๒๗๖ ทราบโยชนาสัจจะ ๔ อย่างนี้ว่า ตัณหา หรือตัณหาและอวิชชาเป็นสมุทยสัจ รูปธรรมและอรูปธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสมุทยสัจนั้น เป็นทุกขสัจ ความไม่เป็นไปแห่งทุกขสัจและ สมุทยสัจนั้นเป็นนิโรธสัจ สมถะและวิปัสสนาอันรู้ชัดนิโรธเป็นมัคคสัจฯ อนึ่ง พึงอธิบายธรรมทั้งหมดที่เป็นฝ่ายอกุศล คือ มายา สาเฐยยะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ปาปิจฉตา ปาปมิตตตา อหิริกะ และอโนตตัปปะเป็นต้น ด้วย ตัณหา-ศัพท์ อนึ่ง พึงอธิบายธรรมฝ่ายอกุศล มีมนสิการตรงกันข้ามกับโกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ สารัมภะ โทวจัสสตา ภวทิฏฐิ และวิภวทิฏฐิเป็นต้น ด้วยอวิชชา-ศัพท์ฯ พึงอธิบาย ธรรมฝ่ายกุศลด้วยสามารถแห่งมนสิการที่ไม่ตรงกันข้ามมีอมายาและอสาเฐยยะเป็นต้นโดยวิปริยายที่ กล่าวแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ที่เป็นฝ่ายสมถะ และแห่งอนิจจสัญญาเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่าย วิปัสสนา ดังว่ามาฉะนี้ นี้เป็น ภูมิแห ่งนันทิยาวัฏฏนัยฯ พรรณนาติปุกขลนัย โดยการกล่าวการไม่ท าอาฆาตะเป็นต้น ย่อมมีความส าเร็จแห่งอโทสะ อนึ่ง ด้วยการกล่าว การเว้นขาดจากปาณาติบาตและผรุสวาจาย่อมมีความส าเร็จแห่งอโทสะฯ ด้วยการกล่าวการไม่กระท า อานันทะ (ยินดี) เป็นต้น มีความส าเร็จแห่งอโลภะ ด้วยการกล่าวถึงการเว้นขาดจากอพรหมจริยะก็ อย่างนั้นฯ ส่วนว่าด้วยการกล่าวการเว้นขาดจากอทินนาทานเป็นต้นมีความส าเร็จทั้ง ๒ อย่างฯ ด้วย ค าว่า “ตยิท ภิกฺขเว ตถาคโต ปชานาติ” เป็นต้น มีความส าเร็จแห่งอโมหะฯ ด้วยอกุศลมูล ๓ อันชน ถือเอาแล้ว ดังว่ามานี้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกุศลมูลนั้น และเพราะกล่าวถึงการไม่ท าอาฆาตะเป็นต้น ย่อมเป็นอันส าเร็จกุศลมูล ๓ นั่นเองฯ บรรดากุศลมูลและอกุศลมูลนั้น โดยอกุศลมูล ๓ พึงให้ธรรม ทั้งหมดที่เป็นฝ่ายอกุศลพิสดารด้วยสามารถแห่งทุจริต ๓ มีสังกิเลส มละ วิสมะ อกุศลสัญญา วิตก และอสัทธรรม เป็นต้นฯ และพึงให้ธรรมทั้งหมดที่เป็นฝ่ายกุศล คือสุจริต ๓ โวทานะ สมะ กุศลสัญญา วิตก ปัญญา สัทธรรม สมาธิวิโมกข์ เป็นต้นพิสดาร ด้วยกุศลมูล ๓ฯ ก็แม้ในที่นี้ ก็พึงทราบสัจจโยชนาฯ พึงทราบอย่างไรฯ พึงทราบว่า โลภะ หรือกุศลมูลและอกุศลมูล เป็นสมุทยสัจ ส่วนอุปาทานขันธ์อัน บังเกิดจากกุศลมูลและอกุศลมูลเหล่านั้นอันเป็นอธิฏฐานโคจรของกุศลมูลและอกุศลมูลเหล่านั้นเป็น ทุกขสัจ พึงทราบสัจจโยชนา ตามนัยดังกล่าวมาข้างต้นนี้ ดังว่ามาฉะนี้ นี้เป็นภูมิแห ่งติปุกขลนัยฯ พรรณนาสีหวิกกีฬิตนัย ด้วยการกล่าวถึงการกระท าอาฆาตะและอานันทะเป็นต้น ย่อมมีความส าเร็จแห ่งสติฯ เพราะว่าด้วยสติบุคคลถึงก าหนดสภาวะที่มีโทษและไม่มีโทษและก าหนดโทษและอานิสงส์ในสภาวะ ที่มีโทษและไม่มีโทษ ละสิ่งที่มีโทษ สมาทานสิ่งที่ไม่มีโทษประพฤติฯ อนึ่ง ด้วยการเว้นขาดจากมิจฉา อาชีวะ ย่อมมีความส าเร็จแห ่งวิริยะฯเพราะว่าบุคคลย่อมบรรเทากามวิตก พยาบาทวิตกและวิหิงสา วิตกได้ด้วยวิริยะ และความส าเร็จแห่งวิริยะ ก็คืออาชีวปาริสุทธิศีลฯ ด้วยการกล่าวถึงการเว้นขาดจาก ปาณาติบาตเป็นต้น มีความส าเร็จแห่งสติฯ เพราะว่า ด้วยสติบุคคลก าหนดสภาวะที่มีโทษและไม่มี
๒๗๗ โทษ และก าหนดโทษและอานิสงส์ในสภาวะที่มีโทษและไม่มีโทษนั้น ละส่วนที่มีโทษ สมาทานส่วนที่ ไม่มีโทษประพฤติฯ จริงอย่างนั้น สตินั้น ท่านกล่าวว่า “มีอารมณ์ที่อยู่เฉพาะหน้าเป็นปัจจุปัฏฐาน”ฯ ด้วยค าว่า “ตยิท ภิกฺขเว ตถาคโต ปชานาติ”เป็นต้น ย่อมมีความส าเร็จแห่งสมาธิและปัญญาฯ เพราะ ว่า ด้วยปัญญา บุคคลย่อมมีการหยั่งรู้ตามความเป็นจริง และมีจิตตั้งมั่นรู้ชัดตามความเป็นจริงฯ อนึ่ง ในที่นี้ วิปลาส ๔ ย่อมมีความส าเร็จอย่างนี้ คือวิปลาสว่า “เที่ยง” ในสิ่งที่ไม่เที่ยงโดยนัยว่า “ธรรม เที่ยงยั่งยืน” เป็นต้น วิปลาสว่า “สุข” ในสิ่งที่เป็นสุขหามิได้ โดยนัยว่า “เบื้องหน้าแต่ตายไป เป็นผู้ไม่ มีโรค” และว่า “อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว บรรลุนิพพานในทิฏฐธรรม” เป็นต้น วิปลาสว่า “งาม” ใน สิ่งที่ไม่งาม โดยนัยว่า “เพรียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕” เป็นต้น วิปลาสว่า “ตัวตน” ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน โดยบทอันแสดงทิฏฐิทั้งปวงนั่นแล สติปัฏฐาน ๔ เป็นอันส าเร็จเช่นกัน เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อวิปลาส ๔ นั่นฯ พึงแสดงบุคคล ๔ จ าพวก โดยอินทรีย์ ๔ บรรดาธรรมเหล่านั้นฯ อย่างไรเล่าฯ เป็นความจริง บุคคลผู้ประพฤติด้วยอ านาจตัณหามี ๒ จ าพวก คือ พวกมีอินทรีย์อ่อนและ พวกมีอินทรีย์แก่กล้า พวกบุคคลผู้ประพฤติด้วยอ านาจทิฏฐิก็อย่างนั้นฯ บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคล จ าพวกที่ ๑ มีทิฏฐิวิปลาสว่า “งาม” ในสิ่งที่ไม่งาม ก าหนดสภาวะแห่งกายตามความเป็นจริง ด้วย ก าลังสติ ย่อมหยั่งลงสู่การก าหนดชอบฯ จ าพวกที่ ๒ มีทิฏฐิวิปลาสว่า “สุข” ในสิ่งที่หาสุขมิได้ ย่อม ก าจัดวิปลาสนั้นได้ด้วยก าลังแห่งวิริยะกล่าวคือวิริยสังวรที่กล่าวไว้โดยนัยว่า “อุปฺปนฺน กามวิตกฺก นาธิวาเสติ (ไม่ข่มกามวิตกที่เกิดขึ้น)” ๔๗๑ เป็นต้นฯ จ าพวกที่ ๓ มีความถือมั่นตามที่ไม่เป็นจริงในสิ่งที่ ไม่เที่ยงว่า “เที่ยง” ย่อมแทงตลอดขณิกภาวะแห่งสังขารตามความเป็นจริง เพราะภาวะที่ตั้งมั่น ด้วย ก าลังแห่งสมถะฯ จ าพวกที่ ๔ มีความปักใจเชื่อผิดว่า “ตัวตน” ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน เพียงว่ากองธรรม มี ผัสสะเป็นต้น เพราะมีจิตหนักแน่นในอารมณ์อันมีสันตติและ สมูหะเป็นกิจ ย่อมก าจัดความปักใจ เชื่อมั่นผิดนั้นได้ ด้วยมนสิการถึงจตุโกฏิกสุญญตาฯ ก็ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมด คือ อาสวะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ กายคันถะ ๔ อคติ ๔ ตัณหาอุปปาทะ ๔ อุปาทาน ๔ วิญญาณฐิติ ๗ และอปริญญา ๗ เป็นต้น พึงอธิบายไขด้วยวิปลาส ๔ ในธรรมเหล่านี้ฯ อนึ่ง ธรรมที่เป็นฝ่ายผ่องแผ้วทั้งหมด คือ ญาณ ๔ วิหาร ๔ อธิฏฐาน ๔ สุขภาคิยธรรม ๔ อัปปมัญญา ๔ สัมมัปปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔ เป็น ต้น พึงแสดงไขด้วยสติปัฏฐาน ๔ ดังว่ามาฉะนี้ นี้เป็นภูมิแห ่งสีหวิกกีฬิตนัยฯแม้ในที่นี้ ก็พึงทราบสัจจ โยชนาโดยนัยว ่า สุภสัญญา เป็น สมุทยสัจ เพราะสุภสัญญาและสุขสัญญา หรือเพราะวิปลาส ๔ อุปาทานขันธ์ ๕ อันมีอธิฏฐานะเป็นอารมณ์แห่งวิปลาสเหล่านั้น เป็นทุกขสัจ เป็นต้นฯ พรรณนาทิสาโลจนอังกุสนัย ๒ ประการ เพราะความส าเร็จแห่งนัยแห่งเนื้อความทั้ง ๓ นัย ดังว่ามาฉะนี้ แม้โวหารนัยทั้ง ๒ ย่อม เป็นอันส าเร็จเช่นกันฯ จริงอย่างนั้น การสอดส่องอย่างสม ่าเสมอซึ่งธรรมอันเป็นทิส (ปรากฏ) แห่งนัย ๔๗๑ ม.ม. (บาลี) ๑๒/๒๖/๑๕, องฺ.จตุกฺก. (บาลี) ๒๑/๑๔/๑๘-๑๙, อง.ฉกฺก. ๒๒/๕๘/๒๗๓.
๒๗๘ แห่งเนื้อความ ชื่อว่าทิสาโลจนะการพินิจเสมอกันซึ่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าอังกุสะ ท่านประกอบ ๕ นัย ดังว่ามาฉะนี้ พรรณนาปัญจวิธนยะ จบฯ พรรณนาสาสนปัฏฐาน พระสูตรนี้ในสุตตันตปัฏฐาน ๑๖ อย่าง มีในส่วนที่เป็นอเสกขะในการอบรมสังกิเลสก็มีมี ในส่วนอเสกขะในการช าแรกสังกิเลสก็มีฯ ส่วนในสุตตันตปัฏฐาน ๒๘ อย่าง พึงทราบว่า เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ธรรมาธิฏฐาน ๗ การอบรมการพิจารณาธรรมที่พึงรู้ด้วยญาณ ค าพูดตนและค าพูดผู้อื่น กุศลและอกุศล ที่ควรสละและไม่ควรสละ ที่ทรงอนุญาตและที่ทรงห้ามฯ พรรณนาปกรณนัย จบฯ พรรณนาพรหมชาลสูตร จบฯ ๒. สามัญญผลสูตร พรรณนาราชามัจจกถา [๑๕๐] ในค าว่า ราชคเห นี้ ได้แก่ พระนครที่ชื่อว่าราชคฤห์เพราะอรรถว่า พระราชา ทั้งหลาย ทรงครอบครองโดยความเป็นประธาน เพราะประกอบด้วยสมบัติพิเศษโดยเป็นสถานที่อัน บุคคลไปได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มนฺธาตุ ฯเปฯ วุจ ฺจติ”ฯ พระนครราชคฤห์นั้นอัน พระมหาสัตว์นามว่า มหาโควินทะ บรรดาพระราชาเหล่านั้นทรงครอบครอง อันพระราชาทั้งหลายมี พระราชาพระนามว่า เรณุเป็นต้นทรงครอบครองเช่นกัน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ามหาโควินทคหณะ (พระราชาโควินทะทรงครอบครอง)ฯ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระราชาพระองค์เก่าพระองค์หนึ่งซึ่ง มีอานุภาพมาก ชื่อว่ามหาโควินทะฯ บทว่า ปริค ฺคหิตต ฺตา ได้แก่ เพราะพระราชาทรงยึดครองโดย ความเป็นราชธานีฯ บทว่า ปกาเร ได้แก่ ปการะเช่นนี้ คือ ชื่อว่าราชคฤห์เพราะมีต าหนักทั้งปวงอัน พระราชาทรงให้สร้างโดยรับสั่งให้สร้างพระนคร ชื่อว่า ราชคฤห์เพราะเป็นเช่นกับด้วยต าหนักที่ถูก แวดล้อมด้วยภูเขาหลวง เพราะภูเขาคิชฌกูฏเป็นต้นแวดล้อม ดังนี้ก็มีชื ่อว ่าราชคฤห์เพราะเป็น ต าหนักที่งดงามเพราะมีการเสวย (สมบัติ) ที่สมบูรณ์ ดังนี้ก็มีชื่อว่าราชคฤห์เพราะอรรถว่า เป็น ต าหนักของพระราชาผู้เป็นข้าศึก ผู้ทรงเข้าถึง โดยความเป็นผู้น ามาซึ่งอนัตถะ เหตุมีการอารักขา จัดแจงไว้พร้อมดังนี้ ก็มีชื่อว่า ร าชคฤห์เพราะเป็นต าหนักของพระราชาเหล่านั้น เหตุพระราชา ทั้งหลายทรงเห็นแล้ว ทรงให้ประดิษฐานโดยชอบ ดังนี้ก็มี ชื่อว่าราชคฤห์เพราะอรรถว่า รุ่งเรืองด้วย อารามอันน่ารื่นรมย์ใจเป็นต้น หรือว่าเพราะอันสัตว์ทั้งหลายยึดเอา คือครอบครอง ด้วยสามารถแห่ง ความเป็นเรา ด้วยเหตุต่างมีความเป็นผู้มีสุขด้วยการอาศัยอยู่เป็นต้นฯ ประเทศนั้นเป็นแดนบริโภค
๒๗๙ แห่งสัตว์อย่างโอฬาร โดยความเป็นสถานที่พิเศษ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ต ปเนต ”เป็นต้นฯ บทว่า เตส ได้แก่ ยักษ์ฯ บทว่า วสนวน ได้แก่ ใกล้ป่าอันเป็นภูมิเป็นที่ดื่มกินฯ บทว่า อวิเสเสน ได้แก่ เว้นจากการยึดมั่นถือมั่นพิเศษอันส าเร็จด้วยการเทียบเคียงด้วย ศัพท์อื่น เหมือนในค าว่า “ภิกษุสังวรในปาติโมกข์อยู่๔๗๒ เข้าปฐมฌานอยู่๔๗๓ มีใจสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่๔๗๔ เข้าเจโตสมาธิอันชื่อว่าไม่มีนิมิต เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่” ๔๗๕ ดังนี้ เป็นต้น ฉะนั้นฯ ชื่อว่าอิริยาบถเพราะอรรถว่า เป็นทางโดยความเป็นอุบายเครื่องเป็นไปแห่งการ กระท าทางกายอันประเสริฐฯจริงอยู่ เว้นจากการเป็นอยู่ มีการไปและการกลับเป็นต้น บรรดาการยืน เป็นต้น อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อให้การกระท าทางกายอะไรๆ เป็นไปได้ฯ ชื่อว่าวิหาร (การอยู่) เพราะ อรรถว่า เป็นเหตุอยู่ คือเป็นไป และเพราะเป็นการอยู่ การอยู่อันน ามาซึ่งภาวะทิพย์ ชื่อว่าทิพพวิหาร ได้แก่ มหัคคตฌานฯ ก็ในเนตติปกรณ์ท่านกล่าวว่า อารุปปสมาบัติ ๔ เป็นอาเนญชวิหาร ค านั้นท่าน กล่าวหมายเอาความเป็นภาวนาพิเศษ เหมือนความที่เมตตาฌานเป็นต้นเหล่านั้นเป็นพรหมวิหาร ฉะนั้นฯ ส่วนในอรรถกถาทั้งหลายกล่าวแม้อารุปปสมาบัติเหล่านั้นว่า “ทิพพวิหาร”เพราะสามัญแก่ การน ามาซึ่งความเป็นภาวะทิพย์ฯ ชื่อว่าพรหมวิหาร เพราะอรรถว่า เป็นการอยู่อันประเสริฐ คือเป็น การเป็นอยู่อันสูงสุด แห่งความเป็นไป ด้วยสามารถน าเข้าไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูล เป็นต้น ได้แก่เมตตา ฌานเป็นต้นฯ ชื่อว่าอริยวิหาร เพราะอรรถว่า เป็นการอยู่แห่งอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะไม่ทั่วไปแก่ชน อื่น ได้แก่ผลสมาบัติแม้ทั้ง ๔ฯ บทว่า สมง ฺคีปริทีปน ได้แก่ แสดงความเป็นแห่งความสามัคคีฯ ชื่อว ่า การแสดงความประกอบพร้อมด้วยอิริยาบถเพราะไม่มีค าแตกต่างกันอันแสดงการประกอบพร้อมด้วย การอยู่นอกนี้ และเพราะการแสดงการประกอบพร้อมด้วยอิริยาบถส าเร็จประโยชน์ได้ฯ วิ-ศัพท์ ในค า ว่า วิหรตินี้ ส่องถึงความหมายว่า ตัดฯ บทว่า หรติความว่า น าไป คือให้เป็นไปฯ พระอรรถกถาจารย์ กล่าวว่า “โส หิ”เป็นต้น หมายเอาการทักท้วงที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในว่า ในค าว่า วิหรตินั้น ตัดใคร จาก ใคร เป็นไปแก่ใคร อย่างไรฯ พระอรรถกถจารย์กล่าวว่า “ราชคเห” เพื่อแสดงโคจรคาม แล้วกล่าวค าว่า “อมฺพวเน” เพื่อแสดงที่ประทับอันสมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า“อิทมสฺส”เป็น ต้นฯ ค าว่า เอต นั่น เป็นสัตตมีวิภัติในอรรถสมีปะเหมือนค าว่า“คงฺคายคาโว จรนฺติ(โคเที่ยวไปใกล้ แม่น ้าคงคา)”และเหมือนค าว่า “กูเป คคฺคกุล (กบใกล้บ่อ)” ฉะนั้นฯ ชื่อว่ากุมารภตะ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันพระกุมารทรงเลี้ยง กุมารภตะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าโกมารภัจจ์เหมือน ภิสัคคะนั่นเอง ชื่อว่า ๔๗๒ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๖๙/๖๒, ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๗๕/๗๙. ๔๗๓ วิ.มหา. (ไทย) ๑/๑๑/๕, ที.สี. (ไทย) ๙/๒๒๖/๗๕, ส .นิ. (ไทย) ๑๖/๑๕๒/๒๕๐, องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๑๒๓/๑๘๗. ๔๗๔ ที.สี. (ไทย) ๙/๕๕๖/๒๔๔, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๘/๒๘๐, ม.มู. (ไทย) ๑๒/๗๗,๔๕๙,๕๐๙/ ๖๗,๔๙๗,๕๔๘, ม.ม. (ไทย) ๑๓/๓๐๙,๓๑๕,๔๕๑,๔๗๑/๓๗๓, ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๒๓๐/๒๗๐. ๔๗๕ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๕๙/๔๙๗.
๒๘๐ เภสัชชะ ฉะนั้นฯ บทว่า โทสาภิสนฺน ได้แก่ โทษหนาขึ้นด้วยสามารถแห่งลมและดีเป็นต้นฯ บทว่า วิเรเจต ฺวา ได้แก่สงัดจากความก าเริบแห่งโทษฯ บทว่า อฑฺฒเตฬสหิได้แก่ ๑๓ ด้วยทั้งกึ่ง คือด้วยร้อยแห่งภิกษุทั้งหลายที่ ๑๓ ด้วยทั้งกึ่ง (๑,๒๕๐) ก็ร้อยแห่งภิกษุเหล่านั้น เป็นร้อยแห่งภิกษุที่ ๑๓ หย่อนไปด้วยภิกษุ ๕๐ เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า “อฑฺฒสเตน” เป็นต้นฯ บทว่า ราชติคือ รุ่งเรือง ได้แก่งดงามฯ บทว่า รญ ฺเชติได้แก่ ให้ยินดีฯ บทว่า รญ ฺโญ ได้แก่ พระราชาพระนามว ่าพิมพิสารผู้เป็นพระบิดาฯ ชื ่อว ่าสัตตุเพราะอรรถว ่าเป็นอยู่ เพราะอรรถว่า เบียดเบียนฯ บทว่า ภาริเยได้แก่ อันหนัก หรือว่า อันไม่สามารถแก่บุคคลเหล่าอื่นฯ บทว่า สุวณ ฺณสต ฺถเกน ได้แก่ด้วยศาสตราอันส าเร็จด้วยทองฯ ท่านกล่าวว่า จริงอยู่ สิ่งที่ส าเร็จด้วยเหล็กไม่ควร น าเข้าถึงพระสรีระของพระราชาฯ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุวณ ฺณสต ฺถเกน ได้แก่ ด้วยศาสตราที่หุ้มด้วย ทองค าฯสองบทว ่า พาห ุ ผาลาเปต ฺวา ได้แก ่ ให้ผ ่าแขนด้วยสามารถแห ่งการไม่เจาะพระเศียรฯ พระราชาทรงท าลายแล้วด าเนินไปทางน ้า เพราะความที่โลหิตอย่างเดียวสลายยากส าหรับสตรีผู้มี ครรภ์ฯ บทว่า ธุรา ได้แก่ผู้เป็นธุระของคณะ อธิบายว่า ผู้น าไปซึ่งธุระฯ สองบทว่า ธุร นีหรามิความ ว่า เราจะยังธุระของคณะให้บังเกิดในความเกี่ยวเนื่องกันของคณะฯ ค าว่า ปุพ ฺเพ โข เป็นต้นเป็นพระ บาลีในขันธกะนั่นเองฯ บทว่าโปต ฺถนิย ได้แก่กฤช ซึ่งเรียกกันว่า “นขระ” ก็มีฯ บทว่า ทิวาทิวสฺส ได้แก่ ในวันแม้แห่งวัน อธิบายว่า ในเวลาเที่ยงวันฯ พระราชาทรงเลียพระสรีระของพระเทวีนั้นทรงยังอัตภาพให้เป็นไป การตายด้วยความ พยายามของตนไม่สมควรฯ เพราะว่า พระอริยสาวกย่อมไม่ยังตนให้ตกล่วงไปฯ บทว่า มค ฺคผลสุเขน ความว่าพระราชาทรงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการเสด็จจงกรม อันน ามาซึ่งความสุขในมรรคผล คืออัน ประกอบพร้อมด้วยความสุขในโสดาปัตติมรรรคและโสดาปัตติผลฯ บทว่า เจติยง ฺคเณ ได้แก่ ที่ลาน พระเจดีย์ อันเป็นสถานที่รองรับการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นฯ บทว่า นิสชฺชนต ฺถายได้แก่ เพื่อเป็นที่นั่งของภิกษุสงฆ์ฯ พระราชาย่อมบังเกิดเป็นยักษ์ในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา ฯลฯ ด้วย สามารถแห่งความรักที่สั่งสมมานานในเทวโลกนั้นเพราะพระองค์ทรงเคยบังเกิดในเทวโลกนั้นมากครั้งฯ บทว่า โจเภต ฺวา ได้แก่ยังสรีระทั้งสิ้นให้หม่นหมองด้วยรูปธรรมอันมีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปเพราะความรักในพระโอรสมีก าลังและเพราะก าลังแห่งปีติที่เกิดพร้อมกันมี การแผ่ซ่านไปฯ ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า“อฏ ฺฐฃิมิญ ฺช อาหจ ฺจ อฏ ฺฐฃาสิ(ได้ตั้งอยู่จรด เยื่อในกระดูก)”ฯ บทว่า ปิตุคุณ ได้แก่ คุณคือความรักในพระองค์แห่งพระบิดาฯ อิติ-ศัพท์ ในค าว่า มุญ ฺจาเปต ฺวา นี้เป็นปการัตถะ ด้วย อิติ-ศัพท์นั้น เมื่อปการะนั่นเองอันท่านกล่าวด้วยค าว่า“อภิมารก ปุริสเปสนาทิปฺปกาเรน” ย่อมรวมเอาเฉพาะฯ บทว่า วิต ฺถารกถานโย ได้แก่ เพียงนัยแห่งเรื่องที่พึง กล่าวโดยพิสดารด้วยสามารถแห่งความเลื่อมใสของพระกุมารพระนามว่าอชาตศัตรูเป็นต้นฯ ก็ในที่นี้
๒๘๑ เพราะเหตุไร จึงไม่กล่าวเรื่องที่มีนัยพิสดาร เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า“อาคตต ฺตา ปน สพ ฺพ น วุต ฺต ”ฯ บทว ่า โกสลรญฺโญ ได้แก่ พระราชาพระนามว่ามหาโกศลฯ ค าว ่า ปณ ฺฑิตาธิวจน เป็น ไวพจน์ของค าว่าปัณฑิตะฯ บทว่า วิทนฺติได้แก่ ย่อมรู้ฯ ชื่อว่าเวเทหิเพราะอรรถว่า ไป คือเป็นไปด้วย ความรู้คือด้วยญาณอันเป็นตัวกระท าฯ บทว่า เอต ฺถ ได้แก่ ในวันนั่นฯ วา-ศัพท์ ในค าว่า อนสเนน วา มีเนื้อความไม่แน่นอน ด้วย วา-ศัพท์นั้นย่อมรวมถึงมโนทุจริตและโทษเครื่องทุศีลบางกลุ่มฯ จริงอย่างนั้น อุโบสถของนายโคบาล ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งจิตที่สหรคตด้วยอภิชฌา อุโบสถของนิครนท์กล่าวด้วยสามารถแห่งการเว้น จากโมสโทษเป็นต้นฯ เหมือนอย่างที่กล่าวว่า “โส เตน อภิชฺฌาสหคเตน เจตสา ทิวส อตินาเมติ” ๔๗๖ และว่า “อิติยสฺมึสมเย สจฺเจ สมาทเปตพฺพา, มุสาวาเท ตสฺมึสมเย สมาทเปนฺติ” ๔๗๗ เป็นต้นฉะนั้นฯ บทว่าเอต ฺถ ได้แก่ในอุโบสถ-ศัพท์ฯ บทว่า อต ฺถุท ฺธาโร ได้แก่การรื้อขึ้นซึ่งเนื้อความที่ต้องกล่าวถึงฯ ก็ปติ-ศัพท์ย่อมมุ่งหมายถึงทุกความหมาย เพราะเหตุนั้น ความหมายเป็นอเนกไม่กล่าว ด้วยศัพท์เดียวมิใช่หรือฯ ค านั่นก็จริง เมื่อยังไม่เพ่งความแตกต่างกันของศัพท์ แต่ว่า ความหมาย เหล่านั้นมีวิจารนี้ซึ่งท่านกล่าวเทียบเคียงถึงความเป็นสามัญแก่ความเป็นศัพท์ที่ค วรกล่า วว่าด้วย อุโบสถ-ศัพท์ท่านจึงกล่าวว่า รื้อขึ้นซึ่งเนื้อความแห่งอุโบสถ-ศัพท์ฯ แม้ในการรื้อขึ้นซึ่งเนื้อความซึ่งมา ในค าว่า“เอว เม สุต ” เป็นต้น ในหนหลัง ก็นัยนี้เหมือนกันฯ อุโบสถ-ศัพท์แม้ที่มีปาติโมกขุทเทสเป็น ต้นเป็นอารมณ์(วิสัย) ชื่อว่ามีรูปทั่วไป (สามัญญะ) เพราะไม่บอกศัพท์แตกต่างกันนั่นเอง ถึงกระนั้นก็ พึงทราบว่า กล่าวความหมายนี้เพราะไม่ค านึงถึงสามัญญะอันเช่นนั้นฯ ชื่อว่าอุโบสถเพราะอันภิกษุ ทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ผู้เข้าถึงด้วยสามารถแห่งความหมดจดแห่งศีลย่อมอยู่คือไม่ลุกขึ้น ได้แก่ปา ติโมกขุทเทสฯ ชื่อว่าอุโบสถ เพราะอันชนเข้าถึงด้วยสามารถแห่งการสมาทาน หรือด้วยสามารถแห่ง การอธิษฐานแล้วอยู่ เพื่อประโยชน์มีการอยู่อย่างอริยะเป็นต้น ได้แก่ศีลฯ ชื่อว่าอุโบสถ เพราะอัน บุคคลเข้าถึงแล้วอยู่คืออยู ่ตามด้วยสามารถแห่งการไม่กินอาหารเป็นต้นฯ การสมาทาน ชื ่อว่า อุปวาสะฯ ค าว่า อุโบสถ เป็นเพียงสมัญญาด้วยสามารถแห่งรุฬหีศัพท์ (ศัพท์ที่คล่องปาก) เพราะไม่ เพ่งถึงการกระท าอะไร ๆ ในช้างตัวประเสริฐซึ่งนับเนื่องในหมู่ช้างจ าพวกที่ ๙ เพราะเป็นตระกูล อุโบสถ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อุโปสโถ นาคราชาติอาทีสุ ปญ ฺญต ฺติ”ฯ ก็ในอรรถกถาท่าน กล่าวความเป็นไปด้วยอุโบสถ-ศัพท์ในวันนั่นแลฯ ก็ในค าว่าสุทฺธสฺสเว สทา ผคฺคุค าว่าสุท ฺธสฺส ได้แก่ หมดจดเพราะไม่มีมลทินคือกิเลสฯ ค าว่า เว เป็นเพียงนิบาตฯ อีกอย่างหนึ่ง ค าว่า เว มีความหมายว่า เฉียบแหลมฯ ค าว่า สทา ผค ฺคุได้แก่ นักษัตร เดือนผัคคุณะ (เดือนมีนาคม) แม้ตลอดกาลเนืองนิตย์ฯ ลัทธิว่า ก็เมื่อผู้ใดกระท าการอาบน ้าที่ท่าน ้าในวันแห่งเดือนผัคคุณะตอนต้นเดือน ในเดือนผัคคุณะย่อม เป็นการลอยบาปประจ าปีส าหรับผู้นั้น ค านี้พระผู้มีพระภาคตรัสเพื่อให้เข้าใจลัทธินั้นฯ ค าว่าสุท ฺธสฺสุ ๔๗๖ องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๗๑/๒๐๐ (อุโปสถสุตฺต). ๔๗๗ องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๗๑/๒๐๑ (อุโปสถสุตฺต).
๒๘๒ โปโถ สทาความว่าองค์อุโบสถและวัตรสมาทานของผู้บริสุทธิ์ตามที่กล่าวแล้วเป็นนิจจอุโบสถแม้ของ ผู้ที่ไม่สมาทาน ได้แก่การอยู่จ าอุโบสถนั่นเองฯ ชื่อว่าปันนรสะ(๑๕ ค ่า)ด้วยสามารถเป็นที่เต็มแห่งดิถี ที่ ๑๕ฯ ดอกโกมุททั้งหลายโดยมากหรือว่าโดยเป็นดอกไม้อันดียิ่งมีอยู่ในดิถีนี้ เพราะเหตุนั้น จึง ชื่อว่ากุมุทวดี ในดิถีที่มีดอกโกมุทนั้น ดิถีอันเป็นที่เต็มรอบแห่งเดือนทั้งหลาย ๔ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า จาตุมาสีฯ ดิถีนั้นนั่นแหละในพระบาลีท่านกล่าวว่าจาตุมาสินี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อิธ ปน จาตุมาสินีติ วุจ ฺจติ”ฯ ในกาลนั้น ดิถีนั้นชื่อว่ามาสปุณณตา เพราะเป็นดิถีที่พระจันทร์เต็มดวงแห่ง เดือนกัตติกา (เดือน ๑๒) ชื่อว่าอุตุปุณณตา เพราะเป็นฤดูแห่งกาลฝนที่มีพระจันทร์เต็มดวง ชื่อว่า สังวัจฉรปุณณตา เพราะเป็นปีที่ท่านก าหนดด้วยเดือนกัตติกามีพระจันทร์เต็มดวงฯ พระจันทร์ท ่าน เรียกว ่า “มา” เพราะเป็นดิถีแห่งวันอันพึงนับตามคติแห่งพระจันทร์นั้นฯ พระจันทร์ชื่อว่าเต็มเพราะ ความเต็มรอบแห่งเซี้ยวทั้งปวงแห่งราตรีนั้นฯ เพราะว่า ในกาลนั้นพระจันทร์ปรากฏเต็มรอบโดย ประการทั้งปวงฯ ก็ในค าเหล่านี้ บททั้งหลายว่า “ตทหุโปสเถ ปนฺนรเส” ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่ง วันฯ ค าทั้งหลายมีว่า “โกมุทิยา” เป็นต้นท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งราตรีฯ บทว่า ราชามจ ฺจปริวุโต ความว่า อันอ ามาตย์ทั้งหลายผู้บังเกิดในราชตระกูลแวดล้อมฯ อีกอย่างหนึ่ง ผู้อันอนุยุตตกราชและอ ามาตย์ทั้งหลายแวดล้อมฯ บทว่า จตุรุปกฺกิเลสาความว่า เพราะ สิ่งเศร้าหมอง ๔ อย่างเหล่านี้คือ เมฆ หมอก กลุ่มควัน ราหูฯ ความส าเร็จท่านท าไว้แล้วในอรรถกถาฯ บทว่า ปีติวจน ความว่า ค าพูดอันมีปีติเป็นสมุฏฐานฯ จริงอยู่ ค าพูดใดปราศจากความ ประสงค์ของผู้รับ เปล ่งเสียงออกจากปากโดยเร็วพลันด้วยสามารถแห่งปีติอันโอฬารอย่างเดียวฯ ค าพูดนั้นท่านประสงค์เอาว่า “เป็นค าอุทาน”ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ค าพูดที่เกิดพร้อมด้วย ปีติอันใดไม่สามารถจับถึงหทัย” เป็นต้นฯ ดิถีใดไปแล้ว คือด าเนินไปแล้ว ได้แก่ปราศจากไปแล้วจากโทษทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ราตรีนั้น ชื่อว่าโทสินา โดยแปลงตอักษรเป็นทอักษร เหมือนในประโยคค าพูดว่า “พระผู้มีพระภาค ทรงชนะกิเลสทั้งหลายได้แล้วชื่อว่าทรงมีชัยชนะเพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่าพระชินเจ้า”ฯ อนียศัพท์พึงทราบว่าลงในอรรถกัตตุวาจก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มน รมยตีติ รมณียา” และ เหมือนประโยคค าพูดว่า “นิยฺยานิกา ธมฺมา”๔๗๘ฯ ความที่ราตรีมีรูปดีย่อมมีด้วยสามารถแห่งชุณห ปักข์ (ข้างขึ้น) เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “วุต ฺตโทสวิมุต ฺติยา”ฯ ในค าพูดเหล่านั้น สภาพมีหมอก เป็นต้น ชื่อว่าโทษอันท่านกล่าวแล้วฯ ความที่ราตรีนั้น ชื่อว่าทัสสนียตาเพราะราตรีนั้นไปปราศจาก เมฆหมอกนั้นนั่นเองฯ พึงทราบความที่ราตรีนั้นเป็นราตรีที่แจ่มใสเพราะปราศจากเมฆหมอกนั้น และ เพราะถึงพร้อมด้วยฤดูฯ ข้อว่า ลกฺขณ ภวิตุ ยุต ฺตาความว่า วัน เดือน ฤดู ปี ที่ประกอบด้วยราตรีนั้น เพราะเหตุนั้น ราตรีที่ประกอบเป็นลักษณะของตนแห่งวัน เดือน ฤดู และปี ชื่อว่าลักขัญญาอธิบายว่า ราตรีที่ท่านพึงก าหนดฯ ๔๗๘ อภิ.สงฺ. (บาลี) ๓๔/๙๗/๑๖.
