The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สีลขันธวรรคฎีกา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ไอ ติม, 2024-01-14 23:28:52

สีลขันธวรรคฎีกา

สีลขันธวรรคฎีกา

Keywords: สีลขันธวรรคฎีกา

สีลขันธวรรคฎีกา (แปลและเรียบเรียง) ผศ.ดร.แม ่ชีกฤษณา รักษาโฉม:บศ.๙ (บาลีศึกษา ๙ ประโยค) :อ.บ. (อภิธรรมบัณฑิต) :ศศ.บ. (ภาษาอังกฤษ) :ศษ.บ. (ภาษาไทย) :พธ.ม. (พระพุทธศาสนา) :พธ.ด. (พระพุทธศาสนา) พิมพ์ครั้งที่ ๑ :พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ จ านวน :๑๐๐ เล่ม ISBN :๙๗๘-๖๑๖-๖๐๓-๓๒๓-๖ ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจอ ่าน :๑.รศ.ดร.มานพ นักการเรียน :๒.รศ.ดร.ธีรโชติ เกิดแก้ว :๓.รศ.ดร.กฤต ศรียะอาจ กองบรรณาธิการ :พระศรีวัชรมุนี, ป.ธ.๙ :พระสุธีรัตนบัณฑิต,รศ.ดร. :พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร,รศ.ดร. :พระมหาวรัญธรณ์ าณกิตฺติ, ป.ธ.๙ (นาคหลวง) :รศ.ดร.ประพันธ์ ศุภษร :รศ.ดร.สุเทพ พรมเลิศ, ป.ธ.๙ :อาจารย์มนัส จอดพิมาย, ป.ธ.๙ พิสูจน์อักษร :ผศ. (พิเศษ)ดร.อรชร ไกรจักร์, นางกนกอร ก้านน้อย ออกแบบปก/จัดรูปเล่ม :วิทยา ปานไข่ พิมพ์ที่ :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๙๗ หมู่ ๑ ต าบลล าไทร อ าเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๘๐๐๐ ต่อ ๘๕๕๕-๘๕๕๙


ก ค านิยม ขออนุโมทนาชื่นชม ในความวิริยะอุตสาหะในการแปลคัมภีร์ฎีกาทีฆนิกายของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งคัมภีร์ฎีกาเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ใช้เป็นคัมภีร์สำหรับค้นคว้าอ้างอิง ในการเรียนการสอนรายวิชา พระไตรปิฎก วิเคราะห์ ระดับปริญญาโท และรายวิชา สัมมนาพระไตรปิฎก ระดับปริญญาเอก รวมถึงประชาชน ทั่วไป ที่สนใจใคร่ต่อการศึกษา ค้นคว้าองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ใน การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ได้เป็นอย่างดี พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ. ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


ข ค าน า เป็นที่ทราบกันในกลุ่มพุทธบริษัทว่า ธุระ ในพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ ๑) คันถธุระ หมายถึง การศึกษาเล ่าเรียนพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา รวมถึงปกรณ์วิเสสต ่าง ๆ ๒) วิปัสสนาธุระ หมายถึง การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร คันถธุระ หรือ การศึกษาพระธรรมวินัยนับว่ามีบทบาทส าคัญในการธ ารงพระพุทธศาสนา เพราะว่า พระธรรมวินัย คล้ายกับตะเกียงส่องทางให้กับพุทธบริษัทในการปฏิบัติธรรม ฉะนั้นเรามักจะได้ยินประโยคบาลีนี้อยู่ เป็นประจ า จากอรรถกถาสมันตปาสาทิกา ภาคที่ ๓ ว่า “น หิ ปริยตฺติยา อสติ ปฏิเวโธ อตฺถิ นาปิ ปริยตฺติยา สติ ปฏิเวโธ น โหติ จริงอยู่ เมื่อพระปริยัติธรรม (การศึกษาพระธรรมวินัย) ไม่มี ปฏิเวธ (การบรรลุธรรม) ก็จะไม่มี เมื่อมีพระปริยัติธรรม ปฏิเวธจะไม่มี ก็หามิได้” การศึกษาธรรมวินัยผ่านคัมภีร์พระไตรปิฎกจะต้องศึกษาให้รู้แจ้งหมายความว่า เมื่อศึกษา พระไตรปิฎก ไม่ใช่ว่าจะศึกษาเฉพาะพระไตรปิฎกเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องศึกษาอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ควบคู่ไปด้วย หรือที่เรียกว่า “ศึกษาแบบคู่ขนาน ๓ คัมภีร์ คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา” หากเราไม่ศึกษาอรรถกถา ฎีกา ควบคู ่ไปด้วย เป็นไปได้ที ่จะตีความเนื้อหาในพระไตรปิฎกคลาด เคลื่อน ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธพจน์ในขุททกปาฐะ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ปรากฏข้อความ มาตร ปิตร หนฺตฺวา ราชาโน เทฺว จ ขตฺติเย รฏฺฐฃ สานุจาร หนฺตฺวา อนีโฆ ยาติ พราหฺมโณ พราหมณ์ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ ฆ่าชาวแว่นแคว้นผู้เป็นไปกับด้วยส่วย เป็นผู้ไม่มีทุกข์ ย่อมไป หากไม่ศึกษาอรรถกถาเป็นคู่มือ พระพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้นนี้จะตีความอย่างไร เป็นไป ได้ที่จะตีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนให้ชาวพุทธฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระราชา ฆ่าชาวแว่น แคว้นเพื ่อที ่จะได้หมดความทุกข์ ซึ ่งการตีความลักษณะนี้ เป็นการตีความที ่ผิดจากค าสอนของ พระพุทธเจ้า พระพุทธพจน์ในเบื้องต้นที ่กล ่าวมานี้ มีค าอธิบายในอรรถกถาธรรมบทว ่า มารดา หมายถึง ตัณหา ๓ บิดา หมายถึง อัสมิมานะ พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ หมายถึง สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉท ทิฏฐิชาวแว่นแคว้นผู้เป็นไปกับด้วยส่วย หมายถึง อายตนะที่สหรคตด้วยนันทิราคะ โดยสามารถ ประมวลใจความของพระพุทธพจน์นี้ได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนให้พราหมณ์ (พราหมณ์ ในที่นี่ หมายถึง ผู้ลอยบาปอกุศล ไม่ใช่พราหมณ์ในศาสนาพราหมณ์) ละตัณหา ละอัสมิมานะ ละสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ ละความยินดีที่เกิดจากความเพลิดเพลิน (นันทิราคะ) เมื่อพราหมณ์ละอกุศลต่าง ๆ ดังกล่าวได้ จะมีชีวิตที่เป็นสุข ไม่มีความทุกข์เข้ามารบกวนใจ


ค จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า อรรถกถา ฎีกา มีความส าคัญในการศึกษาพระไตรปิฎก เป็นอย่างมาก ฉะนั้นควรตระหนักอยู่เสมอว่า พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์ ได้ศึกษาพระ ไตรปิฏกเป็นแม่บทในการรจนาอรรถกถาและรจนาฎีกา และที่ส าคัญท่านเหล่านั้นได้ศึกษาพระพุทธ ศาสนาแนวจารีตที่ส านักมหาวิหาร เกาะลังกา อย่างแตกฉาน เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ในเวลานั้น คัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกา เป็นคัมภีร์ที ่อธิบายเนื้อหาในสีลขันธรรคอรรถกถา ส ่วนสีล ขันธวรรค อรรถกถา เป็นคัมภีร์ที่อธิบายเนื้อหาในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค เล่มที่ ๙ ส าหรับพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค และสีลขันธวรรคอรรถกถา มีผู้แปลออกมา เป็นภาษาไทย หากแต่สีลขันธวรรคฎีกา ข้าพเจ้าพบว่ายังไม่มีผู้ใดแปลเป็นภาษาไทย และเท่าที่ ข้าพเจ้าได้บรรยายรายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ ในหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา และหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา ข้าพเจ้าพบว่าพระ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค เล่มที่ ๙ เป็นแหล่งรวมเกี่ยวกับศีล ๓ ระดับ หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาและแนวคิดส าคัญของครูทั้ง ๖ ซึ ่งเป็นบุคคลร ่วมสมัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าใน อินเดีย ข้าพเจ้าเห็นว่าหากนิสิตใน มจร. และผู้ที่สนใจศึกษาพระไตรปิฎก เมื่อศึกษาพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค เล่ม ๙ โดยไม่เจาะลึกถึงฎีกา ค้นคว้าเฉพาะสีลขันธวรรคอรรถกถาเพียง อย่างเดียว ข้าพเจ้าเกรงว่าจะเข้าใจเนื้อหานั้น ๆ คลาดเคลื่อนไปยกตัวอย่างเช่น ในเกวัฏฏสูตร พระผู้ มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในวิญญาณ ที่แสดงไม่ได้ ไม่มีที่สุด แต่มีท่าข้ามโดยรอบ อุปาทายรูปยาวและสั้น ละเอียด หยาบ งาม และไม ่งาม ย ่อมตั้งอยู ่ไม ่ได้ในวิญญาณนี้ นามรูปย ่อมดับโดยไม่มีส ่วนเหลือในวิญญาณนี้ เพราะ วิญญาณดับไป นามรูปย่อมดับโดยไม่มีส่วนเหลือในวิญญาณนี้” เมื่อนิสิตอ่านพระพุทธพจน์ในเกวัฏฏ สูตรนี้ แล้วไปเปิดค าอธิบายในสีลขันธวรรค อรรถกถา จะพบว ่าสีลขันธวรรคอรรถกถาอธิบายว่า วิญญาณ ในพระพุทธพจน์เบื้องต้นมี ๒ นัย คือ นัยที่ ๑ วิญญาณเป็นชื่อของพระนิพพาน นัยที่ ๒ วิญญาณเป็นชื่อของจริมกวิญญาณบ้าง เป็นชื่อของอภิสังขารวิญญาณบ้าง ส าหรับนิสิตและผู้ที่สนใจที่ มีความรู้ด้านภาษาบาลี จะสามารถเข้าไปศึกษาสีลขันธวรรคฎีกาเพื่อค้นคว้าต่อไปว่า ท าไมวิญญาณจึง ถูกน ามาใช้เป็นชื่อของพระนิพพาน และในขณะเดียวกัน ท าไมวิญญาณจึงเป็นชื่อของจริมกวิญญาณ และอภิสังขารวิญญาณ ซึ่งประเด็นนี้ สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายว่า (๑) นิพพานเป็นสิ่งที่บุคคลจะต้อง รู้ด้วยญาณที่พิเศษ หรือเป็นสิ่งที่บุคคลจะต้องรู้อย่างประจักษ์ด้วยญาณในอริยมรรคซึ่งเป็นญาณสูงสุด ฉะนั้นนิพพานจึงควรมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวิญญาณ (๒) จริมกวิญญาณ หมายถึง จุติจิตของพระ อรหันต์ ส่วนอภิสังขารวิญญาณ เป็นชื่อของอนุปาทิเสสนิพพาน และนิสิตตลอดจนผู้ที่สนใจหากไม่มี ความรู้ด้านภาษาบาลี คงจะเกิดความไม่เข้าใจพระพุทธพจน์ข้างต้น ดังนั้น ข้าพเจ้าเห็นถึงความส าคัญของการศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจถึงแก่นสามารถ น ามาปฏิบัติอย่างถูกต้องและต้องการจะอนุเคราะห์นิสิตและผู้ที่สนใจที่ไม่มีความรู้ด้านภาษาบาลีได้มี โอกาสศึกษาฎีกาอย่างสะดวก ข้าพเจ้าจึงเริ่มแปลสีลขันธวรรคฎีกาจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยจน


ง งานแปลส าเร็จ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สีลขันธวรรคฎีกาฉบับแปลภาษาไทย คงจะเกิดประโยชน์ ต่อนิสิตและผู้สนใจทั่วไป กุศลที่เกิดจากการแปลและเรียบเรียงครั้งนี้ขออุทิศให้แก่บิดามารดา(นายสมร รักษาโฉม นางวันนา รักษาโฉม ผู้ล่วงลับไปแล้ว)อุทิศแก่อาจารย์แม่ชีอุบล สุภาจารี (วัดมหาวนาราม แม่ในแดน ธรรมผู้ล่วงลับไปแล้ว) พระเทพกิตติรังษี (สมเกียรติ สมกิตฺติ อุปัชฌาย์อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาวนา รามผู้ล่วงลับไปแล้ว) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ผู้รับเข้ามาอยู่วัดมหาธาตุฯ) บุญกุศลนี้จงถึงแด่ครู อาจารย์ของข้าพเจ้าทุกท่านผู้ประสิทธิ์ ประสาทภาษาบาลีชั้นบาลีศึกษา ๑-๒ ถึง บาลีศึกษา ๙ ประโยค และบุญกุศลนี้จงถึงแด่ ครู อาจารย์ ของข้าพเจ้าทุกท่านที่สอนปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กราบขอบพระคุณพระศรีวัชรมุนี (วัชระ ฐิตเมโธ), ป.ธ.๙ ตรวจทานและแก้ไข พระมหาวรัญธรณ์ ญาณกิตฺติ, (ศรีขุ้ย) ป.ธ.๙ นาคหลวง ตรวจทานแก้ไขและเป็นธุระตรวจความ เรียบร้อย ขอขอบคุณอาจารย์มนัส จอดพิมาย, ป.ธ.๙ ตรวจทานแก้ไข อาจารย์สมควร ถ้วนนอก ผู้ จุดประกายแนะน าให้แปลฎีกาทีฆนิกาย ผศ. พิเศษ ดร.อรชร ไกรจักร์ ผู้อยู ่เคียงข้างในเส้นทาง วิชาการคอยให้ก าลังใจตลอดมา นางกนกอร ก้านน้อย ผู้ช่วยผู้ตรวจทานและแก้ไขและนายวิทยา ปานไข่(เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย) ออกแบบปก ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖


จ ค าอธิบายสัญลักษณ์และค าย ่อ สีลขันธวรรคฎีกา ฉบับแปล อ้างอิงพระไตรปิฎก ๒ ภาษา คือ ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬา เตปิฏก ๒๕๐๐ พุทธศักราช ๒๕๓๕ และภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๓๙ ซึ่งมีรายละเอียดรูปแบบอักษรย่อและการอ้างอิงดังนี้ (๑) อักษรย่อที่อยู่หน้าสุดเป็นชื่อคัมภีร์ (๒) ข้อความในวงเล็บ ( ) แสดงฉบับภาษาที่อ้างถึง (๓) เลขที่อยู่หน้าสุด แสดงล าดับเล่มพระไตรปิฎกที่อ้างถึง (๔) เลขที่อยู่ตรงกลาง แสดงล าดับข้อพระไตรปิฎกที่อ้างถึง (๕) เลขที่อยู่หลังสุด แสดงล าดับหน้าพระไตรปิฎกที่อ้างถึง ตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิง ค าย่อ (ภาษา) เล่ม/ข้อ/หน้า เช่น วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๑/๑๗. หมายถึง พระวินัยปิฎก มหาวรรค ฉบับภาษาไทย เล่มที่ ๔ ข้อที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๗ รูปแบบการอ้างอิง อรรถกถา ค าย่อ (ภาษา) เล่ม/ข้อ/หน้า เช่น ม.อุ.อ.(ไทย) ๑/๑/๑ หมายถึง พระสุตตันปิฎก มัชฌิม นิกาย อุปริปัณณาสก์เล่มที่ ๑ ข้อที่ ๑ หน้าที่ ๑ รูปแบบการอ้างอิงฎีกา ค าย่อ (ภาษา) เล่ม/ข้อ/หน้า เช่น ที.สี.ฎีกา.(ไทย) ๑/๑/๑ หมายถึง ฎีกาทีฆนิกายสีลขันธวรรค เล่มที่ ๑ ข้อที่ ๑ หน้าที่ ๑ พระวินัยปิฎก วิ.มหา. (บาลี) = วินยปิฏก มหาวิภงฺคปาลิ (ภาษาบาลี) วิ.มหา. (ไทย) = วินัยปิฎก มหาวิภังค์ (ภาษาไทย) วิ.ภิกฺขุนี (บาลี) = วินยปิฏก ภิกฺขุนีวิภงฺคปาลิ (ภาษาบาลี) วิ.ภิกฺขุนี (ไทย) = วินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ (ภาษาไทย) วิ.ม. (บาลี) = วินยปิฏก มหาวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) วิ.ม. (ไทย) = วินัยปิฎก มหาวรรค (ภาษาไทย) วิ.จู. (บาลี) = วินยปิฏก จูฬวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) วิ.จู. (ไทย) = วินัยปิฎก จูฬวรรค (ภาษาไทย) วิ.ป. (บาลี) = วินยปิฏก ปริวารวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) วิ.ป. (ไทย) = วินัยปิฎก ปริวารวรรค (ภาษาไทย) พระสุตตันตปิฎก ที.สี. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ทีฆนิกาย สีลกฺขนฺธวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ที.สี. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (ภาษาไทย) ที.ม. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี)


ฉ ที.ม. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค (ภาษาไทย) ที.ปา. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ทีฆนิกาย ปาฏิกวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ที.ปา. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (ภาษาไทย) ม.มู. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก มชฺฌิมนิกาย มูลปณฺณาสกปาลิ (ภาษาบาลี) ม.มู. (ไทย) = สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (ภาษาไทย) ม.ม. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก มชฺฌิมนิกาย มชฺฌิมปณฺณาสกปาลิ (ภาษาบาลี) ม.ม. (ไทย) = สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (ภาษาไทย) ม.อุ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก มชฺฌิมนิกาย อุปริปณฺณาสกปาลิ (ภาษาบาลี) ม.อุ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ (ภาษาไทย) ส .ส. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ส ยุตฺตนิกาย สคาถวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ส .ส. (ไทย) = สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (ภาษาไทย) ส .นิ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ส ยุตฺตนิกาย ทานวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ส .นิ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค (ภาษาไทย) ส .ข. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ส ยุตฺตนิกาย ขนฺธวารวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ส .ข. (ไทย) = สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค (ภาษาไทย) ส .สฬา. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ส ยุตฺตนิกาย สฬายตนวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ส .สฬา. (ไทย) = สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค (ภาษาไทย) ส .ม. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ส ยุตฺตนิกาย มหาวารวคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ส .ม. (ไทย) = สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค (ภาษาไทย) องฺ.เอกก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย เอกกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.เอกก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.ทุก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย ทุกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.ทุก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.ติก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย ติกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.ติก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.จตุกฺก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย จตุกฺกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.จตุกฺก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.ปญฺจก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย ปญฺจกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.ปญฺจก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.ฉกฺก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย ฉกฺกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.ฉกฺก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.สตฺตก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย สตฺตกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.สตฺตก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต (ภาษาไทย)


ช องฺ.อฏฺ ก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย อฏฺฐกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.อฏฺ ก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.นวก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย นวกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.นวก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.ทสก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย ทสกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.ทสก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต (ภาษาไทย) องฺ.เอกาทสก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย เอกาทสกนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) องฺ.เอกาทสก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต (ภาษาไทย) ขุ.ขุ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ขุทฺทกปาฐปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ขุ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ (ภาษาไทย) ขุ.ธ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ธ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท (ภาษาไทย) ขุ.อุ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย อุทานปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.อุ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน (ภาษาไทย) ขุ.อิติ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.อิติ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ (ภาษาไทย) ขุ.สุ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย สุตฺตนิปาตปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.สุ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต (ภาษาไทย) ขุ.วิ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย วิมานวตฺถุปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.วิ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ (ภาษาไทย) ขุ.เปต. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย เปตวตฺถุปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.เปต. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ (ภาษาไทย) ขุ.เถร. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย เถรคาถาปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.เถร. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา (ภาษาไทย) ขุ.เถรี. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย เถรีคาถาปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.เถรี. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.เอกก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย เอกกนิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ทุก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ทุก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ทุกนิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ทุกก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ติก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ติกนิปาต1ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ติก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ติกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.จตุกฺก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย จตุกฺกนิปาตชาตกปาลิ (ภาษาบาลี)


