The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักการบริหารธุรกิจ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ahlam.j, 2022-07-06 03:51:25

หลักการบริหารธุรกิจ

หลักการบริหารธุรกิจ

Keywords: หลักการบริหารธุรกิจ

193

ลงทนุ แมน. (2560, มนี าคม 13). การล้มละลายของ ENRON ใน ลงทุนแมน [Online]. Available:
http://longtunman.com/184 [2560, มถิ ุนายน 10].

วราพร บุญร่วม, ณัฐวุฒิ ตนั ติเศรษฐ และวราพร เปรมพาณิชย์นุกลู . (2557). ความสมั พันธ์ระหว่าง
ความนา่ เชอ่ื ถือของรายงานการเงนิ กับภาพพจน์องค์กรของธุรกจิ โรงแรมในประเทศไทย.
วารสารการบัญชีและการจดั การ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(2), 76-85.

วฒั นา ศวิ ะเก้ือ, ดุษฎี สงวนชาติ และนันทพร พทิ ยะ. (2556). การบัญชีขน้ั ต้น (พิมพ์ครัง้ ท่ี 7).
กรุงเทพฯ: ว.ี พริน้ ท์ (1991).

ศรณั ย์ ชเู กียรติ. (2557). ระบบสารสนเทศทางการบญั ชี. กรุงเทพฯ: ทีพเี อน็ เพรส.
ศศวิ ิมล มอี ำพล. (2558). หลกั การบญั ชีขัน้ ต้น. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
สุนา สทุ ธเิ กยี รติ และอจั ฉรา ชีวะตระกลู กจิ . การบัญชีและการจัดการการเงนิ . ใน ความรู้เบือ้ งต้น

เกีย่ วกับการบรหิ าร หน่วยท่ี 1-7 (พมิ พค์ รั้งท่ี 4) (หน้า 6-1-6-55). นนทบุรี:
มหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช.
อำนาจ รัตนสุวรรณ และอรรถพล ตรติ านนท์. (2560). การบญั ชขี ัน้ ต้น (พิมพ์ครงั้ ท่ี 5). กรงุ เทพฯ:
จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hesam, A. (2017). Impact of Information Technology in Evaluation of Traditional
Accounting to Modern Accounting. Proceeding of 97 th The IIER
International Conference, 13-14 March 2017 (pp.1-4), Paris, France:
International Institute of Engineers & Researchers.
Hla, D. & Teru, S. P. (2015). Efficiency of Accounting Information System and
Performance Measures. International Journal of Multidisciplinary and
Current Research, 3, 976-984.
Lim, F. P. (2013). Impact of Information Technology on Accounting Systems. Asia-
Pacific Journal of Multimedia Services Convergent with Art, Humanities,
and Sociology, 3(2), 93-106.
Moghaddam, A. T., Baygi, S. J. H., Rahmani, R. & Vahediyan, M. (2012). The Impact of
Information Technology on Accounting Scope in Iran. Middle-East Journal
of Scientific Research, 12(10), 1344-1348.
Nabizadeh, S. M. & Omrani, S.A. (2014). Effective Factors on Accounting Information
System Alignment; A Step towards Organizational Performance
Improvement. International Journal of Scientific and Research
Publications, 4(9), 1-5.
Nwinee, K., Akpos, Y., Vincent, G., & Ibinabo, T. (2016), Impact of Accounting
Information System on Organizational Effectiveness: A Study of Selected
Small and Medium Scale Enterprises in Woji Portharcourt. International
Journal of Research, 3(1), 974-982.

194

Nickels, W. G., McHugh, J. M. & McHugh, S. M. (2012). Business Connecting Principles
to Practice. NY: McGraw-Hill.

Price, J. E., Haddock, M. D., & Farina, M. J. (2012). College Accounting (13 rd ed.).
NY: McGraw-Hill.

Tucker, A. (2017). 5 Technology Trends Set to Impact Accounting Most. [Online].
Available: https://www.accountantsdaily.com.au/
columns/10008-5-technology-trends-set-to-impact-accounting-most
[2017, September 20].

195

บทที่ 4
การเงนิ
(Finance)

เงินคือทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน เพราะช่วยให้ธุรกิจมี
สภาพคล่อง สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น และเอ้ือประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต
ก้าวหน้า หากเปรียบการดำเนินงานธุรกิจคือเคร่ืองจักร เงินทุนก็เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อล่ืนให้
เคร่ืองจักรทำงานได้อย่างต่อเน่ือง ไม่เกิดการสะดุดหรือติดขัดใด ๆ ดังนั้นงานทางด้านการเงินจึงเป็น
กิจกรรมท่ีสำคัญอีกประการของผู้บริหารธุรกิจ โดยจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนและการตัดสินใจทาง
การเงนิ การจัดหาเงินทุนจากแหล่งที่เหมาะสมได้อย่างเพียงพอต้ังแต่เร่ิมลงทุนประกอบการ ระหว่าง
ดำเนินงาน และสำหรับการขยายกิจการในอนาคต การจัดสรรเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ หรือใช้
จ่ายเงินได้อย่างคุ้มค่า รวมไปถึงการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อรู้สภาพสถานะทางการเงินของธุรกิจ การ
ควบคุมทางการเงินเพ่ือความสำเร็จตามเป้าหมายของธุรกิจ ตลอดจนการเลือกนำเทคโนโลยีทางการ
เงินมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ อย่างไรก็ดีผู้ทำหน้าที่บริหารธุรกิจ ต้องเข้าใจและรู้
รายละเอียดการดำเนินงานของธุรกิจให้ถ่องแท้ว่ามีลักษณะอย่างไร ทำให้ตอบคำถามได้ว่ามีความ
จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมากน้อยแค่ไหน และลงทุนในสินทรัพย์ใดบ้าง รวมทั้งควรจัดหาเงินมาจาก
แหล่งใดจงึ จะเหมาะสมกบั ธรุ กิจมากทีส่ ดุ

ความรู้พ้ืนฐานเกยี่ วกบั การเงิน

การทำหน้าท่ีงานทางด้านการเงินในการบริหารธุรกิจได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ในเบื้องต้นน้ี
ควรเข้าใจเก่ียวกับความหมายของการเงินและการจัดการทางการเงิน ความสำคัญของการจัดการทาง
การเงิน เป้าหมายของการจัดการทางการเงิน และหน้าที่งานทางการเงินท่ีผู้บริหารต้องดำเนินการ
ดงั มรี ายละเอียดต่อไปนี้

ความหมายการเงินและการจัดการทางการเงิน
การเงิน (finance) คือศาสตร์ท่ีว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด
ของกิจการและของบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้เง่ือนไขและข้อจำกัดของ
เวลาและความไม่แน่นอนต่าง ๆ การเงินมีบทบาทกับทุกภาคส่วน เช่น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา การเงิน
ที่เก่ียวข้อง เรียกว่าการเงินบุคคล ถ้าเป็นองค์การภาครัฐ เรียกว่าการเงินสาธารณะ ถ้าเป็นภาคธุรกิจ
เอกชน เรียกว่าการเงินธุรกิจ (business finance หรือ corporate finance) (พรรณุภา ธุวนมิ ิตรกุล,
2558, หน้า 2) ซึ่งการเงินธุรกิจน้ันจะเป็นหน้าที่ทางการเงินที่ครอบคลุมการกำหนดนโยบายทางการ
เงิน การจดั หาแหลง่ เงินทุน การใชเ้ งินทุน การจดั โครงสร้างทางการเงินให้ม่ันคง การควบคมุ ค่าใช้จา่ ย
ต่าง ๆ และการวางระบบทางการเงิน (ฐาปนา ฉิ่นไพศาล, 2558, หน้า 1-3) จึงเห็นได้ว่าการเงินเป็น
ศาสตร์ทางการตัดสนิ ใจในเรื่องของเงนิ ที่เกยี่ วข้องกับกจิ กรรมดำเนินงาน กจิ กรรมลงทุน และกิจกรรม
จัดหาเงินทนุ ของธุรกิจ การเงินมีความคล้ายคลึงกบั การบัญชีเพราะต่างมเี ป้าหมายทแี่ สดงข้อมูลในรูป
ของการเงนิ แต่การเงินแตกต่างจากการบัญชีตรงทกี่ ารเงินเน้นการตัดสินใจที่เกยี่ วกับเงินซง่ึ จะเกิดขึ้น

196

ในอนาคตของธุรกิจ โดยอาศัยข้อมูลทางบัญชีมาเป็นเคร่ืองมือประกอบการตัดสินใจ ส่วนการบัญชี
เนน้ เสนอข้อมูลทางการเงินท่ีเชื่อถือได้และเป็นประโยชนแ์ ก่ผู้ใช้งบการเงิน (เพ็ญพมิ ล ลีโนทัย, 2554,
หน้า 4-5) การเงินในทางธุรกิจจึงเป็นการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้องกับทางการเงินโดยคำนึง
ถงึ ความเสี่ยงตา่ ง ๆ เพ่ือใหก้ ิจกรรมเหล่าน้นั มีประสิทธภิ าพและเกดิ ประโยชน์สูงสุดต่อกจิ การ

การจัดการทางการเงิน (financial management) เป็นการวางแผนทางการเงิน
รวมทัง้ การจัดองค์การทางการเงิน การตัดสนิ ใจทางการเงิน การควบคมุ ทางการเงิน โดยจัดการความ
เส่ียงขององค์การและการประสานงานกับระบบอื่นของกิจการ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินท่ี
กำหนดไว้ (ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, 2557,หน้า 1-5) กล่าวได้ว่าการจัดการทางการเงินเป็นการใช้
และการควบคุมเงินและทรัพยากรอื่นที่มีอยู่อย่างจำกัดที่ต้องจัดหามาด้วยเงินให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
ตามกฎหมาย หลักจริยธรรม และบรรทัดฐานของสังคม แนวคิดการจัดการทางการเงินจึงไม่เพียง
เกี่ยวข้องกบั การการวางแผน การควบคุมเงินสด ต้นทุน เงินทุน และบัญชี การพัฒนาเกี่ยวกับการเงิน
หรือเร่ืองอื่นทางการเงิน แต่ยังเป็นเคร่ืองมือในการปรับปรุงการใช้ทรัพยากรทางการเงินอย่างมี
ประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเพื่อบรรลุพันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
(Martin, 2016, pp.1, 8) การจัดการทางการเงิน คือการวางแผนทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจและ
ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ถ้าหากธุรกิจปราศจากแผนการทางการเงินท่ีได้
คำนวณอย่างรอบคอบแล้วน้ัน โอกาสที่ธุรกิจจะอยู่รอดจึงเป็นไปได้ยาก ถึงแม้วา่ ผลิตภัณฑ์และการทำ
การตลาดจะมีประสิทธิผลเพียงใดก็ตาม การจัดการทางการเงนิ จึงมีความสำคัญกบั ทุกธุรกิจไม่ว่ากจิ การ
จะมีขนาดใดก็ตาม (Nickels, McHugh & McHugh, 2012, pp.486-487) ดังน้ันสรุปได้ว่าการจัดการ
ทางการเงิน คือการทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ทางการเงินไม่ว่าจะเป็นการวางแผนทางการเงิน การจัดหา
เงินทุน จัดสรรเงินทุน และการใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ธุรกิจ
ดำเนินไปได้อย่างไม่ติดขัดภายใต้ข้อจำกัดและสถานการณ์ท่ีเกิดข้ึนในการดำเนินงาน และเกิด
ประสิทธผิ ลคอื การบรรลุเปา้ หมายทางการเงินทีก่ ำหนดไว้

ความสำคญั ของการจัดการทางการเงิน
การจัดการทางการเงินเป็นหน้าที่งานซ่ึงมีความสำคัญในการบริหารธุรกิจ เพราะเสมือน
เปน็ การแปลเร่ืองราวการเงินท้ังหมดของธุรกจิ ให้เป็นข้อมูลที่มคี วามหมายซึ่งนำไปใชป้ ระโยชน์ในการ
กำหนดนโยบายธุรกิจ การจัดการการเงนิ ท่ีดีทำให้เห็นภาพการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในปัจจุบันและ
อนาคต ซ่ึงสะท้อนให้เห็นถึงการตัดสินใจของผู้ประกอบการหรือผู้บริหารการเงินในการลงทุน การ
จัดหาเงินทุน และนโยบายด้านเงินปันผล การจัดการทางการเงินยังมีผลต่อการกำหนดลักษณะและ
ประเภทของงาน ตำแหน่งหน้าที่งาน วิธีการส่ือสารในองค์การ ตลอดจนเอกสารรายงานทางการเงิน
ของกิจการ (เพ็ญพิมล ลีโนทัย, 2554, หน้า 5) นอกจากนี้การจัดการทางการเงินมีบทบาทสำคัญต่อ
ธุรกิจ เพราะการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจโดยส่วนใหญ่ย่อมต้องเก่ียวพันกับเงินเสมอ ถ้าหากการ
หมุนเวียนเงินหยุดชะงัก การดำเนินงานทางธรุ กิจย่อมสิ้นสุดลง ประกอบกับในยุคปัจจบุ ันการดำเนิน
ธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม
เทคโนโลยี ฯลฯ การเปล่ียนแปลงดังกล่าวเหล่านี้ย่ิงทำให้การจัดการทางการเงินมีความสำคัญมากข้ึน
เพราะถ้าหากตัดสินใจเก่ียวกับการจัดการทางการเงินท่ีผิดพลาด หรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ทาง

197

ธุรกิจที่เกิดขึ้น อาจส่งผลให้ธุรกิจล้มละลาย หรือต้องเลิกกิจการไปในท่ีสุด ในทางกลับกันหากการ
ตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้องสอดรับกับสภาพการณ์ ย่อมส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของกิจการ และ
เกิดผลดีกับบุคลากรของกิจการตามมา รวมทั้งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยส่วนรวมอีก
ด้วย (สุนา สุทธิเกียรติ และอัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, 2559,หน้า 6-30) จากรายงานการศึกษาวิจัยได้
ระบุว่าการจัดการทางการเงินท่ีไม่ดี คือสาเหตุสำคัญท่ีทำให้เกิดความล้มเหลวของธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม (SMEs) โดยส่วนใหญ่ (Karadag, 2015, p.25) อีกท้ังมีงานวิจัยซ่ึงรายงานว่าความ
ล้มเหลวของธุรกิจขนาดเล็กโดยมากมักเกิดจากสาเหตุสำคัญในการจัดการทางการเงิน ไม่ว่าจะขาดการ
วางแผนการเงิน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุน ขาดเงินทุน ไม่วางแผนการเติบโต ขาดกลยุทธ์และ
โครงการทางการเงินท่ีดี จัดสรรเงนิ ลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมากเกินไป และความผิดพลาดในการ
จัดการเงินทุน (Salazar, Soto & Mosqueda, 2012, p.332) ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าการจัดการทาง
การเงินมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานทางธุรกิจ ตลอดจนความสำเร็จหรือความ
ลม้ เหลวที่จะเกิดขึ้นกับธรุ กิจในอนาคต

เป้าหมายของการจดั การทางการเงนิ
การจัดการทางการเงินของธุรกิจมีเป้าหมายหลักที่สำคัญคือ การทำให้เกิดความมั่งค่ัง
สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นปัจจุบัน (maximize present shareholders’ wealth) ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น
ที่เป็นผู้ประกอบการซึ่งเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ที่ซื้อหุ้นของกิจการ เพราะล้วนต้องการผลตอบแทน
จากการลงทุน จากท่ีกล่าวมาเห็นได้วา่ เป้าหมายทางการเงนิ แตกตา่ งจากเป้าหมายโดยทั่วไปของธุรกิจ
ท่ีต้องการกำไรสูงสุด (profit maximization) สาเหตุที่การจัดการทางการเงินไม่ได้เน้นท่ีกำไรสูงสุด
เนื่องจากกำไรมีความหมายไม่ชัดแจ้งไม่ว่าจะเป็นกำไรทางบัญชีหรือทางเศรษฐศาสตร์ เพราะกำไร
ทางบัญชีน้ัน ไม่แน่นอนข้ึนอยู่กับหลักการบัญชีท่ียอมรับกันทั่วไปและวิธีการบันทึกบัญชีท่ีแต่ละธุรกิจ
ถือปฏิบัติ จึงไม่สามารถเปรียบเทียบผลกำไรระหว่างธุรกิจได้อย่างชัดเจนแม้ว่าดำเนินธุรกิจประเภท
เดียวกัน ส่วนกำไรทางเศรษฐศาสตร์ไม่ชัดเจนเช่นกัน เพราะนำเร่ืองการเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจมา
เป็นปัจจัยในการพิจารณาเปรียบเทียบกำไร อีกท้ังกำไรสูงสุดเป็นเป้าหมายที่ไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าเงิน
ตามเวลาแตค่ ำนึงเฉพาะมูลค่าของผลตอบแทน (เพญ็ พมิ ล ลีโนทยั , 2554, หน้า 4; ฐาปนา ฉ่นิ ไพศาล,
2558, หน้า 1-3) เช่น การลงทุนของกิจการในเวลา 5 ปี ได้รับกำไรปีละ 200,000 บาท กับได้รับผล
กำไรคร้ังเดียวในปีท่ี 5 คือ 1,000,000 บาท มูลค่าเงินตามเวลาย่อมไม่เท่ากัน เงินที่ได้รับก่อนย่อมมี
คา่ มากกว่าเงินท่ีได้รับภายหลังเพราะนำไปใช้หาประโยชน์ได้ก่อน นอกจากนี้กำไรสูงสดุ เป็นเป้าหมาย
ท่ีไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอ่ืน ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกำไร เช่น ในเร่ืองความเสี่ยงจากผลตอบแทนท่ีจะได้รับใน
อนาคต เพราะถึงแม้ธุรกจิ มีกำไรเท่ากันกไ็ ม่ได้แปลว่าธุรกิจมีความเสีย่ งเท่ากัน ในเร่ืองนโยบายการจัดหา
เงินทุน เพราะถึงแม้ธุรกิจมีกำไรเท่ากันแต่ต้นทุนทางการเงินจากการจัดหาเงินทุนอาจไม่เท่ากัน ในเรื่อง
นโยบายเงินปันผล ซึ่งถ้าธุรกิจต้องการกำไรสูงสุด ย่อมนำกำไรที่ได้รับไปลงทุนต่อเพื่อให้ได้รับประโยชน์
มากข้ึนโดยไม่จ่ายเงินปันผล เม่ือผู้ถือหุ้นไม่ได้รับผลตอบแทนราคาหุ้นสามัญของธุรกิจจะลดลง ฯลฯ จึง
เห็นได้วา่ เป้าหมายกำไรสูงสุดยังมีข้อบกพรอ่ ง (อภิรดา สุทธิสานนท์, 2556, หน้า 7) แต่คำว่าความม่ังค่ัง
สูงสุด (wealth maximization) เป็นเป้าหมายธุรกิจท่ีกว้างกว่ากำไรสูงสุด โดยให้ความสำคัญกับ

198

ความมั่งคั่งของผู้เป็นเจ้าของกิจการซ่ึงมีผลกระทบต่อราคาตลาดหุ้นสามัญของกิจการ มูลค่ากำไรต่อ
หุ้นสูงสดุ จะให้ความหมายท่ีมากกว่ากำไรสงู สดุ (ฐาปนา ฉิน่ ไพศาล, 2558, หน้า 1-3)

อย่างไรก็ดีมีข้อโต้แย้งว่ากรณีกิจการจัดตั้งในรูปแบบองค์การธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทก็จะ
ไม่มีผู้ถือหุ้น ดังน้ันในปัจจุบันจึงปรับเป้าหมายทางการเงินคือ การสร้างมูลค่ากิจการสูงสุด
(maximize the value of the firm) เมื่อกิจการมีมูลค่าสูงสุดก็จะส่งผลให้ราคาหุ้นสูงตามไป
ด้วยและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ถือหุ้น จึงแปลความได้ว่ามูลค่ากิจการสูงสุดน้ันมีทิศทางเดียวกับ
มูลค่าหุ้นสูงสุดน่ันเอง ดังนั้นเป้าหมายทางการเงินคือ การสร้างมูลค่ากิจการสูงสุด จึงใช้ได้กับทุก
กิจการไม่ว่าจะจัดต้ังองค์การธุรกิจในแบบกิจการเจ้าของคนเดียว หรือห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท
เป้าหมายทางการเงินนี้ถือว่าเป็นความท้าทายผู้ทำหน้าท่ีจัดการทางการเงินของธุรกิจ (ยุวดี ไชยศิริ,
2556, หน้า 1-6) หรือกล่าวได้ว่าเป้าหมายสำคัญของการจัดการทางการเงิน คือการสร้างความม่ังคั่ง
จากความพยายามทำใหม้ ลู คา่ ของกจิ การมีคา่ สงู สดุ

ปัจจัยซ่ึงกำหนดมูลค่ากิจการคือ ความสามารถในการทำกำไร (profitability) และ
ความเส่ียง (risk) ซ่ึงความสามารถในการทำกำไร คือ การบริหารการเงินท่ีกิจการนำเงินไปลงทุนใน
สนิ ทรัพยท์ ่ีกอ่ ให้เกิดผลตอบแทนสงู ส่วนความเส่ียงคือ เหตุการณท์ ี่ไมพ่ ึงประสงค์ซง่ึ หากเกดิ ขึ้นแลว้ จะ
ส่งผลกระทบให้วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเบ่ียงเบนไปจนไม่อาจบรรลุผลได้ ดังนั้นถ้ากิจการมีความ
สามารถในการทำกำไรสูงแต่มีความเสี่ยงต่ำจะทำให้มูลค่าของกิจการเพ่ิมข้ึน ในทางกลับกันถ้ากิจการมี
ความสามารถในการทำกำไรต่ำแต่มีความเสยี่ งสูง มูลค่าของกิจการจะลดลง อย่างไรก็ดีความสามารถใน
การทำกำไรและความเสี่ยงของกิจการข้นึ อยู่กับปัจจัยหลกั ต่อไปนี้ 1) ประเภทของธุรกิจ เนอ่ื งจากธุรกิจ
ตา่ งประเภทกันย่อมมีความสามารถในการทำกำไรและมีความเสี่ยงต่างกัน ธุรกิจท่ีมีความสามารถในการ
ทำกำไรสูงก็มักมีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย ในทำนองเดียวกันธุรกิจที่มีความสามารถในการทำกำไรต่ำก็มี
ความเส่ียงต่ำ 2) ขนาดของกิจการ ถ้ากิจการใช้เงินลงทุนมากย่อมมีโอกาสทำกำไรสูงแต่ก็จะมีความ
เส่ียงสูงกว่ากิจการท่ีมีขนาดเล็กซ่ึงใช้เงินลงทุนน้อยกว่า 3) ชนิดของอุปกรณ์หรือเคร่ืองจักร ซึ่งถ้ามี
ประสิทธิภาพสูงก็มักต้องลงทุนสูง แต่ก็มีโอกาสทำกำไรได้สูง และมีความเส่ียงสูงด้วยเช่นกัน 4) การ
ใช้ประโยชน์จากหน้ี ถ้าหากกู้ยืมเงินมาลงทุนมาก โอกาสได้กำไรมาก แต่ความเสี่ยงสูง แต่ถ้ากู้ยืมมา
น้อย กำไรก็จะน้อยแต่ความเส่ียงต่ำ 5) สภาพคล่อง กิจการท่ีมีสภาพคล่องสูงมักลงทุนในสินทรัพย์
หมุนเวียนมาก กำไรจะน้อยแต่มีความเส่ียงต่ำ ในทางกลับกันธุรกิจที่มีสภาพคล่องต่ำคือลงทุนใน
สินทรัพย์หมุนเวียนน้อย กำไรสงู และมคี วามเสี่ยงสงู (อภริ ดา สทุ ธสิ านนท์, 2556, หน้า 7)

หน้าทง่ี านทางการเงิน
ผู้บริหารการเงินต้องตระหนักและมีความละเอียดรอบคอบในการทำหน้าที่งานทาง
การเงนิ ในประเด็นสำคัญ ได้แก่ การวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงนิ ทุน และการ
ควบคมุ ทางการเงิน (ฐาปนา ฉิน่ ไพศาล, 2558, หน้า 1-5-1-6) โดยสรุปรายละเอียดในแต่ละหนา้ ทไี่ ดด้ ังน้ี
1. การวางแผนทางการเงิน (financial planning) เป็นหน้าที่แรกในการจัดการทาง
การเงินเพื่อประมาณการเงนิ ทุนท่ีต้องการต่อการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ทุกระยะของธรุ กจิ ได้แก่
การลงทนุ เมื่อเร่มิ ต้นกิจการ การเสริมสภาพคลอ่ ง (liquidity) ให้แก่กิจการด้วยการมีเงนิ ทนุ หมุนเวยี น
เพียงพอและเหมาะสมต่อการดำเนินงานประจำวัน และการพัฒนาธุรกิจให้เกิดความเจริญก้าวหน้า

199

ตอ่ ไปในอนาคต ท้ังนี้ในการวางแผนทางการเงนิ มีข้นั ตอนหลักสำคัญ 3 ประการคือ การประมาณการ
ทางการเงนิ ท่ีต้องการทั้งในระยะสน้ั และระยะยาว การดำเนนิ การให้มีเงินทุนหรืองบประมาณเพยี งพอ
ตามที่ต้องการ และการสร้างระบบการควบคุมทางการเงิน (Nickels, McHugh & McHugh, 2012,
p.489) อย่างไรก็ดีผู้บรหิ ารการเงินตอ้ งศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกธุรกิจในประเด็นต่าง ๆ ท่ีคาดว่า
จะส่งผลกระทบตอ่ การจัดการทางการเงิน เชน่ สภาพเศรษฐกิจ นโยบายรฐั บาล ฯลฯ ท้ังนี้เพ่ือให้มีขอ้ มูล
เพยี งพอต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางการเงินของกิจการได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ

2. การจัดหาเงินทุน (financing) เป็นการพิจารณาและตัดสินใจว่ากิจการควรจัดหา
เงินทุนมาในลักษณะใดจึงจะเพียงพอและเกิดประโยชน์ต่อการประกอบการ อีกทั้งเสียค่าใช้จ่ายน้อย
ที่สุด ทงั้ นี้การจัดหาเงินทนุ แบง่ ออกเปน็ 2 ลักษณะ ดังนี้

2.1 การจัดหาเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ (equity financing) คือ การนำเงิน
ของเจ้าของกิจการมาลงทุน รวมถึงจากกำไรสะสม และการระดมเงินทุนจากการออกตราสารทุน
(equity instruments) เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หน่วยลงทุน ฯลฯ ท้ังน้ีผู้ถือตราสารทุนมีสถานะ
เป็นเจ้าของกิจการ ในการจัดหาเงินทุนจากส่วนของเจ้าของถือได้ว่าเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับ
กิจการเพราะไม่มีภาระต้องชำระคืน อย่างไรก็ดีเงินทุนส่วนนี้หากพิจารณาโดยละเอียดมีต้นทุนแพงกว่า
การจัดหาจากแหล่งอ่ืน ในลักษณะท่ีว่าเจ้าของกิจการมีความเส่ียงในการนำเงินมาลงทุน จึงย่อม
คาดหวังผลตอบแทนท่ีสูงเพื่อชดเชยความเสี่ยงดังกล่าว โดยอัตราผลตอบแทนท่ีต้องการก็คือต้นทุน
ของเงินทุนน่ันเอง (พรรณภุ า ธุวนิมิตรกุล, 2558, หน้า 4) ดงั นน้ั หากโครงสรา้ งทางการเงนิ ของกิจการ
จัดหาเงินทุนจากส่วนของเจ้าของมากกว่าจัดหาจากการก่อหนี้ ย่อมมีต้นทุนทางการเงินสูงจากความ
เสี่ยงท่นี ำเงนิ มาลงทุน แตม่ คี วามเสยี่ งตำ่ ในเรอ่ื งการชำระหนีไ้ ม่ไดต้ ามเวลา

2.2 การจัดหาเงินทุนจากการก่อหนี้ (debt financing) การจัดหาเงินทุนใน
ลักษณะนี้สามารถทำโดยการกู้ยืมเงิน และการออกตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน ต๋ัวสัญญาใช้เงิน
ฯลฯ ท้ังนี้ผู้ถือตราสารหน้ีมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ จึงเห็นได้ว่าการจัดหาเงินทุนจากการก่อหน้ีทำ
ให้ธุรกิจมีภาระผูกพันทางการเงินในการชำระหน้ีและมีต้นทุนทางการเงินท่ีสำคัญคือดอกเบี้ย อีกท้ัง
เพิม่ ความเสย่ี งทางการเงนิ หากการดำเนินธุรกิจไม่ได้เป็นไปตามท่ีคาดการณ์ไว้ (พรรณภุ า ธุวนิมิตรกุล,
2558, หน้า 4) ถ้าเลือกท่ีจะจัดหาเงินทุนด้วยการก่อหนี้ ต้องพิจารณาถึงระยะเวลาการใช้คืนเงินทุน
และอัตราดอกเบี้ยของแต่ละแหล่งเงินทุน ซ่ึงแหล่งเงินทุนตามระยะเวลาแบ่งเป็นแหล่งเงินทุนระยะส้ัน
โดยมีกำหนดเวลาการใช้คืนเงินทุนภายใน 1 ปี แหล่งเงินทุนระยะปานกลางซึ่งมักกำหนดระยะเวลาการ
ชำระคืนเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี และแหล่งเงินทุนระยะยาวซ่ึงกำหนดระยะเวลาการชำระคืนเกิน
กว่า 5 ปี ขึ้นไป ทั้งน้ีแหล่งเงินทุนระยะส้ันจะมีอัตราดอกเบ้ียต่ำกว่าแหล่งเงินทุนที่มีระยะเวลาชำระคืน
ยาวกว่า แต่เม่ือต้องชำระคืนเร็วกว่าย่อมทำให้เกิดความเส่ียงสูงกว่าแหล่งเงินทุนระยะยาว ดังน้ัน
ผู้บรหิ ารซึ่งทำหน้าที่จัดการทางการเงนิ จึงต้องตัดสินใจเลือกแหล่งเงินทุนให้มีความเหมาะสมกับการ
ดำเนินงานและความสามารถในการใช้คืนของกิจการ หากโครงสร้างทางการเงินของกิจการมีส่วนของ
หนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของ ย่อมมีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่าการมีส่วนของเจ้าของมากกว่า เพราะ
ดอกเบ้ียจากการชำระหนี้นำไปหักภาษีได้ แต่กิจการก็มีความเส่ียงเพิ่มในเร่ืองการชำระหนี้ไม่ได้ตาม
เวลา

200

ดังน้ันการจัดหาเงินทุนควรมาจากส่วนของเจ้าของ และมาจากการก่อหนี้ในสัดส่วน
เป็นอย่างใด ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนถึงเรื่องต้นทุนและความเส่ียงทางการเงิน รวมถึงเรื่องเวลาในการ
จัดหาและใช้คืนเงินทุนซ่ึงมีผลต่อสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ถ้าหาก
พิจารณางบแสดงฐานะการเงนิ ของกจิ การ การจดั หาเงนิ ทนุ กจ็ ะอยูใ่ นด้านหน้ีสินและส่วนของเจ้าของ

3. การจัดสรรเงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ (asset allocation) ในการจัดการ
ทางการเงินผู้บริหารต้องวางแผนและตัดสินใจว่าควรแบ่งเงินทุนไปลงทุนให้อยู่ในรูปในสินทรัพย์
ประเภทใดบ้าง อาจกล่าวได้ว่าเป็นการหาแหล่งใช้ไปของเงินทุน เพ่ือให้ธุรกิจดำเนินงานได้และมี
รายได้ ทั้งนกี้ ารจดั สรรเงินทุนจะเป็นการลงทุนอยู่ในสินทรพั ย์ 2 ประเภท ดังนี้

3.1 การจัดสรรในสินทรัพย์หมุนเวียน (current asset allocation) เป็นการใช้
จ่ายเงินทุนในการดำเนินงานทางธุรกิจ โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างรายได้ เช่น การลงทุนในสินค้าคงคลัง
เพอ่ื ใหม้ ีสนิ ค้าไวข้ ายตอ่ การลงทนุ ในบญั ชลี กู หนี้ซึ่งเกิดจากการขายสนิ ค้าใหแ้ ก่ลูกค้าเปน็ เงินเชื่อ เพื่อ
เพ่มิ ยอดขายให้มากขึ้น ฯลฯ

3.2 การจัดสรรในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (non-current asset allocation) เป็น
การลงทุนเพ่ือสร้างรายได้ระยะยาว เช่น การสร้างโรงงาน การซ้ือเคร่ืองจักร ฯลฯ ทำให้ธุรกิจได้
ประโยชน์ในลักษณะที่สามารถควบคุมแผนการผลิตและควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับที่
เหมาะสมและมีประสทิ ธิภาพสูงสุด แต่อยา่ งไรก็ดีการลงทุนในสินทรัพยป์ ระเภทนี้กอ่ ให้เกิดความเสี่ยง
เนื่องจากสินทรัพย์มีค่าเส่ือมราคาไปตามเวลา เกิดเป็นภาระของกิจการหากยอดขายไม่ได้ตาม
เป้าหมาย

หากผู้บริหารจดั สรรเงนิ ทุนของกิจการอยู่ในสนิ ทรพั ยห์ มุนเวียนจำนวนมาก กิจการจะ
มสี ภาพคล่องสูง เพราะสนิ ทรัพย์หมนุ เวยี นเปลีย่ นเปน็ เงินสดไดเ้ ร็ว แต่ความสามารถในการทำกำไรต่ำ
ในทางกลับกันถ้าจัดสรรเงินทุนไปอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมาก จะทำให้กิจการมีสภาพคล่องต่ำ
และมีความเสี่ยงทางการเงินสูงจากการไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามท่ีกำหนด เพราะสินทรัพย์ไม่หมนุ เวียน
เปลีย่ นเปน็ เงินสดได้ชา้ แต่มคี วามสามารถในการทำกำไรสงู ดังนน้ั การจัดสรรเงินทุนไปลงทุนในสินทรัพย์
ประเภทใด สัดส่วนเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาถึงเร่ืองสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไร
ถา้ หากพจิ ารณางบแสดงฐานะการเงนิ ของกิจการ การจัดสรรเงินทนุ จะอยใู่ นดา้ นสนิ ทรัพย์

4. การควบคุมทางการเงิน (financial controlling) ผู้บริหารการเงินต้องติดตาม
และตรวจสอบว่าการดำเนินงานทางการเงินที่ผ่านมาเป็นไปตามแผนท่ีวางไว้หรือไม่ อย่างไร รวมท้ัง
ต้องวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมในการใช้จ่ายเงิน ตลอดจนหาทางแก้ไขหากพบปัญหาและ
หาวธิ คี วบคมุ ไม่ให้ปัญหาดงั กล่าวเกดิ ขึ้นซ้ำอกี ข้อมลู จากการวิเคราะหแ์ ละประเมินย่อมเป็นประโยชน์
ต่อประสิทธภิ าพในการวางแผนและการตัดสนิ ใจทางการเงินของธรุ กจิ ตอ่ ไปในอนาคต

หน้าที่ทางการเงินดังกล่าวข้างต้นล้วนมีเป้าหมายสำคัญคอื การสร้างมูลค่ากจิ การสูงสุด
แต่อย่างไรก็ดีต้องคำนงึ ถึงความรับผิดชอบตอ่ ผู้มีส่วนได้สว่ นเสียทุกฝ่าย ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน ชุมชน
เจ้าหน้ี รัฐบาลและสังคม กล่าวคือ ลงทุนผลิตสินค้าหรือจัดหาสินค้าท่ีมีคุณภาพดีเหมาะสมกับราคา
และไม่เอาเปรียบลูกค้า ใช้จ่ายเงินเพื่อให้ผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมแก่พนักงาน ดำเนินงานหรือทำ
กิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน รับผิดชอบในภาระหน้ีสินใดๆ ที่มีต่อ
เจา้ หน้ี และชำระภาษีใหแ้ ก่รฐั บาลในฐานะการเป็นพลเมืองทีด่ ีของประเทศ

201

การวิเคราะห์งบการเงนิ

ผู้บริหารซึ่งทำหน้าท่ีในการจัดการทางการเงินต้องรู้สภาพการเงินท่ีแท้จริงของกิจการ
เพื่อตดั สินใจทางการเงนิ ไดอ้ ย่างถูกตอ้ งและบรรลุเป้าหมายตามตอ้ งการ โดยการใช้ข้อมูลจากงบการเงิน
มาทำการวิเคราะห์ เพ่ือจะไดท้ ราบถึงฐานะทางการเงนิ จุดเด่นจุดด้อยทางการเงนิ ของกิจการ และผล
การดำเนินงานของกิจการท่ีผ่านมาในอดีตและปัจจุบันว่าเป็นเช่นใด หากพบปัญหาจะได้แก้ไขได้อย่าง
ทันท่วงที จึงเห็นได้วา่ การวิเคราะห์งบการเงินเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนทางการเงิน และยังช่วยใน
การควบคุมทางการเงินอกี ดว้ ย

ความหมายของงบการเงนิ และการวิเคราะหง์ บการเงิน
งบการเงิน(financial statement) คือรายงานทางการเงินท่ีแสดงข้อมูลเก่ียวกับฐานะ
ทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหน่ึง รวมท้ังผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหน่ึง ผู้ใช้
งบการเงินสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของกิจการท้ังในด้านความสามารถ
ในการทำกำไร ความเส่ียงในการดำเนินงาน และการรักษาสภาพคล่องของกิจการ (กัลยานี ภาคอัต,
2556, หน้า 3-6) งบการเงินยังหมายถึงรายงานทางบัญชีของกิจการท่ีแสดงเป็นตัวเลขที่จัดทำขึ้นมาใน
รอบระยะเวลาบัญชเี พอื่ รายงานให้แกเ่ จา้ ของกิจการ หรอื บุคคลทัว่ ไปท่ีต้องการทราบถึงฐานะการเงิน
และผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชที ่ีผ่านมา (ฐาปนา ฉน่ิ ไพศาล, 2558, หน้า 2-1)
กล่าวได้ว่างบการเงินเป็นรายงานทางการเงินท่ีสะท้อนสภาพของกิจการให้เห็นถึงผลการตัดสินใจทาง
การเงินในเร่ืองการลงทุน การจัดหาเงินทุน และผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งน้ี
งบการเงินท่ีสำคัญของกิจการโดยทั่วไป ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน และงบกำไรขาดทุน (เพ็ญพิมล
ลีโนทัย, 2554, หน้า 17) สรุปได้ว่างบการเงินเป็นรายงานทางการเงินท่ีแสดงข้อมูลของกิจการเกี่ยวกับ
ฐานะทางการเงนิ และผลการดำเนินงานของกจิ การในรอบระยะเวลาหน่ึง ๆ
การวิเคราะห์งบการเงิน (financial statement analysis) คือกระบวนการค้นหา
ข้อเท็จจริงเก่ียวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการใดกิจการหนึ่งจากงบการเงิน
ของกิจการน้ัน พร้อมทั้งนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจต่อไป (อภิรดา สุทธิสานนท์,
2556, หน้า 4) หรอื กลา่ วได้วา่ คอื กระบวนการท่ีใชห้ ลักการและประสบการณ์ในการอธิบายงบการเงิน
ของกิจการใดกิจการหน่ึงว่ามีฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริงเป็นอย่างไร และนำผล
ท่ีได้ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจต่อไป (ฐาปนา ฉ่ินไพศาล, 2558, หน้า 2-3; กัลยานี ภาคอัต,
2556, หน้า 3-6) การวิเคราะห์งบการเงินเป็นเคร่ืองมือที่ใช้ในการประเมินฐานะทางการเงิน ผลการ
ดำเนินงานและกระแสเงินสดของกิจการ โดยใช้ข้อมูลท่ีได้มาจากงบการเงินมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ
ทำให้ทราบถึงจุดดีและจุดบกพร่องในด้านต่าง ๆ ท้ังในอดีตและปัจจุบัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ข้อมูล
เพื่อประมาณการแนวโน้มในอนาคตได้อีกด้วย การใช้ข้อมูลจากงบการเงินมีข้อดีคือ เป็นข้อมูลท่ีพรอ้ ม
จะนำมาใช้ ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยอาจมีข้อมูลจากแหล่งภายนอกอ่ืนมาประกอบการพิจารณา
ก็จะช่วยให้ผู้ต้องการข้อมูลนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ (สุชาดา สถาวรวงศ์, 2557,
หน้า 2-25) สรุปได้ว่าการวิเคราะห์งบการเงิน หมายถึงกระบวนการที่ทำให้ทราบฐานะทางการเงิน
และผลการดำเนินงานของกิจการจากข้อมูลในงบทางการเงิน เพ่ือนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน
การควบคมุ และการตดั สินใจทางการเงนิ ทีเ่ กีย่ วกบั กจิ การต่อไปในอนาคต

202

ผูใ้ ชป้ ระโยชน์จากการวเิ คราะหง์ บการเงิน
การวิเคราะห์งบการเงินมีประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เก่ียวข้องทั้งท่ีเป็นบุคคลภายในและ
ภายนอกองค์การ โดยแต่ละฝา่ ยมีเป้าหมายจากการวิเคราะหง์ บการเงินทต่ี า่ งกัน ดงั น้ี
1. ผู้บรหิ าร ซึ่งเป็นบุคคลภายในองค์การ มีเป้าหมายเพื่อต้องการทราบภาพรวมฐานะ
ทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ รวมทั้งข้อด้อยทางการเงินของกิจการ เพื่อหาทางแก้ไข
รวมทง้ั วางแผนและควบคุมการดำเนนิ งานให้เกิดผลท่ดี ียิง่ ข้ึนกว่าเดิม
2. ผู้ลงทนุ ภายนอก มเี ป้าหมายเพ่ือนำผลการวเิ คราะห์งบการเงนิ ของกจิ การไปใช้ในการ
พจิ ารณาประเมนิ ความเส่ียง และความคุ้มค่าของผลตอบแทนทจี่ ะนำเงินมาลงทุนกบั กิจการน้ัน ๆ
3. เจ้าหนีข้ องกจิ การ มเี ปา้ หมายเพ่ือตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ
และความเสย่ี งทจ่ี ะไม่ได้รับชำระคนื เพอื่ ประกอบการให้สนิ เช่ือแก่กจิ การ
4. ผสู้ อบบญั ชี มีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบและรบั รองงบการเงนิ ของกจิ การว่าถกู ต้องและ
ถกู หลกั การหรอื ไม่
5. สรรพากร ต้องการผลการวิเคราะห์งบการเงิน โดยมีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบความ
ถกู ตอ้ งและประเมินสถานะทางการเงินของกิจการ รวมท้ังควบคุมใหก้ ิจการปฏิบัติหรือดำเนนิ การทาง
ภาษอี ย่างถกู ตอ้ ง

ขอ้ ดแี ละข้อจำกัดของการวเิ คราะหง์ บการเงิน
ข้อดี การวิเคราะห์งบการเงินซ่ึงเป็นพื้นฐานท่ีสำคัญในการจัดการทางการเงิน มีข้อดีดังน้ี
(เทิดศกั ดิ์ ทวธี รี ะธรรม, 2558, หน้า 8-10)
1. งบการเงินให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปล่ียนแปลง
ฐานะทางการเงินของกิจการ เพราะงบการเงินเป็นเคร่ืองมือบันทึกอดีต เพ่ือให้ผู้ใช้งานสามารถนำไป
ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และสามารถนำมาใช้เป็นเคร่ืองมือในการคาดการณ์ฐานะทางการเงินในอนาคต
ของกจิ การ
2. งบการเงินนำไปใช้ประโยชน์เพื่อประกอบการตัดสินใจได้หลายวัตถุประสงค์ ขึ้นอยู่
กับผู้ใช้งาน เช่น ผู้ลงทุน ลูกจ้าง เจ้าหนี้ คู่ค้า รัฐบาล และสาธารณชน รวมท้ังสามารถใช้ประเมิน
ประสิทธิภาพในการบริหารกิจการของผู้บริหาร อย่างไรก็ดีงบการเงนิ จะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเม่ือมี
คุณสมบัติสำคัญคือ มีความเข้าใจได้ มีข้อมูลท่ีเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ประเมิน
เหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ ตลอดจนมีความเชื่อถือได้ และเปรียบเทียบกันได้ทั้งการ
เปรยี บเทียบย้อนหลงั การเปรยี บเทียบระหว่างกิจการ และการเปรียบเทียบเชิงคุณภาพในกรณีการใช้
วธิ ีการบัญชีท่ีแตกตา่ งกนั
ข้อจำกัด การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการ มีข้อจำกัดสำคัญ 5 ประการสำคัญ ดังน้ี
(กลั ยานี ภาคอตั , 2556, หนา้ 3-8-3-9)
1. ข้อมูลจากงบการเงินเป็นข้อมูลในอดีต อาจทำให้บางรายการแสดงมูลค่าที่แตกต่าง
จากมูลค่าในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าการวิเคราะห์งบการเงินของกิจการต่อเน่ืองกันหลายปีซึ่งพอจะเห็น
แนวโน้มการดำเนินงานของธุรกจิ แต่ยังมีปัจจัยอื่นภายนอกท่ีเป็นตวั แปรสำคัญ ดังน้ันนอกเหนือจาก
การวิเคราะหง์ บการเงนิ ควรศกึ ษาและคาดการณ์แนวโน้มปัจจยั อืน่ ประกอบการวิเคราะห์ดว้ ย

203

2. การเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน การนำผลการวิเคราะห์งบการเงินของกิจการไป
เปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงโดยเฉพาะค่าเฉล่ียอุตสาหกรรม ต้องมีวิธีบันทึกบัญชี รอบระยะเวลาบัญชี
นโยบายการประเมินมูลค่าสินทรัพย์และการคิดค่าเสื่อมราคาในลักษณะเดียวกัน ซ่ึงในทางปฏิบัติทำ
ไดย้ าก

3. การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน เน่ืองจากอัตราส่วนที่ใช้ในการ
เปรียบเทียบรายการในงบแสดงฐานะการเงนิ หรืองบแสดงฐานะการเงินเป็นการบันทึกข้อมูล ณ เวลา
ใดเวลาหนึ่งแต่รายการในงบกำไรขาดทุนเป็นงวดเวลาบัญชี 1 ปี อาจให้ข้อมูลได้ไม่ชัดเจน ดังนั้นควร
ใช้รายการในงบแสดงฐานะการเงินท่ีเปน็ เลขถวั เฉล่ียต้นปแี ละปลายปีจะให้ความหมายท่ีชดั เจนกวา่

4. การพิจารณาอัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงินไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอัตราส่วน
ทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การวิเคราะห์ แต่ควรครอบคลุมทุกประเด็นของอัตราส่วนเพื่อให้
สามารถวิเคราะห์ได้ครบทกุ ดา้ น

5. ความรูค้ วามสามารถและประสบการณข์ องผวู้ เิ คราะห์ หากผู้วเิ คราะห์ไม่มีความร้แู ละ
ประสบการณ์ในการวิเคราะห์ท่ีดีพอ อาจส่งผลให้การวิเคราะห์ผิดจากความจริงและไม่สามารถ
นำไปใช้ประโยชนใ์ นการตัดสนิ ใจในการจดั การทางการเงินได้

วิธีการวิเคราะหง์ บการเงิน
การวิเคราะห์งบการเงินท่ีนิยมโดยท่ัวไปมี 2 วิธี คือ การวิเคราะห์ขนาดร่วม และการ
วเิ คราะห์อตั ราส่วนทางการเงิน (เพ็ญพิมล ลีโนทัย, 2554, หนา้ 19; พรรณุภา ธุวนมิ ิตรกุล, 2558, หน้า
74-75) ดังมรี ายละเอยี ดตอ่ ไปน้ี
1. การวิเคราะห์ขนาดรว่ มหรือฐานร่วม (common size analysis) เป็นการคำนวณ
ทุกรายการในงบการเงินให้มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของรายการท่ีเป็นฐาน ซ่ึงทำให้สะดวก
ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพราะทุกรายการอยู่ในฐานเดียวกัน งบการเงินขนาดร่วมท่ีใช้ในการ
วิเคราะห์ ได้แก่ งบกำไรขาดทุนฐานร่วม (common size income statement) และงบแสดงฐานะ
การเงินฐานร่วม (common size balance sheet) ทั้งนี้ในการทำให้เป็นฐานร่วมเดียวกันในงบกำไร
ขาดทุนจะใช้ยอดขายเป็นฐาน ส่วนในงบแสดงฐานะการเงินด้านสินทรัพย์ใช้สินทรัพย์รวมเป็นฐาน
และดา้ นหน้ีสินและสว่ นของเจ้าของ ใช้ผลรวมของหน้ีสนิ และส่วนของเจา้ ของเป็นฐาน

งบการเงินเม่ืออยู่ในฐานร่วมเดียวกันนิยมนำไปเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงาน
ของกิจการในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา (compare with the past performance) เพ่ือหาความ
แตกต่างของผลการดำเนินงานในปัจจุบันกับในอดีตที่ผ่านมา และได้ข้อสรุปว่าผลการดำเนินงานของ
ธรุ กจิ เป็นไปทิศทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิม มีปัจจัยใดท่ีสง่ ผลกระทบ โดยเปรยี บเทยี บขอ้ มูลสว่ นต่าง ๆ
ในงบการเงิน เช่น เปรียบเทียบกำไรสุทธิของปีปัจจุบันกับปีที่แล้วจากงบกำไรขาดทุน เปรียบเทียบ
รายได้ในปีปจั จบุ ันในห้วงเดือนเดยี วกันกับปีที่แลว้ จากงบกำไรขาดทุน เปรยี บเทยี บสว่ นของเจา้ ของใน
ปีปัจจุบันกับปีที่ผ่านมาจากงบแสดงฐานะการเงิน ฯลฯ นอกจากน้ีนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่ง (compare
with the competitors) โดยท่ัวไปแล้วบริษัทใหญ่ ๆ ต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปี
เปิดเผยต่อสาธารณะ หรือการรวบรวมผลการดำเนินงานโดยเฉลี่ยของธุรกิจประเภทต่าง ๆ ที่จัดทำ
โดยสมาคมหรือหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้นจึงเป็นข้อมูลท่ีฝ่ายบริหารสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการ

204

เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของกิจการ เพื่อประเมินความสามารถทางการแข่งขันของกิจการ
และวางแผนการบริหารงานต่อไปในอนาคต ดังตัวอย่างการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกิจการ
ในหว้ งระยะเวลาท่ผี า่ นมา ด้วยการวเิ คราะหข์ นาดร่วม

