๗๖ โภคสมบัติจะไม่หมดไป หากไม่แบ่งปันให้แก่ใคร ๆ ฉะนั้น เขาจึงไม่ยอมให้อะไร ๆ แก่ใคร พร้อบกับ สอนบุตรตัวเองว่า คนฉลาดควรดูความสิ้นไปของยาหยอดตา การก่อจอมปลวก การสะสมน ้าผึ้งแล้วจึงอยู่ครองเรือน เมื่อเขาสอนบุตรไม่ให้รู้จักถึงการให้ เมื่อเขาเสียชีวิตลง เขาจึงได้เกิดเป็นสุนัขที่เรือนของ ตน สุภมาณพรักสุนัขตัวนั้นมาก ให้กินอาหารเหมือนที่ตนกิน ให้นอนบนที่นอนอย่างดี ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อสุภมาณพออกจากบ้านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ณ เรือนนั้น สุนัขได้เห็นพระผู้มี พระภาคเจ้าจึงเห่าแล้วเดินเข้าไปใกล้พระองค์ ล าดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับสุนัขนั้นว่า โตเทยยะ เมื่อก่อน เจ้ามักกล่าวดูหมิ่นเราว่า แนะท่าน แนะท่าน จึงได้เกิดเป็นสุนัข แม้บัดนี้ เจ้าเห่า เราแล้วจักไปเกิดในอเวจีอีกหรือ สุนัขได้ฟังถ้อยค านั้นแล้วรู้สึกเดือดร้อนใจจึงนอนคลุกขี้เถ้าอยู่ที่ ระหว่างเตาไฟ พวกมนุษย์ไม่สามารถจะอุ้มขึ้นไปนอนบนที่นอนได้ สุภมาณพกลับมาเรือนของตนแล้วถามว่า ใครน าสุนัขตัวนี้ลงมาจากที่นอน พวกมนุษย์ ตอบว่า ไม่มีใคร แล้วเล่าเรื่องที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับสุนัขนั้นให้ฟัง สุภมาณพฟังแล้วยิ่งทวีความ โกรธว่า บิดาของเราไปเกิดในพรหมโลก แต่พระสมณโคดมท าบิดาของเราเป็นสุนัข พระสมณโคดมนี้ พูดอะไร ใคร่จะท้วงติงพระผู้มีพระภาคด้วยค าพูดเท็จ จึงไปยังวิหารเพื่อทูลถามเรื่องนั้น พระผู้มีพระ ภาคได้ตรัสแก่สุภมาณพเหมือนอย่างนั้นแล้วตรัสความจริงว่า สุภมาณพ ทรัพย์ที่บิดาของเจ้ายังไม่ บอกมีอีกไหม สุภมาณพทูลว่า ข้าแต่พระโคดม หมวกทองค าอันมีค่า ๑๐๐,๐๐๐ รองเท้าทองค าอันมี ค่า ๑๐๐,๐๐๐ ถาดทองค าอันมีค่า ๑๐๐,๐๐๐ และกหาปณะจ านวน ๑๐๐,๐๐๐ มีอยู่ พระผู้มีพระ ภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงกลับไป จงให้สุนัขนั้นบริโภคข้าวมธุปายาสมีน ้าน้อยแล้วอุ้มไปนอนบนที่นอน พอได้เวลาที่สุนัขหลับไปหน่อยหนึ่ง จงถามดู สุนัขจักบอกเรื่องทั้งหมดแก่เธอ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอก็จะ รู้ว่า สุนัขตัวนี้เคยเป็นบิดาของเธอ สุภมาณพได้ปฏิบัติตามนั้น สุนัขบอกหมดทุกสิ่งทุกอย่าง เขารู้แน่ ว่า สุนัขตัวนี้คือบิดามาเกิดเป็นสุนัข มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปทูลถามปัญหา ๑๔ ข้อกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาจบการวิสัชนา เขาขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสรณะ๒๑๐ ประเด็นที่ ๒ ความหลากหลายของมนุษย์สีลขันธวรรคอรรถกาเล่าว่า ครั้งหนึ่ง สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้ทูลถามปัญหา ๑๔ ข้อ กับพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งอรรถกถาก็ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า ปัญหา ๑๔ ข้อที่ว่านี้ว่าด้วยเรื่องอะไร ดังนั้น สีลขันธวรรคฎีกา ได้อธิบายขยายความต่อจากอรรถกถา โดยอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนเรื่องความหลากหลายของมนุษย์ด้วยอ านาจแห่งกรรมไว้ ๑๔ ประเภท ดังนั้น ๑) มนุษย์มีอายุสั้นก็มี ๒) มนุษย์มีอายุยืนก็มี ๓) มนุษย์มีโรคมากก็มี ๔) มนุษย์มี โรคน้อยก็มี ๕) มนุษย์มีผิวทรามก็มี ๖) มนุษย์มีผิวงามก็มี ๗) มนุษย์มีศักดิ์น้อยก็มี ๘) มนุษย์มีศักดิ์ ๒๑๐ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๔๔/๓๑๖-๓๑๗.
๗๗ มากก็มี ๙) มนุษย์มีโภคะน้อยก็มี ๑๐) มนุษย์มีโภคะมากก็มี ๑๑) มนุษย์เกิดในตระกูลต ่าก็มี ๑๒) มนุษย์เกิดในตระกูลสูงก็มี ๑๓) มนุษย์มีปัญญาทรามก็มี ๑๔) มนุษย์มีปัญญาดีก็มี๒๑๑ ๘.๑๓ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ส าคัญในเกวัฏฏสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากเกวัฏฏสูตร ในขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐีใกล้เมืองนาลัน ทา เกวัฏฏะบุตรคฤหบดีได้เข้าเฝ้าถึงที่ประทับโดยได้ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้พระภิกษุรูป หนึ่งแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ เพื่อให้ชาวเมืองนาลันทาได้เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ไม่ทรง ท าตามที่ขอ แต่พระพุทธองค์ตรัสอธิบายเรื่องปาฏิหาริย์ ๓ คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์อันมีอย่างต่าง ๆ เช่น คนเดียวท าให้เป็นหลาย คนได้ หลายคนท าให้เป็นคนเดียวกัน การด าลงแผ่นดินและการผุดขึ้นบนแผ่นดิน การเดินบนแม่น ้า การลอยบนอากาศ เป็นต้น ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ หมายถึง การท านายจิตใจของบุคคลอื่นว่า ความคิดของท่านเป็น เช่นนี้ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หมายถึง การพร ่าสอน แนะน าในทางที่ดีงามว่า ท่านควรตรึกอย่าง นี้ ไม่ควรตรึกอย่างนี้ ท่านควรมนสิการอย่างนี้ ไม่ควรมนสิการอย่างนี้ ท่านจงละสิ่งนี้ จงปฏิบัติสิ่งนี้ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเล่าเรื่องภิกษุผู้แสวงหาค าตอบในประเด็นที่ว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ดับไม่มีส่วนเหลือที่ไหน ? โดยมีเรื่องราวอยู่ว่า ภิกษุ นั้นได้เข้าสมาธิจนจิตตั้งมั่นแล้วเห็นทางไปเทวโลก เธอได้เข้าไปหาเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ท้าว มหาราชทั้ง ๔ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะเทวราช เทวดาชั้นยามา สุยามเทพบุตร เทวดาชั้นดุสิต สันดุสิตเทพบุตร เทวดาชั้นนิมมารดี สุนิมมิตเทพบุตร เทวดาชั้นปรนิมมิตวัสสวัสดี วสวัตดีเทพบุตร ตามล าดับแล้วถามว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ดับไม่มีส่วนเหลือ ที่ไหน ? เทวดาเหล่านั้นทั้งหมดไม่สามารถตอบค าถามของภิกษุนั้นได้ ต่อมา ภิกษุนั้นได้เข้าสมาธิจน จิตตั้งมั่นแล้วเห็นทางไปพรหมโลก เธอได้เข้าไปหาพรหมในพรหมโลก และมหาพรหมในพรหมโลก ตามล าดับ พรหมเหล่านั้นไม่สามารถตอบค าถามของภิกษุนั้นได้ มหาพรหมได้แนะน าภิกษุนั้นให้ไปทูล ถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ทีนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทูลถามปัญหาดังกล่าว พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในวิญญาณที่แสดงไม่ได้ ไม่มีที่สุด แต่มีท่าข้ามโดยรอบ อุปาทายรูปยาวและสั้น ละเอียดหยาบ งาม และไม ่งาม ย ่อมตั้งอยู ่ไม ่ได้ในวิญญาณนี้ นามรูปย ่อมดับโดยไม่มีส ่วนเหลือในวิญญาณนี้ เพราะ วิญญาณดับไป นามรูปย่อมดับโดยไม่มีส่วนเหลือในวิญญาณนี้๒๑๒ ๒๑๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๔๔/๔๖๕. ๒๑๒ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๔๘๑-๕๐๐/๒๑๕-๒๒๔.
๗๘ ประเด็นที่น ่าสนใจจากเกวัฏฏสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถาและสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นในเกวัฏฏสูตรมาอธิบาย เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเด็นที่ ๑ ท ่าทีของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงมีต ่อปาฏิหารย์ ๓ สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา ได้อธิบายว ่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงต าหนิอิทธิปาฏิหารย์ และอาเทสนา ปาฏิหาริย์ แต่ทรงสรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เพราะว่า อิทธิปาฏิหารย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์เป็น สิ่งที่มีโทษ น่าต าหนิ และตั้งอยู่ไม่ยืนนาน ส่วนอนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นสิ่งที่ไม่มีโทษ ไม่น่าต าหนิ และ ตั้งอยู่ยืนนาน๒๑๓ ประเด็นที่ ๒ การดับของมหาภูตรูปในวิญญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในวิญญาณ๒๑๔ ที่แสดง ไม่ได้ ไม่มีที่สุด แต่มีท่าข้ามโดยรอบ อุปาทายรูปยาวและสั้น ละเอียดหยาบ งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ ไม่ได้ในวิญญาณนี้๒๑๕ นามรูปย่อมดับโดยไม่มีส่วนเหลือในวิญญาณนี้๒๑๖ เพราะวิญญาณดับไป๒๑๗ นามรูปย่อมดับโดยไม่มีส่วนเหลือในวิญญาณนี้๒๑๘ ค าว่า วิญญาณ ในพระพุทธพจน์เบื้องต้นมี ๒ นัย ดังนี้ นัยที่ ๑ สีลขันธวรรคอรรถกถาอธิบายว่า วิญญาณเป็นชื่อของพระนิพพาน (วิญฺญาตพฺพนฺ ติ วิญฺญาณ นิพฺพานสฺเสต นาม )๒๑๙ ที่ท่านเลือกใช้ค าว่าวิญญาณแทนชื่อพระนิพพาน สีลขันธวรรค ฎีกาอธิบายว่า นิพพานเป็นสิ่งที่บุคคลจะต้องรู้ด้วยญาณที่พิเศษ หรือเป็นสิ่งที่บุคคลจะต้องรู้อย่าง ประจักษ์ด้วยญาณในอริยมรรคซึ่งเป็นญาณสูงสุด ฉะนั้น นิพพานจึงควรมีชื ่อเรียกอีกชื่อหนึ ่งว่า วิญญาณ๒๒๐ นัยที่ ๒ สีลขันธวรรคอรรถกถาอธิบายว่า วิญญาณเป็นชื่อของจริมกวิญญาณบ้าง เป็นชื่อ ของอภิสังขารวิญญาณบ้าง๒๒๑ ซึ่งจริมกวิญญาณที่ว่านี้ สีลขันธวรรคฎีกาอธิบายว่า เป็นชื่อของจุติจิต ของพระอรหันต์ ส่วนอภิสังขารวิญญาณ สีลขันธวรรคฎีกาอธิบายว ่า เป็นชื ่อของอนุปาทิเสสนิ ๒๑๓ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๘๖/๓๒๒, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๘๖/๔๗๒. ๒๑๔ วิญญาณในที่นี้ หมายถึง พระนิพพาน. ๒๑๕ วิญญาณในที่นี้ หมายถึง พระนิพพาน. ๒๑๖ วิญญาณในที่นี้ หมายถึง พระนิพพาน. ๒๑๗ วิญญาณในที่นี้ หมายถึง จุติจิตของพระอรหันต์. ๒๑๘ วิญญาณในที่นี้ หมายถึง พระนิพพาน. ๒๑๙ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๙๙/๓๒๕. ๒๒๐ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๙๙/๔๗๕. ๒๒๑ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๙๙/๓๒๕.
๗๙ พพาน๒๒๒ ฉะนั้น ข้อที่ว่า “เพราะวิญญาณดับไป นามรูปย่อมดับโดยไม่มีส่วนเหลือในวิญญาณนี้” จึง หมายความว่า เมื่อจุติจิตของพระอรหันต์ดับลง นามรูปของพระอรหันต์ย่อมดับโดยไม่มีส่วนเหลือใน พระนิพพาน หรือเมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน นามรูปของพระอรหันต์ย่อมดับ โดยไม่มีส่วนเหลือในพระนิพพาน ๘.๑๔ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ส าคัญในโลหิจจสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากโลหิจจสูตร ครั้งหนึ่ง โลหิจจพราหมณ์ เกิดความเห็นผิดว่า สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ในโลกนี้ บรรลุ ธรรมแล้ว ไม่ควรบอกต่อ เพราะว่าผู้อื่นจักท าอะไรแก่ผู้อื่นได้เหมือนคนตัดเครื่องจองจ าเก่าได้แล้วพึง สร้างเครื่องจองจ าอย่างอื่นใหม่ฉะนั้น ซึ่งสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลประทับอยู่ในบ้านสาลวติกาซึ่งโลหิจจพราหมณ์ครอบครองอยู่ ล าดับนั้น โลหิจจพราหมณ์ ได้สั่งนายช่างกัลบกชื่อโรสิกะให้ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามถึง ความผาสุกแล้วให้ทูลนิมนต์พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับนิมนต์เสวยภัตตาหารของ โลหิจจพราหมณ์ในวันพรุ่งนี้ พระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ ทรงรับนิมนต์แล้ว ภายหลังเสร็จภัตตกิจ พระพุทธองค์ได้ทรงแก้ความเห็นผิดของโลหิจพราหมณ์ว่า ความคิดว่า สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ในโลก นี้ บรรลุธรรมแล้ว ไม่ควรบอกต่อ เพราะว่าผู้อื่นจักท าอะไรแก่ผู้อื่นได้เหมือนคนตัดเครื่องจองจ าเก่าได้ แล้วพึงสร้างเครื่องจองจ าอย่างอื่นใหม่ฉะนั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะการกล่าวตามความคิดดังกล่าว นั่น นับว่าเป็นการท าอันตรายต่อกุลบุตรที่อาศัยพระธรรมวินัย เมื่อกระท าอันตราย ชื่อว่าไม่หวัง ประโยชน์ เมื่อไม่หวังประโยชน์ชื่อว่ามีจิตไม่ประกอบด้วยเมตตา เมื่อมีจิตไม่ประกอบด้วยเมตตา ชื่อ ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ได้แสดงถึงศาสดาที่ควรทักท้วง ๓ จ าพวก คือ ๑. ศาสดาที่ออกจากเรือนบวชเป็นสมณะไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะ แต่แสดงค าสอน แก่เหล่าสาวกของตน ส่วนเหล่าสาวกไม่ตั้งใจศึกษาค าสอน ประพฤติหลีกเลี่ยงค าสอน ๒. ศาสดาที่ออกจากเรือนบวชเป็นสมณะ ไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะ แต่แสดงค า สอนแก่เหล่าสาวกของตน ส่วนเหล่าสาวกตั้งใจศึกษาค าสอน ปฏิบัติตามค าสอน ๓. ศาสดาที่ออกจากเรือนบวชเป็นสมณะได้บรรลุประโยชน์ของสมณะ แสดงค าสอนแก่ เหล่าสาวกของตน ส่วนเหล่าสาวกไม่ตั้งใจศึกษาค าสอน ประพฤติหลีกเลี่ยงค าสอน พระพุทธองค์ได้แสดงศาสดาที่ไม่ควรทักท้วง ๑ จ าพวก ได้แก่ ศาสดาที่ออกจากเรือนบวช เป็นสมณะได้บรรลุประโยชน์ของสมณะ แสดงค าสอนแก่เหล่าสาวกของตน ส่วนเหล่าสาวกตั้งใจศึกษา ค าสอน ประพฤติตามค าสอน ๒๒๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๙๙/๔๗๖.
๘๐ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงธรรมจบลง โลหิจจพราหมณ์ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก ถึง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต๒๒๓ ประเด็นที่น ่าสนใจจากโลหิจจสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถาและสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นมาอธิบายเพื่อให้เกิด ความชัดเจน โดยประเด็นที่น่าสนใจในที่นี้ คือ ศาสดา ๔ จ าพวก สีลขันธวรรคอรรถกถาอธิบายว่า ศาสดาจ าพวกที ่ ๑ และศาสดาจ าพวกที ่ ๒ ควรถูก ทักท้วง เพราะว่า ศาสดา ๒ จ าพวกดังกล่าวไม่ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมที่เหมาะสม แต่กลับไปแสดง ธรรมแก่เหล่าสาวกของตน และศาสดาจ าพวกที่ ๓ มีคุณธรรมเหมาะสมได้บรรลุธรรมอันยอดเยี่ยม รู้ ทั้งรู้ว่า เหล่าสาวกไม่สนใจฟังค าสอน ไม่สนใจปฏิบัติตามค าสอน ก็ยังดันทุรังสอนอยู่เช่นเดิม ฉะนั้น ศาสดาจ าพวกที่ ๓ จึงควรถูกทักท้วง ส่วนศาสดาจ าพวกที่ ๔ มีคุณธรรมเหมาะสมได้บรรลุธรรมอัน ยอดเยี่ยมแสดงธรรมแก่เหล่าสาวกของตน และเหล่าสาวกของตนก็ตั้งใจฟังค าสอน ปฏิบัติค าสอน แล้วได้บรรลุคุณวิเสสฉะนั้น ศาสดาจ าพวกที่ ๔ จึงไม่ควรทักท้วง๒๒๔ จากค าอธิบายของสีลขันธวรรคอรรถกถาในเบื้องต้น สีลขันธวรรคฎีกากาจึงได้สรุปศาสดา ๓ จ าพวกผ ่านการผูกศัพท์สมาสเพื ่อให้เกิดความสะดวกต ่อการจ าว่า ๑) อสม ฺปาทิตอตฺตหิโต อโนวาทกรสาวโก ศาสดามีประโยชน์ตนยังไม่ถึงพร้อม มีสาวกไม่ท าตามโอวาท๒)อสมฺปาทิตอตฺตหิโต โอวาทกรสาวโก ศาสดามีประโยชน์ตนยังไม่ถึงพร้อม มีสาวกท าตามโอวาท ๓) สมฺปาทิตอตฺตหิโต อโน วาทกรสาวโก ศาสดามีประโยชน์ตนถึงพร้อมแล้ว มีสาวกไม่ท าตามโอวาท พร้อมกับนั้น สีลขันธวรรคฎีกากาได้อธิบายศาสดาจ าพวกที่ ๔ ว่า ศาสดาจ าพวกที่ ๔ เป็น ศาสดาที่ไม่ควรทักท้วงคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธองค์ ทรงเป็นบุคคลที่ยอดเยี่ยมไม่มี ใครอื่นยิ่งกว่า ทรงประกอบด้วยธรรมกาย และที่ส าคัญ ความวิบัติแห่งความเป็นศาสดา ความวิบัติ แห่งเหล่าสาวก หรือความวิบัติทั้ง ๒ อย่าง ไม่มีในพระพุทธองค์ดังนั้นพระพุทธองค์จึงเป็นศาสดาที่ไม่ ควรทักท้วง๒๒๕ ๘.๑๕ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ส าคัญในเตวิชชสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากเตวิชชสูตร ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวโกศล ชื่อว่ามนสากตะ ทราบมาว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ อัมพวัน ใกล้ฝั่งแม่น ้าอจิรวดีทางทิศเหนือของหมู่บ้านมนสากตะ ในกาลนั้น มาณพ ๒ คน คือ วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ สนทนากันเรื ่องทางและมิใช ่ทางแต่ก็ไม ่สามารถหา ๒๒๓ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๕๐๑-๕๑๗/๒๒๕-๒๓๒. ๒๒๔ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๕๑๓-๕๑๖/๓๒๙. ๒๒๕ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๕๑๓-๕๑๗/๔๗๙-๔๘๐.
๘๑ ข้อสรุปได้ ต่อมา มาณพ ๒ คนนี้เองได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามปัญหาถึงทางและมิใช่ทาง กะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายว่า ค าสอนที่พราหมณ์ผู้จบไตรเพท อาจารย์ของ พราหมณ์ผู้จบไตรเพท ปาจารย์ของอาจารย์ผู้จบไตรเพทได้แสดงไว้ว่า นี้เป็นทางเพื่อการไ ปอยู่กับ พรหม เป็นค าสอนที่เลื่อนลอย ไร้เหตุผล เพราะท่านเหล่านั้นต่างไม่เคยเห็นพรหมเลย แต่กลับแสดง ทางที่จะน าไปสู่การอยู่ร่วมกับพรหม ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ได้เปรียบเทียบพราหมณ์และพรหมใน เชิงคุณธรรมว่า พราหมณ์ผู้จบไตรเพทมีจิตเบียดเบียน ส่วนพรหมไม่มีจิตเบียดเบียน พราหมณ์ผู้จบ ไตรเพทมีจิตเศร้าหมอง ส่วนพรหมไม่มีจิตเศร้าหมอง พราหมณ์ผู้จบไตรเพทบังคับจิตให้อยู่ในอ านาจ ไม่ได้ ส่วนพรหมบังคับจิตให้อยู่ในอ านาจได้ ฉะนั้น พราหมณ์ผู้จบไตรเพทไม่มีคุณธรรมเหมือนกับ พรหมเลย จึงเป็นไปไม่ได้ที่พราหมณ์ผู้จบไตรเพทจะได้ไปเกิดเป็นพรหม และท้ายที่สุดพระพุทธองค์ได้ แสดงทางที่จะไปสู่พรหมโลกด้วยแนะน าให้เจริญพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะว่าการเจริญพรหม ๔ เป็นรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศลที่จะน าส่งให้ผู้ปฏิบัติได้ไปเกิดเป็น พรหมในพรหมโลก เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมเทศนาจบลง วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้ ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต๒๒๖ ประเด็นที่น ่าสนใจจากเตวิชชสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถาและสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นมาอธิบายเพื่อให้เกิด ความชัดเจน โดยประเด็นที่น่าสนใจ คือ ทางเพื่อไปสู่พรหมโลก (ทางที่จะไปอยู่ร่วมกับพรหม) สีลขันธวรรคฎีกา ได้วิเคราะห์ค าศัพท์ว ่า ทาง (มค ฺค) ไว้ว ่า อิจ ฺฉิตฏฺฐฃาน อุชุก มคฺคติ อุปคจฺฉติ เอเตนาติ มคฺโค อุชุมคฺโค. แปลว่า ชื่อว่ามัคคะ (มรรค) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุไปตรง ๆ คือ เข้าถึงสถานที่ตนปรารถนาโดยตรง หมายถึง ทางอันตรงนั่นเอง.๒๒๗ จากการวิเคราะห์ศัพท์ของสีลขันธวรรคฎีกาจะเห็นได้ว่า ทางที ่จะไปพรหมโลกในที ่นี้ จะต้องเป็นทางที่ตรง ไม่คดโค้ง มีจุดจบอย่างแน่นอน ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้แสดงว่า ทางจะ ไปพรหมโลก คือ การเจริญพรหมวิหาร ๔ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ๒๒๘ ที่พระพุทธองค์ แสดงทางไปสู่พรหมโลกด้วยการเจริญพรหมวิหารนั้น สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายประเด็นนี้ไว้ว่า การ เจริญพรหมวิหาร ๔ จนเกิดฌานเป็นรูปาวจรกรรมและอรูปาวจรกรรม กรรมที่ว่านี้จะเป็นแรงส่งให้ ปฏิสนธิในพรหมโลก ส่วนกามาวจรกรรมไม่สามารถให้ปฏิสนธิในพรหมโลกได้ ให้ปฏิสนธิเฉพาะใน กามสุคติ ๗ เท่านั้น๒๒๙ ๒๒๖ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๕๑๘-๕๕๙/๒๓๓-๒๔๗. ๒๒๗ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๕๒๔/๔๘๒. ๒๒๘ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๕๕๖/๓๓๖. ๒๒๙ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๕๕๔-๕๕๙/๔๘๗-๔๘๘.
๘๒ ๙. การศึกษาความสัมพันธ์ของสีลขันธวรรคฎีกากับพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา สีลขันธวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับคัมภีร์อื่น ๆ ในแง่ของโครงสร้างการ อธิบาย และในแง่ของการหยิบยกค าอธิบายในคัมภีร์อื่น ๆ มาสนับสนุนค าอธิบายของตนเอง ดังนี้ ๙.๑ ความสัมพันธ์ด้านโครงสร้างการอธิบาย สีลขันธวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที่อธิบายเนื้อหาในสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรค อรรถกถาก็เป็นคัมภีร์ที่อธิบายเนื้อหาในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค เล่มที่ ๙ ดังนั้น สีลขันธวรรคฎีกาจะตั้งหัวข้อในการอธิบายสอดคล้องกับพระสุตตันตปิฎก และอรรถกถา ดังตัวอย่าง ดังนี้ โปฏฐปาทสูตร ได้ตั้งหัวข้อในการอธิบายเนื้อหาไว้ว่า ๑) โปฏฐปาทปริพพาชกวัตถุ ๒) อภิสัญญานิโรธกถา ๓) อเหตุกสัญญุปปาทนิโรธกถา ๔) สัญญาอัตตากถา ๕) จิตตหัตถิสาริปุตตโปฏฐ ปาทวัตถุ ๖) ชนปทกัลยาณีอุปมา ๗) นิสเสณีอุปมา ๘) ตโยอัตตปฏิลาภะ ๙) จิตตหัตถิสาริปุตต อุปสัมปทา๒๓๐ ต่อมาเมื่อสีลขันธวรรคอรรถกถามีความประสงค์จะอธิบายเนื้อหาในโปฏฐปาทสูตร ก็ได้ตั้งหัวข้อคล้ายคลึงกันกับโปฏฐปาทสูตรว่า ๑) โปฏฐปาทปริพพาชกวัตถุวัณณนา ๒) อภิสัญญา นิโรธกถาวัณณนา ๓) อเหตุกสัญญุปปาทนิโรธกถาวัณณนา ๔) สัญญาอัตตากถาวัณณนา ๕) จิตตหัตถิ สาริปุตตโปฏฐปาทวัตถุวัณณนา ๖) เอกังสิกธัมมวัณณนา ๗) ตโยอัตตปฏิลาภวัณณนา ๒๓๑ จะเห็นได้ ว่าหัวข้อโดยส่วนใหญ่ของโปฏฐปาทสูตรที่อยู่ในพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ กับสีลขันธวรรคอรรถกถา ตรงกัน แตกต่างเฉพาะที่สีลขันธวรรคอรรถกถาไม่มีหัวข้อที่ว่าด้วยชนปทกัลยาณีอุปมา นิสเสณีอุปมา และจิตตหัตถิสาริปุตตอุปสัมปทา และในขณะเดียวกัน โปฏฐปาทสูตรก็ไม่มีหัวข้อที่ว่าด้วยเอกังสิก ธัมมวัณณนาเหมือนในสีลขันธวรรคอรรถกถา เพราะว่าหัวข้อนี้สีลขันธวรรคอรรถกถาได้เพิ่มเติมเข้า มา และเมื่อสีลขันธวรรคฎีกามีวัตถุประสงค์จะอธิบายเนื้อหาในสีลขันธวรรคอรรถกถาที่เป็นส่วนของ โปฏฐปาทสูตร สีลขันธวรรคฎีกาก็ได้ตั้งหัวข้อเหมือนกับสีลขันธวรรคอรรถกถาทุกประการ ๒๓๒ เมื่อพระสุตตันตปิฎกทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา ได้ตั้งหัวข้อในการอธิบายที่สอคคล้องกันเรียบร้อยแล้ว ๓ คัมภีร์ดังกล่าวก็ได้อธิบายเนื้อหาหรือขยาย ความซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่ผู้ศึกษา ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้ เช่นกรณี อัตตปฏิลาภกถาในโปฏฐปาทสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค ตโย โข เม โปฏฺฐฃปาท, อต ฺตปฏิลาภาโอฬาริโก อต ฺตปฏิลาโภ, มโนมโย อต ฺตปฏิลาโภ, อรูโป อตฺตปฏิลาโภฯ กตโม จ, โปฏฺฐฃปาท, โอฬาริโก อตฺตปฏิลาโภ ? รูปี จาตุมหาภูติโก กพฬีการาหารภกฺโข อย โอฬาริโก อตฺตปฏิลาโภ. กตโม มโนมโย อตฺตปฏิลาโภ ? รูปี มโนมโย สพฺพงฺคปจฺจงฺคี ๒๓๐ ที.สี. (บาลี) ๙/๔๐๖-๔๔๓/๑๗๖-๑๙๖. ๒๓๑ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๐๖-๔๔๓/๒๙๙-๓๑๕. ๒๓๒ ที.สี.ฏีกา. (บาลี) ๑/๔๐๖-๔๔๓/๔๓๖-๔๖๓.