ซ ขุ.ชา.จตุกฺก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จตุกกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ปญฺจก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ปญฺจกนิปาตชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ปญฺจก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปัญจกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ฉกฺก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ฉกฺกนิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ฉกฺก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ฉักกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.สตฺตก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย สตฺตกนิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.สตฺตก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สัตตกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.อฏฺฐฃก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย อฏฺฐกนิปาตชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.อฏฺ ก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อัฏฐกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.นวก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย นวกนิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.นวก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย นวกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ทสก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ทสกนิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ทสก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เทสกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.เอกาทสก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย เอกาทสกนิปาตชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.เอกาทสก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกาทสกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ทฺวาทสก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ทฺวาทสกนิปาตชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ทฺวาทสก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทฺวาทสกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.เตรสก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย เตรสกนิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.เตรสก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เตรสกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ปกิณฺณก. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ปกิณฺณกนิปาตชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ปกิณฺณก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปกิณณกนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.วีสติ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย วีสตินิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.วีสติ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วีสตินิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ตึสติ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ตึสตินิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ตึสติ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ติงสตินิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.จตฺตารีส. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย จตฺตารีสนิปาตชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.จตฺตารีส. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จัตตารีสนิบาตชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ปญฺ าส. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ปญฺญาสนิปาตชาตกปาลิ(ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ปญฺ าส. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปัญญาสนิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.สฏฺฐิ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย สฏฺฐินิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.สฏฺฐิ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สัฏฐินิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.สตฺตติ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย สตฺตตินิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.สตฺตติ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สัตตตินิบาต ชาดก (ภาษาไทย)


ฌ ขุ.ชา.อสีติ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย อสีตินิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.อสีติ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อสีตินิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ม. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย มหานิปาต ชาตกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ม. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิบาต ชาดก (ภาษาไทย) ขุ.ม. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย มหานิทฺเทสปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ม. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิเทส (ภาษาไทย) ขุ.จู. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย จูฬนิทฺเทสปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.จู. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส (ภาษาไทย) ขุ.ป. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย ปฏิสมฺภิทามคฺคปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.ป. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ภาษาไทย) ขุ.อป. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย อปทานปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.อป. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน (ภาษาไทย) ขุ.พุทฺธ. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย พุทฺธว สปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.พุทฺธ. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ (ภาษาไทย) ขุ.จริยา. (บาลี) = สุตฺตนฺตปิฏก ขุทฺทกนิกาย จริยาปิฏกปาลิ (ภาษาบาลี) ขุ.จริยา. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก (ภาษาไทย) พระอภิธรรมปิฎก อภิ.สงฺ. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ธมฺมสงฺคณีปาลิ (ภาษาบาลี) อภิ.สงฺ. (ไทย) = อภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี (ภาษาไทย) อภิ.วิ. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก วิภงฺคปาลิ (ภาษาบาลี) อภิ.วิ. (ไทย) = อภิธรรมปิฎก วิภังค์ (ภาษาไทย) อภิ.ธา. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ธาตุกถาปาลิ (ภาษาบาลี) อภิ.ธา. (ไทย) = อภิธรรมปิฎก ธาตุกถา (ภาษาไทย) อภิ.ปุ. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ปุคฺคลปญฺญตฺติปาลิ (ภาษาบาลี) อภิ.ปุ. (ไทย) = อภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ (ภาษาไทย) อภิ.ก. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก กถาวตฺถุปาลิ (ภาษาบาลี) อภิ.ก. (ไทย) = อภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ (ภาษาไทย) อภิ.ย. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ยมกปาลิ (ภาษาบาลี) อภิ.ย. (ไทย) = อภิธรรมปิฎก ยมก (ภาษาไทย) อภิ.ป. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ปฏฺฐานปาลิ (ภาษาบาลี) อภิ.ป. (ไทย) = อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน (ภาษาไทย)


ญ ปกรณวิเสส เนตฺติ. (บาลี) = เนตฺติปกรณ (ภาษาบาลี) เนตฺติ. (ไทย) = เนตติปกรณ์ (ภาษาไทย) เปฏโก. (บาลี) = เปฏโกปเทส (ภาษาบาลี) มิลินฺท. (บาลี) = มิลินฺทปญฺหปกรณ (ภาษาบาลี) มิลินฺท. (ไทย) = มิลินทปัญหปกรณ์ (ภาษาไทย) วิสุทฺธิ. (บาลี) = วิสุทฺธิมคฺคปกรณ (ภาษาบาลี) วิสุทฺธิ. (ไทย) = วิสุทธิมรรคปกรณ์ (ภาษาไทย) อรรถกถาพระวินัยปิฎก วิ.มหา.อ. (บาลี) = วินยปิฏก สมนฺตปาสาทิกา มหาวิภงฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) วิ.มหา.อ. (ไทย) = วินัยปิฎก สมันตปาสาทิกา มหาวิภังค์อรรถกถา (ภาษาไทย) วิ.ภิกฺขุนี.อ. (บาลี) = วินยปิฏก สมนฺตปาสาทิกา ภิกฺขุนีวิภงฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) วิ.ภิกฺขุนี.อ. (ไทย) = วินัยปิฎก สมันตปาสาทิกา ภิกขุนีวิภังค์อรรถกถา (ภาษาไทย) วิ.ม.อ. (บาลี) = วินยปิฏก สมนฺตปาสาทิกา มหาวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) วิ.ม.อ. (ไทย) = วินัยปิฎก สมันตปาสาทิกา มหาวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) วิ.จู.อ. (บาลี) = วินยปิฏก สมนฺตปาสาทิกา จูฬวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) วิ.จู.อ. (ไทย) = วินัยปิฎก สมันตปาสาทิกา จูฬวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) วิ.ป.อ. (บาลี) = วินยปิฏก สมนฺตปาสาทิกา ปริวารวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) วิ.ป.อ. (ไทย) = วินัยปิฎก สมันตปาสาทิกา ปริวารวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) กงฺขา.อ. (บาลี) = กงฺขาวิตรณีอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) วิ.สงฺคห. (บาลี) = วินยสงฺคหอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) วิ.นิจฺฉย. (บาลี) = วินยวินิจฺฉย (ภาษาบาลี) อุตฺตรวิ. (บาลี) = อุตฺตรวินิจฺฉย (ภาษาบาลี) ขุทฺทสิกฺขา (บาลี) = ขุทฺทสิกฺขา (ภาษาบาลี) มูลสิกฺขา (บาลี) = มูลสิกฺขา (ภาษาบาลี) อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ที.สี.อ. (บาลี) = ทีฆนิกาย สุมงฺคลวิลาสินี สีลกฺขนฺธวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ที.สี.อ. (ไทย) = ทีฆนิกาย สุมังคลวิลาสินี สีลขันธวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) ที.ม.อ. (บาลี) = ทีฆนิกาย สุมงฺคลวิลาสินี มหาวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ที.ม.อ. (ไทย) = ทีฆนิกาย สุมังคลวิลาสินี มหาวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) ที.ปา.อ. (บาลี) = ทีฆนิกาย สุมงฺคลวิลาสินี ปาฏิกวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี)


ฎ ที.ปา.อ. (ไทย) = ทีฆนิกาย สุมังคลวิลาสินี ปาฏิกวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) ม.มู.อ. (บาลี) = มชฺฌิมนิกาย ปปญฺจสูทนี มูลปณฺณาสกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ม.มู.อ. (ไทย) = มัชฌิมนิกาย ปปัญจสูทนี มูลปัณณาสก์อรรถกถา (ภาษาไทย) ม.ม.อ. (บาลี) = มชฺฌิมนิกาย ปปญฺจสูทนี มชฺฌิมปณฺณาสกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ม.ม.อ. (ไทย) = มัชฌิมนิกาย ปปัญจสูทนี มัชฌิมปัณณาสก์อรรถกถา (ภาษาไทย) ม.อุ.อ. (บาลี) = มชฺฌิมนิกาย ปปญฺจสูทนี อุปริปณฺณาสกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ม.อุ.อ. (ไทย) = มัชฌิมนิกาย ปปัญจสูทนี อุปริปัณณาสก์อรรถกถา (ภาษาไทย) ส .ส.อ. (บาลี) = ส ยุตฺตนิกาย สารตฺถปฺปกาสินีสคาถวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ส .ส.อ. (ไทย) = สังยุตตนิกาย สารัตถปกาสินี สคาถวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) ส .นิ.อ. (บาลี) = ส ยุตฺตนิกาย สารตฺถปฺปกาสินีนิทานวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ส .นิ.อ. (ไทย) = สังยุตตนิกาย สารัตถปกาสินี นิทานวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) ส .ข.อ. (บาลี) = ส ยุตฺตนิกาย สารตฺถปฺปกาสินีขนฺธวารวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ส .ข.อ. (ไทย) = สังยุตตนิกาย สารัตถปกาสินี ขันธวารวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) ส .สฬา.อ. (บาลี) = ส ยุตฺตนิกาย สารตฺถปฺปกาสินีสฬายตนวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ส .สฬา.อ. (ไทย) = สังยุตตนิกาย สารัตถปกาสินี สฬายตนวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) ส .ม.อ. (บาลี) = ส ยุตฺตนิกาย สารตฺถปฺปกาสินีมหาวารวคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ส .ม.อ. (ไทย) = สังยุตตนิกาย สารัตถปกาสินี มหาวารวรรคอรรถกถา (ภาษาไทย) องฺ.เอกก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี เอกกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.เอกก.อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี เอกกนิบาตอรรถกถา (ภาษาไทย) องฺ.ทุก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี ทุกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.ทุก. อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี ทุกนิบาตอรรถ (ภาษาไทย) องฺ.ติก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี ติกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.ติก.อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี ติกนิบาตอรรถกถา (ภาษาไทย) องฺ.จตุกฺก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี จตุกฺกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.จตุกฺก.อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี จตุกกนิบาตอรรถ (ภาษาไทย) องฺ.ปญฺจก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี ปญฺจกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.ปญฺจก.อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี ปัญจกนิบาตอรรถกถา (ภาษาไทย) องฺ.ฉกฺก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี ฉกฺกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.ฉกฺก.อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี ฉักกนิบาตอรรถกถา (ภาษาไทย) องฺ.สตฺตก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี สตฺตกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.สตฺตก.อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี สัตตกนิบาตอรรถกถา (ภาษาไทย) องฺ.อฏฺ ก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี อฏฺฐกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.อฏฺ ก.อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี อัฏฐกนิบาตอรรถกถา (ภาษาไทย)


ฏ องฺ.นวก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี นวกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.นวก.อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี นวกนิบาตอรรถกถา (ภาษาไทย) องฺ.ทสก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี ทสกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.ทสก.อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี ทสกนิบาตอรรถกถา (ภาษาไทย) องฺ.เอกาทสก.อ. (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย มโนรถปูรณี เอกทสกนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) องฺ.เอกาทสก.อ. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี เอกาทสกนิบาตอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ขุ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปรมตฺถโชติกา ขุทฺทกปาฐอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ขุ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปรมัตถโชติกา ขุททกปาฐอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ธ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ธ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ธรรมบทอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.อุ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปรมตฺถทีปนี อุทานอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.อุ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปรมัตถทีปนี อุทานอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.อิติ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปรมตฺถทีปนี อิติวุตฺตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.อิติ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปรมัตถทีปนี อิติวุตตกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.สุ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปรมตฺถโชติกา สุตฺตนิปาตอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.สุ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปรมัตถโชติกา สุตตนิบาตอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.วิ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปรมตฺถทีปนี วิมานวตฺถุอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.วิ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปรมัตถทีปนี วิมานวัตถุอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.เปต.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปรมตฺถโชตกา เปตวตฺถุอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.เปต.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปรมัตถโชตกา เปตวัตถุอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.เถร.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปรมตฺถทีปนี เถรคาถาอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.เถร.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปรมัตถทีปนี เถรคาถาอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.เถรี.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปรมตฺถทีปนี เถรีคาถาอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.เถรี.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปรมัตถทีปนี เถรีคาถาอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.เอกก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย เอกกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.เอกก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย เอกกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ทุก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ทุกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ทุก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ติก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ติกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ติก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ติกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.จตุกฺก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย จตุกฺกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.เจตุกฺกก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ตุกกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ปญฺจก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปญฺจกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี)


ฐ ขุ.ชา.ปญฺจก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปัญจกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ฉกฺก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ฉกฺกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ฉกฺก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ฉักกกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.สตฺตก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย สตฺตกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.สตฺตก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย สัตตกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.อฏฺ ก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย อฏฺฐกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.อฏฺ ก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย อัฏฐกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.นวก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย นวกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.นวก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย นวกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ทสก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ทสกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ทสก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ทสกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.เอกาทสก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย เอกาทสกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.เอกาทสก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย เอกทสกกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ทฺวาทสก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ทฺวาทสกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ทฺวาทสก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ทวาทสกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.เตรสก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย เตรสกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.เตรสก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย เตรสกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ปกิณฺณก.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปกิณฺณกนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ปกิณฺณก.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปกิณณกเอกกนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.วีสติ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย วีสตินิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.วีสติ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย วีสตินิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.จตฺตาฬีส.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย จตฺตารีสนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.จตฺตาฬีส.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย จัตตารีสนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ปญฺ าส.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปญฺญญาสนิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ปญฺ าส.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปัญญาสนิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.สฏฺ .อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย สฏฺฐินิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.สฏฺ .อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย สัฏฐินิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.สตฺตติ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย สตฺตตินิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.สตฺตติ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย สัตตตินิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.อสีติ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย อสีตินิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.อสีติ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย อสีตินิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ชา.ม.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย มหานิปาตชาตกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ชา.ม.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย มหานิบาตชาดกอรรถกถา (ภาษาไทย)


ฑ ขุ.ม.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย สทฺธมฺมปฺปชฺโชติกา มหานิทฺเทสอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ม.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย สัทธัมมปัชโชติกา มหานิเทสอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.จู.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย สทฺธมฺมปฺปชฺโชติกา จูฬนิทฺเทสอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.จู.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย สัทธัมมปัชโชติกา จูฬนิเทสอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.ป.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย สทฺธมฺมปฺปกาสินี ปฏิสมฺภิทามคฺคอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.ป.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย สัทธรรมปกาสินี ปฏิสัมภิทามรรคอรรถกถา(ภาษาไทย) ขุ.อป.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย วิสุทฺธชนวิลาสินี อปทานอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.อป.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย วิสุทธชนวิลาสินี อปทานอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.พุทฺธ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย มธุรตฺถวิลาสินี พุทฺธว สอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.พุทฺธ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย มธุรัตถวิลาสินี พุทธวังสอรรถกถา (ภาษาไทย) ขุ.จริยา.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย ปรมตฺถทีปนี จริยาปิฏกอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) ขุ.จริยา.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย ปรมัตถทีปนี จริยาปิฎกอรรถกถา (ภาษาไทย) อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก อภิ.สงฺ.อ. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ธมฺมสงฺคณี อฏฐสาลินีอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) อภิ.สงฺ.อ. (ไทย) = อภิธรรมปิฎก ธัมมมสังคณี อัฏฐสาลินีอรรถกถา (ภาษาไทย) อภิ.วิ.อ. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก วิภงฺค สมฺโมหวิโนทนีอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) อภิ.วิ.อ. (ไทย) = อภิธรรมปิฎก วิภังค์ สัมโมหวิโนทนีอรรถกถา (ภาษาไทย) อภิ.ปญฺจ.อ. (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ปญฺจปกรณอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) อภิ.ปญฺจ.อ. (ไทย) = อภิธรรมปิฎก ปัญจปกรณ์อรรถกถา (ภาษาไทย) อรรถกถาปกรณวิเสส เนตฺติ.อ. (บาลี) = ขุทฺทกนิกาย เนตฺติอฏฺฐกถา (ภาษาบาลี) เนตฺติ.อ. (ไทย) = ขุททกนิกาย เนตติอรรถกถา (ภาษาไทย) สงฺคห. (บาลี) = อภิธมฺมตฺถสงฺคห (ภาษาบาลี) สงฺคห. (ไทย) = อภิธัมมัตถสังคหะ (ภาษาไทย) อภิ.วตาร. (บาลี) = อภิธมฺมาวตาร (ภาษาบาลี) ฎีกาพระวินัยปิฎก วชิร.ฏีกา (บาลี) = วชิรพุทฺธิฏีกา (ภาษาบาลี) สารตฺถ.ฏีกา (บาลี) = สารตฺถทีปนีฏีกา (ภาษาบาลี) สารตฺถ.ฏีกา (ไทย) = สารัตถทีปนีฏีกา (ภาษาไทย) วิมติ.ฏีกา (บาลี) = วิมติวิโนทนีฏีกา (ภาษาบาลี)


ฒ กงฺขา.ฏีกา (บาลี) = กงฺขาวิตรณีปุณาณฏีกา (ภาษาบาลี) กงฺขา.อภินวฏีกา (บาลี) = วนยตฺถมญฺชูสา กงฺขาวตรณี อภินวฏีกา (ภาษาไทย) วินย.ฏีกา (บาลี) = วินยาลงฺการฏีกา (ภาษาบาลี) วิ.ฏีกา (บาลี) = วินยวินิจฺฉยฏีกา (ภาษาบาลี) อุตฺตร.ฏีกา (บาลี) = อุตฺตรวินิจฺฉยฏีกา (ภาษาบาลี) ขุทฺท.ฏีกา (บาลี) = ขุทฺทกสิกฺขาปุราณฏีกา (ภาษาบาลี) ขุทฺท.อภินวฏีกา (บาลี) = ขุทฺทกสิกฺขาอภินวฏีกา (ภาษาบาลี) มูล.ฏีกา (บาลี) = มูลสิกฺขาฏีกา (ภาษาบาลี) ฏีกาพระสุตตันตปิฎก ที.สี.ฏีกา (บาลี) = ทีฆนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี สีลกฺขนฺธวคฺคฏีกา (ภาษาบาลี) ที.ม.ฏีกา (บาลี) = ทีฆนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี มหาวคฺคฏีกา (ภาษาบาลี) ที.ปา.ฏีกา (บาลี) = ทีฆนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี ปาฏิกวคฺคฏีกา (ภาษาบาลี) ที.สี.อภินวฏีกา (บาลี) = ทีฆนิกาย สาธุวิลาสินี สีลกฺขนฺธวคฺคอภินวฏีกา (ภาษาบาลี) ม.มู.ฏีกา (บาลี) = มชฺฌิมนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี มูลปณฺณาสกฏีกา (ภาษาบาลี) ม.ม.ฏีกา (บาลี) = มชฺฌิมนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี มชฺฌิมปณฺณาสกฏีกา (ภาษาบาลี) ม.อุ.ฏีกา (บาลี) = มชฺฌิมนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี อุปริปณฺณาสกฏีกา (ภาษาบาลี) ส .ส.ฏีกา (บาลี) = ส ยุตฺตนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี สคาถวคฺคฏีกา (ภาษาบาลี) ส .นิ.ฏีกา (บาลี) = ส ยุตฺตนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี นิทานวคฺคฏีกา (ภาษาบาลี) ส .ข.ฏีกา (บาลี) = ส ยุตฺตนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี ขนฺธวคฺคกา (ภาษาบาลี) ส .สฬา.ฏีกา (บาลี) = ส ยุตฺตนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี สฬายตนวคฺคฏีกา (ภาษาบาลี) ส .ม.ฏีกา (บาลี) = ส ยุตฺตนิกาย ลีนตฺถปฺปกาสินี (ภาษาบาลี) องฺ.เอกก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย เอกกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี) องฺ.ทุก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย ทุกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี) องฺ.ติก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย ติกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี) องฺ.จตุกฺก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย จตุกฺกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี) องฺ.ปญฺจก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย ปญฺจกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี) องฺ.ฉกฺก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย ฉกฺกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี) องฺ.สตฺตก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย สตฺตกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี) องฺ.อฏฺ ก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย อฏฺฐกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี) องฺ.นวก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย นวกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี) องฺ.ทสก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย ทสกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี) องฺ.เอกาทสก.ฏีกา (บาลี) = องฺคุตฺตรนิกาย เอกาทสกนิปาตฏีกา (ภาษาบาลี)


