The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สีลขันธวรรคฎีกา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ไอ ติม, 2024-01-14 23:28:52

สีลขันธวรรคฎีกา

สีลขันธวรรคฎีกา

Keywords: สีลขันธวรรคฎีกา

๓๗๖ ว่า เสนิกะ เพราะอรรถว่า มีเสนา เสนิกะนั่นเอง ชื่อว่าเสนิยะก็ความที่เสนามีอยู่ในค านี้ จึงเป็นความ พิเศษโดยความเป็นชนมาก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มหติยา เสนาย สมนฺนาคตต ฺตา”ฯ [๓๐๑-๒] บทว่า ส หตาได้แก่ ผู้ประชุมพร้อมกัน เมื่อควรจะกล่าวว่า “ส ฆิโน” กลับกล่าว เป็นเอกวจนะ ในอรรถว่ามากว่า “ส ฆี” เพราะประสงค์เอาพราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เอเตส ”ฯ บุรุษทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งภัณฑะของพระราชาและกษัตริย์เป็นต้น ชื่อว่า ขตา ชื่อว่าขัตตาเพราะต้านทานพระราชาและกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้นฯก็บุคคลนั้นอันพระราชาเหล่า ใดทรงเลี้ยงดูแล้วในที่ใด พระองค์ก็ทรงบริหารโทษของบุคคลเหล่านั้นในที่นั้น ย่อมตรัสเนื้อความที่ ถามแล้วด้วยสามารถแห่งกิจที่ประกอบแล้วและขวนขวายแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปุจ ฺฉิตปเญ ฺห พ ฺยากรณสมต ฺโถ”ฯ ชื่อว่ามหามัตตะเพราะอรรถว่า มีการนับมากโดยตระกูลและประเทศเป็น ต้นฯ พรรณนาโสณทัณฑคุณกถา [๓๐๓] รัชชะอันพิเศษสุด ชื่อว่าวิรัชชะ วิรัชชะนั่นเอง ชื่อว่าเวรัชชะ เหมือนค าว่า “เวกต เวสย ” ฉะนั้น เวรัชชะอันมีอย่างต่าง ๆ ชื่อว่านานาเวรัชชะ พึงทราบค าทั้งหมดตามนัยที่กล่าวแล้ว โดยนัยว่า ชาตา เป็นต้น ในบรรดาค าเหล่านั้นฯ บทว่า อุต ฺตมพ ฺราห ฺมโณ ได้แก่ พราหมณ์ผู้สูงสุดกว่า ด้วยความถึงพร้อมด้วยอภิชน ด้วยความถึงพร้อมด้วยทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ด้วยความถึงพร้อมด้วย วิชชา หรือว่า ได้แก่พราหมณ์ผู้โอฬารฯ บทว่า อสนฺนิปาโต ได้แก่ จักเป็นเหมือนไม่ประชุมกันเพราะ ถูกความตระหนี่ในลาภบีบคั้นฯ ชื่อว่าอังคะเพราะอรรถว่า ให้ไป คือให้ถึงคือให้รู้ ได้แก่เหตุ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “อิมินาปิ การเณน”ฯ เมื่อกล่าวค ามีประมาณนี้ว่า “อุภโต สุชาโต” ก็พึงเข้าใจได้ว่า ความเป็นผู้ เกิดมาดีด้วยส่วน ๒ ส่วน อันใดอันหนึ่ง ก็สุชาต-ศัพท์ เป็นปริยายแห่งสมบัติที่ขึ้นในค าว่า “สุชาโต จารุทสฺสโน” ๕๔๘ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น เพื่ออันแสดงความเป็นผู้เกิดมาดีด้วยสามารถแห่งชาตินั่นแล ท่านจึงกล่าวค าว่า “มาติโต จ ปิติโต จ”ฯ เพื่อแสดงว่า สมัญญาว่า มารดาบิดา ย่อมปรากฏในโลก แม้ ด้วยสามารถแห่งบุตรผู้เกิดแต่อกหามิได้ แต่ปรารถนาสมัญญานั้นด้วยสามารถแห่งบุตรผู้เกิดแต่อก เท่านั้น ของพราหมณ์นั้น ในที่นี้ จึงกล่าวว่า “ส สุท ฺธคหณิโก”ฯ ชื่อว่าคหณี เพราะอรรถว่า ถือเอา คือ ทรงครรภ์ ได้แก่ส่วนแห่งท้องของมารดา ที่รู้พร้อมแล้วว่า คัพภาสยะฯ ชื่อว่าคหณีเพราะอรรถว่า ถือเอา คือไม่ทิ้ง ด้วยสามารถแห่งการยังอาหารตามที่บริโภคแล้วให้ย่อย ได้แก่เตโชธาตุที่เกิดแต่กรรมฯ บิดาด้วย มารดาด้วยชื่อว่าปิตโร, (บิดามารดา) บิดาทั้งหลายของบิดาและมารดาทั้งหลาย ชื่อว่าปิตามหะ ยุค คือคู่แห่งชนทั้ง ๒ แห่งปิตามหะเหล่านั้น ชื่อว่าปิตามหยุคะเพราะฉะนั้น พึงทราบ เนื้อความในค านี้อย่างนี้ว่า ปิตามหยุค คือคู่แห่งปิตามหะทั้งสองฝ่าย จนถึง ๗ ชั่วคนฯ ก็แม้มาตามหะ ๕๔๘ ขุ.เถร. (บาลี) ๒๖/๘๑๘/๓๘๐.


๓๗๗ ก็ถือเอาแล้ว ด้วยปิตามห-ศัพท์อย่างนี้เหมือนกันฯ มาตามหะนั้นไม่ได้ยกขึ้นแยก ๆ กันในอรรถกถาฯ ก็ ยุค-ศัพท์ ในค านี้พึงทราบโดยเอกเสสนัยว่า “ยุโค จ ยุโค จ ยุคา”ฯ ก็เมื่ออธิบายอย่างนี้ย่อมเป็นอัน ถือเอาทวันทะในศัพท์นั้น ๆ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ตโต อุท ฺธ สพ ฺเพปิ ปุพ ฺพปุริสา ปิตามหค ฺ- คหเณเนว คหิตา”ฯก็ ปุริส-ศัพท์ ในค านี้ พึงทราบว่า ท่านท าไว้ด้วยสามารถแห่งนิทเทสอย่างสูงสุดฯ ก็เมื่ออธิบายอย่างนี้ ค าบาลีว่า “มาติโต” เป็นอันสมบูรณ์แล้วฯ บทว่า อกฺขิต ฺโตได้แก่ ไม่คัดค้านฯ บทว่า อนวกฺขิต ฺโตได้แก่ ไม่มีใครค้าน คือไม่ทิ้งไว้ในเพราะส ารับที่ถวายด้วยศรัทธาเป็นต้นฯ ท่าน กล่าวค าว่า “เกน การเณน”เป็นต้น เพื่ออันแสดงว่า ค าว่า ชาติวาเทน เป็นตติยาวิภัติลงในอรรถแห่ง เหตุฯ ก็ในค าเหล่านี้ ด้วยค าว่า “อุภโตฯเปฯ ปิตามหยุคา” นั่น ท่านแสดงความที่พราหมณ์เป็นผู้ไม่มี โทษในด้านก าเนิด เพราะก าหนดโดยความเป็นผู้มีการถือเอาก าเนิดที่บริสุทธิ์พร้อมฯด้วยค าว่า “อกฺขิต ฺโต” นี้ แสดงความที่พราหมณ์ไม่มีความผิดทางด้านการกระท าฯก็สัตว์ทั้งหลายย่อมถึงการ คัดค้านเพราะความผิดทางการกระท าฯ ด้วยค าว่า อนุปกฺกุฏ ฺโฐฃ นี้ แสดงความที่พราหมณ์ไม่มีความ คลุกคลีอันไม่สมควรฯ ก็สัตว์ทั้งหลายอาศัยแม้ความคลุกคลีอันไม่สมควรย่อมได้การด่าฯ บทว่า อิสฺสโร ได้แก่ ผู้มีปกติเป็นใหญ่ เพราะก าลังแห่งกรรมอันเป็นไปพร้อมเพื่อความ เป็นผู้เป็นใหญ่ ก็ความที่พราหมณ์นั้นเป็นผู้เป็นใหญ่นั้นเกิดปรากฏเพราะวิภวสมบัติเป็นปัจจัย เพราะ เหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ เมื่อจะกล่าวโดยความเป็นปริยายแห่งความเป็นผู้มั่งคั่งนั่นแล จึงกล่าวว่า “อฑฺโฒติอิสฺสโร”ฯชื่อว่ามหัทธนะ เพราะอรรถว่า มีทรัพย์มากมายทั้งที่อยู่ในแผ่นดิน ทั้งที่มีอยู่บน ท้องฟ้าฯ บทว่า ตสฺส ได้แก่ นั้น ๆฯ อาจารย์ทั้งหลายย ่อมกล ่าวว่า “เราทั้งหลายย่อมเปรียบเทียบเหตุ แห่งการไม่เข้าไปเฝ้า โดยคล้อยตามและโดยตรงกันข้ามฯ บทว ่า อธิกรูโป ได้แก ่ ผู้มีรูปงาม คือมีรูปร ่างอุดมฯ ชื ่อว ่าทัสสนียะ เพราะอรรถว่า ควรมองดู ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทสฺสนโยค ฺโค”ฯ ชื่อว่าปาสาทิกะ เพราะอรรถว่า น ามาซึ่ง ความน่าเลื่อมใส ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “จิต ฺตป ฺปสาทชนนโต”ฯ บทว่า วณ ฺณสฺส ได้แก่ มีสีผิว น่าดึงดูดใจฯค าว่า สรีร ได้แก่ ความตั้งอยู่พร้อมแห่งอวัยวะมีการกระท า การเที่ยวไป คอ และศีรษะ เป็นต้น อันงามด้วยความตั้งอยู่พร้อม ก็ความตั้งอยู่พร้อมแห่งอวัยวะนั้นท่านถือเอาโดยมุ่งถึงสัณฐาน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “ปรมาย วณ ฺณโปกฺขรตายาติ ฯเปฯ สม ฺปต ฺติยา จ”ฯ บรรดาสีทั้ง หมด สีเหมือนทองค า เป็นสีสูงสุด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เสฏ ฺเฐฃน สุวณ ฺณวณ ฺเณน สมนฺนาค โต”ฯ จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและพระเจ้าจักพรรดิทั้งหลายล้วนเป็นผู้มีพระวรรณะเพียง ดังทองค าทั้งนั้นฯ บทว่า พ ฺรห ฺมวจ ฺฉสิได้แก่ ผู้มีพระรัศมีแห่งสรีระอันสูงสุด อธิบายว่า ผู้มีพระรัศมี เหมือนทองค านั่นเองฯ ก็เพราะหมายถึงเนื้อความนี้นั่นแล จึงได้กล่าวค าว่า “มหา-พ ฺรห ฺมุโน สรีรสทิเส เนว สรีเรน สมนฺนาคโต” หากล ่าวหมายเอาอัตภาพเหมือนพรหมไม่ฯ สองบทว่า อข ุทฺทาวกาโส ทสฺสนายได้แก่ ผู้มีโอกาสน่าดูน่าชมไม่น้อย เพราะความถึงพร้อมโดยส่วนสูงและความสมส่วน และ เพราะความถึงพร้อมด้วยอวัยวะ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สพ ฺพาเนว” เป็นต้นฯ


๓๗๘ ชื่อว่าสีลวา (ผู้มีศีล) เพราะอรรถว่า มีศีลตามลักษณะที่ก าหนดฯ ชื่อว่าวุทธสีลี (ผู้มีศีลอัน เจริญ) เพราะอรรถว่า มีศีลอันเจริญ คืออันถึงความเจริญแล้วเพราะท่านเป็นรัตตัญญูฯ ก็ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าผู้มาตามพร้อมด้วยศีลอันเจริญ เพราะประกอบพร้อมโดยชอบในกาลทั้งปวงฯ อาจารย์ ทั้งหลายผู้เป็นพราหมณ์เหล ่านั้นกล ่าวหมายเอาคุณเพียงศีล ๕ ทั้งหมดนั้นนั่นแลเพราะศีลที่ยิ่งไปกว่า นี้ไม่มีในพราหมณ์นั้น และเพราะพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ฯ วาจา ชื่อว่าปริมัณฑลปทพยัญชนะ (มีบทและพยัญชนะกลมกล ่อม) เพราะมีพยัญชนะ อักขระที่มีบทบริบูรณ์ เพราะไม่หย่อนไม่ยิ่ง แม้ในวาจาไหน ๆ เพราะถึงพร้อมด้วยฐานกรณ์ และ เพราะถึงพร้อมด้วยสิกขาฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าบท เพราะอรรถว่า เป็นเหตุถึงความหมาย ได้แก่ค ามี ค านามเป็นต้น ชื่อว่าพยัญชนะ เพราะอรรถว่า ท าเนื้อความตามที่ประสงค์ให้ปรากฏ คือวากยะ ชื่อว่า ปริมัณฑลปทพยัญชนะ เพราะบทและพยัญชนะเหล่านั้นบริบูรณ์ฯ ชื่อว่าวากกรณะ เพราะอรรถว่า การกระท าคือ วาจา เพราะอันให้ส าเร็จในอันยังบุคคลให้รู้ความหมาย อันได้แก่อุทาหารโฆสะฯ แก่ พราหมณ์นั้น หรือ แก่เนื้อความที่พราหมณ์นั้นพึงกล่าว โดยความเป็นวาจาที่บริบูรณ์ด้วยคุณฯ ชื่อว่า ปูเร ได้แก่ในภาวะที่เต็มฯ ก็ค าว่า ปูเร ในความหมายต้น เป็นสัตตมีวิภัติในอรรถอาธาระ ในความ หมายที่ ๒ เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถวิสยาธาระฯ ด้วยค าว่า “สุขุมาลต ฺตเนน” นี้ ท่านกล่าวความที่ วาจานั้นละเอียดอ่อนฯ ชื่อว่าไม ่พัวพัน เพราะไม่พัวพันด้วยดีและเสมหะ (เสลด) เป็นต้นฯ ชื่อว่า สันทิฏฐะได้แก่ การกล่าวโดยเอกเทสเหมือนแสดงให้เห็นทุกอย่างฯ ชื่อว่าวิลัมพิตะ ได้แก่ การกล่าว ประพฤติค่อยๆฯ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า “สนฺทิทฺธวิลมฺพิตาทิ”ฯ บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่าสันทิทธะ ได้แก ่ ให้เกิดความสนเทห์ฯ ด้วย อาทิ-ศัพท์ ย ่อมรวมถึงทุกขลิตานุกัฑฒิตาเป็นต้นฯ ด้วยค าว่า “อาทิมชฺฌปริโยสาน ปากฏ กต ฺวา” นี้ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวความบริบูรณ์แห่งเนื้อความแห่งวาจานั้นฯ บททั้งหลายมีบทว่า “ชิณ ฺโณ” เป็นต้น เข้าใจได้โดยง่าย และมีเนื้อความที่กล่าวมาก่อน แล้วฯ ส่วนในนัยที่ ๒ บทว่า ชิณ ฺโณ ความว่า ความเป็นคนแก่นี้หามีด้วยเหตุสักว่าวัยไม่ ที่แท้แล มี ความเป็นของเก่าด้วยการเวียนมาแห่งตระกูล (สืบตระกูล) เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ชิณ ฺโณติ โปราโณ”เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงความที่พราหมณ์นั้นเกิดขึ้นและเกิดขึ้นด้วยสามารถ แห่งตระกูลฯ กล่าวว่า “วุท ฺโธติ สีลาจาราทิคุณวุท ฺธิยา ยุต ฺโต”เพราะเจริญด้วยชาติก าเนิดซึ่งกล่าวอยู่ ว่า “วโยอนุปฺปตฺโต” และความเจริญด้วยคุณเป็นคุณอันดียิ่งกว่าความเจริญด้วยชาติก าเนิดนั้นฯ อนึ่ง ท่านประกอบความเจริญเพราะความเป็นผู้แก่โดยชาติอันท่านกล่าวอยู่ เพราะความเป็นใหญ่ในสมบัติ ด้วยบทว่า “มหลฺลโก”ฯ บทว่า มค ฺคปฏิปนฺโน ได้แก่ เข้าถึงวิถีแห่งการปฏิบัติของพราหมณ์ทั้งหลาย เพราะประพฤติก้าวลงสู่วิถีนั้นฯ บทว่า อนฺติมวย ได้แก่ ปัจฉิมวัยฯ พรรณนาพุทธคุณกถา [๓๐๔] พระอรรถกถาจารย์เมื่อแสดงว่า ความคิดนี้ว่า ชื่อว่าความเดือดร้อนแม้ด้วยอ านาจ แห่งการแข่งขันกับผู้มีอานุภาพมากเช่นนั้น ไม่ควรแก่คนผู้เช่นเรา ก็ความดีจักมีแต่ที่ไหนดังนี้ ไม่ควร


๓๗๙ แล้วแก่พราหมณ์ จึงกล่าวว่า “น โข ปน เมต ยุต ฺต ”เป็นต้นฯ บทว่า สทิสาได้แก่ เช่นกับด้วยเอกเทสฯ จริงอยู่ คุณแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งอันเช่นกับพระคุณทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยประการทั้ง ปวง ย่อมได้ในที่อื่น ๆฯ บทว่า อิตเร ได้แก่ คุณอันไม่เช่นกับด้วยคุณทั้งหลายของตนฯ บทว่า อิท ได้แก่ อรรถนี้ฯ บทว่า โคปทก ได้แก่ น ้าที่ขังอยู่ในรอยเท้าของแม่โคฯ บทว่า สฏ ฺฐฃิกุลสตสหสฺส ได้แก่ หนึ่งแสนตระกูลยิ่งด้วยหกหมื่น (๑๖๐,๐๐๐ ตระกูล)ฯ ค าว่า กุลปริยาเยน ได้แก่ อันมาแล้วตามล าดับแห่งตระกูลของพระราชาสุทโธทนมหาราชฯ บทว่า เตสุปิได้แก่ ในขุมทรัพย์ทั้ง ๔ แห่งแม้เหล่านั้นฯ บทว่า คหิตคหิต ได้แก่ ที่ที่ถือเอาแล้ว ๆ ย่อมเต็ม เหมือนเดิม คือเป็นที่ที่มีทรัพย์เต็มเป็นปกติเหมือนเดิมฯ บทว่า อปริมาโณเยวได้แก่ ก าหนดไม่ได้นั่น เทียว เพราะอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะก าหนดว่า “นี้มีประมาณเท่านี้”ฯ บทว่า ตต ฺถได้แก่ บนเตียงฯสองบทว่า สีหเสย ฺย กป ฺเปสิความว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อจะ ทรงปรุงแต่งอิทธาภิสังขารคือรูป ทรงส าเร็จสีหไสยาสน์ โดยประการที่อสุรินทราหูไม่อาจเพื่ออัน ถือเอาการก าหนดพระรูปกายของพระผู้มีพระภาค ทั้งโดยส่วนยาว โดยส่วนกว้าง และโดยส่วนสูงฯ ชื่อว่าอริยะ เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์ เหตุเป็นผู้ไกลจากกิเลส เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อริย อุต ฺตม ปริสุท ฺธ ”ฯ ชื่อว่ากุศลเพราะอรรถว ่าไม ่มีโทษ หาใช่ชื่อว่ากุศล เพราะอรรถว่ามีผลเป็น ความสุขไม่ฯ ในที่บางแห่งมีสัตว์ ๘,๔๐๐ ในที่บางแห่ง มีเทพและมนุษย์แม้ปริมาณก็ไม ่ได้เพราะเหตุ ที่ใน ๒๔ ฐานะ เทพและมนุษย์นับไม่ได้ประมาณไม่ได้ ได้ดื่มน ้าอมตะคือมรรคและผลจ านวนมากเลย ทีเดียว แม้โดยประมาณแสนโกฏิเป็นต้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงเป็นอาจารย์ของเทพและ มนุษย์เป็นอันมากด้วยสามารถแห่งการให้ศึกษาอาจาระอันยอดเยี่ยมฯ บทว่า เตได้แก่ กิเลสที่พระผู้ มีพระภาคทรงละแล้วอันอื่นจากกามราคะฯ บทว่า เกฬนา ได้แก่ ความสนุกสนานด้วยการเล่น คือ ความสนุกสนานด้วยทรัพย์ฯ บทว่า อปาปปุเรกฺขาโรความว่า ย่อมท าธรรมที่ไม่เป็นบาปไว้เบื้องหน้า หรือว่า ไม่ท า ธรรมที ่เป็นบาปข้างหน้า แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื ่อว่าอปาปุเรกขาระ เพราะเหตุนั้น เพื ่ออันแสดง เนื้อความนี้ ท่านจึงกล่าวว่า “อปาเป นวโลกุต ฺตรธม ฺเม”เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปาเป ได้แก่ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อบาป และอันเว้นจากบาปฯ ชื่อว่าพรหมัญญา เพราะอรรถว่า เป็นผู้มีส่วนใน พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพุทธะ คือ ผู้เป็นพรหม ได้แก่ ผู้ประเสริฐสุด เหตุได้เกิดโดยชาติอันประเสริฐ ด้วยอ านาจแห่งธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และเพราะปฏิบัติตามที่พระองค์ทรง สอนโดยนัยว่า เป็นผู้เกื้อกูล คือเป็นผู้ท าความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคผู้ทรงประเสริฐดุจพรหม หรือ ว่า รู้อริยมรรคอันประเสริฐสุด อันเป็นดุจพรหม ได้แก่ประชากล่าวคืออริยสาวก ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “สาริป ุต ฺต”เป็นต้นฯ ท่านกล่าวค าว่า “อปิจ”เป็นต้น เพื่อแสดงว่า พึงทราบเนื้อความแห่ง บทว่า “พฺรหฺมญฺญาย ปชาย” แม้ด้วยสามารถแห่งชาติของพราหมณ์ตามปกติฯ ในค าว่า ติโรรฏ ฺฐฃา ติโรชนปทา นี้ มีการท าวิเคราะห์ว่า รัชชะ ชื่อว่ารัฏฐะ เพราะเป็นเหตุ รุ่งเรืองแห่งพระราชา ส่วนประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐนั้น ชื่อว่าชนบท เพราะอรรถว่า เป็นที่ไป


๓๘๐ คือเป็นที่ถึงความเป็นอยู่อย่างมีความสุขแห่งชนทั้งหลายฯ สัมพันธ์ว่า ก าหนดโทษของการถามก็ได้ฯ บทว่า อสมต ฺถต ได้แก่ ความที่ตนไม่เป็นผู้สามารถฯ พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชชนาความถึงพร้อมด้วย อุปนิสสยสมบัติ ของพราหมณ์เหล่านั้น อธิบายว่า ทรงทราบความแก่รอบแห่งญาณ และ อาจาระแห่ง จิตของพวกเขาดังนี้ฯ ด้วยค าว่า “เอหิ สฺวาคตวาที” นี้ ย่อมแสดงความเป็นผู้มีปกติกล่าวค าว่าเป็นที่รักอันมีการ กล่าวค าที่น ามาซึ่งความสุขเป็นเบื้องต้น ด้วยค าว่า “สขิโล” นี้แสดงความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ด้วยค าว่า “สม ฺโมทโก” นี้ แสดงความเป็นผู้ฉลาดในการต้อนรับด้วยค าว่า “อภากุฏิโก” นี้ แสดงความ เป็นผู้มีพระพักตร์ผ่องใสในที่ทั้งปวง ด้วยค าว่า “อุต ฺตานมุโข” นี้แสดงความเป็นผู้มีการเจรจาสบาย ด้วยค าว่า “ปุพ ฺพภาสี” นี้ อธิบายถึงความเป็นผู้มีอัธยาศัยเกื้อกูลของพระผู้มีพระภาคเพราะท าโอกาส แก่การอนุเคราะห์ธรรมฯ กิร-ศัพท์ ในค าว่า ยต ฺถ กิร เป็น อรุจิสูจนัตถะ ด้วย กิร-ศัพท์นั้น แสดงว่า ในประเทศที่มี พระผู้มีพระภาคทรงประทับอยู่ความไม่มีอุปัทวะแก่มนุษย์ทั้งหลาย หามีด้วยอานุภาพแห่งเทวดาไม่ ที่แท้มีด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้าฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อปิจ” เป็นต้นฯ บทว่า อนุสาสิตพ ฺโพ ระบุเอาหมู่ชนที่พอจะแนะน าได้ เพราะเหตุนั้น เพื่ออันแสดงหมู่แห่ง อริยะที่พระผู้มีพระภาคทรงให้เกิดเท่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สย วา” เป็นต้นฯ เพราะท าอธิบายว่า การห้ามวิธีของอนันตรบท จึงถือเอาวิกัปอื่นว่า “วุตฺติกปฺโป เอว ปจฺจามฏฺโฐฃ” และว่า “ปุริม ปทสฺเสว วา” โดยนัยว ่า “สย วา” เป็นต้น ด้วยบทว่า “ตาทิโสว” นี้ฯ สองบทว ่า พหูน ติต ฺถกราน ได้แก่ เจ้าลัทธิมากมายมีท่านปูรณะเป็นต้น ก็ค านั่นเป็นฉัฏฐีวิภัติลงในอรรถนิทธารณะฯ บทว่า การเณน ได้แก่ ด้วยเหตุมีการยกขึ้นสู่ความปรารถนาน้อยและความสันโดษ เป็นต้นเป็นลักษณะฯ สองบทว่า อาคนฺตุกา นวกา ได้แก่ อาคันตุกะผู้ใหม่ยิ่ง ผู้จรมาฯ บทว่า ปริยาปุณามิความว่า ข้าพเจ้าย่อมรู้คือ ย่อมสามารถเพื่ออันก าหนด ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ชานามิ”ฯค าว่า “กป ฺปม ฺปิ เจ อญ ฺญมภาส มาโน” นั่น เป็นค ากล่าวที่ก าหนดค าที่ไม่เป็นจริง เพราะไม่มีผู้กล่าวอย่างนั้นฯ [๓๐๕] อล -ศัพท์ มีความหมายว ่าควรก็ได้ เหมือนในค าว ่า “อลเมว สพ ฺพสง ฺขาเรสุ นิพฺพินฺทิตุ ” ๕๔๙ เป็นต้น ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อลเมวาติ ยุต ฺตเมว”ฯ เสบียงเรียกว ่า ปุโฏสะ เพราะอันชนพึงน าไปด้วยห่อแล้วกิน คือบริโภคฯ ด้วยบุรุษผู้น าเสบียงนั้นฯ พรรณนาความปริวิตกของโสณทัณฑพราหมณ์ [๓๐๗] บทว่า อุภโตปกฺขิกา ได้แก่ ผู้เป็นไปใน ๒ ฝ่าย คือฝ่ายมิจฉาทิฏฐิและฝ่ายสัมมา ทิฏฐิฯ บทว่า เกราฏิกา ได้แก่ ผู้โอ้อวดฯ ๕๔๙ ส .นิ. (บาลี) ๑๖/๑๒๔/๑๗๒


๓๘๑ พรรณนาบัญญัติของพราหมณ์ [๓๐๔] บทว่า วิฆาต ได้แก่ ความทุกข์ในจิตฯ [๓๑๑-๓] บทว ่า ส ุช ได้แก ่ ทัพพีส าหรับตักบูชายัญฯ บทว ่า ปค ฺคณฺหนฺเตสุได้แก่ พราหมณ์ผู้ถือเอาเพื่อการบูชา อธิบายว่า พราหมณ์ผู้แตกฉานในวิชาอิรุเภทฯ บทว่า ปฐฃโม วา ได้แก่ ผู้เป็นประธานแห่งพราหมณ์ทั้งหมดในการท าการบูชา ในบรรดาพราหมณ์ที่ประชุมกันในที่ประชุมนั้น หรือฯ บทว่า ทุติโย วา ได้แก่ หรือว่า พราหมณ์อื่นจากพราหมณ์คนที่ ๑ นั้นฯ ค าว่า “สุช ” นั่น เป็นทุ ติยาวิภัติลงในอรรถตติยาวิภัติ(กรณะ) เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สุชาย”ฯ การบูชาใหญ่อัน พราหมณ์ให้อยู่ในยัญเพื่อบูชา เพราะการบูชามีการบูชาไฟเป็นใหญ่ (ประมุข) อันพราหมณ์ย่อมให้ ด้วยทัพพี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว่า “สุชาย ทิย ฺยมาน ”ฯ บทว่า โปราณา ได้แก่ พระอรรถกถา จารย์ฯ บทว่า วิเสสโตได้แก่ โดยพิเศษไปจากวิชชาและจรณะ พระผู้มีพระภาคย่อมไม่ทรงปรารถนา จากพราหมณ์ทั้งหลาย เพราะเป็นเพียงวิชชาและจรณะฯ บทว่า อุต ฺตมพ ฺราห ฺมณสฺสได้แก่ พราหมณ์ผู้ สูงสุด เพราะเป็นทักขิไณยบุคคลผู้ยอดเยี่ยมฯ บทว่า พ ฺราห ฺมณสมย ได้แก่ ที่สุดแห่งความส าเร็จของ พราหมณ์ฯ บทว่า มา ภินฺทิได้แก่ อย่าให้เสียหายฯ [๓๑๖] บทว่า สมสโม ได้แก่ เป็นผู้เสมอนั่นเอง ชื่อว่าสมะ (ผู้เสมอ)ฯ แม้ด้วยสามารถแห่ง อุปมาว่าเลว ท่านก็เรียกว่า ความเป็นผู้เสมอ (สมตา) เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ เมื่อจะห้าม ค านั้น จึงกล่าวว่า “ฐฃเปต ฺวา เอกเทสสมต ฺต ”เป็นต้นฯ บทว่า กุลโกฏิปริทีปน ได้แก่ การแสดงตระกูล เป็นต้นฯ บทว่า อถาปิ สิยา ได้แก่ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พวกท่านก็พึงมีความปริวิตกอย่างนี้ฯ วรรณะ ย ่อมยังความเป็นพราหมณ์ให้ส าเร็จแม้ในมนต์และชาติก็นัยนี้เหมือนกันฯ ศีลนั่นแลจักยังความเป็น พราหมณ์ให้ส าเร็จฯ หากมีค าถามว่า เพราะเหตุไร ดังนี้ท่านก็กล่าวว่า “ตสฺมิญ ฺหิสฺส” เป็นต้นฯ สอง บทว่า สม ฺโมหมต ฺต วณ ฺณาทโย ความว่า ก็วรรณะ มนต์ และชาติ เป็นองค์แห่งความเป็นพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น ค านั่นเป็นเพียงความหลง เพราะมีการถือตัวอย่างยิ่งอันตนไม่ได้พิจารณาฯ พรรณนาสีลปัญญากถา [๓๑๗] ค าว่า กถิโต พ ฺราห ฺมเณน ปโญ ฺห ความว่า ปัญหาตามที่พราหมณ์ถามแล้วด้วย สามารถแห่งองค์ ๒ นั่นแล โดยนัยว่า “สีลวา จ โหติ”อันพระผู้มีพระภาคทรงวิสัชชนาแล้วตามความ เป็นจริงฯ บทว่า เอต ฺถได้แก่ เนื้อความตามที่วิสัชชนานั่นฯ บทว่า ตสฺสได้แก่ โสณทัณฑพราหมณ์ฯ บทว่า สีลปริสุท ฺธา ได้แก่ ชื่อว่าหมดจดโดยประการทั้งปวง คือไม่มัวหมอง เพราะความถึงพร้อมด้วย ศีลฯ ในผู้ทุศีล จักมีปัญญาแต ่ไหน เพราะผู้ทุศีลนั้น เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นฯ ค าว่า ชเฬ ชฬมูเค กุโต สีล ได้แก่ ในผู้มีปัญญาทราม ผู้เขลา ผู้ทั้งหนวกทั้งใบ้ ศีลจักมีแต่ที่ไหน เพราะไม่รู้วิภาคแห่งศีล และไม่รู้ อุบายช าระศีลให้หมดจดฯเพื่ออันห้ามญาณอันมีตามปกติว่า ญาณอันประเสริฐ คืออันสูงสุด ชื่อว่า ปัญญาณะ จึงกล่าวค าว่า “ปญฺญาณ ” เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ผู้มีปัญญา เพราะอันรู้ปัญญานี้นั้น โดย ประการทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปญฺญาณนฺติ ปญฺญาเยว”ฯ