บริษัทนัมเบอร์วนั จำกัด
งบกำไรขาดทนุ เพ่อื การวิเคราะห์
ประจำปีส้ินสุด 31 ธันวาคม 25X1 และ 25X2

รายได้จากการขาย หนว่ ย: พันบาท Common-size %
ตน้ ทนุ ขาย 25X1 25X2 25X1 25X2
กำไรขัน้ ต้น 8,300 9,500 100 100
ค่าใชจ้ า่ ยในการบรหิ าร 2,800 3,000 33.73 31.57
คา่ ใช้จ่ายในการขาย 5,500 6,500 66.27 68.43
กำไรจากการดำเนินงาน 500 600 6.02 6.32
ดอกเบ้ียจา่ ย 100 115 1.20 1.21
ภาษี 4,900 5,785 59.05 60.90
กำไรสุทธิ 900 1,100 10.84 11.57
120 130 1.45 1.37
3,880 4,555 46.76 47.96

วธิ ีการคำนวณขนาดร่วมในงบกำไรขาดทนุ

ร้อยละ Y = Y X 100

รายได้จากการขาย

ตัวอย่างเชน่ ร้อยละตน้ ทนุ ขายปี 25X1 = ตน้ ทนุ ขายปี 25X1 X 100

รายได้จากการขายปี 25X1

= 2,800 X 100

8,300

= 33.73

ร้อยละของรายการอน่ื คำนวณในทำนองเดียวกนั คอื เทยี บจากฐานรายได้จากการขาย

จากการคำนวณรายการในงบกำไรขาดทุนแบบฐานร่วมของบริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด
แสดงใหเ้ ห็นในปี 25X2 หากกิจการมีรายได้ 100 บาท จะเป็นต้นทนุ สนิ ค้า 31.57 บาท เปน็ คา่ ใชจ้ า่ ย
ในการบริหาร 6.32 บาท และเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย 1.21 บาท เม่ือหักดอกเบี้ยจ่าย 11.57 บาท
และภาษี 1.37 บาท บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 47.96 บาท ค่าท่ีคำนวณได้ดังกล่าวน้ีหากนำไปเปรียบเทียบ
กับงวดบัญชีอื่นของกิจการ หรือเปรียบเทียบกับกิจการอ่ืนที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งคำนวณ

205

ในทำนองเดียวกัน ย่อมเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน เพราะอยู่ในฐานค่าเงินเดียวกันคือ 100 บาท
จากตัวอย่างบริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด เมื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานในปี 25X2 กับปี

25X1 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าในปี 25X2 บริษัท ฯ มีกำไรสุทธิเพ่ิมข้ึน เน่ืองจากมีต้นทุนขายลดลง
แสดงว่าการจัดซ้ือมีประสิทธิภาพท่ีดีขึ้น และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริหารและค่าใช้จ่ายใน
การขายให้เพ่ิมข้ึนเพียงเล็กน้อย จึงทำให้กำไรจากการดำเนินงานเพ่ิมขึ้น นอกจากน้ีบริษัทฯ ได้เพ่ิม
เงินทนุ ระยะยาวทำให้ได้ประโยชน์จากดอกเบ้ียของหน้ีสินระยะยาว มีผลให้อัตราภาษีจ่ายต่อยอดขาย
ของบริษัทลดลง

บริษัทนมั เบอรว์ นั จำกัด
งบแสดงฐานะการเงินเพ่อื การวเิ คราะห์
ณ วนั ที่ 31 ธนั วาคม 25X1 และ 25X2

หน่วย: พันบาท Common-size %

25X1 25X2 25X1 25X2

สนิ ทรัพย์ 1,200 3,100 5.17 10.10
สนิ ทรัพยห์ มนุ เวียน 3,500 5,600 15.09 18.24
เงนิ สด 5,000 7,000 21.55 22.80
ลูกหนีก้ ารคา้ 9,700 15,700 41.81 51.14
สนิ คา้ คงเหลือ
รวมสินทรพั ย์หมุนเวียน 9,500 11,000 40.95 35.83
สนิ ทรัพย์ไม่หมุนเวียน 4,000 4,000 17.24 13.03
ท่ีดนิ อาคาร อุปกรณ์ 13,500 15,000 58.19 48.86
สนิ ทรัพย์ไม่มีตวั ตน 23,200 30,700 100.00 100.00
รวมสินทรพั ยไ์ มห่ มุนเวยี น
รวมสินทรัพย์

วิธกี ารคำนวณขนาดรว่ มในงบแสดงฐานะการเงิน ดา้ นสินทรัพย์

รอ้ ยละ Y = Y X 100

สนิ ทรพั ยร์ วม

ตวั อยา่ งเชน่ ร้อยละเงนิ สดปี 25X1 = เงนิ สดปี 25X1 X 100

สนิ ทรพั ยร์ วมปี 25X1

= 1,200 X 100

23,200

= 5.17

ร้อยละของรายการอ่ืน คำนวณในทำนองเดยี วกัน คอื เทยี บจากฐานสินทรัพยร์ วม

206

บริษทั นมั เบอรว์ นั จำกัด

งบแสดงฐานะการเงนิ เพือ่ การวเิ คราะห์ (ต่อ)

ณ วนั ท่ี 31 ธนั วาคม 25X1 และ 25X2

(หนว่ ย: พันบาท)

งบการเงนิ รวม Common-size %
25X1 25X2
25X1 25X2

หน้สี ินและสว่ นผ้ถู ือห้นุ

หนี้สินหมนุ เวียน

เจา้ หน้ีการคา้ 3,000 4,000 12.93 13.03
1.03 0.85
ตวั๋ เงินจา่ ย 240 260 0.43 0.49
14.39 14.37
หนี้สนิ หมุนเวียนอ่ืนๆ 100 150
21.55 22.39
รวมหนี้สนิ หมนุ เวียน 3,340 4,410 35.94 36.76

หน้ีสินไม่หมนุ เวียน 32.33 24.43
31.73 38.81
หน้สี นิ ระยะยาว 5,000 6,875 64.06 63.24
100.00 100.00
รวมหน้ีสนิ 8,340 11,285

สว่ นของผถู้ ือหนุ้

ทุน-ห้นุ สามัญ 7,500 7,500

กำไรสะสม 7,360 11,915

รวมส่วนของผ้ถู ือหนุ้ 14,860 19,415

รวมหนสี้ นิ และส่วนผถู้ ือห้นุ 23,200 30,700

วิธกี ารคำนวณขนาดรว่ มในงบแสดงฐานะการเงนิ ดา้ นหนสี้ ินและสว่ นของเจา้ ของ

ร้อยละ Y = Y X 100

หนีส้ นิ และสว่ นของเจ้าของ

ตวั อยา่ งเชน่ รอ้ ยละเจา้ หนี้การคา้ ปี 25X1= เจ้าหน้กี ารค้าปี 25X1 X 100
หนสี้ ินและสว่ นผถู้ อื ห้นุ ปี 25X1

= 3,000 X 100
23,200

= 12.93
ร้อยละของรายการอนื่ คำนวณในทำนองเดยี วกนั คอื เทยี บจากฐานหน้ีสนิ และสว่ นผ้ถู ือหนุ้

207

จากการคำนวณรายการในงบแสดงฐานะการเงินแบบฐานร่วมของบริษัทนัมเบอร์วัน
จำกัด แสดงให้เห็นว่าในปี 25X2 หากกิจการมีสินทรัพย์มูลค่า 100 บาท จะเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน
51.14 บาท และเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 48.86 บาท สำหรับในส่วนของหน้ีสินและผู้ถือหุ้นรวม
มูลค่า 100 บาท จะเป็นหน้ีสิน 36.76 บาท และเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น 63.24 บาท เมื่อพิจารณา
สนิ ทรัพย์หมุนเวียนปี 25X1 และ 25X2 พบว่าสินทรัพย์บริษัทฯ มีแนวโน้มเพิ่มข้นึ จากร้อยละ 41.84
เป็นร้อยละ 51.14 ตามลำดับ ในส่วนสินทรัพย์ไม่หมุนเวยี น ในปี 25X1 และ 25X2 พบว่ามีแนวโน้ม
ลดลงจากร้อยละ 58.19 เป็นร้อยละ 48.86 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุจากการลดลงของที่ดิน อาคาร
และอุปกรณ์ จากร้อยละ 40.95 ในปี 25X1 เป็นร้อยละ 35.83 ในปี 25X2 การลดลงดังกล่าว เนื่องมาจาก
การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หมุนเวียน แสดงว่าบริษัทฯ มีสภาพคล่องดีข้ึน เม่ือพิจารณาโครงสร้างด้าน
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ โดยส่วนใหญ่เป็นหน้ีสินไม่หมุนเวียน แสดงว่าการลงทุนใน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน จัดหาเงินทุนมาจากการก่อหน้ีเป็นหลัก สำหรับในส่วนของหน้ีสินหมุนเวียนปี
25X1 และ25X2 พบว่ามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 14.39 เป็นร้อยละ 14.37 แต่ก็นับว่า
เป็นผลดีกับสภาพคล่องของบริษัท ฯ เม่ือพิจารณาในส่วนผู้ถือหุ้น ปี 25X1 และ 25X2 พบว่ามีแนวโน้ม
ลดลงจากร้อยละ 64.06 เป็นร้อยละ 63.24 สาเหตุจากทุน-หุ้นสามัญลดลง จากร้อยละ 32.33 เป็น
ร้อยละ 24.43 การลดลงดังกล่าวนเ้ี น่อื งมาจากบรษิ ัทฯ ก่อหนี้เพม่ิ ขนึ้ โดยเฉพาะหนีส้ นิ ไม่หมนุ เวยี น

2. การวิเคราะห์งบการเงินในรูปอัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงินแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในงบการเงิน การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินจึงเป็นการประเมินด้วยการ
คำนวณและตีความข้อมูลทางการเงินในอัตราส่วนซ่ึงมาจากงบการเงินของธุรกิจ (Nickels, McHugh &
McHugh, 2012, p.473) ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การวิเคราะห์งบการเงินมีประสิทธิภาพมากข้ึน
อตั ราส่วนทางการเงินสามารถแสดงเปน็ รายการเปรียบเทียบระหว่างปีปจั จุบนั กับปีก่อน ๆ เพ่ือให้เห็นถึง
แนวโน้มของธุรกิจ อาจแสดงเป็นรายการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทท่ีศึกษากับบริษัทอ่ืน ๆ ที่อยู่ใน
อุตสาหกรรมเดียวกัน (เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, 2558, หน้า 56) ท้ังนี้การวิเคราะห์งบการเงินในรูป
อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนสภาพหนี้หรือความ
มั่นคงทางการเงิน อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์หรือความสามารถใช้ประโยชน์จาก
สินทรัพย์ลงทุน อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร และอัตราส่วนการประเมินค่า (อภิรดา สุทธิสานนท์,
2556, หนา้ 17-25; พรรณภุ า ธวุ นิมติ รกลุ , 2558, หน้า 80-103) ดงั มีรายละเอยี ดต่อไปนี้

ตัวอย่างการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินต่อไปนี้ จะใช้งบการเงินของบริษัทนัมเบอร์วัน
จำกัด ซง่ึ แสดงงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงนิ ดงั ข้างตน้

2.1 อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratios หรือ short-term solvency ratios)
เป็นการวดั ว่าธุรกิจมคี วามสามารถในการชำระหน้ีระยะสนั้ ให้กับเจ้าหนี้ หรือมีสภาพคลอ่ งทางการเงิน
ดีหรือไม่ หรือมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่แปรสภาพเป็นเงินสดมากน้อยเพียงใด หากอัตราส่วนนี้มีค่าสูง
แสดงว่าธรุ กิจมีสภาพคลอ่ ง อัตราส่วนในกลุ่มน้ียกตวั อยา่ งเพียงบางอตั ราสว่ นทีส่ ำคญั ดังน้ี

2.1.1 อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (current ratio) เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง
สินทรัพย์หมุนเวียนกับหน้ีสินหมุนเวียน หากอัตราส่วนทุนหมุนเวียนมีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีสภาพ
คล่องทางการเงนิ หรือมคี วามสามารถในการชำระหนี้ระยะส้ัน ถ้าอัตราส่วนนมี้ ีคา่ ต่ำใกล้ 1 หรือต่ำกว่า

208

แสดงว่ากิจการมีความสามารถในการชำระหนี้ไม่ค่อยจะดีนัก และกำลังจะขาดเงินสด ซ่ึงส่งผลถึง

เครดติ ในการกูเ้ งนิ จากสถาบนั การเงิน

อตั ราสว่ นทนุ หมุนเวยี น = สนิ ทรพั ยห์ มุนเวยี น

หนีส้ นิ หมนุ เวยี น

อตั ราส่วนทนุ หมนุ เวยี นของบรษิ ัทนมั เบอรว์ นั จำกัด

ปี 25X1 = 9,700 = 2.90 เทา่

3,340

ปี 25X2 = 15,700 = 3.56 เท่า

4,410

จากการคำนวณแสดงว่าบริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด มีสินทรัพย์หมุนเวียนที่

คาดวา่ จะสามารถใช้ชำระหน้ี 2.90 เท่าของหนี้สินหมุนเวียนในปี 25X1 และมีความสามารถชำระหน้ี

เพิ่มข้ึนเป็น 3.56 เท่าของหนี้สินหมุนเวียนในปี 25X2 ถ้าหากผู้พิจารณาอัตราส่วนน้ีคือเจ้าหน้ี ย่อม

ต้องการให้อตั ราสว่ นนม้ี ีค่าสูง เพราะแปลวา่ กิจการมีความสามารถชำระหน้ีได้ดี แต่อยา่ งไรก็ตามผู้ทำ

หน้าท่ีจัดการทางการเงินต้องตระหนักว่า แม้อัตราส่วนทุนหมุนเวียนนี้สูงทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่องที่ดี

ก็ตาม แต่ถ้าสูงเกินความจำเป็นแสดงว่าไม่มีประสิทธภิ าพในการลงทุนของกิจการ เนื่องจากสินทรัพย์

หมุนเวียนใหผ้ ลตอบแทนต่ำ

2.1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (quick ratio หรือ acid-test ratio)
เป็นการวัดสภาพคล่องของกิจการ โดยหักสินทรัพยห์ มุนเวยี นรายการที่ใช้เวลานานในการเปลี่ยนเป็น
เงินสด หรือมีสภาพคล่องต่ำที่สุดออกไป ทั้งน้ีสินทรัพย์หมุนเวียนซ่ึงมีสภาพคล่องต่ำสุดคือ สินค้า
คงเหลือ

อัตราสว่ นทนุ หมนุ เวียนเร็ว
= สินทรัพย์หมุนเวยี น – สินทรัพย์หมุนเวยี นที่มีสภาพคล่องตำ่ สุด

หน้ีสินหมนุ เวยี น

คอื สนิ ค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนท่ีมีสภาพคล่องต่ำสุดของบริษัทบริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด

อัตราสว่ นทุนหมุนเวียนเร็วของบรษิ ัทนัมเบอรว์ นั จำกดั
ปี 25X1 = (9,700-5,000) = 1.41 เท่า

3,340
ปี 25X2 = (15,700-7,000) = 1.97 เท่า

4,410

จากการคำนวณพบว่าในปี 25X2 กิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนท่ีมีสภาพ
คล่องสูงข้ึนกว่าปี 25X1 โดยในปี 25X1 และ 25X2 กิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียน 1.41 เท่า และ 1.97 เท่า
ของหนีส้ ินหมุนเวียนตามลำดับ แสดงวา่ กิจการมีความสามารถชำระหน้ีและมีเงินทุนที่ไม่จมกับสินค้า

209

คงเหลือมากเกินไป และในปี 25X2 การประมาณยอดขายทำได้ดีข้ึนจึงผลิตหรือซ้ือสินค้าไม่มากเกินไป
เงินทุนจึงไปอยใู่ นสนิ คา้ คงเหลือน้อยลง

อย่างไรก็ดีสินค้าคงเหลือของบางกิจการ อาจไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียนท่ีมี
สภาพคล่องตำ่ ที่สุดเสมอไป เชน่ ธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน สินค้าคงเหลือท่เี ปน็ นำ้ มนั จะหมุนเวียนเรว็ มาก
ลักษณะนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเอาสินค้าคงเหลือไปหักออก หรือกรณีลูกหน้ีเกินชำระกว่า 1 ปี และมีแนวโน้ม
เกบ็ เงนิ ไม่ได้ ลูกหนสี้ ว่ นหนีถ้ อื ว่ามีสภาพคลอ่ งตำ่ เป็นรายการทต่ี อ้ งไปหักออก (พรรณุภา ธวุ นิมติ รกุล,
2558, หน้า 82)

2.1.3 อัตราการหมุนเวียนของลูกหน้ีการค้า (accounts receivable turnover)
เพ่ือวิเคราะห์ว่าเมื่อกิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแล้ว สามารถเรียกเก็บหนี้ได้กี่ครั้งในรอบระยะเวลา
บัญชี อัตราการหมนุ เวยี นของลูกหน้ีการคา้ ย่ิงมคี ่าสงู ยงิ่ ดี เพราะแสดงวา่ กิจการเรียกเกบ็ หน้ีได้เร็ว

อัตราการหมนุ เวียนของลูกหน้ีการค้า = ยอดขาย
ลกู หนกี้ ารค้าถวั เฉลี่ย

ลูกหน้ีการคา้ ถัวเฉลยี่ = ลกู หนตี้ ้นงวด + ลกู หนีป้ ลายงวด
2

สมมติให้ ลูกหนี้ต้นงวดและลูกหนี้ปลายงวดมีค่าเท่ากัน ทั้งในปี 25X1
และ 25X2

ดังน้นั อัตราการหมุนเวยี นของลูกหนี้การคา้ บริษทั นมั เบอรว์ นั จำกดั
ปี 25X1 = 8,300 = 2.37 คร้ัง

3,500
ปี 25X2 = 9,500 = 1.70 คร้ัง

5,600
จากการคำนวณจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพการเรียกเก็บหน้ี ของบริษัท
นัมเบอร์วัน จำกัด ปี 25X2 ลดลงจากปี 25X1 กล่าวคือใน 1 รอบระยะเวลาบัญชีเก็บหนี้ได้เพียง
1.70 ครั้ง ถ้าจะให้ระบุได้อย่างชัดเจนว่าตัวเลขน้ีดีหรือไม่ดีมากน้อยเพียงใด ควรเปรียบเทียบกับ
คา่ เฉลยี่ อตุ สาหกรรม
จากอัตราการหมนุ เวียนของลูกหนี้การค้าขา้ งต้น สามารถคำนวณระยะเวลา
การเกบ็ หนี้โดยเฉลยี่ ดงั น้ี
ระยะเวลาการเก็บหน้ี = จำนวนวนั ในงวดบญั ชี

อัตราการหมนุ เวยี นของลูกหน้ี
ถ้าจำนวนวนั ในงวดบัญชีเท่ากบั 360 วนั ดังนน้ั ระยะเวลาการเก็บหน้ีของ
บรษิ ทั นัมเบอรว์ นั จำกดั
ปี 25X1 = 360 = 151.89 วัน

2.37
ปี 25X2 = 360 = 211.76 วัน

1.70

210

จากการคำนวณจะเห็นได้วา่ บริษัทนมั เบอร์วัน จำกัด ใช้เวลาค่อนขา้ งนาน
กว่าจะเก็บหน้ไี ด้ และระยะเวลาการเรยี กเก็บหน้ีเพิ่มขึ้นจาก 151.89 วัน ในปี 25X1 เปน็ 211.76 วัน
ในปี 25X2

2.2 อัตราส่วนสภาพหนี้ หรืออัตราส่วนความมั่นคงทางการเงิน (leverage ratios
หรือ Long term solvency ratios) เป็นการวัดความสามารถของกิจการในการบริหารหน้ีสินระยะยาว
หรืออัตราส่วนซึ่งบ่งบอกถึงความเส่ียงที่อาจเกิดความล้มเหลวทางธุรกิจ (Katz & Green, 2014,
p.513) อัตราส่วนในกลุม่ น้ีมีหลายอตั ราสว่ น ยกตวั อยา่ งเพียงบางอตั ราสว่ นที่สำคัญดังน้ี

2.2.1 อัตราส่วนหน้ีสินต่อส่วนของเจ้าของ (debt ratio หรือ debt to
equity: D/E ratio) เป็นการวัดสภาพคล่องของธุรกิจจากสัดส่วนของหน้ีสินต่อส่วนของเจ้าของ
อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นนโยบายการจัดหาเงินทุนของผู้บริหาร ว่าเน้นการจัดหาเงนิ ทุนส่วนใหญ่ด้วย
การกอ่ หนหี้ รือจัดหาดว้ ยการระดมเงนิ ทุนจากสว่ นของเจ้าของ

อตั ราส่วนหนสี้ ินต่อส่วนของเจา้ ของ = หนี้สนิ รวม
ส่วนของผู้เป็นเจ้าของ

อตั ราสว่ นหน้สี นิ ต่อส่วนของเจา้ ของ บริษัทนมั เบอร์วัน จำกัด
ปี 25X1 = 8,340 = 0.56 เทา่

14,860
ปี 25X2 = 11,285 = 0.58 เทา่

19,415

ในปี 25X1 และ 25X2 บริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด มีหน้ีสินรวมเป็น 0.56 เท่า
และ 0.58 เท่าของเงินทุนส่วนของผู้ถือหุ้น ตามลำดับ แสดงว่ากิจการมีนโยบายทางการเงินในการก่อหน้ี
เพ่ิมขนึ้ แต่อย่างไรกด็ ีการกอ่ หน้ีโดยรวมของกิจการมีคา่ ต่ำกว่า 1 แสดงว่าก่อหนค้ี ่อนข้างน้อย กิจการ
จึงมคี วามเสย่ี งทางดา้ นการเงนิ ตำ่

2.2.2 อัตราส่วนหน้ีสินต่อสินทรัพย์รวม (debt to total asset) อัตราส่วนนี้
แสดงถึงเงินลงทุนในสินทรัพย์ทั้งหมดว่ามาจากหนี้สินมากน้อยอย่างไร ถ้าหากมีค่าสูง กิจการย่อมมี
ความเสย่ี งทางการเงนิ เพราะกจิ การใชเ้ งนิ ทนุ ซ่งึ มาจากการก่อหนีจ้ ำนวนมาก

อัตราสว่ นหน้ีสนิ ต่อสินทรพั ย์รวม = หนสี้ ินรวม
สินทรัพย์รวม

อัตราสว่ นหนีส้ นิ ตอ่ สนิ ทรพั ยร์ วม บริษัทนัมเบอรว์ นั จำกดั
ปี 25X1 = 8,340 = 0.36 เทา่

23,200

211

ปี 25X2 = 11,285 = 0.37 เท่า
30,700

ในปี 25X1 และ 25X2 บริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด มีหน้ีสินรวมเป็น 0.36 เท่า
และ 0.37 เท่าของสินทรัพย์รวม ตามลำดับ แสดงว่ากิจการก่อหน้ีเพิ่มข้ึนเล็กน้อย และมีความเส่ียง
ทางการเงินเพิม่ ขนึ้ กวา่ เดิม

2.3 อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ (activity ratios) หรือ
อัตราส่วนความสามารถใช้ประโยชนจ์ ากสินทรัพยล์ งทุน (asset utilization ratios) เป็นการวัดว่า
สินทรัพย์ที่กิจการได้ลงทุนไป ทำให้เกิดรายได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ หรือสร้างรายได้ให้กับกิจการมาก
นอ้ ยเพยี งใด อตั ราส่วนในกล่มุ นย้ี กตัวอย่างเพยี งบางอตั ราสว่ นทส่ี ำคัญดังน้ี

2.3.1 อัตราการหมุนเวียนของสนิ ทรัพยไ์ ม่หมนุ เวียน (non-current asset
turnover) เป็นการวิเคราะห์ความสามารถในการหารายได้ของกิจการจากสินทรัพย์ไมห่ มุนเวยี น หรอื
กิจการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ไม่หมนุ เวยี นเพ่ือสรา้ งรายได้อยา่ งเหมาะสมหรือไม่

อตั ราการหมุนเวยี นสนิ ทรัพย์ไมห่ มุนเวยี น = ยอดขาย
สินทรัพยไ์ ม่หมุนเวยี น

อัตราการหมุนเวยี นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนของบรษิ ทั นัมเบอรว์ ัน จำกัด
ปี 25X1 = 8,300 = 0.61 เทา่

13,500
ปี 25X2 = 9,500 = 0.63 เทา่

15,000
จากการคำนวณแสดงว่าในปี 25X2 บริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด สร้าง
ยอดขายไดเ้ พยี ง 0.63 เท่าของสินทรัพย์ไม่หมนุ เวียน แม้วา่ เป็นค่าที่คอ่ นขา้ งต่ำแต่ก็ดีข้ึนจากปี 25X1
อย่างไรก็ดีควรเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเพื่อความชัดเจนในการวิเคราะห์ ถ้าหากต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมแสดงว่ากิจการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมากเกินไป เช่น สร้างโรงงาน
อาคาร หรอื ลงทุนในสำนกั งานมากเกินไป แตใ่ ช้ประโยชน์ได้น้อย

2.3.2 อัตราการหมุนเวียนสินทรัพย์รวม (total asset turnover) เป็นการ
วิเคราะห์ความสามารถในการหารายได้ของกิจการจากสินทรัพย์ทั้งหมด หรือกิจการได้ใช้ประโยชน์จาก
สินทรัพย์ทั้งหมดเพอ่ื สรา้ งรายได้อยา่ งเหมาะสมหรือไม่

