The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Jadsada Ratniyom, 2021-09-27 05:14:44

ตำราเคมีอินทรีย์ [Jadsada Ratniyom]

อัลดีไฮด์และคีโตน 623


11.5.2 ปฏิกิริยาฟรีเดล-คราฟท์เอซีเลชัน
(Friedel-Crafts acylation)
ปฏิกิริยาฟรีเดล-คราฟท์เอซีเลชัน เป็นปฏิกิริยาที่ให้ร้อยละผลได้ (%yield) ได้ดี ใน

การเตรียมสารประกอบพวกอัลริลคีโตน เป็นปฏิกิริยาที่จะเติมหมู่ –COR ลงในวงเบนซีน โดยใช้ AlCl3
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา แต่ก็มีข้อจำกัดคือหากมีหมู่แทนที่อยู่ก่อนแล้วในวงเบนซีนการที่จะเติมหมู่ –COR
ลงไปในวงเบนซีน หมู่แทนที่นั้นต้องเป็นหมู่ให้อิเล็กตรอน (activating group) ดังแสดง

















รายละเอียดและกลไกการเกิดปฏิกิริยาได้กล่าวไว้ในบทที่ 9 หัวข้อ 9.4.13

11.5.3 ปฏิกิริยาไฮเดรชันโดยใช้ของอลไคน์

ปฏิกิริยานี้จะต้องใช้อัลไคน์ที่มีพันธะสามอยู่ปลายทำปฏิกิริยากับ HgSO4 ใน
สารละลายกรดจะได้คีโตนออกมาเป็นสารผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มแรกจะได้สารผลิตภัณฑ์เป็น enol ก่อน

แล้วจะเกิด tautomerize อย่างรวดเร็วในสภาวะกรดจนได้คีโตนเป็นสารผลิตภัณฑ












ตัวอย่างปฏิกิริยาไฮเดรชันโดยใช้ HgSO4 ใน H2SO4 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแสดงด้านล่าง















กลไกการเกิดปฏิกิริยานี้และรายละเอียดต่าง ๆ กล่าวไว้ในบทที่ 8 หัวข้อ 8.5.4

624 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



11.5.4 การเตรียมคีโตนจากแอซิดคลอไรด์
-
ในการเตรียมคีโตนจากเอสเทอร์หรือแอซิดคลอไรด์นั้น ปกติจะทำการเติม R ลงไปที่
-
-
หมู่คาร์บอนิลโดยใช้กรินยาร์ดรีเอเจนต์ (การเติมหมู่ R คิดเสมือนเป็นการเติม H)แต่อย่างไรก็ตาม
เมื่อเติมกรินยาร์ดรีเอเจนต์ลงไปให้ทำปฏิกิริยากับแอซิดคลอไรด์/เอสเทอร์ ในขั้นแรกจะได้คีโตน

ออกมาก่อน จากนั้น กรินยาร์ดรีเอเจนต์อก equivalent จะเข้ามาทำปฏิกิริยากับคีโตนต่อเกิดไปเป็น
3˚ แอลกอฮอล์ แม้จะพยายามใส่กรินยาร์ดรีเอเจนต์ลงไป 1 equivalent ให้ทำปฏิกิริยากับแอซิด
คลอไรด์/เอสเทอร์ 1:1 แต่ก็มีปัญหาเดิมคือ คีโตนที่เกิดขึ้นจะถูกกรินยาร์ดทำปฏิกิริยาต่อ












❑ หากใช้กรินยาร์ดรีเอเจนต์ทำปฏิกิริยากับแอซิดคลอไรด์หรือเอสเทอร์จะให้ผลิตภัณฑ์เป็น


3˚ แอลกอฮอล์ ไมเกิดเป็นอลดีไฮด์

เพื่อทำให้ปฏิกิริยาหยุดลงที่คีโตน นักเคมีได้ออกแบบปฏิกิริยาการเตรียมคีโตนไว้ดังนี้

[1] สารตั้งต้นต้องว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยา
[2] ความแรงของนิวคลีโอไฟล์น้อยลง
จากความต้องการทั้ง 2 ข้อนี้ นักเคมีได้ใช้สารตั้งต้นในปฏิกิริยาเป็นแอซิดคลอไรด์ เพราะว่องไวในการ
เกิดปฏิกิริยามากกว่าเอสเทอร์ และได้พัฒนานิวคลีโอไฟล์ตัวใหม่ คือ Lithium dialkylcuprates

[R2CuLi] เป็นรีเอเจนต์ที่มีความเป็นนิวคลีโอไฟล์น้อยลง โดยยังทำปฏิกิริยาอย่างว่องไวกับแอซิด-
คลอไรด์แต่ไม่ทำปฏิกิริยากับคีโตน Lithium dialkylcuprates หรืออาจเรียกว่า Gilman reagent
-
จะให้ R เป็นนิวคลีโอไฟล์ โดยจะทำปฏิกิริยาอย่างว่องไวกับแอซิดคลอไรด์แต่จะไม่ทำปฏิกิริยากับคี
โตน ปฏิกิริยาทั่วไปดังแสดง












แม้จะมีหมู่ R สองหมู่
แต่จะเข้าชนแค่ครั้งเดียว

ปฏิกิริยานี้เสมือนเป็นการแทนที่หมู่ R (จาก Lithium dialkylcuprates) ที่ Cl อะตอม แล้วไล่ Cl

ออก และมีการสร้างพันธะ C–C ขึ้นมาใหม่ โดย Lithium dialkylcuprates นี้แม้ในสูตรจะมีหมู่ R ถึง
สองหมู่ แต่จะเข้าทำปฏิกิริยาเพียงหมู่เดียว ได้สารผลิตภัณฑ์เป็นคีโตน

อัลดีไฮด์และคีโตน 625


❑ การเตรียมคีโตนจากแอซิดคลอไรด์จะใช้ R2CuLi เป็นนิวคลีโอไฟล์แทนกรินยาร์ดรีเอเจนต์

Lithium dialkylcuprates เป็นสารที่ต้องเตรียมแล้วใช้ทันที สามารถเตรียมได้จาก
ปฏิกิริยาระหว่างอัลคิลลิเทียม (2 equivalents) กับ CuI ปฏิกิริยาดังแสดง









ตัวอย่างปฏิกิริยาที่สองที่แสดงด้านล่างเป็นตัวอย่างการสังเคราะห์คีโตนจากแอซิดคลอไรด์ โดยจะเริ่ม

ตั้งแต่การเตรียม Lithium dialkylcuprates แล้วนำมาใช้เป็นนิวคลีโอไฟล์ทำปฏิกิริยากับแอซิดคลอ
ไรด์ต่อได้เป็นสารประกอบคีโตน

















โจทย์ในชีวิตจริงหากเราต้องการสารผลิตภัณฑ์คีโตน เราจะเริ่มจากคีโตนตัวที่เราต้องการนั้น แล้วคิด
ย้อนกลับว่าจะสามารถเตรียมได้จากสารตั้งต้นใด ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเตรียม pentan-2-one
มีโอกาสที่คีโตนตัวนี้จะเตรียมได้จากสองหนทาง
ทางที่ [1] ใช้ (CH3)2CuLi ทำปฏิกิริยากับ ClCOCH2CH2CH3

ทางที่ [2] ใช้ (CH3CH2CH2)2CuLi ทำปฏิกิริยากับ CH3COCl
แผนภาพการเตรียมของทั้งสองหนทาง ดังแสดง

ทางที่ [1] ทางที่ [2]

626 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



ในการเตรียม pentan-2-one ในความเป็นจริงทั้งสองวิธีสามารถเกิดปฏิกิริยาได้ แต่หากจะได้ผลดี
ควรให้นิวคลีโอไฟล์มีขนาดเล็ก ดังนั้นในความคิดเห็นส่วนตัวคาดว่า หนทางที่ [1] มีความเป็นไปได้

มากที่สุด แต่สำหรับในรายวิชาพื้นฐานนี้ หากผู้ศึกษาสามารถพิจารณาถึงสารตั้งต้นที่ใช้เตรียมคโตนได้
ก็ถือว่าบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังแล้ว


ตัวอย่างที่ 11.3 | การเตรียมคีโตนจากแอซิดคลอไรด์

โจทย จงทำนายสารตั้งต้น lithium dialkylcuprates ที่ทำปฏิกิริยากับ CH3CH2COCl แล้วให้

สารผลิตภัณฑ์เป็นคีโตนต่อไปนี้






วิธีคิด สารตั้งต้นแอซิดคลอไรด์ CH3CH2COCl มีคาร์บอนอะตอม 3 อะตอม แต่จากผลิตภัณฑ์ที่

เกิดขึ้น เราจะทราบว่า COCH2CH3 เป็นส่วนของแอซิดคลอไรด์ ส่วนที่เหลือจะมาจาก
lithium dialkylcuprates ดังนั้นจะได้

อัลดีไฮด์และคีโตน 627


11.5.5 การเตรียมคีโตนจากไนไทรล์
สารประกอบไนไทรล์จะมีหมู่ C≡N อยู่ในโมเลกุล โดยมันสามารถทำปฏิกิริยากับ
กรินยาร์ดรีเอเจนต์เกิดสารผลิตภัณฑ์เป็นคีโตน พร้อมทั้งมีการสร้างพันธะระหว่างคาร์บอนขึ้นมาใหม่
สมการทั่วไป ดังแสดง









ตัวอย่างปฏิกิริยาระหว่างไนไทรล์กับกรินยาร์ดรีเอเจนต์ ดังแสดง






















สารประกอบไนไทรล์จะมีหมู่ C≡N เวลาเจอกับนิวคลีโอไฟล์จะถูกชนเข้าทำปฏิกิริยาที่คาร์บอน

อะตอม เหมือนดังใน C=O ดังนั้นในการเปลี่ยนหมู่ไนไทรล์ให้เป็นคีโตนนั้น กลไกการเกิดปฏิกิริยาจะ
ถูกอธิบายเริ่มจากปฏิกิริยาระหว่างกรินยาร์ดรีเอเจนต์กับสารประกอบไนไทรล์ โดยกรินยาร์ดรีเอเจนต์
จะเข้าชนที่คาร์บอนของหมู่ C≡N เกิดเป็น magnesium salt of imine พอทำการเติมกรดหรือน้ำเข้า

ไปในปฏิกิริยาจะเกิดเป็น imine ออกมาก่อน จากนั้นในสภาวะที่เป็นกรดจะเกิดการไฮโดรไลท์
(hydrolyze) เปลี่ยนจาก imine ไปเป็นคีโตน (กลไกการเปลี่ยนจาก imine ไปเป็น หมู่คาร์บอนิลจะ
อธิบายในบทกรดคาร์บอกซิลิก) ดังแสดงในภาพที่ 11.8

Mechanism 11.8 | กลไกการเกิดปฏิกิริยาระหว่างไนไทรล์กับกรินยาร์ดรีเอเจนต์







เกิดหลายขั้นตอน


ภาพที่ 11.8 กลไกการเกิดปฏิกิริยาระหว่างไนไทรล์กับกรินยาร์ดรีเอเจนต์

628 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



ตัวอย่างที่ 11.4 | การเตรียมคีโตนจากไนไทรล์

โจทย จงเขียนสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขนจากปฏิกิริยาต่อไปนี้
ึ้










วิธีคิด เพื่อให้เข้าใจสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจะแสดงสารที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน ดังนี้

อัลดีไฮด์และคีโตน 629


ปฏิกิริยาการเตรียมอัลดีไฮด์หรือคีโตนที่ได้ศึกษามาในบทเรียนนี้นั้นมีหลายปฏิกิริยาจึงขอสรุป
ปฏิกิริยาที่พึ่งเรียนผ่านมาลงในตาราง โดยตารางที่ 11.1 เป็นปฏิกิริยาการเตรียมอัลดีไฮด์ และตาราง