๓๘๒ สองบทว่า สีเลน โธตา ได้แก่ เป็นผู้สะอาด คือหมดจด ด้วยความหมดจดจากมลทินคือ สังกิเลสทั้งสิ้น ด้วยศีลอันเป็นปทัฏฐานของสมาธิ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กถ ปน” เป็นต้นฯ บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า โธวติได้แก่ ย่อมหมดจดฯ บทว่า มหาสฏ ฺฐฃิวสฺสต ฺเถโร วิย ได้แก่ เหมือน พระมหาเถระผู้มีพรรษา ๖๐ฯ ในค าว ่า เ วทนาปริคฺคหมตฺตมฺปินี้ ชื ่อว ่าเวทนาปริคคหะ ได้แก่ วิปัสสนาที่พิจารณาเวทนาตามที่เกิดโดยสภาวะและรสแล้วให้เป็นไปยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ว่า “เวทนานี้ อาศัยผัสสะ ผัสสะนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรไปเป็นธรรมดาฯ ก็พระโยคาวจร เมื่อเห็นแจ้ง อย่างนี้ สามารถเพื่อทนเวทนานั้นได้โดยง่ายว่า “เวทนาอันเราย่อมเสวยนั่นแล”ฯ สองบทว่า เวทน วิกฺขม ฺเภต ฺวาได้แก่ บรรเทาเวทนานั้น ด้วยวิปัสสนาอันไม่เป็นไปตามทุกขเวทนาตามที่เกิดขึ้น ปรารภ วิปัสสนาด าเนินไปสู ่วิถีฯ บทว ่า ส สุมารปติเตน ได้แก ่ หมอบที่พื้นเหมือนจระเข้ ฉะนั้นฯ ค าว่า ปญ ฺญาย สีล โธวิต ฺวา ได้แก่ ท าศีลให้หมดจดด้วยดีในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ด้วยการยังความ เป็นศีลไม่ขาดเป็นต้นให้ถึงทั่วฯ [๓๑๘] ท่านถามเหตุแห่งเทศนาก่อนว่า “กสฺมา อาห”ฯ ที่ชื่อว่าลัชชา (ความละอาย) ได้แก่ ความเป็นผู้อันบริษัทรู้ทั่วแล้วว่า “พราหมณ์วิสัชชนาปัญหาอันพระสมณโคดมตรัสถามแล้ว โดย การประกาศคุณและโทษแห่งศีลและชาติก าเนิดฯ บทว่า เอต ฺตกปรมาความว่า เราทั้งหลายเป็นผู้มีศีล และปัญญาอันสูงสุดอันมีประมาณเท่านี้เป็นที่สุด พราหมณ์แสดงว่า ความรู้จดจ าศีล ๕ และปัญญาอัน เกิดมีแต่เวท ๓ โดยลักษณะเป็นต้นย่อมไม่มี พวกเรามีวจีเป็นอย่างยิ่งในศีลและปัญญานั้นอย่างเดียว เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า “สีลปญ ฺญาณนฺติ วจนเมว ปรม อม ฺหาก ”ฯค าว่า อย ปน วิเสโส นี้ เป็นนิย ยาตนาเปกขะในสีลนิทเทส ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สีลมิจฺเจว นิยฺยาติต ”ฯ ส่วนในสามัญญผล สูตร มอบให้แล้วว่า “สามญฺญผล ” ก็ในปัญญานิทเทส ท าฌานปัญญาให้เป็นอธิษฐานแล้วท าการมอบ ให้ปัญญา ด้วยอ านาจแห่งปัญญาในวิปัสสนานั่นแล ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปฐฃมชฺฌานาทีนิ”ฯ พรรณนาการประกาศตนเป็นอุบาสกของโสณทัณฑพราหมณ์ [๓๒๑-๓๒๒] บทว่า นต ฺตาได้แก่ บุตรของบุตรฯ ชื่อว่าความไม่เคารพย่อมไม่มี ก็พราหมณ์ นี้หากล่าวด้วยความไม่เคารพในพระผู้มีพระภาคว่า “อหญฺเจว โข ปน” เป็นต้นไม่ ที่แท้แลกล่าวด้วย ความกลัวต่อความเสื่อมลาภของตนฯ ก็พราหมณ์นี้ยังความยกย่องให้เกิดขึ้นแก่มหาชนของตนโดย อาการอย่างใดอย่างหนึ่งยังชนเหล่าอื่นให้งงงวยด้วยการหลอกลวง ปรารถนาความเกิดขึ้นแห่งลาภ ย่อมเที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อิมินา กิร” เป็นต้นฯ บทว่า ตง ฺขณานุรูปายความว่า ความเป็นไปแห่งอัธยาศัยของพราหมณ์นั้นในกาลนั้น เป็น เช่นใด โดยสมควรแก่การเป็นไปแห่งอัธยาศัยเช่นนั้นฯ ท่านแสดงประโยชน์อันอาศัยความเกิดขึ้น เฉพาะอย่างเดียวนั่นแล เพราะความไม่มีแห่งความแก่รอบแห่งญาณอันอาศัยวิวัฏฏะเช่นนั้นในกาลนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทิฏฺฐฃธมฺมิกสมฺปรายิก อตฺถ สนฺทสฺเสตฺวา” อธิบายว่า อบรมให้เห็นแจ้ง โดยประจักษ์ฯสองบทว่า กุสเล ธม ฺเม ได้แก่ กุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ แม้จะกล่าวว่า “อันเป็นไปใน


๓๘๓ ภูมิ ๔” ก็ถูกเหมือนกัน ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ท่านจึงกล่าวว่า “อายตึ นิพฺพานตฺถาย วาสนาภาคิยา วา”ฯ บทว่า ตต ฺถได้แก่ ในกุศลธรรมตามที่สมาทานฯ บทว่า น ได้แก่ ซึ่งพราหมณ์ฯ บทว่า สมุต ฺเตเชต ฺวา ได้แก่ ให้ทบทวนยิ่งๆ ขึ้นไปโดยชอบนั่นเทียว ให้ถึงความองอาจอย่างแรงกล้าด้วยบุญญกิริยาฯ ก็โดย ความหมายการให้เกิดอุตสาหะในบุญญกิริยานั้นย่อมมีได้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สอุสฺสาห กตฺวา”ฯ ความมีอุตสาหะในบุญญกิริยาอย่างนี้ และความเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณเห็นปานนี้ โดย ก าหนดการยังประโยชน์ที่เป็นไปในทิฏฐธรรมให้ถึงพร้อม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว ่าให้ร ่าเริง คือให้ถึง ความเป็นผู้ร ่าเริงและยินดีโดยชอบนั่นแล ด้วยให้มีอุตสาหะและด้วยคุณที่ปรากฏอยู่เหล ่าอื่นในบุญญ กิริยาวัตถุนั้นฯ ถ้าหาก พระผู้มีพระภาคทรงให้ฝนคือธรรมรัตนะตกไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พราหมณ์นั้นจึงไม่บรรลุคุณวิเศษ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “พ ฺราห ฺมโณ ปน” เป็นต้นฯ ถ้าเมื่อ เป็นอย่างนี้ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงให้ฝนคือธรรมรัตนะตกอย่างนั้นเพื่อพราหมณ์นั่นเล่า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เกวลมสฺส” เป็นต้นฯ ก็เทศนาของพระผู้มีพระภาคหาเป็นเทศนาไม่มี ประโยชน์ไม่ฯ ลีนัตถัปปกาสนาแห่งอรรถกถาโสณทัณฑสูตร จบฯ ๕. กูฏทันตสูตร [๓๒๓] บทว่า ปุริมสุต ฺตท ฺวเย ได้แก่ ในพระสูตร ๒ พระสูตร คืออัมพัฏฐสูตรและโสณ ทัณฑสูตรฯ บทว่า วุต ฺตนยเมวได้แก่ นัยใดเช่นกับที่มาในพระสูตรก่อน ๆ นั้น มาแล้วในพระสูตรนี้ นัยที่กล่าวแล้วจากพรรณนาเนื้อความนั้นนั่นแล อธิบายว่า พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในพระสูตรนั้น นั่นแลฯ ในอรรถกถาพรหมชาลสูตร ท่านกล่าวว่า “ตรุโณ อมฺพรุกฺโข อมฺพลฏฺฐฃิกา” ๕๕๐ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อม ฺพลฏ ฺฐฃิกา พ ฺรห ฺมชาเล วุต ฺตสทิสาว”ฯ อุปกรณ์เพื่อบูชายัญ ที่มีวิญญาณและที่ไม่มีวิญญาณ อันชนทั้งหลายให้หลุมบูชายัญถึง พร้อมแล้ว ให้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เจาะจงมหายัญ เพราะเหตุนั้น ในพระบาลี ท ่านจึงกล ่าวค าว่า “มหายญฺโ อุปกฺขโฏ” อุป-อักษรนั้น เป็นการเตรียมอย่างนั้นแห่งอุปกรณ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อุปกฺขโฏติ สชฺชิโต”ฯ บทว่า วจ ฺฉตรสตานิได้แก่ ลูกโคตัวมีก าลัง ๑๐๐ ตัว ซึ่งถึง ความเป็นโคหนุ่ม ก็โคเหล่านั้นเป็นลูกโคทั้งนั้น ยังไม่ได้ฝึกและยังเป็นโคถึก (โคเนื่องด้วยก าลัง) เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “วจ ฺฉสตานิ”ฯ บทว่า เอเต ได้แก่ ตั้งแต่โคอุสภะเป็นต้น มีแกะเป็นที่สุดฯ บทว่า อเนเกส ได้แก่ สัตว์ที่มีชาติมากมายฯ ความที่สัตว์มีชาติมากมายด้วยอ านาจการนับท่านก าหนด แล้วด้วยการจับเอาสัตว์อย่างละ ๗๐๐ นั่นแลฯ บทว่า มิคปกฺขีน ได้แก่ จ าพวกเนื้อ คือ ควาย เก้ง ฟาน กวาง ระมาด และจ าพวกสัตว์ปีกมีนกยูง นกเอี้ยง นกกระทา และนกพิราบเป็นต้นฯ ๕๕๐ ที.สี.อ. (บาลี) -/๒/๔๑.


๓๘๔ [๓๒๘] การบรรเทาความเดือดร้อน ท่านเรียกว่า วิธะ เพราะห้าม คือกีดกันความหมอง แห่งบุญกล่าวคือยัญฯ เพราะเหตุนั้นนั่นเอง วิธะเหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่า “ฐปนะ”เพราะตั้งไว้ไม่ ให้ผลบุญนั้น ขาดสายฯก็วิธะเหล ่านั้น มียัญคือการตั้งไว้ตามความเป็นไปแห่งยัญใน ๓ กาล คือ เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ติฏ ฺฐฃปนนฺติ อต ฺโถ”ฯชื่อว่าปริกขาระ เพราะท ารอบ คือปรุงแต่ง ได้แก่บริวาร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “โสฬส ปริกฺขารนฺติ โสฬส ปริวาร ”ฯ พรรณนายัญญกถาของพระเจ้ามหาวิชิต [๓๓๖] บทว่า ปุพ ฺพจริย ได้แก่ บุญญจริยาอันเป็นโพธิสมภาร อันมีมาแต่ชาติปางก่อนของ ตนฯ จริงอย่างนั้น ความมั่นคงแห่งขุมทรัพย์อันมีปกติไปตามนั้น ท่านแสดงว่า นิธิฯ ชื่อว่าความเป็นผู้ มั ่งคั ่ง ได้แก ่ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมบัติ ความเป็นผู้มั ่งคั ่งนั้นท่านกล ่าวโดยเทียบเคียงและ เทียบเคียงนิธินั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “โย โกจิ อต ฺตโน สนฺตเกน วิภเวน อฑฺโฒ โหติ”ฯ แม้ความเป็นผู้มีทรัพย์มากก็อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงทรัพย์ที่ถึงความสูงสุดนั้น ท่านจึงกล่าว่า “มหตา อปริมาณสง ฺเข ฺยยฺเยน ธเนน สมนฺนาคโต”ฯ กามทั้งหลายชื่อว่าโภคะ เพราะอันชนทั้งหลาย พึงกิน คือบริโภคโดยพิเศษ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปญ ฺจกามคุณวเสน”ฯ บทว่า ปิณ ฺฑปิณ ฺฑวเสน ได้แก่ ด้วยสามารถความเป็นชิ้น ๆ อย่างเดียว ไม่เป็นการแบ่งโดยภาชนะและอลังการะเป็นต้นฯ ด้วย อาทิ-ศัพท์ว่า มสกาทิ รวมเอาถาดเป็นต้นฯด้วย อาทิ-ศัพท์ว่า ภาชนาทิรวมเอาผ้า ที่นอน และที่อยู่เป็นต้นฯ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวทองค า เงิน แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ เพชร และแก้วประพาฬว ่า “รัตนะ ๗ ประการ”ฯ ข้าวสาลีและข้าวเปลือกเป็นต้น ชื ่อว่าปุพพัณณชาติ เพราะท าอธิบายว่า ผลของข้าวกล้าที่ถูกหุ้มไว้ฯ ถั่วเขียวและถั่วราชมาสเป็นต้น ชื่อว่าอปรัณณชาติ เพราะมีปริยายที ่ตรงกันข้ามนั้นฯ ค าว ่า เทวสิก ฯเปฯ วเสน ได้แก ่ ด้วยสามารถแห่งทรัพย์และ ข้าวเปลือกที่เป็นไป โดยวิธีต้องบริโภค ต้องให้และต้องเพิ่มพูนเป็นต้นทุกวัน ๆฯ ที่เป็นที่เก็บข้าวเปลือก เรียกว่า ฉาง เรือนที่เป็นฉาง ชื่อว่าเรือนคลัง (โกฏ ฺฐฃาคาร )ด้วยเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ธญ ฺเญน ฯเปฯ คาโร จ”ฯ พระอรรถกถาจารย์แสดงห้องที่แน่นหนาว่า “โกสะ” และที ่เป็นที ่เก็บข้าวเปลือกว่า “โกฏฐฃาคาระ”อย ่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื ่อแสดงโกฏฐาคาระนั้น โดย ประการอื่น จึงกล่าวว่า “อถ วา”เป็นต้นฯ ในค าว่า โกสะ นั้น การปกปิดเพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นผู้ เฉียบแหลมแห่งฤาษี เรียกว่า “โกสะ” ฉันใด เสนาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ เพราะเลี่ยงความเป็นผู้เฉียบ แหลมของพระราชา ก็เรียกว่า “โกสะ” ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “จตุพ ฺพิโธ โกโส หต ฺถี อสฺสา รถา ปต ฺติ”ฯ เรือนคลังมี ๓ อย่าง เพราะที่เก็บภัณฑะแม้ทั้งหมดท่านก็ถือเอาด้วย วต ฺถโกฏ ฺฐฃา คาร-ศัพท์ เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อิท เอว พห ุ ”เป็นต้น พระราชาทรงทราบความ นั้นอยู่เทียว ทรงให้นายภัณฑาคาริกกราบทูล และเพื่อให้บริษัทเงียบเสียง จึงตรัสว่า เราจักไม่มีความ สะดุ้งเป็นปกติอย่างนี้ฯ


๓๘๕ [๓๓๗-๓๓๘] พราหมณ์คิดประโยชน์แก่การไม่มีอุปัทวะแก่ชนบทและประโยชน์แก่ความ เป็นไปได้นานแห่งยัญ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อย ราชา” เป็นต้นฯ โจรทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นเสี้ยนหนามทั้งนั้น เพราะท าลายประโยชน์และความสุขของสัตว์ ทั้งหลายและเพราะน าสิ่งไม่ใช่ประโยชน์และความทุกข์มาให้ ด้วยโจรผู้เป็นเสี้ยนหนามเหล่านั้นฯ การฆ่าชาวบ้าน ชื่อว่าคามฆาตะฉันใด การท าร้าย คือการเบียดเบียนคนเดินทาง ชื่อว่าปันถทุหนะ ฉันนั้นฯ บทว่า อธม ฺมการีได้แก่ ผู้มีปกติท ากรรมอันไม่สมควรอันไปปราศแล้วจากธรรม อธิบายว่า ธรรมใดชื่อว่าขัตติยะ เพราะต้านทานชาวชนบทในแว่นแคว้นของตน จากอนัตถะนั้น ชื่อว่าขัตตธรรม ผู้มีปกติไม่ท าขัตตธรรมนั้นฯ โจรทั้งหลายนั่นแลชื่อว่าทัสสุขีละเพราะเป็นผู้กระด้างเหมือนเสาเขื่อนฯ เหมือนอย่างว่า เสาเขื่อนในนา เบียดเบียนความเป็นไปแห่งความสะดวกของชาวนาเป็นต้น และความ งอกงามของข้าวกล้าโดยพันราก ฉันใด โจรทั้งหลายย่อมเบียดเบียนความเป็นไปแห่งความสุขในราช อาญาในรัชชสมบัติ และความเจริญของชาวชนบท ด้วยความเจริญงอกงามอันเป็นมูล ฉันนั้นฯ ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทสฺสโว เอว ขีลสทิสตฺตา ทสฺสุขีล ”ฯ วธ-ศัพท์ มีความหมายว่าเบียดเบียนก็มี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มารเณน วา โกฏ ฺฏเนน วา”ฯ ด้วยอาทิ-ศัพท์ว่า อท ฺทุพนฺธนาทินา ย่อมรวมถึงเครื่องผูกคือเชือกและเครื่องผูกคือโซ่เป็นต้นฯ บทว่า ชานิยาได้แก่ ความเสื่อมทรัพย์ ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สต คณฺหถ”เป็นต้นฯ บทว่า ปญ ฺจสิขมุณ ฺฑกรณ ได้แก่ ท าเป็นเหมือนปีกกาฯ บทว่า โคมยสิญ ฺจน ได้แก่ รดด้วยน ้ามูลสัตว์ที่ศีรษะฯ บทว่า กุทณ ฺฑกพนฺธน ได้แก่ ผูกด้วยโซ่ฯ ด้วย อาทิ-ศัพท์ว่า เอวมาทีนิรวมถึงการโปรยห่อมูลเถ้า ท าให้ฝุ่นกระจายเป็นต้นฯ บทว่า อูหนิสฺสามิได้แก่ จักรื้อ คือจักน าไปปราศฯ บทว่า อุสฺสหนฺติได้แก่ ย่อมไม่อาจเพื่ออันท าอุตสาหะ เพราะเคยท าการสั่ง สมไว้ในภพนั้นมาก่อนฯ บทว่า อนุป ฺปเทตุได้แก่ ให้แล้วให้เล่า ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทินฺเน อป ฺปโหนฺเต”เป็นต้นฯ ก็มูลค่าภัณฑะนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ต้องการรับเอาอีก พร้อมหรือเว้นก็ตามจาก ด้วยความเจริญ ซึ่งการไม่ยกขึ้นในบัญชีโดยท าให้เป็นหลักฐาน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สุกฺขึ อกต ฺวา”เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มูลจ ฺเฉชฺชวเสน”ฯ ชื่อว่าปาภตะ (ทรัพย์เป็นต้นทุน) คือ ภัณฑมูล เพราะอรรถว่า เป็นเหตุเพิ่มพูน คือสั่งสมภัณฑะโดยประการฯ ภัตรที่พึงให้ทุกวัน ๆ ชื่อว่าเทวสิกภัตรฯ รางวัลที่พึงให้โดยนัยว่า “ตามล าดับเดือน ตาม ล าดับอุโบสถ” เป็นต้น ชื่อว่ามาสิกาทิปริพพยะฯ พึงประกอบอนุรูป-ศัพท์แยก ๆ กันว่า กุลานุรูเปน กมฺมานุรูเปน สูรภาวานุรูเปนฯ ค าว่า เสนาปติเป็นต้น เป็นฐานันดร (ต าแหน ่ง)ฯ ชื่อว่าผู้ประกอบใน กอง คือเป็นผู้ท าทรัพย์และข้าวเปลือกให้เป็นกอง เพราะเป็นผู้ขวนขวายในการงานของตนและเพราะ ไม่มีอุปัทวะฯ สองบทว่า เขเมน ฐฃิตา ได้แก่ อันเป็นไปโดยไม่มีอุปัทวะ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อภยา” อธิบายว่า เว้นจากภัยแม้แต่ที่ไหน ๆฯ


๓๘๖ พรรณนาบริขาร ๔ [๓๓๙] ชื่อว่าอนุยันตะ เพราะอรรถว่า ไปตาม คือเป็นไปตามในกิจนั้น ๆ อนุยันตะนั่นเอง ชื่อว่าอานุยันตะ เหมือนค าว่า “อนุภาวะนั่นเอง ชื่อว่าอานุภาวะ” ฉะนั้นฯ บทว่า อสฺส ได้แก่ อัน พระราชาฯ บทว่า เตได้แก่ อานุยันตกษัตริย์เป็นต้นฯ พวกเขาจักไม ่พอใจว ่า“ท าพวกเขาไว้ด้านนอก ในพิธีนี้”ฯ หมู่บ้านที่ถึงความไพบูลย์ ชื่อว่านิคม อธิบายว่า หมู่บ้านใหญ่ที่ขยายความเจริญเป็นอันมากฯ ชนปท-ศัพท์ มีอธิบายที่กล่าวมาก่อนแล้วฯ พระราชาทรงมีการรู้ดียิ่งในประโยชน์เกื้อกูลและความสุข ด้วยอ านาจแห่งปกติ ๖ อย่าง และอานุยันตชนเป็นต้นเป็นเอกเทสจากนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “ย ตุม ฺหาก อนุชานน มม ภเวย ฺย ทีฆรต ฺต หิตาย สุขาย”ฯ ชื่อว่าอมัจจะ เพราะอรรถว่า มีในกิจทั้งหลายด้วยกัน คือร่วมกันในกิจ คือผู้ให้รัชชกิจ ส าเร็จฯ ก็อ ามาตย์เหล่านั้น เป็นที่โปรดปรานของพระราชา และเป็นผู้ไปด้วยกันของพระราชา เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปิยสหายกา”ฯ ชื่อว่าปาริสัชชะ เพราะอรรถว่า มีในบริษัทของพระราชา ก็ ปาริสัชชชนเหล่านั้นคือใคร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เสสา อาณต ฺติกรา”อธิบายว่า ชนที่เหลือ จากอานุยันตกษัตริย์ตามที่กล่าวแล้วเป็นต้น ผู้ท าตามรับสั่งของพระราชาฯ แม้เมื่อไทยธรรมมีอยู่ เพราะความถึงพร้อมด้วยอานุภาพและเพราะความถึงพร้อมด้วยบริวาร ก็ไม่อาจถวายไทยธรรมเช่น นั้นได้ในเพราะความไม่มีอยู่และแม้ในคราวแก่เฒ่า พระราชาแม้เช่นนั้นก็เสื่อมทั้งสองอย่างนั้นโดยแท้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า “มหลฺลกกาเล ฯเปฯ น สกฺกา”ฯ บทว่า อนุมติยา ได้แก่ ตามที่ทรง อนุญาตฯ บทว่า ปกฺขา ได้แก่ มีพวก คือเป็นองค์ประกอบของยัญฯ ชื่อว่าปริกขาระ เพราะอรรถว่า ท าโดยรอบ คือ สัมภาระฯ ชนเหล่านี้เป็นเหมือนบริวารที่เป็นองค์ของยัญนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ปริวารา ภวนฺติ”ฯ พรรณนาบริขาร ๘ [๓๔๐] บทว่า ยสฺส ได้แก่ ด้วยอานุภาพ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อาณาฐฃปนสมต ฺถตาย”ฯ บทว ่า สท ฺทหติได้แก ่ เชื ่อมั ่นส ่วนบุญว ่า “ผู้ให้ย ่อมได้เสวยผลของทาน”ฯ ชื ่อว่า ท านสูระเพราะอรรถว่า กล้าในทาน คือผู้ที่สละขาดไม่ท าการข้องขัดแม้น้อยนิดในไทยธรรมฯ ก็ อธิบายนี้นั้นพึงทราบโดยความที่กัมมัสสกตาญาณเฉียบแหลมและสละสลวยด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “น สท ฺธามต ฺตเกเนว”เป็นต้นฯ ก็ผู้ใดมีกัมมัสสกตาญาณปรากฏ เหมือนประจักษ์ชัด ผู้นั้นท่าน กล ่าวไว้อย ่างนี้ฯค าว่า ย ทาน เทติได้แก ่ ให้ไทยธรรมใดแก ่ผู้อื ่นฯค าว่า ตสฺส ปติ ห ุต ฺวา ได้แก่ ครอบง าความโลภอันมีไทยธรรมนั้นเป็นอารมณ์ได้ด้วยดี ชื่อว่าเป็นใหญ่แห่งทานนั้นให้ เพราะไม่ถูก ความโลภครอบง าฯ เพื่ออันกล่าวว่า “น ทาโส, น สหาโย” แล้วแสดงค า ๒ ค านั้น โดยคล้อยตามกัน และโดยตรงกันข้าม ท่านจึงกล่าวว่า “โย หิ” เป็นต้นฯ ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นทาสให้เพราะเข้าถึงความเป็น ทาสแห่งทานด้วยตัณหาฯ ชื่อว่าเป็นสหายให้เพราะสละความเป็นที่รักทานนั้นฯ ชื่อว่าเป็นใหญ ่ให้


๓๘๗ เพราะเปลื้องตนจากความเป็นทาสของตัณหาในไทยธรรมนั้นประพฤติครอบง าฯ ก็ผู้นี้นั้นจักมีส่วนบุญ นี้เป็นไป เหมือนเจ้าของบริโภคฯ สมณะผู้มีบาปอันสงบ พราหมณ์ผู้มีบาปอันลอยแล้ว โดยการแสดงอย่างสูงสุด อธิบายว่า ก็ พราหมณ์ผู้สักว่าบวช และสักว่าชาติแห่งสมณะ ในที่นี้ ท่านระบุไว้ ด้วย กปณ-ศัพท์เป็นต้นฯ บทว่า ท ุค ฺคตา ได้แก ่ ผู้เข้าถึงการเป็นอยู ่ที่ท าได้ยาก คือผู้เป็นอยู ่ล าบาก ด้วยเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว่า “ทลิท ฺทมนุสฺสา”ฯ บทว่า อท ฺธิกาได้แก่ ผู้เดินทางไกลฯ บทว่า วณิพ ฺพกา ได้แก่ ผู้ขอโดยพรรณนาคุณ ของผู้ให้ และโดยมุ่งประกาศผลกรรม เหมือนนักบวชผู้ประพฤติเปลือยเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “อิฏ ฺฐฃ ทินฺน ”เป็นต้นฯ ท่านกล่าวว่า “ปสตมต ฺต ”โดยเป็นข้าวเปลือกและข้าวสารเป็นต้น กล่าวว่า “สราวมต ฺต ”โดยเป็นข้าวยาคูและข้าวสวยเป็นต้นฯ ชื่อว่าโอปานภูตะเพราะอรรถว่า เป็นผู้ เหมือนท่าน ้าดื่ม อันเป็นท่าที่ทั่วไปแก่ชนทั้งปวงแห่งแม่น ้าและสระเป็นต้น เพราะอันชนหยั่งลงแล้วดื่ม ที่ท่านเรียกว่า โอปานะฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อุทปานภูโต” เป็นต้น พระอรรถกถาจารย์ได้ กล่าวความที่ชาต-ศัพท์ ในค าว่า สุตเมว สุตชาต ดังนี้ เป็นศัพท์บอกอนัตถะอย่างอื่น เหมือนค าว่า “โกสชาต ” ฉะนั้นฯ ชื่อว่าความที่พระราชาทรงเป็นผู้สามารถด าริถึงประโยชน์มีประโยชน์ที่เป็นอดีตเป็นต้นได้ พึงทราบด้วยอนุมาน และต้องท าดังว่านี้ หาพึงทราบเพราะเห็นประจักษ์ในประโยชน์นั้น เหมือน พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ เพราะเหตุนั้น เพื่ออันแสดงไขความ ท่านจึงกล่าวค าว่า “อตีเต”เป็นต้นฯ ความเป็นผู้มั่งคั่งเป็นต้น เป็นบริวารของยัญ จงยกไว้ก่อน อันความเป็นผู้มีชาติก าเนิดดี และความเป็น ผู้มีรูปงาม มีได้อย่างไร เพราะเว้นจากนั้นแล้วหาส าเร็จแก่พระราชานั้นไม่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “เอเตหิ กิร”เป็นต้นฯก็ในค านี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า “ความเป็นผู้มั่งคั่งเป็นต้น เป็นองค์ของ ยัญโดยส่วนเดียว ฉันใด ความเป็นผู้มีชาติยิ่ง และความเป็นผู้มีรูปงาม หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงไขความ จึงกล่าวไว้ด้วย กิร-ศัพท์ เพราะท่านกล่าวไว้อย่างนั้น เพื่อแสดงความเป็นโอกาสแม้ ของพระราชานั้นว่า ชนทั้งหลายส าคัญอยู่ซึ่งความที่ค าว่า “อย ทุชฺชาโต” เป็นต้น มีที่สุดมากมาย ค า นี้นั้นไม่เป็นสาระ เพราะว่า พระราชานี้เริ่มบูชายัญด้วยสามารถทั่วไปแก่ชนทั้งปวง ปริวิตกอย่างนั้นจะ พึงมีแก่ใคร ๆ ในยัญนั้นเล่าฯ ก็กิร-ศัพท์ พึงทราบว่าเป็นทรัพย์ส่องอาการอันพราหมณ์คิดในกาลนั้นฯ ด้วย อาทิ-ศัพท์ว่า เอวมาทีนิพึงทราบการรวมเอาความเหล่านี้ว่า “ผู้นี้ มีรูปแปลก ขัดสน มีศักดิ์น้อย ไม่มีศรัทธา มีสุตะน้อย ไม่รู้ประโยชน์ คือไม่ใช่ผู้มีปัญญา”ฯ พรรณนาบริขาร ๔ เป็นต้น [๓๔๑] ค าว่า สุช ปค ฺคณ ฺหนฺตาน ท่านแสดงความเป็นผู้ขวนขวายในทานด้วยมือของตน อย่างนี้ด้วยการถือทัพพีเองนั่นเทียวแห่งปุโรหิตและโดยความเคารพจ าต้องปรารถนาฯ แม้ในค าว่า เอว ทุชฺชาตสฺส นี้ ก็พึงทราบเนื้อความตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในภายหลังนั่นแลฯ


๓๘๘ [๓๔๒] สองบทว่า ติณ ฺณ ฐฃานาน ได้แก่ ในภูมิ ๓ คือเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่ง ทาน คือในที่ที่ก าหนดฯ บทว่า จลนฺติได้แก่ หวั่นไหว คือไม่ตั้งอยู่ในอาการก่อน ๆฯ บทว่า กรณต ฺเถ ได้แก ่ ในอรรถแห่งตติยาวิภัติฯก็ค านั ่นเป็นฉัฏฐีวิภัติลงในอรรถกัตตา โดยเพ ่งถึงศัพท์ที ่พึงท าฯ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า “ความเดือดร้อนตามในภายหลังอันใคร ๆ ไม่ควรท า”แล้วกล่าวค าว่า “ป ุพ ฺพเจตนา ปน อจลา ปติฏฺฐฃเปตพ ฺพา”เพื ่ออันแสดงอุบายแห่งการไม่ท าความเดือดร้อนนั้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจลา ได้แก่ หนักแน่น คืออันใคร ๆ พึงน าไปไม่ได้ฯ บทว่า ปติฏ ฺฐฃเปตพ ฺพา ได้แก่ พึงท าให้ตั้งมั่นด้วยดีฯก็ด้วยการกระท าอย่างนั้น ทานนั้นย่อมส าเร็จตามประสงค์ในบัดนี้ ฉันใด แม้ต่อไปก็ส าเร็จโดยมีผลไพบูลย์ ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เอวญ ฺหิ ทาน มหป ฺผล โหตีติ ทสฺเสติ”เพราะความเป็นผู้มีเจตนาไม่หม่นหมองด้วยวิปฏิสารฯ บทว่า มุญ ฺจเจตนา ได้แก่ เจตนาเป็น เหตุเสียสละฯ ชื่อว่าความที่เจตนานั้นไม่ไหว ก็ได้แก่ความเป็นผู้มีการสละอันปล่อยแล้ว คือความเป็น ผู้กว้างขวางด้วยสามารถแห่งปุพพาภิสังขาร ส่วนความที่เจตนาอันตามระลึกเสมอไม่หวั่นไหวพึงทราบ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาโดยความเคารพของเขาว่า “โอ! ทานที่เราถวายแล้วยังประโยชน์ให้ ส าเร็จ คือเป็นทานที่ถวายแล้วด้วยดี”ฯ บทว่า ตถา อกโรนฺตสฺส ได้แก่ ผู้ไม่กระท าอยู่ซึ่งมุญจเจตนา และปัจจาสมนุสสรณเจตนาในมุญจเจตนาให้ไม่หวั่นไหวตามนัยที่กล่าวแล้ว คือผู้ไม่ยังวิปฏิสารให้ เกิดขึ้นฯ จิตย ่อมไม ่น้อมไปในโภคะอันมากมายแม้ที่ได้แล้ว เพราะท าการเสียสละในเขตพิเศษฯ ท่าน กล่าวว่า “มหาโรรุว อุป ฺปนฺนสฺส เสฏ ฺฐฃิคหปติโน วิย” เพื่อเฉลยค าถามว่า “ยถา กถ ”ฯ ได้ยินว่า เศรษฐีนั้นเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่า ตครสิขี ผู้ยืนใกล้ประตูเรือนของ ตนเพื่อบิณฑบาต จึงสั่งภรรยาว่า “จงถวายบิณฑบาตแก่สมณะนี้”แล้วได้หลีกไปเพื่อบ ารุงพระราชาฯ ภรรยาเศรษฐีเป็นผู้มีชาติแห่งชนมีปัญญา นางจึงคิดว่า“โดยกาลเวลามีประมาณนี้ เราไม่เคยได้ฟังแม้ ค าพูดของเศรษฐีนั้นว่า “จงให้แก่ผู้นี้” ก็สมณะนี้เห็นจะเป็นปัจเจกพุทธเจ้า เราจะไม่ถวายโดยประการ ใดประการหนึ่งตามมีตามได้จะถวายบิณฑบาตอย่างประณีต” แล้วเข้าไปไหว้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ รับเอาบาตร นิมนต์พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าให้นั่งบนอาสนะที่ตนปูลาดไว้ใน ภายในที่อยู่ ให้ภัตรถึงพร้อมด้วยข้าวสารแห่งข้าวสาลีอันบริสุทธิ์ ปรุงของเคี้ยว แกง และกับ อัน สมควรแก่ภัตรนั้น แต่งด้วยกลิ่นหอมด้านนอก ให้ตั้งอยู่แล้วในมือของ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไหว้แล้วฯ พระปัจเจกพุทธเจ้าคิดว่า “เราจักท าการสงเคราะห์แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่าอื่น” ไม่ฉันท า อนุโมทนาแล้วหลีกไปฯ แม้เศรษฐีนั้นแล ท าการบ ารุงพระราชาแล้ว เมื่อมาเห็นพระพุทธเจ้าแล้วกล่าว ว่า “เรากล่าวว่า พวกเจ้าจงถวายบิณฑบาตแก่พระคุณเจ้า” แล้วได้หลีกไป พระคุณเจ้าได้บิณฑบาต แล้วหรือฯ พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า “ใช่ ได้แล้ว ท่านเศรษฐี”ฯ เศรษฐีได้เอี้ยวคอมองดู ด้วยคิดว่า “เราจักเห็น”ฯ ที่นั้นกลิ่นบิณฑบาตตั้งขึ้นเต็มโพรงจมูกของเศรษฐีนั้นฯ เศรษฐีนั้นไม่อาจข่มจิตได้ว่า “ความเสื่อมทรัพย์ใหญ่เกิดแก่เราแล้วหนอ” จึงเกิดวิปฏิสารภายหลังฯ ก็อาการที่เกิดขึ้นแก่เศรษฐีผู้ วิปฏิสาร มาแล้วในพระบาลีนั่นแลโดยนัยว่า “วรเมต ” เป็นต้นฯ ก็เศรษฐีนี้ได้ปลงบุตรน้อยคนหนึ่ง ของน้องชายจากชีวิตเพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ ด้วยเหตุนั้น จึงได้เข้าถึงมหาโรรุวนรกฯ แต่ด้วยการ ถวายบิณฑบาตเศรษฐีนั้นเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ถึง ๗ ครั้ง และบังเกิดในตระกูลเศรษฐี ๗ ครั้ง