ณ ฏีกาพระอภิธรรมปิฎก อภิ.สงฺ.มูลฏีกา (บาลี) = อภิธมฺมปิฎก ธมฺมสงฺคณีมูลฏีกา (ภาษาบาลี) อภิ.วิ.มูลฏีกา (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก วิภงฺคมูลฏีกา (ภาษาบาลี) อภิ.ปญฺจ.มูลฏีกา (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ปญฺจปกรณมูลฏีกา (ภาษาบาลี) อภิ.สงฺ.อนุฏีกา (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ธมฺมสงฺคณีอนุฏีกา (ภาษาบาลี) อภิ.วิ.อนุฏีกา (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก วิภงฺคอนุฏีกา (ภาษาบาลี) อภิ.ปญฺจ.อนุฏีกา (บาลี) = อภิธมฺมปิฏก ปญฺจปกรณอนุฏีกา (ภาษาบาลี) ม..ฏีกา (บาลี) = มณีทีปฏีกา (ภาษาบาลี) มธุ.ฏีกา (บาลี) = มธุสารตฺถทีปนีฏีกา (ภาษาบาลี) ฏีกาปกรณวิเสส เนตฺติฏีกา (บาลี) = เนตฺติฏีกา (ภาษาบาลี) เนตฺติวิ. (บาลี) = เนตฺติวิภาวินี (ภาษาบาลี) มิลินฺท.ฏีกา (บาลี) = มธุรตฺถปกาสินี มิลินฺทปญฺหาฏีกา (ภาษาบาลี) วิสุทฺธิ.มหาฏีกา (บาลี) = ปรมตฺถมญฺชูสา วิสุทฺธิมคฺคมหาฏีกา (ภาษาบาลี) วิสุทฺธิ.มหาฏีกา (ไทย) = ปรมัตถมัญชูสา วิสุทธิมรรคมหาฏีกา (ภาษาบาลี) วิสุทฺธิ.จูฬฏีกา (บาลี) = ปรมตฺถมญฺชูสา วิสุทฺธิมคฺคจูฬฏีกา (ภาษาบาลี) วิภาวินี. (บาลี) = อภิธมฺมตฺถวิภาวินีฏีกา (ภาษาบาลี) วิภาวินี. (ไทย) = อภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา (ภาษาบาลี)


ด สารบัญ ค านิยม ก ค าน า ข ค าอธิบายสัญลักษณ์และค าย่อ จ สารบัญ ด บทน า ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรคฎีกา ๘๘ พรรณนากถาเริ่มต้นคัมภีร์ ๘๘ พรรณนานิทานกถา ๑๐๕ พรรณนามหาสังคายนาครั้งที่ ๑ ๑๐๖ ๑. พรหมชาลสูตร ๑๑๙ พรรณนาปริพพาชกกถา ๑๑๙ พรรณนาจูฬศีล ๑๔๕ พรรณนามัชฌิมศีล ๒๐๓ พรรณนามหาศีล ๒๐๖ พรรณนาปุพพันตกัปปิกสัสสตวาทะ ๒๐๙ พรรณนาเอกัจจสัสสตวาทะ ๒๒๘ พรรณนาอันตานันตวาทะ ๒๓๕ พรรณนาอมราวิกเขปวาท ๒๓๗ พรรณนาอธิจจสมุปปันนวาทะ ๒๔๐ พรรณนาอปรันตกัปปิกวาทะ ๒๔๓ พรรณนาสัญญีวาทะ ๒๔๓ พรรณนาอสัญญีวาทะและเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๒๔๖ พรรณนาอุจเฉทวาทะ ๒๔๗ พรรณนาทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๒๔๙


ต พรรณนาปริตัสสิตวิปผันทิตวาระ ๒๕๓ พรรณนาผัสสปัจจยวาระ ๒๕๔ พรรณนาเนตังฐานังวิชชติวาระ ๒๕๔ พรรณนาทิฏฐิคติกาธิฏฐานวัฏฏกถา ๒๕๕ พรรณนาวิวัฏฏกถาเป็นต้น ๒๕๘ พรรณนาปกรณนัย ๒๖๐ พรรณนาโสฬสหาระ ๒๖๒ พรรณนาเทสนาหาระ ๒๖๒ พรรณนาวิจยหาระ ๒๖๓ พรรณนายุตติหาระ ๒๖๔ พรรณนาปทัฏฐานหาระ ๒๖๕ พรรณนาลักขณหาระ ๒๖๕ พรรณนาจตุพยูหหาระ ๒๖๖ พรรณนาอาวัตตหาระ ๒๖๙ พรรณนาวิภัตติหาระ ๒๗๐ พรรณนาปริวัตตหาร ๒๗๑ พรรณนาเววจนหาระ ๒๗๑ พรรณนาปัญญัตติหาระ ๒๗๒ พรรณนาโอตรณหาระ ๒๗๓ พรรณนาโสธนหาระ ๒๗๔ พรรณนาอธิฏฐานหาระ ๒๗๔ พรรณนาปริกขารหาระ ๒๗๔ พรรณนาสมาโรปนหาระ ๒๗๕ พรรณนาปัญจวิธนัย ๒๗๕ พรรณนานันทิยาวัฏฏนัย ๒๗๕


ถ พรรณนาติปุกขลนัย ๒๗๖ พรรณนาสีหวิกกีฬิตนัย ๒๗๖ พรรณนาทิสาโลจนอังกุสนัย ๒ ประการ ๒๗๗ พรรณนาสาสนปัฏฐาน ๒๗๘ ๒. สามัญญผลสูตร ๒๗๘ พรรณนาราชามัจจกถา ๒๗๘ พรรณนาโกมารภัจจชีวกกถา ๒๘๔ พรรณนาการถามถึงสามัญญผล ๒๘๗ พรรณนาปูรณกัสสปวาทะ ๒๙๐ พรรณนามักขลิโคสาลวาทะ ๒๙๒ พรรณนาอชิตเกสกัมพลวาทะ ๒๙๕ พรรณนาปกุธกัจจายนวาทะ ๒๙๘ พรรณนานิคัณฐนาฏปุตตวาทะ ๒๙๙ พรรณนาสัญจยเพลัฏฐปุตตวาทะ ๒๙๙ พรรณนาปฐมสันทิฏฐิกสามัญญผล ๒๙๙ พรรณนาทุติยสันทิฏฐิกสามัญญผล ๓๐๑ พรรณนาปณีตตรสามัญญผล ๓๐๑ พรรณนาจูฬศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล ๓๑๐ พรรณนาอินทริยสังวรกถา ๓๑๐ พรรณนาสติสัมปชัญญกถา ๓๑๑ พรรณนานีวรณปหานกถา ๓๒๒ พรรณนาปฐมฌานกถา ๓๒๘ พรรณนาทุติยฌานกถา ๓๓๐ พรรณนาตติยฌานกถา ๓๓๐ พรรณนาจตุตถฌานกถา ๓๓๐


ท พรรณนาวิปัสสนาญาณกถา (๑) ๓๓๑ พรรณนามโนมยิทธิญาณกถา ๓๓๓ พรรณนาอิทธิวิธญาณาทิกถา (๓-๗) ๓๓๔ พรรณนาอาสวักขยญาณกถา (๘) ๓๓๕ พรรณนาอชาตสัตตุอุปาสกัตตปฏิเวทนากถา ๓๓๘ พรรณนาสรณคมนกถา ๓๔๒ ๓. อัมพัฏฺฐสูตร ๓๕๑ พรรณนาการด าเนินทางไกล ๓๕๑ พรรณนาโปกขรสาติวัตถุ ๓๕๓ พรรณนาอัมพัฏฺฐมาณวกถา ๓๕๖ พรรณนาปฐมอิพภวาทะ ๓๖๑ พรรณนาทุติยอิพภวาทะ ๓๖๓ พรรณนาตติยอิพภวาทะ ๓๖๓ พรรณนาทาสิปุตตวาทะ ๓๖๓ พรรณนาอัมพัฏฐวังสกถา ๓๖๗ พรรณนาขัตติยเสฏฐภาวะ ๓๖๘ พรรณนาวิชชาจรณกถา ๓๖๙ พรรณนาจตุอปายมุขกถา ๓๖๙ พรรณนาปุพพกอิสิภาวานุโยคะ ๓๗๑ พรรณนาการแสดงลักขณะ ๒ ประการ ๓๗๒ พรรณนาการเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าของโปกขรสาติพราหมณ์ ๓๗๓ พรรณนาเรื่องการประกาศตนเป็นอุบาสกของโปกขรสาติพราหมณ์ ๓๗๕ ๔. โสณทัณฑสูตร ๓๗๕ พรรณนาโสณทัณฑคุณกถา ๓๗๖ พรรณนาพุทธคุณกถา ๓๗๘


ธ พรรณนาความปริวิตกของโสณทัณฑพราหมณ์ ๓๘๐ พรรณนาบัญญัติของพราหมณ์ ๓๘๑ พรรณนาสีลปัญญากถา ๓๘๑ พรรณนาการประกาศตนเป็นอุบาสกของโสณทัณฑพราหมณ์ ๓๘๒ ๕. กูฏทันตสูตร ๓๘๓ พรรณนายัญญกถาของพระเจ้ามหาวิชิต ๓๘๔ พรรณนาบริขาร ๔ ๓๘๖ พรรณนาบริขาร ๘ ๓๘๖ พรรณนาบริขาร ๔ เป็นต้น ๓๘๗ พรรณนานิจจทานและอนุกุลยัญ ๓๙๐ พรรณนากถาว่าด้วยการประกาศตนเป็นอุบาสกของกูฏทันตพราหมณ์ ๓๙๕ ๖. มหาลิสูตร ๓๙๕ พรรณนาพราหมณทูตวัตถุ ๓๙๕ พรรณนาโอฏฐัทธลิจฉวีวัตถุ ๓๙๖ พรรณนาสมาธิที่ตนให้เจริญโดยส่วนเดียว ๓๙๗ พรรณนาอริยผล ๔ ประการ ๓๙๘ พรรณนาอริยมรรคมีองค์ ๘ ๓๙๙ ๗. ชาลิยสูตร ๔๐๒ พรรณนาเรื่องบรรพชิต ๒ รูป ๔๐๒ ๘. มหาสีหนาทสูตร ๔๐๔ พรรณนาเรื่องอเจลกัสสปะ ๔๐๔ พรรณนาสมนุยุญชาปนกกถา ๔๐๖ พรรณนาอริยมรรคมีองค์ ๘ ๔๐๘ พรรณนาตโปปักกมกถา ๔๐๙ พรรณนาตโปปักกมนิรัตถกตา ๔๑๑


น พรรณนาสีลสัมปทา สมาธิสัมปทา และปัญญาสัมปทา ๔๑๒ พรรณนาสีหนาทกถา ๔๑๒ พรรณนาติตถิยปริวาสกถา ๔๑๔ ๙. โปฏฐปาทสูตร ๔๑๖ พรรณนาเรื่องโปฏฐปาทปริพาชก ๔๑๖ พรรณนาอภิสัญญานิโรธกถา ๔๑๘ พรรณนาอเหตุกสัญญุปปาทนิโรธกถา ๔๒๐ พรรณนาสัญญาอัตตกถา ๔๒๖ พรรณนาจิตตหัตถิสาริปุตตโปฏฐปาทวัตถุ ๔๒๙ พรรณนาเอกังสิกธรรม ๔๓๐ พรรณนาการได้อัตตา ๓ อย่าง ๔๓๑ ๑๐. สุภสูตร ๔๓๕ พรรณนาสุภมาณวกวัตถุ ๔๓๕ พรรณนาสีลขันธ์ ๔๓๗ พรรณนาสมาธิขันธ์ ๔๓๘ ๑๑. เกวัฏฏสูตร ๔๓๙ พรรณนาอิทธิปาฏิหาริย์ ๔๓๙ พรรณนาอาเทศนาปาฏิหารย ๔๔๐ พรรณนาอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ๔๔๐ พรรณนาภูตนิโรเธสกวัตถุ ๔๔๑ ๑๒. โลหิจจสูตร ๔๔๔ พรรณนาโลหิจจพราหมณวัตถุ ๔๔๔ พรรณนาโลหิจจพราหมณานุโยคะ ๔๔๕ พรรณนาศาสดาที่ควรท้วง ๓ จ าพวก ๔๔๖ พรรณนาศาสดาผู้ไม่ควรทักท้วง ๔๔๗


บ ๑๓. เตวิชชสูตร ๔๔๗ พรรณนามัคคามัคคกถา ๔๔๗ พรรณนาอจริวตีนทีอุปมากถา ๔๕๐ พรรณนาสังสันทนากถา ๔๕๑ พรรณนาพรหมโลกมัคคเทศนา ๔๕๒ ดรรชนีฎีกาทีฆนิกายสีลขันธวรรค ๔๕๔


บทน า ๑. เกริ่นน า การศึกษาพระธรรมวินัยเปรียบเหมือนการได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ชาวพุทธได้ยิน พระพุทธพจน์นี้อยู ่เนือง ๆ ว ่า “โย โว อานนฺท มยา ธม ฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญ ฺญต ฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา” ๑ อานนท์ ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย จักเป็นศาสดาของ เธอทั้งหลาย ในเมื่อเราปรินิพพานแล้ว”๒ จะเห็นได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มอบพระธรรมวินัยให้ เป็นพระศาสดาของพุทธบริษัท ๔ พระธรรมวินัยที่ว่านี้จึงเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ในการอบรม สั่งสอนพุทธบริษัทในทางที่ดี และเป็นมาตรฐานทางศีลธรรมให้กับพุทธบริษัท จะอย่างไรก็ตาม แม้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงมอบพระธรรมวินัยให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ก็ตาม แต่ต้องเข้าใจว่า พระธรรมวินัยเป็นค าสอนที่ถูกบันทึกไว้บนใบลานหรือบนหนังสือ พระธรรมวินัยไม่สามารถพูดได้ เหมือนกับพระพุทธองค์ ฉะนั้น จึงจ าเป็นจะต้องศึกษาหรืออ่านพระไตรปิฎกด้วยตนเอง จึงจะได้รับ พระโอวาทจากพระพุทธองค์ แต่ปัญหาของการศึกษาพระไตรปิฎกอยู่ที่ว่า เนื้อหาบางตอนยากต่อการ ท าความเข้าใจ แต่ก็มีบางตอนที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ปัญหาที่ว่านี้ท าให้การศึกษาพระไตรปิฎกไม่ค่อย จะได้รับความสนใจจากคนทั่วไป พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มีพระพุทธด าริที่ปรากฏแด่พระพุทธองค์เมื่อตรัสรู้ใหม่ ๆ โดยมี ข้อความปรากฏว่า “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตไม่เป็นวิสัย แห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตเท่านั้นจึงจะรู้ได้ ส าหรับหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุป บาท ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนักกล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะนิโรธ นิพพาน ถ้าเราพึงแสดงธรรม และผู้อื่นไม่เข้าใจลึกซึ้งในสิ่งที่เราแสดง ข้อ นั้นพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา พึงเป็นความล าบากเปล่าแก่เรา”๓ จากพระพุทธด าริใน เบื้องต้น จะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงด าริพระทัยที่จะไม่แสดงธรรมโปรดสรรพสัตว์ เพราะว่าพระ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบมีความลึกซึ้งและไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการคิดแบบตรรกะ ฉะนั้น ผู้ เรียบเรียงมีความเห็นว่า พระพุทธด ารินี้ก าลังบอกว่า การที่ศึกษาพระไตรปิฎกแล้วไม่เข้าใจ ไม่ใช่เรื่อง ที่แปลก เพราะพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์มีความลึกซึ้งมาก จะอย่างไรก็ตาม เมื่อพระพุทธองค์ ได้ตัดสินพระทัยแสดงธรรมโปรดสรรพสัตว์ตามค าอาราธนาของท้าวมหาพรหม สรรพสัตว์ที่มีปัญญาดี จ านวนมากก็ได้บรรลุธรรม เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพาน ค าสอนของพระพุทธองค์ก็ถูกจัดให้เป็น ระบบที่เราเรียกกันว่า “พระไตรปิฎก” และพระอรรถกถาจารย์ได้แต่งอรรถกถา พระฎีกาจารย์ได้แต่ง ๑ วิ.ม.(บาลี) ๑๐/๒๑๖/๑๓๔. ๒ วิ.ม.(ไทย) ๑๐/๒๑๖/๑๖๔. ๓ วิ.มหา. (ไทย) ๔/๗/๑๑.