๒๘๓ เพราะท่านกล่าวไว้ว่า “ย โน ปยิรุปาสโต จิตฺต ปสีเทยฺย” ในค านี้ว่า “สมณ วา พฺราหฺมณ วา” นี้ สมณะโดยปรมัตถ์และพราหมณ์โดยปรมัตถ์ท่านประสงค์เอาแล้ว ไม่ได้ประสงค์เอาสมณะเพียง แค่บรรพชาและไม่ได้ประสงค์เอาพราหมณ์เพียงชาติเพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สมิตปาปตาย สมณ , พาหิตปาปตาย พ ฺราห ฺมณ ”ฯ เมื่อควรจะพูดเป็นพหุวจนะ ท่านกล่าวเป็นเอกวจนะ เมื่อควรพูด เป็นเอกวจนะ ท่านพูดเป็นพหุวจนะ เช่น วจนพ ฺยตโยฯแต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ท่านแสดงความ พิเศษไว้ด้วยสามารถแห่งเอกวจนะเท่านั้น การประกอบด้วยพหุวจนะประกอบแล้วในตน หรือว่าใน ครุฏฐานิยบุคคลบางชนฯ บทว่า สพ ฺเพนปิความว่า ด้วยค าพูดทั้งปวงมีว่า “รมณียา วต”ฯ บทว่า โอภาสนิมิต ฺตกม ฺม ความว่า กรรมนิมิตอันเป็นโอภาส ความว่า กรรมนิมิตอันปรากฏชัดฯ จ-ศัพท์ในค า ว่า เทวทต ฺโต จ ย่อมประกอบเข้าในการน าเข้าไปสู่ตน คือด้วยจ-ศัพท์นั้นย่อมน าเข้าถึงเนื้อความนี้ว่า พระเจ้าอชาตศัตรูมีความผิดมากเพราะปลง พระชนม์พระบิดาของตน ซึ ่งเป็นอริยสาวก เป็นผู้ อุปัฏฐากพระศาสดา ฉันใด ความเป็นที่พึ่งอาศัยของพระผู้มีพระภาคโดยที่พระองค์เป็นที่พึ่งอาศัยแก่ พระเทวทัตผู้กระท าอนัตถะเป็นอันมากย่อมมีฉันนั้นฯ สองบทว่า ตสฺส ปิฏ ฺฐฃิฉายาย ได้แก่ โดยข้าง ด้านหลังของชีวกนั้น อธิบายว่าเพื่อไม่เห็นพระศาสดานั้น เพราะท าชีวกไว้ตรงหน้าฯ บทว่า วิกฺเขป-ปจ ฺ เฉทนตฺถ ได้แก่ เพื ่อตัดความฟุ้งซ ่านที ่จะเกิดขึ้นเพราะถ้อยค าของตนที ่ขยายอยู่ อธิบายว่า เพื่อ ต้องการไม่ให้เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า “ตสฺส หิ” เป็นต้นฯ [๑๕๑] บทว่า“โส กิร”เป็นต้นมีนัยที่มาแล้วในโบราณอรรถกถาฯ แม้ในค าอธิบายบทว่า มกฺขลิข้างหน้าก็นัยนี้เหมือนกันฯ บทว่า อุปสง ฺกมนฺติได้แก่ เข้าไปใกล้ฯ หลายบทว่าตเทว ปพ ฺพชฺช อค ฺคเหสิความว่า ถือเอารูปชนเปลือยนั้นนั่นแลเป็นบรรพชาฯ สองบทว่า ปพ ฺพชิตสมูหสง ฺขาโต ส โฆ ได้แก่ หมู่ด้วยเหตุสักว่าความประชุมพร้อมกันแห่ง บรรพชิต อธิบายว่า หาชื่อว่าหมู่เพราะถูกก าจัดด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้เสมอกันด้วยทิฏฐิอันน า ออกจากภพ และศีลอันบริสุทธิ์อย่างดีไม่ฯ สองบทว่าอสฺส อต ฺถิ ความว่าผู้ที่ปฏิญญาว่าศาสดานั้นมีผู้ เป็นบริวารอยู่ฯ บทว่า เสฺวว ได้แก่ กล่าวคือการประชุมพร้อมแห่งบรรพชิตนั่นเองฯ ส่วนอาจารย์บาง พวกกล่าวว่า ชื่อว่าส ฆีด้วยสามารถแห่งหมู่บรรพชิตชื่อว่าคณีด้วยสามารถแห่งหมู่คฤหัสถ์ ค านั้น ชื่อ ว่าเป็นเพียงมติของอาจารย์เหล่านั้น เพราะส ฆ-ศัพท์เป็นศัพท์ที่คล่องปากในโลกคือคณะฯ บทว่า อาจารสิกฺขาปนวเสน ได้แก่ด้วยสามารถแห่งการให้ศึกษาอาจาระมีอเจลกจริยาเป็นต้นฯ บทว่า ปากโฏ ได้แก่อันท่านประกาศแล้ว โดยความเป็นสังฆี เป็นต้นฯ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า “อปฺปิจฺ โฉ” แล้วกล่าวค าว่า“อป ฺปิจ ฺฉตาย วต ฺถม ฺปิ น นิวาเสติ” เพื่ออันแสดงความเป็นผู้มักน้อยอันได้ในค าว่า อป ฺปิจ ฺโฉ นั้นฯ ก็ใคร ๆ ย่อมไม่ได้ความเป็นผู้ปรารถนาน้อย อันมีการปกปิดคุณที่มีอยู่เป็นลักษณะ เหมือนในศาสนิกนั้น ฉะนั้นฯ เกียรติศักดิ์ ชื่อว่ายศฯ ลัทธิ เรียกว่า ติตถะ เพราะรู้พร้อมกันอย่างนี้ว่า “ตรนฺติเอเตน ส สาโรฆ ” เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ติต ฺถกโรติ ลท ฺธิกโร”ฯ บทว่าสาธุสม ฺมโต ได้แก่ รู้พร้อมกันว่า “ดี” ไม่ใช่อันสาธุชนทั้งหลายรู้พร้อม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อย สาธุ” เป็นต้นฯ ชื่อว่ารัตตัญญูเพราะอรรถว ่า รู้ราตรีมากอันก้าวล ่วงไปจ าเดิมแต ่บวช ด้วยคิดว่า “วัตต สมาทานเหล่านี้เราประพฤติดีแล้ว ตลอดกาลประมาณเท่านี้”ฯ ชื่อว่าจิรปัพพชิตะ เพราะอรรถว่า มี
๒๘๔ แก่บรรพชิตนั้นสิ้นกาลนานเพราะท าอธิบายว่า ก็ราตรีเหล่านั้นเป็นกาลนานส าหรับบรรพชิตนั้นฯ บรรดาศัพท์เหล่านั้นท่านแสดงความเป็นแห่งพุทธิและศีลด้วยจิรปพ ฺพชิตตา-ศัพท์แสดงความเป็นแห่ง ความรู้ในพุทธิสีลตานั้นด้วย รต ฺตญ ฺญุตา-ศัพท์ฯ บทว่า อท ฺธาน ได้แก่สิ้นกาลยาวนานฯ ก็กาลนั้นมี ก าหนดประมาณเท่าไร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เทฺว ตโย ราชปริวฏฺเฏ” ความว่า ล าดับการ ครองราชย์ของพระราชา ๒–๓ พระองค์ฯวย-ศัพท์ที่กล่าวว่า“อทฺธคโต” ท าไว้เป็นศัพท์ที่เพ่งถึงความ สิ้นไปในกาลสุดท้ายเพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า“ปจ ฺฉิมวย อนุป ฺปต ฺโต”ฯ บทว่าอุภย ได้แก่ บท ๒ บท คือบทว่า “อทฺธคโต” และบทว่า “วโยอนุปฺปตฺโต”ฯ ท่านกล่าว “ฌานาภิญ ฺญาทิ ฯเปฯ โสตุกาโม” หมายเอาความที่เทศนาอันพระกุมารเคย เสด็จไปส านักพระศาสดากับพระบิดา สดับแล้วในกาลก่อนฯ บทว่า ทสฺสเนน ความว่า มิใช่เพียงการ เห็น แต่ว่า เห็นแล้วยังกระท าการเจรจาปราศรัยกับพระองค์ต่อจากนั้นยังได้สดับอกิริยวาทะแล้วไม่ พอใจต ่อพระองค์ฯ บทว ่าค ุณกถาย ได้แก่คุณกถาอันไม ่เป็นจริงฯ ด้วยเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว่า “สุฏฺฐฃุตร อนตฺตมโน หุตฺวา”ฯ ถ้าว่า ไม่พอพระทัยเพราะเหตุไรจึงทรงนิ่ง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “อนต ฺตมโน สมาโนปิ” เป็นต้นฯ [๑๕๒] บทว่า โคสาลาย ได้แก่ หมู่บ้านที่มีชื่ออย่างนั้นฯ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ศาลา เป็นที่ยืนแห่งโคทั้งหลายในกาลฝนฯ [๑๕๓] บทว่า ปฏิกิลิฏ ฺฐฃตร ได้แก่ เลวกว่าฯ บทว่า ตนฺตาวุตานิได้แก่กางหูกออกแล้วทอฯ ด้วยค าว่า “สีเต สีโต” เป็นต้นท่านแสดงความที่ความเลวนั้นเลวกว่าโดยอาการ ๖ อย่างฯ [๑๕๔] ด้วยปิ-ศัพท์ในค าว่า วจ ฺจ กต ฺวาปิย่อมรวมเอาเนื้อความนี้ว่า แม้บริโภคโภชนะ แล้ว แม้อันสิ่งไม่สะอาดอย่างใดอย่างหนึ่งเปื้อนแล้วฯ สองบทว่า วาลิกถูปํ กต ฺวา ได้แก่ ท าสถูปแห่ง ทรายด้วยสามารถแห่งวัตรฯ [๑๕] บทว่า ปลิพุนฺธนกิเลโสได้แก่กิเลสมีราคะเป็นต้น อันมีความพัวพันในสังสาระเป็น กิจ มี นา สวน บุตร และทาระ เป็นต้นเป็นอารมณ์ฯ พรรณนาโกมารภัจจชีวกกถา [๑๕๗] ท่านกล่าวค าว่า “อนต ฺโถ วต เม” เพราะท าอธิบายว่า ย่อมไม่เป็นไปตามประสงค์ฯ พระอรรถกถาจารย์ เมื่อแสดงว่า พระราชาทรงมีอัธยาศัยในเรื่องนี้ว่า ความที่หมอชีวกเป็นผู้นิ่งเป็น เช่นกับเหยียบย ่าความประสงค์ของเรา เพราะฉะนั้น ต้องให้ความประสงค์ของเราบริบูรณ์ด้วยการ ถามเขาแล้วให้เขากล่าว จึงกล่าวว่า “หต ฺถิม ฺหิ นุ โข ปน”เป็นต้นฯ ค าว่ากึ ตุณ ฺหีความว่าชีวกเป็นผู้ นิ่งเพราะเหตุอะไร มีค ากล่าวอธิบายว่า เหตุที่ท่านนิ่งคืออะไรฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เกน การเณน ตุณ ฺหี”ฯ
๒๘๕ การปฏิบัติของพระตถาคตแม้ทั้งหมดไม่ทั่วไปแก่บุคคลอื่น และน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีก็จริง แม้ถึงอย่างนั้น การหยั่งลงสู่ครรภ์ การประสูติการเสด็จออกผนวช การบรรลุสัมโพธิญาณ การให้ ธรรมจักรเป็นไป การแสดงยมกปาฏิหาริย์ และการเสด็จลงจากเทวโลกก็ปรากฏอย่างดียิ่ง ในโลก พร้อมเทวโลก อันใคร ๆไม่อาจขัดขวางได้เพราะเหตุนั้น ในที่นี้จึงยกเหตุเหล่านั้นขึ้นฯ บทว่าอิต ฺถม ฺภู ตาข ฺยานต ฺเถได้แก่ในอรรถคือการกล่าวอย่างนี้ว่า ปการะเป็นแล้ว คือเกิดแล้วนี้ คืออย่างนี้ฯ บทว่า อุปโยควจน ความว่า อุปสัคคืออภิ ในค าว่า “อพฺภุคฺคโต” นี้ส่องถึงอรรถที่กล่าวถึงอิตถัมภูต เพราะ ประกอบด้วยอภิ-อุปสัคนั้นจึงเป็นทุติยาวิภัติในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตินี้ว่า “ต โข ปน ภควนฺต ” ด้วยเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ตสฺส โข ปน ภควโตติ อต ฺโถ”ฯ บทว่ากลฺยาณคุณสมนฺนาคโตได้แก่ผู้ประกอบ ด้วยกัลยาณคุณ อธิบายว่า ผู้อาศัยกัลยาณคุณนั้นเพราะมีกัลยาณคุณนั้นเป็นวิสัยฯ แม้ในค าว่า เสฏ ฺโฐฃ นี้ก็มีนัยนี้เหมือนกันฯ ชื่อว่ากิตติเพราะอันบุคคลพึงก าหนด กิตตินั้นนั่นแล ชื่อว่าสัททะ เพราะอัน บุคคลพึงฟัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า“กิต ฺติสท ฺโทติ กิต ฺติเยว”ฯ สัททะอันเป็นไปแล้วด้วยอ านาจ แห่งการชมเชย ชื่อว่าถุติโฆสะฯ กิตติสัททะนั้นขจรไปท ่วมทับ คือครอบง าโลกพร้อมเทวโลกเพราะ เป็นไปปรารภถึงพระคุณที่ไม่ทั่วไปแก่บุคคลอื่นฯ สองบทว่า โส ภควาความว่า พระผู้มีพระภาคนั้นทรงบ าเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน ทรงหัก สรรพกิเลสบรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณ ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ เป็น พรหมยิ่งกว่าพรหม ทรงเป็นพระโลกนาถ ทรงมีกิตติศัพท์แผ่ไปในทุกสถานว่า “ภควา” ในโลกพร้อม เทวโลกด้วยเหตุมีความเป็นผู้มีส่วนจ าแนกธรรมเป็นต้นฯ ก็ค าว่า“ภควา” นี้ เป็นการก าหนดพระนาม ของพระศาสดาฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระธรรมเสนาบดี จึงกล่าวว่า “พระนามว่า ภควา นั่นพระมารดา มิได้ทรงชนานให้” ๔๗๙ เป็นต้นฯ ส่วนข้างหน้า จะเป็นการก าหนดพระคุณว่า ภควาฯ พระโยคาวจรผู้เรียนกรรมฐานประกอบ อิติ-ศัพท์แต่ละศัพท์ใน ๙ ฐานะ มีว่า“อรห ” เป็น ต้น ระลึกตามพุทธคุณฉันใด พระอรรถกถาจารย์เมื่อแสดงว่า แม้ด้วยการก าหนดพุทธคุณจึงกล่าวว่า “อิติปิอรห ,อิติปิสมฺมาสมฺพุทฺโธฯเปฯ อิติปิภควา” ฉันนั้นฯ อิติ-ศัพท์ในที่นี้มีความหมายว่าท าศัพท์ ที่อยู่ใกล้ ให้ประจักษ์ปิ-ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะเหมือนในค าว่า “อิติเปต อภูต , อิติเปต อตจฺฉ ” ๔๘๐ เป็นต้น และ ด้วย ปิ-ศัพท์นั้นแสดงความที่พระคุณเหล่านั้นมีมากฯ อนึ่ง เหตุเหล่านั้นอันวิญญูชนเมื่อ จะก าหนดท าให้มีหน้าพร้อมต่อจิตนั่นเทียวก าหนด เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์เมื่อแสดงจึง กล่าวว่า “อิมินา จ อิมินา จ การเณนาติวุตฺต โหติ”ฯ ก็เมื่อพระโยคาวจรก าหนดใส่ใจอยู่อย่างนี้ ส าหรับพระโยคาวจรผู้ก าหนดได้ดีพร้อมย่อมมีความเลื่อมใสยิ่งในพระผู้มีพระภาคอย่างล้นพ้นฯ บทว่า อารกต ฺตาได้แก่เพราะทรงด ารงอยู่ไกลแสนไกลฯ บทว่าอรีน ได้แก่ซี่ก าคือกิเลสฯ บทว่าอราน ได้แก่ ซี่ก าแห่งสังสารจักรฯ บทว่า หตต ฺตา ได้แก่ เพราะพระองค์ทรงก าจัดได้แล้วฯ บทว่า ปจ ฺจยาทีน ได้แก่ ปัจจัยมีจีวรปัจจัยเป็นต้นและการบูชาพิเศษฯ บทว่า ตโต ได้แก่ จากปกรณ์พิเศษชื่อว่าวิสุทธิมรรคฯ ๔๗๙ ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๘๔/๒๔๙. ๔๘๐ ที.สี. (บาลี) ๙/๕/๓.
๒๘๖ อนึ่ง พึงถือเอาความพิสดารแห่งเหตุเหล่านั้น แม้จากสังพรรณนานั้นเหมือนจากปกรณ์พิเศษชื่อว่า วิสุทธิมรรค ฉะนั้นฯ เพราะเหตุที่หมอชีวกยืนฟังพุทธคุณในส านักของพระศาสดาโดยมากจึงไม่มีการกล่าวถาม ในสัตถุศาสน์ถึงความเป็นผู้องอาจแล้ว เพราะได้เห็นสัจจะแล้วด้วย เพราะฉะนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า “ชีวโก ปน” เป็นต้นฯ บทว่า ปญ ฺจวณ ฺณาย ได้แก่ มี๕ ประการ คือ มีขุททกาปีติเป็นต้นฯ สรีระ ชื่อว ่าอันปีติต้องเข้าแล้วอย ่างต ่อเนื่อง เพราะมีอธิการท าไว้แล้วฯ ก็คุณสรีระของพระราชานั้นได้ ถูกลบล้างและก าจัดแล้วด้วยอ านาจแห่งอันตรายคือกรรมฯ [๑๕๘] ความที่แห่งเหตุเป็นเหตุประเสริฐสุด เพราะกล่าวว่า “อุตฺตม ” เป็นเหตุในที่นี้นั่น เทียว อย่างเดียวก็หามิได้ ที่แท้แล แม้ความเป็นผู้เงียบเสียงก็เป็นเหตุ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถา จารย์ เพื่อจะแสดง จึงกล่าวค าว่า“อสฺสยานรถยานานิ”เป็นต้นฯ พระราชาเมื่อจะทรงรับเอาท าไม่ให้ มีพยศนั่นแลในยานคือช้างทั้งหลาย จึงทรงยังช้างพังทั้งหลายนั่นแลให้ส าเร็จฯ เพื่ออันป้องกันความ ระแวงแห่งพระราชา พระราชาจึงทรงให้สตรีทั้งหลายนั่งบนยานคือช้างเหล่านั้นโดยความเป็นผู้มีการ เที ่ยวไปใกล้ๆฯ เพื ่ออันแสดงว ่าชนเหล ่าอื ่นเข้าใกล้พระราชาได้โดยยาก พระราชาจึงทรงให้สตรี เหล่านั้นจ าแลงเพศเป็นบุรุษทรงท าให้ถืออาวุธฯ บทว่า ปฏิเวเทสิได้แก่ให้ทราบฯ บทว่า ตเทวได้แก่ การไปหรือการไม่ไปก็ได้ฯ [๑๕๙] ค าว่า มหญ ฺจ เป็นปฐมาวิภัติในอรรถแห่งตติยาวิภัติเพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “มหตา จ”ฯ ค าว่า มหจ ฺจ ได้แก่ มหติยา (อันใหญ่) ค านั้นกล่าวด้วยอ านาจลิงควิปลาส จึงมีค า กล่าวอธิบายว่า มหนฺเตนฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ราชานุภาเวน”ฯ ท่านกล่าวความที่พระราชา ทรงเป็นใหญ่แห่งแคว้นอังคะและแคว้นมคธ ด้วยค าว่า “ท ฺวินฺน มหารฏ ฺฐฃาน อิสฺสริยสิริ”ฯ บทว่า อาสต ฺตขค ฺคานิได้แก่ พระขรรค์ที่เหน็บไว้ด้วยสามารถแห่งการคล้องห้อยลงที่ไหล่ฯ ชื่อว่า มหามัตตะ เพราะอรรถว่า มีประมาณมากด้วยสามารถแห่งตระกูล โภคะ และอิสริยยศ เป็นต้น ได้แก่พวกราช บุรุษผู้มีอานุภาพมากฯ บทว่า วิชฺชาธรตรุณา วิยได้แก่ เหมือนพระกุมารผู้ทรงวิชชาฯ บทว่า รฏ ฺฐฃิยปุต ฺ ต า ได้แก่ พวกโภชบุตรฯ บทว ่า หต ฺถิฆฏา ได้แก่ โขลงช้างฯ บทว ่า อญ ฺญมญ ฺญสง ฺฆฏฺฏนา ได้แก่ สัมพันธ์กันและกันโดยการไปด้วยสามารถแห่งความไม่ขาดสายฯ ความสะดุ้งแห ่งจิตชื่อว่าภัย เพราะอรรถว่ากลัวเอง เหมือนท าอธิบายว่า ภายติฯ ญาณ ชื่อว่าภัย เพราะข้ามจากความกลัวว่า “ภายิตพฺพมิท (นี้น่ากลัว)” ในเมื่อวัตถุที่น่ากลัวนั่นแลปรากฏ โดยเป็นภัยฯ ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวด้วยค าถามว่า “ก็ญาณปรากฏแต่ภัยย่อมกลัวหรือย่อม ไม่กลัว ตอบว่า ไม่กลัวฯ เพราะว่า สังขารทั้งหลายก้าวล่วงภัยนั้นแล้วดับไป สังขารทั้งหลายที่เป็น ปัจจุบันย่อมดับไป สังขารทั้งหลายที่เป็นอนาคตก็จักดับไป เพราะเหตุนั้น ภัยนั้นจึงเป็นเพียงการข้าม เท่านั้น” ๔๘๑ฯ อารมณ์ ชื่อว่าภัยเพราะอรรถว่า เป็นแดนกลัวฯ โอตตัปปะชื่อว่าภัย เพราะอรรถว่า เป็นเหตุกลัวบาปฯ บทว่า ภยานก ได้แก่ อาการอันน่ากลัวฯ บทว่า ภย ได้แก่ ภัยคือญาณฯ บทว่า ๔๘๑ วิสุทฺธิ. (ไทย) ๒/๗๕๑/๔๒๕.
๒๘๗ ส เวค ได้แก่ ญาณพร้อมด้วยโอตตัปปะฯ บทว่าสนฺตาส ได้แก่ความสะดุ้งโดยประการทั้งปวงฯ ชื่อว่า ภัย เพราะอรรถว่า น่ากลัว ชื่อว่าเภรวะ เพราะเป็นความดุร้าย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าภยเภรวะ ได้แก่ วัตถุอันบุคคลพึงกลัวฯ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า “อาคจ ฺฉติ”ฯ สองบทว่า ภีรุ ปส สนฺติความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความสะดุ้งกลัวแต่ความ น่ากลัว คือแต่ความสะดุ้งกลัวแต่บาปฯ ค าว่า น หิ ตต ฺถ สูร ความว่า ก็บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญ ความกล้าในการท าบาปนั้น คือการก าจัดความคะนองฯด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ภยา หิ สนฺโต น กโรนฺติ ปาปํ”ฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยา ได้แก่ จากความสะดุ้งแต่บาป อธิบายว่า มีโอตตัป ปะเป็นเหตุฯ บทว่า สรีรจลน ได้แก่ ความสั่นไหวแห่งร่างกายด้วยอ านาจแห่งความกลัวฯ บทว่า เอเก ได้แก่ อาจารย์ผู้อยู่ที่อุตตรวิหารฯ ค าว่า “ราชคเห” เป็นต้น เป็นการเปิดเผยการอธิบายของอาจารย์ เหล่านั้นฯ ผู้เสมอกันโดยวัย ท่านเรียกว่า “วยสฺโส”ก็จริง ถึงกระนั้นศัพท์นั้นก็เป็นศัพท์คล่องปาก(รุฬ หีศัพท์) ได้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นสหายเสมอกันโดยวัย เพราะฉะนั้น ค าว่า วยสฺสาภิลาโป จึงเป็นการร้อง เรียกสหายฯ บทว่า น วิป ฺปลม ฺเภสิได้แก่ ไม่ได้ให้กล่าวให้คลาดเคลื่อนฯ บทว่า วินสฺเสย ฺย ได้แก่ เดือดร้อนด้วยความคับแค้นจิตฯ พรรณนาการถามถึงสามัญญผล [๑๖๐] สองบทว่า ภควโต เตโชได้แก่ อานุภาพของพระพุทธเจ้าฯ อานุภาพแผ ่ไปสู่พระ สรีระของพระราชา เหมือนแผ่ไปสู่สรีระนั้นของโสณทัณฑพราหมณ์ ผู้ไปอยู่สู่ส านักของพระผู้มีพระ ภาค ผู้อยู่ภายในราวป่า ฉะนั้นฯ บทว่า เอเก ได้แก่ อาจารย์ผู้อยู่ที่อุตตรวิหารฯ [๑๖๑] ค าว่า เยน และ ค าว่า เตน เป็นตติยาวิภัติ ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัติเพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ยต ฺถ ภควา, ตต ฺถ คโต”ฯ เพื่ออันแสดงความที่ความเป็นผู้นิ่งในภิกษุสงฆ์นั้นอาบไป โดยไม่มีส่วนเหลือในกาลนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “ตุณฺหีภูเต ตุณฺหีภูต ” เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ยโต ยโต ฯเปฯ เมวาติ อต ฺโถ”ฯ ความไม่ส ารวม คือการไม่กระท าสัมปชัญญะ เพราะคะนองมือ พึง ทราบว่า หัตถกุกกุจจะฯ วา-ศัพท์ เป็นวิกัปปัตถะ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ด้วยวา-ศัพท์นั้น พึงทราบว่า ความเป็นคือความไม่ส ารวมอื่นจากนั้น อันท่านอธิบายให้ชัดเจนแล้วฯ ก็ในค านั้น ความไม่ส ารวมจักษุ เป็นที่ ๑ แห่งความไม่ส ารวมทั้งหมด และห้ามได้ยาก เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงความไม่ส ารวมจักษุนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “สพ ฺพาลง ฺการปฏิมณ ฺฑิต ”เป็นต้นฯ แม้ความไม่ส ารวมนอกนี้เป็นอันบุคคลได้แล้ว นั่นแลโดยอนุมาน ด้วยความเข้าไปสงบทางกายและทางวาจาอันได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มานสิเกน จ”ฯ บทว่า อุปสม ได้แก่ ความส ารวม อธิบายว่า อาจารสมบัติฯ บทว่า ปญ ฺจปริวฏ ฺเฏ ได้แก่ การวนไปรอบแห่งบุรุษ ๕ฯ บทว่า ปญ ฺจหากาเรหิได้แก่ ด้วยอาการ ๕ อันมาแล้วโดยนัยอย่างนี้ ว่า “อิฏฺฐฃานิฏฺเฐฃ ตาที” ๔๘๒ เป็นต้น และอันส าเร็จด้วยอริยฤทธิ์ ๕ อย่างฯ บทว่า ตาทิลกฺขเณ ได้แก่ ใน ความเป็นผู้คงที่ฯ ๔๘๒ ขุ.ม. (บาลี) ๒๙/๓๘,๑๙๒/๙๕.
๒๘๘ [๑๖๒] ค าว่า น เม ปญ ฺหวิสฺสชฺชเน ภาโร อต ฺถิเป็นค าแสดงความที่แห่งพระศาสดาทรง เป็นผู้มีการเที่ยวไปแห่งพระญาณอันปัจจัยอะไรๆ ไม่กระทบแล้วในที่ทั้งปวงฯ อาจารย์ทั้งหลายย ่อม ไม ่กล ่าวว ่า ยทากง ฺขสิแต่กล่าวถ้อยค า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สุต ฺวา เวทิสฺสาม” เพราะด ารง ในปเทสญาณฯ สัมพันธ์ว่า ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปวารณาซึ่งสัพพัญญูปวารณาฯ ค าว่า “ยกฺชนรินฺทเทวสมณพ ฺราห ฺมณปริพ ฺพาชกาน ” นี้ มีเนื้อความแสดงถึง สุตตบทที่มาแล้วด้วยอ านาจ แห่งบุคคลผู้ถามมีว่า “ปุจฺฉาวุโส ยทากงฺขสิ” ๔๘๓ เป็นต้นฯ ค าว่า “ปุจ ฺฉาวุโส ยทากง ฺขสิ” นี้ เป็นการ ท าโอกาสแก่อาฬวกยักษ์ฯ ค าที่เหลือเป็นค าท าโอกาสแก่ยักษ์ที่เหลือที่มียักษ์นรินทะเป็นต้นฯ บทว่า มนสิจ ฺฉสิได้แก่ ปรารถนาด้วยใจฯ ค าว่า ป ุจ ฺฉโว ฺห, ย กิญ ฺจิ มนสิจ ฺฉถความว่า ได้ถามความสงสัยของ พาวรีพราหมณ์ด้วยใจฯ อธิบายว่า ก็ความสงสัยในสรรพสิ่งอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาสรรพสิ่งทั้งหมด ของท่านอันท่านปรารถนาด้วยใจ และด้วยประการอื่น ฉันใด ได้ถาม ฉันนั้นฯ บทว่า สาธุรูปาได้แก่ มีสภาวะที่ดีฯ ธรรมตามประเพณี ชื่อว่าธรรมฯ บทว่า วุท ฺธ ได้แก่ ถึงความเจิญด้วยศีลเป็นต้น อธิบายว่า หนักแน่นฯ สองบทว่า เอส ภาโร ได้แก่ นั่นเป็นภาระกล่าวคือ ตัดความสงสัย อธิบายว่า ภาระมาแล้ว ต้องน ามาแน่แท้ฯสองบทว่า ญต ฺวา สย ได้แก่ รู้เองนั่นแล เว้น จากการแสดงอ้างผู้อื่น บทว่า สุจิรเตน ได้แก่ พราหมณ์ผู้มีชื่ออย่างนั้นฯ ค าว่า ตค ฺฆ ได้แก่ โดยส่วนเดียวฯ ค าว่า ยถาปิ กุสโล ตถาความว่า ผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง คือผู้รู้ทุกอย่าง ย่อมรู้ คือย่อมกล่าว ฉันใด ข้าพเจ้า จักบอก ฉันนั้นฯ ค าว่า ราชา จ โข ต ยทิ กาหติ วา น วา ความว่า ผู้ใดส่งท่านมาในที่นี้เพื่อถาม ผู้นั้น จะท าหรือไม่ท าก็ตาม ซึ่งสิ่งที่พระราชาทรงถาม ก็เราบอกแล้ว จะบอก จักบอกแก่ท่านฯ [๑๖๓] ชื่อว่าสิปปะนั่นและ เพราะอรรถว่า เป็นศิลปะ และเพราะอันชนพึงศึกษา ชื่อว่า สิปปายตนะเพราะเป็นเหตุแห่งความเป็นอยู่ฯ ค าว่า เสย ฺยถิท เป็นนิบาต ความว่า ตสฺส เต กตเมฯ ก็ ชนทั้งหลายผู้อาศัยศิลปะนั้น ๆ เป็นอยู่ อันท่านแสดงศิลปะโดยทั่วไปโดยกล่าวว่า ปุถุสิปฺปายตนานิ ดังนี้ แล้วจึงแสดงยิ่งขึ้นไป เพื่อบริหารความเนิ่นช้าแห่งปุคคลาธิฏฐานกถาฯ ครั้นเมื่อแสดงสิปปายต นะตามที่ประสงค์โดยประการอื่นแสดงชนผู้ที่อาศัยศิลปะนั้นเป็นอยู่ ความเนิ่นช้าก็พึงมีฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “หต ฺถาโรหา” เป็นต้นฯ ชื่อว่าหัตถาโรหะเพราะอรรถว่า ขึ้นช้าง และให้ขึ้นช้างฯ บุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยการ ขึ้นช้าง ด้วยการประกอบเหล่าใด การถือเอาการประกอบนั้นแม้ทั้งหมด เป็นการถือเอาการประกอบ ของช้างฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สพ ฺเพปิ”เป็นต้นฯ บรรดาชนเหล่านั้น ชนผู้ให้การศึกษา ช้างและการท าการขึ้นช้าง ชื่อว่าหัตถาจารย์ฯ หมอช้างชื่อว่าหัตถิเวชชะฯ ชนผู้รักษาเท้าช้าง ชื่อว่า หัตถิเมณฑะฯ ด้วยอาทิ-ศัพท์ ย่อมรวมถึงชนผู้ให้หญ้าแก่ช้างเป็นต้นฯ แม้ในค าว่า อสฺสาโรหา รถิกา นี้ ก็มีนัยนี้เหมือนกันฯ ชนผู้ประกอบในรถชื่อว่ารถิกะฯชนผู้รักษาลิ่มรถชื่อว่ารถรักขะฯชนทั้งหลาย ชื่อว่าธนุคคหะ เพราะอรรถว่า ถือเอาธนู และให้ถือเอาธนู ได้แก่ช่างศร และชนผู้ให้ศึกษา ศิลปะใน ๔๘๓ ส .ส. (บาลี) ๑๕/๒๓๗,๒๔๖/๒๔๙, ขุ.สุ. (บาลี) ๒๕/๑๘๒/๓๖๘-๓๖๙ (อาฬวกสุตฺต).