๓๘๙ เหมือนกัน และจิตของเศรษฐีนั้นไม่น้อมไปในโภคะมากมาย ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “นาปิ อุฬา เรสุ โภเคสุ จิตฺต นมติ”ฯ [๓๔๓] ชื่อว่าอาการ เพราะอรรถว่า ท าทั่ว คือยังผลที่มีขอบเขต คือที่มีก าหนดโดยสมควร แก่ตน ย่อมให้บังเกิด คือเหตุ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทสหิ อากาเรหีติ ทสหิ การเณหิ”ฯ บทว ่า ปฏิค ฺคาหกโตว ได้แก ่ วิปฏิสารที่มีก าลังกว ่า เมื ่อเกิดขึ้น ย ่อมเกิดขึ้นแต ่ปฏิคาหกเทียว ส่วนวิปฏิสารนอกนี้เกิดแต่ไทยธรรม เกิดแต่บริวารก็มีได้เช่นกันฯ สองบทว่า อุป ฺปชฺชิตุ ยุต ฺต ได้แก่ ควรแก่ความเกิดขึ้นฯ แก่ปาณาติปาตีบุคคลเหล่านั้นนั่นเองฯ ชื่อว่าการบูชาในที่นี้ท่านประสงค์เอา ทาน หาประสงค์เอาการบูชาไฟไม่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ยชต ภวนฺติ เทตุ ภว ”ฯ บทว่า วิสฺสชฺชตุได้แก่ จงสละ ด้วยอ านาจแห่งจาคะที่ปล่อยแล้วฯ บทว่า อพ ฺภนฺตร ได้แก่ ในภายใน อธิบาย ว่า ในสันดานของตนฯ [๓๔๔] ท่านกล่าวค าว่า โสฬสหิ อากาเรหิเพราะท าบริขาร ๑๖ ของยัญที่กล่าวไว้ในหน หลังให้เป็นวัตถุ แต่เพราะในที่นี้ปรารภอนุโมทนาด้วยการเทียบเคียงเป็นต้นฯ ชื่อว่าแสดงแล้ว คือ แสดงผล เหมือนโดยประจักษ์ด้วยอานุภาพเทศนาของตน แต่เพราะกล่าววาระเดียวหามิได้จึงเป็นการ กล่าวซ ้า (อาเมฑิต )ฯ บทว่า ตมต ฺถ ได้แก่ การเชื่อมต่อกรรมและผลของกรรมด้วยสามารถแห่งผลของ ทานตามที่กล่าวแล้วฯ บทว ่า สมาทเปตฺวาความว่า ไม่ท าเพียงฟังเท่านั้น ได้ให้ด้วยความเคารพ เหมือนพระราชาทรงถือเอาประโยชน์นั้นโดยชอบนั่นแล คือทรงกระท าไว้ในจิตรับเอา ทรงท าให้เป็น ประโยชน์อันพระองค์ทรงรับเอาด้วยดี ฉะนั้นฯ เหตุแห่งค ากล่าวซ ้าท่านกล่าวผ่านมาแล้วนั่นแลฯ ค าว่า “วิป ฺปฏิสารวิโนทเนน” นี้ เป็นเพียงตัวอย่างฯ ด้วยว่าแม้โลภะ โทสะ โมหะ อิสสา มัจฉริยะ และมานะเป็นต้น เป็นอุปกิเลสแห่งทานจิต จิตนั้น ชื่อว่าให้อาจหาญขึ้นแล้ว แม้ด้วยการ บรรเทาอุปกิเลสเหล ่านั้น เพราะถึงความเป็นจิตแกล้วกล้าอาจหาญ หรือเพราะเป็นจิตใกล้กว่า เป็นอันถือเอาการบรรเทานั้นแห่งวิปฏิสารนั่นเองฯ เพราะว่า แม้ในทานที่ให้เป็นไปแล้ว ก็เป็นอัน ถือเอาการบรรเทานั้น เพราะการบรรเทานั้นมีอยู่ฯ การตามเพิ่มให้ซึ่งความที่จิตเป็นจิตร่าเริงยินดี ด้วยคุณทั้งหลายที่ปรากฏมีอยู่ตามความเป็นจริง เป็นการยังจิตให้ร่าเริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “สุนฺทร เต ฯเปฯ ถุตึ กต ฺวา กเถสิ”ฯ บทว่า ธม ฺมโต ได้แก่ โดยความจริงฯ จริงอยู่ สัจจะ ชื่อว่า ธรรมะ เพราะไม่ไปปราศจากธรรม ชื่อว่าสมะ เพราะเป็นความประพฤติสงบ และเรียกว่า การณะ เพราะความเป็นสัจจะอันควรแล้วฯ [๓๔๕] ในยัญนั้น แม้การตัดต้นไม้และหญ้าไม่ได้มีแล้ว การฆ่าสัตว์จักมีแต่ที่ไหน เพราะ เหตุนั้น เพื่ออันท าความไม่มีการฆ่าสัตว์นั่นแลให้มั่นคงและเพื่อแสดงความที่สัตว์ไม่ถูกประทุษร้ายโดย การถือเอาผิดโดยประการทั้งปวง แม้กล่าวแล้วในพระบาลีว่า “เนว คาโว หญฺญึสุ” เป็นต้น ก็กล่าวว่า “น รุกฺข ฉิชฺชึสุ” เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กึ ปน คาโว”เป็นต้นฯ บทว่า พริหิสต ฺถาย ได้แก่ เพื่ออันก าหนดฯ บทว่า วนมาลาสง ฺเขเปน ได้แก่ โดยนิยามแห่งมาลาที่ร้อยด้วยดอกไม้ในป่าฯ สองบทว่า ภูมิย วา ปต ฺถรนฺติได้แก่ เมื่อแวดล้อมภูมิที่บูชา ย่อมลาดในที่นั้นฯ บทว่า อนฺโตเคหทาสโย


๓๙๐ ได้แก่ ทาสผู้เกิดในภายใน ทาสที่เจ้านายซื้อมาด้วยทรัพย์ ทาสที่น ามาเป็นเชลย และผู้ที่เป็นทาสเองฯ บทว่า ปุพ ฺพเมวได้แก่ จะกล่าวไปไยถึงการท างานจ้างฯ สองบทว่า คเหต ฺวา กโรนฺติได้แก่ ถือเอาท า ทุกวัน ๆฯ บทว่า ตชฺชิตา ได้แก่ คุกคามแล้วฯ บทว่า ปิยสมุทาจาเรเนวได้แก่ ด้วยค าที่ชนปรารถนา นั่นเองฯ จ-ศัพท์ ในค าว่า ผาณิเตน เจว นี้ เป็นอวุตตสมุจจยัตถะด้วย จ-ศัพท์นั้น พึงทราบว่า รวมเอา ขาทนียะและโภชนียะเป็นต้น และผ้า มาลา ของหอม เครื่องไล้ทา ยาน และที่นอนเป็นต้น อันประณีต และประณีต อันมีประการต่าง ๆ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปณีเตหิ สป ฺปิเตลาทิสม ฺมิสฺเสเหว” เป็นต้นฯ [๓๔๖] ชื่อว่าสปติ เพราะอรรถว่า ผู้มีทรัพย์ เพราะเป็นใหญ่แห่งทรัพย์เป็นเจ้าของแห่ง ทรัพย์คือผู้มีทรัพย์ฯ ชื่อว่าสาปเตยยะ (เสบียง) เพราะเกื้อกูลแก่ผู้มีทรัพย์นั้น เหตุน ามาซึ่งประโยชน์ เกื้อกูลในทิฏฐธรรมและสัมปรายิกภพ สาปเตยยะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าธนะ (ทรัพย์)ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ปหูต สาปเตย ฺย อาทายาติ พห ุ ธน คเหต ฺวา”ฯ บทว่า คามภาเคน ได้แก่ ด้วยสามารถแห่ง ส่วนที่ก าหนด หรือว่าโดยส่วนที่พึงระบุเอาในหมู่บ้านฯ [๓๔๗] ท่านกล่าวโภชนะคืออาหารเช้าโดยมุ่งถึงข้าวยาคูว่า “ยาคุ ปิวิต ฺวา”ฯ สองบทว่า ปุรต ฺถิเมน ยญ ฺญวาฏสฺส ความว่า ในส่วนแห่งทิศตะวันออก ในที่ไม่ไกลจากทานศาลาของพระราชา เพราะว่าบริโภคอาหารเช้าในที่นั้นแล้ว มีรูปยังไม่เหน็ดเหนื่อยนั่นแลเข้าไปยังศาลาในเวลาเย็นฯ แม้ใน ค าว่า “ทกฺขิเณน ยญ ฺญวาฏสฺส” เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแลฯ [๓๔๘] บทว่า ปริหาเรน ได้แก่ โดยหลีกเลี่ยงความไม่เคารพโดยให้พระผู้มีพระภาคเป็นครูฯ พรรณนานิจจทานและอนุกุลยัญ [๓๔๙] สองบทว่า อุฏ ฺฐฃาย สมุฏ ฺฐฃายได้แก่ ท าความขยันหมั่นเพียรโดยเคารพในทานฯ บทว่า อป ฺปสม ฺภารตโร ได้แก่ มีสัมภาระน้อยเกินไปฯชื่อว่าสมารัมภะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุปรารภยัญของ บุคคล ได้แก่การเบียดเบียนสัตว์ที่เป็นไปด้วยสามารถสัมภาระและสัมภรณะฯ ส่วนบทว่า อป ฺปฏ ฺฐฃตโร ความว่า มีกิจน้อยอย่างยิ่งฯ ชื่อว่ามหัปผลตระเพราะอรรถว่า เป็นแดนให้ผลเช่นกันด้วยความดียิ่งทั้ง รู้พร้อมกันว่าเป็นวิบากฯ ชื่อว่ามหานิสังสตระเพราะอรรถว่า เป็นแดนมอบให้ซึ่งผลมีวิบากอันไหล ออกเป็นต้นด้วยความดียิ่งทั้งรู้พร้อมกันว่าเกิดขึ้นฯ บทว่า ธุวทานานิได้แก่ ทานที่พึงถวายท าให้มั่นคง คือถาวรฯ บทว ่า อน ุกุลยญฺญานิได้แก ่ ทานที่พึงถวายเทียบเคียงตามตระกูล คือ ตามล าดับแห่ง ตระกูล ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อม ฺหาก ” เป็นต้นฯ บทว่า นิพท ฺธทานานิได้แก่ ทานที่ระบุคือ ก าหนดให้เป็นไปด้วยสามารถแห่งประเพณีฯ ชื่อว่าทันตมยสลากคือสลากที่ให้เป็นไปด้วยงาช้าง ซึ่งเป็นที่แห่งชื่อที่เป็นเครื่องหมายของ ทายกฯ บทว่า รญ ฺโญ ได้แก่ แห่งพระเจ้าเสตวาหนะฯ


๓๙๑ ด้วย อาทิ-ศัพท์ว่า อาทีนิสงเคราะห์ค ามีเป็นต้นอย่างนี้ว่า “ท่านโฉบลงรับเอา เหมือน เหยี่ยวโฉบเอาชิ้นเนื้อ เพราะเหตุไรฯ ด้วยทักษิณาที่ประกอบด้วยองค์ ๖ คือ ส าหรับทายกมีองค์ ๓ คือ ความถึงพร้อมด้วยปุพพเจตนา มุญจเจตนา และอปรเจตนา ส าหรับทักขิไณยบุคคล มีองค์ ๓ คือ ความปฏิบัติเพื่อความเป็นผู้ปราศจากราคะ ความเป็นผู้ปราศจากโทสะ และความเป็นผู้ปราศจากโม หะฯ บุญนั่นเอง ชื่อว่าป ุญญาภิสันทะ (การไหลออกแห ่งบุญ) เพราะไหลออก คือบ่าลงเป็นไปข้างนี้ และข้างนี้ เหมือนแม่น ้าใหญ่ และเหมือนห้วงน ้าใหญ่ ด้วยสามารถแห่งเจตนาที่เกิดขึ้นฯ [๓๕๐] ที่สุดแห ่งกิจ ชื่อว ่าย ่อมไม ่มีเพราะทายกถึงความขวนขวายทุกวัน ๆ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เอเกน”เป็นต้นฯ ที่สุดแห ่งกิจ ชื่อว ่าย ่อมไม ่มีเพราะอาวาสตามที่ปรารภพึงให้ถึง พร้อมโดยรอบตามกาลแม้เล็กน้อย ด้วยเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว ่า “ปณ ฺณสาล ”เป็นต้นฯ บทว่า สุต ฺตนฺตปริยาเยน ได้แก่ ตามนัยแห่งบาลีในพระสูตรฯ สองบทว่า นว อานิส สาได้แก่ ความเกิดขึ้น ๙ อย่าง มีป้องกันความหนาวเป็นต้น มีความยินดีในที่หลีกเร้นเป็นที่สุดฯ ก็ความเกิดขึ้นทั้ง ๙ นั่น ท่าน กล่าวเพราะมีประมาณน้อยฯ เพราะเหตุที่ชนชื่อเมื่อถวายอาวาส เป็นอันถวายปัจจัยแม้ทั้งหมดเลยทีเดียวฯ เป็นเหมือน ได้น าก าลังมาใส่ในกายของทักขิไณยบุคคลผู้เที่ยวบิณฑบาตทั่ว ๒-๓ หมู่บ้าน แม้ไม่ได้อะไรๆ ออกมา เข้าไปยังอารามที ่ถึงพร้อมด้วยร่มเงาและน ้า สรงน ้าแล้วพักเอนกายสักครู ่แล้วลุกนั ่งฯ และเมื่อ ทักขิไณยบุคคลเที่ยวไปข้างนอกอย่างนี้ วัณณธาตุ (ธาตสี) ในกายย่อมหมองเพราะลมและแดด เข้าพัก อาศัยปิดประตูจ าวัตรสักครู่ วิสภาคสันตติก็สงบ สภาคสันตติตั้งขึ้น วัณณธาตุเป็นเหมือนน ามาใส่ไว้ใน กายฯ อนึ่ง หนามย่อมทิ่มที่เท้าของทักขิไณยบุคคลผู้เที่ยวไปอยู่ในภายนอก ตอก็ต า อันตรายจาก ตะขาบเป็นต้นย ่อมเกิดขึ้น และโจรภัยย ่อมเกิดขึ้น เมื ่อเข้าไปยังที ่พักปิดประตูจ าวัตร ก็จะไม่มี อันตรายทั้งหมดนั้น เมื่อสาธยาย ก็เกิดความสุขอันเกิดขึ้นแต่ปีติในธรรม และเมื่อมนสิการกรรมฐานก็ จะเกิดความสงบสุข เพราะไม่มีความพลุกพล่านไปในภายนอกฯ อนึ่ง ในกายของทักขิไณยบุคคลผู้ เที่ยวไปในภายนอก เหงื่อย่อมไหลออก นัยน์ตาย่อมพร่ามัว ในเวลาเข้าไปยังเสนาสนะ เตียงและตั่ง เป็นต้นไม่ปรากฏ แต่เมื่อนั่งพักสักครู่ ก็เป็นเหมือนน าประสาทตามาใส่ไว้ประตูหน้าต่าง เตียงและตั่ง ปรากฏชัดฯ พวกมนุษย์เห็นท่านซึ่งอยู่ในอาวาสนั่น ก็บ ารุงด้วยปัจจัย ๔ โดยเคารพฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ชื่อว่าอันบุคคลเมื่อถวายอาวาสก็เป็นอันถวายปัจจัยแม้ทั้งหมดเลยทีเดียว” เพราะ ฉะนั้น พึงทราบว่า เป็นอานิสงส์แม้ทั้งหมดตามที่กล่าวนั่นฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อปฺปมตฺต ตาย เจเต วุตฺตา”ฯ บทว่า สีต ได้แก่ ความหนาวอันเกิดขึ้นในภายในด้วยสามารถแห่งธาตุก าเริบ ในภายนอก ด้วยสามารถแห่งความเปลี่ยนฤดูกาลฯ บทว่า อุณ ฺห ได้แก่ ความร้อนของไฟ ไฟนั้นพึงทราบว่าเกิดมีใน ไฟป่าเป็นต้นฯ บทว่า ปฏิหนฺติความว่า ป้องกัน คือท าโดยประการที่จะไม่มีความเบียดเบียนกายและ จิต ด้วยอ านาจแห่งความหนาวและความร้อนทั้งสองนั้นฯ เพราะว่าเมื่อร่างกายถูกความหนาวและ ความร้อนกระทบเข้า ภิกษุก็มีจิตซัดส่ายไม่สามารถบ าเพ็ญเพียรโดยแยบคายได้ฯ บทว่า วาฬมิคานิ


๓๙๒ ได้แก่เนื้อร้ายมีสีหะและพยัคฆ์เป็นต้นฯ ก็เมื่อภิกษุแม้เข้าไปยังเสนาสนะป่าที่คุ้มกันแล้ว ปิดประตูนั่ง ก็จะไม่มีอันตรายเหล่านั้นฯ บทว่า สรีสเป ได้แก่ ทีฆชาติเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เสือกคลานไปคืองูเป็นต้นฯ ค าว่า มกเส นั่น เป็นเพียงตัวอย่างฯ พึงทราบว่า รวมเอาเหลือบเป็นต้น แม้ในทีฆชาติเหล่านั้นฯ บทว่า สิสิเร ได้แก่ สัมผัสอันเกิดแต่ความหนาวเย็นที่เกิดขึ้นด้วยอ านาจแห่งฤดูหนาว และด้วยอ านาจแห่งฝน ตกตลอด ๗ วัน เป็นต้นฯ บทว่า วุฏ ฺฐฃิโย มีโยชนาว่า ย่อมกระทบหยาดฝนซึ่งเกิดขึ้นตามฤดูกาลฯ สองบทว่า วาตาตโป โฆโร ได้แก่ ลมต่างโดยลมเจือฝุ่นและลมไม่มีฝุ่นละอองเป็นต้น อัน ร้ายแรงเพราะเป็นไปโดยถอนรากของต้นไม้และกอไม้เป็นต้นขึ้นเป็นอาทิ และแสงแดดอันร้อน เพราะ เกิดในหน้าร้อนแล้งแห้งฯ บทว่า ปฏิหญ ฺญติได้แก่ ย่อมป้องกันฯ บทว่า เลณต ฺถ ได้แก่ เพื่อความยินดี ในการหลีกเร้นหักห้ามจิตจากอารมณ์ต่าง ๆฯ บทว ่า ส ุขตฺถ ได้แก ่ เพื ่ออันอยู่ส าราญเพราะไม่มี อันตรายที่จะกล่าวฯ บทว่า ฌายิตุ ได้แก่ เพื่ออันเข้าไปผูกจิตไว้ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง บรรดา อารมณ์ ๓๘ แล้ว เพ่งดูฯ บทว่า วิปสฺสิตุ ได้แก่ เพื่ออันพิจารณาสังขารโดยเป็นอนิจจะเป็นต้นฯ บทว่า วิหาเร ได้แก่ ที่พักอาศัยฯ บทว่า การเยได้แก่ พึงให้กระท าฯ บทว่า รม ฺเม ได้แก่ น่ารื่นรมย์ใจ คือมีความสุขสบายในการอยู่อาศัยฯ สองบทว่า วาสเยต ฺถ พห ุสฺสเต ได้แก่ ก็ครั้นให้ท า แล้ว พึงให้ผู้มีศีลเป็นพหูสูต มีกัลยาณธรรมอยู่ในวิหารนี้ ก็เมื่อให้ผู้มีศีลเหล่านั้นอยู่ ท่านผู้เป็นพหูสูต เหล่านั้นย่อมไม่ล าบากด้วยปัจจัยฉันใด พึงถวายข้าว น ้า และผ้า และเสนาสนะในท ่านผู้ปฏิบัติตรงผู้ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย มีใจเลื่อมใสด้วยความเชื่อกรรมและผลของกรรม และเชื่อคุณของพระรัตนตรัย บัดนี้ เพื่อแสดงความที่คฤหัสถ์และบรรพชิตต่างก็เป็นผู้มีอุปการะต่อกันและกัน ท่าน จึงกล่าวคาถาว่า “เต ตสฺส”ฯ ในบทเหล่านั้น บทว่า เต ได้แก่ ผู้มีสุตะมากฯ บทว่า ตสฺส ได้แก่ ผู้เป็น อุบาสกฯ สองบทว่า ธม ฺม เทเสนฺติได้แก่ แสดงพระสัทธรรมอันบรรเทาความทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นฯค า ว่า ย โส ธม ฺม อิธญ ฺญาย ความว่า อุบาสกนั้นรู้พระสัทธรรมใดด้วยการปฏิบัติโดยชอบในศาสนานี้ เป็น ผู้ไม ่มีอาสวะด้วยการบรรลุมรรคอันเลิศ ปรินิพพาน คือเป็นผู้เย็นด้วยความสงบแห่งไฟ ๑๑ กองฯ อานิสงส์ ๑๗ ข้ออย่างนี้ คือ อานิสงส์ ๑๓ มีการป้องกันความหนาวเป็นต้น มีวิปัสสนา เป็นที่สุด การได้ข้าวเป็นต้น ๑ การฟังธรรม ๑ การหยั่งรู้พระธรรม ๑ ปรินิพพาน ๑ฯ [๓๕๑] สองบทว่า อต ฺตโน สนฺตกา ได้แก่ อันเนื่องในตนฯ โยชนาว่า ไม่อาจอยู่เพื่ออันข่ม โลภะ อันสละได้โดยยากในส านักของสงฆ์ หรือของคณะฯ บทว่า ตต ฺถ ได้แก่ สรณะตามที่รับแล้วฯ อธิบายว่า ความเป็นกิจที่ต้องท าบ ่อย ๆ ย ่อมไม ่มีแก่ผู้มีชาติแห่งวิญญูชนฯ ท่านกล่าวค าว่า “ชีวิตปริจ ฺจาคมย ปุญ ฺญ ”ด้วยสามารถแห่งสรณะอันตนรับแล้วท าให้มั่นคงกว่าว่า “แม้ถ้าหากคนบางคนพึง ปลงลงจากชีวิตด้วยศัสตราอันคมโดยกล่าวว่า “ถ้าท่านไม่ท าลายสรณะตามที่ท่านรับแล้วไซร้ เมื่อเป็น อย่างนี้เราจะฆ่าท่านให้ตาย”แม้ถึงอย่างนั้น ยังมุ่งมั่นว่า “เราจะไม่กล่าวพระพุทธว่า ไม่ใช่พระพุทธ จะไม่กล่าวพระธรรมว่า ไม่ใช่พระธรรม จะไม่กล่าวพระสงฆ์ว่า ไม่ใช่พระสงฆ์”ฯ [๓๕๒] พึงทราบว่าศีลมีความต้องการน้อยกว่าและมีการเริ่มต้นน้อยกว่า กว่าสรณคมน์ว่า อันผู้เข้าถึงสรณะต้องท าการบูชาพระรัตนตรัยด้วยความเคารพทางกายวาจาใจ และต้องหลีกเลี่ยง


๓๙๓ ความเศร้าหมองในการบูชานั้น ส่วนสิกขาบทเป็นเพียงการสมาทานและเป็นเพียงการเว้นจากวัตถุที่ ประจวบเข้าฯและพึงทราบว่าศีลนั้นมีผลมากและมีอานิสงส์มากกว่าการวางอาชญาลงโดยการให้ชีวิต แก่สัตว์ทั้งปวงเป็นต้นและกว่าการอธิษฐานคุณ (ความตั้งมั่นแห่งคุณ) ที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ทั้งสิ้นฯ อนึ่ง บาปธรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น เรียกว่า เวร เพราะเป็นเหตุแห่งเวร ตามนัยที่จะ กล่าว ชื่อว่าเวรมณีเพราะอรรถว่า ขับไล่เวรนั้น คือเป็นเหมือนคุกคามอยู่ว่า “เมื่อข้าพเจ้าด ารงอยู่ใน ที่นี้ เจ้าจะมาได้อย่างไร” น าออกไป อีกอย่างหนึ่ง เมื่อควรกล่าวว่า “วิรมณี” เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ เว้นจากบาปธรรมนั้น กลับกล่าวว่า “เวรมณี”เพราะท า อิ-อักษร ให้เป็น เอ-อักษร ตามนัยแห่งนิรุตติ ศาสตร์ฯการเว้นจากวัตถุที่พึงก้าวล่วงตามที่ปรากฏแล้วอันถึงพร้อมแล้วแก่ผู้ไม่ได้สมาทานศีล ชื่อว่า สัมปัตตวิรัติฯวิรัติที่เกิดขึ้นด้วยอ านาจแห่งการสมาทาน ชื่อว่าสมาทานวิรัติฯ อริยมรรค ท่านเรียกว่า เสตุฯ วิรัติอันนับเนื่องในอริยมรรคที่ชื่อว่าเสตุนั้น อันก าจัดบาปธรรมด้วยอ านาจแห่งความถอนขึ้น อย่างเด็ดขาด ชื่อว่าเสตุฆาตวิรัติฯเพื่ออันแสดงวิรัติทั้ง ๓ โดยย่อในกาลนี้ ท่านจึงกล่าวค าว่า “ตต ฺถ” เป็นต้นฯ บทว่า ปริหรติได้แก่ ย่อมเว้นด้วยสามารถแห่งการไม่ก้าวล่วงฯ ในค าว่า น หนามินี้ อิติ- ศัพท์ เป็นอาทยัตถะ ด้วย อิติ-ศัพท์นั้น รวมเอาเนื้อความว่า “อทินฺน นาทิยามิ” เป็นต้น หรือว่ารวม เอาด้วย วา-ศัพท์ก็ได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สิกฺขาปทานิ คณ ฺหนฺตสฺส”ฯ บทว่า มค ฺคสม ฺปยุต ฺตา ได้แก่ อันสัมปยุตด้วยมรรคที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นฯ บัดนี้ เพื่ออัน แสดงการจ าแนกวิรัติเหล่านั้นโดยอารมณ์ ท่านจึงกล่าวว่า “ตต ฺถ” เป็นต้นฯ สองบทว่า ปุริมา เท ฺว ได้แก่ สัมปัตตวิรัติกับสมาทานวิรัติฯ บทว่า ปจ ฺฉิมา ได้แก่ เสตุฆาตวิรัติฯ สิกขาบทแม้ทั้งหมดชื่อว ่า ขาดแล้วเพราะสมาทานรวมกันฯ สิกขาบทนั้นเท ่านั้นขาดเพราะสมาทานแยก ๆ กันฯ ก็ค านั้นท่าน กล่าวโดยมุ่งถึงคฤหัสถ์ฯ ชื่อว่าความขาดย ่อมไม ่มีเพราะมีสภาวะไม่ก าเริบ เพราะถอนขาดซึ่งธรรมที่ เป็นข้าศึก ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ภวนฺตเรปิ”ฯ บทว่า โยนิสิท ฺธ ได้แก่ ความที่สุราไม่เข้าไปใน ปาก น ้านมเท่านั้นเข้าไปในปากนี้ส าเร็จโดยชาติ เหมือนความที่มนุษย์ยาวไปด้านบนและสัตว์เดีย รัจฉานยาวไปด้านขวางนั่นแลฯ ความส าเร็จตามธรรมดา คือตามสภาวะนั่นแล เหมือนศีลของมารดา ของพระโพธิสัตว์ในเมื่อพระโพธิสัตว์ยังอยู่ในครรภ์ ฉะนั้น ชื่อว่าธัมมตาสิทธะ หรือว่าความส าเร็จตาม ธรรมดาของมรรค คือโดยอานุภาพของอริยมรรค ชื่อว่าธัมมตาสิทธะฯ ชื่อว ่าการท าความเห็นให้ตรง (ทิฏฐฃุชุกรรม) เป็นกรรมหนัก คือเป็นกรรมที่ท าได้โดยยาก เพราะฉะนั้น สรณคมน์จึงมีความต้องการ มากกว่าการสมาทานสิกขาบทนั่นเอง อธิบายว่า หามีความต้องการน้อยกว่าไม่ฯ ค าว่า ยถา ตถา วา คณ ฺหนฺตสฺสาปิได้แก ่ แม้แก่ผู้สมาทานอยู ่ไม่ท าความเอื้อเฟื้อและความเคารพ (ความเคารพโดย เอื้อเฟื้อ)ฯ ค าว่า สาธุก คณ ฺหนฺตสฺสาปิได้แก่ แม้แก่ผู้สมาทานอยู่ซึ่งศีลทั้งหลายโดยเคารพ อุตสาหะ อันเขาไม่พึงท าโดยคูณด้วยสอง หรือว่า โดยคูณด้วยสามฯ ชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่า ความที่ศีลเป็นทานเหตุเป็นการให้อภัย หรือว่า เพราะเป็นเหตุ ดูแล คือรักษาหมู่สัตว์โดยไม่มีส่วนเหลือ ได้แก่ศีลฯ ชื่อว่าอัคคัญญะ เพราะรู้กันว่า “เลิศ”ฯ ชื่อว่า


๓๙๔ รัตตัญญูเพราะรู้กันโดยความเป็นราตรีนานฯ ชื่อว่าวังสัญญะ เพราะรู้กันว่า “วงศ์ของอริยะ คือของ คนดี”ฯ บรรดาค ามีในก ่อนในค าว่า โปราณานิเป็นต้น ค าเหล่านี้ ชื ่อว ่าเป็นค าโบราณฯ ชื ่อว่า อสังกิณณะเพราะอรรถว่า ไม ่เกลื ่อนกล ่น คือไม ่ปะปน ได้แก ่ไม่ถูกทิ้งกับคนดีทั้งหลาย แม้โดย ประการไรๆ โดยประการทั้งปวงฯ ก็นัยนี้แห่งค าเหล่านั้นในอดีต เป็นฉันใด ในปัจจุบันและในอนาคต ก็ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อส กิณ ฺณปุพ ฺพานิ น สง ฺกิยนฺติ น สง ฺกิยิสฺสนฺติ”ฯ เพราะเหตุ นั้นนั่นเอง จึงชื่อว่าอัปปฏิกุฏฐะคือไม่ถูกห้ามฯ จริงอยู่ แม้ในกาลไหน สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้ง ก็ไม่ อนุญาตบาปธรรมมีความเบียดเบียนเป็นต้นฯค าว่า อปริมาณาน สต ฺตาน อภย เทติความว่า ย่อมให้ ความไม่มีภัย แก่หมู่สัตว์แม้ทั้งสิ้น เพราะวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงฯ เพราะว่า ภัยแต่อริยสาวกย่อมไม่ มีแก่สัตว์ไร ๆฯ บทว่า อเวร ได้แก่ ซึ่งความไม่มีเวรฯ บทว่า อพ ฺยาปชฺฌ ได้แก่ ซึ่งความเป็นผู้มีทุกข์ ออกแล้วฯ ก็ศีล ๕ เป็นไปในกาลทั้งปวง และไม่เกี่ยวเนื่องด้วยวิมุตติโดยส่วนเดียว ส่วนสรณคมน์เป็น เหตุแห่งพุทธอุบัติ และเป็นแดนเกิดแห่งวิมุตติโดยส่วนเดียว มิใช่หรือ ในศีล ๕ และสรณคมน์นั้น ความที่ศีล ๕ มีผลมากกว่า กว่าสรณคมน์จักมีอย่างไร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กิญ ฺจาปิ”เป็น ต้นฯ บทว่า เชฏ ฺฐฃก ได้แก่ สูงสุดฯ ด้วยค าว่า “สรณคมเนเยว ปติฏฺฐฃาย” นี้ท่านกล่าวความที่ศีลนั้น ปรุงพร้อมด้วยสรณคมน์ฯ [๓๕๓] บทว่า อีทิสเมวได้แก่ เป็นฝ่ายสังกิเลสอย่างนี้นั่นเองฯ คุณทั้งหลายมีเป็นต้นอย่าง นี้ คือ สรณคมน์ สีลสัมปทา ความเป็นผู้มีทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ชื่อว่าคุณที่กล่าวแล้ว ในหนหลัง ในค าว่า เหฏ ฺฐฃา วุต ฺเตหิ คุเณหินี้ฯ โยชนาว่า เมื่อให้ปฐมฌานเกิด ชื่อว่าย่อมไม่ล าบากฯ บทว่า ตานิได้แก่ ปฐมฌานเป็นต้นฯ อุทเทสนี้เป็นอุทเทสสูงสุดของค าว่า “ปฐฃมชฺฌาน ” เพราะเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เอก กป ฺปํ”อธิบายว่า ๑ มหากัปฯ ก็ปฐมฌานยังต ่า และประมาณกลางให้อายุ เป็นส่วนที่ ๓ แห่งอสังไขยกัป และให้อายุครึ่งกัปป์ฯ พึงทราบเนื้อความตามนัยนี้ แม้ในค าว่า “ทุติย อฏ ฺฐฃกป ฺเป”เป็นต้น และพึงถือเอาด้วยอ านาจมหากัปนั่นเองฯ อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านประสงค์ เอาฌานที่ประณีตเท่านั้นไว้ในที่นี้ เพราะเทศนามีการแสดงความที่ฌานมีผลมากกว่าเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้น จึงกล่าวค าว่า “ปฐฃมชฺฌาน เอก กป ฺปํ” เป็นต้นฯ บทว่า ตเทว ได้แก่ จตุตถฌานนั่นเองฯ ถ้า เมื่อเป็นอย่างนี้ความเป็นอรูปจะมีได้อย่างไร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อากาสานญ ฺจายตนาทิ” เป็นต้นฯ วิปัสสนาอันเป็นไปอยู่ด้วยสามารถแห่งการก าจัดปฏิปักขธรรมมีนิจจสัญญาเป็นต้น โดย ชอบนั่นเทียว ประคองพร้อมอยู่ซึ่งโพธิปักขิยธรรมอันมีในส่วนเบื้องต้นนั่นเองย่อมน ามาพร้อมซึ่งปีติ และโสมนัส มิใช ่น้อยแก ่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว ่า “วิปสฺสนา ฯเปฯ อภาวา”ฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ขณะใด ภิกษุพิจารณาเห็นความเกิด และความเสื่อมของขันธ์ทั้งหลาย