๒ ฎีกาเพื่อให้พุทธบริษัทได้ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาพระไตรปิฎก ฉะนั้นพระไตรปิฎกจึงมีอรรถกถา ฎีกาเป็นคัมภีร์ประกอบการศึกษา อรรถกถา และฎีกามีความส าคัญต่อการศึกษาพระไตรปิฎกในแง่ ที่ว่า เมื่อเกิดความสงสัยในเนื้อหาของพระไตรปิฎกแล้วไปอ่านค าอธิบายในอรรถกถา อรรถกถาก็จะ อธิบายไว้อย่างชัดเจน หรือเมื่อเราเกิดความสงสัยในเนื้อหาของอรรถกถา ฎีกาก็จะอธิบายไว้อย่าง ชัดเจน ดังนั้น ปัญหาการศึกษาพระไตรปิฎกไม่เข้าใจอย่างที่ได้เกริ่นกันในเบื้องต้น สามารถแก้ไขได้ ด้วยการศึกษาอรรถกถา ฎีกา ควบคู่ไปด้วย เมื่ออ่านพระไตรปิฎก จะต้องอ่านอรรถกถา และฎีกา จึง จะสามารถเข้าใจเนื้อหาในพระไตรปิฎกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น แม้พระไตรปิฎกจะมีอรรถกถา ฎีกาเป็นคัมภีร์ประกอบการศึกษาแล้วก็ตาม คัมภีร์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนอยู่ในรูปแบบของภาษาบาลีทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบัน พระไตรปิฎก อรรถกถาได้มีผู้แปลจาก ภาษาบาลีเป็นภาษาไทยครบทุกเล่มแล้ว เหลือเฉพาะฎีกาเท่านั้นที่แปลออกมาเป็นภาษาไทยยังไม่ หมด ฉะนั้น คนที่จะอ่านฎีกาได้ จะต้องมีความรู้ด้านภาษาบาลี แต่ปัญหาในเรื่องนี้อยู่ที่ว่า ผู้ที่สนใจ ศึกษาพระไตรปิฎกบางคนมีความรู้ด้านภาษาบาลี บางคนไม่มีความรู้ด้านภาษาบาลี ส าหรับผู้ที่ไม่มี ความรู้ด้านภาษาบาลี เมื่อศึกษาพระไตรปิฎก จึงค้นคว้าได้แค่อรรรถกถาเท่านั้น ค้นคว้าไม่ถึงฎีกา เพราะมีข้อจ ากัดตรงที่ว่าอ่านภาษาบาลีไม่ได้ ผลที่ตามมา นั่นก็คือ คนกลุ่มนี้อาจเข้าใจเนื้อหาใน พระไตรปิฎก อรรถกถาไม่ชัดเจน และอาจตีความคลาดเคลื่อน ซึ่งก็คงไม่ใช่ผลดีต่อพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการด าเนินการแปลฎีกาจากภาษาบาลี เป็นภาษาไทยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สนใจพระไตรปิฎกที่ไม่มีความรู้ด้านภาษาบาลี สามารถเข้าใจเนื้อหาในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ได้อย่างชัดเจน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค เล่มที่ ๙ เป็นคัมภีร์ที่น าเสนอหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา และแนวคิดของนักคิดอินเดีย โบราณร่วมสมัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นต้น จะอย ่างไรก็ตาม พระสุตตันตปิฎกเล ่มนี้ก็ยังมุ่ง น าเสนอเรื่องศีลเป็นหลัก พระสุตตันตปิฎกเล่มนี้ มีสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกาเป็น คัมภีร์ประกอบการศึกษา ส าหรับพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ และสีลขันธวรรคอรรถกถาได้มีผู้แปล ออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว แต่ผู้เรียบเรียงพบว ่า สีลขันธวรรคฎีกายังไม่มีใครได้แปลออกมาเป็น ภาษาไทย ดังนั้น เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค เล่มที่ ๙ สามารถ เข้าใจเนื้อหาได้อย ่างชัดเจน ผู้เรียบเรียงจึงมีความประสงค์จะแปลสีลขันธวรรคฎีกาออกมาเป็น ภาษาไทย เป็นล าดับสืบต่อไป ๒. วิธีการในการแปลสีลขันธวรรคฎีกา งานแปลเป็นงานที่ต้องกระท าด้วยความรอบคอบระมัดระวัง เพราะการถ่ายทอดค าแปล จากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง เป็นไปได้ที่นักแปลอาจจะเผลอน าวัฒนธรรม ความรู้ของตนเข้าไป ตีความภาษานั้น ๆ ที่ตนก าลังแปลอยู่ โดยไม่รู้ตัว ฉะนั้น การแปลสีลขันธวรรคฎีกาจากภาษาบาลีสู่


๓ ภาษาไทยนับว่าเป็นงานที่ผู้เรียบเรียงใช้ความวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างมาก เพราะว่าผู้เรียบเรียงจะต้อง แปลศัพท์นั้น ๆ ตีความประโยคนั้น ๆ อย่างระมัดระวังที่สุด ทั้งนี้เพื่อรักษาความถูกต้องด้านเนื้อหา ของสีลขันธวรรคฎีกาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ ดังนั้น วิธีการในการแปลสีลขันธวรรคฎีกาจึงมี ขั้นตอนตามล าดับดังต่อไปนี้ ๑. เตรียมคัมภีร์อภิธาน พจนานุกรมบาลี-ไทย พจนานุกรมธาตุ หนังสือบาลีไวยากรณ์เพื่อ ใช้เป็นเครื่องมือในการแปล ๒. เตรียมพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ฉบับภาษาบาลี-ไทย สีลขันธวรรค อรรถกถา ฉบับบาลี-ไทย และสีลขันธวรรคฎีกาฉบับภาษาบาลี ๓. ด าเนินการอ ่านพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ฉบับภาษาบาลี-ไทย สีล ขันธวรรคอรรถกถา ฉบับบาลี-ไทย เพื่อท าความเข้าใจและเพื่อจะได้เห็นภาพรวมของพระสูตรนั้น ๆ และค าอธิบายของอรรถกถาที่อธิบายพระสูตรนั้น ๆ ๔. ด าเนินการแปลสีลขันธวรรคทีละข้อ (ข้อของพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา จะตรงกัน ส่วนเล่มและหน้าไม่ตรงกัน) หมายความว่า ในขณะที่ก าลังแปลสีลขันธวรรคฎีกาฉบับภาษาบาลี ผู้ เรียบเรียงได้เปิดพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ฉบับภาษาบาลี สีลขันธวรรคอรรถกถาฉบับ ภาษาบาลีไว้ข้าง ๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแปล โดยใช้ส านวนภาษาที่เข้าใจง่ายและพยายามรักษา โครงสร้างภาษาเดิมที่เป็นภาษาบาลีให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ เมื่อผู้เรียบเรียงแปลศัพท์นั้น ๆ ไม่ออก และพิจารณาพระไตรปิฎก อรรถกถาแล้วก็ยังแปลไม่ออก ผู้เรียบเรียงจะใช้พจนานุกรมเข้ามาช่วย และพยายามแปลค าศัพท์นั้น ๆ ให้ตรงกับบริบทในพระไตรปิฎก อรรถกถา ให้ได้มากที่สุด ซึ่งตรงนี้ ผู้ เรียบเรียงก าลังจะบอกว่า ค าแปลที่ผู้เรียบเรียงแปลออกมา เนื้อหาของสีลขันธวรรคฎีกาจะต้องเป็นไป ในทิศทางเดียวกันกับพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค และสีลขันธวรรคอรรถกถา ๕. นอกจากการแปลเนื้อหาโดยใช้พระไตรปิฎก อรรถกถา และพจนานุกรมเป็นเครื่องมือ แล้ว เมื่อผู้เรียบเรียงได้พบเห็นรูปวิเคราะห์ที่ปรากฏอยู่ในสีลขันธวรรคฎีกา ผู้เรียบเรียงจะใช้หนังสือ บาลีไวยากรณ์เป็นแม่แบบ ในการแปล หมายความว่า ค าแปลของรูปวิเคราะห์ที่อยู่ในสีลขันธวรรค ฎีกา จะต้องเป็นไปตามค าแปลของอุทาหรณ์หรือตัวอย่างที่อยู่ในหนังสือบาลีไวยากรณ์ ๖. เมื่อแปลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เรียบเรียงได้ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ตรวจ ค าผิดค าถูก พร้อมกับได้ขอความอนุเคราะห์จากผู้รู้ให้ตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อให้งานแปลสีลขันธวรรค ฎีกามีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากที่ผู้เรียบเรียงได้ด าเนินการแปลสีลขันธวรรคฎีกาจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย เรียบร้อยแล้ว ในล าดับต่อไป ผู้เรียบเรียงจะได้ประมวลสาระส าคัญต่าง ๆ จากสีลขันธวรรคฎีกา เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวมของสีลขันธวรรคฎีกา ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ๑) ความหมายและความ เป็นมาของสีลขันธวรรคฎีกา ๒) ความส าคัญของสีลขันธวรรคฎีกา ๓) โครงสร้างและเนื้อหาของสีล


๔ ขันธวรรคฎีกา ๔) รูปแบบการประพันธ์สีลขันธวรรคฎีกา ๕) รูปแบบการใช้ภาษาบาลีในสีลขันธวรรค ฎีกา ๖) การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที ่ส าคัญในสีลขันธวรรคฎีกา ๗) การศึกษา ความสัมพันธ์ของสีลขันธวรรคฎีกากับพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกา ๘) ข้อเสนอแนะในการศึกษาสีล ขันธวรรคฎีกา ดังมีรายละเอียดตามล าดับดังต่อไปนี้ ๓. ควาหมายและความเป็นมาของสีลขันธวรรคฎีกา ๓.๑ ความหมายของสีลขันธวรรคฎีกา การเข้าใจความหมายของคัมภีร์ จะท าให้ได้เห็นภาพรวมของคัมภีร์ว่า สีลขันธวรรคฎีกา เป็นคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องอะไร ใจความส าคัญของคัมภีร์มุ่งน าเสนอเนื้อหาอะไรเป็นหลัก ดังนั้น ผู้เรียบ เรียงจะวิเคราะห์ชื่อคัมภีร์ “สีลขันธวรรคฎีกา” ดังนี้ สีลขันธวรรคฎีกา เป็นค าที่เขียนในรูปภาษาไทย หากเขียนในรูปภาษาบาลี จะเขียนได้ว่า “สีลขนฺธวคฺคฏีกา” เมื่อท าการแยกสมาส จะมีอยู่ ๔ ศัพท์ด้วยกัน ได้แก่ สีล ขนฺธ วคฺค และฏีกา สีลขนฺธวคฺคฏีกา เป็นค าสมาสที่พระธรรมปาละเถระผู้รจนาคัมภีร์ได้ผูกขึ้นมาตามชื่อพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่มที่ ๙ ค าศัพท์ที่ท่านน ามาสมาสกัน แต่ละศัพท์มีความหมายอยู่ในตัวของ มันเองดังนี้ ค าว่า “สีล” เป็นศัพท์ภาษาบาลี มีรูปวิเคราะห์ จิตฺต สีลติ สมาทหติ เอเตนาติ สีล แปลว่า สภาวะที่ท าให้จิตตั้งมั่น ชื่อว่า ศีล โดยศัพท์ว่า สีล ดังกล่าวส าเร็จรูปมาจาก สีล ธาตุ ในความหมายว่า ตั้งมั่น ลง อ ปัจจัย๔ ค าว่า “ขนฺธ” เป็นศัพท์ภาษาบาลี มีรูปวิเคราะห์ว่า ราสิโต ขนฺโธ นาม แปลว่า เพราะมี ลักษณะเป็นหมวดหมู่ ชื่อว่า ขันธ์๕ ค าว่า “วคฺค” เป็นศัพท์ภาษาบาลี มีรูปวิเคราะห์ว่า วชติ สมูหตฺตนฺติ วคฺโค แปลว่า สิ่งที่ ถึงความเป็นหมวดหมู่ ชื่อว่า วรรค โดยศัพท์ว่า วคฺค ดังกล่าวส าเร็จรูปมาจาก วช ธาตุ ในความหมาย ว่า ไป หรือถึง ลง อ ปัจจัย๖ ๔ พระมหาสมปอง มุทิโต, คัมภีร์อภิธานวรรณนา, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูร วงศ์พริ้นท์ติ้ง จ ากัด, ๒๕๔๗), หน้า ๒๔๕. ๕ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๗๓. ๖ ป.หลงสมบุญ, พจนาน ุกรม มคธ-ไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นท์ติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๕๗), หน้า ๖๒๓.


๕ ค าว่า “ฏีกา” เป็นศัพท์ภาษาบาลี มีรูปวิเคราะห์ว่า ฏีกียติ ชานิยติ อตฺโถ เอตายาติ ฏีกา แปลว ่า ถ้อยค าเป็นเครื ่องรู้เนื้อความ โดยศัพท์ว่า ฏีกา ดังกล ่าว ส าเร็จรูปมาจาก ฏิก ธาตุ ใน ความหมายว่า รู้หรือ บรรลุ ลง อ ปัจจัย๗ โดยค าศัพท์ทั้ง ๔ ค า คือ สีล ขนฺธ วคฺค และฏีกา สามารถน ามาวิเคราะห์ในรูปแบบของ สมาสได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ น าค าว่า สีล และ ขนฺธ มาสมาสกันโดยใช้ฉัฎฐีตัปปุริสสมาส วิ. สีลสฺส ขนฺโธ สีลขนฺโธ แปลว่า กองแห่งศีล ชื่อว่า สีลขันธ์ ขั้นตอนที่ ๒ น าค าว่า วคฺค มาสมาสกับค าว่า สีลขนฺธ โดยใช้ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ. สีลขนฺธสฺส วคฺโค สีลขนฺธวคฺโค แปลว่า วรรคหรือหมวดหมู่แห่งสีลขันธ์ ขั้นตอนที่ ๓ น าค าว่า สีลขนฺธวคฺค มาสมาสกับค าว ่า ฏีกา โดยใช้ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส เช่นเดิม วิ. สีลขนฺธวคฺคสฺส (วณฺณนา) ฏีกา สีลขนฺธวคฺคฏีกา แปลว่า ฎีกาที่พรรณนาวรรคหรือ หมวดหมู่ที่ว่าด้วยสีลขันธ์ ส่วน วณฺณนา ที่อยู่ในวงเล็บ ใช้หลักการมัชเฌโลปะ (ลบในท่ามกลาง) เพื่อ ลบ วณฺณนา ออกไป ซึ่งรูปวิเคราะห์นี้ คล้ายกับตติยาตัปปุริสสมาสที่ท่านได้ยกตัวอย่างไว้ในบ าลี ไวยากรณ์ที่ว่า อสฺเสน (ยุตฺโต) รโถ อสฺสรโถ๘ แปลว่า รถที่เทียมแล้วด้วยม้า ชื่อว่า อัสสรถะ ตรงนี้ท่าน อธิบายว่า ยุตฺโต ได้ถูกลบออกไปตามหลักการมัชเฌโลปะ (ลบในท่ามกลาง) จากการวิเคราะห์ค าศัพท์ทั้ง ๔ ค าด้วยการวิเคราะห์ทีละศัพท์และน าค าศัพท์แต่ละค ามา วิเคราะห์ในรูปแบบของสมาส ท าให้เราได้ค าแปลของคัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกาว่า “ฎีกาที่พรรณนา วรรคหรือหมวดหมู่ที่ว่าด้วยสีลขันธ์” ดังนั้น เมื่ออ่านหรือศึกษาสีลขันธวรรคฎีกาเล่มนี้ ต่อให้เนื้อหาใน คัมภีร์จะอธิบายประเด็นเรื่องราวต่าง ๆ มากมายเพียงใดก็ตาม แต่ใจความส าคัญของฎีกาเล่มนี้อยู่ที่ การน าเสนอสีลขันธ์เป็นหลัก ๓.๒ ความเป็นมาของสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคฎีกา มหาวรรคฎีกา และปาฏิกวรรคฎีกา ทั้ง ๓ เล่มผู้รจนาคือพระธรรมปาล เถระ มีชีวิตอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่เมืองกัญจิปุระ ทางตอนใต้ของ ประเทศอินเดีย ท่านเป็นผู้มีความช านาญในคัมภีร์ไตรเพท ตั้งแต่เยาว์วัย เพราะต้องการเรียนพุทธ มนต์จึงได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาและได้เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถ กถาที่ส านักมหาวิหาร เมืองอนุราธะ เกาะลังกา จนมีความแตกฉานในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ๗ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี ส ุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต), ศัพท ์วิเคราะห์, พิมพ์ครั้งที ่ ๔, (กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ ากัด, ๒๕๕๘), หน้า ๓๗๓. ๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ ๒ สมาส และตัทธิต,พิมพ์ครั้งที่ ๒๙,(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,๒๕๑๕),หน้า ๑๑๑.


๖ ต่อมาท่านได้พบว่าอภินวอรรถกถาที่พระพุทธโฆสาจารย์รจนาไว้ในภาษามคธนั้นยังขาดอยู่มาก ดังนั้น ท่านจึงรวบรวมวินิจฉัยต่าง ๆ ไว้ ต่อมาเมื่อท่านเดินทางกลับมาจ าพรรษาที่วัดพุทธติตถะ ซึ่งเป็น อารามที่พระเจ้าธรรมมาโศกราชให้สร้างถวายไว้ในพระพุทธศาสนาที่เมืองนาคปัฏฏะห่างจากเมือง ตันโชภาภาคใต้ของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๓๕ ไมล์ (ประมาณ ๕๖ -๕๗ กิโลเมตร) ท่านก็ได้เริ่มรจนาอรรถกถา และฎีกาเป็นอันมาก ชุดหนึ่งในจ านวนนั้นคือคัมภีร์ทีฆนิกาย ฎีกา ได้แก่ สีลขันธวรรคฎีกา มหาวรรคฎีกา และปาฏิกวรรคฎีกา คัมภีร์ฎีกาที่ท่านรจนาไว้ในครั้งนั้น ได้เป็นแบบแผนและเป็นค าวินิจฉัยของพระฎีกาจารย์ในยุคต่อ ๆ มา อนึ่ง เนื่องจากพระธรรมปาลเถระได้รจนาอรรถกถาและฎีกาอื่น ๆ ไว้จ านวนมาก ท่านจึง ได้ชื่อว่าเป็นทั้งพระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์โดยท่านได้มีผลงานดังนี้ คัมภีร์อรรถกถา มีชื่อ ดังนี้ คือ ๑. อุทานอฏฺฐฃกถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี ๒. อิติวุตฺตกอฏฺฐฃกถา “ “ ๓. วิมานวตฺถุอฏฺฐฃกถา “ “ ๔. เปตวตฺถุอฏฺฐฃกถา “ “ ๕. เถรคาถาอฏฺฐฃกถา “ “ ๖. เถรีคาถาอฏฺฐฃกถา “ “ ๗. จริยาปิฏกอฏฺฐฃกถา “ “ ๘. เนตฺติอฏฺฐฃกถา “ “ คัมภีร์ฎีกา มีชื่อ ดังนี้ คือ ๑. วิสุทฺธิมคฺคมหาฎีกา ชื่อว่า ปรมัตถมัญชุสา ๒. ทีฆนิกายฎีกา “ ลีนัตถัปปกาสินี ๓. มชฺฌิมนิกกายฎีกา “ “ ๔. ส ยุตฺตนิกายฎีกา “ “ ๕. องฺคุตฺตรนิกายฎีกา “ “ ๖. เนตฺติฎีกา “ “ ๗. อนุฎีกา “ “ ส าหรับอังคุตตรนิกายฎีกา พระธรรมปาลเถระ ได้รจนาค้างไว้เพียงเอกนิบาต–ติกนินาต เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน คัมภีร์ฉบับนี้รู้จักกันในนามอังคุตตรปุราณฎีกา ต่อมาท่านพระสารีบุตรเถระ ได้ รจนาอังคุตตรอภินวฎีกา ขึ้นใหม่จนจบและรู้จักกันในนามของอังคุตตรฎีกานั่นเอง๙ ๙ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สีลก ฺขน ฺธวค ฺคฎีกา, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๖), หน้า –๑๕ – ๑๗ (ค าน า).


