The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการโอนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น (ปี 2557)

สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน

Keywords: ด้านบริหารงานที่ดิน

ตัวอยา่ งหมายเลข ๑๒ ๑๙๒
ผ้รู ับมรดกสิทธิการไถ่

๑๙๓

ตัวอยา่ งหมายเลข ๑๓ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๑)

อาย.ุ .......๖...๐........ปี เชือ้ ชาติ............ไ.ท...ย................สัญชาติ..........ไ.ท...ย...............บดิ า/มารดาชอ่ื .............................................................

โดยให้ท่ดี นิ ทกุ แปลงยังคงมีการขายฝากอยู่

ซ่ึงข้าพเจา้ จะไดน้ �ำ ช่างรังวดั ทำ�การรังวัดปกั หลกั เขตใหเ้ ป็นการแน่นอนต่อไป

๑๙๔ ตวั อย่างหมายเลข ๑๔ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๒)

ตวั อย่างหมายเลข ๑๔ ตามระเบียบฯ ขอ้ ๑๘ (๒) ๑๙๕

ตวั อย่างหมายเลข ๑๔ ตามระเบยี บฯ ข้อ ๑๘ (๒) ๑๙๖
นาย ค.

ตวั อย่างหมายเลข ๑๕ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๓)

(รายการจดแจง้ ที่ดนิ แปลงที่แยกไปใหมโ่ ฉนดที่ ๗๓๗)

๑๙๗

ตวั อยา่ งหมายเลข ๑๕ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๓) ๑๙๘

ตวั อย่างหมายเลข ๑๖ ตามระเบียบฯ ขอ้ ๑๘ (๔) ๑๙๙

๒๐๐ ตวั อย่างหมายเลข ๑๖ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๔)

ตวั อย่างหมายเลข ๑๖ ตามระเบียบฯ ขอ้ ๑๘ (๔) ๒๐๑

ตวั อยา่ งหมายเลข ๑๖ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๔) ๒๐๒

ตวั อยา่ งหมายเลข ๑๖ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๔)

๒๐๓

๒๐๔

ตวั อยา่ งหมายเลข ๑๗ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๕)

อายุ........๖...๐........ปี เชอื้ ชาต.ิ ...........ไ.ท...ย................สญั ชาต.ิ .........ไ.ท...ย...............บิดา/มารดาช่ือ.............................................................

ตวั อย่างหมายเลข ๑๗ ตามระเบียบฯ ขอ้ ๑๘ (๕) ๒๐๕

๒๐๖ ตัวอยา่ งหมายเลข ๑๗ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๕)

ตวั อยา่ งค�ำ ขอฯ ประเภทแบง่ แยกในนามเดมิ
(ปลดเงอ่ื นไขการไถจ่ ากขายฝาก)

ตวั อย่างหมายเลข ๑๗ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๕)
นาย ค.

๒๐๗

๒๐๘

ตวั อย่างหมายเลข ๑๘ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๖)

ตวั อย่างหมายเลข ๑๘ ตามระเบียบฯ ขอ้ ๑๘ (๖) ๒๐๙

ตวั อยา่ งหมายเลข ๑๘ ตามระเบยี บฯ ขอ้ ๑๘ (๖) ๒๑๐

๒๑๑

ตวั อยา่ งหมายเลข ๑๙ ตามระเบยี บฯ ข้อ ๒๔ (๑)
ค�ำ แนะนำ�เกย่ี วกับการขายฝากส�ำ หรบั ผขู้ ายฝาก
๑. ขายฝาก คอื สญั ญาซอ้ื ขายซง่ึ กรรมสทิ ธใ์ิ นทรพั ยส์ นิ ตกไปยงั ผซู้ อ้ื โดยมขี อ้ ตกลงกนั วา่
ผขู้ ายอาจไถท่ รพั ยน์ น้ั คนื ไดภ้ ายในเวลาทก่ี �ำ หนด ทรพั ยส์ นิ ทข่ี ายฝากถา้ เปน็ อสงั หารมิ ทรพั ยจ์ ะก�ำ หนด
เวลาขายฝากกนั เทา่ ใดกไ็ ด ้ แตจ่ ะเกนิ สบิ ปไี มไ่ ด ้ ถา้ ไมม่ กี �ำ หนดเวลาทแ่ี นน่ อนกต็ อ้ งไถค่ นื ภายในสบิ ปี
ก�ำ หนดเวลาไถน่ ้ีเป็นเร่ืองของช่วงเวลา เชน่ ขายฝาก มกี ำ�หนด ๒ ปี ผขู้ ายฝากจะไถ่คนื เมือ่ ใดกไ็ ด้
ไม่ต้องรอจนครบ ๒ ปี แต่ถ้าผู้ขายฝากไม่ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินภายในกำ�หนดเวลา ย่อมหมดสิทธิ
ไถ่ทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป  (เว้นแต่จะเป็นกรณีตกลงซื้อขายกันใหม่)  และมีผลทำ�ให้กรรมสิทธ์ิตกเป็น
ของผู้รบั ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
๒. สญั ญาขายฝากทก่ี �ำ หนดเวลาไถไ่ วต้ า่ํ กวา่ สบิ ป ี กอ่ นครบก�ำ หนดเวลาไถ ่ หากผขู้ ายฝาก
เหน็ ว่าไมอ่ าจใช้สิทธไิ ถ่ภายในก�ำ หนดเวลาได้ ควรทำ�ความตกลงกบั ผรู้ ับซอ้ื ฝากเพอ่ื ขอขยายกำ�หนด
เวลาไถ่  การขยายกำ�หนดเวลาไถ่  อย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือช่อื ผ้รู ับซ้อื ฝาก
และควรน�ำ ขอ้ ตกลงดังกล่าวมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี  โดยผู้ขายฝากและผู้รับซ้ือฝากต้อง
มาดำ�เนินการจดทะเบียนด้วยกันท้ังสองฝ่าย  ในกรณีท่ีขอจดทะเบียนเมื่อพ้นกำ�หนดเวลาไถ่ไปแล้ว
จะตอ้ งมหี นงั สอื หรอื หลกั ฐานเปน็ หนงั สอื ลงลายมอื ชอ่ื ผรู้ บั ซอ้ื ฝากทไ่ี ดท้ �ำ ขน้ึ กอ่ นสน้ิ สดุ ก�ำ หนดเวลาไถ่
มาแสดงตอ่ พนกั งานเจา้ หนา้ ทด่ี ว้ ย
๓. การจดทะเบยี นไถจ่ ากขายฝากเปน็ คนละสว่ นกบั การใชส้ ทิ ธไิ ถ ่ เพราะการจดทะเบยี นไถ่
จากขายฝากจะกระทำ�เมื่อใดก็ได้  แต่การใช้สิทธิไถ่  ต้องกระทำ�ภายในกำ�หนดเวลาไถ่ตามสัญญา
ขายฝาก โดยน�ำ สนิ ไถส่ ง่ มอบแกผ่ รู้ บั ซอ้ื ฝากภายในก�ำ หนดเวลาไถ ่ ถา้ ไมส่ ามารถตามตวั ผรู้ บั ซอ้ื ฝากได้
หรือผู้รับซ้ือฝากหลีกเล่ียงไม่ยอมให้มีการไถ่ให้นำ�สินไถ่ไปวาง  ณ  สำ�นักงานวางทรัพย์ภายใน
กำ�หนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้  การวางทรัพย์ในส่วนกลางให้วาง  ณ  สำ�นักงาน
วางทรพั ย์กลาง กรมบังคบั คดี กระทรวงยุตธิ รรม ในสว่ นภมู ิภาค ณ สำ�นักงานบังคับคดแี ละวางทรัพย์
ภมู ภิ าค  หรอื ส�ำ นกั งานบงั คบั คดจี งั หวดั   ส�ำ หรบั จงั หวดั ทไ่ี มม่ สี �ำ นกั งานบงั คบั คดตี ง้ั อย ู่ ใหต้ ดิ ตอ่ จา่ ศาล
ของศาลจังหวัดน้ันๆ เพ่ือจดั ส่งแก่ส�ำ นักงานบังคับคดแี ละวางทรพั ยภ์ ูมภิ าคต่อไป อยา่ งไรกด็ ี เมื่อใช้
สิทธไิ ถ่แล้วควรรบี มาขอจดทะเบียนต่อพนกั งานเจา้ หนา้ ทีโ่ ดยเรว็ หากทิง้ ไวอ้ าจเกิดความเสียหายได้
เม่ือดำ�เนินการดังกล่าวแล้วกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ขายฝากทันที  ผู้ขายฝากจึงชอบ
ทจ่ี ะน�ำ หลกั ฐานเปน็ หนงั สอื จากผรู้ บั ซอ้ื ฝากแสดงวา่ ไดม้ กี ารไถถ่ อนแลว้ หรอื น�ำ หลกั ฐานการวางทรพั ย์
พร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนไถ่จากขายฝากต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่เพียง
ฝา่ ยเดยี วได ้ ในกรณวี างทรพั ยแ์ ลว้ ไมไ่ ดห้ นงั สอื แสดงสทิ ธใิ นทด่ี นิ มา ใหน้ �ำ หลกั ฐานการวางทรพั ยม์ าแสดง
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อหมายเหตุกลัดติดไว้ในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำ�นักงานท่ีดิน  และ
ลงบัญชีอายัดให้ทราบถึงการวางทรัพย์  ทั้งน้ีเพ่ือป้องกันมิให้ผู้รับซ้ือฝากซึ่งมิใช่เจ้าของกรรมสิทธ์ิ
ท�ำ การจดทะเบียนสิทธแิ ละนติ ิกรรมตอ่ ไป

๒๑๒
๔. การคำ�นวณระยะเวลาว่าสัญญาขายฝากจะครบกำ�หนดเม่ือใด  ให้นับวันรุ่งขึ้น
เป็นวนั แรก กล่าวคอื ถา้ ทำ�สัญญาขายฝากมกี �ำ หนด ๑ ปี เมือ่ วันท่ี ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ก็ตอ้ ง
ครบกำ�หนด ๑ ปี ในวนั ท่ี ๖ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๐
๕. สัญญาขายฝากทที่ �ำ ข้ึนตง้ั แตว่ ันท่ี ๑๐ เมษายน ๒๕๔๑ อนั เป็นวนั ทพ่ี ระราชบญั ญตั ิ
แกไ้ ขเพม่ิ เตมิ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ (ฉบบั ท่ี ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ มผี ลใชบ้ งั คบั เป็นต้นมา
จะกำ�หนดสินไถ่สูงเกนิ กว่าราคาขายฝากรวมกบั ประโยชน์ตอบแทนร้อยละ ๑๕ ต่อปี ไม่ได้
๖. คา่ ธรรมเนยี มการจดทะเบยี นขายฝากแตกตา่ งจากจ�ำ นอง กลา่ วคอื ในการจดทะเบยี น
ขายฝากจะต้องชำ�ระค่าธรรมเนียมเป็นค่าจดทะเบียนขายฝากในอัตราร้อยละ  ๒  ของราคาประเมิน
ทนุ ทรพั ยต์ ามทค่ี ณะกรรมการก�ำ หนดราคาประเมนิ ทนุ ทรพั ยก์ �ำ หนด นอกจากนย้ี งั ตอ้ งช�ำ ระภาษเี งนิ ได้
หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากร และในการจดทะเบียนไถ่จากขายฝาก
จะต้องชำ�ระภาษีเงินได้หัก  ณ  ท่ีจ่าย  และอากรแสตมป์  โดยคำ�นวณระยะเวลาการถือครอง
อสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่วันท่ีได้มีการทำ�สัญญาขายฝากถึงวันที่จดทะเบียนไถ่จากขายฝากอีกด้วย
สว่ นการจดทะเบยี นจ�ำ นอง ผขู้ อจดทะเบยี นจะเสยี คา่ ธรรมเนยี มในอตั รารอ้ ยละ ๑ ตามจ�ำ นวนทนุ ทรพั ย์
ทจ่ี �ำ นอง อยา่ งสงู ไมเ่ กนิ ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรอื ในอตั รารอ้ ยละ ๐.๕ อยา่ งสงู ไมเ่ กนิ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ในกรณจี �ำ นองสำ�หรบั การใหส้ นิ เชื่อเพือ่ การเกษตรของสถาบนั การเงนิ ท่รี ฐั มนตรกี �ำ หนด การจำ�นอง
ไมต่ ้องชำ�ระภาษเี งนิ ไดห้ กั ณ ทจ่ี า่ ย ตามประมวลรัษฎากร  ส่วนอากรแสตมป์พนักงานเจา้ หน้าทีจ่ ะ
เรียกเกบ็ ตอ่ เม่ือสัญญาจ�ำ นองเปน็ หลกั ฐานการก้ยู มื เงนิ ดว้ ย โดยผ้ใู ห้กู้มีหนา้ ท่ตี อ้ งชำ�ระ
ข้อควรระวัง  ก่อนลงลายมือชื่อในสัญญาขายฝากควรตรวจสอบข้อความในสัญญาขาย
ฝากว่าถูกต้องตามความประสงค์หรือไม่  ต้องไถ่คืนภายในกำ�หนดเวลาเท่าใด  จำ�นวนเงินท่ีขายฝาก
ตรงตามทร่ี บั เงินจริงหรอื ไม่
ข้าพเจ้าผู้ขายฝากได้รับทราบคำ�แนะนำ�เกี่ยวกับการขายฝากจากพนักงานเจ้าหน้าที่
และเข้าใจค�ำ แนะนำ�ตลอดแลว้   ขอยนื ยนั ว่ามีความประสงค์จะขอขายฝาก……..........................ตอ่ ไป
จงึ ลงลายมอื ช่ือหรอื พิมพ์ลายน้ิวมือไว้เปน็ ส�ำ คัญ ตอ่ หนา้ พนักงานเจา้ หนา้ ที่
ลงชือ่ …………….......……………..ผู้ขายฝาก
ลงช่อื …………….......……………..พนักงานเจา้ หนา้ ท่ี

การจดทะเบียนประเภทให้



๒๑๕

การจดทะเบียนให้

l ความหมาย
ให้ คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคล
อีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๕๒๑)
l กฎหมาย ระเบยี บ และคำ�ส่ังทเี่ ก่ยี วขอ้ ง
- ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ยบ์ ญั ญตั เิ รอ่ื งใหไ้ ว ้ ตามมาตรา ๕๒๑ ถงึ มาตรา ๕๓๖
- ระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการให้ที่ดินและ
อสังหารมิ ทรัพยอ์ ยา่ งอน่ื พ.ศ. ๒๕๔๘
l ประเภทการจดทะเบียน
๑. ให้ หมายถึง การจดทะเบียนให้ที่ดินทั้งแปลงหรือให้อสังหาริมทรัพย์ใดทั้งหมด
ไมว่ า่ ทีด่ ินหรอื อสงั หารมิ ทรพั ย์นนั้ จะมีผถู้ อื กรรมสิทธิ์คนเดียวหรือหลายคนทกุ คนให้พรอ้ มกัน
๒. ใหเ้ ฉพาะสว่ น หมายถงึ กรณเี จา้ ของทด่ี นิ หรอื อสงั หารมิ ทรพั ยม์ หี ลายคน แตเ่ จา้ ของ
ท่ดี นิ หรืออสังหารมิ ทรัพย์น้ันบางคนมาขอจดทะเบียนใหเ้ ฉพาะสว่ นของตน
๓. ให้หรือให้เฉพาะส่วน (ระหว่างจำ�นอง หรือระหว่างทรัพยสิทธิอย่างอื่น หรือ
ระหวา่ งเชา่ ) หมายถงึ กรณที ด่ี นิ หรอื อสงั หารมิ ทรพั ยท์ ข่ี อจดทะเบยี นใหม้ กี ารจดทะเบยี นทรพั ยสทิ ธิ
อย่างอนื่ หรือการเชา่ ผูกพัน เชน่ จำ�นอง สทิ ธเิ กบ็ กนิ ภารจ�ำ ยอม การเช่า ฯลฯ เจ้าของทดี่ นิ ได้ขอ
จดทะเบียนให้ หรอื ใหเ้ ฉพาะส่วนโดยผรู้ บั ใหจ้ ะตอ้ งรบั เอาภาระผกู พนั นน้ั ดว้ ย
๔. แบง่ ให ้ หมายถงึ   กรณหี นงั สอื แสดงสทิ ธใิ นทด่ี นิ มชี อ่ื เจา้ ของคนเดยี วหรอื หลายคน
เจ้าของทุกคนขอแบ่งให้ท่ีดินบางส่วน  โดยมีการรังวัดแบ่งแยกออกเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
แปลงใหม่ให้แกผ่ รู้ บั ให้
๕. กรรมสิทธิ์รวม (ไม่มีค่าตอบแทน) หมายถึง กรณีที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์มีชื่อ
เจ้าของคนเดียวหรือหลายคน  ทุกคนให้บุคคลอื่นมีช่ือถือกรรมสิทธ์ิรวมในท่ีดินหรืออสังหาริมทรัพย์
โดยไมม่ ีคา่ ตอบแทน
๖. กรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วน (ไม่มีค่าตอบแทน)  หมายถึง  กรณีเจ้าของที่ดินหรือ
อสงั หาริมทรัพยม์ หี ลายคน แตเ่ จา้ ของทีด่ ินหรอื อสงั หารมิ ทรพั ย์บางคนมาขอจดทะเบียนใหบ้ ุคคลอ่นื
ท่ียังไม่มีช่ือในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้นถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนของตน  หรือมีชื่อในหนังสือ
แสดงสทิ ธิในท่ีดนิ อยแู่ ล้ว แตเ่ ขา้ ถือกรรมสทิ ธ์ิรวมโดยเพิม่ สว่ นของตนให้มากขึ้น โดยไมม่ ีคา่ ตอบแทน
๗. ให้ (สินสมรส) หมายถึง การจดทะเบียนให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้มี
ความประสงค์จะยกใหเ้ ป็นสินสมรส โดยผู้รับให้ทำ�การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย

๒๑๖

๘. คำ�มั่นจะให้ หมายถึง ผู้ให้ประสงค์จะให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับให้
แต่ยังไม่ให้ขณะน้ี จึงใหค้ ำ�ม่นั วา่ จะให้ในเวลาตอ่ ไปภายหน้า เชน่ เมอ่ื ผจู้ ะรบั ใหอ้ ายคุ รบ ๒๐ ปี
บริบรู ณ ์ เป็นตน้
๙. ถอนคืนการให้ หมายถึง กรณีที่ได้มีการจดทะเบียนประเภทให้ไว้แล้ว ต่อมาศาล
ไดม้ ีคำ�พพิ ากษาหรือค�ำ ส่งั ถึงทสี่ ดุ ให้ถอนคนื การให้
l สาระสำ�คัญ
- การให้จะทำ�ด้วยปลดหนี้ให้แก่ผู้รับ หรือชำ�ระหนี้ซึ่งผู้รับค้างชำ�ระอยู่ก็ได้ (มาตรา
๕๒๒ แห่งประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์)
- การใหย้ ่อมสมบูรณต์ อ่ เมอื่ ส่งมอบทรพั ย์สินท่ใี ห้ (มาตรา ๕๒๓ แห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์)
- การให้สทิ ธอิ ันมหี นงั สือตราสารเปน็ สำ�คัญ ถา้ มิได้ส่งมอบตราสารใหแ้ ก่ผรู้ ับ และมิได้
มหี นงั สอื บอกกล่าวแกล่ ูกหน้แี ห่งสทิ ธนิ น้ั การใหย้ ่อมไม่สมบรู ณ์ (มาตรา ๕๒๔ แหง่ ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย)์
- การให้ทรัพย์สินซ่ึงถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำ�เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจา้ หนา้ ทน่ี น้ั ยอ่ มสมบรู ณก์ ต็ อ่ เมอ่ื ไดท้ �ำ เปน็ หนงั สอื และจดทะเบยี นตอ่ พนกั งานเจา้ หนา้ ท ่ี ในกรณเี ชน่ น้ี
การให้ย่อมสมบูรณ์โดยไม่ต้องส่งมอบ ตามมาตรา ๕๒๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดังนั้น  กรณีการทำ�หนังสือยกที่ดินท่ีมีโฉนดท่ีดินให้โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ีน้ัน
สัญญายกใหย้ ่อมไมส่ มบูรณ์
- ถา้ การใหท้ รพั ยส์ นิ หรอื ใหค้ �ำ มน่ั วา่ จะใหท้ รพั ยส์ นิ นน้ั ไดท้ �ำ เปน็ หนงั สอื และจดทะเบยี น
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว และผู้ให้ไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้รับ ผู้รับชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบ
ตวั ทรพั ยส์ นิ หรอื ราคาแทนทรพั ยส์ นิ นน้ั ได ้ แตไ่ มช่ อบทจ่ี ะเรยี กคา่ สนิ ไหมทดแทนอยา่ งหนง่ึ อยา่ งใดได้
(มาตรา ๕๒๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
- ถ้าผู้ให้ผูกตนไว้ว่าจะชำ�ระหน้ีเป็นคราวๆ  หนี้นั้นเป็นอันระงับส้ินไปเมื่อผู้ให้หรือ
ผูร้ ับตาย เว้นแตจ่ ะขดั กบั เจตนาอันปรากฏแต่มูลหน้ี (มาตรา ๕๒๗ แห่งประมวลกฎหมายแพง่ และ
พาณิชย์)
- ถา้ ทรัพย์สินทีใ่ ห้น้นั มคี า่ ภาระตดิ พัน และผรู้ บั ไมช่ ำ�ระค่าภาระตดิ พัน โดยเงอื่ นไขอนั
ระบไุ ว้ในกรณีสทิ ธิเลิกสัญญาต่างตอบแทนกันนัน้ ผู้ให้จะเรียกใหส้ ่งทรัพยส์ ินที่ใหค้ นื ตามบทบัญญัติ
ว่าด้วยลาภมิควรได้เพียงเท่าที่ควรจะเอาทรัพย์นั้นไปใช้ชำ�ระค่าภาระติดพัน (มาตรา ๕๒๘ แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย)์
- ถ้าทรัพย์สินที่ให้มีราคาไม่พอกับการที่จะชำ�ระค่าภาระติดพัน ผู้รับจะต้องชำ�ระ
แตเ่ พียงเทา่ ราคาทรัพย์สินเทา่ นน้ั (มาตรา ๕๒๙ แหง่ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย)์
- ถา้ การใหม้ คี า่ ภาระตดิ พนั ผู้ให้จะตอ้ งรับผดิ เพ่ือความช�ำ รุดบกพร่อง หรอื เพอ่ื การ
รอนสิทธิ เชน่ เดยี วกันกับผู้ขาย แต่จำ�กัดไวไ้ มเ่ กนิ จำ�นวนค่าภาระติดพนั (มาตรา ๕๓๐ แหง่ ประมวล
กฎหมายแพง่ และพาณชิ ย)์

๒๑๗
- ผูใ้ หจ้ ะเรยี กถอนคนื การให้ เพราะเหตผุ ูร้ ับประพฤติเนรคณุ อาจจะเรียกได้แตเ่ พียง
ในกรณตี อ่ ไปน้ี
(๑) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรง  ตามประมวล
กฎหมายอาญา หรอื
(๒) ถ้าผู้รับได้ท�ำ ให้ผใู้ ห้เสียชอ่ื เสยี ง หรือหมนิ่ ประมาทผูใ้ ห้อยา่ งรา้ ยแรง หรอื
(๓) ถ้าผรู้ ับได้บอกปัดให้สิง่ ของจ�ำ เปน็ เลีย้ งชีวติ แกผ่ ูใ้ ห้ ในเวลาที่ผใู้ หย้ ากไร้ และผรู้ บั
ยงั สามารถจะใหไ้ ด้ (มาตรา ๕๓๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย)์
- ทายาทของผู้ให้อาจเรียกให้ถอนคืนการให้ได้  แต่เฉพาะในเหตุท่ีผู้รับได้ฆ่าผู้ให้ตาย
โดยเจตนา และไม่ชอบดว้ ยกฎหมาย หรือได้กีดกนั ผใู้ หไ้ ว้มใิ ห้ถอนคนื การให้ แต่วา่ ผ้ใู หไ้ ดฟ้ อ้ งคดีไว้
แลว้ อยา่ งใดโดยชอบ ทายาทของผใู้ หจ้ ะวา่ คดอี นั นน้ั ต่อไปก็ได้ (มาตรา ๕๓๒ แห่งประมวลกฎหมาย
แพง่ และพาณิชย์)
- เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณแล้ว หรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้ว
หกเดอื น นบั แตเ่ หตนุ ัน้ ได้ทราบถึงบุคคลผูช้ อบทีจ่ ะเรยี กถอนคืนการใหไ้ ดน้ ัน้ หาอาจถอนคนื การให้
ได้ไม่ ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น (มาตรา ๕๓๓ แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
- เมอื่ ถอนคนื การให้ ให้สง่ คนื ทรพั ย์สินตามบทบัญญตั แิ หง่ ประมวลกฎหมายน้ี ว่าด้วย
ลาภมิควรได้ (มาตรา ๕๓๔ แห่งประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย)์
- การใหต้ ่อไปน ี้ จะถอนคนื เพราะเหตเุ นรคณุ ไม่ได้
(๑) ใหเ้ ป็นบำ�เหนจ็ สนิ จา้ งโดยแท้
                   (๒) ใหส้ ิง่ ท่มี ีค่าภาระติดพนั
                   (๓) ให้โดยหนา้ ทีธ่ รรมจรรยา
                   (๔) ให้ในการสมรส
(มาตรา ๕๓๕ แห่งประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย)์
- การให้อันจะให้เป็นผลต่อเม่ือผู้ให้ตาย  ให้บังคับด้วยบทบัญญัติว่าด้วยมรดกและ
พนิ ยั กรรม (มาตรา ๕๓๖ แหง่ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์)
- กรณียกให้อสังหาริมทรัพย์แก่ทางราชการโดยการให้ เป็นการปฏิบัติไปตามสัญญา
ก่อสร้างอาคารยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลัง คู่สัญญาต่างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเป็นการตอบแทน
ซึ่งกันและกนั กล่าวคือ ผใู้ ห้ตอ้ งยกสง่ิ ปลกู สร้างใหก้ ระทรวงการคลงั และเม่ือกระทรวงการคลังรับให้
สงิ่ ปลกู สรา้ งดังกลา่ วแลว้ จะตอ้ งให้สิทธิการเช่าท่ีดินและสิ่งปลกู สรา้ งแกผ่ ้ใู ห้ จึงมใิ ช่เป็นการบริจาค
ตามความหมายในมาตรา ๑๐๓ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายทดี่ ิน ทจี่ ะไดร้ ับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการ
จดทะเบียน  ดังนั้น  จึงไม่มีเหตุที่จะต้องคืนเงินค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ขอแต่อย่างใด  (ตอบข้อหารือ
จงั หวัดปราจนี บุรี ที่ มท ๐๖๑๒/๑/๑๗๐๔๒ ลงวนั ท่ี ๑๓ สงิ หาคม ๒๕๒๓ เวยี นโดยหนังสอื

๒๑๘
กรมท่ีดิน ที่ มท ๐๖๑๒/๑/ว ๑๗๒๒๐ ลงวันที่ ๑๕ สงิ หาคม ๒๕๒๓ เรือ่ ง ขอรบั เงนิ ค่าธรรมเนียม
ยกให้อสงั หารมิ ทรัพยแ์ ก่ทางราชการคืน)
- การกอ่ สรา้ งอาคารในทร่ี าชพสั ดตุ ามสญั ญาทก่ี �ำ หนดวา่ เมอ่ื กอ่ สรา้ งอาคารในทร่ี าชพสั ดุ
เสรจ็ แล้วใหก้ รรมสทิ ธิอ์ าคารตกเปน็ ของกระทรวงการคลัง กรณีดังกล่าวมใิ ช่ผูก้ ่อสรา้ งใชส้ ทิ ธิของตน
ทำ�ลงในที่ดนิ ตามมาตรา ๑๐๙ แห่งประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ (ปัจจบุ ันเป็นมาตรา ๑๔๖)
อาคารย่อมเป็นส่วนควบกบั ทีด่ นิ ท่ปี ลกู สร้าง ตามมาตรา ๑๐๗ วรรคสอง (ปัจจบุ ันเปน็ มาตรา ๑๔๔
วรรคสอง) กระทรวงการคลงั จึงเป็นเจ้าของอาคารทีป่ ลูกสรา้ งนั้นแลว้ ขณะท่ปี ลกู สรา้ งเสรจ็ ผ้กู ่อสรา้ ง
จงึ ไมอ่ าจจดทะเบียนยกกรรมสิทธ์ใิ ห้แกก่ ระทรวงการคลังได้ (หนังสอื กรมทด่ี ิน ที่ มท ๐๗๑๒/๑/ว
๑๔๑๗๘ ลงวันที่ ๓๐ มิถนุ ายน ๒๕๒๖ เร่อื ง การจดทะเบียนยกกรรมสทิ ธอ์ิ าคาร)
- บิดามารดาผู้ใช้อำ�นาจปกครองเป็นผู้ทำ�การแทนผู้เยาว์ขอจดทะเบียนสิทธิและ
นิติกรรมให้ที่ดินแก่บุตรผู้เยาว์โดยมีข้อกำ�หนดห้ามโอนไว้  หากมีการละเมิดข้อกำ�หนดห้ามโอนให้
ทรัพยส์ นิ น้นั ตกเป็นสทิ ธิของบุคคลใดบคุ คลหนง่ึ นอกจากผ้รู ับประโยชน์นัน้ เป็นการรบั ใหซ้ ึง่ มเี งอื่ นไข
ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามมาตรา  ๑๕๗๔  (๑๑)  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ปจั จุบนั เปน็ มาตรา ๑๕๗๔ (๙)) (หนังสอื กรมท่ดี ิน ท่ี มท ๐๗๑๒/ว ๑๑๖๗๖ ลงวนั ที่ ๓๑ พฤษภาคม
๒๕๓๔ เรอื่ ง การจดทะเบียนสทิ ธิและนติ ิกรรมยกทดี่ ินใหแ้ กผ่ ู้เยาวโ์ ดยมีขอ้ ก�ำ หนดห้ามโอน)
- การดำ�เนินการเก่ียวกับการจดทะเบียนให้ได้วางหลักปฏิบัติไว้ตามระเบียบกรมที่ดิน
วา่ ดว้ ยการจดทะเบยี นสทิ ธแิ ละนติ กิ รรมเกย่ี วกบั การใหท้ ด่ี นิ และอสงั หารมิ ทรพั ยอ์ ยา่ งอน่ื พ.ศ. ๒๕๔๘
- การจดทะเบยี นถอนคนื การให ้ กรณศี าลมคี �ำ พพิ ากษาใหถ้ อนคนื การใหท้ ด่ี นิ กรมทด่ี นิ
ได้วางแนวทางปฎิบัติตามหนังสอื กรมท่ีดิน ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๓๓๒๔๑ ลงวันที่ ๕ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๕
เร่อื ง การซอ้ มความเขา้ ใจกรณศี าลมีคำ�พพิ ากษาให้ถอนคืนการใหท้ ่ีดิน ดังน้ี
๑. กรณีพนักงานเจ้าหน้าท่ีได้จดทะเบียนประเภทให้ไว้แล้ว  ต่อมาศาลได้พิพากษา
และคดีถึงที่สุดให้ถอนคืนการให้ท่ีดินดังกล่าว  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนถอนคืนการให้
โดยดำ�เนินการตามคำ�สง่ั กรมทดี่ ิน ท่ี ๑๒/๒๕๐๑ ลงวนั ท่ี ๘ กันยายน ๒๕๐๑ เรือ่ ง โอนตามคำ�ส่ังศาล
ขอ้ ๓ และให้ใช้ช่อื ประเภทการจดทะเบียนวา่ ประเภท “ถอนคืนการให้ ตามคำ�พพิ ากษาศาลท่…ี …
ลงวันท่…ี ..เดอื น……….พ.ศ…….”
๒. การเรียกเกบ็ คา่ ธรรมเนยี ม ภาษีเงินไดห้ ัก ณ ทจ่ี ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ
๒.๑ การจดทะเบยี นถอนคนื การใหต้ าม ๑. เปน็ การจดทะเบยี นประเภทมที นุ ทรพั ย์
ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนร้อยละ  ๒  หรือ  ๐.๕  จากราคาประเมินทุนทรัพย์
ตามทีค่ ณะกรรมการกำ�หนดราคาประเมินทนุ ทรัพย์ก�ำ หนด ในกฎกระทรวงฉบบั ที่ ๔๗ (พ.ศ.๒๕๔๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ แล้วแต่กรณี โดยให้ดู
ขอ้ เท็จจริงตามคำ�พพิ ากษาวา่ เปน็ การถอนคืนการใหร้ ะหว่างผู้ใดกับผูใ้ ด เชน่ ถอนคนื การใหร้ ะหว่าง
บุพการกี ับผสู้ ืบสนั ดาน ใหเ้ รยี กเกบ็ คา่ ธรรมเนยี มรอ้ ยละ ๐.๕ จากราคาประเมนิ ทุนทรพั ย์ ตามที่
คณะกรรมการก�ำ หนดราคาประเมินทนุ ทรพั ย์กำ�หนด ตามข้อ ๒ (๗) (ง) แหง่ กฎกระทรวงดงั กลา่ ว

