหุ้นกู้ (debenture) และไม่สามารถ
ออกหนังสือชชี้ วน (prospectus) เพื่อเสนอขายหุ้นต่อบุคคลท่ัวไปในวงกว้างได้ อย่างไรก็ดีพระราชบัญญัติ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในหมวดท่ี 2 การออกหลักทรัพย์ของบริษัท และในส่วน
ที่ 1 วา่ ด้วยการอนุญาตใหเ้ สนอขายหลักทรพั ย์ที่ออกใหม่ ระบุในมาตรา 37 ว่ามิให้นำบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ห้ามบริษัทจำกัดออกหุ้นกู้มาใช้บังคับกับบริษัทจำกัดท่ีได้รับ

22

อนุญาตให้ออกหุ้นกู้ตามมาตรา 34 (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์,
ม.ป.ป.) ดังนั้นบริษทั ท่ีได้รบั การยกเว้นหรอื ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เง่ือนไข และวิธกี ารท่คี ณะกรรมการ
กำกับตลาดทุนประกาศ สามารถออกขายหุ้นกู้และออกหนังสือชี้ชวนได้ การชำระค่าหุ้นของบริษัท
จำกัดแบ่งชำระได้ แต่การชำระคร้ังแรกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 สำหรับเร่ืองความรับผิดชอบในการ
บริหารงานเป็นหน้าท่ีของคณะกรรมการ ท้ังน้ีคณะกรรมการมีจำนวนกี่คนก็ได้ อาจแต่งต้ังกรรมการ
คนใดคนหน่ึงให้เป็นกรรมการผู้จัดการ (managing director) หรือไม่แต่งตั้งก็ได้ เนื่องจากตำแหน่ง
ดงั กลา่ วไมไ่ ด้กำหนดโดยกฎหมาย นอกจากนี้ทีป่ ระชุมใหญผ่ ถู้ ือหุ้นเป็นผู้กำหนดนโยบายบรษิ ทั มสี ทิ ธิ
แต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการได้ ในการต้ังช่ือต้องมีคำวา่ "บรษิ ัท" นำหน้าชือ่ และ คำว่า "จำกัด"
ต่อท้าย เช่น บรษิ ทั เอบีซี จำกัด

3.2 บริษัทมหาชนจำกัด (public company limited: Pcl/ PCL) องค์การธุรกิจ
รปู แบบน้ีจัดต้ังขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มีสถานะเป็นนิติบุคคล โดยมี
ผู้ก่อต้ังเร่ิมต้น 15 คนขึ้นไป และมีจำนวนผู้ถือหุ้น 100 คนข้ึนไป และต้องมีผู้ถือหุ้นรายย่อยถือหุ้น
อย่างน้อยรอ้ ยละ 50 ของทุนจดทะเบียน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยูภ่ ายในราชอาณาจักร ทุนจดทะเบียน
ไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท ไม่มีข้อกำหนดมูลค่าหุ้นขั้นต่ำ ระดมเงินทุนด้วยการออกหุ้นทุน (capital
stock) และหุ้นกู้ (debenture) โดยเปิดจองหุ้นผ่านบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หรือธนาคาร การชำระ
ค่าหุ้นเพียงครั้งเดียวเต็มจำนวน อีกทั้งสามารถออกหนังสือชี้ชวนเพ่ือเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชน
ท่ัวไปได้ สำหรบั เร่ืองความรับผิดชอบในการบริหารงาน เป็นหนา้ ท่ีของคณะกรรมการซ่ึงต้องมจี ำนวน
ไมน่ ้อยกวา่ 5 คน และกรรมการไม่นอ้ ยกวา่ ก่ึงหนึง่ ต้องมีท่ีอย่ใู นประเทศไทย นอกจากนี้ทีป่ ระชุมใหญ่
ผถู้ ือหุ้นเป็นผู้กำหนดนโยบายบริษัท ตลอดจนมีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการได้ การเรียกช่ือ
มีคำว่า “บริษัท” นำหน้าช่ือและต่อท้ายด้วยคำว่า “จำกัด (มหาชน)” หรือใช้อักษรย่อ บมจ. เช่น
บรษิ ัทเอบีซี จำกัด (มหาชน) หรอื บมจ.เอบซี ี

การจดทะเบียนธุรกิจรูปแบบบริษัท ทำให้เกิดตราสารทางการเงินได้แก่ หุ้นทุนและ
หุ้นกู้ ซึ่งสรปุ รายละเอียดพอสงั เขปเป็นแนวทางการศกึ ษาดังน้ี

หุ้นทุนและหุ้นกู้ คือตราสารทางการเงินซ่ึงบริษัทเอกชนจัดทำออกมาจำหน่ายเพ่ือ
ระดมเงนิ ทุนสำหรับการดำเนินธรุ กิจ มีรายละเอียดดงั นี้ (ตลาดหลักทรพั ย์แห่งประเทศไทย, ม.ป.ป.)

1. หุ้นทุน (capital stock) การระดมเงินทุนโดยออกขายหุ้นประเภทนี้ทำได้ทั้ง
บริษัทจำกัด และบรษิ ัทมหาชนจำกัด หุ้นทุนเป็นตราสารทุนโดยผู้ถอื ห้นุ ทุนมีสิทธิร่วมหรือมีฐานะเป็น
เจ้าของบริษัท รวมท้ังมีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของกิจการ มีโอกาสได้รับ
ผลตอบแทนเป็นเงนิ ปันผล (dividend) ทั้งน้ีการตดั สินใจจา่ ยเงนิ ปันผลข้ึนอยู่กบั ผลกำไรและขอ้ ตกลง
ของธรุ กจิ นัน้ ๆ หุ้นทุนแบง่ ออกไดเ้ ป็น 2 ชนิด ดงั รายละเอยี ด

1.1 หุ้นสามัญ (common stock) ผู้ถือหุ้นประเภทนี้มีสิทธิในการออกเสียงหรือ
ลงมตใิ นทีป่ ระชมุ ผถู้ ือหุน้ ตามสดั ส่วนของหุน้ ท่ีถือครองอยู่

1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (preferred stock) ผู้ถือหุ้นประเภทน้ีไม่มีสิทธิในการออก
เสียงหรือลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นท่ีถือครองอยู่ แต่จะได้รับสิทธิในการชำระคืน
เงินทนุ ก่อนผถู้ อื หนุ้ สามัญในกรณีท่ีบรษิ ทั เลกิ กจิ การ

23

2. หุ้นกู้ (corporate bond) การระดมเงินทุนโดยออกขายหุ้นประเภทนี้ ส่วนใหญ่
ดำเนินการโดยบริษัทมหาชนจำกัด แต่บริษัทจำกัดสามารถดำเนินการได้หากได้รับการยกเว้นหรือ
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการท่ีคณะกรรมการกำกบั ตลาดทนุ ประกาศ ผู้ที่ถือหุ้นกู้ มีฐานะ
เป็นเจ้าหนี้ของบรษิ ัท เพราะหุ้นกู้เป็นตราสารหนี้การกู้เงินระยะยาวอายุ 1 ปีข้ึนไปจากประชาชน ดังนั้น
บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ มีข้อผกู พันตามกฎหมายท่ีต้องชำระดอกเบ้ยี ตามอัตราท่ีแน่นอนในระยะเวลาท่ีกำหนด
ถึงแม้ว่าบริษัทขาดทุนก็ตาม และชำระเงินต้นเม่ือครบกำหนดไถ่ถอน (maturity date) ให้แก่ประชาชน
ผู้ซ้ือหุ้นกู้ ในกรณีบริษัทเลิกกิจการ การขายทรัพย์สินเพ่ือชำระหน้ี ผู้ถือหุ้นกู้จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้
เป็นลำดับแรกกอ่ นผู้ถือหนุ้ บุริมสิทธิและหนุ้ สามัญ อนงึ่ คำว่า bond นิยมใชส้ ำหรับหนุ้ ก้ทู ่ีมีหลักทรัพย์
ค้ำประกัน และใชค้ ำว่า debenture สำหรบั ห้นุ กทู้ ี่ไมม่ หี ลกั ทรัพย์คำ้ ประกัน

การจดั ตัง้ และเลกิ ธรุ กจิ รปู แบบบรษิ ัทจำกดั
1. การจัดตั้ง ธุรกิจรูปแบบบริษัทมีขนั้ ตอนและรายละเอียดต่างๆ ในการจัดต้ัง ดังนี้
(กรมพัฒนาธรุ กจิ การคา้ , ม.ป.ป.)

1.1 การจดทะเบยี นหนงั สอื บรคิ นหส์ นธแิ ละจดทะเบียนจดั ตงั้ บรษิ ทั
1.1.1 คณะผู้ก่อการประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย 3 คน ร่วมกันจัดทำหนังสือ

บริคณห์สนธิ (memorandum of association) ซ่ึงมีรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อบริษัท สถานท่ีตั้ง
วัตถปุ ระสงค์ อาชีพผ้กู ่อการ ทนุ จดทะเบียนซง่ึ ต้องแสดงชนดิ จำนวนและมลู ค่าห้นุ ช่อื วนั เดือนปีเกิด
สัญชาติ ที่อยู่ จำนวนหุ้นของผู้ก่อการและลงลายมือช่ือ แล้วดำเนินการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์
สนธิ และจองชือ่ นติ ิบคุ คล

1.1.2 จดั ให้มีผ้เู ขา้ ชอื่ ซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุน้ ทีบ่ รษิ ทั จะจดทะเบียน
1.1.3 ประชุมจดั ตั้งบริษัท ในที่ประชมุ จะต้องเลือกต้ังกรรมการบริหารบริษัท
อยา่ งน้อย 1 คน และกำหนดอำนาจหน้าท่ีของกรรมการในการกระทำการแทนบริษัท และดำเนนิ การ
เรียกเกบ็ คา่ หุ้นคร้งั แรกอยา่ งนอ้ ยรอ้ ยละ 25 ของมูลคา่ ห้นุ
1.1.4 ผกู้ อ่ การมอบกิจการทั้งปวงใหแ้ กก่ รรมการบริษัทดำเนินการ
1.1.5 จดทะเบียนจัดต้งั บริษัทจำกัดเพ่อื ให้มสี ภาพเป็นนติ บิ ุคคลตามกฎหมาย
ภายใน 3 เดอื น นับจากวนั ประชมุ จัดตงั้ บริษัทจำกดั
ทั้งน้ีการจดทะเบียนหนังสือบริคนห์สนธิ การจดทะเบียนจัดต้ังบริษัทจำกัด
จองช่ือนิติบุคคล ณ หน่วยงานในสังกัดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ซึ่งตั้งอยู่ในทุก
จงั หวัด
1.2 จดทะเบยี นพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นบั แต่วนั เรม่ิ ประกอบธรุ กิจ
1.3 ขอใบอนุญาตตา่ ง ๆ ทจี่ ำเปน็ ตอ่ ธรุ กิจจากหนว่ ยงานภาครัฐท่ีเก่ียวขอ้ ง
1.4 ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรภายใน 60 วัน นับต้ังแต่วันที่มีเงินได้
พึงประเมนิ โดยย่นื แบบคำรอ้ ง ณ สำนักงานสรรพากรพ้ืนท่ีในท้องทีท่ ี่กิจการตั้งอยู่
1.5 จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากกิจการมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ
เกนิ กวา่ 1.8 ลา้ นบาทต่อปี

24

หากระหว่างดำเนินธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงรายการใด ๆ จากท่ีจดทะเบียน
ตอ้ งขอจดทะเบียนเปล่ยี นแปลงรายการจดทะเบียนจัดตงั้ และรายการจดทะเบยี นพาณชิ ย์

2. การเลิก ธุรกิจรูปแบบบริษัทจำกัด มีข้ันตอนและรายละเอียดในการเลิกกิจการ
ดงั น้ี (กรมพฒั นาธุรกจิ การคา้ , ม.ป.ป.)