๒๘๙ เพราะธนูฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ธนุอาจริยา อิสฺสาสา”ฯชนทั้งหลาย ชื่อว่าเจลกะเพราะไป รบ ด้วยผ้า คือด้วยธงแผ่นผ้า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เย ยุท ฺเธ ชยธช คเหต ฺวา ปุรโต คจ ฺฉนฺ ติ”ฯ ชนทั้งหลาย ชื่อว่าจลกะ เพราะอรรถว่า ยังหมู่เสนาผู้ยืนอยู่ตามที่ยืนให้ไหว คือให้หวาดหวั่น จากที่นั้นด้วยการกรีฑาทัพฯ ชนทั้งหลายชื่อว่าปิณฑทายกะเพราะอรรถว่า ตัดแล้วตัดอีกซึ่งหมู่เสนา อื่น เพราะเป็นทหารใหญ่ผู้เด็ดขาดย่อมไป คือโลดขึ้น โลดขึ้นไป เหมือนนกเหยี่ยวเป็นต้น โฉบก้อน เนื้อแล้วบินไป ฉะนั้นฯ ในวิกัปที่ ๒ พึงทราบเนื้อความว่า ชนทั้งกลาย ชื่อว่าปิณฑทายกะเพราะอรรถ ว่า ให้เสบียง คือไป เหมือนเข้าตกไปในความยินดีแห่งชนฯ บทว่า อุค ฺคตุค ฺคตาความว่า พุ่งขึ้น คือ สูงขึ้นเกินเปรียบ ด้วยสามารถแห่งเรี่ยวแรง เชาว์ และความพยามยามเป็นต้นฯ บทว่า ปกฺขนฺทนฺติ ความว่า ไม่ติดขัดเข้าไปสู่กองทัพของฝ่ายอื่น ด้วยความที่ตนเป็นผู้กล้าหาญฯ ชนทั้งหลาย ชื่อว่า ขุนพล(มหานาคา) เหมือนพญานาค เพราะถึงความพร้อมด้วยเรี่ยวแรง พละก าลัง และความพยายาม เป็นต้นฯ บทว่า เอกนฺตสูรา ได้แก่ กล้าหาญเด็ดเดี่ยว คือเป็นผู้เด็ดเดี่ยวรบ เพราะตนเป็นชนกล้า นั่นเองฯ บทว่า สชาลิกา ได้แก่ ผู้ที่คลุมด้วยตาข่ายฯ บทว่า สรปริต ฺตาณจม ฺม ได้แก่ คลุมด้วยหนังเสือ คือหนังแพะ หรือโล่ที่ท ามาจากหนังฯ บทว่า ฆรทาสโยธา ได้แก่ ทหารที่อยู่ภายในฯ เรือนครัว เรียกว่า อาฬาระฯ ชนทั้งหลายผู้ประกอบในเรือนครัวนั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า อาฬาริกา คือผู้ท าภัตรฯ บทว่า ปูวิกา ได้แก่ ผู้ยังขนมให้ถึงพร้อม ซึ่งเตรียมขนมโดยประการต่าง ๆ ขายขนม นั่นแลเลี้ยงชีพฯ ชนทั้งหลาย ชื่อว่ากัปปกา เพราะให้อลังการวิธีส าเร็จ คือจัดแจงแก่มนุษย์ ทั้งหลาย โดยการแต่งผมและเล็บเป็นต้นฯ บทว่า นฺหาปกา ได้แก่ ชนทั้งหลาย ชื่อว่านหาปกา (ช่าง กัลบก) เพราะอรรถว่า ให้อาบน ้าด้วยการน ามลทินออกไปยังวรรณะให้ถึงพร้อมโดยจุรณและเครื่องไล้ เป็นต้นฯ คัมภีร์นับที่เป็นไปโดยเป็นไปด้วยวิธี ๙ เป็นที่สุด เรียกว่า อัจฉิททกะ เพราะไม่มีช่องใน ระหว่างฯ ชนทั้งหลายอาศัยการนับนั้นเป็นอยู่ เรียกว่า อัจฉิททกปาฐกาฯ การให้ชนอื่นรู้ความต้องการ ด้วยมือ ชื่อว่าหัตถมุททา ก็หต ฺถ-ศัพท์ ในค าว่า หต ฺถ มุท ฺทา นี้ พึงเห็นได้ที่นิ้วมือทั้งหลายแต่ละส่วนนั้น เหมือนในค าว่า “น ภุญฺชมาโน สพฺพ หตฺถ มุเข ปกฺขิปิสฺสามิ (เราเมื่อบริโภคจักไม่ใส่มือทั้งหมดเข้า ปาก)” เป็นต้น เพราะฉะนั้น การนับโดยวิธีงอนิ้วมือลงเป็นต้น ชื่อว่าการนับด้วยปลายมือฯด้วย อาทิ- ศัพท์ค าว่า จิต ฺตการาทีนิพึงทราบว่า รวมเอาช่างกลึง ช่างสลัก ช่างเขียนลวดลาย และช่างสานเป็น ต้นเข้าไว้ด้วยฯ สองบทว่า ทิฏ ฺเฐฃว ธม ฺเม ได้แก่ ในอัตภาพนี้นั่นเองฯ บทว่า สนฺทิฏ ฺฐฃิกเมว ได้แก่ อัน บุคคลพึงเห็นเอง เพราะไม่มีในสัมปรายภพ อธิบายว่า อันมีในทิฏฐธรรม ซึ่งบุคคลพึงได้รับเอง คือ ประจักษ์ด้วยตนเองฯ บทว่า สุขิต ได้แก่ ประสบสุขฯ ค าว่า อุปริได้แก่ ในเทวโลกฯ ก็เทวโลกนั้นสูง กว่ามนุษยโลกฯ แต่ความบังเกิด เพราะท ากรรมไว้ ผลแห่งกรรมนั้น เป็นเหมือนเปลวไฟ และกรรมนั้น ก็มีผลในเทวโลกเบื้องบน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อุท ฺธ อค ฺคมสฺสา อต ฺถีติ อุท ฺธค ฺคิกา”ฯ สองบท ว่า สค ฺค อรหติได้แก่ ย่อมคู่ควรสวรรค์อันเป็นผลของตน อธิบายว่า เป็นผู้ควรบังเกิดในสวรรค์นั้นฯ บทว่า สุขวิปากา ได้แก่ เผล็ดผลน่าชอบใจฯ บทว่า สุฏ ฺฐฃุ อค ฺเคได้แก่ สูงสุด คือโอฬารเกินเปรียบฯ ชื่อ ว่าทักขิณา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุขยาย คือเจริญ ได้แก่บุญอันส าเร็จได้ด้วยการบริจาค เพราะเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทกฺขิณ ทาน ”ฯ
๒๙๐ มรรค ชื่อว ่าเป็นสามัญผลเพราะท าอธิบายว่า ความเป็นแห่งสมณะผู้มีบาปอันสงบแล้วฯ เพราะเหตุที่พระราชานี้ได้รับการอภิวาทเป็นต้น จากโลกของทาสและชาวนาเป็นต้นผู้บวชแล้ว ด าริว่า สามัญญผลเป็นผลที่เห็นได้เองดังนี้ จึงด าริอีกว ่า “มีอยู ่หรือหนอแลที่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้รู้ ประโยชน์เช่นนี้” ดังนี้ เมื่อทรงทดลองดู จึงตรัสถามท่านปูรณะเป็นต้น ไม่ทรงพอพระทัยด้วยถ้อยค า ของชนเหล่านั้น จึงทูลถามความนั้นแม้กะพระผู้มีพระภาคฉะนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “อุปริ อาคต ปน ทาสกสฺสโกปม สนฺธาย ปุจ ฺฉติ”ฯ บทว่า กณ ฺหปกฺข ได้แก่ ฝ่ายสังกิเลสอันประกอบพร้อมด้วยทิฏฐิที่ได้อยู่ในเนื้อความตามที่ ถามฯ บทว่า สุกฺกปกฺข ได้แก่ ฝ่ายผ่องแผ้วซึ่งมาในพระสูตรยิ่งขึ้นไปอีกอันขัดต่อฝ่ายสังกิเลสนั้นฯ บทว่า สมณโกลาหล ได้แก่ การทะเลาะกันของสมณะ คือความขัดแย้งกันและกันแห่งสมณวาทะนั้น ๆฯ บทว่า สมณภณ ฺฑน ได้แก่ การบริภาษวาทะนั้น ๆ อย่างนี้ว่า “สมณพราหมณ์เหล่านั้นซึ่งมีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความผิดนี้ พวกมีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความผิดนี้”ดังนี้ เพราะความขัดแย้งนั้นนั่นแลฯ อธิบายว่า ท า ให้เป็นภาระของพระราชา ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในเทศนาของตนฯ [๑๖๔] บทว่า ปณ ฺฑิตปติรูปกาน ได้แก่ การกล่าวของบัณฑิตสุก เหมือนดิบ ฉะนั้นฯ พรรณนาปูรณกัสสปวาทะ [๑๖๕] บทว่า เอกมิทาห ตัดบทเป็น เอก อิธ อห ก็อิธ-ศัพท์ ในค าว่า เอกมิทาห นี้ เป็น เพียงนิบาตความว่า วันหนึ่ง คือสมัยหนึ่งนั่นเองฯ บทว่า สริตพ ฺพยุต ฺต ได้แก่ ควรแก่การระลึกตามฯ [๑๖๖] สองบทว่า สหต ฺถา กโรนฺตสฺสได้แก่ ท าด้วยมือตนเองนั่นแลฯในที่นี้แม้นิสสัคคิยป โยคะและถาวรปโยคะเป็นต้นท่านก็สงเคราะห์ด้วยการกระท าด้วยมือของตนเองทั้งนั้นฯ บทว่า หต ฺถาทีนิได้แก่ มือ เท้า หู และจมูกเป็นต้นฯ การท าร้าย คือการเผาผลาญ ได้แก่ความเบียดเบียน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทณ ฺเฑน อุป ฺปีเฬนฺตสฺส”ฯ ในปปัญจสูทนี ท่านกล่าวเนื้อความว่า “ตชฺเชนฺตสฺส วา” แต่ในที่นี้ ท่านรวมเอาการคุกคาม การบริภาษเข้าด้วยอาชญานั่นแล แล้วกล่าวค า ว่า “ทณฺเฑน อุปฺปีเฬนฺตสฺส”ฯ ค าว่า โสก สย กโรนฺตสฺส ได้แก่ ท าเหตุแห่งความเศร้าโศกแก่ผู้อื่นเอง หรือให้ความเศร้าโศกเกิดขึ้นฯ บทว่า ปเรหิได้แก่ ผู้กระท าตามค าของตนฯ ค าว่า สยม ฺปิ ผนฺทโต ได้แก่ ผู้ดิ้นรนแม้เองด้วยความพยายามด้วยความเบียดเบียนผู้อื่นฯ บทว่า “อติปาตาปยโต” เป็นไป ในอรรถแห ่งกัตตุล้วนและในอรรถแห ่งเหตุกัตตุ เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว่า “หนนฺตสฺสาปิ หนาเปนฺตสฺสาปิ” ดังนี้ฯ บทว่า การณวเสน ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งการใช้ให้ผู้อื่นกระท าฯ ฝาแห่งเรือน คือภายในแห่งเรือน และฝาที่ตั้งเชื่อมในภายนอก ชื่อว่าฆรสนธิฯ การปล้นที่ ไม่มีอะไรเหลือไว้ เพราะไม่ให้วัตถุแม้สักอย่างเหลือ ชื่อว่านิลโลปะฯ การปล้นที่โจรประกอบในเรือน หลังเดียว ชื่อว่าเอกาคาริกะฯ การดักฆ่าที่ทางเปลี่ยวโดยรอบ คือโดยประการทั้งปวง ชื่อว่าปริปันถะฯ บาป ชื่อว ่าอันใคร ๆ ไม ่กระท า เพราะบาปอันไม่มีปรากฏอยู่ในก่อนอันใคร ๆ ไม่อาจให้เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น บาปจึงไม ่มีถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น สัตว์ทั้งหลายจะปฏิบัติในบาปได้อย่างไร เพราะเหตุนั้น
๒๙๑ เจ้าลัทธิชื่อว่าปูรณกัสสปะ จึงกล่าวว่า “สต ฺตา ปน ปาปํ กโรมาติ เอว สญ ฺญิโน โหนฺติ”ฯ ได้ยินว่า เจ้า ลัทธิ ชื่อว่าปูรณกัสสปะนั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า ก็การกระท าความเบียดเบียนเป็นต้นแห่งสัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าย่อมไม่สัมผัสตน เพราะตนมีวิการออกแล้ว เหตุตัวตนนั้นเที่ยง แต่ว่าสรีระไม่มีเจตนาเปรียบ เหมือนท่อนไม้ เมื่อสรีระนั้นอันปัจจัยแม้ให้ก าเริบแล้ว บาปอะไรๆ ก็ไม่มีฯ บทว่า ขุรเนมินา ได้แก่ ด้วยกงที่ส าเร็จมาจากมีดโกนที่ลับแล้วฯ ท่านกล่าวค าว่า “ทกฺขิณ เจ” เป็นต้น โดยอธิบายว่า ทิศเบื้องขวาของแม่น ้าคงคาไม่เป็น ประเทศอันสมควร ทิศเบื้องซ้ายแห่งแม่น ้าคงคาเป็นประเทศอันสมควร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทกฺขิณตีเร มนุสฺสา กกฺขฬา”เป็นต้นฯ บทว่า มหายาค ได้แก่ การบูชาใหญ่อันเช่นกับการบูชาของ พระราชาพระนามว่ามหาวิชิตฯ บทว่าอุโปสถกม ฺเมน วา ได้แก่ และด้วยอุโบสถกรรมฯ ก็ทม-ศัพท์ ใน ที่นี้ประสงค์เอาที่บอกอินทรียสังวรและอุโบสถศีลฯ ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวเนื้อความว่า ค าว่า “อุโปสถกมฺเมน นี้ เป็นวิเสสนะของ อิน ฺท ฺริยทมสฺสเพราะฉะนั้น จึงเป็น อุโปสถกมฺมภูเตน อินฺทฺ ริยทเมน”ฯ บทว่า สีลส ยเมน ได้แก่ ด้วยความส ารวมที่เป็นไปทางกายและเป็นไปทางวาจาฯ บทว่า สจ ฺจวชฺเชน ได้แก่ ด้วยสัจจวาจาการกล่าวสัจจวาจานั้นแยก ๆ กัน เพราะรู้พร้อมกันว่ามีบุญมากกว่า ในโลกฯ เหมือนอย่างว่า บรรดาบาปธรรมทั้งหลาย มุสาวาทหนัก ฉันใด บรรดาบุญธรรม สัจจวาจาก็ หนัก ฉันนั้นฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เอกธมฺม อตีตสฺส”๔๘๔ เป็นต้นฯ บทว่า ปวต ฺติ ความว่า ผู้ใด ท่านเรียกว่า “กโรติ (ย่อมท า)”ผู้นั้นย่อมมีความเกิดขึ้นในสันดาน โดยความเป็นปัจจัย แก่ความเกิดขึ้นแห่งผลฯ ค าว่า สพ ฺพถา ได้แก่ โดยประการทั้งปวงที่กล่าวว่า “กโรโต” เป็นต้นฯ เจ้า ลัทธินั้นย ่อมห้ามการกระท านั่นแลอธิบายว่า ย่อมพยากรณ์สามัญญผลอันเห็นได้เอง อันพระราชาไม่ ตรัสถามฯอวธารณะนี้ มีการห้ามโดยการปฏิเสธวิบากเป็นอรรถฯเพราะว่า เจ้าลัทธิใดห้ามกรรม เจ้า ลัทธินั้นก็ถือว่าห้ามแม้วิบากนั่นแลโดยความหมายฯ จริงอย่างนั้น พระอรรถกถาจารย์จักกล่า วว่า “กมฺม ปฏิพาหนฺเตนาปิ” ๔๘๕ เป็นต้นฯ ชื่อว่าวิชิตะ(แว่นแคว้น) เพราะเป็นแคว้นอันพระราชาผู้เป็นข้าศึกทั้งหลายทรงชนะแล้ว โดยพิเศษ เพราะไม่พึงถูกข่มเหงได้ ได้แก่ประเทศแห่งความเป็นไปแห่งอาชญาฯ ท ่านกล ่าวค าว่า “อปสาเทตพ ฺพนฺติ วิเหเฐฃตพ ฺพ ”เพราะท าอธิบายว่า รุกราน คือเบียดเบียน ได้แก่ขับไล่บรรพชิตด้วย ค าว่า “พวกท่านอย่าอยู่ในแว่นแคว้นของเรา” ดังนี้ฯ การเรียนเอา คือการทรงจ าไว้ว่า “เอวเมต ” ดังนี้ จึงเป็นความหมายที่กล่าวแล้วด้วยการเรียนนั้น ได้แก่การก าหนดพร้อม การเก็บไว้ในใจ คือการ ทรงไว้พร้อมด้วยจิต ด้วยสามารถแห่งการตามเพิ่มให้ซึ่งความที่แห่งความหมายนั้นอยู่ได้โดยกาลนาน เจ้าลัทธิเมื่อคัดค้านทั้ง ๒ อย่างนั้น จึงกล่าวว่า “อนุค ฺคณ ฺหนฺโต อนิกุชฺชนฺโต”ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “สารวเสน อค ฺคณ ฺหนฺโต” เป็นต้น ๔๘๔ ขุ.อิติ. (บาลี) ๒๕/๒๕/๒๔๘. ๔๘๕ ที.สี.อ. ๑/๑๗๐-๑๗๒/๑๕๐.
๒๙๒ พรรณนามักขลิโคสาลวาทะ [๑๖๘] บทว่า อุภเยน ได้แก่ ด้วยการปฏิเสธเหตุและปัจจัยฯ บทว่า ส กิเลสปจ ฺจย ได้แก่ เหตุแห่งความเศร้าหมอง คือแห่งความหม่นหมองฯ บทว่า วิสุท ฺธิปจ ฺจย ได้แก่ เหตุแห่งความหมดจด คือ ความผ่องแผ้วจากสังกิเลสฯ บทว่า อต ฺตกาโร ได้แก่ กรรมที่สัตว์นั้น ๆ พึงกระท าด้วยตนเอง คือ ความพยายามอันตนพึงให้ส าเร็จฯ บทว่า ปรการ ได้แก่ ประโยชน์อันส าเร็จด้วยความพยายามของ บุคคลอื่นฯ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า “เยน”เป็นต้นฯ บทว่า มหาสต ฺต ได้แก่ พระมหาโพธิสัตว์ผู้มี ในภพสุดท้าย แม้พระปัจเจกโพธิสัตว์ก็พึงทราบว่ามีการรวมไว้ในค านี้เช่นกันฯ บทว่า มนุสฺสโสภค ฺยต ได้แก่ความเป็นผู้มีส่วนแห่งความงามในมนุษย์ทั้งหลายฯ ค าว่า เอว ได้แก่ ด้วยประการที่กล่าวแล้วฯ ด้วยการคัดค้านกัมมวาทะ กิริยวาทะ เจ้าลัทธิ ชื่อว ่าย ่อมให้ซึ่งประหารในชินจักรที่เป็นไปโดยนัยว่า “อตฺถิ ภิกฺขเว กมฺม กณฺห กณฺหวิปาก ” ๔๘๖ เป็นต้นฯ สองบทว่า นต ฺถิ ปุริสกาเรความว่า ชื่อว่าการ กระท าของบุรุษโดยเฉพาะตน แห่งสัตว์ทั้งหลายอะไร ๆ ย่อมไม่มี เพราะไม่มีการกระท าของตนและ การกระท าของผู้อื่นตามที่กล่าวแล้วฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เยน” เป็นต้นฯ สองบทว่า นต ฺถิ พล ความว่า ชื่อว่าก าลังอันน ามาซึ่งสมบัติในทิฏฐธรรม สมบัติในสัมปรายภพ และนิพพานสมบัติ แก่ สัตว์ทั้งหลายอะไร ๆ ย่อมไม่มีฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ยม ฺหิ”เป็นต้นฯ ก็ค านั้นเป็นเพียง ตัวอย่างเท่านั้น และเจ้าลัทธินี้ย่อมห้ามก าลังแม้ที่มีในฝ่ายสังกิเลสนั่นแลฯ ถ้าว่า วีริยะเป็นต้น เป็น ไวพจน์ของปุริสการะ เพราะเหตุไร จึงถือเอาแยกกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อิท โน วีริเยน” เป็นต้นฯ ก็โดยความหมายของศัพท์ ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าการกระท านั้น ๆ สูงหนาขึ้นฯ ชื่อว่า วีริยะเพราะอรรถว่า น ามาซึ่งความเป็นผู้กล้าหาญฯ วีริยะนั้นนั่นแล ชื่อว่าปุริสถามะเพราะเป็นภาวะ มั่นคง และเพราะอันชนผู้น าไปซึ่งธุระอันเป็นของบุรุษพึงให้เป็นไปฯ ความเพียรนั้น (วีริยะ) พึงทราบ ว่า ท่านกล่าวว่า ปุริสปรักกมะ เพราะความเป็นไปแห่งความไม่ก้าวล่วงซึ่งฐานะอื่น ๆฯ สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าสัตว์ เพราะมีอารมณ์ติดขัดในรูปารมณ์เป็นต้น เพราะประกอบด้วย ความติดขัดฯ ชื่อว่าปาณะ เพราะเป็นไปโดยลมปราณ คือเป็นไปด้วยสามารถแห่งลมหายใจเข้าลม หายใจออกฯ ก็เจ้าลัทธิมักขลินั้น จ าแนกปาณะเหล่านั้นออกด้วยสามารถแห่งปาณะมีอินทรีย์เดียว เป็นต้น แล้วจึงกล ่าว เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว ่า “เอกินฺทฺริโย”เป็นต้นฯสัตว์ทั้งหลาย ท่าน เรียกว ่า ภูตา เพราะมีในกระเปาะฟองไข่เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล่าวว ่า อณ ฺฑโกส ฯเปฯ วทติ”ฯสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าชีวะ เพราะเป็นอยู่ คือเจริญ เหมือนทรงไว้ซึ่งปาณะฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “สาลิยวา”เป็นต้นฯ สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าอวสา เพราะอรรถว่า ไม่มีอ านาจในความเศร้า หมองและความหมดจดฯ สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าอพลา (และ) อวีริยา เพราะไม่มีพละและเพราะไม่มี วิริยะฯ บทว่า นิยตา ได้แก่ การก าหนดด้วยอ านาจคติ ชาติ พวกพ้อง และพรรคพวก เพราะมีความ เป็นไปแน่นอน เหมือนเภสัชมณี ที่ร้อยไว้ด้วยด้ายไม่ขาดฯ ค าว่า ตต ฺถ ตต ฺถ คมน ได้แก่ การเข้าถึง ได้แก่การมาพร้อมด้วยการประชุมพร้อมเพียงกัน ในคติเหล่านั้นแห่งอภิชาติ ๖ฯ บทว่า สภาโวเยว ๔๘๖ องฺ.จตุกฺก. (บาลี) ๒๑/๒๓๒/๒๕๘.
๒๙๓ ความว่าความที่หนามคม ความที่ผลมะขวิดกลม ความที่เนื้อและนกมีอาการงดงาม ฉันใด เพราะเว้น เหตุและปัจจัยแห่งโลกแม้ทั้งหมด ความแปรปรวน คือสภาวะเป็นเอง ได้แก่สภาวะที่ไม่ได้เกิดจากการ กระท านั่นแล ก็ฉันนั้นฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เยน หิ”เป็นต้นฯ ท่านให้อภิชาติ ๖ พิสดาร ยิ่งขึ้นอีกฯ พระอาจารย์เมื่อกล่าวว่า “สุขญฺจ ทุกฺขญฺจ ปฏิส เวเทนฺติ” เมื่อโลดขึ้นสู่ภูมิที่เป็นอทุกขมสุข โดยคิดว่า ไม่รู้ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง จึงกล่าวว่า “อญฺญา อทุกฺขมสุขภูมิ นตฺถีติ ทสฺเสติ”ฯ บทว ่า ปมุขโยนีน ได้แก่ แห ่งก าเนิดที่เป็นประธาน คือกษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้น ราชสีห์ และเสือโคร่งเป็นต้น บรรดามนุษย์และสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้นฯ บทว ่า สฏ ฺฐฃิสตานิได้แก่ ๖,๐๐๐ฯ ค าว่า “ปญ ฺจกม ฺมสตานิ จ” เป็นการแสดงเนื้อความของบทว่า “ปญฺจ จ กมฺมุโน สตานิ”ฯ ด้วยค าว่า “เอเสว นโย” นี้ท่านแสดงเนื้อความนี้นั่นแลว่า “ท่านแสดงทิฏฐิที่ไม่มีประโยชน์ด้วยเหตุ เพียงตรึกอย่างเดียวฯ ก็บรรดาบทเหล่านี้ ด้วยบทว่า “ตกฺกมต ฺตเกน” นี้ ท่านแสดงว่า เพราะเหตุที่นัก ตรรกะทั้งหลาย ส าคัญสิ่งใดสิ่งหนึ่งแห่งการก าหนดซึ่งก าหนดไว้แก่ตน โดยเป็นสาระเพราะไม่มีความ คด ปักใจเชื่อแล้ว อย่างนั้นนั่นแล ย่อมถือเอา ถือเอาทิฏฐิตรรกะ ฉะนั้น การพิจารณาอันวิญญูชนไม่ พึงท าในทิฏฐิวัตถุ แห่งนักตรรกะเหล่านั้นฯ บทว่า เกจิได้แก่ อาจารย์ผู้อยู่ที่อุตตรวิหารฯ ก็อาจารย์ เหล่านั้นย่อมกล่าวว่า สองบทว่า “ปญฺจ กมฺมานิ” ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา และกาย คืออินทรีย์ ๕ นี้ อาจารย์ทั้งหลายบัญญัติว่า กรรม ๕”ฯ ค าว่า กม ฺมนฺติ ลท ฺธิได้แก่ ลัทธิว่า กรรมบริบูรณ์แล้ว เพราะเป็นกรรมหยาบฯ โยชนาว่า ลัทธิว่า กรรมกึ่ง เพราะเป็นกรรมไม่หยาบ ชื่อว่ามโนกรรมฯ บทว่า ท ฺวฏ ฺฐฃิปฏิปทา ความว่า เจ้าลัทธินั้นไม่ทราบสภาวนิรุตติ ในค าที่พึงกล่าวว่า “ทฺวาสฏฺฐฃิปฏิปทา” จึง กล่าวว่า “ทฺวฏฺฐฃิปฏิปทา”ฯ สองบทว่า เอกสฺมึ กป ฺเป ได้แก่ ใน ๑ มหากัป และแม้ในมหากัปนั้นมี ๑ อสงไขยกัปอันรู้กันพร้อมแล้วว่า วิวัฏฏฐายีกัป ชนทั้งหลาย ชื่อว่าโอรัพภิกา เพราะอรรถว่า ย่อมฆ่าซึ่งแพะฯ ชนทั้งหลายผู้ฆ่าสุกรเป็นต้น ก็พึงทราบอย่างนั้นฯ บทว่า ลท ฺทา ได้แก่ นายพรานล่าเนื้อเหล่าใดเหล่าหนึ่งแม้อื่นฯ เจ้าลัทธิย ่อม กล ่าวซึ่งชนเหล่านั้นว่า “ผู้มีชาติด า (กณ ฺหาภิชาติ)”เพราะขวนขวายในบาปกรรมฯ บทว่า ภิกฺขูได้แก่ ภิกษุในพระพุทธศาสนาฯ ได้ยินว ่า เจ้าลัทธิย ่อมกล่าวภิกษุเหล ่านั้นว่า “จตูสุ ปจ ฺจเยสุ กณ ฺฏเก ปกฺขิปิต ฺวา ขาทนฺติ (ใส ่หนามในปัจจัย ๔ เคี้ยวกิน)”ฯ ด้วยอธิบายว่า “สฉนฺทราคา ปริภุญฺชนฺติ (มี ฉันทราคะ บริโภค)”ฯ หากมีค าถามว่า เพราะเหตุไรฯ อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า เพราะเหตุที่เจ้าลัทธิ นั้นมีความยึดถือผิดว่า “ภิกษุเหล่านั้นเสพปัจจัยที่ประณีต ๆ”ฯ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า ภิกษุเหล่านั้น บริโภคปัจจัยแม้ที่ได้เพราะญายธรรม ชื่อว่าใส่หนามเข้าไปในปัจจัยแล้วบริโภค เพราะมีการถือเอา ขัดแย้งต่อลัทธิของอาชีวกฯ ชื่อว ่าบรรพชิตพวกหนึ่ง ได้แก่ผู้ประกอบตามอัตตกิลมถานุโยคที่มีความ แปลกกันฯ จริงอย่างนั้น ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้ราวกะว่าเป็นไปในหนาม เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวได้ว่า “กณ ฺฏกวุต ฺติกา”ฯชนทั้งหลาย ชื่อว่าปัณฑรตรา (ขาวกว ่า) เพราะประกอบพร้อมด้วยวัตรมีการห้าม การยืนแล้วบริโภค และอาบน ้าเป็นต้นฯ เจ้าลัทธิมักขลิกล่าวสาวกของอาชีวกว่า “อเจลกสาวกา”ฯ ได้ยินว่า ชนเหล่านั้น เป็นผู้ขาวกว ่า แม้กว่าพวกนิครนถ์เพราะมีจิตหมดจดด้วยลัทธิของอาชีวกฯ ก็
๒๙๔ ชนทั้งหลายมีนันทะเป็นต้นยังการปฏิบัติของอาชีวกอันเห็นปานนั้นให้ถึงความสูงขึ้นด ารงอยู่ฯ เพราะฉะนั้น เขาจึงมีลัทธิว่า ผู้มีอภิชาติขาวยิ่ง ขาวกว่าพวกนิครนถ์และพวกสาวกของอาชีวก ค าว่า ปุริสภูมิโย เป็นนิเทศด้วยบุคคลเป็นประธานฯแม้ส าหรับสตรีทั้งหลายย่อมมีความ ต้องการภูมิเหล่านั้นเหมือนกันฯ ค าว่า “ภิกฺขุ จ ปนฺนโก”เป็นต้น เป็นพระบาลีส าหรับบุรุษเหล่านั้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปนฺนโกได้แก่ผู้เที่ยวไปเพื่อขอ หรือผู้ด าเนินตามข้อปฏิบัติของชนเหล่านั้นฯ บทว่า ชิโน ได้แก่ ผู้แก่ คือผู้มีธาตุแห่งชนผู้เลวด้วยอ านาจแห่งชรา หรือผู้ชนะข้าศึกด้วยการปฏิบัติตน แล้วด ารงอยู่ฯ ได้ยินว่า เขาถึงความเป็นอย่างนั้นก็ไม่กล่าวแม้ธรรมแก่ใคร ๆฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “น กิญ ฺจิ อาห”ฯอาจารย์บางพวกกล่าวว่า แม้เมื่อท าประการอันแปลกด้วยริมฝีปากและ ใบหน้าเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งความอดทน ท่านก็ไม่กล่าวค าอะไรๆ ดังนี้ ก็มีฯ บทว่า อลาภึความ ว่า เจ้าลัทธิมักขลิกล่าวชนผู้ไม่ได้ลาภ เพราะประกอบพร้อมด้วยเหตุแห่งการไม่ได้ที่กล่าวไว้โดยนัยว่า “โส น กุมฺภิมุขา ปฏิคฺคณฺหาติ๔๘๗ (เขาไม่รับเอาจากปากหม้อ) เป็นต้น” (และ) กล่าวผู้มีการนอนเป็น ที่ไปในเบื้องหน้า เพราะเป็นผู้หิวกระหายและทุรพลเป็นเบื้องหน้าแต่นั้นนั่นแลว่า “สมณ ปนฺนภูมึ”ฯ บทว่า อาชีววุต ฺติสตานิได้แก่ ๑๐๐ ความเป็นไปอันประกอบด้วยความเป็นอยู่ อันเป็น อาชีพของสัตว์ทั้งหลายฯ ด้วย ปสุ-ศัพท์ ท่านระบุเอาชาติแห่งแพะ ด้วย มิค-ศัพท์ ท่านระบุเอาชาติ แห่งเนื้อทุกจ าพวกมีกวางและโคลานเป็นต้นฯ สองบทว่า พหู เทวา ได้แก่ ท่านระบุเอาเทพจ านวน มาก คือมีเทพชั้นจาตุมหาราชิกาและพรหมกายิกาเป็นต้น คือมีประเภทแตกต่างกันในระหว่างของ เทพเหล่านั้นฯ บรรดาเทพเหล่านั้น เทพชั้นจาตุมหาราชิกา มีความแตกต่างกันบางอย่างที่ควรแสดง ด้วยมหาสมยสูตรฯ สองบทว่า มนุสฺสาปิ อนนฺตา ได้แก่ แม้มนุษย์ก็มีประเภทเป็นอนันต์ ด้วยสามารถ แห ่งการจ าแนกเป็น ทวีป ประเทศ ตระกูล วงศ์ และอาชีพเป็นต้นฯ ปีศาจทั้งหลายนั ่นแลชื ่อว่า เปสาจาฯ ปีศาจเหล่านั้น มีเปรตอื่น ๆ เป็นต้น ชื่อว่ามหันตมหันตา (ใหญ ่และใหญ ่) เจ้าลัทธมักขลิ กล่าวถึงสระฉัททันต์และสระมันฑากินี โดยชื่อว่ากุวาฬิยะและมุจลินทะฯ บทว่า ปวุฏาได้แก่ ปล้องฯ ท่านกล่าวค าว่า ปณ ฺฑิโตปิ ฯเปฯ อุท ฺธ น คจ ฺฉติเพราะเหตุไรฯ เพราะการเร่ร่อนไปแห่งสัตว์ทั้งหลายแน่นอนฯ เครื่องหมายแห่งการเร่ร่อนไป ยังไม ่เผล็ดผลจะชื่อว ่า เผล็ดผลได้ ด้วยศีลเป็นต้น เพราะถึงความหมดจดได้โดยเร็วพลันฯ กรรมที่เผล็ดผลแล้ว สัมผัสแล้ว สัมผัสเล ่าคือถึงแล้วถึงเล่า ชื่อว ่าย ่อมท าให้สิ้นสุดด้วยการไม่ตามเพิ่มให้ซึ่งความเป็นกรรมอันเผล็ดผล แล้วฯ บทว่า สุต ฺตคุเฬ ได้แก่ ที่เกลียวด้ายฯ การเวียนว่ายของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไปตามล าดับ ด้วยอุปมาว่า “นิพฺเพฐฃิยมานเมว ปเลติ” คือย่อมเจริญอีก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชี้แจงไว้ เพราะมีรูป ถูกตัดขาดแล้วฯ ๔๘๗ ที.สี. (บาลี) ๙/๓๙๔/๑๖๖.