ที่ 11.2 เป็นการสรุปปฏิกิริยาการเตรียมคีโตน


ตารางที่ 11.1 สรุปปฏิกิริยาการเตรียมอัลดีไฮด์


[1] ปฏิกิริยาออกซิเดชันของ 1˚
แอลกอฮอล์
(หัวข้อ 10.11)



[2] ปฏิกิริยาโอโซโนไลซิสของอัลคีน
(หัวข้อ 7.4.11B)



[3] ปฏิกิริยาไฮเดรชันของอัลไคน์
(หัวข้อ 8.5.5)



[4] ปฏิกิริยาการเตรียมอัลดีไฮด ์
จากเบนซีน
(หัวข้อ 9.4.14)







[5] ปฏิกิริยารีดักชันของแอซิดคลอไรด ์
และเอสเทอร์
(หัวข้อ 11.4.5)







[6] การเตรียมอัลดีไฮด์จากไนไทรล์
(หัวข้อ 11.4.6)

630 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



ตารางที่ 11.2 สรุปปฏิกิริยาการเตรียมคีโตน


[1] ปฏิกิริยาออกซิเดชัน
ของ 2° แอลกอฮอล์
(หัวข้อ 10.11.2)




[2] ปฏิกิริยาฟรเดล-คราฟท์เอซเลชัน


(หัวข้อ 9.4.13)



[3] ปฏิกิริยาไฮเดรชันของอัลไคน์
(หัวข้อ 8.5.4)


[4] การเตรียมคีโตนจากแอซิดคลอไรด ์
(หัวข้อ 11.5.4)



[5] การเตรียมคีโตนจากไนไทรล์
(หัวข้อ 11.5.5)





11.6 ปฏิกิริยาของอัลดีไฮด์และคีโตน
ปฏิกิริยาอัลดีไฮด์หรือคีโตนมีปฏิกิริยามากมาย แต่หลัก ๆ ปฏิกิริยาจะเกิดที่หมู่คาร์บอนิล ใน
หัวข้อเริ่มจากการอธิบายถึงปฏิกิริยาทั่วไปของอัลดีไฮด์คีโตนก่อน เพื่อให้ทราบว่าอัลดีไฮด์และคีโตน

จะเกิดปฏิกิริยาที่ตำแหน่งใด และจะลงในรายละเอียดของแต่ละปฏิกิริยาต่อไป


11.6.1 ปฏิกิริยาทั่วไปของอลดีไฮด์คีโตน
โดยปกติแล้วอัลดีไฮด์คีโตนจะมีจุดที่เกิดปฏิกิริยาอยู่สองตำแหน่ง จุดแรกคือที่หมู่
คาร์บอนิล และอีกจุดหนึ่งคือที่ตำแหน่งอลฟาคาร์บอน (คาร์บอนอะตอมที่ติดกับหมู่คาร์บอนิล)


11.6.1A ปฏิกิริยาทั่วไปที่ตำแหน่งคาร์บอนิล
คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอนิลจะมีความเป็นอิเล็กโทรฟิลิกสูง

(ทบทวนหัวข้อ 11.2) หากมีนิวคลีโอไฟล์เข้ามาทำปฏิกิริยาจะเข้าชนที่คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์-
บอนิลนี้ และมักมีการเติมกรดหรือน้ำลงในปฏิกิริยาเพื่อทำให้ออกซิเจนที่ติดลบเป็นกลาง ปฏิกิริยา
ทั่วไปดังแสดง

อัลดีไฮด์และคีโตน 631








กลไกการเกิดปฏิกิริยาทั่วไปของการเข้าทำปฏิกิริยาที่หมู่คาร์บอนิลโดยนิวคลีโอไฟล์นี้ จะอธิบายใน
ภาพที่ 11.9 โดยในขั้นแรก อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของนิวคลีโอไฟล์จะเข้าชนและสร้างพันธะที่

คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอนิล ไพน์อิเล็กตรอนในพันธะคู่จะเคลื่อนไปที่ออกซิเจนอะตอมทำให้
ออกซิเจนอะตอมติดประจุลบ เมื่อให้ทำปฏิกิริยากับน้ำต่อ ออกซิเจนที่ติดประจุลบจะจับโปรตอนจาก
น้ำเกิดสารผลิตภัณฑ์ที่นิวคลีโอไฟล์ถูกเติมเข้าไปที่หมู่คาร์บอนิล


Mechanism 11.9 | กลไกการเกิดปฏิกิริยาทั่วไปของปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์ที่หมู่คาร์บอนิล











การเติมนิวคลีโอไฟล์ การเติม H ที่ออกซิเจน
+

ภาพที่ 11.9 กลไกการเกิดปฏิกิริยาทั่วไปของปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์ที่หมู่คาร์บอนิล
ปรับปรุงจาก: Smith, J. 2010. Organic Chemistry. McGraw-Hill Education.

2
จากในภาพที่ 11.9 นั้น ปกติแล้วคาร์บอนของหมู่คาร์บอนิลจะมีไฮบริดไดเซชันแบบ sp เวลา
เกิดปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์ไปที่คาร์บอนของคาร์บอนิล ไพน์อิเล็กตรอนบนคาร์บอนิลจะเคลื่อน
3
2
ขึ้นไปบนอะตอมของออกซเจน คาร์บอนจะมีการเปลี่ยนไฮบริดไดเซชันจาก sp ไปเป็น sp ดังแสดง














อย่างไรก็ตามกลไกการเกิดปฏิกิริยาที่แสดงนี้เป็นเพียงกลไกโดยทั่วไปของกรณีที่ใช้นิวคลีโอไฟล์ที่แรง
(นิวคลีโอไฟล์ที่ติดประจุลบ) ในกรณีที่ใช้นิวคลีโอไฟล์ที่เป็นกลาง จำเป็นต้องใช้กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ร่วมด้วย ทำให้กลไกการเกิดปฏิกิริยาอาจเปลี่ยนแปลงไป โดยขั้นแรก (step [1], ภาพที่ 11.10)
ออกซิเจนอะตอมของหมู่คาร์บอนิลจะถูกเติมโปรตอนก่อน สารที่เกิดขึ้นจะสามารถเขียนโครงสร้างเร-

โซแนนซ์ได้ แสดงให้เห็นว่ามีประจุบวกเกิดขึ้นที่คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอนิล การที่ขั้นแรกกรด

632 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



มาให้โปรตอนจะทำให้คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอนิลมีความเป็นบวกมากขึ้นช่วยเร่งให้นิวคลีโอ
ไฟล์เข้าชนได้ดี จากนั้นนิวคลีโอไฟล์ที่เป็นกลางจะเข้ามาชนและสร้างพันธะที่คาร์บอนอะตอมของหมู่
+
คาร์บอนิล (step [2], ภาพที่ 11.10) และเกิดการขจัด H ออกได้สารผลิตภัณฑ์เกิดขึ้น ดังแสดงใน
step [3] ภาพที่ 11.10


Mechanism 11.10 | กลไกการเกิดปฏิกิริยาทั่วไปของปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์โดยมีกรด
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

+
step [1] เติม H ที่ออกซิเจนอะตอม









+
step [2]–[3] การเติมนิวคลีโอไฟล์และการขจัด H ออก












การเติมนิวคลีโอไฟล์ การขจัด H ออก
+

ภาพที่ 11.10 กลไกการเกิดปฏิกิริยาทั่วไปของปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์โดยมีกรดเป็นตัวเร่ง

ปฏิกิริยา
ปรับปรุงจาก: Smith, J. 2010. Organic Chemistry. McGraw-Hill Education.


11.6.1B ปฏิกิริยาทั่วไปที่ตำแหน่งอลฟาคาร์บอน
ตำแหน่งอัลฟาคาร์บอน (alpha carbon) คือ คาร์บอนอะตอมที่ติดกับหมู่

คาร์บอนิล ดังแสดง

อัลฟาคาร์บอน



ไฮโดรเจนอะตอมที่ตำแหน่งอัลฟาคาร์บอนนี้จะมีความเป็นกรดสูงมาก เพราะเมื่อ H หลุดออกไป จะ

เกิดเป็นประจุลบขึ้นที่อัลฟาคาร์บอนซึ่งจะได้ความเสถียรอันเป็นผลจากเรโซแนนซ์ หากคู่เบสเสถียร
สารนั้นจะเป็นกรดที่แรง (ทบทวนบทที่ 5) ดังนั้นหากอัลดีไฮด์คีโตนทำปฏิกิริยากับเบสบางครั้งอาจ

อัลดีไฮด์และคีโตน 633


เกิดปฏิกิริยาที่ตำแหน่งอัลฟาคาร์บอนได้ โดยประจุลบที่อัลฟาคาร์บอนจะทำหน้าที่เป็นนิวคลีโอไฟล์
ทำปฏิกิริยากับอิเล็กโทรไฟล์ ดังแสดง










พันธะใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น





โครงสร้างเรโซแนนซ์ของ enolate anion

บางคนอาจสังเกตเห็นว่า โครงสร้างเรโซแนนซ์ของสารประกอบคาร์บอนิลที่อัลฟาคาร์บอนติดประจุ

ลบมีโครงสร้างคล้ายคลึงกบ enol (enol เกิดจากการที่คีโตนเกิด tautomerization, ทบทวนบทที่ 8

หัวข้อ 8.5.4A) ในความเป็นจริงโครงสร้างนี้จะถูกเรียกว่า enolate anion ตัว enolate anion คือ
คู่เบสของ enol หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ enol ที่ถูกดึงโปรตอนออก ดังแสดง











นักเคมีบางท่านเชื่อว่า H ที่ตำแหน่งอัลฟาคาร์บอนไม่น่าจะมีความเป็นกรดเพียงพอที่จะทำปฏิกิริยา
กับเบสได้ จึงเสนอว่า เมื่อคีโตนหรืออัลดีไฮด์เกิด tautomerization กลายเป็น enol แล้ว เบสอาจจะ


จับโปรตอนที่ H ที่ติดกับออกซเจนอะตอมของ enol น่าจะมีเหตุมีผลและเป็นไปได้มากกว่า เพราะ H
นี้ติดกับอะตอมที่มีค่า EN สูง และคู่เบสของ enol ก็คือ enolate สามารถได้รับความเสถียรอันเป็น
ื่
ผลจากเรโซแนนซ์ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามเพอความสะดวกและเป็นหลักสากล ในตำราเล่มนี้จะใช้การ
ดึง H จากที่อัลฟาคาร์บอนในการเขียนแสดงกลไกและอธิบายปฏิกิริยาอื่นต่อไป

❑ อัลดีไฮด์และคีโตนจะทำปฏิกิริยากับนิวคลีโอไฟล์ที่ตำแหน่งคาร์บอนิล

❑ อัลดีไฮด์และคีโตนจะทำปฏิกิริยากับเบสที่ตำแหน่งอัลฟาคาร์บอน


ในหัวข้อถัดไปนี้จะกล่าวถึงปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์ของอัลดีไฮด์คีโตนที่จะมีนิวคลีโอไฟล์ต่าง
ชนิดกัน และจะให้ผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน ตัวอย่างปฏิกิริยาแสดงในภาพที่ 11.11 โดยจะใช้
cyclohexanone เป็นตัวอย่างในการแสดงปฏิกิริยากับนิวคลีโอไฟล์ต่าง ๆ

634 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)























































ภาพที่ 11.11 ตัวอย่างปฏิกิริยาระหว่าง cyclohexanone กับ นิวคลีโอไฟล์ต่าง ๆ

11.6.2 ปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์ด้วยกรินยาร์ดรีเอเจนต์

ปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์ของอัลดีไฮด์คีโตนโดยใช้กรินยาร์ดรีเอเจนต์ ซึ่งจะให้
-
สารผลิตภัณฑ์เป็นแอลกอฮอล์ กรินยาร์ดรีเอเจนต์ (RMgX) จะให้ R เข้าชนที่คาร์บอนของหมู่คาร์บอ-
นิลเกิดเป็นอัลคอกไซด์แอนไอออน ตามด้วยการเติมโปรตอนโดยกรด จะได้แอลกอฮอล์ออกมา
รายละเอียดได้กล่าวไว้ในบทเรียนที่ 10 หัวข้อ 10.5

อัลดีไฮด์และคีโตน 635



-
11.6.3 ปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์โดยใช้ไฮไดรด์ (H ) เป็นนิวคลีโอไฟล์
-
รีเอเจนต์ที่จะให้ไฮไดร์ดไอออน (H)เป็นนิวคลีโอไฟล์เข้าชนที่คาร์บอนของหมู่คาร์-
บอนิลได้กล่าวไปในบทที่ 10 หัวข้อ 10.8 นั่นคือ NaBH4 ซึ่งเป็นตัวรีดิวซ์ที่เหมาะสมในการเปลี่ยน

-
อัลดีไฮด์คีโตนให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ โดย NaBH4 จะให้ H ทำปฏิกิริยากับหมู่คาร์บอนิลได้เป็น
อัลคอกไซด์ (alkoxide) ตามด้วยการเติมโปรตอนที่ออกซิเจนอะตอม จะได้สารผลิตภัณฑ์เป็น
แอลกอฮอล์ ดังแสดง














11.6.4 ปฏิกิริยาการเติมไซยาไนด์: ไซยาโนไฮดริน
(Nucleophilic addition of cyanide: Cyanohydrin)

ปฏิกิริยาการเติมไซยาไนด์ ( :CN) ลงในอัลดีไฮด์คีโตนจะได้สารผลิตภัณฑ์เป็น
ไซยาโนไฮดริน (ไซยาโนไฮดริน คือ สารอินทรีย์ที่มีหมู่ OH และหมู่ CN เกาะที่คาร์บอนตัวเดียวกัน)
ซึ่งสามารถเตรียมได้โดยให้อัลดีไฮด์หรือคีโตนทำปฏิกิริยากับ NaCN ในสภาวะที่มีกรดแก่อย่าง HCl
ดังแสดงในสมการ














ปฏิกิริยาสุทธิของปฏิกิริยานี้เสมือนมีการเติม HCN เข้าไปที่หมู่คาร์บอนิล โดยหมู่ CN เข้าไปสร้าง
พันธะ C—CN ขึ้นมาใหม่ ตัวอย่างของปฏิกิริยาการเตรียมไซยาโนไฮดริน ดังแสดง

636 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเติมไซยาไนด์ลงในอัลดีไฮด์คีโตน แสดงในภาพที่ 11.12
โดยเมื่อผสม NaCN เข้ากับ HCl จะได้ HCN เกิดขึ้นในปฏิกิริยา แต่ตัว HCN นี้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นนิว-
-
คลีโอไฟล์ แต่ตัว CN จะทำหน้าที่เป็นนิวคลีโอไฟล์เข้าชนกับคาร์บอนของหมู่คาร์บอนิลไล่ไพน์

อิเล็กตรอนขึ้นไปที่ออกซเจนอะตอม (step [1], ภาพที่ 11.12) การเขียนกลไกแบบนี้มีความเป็นไปได้

เนื่องจาก CN เป็นนิวคลีโอไฟล์ที่แรงและในปฏิกิริยามีตัว NaCN อยู่มาก ในขั้นถัดมา (step [2],
ภาพที่ 11.12) ออกซิเจนอะตอมที่ติดประจุลบจะไปดึงโปรตอนของ HCN (HCN นี้เกิดจาการผสม
NaCN เข้ากับ HCl) ได้สารผลิตภัณฑ์เป็น ไซยาโนไฮดริน


MECHANISM 11.12 | กลไกการเกิดปฏิกิริยาการสังเคราะห์ไซยาโนไฮดริน















ภาพที่ 11.12 กลไกการเกิดปฏิกิริยาของการสังเคราะห์ไซยาโนไฮดริน

หมู่ไซยาโน (–CN) จัดว่าเป็นหมู่ที่มีประโยชน์อย่างมาก เพราะมันสามารถถูก
เปลี่ยนไปเป็นกรดคาร์บอกซิลิก (-COOH) ได้ง่าย ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสในสภาวะกรดหรือเบส

ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสคือการตัดพันธะด้วยน้ำ (แตกต่างจากไฮเดรชัน เพราะไฮเดรชันเป็นการเติมน้ำ)
จะสังเกตเห็นว่าเสมือนพันธะ C–N ถูกตัดออกและแทนที่ด้วยพันธะ C–O จำนวนสามพันธะ
(รายละเอียดจะกล่าวอีกครั้งในบทที่ 12 กรดคาร์บอกซิลิก) ปฏิกิริยาดังแสดง



ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของหมู่ไซยาโน



ตัวอย่างที่ 11.5 | ปฏิกิริยาการเติมไซยาไนด์: ไซยาโนไฮดริน

โจทย จงเขียนสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขนจากปฏิกิริยาต่อไปนี้
ึ้






วิธีคิด หากอัลดีไฮด์ตีโตนทำปฏิกิริยากับ NaCN ใน HCl จะให้ ไซยาโนไฮดริน เป็นสาร


ผลิตภัณฑ แต่หากหมู่ CN ทำปฏิกิริยากับกรดหรือเบสจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสขึ้น

อัลดีไฮด์และคีโตน 637


ตัวอย่างที่ 11.5 | ปฏิกิริยาการเติมไซยาไนด์: ไซยาโนไฮดริน (ต่อ)





















11.6.5 ปฏิกิริยาวทติก
(Wittig reaction)
ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาการเตรียมอัลคีนจากอัลดีไฮด์หรือคีโตน โดยให้อัลดีไฮด์
หรือคีโตนทำปฏิกิริยากับ ฟอสฟอรัสอิลลิด (phosphorus ylide) ปฏิกิริยานี้ถูกค้นพบโดยนักเคมีชาว
เยอรมัน ชื่อ Georg Wittig ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1979 ปฏิกิริยาวิทติกนี้อาจมองเสมือนว่า
เป็นการเปลี่ยนพันธะ C═O ของหมู่คาร์บอนิลไปเป็น C═C ตัวอย่างปฏิกิริยาแสดงด้านล่าง



















❑ ปฏิกิริยาวิทติกเป็นการเปลี่ยน C=O ในอลดีไฮด์และคีโตนไปเป็น C=C

ปฏิกิริยาวิทติกเป็นการสร้างพันธะระหว่างคาร์บอนขึ้นมาใหม่ โดยพันธะที่สร้างขึ้นใหม่มีทั้งพันธะซิก
มาและไพน์อย่างละ 1 พันธะ และยังมี Ph3P═O เกิดขึ้นเป็น by-product ด้วย โดยหากพิจารณา

แล้วจะเห็นว่าปฏิกิริยานี้เสมือนเป็นการนำส่วนพันธะคู่ของฟอสฟอรัสอิลลิดมาแทนที่ตรงออกซิเจน
อะตอมของหมู่คาร์บอนิลในอัลดีไฮด์คีโตน และออกซิเจนอะตอมไปเชื่อมพันธะกับ P อะตอมใน
ฟอสฟอรัสอิลลิดแทน โดยก่อนจะแสดงตัวอย่างปฏิกิริยาให้เห็น จะแสดงแผนภาพการสลับที่ของ

ออกซิเจนอะตอมและพันธะคู่ ดังแสดง

638 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



















ตัวอย่างของปฏิกิริยาวิทติกที่แสดงด้านล่างนี้จะเขียนฟอสฟอรัสอิลลิดที่แสดงประจุบวกและลบซึ่งเป็น
โครงสร้างเรโซแนนซ์ของฟอสฟอรัสอิลลิดที่เขียนแบบพันธะคู่ (หากไม่เข้าใจจุดนี้ แนะนำให้ข้ามไป
อ่านหัวข้อ 11.6.5A ก่อน และย้อนกลับมาที่ตัวอย่างปฏิกิริยา) ตัวอย่างของปฏิกิริยาวิทติก ดังแสดง


















11.6.5A ฟอสฟอรัสอิลลิดและการเตรียมฟอสฟอรัสอิลลิด
ฟอสฟอรัสอิลลิดเป็นรีเอเจนต์ที่มี C อะตอมที่มีประจุลบสร้างพันธะกับ P

ที่มีประจุบวก โดยทั้งสองอะตอมมีอิเล็กตรอนครบแปดตามกฎออกเตต แต่หากพิจารณาทั้งโมเลกุล
การที่มีประจุตรงข้ามกันอยู่ในโมเลกุลเดียวกันทำให้ทั้งโมเลกุลเป็นกลาง (สุทธิแล้วไม่มีประจุ) ด้วย
การที่มีประจุลบอยู่บนคาร์บอนอะตอมนี้ฟอสฟอรัสอิลลิดจึงถือเป็นนิวคลีโอไฟล์ (จุดที่เป็นนิวคลีโอ-

ไฟล์ คือ คาร์บอนอะตอมที่ติดลบ) ฟอสฟอรัสอิลลิดที่นิยมใช้จะมีหมู่ Ph จำนวน 3 หมู่เชื่อมพันธะที่
P อะตอม โครงสร้างดังแสดง







เขียนย่อได้เป็น

อัลดีไฮด์และคีโตน 639


แม้ว่าฟอสฟอรัสอิลลิดจะมีประจุบวกและลบอยู่บนฟอสฟอรัสและ
คาร์บอนอะตอมตามลำดับ แต่ประจุทั้งสองนั้น ก็สามารถได้รับความเสถียรได้อันเป็นผลจากเร-
โซแนนซ์ ซึ่งสามารถเขียนโครงสร้างเรโซแนนซ์ได้ ดังแสดงในภาพที่ 11.13 จากโครงสร้างเรโซแนนซ์
ที่สองจะเห็นว่ามี P มีอิเล็กตรอนล้อมรอบเกิน 8 อิเล็กตรอนและมีพันธะ 5 พันธะ เนื่องจาก P อยู่ใน

คาบที่ 3 ของตารางธาตุจึงเริ่มมี d ออบิทัลที่ว่าง ฟอสฟอรัสจึงใช้ d ออบิทัลนี้สร้างพันธะเพิ่มจึง
สามารถมีอิเล็กตรอนล้อมรอบ 10 อิเล็กตรอนได้











มี 10 e รอบ P

(P มี 5 พันธะ)
ภาพที่ 11.13 โครงสร้างเรโซแนนซ์ของฟอสฟอรัสอิลลิด

ในปัจจุบันฟอสฟอรัสอิลลิดสามารถหาซื้อสำเร็จรูปได้จากบริษัทขายสารเคมีทั่วไป

แต่หากต้องการใช้ฟอสฟอรัสอิลลิดที่ฝั่งของหมู่อัลคิลไม่มีจำหน่ายก็สามารถเตรียมขึ้นเองใน
ห้องปฏิบัติการได้ โดยการเตรียมฟอสฟอรัสอิลลิดจะเกี่ยวข้องกับ 2 ขั้นตอน คือ