๘๓ อหีนินฺทฺริโย, อย มโนมโย อต ฺตปฏิลาโภ. กตโม อรูโป อต ฺตปฏิลาโภ ? อรูปี สญ ฺญามโย, อย อรูโป อตฺตปฏิลาโภ. โปฏฐปาทะ การได้อัตตภาพมี ๓ อย่าง คือ การได้อัตตภาพที่หยาบ การได้อัตตภาพที่ ส าเร็จด้วยใจ และการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป โปฏฐปาทะ การได้อัตตภาพที่หยาบเป็นอย่างไร คืออัตต ภาพที่มีรูปประกอบด้วย มหาภูตรูป ๔ บริโภคอาหารเป็นค า ๆ นี้จัดเป็นการได้อัตตภาพที่หยาบ การ ได้อัตตภาพที่ส าเร็จด้วยใจเป็นอย่างไร คืออัตตภาพที่มีรูปส าเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่ บกพร่อง นี้จัดเป็นการได้อัตตภาพที่ส าเร็จด้วยใจ การได้อัตตภาพที่ไม่มีรูปเป็นอย่างไร คืออัตตภาพที่ ไม่มีรูป ส าเร็จด้วยสัญญา นี้จัดเป็นการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป๒๓๓ ตโยอัตตปฏิลาภวัณณนาในสีลขันธวรรคอรรถกถา เอว ภควา ปเรส นิฏฺฐฃาย อนิยฺยานิกตฺต ทสฺเสตฺวา อตฺตโน นิฏฺฐฃาย นิยฺยานิกภาว ทสฺเสตุ ตโย โข เม โปฏฺฐฃปาทาติอาทิมาห. ตต ฺถ อต ฺตปฏิลาโภติ อต ฺตภาวปฏิลาโภ. เอต ฺถ จ ภควา ตีหิ อตฺตภาวปฏิลาเภหิ ตโย ภเว ทสฺเสสิ. โอฬาริกตฺตภาวปฏิลาเภน อวีจิโต ปฏฺฐฃาย ปรนิมฺมิตวสวตฺติ ปริโยสาน กามภว ทสฺเสสิ. มโนมยอตฺตภาวปฏิลาเภน ปฐฃมชฺฌานภูมิโต ปฏฺฐฃาย อกนิฏฺฐฃพฺรหฺมโลกปริ- โยสาน รูปภว ทสฺเสสิ. อรูปอตฺตภาวปฏิลาเภน อากาสานญฺจายตนพฺรหฺมโลกโต ปฏฺฐฃาย เนวสญฺญานาสญฺญายตนพฺรหฺมโลกปริโยสาน อรูปภว ทสฺเสสิ. พระผู้มีพระภาคครั้นทรงแสดงว่าข้อบัญญัติของสมณพราหมณ์เหล่าอื่นไม่เป็นไปเพื่อน า ออกจากทุกข์อย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระด ารัสเป็นต้นว่า โปฏฐปาท มี ๓ อย่าง เพื่อจะแสดงข้อที่บัญญัติ ของพระองค์เป็นธรรมน าออกจากทุกข์ได้. บรรดาค าเหล่านั้น ค าว่า การได้อัตภาพ (อตฺตปฏิลาโภ) ความว่า การกลับได้อัตภาพ. ก็ในค าว่า อตฺตปฏิลาโภ นี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภพ ๓ ด้วยการ กลับได้อัตภาพ ๓ อย ่าง. ทรงแสดงกามภพตั้งแต่อเวจีนรกจนถึงปรนิมมิตวสวัสดีด้วยการกลับได้ อัตภาพที่หยาบ. ทรงแสดงรูปภพตั้งแต่ชั้นปฐมฌานจนถึงชั้นอกนิฏฐพรหมโลกด้วยการกลับได้อัตภาพ ที่ส าเร็จด้วยใจ. ทรงแสดงอรูปภพตั้งแต ่ชั้นอากาสานัญจายตนพรหมโลกจนถึงชั้นเนวสัญญานา สัญญายตนพรหมโลกด้วยการกลับได้อัตภาพที่ไม่มีรูป.๒๓๔ ตโยอัตตปฏิลาภวัณณนาในสีลขันธวรรคฎีกา อาหิโต อห มาโน เอตฺถาติ อตฺตา อตฺตภาโวติ อาห อต ฺตปฏิลาโภติ อต ฺตภาวปฏิลาโภติ. กามภว ทสฺเสติ ตสฺส อิตรทฺวยตฺตภาวโต โอฬาริกตฺตา. รูปภว ทสฺเสติ ฌานมเนน นิพฺพตฺต หุตฺวา รูปีภาเวน อุปลพฺภนโต. ชื่อว่าอัตตา (ตน) เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งลงแห่งมานะว่าเรา คือ อัตภาพ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อตฺตปฏิลาโภติ อตฺตภาวปฏิลาโภ. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดงกามภพ เพราะ ๒๓๓ ที.สี. (บาลี) ๙/๔๒๘/๑๘๙-๑๙๐, ที.สี. (บาลี) ๙/๔๒๘/๑๙๐. ๒๓๔ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๒๘/๓๑๒-๓๑๓ ที.สี.อ. (ไทย) ๑/๔๒๘/๔๕๗-๔๕๘.
๘๔ ความที่แห่งกามภพนั้นยังหยาบกว่าอัตภาพ ๒ นอกนี้. ทรงแสดงรูปภพ เพราะบังเกิดด้วยใจที่ได้ฌาน แล้วได้รับโดยความเป็นรูป.๒๓๕ จากข้อความที่ปรากฏโปฏฐปาทสูตรที่อยู่ในพระสุตตันตปิฎก สีลขันธวรรคอรรถกถา และ สีลขันธวรรคฎีกา ที่ผู้เรียบเรียงได้น าเสนอในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่า ๓ คัมภีร์ดังกล่าวอธิบายซึ่งกันและ กันเป็นทอด ๆ ตามล าดับ หมายความว่า โปฏฐปปาทสูตรได้น าเสนอข้อมูลว่า การได้อัตภาพ (อตฺตปฏิลาโภ) มี ๓ อย่าง คือ ๑) การได้อัตตภาพที่หยาบ ๒) การได้อัตตภาพที่ส าเร็จด้วยใจ และ ๓) การได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป ต่อมาสีลขันธวรรคอรรถกถาได้น าคัพท์ว่า “อตฺตปฏิลาโภ” ที่แปลว่า การได้ อัตภาพ มาอธิบายในแง่ของการอธิบายค าศัพท์โดยได้อธิบายว่า “อตฺตปฏิลาโภติ อตฺตภาวปฏิลาโภ” ซึ ่งตีความได้ว ่า ค าว ่า อต ฺตา ที ่สมาสอยู ่กับค าว ่า “ปฏิลาโภ” มีความหมายเท ่ากับศัพท์ว่า “อตฺตภาโว” ที่แปลว่า “อัตภาพ” นั้นเอง พร้อมกับนั้นสีลขันธวรรคอรรถกถาก็ได้อธิบายจุดประสงค์ ของการแสดงการได้อัตภาพ ๓ อย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงการได้อัตภาพ ๓ ก็เพื่อที่จะน าเสนอภพ ๓ กล่าวคือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ ซึ่งการได้อัตภาพที่หยาบ หมายถึง การได้เกิดในกามภพ การได้อัตภาพที่ส าเร็จด้วยใจ หมายถึง การได้เกิดในรูปภพ และการได้อัตภาพท ที่ไม่มีรูป หมายถึง การได้เกิดในอรูปภพ และท้ายที่สุด สีลขันธวรรคฎีกาก็ได้น าค าว่า “อตฺตา” ที่อยู่ ในค าว่า “อตฺตปฏิลาโภ” มาอธิบายในเชิงไวยากรณ์โดยการตั้งรูปวิเคราะห์ว่า อาหิโต อห มาโน เอตฺถาติ อต ฺตา อต ฺตภาโวชื่อว่าอัตตา (ตน) เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งลง แห่งมานะว่าเรา คือ อัตภาพ ซึ่งรูปวิเคราะห์นี้ สีลขันธวรรคฎีกาได้ตั้งขึ้นเพื่อที่จะสนับสนุนค าอธิบาย ของสีลขันธวรรคอรรถกถาที่บอกว่า ค าว่า อัตตา (อตฺตา) หรืออัตภาพ (อตฺตภาโว) เป็นค าเดียวกัน มี ความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้ ๙.๒ ความสัมพันธ์ด้านการใช้เหตุผล สีลขันธวรรคฎีกาเมื่ออธิบายเนื้อหา มักจะน าหลักการที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มอื่น อรรถกถาเล ่มอื ่น หรือฎีกาเล ่มอื ่น มาสนับสนุนค าอธิบายของตนเอง เพื ่อให้ค าอธิบายมีความ น่าเชื่อถือ และมีน ้าหนัก ซึ่งตรงนี้ถือได้ว่า สีลขันธวรรคฎีกามีความสัมพันธ์กับคัมภีร์อื่นในด้านการใช้ เหตุผล ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้ ๑. แนวคิดเกี่ยวกับอาสยะ สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายว่า อัชฌาสัย มีชื่อเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า อาสยะ จะอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่า อัชฌาสัย หรืออาสยะ ทั้งสองค านี้อยู่ในหมวด ของทิฏฐิ โดยสีลขันธวรรคฎีกาได้น าพระคาถาที่ปรากฏอยู่ในวิสุทธิมรรคฎีกามาสนับสนุนค าอธิบ าย ของตนว่า สสฺสตุจฺเฉททิฏฺฐฃิจ ขนฺติ เจวานุโลมิเก ยถาภูตญฺจ ย ญาณ เอต อาสยสทฺทิตนฺติ. ๒๓๕ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑๔๒๘/๔๕๗.
๘๕ สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ และขันติ อันเป็น อนุโลม ยถาภูตญาณทัสสนะ เรียกว่าอาสยะ.๒๓๖ ๒. แนวคิดเกี ่ยวกับพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายว่า พระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเนมิตตกนามทั้งหมด (นามที่เกิดขึ้นตามลักษณะและคุณสมบัติ) หมายความว่า พระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้านับประมาณไม่ได้ เมื่อคุณของพระพุทธองค์นับไม่ได้ พระนามของพระพุทธองค์ก็นับไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะพระนามของพระพุทธองค์มีมากตามพระคุณ ดังนั้น สีลขันธวรรคฎีกาจึงได้น าคาถาที่ปรากฏอยู่ในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคมาสนับสนุนค าอธิบาย ของตนว่า อสงฺขฺเยยฺยานิ นามานิ สคุเณน มเหสิโน คุเณน นามมุทฺเธยฺย อปิ นามสหสฺสโตติ. พระนามของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ นับไม่ได้โดยพระคุณ อนึ่ง พึงยกพระนาม ขึ้นแสดงโดยพระคุณ โดยพระนาม.๒๓๗ ๓. แนวคิดเกี่ยวกับปีติเมื่อเกิดอุทยัพพยญาณ สีลขันธวรรคฎีกาอธิบายว่า วิปัสสนาที่ ด าเนินไปด้วยการก าจัดธรรมที่เป็นข้าศึกมีนิจจสัญญาเป็นต้น (ความส าคัญว่าเที่ยง) พิจารณาโพธิ ปักขิยธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้น ย่อมน าปีติและสุขมาให้แก่ผู้เจริญวิปัสสนามากมาย พร้อมกันนั้น สีล ขันธวรรคฎีกาได้น าพระคาถาที่ปรากฏในขุททกนิกาย ธรรมบทมาสนับสนุนค าอธิบายของตนว่า ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธาน อุทยพฺพย ลภตี ปีติปาโมชฺช อมต ต วิชานตนฺติ. ขณะใด ภิกษุพิจารณาเห็นความเกิด และความเสื่อมของขันธ์ทั้งหลาย ขณะนั้น เธอย่อมได้ปีติปราโมทย์ ซึ่งเป็นอมตธรรมส าหรับผู้รู้ทั้งหลาย.๒๓๘ ๔. แนวคิดเกี่ยวกับมรรค สีลขันธวรรคฎีกา ได้อธิบายว่า มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้นเท่านั้นที่จะสามารถท าให้ข้ามวัฏสงสารได้ ส่วนมรรคอื่น ๆ ที่จะเป็นไปเพื่อ ความหมดจด ไม่มีเลย โดยสีลขันธวรรคฎีกาได้น าพระคาถาที่ปรากฏอยู่ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มาสนับสนุนค าอธิบายของตนเองว่า ๒๓๖ วิสุทฺธิ.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๓๖/๒๘๓. ๒๓๗ ปฏิส .อ. (ไทย) ๑/๗๖/๔๑๔, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗/๘๐. ๒๓๘ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๓๗๔/๑๔๙, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๕๘/๔๐๘.
๘๖ เอกายน ชาติขยนฺตทสฺสี มคฺค ปชานาติ หิตานุกมฺปี เอเตน มคฺเคน ตรึสุ ปุพฺเพ ตริสฺสนฺติ เย จ ตรนฺติ โอฆนฺติ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นธรรม อันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล ทรงรู้จักทางอันเป็นทางเดียว ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว จักข้ามและก าลังข้ามโอฆะได้ด้วยมรรคนี้.๒๓๙ ๕. แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาพระธรรมวินัย สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายว่า การศึกษาพระ ธรรมวินัย จ าเป็นจะต้องเรียนด้วยความตั้งใจ เพราะว่าการท าเช่นนี้จะท าให้พระศาสนาด ารงอยู่สิ้น กาลนาน โดยสีลขันธวรรคฎีกาได้น าพระพุทธพจน์ที่ปรากฏในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต มาสนับสนุน ค าอธิบายของตนว่า เท ฺว เม ภิกฺขเว, ธม ฺมา สท ฺธมฺมสฺส ฐฃิติยาอสม ฺโมสาย อนนฺตรธานาย ส วต ฺตนฺติ. กตเม เทฺว ? สุนิกฺขตฺตญฺจ ปทพฺยญฺชน อตฺโถ จ สุนีโต. ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความด ารงมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อ ความไม ่หลงพร้อม เพื ่อความไม่อันตรธานแห่งพระสัทธรรม ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ธรรม ๒ ประการ คือ บทและพยัญชนะอันเก็บไว้อย่างดี ๑ เนื้อความอันอธิบายไขความอย่างดี ๑.๒๔๐ ๑๐. ข้อเสนอแนะในการศึกษาสีลขันธวรรคฎีกา ก่อนที่ผู้อ่านจะเข้าไปอ่านสีลขันธวรรคฎีกาฉบับภาษาไทย ในหน้าถัดไป ผู้เรียบเรียงขอ แนะน าว่า ผู้อ่านควรไปหยิบพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค เล่มที่ ๙ และสีลขันธวรรคอ รรถกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มาเสียก่อน และเมื่ออ่าน ผู้อ่านควรอ่าน ๓ คัมภีร์นี้ไป พร้อม ๆ กัน ซึ่งตรงนี้ ผู้เรียบเรียงขอเสนอวิธีการอ่านไว้ ๒ วิธี ดังนี้ วิธีที่ ๑ ผู้อ่านเมื่อต้องการจะอ่านพรหมชาลสูตร ควรอ่านพรหมชาลสูตรในพระไตรปิฎก ให้จบก่อน ต่อมาค่อยมาอ่านพรหมชาลสูตรในอรรถกถาให้จบ และอ่านพรหมชาลสูตรในฎีกา จะ อย่างไรก็ตาม ส าหรับวิธีนี้ หากผู้อ่านยังเป็นผู้ใหม่ในวงการคัมภีร์ อาจจะเชื่อมโยงเนื้อหาทั้ง ๓ คัมภีร์ ๒๓๙ ส .ม. (ไทย) ๑๙/๓๘๔,๔๐๙/๒๔๑,๒๖๗, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๙๒/๔๒๖. ๒๔๐ องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๒๑/๗๓, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/-/๒๐.
๘๗ เข้าหากันล าบาก จะอย่างไรก็ตาม หากผู้อ่านเลือกใช้วิธีนี้ ผู้อ่านจะต้องอ่านหลาย ๆ รอบเพื่อที่จะ สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาได้ วิธีที่ ๒ ผู้อ่านควรอ่านไปทีละตอนของพระสูตรนั้น ๆ โดยอ่านพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ควบคู่กันหรืออ่านไปพร้อม ๆ กัน หากผู้อ่านนึกภาพตามไม่ออก ผู้อ่านลองจินตนาการตาม ตัวอย่างดังนี้ สมมติว่า ตอนนี้ก าลังจะอ่านพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีลขันธวรรค เล่มที่ ๙ ก็ไป หาสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา ต่อจากนั้น ก็วางพระไตรปิฎกไว้ด้านซ้ายมือ วาง อรรถกถาไว้ด้านหน้า วางฎีกาไว้ด้านขวามือ คัมภีร์ ๓ เล่ม จะวางเรียงกัน ๓ เล่ม ต่อจากนั้น ก็อ่าน เนื้อหาทีละตอนในพระสูตรนั้น ๆ เช ่น ก าลังจะอ ่านพรหมชาลสูตร ก็อ ่านทีละทิฏฐิ โดยอ ่าน พระไตรปิฎก พระอรรถกถา ฎีกา ไปตามล าดับ (อ่านสัสสตทิฏฐิในพระไตรปิฎกให้จบ ต่อจากนั้น อ่านสัสสตทิฏฐิในอรรถกถา และท้ายที่สุดก็อ่านสัสสตทิฏฐิในฎีกา) วิธีนี้อาจจะใช้เวลานาน เพราะ จะต้องอ่าน ๓ อย่างไปพร้อม ๆ กัน วิธีนี้จะท าให้เข้าใจเนื้อหาของพระสูตรนั้น ๆได้อย่างชัดเจน และ ให้สามารถเชื่อมโยงหาเนื้อหาใน ๓ คัมภีร์ได้อย่างเป็นอย่างดี
๘๘ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรคฎีกา ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นฯ พรรณนากถาเริ่มต้นคัมภีร์ ในค าเริ่มต้นการพรรณนา เพื่อประกาศความหมดจดที่อาศัยการเกิดธรรมที่ต้องพรรณนา จึงมีการไหว้พระรัตนตรัยแต่นั่นก็เพื่อให้วิญญูชนทั้งหลายเกิดมานะมากในการพรรณนาพระธรรม นั้น ก็เพื่อให้เกิดความเกื้อกูลและความสุขทุกอย่างส าเร็จด้วยสัมมาปฏิบัติที่ได้รับจากการเรียนและการ ทรงจ าเป็นต้นตามล าดับแห่งวิญญูชนเหล่านั้นโดยชอบนั่นเอง หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะความเป็น มงคลเพราะเป็นบุพพกิจในการท าทุกอย่าง เพราะเป็นการประพฤติที่บัณฑิตทั้งหลายปฏิบัติกันมาโดย ชอบ และเพราะชนทั้งหลายเหล่าอื่นจะได้ถือเอาเป็นทิฏฐานุคติจึงมีการกระท าการนอบน้อมพระ รัตนตรัยในการพรรณนา หรืออีกอย่างหนึ่ง การกระท าการนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยก็เพื่อให้เกิดบุญ พิเศษที ่เกิดจากการบูชาพระรัตนตรัยที ่ควรบูชา นั้นก็เพื ่อเพิ ่มก าลังกรรมที ่มีสมบัติตามที ่ได้เป็น เครื่องหมายแก่ตน และเพื่อกรรมนั้นจะไม่คดงอในระหว่างทั้งสองนั้นก็เพื่อให้การประมวลมาซึ่งอรรถ กถาโดยไม ่มีอันตรายฯก็ประโยชน์นี้นั่นเองที ่พระอาจารย์ประสงค์เอาในฐานะนี้ฯ จริงอย ่างนั้น พระอาจารย์จึงกล่าวว่า“อิติ เม ปสนฺนมติโน ฯเปฯ ตสฺสานุภาเวน”ฯเพราะว่าการบูชาพระรัตนตรัย เป็นบุญอันดียิ่งที่มีอานุภาพประมาณมิได้ด้วยสัมโพธิญาณอันเป็นบุญเขตที่ไม่มีบุญเขตอื่นดียิ่งกว่า เหตุนั้น จึงเพียงพอเพื่อก าจัดอันตรายและก าจัดกิเลสทั้งสิ้นอันเป็นพันธนาการในโลกสันนิวาสแม้ที่มี อันตรายมากมาย และป้องกันอุปัทวะอันมีภัยเป็นต้น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า “บุญของบุคคลผู้บูชาท่านผู้ควรบูชาคือพระพุทธเจ้าหรือสาวก” ๒๔๑ และว่า “ภิกษุทั้งหลายชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้เลื่อมใสใน พระพุทธเจ้าผู้เลิศ ก็แลผลอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ๒๔๒ ผู้ที่ประกาศอยู่ว่า พุทธะ ปีติย่อมเกิด ทั่วสรรพางค์กาย ปีตินั้นเป็นคุณชาติที่ประเสริฐ แม้กว่าชมพูทวีปทั้งสิ้น ผู้ประกาศว่า ธรรมะ ประกาศว่า พระสงฆ์ก็เหมือนกัน” ๒๔๓ฯ ๒๔๑ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๑๙๕/๙๓. ๒๔๒ องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๓๔/๕๓. ๒๔๓ ที.สี.อ. (ไทย) ๑/๖/๘๕.
๘๙ และว่า “มหานามะ ในสมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคต ในสมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุมฯลฯ ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุมเป็นต้น” ๒๔๔ และว่า ไม่ว่าจะในป่าหรือโคนต้นไม้ฯลฯ หามีภัยหรือความสะดุ้งกลัว หรือความชูชันแห่งชนไม่” ๒๔๕ ในการกระท าการนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยนั้น พระอรรถกถาจารย์กล่าว ๓ คาถามีว่า กรุณาสีตลหทย เป็นต้น เพื่อเทียบเคียงการประกอบคุณอันดียิ่งแห่งพระรัตนตรัยที่ผู้ต้องการกระท า การนอบน้อมฯ เพราะว่า ภาวะที่ควรแก่การกราบไหว้มีได้ด้วยการประกอบด้วยคุณอันดียิ่ง และการ กราบไหว้ที่กระท าในบุคคลที่ควรแก่การกราบไหว้ย่อมให้ประโยชน์ตามที่ประสงค์ส าเร็จได้ฯ การ กราบไหว้นั้นหามีกรุณาเป็นใหญ่เหมือนวินยเทศนาไม่ หามีปัญญาเป็นใหญ่เหมือนอภิธรรมเทศนาไม่ ที่แท้แลมีทั้งกรุณา ทั้งปัญญาเป็นใหญ่ แก่ผู้ประสงค์จะท าการพรรณนา เพราะเหตุนั้น พระอรรถ กถาจารย์จึงกล่าวค าว่ากรุณาสีตลหทย เป็นต้น เพื่อกระท าการชมเชย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน ซึ่ง มีกรุณาและปัญญาทั้งสองนั้นเป็นใหญ่นั่นเอง เพราะพระรัตนตรัยที่เหลือมีพุทธรัตนะนั้นเป็นมูลฐานฯ บรรดากรุณาและปัญญาทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่ากรุณาเพราะอรรถว่า ก าจัด อธิบายว่า ขจัด คือ ซัดไป น าออกไปซึ่งความทุกข์ของผู้อื่นฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ากรุณา เพราะอรรถว่า เบียดเบียน อธิบาย ว่า ก าจัด คือเบียดเบียนบุคคลผู้มีกรุณา เมื่อผู้อื่นมีทุกข์หรือว่า ชื่อว่ากรุณา เพราะเมื่อมีทุกข์ของผู้อื่น อยู ่ ก็ท าความหวั่นใจ คือล าบากใจแห่งชนดีทั้งหลาย อีกอย ่างหนึ ่ง ชื ่อว ่ากรุณา เพราะก้าวข้าม ความสุข คือปิดกั้นความสุขนั้นฯ ก็กรุณานี้มีความเป็นผู้ใคร่เพื่ออันน าไปซึ่งความทุกข์ของผู้อื่นเป็น ลักษณะ จึงปิดกั้น คือรึงรัดซึ่งความสุขของชนทั้งหลายที่ประกอบด้วยกรุณา เพราะไม่มุ่งแต่ความสุข เพื่อตนเองฯ ความเย็นด้วยกรุณาชื่อว่ากรุณาสีตละ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีพระหทัยที่เย็น ด้วยพระกรุณา เพราะเหตุนั้น จึงทรงชื่อว่ากรุณาสีตลหทยะ ซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีพระหทัยเย็น ด้วยพระกรุณานั้นฯในบทว่า กรุณาสีตลหทย นั้น เพราะกรุณามีความปรารถนาความไม่เสื่อมไปแห่ง ความสุขอันน าเข้าไปซึ ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็นต้นแก่ชนเหล ่าอื่นเป็นสภาวะ และเพราะเป็นข้าศึก โดยตรงต่อพยาบาทและความไม่ยินดีแม้เมตตตาและกรุณาจะได้ความเป็นเหตุแห่งความเย็นจิต โดย ความเป็นไปแห่งอาการก าจัดความเร่าร้อนที่มีอยู่ในสันดานสัตว์แม้ก็จริงแม้ถึงกระนั้น กรุณาอันเป็น ความไม่เบียดเบียนอันมีความทนไม่ได้ต่อความเดือดร้อนของผู้อื่นโดยความเป็นไปแห่งอาการน าความ ทุกข์ออกไปเป็นเครื่องหมายแห่งความเย็นพระทัยของพระผู้มีพระภาคโดยพิเศษเหมือนจิตตปัสสัทธิ ๒๔๔ องฺ.ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๑๐/๔๒๒, องฺ.เอกาทสก. (ไทย) ๒๔/๑๑/๔๑๑. ๒๔๕ ส .ส. (ไทย) ๑๕/๒๔๙/๓๖๐.