๒๙๕ พรรณนาอชิตเกสกัมพลวาทะ [๑๗๑] บทว่า ทินฺน ได้แก่ ทานอันท่านกล่าวด้วยมุ่งถึงไทยธรรม เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ทินฺนสฺส ผลาภาว วทติ”ฯ ก็เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพลนั้นห้ามทานที่มีวัตถุมีข้าวเป็นต้น อัน บุคคลถวายแล้วอย่างไรฯ แม้ในค าว่า ยิฏ ฺฐฃ ห ุต นี้ ก็มีนัยนี้เหมือนกันฯ บทว่า มหายาโค ได้แก่ มหา ทานอันทั่วไปแก่ชนทั้งปวงฯ บทว่า ปาห ุนกสกฺกาโร ได้แก่ สักการะอันบุคคลพึงท าโดยความเป็นของ ต้อนรับแขกฯ บทว่า ผล คือ ผลคืออานิสงส์ และผลที่เผล็ดผลออกฯ บทว่า วิปาโกได้แก่ ผลเช่นกันฯ ค าว่า ปรโลเก ฐฃิตสฺส อย โลโก นต ฺถิ ความว่า โลกนี้อันบุคคลพึงได้ด้วยกรรมย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ด ารง อยู่แล้วในโลกอื่นฯ ค าว่า อิธโลเก ฐฃิตสฺสาปิ ปรโลโก นต ฺถิความว่า ปรโลกอันบุคคลพึงได้ด้วยกรรม ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ด ารงอยู่ในโลกนี้ฯ พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงเหตุในค าเหล่านั้นว่า “สพ ฺเพ ตต ฺถ ตตฺเถว อุจ ฺฉิชฺชนฺติ” อธิบายว่า สัตว์เหล่านี้ด ารงอยู่แล้วในภพ และในก าเนิดเป็นต้นใดๆ สัตว์เหล่านั้น ย่อมขาดสูญในภพ หรือในก าเนิดเป็นต้นนั้น ๆ คือย่อมพินาศด้วยสามารถแห่งความพินาศด้วยไม่มี ความเกิดขึ้นฯ บทว ่า ผลาภาววเสน ได้แก่ เจ้าลัทธิอชิตะกล ่าวว ่า “มารดาไม่มี บิดาไม่มี” ด้วย สามารถแห่งความไม่มีผลแห่งสัมมาปฏิบัติและมิจฉาปฏิบัติในมารดาและบิดาทั้งหลาย กล่าวเพราะไม่ มีมารดาบิดา หามิได้ ทั้งกล ่าวด้วยสามารถแห่งความไม่มีสักการะและอสักการะที่บุตรกระท าใน มารดาบิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ก็หามิได้เพราะมารดาและบิดาเหล่านั้นประจักษ์แจ้งในโลกฯ สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่ามีความเกิดขึ้นอย่างเดียว เหมือนความเกิดขึ้นแห่งฟองน ้า ฉะนั้นฯ เพื่ออันแสดงดังว่า ฟองน ้า เคลื่อนแล้วมาอีกหามิได้ ท่านจึงกล่าวค าว่า “นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา” ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “จวิต ฺวา อุปปชฺชนกสต ฺตา นาม นต ฺถีติ วทติ”ฯ อันธรรมดาว่า สมณะไม่รู้ความเป็นจริง ไม่ กล ่าวอะไรแก ่ใคร ๆ ต้องเป็นผู้ส ารวม หรือว ่าเมื ่อถือเอาเนื้อความโดยประการอื่น พึงเป็นผู้ ประกอบด้วยความเพียรอันเป็นของบุรุษฯ เพราะว่า บุคคลอื่นจักท าอะไรแก่บุคคลอื่นได้ และท านอง เดียวกันนั้น ไม่พึงเป็นที่พึ่งแก่ใคร ๆ ผู้สนับสนุนตนนั่นแล เพราะขาดสูญในภพนั้นนั่นเอง เพราะเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เย อิมญ ฺจ ฯเปฯ ปเวเทนฺติ”ฯ ชื่อว่าจาตุมหาภูติกะ เพราะอรรถว่า ประกอบในมหาภูต ๔ฯ เหมือนอย่างว่า ภาชนะที่ เกิดแต่ดินเหนียว ชื่อว่ามัตติกามยะฉันใด สัตว์นี้ก็เกิดจากมหาภูต ๔ ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “จตุมหาภูตมโย”ฯ บทว่า อชฺฌต ฺติกปถวีธาตุได้แก่ ปถวีธาตุที่อยู่ในสันดานสัตว์ฯ บทว่า พา หิรปถวีธาตุ ได้แก่ มหาปถวีในภายนอกฯ บทว่า อุปคจ ฺฉติความว่า ปถวีอันเป็นเอกเทศนั้นจากกาย คือปถวีในภายนอกมาแล้ว ตั้งมั่นโดยภาวะของสัตว์ เพราะถึงความเป็นในปถวีภายใน ย่อมถึง คือ เข้าถึงกายคือปถวีในภายนอกนั้นนั่นแล เหมือนปถวีที่ถึงความเป็นก้อนเป็นต้น ในบัดนี้ย่อมถึงความ ไม่แตกต่างกันจากกายที่เป็นปถวีภายนอกนั้น โดยประการทั้งปวง คือถึงความเป็นอันเดียวกันนั่นเองฯ ในค าว่า อาปาทีสุปิ เอเสว นโย นี้ มีอธิบายของทิฏฐิคติกบุคคลว่า เปรียบเหมือนเมฆหอบเอาน ้าจาก มหาสมุทรเข้าถึงมหาสมุทรอีกเหมือนเดิมโดยความเป็นน ้าฝน เหมือนเตโชกล่าวคือไฟเป็นใหญ่ที่ได้รับ จากแสงอาทิตย์ เข้าถึงในแสงอาทิตย์อีก เหมือนลมใหญ่จากกลุ่มลมใหญ่เข้าถึงกองลมนั้นนั่นแล ฉะ นั้นฯ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖ ย ่อมลอยสู่อากาศ เพราะอินทรีย์เหล่านั้นไม่เป็น
๒๙๖ อารมณ์ฯ ก็แม้อารมณ์ (วิสัย) ท่านก็ถือเอาด้วย วิสยิ-ศัพท์เหมือนกันฯ บทว่า คุณาคุณปทานิได้แก่ ส่วนแห่งคุณและโทษฯ สรีระนั่นเองท ่านประสงค์เอาด้วยค าว ่า ปทานิเพราะอันสรีระต้องถึงด้วยการ กระท านั้น ๆฯ บุคคลทั้งหลาย ชื่อว่าทัตตูเพราะอรรถว่า งมงาย คือ ลุ่มหลง ได้แก่บุคคลผู้ลุ่มหลงฯ อันบุคคลทั้งหลายผู้ชื่อว่าทัตตูคือมนุษย์ผู้โง ่เขลาเหล่านั้นฯ ชนเหล่าใดมีความคิดว่า “โลกอื่นไม่มี” ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีความต้องการ วาทะของชนเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าอัตถิกวาทะ ซึ่งอัตถิกวาทะนั้นฯ เจ้าลัทธิชื่อว่าอชิตเกสกัมพล ชื่อว ่าย ่อมห้ามกรรม เพราะเป็นผู้มีปกติกล่าวการไม่กระท าฯ ชื่อว ่าย ่อมห้ามวิบากเพราะห้ามความเกิดขึ้นต่อไปด้วยประการทั้งปวงฯ ชื่อว ่าย ่อมห้ามกรรมและ วิบากทั้งสอง เพราะแม้ผลก็ถูกห้ามโดยการห้ามเหตุโดยประการทั้งปวงนั่นแลฯ ก็ค าว่า อุภย ได้แก่ ทั้ง สองอย่าง คือกรรมและวิบากฯ ก็เจ้าลัทธิชื่อว่าอชิตะนั้น เมื่อกล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มี ปัจจัยเศร้าหมองเองและบริสุทธิ์เอง” ๔๘๘ ชื่อว่าห้ามกรรมและวิบากทั้งสองนั้น เพราะกล่าวถึงความที่ แม้วิบากก็เหมือนกรรมเป็นปัจจัยแก่ความเศร้าหมองและความบริสุทธิ์ฯ วิบากย ่อมเป็นอันลัทธิชื่อว ่า อชิตะนั้นห้ามแล้วเพราะเมื่อไม่มีกรรม วิบากก็ไม่มีฯ กรรมเป็นอันเจ้าลัทธิชื่อว ่าอชิตะนั้นห้ามแล้ว เพราะเมื่อไม่มีวิบากกรรมก็ถึงความเป็นกรรมไม่มีประโยชน์ฯ บทว่า อต ฺถโตได้แก่ โดยสรุปฯ บทว่า อุภยป ฺปฏิพาหกา ความว่า ชื่อว่าผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ ๓ อย่าง เฉพาะอย่าง แม้มาแล้วในบาลีแยก ๆ กัน โดยความเป็นผู้แสดงทิฏฐินั้น ๆ เพราะเป็นผู้ห้ามกรรมและวิบากทั้งสองนั้นเองฯ ก็ค าว่า อุภยป ฺปฏิพาหกาเป็นต้น เป็นค ากล่าวถึงเหตุฯ ค าว่า “อเหตุกวาทา เจว” เป็นต้น เป็นค ากล่าวถึง ปฏิญญาฯ อนึ่ง เจ้าลัทธิใด เป็นนัตถิกทิฏฐิกะ เป็นอุจเฉทวาที โดยการห้ามวิบาก เจ้าลัทธินั้นโดย เนื้อความก็เป็นอกิริยทิฏฐิกะ เพราะห้ามกรรม และเป็นอเหตุกทิฏฐิกะ เพราะห้ามกรรมและวิบากทั้ง สองฯ แม้ในบท ๒ บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกันฯ บทว่า สชฺฌายนฺติความว่า เรียนเอาคัมภีร์ที่แสดงทิฏฐินั้นแล้วสวดฯ บทว่า วีม สนฺติความ ว่า วิจารอรรถแห่งคัมภีร์นั้นฯ ค าว่า “เตส ” เป็นต้น เป็นการแสดงอาการคือการพิจารณาฯ สองบทว่า ตสฺมึ อารม ฺมเณ ความว่า ในอารมณ์แห่งลัทธิที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า “เมื่อบุคคลกระท าอยู่ บาปไม่ ชื่อว่าอันบุคคลนั้นกระท า” ซึ่งไม่มีผลแห่งกรรมตามที่ก าหนดฯ สองบทว่า มิจ ฺฉาสติ สนฺติฏ ฺฐฃติความ ว่า ตัณหาในอรรถที่ได้เพราะการฟังด้วยสามารถแห่งค าเป็นต้นว่า “เมื่อบุคคลกระท าอยู่ บาปชื่อว่า อันบุคคลนั้นไม่ได้ท า” ปรากฏแก่จิตโดยสรูปเหมือนมีการวิเคราะห์โดยการตรึกอาการนั้น อันถือเอา อย่างนั้นด้วยนิชฌานักขันติโดยการเข้าถึงความอดทนอดกลั้น ด้วยค าว่า “เอวเมต ” ด้วยการสั่งสมมา สิ้นกาลนาน อันมิจฉาวิตกให้สมาทาน อันมิจฉาวายามะอุปถัมภ์ อันถือเอาสิ่งที่ไม่มีสภา วะว่า “มี สภาวะนั้น” อันได้ชื่อว่ามิจฉาสติ อันสหรคตด้วยลัทธินั้น ย่อมตั้งมั่นแก่บุคคลผู้เสพอยู่ ผู้กระท าให้มาก อยู่อย่างนั้นบ่อย ๆฯ ข้อว่า จิต ฺต เอกค ฺค โหติความว่า ละความไม่เป็นเอกัคคตาเพราะไม่ตั้งอยู่ใน อารมณ์นั้น ด้วยการได้ปัจจัยมีวิตกเป็นต้นตามที่เป็นของตน มีอารมณ์เดียวเหมือนไม่แนบแน่นฯ ท่าน ๔๘๘ ที.สี. (ไทย) ๙/๑๖๘/๕๔, ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๒๗/๒๖๕, ส .ข. (ไทย) ๑๗/๒๑๒/๒๙๐.
๒๙๗ กล่าวมิจฉาสมาธินั่นเองด้วยหัวข้อคือจิตฯ ก็มิจฉาสมาธิแม้นั้นได้ก าลังแห่งภาวนาด้วยปัจจัยพิเศษ กระท ากิจอันสมควรแก่ความตั้งมั่นในฐานะเช่นนี้พึงเห็นว่า เหมือนในวาฬวิชฌนะเป็นต้นฯ สองบทว่า ชวนานิ ชวนฺติความว่า เมื่อชวนวาระอันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นไปแล้วหลายครั้งด้วยอาการนั้น ชวนะ ๗ ครั้งย ่อมแล ่นไปในชวนะสุดท้ายแห่งชวนะทั้งปวงฯ ค าว่า ปฐฃเม ชวเน สเตกิจ ฺฉา โหนฺติ, ตถา ทุติยาทีสุ นั่น เป็นเพียงการชี้แจงสภาวธรรม แต่ว่า การเยียวยาอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่ออันท าแก่บุคคล เหล่านั้นได้ฯ บทว่า ตต ฺถได้แก่ ในมิจฉาทัสสนะทั้งสามนั้นฯ ค าว่า โกจิ เอก ทสฺสน โอกฺกมติความว่า ผู้ใดมีความปักใจมั่นและความเสพคุ้นเป็นไปในทัสสนะเดียวเท่านั้น ผู้นั้นก็หยั ่งลงสู ่ทัสสนะเดียว เท่านั้น ส่วนผู้ใดมีความปักใจมั่นและความเสพคุ้นเป็นไปใน ๒ ทัสสนะ หรือ ๓ ทัสสนะบ้าง ผู้นั้นย่อม หยั่งลงสู่ ๒ ทัสสนะ ๓ ทัสสนะบ้างฯ ด้วยค านั่น พระอรรถกถาจารย์แสดงว่าความที่แห่งบุคคลเป็นผู้ ประกอบด้วยทิฏฐิทุกอย่าง อันส าเร็จประโยชน์แล้ว อันท่านแสดงโดยมุ่งถึงความเป็นแห่งทิฏฐิอันห้าม ทั้งสองอย่างในก่อนอันใด ความเป็นแห่งบุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิทุกอย่างนั้นมีในส่วนเบื้องต้นฯ ส่วนความเป็นแห่งบุคคลผู้มีการหยั่งลงสู่ความเป็นธรรมอันผิดอันใด ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีการหยั่ง ลงสู่ความเป็นธรรมอันผิดแม้นั้น ไม่ปะปนกันเลยเทียว เพราะไม่เกิดขึ้นคราวเดียวกัน เหตุส าเร็จได้ เพราะการประชุมพร้อม แห่งปัจจัยตามที่เป็นของตน เหมือนการบรรลุคุณวิเศษที่มีอารมณ์แตกต่าง กันไม่เกิดขึ้นคราวเดียวกัน ฉะนั้นฯ ด้วยค าว่า “เอกสฺมึ โอกฺกนฺเตปิ”เป็นต้น พระอรรถกถาจารย์ แสดงความที่ทิฏฐิแม้ ๓ อย่าง มีก าลังเสมอกันและมีผลเสมอกันฯ เพราะฉะนั้น ทิฏฐิแม้ ๓ อย่างนั้น เกิดขึ้นแก่ชนชนเดียวแล้ว ไม่ปะปนกันเลยทีเดียว เมื่อทิฏฐิอย่างหนึ่งให้ผล อีก ๒ อย่างนอกนี้ก็พลอย ตามเพิ่มให้ก าลังฯ ค าว่า “วฏ ฺฏขาณุ นาเมส” นี้ มีเนื้อความพึงน าออกอธิบาย ไม่ใช่มีเนื้อความที่น า ออกอธิบายแล้วฯจริงอย่างนั้น ในปปัญจสูทนีท่านกล่าวค าว่า “ก็วิบากนี้เป็นวิบากที ่แน ่นอนใน อัตภาพหนึ่งหรือ หรือว่าแน่นอนในอัตภาพอื่นด้วย วิบากนี้แน่นอนในอัตภาพเดียวเท่านั้น แต่ว่าด้วย อ านาจความเสพคุ้น (อาเสวนะ) เขาย่อมชอบในทิฏฐินั้น ๆ แม้ในอัตภาพอื่น”๔๘๙ เพราะว่า ธรรมดา ว่าอกุศลนั่น ไม่มีก าลัง มีก าลังเพลา หามีก าลัง คือมีก าลังมาก เหมือนกุศลไม่ฯ เพราะฉะนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ดิ่งลงในอัตภาพเดียวเท่านั้น”ฯ เมื่อถือเอาความโดยประการอื่น แม้การก าหนดความเป็น ธรรมอันผิด พึงมีในที่สุดโดยส่วนเดียว เหมือนการก าหนดความเป็นธรรมอันถูก แต่หามีในที่สุดไม่ฯ ถ้าว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น การท้วงว่าเป็นตอในวัฏฏะ จะมีได้อย่างไร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อา เสวนวเสน ปน” เป็นต้นฯ เพราะฉะนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวค าว่า “ชนพาลแม้จมลงคราว เดียว ก็ชื่อว่าจมลงทั้งนั้น”ดังนี้ ฉันใด การส่องว่า เป็นตอในวัฏฏะ ก็ฉันนั้นฯ อันใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า ชนพาลนี้อาศัยปัจจัยเช่นใด หยั่งลงสู่ทัสสนะนั้น ๆ เพราะอาศัยปัจจัยอันเป็นปฏิปักษ์ต่อปัจจัยเช่นนั้น ในกาลบางคราวอีก เขาย่อมไม่มีการยกศีรษะขึ้น จากอัตภาพนั้นได้ เพราะฉะนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวค าว่า “เยภ ุย ฺเยน หิ เอวรูปสฺส ภวโต วุฏ ฺฐฃาน นาม นต ฺถิ” ๔๘๙ ม.ม.อ. (ไทย) -/๑๐๒/๑๑๖.
๒๙๘ บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่ปัจจัยแห่งความเป็นตอในสังสารวัฏอย่างนี้ เป็นอปัณณก ชาต ฉะนั้นฯ บทว่า ภูติกาโม ได้แก่ ผู้ปรารถนาความเจริญด้วยคุณทั้งหลายของตน ด้วยความสามารถ แห่งทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์และสัมปรายิกัตถประโยชน์ฯ พรรณนาปกุธกัจจายนวาทะ [๑๗๔] บทว่า อกตา ได้แก่ อันเหตุอะไร ๆ อันเสมอกันก็ตาม ไม่เสมอกันก็ตาม ไม่ได้ กระท าแล้ว คือไม่ได้น าไปแล้วฯ ชื่อว่าอกตวิธานา เพราะอรรถว่า ไม่มีวิธีอันกระท าแล้ว คือไม่มีวิธีแห่ง การกระท าฯ แม้ด้วยสองบท เจ้าลัทธิปกุธะแสดงความที่สัตว์เหล ่านั้นไม ่บังเกิดตามเหตุปัจจัย บางอย่างในโลกฯ สองบทว่า อิท ฺธิยาปิ น นิม ฺมิตาได้แก่ ไม่ได้เนรมิตแล้วแม้ด้วยฤทธิ์ของเทพผู้มีฤทธิ์ คือผู้ถึงเจโตวสี ตนใดตนหนึ่ง หรืออิสสรชนเป็นต้นฯ บทว่า อนิม ฺมาปิตาได้แก่ ไม่ได้ให้เนรมิตแล้วแก่ ใครๆฯ บทว่า วุต ฺตต ฺถเมวได้แก่ มีเนื้อความที่กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาพรหมชาลสูตรนั่นแลฯ บทว่า วญ ฺฌา ได้แก่ ไม่มีผลเหมือนสัตว์เลี้ยงเป็นหมันและต้นตาลถูกตัดขาดเป็นต้น ฉะนั้น อธิบายว่า ไม่ให้ เกิดผลแก่ใคร ๆ ด้วยค านั่น เจ้าลัทธิปกุธะห้ามความที่กองดินเป็นต้นให้เกิดรูปเป็นต้นฯ เจ้าลัทธินั้นมี ลัทธิว่า จริงอยู่รูป-ศัพท์เป็นต้นเป็นไปไม่เนื่องด้วยกองดินเป็นต้นฯ ชื่อว่ากูฏัฏฐาเพราะอรรถว่า ด ารง อยู่เหมือนยอดภูเขาฯ อธิบายว่า ยอดแห่งภูเขาอันอะไร ๆ ไม่ให้เกิด และไม่ให้เกิดแก่ใครๆ ฉันใด ลูก เป็นต้นแม้เหล่านี้ก็ฉันนั้นฯ อธิบายว่า ค านี้ใดอันท่านกล่าวว่า หน่อเป็นต้นย่อมเกิดแต่เมล็ดพืช หน่อ เป็นต้นนั้นมีอยู่นั่นแหละ ย ่อมออกไปจากเมล็ดพืชนั้น เมื ่อไม่มีก็ไม่ออกไป เมื ่อถือเอาความโดย ประการอื่น พึงได้ปัจจัยอย่างหนึ่ง แม้จากปัจจัยอย่างหนึ่งฯ บทว่า ฐฃิตต ฺตา ได้แก่ เพราะตั้งมั่นโดยไม่มี วิการออกแล้วฯ บทว่า น จลนฺติได้แก่ ไม่ถึงวิการฯ จริงอยู่ เพราะไม่มีวิการทั้ง ๗ กองนั้น จึงมีความ ตั้งมั่นอยู่เหมือนเสาระเนียดฯ และความไม่เอนเอียง เป็นความตั้งมั่นตามปกติของตนนั่นแล ด้วยเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า “น วิปริณมนฺติ”ฯ กอง ๗ กองเหล่านั้น ชื่อว่าไม่เบียดเบียนกันและกัน เพราะไม่มี ความแปรไปเป็นธรรมดาฯ ก็เมื่อมีเหตุให้ถึงวิการ แม้การท าความเบียดเบียนก็พึงมี และเมื่อมีเหตุต้อง สนับสนุนกัน ก็พึงมีการท าความสนับสนุนกัน เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงสภาวะนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “นาล ”เป็นต้นในพระบาลีฯ ความเป็นเอกเทศแห่งกายคือปถวี ชื่อว่าปถวิกายะฯ เพราะกองมีชีวะ เป็นที่ ๗ ไม่มีวิการเหตุเป็นกองที่เที่ยง จึงฆ่าไม่ได้และให้ฆ่าก็ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ผู้ฆ่าหรือผู้ให้ฆ่าไรๆ จึงไม่มีนั่นแล ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า “สต ฺตนฺน เต ฺวว กายาน ”เป็นต้น ถ้าหากว่าไม่มีผู้ฆ่าไรๆ ไซร้ การประหารด้วยศาสตราจะมีได้อย่างไร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ยถา มุค ฺคราสิ-อาทีสุ” เป็นต้นฯ ทั้งหมดนั่นเป็นเพียงสัญญาอย ่างเดียวเท ่านั้นฯ อธิบายว่า เพราะการฆ่าและการให้ฆ่าเป็นต้น ว่าโดยปรมัตถ์ ย่อมไม่มีเลย เพราะความที่กองทั้งหลายอันใคร ๆ ไม่พึงให้ก าเริบได้ฯ
๒๙๙ พรรณนานิคัณฐนาฏปุตตวาทะ [๑๗๗] ยาม คือภาค ๔ ชื่อว่าจตุยาม จตุยามนั่นเอง ชื่อว่าจาตุยามะฯ ก็ยาม-ศัพท์ในค านี้ มี ภาค-ศัพท์เป็นความหมาย เหมือนยาม-ศัพท์ในค าว่า “รตฺติยา ปฐฃโม ยาโม” ฉะนั้นฯ ส่วนภาคะใน ค านี้ นั้น มีสังวรเป็นลักษณะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “จตุยามส วุโตติ จตุโกฏ ฺฐฃาเสน ส วเรน ส วุโต”ฯ บทว่า ปฏิกฺขิต ฺตสพ ฺพสีโตทโกได้แก่ ผู้มีการบริโภคน ้าเย็นทั้งปวงอันห้ามแล้วฯ ค าว่า สพ ฺเพน ปาปวารเณน ยุต ฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยสังวรลักษณะมีประการทั้งปวงฯ บทว่า ธุตปาโป ได้แก่ ผู้ก าจัดบาปได้ ด้วยการห้ามบาป อันมีความไม่แก่เป็นลักษณะทุกอย่างฯ บทว่า ผุฏ ฺโฐฃ ได้แก่ ผู้อันการ ห้ามบาป ทุกอย่างอันมีความสิ้นไปแห่งกรรมเป็นลักษณะ เพราะถึงความหลุดพ้นได้ด้วยการยังกรรม แม้ทั้งแปด ให้สิ้นไป ถูกต้องเข้าแล้ว คือผู้ถึงการห้ามบาปนั้นแล้วด ารงอยู่ฯ บทว่า โกฏิป ฺปต ฺตจิต ฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตอันถึงแล้วซึ่งมารยาทอันสูงสุด โดยการบรรลุโมกขธรรมนั่นเองฯ บทว่า ยตต ฺโตได้แก่ ผู้มี จิตส ารวมแล้ว เพราะไม่มีสิ่งต้องส ารวมในอินทรีย์ทั้งหลายมีกายเป็นต้นฯ บทว่า สุป ฺปติฏ ฺฐฃิตจิต ฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีแล้วโดยไม่มีส่วนเหลือฯความเป็นผู้ประกอบด้วยการห้ามบาป ชื่อว่าสาสนานุ โลมะฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ธุตปาโป”เป็นต้นฯ บทว่า อสุท ฺธลท ฺธิตายได้แก่ เพราะลัทธิไม่ มีหมดจดอย่างนี้ว่า “ชีวะมีอยู่ และชีวะนั้นเที่ยงก็มีและไม่เที่ยงก็มีเป็นต้นฯ บทว่า สพ ฺพา ได้แก่ ความทนต่อความเพ่งทุกอย่าง อันมีการจ าแนกปกติแห่งกรรมเป็นต้นเป็นอารมณ์ (วิสัย)ฯ บทว่า ทิฏ ฺฐฃิ เยว ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิทั้งหลายนั่นเองเกิดแล้วฯ พรรณนาสัญจยเพลัฏฐปุตตวาทะ [๑๗๙-๑๘๑] ค าว่า อมราวิกฺเขเป วุต ฺตนโย เอว ได้แก่ นัยที่ท่านกล่าวไว้ในการพรรณนา อมราวิกเขปวาทะ ในพรหมชาลสูตรนั่นเอง เพราะเป็นวิกเขปพยากรณ์ และเพราะวิกเขปวาทะก็มาใน วาทะนี้อย่างนั้นเหมือนกันฯ พรรณนาปฐมสันทิฏฐิกสามัญญผล [๑๘๓] ค าว่า ยถา เต วุจ ฺเจย ฺยความว่า เนื้อความที่ข้าพเจ้าถามอยู่ในกาลนี้พึงรุ่งโรจน์ใน จิตของท่าน ฉันใดฯ ทาสผู้เกิดในท้องของนางทาสีในเรือน ชื่อว่าอันโตชาตะฯ ทาสนี้ซื้อมาด้วยทรัพย์ ชื่อว่าธนักกีตะฯ ทาสที่รับเอาโดยการจับด้วยการผูก ชื่อว่ากรมรานีตะ (เชลย)ฯ บทว่า สาม ได้แก่ เอง นั่นเทียวฯ บทว่า ทาสพ ฺย ได้แก่ ความเป็นทาสฯ บุคคลใดบุคคลหนึ่งแม้เป็นทาสอยู่ เกียจคร้านไม่ท า การงาน ไม่เรียกว่า “กัมมการะ” เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อนลโส กม ฺมกรสีโลเยว”ฯ บทว่า ป ฐมเมว ได้แก ่ ก ่อนเทียว คือก ่อนกว่านั่นเทียว กว ่าการเข้าไปสู ่ที ่ใกล้กว่าฯ ค าว่า ปจ ฺฉา ได้แก่ ภายหลังจากเจ้านายนอนฯ สองบทว่า สยนโต อวุฏ ฺฐฃิเตได้แก่ ไม่ลุกขึ้นจากการนอนในเวลาราตรีสว่างฯ ค าว่า ปจ ฺจูสกาลโต ปฏ ฺฐฃายได้แก่ จ าเดิมแต่การใกล้สว่าง เมื่อราตรีผ่านพ้นไปฯ ค าว่า ยาว สามิโน
๓๐๐ รต ฺติ นิท ฺโทกฺกมาน ได้แก่ จนถึงเวลาย่างลงสู่ความหลับในกาลเป็นเบื้องต้นแห่งราตรีต่อมาฯ ค าว่า กึ การ ความว่า อะไรที่พึงท า อธิบายว่า การถามถึงอะไร แล้วขวนขวายในสิ่งที่ตนต้องท าเพราะตนเป็นผู้ท าฯ บทว่า เทโว วิย ได้แก่ เหมือนเทพที่เป็นประธาน ซึ่งประกอบพร้อมด้วยความเป็นอธิบดี และบริวารเป็นต้นฯ สองบทว่า โส วตสฺสาห ได้แก่ เราพึงเป็นผู้นั้นหนอฯ โยชนาว่า แม้เราพึงเป็น เหมือน พระราชานั้น ถ้าเราพึงท าบุญให้โอฬาร เราพึงท าบุญอย่างไร ดังนี้ฯในปาฐะว่า “โสวตสฺสสฺส ” มีโยชนาว่า พระราชานั้นพึงเป็นเรา เราพึงเป็นพระราชานั้นหนอ หากเราพึงท าบุญดังนี้ฯด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อยเมวต ฺโถ”ฯก็อห -ศัพท์ แม้ไม่ได้ประกอบเข้าในการประกอบด้วยอุตตมบุรุษของ บทว่า อสฺส ก็ถือว่าประกอบแล้วนั่นเองฯ ค าว่า ยาวชีว น สกฺขิสฺสามิ ทาตุ มีโยชนาว่า พระราชาแม้ ทรงกระท าอยู่ซึ่งอุตสาหะเพื่อทรงถวายทานตลอดพระชนมชีพย่อมทรงถวายตลอดหนึ่งวันใด ข้าพเจ้า จักไม่อาจเพื่ออันถวายแม้ตลอดส่วนแห่งร้อย แต่วันหนึ่งนั้น เพราะฉะนั้น จึงท าอุตสาหะในบรรพชาว่า เราจักบวช ดังนี้ฯ สองบทว่า กาเยน ส วุโต ในที่นี้มีอธิบายดังนี้ว่า เขาส ารวมระวังบาปธรรมอันเป็นไปทาง กายทวารอันตนพึงส ารวมระวังด้วยกายอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กาเยน ปิหิโต ห ุต ฺวา”เป็น ต้นฯ สองบทว่า ฆาสจ ฺฉาทเนน ปรมตายได้แก่ด้วยความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในการแสวงหาอาหารและผ้า ปกปิดกายด้วยสามารถแห่งความขัดเกลา คือเขาด ารงอยู่แล้วในความเป็นผู้สูงสุด หรือว่า อาหารและ ผ้าปกปิดกาย เป็นเลิศ คือยิ่ง ได้แก่เป็นที่สุดของเขา เขาไม่แสวงหา และไม่หวังเฉพาะอามิสอะไร ๆ ยิ่งไปกว่านั้น เพราะเหตุนั้น เขาจึงชื่อว่ามีอาหารและเครื่องนุ่งห ่มเป็นอย่างยิ่ง ความเป็นผู้มีอาหาร และเครื่องนุ่งห ่มเป็นอย่างยิ่งนั้น ชื่อว่าฆาสัจฉาทนปรมตา เพื่อความเป็นผู้มีอาหารและเครื่องนุ่งห ่ม เป็นอย ่างยิ่งนั้นฯ บทว่า วิเวกฏ ฺฐฃกายาน ได้แก่ ผู้มีกายตั้งมั่นในความสงัดจากความคลุกคลีด้วยหมู่ คณะฯ บทว่า เนกฺขม ฺมาภิรตาน ได้แก่ ผู้ยินดีในฌานฯ ชื่อว่าปรมโวทานัปปัตตะ เพราะบรรลุความ หมดจด คือบริสุทธิ์อย่างยิ่ง คืออันสูงสุด ด้วยความยินดีในฌานนั้นนั่นเองฯ ชื่อว่านิรุปธิ (ผู้ไม ่มีอุปธิ กิเลส) เพราะการเข้าไปปราศจากโดยส่วนเดียว แห่งอุปธิคือกิเลสและอุปธิคืออภิสังขารฯ บทว่า วิสง ฺ ขารคตาน ได้แก่ ผู้มีนิพพานอันบรรลุแล้วฯ ก็บรรดาวิเวกเหล่านั้น วิเวกที่ ๑ แม้ร่วมกับ ๒ วิเวกนอกนี้ ก็พึงบรรลุได้ แม้เว้นจาก ๒ วิเวกนอกนี้ก็พึงบรรลุได้ วิเวกที่ ๒ ก็อย่างนั้นฯ ส่วนวิเวกที่ ๓ ร่วมกับ ๒ วิเวกนอกนี้เท่านั้นพึงบรรลุได้ เว้นวิเวก ๒ นอกนี้บรรลุไม่ได้ อันบัณฑิตพึงทราบดังว่ามาฉะนี้ฯ การ ประชุมพร้อมในคณะ คือในสมาคมแห่งชน ชื่อว่าคณสังคณิกา เขาละการคลุกคลีด้วยคณะนั้นอยู่คือ เทียวไปผู้เดียว เพราะไม่มีสหายด้วยสามารถแห่งบุคคลฯ การประชุมพร้อมแห่งกิเลสทั้งหลายในจิต ชื่อว่าจิตตกิเลสสังคณิกา เขาละจิตตกิเลสสังคณิกานั้นอยู่ผู้เดียว เพราะไม่มีสหายด้วยสามารถแห่ง กิเลสฯ การสัมผัสนิพพุติสุขอันดียิ่งด้วยสามารถแห่งมรรคและโคตรภูเป็นต้นเหล่านั้น ไม่มีเพราะมรรค มีในขณะจิตเดียว และโคตรภูเป็นต้น สักว่าเป็นเพียงอารมณ์ การสัมผัสนิพพุติสุข อันดียิ่งมีได้ด้วย อ านาจผลสมาบัติและนิโรธสมาบัติ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ผลสมาปต ฺตึ วา นิโรธ-สมาปต ฺตึ วา ปวิสิต ฺวา”ฯ ก็นิโรธมีผลเป็นที่สุดรอบแลฯ
๓๐๑ [๑๘๔] บทว่า อภิหริต ฺวา ได้แก่ น าไปโดยความเป็นผู้มีหน้าเฉพาะฯ ค าที่เหลือว่า “อห จีวราทีหิ ปโยชน สาเธสฺสามิ (ข้าพเจ้าจะยังประโยชน์ให้ส าเร็จด้วยจีวรเป็นต้น)”ฯ บทว่า สป ฺป าย ได้แก่ อันน ามาซึ่งอุปการะ ด้วยสามารถแห่งการก าจัดความเจ็บไข้ทุกอย่างฯ ชื่อว่ารักขาคุตติ (รักษา ค ุ้มครอง) เพราะคุ้มครองด้วยสามารถแห่งการรักษาจากอนัตถะที่มีอยู่ฯ ชื ่อว ่าอาวรณคุตฺติด้วย สามารถแห่งการกีดกันปัจจุบันนกิเลสฯ พรรณนาทุติยสันทิฏฐิกสามัญญผล [๑๘๖] บทว่า กสติได้แก่ ย่อมท าการไถ (ไถนา)ฯ ก-ศัพท์ ในค าว่า คหปติโก นี้ มีความ หมายว่าน้อย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เอกเคหมต ฺเต เชฏ ฺฐฃโก”ฯ ด้วย ก-ศัพท์นั้น ท่านใส่ความ เป็นแห่งบุคคลผู้เจริญที่สุดในตระกูลไว้มากมายฯ สองบทว่า กร กโรติได้แก่ ยังภาษีอากรย่อมให้ถึง พร้อมฯ บทว่า วฑฺฒติได้แก่ ขยายด้วยการตามเพิ่มให้ยิ่งๆ ขึ้นฯ เนื้อความนี้ว่า การละโภคะแม้น้อย อย่างนี้แล้ว บวชท าได้โดยยาก พึงแสดงด้วยลฏุกิโกปมสูตร๔๙๐ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เสยฺย ถาปิ อุทายิปุริโส ทลิทฺโท อสฺสโก อนาฬฺหิโย ตสฺสสฺส เอก อคารก โอลุคฺควิลุคฺค กากาติทายึ น ปรม รูปํ” ๔๙๑ นี้เป็นความพิสดารฯถ้าว่าการละโภคะแม้น้อยแล้วบวชท าได้ยาก เพราะเหตุไร จึงไม่ท าการ รับเอาโภคะในวาระแห่งทาส เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทาสวาเร ปน”เป็นต้นฯ ก็แม้โภคะ ทั้งหลายของทาส ก็ไม่ชื่อว่าโภคะ เพราะโภคะเกี่ยวเนื่องด้วยผู้อื่น ฉันใด พึงทราบว่า ท่านไม่กระท า แม้การถือเอาของเครือญาติ ในวาระแห่งทาสว่า แม้จะเป็นญาติ ฉันนั้นฯ พรรณนาปณีตตรสามัญญผล [๑๘๙] บทว ่า เอวรูปาหิความว่า พระผู้มีพระภาคย ่อมทรงสามารถเพื่ออันทรงแสดง สามัญญผลได้อุปมาทั้งหลาย อันเช่นกับด้วยทาสกัสสกอุปมาตามที่กล่าวแล้ว เพราะเป็นการแสดงนัย อันวิจิตร เหตุทรงมีปฏิภาณไม่มีสิ้นสุด แม้โดยยิ่งกว่านั้น ตลอดคืนและวันแม้ทั้งสิ้นฯ ศัพท์ว่า ตถาปิ ได้แก่ แม้เมื่อมีภาวะที่วิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ อันยิ่งกว่ากันโดยเทศนาฯ บทนั ่นมีความหมายเดียวกัน เพราะท่านกล ่าวขยายสาธุ-ศัพท์นั ่นแล ด้วยก-อักษร ด้วยเหตุนั้น นั่นแล พระอรรถกถาจารย์เมื่อกล่าวเนื้อความแห่ง สาธุก-ศัพท์ จึงได้ยกสาธุ-ศัพท์ขึ้น แสดงด้วยการแสดงอธิบายไขความหมายฯ บทว่า อายาจเน ได้แก่ ขอต่อหน้า อธิบายว่า ปรารถนาอย่าง ยิ ่งฯ บทว ่า สม ฺปฏิจ ฺฉเน ความว ่า ถือเอาเฉพาะฯ บทว่า สม ฺปห สเน ความว่า ร ่าเริง คือยินดีด้วย สามารถแห่งคุณที่มีอยู่พร้อม อธิบายว่า ท าความฟูใจฯ บทว่า ธม ฺมรุจีได้แก่ ผู้ต้องการบุญฯ บทว่า ปญ ฺญาณวา ได้แก่ผู้มีปัญญาฯ บทว่า อท ฺทุพ ฺโภ ได้แก่ ผู้ไม่โกรธ อธิบายว่า ผู้ไม่อาฆาตฯ บทว่า อิธาปิ ๔๙๐ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๑๔๘-๕๖/๑๖๔-๑๗๗. ๔๙๑ ม.ม. (บาลี) ๑๓/๑๕๒/๑๒๔.