[1] ปฏิกิริยาแทนที่ด้วยนิวคลีโอไฟล์ระหว่าง PPh3 กับอัลคิลเฮไลด์

PPh3 (triphenylphosphine) จะทำหน้าที่เป็นนิวคลีโอไฟล์ทำปฏิกิริยาแทนที่
กับอัลคิลเฮไลด์ผ่านกลไกแบบ SN2 จะได้ alkyltriphenylphosphonium salt
โดยอัลคิลที่จะเกิดได้ดีตามหลักการของ SN2 คือ CH3-X และ 1˚ อัลคิลเฮไลด์
เนื่องจากความเกะกะน้อย ส่วน 2˚ อัลคิลเฮไลด์สามารถใช้ได้แต่อาจให้ร้อยละผลได้

ต่ำ ปฏิกิริยาดังแสดง










[2] alkyltriphenylphosphonium salt ทำปฏิกิริยากับเบสที่แรง
ขั้นนี้จะเป็นปฏิกิริยากรดเบสระหว่าง phosphonium salt กับเบส ซึ่งเบสที่นิยมใช้
เพื่อดึง H ที่คาร์บอนอะตอมที่ติดกับฟอสฟอรัสอะตอม คือ butyl lithium

(CH3CH2CH2CH2Li ใช้ตัวย่อ BuLi) ซึ่งเป็นเบสที่แรงมาก โดยใช้มาดึงโปรตอนออก
จากคาร์บอนอะตอมแล้วจะได้ฟอสฟอรัสอิลลิด ดังแสดง

640 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)





















11.6.5B กลไกการเกิดปฏิกิริยาของปฏิกิริยาวทติก
กลไกการเกิดปฏิกิริยาของปฏิกิริยาวิทติกเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสองขั้น
หลัก ๆ ดังนี้ ในขั้นแรก (step [1], ภาพที่ 11.14) เนื่องด้วยฟอสฟอรัสอิลลิดเป็นนิวคลีโอไฟล์ที่แรง
คาร์บอนที่ติดประจุลบของฟอสฟอรัสอิลลิดจึงเข้าชนที่คาร์บอนของหมู่คาร์บอนิลสร้างพันธะซิกมา

C–C ขึ้นใหม่ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวบนออกซิเจนอะตอมของหมู่คาร์บอนิลก็จะเข้าชนที่ฟอสฟอรัส
อะตอมที่ติดประจุบวก (สลายพันธะไพน์ C=O และสร้างพันธะ O–P ขึ้นมาใหม่) เกิดเป็นสปีชีส์
oxaphosphetane ที่มีโครงสร้างเป็นวงสี่เหลี่ยมที่มีพันธะ P–O อยู่ในวง ในขั้นที่สอง (step [2], ภาพ
ที่ 11.14) สารตัวกลางที่เป็นวงสี่เหลี่ยมจะแตกวงออกโดยสลายพันธะ C–O และ C–P พร้อม ๆ กับ

การสร้างพันธะไพน์ระหว่างคาร์บอน (C═C) และพันธะไพน์ของ P═O เกิดเป็นสารผลิตภัณฑ์อัลคีน
และ triphenyl phosphine oxide (O═PPh3) รายละเอียดแสดงในภาพที่ 11.14


Mechanism 11.14 | กลไกการเกิดปฏิกิริยาของปฏิกิริยาวิทติก
Step [1] ฟอสฟอรัสอิลลิดทำหน้าที่เป็นนิวคลีโอไฟล์ชนที่คาร์บอนของคาร์บอนิลเกิด

oxaphosphetane (four-membered ring)












Step [2] ขจัด Ph3P═O เกิดเป็นสารผลิตภัณฑ์อัลคีน










ภาพที่ 11.14 กลไกการเกิดปฏิกิริยาของปฏิกิริยาวิทติก

อัลดีไฮด์และคีโตน 641


ตัวอย่างที่ 11.6 | ปฏิกิริยาวิทติก
โจทย จงเขียนสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขนจากปฏิกิริยาต่อไปนี้

ึ้













วิธีคิด a. วิธีทำนายสารผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาวิทติกในข้อนี้เพื่อให้ง่ายขึ้นแนะนำให้ใส่เส้นปะ
แบ่งระหว่างพันธะ C=O และพันธะ C=P จากนั้นนำ CH2 มาสลับตำแหน่งกับ O อะตอม
ในหมู่คาร์บอนิล ดังแสดง









b. ในข้อนี้อาจจะเริ่มจากให้เขียนฟอสฟอรัสอิลลิดให้เป็นพันธะคู่ก่อน และทำวิธีการใน

ข้อ a. เมื่อสลับตำแหน่งแล้วจะได้










ข้อจำกัดของปฏิกิริยาวิทติกประการหนึ่งคือในกรณีที่เกิดสารผลิตภัณฑ์
อัลคีนที่มีสเตอริโอเคมี (E กับ Z ไอโซเมอร์) ปฏิกิริยานี้จะให้ผลิตภัณฑ์เป็นของผสมอัลคีนที่มีทั้ง E

และ Z ไอโซเมอร์ ดังตัวอย่างปฏิกิริยาที่มีการใช้ปฏิกิริยาวิทติกในการเตรียมอัลคีนดังแสดงด้านล่าง

642 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)














11.6.5C เทคนิคการวางแผนการสังเคราะห์อัลคีนจากปฏิกิริยาวิทติก

(Retrosynthetic analysis)
ในปฏิกิริยาวิทติกเนื่องด้วยสารประกอบอัลคีนเป็นพันธะคู่ บางครั้ง
บางอย่างอาจมองภาพได้ยากว่าฝั่งไหนแทนด้วยหมู่คาร์บอนิลฝั่งไหนควรเป็นฟอสฟอรัสอิลลิด
นักศึกษาอาจต้องมองภาพย้อนกลับจากสารผลิตภัณฑ์ว่าต้องใช้สารตั้งต้นตัวใดจึงจะเหมาะสม


How to… การวางแผนการสังเคราะห์อัลคีนจากปฏิกิริยาวิทติก

พิจารณาตัวอย่างการเตรียมสาร A โดยใช้ปฏิกิริยาวิทติก







ขั้นที่ [1] ให้ลองตัดพันธะไพน์ระหว่าง C═C ออก แล้วลองให้ด้านหนึ่งเป็นคาร์บอนิลอีกด้านหนึ่ง

เป็นฟอสฟอรัสอิลลิด





ตัดที่พันธะคู่


❑ จะเห็นว่ามีหนทางที่จะใช้สารตั้งต้นได้ 2 ทาง แสดงเป็นแผนการสังเคราะห์ที่ [1] และ [2]

แผนการสังเคราะห์ที่ [1] แผนการสังเคราะห์ที่ [2]

อัลดีไฮด์และคีโตน 643


How to… การวางแผนการสังเคราะห์อัลคีนจากปฏิกิริยาวิทติก (ต่อ)
ขั้นที่ [2] ให้ลองเปรียบเทียบฟอสฟอรัสอิลลิด แผนการสังเคราะห์ที่ดีที่สุดคือใช้ฟอสฟอรัสอลลิด

ที่มีความเกะกะน้อย ซึ่งเตรียมมาจากอัลคิลเฮไลด์ที่เกะกะน้อย (unhindered alkyl
halide)


แผนที่ [1]


1° อัลคิเฮไลด์ เกิด
ฟอสฟอรัส อิลลิด ได้ดีกว่า



แผนที่ [2]

2° อัลคิเฮไลด์

จะเห็นว่าแผนการสังเคราะห์ที่ [1] ใช้ 1° อัลคิลเฮไลด์เตรียมฟอสพอรัสอิลลิด แต่แผนการ
สังเคราะห์ที่ [2] ใช้ 2° อัลคิลเฮไลด์ในการเตรียมฟอสฟอรัสอิลลิด PPh3 เป็นรีเอเจนต์ที่มีความ
เกะกะสูงดังนั้น PPh3 จึงอยากทำปฏิกิริยากับสารที่เกะกะน้อย 1° อัลคิลเฮไลด์มีความเกะกะน้อย
กว่าจะให้ ร้อยละผลได้ (%yield) ของปฏิกิริยาได้มากกว่าเมื่อใช้ 2° อัลคิลเฮไลด์ในการเตรียม

ฟอสฟอรัสอิลลิด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ฟอสฟอรัสอิลลิดของแผนการสังเคราะห์ที่ [1] มีความ
เกะกะน้อยกว่า (นิวคลีโอไฟล์ที่ดีต้องมีความเกะกะน้อยกว่า) ดังนั้น แผนการสังเคราะห์ที่ 1 จึงม ี
ความเป็นไปได้มากกว่า

“เพื่อความชำนาญในการฝึกการเขียนแผนการสังเคราะห์ลองพิจารณาเพิ่มเติมได้จากตัวอย่างที่ 11.7 โดยฝึกคิด
หาแผนการสังเคราะห์ที่เป็นไปได้ด้วยตนเองก่อน จึงเปิดดูวิธีคิดและคำอธิบาย”


ตัวอย่างที่ 11.7 | การวางแผนการสังเคราะห์อัลคีนจากปฏิกิริยาวิทติก

โจทย จงแสดงวิธีเตรียมสารผลิตภัณฑ X โดยใช้ปฏิกิริยาวิทติก







วิธีคิด ให้พิจารณาขั้นตอนการคิดจากหัวข้อ 11.6.5C โดยใส่เส้นปะที่พันธะคู่แล้วลองแทนให้แต่
ละฝั่งเป็นหมู่คาร์บอนิลและฟอสฟอรัสอิลลิด จะได้แผนการสังเคราะห์ที่เป็นไปได้ 2 แผน

ดังแสดง

644 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



ตัวอย่างที่ 11.7 | การวางแผนการสังเคราะห์อัลคีนจากปฏิกิริยาวิทติก (ต่อ)



แผนการสังเคราะห์ที่ [1] แผนการสังเคราะห์ที่ [2]



















แผนการสังเคราะห์ที่ [1] มีความเป็นไปได้และสะดวกมากที่สุด เพราะ

ฟอสฟอรัสอิลลิดมีความเกะกะน้อยกว่า (นิวคลีโอไฟล์ที่ดีต้องมีความเกะกะน้อย)
แผนการสังเคราะห์ที่ [2] เนื่องจาก ฟอสฟอรัสอิลลิดในแผนสังเคราะห์ที่ [1] เตรียมจาก
1˚ อัลคิลเฮไลด์ แต่ฟอสฟอรัสอิลลิดในแผนสังเคราะห์ที่ [2] เตรียมจาก 2˚ อัลคิลเฮไลด์
ดังแสดง



ฟอสฟอรัสอิลลิดของแผนการสังเคราะห์ที่ [1]












ฟอสพอรัสอิลลิดของแผนการสังเคราะห์ที่ [2]

อัลดีไฮด์และคีโตน 645


11.6.5D การเปรียบเทียบวิธีการที่ใช้เตรียมอัลคีนกับปฏิกิริยาวิทติก
ื้
หากเปรียบเทียบปฏิกิริยาวิทติกกับปฏิกิริยาพนฐานที่ใช้เตรียมอลคีนอย่าง

ปฏิกิริยาการขจัดน้ำของแอลกอฮอล์ โดยใช้กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (บทที่ 7 หัวข้อ 7.3.2) จะพบว่า
ปฏิกิริยาวิทติกจะมีข้อดีตรงที่เราจะทราบตำแหน่งของพันธะคู่ที่เกิดขึ้นได้เลย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น

ตำแหน่งที่เป็น C=O และส่วนใหญ่ให้อัลคีนเป็นผลิตภัณฑ์ตัวเดียว แต่ในขณะที่ปฏิกิริยาการขจัดน้ำ
ของแอลกอฮอล์จะคาดเดาตำแหน่งของพันธะคู่ยากกว่า เพราะต้องคำนึงถึงความเสถียรของอัลคีนที่