๒๑๙
หรือหากเป็นการถอนคืนการให้ระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม หรือเป็นการให้ระหว่าง
บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่เป็นการให้ระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดาน ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละ ๒
จากราคาประเมนิ ทนุ ทรพั ย์ ตามทค่ี ณะกรรมการกำ�หนดราคาประเมินทนุ ทรัพย์ก�ำ หนด ตามขอ้ ๒
(๗) (ก) แห่งกฎกระทรวงดงั กลา่ ว
๒.๒ การเรยี กเกบ็ ภาษเี งินได้หัก ณ ท่จี ่าย และภาษีธุรกจิ เฉพาะ (ถือปฏิบัติตาม
หนงั สือกรมสรรพากร ท่ี กค ๐๘๑๑/ก ๑๙๑ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๕ เรื่อง ภาษเี งนิ ไดห้ กั
ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีจดทะเบียนถอนคืนการให้ตามคำ�สั่งศาล เวียนตามหนังสือ
กรมทดี่ นิ ท่ี มท ๐๗๒๘/ว ๑๕๑๘๖ ลงวนั ท่ี ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕) ดังน้ี
(๑) การจดทะเบยี นโอนกรรมสทิ ธใ์ิ นทด่ี นิ ไปเปน็ ของผใู้ หโ้ ดยการถอนคนื การให้
ตามคำ�สั่งศาล เข้าลักษณะเป็นการ “ขาย” ตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร ต้องหักภาษี
เงนิ ได้ ณ ทจี่ ่าย ตามมาตรา ๕๐ (๕) (ก) แหง่ ประมวลรษั ฎากร
(๒) การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์ิในท่ีดินไปเป็นของผู้ให้ตามคำ�สั่งศาล
เข้าลกั ษณะเป็นการ “ขาย” ตามมาตรา ๙๑/๑ (๔) แห่งประมวลรษั ฎากร หากเป็นการโอนกรรมสทิ ธิ์
ในทด่ี ินคืนใหแ้ ก่ผใู้ ห้ภายใน ๕ ปี นบั แตว่ ันทผ่ี ้รู บั ใหไ้ ดม้ าซึ่งทดี่ นิ น้นั ย่อมอยใู่ นบงั คบั ต้องเสยี ภาษี
ธรุ กิจเฉพาะตามมาตรา ๙๑/๒ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา ๔ (๖) แห่งพระราช
กฤษฎกี าออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพยเ์ ป็นทางค้าหากำ�ไร (ฉบับ
ท่ี ๓๔๒) พ.ศ. ๒๕๔๑
- การจดทะเบยี นใหแ้ กม่ ูลนิธหิ รือสมาคม ถา้ ผ้รู ับให้เปน็ มลู นิธิหรือสมาคมที่ได้รับการ
ประกาศเป็นองค์การกุศลสาธารณะตามประกาศกระทรวงการคลัง  และเป็นกรณีรับให้ไว้เพ่ือ
ใช้ประโยชน์ในการกุศลสาธารณะเท่าน้ัน  จะได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอน
อสงั หาริมทรพั ย์เหลือร้อยละ ๐.๐๑ ในสว่ นที่ได้มาเมือ่ รวมกับที่ดินท่ีมีอยกู่ ่อนแลว้ ไม่เกนิ ๒๕ ไร ่
โดยต้องแสดงหลักฐานการถือครองที่ดินท่ีมีอยู่เดิมของมูลนิธิหรือสมาคม  (ตามประกาศกระทรวง
มหาดไทย เรอ่ื ง การเรยี กเก็บคา่ ธรรมเนียมจดทะเบยี นสิทธแิ ละนิติกรรมตามประมวลกฎหมายทีด่ นิ
กรณีการโอนอสงั หารมิ ทรพั ยใ์ หแ้ กม่ ูลนิธหิ รอื สมาคมตามหลกั เกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำ�หนด ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ ตลุ าคม ๒๕๔๕) และในการจดทะเบียนดงั กล่าว นอกจากเอกสารหลักฐานทพ่ี นักงาน
เจ้าหน้าท่ีจะตอ้ งสอบสวนตามปกตแิ ลว้ จะต้องเรียกเอกสารหลักฐานดงั ต่อไปนจ้ี ากมูลนธิ ิหรือสมาคม
ผ้รู ับให้
(๑) สำ�เนาประกาศกระทรวงการคลังที่ประกาศกำ�หนดให้มูลนิธิหรือสมาคม
(ผู้รบั ให้) นนั้ เป็นองคก์ ารกุศลสาธารณะ ตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
(๒) หนังสือรบั รองของนายทะเบียนมลู นธิ หิ รอื สมาคม ซง่ึ รบั รองวา่ มูลนธิ หิ รอื สมาคม
ผรู้ บั ให้มีทีด่ นิ อยู่แลว้ หรอื ไม่ จ�ำ นวนก่แี ปลง มเี นอื้ ทรี่ วมเท่าไร แปลงใดใชป้ ระโยชน์อย่างไร พร้อมท้ัง
แสดงหลักฐานการถือกรรมสิทธ์หิ รอื สทิ ธิครอบครองท่ีดินน้ันประกอบด้วย
(หนงั สอื กรมท่ดี ิน ท่ี มท ๐๕๑๕/ว ๓๕๔๓๕ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๕)

๒๒๐
- สถานศึกษาในสังกัดสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน  และสถานศึกษา
ในสังกัดสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาท่ีมีฐานะเป็นส่วนราชการและเป็นนิติบุคคล  ตาม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  พ.ศ. ๒๕๔๖  รับโอนอสังหาริมทรัพย์
โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทน  ในการจดทะเบียนจะได้รับยกเว้น
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา  ๑๐๓  ทวิ  แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน
(หนังสือกรมทด่ี นิ ที่ มท ๐๕๑๕.๑/ว ๒๒๓๐๙ ลงวนั ท่ี ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓)
- กรณีบุคคลธรรมดา  หรือบริษัท  หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ
ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่สถานศึกษาเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามหลักเกณฑ์  วิธีการ
และเงื่อนไข  ท่ีกำ�หนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร  ว่าด้วยการยกเว้น
รษั ฎากร (ฉบับท่ี ๔๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๗ และประกาศอธบิ ดกี รมสรรพากร เรอ่ื ง ก�ำ หนดหลกั เกณฑ์
วธิ กี าร และเง่อื นไข เพ่อื การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษมี ลู คา่ เพมิ่ ภาษีธุรกจิ เฉพาะและอากรแสตมป ์
ส�ำ หรับเงนิ ได้ท่ีจา่ ยเปน็ ค่าใชจ้ ่ายเพอ่ื การสนับสนุนการศึกษา ประกาศ ณ วนั ท่ี ๕ มกราคม ๒๕๔๘
ยอ่ มได้รับยกเวน้ ภาษเี งนิ ไดห้ กั ณ ทีจ่ า่ ย ภาษธี ุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ดงั นี้
(๑) การจดทะเบียนที่อยู่ในข่ายได้รับยกเว้นภาษีอากรอันเน่ืองมาจากการโอน
อสงั หาริมทรพั ย์ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับท่ี ๔๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๗ และประกาศอธบิ ดี
กรมสรรพากร ลงวันท่ี ๕ มกราคม ๒๕๔๘ ไดแ้ ก่ การจดทะเบยี นโอนกรรมสทิ ธหิ์ รือสทิ ธคิ รอบครอง
ในอสังหาริมทรัพย์เพ่ือใช้ประโยชน์ทางการศึกษาโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่สถานศึกษาของทาง
ราชการ สถานศึกษาขององค์การรัฐบาล โรงเรียนเอกชนทต่ี ้งั ขึ้นตามกฎหมายว่าดว้ ยโรงเรยี นเอกชน
หรือสถาบนั อดุ มศึกษาเอกชนทตี่ ง้ั ขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน นอกจากเอกสาร
หลักฐานที่ผู้ขอจดทะเบียนต้องนำ�มาแสดงตามปกติแล้ว  ผู้ขอจดทะเบียนต้องแสดงหลักฐานจาก
สถานศึกษาท่ีพิสูจน์ได้ว่าการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่สถานศึกษาน้ันเพื่อการสนับสนุนการศึกษา
ตามโครงการทีก่ ระทรวงศกึ ษาธิการใหค้ วามเหน็ ชอบ ตามความในข้อ ๓ ข้อ ๕ และข้อ ๑๐ ของ
ประกาศอธิบดกี รมสรรพากร ลงวนั ที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พรอ้ มท้งั ให้พนักงานเจา้ หนา้ ท่ีแจง้
และบันทึกถ้อยคำ�ให้ผู้ขอจดทะเบียนรับทราบไว้ด้วยว่า  ผู้โอนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรจะต้อง
ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร เรื่อง กำ�หนดหลักเกณฑ์ ว่าด้วย
การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๗ และประกาศอธบิ ดีกรมสรรพากร เร่อื ง กำ�หนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไข เพอ่ื การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลคา่ เพิม่ ภาษธี ุรกจิ เฉพาะและ
อากรแสตมป์ ส�ำ หรบั เงนิ ไดท้ จ่ี ่ายเป็นคา่ ใชจ้ ่ายเพ่ือการสนับสนนุ การศกึ ษา ลงวนั ที่ ๕ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๔๘ ทกุ ประการ
(๒) กรณีผู้โอนเป็นบริษัท  หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึก
ถ้อยคำ�เพิ่มเตมิ จาก (๑) ดว้ ยวา่   บริษัทหรอื หา้ งหุ้นส่วนนติ ิบคุ คลผู้โอนอสงั หาริมทรพั ย์ให้แก่สถาน
ศึกษาไม่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนท่ีประกอบ

๒๒๑
กจิ การโรงเรยี นเอกชนตามกฎหมายวา่ ด้วยโรงเรยี นเอกชน หรือกิจการสถาบนั อุดมศกึ ษาเอกชนตาม
กฎหมายวา่ ด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามความในข้อ ๘ ของประกาศอธบิ ดกี รมสรรพากร
(๓) เพ่ือให้ทราบว่าการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
และภาษอี ากรเพราะเหตุใด กรณไี ด้รบั ยกเว้นทั้งค่าธรรมเนยี มและภาษอี ากร ให้พนักงานเจ้าหนา้ ท่ี
ระบุข้อความลงในคำ�ขอจดทะเบียน หนังสือสัญญา ตลอดจนใบเสร็จรับเงิน ด้วยข้อความว่า
“ยกเว้นคา่ ธรรมเนียมตามมาตรา ๑๐๓ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายทด่ี ิน และยกเว้นภาษีอากรตาม
พระราชกฤษฎกี า (ฉบบั ที่ ๔๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๗” ส่วนกรณไี ด้รบั ยกเว้นเฉพาะภาษีอากรใช้ขอ้ ความว่า
“ยกเวน้ ภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับท่ี ๔๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๗”
(หนงั สือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๕๑๕.๑/ว ๒๒๔๕๕ ลงวันท่ี ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕)
- การจดทะเบยี นใหแ้ กโ่ รงเรียนเอกชน พนักงานเจ้าหน้าทีจ่ ะตอ้ งถือปฏิบัติ ดังน้ี
(๑) กรณีผู้รับใบอนุญาตโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินและ
อสงั หารมิ ทรัพย์ที่เป็นสว่ นควบของทด่ี นิ ใหแ้ กโ่ รงเรียนในระบบ ตามมาตรา ๒๕ (๑) แหง่ พระราช
บัญญัตโิ รงเรยี นเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแกไ้ ขเพ่ิมเตมิ โดยพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับท่ี ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๔  พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องรับจดทะเบียนในประเภท “โอนตามกฎหมาย  (กรณีผู้รับ
ใบอนุญาตเป็นผ้โู อน ตามมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัตโิ รงเรยี นเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
ท่ีแก้ไขแล้ว)”  และกรณีที่เป็นโรงเรียนในระบบโอนกรรมสิทธ์ิหรือสิทธิครอบครองในที่ดินและ
อสงั หาริมทรัพยท์ ่ีเป็นสว่ นควบของทด่ี ินคนื ใหแ้ ก่ผรู้ ับใบอนญุ าต เจา้ ของเดมิ หรอื ทายาท เนือ่ งจาก
เลิกใช้ประโยชน์หรือเลิกกิจการ  (ซ่ึงเป็นโรงเรียนในระบบที่จัดต้ังขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียน
เอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ และโรงเรยี นในระบบทจ่ี ดั ตง้ั ขน้ึ กอ่ นพระราชบญั ญตั โิ รงเรยี นเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐)
พนักงานเจ้าหน้าท่ีจะต้องรับจดทะเบียนในประเภท  “โอนตามกฎหมาย  (โอนคืนผู้รับใบอนุญาต
เจา้ ของเดมิ หรอื ทายาท ตามมาตรา ๒๗ วรรคสอง แห่งพระราชบญั ญัติโรงเรยี นเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
ทแ่ี ก้ไขแลว้ )”
(๒) กรณีมีผู้บริจาคท่ีดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของท่ีดินให้แก่โรงเรียน
ในระบบ  พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องรับจดทะเบียนในประเภท  “โอนตามกฎหมาย  (กรณีผู้บริจาค
เป็นผโู้ อน ตามมาตรา ๒๗/๑ แหง่ พระราชบัญญตั โิ รงเรยี นเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ท่แี ก้ไขแลว้ )” กรณี
โรงเรียนในระบบโอนกรรมสิทธ์ิหรือสิทธิครอบครองในท่ีดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของ
ทดี่ นิ คืนแกผ่ บู้ รจิ าคหรอื ทายาท เนื่องจากเลิกใช้ประโยชนห์ รอื เลิกกิจการ พนกั งานเจ้าหน้าทจี่ ะต้อง
รับจดทะเบียนในประเภท “โอนตามกฎหมาย (โอนคืนผู้บริจาคหรือทายาท ตามมาตรา ๒๗/๑
วรรคสาม แห่งพระราชบญั ญัตโิ รงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ทีแ่ ก้ไขแลว้ )”
(หนังสอื กรมที่ดิน ที ่ มท ๐๕๑๕.๑/ว ๑๑๕๕๓ ลงวันท่ ี ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗)