๙๐ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวค าว่า “กรุณาสีตลหทย ”เป็นต้นฯ อีกอย่างหนึ่ง พึง ทราบว่า ท่านกล่าวความที่แม้เมตตาและกรุณาเป็นเหตุแห่งความเย็นใจโดยมุ่งถึงกรุณาฯ อีกอย่างหนึ่ง กรุณาอันเป็นมูลเหตุพิเศษแห่งอสาธารณญาณ เข้าถึงความเป็นมหากรุณา เพราะเพียบพร้อมด้วยอารมณ์ราวกะว่าพระสัพพัญญุตญาณอันดียิ่ง และอันไม่มีกิเลสเหลืออยู่ เป็น เหตุแห่งความเย็นพระหทัยของพระผู้มีพระภาคโดยเหตุอันดียิ่ง เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึง กล่าวว่า “กรุณาสีตลหทย ”ฯ อีกอย่างหนึ่ง แม้เมื่อเมตตาและมุทิตามีความเป็นเหตุแห่งความเย็นใจ อันดียิ่ง แม้เมตตาและมุทิตาจึงเป็นเหตุ โดยความเป็นเหตุวิเศษแห่งพุทธคุณทั้งสิ้น เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงกล่าวกรุณาว่าเป็นเหตุความเย็นพระหทัยของพระผู้มีพระภาคฯ เพราะว่า พุทธคุณแม้ทั้งหมด มี พระกรุณาเป็นมูลเหตุฯก็พระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีความเดือดร้อนด้วยความทุกข์ในสังสารวัฏอัน พระองค์ทรงให้ดับไปได้ด้วยอานุภาพแห่งพระกรุณา ผู้ทรงมีพระรูปที ่ไม่บอบช ้าตลอดกัปแม้สิ้น อสงไขยมากมายเพราะทรงมีพระประสงค์จะน าความทุกข์ของผู้อื่นออกไป ผู้ทรงมุ่งมั่นต่อการบ าเพ็ญ ธรรมที่ท าความเป็นพุทธะอย่างสิ้นเชิง และผู้ทรงมีธรรมที่ทรงบรรลุเป็นอธิปไตย มิได้มีความเย็นพระ หทัยเป็นไปโดยประการอื่น แม้แต่น้อยในนิมิตคือเดือดร้อนพระหทัยที่น้อมเข้าไปในสัตว์และสังขารแม้ ที่สั่งสมมาฯ ก็ในอรรถวิกัปนี้พึงทราบว่า ท่านรวมพระกรุณาของพระผู้มีพระภาคแม้ใน ๓ ฐานะฯ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ทั่ว อธิบายว่า รู้แจ้งตามสภาวะ โดยประการทั้งหลาย ชื่อ ว่าปัญญา เพราะละธรรมเครื่องขวางกั้นซึ่งธรรมที่ควรรู้ชื่อว่าปัชโชตะ เพราะอรรถว่ารุ่งเรืองโดย สภาวธรรมโดยประการทั้งหลายเพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาปัชโชตะความมืดถูกก าจัดได้โดยพิเศษ เพราะละกิเลสพร้อมทั้งวาสนาคือเพิกถอนได้ได้แก่ขจัดให้ราบคาบไปได้ความมืดถูกขจัดให้ราบคาบ ไปได้ด้วยปัญญาปัชโชตะชื่อว่าปัญญาปัชโชตวิหตะชื่อว่าโมหะเพราะเป็นเหตุหลงแห่งสัตว์หรือหลง เอง หรือเป็นตัวหลงมัวเมานั่นเอง ได้แก่อวิชชาฯ โมหะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าตมะ (ความมืด) เพราะเป็น เหมือนความมืดเพราะเห็นเสมอด้วยอันธการ โดยปกปิดวิสัยสภาวะ ชื่อว่าผู้มีความมืดคือโมหะอันถูก ก าจัดได้แล้วด้วยปัญญาปัชโชตะ เพราะอรรถว่ามีความมืดคือโมหะอันถูกก าจัดได้แล้วด้วยปัญญา ปัชโชตะ ซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีความมืดคือโมหะอันถูกก าจัดได้แล้วด้วยปัญญาปัชโชตะ (ประทีป อันโพลงทั่วคือปัญญา) พระองค์นั้นฯ จริงอยู่ เมื่อความมืดมนคืออวิชชาอันพระขีณาสพแม้ทั้งปวงละ ได้แล้วด้วยประทีปอันโพลงทั่วคือปัญญา ความแตกต่างกันแห่งการละกิเลสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กับพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมมีเพราะการละกิเลสพร้อมทั้งวาสนา ดุจความแตกต่างกัน แห่งการละกิเลสของพระอริยบุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะกับพระอริยบุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุต ฉะนั้น เพระ เหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ เมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคโดยการละอวิชชา ด้วยเหตุอันยิ่ง จึงกล่าว ว่า “ปญ ฺญาปชฺโชตวิหตโมหตม ”ฯ อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้อันมหาชนพึงชมเชยด้วยการไปปราศจากความ มืดคือโมหะโดยพิเศษ เพราะการไปปราศจากความมืดมนคืออวิชชาบังเกิดในสันดานของพระองค์โดย ส่วนเดียวโดยแสดงอ้างผู้อื่นโดยระหว่าง เพราะทรงเป็นสัพพัญญูในการไม่มีอันธการคืออวิชชานั้น
๙๑ เพราะทรงบรรลุความเป็นผู้ช านาญในพละทั้งหลาย และเพราะทรงให้การบรรลุก าจัดอันธการคือ อวิชชานั้นเป็นไปโดยชอบในสันตติผู้อื่นได้ด้วยอานุภาพแห่งธรรมเทศนาอันดียิ่ง เพราะเหตุนั้น พระ อรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “ปญ ฺญาปชฺโชตวิหตโมหตม ”ฯก็ด้วยบทว่า “ปญ ฺญาปชฺโชโต” ในอรรถ วิกัปนี้พึงทราบว่าท่านรวบรวมแม้เทศนาปัญญา โดยสามัญญนิเทศหรือโดยเอกเสสนัย เหมือนปฏิเวธ ปัญญาของพระผู้มีพระภาค ฉะนั้นฯ อีกอย ่างหนึ ่ง ความพินาศไปแห่งความมืดคือโมหะของพระผู้มีพระภาคไม่ทั่วไปแก่ ชนอื ่นเพราะความมืดคือโมหะอันปกปิดสภาวะแห่งเญยยธรรมทั้งปวงอันประทีปอันโพลงทั่วคือ ปัญญากล ่าวคืออนาวรณญาณ ที่สามารถหยั่งรู้สภาวะแห่งเญยยธรรมทั้งสิ้นเพราะพระญาณของ พระผู้มีพระภาคมีเญยยธรรมเป็นที่สุดก าจัดแล้ว เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวค าว่า “ปญ ฺญาปชฺโชตวิหตโมหตม ”ฯก็ในค านี้อนาวรณญาณพึงทราบว่าเป็นญาณก าจัดความมืดคือโมหะ ใน สันดานของพระองค์โดยเป็นการณูปจาระเพราะพระองค์ทรงบรรลุได้ในที่สุดแห่งการก าจัดความมืด คือโมหะฯก็การละกิเลสพร้อมทั้งวาสนานั้นแลโดยความถึงพร้อมด้วยอภินิหาร เรียกว่า “การละกิเลส เครื่องกั้นเญยยธรรม” ส่วนอนาวรณญาณเรียกว่าญาณก าจัดความมืดคือโมหะ เพราะเป็นเหตุก าจัด ความมืดคือโมหะในสันดานผู้อื่นฯ ถามว่า ก็เพราะเหตุอะไรการก าจัดอวิชชาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงระบุว่าเป็นนิมิตแห่ง การชมเชยพระผู้มีพระภาคด้วยสามารถแห่งปหานสมบัติ แต่ว่าไม่ระบุถึงการละกิเลสอย่างไม่เหลือ ด้วยเหตุอันยิ่งว่าเป็นนิมิตแห่งการชมเชยพระผู้มีพระภาคเล่า ตอบว่า ไม่ระบุอย่างนั้น นั่นเป็นเพราะ ทรงรุ่งเรืองในการเพิกถอนกองกิเลสทั้งสิ้น เพราะมีความหมายเป็นอันเดียวกันกับการกล่าวถึงการละ กิเลสนั้นนั่นเองฯ เพราะว่า กิเลสใดที่ยังละไม่ได้ด้วยการละอวิชชาโดยไม่เหลือ กิเลสเช่นนั้นนั้นจะมี อยู่ก็หามิได้ฯ อีกอย่างหนึ่ง อวิชชาเป็นสาเหตุใหญ่แห่งการเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งสิ้นแห่งการเกิด อกุศลธรรมแน่นอน และแห่งความเป็นไปในสังสารวัฏ เหตุนั้น การเพิกถอนกองกิเลสทั้งสิ้นจึงถูก กล่าวไว้ด้วยการกล่าวถึงอวิชชานั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า“ปญ ฺญาปชฺโชตวิหตโมหตม ”ฯ ชนและเทวดา ชื่อว่านรามระ (ชนและเทวดา) ผู้ใดเป็นไปกับด้วยชนและเทวดา เพราะ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่าสนรามระ (ผู้เป็นไปกับด้วยชนและเทวดา) โลกนั้นด้วย เป็นไปกับด้วยชนและ เทวดาด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสนรามรโลกะ ครูของโลกที่เป็นไปกับด้วยชนและเทวดาพระองค์นั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสนรามรโลกครุฯ ซึ่งพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นครูของชาวโลกที่เป็นไปกับ ด้วยชนและเทวดาฯ ด้วยค าว่า สนรามรโลกครุ นั้น พระอรรถกถาจารย์แสดงถึงความที่พระผู้มีพระ ภาคทรงมีอุปการะแม้แก่สัตว์ที่เหลือลงจากเทพและมนุษย์นั้น เหมือนมีอุปการะแก่เทพและมนุษย์ ทั้งหลายฉะนั้น เพราะน าคุณวิเศษมาให้ตามสมควรฯ ก็ในค านี้ ไม่พึงทักท้วงความเป็นใหญ่หรือความ ไม ่เป็นใหญ่ฯเพราะว่าล าดับแห่งรูปศัพท์ เป็นอย ่างหนึ ่ง ล าดับแห่งเนื้อความก็เป็นอย่างหนึ่งฯ เพราะว่า ในสมาสทั้งหลายเช่นนี้แม้ปธานะ (ความเป็นใหญ่) ท่านก็ชี้แจงไว้ดุจไม่ใช่ประธาน เหมือน
๙๒ ค าว่า “สราชิกาย ปริสาย” ๒๔๖ ฉะนั้นฯ ก็ในค าว่า โลก นี้ โลก มี ๓ อย่าง คือ สัตวโลก ๑ สังขารโลก ๑ ภาชนโลก (โอกาสโลก) ๑ ก็จริง ถึงกระนั้น ก็พึงถือเอาความหมายด้วยอ านาจสัตว์โลก (โลกคือหมู่ สัตว์) เพราะควรแก่พระผู้มีพระภาคผู้สามารถกระท าความเป็นครูนั ่นเอง เหตุความเป็นครูท่าน ประสงค์แล้วฯ ก็โลกนั้น เรียกว่า “โลก” เพราะเป็นที่อันชนทั้งหลายเห็นบุญและบาปและเห็นผลของ บุญและบาปนั้นฯ ก็ท่านประสงค์เอาอุปปัตติเทพด้วยอมร-ศัพท์ในค าว่า สนรามระ นี้ฯ อีกอย่างหนึ่ง โลก-ศัพท์มีความหมายเป็นสมูห-ศัพท์อันชนย่อมเห็น คือย่อมปรากฏ ด้วย สามารถแห่งการรวมพร้อมฯ ควรประกอบตามนัยก่อนนั้นแลว่า ชื่อว่าสนระ เพราะอรรถว่า เป็นไป พร้อมกับด้วยนระทั้งหลาย ชนเหล่านั้นผู้เป็นไปกับด้วยนระด้วย เป็นเทวดาด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สนรามระ โลกของสนรามระเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสนรามรโลกะฯ ก็ด้วยอมร-ศัพท์ ในค านี้ ท่านย่อมรวมถึงแม้วิสุทธิเทพฯ เพราะว่า วิสุทธิเทพแม้เหล่านั้น ชื่อว่าอมระ (เทวดา) โดยปรมัตถ์ เพราะไม่มีความตายฯก็การระบุเอาชนและเทวดาทั้งหลายนั่นแลมีอยู่ด้วยการแสดงอย ่างสูงสุด เหมือนค าว่า “สตฺถา เทวมนุสฺสาน ” ฉะนั้นฯ จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคชื่อว่าทรงเป็นผู้สูงสุดกว่า สัตว์ทั้งปวง เพราะปโยคสมบัติอันดียิ่งอันมีการหลีกเลี่ยงอนัตถะทั้งปวงเป็นส่วนเบื้องต้น มีการจัดแจง ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขโดยสิ้นเชิงเป็นส่วนเบื้องปลาย เพราะทรงมีอุปการะโดยส่วนเดียวต่อหมู่ สัตว์ พร้อมเทวดาและมนุษย์ และเพราะทรงพรั่งพร้อมด้วยคุณวิเศษที่ปรากฏโดยไม่มีผู้ใดประมาณได้ และไม่มีใครเปรียบได้ทรงเป็นฐานะที่ต้องเคารพอย่างสูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลายไม่มีปริมาณ ในโลกธาตุ อันไม่มีปริมาณฯ ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “สนรามรโลกครุ”ฯ ชื่อว่าสุคตเพราะทรงมีการด าเนินไป คือการเสด็จไปที่งดงามฯก็การเสด็จเข้าไปหาเวไนย ชนของพระผู้มีพระภาค ชื่อว่างดงาม เพราะยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้ส าเร็จแก่เวไนยสัตว์ เหล่านั้นโดยส่วนเดียว อนึ่ง การเสด็จไปทางกายอันเว้นจากโทษมีห้อยย้อยลง ปลายเท้ากดซ่นเท้า เท้ากระโหย่งคดงอเป็นต้น ชื่อว่างดงามเพราะพระรูปกายประกอบด้วยลักษณะและอนุพยัญชนะ ดุจ การไปของพญาหงส์ พญาโค พญาช้าง และพญาเนื้ออันงดงาม และการไปแห่งญาณ ชื่อว่างดงาม ทั้งนั้น เพราะไม่มีโทษเริ่มแต่คุณวิเศษอันเป็นประโยชน์เกื้อกูล มีกรุณา สติและวิริยะเป็นต้น อัน ไพบูลย์ และหมดจด จนถึงมหาโพธิญาณฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสุคต เพราะพระองค์ทรงก าหนดรู้โลกแม้ทั้งสิ้นด้วยสยัมภูญาณด้วย สามารถแห่งปริญญาภิสมัย เสด็จไป คือทรงด าเนินไปด้วยพระญาณโดยชอบฯอนึ่งชื่อว่าสุคต เพราะ ทรงละโลกสมุทัยด้วยสามารถแห่งปหานาภิสมัย ให้ความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรม ถึงทั่วแล้วเสด็จไป คือ ทรงก้าวล่วงไปโดยชอบฯชื่อว่าสุคตเพราะทรงถึงความดับโลก คือถึงพระนิพพานด้วยสามารถทรงท า นิพพานให้แจ้งโดยชอบฯ ชื่อว่าสุคต เพราะทรงถึงปฏิปทาอันเป็นความดับแห่งโลกด้วยสามารถแห่ง ภาวนาภิสมัยแล้วเสด็จไป คือทรงด าเนินไปโดยชอบฯ พึงให้เนื้อความนี้แจ่มแจ้งตามนัยมีว่า ชื่อว่า สุคต เพราะไม่ให้กิเลสที่ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดอีกคือไม่ให้เผล็ดผล ได้แก่ไม่ให้กลับมาเป็นต้นฯ ๒๔๖ ขุ.อป.อ. (บาลี) ๑/๘๒/๑๔๑.
๙๓ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสุคต เพราะทรงถึง คือทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ หรือทรงบรรลุพระนิพพานอัน เป็นฐานะที่งดงามฯอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สุคต เพราะเหตุที่ตรัสธรรมที่เป็นจริง เป็นแท้ ประกอบด้วย กาลตามสมควรแก่เวไนยสัตว์นั่นและฉะนั้นจึงชื่อว่าตรัสโดยชอบ เพราะแปลงท-อักษรให้เป็นต-อักษรฯ ชื่อว่าสุคต เพราะมีการเสด็จไปที่งดงามเป็นต้น ดังว่ามาฉะนี้ฯ ซึ่งพระสุคตนั้นฯ ชื่อว่าคติเพราะต้องไปด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้นเพราะกรรมคือบุญและบาป ได้แก่ อุปปัตติภพพิเศษฯก็คตินั้นมี ๕ อย่างมีนรกเป็นต้นฯ พระผู้มีพระภาคทรงพ้น คือไม่ประกอบด้วยคติ แม้ทั้ง ๕ เหล่านั้น ด้วยดีเพราะกรรมที่น าไปสู่ภพแม้ทั้งสิ้นไม่หวนกลับโดยกระท าความเป็นกรรมไม่ ส่งผลเพราะทรงบรรลุอริยมรรค เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “คติวิมุต ฺต ”ฯ ด้วยค า ว่า คติวิมุต ฺต นั่น พระอรรถกถาจารย์แสดงความที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงนับเนื่องด้วยคติแม้ในที่ไหน ๆ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคท่านเรียกว่า “เทวาติเทโว” (เทพยิ่งกว่าเทพ)ฯ ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า “อาสวะทั้งหลายที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นเทวดา หรือเป็นคนธรรพ์ผู้เที่ยวไปในอากาศ เป็นเหตุให้ถึงความเป็นยักษ์ และความเป็นมนุษย์ได้สิ้นไปแล้ว ถูกเราก าจัดแล้ว ท าให้หมดเครื่องผูกพันแล้ว”๒๔๗ฯ ก็ความที่พระผู้มีพระภาคทรงนับเนื่องในคติชื่อว่าย่อมไม่มีเพราะความที่กรรมกิเลส ทั้งหลายอันเป็นไปพร้อมในคตินั้น ๆ พระองค์ทรงละได้แล้วด้วยมรรคอันเลิศที่โคนต้นโพธิ์นั่นแล เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคจึงทรงหลุดพ้นด้วยดีจากภพ ก าเนิด วิญญาณฐิติสัตตาวาส และหมู่ สัตว์ทั้งปวงโดยส่วนเดียวนั่นเทียวฯ ซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ทรงพ้นแล้วจากคตินั้นฯ บทว่า วนฺเท ได้แก่ ข้าพเจ้าขอนอบน้อม อธิบายว่า ข้าพเจ้าขอชมเชยฯ อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า คติวิมุต ฺต พระอรรถกถาจารย์ย่อมชมเชยพระผู้มีพระภาคด้วย การเกิดขึ้นแห่งอนุปาทิเสสนิพพานธาตุฯ ก็ในค านี้พึงทราบการชมเชยพระผู้มีพระภาคโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอัตตหิตสมบัติและโดยปรหิตปฏิบัติฯ บรรดาอาการทั้ง ๒ นั้น พึงทราบอัตตหิตสมบัติ โดยการบรรลุถึงอนาวรณญาณ โดยการละกิเลสทั้งปวงพร้อมทั้งวาสนาได้โดยสิ้นเชิงและโดยบรรลุอนุ ปาทิเสสนิพพานฯ ปรหิตปฏิบัติพึงทราบโดยธรรมเทศนาอันน าสัตว์ออกจากทุกข์ทั้งปวงของพระผู้มี พระภาคผู้ทรงมีพระหฤทัยไม่เพ่งถึงลาภและสักการะเป็นต้น โดยอัธยาศัยเกื้อกูลเป็นนิตย์แม้ในสัตว์ที่ มีความผิด และโดยการทรงรอเวลาญาณแก่กล้าฯ ก็ในอาการ ๒ อย่างนี้ ปรหิตปฏิบัตินั้นประกาศไว้ ๒ อย่าง คือโดยอาสยะและโดยปโยคะ และอัตตหิตสมบัติประกาศไว้๓ อย่างฯ มีค าอธิบายอย่างไร คือด้วยบทว่า “กรุณาสีตลหทย ” นั่น เป็นปรหิตปฏิบัติโดยอาสยะ ด้วยสุคต-ศัพท์อันมีความหมายว่า ไปโดยชอบเป็นปรหิตปฏิบัติโดยปโยคะ ด้วยสองบทว่า “ปญฺญาปชฺโชตวิหตโมหตม คติวิมุตฺต ” นั่น ๒๔๗ องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๓๖/๖๐.
๙๔ และด้วยสุคต-ศัพท์ที่มีความหมายว่ารู้แจ้งอริยสัจเป็นอันประกาศอัตตหิตสมบัติแม้ทั้ง ๓ อย่าง และ ด้วยค าว่า“ปญ ฺญาปชฺโชตวิหตโมหตม ” นั ่น เป็นอันประกาศอัตตหิตสมบัติและปรหิตปฏิบัติแม้ ทั้งหมดโดยไม่เหลือฯ อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการชมเชยพระผู้มีพระภาคด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ โดยเหตุ โดย ผล และโดยอุปการะฯ บรรดาการชมเชย ๓ อย่างนั้น ชื่อว่าเหตุ ได้แก่พระมหากรุณา พระมหากรุณา นั้นท่านแสดงไว้ด้วยบทแรกฯผลมี๔ อย่าง คือญาณสัมปทา ปหานสัมปทาอานุภาวสัมปทาและรูป กายสัมปทาฯ บรรดาสัมปทาทั้งสี่นั้นญาณสัมปทาท่านประกาศด้วยบทที่ ๒ และด้วยสุคต-ศัพท์ ที่มี ความหมายรู้แจ้งสัจจะฯอานุภาวสัมปทาท่านประกาศด้วยบทที่ ๓ รูปกายสัมปทาท่านประกาศด้วย สุคต-ศัพท์ที่มีความหมายว่าความงามแห่งการเสด็จไปทางพระวรกายตามที่กล่าวแล้ว เว้นจากความ บริบูรณ์แห่งลักษณะและอนุพยัญชนะเพราะเป็นเช่นนั้นฯ ชื่อว่าอุปการะได้แก่วิมุตติธรรมเทศนาโดย มุ่งถึงยาน ๓ เพราะท าให้มีภายในไม่ให้มีในภายนอก พึงทราบว่า อุปการะนั้นท่านประกาศด้วยสุคตศัพท์ที่มีความหมายว่า เสด็จไปโดยชอบฯ บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า“กรุณาสีตลหทย ” นั่นพระอรรถกถาจารย์แสดงว่าเป็นมูล แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณฯ ก็พระผู้มีพระภาคทรงมีพระหฤทัยอันพระมหากรุณากระตุ้นเตือนแล้ว ทรงท าอภินิหารเพื่อทรงถอนหมู่สัตว์จากเปือกตมคือสังสารวัฏ ทรงบ าเพ็ญบารมีจนบรรลุสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมตามล าดับฯด้วยบทว่า“ปญ ฺญาปชฺโชตวิหตโมหตม ” นั่น ท่านแสดงถึงสัมมาสัมโพธิญาณฯ ก็มรรคญาณมีอนาวรณญาณเป็นปทัฏฐาน และอนาวรณญาณก็มีมรรคญาณเป็นปทัฏฐาน ท่าน เรียกว่า “สัมมาสัมโพธิ”ฯ ด้วยสุคต-ศัพท์ ที่มีความหมายว่าเสด็จไปโดยชอบ ท่านแสดงการปฏิบัติ เพื่อสัมมาสัมโพธิ เพราะประกาศทางสายกลางอันก าหนดด้วยพระกรุณาและพระปัญญา อันเว้นจากลี นะ อุทธัจจะ ปติฏฐานะอายูหนะ กามสุขัลลิกะ อัตตกิลมถานุโยคะ สัสสตทิฏฐิอุจเฉททิฏฐิ และอภินิ เวสเป็นต้นอันเว้นจากที่สุด ๒ อย่าง เพราะว่า สุคต-ศัพท์ ประกาศข้อปฏิบัตินั้นฯ ด้วยศัพท์นอกนี้ ท ่านแสดงประโยชน์ต่างโดยประโยชน์ที ่เป็นประธานและที่ไม่เป็นประธานแห่งสัมมาสัมโพธิฯ ก็ บรรดาประโยชน์ที่เป็นประธานและไม่เป็นประธานนี้การยังสัตว์ให้ข้ามพ้นจากห้วงโอฆะคือสังสารวัฏ เป็นประโยชน์ที่เป็นประธาน ประโยชน์อื่นนอกจากนั้นเป็นประโยชน์ที่ไม่เป็นประธานฯ ในประโยชน์ ทั้ง ๒ นั้น ด้วยประโยชน์ที่เป็นประธาน ท่านแสดงถึงปรหิตปฏิบัติด้วยประโยชน์นอกจากนี้แสดง ถึงอัตตหิตสมบัติด้วยประโยชน์ทั้งสองนั้น ท่านแสดงถึงความที่พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุคคลจ าพวก ที่ ๔ บรรดาบุคคล ๔ จ าพวก มีบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองเป็นต้น๒๔๘ฯ และด้วยประโยชน์ทั้ง สองนั้นท่านแสดงถึงความที่พระผู้มีพระภาคทรงเป็นทักขิไณยบุคคลที่ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าความที่พระผู้มี พระภาคทรงเป็นผู้อันใคร ๆ พึงกราบไหว้อย่างสูงสุด และความที่พระองค์ทรงเป็นบุญเขตแห่งการ กราบไหว้ฯ ๒๔๘ อภิ.ปุ. (ไทย) ๓๖/๑๗๓/๒๐๕.
๙๕ ก็ด้วยกรุณา-ศัพท์ ในค าว่า กรุณาสีตลหทย นี้ เป็นอันท่านแสดงคุณสมบัติฝ่ายโลกิยะ ทั้งหมดของพระผู้มีพระภาคเพราะแสดงพระคุณที่ไม่ทั่วไปที่ถึงความเป็นผู้ใหญ่ในฝ่ายโลกิยะทั้งหลาย ด้วยปัญญา-ศัพท์เป็นอันท่านแสดงคุณสมบัติฝ่ายโลกุตตระทั้งหมด เพราะแสดงมรรคญาณอันเป็น ปทัฏฐานแห่งสัพพัญญุตญาณฯ ก็เนื้อความที่ส าเร็จด้วยศัพท์ ๒ ศัพท์นั้นย่อมครอบคลุมด้วยค าว่า “สนรามรโลกครุ ” เป็นต้นฯและด้วยกรุณา-ศัพท์ท่านแสดงถึงการเข้าไปอันไม่มีอุปกิเลส ด้วยปัญญาศัพท์ท่านแสดงถึงการไปปราศฯอนึ่ง ด้วยกรุณา-ศัพท์ท่านแสดงความเป็นไปของพระผู้มีพระภาคโดย สมควรแก่โลกสมัญญา เพราะกรุณาอันเป็นวิสัยร้องเรียกแห่งชาวโลกด้วยปัญญา-ศัพท์ท่านแสดงการ แล่นไปสู่สมัญญายานฯ ก็ธรรมทั้งหลายมีการแล่นไปสู่สมัญญาแล้วถือเอาว่าสัตว์เป็นต้น ด้วยการหยั่ง รู้ถึงสภาวะฯ อนึ่ง ด้วยกรุณา-ศัพท์ท่านแสดงถึงมหากรุณาสมาบัติวิหารธรรม ด้วยปัญญา-ศัพท์ท่าน แสดงถึงสัจจญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เวสารัชชญาณ ๔ อันปัจจัยอะไรไม่กระทบแล้วใน ๓ กาลฯ ด้วยกรุณา-ศัพท์ท่านแสดงถึงการเที่ยวไปแห่งญาณด้วยสามารถประเภทแห่งปัญญามากมายมีเป็นต้น อย่างนี้ คือ อสาธารณญาณที่เหลือ อภิญญา ๖ อกัมปนญาณในบริษัท ๘ พละ ๑๐ พุทธญาณ ๑๔ ญาณจริยา ๑๖ พุทธธรรม ๑๘ ญาณวัตถุ ๔๔ ญาณวัตถุ ๗๗ เพราะมหากรุณาสมาปัตติญาณท่าน ก าหนดเอาแล้วฯ อนึ่ง ด้วยกรุณา-ศัพท์ท่านแสดงถึงจรณสมบัติด้วยปัญญา-ศัพท์ท่านแสดงถึงวิชชาสมบัติฯ ด้วยกรุณา-ศัพท์ท่านประสงค์เอาสัตว์ด้วยปัญญา-ศัพท์ท่านหมายเอาสภาวธรรมฯ ด้วยกรุณา-ศัพท์ ท่านแสดงความเป็นที่พึ่งของโลก ด้วยปัญญา-ศัพท์ท่านแสดงความเป็นที่พึ่งของพระองค์ฯ อนึ่ง ด้วย กรุณา-ศัพท์เป็นอันท่านแสดงความเป็นบุพพการีบุคคลด้วยปัญญา-ศัพท์ท่านแสดงความเป็นกตัญญู บุคคลฯ อนึ่ง ด้วยกรุณา-ศัพท์ท่านแสดงความเป็นผู้ไม่ท าผู้อื่นให้เดือดร้อน ด้วยปัญญา-ศัพท์ท่าน แสดงความเป็นผู้ไม่ท าตนให้เดือดร้อนฯ อีกย่างหนึ่ง ด้วยกรุณา-ศัพท์ท่านแสดงความส าเร็จแห่งธรรม ที่ท าความเป็นพุทธะด้วยปัญญา-ศัพท์ท่านแสดงความส าเร็จแห่งความเป็นพุทธะฯ อนึ่ง ด้วยกรุณาศัพท์ท่านแสดงการยังสัตว์อื่นให้ข้ามไป ด้วยปัญญา-ศัพท์ท่านแสดงการยังพระองค์เองให้ข้ามไปด้วย พระองค์เองฯ อนึ่ง ด้วยกรุณา-ศัพท์ท่านแสดงความเป็นผู้มีพระหฤทัยอนุเคราะห์ในสัตว์ทั้งปวง ด้วย ปัญญา-ศัพท์ท่านแสดงความเป็นผู้มีพระหฤทัยไม่คลายความยินดีในธรรมทั้งปวงฯ ก็พุทธคุณทั้งหมดมี กรุณาเป็นเบื้องต้น เพราะมีกรุณานั้นเป็นต้นเหตุ มีปัญญาเป็นที่สุด เพราะไม่มีสิ่งที่ต้องท ายิ่งไปกว่า ปัญญานั้นฯ ด้วยประการดังว่ามานี้ เป็นอันท่านแสดงพุทธคุณทั้งหมดด้วยการแสดงถึงเบื้องต้นและ ที่สุดฯ อนึ่ง ด้วยกรุณา-ศัพท์เป็นอันท่านแสดงกองแห่งสมาธิอันมีกองศีลเป็นส่วนเบื้องต้นฯ เพราะว่า ศีลมีกรุณาเป็นต้นเหตุ เพราะเป็นไปเว้นจากอกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น และกรุณานั้นมีการ ประกอบพร้อมในฌาน ๓ฯ ด้วยค าว่า ปัญญา ท่านแสดงถึงกองแห่งปัญญาฯ ก็ศีลเป็นเบื้องต้นแห่ง พุทธคุณทั้งปวงสมาธิเป็นท่ามกลาง ปัญญาเป็นที่สุดฯ แม้ด้วยประการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นอันท่านแสดง พุทธคุณทั้งหมดอันมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เพราะท่านแสดงไว้แล้วโดยนัยฯ ก็นี้ นั่นแลเป็นอุบายของการแสดงพุทธคุณโดยไม่มีส่วนเหลือ คือการให้ถือเอานัยฯ เมื่อถือเอาเนื้อความ
๙๖ โดยประการอื ่น ชื ่อว ่าใครจะเป็นผู้สามารถเพื่ออันแสดงพระคุณทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคได้ ตามล าดับบทโดยไม่มีส่วนเหลือฯ ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “แม้พระพุทธเจ้าพึงกล่าวคุณของพระพุทธเจ้า หากจะกล่าวคุณของกันและกันตลอดกัป กัปจะพึงสิ้นไปในระหว่างกาลช้านาน การพรรณนาคุณของพระตถาคตหาสิ้นสุดไม่” ๒๔๙ฯ ก็ด้วยเหตุนั้นนั้นแล แม้ท่านพระสารีบุตรเถระประกอบตามการก าหนดพุทธคุณ ค้านว่า “ท ่านผู้เจริญ ก็หาได้เป็นอย่างนั้นไม่”จึงกล ่าวค าว่า“ข้าพระองค์ทราบความเสื่อมแห่งธรรมอีก อย่าง”ฯ พระอรรถกถาจารย์ชมเชยพระผู้มีพระภาคด้วยพระคุณคือพระสัญพัญญุตญาณโดยย่อ อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะชมเชยพระสัทธรรม จึงกล่าวค าว่า “พุท ฺโธปิ”เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุท ฺโธ เป็นบทแสดงถึงกัตตาฯ บทว่า พุท ฺธภาว เป็นบทแสดงถึงกรรมฯ บทว่า ภาเวต ฺวา และ บทว่า สจ ฺฉิกต ฺวา เป็นบทแสดงถึงบุพพกาลกิริยาฯ บทว่า ย เป็นบทแสดงถึงกรรม โดยเป็นอนิยม สัพพนามฯ บทว่าอุปคโตเป็นบทแสดงถึงอปรกาลกิริยา บทว่า วนฺเท เป็นบทแสดงถึงกิริยาฯ บทว่า ต เป็นนิยมสัพพนามฯ บทว่า ธม ฺม เป็นบทแสดงถึงกรรมแห่งการกระท าการกราบไหว้ฯ บทว่าคตมล และบทว่า อนุต ฺตร เป็นบทวิเสสนะของบทว่า ธม ฺม นั้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น เบื้องต้นพึงทราบเนื้อความของพุท ฺธ-ศัพท์ตามนิเทศนัยมีว่า “ชื่อว่า พุทธะเพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงท าหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้”เป็นต้น๒๕๐ฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ไปปราศจากความหลับคืออัญญาณะ (ความไม่รู้) พร้อมทั้ง วาสนาโดยมีส่วนเดียว หรือชื่อว่าพุทธะด้วยสามารถแห่งความตื่นและความเบิกบาน โดยอรรถว่า มี พุทธิโดยความเบิกบานด้วยพุทธิปัญญาฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าพุทธะ เพราะได้กัตตุนิเทศด้วยสามารถ ความหมายว่าไปไม่กลับนั่นเอง เพราะไม่มีความปรารถนากล่าวถึงกรรม เพราะไม่ถือเอาเญยยธรรม พิเศษโดยความเป็นกรรม เพราะเหตุไม่มีเญยยธรรมแม้ไร ๆ ที่ยังไม่ตรัสรู้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้มี พุทธิ เหมือนประโยคว่า “ทิกฺขิโต น ททาติ” เป็นต้นฉะนั้น แต่โดยความหมาย พระพุทธเจ้าทรงสั่ง สมอบรมบารมี มีกิเลสถูกก าจัดด้วยพระสยัมภูญาณ พร้อมทั้งวาสนาอย่างสิ้นเชิง ทรงไว้ซึ่งกองคุณอัน ประมาณมิได้ มีพระมหากรุณาและสัพพัญญุตญาณเป็นต้น ผู้มีขันธสันดานฯ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว ว่า ๒๔๙ ที.สี.อ. (ไทย) -/๓๐๔/๓๘๐, ที.ปา.อ. (ไทย) -/๑๔๑/๙๖, ม.ม.อ. (ไทย) -/๔๒๕/๓๙๔, ขุ.อุ.อ. (ไทย) ๑/๕๓/๔๑๗, ขุ.จริยา.อ. (ไทย) ๑/นิทานกถา/๑๑, ขุ.อป.อ. (ไทย) ๒/๒๐/๑๓๐. ๒๕๐ ขุ.จู. (ไทย) ๓๐/๙๗/๓๓๗, ขุ.ป. (ไทย) ๓๑/๑๖๐/๒๕๒.
๙๗ “ชื่อว่าพุทธะ ได้แก่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ไม่มีครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้ อริยสัจด้วยพระองค์เอง ในธรรมที่ไม่เคยเกิดขึ้นในก่อน และทรงบรรลุสัพพัญญูในสัจจะนั้น และบรรลุความช านาญในพลญาณ” ๒๕๑ฯ อปิ-ศัพท์ ใช้ในอรรถสัมภาวนะฯ ด้วย อปิ-ศัพท์นั้นท่านแสดงถึงสัมภาวนะในธรรมอันมี คุณที่จะกล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคชื่อแม้นั้นทรงประกอบด้วยคุณวิเศษอย่างนี้”ฯ บทว่า พุทธภาว ได้แก่ สัมมาสัมโพธิฯ บทว่า ภาเวต ฺวา ได้แก่ ให้เกิดขึ้นและให้เจริญฯ บทว่า สจ ฺฉิกต ฺวา ได้แก่ ท าให้ ประจักษ์ฯ บทว่า อุปคโตได้แก่ ถึงแล้ว อธิบายว่า บรรลุแล้วฯ บทว่า อุปคโต นั้น สัมพันธ์เข้ากับบท ว่า “พุทฺธภาว ” นั้นฯ บทว่า คตมล ได้แก่ ปราศจากมลทิน อธิบายว่า ไม่มีโทษฯ บทว่า วนฺเท ได้แก่ ข้าพเจ้าขอนอบน้อม หรือขอชมเชยฯ บทว่า อนุต ฺตร ได้แก่ เว้นจากธรรมอันสูงสุด อธิบายว่า สูงสุดใน โลก (โลกุตตระ)ฯ บทว่า ธม ฺม ความว่า ชื่อว่าธรรม เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติ ตามที่พร ่าสอนท าไม่ให้ตกไปจากอุบายและสังสารวัฏฯ ก็ในฐานะนี้ มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้แม้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงมาตามพร้อม ด้วยคุณหลายอย่างอย่างนี้ ทรงให้ธรรมกล่าวคืออริยมรรคเจริญ ทรงท าให้แจ้งธรรมกล่าวคือผลและ นิพพาน ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิอันยอดเยี่ยม ข้าพเจ้าขอนอบน้อมปฏิเวธสัทธรรมนั้น ๆ อันเป็นเหตุ แห ่งความเป็นพุทธะแม้แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันเว้นจากมลทินคือโทษทั้งปวง อันยอดเยี่ยม เพราะไม่มีธรรมอื่นที่ยิ่งกว่าตนฯ แม้เพราะปริยัติสัทธรรมประกาศปฏิเวธสัทธรรมนั้น จึงควรทราบการ รวบรวมไว้ในฐานะนี้ฯ อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า “พระผู้มีพระ ภาคพุทธเจ้า ทรงยังสมุทรคืออภิธรรมนัยให้เจริญแล้วบรรลุ และว่า “ทรงพิจารณาปิฎก ๓” จึงได้ ปริยายท าให้แจ้งและพิจารณาแม้ปริยัติธรรม เหตุนั้น พึงทราบว่า แม้ปริยัติธรรมนั้นท่านก็กล่าวไว้ใน ที่นี้เช่นกันฯ อนึ่ง เพราะท่านกล่าวว่า “ย ธม ฺม ภาเวต ฺวา สจ ฺฉิกต ฺวา” พึงทราบว่า ในที่นี้ท่านรวบรวม แม้อธิสีลสิกขาเป็นต้นไว้ด้วยธม ฺม-ศัพท์ ในส่วนเบื้องต้นพร้อมกับบารมีทั้งหลายที่ทรงอบรม อันเป็น ธรรมท าความเป็นพุทธะฯ เพราะว่า แม้อธิสีลสิกขาเป็นต้นนั้น ชื่อว่าปราศจากมลทิน เพราะปราศจาก ธรรมที่เป็นข้าศึกและชื่อว่ายอดเยี่ยมเพราะไม่ทั่วไปแก่ธรรมอื่นฯ จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคทรง ท ามหาอภินิหาร เพื่อสลัดออกซึ่งทุกข์ในสังสารวัฏทั้งสิ้นแห่งหมู่สัตว์ทั้งหลาย ทรงมีอัธยาศัยมีศีลเป็น ที่รักอยู่ด้วยมหากรุณา มีการบรรลุความช านาญในธรรมอันสูงสุดทั้งหลาย มีทาน ทมะ และสัญญมะ เป็นต้น อันหมดจดปราศจากมลทินวิเศษด้วยปัญญา ในธรรมทั้งหลายมีกรรมเป็นต้น โดยท าให้ ประจักษ์ด้วยภาวนา โดยเคารพ ตลอดกาลอย่างสิ้นเชิง ตลอด ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนแห่งกัป ทรงมี อานุภาพมากอันน่าอัศจรรย์ไม่พึงคิด ทรงบรรลุบารมีอันสูงสุดอย่างยิ่งแห่งอธิศีลและอธิจิต ทรงส่ง มหาวชิรญาณมุ่งตรงไปในปัจจยาการโดยมุ่งถึง ๒๔ แสนโกฏิ ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันยอด เยี่ยมฯ ๒๕๑ ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๑๙๒/๕๕๑, ขุ.จู. (ไทย) ๓๐/๙๗/๓๓๗, ขุ.ป. (ไทย) ๓๑/๑๖๑/๒๕๒.
