The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สีลขันธวรรคฎีกา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ไอ ติม, 2024-01-14 23:28:52

สีลขันธวรรคฎีกา

สีลขันธวรรคฎีกา

Keywords: สีลขันธวรรคฎีกา

๒๖ ขันธวรรคฎีกาได้น าหลักการสมาสในบาลีไวยากรณ์มาใช้ในประกอบศัพท์เพื่อให้ศัพท์สั้นกระชับไม่ รุงรัง และเพื่ออธิบายค าศัพท์ให้ชัดเจนมากขึ้น จะอย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นการใช้สมาสในสีล ขันธวรรคฎีกา ผู้เรียบเรียงจะได้ยกตัวอย่างพอให้เห็นภาพดังนี้ - สพฺพธมฺมกุสโล๖๘ (ภิกฺขุ) แปลว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง เป็นสมาสท้องมีการท า ตัวรูปดังนี้ วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ. สพฺโพ ธมฺโม สพฺพธมฺโม ธรรมทั้งปวง ชื่อว่า สัพพธัมมะ ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ. สพฺพธมฺเมสุ กุสโล สพฺพธมฺมกุสโล (ภิกฺขุ) ภิกษุผู้ฉลาดในธรรมทั้ง ปวง ชื่อว่า สัพพธัมมกุสละ - ทิฏฺฐฃธมฺมิกสมฺปรายิกปรมตฺถส หิตหิตาวห ๖๙ (ธมฺม ) แปลว่า ซึ่งธรรมอันน าซึ่งประโยชน์ เกื้อกูลที่ประกอบด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ เป็น สมาสท้องและเป็นตัทธิต มีการท าตัวรูปดังนี้ ตรัตยาทิตัทธิต ลง ณิก ปัจจัย วิ. ทิฏฺฐฃธมฺเม ปวตฺโต ทิฏฺฐฃธมฺมิโก (อตฺโถ) ประโยชน์อัน เป็นไปแล้วในปัจจุบัน ชื่อว่า ทิฏฐธัมมิกะ ตรัตยาทิตัทธิต ลง ณิก ปัจจัย วิ. สมฺปราเย ปวตฺโต สมฺปรายิโก (อตฺโถ) ประโยชน์อัน เป็นไปแล้วในภพหน้า ชื่อว่า สัมปรายิกะ วิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส วิ. ทิฏฺฐฃธม ฺมิโก สม ฺปรายิโก ปรโม อต ฺโถ ทิฏฺฐฃธมฺ มิกสมฺปรายิกปรมตฺโถ ประโยชน์อันเป็นไปในปัจจุบัน อันเป็นไปในภพหน้า และอย่างยิ่ง ชื่อว่า ทิฏฐ ธัมมิกสัมปรายิกปรมัตถะ ตติยาตัปปุริสสมาส วิ. ทิฏฺฐฃธมฺมิกสมฺปรายิกปรมตฺเถน ส หิต ทิฏฺฐฃธมฺมิกสมฺปรายิกปรมตฺถ ส หิต (หิต ) ประโยชน์เกื้อกูลอันประกอบด้วยประโยชน์อันเป็นไปในปัจจุบัน อันเป็นไปในภพหน้าและ อย่างยิ่ง ชื่อว่า ทิฏฐธัมมิกสัมปรายิกปรมัตถสังหิตะ วิเสสนบ ุพพบท กัมมธา รยสม าส วิ. ทิฏ ฺฐฃธม ฺมิกสม ฺป ร ายิกป รมต ฺถส หิต หิต ทิฏฺฐฃธมฺมิกสมฺปรายิกปรมตฺถส หิตหิต ประโยชน์เกื้อกูลอันประกอบด้วยประโยชน์อันเป็นไปในปัจจุบัน อันเป็นไปในภพหน้าและอย่างยิ่ง ชื่อว่า ทิฏฐธัมมิกสัมปรายิกปรมัตถสังหิตะหิตะ ๖๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๖๒/๒๖๒. ๖๙ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๕๕/๓๕๖.


๒๗ ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส วิ. ทิฏฺฐฃธมฺมิกสมฺปรายิกปรมตฺถส หิตหิตสฺส อาวห ทิฏฺฐฃธมฺมิกสมฺปรายิกปรมตฺถส หิตหิตาวห (ธมฺม ) ธรรมอันน ามาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลอันประกอบด้วยประโยชน์อันเป็นไปใน ปัจจุบัน อันเป็นไปในภพหน้าและอย่างยิ่ง ชื่อว่า ทิฏฐธัมมิกสัมปรายิกปรมัตถสังหิตะหิตาวหะ ๗.๑๑ การใช้ตัทธิตในสีลขันธวรรคฎีกา ตัทธิตเป็นส ่วนหนึ ่งของบาลีไวยากรณ์ที ่มุ่ง น าเสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื ่องกระบวนการตัดต่อค าศัพท์ให้สั้นลง เช ่น สฺยาเม ชาโต เป็น สฺยามิโก แปลว่า ชนผู้เกิดในเมืองสยามเป็นต้น๗๐ สีลขันธวรรคฎีกาได้น าหลักการตัทธิตในบาลีไวยากรณ์มาใช้ เพื่ออธิบายค าศัพท์และวิเคราะห์ค าศัพท์ให้ลึกซึ้ง โดยมีตัวอย่างดังนี้ - เอกจฺจสสฺสติกา มีรูปวิเคราะห์ว่า โส เอเตส อตฺถีติ เอกจฺจสสฺสติกา (ชนา) แปลว่า เอกัจจสัสสตวาท มีอยู่แก่ชนเหล่านั้น เหตุนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า เอกัจจสัสสติกา ๗๑ ลง อิก ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต - รูปี มีรูปวิเคราะห์ว่า ต เอตสฺส อตฺถีติ รูปี (อตฺตา) แปลว่า รูปนั้นมีอยู่แก่อัตตานั้น เหตุ นั้น อัตตานั้น จึงชื่อว่า มีรูป๗๒ ลง อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต - สมฺปชญฺญ มีรูปวิเคราะห์ว่า สมฺปชานสฺส ภาโว สมฺปชญฺญ แปลว่า ความเป็นแห่งความ เป็นผู้รู้ชัด ชื่อว่า สัมปชัญญะ๗๓ ลง ณฺย ปัจจัย ในภาวาทิตัทธิต - สีลวา มีรูปวิเคราะห์ว่า ยมนิยมลกฺขณ สีลมสฺ อตฺถีติ สีลวา (ภิกฺขุ) แปลว่า ศีลอันมีการ ก าหนดความส ารวมเป็นลักษณะมีอยู่แก่ภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า ผู้มีศีล๗๔ ลง วนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต ๘. การศึกษาเนื้อหาและประมวลเนื้อหาที่ส าคัญในสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันวรรคฎีกาเป็นคัมภีร์ที่น าเนื้อหาในสีลขันธวรรคอรรถกถามาอธิบาย โดยน าค าศัพท์ มาอธิบายในเชิงไวยากรณ์บ้าง น าค าศัพท์มาอธิบายในเชิงการให้ความหมายบ้าง น าประโยคมา อธิบายให้เกิดความชัดเจนบ้าง รวมถึงน าค าศัพท์มาอธิบายขยายความในเชิงพรรณนาบ้าง แต่โดย ภาพรวมแล้ว สีลขันวรรคฎีกาจะเน้นการอธิบายค าศัพท์และประโยคเป็นหลัก เนื้อหาของสีลขันวรรค ฎีกาจึงไม่มีความต่อเนื่องหรือเนื้อหาค่อนข้างกระท่อนกระแท่น ฉะนั้น การที่เราจะศึกษาหรือท าความ ๗๐ บุญสืบ อินสาร, แนะน าการเรียนการสอน วิชาบาลีไวยากรณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์ และท าปกเจริญผล, ๒๕๕๔), หน้า ๑๑๒. ๗๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๘/๑๘๕. ๗๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗๖-๗๗/๒๐๘. ๗๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๔/๒๙๖. ๗๔ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๐๓/๓๘๔.


๒๘ เข้าใจสีลขันวรรคฎีกาโดยไม ่น าพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนที ่ว่าด้วยสีลขันธวรรค หรือ สีล ขันธวรรคอรรถกถา มาเปิดควบคู่ไปด้วย คงยากที่จะเข้าใจ ดังนั้น ในการศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์ เนื้อหาในสีลขันธวรรคฎีกา ผู้แปลจะประมวลเนื้อหาจากพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนว่าด้วยสีล ขันธวรรคมาร้อยเรียงเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวม ต่อจากนั้น ผู้แปลจะวิเคราะห์เนื้อหาในพระสูตรนั้น ๆ โดยใช้สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ดังมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๘.๑ การศึกษาเนื้อหาที่ส าคัญในคันถารัมภกถา พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค อรรถกถา เป็น คัมภีร์อธิบายเนื้อหาเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในหัวข้อธรรมมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ก่อนท่านจะอธิบายเนื้อหา ท่านได้นอบน้อมพระรัตนตรัย โดยประพันธ์เป็นคาถาไว้ว่า กรุณาสีตลหทย ปญฺ าปชฺโชตวิหตโมหตม สนรามรโลกครุ วนฺเท สุคต คติวิมุตฺต พุทฺโธปิ พุทฺธภาว ภาเวตฺวา เจว สจฺฉิกตฺวา จ ย อุปคโต คตมล วนฺเท ตมนุตฺตร ธมฺม สุคตสฺส โอรสาน ปุตฺตาน มารเสนมถนาน อฏฺ นฺนมฺปิ สมูห สิรสา วนฺเท อริยสงฺฆ อิติ เม ปสนฺนมติโน รตนตฺตยวนฺทนามย ปุญฺ ย สุวิหตนฺตราโย หุตฺวา ตสฺสานุภาเวน๗๕ฯ ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆสาจารย์) ขออภิวาทพระสุคต ผู้หลุดพ้นจากคติด้วยดีมีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณาธิคุณ ทรงก าจัดความมืดคือโมหะ ด้วยแสงสว่างคือปัญญา ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ขอน้อมบูชาพระธรรมอันอุดม ปราศจากมลทิน ที่พระพุทธเจ้าทรงบ าเพ็ญกระท าให้แจ้งบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว และขอนมัสการพระอริยสงฆ์ผู้เป็นหมู่แห่งบุคคล ๘ จ าพวก ผู้ก าจัดมารและเสนามารได้แล้ว ผู้เป็นโอรสของพระสุคตเจ้า บุญใดที่เกิดจากการนอบน้อมพระรัตนตรัยนี้ จงเกิดมีแก่ข้าพเจ้าผู้มีจิตเลื่อมใส ๗๕ ที.สี.อ.(บาลี) ๑/๑/๑.


๒๙ ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปราศจากอันตราย ฯลฯ๗๖ ดังนั้น พระฎีกาจารย์ผู้แต่งสีลขันธวรรคฎีกาจึงได้อธิบายว่า การรจนาคัมภีร์จ าเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องกล่าวพรรณนาคุณของพระรัตนตรัย โดยมีเหตุผล ดังนี้ ๑. เพื่อประกาศความบริสุทธิ์อันมีพระธรรมเป็นแดนเกิด ๒. เพื่อให้ผู้รจนาเกิดความวิริยอุตสาหะในการรจนาคัมภีร์ ๓. เพื่อให้ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขที่ส าเร็จด้วยสัมมาปฏิบัติ ๔. เพื่อความเป็นมงคลในการด าเนินงาน ๕. เพื่อประพฤติปฏิบัติตามแนวทางของบุรพาจารย์ที่ท่านเคยปฏิบัติมา ๖. เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ถือเอาเป็นแบบอย่าง ๗. เพื่อให้เกิดบุญพิเศษที่เกิดจากการบูชาพระรัตนตรัย ๘. เพื่อให้การงานนั้นไม่หยุดชะงักในระหว่าง ๙. เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายในระหว่างประมวลคัมภีร์๗๗ พร้อมกันนั้น ในคัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกา ปรากฏค าอธิบายพระรัตนตรัยและคุณของพระ รัตนตรัยผ่านการวิเคราะห์ศัพท์และขยายความศัพท์ดังนี้ - ศัพท์ว่า มหากรุณาสีตลหทย เป็นคุณของพระพุทธเจ้า มีการวิเคราะห์ว่า เอสา หิ ปรทุกฺขาปนยนกามตาลกฺขณา อตฺตสุขนิรเปกฺขตาย การุณิกาน สุข รุนฺธติ วิพนฺธตีติ. กรุณาย สีตล กรุณาสีตล , กรุณาสีตล หทย อสฺสาติ กรุณาสีตลหทโย, ต กรุณาสีตลหทย . แปลว่า ก็กรุณานี้มีความ เป็นผู้ใคร่เพื่ออันน าไปซึ ่งความทุกข์ของผู้อื ่นเป็นลักษณะ จึงปิดกั้น คือรึงรัดซึ่งความสุขของชน ทั้งหลายที่ประกอบด้วยกรุณา เพราะไม่มุ่งแต่ความสุขเพื่อตนเอง. ความเย็นด้วยกรุณา ชื่อว่ากรุณา สีตละ, พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีพระหทัยที่เย็นด้วยพระกรุณา เพราะเหตุนั้น จึงทรงชื่อว่า กรุณาสีตลหทยะ, ซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีพระหทัยเย็นด้วยพระกรุณานั้น.๗๘ - ศัพท์ว่า “ปญฺญาปชฺโชตวิหตตโมตม ” มีการวิเคราะห์ว่า ปชานาตีติ ปญฺญา, ยถาสภาว ปกาเรหิ ปฏิวิชฺฌตีติ อต ฺโถ. ปญ ฺญา ว เญย ฺยาวรณปฺปหานโต ปกาเรหิ ธม ฺมสภาวาวโชตนฏฺเฐฃน ปชฺโชโตติ ปญฺญาปชฺโชโต, สวาสนปฺปหานโต วิเสเสน หต สมุคฺฆาฏิต วิหต , ปญฺญาปชฺโชเตน วิหต ปญ ฺญาปชฺโชตวิหต . มุย ฺหนฺติ เตน, สย วา มุย ฺหติ, โมหนมตฺตเมว วา ตนฺติ โมโห, อวิชฺชา,สฺเวว วิสยสภาวปฏิจฺฉาทนโต อนฺธการสริกฺขตาย ตโม วิยาติ ตโม, ปญฺญาปชฺโชตวิหโต โมหตโม เอตสฺสาติ ๗๖ ที.สี.อ. (ไทย) ๑/๑/๑. ๗๗ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑. ๗๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓.


๓๐ ปญฺญาปชฺโชตวิหตโมหตโม, ต ปญฺญาปชฺโชตวิหตโมหตม . แปลว่า ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ทั่ว อธิบายว่า รู้แจ้งตามสภาวะ โดยประการทั้งหลาย. ชื่อว่าปัญญา เพราะละธรรมเครื่องขวางกั้นซึ่งธรรม ที่ควรรู้ ชื่อว่าปัชโชตะ เพราะอรรถว่ารุ่งเรืองโดยสภาวธรรมโดยประการทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ ว่าปัญญาปัชโชตะ,ความมืดถูกก าจัดได้โดยพิเศษเพราะละกิเลสพร้อมทั้งวาสนา คือเพิกถอนได้ ได้แก่ ขจัดให้ราบคาบไปได้ ความมืดถูกขจัดให้ราบคาบไปได้ด้วยปัญญาปัชโชตะ ชื่อว่าปัญญาปัชโชตวิหตะ. ชื่อว่าโมหะ เพราะเป็นเหตุหลงแห่งสัตว์ หรือหลงเอง หรือเป็นตัวหลงมัวเมานั่นเอง ได้แก่อวิชชา, โมหะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าตมะ (ความมืด) เพราะเป็นเหมือนความมืดเพราะเห็นเสมอด้วยอันธการ โดย ปกปิดวิสัยสภาวะ ชื่อว่าผู้มีความมืดคือโมหะอันถูกก าจัดได้แล้วด้วยปัญญาปัชโชตะ เพราะอรรถว่ามี ความมืดคือโมหะอันถูกก าจัดได้แล้วด้วยปัญญาปัชโชตะ,ซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีความมืดคือโมหะ อันถูกก าจัดได้แล้วด้วยปัญญาปัชโชตะ (ประทีปอันโพลงทั่วคือปัญญา) พระองค์นั้น.๗๙ - ศัพท์ว่า “สนรามรโลหครุ” เป็นคุณของพระพุทธเจ้า มีการวิเคราะห์ว่า นรา จ อมรา จ นรามรา, สห นรามเรหีติ สนรามโร, สนรามโร จ โส โลโก จาติ สนรามรโลโก, ตสฺส ครุติ สนรามรโลก ครุ, ต สนรามรโลกครุ. แปลว่า ชนและเทวดา ชื่อว่านรามระ (ชนและเทวดา), ผู้ใดเป็นไปกับด้วยชน และเทวดา เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า สนรามระ (ผู้เป็นไปกับด้วยชนและเทวดา), โลกนั้นด้วย เป็นไป กับด้วยชนและเทวดาด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสนรามรโลกะ, ครูของโลกที่เป็นไปกับด้วยชนและ เทวดาพระองค์นั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สนรามรโลกครุ,ซึ่งพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นครูของ ชาวโลกที่เป็นไปกับด้วยชนและเทวดา.๘๐ - ศัพท์ว่า “สุคต ” เป็นคุณของพระพุทธเจ้า มีการวิเคราะห์ว่า โสภน คต คมน เอตสฺสาติ สุคโต. ภควโต หิ เวเนยฺยชนุปสงฺกมน เอกนฺเตน เตส หิตสุขนิปฺผาทนโต โสภน . แปลว่า ชื่อว่าสุคต เพราะทรงมีการด าเนินไป คือการเสด็จไปที่งดงาม. ก็การเสด็จเข้าไปหาเวไนยชนของพระผู้มีพระภาค ชื่อว่างดงาม เพราะยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้ส าเร็จแก่เวไนยสัตว์เหล่านั้นโดยส่วนเดียว.๘๑ - ศัพท์ว่า “คติวิมุตฺต ” เป็นคุณของพระพุทธเจ้า มีการวิเคราะห์ว่า ต ต คติส วตฺตนกานญฺหิ กมฺมกิเลสาน อคฺคมคฺเคน โพธิมูเลเยว สุปฺปหีนตฺตา นตฺถิ ภควโต คติปริยาปนฺนตาติ อจฺจนฺตเมว ภควา สพฺพภวโยนิคติวิญฺญาณฏฺฐฃิติสตฺตาวาสสตฺตนิกาเยหิ สุปริมุตฺโต, ต คติวิมุตฺต . แปลว่า ก็ความที่ พระผู้มีพระภาคทรงนับเนื่องในคติ ชื่อว่าย่อมไม่มี เพราะความที่กรรมกิเลสทั้งหลายอันเป็นไปพร้อม ในคตินั้น ๆ พระองค์ทรงละได้แล้วด้วยมรรคอันเลิศที่โคนต้นโพธิ์นั่นแล เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ ภาคจึงทรงหลุดพ้นด้วยดีจากภพ ก าเนิด วิญญาณฐิติ สัตตาวาส และหมู่สัตว์ทั้งปวงโดยส่วนเดียวนั่น เทียว, ซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ทรงพ้นแล้วจากคตินั้น.๘๒ ๗๙ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔. ๘๐ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๕. ๘๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๖. ๘๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗.


๓๑ - ศัพท์ว ่า “ธม ฺม ” เป็นชื ่อของพระธรรม มีการวิเคราะห์ว ่า ธม ฺมนฺติ ยถานุสิฏฺฐฃ ปฏิปชฺชมาเน อปายโต จ, ส สารโต จ อปตมาเน กตฺวา ธารยตีติ ธมฺโม. แปลว่า บทว่า ธมฺม ความว่า ชื่อว่าธรรม เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติตามที่พร ่าสอนท าไม่ให้ตกไปในอบายและ สังสารวัฏ.๘๓ - ศัพท์ว่า “คตมล ” เป็นคุณของพระธรรม มีการอธิบายว ่า คตมลนฺติ วิคตมล , นิทฺ- โทสนฺติ อตฺโถ. แปลว่า บทว่า คตมล ได้แก่ ปราศจากมลทิน, อธิบายว่า ไม่มีโทษ.๘๔ - ศัพท์ว่า “อนุตฺตร ” เป็นคุณของพระธรรม มีการอธิบายว่า อนุตฺตรนฺติ อุตฺตรรหิต , โลกุตฺตรนฺติ อตฺโถ. บทว่า อนุตฺตร ได้แก่ เว้นจากธรรมอันสูงสุด อธิบายว่า สูงสุดในโลก (โลกุตตระ).๘๕ - ศัพท์ว่า “อริยส ฆ ” เป็นชื่อของพระอริยสงฆ์ มีการวิเคราะห์ว่า อารกตฺตา กิเลเสหิ, อนเย น อิริยนโต, อเย จ อิริยนโต อริยา, นิรุตฺตินเยน. อถ วา สเทวเกน โลเกน สรณนฺติ อรณียโต อุปคนฺตพฺพโต, อุปคตานญฺจ ตทตฺถสิทฺธิโต อริยา. อริยาน สงฺโฆติ อริยสงฺโฆ, อริโย จ โส, สงฺโฆ จาติ วา อริยสงฺโฆ, ต อริยสงฺฆ . แปลว่า เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย เพราะไม่เป็นไปในความไม่สุข สบาย และเพราะเป็นไปในความสุขสบาย จึงชื่อว่าอริยะ ตามนัยแห่งนิรุตติปกรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ ว่าอริยะ เพราะอันมนุษย์พร้อมทั้งเทวดาถึง คือพึงเข้าถึงว่า “เป็นสรณะ” และเพราะส าเร็จประโยชน์ นั้นแก่ผู้ที่เข้าถึง. หมู่แห่งอริยะทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าอริยสังฆะ หรือหมู่นั้นด้วยเป็นอริยะด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าอริยสังฆะ ซึ่งหมู่แห่งอริยะนั้น.๘๖ - ศัพท์ว่า “โอรสาน ” เป็นคุณลักษณะของพระอริยสงฆ์ มีการอธิบายว่า ตตฺถ อุรสิ ภวา ชาตา, ส วทฺธา จ โอรสา. ยถา หิ สตฺตาน โอรสปุตฺตา อตฺตชาตตาย ปิตุสนฺตกสฺส ทายชฺชสฺส วิเสเสน ภาคิโน โหนฺติ, เอวเมเตปิ อริยปุคฺคลา สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส สวนนฺเต อริยาย ชาติยา ชาตตาย ภควโต สนฺตกสฺส วิมุตฺติสุขสฺส, อริยธมฺม รตนสฺส จ เอกนฺตภาคิโนติ โอรสา วิย โอรสา. แปลว่า ในค าว่า โอรสาน นั้น ผู้ที่เกิดมีในอกและผู้เจริญแล้ว ชื่อว่าโอรส. เหมือนอย่างว่า บุตรที่เกิดแต่อกของสัตว์ ทั้งหลาย ชื ่อว ่าเป็นผู้มีส ่วนแห่งทรัพย์สมบัติอันเป็นของบิดาโดยพิเศษ เพราะเกิดแต่ตน ฉันใด อริยบุคคลแม้เหล่านั้นก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนแห่งวิมุตติสุขและอริยธรรมรัตนะอันเป็นของพระผู้มี พระภาคโดยส่วนเดียวเพราะเกิดโดยชาติอริยะ ในที่สุดการฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่าโอรส เหมือนผู้เกิดแต่อก ฉะนั้น.๘๗ - ศัพท์ว่า “มารเสนมถนาน ” เป็นคุณลักษณะของพระอริยสงฆ์ มีการอธิบายว่า สา จ เตหิทิยฑฺฒสหสฺสเภทา อนนฺตเภทา วา กิเลสวาหินี สติธม ฺมวิจยวีริยสมถาทิคุณปหรเณหิ โอธิโส ๘๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๒. ๘๔ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๒. ๘๕ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๒. ๘๖ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๕. ๘๗ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๔.


๓๒ วิมถิตา วิหตา วิทฺธสฺตา จาติ มารเสนมถนา อริยสาวกา. เอเตน เตส ภควโต อนุชาตปุตฺตต ทสฺเสติ. แปลว่า ก็เสนานั้นกับกิเลสเหล่านั้นแบ่งเป็น ๑,๕๐๐ หรือว่า เสนากิเลสแยกเป็นอนันต์ ถูกข่มได้ คือ ถูกขจัดไป และถูกก าจัดได้โดยเจาะจงด้วยเครื่องประหารคือคุณมีสติ ธรรมวิจยะ วิริยะ และสมถะ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มารเสนมถนา ได้แก่ อริยสาวก.ด้วยค านั้นพระอรรถกถาจารย์แสดง ความที่อริยสาวกเหล่านั้นเป็นอนุชาตบุตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า.๘๘ - ศัพท์ว่า “รตน ” มีการอธิบายว ่า รติชนนฏฺเฐฃน รตน , พุท ฺธธมฺมสง ฺฆา. ชื ่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า ให้เกิดความยินดี ได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์. พร้อมกันนั้น สีลขันธวรรค ฎีกายังได้น าพระคาถาที่แสดงความมีคุณค่าของพระรัตนตรัยมาแสดงโดยมีข้อความว่า จิตฺตีกต มหคฺฆญฺจ อตุล ทุลฺลภทสฺสน อโนมสตฺตปริโภค รตน เตน วุจฺจตีติ. วัตถุใดท าให้เกิดความย าเกรง มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ หาดูได้โดยยาก เป็นของใช้ของ สัตว์ผู้ไม่ต ่าทราม เหตุนั้น วัตถุนั้นท่านจึงเรียกว่า รตนะ๘๙ อนึ่งในท้ายที่สุด สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายอานิสงส์ของการนอบน้อมพระรัตนตรัยโดย ยกพระพุทธพจน์มาสนับสนุนว่า “ในสมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคตแล้ว ในสมัยนั้นจิตของอริย สาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้นจิตของอริยสาวกย่อม ปรารภตถาคตด าเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็แล อริยสาวกผู้มีจิตด าเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความ ปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมี ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มี พยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาทเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่ มหานามะสมัยใด อริยสาวกระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภธรรม ด าเนิน ไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตด าเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมี ปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคต กล ่าวว ่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู ่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู ่ในหมู ่สัตว์ผู้มี พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญธัมมานุสสติอยู่ มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูก ราคะกลุ้มรุมไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภพระสงฆ์ ๘๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๕. ๘๙ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๗.