๗ ๔. ความส าคัญของสีลขันธวรรคฎีกา อย่างที่ผู้เรียบเรียงได้กล่าวในเบื้องต้นว่า สีลขันธวรรคฎีกาที่พระธรรมปาลเถระได้รจนา ขึ้นมานั้นได้กลายเป็นแบบแผนและเป็นค าวินิจฉัยของพระฎีกาจารย์ในยุคต่อ ๆ มา ดังนั้น เมื่อผู้เรียบ เรียงได้แปลสีลขันธวรรคฎีกาแล้วได้พบเห็นสาระส าคัญต่าง ๆ ในสีลขันธวรรคฎีกา จึงท าให้ผู้เรียบ เรียงเห็นความส าคัญของสีลขันธวรรคฎีกาในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ๔.๑ ความส าคัญในฐานะเป็นพจนานุกรมทางพระพุทธศาสนา สีลขันธวรรคฎีกานับว่า เป็นพจนานุกรมภาษาบาลีเหมือนพจนานุกรมภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ เพราะว่าสีลขันธวรรค ฎีกาได้น าค าศัพท์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในสีลขันธวรรคอรรถกถามาอธิบาย เช่น - นตฺตาติ ปุตฺตปุตฺโต แปลว่า ลูกของลูก ชื่อว่าหลาน๑๐ - ปณฺฑิโตติ เหตุสมฺปตฺติสิทฺเธน ปณฺฑิจฺเจน สมนฺนาคโต แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความ ฉลาดที่ส าเร็จจากเหตุสมบัติ ชื่อว่าบัณฑิต๑๑ - สมฺมุติยา โวหารสฺส กถน สมฺมุติกถา แปลว่า การกล่าวโวหารด้วยสมมติ ชื่อว่า สมมติกถา๑๒ - ปรมต ฺถสฺส สภาวธม ฺมสฺส กถน ปรมต ฺถกถา แปลว ่า การกล ่าวสภาวธรรมอันเป็น ปรมัตถ์ ชื่อว่า ปรมัตถกถา๑๓ อย่างไรก็ตาม การที่ผู้เรียบเรียงบอกว่า สีลขันธวรรคฎีกานับว่าเป็นพจนานุกรมภาษาบาลี เหมือนพจนานุกรมภาษาอื่น ๆ ไม่ได้หมายความว่า สีลขันธวรรคฎีกา จะอธิบายค าศัพท์ตามล าดับ อักษรเหมือนพจนานุกรมภาษาอื่น ๆ เช่น พจนานุกรมภาษาอังกฤษ จะอธิบายค าศัพท์ตามล าดับ อักษร A – Z แต ่สีลขันธวรรคฎีกาจะน าค าศัพท์ที ่อยู่ในสีลขันธวรรคอรรถกถามาอธิบาย ซึ ่งสีล ขันธวรรคฎีกาจะอธิบายตามข้อของสีลขันธวรรคอรรถกถา ตั้งแต่ข้อที่ ๑ ไปจนถึง ๕๕๙ (พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา เล ่ม หน้าไม่ตรงกัน แต ่ข้อจะตรงกัน) เท ่าที่ผู้เรียบเรียงอยู ่ในแวดวงวิชาการทาง พระพุทธศาสนา จะพบเห็นว่า นักวิชาการพระพุทธศาสนาโดยส่วนใหญ่ เมื่อต้องการจะหาความหมาย ของค าศัพท์ มักจะหาความหมายจากอรรถกถา ฎีกา โดยจะค้นหาจากดัชนีท้ายเล่ม หรืออาจจะ สืบค้นจากอรรถกถา ฎีกาออนไลน์ ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า สีลขันธวรรคฎีกาเล่มนี้มีความส าคัญ ในฐานะเป็นพจนานุกรมทางพระพุทธศาสนา ๔.๒ ความส าคัญในฐานะเป็นคู่มือศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถา คงปฏิเสธไม่ได้ว่า พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ได้ค าแปลมาจากอรรถกถา หรืออรรถกถาภาษาไทยได้ค าแปลมาจากฎีกา การแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย จะต้องใช้อรรถกถาเป็นคู่มือในการแปล แม้การ ๑๐ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๑๒/๓๙๐. ๑๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๐๐/๔๓๐. ๑๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๔๓/๔๖๑. ๑๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๔๓/๔๖๑.


๘ แปลอรรถกถาจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ก็ยังต้องใช้ฎีกาเป็นคู่มือในการแปลด้วยเช่นกัน หากไม่ อาศัยอรรถกถา หรือ ฎีกาเป็นคู่มือในการแปล อาจจะเป็นไปได้ที่จะแปลประโยคนั้น ๆ หรือค าศัพท์ นั้น ๆ ผิดเพี้ยนไป เช่น ในพระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ ที่อธิบายกายสังสัคคสิกขาบทว่า โย ปน ภิกฺขุ โอติณ ฺโณ วิปริณเตน จิต ฺเตน มาตุคาเมน สท ฺธึ กายส สคฺค สมาปชฺเชยฺย หตฺถคฺคาห วา เวณิคฺคาห วา อญฺญตรสฺส วา อญฺญตฺตรสฺส วา องฺคสฺส ปรามสน ส ฆาทิเสโส๑๔ แปลว่า ก็ ภิกษุใด ผู้อันราคะชุ่มแล้ว มีจิตแปรปรวน ถึงการเคล้าคลึงกายกับมาตุคาม ไม่ว่าจะจับมือ จับซ้อง ผม หรือลูบคล าอวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แน่นอนว่า เมื่อแปลกายสังสัคคสิกขาบทในเบื้องต้น หลาย ๆ ค าศัพท์ที่อยู่ในกายสังสัคค สิกขาบท อาจจะแปลใกล้เคียงกับพุทธประสงค์ และในขณะเดียวกัน ก็อาจจะแปลค าศัพท์บางค าผิด เพี้ยนหรือไม่ตรงตามพุทธประสงค์ เช่น ศัพท์ว่า “โอติณฺโณ” ส าเร็จมาจาก โอ บทหน้า ตร ธาตุ ใน ความข้าม ลง ต ปัจจัย ธาตุมี ร เป็นที่สุด แปลง ต เป็น ณฺณ แล้วลบที่สุดธาตุ และลง อิ อาคม ต้น ธาตุ ผู้เรียบเรียงเข้าใจว่า หากแปลค าว่า “โอติณฺโณ” ที่อยู่ในกายสังสัคคสิกขาบท โดยไม่ใช้สมันตปา สาทิกาอรรถกถาเป็นคู่มือในการแปล อาจจะแปลว่า “ข้ามลงแล้ว” ซึ่งเมื่อพิจารณาค าแปลดังกล่าว อย่างลึกซึ้งและไม่เข้าข้างตัวเอง จะเอะใจขึ้นมาว่า ค าแปลที่ว่า “ข้ามลงแล้ว” เข้ากับบริบทของ กายสังสัคคสิกขาบทได้อย่างไร ในทางตรงกันข้ามหากแปลค าว่า “โอติณฺโณ” โดยใช้สมันตปาสาทิกา อรรถกถาเป็นคู่มือในการแปล จะพบค าอธิบายจากสมันตปาสาทิกาอรรถกถาว่า โอติณ ฺโณติ ยกฺขาทีหิ วิย สต ฺตา อนฺโต อุป ฺปชฺชนฺเตน ราเคน โอติณ ฺโณ กูปาทีนิ วิย สตฺตา อสมเวกฺขิตฺวา รชนีเย ฐฃาเน รชฺชนฺโต สย วา ราค โอติณฺโณ๑๕ แปลว่าบทว่า โอติณฺโณ ความว่า ผู้อันราคะที่เกิดขึ้นในภายในหยั่งลงแล้ว เหมือนสัตว์ทั้งหลายที่ถูกยักษ์เป็นต้นจับเอาไว้ ฉะนั้น หรือว่า ผู้ก าหนัดอยู่ในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความก าหนัดหยั่งลงสู่ราคะเสียเอง เหมือนสัตว์ทั้งหลายที่ไม่ พิจารณาหนทางให้ดี ตกหลุมเป็นต้น ฉะนั้น จากค าอธิบายในเบื้องต้นที่สมันตปาสาทิกาอรรถกถาได้อธิบายค าศัพท์ว่า โอติณฺโณ จะ เห็นได้ชัดเจนว่า โอติณฺโณ ในกายสังสัคคสิกขาทนี้ หมายถึง ภิกษุที่ถูกราคะกลุ้มรุม หรือภิกษุที่ถูก ราคะครอบง า ซึ ่งค าอธิบายของสมันตปาสาทิกาอรรถกถาท าให้แปลค าศัพท์ที่อยู ่ในกายสังสัคค สิกขาบทได้ถูกต้อง ตรงตามพุทธประสงค์ ฉะนั้นที่ผู้เรียบเรียงบอกว่า สีลขันธวรรคฎีกา เป็นคู่มือใน การศึกษาพระไตรปิฎก ผู้เรียบเรียงก็มีเหตุผลดังที่ได้อภิปรายในเบื้องต้น จะอย่างไรก็ตาม ผู้เรียบเรียง จะขอยกตัวอย่างอีกสักหนึ่งตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพอีกครั้ง ๑๔ วิ.มหา. (บาลี) ๑/๒๗๐/๑๙๔. ๑๕ วิ.มหา.อ. (บาลี) ๒/๒๗๐/๒๐.


๙ ในอัมพัฏฐสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค เล่มที่ ๙ ปรากฏข้อความว่า อถโข อม ฺพฏฺโฐฃ มาณโว ภควนฺต จง ฺกมนฺต อนุจง ฺกมาโน ภควโต กาเย ท ฺวต ฺตึสมหาปุริสลกฺขณานิ สมนฺเนสิ๑๖ จากประโยคในเบื้องต้น อาจจะมองโดยภาพรวมว่า มีเฉพาะศัพท์ที่ง่ายต่อการแปล จะ อย่างไรก็ตาม ผู้เรียบเรียงคาดเดาว่า น่าจะมีหลายคนที่สงสัยกับศัพท์ว่า “สมนฺเนสิ” ว่า ควรจะแปล อย่างไร อย่างที่ผู้เรียบเรียงได้อภิปรายในเบื้องต้น หากแปลพระไตรปิฎกโดยใช้อรรถกถาเป็นคู่มือใน การแปล จะสามารถแปลค าศัพท์นั้น ๆ ได้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ ซึ่งค าว่า “สมนฺเนสิ” ในอัมพัฏฐ สูตร สีลขันธวรรคอรรถกถา ได้อธิบายว ่า สมนฺเนสีติ คเวสิ๑๗ แปลว ่า บทว ่า สมนฺเนสิ หมายถึง แสวงหาแล้ว และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อแปลอรรถกถาโดยใช้ฎีกาเป็นคู่มือในการแปล จะเข้าใจค าศัพท์ หรือเนื้อหาในพระไตรปิฎกได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งค าว่า “คเวสิ” ในสีลขันธวรรคอรรถกถา สีลขันธวรรคฎีกา ได้อธิบายว่า คเวสีติ ญาเณน ปริเยสน อกาสิ๑๘ แปลว่า บทว่า คเวสิ ความว่า ได้กระท าการแสวงหา ด้วยปัญญา (ความรู้)ฉะนั้น เมื่อได้พิจารณาค าว่า สมนฺเนสิ โดยใช้อรรถกถาและฎีกาเป็นคู่มือในการ แปลจึงได้ข้อสรุปว่า สมนฺเนสิ หมายถึง ตรวจดูสิ่งนั้น ๆ โดยใช้ความรู้เป็นฐาน ซึ่งในบริบทนี้ ใช้ในการ ตรวจดูมหา ปุริลักษณะ ๓๒ ประการของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนั้น ประโยคบาลีในอัมพัฏฐสูตรที่ว่า อถโข อมฺพฏฺโฐฃ มาณโว ภควนฺต จงฺกมนฺต อนุจงฺกมาโน ภควโต กาเย ทฺวตฺตึสมหาปุริสลกฺขณานิ สมนฺเนสิ จึงสามารถแปลได้ว่า ครั้งนั้นแล อัมพัฏฐมาณพ เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรวจดู มหา ปุริส ลักษณะ ๓๒ ประการ ในพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ๔.๓ ความส าคัญในฐานะเป็นแนวทางของการปฏิบัติธรรม อังคุตตรนิกายอรรถกถา ปรากฏค า อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริยัติกับปฏิบัติไว้ว่า ยาว ติฏฺฐฃนฺติ สุตฺตนฺตา วินโย ยาว ทิปฺปติ ตาว ทกฺขนฺติ อาโลก สูริเย อพฺภุฏฺฐฃิเต ยถา. สุตฺตนฺเตสุ อสนฺเตสุ ปมุฏฺเฐฃ วินยมฺหิ จ ตโม ภวิสฺสติ โลเก สูริเย อตฺถงฺคเต ยถา. สุตฺตนฺเต รกฺขิเต สนฺเต ปฏิปตฺติ โหติ รกฺขิตา ปฏิปตฺติย ฐฃิโต ธีโร โยคกฺเขมา น ธ สตีติ. ๑๙ พระสูตรและพระอภิธรรมตั้งมั่นอยู่เพียงใด พระวินัยยังรุ่งเรืองอยู่เพียงใด ก็ยังปรากฏแสงสว่างอยู่เพียงนั้นเหมือนดวงพระอาทิตย์ขึ้นส่องสว่างอยู่ ฉะนั้น เมื่อพระสูตรและพระอภิธรรมไม่มี ทั้งพระวินัยก็เลอะเลือนเสียแล้ว ๑๖ ที.สี. (บาลี) ๙/๒๘๗/๑๐๔. ๑๗ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๘๗/๒๔๘. ๑๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๘๗/๓๗๘. ๑๙ องฺ.เอกก. อ. (บาลี) ๑/๑๓๐/๘๔.


๑๐ ชาวโลกจักมีแต่ความมืด ประดุจดวงพระอาทิตย์ตกฉะนั้น เมื่อพระสูตรและพระอภิธรรมได้รับการรักษายังมีอยู่การปฏิบัติก็เป็นอันได้รับรักษาไว้ด้วย ภิกษุผู้เป็นปราชญ์ด ารงมั่นในการปฏิบัติแล้ว ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ จากคาถาในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า ปริยัติ (พระสูตร) มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติ หมายความว่า เมื่อยังมีการศึกษาปริยัติธรรมหรือมีการศึกษาพระธรรมวินัย จิตใจของภิกษุย่อมโน้ม เอียงไปทางปฏิบัติ และภิกษุย่อมปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่ตนได้ศึกษามา ดังนั้น สีลขันธวรรคฎีกาจึง นับได้ว่าเป็นแผนที่ในการปฏิบัติธรรม เพราะว่า ในหลาย ๆ ที่ของสีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายแนว ทางการปฏิบัติไว้อย่างน่าสนใจ เช่น สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายแนวทางการพิจารณาในสีลบารมี เพื่อให้เกิดก าลังในการรักษาศีลไว้ว่า ในศีลบารมีภิกษุพึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ชื่อว่าศีลนี้เป็นน ้าล้าง มลทิน คือโทสะที่ไม่อาจช าระได้ด้วยน ้าจากแม่น ้าคงคาเป็นต้น เป็นคุณชาติก าจัดความเร่าร้อนเพราะ ราคะเป็นต้น ซึ่งไม่อาจก าจัดได้ด้วยจันทน์แดงเป็นต้น เป็นเครื่องประดับพิเศษของชนดีทั้งหลาย อัน ไม่ทั่วไปด้วยเครื่องประดับของชนจ านวนมาก มีสร้อยคอ มงกุฎ และตุ้มหูเป็นต้น เป็นกลิ่นสูงสุด เพราะขจรไปได้ทุกทิศ และเป็นกลิ่นหอมสมควรแก่กาลทั้งปวง เป็นมนต์ท าความช านาญอย่างยิ่ง เพราะน ามาซึ่งความเป็นผู้อันกษัตริย์ผู้มหาศาลเป็นต้น และเทวดาทั้งหลายพึงไหว้ เป็นบันไดไปสู่ เทวโลกมีชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้น เป็นอุบายบรรลุฌานและอภิญญา เป็นทางยังชนให้ถึงพร้อมซึ่ง มหานครคือนิพพาน เป็นภูมิที่ตั้งแห่งสาวกโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ และสัมมาสัมโพธิญาณ ก็อีก อย่างหนึ่ง ผลใด ๆ อันชนปรารถนาแล้วต้องการแล้ว ศีลย่อมยังจินดามณีและกัลปพฤกษ์เป็นต้น ให้ ส าเร็จ เพราะเป็นอุบายแห่งความส าเร็จแห่งผลนั้น ๆ สมจริงดังพระด ารัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เจโตปณิธิย่อมส าเร็จแก่ผู้มีศีล เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์” แม้พระด ารัสอื่นพระองค์ ก็ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่น่าพอใจ เป็นครู และเป็นผู้ควรยก ย่องของสพรหมจารีทั้งหลาย พึงเป็นผู้ท าให้บริสุทธิ์ในศีลทั้งหลายนั่นแลเป็นต้น” อนึ่ง พระองค์ตรัส ว่า “อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนใจเป็นความหมายแล” อนึ่ง พึงพิจารณาคุณของศีล ด้วยสามารถแห่งพระสูตรมีว่า “คฤหบดี อานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล มีแก่ผู้มีศีลด้วยสีลสัมปทา” และพึง พิจารณาโทษในการเว้นจากศีลด้วยสามารถแห่งอัคคิกขันโธปมสูตร เป็นต้น๒๐ จากแนวทางการพิจารณาศีลที่ปรากฏค าอธิบายในสีลขันธวรรคฎีกาจะเห็นได้ว่า ข้อความ ดังกล่าวเป็นข้อความที่โน้มน้าวจิตใจของภิกษุให้เห็นคุณค่าของการรักษาศีล และเห็นโทษของการล่วง ละเมิดผิดศีล แน่นอนว่าเมื่อภิกษุเห็นคุณค่าของการรักษาศีลและโทษของการผิดศีล ภิกษุจะต้อง รักษาศีลของตนเองให้ดีที่สุดอย่างแน่นอน ดังที่ปรากฏค าอธิบายในวิสุทธิมรรคดังนี้ว่า ต ปเนต โวทาน ทฺวีหากาเรหิ สมฺปชฺชติ สีลวิปตฺติยา จ อาทีนวทสฺสเนน สีลสมฺปตฺติยา จ อานิส สทสฺสเนน ก็แล ความ ผ่องแผ้วแห่งศีลนั้น จะเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑) การเห็นโทษของศีลวิบัติ ๒) การเห็น ๒๐ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗/๙๒.


๑๑ คุณของศีลสมบัติ๒๑ ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่าสีลขันธวรรคฎีกามีความส าคัญในฐานะเป็นเครื่องมือ ส่งเสริมในการปฏิบัติธรรม ๕. โครงสร้างและเนื้อหาของสีลขันธวรรคฎีกา คัมภีร์ทีฆนิกาย เมื่อจ าแนกโดยใช้วรรคเป็นเกณฑ์ จะมี ๓ วรรค ได้แก่ ๑) สีลขันธวรรค ๒) มหาวรรค และ ๓) ปาฏิกวรรค เมื่อใช้ตัวเลขเป็นเครื่องมือในการนับจ านวนพระสูตร จะมีทั้งหมด ๓๔ สูตร โดยคัมภีร์ ทีฆนิกายที่ว่านี้มีอรรถกถา ๓ เล่ม ได้แก่ ๑) สีลขันธวรรคอรรถกถา ๒) มหาวรรค อรรถกถา และ ๓) ปาฏิกวรรคอรรถกถา และมีฎีกา ๓ เล่ม ได้แก่ ๑) สีลขันธวรรคฎีกา ๒) มหาวรรค ฎีกา และ ๓) ปาฏิกวรรคฎีกา๒๒ สีลขันธวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที่ผู้เรียบเรียงได้น ามาศึกษาและแปลออกมาในรูปแบบ ภาษาไทย พบว่าโครงสร้างของสีลขันธวรรคฎีกาโดยย่อจะมีอยู่ด้วยกัน ๓ ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้ ๑. การพรรณนากถาเริ่มต้นคัมภีร์ (คนฺถารมฺภกถาวณฺณนา) ๒. พรรณนานิทานกถา (นิทานวณฺณนา) ๓. พระสูตรในสีลขันธวรรคที่สีลขันวรรคฎีกาน ามาขยายความต่อจากอรรถกถา จ านวน ๑๓ สูตร จะอย่างไรก็ตาม โครงสร้างของสีลขันธวรรคฎีกาไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมาก เพราะว่า พระธรรมปาลเถระผู้รจนาคัมภีร์ได้จัดเนื้อหาของสีลขันธวรรคฎีกาไว้เป็นหมวดหมู่ตามล าดับของพระ สูตรที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค ซึ่งตรงนี้ถือว่า เป็นวิสัยทัศน์ของพระ ธรรมปาลเถระที่ประสงค์จะให้ผู้สนใจได้ศึกษาสีลขันธวรรคฎีกาไปตามล าดับ ไม่กระโดดข้ามไปข้ามมา ดังนั้นเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวมของสีลขันธวรรคฎีกา ผู้เรียบเรียงจะได้น าเสนอโครงสร้างของสีล ขันธวรรคฎีกาดังต่อไปนี้ ๑. คันถารัมภกถา เป็นกถาที่ว่าด้วยเรื่องการนอบน้อมพระรัตนตรัยก่อนรจนาคัมภีร์ ๒. นิทานกถาวรรณนา เป็นกถาที่ว่าด้วยเรื่องคัมภีร์ทีฆนิกาย และการท าสังคายนาครั้งที่ ๑ ๓. พรหมชาลสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่อง จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล วาทะหรือทิฏฐิ ๖๒ และหลักการตีความตามแนวคัมภีร์เนตติปกรณ์ ได้แก่ หาระ ๑๖ นัย ๕ และสาสนปัฏฐาน ๒๑ วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๒๑/๕๖. ๒๒ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/-/๑.