๙๘ ก็ด้วยบทว่า“ภาเวตฺวา” ในบทเหล่านี้นั่นท่านชมเชยพระธรรมด้วยวิชชาสัมปทาด้วยบท ว่า “สจฺฉิกตฺวา” นั้น ท่านชมเชยพระธรรมด้วยวิมุตติสัมปทาฯ อนึ่ง ด้วยบทต้นท่านชมเชยพระธรรม ด้วย ฌานสัมปทา ด้วยบทที่ ๒ ท่านชมเชยด้วยวิโมกขสัมปทาฯ หรือว่า ด้วยบทต้นท่านชมเชยด้วย สมาธิสัมปทา ด้วยบทที่ ๒ ท่านชมเชยด้วยสมาปัตติสัมปทาฯ อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทต้นท่านชมเชย ด้วยภาวะแห่งขยญาณ ด้วยบทที่ ๒ ท่านชมเชยด้วยภาวะแห่งอนุปปาทญาณ หรือว่า ด้วยบทที่ ๑ ท่านชมเชยด้วยวิชชาอุปมา บทที่ ๒ ท่านชมเชยด้วยวชิรอุปมาฯ หรือว่า ด้วยบทต้นท่านชมเชยด้วยวิ ราคสมบัติด้วยบทที่ ๒ ท่านชมเชยด้วยนิโรธสมบัติฯ อนึ่ง ด้วยบทต้นท่านชมเชยโดยความเป็นธรรม น าสัตว์ออกไปจากภพ ด้วยบทที่ ๒ ท่านชมเชยโดยความเป็นธรรมสลัดออกจากทุกข์ หรือว่า ด้วยบท ต้นท่านชมเชยโดยความเป็นเหตุธรรม ด้วยบทที่ ๒ ท่านชมเชยโดยความเป็นอสังขตธรรม หรือว่า ด้วยบทต้นท่านชมเชยโดยความเป็นทัสสนธรรม ด้วยบทที่ ๒ ท่านชมเชยโดยความเป็นวิเวกธรรม หรือว่า ด้วยบทต้นท่านชมเชยโดยความเป็นอธิบดีธรรม ด้วยบทที่ ๒ ท่านชมเชยโดยความเป็นอมต ธรรมฯ อีกอย่างหนึ่ง ด้วยค าว่า “ย ธมฺม ภาเวตฺวา พุทฺธภาว อุปคโต” นั้น ท่านชมเชยพระธรรมโดย ความเป็นสวากขาตธรรม ด้วยค าว่า “สจฺฉิกตฺวา” นั้น ท่านชมเชยพระธรรมโดยความเป็นสันทิฏฐิก ธรรมฯ อนึ่ง ด้วยบทต้นท่านชมเชยพระธรรมโดยความเป็นอกาลิกธรรม ด้วยบทหลังท่านชมเชยพระ ธรรมโดยความเป็นเอหิปัสสิกธรรมฯ หรือว่า ด้วยบทต้นท่านชมเชยพระธรรมโดยความเป็นโอปเนยยิก ธรรม ด้วยบทหลังท่านชมเชยพระธรรมโดยความเป็นเวทิตัพพธรรม(ความเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงรู้ เฉพาะตน)ฯ ด้วยค าว่า “คตมล ” นี้ พระอรรถกถาจารย์แสดงความที่พระธรรมเป็นธรรมบริสุทธิ์โดย แสดงความไม่มีสังกิเลสด้วยค าว่า“อนุตฺตร ” นั้น แสดงความที่พระธรรมไพบูลย์บริบูรณ์ เพราะแสดง ความไม่มีธรรมอื่นที่ประเสริฐกว่าฯ อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทที่ ๑ พระอรรถกถาจารย์แสดงปหานสัมปทา แห่งธรรม ด้วยบทที่ ๒ แสดงปภาวสัมปทาแห่งพระธรรมฯ หรือว่า พึงประกอบความที่ธรรมเป็นธรรม ไม่มีมลทินเพราะต้องอบรม ด้วยว่า ด้วยภาวนาคุณ ธรรมนั้นเป็นธรรมก าจัดโทสะฯ พึงประกอบความ ที่ธรรมเป็นอนุตตรธรรม เพราะต้องท าให้แจ้งฯ ด้วยว่า ธรรมนั้น ชื่อว่าอนุตตรธรรม เพราะเกิดด้วย การท าให้แจ้ง เพราะไม่มีธรรมที่ท าให้ยิ่งกว่าธรรมนั้น เพราะเป็นธรรมไม่ทั่วไปแก่ธรรมอื่นฯอนึ่ง ด้วย ค าว่า “ภาเวตฺวา” นั่น เป็นอันแสดงสีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์อันเป็นเสกขะ พร้อมกับศีล อันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นต้น ด้วยค าว่า“สจฺฉิกตฺวา” นั้น เป็นอันแสดงศีลขันธ์สมาธิขันธ์ และปัญญา ขันธ์ อันเป็นอเสกขะพร้อมด้วยอสังขตธาตุฯ พระอรรถกถาจารย์ชมเชยพระสัทธรรมด้วยพระธรรมคุณทั้งปวงโดยย่ออย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่ออันชมเชยพระอริยสงฆ์จึงกล่าวค าว่า “สุคตสฺส” เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุคตสฺส เป็นสัมพันธนิเทศ บทว่า สุคตสฺส นั้น สัมพันธ์เข้ากับบทว่า “ปุตฺตาน ” นั่นฯ บทว่า โอรสาน ได้แก่ บุตรพิเศษฯ บทว่า มารเสนมถนาน เป็นนิเทศแห่งเหตุในความเป็นบุตรผู้เกิดแต่อก ด้วยบทว่า มารเสนมถนาน นั้น ท่านแสดงว่า อนุญาตการละกิเลสนั้นแลว่าเป็นเหตุแห่งความเป็นบุตรผู้เกิดแต่พระ อุระของพระผู้มีพระภาคฯ บทว่า อฏ ฺฐฃนฺน เป็นการแสดงการก าหนดการนับฯ ก็ด้วยบทว่า อฏ ฺฐฃนฺน
๙๙ นั้น ท่านแสดงว่า แม้เมื่อพระสงฆ์สาวกเหล่านั้นนับได้หลายแสนโดยความเป็นสัตว์วิเศษ ก็ไม่ล่วงเลย การก าหนดนับนี้เพราะไม่ล่วงเลยความเป็นผู้ตั้งมั่นในมรรคและตั้งมั่นในผลไปได้ฯ บทว่า สมูห เป็น การแสดงการรวมลงฯ บทว่า อริยส ฆ เป็นการแสดงความเป็นผู้ก าจัดด้วยคุณวิเศษฯ ด้วยบทว่า อริยส ฆ นั้น ท ่านแสดงความที ่แห่งอริยบุคคลทั้งหลายเป็นอริยสงฆ์ในกายสามัคคีเพราะเป็นผู้ ประกอบด้วยทิฏฐิสามัญญะและศีลสามัญญะฯ ในค าว่า โอรสาน นั้น ผู้ที่เกิดมีในอกและผู้เจริญแล้ว ชื่อว่าโอรสฯ เหมือนอย่างว่า บุตรที่เกิดแต่อกของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนแห่งทรัพย์สมบัติอัน เป็นของบิดาโดยพิเศษ เพราะเกิดแต่ตน ฉันใด อริยบุคคลแม้เหล่านั้นก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนโดย ส่วนเดียวแห่งวิมุตติสุขและอริยธรรมรัตนะอันเป็นของพระผู้มีพระภาค เพราะเกิดโดยชาติอริยะ ใน ที่สุดการฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าโอรสเหมือนผู้เกิดแต่อก ฉะนั้นฯ อีกอย่างหนึ่ง อริยสาวกเมื่อหยั่งลงสู่อริยภูมิและหยั่งลงแล้วสู่อริยภูมิด้วยอานุภาพแห่งธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาค ย่อมควรกล่าวได้ว่า “โอรสบุตร” โดยนิปปริยาย เพราะเป็นผู้ที่เกิดมาอันความ พยายามทางพระอุระของผู้มีพระภาคให้เกิดฯ ก็ธรรมเทศนาแม้อันสาวกทั้งหลายให้เป็นไปท่านก็ เรียกว่า “ธรรมเทศนา” เพราะพระผู้มีพระภาคทรงเป็นมูลฐานแห่งธรรมเทศนานั้น และเพราะไม่มี ความแตกต่างด้วยลักษณะเป็นต้นฯ แม้ถ้าว่า ในเวลาบรรลุอริยมรรคแห่งพระอริยสาวกทั้งหลายเทวปุตตมารหรือเสนามารไม่ ระรานโดยส่วนเดียว เพื่อท าอันตรายต่อการบรรลุนั้น เหมือนที่ท าแก่พระผู้มีพระภาค แต่ว่า เมื่ออริย สาวกเหล่านั้นข่มเหตุได้แล้ว เพราะมารเป็นผู้ระรานแม้อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ที่ชื่อว่าข่มมาร เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มารเสนมถนาน ”ฯ ก็ในค านี้นั้น เมื่อควรกล่าวว่า “มาร มารเสนมถนาน ” พึงทราบว่า ท่านท าเอกเสสมาสโดยลบส่วนหนึ่งเสียว่า “มารเสนมถนาน ”ฯ อีก อย่างหนึ่ง กองก าลังแห่งกิเลส ท่านเรียกว่า “เสนา” เพราะเข้าถึงความเป็นสหายแม้ของเทวปุตตมาร ในเพราะการฆ่าคุณความดี เหมือนของขันธาภิสังขารมาร ฉะนั้นฯ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า“กามา เต ปฐฃมา เสนา” ๒๕๒ เป็นต้นฯ ก็เสนานั้นกับกิเลสเหล่านั้นแบ่งเป็น ๑,๕๐๐ หรือว่า เสนากิเลสแยก เป็นอนันต์ ถูกข่มได้คือถูกขจัดไป และถูกก าจัดได้โดยเจาะจงด้วยเครื่องประหารคือคุณมีสติ ธรรมวิจ ยะ วิริยะ และสมถะ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มารเสนมถนา ได้แก่อริยสาวกฯ ด้วยค านั้นพระ อรรถกถาจารย์แสดงความที่อริยสาวกเหล่านั้นเป็นอนุชาตบุตรของพระผู้มีพระภาคฯ เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย เพราะไม่เป็นไปในความไม่สุขสบาย และเพราะเป็นไป ในความสุขสบาย จึงชื่อว่าอริยะ ตามนัยแห่งนิรุตติปกรณ์ฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอริยะ เพราะอันโลก พร้อมเทวโลกถึง คือพึงเข้าถึงว่า “เป็นสรณะ” และเพราะส าเร็จประโยชน์นั้นแก่ผู้ที่เข้าถึงฯ หมู่แห่ง อริยะทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าอริยสังฆะ หรือหมู่นั้นด้วยเป็นอริยะด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า อริยสังฆะฯ ซึ่งหมู่แห ่งอริยะนั้นฯ ในส่วนต่อมาของพระผู้มีพระภาคมีการถึงพร้อมแม้แห่งพุทธรัตนะ ๒๕๒ ขุ.สุ. (บาลี) ๒๕/๔๓๙/๔๑๖, ขุ.ม. (บาลี) ๒๙/๒๘/๗๙, ขุ.จู. (บาลี) ๓๐/๔๗/๑๑๙.
๑๐๐ และธรรมรัตนะ ถือเป็นการถึงพร้อมด้วยสังฆรัตนะ เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงความที่อริยสงฆ์นั้นเป็นผู้ มีอุปการะมากพึงทราบว่า พระอรรถกถาจารย์กล่าวค าว่า “สิรสา วนฺเท” ไว้ ณ ที่นี้ฯ ก็ด้วยค าว่า “สุคตสฺส โอรสาน ปต ฺตาน ” นั่น ในค าเหล่านี้ พระอรรถกถาจารย์แสดงความ ถึงพร้อมแห่งการเกิดของอริยสงฆ์ฯ ด้วยค าว่า“มารเสนมถนาน ” นั่น แสดงความถึงพร้อมด้วยการละ เพราะแสดงถึงการละสังกิเลสทั้งสิ้นฯ ด้วยค าว่า “อฏฺฐฃนฺนมฺปิ สมูห ” นั่น แสดงถึงความพร้อมด้วย ญาณ เพราะแสดงความเป็นผู้ด ารงอยู่ในมรรคและผู้ด ารงอยู่ในผลฯ ด้วยค าว่า “อริยส ฆ ” นั่น แสดง ความถึงพร้อมแห่งการเกิด เพราะแสดงความเป็นผู้เลิศแห่งสงฆ์ทั้งปวงฯอีกอย่างหนึ่งค าว่า“สุคตสฺส โอรสาน ปุตฺตาน ”แสดงความที่อริยสงฆ์มีนิสสัยหมดจดฯค าว่า“มารเสนมถนาน ”แสดงความที่อริย สงฆ์ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่งโดยชอบ ค าว่า “อฏฺฐฃนฺนมฺปิ สมูห ”แสดงความที่อริย สงฆ์เป็นอาหุไนยบุคคลเป็นต้นฯ ค าว่า “อริยส ฆ ” แสดงความที่อริยบุคคลเป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยมฯ อนึ่ง ด้วยค าว่า“สุคตสฺส โอรสาน ปุตฺตาน ” นั่น แสดงความที่อริยสงฆ์ถึงความเป็นสรณะที่เป็นโลกุต ตระฯ เพราะว่า ด้วยโลกุตตรสรณคมน์พระอริยเจ้าเหล่านั้นเกิดเป็นโอรสบุตรของพระผู้มีพระภาคฯ ด้วยค าว่า “มารเสนมถนาน ” นั่น แสดงสัมมาปฏิบัติในส่วนเบื้องต้น อันให้อภินิหารสัมปทาส าเร็จฯ เพราะว่า พระอริยะทั้งหลายมีอภินิหารอันท าแล้ว ปฏิบัติโดยชอบแล้ว ย่อมชนะมารหรือบริษัทของ มารฯ ด้วยค าว ่า “อฏฺฐฃนฺนมฺปิ สมูห ” นั ่น แสดงเสกขธรรมและอเสกขธรรมฝ่ายก าจัด เพราะทรง ประกาศธรรมคือมรรคและผลด้วย ปุคคลาธิษฐานฯ บทว ่า “อริยส ฆ ”แสดงความที่อริยสงฆ์เป็น ทักขิไณยบุคคลผู้เลิศฯ ก็สรณคมน์เป็นเบื้องต้นแห่งคุณทั้งปวงของสาวกทั้งหลาย กองศีล (ศีลขันธ์) เป็นต้น ฝ่ายเสกขะพร้อมกับปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น เป็นท่ามกลางฯ กองศีลเป็นต้นฝ่ายอเสกขะ เป็นที่สุด เพราะเหตุนั้น คุณของอริยสงฆ์ทั้งหมดจึงมีความงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด เป็นอันท่านประกาศแล้วโดยสังเขปฯ พระอรรถกถาจารย์ท าการนอบน้อมพระรัตนตรัย โดยมุ่งถึงการสรรเสริญพระคุณทั้งสิ้น โดยย่อด้วยคาถา ๓ คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะชมเชยพระรัตนตรัยนั้น ในการประกอบความตามที่ ประสงค์ ท่านจึงกล่าวค าว่า“อิติ เม” เป็นต้นฯ ในค าว่า รัตนตรัย นั้น ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า ให้ เกิดความยินดี ได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ฯ ก็เมื่อบุคคลระลึกถึงอยู่ซึ่งคุณตามเป็นจริง ของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์นั้น โดยนัยว่า “อิติปิโส ภควา” เป็นต้น ปีติและปราโมทย์ไม่ น้อยอันเป็นเหตุแห่งการบรรลุอมตะย่อมเกิดขึ้น เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “มหานามะในสมัยใดอริยสาวกระลึกถึงตถาคตในสมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นจะ ไม่ถูกราคะกลุ้มรุม จะไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม จะไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ในสมัยนั้น จิตของอริยสาวก นั้นไปตรงปรารภตถาคตนั้นแลฯ มหานามะก็แลอริยสาวกมีจิตไปตรงย่อมได้การรู้อรรถ ย่อม ได้การรู้ธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ปราโมทย์ดังนี้ เป็นต้น” ๒๕๓ ฯ ๒๕๓ องฺ.ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๑๐/๔๒๒, องฺ.เอกาทสก. (ไทย) ๒๔/๑๑/๔๑๒.
๑๐๑ อีกอย่างหนึ่ง ความที่รัตนะอันบุคคลท าความย าเกรงเป็นต้นเป็นความหมายของรัตนะฯ สมจริงดังค าที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า “วัตถุใดท าให้เกิดความย าเกรง มีค่ามาก ชั่งไม่ได้หาดูได้โดยยาก เป็นของใช้ของ สัตว์ผู้ไม่ต ่าทราม เพราะเหตุนั้น วัตถุนั้น ท่านจึงเรียกว่า รตนะ” ๒๕๔ฯ ก็ความที่พระรัตนตรัยอันบุคคลท าความย าเกรงเป็นต้นไม ่ทั ่วไปแก ่สิ่งอื ่น ได้ใน พระพุทธเจ้าเป็นต้นเท่านั้นดังนี้แลฯ การกราบไหว้นั่นแหละ ชื่อว่าส าเร็จด้วยการกราบไหว้เหมือนค า ว่า “ทานมย สีลมย ”ฉะนั้นฯ ก็ในค านี้การกราบไหว้ ได้แก่การน้อมไปในคุณของพระรัตนตรัย หรือ การชมเชยด้วยกาย วาจา และใจฯ ชื่อว่าบุญ เพราะให้เกิดผลที่น่าบูชา หรือว่าช าระสันดานของตนฯ บทว่า สุวิหตนฺตราโยได้แก่ ผู้มีอันตรายอันก าจัดได้แล้วด้วยดีฯ ด้วยค าว่า สุวิหตนฺตราโย นั่น ท่าน แสดงว่าบุญนั้นสามารถในอันน าไปซึ่งอุปัทวะอันก าจัดการประกาศประโยชน์ เพราะความถึงพร้อม ด้วยความเลื่อมใสของตน และเพราะความถึงพร้อมความเป็นเขตแห่งพระรัตนตรัยฯ บทว่า ห ุต ฺวา เป็นปุพพกาลกิริยาฯ มีการเชื่อมความของบทว่า ห ุต ฺวา นั้น ด้วยบทนี้ว่า “อตฺถ ปกาสยิสฺสามิ”ฯ บท ว่า ตสฺส ได้แก่ บุญอันส าเร็จจากการกราบไหว้พระรัตนตรัยอันใด แห่งบุญนั้นฯ บทว่า อานุภาเวน ได้แก่ด้วยก าลังฯ พระอรรถกถาจารย์แสดงประโยชน์ในการท าการนอบน้อมพระรัตนตรัยอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ต้องการจะพรรณนาเนื้อความแห่งธรรมเทศนาใดเพื่อต้องการยังชนให้เข้าไปรู้เข้าใจด้วยสามารถแห่ง การสรรเสริญคุณแห่งธรรมเทศนานั้น จึงกล่าวค าว่า “ทีฆสฺส” เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีฆ สุต ฺตง ฺกิตสฺสได้แก่อันก าหนดด้วยพระสูตรประมาณยาวฯด้วยบทว่า ทีฆสุต ฺตง ฺกิตสฺส นั่น พระอรรถ กถาจารย์แสดงเทศนาว่า ทีโฆ นี้เป็นชื่อที่ไปตามเนื้อความของนิกายนี้ฯ ถามว่าก็พระสูตรทั้งหลายนั่น แลเป็นนิกายมิใช่หรือ ก็การก าหนดด้วยพระสูตรทั้งหลายเพื่อใครฯ ค านั่นจริงโดย ปรมัตถ์ฯแต่พระ สูตรทั้งหลายเป็นนิกายที่บัญญัติด้วยการเทียบเคียงฯ เหมือนอย ่างว่า ในการเรียกรวมอรรถและ พยัญชนะโวหารว่า “พระสูตร” ย่อมมี ฉันใด ในการเรียกรวมพระสูตรย่อมมีโวหารว่า “นิกาย” ฉัน นั้นฯ ชื่อว่านิปุณะ (ละเอียด) เพราะมีสภาวะคือความหมายว่าละเอียด มีการอาศัยกันและกันเกิดขึ้น เป็นต้นฯ ชื่อว่าอาคม (นิกาย) เพราะเป็นที่ หรือว่าเป็นเหตุหรือว่าเป็นแดนมาแห่งประโยชน์ตนและ ประโยชน์ผู้อื่น เป็นต้นฯ นิกายนั้นด้วยประเสริฐด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าอาคมวระ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ ว่าอาคมวระเพราะอรรถว่า ประเสริฐโดยรู้พร้อมว่าอาคมฯ แห่งนิกายนั้นฯ สาวกผู้ตรัสรู้ตามของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าพุทธานุพุทธะฯ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายผู้อาศัยการรู้แจ้งสัจจะของ พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วแทงตลอดสัจจะ มีพระอัครสาวกเป็นต้นฯ อันพระอริยะทั้งหลายเหล่านั้น พรรณนาแล้วด้วยสามารถแห่งการพรรณนาอรรถและด้วยสามารถแห่งการพรรณนาคุณฯ อีกอย่าง ๒๕๔ ที.ม.อ. (ไทย) ๑/๓๓/๕๒, ขุ.ขุ.อ. (ไทย) ๑/๓/๒๔๖.
๑๐๒ หนึ่ง พึงประกอบความว่า พระพุทธเจ้าและผู้รู้ตามพระพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทธานุพุทธะฯ ก็ล าดับการ พรรณนาเนื้อความแห่งพระไตรปิฎกอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแลตรัสแล้วซึ ่งเรียกว่า “ปกิณณกเทศนา” อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่าอันสาวกทั้งหลายกล่าวด้วยสามารถแห่งการสังคายนา เป็นต้นต่อจากนั้นฯ บทว่า สท ฺธาวหคุณสฺสได้แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยการน ามาซึ่งความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เป็นต้นฯ ก็นิกาย (อาคม) นี้ย่อมน ามาซึ่งความเลื่อมใสอันดียิ่งในพระรัตนตรัย ด้วยสามารถแสดงศีล และทิฏฐิเป็นต้นโดยไม่เหลือ ในพรหมชาลสูตรเป็นต้น ด้วยสามารถแสดงคุณเป็นต้นแม้ของ พระพุทธเจ้าในก่อนทั้งหลายในมหาปทานสูตรเป็นต้น ด้วยสามารถย ่ายีเดียรถีย์ทั้งหลาย บันลือสีหะที่ ไม ่เคยให้เป็นไปในปาถิกสูตร (ปาสาทิกสูตร) เป็นต้น และด้วยให้พุทธคุณแจ ่มแจ้งโดยพิเศษใน อนุตตริยสูตร เป็นต้นฯ ก็นี้เป็นปกติของอาจารย์ในการพรรณนา ซึ่งเป็นการชมเชยด้วยการสรรเสริญ คุณวิเศษของพระธรรมที่พึงพรรณนานั้น ๆ แต่ต้นในการพรรณนานั้น ๆฯ จริงอย่างนั้น ในอรรถกถา ปปัญจสูทนี อรรถกถาสารัตถัปปกาสินี อรรถกถามโนรถปูรณี และในอรรถกถาอัฎฐสาลินีเป็นต้น ย่อมเป็นอันท่านท าการชมเชยไว้ตามล าดับโดยนัยเป็นต้นว่า “ของพระอภิธรรมนั้นวิจิตรโดยนัยต่างๆ เนืองนิตย์อันหยั่งรู้ด้วยคัมภีรญาณอันข ่มปรวาทะอันให้เกิดความแตกต่างแห่งญาณ อันให้เกิด ปฏิภาณอันวิจิตรของพระปุงควะผู้ทรงธรรมฯ ชื่อว่าอรรถกถา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุกล่าวเนื้อความ ได้แกอรรถกถานั่นเอง เพราะ แปลง ตฺถอักษร ให้เป็น ฏฺฐฃอักษร เหมือนค าว่า“ทุกฺขสฺส ปีฬนฏฺโฐฃ” ๒๕๕ เป็นต้นฯ บทว่าอาทิโตได้แก่ ในเบื้องต้น คือในการสังคายนาครั้งที่ ๑ฯชื่อว่าวสี (ผู้มีความช านาญ) เพราะประกอบด้วยความเป็นผู้ มีความช านาญทางจิตอันยิ่งเพราะได้อภิญญา ๖ และเพราะมีสภาวะคือความเป็นผู้มีความช านาญ ๕ วิธีในฌานเป็นต้น ได้แก่พระเถระทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเป็นต้นฯ พระเถระเหล ่านั้น รวมเป็น ๕๐๐ฯ บทว่ายา ได้แก่ อรรถกถาใดๆฯ บทว่า สง ฺคีตาได้แก่อันพระเถระรวบรวมกล่าวไว้ในฐานะที่ ควรเพื่ออันประกาศเนื้อความว่า“นี้เป็นอรรถแห่งค านั้น นี้เป็นอรรถแห่งค านั่น”ฯ ก็แม้ในภายหลังใน คราวสังคายนาครั้งที่ ๒ และในคราวสังคายนาครั้งที่ ๓ อันพระยสเถระเป็นต้นรวบรวมไว้ฯ ด้วยค านี้ พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมดจดแห่งนิกายแห่งการพรรณนาของตนฯ ชื่อว่าสีหฬะ เพราะจับ คือถือเอาซึ่งสีหะ (สิงโต) ได้แก่สีหกุมารฯ พึงทราบความที่กษัตริย์ ทั้งหลายที่เกาะตัมพปัณณิชื่อว่าสีหฬะ (สีหล) เพราะเกิดในวงศ์นั้น และพึงทราบความที่เกาะตัมพ ปัณณิชื่อว่าสีหฬะเพราะเป็นที่อยู่ของกษัตริย์ชาวสีหลเหล่านั้นฯ บทว่าอาภตาได้แก่ น าสืบต่อกันมา แต่ชมพูทวีปฯ ศัพท์ว่า อถ ได้แก่ ในภายหลังฯ ก็ในส่วนต่อมา คัมภีร์อรรถกถาท่านตั้งก าหนดไว้ด้วย ภาษาสีหลเพื่อไม่ให้ปะปนกันฯ ด้วยเหตุนั้น มูลอรรถกถาของชาวสีหลนั้นจึงไม่ทั่วไปแก่อรรถกถา ทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงแสดงว่า การประกาศเนื้อความนี้พึงท าโดยส่วนเดียวฯ ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “ทีปวาสีนมต ฺถาย”ฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีป ๒๕๕ ขุ.ป. (บาลี) ๓๑/๑๗,๘/๒๑,๓๑๘.