๒๒๒
l แนวทางการวนิ ิจฉยั ท่ีสำ�คัญ เกีย่ วกบั การจดทะเบียนให้
๑. บทบัญญตั มิ าตรา ๘๔ แหง่ ประมวลกฎหมายท่ดี นิ ไดว้ างบทบญั ญตั เิ ก่ียวกับการ
ไดม้ าซงึ่ ทดี่ นิ ของวดั วาอาราม วัดบาดหลวงโรมันคาธอลกิ มลู นธิ เิ ก่ยี วกับคริสตจ์ กั ร หรือมสั ยดิ อสิ ลาม
ว่าต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  แต่ไม่ได้บัญญัติรวมไปถึงการได้มาซึ่ง
ส่ิงปลูกสร้างหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นว่าจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยดว้ ย ดังนัน้ บทบญั ญัติตามมาตรา ๘๔ ดงั กลา่ วใช้บังคับเฉพาะการไดม้ าซึ่งท่ดี นิ เท่าน้ัน
ส่วนอสงั หารมิ ทรัพยอ์ ยา่ งอ่ืนไมอ่ ยูใ่ นบังคับของบทบญั ญัตดิ ังกล่าว
๒. สภากาชาดไทยรบั ใหท้ ด่ี นิ โดยจะจดทะเบยี นสทิ ธเิ กบ็ กนิ ใหก้ บั ผใู้ หต้ ลอดชวี ติ ซง่ึ ผใู้ ห้
ได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินแปลงนี้ให้กับนิติบุคคลไว้แล้วเป็นระยะเวลา ๓๐ ปี กรณีเช่นนี้เป็นการให้
โดยมเี งอ่ื นไข มใิ ชเ่ ปน็ เรอ่ื งทส่ี ภากาชาดไทยน�ำ ทรพั ยส์ นิ ของสภากาชาดไทยมาจดทะเบยี นสทิ ธเิ กบ็ กนิ
ให้กับบุคคลอื่น แม้ขณะนี้สภากาชาดไทยยังไม่อาจเก็บผลประโยชน์ในที่ดินได้ แต่เมื่อผู้ทรงสิทธิ
เกบ็ กินถึงแก่กรรมแลว้ สภากาชาดไทยก็สามารถเข้ารบั ผลประโยชน์ในทีด่ นิ ได้ และการจดทะเบยี น
สิทธิเก็บกินในระหว่างสัญญาเช่าก็ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด  เพราะผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำ�นาจ
จัดการเก่ียวกับที่ดินที่เป็นผู้ทรงสิทธิอยู่  โดยการใช้และถือเอาประโยชน์จากท่ีดินนั้นได้อยู่แล้ว
(มาตรา ๑๔๑๗ แหง่ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย)์ การท่ีสภากาชาดไทยจะรบั การยกใหท้ ีด่ ิน
ดงั กลา่ วจึงท�ำ ได้
๓. ทรัพย์สินท่ีคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงได้มาระหว่างสมรสโดยการรับให้โดยเสน่หา
จะเป็นสินส่วนตัวหรอื สนิ สมรส ยอ่ มเปน็ ไปตามมาตรา ๑๔๗๑ (๓) หรอื มาตรา ๑๔๗๔ (๒) แหง่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ บรรพ ๕ ฉบบั ตรวจช�ำ ระใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙ กลา่ วคือ การรบั ให้
ถา้ มไิ ดร้ ะบไุ วใ้ นหนงั สือยกใหว้ ่าเปน็ สินสมรส ตามมาตรา ๑๔๗๔ (๒) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณชิ ย ์ กต็ ้องถอื ว่าเป็นสนิ ส่วนตวั ตามมาตรา ๑๔๗๑ (๓) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดงั นนั้ การจดทะเบียนใหเ้ ปน็ สินสว่ นตวั จึงไม่มีความจ�ำ เป็นตอ้ งระบคุ ำ�วา่ “สนิ สว่ นตัว”
๔. กรณกี ารอุทศิ ที่ดนิ ให้แก่เทศบาล เปน็ การบรจิ าคทด่ี ินใหแ้ ก่ทางราชการ โดยผูใ้ ห้
มิได้รับประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทน  ซึ่งได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามมาตรา
๑๐๓ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  เมื่อทางราชการไม่ได้ใช้และการโอนคืนเจ้าของเดิมสามารถ
กระทำ�ได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย  ในการจดทะเบียนโอนคืนให้แก่เจ้าของเดิมเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการ
จดทะเบยี นเกยี่ วกบั อสังหารมิ ทรพั ยท์ บี่ รจิ าคใหแ้ ก่ทางราชการ ตามนยั มาตรา ๑๐๓ ทวิ แห่งประมวล
กฎหมายทีด่ ิน ย่อมได้รบั การยกเวน้ ไม่ต้องเสียคา่ ธรรมเนยี ม
๕. นาง จ. ทำ�หนังสือยินยอมยกที่ดินให้กับสุขาภิบาลเพื่อใช้เป็นที่ตั้งโรงฆ่าสัตว์
แต่นาง จ. มไิ ด้โอนกรรมสิทธใิ์ หแ้ ต่อยา่ งใด และได้น�ำ ทีด่ นิ แปลงดงั กลา่ วไปจดทะเบียนจ�ำ นอง กรณี
ดังกลา่ วเปน็ เรื่องพิพาทกันเกย่ี วกบั กรรมสทิ ธใิ์ นทีด่ ิน ซ่งึ โฉนดท่ดี ินมีชอ่ื ของนาง จ. จดไวใ้ นทะเบียน
ทด่ี นิ ย่อมไดร้ ับข้อสันนษิ ฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๗๓ ว่าเปน็ ผมู้ ีสิทธิ

๒๒๓
ครอบครอง นาง จ. จงึ สามารถจำ�นองท่ดี นิ แปลงดงั กลา่ วได้ ประกอบกบั การยกทด่ี นิ ใหแ้ ก่สขุ าภิบาล
เพื่อเป็นที่ตั้งโรงฆ่าสัตว์  มิใช่ให้ใช้เป็นสาธารณประโยชน์  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๓๐๔ เมื่อไมไ่ ดจ้ ดทะเบยี นการให้ตามมาตรา ๕๒๕ ผูใ้ หเ้ รียกคนื ได้ ตามนยั ค�ำ พิพากษาฎกี า
ที่ ๒๑๙๕/๒๕๒๒
๖. นาย จ. และนาง ส. เป็นสามีภรยิ ากนั โดยชอบดว้ ยกฎหมาย สิ่งปลูกสร้างบนทด่ี ิน
แปลงนี้ได้ปลูกสร้างหลังจากที่ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว (ที่ดิน นาย จ. ซื้อมาก่อนสมรส) ไม่ว่า
นาง ส. หรือ นาย จ. จะเป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างก็เป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส และเมื่อ
โฉนดที่ดินแปลงนี้มีชื่อนาย จ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ทั้งตามหนังสือมอบอำ�นาจของ
นาย จ. ก็ได้มอบอำ�นาจใหน้ าง ส. จดทะเบียนยกใหท้ ี่ดินพร้อมสงิ่ ปลกู สร้าง การที่พนกั งานเจา้ หน้าท่ี
จดทะเบียนให้ที่ดนิ พรอ้ มสง่ิ ปลูกสรา้ งไปนั้นจงึ เปน็ การชอบแล้ว แตก่ ารจดทะเบียนโอนในสว่ นทีเ่ ป็น
สง่ิ ปลกู สรา้ งซง่ึ เปน็ สนิ สมรส มผี ลเทา่ กบั วา่ นาย จ. โอนกรรมสทิ ธใ์ิ นสว่ นของตนซง่ึ มอี ยคู่ รง่ึ หนง่ึ ใหแ้ ก่
นาง ส. ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของนาง ส. อยู่ก่อนแล้ว ไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์แก่กันแต่อย่างใด
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง  ควรเรียกเก็บจากจำ�นวน
คร่ึงหน่งึ ของราคาส่ิงปลูกสรา้ งเทา่ นัน้
๗. ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดจดทะเบียนโอนท่ีดินให้แก่องค์การบริหารส่วนตำ�บล  โดยมี
วัตถุประสงค์เพ่ือให้สร้างสำ�นักงาน  ที่ดินจึงเป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน  ไม่เป็น
ทร่ี าชพสั ดตุ ามนยั มาตรา ๔ แหง่ พระราชบญั ญตั ทิ ร่ี าชพสั ดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ การทจ่ี ะพจิ ารณาวา่ ทรพั ยใ์ ด
เปน็ สาธารณสมบัตขิ องแผน่ ดนิ หรือไม่ ต้องพจิ ารณาจากองคป์ ระกอบสองประการคอื (๑) ต้องเป็น
ทรัพย์สินของแผ่นดนิ และ (๒) ทางราชการได้ใชเ้ พื่อประโยชนส์ าธารณะหรอื สงวนไวเ้ พ่อื ประโยชน์
รว่ มกัน หากไม่ครบองคป์ ระกอบย่อมไมถ่ อื เปน็ สาธารณสมบตั ขิ องแผน่ ดิน เป็นแต่เพียงทรพั ย์สนิ ของ
แผ่นดินเทา่ นนั้ ซ่งึ ตามมาตรา ๑๓๐๔ แหง่ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ สาธารณสมบตั ขิ อง
แผน่ ดิน หมายถึงทรพั ยส์ นิ ทุกชนิดของแผ่นดิน ทีใ่ ชเ้ พื่อสาธารณประโยชนห์ รอื สงวนไวเ้ พ่ือประโยชน์
รว่ มกัน (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ท่ี ๑๖๓/๒๕๐๙ และที่ ๒๓๐/๒๕๑๒) เมื่อองค์การ
บรหิ ารส่วนตำ�บลไม่สามารถสรา้ งส�ำ นกั งานลงในทดี่ ินตามวัตถปุ ระสงค์ของผูใ้ ห้ได้ และไม่ปรากฏวา่
องค์การบริหารส่วนตำ�บลได้ดำ�เนินการใดๆ  ซึ่งทำ�ให้บุคคลภายนอกเห็นหรือเข้าใจได้โดยสภาพว่า
จะใช้ประโยชน์ในที่ดินนัน้ ทด่ี นิ จึงไมม่ ีสถานะเป็นสาธารณสมบตั ิของแผน่ ดิน ตามมาตรา ๑๓๐๔
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ แต่มสี ถานะเปน็ เพยี งทรพั ยส์ นิ ของแผ่นดนิ ธรรมดา การโอน
ที่ดินคืนแก่เจ้าของเดิมสามารถกระทำ�ได้โดยการจดทะเบียนโอนคืนแก่ผู้ให้  โดยไม่ต้องตราเป็น
พระราชบญั ญตั ิ (ความเหน็ คณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ ๔๙๓/๒๕๔๘ และเรอ่ื งเสร็จท่ี ๗๐๑/๒๕๕๑)
โดยจดทะเบียนประเภท “โอนคืนให้แกผ่ ูย้ กให้” และหากการจดทะเบียนให้ที่ดนิ เป็นการบริจาคทด่ี ิน
ให้แก่ทางราชการ  โดยผู้ให้มิได้รับประโยชน์อ่ืนใดเป็นการตอบแทน  ซ่ึงได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
การจดทะเบยี นสิทธิและนิตกิ รรมตามมาตรา ๑๐๓ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อโอนคนื แก่

๒๒๔
เจ้าของเดิมถือได้ว่าเป็นการจดทะเบียนเก่ียวกับอสังหาริมทรัพย์ที่บริจาคแก่ทางราชการ  ได้รับการ
ยกเวน้ ไมต่ อ้ งเสียค่าธรรมเนยี ม สำ�หรับภาษีเงินได้หกั ณ ท่ีจา่ ย ไมต่ ้องเสยี เน่อื งจากองค์การบริหาร
ส่วนต�ำ บลไม่เข้าลักษณะเปน็ บรษิ ัทหรือห้างห้นุ สว่ นนติ บิ คุ คลตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรษั ฎากร
จึงไม่มีหน้าท่ีต้องเสีย  และไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ  เพราะการโอนท่ีดินดังกล่าวไม่เข้าลักษณะ
เป็นทางการคา้ หรอื หากำ�ไร สว่ นอากรแสตมปไ์ ด้รับยกเว้นไมต่ อ้ งเสีย ตามมาตรา ๑๒๑ แห่งประมวล
รัษฎากร
๘. ผู้จัดการมรดกยื่นขอจดทะเบียนยกให้ที่ดินแก่วัด  เพื่อให้เป็นไปตามหนังสือแสดง
เจตนาทเี่ จา้ มรดกทำ�ไว้ก่อนตาย ซึง่ เม่ือพจิ ารณาความในหนงั สอื แสดงเจตนาของเจ้ามรดกแล้ว ไม่มี
ขอ้ ความใดแสดงให้เห็นว่าผตู้ ายประสงค์จะยกที่ดนิ ใหแ้ ก่วัดเมอ่ื ตนตายไปแล้ว แต่ใหม้ ีผลตั้งแต่วันที่
ปรากฏในหนงั สือแสดงเจตนา หนงั สือดังกลา่ วจงึ ไม่ใช่พนิ ยั กรรมตามมาตรา ๑๖๔๖ แหง่ ประมวล
กฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ เปน็ หนงั สอื แสดงเจตนายกใหท้ ด่ี นิ ธรรมดา ถงึ แมม้ าตรา ๕๒๕ แหง่ ประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์  บัญญัติถึงการให้อสังหาริมทรัพย์ต้องทำ�เป็นหนังสือและจดทะเบียน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี  มิฉะนั้นเป็นโมฆะ  แต่การยกให้ที่ดินแก่วัด  ได้มีคำ�พิพากษาศาลฎีกาท่ี
๗๖๓๘/๒๕๓๘ วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า การทำ�หนังสือยกที่ดินให้เพื่อเป็นที่สร้างวัด ถือได้ว่า
มีเจตนาอุทิศที่ดินให้เพ่ือใช้เป็นท่ีสร้างวัด  ที่ดินย่อมตกเป็นของแผ่นดินสำ�หรับใช้เป็นท่ีสร้างวัดตาม
เจตนาของผู้อุทิศทันทีโดยไม่จำ�ต้องทำ�เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี  การอุทิศ
ทด่ี ินใหแ้ กว่ ัดเพอ่ื ขยายเขตวัดนัน้ ตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบญั ญัตคิ ณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ทวี่ ัด
ไมไ่ ดห้ มายถงึ เฉพาะแตท่ ด่ี นิ ทใ่ี ชเ้ ปน็ ทต่ี ง้ั หรอื สรา้ งวดั เทา่ นน้ั แตย่ งั หมายรวมถงึ ทด่ี นิ ทเ่ี ปน็ เขตวดั ดว้ ย
การอุทิศที่ดินเพ่ือขยายเขตวัดจึงมีผลให้ที่ดินตกเป็นของแผ่นดินโดยเป็นท่ีวัดตามมาตรา  ๓๓
แห่งพระราชบญั ญตั ิคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ดงั นน้ั การทก่ี อ่ นตายเจา้ มรดกไดท้ ำ�หนังสอื แสดงเจตนา
ยกท่ีดินให้แก่วัดเพ่ือใช้ขยายเขตวัดไว้สำ�หรับประกอบศาสนกิจต่างๆ  ย่อมมีผลให้ท่ีดินตกเป็นของ
แผน่ ดิน เมือ่ ผ้ยู กให้ตายกอ่ นโอนกรรมสิทธิท์ ่ีดนิ ให้แก่วัด หนังสือแสดงเจตนายกให้ทีด่ ินแก่วัดย่อม
ผูกพันผู้จัดการมรดกท่ีจะต้องไปดำ�เนินการโอนที่ดินให้แก่วัด  และเมื่อที่ดินตกได้แก่วัดต้ังแต่มี
การอุทิศ  (ขณะท่ีวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว)  ท่ีดินจึงมิใช่มรดกท่ีจะตกได้แก่ทายาทของผู้ตาย
เมื่อผูจ้ ดั การมรดกประสงคจ์ ะโอนทดี่ ินให้แกว่ ดั และวัดไดร้ บั อนุญาตใหไ้ ดม้ าซง่ึ ทีด่ นิ ตามมาตรา ๘๔
แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว  พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถรับจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่วัดได้
ในประเภท “ให้” โดยในคำ�ขอฯ (ท.ด. ๑) หนังสือสัญญาให้ และสารบัญจดทะเบียนช่องเนื้อที่
ให้หมายเหตุลงไว้ว่า  “ที่ดินแปลงนี้ตกเป็นของวัดโดยการอุทิศตามหนังสือแสดงเจตนายกให้ที่ดิน
ของ...............ฉบับลงวันที.่ ........เดือน...........พ.ศ. ........”
๙. นิติบุคคลขอจดทะเบียนให้อสังหาริมทรัพย์แก่ทางราชการ หรือสถานศึกษาต่างๆ
หากพนักงานเจ้าหน้าท่ีสอบสวนแล้วไม่ปรากฏว่าข้อบังคับหรือวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลท่ีขอ
จดทะเบียน มีข้อห้ามเกี่ยวกับการบริจาคอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของนิติบุคคลให้แก่