๑๒ ๔. สามัญญผลสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่อง สามัญญผลหรือผลที่จะพึงได้รับจากการ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ แนวคิดของครูทั้ง ๖ มีอาจารย์ปูรณะ กัสสปะ อาจารย์มักขลิโคสาล เป็นต้น การรักษาศีลจนถึงการบรรลุอาสวักขยญาณ และหลักการเกี่ยวกับสรณคมน์ ๕. อัมพัฏฐสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องที่อัมพัฏฐมาณพกล่าวต าหนิศากยวงศ์ ประวัติ ความเป็นมาของอัมพัฏฐวงศ์ ความเป็นผู้ประเสริฐของกษัตริย์ และการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงลักษณะ ๒ อย่างแก่อัมพัฏฐมาณพ ๖. โสณทัณฑสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องพราหมณ์บัญญัติและความสัมพันธ์ระหว่าง ศีลกับปัญญา ๗. กูฏทันตสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องการบูชายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช และการ บูชายัญตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เช่น นิจทาน วิหารทาน การถึงสรณคมน์ การรักษาศีล ๕ เป็นต้น ๘. มหาลิสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิของสุนักขัตตะจนสามารถเห็นรูป ทิพย์ที่น่าพึงพอใจ อริยผล ๔ มีโสดาปัตติผล สกทาคามิผลเป็นต้น ในพระธรรมวินัย และการเจริญ มรรค ๘ มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ๙. ชาลิยสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องอัพยากตปัญหา ๑๐ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ ความเห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่ควรตอบเพราะไม่สามารถท าให้พ้นจากความทุกข์ได้ ๑๐. มหาสีหนาทสูตร เป็นพระสูตรที ่ว่าด้วยเรื ่อง การบ าเพ็ญตบะ ข้อปฏิบัติในการ บ าเพ็ญตบะของอเจลกะ การวางท่าทีของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่มีต่อการบ าเพ็ญตบะของอเจลกะ สัมปทา ๓ อย่างมีสีลสัมปทา เป็นต้น และติตถิยปริวาสซึ่งเป็นปริวาสส าหรับอเจลกะหรือนักบวช เปลือยกายที่ประสงค์จะเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ๑๑. โปฏฐปาทสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องอภิสัญญานิโรธ การเกิดขึ้นแห่งสัญญาที่ไม่ มีเหตุ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตตากับสัญญา และการได้อัตตา ๓ อย่าง ๑๒. สุภสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๓ คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ ๑๓. เกวัฏฎสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องปาฏิหาริย์ ๓ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนา ปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ และว่าด้วยเรื่องการดับอย่างสนิทของมหาภูตรูป ๑๔. โลหิจจสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องศาสดาที่ควรทักท้วง และศาสดาที่ไม่ควร ทักท้วง ๑๕. เตวิชชสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องการแสดงทางไปสู่พรหมโลกตามค าสอนของ พราหมณ์ที่สืบต่อกันมา การเปรียบเทียบพราหมณ์ และพรหมในเชิงคุณธรรม และแนวทางการปฏิบัติ เพื่อไปสู่พรหมโลกตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งก็ได้แก่ การเจริญพรหมวิหาร ๔ นั่นเอง


๑๓ ๖. รูปแบบการประพันธ์สีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคฎีกาได้ใช้รูปแบบการประพันธ์แบบร้อยแก้วและร้อยกรองในการอธิบาย เนื้อหา แต่จะแน่นหนักไปในลักษณะร้อยแก้ว ดังนี้ เพื่อให้เห็นภาพ ผู้เรียบเรียงจะได้น าเสนอตัวอย่าง ที่ปรากฏในสีลขันธวรรคฎีกาดังต่อไปนี้ ๖.๑ การประพันธ์แบบร้อยแก้ว ร้อยแก้ว มีชื่อเรียกในทางภาษาบาลีว่า คัชชะ๒๓ ลักษณะ ของร้อยแก้วจะอยู่ในรูปแบบของท้องเรื่องที่มุ่งน าเสนอสาระและประเด็นอย่างตรงไปตรงมา ไม่เน้น ความอลังการหรือความไพเราะเหมือนร้อยกรอง ส าหรับสีลขันธวรรคฎีกาถือว ่าเป็นคัมภีร์ที่ยึด ลักษณะการประพันธ์แบบร้อยแก้วเป็นหลัก เพราะวัตถุประสงค์ของสีลขันธวรรคฎีกาอยู ่ที ่การ น าเสนอแนวทางการพัฒนาชีวิตตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพียงแต่เน้นเรื่องศีลเป็น พิเศษ และน าเสนอเรื่องราวตามบริบทหรือสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ ดังนั้น ลักษณะการประพันธ์ แบบร้อยแก้วในสีลขันธวรรคฎีกา จึงมีลักษณะทั่วไปเหมือนคัมภีร์อื่น ๆ ดังตัวอย่างดังนี้ ปุตฺตทารธนาทิอุปกรณปริจฺจาโค ปน ทานปารมี, อตฺตโน องฺคปริจฺจาโค ทานอุปปารมี, อตฺตโน ชีวิตปริจฺจาโค ทานปรมตฺถปารมี,ตถา ปุตฺตทาราทิกสฺส ติวิธสฺสปิ เหตุ อวีติกฺกมนวเสน ติสฺโส สีลปารมิโย, เตสุ เอว ติวิเธสุ วต ฺถูสุ อาลย อุปจ ฺฉินฺทิตฺวา นิกฺขมนวเสน ติสฺโส เนกฺขม ฺมปารมิโย, อุปกรณงฺคชีวิตตณฺห สมูหนิตฺวา สตฺตาน หิตาหิตวินิจฺฉยกรณวเสน ติสฺโส ปญฺญาปารมิโย, ยถาวุตฺตเภ ทาน ปริจฺจาคาทีน วายมนวเสน ติสฺโส วีริยปารมิโย, อุปกรณงฺคชีวิตนฺตรายกราน ขมนวเสน ติสฺโส ขนฺติปารมิโย, อุปกรณง ฺคชีวิตเหตุ สจ ฺจาปริจ ฺจาควเสน ติสฺโส สจ ฺจปารมิโย, ทานาทิปารมิโย อกุปฺปาธิฏฺฐฃานวเสเนว สมิชฺฌนฺตีติ อุปกรณาทิวินาเสปิ อจลาธิฏฺฐฃานวเสน ติสฺโส อธิฏฺฐฃานปารมิโย, อุปกรณาทิอุปฆาตเกสุปิ สตฺเตสุ เมตฺตาย อวิชหนวเสน ติสฺโส เมตฺตาปารมิโย, ยถาวุตฺตวตฺถุตฺตยสฺส อุปการาปกาเรสุ สตฺตสงฺขาเรสุ มชฺฌตฺตตาปฏิลาภวเสน ติสฺโส อุเปกฺขาปารมิโย. การบริจาคอุปกรณ์ มีบุตร ทาระ และทรัพย์เป็นต้น เป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะ ของตนเป็นทานอุปบารมี การสละชีวิตของตนเป็นทานปรมัตถบารมี, อนึ่ง สีลบารมี ๓ ประการด้วย สามารถการไม่ก้าวล่วงเหตุแห่งอุปกรณ์แม้ ๓ อย่าง มีบุตรและทาระ (เมีย) เป็นต้น, เนกขัมมบารมี ๓ ประการด้วยสามารถแห่งการเข้าไปตัดอาลัยในวัตถุ ๓ อย่างนั้นนั่นแลข่มไว้, ปัญญาบารมี ๓ ประการ ด้วยสามารถแห่งการน าไปพร้อมซึ ่งความอยากในอุปกรณ์ อวัยวะ และชีวิต แล้วท าการวินิจฉัย ประโยชน์เกื้อกูล และมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลาย, วิริยบารมี ๓ ประการด้วยสามารถแห่ง ความพยายามเพื่อการบริจาคเป็นต้น ซึ ่งมีประเภทตามที่กล ่าวแล้ว,ขันติบารมี ๓ ประการด้วย สามารถแห่งความอดทนต่อเหตุที่ท าอันตรายต่ออุปกรณ์ อวัยวะ และชีวิต,สัจจบารมี ๓ ประการด้วย สามารถแห่งการไม่ละสัจจะเพราะเหตุแห่งอุปกรณ์ อวัยวะ และชีวิต บารมีมีทานเป็นต้น ย่อมส าเร็จ ๒๓ พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและอธิบาย), ส ุโพธาลังการมัญชรี, (กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจ ากัด ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๖), หน้า ๑๔.


๑๔ ด้วยสามารถแห่งการอธิฏฐานธรรมอันไม่ก าเริบนั่นแล, เพราะเหตุนั้น อธิฏฐานบารมี ๓ ประการด้วย สามารถแห่งความตั้งมั ่นไม่คลอนแคลน แม้ในความพินาศไปแห่งอุปกรณ์เป็นต้น เมตตาบารมี ๓ ประการด้วยสามารถแห่งการไม่ละเมตตาในสัตว์ทั้งหลายแม้ผู้ก าจัดอุปกรณ์ เป็นต้น อุเบกขาบารมี ๓ ประการด้วยสามารถแห่งการได้ความเป็นกลาง (มัชฌัตตตา) ในสัตว์และสังขาร อันเป็นอุปการะและ อุปการะต่อวัตถุ ๓ ประการตามที่กล่าวแล้ว.๒๔ จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า สีลขันธวรรคฎีกามุ่งน าเสนอเนื้อหาสาระว่าด้วยเรื่อง บารมี ๑๐ ประการอย่างตรงไปตรงมา ไม่ได้เน้นการใช้ศัพท์ที่สละสลวย เพียงแค่ใช้ศัพท์ที่สามารถ สื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการประพันธ์แบบร้อยแก้ว ๖.๒ การประพันธ์แบบร้อยกรอง ร้อยกรอง มีชื ่อเรียกในทางภาษาบาลีว่า ปัชชะ ๒๕ ลักษณะของร้อยกรองจะอยู่ในรูปแบบของการน าเสนอเนื้อหาผ่านความไพเราะ ความสละสลวยทาง ภาษา เน้นการใช้ค าศัพท์ที่กระชับแต่ได้ใจความ ร้อยกรองดังกล่าว มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ฉันท์” หรือ “ฉันทลักษณะ” ฉันท์แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ฉันท์วรรณพฤติ หมายถึง ฉันท์ที่ก าหนดจ านวนอักษร หรือจ านวนค าในแต่ละบาท ๒. ฉันท์มาตราพฤติ หมายถึง ฉันท์ที่ก าหนดมาตรา คือ จ านวน ครุ และ ลหุ ในแต่ละบาท แต่ฉันท์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ฉันท์วรรณพฤติ และในฉันท์วรรณพฤติ ท่าน ได้ก าหนดคณะฉันท์ไว้ ๘ คณะ ดังนั้น การที่จะสามารถเข้าใจว่าคาถานี้เป็นฉันท์อะไร จ าเป็นจะต้องรู้ คณะฉันท์ซึ่งมีจ านวน ๘ คณะ แต่ละคณะ มี ๓ อักษร เหมือนกันทุกคณะ ดังนี้ ๑. ม คณะ สพฺพญฺญู มาจากค าว่า มาตุล (ลม) ๒. น คณะ สุมุนิ มาจากค าว่า นภ (ฟ้า) ๓. ส คณะ สุคโต มาจากค าว่า โสม (พระจันทร์) ๔. ช คณะ มุนินฺท มาจากค าว่า ชลน (ไฟ) ๕. ต คณะ มาราชิ มาจากค าว่า โตย (น ้า) ๖. ภ คณะ มารชิ มาจากค าว่า ภูมิ (พื้นดิน) ๗. ร คณะ นายโก มาจากค าว่า รวิ (พระอาทิตย์ ๘. ย คณะ มเหสี มาจากค าว่า ยชมาน (ผู้บวงสรวง)๒๖ ๒๔ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗/๑๑๓. ๒๕ พระเมธีปริยัตโยดม, ส านวนแต ่งฉันท์ภาษามคธ, (กรุงเทพมหานคร: นวสาสน์การพิมพ์, ๒๕๔๘), หน้า ๑๔. ๒๖ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒, ๔.


๑๕ ผู้เรียบเรียงพบว่า สีลขันธวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที่ผู้รจนาไม ่ค่อยได้แต่งฉันท์ขึ้นมาด้วย ตนเอง แต่ได้น าฉันท์ในคัมภีร์อื่น ๆ มาใช้ หมายความว่า ผู้รจนาเมื่อต้องการจะหาเหตุผลมาสนับสนุน ค าอธิบายของตน มักจะไปหยิบยกคาถาหรือฉันท์ในคัมภีร์อื่น ๆ มาใช้ จะอย่างไรก็ตาม ก็ถือว่าการ ประพันธ์แบบร้อยกรองมีปรากฏอยู่ในสีลขันธวรรคฎีกา ดังตัวอย่างดังนี้ ๑. การใช้ปัฐยาวัตรฉันท์ในสีลขันธวรรคฎีกา ปัฐยาวัตร แปลว่า “คาถาที่สวดเป็นท านอง จตุราวัตร” คือ หยุดทุก ๔ ค า ฉันท์นี้ก าหนดบาทหนึ่งมี ๘ ตัวอักษร ใช้ลงคณะเพียง ๒ คณะ คือ ย คณะ และ ช คณะ๒๗ ส าหรับตัวอย่างปัฐยาวัตรที่ปรากฏในสีลขันธวรรคฎีกา มีดังนี้ สสฺสตุจฺเฉททิฏฺฐฃิจ ขนฺติ เจวานุโลมิเก ยถาภูตญฺจ ย ญาณ เอต อาสยสทฺทิตนฺติ. สัสสตทิฏฐฃิอุจเฉททิฏฐฃิและขันติ อันเป็น อนุโลม ยถาภูตญาณทัสสนะ เรียกว่าอาสยะ.๒๘ ๒. การใช้อินทรวิเชียรฉันท์ในสีลขันธวรรคฎีกา อินทรวิเชียร มีความหมายว่า ลีลาดังแก้ว มณีของพระอินทร์ โดยฉันท์นี้ก าหนดให้ใช้ ต คณะ ๒ คณะ, ช คณะ ๑ คณะ และครุลอยอีก ๒ ตัว รวม ๑๑ อักษร (๑๑ ค า) และได้แต่งคาถาขึ้นมาส าหรับท่องจ าเพื่อความสะดวกในการแต่งว่า “อินฺ ทาทิ กา ตา ว ชิ รา ช คาโค”๒๙ ส าหรับตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ที่ปรากฏในสีลขันธวรรคฎีกา มีดังนี้ พุทฺโธปิ พุทฺธสฺส ภเณยฺย วณฺณ กปฺปมฺปิ เจ อญฺญมภาสมาโน ขีเยถ กปฺโป จิรทีฆมนฺตเร วณฺโณ น ขีเยถ ตถาคตสฺสาติ. แม้พระพุทธเจ้าพึงกล่าวคุณของพระพุทธเจ้า หากจะกล่าวคุณของกันและกันตลอดกัป กัปจะพึงสิ้นไปในระหว่างกาลช้านาน (การพรรณนา) พระคุณของพระตถาคตหาสิ้นสุดไม่.๓๐ ๓. การใช้วังสัฏฐฉันท์ในสีลขันธวรรค์ฎีกา วังสัฏฐะ มีความหมายว่า มีเสียงไม่สม ่าเสมอ กันเหมือนปี่หรือขลุ่ย โดยฉันท์นี้ก าหนดให้ใช้ ช, ต, ช, ร คณะ รวม ๔ คณะ มีทั้งหมด ๑๒ อักษร (๑๒ ๒๗ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕. ๒๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/-/๓๔. ๒๙ พระเมธีปริยัตโยดม, ส านวนแต ่งฉันท์ภาษามคธ, (กรุงเทพมหานคร: นวสาสน์การพิมพ์, ๒๕๔๘), หน้า ๖. ๓๐ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑/๖๑.


๑๖ ค า) และได้แต่งคาถาขึ้นมาส าหรับท่องจ าเพื่อความสะดวกในการแต่งว่า “ว ทนฺ ติ ว สฎฺ ฐฃ มิ ท ช ตา ช รา” ส าหรับตัวอย่างวังสัฏฐฉันท์ที่ปรากฏในสีลขันธวรรคฎีกา มีดังนี้ ปหาย กามาทิมเล ยถา คตา สมาธิญาเณหิ วิปสฺสิอาทโย มเหสิโน สกฺยมุนี ชุตินฺธโร ตถาคโต เตน ตถาคโต มโต. ตถญฺจ ธาตายตนาทิลกฺขณ สภาวสามญฺญวิภาคเภทโต สยมฺภุญาเณน ชิโน สมาคโต ตถาคโต วุจฺจติ สกฺยปุงฺคโว. พระผู้แสวงหาคุณใหญ่มีพระนามว่าวิปัสสี เป็นต้น ทรงละมลทินคือกามเป็นต้น เสด็จไป ฉันใด พระตถาคตเจ้าศากยมุนี ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง เรียกว่า ตถาคต ฉันนั้น. ก็พระสักยปุงควชินเจ้า ทรงถึงพร้อม ด้วยลักษณะมีธาตุและอายตนะ เป็นต้น อันเป็นจริงโดยประเภทแห่งการจ าแนก สภาวสามัญญะด้วยพระสยัมภูญาณจึงเรียกว่า ตถาคต.๓๑ ๗. รูปแบบการใช้ภาษาบาลีในสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคฎีกา เมื่อผู้เรียบเรียงพิจารณโดยภาพรวมแล้ว พบว่า ภาษาบาลีที่ใช้ในสีล ขันธวรรคฎีกา จะเน้นการใช้ค าศัพท์ที่เข้าใจได้ง่าย และเน้นความถูกต้องด้านหลักไวยากรณ์ จะ อย่างไรก็ตาม สีลขันธวรรคฎีกากลับใช้รูปแบบประโยคบาลีซับซ้อนบ้าง ง่ายบ้างปะปนกันไป ดังนั้น เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวมเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ภาษาบาลีในสีลขันธวรรคฎีกา ผู้เรียบเรียงจะได้ น าเสนอรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ ๗.๑ การใช้ค าศัพท์ในสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที่เน้นการใช้ค าศัพท์ที่เข้าใจได้ง่าย เพราะว่าสีลขันธวรรคฎีกา เป็นคัมภีร์ที่อธิบายเนื้อหาของสีลขันธวรรคอรรถกถา หากสีลขันธวรรคฎีกาใช้ค าศัพท์ที่ยาก ผู้ที่ศึกษา สีลขันธวรรคอรรถกถา เมื่อต้องการจะค้นคว้าเพิ่มเติมจากสีลขันธวรรคฎีกา ก็จะเข้าถึงเนื้อหาสีล ๓๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗/๑๓๔.