๑๐๓ วาสีน ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ชนชาวชมพูทวีปฯ อีกอย่างหนึ่ง มีวาจาประกอบความว่า บทว่า ทีป วาสีน ได้แก่ ท่านตั้งอรรถกถาไว้ด้วยภาษาสีหลเพื่อประโยชน์แก่ชนทั้งหลายผู้อยู่ในเกาะสีหลฯ บทว่า อปเนต ฺวา ได้แก่ น าภาษาสีหลอันราวกะว่าหีบออกไปฯ บทว่า ตโต ได้แก่ จาก อรรถกถาฯ พระอาจารย์แสดงตนว่า อห ฯ สองบทว่า มโนรม ภาส ได้แก่ซึ่งภาษาของชาวมคธฯ ก็ ภาษาของชาวมคธนั้นเป็นนิรุตติภาษาโดยสภาวะย่อมยังใจของบัณฑิตทั้งหลายให้ยินดีฯ ด้วยเหตุนั้น นั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า “ตนฺตินยานุจ ฺฉวิก ” อธิบายว่า เป็นไปตามควรแก่ภาษาบาลี โดยอนุโลมตาม คติของภาษาบาลีฯ บทว่า วิคตโทส ได้แก่ อันเว้นจากนิรุตติภาษาอื่นอันไม่มีสภาวะฯ สองบทว่า สมย อวิโลเมนฺโตได้แก่ไม่ยังที่สุดแห่งบทที่ส าเร็จให้ผิดพลาดด้วยค านั้นท่าน กล่าว ความไม่มีโทษแห่งเนื้อความฯ ก็เพราะความไม่ผิดพลาดนั่นเทียว พระเถระทั้งหลายแม้ผู้เป็นเถร วาทจึงจักประกาศในที่นี้ฯ บทว่า เถรว สปทีปาน ได้แก่ ชื่อว่าพระเถระทั้งหลาย เพราะประกอบด้วย ความมั่นคง มีศีลขันธ์เป็นต้น ได้แก่พระเถระทั้งหลายมีพระมหากัสสปะเป็นต้นฯ ล าดับแห่งอาจารย์ที่ มาแล้วโดยพระเถระมีพระมหากัสสปะเถระเป็นต้น ชื่อว่า เถรวงศ์ พระเถระเหล่านั้น เป็นผู้นับเนื่องใน วงศ์แห่งพระเถระนั้น ชื่อว่าเถรวังสปทีปะเพราะรุ่งเรืองด้วยปัญญา คือให้วงศ์พระเถระนั้นรุ่งเรืองเหตุ ถึงพร้อมด้วยปริยัติปฏิบัติและปฏิเวธฯ ได้แก่พระเถระทั้งหลาย ผู้มีปกติอยู่ที่มหาวิหารฯ แห่งพระ เถระทั้งหลายเหล่านั้นฯ ชื่อว่าวินิจฉัย เพราะอรรถว่า พิจารณาโดยอาการมีอย่างต่างๆได้แก่กถาที่ ตัดความสงสัย อันเป็นไปโดยการเหยียบเสาในที่มีปมฯ ชื่อว่าสุนิปุณวินิจฉัยเพราะอรรถว่า มีการ วินิจฉัยที่ละเอียดอ่อนด้วยดีฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวินิจฉัย เพราะอรรถว่า พิจารณาตัดสิน ได้แก่ญาณที่ มีวิสัยตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่าสุนิปุณวินิจฉัยเพราะอรรถว่า มีการวินิจฉัยอันละเอียด อันชาญฉลาด ด้วยดีฯ ด้วยค านั่น ท่านแสดงความที่การวินิจฉัยนั้นเป็นประมาณว่า การวินิจฉัยของพระเถระผู้อยู่ที่ มหาวิหาร อันละเอียดสุขุม โดยการน าสืบต่อกันมาของพระเถระมีท่านพระมหากัสสปะ เป็นต้น และ โดยไม่วิปริตจากการน าสืบ ๆ กันมา ของท่านพระมหากัสสปเถระเป็นต้นนั้นนั่นแลฯ จ-ศัพท์ในค าว่า สุชนสฺส จ มีอรรถเป็นสัมปิณฑนะ ด้วยจ-ศัพท์นั้นท่านแสดงว่า หาเพื่อ ประโยชน์แก่ชนชาวชมพูทวีปอย่างเดียวเท่านั้นไม่ ที่แท้แล เพื่อประโยชน์ยังค วามยินดีให้เกิดแก่ สาธุชน และด้วยจ-ศัพท์นั้นเป็นอันส าเร็จเนื้อความนี้ว่า น ามาเพื่อประโยชน์แม้แก่ชนทั้งหลายที่อยู่ ในตัมพปัณณิทวีป (เกาะตัมพปัณณิ) เพราะมีอุปการะมากแม้ต่อชาวตัมพปัณณินั้น เพราะท าดีมีการ เรียนเอาเป็นต้นฯ บทว่า จิรฏ ฺฐฃิตต ฺถ ได้แก่ เพื่อด ารงอยู่นาน อธิบายว่า เพื่อความตั้งอยู่สิ้นกาลนานฯ ก็การประกาศเนื้อความนี้ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความด ารงมั่นสิ้นกาลนานแห่ง พระสัทธรรม เพราะ เป็นอุบายแห่งการเก็บไว้ด้วยดีซึ่งพยัญชนะอันไม่วิปริตและแห่งนัยอันดีของเนื้อความฯ สมจริงดังพระ ด ารัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดังนี้ว่า
๑๐๔ “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความด ารงมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อ ความไม ่หลงพร้อม เพื ่อความไม่อันตรธานแห่งพระสัทธรรม ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ธรรม ๒ ประการ คือ บทและพยัญชนะอันเก็บไว้อย่างดี ๑ เนื้อความอันอธิบายไขความอย่างดี ๑” ๒๕๖ฯ พระอรรถกถาจารย์มุ่งจะท าการพรรณนาเนื้อความใด เพื่ออันเฉลยความที่การพรรณนา เนื้อความนั้นมีมาก จึงกล่าวค าว่า “สีลกถา”เป็นต้นฯ ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ท่านจึงกล่าวว่า “น ต อิธ วิจารยิสฺสามิ”ฯ อีกอย่างหนึ่ง มุ่งจะท าอรรถกถาใด เมื่อจะท าอุปเทส (แสดง) แห่งอาจารย์ผู้กล่าวว่า “ก็พึงถือเอาวิสุทธิมรรค” ดังนี้ โดยความเป็นเอกเทสแห่งอรรถกถานั้น ชื่อว่าย่อมแสดง วิจาริตธรรม ในอรรถกถานั้นด้วยสามารถแห่งอุเทศโดยนัยว่า “สีลกถา”เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น กถาว่าด้วย ศีลโดยพิสดารด้วยอ านาจจาริตศีลและวาริตศีลเป็นต้น ชื่อว่าสีลกถาฯธรรมก าจัดกิเลส ๑๓ อย่าง มีปิณฑปาติกังคะ๒๕๗ เป็นต้น ชื่อว่าธุตธรรมฯ สองบทว่า กม ฺมฏ ฺฐฃานานิ สพ ฺพานิได้แก่ ฐานะเป็นไป แห่งการอบรมโยคกรรมอันไม่มีส่วนเหลือ คือมาในพระบาลี๓๘ ประการ มาในอรรถกถา ๒ ประการฯ บทว่า จริยาวิธานสหิโตได้แก่ ประกอบด้วยวิธีมีสภาวะเป็นต้นแห่งจริตมีราคจริตเป็นต้นฯ ชื่อว่าฌาน ได้แก่ รูปาวจรฌาน ๔ ชื่อว่าสมาบัติได้แก่อรูปสมาบัติ ๔ หรือว่า เพียงฌานทั้งหลายที่ได้แล้ว แม้ทั้ง ๘ ชื่อว่าสมาบัติทั้งหลาย เพราะถึงความเป็นผู้ช านาญในการเข้าฯ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าฌานทั้งหลาย ได้แก่รูปาวจรฌานและอรูปาวจรฌาน ชื่อว่าสมาบัติทั้งหลาย ได้แก่ ผลสมาบัติและนิโรธสมาบัติฯ อภิญญา ๖ แยกเป็นโลกิยะและโลกุตตระ ชื่อว่าอภิญญาทั้งหมดฯ การก าหนดหมายด้วย ปัญญา แล้วรวบรวมตามนัยมีวิธีเดียวเป็นต้นตามนัยที่มาในญาณวิภังค์เป็นต้นแล้ววินิจฉัย ชื่อว่า ปัญญาสังกลนนิจฉัยฯ ก็ความที่ธรรมที่เป็นปัจจัยเป็นเหตุปัจจัยเป็นต้นแห่งธรรมอันเกิดขึ้นตามปัจจัยข้างต้น ชื่อ ว่าปัจจยาการ การแสดงปัจจยาการนั้น ชื่อว่าปัจจยาการเทศนาฯ อธิบายว่า กถาว่าด้วยปฏิจจสมุป บาทฯ ก็กถาว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทนั้น ชื่อว่าละเอียดและสุขุม เพราะการจ าแนกส่วนที่เป็นกลุ่มก้อน ท าได้ยากยิ่ง เพราะเว้นจากการปะปนกันด้วยลัทธิของนิกายอื่นและประกอบด้วยนัยมีเอกัตตนัยเป็น ต้น อันท่านพิจารณาแล้วในกถานั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สุปริสุท ฺธนิปุณนยา”ฯ ชื่อว่า มรรค เพราะไม่มีความหลุดไป เหตุที่ไม่ละนัยที่มาในปฏิสัมภิทามรรคเป็นต้นพิจารณาแล้วฯ อิติ-ศัพท์ในค าว่าอิติ ปน สพ ฺพ ลงในอรรถปริสมาปันนะ ปน-ศัพท์ ลงในอรรถวจนาลังกา ระ ความว่าทั้งหมดนั้นฯ ศัพท์ว่าอิธ ได้แก่ ในอรรถกถานี้ฯ อธิบายว่า ข้าพเจ้าจักไม ่พิจารณา เพราะ เป็นการกล่าวซ ้าฯ บัดนี้พระอรรถกถาจารย์เมื่อจะชี้แจงถึงเหตุโดยส่วนเดียวแห่งการไม่วิจารณ์นั้นนั่นแลจึง กล่าวค าว่า “มชฺเฌ วิสุท ฺธิมค ฺโค”เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยค าว่า “มชฺเฌ ฐฃต ฺวา” นั่น พระ ๒๕๖ องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๒๑/๗๓. ๒๕๗ วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๒๖/๖๙.
๑๐๕ อรรถกถาจารย์แสดงว่า อรรถกถาที่ทั่วไปแก่นิกาย ๔ โดยพิเศษ โดยการแสดงความมีในท่ามกลางชื่อ ว่าวิสุทธิมรรค เหมือนอรรถกถาที่ไม่ทั่วไปมีอรรถกถาสุมังคลวิลาสินีเป็นต้น หามิได้ฯค าว่า“วิเสสโต” นี้ท่านกล่าวท าอธิบายว่า ทางแห่งความหมดจดแม้แห่งวินัยและอภิธรรมเป็นอรรถแห่งการพรรณนา ตามสมควรนั่นแลฯ บทว่า อิจ ฺเจวตัดบทเป็น อิติเอวฯ บทว่า ตม ฺปิได้แก่แม้ซึ่งวิสุทธิมรรคฯ บทว่า เอตาย ได้แก่อรรถกถาชื่อสุมังคลวิลาสินีฯ ก็ในอรรถกถานี้ท่านแสดงเครื่องหมายแห่งการประกาศเนื้อความ โดยนัยว่า “สีหฬทีปํอาภตา” เป็นต้น ด้วยค าว่า “ทีปวาสีนมตฺถาย, สุชนสฺส จตุฏฺฐฃตฺถ , จิรฏฺฐฃิตตฺถญฺจ ธม ฺมสฺส” นั ่น แสดงถึงประโยชน์ฯด้วยค าที ่เหลือแสดงวิธีแห่งการกระท าฯ ก็แม้การไม่ก าหนด พิจารณาสีลกถาเป็นต้นก็เป็นวิธีแก่การกระท าในฎีกานี้นั่นแลฯ พรรณนากถาเริ่มต้นคัมภีร์ จบฯ พรรณนานิทานกถา การให้สภาวะแห่งธรรมที ่มีการจ าแนกให้แจ่มแจ้งมีได้ด้วยสามารถแห่งการแสดงการ จ าแนกนั่นแล เพราะเหตุนั้น เพื่ออันแสดงการจ าแนกด้วยสามารถแห่งวรรคและสูตรเป็นอันดับแรก ก่อน ท่านจึงกล่าวค าว่า“ตต ฺถ ทีฆาคโม นาม”เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าตต ฺถ ได้แก่ค าใด อันท่านกล่าวว่า “ทีฆสฺส อาคมวรสฺส อตฺถ ปกาสยิสฺสามิ”ฯ ในค านั้นฯ อธิบายว่า ค าว่า ข้าพเจ้าจัก ประกาศซึ่งเนื้อความแห่งนิกายใด ดังนี้ อันท่านทราบแล้วฯ นิกายนั้น ชื่อว่าทีฆนิกาย การจ าแนก อย ่างนี้ย ่อมมีด้วยสามารถแห ่งวรรคและสูตรฯ อีกอย ่างหนึ ่ง บทว ่า ตต ฺถ ได้แก ่ ในค านี้ว่า “ทีฆาคมนิสฺสิต อตฺถ ”ฯ อธิบายว่า นิกายใดอันท่านกล่าวว่าทีฆนิกาย นิกายนั้นเป็นเช่นนี้ด้วยสามารถ แห ่งวรรคเป็นตันฯ เพื ่ออันแสดงความที ่สังวรรณนาของตนเป็นไปตามล าดับที ่เก็บไว้ในปฐมมหา สังคายนานั่นแล ท่านจึงกล่าวค าว่า “ตสฺส วค ฺเคสุฯเปฯ วุต ฺต นิทานมาทิ”ฯ ก็เพราะเหตุไร บรรดา นิกายทั้ง ๔ จึงรวบ รวมทีฆนิกายก่อน และในทีฆนิกายนั้นจัดสีลขันธวรรคไว้แต่ตอนต้น และในสีล ขันธวรรคนั้นก็รวบรวมเอาพรหมชาลสูตรก่อนเล่าฯ การประกอบตามล าดับนี้ย่อมไม่เป็นไปแม้ในที่ ไหน ๆ ก็หามิได้ ที่แท้ ทีฆนิกายท่านรวบรวมไว้ก่อน เพราะมีคุณด้วยการน ามาซึ่งศรัทธาฯ ด้วยว่า ศรัทธาเป็นพืชพันธ์แห่งกุศลธรรมทั้งหลายฯ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า “สทฺธา พีช ตโป วุฏฺฐฃิ” ๒๕๘ ฉะนั้นฯ (ศรัทธาเป็นพืชตบะเป็นฝน)ฯ ก็เป็นอันท่านแสดงความที่นิกายนั้นน าคุณคือศรัทธามาให้นั่น เทียวฯ สูตรอะไร ๆ ย่อมมีเพราะเป็นความสุขอันมีการเรียนเอาและการทรงจ าไว้เป็นต้น เพราะ รวบรวมสูตรเล็กน้อยและเพราะมีปริมาณน้อยฯ จริงอย่างนั้น นิกายนั้นมีการรวมสูตรไว้ ๓๔ สูตร และมีภาณวาร ๖๔ เป็นปริมาณฯ แต่โดยความมากพร้อมแห่งสีลกถา สีลขันธวรรคจึงถูกจัดไว้เป็น อันดับแรกฯ ก็ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งศาสนา เพราะศีลเป็นที่ตั้งแห่งคุณทั้งปวงฯ ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่าน จึงกล่าวว่า “ภิกษุ เพราะนั้นแหละ เธอจงช าระส่วนเบื้องต้นนั่นแลในกุศลธรรมทั้งหลายในศาสนานี้ก็ ๒๕๘ ส .ส. (บาลี) ๑๕/๑๙๗/๒๐๗, ขุ.สุ. (บาลี) ๒๕/๗๗/๓๕๐.
๑๐๖ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ศีลอันหมดจดดีเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม”ดังนี้เป็น ต้นฯ ก็ด้วยค านั้น เป็นอันท่านกล่าวความที่วรรคนั้นเข้าใจว่ามีเนื้อความน้อยฯ แต่เพราะไม่มีกถาที่ เกี่ยวด้วยทิฏฐิ จึงควรทราบว่า จัดพรหมชาลสูตรไว้ก่อนซึ่งมีการจ าแนกทิฏฐิอย่างไม่เหลือแห่งพระ สุตตันตปิฎกฯ ก็ในพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก พระสูตรอันเช่นกับพรหมชาลสูตร อันด าลงสู่ทิฏฐิ อัน เป็นสูตรที่จ าแนกออกท าไม่ให้มีปมสงสัยย่อมไม่มีฯ พรรณนามหาสังคายนาครั้งที่ ๑ พระอรรถกถาจารย์ประสงค์จะท าการพรรณนาตามล าดับที่น าสืบมาในปฐมมหา สังคายนา ใดฯ ซึ่งปฐมมหาสังคายนานั้นฯและเมื่อปฐมมหาสังคายนานั้นขึ้นสู่แบบแผน เมื่อจะแสดง เหตุในค านี้จึงกล่าวว่า “ปฐฃมมหาสง ฺคีติฯเปฯ เวทิตพ ฺพา”ฯ การสวด คือการกล่าวรวบรวมพระธรรม วินัยที่ชื่อว่ากระจัดกระจายเพราะพระพุทธองค์ทรงแสดงและบัญญัติไว้ในที่นั้นๆตามปัจจัย ชื่อว่าการ สังคายนาฯเมื ่อสิกขาบทนั้น ๆ และสูตรทั้งหลายมีเบื้องต้นและที ่สุดรอบ การกล ่าวถึงการท า สังคายนาซึ่งตั้งไว้ด้วยสามารถแห่งความเกี่ยวเนื่องกันในระหว่าง จึงเป็นอันรวมไว้แล้วฯ สังคีติใหญ่ ชื่อว่ามหาสังคีติเพราะมีอารมณ์มาก และเพราะควรบูชาฯสังคีติใหญ่ครั้งแรกชื่อว่าปฐมมหาสังคีติฯ กาลคือความเป็นไปแห่งปฐมมหาสังคีตินั้น ชื่อว่าปฐมมหาสังคีติกาลฯ ในปฐมมหาสังคีติกาลนั้นฯ ก็ค า ว่านิทาน ชื่อว่านิทาน เพราะอรรถว่า ย่อมแสดงธรรมเทศนาที่ยังไม่ชัดให้ชัดเจน ด้วยอ านาจเทสและ กาละเป็นต้นฯ เมื ่อพระกิริยาของพระผู้มีพระภาคเหล่าอื ่นแม้มีปรากฏอยู่ซึ ่งเป็นเหตุแห่งการ ได้ทัสสนานุตตริยะและสรณานุตตริยะเป็นต้น แห่งสัตว์ทั้งหลาย พระกิริยาอันเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้น แห่งมรรคและผลแห่งเวไนยสัตว์ โดยอนุโลมตามปฏิญญาว่า “พุทฺโธ โพเธยฺย ” ๒๕๙ เป็นพุทธกิจโดย นิปปริยาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า“ธม ฺมจกฺกป ฺปวต ฺตนญ ฺหิ อาทึ กต ฺวา”ฯ ในค านั้น ธรรมมี สัทธินทรีย์ เป็นต้นนั่นแล ชื่อว่าจักร เพราะอรรถว่าเป็นไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรมจักรฯอีกอย่าง หนึ่ง อาชญา ชื่อว่าจักรฯ จักรนั้นด้วยเป็นธรรมด้วย เพราะไม่ไปปราศจากธรรม เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ธรรมจักรฯ ชื่อว่าธรรมจักร แม้เพราะอรรถว่า ชื่อว่าจักรเป็นโดยญายธรรมฯ เหมือนที่ท่านกล่าวว่า “ยังธรรมให้เป็นไป และยังจักรให้เป็นไป เหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรมจักรฯ ยังจักรให้ เป็นไปยังธรรมให้เป็นไป เหตุนั้น ชื่อว่าธรรมจักรฯ ให้เป็นไปโดยธรรม เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ธรรมจักรฯ ให้เป็นไปโดยการประพฤติธรรม เหตุนั้น ชื่อว่าธรรมจักรดังนี้เป็นต้น” ๒๖๐ ฯ ด้วยค าว่า “กตพุท ฺธกิจ ฺเจ” นั่น ท่านแสดงถึงความที่แม้ธรรมไร ๆ อันพระพุทธเจ้าพึง แสดงไม่เหลือฯ สัตว์ที่พึงแนะน าได้แม้ผู้อันสาวกทั้งหลายแนะน าแล้วเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคทรง แนะน าแล้ว เหมือนกันมิใช่หรือ เพราะว่า พระสูตรที่สาวกกล่าวแล้วท่านก็เรียกว่า “พุทธพจน์” และ ๒๕๙ ขุ.พุทฺธ.อ. (บาลี) ๑/๑/๑๕, ขุ.จริยา.อ. (บาลี) ๑/-/๓๓๐ (ปกิณฺณกกถา). ๒๖๐ ขุ.ป. (ไทย) ๓๑/๔๐/๕๐๒.
๑๐๗ สัตว์ที่สาวกแนะน า ไม่ชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคทรงแนะน าก่อนหรือ นี่ไม่ใช่ความผิดเพราะอุบาย แนะน าสัตว์เหล่านั้นตั้งไว้แล้วในสาวกฯ ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มารผู้มีบาป เราจักไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรายังไม่เป็นผู้ ฉลาดถูกแนะน าแล้ว อาจหาญ เป็นพหูสูต ทรงธรรมฯลฯข่มปรัปวาทอันเกิดขึ้น ได้อย่างราบ คาบพร้อมธรรม แสดงธรรมที่มีปาฏิหาริย์เป็นต้น” ๒๖๑ ค าว ่าก ุสินาราย เป็นต้น แสดงเทสะและกาละที่วิเศษคือการดับแห่งพระผู้มีพระภาค เพื่อแสดงการถือเอาผิดว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ปรินิพพาน” และเพื่อแสดงความที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสูติและทรงเจริญในโลกฯ จริงอย่างนั้น มหาโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมท าแม้การถือเอารอบ (เลี้ยง ดู) ทาระ เป็นต้นในจริมภพ เพื่อท าความเป็นมนุษย์ให้ปรากฏฯ ชื่อว่าอุปาทิเพราะอรรถว่า อันกรรม กิเลสให้เกิดขึ้นฯ คือวิบากขันธ์และกตัตตารูปฯ ก็อุปาทินั่นไม่เหลือในการบรรลุนิพพาน เพราะก าจัด กิเลสมารและอภิสังขารมารได้ฯ สละได้ไม่มีเหลือด้วยการก าจัดขันธมารและมัจจุมารได้ในการบรรลุ นิพพานนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทิเสสฯได้แก่นิพพานธาตุฯ ก็ในค าว่า นิพ ฺพานธาตุนี้ประสงค์ เอาเพียงความดับ และในลักษณะอิตถัมภูต นิพพานธาตุนี้เป็นนิเทศแห่งการกระท าฯ บทว่า “ธาตุ- ภาชนทิวเส” นี้ไม่ใช่วิเสสนะ ของบทว่า “สนฺนิปติตาน ” นั่นฯ แต่ว่า เป็นวิเสสนะของการให้อุตสาหะ เกิดว่ายังอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลายในวันแบ่งพระธาตุฯ เพราะว่า ในวันก่อน ๆ กว่าวันแบ่งพระ ธาตุ ภิกษุทั้งหลายมาพร้อมกันฯ อีกอย่างหนึ่ง ในวันแบ่งพระธาตุเมื่อภิกษุทั้งหลายประชุมพร้อมกัน คือรวมตัวกันด้วยสามารถแห่งกายสามัคคีฯ พระเถระแห่งสงฆ์ ชื่อว่าสังฆเถระฯก็พระสงฆ์นั้นเป็น ปริมาณหรือไร เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า “สต ฺตนฺน ภิกฺขุสตสหสฺสาน ”ฯ เพราะว่า เพราะมีการเพ่งเป็น นิจ ในศัพท์เช่นนี้ จึงเป็นสมาสเหมือนค าว่า “เทวตตฺตสฺส ครุกุล ” ฉะนั้นฯ สัมพันธ์ความว่า ท่านมหากัสสปะส าคัญการประชุมสงฆ์เป็นเรื่องที่ท าได้ยากความได้โดย ยากจึงให้อุตสาหะเกิดแก่ภิกษุทั้งหลายฯ ค าว่า “ธาตุภาชนทิวเส สนฺนิปติตาน ” นี้พึงสัมพันธ์เข้ากับ บทว่า “ภิกฺขูน ” แม้นี้ ในค าว่า “ภิกฺขูน อุสฺสาห ชเนสิ” นี้ฯ สัมพันธ์ความว่า ระลึกถึงค าอันสุภัทท วุฑฒบรรพชิตกล่าวแล้วฯ อธิบายว่า ในค านั้นพระมหากัสสปะระลึกอยู่ด้วยสามารถแห่งความสลดใจ ในธรรม (ธรรมสังเวช)ฯ บทเหล ่านี้คือ“สท ฺธมฺม อนฺตรธาเปย ฺยุ สง ฺคาเยยฺย ฯเปฯจิรฏฺฐฃิติก ตสฺส กิมญฺญ อาณณฺย ภวิสฺสติ” สัมพันธ์ความเข้ากับบทว่า“อิติจินฺตยนฺโต” นั่นฯ อนึ่ง บทว่า ยญ ฺจาห นั่น สัมพันธ์ความเข้ากับบทว่า “อนุคฺคหิโต ปส สิโต” นั่นฯ บทว่า ย ในค าว่า ย ปาปภิกฺขูนี้เป็นเพียงนิบาตฯ หรือว่าเป็นการแสดงถึงเหตุฯ อธิบายว่า ให้อันตรธานไป ด้วยเหตุใด เหตุนี้นั้นมีอยู่ฯ บทว่า อท ฺธนิย ได้แก่ด ารงอยู่กาลนาน อธิบายว่า ตั้งอยู่นานฯ ค าว่า ย ในค าว่ายญ ฺจาห นี้ท่านกล่าวว่า เพราะเหตุใดคือด้วยเหตุใดอีกอย่างหนึ่งค าว่า ย นั่น เป็นกิริยาปรามาสด้วยค าว่า ย นั่น ย่อมครอบคลุมถึงการอนุเคราะห์และการสรรเสริญ ในค า ว่า “อนุคฺคหิโต ปส สิโต” นี้ฯ ในค าว่า “จีวเร สาธารณปริโภเชน” นี้ พึงประกอบว่า ด้วยการบริโภค ๒๖๑ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๘/๑๑๓-๑๑๖, ส .ม. (ไทย) ๑๙/๘๒๒/๓๘๘-๓๘๙, ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๕๑/๒๘๑-๒๘๓.
๑๐๘ ทั่วไปกับด้วยพระองค์ในจีวรเพราะน าอต ฺตนา-ศัพท์ ในค าว่า “อตฺตนา สมสมฏฺฐฃปเนน” นี้มาฯ ก็ สัมพันธ์บทใดเข้ากับบทใด บทนั้น ๆ แม้มีความหมายว่าไกลฯอีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบว่าอันพระผู้มี พระภาคทรงอนุเคราะห์ด้วยการใช้สอยทั่วไปในจีวรกับพระผู้มีพระภาคก็แม้นิเทศแห่งกรณะนั้นก็พึง ประกอบเข้าเพราะมีการกระท าที่ส่องถึงความหมายว่าการประกอบร่วมกันฯ ค าว่า ยาวเท ได้แก่ เพียงใดนั่นเทียว คือตลอดกาลประมาณเพียงใดอธิบายว่า เราปรารถนาอยู่ และอยู่ประจ าในสมาบัติ วิหาร หรือในอภิญญาวิหารประมาณใดแม้ท่านพระกัสสปะก็อย่างนั้นฯก็ค านี้พึงทราบว่า ท่านกล่าว เพียงความชมเชยโดยทั่วไปแก ่ความเป็นอนุบุพพวิหาร ๙ และอภิญญา ๖ฯ เพราะว่า ท ่านพระ มหากัสสปะก็เหมือนพระผู้มีพระภาคไม่ได้เข้าสมาบัตินับได้๒๔ แสนโกฏิทุกวัน หรือใช้สอยอภิญญา ด้วยสามารถแห่งยมกปาฏิหาริย์เป็นต้นฯ ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ท่านจึงกล่าวว่า “นวาปุพฺพวิหารฉฬา ภิญ ฺญาปฺปเภเท”ฯ อธิบายว่า ท ่านพระมหากัสสปะนั้นจักมีความเป็นหนี้อะไรอื ่น เว้นจากการ สังคายนาธรรมวินัยฯ ท่านให้เนื้อความที่กล่าวไว้โดยนัยว่า “นนุ ม ภควา”เป็นต้นนั้นแลให้ชัดเจน ด้วยสามารถแห่งอุปมาฯ สองบทว่า ตโต ปร ได้แก่ เบื้องหน้าแต่นั้น คือแต่การให้อุตสาหะเกิดแก่ภิกษุทั้งหลายฯ หลายบทว่า ปุเร อธม ฺโม ทิป ฺปติคือ ย่อมรุ่งเรืองชื่อแม้บ้าง อธิบายว่า อธรรมสามารถขัดขวางธรรม เพียงใดก่อนกว่านั้นนั่นแลฯ ก็ปุเร-ศัพท์นี้ ใช้ในความหมายว่าใกล้อันท่านไม่ปรารถนาแล้วฯ ก็บทว่า ทิป ฺปติได้แก่ จักรุ่งเรืองฯ เพราะว่า การประกอบด้วยวัตตมานาวิภัตินี้เพราะประกอบเข้ากับปุเ รศัพท์จึงลงในความหมายเป็นอนาคตกาล เหมือนค าว่า “ปุรา วสฺสติเทโว” ฉะนั้นฯ ด้วยค าว่า “สกลนวง ฺค ฯเปฯ ปริค ฺคเหสิ” นั่น เมื่อมีความบรรลุนิกายแห่งบุคคลตามที่ กล่าว มีพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสกะเป็นที่สุด ท่านก็แสดงความที่บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณมีวิชชา ๓ เป็นต้นกับปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เป็นผู้มีอุปการะมากต่อสังคีติเพราะท่านเหล่านั้นถึงพร้อมด้วยการ บรรลุนิกายฯ ค าที่ท ่านกล ่าวแล้วนี้ชื่อว่ายังไม ่ชัดเจน ในสังคีติขันธกะ ย ่อมไม ่มีเพราะมีความเป็นไป อย่างช ่าชองฯ ส่วนในสมันตปาสาทิกา ท่านกล่าวไว้ว่า “ชื่อว่าการถือเอาในที่ลับหลังไม่มี”ฯ แม้ค าที่ กล่าวว่า “จากภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์”ดังนี้นั้น ก็กล่าวท าอธิบายว่า รับเอาเฉพาะในส านักของ พระผู้มีพระภาคนั่นเองฯ ค าว่า จตุราสีติสหสฺสานิก็กล่าวหมายเอาในธรรมขันธ์ฯ บทว่า ปวต ฺติโน ได้แก่ ช ่าชองช านาญฯ พระมหากัสสปเถระกล่าวอย่างนี้ว่า “น วาย กุมารโก มต ฺตมญ ฺญาสิ” เพราะ การลาสิกขาไปแห่งบริษัทที่มาใหม่ของพระอานนทเถระฯ บรรดาบทเหล ่านั้น บทว่า มต ฺต ได้แก่ ประมาณฯ พึงทราบการจ าแนกบทว่าฉนฺทา อาคมน วิยฯ ค าว่า“กิญ ฺจาปิ เสกฺโข” นี้ท่านไม่ได้กล่าว เพราะเสกขบุคคลถึงอคติฯแต ่พึงทราบว ่า ท ่านกล ่าวเพราะคัดเลือกเอาอเสกขบุคคลเท่านั้นฯ เพราะว ่า การถึงอคติ ๔ อันท ่านละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคนั่นเองฯ ก็ค าว่า“อภพ ฺโพ ฯเปฯ อคตึ คนฺตุ ”ได้แก่การกล่าวคุณที่มีอยู่แห่งธรรมสังคีติโดยแสดงการประกอบแห่งคุณนั้นฯ บทว่า ปริยต ฺโต ได้แก่ อันตนเรียนแล้วฯ
๑๐๙ ชื่อว่าโคจร เพราะอรรถว่า เป็นที่เที่ยวไปแห่งโค คือที่เป็นที่เที่ยวไปแห่งโคเหมือนโคจร ได้แก ่ที่เป็นที่เที ่ยวไปเพื ่อภิกษาฯชื ่อว ่าวิสภาคบุคคล ได้แก ่บุคคลผู้เช ่นกับสุภัททะฯ บทว่า สต ฺติปญ ฺชร ท่านกล่าวหมายเอาการท าอารักขาพระธาตุของพระผู้มีพระภาค แห่งเจ้ามัลละทั้งหลาย กับพวกบุรุษทั้งหลายผู้ถือหอกและดาบเป็นต้นฯ หลายบทว่า ต ปลิโพธ ฉินฺทิต ฺวา ต กรณีย กโรตุ ความว่า จงตัดสิ่งที่พระสังคาหกาจารย์พึงตัด แล้วจงท าสิ่งที่พึงท าโดยส่วนเดียวฯ บทว่า มห าชน ได้แก่ซึ่งชนจ านวนมากฯ อธิบายว่า โดยความเป็นบริโภคเจดีย์เพราะไหว้คันธกุฎีฯ สองบทว่ายถา ต ความว่าสภาวะตามที่กล่าวแม้อื่นฉันใดอธิบายว่า ฉันนั้นฯ บทว่า ส เวเชสิความว่ายังความสลดใจให้ เกิด โดยนัยว่า “สพฺเพเหว ปิเยหิมนาเปหินานาภาโว วินาภาโว” ๒๖๒ เป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ก่อนกว่ามิใช่หรือฯ บทว่า อุสฺสนฺนธาตุก ได้แก่สะสมโทษฯ บทว่า เภสชฺชมต ฺตา ได้แก่ เภสัชมี ประมาณน้อยฯ ก็มต ฺต-ศัพท์นี้ มีความหมายว่าน้อยเหมือนในค าว่า “มต ฺตา สุขปริจ ฺจาคา” ๒๖๓ เป็น ต้น ฉะนั้นฯ บทว่า ทุติยทิวเสได้แก่ ในวันที่ ๒ แต่วันที่เทวดาให้สลดใจ หรือว่า แต่วันที่เข้าไปยัง พระเชตวันวิหารฯ จักรคืออาชญา ชื่อ อาณาจักรฯ บทว่า เอตทค ฺค ได้แก่ เอโส อคฺโค (ภิกษุนั่นเป็นผู้เลิศ)ฯ ก็ศัพท์ว่า เอตทคฺค เป็นการแสดง ด้วยลิงควิปลาสฯ ก็ค าว่า ยทิท ได้แก่ โย อย หรือว่าพึงประกอบค าว่ายทิท ขนฺธปญ ฺจก ก็ได้ฯเพราะ เหตุไรท่านจึงกล่าวว่า“ท่านอุบาลีพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปฐมปาราชิกไว้ณ ที่ไหน” ในกาลก่อน ความที่การสังคายนาปาราชิกนั้นเป็นครั้งแรกไม่ควรมิใช่หรือ ไม่ควรก็หามิได้ เพราะความที่วีติกกมนะ นั้นเป็นที่ ๑ ส าเร็จได้ตามล าดับอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติและตามล าดับแห่งปาติโมกขุทเทสฯ เพราะว่าโดยมากพระไตรปิฎกถูกรวบรวมไว้ตามล าดับที่ด ารงอยู่ในกาลที่พระผู้มีพระภาคทรงด ารงอยู่ ทั้งนั้นฯ พึงทราบว่า เป็นวินัยปิฎกและอภิธรรมปิฎกโดยพิเศษฯ ค าว่า “วต ฺถุม ฺปิ ปุจ ฺฉิ” เป็นต้น ท่าน กล่าวด้วยสามารถแสดงรวบรวมเรื่องแม้ที่เหลือจากนั้น พร้อมกับเรื่องที่ท่านแสดงโดยนัยว่า “กตฺถ ปญฺญตฺต ” เป็นต้นฯ บทว่า ปฐมปาราชิเกได้แก่ ในบาลีแห่งปฐมปาราชิก๒๖๔ฯ ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท ่านจึงกล่าวว่า “น หิ ตถาคตา เอกพ ฺยญฺชนมฺปิ นิรตฺถก วทนฺติ” (ก็ตถาคตทั้งหลายหาตรัสแม้ พยัญชนะเดียวให้ไม่มีประโยชน์ไม่)ฯ การรวบรวมธรรมทั้งหลายมีชาดกเป็นต้นซึ ่งเนื ่องด้วยขุททกนิกายและธรรมทั้งหลาย เช่นนั้น อันเป็นนิเทศแห่งธรรมไว้ในอภิธรรมก็สมควรฯ แต่ว่า ในสุตตันตปิฎกอันมีประการเป็นทีฆ นิกายเป็นต้นไม่ควรรวบรวมฯแม้ในวินัยปิฎกอันเป็นการแสดงบัญญัติก็ไม่ควรรวบรวม เพราะเหตุนั้น อาจารย์ผู้กล่าวทีฆนิกายจึงกล่าวว่า“ชาตกาทีน อภิธมฺมปิฏเก สงฺคโห”ฯ ก็ในอภิธรรมปิฎกนี้ไม่มีการ ถือเอาจริยาปิฎกและพุทธวงศ์เพราะมีคติเหมือนชาดกฯ แต่อาจารย์ผู้กล่าวมัชฌิมนิกายกล่าวชาดก เป็นต้นว่า นับเนื่องในพระสุตตันตปิฎกด้วยค าว่าควรรวบรวมชาดกเป็นต้นที่ทรงแสดงไว้ด้วยสามารถ ๒๖๒ ที.ม. (บาลี) ๑๐/๑๘๓,๒๒๕/๑๐๖,๑๓๘, ส .ม. (บาลี) ๑๙/๓๗๙/๑๔๑, องฺ.ทสก. (บาลี) ๒๔/๔๘/ ๖๙, ขุ.ม. (บาลี) ๒๙/๔๐/๑๐๒. ๒๖๓ ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๒๙๐/๖๗. ๒๖๔ วิ.มหา. (ไทย) ๑/๒๔-๘๓/๑๕-๕๔.