อตั ราการหมนุ เวียนสินทรัพย์รวม = ยอดขาย
สนิ ทรัพย์รวม

อตั ราการหมุนเวียนสินทรัพย์รวมของบริษัทนัมเบอร์วนั จำกัด
ปี 25X1 = 8,300 = 0.36 เทา่

23,200

212

ปี 25X2 = 9,500 = 0.31 เทา่
30,700

อัตราการหมุนเวียนสินทรัพย์รวมของบริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด มีค่า
ค่อนข้างต่ำ แสดงว่ากิจการสร้างรายได้ไม่มากและมีแนวโน้มลดลงเม่ือเทียบกับสินทรัพย์รวมท่ีลงทุนไป
จงึ ต้องวเิ คราะหล์ งรายละเอียดว่าเกิดปัญหาจากสินทรพั ยร์ ายการใด อาจจะเป็นลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ
หรอื สินทรพั ยไ์ มห่ มุนเวยี น เพื่อแกไ้ ขปัญหาไดอ้ ย่างถูกจุดจากภาพรวมของสินทรัพย์ทัง้ หมดทลี่ งทนุ ไป

2.4 อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (profitability ratios) เป็นการวัด
ความสามารถในการดำเนินงานของกิจการ หรือกล่าวได้ว่าเป็นการวัดประสิทธิผลของการจัดการใน
การสร้างความมั่งค่ังจากการขายหรือการลงทุน (Katz & Green, 2014, p.512) อัตราส่วนในกลุ่มนี้
ยกตัวอยา่ งเพียงบางอตั ราสว่ นท่ีสำคญั ดังน้ี

2.4.1 อัตรากำไรขั้นต้น (gross profit margin) เป็นการวิเคราะห์ว่ากิจการมี
กำไรข้ันต้นมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับยอดขาย อัตราน้ีมีค่าสูงหรือต่ำข้ึนอยู่กับยอดขายสินค้าและ
ต้นทุนวัตถุดิบ หากกำไรขั้นต้นลดลงเมื่อเทียบกับที่ผ่านมา แสดงว่ากิจการขาดประสิทธิภาพในการ
ควบคุมต้นทุนสินค้า หรือขาดความสามารถในการเพิ่มยอดขาย หรือกิจการอาจลดราคาขายลงเพื่อ
การสง่ เสรมิ การตลาด

อัตรากำไรข้ันต้น = กำไรข้ันตน้ x 100
ยอดขาย

อัตรากำไรขั้นต้นของบรษิ ทั นัมเบอร์วนั จำกดั
ปี 25X1 = 5,500 x 100 = 66.27 %

8,300
ปี 25X2 = 6,500 x 100 = 68.42 %

9,500
อัตรากำไรข้ันต้นของบริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด ในปี 25X2 ดีข้ึนกว่าในปี
25X1 แสดงว่าควบคุมต้นทุนสินคา้ ได้ดีขึ้น หรอื เพ่ิมยอดขายได้มากข้ึน หรอื อาจไม่ได้ส่งเสริมการตลาด
โดยการลดราคาขายลง จึงเปน็ ผลให้อัตรากำไรข้นั ตน้ เพิม่ สงู ข้ึนกว่าเดมิ

2.4.2 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (operating profit margin) เป็นการ
วิเคราะห์ว่ากิจการมีกำไรมากน้อยเพียงใดเม่ือหักต้นทุนขาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินงาน
แล้วเทียบกับยอดขาย อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินงานของกิจการได้อย่าง
แท้จรงิ ถา้ กจิ การสามารถรักษายอดขายในระดับคงท่ี อัตราน้ีมคี ่าสูงหรือต่ำจึงข้ึนอยู่กับความสามารถ
ในการควบคมุ ค่าใชจ้ า่ ยในการดำเนินงาน

อัตรากำไรจากการดำเนนิ งาน = กำไรจากการดำเนินงาน x 100
ยอดขาย

213

อตั รากำไรจากการดำเนินงานของบริษทั นมั เบอร์วนั จำกดั
ปี 25X1 = 4,900 x 100 = 59.04 %

8,300
ปี 25X2 = 5,785 x 100 = 60.89 %

9,500
จากค่าที่คำนวณได้แสดงว่าบริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด มีระดับอัตรากำไร
จากการดำเนินงานดีข้ึน แสดงว่าสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ค่าท่ี
คำนวณจึงบง่ ชีป้ ระสทิ ธิภาพของกจิ การในสร้างผลกำไรจากการดำเนนิ งาน

2.4.3 อัตรากำไรสุทธิ (net profit margin) เป็นการวิเคราะห์ว่ากิจการมี

กำไรมากน้อยเพียงใดเมื่อรวมรายได้ท้ังหมดและนำไปหักค่าใช้จ่ายท่ีเกิดขึ้นท้ังหมด แล้วนำมาเทียบ

กับยอดขาย

อตั รากำไรสทุ ธิ = กำไรสุทธิ x 100

ยอดขาย

อตั รากำไรสุทธิของบริษัทนัมเบอร์วัน จำกดั
ปี 25X1 = 3,880 x 100 = 46.75 %

8,300
ปี 25X2 = 4,555 x 100 = 47.95 %

9,500
บริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด มีอัตรากำไรสุทธิดีขึ้นในปี 25X2 เมื่อเทียบกับปี
25X1แสดงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ได้ดีข้ึน ซ่ึงอาจเป็นด้านการ
จัดซ้ือ ด้านการผลิต ด้านการขาย ด้านบุคคล แต่ถ้าหากกิจการใดมีอัตรากำไรสุทธิลดลง จำเป็นต้อง
วิเคราะห์อย่างถ่องแท้ว่าเกิดปัญหาจากค่าใช้จ่ายในส่วนใดที่ไม่สามารถควบคุมได้ จะได้แก้ไขได้อย่าง
ถูกจุด

2.4.4 อัตราผลตอบแทนเงินลงทุน หรืออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์(return
on investment: ROI หรือ return on asset: ROA) เป็นการวัดความสามารถในการดำเนินงาน
เม่ือเทียบกับการลงทุน ถ้าอัตราส่วนน้ีมีค่าสูงแสดงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการจัดการสินทรัพย์
เพ่ือสร้างผลกำไร

อตั ราผลตอบแทนเงินลงทนุ = กำไรสุทธิ x 100
สนิ ทรพั ยท์ ั้งหมด

อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนของบรษิ ทั นมั เบอร์วัน จำกัด
ปี 25X1 = 3,880 x 100 = 16.72 %

23,200

214

ปี 25X2 = 4,555 x 100 = 14.84 %
30,700

จากค่าที่คำนวณได้แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของการลงทุนของบริษัท
นัมเบอร์วัน จำกดั ในปี 25X2 ลดลงจากปี 25X1 เน่ืองจากผลการดำเนินงานท่ีไดก้ ลบั มาเมื่อเทยี บกับ
เงินลงทนุ ท้งั หมดที่ไดล้ งทนุ ไปนัน้ ลดลง

จากการศึกษาวิจัยมีรายงานซ่ึงระบุว่า ปัจจัยด้านสดั ส่วนของจำนวนผู้ถอื หุ้น
ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจ
การเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฆณาการ ปุปะระ และฤกษ์ชัย ฟูประทีปศิริ,
2559, หน้า 35)

2.4.5 อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (return on equity: ROE) เป็น
การวัดผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ ถ้าหากอัตราส่วนนี้มีค่าสูงแสดงว่าฝ่ายบริหาร
สามารถทำกำไรจากเงินลงทุนของเจ้าของได้เปน็ อย่างดี

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจา้ ของ = กำไรสทุ ธิ x 100
สว่ นของเจ้าของ

อตั ราผลตอบแทนจากสว่ นของเจ้าของของบรษิ ัทนัมเบอรว์ ัน จำกัด
ปี 25X1 = 3,880 x 100 = 26.11 %

14,860
ปี 25X2 = 4,555 x 100 = 23.46 %

19,415
จากคา่ ทค่ี ำนวณแสดงให้เหน็ ว่าบริษัทนัมเบอรว์ นั จำกดั นำส่วนของผถู้ ือ
หุ้นมาลงทุน แล้วก่อให้เกิดกำไรลดลงในปี 25X2 เมื่อเทยี บกับปี 25X1
จากการศึกษาวิจัยมีรายงานวิจัยซ่ึงระบุว่า ร้อยละของการถือหุ้นสามัญของ
บริษัทของผู้มีส่วนในการบริหาร ไม่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทท่ีจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรพั ย์แห่งประเทศไทย (ภมิ ขุ จนั ทรง์ าม และคณติ ศร เทดิ เผ่าพงศ,์ 2558, หนา้ 457)

2.5 อัตราส่วนการประเมินค่า (valuation ratios) หรืออัตราส่วนวัดมูลค่าตลาด
(market value ratios) นักลงทุนมักประเมินค่าความสามารถในการดำเนินงานของกิจการ โดย
อตั ราส่วนทีไ่ ดร้ ับความนิยมคือ อตั ราสว่ นราคาตอ่ กำไร

อัตราส่วนราคาต่อกำไร (price to earnings ratio: P/E ratio) เป็นอัตราส่วนที่
ใช้ประเมินค่าความสามารถในการดำเนินงานของกิจการ โดยพิจารณาราคาหุ้นในตลาดเทียบกับกำไรสุทธิ
ต่อหุน้ แสดงใหเ้ ห็นวา่ ผลู้ งทุนยนิ ดจี า่ ยเงินซ้ือหุ้นเปน็ กเ่ี ทา่ ของทุก ๆ 1 บาท ของกำไรสทุ ธิ

อตั ราส่วนราคาตอ่ กำไร = ราคาตลาดตอ่ หุ้น
กำไรตอ่ หุ้น

215

สมมุติว่าในปี 25X1 บริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด ออกขายหุ้นสามัญไปแล้วจำนวน
200,000 ห้นุ โดยในปจั จุบันราคาหุน้ คอื 200 บาทตอ่ หนุ้

กำไรสุทธติ ่อหุ้นในปี 25X1 = กำไรสุทธิ = 3,880,000 = 19.4 บาท
จำนวนหุน้ สามัญ 200,000

อตั ราส่วนราคาต่อกำไร = ราคาตลาดต่อหนุ้ = 200 = 10.03 เทา่
กำไรต่อหุ้น 19.4

ในทำนองเดียวกันสมมุติว่าในปี 25X2 บริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด ออกขายหุ้น
สามัญไปจำนวน 200,000 หนุ้ และราคาหุ้นในปัจจบุ ันเพมิ่ เปน็ 300 บาทตอ่ หุน้

กำไรสุทธิต่อหุน้ ในปี 25X2 = 4,555,000 = 22.78 บาท
200,000

อตั ราส่วนราคาต่อกำไร = 300 = 13.17 เทา่
22.78

จะเห็นได้ว่าอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือคา่ P/E ของบริษัทนัมเบอร์วนั จำกัด
มีแนวโน้มเพ่มิ ขึ้นจาก 10.03 เท่า ในปี 25X1 เป็น 13.17 เทา่ ในปี 25X2 แสดงวา่ ราคาตลาดของหุ้น
บริษทั นมั เบอรว์ นั จำกัด มีราคาสงู ขึ้นเม่อื เทยี บกำไรตอ่ หุ้น

สรุปการวิเคราะห์อัตราสว่ นทางการเงินของบริษัทนมั เบอรว์ ัน จำกัด ในปี 25X1

และ 25X2

อัตราส่วนทางการเงิน บรษิ ทั นัมเบอร์วัน จำกดั เปรยี บเทียบ

ปี 25X1 ปี 25X2 ปี 25X2 กับ 25X1

อัตราส่วนสภาพคล่อง

อตั ราสว่ นทุนหมนุ เวียน 2.90 เทา่ 3.56 เท่า ความสามารถชำระหนี้ดีข้นึ

อัตราสว่ นทุนหมนุ เวยี นเรว็ 1.41 เทา่ 1.97 เท่า กจิ การมสี ินทรัพย์หมุนเวยี นท่ีแปลง

สภาพเป็นเงนิ สดไดด้ ีข้ึน กจิ การมี

สภาพคล่องเพม่ิ ขึน้

อัตราหมุนเวียนของลกู หน้ีการคา้ 2.37 คร้ัง 1.70 คร้ัง ประสิทธภิ าพในการเรยี กเก็บหนี้

ตอ่ รอบระยะเวลาบัญชลี ดลง

อตั ราส่วนสภาพหน้ี

อัตราส่วนหนีส้ นิ ต่อสว่ นของ 0.56 เทา่ 0.58 เทา่ นโยบายการเงนิ ด้านการก่อหน้ี

เจ้าของ เพิม่ ขึน้ แตอ่ ยา่ งไรกด็ กี ารกอ่ หน้ี

ค่อนข้างน้อยคือตำ่ กวา่ 1 กิจการ

จึงมีความเสี่ยงทางการเงินตำ่

อัตราสว่ นหนี้สนิ ต่อสนิ ทรัพย์ 0.36 เทา่ 0.37 เทา่ เงินทม่ี าลงทนุ ในสนิ ทรัพย์ของกจิ การ

รวม มาจากการก่อหน้เี พิ่มขน้ึ

216

อัตราสว่ นทางการเงนิ บริษทั นัมเบอรว์ ัน จำกัด เปรยี บเทียบ

ปี 25X1 ปี 25X2 ปี 25X2 กบั 25X1

อตั ราส่วนประสิทธภิ าพในการ

บรหิ ารสินทรัพย์

อัตราการหมนุ เวยี นของ 0.61 เท่า 0.63 เทา่ จากลงทนุ ในสนิ ทรัพย์ไม่หมุนเวยี น

สินทรพั ยไ์ ม่หมุนเวยี น สร้างรายได้เพ่ิมขนึ้ เล็กนอ้ ย

อตั ราการหมุนเวยี นสินทรัพย์ 0.36 เท่า 0.31 เท่า จากสนิ ทรัพย์ทัง้ หมดทไี่ ดล้ งทุนไป

รวม สร้างรายไดไ้ ม่มากและมีแนวโนม้

ลดลง

อตั ราสว่ นความสามารถในการ

ทำกำไร

อตั รากำไรขน้ั ตน้ 66.27% 68.42% ดีขนึ้ แสดงว่ากจิ การมีรายได้ หรือใน

การดำเนนิ งานสามารถควบคุม

ต้นทุนสนิ ค้าได้ดีกว่าเดิม

อัตรากำไรจากการดำเนินงาน 59.04% 60.89% ดีขึ้น แสดงว่าการควบคุมต้นทนุ ขาย

ค่าใช้จ่ายในการบรหิ าร และค่าใชจ้ ่าย

ในการขาย ทำไดด้ ีข้นึ กว่าเดมิ

อตั รากำไรสทุ ธิ 46.75% 47.95% ดขี ึน้ แสดงวา่ ความสามารถในการ

ควบคุมคา่ ใช้จา่ ยทั้งส้ิน เพื่อสร้างกำไร

ทำไดด้ ีข้ึนกว่าเดิม

อตั ราผลตอบแทนเงนิ ลงทุน 16.72% 14.84% ผลการดำเนนิ งานที่ไดม้ ีแนวโน้ม

ลดลงเมือ่ เทยี บกับเงินลงทุนทั้งหมด

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของ 26.11% 22.41% กำไรมีแนวโนม้ ลดลงจากการนำเงิน

เจา้ ของ สว่ นของผู้ถอื หนุ้ มาลงทุน

อตั ราส่วนการประเมินคา่

อัตราสว่ นราคาต่อกำไรสุทธิ 10.03 เท่า 13.17 เทา่ เพ่ิมขึน้ แสดงวา่ แนวโน้มการเตบิ โต

ของกิจการดีข้นึ และนักลงทุนเต็มใจ

ซอ้ื หุ้นของบรษิ ัทฯ ในราคาท่ีสูงกวา่ เดิม

เม่ือเทยี บกำไรต่อหนุ้ ทจี่ ะไดร้ ับ

การวิเคราะห์งบการเงินทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพ่ือประกอบการตัดสินใจทาง
ธรุ กิจ ซึง่ สามารถวเิ คราะหใ์ นลักษณะการวเิ คราะห์ขนาดร่วม ด้วยการคำนวณทกุ รายการในงบการเงินให้
มหี น่วยเป็นร้อยละของรายการท่ีใช้เป็นฐาน และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ซ่ึงการวเิ คราะห์
ในลักษณะนี้แบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก่ อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนความมั่นคงทางการ
เงิน อัตราส่วนในการบริหารสินทรัพย์ อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร และอัตราการประเมินค่า
อย่างไรก็ดีการวิเคราะห์งบการเงินควรวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อให้เห็น

217

ทิศทางการเปลี่ยนแปลงว่ากิจการดำเนินงานดีขึ้นหรือลง รวมทั้งเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
เพื่อประเมินความสามารถในการแข่งขนั ของกิจการ

ตลาดการเงินและสถาบันการเงนิ
ตลาดการเงินและสถาบันการเงินมีความสำคัญต่อการบริหารธุรกิจ เพราะเป็นแหล่ง
ระดมเงินทุนและแหล่งจัดหาเงนิ ทุนขนาดใหญ่ อีกทั้งสถาบันการเงินยังให้บริการธุรกรรมทางการเงิน
หลายรูปแบบท่ีเอ้ือประโยชน์ต่อการดำเนินงานของธุรกิจ เนื้อหาในส่วนน้ีจึงอธิบายถึงตลาดการเงิน
และสถาบนั การเงินในประเทศไทย ดังมีรายละเอียดต่อไปน้ี
ตลาดการเงิน
ตลาดการเงิน (financial market) คือตัวกลางท่ีทำให้ผู้ต้องการเงินทุน(กิจการ) และผู้ออม
(ผู้ลงทุน) ใช้สินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ เป็นเครื่องมือ เพ่ือเพิ่มช่องทางการจัดหาเงินทุนของกิจการ
ใหเ้ ขา้ ถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายข้ึน ในขณะเดียวกันเป็นการเพมิ่ ทางเลือกในการลงทุนให้กับผู้ลงทุนมากขึ้น
กล่าวอีกนัยหน่ึง ตลาดการเงินเป็นกลไกในการโอนเปล่ียนมือจากผู้มีเงนิ ออมไปยงั ผู้ตอ้ งการใช้เงินทุน
โดยใชเ้ ทคนิคต่าง ๆ และสถาบันการเงินเป็นองค์ประกอบเพื่อเคล่ือนย้ายเงินทุน (วรรณี ชลนภาสถิตย์,
2556, หน้า 2-11) ตลาดการเงินจึงเป็นตัวกลางช่วยเชื่อมโยงและเอ้ืออำนวยความสะดวกในการโอน
ถา่ ยเงินระหว่างผู้ต้องการเงินทุนกับผู้มีเงินออมหรอื ผู้มีเงินเหลือใช้ โดยท้ังสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์
กล่าวคือ ผู้มีเงินออมจะได้รบั ผลตอบแทนในรูปดอกเบ้ียหรือเงินปันผลข้ึนอยู่กับชนิดของหลักทรัพย์ที่
ลงทุน และยังอาจทำกำไรได้จากราคาหลักทรัพย์ที่สูงข้ึน สามารถขายได้มากกว่าราคาทุนท่ีซ้ือมา
ส่วนผู้ต้องการเงินทุนได้รับผลประโยชน์จากการนำเงินทุนนั้นไปลงทุนในโครงการต่าง ๆ ทำให้ได้รับ
ผลกำไรตอบแทนและก่อให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ โครงสรา้ งของตลาดการเงินจึงประกอบด้วย
ผู้มีเงินออม ผูต้ ้องการเงินทุน สินทรัพย์ทางการเงนิ สถาบันในตลาดการเงิน และหน่วยงานกำกับดูแล
(ธัญญรศั ม์ วศวรรณวฒั น์, 2557, หนา้ 1-20)

ตลาดการเงนิ ในประเทศไทย
การจำแนกตลาดการเงินในประเทศไทยมีลักษณะเช่นเดียวกับการจำแนกตลาดการเงิน
โดยทั่วไปในต่างประเทศ เม่ือใช้เกณฑ์แบ่งอายุของสินทรัพย์ทางการเงิน แบ่งเป็นสองประเภทคือ
ตลาดเงนิ และตลาดทุน แต่หากพิจารณาองค์ประกอบของตลาดการเงินจะพบว่าประกอบด้วยตลาด
เงิน ตลาดทุน และตลาดอนุพันธ์ (วรรณี ชลนภาสถิตย์, 2556, หน้า 2-11; ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์,
2557, หน้า 1-22-1-28) ดังรายละเอียดตอ่ ไปนี้
1. ตลาดเงิน (money market) เป็นตลาดซ่ึงซ้ือขายสินทรัพย์ทางการเงินระยะส้ัน
หมายถงึ ตราสารที่มีอายุไมเ่ กนิ 1 ปี มสี ภาพคล่องและมคี วามเส่ียงต่ำ เชน่ ตั๋วเงนิ คลัง เชค็ ต๋ัวแลกเงิน
ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก ฯลฯ ทั้งน้ีสถาบันการเงินที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม
ทางการเงนิ เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษทั เงินทุน ฯลฯ ตลาดเงนิ จัดเป็นแหล่งเงนิ ทุนระยะส้ันที่กิจการ
มักใชใ้ นการจัดหาเงนิ ทุนหมนุ เวยี น
2. ตลาดทุน (capital market) เป็นตลาดซ้ือขายสินทรัพย์ทางการเงินระยะสั้น ซ่ึง
หมายถึงตราสารที่มีอายุเกิน 1 ปี ได้แก่ ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร

218

รฐั วสิ าหกจิ ฯลฯ ตราสารหนภี้ าคเอกชน เชน่ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ฯลฯ ตราสารทุน เช่น หนุ้ สามัญ
ห้นุ บุรมิ สิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ หน่วยลงทุน ตลาดทุนจึงเป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะยาวที่กิจการใช้
ในการจัดหาเงินทุนเพ่ือการลงทุน ท้ังน้ีสถาบันการเงินท่ีอำนวยความสะดวกในการติดต่อทำธุรกรรม
ในตลาดทุน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ ฯลฯ
โดยมีศูนย์กลางในการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์เพ่ือการเปล่ียนมือที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์
แหง่ ประเทศไทย

3. ตลาดอนุพันธ์ (derivatives market) เป็นตลาดซ้ือขายสัญญาล่วงหน้า เป็นสัญญา
ท่ีใช้เป็นเคร่ืองมือในการบริหารความเสี่ยงของกิจการและผู้ลงทุน โดยมีสินทรัพย์อ้างอิงให้ลงทุนทำ
สัญญาได้หลายอย่างที่ออกมาจากตลาดเงินและตลาดทุน เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบ้ีย ดัชนี
ราคาหุ้น ฯลฯ และยังใชใ้ นการเก็งกำไร

โดยสรุป ตลาดการเงินทำหน้าท่ีเช่ือมโยงระหว่างผู้มีเงินออมกับผู้ท่ีต้องการเงิน เรียกได้ว่า
เป็นแหล่งในการระดมทนุ จากเงินออมไปใช้ลงทุนในโครงการตา่ งๆ และยังทำหนา้ ที่ในการแลกเปลี่ยน
เงินตรา โดยตลาดการเงนิ มีองคป์ ระกอบสำคัญ ได้แก่ ตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดอนุพันธ์ ซ่ึงล้วน
มีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจทั้งการได้รับผลตอบแทนหากอยู่ในฐานะผู้มีเงินออม และการได้รับเงินทุน
สำหรับดำเนินงานทางธุรกิจในฐานะผู้ต้องการเงินหรือผู้ลงทุน อีกท้ังหากธุรกิจประสบความสำเร็จใน
การลงทุนไดเ้ ปน็ อย่างดี ย่อมสง่ ผลใหเ้ กิดความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศตามมาอีกดว้ ย

สถาบันการเงิน
สถาบันการเงิน (financial institution) หมายถึง สถาบันซ่ึงทำหน้าที่หลักในการเป็น
ตัวกลางในระบบการเงิน ทำให้การประกอบธุรกรรมทางการเงินเป็นไปได้อย่างสะดวก และมีการ
บริการทางการเงินที่หลากหลาย (ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, 2557, หน้า 1-38) หรือกล่าวได้ว่าเป็น
องค์การที่จัดตัง้ ข้ึนเพื่อทำหน้าท่ีในการใหบ้ ริการทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ และทำหน้าท่ีเป็นตัวกลาง
ในการระดมเงินด้วยการรับฝากจากผู้มีเงินออม และให้กู้ยืมแก่ผู้ท่ีขาดแคลนเงินทุน ตลอดจนออก
หลักทรัพย์เพ่ือระดมเงินทุนให้กับตนเองเพื่อนำไปใช้ในการลงทุนหรือปล่อยให้ผู้อ่ืนได้กู้ยืมต่อไป
(วรรณี ชลนภาสถิตย์, 2556, หน้า 2-43) สรุปได้ว่าสถาบันการเงินเป็นองค์การทอี่ ำนวยความสะดวก
ทางการเงินแก่กลุ่มลูกค้าตามเป้าหมาย กิจการสามารถติดต่อขอใช้บริการจากสถาบันการเงินที่
ให้บริการทางการเงนิ ทตี่ ้องการ ดงั ตัวอยา่ งท่ีนำมาใหร้ ู้จกั พอสงั เขป 6 ประเภท
1. ธนาคารพาณิชย์ (commercial bank) หมายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่อยู่ภายใต้
การกำกบั ของธนาคารแห่งประเทศไทย และได้รบั อนุญาตให้ประกอบธุรกิจการรบั ฝากเงนิ ทีต่ ้องจ่ายคืน
เม่ือทวงถามหรือเมื่อครบกำหนดระยะเวลา การให้สินเช่ือ การซื้อขายต๋ัวแลกเงิน การซ้ือขายเงินตรา
ต่างประเทศ รวมถึงดำเนินธุรกิจท่ีเก่ียวข้องกับการประกันภัยและหลักทรัพย์ ธุรกิจอนุพันธ์ทาง
การเงิน (การทำสัญญาซื้อหรือขายสินค้าในเรื่องราคา ปริมาณ และเง่ือนไขอ่ืนที่ตกลงกันไว้ โดยส่ง
มอบสินค้ากันในอนาคต) ธุรกิจธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (e-banking) ธุรกิจการเงินและธุรกิจการ
ให้บริการอ่ืน ทั้งน้ีธนาคารพาณิชย์แบ่งออกได้อีก 4 ประเภท ดังรายละเอียดต่อไปน้ี (ศูนย์คุ้มครอง
ผู้ใชบ้ ริการทางการเงนิ , 2557)