เกิดขึ้น (อัลคีนที่มีหมู่แทนที่มากกว่าเสถียรกว่า) ประกอบกับในบางครั้งจะให้สารผลิตภัณฑมากกว่า 1
ตัว ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เราต้องการเตรียมสารผลิตภัณฑ์อัลคีนตัวเดียวกัน คือ ผลิตภัณฑ์ B (ดัง

แสดงด้านล่าง) หากใช้ปฏิกิริยาวิทติกจะเกิดสารผลิตภัณฑ์เพียงตัวเดียวและสามารถคาดเดาตำแหน่ง
ของพันธะคู่ของสารผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นได้ แต่หากใช้ปฏิกิริยาการขจัดน้ำของแอลกอฮอล์ โดยใช้
กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สารตั้งต้นที่ใช้จะเป็นแอลกอฮอล์ และอาจเกิดสารผลิตภัณฑ์อัลคีน A เป็น
ผลิตภัณฑ์หลัก เพราะผลิตภัณฑ์ A เป็นอัลคีนที่มีหมู่แทนที่มากกว่า ดังแสดง




ปฏิกิริยาวิทติก







ปฏิกิริยาการขจัดน้ำโดย
ใช้กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา



11.6.6 ปฏิกิริยาการเติมของเอมีน
(Addition of amine)
อัลดีไฮด์และคีโตนสามารถเกิดปฏิกิริยากับเอมีนได้ โดยจะทำปฏิกิริยาที่หมู่คาร์บอ-

นิล ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงปฏิกิริยาของอัลดีไฮด์คีโตนกับ 1˚ และ 2 ˚ เอมีน (ทบทวนชนิดของเอมีนใน
บทที่ 2 หัวข้อ 2.6.1)

11.6.6A การเตรียมอิมีน

(Formation of imines)
เมื่อนำอัลดีไฮด์หรือคีโตนมาทำปฏิกิริยากับแอมโมเนีย (NH3) หรือ 1° เอ-
มีน (R-NH2) โดยมีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะเกิดสารผลิตภัณฑ์เป็นอมีน (imine) อิมีน คือ สารที่มีหมู่

C=N ในโมเลกุล ปฏิกิริยาการเติมเอมีนลงในหมู่คาร์บอนิลในขั้นแรกจะได้สาร carbinolamine ก่อน

ซึ่งสารนี้เป็นสารที่ไม่เสถียร เมื่อมีการขจัดน้ำออกไปจะได้อิมีนออกมาเป็นสารผลิตภัณฑ์ ปฏิกิริยาสุทธิ
นี้เสมือนเปลี่ยน C═O ให้กลายเป็น C═NR ดังแสดง

646 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)


















ตัวอย่างปฏิกิริยาการเตรียมอิมีนจากอัลดีไฮด์คีโตนแสดงในตัวอย่างปฏิกิริยาด้านล่าง
































กลไกการเกิดปฏิกิริยาของปฏิกิริยาการสังเคราะห์อมีน (ภาพที่ 11.15) เกี่ยวข้องกับ
ปฏิกิริยาสองส่วนหลัก คือ การเติมนิวคลีโอไฟล์ของเอมีนและตามด้วยปฏิกิริยาการขจัดน้ำออก โดย
ในส่วนแรกนั้น (Part [1]) ออกซิเจนอะตอมของหมู่คาร์บอนิลจะถกเติมโปรตอนโดยกรด โครงสร้างเร-


โซแนนซ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอนิลมีความเป็นบวกมากขึ้นเหนียวนำ
ให้นิวคลีโอไฟล์เข้าทำปฏิกริยาได้ดี (step [1]) จากนั้นไนโตรเจนอะตอมของเอมีนจะทำหน้าที่เป็นนิว-
คลีโอไฟล์เข้าชนที่คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอนิล (step [2]) หลังจากนั้นน้ำจะมาดึงโปรตอนออก

ได้สาร carbinolamine ก่อนในส่วนแรก (step [3]) ในส่วนที่สอง (Part [2]) ออกซิเจนอะตอมของ
carbinolamine จะไปจับโปรตอนกลายเป็น –OH2 ซึ่งเป็น leaving group ที่ดี (step [4])
+
อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของไนโตรเจนอะตอมจะเคลื่อนลงมาสร้างพันธะไพน์ C=N พร้อมกับไล่ H2O

ออกมาเป็น leaving group สารที่เกิดขึ้นในขั้นนี้จะมีผลของเรโซแนนซ์ช่วยเพิ่มความเสถียรให้สารที่
เกิดขึ้น (step [5]) และขั้นสุดท้ายน้ำจะมาดึงโปรตอนออกจากไนโตรเจนอะตอมเกิดเป็นอิมีน

อัลดีไฮด์และคีโตน 647



Mechanism 11.15 | กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเตรียมอมีนจากอัลดีไฮด์คีโตน
Part [1] การเติมนิวคลีโอไฟล์เกิดเป็น carbinolamine

















Part [2] การขจัดน้ำออกเกิดเป็นอิมีน (imine)


























ภาพที่ 11.15 กลไกการเกิดปฏิกิริยาของการเตรียมอิมีนจากอัลดีไฮด์คีโตน
ปรับปรุงจาก: Wade, L. G. (2013). Organic Chemistry. Pearson Education Limited.


ในปฏิกิริยาการเตรียมอมีนนี้ควรใช้สภาวะที่เป็นกรดออน ๆ ค่า pH ในปฏิกิริยาควร


อยู่ในช่วง pH 4–5 ในช่วง pH นี้ carbinolamine จะเปลี่ยนเป็นอิมีนได้อย่างรวดเร็ว แต่หาก
ปฏิกิริยาอยู่ใต้สภาวะที่ pH ต่ำกว่านี้ ตัวเอมีนจะทำปฏิกิริยากับกรดแทน ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่
เป็นนิวคลีโอไฟล์ได้



ที่ pH ของปฏิกิริยาต่ำมากๆ เอมีนจะ
ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นนิวคลีโอไฟล์ได้

648 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



11.6.6B การเตรียมอนามีน

(Formation of enamines)
เมื่อนำอัลดีไฮด์หรือคีโตนมาทำปฏิกิริยากับ 2° เอมีน (R2NH) โดยมีกรด

เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะเกิดสารผลิตภัณฑ์เป็นอนามีน (enamine) คำว่า enamine เกิดจากการรวมคำ
ว่า alkene รวมกับ amine ได้เป็น enamine ดังนั้น อีนามีน คือ สารที่มี N อะตอมเชื่อมพันธะกับ
พันธะคู่ C=C ตัวอย่างปฏิกิริยาการเตรียมอีนามีนและลักษณะของอีนามีน ดังแสดง














ตัวอย่างปฏิกิริยาการเกิดอีนามีน ดังแสดง


























กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเตรียมอีนามีน จะคล้ายคลึงกับการเตรียมอิมีน
แค่ในส่วนแรก คือ การเติมเอมีนในหมู่คาร์บอนิล ส่วนที่สองของปฏิกิริยาการเตรียมอีนามีนจะเป็น
การขจัดน้ำ กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเตรียมอีนามีน แสดงในภาพที่ 11.16 โดยในส่วนแรกออกซิเจน
อะตอมของหมู่คาร์บอนิลจะถูกเติมโปรตอนโดยกรด คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอนิลมีความเป็น
บวกมากขึ้นเหนี่ยวนำให้นิวคลีโอไฟล์เข้าทำปฏิกิริยาได้ดี (step [1]) จากนั้นไนโตรเจนอะตอมของ 2˚

เอมีนจะทำหน้าที่เป็นนิวคลีโอไฟล์เข้าชนที่คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอนิล สลายพันธะไพน์ของ
C=O และสร้างพันธะ C–N ขึ้นมาใหม่ (step [2]) หลังจากนั้นน้ำจะมาดึงโปรตอนออกได้สาร
carbinolamine ก่อนในส่วนแรก (step [3]) ในส่วนที่สองหมู่ OH ของ carbinolamine จะไปจับ

โปรตอนกลายเป็น –OH2 ซึ่งเป็น leaving group ที่ดี (step [4]) อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของ
+

ไนโตรเจนอะตอมจะเคลื่อนลงมาสร้างพนธะไพน์ C=N พร้อมกับไล่ H2O ออกมาเป็น leaving group

อัลดีไฮด์และคีโตน 649


(step [5]) และขั้นสุดท้าย (step [6]) น้ำจะมาดึงโปรตอนออกจากอัลฟาคาร์บอน มีการสร้างพันธะ
ไพน์ C=C และสลายพันธะไพน์ของ C=N เกิดเป็นอีนามีน


Mechanism 11.16 | กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเตรียมอีนามีนจากอัลดีไฮด์คีโตน
Part [1] การเติมนิวคลีโอไฟล์เกิดเป็น carbinolamine












Part [2] การขจัดน้ำออกเกิดเป็นอีนามีน













ภาพที่ 11.16 กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเตรียมอีนามีนจากอัลดีไฮด์คีโตน
ปรับปรุงจาก: Smith, J. (2010). Organic Chemistry: McGraw-Hill Education.




























ภาพที่ 11.17 การเปรียบเทียบขั้นสุดท้ายของกลไกการเกดปฏิกิริยาการเตรียมอิมีนและอีนามีน

650 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



หากสังเกตให้ดีจะพบว่ากลไกการเกิดปฏิกิริยาการเตรียมอิมิน (ภาพที่ 11.15) กับกลไกการ
เกิดปฏิกิริยาการเตรียมอีนามีน (ภาพที่ 11.16) กลไกการเกิดปฏิกิริยาจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ใน
ขั้นสุดท้ายที่เป็นการดึงโปรตอนออกจะแตกต่างกัน โดยพบว่าในปฏิกิริยาการเตรียมอิมิน H ที่ติดกับ
N อะตอมจะถูกดึงออก แต่ในกลไกการเกิดปฏิกิริยาการเตรียมอีนามีนนั้น เนื่องจากไม่มี H อะตอมติด

ที่ N อะตอม จึงเกิดการดึง H ที่ตำแหน่งอัลฟาคาร์บอนแทนเพื่อทำให้ประจุบวกที่ N อะตอมหายไป
ข้อแตกต่างนี้แสดงในภาพที่ 11.17


ตัวอย่างที่ 11.8 | ปฏิกิริยาการเติมของเอมีน

โจทย จงเติมสารลงในช่องสี่เหลี่ยม ในแต่ละข้อให้ถูกต้อง















วิธีคิด หากอัลดีไฮด์คีโตนทำปฏิกิริยากับ 1˚ เอมีน จะเกิดสารผลิตภัณฑ์เป็นอิมีน แต่หากทำ

ปฏิกิริยากับ 2˚ เอมีน จะเกิดสารผลิตภัณฑ์เป็นอีนามีน

อัลดีไฮด์และคีโตน 651


11.6.7 ปฏิกิริยาการเติมน้ำลงในอัลดีไฮด์คีโตน: ไฮเดรชัน
(Addition of H2O: Hydration)

น้ำถือว่าเป็นนิวคลีโอไฟล์ที่ออน การที่จะเติมน้ำเข้าไปที่หมู่คาร์บอนิลของอลดีไฮด์คี-

โตนนั้นสามารถทำได้ในสภาวะที่เป็นกรดหรือใช้กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยานี้เสมือนเป็นการเติม
H2O เข้าที่หมู่คาร์บอนิล จะให้สารผลิตภัณฑ์เป็น gem diol (gem diol คือ สารที่มีหมู่ OH สองหมู่
อยู่ที่คาร์บอนตัวเดียวกัน) ปฏิกิริยาทั่วไปดังแสดง















ตัวอย่างปฏิกิริยาการเติมน้ำลงในอัลดีไฮด์คีโตน ดังแสดง


























กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเติมลงในอัลดีไฮด์คีโตน จะอธิบายโดยใช้ตัวอย่างเป็น
อะซีโตน ดังแสดงในภาพที่ 11.18 โดยในขั้นแรก (step [1]) ออกซิเจนอะตอมของหมู่คาร์บอนิลจะถูก
เติมโปรตอนโดยกรดเพื่อให้คาร์บอนของหมู่คาร์บอนิลมีความเป็นอิเล็กโทรฟิลิกมากขึ้น เหนี่ยวนำให้นิ
วคลีโอไฟล์เข้ามาชนทำปฏิกิริยา ในขั้นถัดมา (step [2]) น้ำจะเข้าชนสร้างพันธะ C–O และมีการ
+
สลายพันธะไพน์ C=O ขึ้น หลังจากนั้นจะเกิดการขจัด H ออก (step [3]) ก็จะได้สารผลิตภัณฑ์
ประเภท diol เกิดขึ้น

ปฏิกิริยาการเติมน้ำลงในอัลดีไฮด์คีโตนนั้นเป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้อยู่ในสมดุล
ดังนั้นการที่จะบอกว่า H2O เข้าเติมที่หมู่คาร์บอนิลได้มากน้อยเพียงใด จะพิจารณาจากค่าคงที่ของ

ปฏิกิริยาการเติมน้ำ (K) ดังแสดง

652 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



Mechanism 11.18 | กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเติมน้ำลงในอะซีโตน















ภาพที่ 11.18 กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเติมน้ำลงในอะซีโตน

ปรับปรุงจาก: Wade, L. G. (2013). Organic Chemistry. Pearson Education Limited.