๑๗ ขันธวรรคฎีกาได้ล าบาก ฉะนั้น สีลขันธวรรคฎีกาจึงเป็นคัมภีร์ที่ท่านแต่งขึ้นเพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถ อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายมากที่สุด ซึ่งปัจจัยที่ส าคัญต่อการท าความเข้าใจได้ง่าย นั่นก็คือ การใช้ค าศัพท์ ที่ง่ายนั่นเอง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตถา สมฺมาสมฺโพธิยา กตาภินีหาเรน มหาสตฺเตน โก นุ อชฺช ปุญฺญญาณสมฺภาโร อุปจิโต, กิญฺจิ มยา กต ปรหิตนฺติ ทิวเส ทิวเส ปจฺจเวกฺขนฺเตน สตฺตหิตตฺถ อุสฺสาโห กรณีโย, สพฺเพสมฺปิ สตฺตาน อุปการาย อตฺตโน กาย ชีวิตญฺจ โอสฺสชฺชิตพฺพ , สพฺเพปิ สตฺตา อโนธิโส เมตฺตาย กรุณาย จ ผริตพฺพา, ยา กาจิ สตฺตาน ทุกฺขุปฺปตฺติ, สพฺพา สา อตฺตนิ ปาฏิกงฺขิตพฺพา, สพฺเพสญฺจ สตฺตาน ปุญฺญ อพฺภนุโม- -ทิตพฺพ , พุทฺธมหนฺตตา อภิณฺห ปจฺจเวกฺขิตพฺพา, ยญฺจ กิญฺจิ กมฺม กโรติ กาเยน วาจาย วา, ต สพฺพ โพธินินฺนจิตฺตปุพฺพงฺคม กาตพฺพ . อิมินา หิ อุปาเยน โพธิสตฺตาน อปริเมยฺโย ปุญฺญภาโค อุปจียติ. อปิจ สตฺตาน ปริโภคตฺถ ปริปาลนตฺถญฺจ อตฺตโน สรีร ชีวิตญฺจ ปริจฺจชิตฺวา ขุปฺปิปาสาสีตุณฺหวาตาตปาทิทุกฺขปฏิกาโร ปริเยสิตพฺโพ. ยญฺจ ยถาวุตฺตทุกฺขปฏิการช สุข อตฺตนา ปฏิลภติ, ตถา รมณีเยสุ อารามุยฺยานปาสาทตลาทีสุ, อรญฺญายตเนสุ จ กายจิตฺตสนฺตาปาภาเวน อภินิพฺพุตตฺตา สุข วินฺทติ, ยญฺจ สุณาติ พุทฺธานุพุทฺธปจฺเจกพุทฺธโพธิสตฺตาน ทิฏฺฐฃธมฺมสุขวิหารภูต ฌานสมาปตฺติสุข , ต สพฺพ สตฺเตสุ อโนธิโส อุปส หรติ. อนึ่ง พระมหาสัตว์ผู้กระท าอภินิหารไว้แล้วเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณพิจารณาทุก ๆ วันว่า การสั่งสมบุญอันประกอบด้วยปัญญาอะไรหนออันเราสั่งสมแล้วในวันนี้ ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อผู้อื่น อะไรบ้างอันเรากระท าแล้วดังนี้ พึงท าความอุตสาหะเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ พึงสละร่างกาย และชีวิตของตน เพื่ออุปการะแก่สัตว์แม้ทั้งปวง แม้สัตว์ทั้งหมดก็พึงเป็นผู้อันเราควรแผ่เมตตาและ กรุณาไปโดยไม่เจาะจง ความเกิดทุกข์ของสัตว์ทั้งหมดนั้น อันเราพึงหวังในตน และพึงอนุโมทนาอย่าง ยิ่งถึงบุญของสรรพสัตว์ ความที่พุทธคุณมีคุณมากเราควรพิจารณาเนือง ๆ และกระท ากรรมอย่างใด อย่างหนึ่งทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม กรรมทั้งหมดนั้นอันเราพึงกระท าให้เป็นกรรมที่มีจิตน้อมไป ในโพธิอันเป็นส่วนเบื้องต้น. ก็โดยอุบายนี้ ส่วนบุญอันประมาณไม่ได้ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อม เพิ่มพูน. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อบริโภคและเพื่อบริบาลสัตว์ทั้งหลาย เราสละร่างกายและชีวิตของตนแล้ว พึงแสวงหาปฏิการะแห่งความทุกข์อันมีความหิว กระหาย ความเย็น ความร้อน ลม และแดดเป็นต้น. อนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้รับความสุขอันเกิดแต่ปฏิการะแห่งความทุกข์ตามที่กล่าวอันใดด้วยตนเอง และ ประสพความสุขเพราะดับสนิทโดยไม่มีความเดือดร้อนกายและจิตในสถานที่น่ารื่นรมย์ มีอาราม สวน และพื้นปราสาทเป็นต้น และที่ต่อแห่งป่า และได้ยินสุขอันเกิดแต่ฌานสมาบัติ อันเป็นทิฏฐธรรมสุข วิหาร ของพระพุทธเจ้า พระอนุพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายอันใด ย่อม น้อมน าทั้งหมดนั้นเข้าไปในสัตว์ทั้งหลายฉะนั้น.๓๒ จากตัวอย่างเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า ค าศัพท์ที่สีลขันธวรรคฎีกาใช้ในการอธิบายเนื้อหาเป็น ศัพท์ที่ง่าย คล้ายกับค าศัพท์ในธรรมบทที่เคยแปลกันในประโยค ๑-๒ ฉะนั้น ผู้เรียบเรียงค่อนข้าง ๓๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗/๑๑๐.


๑๘ มั่นใจว่า ผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาบาลีดีในระดับหนึ่ง เมื่อประสงค์จะอ่านสีลขันธวรรคฎีกา จะสามารถ อ่านสีลขันธวรรคฎีกาได้สบาย ๆ อย่างแน่นอน นอกจากนี้ พระธรรมปาลเถระผู้แต่งสีลขันธวรรคฎีกา ยังพยายามอธิบายค าศัพท์ที่ยาก ๆ ที่ปรากฏในสีลขันธวรรคอรรถกถาให้เข้าใจได้ง่ายผ่านการใช้ค าศัพท์ที่ง่าย ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้ เวสารชฺชานีติ๓๓ วิสารทภาวา ญาณปฺปหานสมฺปทานิมิตฺต กุโตจิ อสนฺตสฺสนภาวา นิพฺภยภาวาติ อตฺโถ. บทว่า เวสารชฺชานิ ได้แก่ ความเป็นผู้องอาจ อธิบายว่า ความเป็นผู้ไม่มีภัยเพราะไม่มี ความสะดุ้งแต่ที่ไหน ๆ เหตุมีญาณปหานสัมปทาเป็นนิมิต.๓๔ วินเย อปกตญฺญุนาติ๓๕ วินยกฺกเม อกุสเลน. สองบทว่า วินเย อปกตญฺญุนา ได้แก่ ผู้ไม่ ฉลาดในล าดับแห่งพระวินัยกรรม.๓๖ จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า เวสารชฺชานิ และอปกตญฺญุนา เป็นค าศัพท์ที่อยู่ในสีล ขันธวรรคอรรถกถา แน่นอนว่าหากสีลขันธวรรคฎีกาไม่อธิบายหรือไม่ให้ความหมายค าศัพท์นี้ด้วยการ ใช้ศัพท์ที่ง่าย ๆ เราคงแปลค าว่า เวสารชฺชานิ และอปกตญฺญุนา ไม่ได้ หากแปลได้ก็คงแปลแบบเดา ๆ โดยไม่มีฐานคิดในการตีความค าศัพท์ ๗.๒ การใช้อักขรวิธีในสีลขันธวรรคฎีกา อักขรวิธีเป็นส่วนหนึ่งของบาลีไวยากรณ์ที่มุ่ง น าเสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื่องสระ พยัญชนะ ฐาน และกรณ์ของอักขระ รวมถึงหลักพยัญชนสังโยคหรือ การซ้อนพยัญชนะนั่นเอง สีลขันธวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที่ใช้หลักการในอักขรวิธีได้อย่างแม่นย าและ ถูกต้อง เช่น หลักพยัญชนสังโยค อักขรวิธีของบาลีไวยากรณ์ ได้อธิบายหลักพยัญชนสังโยคไว้ว่า พยัญชนะในภาษาบาลี มี ๓๓ ตัว แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑) วรรค ๒) อวรรค พยัญชนะที่อยู่ในวรรค มี ๒๕ ตัวดังนี้ ก ข ค ฆ ง ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ก วรรค จ ฉ ช ฌ ญ ๕ ตัวนี้ เรียกว่า จ วรรค ฏ ฐฃ ฑ ฒ ณ ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ฏ วรรค ต ถ ท ธ น ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ต วรรค ป ผ พ ภ ม ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ป วรรค พยัญชนะที่อยู่ในอวรรค มี ๘ ตัวดังนี้ ๓๓ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๐๓/๒๙๗. ๓๔ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๐๓/๔๓๒. ๓๕ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๒๓/๑๙๓. ๓๖ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๒๓/๓๑๗.


๑๙ ย ร ล ว ส ห ฬ อ ๘ ตัวนี้ เรียกว่า อวรรค ฉะนั้น เมื่อจะน าพยัญชนะแต่ละตัวมาซ้อนกัน จะต้องยึดหลักการดังนี้ พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้ พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔ ในวรรคของตนได้ พยัญชนะที่ ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทั้ง ๕ ตัว ยกเว้น ง ซึ่งเป็นตัวสะกด อย่างเดียว ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้ ส่วนพยัญชนะอวรรคที่ใช้ซ้อนกันได้ มี ๓ ตัวคือ ย ล ส ซึ่งใช้ซ้อนหน้าตัวเอง เช่น สุยฺยเต ทุลฺลภา สุสฺสูสติ๓๗ ดังนั้น ตัวอย่างที่สีลขันธวรรคฎีกาใช้หลักพยัญชนสังโยคได้อย่างถูกต้อง มีดังนี้ - อภิกฺกโม๓๘ แปลว่า การก้าวไป ส าเร็จรูปมาจาก อภิ บทหน้า กม ธาตุ ในความก้าวไป และท่านใช้ ก ซ้อนหน้า กม ธาตุ จึงส าเร็จรูปเป็น อภิกฺกมโม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการที่ว่า พยัญชนะ ที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้ หมายความว่า ก เป็นพยัญชนะตัวที่ ๑ ซ้อน หน้า ก ซึ่งเป็นพยัญชนะตัวที่ ๑ ได้ - จตุทฺทิโส๓๙ แปลว่า ผู้อยู่ในทิศทั้ง ๔ ส าเร็จรูปมาจาก จตุ บทหน้า ทิส ที่แปลว่า ทิศ และท่านใช้ ท ซ้อนหน้า ทิส จึงส าเร็จรูปเป็น จตุทฺทิโส ซึ่งสอดคล้องกับหลักการที่ว่า พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔ ในวรรคของตนได้ หมายความว่า ท เป็นพยัญชนะตัวที่ ๓ ซ้อนหน้า ท ซึ่งเป็นพยัญชนะตัวที่ ๓ ได้ ๗.๓ การใช้สนธิในสีลขันธวรรคฎีกา สนธิเป็นส่วนหนึ่งของบาลีไวยากรณ์ที่มุ่งน าเสนอ เนื้อหาว่าด้วยเรื่องการต่อศัพท์หรือการรวมค าศัพท์ตั้งแต่สองศัพท์ขึ้นไปให้เป็นศัพท์เดียวกัน สนธิ มี ๓ ประเภท ได้แก่ ๑) สระสนธิ ๒) พยัญชนะสนธิ ๓) นิคคหิตสนธิ๔๐ สีลขันธวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที่ใช้ หลักสนธิในบาลีไวยากรณ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นย า ดังตัวอย่างดังนี้ - อุปลภีติ๔๑ ส าเร็จรูปมาจาก อุปลภิ - อิติ มีหลักการท าตัวรูปว่า เมื่อสระทั้งสองเป็น รัสสะ มีรูปเสมอกัน คือ เป็น อ อิ อุ เหมือนกัน เมื่อน ามาสนธิกัน จะต้องลบสระตัวใดตัวหนึ่ง แล้ว ๓๗ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๑๒๗, ๑๓๑. ๓๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๔/๒๙๖. ๓๙ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๕/๓๑๒. ๔๐ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๑๓๒. ๔๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๕๕/๓๕๔.


๒๐ ทีฆะสระตัวที่ไม่ได้ลบ๔๒ ซึ่งค าว่า อุปลภิ และ อิติ ท้ายสระ มีรูปเป็นรัสสะ (เป็น ภิ เป็น ติ) ฉะนั้น จึง ต้องลบ อิ ที่ อิติ ออก แล้วทีฆะ อิ ที่ อุปลภิ เป็น อี แล้วน ามาต่อกัน จึงส าเร็จรูปได้ว่า อุปลภีติ - วิชิตมนุรกฺขติ๔๓ ส าเร็จรูปมาจาก วิชิต - อนุรกฺขติ มีหลักการท าตัวรูปว่า เมื่อนิคคหิต (อ ) อยู่หน้า สระอยู่หลัง แปลง นิคคหิต เป็น ม และ ท ได้๔๔ ซึ่งค าว่า วิชิต มีนิคคหิต (อ ) โดยเป็นศัพท์ อยู่หน้า และ อนุรกฺขติ เป็นศัพท์ที่อยู่หลัง และหน้าศัพท์เป็นสระ (อ) นั่นเอง ฉะนั้น จึงต้อง แปลง นิคคหิต (อ ) ที่ วิชิต เป็น ม แล้ว ลบ อ ที่ อนุรกฺขติ ออก จึงส าเร็จรูปได้ว่า วิชิตมนุรกฺขติ ๗.๔ การใช้นามศัพท์ในสีลขันธวรรคฎีกา นามศัพท์เป็นส่วนหนึ่งของบาลีไวยากรณ์ที่มุ่ง น าเสนอเนื้อหาว ่าด้วยเรื่องนามนาม คุณนาม และสัพพนาม ๔๕ สีลขันธวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที ่ใช้ หลักการนามศัพท์ได้อย่างถูกต้องและแม่นย า ดังตัวอย่างดังนี้ - วิวิธคุณสมนฺนาคโต พุทฺโธปิ๔๖ ภควา แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ทรงประกอบด้วย คุณอันมีอย่างต่าง ๆ ประโยคบาลีดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่า ภควา ท าหน้าที่เป็นค านาม ส่วน วิวิธ คุณสมนฺนาคโต พุทฺโธปิ เป็นคุณนาม จะเห็นได้ว่า ท่านประกอบรูปวิภัตติค าคุณนาม คือ วิวิธคุณสมนฺ- -นาคโต พุทฺโธ ให้มีรูปเป็นปฐมาวิภัตติ สอดคล้องกันกับ ภควา ที่มีรูปเป็นปฐมาวิภัตติเช่นเดียว - โย “ตถาคตโต อรหนฺติอาทินา กิต ฺติคุโณ โส ภควา,แปลว ่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ทรงมีพระเกียรติคุณโดยนัยเป็นต้นว่า ตถาคโต อรห พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. ประโยคบาลีดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่า โย และ โส ท าหน้าที่เป็นสัพพนาม ส่วน ภควา ท าหน้าที่ เป็นค านาม ฉะนั้น เมื่อน า โย และ โส ซึ่งเป็นสัพพนาม มาใช้ร่วมกับ ภควา ซึ่งเป็นค านาม สัพพนาม จึงต้องมีลิงค์ วจนะ วิภัตติสอดคล้องกับค านาม ๗.๕ การใช้สังขยาในสีลขันธวรรคฎีกา สังขยาเป็นส่วนของบาลีไวยากรณ์ที่มุ่งน าเสนอ เนื้อหาว่าด้วยเรื่องจ านวนนับ เช่น หนึ่ง สอง สาม สี่ เป็นต้น๔๗ สีลขันธวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที่น าหลัก ๔๒ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๑๓๓. ๔๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๕๘/๓๕๙. ๔๔ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๑๓๘. ๔๕ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๓. ๔๖ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/-/๑๒. ๔๗ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๓๖.


๒๑ การของสังขยามาใช้ในการอธิบายเนื้อหาได้อย่างถูกต้องและแม่นย าโดยสีลขันธวรรคฎีกาได้น าสังขยา มาใช้เพื่อนับจ านวนหลักธรรม ดังตัวอย่างดังนี้ ทส โข สาริปุตฺต พุทฺธการกา ธมฺมา, กตเมว ทส ? ทาน โข สาริปุตฺต พุทฺธการโก ธมฺโม, สีล เนกฺขมฺม ปญฺญา วีริย ขนฺติ สจฺจ อธิฏฺฐฃาน เมตฺตา อุเปกฺขา พุทฺธการโก ธมฺโม, อิเม โข สาริปุตฺต ทส พุทธฺการกา ธมฺมา. แปลว่า พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ มีเท่าไรหนอแล สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะมี ๑๐ อย่างแล ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ คือทาน สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ คือศีล สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ คือเนกขัม มะ สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ คือปัญญา สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ คือวิริยะ สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ คือขันติ สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ คือสัจจะ สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ คืออธิฏฐาน สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ คือเมตตา สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ คืออุเบกขา สารีบุตร ธรรมอันท าความเป็นพุทธะ ๑๐ อย่างเหล่านี้แลมี อยู่.๔๘ จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า สีลขันธวรรคฎีกาได้น า ทส หรือจ านวนหลักสิบ มานับ จ านวนของธรรมอันท าความเป็นพุทธะ เพื่อที่จะบอกว่า พุทธการกธรรม มี ๑๐ ข้อ และที่ส าคัญ สีล ขันธวรรคฎีกายังได้ประกอบวิภัตติของค าว่า ทส ให้มีความสอดคล้องกับ พุทฺธการกา ธมฺมา เพราะว่า พุท ฺธการกา ธม ฺมา เป็นปฐมาวิภัตติฝ ่ายพหุวจนะ ทส จึงต้องมีรูปเป็นปฐมาวิภัตติ ฝ ่ายพหุวจนะ เช่นเดียวกัน เวลามสุตฺตาทิวเสนาปีติ เอตฺถ กรีสสฺส จตุตฺถภาคปฺปมาณาน จตุราสีติสหสฺสสงฺขฺยาน สุวณ ฺณปาติรูปิยปาติก สปาตีน ยถากฺกม รูปิยสุวณฺณหิรญฺญปูราน , สพ ฺพาลง ฺการปฏิมณฺฑิตาน - จตุราสีติยา หต ฺถิสหสฺสาน , จตุราสีติยา อสฺสสหสฺสาน , จตุราสีติยา รถสหสฺสาน , จตุราสีติยา เธนุสหสฺสาน , จตุราสีติยา กญฺญาสหสฺสาน , จตุราสีติยา ปลฺลงฺกสหสฺสาน , จตุราสีติยา วตฺถโกฏิสหสฺ- สาน , อปริมาณสฺส จ ขชฺชโภชฺชาทิเภทสฺส อาหารสฺส ปริจฺจชนวเสน สตฺตมาสาธิกานิ สตฺตส วจฺฉรานิ นิรนฺตร ปวตฺตเวลามมหาทานโต เอกสฺส โสตาปนฺนสฺส ทินฺนทาน มหปฺผลตร , ตโต สต โสตาปนฺนาน ทินฺนทานโต เอกสฺส สกทาคามิโน, ตโต เอกสฺส อนาคามิโน, ตโต เอกสฺส อรหโต, ตโต เอกสฺส ปจฺเจกพุทฺธสฺส, ตโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส, ตโต พุทฺธปฺปมุขสฺส สงฺฆสฺส ทินฺนทาน มหปฺผลตร , ตโต จาตุทฺทิสสงฺฆ อุทฺทิสฺส วิหารกรณ , ตโต สรณคมน มหปฺผลตรนฺติ อิมมตฺถ ปกาเสนฺตสฺส เวลามสุตฺตสฺส วเสน. แปลว่า บทว่า เวลามสุตตาทิวเสนาปิ ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งเวลามสูตร ซึ่งประกาศเนื้อความนี้ว่า ทานที่ ทายกถวายแก่พระโสดาบันรูปเดียว มีผลมากกว่า กว่าทานใหญ่ของท่านเวลามะที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตลอด ๗ ปีเกินไปอีก ๗ เดือน ด้วยสามารถแห่งการสละถาดทองค า ถาดเงิน และถาดส าริด ๘๔,๐๐๐ ถาด ประมาณส่วนที่ ๔ ของ ๑ กรีส (๑๒๕ ศอก) ซึ่งเต็มด้วยรูปิยะทองและเงิน ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก ซึ่งประดับด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ม้า ๘๔,๐๐๐ ตัว รถ ๘๔,๐๐๐ คัน แม่โค ๘๔,๐๐๐ ตัว สาว ๔๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗/๘๒.