๓๓ ด าเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตด าเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญสังฆานุสสติอยู่๙๐ ๘.๒ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ส าคัญในนิทานกถาวรรณนา สีลขันธวรรคอรรถกถาได้อธิบายนิทานกถาวรรณนา (การพรรณนาเหตุเกิดการท า สังคายนา) โดยได้อธิบายประวัติความเป็นมาของการท าสังคายนาครั้งที่ ๑ โดยมีสาระส าคัญดังนี้ว่า พระมหากัสสปเถระระลึกถึงค าพูดของพระสุภัททวุฑฒบรรพชิตที่กล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยที่ว่า “ผู้ มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศกเลย อย่าร้องไห้เลย พวกเราพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณพระองค์นั้นซึ่ง คอยก าชับพวกเราว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอทั้งหลาย สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย แต่บัดนี้พวกเราจักได้กระท า สิ ่งที ่พวกเราต้องการ จักไม่ได้กระท าสิ่งที่พวกเราไม่ต้องการ” จากค าพูดจาบจ้วงพระธรรมวินัย ดังกล่าว พระมหากัสสปะเถระจึงได้ชักชวนภิกษุสงฆ์ท าการสังคายนาพระธรรมวินัย การท าสังคายนา ในครั้งนี้ มีพระภิกษุเข้าร่วมจ านวน ๕๐๐ รูป โดยพระภิกษุดังกล ่าวเป็นพระอรหันต์ประเภท ปฏิสัมภิทา ทรงสรรพปริยัติ และใช้กรุงราชคฤห์เป็นสถานที่ท าสังคายนา พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้ ถาม พระอุบาลีเถระเป็นผู้วิสัชชนาพระวินัย พระอานนทเถระเป็นผู้วิสัชชนาพระธรรม๙๑ ผลจากการท าสังคายนาครั้งนี้จึงได้ปรากฏปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และ อภิธรรมปิฎก ในปิฎกทั้ง ๓ นั้น พุทธพจน์ต่อไปนี้ คือ ปาฏิโมกข์ ทั้ง ๒ วิภังค์ ๒ ขันธกะ ๘๒ บริวาร ๑๖ ชื่อ วินัยปิฎก พุทธพจน์ต่อไปนี้ คือ ทีฆนิกาย มีจ านวน ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตร เป็นต้น มัชฌิม นิกาย มีจ านวน ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตร เป็นต้น สังยุตตนิกาย มีจ านวน ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณ สูตร เป็นต้น อังคุตตรนิกาย มีจ านวน ๙,๕๕๐ สูตร มีจิตตปริยาทานสูตร เป็นต้น ขุททกนิกาย ๑๕ ประเภท คือ ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรี คาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธวงส์และจริยาปิฎก ชื่อสุตตันตปิฎก พุทธพจน์ต่อไปนี้ คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน ชื่อว่า อภิธรรมปิฎก วินัย ปิฎก เรียกว่า อาณาเทศนา คือ การเทศนาโดยอ านาจบังคับ สุตตันตปิฎก เรียกว่า โวหารเทศนา คือ การเทศนาโดยส านวนอันเหมาะสม อภิธรรมปิฎก เรียกว่า ปรมัตถเทศนา คือ เทศนาโดยปรมัตถ์๙๒ พระธรรมปาลเถระผู้แต่งสีลขันธวรรคฎีกามีความเห็นว่า การท าสังคายนาครั้งที่ ๑ มี ความ ส าคัญต่อการธ ารงพระพุทธศาสนาไว้เป็นอย ่างมาก เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรง บัญญัติพระวินัยหรือแสดงพระธรรมในที่ต่าง ๆ พระธรรมและพระวินัยเหล่านี้ล้วนอยู่กระจัดกระจาย ๙๐ องฺ.เอกาทสก.(ไทย) ๒๔/๑๑/๔๑๑.,ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒. ๙๑ ดูรายละเอียดใน ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓-๒๐. ๙๒ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๑๙-๒๑.


๓๔ ไม่เป็นหมวดหมู่ ต่อมา เมื่อพระภิกษุ ๕๐๐ รูปมาท าการสังคายนาดังกล่าว พระธรรมวินัยจึงถูกจัดไว้ เป็นหมวดหมู่มากขึ้นซึ่งสะดวกต่อการเรียนรู้หรือทรงจ า พระธรรมปาลเถระผู้แต่งสีลขันธวรรคฎีกา เห็นความส าคัญดังกล่าวข้างต้น จึงได้อธิบายหรือนิยามค าศัพท์ว ่า “การสังคายนา” ค ่อนข้างจะ สะท้อนความคิดของท ่านโดยท่านได้อธิบายไว้ว ่า การสวด คือการกล ่าวรวบรวมพระธรรมที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในที่นั้น ๆ ตามปัจจัยและพระวินัยที่กระจัดกระจายอันพระองค์ทรงบัญญัติไว้ ชื่อว่าการสังคายนา เมื่อสิกขาบทนั้น ๆ และสูตรทั้งหลายมีเบื้องต้นและที่สุดรอบ การกล่าวถึงการท า สังคายนาซึ่งตั้งไว้ด้วยสามารถแห่งความเกี่ยวเนื่องกันในระหว่าง จึงเป็นอันรวมไว้แล้ว การสังคายนา ครั้งใหญ่ ชื่อว่ามหาสังคีติ เพราะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และเพราะเป็นสิ่งที่ควรบูชา สังคีติใหญ่ครั้งแรก ชื่อ ว่าปฐมมหาสังคีติ๙๓ ๘.๓ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ส าคัญในพรหมชาลสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากพรหมชาลสูตร ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จด าเนินทางไกล แม้สุปปิยปริพพาชกก็เดินทางไกล พร้อมกับ พรหมทัตมาณพ ครั้งนั้นสุปปิยปริพพาชกได้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าว่า พระสมณโคดมเป็น คนไม่มีรส เพราะไม่มีการท าสามีจิกรรมมีการกราบไหว้ เป็นต้น อันควรกระท าต่อผู้ใหญ่โดยชาติใน โลกที่เรียกว่าสามัคคีรส พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีโภคะ เป็นคนกล่าวการไม่กระท า เป็นคนกล่าว ความขาดสูญ เป็นคนเกลียดชัง เป็นคนเจ้าระเบียบ เป็นคนตบะจัด เป็นคนไม่ผุดเกิด ไม่มีธรรมอันยิ่ง ของมนุษย์ซึ ่งเป็นญาณและทัศนะอันวิเศษที่ควรแก ่พระอริยเจ้า แสดงธรรมที่ตรึกตรองเอง ไม่ใช่ สัพพัญญู ไม่ใช่โลกวิทู ไม่ใช่คนยอดเยี่ยม ไม่ใช่อัครบุคคล และกล่าวเหตุอันไม่ควรว่าเป็นเหตุ และเขา ก็ได้กล่าวโทษพระธรรมเหมือนอย่างกล่าวโทษพระพุทธเจ้าว่า พระธรรมของพระสมณโคดมกล่าวไว้ ชั่ว รู้ได้ยาก ไม่เป็นธรรมที่น าออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ และได้กล่าวโทษพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระสมณโคดมปฏิบัติผิด ปฏิบัติคดโกง ปฏิบัติตามปฏิปทาที ่ขัดปฏิปทาที่แย้ง ปฏิบัติตามปฏิปทาอันไม่เป็นธรรมตามสมควรแก่ธรรม ฝ่ายพรหมทัตตมาณพผู้เป็นศิษย์ของสุปปิยปริพพาชกนั้นฉุกคิดขึ้นโดยอุบายอันแยบคาย ว่า อาจารย์ของเราแตะต้องสิ่งที่ไม่ควรแตะต้อง เหยียบย ่าสิ่งที่ไม่ควรเหยียบย ่า กล่าวติเตียนพระ รัตนตรัยที่ควรสรรเสริญ จักถึงความพินาศ ย่อยยับเหมือนคนกลืนไฟ เหมือนคนเอามือลูบคมดาบ เหมือนคนเอาก าปั้นท าลายภูเขาสิเนรุ เหมือนคนเล่นกับแถวซี่ฟันเลื่อย และเหมือนคนเอามือจับช้าง ตกมันที่ดุร้าย ก็เมื่ออาจารย์เหยียบคูถ หรือไฟ หรือหนาม หรืองูเห่า ขึ้นทับหลาวก็ดี เคี้ยวกินยาพิษ อันร้ายแรงก็ดี กลืนน ้ากรดก็ดี ตกเหวลึกก็ดี ผู้เป็นศิษย์ไม่จ าเป็นจะต้องท าตาม อย่างนั้นไปเสียทุก อย่าง เพราะว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ย่อมไปสู่คติที่สมควรแก่กรรมของตนแน่นอน มิใช่ บิดาจะไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตรจะไปด้วยกรรมของบิดา เป็นต้น เมื่อจะย ่ายีวาทะของอาจารย์ ๙๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๔.


๓๕ อ้างเหตุแท้ๆ ว่าเป็นเหตุ จึงกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัยโดยอเนกปริยาย เพราะตนเป็นกุลบุตรมีเชื้อ ชาติบัณฑิต สุปปิยปริพพาชกและพรหมทัตตมาณพมีถ้อยค าเป็นข้าศึกต่อกันโดยตรง ได้เดินตามพระผู้ มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ไปข้างหลัง ๆ ในกาลนั้น พระฉัพพรรณรังสี แผ่ซ่านออกจากพระสรีระ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าวนเวียนรอบเนื้อที่ประมาณแปดสิบศอก บริเวณป่านั้นเป็นเหมือนเกลื่อนกล่น ไปด้วยช่อรัตนะ พวงรัตนะ และผลรัตนะ ดั่งแผ่นทองที่วิจิตรด้วยรัตนะอันแผ่ออก ดั่งประพรมด้วยน ้า ทองสีแดงก ่า ดังเกลื่อนกล่นด้วยกลุ่มดวงดาวร่วง ดั่งดอกกรรณิการ์เกลื่อนกล่นต่อกันไป ดั่งฝุ่นชาดที่ คลุ้งขึ้นด้วยแรงพายุ และดั่งแวบวาบปลาบแปลบด้วยแสงรัศมีแห่งสายรุ้ง สายฟ้าและหมู่ดาราก็ปาน นั้น๙๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนที่กล่าวชมพระองค์ย่อมกล่าวชมด้วยคุณเล็กน้อย คือ ศีล เท่านั้น ซึ่งตรงนี้ พระพุทธองค์ได้แสดงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีลตามล าดับ จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ แสดงทิฏฐิ ๖๒ ซึ่งเป็นแนวคิดที่พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ โดยจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล และทิฏฐิ ๖๒ มีสาระส าคัญดังนี้ ๑. จุลศีล เป็นศีลขั้นเบื้องต้น โดยมีสาระส าคัญดังนี้ ๑) งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒) งดเว้น จาการลักทรัพย์ ๓) งดเว้นจากการประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ๔) งดเว้นจากการพูดเท็จ ๕) งดเว้นจากการพูดค าส่อเสียด ๖) งดเว้นจากการพูดค าหยาบคาย ๗) งดเว้นจากการพูดค าเพ้อเจ้อ ๘) งดเว้นจากการพรากพีชคามและภูตคาม ๙) ฉันอาหารมื้อเดียว ๑๐) งดเว้นจากการฟ้อนร าขับร้อง ๑๑) งดเว้นจากการทัดทรงด้วยของหอม ๑๒) งดเว้นจากการนอนบนที่นอนสูง ๑๓) งดเว้นจากการรับ เงินทอง ๑๔) งดเว้นจากการรับธัญชาติดิบ ๑๖) งดเว้นจากการรับประเคนเนื้อดิบ ๑๗) งดเว้นจาก การรับสตรีและเด็กหญิง ๑๘) งดเว้นจากการรับแพะและแกะ ๑๙) งดเว้นจากการรับไก่และสุกร ๒๐) งดเว้นจากการรับช้าง ม้า โค และลา ๒๑) งดเว้นจากการรับสวน ไร่นา ๒๒) งดเว้นจากการเป็นทูต หรือการรับใช้ ๒๓) งดเว้นจากการโกง ๒๔) งดเว้นจากการรับสินบน หลอกลวง ๒๕) การเว้นจากการ ท าร้าย การฆ่า เป็นต้น ๒. มัชฌิมศีล เป็นศีลระดับท่ามกลาง โดยมีสาระส าคัญดังนี้ ๑) การเว้นขาดจากการพราก พีชคามและภูตคาม ๒) เว้นขาดจากการรับประทานอาหารที่สั่งสมไว้ ๓) เว้นขาดจากการดูการละเล่น อันเป็นข้าศึกต่อกุศล ๔) เว้นขาดจากการเล่นพนัน ๕) เว้นขาดจากการนอนที่สูง ๖) เว้นขาดจากการ ประดับตกแต่งร่างกาย ๗) เว้นขาดจากการพูดดิรัจฉานกถา ๘) เว้นขาดจากการพูดเถียงกัน ๙) เว้น ขาดจากการเป็นทูตหรือการรับใช้ ๑๐) เว้นขาดจากการพูดหลอกลวง การพูดเลียบเคียง ๙๕ ๙๔ ดูรายละเอียดใน ที.สี. (บาลี) ๙/๑-๓/๑-๒. ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๑-๓/๓๗-๔๒. ๙๕ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๑๑-๒๐/๖-๙.


๓๖ ๓. มหาศีล เป็นศีลระดับสูง โดยมีข้อปฏิบัติโดยสรุปได้ว่า มหาศีล เป็นศีลที่จะต้องเว้นขาด จากการทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายฟ้าผ่า ท านายลักษณะ ท านายฝัน ท านายหนูกัดผ้า ท าพิธีบูชาไฟ การบูชาไฟด้วยร า ข้าวสาร เนย น ้ามัน และโลหิต เว้นขาดจากการเป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอ ยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสก กันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ และการทายลักษณะแก้วมณี เป็นต้น เว้นขาดจากการพยากรณ์ ต ่างๆ เรื ่องจันทรคราส เป็นต้น เว้นขาดจากการแต่งกาพย์กลอนเพื่อเลี้ยงชีพ ดูฤกษ์วิวาห์มงคล ตลอดจนให้ยาผดุงครรภ์ ดูฤกษ์เก็บทรัพย์สิน ร ่ายมนต์ต่าง ๆ ท าวิธีบนบาน ท าพิธีปลูกเรือน รด น ้ามนต์ ปรุงยาต่าง ๆ มียานัตถุ์ และยาแก้ปวดศีรษะ๙๖ ๔. แนวคิดหรือทิฏฐิของนักคิดนอกศาสนา มีสาระส าคัญดังนี้ ๑) ปุพพันตกัปปิกสัสสตวาทะ คือ แนวคิดที่ว่าขันธ์ในอดีตเที่ยง ๒) เอกัจจสัสสตวาทะ คือ แนวคิดที่ว่าอัตตาและโลกบางอย่าง เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ๓) อันตานันตวาทะ คือ แนวคิดที่ว่า โลกมีที่สุดและโลกไม่มีที่สุด ๔) อมราวิกเขปวาทะ คือ แนวคิดที่ว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ อย่างอื่นก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ก็หามิได้ ไม่ใช่หาใช่ ไม่ ๕) อธิจจสมุปปันนวาทะ คือ แนวคิดที่ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นเองโดยไม่มีปัจจัย ๖) สัญญีวาทะ คือ แนวคิดที่ว่า อัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญา ๗) อสัญญีวาท คือ แนวคิดที่ว่า อัตตาหลังจากตาย แล้วไม่มีสัญญา ๙) อุจเฉทวาทะ คือ แนวคิดที่ว่า อัตตาหลังจากตายแล้วขาดสูญ ๑๐) ทิฏฐธัมม - นิพพานวาทะ คือ แนวคิดที่ว่ามีสภาพบางอย่างเป็นพระนิพพานในปัจจุบัน๙๗ ประเด็นที่น ่าสนใจในพรหมชาลสูตรจากสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา จากเนื้อหาในพรหมชาลสูตรในเบื้องต้น สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกาได้ อธิบายขยายความอย่างชัดเจน จะอย ่างไรก็ตาม ในที ่นี้ ผู้เรียบเรียงจะน าเสนอเฉพาะประเด็นที่ น่าสนใจที่สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายไว้โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเด็นที่ ๑ เหตุเกิดขึ้นแห ่งสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพรหมชาลสูตรขึ้นแสดงโดย อาศัยเหตุที่เกิดขึ้น เหตุดังกล่าวมาจากการสรรเสริญและการติเตียนพระรัตนตรัยของสุปปิยปริพพา ชกและพรหมทัตตมาณพซึ่งมีวาทะขัดแย้งกันดังกล่าว ฉะนั้น สีลขันธวรรคอรรถกถาจึงได้อธิบายว่า พรหมชาลสูตรเป็นพระสูตรที่เกิดขึ้นตามเหตุที่เกิดขึ้น โดยเหตุเกิดขึ้นของพระสูตร มี ๔ อย่าง ดังนี้ ๑. อัตตัชฌาสยะ เป็นไปตามพระอัธยาศัยของพระองค์ ๒. ปรัชฌาสยะ เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น ๓. ปุจฉาวสิกะ เป็นไปตามอ านาจการถาม ๙๖ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๒๑-๒๗/๙-๑๒. ๙๗ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๒๘-๑๐๔/๑๒-๓๙.


๓๗ ๔. อัตถุปปัตติกะ เป็นไปตามเหตุที่เกิดขึ้น๙๘ พระธรรมปาลเถระผู้แต่งสีลขันธวรรคฎีกาจึงได้วิเคราะห์เหตุเกิดขึ้นของพระสูตรผ่านการ วิเคราะห์ศัพท์ดังนี้ ๑. อตฺตชฺฌาสโย มีวิเคราะห์ว่า อตฺตโน อชฺฌาสโย อตฺตชฺฌาสโย, โส อสฺส อตฺถิ สุตฺตเทสนาการณภูโตติ อต ฺตชฺฌาสโย. แปลว ่า อัธยาศัยของตน ชื ่อว ่าอัตตัชฌาสยะ, นิกเขปะ ชื ่อว่า อัตตัชฌาสยะ เพราะอรรถว่า มีอัตตัชฌาสยะอันเป็นเหตุแห่งการแสดงพระสูตร. ๒. ปรชฺฌาสโยติ เอตฺถาปิ เอเสว นโย. แปลว่า แม้ในค าว่า ปรชฺฌาสโย นี้ ก็มีนัยนี้เหมือน กัน. ๓. ปุจฺฉาย วโส ปุจฺฉาวโส, โส เอตสฺส อตฺถีติ ปุจฺฉาวสิโก. แปลว่า อ านาจแห่งการถาม ชื่อ ว่าปุจฉาวสะ, ชื่อว่าปุจฉาวสิกะ เพราะอรรถว่า มีอ านาจแห่งการถาม. ๔. อตฺถสฺส อุปฺปตฺติ อตฺถุปฺปตฺติ อตฺถุปฺปตฺติเยว อฏฺฐฃุปฺปตฺติ, สา เอตสฺส อตฺถีติ อุฏฺฐฃุปฺปตฺติ โก. แปลว ่า ความเกิดขึ้นแห่งเรื่อง ชื ่อว ่าอัตถุปปัตติ,อัตถุปปัตตินั ่นแล ชื ่อว ่าอัฏฐฃุปปัตติ,ชื ่อว่า อัฏฐฃุปบัตติกะ เพราะอรรถว่า มีอัฏฐฃุปปัตตินั้น.๙๙ ประเด็นที่ ๒ สุปปิยปริพพาชกกล ่าวติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมาปาลเถระได้ อธิบายประเด็นที่สุปปิยปริพพาชกกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า โดยอธิบายว่า สุปปิยปริพาชกจักถึงความ พินาศเพราะการไปว่าร้ายพระอริยเจ้า เพราะว่าการว่าร้ายพระอริยเจ้ามีโทษหนักโดยส่วนเดียว พร้อม กับยกพระบาลีในการสนับสนุนค าอธิบายว่า โย นินฺทิย ปส สติ ต วา นินฺทติ โย ปส สิโย วิจินาติ มุเขน โส กลึ กลินา เตน สุข น วินฺทตีติ๑๐๐ “ผู้ใดสรรเสริญผู้ควรต าหนิ หรือติเตียนชนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุขเพราะความผิดนั้น”๑๐๑ ๙๘ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๕/๕๐-๕๑. ๙๙ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๕/๖๙. ๑๐๐ ส .ส.(บาลี) ๑๕/๑๘๐/๑๕๒,ที.สี.ฎีกา.(บาลี) ๑/๑/๖๐. ๑๐๑ ส .ส.(ไทย) ๑๕/๘๐/๒๔๗,ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑/๖๐.


๓๘ ประเด็นที่ ๓ พรหมทัตตมาณพสรรเสริญคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าสีลขันธวรรคฎีกาได้ อธิบายประเด็นที่พรหมทัตตมาณพสรรเสริญคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอธิบายว่า การสรรเสริญ คุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พรหมทัตตมาณพกระท าอยู่นั้น เป็นเพียงการสรรเสริญตามก าลังของ ตนเองเท่านั้น เพราะว่า คุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าจะนับจะประมาณมิได้ ฉะนั้น สีลขันธวรรคฎีกา จึงได้น าค าอธิบายในอรรถกถามาสนับสนุนทัศนะของตนว่า แม้พระพุทธเจ้าพึงกล่าวคุณของพระพุทธเจ้า หากจะกล่าวคุณของกันและกันตลอดกัป กัปจะพึงสิ้นไปในระหว่างกาลช้านาน (การพรรณนา) พระคุณของพระตถาคตหาสิ้นสุดไม่๑๐๒ ประเด็นที่ ๔ จุลศีล ในช่วงเนื้อหาของจุลศีล ในสีลขันธวรรคอรรถกถาพระอรรถกถาจารย์ ได้พรรณนาถึงคุณของศีลไว้ว่า ศีลเป็นเครื่องอลังการ ศีลเป็นเครื่องประดับของพระโยคี คนควรรักษา ศีลให้เหมือนนกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่บ้าง จามรีรักษาขนหางบ้าง คนมีบุตรคนเดียวรักษาบุตรผู้เป็นที่ รักบ้าง คนมีนัยน์ตาข้างเดียวรักษานัยน์ตาข้างที่ยังมีเหลืออยู่บ้าง ศีลไปได้แม้สู่ที่ทวนลม และตามลม บ้าง ผู้มีศีลถางป่ารกได้บ้าง๑๐๓ ซึ่งพระฎีกาจารย์ได้น าค าอธิบายศัพท์ในสีลขันธวรรคอรรถกถา มา วิเคราะห์และขยายความดังนี้ ๑. อลงฺกรณ วิภูสน อลงฺกาโร กุณฺฑลาทิปสาธน วา. แปลว่า การท าให้พอ คือการประดับ ชื่อว่าอลังการ หรือว่าการประดับด้วยตุ้มหูเป็นต้น ชื่อว่าอลังการ. ๒. สตญฺจ คนฺโธติ เอตฺถ คนฺโธ วิยาติ คนฺโธติ วุตฺโต สีลนิพนฺธโน ถุติโฆโส. แปลว่า ในค าว่า สตญฺจ คนฺโธ นี้ การประกาศการชมเชยอันเกี่ยวเนื่องด้วยศีลท่านกล่าวว่า กลิ่น เพราะอรรถว่า เป็น เหมือนกลิ่น. ๓. ปวายตีติ ปกาสติ. บทว่า ปวายติ ได้แก่ ย่อมประกาศ. จะอย่างไรก็ตาม ในตอนที่ว่าด้วยจุลศีล ยังพบว่าสีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายบารมี ๑๐ ไว้ อย่างพิสดารผ่านการปุจฉาวิสัชชนาโดยมีสาระส าคัญดังนี้ ถามว่า อะไรคือบารมี ? ตอบว่า คุณมีทานเป็นต้นไม่ถูกตัณหาและมานะเป็นต้นลูบคล า อันกรุณูปายโกศลสนับสนุนแล้ว ชื่อว่า บารมี ถามว่า บารมีมีความหมายว่าอะไร ? ตอบว่า กรรมของ พระโพธิสัตว์ผู้สูงส่งเพราะเป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์โดยประกอบด้วยคุณวิเศษมีทานและศีลเป็นต้น ชื่อว่าบารมี ถามว่า บารมีมีเท่าไร ? ตอบว่า บารมีมี ๑๐ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา ถามว่า บารมีมีล าดับอย่างไร ? ตอบว่า มีการแสดงเป็นล าดับ ถามว่า ๑๐๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑/๖๑. ๑๐๓ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๗/๕๕.