โดยหากค่า K มีค่ามาก หมายความว่าเกิดสารผลิตภัณฑ์ hydrate มาก แต่หากค่า K มีค่าน้อย
หมายความว่าเกิดผลิตภัณฑ์ hydrate น้อย โดยปกติแล้วอัลดีไฮด์จะสามารถเกิดปฏิกิริยาการเติมน้ำ

แล้วให้สารผลิตภัณฑ์ได้มากกว่าคีโตน สาเหตุเพราะคีโตนมีหมู่อัลคิลสองหมู่ที่ทำให้คาร์บอนอะตอม
ของหมู่คาร์บอนิลในคีโตนไม่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยากับนิวคลีโอไฟล์ (ทบทวนหัวข้อ 11.2)

❑ จำนวนหมู่อัลคิลรอบคาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอนิลเพิ่มขึ้น จะลดค่าคงที่สำหรับ
ปฏิกิริยาการเติมน้ำ


-2
-4
โดยปกติแล้วคีโตนมีค่าคงที่สำหรับปฏิกิริยาการเติมน้ำอยู่ในช่วง 10 –10 ส่วนอัลดีไฮด์จะมีค่า K
ใกล้ 1 แต่อัลดีไฮด์บางชนิดก็มีค่า K มากกว่านั้น ดังแสดง

อัลดีไฮด์และคีโตน 653










จะเห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบ propanal กับ formaldehyde จำนวนหมู่อัลคิลของ propanal มี

มากกว่าส่งผลให้ค่า K มีค่าน้อยกว่า และหากเปรียบเทียบระหว่าง chloral กับ formaldehyde จะ
พบว่าค่า K ของ chloral มีค่ามากกว่า formaldehyde ทั้งที่มีหมู่อัลคิลมากกว่า formaldehyde ที่


เป็นเช่นนี้เพราะ Cl อะตอมที่มีค่า EN สูงจะดึงอิเล็กตรอนผ่านผลของอนดักทฟทำให้คาร์บอนอะตอม
ของหมู่คาร์บอนิลขาดแคลนอิเล็กตรอนมาก จึงเกิดปฏิกิริยาการเติมน้ำได้ดี

ตัวอย่างที่ 11.9 | ปฏิกิริยาการเติมน้ำของอัลดีไฮด์คีโตน


โจทย จงลำดับค่าคงที่ของปฏิกิริยาการเติม (K) จากน้อยไปมากของสารต่อไปนี้ พร้อมทั้งเขียน
สารผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้อง






วิธีคิด ค่าคงที่ของปฏิกิริยาการเติมน้ำ (K) เป็นค่าที่บอกว่า อัลดีไฮด์คีโตนนั้น สามารถทำ
ปฏิกิริยาการเติมน้ำและเกิดสารผลิตภัณฑ์ได้มากเพียงใด โดยหากจำนวนหมู่อัลคิลรอบ
ิ่
ึ้
คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอนิลเพมขน จะลดค่า K แต่หากมีอะตอมที่มีค่า EN สูงเกาะ

ที่อฟฟาคาร์บอนจะเพิ่มคา K


ค่า K เพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง

654 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



11.6.8 ปฏิกิริยาการเติมแอลกอฮอล์ลงในอลดีไฮด์คีโตน: การเกิดอะซีทัล

(Addition of alcohol: Acetal formation)
อะซีทัล (acetal) เป็นสารอินทรีย์ที่มีหมู่ OR (อัลคอกซี่, alkoxy) สองหมู่เกาะที่
คาร์บอนอะตอมตัวเดียวกัน สามารถเตรียมได้จากการให้แอลกอฮอล์จำนวน 2 equivalents ทำ

ปฏิกิริยากับอัลดีไฮด์คีโตนภายใต้สภาวะที่กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาทั่วไปดังแสดง















ปฏิกิริยานี้จะแตกต่างจากปฏิกิริยาการเติมน้ำของอลดีไฮด์คีโตนเล็กน้อย ตรงที่ปฏิกิริยานี้จะมีการ

สร้างพันธะ C–O ขึ้นมาใหม่จำนวน 2 พันธะ และกรดที่นิยมใช้ในการเร่งปฏิกิริยาการเตรียมอะซีทัล

คือ p-toluenesulfonic acid (TsOH) ตัวอย่างปฏิกิริยาดังแสดง




















กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเติมแอลกอฮอล์ลงในอัลดีไฮด์คีโตนเพื่อเตรียมอะซีทัล

แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการเกิดเป็น hemiacetal และส่วนที่สองคือการเปลี่ยน hemiacetal
เป็นอะซีทัล ดังแสดงในภาพที่ 11.19 ในส่วนแรกนั้น ขั้นแรก (step [1]) ออกซิเจนอะตอมของหมู่
คาร์บอนิลจะถูกเติมโปรตอนโดยกรด TsOH เพื่อให้คาร์บอนของหมู่คาร์บอนิลมีความเป็นอิเล็กโทรฟ- ิ
ลิกมากขึ้น เหนี่ยวนำให้นิวคลีโอไฟล์เข้ามาชนทำปฏิกิริยา ในขั้นถัดมา (step [2]) ROH จะทำหน้าที่

เป็นนิวคลีโอไฟล์เข้าชนสร้างพันธะ C–O และมีการสลายพันธะไพน์ C=O หลังจากนั้นจะเกิดการขจัด
H ออก (step [3]) ก็จะได้สารผลิตภัณฑ์ประเภท hemiacetal เกิดขึ้น ในส่วนที่สอง ออกซิเจน
+
+
อะตอมของ hemiacetal จะถูกเติมโปรตอนโดยกรด TsOH เปลี่ยน –OH ให้เป็น –OH2 (step [4])
จากนั้นอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวบนออกซิเจนอะตอมของ OR จะเคลื่อนลงมาสร้างพันธะไพน์ พร้อมขจัด

H2O ออกเป็น leaving group (step [5]) จากนั้น ROH จะทำหน้าที่เป็นนิวคลีโอไฟล์เข้าชนสร้าง

อัลดีไฮด์และคีโตน 655



พันธะ C–O และมีการสลายพนธะไพน์ C=O (step [6]) และเกิดการขจัดโปรตอนออก (step [7]) ได้
สารผลิตภัณฑ์เป็นอะซีทัล


Mechanism 11.19 | กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเติมแอลกอฮอล์ลงในอัลดีไฮด์คีโตน
Part [1] การเกิด hemiacetal
















Part [2] การเกิดอะซีทัล














ภาพที่ 11.19 กลไกการเกิดปฏิกิริยาการเติมแอลกอฮอล์ลงในอัลดีไฮด์คีโตน
ปรับปรุงจาก: Smith, J. (2010). Organic Chemistry. McGraw-Hill Education.


11.6.8A ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของอะซีทัล

(Hydrolysis of acetals)
อะซีทัลสามารถเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับไปเป็น หมู่คาร์บอนิลกับน้ำได้ หาก
นำอะซีทัลมาทำปฏิกิริยากับน้ำในปริมาณมาก ๆ โดยใช้กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะเกิดปฏิกิริยา

ย้อนกลับ ซึ่งปฏิกิริยาย้อนกลับนี้จะเรียกว่า ไฮโดรไลซิสของอะซีทัล (Hydrolysis of acetal) ตัวอย่าง
ปฏิกิริยาดังแสดง

656 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



สาเหตุที่ต้องใส่น้ำในปริมาณมากเกินพอในปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของอะซีทัล เนื่องจากปฏิกิริยานี้จะอยู่
ในสมดุล การที่ใส่น้ำในปริมาณมากจะทำให้สมดุลปรับตัวเลื่อนไปทางขวามือ กลไกการเกิดปฏิกิริยา
ไฮโดรไลซิสของอะซีทัล (ปฏิกิริยาย้อนกลับของปฏิกิริยาการเติมแอลกอฮอล์ลงในอัลดีไฮด์คีโตน) จะ
กล่าวในตัวอย่างที่ 11.10


ตัวอย่างที่ 11.10 | ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของอะซีทัล

โจทย จงเขียนกลไกการเกิดปฏิกิริยาจากปฏิกิริยาต่อไปนี้







วิธีคิด กลไกการเกิดปฏิกิริยานี้จะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกจะเป็นขั้นตอนการเปลี่ยนอะซีทัลให้
เป็น hemiaetal ดังแสดง












ส่วนที่สองจะเป็นการเปลี่ยน hemiacetal เป็นคีโตน ดังแสดง















11.6.8B การใช้อะซีทัลเป็นหมู่ปกป้อง
(Uses of acetals as protecting groups)
หากใช้ ethylene glycol จำนวน 1 equivalent แทนแอลกอฮอล์ 2

equivalents ทำปฏิกิริยากับอัลดีไฮด์คีโตน ภายใต้สภาวะที่มีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้อะซีทัลที่
เป็นวง (cyclic acetal) เป็นสารผลิตภัณฑ์ ดังแสดง

อัลดีไฮด์และคีโตน 657













และเมื่ออยากให้อะซีทัลที่เป็นวงนี้ กลับมาเป็นคีโตนดังเดิม สามารถนำทำปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสโดยใช้
กรดแก่เป็นตังเร่งปฏิกิริยา (อะซีทัลจะเสถียรมากภายใต้สภาวะเบส จึงไม่สามารถเกิดไฮโดรไลซิสโดย

ใช้เบสได้) จะได้คีโตนกลับมา ด้วยคุณสมบัติที่สามารถเติมอะซีทัลเข้าและนำออกได้อย่างง่ายดายนี้
จึงนิยมใช้ ethylene glycol เป็นหมู่ปกป้อง (protecting group)
ตัวอย่างหนึ่งที่ใช้อะซีทัลเป็นหมู่ปกป้องในการทำปฏิกิริยา เช่น ต้องการใช้
กรินยาร์ดรีเอเจนต์ทำปฏิกิริยากับเอสเทอร์ให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ แต่ในสารตั้งต้นเอสเทอร์นั้นมีหมู่