๒๒ น้อย ๘๔,๐๐๐ คน บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ผ้าอย่างยอดเยี่ยม ๘๔,๐๐๐ ผืน และอาหารต่างโดยของ เคี้ยวของบริโภคประมาณไม่ได้ ทานที่ทายกถวายแก่พระสกทาคามีรูปเดียวมีผลมากกว่า กว่าทานที่ ถวายแก่พระโสดาบัน ๑๐๐ รูปนั้น ทานที่ถวายแก่พระอนาคามีรูปเดียวมีผลมากกว่านั้น ทานที่ถวาย แก่พระอรหันต์รูปเดียวมีผลมากกว่านั้น ทานที่ถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวมีผลมากกว่านั้น ทานที่ถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีผลมากกว่านั้น ทานที่ทายกถวายแก่สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข มีผลมากกว่านั้น การสร้างวิหารเจาะจงสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ มีผลมากกว่านั้น สรณคมน์มีผล มากกว่านั้น.๔๙ จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า สีลขันธวรรคฎีกาได้ใช้สังขยามานับสัตว์ สิ่งของ และ บุคคล และที ่ส าคัญ สีลขันธวรรคฎีกาได้ใช้หลักการของสังขยาได้อย ่างแม ่นย า เช ่น จตุราสีติยา หตฺถิสหสฺสาน ที่แปลว่า ช้าง ๘๔,๐๐๐ ตัว จะสังเกตเห็นได้ว่า จตุราสีติยา และหตฺถิสหสฺสาน มีลิงค์ไม่ ตรงกัน กล่าวคือ จตุราสีติยา เป็นอิตถีลิงค์ ส่วนหตฺถิสหสฺสาน เป็น นปุงสกลิงค์ เหตุผลที่สีลขันธวรรค ฎีกาแต ่งเช่นนี้ เพราะหลักการในสังขยาได้อธิบายไว้ว่า สังขยาตั้งแต่ ๑๙ (เอกูนวีส) จนถึง ๙๘ (อฏฺฐฃนวุติ) เป็นอิตถีลิงค์ และเป็นเอกวจนะอย่างเดียว๕๐ ดังนั้น แม้ศัพท์ว่า หตฺถิสหสฺสาน จะเป็นพหุ วจนะและเป็นนปุงสกลิงค์อย่างไรก็ตาม จตุราสีติ เมื่อน าไปแจกตามแบบ รตฺติ (ราตรี) จะต้องแจก ตาม รตฺติ เฉพาะฝ่ายเอกวจนะอย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อรักษาหลักการที่ว่า ๑๙ – ๙๘ เป็นอิตถีลิงค์และ เป็นเอกวจนะอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น จึงได้รูปส าเร็จว่า จตุราสีติยา ซึ่งท าหน้าขยาย หตฺถิสหสฺสาน ๗.๖ การใช้อัพพยศัพท์ในสีลขันธวรรคฎีกา อัพพยศัพท์เป็นส่วนหนึ่งของบาลีไวยากรณ์ที่ มุ่งน าเสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื่อง อุปสัค นิบาต และปัจจัย๕๑ สีลขันธวรรคฎีกาได้น าอัพพยศัพท์มาใช้ใน การอธิบายเนื้อหา โดยมีตัวอย่างดังนี้คือ ใช้อุปสัค คือ ปริ ในการเสริมความหมายของค าศัพท์ เช่น ปรีติ ปริคฺคหฏฺโฐฃ ปริณายิกาติ อาทีสุ วิย. แปลว่า ศัพท์ว่า ปริ มีความหมายว่าก าหนดรอบ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า ปริณายิกา ๕๒ ซึ่ง ประโยคดังกล่าวท่านใช้ ปริ อุปสัคมาใช้ร่วมกับ คห ธาตุ เพื่อให้ความหมายของธาตุมีใจความลึกซึ้ง มากขึ้น ใช้นิบาต คือ วิย ศัพท์ ในการอุปมา เช่น วตฺตพฺพต อาปชฺชตีติ อสุกสฺส ภิกฺขุโน อรญฺเญ ติรจฺฉานคตาน วิย, วนจรกาน วิย จ นิวาสมตฺตเมว, น ปน อรญฺญวาสานุจฺฉวิกา กาจิ สมฺมาปฏิปตฺตีติ อปวาทวเสน วตฺตพฺพต , อารญฺญเกหิ วา ติรจฺฉานคเตหิ, วนจรวิสภาคชเนหิ วา สทฺธึ วิปฺปฏิปตฺติวเสน วต ฺตพ ฺพต อาปชฺชติ. แปลว ่า สองบทว่า วต ฺตพฺพต อาปชฺชติ ความว ่า ย ่อมถึงความเป็นผู้อันชน ๔๙ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๕๐/๓๔๓. ๕๐ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๔๓. ๕๑ อ้างแล้ว, หน้า ๕๐. ๕๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๖/๓๑๕.


๒๓ ทั้งหลายพึงกล่าวด้วยอปวาทะ (การระราน) ว่า “ภิกษุโน้น สักว่าอยู่ในป่าเท่านั้น เหมือนพวกสัตว์ เดียรัจฉาน และเหมือนพวกนายพรานป่า ฉะนั้น แต่หามีสัมมาปฏิบัติอะไร ๆ อันสมควรแก่ภิกษุผู้อยู่ ป่าไม่” คือความเป็นผู้อันชนทั้งหลายพึงกล่าวกับสัตว์เดียรัจฉานที่อยู่ในป่าหรือกับชนที่เป็นวิสภาคกัน ซึ่งเที่ยวไปในป่า ด้วยสามารถแห่งการปฏิบัติผิด.๕๓ ใช้ปัจจัย คือ โต ในการบอกเหตุผล เช ่น วิวิต ฺต เสนาสนนฺติ อิมินา เสนาสนคฺคหเณน สงฺคหิตเมว สามญฺญโชตนาภาวโต. แปลว่า ด้วยเสนาสนศัพท์นี้ว่า “วิวิตฺต เสนาสน ” เป็นอันท่าน สงเคราะห์รวบรวมเสนาสนะแล้วนั่นแล เพราะมีสามัญญโชตนา (ส่องความหมายทั่ว ๆ ไป).๕๔ ๗.๗ การใช้กริยาอาขยาตในสีลขันธวรรคฎีกาอาขยาตเป็นส่วนหนึ่งของบาลีไวยากรณ์ที่ มุ่งน าเสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื่องกริยา หรือการกระท าต่าง ๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ฉะนั้น อาขยาตจึงมีวิภัตติที่เป็นตัวบ่งบอกกาลต่าง ๆ๕๕ สีลขันธวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที่น าหลักการในอาขยาต มาใช้ในการอธิบายเนื้อหา ซึ่งพบเห็นอาขยาตในสีลขันธวรรคฎีกาอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไปของสีลขันธวรรค ฎีกา ดังนั้นในที ่นี้ ผู้เรียบเรียงจะขอน าเสนอ ภวิสสันติวิภัตติที่เป็นวิภัตติบ่งบอกอนาคตกาลของ ปัจจุบัน มีค าแปลว่า จัก ที่สีลขันธวรรคฎีกาน ามาใช้ในการอธิบายเนื้อหาดังนี้ เอต ฺถาห ยทิ รญ ฺโญ กม ฺมนฺตรายาภาเว ตสฺมึเยว อาสเน ธม ฺมจกฺขุ อุป ฺปชฺชิสฺสติ, กถ อนาคเต ปจฺเจกพุทฺโธ หุตฺวา ปรินิพ ฺพายิสฺสติ,อถ ปจฺเจกพุทฺโธ หุตฺวา ปรินิพ ฺพายิสฺสติ, ๕๖ กถ ตทา ธมฺมจกฺขุ อุปฺปชฺชิสฺสติ, นนุ อิเม สาวกโพธิปจฺเจกโพธิอุปนิสฺสยา ภินฺนนิสฺสยาติ? นาย วิโรโธ อิโต ปรโต เอวสฺส ปจฺเจกโพธิสมฺภาราน สมฺภรณียโต. แปลว่า ในอธิการนี้ พระโจทกาจารย์กล่าวท้วงว่า ถ้าว ่าธรรมจักษุจักเกิดขึ้นแก ่พระราชาบนอาสนะนั้น นั ่นแลในเพราะไม่มีอันตรายคือกรรมไซร้ พระราชาจักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพานในอนาคตได้อย่างไร ถ้าพระราชาจักเป็นพระปัจเจก พุทธเจ้าปรินิพพานไซร้ ธรรมจักษุจักเกิดขึ้นในกาลนั้นได้อย่างไร อุปนิสัยแห่งสาวกโพธิและปัจเจกโพธิ เหล่านี้ เป็นนิสสัยที่ถูกท าลายแล้วมิใช่หรือ ปริหารกาจารย์พึงกล่าวเฉลยว่า นี้ไม่ใช่ความผิด เพราะ พระราชานั้นทรงสั่งสมปัจเจกโพธิสมภารยิ่งกว่านี้นั่นแล.๕๗ ๕๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๖/๓๑๒. ๕๔ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๖/๓๑๓. ๕๕ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๕๕. ๕๖ ปรินิพฺพายิสฺสติ ส าเร็จรูปมาจาก ปริ-นิ บทหน้า วา ธาตุ ในความดับ ลง ย ปัจจัย ในกัตตุวาจก และ ลง สฺสติ ในหมวด ภวิสสันติวิภัตติ แปลง ว ที่ วา ธาตุ เป็น พ ซ้อน พ ส าเร็จรูปเป็น ปรินิพฺพายิสฺสติ แปลว่า จัก ปรินิพพาน. ๕๗ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๕๓/๓๔๘.


๒๔ ๗.๘ การใช้นามกิตก์ในสีลขันธวรรคฎีกา นามกิตก์เป็นส่วนหนึ่งของบาลีไวยากรณ์ที่มุ่ง น าเสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื่องการท าตัวรูปศัพท์ต่าง ๆ อย่างมีกระบวนการ๕๘ หมายความว่า ค านามหรือ ค าคุณนามที่เราเห็นกันในที่ทั่ว ๆ ไป ล้วนผ่านกระบวนการท าตัวรูปในนามกิตก์ทั้งสิ้น ฉะนั้น บางครั้ง สีลขันธวรรคฎีกา มักจะใช้หลักการในนามกิตก์มาเป็นเครื่องมือในการอธิบายเนื้อหา เพื่อให้เข้าถึง สภาวะหรือเข้าใจประเด็นนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ดังตัวอย่างดังนี้ - ขโย มีรูปวิเคราะห์ว่า ขิโณติ กิเลเสติ ขโย, มคฺโค แปลว่า สภาวะที่ชื่อว่า ขยะเพราะ วิเคราะห์ว่า ยังกิเลสให้สิ้นไป ได้แก่มรรค.๕๙ โดยรูปวิเคราะห์ดังกล่าว สามารถอธิบายได้ว่า ขิโณติ เป็นเหตุกัตตุวาจก จึงท าให้รูปวิเคราะห์นี้เป็นกัตตุรูป ดังหลักการที่ว่า กิริยาในรูปวิเคราะห์ใดเป็นกัตตุ วาจกหรือเหตุกัตตุวาจก รูปวิเคราะห์นั้นเป็นกัตตุรูป๖๐ นอกจากนี้ รูปวิเคราะห์ดังกล่าว ไม่มีสัพพนาม คือ น เอเตน เอตสสฺส อยู่ในรูปวิเคราะห์ จึงสงเคราะห์สาธนะตามรูป คือ สงเคราะห์ให้เป็นกัตตุสาธ นะ และค าว่า ขโย นี้ ลง อ ปัจจัยในหมวดกิตกิจจปัจจัย - อนฺโต มีรูปวิเคราะห์ว่า อมติ คจฺฉติ เอตฺถ สภาโว โอสานนฺติ อนฺโต, มริยาทา. แปลว่า ชื่อว่าอันตะ คือเขตแดน (มริยาทา) เพราะวิเคราะห์ว่า เป็นที่ไป คือด าเนินแห่งสภาวะ คือที่สุด.๖๑ โดย รูปวิเคราะห์ดังกล่าว สามารถอธิบายได้ว่า อมติ คจฺฉติ เป็นกัตตุวาจก จึงท าให้รูปวิเคราะห์นี้เป็นกัตตุ รูปตามหลักการข้างต้น และรูปวิเคราะห์นี้ มี เอตฺถ ที่มีรูปเป็นสัตตมีวิภัตติ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกความเป็น อธิกรณสาธนะ ฉะนั้น รูปวิเคราะห์นี้จึงเป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ และ ลง อ ปัจจัยในหมวดกิตกิจจ ปัจจัย - อตฺตา มีรูปวิเคราะห์ว่า อาหิโต อห มาโนติ เอตฺถาติ อตฺตา. แปลว่า ชื่อว่าอัตตา เพราะ วิเคราะห์ว่า เป็นที่ตั้งลงแห่งมานะว่า เรา.๖๒ โดยรูปวิเคราะห์ดังกล่าว สามารถอธิบายได้ว่า อาหิโต เป็นกัตตุวาจก จึงท าให้รูปวิเคราะห์นี้เป็นกัตตุรูปตามหลักการข้างต้น และรูปวิเคราะห์นี้มี เอตฺถ ที่มี รูปเป็นสัตตมีวิภัตติ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกความเป็นอธิกรณสาธนะ ฉะนั้น รูปวิเคราะห์นี้จึงเป็นกัตตุรูป อธิ กรณสาธนะ และ ลง อ ปัจจัยในหมวดกิตกิจจปัจจัย - อตฺถกถา มีรูปวิเคราะห์ว่า อตฺโถ กถียติ เอตายาติ อตฺถกถา. แปลว่า ชื่อว่า อรรถกถา เพราะวิเคราะห์ว่า เป็นเครื่องกล่าวเนื้อความ.๖๓ โดยรูปวิเคราะห์ดังกล่าว สามารถอธิบายได้ว่า กถียติ ๕๘ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๘๗. ๕๙ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗/๑๓๐. ๖๐ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๙๒. ๖๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๕๓/๑๙๕. ๖๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๒๘ /๔๕๗. ๖๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/-/๑๘.


๒๕ เป็นกัมมวาจก จึงท าให้รูปวิเคราะห์เป็นกัมมรูป ตามหลักการที่ว่า กิริยาในรูปวิเคราะห์ใดเป็นกัมม วาจกหรือเหตุกัมมวาจก๖๔ รูปวิเคราะห์นั้นเป็น กัมมรูป และรูปวิเคราะห์ที่ว่านี้ มี เอตาย ที่มีรูปเป็นต ติยาวิภัตติซึ่งเป็นตัวบ่งบอกความเป็นกรณสาธนะ ฉะนั้น รูปวิเคราะห์นี้ จึงเป็นกัมมรูป กรณสาธนะ ลง อ ปัจจัยในหมวดกิตกิจจปัจจัย ๗.๙ การใช้กริยากิตก์ในสีลขันธวรรคฎีกากิริยากิตก์เป็นส่วนหนึ่งของบาลีไวยากรณ์ที่มุ่ง น าเสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื่องกริยาเหมือนกับอาขยาต แตกต่างตรงที่อาขยาตเป็นกริยาหลัก ส่วนกริยา กิตก์เป็นกริยาย่อย สีลขันธวรรคฎีกาได้น าหลักการในกริยากิตก์มาใช้ในการอธิบายเนื้อหา ซึ่งจะพบ เห็นกริยากิตก์อยู่ในสีลขันธวรรคฎีกาจนคุ้นเคย จะอย่างไรก็ตาม ในที่นี้ ผู้เรียบเรียงจะน าเสนอเพียง ตพฺพ ปัจจัย ที่แปลว่า ควร เท่านั้น ทั้งนี้ เพราะว่า ตพฺพ ปัจจัยมีความส าคัญในแง่ที่เป็นปัจจัยบ่งบอก ความจ าเป็นของการกระท านั้น ๆ หรือการปฏิบัติแบบนั้น ซึ ่งหากไม่ท าหรือไม่ปฏิบัติ ก็อาจจะ ก่อให้เกิดความเสียหาย โดยสีลขันธวรรคฎีกาได้ใช้ ตพฺพ ปัจจัย ในการอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับการ รักษาศีล ดังนี้ อิติ หิท สีล นาม สพฺพสมฺปตฺตีน อธิฏฺฐฃาน , สพฺพพุทฺธคุณาน ปภวภูมิ, สพฺพพุทฺธกรธมฺมาน มาทิจรณ มุข ปมุขนฺติ พห ุมาน อุป ฺปาเทต ฺวา กายวจีส ยเม , อินฺท ฺริยทมเน, อาชีวสม ฺปทาย, ปจฺจยปริโภเค จ สติสมฺปชญฺญพเลน อปฺปมตฺเตน ลาภสกฺการสิโลก มิตฺตมุขปจฺจตฺถิก วิย สลฺลกฺเขตฺวา กิกีว อณฺฑนฺติอาทินา ตนเยน สกฺกจฺจ สีล สม ฺปาเทตพ ฺพ .๖๕ แปลว่า พระมหาสัตว์พึงยังมานะเป็นอัน มากให้เกิดขึ้นว่า ก็ธรรมดาว่าศีลนี้เป็นที่ตั้งแห่งสมบัติทั้งปวง เป็นภูมิเป็นแดนเกิดแห่งพุทธคุณทั้งปวง เป็นเบื้องต้น เป็นจรณะ เป็นหัวหน้า เป็นประมุข แห่งธรรมอันท าความเป็นพุทธะทั้งปวง แล้วเป็นผู้มี สติสัมปชัญญะเป็นก าลัง เป็นผู้ไม่ประมาทในการส ารวมกายวาจา ในการฝึกอินทรีย์ ในอาชีวสัมปทา และในปริโภคปัจจัย ก าหนดลาภสักการะและชื่อเสียงให้เป็นเหมือนข้าศึกผู้เงื้อมดาบขึ้น ให้ศีลถึง ความพร้อมด้วยความเคารพ ตามนัยแห่งค าที่กล่าวแล้วว่า “กิกีว อณฺฑ ” เป็นต้น.๖๖ ๗.๑๐ การใช้สมาสในสีลขันธวรรคฎีกา สมาสเป็นส ่วนหนึ ่งของบาลีไวยากรณ์ที ่มุ่ง น าเสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื ่องการน าศัพท์ตั้งแต่สองศัพท์ขึ้นไปมาต ่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ๖๗ ซึ ่งสีล ๖๔ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๙๒. ๖๕ สมฺปาเทตพฺพ ส าเร็จรูปมาจาก ส บท หน้า ปท ธาตุ ในความถึง ลง เณ ปัจจัย ในเหตุกัตตุวาจก และลง ตพฺพ ปัจจัยในกิริยากิตก์ ลบ ณ ที่ เณ ทิ้งเสีย และอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อธาตุมีพยัญชนะสองตัวและมี รูป เป็นรัสสะ (เสียงสั้น) ซึ่งในที่นี้ คือ ปท ธาตุ เมื่อลงปัจจัยในเหตุกัตตุวาจก (เณ ณฺย ณาเป ณาปย) จะต้องทีฆะ (ท าให้ ยาว) ปท ธาตุ เป็น ปาท จึงส าเร็จรูปว่า สมฺปาเทตพฺพ แปลว่า พึงให้ถึงพร้อม. ๖๖ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗/๑๐๗. ๖๗ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๑๐๑.


Click to View FlipBook Version