๓๐๒ ได้แก่ แม้ในสามัญญผลนี้ฯ นี้เป็นสาธุ-ศัพท์ฯ บทว่า ทฬฺหีกม ฺม ได้แก่ ในการกระท าด้วยความเคารพฯ บทว่า อาณต ฺติย ได้แก่ ในการสั่งให้ท าฯ เพราะว่า เมื่อกล่าวว่า “สุโณหิ สาธุก มนสิ กโรหิ” ก็เป็นอัน ส่งความหมายว่าให้ท าตามนั้น ด้วย สาธุก-ศัพท์ เหมือนการท าโดยเคารพซึ่งสวนมนสิการ (การท าไว้ ในใจด้วยการฟัง) และพึงทราบความเป็นเนื้อความที่สั่งให้ท าแห่งสาธุก-ศัพท์นั้นเหมือนความเป็น เนื้อความแห่งอายาจนะ (ขอร้อง) ฉะนั้นฯ บทว่า สุนฺทเรปิได้แก่ แม้ในอรรถะว่างามฯ บัดนี้ เพื่ออัน แสดงความแปลกกันที่ท่านประกาศไว้แล้วด้วยสาธุก-ศัพท์ ทั้งสามความหมายตามที่กล่าวมาแล้ว พระ อรรถกถาจารย์จึงกล่าวค าว่า “ทฬฺหีกม ฺมต ฺเถน หิ”เป็นต้นฯ ในค าว่า มนสิ กโรหินี้ มนสิการหามีการด าเนินไปในอารมณ์เป็นลักษณะไม่ ที่แท้แล มี การตั้งไว้ในจิตเป็นลักษณะ โดยก่อนเป็นมนสิการที่ด าเนินไปสู่วิถีและด าเนินไปสู่ชวนะ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์เมื่อแสดง จึงกล่าวว่า “อาวชฺช”เป็นต้นฯ ชื่อว่าโสตินทริยวิกเขปวารณะ เพราะ ห้ามการกระท าอันอื่น ด้วยสามารถประกอบในการฟัง อธิบายว่า เงี่ยโสตลงฯ ชื่อว่ามนินทริยวิกเขป วารณะ เพราะห้ามความคิดถึงอารมณ์อื่น ๆ ชื่อว่าพยัญชนวิปัลลาสัคคาหวารณะ เพราะกล่าวให้ แปลกกันออกไปว ่า “สาธุก ”ฯ แม้ในการห้ามการถือเอาวิปลาสแห ่งเนื้อความของบทหลังก็มีนัยนี้ เหมือนกันฯ ด้วย อาทิ-ศัพท์ ในค าว่า ธารณูปปริกฺขาทีสุรวมถึงการชั่งและการตวงเป็นต้น และการ แทงตลอดด้วยทิฏฐิฯ ในค าว่า สพ ฺยญ ฺชโน นี้ มีอธิบายว่า ชื่อว่าพยัญชนะ เพราะอรรถว่า ท าเนื้อความ ตามที ่ต้อง การให้ปรากฏ ได้แก่สภาวนิรุตติ ชื ่อว ่าสพยัญชนะ เพราะอรรถว ่า เป็นไปพร้อมกับ พยัญชนะ คือถึงพร้อมด้วยพยัญชนะฯ บทว่า สาต ฺโถ มีอธิบายว่า ชื่อว่าอัตถะ เพราะไม่มีความเสีย หาย คือพึงเข้าไปใกล้ คือทรงไว้ ได้แก่ปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้นฯ ชื่อว่าสาตถะ เพราะอรรถว่า เป็นไปกับ ด้วยอรรถนั้น ได้แก่ถึงพร้อมด้วยอรรถฯ ในค าว่า ธม ฺมคม ฺภีโร เป็นต้น ตันติ ชื่อว่าธรรมฯ การแสดง ตันตินั้นซึ่งถูกก าหนดไว้ด้วยใจ ชื่อว่าเทศนาฯ เนื้อความแห่งตันติ ชื่อว่าอรรถฯ การหยั่งรู้ตันติและ อรรถแห่งตันติตามเป็นจริง ชื่อว่าปฏิเวธฯ ก็เพราะเหตุที่ธรรมะ เทศนา อัตถะ และปฏิเวธะ เหล่านั้น อันผู้มีปัญญาน้อยหยั่งรู้ได้โดยยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันกระต่ายเป็นต้นหยั่งไม่ได้ ฉะนั้น และ เป็นที่พึ่งแห่งเนยยบุคคลอันบุคคลไม่พึงได้ ฉะนั้น จึงชื่อว่าลึกซึ้ง (คัมภีรา)ฯ ด้วยเหตุนั้น พระอรรถ กถาจารย์จึงกล่าวค าว่า “ยสฺมา อย ธม ฺโมฯเปฯ สาธุก มนสิ กโรหิ”ฯ ก็ในค านี้พึงทราบว่า ความที่ อรรถแห่งธรรมหยั่งรู้ได้ยาก เพราะปฏิเวธอันบุคคลท าได้ยาก ความที่เทศนาก็ยังรู้โดยยากเพราะ เทศนาญาณท าได้ยาก และความที่ปฏิเวธหยั่งรู้ได้ยากเพราะใคร ๆ ไม่อยากให้ปฏิเวธเกิดขึ้น และ เพราะการเกิดขึ้นแห่งญาณก็ท าได้ยากฯ การยกขึ้นแสดง ชื่อว่าเทศนา การแสดงเทศนานั้น ชื่อว่า ภาสนะเพราะเหตุนั้น ท่านจึงประสงค์เอาในที่นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “วิต ฺถารโต ภาสิสฺสา มิ”ฯ ก็ความเป็นผู้ฉลาด ก็คือการกล่าว การแสดง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เทเสสฺสามีติ ฯเปฯ วิต ฺถารทีปน ”ฯ เพื่ออันให้เนื้อความตามที่กล่าวแล้วให้สมบูรณ์ด้วยสุตตบท ท่านจึงกล่าวค าว่า “เตนาห” เป็นต้นฯ สองบทว่า สาฬิกายิว นิค ฺโฆโสได้แก่ เหมือนการส่งเสียงเจรจาของนกสาลิกา ไพเราะ สบาย หู จับใจฯ บทว่า ปฏิภาน ได้แก่ เสียงฯ บทว่า อุทีรยิได้แก่ เปล่งเสียง หรือว่ากล่าวฯ
๓๐๓ ค าว่า เอว วุต ฺเต อุสฺสาหชาโตความว่า เมื่อกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านจงฟัง จงท าไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว” ก็เป็นผู้เกิดอุตสาหะ คือร่าเริงยินดีว่า “ได้ยินดีว่า พระผู้มีพระภาคจักไม่ทรงแสดงโดย ย่อ เท่านั้น แต่จักตรัสแม้โดยพิสดาร”ฯ [๑๙๐] อธิกรณะที่กล่าวอยู่ด้วยค าว่า “อิธ” นี้ ท่านประสงค์เอาว่า เป็นที่เสด็จอุบัติแห่ง พระตถาคต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทาสาปเทเส นิปาโต”ฯ ค าว่า “สฺวาย ” ถือเอาเพียง อิธศัพท์ โดยสามัญ ไม่ใช่ อิธ-ศัพท์ ตามที่พึงให้พิเศษออกไปฯ จริงอย่างนั้น พระอรรถกถาจารย์จักกล่าว ว่า “กตฺถจิ ปทปูรณมตฺตเมว” ๔๙๒ฯ ท ่านกล ่าวเทียบเคียงโลก เพราะกล่าวโดยความเป็นอธิกรณะที่ เสมอด้วย โลก-ศัพท์ฯ ส่วนใน ๒ บทที่เหลือพึงทราบว่าเป็นการกล่าวเทียบเคียงโลกนั้น ๆ โดยเพียง เชื่อมบทอื่นฯ ก็ค าว่า อิธ ตถาตโต โลเก ประสงค์เอาชาติเขต แม้ในชาติเขตนั้น ก็ประสงค์เอาจักรวาฬ นี้ว่า “โลก”ฯ บทว่า สมโณ ได้แก่ ผู้เป็นโสดาบันฯ สองบทว่า ทุติโย สมโณ ได้แก่ผู้เป็นสกทาคามีฯ สมจริงดังพระด ารัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในศาสนานี้ ชื่อว่าเป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์ ๓” ๔๙๓ เป็นต้น “ภิกษุทั้งหลาย ก็ สมณะที่ ๒ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ชื่อว่าเป็นสกทาคามี เพราะความสิ้นไปรอบแห่ง สังโยชน์ ๓ เพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง” ๔๙๔ เป็นต้นฯ บทว่า โอกาส ได้แก่ ส่วนเฉพาะบางส่วนฯ บท ว่า อิเธว ติฏ ฺฐฃมานสฺส ได้แก่ ผู้ด ารงอยู่ในถ ้าอินทสาละนี้นั่นแลฯ ชื ่อว ่าเป็นเพียงปทปูรณะเท่านั้น เพราะแม้การแสดงอ้างโอกาสก็ไม ่มี คือเพราะไม่รู้ เนื้อความอื่น ๆฯ โยชนาว่า ศัพท์ทั้งหลายมีศัพท์ว่า อรห เป็นต้น พระอรรถกถาจารย์ให้พิสดารแล้วฯ โดยความหมาย ความแพร่หลายก็มี เพราะมุ่งถึงศัพท์เท่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงเป็นการถือเอาตามรูปศัพท์ฯ เพราะเหตุที่ในอุทานอรรถกถาเป็นต้น โดยนัยว่า “อปเรหิปิอฏฺฐฃหิ ภควา ตถาคโต” เป็นต้น อรห -ศัพท์เป็นต้น ท่านให้พิสดารโดยประการอื่น ๆ ในฎีกาวิสุทธิมรรค ฉะนั้น พึงทราบเนื้อความนั้น แม้ตามนัยที่กล่าวไว้ในอุทานอรรถกถาเป็นต้นนั้นฯ เพราะพระตถาคตทรงหยั่งลงในภายในแห่งหมู่ สัตว์ พระตถาคตนี้ย่อมอุบัติในหมู่สัตว์ใด และในโอกาสใด ในสัตวโลกนั้น เพราะกล่าวว่า “อิธ ปน สตฺตโลโก อธิปฺเปโต” เพื่ออันแสดงอรรถาธิบายค านั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “สต ฺตโลเก อุป ฺปชฺชมาโนปิ จ” เป็นต้นฯ บรรดาค ามีว่า “ตถาคโต น เทวโลเก อุป ฺปชฺชติ” เป็นต้น ค าใดอันท่านพึงกล่าว ค านั้นจักมา ข้างหน้าฯ บทว่า สารป ฺปต ฺตา ได้แก่ เป็นสาระ โดยเป็นตระกูล โภคะ และอิสสริยะ เป็นต้นฯ บทว่า พ ฺราหฺมณ-คหปติกา ได้แก ่ พรหมายุพราหมณ์และโปกขรสาติพราหมณ์เป็นต้น และอนาถบิณฑิก คหบดีเป็นต้นฯ ในวิกัป ๔ ที่ท่านกล่าวโดยนัยว่า “สุชาตาย”เป็นต้น วิกัปที่ ๑ ท่านกล่าวโดยแสดงการ ปฏิบัติที่ใกล้ต่อความเป็นพุทธะฯก็ผู้ด ารงอยู่ในการปฏิบัติที่ใกล้กว่า ท่านเรียกว่า “อุปฺปชฺชติ” เพราะ ๔๙๒ ที.สี.อ. (บาลี) -/๑๙๐/๑๕๖. ๔๙๓ องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๒๔๑/๓๕๗. ๔๙๔ องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๒๔๑/๓๕๗.
๓๐๔ การอุบัติมีโดยส่วนเดียว จะกล่าวไปไยถึงผู้ด ารงอยู่ใกล้ต่อการปฏิบัติเล่าฯ วิกัปที่ ๒ กล่าวโดยแสดง การปฏิบัติใกล้จ าเดิมแต่บรรพชาอันน าความเป็นพุทธะมาให้ วิกัปที่ ๓ กล่าวโดยแสดงการปฏิบัติเพื่อ ความเป็นพุทธะ จ าเดิมแต่บ าเพ็ญธรรมอันท าความเป็นพุทธะฯ ก็จ าเดิมแต่การเข้าถึงการอุบัติแห่ง มหาสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าการสั่งสมโพธิสมภารย่อมไม่มีฯ วิกัปที่ ๔ กล่าวโดยการแสดงการปฏิบัติจ าเดิม แต่การปรารภธรรมอันท าความเป็นพุทธะฯ ก็จ าเดิมแต่การเข้าถึงความเป็นผู้แน่นอนต่อโพธิ วิญญูชน สามารถกล่าวได้ว่า “พุทฺโธ อุปฺปชฺชติ” เพราะการอุบัติมีได้โดยส่วนเดียวฯ เหมือนที่ว่า การประกอบ อันเป็นไปเทียบเคียงถึงความไม่ขาดสายแห่งกิริยาที่ไหลไปว่า แม่น ้าย่อมไหลไป ฉันใด ท่านกล่าวค าว่า “อุปฺปชฺชตินาม” ในวิกัป ๔ เทียบเคียงถึงความไม่ขาดสายแห่งกิริยาคือปฏิบัติเพื่อต้องการอุบัติ ก็ฉัน นั้นฯ สองบทว่า สพ ฺพปฐฃม อุป ฺปนฺนภาว ได้แก่ ความที่ตถาคตมีอยู่ กล่าวคือความที่ตถาคตอุบัติแล้ว ที่ กล่าวไว้ก่อนวิกัปทั้งหมด ในวิกัปทั้ง ๔ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อุปฺปนฺโน โหตีติ อยญฺเจตฺถ อตฺ โถ”ฯ สองบทว่า โส ภควาความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีพระเกียรติคุณโดยนัย ว ่า “ตถาคโต อรห ”เป็นต้นฯ ค าว ่า “อิม โลก ” นี้ หากล ่าวหมายถึงความเป็นผู้สักว่าพร้อมหน้า มหาชนไม่ ที่แท้แล กล่าวก าหนดถือเอาแบบไม่มีส่วนเหลือ เพราะเหตุนั้น เพื่ออันแสดง ท่านจึงกล่าว ค าว่า “สเทวก ” เป็นต้นฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อิทานิ วต ฺตพ ฺพ นิทสฺเสติ”ฯ บทว่า ปชาตต ฺตา ได้แก่ ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้บังเกิดมาเพราะกรรมกิเลสตามที่เป็นของตนฯ บทว่า ปญ ฺจกามาวจร เทวค ฺคหณ ได้แก่ ความที่ธรรมนอกนี้ถูกรวมไว้ด้วยบทอื่น ๆ โดยญายธรรมที่เหลือฯ ก็วิเคราะห์โดย ส ่วนย ่อยของค าว ่า สเทวก เป็นการรวมกัน คือที ่มีความหมายรวมกันฯ บทว่า ฉฏ ฺฐฃกามาวจร เทวค ฺคหณ ได้แก่ ถือรวมโดยปัจจสัตติญายธรรมฯ ก็ผู้นั้นทั้งเกิดทั้งอยู่ในที่นั้นฯ แม้ในค าว่า พ ฺรห ฺมกายิ กาทิพ ฺรห ฺมค ฺคหณ นี้ ก็นัยนี้เช่นกันฯ ค าว่า ปจ ฺจต ฺถิกฯเปฯ สมณ พ ฺราห ฺมณค ฺคหณ นั่น ชื่อว่าเป็นเพียง ตัวอย่าง เพราะสมณะและพราหมณ์ ผู้ไม่ข้าศึกและผู้มีบาปยังไม่สงบและบาปยังไม่ได้ลอย ถูกระบุไว้ แล้วด้วยค าว่า สสฺสมณพฺราหฺมณีฯด้วยสามารถแห่งค าวิเสสนะมีว่า“สเทวก ” เป็นต้น ย่อมรู้กันได้ว่า โลก-ศัพท์ มีสัตว์เป็นอารมณ์แน่แท้ เพราะค าวิเสสนะเหล่านั้น มีตุลยโยคะเป็นอารมณ์ก็จริง ถึงอย่าง นั้น ในค าว่า “สโลมโก สปกฺขโก” เป็นต้น ย่อมได้สมาสนี้ แม้ในอตุลยโยคะ (ตุลยะเป็นชื่อสมาส) เพราะเหตุนั้น จึงถือเอาว่า ปชา-ศัพท์เพราะแสดงการเที่ยวไปเฉพาะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปชาวจเนน สต ฺตโลกค ฺคหณ ”ฯ สัตว์ผู้ไม่มีรูปย่อมอยู่รุ่งเรืองด้วยอาเนญชวิหารธรรมของตน เพระเหตุนั้น จึงได้นิพจน์นี้ว่า เทพ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สเทวกค ฺคหเณน อรูปาวจรโลโก คหิโต”ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “อากาสานญฺจายตนูปคาน เทวาน สหพฺยต ” ๔๙๕ฯ เทวโลกชั้นกามาวจร ๖ ชั้นท ่านระบุไว้ ด้วยสมารก-ศัพท์ เพราะเป็นไปในอ านาจของมารนั้นโดยมีความแปลกกันฯ ระบุรูปีพรหมโลก(พระ พรหมที่ขันธ์๕) เพราะระบุอรูปีพรหมโลก(พระพรหมที่มีขันธ์๔)ไว้แยกๆ กันฯ บทว่า จตุปริสวเสน ๔๙๕ องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๑๑๗/๒๖๐ (อาเนญฺชสุตฺต).
๓๐๕ ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งบริษัท ๔ มีขัตติยบริษัทเป็นต้น ส่วนบริษัท ๔ นอกนี้ ระบุไว้ด้วยสมารก-ศัพท์ เป็นต้นฯ ชื่อว ่าโลกแห ่งสัตว์ทั้งหมดที่เหลือ ได้แก่โลกที่ต่างโดยประเภทแห่งนาคและครุฑเป็นต้นฯ ก็พระอรรถกถาจารย์ระบุถึงโลกโดยส่วนด้วยอธิบายประมาณเท่านี้ แล้วแสดงประโยชน์ บัดนี้เพื่ออันระบุถึงโลกโดยไม่มีส่วนโดยความแปลกกันนั้น ๆ แล้วแสดงประโยชน์ จึงกล่าวค าว่า “อปิ เจตฺถ” เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกฏ ฺฐฃปริจ ฺเฉโท ได้แก่ ด้วยการรู้คติสูงสุดฯ จริงอยู่ในคติ ๕ คติที่นับเนื่องในเทวคตินั่นแลประเสริฐสุดแม้ในคติ ๕ เหล่านั้น สัตว์ผู้ไม่มีรูปเป็นผู้สูงสุดเกินเปรียบ ด้วยคุณพิเศษทั้งหลายมีอย่างนี้ คือโดยความเป็นผู้มีทุกข์เพราะกิเลสอันตนยกเสียไกลแล้ว โดยความ เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยอาเนญชวิหารธรรมอันสงบและประณีต โดยความเป็นผู้มีอายุยืนอย่างยิ่งเป็นต้นฯ พระอรรถกถาจารย์กล่าวค าว่า “พ ฺรห ฺมา มหานุภาโว” เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งท้าวมหาพรหมใน หมื ่นจักรวาลฯ สมจริงดังค าอันท ่านกล ่าวว ่า “อุกฺกฏฺฐฃปริจ ฺเฉทโต”ฯ บทว ่า อน ุต ฺตร ได้แก่ โลกุตตรธรรม ๙ อันประเสริฐสุดฯ บทว่า ภาวานุกฺกโม ได้แก่ ตามล าดับแห่งบท มีบทว่า “สเทวก ” เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งอัธยาศัยของชนเหล่าอื่นด้วยสามารถแห่งภาวะฯ บทว่า ตีหากาเรหิได้แก่ ด้วยปการะ ๓ คือปการะที่ประกอบพร้อมด้วยเทพ มาร และ พรหมฯสองบทว่า ตีสุ ปเทสุได้แก่ ใน ๓ บทมีบทว่า “สเทว ” เป็นต้นฯ สองบทว่า เตน เตนากาเรน ได้แก่ ด้วยปการะนั้น ๆ มีความเป็นสเทวกะเป็นต้นฯ โยชนาว่าก็โบราณาจารย์กล่าวว่า ธาตุ ๓ หมวด นั่นแล อันท่านก าหนดถือเอาแล้วฯ ท่านท านิเทศนี้ด้วยการลบ ย-อักษรในบทว่า อภิญ ฺญา ในค านี้จึงมีความว่า อภิชานิตฺวา (รู้แล้ว) เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงความว ่า “อภิญฺญาย อธิเกน ญาเณน ญตฺวา”ฯ บทว่า อน ุมานาทิ- ปฏิกฺเขโป ได้แก่ ห้ามการถึงเนื้อความโดยอนุมานะและอุปมานะเป็นต้น เพราะมีปมาณะเดียวฯ ด้วย ว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงประจักษ์สรรพสิ่ง เพราะทรงมีการเทียวไปแห่งญาณอันไม่มี อะไรกระทบได้ในที่ทั้งปวงฯ สองบทว่า อนุต ฺตร วิเวกสุข ได้แก่ ความสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ ด้วยความสุขนั้นในกาล บางคราว ธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคก็มีแม้แก่ผู้มีความตั้งมั่น เพราะเหตุนั้น จึงมีการระบุไว้ด้วย ปิ-ศัพท์ว่า หิต ฺวาปิฯ ก็พระผู้มีพระภาค เมื่อทรงแสดงธรรม บริษัทให้สาธุการ หรือพิจารณาธรรม ตามที่ตนฟังในขณะใด ทรงก าหนดขณะนั้นโดยส่วนเบื้องต้น ทรงเข้าผลสมาบัติและครั้นออกจาก สมาบัติ ตามที ่ทรงก าหนดแล้ว ทรงแสดงธรรมจ าเดิมแต่ที ่ที่ด ารงอยู่ฯ ทรงแสดงธรรมเล็กน้อย ด้วยสามารถแห่งอุคฆฏิตัญญูบุคคล หรือวิปจิตัญญูบุคคล หรือแสดงธรรมเป็นอันมาก ด้วยสามารถ แห่งเนยยบุคคลฯ ความที่ธรรมเป็นธรรมงาม เพราะน าสัตว์ออกจากภพ และความเป็นธรรมน าสัตว์ ออกจากภพ เพราะเป็นธรรมไม่โทษนั ่นแล โดยประการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล่าวว่า “อนวชฺชเมว กต ฺวา”ฯ การคลี่คลาย คือการให้ผู้ฟังเข้าใจชัด ด้วยวิธีมีอาณาเป็นต้นอันเนื่องด้วยผู้ แสดง ชื่อว่าเทศนา เพราะเหตุนั้น เทศนานั้นพึงทราบด้วยสามารถแห่งปริยัติธรรม เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า “เทสนาย ตาว จตุป ฺปทิกายปิ คาถาย”เป็นต้นฯ แม้ค าเริ่มต้นและค าลงท้าย ก็หยั่งลงใน
๓๐๖ ภายในแห่งเทศนานั้นทั้งนั้น เพราะตามวิถีแห่งเทศนาของพระศาสดา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “นิทาน อาทิ, อิทมโวจาติ ปริโยสาน ”ฯ การตามสั่งสอนโดยความเป็นแห่งบุคคลที่พึงสอนตามความผิดเป็นต้น ที่มีอยู่ในบุคคลที่ ต้องสอน คือการแนะน าด้วยสามารถแห่งการแนะน าด้วยองค์นั้น ชื่อว่าสาสนะ (ค าสอน) เพราะเหตุ นั้น สาสนะนั้นพึงทราบด้วยสามารถแห่งปฏิบัติธรรม เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว่า “สีลสมาธิ วิปสฺสนา” เป็นต้นฯ สองบทว่า กุสลาน ธม ฺมาน ได้แก่ ความที่ธรรมไม่มีโทษเป็นเบื้องต้นแห่งศีล และ ความที่สมถะและวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นแห่งศีลและทิฏฐิ เพราะอุตตริมนุสสธรรมมีธรรมนั้นเป็นมูลฯ แม้ความที่สัมมาปฏิบัติเป็นท่ามกลาง คือความเป็นกลางแห่งการเริ่มต้นและความส าเร็จเหมือนความ ที่อริยมรรคเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เพราะการไปปราศแห่งที่สุด ๒ อย่าง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวค า ว่า “อต ฺถิ ภิกฺขเว ฯเปฯ มชฺฌ นาม”ฯผล ชื่อว ่าปริโยสานะด้วยสามารถเป็นสอุปาทิเสสะ นิพพาน ชื่อว ่าปริโยสานะด้วยสามารถเป็นอนุปาทิเสสะฯเพื่อแสดงความที่ผลและนิพพานแม้ทั้ง ๒ นั้นเป็นปริ โยสานะแห่งศาสนาโดยทางเป็นเหตุบรรลุในกาลนี้ ท่านจึงกล่าวค าว่า “เอตทต ฺถมิท ”เป็นต้นฯ ใน เทศนานี้ ท ่านประสงค์เอาเบื้องต้น ท ่ามกลาง และที่สุด ด้วยค าว่า “สพฺยญฺชน ”เป็นต้นฯ การผูกศัพท์ โดยท าการจ ากัดความหมายในอรรถนั้นๆ ด้วยสามารถแห่งคาถา และปริยัติธรรมที่ก าหนดกล่าวด้วย สามารถแห่งพระสูตร พระปริยัติธรรมอันใดที่กล่าวว่า “เทศนา” ในที่นี้ ความหมายของปริยัติธรรม อันนั้นก็คือศีลเป็นต้นนั่นเองโดยพิเศษ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ภควา หิ ธม ฺม เทเสนฺโต ฯเปฯ ทสฺเสติ”ฯ ท่านก าหนดถือเอาอรรถแห่งปริยัติโดยไม่มีส่วนเหลือด้วยสามารถแห่งศีลและมรรคทั้ง ๒ นั้นว ่า ถือเอาศีลพร้อมองค์ประกอบด้วยสีล-ศัพท์ ในค าว ่า สีล ทส ฺเสตวา ถือเอามรรคพร้อม องค์ประกอบด้วย มค ฺค-ศัพท์ก็อย่างนั้นฯ บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยการแสดงศีลเป็นต้นฯ ก็ด้วยสามารถ เนื้อความท่านประสงค์เอาความเทศนาในที่นี้มีความงามในเบื้องต้นเป็นต้นฯ บทว่า กถิกสณ ฺฐฃาติ ได้แก่ ความตั้งมั่นพร้อมแห่งผู้กล่าว คือความด ารงมั่นเสมอด้วยสามารถแห่งการกล่าวฯ ผู้กล ่าวนั้นย ่อมไม ่ชื่อว ่าแสดงธรรมพร้อมอรรถ เพราะเทศนานั้น เว้นจากอรรถว่าน าสัตว์ ออกจากภพฯ บทว่า เอกพ ฺยญ ฺชนาทิยุต ฺตา วาความว่า ประกอบแล้วด้วยพยัญชนะมี ปการะหนึ่งนั่น แล หรือมีปการะ ๒ นั่นแลในพยัญชนะทั้งหลายมีประเภทแห่งพยัญชนะที่เป็นสิถิลเป็นต้น เหมือน ภาษาของชาวทมิฬ ฉะนั้นฯ ชื่อว่าสัพพนิโรฏฐฃพยัญชนะ เพราะเปล่งเสียงออกไม่ให้ริมฝีปากกระทบ กันเพราะท าการเปิด เหมือนภาษาของชนป ่า ฉะนั้นฯ ชื ่อว ่าสัพพวิสสสัฏฐพยัญชนะเพราะ ประกอบด้วยพยัญชนะอันควรสละทั้งปวงนั ่นแลเหมือนภาษายวน ฉะนั้นฯชื ่อว่าสัพพนิคคหิต พยัญชนะเพราะตามสละ เหมือนภาษาของชาวมิลักขะผู้อยู่ฝั่งในเป็นต้น ฉะนั้นฯ แม้ทั้งหมดนั้นท่าน กล่าวว่า “อพยัญชนะ” เพราะท าอธิบายไว้ว่า พยัญชนะไม่บริบูรณ์ เพราะความเป็นไปด้วยสามารถ แห่งส่วนหนึ่งแห่งพยัญชนะฯ อักขระมีเป็นต้นอย ่างนี้ว่า อักขระที ่บุคคลพึงเปล ่งเสียงออกท าฐานกรณ์ให้หย่อนคือ อักขระตัวที่ ๑ และอักขระที่ ๓ ในวรรคทั้ง ๕ ชื่อว่าสิถิลฯ อักขระเป็นต้นอย่างนี้ว่า อักขระที่พึงเปล่ง
๓๐๗ เสียงออกท าฐานกรณ์เหล่านั้นไม่ให้หย่อน (หนัก) คืออักขระตัวที่ ๒ และอักขระตัวที่ ๔ ในวรรคทั้ง ๕ ชื่อว่าธนิตฯอักขระที่เปล่งเสียงออกสิ้นระยะเวลา ๒ มาตรา ชื่อว่าทีฆะฯอักขระที่เปล่งเสียงออกสิ้น ระยะเวลา ๑ มาตรา ชื่อว่ารัสสะฯ อักขระที่เป็นรัสสะนั่นเอง ชื่อว่าลห ุฯ ลหุนั่นแลมีพยัญชนะสังโยค อยู่หลัง และที่เป็นทีฆะ ชื่อว่าครุกะฯ อักขระที่เปล่งเสียงออกกดฐานกรณ์ ชื่อว่านิคคหิตฯ อักขระที่ เปล่งเสียงออกท าการเชื่อมต่อกับอักขระตัวอื่น ชื่อว่าสัมพันธะฯ อนึ่ง อักขระที่ไม่สัมพันธ์กัน ชื่อว่า ววัตถิตะฯ อักขระที่เปล่งเสียงออกท าฐานกรณ์ไม่ให้มีฐาน ชื่อว่าวิมุตตะฯ ค าว่า ทสธา ได้แก่ ประเภท แห่งจิตที่เกิดขึ้นเพราะอักขระ ด้วยความรู้ในพยัญชนะ ด้วยสามารถแห่งสิถิลเป็นต้น อย่างนี้โดย อาการทั้งปวงฯจริงอยู่อักขระทั้งปวง มีจิตเป็นสมุฏฐาน และชื่อว่าพยัญชนะเพราะท าเนื้อความตามที่ ประสงค์ให้ปรากฏฯ บทว่า อมกฺเขต ฺวาความว่า ไม่ให้เหี่ยวแห้ง ไม่ให้เสียหาย หรือว่าไม่ให้เสื่อมก็ได้ฯ พระผู้มี พระภาคทรงแสดงคาถาหนึ่ง หรือวากยะหนึ่ง เพื่อทรงยังเวไนยสัตว์ให้เข้าใจเนื้อความใด ย่อมทรง แสดงเนื้อความนั้น ด้วยเทศนาอันมีบทและพยัญชนะอันสละสลวยนั้นนั่นแล เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ปริปุณ ฺณพ ฺยญ ฺชนเมว กต ฺวา ธม ฺม เทเสติ”ฯ เกวล-ศัพท์ ในค าว่า เกวลกป ฺป นี้ เป็นศัพท์บอก เนื้อความโดยไม่มีส่วนเหลือ ไม่ใช่บอกความปะปนกันเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สก ลาธิวจน ”ฯ บทว่า ปริปุณ ฺณ ความว่า เต็มแล้วโดยประการทั้งปวง ก็ค านั้นไม่หย่อนหรือว่าไม่ยิ่งด้วย เนื้อความไรๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อนูนาธิกวจน ”ฯในเทศนานั้น พระองค์ทรงแสดงธรรม เพื่อประโยชน์ใด พึงทราบว่าประโยชน์นั้นส าเร็จ คือไม่หย่อน ส่วนที่ตรงกันข้ามนั้นพึงทราบว่าไม่ ส าเร็จ คือไม่ยิ่งฯ ค าว่า สกล ได้แก่ มีส่วนทั้งปวงฯ บทว่า ปริปุณ ฺณ ได้แก่ บริบูรณ์แล้วโดยประการทั้ง ปวงนั่นแล ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เอกเทเสนาปิ อปริปุณ ฺณา นต ฺถิ”ฯ เทศนา ชื่อว ่าไม ่บริสุทธิ์ เพราะหม่นหมองด้วยตัณหาฯ โลกามิส ได้แก่ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ชื่อว่าผู้ไม ่เพ ่งในโลกามิสเพราะมีจิต ไม่ยินดีในโลกามิสนั้นฯ บทว่า หิตผรเณน ได้แก่ น าเข้าไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูลฯ ชื่อว ่าผู้มีหทัยอ ่อนโยน เพราะท าเมตตาภาวนาฯ บทว่า อุลฺลุม ฺปนสภาวสณ ฺฐฃิเตน ได้แก่ มีจิตตั้งมั่นโดยอาการถอนขึ้นจาก สังกิเลสทั้งสิ้น และทุกข์ในวัฏฏะ อธิบายว่า มีจิตประสงค์กรุณาฯ ชื่อว่าวัตร เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงสมาทานด้วยค าว่า “ตั้งแต่นี้ไป เราจะให้นั่นเทียว และ เราจะให้อย่างนี้”ฯ ชื่อว่าพรหมจริยะเพราะอรรถว่า ชื่อว่าพรหม เพราะอรรถว่า ประเสริฐ หรือ ชื่อว่าจริยะของพรหมทั้งหลาย เพราะบัณฑิตบัญญัติไว้แล้ว ได้แก่ทานฯ ด้วยการข่มมัจฉริยะและโลภะ เป็นต้น แห ่งบุคคลผู้มีธรรมอันสั่งสมแล้วฯ เทวฤทธิ์ชื่อว่าอิทธิฯ รัศมี ชื่อว่า ชุติ หรือว่าอานุภาพ ชื่อ ว่าชุติฯ บทว่า พลวีริยูปปต ฺติได้แก่ การประกอบพร้อมด้วยพละและวีริยะอันมากอย่างนี้ฯ บทว่า ปุญ ฺญ ได้แก่ ผลบุญฯ การขวนขวาย ชื่อว ่าพรหมจริยะ เพราะท าอธิบายว่า เป็นความประพฤติอัน ประเสริฐสุดฯ แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้ฯ บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่ศาสนา (ค าสอน) ทั้งสิ้นซึ่งสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓ ท่าน ประสงค์เอาแล้วว่า “พรหมจริยะ”ในที ่นี้ฉะนั้นด้วยค าว ่า “พ ฺรหฺมจริย ” นี้ พระอรรถกถาจารย์