๓๙ บารมีมีลักษณะรส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐานอย่างไร ? ตอบว่า บารมีทั้งปวงมีการอนุเคราะห์บุคคล อื่นเป็นลักษณะ มีการกระท าอุปการะแก่บุคคลเหล่าอื่นหรือมีความไม่หวั่นไหวเป็นรส มีการแสวงหา ประโยชน์เกื้อกูลหรือมีความเป็นพุทธะเป็นปัจจุปัฏฐาน มีมหากรุณาหรือกรุณูปายโกศลเป็นปทัฏฐาน ถามว่า อะไรเป็นปัจจัย ? ตอบว่า มีอภินิหารเป็นปัจจัย ถามว่า อะไรเป็นความเศร้าหมอง ? ตอบว่า ภาวะที่ถูกตัณหาลูบคล า เป็นความเศร้าหมองของบารมีทั้งปวง ถามว่า อะไรเป็นความหมดจด ? ตอบ ว่า การไม่ถูกตัณหาลูบคล าเป็นความผ่องแผ้วแห่งบารมีทั้งปวง ถามว่า อะไรเป็นปฏิปักษ์ ? ตอบว่า กิเลสทั้งปวง อกุศลธรรมทั้งปวงเป็นปฏิปักข์ต่อบารมีทั้งปวง ส่วนการปฏิบัติอย่างไร วิภาค สังคหะ อุบายให้ถึงพร้อมเป็นอานิสงส์ ส่วนผลในแต่ละบารมีควรมีความแตกต่างกันออกไป ๑๐๔ ประเด็นที่ ๕ มัชฌิมศีล ในช่วงเนื้อหาของมัชฌิมศีล เนื้อหาในสีลขันธวรรคอรรถกถา และเนื้อหาในสีลขันธวรรคฎีกาปรากฏค าอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อมัชฌิมศีลอย่างชัดเจนดังนี้ สีลขันธวรรคอรรถกถา ปรากฏค าอธิบายว่า พีชคามแบ่งออกเป็น ๕ ประเภทดังนี้ ๑. มูลพีชะ ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านเปราะป่า ว่านเปราะบ้าน ชะเอมต้น เป็นต้น ๒. ขันธพีชะ ได้แก่ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นเลียบ ต้นมะเดื่อ ต้นเต่าร้าง เป็นต้น ๓. ผฬุพีชะ ได้แก่ ต้นอ้อ ต้นไผ่ เป็นต้น ๔. อัคคพีชะ ได้แก่ ต้นแมงลัก ต้นตะไคร้ ต้นหอมแดง เป็นต้น ๕. พีชพีชะ ได้แก่ ปุพพัณณชาติ และอปรัณณชาติ ส่วนภูตคาม หมายถึง พืชที่ยังมิได้แยกจากต้นแล้ว ไม่แห้ง๑๐๕ พระฎีกาจารย์ได้น าค าศัพท์ที ่ปรากฏในสีลขันธวรรคอรรถกถามาอธิบายในเชิงการ วิเคราะห์ศัพท์ เช่น มูลเมว พีช มูลพีช , มูล พีช เอตสฺสาติปี มูลพีช . แปลว่า พืชอันเป็นรากนั่นแล ชื่อ ว่ามูลพีชะ, พืชอันเป็นรากมีอยู่แก่พืชนั่น แม้เพราะเหตุนั้น ชื่อว่ามูลพีชะ. เสเสสุปี เอเสว นโย. แปลว่า แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.๑๐๖ สีลขันธวรรคอรรถกถาปรากฏค าอธิบายว่า การรับประทานอาหารที่สั ่งสมไว้ มีความ เกี ่ยวข้องกับพระวินัยและมีความเกี่ยวข้องกับการประพฤติขัดเกลากิเลส หมายความว ่า ภิกษุรับ ประเคนอาหารในวันนี้แล้วเก็บไว้จนถึงอีกวันหนึ่ง เมื่อภิกษุฉันอาหารดังกล่าว ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่ถ้าภิกษุสละอาหารที่ตนได้ให้แก่ สามเณร แล้วให้สามเณรเก็บไว้ ภายหลังสามเณรน ามาถวายแก่ พระภิกษุ และภิกษุก็ฉันอาหารดังกล่าว การกระท าเช่นนี้เหมาะสมก็จริง แต่เป็นความประพฤติที่ไม่ ๑๐๔ ดูรายละเอียดใน ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๕/๘๑-๑๒๔. ๑๐๕ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๑๑/๗๘. ๑๐๖ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๑/๑๕๓.


๔๐ เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส๑๐๗ ต่อมาสีลขันธวรรคฎีกาได้น าค าศัพท์ที่ปรากฏในสีลขันธวรรคอรรถ กถามาอธิบายในเชิงการวิเคราะห์ศัพท์ เช่น สมฺมา กิเลเส ลิขตีติ สลฺเลโข, สุตฺตนฺตนเยน ปฏิปตฺติ. แปลว่า ชื่อว่าสัลเลขะ เพราะอรรถว่า ขัดเกลากิเลสทั้งหลายโดยชอบ ได้แก่การปฏิบัติตามนัยแห่งพระ สูตร.๑๐๘ สีลขันธวรรคอรรถกถาปรากฏค าอธิบายว่า การหลอกลวง หมายความว่า การหลอกลวง ชาวโลก คือท าชาวโลกให้พิศวงด้วยการหลอกลวง ๓ ประการ๑๐๙ แต่สีลขันธวรรคอรรถกถาไม่ได้ ขยายความว่า การหลอกลวง ๓ ประการที่ว่านี้ คืออะไร ดังนั้น สีลขันธวรรคฎีกาจึงปรากฏค าอธิบาย ขยายความต่อไปว่า การหลอกลวง ๓ ประการ ได้แก่ การพูดเลียบเคียง การจัดแต่งอิริยาบถ และการ แสร้งปฏิเสธปัจจัย๑๑๐ ประเด็นที่ ๖ มหาศีล ในช่วงเนื้อหาของมหาศีล เราจะเห็นได้ว่า เนื้อหามีค าศัพท์ค่อนข้าง ยาก ดังนั้น สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกาจึงเน้นการขยายความค าศัพท์มากกว่าการ แสดงแนวทางการปฏิบัติ เช่น สีลขันธวรรคอรรถกถา ปรากฏค าอธิบายว่า องฺค (อังคะ) หมายถึง ศาสตร์ที่ท านายอวัยวะว่า ผู้ที่มีอวัยวะเห็นแบบนี้จะเป็นผู้มีอายุยืน มียศ๑๑๑ สีลขันธวรรคฎีกาก็ขยาย ความต่อจากสีลขันธวรรคอรรถกถาว่า ท่านกล่าวศาสตร์ที่เป็นไปพร้อมกับอวัยวะว่า อังคะ เพราะ ปรารภอวัยวะเป็นไป๑๑๒ หรืออีกหนึ ่งตัวอย ่างที ่ปรากฏในสีลขันธวรรคอรรถกถาดังนี้ว ่า ลกฺขณ (ลักขณะ) หมายถึง ศาสตร์ที่ท านายลักษณะเป็นต้นว่า ผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะนี้จะเป็นพระราชา ผู้ ประกอบด้วยลักษณะนี้จะเป็นอุปราช๑๑๓ สีลขันธวรรคฎีกาก็ขยายความต่อจากสีลขันธวรรคอรรถกถา ว ่า บทว ่า ลกฺขณ (ลักขณะ) เป็นการกล ่าวแสดงลักษณะพิเศษแห่งองค์ที ่ให้ความมีอานุภาพมาก ส าเร็จ๑๑๔ ประเด็นที่ ๗ อัตตาและโลก จากเนื้อหาเกี่ยวกับทิฏฐิ ๖๒ ในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่า ผู้เรียบ เรียงได้พบค าส าคัญ ๆ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นที่ถกเถียงกันในทางอภิปรัชญา ซึ่งได้แก่ อัตตาและโลก ดังนั้น เราจะพิจารณาสองค านี้ด้วยการศึกษาสีลขันธวรรคอรรถกถาและสีลขันธวรรคฎีกาดังต่อไปนี้ ๑๐๗ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๑๒/๗๘. ๑๐๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๒/๑๕๔. ๑๐๙ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๐/๘๕. ๑๑๐ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๐/๑๕๖. ๑๑๑ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๑/๘๖. ๑๑๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑/๑๕๗. ๑๑๓ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๑/๘๖. ๑๑๔ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑/๑๕๗.


๔๑ ๑. ค าว่า อัตตาและโลก ในสัสสตวาท มีค าอธิบายในสีลขันธวรรคอรรถกถาว่า หลายบท ว่า สสฺสต อตฺตานญฺจ โลกญฺจ ความว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายยึดมั่นขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดา ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้นว่า เป็นอัตตาและว่าเป็นโลกแล้วบัญญัติอัตตาและโลกนั้นว่าเที่ยงแท้ ไม่ตาย แน่นอน ยั่งยืน๑๑๕ สีลขันธวรรคฎีกาไม่ได้น าประโยคที่สีลขันธวรรคอรรถกถาอธิบายไว้มาขยายความ ต ่อ แต่สีลขันธวรรคฎีกากลับน าค าศัพท์มาขยายความเพิ ่มเติมเพื ่อให้เกิดความชัดเจน โดยสีล ขันธวรรคฎีกามีค าอธิบายว่า ชื่อว่าอมระ เพราะไม่มีความตาย ชื่อว่านิจจะ เพราะมีอยู่แม้โดยประการ ทั้งปวง เหตุไม่มีอุปปาทะ ชื่อว่าธุวะ เพราะอรรถว่ามั่นคง คือเพราะไม่มีวิการ๑๑๖ ดังนั้น ค าว่า อัตตา และโลก ในสัสสตวาท จึงหมายถึง ขันธ์ ๕ ที่สมณพราหมณ์กลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่า เที่ยงแท้นิรันดร เป็นอมตะ ๒. ค าว่า อัตตาและโลก ในอธิจจสมุปปันนวาท สีลขันธวรรคอรรถกถาอธิบายว่า แนวคิด ที่ว่า อัตตาและโลกที่เกิดขึ้นอย่างเลื่อนลอย เป็นแนวคิดของอธิจจสมุปปันนวาท๑๑๗ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า พระอรรถกถาจารย์ผู้แต่งสีลขันธวรรคอรรถกถาไม ่ได้ขยายความของค าว่า อัตตาและโลกในที่นี้ หมายถึงอะไร จะอย่างไรก็ตาม ข้อความที่ปรากฏในสีลขันธวรรคฎีกาเกี่ยวกับอธิบายค าว่าอัตตาและ โลกไว้อย่างชัดเจนว่า ค าว่าอัตตาและโลกในที่นี้ หมายถึงขันธ์ ๕ (อตฺตโลกสญฺญิตาน ขนฺธาน )๑๑๘ ๓. ค าว่า โลกในอันตานันตวาท สีลขันธวรรคอรรถกถาไม่ได้อธิบายอะไรไว้ พอที่จะท าให้ ตีความค าว่าโลกได้ แต่สีลขันธวรรคฎีกา ได้อธิบายว่า ตนที่ถึงการนับแล้วว่าโลกเพราะอรรถวิเคราะห์ ว่า อันตทิฏฐิคติกบุคคลทั้งหลายผู้ต้องการออกจากสังสารวัฏฏ์มองเห็น หรือว่าเป็นสถานที่บุญและ บาปและผลของบุญและบาปนั้นอันตทิฏฐิคติกบุคคลเหล่านั้นมองเห็น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสว่า อนฺตานนฺต โลกสฺส ปญฺญเปนฺติ ถามว่า ก็ตนนั้นคืออะไร ตอบว่ากสิณนิมิตอันเป็นอารมณ์ของ ฌาน๑๑๙ จากค าอธิบายในสีลขันธวรรคฎีกา จะเห็นได้ว่า ค าว่าโลกในอันตานันตวาทไม่ได้หมายถึง โลกทางกายภาพ (โลกที่เราอาศัยอยู่) แต่หมายถึง กสิณนิมิตที่เป็นอารมณ์ของฌาน ๔. ค าว่า อัตตา ในสัญญีวาท สีลขันธวรรคอรรถกถาปรากฏค าอธิบาย อัตตา ไว้ว่า อัตตา หมายถึง กสิณรูป๑๒๐ พร้อมกันนั้น สีลขันธวรรคฎีกาปรากฏค าอธิบายขยายความต่อจากสีลขันธ วรรคอรรถกถาไว้ว่า อัตตาเป็นสิ่งที่อยู่ในกสิณรูปนั้น โดยฎีกายกตัวอย่างประโยคบาลีว่า “รูปิโน ๑๑๕ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๐/๙๕. ๑๑๖ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๐/๑๗๓. ๑๑๗ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๖๗/๑๐๖. ๑๑๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑๖๗/๒๐๒. ๑๑๙ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๕๓/๑๙๕. ๑๒๐ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๗๖-๗๗/๑๐๗.


๔๒ ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีรูป” ๑๒๑ ผู้เรียบเรียงเข้าใจว่า อัตตาในที่นี้มีความคล้ายคลึงกับอัตตาในศาสนา พราหมณ์ซึ่งอัตตาของศาสนาพราหมณ์มีอยู่ในร่างกายของทุกคน เมื่อร่างกายดับลง อัตตาก็แสวงหา ร่างใหม่ ๕. ค าว่า อัตตา ในอุจเฉทวาท สีลขันธวรรคอรรถกถาอธิบายไว้ว่า อัตตา มี ๔ ความหมาย คือ อัตตาประเภทที่ ๑ หมายถึง ร่างกายของมนุษย์ อัตตาประเภทที่ ๒ หมายถึง ร่างกายของเทวดา ในสวรรค์ ๖ ชั้น อัตตาประเภทที่ ๓ หมายถึง ร่างกายของรูปพรหม อัตตาประเภทที่ ๔ หมายถึง อรูป พรหม๑๒๒ ส่วนสีลขันธวรรคฎีกาไม่ได้ขยายความอะไรไว้ จะอย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ ๕ นี้ ค าว่า อัตตา ในอุจเฉทวาท หมายถึงร่างของสรรพสัตว์ในไตรภูมิ ประเด็นที่ ๘ หาระ ๑๖ นยะ และสาสนปัฏฐาน ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ตอนสีล ขันธวรรค และสีลขันธวรรคอรรถกถา ไม ่ได้กล ่าวถึงหาระ ๑๖ นยะ และสาสนปัฏฐาน แต ่สีล ขันธวรรค ฎีกากาได้น าเสนอ หาระ ๑๖ นยะ และสาสนปัฏฐานในแง่ของการยกค าศัพท์มาอธิบาย ดังนั้น เนื้อหาของหาระ ๑๖ นยะ และสาสนปัฏฐาน ในสีลขันธวรรคฎีกาจึงค ่อนข้างจะไม่ ประติดประต่อหรือกระท่อนกระแท่น๑๒๓ จะอย่างไรก็ตาม ผู้เรียบเรียงจะน าเสนอเนื้อหาของหาระ ๑๖ นยะ และสาสนปัฏฐานโดยสังเขปเพื ่อให้ผู้ศึกษาหาระ ๑๖ น ยะ และสาสนปัฏฐาน ในสีล ขันธวรรคฎีกานี้มีความเข้าใจพอประมาณ ซึ่งหากผู้ศึกษาต้องการจะศึกษาหาระ ๑๖ นยะ และสาสน ปัฏฐานอย่างชัดเจน ผู้เรียบเรียงขอแนะน าว่า ควรศึกษาเนตติอรรถกถา และเนตติฎีกา เนื้อหาของหาระ ๑๖ ๑. เทสนาหาระ หมายถึง การอธิบายพระพุทธพจน์โดยใช้หลักการ ๖ อย่าง คือ ๑) อัสสา ทะ (กายิกสุข เจตสิกสุข) ๒) อาทีนวะ (กายิกทุกข์ เจตสิกทุกข์) ๓) นิสสรณะ (อริยมรรค) ๕) ผละ (นิพพาน) ๕) อุบาย (ปุพพภาคปฏิปทาอันเป็นปทัฏฐานแห่งอริยมรรค) ๖) อาณัตติ (การเชิญชวนให้ ปฏิบัติเพื่อความส าเร็จแห่งประโยชน์เกื้อกูล) ๒. วิจยหาระ หมายถึง การวิจัยความหมายของพระพุทธพจน์โดยใช้หลักการ ๑๑ อย่าง คือ ๑) ปทวิจัย การจ าแนกโดยบท ๒) ปุจฉาวิจัย การน าค าถามมาแยกแยะหรือจ าแนก ๓) วิสัชชนา วิจัย การน าค าตอบมาแยกแยะหรือจ าแนก ๔) ปุพพาปรวิจัย การจ าแนกโดยการเทียบเคียงบทหน้า และบทหลัง ๕) อนุคีติวิจัย การน าพระพุทธพจน์มารับรอง ๖) อัสสาทวิจัย การจ าแนกสภาวธรรมให้ เห็นความเป็นกายิกสุขหรือเจตสิกสุข ๗) อาทีนววิจัย การจ าแนกสภาวธรรมให้เห็นความเป็นกายิก ทุกข์หรือเจตสิกทุกข์ ๘) นิสสรณวิจัย การจ าแนกธรรมให้เห็นว่าเป็นธรรมที่น าสัตว์ออกมาจากทุกข์ ๙) ผลวิจัย การจ าแนกธรรมให้เห็นว่าเมื่อปฏิบัติตามธรรมที่ว่านี้จะได้ผลคือนิพพาน ๑๐) อุบายวิจัย ๑๒๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๗๖-๗๗/๒๐๗-๒๐๘. ๑๒๒ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๘๔/๑๐๘. ๑๒๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๔๙/


๔๓ การจ าแนกธรรมให้เห็นว่าเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นส่วนเบื้องต้นแห่งอริยมรรค ๑๑) อาณัตติวิจัย การเชิญ ชวนให้ปฏิบัติตาม ๓. ยุตติหาระ หมายถึง การวิเคราะห์เพื่อหาความเหมาะสมและความไม่เหมาะสมของ พยัญชนะและอรรถะในพระบาลี ๔. ปทัฏฐานหาระ หมายถึง หลักการค้นหาปทัฏฐานของธรรมนั้น ๆ ๕. ลักขณหาระ หมายถึง หลักการอธิบายธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ทรงแสดงไว้ โดยตรงในสูตร โดยท าการสงเคราะห์เข้าไปในธรรมนั้น ๆ โดยอาศัยความเป็นธรรมที ่มีลักษณะ เหมือนกัน ความเป็นธรรมที่เกิดดับพร้อมกัน และความเป็นธรรมที่มีกิจเหมือนกันเป็นต้น ๖. จตุพยูหหาระ หมายถึง หลักการอธิบายพระพุทธพจน์โดยใช้หลักการ ๔ อย่าง คือ ๑) นิรุตติ การแสดงความหมาย ๒) อธิปปายะ การวิเคราะห์ให้เห็นเจตนารมณ์ของธรรมที่ พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงแสดง ๓) นิทาน เหตุความเป็นมา ๔) อนุสนธิ การเชื่อมโยง ๗. อาวัตตหาระ หมายถึง หลักการอธิบายพระพุทธพจน์ด้วยวิธีการหาองค์ธรรมของธรรม นั้นพร้อมกับหาปทัฏฐานของธรรมนั้น หลังจากนั้น จึงท าการหมุนโยงไปหาธรรมที่เป็นสภาคะและเป็น วิสภาคะ ๘. วิภัตติหาระ หมายถึง หลักการอธิบายพระพุทธพจน์โดยการจ าแนก ๓ อย ่าง คือ ๑) การจ าแนกโดยธรรม ๒) การจ าแนกโดยภูมิ ๓) การจ าแนกโดยปทัฏฐาน ๙. ปริวัตตหาระ หมายถึง หลักการหมุนกุศลธรรมที่มาในพระสูตรด้วยอกุศลธรรมที่เป็น ฝ่ายตรงกันข้ามกับกุศลธรรมนั้น หรือหลักการหมุนอกุศลธรรมที่มาในพระสูตรด้วยกุศลธรรมที่เป็น ฝ่ายตรงกันข้ามกับอกุศลนั้น ๑๐. เววจนหาระ หมายถึง หลักการอธิบายพระพุทธพจน์ผ่านการบอกค าไวพจน์ ๑๑. ปัญญัตติหาระ หมายถึง หลักการที่มีบัญญัติตั้งไว้เพื่อเป็นเครื่องสื่อความหมายของ พระพุทธพจน์ให้ผู้ฟังได้รับรู้ด้วยประการต่าง ๆ ๑๒. โอตรณหาระ หมายถึง หลักการที่น าพระพุทธพจน์มาอธิบายด้วยการสงเคราะห์ลง ในขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ๑๓. โสธนหาระ หมายถึง หลักการตรวจช าระบท ความหมายของบท ปุจฉา วิสัชชนา และอารัมภะของพระพุทธพจน์ แล้วน าเสนออย่างถูกต้อง ๑๔. อธิฏฐานหาระ หมายถึง หลักการน าพระพุทธพจน์มาอธิบายด้วยวิธีการก าหนดว่า อะไรเป็นสามัญญะ อะไรเป็นวิเสสะ


๔๔ ๑๕. ปริกขารหาระ หมายถึง หลักการอธิบายพระพุทธพจน์โดยความเป็นเหตุที่เป็นวิสภา คะ อัชฌัตติกะ ชนกะ อสาธารณะ และโดยความเป็นปัจจัยที่เป็นวิสภาคะ พาหิระ อุปัตถัมภกะ สาธารณะ ๑๖. สมาโรปนหาระ หมายถึง หลักการอธิบายพระพุทธพจน์ด้วยการอธิบายใน ๔ ลักษณะ คือ การแสดงปทัฏฐาน การแสดงไวพจน์ การแสดงภาวนา และการแสดงปหานะ ๑๒๔ เนื้อหาของนยะ ๕ ๑. นันทิยาวัฏฏนัย หมายถึง นัยที่แสดงฝ่ายสังกิเลสโดยเวียนจากธรรมฝ่ายหลักคือตัณหา และอวิชชาไปสู่ธรรมคล้อยตามมีอัตตกิลมถานุโยคเป็นต้น และแสดงฝ่ายโวทานว่า ธรรมเหล่านั้นย่อม หมดจดด้วยสมถะและวิปัสสนา ซึ่งตัณหาย่อมหมดจดด้วยสมถะ อวิชชาย่อมหมดจดด้วยวิปัสสนา นอกจากนี้ยังต้องประกอบธรรมเหล่านั้นลงในอริยสัจ ๔ กล่าวคือ ตัณหาอวิชชา เป็นสมุทยสัจ ธรรมที่ มีในภูมิ ๓ เป็นทุกขสัจ สมถะและวิปัสสนา เป็นมรรคสัจ อสังขตธรรม (นิพพาน) เป็นนิโรธสัจ ๒. ติปุกขลนัย หมายถึง นัยที่จ าแนกมูลเหตุของกุศลธรรมและอกุศลธรรมออกเป็นอย่าง ละ ๓ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจเหตุของธรรมทั้ง ๒ อย่างถูกต้อง ๓. สีหวิกกีฬิตนัย หมายถึง นัยที่เป็นการแจกแจงกิเลสเป็นวิปัลลาส ๔ และแจกแจงพระ สัทธรรม คือ ปฏิบัติและปฏิเวธเป็นอินทรีย์ ๕ เพื่อให้เข้าใจสภาวะของกิเลสอย่างถี่ถ้วนว่า กิเลสที่ท า ให้จิตมัวหมองเป็นสภาวะวิปัลลาสจากความจริง ส่วนปฏิบัติและปฏิเวธะจัดเป็นอินทรีย์ ๕ ที่แก่กล้า ตามล าดับจนกระทั้งบรรลุพระนิพพาน ๔. ทิสาโลจนอังกุสนัย หมายถึง นัยที่สอดส่องกุศลธรรมเป็นต้นโดยความเป็นหัวข้อหลัก ของนัย ๓ คือ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย และสีหวิกกีฬิตนัย ๕. อังกุสนัย หมายถึง นัยที่เหมือนตะขอโดยเกี่ยวธรรมมารวมกันไว้ในนัย ๓ อย่างแรก๑๒๕ สาสนปัฏฐานนัย สาสนปัฏฐานนัย หมายถึง การจ าแนกระดับธรรมผ ่านพระสูตรต่าง ๆ ได้แก ่ สังกิเลส ภาคิยสูตร สูตรฝ่ายเศร้าหมอง วาสนาภาคิยสูตร สูตรฝ่ายการบ าเพ็ญบุญ นิพเพธภาคิยสูตร สูตรฝ่าย การท าลายกิเลส อเสกขภาคิยสูตร สูตรฝ่ายอเสกขธรรม เป็นต้น๑๒๖ ๑๒๔ ดูรายละเอียดได้ใน เนตฺติ.อ. (บาลี) ๑/ ๕-๕๐/๔๔-๑๕๐, จ ารูญ ธรรมดา, กระบวนการตีความ ตามแนวคัมภีร์ของคัมภีร์เนตติ, (กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์น การพิมพ์, ม.ป.ป), หน้า ๙-๒๗๐. ๑๒๕ พระคันธสาราภิวงศ์, เนตติปกรณ์, (ม.ป.ท., ม.ป.ป), หน้า ๔๖-๕๑. ๑๒๖ พระคันธสาราภิวงศ์, เนตติปกรณ์, (ม.ป.ท., ม.ป.ป), หน้า ๔๕๗-๔๕๘.