๒๒๕

ทางราชการ หรอื สถานศึกษาต่างๆ แล้ว พนักงานเจา้ หนา้ ทช่ี อบท่ีจะรับจดทะเบียนยกใหท้ ่ีดนิ ตาม
ความประสงคข์ องนติ บิ คุ คลได้ (หนงั สอื กรมทด่ี นิ ท่ี มท ๐๕๑๕.๑/ว ๓๓๒๖๒ ลงวนั ท่ี ๑๒ พฤศจกิ ายน
๒๕๕๒)
๑๐. โรงเรยี นท่ีอยใู่ นสังกดั ของส�ำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน กระทรวง
ศึกษาธกิ าร ประสงค์จะขายทด่ี ินทร่ี ับใหห้ รอื รับบรจิ าคมาจากธนาคารไทยพาณิชย ์ จำ�กัด (มหาชน)
ซึง่ เปน็ กรรมสิทธข์ิ องโรงเรียนและไม่เปน็ ที่ราชพสั ดุ ตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง แหง่ พระราชบัญญตั ิ
การศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และเปน็ กฎหมายเฉพาะ จึงมิใชส่ าธารณสมบัติของแผ่นดนิ โรงเรยี น
ย่อมมีสิทธิใช้สอยและจำ�หนา่ ยทรัพยส์ ินของตนไดต้ ามมาตรา ๑๓๓๖ แหง่ ประมวลกฎหมายแพง่ และ
พาณชิ ย ์ แตโ่ ดยทโี่ รงเรียนอยู่ในสงั กดั ของสำ�นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน กระทรวง
ศกึ ษาธิการ หากโรงเรยี นประสงค์จะขายท่ีดินเพ่อื นำ�เงินท่ีไดไ้ ปกอ่ สรา้ งอาคารอเนกประสงค ์ หรือ
นำ�เงินไปซื้อที่ดินขา้ งเคียงกบั สถานศกึ ษาเพอื่ ขยายพน้ื ท่แี ละก่อสรา้ งอาคาร  ซ  ึง่ ไมข่ ัดตอ่ อ�ำ นาจหนา้ ที่
หรือวัตถุประสงค์ของโรงเรียนตามที่กำ�หนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง โดยได้รับ
ความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ตามข้อ ๖ ของระเบียบ
กระทรวงศึกษาธิการ  ว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาข้ัน
พืน้ ฐานทเ่ี ป็นนติ ิบคุ คลในสังกดั เขตพนื้ ทีก่ ารศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม
๒๕๔๖ และไมข่ ัดตอ่ วัตถุประสงค์ในการบรจิ าค (หรอื อุทิศ) ของผบู้ รจิ าค ในการจดทะเบยี นขายทดี่ นิ
ดังกล่าว  โรงเรียนผู้ขอจดทะเบียนจะต้องแสดงหลักฐานว่าโรงเรียนได้ปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบ
ข้อบงั คับของกระทรวงศึกษาธิการ ต่อพนักงานเจ้าหนา้ ที่ผู้รบั จดทะเบียนสิทธิและนติ ิกรรม
l คำ�พพิ ากษาฎีกาทเ่ี ก่ยี วข้อง
๑. คำ�พิพากษาฎกี าท่ี ๘๓/๒๔๗๗ การท่ีเจา้ ของที่นามอื เปล่าท�ำ หนังสือกันเองยกนา
ให้แก่ผู้อื่นนั้นไม่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๒๕ แต่หนังสือยกให้นี้
แสดงวา่ เจา้ ของนาสละกรรมสทิ ธใ์ิ นทน่ี า เมอ่ื ผรู้ บั ใหเ้ ขา้ ปกครองทน่ี ามาเกนิ ๑ ปแี ลว้ ยอ่ มไดก้ รรมสทิ ธ์ิ
๒. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๑๒๑/๒๔๗๗ การที่บิดายอมให้บุตรนำ�เจ้าพนักงานรังวัด
ใสช่ อ่ื บตุ รเปน็ เจา้ ของทด่ี นิ นน้ั เปน็ เพยี งความตง้ั ใจจะยกทด่ี นิ ใหเ้ ทา่ นน้ั บตุ รยงั ไมไ่ ดก้ รรมสทิ ธใ์ิ นทด่ี นิ
๓. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๐๘๐/๒๔๗๙ การมอบที่ดินมือเปล่าให้แก่กันนั้นไม่จำ�เป็น
ตอ้ งท�ำ เป็นหนังสอื และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าทีก่ ส็ มบูรณต์ ามกฎหมาย
๔. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๒๐๒/๒๔๙๐ ยกที่ดินถวายวัดแล้วเช่า และส่งค่าเช่าให้วัด
มากว่า ๑๐ ปี แมไ้ ม่ไดท้ ำ�การโอนทะเบยี น วัดกไ็ ด้กรรมสิทธ์เิ ปน็ ทธ่ี รณีสงฆ์ ตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา ๑๓๘๒
๕. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๕๐๖/๒๔๙๐  การยกที่ดินให้ใช้เป็นทางสาธารณะไปแล้วน้ัน
จะให้แกร่ ฐั บาลหรือเทศบาลกม็ ีผลเช่นเดยี วกนั แม้มิได้จดทะเบยี นก็มผี ลสมบรู ณ์

๒๒๖
๖. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๕๐๙/๒๔๙๑  เรือนปลูกอยู่กับท่ีดินนั้นตามลักษณะเป็น
อสงั หารมิ ทรพั ย์ แตเ่ ม่ือมีการยกให้แกก่ นั และผ้รู ับให้ไดร้ บั และรื้อเรือนเสียในขณะนั้น เรือนกก็ ลาย
สภาพเป็นสงั หารมิ ทรัพย์ การให้จึงเป็นอนั สมบรู ณ์
๗. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๐๐๐/๒๔๙๓ ทำ�หนังสือยกที่ดินให้จำ�เลย แต่มีข้อความ
ต่อไปวา่ จ�ำ เลยใหเ้ งินตอบแทน ๘๐๐ บาท ดงั น้ีเป็นการซื้อขาย
๘. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๓๗๔/๒๔๙๓ คำ�มั่นว่าจะให้ทรัพย์สิน ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๒๖ นั้นจะต้องทำ�เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าท่ีแลว้ จึงจะใช้ได้
๙. ค�ำ พิพากษาฎีกาท ี่ ๑๒๐๓/๒๔๙๔ ผูต้ ายทำ�หนงั สอื นาซายกทดี่ ินใหจ้ ำ�เลยตั้งแต่
ยังมีชีวิตอยู่ แม้ตามกฎหมายอิสลามมีว่า การให้ด้วยหนังสือนาซานี้ใช้ได้ ที่ดินไม่เป็นมรดกต่อไป
ตามกฎหมายอสิ ลามไมแ่ บง่ มรดกกต็ าม แตป่ รากฏวา่ การยกใหไ้ มถ่ กู แบบ ตามประมวลกฎหมายแพง่
และพาณชิ ย์ เพราะไมไ่ ดจ้ ดทะเบยี น ท่ดี นิ จงึ เป็นของผูต้ ายอยใู่ นเวลาตาย  จงึ ตอ้ งถอื ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ วา่ ทด่ี นิ นย้ี ังเป็นมรดกของผตู้ ายอยู่
๑๐. คำ�พิพากษาฎีกาที่  ๑๐๕๔/๒๕๐๒  บุตรทำ�สัญญายินยอมแบ่งกำ�ไรให้มารดา
เพราะมารดามาช่วยค้าขาย ดังนี้ สัญญานั้นไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หา จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อ
พนกั งานเจา้ หนา้ ที่ มารดากม็ สี ิทธิฟอ้ งเรยี กเงนิ ตามขอ้ ตกลงนัน้ ได้
๑๑. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท ่ี ๑๖๕๗/๒๕๐๓ ท�ำ หนงั สอื ยกใหท้ ด่ี นิ มโี ฉนด โดยมไิ ดจ้ ดทะเบยี น
ตอ่ พนักงานเจา้ หน้าทนี่ ัน้ สัญญายกให้ยอ่ มไม่สมบรู ณ์
๑๒. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๓๒๑ – ๓๒๒/๒๕๐๔  สิทธิรับจำ�นองเป็นอสังหาริมทรัพย์
การยกสทิ ธิรบั จำ�นองให้แก่กัน ต้องท�ำ เป็นหนังสือและจดทะเบยี นตอ่ พนกั งานเจ้าหนา้ ที่
๑๓. คำ�พิพากษาฎีกาที่  ๑๑๐๑/๒๕๐๔  บุตรเอาที่ดินมือเปล่าของบิดาไปแจ้งสิทธิ
ครอบครอง บิดาไปรอ้ งต่ออำ�เภอ จงึ ตกลงทำ�สัญญาทอี่ ำ�เภอกันวา่ บดิ ายกท่ีดินให้บุตร แต่บตุ รต้อง
ใหข้ ้าวเปลือกเป็นรายปีและคา่ ทำ�ศพบิดา ดงั นี้ ถอื วา่ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซ่งึ มผี ลตาม
ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา ๘๒๕ มิใชเ่ ป็นการใหโ้ ดยเสน่หา ตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๒๑
๑๔. คำ�พิพากษาฎีกาที่  ๙๙๙/๒๕๐๘  คำ�ม่ันหรือคำ�รับรองว่าจะให้ท่ีดินเม่ือมิได้
จดทะเบียนไว้ ก็ไม่เข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๒๖ ผู้รับไม่มีสิทธิ
เรยี กรอ้ งจากผูใ้ หแ้ ต่ประการใด
๑๕. ค�ำ พิพากษาฎกี าท่ี ๘๐๕/๒๕๑๑ โจทก์ยกทดี่ ินซึ่งไมม่ ีหนงั สือสำ�คญั ส�ำ หรับทด่ี นิ
ให้จำ�เลย โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จำ�เลยนำ�ที่ดินไปประกันเงินกู้ผู้อื่น โจทก์ไถ่คืนมา
และครอบครองอย่างเป็นเจ้าของเกินกว่า ๑ ปีแล้ว ดังนี้ จำ�เลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเอาที่ดินคืน
แต่โจทกก์ ไ็ มม่ เี หตุทจี่ ะขอให้ทำ�ลายนติ กิ รรมยกใหน้ น้ั เพราะโจทก์สมัครใจยกให้โดยไม่มีเง่ือนไข

๒๒๗
๑๖. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท ี่ ๑๐๑๖/๒๕๑๓ จำ�เลยจดทะเบียนยกท่ดี นิ ให้ ส. โดยมิได้
ตง้ั ใจยกให้โดยเสน่หา แต่ทำ�ไปเพื่อให้ ส. สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์เอาที่ดินจำ�นองสหกรณ์ได้
เท่านั้น นติ ิกรรมดงั กล่าวจงึ เป็นโมฆะ ผลก็คอื ที่ดนิ นั้นไมเ่ คยตกไปเป็นของ ส. ส. ตายเสยี ก่อนทจ่ี ะ
นำ�ทด่ี ินไปจ�ำ นอง ที่ดินนั้นไม่ใชม่ รดกของ ส.
๑๗. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท ่ี ๘๒๕/๒๕๑๔ โจทกจ์ �ำ เลยท�ำ สญั ญาแบง่ ทด่ี นิ มรดก โดยจ�ำ เลย
ยอมแบง่ ให้โจทกเ์ พ่อื ไมต่ ้องเปน็ ความกนั ดังน้ี เปน็ สญั ญาประนีประนอมยอมความ ไม่ใช่สัญญา
ยกให้โดยเสน่หา
๑๘. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท ่ี ๑๑๖๓/๒๕๑๕ มารดาจ�ำ นองทด่ี นิ ไวแ้ ลว้ ไมเ่ คยสง่ ดอกเบย้ี เลย
เพราะไม่มีเงิน  เจ้าหนี้เร่งรัดให้ชำ�ระหนี้  บุตรจึงออกเงินชำ�ระหนี้จำ�นองแทนมารดา  แล้วมารดา
มอบอำ�นาจใหบ้ ุตรไปไถ่ถอนจำ�นองและท�ำ นติ กิ รรมใหท้ ด่ี ินนน้ั แก่บตุ รในวันเดียวกันนนั้ ดังนี้ ถือว่า
เปน็ การใหส้ งิ่ ที่มีคา่ ภาระตดิ พัน (มารดาจะถอนคนื การใหเ้ พราะเหตุเนรคุณไมไ่ ด้)
๑๙. คำ�พิพากษาฎีกาที่  ๒๓๖๔/๒๕๑๕  สัญญาระหว่างโจทก์จำ�เลยมีข้อความว่า
จำ�เลยแสดงเจตนาสละสิทธิการครอบครอง ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์เข้า
ครอบครองต่อไป  และโจทก์สัญญาว่าจะจ่ายเงินผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินนั้นให้แก่จำ�เลย
หนึ่งในสามจนตลอดชีวิตของจำ�เลย  เป็นสัญญาซ่ึงจำ�เลยมีเจตนายกกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สินให้โจทก์
โดยเสนห่ า โดยโจทก์มิไดเ้ สียคา่ ตอบแทนแต่ประการใด แตจ่ ำ�เลยคงสงวนผลประโยชนอ์ นั เกิดจาก
ทรัพย์สินน้ันไวเ้ พยี งบางสว่ น เพ่อื ใชส้ อยในระหว่างทจี่ ำ�เลยยังมีชวี ติ อยู่ ขอ้ ความในสญั ญาท่วี ่าจ�ำ เลย
สละการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองต่อไป  คงมีความหมายเพียงว่าจำ�เลยส่งมอบทรัพย์สินให้
โจทก์ อันเปน็ การปฏิบัตติ ามสัญญาให้เท่านนั้ เม่ือทรัพย์สนิ ท่ีใหเ้ ป็นทด่ี ินมีโฉนด การให้จงึ ตอ้ งท�ำ
เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี  (แม้จะฟังว่าเป็นคำ�ม่ันจะให้ก็ต้องจดทะเบียนต่อ
พนกั งานเจา้ หน้าที่เชน่ เดียวกนั เม่อื ไมจ่ ดทะเบียนนิตกิ รรมยอ่ มตกเปน็ โมฆะ)
๒๐. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๕๒๖/๒๕๑๖  หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินเพ่ิมเติมมีข้อ
ตกลงวา่ ผแู้ ทนโจทก์กบั เจา้ ของรว่ มคนอนื่ ยินยอมยกท่ีดนิ พิพาทใหเ้ ปน็ กรรมสิทธ์แิ กจ่ �ำ เลย เพื่อเปน็
การตอบแทนท่ีจำ�เลยสละสิทธิที่จะไม่ขอทำ�ทางเท้าจากที่ดินท่ีซื้อจากโจทก์ไปสู่ถนนใหญ่ให้กว้างขึ้น
อันเป็นสิทธิท่ีจำ�เลยพึงเรียกร้องได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับแรก  ข้อตกลงเช่นนี้ไม่ใช่สัญญาให้
โดยเสนห่ า และไม่ใช่สญั ญาจะซื้อขาย แมไ้ มไ่ ด้จดทะเบยี นต่อพนักงานเจ้าหนา้ ทีก่ ม็ ีผลผกู พนั ระหวา่ ง
คสู่ ญั ญาได้
๒๑. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท่ี ๗๗๑/๒๕๑๖ ภรยิ าโจทกย์ กทด่ี นิ ใหจ้ �ำ เลยโดยท�ำ เปน็ หนงั สอื
และจดทะเบยี นตอ่ พนกั งานเจ้าหน้าท่ี และโจทก์เป็นผใู้ หค้ วามยนิ ยอมในฐานะสามี ถงึ หากทดี่ นิ นั้น
จะเป็นของโจทก์และภริยาร่วมกัน  เม่ือเอกสารมีข้อความชัดแจ้งว่าภริยาโจทก์ผู้เดียวเป็นผู้ยกที่ดิน
ให้จำ�เลย  การท่ีโจทก์ให้ความยินยอมก็เป็นเพียงอนุญาตให้ภริยาทำ�การผูกพันสินบริคณห์ได้เท่านั้น
โจทก์จงึ มิใช่ผูใ้ ห้ทรัพยส์ ินแก่จ�ำ เลย ไมม่ สี ิทธิฟอ้ งเรียกถอนคนื การใหเ้ พราะเหตุผ้รู ับประพฤติเนรคณุ