๓๙๕ ขณะนั้น เธอย่อมได้ปีติปราโมทย์ ซึ่งเป็นอมตธรรมส าหรับผู้รู้ทั้งหลาย” ๕๕๑ฯ เพราะเหตุที่เทศนานี้ทรงให้เป็นไปด้วยสามารถแห่งโยคาวจรผู้ยังญาณเหล่านี้ให้บังเกิด โดยล าดับนี้ ฉะนั้น จึงกล ่าวกระท าญาณขั้นต ่าให้เป็นที ่พึ ่งของญาณสูงๆ ว่า “วิปสฺสนาญาเณ ปติฏ ฺฐฃาย นิพ ฺพต ฺเตนฺโต”ฯ ชื่อว่าการเนรมิตรูปที่เสมอกัน เป็นกิจไม่ทั่วไปกับฤทธิ์วิธีอื่น ๆ แห่งมโนมยิ ทธิ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อตฺตโน ฯเปฯ มหปฺผลา”ฯ บทว่า วิกุพ ฺพนทสฺสนสมต ฺถตายได้แก่ การท ารูปมีอย่างต่างๆ มีช้างและม้าเป็นต้น ชื่อว่าวิกุพพนะฯ ด้วยความเป็นผู้สามารถแสดงวิกุพพนะ นั้นฯ ส ่วนแห ่งขันธ์ที ่ปรารถนาแล้วและปรารถนาแล้วในชาติก ่อน ชื ่อว่าที่ที ่ปรารถนาแล้วและ ปรารถนาแล้วฯ บทว่า สมาเปนฺโต ได้แก่ ให้จบลงรอบอยู่ฯ พรรณนากถาว ่าด้วยการประกาศตนเป็นอุบาสกของกูฏทันตพราหมณ์ [๓๕๔-๘] ค าว่า สพ ฺเพ เต ปาณโยได้แก่สัตว์มีลมปราณทั้งปวงที่กล่าวโดยนัยว่า “สตฺต จ อสุภสตานิ (และโคผู้ ๗๐๐)” เป็นต้นฯ บทว่า อากุลภาโว ความว่า ความคั่งค้างได้เกิดขึ้นในจิตของ พราหมณ์ผู้ตั้งไว้ซึ่งความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลายด ารงอยู่ เพราะได้ฟังธรรมในส านักของพระผู้มีพระภาค ว่า “เราได้ให้ผูกมัดเพื่อให้สัตว์ตายก่อนชื่ออย่างไร”ฯ บทว่า สุต ฺวาได้แก่ ฟังแล้วว่า “ปล่อยจากเชือก ผูกแล้ว”ฯ ความเป็นผู้มีจิตไม่มีโรค คือความเป็นผู้มีจิตมีโรคหามิได้ย่อมมีด้วยการไปปราศจากกาม ฉันทะ ความเป็นผู้มีจิตอ่อนโยน คือความเป็นผู้มีจิตไม่กระด้าง ย่อมมีด้วยสามารถแห่งเมตตาโดยการ ปราศจากพยาบาท ความเป็นผู้มีจิตปราศจากนิวรณ์ คือผู้มีจิตไม่ถูกปิดกั้นด้วยนิวรณ์เหล่านั้น ย่อมมี ด้วยการปราศจากความฟุ้งซ่าน โดยการละอุทธัจจกุกกุจจะ ความเป็นผู้มีจิตฟูขึ้นในเบื้องต้น คือความ เป็นผู้มีจิตไม่หดหู่ ย่อมมีด้วยสามารถแห่งการประคองจิตไว้ โดยการไปปราศจากถีนมิทธะ ความเป็น ผู้มีจิตเลื่อมใส ย่อมมีด้วยความเป็นผู้มีจิตน้อมไปในสัมมาปฏิบัติ โดยการไปปราศจากวิจิกิจฉา เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กลฺลจิต ฺตนฺติอาทิ อนุปุพ ฺพิกถานุภาเวน วิกฺขม ฺภิตนีวรณต สนฺธาย วุต ฺต ”ฯ ก็ บรรดาค าเหล่านี้ ค าใดไม่ได้แยกความหมายไว้ ค านั้นเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้นฯ ลีนัตถปกาสนาในอรรถกถากูฏทันตสูตรจบฯ ๖. มหาลิสูตร พรรณนาพราหมณทูตวัตถุ [๓๕๙]ค าว่า ปุนป ฺปุน วิสาลีภาวูปคมนโตความว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อน เจ้าลิจฉวีทั้ง หลาย แวดล้อมพระนครระหว่างคาวุตหนึ่งระหว่างคาวุตหนึ่งถึง ๓ ครั้ง เพราะไม่เพียงพอต่อที่ตั้งที่ประทับ ๕๕๑ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๓๗๔/๑๔๙.


๓๙๖ อาราม อุทยาน และสระโบกขรุณีเป็นต้น เพื่อพระราชกุมารของเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ผู้ประสูติ ๑๖ ครั้ง ทีละ ๒ ทีละ ๒ โดยเป็นพระโอรสและพระธิดา พร้อมทั้งบริวารต่างก็ทรงเจริญเติบโตตามล าดับนั่นเอง ด้วยเหตุนั้น นครนั้นจึงเกิดมีชื่อว่า “เวสาลี (ไพสาลี)” เพราะถึงความเป็นนครที่ขยายให้กว้างขวาง บ่อยครั้ง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปุนป ฺปุน วิสาลีภาวูปคมนโต เวสาลีติ ลท ฺธนามเก นคเร”ฯ บท ว่า สย ชาต ได้แก่ เกิดเองเท่านั้น คือไม่ได้ปลูกฯ บทว่า มหนฺตภาเวน ได้แก่ ความที่ต้นไม้กอไม้ และ โอกาสที่ตั้งใหญ่ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “หิมวนฺเตน สท ฺธึ เอกาพท ฺธ ห ุต ฺวา”ฯ บทว่า กูฏา ค ารสาลาสงฺเขเปน ได้แก ่ ด้วยท านองแห่งกูฏาคารศาลาโดยมุงบังรายรอบด้วยหงส์ฯ พระราชา ทั้งหลายชื่อว่าโกสลกะ เพราะอรรถว่า ประสูติ หรือทรงมีในแคว้นโกศล หรือเพราะมีแคว้นเป็นที่ ประทับฯ ชื่อว่ามาคธกะก็พึงทราบอย่างนั้นฯ บุคคลเป็นผู้มีชาติก าเนิดใหญ่ในเพราะไม่ท าการกระท า กิจใด กิจชื่อว่ากรณียะ เพราะอรรถว่า ควรซึ่งการกระท านั้น ด้วยกรณียะนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “อวสฺส กต ฺตพ ฺพกม ฺเมน”ฯ กรณียะนั้น เรียกว ่ากิจเพราะต้องท าในเมื่อมีความพรั่งพร้อมอยู่ฯ [๓๖๐] ชื่อว ่าโดยการเที่ยวไปแห ่งอารมณ์ต ่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งมานัตตสัญญาอันควร แก่การอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ปฏิเสธอารมณ์ที่มีอยู่นั่นเทียวฯ บทวา ปฏิกฺกม ฺม ได้แก่ ห้าม ไม่ให้จิตเกิดขึ้นอย่างนั้นฯ บทว่า สลฺลีโน ได้แก่ หลีกเร้นโดยมีอารมณ์ตั้งมั่นเป็นหนึ่งด้วยฌานสมาบัติฯ พรรณนาโอฏฐัทธลิจฉวีวัตถุ [๓๖๑] ได้ยินว่า เจ้าลัจฉวีพระองค์นั้น ทรงมีริมฝีปากบน ปรากฏเหมือนมีครึ่งหนึ่งถูกผ่า น าออกไปขวาง ปกปิดพระทนต์ ๔ ซี่ และเขี้ยว ๒ เขี้ยวไม่มิด ด้วยเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงเรียกพระ องค์ว่า “โอฏฐัทธะ”ฯ ได้ยินว่า เจ้าลัจฉวีพระองค์นี้ทรงเป็นอุบาสกผู้มีศรัทธา เป็นทายกเป็นทานบดี ทรงเป็นพุทธมามกะ ธรรมมามกะ สังฆมามกะ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปุเรภต ฺต ” เป็นต้นฯ [๓๖๒] สองบทว่า สาสเน ยุต ฺตปยุต ฺโตได้แก่ ประกอบตามภาวนาฯ ธรรมเทศนาที่ทรงให้ เป็นไปอยู่ตามสมควรแก่อัธยาศัยของบริษัทนั้นในเมื่อมีความที่บริษัทหมู่ใหญ่ของ พระผู้มีพระภาค แม้ผู้ทรงประพฤติเสมอด้วยสีหะในที ่ทุกสถานที่ย่อมมีความพิเศษ เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล่าวว่า “มหนฺเตน อุสฺสาเหน ธม ฺม เทเสสฺสติ”ฯ เพื ่ออันกล ่าวว่า “วิสฺสาสิโก”แล้วจึงอธิบายความที ่เจ้าลิจฉวีพระองค์นั้นทรงมีความ คุ้นเคยนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อยญ ฺหิ” เป็นต้นฯ ไม่พึงกล่าวความที่พระเถระผู้ขีณาสพเป็นผู้เกียจคร้าน ว่า “อปฺปหีโน (ละไม่ได้)”แต่ท่านกล่าวว่า “อีสก อป ฺปหีโน วิย โหติ”เพราะถือเอาการอ้างถึงวาสนาฯ เพราะว่าสาวกทั้งหลายละกิเลสพร้อมวาสนายังไม่ได้ฯ [๓๖๓] พระผู้มีพระภาคทั้งหลายย่อมทรงมีการยักย้ายปาฏิหาริย์ ตามสมควรแก่เวไนยชน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “อถ โข ภควา” เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ส สูจิตนิกฺขมโน”ฯ จริงอยู่ ในเวลาทรงเสด็จออกจากพระคัณธกุฎี พุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ เป็นมาลัยสวมศีรษะ ซ้อน ๆ กัน เกาะกันเป็นคู่ ๆ มีความพิเศษเปล่งประกายฉายออกมาฯ


๓๙๗ [๓๖๔] สองบทว่า ตโต ปร ได้แก่ ถัดไปจากวันที่กล่าวว่า “หิยฺโย (วันวาน)” ไม่มีระหว่าง ชื่อว่าปุริมตระ เพราะมีในก่อนด้วยความดียิ่งฯ ความเป็นปุริมะและปุริมตระตามล าดับท่านก าหนด แล้วใน ๒ ส่วนนี้ด้วยประการฉะนี้ฯ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ค าใดที่ท่านกล่าวแล้วในที่นี้ว่า “ปุริมตร ” จ าเดิมแต่นั้นค าใด ๆ ชื่อว่าเป็นโอระ ค านั้น ๆ เป็นปุริมะ ค าใด ๆ เป็นประ ค านั้น ๆ เป็นปุริมตระ เพราะส าเร็จได้ตามที่มุ่งหมายถึงความเป็นปุริมะและปุริมตระ เหมือนความเป็นฝั่งในและฝั่งนอก ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ตโต ปฏ ฺฐฃาย” เป็นต้นฯ สองบทว่า มูลทิวสโต ปฏ ฺฐฃาย ได้แก่ จ าเดิม แต่วันต้นฯ บทว่า อค ฺค ได้แก่ ก่อนฯ ก็ค าว่า อค ฺค นั้นในที่นี้ได้แก่ที่สุดที่ล่วงไปแล้วอื่นอีก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปรโกฏึ กต ฺวา”ฯ ก็เพราะประกอบด้วย ย -ศัพท์ ศัพท์นี้จึงประกอบ เป็นปัจจุบันกาลว่า “วิหรามิ”แต่ความหมายพึงทราบด้วยสามารถเป็นอดีตกาลเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “วิหาสินฺติ วุต ฺต โหติ”ฯ ในวิกัปที่ ๑ บทว่า “วิหรามิ” ท่านแสดงสัมพันธ์เข้าตรง ๆ กับบทว่า “ยทคฺเค” นี้ส่วนในวิกัปที่ ๒ สัมพันธ์เข้าแม้กับค าว่า “ตีณิ วสฺสานิ” นี้ฯ บทว่า ปิยชาติกานิได้แก่ มีภาวะน่าพอใจฯ บทว่า สาตชาติกานิได้แก่ มีสภาวะหวานใจฯ จริงอยู ่ อารมณ์อันใดอันหนึ ่งที่น ่ารื่นรมย์ใจ เรียกว ่า “มธุระ” เหมือนมีรสหวาน ฉะนั้นฯ บทว่า กามูปสญ ฺหิตานิได้แก่ อันผู้เมื่อท าให้เป็นอารมณ์ น าเข้าไปพร้อมด้วยกาม อธิบายว่า อันเป็นที่ตั้งแห่ง กาม ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กามสฺสารทยุต ฺตานิ”อธิบายว่า ควร คือประกอบแก่ความยินดีใน กามฯ บทว่า สรีรสณ ฺฐฃาเน ได้แก ่ โครงร่างกาย ก็ค านั ่นเป็นสัตตมีวิภัติในความหมายว ่าอาธาระฯ เพราะฉะนั้น ค าว่า สท ฺเทน จึงมีอธิบายว่า ด้วยเสียงอันเกิดขึ้นแต่ที่นั้นเพราะอาศัยการฟังนั้นฯ บทว่า มธุเรน ได้แก่ อันน่าใคร่ฯ บทว่า เอต ฺตาวตาได้แก่ มีประมาณการกล่าวถึงการบริกรรมทิพพโสตญาณฯ เจ้าลิจฉวีนั้นทรงกริ้วอยู่ว่า พระสมณโคดมไม่กล่าวแม้สิ่งที่ตนรู้ ประโยชน์อะไรด้วยความตั้งมั่นใน ศาสนา ผูกอาฆาตพร้อมด้วยความโกรธนั้นเองก็เสื่อมจากฌานและอภิญญาฯ บทว่า จินฺเตสิความว่า ปริวิตกอยู่ว่า “เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงไม่กล่าวการบริกรรมนั้นแก่เรา” คิดด้วยสามารถแห่งการจม ลงโดยความไม่แยบคายฯ บทว่า อนุกฺกเมน ได้แก่ คิดอยู่ กล่าวอยู่ และกระท าอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่สมควรนั้น ๆ โดยนัยอันมาแล้วในปาถิกสูตรตามล าดับฯ เพราะความที่ตนผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาค จึงไม่ได้ที่ พึ่งในพระศาสนาถึงความเป็นคฤหัสถ์ฯ พรรณนาสมาธิที่ตนให้เจริญโดยส ่วนเดียว [๓๖๖-๓๗๑] บทว่า เอก สายเป็นจตุตถีวิภัติในอรรถนั้นนั่นแล ฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า มี อรรถว่าโดยส่วนเดียวฯ อ ส-ศัพท์ในค าว่า เอก สาย นี้เป็นปริยายแห่งโกฏฐาสะ ก็อ ส-ศัพท์นั้นพึงทราบ ด้วยสามารถแห่งการเห็นรูปทิพย์และการฟังเสียงทิพย์โดยการกระท าอันยิ่ง เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “เอกโกฏ ฺฐฃาสาย” เป็นต้นฯ บทว่า อนุทิสาย ความว่า ในทิศน้อย ๔ ทิศ ต่างด้วยทิศเบื้อง หน้าและทิศเบื้องขวาเป็นต้นฯ บทว่า อุภยโกฏ ฺฐฃาสายความว่า เพื่อประโยชน์แก่การแสดงรูปทิพย์ และเพื่อประโยชน์แก่การฟังเสียงทิพย์ฯ บทว่า ภาวิโตความว่า ให้เจริญโดยประการที่ทิพพจักขุญาณ


๓๙๘ และทิพพโสตญาณอันตนจะได้บรรลุฯ ก็ญาณนี้นั้นไม่มีค าที่ควรกล่าวในญาณที่ส าเร็จอยู่ด้วยการ กระท าบริกรรมเป็นแผนกๆ ความส าเร็จแห่งกิจโดยล าดับในญาณทั้งหลายแม้ที่ส าเร็จอยู่โดยรวมกัน ย่อมมีฯ เพื่อแสดงความสามารถแห่งญาณทั้งสองของญาณหนึ่งนั่นแลท่านจึงกล่าวว่า “เพื่อแสดงรูปที่ เป็นทิพย์และเพื่อฟังเสียงที่เป็นทิพย์” แม้ในพระบาลีฯ ค านั้นท่านไม่ได้กล่าวไว้เพราะเกิดความส าเร็จ กิจโดยความเป็นอันเดียวกันฯ ด้วยค าว่า “เอก สภาวิโต สมาธิ เหตุ” นี้ท่านแสดงว่า สุนักขัตตะไม่ได้ฟัง เสียงทิพย์แม้มีอยู่ เพราะได้ท าบริกรรมด้วยทิพพจักขุญาณนั่นเองฯ บทว่า อปณ ฺณก ได้แก่ ไม่ผิด หรือ ว่า ไม่มีความผิดฯ [๓๗๒] สมาธินั่นเอง ชื่อว่าสมาธิภาวนา เพราะอรรถว่า พึงให้เจริญฯ แม้ทิพพจักขุญาณ อันเจ้ามหาลิแม้ทรงส าคัญอยู่ว่า “ทิพพโสตญาณประเสริฐที่สุดก็ทรงถือมั่นพร้อมทิพพโสตญาณนั้น ตรัสถามโดยนัยว่า “เอตาส นูน ภนฺเต” เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อุภย สภา วิตาน สมาธีนนฺติ อต ฺโถ”ฯสมาธิภาวนานั่น ชื ่อว ่าภายนอกเพราะไม่เป็นธรรมน าออกจากวัฏฏทุกข์ฯ เพราะว่า สมาธิภาวนานั่น ส าเร็จได้แม้แก่ชนผู้มีในภายนอกจากศาสนานี้ฯ ชื่อว ่าเป็นภายในหามิได้ เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ทรงประกาศไว้เองโดยเป็นสามุกกังสิกเทศนาฯ ค าว่า ยถต ฺถ ได้แก่ เพื่อ ประโยชน์แก่ธรรมเหล่าใดฯ บทว่า เต ได้แก่ ธรรมคืออริยผลเหล่านั้นฯ ก็ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมที่ ควรท าให้แจ้งฯ พรรณนาอริยผล ๔ ประการ [๓๗๓] บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะประกอบพร้อมในวัฏฏทุกข์ฯ ท่านกล่าวค าว่า “มค ฺคโสต อาปนฺโน”ด้วยสามารถแห่งอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลฯ เพราะว่าผู้ตั้งอยู่ในมรรคย่อมถึงกระแสแห่ง มรรคฯ ด้วยเหตุนั้นนั ่นเอง ท ่านจึงกล ่าวว ่า “โสตาปนฺเน”และว ่า “โสตาปต ฺติผลสจฺฉิกิริยาย ปฏิปนฺเน” ๕๕๒ฯ บทว่า อปตนธม ฺโม ได้แก่ อันไม่มีความเกิดขึ้นเป็นสภาวะฯ บทว่า ธม ฺมนิยาเมน ได้แก่ โดยนิยามแห่งธรรมคือมรรคฯ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้แน่นอนเพราะมีความไม่เกิดขึ้นเป็น ธรรมดา เลยไปกว่าภพที่ ๗ อย่างต ่าสุดฯ การไปในเบื้องหน้า ชื่อว่าปราคติฯ ความที่ความเป็นไปเบาบางและเจือจางชื่อว่าตนุตตะ (ความเบาบาง) เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า “ตนุต ฺตา” เป็นต้นฯ บทว่า เหฏ ฺฐฃาภาคิยาน ได้แก่ อันเกื้อกูลโดยความเป็นปัจจัยแก่กาม ภพอันเป็นส่วนเบื้องต ่าฯ บทว่า โอปปาติโกได้แก่ ชื่อว่าโอปปาติกะ เพราะท าอธิบายว่า ท าดีโดยการ ตกเข้าไปฯ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้น วิมุตติคือจิต ชื่อว่าเจโตวิมุตติเพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “สพ ฺพกิเลส ฯเปฯ อธิวจน ”ฯ ก็ในที่นี้ท่านถือเอาสมาธิโดยมุ่งถึงจิต เหมือนในค าว่า “จิตฺต ปญฺญญฺจ ภาวย ” ๕๕๓ เป็นต้น ฉะนั้นฯ แม้ในค าว่า ปญ ฺญาวิมุต ฺติ นี้ก็นัยนี้เหมือนกัน ด้วยเหตุนั้น ท่าน ๕๕๒ ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๓๗๙/๑๒๔. ๕๕๓ ส .ส. (บาลี) ๑๕/๑๙๒/๑๙๘.


๓๙๙ จึงกล่าวว่า “ปญ ฺญาว ปญ ฺญาวิมุต ฺติ”ฯ บทว่า สาม ได้แก่ ด้วยตนนั่นเอง อธิบายว่า ด้วยปัจจัยอื่นอีกฯ ค าว่า อภิญ ฺญา ท่านท านิเทศโดยลบ ย-อักษร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อภิชานิต ฺวา”ฯ พรรณนาอริยมรรคมีองค์ ๘ [๓๗๔-๓๗๕] ชื่อว่าปฏิปทา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุบรรลุนิพพานและอริยผลแห่งอริย สาวก ก็ปฏิปทานั้นเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งอริยมรรคนั้นนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ในที่นี้ ท่านจึงกล่าว อริยมรรคว่า “ปุพ ฺพภาคปฏิปทาย”ฯ พึงทราบบทส าเร็จว่า อฏ ฺฐฃง ฺคิโกเพราะอรรถว่า มีองค์ ๘ เหตุไม่ ท าสมาสด้วยเนื้อความของบทอื่นว่า “อฏฺฐฃ องฺคานิ อสฺส”ฯ ชื่อว ่ามีความเห็นชอบเป็นลักษณะ เพราะมีความเห็นโดยประจักษ์ซึ่งอริยสัจ ๔ โดยชอบ คือไม่วิปริต ได้แก่ตามความเป็นจริงเป็นสภาวะฯ สภาวะคือความปักจิตลงในธรรมที่มีนิพพานเป็น อารมณ์โดยชอบนั่นแล ชื่อว ่ามีความปักลงโดยชอบเป็นลักษณะฯ วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อม สงเคราะห์ซึ่งชน เพราะเหตุนั้น สัมมาวาจาจึงมีการเว้นจากฝ่ายตรงกันข้ามนั้นเป็นสภาวะ มีการ ประคองชนและสัมปยุตตธรรมเป็นกิจ โดยการละมิจฉาวาจาอันท าความแตกแยก เพราะเหตุนั้น จึง ชื่อว่ามีการประคองโดยชอบเป็นลักษณะฯ การงานมีการกระท าจีวรเป็นต้นยังการงานอย่างหนึ่งที่พึง กระท าย่อมให้ตั้งขึ้นพร้อม หรือว่าการงานกล่าวคือเจตนาอันยังกิริยานั้น ๆ ให้ส าเร็จ ยังกิริยามีการยัง มือและเท้าให้ไหวเป็นต้นย่อมให้ตั้งขึ้นพร้อม ฉันใด สัมมากัมมันตะก็มีการยังการงานที่ไม่มีโทษให้ ตั้งขึ้นเป็นกิจ โดยการละมิจฉากัมมันตะอันยังการกระท าการงานที่พึงท าอันมีโทษให้ตั้งขึ้น ฉันนั้น และเมื่อยังสัมปยุตตธรรมให้ตั้งขึ้นพร้อมนั่นแลย่อมเป็นไป เพราะเหตุนั้น สัมมากัมมันตะจึงมีการยัง การงานให้ตั้งขึ้นโดยชอบเป็นลักษณะฯสัมมาอาชีวะ มีการยังกาย วาจา และขันธสันดานให้หมดจด โดยชอบเป็นลักษณะ โดยการละมิจฉาอาชีวะอันเป็นความเศร้าหมองแห่งกายวาจาและขันธสันดานฯ สัมมาวายามะมีการประคับประคองโดยชอบเป็นลักษณะ เพราะอรรถว่า มีสภาวะประคับประคอง สัมปยุตตธรรมไว้ไม่ให้ตกไปทางฝ่ายโกสัชชะฯ สัมมาสติ มีการปรากฏโดยชอบเป็นลักษณะ เพราะ อรรถว่า มีสภาวะที่ปรากฏโดยชอบนั่นเองฯ สัมมาสมาธิ มีการตั้งมั่นโดยชอบเป็นลักษณะ เพราะ อรรถว่า มีสภาวะคือการตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบ โดยการก าจัดความฟุ้งซ่านฯ อกุศลธรรมมีอวิชชาเป็นต้นที่มีความหมายอย่างหนึ่งอันตนเห็นแล้ว ชื่อว่ากิเลสอันเป็น ข้าศึกแก ่ตนฯ บทว่า ปสฺสติได้แก่ ประกาศ คือรู้แจ้งโดยการแทงตลอดกิจ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว ่า “ตป ฺปฏิจ ฺฉาทก ฯเปฯ อสมฺโมหโต”ฯ ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ปัจจเวกขณะย่อมเป็นไปด้วยองค์ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิฯ บทว่า ตเถว ความว่า พร้อมกับด้วยกิเลสอันเป็นข้าศึกแก่ตนฯ บทว่า กิจ ฺจโตได้แก่ โดยความส าเร็จอันดียิ่งแห่งกิจที่พึงท าด้วยญาณก าหนดรู้ทุกข์เป็นต้น อันเป็นส่วนเบื้องต้น หรือว่าโดยกิจคือการประกาศทุกข์เป็นต้นแห่งญาณนี้นั่นเองฯ ชื่อว ่าย ่อมได้ชื่อ ๔ ชื่อ เพราะความส าเร็จแห่งกิจที่พึงกระท าในสัจจะ ๔ฯ ชื่อว ่าย ่อมได้ชื่อ ๓ ชื่อเพราะความส าเร็จแห่ง


๔๐๐ กิจคือการละความด าริถึงกามเป็นต้นฯ ในวิภังค์แห ่งสิกขาบท๕๕๔ ท่านกล่าวว่า “วิรติโยปิ โหนฺติ, เจตนาโยปิดังนี้ ด้วยสามารถแห่งวิรติเจตนาที่เป็นประธานในค าว่า “วิรติเจตนาและสัมปยุตตธรรม ทั้งหมด ท่านเรียกว่า สิกขาบท” นั้นฯ อีกอย่างหนึ่ง ในคราวที่เว้นจากวจีทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น พึง ประกอบให้เป็นวิรัติและในคราวที่กล่าววาจาสุภาษิตเป็นต้นพึงประกอบให้เป็นเจตนาฯ ในขณะแห ่ง มรรคยังเป็นวิรัตินั่นเอง เพราะเจตนาไม่เป็นองค์มรรคเหมือนความที่ญาณอย่างหนึ่งเป็นญาณก าหนด รู้ทุกข์เป็นต้นและเหมือนความที่วิรัติอย่างหนึ่งเป็นวิรัติจากมุสาวาทเป็นต้น ฉะนั้น เพราะส าเร็จความ เป็นสัมมาวาจาเป็นต้น เพราะความเป็นสภาวะที่ยังกิจ ๓ อย่าง มีสัมมาวาจาเป็นต้นให้ส าเร็จแห่ง เจตนาเดียว และเพราะส าเร็จความเป็นองค์ ๓ ในความส าเร็จแห ่งกิจนั้นฯ บทว่า สม ฺมปฺปธาน สติปฏ ฺฐฃานวเสน ได้แก่ด้วยสามารถแห่งความเป็นสัมมัปปธาน ๔ และสติปัฏฐาน ๔ฯ ค าว่า ปุพ ฺพภาเคปิ มค ฺคกฺขเณปิ สม ฺมาสมาธิเยว ความว่า แม้ถ้าว่า สัมมาสมาธิแยกออก จากฌาน ๔ ด้วยอ านาจแห่งวิตกเป็นต้น อันเป็นอุปการะต่อสมาธิ อันปักจิตลงในอารมณ์ อันตาม พิจารณาอารมณ์อันอิ่มเอิบ อันเพิ่มพูน อันสงบ และเป็นสุขไซร้ แม้ถึงอย่างนั้นสมาธิอย่างหนึ่ง ก็ยังกิจ แห่งวายามะ ๔ มีการไม่ยังอกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้นเป็นต้นให้ส าเร็จเหมือนวายามะ ฉะนั้น และ ย่อมยังกิจ ๔ อย่างคือการละสัญญาว่างามเป็นต้นในกายเป็นต้น อันเป็นอสุภะ อสุขะ อนิจจะ และ อนัตตะ ให้ส าเร็จ เหมือนสติฉะนั้น หายังสมาธิกิจในจตุกกฌานให้ส าเร็จไม่ เพราะเหตุนั้น ปฐมฌาน สมาธิก็ยังเป็นปฐมฌานสมาธินั่นเอง แม้ในส่วนเบื้องต้น แม้ในขณะแห่งมรรค อนึ่ง จตุตถฌานสมาธิก็ ยังเป็นจตุตถฌานสมาธิเช่นเดิม แม้ในส่วนเบื้องต้นแม้ในขณะแห่งมรรคฯ บทว่า ตสฺมา ได้แก่ ก าจัดความมืดคืออวิชชาเพราะเป็นความโพลงคือปัญญาก าจัดโจรคือ กิเลสได้ เพราะมีปัญญาเป็นอาวุธฯ บทว่า พห ุการต ฺตา ความว่า มติอันไม่มีในเบื้องต้นนี้ใด อันผู้นี้ไม่ เคยเพิกถอนขึ้นแม้ในกาลไหน ๆ ในสงสาร คือหมู่กิเลส อริยมรรคเพิกถอนมติอันไม่มีเบื้องต้นคือหมู่ กิเลสนั้นฯ ก็ในค านั้น สัมมาทิฏฐินี้มีไปในส่วนเบื้องต้นแห่งความเป็นไป ด้วยสามารถแห่งความรู้เฉพาะ ด้วยการก าหนดรู้เบื้องต้น เพราะเหตุนั้น จึงมีอุปการะมาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพหุการัตตาฯ บทว่า ตสฺสา ได้แก่ แห่งสัมมาทิฏฐิฯ เพื่ออันกล่าวว่า “พหุกาโร” แล้วอธิบายให้ชัดซึ่ง ความที่สัมมาทิฏฐิมีอุปการะมากนั้น ด้วยอุปมาท่านจึงกล่าวว่า “ยถา หิ” เป็นต้นฯ กหาปณะนี้ ชื่อว ่า ปลอม เพราะส าเร็จมาแต่ส าริดเป็นต้น (ส าริดคือทองแดงผสมโลหะ)ฯ กหาปณะนี้ชื่อว ่าแท้เพราะมี สาระเสมอ เพราะมีสาระมากฯ ค าว่า เอว อธิบายว่า อุปการะมากระหว่างแห่งการกระท าในการมองดู ด้วยตา แล้วรู้แยกแยะกหาปณะแห่งเหรัญญิกบุคคล คือมือ ฉันใด อุปการะมากระหว่างแห่งธรรมใน การพิจารณาด้วยปัญญาแล้วรู้จ าแนกธรรมแห่งพระโยคาวจร คือวิตก ฉันนั้น เพราะตรึกดูแล้วก็หยั่งรู้ ธรรมนั้น เพราะฉะนั้น สัมมาสังกัปปะจึงมีอุปการะมากต่อสัมมาทิฏฐิฯ ในอุปมาที่ ๒ พึงทราบว่า ค า ว่า เอว มีโยชนาว่า นายช่างถากใช้มีดถากทัพพสัมภาระที่ผู้อื่นพลิกกลับไปกลับมาแล้วให้ย่อมน าเข้า ๕๕๔ อภิ.วิ. (ไทย) ๓๕/๗๐๓-๗๑๗/๔๔๗-๔๕๘.