๔๕ ๘.๔ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ส าคัญในสามัญญผลสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากสามัญญผลสูตร ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ ณ สวนอัมพวันของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ในกรุง ราชคฤห์ครั้งนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูทรงเปล่งอุทานขึ้นมาว่า ใครหนอ เมื่อเราเข้าไปหาแล้วจะสามารถ ท าให้จิตใจของเราเลื่อมใสได้ อ ามาตย์ที่อยู่ใกล้พระองค์บางคนกราบทูลว่า ท่านปูรณกัสสปะพระเจ้าข้า บางคนกราบทูลว่า ท่านมักขลิโคสาลพระเจ้าข้า บางคนกราบทูลว่าท่านอชิตเกสกัมพลพระเจ้าข้า บาง คนกราบทูลว่า ท่านปกุทธกัจจายนะพระเจ้าข้า บางคนกราบทูลว่าท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตรพระเจ้าข้า บางคนกราบทูลว่า ท่านนิครนนาฏบุตรพระเจ้าข้า เมื่ออ ามาตย์แต่ละคนกราบทูลเสร็จแล้ว พระเจ้า อชาตศัตรูก็ทรงนิ่งอยู่ และในเหตุการณ์ครั้งนั้น มีหมอชีวกโกมารภัจจ์นั่งอยู่ใกล้ ๆ พระองค์ ครั้งนั้น พระองค์จึงตรัสถามว่า ชีวกท าไมท่านจึงนั่งนิ่ง หมอชีวกโกมารภัจจ์จึงได้แนะน าให้พระเจ้าอชาตศัตรู ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จพระราชด าเนินไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค เจ้าแล้ว พระองค์ได้ตรัสถึงเหตุการณ์ช่วงที่พระองค์ได้เข้าไปสนทนากับครูทั้ง ๖ แล้วทรงเล่าแนวคิด ของครูทั้ง ๖ ให้พระพุทธองค์สดับ ดังนี้๑๒๗ ๑. เจ้าลัทธิปูรณกัสสปะ มีแนวคิดว่า เมื่อบุคคลท าเอง ใช้ให้ผู้อื่นท าตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ท าให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นท าให้เศร้าโศก บาปย่อมไม่ชื่อว่าอัน บุคคลกระท า เป็นต้น ๒. เจ้าลัทธิมักขลิโคสาล มีแนวคิดว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เศร้าหมองเอง เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความหมดจดของสัตว์ ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย หมดจดเอง ความเศร้าหมองและความหมดจด ไม่ได้มีเพราะ การกระท าของตน ไม่ได้มีเพราะการกระท าของผู้อื่น ไม่ได้มีเพราะการกระท าของมนุษย์ ก าลังไม่มี ความเพียรไม่มี ความสามารถของมนุษย์ไม่มี ความพยายามของมนุษย์ไม่มี สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ ทั้ง ปวงไม่มีอ านาจ ไม่มีก าลัง ไม่มีความเพียร แปรเปลี่ยนไปตามโชคชะตา เป็นต้น ๓. อชิตเกสกัมพล มีแนวคิดว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวง ไม่มีผลวิบากแห่งกรรมที่ท าดีท าชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี ปรโลกไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่เกิดผุดขึ้น ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบท าให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ แจ้งไม่มีอยู่จริงในโลก มนุษย์เกิดจากการประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ เมื่อสิ้นชีวิต ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน ้าไปตามธาตุน ้า ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมแปรเปลี่ยนไป เป็นอากาศธาตุ เป็นต้น ๔. เจ้าลัทธิปกุทธกัจจายนะมีแนวคิดว่า สภาวะ ๗ กอง คือ กองแห่งธาตุดิน กองแห่งธาตุ น ้า กองแห่งธาตุไฟ กองแห่งธาตุลม กองสุข กองทุกข์ กองชีวะ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ๑๒๗ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๑๕๐-๑๖๔/๔๗-๕๒.


๔๖ ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือ ทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ในสภาวะ ๗ กองนั้น ไม่มีผู้ฆ่า ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฆ่า ไม่มีผู้ฟัง ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฟัง ไม่มีผู้รู้ ไม่มีผู้ท า ใครก็ตามแม้จะเอาศัสตราคม ตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าปลงชีวิต ใครได้ เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรกผ่านไประหว่างสภาวะ ๗ กองเท่านั้นเอง ๕. เจ้าลัทธิสัญชัยเวลัฏฐบุตร มีแนวคิดว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ จะ ว่าไม่ใช่ก็มิใช่ จะว่ามิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ (มีวาทะซัดซ่าน ไม่ปักใจในแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง) เป็นต้น ๖. นิครนถ์นาฏบุตร มีแนวคิดว่า นิครนถ์ในโลกนี้ส ารวมด้วยสังวร ๔ อย่าง คือ (๑) งดเว้น จากน ้าดิบทุกอย่าง (๒) ท ากิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง (๓) ช าระล้างบาปทุกอย่าง (๔) รับสัมผัสทุก อย่างโดยไม่ให้เกิดบาป๑๒๘ ต่อจากนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูได้ตรัสถามถึงผลเชิงประจักษ์ที่จะพึงได้รับจากการบวชเป็น พระภิกษุ พระพุทธองค์ได้วิสัชชนาผลเชิงประจักษ์ที่จะพึงได้จากการบวชเป็นพระภิกษุแก่พระเจ้า อชาตศัตรูดังนี้ ๑. ทาสที่เคยดูแลรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ก็หมดสถานะความ เป็นทาส พร้อมได้รับการไหว้ การบ ารุงด้วยปัจจัย ๔ การคุ้มครองที่ชอบธรรม ๒. ชาวนาที่เคยเสียภาษีให้กับพระเจ้าแผ่นดิน เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ก็ไม่ต้องเสีย ภาษี พร้อมกับได้รับการไหว้ การบ ารุงด้วยปัจจัย ๔ การคุ้มครองที่ชอบธรรม ในขณะเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้แสดงผลที่ประณีตที่จะพึงได้รับจากการบวชเป็น พระภิกษุ นั้น ก็คือการได้รักษาจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล การรักษาอินทรียสังวร การได้ฝึก สติสัมปชัญญะ การได้ใช้ชีวิตด้วยความสันโดษ การละนิวรณ์ การได้บรรลุฌาน ๔ การได้วิปัสสนา ญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพพโสตญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณ ในท้ายที่สุดพระเจ้าอชาตศัตรูได้ประกาศตนเป็นอุบาสก นับถือ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ๑๒๙ ประเด็นที่น ่าสนใจจากสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถาและสีลขันธวรรคฎีกาได้น าเนื้อหาเบื้องต้นของสามัญญผลสูตรมา อธิบายเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเด็นที่ ๑ บรรยากาศเมื่องราชคฤห์สีลขันธวรรคอรรถกถา ได้เล่าถึงบรรยากาศเมือง ราชคฤห์ว่า เมืองราชคฤห์เป็นเมืองที่พระเจ้ามันตธาตุและพระเจ้ามหาโควินท์ทรงปกครอง โดยเป็น เมืองที่ส าคัญในช ่วงเวลาที ่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติและพระเจ้าจักรพรรดิทรงอุบัติ หากไม่ได้อยู่ใน ๑๒๘ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๑๖๐-๑๘๑/๕๐-๕๙. ๑๒๙ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๑๘๒-๒๕๓/ ๕๙-๘๖.


๔๗ ช่วงเวลาดังกล่าว เมืองราชคฤห์จะว่างเปล่า พวกยักษ์จะเข้ามายึดครอบครองเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ๑๓๐ ส่วนสีลขันธวรรคฎีกาไม่ได้อธิบายถึงบรรยากาศของเมืองราชคฤห์เหมือนอรรถกถา แต่สีลขันธวรรค ฎีกาได้น าค าศัพท์ว ่า เมืองราชคฤห์ (ราชคห ) มาวิเคราะห์ในเชิงไวยากรณ์เพื ่อให้ความหมายต่อ ค าศัพท์ว่า เมืองราชคฤห์ โดยมีทั้งสิ้น ๖ ความหมายดังนี้ ๑. นครมาปเนน รญ ฺญา การิตสพฺพเคหตฺตา ราชคห . แปลว ่า ชื ่อว ่าราชคฤห์ เพราะมี ต าหนักทั้งปวงอันพระราชาทรงให้สร้างโดยรับสั่งให้สร้างพระนคร. ๒. คิชฺฌกูฏาทีหิ ปริกฺขิตฺตตฺตา ปพฺพตราเชหิ ปริกฺขิตฺตเคหสทิสนฺติปิ ราชคห . แปลว่า ชื่อว่า ราชคฤห์เพราะเป็นเช่นกับด้วยต าหนักที ่ถูกแวดล้อมด้วยภูเขาหลวง เพราะภูเขาคิชฌกูฏเป็นต้น แวดล้อม ดังนี้ก็มี. ๓. สม ฺปนฺนภวนตาย ราชมาน เคหนฺติปี ราชคห . แปลว ่า ชื ่อว ่าราชคฤห์ เพราะเป็น ต าหนักที่งดงามเพราะมีการเสวย (สมบัติ) ที่สมบูรณ์ ดังนี้ก็มี. ๔. ส วิหิตารกฺขตาย อนต ฺถาวหนภาเวน อุปคตาน ปฏิราชูน คห เคหภูตนฺติปิ ราชคห . แปลว่า ชื่อว่า ราชคฤห์ เพราะอรรถว่า เป็นต าหนักของพระราชาผู้เป็นข้าศึกผู้ทรงเข้าถึงโดยความเป็น ผู้น ามาซึ่งอนัตถะ เหตุมีการอารักขาจัดแจงไว้พร้อม. ๕. ราชูหิ ทิสฺวา สมฺมา ปติฏฺฐฃาปิตตฺตา เตส คห เคหภูตนฺติปิ ราชคห . แปลว่า ชื่อว่าราชคฤห์ เพราะเป็นต าหนักของพระราชาเหล่านั้น เหตุพระราชาทั้งหลายทรงเห็นแล้ว ทรงให้ประดิษฐานโดย ชอบ. ๖. อารามเณยฺยการทีหิ ราชเต นิวาสสุขตาทินา สตฺเตหิ มมตฺตวเสน คยฺหติ ปริคยฺหตีติ วา ราชคห . แปลว่า ชื่อว่าราชคฤห์ เพราะอรรถว่า รุ่งเรืองด้วยอารามอันน่ารื่นรมย์ใจเป็นต้น หรือว่า เพราะอันสัตว์ทั้งหลายยึดเอา คือครอบครอง ด้วยสามารถแห่งความเป็นเราด้วยเหตุต่างมีความเป็นผู้มี สุขด้วยการอาศัยอยู่เป็นต้น.๑๓๑ ประเด็นที่ ๒ การนิ่งเฉยของชีวกโกมารภัจจ์สีลขันธวรรคอรรถกถามีข้อความปรากฏว่า ชีวกโกมารภัจจ์มีความเกี่ยวข้องกับพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยหมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ท าให้พระวรกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งหมักหมมด้วยโรคหายเป็นปกติ และถวายผ้าคู่หนึ่งซึ่งทอจากแคว้นสีพีแก่ พระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนาด้วยการแสดงธรรม หมอชีวกจึงได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และได้สร้างวิหารถวายพระพุทธองค์ ในกาลต่อมาคืออัมพวันของตนนั่นเอง๑๓๒ จะเห็นได้ว่าช่วงที่พระ เจ้าอชาตศัตรูตรัสถามอ ามาตย์แต่ละคนว่าควรจะเข้าไปหาใครดีที่จะสามารถท าจิตใจของเราเลื่อมใส ๑๓๐ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๑๕๐/๑๒๐. ๑๓๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๕๐/๒๕๔. ๑๓๒ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๑๕๐/๑๒๑.


๔๘ ได้ อ ามาตย์แต่ละคนก็กราบทูลแนะน าอาจารย์ท่านนั้นท่านนี้ แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์กลับนิ่งเฉย ประเด็นค าว่า “เป็นผู้นิ่งซึ่งภาษาบาลีใช้ค าว่า ตุณฺหี อโหสิ” สีลขันธวรรคฎีกาได้ขยายความว่า การที่ หมอชีวกโกมารภัจจ์นิ่งเป็นเช่นกับการท าลายความประสงค์ของเรา เพราะเหตุนั้น ความประสงค์ของ เราจะส าเร็จได้ก็ด้วยการถามเขาแล้วให้เขาพูด๑๓๓ จะเห็นได้ว่า สีลขันธวรรคฎีกา เกรงว่า นักศึกษา คัมภีร์รุ่นหลังจะตีความประโยคนี้ไม่ได้ ท่านจึงได้อธิบายขยายความเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ประเด็นที่ ๓ การตีความแนวคิดของครูทั้ง ๖ สีลขันธวรรคอรรถกถา ได้น าค าศัพท์ที่อยู่ใน แนวคิดของครูทั้ง ๖ มาอธิบายในแง่ของการให้ความหมายของค าศัพท์ (แต่งแก้ค าศัพท์) เช่น สีล ขันธวรรคอรรถกถา น าค าศัพท์ว่า “กิลมโต” ซึ่งอยู่ในแนวคิดของเจ้าลัทธิปูรณะมาอธิบายว่า กิลมโตติ อาหารุปจฺเฉทพนฺธนาคารปฺปเวสนาทีหิ สย กิลมนฺตสฺสป ปเรหิ กิลมาเปนฺตสฺสปี. แปลว่า บทว่า กิลม โต ความว่า ท าให้ล าบากเองก็ดี ใช้บุคคลอื่นท าให้ล าบากก็ดี ด้วยการตัดอาหารและการขังไว้ในเรือน จ าเป็นต้น.๑๓๔ หรือสีลขันธวรรคอรรถกถา น าค าศัพท์ว่า “อนิมฺมิตา” ซึ่งอยู่ในแนวคิดของเจ้าลัทธิป กุทธกัจจายนะมาอธิบายว่า อนิมฺมิตาติ อิทฺธิยาปิ น นิมฺมิตา. แปลว่า บทว่า อนิมฺมิตา ได้แก่ ไม่ได้ เนรมิตแม้ด้วยฤทธิ์.๑๓๕ หรือน าค าศัพท์ว่า “ยตตฺโต” ซึ่งอยู่ในแนวคิดของเจ้าลัทธินิครนนาฎบุตรมา อธิบายว่า ยตตฺโตติ ส ยตจิตฺโต. แปลว่า บทว่า ยตตฺโต คือ มีจิตส ารวมแล้ว.๑๓๖ นอกจากนี้ สีลขันธวรรคอรรถกถา ยังน าค าศัพท์ที่อยู่ในแนวคิดของเจ้าลัทธิทั้ง ๖ มา ตีความ เช่น สีลขันธวรรคอรรถกถา น าค าศัพท์ว่า “สพฺเพ สตฺตา สพฺเพ ปาณา สพฺเพ ภูตา” ซึ่งอยู่ใน แนวคิดของเจ้าลัทธิมักขลิโคสาลมาตีความ โดยสีลขันธวรรคอรรถกถาตีความว่า ๑. ค าว่า สพฺเพ สตฺตา ที่แปลว่าสัตว์ทั้งปวง หมายความรวมเอาสัตว์ทุกประเภทมี อูฐ โค และลาเป็นต้น ๒. ค าว่า สพฺเพ ปาณา ที่แปลว่า สัตว์มีลมปราณทั้งปวง หมายถึง สัตว์ที่มีลมปราณที่มี อินทรีย์หนึ่ง หรือสัตว์ที่มีลมปราณที่มีสองอินทรีย์ ๓. ค าว่า สพฺเพ ภูตา ที่แปลว่า ภูตทั้งปวง หมายถึงสัตว์ที่อยู่ในอัณฑะและที่อยู่ในมดลูก ๔. ค าว่า สพฺเพ ชีวา ที่แปลว่า ชีพทั้งปวง หมายถึง ข้าวสาลี ข้าวเหนียว ข้าวละหมาน เป็นต้น๑๓๗ ๑๓๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๕๗/๒๖๑-๒๖๒. ๑๓๔ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๑๖๖/๑๔๑. ๑๓๕ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๑๗๔/๑๔๙. ๑๓๖ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๑๗๗/๑๔๙. ๑๓๗ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๑๖๗-๑๖๙/๑๔๓.


๔๙ ซึ่งต่อมา สีลขันธวรรคฎีกาก็ได้น าค าศัพท์ที่อยู่ในสีลขันธวรรคอรรถกถา มาอธิบายอีกครั้ง เพื ่อให้เกิดความชัดเจน ยกตัวอย ่างเช่น สีลขันธวรรคฎีกา ได้น าค าศัพท์ว่า “สต ฺตา ปาณา ภูตา ชีวา” ที่อยู่ในสีลขันธวรรคอรรถกถามาอธิบายในแง่ของการให้ความหมายว่า ๑. สตฺตโยคตาย รูปาทีสุ สตฺตวิสตฺตตาย สตฺตา. แปลว่า ที่ชื่อว่าสัตว์ เพราะประกอบด้วย การข้องแวะ คือ เพราะติดใจในรูปารมณ์เป็นต้น. ๒. ปาณนโต อสฺสสนปสฺสสนวเสน ปวตฺติยา ปาณา. แปลว่า ที่ชื่อว่า ปราณ เพราะมีลม หายใจ คือ เพราะเป็นไปด้วยอ านาจการหายใจเข้าและการหายใจออก. ๓. อณฺฑโกสาทีสุ ภวนโต ภูตาติ วุจฺจนฺติ. แปลว่า ที่เรียกว่าภูต เพราะอยู่ในฝักของอัณฑะ เป็นต้น. ๔. ชีวนโต ปาณ ธาเรนฺตา วิย วฑฺฒนโต ชีวา. แปลว่า ที่ชื่อว่าชีวะ เพราะด ารงชีพอยู่ คือ เพราะเจริญ เหมือนมีลมปราณ ฉะนั้น.๑๓๘ ในขณะเดียวกัน สีลขันธวรรคฎีกาได้น าประโยคในสีลขันธวรรคอรรถกถามาตีความเพื่อให้ เกิดความชัดเจน ยกตัวอย่าง เช่น สพฺเพ ตตฺถ ตตฺถ อุจฉิชฺชนฺตีติ อิเม สตฺตา ยตฺถ ยตฺถ ภเว โยนิอาทีสุ ฐฃิตา ตตฺถ ตตฺถ อุจฺฉิชฺชนฺติ นิรุทยวินาสวเสน วินสฺสนฺติ. แปลว่า หลายบทว่า สพฺเพ ตตฺถ ตตฺถ อุจ ฉิชฺชนฺติ ความว่า สรรพสัตว์ด ารงอยู่ในภพใด ๆ คือ ในก าเนิดเป็นต้น สรรพสัตว์ย่อมขาดสูญ คือ ย่อม พินาศไปด้วยการฉิบหายอย่างไม่เกิดขึ้นอีกในภพนั้น ๆ.๑๓๙ ประเด็นที่ ๔ อินทรียสังวร เป็นข้อปฏิบัติที่ว่าด้วยการส ารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สีลขันธวรรคอรรถกถาจึงได้หยิบยกค าว่าตา ที่ภาษาบาลีใช้ค าว่า จกฺขุ มาอธิบายดังนี้ ๑. จักขุ ในที่บางแห่ง ใช้ในความหมายว่า พุทธจักขุ ๒. จักขุ ในที่บางแห่ง ใช้ในความหมายว่า สมันตจักขุ ๓. จักขุ ในที่บางแห่ง ใช้ในความหมายว่า ธรรมจักขุ ๔. จักขุ ในที่บางแห่ง ใช้ในความหมายว่า ปัญญาจักขุ ๕. จักขุ ในที่บางแห่ง ใช้ในความหมายว่า ทิพพจักขุ ๖. จักขุ ในที่บางแห่ง ใช้ในความหมายว่า ปสาทจักขุ จะอย่างไรก็ตาม สีลขันธวรรคอรรถกถาก็ระบุลงไปอย่างชัดเจนว่า จักขุ ในเรื่องว่าด้วย อินทรียสังวรนี้ หมายถึง ปสาทจักขุ๑๔๐ ต่อมา สีลขันธวรรคฏีาได้น าค าว่า พุทธจักขุ และสมันตจักขุ ๑๓๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๖๘/๒๗๒. ๑๓๙ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๗๑/๒๗๕. ๑๔๐ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๑๓/๑๖๒.


๕๐ ในสีลขันธวรรค อรรถกถามาอธิบายเพิ่มเติม โดยฎีกาอธิบายว่า พุทธจักขุ หมายถึง อาสยานุสยญาณ และอินทริยปโรปริยัตตญาณ ส่วนสมันตจักขุ หมายถึง สัพพัญญุตญาณ๑๔๑ ประเด็นที่ ๕ สติสัมปชัญญะสีลขันธวรรคอรรถกถา ไม่ได้อธิบายเรื่องสติไว้ มุ่งเน้นอธิบาย เรื่องสัมปชัญญะเป็นหลัก โดยสีลขันธวรรคอรรถกถาอธิบายว่า สัมปชัญญะ มี ๔ อย่าง คือ ๑. สาตถกสัมปชัญญะ การก าหนดรู้ถึงประโยชน์ ๒. สัปปายสัมปชัญญะ การก าหนดรู้ถึงสัปปายะความปลอดภัย ๓. โคจรสัมปชัญญะ การก าหนดรู้อารมณ์ที่กรรมฐานในโคจรคาม ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ การก าหนดรู้อารมณ์กรรมฐานโดยไม่หลงลืม๑๔๒ ต ่อมา สีลขันธวรรคฎีกา ได้น าค าศัพท์ว ่า สัมปชัญญะมาวิเคราะห์ในเชิงไวยากรณ์ว่า สมนฺตโต ปกฏฺฐฃ วา สวิเสส ชานาตีติ สม ฺปชาโน, สม ฺปชานนฺส ภาโว สม ฺปชญ ฺญ . แปลว่า ชื่อว่าสัมปชานะ เพราะอรรถว่า รู้โดยรอบ หรือว่ารู้โดยมาก อย่างมีพิเศษ, ความเป็นแห่งสัมปชานะ ชื่อว่าสัมปชัญญะ.๑๔๓ จะอย่างไรก็ตาม ค าว่า สัมปชัญญะ ในเบื้องต้นเป็นศัพท์นาม แต่หากค าว่าสัมปชัญญะถูก ใช้ในแง่ของคุณนาม ท่านจะใช้ค าว่า “สมฺปชานการี” ซึ่งค าศัพท์ที่ว่านี้ สีลขันธวรรคฎีกา ได้วิเคราะห์ ในเชิงไวยากรณ์ว่า สมฺปชญฺญสฺส กาโร เอตสฺส อตฺถีติ สมฺปชานการี. แปลว่า การกระท าความเป็นผู้รู้ ชัด มีอยู่แก่บุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า สมฺปชานการี.๑๔๔ ประเด็นที่ ๖ ความสันโดษ สีลขันธวรรคอรรถกถา อธิบายว่า สันโดษ หมาถึง ความยินดี ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ มี ๓ คือ ๑. ยถาลาภสันโดษ หมายถึง ความสันโดษด้วยปัจจัยตามที่ได้ ๒. ยถาพลสันโดษ หมายถึง ความสันโดษตามก าลังร่างกาย ๓. ยถาสารุปปสันโดษ หมายถึง ความสันโดษตามความเหมาะสมแก่ฐานะ ชีวิตของตน ความสันโดษ ๓ อย ่างข้างต้น เมื ่อน าไปสังเคราะห์ลงในปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช สันโดษจะมี ๑๒ อย่างทันที๑๔๕ นอกจากนี้สีลขันธวรรคอรรถกถายังได้อธิบาย ความสันโดษผ่านจินตนาการโดยน าเสนอในรูปแบบคาถาว่า ๑๔๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๓/๒๙๖. ๑๔๒ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๑๔/๑๖๒-๑๗๙. ๑๔๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๔/๒๙๖. ๑๔๔ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๔/๒๙๗. ๑๔๕ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๑๕/๑๗๙.


๕๑ จาตุทฺทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ สนฺตุสฺสมาโน อิตรีตเรน ปริสฺสยาน สหิตา อฉมฺภี เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป ภิกษุอยู่ในทิศทั้ง ๔ เป็นผู้ไม่กระทบกระทั่งอะไร ยินดีพอใจด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ คอยป้องกันอันตรายทั้งหลาย โดยไม่หวาดกลัว อยู่คนเดียว เช่นกับนอแรด พึงเที่ยวไป๑๔๖ จากพระคาถาเบื้องต้น สีลขันธวรรคฎีกาได้น าค าศัพท์ในคาถามาอธิบายทีละศัพท์ ดังนี้ ภิกษุ ชื่อว่าจาตุททิสะ (จาตุทฺทิโส) เพราะอรรถว่า มีทิศ ๔ อันเป็นที่อยู่สบาย เพราะมีการ อยู่สบายใน ๔ ทิศ จตุททิสะนั่นเอง ชื่อว่าจาตุททิสะ ภิกษุ ชื่อว่าอัปปฏิฆะ (อปฺปฏิโฆ) เพราะอรรถว่า ไม่กระทบสัตว์ หรือว่าสังขารด้วยภัยในที่ ไหน ๆ ใน ๔ ทิศนั้น หรือว่าไม่กระทบเองด้วยภัยนั้น สองบทว่า สนฺตุสฺสมาโน อิตรีตเรน ได้แก่ ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยอันสูงและต ่าอัน เป็นของตนอันเป็นของมีอยู่ และอันเสมอนั่นเอง ชื่อว่าปริสสยะ (ปริสฺสยานิ) เพราะอรรถว่า เบียดเบียน คือ ท าลาย ได้แก่ครอบง ากายและ จิตซึ่งหมายถึง สีหะและเสือโคร่งเป็นต้น และกามฉันทะเป็นต้น ปริสสยะเหล่านั้นอันภิกษุข่มได้ คือ ทนได้ ด้วยอธิวาสนขันติ และด้วยการฝึกเป็นต้น และอันภิกษุครอบง าได้แล้ว ชื่อว่าอฉัมภี (อฉมฺภี) เพราะไม่มีความกลัวซึ่งกระท าความที่ร่างกายแข็งทื่อ สองบทว่า เอโก จเร ได้แก่ ภิกษุพึงอาจเพื่ออันเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ได้แก่ ภิกษุเป็นผู้เสมอด้วยนอแรดเพราะความเป็นผู้มีปกติอยู่ผู้ เดียว๑๔๗ ป ระเด็นที่ ๗ สรณคมน์เนื ่องด้วยประเด็นที ่ว ่า การละนิวรณ์ การได้ฌาน ๔ การได้ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพพโสตญาณ เจตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ ค่อนข้างจะมีเนื้อหาสมบูรณ์ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีล ขันธวรรค หมายความว่า ผู้ที่อ่านเรื่องเหล่านี้ผ่านพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค จะเห็น ภาพเรื่องเหล่านี้อย่างแน่นอน ฉะนั้น สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา จึงได้อธิบายเรื่อง ๑๔๖ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๑๕/๑๘๓. ๑๔๗ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๕/๓๑๒.