๒๒๘
๒๒. คำ�พิพากษาฎีกาที่  ๘๐/๒๕๑๗  การยกกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดให้แก่กัน แม้จะ
มิได้จดทะเบียนการโอนก็ตาม แต่ถ้าผู้รับให้ได้เข้าครอบครองถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของโดยความสงบ
และเปิดเผยตลอดมา เมือ่ ครอบครองติดต่อมาเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี ยอ่ มไดก้ รรมสิทธ์ิ ตามประมวล
กฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒
๒๓. คำ�พพิ ากษาฎีกาท่ี  ๘๔๒ - ๘๔๕/๒๕๑๗  พนิ ัยกรรมหรือหนงั สอื ยกใหก้ ด็ ีซ่งึ ยก
ท่ีดนิ น.ส.๓ ให้ผรู้ ับเป็นสินสว่ นตัว แม้ไม่จดทะเบียนพินัยกรรมและหนงั สือยกให้ ผู้รบั กไ็ ดท้ ด่ี นิ เปน็
สนิ ส่วนตวั เพราะได้มาโดยการสง่ มอบก็สมบรู ณ์
๒๔. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท ่ี ๑๔๐๖/๒๕๑๗  จ�ำ เลยปลกู บา้ นในทด่ี นิ ของภรรยา บา้ นจงึ เปน็
สินสมรสระหว่างจำ�เลยและภรรยา  ต่อมาจำ�เลยหย่ากับภรรยา  จำ�เลยจะโต้แย้งในภายหลังว่ายัง
ไม่มีการจดทะเบียนให้บ้านเป็นของภรรยาจึงยังเป็นของจำ�เลยอยู่หาได้ไม่  และกรณีไม่ใช่เป็นการ
ให้โดยเสน่หา  ภรรยาย่อมทำ�พินัยกรรมยกบ้านให้โจทก์ได้  เม่ือจำ�เลยเก็บค่าเช่าและร้ือเอาบ้านไป
จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
๒๕. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๒๒๖/๒๕๒๐  เอกสารท่ีโจทก์สละสิทธิในมรดกของ  ก.
ใหต้ กทอดแก่จ�ำ เลย ก. เป็นบดิ าโจทก์ จำ�เลยเป็นบุตรโจทก์ มิใช่ทายาทช้นั เดียวกับโจทก์ ไม่มีหรอื
จะมีข้อพพิ าทกับโจทกเ์ กี่ยวกับทรพั ยม์ รดก เอกสารนน้ั มิใชส่ ญั ญาประนปี ระนอม แตเ่ ป็นสัญญาให้
เม่อื ไม่สง่ มอบหรือจดทะเบยี นก็ไมส่ มบรู ณ์
๒๖. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๒๙๑/๒๕๒๒ ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ยังไม่มีหนังสือ
รับรองการท�ำ ประโยชน์ จึงไม่อาจจดทะเบียนการให้ได้ โจทก์มอบการครอบครองทพี่ พิ าทให้จ�ำ เลย
โดยเจตนายกให้โดยเสน่หาจำ�เลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทแล้ว  เมื่อประพฤติเนรคุณต่อโจทก์
โจทก์เรยี กถอนคืนการให้ได้

๒๗. คำ�พิพากษาฎีกาที่  ๒๑๙๕/๒๕๒๒  ยกที่ดินมีโฉนดเป็นตลาดสดและผลไม้
ให้สุขาภิบาลเพื่อหาประโยชน์มาปรับปรุงท้องที่เป็นการให้แก่สุขาภิบาลโดยเฉพาะ  มิใช่ให้ใช้เป็น
สาธารณประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ เมื่อไม่ได้จดทะเบียน
การใหต้ ามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา ๕๒๕ ผ้ใู ห้เรยี กคืนได้
๒๘. คำ�พพิ ากษาฎกี าที่ ๘๔๓/๒๕๒๓ การอุทิศทดี่ นิ ใหใ้ ช้เปน็ ทางสาธารณะเป็นการ
สละทด่ี นิ ใหเ้ ปน็ สาธารณสมบตั ขิ องแผน่ ดนิ ส�ำ หรบั พลเมอื งใชร้ ว่ มกนั ตามมาตรา ๑๓๐๔ แหง่ ประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่จำ�เป็นต้องทำ�พิธีจดทะเบียนอย่างโอนให้แก่เอกชน แม้เป็นที่ดิน
ในเขตโฉนดผูซ้ อื้ ท่ดี นิ กไ็ มม่ สี ทิ ธิในท่ดี ินสว่ นทไี่ ดอ้ ทุ ศิ เปน็ ทางสาธารณะไปแลว้
๒๙. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๒๙๔๒/๒๕๒๔ การที่โจทก์ให้ที่พิพาทแก่จำ�เลยทั้งเจ็ด
ซึ่งเป็นบุตรเป็นการให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเพ่ือระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับภริยา
ซึ่งเปน็ มารดาจ�ำ เลยท้งั เจ็ด และต่อมาศาลพิพากษาใหโ้ จทกโ์ อนที่พิพาทอกี ๒ แปลง ใส่ช่อื จำ�เลย
ทั้งเจ็ดเป็นเจ้าของ ลักษณะการให้ของโจทก์ไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียก
ขอถอนคนื การให้เพราะเหตุจำ�เลยท้ังเจ็ดผรู้ ับประพฤตเิ นรคุณ

๒๒๙
๓๐. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๕๑๖/๒๕๒๕ โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุ
จ�ำ เลยประพฤตเิ นรคุณ โดยบรรยายฟ้องวา่ ทดี่ ินพพิ าทท่โี จทกย์ กใหจ้ ำ�เลย โจทกไ์ ดจ้ ดทะเบียนเปน็
ผทู้ รงสทิ ธเิ กบ็ กนิ ตลอดชวี ติ ของโจทกไ์ วใ้ นวนั เดยี วกบั ทโ่ี จทกย์ กให ้ แลว้ ตอ่ จากนน้ั จ�ำ เลยกไ็ ดเ้ ขา้ ท�ำ นา
ในท่ีดินท่ีรับยกให้และแบ่งข้าวเปลือกท่ีได้จากการทำ�นาให้แก่โจทก์ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินปีละ
๓๐ ถงั ดงั น ้ี มใิ ชใ่ หโ้ ดยเสนห่ า แตเ่ ปน็ การใหท้ ม่ี คี า่ ภาระตดิ พนั ศาลจงึ ไมอ่ าจบงั คบั จ�ำ เลยตามค�ำ ขอได้
๓๑. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๒๒๖๑/๒๕๒๕ จ. เจ้าของที่ดินยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียน
สิทธิและนิติกรรมต่อทางอำ�เภอ  แสดงว่าประสงค์จะยกที่พิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์
ให้แก่จำ�เลยโดยการทำ�นิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี  หาใช่เป็นกรณีท่ี  จ.  แสดง
เจตนาสละการครอบครอง  และส่งมอบที่พิพาทให้แก่จำ�เลยโดยสมบูรณ์ไม่ เมื่อ จ. ถึงแก่กรรม
โดยยังไม่ได้จดทะเบยี นตอ่ พนกั งานเจา้ หน้าที ่ การให้ยอ่ มไมส่ มบูรณ์ ที่พิพาทยังตกเปน็ ของ จ. อยู่
๓๒. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๓๐๕/๒๕๒๗ ตามบันทึกคำ�แสดงเจตนาอุทิศที่พิพาท
ให้เปน็ ถนนสาธารณประโยชน์ มขี ้อความชัดเจนวา่ จำ�เลยยินยอมให้นายกเทศมนตรีเมืองกระบี่เข้าไป
ดำ�เนินการสร้างถนนผ่านที่ดินได้โดยตลอดและยอมมอบที่ดินที่ใช้สร้างถนนให้เป็นทางสาธารณะ 
และเทศบาลเมอื งกระบโ่ี จทกไ์ ดป้ กั เสาพาดสายไฟฟา้ และวางทอ่ ประปาตามแนวเขตทพ่ี พิ าท แสดงวา่
เข้าครอบครองท่ีพิพาทแล้ว  ถือได้ว่าจำ�เลยสละการครอบครองตั้งแต่น้ัน  แม้โจทก์จะยังมิได้ทำ�ถนน
ตามแนวทพ่ี พิ าท ทพ่ี พิ าทกต็ กเปน็ ทางสาธารณะ อนั เปน็ สาธารณสมบตั ขิ องแผน่ ดนิ แลว้ การทจ่ี �ำ เลย
ขอให้ทางการออกโฉนดทบั แนวท่ีพิพาทจึงเป็นการไมช่ อบ
๓๓. ค�ำ พิพากษาฎกี าที่ ๔๐๓๖ - ๔๐๓๗/๒๕๓๐ คดกี ่อนโจทก์ฟ้องเรยี กทรพั ย์พิพาท
คนื จากจ�ำ เลยโดยอ้างเหตวุ ่าฝากไวก้ ับจ�ำ เลยเปน็ การชัว่ คราว คดถี ึงทส่ี ุดโดยศาลฎีกาฟังว่าโจทกโ์ อน
ทรัพย์พิพาทให้จำ�เลยเน่ืองในการสมรส  คำ�พิพากษาฎีกาดังกล่าวน้ีย่อมผูกพันโจทก์จำ�เลยซึ่งเป็น
คคู่ วามในคดกี อ่ นนน้ั แม้คดีนโี้ จทกฟ์ อ้ งเรยี กทรพั ย์พิพาทคนื จากจำ�เลยโดยอา้ งขอ้ เท็จจริงขน้ึ ใหมว่ ่า
ยกใหโ้ ดยเสนห่ าและขอถอนคืนการใหเ้ พราะเหตุจ�ำ เลยประพฤติเนรคุณ คดกี ต็ ้องฟงั ตามค�ำ พพิ ากษา
คดกี อ่ นว่า โจทกย์ กทรพั ยพ์ ิพาทให้จำ�เลยเนื่องในการสมรส เพกิ ถอนการใหเ้ พราะเหตุเนรคุณไม่ได ้
ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๓๕ (๔) โจทก์ไมม่ อี �ำ นาจฟ้อง ศาลจงึ ชอบ
ทจ่ี ะวินิจฉยั ชขี้ าดเบ้อื งต้นในปญั หาข้อกฎหมายได ้ โดยไมจ่ ำ�ตอ้ งช้สี องสถานและสืบพยานตอ่ ไป
๓๔. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท ่ี ๔๒๙๐/๒๕๓๐ เจา้ ของเดมิ ยกทพ่ี พิ าทใหก้ รมอนามยั ปลกู สรา้ ง
สำ�นักงานผดุงครรภ์ โดยมีเงื่อนไขว่าจะนำ�ไปซื้อขาย หักโอนหรือแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือ
หน่วยราชการอ่นื ไม่ได ้ และเม่ือหมดความประสงค์จะใชใ้ หส้ ่งมอบท่พี พิ าทคนื ทนั ท ี ดังนี ้ เจตนาของ
ผใู้ หห้ าใชเ่ ปน็ การอทุ ศิ ทพ่ี พิ าทเพอ่ื ใชเ้ ปน็ สาธารณประโยชนต์ ลอดไปอนั มผี ลใหท้ ด่ี นิ ตกเปน็ สาธารณสมบตั ิ
ของแผน่ ดนิ ไม ่ เมอ่ื การยกใหม้ ไิ ดจ้ ดทะเบยี นตอ่ พนกั งานเจา้ หนา้ ท ่ี จงึ ไมม่ ผี ลสมบรู ณแ์ ละยอ่ มไมผ่ กู พนั
ผใู้ หห้ รอื โจทกซ์ ง่ึ เปน็ ผรู้ บั โอนทพ่ี พิ าทตอ่ มาในภายหลงั   ตามนยั แหง่ ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์
มาตรา ๕๒๕, ๑๒๙๙ วรรคแรก แม้โจทกจ์ ะรถู้ งึ สิทธทิ จี่ �ำ เลยได้รบั การยกใหจ้ ากเจา้ ของเดิมก็ตาม

๒๓๐
กห็ าเปน็ การกระทบกระเทอื นตอ่ สทิ ธขิ องโจทกผ์ ไู้ ดก้ รรมสทิ ธม์ิ าโดยนติ กิ รรมซง่ึ ไดจ้ ดทะเบยี นการไดม้ า
กับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิให้จำ�เลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทพ่ี พิ าทได ้
๓๕. ค�ำ พิพากษาฎกี าที่ ๕๒๑๙/๒๕๓๑ ฟ. พดู ยกให้บางส่วนซง่ึ ทด่ี นิ มโี ฉนดอนั เป็น
อสังหาริมทรัพย์ให้โจทก์  แต่ไม่ได้ทำ�เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  การยกให้
ดังกลา่ วจึงไมส่ มบรู ณ์ ทดี่ ินยังไมต่ กเปน็ กรรมสิทธ์ขิ องโจทก์ตามกฎหมาย เมื่อ ฟ. ตายโดยไม่ไดท้ ำ�
พินัยกรรมยกทดี่ นิ ดงั กล่าวใหโ้ จทก์ ท่ีดินยอ่ มเปน็ ทรพั ย์มรดกของ ฟ. ตกไดแ้ กจ่ ำ�เลยผู้เป็นทายาท
โดยธรรมของ ฟ. การท่ีจ�ำ เลยรับมรดกทด่ี นิ ดังกล่าวแล้วนำ�ไปขายใหแ้ ก่บคุ คลภายนอกจึงไมก่ ระทบ
กระเทือนสิทธแิ ละหน้าท่ีของโจทก์ ไมเ่ ป็นความผดิ ฐานฉอ้ โกง
๓๖. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๘๗/๒๕๓๒  การท่ีโจทก์ยกที่ดินให้จำ�เลยผู้เป็นบุตรโดยมี
เงื่อนไขว่าจำ�เลยต้องส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละ ๑๐ ถัง ดังนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ทรัพย์สิน
โดยมคี า่ ภาระตดิ พัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๒๘ แต่เป็นการยกให้โดย
เสน่หา  เพราะค่าภาระติดพันในที่ดินต้องเป็นภาระติดพันเก่ียวกับตัวที่ดินเองโดยตรง  ไม่ใช่ภาระ
ติดพนั นอกตัวทรัพย์
๓๗. คำ�พพิ ากษาฎกี าที่ ๒๒๗/๒๕๓๒ จ�ำ เลยท่ี ๑ ท�ำ หนังสอื สญั ญายกที่ดินมีโฉนด
ให้โจทก์  และรับรองว่าจะจัดการแบ่งแยกให้ในภายหน้า  หากไม่แบ่งให้ตามสัญญายอม  ให้โจทก์
ฟอ้ งบังคับตามสญั ญา ขอ้ สัญญาดงั กล่าวแสดงว่าจ�ำ เลยท่ี ๑ ประสงคจ์ ะยกทีด่ นิ ให้โจทก์โดยการท�ำ
นิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่เป็นกรณีสละการครอบครองไม่ เมื่อการให้
รายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่
โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำ�เลยที่ ๑ อันเป็นการยึดถือ
ทพ่ี ิพาทแทนจำ�เลยที่ ๑ มิใชเ่ ปน็ การยดึ ถอื ในฐานะเปน็ เจ้าของ แม้โจทก์ครอบครองติดตอ่ กนั เปน็
เวลาเกนิ สบิ ปี โจทกก์ ็ไม่ไดก้ รรมสทิ ธ์ิ
๓๘. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๓๗๑/๒๕๓๒  ผู้ตายมีสิทธิครอบครองท่ีดินตามหนังสือ
รับรองการทำ�ประโยชน์ เมื่อยกให้ผู้ร้องและได้ส่งมอบการครอบครองให้ผู้ร้องแล้ว  ก็ย่อมเป็น
การยกให้ที่สมบูรณ์ ตามมาตรา ๑๓๗๘ ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองโดยมิพักต้องทำ�เป็น
หนังสือและจดทะเบยี นตอ่ พนกั งานเจ้าหนา้ ที่
ผู้ตายยกที่ดินให้ผู้ร้องโดยวิธีส่งมอบการครอบครอง  ผู้ตายจึงไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรม
ที่จะต้องจดทะเบียนโอนให้แกผ่ ้รู ้อง