2.1 จดทะเบียนเลกิ บรษิ ทั จำกัด
2.1.1 ออกหนังสือนัดประชมุ ผูถ้ ือหุ้นกอ่ นวันประชมุ ไม่นอ้ ยกวา่ 14 วัน
2.1.2 จัดประชุมใหญ่ผ้ถู อื หุ้นเพอ่ื ลงมตเิ ลกิ บริษัท ต้ังผ้ชู ำระบัญชแี ละผู้สอบ

บัญชี
2.1.3 จดทะเบียนเลิกบริษัทและอำนาจผู้ชำระบัญชีภายใน 14 วัน นับจาก

วันท่ีมมี ติเลกิ กจิ การ
2.1.4 ประกาศเลิกบริษัทในหนังสือพิมพ์ท้องท่ีอย่างน้อย 1 วัน และส่งคำ

บอกกลา่ วแจง้ ลกู หนแี้ ละเจา้ หนี้ (ถา้ ม)ี ภายใน 14 วนั นบั จากวันที่มมี ติเลกิ กจิ การ
2.1.5 จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท หรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียน

เลกิ โดยใหผ้ ู้ตรวจสอบบญั ชีไดต้ รวจสอบและลงความเห็นวา่ ถกู ตอ้ ง
2.1.6 ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องท่ี

และส่งทางไปรษณยี ต์ อบรบั หรอื ส่งถึงตัวผูถ้ ือหุน้ ก่อนการประชุมไมน่ ้อยกวา่ 7 วนั
2.1.7 จัดประชมุ ผ้ถู ือห้นุ เพ่ืออนมุ ัตงิ บการเงนิ และอนุมัติการชำระบัญชี
2.1.8 จัดทำคำขอและยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วัน

นับจากวันท่ีประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการชำระบัญชี ถ้าหากไม่สามารถชำระบัญชีเสร็จภายใน 3 เดือน
นบั จากวนั จดทะเบยี นเลกิ บรษิ ทั ผู้ชำระบญั ชตี ้องรายงานการชำระบัญชแี ก่นายทะเบียนทุก 3 เดือน

2.2 จดทะเบียนเลกิ พาณิชยกิจ

การจดั ต้ังและเลิกธรุ กจิ รปู แบบบรษิ ทั มหาชนจำกัด
1. การจัดต้งั ธุรกิจรปู แบบบรษิ ัทมหาชนจำกัดมีข้ันตอนและรายละเอียดในการจดั ต้ัง
ดงั น้ี (กรมพฒั นาธุรกิจการค้า, ม.ป.ป.)

1.1 การจดทะเบยี นหนังสือบริคนห์สนธิและจดทะเบยี นจัดตง้ั บริษัท
1.1.1 คณะผู้ก่อการประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย 15 คน ร่วมกันจัดทำ

หนงั สอื บริคณหส์ นธิ แลว้ ดำเนนิ การจดทะเบียนหนงั สือบริคณห์สนธิ และจองชอ่ื นติ ิบุคคล
1.1.2 เสนอขายหุ้น โดยเสนอขายหุ้นทั้งหมดต่อผู้เร่ิมก่อการ หรือเสนอขาย

หุ้นต่อประชาชน ในกรณีนี้ต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เม่ือส่งเอกสารเสนอขายหุ้นท่ียนื่ ตอ่ สำนักงาน ก.ล.ต. แลว้ ต้องส่งเอกสารดังกล่าว
ให้นายทะเบยี นจดทะเบยี นจัดต้งั บริษัทภายใน 15 วนั

1.1.3 นัดผู้จองหุ้นประชุมจัดตั้งบริษัทภายใน 2 เดือน นับต้ังแต่จองซ้ือหุ้น
ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหนังสอื ช้ีชวน และไมเ่ กนิ 6 เดือน นับแต่วนั ที่นายทะเบียนรับจดหนังสือ
บริคณห์สนธิ ท้ังน้ีต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้จองหุ้นไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนการประชุม และส่ง
หนังสอื นัดประชุมไปยังนายทะเบยี นไม่น้อยกว่า 7 วันกอ่ นวนั ประชุม

25

1.1.4 ประชุมจัดต้ังบริษัท ในการประชุมต้องมีระเบียบวาระท่ีเกี่ยวกับการ
พจิ ารณาข้อบังคับ การให้สัตยาบนั แก่กิจการและอนุมตั ิค่าใช้จา่ ยจดั ตง้ั บริษทั กำหนดเงนิ ท่ีจะใหแ้ ก่ผู้เร่ิม
จัดต้ังถ้าระบุไว้ในหนังสือช้ีชวน กำหนดลักษณะและจำนวนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ (ถ้ามี) เลือกตั้ง
กรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการ เลอื กตง้ั ผูส้ อบบัญชีและกำหนดจำนวนเงนิ สอบบญั ชี

1.1.5 ผู้ก่อการต้องมอบงานแก่คณะกรรมการที่ได้รับการคัดเลือกภายใน 7 วัน
1.1.6 คณะกรรมการเรียกใหผ้ ู้จองห้นุ ชำระเงินเต็มจำนวน และยน่ื จดทะเบียน
จัดต้ังบริษัทภายใน 3 เดอื นนับแต่วนั ประชมุ จดั ตงั้ บริษทั
การจดทะเบียนหนงั สือบริคนหส์ นธิ การจดทะเบยี นจดั ตั้งบรษิ ัทจำกดั และ
การจองชื่อนิติบุคคล ดำเนินการ ณ หน่วยงานในสังกัดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ซง่ึ ตง้ั อยใู่ นทกุ จงั หวดั ทว่ั ประเทศ
1.2 จดทะเบยี นพาณชิ ย์ภายใน 30 วนั นับแตว่ ันเริม่ ประกอบธุรกจิ
1.3 ขอใบอนญุ าตตา่ ง ๆ ท่ีจำเปน็ ต่อธรุ กิจจากหนว่ ยงานภาครฐั ทีเ่ กีย่ วข้อง
1.4 ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่มีเงินได้พึง
ประเมิน โดยยื่นแบบคำร้อง ณ สำนกั งานสรรพากรพ้ืนท่ใี นทอ้ งทีท่ ีก่ จิ การต้งั อยู่
1.5 จดทะเบียนภาษีมลู คา่ เพิม่
หากระหว่างดำเนินธุรกิจเกิดการเปล่ียนแปลงรายการใด ๆ จากท่ีจดทะเบียน
ตอ้ งขอจดทะเบียนเปลยี่ นแปลงรายการจดทะเบยี นจัดต้งั และรายการจดทะเบยี นพาณิชย์
การจัดต้ังบริษัทมหาชน จำกัด นอกจากเร่ิมต้นโดยการร่วมกันดำเนินการของ
บุคคล 15 คนขึ้นไป อาจมาจากการแปรสภาพจากบริษัทจำกัด หรือการควบบริษัทมหาชน 2 บริษัท
ขน้ึ ไป หรอื บรษิ ัทมหาชน กับบริษัทจำกัด (พรรณุภา ธุวนิมติ รกลุ , 2558, หน้า 18)
2. การเลิก ธุรกิจรูปแบบบริษัทมหาชนจำกัด มีข้ันตอนและรายละเอียดต่าง ๆ ใน
การเลิกกิจการ ดังน้ี (กรมพฒั นาธรุ กิจการคา้ , ม.ป.ป.)
2.1. จดทะเบยี นเลกิ บริษัทมหาชนจำกดั
2.1.1 ออกหนังสอื นัดประชุมผู้ถือหุน้ กอ่ นวันประชมุ ไมน่ อ้ ยกวา่ 7 วนั
2.1.2 จัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมตเิ ลกิ บรษิ ทั ตั้งผู้ชำระและผู้สอบบญั ชี
2.1.3 จดทะเบียนเลิกบริษัทและอำนาจผู้ชำระบัญชี ภายใน 7 วัน นับจาก
วันท่ีมมี ติเลิกกิจการ
2.1.4 ประกาศเลิกบริษัทในหนังสือพิมพ์ท้องท่ีอย่างน้อย 3 วัน และส่งคำ
บอกกลา่ วแจ้งลกู หน้แี ละเจา้ หนี้ (ถา้ มี) ภายใน 1 เดอื นนับจากวันท่ีมีมติเลกิ กิจการ
2.1.5 จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท หรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียน
เลิก โดยใหผ้ ้ตู รวจสอบบญั ชีไดต้ รวจสอบและลงความเห็นว่าถูกตอ้ ง
2.1.6 ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่
และสง่ ทางไปรษณียต์ อบรับหรอื ส่งถงึ ตัวผูถ้ ือหุ้น ก่อนการประชมุ ไม่น้อยกว่า 7 วัน
2.1.7 จดั ประชุมผู้ถอื หนุ้ เพ่ืออนุมัตงิ บการเงนิ และอนมุ ัติการชำระบัญชี

26

2.1.8 จดั ทำคำขอและยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชภี ายใน 14 วัน นับ
จากวันที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการชำระบัญชี ทั้งน้ีผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการชำระบัญชีภายใน 5 ปี
นบั แต่วันจดทะเบียนเลิกบรษิ ทั

2.2 จดทะเบียนเลิกพาณชิ ยกิจ

ข้อดแี ละข้อเสยี ของบริษทั

รูปแบบองค์การธรุ กิจแบบบรษิ ัทมขี ้อดแี ละข้อเสีย ดังแสดงในตารางท่ี 1.6

ตารางท่ี 1.6 ข้อดแี ละขอ้ เสยี ของบรษิ ัท

ขอ้ ดี ขอ้ เสยี

1. สามารถระดมเงินทุนได้มาก โดยการออกขาย 1. การจัดต้ังและเลิกกจิ การมีขนั้ ตอนตาม

หนุ้ ให้กับผทู้ ่ีสนใจ ยงิ่ ถ้าเปน็ บริษทั มหาชนจำกดั กฎหมายที่ยุ่งยากกว่าองค์การธุรกิจรปู แบบ

สามารถทำหนงั สือชชี้ วนการออกขายหนุ้ แก่ กจิ การเจ้าของคนเดยี วและห้างหุ้นส่วน

ประชาชนท่ัวไปได้ หรือจัดหาเงนิ ทุนโดยกยู้ ืมจาก 2. มขี ้อบังคบั ทางกฎหมายมากกว่าองคก์ าร

สถาบันการเงิน ซงึ่ จะไดร้ บั ความเชอื่ ถือมากกวา่ ธรุ กิจรูปแบบกจิ การเจ้าของคนเดียว และ

องค์การธุรกิจรปู แบบอ่ืน หา้ งหนุ้ ส่วน

2. การดำเนนิ งานของกจิ การมีความต่อเน่ือง 3. ต้นทุนการดำเนินงานสงู กว่าองค์การธรุ กจิ

และอายุกิจการมกั ยาวนาน ไมต่ ้องเลิกกจิ การ รปู แบบอื่น

แม้มีเหตทุ ำให้ผู้ถือหนุ้ ไมส่ ามารถถือหนุ้ ต่อไปได้ 4. การเสียภาษคี ่อนขา้ งสูงกวา่ องค์การธุรกิจ

อกี ท้ังหุน้ สามารถโอนขายเปล่ียนมือได้ รูปแบบอืน่

3. ผู้ถือหุ้นรับผดิ ชอบเฉพาะมูลคา่ หุ้นสว่ นทีย่ ัง 5. เสียภาษซี ้ำซอ้ นทั้งในสว่ นภาษเี งนิ ไดบ้ ุคคล

ชำระคา่ หนุ้ ไมค่ รบเทา่ นั้น โดยไม่ต้องรับผิดชอบ ธรรมดาจากรายได้ทลี่ งทนุ ในบรษิ ัท และต้อง

ต่อหน้ีสินใด ๆ เสยี ภาษเี งนิ ได้นติ ิบุคคลจากกำไรของบรษิ ัท

4. สถานะของของบรษิ ัทเป็นนติ ิบุคคล ทรพั ยส์ นิ 6. ไมส่ ามารถรักษาความลบั ของกจิ การได้

ของผถู้ ือหุ้นแยกจากทรัพย์สินของธุรกิจ ทำให้

เจา้ หนีไ้ ม่สามารถเรยี กร้องใช้หน้จี ากทรพั ย์สิน

ส่วนตัวได้ หากทรพั ย์สินของธุรกจิ ไมเ่ พียงพอ

ชำระหนี้

5. สามารถสรรหาและคัดเลือกผทู้ ม่ี คี วามรู้

ความสามารถ และมีประสบการณ์ ได้เข้ามา

ทำงานใหก้ ับธรุ กิจ

6. ไดร้ บั ความเชือ่ ถือและมีภาพลักษณ์ท่ดี ีกว่า

องค์การธรุ กิจรปู แบบอ่นื เนื่องจากมีกฎหมาย

ควบคุมการบริหารงาน

โดยสรุปรูปแบบองค์การธุรกิจมีทั้งหมด 7 รูปแบบ ดังรายละเอียด กรณีไม่เป็นนิติบุคคล
ได้แก่ 1) กิจการเจ้าของคนเดียว 2) ห้างหุ้นส่วนสามัญ กรณีเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนจัดต้ังข้ึนตาม