๕๒ เหล่านี้ในแง่ของการขยายความค าศัพท์ต่าง ๆ บ้าง ในแง่ของการขยายความประโยคบ้าง๑๔๘ ดังนั้น ประเด็นที่น่าสนใจในที่นี้ คือเรื่องการถึงสรณคมน์ของพระเจ้าอชาตศัตรู เพราะสีลขันธวรรคอรรถกถา ได้อธิบายเรื่องสรณคมน์ไว้อย่างชัดเจนโดยสีลขันธวรรคอรรถกถาเริ่มการอธิบายด้วยการชงค าถาม ขึ้นมาว่า สรณคมน์คืออะไร ? ประเภทของสรณคมน์เป็นอย่างไร ? อานิสงส์ของสรณคมน์เป็นอย่างไร ? ความเศร้าหมองของสรณคมน์เป็นอย่างไร ? การขาดของสรณคมน์เป็นอย่างไร ? และสีลขันธวรรค อรรถกถาก็ตอบค าถามที่ได้ตั้งไว้ดังนี้ สีลขันธวรรคอรรถกถาอธิบายค าว่าสรณคมน์ ผ่านการวิเคราะห์ศัพท์ว่า หึสตีติ สรณ , สรณคตาน เตเนว สรณคมเนน ภย สนฺตาส ทุกฺข ทุคฺคติปริกิเลส หนติ วินาเสตีติ อตฺโถ. แปลว่า ที่ชื่อ ว่า สรณะ เพราะอรรถว่า เบียดเบียด,อธิบายว่า ย่อมท าลาย คือ จ ากัด ความกลัว ความสะดุ้ง ความ ทุกข์ ความเดือดร้อนในทุคติของบุคคลผู้ที่พระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะด้วยสรณคมน์นั้นแท้. ๑๔๙ โดย ค าศัพท์ที่ปรากฏในรูปวิเคราะห์ข้างต้น สีลขันธวรรคฎีกาได้ยกค าศัพท์ที่ละศัพท์มาอธิบายเพิ่มเติม เพื ่อให้ความหมายชัดเจนมากขึ้น โดยอธิบายว่า ภยนฺติ วฏฺฏภย . แปลว ่า บทว ่า ภย คือ ภัยใน สังสารวัฏ. สนฺตาสนฺติ จิตฺตุตฺราส เตเนว เจตสิกทุกฺขสฺส คหิตตฺตา. บทว่า สนฺตาส แปลว่า ความสะดุ้ง แห่งจิต เพราะถือความทุกข์ทางใจด้วยความสะดุ้งแห่งจิตนั้นนั่นเอง. ทุกฺขนฺติ กายิกทุกฺข . แปลว่า บท ว่า ทุกข คือ ความทุกข์ทางกาย. ทุคฺคติปริกิเลสนฺติ ทุคฺคติปริยาปนฺน สพฺพมฺปิ ทุกฺข . แปลว่า บทว่า ทุคฺคติปริกิเลส ความว่า ความทุกข์แม้ทั้งหมดที่นับเนื่องในทุคติ.๑๕๐ สีลขันธวรรคอรรถกถาปรากฏค าอธิบายประเภทของสรณคมน์ไว้ว ่า สรณคมน์มี ๒ ประเภท ดังนี้ ๑) สรณคมน์ฝ่ายโลกิยะ ซึ่งหมายถึง การถึงสรณะคมน์ของปุถุชนผู้มีสัมมาทิฏฐิ มี ศรัทธาในพระรัตนตรัย ๒) สรณคมน์ฝ ่ายโลกุตตระ ซึ ่งหมายถึงการถึงสรณคมน์ของพระโสดาบัน บุคคลขึ้นไป๑๕๑ โดยค าว่าการมีสัมมาทิฏฐิและมีศรัทธาในพระรัตนตรัยที่ว่านี้ สีลขันธวรรคฎีกา ได้ อธิบายเพิ่มเติมว่า การมีสัมมาทิฏฐิ หมายถึง การมีปัญญาซึ่งมีศรัทธาเป็นที่พึ่งอาศัย ส่วนการมีศรัทธา หมายถึง การเชื่อในพระพุทธคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ๑๕๒ สีลขันธวรรคอรรถกถาปรากฏค าอธิบายถึงอานิสงส์ของสรณคมน์ไว้ว่า ๑) อานิสงส์ของ สรณคมน์ฝ่ายโลกิยะ คือ ความถึงพร้อมด้วยภพ หรือความถึงพร้อมด้วยโภคะ ๒) ส่วนอานิสงส์ของ สรณคมน์ฝ่ายโลกุตตระ หมายถึง สามัญญผล ๔ หรือ ความสิ้นไปแห่งความทุกข์ทั้งปวง๑๕๓ โดยสีล ขันธวรรคฎีกา ได้ยกค าศัพท์ว่า ความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง (สพฺพทุกฺขกฺขโย) ในสีลขันธวรรคอรรถ ๑๔๘ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๑๖-๒๕๐/๑๘๘-๒๐๐, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๑๖-๒๕๐/๓๑๒-๓๓๘. ๑๔๙ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๕๐/๒๐๓. ๑๕๐ ที.สี.ฎีกา (บาลี) ๑/๒๕๐/๓๓๘. ๑๕๑ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๕๐/๒๐๔. ๑๕๒ ที.สี.ฎีกา (บาลี) ๑/๒๕๐/๓๔๐. ๑๕๓ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๕๐/๒๐๖.


๕๓ กถามาขยายความเพิ่มเติ่มว่า สพฺพทุกฺขกฺขโยติ สกลสฺส ทุกฺขสฺส อนุปฺปาทนิโรโธ. แปลว่า การดับสนิท โดยไม่เกิดขึ้นแห่งความทุกข์ทั้งปวง ชื่อว่า สพฺพทุกฺขกฺขโย.๑๕๔ สีลขันธวรรคอรรถกถา อธิบายความเศร้าหมองของสรณคมน์ไว้ว่า ๑) ความเศร้าหมอง ของสรณคมน์ฝ่ายโลกิยะ จะมีได้เพราะความไม่รู้ ความสงสัยและความเข้าใจผิดในพระรัตนตรัย ๒) ความเศร้าหมองของสรณคมน์ฝ ่ายโลกุตตระ ไม ่มี เพราะว ่าสรณคมน์ฝ ่ายโลกุตตระเป็นของพระ โสดาบันบุคคลขึ้นไป ฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พระโสดาบันบุคคลเป็นต้นจะมีความไม่รู้หรือมีความ สงสัยในพระรัตนตรัย๑๕๕ โดยสีลขันธวรรคฎีกาได้ยกค าศัพท์ ๓ ศัพท์ที่ว่า ความไม่รู้ (อญฺญาณ ) ความ สงสัย (ส สโย) และความเข้าใจผิด (มิจ ฺฉาญาณ ) ในสีลขันธวรรคอรรถกถามีค าอธิบายเพิ่มเติมว่า ๑) อญฺญาณ วตฺถุตฺตยสฺส คุณาน อชานน ตตฺถ สมฺโมโห. แปลว่า ที่ชื่อว่า อัญญาณะ (ความไม่รู้) ได้แก่ ความไม่รู้จักคุณของพระรัตนตรัย คือ ความหลงพร้อมในคุณของพระรัตนตรัยนั้น ๒) พุทฺโธ นุ โข น นุ โขติอาทินา วิจิกิจฺฉา ส สโย. แปลว่า ความสงสัยว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่หรือหนอแล หรือพระพุทธเจ้าไม่ มีหนอ ชื่อว่า สังสยะ (ความสงสัย). ๓) มิจฺฉาญาณ ตสฺส คุณาน อคุณภาวปริกปฺปเนน วิปรีตคฺคาโห. แปลว ่า การถือเอาผิด ด้วยการก าหนดคุณของพระรัตนตรัยนั้นว่าเป็นคุณที ่ไม่มีอยู ่จริง ชื ่อว่า มิจฉาญาณะ (มิจฺฉาญาณ ).๑๕๖ สีลขันธวรรคอรรถกถาปรากฏค าอธิบายการขาดของสรณคมน์ไว้ว่า ๑) สรณคมน์ฝ่าย โลกิยะ ย่อมขาดเพราะการที่บุคคลหันเข้าไปนับถือศาสดาอื่น เป็นต้น ซึ่งการขาดสรณคมน์ในลักษณะ เช ่นนี้ เป็นสิ ่งที ่มีโทษ แต ่หากสรณคมน์ขาดเพราะบุคคลนั้น ๆ เสียชีวิตลง การขาดสรณคมน์ใน ลักษณะเช่นนี้ ไม่มีโทษ ๒) สรณคมน์ฝ่ายโลกุตตระของพระโสดาบันบุคคลเป็นต้น ไม่มีการขาดเหมือน สรณคมน์ฝ่ายโลกิยะ เพราะว่า พระโสดาบันบุคคลเป็นต้น เมื่อเสียชีวิตลง แล้วไปเกิดในภพอื่น ก็จะไม่ นับถือศาสดาอื่น ดังนั้นการขาดสรณคมน์ฝ่ายโลกุตตระจึงไม่มี๑๕๗ ซึ่งในประเด็นที่ว่านี้ สีลขันธวรรค ฎีกา ได้ยกค าศัพท์ที่ว่า มีโทษในแง่ของการขาดสรณคมน์เพราะการหันเข้าไปนับถือศาสดาอื่น โดย อธิบายว่า สาวชฺโชติ ตณฺหาทิฏฺฐฃิวเสน สโทโส. แปลว่า บทว่า สาวชฺโช ได้แก่ มีโทษด้วยอ านาจตัณหา และทิฏฐิ.๑๕๘ ๘.๕ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ส าคัญในอัมพัฏฐสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากอัมพัฏฐสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน ในอิจฉานังคลคาม โปกขรสาติพราหมณ์เมื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ดังกล่าว จึงได้เรียกอัมพัฏฐ ๑๕๔ ที.สี.ฎีกา (บาลี) ๑/๒๕๐/๓๔๒. ๑๕๕ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๕๐/๒๐๗. ๑๕๖ ที.สี.ฎีกา (บาลี) ๑/๒๕๐/๓๔๔. ๑๕๗ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๕๐/๒๐๗. ๑๕๘ ที.สี.ฎีกา (บาลี) ๑/๒๕๐/๓๔๔.


๕๔ มาณพเข้ามาหาตน ทราบมาว่า อัมพัฏฐมาณพเป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจ ามนต์ได้ จบไตรเพท พร้อมทั้ง คัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ ประเภทแห่งอักขระพร้อมทั้งคัมภีร์อิติหาสะ เข้าใจในบท ช านาญ ไวยากรณ์ มีความรู้ในคัมภีร์โลกายัตตะ และมหาปุริสลักขณะ โปกขรสาติพราหมณ์ต้องการจะรู้ชัดถึง เกียรติศัพท์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าเป็นจริงอย่างที่เขาร ่าลือหรือไม่ จึงได้ส่งอัมพัฏฐมาณพเข้าไป เฝ้าพระพุทธองค์ อัมพัฏฐมาณพเมื่อเดินทางไปถึงอิจฉานังคลวัน ได้พูดดูถูกศากยวงศ์ด้วยการพูดกด พระศากยะว่าเป็นคนรับใช้ถึง ๓ ครั้ง จะอย่างไรก็ตาม พระพุทธองค์ก็ทรงเล่าความเป็นมาของศาก ยวงศ์ และกัณหายนวงศ์ให้อัมพัฏฐมาณพฟังเพื่อชี้ให้เห็นว่า ศากยวงศ์เป็นกษัตริย์ กัณหายนวงศ์ (วงศ์ของอัมพัฏฐมาณพ) เป็นวงศ์ที่เป็นทาสรับใช้ของเจ้าศากยะ ซี่งท้ายที่สุด อัมพัฏฐมาณพก็ยอมรับ ว่าวงศ์ตระกูลของตนเองเป็นวงศ์ที่เป็นทาสรับใช้ ต่อมา พระพุทธองค์ได้แสดงวิชชาและจรณะ ทรง แสดงความเสื่อม ๔ อย่างแก่อัมพัฏฐมาณพ ทรงชี้ให้อัมพัฏฐมาณพเห็นว่าข้อปฏิบัติของพราหมณ์ บุรพาจารย์กับข้อปฏิบัติของโปกขรสาติพราหมณ์มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ได้ทรงแสดงมหาปุริ สลักษณะ ๒ อย่าง คือ พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก และพระชิวหาใหญ่ แก่อัมพัฏฐมาณพผู้เคลือบแคลง สงสัย เมื่ออัมพัฏฐมาณพทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีมหาปุริสลักษณะครบ ๓๒ ประการ จึงได้ อ าลาพระพุทธองค์กลับไป หลังจากนั้น โปกขรสาติพราหมณ์ได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วนิมนต์พระ พุทธองค์เพื่อรับภัตตาหาร ณ บ้านของตน วันต่อมาพระพุทธองค์ได้รับฉันภัตตาหาร ณ บ้านของ โปกขรสาติพรหมณ์ แสดง อนุปุพพีกถาแก ่โปกขรสาติพราหมณ์ จนท ่านได้ดวงตาเห็นธรรม แล้ว ประกาศตนเป็นอุบาสก๑๕๙ ประเด็นที่น ่าสนใจจากอัมพัฏฐสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นของอัมพัฏฐสูตรมา อธิบายเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเด็นที่ ๑ โปกขรสาติพราหมณ์สีลขันธวรรคอรรถกถา ได้น าค าศัพท์ว่า โปกขรสาติ พราหมณ์มาวิเคราะห์พร้อมกับอธิบายลักษณะของโปกขรสาติพราหมณ์ ดังนี้ พฺรหฺม อณตีติ พฺราหฺมโณ, มนฺเต สชฺฌายตีติ อตฺโถ. แปลว่า ผู้ใดสาธยายพระเวท อธิบาย ว่า สาธยายมนต์ เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า พราหมณ์. พร้อมกันนั้นสีลขันธวรรคอรรถกถาได้อธิบายลักษณะของโปกขรสาติพราหมณ์ไว้ว่า ได้ ทราบว่า ร่างกายของโปกขรสาติพราหมณ์ คล้ายกับกลีบบัวขาว ย่อมงดงามดุจเสาระเนียดเงินที่ยกขึ้น ในเทวนคร ส่วนศีรษะของเขาคล้ายกับแก้วอินทนิลสีด า แม้หนวดปรากฏดุจแถวเมฆด าใกล้ดวงจันทร์ นัยน์ตาสองข้าง คล้ายกับดอกอุบลเขียว จมูกคล้ายกับกลองเงิน กลมดีบริสุทธิ์ผุดผ่อง ฝ่ามือฝ่าเท้า และปากงดงามดุจย้อมด้วยน ้าครั่ง อัตภาพของพราหมณ์ งดงามอย่างยิ่ง หากในที่นั้น ๆ ไม่มีพระราชา สมควรตั้งพราหมณ์นี้เป็นพระราชาพราหมณ์นี้เป็นผู้มีสิริอย่างที่กล่าวมานี้ ดังนั้น ชนทั้งปวงจึงรู้จักชื่อ ๑๕๙ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/ ๒๕๔-๒๙๙/๘๗-๑๐๙.


๕๕ ของพราหมณ์นั้นว่าโปกขรสาติ เพราะคล้ายกับกลีบบัว๑๖๐ ต่อมา สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายค าศัพท์ ว่า โปกขรสาติพราหมณ์ ต่อจากสีลขันธวรรคอรรถกถา โดยอธิบายว่า พราหมณ์ ชื่อว่าโปกขรสาติ เพราะนอนนั่งอยู่ในดอกบัว การด ารงอยู่เสมอ เรียกว่า สาติ บุคคลผู้เกิดแล้วในดอกบัว คือในส่วนอัน เป็นฐานอันดี เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า “โปกขรสาติ” ดังนี้ ก็มี๑๖๑ ประเด็นที่ ๒ ปฐมบรมกษัตริย์ของศากยวงศ์ ช่วงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าก าลังทรงเล่าความ เป็นมาของศากยวงศ์และความเป็นมาของกัณหายนวงศ์เพื่อให้อัมพัฏฐมาณพได้เห็นว่ากัณหายนวงศ์ (วงศ์ของอัมพัฏฐมาณพ) เป็นวงศ์ที่เป็นทาสรับใช้ของเจ้าศากยะ๑๖๒ สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายความ เป็นมาของศากยวงศ์ตั้งแต่พระเจ้ามหาสมมติไว้อย่างพิศดารอย่างนี้ว่า ท่านเป็นพระราชาผู้มีอานุภาพมาก ผู้ประสูติ ในตระกูลพระอาทิตย์ (สูงส่ง) ผู้ทรงเป็นบ่อเกิด แห่งคุณอันบริสุทธิ์ด้วยดี ผู้ทรงพระนามว่ามหาสัมมตะ ผู้ซึ่งทรงเป็นจักษุของชาวโลก ผู้ทรงรุ่งเรือง ด้วยรัศมีแห่งพระคุณ ผู้ทรงก าจัดความมืด ทรงรุ่งเรือง ทรงเปรียบเหมือนพระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ขอบเขตอันพระผู้ทรงแสวงหาประโยชน์ เกื้อกูลในโลก ทรงก าหนดวางไว้แล้ว ชนทั้งหลาย ไม่อาจเพื่ออันก้าวล่วง ชนทั้งหลายย่อมกล่าวซึ่งพระผู้มียศ ผู้มีเดช ผู้ทรงรักษาเขตแดนแห่งโลก ผู้ทรงเป็นผู้กล้าหาญมาก พระองค์แรกว่า พระมนูดังนี้ พระราชาพระองค์นั้น ทรงมีพระโอรสผู้มีเดช มาก ผู้ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน พระนามว่า โรชะ พระราชาพระนามว่า โรชะนั้น ทรงมีพระโอรสพระนามว่า วรโรชะ ผู้ประเสริฐ ในราชมณฑล (แวดวงเจ้า) พระราชาพระนามว่า วรโรชะนั้น ทรงมีพระราชโอรสผู้มีพระคุณงาม พระนามว่า กัลยาณะ พระราชาพระนามว่ากัลยาณะนั้น ๑๖๐ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๕๕/๒๑๖. ๑๖๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๕๕/๓๕๓. ๑๖๒ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๒๖๗/๙๒-๙๓.


๕๖ ทรงมีพระโอรส พระนามว่าวรกัลยาณะ พระราชาพระนามว่า วรกัลยาณะนั้น ทรงมีพระโอรสผู้กล้าหาญมาก พระนามว่า มันธาตุ ร่วมเสวยราชสมบัติ ทรงเป็นผู้เลิศ อันพระมหินทราชาทรงบูชาด้วยราชสมบัติครึ่งหนึ่งฯ พระราชาพระนามว่า มันธาตุนั้น ทรงมีพระโอรสผู้มีเดชมาก พระนามว่าวรมันธาตุ พระราชาพระนามว่า วรมันธาตุนั้น ทรงมีพระโอรสผู้มียศใหญ่ โดยพระนามว่า อุโบสถฯ พระราชาพระนามว่า อุโบสถนั้น ทรงมีพระโอรสผู้ประเสริฐมาก ผู้มีเดชมาก พระนามว่าวระ พระราชาพระนามว่าวระนั้น ทรงมีพระโอรส ผู้มีก าลังมาก พระนามว่าอุปวระฯ พระราชาพระนามว่าอุปวระนั้น ทรงมีพระโอรส ผู้ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ผู้เปรียบปานดังเทพ พระนามว่ามฆเทพ (มฆเทวะ) โดยการสืบต่อ กันมาแห่งตระกูลนั้น เป็นจ านวน ๘๔,๐๐๐ พระองค์ฯ พระราชาพระองค์สุดท้ายแห่งพระราชา เหล่านั้น ปรากฏโดยพระนามว่า ‘โอกกากราช’ ทรงมียศใหญ่ มีเดชมาก ทรงเป็นใหญ่ ในราชมณฑล” ดังนี้เป็นต้น๑๖๓ ประเด็นที่ ๓ ดาบส ๘ จ าพวก สีลขันธวรรคอรรถกถาได้น าค าศัพท์ว่า “ดาบส” ที่อยู่ใน อัมพัฏฐสูตรมาอธิบายโดยอธิบายว่า ดาบส มี ๘ จ าพวกดังนี้ ๑. ดาบส สปุตตภริยา (มีลูกมีเมีย) ๒. ดาบส อุญฉาจริยา (สัญจรเลี้ยงชีพ) ๓. ดาบส อนัคคิปักกิกะ (ไม่หุงต้มด้วยไฟ) ๔. ดาบส สามปักกะ (หุงต้มเอง) ๕. ดาบส อยมุฏฐิกะ (มีก าปั้นเหล็กทุบกิน) ๑๖๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๑๖๗/๓๖๗-๓๖๙.


๕๗ ๖. ดาบส ทันตวักกลิกะ (ใช้ฟันแทะกิน) ๗. ดาบส ปวัตตผลโภชนะ (กินผลไม้ที่หล่น) ๘. ดาบส ปัณฑุปลาสิกะ (กินใบไม้แก่)๑๖๔ ต่อมาสีลขันธวรรคฎีกาได้น าค าศัพท์ที่อยู่ในสีลขันธวรรคอรรถกถามาขยายความเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นโดยได้อธิบายว่า การปรากฏขึ้นในที่ใกล้แห่งมนุษย์ทั้งหลายมีลานนวดข้าวเปลือกเป็นต้น แสวงหาเก็บเอา ข้าวเปลือก ถั่วเขียว งา และถั่วราชมาส เป็นต้น โดยท านองการเที่ยวขอ ชื่อว่าอุญฉา (การแสวงหา) ชื่อว่าอุญฺฉาจริยา เพราะอรรถว่า มีการแสวงหานั้นนั่นเอง คือการเที่ยวไป ได้แก่ การประพฤติ. ชื่อว่า อัคคิปักกิกา เพราะอรรถว่า เป็นอยู่โดยหุงต้มด้วยไฟ อัคคิปักกิกาหามิได้ ชื่อว่าอนัคคิปักกิกา จริงอยู่ ดาบสทั้งหลายเที่ยวแสวงหาไปที่ลานนวดข้าวแล้วถือเอาข้าวเปลือกที่ชื่อว่าข้าวปลายลานอันมนุษย์ ทั้งหลายให้ ดาบสเหล่านี้ไม่รับเอาข้าวปลายลานนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเกิดมีดาบสอีกกลุ่มชื่อว่าอนัคคิ ปักกิกา. บทว่า อสามปากา ได้แก่ ดาบสกลุ่มที่ไม่หุงต้มเอง. ชื่อว่าอสัมมุฏฺฐิกา เพราะอรรถว่า เป็นไป ได้ด้วยก าปั้นหิน คือด้วยหินที่ใช้เป็นก าปั้นทุบ. เปลือกไม้ที่เพิกขึ้นด้วยฟันแทะ คือเปลือกของต้นไม้ ชื่อว่าทันตวักกละ ดาบสชื่อว่าทันตวักกลิกา เพราะอรรถว่า เป็นไปได้ด้วยเปลือกต้นไม้ที่ใช้ฟันแทะ นั้น. ชื่อว่า ปวตฺตผลโภชิโน เพราะอรรถว่า บริโภคผลไม้ที่เป็นไป คือที่หล่นจากต้นไม้เป็นต้น. ใบไม้ เหลืองเพราะแก่จัด และใบไม้เหลืองอันมีส่วนใกล้เคียงกันนั้น ดาบสทั้งหลาย ชื่อว่าปัณฑุปลาสิกา เพราะอรรถว่า เป็นไปได้ด้วยใบไม้เหลืองนั้น คือดาบสทั้งหลายจ าพวกบริโภคดอกไม้และผลไม้ที่หล่น เอง.๑๖๕ ประเด็นที่ ๔ เหตุผลของการแสดงอนุปุพพิกถาตามล าดับ ในช่วงที่โปกขรสาติพราหมณ์ ถวายภัตตาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ บ้านของตน พระพุทธองค์ได้แสดงอนุปุพพิกถาโปรดโปกขร สาติพราหมณ์จนท่านได้ดวงตาเห็นธรรม สีลขันธวรรคฎีกาได้น าเสนอเหตุผลของการแสดงอนุปุพพี กถาตามล าดับไว้อย่างน่าสนใจดังนี้ว่า พึงกล่าวทานกถาข้างต้นก่อนเพราะทั่วไปแก่ชนทั้งปวงโดยความเป็นไปแม้ในชนหมู่มาก และเพราะท าตามได้ง่าย และเพราะเป็นอุบายแห่งการตั้งมั่นอยู่ในศีล เพราะว่า บุคคลผู้ที่มีปกติ บริจาค (เสียสละ) ย่อมสมาทานศีลได้โดยง่ายเลยทีเดียว เพราะไม่มีข้องขัดในวัตถุที่ตนถือเอา และ เป็นผู้ตั้งมั่นด้วยดีในศีลนั้น พึงกล่าวสีลกถาตามล าดับต่อจากทานกถา เพราะกล่าวการอนุเคราะห์ผู้อื่น แล้วกล่าวการห้ามความเบียดเบียนผู้อื่นโดยความหมดจดทั้งทายกและปฏิคาหกโดยศีล และเพราะ กล่าวธรรมคือกิริยาแล้วกล่าวธรรมคืออกิริยา (ไม่ท า) และเพราะกล่าวถึงเหตุแห่งโภคสม บัติ แล้ว กล่าวเหตุแห่งภพสมบัติ พึงกล่าวสัคคกถาตามล าดับแห่งสีลกถานั้น เพื่อแสดงว่า ถ้าทานและศีลนั้น ๑๖๔ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๒๘๐/๒๔๐. ๑๖๕ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๘๐/๓๗๕.