219

1.1 ธนาคารพาณิชย์ไทย (Thai commercial bank) ปัจจุบันมีท้ังสิ้น 14 แห่ง
ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ธนาคาร
ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกดั (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไอซบี ีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

1.2 ธนาคารพาณิชย์เพ่ือรายย่อย (retail Bank) หมายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่
ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพ่ือให้บริการทางการเงิน
พื้นฐาน เช่น การรับฝากเงิน การโอนและรับชำระเงินแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจท่ีมีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง เช่น ธุรกิจ
เก่ียวกับเงินตราต่างประเทศ และตราสารอนุพันธ์ ปัจจุบันมี 1 แห่งคือ ธนาคารไทยเครดิตเพ่ือราย
ยอ่ ย จำกดั (มหาชน)

1.3 ธนาคารพาณิชย์ท่ีเป็นบรษิ ัทลูกของธนาคารพาณิชย์ตา่ งประเทศ (subsidiary)
หมายถึง บริษัทมหาชนจำกดั ที่จดทะเบียนในประเทศไทยและไดร้ ับอนุญาตให้ประกอบธรุ กิจธนาคาร
พาณิชย์ โดยมีธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศถือหุ้นไม่ต่ำกว่ารอ้ ยละ 95 ของหุ้นท่ีจำหน่ายแล้วท้ังหมด
ปัจจุบันในประเทศไทยมี 2 แห่งคือ ธนาคารเมกะสากลพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) และ ธนาคารแห่ง
ประเทศจนี (ไทย) จำกดั (มหาชน)

1.4 สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (foreign bank branch) หมายถึง
สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศท่ีได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
ปัจจุบันมี 14 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเจพีมอร์แกนเชส ธนาคารซิต้ีแบงก์ ธนาคารซูมิโตโมมิตซุย แบงกิ้ง
คอร์ปอเรช่ัน ธนาคารดอยซ์แบงก์ ธนาคารเดอะรอยัลแบงก์อ๊อฟสกอตแลนด์ เอ็น.วี. ธนาคารบีเอ็นพี
พารีบาส์ ธนาคารมิซูโฮ จำกัด ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด ธนาคารแห่งประเทศจีน
จำกดั ธนาคารแห่งอเมริกาเนชัน่ แนลแอสโซซิเอชั่น ธนาคารอารเ์ อชบี จำกัด ธนาคารอินเดยี นโอเวอรซ์ ีส์
ธนาคารโอเวอรซ์ ี-ไชนีสแบงกงิ้ คอร์ปอเรชัน่ จำกดั

2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (credit fancier company) หมายถึง บริษัทที่ได้รับ
อนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินภายใต้การกำกับ
ดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยบริการรับฝากเงินและจะจ่ายคืนเม่ือส้ินระยะเวลาที่กำหนดไว้
ให้บริการกู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ บริการรับซ้ืออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝากคือ
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีท่ีจดทะเบียน แต่ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนภายใน
กำหนดเวลาสัญญาขายฝาก ปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จำนวน 3 แห่ง ซ่ึงได้รับ
การคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ได้แก่ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ลินน์ ฟิลลิปส์ มอร์ทเก็จ จำกัด
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์เวิลด์ จำกัด บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ล้ิงค์ จำกัด (ศูนย์คุ้มครอง
ผใู้ ช้บรกิ ารทางการเงิน, 2557; สถาบันคมุ้ ครองเงินฝาก, 2559)

3. บริษัทเงินทุน (finance company) หมายถึง บริษัทท่ีได้รับอนุญาตให้ประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยบริการรับฝากเงินเมื่อทวงถาม

220

หรือเม่ือสิ้นระยะเวลาท่ีกำหนดไว้ และสามารถให้กู้ยืมเงินตามประเภทของธุรกิจเงินทุนท่ีได้รับ
อนญุ าต แต่ไม่สามารถประกอบธรุ กิจทเ่ี กย่ี วขอ้ งกับเงินตราตา่ งประเทศได้ ปจั จบุ ันมี 2 แห่งคือ บริษัท
เงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเดิมช่ือ บริษัทเงินทุน
กรงุ เทพธนาทร จำกดั (มหาชน) (ศูนยค์ ้มุ ครองผู้ใช้บริการทางการเงิน, 2557)

4. บริษัทหลักทรัพย์ (securities company หรือ investment bank) หมายถึง
บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น การเป็นนายหน้าซ้ือขายหลักทรัพย์ การค้าหลกั ทรัพย์ การเป็นท่ี
ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
(ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน, 2557) ปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์ท่ีเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
แหง่ ประเทศไทยรวม 39 แหง่ (ตลาดหลักทรพั ยแ์ ห่งประเทศไทย, 2560)

5. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (asset management company) หมายถึง
บริษัทท่ีประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ท่ีเก่ียวกับการรับบริหารเงินให้แก่ลูกค้าในรูปของการจัดการแบบ
กองทุนรวม (mutual fund) กองทุนส่วนบุคคล (private fund) และกองทุนสำรองเล้ียงชีพ
(provident fund) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) (ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน, 2557) ปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัท
หลกั ทรัพยจ์ ัดการกองทนุ 25 บรษิ ัท (สมาคมบรษิ ทั จดั การลงทุน, 2560)

6. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (specialized financial institutions: SFIs) จัดต้ังข้ึน
เพ่ือดำเนนิ การตามนโยบายของรัฐในการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจ และสนับสนุนการลงทุนตา่ ง ๆ โดย
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง และมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าท่ี
ตรวจสอบผลการดำเนินงานและความเส่ียง โดยรายงานผลการตรวจสอบไปยังรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง ท้ังนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการ
ทางการเงิน, 2557) ดงั มรี ายละเอียดตอ่ ไปนี้

6.1 สถาบันการเงินเฉพาะกิจท่ีทำหน้าท่ีเป็นธนาคาร ให้บริการทางการเงินทัง้ ด้าน
เงนิ ฝากและให้สินเชอื่ ซึ่งปัจจุบันมี 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสนิ ธนาคารเพอ่ื การเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอสิ ลามแห่งประเทศไทย

6.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำธุรกิจตามขอบเขตท่ีกำหนด โดยให้สินเชื่อหรือ
รับประกันสินเช่ือให้แก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่รับเงินฝากจากประชาชนท่ัวไป ปัจจุบันมี 4 แห่ง ได้แก่
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพ่ือการส่งออกและนำเข้า
แหง่ ประเทศไทย บรรษัทประกนั สินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสนิ เช่ือท่ีอยู่อาศยั

โดยสรุปในประเทศไทยมีสถาบนั การเงินหลากหลายประเภท จดั ตัง้ เพ่อื ประกอบการทาง
การเงินซ่ึงอำนวยความสะดวกในด้านการเงินแก่กลุ่มลูกค้าตามเป้าหมาย โดยสถาบันการเงินท่ีมี
ความสำคัญและเก่ียวข้องกับธุรกิจ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีท้ังธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคาร
พาณิชย์เพ่ือรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ท่เี ป็นบริษทั ลกู ของธนาคารพาณิชย์ตา่ งประเทศ และสาขาของ
ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
บรษิ ทั หลักทรพั ย์ สถาบนั การเงนิ เฉพาะกจิ ที่จัดขึ้นโดยภาครฐั ซึ่งมที ้ังที่ทำหนา้ ท่ีเป็นธนาคาร และทีท่ ำ
ธรุ กจิ เฉพาะตามขอบเขตท่กี ำหนด

221

เงนิ ทนุ และการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ

เงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจ ซ่ึงผู้ประกอบการต้องจัดหาจากแหล่ง
เงินทุนต่าง ๆ มาให้ได้อย่างเหมาะสม เพ่ือใช้ในธุรกิจต้ังแต่เริ่มต้ังกิจการ ระหว่างดำเนินงาน และ
สำหรับแผนงานในอนาคตของกิจการ โดยมุ่งหวังที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างคุ้มค่า
รายละเอียดเกีย่ วกบั เงินทุนและการจัดหาเงนิ ทุนของธรุ กิจมีดังนี้

เงินทุนของธรุ กิจ
เงินทุนของธุรกิจจำแนกประเภทได้ 2 ลักษณะ คือ จำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้เงิน
และระยะเวลาการใช้คืน ดงั รายละเอยี ด
1. จำแนกประเภทตามวตั ถุประสงค์ของการใชเ้ งนิ

1.1 เงินทุนหมุนเวียน (working capital) หมายถึง เงินท่ีนำมาลงทุนในสินทรัพย์
หมุนเวียน (current asset) เพื่อให้ธุรกิจดำเนินกิจการประจำวันได้ ไม่ว่านำมาใช้เพื่อซื้อวัตถุดิบไว้
ผลิตสินค้า หรือซื้อสินค้ามาจำหน่ายต่อ หรือเพ่ือใช้เป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินงานท่ีก่อให้เกิด
รายได้ รวมทั้งเพ่ือใช้เป็นเงินทอน ท้ังน้ีเงินทุนหมุนเวียนเห็นชัดเจนในรูปเงินสดและในรูปของสินทรัพย์
หมุนเวียนอ่ืน ๆ ซึ่งมีอายุการใช้งานไม่เกิน 1 ปี และแปรสภาพเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น สินค้าคงคลัง
บญั ชีลูกหนี้ ตั๋วเงนิ รับ ฯลฯ

เงินทุนหมุนเวียนเป็นทรัพยากรทางการเงินท่ีมีความจำเป็นในการดำเนินงาน
ของธุรกิจในแต่ละวันให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีและเกิดความต่อเนื่อง หากธุรกิจมีเงนิ ทุนหมุนเวียนท่ี
เหมาะสมย่อมทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง และยังเพ่ิมความสามารถในการทำกำไร ตลอดจนทำให้ธุรกิจ
ดำรงอยู่ได้ ในทางกลับกันหากธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ ธุรกิจย่อมขาดสภาพคล่อง และ
ส่งผลให้การดำเนินงานต้องยุติลงในที่สุด (เพ็ญพิมล ลีโนทัย, 2554, หน้า 73) การกำหนดปริมาณ
เงินทุนหมุนเวียนมากน้อยเพียงใดข้นึ อยู่กับประเภทธุรกิจ นโยบายการขาย ยอดขาย และการแข่งขัน
ของธุรกิจ กล่าวคอื ธุรกิจแตล่ ะประเภทต้องการเงินทุนหมุนเวียนต่างกัน เช่น ธุรกจิ ค้าสง่ ย่อมต้องการ
เงินทุนหมุนเวียนมากกว่าธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อย่อมต้องการเงินทุน
หมุนเวียนมากกว่าธุรกจิ ท่ีขายสินค้าเป็นเงินสด กิจการที่มียอดขายดีย่อมต้องการเงินทุนหมุนเวียนมา
ลงทุนในสินค้าและลูกหน้ีการค้า และหากสภาพการแข่งขันทางธุรกิจมีสูง ทำให้ผู้ประกอบการต้องจูงใจ
ลกู ค้าด้วยการให้สินเชอ่ื ทางการค้าแล้วน้นั ยอ่ มต้องการเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น (ฐาปนา ฉน่ิ ไพศาล,
2554, หนา้ 7-4) นอกจากน้ีความต้องการเงนิ ทุนหมุนเวียนยังข้ึนอยู่กับขนาดธุรกิจ และเปล่ียนแปลง
ไปตามฤดูกาลและวัฎจักรความต้องการสินค้าหรือบริการ หากช่วงใดท่ีมีความต้องการสูง ธุรกิจย่อม
ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมาก อีกท้งั ขึ้นอยกู่ ับการเปลยี่ นแปลงทางเทคโนโลยี เชน่ เทคโนโลยกี ารผลิต
ท่ีทันสมัยชว่ ยลดระยะเวลาการผลติ ย่อมช่วยลดจำนวนสินค้าระหวา่ งผลิต ซ่ึงเปน็ การลดจำนวนเงินที่
ลงทุนกับสินค้าดังกล่าวน้อยลง นอกจากนี้ข้ึนอยู่กับทัศนคติของผู้บริหารเก่ียวกับผลตอบแทนและ
ความเส่ยี ง ถ้าหากผู้บริหารกล้าเส่ียงจะไม่ต้องการเงินทุนหมนุ เวียนมาก และถ้ามีความสามารถในการ
จดั หาเงนิ ทุนได้งา่ ย ยอ่ มต้องการเงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่าธรุ กิจท่ีมีความสามารถในการจัดหาเงินทุน
ไดย้ าก (วันเพ็ญ วศนิ ารมณ์, 2556, หนา้ 114)

222

1.2 เงินทุนถาวร (permanent capital) หรือเงินทุนคงที่ (fixed capital)
หมายถึง เงินท่ีผู้ประกอบการจัดหามาลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ถาวร (non-
current asset) ซ่ึงมีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี เพื่อการประกอบกิจการในระยะยาว เช่น ท่ีดิน อาคาร
เคร่อื งจักร อุปกรณ์ ฯลฯ เงินทุนที่นำมาลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ มักแปรสภาพกลบั มาเป็นเงินสด
เพอ่ื ใชด้ ำเนนิ งานประจำวนั ของกจิ การไดค้ ่อนข้างยาก

การตัดสินใจเก่ียวกับเงินทุนถาวรเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ต้อง
ประมาณการรายได้หรือยอดขายให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงให้มากท่ีสุด เพ่ือลดความเส่ียงของการ
ตัดสินใจท่ีผดิ พลาด ถา้ หากลงทุนในสินทรพั ย์ไม่หมุนเวียนเป็นจำนวนมากย่อมกอ่ ให้เกิดความเส่ียงสูง
เนื่องจากเป็นยอดเงินลงทุนท่ีค่อนข้างสูง และค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์เหล่าน้ีมีจำนวนมาก ทำให้
เกิดภาระตอ่ กจิ การหากยอดขายไม่เป็นไปตามทค่ี าดการณ์ไว้ (พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล, 2558, หน้า 4)

2. จำแนกประเภทตามระยะเวลาของการใชค้ ืน
2.1 เงินทุนระยะส้ัน (short-term capital) หมายถึง เงินที่ได้มาจากการก่อหนี้ที่มี

ระยะเวลาในการใช้คืนภายใน 1 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมนุ เวียนในการดำเนินงาน
ประจำวันของกิจการ แต่อย่างไรก็ตามในขณะเดียวกันกิจการก็เกิดหน้ีสินหมุนเวียนจากการก่อหน้ี
ดังน้ันการจัดหาเงินทุนระยะสั้น ต้องเป็นจำนวนท่ีเหมาะสมกับความสามารถของกิจการในการจ่ายคืน
และไมท่ ำใหเ้ กดิ ความเสีย่ งในเรือ่ งสภาพคล่อง แต่ให้ประโยชนส์ งู สุดตอ่ การดำเนนิ งาน

2.2 เงินทุนระยะยาว (intermediate-term capital) หมายถึง เงินท่ีได้มาจาก
แหล่งเงินทุนต่าง ๆ ท้ังภายในและภายนอกกิจการ มีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น อายุการชำระคืนนาน
กว่า 1 ปี เงินทุนระยะยาวจึงเหมาะสมกับการนำไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่มีอายุงานนานและมี
มลู คา่ สูง กิจการตอ้ งใช้เวลาในการหารายได้และทยอยจ่ายคนื แหลง่ ทุน

อย่างไรก็ดีในบางตำราได้จัดแบ่งประเภทของเงินทุนตามระยะเวลาใช้คืนเป็น 3
ระยะ ได้แก่ เงินทุนระยะส้ัน มีระยะเวลาใช้คนื ภายใน 1 ปี เงินทุนระยะปานกลาง มีระยะเวลาในการ
ใชค้ นื นานกว่า 1 ปี แตไ่ ม่เกนิ 5 ปี และเงนิ ทุนระยะยาว มีระยะเวลาใชค้ ืนนานกว่า 5 ปี

โดยสรุปการจำแนกประเภทของเงินทุนหากจำแนกตามวัตถุประสงคก์ ารใช้เงิน แบ่ง
ออกเป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินทุนคงที่ แต่หากจำแนกประเภทตามระยะเวลาการใช้คืนในที่นี้แบ่ง
ออกเป็นเงินทุนระยะสั้นและระยะยาว โดยเงินทุนระยะสั้นมีไว้เพ่ือเป็นเงินหมุนเวียนในการดำเนิน
กิจการประจำวนั แต่สำหรับเงนิ ทนุ ระยะยาวเสมือนเงนิ ทุนถาวรทีน่ ำไปลงทุนในสินทรัพยไ์ มห่ มนุ เวยี น

การจดั หาเงินทนุ ระยะสน้ั
การจดั หาเงินทุนระยะส้ัน (short-term financing) ในการจัดหาเงินทุนระยะสั้นเพ่ือ
นำมาใช้ดำเนินงานทางธุรกิจ นอกเหนือนำมาจากผู้เป็นเจ้าของยังสามารถจัดหาจากแหล่งอ่ืนภายนอก
ธุรกิจ โดยดำเนนิ การได้หลายแบบ สรปุ พอสังเขปดงั น้ี

223

1. สนิ เช่ือทางการคา้ (trade credit) เป็นแหลง่ เงนิ ทุนระยะสนั้ ทธ่ี ุรกจิ ได้รบั จากผู้ขาย
สนิ ค้าหรือบริการซ่ึงยินดีให้สินเชื่อหรือให้เครดิตแก่ผู้ซื้อซึง่ ในที่นี้หมายถึงธุรกิจ การตัดสนิ ใจให้สินเช่ือนั้น
ผู้ขายสินค้าย่อมประเมินถึงความน่าเชื่อถือและความสามารถในการจ่ายของธุรกิจ กล่าวได้ว่าการให้
สินเชอื่ ทางการคา้ คือผ้ขู ายจัดส่งสินค้าใหก้ บั ธุรกจิ กอ่ น แล้วธุรกิจค่อยชำระคนื ภายหลงั ตามระยะเวลา
ที่กำหนด หรือที่เรียกกันว่า เครดิตเทอม (credit terms) เช่น 30 วัน 45 วัน 60 วัน 90 วัน ทำให้ธุรกิจ
ได้นำสินค้ามาใช้ประโยชน์เพ่ือสร้างรายได้แก่ธุรกิจ มีเงินมาหมุนเวยี นใช้ในธรุ กิจก่อนถงึ เวลาครบกำหนด
ชำระหนี้ การให้สินเช่ือทางการค้ามีวตั ถุประสงค์เพ่ือจูงใจการซื้อของผู้ซื้อและช่วยเพิ่มยอดขายให้แก่
ผู้ขาย อย่างไรก็ดีเมื่อธุรกิจได้รับสินเช่ือทางการค้าย่อมเกิดรายการเจ้าหน้ีทางการค้า (account payable)
ในการประกอบธุรกิจไปโดยปริยาย

ธุรกิจสามารถใช้แหล่งเงินทุนจากสินเชื่อการค้าได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเทคนิค
การจ่ายชำระหน้ีของธรุ กิจเอง เช่น จ่ายวันสุดทา้ ย ยืดเวลาชำระหน้ี ฯลฯ และยังขน้ึ อยู่กับระยะเวลา
ชำระหนี้ และข้อเสนอเพ่ิมเติมที่จูงใจให้ชำระหน้ีเร็วขึ้น เช่น 5/10 n/45 หมายถึงระยะเวลาครบ
กำหนดชำระหน้ี (net: n) ภายใน 45 วัน แต่ถ้าชำระเร็วข้ึนภายใน 10 วัน จะได้รับส่วนลดอีกร้อยละ 5
ดังนั้นธุรกิจจึงมี 2 ทางเลือก คือ รับส่วนลดเงินสด และไม่รับส่วนลดเงินสด ท้ังนี้หากสามารถชำระ
เงินได้ภายใน 10 วัน เวลาในส่วนน้ีจัดเป็นเครดิตการค้าที่ไม่มีต้นทุน (free trade credit) แต่ถ้าหาก
เลอื กชำระเงินวันสุดท้าย อีก 35 วนั ท่ีเหลือจดั เปน็ เครดิตการค้าที่มตี ้นทุน (costly trade credit) คือ
ต้นทุนที่ไม่เอาส่วนลด ธุรกิจจึงต้องพิจารณาดูว่าข้อเสนอสินเช่ือทางการค้าทำให้เกิดต้นทุนเพ่ิม
อย่างไร คุ้มค่าหรือไม่ท่ีจะชำระเงินเร็วขึ้นเพ่ือรับส่วนลด จากท่ีกล่าวมาทั้งหมดนี้เห็นได้ว่าสินเชื่อ
การค้าอำนวยประโยชน์ทางด้านเงินทุนแก่ธุรกิจโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกัน ไม่ต้อง
ดำเนินการขอสนิ เชือ่ ทางการคา้ อย่างเป็นทางการ มีความยืดหยนุ่ สงู อาจขอเลื่อนเวลาการชำระเงินได้
เป็นแหลง่ เงินทุนท่ีหาง่าย และเหมาะอย่างย่ิงกบั ธรุ กจิ ขนาดเลก็ ทย่ี ังไมส่ ามารถหาเงินทุนจากแหล่งอืน่

ประเภทของสินเช่ือทางการค้า การให้สินเช่ือทางการค้าแก่ผู้ซ้ือน้ัน ผู้ขายสินค้า
หรือบรกิ ารสามารถดำเนนิ การได้ 2 แบบ ดงั รายละเอยี ดตอ่ ไปนี้

1.1 สินเช่ือทางการค้าแบบไม่มีหลักประกันทางการเงิน (trade credit without
financial guarantee) ผู้ขายสินค้าหรือบริการบางรายให้สินเชื่อทางการค้าแก่ผู้ซ้ือ เพียงเปิดบัญชี
ทางการค้า (open account trade) แก่ผู้ซื้อ โดยไม่ต้องการหลักฐานอื่นใดเพื่อประกันการจ่ายชำระ
เงินของผู้ซื้อ ดังน้ันเมื่อผู้ซ้ือส่ังซ้ือสินค้าในวงเงินการขายเช่ือ ผู้ขายก็ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซ้ือตาม
รายการส่ังซื้อพร้อมใบแจ้งหน้ี/ใบส่งสินค้า (bill acknowledgement/invoice) เพ่ือเรียกเก็บเงิน
ตามรายละเอียดสินค้า จำนวนเงิน และวันครบกำหนดชำระเงิน ดังตัวอย่างในภาพที่ 4.1 ต่อมาเม่ือ
ผู้ซื้อชำระเงนิ เป็นทเี่ รียบร้อย ทางผ้ขู ายจะออกใบเสร็จรับเงนิ (receipt) ดงั ตัวอย่างในภาพที่ 4.2

224
ภาพท่ี 4.1 ตัวอย่างใบสง่ สนิ ค้า
ภาพที่ 4.2 ตัวอย่างใบเสรจ็ รบั เงิน

225

1.2 สินเชื่อทางการค้าแบบมีหลักประกันทางการเงิน (trade credit with
financial guarantee) ผู้ขายสินค้าหรือบริการบางรายนอกเหนือจากการเปิดบัญชีทางการค้าเพ่ือให้
วงเงินเช่ือแก่ผู้ซื้อและออกเอกสารทางการค้าต่าง ๆ ยังต้องการหลักประกันทางการเงินเพิ่มเติมเพ่ือเพ่ิม
ความม่ันใจในการชำระเงนิ จากผซู้ ื้อ

หลักประกันทางการเงิน ในการให้สินเช่ือทางการค้าแก่ผู้ซื้อนั้น ผู้ขายอาจ
ตอ้ งการหลกั ประกนั จากผ้ซู ื้อในลกั ษณะต่าง ๆ ดงั นี้

1.2.1 เงินสด (cash) ธุรกิจผู้ซื้อสินค้าหรือบริการต้องนำเงินสดตามจำนวนท่ี
ผู้ขายกำหนดมาฝากไว้กับผู้ขายเพ่ือเป็นหลักประกัน โดยผู้ขายออกหลักฐานการฝากเงินให้แก่ผู้ซื้อ
ผู้ขายบางรายนำเงินส่วนนี้ไปฝากธนาคาร เมื่อมีดอกเบี้ยก็ทบรวมกับเงินที่นำมาประกัน หากผู้ขาย
สินค้าหรือบริการและธุรกิจผู้ซื้อสินค้ายุตกิ ารตดิ ต่อทางการค้าระหว่างกัน และชำระบัญชีเสร็จสิ้นเป็น
ท่เี รียบรอ้ ย ผ้ขู ายสนิ คา้ หรอื บรกิ ารจะคืนเงนิ ฝากดงั กล่าวรวมทั้งดอกเบย้ี เงนิ ฝาก (ถา้ มี) ให้แก่ผซู้ อื้