๔๐๑ ไปในการท าเรือน ฉันใด พระโยคาวจรก าหนดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมอันวิตกตรึกโดยลักษณะเป็น ต้นให้แล้ว ย่อมน าเข้าไปในการงานที่บรรลุด้วยการก าหนดรู้เป็นต้น ฉันนั้นฯ วิตกอันเป็นอุปการะต่อ การเปล่งถ้อยค า ยังเป็นอุปการะแม้ต่อสัมมาวาจาอันท าความกลับและความเป็นไปแห่งการเปล่ง ถ้อยค าที่มีโทษและไม่มีโทษนั่นแล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สฺวาย ” เป็นต้นฯ วาจา ที่เป็นนิยามของวจีเภท มีอุปการะต่อการงานที่นิยามแห่งการกระท าทางกายฯ บท ว่า ตทุภยานนฺตร ได้แก่ ระหว่างแห่งสัมมาวาจากับสัมมากัมมันตะทั้งสอง อันละทุจริต ๒ อย่าง อัน เป็นเหตุบริบูรณ์แห่งสุจริตทั้งสองอย่างฯ สองบทว่า อิท วีริย ได้แก่ ความเพียรคือสัมมัปปธาน ๔ อย่างฯ ธรรมที่เป็นอุปการะต่อสมาธิ มีการปรับอินทรีย์ให้เสมอกันเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นธรรมที่ อปการะจากปริยายนั้นฯ บทว่า คติโยได้แก่ ความส าเร็จ หรือว่าสภาวะก็ได้ฯ บทว่า สมนฺเนสิต ฺวา ได้แก่ รองรับฯ [๓๗๖-๗] เพื่ออันถามซึ่งเหตุแห่งอนุสนธิว่า “กสฺมา อารทฺธ ”แล้วอธิบายเหตุแห่งอนุสนธิ นั้นให้ชัดเจน ท่านจึงกล่าวว่า “อย กิร” เป็นต้นฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงว่า เทศนาในเบื้องบน เป็นไปด้วยอ านาจแห่งอัธยาศัยและอนุสนธินั้นฯ บทว่า เตน ได้แก่ เพราะมีลัทธิอย่างนั้นฯ บทว่า อสฺส ได้แก ่ พระเจ้าลิจฉวีฯ บทว ่า เทสนาย ได้แก ่ ในเทศนาตามที ่ทรงแสดงแล้วอันละเอียดสุขุม ประกอบด้วยสุญญตะฯ บทว่า นาธิมุจ ฺจติได้แก่ ไม่เชื่อ คือไม่เลื่อมใสฯ สองบทว่า ตนฺติธม ฺม นาม กเถนฺโตได้แก่กล่าวกระท าให้เป็นตันติธรรมในศาสนาอย่างเดียว ในเพราะการแทงตลอดมรรคนั้น แม้ ไม ่มีอยู ่แก ่ชนที ่กล ่าวธรรมเพื ่อประโยชน์ฯ บทว ่า เอวรูปสฺสได้แก ่ ของพระศาสดาผู้ทรงมี พระธรรมกายปรากฏอย่างนี้เพราะเทศนาไม่วิปริตเหตุพระองค์ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะฯ สองบท ว่า ยุต ฺต นุ โข เอตมสฺสความว่า ตรัสถามว่า การถือเอาอุจเฉทวาทะเป็นต้น โดยนัยว่า “ต ชีว ” เป็น ต้นนั่น สมควรแล้วหรือหนอ แก่กุลบุตรนั้น ผู้มีจิตตั้งมั่น ด้วยการบรรลุปฐมฌานเป็นต้นฯ ก็ท่านกล่าว ค าว่า “เตหิ ยุต ฺต ” เพราะเป็นเพียงบรรลุฌานตามลัทธิ หากล่าวเพราะมีจิตสงัดก่อนไม่ฯ ค าว่า ต วาท ปฏิกฺขิปิต ฺวาได้แก่ ห้ามการถือเอานั้นแม้แห่งผู้ได้ฌาน คือห้ามอุจเฉทวาทะ หรือว่าสัสสตวาทะนั้นว่า “อยุตฺตเมว”ฯ สองบทว่า อต ฺตมนา อเหสุ ความว่า เพราะเหตุที่พระขีณาสพปราศจากสัมโมหะ ข้าม พ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ฉะนั้น บรรพชิต ๒ รูปนั้นฟังค าของเราแล้วจึงได้เป็นผู้พอใจเพราะเกิดการตัดสิน ขึ้นได้ว่า “ไม่ควรกล่าวอย่างนั้นแก่พระขีณาสพนั้น”ฯ พระเจ้าลิจฉวีแม้นั้นก็ทรงเหมือนบรรพชิต ๒ รูปนั้นทรงพอพระทัยเพราะทรงมีการตัดสินพระทัยเกิดพร้อมแล้วฯ ก็ในที่นี้ค าใดยังไม่ได้จ าแนกโดย อธิบาย ค านั้นเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้นฯ ลีนัตถัปปกาสนาในอรรถกถามหาลิสูตรจบฯ


๔๐๒ ๗. ชาลิยสูตร พรรณนาเรื่องบรรพชิต ๒ รูป [๓๗๘] เพื่ออันกล่าวว่า “ในอารามอันโฆสิตเศรษฐีสร้างแล้ว”ดังนี้ จึงแสดงค านั้นทั้งหมด ตั้งแต่ความเกิดขึ้นโดยย่อเท่านั้นว่า ในค านั้น ชื่อว่าโฆสิตเศรษฐีนี้เป็นใคร และเศรษฐีนั้นให้สร้าง อารามอย่างไร หรือว่าพระผู้มีพระภาคทรงประทับในพระอารามนั้นอย่างไรดังนี้พระอรรถกถาจารย์ จึงกล ่าวค าว ่า “ป ุพ ฺเพ กิร” เป็นต้นฯ บทว ่า ตโตได้แก ่ แต ่แคว้นอัลลกัปปะฯ บทว ่า ตทา ได้แก่ ในกาลเข้าไปสู่หมู่บ้านนั้นแห่งบรรพชิต ๒ รูปนั้นฯ บทว่า พลวปายาส ได้แก่ ข้าวปายาสเป็นอันมาก อันหนักกว่าฯ บทว่า อสนฺนิหิเตได้แก่ ผู้ไปในภายนอกจากเรือนฯ บทว่า ภ ุสฺสติได้แก่ ย่อมเห่าหอนฯ ค าว่า โฆสกเทวบุตร เป็นชื่อของท่านเพราะถึงพร้อมด้วยความกึกก้องแห่งเสียงฯ บทว่า เวย ฺยต ฺติเยน ได้แก่ด้วยความขวนขวายด้วยปัญญาฯ เขาเป็นผู้ชื่อว ่าโฆสิตเศรษฐีเกิดแล้ว เพราะเขามีชื่อก้องด้วย ความถึงพร้อมแห่งเสียงนั้นนั่นเองฯ บทว่า สรีรสนฺตป ฺปนต ฺถ ได้แก่ เพื่อความอิ่มเอิบ คือเพื่อความกระปรี้กระเปร่าแห่งสรีระ นั้น โดยการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว เพราะร่างกายเหนื่อยล้า เหตุมีผลไม้และรากไม้เป็นอาหารในป่า หิมพานต์ฯ บทว่า ตสิตา ได้แก่ หิวกระหายฯชนทั้งหลายผู้มีกายเมื่อยล้า ชื่อว่ากิลันตะฯ ได้ยินว่า ทั้ง ๒ ท่านนั้น ถึงต้นไทรต้นนั้น เห็นความถึงพร้อมด้วยความงามของต้นไทรนั้น จึงคิดว่า “ที่ต้นไทรนี้ เห็นจะมีเทวดาผู้มีอานุภาพมากสถิตย์อยู่ ดีละหนอ เทวดานี้พึงบรรเทาความเมื่อยล้าในเพราะหนทาง ไกลของพวกเราได้” ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ตต ฺถ อธิวต ฺถา ฯเปฯ นิสีทึสุ”ฯ บทว่า โส ได้แก่ ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีฯ บทว่า ภตกาน ได้แก่ ทาส คนรับใช้ และกรรมกร ผู้ท าการขวนขวายเพื่อ ค่าจ้างฯ บทว่า ปกติภต ฺตเวตน ได้แก่ ภัตรและค่าจ้างที่พึงให้ตามปกติอธิบายว่า ภัตรและค่าจ้างที่พึง ให้ตามวันที่ท าการงานนั่นเอง แม้แก่ผู้ไม่ท าการงาน เพราะเป็นผู้รักษาศีลอุโบสถในกาลนั้นฯ บทว่า กญ ฺจิได้แก่ ผู้ท าการรับจ้างแม้บางคนฯ การเข้าไปแข่งดีคือเบียดเบียนผู้อื่นด้วยวาจา ชื่อว่าอุปารัมภะอธิบายว่า การกระทบด้วย อ านาจแสดงโทษ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อุปารม ฺภาธิป ฺปาเยน วาท อาโรเปตุกามา ห ุต ฺวา”ฯก็ ชื่อว่าวาทะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุกล่าว คือพูด ด้วยอ านาจแห่งการต าหนิได้แก่โทสะฯ อธิบายว่า เป็นผู้ใคร่เพื่ออันยกขึ้นซึ่งโทษนั้น คือเป็นผู้ใคร่เพื่ออันให้ตั้งไว้ซึ่งโทษนั้นฯ ในค าว่า “ต ชีว ต สรีร ” นี้ มีความว่า วัตถุใดอันบุคคลรู้พร้อมว่าชีวะ วัตถุนั้นนั่นเองอันบุคคลรู้พร้อมว่าสรีระ เพราะเหตุนั้น อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวถือเอาวาทะว่า “พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา”ฯ หรือกล่าวหมายเอา อัตตาที่ก าหนดภายนอกว่า “สัตว์” ด้วยอ านาจการพิจารณาไม่ท าทั้ง ๒ อย่างคือทั้งรูปทั้งอัตตาฯ บท ว่า ภิชฺชติได้แก่ ย่อมพินาศไปโดยไม่เกิดขึ้นและพินาศไปฯ เพราะเหตุนั้น คือเพราะรู้ตามชีวะและ สรีระที่ยังไม่เป็นอย่างอื่นและเพราะเหตุความแตกดับของสรีระฯ ก็ในค านี้ไม่อาจรู้ได้ว่า ท่านกล่าว ความแตกดับแห่งชีวะ แม้ที่มองไม่เห็นเพราะไม่เป็นอื่นไปจากสรีระเหตุมีความแตกดับ ฉันใด ความไม่


๔๐๓ แตกดับแม้แห่งสรีระท่านก็กล่าวไว้ เพราะไม่เป็นอื่นไปจากความแตกดับที่ตนไม่เห็น ฉันนั้น เพราะการ แตกดับนั้นเห็นได้โดยประจักษ์ และเพราะไม่มีสรีระที่พ้นไปจากภูตรูปและอุปาทายรูป เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อุจฺเฉทวาโท โหติ”ฯ บรรพชิตทั้ง ๒ นั้น กล่าวระบุเอาวาทะที่เป็นไปโดยนัยว่า“พิจารณาเห็นตนว่ามีรูป” ของ ค าว่า ข้อว่า “อญ ฺญ ชีว อญ ฺญ สรีร ”ได้แก่ วัตถุที่รู้กันว่าชีวะ เป็นอย่างหนึ่งนั่นแล วัตถุที่รู้กันว่าสรีระ ก็เป็นอย่างหนึ่งฯ ถึงการตกลงใจได้เลยว่า อัตตาเที่ยง เพราะความแตกดับเห็นได้ในรูป และความเป็น อย่างนั้นก็มีในตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ตุมฺหาก ฯเปฯ อาปชฺชติ”ฯ [๓๗๙-๓๘๐] พระศาสดาด าริว่า ปัญหานี้พึงเก็บไว้เพราะท าอธิบายว่า ค านี้นั้นเป็นเช่นกับ การก าหนดวัญฌาสูตรว่ายาวหรือสั้นของบรรพชิตเหล่านั้น ทรงท าความหลับพระเนตรอย่างพระราชา ในปัญหานั้น แล้วทรงเริ่มธรรมเทศนาแก่บรรพชิต ๒ รูปนั้นยิ่งขึ้นไปอีกโดยนัยว่า “ผู้มีอายุถ้าอย่าง นั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง” เป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า “อถ ภควา”เป็นต้นฯ บทว่า ตสฺสาเยว ได้แก่ แห่งมัชฌิมาปฏิปทาฯ บทว ่า สท ฺธาปพ ฺพชิตสฺส ได้แก ่ ผู้บวชด้วยศรัทธา คือผู้เข้าถึงการบรรพชาอย ่างนี้ว่า “เราจักออกไปจากทุกข์ในวัฏฏะนี้ ด้วยอุบายอย ่างนี้”และได้แก ่ผู้บ าเพ็ญศีล อันสมควรแก่การ บรรพชานั้น มีจิตตั้งมั่นด้วยปฐมฌานฯ ค าว่า เอต วุต ฺต ความว่า ท่านกล่าวค าอันแสดงความพัวพัน ด้วยกิเลสและวัฏฏะนั่น อันอาศัยทิฏฐิกิเลสมีว่า “ต ชีว ต สรีร ” เป็นต้นฯ ค าว่า นิพ ฺพิจิกิจ ฺโฉ น โหติ ความว่า ยังไม่เป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยในธรรม คือยังเป็นไปในความสงสัยในธรรมนั้น ๆด้วยสามารถ แห่งความข้องและสับสนฯ สองบทว่า เอตเมว ชานามิความว่า เราย่อมรู้อย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นเข้าปฐมฌานอยู่ด้วยจิต ใด จิตนั้นเป็นสสัมปยุตตธรรมฯ ค าว่า โน จ เอว วทามิความว่า ทิฏฐิคติกบุคคลถือเอาธรรมชาติ พร้อมนิสสัยโดยไม่แยกแยะ หรือถือเอาทั้ง ๒ นั้นคือ “ต ชีว ต สรีร ” โดยแยกแยะ ย่อมประกาศการ ถือเอาผิดของตนว่า “ชีวะอย่างหนึ่ง หรือว่า สรีระอย่างหนึ่ง”แต่ว่าเราหากล่าวอย่างนั้นไม่ เพราะเรา ก าหนดรู้ธรรมนั้นเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “อถ โข”เป็นต้นฯโดยมาก พาหิรกชน ย ่อมยังกสิณฌานเท ่านั้นให้เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว ่า “กสิณปริกมฺม ภาเวนฺตสฺส”ฯ เพราะเหตุที่การบรรลุฌานมีได้ด้วยอานุภาพแห่งภาวนา และภาวนามีได้ด้วยมุ่งถึงการ รู้ปฐวีกสิณเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแสดงไว้โดยมุ่งถึงสัญญา ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สญ ฺ า พเลน อุป ฺปนฺน ”ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปถวีกสิณเมโก สญฺชานาติ” เป็นต้นฯ พระด ารัสนี้ว่า “น กลฺล ตสฺเสต ”อันพระผู้มีพระภาคตรัสในที่นั้น ๆ ว่า “ก็แล ครั้นเมื่อเป็นอย่างนั้น เราจะไม่กล่าว” ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวด้วยประสงค์ว่า ได้ยินว่า ค านั่นอันบุรุษผู้สูงสุด ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง พึงกล่าว” ดังนี้หามิได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มญฺ มานา วทนฺติ”ฯ ค าที่เหลือในที่ทั้งปวง พึง เข้าใจได้โดยง่ายทั้งนั้นฯ ลีนัตถัปปกาสนาในอรรถกถาชาลิยสูตร จบฯ


๔๐๔ ๘. มหาสีหนาทสูตร พรรณนาเรื่องอเจลกัสสปะ [๓๘๑] ในรัฐใดมีนครนั้น พระผู้มีพระภาคทรงประทับในนครใดแม้แห่งรัฐนั้น ในกาลนั้น ค านั่น นั่นเอง เป็นชื่อของนครแม้นั้น เพราะฉะนั้น บทว่า อุรุญ ฺญาย จึงมีอธิบายว่า ในนครกล่าวคือ อุรุญญา ในชนบทชื่ออุรุญญาฯ บทว่า รมณีโย ความว่า เพราะเป็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ใจ เพราะถึง พร้อมด้วยร่มเงาและน ้า และสงัดจากผู้คนฯ ค าว่า นาม เป็นชื่อของโคตร การยังกิเลสให้เร่าร้อน คือ การยังกิเลสให้ร้อนรน ได้แก่การยังกายให้ล าบาก ชื่อว่าตบะชนชื่อว่าตปัสสี เพราะอรรถว่า มีตบะนั้น ซึ่งผู้มีตบะนั้น เพราะเหตุที่ผู้เป็นอย่างนั้นอาศัยตบะ หรือว่าตบะอาศัยผู้เป็นเช่นนั้น ฉะนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ตปนิสฺสิตก ”ฯ ชื่อว่าลูขาชีวี (ผู้เป็นอยู่แบบเศร้าหมอง) เพราะอรรถว่า วัตถุเศร้าหมอง คือ หยาบ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส เพราะเว้นจากอาจาระที่รู้พร้อมว่าดี เป็นอยู่ คือเป็นไปอยู่ ซึ่งผู้ เป็นอยู่เศร้าหมองนั้นฯด้วย อาทิ-ศัพท์ว่า “มุตฺตาจาราทิ” ท่านรวมเอาหัตถาปเลขนะเป็นต้น ซึ่งมาใน พระบาลีข้างหน้าฯ บทว่า อุป ฺปณ ฺเฑติได้แก่ ย่อมบริภาษด้วยอ านาจแห่งการเหยียดหยันฯ บทว่า อุปวทติได้แก่ ว่าร้ายมีการดูหมิ่นเป็นเบื้องต้น ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า “หีเฬติ วม ฺเภติ”ฯ เหตุชื่อ ว่าธรรม ในค าว่า ธม ฺมสฺส จ อนุธม ฺม นี้ เหมือนในค าว่า “เหตุมฺหิ ญาณ ธมฺมปฏิสมฺภิทา” ๕๕๕ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “การณสฺส อนุการณ ”ฯ ก็ในค าว่า การณ นี้ ประสงค์เอาเนื้อความของ ศัพท์ที่เป็นไปอย่างนั้น เพราะเป็นเหตุแห่งความเป็นไปแห่งศัพท์นั้นฯเพราะว่า การประกอบศัพท์ย่อม ประกอบด้วยความหมายฯ อนึ่ง ความหมายนั้นนั่นแลอันคนเหล่าอื่นกล่าวอย่างนั้นแลว่า อนุการณ ฯ บทว่า ปเรหิได้แก่ อันคนเหล่าอื่นซึ่งเป็นสัตว์ที่ท่านกล่าวว่า “เย เต”ฯ บทว่า วุต ฺตการเณน มีโยชนา ว่า คนเหล่านั้นกล่าวฉันใด หากพวกท่านไม่กล่าวฉันนั้น เมื่อเป็นอย่างนั้น วาทะของพวกท่านก็มีเหตุ ด้วยเหตุที่คนเหล่านั้นกล่าว หรือว่ายิ่งไปกว่านั้น วาทะที่สมควรแก่เหตุนั้นแม้มีประมาณน้อยบางวาทะ ก็ไม่พึงถึงฐานะ คือเหตุอันวิญญูชนพึงต าหนิ ไม่ถึงอย่างนี้หรือฯ ด้วยค าว่า “อิท วุตฺต โหติ” เป็นต้น ท่านแสดงเนื้อความนั้นนั่นแล โดยสังเขปฯ [๓๘๒] บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรงหมายเอาวิภัชชวาทะใดตรัสว่า “อิธาห กสฺสป” เป็นต้น เพื่ออันตรัสว่า “น เม เต วุตฺตวาทิโน” โดยสังเขป แล้วทรงจ าแนกค านั้นออกแสดง พระอรรถกถา จารย์เมื่อแสดงวิภัชชวาทะนั้นโดยการจ าแนก จึงกล่าวว่า “อิเธกจ ฺโจ”เป็นต้นฯก็พระผู้มีพระภาคทรง ต าหนิ การท ากายให้ล าบากอันเป็นไปพร้อมเพื่อความไม่สงบอันไม่มีประโยชน์ โดยนัยว่า “อตฺตกิลม ถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต” ๕๕๖ เป็นต้นฯ แต่ทรงสรรเสริญการท ากายให้ล าบากอันมี ๕๕๕ อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๒๗๐/๓๖๐. ๕๕๖ วิ.ม. (บาลี) ๔/๑๓/๑๓, ส .ม. (บาลี) ๑๙/๑๐๘๑/๓๖๗, ข ุ.ป. (บาลี) ๓๑/๓๐/๓ ๕ ๘ (ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนวาร).


๔๐๕ ประโยชน์อันเป็นไปพร้อมเพื่อความสงบโดยนัยว่า “อารญฺญิโก โหติ, ปํสุกูลิโก โหติ” เป็นต้นฯ บทว่า อป ฺปปุญ ฺญตายได้แก่ เพราะตนเป็นผู้มีบุญน้อยฯ ค าว่า ตีณิ ทุจ ฺจริตานิ ปูเรต ฺวา ได้แก่ เมื่อห้ามผล กรรมเพราะตนเป็นมิจฉาทิฏฐิ มุ่งมิจฉาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้าโดยนัยว่า “นตฺถิ ทินฺน ” ๕๕๗ เป็นต้น บ าเพ็ญ ทุจริต ๓ อย่างนั้น ๆฯ บทว่า อเนสนวเสน ได้แก่ด้วยสามารถแห่งมิจฉาอาชีวะด้วยการด ารงอยู่ใน ความเป็นผู้หลอกลวงปรารถนาการยกย่องคุณที่มีอยู่ฯ สองบทว่า อิเม เท ฺวได้แก่ หมายเอาบุคคล ๒ จ าพวกที่ท าทุจริตที่กล่าวว่า “ไม่มีบุญ” และว่า “มีบุญ”ฯ ก็ในค าว่า อิเม เท ฺว สนฺธาย อันเป็นนัยที่ ๒ นี้เมื่อกล่าวว่า “ผู้ไม่มีบุญ” และว่า “มีบุญ” พึงประกอบโดยนัยว่า ผู้ท าสุจริตเป็นต้นฯ ก็บุคคล ๒ จ าพวกเหล่านี้ผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยาวาทีฯ ในนัยที่ ๒ และที่ ๔ พึงประกอบโยชนาตามนัยที่กล่าวนั่นแลในนัยที่ ๑ และที่ ๒ นั่นแล ด้วยประการ ฉะนี้ฯ ชื่อว่าผู้ประกอบด้วยพาหิรกอาจาระ ได้แก่ผู้ประกอบด้วยอาจาระของเดียรถีย์ หาใช่ผู้มี อาจาระพ้นแล้วไม่ฯ สองบทว่า อต ฺตาน สุเขต ฺวา ได้แก่ ยังตนให้เป็นสุข ด้วยความสุขอันไม่ประกอบ ด้วยธรรม ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ทุจ ฺจริตานิ ปูเรต ฺวา”ฯ ท่านกล่าวการบ าเพ็ญทุจริตโดยนัยว่า “น ทานิ มยา สทิโส อต ฺถิ” เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งมัญญนา ๓ อย่างฯ บทว่า มิจ ฺฉาทิฏ ฺฐฃิวเสน ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งมิจฉาทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนี้ว่า “นตฺถิ กาเมสุ โทโส”ฯ บทว่า ปริพ ฺพาชิกายได้แก่ ทาริ กาดาบส ผู้เข้าถึงการบรรพชาฯ บทว่า ทหราย ได้แก่ ผู้ยังสาวฯ บทว่า มุทุกายได้แก่ ผู้ละเอียดสุขุมฯ บทว่า โลมสาย ได้แก่ มีขนน้อยเพราะมีขนแดงอ่อน ๆฯ บทว่า กาเมสุ ได้แก่ ในวัตถุกามทั้งหลายฯ บทว่า ปาตพ ฺยต ได้แก่ พึงบริโภคฯอีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาตพ ฺยต ได้แก่ ถึงความเป็นผู้บริโภคฯ บทว่า อาปชฺชนฺโตได้แก่ เข้าถึงฯ ก็ปา-ศัพท์ นี้มีความหมายว่าบริโภค และ ตพ ฺพ-ศัพท์ เป็นกัตตุสาธนะ อธิบายว่า บริโภคอยู่ตามความชอบใจฯ ก็แม้กิเลสกามอันบุคคลยินดีอยู่หยั่งลงในวัตถุกามเหมือนกันฯ บทว่า อิท เป็นบทที่จ าแนกประเภทแห่งความหมายตามที่กล่าวฯ ค านี้มาแล้วด้วยอ านาจ แห ่งเดียรถีย์เพราะในอรรถกถาท่านจ าแนกไว้อย่างนั้นฯ บทว่า สาสเนปิได้แก่ แม้ในศาสนานี้ฯ อีกอย่างหนึ่ง เข้าใจผิดซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์อันไม่มีอยู่ในตนว่า“มีอยู่”ฯ อีกอย่าง หนึ ่งได้แก่กุหนวัตถุ ๓ ประการนี้คือการพูดเลียบเคียงการแสร้งปฏิเสธปัจจัย การวางท่าอาศัย อิริยาบถฯ บทว่า ตาทิโสวได้แก่ ผู้เป็นอยู่เศร้าหมองนั่นเอง ด้วยสามารถแห่งการสมาทานธุดงค์ฯ อธิบายว่า เราจักเป็นผู้มีความสุขได้ง่ายด้วยการเกิดในทุคติทั้งหลายฯ [๓๘๓] บทว่า อสุกฏ ฺฐฃานโต ได้แก่ แต่ภพโน้นฯ บทว่า อาคตา ได้แก่ มาแล้วในที่นี้ด้วย สามารถแห่งความบังเกิดฯ สองบทว่า อิทานิ คนฺตพ ฺพฏ ฺฐฃาน ได้แก่ ที่พึงบังเกิดต่อไปฯ บทว่า ปุน อ ุปปตฺตึได้แก ่ เข้าถึงภพที ่ ๓ แต ่ภพมีในระหว่างหามิได้ต่อไปฯ บทว ่า ป ุน อ ุปปตฺติได้แก่ความ ๕๕๗ ที.สี. (บาลี) ๙/๑๗๑/๕๕, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๔๔๐/๓๘๙, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๙๔-๙๕/๗๐,๗๑, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๙๑, ๑๑๖/๗๓,๑๐๒, ส .ข. (บาลี) ๑๗/๒๑๐/๑๗๐, อภิ.สงฺ. (บาลี) ๓๔/๑๒๒๑/๒๗๙, อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/ ๙๓๘/๔๕๗.


๔๐๖ เกิดขึ้นบ่อย ๆฯ สองบทว่า เกน การเณน ได้แก่ ก็ผู้ไม่รู้ความเป็นจริง พึงต าหนิอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย อ านาจแห่งริษยาโทสะ ส่วนเรารู้อยู่ตามเป็นจริงจึงไม่ต าหนิทั้งหมดนั้นด้วยเหตุอะไร อธิบายว่า ย่อม ไม่มีเหตุนั้น ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า “ครหิตพ ฺพเมว”เป็นต้นฯ บทว่า ตมต ฺถ ได้แก่ต าหนิสิ่งที่ควร ต าหนิเท่านั้น และสรรเสริญสิ่งที่ควรสรรเสริญฯ ใคร ๆ ย ่อมไม ่กล ่าวว ่า “น สาธุ”เพราะความเป็นไปด้วยสามารถแห่งการยังประโยชน์ที่ เป็นทิฏฐธัมมิกะและที่เป็นในสัมปรายิกะให้ส าเร็จนั่นแล เป็นความเป็นไปที่เจริญฯสองบทว่า ปญ ฺจวิธ เวร ได้แก่ เวร ๕ อย่างมีปาณาติบาตเป็นต้นฯ ก็เวรนั้นเรียกว่า “เวร” เพราะเป็นศัตรูของศีล ๕ และ เพราะเป็นเหตุแห่งเวรของสัตว์ทั้งหลายเพราะเหตุนั้นนั่นแล ใคร ๆ ย ่อมไม ่กล ่าวเวรนั้นว่า“ดี” อนึ่ง เรียกว่า “เวร” เพราะไม่ยังทิฏฐธัมมิกัตถะเป็นต้นให้ส าเร็จและเพราะประทุษร้ายภาวะที่ดีของสัตว์ ทั้งหลายฯ บทว่า น นิรุนฺธิตพ ฺพ ได้แก่ ไม่พึงห้ามในการถือเอารูปฯ มีอธิบายค าเหล่านั้นว่า ก็การได้ จักษุ มีความหมายว่าเห็นรูปที่ควรเห็นฯ ความไม่ส ารวมในทวาร ๕ ด้วยสิ่งที่ยอดเยี่ยมอันใด เป็น ความดีความส ารวมในทวาร ๕ นั้นด้วยสิ่งอันยอดเยี่ยมนั้น เป็นความดีหามิได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ปุน ย เต เอกจ ฺจนฺติ ปญ ฺจท ฺวาเร ส วร ”ฯ อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอธิบายแม้ในค านี้อย่างนี้ว่า หลายบทว่า ย เต เอกจ ฺจ วทนฺติ สาธุ ความว่า เดียรถีย์ทั้งหลายผู้อันคนทั้งหลายกล่าวว่า “เอเก สมณพฺราหฺมณา” นั้น ย่อมกล่าวเหตุใด มีอัตตกิลมถานุโยคเป็นต้นว่า “ดี” เราหากล่าวเหตุนั้นว่า “ดี” ไม่ฯ หลายบทว่า ย เต เอกจ ฺจ วทนฺติ น สาธุความว่า ก็เดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวการบริโภคปัจจัยโดยไม่มีโทษ และสัมมาปฏิบัติมีนุ่งเรียบร้อย และห่มเรียบร้อยเป็นต้นใดว่า “ไม่ดี” เรากล่าวสิ่งนั้นว่า “ดี”ฯ หมวด ๔ มีปรวาทะเป็นมูลใดอันท่านแสดงแล้วอย่างนี้ พระอรรถกถาจารย์เมื่อประกาศ หมวด ๔ นั้นนั่นแลว่า แสดงแล้วท าให้มีสกวาทะเป็นมูลอีก จึงกล่าวว่า “เอว ” เป็นต้นฯ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เสมอด้วยสิ่งใด ก็เสมอแม้ด้วยสิ่งนั้นนั่นแล แม้ที่ไม่เสมอก็อย่างนั้นฯ บทว่า สมานาสมานต ได้แก่ เพียงความเสมอกันและไม่เสมอกันฯ ก็การละธรรมที่พึงละโดยไม่มีส่วนเหลือย่อมปรากฏในสกวาทะ หาปรากฏในปรวาทะไม่ฯอนึ่ง การยังธรรมที่พึงให้ถึงพร้อมให้ถึงพร้อมกันที่บริบูรณ์นั่นแลปรากฏใน สกวาทะ ไม่ปรากฏในปรวาทะฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ตฺยาห ” เป็นต้นฯ พรรณนาสมนุยุญชาปนกกถา [๓๘๕] สองบทว่า ลท ฺธึ ปุจ ฺฉนฺโตได้แก่ ถามอยู่ซึ่งลัทธิว่า “พระสมณโคดม ละสังกิเลส ธรรมโดยไม่เหลือประพฤติอยู่หรือ หรือว่า คณาจารย์เหล่าอื่น ท่านจงกล่าวลัทธิของตนก่อนฯสองบท ว่า การณ ปุจ ฺฉนฺโต ได้แก่ ถามอยู่ซึ่งเหตุว่า “เกน การเณน เอวมตฺถ คาหย” ในเมื่อกล่าวตอบว่า “สมโณ โคตโม ส กิเลสธมฺเม อนวเสส ปหาย วตฺตติ” ดังนี้ฯ สองบทว่า อุภย ปุจ ฺฉนฺโตได้แก่ ถาม อุปมาและอุทาหรณ์ทั้งสองต่างโดยที่เหมือนกันและไม่เหมือนกัน เพื่ออันกล่าวเหตุว่า “อิท นาเมตฺถ การณ ”แล้ว ยังเหตุให้สมบูรณ์ โดยคล้อยตามและโดยตรงกันข้าม ในเมื่อเนื้อความที่รู้เฉพาะแล้วอัน