๕๘ อาศัยวัฏฏะไซร้ ภวสมบัตินี้ก็เป็นผลแห่งทานและศีลนั้น และเพื่อแสดงโภคสมบัติอันเป็นทิพย์อัน ปริมาณไม่ได้เหล่านี้ ต่างโดยประเภทแห่งสมบัติอันประณีตและประณีตกว่าในสวรรค์ชั้นจาตุมมหา ราชิกาเป็นต้น อันผู้ปฏิบัติตามพึงได้ด้วยบุญญกิริยาวัตถุอันส าเร็จแต่ทานและศีลต่างโดยประณีตและ ประณีตกว่าเป็นต้นนี้ พึงกล่าวมรรคเป็นล าดับต่อจากสวรรค์ เพื่อแสดงว่า สวรรค์นี้นั้นเศร้าหมองด้วย ราคะเป็นต้น อริยมรรคไม่เศร้าหมองโดยประการทั้งปวง อนึ่ง เมื่อกล่าวมรรค พึงกล่าวโทษของกาม ทั้งหลายว่า เพื่อแสดงอุบายบรรลุนั้น แม้ธรรมที่นับเนื่องในสวรรค์ก็มีอยู่ จะกล่าวไปไยถึงกามทั้งหมด แม้นอกจากนี้ ซึ่งมีโทษมาก ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความแปรไปเป็นธรรมดา พึงกล่าวถึงการกระท าที่ต ่า คือความลามกแห่งกามเหล ่านั้นว ่า ยังเลว ยังเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม ่ประเสริฐ ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ พึงกล่าวความเศร้าหมองพร้อมในกามนั้นว่า ภพแม้ทั้งหมดล้วนเป็นที่ตั้งแห่ง กิเลส และพึงกล่าวอานิสงส์ในเนกขัมมะว่า นิพพานพ้นจากกิเลสทั้งปวง๑๖๖ ๘.๖ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาในโสณทัณฑสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากโสณทัณฑสูตร ในสมัยหนึ่ง โสณทัณฑพราหมณ์ครองเมืองจัมปาอยู่ มีอยู่วันหนึ่ง ประชาชนในนครจัมปา ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับภิกษุสงฆ์เสด็จมายังนครจัมปาโดยประทับอยู่ใกล้ ๆ สระ โบกขรณีชื่อว่าคัคครา ประชาชนเหล่านั้นจึงรวมตัวกันไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ช่วงเวลานั้น โสณทัณฑ พราหมณ์ได้เห็นประชาชนออกจากนครจัมปาไปยังสระโบกขรณี จึงได้ถามท่านที่ปรึกษาว่า ประชาชน ไปท าอะไรกัน ท ่านที่ปรึกษาจึงตอบว ่า ประชาชนก าลังจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทีนั้น โสณทัณฑพราหมณ์จึงบอกให้ท่านที่ปรึกษาไปบอกให้ประชาชนเหล่านั้นรอก่อน เพราะตนต้องการจะ ไปเข้าไปเฝ้าด้วย จะอย่างไรก็ตาม พราหมณ์แขกต่างเมืองประมาณ ๕๐๐ คน มานครจัมปาเพื่อท า ธุระบางอย่าง กลับห้ามโสณทัณฑพราหมณ์เพื่อไม่ให้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยให้เหตุผลว่า โสณฑัณฑพราหมณ์มีคุณสมบัติของพราหมณ์ครบถ้วน ๕ ประการ ไม่สมควรที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า แต ่พระผู้มีพระภาคเจ้าต่างหากสมควรที่จะมาหาโสณทัณฑพราหมณ์ ในท้ายที ่สุด โสณทัณฑพราหมณ์ได้ตัดสินใจเดินทางไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตามเจตนารมณ์ของตน เมื่อท่าน เดินทางไปถึงก็ได้สนทนากับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วก็ได้ไปนั่งพัก ณ ส่วนข้างหนึ่ง ในขณะนั้น ท่าน ก าลังนั่งคิดอยู่ว่า จะถามปัญหากะพระพุทธองค์อย่างไรดี เพราะท่านเกรงว่า ประชาชนในนครจัมปา จะต าหนิท ่านว่าเขลาไม่ฉลาด ทันใดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบวาระจิตของโสณทัณฑ พราหมณ์ จึงได้ตรัสถามท่านว่า พราหมณบัญญัติ มีองค์เท่าไร ? โสณทัณฑพราหมณ์จึงได้กราบทูลว่า พราหมณบัญญัติ มีองค์ ๕ ดังนี้ ๑. เป็นผู้มีชาติดีทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิในครรภ์ที่บริสุทธิ์ ตลอด ๗ ชั่วโคตร ๑๖๖ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๙๘/๓๘๐.


๕๙ ๒. เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจ ามนต์ได้ เรียนจบไตรเพท เข้าใจชนิดแห่งอักษร เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ มีความช านาญในคัมภีร์โลกายตะและมหาปุริสลักษณะ ๓. มีรูปงดงาม มีผิวพรรณผ่องใสคล้ายพรหม มีบุคลิกคล้ายพรหม ๔. มีศีล ๕. เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เมื่อท่านกราบทูลพราหมณบัญญัติแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสร็จแล้ว พระพุทธองค์ทรงใช้ เหตุผลในการลดทอนพราหมณบัญญัติจนเหลือเพียง ๒ ข้อ คือ มีศีล และมีปัญญา ซึ ่ง ๒ ข้อนี้ โสณทัณฑพราหมณ์กราบทูลว่า ลดทอนไม่ได้เด็ดขาดเพราะศีลกับปัญญามีความสัมพันธ์กันสนับสนุน ซึ่งกันและกัน หมายความว่า ศีลย่อมมีในบุคคลที่มีปัญญา และปัญญาย่อมมีในบุคคลผู้มีศีล ล าดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสความสัมพันธ์ระหว่างศีลกับปัญญา แล้วทรงแสดงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล จนถึงอาสวักขยญาณ ท้ายที่สุดโสณทัณฑพราหมณ์ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่ พึ่งตลอดชีวิต๑๖๗ ประเด็นที่น ่าสนใจจากโสณทัณฑสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นในโสณทัณฑสูตรมา อธิบายเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ป ระเด็นที ่ ๑ บรรยากาศสระโบกขรณีชื ่อว่าคัคครา สีลขันธวรรคอรรถกาถา และสีล ขันธวรรคฎีกาปรากฏข้อความว่า สระโบกขรณีชื่อว่าคัคคราเป็นสระที่พระมเหสีของพระราชาพระ นามว่าคัคคราทรงให้ขุดไว้ บริเวณรอบฝั่งของสระโบกขรณีนั้นรายล้อมไปด้วยต้นจัมปา ต้นอโศกเขียว ต้นกรรณิการ์ ต้นทองกวาว และต้นมะลิหลวง๑๖๘ ประเด็นที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว ่างศีลกับปัญญาสีลขันธวรรคอรรถกถาได้อธิบายว่า ศีล ย่อมมีในผู้ใด ปัญญาย่อมมีในผู้นั้น ส าหรับผู้ทุศีล ปัญญาจะมีได้อย่างไร หรือส าหรับผู้ที่ไม่มีปัญญา ผู้ที่ โง่เขลา ผู้ทั้งหูหนวกและเป็นใบ้ ศีลจะมีได้อย่างไร ดังนั้น ศีลควรมีปัญญาเข้ามาช่วยช าระให้หมดจด และปัญญาควรมีศีลเข้ามาช่วยช าระให้หมดจด ยกตัวอย่างเช่น ปุถุชนคนใดรักษาศีลไม่ให้ขาดตลอด ๖๐ ปี หรือ ๘๐ ปี ปุถุชนคนนั้นจะฆ่ากิเลสได้ทั้งหมด ช าระปัญญาให้หมดจดด้วยศีลแล้วบรรลุพระ อรหัตได้แม้ในเวลาใกล้ตาย เหมือนพระมหาเถระ ๖๐ พรรษาผู้อยู่บริเวณต้นสาละในซอกเขาฉะนั้น ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ไม่รักษาศีลแต่มีปัญญารู้ฉับพลันโดยที่สุดแม้คาถา ๔ บาท ผู้นั้นชื่อว่าช าระศีลให้ หมดจดด้วยปัญญาแล้วบรรลุความเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เหมือนสันตติมหา อ ามาตย์๑๖๙ ๑๖๗ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๓๐๐-๓๒๒/๑๑๐-๑๒๖. ๑๖๘ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๐๐/๒๔๘, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๐๐/๓๘๒. ๑๖๙ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๑๗/๒๕๘-๒๕๙.


๖๐ สีลขันธวรรคฎีกาได้ขยายความต่อจากสีลขันธวรรคอรรถกถาไว้ว่า บทว่า สีลปริสุทฺธา ได้แก่ ชื่อว่าหมดจดโดยประการทั้งปวง คือไม่มัวหมองเพราะความถึงพร้อมด้วยศีล. ในผู้ทุศีล จักมี ปัญญาแต่ไหน เพราะผู้ทุศีลนั้น เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น. ค าว่า ชเฬ เอฬมูเค กุโต สีล ได้แก่ ในผู้มีปัญญา ทราม ผู้เขลา ผู้ทั้งหนวกทั้งใบ้ ศีลจักมีแต่ที่ไหน เพราะไม่รู้วิภาคแห่งศีล และไม่รู้อุบายช าระศีลให้ หมดจด. เพื่ออันห้ามญาณอันมีตามปกติว่า ญาณอันประเสริฐ คืออันสูงสุด ชื่อว่าปัญญาณะ จึงกล่าว ค าว่า “ปญฺญาณ ” เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ผู้มีปัญญา เพราะรู้สิ่งนี้นั้น โดยประการทั้งหลาย เพราะเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ปญฺญาณนฺติ ปญฺญาเยว”. สองบทว่า สีเลน โธตา ได้แก่ สะอาด คือหมดจด ด้วย ความหมดจดจากมลทินคือสังกิเลสทั้งสิ้น ด้วยศีลอันเป็นปทัฏฐานของสมาธิ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า “กถ ปน” เป็นต้น.๑๗๐ ๘.๗ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ส าคัญในกูฏทันตสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากกูฏทันตสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับภิกษุสงฆ์จ านวน ๕๐๐ รูป ได้จาริกไปยังแคว้น มคธแล้วได้ประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้หมู่บ้านขานุมัตตะ ประชาชนในหมู่บ้านขานุมัตตะ ทันที ที่ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา ได้รวมกลุ่มกันไปเพื่อที่จะเข้าเฝ้าพระ พุทธองค์ ช่วงเวลานั้น กูฏทันตพราหมณ์ได้เตรียมมหายัญ ซึ่งประกอบด้วยโคผู้ ๗๐๐ ตัว ลูกโคผู้ ๗๐๐ ตัว ลูกโคเมีย ๗๐๐ ตัว แพะ ๗๐๐ ตัว และแกะ ๗๐๐ ตัว สัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนถูกน าเข้าไป ผูกไว้ที่หลักเรียบร้อยแล้ว กูฏทันตพราหมณ์เมื่อเห็นประชาชนในหมู่บ้านขานุมัตตะก าลังจะเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงต้องการจะไปเข้าเฝ้าด้วย แต่พราหมณ์อีกหลายคนเมื่อทราบข่าวว่ากูฏทันต พราหมณ์ต้องการจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้พยายามห้ามท่านด้วยเหตุผลต่าง ๆ จะอย่างไรก็ ตาม ในที ่สุดกูฏทันตพราหมณ์ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับประชาชน เมื่อ เดินทางไปถึง จึงได้ทูลถามการบูชามหายัญกะพระผู้มีพระภาคเจ้า ล าดับนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสเรื่อง การบูชาของยัญ ๓ ประการซึ่งมีบริขาร ๑๖ (บริขาร ๘ + บริขาร ๔ + บริขาร ๔ = บริขาร ๑๖) ของ พระเจ้ามหาวิชิตราช แก่กูฏทันพราหมณ์โดยมีสาระส าคัญดังนี้ พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงมั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีฉางเต็มบริบูรณ์ ขณะประทับอยู่ ในพื้นที่ส่วนพระองค์ ก็ทรงมีพระราชด าริที่จะบูชายัญ พระองค์จึงได้ตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่า เรา ต้องการจะบูชายัญ เราควรท าอย่างไรดี พราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลว่า บ้านเมืองของพระองค์ยังไม่ค่อย สงบ เพราะว่า โจรปล้นประชาชนในเมืองของพระองค์ก็ยังมีอยู่ ชาวบ้านทะเลาะเบาะแว้งกันก็ยังมีอยู่ อย่างไรก็ดี การยกเลิกเก็บภาษีอากร การจับโจรมาลงโทษ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด ฉะนั้น ประชาชนเหล่าใดท าอาชีพเกษตรกรรม พระองค์ควรพระราชทานเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่ประชาชนเหล่านั้น ในโอกาสที่เหมาะสม ประชาชนเหล่าใดท าอาชีพพาณิชยกรรม พระองค์ควรพระราชทานทุนทรัพย์แก่ ประชาชนเหล่านั้นในโอกาสที่เหมาะสม ประชาชนเหล่าใดรับราชการ พระองค์ควรเพิ่มเบี้ยเลี้ยงและ ๑๗๐ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๐๐/๓๘๙.


๖๑ เงินเดือนแก่ประชาชนเหล่านั้นในโอกาสที่เหมาะสม เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราชได้สดับค าแนะน าของ พราหมณ์ปุโรหิตนั้นแล้ว จึงได้ด าเนินการตามค าแนะน าของท่าน ต่อมาพระเจ้ามหาวิชิตราชต้องการ จะบูชายัญ จึงได้ตรัสถามพรามหณ์ปุโรหิตนั้นอีก ท่านจึงได้ถวายค าแนะน าเกี่ยวกับยัญ ๓ ประการมี ปริขาร ๑๖ ดังนี้ ๑. ยัญ ๓ ประการ ประกอบด้วย ๑) ผู้ต้องการบูชามหายัญ ไม่ควรเกิดความเดือดร้อนใจ ว่า กองแห่งโภคะอันมหึมาของเราจักหมดไป ๒) ผู้ต้องการบูชามหายัญ ไม่ควรเกิดความเดือดร้อนใจ ว ่า กองแห ่งโภคะอันมหึมาของเราก าลังจะหมดไป ๓) ผู้ต้องการบูชามหายัญ ไม ่ควรเกิดความ เดือดร้อนใจว่า กองแห่งโภคะอันมหึมาของเราหมดไปแล้ว ๒. บริขาร ๘ ประกอบด้วย ๑) พระเจ้ามหาวิชิตราชเป็นผู้มีพระชาติดีทั้งสองฝ่าย ถือ ก าเนิดในพระครรภ์ที่บริสุทธิ์ ตลอด ๗ ชั่วโคตร ๒) ทรงมีพระรูปงดงาม น่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผุด ผ่องคล้ายพรหม ๓) ทรงมีพระราชทรัพย์มากเต็มท้องพระคลัง มีข้าวเปลือกเต็มฉาก ๔) ทรงมีพระ ก าลัง ทรงมีเสนามีองค์ ๔ อยู่ในพระราชอ านาจ ทรงมีพระอิสริยยศ ๕) ทรงมีพระราชศรัทธา เป็น ทายก เป็นทานบดี ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนก าพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจก ๖) ทรงศึกษา ศิลปวิทยาการมาเป็นจ านวนมาก ๗) ทรงเข้าพระทัยในศิลปวิทยาการที่ทรงศึกษาเป็นอย่างดี ๘) ทรง เป็นบัณฑิต ทรงมีพระปรีชาญาณ ๓. บริขาร ๔ ประกอบด้วย ๑) พราหมณ์ปุโรหิตเป็นผู้มีชาติดีทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายมารดา และฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิในครรภ์ที่บริสุทธิ์ตลอด ๗ ชั่วโคตร ๒) เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจ ามนต์ได้ เรียน จบไตรเพท เข้าใจชนิดแห่งอักษร เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ มีความช านาญในคัมภีร์โลกายตะและ มหาปุริสลักษณะ ๓) มีศีล ๔) เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ๔. บริขาร ๔ ประกอบด้วย ๑) เจ้าเมืองมีความเห็นคล้อยตามพระราชด าริของพระเจ้า มหาวิชิตราช ๒) อ ามาตย์ข้าราชบริพารเห็นคล้อยตามพระราชด าริของพระเจ้ามหาวิชิตราช ๓) พราหมณ์มหาศาลเห็นคล้อยตามพระราชด าริของพระเจ้ามหาวิชิตราช ๔) คฤหบดีมหาศาลเห็นคล้อย ตามพระราชด าริของพระเจ้ามหาวิชิตราช๑๗๑ ลักษณะของการบูชายัญ คือ พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงรับสั่งให้สร้างโรงทาน ๕ แห่ง คือ โรงทาน ๔ แห่ง ตรงทางเข้าประตูเมือง ๔ ทิศ และใจกลางเมือง ๑ แห่ง พระองค์ได้บริจาคเงินวันละ ๕๐๐,๐๐๐ กหาปณะ เลี้ยงประชาชนให้อิ่มหน ่าส าราญด้วยอาหารและเครื่องดื่ม บรรจุอาหารให้กับ ประชาชนเพื่อน ากลับไปรับประทานที่บ้าน บริจาคเครื่องส าอางให้แก่ประชาชน และบรรจุเนยใส เนย ข้น น ้ามัน น ้าผึ้ง น ้าอ้อยลงในโอ ่งแล้วตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ในเมือง เพื ่อให้ประชาชนได้มาตัก รับประทานได้ตามสะดวก๑๗๒ ๑๗๑ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๓๒๓-๓๔๘/๑๒๖-๑๔๕. ๑๗๒ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๔๕/๒๖๘.


๖๒ ต่อจากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงยัญมากกว่ายัญของพระเจ้ามหาวิชิตตามล าดับ ตั้งแต่การให้ทานเป็นนิตย์ หรือนิจทาน การสร้างวิหารถวายแก่สงฆ์ผู้มาจาก ๔ ทิศ การรักษาศีล ๕ การถึงไตรสรณคมน์ จนไปถึงอาสวักขยญาณจนกูฏทันตพราหมณ์เกิดความเลื่อมใสได้ประกาศตนเป็น อุบาสกในพระพุทธศาสนา๑๗๓ ประเด็นที่น ่าสนใจจากกูฏทันตสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถาและสีลขันธวรรคีกา สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นจากกูฏทันตสูตรมา อธิบายเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเด็นที่ ๑ การบูชายัญตามแนวทางของกูฏทันตพราหมณ์สีลขันธวรรคอรรถกถาและ สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายว่า การเตรียมสัตว์เพื่อบูชายัญ ใช้โคผู้ ๗๐๐ ตัว ลูกโคผู้ ๗๐๐ ตัว ลูกโค เมีย ๗๐๐ ตัว แพะ ๗๐๐ ตัว แกะ ๗๐๐ ตัว ควาย ๗๐๐ ตัว เก้ง ๗๐๐ ตัว กวาง ๗๐๐ ตัว ระมาด ๗๐๐ ตัว และจ าพวกสัตว์ปีกมีนกยูง นกเอี้ยง นกกระทา และนกพิราบเป็นต้น อย่างละ ๗๐๐ ตัว ๑๗๔ ซึ่งจะเห็นได้ว่า พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้บรรยายการบูชาของกูฏทันตพราหมณ์ เพียงบางส ่วนเท่านั้น แต ่สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายการบูชาไว้อย ่าง ละเอียดดังข้อมูลข้างต้น ประเด็นที่ ๒ นิจทาน สีลขันธวรรคอรรถกถา อธิบายว่า นิจทาน มีศัพท์ที่ใช้แทนได้ถึง ๒ ศัพท์ ได้แก่ ธุวทาน และนิพัทธทาน๑๗๕ ซึ่งสีลขันธวรรคฎีกา ได้ขยายความต่อจากอรรถกถาว่า ธุวทานานีติ ธุวานิ ถิรานิ กตฺวา ทาตพฺพทานานิ. แปลว่า ทานที่พึงถวายท าให้มั่นคง คือ ถาวร ชื่อว่า ธุวทาน. นิพทฺธทานานีติ นิพนฺเธตฺวา นิยเมตฺวา ปเวณีวเสน ปวตฺติตทานานิ. แปลว่า ทานที่ระบุ คือก าหนดให้เป็นไปด้วยสามารถแห่งประเพณี ชื่อว่า นิพัทธทาน.๑๗๖ ป ระเด็นที ่ ๓ การสร้างวิหารถวายแก่สงฆ์ผู้มาจาก ๔ ทิศ สีลขันธวรรคอรรถกถา ได้ น าเสนออานิสงส์ของการถวายวิหารได้ว่า วิหารย่อมป้องกันความหนาวร้อนและสัตว์ร้าย ย่อมป้องกัน งู ยุง และฝนในคราวหนาวเย็น ย่อมป้องกันลม และแดดอันร้อนจัดที่เกิดขึ้น การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ของตนควรให้สร้างวิหารอันรื่นรมย์แล้วถวาย แด่ภิกษุผู้พหูสูต นิมนต์ให้ท่านจ าพรรษาอยู่ในที่นี้เถิด บัณฑิตมีจิตเลื่อมใสในภิกษุพหูสูตผู้ปฏิบัติตรง ๑๗๓ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๓๔๙-๓๕๗/๑๔๕-๑๕๐. ๑๗๔ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๒๓/๒๖๒, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๒๓/๓๙๒. ๑๗๕ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๔๙/๒๗๐. ๑๗๖ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๔๙/๔๐๒.


๖๓ ควรถวายข้าว น ้า ผ้า และเสนาสนะอันสมควรแก่ท่านเหล่านั้น เพราะว่าท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรม อันน าออกจากทุกข์แก่เขา ซึ่งเมื่อเขารู้แจ่มชัด จะเป็นผู้หมดอาสวะปรินิพพานได้ในชาตินี้๑๗๗ ต่อมาสีลขันธวรรคฎีกามีค าอธิบายว่า ทายกเมื่อถวายอาวาส ชื่อว่าเป็นอันถวายปัจจัยแม้ ทั้งหมดเลยทีเดียว เป็นเหมือนได้น าก าลังมาใส่ในกายภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตทั่ว ๒-๓ หมู่บ้าน แม้ไม่ได้ อะไร ๆ ออกมาเข้าไปยังอารามที่ถึงพร้อมด้วยร่มเงาและน ้า สรงน ้าแล้วพักเอนกายสักครู่แล้วลุกนั่ง และเมื่อภิกษุเที่ยวไปข้างนอกอย่างนี้ วัณณธาตุ (ธาตุสี) ในกายย่อมหมองเพราะลมและแดด เข้าพัก อาศัยปิดประตูจ าวัดสักครู่ วิสภาคสันตติก็สงบ สภาคสันตติตั้งขึ้น วัณณธาตุเป็นเหมือนน ามาใส่ไว้ใน กาย อนึ่ง หนามย่อมทิ่มที่เท้าของภิกษุผู้เที่ยวไปอยู่ในภายนอก ตอก็ต า อันตรายจากตะขาบเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น และโจรภัยย่อมเกิดขึ้น เมื่อเข้าไปยังที่พักปิดประตูจ าวัตร ก็จะไม่มีอันตรายทั้งหมดนั้น เมื่อสาธยาย ก็เกิดความสุขอันเกิดขึ้นแต่ปีติในธรรม และเมื่อมนสิการกรรมฐานก็จะเกิดความสงบสุข เพราะไม่มีความพลุกพล่านไปในภายนอก อนึ่ง ในกายของภิกษุผู้เที่ยวไปในภายนอก เหงื่อย่อมไหล ออก นัยน์ตาย่อมพร่ามัว ในเวลาเข้าไปยังเสนาสนะ เตียงและตั่งเป็นต้นไม่ปรากฏ แต่เมื่อนั่งพักสักครู่ ก็เป็นเหมือนน าประสาทตามาใส่ไว้ ประตูหน้าต่าง เตียงและตั่งปรากฏชัด พวกมนุษย์เห็นท่านซึ่งอยู่ ในอาวาสนั่น ก็บ ารุงด้วยปัจจัย ๔ โดยเคารพ๑๗๘ ประเด็นที่ ๔ การรักษาศีล สีลขันธวรรคอรรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายวิรัติ ๓ ดังนี้ ๑. สัมปัตตวิรัติ หมายถึง การงดเว้นจากวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิดตามที่ปรากฏ ๒. สมาทานวิรัติ หมายถึง การงดเว้นด้วยการตั้งใจสมาทานสิกขาบท ๓. สมุจเฉทวิรัติ หมายถึง การงดเว้นอย่างเด็ดขาดโดยสัมปยุตด้วยอริยมรรค ๑๗๙ วิรัติที่ว่านี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เวรมณี (ศีล ๕) โดยสีลขันธวรรคฎีกาได้วิเคราะห์ศัพท์ ว่า เวรมณี ไว้ว่า ต มณติ มยิ อิธ ฐฃิตาย กถมาคจฺฉสีติ ตชฺเชนฺตี วิย นีหรตีติ เวรมณี. คุณชาติใดย่อมขับ ไล่ คือเป็นเหมือนคุกคามอยู่ว่า เมื่อข้าพเจ้าด ารงอยู่ในที่นี้ เจ้าจะมาได้อย่างไร ย่อมน าออกไปซึ่งเวร นั้น เหตุนั้น คุณชาตินั้น จึงชื่อว่าเวรมณี.๑๘๐ ต่อจากนั้น สีลขันธวรรคอรรถกถา ได้อธิบายว่า ศีล ๕ เป็นมหาทาน เป็นทานอันยอด เยี่ยมซึ่งมีอานิสงส์มาก โดยได้ยกพระพุทธพจน์มาสนับสนุนค าอธิบายของตนว่า ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล ้าเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง จะไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณ ๑๗๗ วิ.จู.(ไทย) ๗/๒๙๕/๙๒, ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๕๐/๒๗๑. ๑๗๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๕๐/๔๐๒-๔๐๓. ๑๗๙ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๕๒/๒๗๒, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๕๒/๔๐๕. ๑๘๐ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๕๒/๔๐๕.