๑๑๐ แห่งการเกิดเรื่องขึ้นในพระสุตตันตปิฎกอันเช่นนั้น เพราะไม่มีตามอนุโลมเทศนา แต่ว่า ไม่ควรรวบ รวมไว้ในอภิธรรมปิฎกในยถาธรรมศาสน์ อันเป็นการแสดงสภาวธรรมฯ ก็บัณฑิตพึงพิจารณาค าที่ ประกอบแล้วในที่นั้นแล้วพึงถือเอาฯ ท่านแสดงสังคีติครั้งที่ ๑ โดยนิมิต ประโยชน์กาละ เทสะ การก (ผู้ท า) และประการแห่ง การท า อย่างนี้บัดนี้ เพื่อจะแสดงประเภทมีอย่างหนึ่งเป็นต้น เพื่อความฉลาดในประการต่าง ๆ ใน ธรรมวินัยอันก าหนดแล้วและอันส าเร็จแล้วในปฐมสังคีตินั้น จึงกล ่าวค าว ่า“เอวเมต ”เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมุต ฺติรส ได้แก่คุณคือความหลุดพ้น หรือว่าคุณอันประกอบด้วยความถึง พร้อมด้วยความหลุดพ้น เพราะให้ผลอันเลิศส าเร็จฯ หรือว่า กิจคือความหลุดพ้นย่อมมี เพราะให้ถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายโดยแน่นอนฯ แต่ว่า อาจารย์บางพวกกล่าวว่า “ซึ่งอัสสาทะในความ หลุดพ้น”ฯ พุทธพจน์แม้ทั้งหมด ชื ่อว ่าวินัยเพราะก าจัดกิเลส ชื ่อว ่าธรรม เพราะรองรับไว้ซึ่งชน ทั้งหลายผู้ปฏิบัติตามที่พร ่าสอน จากการตกไปในอบายเป็นต้นโดยไม่แตกต่างกัน แม้ก็จริง ถึงกระนั้น เพื่ออันเก็บธรรมวินัยตามที่ประสงค์ไว้ในที่นี้ท่านจึงกล่าวค าว่า“ตต ฺถ วินยปิฏก ”เป็นต้นฯ พุทธพจน์ ที่เหลือ ชื่อว ่าธรรม เพราะมากด้วยการแสดงธรรมตามสภาวะด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นต้นฯ อีกอย่าง หนึ่ง แม้หากว่า วินัยก็คือธรรม เพราะความเป็นปริยัติธรรมเป็นต้นฯ ก็ในการเก็บ(สนฺนิธ) วินย-ศัพท์ไว้ ธม ฺม-ศัพท์ที ่ประกอบโดยความเป็นภินนาธิกรณะย ่อมแสดงถึงแบบแผนอันผิดจากแบบแผนวินัย เหมือนค าว่า “ปุญฺญญาณสมฺภารา” และค าว่า “โคพลิพทฺธ ” ฉะนั้นฯ พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงพิจารณาการบรรลุอรหัตต์อันมีสัพพัญญุตญาณเป็นปทัฏฐาน จึงตรัสพระคาถานี้ว่า“อเนกชาติส สาร ”เป็นต้นในล าดับแห่งปัจจเวกขณญาณแห่งญาณที่ ๑๙ฯ ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า“อิท ปฐฃมพุท ฺธวจน ”ฯ ได้ยินว่าอุทานนี้เป็นอุทานอันพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ไม่ทรงละฯ เรื่องนี้มีความย่อดังต่อไปนี้เราเมื่อแสวงหานายช่างไม้คือตัณหาผู้กระท าเรือนคืออัตภาพนี้ ท าอภินิหารไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร เพื่อประโยชน์แก่โพธิญาณที่เป็นเหตุ เห็นนายช่างไม้คือตัณหานั้นได้เมื่อแล ่นไปสู่สงสารคือชาติมิใช ่น้อย คือสู่สังสารวัฏอันนับได้แสนชาติ มิใช่น้อยตลอดกาลประมาณเท่านี้เมื่อไม่พบ คือไม่ได้นั่นแลซึ่งญาณนั้น วิ่งไปแล้วคือได้ท่องเที่ยวไป แล้วฯ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ชื่อว่าชาตินั่น ชื่อว่าเป็นทุกข์เพื่ออันเข้าถึงบ่อย ๆ เพราะเจือด้วยชรา พยาธิและมรณะและเมื่อไม่เห็นนายช่างไม้คือตัณหานั้น ชาตินั้นก็ไม่กลับ ฉะนั้น เราเมื่อแสวงหานาย ช่างไม้คือตัณหานั้น ชื่อว่าแล่นไปแล้วฯ บทว่า ทิฏ ฺโฐฃสิความว่า ท่านเป็นผู้อันเราแทงตลอดสัพพัญญุต ญาณเห็นแล้วในบัดนี้ฯ บทว่า ปุน เคห ได้แก่ ซึ่งเรือนกล่าวคืออัตภาพนี้ของเราฯ ท่านไม่ได้ท าแล้ว คือจักไม่ท าฯซี่โครงคือกิเลสที่เหลือทั้งปวงของท่านอันเราหักแล้วฯ ยอดแห่งเรือนคืออัตภาพอันท่าน ท าแล้วนี้ คือมณฑลแห่งช่อฟ้ากล่าวคืออวิชชาอันเราไม ่ปรุงแต ่งแล้วคืออันเราก าจัดแล้วฯ นิพพานอัน ไม ่มีสังขารอันเราถึงแล้ว คืออันเราเข้าถึงแล้วด้วยสามารถท าให้เป็นอารมณ์ ก็ เราถึงทับแล้ว คือ บรรลุแล้ว ได้แก่ บรรลุแล้ว ซี่งอรหัตมรรค กล่าวคือความสิ้นไปแห่งตัณหาฯ นี้เป็นเบื้องต้นแห่งธรรม
๑๑๑ ที ่ก าหนดด้วยใจฯ อาจารย์บางพวกกล ่าวว ่า ก็คาถานี้ว ่า “ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธม ฺมา” ๒๖๕ เป็น เบื้องต้นแห่งธรรมที่ทรงให้เป็นไปด้วยพระวาจาฯ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสพระด ารัสว่า “อเนก ชาติส สาร ” ๒๖๖ เป็นต้นด้วยสามารถแห่งการตรัสในภายในฯ ค าว่า “ปาฏิปททิวเส” นี้ ไม่พึงสัมพันธ์ เข้ากับค าว่า“สพฺพญฺญุภาวปฺปตฺตสฺส” นั่น แต่ควรสัมพันธ์เข้ากับค าว่า“ปจฺจเวกฺขนฺตสฺสอุปฺปนฺนา”ฯ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคทรงบรรลุสัพพัญญตญาณในปัจจุสมัยในวันวิสาขปุณณมีนั่น แลฯ บทว่า วยธม ฺมาความว่า อบรมแม้ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย โดยมุ่งถึงอนิจจลักษณะ เพราะพระบาลีว่า “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา” ๒๖๗ฯ พึงทราบว่า ก็พระอรรถกถาจารย์ เมื่อแสดงวิปัสสนาอันมีไตรลักษณ์นั้นเป็นอารมณ์ ตามนัยแห่งการอบรมไตรลักษณ์นั่นแล ชื่อว่าย่อมประกาศปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน อันเป็น รูปแบบของพระพุทธเจ้า อันอธิษฐานกรรมฐานคือสัจจะ ๔ ซึ่งไม่วิปริต ไม่ใช่อารมณ์ของเดียรถีย์ทั้ง ปวงฯ ในกาลนี้ ท่านทรงชักน าให้ประกอบในสัมมาปฏิบัติ ด้วยพุทธพจน์ว่า “อป ฺปมาเทน สม ฺปาเทถ”ฯ อีกอย่างหนึ่ง ด้วยพระด ารัสว่า“วยธม ฺมา สง ฺขารา” นั่น ท่านให้สลดใจโดยย่อแล้ว แสดงสัมมาปฏิบัติ ไม่มีส่วนเหลือโดยย่อนั้นแลว่า “อป ฺปมาเทน สม ฺปาเทถ”ฯ ก็ว่าอัปปมาทบทท่านสงเคราะห์เข้าใน ไตรสิกขาตั้งอยู่ครอบคลุมถึงศาสนาที่บริบูรณ์สิ้นเชิงฯ อุปการะแห่งเรื ่องที่กล่าวถึงสังคีติขันธกะเป็นต้น ไม ่ได้รวบรวมไว้ในปฐมสังคีติฯ แต่ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า “แม้สุภสูตร๒๖๘ ก็ไม่ได้รวมไว้ในปฐมสังคีติ” ค านั้นไม่ถูกฯ เพราะว่า ก่อน กว่าปฐมสังคีตินั้นแล ท่านพระอานนท์อยู่ในวิหารชื่อว่าเชตวัน ได้กล่าวไว้แล้วแก่สุภมาณพฯ การประกอบการท าให้มั่นคงและท าให้หย ่อน (ผ่อนปรน) มีในสิกขาบททั้งหลาย ที่มีโทษ โดยปกติและที่มีโทษตามบัญญัติตามล าดับฯ บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยความมีนัยต่างๆ เป็นต้นฯ บทว่า เอต ได้แก่ค าที่เป็นคาถาว่า “วิวิธวิเสสนยตฺตา”ฯ บทว่า เอตสฺส ได้แก่ แห่งพระวินัยฯ บทว่า อต ฺตต ฺถปรต ฺถาทิเภเท ความว่า ผู้ใดสาธยาย ฟัง บอกต่อ คิดตาม และแสดงพระ สูตรนั้น ประโยชน์มีศีลเป็นต้นอันท่านสงเคราะห์ด้วยพระสูตรย่อมมีแม้แก่ผู้นั้น ย่อมมีแม้แก่ผู้อื่น เพราะผู้อื่นอันผู้นั้นพึงให้ยินดีเพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าชี้แจง คือแสดงสูตรนั้นทั้งสองฝ่ายนั้นฯ อนึ่ง ท่านย่อมรวมประโยชน์อันต่างโดยประโยชน์มีเป็นต้นอย่างนี้ คือทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์สัมปรายิกัตถ ประโยชน์โลกิยประโยชน์และโลกุตตรประโยชน์ด้วยอาทิ-ศัพท์ฯก็อต ฺถ-ศัพท์นี้กล่าวถึงปริยายแห่ง ประโยชน์เกื้อกูล ไม่ได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ตรัสไว้หากพึงกล่าวไซร้พระสูตรย่อมส่องถึงประโยชน์แม้ ที่กล่าวแล้วแม้ของตนแม้ของชนอื่น เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวประโยชน์นี้ฯ ก็ประโยชน์ใดถูกประกาศ โดยพระสูตร ประโยชน์นั้นย่อมมีแก่พระสูตรนั้น เพราะเหตุนั้น ประโยชน์ผู้อื่นไม่ชื่อว่าอันพระสูตรนั้น ๒๖๕ ขุ.อุ. (บาลี) ๒๕/๑/๙๔. ๒๖๖ ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๑๕๓/๔๔. ๒๖๗ ส .ข. (ไทย) ๑๗/๑๕,๔๕,๗๖-๗,๘๕/๓๐,๖๒-๓,๑๕๐, ส .สฬา. (ไทย) ๑๘/๑-๔/๑-๔. ๒๖๘ ที.สี. (ไทย) ๙/๔๔๔-๔๘๐/๑๙๗-๒๑๒.
๑๑๒ ส่องแล้ว อต ฺต-ศัพท์ไม่พึงท าเพราะประโยชน์ผู้อื่นอันพระสูตรนั้นพึงส่องพึงให้กลับไม่มีและอาทิ-ศัพท์ ก็ไม่พึงท าเพราะประโยชน์ที่กล่าวอันพ้นจากประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นไม่มีฯ เพราะฉะนั้น ท่าน จึงกล่าวประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ด้วยสามารถแห่งบุคคลรองรับพระสูตรเพราะประโยชน์ที่ เป็นปริยายแห่งประโยชน์เกื้อกูลตามที่กล่าวแล้ว ไม่มีในพระสูตรฯ อีกอย่างหนึ่ง ประเภทแห่งประโยชน์มีประโยชน์ตนเป็นต้นเหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ในนิเทศ แห่งบทว่า “น หญฺญทตฺถตฺถิปส สลาภา” นั่น ไม่เพ่งถึงพระสูตรว่า “ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสอง ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์สัมปรายิกัตถประโยชน์ ประโยชน์ง่าย ๆ ประโยชน์ลึกซึ้ง ประโยชน์เร้นลับ ประโยชน์ปิดบัง เนยยประโยชน์นีตประโยชน์ อนวัชชประโยชน์นิกกิเลสประโยชน์ โวทานประโยชน์ ปรมัตถประโยชน์” พระสูตรย่อมส่องประโยชน์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ประโยชน์ฯ ในอรรถวิกัปนี้ อต ฺถ-ศัพท์เป็นปริยายแห ่งประโยชน์ที ่เป็นภาษิตได้บ้างฯ ก็บรรดา ประโยชน์เหล่านี้ประเภทแห่งประโยชน์ ๕ อย่างตอนต้นเป็นปริยายแห่งประโยชน์เกื้อกูลฯ ๖ ประเภท อื่นจากนั้น เป็นประเภทแห่งประโยชน์ที่ภาษิตแล้วฯ ส่วนอย่างหลังมีทั้งสองสภาวะฯ บรรดาประโยชน์ อย่างหลังเหล่านั้น ชื่อว่าประโยชน์ลึกซึ้ง หยั่งไม่ได้เพราะในการอบรมภาวนาบรรลุได้ยากฯ ประโยชน์ ปิดบัง ชื่อว่าประโยชน์ไม่เปิดเผยฯ ประโยชน์เกื้อกูลในภายนอกด้วยการรวมตัวของอักขระเหมือนมูล และน ้าเป็นต้น รวมกับดินร่วน ฉะนั้น ชื่อว่าประโยชน์ปกปิดฯ ประโยชน์ที่พึงชี้แจงให้ทราบ ชื่อว่า เนยยประโยชน์ฯ ประโยชน์ที่พึงทราบด้วยอ านาจค าตามที่กล่าวนั้นแลชื่อว ่านีตประโยชน์ฯ อนวัชช ประโยชน์นิกกิเลสประโยชน์และโวทานประโยชน์ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งปริยาย หรือว่าด้วย สามารถแห่งธรรม คือกุศล วิบากและกิริยาฯ นิพพาน ชื่อว่าปรมัตถประโยชน์หรือว่าสภาวะที่ธรรม ทั้งหลายไม่วิปริตนั่นเอง ชื่อว่าปรมัตถประโยชน์ฯ อีกอย่างหนึ่ง พระสูตรย่อมส่องประโยชน์ตนว่า “อตฺตนา จ อปฺปิจฺโฉ โหติ” และส่องประโยชน์ผู้อื่นว่า “อป ฺปิจ ฺฉากถญ ฺจ ปเรส กต ฺตา โหติ”ฯ พึง ประกอบสูตรทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า “อตฺตนา จ ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ” ๒๖๙ฯ ก็พึงกล่าว เนื้อความแห่งสุต ฺต-ศัพท์ให้แปลกออกไปจากวินัยและอภิธรรมฯ เพราะฉะนั้น ด้วยเทศนาที่เป็นไปด้วย อ านาจอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ท่านจึงประกาศประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้นอย ่างดียิ่ง เพราะความเป็นประโยชน์ผู้อื่นนั้น ด้วยเทศนาที่เป็นไปด้วยอ านาจแห่งสภาวธรรมคืออาชญา (อาณา) หาเป็นอันประกาศไม่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวค านี้นั่นแลว่า “อต ฺถาน สูจนโต สุต ฺต ”ฯ ก็ในพระสูตร สภาวธรรมคืออาณาย่อมเป็นไปตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ อัธยาศัยของ เวไนยสัตว์ไม่เป็นตามในสภาวธรรมคืออาณา เหมือนในวินัยและอภิธรรมฯ เพราะฉะนั้น เทศนาที่ เป็นไปพร้อมเพื่อได้การปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลโดยส่วนเดียวแก่เวไนยสัตว์จึงเป็นเทศนาในพระสูตร เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า “สุวุต ฺตา เจต ฺถ”เป็นต้น บทว่า ปสวติได้แก่ ย่อมเผล็ดผลฯ ท่านกล่าวค าว่า “สุฏ ฺฐฃ จ เน ตายติ”เพื่อประกาศเนื้อความแห่งค าว่า“สุต ฺตาณา” นั่นฯ ก็ในวิธีมีประโยชน์ตนเป็นต้น มีพระสูตรเป็นประมาณ และควรประกอบการรวบรวมประโยชน์ตนเป็นต้น เพราะพระสูตรเป็นใหญ่ ๒๖๙ องฺ.จตุกฺก. (บาลี) ๒๑/๙๙/๑๑๑.
๑๑๓ ในการประกาศประโยชน์นั้นฯ และควรประกอบความแปลกกันจากวินัยและอภิธรรมฯ บทว่า เอต เป็นการกล่าวถึงประโยชน์มีว่า “อตฺถาน สูจนโต” เป็นต้นฯ บทว่า เอตสฺส ได้แก่ พระสูตรฯ อภิ-ศัพท์ในค าว่า อภิกฺกมนฺตินี้ ย ่อมแสดงถึงความเจริญแห่งการท าการก้าวไปอันมี ความหมายว ่ายิ ่งเกินฯในค าว ่า อภิญญาตา อภิลกฺขิตา นี้มีความแปลกกันคือญาณลักษณกิริยา ปรากฏชัดฯ ในค าว่า อภิกฺกนฺเตน นี้มีความก้าวล่วงยิ่งเกิน คือพิเศษเกิน เหตุนั้น จึงควรแล้ว เพราะ อุปสัคท ากิริยาให้พิเศษขึ้นฯ ส่วนในค าว่า อภิราชา อภิวินเย อภิ-ศัพท์ย่อมเป็นไปในราชวินัยอันบูชา แล้วและก าหนดแล้วเหตุนั้น พึงประกอบค านั่นอย่างไร พึงประกอบโดยแสดงกิริยาว่าบูชาและก าหนด เพราะราช-ศัพท์และ วินย-ศัพท์ประกอบด้วยกิริยาเหล่านั้นฯ เพราะว่า อภิ-ศัพท์ ในค านี้ก็เหมือน อติ- ศัพท์ ในค าว่า อติมาลา เป็นต้น กล่าวถึงกิริยาพร้อมกับสาธนะ เหตุนั้น อภิราช-ศัพท์และวินย-ศัพท์ จึงส าเร็จได้ ฉันใด อภิ-ศัพท์ ในศัพท์ว่า อภิธม ฺม ก็ฉันนั้น แสดงถึงกิริยาว่าเจริญเป็นต้นพร้อมสาธนะ เหตุนั้น พึงทราบว่าท่านแสดงเนื้อความนี้แล้วฯ ธรรมทั้งหลายแม้ที่มีความเจริญ ด้วยความเจริญคือภาวนาและการแผ่ไปท ่านก็กล ่าวไว้ แล้วฯ บทว่า อารม ฺมณาทีหิได้แก่ด้วยปฏิปทาทางกรรมทวารอันประกอบพร้อมด้วยอารมณ์เป็นต้นฯ บทว่า อวิสิฏฐฃ ได้แก่ ไม่วิเศษสุดในวินัย พระสูตร และอภิธรรม อันวิเศษกว่ากันและกัน อธิบายว่า ซึ่งปิฏก-ศัพท์นั้นฯ บทว่ายถาวุต ฺเตน ได้แก่ มีประการตามที่กล่าวแล้วว่า “เอว ทุวิธตฺเถน” เป็นต้นฯ การตระเตรียมคือการรู้เนื้อความที่ควรกล่าว โดยวิธีมีอาณาเป็นต้นอันเกี่ยวเนื่องด้วยผู้ แสดง ชื่อว่าเทศนาฯการพร ่าสอน คือการแนะน าโดยความเป็นบุคคลควรสอนมีสอนตามความผิดเป็น ต้น อันอยู่ในบุคคลที่ควรพร ่าสอน ชื่อว่าศาสนาฯ การกล่าวเนื้อความมีสังวรณ์และอสังวรณ์ เป็นต้น ที่ พึงกล่าว คือ การท าความเกี่ยวเนื่องกันแห่งค า ชื่อว่ากถาฯอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ากถา เพราะเป็นที่อัน เขากล่าวฯ การกล่าวสังวรณ์และอสังวรณ์ ชื่อว่าสังวราสังวรกถาฯ แม้ในชนบทนอกนี้ก็มีนัยนี้ฯ เภทศัพท์ พึงประกอบแยก ๆ กันว่า “เทสนาเภท สาสนเภท กถาเภทญฺจ ยถารห ปริทีปเย” (พึงแสดง ประเภทแห่งเทศนา ประเภทแห่งค าสอน (ศาสนา) และประเภทแห่งกถาตามสมควร) ก็บทว่า เภท มี ความหมายว่า ความแตกต่างกันฯ สิกขาด้วย ปหานะด้วย คัมภีรภาพด้วย ชื่อว่าสิกขาปหานคัมภีร ภาวะ พึงแสดงสิกขาปหานคัมภีรภาวะนั้นด้วยฯ บรรดาค าเหล่านี้ ค าว่า ยถา ได้แก่ โดยประการ ทั้งหลายเหล่านี้คือ การเริ่มต้น การสลัดออก การรักษาคลังธรรม เหตุ และการเล่าเรียน การปฏิบัติดี การปฏิบัติชั่วฯ ชื่อว่าอาณารหะ เพราะตรัสรู้เองโดยชอบ โดยวิเคราะห์ว่า ควรเพื่อน้อมไปสู่อาณาฯ เพราะมีแม้ปรมัตถประโยชน์โดยโวหาร ท่านก็กล่าวว่า“อาณาพาห ุลฺลโต”ฯ แม้ในบทเหล่าอื่นจากนี้ก็ มีนัยนี้ฯ ชื่อว่าปจุราปราธา ได้แก่ ท่านเสยยสกะเป็นต้นฯ ชื่อว่าอัธยาศัย ได้แก่อาสยะนั่นเอง โดย ความหมายได้แก่ทิฏฐิและญาณฯ สมจริงดังค าที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า
๑๑๔ “สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิและขันติอันเป็น อนุโลม ยถาภูตญาณทัสสนะ เรียกว่าอาสยะ” ๒๗๐ฯ ชื่อว่าอนุสยะ ได้แก่ กิเลสอันเป็นอนาคต ๗ อย่าง คือ กามราคะ ภวราคะ ทิฏฐิปฏิฆะ วิจิกิจฉา มานะ และอวิชชาฯ กิเลสอันเป็นอดีตและกิเลสอันเป็นปัจจุบันท่านก็เรียกอย่างนั้นเหมือน กันฯ ก็ความแตกต่างกันโดยสภาวะแห่งธรรมทั้งหลายต่างโดยกาลไม่มีฯ ชื่อว่าจริยา ได้แก่ มูลจริยา ๖ฯ โดยความแตกต่างกันในระหว่าง จริยานั้นมีหลายอย่าง โดยปะปนกันมี ๖๓ อย่างฯ ก็จริยาเหล่า นั้นข้าพเจ้าแสดงไว้โดยจ าแนกในอสัมโมหันตรธานสุตตฎีกา อันผู้ต้องการพึงถือเอาจากฎีกานั้นฯ อีก อย่างหนึ่ง ชื่อว่าจริยา ได้แก่ความประพฤติ (จริต) ความประพฤตินั้นมี ๒ อย่างคือ สุจริตและทุจริตฯ ชื่อว่าอธิมุตติ ได้แก่ ความชอบใจยิ่งด้วยสามารถแห่งบุพพจริยา (ความประพฤติในก่อน) ของสัตว์ ทั้งหลาย อธิมุตตินั้นมี ๒ อย่าง โดยแบ่งเป็นอย่างหยาบและอย่างประณีตฯ เป็นผู้มีความส าคัญว่า “เรา ของเรา” ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิมานะ และตัณหา เพราะไม่มีการจ าแนกส่วนรวมฯ สังวรใหญ่ ชื่อว่าอสังวรฯ ก็อ อักษรนี้มีความหมายว่า รู้ เหมือนค าว่า “อเสกฺขา ธมฺมา” ฉะนั้นฯ ในค าว่าตีสุปิ เจเตสุ เอเต ธม ฺมต ฺถเทสนาปฏิเวธา นี้ความหมายของตันติ การแสดงตันติ และการรู้แจ้งความหมายของตันติเป็นวิสัยของตันติเหตุนั้น ความที่ปิฎก ๓ มีวินัยปิฎกเป็นต้น มีการ รองรับอรรถะ เทศนา และปฏิเวธะ ควรแล้ว ก็ปิฎกทั้งหลายก็เป็นตันตินั่นเอง เหตุนั้น ความที่ปิฎก เหล ่านั้นรองรับธรรมพึงถูกต้องอย ่างไร พึงถูกต้องเพราะส ่วนรวมแห่งตันติรองรับตันติส ่วนย่อย เพราะว่า ส่วนรวมแห่งส่วนย่อยท่านก็เรียกโดยความเป็นส่วนรองรับ เหมือนค าว่า “รุกฺเข สาขา”ฉะ นั้นฯ ก็ความที่ธรรมเป็นต้นลึกซึ้ง เพราะหยั่งรู้ได้ยากและความที่วินัยเป็นต้นลึกซึ้งมี ๔ อย่าง ท่าน เหล่านั้นกล่าวไว้ด้วยค าว่า วินยาทโย คมฺภีราฯ เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นต้นชื่อว่าลึกซึ้งเพราะหยั่งรู้ได้ ล าบากฯวินัยเป็นต้นหาลึกซึ้งไม่ เหตุนั้น จึงไม่พึงทักท้วงค านั่น โดยพร้อมหน้าและโดยมุ่งถึงวิสัย และ เพราะความที่วินัยเป็นต้นนั่นแลลึกซึ้งอันท่านกล่าวไว้แล้วฯ ด้วยว่า วินัยเป็นต้นก็เป็นธรรม วิสัยก็เป็น ความหมายของวินัยเป็นต้นเหล่านั้น และวิสัยของธรรมะและอรรถะก็เป็นการรู้แจ้งเทศนาฯ พึงทราบ ความที่ธรรมและอรรถหยั่งรู้ได้ยากเพราะการรู้แจ้ง (ปฏิเวธ) เทศนาท าได้โดยยาก และพึงทราบความ ที่เทศนาหยั่งรู้ได้ยากเพราะเทศนาญาณ (ความรู้ในการแสดง) ท าได้โดยยากฯ อนึ่ง เพราะปฏิเวธไม่ อาจให้เกิดขึ้นได้ และเพราะการเกิดขึ้นแห่งวิสัยแห่งญาณนั้นท าได้ยากพึงทราบว่า หยั่งรู้ได้ล าบากฯ ด้วยค าว่า “เหตุม ฺหิ ญาณ ธม ฺมปฏิสม ฺภิทา” นั่น พึงทราบความที่ธรรมเป็นเหตุได้อย่างไร เพราะเมื่อแสดงเนื้อความของบทย ่อยแห่งบทสมาสว่า “ธม ฺมปฏิสมฺภิทา” นั ่นท ่านได้กล่าวค าว่า “เหตุม ฺหิ ญาณ ”ฯ ก็ค าว่า “ธมฺเม” นั่นในค าว่า “ธมฺเม ปฏิสมฺภิทา” นี้ ท่านเมื่อแสดงความหมาย กล่าวค าว่า “เหตุม ฺหิ”ฯ และค าว่า“ปฏิสัมภิทา” นั่น เมื่อแสดงความหมายกล่าวค าว่า ญาณ ฯ เพราะ ฉะนั้น ความที่ธรรมเป็นเหตุอันท่านเมื่อกล่าวเนื้อความนี้ว่า เหตุ-ศัพท์และธม ฺม-ศัพท์มีความหมายอัน ๒๗๐ วิสุทฺธิ.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๓๖/๒๘๓, สารตฺถ.ฏีกา (บาลี) ๑/-/๙๒.