๓๐๘ ประกอบบททั้งหมดที่เป็นอธิกรณะเสมอกัน เมื่อจะแสดงเนื้อความ จึงกล่าวว่า “โส ธม ฺม เทเสติ ฯเปฯ ปกาเสตีติ เอวเมต ฺถ อต ฺโถ ทฏ ฺฐฃพ ฺโพ”ฯ [๑๙๑] บทว่า วุต ฺตป ฺปการสม ฺปท ได้แก่ คุณสัมปทามีความเป็นธรรมงามในเบื้องต้นตามที่ กล่าวแล้วเป็นต้น ส าหรับผู้ที่มีมานะอันยกให้ไกลแล้วนั่นแลย่อมมีสัมมาปฏิบัติในศาสนา ผู้มีชาติมานะ หามีไม่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “นิหตมานต ฺตา”ฯ บทว่า อุสฺสนฺนต ฺตา ได้แก่ เพราะมีมากฯ ความมัวเมาอันมีโภคะและความไม่มีโรคเป็นต้นเป็นที่ตั้ง พึงละให้ได้ด้วยดี เพราะไม่เป็นเหตุได้นิมิต ความเมาตระกูลและวิชาหาเป็นอย่างนั้นไม่ เพราะฉะนั้น ตระกูลกษัตริย์และพราหมณ์แม้บวชแล้วยัง อาศัยชาติและวิชา จึงมีมานะที่ละได้ยาก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เยภ ุย ฺเยน หิ ฯเปฯ มาน กโรนฺติ”ฯ บทว่า วิชาติตายได้แก่ เพราะมีชาติเลวฯ สองบทว่า ปติฏ ฺฐฃาตุ น สกฺโกนฺติได้แก่ ย่อมไม่ อาจเพื่ออันรักษาศีลให้บริสุทธิ์ด้วยดีฯ ก็ที่พึ่งในศาสนาย่อมมีด้วยอ านาจแห่งศีลฯ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปติฏ ฺฐฃาตุ ได้แก่ เพื่อความตั้งมั่นด้วยความตั้งมั่นอันเป็นโลกุตตระด้วยการรู้แจ้งสัจจะฯ ก็ความตั้งมั่น อันเป็นโลกุตตระนั้น ชื่อว่าเป็นที่พึ่งในศาสนาโดยนิปปริยายและโดยมากผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยก็คือผู้ ที่เกิดดีแล้วนั่นเอง หาใช่ผู้ที่เกิดมาชั่วไม่ฯ บทว่า ปริสุท ฺธ ได้แก่ ชื่อว่าบริสุทธิ์โดยประการทั้งปวง เพราะไม่มีอุปกิเลส เหตุแสดงการ ละ ราคะเป็นต้นได้โดยส่วนเดียวนั่นเทียวฯ สองบทว่า สุท ฺธ ปฏิลภติได้แก่ ย่อมเชื่อด้วยอ านาจแห่ง ศรัทธาชั้นปุถุชนฯ เพราะว่า ชาติแห่งวิญญูชนย่อมมีความส าเร็จแห่งศรัทธาอันมีการรับธรรมสมบัติ เป็นเบื้องต้น เพราะเป็นผู้เลื่อมใสในธรรมตามประมาณแห่งธรรมฯ เขาย่อมได้ศรัทธาว่า “พระผู้มีพระ ภาค ผู้ตรัสพระธรรมไว้ดีอยู่แล้ว ทรงเป็นสัมมาสัมพุทธะ”ฯ บทว่า ชายม ฺปติกา ได้แก่ สตรีผู้เป็นแม่ เรือนและบุรุษผู้เป็นสามีฯ เมื่อกล่าวว่า “ชายมฺปติกา” ย่อมเข้าใจได้ว่าถือเอาทั้ง ๒ ฝ่ายนั่นแล คือ บุรุษผู้เป็นใหญ่ในเรือนและสตรีผู้เป็นใหญ่ในเรือนก็จริง ถึงกระนั้น บุรุษใดมีปชาบดีหลายคน จะพึง กล่าวอะไรในบุรุษนั้น การอยู่พร้อมกันแม้กับปชาบดีคนเดียวคับแคบ เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงถึง ท่าน จึงกล่าวค าว่า “เท ฺว”ฯ พรรณนาแม้ทั้งสองคือแม้ความเป็นทางมา ความเป็นที่ตั้งขึ้นนั่นเอง แห่งธุลีคือ ราคะเป็นต้น เพราะอรรถว่ามีความกังวลด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น คือเพราะอรรถว่ามีความห่วงด้วย กิเลสเป็นต้น มีความหมายเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกันฯ บทว่า อลค ฺชนฏ ฺเฐฃน ได้แก่ เพราะอรรถ ว่าไม่ติดขัด คือเพราะเป็นความไม่เกี่ยวเนื่องเฉพาะฯ พระอรรถกถาจารย์แสดงการอยู่ครองเรือนและ บรรพชาเป็นโอกาสคับแคบ ด้วยความเป็นฐานะแห่งความเป็นไปแห่งกุศลและอกุศลอย่างนี้บัดนี้เพื่อ จะแสดงความนั้น โดยความเป็นอฐานะและฐานะ แห่งความเป็นไปแห่งกุศลนั่นเอง จึงกล่าวค าว่า “อปิจ” เป็นต้นฯ บทว่า สง ฺเขปกถา ให้แก่ การพรรณนาเนื้อความโดยย่อ ไม่กระท าการยกขึ้นซึ่งบทแยก ๆ กันที่ละบทฯ สองบทว่า เอกม ฺปิ ทิวส ได้แก่ แม้เพียงวันเดียวฯ สองบทว่า อขณ ฺฑ กต ฺวาได้แก่ ไม่ท า ให้ด่างพร้อย โดยการไม่ต้องแม้สักว่าอาบัติทุกกฏฯ สองบทว่า กิเลสมเลน อมลีน ได้แก่ ไม่ท าให้เศร้า หมอง ด้วยสังกิเลสคือตัณหาเป็นต้นฯ ชื่อว่าสังขลิขิตะเพราะอรรถว่า เป็นเหมือนสังข์ที่ขัดแล้ว คือ
๓๐๙ ล้างแล้ว โดยความไม่มีมลทินเพราะอรรถว่า หมดจด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “โธตสง ฺขสป ฺปฏิภาค ” ด้วยการประกอบบทว่า “อชฺฌาวสตา” บทว่า “อคาร ” จึงเป็นทุติยา วิภัติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัติ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อคารมชฺเฌ”ฯผ้าทั้งหลายที่ย้อมแล้วด้วยน ้ามีรสฝาด ชื่อว่ากาสายะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กสายรสปีตตาย”ฯ บทว่า ปริทหิต ฺวา ได้แก่ ทั้งนุ่มทั้งห ่มฯ การอยู่ ครองเรือน ชื่อว่าอคาระ เพราะลบบทเบื้องปลาย (ลบบทหลัง)ฯ ประโยชน์อันท าความเจริญมาให้แก่ การอยู่ครองเรือนนั้น ชื่อว่าประโยชน์เกื้อกูลแก ่เรือนฯ [๑๙๒] บทว่า โภคกฺขนฺโธได้แก่ ประชุมแห่งโภคะฯ บทว่า อาพนฺธนฏ ฺเฐฃน ได้แก่ เพราะ อรรถว่าผูกพันมีการตัดขาดด้วยสามารถแห่งความรักว่า “บุตร หลาน”เป็นต้นฯ ชื่อว่าญาติทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ได้ว่า “ชนเหล่านั้นเป็นญาติของพวกเรา”ฯ ชื่อว่าปริวัฏฏะ (เครือญาติ) เพราะ อรรถว่าเวียนไปรอบด้วยสามารถแห่งปู่ บิดา และบุตร เป็นต้นฯ [๑๙๓] บทว่า ปาติโมกฺขส วรส วุโตความว่า ผู้มีกายทวารและวจีทวารอันปิดแล้วด้วย ความส ารวมในปาติโมกข์ อนึ่ง เพราะเหตุที่ผู้ที่เป็นอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วยความส ารวมนั้น ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวค าว่า “ปาติโมกฺขส วเรน สมนฺนาคโต”ฯ ค าว่า “อาจารโคจรสม ฺปนฺโน”เป็นต้น เป็นการแสดงปัจจัยแห่งการประกอบด้วยปาติโมกขสังวรณ์นั้นนั่นแลฯ บทว่า อป ฺปมต ฺตเกสุได้แก่ ใน วีติกกมะเล็ก ๆ น้อย ๆ อันตนจงใจต้องแล้ว และในอกุศลจิตตุปบาท อันเกิดขึ้นโดยพลันฯ บทว่า ภย ทสฺสาวีได้แก่ ผู้มีปกติเห็นภัยฯ บทว่า สม ฺมา อาทิยิต ฺวา ได้แก่ เอื้อเฟื้อแล้วโดยเคารพ คือด้วยไม่ก้าว ล่วงจนตลอดชีวิตฯ ค าว่า ต ต สิกฺขาปท ได้แก่ ซึ่งส่วนแห่งสิกขานั้น ๆฯ ค าว่า เอต ฺถ ได้แก่ เอตสฺมึฯ ปาฐะว่า “ปาติโมกฺขส วรส วุโต”ฯ บทว่า สง ฺเขโป ได้แก่ พรรณนาโดยย่อฯ ความพิสดาร พระพุทธโฆ สาจารย์กล ่าวไว้ในปกรณ์พิเศษ ชื่อว่าวิสุทธิมรรคแล้วเพราะฉะนั้น ความพิสดารนั้นพึงทราบในปกรณ์ พิเศษวิสุทธิมรรคนั้น และตามนัยที่กล่าวแล้วในสังวรรณนาแห่งปกรณ์พิเศษวิสุทธิมรรคนั้นฯ บทว่า อาจารโคจรค ฺคหเณเนว ได้แก่ ด้วยค าว่า “อาจารโคจรสมฺปนฺโน” นั้นเองฯ ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กุสเล กายกม ฺมวจีกม ฺเม คหิเตปิ”ฯเพราะท าอธิบายว่า ย่อมให้รู้ค าอันยิ่ง คือ ความหมายอื่น ท่านจึงกล่าวค าว่า ฯเปฯ กุสเลน เพื่อแสดงทางเกิดขึ้น แห่งอาชีวปาริสุทธิศีลนั้นฯ อธิบายว่า ชื่อว่าด้วยความไม่มีโทษ เพราะละอเนสนาโดยประการทั้งปวงฯ เพราะเหตุที่พระอรรถกถา จารย์เมื่อแสดงว่า เทศนานี้ว่า “กายกมฺมวจีกมฺเมน สมนฺนาคโต กุสเลน, ปริสุทฺธาชีโว”ดังนี้ มีสังคหะ เดียว เทียบเคียงกันได้สมกันโดยแท้ ด้วยมุณฑิกสุตตเทศนา ที ่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว ่า “อาชีวปาริ สุทฺธมฺปิ โข อห ถปติ สีลสฺมึ วทามิ” ๔๙๖ ดังนี้ เพราะแสดงถึงความที่ศีลเป็นกายกรรมและวจีกรรมที่ เป็นกุศลว่า “ช่างไม้ ก็กุศลศีล เป็นไฉน คือกายกรรมที่เป็นกุศล วจีกรรมที่เป็นกุศล” ๔๙๗ ดังนี้ จึงกล่าว ว่า “มุณฺฑิกสุตฺตวเสน วา เอว วุตฺต ”ฯ สองบทว่า สีสสฺมึ วทามิความว่า เรากล่าวว่า “ศีล” หรือเรา กล่าวว่า “หยั่งลงภายใน คือนับเนื่องแล้วในศีล”ฯ บทว่า ปริยาทานต ฺถ ได้แก่ เพื่ออันก าหนดถือเอาฯ ๔๙๖ ม.ม. (บาลี) ๑๓/๓๖๕/๒๓๘. ๔๙๗ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๖๕/๓๑๒.
๓๑๐ สองบทว่า ติวิเธน สีเลน ได้แก่ ด้วยศีล ๓ อย่าง อย่างนี้คือจูฬศีล มัชฌิมศีล มหาศีลฯใน อินทรีย์ทั้งหลายอันมีใจเป็นที่ ๖ ไม่ใช่มีกายเป็นที่ ๕ ด้วยสันโดษ ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ และ ยถาพลสันโดษ และยถาสารุปปสันโดษฯ พรรณนาจูฬศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล [๑๙๔-๒๑๑] ค าว่า สีลสฺมึ นี้ เป็นสัตตมีวิภัติในอรรถนิทธารณะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “เอก สีล โหตีติ อต ฺโถ”ฯ ค าว่า อยเมว อต ฺโถ ได้แก่ เป็นความหมายของปฐมาวิภัตินั่นเองฯ บทว่า พ ฺรห ฺมชาเล ได้แก่ ในอรรถกถาพรหมชาลสูตรฯ [๒๑๒] ภัยมีการต าหนิตน การต าหนิผู้อื่น และภัยคืออาชญาเป็นต้น มีอสังวรเป็นมูลฯ บทว่า สีลสฺสาส วรโตความว่า เพราะไม่ส ารวมศีล คือเพราะไม่มีสังวรแห่งศีลฯ บทว่า ภเวย ฺย ได้แก่ พึงเกิดขึ้นฯ บทว่า ยถาวิธานวิหิเตน ได้แก่อันภิกษุให้ถึงพร้อมตามวิธีฯ กายิกสุขอันโอฬารย่อมมี แก่ภิกษุผู้มีสรีระอันรูปที ่ประณีตอันมีเจตสิกสุขอันเกิดขึ้นแล้วดี มีความไม่เดือดร้อนใจเป็นต้น เป็นเครื่องหมายเป็นสมุฏฐานถูกต้องเข้าแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อวิป ฺปฏิสาร ฯเปฯ ปฏิส เวเทติ”ฯ พรรณนาอินทริยสังวรกถา [๒๑๓] ความแปลกกันอันเขายังไม่ละเพราะสามัญญะเพ่งถึงอรรรถแห่งกรรม เพราะเหตุ นั้นท่านจึงกล่าวว่า “จกฺขุสท ฺโท กต ฺถจิ พุท ฺธจกฺขุม ฺหิ วต ฺตติ”ฯ ก็ศัพท์ที่แปลกกันย่อมยังเนื้อความที่ แปลกกันในชื่อที่ปรากฏอยู่นั่นแลย่อมให้ชัดเจนด้วยสามารถแห่งการห้ามความแปลกกันอย่างอื่น ย่อม ไม่ยังเนื้อความแปลกกันที่ไม่ปรากฏอยู่ให้ชัดเจนฯ แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกันฯ จักขุ คือทัส สนะ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั่นแล อันไม่ทั่วไปด้วยชนเหล่าอื่น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าพุทธจักขุได้แก่ อาสยานุสยญาณและอินทริยปโรปริยัตตญาณฯ ชื่อว่าสมันตจักษุเพราะอรรถว่า เห็นโดยรอบ คือ โดยประการทั้งปวง ได้แก่สัพพัญญุตญาณฯ บทว่า อริยมค ฺคต ฺตยปญ ฺญา ได้แก่ ปัญญาในอริยมรรค ๓ เบื้องต ่าฯ ค าว่า อิธ ได้แก่ ในปาฐะนี้ว่า “จกฺขุนา รูปํ”ฯ จกฺขุ-ศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในปสาทะเป็นต้น เพราะจักษุที่อาศัยในนิสสยโวหารต้องการถึง เหมือนอุปมาว่า “มญฺจา อุกฺกุฏฺฐฃึกโรนฺติ (เตียงท าเสียง โห ่)”ฉะนั้นฯ บทว ่า อสม ฺมิสฺส ได้แก ่ ไม ่ปนด้วยทุกข์เพราะกิเลสฯ ด้วยเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว่า “ปริสุทฺธ ”ฯ ก็เมื่ออินทรียสังวรอันบริสุทธิ์ด้วยดีมีอยู่ การตามประกอบในอธิจิตก็อยู่ในมือแน่แท้เพราะ ไปปราศจากบาปธรรมอันเป็นประธาน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อธิจิต ฺตสุข ปฏิส เวเทติ”ฯ
๓๑๑ พรรณนาสติสัมปชัญญกถา [๒๑๔] ชื่อว่าสัมปชานะ เพราะอรรถว่า รู้โดยรอบ หรือว่ารู้โดยมาก อย่างมีพิเศษ ความ เป็นแห่งสัมปชานะ ชื่อว่าสัมปชัญญะ ได้แก่ญาณที่เป็นไปอย่างนั้นฯ การจ าแนกสัมปชัญญะนั้น ชื่อว่า สัมปชัญญภาชนียะฯ ในสัมปชัญญภาชนียะนั้นฯ การก้าวล่วง ชื่อว่าอภิกกันตะเพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “อภิกฺกนฺต วุจ ฺจติ คมน ”ฯ อนึ่ง การก้าวกลับ ชื่อว่าปฏิกกันตะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “ปฏิกฺกนฺต นิวต ฺตน ”ฯ ก็ค าว่า นิวต ฺตน เป็นเพียงการกลับฯ ก็การกลับแล้วไป ก็คือการไปนั่นเองฯ บทว ่า อภิหรนฺโตได้แก่ น้อมเข้าไปซึ่งกายด้วยสามารถแห่งการไปฯ บรรดาการยืน การนั ่ง และ การนอน การน าไปเฉพาะซึ่งกายข้างหน้า ชื่อว่าอภิกกมะ การน าไปปราศข้างหลัง ชื่อว่าปฏิกกมะ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์เมื่อแสดงจึงกล่าวค าว่า “ฐฃาเนปิ”เป็นต้นฯ บทว่า อาสนสฺสได้แก่ อาสนะมีตั่งเป็นต้นฯ บทว่า ป ุริมอง ฺคาภิมุโข ได้แก่ มีหน้าเฉพาะต่อส่วนหน้ามีแม่แคร่เตียงเป็นต้นฯ บทว่า ส สรนฺโตได้แก่ เที่ยวไปอยู่ฯ บทว่า ปจ ฺจาส สารนฺโตได้แก่ กลับจากเที่ยวไปฯ ด้วยค าว่า “เอเสว นโย” นี้ ท่านแสดงการมุ่งหน้าเฉพาะเที่ยวไปและกลับจากเที่ยวไปแห่งภิกษุผู้นอนแล้วนั่นแลฯ ความรู้ทั ่วโดยชอบ ชื ่อว ่าสัมปชานะ ผู้มีปกติท ากิจที่ตนพึงท าด้วยสัมปชานะนั้น ชื่อ ว่าสัมปชานการีเพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สม ฺปชญ ฺเญน สพ ฺพกิจ ฺจการี”ฯความที่ สม ฺปชานศัพท์ เป็นปริยายแห่ง สม ฺปชญ ฺญ-ศัพท์ ท่านกล่าวไว้ในก่อนนั่นแลฯ สองบทว่า สม ฺปชญ ฺญ กโรเตว ได้แก่ ภิกษุยังความไม่หลงพร้อม ในการก้าวไปเป็นต้นให้เกิดขึ้นนั่นเองฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสัมปชาน การี (ภิกษุ) เพราะอรรถว่า มีการกระท าสัมปชัญญะฯ ความเป็นคือการก้าวไปเป็นต้น ชื่อว่าสาตถกะ เพราะอรรถว่า เป็นไปพร้อมกับประโยชน์กล่าวคือความเจริญโดยธรรมฯ ความรู้พร้อมทั้งอรรถชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะฯ การรู้พร้อมสัปปายะอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ชื่อว่าสัปปายสัมปชัญญะฯ ความรู้พร้อมในภิกขาจารโคจรในอาจาระมีการก้าวไปเป็นต้น และในโคจรกล่าวคือกรรมฐานอันตน ไม่ได้ละเลยในอาจาระแม้อื่น ๆ ที่เป็นไปแล้ว ชื่อว่าโคจรสัมปชัญญะฯ ความรู้พร้อมคือความไม่หลงลืม ในการเข้าไปเป็นต้นนั่นเอง ชื่อว่าอสัมโมหสัมปชัญญะฯ บทว่า ปริค ฺคเหต ฺวาได้แก่ ใคร่ครวญแล้ว คือ ไตร่ตรองแล้ว อธิบายว่า พิจารณาแล้วฯ ท่านสงเคราะห์การไปที่เป็นประโยชน์แก่อุโบสถและปวารณา เป็นต้นด้วยสังฆทัสสนะนั่นเองฯ ด้วยอาทิ-ศัพท์ว่า อสุภทสฺสนาทิ พึงทราบการสงเคราะห์กสิณและ บริกรรมเป็นต้นฯ เพื่อเปิดเผยเนื้อความที่ท่านกล่าวไว้โดยย่อ ท่านจึงกล่าวค าว่า “เจติย วา โพธึ วา ทิสฺวาปิ หิ”เป็นต้นฯความว่า อรหต ฺต ปาปุณาตินั่นเป็นนิเทศอันสูงสุดฯ ก็แม้การเพิ่มซึ่งสมถะและ วิปัสสนา เจริญแล้วแก่ภิกษุทั้งนั้นแลฯ บทว่า เกจิได้แก่ เหล่าพระเถระผู้อยู่อภัยคีรีวิหารฯ บทว่า ตสฺมึ ปน ได้แก่ ในอรรถอันท่านก าหนดแล้วด้วยสามารถแห่งสาตถกสัมปชัญญะฯ เพื่ออันห้ามค ากล่าวนั้นว่า ความสงสัยพึงมีแก่บางชนว่า ค าว่า “ความเจริญโดยธรรม ชื่อว่าอรรถ ซึ่ง ท่านประสงค์เอาแล้วว่า สาตถกะ นั่นแลเป็นสัปปายะ จึงเริ่มค าว่า “เจติยทสฺสน ตาว”เป็นต้นฯ บท ว ่า จิต ฺตกมฺมรูปกานิ วิย ได้แก ่ เหมือนรูปเปรียบที ่ท าให้เป็นจิตรกรรม หรือเหมือนรูปเปรียบคือ จิตรกรรม เพราะประกอบด้วยยนต์ฯ การถือเอาอารมณ์โดยไม่แยบคายด้วยสามารถแห่งอัญญาณุเบก
๓๑๒ ขาอันอาศัยเรือน ชื่อว่าอสมเปกชนะซึ่งท่านหมายเอากล่าวว่า “เพราะจักษุเห็นรูป อุเบกขาจึงเกิดขึ้น แก่ปุถุชน ผู้โง่เขลา งมงาย” ๔๙๘ เป็นต้นฯ ชื่อว่าอันตรายแห ่งชีวิตเพราะช้างเป็นต้นเหยียบฯ ชื่อว่า อันตรายแห ่งพรหมจรรย์ เพราะเห็นรูปที่เป็นวิสภาคกันเป็นต้นฯ อนุวัตตนกถาของภิกษุทั้งหลายอันภิกษุทั้งหลายสั่งสมอบรมมาจ าเดิมแต ่วันบวช ส่วนอน นุวัตตนกถา ชื่อว่าเป็นที่ ๒ แห่งอนุวัตตนกถานั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เท ฺว กถา นาม น กถิตปุพ ฺพา”ฯ ค าว่า เอว ย่อมรวมถึงอาการที่กล่าวแล้วแม้ทั้งหมดตั้งแต่ค าว่า “สเจ ปน” ย่อมไม่รวม เอาอาการที่กล่าวอยู่ว่า “ปุริสสฺส มาตุคามาสุภ ” เป็นต้นฯ อารมณ์แห่งภาวนาอันเป็นที่เป็นไปแห่งกรรมที่ควรแก่การประกอบท่านเรียกว่า “กรรมฐาน” เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กมฺมฏฺฐฃานสงฺขาต โคจร ”ฯ บทว่า อุค ฺคเหต ฺวา ได้แก่ เรียนเอาด้วย สามารถยังอุคคหโกศลให้ถึงพร้อมโดยประการที่อุคคหนิมิตจะเกิดขึ้นฯ บทว ่า หรติได้แก ่ ยังกรรมฐานย ่อมให้เป็นไป อธิบายว่า ย ่อมตามประกอบกรรมฐาน จนถึงก้าวกลับจากบิณฑบาตฯ บทว่า น ปจ ฺจาหรติได้แก่ ย่อมไม่น ากลับซึ่งกรรมฐานตั้งแต่บริโภค อาหารจนถึงเข้าไปสู่ที่พักกลางวันฯ บทว่า สรีรปริกม ฺม ได้แก่ ปรนนิบัติสรีระมีบ้วนปากเป็นต้นฯ ค า ว่า เท ฺว ตโย ปลฺลงเกได้แก่อาสนะร้อน ๒-๓ อาสนะสิ้นวาระการนั่ง ๒-๓ วาระฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “อุสุม คาหาเปนฺโต”ฯ บทว่า กม ฺมฏ ฺ านสีเสเนวได้แก่ ไม่ละอยู่ซึ่งกรรมฐานนั่นแลโดยมุ่งถึง กรรมฐานนั้นเอง ด้วยค านั้น พระอรรถกถาจารย์แสดงว่า ไม่ละกรรมฐานที่กล่าวว่า “ปตฺโตปิ อเจต โน” ๔๙๙ เป็นต้น หรือกรรมฐานตามที่ตนก าลังบริหารฯ ค าว่า ตเถว ได้แก่ สิ้น ๓ ครั้งนั่นแลฯ พระ อรรถกถาจารย์ท าสารีริกเจดีย์ให้ส าคัญกว่าปริโภคเจดีย์ แล้วกล่าวด้วยสามารถแห่งบุพพกาลกิริยาว่า “เจติย วนฺทิต ฺวา”ฯ จริงอย่างนั้นในอรรถกถาก็กล่าวว่า “พึงน ากิ่งต้นโพธิ์ที่ระรานเจดีย์ออกไป”ฯ การท าการหมอบลงที่ต้นโพธิ์ ด้วยสามารถแห่งการระลึกถึงพุทธคุณนั่นแล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “พุท ฺธสฺส ภควโต สม ฺมุขา วิย นิปจ ฺจการ ทสฺเสต ฺวา”ฯ บทว่า คามสมีเป ได้แก่ ที่อันเป็นอุปจารแห่ง หมู่บ้านฯ บทว่า ชนสง ฺคหต ฺถ ได้แก่ เพื่อการสงเคราะห์ชนโดยการอนุเคราะห์ตามธรรมว่า “เมื่อเราไม่ กล่าว ใครจักกล่าวแก่พวกเขา”ฯ บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าว ว่า “ที่ชื่อว่าธรรมกถาจ าต้องกล่าวให้ได้”และเพราะเหตุที่ธรรมกถา ที่ชื่อว่าพ้นจากกรรมฐานย่อมไม่ มี”ฯ บทว่า กม ฺมฏ ฺฐฃานสีเสเนว ได้แก่ ไม่ละกรรมฐานอันตนบริหารอยู่กล่าวธรรมกถาตามคุณนั้นนั่น แลฯ แม้ในค าว่า อนุโมทน วต ฺวา นี้ก็ควรน าค าว่า “กมฺมฏฺฐฃานสีเสเนว” มาสัมพันธ์เข้าฯ บทว่า สม ฺปต ฺตปริจ ฺเฉเทเนวความว่า ด้วยส่วนที่ถึงพร้อมแล้วเท่านั้น คือสักว่าที่มาพร้อม กันเท่านั้น ไม่ท าการแยกแยะว่า “ปริจิโต อปริจิโต (สั่งสม ไม่สั่งสม)” เป็นต้นฯ บทว่า ภเยได้แก่ ภัย มีภัยแต่อาณาจักรของผู้อื่นเป็นต้นฯ ๔๙๘ ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๓๐๘/๓๗๔. ๔๙๙ ที.สี.อ. (บาลี) -/๒๑๔/๑๗๙.
๓๑๓ พระอรรถกถาจารย์กล่าวหมายเอาไฟธาตุว ่า “กม ฺมชเตโช”ฯ กรรมฐานย ่อมไม่ขึ้นสู่ วิถีเพราะไม่มีความตั้งใจมั ่น เหตุมีกายเหนื ่อยล้า ด้วยความเหนื ่อยล้าเพราะความหิวฯ บทว่า อเสสฏ ฺฐฃาเน ได้แก่ ในที่แห่งยาคูอันภิกษุถือเอาแล้วฯ ค าว่า โปง ฺขานุโปง ฺข นั่นเป็นค าแสดงความไม่ ขาดสายแห่งการปรากฏขึ้นของกรรมฐาน ขนนกที่ประดับปลายลูกศรใหญ่น้อย ไม่ขาดสายตามล าดับ ลูกศรที่เป็นไปฉันใด แม้ความปรากฏแห่งกรรมฐานนั้น ก็มีความไม่ขาดสายฉันนั้นฯ ชื่อว ่าผู้มีธุระอันวางแล้วในการตามประกอบภาวนาฯ ชื่อว ่าท าลายวัตรทุกอย ่าง เพราะไม่ บ าเพ็ญวัตรปฏิบัติฯ เป็นผู้มีจิตตรึงไว้ด้วยตะปูตรึงใจ ๕ อย ่างที่กล ่าวไว้อย่างนี้ว่า “ภิกษุเป็นผู้ไม่ ปราศจากราคะในกาม ไม่ปราศจากราคะในกาย ไม่ปราศจากราคะในรูป บริโภคอาหารเยียวยาท้อง ตามความต้องการ ประกอบความสุขด้วยการนอน ความสุขด้วยการเอกเขนก ความสุขด้วยการงีบ หลับอยู่ ตั้งไว้ซึ่งเทวนิกายอันใดอันหนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์” ๕๐๐ฯ บทว่า จริต ฺวา ได้แก่ เป็นไปทั่ว แล้วฯ บทว่า คตปจ ฺจาคติกวต ฺตวเสน ความว่า การไปแล้วกลับ คือความเดินไปและเดินกลับ เพื่อ ภิกษา อันประกอบพร้อมด้วยภาวนานั่นเองมีอยู่แก่วัตรนั่น เพราะเหตุนั้น วัตรนั่น ชื่อว่าคตปัจจาคติ กะ คตปัจจาคติกะนั้นนั่นเองเป็นวัตร ด้วยสามารถแห่งวัตรนั้นฯ บทว่า อต ฺตกามา ได้แก่ ผู้ปรารถนา ประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน คือผู้มีฉันทะในธรรมฯ ก็ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขอันมีประโยชน์เกื้อกูล นั้นเป็นนิมิต ชื่อว่าธรรมฯ อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ชื่อว่าตน เพราะวิญญูชนไม่เสพผิด และเพราะนับเนื่อง ในอัตภาพ ชนทั้งหลาย ชื่อว่าอัตตกามา เพราะอรรถว่า ใคร่คือปรารถนาธรรมที่ชื่อว่าตนนั้นฯ ๒๐ ยัฏฐิ ชื่อว่าเป็น ๑ อุสภะฯ สองบทว่า ตาย สญ ฺญายได้แก่ ตามสัญญาณแห่งแผ่นหิน นั้นฯ อธิบายว่า ภิกษุทั้งหลายรู้ว่า มาถึงที่ประมาณเท่านี้ฯสองบทว่า โสเยว นโยความว่า ภิกษุในที่ เป็นต้นว่า “อย ภิกขุ (ภิกษุนี้)” อันท่านกล่าวแล้วในฐานะ ภิกษุนั้นมีนัยแม้ในการนั่งนั่นแลฯ ภิกษุนั้น ย ่อมเพิ ่มพูนโยนิโสมนสิการ แม้เพราะกลัวภิกษุผู้มาภายหลังตัดขาดภัตฯ บทว่า มท ฺทนฺตา ได้แก่ เหยียบรวงข้าวสาลีในที่เป็นที่หว่านข้าวเปลือกฯ สองบทว่า มหาปธาน ปูเชสฺสามิความว่า เรานั่นแลจักบูชาตามก าลังซึ่งจริยาอันท าได้ โดยยาก อันพระโลกนาถทรงท าแล้วตลอด ๖ ปี เพื่อประโยชน์แก่เราทั้งหลายฯ จริงอยู่ ปฏิบัติบูชา เป็นการบูชาพระศาสดา อามิสบูชาไม่ใช่การบูชาพระศาสดาฯ ท่านกล่าวค าว่า “ฐฃานจง ฺกมเมว”ด้วย สามารถแห่งอิริยาบถที่ต้องยืน หากล่าวด้วยสามารถแห่งการห้ามการนั่งที่ต้องท าแน่แท้ ในเวลาแห่ง โภชนะเป็นต้นฯ ภิกษุโยคาวจรข้ามลงสู่วิถีได้แล้วไม่มองไปข้างนี้และข้างนี้ต้องก าหนดวิถีก่อนเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “วีถิโย สลฺลกฺเขตฺวา”ฯ ท่านกล่าวค าว่า “ปาสาทิเกน อภิกฺกนฺเตน” หมายเอาอาการใด เพื่อแสดงอาการนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวค าว่า “ตต ฺถ จ”เป็นต้นฯ ค าใด ๕๐๐ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๒๐/๓๐๙, ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๘๖/๑๙๙.