๔๐๗ ตนให้ส าเร็จอยู่ ชื่อว่าถามอยู่ทั้งสองอย ่าง ได้แก่เมื่อความต้องการตามที่ปฏิญญาอันตนให้ส าเร็จแล้ว เพราะความถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓ อย ่างแห่งเหตุ กล ่าวอยู ่ คือกล ่าวย ้าอยู่โดยชอบนั ่นเทียวใน ภายหลัง ชื่อว่ากล ่าวตามในภายหลังโดยชอบฯ บทว่า อุปส หริต ฺวา ได้แก่ น าเข้าไปแล้วฯ ค าว่า “กึ เต”เป็นต้น เป็นการแสดงถึงอาการน าเข้าไปฯ บทว่า ทุติยปเท ได้แก่ ในบทนี้ว่า “ส เฆน วา ส ฆ ”ฯ บทว ่า ตมตฺถ ได้แก ่ ซึ ่งประโยชน์กล ่าวคือการละธรรมที ่พึงละโดยไม่มีส ่วนเหลือแล้ว ประพฤติเป็นไป และกล่าวคือการสมาทานธรรมที่พึงสมาทานโดยไม่มีส่วนเหลือแล้วประพฤตินั้นฯ บทว่า โยเชต ฺวา ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยบทมีบทที่เป็นอกุศลเป็นต้นฯ ชื่อว่าสังขาตะ เพราะถึงการ นับว่า เป็นอกุศล เพราะอรรถว่า ไม่เกิดกุศล และว่า อกุศล เพราะอกุศลนั้นนั่นเองฯ บรรดาบทเหล่า นั้น ด้วยบทต้น กล่าวถึงอกุศลโดยส่วนเดียว ด้วยบทที่ ๒ กล่าวอกุศลที่สหรคตกันนั้น และธรรมที่เป็น ปฏิปักษ์กันนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “โกฏฺฐฃาส วา กตฺวา ฐฃปิตา”อธิบายว่า ก าหนดโดยความ เป็นธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลฯ ความหมายว่ามีโทษ คืออรรถว่ามีความผิด เพราะมีปริยายที่พึงติเตียน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สาวชฺชาติ สโทสา”ฯ ชื่อว่าผู้เป็นอริยะทั้งหลายได้แก่ผู้ไม่มีโทษ ก็ อริยะเหล่านี้ เป็นผู้ไม่มีโทษแม้ในที่ไหน ๆ ก็หามิได้ เพราะเหตุนั้น คนทั้งหลาย ชื่อว ่าเป็นผู้ไม ่ควร คือ ไม ่สามารถเพื่ออันเป็นพระอริยะ เพราะอรรถว ่าไม ่มีโทษฯ [๓๘๖-๓๙๒] ค าว่า ย นั่น เป็นปฐมาวิภัติลงในเหตุ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เยน วิญ ฺญู”ฯ ค าว่า ย วา ปน นั่น เป็นการกล่าวไม่ยกย่องว่า “ย ปน กิญฺจิ” เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ย วา ต วา อปฺปมตฺตก ”ฯ ชื่อว ่าคณาจารย์ทั้งหลายมีท่านปูรณะเป็นต้นฯ ความถึงพร้อมแห่งพระ ศาสดา แม้อันความถึงพร้อมแห่งพระสงฆ์ย่อมให้เจริญ เพราะความที่พระสงฆ์มีเพราะพระศาสดา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ส ฆปส สายปิ สต ฺถุเยว ปส สาสิท ฺธิโต”ฯ ก็ความสรรเสริญนั้น เป็นเหตุ แห่งความเลื่อมใส เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงความสรรเสริญนั้นโดยมุ่งถึงความเลื่อมใส ท่านจึงกล่าวค า ว่า “ปสีทมานาปิ หิ” เป็นต้นฯ ในค านั้น ด้วย ปิ-ศัพท์ พึงทราบว่ารวมความสรรเสริญโดยคล้อยตาม กัน ฉันใด ความไม่เลื่อมใสในสาวกทั้งหลาย เพราะปฏิบัติผิดต่อพระศาสดา และในพระศาสดา เพราะ ปฏิบัติผิดต่อสาวก ก็รวบรวม ฉันนั้นฯ บทว่า สรีรสม ฺปต ฺตึได้แก่ รูปสมบัติอธิบายว่า ความบริบูรณ์ แห ่งรูปกายฯ ชื ่อว ่าย ่อมมีผู้กล ่าวได้แก่มีผู้มีประมาณในรูป และผู้มีประมาณในโฆสธรรมฯ พึง ประกอบอีกว่า ภวนฺติ วต ฺตาโรด้วยสามารถแห่งผู้มีประมาณในธรรมนั่นแลฯ พึงน ามาสัมพันธ์ว่า ยา ส ฆสฺส ปส สาฯ ในบุคคลที่ควรสรรเสริญเหล่านั้น ความที่พระพุทธเจ้าและพุทธสาวกควรสรรเสริญอันใด ความเป็นแห่งความที่บุคคลเหล่าอื่นควรสรรเสริญนั้นเป็นอันประกาศแล้ว เพื่ออันน าความเป็นผู้ควร สรรเสริญนั้นไปแสดงด้วยสามารถแห ่งการแสดงวิรัติ ปหานะ และสังวร ท ่านจึงกล ่าวค าว่า “อยมธิป ฺปาโย” เป็นต้นฯ บรรดาค าเหล่านั้น วิรัติที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค ชื่อว่าเสตุฆาตวิรัติฯ บทว่า วิปสฺสนามต ฺตวเสน ได้แก่ด้วยสามารถเพียงแสดงวิธีต่างๆ ว่า “อนิจฺจ ” หรือว่า “ทุกฺข ”ดังนี้ แต่หาใช่ สามารถพิจารณาสังขารยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์อันมีการก าหนดนามรูปและถือเอาปัจจัยเป็นเบื้องต้นไม่ฯ


๔๐๘ บทว่า อิตรานิได้แก่ สมุจเฉทะ ปฏิปัสสัทธิ นิสสรณะ และปหานะฯ ท่านกล่าวค าว่า “เสส ” หมายเอา สังวร ๕ หมวดนี้ว่า ศีลสังวรทั้งหมดอันอื่นจากศีล ๕ ขันติสังวรอันปริสุทธิ์ดีที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยว่า “ขโม โหติ” เป็นต้น ญาณสังวรกล่าวคือมรรคญาณอันถอนกิเลสที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า “ปญฺญาเยเต ปิธิยฺยเร” อินทรียสังวรอันบริสุทธิ์ซึ่งเป็นไปด้วยสามารถแห่งการปิดอินทรีย์อันมีใจเป็นที่ ๖ วิริยสังวร กล ่าวคือสัมมัปปธานที่ท่านกล ่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว ่า “อนุป ฺปนฺนาน ปาปกาน อกุสลาน ธมฺมาน อนุปฺปาทาย” ๕๕๘ฯ ค าว่า ปญ ฺจ โข ปนิเม ปาติโมกฺขุท ฺเทสา เป็นต้น เป็นการแสดงความที่ศีลในศาสนา มีมาก แล้วถือเอาศีลสังวรตามที่กล่าวแล้วนั่นแล เพื่อแสดงความตั้งมั่นแก่ชนเหล่าอื่นในเอกเทศนั้นนั่น แลฯ พรรณนาอริยมรรคมีองค์ ๘ [๓๙๓] บทว่า สีหนาท ได้แก่ บันลืออันประเสริฐสุด อธิบายว่า บันลือของผู้ที่ไม่กลัว คือ บันลืออันใคร ๆ ไม่เคยให้เป็นไปฯ เพื่อการหยั่งรู้ความไม ่วิปริตอย ่างนี้ว่า “วาทะของเราตามที่กล่าว แล้วนี้ ไม่ผิด ความที่วาทะนั้นไม่ผิดด าเนินตามมรรคนี้ พึงรู้โดยเป็นปัจจัยต่อไป”ฯ ในค าว่า “อต ฺถิ กสฺสป”เป็นต้น ในที่นี้ มีโยชนาว่า เขาจักรู้โดยประจักษ์ด้วยตนเองเลยทีเดียวว่า พระสมณโคดม ด าเนินไปสู่หนทางใด เมื่อตรัส ชื่อว่าย่อมตรัสซึ่งค าที่เป็นจริงเพราะความเป็นค าแท้ ซึ่งประโยชน์ เพราะความเป็นแห่งการน ามาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลโดยส่วนเดียว ซึ่งธรรม เพราะไม่ไปปราศจากธรรม ซึ่งวินัย เพราะประกอบด้วยความก าจัด และเพราะก าจัดบุคคลเหล่าอื่น ในกาลที่ถึงแล้วซึ่งความเป็น กาลอันควร กัสสปะ มรรคนั้นอันเราท าให้แจ้งด้วยอภิญญาประกาศแล้วเอง ซึ่งเป็นแดนสลัดออกจาก ความทุกข์ในวัฏฏะ ทั้งสิ้นมีอยู่ และบุพพภาคปฏิปทานับว่าเป็นอุบายในการบรรลุมรรคนั้นฯ ด้วยเหตุ นั้น วาทะอันเป็นไปโดยนัยว่า “สมโณ โคตโม อิเม ธมฺเม” เป็นต้น อันใคร ๆ ก็ให้ไหวไม่ได้ ย่อมแสดง ว่า บรรลือเพียงดังสีหะตามที่เป็นจริงฯ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงมรรคและปฏิปทาท าให้เป็นโดยความเป็นอันเดียวกัน เหมือน ในค าว่า “เอวเมต ยถาภูต สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ” เป็นต้น ฉะนั้นฯ ตรัสพระด ารัสว่า “อยเมว” เพื่อ ทรงห้ามความที่มรรคหลากหลาย เพื่อทรงแสดงความที่มรรคทั่วไปแก่พระอริยะทั้งปวง และเพื่อทรง แสดงความที่มรรคปรากฏในพระศาสนาฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้ในส่วนเฉพาะแห่ง พระสูตรทั้งปวงว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว” ๕๕๙ และว่า“ทางนี้เท่านั้นย่อมไม่มีทางอื่นเพื่อ ความหมดจดแห่งทัสสนะ” ๕๖๐ และว่า ๕๕๘ ที.ม. (บาลี) ๑๐/๔๐๒/๒๖๗, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๓๕/๙๕, ส .ม. (บาลี) ๑๙/๘/๗, อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/ ๒๐๕/๑๒๕. ๕๕๙ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑, ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๐๕/๑๐๑, ส .ม. (ไทย) ๑๙/๓๖๗,๓๘๔,๔๐๙/ ๒๑๑,๒๔๐,๒๖๖. ๕๖๐ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒๗๔/๑๑๗.


๔๐๙ “พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นธรรม อันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล ทรงรู้จักทางอันเป็นทางเดียว ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว จักข้ามและก าลังข้ามโอฆะได้ด้วยมรรคนี้”๕๖๑ฯ และตรัสในส่วนเฉพาะของพระอภิธรรมว่า มรรคนี้อย่างเดียวเท่านั้นปรากฏแล้วอันเรารู้ ทั่วแล้ว และมาแล้วฯ พรรณนาตโปปักกมกถา [๓๙๔] ตบะนั่นแล ชื่อว่าตปอุปักกมะ เพราะต้องก้าวล่วง คือต้องริเริ่ม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ตปารม ฺภา”ฯ ก็ในค านี้ การปรารภ ก็คือการกระท านั่นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ตโปกม ฺมานีติ อต ฺโถ”ฯ บทว่า สมณกม ฺมสง ฺขาตา ได้แก่ อันบุคคลรู้แล้วว่าเป็นกรรมอัน สมณะทั้งหลายพึงกระท าฯ บทว่า นิจ ฺโจโล ได้แก่ ผู้มีผ้าอันสละแล้ว คือผู้มีผ้าอันห้ามแล้วทั้งหมดทั้ง ปวงฯ ชื่อว่านัคคะ (เปลือย)ด้วยการสมาทานวัตรของสมณะเปลือย (นัคคิยวัตร)ฯ ค าว่า “ฐฃิตโกว อุจ ฺจาร กโรติ”เป็นต้น เป็นเพียงตัวอย่างเพราะอเจลกะนั้นสละแม้มารยาท มีการคายออกแล้วบ้วน ปากเป็นต้นฯ ชื่อว ่าย ่อมใช้ลิ้นเลียมือ เพราะไม่ใช้น ้าล้างฯ แม้ในวิกัปที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกันฯ วิธี กล่าวคือการเข้าไปเมื่อบุคคลกล่าวว่า “มานี่ท่านผู้เจริญ” ชื่อว่า เอหิภัททันตะฯชื่อว่าเอหิภัททันติกะ เพราะอรรถว่า ประพฤติวิธีนั้น เอหิภัททันตะนั้น ชื่อว่า นเอหิภัททันติกะ เพราะห้ามวิธีนั้นฯ ชื่อว ่า ย ่อมไม ่กระท า เพราะอธิบายว ่าชื ่อว ่าอันสมณะไม ่ควรเป็นผู้ท าตามค าพูดของบุคคลอื่นฯ บทว่า ปุเรตร ได้แก่ก่อนแต่การเข้าไปสู่ที่นั้นของตนฯ ได้ยินว่า อเจลกะนั้นย่อมไม่รับเอาซึ่งภิกษานั้น ด้วย ประสงค์ว่า “ภิกษาที่ตนปรารถนานั่นแล ชื่ออันภิกษุพึงรับเอา”ฯ ย่อมไม่รับเอาภิกษาที่บุคคลท าอุทิศ ถวาย ด้วยประสงค์ว่า “สัตว์เล็ก ๆ จ านวนมากถึงความล าบาก เพราะมีเราเป็นเหตุ”ฯ ชื่อว ่าย ่อมไม ่ ยินดีการเชื้อเชิญ ด้วยประสงค์ว่า เมื่อท าอย่างนี้แล้ว จักเป็นการท าตามค าสั่งของพวกเขา”ฯอเจลกะ นั้นเป็นผู้มีความส าคัญแม้ที่ปากหม้อเป็นต้นว่าสัตว์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กุม ฺภีกโฬปิโย” เป็นต้นฯ บทว่า กพฬนฺตราโย ได้แก่ เป็นอันตรายต่อค าข้าวฯ ชื่อว่าสังกิตติเพราะอรรถว่า มีการ ประชุมกันแล้วก าหนดด้วยสามารถแห่งส่วนเสมอกันแห่งบ้านเป็นต้น การสั่งสมข้าวสารที่เขาน าไป พร้อมเป็นต้น (ข้าวสารหัก) ก็อย่างนั้นฯ ค าว่า มนุษย์ได้แก่ มนุษย์ผู้ท าการขวนขวายฯ ๕๖๑ ส .ม. (ไทย) ๑๙/๓๘๔,๔๐๙/๒๔๑,๒๖๗, ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๑๙๑/๕๓๙.


๔๑๐ บทว่า สุราปานเมวได้แก่การดื่มสุราอันถึงลักษณะแห่งน ้าเมานั่นเองฯ ก็ในค านี้แม้เมรัย ท่านก็รวมเอาไว้แม้ด้วย สุรา-ศัพท์ฯชื่อว่าเอกาคาริกะเพราะอรรถว่า แสวงหาเรือนหลังเดียวเท่านั้นฯ ชื่อว่าเอกาโลปิกะ เพราะอรรถว่า เป็นไปด้วยการกลืนค าเดียวเท่านั้นฯ ชื่อว่า ทัตติเพราะอรรถว่า เป็นเหตุอันเขาให้ฯ ได้แก่ภาชนะที่ให้ภิกษาอันเล็ก ๆ ซึ่งรับค าข้าวได้ประมาณ ๒-๓ ค า ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ขุท ฺทกปาติ”ฯ ชื่อว่าเอกาหิกะ เพราะอรรถว่า มีวันเดียวด้วยสามารถแห่งการไม่ บริโภค ได้แก่อาหารฯ ซึ่งอาหารที่บริโภคได้ ๑ วันนั้นฯ ก็โดยความหมาย เอกาหิกะนั้น ได้แก่อาหารที่ มีขึ้นวันเดียว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เอกทิวสนฺตริก ”ฯ แม้ในค าว่า “ทฺวีหิก ” เป็นต้น ก็นัยนี้ เหมือนกันฯ การไม่บริโภควันหนึ่งแล้วบริโภควันหนึ่ง ชื่อว่าเอกาหวาระ (วันเว้นวัน) โดยความหมาย ค านั้นก็ได้แก่เอกาหิกะนั่นเองฯ การไม่บริโภค ๒ วันแล้วบริโภค ๒ วัน ชื่อว่าทวีหวาระฯแม้ใน ๒ บท ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกันฯ ส่วนอเจลกะผู้ถืออย่างอุกกฤษฏ์เป็นผู้บริโภคภัตรได้โดยปริยาย ไม่บริโภค ๒ วันบริโภควันเดียวเท่านั้นฯ แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกันฯ [๓๙๕] บทว่า กุณ ฺฑก ได้แก่ ครึ่งหนึ่งของข้าวสารซึ่งเบาบางกว่า (ร าข้าว)ฯ [๓๙๖] ผ้าที่เกิดจากปอ คือเปลือกปอ ชื่อว่าผ้าป ่าน (สาณะ)ฯ ผ้าผสมกัน ชื่อว่ามสาณะ คือ ไม่ใช่ผ้าทอด้วยด้ายทั้งหมดฯ ด้วย อาทิ-ศัพท์ว่า เอรกติณาทีนิรวมถึงเปลือกต้นรัก เปลือกปอ และใยแก้วเป็นต้นฯ ก็ผ้าทั้งหลายที่ท าด้วยตะไคร้น ้าเป็นต้น ย่อมได้ความเป็นผ้าที่ควรกล่าวว่า ผ้าห่อ ศพ ผ้าเลว ๆฯ การประกอบตามอุกกุฏิกวัตร ด้วยสามารถแห่งมิจฉาวายามะนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า “อุกฺกุฏิกวีริย อนุยุต ฺโต”ฯอีกอย่างหนึ่ง พื้นปกติซึ่งเสมอเรียกว่า ถัณฑิละ เหมือนในค าว่า “ปตฺถณฺฑิเล ปาตุรโหสิ” ๕๖๒ เป็นต้น ฉะนั้น เพราะฉะนั้น ค าว่า ถณ ฺฑิลเสย ฺย จึงมีค ากล่าวอธิบายไว้ว่า การนอนบนพื้นปกติอันเว้นจากพื้นมีที่นอนใหญ่ฯ สองบทว่า ลท ฺธ อาสน ได้แก่อาสนะตามที่ได้เพื่อ อันนั่งฯ บทว่า อโกเปต ฺวาได้แก่ ไม่ลุกไปในที่อื่น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ตต ฺเถว นิสีทนสีโล”ฯ ก็อเจลกะนั้น ชื่อว่าไม่ทิ้ง คือไม่ละ ได้แก่ไม่ยังการนั่งนั้นให้ก าเริบฯคูถ ท ่านเรียกว ่า วิฏกะเพราะท า อธิบายว่า เกิดเป็นรูปแปลก ๆ ตามที่อาศัยอยู่ฯ ก็บรรดาวัตตบทเหล่านี้ วัตตบทว่า “อเจลโก โหติ” เป็นต้น จนถึงวัตตบทนี้ว่า “น ถุโสทก ปิวติ” เป็นวัตตบทมีวาระเดียวฯ วัตตบทว่า “เอกาคาริโก วา” เป็นต้น เป็นวัตตบทมีวาระต่างๆ หรือ ว่า มีกาลต่าง ๆฯ วัตตบทว่า “สากภกฺโข วา” และวัตตบทว่า “สาณานิปิ ธาเรติ” ก็เป็นอย่างนั้นฯ จริงอย่างนั้น ในวัตตบทเหล่านี้ ท่านท าการถือเอาด้วย วา-ศัพท์ และ ปิ-ศัพท์ฯแม้ปิ-ศัพท์ก็พึงทราบ ว่ามีอรรถเป็นวิกัปปะฯ แต่ในค าก่อน ๆ ท่านมิได้กระท าฯ ก็เพราะท าอย่างนี้แล้ว ท่านกล่าวว่า “อเจล โก โหติ” แล้วกล่าวว่า “สาณานิปิ ธาเรติ” เป็นต้น และกล่าวว่า “รโชชลฺลธโร โหติ” แล้วกล่าวว่า “อุทโกโรหนานุโยคมนุยุตฺโต” ก็ไม่ผิด คือส าเร็จได้ฯ อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้จะมีความผิดอะไรเพราะคิด ไม ่ผิดฯ เพราะติตถิยวาทะ ก็เช ่นกับกระบุงของคนบ้าฯอีกอย ่างหนึ่ง พึงทราบว่า ท ่านเริ่มต้นว่า ๕๖๒ ม.ม. (บาลี) ๑๓/๔๑๐/๓๙๖


๔๑๑ “อเจลโก โหติ” เมื่อแสดงอัตตกิลมถานุโยคแม้ทั้งหมดโดยความเกี่ยวข้องกันนั้น จึงกล่าวว่า “สาณา นิปิ ธาเรติ” เป็นต้นฯ พรรณนาตโปปักกมนิรัตถกตา [๓๙๗] บทว่า สีลสม ฺปทาทีหิ วินา มีโยชนาว่า เว้นจากสัมปทาที่เป็นโลกุตตระเหล่านี้ คือ สีลสัมปทา สมาธิสัมปทา ปัญญาสัมปทา ความเป็นสมณะหรือความเป็นพรหมย่อมไม่มีในกาลไหน ๆ และเพราะเหตุที่ความนั่นเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงความที่ความเพียรเพื่อตบะ ของอเจลกะเหล่านั้นไม่มีประโยชน์ฯค าว่า “โทสเวรวิรหิต ” นี้ท่านกล่าวเพราะโทสะเป็นข้าศึกโดยตรง ของเมตตา อีกอย่างหนึ่ง ด้วย โทส-ศัพท์ ท่านรวมเอาสังกิเลสธรรมที่เป็นข้าศึกต่อฌานแม้ทั้งหมด ด้วยเวร-ศัพท์ รวมเอาสัตว์ที่เป็นศัตรูฯ ก็การเว้นจากโทษย่อมมีด้วยธรรมอันยอดเยี่ยมใด การเว้นจาก เวรก็ย่อมมีด้วยธรรมอันยอดเยี่ยมนั้นฯ [๓๙๘] ชื่อว่าปกติ เพราะอรรถว่า ด าเนิน คือไป โดยความเป็นวาทะที่ปรากฏ ได้แก่วาทะ ที่ส าเร็จในทางโลกฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปกติ โข เอสาติ ปกติกถา เอสา”ฯ มต ฺตา-ศัพท์ใน ค าว่า มต ฺตายเป็นศัพท์บอกประมาณท าให้มีประมาณน้อยมีเนื้อความน้อย น าเข้าในภายใน เหมือนใน ค าว่า “มตฺตาสุขปริจฺจาคา” ๕๖๓ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อิมินา ปมาเณน เอว ปริต ฺต เกน”ฯ ก็ล าดับของการปฏิบัติ ที่ถึงปกรณ์ พึงละด้วยประมาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปฏิปต ฺติกเมน”ฯ บทว่า สพ ฺพต ฺถ ได้แก่ ในวาระทั้งปวงฯ [๓๙๙] สองบทว่า อญ ฺญถา วทถความว่า ถ้าว่า ความเป็นแห่งสมณะหรือความเป็นแห่ง พรหม จักมีโดยความเป็นอเจลกะเป็นต้นไซร้ สมณะก็รู้ได้ง่าย พราหมณ์ก็รู้ได้ง่ายฯ แต่ว่าเพราะเหตุที่ ท ่านกล ่าวความเป็นสมณะและความเป็นพรหมโดยประการอื ่นจากนี้ ฉะนั้น สมณะก็รู้ได้ยาก พราหมณ์ก็รู้ได้ยากด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อิท สนฺธายาห”ฯ ค าว่า ต ปกติวาท ปฏิกฺขิปิต ฺวา ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงเก็บความเป็นสมณะและความเป็นพรหมอันเป็นปกติใดไว้ในพระหทัย ตรัสว่า “ทุกฺกร ” เป็นต้น แม้พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า “ปกติ โข เอสา” เป็นต้น ทรงหมายเอาความ เป็นสมณะและความเป็นพรหมนั้นนั่นแลฯ ส่วนในที่นี้ ทรงห้ามปกติวาทะนั้นอันเป็นวิสัยแห่งสมณะ และพราหมณ์ตามปกติ คือรื้อ อย่างไร เมื่อทรงท าให้แจ้ง คือเมื่อทรงประกาศ ความที่สมณะและ พราหมณ์รู้ได้ยาก โดยสภาวะคือโดยปรมัตถ์ฯ บทว่า ตต ฺราปิได้แก่ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล แม้ใน สมณพราหมณวาทะฯ ๕๖๓ ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๒๙๐/๖๗.


๔๑๒ พรรณนาสีลสัมปทา สมาธิสัมปทา และปัญญาสัมปทา [๔๐๐-๔๐๑] บทว่า ปณ ฺฑิโตได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นแห่งบัณฑิตอันส าเร็จแต่เหตุ สัมปทาฯ ชื่อว ่าเรียนเอาแล้วซึ่งกถา คือก าหนดรับเอาแล้วซึ่งเนื้อความอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดง แล้วในที่นั้น ๆ รองรับไว้แล้วซึ่งเทศนาแม้นั้น ด้วยความเป็นผู้ฉลาดด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองอยู่ในภายใน เหมือนประทีปในหม้อฉะนั้นฯ บทว่า ตสฺส จ ได้แก่ อเจละผู้ประกอบตามอุทโกโรหนะอยู่ฯอธิบายว่า เราจะถามสมบัติที่เป็นเหตุให้เป็นสมณะฯ บทว่า สีลสม ฺปทายได้แก่ อิติ-ศัพท์ เป็นอาทยัตถะ ด้วยอิติ- ศัพท์นั้นรวมเอาบท ๒ บทคือ “จิตฺตสมฺปทาย ปญฺญาสมฺปทาย”ฯ ก็ความเป็นแห่งพระอรหันต์ ท่าน สงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ มีอเสกขสีลขันธ์เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อรหตฺตผลเมว สนฺธาย วุตฺต ” เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท ได้แก่ ซึ่งค านี้ฯ พรรณนาสีหนาทกถา [๔๐๒] พระผู้มีพระภาคทรงบันลือพุทธสีหนาทอันยอดเยี่ยม เพราะไม่ทั่วไปแก่บุคคลอื่น และเพราะมีอัตถวิสัยไม่ทั่วไปแก่คนอื่นฯชื่อว่าบริสุทธิ์อย ่างยิ่ง เพราะหมดจดเกินเปรียบโดยส่วนเดียวฯ บทว่า ปรม ได้แก่สูงสุด ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า“อุต ฺตม (สูงสุด)”ฯ ชื่อว่าศีลนั่นแล เพราะเป็นโล กิยศีลฯ ในค านี้มีอธิบายดังนี้ว่า โลกุตตรศีลของพระผู้มีพระภาคไม่ทั่วไปแก่คนอื่นเพราะก าจัดปฏิปักข ธรรมพร้อมทั้งวาสนาได้ฉันใด แม้โลกิยศีลก็ชื่อว่าเสมอด้วยความเสมอเพราะศีลนั้น มีพร้อมโดยความ เป็นศีลที่สมควร เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สมสม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มม สีลสเมน สีเลน มยา สม ”ฯ ท่านกล่าวค าว่า “ยทิท อธิสีล ”เพราะท าพุทธศีลแม้ทั้ง ๒ อย่าง คือ โลกิยศีลและโลกุตตร ศีล ให้เป็นอันเดียวกัน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สีเลปิ”ฯ ค าว่า อิติ อิม ได้แก่สีลวิสัยนี้อย่างนี้ฯ ชื่อว่าปฐมะ เพราะเป็นไปก่อนฯ บทว่า ตปติได้แก่แผดเผา อธิบายว่า ก าจัดฯ บทว่า ชิคุจ ฺฉติได้แก่ ต าหนิคือพักไว้จาก ธรรมอันลามกฯ ชื่อว่าอริยะผู้ไกลจากกิเลสเพราะไม ่มีโทษฯ ควรน าค ามาสัมพันธ์ว่า มคฺคผลสมฺปยุตฺ ตา วีริยสงฺขาตา ตโปชิคุจฺฉาฯชื่อว ่าปรมะ เพราะสูงสุดกว่าคนทั้งหมดฯ ความเป็นแห่งความเป็นหนุ่ม เป็นสาวชื่อว่าโยพพนะ ฉันใด ความเป็นแห่งความรังเกียจ ชื่อว่าเชคุจฉะฉันนั้นฯ ความขาดไปและ ความสงบระงับแห่งกิเลส ชื่อว่าสมุจเฉทปฏิปัสสัทธิวิมุตติฯ ชื่อว่านิสสรณวิมุตติได้แก่พระนิพพานฯ อีกอย่างหนึ่ง สัมมาสังกัปปะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ ที่นับเนื่องด้วยมรรคและผลพึงทราบว่า เป็นสมุจ เฉทปฏิปัสสัทธิวิมุตติด้วยศัพท์ที่ไม ่ได้ระบุถึงเพราะสัมมาวาจาเป็นต้น ระบุไว้ด้วยอธิสีล-ศัพท์ สัมมาวายามะ ระบุไว้ ด้วยอธิเชคุจฉ-ศัพท์ สัมมาทิฏฐิระบุไว้ด้วย อธิปัญญา-ศัพท์ฯส่วนนิสสรณวิมุตติ ก็คือพระนิพพานนั่นเองฯ [๔๐๓] ฐานะอันสงัดจากประชาชนแห่งใดแห่งหนึ่งประสงค์เอาว่า “สุญญาคาร” ในที่นี้ ในฐานะนั้น เว้นพระผู้มีพระภาคทรงบันลือ ย ่อมไม่มีการบันลือ เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว่า


๔๑๓ “เอกโตว นิสีทิต ฺวา”ฯสองบทว่า อฏ ฺฐฃสุ ปริสาสุได้แก่ ในบริษัท ๘ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกาบริษัท ตาวติงสบริษัท มารบริษัท พรหมบริษัท ฯ บทว่า เวสารชฺชานิได้แก่ความเป็นของผู้องอาจ อธิบายว่าความเป็นผู้ไม่มีภัยเพราะไม่มี ความสะดุ้งแต่ที่ไหน ๆ เหตุมีญาณปหานสัมปทาเป็นนิมิตฯ สองบทว่า อาสภ ฐฃาน ได้แก่ฐานะอัน ประเสริฐสุด อธิบายว่า ฐานะอันอุดมฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอาสภะ ได้แก่พระพุทธเจ้าในปางก่อน อธิบายว่าฐานะของพระพุทธเจ้าในปางก่อนเหล่านั้นฯ อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าอาสภะเพราะอรรถว่า ชื่อว่าอาสภะ เพราะฐานะนี้เป็นของผู้องอาจเป็น เหมือนฐานะนี้ของผู้องอาจฯ เหมือนอย่างว่า โคผู้องอาจกล่าวคือโคนิสภะ ใช้เท้าทั้ง ๔ เหยียบแผ่นดิน ด้วยก าลังอันองอาจของตนย่อมยืนโดยการยืนไม่ไหว (ยืนมั่น) ฉันใด แม้พระตถาคตก็ทรงประกอบด้วย ก าลังแห่งพระตถาคต ๑๐ ประการทรงเหยียบแผ่นดินคือบริษัท ๘ ด้วยพระบาทคือเวสารัชชธรรม ๔ อันข้าศึกไร ๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้หวั่นไหวไม่ได้ย่อมทรงด ารงมั่นโดยการด ารงไม่สั่นคลอน ฉัน นั้นฯ ก็เมื่อทรงด ารงอยู่อย่างนี้แลย่อมทรงทราบ คือทรงเข้าถึง ได้แก่ไม่บอกลาฐานะอันองอาจนั้น คือ ทรงยกขึ้นไว้ในพระองค์ฯ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อาสภ ฐฃาน ปฏิชานาติ”ฯ สองบทว่า สีหนาท นทติความว่า เนื้อผู้พระราชา ท่านเรียกว่า “สีหะ” เพราะทนต่อ อันตรายและฆ่ากระบือป่าและช้างตกมันเป็นต้นได้ฉันใด พระตถาคตท่านเรียกว่า“สีหะ”เพราะทรง ทนต่อโลกธรรม เพราะทรงก าจัดปรปวาทะได้ฉันนั้นฯ การบันลือของสีหะ ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ชื่อว่าสี หนาทะฯในค าว่า สีหนาทะนั้น สีหะประกอบด้วยก าลังแห่งสีหะ องอาจในที่ทั้งปวง ไม่มีขนชูชัน ย่อม บันลือสีหนาท ฉันใด แม้สีหะคือพระตถาคตก็ฉันนั้น ทรงประกอบด้วยตถาคตพละ ๑๐ ประการ ทรง องอาจปราศจากขนชูชันในบริษัท ๘ ทรงบันลือสีหนาท อันถึงพร้อมด้วยวิลาสหลากหลายโดยนัยว่า “อิติ รูปํ” ๕๖๔ เป็นต้นฯ สองบทว่า ปญ ฺห อภิสง ฺขริต ฺวา ได้แก่ แต่งเรื่องที่ตนต้องการรู้ตามสมควรแก่ก าลังปัญญา ของตนฯ บทว่า ตง ฺขณ เยวได้แก่ พระผู้มีพระภาคย ่อมทรงวิสัชชนาในขณะแห่งเทพและมนุษย์ทูลถาม เลยทีเดียวด้วยพระปฏิภาณอันเกิดขึ้นตามฐานะฯ พระองค์เมื่อจะทรงวิสัชชนาตามสมควรแก่อัธยาศัย ชื่อว่าทรงยังจิต (ของพวกเขา) ย ่อมให้ได้ยินดีนั่นเทียวฯ สองบทว่า โสตพ ฺพญ ฺจสฺส มญ ฺญ ได้แก่ เพราะ ได้โดยขณะที่ ๙ อันเว้นจากขณะที่ ๘ เทพและมนุษย์เกิดอาทรและเคารพว่า “พระศาสดาของเรา ทั้งหลาย ตรัสพระด ารัสใดเราทั้งหลายจักฟังพระด ารัสนั้น”ดังนี้ ย่อมส าคัญพระด ารัสว่าควรฟัง คือ ควรรับพร้อมเฉพาะด้วยอุตสาหะมากฯ ชื่อว่าผู้เลื่อมใสดีแล้วคือชื่อว ่าเป็นผู้มีจิตเบา คือผู้มีจิตอ ่อน โยน เพราะจิตปราศจากอุปกิเลส ด้วยความรู้ด้วยปสาทะฯ บทว่า ปสนฺนการ ได้แก่ สักการะอันผู้ เลื่อมใสแล้วพึงท า อธิบายว่า การบูชาด้วยอามิสคือธรรมฯ พระอรรถกถาจารย์เมื่อแสดงอามิสบูชาใน ค านั้น กล่าวแล้วซึ่งค าว่า “ปณีตานิ”เป็นต้นฯ ส่วนธรรมบูชาท่านแสดงด้วยค าว่า “ตถต ฺตาย” นี้ฯ บทว่า ตถาภาวาย ได้แก่ เพื่อความเป็นโดยประการที่ธรรมอันพระองค์ทรงแสดงเพื่อสลัดออกซึ่งทุกข์ ๕๖๔ ส .ข. (บาลี) ๑๗/๗๘/๖๙, องฺ.อฏฺฐฃก. (บาลี) ๒๓/๒/๑๒๙ (ปญฺญาสุตฺต).