27

กฎหมาย ได้แก่ 3) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 4) ห้างหุ้นส่วนจำกัด 5) บริษัทจำกัด 6) บริษัทมหาชน
จำกัด 7) องค์การธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ อย่างไรก็ดีการเร่ิมต้นจัดตั้งธุรกิจ
โดยทั่วไปจะเป็น 6 แบบแรก เพราะแบบท่ี 7 เป็นลักษณะการรวมกลุ่มกิจการ ทั้งนี้แต่ละรูปแบบมีความ
แตกต่างตั้งแต่ลักษณะการระดมเงินทุนเพื่อเริ่มกิจการ ขั้นตอนการจัดต้ังหรือเลิกกิจการ สถานะทาง
กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของภาครัฐท่ีเก่ียวข้อง การจัดสรรผลตอบแทน ความรับผิดชอบในหน้ีสิน
รวมทั้งลักษณะการบริหารงานภายในธุรกิจ ดังนั้นรูปแบบองค์การท่ีเหมาะสมจึงมีความสำคัญต่อการ
ดำเนนิ งานธรุ กิจ

การจดทะเบียนพาณิชย์

ผู้ประกอบการไม่ว่าจะจัดตั้งองค์การธุรกิจเป็นแบบใด ต้องพิจารณาว่าประเภทธุรกิจซ่ึง
ประกอบการน้ันเข้าข่ายการจดทะเบียนพาณิชย์ (commercial registration) ตามพระราชบัญญัติ
ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 หรือไม่ โดยรายละเอียดกิจการซึ่งต้องจดทะเบียนและระยะเวลาการจด
ทะเบียนพาณิชย์ ตลอดจนหน้าท่ีของผู้ประกอบพาณิชยกิจ มีดังน้ี (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ม.ป.ป.,
หนา้ 1; กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2553, หน้า 1-3)

กจิ การค้าท่ีเป็นพาณิชยกิจตอ้ งจดทะเบียนพาณิชย์
กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย
ต่างประเทศทีม่ าตง้ั สำนกั งานสาขาในประเทศไทย ซงึ่ ประกอบกจิ การดังตอ่ ไปน้ี
1. ผู้ประกอบกจิ การโรงสีข้าวและโรงเลอ่ื ยทใ่ี ชเ้ ครื่องจกั ร
2. ผปู้ ระกอบกิจการขายสนิ ค้าอยา่ งเดียวหรอื หลายอย่าง คิดรวมทั้งส้ินในวันหน่ึงขายได้
เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทข้ึนไป หรือมสี ินคา้ ดังกลา่ วไว้เพ่ือขายมีค่ารวม 500 บาทขนึ้ ไป
3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าซ่ึงทำการเกี่ยวกับสนิ ค้าอย่างเดียวหรือหลายอยา่ งก็ตาม และ
สินค้าน้ันมีค่ารวมทัง้ สน้ิ ในวันหน่งึ วันใดเป็นเงนิ ต้ังแต่ 20 บาทขึน้ ไป
4. ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าผลิตอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็
ตาม และขายสนิ ค้าทผี่ ลิตได้คิดราคารวมท้ังสิน้ ในวันหนึง่ วันใดเปน็ เงนิ ตั้งแต่ 20 บาทขน้ึ ไป หรือในวัน
หน่งึ วนั ใดมีสินค้าทีผ่ ลิตได้มีราคารวมทงั้ ส้นิ ตัง้ แต่ 500 บาทขึน้ ไป
5. ผปู้ ระกอบกจิ การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรอื เรือยนต์ประจำทาง การ
ขนส่งโดยรถไฟ รถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายท่ีดิน การ
ให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายต๋ัวเงิน การธนาคาร การ
โพยก๊วน (การคดิ ค่านายหน้ารบั ฝากแลกเปล่ยี นเงินตราต่างประเทศ) การทำโรงรับจำนำ และโรงแรม
กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย
ต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
บริษทั จำกัด และบริษทั มหาชนจำกดั ซึ่งประกอบกจิ การดงั ต่อไปน้ี
1. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรบั จา้ งผลติ แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทศั น์ แผ่นวีดที ัศน์ ดีวีดี หรือ
แผน่ วีดที ศั น์ระบบดจิ ิทลั เฉพาะท่ีเกี่ยวกับการบนั เทิง
2. ขายอัญมณี หรือเครอ่ื งประดับซ่งึ ประดบั ด้วยอัญมณี
3. ซ้ือขายสินค้าหรอื บริการโดยวธิ ีการใชส้ ่อื อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือขา่ ยอินเทอร์เน็ต

28

4. บรกิ ารอนิ เทอร์เนต็
5. ใหเ้ ช่าพื้นทีข่ องเครื่องคอมพวิ เตอร์แมข่ า่ ย
6. บริการเป็นตลาดกลางในการซือ้ ขายสนิ ค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้ส่ืออิเลก็ ทรอนิกส์
ผา่ นระบบเครือข่ายอนิ เทอรเ์ น็ต
7. การให้บรกิ ารเครอื่ งคอมพวิ เตอรเ์ พ่ือใช้อนิ เทอร์เน็ต
8. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
9. การให้บรกิ ารเครื่องเลน่ เกม
10. การให้บรกิ ารต้เู พลง
11. โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้าง
และผลติ ภณั ฑ์จากงาช้าง

พาณชิ ยกจิ ท่ไี ด้รบั การยกเวน้ ไมต่ ้องจดทะเบียนพาณิชย์
1. การคา้ เร่ การค้าแผงลอย
2. พาณชิ ยกิจเพอ่ื การบำรงุ ศาสนาหรือเพ่ือการกุศล
3. พาณชิ ยกจิ ของนิติบคุ คลซง่ึ ไดม้ ีพระราชบัญญตั ิ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดต้งั ขึ้น
4. พาณิชยกจิ ของกระทรวง ทบวง กรม
5. พาณชิ ยกจิ ของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
6. พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตามประกาศของคณะปฏิวัติ (ปว.141)
ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
อยา่ งไรก็ดีหากผู้ประกอบพาณิชยกิจเปน็ คนต่างด้าว หรือนิติบุคคลท่ีตั้งขน้ึ ตามกฎหมาย
ต่างประเทศท่ีมาต้ังสำนักงานสาขาในประเทศไทย ก่อนท่ีผู้ประกอบการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ควร
ตรวจสอบดูวา่ กิจการค้าที่ดำเนินการนัน้ ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคน
ต่างด้าว พ.ศ. 2542 หรือไม่

สถานทแ่ี ละระยะเวลาการจดทะเบียนพาณชิ ย์
ธุรกิจที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ย่ืนจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงาน
เศรษฐกจิ การคลัง สำนกั การคลัง หรือสำนกั งานเขตในทอ้ งที่ซึง่ เป็นที่ตั้งธุรกิจ ส่วนธุรกิจท่ีมีสำนกั งาน
ใหญ่อยู่ในภูมิภาคให้ย่ืนจดทะเบียนพาณิชย์ได้ท่ีเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมือง
พัทยา แล้วแตก่ รณตี ามท่ีต้งั สถานประกอบการ ส่วนระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์ตอ้ งดำเนินการ
ภายใน 30 วัน นับแต่วันเร่ิมประกอบพาณิชยกิจ ทั้งน้ีหากเปล่ียนแปลงรายการจดทะเบียน ใบทะเบียน
พาณิชยส์ ูญหาย และเลิกกิจการ ตอ้ งดำเนินการภายใน 30 วนั นบั แตว่ นั ที่เกิดเหตุดังกลา่ ว

29

ภาพท่ี 1.1 ตวั อยา่ งใบทะเบยี นพาณิชย์
หนา้ ท่ขี องผปู้ ระกอบพาณิชยกิจ
1. ต้องขอจดทะเบยี นต่อนายทะเบียนภายใน 30 วนั นับแตว่ ันท่ีเริ่มประกอบพาณิชยกจิ

หรอื เปลีย่ นแปลงรายการใด หรอื เลิกกจิ การ
2. ตอ้ งแสดงใบทะเบียนพาณชิ ย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณชิ ย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผย

และเห็นได้งา่ ย
3. ต้องจัดให้มีป้ายช่ือที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และ

สำนักงานสาขาโดยเปิดเผยภายในเวลา 30 วัน นับแต่วันท่ีจดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็น
อักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับช่ือท่ีจด
ทะเบียนไว้ หากเปน็ สำนักงานสาขาจะตอ้ งมีคำวา่ "สาขา" ไว้ดว้ ย

4. ตอ้ งยน่ื คำขอใบแทนใบทะเบยี นพาณิชยภ์ ายใน 30 วนั นับแต่วนั ทีส่ ญู หายหรือชำรดุ
5. ต้องไปใหข้ ้อเท็จจรงิ เกย่ี วกบั รายการจดทะเบยี นตามคำสั่งของนายทะเบยี น
6. ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซ่ึงเข้าทำการตรวจสอบ
ในสำนกั งานของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
ทั้งน้ีหากไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้น แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้
พนกั งานเจา้ หน้าท่เี ขา้ ไปตรวจสอบในสำนักงาน มคี วามผิดต้องระวางโทษปรบั ตามที่กฎหมายกำหนด

30

ดังน้ันการประกอบธุรกิจไม่ว่ามีรูปแบบธุรกิจแบบกิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน
สามัญ หุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดและนิติบุคคลที่
ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย หากธุรกิจท่ีประกอบการเข้า
ข่ายจดทะเบียนพาณิชย์ ต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ตามระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้งหาก
เปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน หรือเลิกประกอบกิจการ ต้องดำเนินการจดทะเบียนในเรอื่ งดงั กลา่ ว
ตามระยะเวลาที่กำหนด ท่ีสำคัญต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจท่ีมีทะเบียนพาณิชย์
เช่น การจัดทำป้ายชื่อร้าน การแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ ฯลฯ เพื่อให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่าง
ถูกต้องตามกฎหมาย

สภาพแวดล้อมทางธรุ กิจ

องค์การธุรกิจทุกแห่งไม่ว่าจะประกอบธุรกิจประเภทใด มีขนาดเล็กใหญ่แค่ไหน จะเป็น
ลักษณะวิสาหกิจชมุ ชน วิสาหกิจเริม่ ตน้ วิสาหกจิ เพ่ือสงั คม หรอื แม้ว่าจะมีรูปแบบองค์การธุรกิจแบบใด
ล้วนต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อย่างหลีกเล่ียงไม่ได้ เพียงแต่ว่าลักษณะสภาพแวดล้อมทาง
ธุรกิจที่เกิดขึ้นประเด็นใดมีอิทธิพลและมีระดับอิทธิพลมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ ดังนั้น
ธุรกิจจะประสบกับความสำเร็จหรือความล้มเหลวส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อม การศึกษา
และทำความเขา้ ใจเกี่ยวกบั สภาพแวดลอ้ มทางธุรกิจ จึงเป็นเร่อื งจำเปน็ ทผ่ี ู้ประกอบการธรุ กจิ มองขา้ ม
ไปไม่ได้ แม้ว่าสภาพแวดล้อมบางประการจะอยู่เหนืออำนาจของผู้ประกอบการที่จะไปควบคุมก็ตาม
แต่สงิ่ สำคัญทีส่ ุดคือต้องทำให้องคก์ ารธุรกิจสามารถปรับตัวได้ทัน และสามารถรับมอื กบั สภาพแวดล้อม
ท่ีเกิดข้ึนในลักษณะที่มีความพลวัต (dynamic) คือ ไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเน่ือง รวดเร็ว มีความ
สลับซบั ซ้อน เพื่อนำพาให้ธุรกจิ อยู่รอดไดอ้ ย่างมัน่ คงและเติบโตกา้ วหนา้ ต่อไป