๓๑๔ ควรกล ่าวในค าว่า “อาหาเร ปฏิกูลสญฺญ อ ุปฏฺฐฃเปตฺวา”เป็นต้น ค านั้นจักมีมาข้างหน้าฯ บทว่า อฏ ฺฐฃง ฺคสมนฺนาคต ได้แก่ ท าให้ประกอบด้วยองค์ ๘ ที่กล่าวไว้แล้วโดยนัยว่า “ยาวเทว อิมสฺส กายสฺส ฐิติยา” ๕๐๑ เป็นต้นฯ ค าว่า “เนว ทวาย” เป็นต้น เป็นค าที่แสดงถึงการห้ามฯ พึงท าสัมพันธ์ว่า ย ่อมท าให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิได้หากว่าเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยฯ และในบทอื่น ๆ นอกจากบทนี้ในที่ทั้งปวงก็พึงทราบอย่างนี้ฯ อุปนิสสยสัมปทาแห่งปัจเจกโพธิ บรรดา โพธิเหล่านั้น เป็นการสั่งสมด้วยญาณคือบุญอันเกิดแต่อุปนิสสยสัมปทานั้นตลอด ๒ อสงไขยและแสน กัปฯ อุปนิสสยสัมปทาแห่งสาวกโพธิเป็นการสะสมด้วยญาณคือบุญอันเกิดแต่อุปนิสสยสัมปทานั้น ตลอด ๑ อสงไขยและแสนกัป ส าหรับอัครสาวกและส าหรับมหาสาวกประมาณแสนกัปเท่านั้นฯ กุศล อันมีในส่วนช าแรกกิเลสอันท่านเหล่านั้นให้เกิดด้วยอ านาจแห่งวิวัฏฏสันนิสสยะในชาติที่ผ่านมาแห่ง สาวกนอกนี้ฯ สองบทว่า พาหิโย ทารุจีริโย ได้แก่ ผู้ที่ชื่อว่าพาหิยะผู้มีวิสัยภายนอกเพราะเกิดพร้อม และเจริญพร้อม และผู้อันชนรู้พร้อมว่า ทารุจีริยะ เพราะน าไปรอบโดยผ้าเปลือกไม้ฯ ก็ผู้มีอายุนั้นได้ ท าให้แจ้งความเป็นพระอรหันต์ด้วยเทศนาประมาณเท่านี้ว่า “พาหิยะ เพราะเหตุนั้น เธอพึงศึกษา อย่างนี้ว่า เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังเสียงก็สักแต่ว่าฟัง เมื่อรับรู้อารมณ์ที่ได้รับรู้ ก็สักแต่ว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งก็สักแต่ว่ารู้แจ้ง พาหิยะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล เมื่อใด เธอเมื่อเห็นรูปก็ สักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังเสียงก็สักแต่ว่าฟัง เมื่อรับรู้อารมณ์ ที่ได้รับรู้ก็สักแต่ว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ รู้แจ้งก็สักแต่ว่ารู้แจ้ง เมื่อนั้น เธอก็จะไม่มี เมื่อใด เธอไม่มี เมื่อนั้น เธอก็จะไม่ยึดติดในสิ่งนั้น เมื่อใด เธอไม่ยึดติดในสิ่งนั้น เมื่อนั้น เธอจักไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้เป็นที่สุด แห่งทุกข์” ๕๐๒ฯ พึงทราบสุตตบทอันแสดงความเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นต้น บทว่า ต ได้แก่ ความไม่หลงพร้อมฯ ศัพท์ว่า เอว ได้แก่ พึงทราบโดยอาการที่กล่าวอยู่ใน กาลบัดนี้นั่นเองฯ ด้วยค าว่า “อต ฺตา อภิกฺกมติ” นี้พระอรรถกถาจารย์แสดงความหลงพร้อมในการ ก้าวไป ด้วยการถือเอาทิฏฐิแห่งอันธปุถุชน ส่วนด้วยค าว่า “อห อภิกฺกมามิ” นี้ แสดงด้วยสามารถ ถือเอามานะฯ ก็ทั้งสองค านั้นเว้นตัณหาย่อมมีไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแสดงความหลงพร้อมนั้นแล แม้ด้วยอ านาจการถือเอาตามอ านาจตัณหาฯความไม่หลงพร้อมนั้น เพราะกล่าวว่า “ตถา อสมฺมุยฺหนฺ โต” มีได้เพราะการจ าแนกความเป็นกลุ่มก้อนอันใด พระอรรถกถาจารย์เมื่อแสดงการจ าแนกนั้น จึง กล่าวค าว่า “อภิกฺกมามิ”เป็นต้นฯ บรรดาธาตุเหล่านั้น เตโชธาตุที่ซ่านไปตามวาโยธาตุ เป็นปัจจัยแก่ การยกขึ้นฯ ด้วยว่า เตโชธาตุมีการยกขึ้นเป็นคติฯ ในการยกขึ้นแห่งเตโชธาตุนั้นจึงมีการซ่านไปตาม วาโยธาตุ เพราะฉะนั้น ธาตุทั้งสองนี้ จึงมีประมาณยิ่งโดยสามารถท ากิจในการยกขึ้นนี้และธาตุนอกนี้ มีประมาณต ่ากว่า เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ เมื่อจะแสดงจึงกล่าวว่า “เอเกกปาทุท ฺธรเณ ฯเปฯ พลวติโย”ฯ ก็เพราะเหตุที ่วาโยธาตุซ ่านไปตามเตโชธาตุจึงเป็นปัจจัยแก่การย ่างและการก้าวไป ๕๐๑ ม.มู. (บาลี) ๑๒/๒๓/๑๔, องฺ.ฉกฺก. (บาลี) ๒๒/๕๘/๓๗๒ (อาสวสุตฺต), ขุ.ม. (บาลี) ๒๙/๒๐๖/ ๔๒๒-๓. ๕๐๒ ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๑๐/๑๘๖.
๓๑๕ ข้างหน้า ด้วยว่า วาโยธาตุที่มีการขวางเป็นคติ ย่อมมีความขวนขวายที่ดียิ่งในการย่างและการก้าวไป ข้างหน้าฯ วาโยธาตุนั้นจึงมีภาวะซ ่านไปตามเตโชธาตุ ฉะนั้น ธาตุทั้งสองนี้จึงมีประมาณยิ ่งโดย สามารถในการย่างและการก้าวไปข้างหน้า และธาตุนอกนี้มีประมาณต ่ากว่า เพราะเหตุนั้น พระอรรถ กถาจารย์ เมื่อจะแสดงถึง จึงกล่าวว่า “ตถา อติหรณวีติหรเณสุ”ฯ แม้เมื่อมีความแปลกกันแห่งความ เป็นธาตุอันซ่านไปตามและธาตุที่ถูกซ่านไปตาม ท่านก็ถือเอาด้วย ตถา-ศัพท์ หมายเอาเพียงภาวะแห่ง เตโชธาตุและวาโยธาตุฯ บรรดาอาการเหล่านั้น การยกเท้าขึ้นจากที่ที่เท้าเหยียบแล้ว ชื่อว่าการยกขึ้น (อุทธรณะ)การน าไปข้างหน้าก้าวล่วงที่ที่ยืนแล้ว ชื่อว่าการย ่าง (อติหรณะ)การน าไปโดยข้างเพื่อการ บริหารขาเป็นต้น หรือเพื่อบริหารการเบียดเท้าที่ด ารงไว้แล้ว ชื่อว่าการก้าวไปข้างหน้า (วีติหรณะ)ฯ เท้าที่ด ารงอยู่แล้วเพียงใด การน ามาเพียงนั้น ชื่อว่าอติหรณะ (การย ่าง)การน าไปยิ่งกว่านั้น ชื่อว่าวีติ หรณะ (การก้าวไปข้างหน้า) นี้แลเป็นความแปลกกันแห่งอาการเหล่านั้นฯ เพราะเหตุที่อาโปธาตุที่ซ่านไปตามปถวีธาตุเป็นปัจจัยแก่การเหยียบฯ เพราะว่า อาโปธาตุ มีสภาวะที่หนักกว่าแลฯ ในการเหยียบ อาโปธาตุนั้น จึงมีความซ่านไปตามปถวีธาตุ ฉะนั้น ธาตุทั้งสอง นั้น จึงมีประมาณยิ่งโดยสามารถในการเหยียบนั้น และธาตุนอกนี้มีประมาณต ่า เพราะเหตุนั้น พระ อรรถกถาจารย์ เมื่อจะแสดง จึงกล่าวว่า “โวสฺสชฺชเน ฯเปฯ พลวติโย”ฯก็เพราะเหตุที่ปถวีธาตุซ่านไป ตามอาโปธาตุ จึงเป็นปัจจัยแก่การวางลง ความที่ปถวีธาตุนั้นซ่านไปตามอาโปธาตุ เพราะปถวีธาตุนั้น มีกิจอันดียิ่ง แม้ในการให้ด ารงอยู่ เหมือนในความเป็นที่พึ่ง อนึ่ง ความที่ปถวีธาตุซ่านไปตามอาโปธาตุ แม้ในกิจนั้น เพราะความส าเร็จแห่งการกดลงด้วยสามารถแห่งปถวีธาตุที่ท าการกระทบ ฉะนั้น พระ อรรถกถาจารย์จึงกล่าวค าว่า “ตถา สนฺนิกฺเขปนสนฺนิรุชฺฌเนสุ”ฯ บทว่า ตต ฺถ ได้แก่ ในการก้าวไปนั้น อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ในโกฏฐาสะที่มีการยกขึ้นเป็นต้น ที่กล่าวแล้วนั้นฯ บทว่า อุท ฺธรเณ ได้แก่ ในขณะยกขึ้นฯ บทว่า รูปารูปธม ฺมา ได้แก่ รูปธรรมที่เป็นไป โดยอาการยกขึ้น และอรูปธรรมที่มีรูปธรรมนั้นด ารงอยู่ฯ สองบทว่า อติหรณ น ปาปุณ ได้แก่ จากการ ก าหนดเพียงขณะฯ ค าว่า ตต ฺถ ตต ฺเถว ได้แก่ ในที่ที่ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นนั้นแลฯ เพราะว่าการก้าว ล่วงส่วนอื่นไปย่อมไม่มีแก่ธรรมทั้งหลายฯ ค าว่า “ปพ ฺพ ปพ ฺพ ”เป็นต้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวแล้ว ด้วยสามารถแห่งการสืบต่อของส่วนที่เสมอกัน หมายเอาโกฏฐาสะมีการยกขึ้นเป็นต้นฯ ก็ขณะแห่ง ความเป็นไป แม้ของรูปธรรมน้อยอย่างยิ่ง เร็วกว่าแม้กว่าการมาพร้อมกันแห่งคมมีดโกนที่ติดอยู่ที่ ศีรษะและที่เท้าของผู้ยินดีในการไป ผู้แล่นไปอยู่ เฉพาะหน้าตาของเทพบุตรทั้งหลายทั้งข้างล่างและ ด้านบนฯ การแตกแยกโดยการประพฤติดังปฏะ ปฏะ แห่งงาอันถูกคั่วอยู่ ย่อมก าหนดรู้กันได้ฉันใด โดยการเกิดขึ้นแห่งสังขตธรรมก็ก าหนดความแตกต่างได้ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น เพื่ออันแสดง พระ อรรถกถาจารย์ จึงกล่าวค าว่า “ปฏปฏายนฺตา”ฯก็ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไปโดยส่วน เดียวฯ ค าว่า “สุท ฺธึ รูเปน” นี้กล่าวด้วยสามารถแห่งรูปธรรมที่ดับไปพร้อมกับความดับแห่งจิตนั้น ๆ จึงเกิดขึ้นในขณะแห่งความเกิดขึ้นแห่งจิตดวงที่ ๑๗ฯ ถ้าว่า รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายพึงมีขณะ เสมอกันโดยประการอื่น ก็จะพึงมีความขัดแย้งจากค าว่า “รูปํ ครุปริณาม ทนฺธนิโรธ ” เป็นต้น เหมือน
๓๑๖ ในบาลีที่ว่า “นาห ภิกฺขเว อญฺญ เอกธมฺมมฺปิ สมนุปสฺสามิ, ย เอว ลหุปริวตฺต ,ยถยิท จิตฺต ๕๐๓ เป็นต้น (ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นธรรมอย่างเอกอันอื่นที่เป็นไปเร็วเหมือนจิตนี้)”ฯ อนึ่ง จิตและ เจตสิกทั้งหลายเป็นธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นสภาวะ ยังประโยชน์อันเป็นปัจจัยต่ออารมณ์ของตนตาม ก าลังให้ชัดเจนนั่นแลย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น จิตและเจตสิกเหล่านั้นจึงมีความดับระหว่างความ ส าเร็จแห่งสภาวะนั้นฯ ส่วนรูปธรรมทั้งหลายรับรู้อารมณ์ไม่ได้อันท่านพึงประกาศ เมื่อเป็นอย่างนี้ รูปธรรมเหล่านั้นจึงมีความส าเร็จความเป็นธรรมที่พึงประกาศได้ด้วยจิต ๑๖ ดวง เพราะเหตุนั้น ส าหรับรูปธรรมเหล่านั้นจึงมีอายุได้ชั่วขณะนั้น ขันธ์ ๓ มีความเป็นไปโดยเร็วเพราะเพียงการไปพร้อม กันแห่งวิญญาณและอารมณ์เป็นปัจจัย และวิญญาณมีความเป็นไปเร็ว เพราะเพียงความเป็นไปแห่ง อารมณ์ รูปธรรมทั้งหลายมีความเป็นไปช้า เพราะมหาภูตเป็นปัจจัยช้าฯ ก็แลส าหรับพระตถาคตเจ้า เท่านั้นที่กล่าวยถาภูตญาณโดยธาตุต่างๆ ได้และด้วยยถาภูตญาณนั้นท่านกล่าวรูปธรรมว่าปูเรชาต ปัจจัยและปัจฉาชาตปัจจัยก็อย่างนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น รูปธรรมและอรูปธรรมลักษณะเสมอ กันจึงไม่ถูกต้องเลยฯ เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแลในสติสัมปชัญญกถานี้ฯ ค าว่า อญ ฺญ อุป ฺปชฺชเต จิต ฺต , อญ ฺญ จิต ฺต นิรุชฺฌติความว่า จิตดวงใดเกิดขึ้นก่อน จิตดวง นั้นเป็นอย่างหนึ่ง ก็จิตดวงนั้นเมื่อดับ ชื่อว่าย่อมดับโดยความเป็นอนันตรปัจจัยเป็นต้นนั่นแล แก่จิต อีกดวงหนึ่ง เพราะเหตุนั้น จิตดวงหนึ่งซึ่งมีปัจจัยที่ได้แล้วอย่างนั้นจึงเกิดขึ้น ถามว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น จิตเหล ่านั้นพึงได้อันตรปัจจัย จิตเหล ่านั้นพึงได้อันตรปัจจัยไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว่า “อวีจิ มนุป ฺปพนฺโธ”ฯ เปลวไฟย่อมไม่ได้ระหว่าง ชนไม่รู้แจ้งถึงความแตกต่าง จึงส าคัญว่า “นั่นเป็น อย่างนั้น” ฉันใด ระหว่างอันเชื่อมต่อ ๆ มา เป็นจิตตสันดาน และรูปสันดาน (ความต่อเนื่อง) เปรียบ เหมือนกระแสแม ่น ้า น าน ้าเข้าไปสู่แม่น ้าเป็นไป ฉันนั้นแลฯ การเหลียวดูเฉพาะหน้า ชื่อว่าอาโลกิตะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปุรโตเปกฺขน ”ฯ เพราะเหตุที่ภิกษุเดิน ยืน หรือนั่ง มุ่งหน้าต่อทิศใด การมองดูมุ่งหน้าต่อทิศนั้น ชื่อว่าอาโลกิตะฉะนั้น การมองดูทิศเฉียงอันสมควรแก่ทิศนั้น ชื่อว่าวิโลกิตะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “วิโลกิต นาม อนุทิสาเปกฺขน ”ฯ ภิกษุมองดูในการท าการกวาดและการประพรมเป็นต้น แหงนดูในการกวาดหยาก เยื่อเพดานลงไม่มองดูในที่เว้นเป็นต้นแห่งอันตรายที่มาข้างหลังพึงมีการเกิด เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “อิมินา วา มุเขน สพ ฺพานิปิ ตานิ คหิตาเนว”ฯ บทว่า กายสกฺขึได้แก่ มีการท าให้แจ้งด้วยกาย คือมีปกติท าให้ประจักษ์ชัดฯก็ในกาลแห่ง วิปัสสนา ท่านผู้มีอายุนั้น เกิดอุตสาหะว่า “เราอาศัยความที่ทวารไม่ได้คุ้มครองในอินทรีย์ทั้งหลายใด นั่นแล ถึงประการอันแปลกมีความไม่ยินดีในศาสนาเป็นต้น เราจักข่มด้วยดีซึ่งความที่ท วารไม่ได้ คุ้มครองในอินทรีย์นั้นนั่นแล”ดังนี้ มีหิริและโอตตัปปะอันมีก าลังถึงบารมีสูงสุดในอินทรียสังวร เพราะ มีอธิการอันท าแล้วในภพนั้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระศาสดาจึงทรงตั้งท่านไว้ในเอตทัคคะ ด้วยพระ ๕๐๓ องฺ.เอกก. (บาลี) ๒๐/๔๘/๙.
๓๑๗ ด ารัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นันทะเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเรา ผู้มีทวารอันคุ้มครอง แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย” ๕๐๔ ดังนี้ฯ ควรน าค าว่า สาตฺถกตา จ สปฺปายตา จ เวทิตพฺพา อาโลกิตวิโลกิตสฺส มาสัมพันธ์เข้าฯ บท ว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเป็นความรู้ทั่วในโคจรแห่งการไม่ละกรรมฐานนั่นแล เพราะเหตุนั้น จึงรวมถึง เนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแลโดยความเป็นเหตุฯ อันภิกษุพึงท าการแลดูและการเหลียวดูด้วยสามารถ แห ่งกรรมฐานของตนนั่นแล อธิบายว่า ไม่ควรแสวงหาอุบายอื่นจากกรรมฐานมีขันธ์เป็นต้น เพราะ เหตุที่มีความแปลกกันแห่งความเป็นไปแห่งความเป็นสักว่าธรรมเท่านั้น แม้เพราะชื่อมีการมองดูเป็น ต้น ฉะนั้น เพื่ออันแสดงความรู้ทั่วธรรมนั้นตามเป็นจริงว่า เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะ ท่านจึงกล่าวว่า “อพ ฺภนฺตเร”เป็นต้นฯ บทว่า จิต ฺตกิริยวาโยธาตุวิป ฺผารวเสน ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งความเป็นไปโดย อาการเคลื่อนไหวแห่งวาโยธาตุมีจิตที่ส าเร็จในการกระท าเป็นสมุฏฐานฯ บทว่า อโธ สีทติได้แก่ ไปใน เบื้องต ่าฯ บทว่า อุท ฺธ ลง ฺเฆติได้แก่ ไปในเบื้องบน เหมือนกระโดด ฉะนั้นฯ สองบทว่า อง ฺคกิจ ฺจ สาธยมาน ได้แก่ กิจที่เป็นองค์อันเป็นประธานเป็นกิจให้ส าเร็จฯ ค า ว่า “ปฐฃมชวเนปิ ฯเปฯ น โหติ” นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความไม่มีความก าหนัดเป็นต้น ในปัญจทวาร วิถีว่า “สตรี บุรุษ”ฯ ก็ในค านั้น ในรูปสตรีเป็นต้น อันบุคคลปรารถนาแล้วด้วยสามารถแห่งอาวัชชน จิตและโวฏฐัพพนจิต โดยไม่แยบคายแห่งอาวัชชนจิตและโวฏฐัพพนจิต เป็นเพียงโลภะเกิดขึ้น ในรูปที่ ไม่น่าปรารถนา เป็นเพียงโทสะ (ปฏิฆะ) เกิดขึ้น ส่วนในมโนทวาร ความก าหนัดเป็นต้นย่อมมีว่า “สตรี บุรุษ”ฯ จิตดวงนั้นมีชวนะที่เป็นไปในปัญจทวาร หรือว่าเป็นภวังคจิตเป็นต้นทั้งหมดตามที่กล่าวแล้ว เป็นมูลฯ การก าหนดรู้มูลเหตุ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งความเป็นมูลแห่งชวนะในมโนทวารอย่างนี้ฯ ส่วนความเป็นจิตจรมาและยืมมาตามก าหนดที่ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งความไม่เคยมีแห่งชวนะ ในปัญจทวารนั ่นเอง และกล ่าวด้วยความเป็นแห่งจิตนอกนี้ฯ ค าว่า “เหฏฺฐฃุปริยวเสน ภิชฺชิต ฺวา ปติเตสุ” ความว่า ท่านกล่าวความดับและความเกิดขึ้นต่อ ๆ ไปแห่งจิตดวงหลังและจิตดวงก่อนฯ บทว่า ต ได้แก่ ชวนจิต พึงท าสัมพันธ์ว่า ตสฺส อยุตฺต ฯ ผู้มาเฉพาะหน้า ชื่อว่าอาคันตุกะฯ ชื่อว่าตาวกาลิกะ เพราะมีกาลเพียงนั้นที่ท่านก าหนดความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปฯ บทว่า เอต ได้แก่ ความรู้พร้อมคือความไม่หลงฯ บทว่า สมวาเยได้แก่ ในความสามัคคีกันฯ บทว่า ตต ฺถ ความว่า ในการแลดูและเหลียวดูอันปรากฏอยู่ด้วยสามารถแห่งปัญจขันธ์ ใครผู้พ้นจาก การมองดูนั้น ใครผู้เดียวย่อมมองดู ใครผู้เดียวย่อมเหลียวดูฯ ค าว ่า “อ ุปนิสฺสยปจ ฺจโย” นี้ ท ่านกล ่าวโดยปริยายตามนัยแห่งพระสูตรฯค าว่า สหชาตปจ ฺจโย นั ่น ชื ่อว่าเป็นเพียงตัวอย ่าง เพราะได้แม้อัญญมัญญปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย เป็นต้นฯ ๕๐๔ องฺ.เอกก. (ไทย) ๒๐/๒๓๐/๒๙.
๓๑๘ แห ่งผู้คู้ (แขน) ในกาลคือในกาลอันควรเพื่ออันคู้ฯ แม้ในค าว่า ปสาเรนฺตสฺส (ผู้เหยียด) นี้ ก็อย ่างนั้นฯ อาจารย์ทั้งหลายกล ่าวว ่า ชาติแห่งงูอย่างหนึ่ง ชื ่อว ่ามณิสัปปะฯ บทว ่า ลฬน ได้แก่ เคลื่อนไหว หรือกระท าลีลา (กระท าการเคลื่อนไหว)ฯ ผู้มีกายมากไปด้วยความร้อน ชื่อว่าอุณหปกติกะฯชื่อว ่าอสัปปายะ อันเกิดขึ้นด้วยอ านาจ แห ่งมิจฉาอาชีวะ เพราะไม่น ามาซึ่งประโยชน์เกื้อกูล เพราะประทุษร้ายต่อศีลฯ พระอรรถกถาจารย์ เมื่อจะแสดงถึงความที่กล่าวแล้วนั่นแล โดยนัยว่า “อพฺภนฺตเร”เป็นต้น ด้วยการยังความที่กายเป็น กายว ่างจากตัวตนให้ชัดเจนว ่า แม้กายก็ไม ่มีเจตนา เหมือนความที่จีวรว ่างจากตัวตนโดยนัยว่า “จีวรม ฺปิ อเจตน ” เป็นต้น ชื ่อว ่าย ่อมแสดงเหตุแห่งอิตรีตรสันโดษ ด้วยเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว่า “ตสฺมา” เป็นต้นฯ บทว่า จตุปญ ฺจคณ ฺฐฃิกาหโตได้แก่ มี ๔-๕ ปมถูกก าจัดได้แล้ว หรือว่ามีความเศร้าโศกกัน ถูกก าจัดแล้วด้วยปม ๔-๕ ปมฯ สองบทว่า อฏ ฺฐฃวิโธปิ อต ฺโถความว่า ประโยชน์อันพิเศษแม้ ๘ อย่าง พึงทราบว่าท่าน กล่าวแล้วโดยนัยว่า “อิมสฺส กายสฺส ฐฃิติยา” ๕๐๕ เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งวาทะของท่านพระมหาสิว เถระฯ ส่วนในฝ่ายนี้ด้วยค าว่า “เนว ทวายาติอาทินา นเยน” พึงทราบว่า ท่านกล่าวเพราะเทศนา มาแล้ว โดยมุ่งถึงการแสดงองค์คือการห้ามฯ อาหารที่ถูกบริโภคแล้ว มีที่ตั้งในที่อาศัยด้วยวาโยธาตุนั่นเอง เหมือนน ้ารองแผ่นดินตั้งอยู่ ในที่อาศัยด้วยลมอันรองรับแผ่นดินนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “วาโยธาตุวเสเนว ติฏ ฺฐฃติ”ฯ บทว่า อติหรติได้แก่ น าไปจนถึงปากฯ บทว่า วีติหรติได้แก่ เมื่อท าให้ผสมกันในท้อง ชื่อว่าย่อมน าไป จากปากนั้นฯ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อติหรติได้แก่ ให้ก้าวผ่านช่องปากน าไปฯ บทว่า วีติหรติได้แก่ น า อาหารที่อยู่ในท้องไปโดยข้างฯ บทว่า ปริวต ฺเตติได้แก่ ให้เที่ยวเป็นไปอยู่ไป ๆ มา ๆฯ ก็ในค านี้ วาโย ธาตุอันประกอบด้วยปถวีธาตุนั่นแล ย่อมกระท าการรองรับ การให้เป็นไป การบดให้ละเอียด และการ ให้แห้ง แห่งอาหาร จะท ากิจเหล่านั้นอย่างเดียวก็หามิได้ เพราะเหตุนั้น กิจเหล่านั้นจึงกล่าวได้โดย ความเป็นกิจแม้แห่งปถวีธาตุฯ สองบทว่า อลฺลต ฺตญ ฺจ อนุปาเลติความว่า ความแห้งไม่มีจากสิ่งอื่น ๆ มีวาโยธาตุเป็นต้น ฉันใด และวาโยธาตุย่อมตามรักษาความเปียกไว้ฉันนั้นฯ บทว่า เตโชธาตุได้แก่ เตโชธาตุกล่าวคือไฟฯ ก็เตโชธาตุนั้นย่อมเผาผลาญอาหารที่เข้าไปในภายในฯ สองบทว่า อญ ฺชโส โหติ ได้แก่ เป็นทางแห่งอาหารเข้าไปเป็นต้นฯ บทว่า อาภ ุชติความว่า ย่อมใคร่ครวญ คือย่อมรู้แจ้ง ด้วย สามารถแห่งการแสวงหา และด้วยสามารถแห่งการทราบถึงการกลืน การย่อยสลาย และความเป็น อาหารที่ย ่อยแล้ว เป็นต้นฯ ก็การประกอบอันเป็นปัจจัยแก่การรู้เหตุนั้น ๆ ท ่านกล ่าวว่า “การ ประกอบโดยชอบ (สัมมาปโยคะ)”ฯ ก็การแสวงหาเป็นต้นย่อมส าเร็จด้วยการประกอบใด การ ประกอบอันนั้น ชื่อว่าย่อมยังแม้ความรู้อารมณ์นั้นให้ส าเร็จ เพราะไม่เว้นอารมณ์นั้นฯ อีกอย่างหนึ่ง ๕๐๕ ม.มู. (บาลี) ๑๒/๒๓,๔๒๒/๑๔, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๗๕/๕๕, อง ฺ.ฉก ฺก. (บาลี) ๒๒/๕๘/๓๗๒, องฺ.อฏฺฐฃก. (บาลี) ๒๓/๙/๑๔๐ (นนฺทสุตฺต), ขุ.ม. (บาลี) ๒๙/๒๐๖/๔๒๒, อภิ.สงฺ. (บาลี) ๓๔/๑๓๕๕/๓๐๓.