๔๑๔ ในวัฏฏะ ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ธม ฺมานุธม ฺมปฏิปต ฺติปูรณต ฺถาย”ฯก็ธรรมานุธรรม ปฏิบัตินั้นพึงปฏิบัติตามล าดับใด และเมื่อมีความพรั่งพร้อมในภายใน ธรรมานุธรรมปฏิบัตินั้นย่อมมี ความบริบูรณ์ โดยส่วนเดียวแก่ผู้ปฏิบัติอยู่ เพราะเหตุนั้น เพื่ออันแสดงล าดับนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวค าว่า “เกจิ สรเณสุ” เป็นต้นฯ ค าว่า อิมสฺมึ ปโนกาเส ฐฃต ฺวาได้แก่ ตั้งอยู่ในส่วนแห่งพระบาลีอันแสดงความบริบูรณ์แห่ง กิจคือการบันลือดังสีหะว่า “ปฏิปนฺนา จ อาราเธนฺติ” นั่นฯ บทว่า สโมธาเรตพ ฺพา ได้แก่ พึงรวบรวมฯ ชื่อว่าสีหนาท ๑ เพราะท าอธิบายว่า การบันลือของผู้ประเสริฐที่สุด คือการบันลือของผู้ไม่กลัว อันไม่ สาธารณะ คืออันชนเหล่าอื่นให้เป็นไปไม่ได้ฯ แม้ในสีหนาทที่เหลือก็นัยนี้ฯ สองบทว่า ปุริมาน ทสนฺน ได้แก่ตั้งแต่ต้น จนถึงสีหนาท ๑๐ ข้างต้นนั่นว่า “วิมุตฺติยา มยฺห สทิโส นตฺถิ” ก็ในค านี้ เป็นฉัฏฐีวิภัติ ลงในอรรถนิทธารณะ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เอเกกสฺส”ฯ สีหนาทมีว่า “ปริสาสุ จ นทติ”เป็น ต้น ชื่อว่าเป็นบริวารคือพระผู้มีพระภาคเมื่อทรงบันลือสีหนาทว่า “เอกจฺจ ตปสฺสึนิรเย นิพฺพตฺต ปสฺ สามิ”ย่อมทรงบันลือในบริษัท คือทรงอาจหาญบันลือจนถึงมีอรรถโยชนาว่า “ปฏิปนฺนา อาราเธนฺติ”ฯ ในสีหนาท ๙ แม้ที่เหลือก็อย่างนั้นฯ ค าว่า “เอว ” เป็นต้น เป็นการรวมสีหนาทเหล่านั้นตามที่กล่าวแล้วแล้วแสดงฯสองบทว่า เต ทสได้แก่ สีหนาทเหล่านั้นมีว่า “ปริสาสุ จ นทติ” เป็นต้นฯ สองบทว่า ปุริมาน ทสนฺน ได้แก่ แห่ง สีหนาท ๑๐ ข้างต้นตามที่กล่าวแล้วฯ บทว่า ปริวารวเสน ได้แก่ สีหนาทเป็น ๑๐๐ ซึ่งประกอบด้วย สามารถเป็นบริวารแยกๆ กันฯ สองบทว่า ปุริมา จ ทสได้แก่ และสีหนาท ๑๐ ข้างต้น ซึ่งไม่ประกอบ อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเป็น ๑๑๐ สีหนาท อย่างนี้ฯ สองบทว่า เอว วาทีน วาท ได้แก่ วาทะของ เดียรถีย์ผู้มีวาทะเป็นไปอย่างนี้ฯ บทว่า ปฏิเสเธต ฺวาได้แก่ คัดค้านโดยแสดงความไม่มีความเป็นอย่าง นั้นฯ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงวิภาคแห่งอุปกิเลส และวิภาคแห่งปาริสุทธิโดยนัยว่า “อิธ นิโคฺรธ ตปสฺสี” ๕๖๕ เป็นต้น ในอุทุมพริกสูตร ทรงบรรลือสีหนาทข้างหน้าของนิโครธปริพพาชก พร้อมบริษัท ใด เพื่ออันแสดงสีหนาทนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “อิทานิ ปริสติ นทิตปุพ ฺพ สีหนาท ทสฺเสนฺโต” เป็นต้นฯ พรรณนาติตถิยปริวาสกถา [๔๐๔] บทว่า อิท ได้แก่ ค านี้ว่า “ราชคเห คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต วิหรนฺต ม ฯเปฯ ปญฺห ปจฺฉิ” ในกาลใด นิโครธปริพาชกถามปัญหา และพระผู้มีพระภาควิสัชชนาแก่เขา ในกาลนั้น พระองค์หา ประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏไม่ ก็จริง ถึงกระนั้น พระองค์ก็ประทับอยู่ใกล้พระนครราชคฤห์ เพราะ อธิบายดังว่ามานี้ ท่านจึงกล่าวว่า “ราชคเห คิชฺฌกูเฏ ปพ ฺพเต วิหรนฺต ม ” ก็ในกาลนั้น พระองค์ทรงมี การเสด็จไปที่ภูเขาคิชฌกูฏไม่ขาดสาย ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ย ต ภควา”เป็นต้นฯ บทว่า โยเค ได้แก่ ในนัย อธิบายว่า ในอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกข์ฯ ๕๖๕ ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๕๗/๓๓.


๔๑๕ [๔๐๕] โยชนาว่า ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์เมื่ออยู่ปริวาส ด ารงอยู่ในภูมิสามเณรย่อมอยู่ ปริวาสฯเพราะเหตุที ่อัญเดียรถีย์ที ่ด ารงอยู ่ในภูมิของสามเณรพึงอยู ่ปริวาสไม ่ใช่คฤหัสถ์ต้องอยู่ ปริวาส ฉะนั้น ยังไม ่อยู่ปริวาสเลยก็ได้บรรพชาฯส่วนในค าว่า อากง ฺขติ ปพ ฺพชฺช , อากง ฺขติ อุปสม ฺปท นี้ ปพ ฺพชฺชา-ศัพท์ เป็นเหมือน ทิรต ฺต-ศัพท์ ในค านี้ว่า “ทิรตฺตติรตฺต สหเสยฺย ” ๕๖๖ ด้วยอ านาจความ เป็นค าสละสลวยนั่นเองฯ ด้วย อาทิ-ศัพท์ว่า คามป ฺปเวสนาทีนิพึงทราบว่า รวมเอาความเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้มีหญิงแพศยา หญิงหม้าย สาวเถื้อ บัณเฑาะก์ และภิกษุณี เป็นโคจร ความเป็นผู้ได้ความ ขยันในการงานทั้งสูงทั้งต ่าอันจะพึงช่วยกันท าของเพื่อนสพรหมจารีเป็นต้น ความเป็นผู้มีฉันทะอย่าง แรงกล้าในอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้น ความเป็นผู้ไม่พอใจในการพรรณนาโทษของผู้ที ่ตนมาใน ศาสนานี้ เพื่อสืบต่อด้วยความพอใจและในการพรรณนาคุณของพระรัตนตรัย ความเป็นผู้พอใจในการ พรรณนาคุณและในการพรรณนาโทษทั้งสองอย่างตามล าดับ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อฏฺฐฃ วตฺ ตานิ ปูเรนฺตา”ฯ สองบทว่า ฆ สิต ฺวา โกฏ ฺเฏต ฺวา ได้แก่ขัด คือทุบ เหมือนขัด คือบุทองค า ฉะนั้น ด้วย สามารถแห่งการตรวจสอบอัธยาศัยฯ สองบทว่า คณมชฺเฌ นิสีทิต ฺวา ได้แก่ นั่งเพื่ออนุเคราะห์เขา เหมือนพระสังฆเถระนั่งใน ท่ามกลางภิกษุผู้ครบคณะแห่งอุปสัมปทากรรมฯ บทว่า วูปกฏ ฺโฐฃได้แก่ สงัดแล้วฯ ความไม่ประมาทใน การช าระศีลให้หมดจดแห่งชนผู้เช่นนั้น ส าเร็จได้โดยยังไม่กล่าวไว้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กมฺมฏฺฐฃาเน สิต อวิชหนฺโต”ฯ บทว่า เปสิตจิต ฺโตได้แก่ ผู้มีจิตส่งไปเฉพาะพระนิพพาน คือมีจิตเอนไป ในนิพพานนั้น ได้แก่มีจิตโน้มไปในนิพพานนั้น คือมีจิตเงื้อมไปในนิพพานนั้นฯแม้กุลบุตรโดยชาติ ผู้ถึง พร้อมด้วยอาจาระนั่นแล เป็นผู้มุ่งต่อบรรพชา เพื่อบรรลุความเป็นพระอรหันต์เพราะเหตุนั้น เมื่อท า กุลบุตรแม้เหล่านั้นในสังคหะเดียวกันกับกุลบุตรเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กุลปุต ฺตาติ อาจาร-กุลปุต ฺ ตา”ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สม ฺมเทวาติ เหตุนา ว การเณเนว”ฯ ก็ตามนัยที่ว่า “โอติณฺโณมฺหิ ชาติยา” เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่า “สมฺมเทว” โดยหมายเอาบรรพชาตามที่ทรงพร ่าสอนซึ่งมี ความสลดใจเป็นเบื้องต้น (หมายถึงตจปัญจกรรรมฐาน)ฯ บทว่า เหตุนา ได้แก่ ด้วยญายธรรมฯ บทว่า ปาปุณิต ฺวา ได้แก่ บรรลุคือถึงทับฯ อธิบายว่า ชื่อว ่าให้ถึงพร้อม คือให้ศีล สมาธิและปัญญาที่เป็น อเสขะ ให้ส าเร็จ หรือให้บริบูรณ์ฯ บทว่า นิฏ ฺฐฃาเปตุ ได้แก่ เพื่ออันให้จบลงด้วยสามารถแห่งค าย ้าฯ(ค าลงท้าย)ฯก็พระองค์ ทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือความเป็นพระอรหันต์ด้วยด ารัสนี้นั่นแลว่า “พฺรหฺมจริยปริโยสาน ฯเปฯวิ หาสิ”ฯ ก็พระองค์ทรงตรัสย ้าค าลงท้ายนั้นอันพระธรรมสังคหกาจารย์กล่าวแล้วว่า “อญ ฺญตโร โข ปนาฯเปฯ อโหสิ”ฯ ก็ในค านี้ ค าใดยังไม่ได้จ าแนกไว้โดยอธิบาย ค านั้นเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้นฯ ลีนัตถปกาสนาในอรรถกถามหาสีหนาทสูตรจบฯ ๕๖๖ วิ.มหา. (บาลี) ๒/๕๐/๑๓๒.


๔๑๖ ๙. โปฏฐปาทสูตร พรรณนาเรื่องโปฏฐปาทปริพาชก [๔๐๖] ค าว่า สาวต ฺถิย เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถว่าที่ใกล้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สาวต ฺถิย อุปนิสฺสาย”ฯ ค าว่า เชตสฺส กุมารสฺส วเน ได้แก่ อุทยานอันพระราชกุมารพระนามว่าเชต ทรงให้ปลูกฯ ชื่อว่าอาราม เพราะอรรถว่า เป็นที่รื่นรมย์ใจด้วยความเป็นที่อยู่สบายด้วยการอยู่เป็นต้น แห่งบรรพชิต ได้แก่ วิหารฯ ชื่อว่าโปฏฐปาทะเพราะอรรถว่า เกิดที่เท้าอันสัมผัสได้ฯ ชื่อว่าฉันน ปริพพาชกเพราะเป็นผู้เข้าถึงบรรพชาโดยการปกปิดด้วยร่มผ้าฯ บทว่า พ ฺราห ฺมณมหาสาโล ได้แก่ พราหมณ์ผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้มีสาระมาก เพราะมีทรัพย์มากฯ บทว่า สมย ได้แก่ นิทเทสโดยทั่วไป อธิบายว่า ซึ่งลัทธินั้น ๆฯ บทว่า ปวทนฺติได้แก่ย่อมกล่าวโดยปการะ อธิบายว่า ย่อมกล่าวลัทธิตามที่ พวกตนเรียนมาฯ ด้วยค าว ่า “ปภ ุตโย” นี้ รวมถึงโตเทยยพราหมณ์ ชาณุสโสณิพราหมณ์ และ โสณทัณฑพราหมณ์ เป็นต้น ด้วย อาทิ-ศัพท์ว่า ปริพ ฺพาชกาทโย รวมเอาฉันนปริพาชกเป็นต้นฯ ชื่อ ว่าตินทุกจีระ เพราะอรรถว่าเป็นที่ที่มาแถวต้นมะพลับอยู่คืออารามฯ ที่ชื่อว่าเอกสาลกะ เพราะอรรถ ว่า เป็นที่มีศาลาหลังเดียวอย่างนั้น ในอารามที่มีต้นมะพลับที่มีศาลาหลังเดียวนั้นฯ ญาณของพระผู้มีพระภาคเป็นเหมือนแผ ่ไปในเวไนยสัตว์นั้น เพราะให้อรรถแห่ง เญยยธรรม ชัดเจนโดยไม่มีส ่วนเหลือโดยอาการมากมาย และเพราะความเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สพ ฺพญ ฺญุตญ ฺญาณ ปต ฺถริต ฺวา” เพราะท่านเรียกว่าความเป็นข่ายคือ พระญาณของพระองค์ ความที่เวไนยสัตว์หยั่งลงในภายในข่ายคือพระญาณนั้น กล่าวแล้วในหนหลัง นั่นแลฯ เมื่อทรงท าสมันนาหารเพื่อก าหนดเวไนยสัตว์ ย่อมมีความปรากฏขึ้นก่อน เพราะสัตว์เหล่านั้น เป็นผู้อันพระองค์พึงแนะน านั่นเอง เมื่อเป็นอย่างนั้น ความส าเร็จกิจอันท่านย่อมพิจารณาด้วยอ านาจ แห่งสรณคมน์เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “กึ นุ โข ภวิสฺสตีติ อุปปริกฺขนฺโต”ฯ บทว่า นิโรธ ได้แก่ซึ่งสัญญานิโรธฯ สองบทว่า นิโรธา วุฏ ฺฐฃาน ได้แก่ ซึ่งการออกจากนิโรธนั้น คือซึ่งความเกิดขึ้น แห ่งสัญญาฯ ค าว่าสพ ฺพพุท ฺธาน ญาเณน ส สนฺทิตฺวาความว่า ชนเหล ่านั้นพยากรณ์แล้วและจัก พยากรณ์ซึ่งนิโรธ และซึ่งการออกจากนิโรธ ฉันใด ทรงเทียบเคียงด้วยสามารถแห่งการพยากรณ์ ฉัน นั้นฯ บทว่า หต ฺถิสาริปุต ฺโตได้แก่ บุตรของนายควาญช้างฯ ค าว่า “ยุคนฺธรปพ ฺพต ปริกฺขิปิต ฺวา” นี้ เป็นค าปริกัปว่า “ตาทิส อตฺถิ เจ, ต วิย”ฯ บทว่า เมฆวณ ฺณ ได้แก่จีวรสีเมฆแดง อธิบายว่า เหมือน เมฆงามด้วยแสงเงินฯ บทว่า ปจ ฺจค ฺฆ ได้แก่อันใหม่ยิ่ง บาตรนั้นเรียกว่า “ปัจจัคฆะ”เพราะได้โวหาร อย่างนั้นแต่ต้น หรือเพราะไม่ใช่เครื่องบริโภคของผู้อื่น หรือเพราะการอธิษฐานของพระศาสดาอย่าง นั้นตลอดกาลทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง บาตรนั้นเรียกว่า “ปัจจัคฆะ”เพราะเข้าถึงลักษณะแห่งรัตนะที่ กล่าวแล้วมีศิลาเป็นต้นฯ [๔๐๗] ชื่อว่าด้วยสามารถแห ่งความชอบใจของพระองค์คือด้วยสามารถแห่งอัธยาศัยที่ ด ารงมั่นในพระสัทธรรม อธิบายว่า อันผู้อื่นให้อุตสาหะก็หาไม่ฯ ค าว่า “อติป ฺปคภาวเมว ทิสฺวา” นี้


๔๑๗ เป็นการกล่าวเรื่องที่มีแล้ว คือมีเนื้อความแสดงว่า เวลาภิกขาจารยังไม่ถึงก่อนฯ จริงอยู่ พระผู้มีพระ ภาคเสด็จออกจากวิหารต่อกาลนั่นแล ในกาลนั้น ด้วยด าริว่า “เราจักอนุเคราะห์โปฏฐปาทปริพาชก ด้วยธรรมเทศนาอันมีในส่วนวาสนาฯ ศัพท์ว่า ยนฺนูนาห ในที่อื่นแสดงความสงสัย แต่ในที่นี้ เหมือน แสดงความสงสัย เพราะเหตุไร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “พุท ฺธาน ”เป็นต้น ชื่อว่าความสงสัย ย ่อมไม ่มีเพราะพระองค์ทรงเพิกถอนขึ้นแล้วที่โคนต้นโพธิ์นั่นเองฯ บทว่า ปริวิตกฺกปุพ ฺพภาโค ได้แก่ ปริวิตกอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งกิจที่ประสงค์นั่นเองฯ สองบทว่า พุท ฺธาน ลพ ฺภติความว่า พระพุทธ เจ้าทั้งหลายย่อมได้ คือย่อมมีการเที่ยวไปแห่งจิตนั่น ซึ่งมีว่า “เราจักท า เราจักไม่ท า”ดังนั้น เพราะ เป็นไปด้วยอ านาจแห่งการพิจารณา แต่หาเป็นไปด้วยอ านาจความสงสัยไม่ฯ บทว่า เตนาห ความว่า แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมได้ด้วยเหตุใด ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ยนฺนูนาห ”ฯ อีกอย ่างหนึ ่ง ศัพท์นี้เป็นนิปาต ในความหมายว ่าปริกัปฯ ก็อรรถที ่กล ่าวอยู ่ด้วยบทกิริยาว่า “อุปสงฺกเมยฺย ” นั่นแล ย่อมให้ชัดเจนด้วยบทนิบาตว่า “ยนฺนูน”ฯ โยชนาว่า ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปฯ แม้ค าว ่า ยทิ ปน ก็มีอรรถเสมอกันกับค าว ่า“ยนฺนูน” นั้น เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว ่า “ยทิ ปนาหนฺติ อต ฺโถ”ฯ [๔๐๘] เสียงที่ไปสูง ชื่อว่าอุนนาทะ ฉันใด แม้เสียงที่ไปสูงยิ่งในเบื้องบน โดยความเป็น เสียงแผ่ไปมากก็ชื่อว่าอุนนาทะ ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น เพื่ออันท าทั้งสองนั้นเป็นอย่างเดียวกันแล้วกล่าว ว่า “อุนฺนาทินิยา” ในพระบาลีแล้วแสดงโดยการจ าแนกอีก ท่านจึงกล่าวว่า “อุจฺจาสทฺทมหาสทฺ ทาย”เพราะเหตุนั้น เมื่ออธิบายเนื้อความนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “อุจ ฺจ น ทมานาย”เป็นต้นฯ บทว่า อสฺส ได้แก่ แก่บริษัทฯ บทว่า อุท ฺธ คมนวเสน ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งการขึ้นไป ๆ แล้วเป็นไปเพราะ มากด้วยเสียงอึกทึกฯ สองบทว่า ทิสาสุ ปต ฺถฏวเสน ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปในทิศทั้งปวง โดยความเป็นเสียงอื้ออึง คือโดยยิ่ง ๆ ขึ้นกว่าที่เป็นฯ บัดนี้ พระอรรถกถาจารย์ เมื่อแสดงเหตุแห่ง ความที่บริษัทปริพาชกมีเสียงดังและมีเสียงอื้ออึง และอาการแห่งความเป็นไปแห่งเสียงนั้น จึงกล่าวว่า “เตสญ ฺหิ”เป็นต้นฯ ความยินดีในกามคุณ ชื่อว่ากามัสสาทะฯ ความยินดีที่อยู่ในกามภพเป็นต้น ชื่อ ว่าภวัสสาทะฯ [๔๐๙] บทว่า สณ ฺฐฃเปสิได้แก่ ตั้งไว้แล้วโดยชอบนั่นเทียวด้วยสามารถแห่งความส ารวมฯ ก็ในค านี้การตั้งไว้พร้อม ได้แก่การให้ศึกษาอาจาระ ด้วยสามารถแห่งการให้ละอคารวะในกันและกัน ด้วยดิรัจฉานกถาและการปกปิดโทษตามที่กล่าว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สิกฺขาเปสิ”เป็นต้นฯ บทว่า อป ฺปสท ฺท ได้แก่ เงียบเสียง อธิบายว่า ไม่มีเสียงสูงและเสียงดังฯ บทว่า นป ฺปมชฺชนฺติได้แก่ ไม่ ท าอคารวะฯ [๔๑๐] ค าว่า โน อาคโต อานนฺโท ได้แก่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแล้ว อานันทะคือ ปีติมีอยู่แก่พวกข้าพระองค์ฯ บทว่า ปิยสมุทาจารา ได้แก่การร้องเรียกด้วยความรักฯ เพื่ออันกล่าวว่า “ปจฺจุคฺคมนมกาสิ” แล้วจึงแสดงว่า ปริพาชกนี้ท าความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ที่แท้แล แม้บรรพชิตเหล่าอื่นโดยมากย่อมท าความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเหมือนกัน


๔๑๘ พระอรรถกถาจารย์กล่าวค าว่า “ภควนฺตญฺหิ” เป็นต้น แล้วกล่าวเหตุในค านั้นว่า “อุจ ฺจากุลีนตาย”ฯ ด้วยค านั้นท่านแสดงว่า แม้ผู้ไม่เลื่อมใสในศาสนา ย่อมท าความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคด้วยความ เคารพตระกูลนั่นแลฯ ค าว่า เอตสฺมึ อนฺตเร กา นาม กถา ได้แก่ เรื่องในระหว่างที่ก าหนดตามที่กล่าว นั่นชื่ออะไรฯ ชื่อว่าวิปปกตาได้แก่เรื่องที่ปรารภแล้วยังไม่จบลงฯ พระผู้มีพระภาคเมื่อตรัสว่า “กา กถา วิปฺปกตา”ชื่อว่าย่อมทรงปฏิญญาการให้เรื่องนั้นจบลงโดยความหมายฯ ก็ค าว่า “กา กถา” เป็น โจทนาไม่พิเศษ เพราะเหตุนั้น การให้เรื่องทั้งหมดแม้นั้นใดให้จบลง ย่อมเป็นอันปฏิญญาแล้ว และนั้น ก็ไม่ใช่วิสัยของคนเหล่าอื่น ซึ่งไม่ใช่พระสัพพัญญู เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปริยนฺต เนต ฺวา เทมีติ สพ ฺพญ ฺญุปวารณ ปวาเรสิ”ฯ พรรณนาอภิสัญญานิโรธกถา [๔๑๑] บทว ่า ส ุการณ ได้แก ่ เหตุอันดี คืออันน ามาซึ ่งประโยชน์ ได้แก่อันน ามาซึ่ง ประโยชน์เกื้อกูลฯ ชื่อว่านานาติตถิกะ เพราะอรรถว่า ประกอบในท่าต่างๆ คือในลัทธิต่าง ๆ นานา ติตถิกะนั่นเอง ชื่อว่านานาติตถิยะเพราะท า ก-อักษร ให้เป็น ย-อักษรฯ ชื่อว่าโกตูหละ เพราะอรรถ ว่า เป็นที่มีความโกลาหล โกลาหลนั้นนั่นเอง ชื่อว่าสาลา เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าโกตูหลสาลาด้วยเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า “โกตูหลุป ฺปต ฺติฏ ฺฐฃานโต”ฯ บทว่า สญ ฺญานิโรเธความว่า เทศนานี้โดยมุ่งถึงสัญญา เพราะฉะนั้น ธรรมแม้ทั้งหมดที่สหรคตด้วยสัญญาท่านจึงสงเคราะห์เข้าไว้ ก็จิตเป็นประธานในธรรม นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “จิต ฺตนิโรเธ”ฯ ก็เพราะความดับโดยส่วนเดียวไม่ได้ประสงค์เอา ร่วมกับธรรมเหล่านั้น และเพราะไม่ใช่วิสัย ท่านจึงกล่าวว่า “ขณิกนิโรเธ”ฯ นิโรธแม้นั้นไม่ใช่วิสัยแห่ง ธรรมเหล่านั้นก็จริง ถึงกระนั้น โดยความหมาย ก็คือนิโรธกถาซึ่งกล่าวอยู่ ก็ตั้งอยู่ในธรรมนั้นเช่นกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้นฯ บทว่า กิต ฺติโฆโสได้แก่ความกึกก้องแห่งการชมเชยเผยไป จนถึงภวัคคภูมิว่า โอ! พุทธานุภาพย่อมแสดงเหตุที่ปกปิดไว้ในระหว่างภพ โดยประจักษ์ถึงอย่างนี้ เหมือนผลมะป้อมในมือ ฉะนั้น และยังสาวกด ารงมั่นในสังวรสมาทานอันเช่นนี้ฯ บทว่า ปฏิภาคกิริย ความว่ากระท าความเพียรอันเปรียบด้วยใบไม้แห้ง บทว่า ภวนฺตรสมย ได้แก่ ท าลัทธิคือการอยู่ในภพ นั้น ๆ ได้แก่ลัทธิของตนให้เป็นลัทธิของตนที่เป็นเรื่องที่มีความเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งก าหนด ด้วยเรื่องไม่เป็นจริงฯ สองบทว่า กิญ ฺจิเทว สิกฺขาปท ได้แก่ บัญญัติท าบางอย่างให้เป็นส่วนหนึ่งแห่ง สิกขาบท มีเป็นต้นอย่างนี้ว่า “เอลมูเคน ภวิตพฺพ , เอตฺตก เวล เอกสฺมึเยว ฐฃาเน นิสีทิตพฺพ ”ฯ บทว่า นิโรธกถ ได้แก่ เรื่องนิโรธสมาบัติฯ บทว่า เตสุได้แก่ในพวกเดียรถีย์ สมณะและพราหมณ์ ผู้ประชุมพร้อมกันในโกตูหลศาลาฯ บทว่า เอกจ ฺเจได้แก่ พวกหนึ่งฯ บทว่า ปุริโม ได้แก่ผู้ที่มีปกติกล่าวอย่างนี้ว่า “อเหตู อปฺปจฺจยา”ฯ โยชนาว่า ผู้นี้ใดย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ฯ บทว่า สมาปต ฺตึได้แก่สมาบัติอันน ามาซึ่งความไม่มีสัญญาฯ บทว่า นิโรธเน ได้แก่ ในสัญญานิโรธฯ สองบทว่า เหตุ อปสฺสนฺโต ได้แก่ความดับสัญญาคือความไม่เกิดขึ้น โดยประการทั้งปวงในอสัญญภพด้วยเหตุใด และความเกิดขึ้นแห่งสัญญานั้นในปัญจโวการภพนี้แห่ง สัตว์ผู้จุติแล้วจากอสัญญภพนั้นด้วยเหตุใด ไม่เห็นอยู่ซึ่งเหตุนั้น เพราะไม่ใช่วิสัยฯ


๔๑๙ บทว่า น ได้แก่ ผู้มีปกติกล่าวก่อนฯ บทว่า นิเสเธต ฺวา ได้แก่ ห้ามแล้วอย่างนี้ว่า “ท่านผู้ เจริญ เหตุชื่อนั่นจักไม่มีอย่างนี้แล”ฯ บทว่า อสญ ฺญิกภาว ได้แก่ซึ่งความเป็นผู้ปราศจากสัญญาด้วย อ านาจสัญญาที่ส าเร็จมาแต่การกระท า เพราะถึงความสลบฯก็ท่านจักกล่าวว่า “วิสญฺญีหุตฺวา”ฯ ชื่อ ว่าอัตตันตปะ เพราะยังกิเลสทั้งหลายให้เร่าร้อนด้วยอ านาจวิกขัมภนปหานฯ บทว่า โฆรตโป ได้แก่ ชื่อ ว่าผู้มีภีมตบะ เพราะท าได้โดยยากฯ บทว่า ปริมาริตินฺท ฺริโย ได้แก่ผู้มีอินทรีย์มีจักขุเป็นต้นเหือดแห้ง แล้วโดยประการทั้งปวงเพราะตามเพิ่มให้ซึ่งความเป็นผู้มีความเสพผิดออกแล้วฯ บทว่า ภค ฺโคได้แก่ผู้ มีกุศลอัธยาศัยอันถูกหักแล้วฯ ท่านกล่าวสัญญานิโรธว่า เอวมาห โดยอาการมีว่า “เอว สญฺญา หิ โภ ปุริสสฺส อตฺตา” เป็นต้นฯ ใน ๒ ฐานะอื่นจากนี้ พึงทราบโยชนาตามสมควรตามนัยนี้ฯ บทว่า อาถพ ฺพณปโยค ได้แก่ การประกอบการตามเพิ่มให้ความเป็นผู้ปราศจากสัญญา แห่งผู้สวดอาถรรพณเวท อันเว้นจากอาถรรพณเวทฯ สองบทว่า อาถพ ฺพณ ปโยเชต ฺวา ท่านกล่าว สัญญานิโรธ ด้วยการประกอบการร่ายมนต์ อันมีการบูชาไฟที่มาในอาถรรพณเวทเป็นเบื้องต้น แล้ว แสดงความเป็นผู้มีหัวขาดเป็นต้นฯ บทว่า ตสฺส ได้แก่ ความเป็นผู้มีศีรษะขาดเป็นต้นของบุคคลใดอัน ท่านแสดงแล้ว แห่งบุคคลนั้นฯ บทว่า ยกฺขทาสีน ได้แก่ เทพทาสี ที่กล่าวว่า “เทวตาภติโย” ดังนี้ ก็มีฯ บทว่า มทนิท ฺท ได้แก่ ฝันมีความเมาสุราเป็นเหตุฯ บทว่า เทวตูปหาร ได้แก่การบูชาเทวดาด้วยการฟ้อนและการขับ ร้องเป็นต้นฯ บทว่า สุราปาตึได้แก่สุราเต็มถาดฯ บทว่า ทิวา ได้แก่ ในเวลาลุกขึ้นสายเกินฯ บทว่า เอลมูคกถา วิย ได้แก่ เรื่องของผู้ถือตัวว่าเป็นบัณฑิตเหล่านี้ ซึ่งเช่นกับเรื่องของคน อันธพาลฯ สองบทว่า จต ฺตาโร นิโรเธได้แก่ ซึ่งนิโรธ ๔ อย่างซึ่งไกลกัน ย ่อมบัญญัตินิโรธเหล ่านั่นฯ ก็ นิโรธนั้นไม่ควรมีสภาวะต่างๆ กัน โดยขัดกันและกัน ที่แท้แล ควรมีสภาวะเดียวกัน ด้วยเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า “อิมินา จ”เป็นต้นฯ บทว่า อญ ฺเ เนวได้แก่ พึงเป็นโดยอาการอื่นจากอาการที่กล่าวด้วย นิโรธเหล่านี้นั่นแลฯ การกล่าวซ ้า ๆ ว่า “อย นิโรโธ อย นิโรโธ” ท่านท าเพื่อแสดงให้เห็นว่า พระ ศาสดาจักทรงให้นิโรธที่มีอาการะและโวการะมากมายแจ ่มแจ้ง เพราะความงามแห่งเทศนาของ พระองค์ ศัพท์ว่า อโห ในค าว่า อโห นูน นี้เป็นนิบาตลงในอัจฉริยัตถะ ศัพท์ว่า นูน เป็นนิบาต ลงใน อนุสสรณัตถะฯ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า โอ! พระผู้มีพระภาคเห็นจะพึงตรัสแม้นิโรธทรงกระท าให้ น่าอัศจรรย์ เพราะเทศนาไม่ทั่วไปแก่คนอื่นแน่แท้ฯ ในค าว่า “อโห นูน สุคโต” นี้ ก็มีนัยนี้เหมือนกันฯ ก็การกล่าวถึง ๒ ครั้ง ในที่นี้เพราะอธิบายอัจฉริยะให้ชัดเจน และ อโห-ศัพท์นั้นมีความหมายว่า อัศจรรย์ท่านถือเอาแล้วโดยมุ่งถึงอนุสสรณะ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า “อโห นูนาติ อนุสฺสรณต ฺเถ”ฯ พหุ วจนะว่า อิเมส วิโรธธม ฺมาน เพราะมีประเภทมากมาย โดยจ าแนกเป็นกาลและบุคคลเป็นต้น พึงทราบ ว่า เป็นฉัฏฐีวิภัติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัติเพราะประกอบด้วย กุสล-ศัพท์ฯ บทว่า จิณ ฺณวสิตาย ได้แก่ เพราะวสีภาพอันตนสั่งสมแล้วในนิโรธสมาบัติฯ สองบทว่า สภาว ชานาติได้แก่ ย่อมรู้นิโรธ สภาวะตามเป็นจริงฯ