๖๔ พราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ทาน ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละ การฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ครั้นให้ความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน กันอันไม่มีประมาณ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๑ เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล ้าเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง จะไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระอริยสาวกละอทินนาทาน ฯลฯ ละ กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ ละมุสาวาท ฯลฯ ละการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งค วาม ประมาท ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการเหล่านี้แล เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล ้าเลิศ ฯลฯ ผู้รู้ไม่ คัดค้าน๑๘๑ สีลขันธวรรคฎีกา ได้หยิบยกค าศัพท์หรือประโยคที่ปรากฏในพระพุทธพจน์ข้างต้นมา อธิบายในเชิงการให้ความหมายดังนี้ ๑. ศัพท์ที่ ๑ ทาน สีลขันธวรรคฎีกา อธิบายว่า อภยทานตาย สีลสฺส ภาโว, อนวเสส วา สตฺตนิกาย ทยติ เตน รกฺขตีติ ทาน , สีล . แปลว่า ชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่า ความที่ศีลเป็นทานเพราะ เป็นการให้อภัยอีกอย่างหนี่งชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่าเป็นเหตุดูแล คือรักษาหมู่สัตว์โดยไม่มีส่วนเหลือ ซึ่งก็คือ ศีลนั่นเอง . ๒. ศัพท์ที่ ๒ อคฺคญฺญานิ สีลขันธวรรคฎีกา อธิบายว่า อคฺคานีติ ญาตตฺตา อคฺคญฺญานิ. แปลว่า ชื่อว่าอัคคัญญะ เพราะรู้กันว่าเลิศ. ๓. ศัพท์ที่ ๓ รตฺตญฺญานิ สีลขันธวรรคฎีกา อธิบายว่า จิรรตฺตตาย ญาตตฺตา รตฺตญฺญานิ. แปลว่า ชื่อว่ารัตตัญญู เพราะรู้กันโดยความเป็นราตรีนาน. ๔. ศัพท์ที่ ๔ ว สญฺญานิ สีลขันธวรรคฎีกา อธิบายว่า อริยาน สาธูน ว สานีติ ญาตตฺตา ว สญฺญานิ. แปลว่า ชื่อว่าวังสัญญะ เพราะรู้กันว่า วงศ์ของอริยะ คือของคนดี. ๕. ประโยคบาลีว ่า อปริมาณาน สต ฺตาน อภย เทตีติ สพ ฺเพสุ ภูเตสุ นิหิตทณฺฑตฺตา สกลสฺสาปิ สตฺตนิกายสฺส ภยาภาว เทติ. แปลว่า ค าว่า อปริมาณาน สตฺตาน อภย เทติ ความว่า ย่อม ให้ความไม่มีภัย แก่หมู่สัตว์แม้ทั้งสิ้น เพราะวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง.๑๘๒ ป ระเด็นที่ ๕ คุณสมบัติของจิตใจ สีลขันธวรรคฎีกา ได้อธิบายคุณสมบัติของจิตไว้ว่า ความเป็นผู้มีจิตไม่มีโรค คือความเป็นผู้มีจิตมีโรคหามิได้ ย่อมมีด้วยการไปปราศจากกามฉันทะ ความ เป็นผู้มีจิตอ่อนโยน คือความเป็นผู้มีจิตไม่กระด้าง ย่อมมีด้วยสามารถแห่งเมตตาโดยการปราศจาก พยาบาท ความเป็นผู้มีจิตปราศจากนิวรณ์ คือผู้มีจิตไม่ถูกปิดกั้นด้วยนิวรณ์เหล่านั้น ย่อมมีด้วยการ ๑๘๑ องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) ๒๓/๓๙/๓๐๐, ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๕๑/๒๗๓. ๑๘๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๕๒/๔๐๖-๔๐๗.


๖๕ ปราศจากความฟุ้งซ่าน โดยการละอุทธัจจะกุกกุจจะ ความเป็นผู้มีจิตฟูขึ้นในเบื้องต้น คือความเป็นผู้มี จิตไม่หดหู่ ย่อมมีด้วยสามารถแห่งการประคองจิตไว้โดยการไปปราศจากถีนมิทธะ ความเป็นผู้มีจิต เลื่อมใส ย่อมมีด้วยความเป็นผู้มีจิตน้อมไปในสัมมาปฏิบัติ โดยการไปปราศจากวิจิกิจฉา๑๘๓ ๘.๘ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ส าคัญในมหาลิสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากมหาลิสูตร ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้กรุงไพศาลี พราหมณ์ผู้เป็นทูตประจ าเมืองโกศล และพราหมณ์ผู้เป็นทูตประจ าเมืองมคธ ได้เดินทางมาท าธุระใน เมืองไพศาลีเมื่อทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกูฏาคารศาลา จึงได้ออกเดินทางไปยัง กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวันเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อเดินทางถึงสถานที่ดังกล่าว ได้เรียนถามพระ นาคิตะว่า ตอนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระนาคิตะตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหลีกเร้นอยู่ เวลานี้ไม่ใช่เวลาเหมาะสมที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ แม้โอฏฐลิจฉวีพร้อมกับบริวาร เมื่อทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกูฏาคารศาลา จึงได้ออกเดินทางมายังกูฏาคาร ศาลา ในป่ามหาวัน เมื่อเดินทางมาถึงสถานที่ดังกล่าว พระนาคิตะก็ได้ให้ค าตอบเช่นเดียวกันกับที่ ให้แก่ทูตที่มาเป็นกลุ่มแรก สามเณรสีหะเมื่อเห็นคนจ านวนมากนั่งรอกันเต็มวัด จึงได้บอกพระนาคิตะว่า ท่านขอรับ พราหมณ์ผู้เป็นทูตประจ าเมืองโกศล พราหมณ์ผู้เป็นทูตประจ าเมืองมคธ โอฏฐลิจฉวีพร้อมกับบริวาร ล้วนมาเพื่อต้องการจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น คนกลุ่มนั้น สมควรที่จะได้เข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า พระนาคิตะได้บอกกับสามเณรสีหะว ่า เธอจงไปแจ้งข ่าวให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง รับทราบเถิด ทันใดนั้น สามเณรสีหะได้เดินไปยังที่พักของพระพุทธองค์เพื่อแจ้งข่าวดังกล่าว พระพุทธ องค์ได้เสด็จออกมาจากที ่พักเพื ่อเปิดโอกาสให้คนเหล่านั้นได้เข้าเฝ้าพระองค์ พรา หมณ์ผู้เป็นทูต ประจ าเมืองโกศล พราหมณ์ผู้เป็นทูตประจ าเมืองมคธ โอฏฐลิจฉวีพร้อมกับบริวาร ได้ถวายบังคมพระ ผู้มีพระภาคเจ้า สนทนากับพระพุทธองค์ตามสมควรแล้วขยับไปนั่ง ณ ที่เหมาะสม ล าดับนั้น โอฏฐลิจ ฉวีได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโอรสของเจ้าลิจฉวีนามว่าสุนักขัตตะได้เห็นรูปทิพย์ ที่น่าพึงพอใจ แต่ไม่ได้ยินเสียงทิพย์ การที่เขาไม่ได้ยินเสียงทิพย์ เป็นเรื่องจริงหรือไม่ พระเจ้าข้า พระผู้ มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่าเป็นเรื่องจริงโอฏฐลิจฉวี เพราะว่า สุนักขัตตะ อบรมสมาธิเพื่อได้เห็นรูปทิพย์ เท่านั้น ไม่ได้อบรมสมาธิเพื่อได้ยินเสียงทิพย์ โอฏฐลิจฉวีได้ทูลถามพระพุทธองค์ต่อไปว่า เมื่อเป็น เช่นนี้ ภิกษุในพระพุทธศาสนาคงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อได้สมาธิเหล่านี้เป็นแน่แท้ พระผู้มีพระภาค เจ้าได้ตรัสว่า ไม่ใช่หรอก โอฏฐลิจฉวี ภิกษุในพระพุทธศาสนาประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้ท าให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล ส่วนธรรมที่ใช้ปฏิบัติเพื่อให้แจ้งซึ่งผลดังกล่าว คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก ่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสเล่าเรื่องราวของปริพพาชก ๑๘๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๕๘/๔๐๘.


๖๖ ๒ คนต่อไปอีกว่า โอฏฐลิจฉวี ในช่วงที่เราอาศัยอยู่ในวัดโฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ปริพพาชก ๒ คน คือ มัณฑิยะ และชาลิยะ เข้ามาหาเรา เจรจากับเราพอสมควรแล้วได้ถามเราว่า ชีวะกับสรีระเป็น อย่างเดียวกันหรือไม่ หรือว่าชีวะกับสรีระไม่ใช่อย่างเดียวกัน เราได้ตอบว่า ตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นมา ตรัสรู้โดยชอบ สอนชาวโลกเพื่อดับทุกข์โดยแนะน าให้ชาวโลกปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ฉะนั้น ภิกษุเมื่อปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาแล้วได้คุณวิเศษตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงความหมดสิ้นอา สวะ ภิกษุเช่นนี้ ไม่ควรที่จะพูดเลยว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระไม่ใช่อย่าง เดียวกัน ดังนั้น เราในฐานะพระตถาคตแม้รู้แจ้งอยู่ในประโยคค าถามดังกล่าว เราก็ไม่ตอบว่า ชีวะกับ สรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระไม่ใช่อย่างเดียวกันโอฏฐลิจฉวีเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของ พระพุทธองค์ ได้มีจิตใจเบิกบาน อิ่มเอมในพระธรรม๑๘๔ ประเด็นที่น ่าสนใจจากมหาลิสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นมาอธิบายเพื่อให้เกิด ความชัดเจน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเด็นที่ ๑ ประวัติกูฏาคารศาลาในป ่ามหาวัน สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรค ฎีกา ได้อธิบายว่า ป่ามหาวันเป็นป่าที่ตั้งอยู่ติดกับป่าหิมพานต์ ชาวพุทธในสมัยนั้นได้สร้างวัดในป่า มหาวันนั้น ต่อมา เขาได้สร้างปราสาทคล้ายกับวิมานของเทพโดยเลียนแบบกูฏาคารศาลาซึ่งมุงบังราย รอบด้วยหงส์ เมื่อสร้างเสร็จ ก็ท าพิธียกช่อฟ้า ฉะนั้น คนในสมัยนั้น จึงมักจะเรียกวัดนั้นที่มีปราสาทซึ่ง มีศิลปะคล้ายกับกูฏาคารศาลาว่าเป็นกูฏาคารศาลา๑๘๕ ประเด็นที่ ๒ การตีความศัพท์ว ่า ปฏิสลฺลีโน ที่แปลว ่า หลีกเร้น ในมหาลิสูตร จะเห็นค าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้น (ปฏิสลฺลีโน ภควา) ค าว่า หลีกเร้นที่ว่านี้ ควรตีความอย่างไร หาก พิจารณาอรรถกถา ฎีกา เป็นไปได้ที่จะแปลค านี้ว่าการพักผ่อนหรือการบรรทม จะอย่างไรก็ตาม สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายว่า ปฏิสลฺลีโน หมายถึง การหลีกออกจาก อารมณ์ต่าง ๆ มากมายแล้วหลีกเร้นอยู่ในที่พักส่วนตัว เข้าฌานสมาบัติแล้วเสวยความยินดีในฌาน สมาบัติ๑๘๖ ดังนั้น ค าว่า ปฏิสลฺลีโน จึงหมายถึง การหลีกออกจากสถานที ่ที ่วุ่นวายแล้วเข้าฌาน สมาบัติ ประเด็นที่ ๓ ลักษณะของอริยมรรคมีองค์ ๘ สีลขันธวรรคฎีกา ได้อธิบายลักษณะของ อริยมรรคไว้ว่า สัมมาทิฏฐิชื่อว่ามีความเห็นชอบเป็นลักษณะ เพราะมีความเห็นโดยประจักษ์ซึ่งอริยสัจ ๔ โดยชอบ คือไม่วิปริต ได้แก่ตามความเป็นจริง สัมมาสังกัปปะมีสภาวะคือความปักจิตลงในธรรมที่มี นิพพานเป็นอารมณ์โดยชอบนั่นแล ชื่อว่ามีความปักลงโดยชอบเป็นลักษณะ วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมสงเคราะห์ซึ่งชน เพราะเหตุนั้น สัมมาวาจาจึงมีการเว้นจากฝ่ายตรงกันข้ามนั้นเป็นสภาวะมี ๑๘๔ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๓๕๙-๓๗๗/๑๕๑- ๑๕๙. ๑๘๕ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๕๙/๒๗๖, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๕๙/๔๐๙. ๑๘๖ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๖๐/๒๗๖, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๖๐/๔๐๙.


๖๗ การประคองชนและสัมปยุตตธรรมเป็นกิจ โดยการละมิจฉาวาจาอันท าความแตกแยก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ามีการประคองโดยชอบเป็นลักษณะ การงานมีการกระท าจีวรเป็นต้น ยังการงานอย่างหนึ่งที่ พึงกระท าย่อมให้ตั้งขึ้นพร้อม หรือว่าการงานกล่าวคือเจตนาอันยังกิริยานั้น ๆ ย่อมให้ส าเร็จ เช่น ยัง กิริยามีการยังมือและเท้าให้ไหวเป็นต้น ย่อมให้ตั้งขึ้นพร้อม ฉันใด สัมมากัมมันตะมีการยังการงานที่ไม่ มีโทษให้ตั้งขึ้นเป็นกิจ โดยการละมิจฉากัมมันตะอันยังการกระท าการงานที่พึงท าอันมีโทษให้ตั้งขึ้น ฉันนั้น และเมื่อยังสัมปยุตตธรรมให้ตั้งขึ้นพร้อมนั่นแลย่อมเป็นไป เพราะเหตุนั้น สัมมากัมมันตะจึงมี การยังการงานให้ตั้งขึ้นโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาอาชีวะ มีการยังกาย วาจา และขันธสันดานให้หมด จดโดยชอบเป็นลักษณะ โดยการละมิจฉาอาชีวะอันเป็นความเศร้าหมองแห่งกายวาจาและขันธ สันดาน สัมมาวายามะมีการประคับประคองโดยชอบเป็นลักษณะ เพราะอรรถว่า มีสภาวะประคับ ประคองสัมปยุตตธรรมไว้ไม่ให้ตกไปทางฝ่ายโกสัชชะ สัมมาสติมีการปรากฏโดยชอบเป็นลักษณะ เพราะอรรถว่า มีสภาวะที่ปรากฏโดยชอบนั่นเอง สัมมาสมาธิมีการตั้งมั่นโดยชอบเป็นลักษณะ เพราะ อรรถว่า มีสภาวะคือการตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบ โดยการก าจัดความฟุ้งซ่าน๑๘๗ ๘.๙ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาในชาลิยสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากชาลิยสูตร ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ปริพพาชก ชื่อว่ามัณฑิยะ และปริพพาชกชื่อชาลิยะ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์แล้วทูลถามปัญหา ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือไม่ หรือว่า ชีวะกับสรีระไม่ใช่อย่างเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบว่า ตถาคตเสด็จอุบัติ ขึ้นมา ตรัสรู้โดยชอบ สอนชาวโลกเพื่อดับทุกข์โดยแนะน าให้ชาวโลกปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ภิกษุ เมื่อปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาแล้วได้คุณวิเศษตั้งแต่ปฐมฌานจนอาสวักขยญาณ ภิกษุเช่นนี้ ไม่ควรที่ จะพูดเลยว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือ ชีวะกับสรีระไม่ใช่อย่างเดียวกัน ดังนั้น เราในฐานะ พระตถาคต แม้รู้แจ้งอยู่ในประโยคค าถามดังกล่าว เราก็ไม่ตอบว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระไม่ใช่อย่างเดียวกัน๑๘๘ ประเด็นที่น ่าสนใจจากชาลิยสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นมาอธิบายเพื่อให้เกิด ความชัดเจน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ กล่าวคือ ท าไมพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาที่ว่าชีวะ กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระไม่ใช่อย่างเดียวกัน สีลขันธวรรคอรรถกถา ได้อธิบายว่า การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาที่ว่า ชีวะ กับสรีระเป็นอย่างเดียวกันหรือ (ต ชีว ต สรีร ) ก็เพราะว่า หากพระพุทธองค์ทรงตอบว่า ชีวะกับสรีระ เป็นอย่างเดียวกัน ปริพพาชก ๒ คน จะข่มพระพุทธองค์ว่า ค าสอนของพระองค์มีแนวคิดว่า สัตว์ย่อม ๑๘๗ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๗๔-๓๗๕/๔๑๓-๔๑๔. ๑๘๘ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๑๗๘-๑๘๐/๑๖๐-๑๖๑.


๖๘ ขาดสูญ (สตฺโต ภิชฺชติ) ฉะนั้น ค าสอนของพระองค์จึงอยู่ในกลุ่มอุจเฉทวาท ในทางตรงกันข้าม หาก พระพุทธองค์ทรงตอบว่า ชีวะกับสรีระไม่ใช่อย่างเดียวกัน ปริพพาชก ๒ คน จะข่มพระพุทธองค์ว่า ค า สอนของพระองค์มีแนวคิดว่า รูปย่อมแตกดับไป สัตว์ย่อมไม่แตกดับ (รูปํ ภิชฺชติ น สตฺโต ภิชฺชติ) ฉะนั้น ค าสอนของพระองค์จึงอยู่ในกลุ่มสัสสตวาท๑๘๙ ต่อมาสีลขันธวรรคอรรถกถาฎีกา ได้น าค าศัพท์ ที่อยู่ในสีลขันธวรรคอรรถกถามาอธิบายเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า ๑. ต ชีว ต สรีร (ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน) มีค าอธิบายว่า วัตถุใดอันบุคคลรู้พร้อม ว่าชีวะ วัตถุนั้นนั่นเองอันบุคคลรู้พร้อมว่าสรีระ ๒. อญฺญ ชีว อญฺญ สรีร (ชีวะกับสรีระไม่ใช่อย่างเดียวกัน) มีค าอธิบายว่า วัตถุที่รู้กันว่า ชีวะเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุที่รู้กันว่าสรีระก็เป็นอีกอย่าง๑๙๐ ๘.๑๐ มหาสีนาทสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากมหาสีหนาทสูตร ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ ณ กัณณกถลมิคทายวัน ใกล้อุชุญญานคร ครั้งนั้น อเจลกัสสปะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว ่า ข้าพระองค์ทราบข ่าวจากสมณ พราหมณ์กลุ่มหนึ่งว่า พระองค์ทรงต าหนิการบ าเพ็ญตบะทุกอย่าง ข่าวที่ว่านี้เป็นความจริงหรือไม่ ขอรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กัสสปะ เรื่องที่ว่านั้นไม่ใช่ความจริงเลย เพราะว่าเราเห็นบุคคลผู้ บ าเพ็ญตบะ เมื่อเขาเสียชีวิตลง เขาได้ไปเกิดในสุคติก็มี ได้ไปเกิดในอบายก็มี ฉะนั้น เราจะต าหนิการ บ าเพ็ญตปะทุกอย่าง ท าไมล่ะ พระพุทธองค์ได้ตรัสต่อไปว่า เรามีความเห็นตรงกันกับสมณพราหมณ์ กลุ่มนั้นในบางเรื่อง มีความเห็นไม่ตรงกันในบางเรื่อง หากเราสนทนากับสมณพราหมณ์ว่า ธรรมเหล่า ใดเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ แล้วถามในเชิงการ ปฏิบัติว่า ใครละธรรมที่เป็นอกุศลมีโทษอย่างสิ้นเชิง แล้วประพฤติธรรมที่เป็นกุศลไม่มีโทษเล่า ก็คงจะ ได้รับค าสรรเสริญว่า พระสมณโคดม ละธรรมที่เป็นอกุศลมีโทษอย่างสิ้นเชิง แล้วประพฤติธรรมที่เป็น กุศลไม่มีโทษ ล าดับนั้น อเจลกัสสปะได้กราบทูลว่า การบ าเพ็ญตบะของสมณพราหมณ์เหล่านั้นท าให้ สมณพราหมณ์ได้เกิดเป็นพรหมในพรหมโลก สมณพราหมณ์เหล่านั้นบ าเพ็ญตบะด้วยการปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติดังนี้ ๑) ประพฤติเปลือยกาย ๒) ไม่ประพฤติตามข้อปฏิบัติที่ดีงามของชาวโลก ๓) เขาเชิญ ให้ไปรับอาหารก็ไม่ยอมไป ๔) เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่ยอมหยุด ๕) ไม่รับอาหารที่เขาแบ่งไว้ ๖) ไม่รับอาหารที่เขาท าเจาะจง ๗) ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ๘) ไม่รับอาหารจากปากหม้อ ๙) ไม่รับ อาหารจากปากภาชนะ ๑๐) ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ๑๑) ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ๑๒) ไม่รับ อาหารคร่อมสาก ๑๓) ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่ก าลังบริโภค ๑๔) ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ๑๘๙ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๗๘/๒๘๕, ๑๙๐ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๗๘/๔๑๘.


๖๙ ๑๕) ไม่รับอาหารของหญิงผู้ก าลังให้บุตรดื่มนม ๑๖) ไม่รับอาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ๑๗) ไม่รับ อาหารที่นัดแนะกันท าไว้ ๑๘) ไม่รับอาหารในที่เลี้ยงสุนัข ๑๘) ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็น กลุ่มๆ ๑๙) ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง ๒๐) รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าวค าเดียว ๒๑) รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ ค า ๒๒) รับอาหารในเรือน ๗ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๗ ค า ๒๓) ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๑ ใบ ๒๔) ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๒ ใบ ๒๕) ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๗ ใบ ๒๖) กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๑ วัน ๒๗) กินอาหารที่ เก็บไว้ค้างคืน ๒ วัน ๒๘) กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๗ วัน ๒๙) ถือการบริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้อ ๓๐) กินผักดองเป็นอาหาร ๓๑) กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร ๓๒) กินลูกเดือยเป็นอาหาร ๓๓) กินกาก ข้าวเป็นอาหาร ๓๔) กินยางเป็นอาหาร ๓๕) กินสาหร่ายเป็นอาหาร ๓๖) กินร าเป็นอาหาร ๓๗) กิน ข้าวตังเป็นอาหาร ๓๘) กินก ายานเป็นอาหาร ๓๙) กินหญ้าเป็นอาหาร ๔๐) กินโคมัยเป็นอาหาร ๔๑) กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร ๔๒) บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ ๔๓) นุ่งห ่มผ้าป่าน ๔๔) นุ่งห ่มผ้าแกม กัน ๔๕) นุ่งห ่มผ้าห่อศพ ๔๖) นุ่งห ่มผ้าบังสุกุล ๔๗) นุ่งห ่มผ้าเปลือกไม้ ๔๘) นุ่งห ่มหนังเสือ ๔๙) นุ่ง ห่มหนังเสือมีเล็บ ๕๐) นุ่งห ่มผ้าคากรอง ๕๑) นุ่งห ่มผ้าเปลือกปอกรอง ๕๒) นุ่งห ่มผ้าผลไม้กรอง ๕๓) นุ่งห ่มผ้ากัมพลผมมนุษย์ ๕๔) นุ่งห ่มผ้ากัมพลขนสัตว์ ๕๕) นุ่งห ่มผ้าขนปีกนกเค้า ๕๕) ถอนผมและ หนวด คือ ถือการถอนผมและหนวด ๕๖) ยืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง ๕๗) เดินกระโหย่ง คือ ถือการเดิน กระโหย่ง (เหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) ๕๘) นอนบนหนาม ๕๙) นอนบนแผ่นกระดาน ๖๐) นอนบนเนินดิน ๖๑) นอนตะแคงข้างเดียว เอาฝุ่นคลุกตัว อยู่กลางแจ้ง ๖๒) นั่งบนอาสนะตามที่ปูไว้ ๖๓) บริโภคคูถ คือ ถือการบริโภคคูถ ๖๔) ไม่ดื่มน ้าเย็น คือถือการไม่ดื่มน ้าเย็น ๖๕) อาบน ้าวันละ ๓ ครั้ง คือถือการ ลงอาบน ้า๑๙๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้อปฏิบัติของอเจลกะกลุ่มนี้มุ่งไปที่การทรมานร่างกายเป็น หลัก ไม่ได้มุ่งพัฒนาจิตใจด้วยการอบรม ศีล สมาธิ ปัญญา พวกอเจลกะแม้จะบ าเพ็ญตบะเคร่งครัด เพียงใดก็ตาม บางครั้ง พวกเขาก็ยังประพฤติทุจริตอยู่เหมือนเดิม ฉะนั้น อเจลกะบางคนที่บ าเพ็ญตบะ และงดเว้นทุจริตก็ได้ไปเกิดในสุคติ บางคนที่บ าเพ็ญตบะแต่ยังท าทุจริตก็ได้เกิดไปในอบาย ล าดับนั้น อเจลกัสสปะถามพระพุทธองค์ว่า สีลสัมปทา จิตตสัมปทา และปัญญาสัมปทาเป็นอย่างไร พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่า สีลสัมปทา หมายถึง การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีความละอายต่อบาป มีเมตตา กรุณาต่อสรรพสัตว์ เป็นต้น จิตตสัมปทา หมายถึง การอบรมจิตภาวนาจนบรรลุฌานระดับต่าง ๆ ปัญญาสัมปทา หมายถึง การรู้ชัดในอริยสัจ ๔ เมื่ออเจลกัสสปะฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีจิตใจปราบปลื้ม ชื่นชมในพระธรรมเทศนา และมีความประสงค์ต้องการจะ บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ธรรมเนียมในการบวชของอเจลกะมีอยู่ว่า ผู้ที่เป็นนักบวชเปลือย (อเจลกะ) เมื่อต้องการจะบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือน แต่อเจลกกัสสปะ ไม่ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความพิเศษของอเจลกัสสปะ พระ ๑๙๑ ที.สี. (ไทย) ๙/๓๙๔-๓๙๖/๑๖๔-๑๖๕.