1.2.2 เลตเตอร์ออฟเครดิต (letter of credit: L/C) คือเอกสารการค้า ซ่ึง
มักนิยมใช้กันในการค้าระหว่างประเทศโดยมีธนาคารของท้ังทางฝ่ายผู้ซ้ือและธนาคารทางฝ่ายผู้ขาย
เป็นตัวกลาง เอกสารนี้แสดงรายละเอียดการซ้ือสินค้าและยืนยันการชำระเงินออกโดยธนาคารตาม
คำสั่งของผซู้ อื้ ท่เี ป็นลกู คา้ ในประเทศหนง่ึ เพื่อส่งไปให้ธนาคารในประเทศของผขู้ ายที่ผู้ขายได้ติดต่อไว้
ทำให้ผู้ซื้อม่ันใจว่าได้รับสินค้าแน่นอนโดยไม่ต้องจ่ายมัดจำสินค้าล่วงหน้า และไม่ต้องชำระเงินค่าสินค้า
หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงซ่ึงระบุใน L/C ในทางกลับกันฝ่ายผู้ขายก็ม่ันใจว่าถ้าส่งสินค้าและ
เอกสารทเี่ ก่ียวข้องอย่างถูกต้องและครบถว้ นตามท่ีตกลงไปให้ผู้ซอ้ื ยอ่ มได้รบั เงนิ ค่าสนิ ค้าจากธนาคาร
อย่างแนน่ อนตามเง่อื นไข ดังน้ัน L/C ไม่เพียงทำหน้าทีเ่ ปน็ เครือ่ งมืออำนวยความสะดวกในทางการค้า
เท่าน้นั แต่ยงั เปน็ หลักประกันท่ีชว่ ยสรา้ งความมั่นใจใหท้ งั้ ผู้ซื้อสนิ คา้ หรือผู้นำเข้า และผู้ขายสินค้าหรือ
ผู้ส่งออก

1.2.3 ต๋ัวสัญญาใช้เงิน (promissory note: P/N) คือ หนังสือตราสารซ่ึง
บุคคลคนหน่ึงเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว (maker) ให้คำม่ันว่าจะใช้เงินจำนวนหน่ึงให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง
หรอื ใช้ตามคำส่ังของบุคคลอีกคนหนึ่งซง่ึ เรยี กว่า ผู้รับเงนิ (payee) ท้ังนี้ต๋ัวสัญญาใช้เงนิ ไม่ระบุผู้จา่ ย
เพราะผู้ออกตั๋ว คือผู้จ่าย ซ่ึงอยู่ในสถานะลูกหนี้ของผู้รับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983 ต้องมีรายการดังน้ี คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน คำมั่นสัญญา
อันปราศจากเง่ือนไขว่าใช้เงินเป็นจำนวนที่แน่นอน วันถึงกำหนดใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน ชื่อหรือย่ีห้อ
ของผู้รับเงิน วันและสถานที่ออกต๋ัว และลายมือช่ือผู้ออกตั๋ว (สมคิด บางโม, 2555, หน้า 156-157)
ดงั ตวั อย่างในภาพที่ 4.3

ต๋ัวสัญญาใช้เงินที่ให้ผู้ซื้อจัดทำเป็นหลักฐานนี้เป็นลักษณะตั๋วเงินทาง
การค้า (trade bill) เพ่ือเป็นหลักฐานประกอบการเรียกเก็บเงินจากผู้ซ้ือสินค้าในสถานะลูกหน้ีจาก
การซ้ือสินค้าเป็นเงินเชื่อ ผู้ขายสินค้าหรอื บริการบางรายอาจระบุดอกเบี้ยหากชำระค่าสนิ ค้าช้ากว่าท่ี
ตกลงด้วยก็ได้ ดังนั้นผู้ออกตั๋ว คือ ผู้ซื้อ ส่วนผู้รับเงิน คือ ผู้ขายสินค้าหรือบริการ นอกจากน้ีผู้ขาย
สนิ ค้าอาจรอ้ งขอให้ผู้ซ้ือหาบุคคลมารับประกันการชำระเงินตามท่ีระบใุ นตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเรียกกันว่า
อาวัล (aval) ซึ่งเป็นคำฝรั่งเศสแปลว่าทำให้มีค่าข้ึน โดยผู้รับอาวัลเขียนถ้อยคำว่า ใช้ได้เป็นอาวัล
(good as aval) หรือถ้อยคำอ่ืนที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน เช่น ค้ำประกัน รับประกัน ฯลฯ

226

แล้วลงลายมอื ชื่อผู้รบั อาวัล ในการอาวลั ต้องระบุด้วยว่าอาวัลผู้ใด ถ้าไม่ระบุถือว่าอาวลั ผู้สั่งจ่าย ท้ังน้ี
ผู้รับอาวัลมักเป็นธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ โดยอาวัลยอดเงินท้ังหมดหรือ
บางส่วนก็ได้ และคิดค่าธรรมเนียมดำเนินการในอัตราท่ีกำหนด การอาวัลทำให้ต๋ัวเงินมีค่าขึ้นและ
ผู้ขายสินค้าหรือบริการมีความมั่นใจว่าจะได้รับชำระหนี้ตามต๋ัวสัญญาใช้เงินจากธนาคารผู้รับอาวัล
(ปราณี สิทธสิ รวง, 26 พฤษภาคม 2557)

ตว๋ั สญั ญาใชเ้ งนิ

PROMISSORY NOTE

เลขท่ี (no.)…………………………. วนั ทอี่ อกตว๋ั (issued date)………….……………..

สถานทอี่ อกตวั๋ (place of issue)…….…………..

ข้าพเจ้า (I/We)…………………………………………………………………………………………………………

สญั ญาว่าจะใชเ้ งนิ ใหแ้ ก่ (promise to pay to)…………………….…หรือตามคำสัง่ (or order)

เปน็ จำนวนเงนิ (for the sum of)…………………บาท (baht) ( ………………………………………)

ในวันที่ (date)…………………………………………..ณ (at)……………………….……………………….

ใช้ได้เปน็ อาวลั (good as aval) ลงชื่อ………………………ผูอ้ อกตวั๋ (maker)
()
ลงช่ือ……………………. ผู้รับอาวัล (aval)
()

วันท่ี(date)……………………………………………
ภาพที่ 4.3 ตัวอยา่ งต๋วั สัญญาใชเ้ งิน

1.2.4 ต๋ัวแลกเงิน (bill of exchange: B/E) คือ หนังสือตราสารท่ีบุคคล
คนหน่ึงเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย (drawer) ส่ังให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จ่ายเงิน (drawee) ให้ใช้เงิน
จำนวนหนึ่งแก่บคุ คลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ตามคำส่ังของบุคคลหน่ึงซงึ่ เรียกว่า ผู้รับเงนิ (Payee) จะเห็นว่า
เกี่ยวข้องกับบุคคล 3 ฝ่าย หรืออาจเป็น 2 ฝ่าย หากผู้สั่งจ่ายกับผู้รับเงินเป็นบุคคลเดียวกัน ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 909 ต๋วั แลกเงินน้นั จะต้องมีรายการดังน้ี คำบอกช่อื ว่าเป็น
ตั๋วแลกเงิน คำสั่งปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน ช่อื หรือยี่ห้อผู้จ่ายเงิน วันถึงกำหนด
ใช้เงนิ สถานท่ีใช้เงิน ชื่อหรือย่ีห้อผู้รบั เงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ วนั และสถานท่ีที่ออกต๋ัว
แลกเงิน และลายมอื ชื่อผ้สู ั่งจา่ ย (สมคดิ บางโม, 2555, หน้า 156-157) ดงั ตวั อย่างในภาพท่ี 4.4

ตั๋วแลกเงินท่ีจัดทำโดยผู้ขายสินค้าหรือบริการเป็นลักษณะต๋ัวแลกเงิน
ทางการค้าเพ่ือเป็นหลักฐานเรียกเก็บเงินจากผู้ซ้ือสินค้าซึ่งผู้ขายให้สินเช่ือ ผู้ขายสินค้าหรือบริการบางราย
อาจระบุดอกเบี้ยหากชำระค่าสนิ ค้าช้ากว่าที่ตกลงด้วยก็ได้ ตว๋ั แลกเงินจะสมบูรณ์เมื่อผู้จ่ายเงินได้ลงนาม
รับรองตั๋วแลกเงิน (trade acceptance) หากต๋ัวแลกเงินทางการค้าเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 ฝ่าย แสดงว่า
ผู้ส่ังจ่ายและผู้รับเงินคือผู้ขายสินค้าหรือบริการ ส่วนผู้จ่ายเงินและผู้รับรองคือผู้ซื้อ แต่ถ้าหาก

227

เก่ียวข้องกับบุคคล 3 ฝ่าย แสดงว่า ผู้ซื้อให้ธนาคารท่ีตนเป็นลูกค้าทำหน้าที่จ่ายเงนิ และเป็นผู้รับรอง
ต๋ัวเงิน ดังนั้นผู้สั่งจ่ายคือผู้ซ้ือ ผู้จ่ายเงินและผู้รับรองคือธนาคาร ส่วนผู้รับเงินคือผู้ขายสินค้าหรือ
บริการ ท้งั น้ีธนาคารคดิ ค่าธรรมเนียมการรบั รองตัว๋ แลกเงิน นอกจากนี้ผู้ขายอาจจะให้ผ้ซู ้ือไปทำอาวัล
เพือ่ ประกนั การจา่ ยเงนิ หรอื ไมก่ ็ได้ หากผจู้ ่ายเงินและผรู้ ับรองเป็นธนาคารก็ไมต่ ้องทำอาวัล

ตั๋วแลกเงนิ

BILL OF EXCHANGE

เลขท่ี (no.)…………………………. วนั ทอ่ี อกต๋ัว (issued date)………….………………..

สถานทอ่ี อกตวั๋ (place of issue)…….…………….

ช่ือผ้สู ัง่ จา่ ย (drawer)………………………………………………………………………………………………..

ถึงผู้จ่าย (drawee)…………………………………………………………………………………………………….

ทอ่ี ยู่ (address)…………………………………………………………………………………………………………

จา่ ยเงินเป็นจำนวน (pay the sum of)………………….บาท (baht) (………………………………..)

ให้แก่ (to)………………………………………….…………………………………หรอื ตามคำส่งั (or order)

ในวนั ท่ี (date)………………………………………………..ณ (at)……………………….……………………….

รบั รองแลว้ (accepted) ลงช่ือ………………………ผู้ส่ังจ่าย (drawer)
ลงชอื่ ………………………ผจู้ า่ ย (drawee) (………………………..)
วันท่ี (date)……………………………………..

ภาพที่ 4.4 ตวั อยา่ งตวั๋ แลกเงิน

2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (accruals) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ถึงเวลาครบกำหนด
จ่าย หรือยังไม่จ่ายชำระตามกำหนด เช่น ค่าแรงค้างจ่าย ภาษีค้างจ่ายซ่ึงมีระยะเวลานำส่งหลังปิดบัญชี
ดังน้ันค่าใช้จ่ายค้างจ่ายจึงเป็นแหล่งเงินทุนระยะส้ันในช่วงเวลาหนึ่งท่ีเกิดข้ึนโดยอัตโนมัติตามการ
ดำเนินงานของธุรกิจ ไม่มีต้นทุนทางการเงินจากดอกเบ้ีย มีความยืดหยุ่น และอาจขอเลื่อนเวลาหาก
ไมส่ ามารถชำระได้

3. เงินกู้ระยะส้ัน (short-term lone) คอื การท่ีธุรกิจไปขอกู้เงินจำนวนหน่ึงจากผู้ให้กู้
เพ่ือใช้เป็นเงินหมุนเวียนโดยมีระยะเวลาชำระหน้ีไม่เกิน 1 ปี ผู้ให้กู้และผู้กู้จะทำสัญญาระหว่างกันถึง
เงื่อนไขตา่ ง ๆ ตามทต่ี กลง เช่น ดอกเบ้ีย ระยะเวลาใช้คืน ลกั ษณะการใชค้ ืน หลักประกัน (ถ้าม)ี ฯลฯ
โดยธุรกิจสามารถกู้เงินระยะสั้นจากแหล่งเงินทุนทั้งในระบบ เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน
สถาบันการเงินท่ีรัฐบาลจัดขึ้น และจากแหล่งเงินทุนนอกระบบ เช่น นายทุนเงินกู้ คนรู้จัก เล่นแชร์
ฯลฯ โดยแหล่งเงินทุนแต่ละแหล่งจะมีรูปแบบการให้กู้ยืมและเง่ือนไขท่ีแตกต่างกันไป ท้ังน้ีเงินกู้จาก
สถาบนั การเงนิ มักใชศ้ พั ทท์ ่เี ปน็ ทางการว่า สินเชื่อ

ในที่น้ีอธิบายเฉพาะเงินกู้หรือการให้สินเช่ือจากธนาคาร (bank loans) เนื่องจาก
ให้บริการหลากหลายรูปแบบ ดงั ตอ่ ไปนี้

228

3.1 วงเงินสินเชื่อ (line of credit) คือ วงเงินสูงสุดที่ธนาคารสามารถให้แก่ผู้กู้
ตามข้อตกลงระหว่างกัน กฎหมายไม่สามารถบังคับว่าธนาคารต้องให้วงเงินเครดิตหรือให้กู้ตามท่ี
ลูกค้าต้องการเสมอไป ลูกค้าในสถานะผู้กู้ใช้เงินไปเท่าใดภายใต้วงเงินก็เสียดอกเบ้ียเท่าน้ัน แต่ถ้า
ธนาคารเห็นวา่ สถานะทางการเงินของผู้ก้เู รม่ิ ไม่มั่นคง หรือใช้วงเงินสินเช่ือไม่เต็มจำนวน ธนาคารอาจ
เปล่ียนแปลงหรอื ยกเลกิ วงเงนิ กไ็ ด้ (ฐาปนา ฉ่นิ ไพศาล, 2558, หน้า 9-4 – 9-5)

3.2 วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน (revolving line of credit) เป็นข้อผูกพันทาง
กฎหมายที่ธนาคารยนิ ยอมให้ผกู้ ้ไู ด้กู้เงินตามวงเงินสงู สดุ ท่ีกำหนดเม่ือใดก็ได้ตลอดระยะเวลาในสัญญา
ผู้กู้สามารถกู้เงินเพ่ือไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจตามจำนวนเงินที่ต้องการแต่ไม่เกินวงเงิน หากใช้สิทธิไม่
เต็มวงเงิน ย่อมทำให้ธนาคารเสียโอกาสการใช้ประโยชน์จากเงินในส่วนดังกล่าว ดังน้ันผู้กู้ต้องเสีย
ค่าธรรมเนียมผูกพัน (commitment fee) ให้กับธนาคารเพ่ือชดเชยการกันเงินในส่วนท่ีเหลือตาม
วงเงนิ (พรรณุภา ธวุ นิมิตรกลุ , 2558, หนา้ 408-409)

3.3 สินเชื่อเฉพาะกรณี (transaction loan) ธนาคารให้สินเช่ือแก่ธุรกิจเพ่ือให้
ธุรกิจได้นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพ่ือชำระค่าสินค้าท่ีให้ธนาคารจ่ายเงินแก่คู่ค้า
โดยตรงเพ่ือการส่งออกและการนำเข้าสินค้า ทัง้ น้ีธนาคารจะวิเคราะห์ให้สนิ เชื่อแก่ธุรกิจเป็นราย ๆ ไป
อกี ทงั้ เง่อื นไขและรายละเอยี ดการใหบ้ ริการแต่ละธนาคารก็แตกตา่ งกนั ออกไป

การให้สนิ เชือ่ หรือเงนิ กู้ระยะสนั้ ดังกล่าวข้างต้นเป็นการกู้ยมื แบบมีกำหนดเวลา
(term loan) ธนาคารบางแห่งเม่ืออนุมัติเงินกู้จะกำหนดให้ผู้กู้ฝากเงินสดข้ันต่ำ อีกทั้งเม่ือเงินกู้ได้รับ
การอนุมัติ ผู้กู้ต้องทำต๋ัวสัญญาใช้เงิน (promissory notes: P/N) โดยทางธนาคารบริการจัดทำให้
เพื่อระบุรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ของการกู้เงินและเป็นหลักฐานให้คำมั่นสัญญาว่าผู้กู้จะใช้เงินคืน
ให้แก่ธนาคาร ตั๋วสัญญาใช้เงินน้ีมีลักษณะคล้ายกับต๋ัวสัญญาใช้เงินกรณีสินเช่ือทางการค้าดังกล่าว
ข้างตน้ แตอ่ าจเพิ่มเตมิ รายการข้อตกลงอ่ืน ๆ ระหว่างผกู้ ้แู ละธนาคาร ดังตัวอยา่ งในภาพที่ 4.5

ภาพที่ 4.5 ตวั อย่างตวั๋ สญั ญาใช้เงินจากการกู้เงนิ ธนาคาร

229

การกู้เงินในระยะส้ันมีท้ังแบบเงินกู้ไม่มีหลักประกัน (unsecured loans) ซ่ึงผู้กู้
ไม่ต้องหาหลักทรัพย์ใด ๆ มาค้ำประกันเงินกู้ และเงินกู้แบบมีหลักประกัน (secured loans) ซึ่งผู้กู้
ต้องหาหลักทรพั ย์มาค้ำประกันแก่ผ้ใู ห้กู้ซึ่งในท่ีนี้หมายถึงธนาคาร เพื่อชดใช้ความเสียหายหากเกิดการ
ผิดสัญญาขนึ้ โดยหลักประกันดงั กลา่ วคอื หลกั ทรัพยซ์ ึ่งหมายถงึ หลกั ฐานแสดงสิทธิในทรพั ย์สินที่อยูใ่ น
รูปอสังหาริมทรัพย์ เช่น ท่ีดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ หรือสังหาริมทรัพย์ เช่น บัญชีเงินฝาก
พันธบัตรรัฐบาล สินค้าคงคลัง บัญชีลูกหน้ีการค้า ฯลฯ สำหรับอัตราดอกเบ้ียและค่าธรรมเนียมการ
ให้บริการสนิ เชอ่ื ของแตล่ ะธนาคารจะแตกต่างกันบา้ งเล็กน้อยข้ึนอยกู่ ับต้นทุนของธนาคารในชว่ งเวลา
นนั้ ๆ อีกทั้งธนาคารพจิ ารณาจากประเภทวงเงินสนิ เช่ือและคุณสมบตั ขิ องผู้กู้

3.4 วงเงินเบิกเกินบัญชี (overdraft: O/D) เป็นเงินทุนสำรองพร้อมใช้และช่วย
เสริมสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจ เพราะทำให้ธุรกิจมีเงินมาหมุนเวียนใช้ในการดำเนินงานจากวงเงิน
เบิกเกินบัญชีท่ีธนาคารอนุมัติ โดยธนาคารพิจารณาอนุมัติวงเงินเบิกเกินบัญชีจากประวัติการเงนิ ของ
ธุรกิจ ความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจ รวมทั้งหลักประกันท่ีนำมาใช้ในการกู้ยืม เช่น เงิน
ฝากธนาคาร ที่ดิน สิ่งปลกู สรา้ ง ฯลฯ ท้งั นธ้ี นาคารไมไ่ ดใ้ ห้เงินสดเป็นก้อนแกธ่ รุ กิจในสถานะผู้กู้ แตใ่ ห้
ธุรกิจใช้จ่ายเงินผ่านเช็คซึ่งไปตัดจ่ายจากยอดวงเงินเบิกเกินบัญชีท่ีธนาคารอนุมัติในบัญชีกระแสรายวัน
(current account) ท่ีผู้กู้ต้องเปิดไว้กับทางธนาคาร ทำให้สะดวกสำหรับการจ่ายเงินด้วยเช็คให้กับคู่ค้า
อย่างไรก็ดีธุรกิจซึ่งเป็นผู้กู้ต้องพยายามนำเงินจากการค้ามาเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินการเบิกเกินบัญชี
การกู้เงินประเภทน้ีไม่มีกำหนดเวลาชำระเงิน แต่ธนาคารผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยทุก ๆ สิ้นเดือน โดย
คำนวณดอกเบย้ี นบั เป็นรายวันต้ังแตว่ นั เบิกเงินไปใชข้ องแตล่ ะยอดจนถงึ วันสน้ิ เดือน

4. ตราสารพาณิชย์ (commercial paper) คือ ตราสารหน้ีท่ีไม่มีหลักประกัน ออก
จำหน่ายโดยธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงและมีความน่าเช่ือถือทางการเงิน เพื่อระดมเงินทุนจากนกั ลงทุน
โดยท่ัวไป ในลักษณะตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงิน การออกขายตราสารพาณิชย์ดังกล่าวมักมีต้นทุน
เรื่องดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้เงินในระยะส้ัน อีกท้ังไม่ต้องมีหลักประกัน แต่ผู้ออกตราสารพาณิชย์ต้องเป็น
ธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือเพราะไม่เช่นนั้นย่อมขายตราสารพาณิชย์ได้ยาก ทั้งน้ีธุรกิจสามารถออกขาย
ตราสารพาณิชย์โดยตรงแกน่ กั ลงทุน ดังตวั อย่างในภาพที่ 4.6 หรือขายผ่านผู้คา้ หลกั ทรัพย์ อยา่ งไรก็ดี
ตราสารพาณชิ ยอ์ าจมีข้อกำหนดหา้ มเปลี่ยนมอื หรอื ไม่ก็ได้

ภาพที่ 4.6 ตัวอยา่ งตัว๋ แลกเงินท่ีออกขายโดยธนาคาร

230

5. การขายลดบัญชีลูกหน้ีการค้า (discounting account receivables) ธุรกิจซ่ึง
จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพ่ิม สามารถเพิ่มสภาพคล่องให้มีเงินทุนหมุนเวียนมากข้ึนจากการ
แก้ปัญหาเงินทุนท่ีจมอยู่ในลูกหนี้ โดยนำเอกสารการค้าที่อยู่ระหว่างรอเรียกเก็บเงินซึ่งโดยมากมี
ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน มาขายพร้อมกับโอนสิทธิการรับเงินจากลูกหนี้ให้แก่ผู้ประกอบกิจการรับ
โอนสิทธิเรียกร้องหรือรับซ้ือบัญชีลูกหนี้ท่ีได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ เช่น ธนาคาร
บริษัทเอกชนซ่ึงดำเนินกิจการประเภทน้ีท่ีเรียกกันว่าบริษัทแฟคตอริ่ง (factoring company) ฯลฯ
โดยเรียกการซ้ือขายบัญชีลูกหน้ีน้ีว่า แฟคตอริ่ง (factoring) ซึ่งถือว่าเป็นสินเช่ือระยะส้ันรูปแบบ
หนึ่ง ธุรกิจซ่ึงขายบัญชีลูกหนี้จึงอยู่ในสถานะผู้ขอสินเชื่อหรือผู้กู้ ส่วนผู้ประกอบการแฟคตอริ่ง อยู่ใน
สถานะผใู้ หส้ ินเช่ือหรือผู้ใหก้ ู้น่ันเอง

การขายบัญชลี ูกหนี้ให้กบั ผ้ปู ระกอบการแฟคตอร่ิง เป็นลักษณะการขายลดมลู ค่าหนี้
โดยธุรกิจจะได้รับเงินสดล่วงหน้าก่อนถึงเวลาเรียกเก็บจากลูกหน้ี แต่ได้รับในจำนวนท่ีต่ำกวา่ ยอดเงิน
ซง่ึ ระบุในเอกสารการค้าทเี่ รียกเก็บเงินจากลูกหนี้เพราะถกู หกั ดอกเบี้ยตามอัตราทกี่ ำหนด โดยดอกเบ้ีย
คำนวณตั้งแตว่ ันท่ีผู้ประกอบการแฟคตอร่ิง ไดจ้ ่ายเงินล่วงหน้าให้กับธุรกิจจนถึงวันที่เก็บเงนิ จากลูกหน้ี
การค้าของธุรกิจ อีกท้ังอัตราดอกเบ้ียก็แตกต่างกันตามเง่ือนไขสัญญาแฟคตอริ่ง กล่าวคือ แฟคตอร่ิง
ที่ไล่เบี้ยได้ (factoring with recourse) จะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า แฟคตอริ่งที่ไล่เบี้ยไม่ได้ (factoring
without recourse) เนื่องจากผู้ประกอบการแฟคตอริ่งมีความเส่ียงน้อยกว่า เพราะสามารถเรียกเงิน
จากธุรกิจหากเกบ็ หน้ีลูกค้าของธุรกจิ ไม่ได้ นอกจากน้ีผู้ประกอบการแฟคตอร่งิ คิดค่าธรรรมเนียม และ
มักจ่ายเงนิ ให้ธุรกิจไปส่วนหน่งึ กอ่ นโดยจะจ่ายส่วนท่ีเหลือให้เมื่อสามารถเก็บค่าสินคา้ หรอื บริการจาก
ลูกหน้ีได้ การทำแฟ็กเตอร่ิงมีท้ังแบบที่ต้องแจ้งให้ลูกหน้ีการค้าทราบถึงการซ้ือขายและการโอนสิทธิ
ดังกล่าว (disclosed factoring) และแบบท่ีไม่ต้องแจ้งให้ลูกหน้ีการค้าทราบ (confidential factoring /
non-notification) แต่ในประเทศไทยจะเป็นแบบแจ้งให้ลูกหนี้การค้าทราบเท่าน้ัน เพื่อให้ลูกหน้ีนำ
เงินมาชำระให้กับผู้ประกอบการแฟ็กเตอริ่งโดยตรง และป้องกันธุรกิจแอบอ้างรับชำระหน้ีจากลูกหน้ี
การค้าอีกเม่ือครบกำหนดชำระหนี้ ดังน้ันเม่ือทำสัญญาแฟคตอริ่งระหว่างธุรกิจและผู้ประกอบการ
แฟคตอร่ิงเป็นที่เรียบร้อย ผู้ประกอบการแฟคตอร่ิงจะแจ้งให้ลูกหน้ีทราบและเรียกเก็บค่าสินค้าหรือ
บริการจากลูกหนี้ตามจำนวนเงินท่ีระบุในเอกสารการค้าเม่ือถึงเวลาครบกำหนด (ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการ
ทางการเงิน, 2557)