๓๙. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท ่ี ๘๑๒/๒๕๓๓  บดิ าโจทกย์ กกรรมสทิ ธใ์ิ นทด่ี นิ ซง่ึ เปน็ สนิ สมรส
ของบดิ าโจทก์กบั ผู้ตายเฉพาะสว่ นของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือไดว้ า่ บดิ าโจทก์กับผตู้ ายไดต้ กลงแบง่
ที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย  ย่อมทำ�ให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็น
สินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย  ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำ�พินัยกรรมยกส่วนของตน
ครึง่ หน่ึงใหโ้ จทก์แลว้ เช่นกัน ส่วนทีเ่ หลืออกี คร่งึ จงึ ตกเปน็ ของผตู้ ายแตผ่ ูเ้ ดยี ว

๒๓๑
ผู้ตายไปยื่นคำ�ขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์  แต่การ
ให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๕๒๕ ก็ต่อเมอื่ ได้ท�ำ เป็นหนงั สอื และจดทะเบียนต่อพนักงานเจา้ หนา้ ท่ ี เม่ือพนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี
ยังไม่ได้จดทะเบยี นนติ ิกรรม การใหด้ ังกล่าวยงั ไมส่ มบรู ณ์ตามกฎหมาย กรรมสทิ ธ์ิในบ้านส่วนทเ่ี ป็น
ของผตู้ ายยงั คงเปน็ ของผตู้ าย เม่อื ผตู้ ายถงึ แก่ความตายกเ็ ปน็ มรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยงั ถือ
ไมไ่ ดว้ า่ โจทกเ์ ปน็ ผมู้ สี ทิ ธทิ จ่ี ะบงั คบั ใหจ้ ดทะเบยี นสทิ ธไิ ดก้ อ่ น ตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์
มาตรา ๑๓๐๐
๔๐. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท่ี ๔๐๐๔/๒๕๓๓ โจทกฟ์ อ้ งเรยี กทรพั ยค์ นื จากจ�ำ เลยโดยอา้ งวา่
โจทก์ยกให้โดยมีเง่ือนไขและจำ�เลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข  จำ�เลยให้การว่าโจทก์ยกให้โดยไม่มีเง่ือนไข
และจำ�เลยไม่ได้กระทำ�การใดๆ  ท่ีเป็นการผิดข้อตกลงตามท่ีโจทก์กล่าวอ้าง  เมื่อศาลช้ันต้นกำ�หนด
ประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าโจทก์ยกทรัพย์สินตามฟ้องให้จำ�เลยโดยมีเง่ือนไขหรือไม่  และคู่ความเห็น
พ้องด้วยเช่นนี้ แม้ขอ้ เท็จจริงจะได้ความวา่ เดิมโจทกต์ กลงยกทรัพย์สนิ ให้จำ�เลยโดยมเี งื่อนไข แต่เม่ือ
ตอนจดทะเบียนการให้ไม่ได้มีการกำ�หนดเงื่อนไขการให้ไว้ในสัญญา จึงไม่มีกรณีที่จำ�เลยไม่ปฏิบัติ
ตามเงอื่ นไขในสญั ญาให ้ ซึง่ จะถือเปน็ การโต้แยง้ สทิ ธิของโจทก์ได้ โจทกจ์ ึงไม่มอี ำ�นาจฟ้อง
๔๑. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท่ี ๔๓๐๖ - ๔๓๐๗/๒๕๓๓ จ�ำ เลยประกาศโฆษณาขายทด่ี นิ และ
ตกึ แถวทโ่ี จทกซ์ อ้ื วา่ มถี นนกวา้ ง ๑๐ เมตร เมอ่ื ครบ ๑๐ ปแี ลว้ จะยกใหเ้ ปน็ ทางสาธารณะ เปน็ สญั ญา
ต่อเนื่องในการขายระหว่างโจทก์กับจำ�เลย  ไม่ใช่การให้คำ�ม่ันว่าจะให้จึงไม่ต้องทำ�เป็นหนังสือและ
จดทะเบียนต่อพนักงานเจา้ หน้าที่
๔๒. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าที่ ๕๗๔๑/๒๕๓๔ จำ�เลยครอบครองที่ดนิ พพิ าทด้วยเจตนาเป็น
เจ้าของติดต่อกันมาเปน็ เวลาเกิน ๑๐ ปี มิใช่ครอบครองแทนทายาทอน่ื ดงั น้ี แม้การยกท่ดี ินพิพาท
ให้จำ�เลยจะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จำ�เลยก็ได้กรรมสิทธ์ิในท่ีดินพิพาทน้ันตั้งแต่วันครบ
๑๐ ปี นบั แต่วนั ได้รับการยกให้ การทีโ่ จทก์ขุดรอ่ งนํา้ และทำ�ถนนในท่ีดินพิพาทภายหลังจากท่จี �ำ เลย
ไดก้ รรมสทิ ธิ์ในท่ดี ินพพิ าทแลว้ จงึ เปน็ การละเมดิ ตอ่ จ�ำ เลย
๔๓. คำ�พพิ ากษาฎีกาที่ ๓๒๒๑/๒๕๓๕ จำ�เลยมอบเงินจำ�นวน ๗๕,๐๐๐ บาทเศษ
แก่โจทก์เพื่อไปไถ่จำ�นองที่ดินและบ้านพิพาทจากธนาคาร  เมื่อไถ่จำ�นองแล้วโจทก์ยกที่ดินและบ้าน
ให้แก่จำ�เลย จึงเป็นการให้สง่ิ ทม่ี ีค่าภาระติดพัน โจทก์จะถอนคนื เพราะเหตเุ นรคุณไม่ได้
๔๔. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๒๙๕๙/๒๕๓๖ พระภิกษุ ป. ทำ�หนังสือยกที่ดินให้โจทก์
และ พ. มารดาจ�ำ เลยคนละครงึ่ โดยมอบอ�ำ นาจใหโ้ จทกย์ ื่นคำ�รอ้ งขอออก น.ส. ๓ รังวัดแบง่ แยก
ใหแ้ กโ่ จทกแ์ ละจดทะเบยี นโอนสว่ นท่ีเหลอื ให้แก ่ พ. ตอ่ มาไดม้ กี ารรงั วัดแล้ว แตย่ งั ไมท่ ันแบ่งแยก
ป. มรณภาพเสียก่อน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเมื่อนำ�มาประกอบกับข้อความในพินัยกรรมของ ป.
ท่ยี กเลิกการยกทพ่ี พิ าทแกโ่ จทก์ แสดงวา่ ป. ประสงคจ์ ะยกทด่ี นิ พพิ าทใหแ้ กโ่ จทกโ์ ดยการท�ำ นติ กิ รรม
และจดทะเบยี น

๒๓๒
ต่อพนักงานเจา้ หนา้ ที่ หาใช่เปน็ กรณีเจตนาสละการครอบครองไม ่ จึงต้องอยภู่ ายใต้บังคบั บทบัญญัติ
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา ๕๒๕ และประมวลกฎหมายทด่ี ิน มาตรา ๔ ทว ิ
เมอ่ื การใหร้ ายนี้ยังไมไ่ ดจ้ ดทะเบยี นตอ่ พนักงานเจา้ หนา้ ท่ ี นิติกรรมใหจ้ ึงไม่สมบรู ณต์ ามกฎหมาย
๔๕. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าที่ ๓๘/๒๕๓๗ บนั ทกึ ข้อตกลงแบง่ ทรัพย์สินระหว่างโจทกแ์ ละ
จ�ำ เลย นอกจากโจทกแ์ ละจำ�เลยเปน็ คู่สญั ญาซ่งึ กนั และกนั แลว้ ยังมบี ุตรผเู้ ยาวเ์ ข้ามาเกย่ี วขอ้ งเป็น
ผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำ�เลยด้วย  คือแทนที่โจทก์และจำ�เลยจะแบ่งทรัพย์สิน
ระหว่างสามภี รรยาดว้ ยกนั เอง โจทกแ์ ละจ�ำ เลยกลบั ยอมให้ที่ดนิ จำ�นวน ๒ แปลง และบา้ นอีก ๑ หลัง
ตกเป็นของบุตรผู้เยาว์หลังจากโจทก์และจำ�เลยจดทะเบียนหย่ากัน  สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญา
แบง่ ทรพั ยส์ ินระหว่างสามภี รรยา ตามมาตรา ๑๕๓๒ และเป็นสญั ญาเพื่อประโยชนบ์ ุคคลภายนอก
ตามมาตรา ๓๗๔ มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา ๕๒๕ เมื่อจำ�เลยผิดสัญญา
โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำ�นาจฟ้องให้จ�ำ เลยปฏบิ ัตติ ามสัญญาได้
๔๖. ค�ำ พิพากษาฎกี าท่ี ๑๘๙๕/๒๕๓๗ โจทก์ยกทด่ี ินใหจ้ ำ�เลยเพ่ือใหส้ ร้างตลาดสด
แต่จำ�เลยยังไม่สามารถจะสร้างได้เพราะไม่มีงบประมาณและยังคงต้ังใจจะทำ�การก่อสร้างต่อไป
โดยจ�ำ เลยมไิ ด้น�ำ ที่ดนิ ดงั กลา่ วไปทำ�อยา่ งอื่นอนั เป็นการผิดวัตถปุ ระสงค์ของโจทก์ เม่อื ในสัญญาแบง่
ท่ีดินให้ไม่ได้กำ�หนดเวลาให้จำ�เลยสร้างตลาดสดภายในเวลาเท่าใด  การที่จำ�เลยรอการก่อสร้างไว้
เพราะยังไม่มงี บประมาณ ยังถอื ไม่ได้วา่ จำ�เลยผดิ สัญญา
๔๗. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๙๓๑/๒๕๓๗ จำ�เลยทำ�หนังสือสัญญาให้ที่ดินมีโฉนดโดย
เสน่หาแก่โจทก์ โดยจะนำ�ไปจดทะเบยี น ณ สำ�นกั งานทดี่ นิ ภายในก�ำ หนด ๗ วนั แตเ่ ม่อื การให้ยัง
ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนกั งานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้ย่อมไม่สมบรู ณต์ ามกฎหมาย โจทกจ์ งึ ไมม่ อี �ำ นาจ
ฟอ้ งบงั คับให้จำ�เลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสทิ ธ์ิทด่ี นิ ใหแ้ กโ่ จทก์
๔๘. ค�ำ พิพากษาฎกี าที่ ๕๑๔๗/๒๕๓๗ การท่โี จทกย์ กที่ดินใหแ้ ก่จ�ำ เลยโดยโจทกย์ ัง
มีสิทธิเก็บผลประโยชน์ในที่ดินอยู่ตลอดชีวิต  แม้สิทธิดังกล่าวจะมิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจา้ หน้าที่ไวต้ ามกฎหมายแตก่ ็เปน็ ภาระเกย่ี วกับทด่ี นิ ถอื ไดว้ า่ เปน็ การให้สิ่งท่มี ีค่าภาระติดพัน โจทก์
จึงไม่มีอ�ำ นาจฟ้องถอนคนื การให้จำ�เลยเพราะเหตุเนรคณุ ได้ ตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย ์
มาตรา ๕๓๕ (๒)
๔๙. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๖๒๖๗/๒๕๓๗ การยกให้ทพี่ พิ าทซ่ึงเป็นส่วนหนงึ่ ของท่ีดนิ
ที่มีเพียง น.ส. ๓ ระหว่าง ช. กับจำ�เลย มิได้ทำ�เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ยอ่ มไมส่ มบรู ณต์ ามกฎหมาย แมจ้ �ำ เลยจะเขา้ ครอบครองทพ่ี พิ าทตลอดมากเ็ ปน็ การครอบครองแทน ช.
มใิ ชเ่ ปน็ การยดึ ถอื ครอบครองในฐานะเจา้ ของ จ�ำ เลยจงึ ไมม่ สี ทิ ธคิ รอบครองในทพ่ี พิ าท เมอ่ื โจทกเ์ ปน็
ผู้ซื้อที่ดินตาม น.ส. ๓ ดังกล่าวได้จากการขายทอดตลาดของศาล โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
ในที่พิพาทโดยชอบ  และแม้โจทก์ยังปล่อยให้จำ�เลยอยู่ในที่พิพาทนับแต่วันท่ีโจทก์ซ้ือท่ีพิพาทจนถึง
วันฟอ้ งเป็นเวลาเกินกวา่ ๑ ปี แตเ่ ม่ือไม่ปรากฏวา่ จ�ำ เลยได้บอกกล่าวเจตนาเปลีย่ นแปลงลกั ษณะการ
ครอบครองท่พี ิพาท จ�ำ เลยจึงไมม่ ีสทิ ธิครอบครองในที่พพิ าทแตอ่ ย่างใด