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (business environment) หมายถึง ปัจจัยในด้านต่าง ๆ
ทั้งภายในและภายนอกองค์การ ซ่ึงมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการองค์การธุรกิจ เป็นสิ่งท่ีมีความ
จำเป็นท่ีผู้บริหารต้องนำมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และเป้าหมายธุรกิจ
เพ่อื เสรมิ สร้างธุรกิจให้มีศักยภาพทางการแข่งขันอย่างยง่ั ยืนมากยงิ่ ข้นึ (บุณฑวรรณ วิงวอน, 2556, หน้า
27) กล่าวได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเป็นพลังและแรงกดดันต่าง ๆ ท่ีส่งผลกระทบต่อการจัดการ
ขององค์การ ซึ่งนำมาซึ่งความสำเร็จและความล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยท่ีผู้บริหาร
ต้องพิจารณาถึงสภาวะแวดล้อมท่ีมีผลกระทบต่อการตัดสินใจและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ (ชนินทร์
ชุณหพันธรักษ์, 2559, หน้า 2-14) นอกจากน้ีอธิบายได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจคือปจั จัยแวดล้อม
ท่ีส่งผลในทางท่ีช่วยเหลือ หรือในทางท่ีเป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาธุรกิจ (Nickels, McHugh, &
McHugh, 2012, p.11) หรือส่ิงใด ๆ ที่รายรอบองค์การธุรกิจ และมีผลต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
กระบวนการ และผลการดำเนนิ งานของธุรกจิ (Eruemegbe, 2015, p.479) สรุปได้วา่ สภาพแวดล้อม
ทางธุรกิจ คือ สิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและส่งผลกระทบในทางส่งเสริมหรือขัดขวางการ
ดำเนนิ ขององค์การธุรกจิ

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายใน และสภาพ
แวดลอ้ มภายนอก ดังรายละเอยี ด

31

1. สภาพแวดล้อมภายใน (internal environment) คือ ส่ิงต่างๆ หรือสภาพการณ์ซ่ึง
เกิดขึ้นภายในองค์การและส่งผลต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้ทำหน้าที่
บริหารธุรกิจสามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนได้ ถ้าหากวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในจะทำให้ทราบว่า
การดำเนินธุรกิจมีจุดแข็ง (strengths) หรือมีจุดอ่อน (weaknesses) ในประเด็นใดบ้าง ซ่ึงสามารถ
นำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการดำเนินงาน และการจัดการธุรกิจในเชิงกลยุทธ์ได้อีกด้วย
สภาพแวดลอ้ มภายในธรุ กิจ ประกอบด้วยประเดน็ หลัก ๆ ดังนี้

1.1 ทรัพยากร (resources) หมายถึงส่ิงต่าง ๆ ทั้งท่ีมีชีวิตและไม่มีชีวิตท่ีมีความจำเป็น
และส่งผลตอ่ การดำเนินงานทางธรุ กจิ โดยแบง่ ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1.1.1 ทรัพยากรมนุษย์ (human resources) คือ บุคคลท่ีมีอิทธิพลหรือขับเคลื่อน
งานของธุรกิจ ได้แก่ เจ้าของและผู้ถือหุ้น (owner and shareholder) คือ ผู้ท่ีลงทุนในธุรกิจ ท้ังน้ี
หากเป็นธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว เจ้าของธุรกิจจะมีบทบาทต่อการดำเนินงานในทุก ๆ เรื่องของธุรกิจ
แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่จัดต้ังแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ย่อมมีผู้ถือหุ้นซึ่งมีบทบาทและอำนาจในการแต่งต้ัง
และให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการบริหาร โดยคณะกรรมการบริหาร (board of directors) คือ
กลุ่มคนที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่บริหารกิจการให้ดำเนินไปตามแผน และระมัดระวัง
รักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ จงึ มีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานของธุรกิจ ทรัพยากร
มนุษย์ที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง คือ พนักงาน (employees) ซ่ึงเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานให้กับธุรกิจ เสมือนเป็น
กลไกในการขับเคล่ือนให้กิจกรรมหรืองานต่าง ๆ ของธุรกิจดำเนินไปได้ นอกจากการพิจารณาตัวบุคคล
ยังหมายรวมไปถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ กรอบความคิด พฤติกรรมในการทำงานของ
บุคคลเหล่าน้ี

1.1.2 ทรัพยากรทางกายภาพ (physical resources) คือ สินทรัพย์ท่ีมีคุณค่า
และมีความจำเป็นต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ เช่น เงิน วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เคร่ืองจักร อาคารสถานท่ี
สิง่ อำนวยความสะดวกตา่ ง ๆ ฯลฯ

1.2 โครงสร้างองค์การ (organizational structure) คือ การจัดแบ่งงาน อำนาจ
หน้าท่ี และความรับผิดชอบในตำแหน่งงานต่าง ๆ ขององค์การ รวมท้ังการจัดกลุ่มงาน การแสดง
ความสัมพันธ์ของงาน สายการบังคับบัญชา ขนาดการควบคุม เพื่อรองรับการดำเนินงานตามแผนและ
การควบคุมงานให้บรรลุเป้าหมายองค์การ โครงสร้างองค์การจัดได้ว่าเป็นปัจจัยท่ีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ของคนและกลุ่มคนภายในองค์การ ตลอดจนประสิทธภิ าพและประสทิ ธิผลการดำเนินงานของธรุ กิจ

1.3 วัฒนธรรมองค์การ (organizational culture) คือ ค่านิยม แนวคิด บรรทัดฐาน
แบบแผนการปฏิบัติและการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในองค์การซึ่งสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้นมา แต่ละ
องค์การย่อมมีวัฒนธรรมองค์การแตกต่างกันออกไป วัฒนธรรมองค์การเป็นส่ิงท่ีหล่อหลอมและกำหนด
ทศั นคตแิ ละพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ

1.4 การจัดการธุรกิจ (business management) คือกระบวนการในการดำเนินงาน
ตามหน้าท่ีงาน (functions) ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้าน
ทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งด้านการจัดการองค์การไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การนำหรือการ
บังคบั บัญชาสง่ั การของผบู้ ริหาร และการควบคมุ เพื่อใหบ้ รรลุตามเป้าหมาย

32

1.5 ผลติ ภัณฑ์ (product) ผลผลิตตามลักษณะการดำเนินธุรกิจไม่วา่ จะเป็นการผลิต
หรือการจำหน่าย หรือการบริการ ซ่ึงอยู่ในรูปสินค้าหรือการบริการเพื่อจัดจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค
กลุม่ เป้าหมาย

นอกจากนี้สภาพแวดล้อมภายในองค์การ สามารถพิจารณาโดยใช้หลักการต่าง ๆ ซ่ึงเป็น
ท่นี ยิ ม ดังน้ี

มุมมองจากทรัพยากรเป็นฐาน (resource- based view) แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับ
อย่างกว้างขวางในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ เพราะทรัพยากรคือแหล่งท่ีมาของความ
ได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ มุมมองจากฐานทรัพยากรทำให้ผู้บริหารเข้าใจว่ามีทรัพยากรใด
ขององค์การซ่ึงสามารถนำมารวมกันหรือนำไปประยุกต์ใช้ และสร้างความได้เปรยี บทางการแข่งขันได้
อย่างย่ังยืน (Alonso & Bressan, 2016, p.351-352) ทรัพยากร หมายถึงความสามารถ (capabilities)
ความรู้ (knowledge) คุณสมบัติของกิจการ (firm attributes) กระบวนการขององค์การ (organizational
processes) สินทรัพย์ทั้งหมด (all assets) และสารสนเทศ(information) ทั้งน้ีทรัพยากรที่จะก่อให้เกิด
ความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจควรมีคุณสมบัติ 4 ประการ หรือที่เรียก VRIN ได้แก่ 1) มีคุณค่า
(valuable) คอื ทรพั ยากรนั้นสามารถสร้างโอกาส หรือลดปัญหาอุปสรรคทเ่ี กดิ ขึ้นจากสภาพแวดลอ้ ม
ภายนอกองค์การได้ 2) หายาก (rare) คือ คู่แข่งยากท่ีจะมีเหมือน 3) ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
(imperfectly imitable) คู่แข่งลอกเลียนแบบได้ยาก หรือถ้าจะลอกเลียนแบบต้องใช้เงินลงทุนสูง
และ 4) ไม่สามารถหามาทดแทนได้ (non-substitutable resources) คือ ไม่มีทรัพยากรอ่ืนใดท่ีจะหา
มาทดแทนได้เหมือน (Barney, 1991, p.99-120)

โซ่คุณค่าของธุรกิจ (value chain of business) เป็นแนวคิดของ Porter (1985,
p.11-15) ซึ่งอธิบายว่าโซ่คุณค่าของธุรกิจอยู่บนฐานการมองกระบวนการขององค์การไม่ว่าจะเป็นการ
ผลิตหรือการบริการในเชิงระบบท่ีประกอบไปด้วยระบบย่อยของกิจกรรมต่าง ๆ ซ่ึงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ในการสร้างสรรค์คุณค่าต้ังแต่การนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยกิจกรรมภายในโซ่คุณค่าแบ่ง
ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กิจกรรมหลัก (primary activities) และกิจกรรมสนับสนุน (support activities)
โดยกิจกรรมหลักประกอบด้วย 5 กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนำเข้าวัตถุดิบ การผลิต
สินค้าหรือบริการ การนำผลิตภัณฑ์หรือการบริการออกจำหน่าย การตลาดและการขาย รวมทั้งการ
บริการ ส่วนกิจกรรมสนับสนุน ประกอบด้วย 4 กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมการจัดซื้อ การพัฒนา
เทคโนโลยี การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพ้ืนฐานของธุรกิจ เช่น ระบบบัญชีและการเงิน
การบริหารจัดการองค์การ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าคุณค่าเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ซ่ึงสัมพันธ์กันและทำให้
สนิ คา้ หรือบริการมีความแตกต่าง ต้นทุนลดลง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
กล่าวได้ว่าโซ่คุณค่าเป็นกิจกรรมการเพ่ิมคุณค่า ซ่ึงข้ึนอยู่กับกลยุทธ์การกำหนดราคาและโครงสร้าง
ต้นทุน ผปู้ ระกอบการธุรกิจที่เข้าใจความสามารถในการผลิตและความต้องการของลูกค้า คือสิ่งสำคัญ
ท่เี ออื้ ให้กลยุทธ์การแข่งขนั ประสบความสำเรจ็ (Kumar & Rajeev, 2016, pp.74-75)

33

2. สภาพแวดล้อมภายนอก (external environment) คือ สิ่งต่างๆ หรือสภาพการณ์ซ่ึง
เกดิ ข้นึ ภายนอกองค์การธุรกิจ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทางธรุ กจิ ผู้ประกอบการธรุ กิจหรือ
ผู้ทำหน้าที่บริหารธุรกิจไม่สามารถควบคุม แก้ไข และปรับเปลี่ยนได้ ถ้าหากวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ภายนอกทำให้ทราบว่าการดำเนินธุรกิจน้ันมีโอกาส (opportunities) หรือมีอุปสรรค (threats) ใน
ประเด็นใดบ้าง ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่นำมาใช้ประกอบการวางแผนการดำเนินงานและการจัดการ
ธรุ กิจในเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความสอดรับกับการเปล่ียนแปลงที่เกิดข้ึนอย่างต่อเน่ือง
และมีความรวดเร็วได้ สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมท่ัวไป และ
สภาพแวดลอ้ มท่ีเกยี่ วกับงาน ดงั รายละเอยี ดตอ่ ไปนี้

2.1 สภาพแวดล้อมท่ัวไป (general environment) หรือ สภาพแวดล้อมมหภาค
(macro environment) คือ กลุ่มปัจจัยแวดล้อมภายนอกธุรกิจในภาพกว้างซ่ึงส่งผลกระทบต่อการ
ดำเนินงานของธุรกิจไปในระยะยาว สภาพแวดล้อมท่ัวไปจัดแบ่งได้หลายแบบ ในท่ีนี้ขอเสนอตามตัว
แบบ PESTEL ดงั รายละเอยี ดต่อไปนี้

2.1.1 การเมือง (politic: P) ปัจจัยนี้เก่ียวข้องกับนโยบายและการดำเนินงาน
ของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐในระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับท้องถ่ิน ซึ่งส่งผลกระทบกับธุรกิจ
เช่น นโยบายของรัฐบาล การเมืองภายในประเทศและต่างประเทศ เสถียรภาพของรัฐบาล มาตรการ
ตา่ ง ๆ เพ่ือชว่ ยเหลือธุรกิจ ฯลฯ