๗๐ พุทธองค์ทรงอนุญาตให้อเจลกัสสปะอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ต่อมาภายหลังไม่นาน นัก ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์๑๙๒ ประเด็นที่น ่าสนใจจากมหาสีหนาทสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นมาอธิบายเพื่อให้เกิด ความชัดเจน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเด็นที่ ๑ การละอกุศลธรรมที่มีโทษอย ่างสิ้นเชิงแล้วประพฤติกุศลธรรมที่ไม ่มีโทษ สีล ขันธวรรคอรรถกา และสีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายว่า วิรัติ มี ๓ อย่าง คือ ๑) สัมปัตตวิรัติ หมายถึง การงดเว้นจากวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด ๒) สมาทานวิรัติ หมายถึง การงดเว้นด้วยการสมาทานที่จะไม่ล่วงละเมิด ๓) เสตุฆาตวิรัติ หมายถึง การ งดเว้นอย่างเด็ดขาดซึ่งสัมปยุตด้วยอริยมรรค คนทั ่วไปมีได้เฉพาะสัมปัตตวิรัติ และสมา ทานวิรัติ เท่านั้น แต่ไม่มีเสตุฆาตวิรัติเหมือนพระอริยบุคคล ปหาน มี ๕ อย่าง คือ ๑) ตทังคปหาน หมายถึง การละได้ชั่วคราว ๒) วิกขัมภนปหาน หมายถึง การละด้วยการข่มไว้ ๓) สมุจเฉทปหาน หมายถึง การละด้วยการตัดขาดอย่างสิ้นเชิง ๔) ปฏิปัสสัทธิปหาน หมายถึง การละด้วยการสงบระงับ ๕) นิสสรณปหาน หมายถึง การละด้วยการสลัด ออก คนทั่วไปมีได้เฉพาะ ตทังคปหานและวิกขัมภนปหานเท่านั้น แต่ไม่มีสมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิ ปหาน และนิสสรณปหาน เหมือนพระเจ้าอริยบุคคล สังวร มี ๕ อย่าง คือ ๑) สีลสังวร หมายถึง การปฏิบัติตามศีลที่ตนสมาทาน ๒) ขันติสังวร หมายถึง การอดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ๓) ญาณสังวร หมายถึง การ ละกิเลสด้วยปัญญา หรือการใช้ปัญญาพิจารณาสภาวธรรมรวมถึงใช้ปัญญาในการใช้สอยปัจจัย ๔ ๔) สติสังวร หมายถึง การส ารวมอินทรีย์ไม่ให้เกิดความยินดี ยินร้าย เมื่ออารมณ์มากระทบ ๕) วิริย สังวร หมายถึง การใช้ความเพียรในการเลี้ยงชีพด้วยความชอบธรรม คนทั่วไปมีเฉพาะสีลสังวรและ ขันติสังวรเท่านั้น แต่ไม่มีญาณสังวร สติสังวร และวิริยสังวรเหมือนพระอริยบุคคล กล่าวโดยสรุปก็คือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับพระอริยสาวกทรงมีวิรัติครบ ๓ อย่าง ทรงมีปหานครบ ๕ อย่าง ทรงมีสังวรครบ ๕ อย่าง ฉะนั้น พระพุทธองค์พร้อมกับพระอริยสาวกจึง นับว ่าทรงละอกุศลธรรมที ่มีโทษอย ่างสิ้นเชิงแล้วประพฤติกุศลธรรมที ่ไม่มีโทษ ซึ ่งจะหาใคร เปรียบเทียบกับพระพุทธองค์และอริยสาวกไม่ได้๑๙๓ ๑๙๒ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๓๘๑-๔๐๕/๑๖๒-๑๗๕. ๑๙๓ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๓๙๒/๒๘๙-๒๙๐, ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๓๙๒/๔๒๕.


๗๑ ประเด็นที่ ๒ ติตถิยปริวาส สีลขันธวรรคอรรถกา ได้อธิบายว่า ผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เมื่อต้องการจะบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา จะต้องอยู่ติตถิยปริวาสให้ครบ ๔ เดือน โดย บรรพชาเป็นสามเณรแล้วกล่าวสมาทานติตถิยปริวาสว่า อห ภนฺเต อิตฺถนฺนาโม อญฺญติตฺถิยปุพฺโพ อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อากงฺขามิ อุปสมฺปท สฺวาห ภนฺเต ส ฆ จตฺตาโร มาเส ปริวาส ยาจามิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเคยเป็นอัญญเดียรถีย์มาก่อน ย่อม ปรารถนาการอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้น ย่อมขอการอยู่ปริวาสเป็น ระยะเวลา ๔ เดือน กับพระสงฆ์ เมื ่อเดียรถีย์สมาทานติตถิยปริวาสเสร็จเรียบร้อยแล้ว เดียรถีย์จะต้องปฏิบัติข้อวัตร ดังนี้๑๙๔ ซึ่งข้อปฏิบัติที่เดียรถีย์จะต้องปฏิบัติที่ว่านี้ สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายว่า ๑. เข้าไปสู่หมู่บ้านไม่เช้าเกินไป กลับจากหมู่บ้านไม่สายเกินไป ๒. ไม่เข้าไปคลุกคลีกับหญิงแพศยา หญิงหม้าย สาวทื้อ บัณเฑาะก์ ภิกษุณี ๓. ขยันท าการงานต่าง ๆ ของเพื่อนสพรหมจารี ๔. มีความตั้งใจเรียนบาลี อรรถกกถา ๕. เมื่อมีใครต าหนิอาจารย์ผู้เป็นเดียรถีย์ ก็แสดงความยินดี พอใจ แต่เมื่อมีใครสรรเสริญ อาจารย์ผู้เป็นเดียรถีย์ ก็แสดงความโกรธ ไม่พอใจ ในทางตรงกันข้าม เมื่อมีใครต าหนิพระรัตนตรัย ก็ แสดงความโกรธ ไม่พอใจ แต่เมื่อมีใครสรรเสริญพระรัตนตรัย ก็แสดงความยินดี พอใจ๑๙๕ ๘.๑๑ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาในโปฏฐปาทสูตร เนื้อหาโดยสังเขปในโปฏฐปาทสูตร ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกะ ใกล้กรุงสาวัตถี ส่วนโปฏฐปาทปริพพาชกอาศัยอยู่ในสถานที่ส าหรับโต้ตอบลัทธิ แถวป่าไม้มะพลับ พร้อมด้วยปริพพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ประมาณ ๓,๐๐๐ ก าลังกล ่าวดิรัจฉานกถาต่าง ๆ เช ่น เรื ่อง พระราชา เรื่องโจร เรื่องกองทัพ เป็นต้น ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก าลังครองจีวร จะเสด็จเข้าไป บิณฑบาต ทรงเห็นว่ายังเช้าเกินไป จึงเสด็จเข้าไปหาโปฏฐปาทปริพพาชก ณ สถานที่ส าหรับโต้ตอบ ลัทธิ โปฏฐปาทปริพพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าก าลังเสด็จมา จึงบอกบริษัทของตนให้เบาเสียง ลง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง จึงได้ทักทายกันตามสมควร ล าดับนั้น โปฏฐปาทปริพพาชก ได้ทูล ถามปัญหาว่า อภิสัญญานิโรธเป็นอย่างไร พระพุทธองค์ตรัสว่า อภิสัญญานิโรธ คือ การได้รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ (กล่าวโดยสรุป-ผู้เรียบเรียง) โปฏฐปาทปริพพาชกได้ทูลถามต่อไปว่า สัญญาเกิดขึ้นก่อน ญาณเกิดขึ้นทีหลัง หรือสัญญาและญาณเกิดขึ้นพร้อมกัน พระพุทธองค์ตรัสว่า สัญญาเกิดขึ้นก่อน ๑๙๔ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๐๕/๒๙๗. ๑๙๕ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๐๕/๔๓๕.


๗๒ ญาณเกิดขึ้นทีหลัง เพราะว่าญาณเกิดขึ้น เพราะมีสัญญาเป็นปัจจัย โปฏฐปาทปริพพาชกได้ทูลถาม ปัญหาต่อไปว่า สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ หรือว่าสัญญาเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ พุทธองค์ตรัสว่า หากอัตตาหมายถึง อัตตาที่มีรูปหยาบเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ มีกวฬิงการา หารเป็นภักษา สัญญาเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก อัตตาก็เป็นอีกอย่างหนึ่งต่างหาก หากอัตตาหมายถึง อัตตาที่ส าเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วนทุกประการ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง สัญญาเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก อัตตาก็เป็นอีกอย่างหนึ่งต่างหาก หากอัตตาหมายถึงอัตตาที่ไม่มีรูปส าเร็จด้วยสัญญา สัญญาเป็นอย่าง หนึ่งต่างหาก อัตตาก็เป็นอีกอย่างหนึ่งต่างหาก ต่อจากนั้น โปฏฐปาทปริพพาชกได้ทูลถามปัญหาต่อไป ว่า โลกมีที่สุดหรือไม่มีที่สุด เป็นต้น พระพุทธองค์ตรัสว่า ปัญหาที่ว่านี้เราไม่พยากรณ์ เพราะไม่ใช่ หนทางแห่งความดับทุกข์ โปฏฐปาทปริพพาชกได้ทูลถามว่า พระองค์ทรงพยากรณ์เรื่องอะไรพระเจ้า ข้า พระพุทธองค์ตรัสว่า เราพยากรณ์เฉพาะเรื่องอริยสัจ ๔ คือ ๑) ทุกข์ ๒) เหตุให้เกิดความทุกข์ ๓) ความดับทุกข์ ๔) ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เมื่อพระพุทธองค์สนทนากับโปฏฐปาทปริพพาชกตาม สมควร จึงได้เสด็จกลับไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับไปไม่นาน ปริพพาชกทั้งหลายได้ต่อว่าโปฏฐปาทปริพพาชก ด้วยค าตัดพ้อต่าง ๆ ว ่าพลอยชื ่นชมค าที ่พระสมณโคดมตรัสทุกค า จะอย ่างไรก็ตาม โปฏฐปาท ปริพพาชกและปริพพาชกทั้งหลายก็ไม่ได้มีความเข้าใจในเรื่องที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ดังนั้น โดย ล่วงไป ๒-๓ วัน จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยได้น าจิตตหัตถิสารีบุตรเข้าเฝ้าด้วยเพื่อถามอัพยากต ปัญหาจะอย่างไรก็ตาม พระพุทธองค์ก็ตรัสบอกว่า ปัญหาที่ว่านี้ไม่ใช่ทางแห่งการพ้นทุกข์ เป็นสิ่งที่ไร้ ประโยชน์ ซึ่งมีความแตกต่างกับอริยสัจ ๔ ที่เป็นทางแห่งการพ้นทุกข์ ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ได้ วิเคราะห์วิจารณ์แนวคิดของสมณพราหมณ์กลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อว่า อัตตาเบื้องหลังจากความตายมี ความสุขอย่างเดียว ว่าเป็นแนวคิดที่เลื่อยลอย และในท้ายที่สุด พระพุทธองค์ได้แสดงการได้อัตภาพ ๓ อย่างคือ ๑) การได้อัตภาพที่หยาบ ๒) การได้อัตภาพที่ส าเร็จด้วยใจ ๓) การได้อัตภาพที่ไม่มีรูป ใน เวลาจบการแสดงธรรม โปฏฐปาทปริพพาชกได้ชื่มชมภาษิตของพระพุทธองค์แล้วได้ถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต ส่วนจิตตหัตถิสารีบุตรก็ชื่นชมภาษิตของพระพุทธองค์แล้วถึงพระรัตนตรัยเป็น สรณะตลอดชีวิต แล้วได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาภายหลัง จิตตหัตถิสารีบุตรได้ บรรลุธรรมเป็นอรหันต์๑๙๖ ประเด็นที่น ่าสนใจจากโปฏฐปาทสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถาและสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นในโปฏฐปาทสูตรมา อธิบายเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ป ระเด็นที ่ ๑ ค วามสัมพันธ์ระหว ่างสัญญากับญาณ โปฏฐปาทสูตรอธิบายว่า สัญญา เกิดขึ้นก่อน ญาณเกิดขึ้นทีหลัง เพราะว่าญาณเกิดขึ้นเพราะมีสัญญาเป็นปัจจัย ๑๙๖ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๔๐๖-๔๔๓/๑๗๖-๑๙๖.


๗๓ จากข้อความในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่า สัญญาเกิดขึ้นก ่อน ส ่วนญาณเกิดขึ้นภายหลัง เพราะว่าญาณเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยสัญญาเป็นต้นเหตุ ซึ่งประเด็นนี้ สีลขันธวรรคอรรถกาได้อธิบาย ศัพท์ว่าสัญญาและญาณไว้ว่า นัยที่ ๑ สัญญา หมายถึง ฌานสัญญา ส่วนญาณ หมายถึง วิปัสสนาญาณ นัยที่ ๒ สัญญา หมายถึง วิปัสสนาปัญญา ส่วนญาณ หมายถึง มรรคญาณ นัยที่ ๓ สัญญา หมายถึง มรรคสัญญา ส่วนญาณ หมายถึง ผลญาณ มีค าอธิบายของพระติปิฎกมหาสิวเถระว่า ค าที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบโปฏฐปาทะว่าสัญญา เกิดก่อนญาณนั้นมุ่งหมายถึงการออกจากนิโรธสมาบัติ พึงมีเพราะบรรลุอรหัตตผลหรือเพราะบรรลุ อนามิผล ในการออกจากนิโรธนั้นสัญญาเป็นประธาน ปัจจเวกขณญาณก็มีในล าดับต่อจากสัญญา นั้น๑๙๗ ต่อมา สีลขันธวรรคฎีกาได้อธิบายขยายความต่อไปว่า ท่านแสดงสัญญาญาณในนัยที่ ๑ ส าหรับบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาที่มีฌานเป็นปทัฏฐาน ส่วนในนัยที่ ๒ เพราะมรรคญาณเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ให้วิปัสสนาเกิดพยายามอยู่ด้วยมรรค ฉะนั้น จึงแสดงสัญญาญาณด้วยอ านาจแห่งวิปัสสนามรรค แสดงสัญญาญาณด้วยอ านาจแห่งมรรคและผลไว้นัยที่ ๓ เพื่อแสดงโลกุตตรมรรคที่ให้บังเกิดแล้วนั่น แลอันมั่นคงซึ่งละเอียดและงดงามโดยส่วนเดียว๑๙๘ ป ระเด็นที่ ๒ สัญญากับอัตตา โปฏฐปาทสูตร โปฏฐปาทปริพาชก มีความเห็นว ่า ๑) อัตตาที่มีรูปหยาบเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา ๒) อัตตาที่ส าเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วนทุกประการ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ๓) อัตตาที่ไม่มีรูปส าเร็จด้วยสัญญา ทั้ง ๓ แนวคิด นี้ว่ามีอัตตา โปฏฐปาทะทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สัญญาเป็นอัตตาของคนหรือสัญญากับอัตตาเป็นคน ละอย่าง พระพุทธเจ้าตรัสว่าสัญญากับอัตตาเป็นคนละอย่าง พระองค์ตรัสถึงความเกิดดับว่า “สัญญา ของคนที ่พูดถึงนี้อย ่างหนึ ่งเกิดและอีกอย ่างหนึ่งดับ” ในอรรถกถามีค าอธิบายว ่า “นามขันธ์ ๔ ประการอาศัยกันและกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สัญญาอย่างหนึ่งเกิดขึ้น สัญญาหนึ่งดับ ไป”จากประเด็นนี้ผู้เรียบเรียงมีความเห็นว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายสภาวธรรมที่เกิดและดับตาม เหตุปัจจัยเพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมีตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท”ในสีลขันธวรรคฎีกามีค าอธิบายว่า “ชื่อ ว่าสัญญานี้ มีอารมณ์ต่างๆย่อมเกิดขึ้นและย่อมเสื่อมไปในขณะต่างๆ เพราะเหตุนั้นปริพาชกแม้เห็น อยู่ซึ่งความเกิดขึ้นและความดับแห่งสัญญาย่อมส าคัญตนอันส าเร็จแต่สัญญาคือมีมาแต่สัญญาท าให้ เป็นตนที่เที่ยงเท่านั้น เพราะไม่มีการก าหนดแล้วแยกแยะ เพราะเชื่อมั่นด้วยทิฏฐิ”๑๙๙ ในสีลขันธวรรค ฎีกามีค าอธิบายเกี่ยวกับอัตตวาทะ ๓ อย่างคือ ๑๙๗ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๑๖/๓๐๘. ๑๙๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๑๖/๔๔๙. ๑๙๙ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๑๘/๔๕๑.


๗๔ ๑. อัตตาอย่างหยาบ เพราะอัตตวาทวาทีบุคคลถือความสืบต่อแห่งรูปสันตติ ๔ ด้วย อ านาจความเป็นอย่างเดียว ปักใจเชื่อโดยความเป็นรูปว่า“อัตตาหยาบ” ก าหนดความที่อัตตานั้นเป็น ที่รองรับข้าวและน ้าดื่มย่อมส าคัญว่า “เที่ยง”ก็ความที่สัญญาเป็นอย่างอื่นจากความเป็นรูปนั่นเองซึ่ง เวทวาทีบุคคลเรียกเป็น ๒ อย่างคือส าเร็จแต่ข้าวและส าเร็จแต่น ้าดื่ม ๒๐๐ ๒. อัตตาที่ส าเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วนทุกประการ มีอินทรีย์ไม่บกพร่องสีลขันธวรรค ฎีกา อธิบายไว้ว่า อัตตาในที่นี้ หมายถึง ร่างกายของรูปพรหม๒๐๑ ๓. อัตตาที่ไม่มีรูปส าเร็จด้วยสัญญา สีลขันธวรรคฎีกาไม่ได้อธิบายไว้ การที่โปฏฐปาทปริพาชกมีความเห็นว่า“มีอัตตาในอัตตาที่หยาบ มีอัตตาที่ส าเร็จด้วยใจ มี อัตตาที่ไม่มีรูป”นั้นในสีลขันธวรรคฎีกามีค าอธิบายว่า “อันกองแห่งสันตติและกองแห่งสมูหธรรมใด ลวงแล้ว ย่อมปักใจมั่นเรียกว่า “อัตตา” และว่า “เที่ยง”ด้วยอ านาจแห่งการถือเอาผิดซึ่งกองธรรมที่ เป็นไปอยู่ด้วยอ านาจแห่งความเชื่อมต่อกองแห่งสันตติและกองแห่งสมูหธรรมอันคนพาลเข้าใจว่าเป็น หนึ่งเดียว คือการไม่แยกการถือเอาแบบเป็นกองแล้วรู้ตามความเป็นจริง ได้แก่การจ าแนกออก การ จ าแนกดังกล่าวนั้นย่อมไม่มีแก่เดียรถีร์ทั้งหลาย”๒๐๒ กองแห่งธรรมที่สืบต่อด้วยอ านาจสันตติเป็น สภาพที ่ละเอียด สุขุม และประณีต อย ่างยิ ่ง เป็นธรรมดาอันปริพาชกย ่อมไม ่เข้าใจเลยทีเดียว พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ทุชฺชาน โข”๒๐๓ ประเด็นที่ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการได้อัตภาพ ๓ อย ่างผ ่านสมมติสัจจะสีลขันธวรรค อรรถกถาอธิบายว ่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกามภพตั้งแต่อเวจีนรกจนถึงเทวโลกชั้นปรนิม มิตวัสสวัตดีด้วยการตรัสถึงการได้อัตภาพที่หยาบ ทรงแสดงรูปภพตั้งแต่ภูมิแห่งปฐมฌานจนถึง อกนิฏฐพรหมโลกด้วยการตรัสถึงการได้อัตภาพที่ส าเร็จด้วยใจ และทรงแสดงอรูปภพตั้งแต่พรหมโลก ชั้นอากาสานัญจายตนะจนถึงพรหมโลกชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยการตรัสถึงการได้อัตภาพที่ ไม่มีรูป๒๐๔ ซึ่งประเด็นตรงนี้ สีลขันธวรรคฎีกาได้น าค าว่า “อัตภาพ” มาอธิบายในเชิงไวยากรณ์ว่า อาหิโต อห มาโน เอตฺถาติ อตฺตา, อตฺตภาโว. แปลว่า มานะว่าตัวเรา ตั้งลงแล้วในสภาวะนี้ เหตุนั้น สภาวะนี้จึงชื่อว่า อัตตา หมายถึง อัตภาพ.๒๐๕ จะอย่างไรก็ตาม การที่พระพุทธองค์แสดงภพ ๓ ผ่านการได้อัตภาพ ๓ อย่าง ไม่ได้แสดง ว่า พระพุทธองค์ทรงยอมรับการมีอยู่ของสัตว์ บุคคล หรืออาตมันอย่างที่ปรัชญาพราหมณ์สอนกันอยู่ ในสมัยนั้น เพราะว่าสีลขันธวรรคอรรถกถาอธิบายว่า เมื่อกล่าวโดยปรมัตถสัจจะ สัตว์ไม่มีอยู่จริง โลก ๒๐๐ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๑๗/๔๕๐. ๒๐๑ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๑๘/๔๕๑. ๒๐๒ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๑๘/๔๕๑. ๒๐๓ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๑๘/๔๕๒. ๒๐๔ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๒๘/๓๑๒. ๒๐๕ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๒๘/๔๕๗.


๗๕ ว่างเปล่าจากสัตว์บุคคล ส่วนที่กล่าวถึงการได้อัตภาพ ๓ อย่างเป็นเพียงบัญญัติเท่านั้น๒๐๖ ดังนั้น การ ที่พระพุทธองค์แสดงภพ ๓ ผ่านการได้อัตภาพ ๓ อย่างจึงอยู่ในระดับสมมติสัจจะเท่านั้น สีลขันธ วรรคอรรรถกถาอธิบายต่อไปว่า พระพุทธองค์ทรงใช้สมมติสัจจะในการอธิบายประเด็นดังกล่าวโดยไม่ มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ เข้ามาปะปนในพระทัยของพระพุทธองค์๒๐๗ ส่วนเหตุผลที่พระพุทธองค์ทรง เลือกใช้สมมติสัจจะในการอธิบายประเด็นนี้ สีลขันธวรรคฎีกาอธิบายว่า การสื่อสารกับชาวโลก หาก ไม่ใช้ชื่อที่เขารู้จักหรือคุ้นเคย ภาษาที่สื่อสารออกไปจะเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยาก ดังนั้น พระพุทธองค์จึง ทรงเลือกใช้สมมติสัจจะในการอธิบายประเด็นนี้๒๐๘ ๘.๑๒ การศึกษาเนื้อหาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ส าคัญในสุภสูตร เนื้อหาโดยสังเขปจากสุภสูตร ในสมัยหนึ่ง สุภมาณพโตเทยยบุตร พักอยู่ในกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร เรียกมาณพน้อยคนหนึ่งมาแล้วสั่งให้ไปนิมนต์พระอานนท์มายังบ้านของตน แต่เนื่องด้วยพระอานนท์ ฉันยาถ่าย ๒ วันติดกัน ท่านจึงไม่สามารถมาได้ ต่อมาในวันที่ ๓ ท่านได้เดินทางมายังบ้านของสุภ มาณพโตเทยยบุตรตามค านิมนต์ของมาณพน้อย ล าดับนั้น สุภมาณพโตยเทยยบุตรได้ถามพระอานนท์ ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านอุปัฏฐาก พระผู้มีพระภาคเจ้ามาเป็นระยะเวลานาน ท่านพอทราบไหมว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแนะสั่งสอนให้ประชาชนยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมเหล่าไหน พระอานนท์ตอบว่า เจริญพร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะน า สั่งสอนให้ประชาชนยึดมั่นปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ต ่อจากนั้น พระอานนท์ได้แสดงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล อินทรียสังวร สติ สัมปชัญญะ ความสันโดษ การละนิวรณ์ ฌาน ๔ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพพ โสตญาณ เจตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ ตามล าดับ แก่ สุภมาณพโตเทยยบุตร ตามล าดับ เมื่อพระอานนท์แสดงธรรมจบลง สุภโตเทยยบุตรได้ถึงพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต๒๐๙ ประเด็นที่น ่าสนใจจากสุภสูตรสีลขันธวรรคอรรถกถา และสีลขันธวรรคฎีกา สีลขันธวรรคอรรถกถาและสีลขันธวรรคฎีกา ได้น าเนื้อหาเบื้องต้นในสุภสูตรมาอธิบาย เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเด็นที่ ๑ ประวัติความเป็นมาของโตเทยยะผู้เป็นบิดาของสุภมาณพ สีลขันธวรรคอ รรถกถา ได้เล่าว่า มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อตุทิคามไม่ไกลจากเมืองสาวัตถี โตเทยยะอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน แห่งนี้ ทราบมาว่าเขามีทรัพย์มาก มีสมบัติประมาณ ๔๕ โกฏิ แต่มีนิสัยตระหนี่มาก เขามักจะคิดว่า ๒๐๖ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๓๙-๔๔๓/๓๑๔. ๒๐๗ ที.สี.อ. (บาลี) ๑/๔๓๙-๔๔๓/๓๑๕. ๒๐๘ ที.สี.ฏีกา (บาลี) ๑/๔๓๙-๔๔๓/๔๖๒. ๒๐๙ ดูรายละเอียดได้ใน ที.สี. (บาลี) ๙/๔๔๔-๔๘๐/๑๙๗-๒๑๔.


Click to View FlipBook Version