๑๑๕ เดียวกัน ญาณ-ศัพท์และปฏิสัมภิทา-ศัพท์มีความหายอันเดียวกันให้ส าเร็จแล้ว และความที่อรรถเป็น เหตุและผลก็พึงทราบอย่างนี้เหมือนกันฯ ก็ธม ฺม-ศัพท์ ในค าว่า ยถาธม ฺม นี้รวมถึงทั้งหมดคือทั้งเหตุและผลแห่งเหตุฯ ก็ธม ฺม-ศัพท์ นี้เป็นศัพท์บอกสภาวะ ไม่ใช่เป็นศัพท์บอกความเป็นเหตุแห่งปริยัติ เพราะเหตุนั้น บทว่า ยถา ธม ฺม จึงมีความหมายว่า ในธรรมที่มีอวิชชาและสังขารเป็นต้นฯ อีกอย่างหนึ่ง ตามสมควรแก่ธรรม ชื่อว่า ยถาธม ฺม ฯ เพราะว่าแม้เทศนาก็เหมือนปฏิเวธ ย่อมเป็นไปตามสมควรแก่ธรรมเพราะภาวนาธรรมที่มี อารมณ์ไม่วิปริต เพราะท่านกล่าวว่า “อวิปรีตาภิลาป”ฯ บทว่า ธม ฺมาภิลาโป ได้แก่ กล่าวไม่วิปริต ทั้งอรรถและพยัญชนะ ด้วยค านั่นท่านแสดงธรรมนิรุตติโดยสภาวะ ที่กล่าวไว้ในค านี้ว่า “ตต ฺร ธม ฺมนิรุต ฺตาภิลาเป ญาณ นิรุต ฺติปฏิสม ฺภิทา” ๒๗๑ เพราะเทศนามีเสียงเป็นสภาวะฯ จริงอย่างนั้น ท่านกล่าว ความที่นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นปริตตารมณ์เป็นต้น ในวิภังคบาลีแห ่งปฏิสัมภิทาฯ และในอรรถกถา พระ อรรถกถาจารย์ก็แสดงความที่เทศนามีเสียงเป็นอารมณ์โดยนัยว่า “ต สภาวนิรุต ฺติสท ฺท อารม ฺมณ กต ฺวา” ๒๗๒ เป็นต้นฯ ก็เสียงที่ท่านก าหนดค าที่ต้องกล่าวว่า “อิมสฺส อตฺถสฺส อย สทฺโท วาจโก” (ศัพท์ นี้บอกเนื้อความนี้) แล้วให้เป็นไปด้วยสามารถท าค านั้น ๆ ให้ชัดเจนเป็นเทศนาฯ ด้วยค าว่า “อนุ โลมาทิ-วเสน วา กถน ” นั่นท่านแสดงการเรียกคือการกล่าวธรรมนิรุตตินั้น ได้แก่ความเป็นไปแห่งค า นั้นฯ ด้วยค าว่า “อธิป ฺปาโย” นั่น ท่านแสดงว่า ท่านกล่าวค าว่า “เทสนาติปญฺญตฺติ” นั่นหมายเอา ธรรมนิรุตตาภิลาปะ หากล่าวหมายเอาบัญญัติอันพ้นจากนั้นไปไม่ฯ ก็ธรรมและเทศนาไม่พึงมีความแปลกกันเพราะธรรมในฝ่ายนี้ว่า “ธมฺโม ตนฺติ” มีเสียง เป็นสภาวะมิใช่หรือ ไม่มีความแปลกกันฯ นั้นรู้ได้โดยความเป็นผู้รู้เนื้อความนั้น ๆฯ ก็ความเกี่ยวเนื่อง ด้วยเสียงที่ก าหนดในก่อนด้วยสามารถแห่งการเรียนเป็นต้นเป็นธรรมฯ เสียงอันให้เป็นไปเพื่อให้ชน เหล่าอื่นรู้ในภายหลังอันประกาศเนื้อความนั้นเป็นเทศนาฯ อีกอย่างหนึ่ง จิตตุปบาทอันยังเสียงตามที่ กล่าวให้ตั้งขึ้นพร้อมเป็นเทศนา เหมือนมุสาวาทเป็นต้น ฉะนั้นฯ ก็ค าว่า “วจนสฺส ปวตฺตน ” ย่อม ถูกต้องด้วยสามารถแห่งจิตตุปบาทนั้นฯด้วยว่าจิตตุปบาทนั้นย่อมให้ค าเป็นไป คืออันจิตตุปบาทนั้น ท าให้ปรากฏฯ บุคคลย่อมบรรลุการรู้เฉพาะที่กล่าวอย่างนี้ว่า “โส จ โลกิยโลกุตฺตโร” โดยประการใด บรรลุธรรมใดและสภาวะแห่งธรรมนั้นใดเพื ่ออันท าให้ปรากฏโดยสภาวะนั้น ๆ ท ่านจึงกล่าวค า ว่า “วิสยโต อสม ฺโมหโต จ โลกุต ฺตโร”โดยประการใด บรรลุธรรมใดและสภาวะแห่งธรรมนั้นใด เพื่อ อันท าให้ปรากกฏโดยสภาวะเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “วิสยโต อสม ฺโมหโต จ อต ฺถานุรูปํ ธม ฺเมสุ” เป็นต้น ก็ในค านั้น การหยั่งรู้ในธรรมเป็นต้นตามสมควรแก่อรรถเป็นต้นโดยอารมณ์ อันมีการให้รู้ ธรรม มีอวิชชาเป็นต้นและอรรถมีสังขารเป็นต้นและให้รู้ธรรมและอรรถทั้ง ๒ นั้นเป็นอารมณ์ เป็น อภิสมยะอันเป็นโลกิยะฯการหยั่งรู้ในธรรมเป็นต้นตามสมควรแก่อรรถเป็นต้นเพราะไม่หลงพร้อม อันมีนิพพานเป็นอารมณ์อันประกอบด้วยมรรค อันก าจัดสัมโมหะในธรรม อรรถ และบัญญัติตามที่ ๒๗๑ อภิ.วิ. (บาลี) ๓๕/๗๑๘/๓๖๙. ๒๗๒ อภิ.วิ.อ. (บาลี) ๒/๗๑๘/๔๑๔.
๑๑๖ กล่าว เป็นอภิสมยะที่เป็นโลกุตตระฯ เพื่ออันแสดงความหมายของการรู้แจ้งแม้อันอื่นจากอภิสมยะ ท่านจึงกล่าวค าว่า “เตส เตส วา”เป็นต้นฯ ชื่อว่าอภิสมยะ เพราะวจนัตถะนี้ว่า ปฏิเวธน ปฏิเวโธ และสภาวะอันไม่วิปริตแห่งธรรมมีรูปเป็นต้นนั้น ๆ เพราะวจนัตถะนี้ว่า ปฏิวิชฺฌยตีติปฏิเวโธ เรียกว่า “ปฏิเวธ”ฯ เพื่ออันแสดงความที่ปิฎกทั้งหลายลึกซึ้งโดยธรรมเป็นต้นตามที่กล่าวแล้ว ท่านกล่าวค าว่า “อิทานิ ยสฺมา เอเตสุ ปิฏเกสุ”เป็นต้นฯ ค าว่า โย เจต ฺถ พึงประกอบว่า ในธรรมเป็นต้น ที่อยู่ในปิฎก นั้น ๆ นั่น ปฏิเวธใดและสภาพอันไม่วิปริตรใดแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ในปิฎกทั้งหลายเหล่านั้นฯ อนึ่ง พึงทราบความที่ธรรมเป็นต้นหยั่งรู้ยาก เพราะอรรถแห่งธรรมมีอวิชชาและสังขารเป็นต้นรู้ได้ยาก เพราะการแสดงนั้นเหตุการให้รู้อรรถแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นท าได้ยากเพราะไม่อาจกระท าการยัง ปฏิเวธกล่าวคือการรู้แจ้งแทงตลอดให้เกิดขึ้นให้เป็นอารมณ์เพราะปฏิเวธกล่าวคือสภาวะอันไม่วิปริตร เข้าใจได้ยากนั่นเอง ค าว่า ย ท่านกล่าวหมายเอาการเรียนปริยัติไว้ไม่ดีอันใดฯ บทว่า อต ฺถ ได้แก่ อรรถที่กล่าว แล้ว และอรรถที่เป็นประโยชน์ฯ บทว่า น อุปปริกฺขนฺติได้แก่ ย่อมไม่พิจารณาฯ หลายบทว่า น นิชฺฌาน ขมนฺติ ได้แก่ ไม่ทนปัญญาส าหรับเพ่ง อธิบายว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลเพ่งแล้วเห็นด้วย ปัญญา พอใจแล้วจึงพึงถือเอาก็หามิได้ฯ บทว่า อิติได้แก่ด้วยประการฉะนี้คือด้วยปริยัตินี้ฯ ผู้มีการ พ้นจากวาทะเป็นอานิสงส์เป็นผู้มีการหลุดพ้นจากวาทะที่ชนเหล่าอื่นยกขึ้นในเบื้องบนแห่งตน เล่า เรียนธรรมหรือ ชื่อว่าเป็นผู้พ้นจากวาทะคือผู้พ้นจากการนินทาฯ สองบทว่า ยสฺส จต ฺถายอธิบายว่า ชนเหล ่านั้นย ่อมเรียนธรรม เพื่อประโยชน์แก่การบ าเพ็ญศีลเป็นต้น หรือว่า ประโยชน์แก่การหลุดพ้น จากความไม่ยึดมั่น คือเล่าเรียนโดยญายธรรมฯ บทว่า อสฺส ได้แก่ แก่ธรรมนั้นฯ บทว่า นานุโภนฺติ ได้แก่ ย่อมไม่ประสบฯ ธรรมเหล่านั้นย ่อมเป็นไปพร้อมเพื่อไม ่เป็นประโยชน์ คือเพื่อความทุกข์สิ้นกาล นานเพราะธรรมเหล่านั้นอันชนเหล่านั้นเรียนเอาไม่ดีโดยมีความเป็นเหตุแห่งอุปารัมภะ มานะ ถัมภะ มักขะ และปลาสะเป็นต้น (แข่งดี ถือตัว หัวดื้อ ลบหลู่ และตีเสมอ)ฯ ผู้ประกอบในเรือนคลัง ชื่อว่า ภัณฑาคาริกฯ ภัณฑาคาริกเปรียบเหมือนผู้รักษาเรือนคลัง คือผู้ตามรักษาธรรมรัตนะฯ เมื่อ ภัณฑาคาริกไม่เพ่งประโยชน์อื่นอยู่ ปริยัติ ชื่อว่าภัณฑาคาริกปริยัติฯ อวธารณะในค าว่า “ตาส เยว” ท่านกล่าวหมายเอาความที่อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ ที่พึงบรรลุไม่มีการกล่าวแยกประเภทไว้ในวินัยฯ เพราะว่า ในเวรัญชกัณฑ์๒๗๓ ท่านจ าแนกวิชชา ๓ เท่านั้นไว้ฯ ส่วนอวธารณะว่า“ตาส เยว”ในบทที่ ๒ ท่านท าไม่เพ่งถึงปฏิสัมภิทา ๔ฯ ไม่เพ่งถึงวิชชา ๓ ฯ เพราะว่า วิชชา ๓ นั้นหยั่งลงในภายในอภิญญา ๖ ท่านจ าแนกไว้ในพระสูตรนั่นแลฯ สองบทว่า ทุค ฺคหิต คณ ฺห ความว่า ท่านจึงเรียนเอาโดยนัยเป็นต้นว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยประการที่วิญญาณนี้แล่นไป ท่องเที่ยวไป มิใช่อย่างอื่นแล่นไป ๒๗๓ วิ.มหา. (ไทย) ๑/๑-๒๓/๑-๑๕.
๑๑๗ ท่องเที่ยวไป” ๒๗๔ฯ บทว่า ธม ฺมจินฺต ได้แก่การพิจารณาสภาวธรรม คือการพิจารณามีเป็นต้นอย่างนี้ ว่า “ด้วยเหตุเพียงจิตตุปบาทเท่านั้นก็มีทาน จิตเองนั้นแลเป็นอารมณ์ของตน จิตทั้งหมดมีธรรมที่ไม่มี สภาวะเป็นอารมณ์”ฯ บทว่า เตส ได้แก่ แห่งปิฎกทั้งหลายเหล่านั้นฯ บทว่า เอต ได้แก่ พุทธวจนะนั่นฯ ชื่อว่าอนุโลมิกะเพราะอนุโลมแก่เนื้อความฯ เพื่ออันยัง ความเป็นอนุโลมนั่นแลให้แจ่มแจ้ง ท่านจึงกล่าวค าว่า “กสฺมา ปน”เป็นต้นฯ บทว่า เอกนิกายม ฺปิ ได้แก่ แม้เป็นกลุ่มเดียวกันฯ กษัตริย์ชาวโปณะและจิกขัลละ ที่อยู่ของกษัตริย์โปณะและจิกขัลละ เหล่านั้น ชื่อว่าโปณิกนิกาย และชื่อว่าจิกขัลลนิกายฯ ในค าว่า นวป ฺปเภท นี้ ได้แก่ แบ่งเป็น ๙ ประเภทอย่างไรฯ ก็พระสูตรที่มีคาถาพึงทราบ ว่า เคยยะ และพระสูตรที่ไม่มีคาถาพึงทราบว่า เวยยากรณะ และพระสูตรที่พ้นจากทั้ง ๒ นั้น อันเว้น จากวิเสสสัญญา มีอุทานเป็นต้นย่อมไม่มีองค์แห่งพระสูตรใดพึงมีการรวบรวมองค์แห่งพระสูตรนั้น แห่งสูตรทั้งหลายมีมงคลสูตรเป็นต้นไม่พึงมีเพราะคาถาเหมือนธรรมบทเป็นต้น หรือว่าการรวบรวม องค์แห่งเคยยะพึงมี เพราะมีคาถาเหมือนสคาถวรรคเป็นต้น อนึ่ง ในอุภโตวิภังค์เป็นต้นแสดงอ้างพระ สูตรที่มีคาถาอย่างไร ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป สามัญญวิธีว่า พระสูตร วิธีที่ แปลกออกไปอย่างอื่นชื่อว่ามีนิมิต (เครื่องหมาย) เพราะงอกขึ้นแล้ว (ตั้งมั่น) ประกอบด้วยอย่างอื่น ชื่อว่าย่อมไม่มี เพราะเป็นโดยประการอื่น๒๗๕ฯ ก็พุทธพจน์แม้ทั้งหมดย่อมมีสามัญญวิธีนี้ว่า พระสูตรฯ ด้วยเหตุนั่นแล ท่านพระมหา กัจจายนะจึงกล่าวไว้ในเนตติว่า “นววิธสุตฺตนฺตปริเยฏฺฐฃิ” ๒๗๖ฯ ก็เนื้อความนั่นมีตัวอย่างอย่างนี้ว่า “ที่มาในพระสูตร คือนับเนื่องในพระสูตรของพระผู้มีพระภาคนั้นมีประมาณเท่านี้ในวาทะของตนมี ๕๐๐ สูตร” ดังนี้เป็นต้นฯ หลายบทว่า วิเสสวิธโย ปเร สนิมิต ฺตา ได้แก่ วิธีที่แตกต่างกันมีเคยยะเป็นต้นในเอกเทส นั้น ๆ ตั้งอยู่แล้วโดยนิมิตนั้น ๆฯ จริงอย่างนั้น ความที่เคยยะมีคาถาพึงทราบว่า มีความเป็นเช่นนั้น เป็นนิมิต (ลักษณะ)ฯ อาจารย์บางพวกกล่าวคัมภีร์จุณณิยบทที่มีโศลกอันมีคาถาแม้ในโลกว่า “เคย ยะ”ฯ ก็เมื่อมีเคยยะที่ไม่มีคาถา การตั้งค าถามแล้ววิสัชชนาพึงทราบว่า มีความที่เวยยากรณะเป็น คัมภีร์มีคาถานั้นเป็นนิมิตฯ ก็การถามและวิสัชชนาท่านเรียกว่า “พยากรณะ”ฯ เวยยากรณะก็คือพ ยากรณะฯ เมื่อเป็นอย่างนั้น ความที่แม้แห่งคัมภีร์ที่มีคาถาเป็นต้น อันเป็นไปด้วยสามารถแห่งการตั้ง ค าถามแล้ววิสัชชนาเป็นเวยยากรณะย่อมถูกต้องฯ ย่อมถูกต้องก็หามิได้เพราะความเข้าใจว่าเคยยะ ๒๗๔ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๓๙๖/๔๒๗. ๒๗๕ เนตฺติ.อ. (บาลี) ๑/-/๑๔, สารตฺถ.ฏีกา (บาลี) ๑/-/๑๑๔. ๒๗๖ เนตฺติ. (บาลี) –/-/๑.
๑๑๘ เป็นต้นไม่ใช่โอกาส และเพราะมีความแปลกกันด้วยค าว่า “คาถาวิรเห สติ”ฯ จริงอย่างนั้น ในธรรม บทเป็นต้นอันมีคาถาประพันธ์อย่างเดียว เกี่ยวเนื่องด้วยคาถาอันส าเร็จจากโสมนัสสญาณ แม้ในความ เป็นคัมภีร์ที่มีคาถาอันสัมพันธ์ด้วยค าว่า “วุต ฺตเญ ฺหต ”เป็นต้น และอันเป็นสุตตะพิเศษ อันเกี่ยวเนื่อง เฉพาะด้วยอัพภูตธรรม ความส าคัญว่าคาถา อุทาน อิติวุตตกะ และอัพภูตธรรมตั้งมั่นแล้วตามล าดับ แม้เมื่อมีความเป็นคาถาประพันธ์อย่างนั้น ความส าคัญว่าชาดก ในอดีตชาติของพระผู้มีพระภาค อัน ประกาศจริยานุภาพก็ตั้งมั ่น แม้เมื่อมีปัญหาและวิสัชชนาปัญหา ความส าคัญว่า เวทัลละก็ตั้งมั่น เพราะให้ได้เวทัลละในพระสูตรบางพระสูตร ในความที่พระสูตรมีคาถาเพราะเหตุนั้น ความส าคัญว่า เคยยะเป็นต้นตั้งมั่นแล้ว ในพระสูตรพิเศษนั้น ๆ ด้วยนิมิตนั้น ๆอันมีคาถาเป็นต้น เพราะเหตุนั้น วิธี พิเศษก็ได้แก่เคยยะเป็นต้น อันอื่นนอกจากองค์แห่งพระสูตรฯ ก็ในค านี้ย่อมมีองค์แห่งพระสูตรอัน เว้นจากองค์แห ่งเคยยะเป็นต้นเพราะเป็นไปด้วยความส าคัญโดยสามัญ (สามัญญสัญญา) โดย หลีกเลี่ยงความส าคัญว่าแปลกกัน (วิเสสสัญญา)ฯ โจทนาว่า ก็พระสูตรที่มีคาถาเป็นเคยยะ พระสูตรที่ ไม่มีคาถาเป็นเวยยากรณะ เพราะเหตุนั้น องค์แห่งสุตตะ (สูตร)ย่อมไม่มี มิใช่หรือ มีอยู่เพราะก าหนด ความเป็นอย่างนั้นฯ ไม่มีก็หามิได้เพราะท่านช าระแล้วเหตุก าหนดไว้อย่างนั้นฯ เพราะว่า สุตตะเป็น อันช าระแล้วเมื่อมีการเว้นจากคาถาในก่อน การถามและวิสัชชนา เป็นค าถามที่ยังมีความเป็นเช่นนั้น แห่งเวยยากรณะเป็นนิมิต (ลักษณะ) ก็ค าใดอันท่านกล่าวว่า “คาถาภาวโต มงฺคลสุตฺตาทีน สุตฺตงฺคสงคฺโห น สิยา” ค านั้นไม่ ควรเพราะงอกขึ้นแล้วฯ ก็ความที่มงคลสูตรเป็นต้นเป็นสุตตะงอกขึ้นแล้วฯ เพราะว่า พระสูตรเหล่า นั้นท่านบัญญัติไว้แล้วโดยความเป็นพระสูตรที่มีคาถาเหมือนธรรมบทและพุทธวงศ์เป็นต้น ฉะนั้นหา มิได้ฯ ที่แท้แล บัญญัติโดยความเป็นสุตตะฯก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแลในอรรถกถาท่านจึงท าการระบุชื่อว่า “สุตฺตนามก ”ฯ ก็แลค าใดอันท่านกล่าวว่า “สคาถกตฺตา เคยฺยงฺคสงฺคโห สิยา” แม้ค านั้นย่อมไม่มี เพราะเหตุใด เพราะประกอบด้วยเหตุอย่างอื่น ก็สุตตะ ชื่อว่ามีคาถา เพราะอรรถว่า เป็นไปพร้อมด้วย คาถาฯชื่อว่าความเป็นไปพร้อมกัน ย่อมมีโดยความหมายอื่น อนึ่ง การอ้างพระสูตรบางส่วนที่พ้นจาก คาถาในมงคลสูตรเป็นต้นไม่มี ก็การรวบรวมอันใดอันท่านกล่าวว่า“สห คาถาหิ”ชื่อว่าการรวมตัวกัน นั้นหน่อยหนึ่งก็ไม่มีแม้ค าใดอันท่านกล่าวว่า “การสงเคราะห์ว่า เคยยะ แห่งการแสดงอ้างที่มีคาถา ในอุภโตวิภังค์เป็นต้นพึงมี” แม้ค านั้นหาใช่ไม่ เพราะมีได้โดยประการอื่น ๆ เพราะคาถาเหล่านั้นเป็น อย่างหนึ่งนั่นแล เหตุนับเนื่องในชาดกเป็นต้นฯ ความที่อุภโตวิภังค์เป็นต้นเป็นเคยยะ เพราะคาถา เหล่านั้นไม่มีแต่นี้ฯ พึงทราบว่า องค์แห่งสุตตะเป็นต้นไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันและกันอย่างว่ามานี้ฯ คณะผู้มีความช านาญมีท่านพระมหากัสสปะเป็นประธานก าหนดพุทธวจนะ โดยความ แตกต ่างแห่งธรรมและวินัยเป็นต้นว ่า “อย ธม ฺโม ฯเปฯ อย วินโย, อิมานิ จตุราสีติ ธม ฺมกฺชนธสหสฺสานิ” แล้วเมื่อจะสังคายนา ได้ก าหนดความที่ทีฆนิกายนี้เป็นพุทธวจนะในเบื้องต้นและท่ามกลาง เป็นต้น ในสังคีติที่ประดับด้วยความปรากฏแห่งความอัศจรรย์มากมาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแสดง โดยนัยว่า “เอวเมต อเภทโต” เป็นต้นฯ
๑๑๙ ๑. พรหมชาลสูตร พรรณนาปริพพาชกกถา อรรถกถาพรรณนานั้นพระอรรถกถาจารย์แสดงปฐมมหาสังคีติอย่างนี้แล้วจึงแสดงไว้ใน ที่นี้เพื่อประโยชน์ใด บัดนี้เพื่อจะแสดงประโยชน์นั้นด้วยสามารถแห่งค าลงท้าย(นิคม) จึงกล่าวค าว่า “อิมิสฺสา” เป็นต้นฯ [๑] ก็พระอรรถกถาจารย์แสดงพาหิรนิทานโดยทั่วไปแก่พรหมชาลสูตรด้วยค ามีประมาณ เท่านี้บัดนี้ เพื่อจะพรรณนาอัพภันตรนิทาน จึงกล่าวค าว่า “ตต ฺถ เอว ”เป็นต้นฯ อีกอย่างหนึ่ง พึงท า การพรรณนาโดยอาการ ๖ อย ่าง คือ โดยสัมพันธ์ โดยบท โดยการจ าแนกบท โดยอรรถ โดยการ ประกอบ และโดยการบริหารฯ บรรดาอาการ ๖ อย่างนั้น เทศนาสัมพันธ์ชื่อว่าสัมพันธ์ฯ ซึ่งชาวโลก กล่าวว่า “อุมฺมุคฺฆาโต”ฯ ก็สัมพันธ์นั้นพึงทราบด้วยสามารถแห่งนิทานบาลีในพระบาลีฯส่วนในนิทาน บาลี พึงทราบด้วยสามารถแห่งสังคีติ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์เมื่อจะท าการพรรณนาด้วย สามารถแห่งบทเป็นต้นจึงกล่าวค าว่า “เอวนฺติ นิปาตปท ”เป็นต้น เพราะสัมพันธ์ในนิทานบาลีอันท่าน เมื่อแสดงปฐมมหาสังคีติแสดงแล้วฯ ในค าว่า เมติอาทีนินี้กล่าวว่า อนฺตรา-ศัพท์และจ-ศัพท์เป็นบท นิบาต หรือว่า ไม่พึงกล่าวก็ได้ เพราะทั้งอนฺตรา-ศัพท์และจ-ศัพท์นั้นท่านถือเอาแล้วโดยการถือเอานัย เพราะรวมอา-ศัพท์และปฏิ-ศัพท์ที่เหลือจากนั้นไว้ด้วยอาทิ-ศัพท์ฯ พึงทราบความแปลกกันแห่งบทว่า ปทวิภาโคแต่ไม่ใช่การวิเคราะห์บทฯอีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า บทและการจ าแนกบท ชื่อว่าปทวิภาค อีกอย่างหนึ่งการวิเคราะห์บทและการจ าแนกบท ชื่อว่าปทวิภาค แม้บทและการวิเคราะห์บท พึง ทราบว ่า ท ่านกล ่าวด้วยปทวิภาค-ศัพท์ ด้วยสามารถแห่งเอกเสสสมาสฯ การวิเคราะห์บทในบท เหล่านั้นพึงทราบในบททั้งหลายต่างโดยบทว่า “ภิกขูน ส โฆ” เป็นต้นฯ บทว่า อต ฺถโตได้แก่ โดยเนื้อความแห่งบทฯก็พระอรรถกถาจารย์เมื่อแสดงเนื้อความแห่ง บทนั้นแห่งเอว -ศัพท์ก่อนตามล าดับแห่งการยกเนื้อความขึ้นอธิบายจึงกล่าวค าว่า “เอว -สท ฺโท ตาว” เป็นต้นฯ ด้วยอาทิ-ศัพท์ในค าว่า อวธารณาทินี้ พึงทราบการรวมเนื้อความมีปุจฉาและปริมาณเพื่อ ประโยชน์นี้ เป็นต้นฯ จริงอย่างนั้น ในความหมายของอิท -ศัพท์ ในค าว่า “เอว คตานิ, เอว วิโธ, เอวมา กาโร” เป็นต้น พึงทราบว่า เอว -ศัพท์ฯ ก็คต-ศัพท์ เป็นปริยายแห่งปการ-ศัพท์ฯวิธ-ศัพท์และอาการศัพท์ก็อย่างนั้นฯ จริงอย่างนั้น ชาวโลกกล่าวศัพท์ที่ถึงการประกอบเข้าด้วยวิธ-ศัพท์ลงในปการัตถะ (มี ความหมายว่า ปการะ)ฯ ในปุจฉามีว่า “อย่างนี้หรือหนอแล มิใช่หรือหนอแล อะไรหนอแล อย่างไร หนอแล” ๒๗๗ และว่า “ชนเหล่านั้นอาบน ้าดีแล้ว ลูบไล้ดีแล้ว ปลงผมและหนวดเสร็จแล้ว สวมมาลา และอาภรณ์แล้ว นุ่งห ่มผ้าขาวพร้อม คือพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ปรนเปรออยู่ ในบัดนี้ท่านเป็นผู้มี อาจารย์แม้ก็จริง ท่านโคดมผู้เจริญ ก็นี้หามิได้” เป็นต้นฯ และในปริมาณมีว่า “เป็นไปเร็วอย่างนี้ มี อายุเป็นที่สุดรอบอย่างนี้” เป็นต้นฯ ด้วยเอว -ศัพท์ ในค าว่า “เอว นุ โข, เอว สุ เต, เอวมายุปริยนฺโต” ๒๗๗ ขุ.จู. (ไทย) ๓๐/๑๘/๑๑๑.