2.1.2 เศรษฐกิจ (economic: E) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมีผลกระทบ
ต่อธุรกิจ เช่น รายได้ประชากร ค่าครองชพี อัตราดอกเบี้ย อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกจิ อัตรา
แลกเปลยี่ นเงินตราระหวา่ งประเทศ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคคู่ ้า ฯลฯ

2.1.3 สังคมและวัฒนธรรม (social and culture: S) สภาพแวดล้อมด้านนี้
พจิ ารณาท้งั ขอบเขตสังคมในพ้ืนท่ีตง้ั ของธุรกจิ และสังคมในพ้ืนท่ีเปา้ หมายทางการตลาด เชน่ ลกั ษณะ
ทางประชากรของคนในสังคม ลักษณะภูมิศาสตร์ของพ้ืนที่ ค่านยิ ม ทัศนคติ ความเชื่อ รูปแบบการใช้
ชีวติ วถิ ีปฏบิ ตั ิขนบธรรมเนยี ม ประเพณี ฯลฯ

2.1.4 เทคโนโลยี (technology: T) เป็นส่ิงท่ีถูกพัฒนาขึ้นจากหลักการ ความคิด
ความรู้ กระบวนการทางหลักวิทยาศาสตร์ โดยนำมาประยุกต์และเกิดประโยชน์ต่อการนำไปใช้ เช่น
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ เครื่องจักรอัตโนมัติ ฯลฯ หรือเป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ระบบ
กระบวนการต่าง ๆ ฯลฯ

2.1.5 สิ่งแวดลอ้ ม (environment: E) คือ สิ่งทมี่ ีชวี ิตและส่ิงไม่มชี ีวิตที่เกิดข้ึน
ตามธรรมชาติและมีความสมั พันธ์กันเป็นระบบนเิ วศ เชน่ ทรพั ยากรทางธรรมชาติ สภาพดนิ ฟ้าอากาศ
สภาพภูมิประเทศ ฯลฯ

2.1.6 กฎหมาย (Law: L) หมายถึง ระเบยี บขอ้ บังคับต่าง ๆ ของภาครัฐท่ีธุรกิจ
ต้องปฏิบัติตาม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายการจ้างแรงงานต่างด้าว กฎหมายลิขสิทธิ์
กฎหมายภาษอี ากร ฯลฯ

2.2 สภาพแวดล้อมในงาน (task environment) หรือเรียกว่าสภาพแวดล้อมในการ
ดำเนนิ งาน (operation environment) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมระดบั จุลภาค (micro environment)

34

เป็นปัจจัยต่าง ๆ ท่ีส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์การ ดังมีรายละเอียด
ตอ่ ไปนี้

2.2.1 ลูกค้า (customers) คือ บุคคลหรอื กลุ่มบุคคล หรือองค์การอื่น ซึ่งจ่ายเงิน
ซ้อื สินค้าหรือการบริการของธุรกิจทำให้ธุรกิจมีรายได้ ลูกค้าจึงเป็นเป้าหมายท่ีสำคัญของธุรกิจ หากไม่มี
ลูกค้าย่อมทำให้ธุรกิจจำหน่ายสินค้าหรือบริการไม่ได้ นั่นหมายถึงรายได้และผลกำไรที่ลดต่ำลงตามมา
ดังน้ันธุรกิจจึงต้องหาและรักษาลูกค้าไว้ อีกท้ังผู้บริหารธุรกิจต้องศึกษาถึงความคาดหวัง และความ
ตอ้ งการสินคา้ หรอื บรกิ ารหรืออื่น ๆ ของลูกคา้ ท่ีมีต่อธรุ กจิ เพ่ือวางแผนพฒั นาการดำเนินงานใหด้ ียิง่ ข้ึน
การพิจารณาเกี่ยวกับลูกค้าของธุรกิจควรให้ครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ เช่น ลักษณะทางประชากร
จำนวน พฤติกรรมการบรโิ ภค ฯลฯ

2.2.2 ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (suppliers) คือ ผู้ท่ีทำหน้าที่จัดหาและจำหน่าย
วัตถุดิบให้กับองค์การ เพ่ือนำมาใช้ผ่านกระบวนการและทำให้เกิดเป็นผลผลิต คือ สินค้าบริการ
แน่นอนว่าผู้ประกอบการธุรกิจทุกรายย่อมต้องการวัตถุดิบท่ีดีมีคุณภาพและตามปริมาณที่ตรงกับ
ความต้องการ ราคาถูก และจัดส่งตามเวลาที่ต้องการ เพื่อให้มีวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าหรือบริการ
ได้อย่างต่อเนื่อง และลดต้นทุนการผลิต ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยแต่ละองค์การมี
แนวทางการบริหารผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบต่างกัน เช่น ส่ังซื้อจากผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบหลายราย เพ่ือ
เพิ่มอำนาจการต่อรองในการเจรจาธุรกิจ สั่งซอ้ื จากผจู้ ัดจำหนา่ ยรายเดียวเพอื่ เสรมิ สรา้ งความสัมพันธ์
ที่ดี มุ่งหวังทจี่ ะไดว้ ัตถดุ ิบท่มี คี ุณภาพตามทีต่ ้องในราคาพเิ ศษ ฯลฯ

2.2.3 เจ้าหนี้ (creditors) คือ บุคคลหรือองค์การซ่ึงสนับสนุนในเรื่องการเงิน
แก่ธุรกิจ ในลักษณะการให้กู้ยืมหรือการให้สินเชื่อตามเงื่อนไขต่าง ๆ ท่ีกำหนดไว้ เพ่ือเสริมสภาพ
คล่องในการดำเนนิ งานให้แกธ่ รุ กจิ รวมไปถงึ ผทู้ ีข่ ายสนิ คา้ หรือบรกิ ารเป็นเงินเช่อื ใหแ้ กธ่ รุ กจิ

2.2.4 รัฐบาล (government) หมายถงึ หนว่ ยงานภาครัฐทม่ี ีอำนาจในการออก
กฎหมายหรือข้อบงั คับเพื่อควบคมุ ธุรกิจ รวมไปถึงการออกนโยบายหรือมาตรการตา่ ง ๆ ท่ีเก่ียวขอ้ ง
กบั ธรุ กจิ ซง่ึ สิ่งเหลา่ นี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการดำเนนิ งานของผูป้ ระกอบการ

2.2.5 พันธมิตรธุรกิจ (business alliances) หมายถึงองค์การอ่ืนท่ีเข้ามาใน
ลักษณะการรว่ มทนุ หรอื ในลกั ษณะการรว่ มมือทำกิจกรรมกับองค์การ เช่น ร่วมมอื ด้านการผลิต ดา้ น
การวจิ ัยและพฒั นา ร่วมมือด้านการจัดหาวัตถดุ ิบ ร่วมมือด้านการตลาด ฯลฯ โดยได้ประโยชน์ร่วมกัน
ทงั้ สองฝา่ ย

2.2.6 ชุมชน (community) หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันในพ้ืนที่หนึ่ง ๆ ซ่ึง
ในพื้นท่นี ผ้ี ปู้ ระกอบการไดเ้ ขา้ ไปดำเนินธรุ กิจ กลา่ วได้ว่าธรุ กิจและชุมชนมคี วามสัมพันธ์กันเสมือนเป็น
เพื่อนบ้าน การดำเนินงานของธุรกิจย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชนท้ังทางตรงหรือทางอ้อมไม่มากก็น้อย
ดังนน้ั หากธรุ กจิ ไดร้ บั การยอมรบั จากคนในชุมชน ย่อมเอื้อตอ่ ความสำเรจ็ ในการดำเนินงาน

2.2.7 กลุ่มผลประโยชน์ (interest groups) คือกลุ่มบุคคลซ่ึงมีลักษณะบาง
ประการคล้ายกัน โดยร่วมกันรักษาประโยชน์และแสวงหาผลประโยชน์ให้กับกลุ่มตนจากการ
ดำเนนิ งานทางธรุ กิจ เชน่ กล่มุ นกั ธรุ กจิ กลุ่มพอ่ คา้ ผ้สู ง่ ออก สมาคมการค้าและการลงทนุ ฯลฯ

2.2.8 คู่แข่ง (competitors) คือบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์การอื่น ซ่ึงเสนอขาย
สินค้าหรือให้บริการประเภทเดียวกัน หรือทดแทนกันได้กับสินค้าหรอื บรกิ ารของธุรกิจ และมีกลุ่มลูกค้า

35

เดียวกับธุรกิจ ซ่ึงคู่แข่งในลักษณะน้ีเรียกว่า คู่แข่งขันทางตรง (direct competitors) แต่ถ้าหากขาย
สนิ ค้าหรือบริการต่างชนิดซึ่งเป็นทางเลือกให้ลูกค้าท่ีเป็นกลุ่มเดียวกบั ธุรกิจ จะเรียกว่าคู่แข่งขันทางอ้อม
(indirect competitors) หากคู่แข่งมีมาก ผู้บริโภคย่อมมีทางเลือกสำหรับการซ้ือสินค้าหรือบริการ
จากกิจการท่ีสามารถตอบสนองความพึงพอใจได้ดีที่สุดและคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไป ดังนั้นผู้บริหาร
ธุรกิจจึงต้องปรับปรุงสินค้าหรือบริการ รวมทั้งควบคุมต้นทุนให้ต่ำสุด เพราะถ้าหากไม่สามารถสร้าง
ความพอใจให้แก่ผู้บริโภคได้ แน่นอนว่าผู้บริโภคย่อมหันไปเลือกซ้ือจากกิจการคู่แข่ง อย่างไรก็ดีการ
แข่งขันนับเป็นส่ิงผลักดันให้ผู้บริหารธุรกิจต่ืนตัวในการปรับปรุงสินค้า รักษาราคาให้ต่ำ ให้บริการท่ี
เกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ลูกค้า และพัฒนาการดำเนินงานทางธุรกิจอยู่เสมอ (Dlabay, Burrow &
Kleindl, 2015, p.22)

การพิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกิดข้ึน นอกจากพิจารณาในลักษณะ
ภาพรวมทั่วไป ควรพิจารณาในลกั ษณะสภาพแวดล้อมทางการแขง่ ขนั

สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน (competitive environment) การแข่งขัน
เป็นเรื่องปกติที่ธุรกิจต้องเผชิญ ถ้าหากวิเคราะห์ได้อย่างรอบคอบย่อมรู้ถึงศักยภาพของธุรกิจในการทำ
กำไร เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนและหาวิธีในการดำเนินงานเพ่ือให้ธุรกิจยังคงอยู่รอด
ต่อไป การวิเคราะห์สภาพแวดลอ้ มทางการแข่งขันของธรุ กจิ แบง่ ออกเป็น 2 สว่ น ได้แก่ การวเิ คราะห์
อตุ สาหกรรม และการวิเคราะหค์ ู่แขง่ (พิบลู ทีปะปาล และธนวัฒน์ ทีปะปาล, 2559, หนา้ 53-54)

1. การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (the industry analysis) ในการวิเคราะห์
อุตสาหกรรมมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินโอกาส และอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ
ภายใต้อุตสาหกรรมท่ีสนใจ (ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, 2559, หน้า 2-14) วิธีการหน่ึงในการวิเคราะห์
คือการใช้แบบจำลองแรงผลัก 5 ประการ (five forces model) ของ Michel E Porter ซ่ึงพัฒนาขึ้น
มาตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1970 แบบจำลองน้ีเป็นเครื่องมือที่เรียบง่าย แต่มีอิทธิพลต่อการระบุศักยภาพ
ธุรกิจ และการดึงดูดใจธรุ กิจอื่นให้เข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน ภายใต้สถานการณ์ทางธุรกิจ
เม่ือมองจากภายนอกเข้ามา โดยเฉพาะจากสภาพแวดล้อมระดับจุลภาคท่ีผลักดันการแข่งขันและเป็น
ภัยคุกคามความสามารถในการทำกำไร นอกจากนี้เป็นเคร่ืองมือที่ช่วยในการตัดสินใจที่สำคัญของการ
ทำธุรกิจในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหน่ึง หรือควรออกไปจากอุตสาหกรรม กล่าวกันว่าเป็นเครื่องมือ
ของนักยุทธศาสตรเ์ พื่อกำหนดตำแหน่งการทำกำไรของธรุ กิจอีกด้วย (Majumdar & Bhattacharya,
2014, p. 146) แรงผลักท้ัง 5 ประการ ได้แก่ การแข่งขนั ภายในอุตสาหกรรม การคกุ คามของผ้เู ข้ามา
ใหม่ อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ อำนาจต่อรองของผู้ซ้ือ และการคุกคามจากผลิตภัณฑ์ทดแทน
(Porter, 1998, pp.4-29) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.1 การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (rivalry among existing firms)
เป็นผลมาจากคู่แข่งท่ีมอี ยู่ในอุตสาหกรรมหรือประเภทธุรกิจในแบบเดียวกนั ซึ่งต้องการส่วนแบ่งทาง
การตลาดท่ีเพมิ่ ข้ึน ความเข้มขน้ ในการแข่งขนั ข้ึนอยูก่ ับ 1) จำนวนคูแ่ ข่งท่ีมีมาก ยง่ิ คแู่ ข่งมีมากเท่าใด
รายการแข่งขันก็ย่ิงมีสูง 2) ตลาดเติบโตช้า ทำให้แต่ละองค์การต่างต่อสู้เพื่อแย่งสว่ นแบ่งทางการตลาด
3) ต้นทุนคงทสี่ ูงหรือตน้ ทุนในการเก็บรกั ษามีสูง หากต้นทุนคงท่ีสูงจะสรา้ งแรงกดดันที่ทำให้ทกุ กิจการ
ใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มท่ี ซ่ึงมักนำไปสู่การตัดราคากันในตลาดเม่ือมีผลผลิตส่วนเกิน 4) ขาดความ

36

แตกต่าง เม่ือสินคา้ หรือการบริการใดท่ผี ู้ซ้ือรับรู้ว่าเปน็ สินค้าหรอื บรกิ ารทั่วไป ซอื้ จากผู้ขายรายใดก็ได้
ไม่แตกต่าง หรือไม่เกิดต้นทุนการเปลี่ยน (switching cost) กล่าวคือไม่เกิดต้นทุนท่ีแตกต่างหากเปล่ียน
ไปซอ้ื สินคา้ หรอื บรกิ ารจากผู้ขายรายอืน่ ซ่ึงจะเป็นผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคาและบรกิ ารท่ีเข้มข้น
เพื่อแยง่ ลูกค้า 5) กำลังการผลิตสว่ นเกินเพ่ิมขึ้นมาก ในกรณีท่ีการประหยัดต่อขนาดกำหนดว่าจะต้อง
เพ่ิมกำลงั การผลติ ในปริมาณมาก อาจส่งผลกระทบต่อความสมดุลของอปุ สงค์และอุปทาน ทำให้ธุรกิจ
ต้องเผชิญกับผลผลิตที่เกินความต้องการของตลาด และนำไปสู่การตัดราคาสินค้าหรือบริการเพื่อให้
ขายได้ 6) คู่แข่งที่มีความหลากหลาย ในการแข่งขันจึงต้องระมัดระวังเพ่ือวิเคราะห์กลยุทธ์ของคู่แข่ง
แต่ละรายซงึ่ มีความแตกต่างให้ได้อย่างแมน่ ยำ จึงตอ้ งใช้ความพยายามอย่างหนักเพ่ือให้ธุรกิจแขง่ ขนั ได้
7) การเดิมพันมีสูง การแข่งขันย่ิงรุนแรงเม่ือกิจการต่างต้องการบรรลุความสำเร็จ จึงต้องแข่งขันกับ
กิจการอืน่ ให้ได้ เพราะเดิมพันด้วยความสำเร็จที่ตอ้ งการ และ 8) การออกจากอุตสาหกรรมมอี ุปสรรค
มากมาก อุปสรรคท่ีเกดิ ขึน้ อาจเกดิ จากปจั จัยทางเศรษฐกิจ เชน่ มคี ่าใช้จ่ายสูงในการโอนหรือการแปลง
สนิ ทรัพย์ ค่าใช้จ่ายคงที่ซ่ึงเกิดขึ้นตามมาไม่ว่าจะเกิดจากข้อตกลงด้านแรงงาน การบำรุงรักษาสมรรถนะ
ของเครื่องจกั รและอุปกรณ์และอ่ืนๆ ฯลฯ หรอื อาจจะเป็นอุปสรรคจากปัจจัยด้านกลยุทธ์ ซ่ึงมงุ่ รกั ษา
ความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับหน่วยธุรกิจอื่นในเรื่องภาพลักษณ์ ความสามารถของกิจการ การใช้สิ่ง
อำนวยความสะดวกร่วมกันและอื่น ๆ และปัจจัยทางอารมณ์ซ่ึงมาจากผู้ประกอบการเองที่ยังคงต้องการ
ดำเนนิ กจิ การตอ่ ไป แม้จะประสบปญั หาขาดทนุ ก็ตาม

1.2 การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (threat of new entrants) ผู้เข้ามาใหม่
ในอุตสาหกรรมท่ีธุรกิจดำเนินการ คือ คู่แข่งรายใหม่ซ่ึงนำความสามารถใหม่ ๆ และความปรารถนาท่ี
จะได้รับส่วนแบ่งการตลาด โดยเฉพาะคู่แข่งรายใหม่ที่มีศักยภาพมักเสนอราคาต่ำกว่าเพื่อต้องการ
ส่วนแบ่งการตลาด เป็นผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจภายในอุตสาหกรรมท่ีเข้าไปแข่งขัน
ลดลง หรือธุรกิจมีต้นทุนท่ีเพ่ิมเพ่ือรักษาตำแหน่งทางการตลาดที่มีอยู่ของกิจการ ดังน้ันหาก
อุตสาหกรรมท่ีธุรกิจดำเนินการมีอุปสรรคขัดขวางการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ ย่ิงเป็นผลดีต่อ
ธุรกิจ ส่ิงท่ีจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ มี 6 ประการสำคัญ ได้แก่ 1) การ
ประหยัดต่อขนาด ซ่ึงหมายถึงการลดลงของต้นทุนต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์เม่ือผลิตมากข้ึน ถ้าธุรกิจ
สามารถผลิตและจำหน่ายสินค้าจำนวนมาก มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำมาก คู่แข่งใหม่ก็ย่อมเข้ามาแขง่ ขันได้
ยาก 2) ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ธุรกิจท่ีอยู่ในอุตสาหกรรมมานานย่อมมีตราสินค้าที่แข็งแกร่งซึ่ง
เป็นท่ีรู้จัก ลูกค้ามีความมั่นใจและเกิดความภักดีต่อสินค้าหรือการบริการของธุรกิจ คู่แข่งใหม่ต้องใช้
เวลาและความพยายามมากท่จี ะทำให้เปน็ ทร่ี ู้จักของผ้บู รโิ ภค 3) เงินลงทุน หากการเข้ามาแขง่ ขนั ตอ้ ง
ใชเ้ งินลงทนุ สูง ย่อมเป็นอุปสรรคตอ่ คู่แข่งรายใหม่ เพราะต้องเสี่ยงกับความคุ้มคา่ ของผลประกอบการที่
ได้รับเม่ือเทียบกับการลงทุน 4) ต้นทุนการเปล่ียน ซึ่งหมายถึง ผู้ซ้ือจะมีต้นทุนเพ่ิมข้ึนหากเปลี่ยนไปซื้อ
สนิ คา้ หรอื บริการจากผู้ขายรายใหม่ 5) ข้อเสียเปรียบด้านต้นทุน คู่แข่งขันรายใหม่เกิดข้อเสียเปรียบด้าน
ต้นทุนจากปัจจัยต่าง ๆ ที่สู้กิจการที่มีอยู่เดิมในอุตสาหกรรมไม่ได้ เช่น ความเช่ียวชาญ เทคโนโลยี
ทำเลท่ีต้ัง ช่ือเสียง ต้นทุนวัตถุดิบ แหล่งเงินทุน ตลาดสินค้าฯลฯ 6) นโยบายรัฐบาล จากที่ภาครัฐมี
นโยบายและขอ้ บังคบั ตา่ ง ๆ ในการควบคมุ กิจการใหมท่ ่ีจะเข้ามาในอตุ สาหกรรม

1.3 อำนาจต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (bargaining power of suppliers)
การดำเนินงานทางธุรกิจย่อมต้องซื้อวัตถุดิบ หากผู้ขายวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์ มีอำนาจต่อรองสูง

37

ย่อมคุกคามธุรกิจด้วยการขึ้นราคา หรือลดคุณภาพของสินค้าหรือบริการท่ีซื้อ เป็นผลให้กำไรของธุรกิจ
ลดลง อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบมีมากข้ึนเมื่อเกิดกรณีต่อไปน้ี 1) จำนวนผู้ขายวัตถุดิบมีน้อยราย
และผู้ซื้อเป็นรายย่อย ๆ จึงทำให้ผู้ขายวัตถุดิบมีอำนาจต่อรองได้มากขึ้นในเรื่องราคา คุณภาพ และ
เงื่อนไขต่าง ๆ 2) ไม่มีผลิตภัณฑ์อื่นทดแทน ทำให้มีความจำเป็นต้องซื้อ 3) ไม่ใช่กลุ่มลูกค้าที่สำคัญ
เนื่องจากธุรกิจมียอดซ้ือไม่มาก 4) ผลิตภัณฑ์ของผู้ขายวัตถุดิบ คือปัจจัยนำเข้าที่สำคัญต่อกระบวนการ
ผลิตหรือคุณภาพของผลผลิต กรณีเช่นนย้ี ่ิงเพิ่มอำนาจของผู้ขายวัตถดุ ิบ เพราะอย่างไรธุรกิจก็ต้องซื้อ
อยู่ดี 5) ผลิตภัณฑ์ของผู้ขายวัตถุดิบมีความแตกต่าง หรือทำให้เกิดต้นทุนเพ่ิม หากเปลี่ยนไปซื้อจาก
ผู้ขายรายอื่น และ 6) ผู้ขายมีศกั ยภาพในการรวมธรุ กิจไปขา้ งหน้า คอื ทำธรุ กิจแบบเดยี วกบั ผู้ซื้อ

1.4 อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (bargaining power of buyers) ผู้ซ้ือซ่ึงก็
คือลูกค้าของธุรกิจ ผู้ซื้อต่อรองเพ่ือคุณภาพท่ีสูงข้ึน หรือการบริการท่ีมากข้ึน และเปรียบเทียบกับ
คู่แข่งของธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบต่อการทำกำไรของธุรกิจ อำนาจต่อรองของผู้ซ้ือมีมากเมื่อเกิด
กรณตี ่อไปน้ี 1) ปรมิ าณการซ้ือมีมาก หากยอดขายส่วนใหญ่เป็นยอดของผู้ซื้อ ก็ยิ่งทำให้ผู้ซ้ือมีอำนาจ
ต่อรองมากข้ึน 2) ผลิตภัณฑ์ท่ีซื้อเป็นต้นทุนส่วนสำคัญของผู้ซ้ือ จึงทำให้ผู้ซื้อพยายามหาแหล่งจำหน่าย
ท่ีถูกกว่า และต่อรองกับธุรกิจในฐานะผู้ขาย 3) ผลิตภัณฑ์เป็นมาตรฐานเดียวกันหรือไม่มีความแตกต่าง
ผู้ซอ้ื สามารถซื้อสินค้าหรือบริการจากผขู้ ายรายใดกไ็ ด้ 4) ต้นทุนการเปลยี่ นแปลงผู้ขายมีเพียงเล็กนอ้ ย
ทำให้ผู้ซ้ือไม่มีความจำเป็นต้องซ้ือจากผู้ขายรายเดียว เลือกซ้ือจากรายใดก็ได้ เพราะต้นทุนของการ
เปลี่ยนแปลงมีน้อยมาก 5) ผู้ซื้อได้ผลกำไรต่ำ ผู้ซ้ือจึงพยายามลดต้นทุนการจัดซ้ือด้วยการต่อรองกับ
ผขู้ าย 6) ผู้ซื้อมีศักยภาพในการรวมธุรกจิ ไปข้างหลัง คือทำธุรกิจแบบเดยี วกับผู้ขาย 7) ผลิตภัณฑ์ของ
ผู้ขายไม่ได้มีความสำคัญต่อคุณภาพสินค้าหรือบริการของผู้ซ้ือ ทำให้ผู้ซื้อไม่มีความจำเป็นต้องให้ความ
สำคัญกับผขู้ าย เลือกซ้ือจากผู้ขายรายใดก็ได้ จึงเกิดอำนาจต่อรองสูง 8) ผู้ซ้ือมีข้อมูลท่ีครบถ้วน หาก
ผู้ซื้อทราบราคาในตลาดถงึ ต้นทนุ ทเ่ี กิดขึ้นจริงของผ้ขู าย ทำให้ผซู้ ้ือใช้ข้อมูลเหลา่ น้ีให้เปน็ ประโยชน์ใน
การเจรจาตอ่ รองไดม้ ากข้ึน