คาร์บอนิลอยู่ด้วย ดังแสดง







ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องการ








ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ



หากสารตั้งต้นมีทั้งเอสเทอร์และหมู่คาร์บอนิลอยู่ในโมเลกุล กรินยาร์ดจะเข้าชนทั้งเอสเทอร์และหมู่
คาร์บอนิลของคีโตน ทำให้ไม่ได้สารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ วิธีแก้ไขทำได้โดยนำสารตั้งต้นนั้นมาทำ

ปฏิกิริยาการเติมกับ ethylene glycol ก่อน เพื่อปกป้องหมู่คาร์บอนิลของคีโตน (อะซีทัลจะไม่เกิดใน
หมู่คาร์บอนิลของเอสเทอร์) แล้วจึงให้ทำปฏิกิริยากับกรินยาร์ดรีเอเจนต์ ซึ่งหมู่อะซีทัลที่ถูกปกป้องไว้
จะไม่โดยกรินยาร์ดเข้าทำปฏิกิริยา ดังแสดง










จากนั้นทำการเติมกรดเพื่อขจัดหมู่ปกป้องออก เพื่อเปลี่ยนอะซีทัลให้กลายเป็นคีโตน ดังแสดง

658 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)













ตัวอย่างการใช้อะซีทัลเป็นหมู่ปกป้องในการสังเคราะห์สาร ดังแสดงในตัวอย่างที่ 11.11

ตัวอย่างที่ 11.11 | การใช้อะซีทัลเป็นหมู่ปกป้อง


โจทย จงเสนอแผนการสังเคราะห์จากปฏิกิริยาต่อไปนี้








วิธีคิด หากต้องการเปลี่ยนเอสเทอร์ให้เป็นแอลกอฮอล์เราสามารถใช้ตัวรีดิวซ์ที่แรงอย่าง LiAlH4
ทำปฏิกิริยาตรงหมู่เอสเทอร์ได้ แต่ต้องใส่หมู่ปกป้องที่หมู่คาร์บอนิลของคีโตนเสียก่อน มิ
เช่นนั้น LiAlH4 อาจจะรีดิวซ์คีโตนด้วย ดังนั้นแผนการสังเคราะห์จะเป็น

อัลดีไฮด์และคีโตน 659


11.6.9 ปฏิกิริยาออกซิเดชันของอัลดีไฮด์
อัลดีไฮด์มีคุณสมบัติที่ถูกออกซิไดซ์ได้ง่ายซึ่งตางจากคีโตน อัลดีไฮด์สามารถถูก
ออกซิไดซ์ได้จากตัวออกซิไดซ์ทั่ว ๆ ไป อาทิ Na2Cr2O7, KMnO4, NaClO4 เป็นต้น เนื่องด้วยความง่าย



ต่อการถูกออกซไดซ์ของอัลดีไฮด์ ถ้าอัลดีไฮด์สัมผัสกับแกสออกซิเจนในอากาศเป็นเวลานาน อลดีไฮด์
นั้นจะค่อย ๆ ถูกออกซิไดซ์ไปเป็นกรดคาร์บอกซิลิก










ด้วยคุณสมบัติของอัลดีไฮด์นี้เองที่สามารถใช้ตัวออกซิไดซ์แบบอ่อน ๆ เช่น Ag2O ในการทำปฏิกิริยา
ได้ โดยตัวออกซิไดซ์แบบอ่อนนี้จะไม่ไปทำปฏิกิริยารบกวนหมู่ฟังก์ชันอื่น ๆ ดังตัวอย่างปฏิกิริยา
ด้านล่างจะเห็นว่าสารที่มีทั้งอัลดีไฮด์และอัลคีนอยู่ในโมเลกุลเดียวกันมีเฉพาะแค่อัลดีไฮด์ที่ถูก

ออกซิไดซ์แต่อัลคีนจะไม่ถูกออกซไดซ์












การใช้ซิลเวอร์ไอออนทำปฏิกิริยาออกซิเดชันอัลดีไฮด์จะให้ตะกอนสีเงินมันวาวเกิดขึ้นเป็น
by-product จากตะกอนสีเงินนี้เองจึงมักนิยมใช้ซิลเวอร์ไอออนในการทดสอบอัลดีไฮด์ใน

ห้องปฏิบัติการ การทดสอบนี้เรียกว่า การทดสอบของ Tollens (Tollens test) หรืออกชื่อหนึ่งคือ
silver-mirror test การทดสอบนี้เตรียมได้โดยใส่สารละลายผสมของซิลเวอร์-

แอมโมเนีย หรือรู้จักกันในนาม Tollens รีเอเจนต์ ลงไปในหลอดทดลองที่
บรรจุสารตัวอย่างที่ไม่ทราบหมู่ฟังกชัน ถ้าในสารตัวอย่างนั้นเป็นอัลดีไฮด์ อัลดี

ไฮด์จะรีดิวซ์ Ag ไปเป็นโลหะ Ag ในรูปแบบของกระจกเงินเคลือบอยู่ที่หลอด
+
ทดลอง (ภาพที่ 11.20) แต่สารชนิดอื่น ๆ ไฮโดรคาร์บอน อีเธอร์ คีโตน ฯลฯ จะ การทดสอบของ Tollens
ดูวีดีโอได้ที่นี่
ไม่ทำปฏิกิริยากับ Tollens รีเอเจนต์

660 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)







Tollens รีเอเจนต์












อัลดีไฮด์


ภาพที่ 11.20 การทดสอบของ Tollens และลักษณะสีกระจกเงินเคลือบที่หลอดทดลอง

❑ Tollens รีเอเจนต์ ใช้ทดสอบสารตัวอย่างเป็นอัลดีไฮด์หรือไม่ ถ้าเป็นอัลดีไฮด์จะให้ตะกอน
สีเงินมันวาว


Tollens รีเอเจนต์จะต้องเตรียมแล้วใช้ทันทีจึงจะเกิดปฏิกิริยา ส่วนผสมของ Tollens รีเอ
เจนต์ประกอบด้วย AgNO3 NaOH และ NH4OH โดยนำสารละลายเบส NaOH หยดใส่สารละลาย
AgNO3 จะมีตะกอนสีดำของ Ag2O เกิดขึ้นจากนั้น ค่อย ๆ หยดสารละลาย NH4OH จนสารละลาย

กลับมาใสอีกครั้งจะได้ Tollens รีเอเจนต์ [Ag(NH3)2OH] ปฏิกิริยาการเตรียม Tollens รีเอเจนต์ ดัง
แสดง











ปฏิกิริยาการทดสอบของ Tollens นี้ มักใช้เพื่อการทดสอบสารอัลดีไฮด์แต่ไม่นิยมนำมา
สังเคราะห์สารในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างของปฏิกิริยานี้จึงมีจำกัด



11.7 สรุปสาระสำคัญประจำบท


• อัลดีไฮด์คีโตน
2
o อัลดีไฮด์และคีโตนมีหมู่คาร์บอนิล ที่ C อะตอมมีไฮบริดไดเซชันแบบ sp รูปร่าง
โมเลกุลเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ

o อัลดีไฮด์ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยากับนิวคลีโอไฟล์มากกว่าคีโตน เพราะมีหมู่อัลคิล
เพียงหนึ่งหมู่ช่วยเพิ่มความเสถียรให้หมู่คาร์บอนิล แต่คีโตนมี 2 หมู่

อัลดีไฮด์และคีโตน 661



o อัลดีไฮด์และคีโตนจัดเป็นโมเลกุลมีขั้ว แรงระหว่างโมเลกุลเป็น แรง dipole-dipole



• ปฏิกิริยาการเตรียมอลดีไฮด์คีโตน
ปฏิกิริยาที่สรุปในหัวข้อนี้จะเป็นปฏิกิริยาใหม่ที่ไม่ได้กล่าวถึงในบทเรียนก่อน หาก

ต้องการดูปฏิกิริยาอย่างละเอยดสามารถดูได้จากตารางที่ 11.1 และ 11.2

[1] ปฏิกิริยารีดักชันของแอซิดคลอไรด์และเอสเทอร์


















[2] การเตรียมอลดีไฮด์จากไนไทรล์









[3] การเตรียมคีโตนจากแอซิดคลอไรด์









[4] การเตรียมคีโตนจากไนไทรล์

662 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



• ปฏิกิริยาของอัลดีไฮด์คีโตน



[1] ปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์ด้วยกรินยาร์ดรีเอเจนต์












-
[2] ปฏิกิริยาการเติมนิวคลีโอไฟล์โดยใช้ไฮไดรด์ (H) เป็นนิวคลีโอไฟล์










[3] ปฏิกิริยาการเติมไซยาไนด์: ไซยาโนไฮดริน









-
o CN เป็นนิวคลีโอไฟล์ในปฏิกิริยานี้
o หมู่ CN ในไซยาโนไฮดรินสามารถเปลี่ยนเป็น COOH ได้โดยใช้กรดหรือเบส

เร่งปฏิกิริยา

[4] ปฏิกิริยาวิทติก










o ปฏิกิริยาเสมือนสลับพันธะคู่ระหว่างสารประกอบคาร์บอนิลและ
ฟอสฟอรัสอิลลิด

o ปฏิกิริยานี้มักมี by-product เป็น O=PPh3
o เกิดผลิตภัณฑ์ทั้ง E และ Z

อัลดีไฮด์และคีโตน 663


[5] ปฏิกิริยาการเตรียมอิมีน











o เกิดผ่านสารตัวกลาง carbinolamine แล้วเกิดการขจัดน้ำได้อิมีน
o ปฏิกิริยาจะเกิดได้ดีใน pH ช่วง 4–5

[6] ปฏิกิริยาการเตรียมอีนามีน











o เกิดผ่านสารตัวกลาง carbinolamine แล้วเกิดการขจัดน้ำได้อีนามีน
o ปฏิกิริยาจะเกิดได้ดีใน pH ช่วง 4–5


[7] ปฏิกิริยาการเติมน้ำลงในอัลดีไฮด์คีโตน











o ปฏิกิริยาสามารถผันกลับได้ และเกิดได้ดีกับอัลดีไฮด์ และอัลดีไฮด์ที่มี
อะตอม EN สูงเกาะที่อัลฟาคาร์บอน

o ปฏิกิริยาถูกเร่งโดยกรด

[8] ปฏิกิริยาการเติมแอลกอฮอล์ลงในอัลดีไฮด์คีโตน

664 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



o ปฏิกิริยาสามารถผันกลับได้และอยู่ในสมดุล หากต้องการให้เกิดผลิตภัณฑ์
มากต้องพยายามขจัดน้ำออกจากปฏิกิริยาเพื่อให้สมดุลเลื่อนทางขวา
o ปฏิกิริยาถูกเร่งโดยกรด กรดที่นิยมใช้ คือ TsOH
o นิยมใช้อะซีทัลเป็นหมู่ปกป้อง หมู่ปกป้องที่นิยมใช้คือ ethylene glycol


[8] ปฏิกิริยาออกซิเดชันของอัลดีไฮด์










o อัลดีไฮด์จะทำปฏิกิริยากับรีเอเจนต์ของ Tollen ให้ตะกอนสีเงิน

o นิยมใช้ทดสอบอัลดีไฮด์ ไม่นิยมใช้ทำปฏิกิริยา

อัลดีไฮด์และคีโตน 665


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 11
อัลดีไฮด์และคีโตน




1) จงทำนายสารผลิตภัณฑ์หลัก ในแต่ละปฏิกิริยาต่อไปนี้
















































2) จงทำนายสารผลิตภัณฑ์ เมื่อ cyclohexanone ทำปฏิกิริยากับรีเอเจนต์ต่อไปนี้

+
(a) CH3NH2, H + (b) excess CH3OH, H
(c) NH3 ตามด้วยกรด (d) ethylene glycol และ p-toluenesulfonic acid
+
(e) NaBH4, CH3OH (f) PhMgBr ตามด้วย H3O
(g) Tollens reagent (h) sodium acetylide, then mild H3O
+
(i) LiAlH4 ตามด้วยน้ำ (j) Ph3P=CH2