6. การขายลดต๋ัวเงินรับ (discounting notes receivables) เมื่อธุรกิจจัดส่งสินค้า
ไปยังผู้ซ้ือซ่ึงได้ให้สินเช่ือทางการค้า และได้รับชำระค่าสินค้าเป็นตั๋วเงินที่ลงวันท่ีล่วงหน้า หากธุรกิจ
ต้องการเงินทุนหมุนเวียน ก็สามารถนำต๋ัวเงินนั้นไปขายลดให้กับผู้ประกอบการซึ่งรับซ้ือตั๋วเงิน เช่น
ธนาคาร บริษัทเอกชนท่ีดำเนินกิจการประเภทนี้ ฯลฯ การขายลดตั๋วเงินรับจึงเป็นสินเชื่อระยะส้ัน
อีกรูปแบบหน่ึง ทางด้านผู้ประกอบการซ่ึงรับซ้ือตั๋วเงิน เรียกการทำธุรกรรมนี้ว่าสินเชื่อซ้ือลดตั๋วเงิน
(clean bill discount: CBD) กล่าวคือ ผู้ประกอบการรับซื้อตั๋วเงินจะคิดดอกเบี้ยล่วงหน้าตามระยะเวลา
รอเรียกเกบ็ เงินตามต๋ัวซึ่งถอื วา่ เปน็ ส่วนทน่ี ำมาคิดลดตั๋วเงิน และให้เงินแก่ธรุ กิจในจำนวนหลงั หักส่วน
ท่ีนำมาคิดลดแล้ว จากนั้นผู้ประกอบการรับซื้อต๋ัวเงินจะเรียกเก็บเงินเต็มจำนวนที่ระบุในตั๋วเงินรับ
จากลกู หนี้การคา้ ของธุรกิจเมือ่ ถึงเวลาครบกำหนด

231

ต๋วั เงนิ ที่ธรุ กิจนำมาขายลดจะเปน็ ตั๋วเงนิ ทางการคา้ ซง่ึ ระบุวันครบกำหนดชำระเงินไว้
ลว่ งหน้า แบ่งเปน็ 3 ประเภท ได้แก่

6.1 ตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory note: P/N)
6.2 ตัว๋ แลกเงิน (bill of exchange: B/E)
ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน ได้อธิบายรายละเอียดไปแล้วเบื้องต้นในหัวข้อ
สนิ เชื่อทางการคา้
6.3 เช็ค (cheque) คือตราสารท่ีบุคคลหน่ึงเรียกว่าผู้สั่งจ่าย ส่ังให้ธนาคารจ่ายให้
บุคคลอีกคนหน่ึงคือผู้รับเงิน ในกรณีการขายลดเช็คจะเป็นเช็คลงวันท่ีล่วงหน้าซ่ึงธุรกิจได้รับมาจาก
ลูกค้าท่ีธุรกิจให้สินเชื่อทางการค้า อย่างไรก็ดีลูกค้าที่สั่งจ่ายเช็คได้ ต้องมีบัญชีกระแสรายวันที่เปิดไว้
กับธนาคารเพื่อตัดจ่ายเช็ค ดังน้ันผสู้ ั่งจ่ายเช็ค (drawer) คือผู้ซือ้ ซ่ึงเป็นเจ้าของบญั ชีกระแสรายวันท่ี
เปิดไว้กับธนาคาร ผู้จ่ายเงิน (drawee) คือ ธนาคารซึ่งผู้ส่ังจ่ายเช็คเปิดบัญชีประเภทกระแสรายวัน
เอาไว้ ผู้รับเงิน(Payee) คือผู้ขายท่ีมีช่ือปรากฏในเช็ค หรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบโอนเช็ค ทั้งน้ีอายุ
เช็คไมเ่ กิน 6 เดอื นนับตั้งแต่วนั ทสี่ ่งั จา่ ยซ่ึงระบใุ นเชค็

6.3.1 องค์ประกอบของสมุดเช็ค (the parts of cheque book) สมุดเช็ค
มอี งคป์ ระกอบสำคญั 2 สว่ น ไดแ้ ก่

6.3.1.1 ส่วนต้นข้ัวเช็ค (cheque stub) ประกอบด้วยวันท่ี จำนวนเงิน
ผู้รบั เงิน วัตถุประสงค์การชำระเงิน รวมทั้งแสดงรายการรวมยอดยกมาของการใช้เงิน ยอดเงินส่งเข้า
บัญชี ยอดสั่งจ่ายครง้ั นี้ และยอดเงินยกไป

6.3.1.2 สว่ นตัวเช็ค (cheque) ประกอบด้วยคำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
คำส่ังปราศจากเง่ือนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน ชื่อหรือย่ีห้อและสำนักของธนาคาร เลขท่ีเช็ค
เลขท่ีสาขาของธนาคาร เลขท่ีบัญชผี ู้สง่ั จ่ายเชค็ ช่อื หรอื ย่ีหอ้ ของผรู้ ับเงิน หรอื คำจดแจง้ วา่ ให้ใช้เงินแก่
ผ้ถู ือ สถานท่ใี ช้เช็ค วันและสถานท่ีออกเชค็ ลายมอื ชอ่ื ผู้สั่งจ่าย

ตน้ ขว้ั เชค็ ตัวเช็ค
ภาพท่ี 4.7 ตวั อย่างสมดุ เชค็

6.3.2 การสง่ั จา่ ยเช็ค (payment of cheque) ในการใช้เช็คนั้นผู้สั่งจ่ายเช็ค
ต้องลงวันที่จ่ายเช็ค จำนวนเงินในตัวเช็คท้ังแบบตัวเลขและตัวหนังสือให้ถูกต้องและตรงกัน ควรใส่
เคร่ืองหมายขีดกำกับหัวและท้ายตัวเลขและตัวหนังสือ เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนเงินจากผู้ไม่หวังดี
อกี ท้ังลายมือช่ือผู้จ่ายเช็คต้องตรงกับท่ีแจ้งไว้กับธนาคาร ในส่วนของชื่อผู้รับเงิน ผู้ส่ังจ่ายเช็คเขียนได้

232

ดังนี้ หากระบุในชอ่ งผู้รับเงนิ ว่าเงินสดและไมข่ ีดฆา่ คำวา่ หรอื ผู้ถือ (or bearer) แสดงว่าจ่ายให้ใครก็ได้
ที่ถือเช็คหรือที่เรียกว่าผู้ทรงเช็ค แต่ถ้าระบุชื่อผู้รับเงินและไม่ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือ แสดงว่าจ่ายเงิน
ให้แก่ผู้รับเงินท่ีระบุช่ือหรือผู้ถือก็ได้ หากระบุช่ือผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือ แสดงว่าจ่ายเงิน
ให้แก่ผู้รับเงินที่ระบุช่ือเท่าน้ัน ในการเขียนเช็คต้องระมัดระวังไม่ให้ผิดและไม่แก้ไขข้อความใดบนตัวเช็ค
นอกจากน้ีควรลงวันที่จ่ายเช็ค ชื่อผู้รับเงิน จำนวนเงินในต้นข้ัวเช็คให้ตรงกับตัวเช็ค และหม่ัน
ตรวจสอบยอดเงินในบัญชีกระแสรายวัน เพ่ือไม่ให้จ่ายเช็คเกินจำนวนเงินในบัญชีจนทำให้เกิดกรณีที่
เรยี กวา่ เช็คเด้ง คอื ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงนิ ทำใหผ้ ้สู ั่งจ่ายเชค็ เสียเครดติ ทางการเงิน

ภาพท่ี 4.8 ตัวอยา่ งการสง่ั จา่ ยเช็ค

6.3.3 การขีดคร่อมเช็ค (crossing of cheque) เป็นการขีดเส้นคู่ขนานตัดแนว
เฉียงตรงมุมซ้ายของเช็ค เพื่อทำให้การส่ังจ่ายเช็คถึงผู้รับเงินแน่นอน เพราะธนาคารเข้าบัญชียอดเงินท่ี
ระบุหน้าเช็คให้แก่ผ้ทู รงเช็คเท่านนั้ โดยไมจ่ า่ ยเป็นเงินสด การขดี ครอ่ มเช็คแบ่งออกเปน็ 2 ประเภท

6.3.3.1 การขีดคร่อมทั่วไป (general crossing) ผู้ทรงเช็คสามารถ
นำเช็คไปเข้าบญั ชีท่ีมีของธนาคารใดก็ได้ โดยธนาคารท่ีรบั ฝากจะส่งเชค็ ไปเรียกเกบ็ จากธนาคารท่ีผู้สั่ง
จ่ายเชค็ เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ การขีดคร่อมทั่วไปทำได้หลายแบบ ได้แก่ 1) การขีดเสน้ คู่ขนานตรง
มุมซ้ายของเช็คโดยไม่เขียนอะไรเลย หมายถึง เช็คฉบับน้ีต้องนำฝากเข้าบัญชีของผู้ทรงเช็คไม่ว่าจะ
เป็นเช็คท่ีระบุช่ือผู้รับเงิน หรือเป็นเช็คส่ังจ่ายผู้ถือ 2) การเขียนข้อความระหว่างเส้นคู่ขนานว่า and
company หรอื & CO. หมายความว่าต้องนำฝากเข้าบญั ชีตามชื่อท่รี ะบุหนา้ เช็ค ถา้ จะโอนไปฝากเข้า
บัญชีคนอื่น ผู้ท่ีมีชื่อระบุหน้าเช็คต้องลงช่ือสลักหลังเช็ค 3) การเขียนข้อความระหว่างเส้นคู่ขนานว่า
A/C Payee Only หมายถึงเข้าบญั ชีผู้รับ ดังน้ันตอ้ งนำเช็คฝากเข้าบัญชีตามช่ือที่ระบุหน้าเช็คเท่าน้ัน
ไมอ่ าจโอนให้ผู้อ่ืนด้วยการสลักหลังเช็ค 4) การเขยี นขอ้ ความระหว่างเสน้ คูข่ นานว่า Not Negotiable
หมายถึง ห้ามเปลี่ยนมือ ดังนั้นเช็คฉบับน้ีต้องนำฝากเข้าบัญชีตามชื่อที่ระบุหน้าเช็คเช่นเดียวกัน
ดงั ตัวอยา่ งในภาพที่ 4.9

6.3.3.2 การขีดคร่อมเฉพาะ (restrictive or special crossing) คือ
เช็คท่ีต้องนำฝากเข้าบัญชีธนาคารท่ีระบุช่ือในการขีดคร่อมเท่าน้ัน การเขียนคำระหว่างเส้นขนานใน
การขีดคร่อมเฉพาะทำได้หลายแบบ ได้แก่ 1) เขียนเฉพาะช่ือธนาคาร 2) เขียน & CO. และช่ือ
ธนาคาร 3) เขียน A/C Payee Only และช่ือธนาคาร 4) เขียน Not Negotiable และช่ือธนาคาร
ทง้ั นี้วัตถปุ ระสงค์การใช้ในการเขียนแตล่ ะแบบเช่นเดียวกับการขีดคร่อมท่ัวไปดังกล่าวข้างต้น แต่ต่าง
ตรงที่ตอ้ งเข้าบญั ชเี ฉพาะธนาคารทร่ี ะบใุ นการขีดคร่อม ดังตวั อย่างในภาพท่ี 4.10

233

ภาพท่ี 4.9 ตัวอย่างการขดี ครอ่ มเช็คแบบทั่วไป
ภาพที่ 4.10 ตวั อยา่ งการขีดครอ่ มเช็คแบบเฉพาะ

234

6.3.4 การสลักหลังเช็ค (endorsement of cheque) หากต้องการโอนกรรมสิทธิ์
เช็คไปให้บุคคลอื่น แต่เป็นเช็คท่ีระบุช่ือผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่าผู้ถือ ผู้รับเงินที่ปรากฏชื่อในเช็คต้องสลัก
หลังเช็ค ซ่ึงทำได้ 2 แบบ ได้แก่ การสลักหลังลอย โดยผู้รับเงินเซ็นช่ือตัวเองด้านหลังเช็ค เช่น เช็คส่ัง
จา่ ยนายเอ และขีดฆา่ หรือผู้ถอื หากนายเอ เซน็ ช่ือตวั เองด้านหลังเชค็ แสดงว่าเช็คฉบับนัน้ จะกลายเป็น
เช็คผู้ถือ ใครก็ได้ซึ่งเป็นผู้ถือสามารถนำเช็คไปข้ึนเงินสดได้ หรือนำไปเข้าบัญชีหากเป็นเช็คขีดคร่อม
การสลักหลังอีกแบบคือการสลักหลังเฉพาะ เช่น เช็คส่ังจ่ายนายเอ และขีดฆ่าหรือผู้ถือ หากนายเอ
เขียนบนด้านหลงั เชค็ ว่า จา่ ยนายบี และเซน็ ชอ่ื นายเอกำกบั ไว้ แสดงวา่ เชค็ ฉบับนีน้ ายบี คอื ผ้ทู รงเช็ค

ดังนั้นการท่ีธุรกิจนำเช็คท่ีได้รับจากลูกค้าท่ีให้สินเชื่อไปขายลดเช็ค ต้องเป็นเช็คท่ี
สามารถโอนเปลย่ี นมือได้เท่านน้ั

อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการซ่ึงรับซ้ือต๋ัวเงินแต่ละรายมีเง่ือนไขการรับซื้อท่ีต่างกัน เช่น
บางรายพิจารณารับซื้อต๋ัวเงินในกรณีต๋ัวสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินเฉพาะท่ีมีอาวัลจากสถาบัน
การเงินเท่าน้ัน บางรายรับซื้อเฉพาะเช็คลงวันท่ีล่วงหน้าท่ีมีระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน แต่บางรายอาจ
ใหร้ ะยะเวลาถึง 180 วัน ฯลฯ

นอกจากน้ียังมีต๋ัวเงินประเภทเช็คและต๋ัวแลกเงินท่ีออกโดยธนาคาร แต่ใช้ใน
วตั ถุประสงค์อ่ืนไมไ่ ด้เกย่ี วข้องกับการจดั หาเงนิ ทุนระยะส้ัน ไดแ้ ก่ แคชเชียร์เชค็ เชค็ ของขวญั ตั๋วแลก
เงินของธนาคาร ดังรายละเอียด

แคชเชียร์เช็ค (cashier’s cheque: c/o) คือ เช็คท่ีธนาคารออกให้ผู้ซ้ือตามยอดเงิน
ที่ผู้ซื้อต้องการและจ่ายเงินสดแก่ธนาคาร เพื่อส่ังจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินที่ระบุชื่ออย่างชัดเจน ภายในเขต
จังหวดั เดียวกับสาขาธนาคารที่ออกเช็คเพราะไม่มีค่าธรรมเนียมข้ึนเงนิ แต่หากผู้รบั เงนิ นำไปข้ึนเงินใน
จังหวัดอื่นไม่ว่าจะเป็นธนาคารเดียวกันแต่ต่างสาขาหรือเข้าบัญชีต่างธนาคาร ต้องเสียค่าธรรมเนียม
การเรียกเก็บเช็คตามที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการซ้ือแคชเชียร์เช็คมีอัตราเดียวไม่ว่าซ้ือ
ยอดเงนิ เท่าใดกต็ าม

ภาพท่ี 4.11 ตวั อย่างแคชเชยี ร์เช็ค

235

เช็คของขวัญ (gift cheque) มีลักษณะเช่นเดียวกับแคชเชียร์เช็ค แต่ผู้ซ้ือเช็ค
ของขวัญมีวัตถุประสงค์เพ่ือมอบเป็นของขวัญในโอกาสพิเศษให้แก่ผู้รับ ค่าธรรมเนียมการซ้ือเช็ค
ของขวัญมีอัตราเดียวไม่ว่าซื้อยอดเงินเท่าใดก็ตาม และไม่มีค่าธรรมเนียมการข้ึนเงินสดจากธนาคาร
เดียวกนั แต่ตา่ งสาขา หรอื สามารถฝากเข้าบัญชีหากเป็นธนาคารอืน่

ภาพที่ 4.12 ตวั อย่างเชค็ ของขวญั
ต๋ัวแลกเงินของธนาคาร (demand draft) หรือมักเรียกกันโดยทั่วไปว่า ดราฟต์

(draft) คือ ตราสารทางการเงินท่ีธนาคารสง่ั ให้สาขาในประเทศหรือตา่ งประเทศ หรือธนาคารตัวแทน
ในต่างประเทศ จ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินซึ่งระบุช่ือชัดเจนตามที่ผู้ซื้อดร๊าฟต้องการ โดยผู้ซ้ือดรา๊ ฟนำเงิน
ไปซื้อกับธนาคารและเสียค่าธรรมเนียมตามที่ธนาคารกำหนดซึ่งผันแปรตามยอดเงินท่ีซ้ือ แต่ผู้รับเงิน
ไมต่ อ้ งเสียค่าธรรมเนียมการขน้ึ เงิน ยกเวน้ นำไปเขา้ บญั ชตี า่ งธนาคาร

ภาพท่ี 4.13 ตัวอยา่ งตัว๋ แลกเงนิ ของธนาคาร
โดยสรุปธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุนระยะสั้น เพ่ือนำมาใช้ให้มีเงินหมุนเวียนในการ

ดำเนินงานทั้งจากผู้เป็นเจ้าของ และจากแหล่งอื่นภายนอกธุรกิจโดยดำเนินการได้หลายแบบ ได้แก่
1) สินเชื่อทางการค้า ซ่ึงเป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นท่ีธุรกิจได้รับจากผู้ขายสินค้าหรือบริการ โดยอาจ
เป็นสินเช่ือทางการค้าที่ไม่มีหลักประกันทางการเงิน หรือแบบมีหลักประกันทางการเงิน 2) ค่าใช้จ่าย
ค้างจ่าย 3) เงินกู้ระยะส้ัน ทั้งเป็นการกู้ยืมแบบมีกำหนดเวลา และแบบไม่กำหนดระยะเวลาคือการ
เบิกเกินบัญชี ในการกู้เงนิ ระยะสน้ั มีท้ังต้องใช้หลักทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้ และแบบไม่มีหลักประกัน
4) ตราสารพาณิชย์ เป็นตราสารหน้ีท่ีไม่มีหลักประกัน ออกจำหน่ายโดยธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อระดม

236

เงินทุน 5) การขายลดบัญชีลูกหน้ีการค้า 6) การขายลดตั๋วเงินรับ ท้ังนี้ตั๋วเงินท่ีธุรกิจนำมาขายลดจะ
เป็นต๋ัวเงินทางการค้าซ่ึงระบุวันครบกำหนดชำระเงินไว้ล่วงหน้า ได้แก่ ต๋ัวสัญญาใช้เงิน ต๋ัวแลกเงิน
และเช็ค ดังน้ันผู้บริหารธุรกิจต้องเลือกการจัดหาเงินทุนในระยะส้ันในแบบที่เหมาะสมและเกิด
ประโยชนต์ อ่ การดำเนินงานของธุรกิจใหม้ ากทส่ี ดุ รวมทัง้ มีความรับผดิ ชอบต่อภาระการใชเ้ งนิ คืน

การจดั หาเงินทนุ ระยะยาว
การจัดหาเงินทุนระยะยาว (long-term financing) เป็นการจัดหาเงนิ ทุนจำนวนมาก
เพ่ือนำมาใช้จัดหาจัดซือ้ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีอายุการใช้งานนาน เช่น ท่ีดิน อาคาร เครื่องจักร ฯลฯ
โดยผู้บริหารสามารถจัดหาเงินทุนระยาวได้จากส่วนของเจ้าของและจากการก่อหนี้ ดังมีรายละเอียด
ต่อไปน้ี
1. การจัดหาเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ (equity financing) คือ เงินทุนจากกำไร
สะสม และจากท่ีธุรกิจระดมเงนิ ทุนด้วยการออกตราสารทุน

1.1 กำไรสะสม (retained earnings) คือ กำไรสุทธิส่วนหนึ่งท่ีธุรกิจหักเก็บไว้ใน
แตล่ ะปี โดยไม่ได้จ่ายเปน็ เงินปันผลไปหมด

1.2 ตราสารทุน (equity Instruments) เป็นตราสารท่ีธุรกิจออกจำหน่ายให้แก่
นักลงทุนเพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ ธุรกิจที่ออกจำหน่ายตราสารทุนได้ต้องจดทะเบียนในรูป
บริษัท ผู้ถือตราสารทุนมีสถานะเป็นเจ้าของกิจการ จึงมีสิทธิในทรพั ย์สนิ และรายได้ของกิจการ ได้รับ
ผลตอบแทนเป็นเงินปันผล (dividend) ซ่ึงขนึ้ อยู่กับผลกำไรและข้อตกลงของธุรกิจน้ัน ๆ ตราสารทุน
มหี ลายประเภท แต่ทบี่ ริษทั สว่ นใหญ่โดยทว่ั ไปออกจำหน่าย ได้แก่ หุน้ สามญั และหนุ้ บุริมสทิ ธิ

1.2.1 หุ้นสามัญ (common stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดย
บริษัทที่ต้องการระดมเงินทุนโดยอาจเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด หรือออกขายให้กับประชาชน
โดยท่ัวไป ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจ มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในท่ีประชุมผู้ถือหุ้น
ตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการ ร่วมตัดสินใจในการดำเนินกิจการ ได้รับ
ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล (dividend) ในอัตราที่ไม่คงที่ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของธุรกิจ มีโอกาส
ได้รบั กำไรหากราคาหุ้นในตลาดสงู กว่าราคาหุ้นท่ีลงทุนซ้ือไป และมีโอกาสได้รับสิทธิการจองหุ้นออกใหม่
แต่ถ้าบริษัทเลิกกิจการจะได้รับส่วนแบ่งในสินทรัพย์หลังจากชำระคืนเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ
(พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล, 2558, หน้า 336) ผลดีของการออกหุ้นสามัญคือ ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนคืน
การจา่ ยปนั ผลไมร่ ะบจุ ำนวนเงินทีแ่ น่นอนและไมก่ ำหนดระยะเวลา ถา้ หากธรุ กิจไม่มีกำไรในปนี ั้น ๆ ก็
ไม่ต้องจ่ายปันผล และหากผู้ลงทุนซ่ึงก็คือผู้ซื้อหุ้นเห็นโอกาสในการทำกำไรของธุรกิจ ย่อมทำให้หุ้น
สามัญของธุรกิจจำหน่ายได้ง่ายกว่าหุ้นประเภทอ่ืน เนื่องจากจะได้รับเงินปันผลสูงกว่าการซ้ือหุ้น
ประเภทอื่น การออกขายหุ้นสามัญยังทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความมั่นใจแก่เจ้าหน้ีเพราะธุรกิจมีใน
ส่วนของทุนเพ่ิมมากขึ้นท่ีจะมาช่วยรับภาระเสี่ยงภัยทางการเงินให้กับเจ้าหน้ี อย่างไรก็ดีการออกหุ้น
สามัญทำให้ธุรกิจถูกลดทอนอำนาจในการบริหารงาน และมีค่าใช้จ่ายในการออกขายหุ้นสูงกว่าหุ้น
บุริมสิทธิและหุ้นกู้ มอี ัตราการจ่ายตอบแทนสูงกว่าผู้ถอื หุน้ บรุ ิมสิทธิและหุ้นกู้ และธุรกิจไมส่ ามารถนำ
เงินปนั ผลหุน้ สามัญไปหักภาษีได้ (ฐาปนา ฉนิ่ ไพศาล, 2558, หน้า 11-4)