๑๒๐ นี้เพราะท่านกล่าวอาการแห่งปุจฉาและอาการแห่งปริมาณ เอว -ศัพท์จึงมีอาการะเป็นอรรถนั่นแล หรือ เป็นอย่างนั้นก็หาไม่ฯ เพราะเป็นความแปลกกัน เพราะว่า เอว -ศัพท์ในค านี้บอกเพียงอาการ ท ่านประสงค์เอาว่า เป็นปการัตถะฯแต ่หาบอกความแปลกกันแห่งอาการ เหมือนในค าว่า “เอว พฺยาโข” ๒๗๘ เป็นต้นไม่ฯ ก็เพราะท าอธิบายอย่างนี้จึงเกิดตัวอย่างในอุปมาเป็นต้น มีว่า “เอว ชาเตน มจฺเจน” ๒๗๙ เป็นต้นฯ จริงอย่างนั้น ในค าว่า “ยถาปิฯเปฯ พหุ ” ๒๘๐ นี้ มาลาคุณคือกองดอกไม้นั่นเอง ชื่อว่าเป็นอุปมา เพราะส่องความว่า บุญกิริยาเป็นอันมากอันเช่นกับมาลาคุณโดยที่ตั้งแห่งกองดอกไม้ อันสัตว์ผู้ต้องตายเพราะมีสภาวะต้องตายพึงท า เพราะเป็นการรวมแห่งเหตุของบุญกิริยามีการเกิดเป็น มนุษย์การได้นั่งใกล้สัตบุรุษ การได้ฟังพระสัทธรรม โยนิโสมนสิการ และโภคสมบัติเป็นต้น เพราะ ประกอบด้วยคุณมีความงามและมีกลิ่นหอมเป็นต้นฯอาการคืออุปมาแห่งคุณเหล่านั้นท่านกล่าวแล้ว โดยไม่ได้ก าหนดด้วยยถา-ศัพท์เพราะเหตุนั้น เรื่องว่า เอว -ศัพท์มีเนื้อความย ้าอาการแห่งอุปมา ดังนี้ จึงควรแล้วฯ ก็อาการแห่งอุปมา (อุปมาการะ) นั้นเมื่อก าหนดรู้อยู่จัดเป็นอุปมาโดยความหมายนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อุปมาย อาคโต” (อุปมานี้มาแล้ว)ฯ อนึ่ง เมื่อความถึงพร้อมแห่งกิริยาอันสมควรแก่สมณะอันท่านแสดงอยู่ โดยนัยว่า “พึงก้าว ไป” ดังนี้เป็นต้นอย่างนี้คือโดยอาการนี้อาการใดเป็นอุปทิสนาการะในอากัปปกิริยานั้น อาการนั้น โดยความหมายได้แก่อุปเทสะนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า“เอว เต ฯเปฯ อุปเทเส”ฯ ก็ ในค าว่า เอวเมต ภควา, เอวเมต สุคตา นี้พึงการประกอบความว่าความร่าเริงคืออาการเบิกบาน โดย ประการแห่งคุณที่ปรากฏอยู่ในพุทธคุณนั้นอันชนทั้งหลายผู้รู้เนื้อความอันพระผู้มีพระภาคตรัสโดยไม่ วิปริตท าแล้วชื่อว่าสัมปหังสนะซึ่งเป็นอาการแห่งความร่าเริงในค านั้นเหมือนกันฯ ในค าว่า เอวเมว ปนาย นี้ พึงประกอบความว่า อาการแห่งการต าหนิฯ ก็อาการแห่งการต าหนินั้นรู้กันได้ว่า ท่าน ประกาศแล้ว ด้วยเอว -ศัพท์ในค านี้แต่การต าหนินั้นรู้กันได้ว่าท่านประกาศแล้วด้วยเอว -ศัพท์ในค านี้ แต่ความใกล้เคียงแห่งข สน-ศัพท์มีว่า “วสลิ(ชนถ่อย)” เป็นต้นฯ ในค านี้พึงทราบ ฉันใด แม้อาการ แห่งอุปมาเป็นต้นก็ฉันนั้น พึงเห็นว่า ท่านประกาศโดยใกล้เคียงปุปผาราสิ-ศัพท์เป็นต้น ที่ท่านกล่าว ด้วยสามารถแห่งอุปมาเป็นต้นฯ สองบทว่า เอวญ ฺจ วเทหิความว่า อาการแห่งการกล่าวว่า “ยถาห วเทมิ, เอว สมณ อานนฺท วเทหิ(ท่านจงกล่าวกะสมณอานนท์เหมือนที่เรากล่าว)”ดังนี้ที่ต้องกล่าวใน บัดนี้ ท่านแสดงด้วยเอว -ศัพท์ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีนิทัสสนะเป็นความหมายฯ แม้ในค าว่า เอว โน นี้ เมื่อตั้งค าถามว่า “ส วตฺตนฺติ โน วา,กถ โว เอตฺถ โหติ”ด้วยสามารถแห่งการถือเอาตามมติ เพื่อให้เกิดข้อตกลงในความที่ธรรมตามที่กล่าวนั้นน าสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลและความทุกข์มาให้ การ ตกลงใจในอาการนั้น จึงรู้กันได้ว่า ท่านให้ชัดเจนแล้วด้วยเอว -ศัพท์เพราะท่านกล่าวไว้ว่า “เอว โน เอตฺถ โหติ”ฯ ก็อาการแห่งความเป็นไปแห่งอาการที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ที่เป็นทุกข์แห่งธรรม เหล่านั้น เมื่อก าหนดตาม เป็นอวธารณัตถะ (มีอวธารณะ เป็นความหมาย) เพราะเหตุนั้น ท่านจึง ๒๗๘ วิ.มหา. (บาลี) ๒/๔๑๗/๑๐๖, วิ.จู. (บาลี) ๖/๖๕/๘๓, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๒๓๔/๑๙๖. ๒๗๙ ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๕๓/๒๖. ๒๘๐ ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๕๓/๒๖.
๑๒๑ กล่าวว่า “เอว โน เอต ฺถ โหตีติอาทีสุ อวธารเณ”ฯ ก็เอว -ศัพท์ในค าว่า เอว ภนฺเต นี้ท่านกล่าวว่า เป็นวจนสัมปฏิจฉนัตถะ (มีการรับค าเป็นความหมาย) เพราะท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งการรู้เฉพาะ ซึ่งความที่แห่งธรรมอันภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบพร้อมในการท าไว้ในใจ ซึ่งการฟังด้วยดีเป็นผู้ด ารง มั่นในธรรมนั้นของตน ด้วยเหตุนั้น จึงมีค ากล่าวว่า “เอว ภนฺเต, สาธุ ภนฺเต, สุฏฺฐฃุ ภนฺเต”ฯ บทว่า นานานยนิปุณ ความว่า นัยมีอย่างต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งประเภทมีอาธาระเป็น ต้น กล่าวคือความเป็นนัยอย่างเดียว ความเป็นนัยต่างๆความไม่ขวนขวายและความเป็นธรรมอย่าง นี้ หรือ ว่า กล่าวคือนัยแห่งเรื่องนันทิยาวัฏฏะ ติปุกขละ สีหวิกกีฬิตะ และอังกุสทิสาโลจนะ ชื่อว่านัย ต ่างๆ (นานานัย)ฯอีกอย ่างหนึ่ง นัยเป็นคติแห่งบาลีและคติแห่งบาลีนั้นมีประการต่าง ๆ ด้วย สามารถแห่งบัญญัติและอนุบัญญัติเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งธรรมที่มีในส่วนสังกิเลสเป็นต้น และเป็น โลกิยะเป็นต้น และผสมผสานทั้ง ๒ นั้นเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งกุศลเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งขันธ์ เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งสมยวิมุต (พ้นจากสมัย) เป็นต้น ด้วย สามารถแห่งฐปนะ (การตั้งไว้) เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งกุศลมูลเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งปัฏฐาน ๓ หมวดเป็นต้น เหตุนั้น จึงชื่อว่านานานัย (มีนัยต่างๆ)ฯ อันละเอียด คืออันไพเราะและสุขุมด้วยนัย ต่างๆ เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าอันละเอียดอ่อนโดยนัยต่าง ๆฯ อัธยาศัย ชื่อว่าอาสยะ ก็อาสยะ เหล่านั้นมีมากมายด้วยสามารถแห่งสัสสตะเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีธุลีในจักษุน้อย เป็นต้น ในบรรดาประเภทแห่งอาสยะนั้นฯ อีกอย ่างหนึ ่ง อัธยาศัยมีอัธยาศัยของตนเป็นต้นเป็น สมุฏฐาน คือเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งสูตรนั่น เพราะเหตุนั้น สูตรนั้น ชื่อว่ามีอัธยาศัยมากมายเป็นสมุฏฐานฯ บทว ่า อต ฺถพฺยญ ฺชนสมฺปนฺน ได้แก่ชื ่อว ่าบริบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะเพราะไม่มีส่วนที่ต้อง น าเข้าไปเพิ่มเติม อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอธิบายว่า มาตามพร้อมด้วยอรรถบท ๖ ประการ คือสังกา สนะ ปกาสนะ วิวรณะ วิภชนะ อุตตานีกรณะ และปัญญัตติและด้วยพยัญชนบท ๖ ประการ คือ อักขระ บท พยัญชนะ อาการะ นิรุตติและนิทเทสฯ อาจารย์ทั้งหลายกล่าววจนัตถะแห่งบทว่า ปาฏิหาริยะในค าว่า วิวิธปาฏิหาริย นี้ว่าชื่อว่า ปาฏิหาริย์เพราะน าไปซึ่งธรรมที่เป็นปฏิปักษ์คือเพราะพรากออกไปจากกิเลสมีราคะเป็นต้นฯ แต่ว่า พระผู้มีพระภาคหามีปฏิปักขธรรมอันมีราคะเป็นต้นที่ต้องน าออกไปไม่ฯ แม้ปุถุชนทั้งหลาย อิทธิวิธะ ย่อมเป็นไปในจิตที่ปราศจากอุปกิเลส ที่ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ ที่มีปฏิปักธรรมอันก าจัดได้แล้ว เพราะฉะนั้น ด้วยโวหารที่เป็นไปในค านั้นจึงไม่อาจกล่าวในที่นี้ได้ว่า “ปาฏิหาริย์”ฯแต่ถ้าว่า กิเลสอัน เป็นปฏิปักษ์ที่อยู่ในเวไนยสัตว์ของพระผู้มีพระภาคผู้ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาฯ ท่านก็กล่าวค า ว่า “ปาฏิหาริย ” เพราะประหารกิเลสเหล่านั้นได้แล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ ค านั้นก็ควรฯ อีกอย่างหนึ่ง เดียรถีย์ทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระผู้มีพระภาคและพระศาสนาฯ ท่านก็กล่าวว่า ปาฏิหาริย เพราะ น าไปซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์เหล่านั้นฯ เพราะว่า เดียรถีย์เหล่านั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรง น าไป คือน าไปปราศด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ด้วยสามารถน า ทิฏฐิออกไปและด้วยความที่เดียรถีย์เหล่านั้นไม่สามารถในการประกาศทิฏฐิได้ฯอีกอย่างหนึ่งศัพท์ว่า “ปฏิ” นี้ย่อมให้รู้ความหมายของศัพท์ว่า “ปจฺฉา” นั่น เหมือนในค าว่า “ตสฺมึ ปฏิปวิฏ ฺฐฃม ฺหิ, อญ ฺโญ
๑๒๒ อาคญ ฺฉิ พ ฺราห ฺมโณ” ๒๘๑ เป็นต้นฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าปาฏิหาริย์ เพราะอรรถว่า อันผู้ท ากิจ แล้วต้องน าไป คือให้เป็นไปภายหลัง ในจิตที่ตั้งมั่นและที่ปราศจากอุปกิเลสแล้ว อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ อุปกิเลสทั้งหลายของตนถูกน าไปด้วยจตุตถฌานและมรรคทั้งหลาย การน าออกไปภายหลัง ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ฯก็อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์อันผู้มีกิจอันท าแล้วผู้ ปราศจากอุปกิเลสพึงให้เป็นไปอีก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ฯ เมื่ออุปกิเลสของตนถูกน าออกไป แล้ว การน าอุปกิเลสทั้ของสัตว์อื่นออกไปย่อมมีได้เพราะเหตุนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ฯ ปฏิหาริยะนั่นเอง คือปาฏิหาริยะฯ อีกอย่างหนึ่ง อิทธิวิธะแต่ละอย่างมีในเพราะการรวมลงแห่งอิทธิอาเทศนา และ อนุสาสนีซึ่งเป็นปาฏิหาริย์ท่านจึงเรียกว่า “ปาฏิหาริย์”ฯ อีกอย่างหนึ่ง ปาฏิหาริย์ ได้แก่จตุตถฌาน และมรรค เพราะน าไปซึ่งธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ฯ ชื่อว่าปาฏิหาริย์ เพราะอรรถว่า เกิดในปาฏิหาริย์นั้น เป็นนิมิตในปาฏิหาริย์นั้น หรือมาจากปาฏิหาริย์นั้นฯ ก็ท ่านกล ่าวว ่า “วิวิธปาฏิหาริย ” เพราะ ปาฏิหาริย์นั้นมีมากอย่าง โดยประเภทแห่งฤทธิ์และโดยประเภทแห่งอารมณ์อันผู้ปฏิบัติได้ในเพราะ เทศนาของพระผู้มีพระภาคฯ บทว่า น อญ ฺญถาความว่า หาได้โดยประการอื่นจากอาการที่ฟังในที่เฉพาะพระพักตร์ของ พระผู้มีพระภาคไม่ฯแต่ก็ไม่ใช่จากอาการที่พระผู้มีพระภาคแสดงฯ เพราะว่าเทศนาของพระผู้มีพระ ภาคมีอานุภาพที่เป็นอจินไตยฯ ก็เพราะท าอธิบายอย่างนี้จึงส าเร็จค านี้ว่า “ใครสามารถเพื่ออันรู้โดย ประการทั้งปวงได้”ฯ ก็การแสดงก าลังแห่งความทรงจ า ชื่อว่าย่อมไม่ผิด เพราะประสงค์เอาความไม่ ผิดจากอาการที่ฟังมาฯ เพราะว่า ในค านี้ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงความเป็นเนื้อความอย่างอื่น เพราะแม้ทั้ง สองความหมายก็มีอารมณ์เดียวกันฯเมื่อถือเอาเนื้อความโดยประการนอกจากนี้พระเถระพึงถึงความ เป็นผู้ถูกกล่าวว่า ทั้งสามารถทั้งไม่สามารถในการรับเอาเทศนาของพระผู้มีพระภาคโดยประการทั้ง ปวงฯ เพราะเป็นไปในสันตติของตนกล่าวคือนิยกัชฌัตตะที่ท่านกล่าวอย ่างนี้ว ่า“โย ปโร น โห ติ, โส อตฺตา” เม-ศัพท์แม้ทั้ง ๓ ความหมายย่อมปรากฏในความหมายเดียวเท่านั้นแม้ก็จริงฯ ถึง อย่างนั้น ด้วยสามารถแสดงว่าเป็นกรณะสัมปทานะและสามีท่านจึงกล่าวหมายเอาถึงความแตกต่าง ที่มีอยู่ว่า “เมสท ฺโท ตีสุ อต ฺเถสุ ทิสฺสติ(เม-ศัพท์ ปรากฏใน ๓ ความหมาย)”ฯ อุปสัคท าให้กิริยาวิเศษขึ้นก็จริงถึงกระนั้น เพราะความเป็นโชตกะ แม้เมื่ออุปสัคนั้นมีอยู่ สุต-ศัพท์นั่นแลย่อมกล่าวตามเนื้อความนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น การถือเอาความที่มีอุปสัคในการขยาย ความของสุต-ศัพท์ที่ไม่มีอุปสัคก็ไม่ผิด ท่านเมื่อแสดงดังว่ามานี้จึงกล่าวว่า “สอุปสค ฺโค จ อนุปสค ฺโค จ”ฯ บทว่า อสฺส ได้แก่ แห่ง สุต-ศัพท์ฯ ในสุต-ศัพท์นี้เป็นได้ทั้งกัมมสาธนะและ ภาวสาธนะ เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อุปธาริตนฺติ วา อุปธารณนฺติ วา อต ฺโถ”ฯ หลายบทว่า มยาติ อต ฺเถ สติ ความว่า ในกาลที่ เม-ศัพท์แสดงเป็นกรณะด้วยสามารถเป็นกัตตา (ผู้ท า)ฯ หลายบทว่า มมาติ อต ฺเถ สติได้แก่ ในกาลที่แสดงเป็นสามีด้วยสามารถแห่งสัมพันธ์ฯ ๒๘๑ ขุ.สุ. (บาลี) ๒๕/๙๘๖/๕๒๕.
๑๒๓ เอว -ศัพท์ที่ประกอบในที่ใกล้แห่ง สุต-ศัพท์พึงเป็นส่วนที่ส่องกิริยาคือการฟัง เพราะเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า“เอวนฺติ โสตวิญ ฺญาณาทิวิญ ฺญาณกิจ ฺจนิทสฺสน ”ฯด้วยอาทิ-ศัพท์พึงทราบการ ถือเอาวิญญาณอันเป็นไปทางทวาร ๕ แห่งสัมปฏิจฉนจิตเป็นต้น และวิญญาณอันไปทางมโนทวาร อันสัมปฏิจฉนจิตนั้นน าไปฯ เพราะถ้อยค าแม้ทั้งปวงประกอบด้วยเนื้อความแห่ง เอว-อักษร บทว่า สุต นั่นจึงได้เนื้อความนี้ว่า สุตเมว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแสดงความไม่ยอมรับด้วยอวธารณะนั่นว่า “อสฺสวนภาวปฏิปกฺเขปโต”ฯ เหมือนอย่างว่าสุตะท่านก าหนดว่าสุตเมว ฉันใด สุตะนั้นย่อมเป็นสุตะ โดยชอบ ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อนูนาธิกาวิปรีตค ฺคหณนิทสฺสน ”ฯ อีกอย่างหนึ่งด้วย ค าว ่า “ด้วยสามารถแห่งการยกเนื้อความศัพท์อื ่น ศัพท์ย ่อมกล ่าวถึงความหมาย”ศัพท์จึงได้ ความหมายนี้ว ่า บทว ่า ส ุต ความว่าอส ุต น โหติ(ไม ่ใช่ไม่ได้ฟัง) เพราะเหตุนั้น ท ่านจึงกล ่าวว่า “อสฺสวนภาวปฏิกฺเขปโต” ด้วยค านี้ท่านท าการห้ามทิฏฐิเป็นต้นฯ มีค าที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า พระสูตรนี้ข้าพเจ้าไม่เห็นเอง ไม่ได้ท าให้แจ้งด้วยสยัมภูญาณ ที่แท้แลข้าพเจ้าได้ฟังมาฯก็แลพระสูตร นั้นข้าพเจ้าฟังมาโดยชอบนั่นแลฯ ด้วยเหตุนั่นแลท่านจึงกล่าวว่า “อนูนาธิกาวิปรีตคฺคหณนิทสฺสน ”ฯ อีกอย่างหนึ่ง ในเอว -ศัพท์ที่ใช้ในอรรถอวธารณะท่านท าอรรถโยชนาดังนี้เพราะเหตุนั้น สุต-ศัพท์ซึ่ง เพ่งถึงอรรถอวธารณะนั้นจึงมีเนื้อความที่ท่านกล่าวว่า “อสฺสวนภาวปฏิกฺเขปโต”ฯ ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า “อนูนาธิกาวิปรีตคฺคหณนิทสฺสฺน ”ฯ ก็สวน-ศัพท์ในค านี้พึงทราบว่ามีความหมายเป็น กรรม ว่าอันบุคคลย่อมฟังฯ พระอรรถกถาจารย์แสดงอรรถโยชนาของบท ๓ บท ด้วยสามารถเหตุแห่งการฟัง บุคคล ผู้ฟัง และความแตกต่างของการฟัง โดยประการเดียว บัดนี้เพื ่อจะแสดงอรรถโยชนานั้น แม้โดย ประการอื่น ๆ จึงกล่าวค าว่า “ตถา เอว ” เป็นต้นฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสา ได้แก่ แห่งวิถี ของวิญญาณทางมโนทวารอันเป็นไปโดยอาการฟังธรรมในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค นั้นฯ ก็วิถีแห่งวิญญาณทางมโนทวารนั้นสามารถเป็นไปในอารมณ์โดยประการต่าง ๆ ฯ อนึ่ง ค าว่า “โสตท ฺวารานุสาเรน” ท่านก็กล่าวไว้อย่างนั้นฯ บทว่า นานป ฺปกาเรน ได้แก่ โดยอาการต่าง ๆ แห่ง การถือเอาเนื้อความโดยพยัญชนะที่อธิบายได้หลายนัยอันจะกล่าวถึงฯ ด้วยบทว่า นานป ฺปกาเรน นั่น ท่านแสดงว่า เอว -ศัพท์ที่มีอรรถเป็นอาการะท่านถือเอาเนื้อความแห่งโยชนานี้ฯ บทว่า ปวต ฺติ- ภ าวปฺปกาสน ได้แก ่ ประกาศความเป็นไปว ่ามีอยู ่ฯ ด้วยค าว ่า “ส ุตนฺติ ธม ฺมปฺปกาสน ”วิถีแห่ง วิญญาณที่มีประการดังกล่าวเป็นไปแล้วในอารมณ์ใดโดยประการต่างๆ ฯ เพราะความที่อารมณ์นั้น เป็นธรรมท ่านจึงกล ่าวค านี้ไว้ฯ ไม ่ใช ่กล ่าวเพราะความที่สุต-ศัพท์มีอรรถเป็นธรรมฯ ค าว่า “อยเญฺหตฺถ”เป็นต้น เป็นการท าเนื้อความที ่กล ่าวแล้วนั่นแลให้ปรากฏชัดฯ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิญ ฺญาณวีถิยา เป็นตติยาวิภัติใช้ในอรรถกรณะฯ บทว่า มยา ใช้ในอรรถกัตตุ (ผู้ท า)ฯ ท ่านกล ่าวระบุถึงเอว -ศัพท์ที่มีอรรถเป็นนิทัสสนะว ่า “เอวนฺติ นิทฺทิสิตพฺพปฺปกาสน ” เพราะศัพท์ที่ต้องแสดงไขไม่มีความเป็นสิ่งที่ต้องแสดงไข ด้วยเอว -ศัพท์นั่นท่านแสดงว่า พระสูตรแม้ ทั้งหมดจับต้องได้ฯ เพราะสุต-ศัพท์เป็นศัพท์กิริยา และเพราะกิริยาคือการฟังเกี่ยวเนื่องด้วยความ ติดต่อกันระหว่างสาธารณวิญญาณ และในค านั้นได้โวหารว่าบุคคลเพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า
๑๒๔ “สุตนฺติ ปุค ฺคลกิจ ฺจป ฺปกาสน ”ฯ ความว่า ก็กิริยาคือการฟังอันใคร ๆ ย่อมไม่ได้ในความเกี่ยวเนื่องกัน แห่งธรรมอันเว้นจากโวหารว่าบุคคลฯ แม้ค าว่า “ยสฺส จิต ฺตสนฺตานสฺส” เป็นต้นท่านก็กล่าวเพื่อแสดงอรรถโยชนาโดยประการ อื่นจากโยชนาก่อน ระบุถึงเอว -ศัพท์ ที่มีอาการะเป็นอรรถเหมือนกันฯ อุปาทาบัญญัตินั้นเอง ชื่อว่า อาการบัญญัติในค านั้นฯ บัญญัตินั้นท่านกล่าวอย่างนั้นด้วยสามารถแห่งอาการอุปาทานคือความ เป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายฯ ท่านกล่าวค าว่า“สุตนฺติ วิสยนิท ฺเทโส”เพราะท าอธิบายว่า ธรรมอันเป็น ธรรมที่พึงฟังเป็นฐานะแห่งความเป็นไปของบุคคลผู้ท ากิริยาคือการฟังด้วยสามารถแห่งกิริยาคือการ ฟังฯ แม้เมื่อใคร ๆ ผู้พ้นแล้วจากจิตตสันดานไม่มีการท าโดยปรมัตถ์โดยศัพท์โวหาร ท่านท าผู้อื่นจาก จิตตสันดานให้เป็นเหมือนพรั่งพร้อมด้วยจิตตสันดานนั้น เพราะต้องการค าพูดที่แตกต่างกัน ซึ่ง ก าหนดได้ด้วยความรู้แล้วจึงกล่าวค าว่า “จิต ฺตสนฺตาเนน ต สมง ฺคิโน”ฯ ท่านกล่าวค าว่า “ต สมง ฺคิโน กต ฺตุ วิสเย” เพราะท าอธิบายว่า ธรรมที่พึงฟังแม้มีกิริยาคือการฟังเป็นวิสัย (อารมณ์) ชื่อว่าเป็นวิสัย อันท ากิริยาคือการฟังนั้นเพราะจิตตสันดานที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งกิริยาคือการฟัง เป็นผู้ท าโดย ปรมัตถ์ในค านี้หรือว่า เพราะความเป็นไปแห่งจิตด้วยอ านาจแห่งการฟังเป็นกิริยาคือการฟังนั่นเองฯ ท่านกล่าวค าว่า “คหณสนฺนิฏ ฺฐฃาน ”เพราะพระเถระผู้มีอาการอันตนฟังแล้วเป็นผู้ไม่ปรารถนาโดย ชอบฯ อีกอย่างหนึ่ง ด้วยค านั้นพึงทราบว่า ท่านท าอรรถโยชนานี้ระบุถึงเอว -ศัพท์ ที่มีอวธารณะเป็น อรรถฯ เอว -ศัพท์ อันมีสภาวะประกาศอาการะ นิทัสสนะ หรือว่าอวธารณะซึ ่งมีรูปรองรับ อรรถะและพยัญชนะกล่าวคือสุตตะที่ประกอบด้วยนัยต่าง ๆ ที่ฟังแล้วในก่อน เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล ่าวค าว่า “เอวนฺติ ปุคฺคลกิจ ฺจนิท ฺเทโส”เพราะการรองรับอาการนั้นเป็นต้นมีความขวนขวาย ต่อเนื่องในธรรมอันเป็นอุปทานต่อปุคคลบัญญัติฯก็แม้บุคคลผู้มีการกล่าวเป็นปกติกิริยาคือการฟังที่ ไม่เพ่งถึงวิญญาณย่อมไม่มีเพราะเหตุนั้น จึงมีความขวนขวายในวิญญาณโดยพิเศษ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า“สุตนฺติ วิญ ฺญาณกิจ ฺจนิท ฺเทโส”ฯเพราะความเป็นไปแห่งศัพท์ว่า เม เป็นวิสัยของสัตว์ โดยส่วนเดียวอย่างแน่นอน และเพราะวิญญาณกิจอันพึงบันเทิงพร้อมในวิสัยนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าว ค าว่า “เมติ อุภยกิจ ฺจยุต ฺตปุค ฺคลนิท ฺเทโส”ฯ ความหมายแห่งเอว -ศัพท์และสุต-ศัพท์ตามล าดับ มี สภาวะเป็นอวิชชมานบัญญัติและวิชชมานบัญญัติเพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์เมื ่อแสดง ความหมายเหล่านั้นโดยความขวนขวายในอุปาทาบัญญติมีรูปอย่างนั้น จึงกล่าวว่า “เอวนฺติ ป ุค ฺคลกิจ ฺ จานิท ฺเทโส, สุตนฺติ วิญ ฺญาณนิท ฺเทโส”ฯ ก็ในค านี้พึงทราบว่า ท่านแสดงอรรถโยชนาไว้ ๔ อย่างมี โยชนามีที่ ๒ เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งการประกาศความแปลกกันแห่งกิริยาคือการท า กัตตุ และ กรรม ด้วยสามารถแสดงวิสัยแห่งความขวนขวายของบุคคลและความขวนขวายแห่งบุคคล ด้วย สามารถแห่งการแสดงความแปลกกันแห่งอาการถือเอาและวิสัยนั้นแห่งบุคคลผู้รับเอา และด้วย สามารถแห่งการแสดงการท าคือกัตตุและท าความขวนขวาย
๑๒๕ เพราะอรรถแม้ทั้งหมดที่พึงเข้าใจได้ด้วยศรัทธา ที ่ต้องปฏิบัติโดยมุ่งถึงบัญญัตินั ่นแล และเพราะบัญญัติทั้งหมดหยั่งลงภายในประเภทแห่งบัญญัติ ๖ ประเภทด้วยสามารถแห่งวิชชมาน บัญญัติเป็นต้น พระอรรถกถาจารย์เมื่อชี้แจ้งโดยสรุปบัญญัติซึ่งมีว่า “เอว ” เป็นต้น ในบรรดาบัญญัติ เหล่านั้นจึงกล่าวค าว่า “เอวนฺติ จ เมติ จ”เป็นต้นฯ บรรดาบัญญัติเหล่านั้นความที่อรรถอันมีอาการะ เป็นต้นที่กล่าวอยู่ว่า “เอวนฺติ จ เมติ จ”และความที่ธรรมทั้งหลายเป็นอวิชชมานบัญญติโดยไม่มี ลักษณะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สจ ฺฉิกฏ ฺฐฃปรมต ฺถวเสน อวิชฺชมานปญ ฺญต ฺติ”ฯ บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า สจ ฺฉิกฏ ฺฐฃปรมต ฺถวเสน ได้แก่ด้วยสามารถแห่งเนื้อความที่เป็นจริงและเนื้อความที่ สูงสุดฯ มีค ากล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่าอรรถใดเป็นอรรถที่ไม่เป็นจริง เหมือนมายาและพยับแดดเป็นต้น อรรถนั้นเป็นเหมือนพึงถือเอา (เชื่อ) ด้วยการฟังตามเป็นต้น แต่ไม่ใช่อรรถอันสูงสุดฯ อรรถนั้นมีรูป และเสียงเป็นต้นเป็นสภาวะ หรือว่ามีการแตกสลายและการเสวยอารมณ์เป็นต้นเป็นสภาวะ ท่าน เรียกว่า “อรรถอันเป็นจริง และเรียกว่าอรรถอันยอดเยี่ยม” อรรถของบทว่า เอว เม หาเป็นอย่างนั้น ไม่ เพราะเหตุนั้น เพื่อจะท าอรรถนั้นนั่นแลให้ปรากฏชัดกว่า ท่านจึงกล่าวค าว่า “กิเญ ฺหต ฺถ ต ” เป็น ต้นฯ ก็ท่านกล่าวว่า “วิชชฺมานปญ ฺญต ฺติ” หมายเอาสัททายตนะว่าสุต ฯ ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึง กล่าวว่า “ยญ ฺหิ ต เอต ฺถ โส เตน อุปลท ฺธ ”แต่เมื่อกล่าวว่า“โสตทฺวารานุสาเรน อุปลทฺธ ”ย่อมได้ครบ ทุกอย่างมีทั้งอรรถะและพยัญชนะเป็นต้นฯ หลายบทว่าต ต อุปาทาย วต ฺตพ ฺพโต ความว่า เพราะต้อง กล่าวค าว่า “เอว ” ด้วยสามารถคลุมความถึงอาการแห่งอรรถเหล่านั้น ที่จ าไว้ได้เป็นต้นเทียบคียงถึง ธรรมที่มาสู่คลองแห่งโสตะและจ าต้องกล่าวค าว่า “เม” ด้วยเทียบเคียงขันธ์ที่นับเนื่องด้วยธรรมที่มี สันตติฯ สุตโวหาร (การกล่าวสุตะ) แม้ที่เป็นไปในสัททายตนะอันเว้นจากสภาวะมีการเห็นเป็นต้นก็ เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่เพ่งถึงล าดับมีที่ ๑ เป็นต้น เหมือนโวหารว่า “ที่ ๒ ที่ ๓” เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า“ทิฏ ฺฐฃาทีนิ อุปนิธาย วต ฺตพ ฺพโต”ฯก็ค าว่าอสุต น โหติ มีเนื้อความอัน ท่านประกาศแล้วด้วยบทว่า “สุต ” ดังนี้แลฯ ความแปลกกันแห่งปการะ แห่งสุตตะอันตนแทงตลอดแล้วอันพระเถระจับต้องได้แล้วว่า “เอว ” เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อสม ฺโมห ทีเปติ”ฯ ด้วยค าว่า “นานป ฺปการปฏิเวธสมต ฺโถ โหติ” นั่น ท่านแสดงว่าพระสูตรที่จะกล่าวมีประการต่างๆและแทงตลอดได้โดยยากฯ ท่านกล่าวค า ว่า “สุตสฺส อสม ฺโมส ทีเปติ” เพราะอาการที่ฟังมาถูกแสดงตามเป็นจริงฯ บทว่า อสม ฺโมเหน ได้แก่ เพราะไม่มีความหลงพร้อมฯ อีกอย่างหนึ่ง ความส าเร็จแห่งปัญญาในกาลถัดจากนั้นย่อมมีด้วยปัญญา นั่นเอง ซึ่งเกิดมีในกาลที่ฟังฯ แม้ในค าว่า อสม ฺโมเสน ก็ควรกล่าวอย่างนั้นฯ อาการะแห่งพยัญชนะที่ พึงรู้แจ้งไม่ลึกซึ้งจนเกินไป ความทรงจ าตามที่ฟังมานั่นแลควรท าในอาการนั้น เพราะเหตุนั้น ความ ขวนขวายด้วยสติจึงยิ่งใหญ่ฯ ปัญญาก็มีคุณในความขวนขวายนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวค าว่า “ปญ ฺญาปุพ ฺพง ฺคมาย”เป็นต้น เพราะท าอธิบายว่า ปญ ฺญาย ปุพ ฺพง ฺคมา ก็ความที่ปัญญาถึงก่อนเป็น ความที่เป็นประธานในค านี้เหมือนในค าว่า “มโนปุพฺพงฺคมา”เป็นต้นฉะนั้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อความที่ ปัญญาเป็นส่วนถึงก ่อนไม่เป็นประธานเหมือนความที ่อาวัชชนจิตเป็นต้นไม ่เป็นประธานในจักขุ วิญญาณจิตเป็นต้น ความส าเร็จนั้นจึงมีปัญญาเป็นส่วนถึงก่อน เพราะเหตุนั้น แม้เนื้อความนี้ก็ถูกต้องฯ