666 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



3) จงทำนายรีเอเจนต์ที่ใช้ในการเปลี่ยน (CH3)2CHCH2COCl ไปเป็นสารผลิตภัณฑ์ที่แสดง
ด้านล่างนี้





4) จงทำนายสารตั้งต้นในปฏิกิริยาวิทติกของสารผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้
(a) (CH3)2C═CHCH2CH3 (b) CH3CH2CH═CHCH2CH3
(c) C6H5CH═CHCH3

5) จงเขียนสารผลิตภัณฑ์ของแต่ละปฏิกิริยาวิทติกที่แสดงดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งเขยนสเตอริโอของ

สารผลิตภัณฑ ์












6) จงแสดงวิธีการสังเคราะห์จากสารตั้งต้นที่กำหนดให้ ให้ไปเป็นสารผลิตภัณฑ์ในแต่ละข้อ




















7) จงเติมสารที่เหมาะสมลงในช่องสี่เหลี่ยมในแต่ละข้อต่อไปนี้ ให้ถูกต้อง

อัลดีไฮด์และคีโตน 667















































8) จงลำดับค่าคงที่ของปฏิกิริยาการเติมน้ำของสารที่แสดงด้านล่างนี้ พร้อมทั้งเขียนสาร
ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาการเติมน้ำในสภาวะที่มีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา









9) จงเขียนกลไกการเกิดปฏิกิริยาของปฏิกิริยาในแต่ละข้อ

668 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)

















10) จงทำนายสารผลิตภัณฑ์ เมื่อ cyclohexanecarbaldehyde ทำปฏิกิริยากับรีเอเจนต์
ดังต่อไปนี้












+
(a) PhMgBr, then H3O (b) Tollens reagent
(c) H2N-NH2, then KOH, heat (d) excess ethanol and acid

(e) NaBH4



การบ้านออนไลน์ประจำบทที่ 11 อัลดีไฮด์และคีโตน


งานวิจัยของ เจษฎา ราษฎร์นิยม และคณะ (2562a, 2562b; Ratniyom et al., 2016) ค้น
พบว่าคะแนนจากการบ้านออนไลน์ที่ฝึกทำระหว่างเรียนส่งผลต่อคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาค
ตำราเล่มนี้จึงมีการบ้านออนไลน์ประจำบทเสริมไว้ให้ทำ และเมื่อทำเสร็จสิ้นจะแสดงเฉลยในทันที













การบ้านออนไลน์

สแกนตรงนี้

อัลดีไฮด์และคีโตน 669


เอกสารอ้างอิง



เจษฎา ราษฎร์นิยม, สุทธิพงศ์ บุญผดุง, & ธรรศนันต์ อุนนะนันทน์. (2562a). การจัดการเรียนรู้โดยใช้
การบ้านออนไลน์ในรายวิชาเคมีอินทรีย์สำหรับ นักศึกษาครูวิทยาศาสตร์: กรณีศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนน การบ้านออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารวิจัย
ทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 43–57.

เจษฎา ราษฎร์นิยม, สุทธิพงศ์ บุญผดุง, & ธรรศนันต์ อุนนะนันทน์. (2562b). ผลของการใช้การบ้าน
ออนไลน์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาเคมี
ทั่วไป. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 178–188.

สุนันทา วิบูลจันทร์. (2554). เคมีอินทรีย์. นนทบุรี: เอ็นดับบลิว มีเดีย จำกัด.

Ashenhurst, J. (2010). Imines and Enamines. Retrieved May 8, 2019, from https://www.
masterorganicchemistry.com/2010/05/24/imines-and-enamines/

Ashenhurst, J. (2011). Reagent Friday: Di-isobutyl Aluminum Hydride (DIBAL). Retrieved
May 4, 2019, from https://www.masterorganicchemistry.com/2011/08/26/reagent
-friday-di-isobutyl-aluminum-hydride-dibal/

Bennett, J., Meldi, K., & Kimmell, C. (2006). Synthesis and Analysis of a Versatile Imine
for the Undergraduate Organic Chemistry Laboratory. Journal of Chemical
Education, 83(8), 1221.

Brown, H. C., & Rao, B. C. S. (1958). A New Aldehyde Synthesis—The Reducti[UNK]on
of Acid Chlorides by Lithium Tri-t-butoxyaluminohydride1. Journal of the
American Chemical Society, 80(20), 5377–5380.

Clayden, J., Greeves, N., & Warren, S. (2012). Organic Chemistry. OUP Oxford.

Ducry, L., & Roberge, D. M. (2008). Dibal-H Reduction of Methyl Butyrate into
Butyraldehyde using Microreactors. Organic Process Research & Development,
12(2), 163–167.

Farmer, S., & Reusch, W. (2015). Hydration of Ketones and Aldehydes. Retrieved May 8,
2019, from https://chem.libretexts.org/@go/page/23977

Klein, D. R. (2016). Organic Chemistry As a Second Language: Second Semester Topics,
4th Edition. Wiley.

McMurry, J. (2011). Organic Chemistry. Brooks/Cole Cengage Learning.
Ratniyom, J., Boonphadung, S., Unnanantn, T. (2016). The Effects of Online Homework

on First Year Pre-Service Science Teachers’ Learning Achievements of Introductory
Organic Chemistry. International Journal of Environmental and Science

670 เคมีอินทรีย์ (Org. Chem.)



Education, 11(15), 8088–8099.
Smith, J. (2010). Organic Chemistry. McGraw-Hill Education.

Smith, M. B., & March, J. (2008). March’s Advanced Organic Chemistry. New York: Wiley.
Solomons, T. W. G., Fryhle, C., & Snyder, S. (2012). Organic Chemistry. Wiley.

Wade, L. G. (2013). Organic Chemistry. Pearson Education Limited.

Woodward, R. B., Pachter, I. J., & Scheinbaum, M. L. (1974). 2,2-(Trimethylenedithio)
cyclohexanone. Org. Synth., 54, 39.

บทที่ 12
กรดคาร์บอกซิลิก




12.1 บทนำ

กรดคาร์บอกซิลิกเป็นสารอนทรีย์ที่มีหมู่ฟงกชันเป็น COOH ซึ่งมีชื่อเรียกว่าหมู่ คาร์บอกซิล



(carboxyl) จากชื่อหมู่ carboxyl จะเห็นว่าเกิดการรวมตัวกันของสองหมู่ฟังก์ชันคือ คาร์บอนิล
(carbonyl) และไฮดรอกซิล (hydroxyl) โครงสร้างของกรดคาร์บอกซิลิกทั้งแบบเต็มและแบบย่อ
เขียนได้ดังแสดง













2
คาร์บอนอะตอมของหมู่คาร์บอกซิลมีไฮบริดไดเซชันแบบ sp จึงมีรูปร่างโมเลกุลเป็นสามเหลี่ยมแบน
ราบ มุมพันธะประมาณ 120˚ พันธะ C=O จะสั้นกว่าพันธะ C–O ดังแสดง
O 136 pm
121 pm
C
O
C
119˚


เนื่องด้วยคาร์บอนอะตอมอยู่ติดกับออกซิเจนอะตอมที่มีค่า EN สูง นั่นคือออกซิเจนอะตอมถึง 2
อะตอม จึงดึงอิเล็กตรอนจากคาร์บอนทำให้คาร์บอนโพลาร์ไรซ์ขั้วบวก และออกซิเจนทั้งสองอะตอม
โพลาร์ไรซ์ขั้วลบ แต่ออกซิเจนอะตอมที่ติดกับพันธะคู่จะมีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนมากกว่า
เพราะอิเล็กตรอนในพันธะไพน์สามารถเคลื่อนไปที่ออกซิเจนอะตอมได้ ภาพที่ 12.1 แสดงความ

หนาแน่นของอิเล็กตรอนที่อยู่ที่ออกซิเจนอะตอมทั้งสอง (สีแดงแสดงถึงอิเล็กตรอนหนาแน่น)
คาร์บอนและไฮโดรเจนอะตอมจะขาดแคลนอิเล็กตรอน











ภาพที่ 12.1 โครงสร้างเรโซแนนซ์และความหนาแน่นของอเล็กตรอนของกรดอะซีติก


672 กรดคาร์บอกซิลิก


12.2 สมบัติทางกายภาพของกรดคาร์บอกซิลิก
เนื่องด้วยหมู่คาร์บอกซิลในกรดคาร์บอกซิลิกมีพันธะ O–H ซึ่งจะเห็นว่าไฮโดรเจนอะตอม

เกาะกับอะตอมที่มีค่า EN สูง อย่างออกซเจนอะตอม ทำให้สามารถเกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
ที่แข็งแรงที่สุดอย่าง พันธะไฮโดรเจน ได้ ดังแสดง


แรงระหว่างโมเลกุลของ
กรดคาร์บอกซิลิก มี
1) พันธะไฮโดรเจน
2) แรง dipole-dipole
3) แรงลอนดอน

พันธะไฮโดรเจน

ด้วยเหตุนี้กรดคาร์บอกซิลิกจึงมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงที่สุด เมื่อเทียบกับสารประกอบคาร์บอนิล
แอลกอฮอล์ และอัลเคน ในกรณีที่สารมีมวลโมเลกุลเท่ากัน ตัวอย่างดังแสดง


อัลเคน อัลดีไฮด ์ แอลกอฮอล์ กรดคาร์บอกซิลิก


มวลโมเลกุล = 58 มวลโมเลกุล = 58 มวลโมเลกุล = 60 มวลโมเลกุล = 60
แรงลอนดอน แรง dipole-dipole พันธะไฮโดรเจน 2 x พันธะไฮโดรเจน

bp = 0 ˚C แรงลอนดอน แรง dipole-dipole แรง dipole-dipole
แรงลอนดอน
แรงลอนดอน
bp = 48 ˚C
bp = 97 ˚C bp = 118 ˚C

ความแข็งแรงของแรงระหว่างโมเลกุลเพิ่มขึ้น
จุดเดือดเพิ่มขึ้น



จากตัวอย่างที่แสดงด้านบน เป็นที่ทราบกันดีว่าหากโมเลกุลใดมีแรงระหว่างโมเลกุลเป็นพันธะ
ไฮโดรเจน จุดเดือดของสารนั้นจะสูงมาก แต่ในกรณีของ propan-1-ol (แอลกอฮอล์) และกรดอะซี-

ติก (กรดคาร์บอกซิลิก) มีชนิดของแรงระหว่างโมเลกุลเหมือนกัน มวลโมเลกุลเท่ากัน แต่เหตุใดจุด
เดือดของอะซีติกจึงสูงกว่า propan-1-ol การที่จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องสังเกตให้ดีว่าสารพวกกรด
คาร์บอกซิลิกจะมีตำแหน่งของพันธะไฮโดรเจนถึง 2 ตำแหน่งในหนึ่งโมเลกุล แต่แอลกอฮอล์มีจุดที่
เกิดพันธะไฮโดรเจนเพียงตำแหน่งเดียวในหนึ่งโมเลกุล (ภาพที่ 12.2) ดังนั้น ในการให้ความร้อน

เพื่อให้ถึงจุดเดือดของกรดอะซีติกต้องทำลายพันธะไฮโดรเจนถึงสองพันธะ แต่แอลกอฮอล์ทำลาย
พันธะไฮโดรเจนเพียงตำแหน่งเดียว กรดอะซีติกจึงมีจุดเดือดสูงกว่าแอลกอฮอล์


Click to View FlipBook Version