237

1.2.2 ห้นุ บุรมิ สทิ ธิ (preferred stock) เปน็ ตราสารประเภทหนุ้ ทุนท่ผี ู้ถือหุ้น
มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แต่มีข้อแตกต่างตรงท่ีผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิ
ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่มีสทิ ธิได้รับเงินปันผลก่อนผถู้ ือหนุ้ สามัญ โดยได้รบั เงินปันผลในอัตรา
คงท่ีตามท่ีธุรกิจกำหนด และหากธุรกิจเลิกกิจการก็จะได้รับชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
อย่างไรก็ดีถ้าธุรกิจไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ธุรกิจจะไม่ถูกฟ้องล้มละลายเหมือน
กรณีไม่จ่ายดอกเบ้ียให้ผู้ถือหุ้นกู้ (พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล, 2558, หน้า 334) ผลดีของการออกหุ้นบุรมิ สิทธิ
คอื ไม่ลดทอนอำนาจการบรหิ ารของธุรกิจ ไม่มีภาระผูกพันต้องจ่ายปนั ผลหากธุรกิจไม่มีกำไรในปีนั้น ๆ
ไมม่ กี ำหนดระยะเวลาไถถ่ อนคนื ไม่ทำให้ราคาของหุ้นสามญั เปล่ียน ธุรกิจมใี นส่วนของทุนเพ่ิมมากข้ึน
จึงช่วยสร้างความมั่นใจให้เจ้าหนี้ แต่การออกหุ้นบุริมสิทธิมักไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน มี
ค่าใช้จ่ายในการออกขายหุ้นสูงกว่าหุ้นกู้ ตลอดจนธุรกิจไม่สามารถนำเงินปันผลหุ้นบรุ ิมสิทธิไปหักภาษีได้
(ฐาปนา ฉ่นิ ไพศาล, 2558, หนา้ 11-3)

2. การจัดหาเงินทุนจากการก่อหน้ี (debt financing) คือ การจดั หาเงินทุนในลกั ษณะ
ทท่ี ำให้ธุรกิจมีภาระผกู พันชำระหนี้

2.1 ตราสารหน้ี (debt Instruments) เป็นตราสารการเงินที่ออกจำหน่ายเพ่ือกู้
เงินจากผูล้ งทุน เสมือนเป็นสญั ญาแสดงความเปน็ หน้รี ะหว่างผูอ้ อกและผู้ลงทุนซึง่ เปน็ ผู้ถอื ตราสารหนี้
ดังนั้นผู้ถือตราสารหนี้จึงอยู่ในสถานะเจ้าหน้ีของธุรกิจ ได้รับชำระดอกเบ้ียตามอัตราและเวลาที่
กำหนดตลอดอายุตราสารหนี้ และได้รับเงินต้นคืนเม่ือครบกำหนดไถ่ถอน ธุรกิจต้องจ่ายดอกเบี้ย
ให้กับผู้ถือหุ้นกู้ก่อนจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ อีกท้ังกรณีธุรกิจเลิกกิจการจะได้รับ
ชำระคืนกอ่ นหุ้นบุริมสทิ ธิและหุ้นสามัญ ท้งั นี้ธุรกิจที่ออกจำหน่ายตราสารหน้ีไดน้ ้ันตอ้ งจดทะเบียนใน
รูปแบบบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่ได้รับการยกเว้นหรือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศ โดยตราสารหนี้ที่ออกโดยธุรกิจจะเรียก หุ้นกู้
(corporate bond) แต่ถ้าออกโดยรัฐบาลจะเรียก พันธบัตรรัฐบาล (government bond) หุ้นกู้ท่ี
ธุรกิจออกขายอาจเป็นหุ้นกทู้ ่ีมีหลกั ประกัน (secured bond) คือ หุ้นกทู้ ่ีออกจำหน่ายโดยมีสินทรัพย์
ถาวรค้ำประกนั หรือเป็นหุ้นกู้ท่ีไม่มีหลักประกัน (unsecured bond หรือ debenture) กไ็ ด้ ธุรกิจท่ี
ออกจำหนา่ ยหุ้นก้ทู ี่ไม่ตอ้ งมีหลักทรพั ย์ใดคำ้ ประกนั ต้องเป็นธรุ กิจขนาดใหญ่และมีชื่อเสียง นอกจากนี้
หากพิจารณาสิทธิในการเรยี กร้อง หุ้นกู้ทีอ่ อกขายอาจเปน็ หุ้นกดู้ ้อยสิทธิ (subordinated bond หรือ
junior bond) คือมีสิทธิในการเรียกรอ้ งสินทรัพย์จากผู้ออกหุ้นกู้ในกรณีเกิดการล้มละลายเป็นอันดับ
ทด่ี ้อยกว่าเจ้าหน้ี แต่สิทธิในการเรียกร้องนั้นสูงกว่าผู้ถือหุ้นบุรมิ สิทธิและหุ้นสามัญ หรอื อาจขายหุ้นกู้
ไม่ด้อยสิทธิ (senior bond) ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้ประเภทน้ีมีสิทธิทัดเทียมกับเจ้าหน้ีสามัญรายอ่ืน ๆ ในการ
เรียกร้องให้ชำระหน้ี จึงมีสิทธิเรียกร้องสูงกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นสามัญ
ตามลำดับ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2558, หน้า 1-2) ตัวอย่างการเสนอขายหุ้นกู้ดังแสดง
ในภาพที่ 4.14 และ 4.15

238

ภาพท่ี 4.14 ตวั อย่างการเสนอขายห้นุ กู้ดอ้ ยสิทธิ
ที่มา (ธนาคารกรงุ ไทย จำกัด (มหาชน, 2560)

ภาพท่ี 4.15 ตวั อยา่ งการเสนอขายหุ้นกไู้ ม่ดอ้ ยสิทธิ
ที่มา (ธนาคารไทยพาณิชย์, 2560)

239

2.2 การกู้ยืมเงิน (loan) ธุรกิจขนาดเล็กซึ่งยังไม่สามารถระดมเงินทุนด้วยการออก
จำหนา่ ยตราสารทุนและตราสารหนี้ การกู้ยืมเงนิ จากสถาบนั การเงินนับว่าเป็นแหล่งเงนิ ทนุ ระยะยาวท่ี
มีความสำคัญ อย่างไรก็ดีการกู้เงินระยะยาวจะมีต้นทุนในเรื่องดอกเบ้ียสูงกว่าระยะส้ัน และอัตรา
ดอกเบี้ยยังข้ึนอยู่กับระยะเวลาจ่ายคืน นอกจากนี้การกู้เงินหรือขอสินเช่ือในระยะยาวจากสถาบัน
การเงิน ธุรกิจต้องนำหลักทรัพย์ เช่น ท่ีดิน อาคาร เคร่ืองจักร มาค้ำประกันเงินกู้ หากธุรกิจไม่สามารถ
จ่ายชำระคืนเงินกู้ สถาบันการเงินมีสิทธิยึดหลักประกันเหล่าน้ันได้ การกู้เงินท่ีนำอสังหาริมทรัพย์คือ
ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้มาค้ำประกัน เรียกว่า mortgage lone ส่วนการกู้เงินท่ีนำสังหาริมทรัพย์คือ
ทรพั ยท์ เ่ี คลื่อนท่ไี ดม้ าคำ้ ประกนั เรียกว่า equipment financing loan

เงอื่ นไขการจา่ ยคืนเงินกู้หรือสนิ เชอ่ื ในระยะยาวนี้มักชำระคนื เป็นงวด ๆ ท้ังเงินต้น
และดอกเบี้ย สำหรับการคิดดอกเบ้ียมีทั้งแบบอัตราดอกเบ้ียคงที่ (fixed rate) คือ อัตราดอกเบ้ีย
เท่ากันตลอดอายุสัญญาเงินกู้หรือในช่วงเวลาท่ีกำหนด ไม่เปลี่ยนแปลงข้ึนหรือลงตามต้นทุนของ
สถาบันการเงิน และการคิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (floating rate) คือ อัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลง
ไปตามต้นทุนของสถาบันการเงินที่ประกาศออกมาเป็นคร้ัง ๆ ไป และใช้เป็นอัตราอ้างอิงในการคิด
ดอกเบย้ี กับผู้กู้ อย่างไรก็ดีอัตราดอกเบ้ยี ของแต่ละธนาคารจะไม่เทา่ กัน เนื่องจากธนาคารแต่ละแห่งมี
ต้นทุนไม่เท่ากัน รวมท้ังมีเง่ือนไขในการให้สินเช่ือต่างกัน อีกทั้งธุรกิจผู้ขอกู้แต่ละรายอาจได้รับอัตรา
ดอกเบย้ี ต่างกันขึ้นอยู่กับการที่สถาบนั การเงินพิจารณาผู้ประกอบธุรกิจในประเด็นต่าง ๆ เช่น ประวัติ
ทางการเงิน หลักทรัพย์ค้ำประกัน ความสามารถในการชำระหน้ี ฯลฯ ดังน้ันหากธุรกิจซึ่งเป็นผู้กู้มีความ
เสี่ยงสูง สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยเพิ่มข้ึนจากอัตราอ้างอิง แต่ถ้าหากผู้กู้มีความเสี่ยงต่ำ สถาบัน
การเงินมกั คิดดอกเบ้ียทถ่ี ูกกว่าอัตราอ้างอิง

โดยสรุปธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุนระยาวได้จากส่วนของเจ้าของ และจากการก่อหนี้
ท้ังน้ีในส่วนของเจ้าของน้ันมาจากกำไรสะสม และจากการระดมเงินทุนด้วยการออกจำหน่ายตราสารทุน
ได้แก่ หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ อย่างไรก็ดีธุรกิจท่ีออกจำหน่ายตราสารทุนได้ต้องจดทะเบียนในรูป
บริษัท ส่วนการจัดหาเงนิ ทุนจากการก่อหน้ี โดยการออกจำหน่ายตราสารหน้ีคือ หุ้นกู้ ต้องเป็นธุรกิจที่มี
รปู แบบองค์การธรุ กิจในลักษณะบริษัทมหาชนจำกัด หรอื บริษัทจำกัด ท่ีได้รับการยกเว้นหรือปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์ เง่ือนไข และวิธกี ารทค่ี ณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศ นอกจากนธี้ ุรกิจสามารถกู้ยืมเงิน
ระยะยาว ซึ่งจะมีต้นทุนในเร่ืองดอกเบ้ียสูงกว่าระยะสั้น และธุรกิจต้องนำหลักทรัพย์ไปค้ำประกันการ
กู้ยมื เงนิ

ธุรกรรมการเงนิ ออนไลน์

จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการเงิน (financial technology) หรือท่ี
เรียกว่า ฟินเทค (FinTech) เข้ามามีบทบาทและอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน
เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมธนาคาร (สมาคมฟินเท็กไทย, 2560) ซึ่งอันท่ีจริงฟินเทค
มีมานานไม่ว่าจะเป็นการกดเงินด้วยบัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต การโอนเงินออนไลน์ ธนาคารออนไลน์
ฯลฯ แต่ท่ีได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบันเน่ืองจากมีธุรกิจฟินเทค ท่ีมีนวัตกรรมการบริการ
ธุรกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ เช่น PayPal ธนาคารรูปแบบออนไลน์ ให้บริการคล้ายการทำ
ธรุ กรรมต่างๆ กับธนาคาร โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (internet banking) Alipay แอปพลิเคชัน

240

ให้บริการรับชำระเงินซ้ือสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ของ Ant Financial บริษทั ในเครือ Alibaba หรือ
อย่าง WeChat Pay เป็นบริการการชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์ในแอปพลิเคชัน WeChat ของบริษัท
Tencent ฯลฯ รวมไปถึงธนาคารได้ปรับรูปแบบการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ (online banking
หรือ internet banking) กับธนาคารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และช่องทางในการเข้าถึงบริการก็มี
ทงั้ ผ่านตู้ ATM ผ่านหน้าเว็บไซต์ของธนาคารเอง และพัฒนามาให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน ใช้งานบน
สมาร์ทโฟน ในลักษณะ mobile banking เพ่ือตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของผู้คนใน
สังคมท่ีใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนท่ีมีเพิ่มข้ึนอย่างมาก และแลดูเหมือนว่ากำลังจะทดแทน
การใช้งานคอมพิวเตอร์ นอกจากนีส้ มาร์ทโฟนยังได้ยกระดบั รูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนกิ สแ์ บบเดิม ๆ
มาเป็นการพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนท่ี (mobile commerce) ท่ีมีความสะดวก คล่องตัว ปลอดภัย
และง่ายต่อการใช้งานมากกว่าการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนกิ ส์ในรปู แบบเดิม ๆ และกลายมาเป็นตัวแปร
สำคัญในการเปล่ียนแปลงระบบเศรษฐกิจแบบเดิมมาเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล (ปฐมพงษ์ บำเริบ, 2559,
หน้า 469)

การเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวและนำความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีทางการเงนิ มาใชใ้ ห้เกดิ ประโยชน์ในการทำธรุ กรรมการเงินในรปู แบบตา่ ง ๆ ดังนี้

1. การทำธุรกรรมการเงินทางธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ (mobile banking) ใน
การดำเนินงานติดต่อกับคู่ค้า ผู้จัดส่งวัตถุดิบ ลูกค้า หรือการบริหารจัดการด้านการเงินภายในกิจการ
เช่น การดูรายการเดินบัญชีระหว่างวัน ดูรายการเดินบัญชีย้อนหลัง การโอนเงนิ และชำระเงินให้กับคู่ค้า
การสรา้ ง QR code เพื่อจา่ ยและรับเงิน การจา่ ยเงนิ เดอื นพนกั งาน การโอนเงิน การออกเชค็ อัตโนมัติ
อายัดบัญชี อายัดเช็ค การชำระค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ ซึ่งการทำธุรกรรมการเงินผ่านธนาคาร
ออนไลน์ ใช้งานได้ง่ายไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปท่ีธนาคาร แต่ได้รับข้อมูลแบบเรียลไทม์ สะดวก
รวดเรว็ และปลอดภยั ดำเนนิ การได้ทุกที่ทุกเวลาจึงชว่ ยประหยัดเวลาและคา่ ใช้จ่ายในการดำเนนิ งาน

2. การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือโมบายเพย์เมนต์ (mobile payment) ใน
ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมีความเข้าใจและเช่ือม่ันในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือในแบบ
สมาร์ทโฟนมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วและสอดรับกับวิถีการใช้ชีวิตในปัจจุบัน (ปฐมพงษ์ บำเรบิ ,
2559, หน้า 485) จากการวิจัยทสี่ ำรวจคนไทยซง่ึ ใช้สมาร์ทโฟน รวมจำนวน 2,000 คน พบว่าร้อยละ
50 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้งานชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (mobile payments) ในรูปแบบต่าง ๆ
อยู่แล้ว โดยใช้งานธนาคารผ่านแอปพลิเคชันบนมอื ถือ (mobile banking) มากท่ีสุด เฉลยี่ กว่า 6 ครั้ง
ต่อเดือน และร้อยละ 17 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนท่ีใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลท่ีอยู่บนโทรศัพท์มือถือ (mobile
wallet หรือ E-wallet หรือ digital wallet) อยู่ในขณะน้ีและมีศักยภาพเติบโตมากข้ึนในอนาคต
(ผู้จัดการออนไลน์, 16 พฤศจิกายน 2559) นอกจากน้ีพบว่าสิ้นไตรมาส 2 ปี พ.ศ. 2560 คนไทยมี
บัญชี mobile banking จำนวน 26.3 ล้านบัญชี เติบโตขึ้นร้อยละ 52.8 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี
ก่อนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซง่ึ สอดคล้องกับการเพ่ิมข้ึนของการใช้สมาร์ทโฟน อีกทั้งธนาคารต่าง ๆได้
พัฒนาแอปพลิเคชันให้ใช้งานง่ายและสะดวกในการทำธุรกรรมการเงินมากขึ้น (ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย, 2560, หน้า 2) จึงเห็นได้วา่ การให้บริการชำระเงนิ ผ่านโทรศัพท์มือถือหรอื โมบายเพย์เมนต์ เปน็ สิ่ง
ทธ่ี ุรกิจจำเปน็ ต้องใหบ้ ริการแกล่ ูกค้า

241

การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เรียกได้ว่าเป็นระบบกระเป๋าเงินในมือถือ นับว่าเป็น
ทางเลือกใหม่ในการชำระเงินแก่ลูกค้าแทนการชำระเงินในรูปแบบเดิมๆ เช่น เงินสด เช็ค หรือแม้แต่
บัตรเครดิต โดยลูกค้าสามารถใช้แอปพลิเคชันของธนาคารในสมาร์ทโฟน สำหรับการจ่ายเงินเม่ือซื้อ
สินค้าหรือบริการต่าง ๆ จากธุรกิจท้ังทางออนไลน์ หรือออฟไลน์โดยดำเนินการแบบหักเงินจากบัญชี
ลูกค้า (account-based mobile payment หรือ AMP) ในลักษณะการโอนเงินระหว่างบุคคล ซึ่ง
การชำระเงินทุกคร้ังจะต้องผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตจากสถาบันการเงนิ ที่ลูกค้าขอเปิดใช้
บริการดังกล่าว และอีกแบบคือการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (token-based mobile payment หรือ
TMP) ซึ่งลูกค้าจะต้องเติมเงินด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ซ้ือบัตรเติมเงิน โอนเงินจากบัญชีธนาคาร บัตร
เครดิตฯลฯ มาใช้และเก็บไว้ในกระเป๋าเงินอเิ ล็กทรอนิกส์ (electronic wallet หรอื e-wallet) จากนั้น
ค่อยนำมูลค่าเงินในกระเป๋าไปจับจ่ายใช้สอยซ้ือสินค้ากับธุรกิจ (โมโบคิว, 2557) อย่างไรก็ดีสำหรับการ
เลือกชอ่ งทางการชำระเงินในแบบ mobile banking ของลูกคา้ หรือไมน่ ั้นขนึ้ อยู่กับปจั จัยดา้ นทัศนคติ
และการเรยี นรู้ของลกู ค้า ตลอดจนความน่าเช่ือถือของชอ่ งทางการทำธรุ กรรมทางการเงินจากธนาคาร
พาณชิ ย์ (วิรวรรณ เช้ือฉลาด และณกมล จนั ทรส์ ม, 2558, หน้า 26)

นอกจากนี้หากธุรกิจจำหน่ายสินค้าผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social commerce)
ซ่ึงในปัจจุบันแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้พัฒนาระบบนิเวศพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce ecosystem)
ให้สามารถชำระเงิน เช่น โปรแกรมแชทอย่าง Line Wechat ฯลฯ ที่กลายเป็นช่องทางการติดต่อซื้อ
ขายท่ีอำนวยความสะดวกและสามารถรับรู้ข้อมูลอีกฝ่ายได้แบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นการแชทด้วย
ข้อความ พูดคุย ส่งไฟล์เสียง และวิดีโอคอล รวมท้ังกลายเป็นช่องทาง mobile payment ในการ
ชำระสินค้า โดยที่ตวั ผู้ขายเองไม่ต้องมีหน้าร้านอย่างเป็นทางการในการรับชำระเงนิ (สมาคมฟินเท็กไทย,
2560)

3. การกู้ยืมเงินแบบ Peer-to-Peer lending หรือ P2P คือธุรกรรมสินเช่ือระหว่าง
บุคคลผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลโดยตัดตัวกลางอย่าง
ธนาคารออกไป เดิมทีหากธุรกิจไม่กู้เงนิ จากธนาคารหรอื กู้ไมผ่ ่าน อาจจะยมื เงินเพือ่ น คนในครอบครัว
หรือเงินกู้นอกระบบ แต่ P2P lending ซึ่งเป็นรูปแบบการบริการทางการเงินแบบใหม่ที่ช่วยให้การ
เข้าถึงแหล่งเงินทุนทำได้ง่ายข้ึนไม่ว่าจะอยู่ท่ีไหนก็ตาม เพราะระบบจะทำหน้าที่เชื่อมหรือจับคู่
(matchmaker) คนท่ีมีเงินเหลือใช้คือผู้ให้กู้ กับคนที่ต้องการเงินกู้เข้าหากัน และให้คน 2 กลุ่มนี้กู้ยืม
เงินกันเองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ซ่ึงสามารถใช้งานบนโทรศัพท์มือถือในแบบสมาร์ทโฟน โดย
แพลตฟอร์มเหล่านี้ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยฟินเทคสตาร์ทอัพ ระบบยังบริการทำสัญญาสินเช่ือและการ
ตรวจสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ส่วนกระบวนการพิจารณาคำขอและอนุมัติสินเช่ือนั้นจะใช้เวลาประมาณ
5 วัน ขณะท่ีธนาคารพาณิชย์ใช้เวลามากกว่าน้ัน อีกท้ังในส่วนข้ันตอนการทำสัญญาและโอนเงินจาก
ผู้ให้กู้ไปยังผู้กู้ รวมถึงการทำสัญญาและติดตามการชำระหนี้ระหว่างท้ังสองฝ่ายจะใช้เทคโนโลยี
Blockchain เข้ามาช่วย ด้วยรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ต้นทุนต่ำ จึงไม่น่าแปลกท่ี P2P
lending ดึงดูดกลุ่มคนหรือธุรกิจท่ีไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร เพราะเครดิตหรือหลักประกัน
ไม่ผ่านเงื่อนไข นอกจากนี้ในมุมของนักลงทุน P2P lending ยังให้ผลตอบแทนการลงทนุ ท่ีสูงกว่าเงนิ ฝาก
ในส่วนของฟินเทคสตาร์ทอัพเองก็มีรายได้จากค่าธรรมเนียมดอกเบ้ียเงินกู้ (กุลธิดา เด่นวิทยานันท์,
2559)

242

การดำเนินงานทางธุรกิจในยุคดิจิทัลปัจจุบัน ต้องใช้โอกาสจากความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีทางการเงินมาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ซ่ึงสามารถนำมาใช้
สำหรับธุรกิจโดยทั่วไป มี 3 ประเด็นหลัก คือ การทำธุรกรรมการเงินทางธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ
การอำนวยความสะดวกใหแ้ ก่ลูกคา้ ด้วยการชำระเงนิ ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือโมบายเพย์เมนต์ รวมทั้ง
การหาเงินทุนโดยการกยู้ ืมเงนิ แบบ Peer-to-Peer lending หรือ P2P

บทสรุป

การเงนิ เป็นหน้าท่ีหรือกิจกรรมท่ีสำคัญอีกประการของผู้บริหารธุรกิจซ่ึงเกี่ยวขอ้ งกบั การ
วางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทนุ การจัดสรรเงินทนุ และการควบคุมทางการเงิน เพ่ือบรรลุเปา้ หมาย
สำคัญคือการสร้างความมั่งค่ังให้แก่ผู้ประกอบการ แต่อย่างไรก็ดีต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายทเี่ ก่ยี วข้อง นอกจากน้ีผู้ทำหนา้ ท่ีในการจัดการทางการเงินต้องรู้สภาพการเงินท่ี
แท้จริงของกิจการ เพ่ือตัดสินใจทางการเงินได้อย่างถูกต้องและบรรลุเป้าหมายตามต้องการ โดยการ
ใช้ข้อมูลจากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์ เพ่ือจะได้ทราบถึงฐานะทางการเงิน จุดเด่นและจุดด้อย
ทางการเงินของกิจการ และผลการดำเนินงานของกิจการ การวิเคราะห์งบการเงินที่นิยมโดยท่ัวไปมี
2 วิธี ได้แก่ การวิเคราะห์ขนาดร่วม และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน สำหรับการวิเคราะห์
งบการเงินในรูปอัตราส่วนทางการเงินแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วน
สภาพหน้ีหรือความมั่นคงทางการเงิน อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์หรือความสามารถ
ใชป้ ระโยชน์จากสินทรัพยล์ งทุน อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร และอตั ราสว่ นการประเมนิ ค่า
ทั้งนี้ข้อมูลการวิเคราะห์งบการเงินเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจสำหรับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น
และนักลงทุนต่าง ๆ ในการจัดการทางการเงินต้องมีความเข้าใจเกย่ี วกับตลาดทางการเงินและสถาบัน
การเงิน เพ่ือธุรกิจสามารถเลือกเคร่ืองมือในการจัดหาทุน รวมทั้งเลือกใช้บริการสถาบันการเงินให้
เหมาะสมตรงตามความต้องการ โดยสถาบันการเงินที่เก่ียวข้องกับธุรกิจ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ซึ่ง
แบ่งเป็น ธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของ
ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่จัดข้ึน
โดยภาครัฐซึง่ มีทง้ั ทท่ี ำหน้าท่ีเป็นธนาคาร ไดแ้ ก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รวมไปถึงสถาบันการเงิน
เฉพาะกิจท่ีทำธุรกิจตามขอบเขตที่กำหนด ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
แห่งประเทศไทย ธนาคารเพ่ือการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษทั ประกันสินเช่ืออุตสาหกรรม
ขนาดยอ่ ม และบรรษทั ตลาดรองสินเชอื่ ทอี่ ยูอ่ าศัย

เม่ือพิจารณาถึงเร่ืองเงินทุนของธุรกิจหากจำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้เงิน แบ่ง
ออกเป็นเงินทุนหมุนเวียน และเงินทุนถาวร แต่ถ้าหากจำแนกตามระยะเวลาการใช้คืน ได้แก่ เงินทุน
ระยะส้ัน และเงินทุนระยะยาว อย่างไรก็ดีในบางตำราได้จัดแบ่งเป็น เงินทุนระยะสั้น เงินทุนระยะ
ปานกลาง และเงินทุนระยะยาว ท้ังน้ีเงินทุนระยะส้ันที่จัดหามามีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีเงินหมุนเวียน
ในการดำเนินกิจการประจำวนั แต่สำหรับเงินทุนระยะยาวเสมอื นเงินทุนถาวร คอื การนำเงินไปลงทุน
ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน สำหรับการจัดหาเงินทุนระยะสั้น เพ่ือนำมาใช้ในการดำเนินงานทางธุรกิจ


Click to View FlipBook Version