๓๑๙ บุคคลอาศัยการประกอบโดยชอบ คือสัมมาปฏิบัติ ย ่อมรู้คือย่อมประมวลมาฯก็ความขวนขวายเพื่อ การรู้แจ้งแม้ทั้ง หมด มีความค านึงเป็นส่วนเบื้องต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้อย่างนั้นฯ บทว่า คมนโตได้แก่ โดยการไปเจาะจงโคจรคามด้วยสามารถแห่งการเที่ยวภิกษาฯ บทว่า ปริเยสนโตได้แก่ โดยการเที่ยวไปเพื่อภิกษาในโคจรคามฯ บทว่า บริโภคโต ได้แก่โดยการบริโภค ซึ่งอาหารฯ บทว่า อาสยโตได้แก่ โดยที่อาศัยมีดีเป็นต้นฯชื่อว่าอาสยะเพราะอรรถว่า อยู่คือแม้เมื่อ เป็นไปอยู่รวมกันในที่อยู่นี้ ก็ก าหนดกรรมและผลแห่งกรรมไม่ปะปนซึ่งกันและกันด้วยสามารถ แห ่งขอบเขต นอนอยู ่ คือตั้งอยู่ได้แก่เป็นไปอยู่คือสภาวะมีดีเป็นต้น ที ่ตั้งอยู ่ด้านบนแห่งท้องฯ ก็อาการคือการอยู่อาศัยเป็นความหมายแห่งขอบเขตฯ บทว่า นิธาน ได้แก่ ที่ชื่อว่า นิธานะ เพราะ อรรถว่า เป็นที่ที่อาหารตามที่ได้บริโภคเข้าไปแล้วสั่งสมอยู่ฯได้แก่ท้องฯ โดยที่เป็นที่สั่งสมนั้นฯ บทว่า อปริกฺกโตได้แก่ ไม่ย่อยไปด้วยไฟที่เกิดแต่กรรมกล่าวคือไฟฯ บทว่า ปริปกฺกโต จ ได้แก่ เพราะอาหาร ตามที่ได้บริโภคย่อยไปแล้วฯ บทว่า ผลโต ได้แก่ โดยความส าเร็จฯ บทว่า นิสฺสนฺทโต ได้แก่ โดยการ ไหลออกไปจากข้างนี้และข้างนี้ฯ บทว่า สม ฺมกฺขนฺโตได้แก่ โดยการเปื้อนโดยประการทั้งปวงฯ นี้เป็น ความย่อในที่นี้ฯ ส่วนความพิสดาร พึงถือเอาจากอรรถกถาปรณ์พิเศษชื่อว่าวิสุทธิมรรคฯ หลายบทว่า สรีรโต เสทา มุจ ฺจนฺติความว่า เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากร่างกาย จาก ความร้อนเกิดขึ้นเพราะการทรงไว้พร้อมซึ่งก าลังฯก็โรคทั้งหลายมีโรคหูและโรคเสียดท้องเป็นต้น ชื่อ ว่าโรคเหล ่าอื่นฯ บทว่า อฏ ฺฐฃาเน ได้แก่ ในสถานที่อันไม่ควรซึ่งมนุษย์และอมนุษย์หวงแหน มีที่นาและ เทวาลัย เป็นต้นฯ ความจริง อมนุษย์หรือแม้พวกมนุษย์ที่โกรธแล้วก็ให้ถึงความสิ้นชีพได้ฯ ไม ่ใช ่เพื่อ ตน เพราะตนสละแล้วฯไม ่ใช ่เพื่อผู้อื่น เพราะไม่ได้สละให้แก่ใครๆ และเพราะใครๆ พึงรังเกียจฯ บท ว่า อุทกตุม ฺพโต ได้แก่ จากภาชนะใส่น ้ามีกระบอกไม้ไผ่เป็นต้นฯ บทว่า ต ได้แก่ น ้าที่เขาทิ้งฯ อิริยาบถที่เป็นไปได้นานกว่า คือที่มีในกาลยาวนาน ชื่อว่าอัทธานอิริยาปถะฯ อิริยาบถที่ เป็นไปด้วยสามารถแห่งการเที่ยวไปเพื่อภิกษาเป็นต้น ชื่อว่ามัชฌิมอิริยาปถะฯ อิริยาบถที่เป็นไปใน วิหาร ชื่อว่าจุณณิยอิริยาปถะฯอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า อิริยาบถที่เป็นไปแม้ในที่อื่น ๆ ด้วยสามารถ แห่งการเป็นไปข้างนี้และข้างนี้เป็นต้น ชื่อว่าจุณณิยอิริยาปถะฯ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ในค านี้ ถือเอาการไปเท่านั้นว่า ท่านกล่าวการน าไปเฉพาะแห่งกายข้างหน้าและข้างหลัง แม้ด้วยการเดินไปซึ่ง ถือเอาด้วยการก้าวไปและการถอยกลับในค าก่อนว่า “คเตติ คมเน (บทว่า คเต ได้แก่ ในการไป)”ฯ เพราะเหตุที ่ความเป็นผู้ท าความรู้พร้อมซึ่งรูปธรรมและอรูปธรรมในอิริยาบถอันไม่มี ระหว่างในวาทะของท่านพระมหาสิวเถระ ด้วยสามารถแห่งการเห็นความดับในรูปธรรมและอรูปธรรม นั้น ๆ นั่นแล ได้ถูกระบุไว้แล้ว เพราะเหตุนั้น พึงทราบถึงเหตุเช่นนั้นด้วยสามารถแห่งการปฏิบัติ วิปัสสนาด้วยสัมปชัญญะ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวค าว่า “ตยิท มหาสิวต ฺเถเรน วุต ฺต อสม ฺโมหธุร มหา สติปฏ ฺฐฃานสุต ฺเต อธิป ฺเปต ”ฯ ก็ในสามัญญผลสูตรนี้ย ่อมได้สัมปชัญญะ ๔ อย ่างแม้ทั้งหมด ในเทศนา นี้ เพราะมีการแสดงสามัญญผลพิเศษเป็นอย ่างยิ ่งเท่าที่แสดงได้ฯค าว่า “สติสมฺปยุต ฺตสฺเสว” นี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า ความที่สัมปชัญญะเป็นประธานโดยกิจท่านถือเอาแล้วฉันใด ความที่แม้สติ
๓๒๐ เป็นประธาน ท ่านก็ถือเอาแล้วฉันนั้น หากล ่าวเพื ่อแสดงเพียงความเป็นเองแห่งสติไม่ฯ เพราะว่า ความเป็นไปแห่งญาณอันเว้นจากสติในกาลบางคราวย่อมไม่มีฯ ด้วยค าว่า “เอตสฺส หิ ปทสฺส อย วิต ฺถาโร” นี้ พระอรรถกถาจารย์ย่อมยังความที่สติเป็นธุระที่เสมอด้วยญาณนั่นแลให้แจ่มแจ้งฯ สอง บทว่า เอตานิ ปทานิได้แก่ บททั้งหลายมีว่า “อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ”เป็นต้นฯ บท ว่า วิภต ฺตาเนวได้แก่ จ าแนกแล้วท าให้แยกกันนั่นแล แม้ด้วยบทว่า วิภต ฺตาเนว นี้พระอรรถกถาจารย์ ย่อมยังความที่แม้สติเป็นประธานในที่นี้เหมือนสัมปชัญญะฯ อนึ่ง อาจารย์ผู้กล่าวมัชฌิมนิกายกล่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อไป คิดอย่างหนึ่งตรึกอย่างหนึ่ง ไปอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งไม่ละกรรมฐานเลยไปอยู่ฯ อนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อยืน ฯลฯ เมื่อนั่ง ฯลฯ เมื่อนอน คิดอย่างหนึ่ง ตรึกอย่างหนึ่ง ย่อมจ าวัตร ภิกษุรูปหนึ่งไม่ละกรรมฐานเลยจ าวัตรด้วยอาการประมาณ เท่านี้ กรรมฐานก็ยังไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น อาจารย์เหล่านั้นจึงแสดงด้วยการจงกรมฯ ก็ภิกษุใดหยั่ง ลงสู่ที่จงกรม ยืนก าหนดอยู่ในที่สุดแห่งที่จงกรมว่า “รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในที่สุดแห่งที่จง กลมด้านทิศปราจีน ยังไม่ถึงที่สุดแห่งที่จงกลมด้านทิศปัจฉิม ดับไปในที่นี้เท่านั้น แม้ที่เป็นไปในที่สุด แห่งที่จงกรมด้านทิศปัจฉิม ไม่ถึงที่สุดแห่งที่จงกรมด้านทิศปราจีน ดับในที่นี้เหมือนกัน ที่เป็นไปตรง กลางแห่งที่จงกรม ไม่ถึงที่สุดทั้งสองด้านดับไปในที่จงกรมนี้เท่านั้น รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปใน การเดินจงกรม ยังไม่ถึงการยืน ดับไปในการเดินจงกรมนี้เอง ที่เป็นไปในการยืนยังไม่ถึงการนั่ง ดับไป ในการยืนนี้นั่นเอง ที่เป็นไปในการนั่งยังไม่ถึงการนอน ดับไปในการนั่งนี้เท่านั้น” ดังนี้ ภิกษุนั้นเมื่อ ก าหนดอย่างนี้ ก าหนดอยู่นั่นแลย่อมหยั่งลงสู่ภวังค์ฯ ภิกษุนั้นเมื่อลุกขึ้นยึดกรรมฐานนั้นแลลุกขึ้น ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีปกติท าความรู้พร้อมในการไปเป็นต้นฯ แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กรรมฐานก็ยังไม่ชัดเจน ในเพราะความหลับ เพราะฉะนั้น ภิกษุยังสามารถอยู่เพียงใด ภิกษุนั้นจงกลม ยืน นั่ง เมื่อจ าวัตร ก าหนดอย่างนั้นจ าวัตรเพียงนั้น เมื่อก าหนดอย่างนี้ว่า “กายไม่มีเจตนา เตียงไม่มีเจตนา กายไม่รู้ว่า เรานอนบนเตียง เตียงก็ไม่รู้ว่า กายนอนบนเรา กายที่ไม่มีเจตนานอนบนเตียงที่ไม่มีเจตนา” ดังนี้นั่น แล ย่อมยังจิตให้หยั่งลงสู่ภวังค์ฯ ภิกษุนี้เมื่อตื่นก าหนดกรรมฐานนั้นแลตื่น ภิกษุนี้ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มี ปกติท าความรู้พร้อมในความหลับฯ ชวนจิตหรือจิตที่เป็นไปทางทวาร ๖ แม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นไป เพราะความส าเร็จจากการกระท า เพราะส าเร็จด้วยการกระท านั้น ด้วยความบังเกิดจากการกระท า ทางกายเป็นต้น และเพราะมีอาวัชชนกิริยาเป็นสมุฏฐานฯ เมื่อจิตนั้นมีอยู่ชื่อว่าความตื่นย่อมมีเพราะ เหตุนั้น ภิกษุเมื ่อก าหนด ชื ่อว ่าเป็นผู้มีปกติท าความรู้พร้อมในความตื ่นฯ อีกอย ่างหนึ ่ง ภิกษุนั้น ก าหนดโกฏฐาสะ ๖ ตลอดคืนและวันแม้ก าหนดโกฏฐาส ๕ อยู่ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีปกติกระท าตามความรู้ พร้อมในการตื่นฯ ภิกษุแม้เมื่อแสดงธรรมโดยมุ่งถึงวิมุตตายตนะ ละเดรัจฉานกถา ๓๒ ประการ แม้ กล่าวอยู่ซึ่งสัปปายกถาที่อาศัยกถาวัตถุ ๑๐ ชื่อว่าเป็นผู้มีปกติท าความรู้พร้อมในธรรมที่กล่าวฯ ภิกษุ แม้เมื่อยังมนสิการอันเป็นที่พอใจแก่จิตให้เป็นไปในอารมณ์ ๓๘ ประการ แม้เข้าทุติยฌานอยู่ ชื่อว่า เป็นผู้มีปกติท าความรู้พร้อมในความเป็นผู้นิ่งฯจริงอยู่ ทุติยฌาน ชื่อว่าความเป็นผู้นิ่งโดยพิเศษ เพราะ เว้นจากวจีสังขารฯ ศัพท์ว่า เอว ได้แก่ ด้วยประการที่กล่าวแล้ว อธิบายว่า โดยมี ๔ ประการแม้ใน ๗ ฐานะฯ
๓๒๑ พรรณนาสันโตสกถา [๒๑๕] ภิกษุย่อมกล่าวได้ว่า “เป็นผู้สันโดษ” เพราะความสันโดษอันใดมีอยู่ในตน พระ อรรถกถาจารย์ เมื่อจะแสดงความสันโดษนั้นจึงกล่าวว่า “อิตรีตรปจ ฺจยสนฺโตเสน สม ฺนนาคโต”ฯ อธิบายว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้พรั่งพร้อมแล้วด้วยสันโดษในปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีปัจจัยคือจีวรเป็นต้นฯ อีก อย่างหนึ่ง หีนะ เรียกว่า อิตระ เพราะเป็นอย่างอื่นจากปณีตะ และปณีตะ เรียกว่า อิตระ เพราะเป็น อย่างอื่นจากหีนะฯ ก็อิตรตา (ความเป็นอิตระ) ส าเร็จได้ด้วยอเปกขาฯ ภิกษุย่อมยินดีพร้อมด้วยปัจจัย มีจีวรปัจจัย เป็นต้นอันเลว หรือว่าอันประณีตด้วยธรรมใด ธรรมนั้นคือความไม่โลภอันเป็นไปอย่างนั้น ชื่อว่าอิตรีตรปัจจยสันโตสะ ภิกษุเป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยอิตรีตรปัจจยสันโตสะนั้น สันโดษตามที่ ได้ คือตามสมควรแก่ลาภของตน ชื่อว่ายถาลาภสันโตสะฯแม้ใน ๒ บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกันฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าลาภ เพราะอรรถว่าอันภิกษุย่อมได้ลาภใดๆ ตามที่ได้ ความสันโดษด้วยลาภนั้น ๆ ชื่อว่ายถาลาภสันโตสะฯ บทว่า พล ได้แก่ ก าลังกายฯ บทว่า สารุป ฺปํได้แก่ ท าให้สมควรแก่ภิกษุผู้ ปกติและผู้ทุรพลเป็นต้นฯ พระอรรถกถาจารย์ เมื่อจะแสดงความย่อแห่งสันโดษอันให้กลับ (ห้าม) แล้วนั่นแลจาก ความนั้นว่า อาการคือความเป็นไปแม้แห่งความเป็นผู้ปรารถนาน้อย พึงชื่อว่าเป็นความไม่ปรารถนา ปัจจัยอื่นจากปัจจัยที่ได้ดังนี้ จึงกล่าวว่า “ลภนฺโตปิ น คณ ฺหาติ”ฯ สองบทว่า ต ปริวต ฺเตต ฺวา ได้แก่ เปลี่ยนจีวรนั้น ด้วยอ านาจประโยชน์ว่า ส าหรับภิกษุปกติและผู้ทุรพลเป็นต้น จีวรที่หนักย่อมไม่น า ความส าราญมาให้ และน าความล าบากมาให้แก่สรีระ หาเปลี่ยนด้วยอ านาจความมักมากเป็นต้นไม่ฯ การใช้สอยจีวรที่เบาหาขัดต่อสันโดษไม่ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล ่าวว ่า “ลห ุเกน ยาเปนฺโตปิ สนฺตุฏ ฺโฐฃ ว โหติ”ฯ การที่ภิกษุแม้ได้จีวรมีค่ามากหรือจีวรมากมาย สละจีวรเหล่านั้นแล้ว ถือเอาจีวรอื่นจากนั้น ก็ไม่ชื่อว่าขัดต่อสันโดษ เพราะยังด ารงอยู่ในนัยตามสมควรแก่สมณะ เพราะเหตุ นั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า “เตส ฯเปฯ ธาเรนฺโตปิ สนฺตุฏ ฺโฐฃ ว โหติ”ฯ แม้ในปัจจัยที่เหลือ ก็ พึงทราบอธิบายด้วย อปิ-ศัพท์ ในนิเทศแห่งยถาพลสันโตสะและยถาสารุปปสันโตสะอย่างว่ามานี้ฯ บทว่า มุต ฺตหรีตก ได้แก่ ผลสมอที่ดองด้วยน ้ามูตรโค หรือว่าผลสมอที่เขาทิ้งไว้โดยความ เป็นของเน่าฯ สองบทว่า พุท ฺธาทีหิ วณ ฺณิต ได้แก่ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญแล้ว โดยนัยว่า “บรรพชาอาศัยยาดองด้วยน ้ามูตรเน่า” ๕๐๖ เป็นต้นฯ ภิกษุเมื่อจะประกอบในอัปปิจฉตา และสันตุฏฐีชื่อว่าเป็นผู้สันโดษอย ่างยิ่งโดยแท้เพราะประกอบพร้อมด้วยสันโดษอันยิ่ง คืออันสูงสุดฯ ภิกษุเหล่าใดบริหารคือเลี้ยงกาย เพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่ากายปริหาริกะ (ภิกษุ ผู้บริหารกาย)ฯ ก ุจฉิปริหารกะ (ภิกษุผู้บริหารท้อง) ก็พึงทราบอย ่างนั้นฯก็ความเป็นแห่งภิกษุ ผู้บริหารท้องอันท่านปรารถนาแล้วด้วยสามารถแห่งความเป็นธรรมท าอุปการะ ต่อความตั้งอยู่ได้แห่ง ๕๐๖ วิ.ม. (ไทย) ๔/๗๓/๑๐๒.
๓๒๒ สรีระ ด้วยการกลืนกินปัจจัย เพราะเหตุนั้น พึงทราบความเป็นแห่งภิกษุผู้บริหารกายด้วยสามารถแห่ง การกระท าอุปการะต่อกายภายนอกนั่นแลฯ บทว่า ปริกฺขารมต ฺตาได้แก่ การถือเอาบริขารฯ บทว่า ตต ฺรฏ ฺฐฃกปจ ฺจต ฺถรณ ได้แก่ เครื่อง ลาดอันตนไม่ได้อธิษฐานตั้งอยู่ในที่นั้นนั่นแลฯ ก็บัณฑิตพึงทราบความที่เครื่องปูลาดเป็นต้นเป็นที่ ๙ ในบริขาร ๘ นี้ ตามล าดับที่ได้กล่าวแล้ว ไม่พึงทราบเพราะความก าหนดตามปกติอย่างนั้นแห่งบริขาร นั้นฯ เพราะเหตุไรฯ เพราะไม่ทั่วไปอย่างนั้นฯ ชื่อว่ามหาคชา เพราะเป็นเหมือนช้างใหญ่ โดยความ เป็นสัตว์ที่เลี้ยงได้ยากฯ ก็ถ้าหากว่าบริขารแม้นอกนี้ มีความปรารถนาน้อยเป็นต้นเป็นสภาวะ เทศนา นี้ท่านปรารถนาด้วยสามารถแห่งบริขารเหล่านั้นหรือฯ หาปรารถนาไม่ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถา จารย์ จึงกล่าวว่า “ภควา ปน” เป็นต้นฯ ชื่อว่ากายปริหาริกะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้การบริหาร กาย เป็นประโยชน์ฯ ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “กาย ปริหรณมต ฺตเกน”ฯ ภิกษุ ชื่อว่าจตุททิสะ เพราะอรรถว่า มีทิศ ๔ อันเป็นที่อยู่สบาย เพราะมีการอยู่สบายใน ๔ ทิศ จตุททิสะนั่นเอง ชื่อว่าจาตุททิสะฯ ภิกษุชื่อว่าอัปปฏิฆะเพราะอรรถว่า ไม่กระทบสัตว์ หรือว่า สังขารด้วยภัยในที่ไหน ๆ ใน ๔ ทิศนั้น หรือว่าไม่กระทบเองด้วยภัยนั้นฯ สองบทว่า สนฺตุสฺสมาโน อิตรีตเรน ได้แก่ ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยอันสูงและต ่า อันเป็นของตน อันเป็นของมีอยู่ และอัน เสมอนั่นเองฯ ชื่อว่าปริสสยะเพราะอรรถว่า เบียดเบียน คือท าลาย ได้แก่ครอบง ากายและจิต ได้แก่ สีหะ และเสือโคร่งเป็นต้น และกามฉันทะเป็นต้นฯ ปริสสยะเหล่านั้นอันภิกษุข่มได้ คือทนได้ด้วย อธิวาสนขันติ และด้วยการฝึกเป็นต้น และอันภิกษุครอบง าได้แล้วฯ ชื่อว่าอฉัมภี เพราะไม่มีความกลัว ซึ่งกระท าความที่ร่างกายแข็งทื่อฯ สองบทว่า เอโก จเร ได้แก่ ภิกษุพึงอาจเพื่ออันเป็นผู้ผู้เดียวเทียว ไปฯ บทว่า ขค ฺควิสาณกป ฺโป ได้แก่ ภิกษุเป็นผู้เสมอด้วยนอแรดเพราะความเป็นผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวนั้น นั่น แลฯ ด้วยค าว่า ปกฺขี สกุโณ (นกมีปีก) ท่านกล่าวขยายเนื้อความให้แปลกออกไปว่า นกไม่มีปีก ก็มีเพราะถูกก าจัดโดยลมอันมิได้เกิดตามธรรมชาติฯ พรรณนานีวรณปหานกถา [๒๑๖] สองบทว่า วต ฺตพ ฺพต อาปชฺชติความว่า ย่อมถึงความเป็นผู้อันชนทั้งหลายพึง กล่าวด้วยอปวาทะ (การระราน) ว่า “ภิกษุโน้น สักว่าอยู่ในป่าเท่านั้น เหมือนพวกสัตว์เดียรัจฉาน และ เหมือนพวกนายพรานป่า ฉะนั้น แต่หามีสัมมาปฏิบัติอะไรๆ อันสมควรแก่ภิกษุผู้อยู่ป่าไม่” คือความ เป็นผู้อันชนทั้งหลายพึงกล่าวกับสัตว์เดียรัจฉานที่อยู่ในป่าหรือกับชนที่เป็นวิสภาคกัน ซึ่งเทียวไปในป่า ด้วยสามารถแห่งการปฏิบัติผิดฯ ชื่อว่ากาฬกะ เพราะเป็นเหมือนสีด า คือมีโทษมากฯ ชื่อว่าติลกะ เพราะเป็นเหมือนเมล็ดงา คือมีโทษประมาณเล็กน้อยฯ บทว่า วิวิต ฺต ได้แก่ สงัดจากผู้คนฯ ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “สุญ ฺญ ”ฯ ก็เสนาสนะที่ชื่อว่าสุญญะนั้นพึงทราบโดยความไม่มีเสียงอึกทึกแห่งผู้คน เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
๓๒๓ (หนาม) เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “อป ฺปสุท ฺท อป ฺปนิค ฺโฆสนฺติ อต ฺโถ”ฯ อาวาส ทั้งสิ้นซึ่งก าหนดโดยรอบด้วยก าแพง ชื่อว่าวิหารฯ ปราสาทยาว ชื่อว่าอัฑฒโยค อาจารย์ทั้งหลาย กล่าวว่า “ปราสาทที่มีสัณฐานเหมือนครุฑ”ก็มีฯ ปราสาท ๔ เหลี่ยม ชื่อว่าปราสาทฯ ปราสาทหลังคา โล้น ชื่อว่าหัมมิยะ (ปราสาทโล้น)ฯ ที่พักอาศัยพิเศษมี ๔-๕ ชั้น ที่ประกอบไว้เพื่อป้องกันพระราชาที่ เป็นข้าศึก ชื่อว่าอัฏฏะฯ ที่พักอาศัยพิเศษมียอดเดียว มีหลายมุม ชื่อว่ามาฬะฯ นัยอื่นอีก ปราสาทมุข ยาว ชื่อว่าวิหารฯ เสนาสนะที่มุงข้างเดียว ชื่อว่าอัฑฒโยค (เพิงหมาแหงน)ฯ ได้ยินว่า ฝาที่ข้างหนึ่ง ของเสนาสนะนั้นสูงกว่า ที่ข้างนอกจากนี้ต ่า ด้วยเหตุนั้น เสนาสนะนั้นจึงมุงบังข้างเดียวฯ ปราสาท ๔ เหลี่ยมกว้าง ชื่อว่าปราสาทฯเสนาสนะหลังคาโล้น คือเสนาสนะที่ประกอบด้วยลานแสงจันทร์ ชื่อ ว่าหัมมิยะฯถ ้าแห่งภูเขาอย่างเดียว ชื่อว่าคูหาฯเงื้อมติดประตู ชื่อว่าเลณะฯ ค าที่เหลือมีนัยที่กล่าว แล้วนั่นแลฯ ปะร าที่ท าด้วยกิ่งไม้ ชื่อว่ามณฑปฯ บทว่า วิหารเสนาสน ได้แก่ เสนาสนะที่เป็นที่พักอาศัยฯ บทว่า มญ ฺจปีฐฃเสนาสน ได้แก่ เตียงและตั่ง และเสนาสนะที่เนื ่องด้วยเตียงและตั่งฯ ชื ่อว ่าสันถตเสนาสนะ เพราะเป็นที ่อันชน ทั้งหลายปูลาดด้วยผ้าปูพื้น เป็นต้น (พรม)ฯ เสนาสนะเป็นโอกาสอย่างเดียวเพื่อนอนและนั่ง เพราะไม่ มีการซ่อมแซมฯ ด้วยเสนาสน-ศัพท์นี้ว่า “วิวิตฺต เสนาสน ” เป็นอันท ่านสงเคราะห์รวบรวมเสนาสนะ แล้วนั่นแล เพราะมีสามัญญโชตนา (ส่องความหมายทั่ว ๆ ไป)ฯ ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร จึงกล่าวค าว่า “อรญฺญ ”เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงกล่าว ค าว่า “อิธ ปน” เป็นต้นฯ ค าว่า “ภิกฺขุนีน วเสน อาคต ” นี้ กล่าวหมายเอาภิกษุณีผู้มาแล้วอย่างนั้นใน วินัย แต่แม้ในอภิธรรม ก็มาแล้วเหมือนกันว่า “ออกไปภายนอกอินทขีละ ชื่อว่าป่า ทั้งหมดนั่น ชื่อว่า ป่า” ๕๐๗ฯจริงอยู่ในค านั้น เสนาสนะใดหยั่งลงในส่วนแห่งหมู่บ้านหามิได้ เสนาสนะนั้นท่านกล่าวอย่าง นั้น ด้วยสามารถแห่งนิปปริยายว่า “ป่า”ฯ ในธุดงค์นิเทศ เสนาสนะใดท่านกล่าวไว้แล้ว เสนาสนะนั้น สมควร อธิบายว่า เพราะฉะนั้น ควรถือเอาตามนัยที่กล่าวไว้ในธุดงค์นิเทศนั้นฯ บทว่า รุกฺขมูล ได้แก่ เสนาสนะใกล้ต้นไม้ฯสมจริงดังค าที ่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า “ในเวลาเที ่ยงวัน ร ่มเงาแผ ่ไปโดยรอบ โดยประมาณเพียงใด ใบไม้ทั้งหลายหล่นไปในคราวสงัดลม ประมาณเพียงนั้นจัดเป็นรุกข มูล”ฯ พระ อรรถกถาจารย์กล่าวค าว่า “ปพ ฺพตนฺติ เสล ”เพราะท าการอธิบายว่า เสล-ศัพท์ เป็นปริยายแห่งภูเขา (ปพฺพต-ศัพท์) โดยไม่แปลกกัน เสนาสนะนั้นจะส าเร็จด้วยหินอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ แม้ทั้งสาม อย่าง ซึ่งส าเร็จด้วยดินเป็นต้น ก็จัดเป็นภูเขาทั้งนั้นฯ บทว่า วิวร ได้แก่ ช่องเหมือนห้องน้อยเป็นต้น ของภูเขา ๒ ลูก ที่ตั้งอยู่ในระหว่างใกล้ๆ กัน หรือที่ภูเขาลูกเดียวเท่านั้นก็ได้ฯ บทว่า อุมง ฺคสทิส ได้แก่ อันเช่นกับอุโมงค์ฯ สองบทว่า มนุสฺสาน อนุปจารฏ ฺฐฃาน ได้แก่ ที่อันมนุษย์ทั้งหลายไม่พึงสัญจร ด้วยทางสัญจรตามปกติฯ ด้วย อาทิ-ศัพท์ พระอรรถกถาจารย์รวบรวมพระบาลีที่เหลือนี้ไว้ว่า “สัณฐานของป่าว่า วนปตฺถ ดังนี้นั่นเป็นชื่อของเสนาสนะทั้งหลาย” สัณฐานของป่าว่า“วนปตฺถ ”เป็น ชื่อของชนทั้งหลายผู้กลัว สัณฐานของป่าว่า “วนปตฺถ ” เป็นชื่อของที่ที่ให้เกิดขนชูชัน สัณฐานของป่า ๕๐๗ อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๕๒๙/๓๙๔.
๓๒๔ ว่า “วนปตฺถ ” เป็นชื่อของที่ที่มีที่สุดรอบ สัณฐานของป่าว่า “วนปตฺถ ” เป็นชื่อแห่งอุปจารของมนุษย์ หามิได้สัณฐานของป ่าว ่า“วนปต ฺถ ” เป็นชื ่อของเสนาสนะทั้งหลายอันมีในที ่ไกล” ๕๐๘ฯ บทว่า อจ ฺฉนฺน ได้แก่ เสนาสนะไม่ได้มุ่งบังด้วยเครื่องมุงบังอะไร ๆ โดยที่สุดแม้ด้วยกิ่งของต้นไม้ฯ บทว่า นิกฺกฑฺฒิต ฺวาได้แก่ น าไปแล้วฯ บทว่า ปพ ฺภารเลณสทิเสได้แก่ อันเช่นกับเงื้อมเขาและอันเช่นกับถ ้าที่ เร้นฯ การแสวงหาบิณฑบาต ชื่อว่าปิณฑปาตะเพราะลบบทหลังออก เพราะเหตุนั้น พระอรรถ กถาจารย์จึงกล่าวว่า “ปิณ ฺฑปาตปริเยสนโต ปฏิกฺกนฺโต”ฯในค าว่า ปลฺลง ฺก นี้ ปริ-ศัพท์ใช้ในอรรถของ ค าว่า “สมนฺตโต (โดยรอบ)” นั้น เพราะฉะนั้น การวางต้นขาซ้ายและต้นขาขวาให้เสมอกันแล้วนั่งไขว้ เท้าทั้งสองข้าง เกี่ยวกันและกัน ชื่อว่าบัลลังก์ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “สมนฺตโต อูรุพท ฺธาสน ”ฯ การนั่งด้วยสามารถแห่งการพับขาอ่อน (ต้นขา) ชื่อว่าบัลลังก์ฯ บทว่า อาภ ุชิต ฺวา ได้แก่ ท าเท้าทั้ง ๒ ข้าง ให้ขนดกัน คือคู้ทับกัน เหมือนอย่างที่นั่งโดยบัลลังก์ ฉะนั้น ก็การท าอย่างนั้น เป็น การกระท าความที่เท้า ๒ ข้างให้สัมพันธ์กันอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “พนฺธิต ฺวา”ฯ ก็ การตั้งไว้ซึ่งกายส่วนล่างไม่ให้ตรงเป็นอันรู้กันได้ด้วยการกล่าวถึงการนั่งนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ในค าว่า “อุชุ กาย ” นี้ ย-ศัพท์ เป็นศัพท์ที่หมายเอาส่วนบนเป็นวิสัย เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึง กล่าวว่า “อุปริม สรีร อุชุ ฐฃเปตฺวา”ฯ เพื่ออันแสดงการตั้งกายให้ตรงนั้น โดยสรุปและโดยประโยชน์ พระอรรถถาจารย์จึงกล่าวค าว่า “อฏ ฺฐฃารส”เป็นต้นฯ บทว่า น ปณมนฺติได้แก่ ไม่โน้มลงฯ บทว่า น ปริปตติได้แก่ ไม่เอียงไป คือไม่โลดขึ้นสู่วิถีฯ กรรมฐานย่อมเข้าถึงความเจริญ แพร่หลาย ไพบูลย์ เพราะบรรลุคุณวิเศษยิ่งกว่าก่อนนั้นนั่นแลฯ ในค าว่า ปริมุข นี้ ปริ-ศัพท์ มีอรรถเสมอด้วยอภิ-ศัพท์ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “กม ฺมฏ ฺฐฃานาภิมุข ”อธิบายว่า ห้ามจากอารมณ์หลาย อย่างภายนอกมุ่งหน้าตรงต่อกรรมฐานเท่านั้นฯ พระอรรถกถาจารย์เมื่อจะแสดงว่า อีกอย่างหนึ่ง ปริ- ศัพท์ มีความหมายว่า ใกล้ (สมีปะ) จึงกล่าวว่า “มุขสมีเป วา กต ฺวา”ฯ ก็ในที่นี้ ท่านแสดงเสนาสนะ อันสมควรแก่ภาวนา โดยนัยว่า “วิวิตฺต เสนาสน ภชติ” เป็นต้น ฉันใด ท่านก็แสดงอิริยาบถอันสงบ อันเป็นไปในฝ่ายไม่หดหู่ ไม่ร าคาญ ด้วยค าว่า “นิสีทติ” นี้ ฉันนั้นฯ ด้วยค าว่า “ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา” นี้ ท ่านแสดงภาวะการนั่งที ่มั ่นคง ด้วยค าว่า “ปริมุข สตึอุปฏฺฐฃเปตฺวา” นี้ ท ่านแสดงอุบายก าหนด อารมณ์ฯ ศัพท์ว ่า ปริ มีความหมายว ่าก าหนดเหมือนในค าว่า“ปริณายิกา”เป็นต้น ฉะนั้นฯ ศัพท์ว ่า มุข มีความหมายว ่าน าออกเหมือนในค าว่า “สุญฺญตวิโมกฺขมุข ” เป็นต้น ฉะนั้นฯ จริงอยู่ความหมาย ว่าน าออก หมายถึงออกไปจากธรรมที่เป็นปฏิปักข์ เพราะฉะนั้น ค าว่า ปริคฺคหิตนิยฺยาน จึงมีอธิบาย ว่า ท าสติอันมีความไม่หลงพร้อมอันถือเอาแล้วโดยประการทั้งปวง คือมีความหลงพร้อมอันสละรอบ แล้วในที่ทั้งปวง คือเข้าไปตั้งไว้แล้วซึ่งปัญญาอันรักษาตนด้วยสติอันยิ่งฯ [๒๑๗] ธรรมชาติ ชื่อว่าอภิชฌา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุเพ่งเล็ง คืออยากได้ คือปรุงแต่ง ได้แก่ความโลภฯ บทว่า ลุชฺชนฏ ฺเฐฃน ได้แก่ เพราะอรรถว่าแตกไป คือเพราะอรรถว่าแตกสลายไปทุก ๕๐๘ อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๕๓๑/๓๙๔.
๓๒๕ ขณะฯ ในค าว่า วิกฺขม ฺภนวเสน นี้ ชื่อว่าวิกขัมภนะ (ความข ่ม) คือ ความไม่เกิดขึ้น คือความไม่เป็นไป ได้แก่ความที่ธรรมอันเป็นปฏิปักข์อันตนละแล้วด้วยดีหามิได้ฯก็ค าว่า “ปหีนต ฺตา” ท่านกล่าวหมาย เอาความที่ธรรมเป็นเหมือนธรรมที่ละได้แล้ว เพราะยังไม่ได้บรรลุฌานฯ แม้ถึงอย่างนั้น ความเพ่งนี้ เป็นความเพ่งที่ไปปราศแล้วจากสภาวะ เหมือนจักขุวิญญาณ ก็หามิได้ ที่แท้แล เป็นความเพ่งด้วย สามารถแห่งภาวนา ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวค า “น จกฺขุวิญ ฺญาณสทิเสน”ฯ สองบท ว่า เอเสว นโยความว่า ความที่อภิชฌาไปปราศ เพราะจิตนี้ถูกอบรมด้วยภาวนา ฉันใด ความไม่จิตที่ พยาบาท ความที่ถีนมิทธะไปปราศ ความไม่ฟุ้งซ่าน และความไม่มีวิจิกิจฉา (วิจิกิจฉาไปปราศ) ก็มีฉัน นั้นฯ บทว่า ปุริมปกตึได้แก่ มีสภาวะขาวบริสุทธิ์ฯ พระอรรถกถาจารย์กล่าวค าว่า “ถิน จิต ฺตเคลญ ฺญ มิท ฺธ เจตสิกเคลญ ฺญ ”เพราะท่านแสดงถีนะโดยนัยว่า “ยา จิตฺตสฺส อกลฺยตา” ๕๐๙ เป็นต้น และมิทธะ โดยนัยว่า “ยา กายสฺส อกลฺยตา” ๕๑๐ เป็นต้นไว้ในอภิธรรมฯ แม้เมื่อมีความไม่พรากจากกันและกัน ความที ่ความแปลกนั้นตามล าดับแห่งจิตและเจตสิก ซึ ่งเหมือนจิตตลหุตาและกายลหุตาเป็นต้น เป็นปัจจัยพิเศษแห่งความที่จิตและเจตสิกเหล่านั้นเป็นอกัลยตาเป็นต้น (นับไม่ได้) อันใด พึงทราบว่า นี้นั้นเป็นสภาวะแห่งจิตและเจตสิกเหล่านั้นฯ ในค าว่า อาโลกสญ ฺญีนี้ พระอรรถกถาจารย์เมื่อแสดงว่า อี-อักษรนี้ มีความหยั ่งรู้อรรถอันดียิ ่ง และอรรถอันมีอยู ่โดยพิเศษ จึงกล ่าวว่า “รต ฺติม ฺปิ ฯเปฯ สมนฺนาคโต”ฯ พระอรรถกถาจารย์กล่าวสติและสัมปชัญญะด้วยค าว่า อิท อุภย ฯ ก้าวล ่วงแล้ว คือละ ได้แล้วด้วยสามารถแห่งความข่มฯ ความคลางแคลงใจด้วยความเป็นไปว่า “กถมิท (นี้อย่างไร)” คือ วิจิ กิจจาฯ ชื่อว่ามีความคลางแคลงใจเพราะอรรถว่า มีวิจิกิจจานั้น ชื่อว่าไม่มีความคลางแคลงใจเพราะ อรรถว่า ความคลางแคลงใจไม่มี ได้แก่ผู้หมดวิจิกิจจาฯ ด้วย อาทิ-ศัพท์ ในค าว่า ลกฺขณาทิเภทโต นี้ พึงทราบการสงเคราะห์แม้การละปัจจัยและผู้ละปัจจัยเป็นต้นฯ ก็ปัจจัยแม้เหล่านั้น พึงกล่าวโดยตวา มแตกต่างกันแลฯ [๒๑๘] บทว่า เตส ได้แก่ ทรัพย์ที่ถือเอาด้วยสามารถแห่งความเป็นหนี้ฯ บทว่า ปริยนฺโต ได้แก่ ที่เหลือจากกทรัพย์ที่พึงให้ฯ ท ่านย ่อมได้ปราโมทย์อันมีก าลังว่า “เราพ้นจากปลิโพธคือหนี้แล้ว”ฯ ย ่อมบรรลุโสมนัสว่า “มูลเหตุเลี้ยงชีพมีอยู่”ฯ [๒๑๙] บทว่า วิสภาคเวทนุป ฺปต ฺติยา ได้แก่ ด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนาฯ จริงอยู่ ทุกขเวทนามีส ่วนตัดกันแก ่สุขเวทนา เพราะขัดต ่อความต่อเนื ่องแห ่งกุศลวิบากฯ สองบทว่า จตุอิริยาปถ ฉินฺทนฺโตได้แก่ ตัดความเป็นไปแห่งอิริยาบถแม้ ๔ อย่างฯ เหมือนอย่างว่า ผู้เจ็บป่วย ไม่ มีความสามารถในการยืนและเดินได้ ฉันใด แม้ในการนั่งเป็นต้น ก็ไม่มีความสามารถ ฉันนั้นฯ บทว่า อาพาเธติ ได้แก่ ย่อมเบียดเบียนฯ ความเปลี่ยนแปลงแห่งลมเป็นต้น ชื่อว่าพยาธิเพราะการไหลเวียน ที่ไม่สม ่าเสมอ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “ต สมุฏ ฺฐฃาเนน ทุกฺเขน ทุกฺขิโต”ฯ ก็ บุคคล ชื่อว่าผู้มีความเจ็บป ่วยเพราะพยาธิอันเป็นมูล ในเพราะความเจ็บป่วยด้วยทุกขเวทนา เพราะ ๕๐๙ อภิ.สงฺ. (บาลี) ๓๔/๑๑๖๒/๒๗๐, อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๕๕๑/๓๐๗. ๕๑๐ อภิ.สงฺ. (บาลี) ๓๔/๑๑๖๓/๒๗๐, อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๕๕๑/๓๐๗.