๔๒๐ พรรณนาอเหตุกสัญญุปปาทนิโรธกถา [๔๑๒] สองบทว่า ฆรมชฺเฌเยว ปกฺขลิตาความว่า บุรุษทั้งหลายผู้ต้องการจะไปนอกเรือน ไม่ข้ามลงสู่หนทาง ถึงการสะดุดพลาด ที่ลานโล่งนั่นแล ซึ่งมีพื้นเรียบเสมอ ทางลงเรือน พึงทราบ อุปไมย อย่างนี้ฯ ประโยชน์ในที่นี้ ด้วยการจ าแนกมีอย่างนี้ว่า เหตุไม่ทั่วไป ปัจจัยทั่วไปเป็นต้น เพราะ โจทนาห้ามความไม่ใช่เหตุแห่งสัญญา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “การณสฺเสว นาม ”ฯ ในพระบาลี ท่านกล่าวไว้ว่า “อุปฺปชฺชนฺติปิ นิรุชฺฌนฺติปิ”ในค านั้น ท่านกล่าวว่า “นิรุชฺฌนฺ ติ” เพื่อแสดงว่า “สัญญาเกิดขึ้นพร้อมเหตุพร้อมปัจจัย ก็สัญญาที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับแน่นอน ย่อมไม่ ตั้งอยู่ หากล่าวเพื่อแสดงความมีเหตุและความมีปัจจัยแห่งนิโรธไม่ฯ เพราะว่า ความเกิดขึ้นมีเหตุ ความดับ (นิโรธ) ไม่มีเหตุฯก็ถ้าว่า แม้นิโรธพึงมีเหตุไซร้ ก็พึงเป็นแม้ความดับแห่งเหตุอันนั้น เหมือน ดับเชื้อสายเป็นต้น และความดับเหตุนั้นย่อมไม่มีฯ เพราะฉะนั้น พึงทราบความในพระบาลีตามนัยที่ กล่าวนั่นแลฯ อนึ่ง นัยนี้ท่านกล่าวไว้ด้วยอ านาจแห่งขณนิโรธ (ดับในขณะ)ฯ ส่วนนิโรธใด เป็นความ ดับโดยไม่เกิดขึ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยอ านาจแห่งกาลตามที่ก าหนด นิโรธนั้นพึงทราบว่า“มีเหตุ” เพราะเว้นจากการปฏิบัติมีรูปอย่างนั้นก็ไม่มีฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “สิกฺขา เอกา สญฺญา นิรุชฺฌติ” ๕๖๗ฯ ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแล แม้ในที่นี้ท่านจึงกล่าวว่า “สญฺญาย สเหตุก อุปฺปาทนิ โรธ ทีเปตุ ”ฯ ในค าว่า สิกฺขา เอกา นี้ ค าว่า สิกฺขา เป็น ปฐมาวิภัติลงในอรรถกรณะ (ตติยาวิภัติ) เอกศัพท์ มีปริยายอย่างอื่น เหมือนในค าว่า “อิตฺเถเก อภิวทนฺติ สโต วา ปน สตฺตสฺส” ๕๖๘ เป็นต้น ไม่ใช่ ศัพท์บอกจ านวนนับ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สิกฺขา เอกา สญฺญา อุปฺปชฺชนฺตีติสิกฺขาย เอกจฺ จา สญฺญา ชายนฺติ”ฯ แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกันฯ [๔๑๓] บทว่า ตต ฺถได้แก่ ในเทศนายิ่งขึ้นไปอีกนั้นฯ ค าว่า สม ฺมาทิฏ ฺฐฃิสม ฺมาสง ฺกป ฺปวเสน ปริยาปนฺนต ฺตา อาคตาความว่า อธิปัญญาสิกขาอันเป็นสิกขาที่ ๓ มาแล้วด้วยสามารถแห่งสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เพราะนับเนื ่องแล้ว คือเพราะท่านสงเคราะห์เข้าแล้วในปัญญาขันธ์ โดยเป็น สภาวะ และโดยเป็นอุปการะฯ จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวค าว่า “อาวุโสวิสาขะ ก็สัมมาทิฏฐิ๑ สัมมา สังกัปปะ ๑ ธรรมเหล่านี้สงเคราะห์ลงในปัญญาขันธ์” ๕๖๙ฯ ก็ในที่นี้ แม้สิกขา ๓ ก็มาแล้วตามนัยที่ กล่าวแล้วนั่นแล ก็จริง แม้ถึงอย่างนั้น ท่านก็แสดงอภิสัญญานิโรธ เพราะอธิจิตตสิกขานั่นเอง นอกนี้ มาแล้วโดยความเป็นองค์ประกอบของอภิสัญญานิโรธนั้นฯ บทว่า ปญ ฺจกามคุณิกราโค ได้แก่ความยินดีอันเกิดขึ้นปรารภส่วนแห่งกามคุณฯ บทว่า อสมุป ฺปนฺนกามจาโร ได้แก่การเที่ยวไปในกามอย่างใดอย่างหนึ่ง อันไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความ ๕๖๗ ที.สี. (บาลี) ๙/๔๑๒/๑๗๘. ๕๖๘ ที.สี. (บาลี) ๙/๘๕-๘๙/๓๓-๓๕, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๒๑/๑๘. ๕๖๙ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๖๒/๕๐๓.


๔๒๑ เป็นธรรมเกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ความเกิดขึ้นแห่งโลภะอย่างใดอย่างหนึ่งฯ การเที่ยวไปในกามอัน แรก พึงทราบว่า เป็นโลภะ อันมีกามคุณเป็นอารมณ์ เพราะก าหนดโดยเป็นอารมณ์ส่วนอันหลังนอก นี้เป็นการเที่ยวไปในโลภะแม้ทั้งหมดต่างโดยความใคร่ในฌานและความยินดีในภพเป็นต้น เพราะ เป็นไปในกามทั้งหลายเพราะอรรถว ่าใคร่ฯ จริงอยู่ธรรมที ่เป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมด ชื ่อว ่ากาม เพราะอรรถว่าอันชนพึงใคร่ฯ ความที่แม้ทั้งสองอย่างนี้ชื่อว่ากามสัญญา พึงทราบด้วยญายธรรมคือ เที่ยวไปร่วมกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงยกทั้งสองนั้นขึ้นแสดงท าการอธิบายขยายบทว่า “กามสญฺญา” ฯ ค าว ่า “ตต ฺถ” เป็นต้น เป็นค าแสดงความแปลกกันแห่งราคะอันเป็นไปในกามคุณ ๕ เพราะเที่ยวไปในกามคุณที่ยังไม่เกิดขึ้นฯ แม้ความยินดี (ราคะ) ที่เป็นไปในกามคุณ ๕ ยังไม่เกิดขึ้นอัน มรรคเพิกถอนขึ้นก็จริง ถึงกระนั้น แม้เมื่อราคะนั้นถูกถอนขึ้นแล้วราคะทั้งหมดยังไม่ถึงการถอนขึ้น เพราะฉะนั้น การถือเอาราคะทั้งหมดนอกนี้จึงยังไม่มี ด้วยการถือเอาราคะที่เป็นไปในกามคุณ ๕ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกระท าการถือเอากามสัญญาในพระบาลี เพื่ออันรวบรวมทั้งสองแล้วแสดงโดย ปริยายอันทั่วไปแก่ทั้งสองอย่างนั้น ดังนั้น จึงแสดงราคะและกามสัญญาทั้งสองอย่างโดยสรุปและโดย พิเศษ แล้วกล่าวว่า “อสมุปฺปนฺนกามจาโร ปน อิมสฺมิ ฐฃาเน วฏฺฏติ” เพราะความเป็นสัพพสังคาหิกะฯ บทว่า สทิสต ฺตา ได้แก่ เพราะเสมอกันโดยเป็นกามสัญญาเป็นต้น ด้วยค านั่นในพระบาลี แสดงว่า “ปุริมา” ด้วยอ านาจแห่งวิกัปที่เช่นกันฯ ก็ที่เป็นอนาคตท่านกล่าวในที่นี้ว่า “นิรุชฺฌติ” เพราะประสงค์เอาที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อนุปฺปนฺนา ว นุปฺปชฺชติ”ฯ สัญญา ชื ่อว ่าวิเวกช ปีติสุขสง ฺขาตา เพราะอรรถว ่า พึงกล ่าวพร้อมกับปีติและสุขใน ปฐมฌาน อันชื่อว่าเกิดแต่วิเวก เพราะเกิดแต่ความสงัดจากนิวรณ์ หรือเป็นไปในส่วนแห่งปีติและสุข ในปฐมฌานนั้นฯ ชื่อว่าสุขุมสัญญา เพราะมีอย่างละเอียด คือเพราะมีอย่างสุขุมด้วยนานัตตสัญญา และปฏิฆสัญญาฯ ชื่อว่ามีแล้ว เพราะความสุขุม คือเพราะมีสภาวะไม่วิปริต โดยความเป็นปรมัตถ์ฯ ความที่ฌานและธรรมที่สัมปยุตด้วยฌานนั้นละเอียดและสุขุม ส าเร็จได้ด้วยภาวนา ย่อมรู้กันได้ด้วย ข ่มนีวรณธรรม เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล่าวว่า “กามจฺฉนฺทาทิโอฬาริกงฺคปฺปหานวเสน ส ุขุมา”ฯ บทว่า ภูตตาย ได้แก่ เพราะมีอยู่ฯ บทว่า สพ ฺพต ฺถ ได้แก่ ในทุกวาระฯ การออก ก็นับเนื่องในฌาน เหมือนการเข้าและการอธิษฐาน เหมือนภังคขณะแห่งธรรม ทั้งหลาย ในธรรมทั้งหลาย หาใช ่อาวัชชนะและปัจจเวกขณะไม ่ เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล่าวว่า “ปฐฃมชฺฌาน สมาปชฺชนฺโต อธิฏฺฐฃหนฺโต วุฏฺฐฃหนโต จ สิกฺขติ” ไม่กล่าวว่า “อาวชฺชนฺโต ปจฺจเวกฺขนฺโต”ฯ บทว่า ต ได้แก่ ปฐมฌานฯ ค าว่า เตน เป็นตติยาวิภัติลงในอรรถเหตุ (เหตวัตถะ) เพราะฉะนั้น จึงมี อธิบายว่า ด้วยปฐมฌานอันเป็นเหตุฯ ก็ความเป็นเหตุในที่นี้ ก็ได้แก่ความที่ฌานเป็นสหชาตปัจจัยเป็น ต้นแก่ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาตามที่กล่าวแล้ว เพราะกามสัญญา เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่นิโรธ ก็แลค า นั้นพึงทราบตามปริยายแห่งพระสูตรฯ และท่านก็พรรณนาไว้อย่างนั้นนั่นแลว่า “ตถารูปาย ปฏิปตฺติ ยา วินา อภาวโต”ฯ บทว่า เอเตนุปาเยน ความว่า นัยนี้ใดอันท่านกล่าวแล้วว่า เป็นเนื้อความในค านี้


๔๒๒ ว่า “สิกฺขา เอกา สญฺญา อุปฺปชฺชติ, สิกฺขา เอกา สญฺญา นิรุชฺฌติ” ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน และ สัญญาที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌานนั้นโดยนัยนี้ฯ บทว่า สพ ฺพต ฺถ ได้แก่ ในทุกวาระฯ [๔๑๔] ก็เพราะเหตุที่ในที่นี้ เมื่อกล่าวความเกิดขึ้นและความดับแห่งสัญญานั้น ๆ ด้วย อ านาจแห่งสมาบัติ ความเกิดขึ้นและความดับนั้น ท่านกล่าวด้วยอ านาจแห่งองค์ เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวว่า “ยสฺมา ปน”เป็นต้น ค าว่า “อง ฺคโต สม ฺมสน ” เป็นการกล่าวลักษณะแห่งการพิจารณา ธรรม ตามล าดับบทฯ เพราะว่า พระโยคาวจร เมื่อท าการพิจารณาธรรมตามล าดับบทถึงสมาบัติแล้ว ย่อมท าการพิจารณาโดยองค์ และสัญญาก็ไม่เป็นองค์อะไร ๆ ของสมาบัติฯ อนึ่ง ท่านกล่าวค าว่า “อิทญ ฺจ สญ ฺญา สญ ฺญาติ เอว อง ฺคโต สม ฺมสน อุท ฺธฏ ”ฯ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อง ฺคโต ความกล่าวว่า อวยวโต (โดยส่วนย่อย) มีค ากล่าวอธิบายว่า ตามล าดับบทธรรมฯ บทว่า ตเทว ได้แก่ อากิญจัญญายต นะนั่นเองฯ ค าว่า ยโต โข เป็นปัญจมีวิภัติลงในอรรถปฐมาวิภัติเพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “โย นาม”เหมือนเนื้อความนี้ว่า “อาทิม ฺหิ” ท่านกล่าวว่า “อาทิโต”เพราะ โต-ศัพท์ แม้มีวิภัติอื่นนอก จากนี้ก็ใช้ได้ฯ เมื่อตนบรรลุได้ด้วยตน สัญญาก็เป็นสัญญาของตน ชื่อว่าสกสัญญีเพราะอรรถว่า มี สัญญาของตนนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อต ฺตโน ปฐฃมชฺฌานสญ ฺญาย สญ ฺญวา”ฯ ก็ในค าว่า สกสญ ฺญา นี้ พึงทราบว่า อี-อักษร ส่องความมีอยู่แห่งฌานสัญญา ในญาณอันดียิ่ง อันเป็นบาทแห่ง นิโรธที่กล่าวอยู่ยิ่งไปอีก ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า “อนุปุพ ฺเพน สญ ฺญค ฺค ผุสติ” เป็นต้นฯ เพราะฉะนั้น จึงทราบได้ว่า ท่านแสดงความเป็นผู้มีวสี (ความช านาญ) อันสั่งสมแล้ว โดยประการทั้ง ปวง ในฌานนั้น ๆ ด้วยการถือเอาความเป็นผู้มีสัญญาของตนในฌานนั้น ๆฯ ค าว่า โลกิยาน เป็นฉัฏฐีวิภัติลงในอรรถนิทธารณะ หรือลงในอรรถแห่งสามีสัมพันธะก็ได้ฯ ก็เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ประเสริฐที่สุดในธรรมเหล่านั้น ด้วยยอดแห่งสัญญาใดก็ประเสริฐที่สุด แห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยยอดแห่งสัญญานั้นฯ บทว่า “โลกิยาน ”เป็นวิเสสนะ เพราะเนวสัญญานา สัญญายตนะนั้น ไม่ประเสริฐไปกว่าโลกุตตรสมาบัติฯ บทว่า “กิจ ฺจการกสมาปต ฺตีน ” ก็เป็นวิเสสนะ เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่ประเสริฐไปกว่าสมาบัติที่ไม่ท ากิจฯ ก็ความให้สมาบัตินั้นไม่ท า กิจย่อมรู้กันได้ เพราะกล่าวถึงความไม่มีกิจแห่งสัญญาที่ชัดเจนฯเหมือนอย่างว่า สัญญาในเนวสัญญา นาสัญญายตนะนั้น เป็นฉันใด แม้ผัสสะเป็นต้นก็เป็นฉันนั้นฯ อนึ่ง ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ด้วยการเข้าถึงความเป็นสัญญาอันละเอียดโดยไม่เหลือแห่งสังขาร สัญญาตั้งอยู่ได้โดยความเป็นรูปที่ ไม่อาจพิจารณาได้ส าหรับผู้เจริญวิปัสสนาตามปกติด้วยยอดแห่งสัญญาใดราวกะว่าธรรมคือสมาบัติ เบื้องต ่ายังไม่สามารถท ากิจกรรมอันชัดเจนได้ด้วยยอดแห่งสัญญานั้น เนื้อความนี้นั้นท่านกล่าวแปล กันไว้ในอารุปปกถา ในอรรถกถาวิสุทธิมรรค ชื่อว่าปรมัตถมัญชูสา เพราะฉะนั้น พึงทราบตามนัยที่ กล่าวไว้ในอรรถกถาดังกล่าวนั้นฯ ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมาบัติต ่าๆ ย่อมยังอธิษฐานกิจแห่ง สมาบัติสูงๆ ให้ส าเร็จ ฉันใด เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติหายังอธิษฐานกิจแม้แห่งธรรมไรๆ ให้ ส าเร็จ ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น สัญญานั้นจึงไม่ท ากิจ นอกนี้ท่านกล่าวว่าท ากิจ ค านั้น ชื่อว่าควรแล้ว


๔๒๓ เพราะสัญญาแม้นั้นยังอธิฏฐานกิจให้ส าเร็จแก่การฝึกจิตด้วยวิปัสสนาเป็นต้นฯ เพราะฉะนั้น อธิบาย ตอนต้นเท่านั้นถูกต้องแล้วฯ บทว่า ปกป ฺปติได้แก่ ย่อมจัดแจงฯ จริงอยู่ พระโยคาวจรเมื่อเข้าฌาน ชื่อว่าย่อมจัดแจง สุขในฌานไว้ในตนฯ บทว่า อภิสง ฺขโรติได้แก่ ประมวลมา อธิบายว่า รวบรวมมาฯเพราะว่าอรรถว่า เกิดขึ้น ก็มีการรวบรวมมาเป็นอรรถฯ เพราะเหตุที่การถึงที่สุดแห่งเจตนากิจด้วยอ านาจแห่งความชอบ ใจ เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อแสดงเหตุโดยเป็นอุปจาระแห่งผล จึงกล่าวว่า “นิกนฺตึ กุรุมาโน อภิสง ฺขโรติ นาม”ฯ อากิญจัญญายตนสัญญาเหล่านี้ คือ ที่เราได้อยู่ในกาลบัดนี้ พึงดับไป เพราะมีการรวบรวม เจตนา เพื่อต้องการฌานสูง ๆ ขึ้นไปโดยข้ามองค์ฌานนั้นนั่นเองฯ บทว่า อญ ฺญา ได้แก่ อันอื่นจากอา กิญจัญญายตนสัญญาฯ ชื่อว่าโอฬาริกา เพราะมีองค์หยาบกว่านั้นฯ ก็ที่ชื่อว่าโอฬาริกานั้น คืออะไร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ภวง ฺคสญ ฺญา”ฯ ก็การออกจากอากิญจัญญายตนะแล้วรวบรวมเจตนา เพื่อต้องการฌานสูงๆ ขึ้นนั่นแลพึงมี และการออกก็มีได้ด้วยอ านาจแห่งภวังค์ฯ อนึ่ง การเข้าฌานสูงๆ ขึ้นไปมีอยู่เพียงใด ความเป็นไปแห่งภวังค์ อันมีในระหว่าง ๆ ย่อมมีเพียงนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ภวง ฺคสญ ฺญา อุป ฺปชฺเชย ฺยุ ”ฯ บทว ่า เจเตนฺโตว ได้แก ่ เข้าอยู ่ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ๑-๒ วาระจิตฯ พระ โยคาวจร ชื่อว่าย ่อมไม ่จงใจ เพราะไม่มีความค านึงในก่อนอย่างนั้น เหมือนในฌานขั้นต ่า ๆฯ ด้วยว่า พระโยคาวจร เมื่อให้ฌานส าเร็จด้วยอ านาจความค านึงในก่อน ท่านกล่าวว่า “เจเตติ” ในที่นี้ (จงใจ)ฯ เพราะเหตุที่ความรวมฌานอย่างนี้ว่า “เราจะให้ฌานนั่นบังเกิด จะให้ถึงพร้อม คือจะเข้าฌานนั่น” มี แก่พระโยคาวจรผู้มีความอาลัยในฌานนั้นเท่านั้น ผู้ไม่มีอาลัยย่อมไม่มีความรวมฌาน ฉะนั้น จึงมี อธิบายว่า พระโยคาวจร เมื่อให้ฌานแม้ที่มีอยู่ในขณะจิตเดียวให้เป็นไปชื่อว ่ารวบรวม เพราะมีความ ยินดียังละไม่ได้ในฌานนั้นฯ ก็เพราะเหตุที่พระโยคาวจรนั้น ไม่มีความค านึงในก่อนในฌานนั้นอย่าง นั้น เหมือนในฌานชั้นต ่า ๆ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “น อภิสง ฺขโรติ”ฯ ค าว่า “อิมสฺส ภิกฺขุโน”เป็นต้น เป็นค าไขเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นเองฯ ด้วยค าว่า “สฺวายมต ฺโถ” เป็นต้น ท่านเปรียบเทียบเนื้อความ นั้นนั่นแล ด้วยอุปมาฯ บทว่า ปจ ฺฉาภาเคได้แก่ ในส่วนภายหลังแห่งเรือนของบิดาฯ บทว่า ตโต ได้แก่ จากเรือน ของบุตรฯ บทว่า ลท ฺธฆรเมว ได้แก่ ภิกษาที่ท่านได้จากเรือนใด เรือนนั้นนั่นเอง เป็นเรือนของบุตร ทั้งนั้นฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว ่าเป็นเหมือนอาสนศาลา เพราะต้องเข้าเนวสัญญานาสัญญาย ตนนิโรธสมาบัติ อันเป็นที่ตั้งแห่งเรือนของบิดาและเรือนของบุตรฯ สองบทว่า ปิตุฆร อมนสิกริต ฺวา ความว่า เข้าไปแล้วไม่ท าไว้ในใจซึ่งเรือนของบิดาแม้ที่ตนผ่านไปแล้วฯ มีมนสิการก็เพื่อปรารถนานิโรธ สมาบัติอื่นอีกนั่นเอง เพราะไม่ใส่ใจเนวสัญญาสัญญายตนะ แม้ที่ตนพึงเข้า ๑-๒ วาระจิต เหมือนการ บอกเรือนของบุตรนั่นเองฯ พึงทราบความเป็นอุปมาอุปไมยโดยสามัญแก่อมนสิการ และสามัญแก่ มนสิการอย่างนี้ เพราะมนสิการนั่นแลชัดเจน แม้ด้วยการบอกฯ เพราะว่า เว้นมนสิการก็ย่อมไม่มีการ บอกฯ


๔๒๔ สองบทว่า ตา ฌานสญ ฺญา ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเหล่านั้นเป็นไปแล้ว ๑-๒ วาระจิตฯ บทว่า นิรุชฺฌนฺติได้แก่ ย่อมดับโดยส่วนเดียวเท่านั้น แต่ด้วยอ านาจแห่งปุพพาภิสังขาร ไม่มีการเกิดขึ้นยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกฯ ก็ฌานสัญญาไม่มีความเกิดขึ้น ฉันใด แม้สัญญานอกนี้ก็ไม่มีความ เกิดขึ้นฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อญฺญา จ โอฬาริกา ภวงฺคสญฺญา นุปฺปชฺชนฺติ” อธิบาย ว่า ตลอดกาลตามที่ก าหนดฯ ค าว่า โส เอว ปฏิปนฺโน ภิกฺขุความว่า ภิกษุนั้นผู้ด ารงอยู่ในความเป็น แห่งพระอรหันต์ อันเป็นยอดแห่งสัญญาตามที่กล่าว หรือว่าผู้ด ารงมั่นในอนาคามิผล เป็นผู้ปฏิบัติข้อ ปฏิบัติอันให้ถึงนิโรธ ด้วยอ านาจแห่งธรรมเหล่านี้ คือ ความมาพร้อมด้วยผล ๒ ความสงบระงับแห่ง สังขาร ๓ ญาณจริยา ๑๖ สมาธิจริยา ๙ฯ การประสบ คือการได้เฉพาะ ชื่อว่าผุสนะ (การได้สัมผัส) ในค าว่า ผุสตินี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า“วินฺทติ ปฏิลภติ”ฯ แต่โดยความหมาย จิตและเจตสิก ไม่มีความเป็นไปโดยประการทั้งปวงเลยเทียว ตลอดกาลตามที่ก าหนดฯ ค าว่า อภิ เป็นเพียงอุปสัค ไม่มีความหมาย เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า “สัญญา”เหมือน เดิมฯ เมื่อควรกล่าวบทว่าสมาบัติ ต่อจากบทว่านิโรธ ท่านก็วางบทว่าสัมปชานะในระหว่างบท ๒ บท นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “นิโรธปเทน อนนฺตริก กตฺวา วุตฺต ” ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อนุปฏิ ฯเปฯ อต ฺโถ”ฯ บทว่า ตต ฺราปิมีโยชนาว่า นี้เป็นความแปลกกัน แม้ในบทนั้น คือแม้ในการตั้ง ตามล าดับบทอย่างนั้นฯ บทว่า สม ฺปชานนฺตสฺสได้แก่ พระโยคาวจรผู้รู้พร้อมอยู่ด้วยสามารถแห่งการ เข้าสมาบัตินั้น ๆ ออกแล้วพิจารณาสังขารในสมาบัตินั้น ๆฯ บทว่า อนฺเต ได้แก่ ในที่สุดแห่งนิโรธ ปฏิบัติตามที่กล่าวแล้วฯ ในวิกัปที่ ๒ บทว่า สม ฺปชานนฺตสฺสความว่า ผู้มีปกติท าทั้งที่รู้ด้วยบทนั้น เป็นอันแสดงปัญญาอันยังประโยชน์ให้ส าเร็จ พร้อมกับสัพพปาฏิหาริกปัญญาโดยกิจจ าเดิมแต่ต้นของ ภิกษุ ผู้เข้านิโรธสมาบัติ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปณ ฺฑิตสฺส ภิกฺขุโน”ฯ บทว่า สพ ฺพากาเรน ได้แก่ โดยประการทั้งปวงมีอย่างนี้ว่า “ความแปลกกันโดยสรุปแห่ง สมาบัติ คือผู้เข้าสมาบัติ คือเหตุแห่งการเข้าสมาบัติ อาการคือการเข้าสมาบัติ”เป็นต้นฯ บทว่า ตต ฺถ ได้แก่ ในวิสุทธิมรรคปกรณ์ฯ บทว่า กถิตโตวได้แก่ พึงถือเอาจากที่ที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล อธิบายว่า ใน ที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวค านั้นอีก เพราะเป็นการกล่าวซ ้าฯ ในค าว ่า เอว โข อห นี้ เอว -ศัพท์ เป็นอาการัตถะ เพราะท าอธิบายว่า แสดงอาการที่ ถือเอาแล้วฯ ส่วนในค าว่า เอว โปฏ ฺฐฃปาท นี้ เอว -ศัพท์ เป็นสัมปฏิจฉนัตถะ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “สุอุค ฺคหิต ตยาติ อนุชานนฺโต”ฯ [๔๑๕]ชื่อว่าสัญญาคคะเพราะอรรถว่า เป็นที่เป็นเลิศแห่งสัญญาคืออากิญจัญญายตนะฯ แม้ในสมาบัติ ๘ ที่เหลือ ท ่านก็คิดว ่า “สญ ฺญาค ฺค อต ฺถิ อุปลพ ฺภติ”ฯ พระอรรถกถาจารย์เมื่อแสดง ลิงควิปลาส ในพระบาลีว่า “ปุถุ” ได้กล่าวว่า “พหูนิปิ”ฯ ด้วยค าว่า “ยถา” นี้ ท่านถือเอาประการ พิเศษ คือกรณประการ หาถือเอาประการสามัญไม่ เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว่า “เยน เยน กสิเณน”และว่า “ปถวีกสิเณน กรณภูเตน”ฯ เบื้องต้น ฌานเป็นการกระท าอันควรแล้ว เพราะการ สัมผัสความดับสัญญาเป็นกัตตุการก การสัมผัสกสิณ เป็นอย ่างไร ความเป็นการกระท าแม้กสิณ


๔๒๕ เหล่านั้นก็ควรแล้วเหมือนกันฯ เพราะว่า การสัมผัสความดับแห่งฌาน เป็นความเป็นกัตตุการก ด้วย ยอดแห่งสัญญาใด การสัมผัสความดับแม้แห่งกสิณ ก็เป็นความเป็นกัตตุการก ด้วยยอดแห่งสัญญานั้น เพราะแม้กสิณก็ไม่เว้นความดับนั้นฯ กิริยาแม้ที่มีการกระท ามากมายก็มีได้เหมือนกัน เหมือนค าว่า “อสฺเสน ยาเนน ทีปิกาย คจฺฉติ” ฉะนั้นฯ บทว่า เอกวาร ได้แก่ คราวเดียวฯ บทว่า ปุริมสญ ฺญานิโรธ ได้แก่ ซึ่งความดับแห่งสัญญา เก่า มีกามสัญญาเป็นต้น หาใช่ความดับแห่งสัญญาอันเข้าใจกันว่านิโรธสมาบัติไม่ฯ สองบทว่า เอก สญ ฺญาคฺค อธิบายว ่า สัญญาอย่างหนึ ่งอันเลิศ คือประเสริฐสุด เพราะสูงสุดกว่าสัญญาเบื้องต ่าฯ สัญญานั้นด้วย เลิศด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสัญญาคคะ หาใช่เลิศในสัญญาไม่ฯสองบทว่า เท ฺว วาเร ได้แก่ ๒ ครั้งฯ บทว่า เสสกสิเณสุได้แก่ การถือเอากสิณนั่นเอง เพราะท่านท าให้ยิ่งด้วยนิโรธกถาฯ ก็ เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในค านี้ จึงพึงเข้าใจได้ว่า ท่านถือเอากสิณฌานนั่นแล ด้วยฌาน-ศัพท์ฯ ท่าน กล่าวค าว่า “ปฐฃมชฺฌาเนน กรณภูเตน” ไม่พาดพิงถึงอารมณ์เหมือนค าว่า “เยน เยน กสิเณน” นี้ กล่าวไม่พาดพิงถึงฌาน ฉะนั้นฯ ด้วยค าว่า “อิติ” เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถรวมเนื้อความที่กล่าว แล้วนั่นแลมากล่าวย ้าฯ บทว่า สพ ฺพม ฺปิได้แก่ ฌานที่เข้าแล้ววาระเดียวทั้งหมดฯ บทว่า สง ฺคเหต ฺวา ได้แก่ รวบรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่แตกต่างจากสภาวะนั้น ด้วยลักษณะคือรู้พร้อมฯ บทว่า อปราปร ได้แก่ บ่อย ๆฯ [๔๑๖] ท ่านแสดงสัญญาญาณในนัยที่ ๑ ส าหรับบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาที ่มีฌานเป็น ปทัฏฐานฯ ส่วนในนัยที่ ๒ เพราะเหตุที่มรรคญาณเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้วิปัสสนาเกิดความขวนขวาย ขึ้น พยายามอยู่ด้วยมรรค ฉะนั้น จึงแสดงสัญญาญาณด้วยอ านาจแห่งวิปัสสนามรรคฯ ก็เพราะเหตุที่ นัยที่ ๑ ยังหยาบ เพราะเป็นฝ่ายโลกิยะ นัยที่ ๒ ปะปนกัน ฉะนั้น จึงไม่ยกย่องทั้งสองนัยนั้น แสดง สัญญาญาณด้วยอ านาจแห่งมรรคและผลไว้ในที่ ๓ เพื่อแสดงโลกุตตระที่ให้บังเกิดแล้วนั่นแล อันมั่นคง ซึ่งละเอียดและงดงามโดยส่วนเดียวฯ แม้ทั้งสามนัยนั่น ต่างก็แสดงไว้ด้วยอ านาจแห่งการช าระมรรค ให้หมดจดฯ เพื่ออธิบายค าว่า “อย ปเนตฺถ สาโร” จึงได้น าวาทะของพระติปิฏกมหาสิวเถระมาฯ พระ เถระถามถึงนิโรธแล้ว เมื่อนิโรธนั้นอันท่านกล่าวแล้ว เมื่อถามถึงความเกิดขึ้นแห่งสัญญาญาณในล าดับ แห่งนิโรธนั้น ชื่อว่าย่อมถามการออกจากนิโรธโดยความหมาย เมื่อแสดงไขทั้งสองอย่างนั้นว่า ก็การ ออกจากนิโรธ พึงมีเพราะบรรลุอรหัตตผล หรือว่า เพราะบรรลุอนาคามิผล ในการออกจากนิโรธนั้น สัญญา เป็นประธาน และปัจจเวกขณญาณ ก็มีในล าดับต่อจากสัญญานั้น จึงกล่าวค าว่า “กึ อิเม ภิกฺขุ ภณนฺติ” หมายเอา ภิกษุผู้แปลตันติในทีฆนิกาย ถึงฐานะนี้แล้ว กล่าว ๓ นัยตามล าดับ ตามนัยที่กล่าว แล้วฯ เมื่อมรรคผลญาณในมรรควิถีเกิดขึ้นแก่ผู้ใด โดยก าหนดแล้วมรรคญาณ ผลญาณ และ ปัจจเวกขณญาณ ย่อมมีได้ ฉันใด ในผลสมาบัติ ย่อมมีผลปัจจเวกขณญาณ ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปจ ฺฉา ปจ ฺจเวกฺขณญาณ ”ฯ ค าว่า อิท อรหต ฺตผล นี้ เป็นค าแสดงอาการแห่งความ


Click to View FlipBook Version