1.5 การคุกคามจากผลิตภัณฑ์ทดแทน (threat of substitute products)
หากผลิตภัณฑ์ถูกทดแทนด้วยผลิตภัณฑ์อ่ืนได้ง่าย ส่งผลต่อการเปล่ียนใจของลูกค้าท่ีจะซ้ือผลิตภัณฑ์
ทดแทนได้ง่ายเช่นกัน โอกาสการทำกำไรของธุรกิจลดลง ท้ังน้ีปัจจัยซึ่งส่งผลต่อระดับการคกุ คามของ
ผลิตภัณฑ์ทดแทน ไดแ้ ก่ 1) ความสมบรู ณ์ของการทดแทน ถ้าหากผลิตภัณฑท์ ดแทนน้นั ๆ มีคุณภาพ
และทดแทนผลิตภัณฑ์เดิมได้เป็นอย่างดี โอกาสท่ีลูกค้าเปลี่ยนใจไปซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทนยิ่งมีมากข้ึน
2) ระดับราคาของผลิตภัณฑ์ทดแทน หากราคาใกล้เคียงหรือต่ำกว่า โอกาสการซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทน
ย่อมมีเพ่ิมขึ้น 3) ต้นทุนการเปลี่ยน หากต้นทุนที่ลูกค้าเปล่ียนไปซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทนอยู่ในระดับต่ำ
ก็ยิง่ เพ่มิ โอกาสการเปล่ยี นไปซ้ือผลิตภัณฑ์ทดแทน ไมม่ ีความจำเปน็ ตอ้ งยดึ ตดิ กบั ผลิตภัณฑท์ ่ีซ้ืออยู่เดมิ

แรงผลักดันทั้ง 5 ประการดงั กลา่ วขา้ งตน้ แสดงดังภาพที่ 1.2

38

ผ้เู ขา้ มาใหม่
(new entrants)

การคุกคามของผู้เขา้ มาใหม่
(threat of new entrants)

คู่แข่งภายในอตุ สาหกรรม
(industry competitors)

ผจู้ ำหน่ายวตั ถุดบิ ผู้ซ้ือ
(suppliers) (buyers)

อำนาจต่อรองของผูข้ ายวัตถดุ ิบ การแขง่ ขัน อำนาจต่อรองของผู้ซ้อื
(bargaining power of suppliers) ภายในอตุ สาหกรรม (bargaining power of buyers)

(rivalry among existing)

firms)

การคกุ คามจากผลติ ภัณฑ์ทดแทน

(threat of substitute products)

ผลติ ภณั ฑ์ทดแทน
(substitute products)

ภาพท่ี 1.2 แบบจำลองแรงผลัก 5 ประการ (five forces model)
ท่ีมา (Porter, 1998, p.4)

2. การวิเคราะห์คู่แข่ง (competitor analysis) ในการวิเคราะห์คู่แข่งนั้น
ผปู้ ระกอบการตอ้ งวเิ คราะห์หรือตอบคำถามหลัก 2 ประเด็น (พิบูล ทีปะปาล และธนวัฒน์ ทปี ะปาล,
2559, หนา้ 63-66) ดงั มรี ายละเอียดต่อไปนี้

2.1 คู่แข่งคือใคร (who are the competitors?) ผู้ประกอบการต้องกำหนด
คู่แข่งท่ีมีในปัจจุบันและอนาคต จากการพิจารณาตัวแปรท่ีสำคัญ ได้แก่ ขอบเขตตลาด ประโยชน์ท่ี
ลูกคา้ จะได้รบั จากสนิ คา้ หรือบรกิ ารของกจิ การอน่ื และความมงุ่ ม่นั ในการดำเนินงานของกิจการอืน่

2.2 คู่แข่งมีแผนการจะทำอะไร (What are the competitors up to?)
โดยการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเก่ียวกับคู่แข่งในลักษณะข้อมูล 2 ประเภท ได้แก่ 1) ข้อมูลซึ่งคู่แข่ง
บอกต่อสาธารณะชน เช่น การโฆษณาผ่านส่ือต่าง ๆ การส่งเสริมการขาย การกล่าวสุนทรพจน์
ใบอนุญาต สิทธิบัตร รายงานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รายงานประจำปี หนังสือ
ชักชวนให้ซื้อหุ้น การออกหุ้นกู้และพันธบัตร ฯลฯ และ 2) ข้อมูลที่ผู้อ่ืนพูดถึงคู่แข่ง เช่น ข้อมูลจาก
ผู้บริโภค ข้อมูลจากผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้รับเหมาช่วง นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่ภาครัฐท่ีเก่ียวข้อง

39

กับการส่งเสริมธุรกิจ กรณีศึกษาท่ีกล่าวถึงกิจการคู่แข่ง รายงานของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ รายงาน
สนิ เชื่อ ฯลฯ

การวิเคราะห์อุตสาหกรรมและการวิเคราะห์คู่แข่ง ช่วยบ่งบอกถึงโอกาสและ
อุปสรรคของธุรกิจจากสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันท่ีเกิดขึ้น ดังน้ันผู้ประกอบการต้องหาตำแหน่ง
ธรุ กิจในอุตสาหกรรมท่ีเข้าไปแข่งขัน ระบุคู่แขง่ ได้อย่างชดั เจนและรู้ความเป็นไปของคู่แขง่ รวมท้ังหา
แนวทางสร้างอิทธิพลให้มีเหนือแรงผลักทั้ง 5 เพ่ือลดความเส่ียงของธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถ
ทางการแขง่ ขันของธรุ กิจ

จากท่ีกล่าวมาเก่ียวกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและสภาพ
แวดล้อมภายนอกซึ่งประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ จะเห็นได้ว่าเป็นเร่ืองท่ีมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อ
ธุรกิจ เพียงแต่ปัจจัยสภาพแวดล้อมแต่ละประเด็นมีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากหรือน้อย
แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น จากการศึกษาปัจจัยท่ีมีความสำคัญต่อการ
ประกอบการของวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านทหารบก กองทัพภาคท่ี 4 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า
ประกอบด้วย 1) ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายในองค์การ ได้แก่ การสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด
สมาชิกขององค์การมีความทุ่มเททำงาน ความสามัคคี ความสามารถในการผลิตและการตลาด ความ
สามารถถ่ายทอดความรู้จากสมาชิกรุ่นต่อรุ่น ผลิตภัณฑ์มีเคร่ืองหมายรับรองมาตรฐานต่าง ๆ และมี
บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและสวยงาม 2) ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ การสนับสนุน
จากหน่วยงานภาครัฐภายนอก คู่แข่งขัน ราคาของวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ (ชมพูนุท ศรีพงษ์, วัลย์ลดา
พรมเวยี ง, สันติ อารักษ์คุณากร, ปยิ ะดา มณนี ิล และสัสดี กำแพงดี, 2559, หน้า 161) นอกจากน้ีการ
ศึกษาปัจจัยท่ีมีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วยปัจจัยภายในกลุ่มวิสาหกิจ ได้แก่ การมี
ส่วนร่วมของสมาชิก การระดมทุน การดำเนินกิจกรรมท่ีต่อเน่ือง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการควบคุม
คุณภาพสินค้า การพัฒนากิจกรรมทางการตลาด ศกั ยภาพของผูน้ ำและสมาชิก รวมทั้งปัจจยั ภายนอกกลุ่ม
วิสาหกิจ ประกอบด้วย ปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน ทรัพยากรในชุมชนที่
เกอ้ื หนุนต่อการดำเนินงาน ตลาดในชมุ ชน และการยอมรับของคนในชมุ ชน และปจั จยั ภายนอกชมุ ชน
ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เก่ียวข้อง โยบายรัฐ กลไกทางการตลาดและการคมนาคม (ธงพล พรหมสาขา ณ
สกลนคร, 2556, หน้า 16)

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากผ้าในเขตจังหวัด
เพชรบูรณ์ พบว่ามี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยจากสภาพแวดลอ้ มภายในและภายนอกกลุ่ม โดยปัจจัยจาก
สภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย สินค้ามีคุณภาพและสวยงามตรงตามความต้องการของลูกค้า
สมาชิกมคี วามสามารถด้านการผลิตและพฒั นาด้านต่าง ๆ อยา่ งสม่ำเสมอ มีความพร้อมดา้ นเคร่ืองมือ
เครื่องจักร ประธานกลมุ่ และคณะกรรมการดำเนินงานมีความรู้ความสามารถ ผนู้ ำสามารถสร้างความ
สามัคคีภายในกลุ่ม ตลอดจนกลุ่มสามารถจัดหาเงินทนุ ท้ังภายในและภายนอก และกระบวนการผลิต
มีคุณภาพมาตรฐาน ส่วนปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนด้าน
ช่องทางการจัดจำหน่ายและปัจจัยการผลิต อีกท้ังจังหวัดกำหนดยุทธศาสตร์ให้ความสำคัญและ
สนับสนุนการดำเนนิ งานของกลุ่มอาชีพ (ปณุ ฑริกา สุคนธสงิ ห์, 2559, หน้า 883) การศึกษาปจั จัยแห่ง
ความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่าประกอบด้วยปัจจัยด้านระบบ

40

บุคลากร ระบบการเงิน ระบบการตลาด ระบบการบริหารจัดการ ระบบลูกค้า ระบบการแข่งขัน ระบบ
เศรษฐกจิ ระบบการเมืองและกฎหมาย และระบบเทคโนโลยี (ชตุ ิมา หวังเบญ็ หมัด และธนชั ชา บินดุเหล็ม,
2557, หน้า 109) ส่วนการศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจ SMEs จำนวน 520 แห่ง ในประเทศ
ปากีสถาน รายงานว่าประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ ได้แก่ ทรัพยากรทาง
การเงิน กลยุทธ์ทางการตลาด ทรัพยากรทางเทคโนโลยี และทักษะของผู้ประกอบการ รวมทั้งปัจจัย
จากสภาพแวดล้อมภายนอก คือ การสนับสนุนจากรัฐบาล อีกท้ังทุกปัจจัยดังกล่าวร่วมกันทำนาย
ความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ได้ถึงร้อยละ 76.73 ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ใน
ประเทศบังคลาเทศ ได้แก่ ความสามารถทางการตลาดของผู้ประกอบการ การเข้าถึงแหล่งทุน โครงสร้าง
พ้ืนฐานของประเทศท่ีเอ้ือต่อภาคธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Chowdhury, Alam & Arif, 2013,
p.47) นอกจากน้ีการศึกษาปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของ
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องด่ืมในประเทศไนจีเรีย พบว่าประกอบด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และ
ปจั จัยดา้ นการเมอื ง (Olarewaju & Folarin, 2012, p. 198)

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเตบิ โตของธุรกิจ SMEs พบว่ามี 2 ปัจจัยหลักเช่นกัน คือ
ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกธุรกิจ โดยปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายใน ได้แก่
คุณลักษณะผู้ประกอบการ ความสามารถในการบริหาร ทักษะทางการตลาด และความสามารถด้าน
เทคโนโลยี ส่วนปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ กฎหมายและข้อบังคับ แหลง่ เงนิ ทุนภายนอก
ความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในตลาดแรงงาน (Bouazza, Ardjouman & Abada, 2015, pp.
103-105) ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลประกอบการ พบวา่ ประกอบด้วยปัจจัยภายในธุรกิจ
คือ สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ โดยเฉพาะทรัพยากร และความสามารถจัดการทรัพยากรของธุรกิจ
รวมทั้งปัจจัยภายนอกธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างย่ิงในเรื่องโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเภทธุรกิจซ่ึง
กิจการเข้าไปแขง่ ขัน เพราะทำให้เกิดแรงกดดัน 5 ประการ คือ จากคู่แขง่ ขนั ผู้ซอื้ ผูข้ ายปัจจยั การผลิต
สินค้าทดแทน และคู่แข่งขันรายใหม่ (ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา, 2557, หน้า 3-5) แรงกดดันจากการ
แข่งขันเป็นปัจจัยที่มีความท้าทายต่อองค์การในอุตสาหกรรมและตลาดที่ดำเนินธุรกิจ แต่ผลที่ตามมา
กอ่ ใหเ้ กิดกลยทุ ธ์และกิจกรรมในการดำเนินงานขององค์การ (Rachapila & Jansirisak, 2013, p. 175)

โดยสรุปสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเป็นเร่ืองที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อธุรกิจท้ัง
สภาพแวดล้อมจากภายในธรุ กิจ และสภาพแวดลอ้ มจากภายนอกธุรกิจ เพียงแต่ปัจจยั สภาพแวดล้อม
แต่ละประเด็นมีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากน้อยแตกต่างกันไป หากผู้ประกอบการศึกษา
และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อยา่ งละเอียดถี่ถ้วน ย่อมทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของ
ธุรกิจที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน รวมท้ังโอกาสและอุปสรรคของธุรกิจจากสภาพแวดล้อม
ภายนอก ข้อมูลเหล่าน้ีช่วยประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี และลดความเสี่ยงในการ
ลงทุนทำธุรกิจ รวมทั้งช่วยให้ผู้ประกอบการท่ีดำเนินธุรกิจไปแล้ว รู้ทิศทางในการปรับตัว หาวิธีการ
รบั มือกบั สภาพแวดล้อมท่เี กดิ ขึ้นซง่ึ สง่ ผลกระทบต่อธรุ กิจ

41

ธรุ กจิ ในยุคดิจทิ ลั

การประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นประเภทใดหรือขนาดใดก็ตาม ย่อมต้องเปล่ียนแปลงไป
ตามยุคสมัย ในทุกวันน้ีเรียกว่าเป็นยุคแห่งดิจิทัล ซึ่งเริ่มมาต้ังแต่การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของ
ผู้คนในสังคมซึ่งเป็นผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ของแต่ละธุรกิจท่ีเปล่ียนจากแบบออฟไลน์ (offline)
มาเป็นออนไลน์ (online) เพิ่มมากขึ้น จากการเช่ือมโยงกับระบบอินเทอร์เน็ตที่เข้ามามีอิทธิพลกับการ
ใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมแทบจะทุกช่องทาง การเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้นล้วนมาจากความเจริญก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีของมนษุ ยชาติ และยังคงพฒั นาตอ่ เน่ืองไปอยา่ งไม่หยุดยั้ง

วิวฒั นาการของยุคดจิ ทิ ัลในโลกธรุ กิจ
เส้นทางการเติบโตของยุคดิจิทัลในโลกธุรกิจมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเน่ืองตั้งแต่ยุคดิจิทัล
1.0 มาจนถึงยคุ ดจิ ิทลั 4.0 ในทกุ วันนี้ (อไุ รพร ชลสริ ริ งุ่ สกลุ , 27 มิถุนายน 2559; มาร์เกต็ เธียร์ทีม, 2559)
ดงั มีรายละเอียดต่อไปน้ี
ยุคดิจิทัล 1.0 ยุคของอินเทอร์เน็ต เมื่อโลกมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการ
ติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซ่ึงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่
สามารถเช่ือมต่อกันได้ทั่วโลก เป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งย่ิงใหญ่จากโลกออฟไลน์หรืออนาล็อก มาเป็น
ออนไลน์ในแบบดิจิทัล ยุคน้ีเป็นจุดเริ่มต้นของเว็บไซต์ท่ีช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต
รวมไปถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนเออื้ ตอ่ กจิ กรรมการดำเนินธรุ กิจ เช่น การส่งเอกสารให้ลกู ค้า
ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ อีเมล แทนการส่งจดหมายติดแสตมป์ การใช้เว็บไซต์สืบค้นข้อมูล
มากมายทางธุรกิจทดแทนการหาข้อมูลจากหนังสือ การทำเว็บไซต์ธุรกิจเพื่อโฆษณาขายสินค้าไปยัง
ผบู้ ริโภคได้อย่างขวางและรวดเร็วกว่าส่ือแบบเดิมอยา่ งการใช้ส่ือส่ิงพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศ
ฯลฯ ทำให้องคก์ ารธรุ กิจต่าง ๆ เรมิ่ ทยอยปรบั ตัวและจดั สร้างเว็บไซต์เพ่ือเป็นสอื่ ของตนเอง เสมือนเป็น
หนา้ ร้านท่ีเปดิ ตอ้ นรับลูกคา้ ได้ตลอด 24 ชัว่ โมง
ยุคดิจิทัล 2.0 ยุคแห่งสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย (social media) เมื่ออินเทอร์เน็ต
ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามากขึ้นและใชก้ ันอย่างแพร่หลายในสังคม โดยอาศัย
การเช่ือมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนท่ีของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์
เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคล่ือนท่ีแบบสมาร์ทโฟน หรือในแท็บเล็ต (tablet) ทำให้เกิดการสื่อสาร
แบบสองทาง รวมทั้งการเข้าร่วมเครือข่าย แลกเปลี่ยน สร้างเน้ือหา และแบ่งปันเรื่องราว ระหว่าง
บุคคล กลุ่มบุคคล ตลอดจนองค์การต่าง ๆ (แสงเดือน ผ่องพุฒ, 2556, หน้า 1-2) ท้ังนี้ส่ือสังคมออนไลน์
มีหลายประเภท แต่ท่ีรับความนิยมอย่างมากในสังคมเห็นจะเป็นเครือข่ายสังคม (social networking
website) ซ่ึงเป็นเว็บไซต์ที่บุคคลหรือหน่วยงานสามารถสร้างข้อมูลและเปล่ียนแปลงข้อมูลสถานะ
ของตน เผยแพร่รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว โดยที่บุคคลอ่ืนสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นและสนทนา
โต้ตอบได้ ตัวอย่างเช่น Facebook Google+ Badoo Linkdin Orkut ฯลฯ สื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับ
ความนยิ มอีกประเภท คอื เว็บไซต์ที่ให้บริการแบ่งปนั สื่อ (video and photo sharing website) เป็น
เว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถฝากหรือนำส่ือข้อมูล รูปภาพ และวิดิโอ ขึ้นเว็บไซต์เพื่อแบ่งปันแก่ผู้อื่น เช่น
Youtube Instragram Pinterest Vimero Flicker ฯลฯ (ธนะวัฒน์ วรรณประภา, 2560, หน้า 11-
12) ในทางธุรกิจได้นำส่ือสังคมออนไลน์เหล่าน้ีมาใช้ประโยชน์เพ่ือการประชาสัมพันธ์องค์การ นำเสนอ
สนิ ค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณะ ส่งเสริมภาพลักษณ์ สร้างความสัมพันธก์ ับผู้บรโิ ภคและจูงใจ

42

ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า ย่ิงเม่ือส่ือสังคมออนไลน์สามารถใช้งานง่ายในสมาร์ทโฟนของผู้บริโภค
จงึ ทำให้ส่ือดิจิทัลนี้มีบทบาทสำคญั ทดแทนส่ือออฟไลน์ท่ีใช้กันมาก่อนหน้า เช่น ส่อื ส่ิงพิมพ์ โทรทัศน์
วิทยุ ฯลฯ

ยุคดิจิทัล 3.0 ยุคแห่งอภิมหาข้อมูล (big data) ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ข้อมูล (data
analytic) ระบบประมวลผลแบบคลาวด์ (cloud computing) และแอปพลิเคชัน (application)
ในยุคนี้ข้อมูลท่ีมีอยู่ในสังคมมีขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้า (big data) ซึ่งหมายถึงจำนวนที่มากมายมหาศาล
หลากหลายรูปแบบ เปล่ียนแปลงอยู่ตลอดเวลาและรวดเร็ว เกิดการไหลเข้าสู่การจัดเก็บที่มีความเร็วสูง
สบื เนื่องมาจากการเติบโตของสังคมออนไลน์ และการทำธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรยี กกนั ว่า
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีข้อมูลต่าง ๆ เขา้ ออกธุรกิจเป็นจำนวนมาก จึงเกิดการนำข้อมูลมาใช้ให้
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจ ผ่านศาสตร์ของการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) ด้วยการวิเคราะห์
ในรูปแบบตา่ ง ๆ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ขอ้ มูลแบบพื้นฐาน (descriptive analytics) เป็นการวเิ คราะห์
เพื่อแสดงผลของรายการทางธุรกิจ เหตุการณ์ หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นที่ง่ายต่อการเข้าใจ และการ
ตัดสินใจ 2) การวิเคราะห์แบบเชิงวินิจฉัย (diagnostic analytics) เป็นการอธิบายถึงสาเหตุหรือ
ความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดข้ึน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายกับกิจกรรมทางการตลาด 3) การ
วิเคราะห์แบบพยากรณ์ (predictive analytics) เพ่ือคาดการณ์ส่ิงที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูลที่ได้
เกิดข้ึนแล้วกับแบบจำลองทางสถิติ หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น การพยากรณ์ยอดขาย
แนวโน้มทางการตลาด ฯลฯ 4) การวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ (prescriptive analytics) ซ่ึงเป็นทั้ง
การพยากรณ์ส่ิงตา่ งๆ ท่ีจะเกดิ ขนึ้ ข้อดี ข้อเสยี สาเหตุ ระยะเวลาของส่ิงทจี่ ะเกดิ ขน้ึ การให้คำแนะนำ
ทางเลือกต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ และผลท่ีตามมาของแต่ละทางเลือก (เยาวลักษณ์ ชาติบัญชาชัย และโสภณ
เพม่ิ ศิรวิ ัลลภ, 2559, หนา้ 31)

อย่างไรก็ดีการนำข้อมูลท่ีผ่านการวิเคราะห์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในขณะดำเนินการ
อยา่ งทันทีทันใดหรือที่เรียกว่าเรียลไทม์ (real time) จำเป็นต้องมีระบบประมวลผลแบบคลาวด์ หรือ

มักเรียกทับศัพท์ว่าคลาวด์คอมพิวติ้ง (cloud computing) ซ่ึงเป็นรูปแบบการทํางานของเทคโนโลยี
สารสนเทศในรูปของโครงสรา้ งพื้นฐาน ตัวอย่างเชน่ ระบบเครอื ข่าย (network server) พ้นื ทข่ี องการ
จัดเก็บข้อมูล (storage) ระบบแอปพลิเคชัน (application) และบริการท่ีเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพ้ืนฐาน
ด้านอื่น ๆ ด้วยการใช้ทรัพยากรเหล่าน้ีท่ีมีอยู่ร่วมกัน (อัญณิฐา ดิษฐานนท์ และภริตา พงษ์พาณิชย์,
2560, หน้า 101) โดยธุรกิจมักใช้ผ่านแพลตฟอร์ม (platform) คือระบบปฏิบัติการที่เป็นแอปพลิเคชัน
(application) รวมทงั้ เชอ่ื มโยงการทำงานตา่ งแพลตฟอรม์ มาใช้งานรว่ มกนั แบบเรียลไทม์ กล่าวกันว่า
ในยุคน้ีธุรกิจใดมีข้อมูลมาก ก็ย่ิงเพิ่มอำนาจในการแข่งขันมากข้ึน นอกจากนี้การใช้งานโทรศัพท์มือถือ
แบบสมาร์ทโฟน และการใช้แท็บเล็ตของผู้บริโภค ได้กลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญในการค้นหาข้อมูล
การส่ือสารและการสั่งซ้ือสินค้า ธุรกิจจึงปรับตัวสู่การเข้าถึงลูกค้าในรูปแบบใหม่ ๆ โดยใช้ข้อมูล
จากบิ๊กดาต้าให้เกิดประโยชน์ในการประมวล วิเคราะห์เกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภค ต่อยอด คิดค้น
และพัฒนาแอปพลิเคชันของธุรกิจ เพ่ือเป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคและอำนวยความสะดวกแก่
ผู้บรโิ ภคในการใช้งานผา่ นอุปกรณ์ดังกลา่ ว


Click to View FlipBook Version