๒๓๓
๕๐. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๓๒๐/๒๕๓๘ การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๓๕ (๒) สิ่งที่มีค่าภาระติดพันนั้นจะต้องมีอยู่ในขณะตกลง
ทำ�สัญญาให้แก่กัน  จำ�เลยเป็นผู้ไถ่ถอนจำ�นองท่ีพิพาทครั้งแรกและครั้งที่สองก่อนที่โจทก์ให้ท่ีพิพาท
การไถถ่ อนจ�ำ นองทด่ี นิ พพิ าทครง้ั แรกและครง้ั ทส่ี องจงึ มใิ ชส่ ง่ิ ทม่ี คี า่ ภาระตดิ พนั ทเ่ี กย่ี วกบั การใหท้ พ่ี พิ าท
การจำ�นองที่ดินพิพาทครั้งที่สามซึ่งโจทก์ทำ�ข้ึนก่อนท่ีโจทก์ให้ท่ีดินพิพาทแก่จำ�เลย
เป็นการจำ�นองเพื่อประกันหน้ีของห้างหุ้นส่วนจำ�กัด  ศ.  ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำ�เลย
จำ�เลยก็เป็นหุ้นสว่ นผจู้ ัดการตอ้ งรับผิดในหนข้ี องหา้ งโดยไม่จ�ำ กัดจ�ำ นวน ตามประมวลกฎหมายแพง่
และพาณชิ ย์ มาตรา ๑๐๗๗ (๒) ประกอบมาตรา ๑๐๘๗ จงึ ถือไดว้ า่ การจำ�นองครงั้ ท่สี ามเปน็ การ
ประกันหน้ีของจำ�เลย  การท่ีโจทก์ทำ�สัญญายกให้ที่ดินพิพาทให้จำ�เลยขณะที่ยังติดจำ�นองครั้งที่สาม
เปน็ ประกันหน ี้ อันถือวา่ เป็นของจ�ำ เลยผรู้ ับใหโ้ ดยไมม่ กี ารไถถ่ อนจ�ำ นอง ไม่ถือวา่ เป็นการใหส้ ง่ิ ที่มี
คา่ ภาระตดิ พัน ตามมาตรา ๕๓๕ (๒)
๕๑. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท่ี ๕๘๖/๒๕๓๘ การใหห้ รอื ค�ำ มน่ั วา่ จะใหท้ ด่ี นิ จะตอ้ งไดท้ �ำ เปน็
หนังสอื และจดทะเบยี นต่อพนกั งานเจ้าหน้าทจ่ี งึ บังคับกนั ได้ ตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์
มาตรา ๕๒๖ บนั ทึกข้อตกลงระหว่าง ป. กับจำ�เลย ทรี่ ะบวุ า่ จ�ำ เลยซง่ึ เป็นเจา้ ของทีพ่ พิ าทยนิ ยอมยก
ที่ดังกล่าวส่วนหนึ่งให้โจทก์ด้วย แต่มิได้จดทะเบียนจึงไม่มีผลผูกพันจำ�เลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
เอาทพ่ี ิพาทโดยอาศัยบันทกึ ดังกล่าวได้
๕๒. คำ�พิพากษาฎีกาที่  ๖๖๓/๒๕๓๘  ท. ประสงค์จะยกที่ดิน น.ส. ๓ ให้แก่โจทก์
โดยการทำ�นิตกิ รรม และจดทะเบยี นตอ่ พนกั งานเจา้ หนา้ ท ี่ จงึ ต้องบังคบั ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณชิ ย ์ มาตรา ๕๒๔ และประมวลกฎหมายทดี่ ิน มาตรา ๔ ทว ิ คือ ตอ้ งท�ำ เปน็ หนังสอื และ
จดทะเบยี นต่อพนกั งานเจ้าหนา้ ท่ ี แม้ ท. จะยนื่ เรือ่ งราวขอจดทะเบียนสิทธแิ ละนติ ิกรรมประเภทให้
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประกาศตามระเบียบ ท. ก็ตายเสียก่อน เมื่อยัง
ไมไ่ ดจ้ ดทะเบยี นตอ่ พนกั งานเจา้ หนา้ ทก่ี ารใหจ้ งึ ยงั ไมส่ มบรู ณ ์ โจทกจ์ ะฟอ้ งขอใหบ้ งั คบั จ�ำ เลยในฐานะ
ทายาทโดยธรรมและในฐานะผจู้ ัดการมรดกของ ท. จดทะเบยี นการใหแ้ กโ่ จทก์ไม่ได้
๕๓. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๔๘๐/๒๕๓๙  มูลนิธิท่ีเพียงแต่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งยังมิได้
จดทะเบียน  ไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จะรับการให้ได้  ขณะรับการให้มูลนิธิไม่เป็นนิติบุคคล
กลับอ้างว่าเป็นนิติบุคคลย่อมถือว่าเป็นการให้ที่ผู้ให้สำ�คัญผิดในสาระสำ�คัญแห่งนิติกรรม  จึงทำ�ให้
นิตกิ รรมเป็นโมฆะ เม่อื เปน็ โมฆะแลว้ ผ้วู ่าราชการจังหวัดจำ�เลยที่ ๑ และรองผวู้ า่ ราชการจงั หวัด
ท่ี ๒ ซ่งึ เปน็ เจ้าพนักงานผู้ได้รบั เรอื่ งราวตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน ย่อมเพกิ ถอน
การจดทะเบยี นนิติกรรมการใหไ้ ด้ โดยไม่จำ�ตอ้ งให้จำ�เลยที่ ๓ ซงึ่ เป็นผใู้ ห้ไปฟ้องร้องเพื่อเพิกถอน
การให้กอ่ น เมือ่ คำ�ส่ังเพกิ ถอนการให้ชอบแล้ว จำ�เลยที่ ๑ และท่ี ๒ ย่อมออกใบแทนและจดรายการ
เพิกถอนการให้ไว้ในสารบัญโฉนดทด่ี ินได้

๒๓๔
๕๔. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี ๑๔๑๔/๒๕๓๙ ขอ้ ตกลงท่ี ป. จะโอนทดี่ ินใหแ้ ก่โจทกต์ าม
หนังสือสัญญาหย่ามิใช่เป็นการจะให้ท่ีดินแก่โจทก์โดยตรง  แต่เป็นการให้ที่เกิดจากข้อตกลงตาม
สัญญาแบ่งทรัพยส์ ินในการหย่าระหว่าง ป. กับโจทก์ ดงั น้ี ข้อตกลงจะใหท้ ่ดี ินดงั กลา่ วย่อมสมบรู ณ ์
มผี ลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจา้ หน้าที่
๕๕. ค�ำ พิพากษาฎกี าที่ ๔๗๔๔/๒๕๓๙ การทโี่ จทกย์ กทีด่ ินใหจ้ ำ�เลยมกี รรมสิทธ์ริ วม
ตามบันทึกขอ้ ตกลงเรื่องกรรมสทิ ธ์ิรวมในระหว่างสมรส มีผลทำ�ให้ท่ดี นิ ตกเปน็ สินสว่ นตัวของจำ�เลย
ซ่ึงบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างสมรสท่ีสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้  กรณีมิใช่การยกให้ซึ่งจะถอนคืน
การให้ไดต้ อ่ เม่อื มเี หตุเนรคุณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๓๑ โจทกจ์ ึงมีสิทธิ
ทีจ่ ะบอกล้างได้ ตามมาตรา ๑๔๖๙
๕๖. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๖๑๓๖/๒๕๓๙  โจทก์ยกท่ีดินของโจทก์ให้เทศบาลจำ�เลย
เพื่อให้จัดทำ�เป็นสถานีขนส่งทางบก ต่อมาจำ�เลยได้ว่าจ้างให้โจทก์ก่อสร้างอาคารสถานีขนส่งลงใน
ที่ดนิ โจทกไ์ ด้ด�ำ เนนิ การก่อสร้างจนแล้วเสรจ็ ในทส่ี ุดรฐั มนตรวี ่าการกระทรวงคมนาคมและรฐั มนตรี
วา่ การกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกำ�หนดให้สถานที่ทโ่ี จทกก์ ่อสรา้ งเปน็ สถานีขนส่ง หลงั จากนัน้
โจทกไ์ ด้จดทะเบยี นโอนกรรมสิทธทิ์ ี่ดินใหแ้ ก่จ�ำ เลย ดังนี้ ถอื ว่าจ�ำ เลยได้ด�ำ เนินการตามขัน้ ตอนเร่อื ง
การจัดต้ังสถานีขนส่งเรียบร้อยทุกขั้นตอนแล้ว  ส่วนการท่ีกระทรวงคมนาคมประกาศยกเลิกสถานี
ขนส่งผู้โดยสารในเวลาต่อมาน้ัน เปน็ เร่ืองท่ีทางราชการเห็นวา่ สภาพและสภาวะปัจจุบันไมเ่ หมาะสม
ที่จะใช้ที่ดินเป็นสถานีขนส่งอีกต่อไป  ซ่ึงไม่มีผลย้อนหลังให้ที่ดินซ่ึงโจทก์ได้จดทะเบียนโอนเป็น
กรรมสทิ ธิ์แก่จำ�เลยไปแลว้ กลับคืนไปยงั โจทก์อกี
๕๗. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๑๒/๒๕๓๙ การอุทิศถนนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์
ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันทีที่แสดงเจตนาอุทิศ  ไม่จำ�ต้องจดทะเบียน  แม้หนังสืออุทิศ
ระบุว่า  ผู้อุทิศจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อไป  หามีผลทำ�ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อุทิศ
ยังไม่โอนไปไม่ การออกโฉนดที่ดินภายหลังที่ดินตกเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว เป็นการไม่ชอบ
ผู้ที่ซื้อที่ดินตามโฉนดที่ออกโดยมิชอบ แม้จะซื้อจากการขายทอดตลาดของศาล ผู้ซื้อก็ไม่ได้รับ
ความคุ้มครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๐ ผู้รับโอนคนต่อมาก็ไม่ได้
กรรมสิทธเิ์ ช่นเดยี วกัน
๕๘. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๕๗๙๑/๒๕๔๐  การท่ีโจทก์ยกที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ให้
จำ�เลย  เพราะจำ�เลยได้ชำ�ระหนี้เงินกู้และไถ่ถอนจำ�นองที่ดินพิพาทจากธนาคารซึ่งเป็นหนี้ท่ีโจทก์
ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของโจทก์ฝ่ายเดียวนั้น ถือเป็นการให้เพื่อบำ�เหน็จสินจ้างโดยแท้ โจทก์จึง
ถอนคนื การให้ไมไ่ ด ้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา ๕๓๕ (๑)
๕๙. คำ�พิพากษาฎีกาที่  ๕๘๓๒/๒๕๔๑  เดิมท่ีดินโฉนดพิพาทมีจำ�เลยมีช่ือเป็นผู้ถือ
กรรมสิทธิ์  ต่อมาจำ�เลยได้จัดสรรแบ่งขายโดยรังวัดแบ่งแยกออกเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยขายให้แก่
บุคคลทั่วไป โดยจำ�เลยใช้แผนผังโฆษณาขายที่ดินเพื่อแสดงว่าที่ดินที่จัดสรรแบ่งขายมีถนนใหญ่
ตดั ผา่ นกลางทด่ี นิ และมถี นนซอยผา่ นทด่ี นิ ทแ่ี บง่ ขายทกุ แปลงออกสถู่ นนใหญ ่ และผซู้ อ้ื ทด่ี นิ แตล่ ะแปลง

๒๓๕
จะต้องสละที่ดินของตนเองทำ�เป็นถนนซอยของส่วนรวม  ส่วนถนนใหญ่จำ�เลยจะกันที่ดินของจำ�เลย
ไว้ให้ทำ�เป็นถนนใหญ่  จึงเป็นการท่ีจำ�เลยได้อุทิศโฉนดเลขที่พิพาทเป็นทางสาธารณะคือถนนสาย
พิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออก  แม้ภายหลังทางราชการทำ�ถนนเคลื่อนจากแนวถนนเดิม  ก็หามีผล
ท�ำ ให้ถนนสายพพิ าทกลับกลายเปน็ ไมใ่ ชท่ างสาธารณะไม่ ถนนสายพพิ าทยอ่ มตกเป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีที่จำ�เลยได้แสดงเจตนาอุทิศถนนสายพิพาทเป็นทาง
สาธารณประโยชน์โดยปริยาย  โดยไม่จำ�ต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๒๕
๖๐. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าที่ ๒๑๖๓/๒๕๔๒ โจทกท์ ำ�หนังสือและจดทะเบยี นต่อพนักงาน
เจา้ หน้าทใี่ ห้ทดี่ ินมโี ฉนดแกจ่ �ำ เลยท่ี ๑ เมือ่ วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๑๒ โดยมเี งอ่ื นไขเพอื่ ประโยชน์
ใช้ปลูกสรา้ งสถานีต�ำ รวจภูธร ตอ่ มาเมอื่ วันที่ ๒๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๒๒ จำ�เลยทง้ั สองยื่นค�ำ ขอต่อ
เจ้าพนกั งานทีด่ นิ ว่าทดี่ ินดังกลา่ วเป็นท่ีราชพสั ดุ  จงึ ขอเปลย่ี นชอ่ื ผู้ถือกรรมสิทธ์ิเปน็ กระทรวงการคลัง
จ�ำ เลยที่ ๒ เพ่อื ใหเ้ ป็นไปตาม พระราชบัญญัติทรี่ าชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๕ แมจ้ ะระบใุ นสารบญั
การจดทะเบียนว่าสงวนไวเ้ พื่อประโยชนใ์ ชป้ ลูกสรา้ งสถานีตำ�รวจภูธร แตเ่ วลาลว่ งเลยมานบั แต่โจทก์
ให้ท่ีดินถึงวันฟ้องเป็นเวลา  ๒๗  ปีเศษ  ทางราชการยังไม่มีการปลูกสร้างในท่ีดินท่ีโจทก์ยกให้
คร้ันโจทก์ขอคนื ทด่ี ิน จ�ำ เลยท่ี ๑ มหี นงั สือลงวนั ที ่ ๑๒ มกราคม ๒๕๓๙ ตอบโจทกว์ ่า เนอื้ ทีด่ นิ ที่
ทางราชการได้มาไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะสร้างสถานีตำ�รวจได้ ปรากฏว่ามีกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๑๑
(พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญตั ทิ ่รี าชพสั ดฯุ ข้อ ๘ กำ�หนดว่า การโอนกรรมสทิ ธ์ ิ
ท่ีราชพัสดุคืนให้แก่ผู้ยกให้หรือทายาทของผู้ยกให้จะกระทำ�ได้เมื่อ...(๒)  ทางราชการไม่ประสงค์จะ
ใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุน้ันตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้หรือมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของ
ผยู้ กใหภ้ ายในสบิ ปนี ับแตว่ ันท่ียกทีด่ ินน้ันใหแ้ ก่ทางราชการ (๓) ผ้ยู กให้หรือทายาทของผยู้ กใหไ้ ดย้ น่ื
เรื่องราวขอท่ีราชพัสดุคืนภายในสองปีนับแต่วันท่ีทางราชการแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ใช้ประโยชน์
หรอื นบั แตว่ นั ทค่ี รบระยะเวลาตาม (๒) ดังนี้ จงึ ฟังได้วา่ ทางราชการไม่ประสงค์จะใชป้ ระโยชนใ์ นที่
ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงคข์ องโจทก์  อ  กี ท้ังมไิ ด้ใชป้ ระโยชน์ตามวัตถปุ ระสงค์ของโจทก์ภายในสบิ ปี
นับแตว่ ันท่โี จทกใ์ หท้ ี่ดนิ แก่ทางราชการตามกฎกระทรวงข้อ ๘ (๒) และเมอ่ื โจทกใ์ ช้สทิ ธิฟอ้ งคดใี น
วันท่ี ๙ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๓๙ ก็ยังอยู่ในฐานะเวลาสองปนี บั แต่วันท่ีทางราชการแจง้ ความประสงคต์ าม
หนงั สอื ลงวนั ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๓๙ ทจี่ ะไมใ่ ช้ประโยชนต์ ามกฎกระทรวงฯ ขอ้ ๓ จำ�เลยทง้ั สองจงึ
ตอ้ งจดทะเบียนต่อพนักงานเจา้ หน้าท่โี อนกรรมสทิ ธ์ทิ ดี่ นิ พิพาทคนื ใหแ้ ก่โจทก์
๖๑. คำ�พิพากษาฎกี าท ่ี ๓๖๐๐/๒๕๔๒ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบดว้ ยกฎหมายของ ช.
เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกนั ๒ คน คือจำ�เลยและ ล. จ�ำ เลยรบั โอนทพี่ ิพาทของ ช. มาโดยทางมรดก
มิใชร่ บั โอนมาโดยโจทกย์ กให้ โจทกจ์ ึงมิใช่ผู้ใหท้ ีพ่ ิพาทแกจ่ ำ�เลย โจทกจ์ ึงไมม่ ีสทิ ธฟิ อ้ งเรยี กถอนคนื
การให้

๒๓๖
๖๒. ค�ำ พพิ ากษาฎีกาที่ ๑๐๓๕/๒๕๔๓ ไม่ปรากฏว่าขณะทำ�สัญญาเชา่ โจทก์จ�ำ เลยมี
ความสมั พนั ธ์กนั ในฐานะใกล้ชิดอย่างไรท่จี ะเป็นเหตใุ หโ้ จทกต์ ้องยกท่ดี ินใหจ้ �ำ เลยโดยเสน่หา   แตก่ ลับ
ปรากฏว่าจำ�เลยเป็นฝ่ายเข้าครอบครองที่ดินพิพาทปลูกบ้านเรือนอยู่อาศัยมาต้ังแต่ก่อนโจทก์และ
ส. ซื้อที่ดินตามฟ้องจากเจ้าของที่ดินคนเดิม การที่โจทก์ตกลงจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทส่วนที่จำ�เลย
ครอบครองให้จำ�เลยเพ่ือโจทก์จะได้นำ�ที่ดินแปลงใหญ่ซ่ึงรวมทั้งที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดท่ีดิน 
สญั ญาเชา่ ดงั กลา่ วไมใ่ ชส่ ญั ญาใหห้ รอื มคี �ำ มน่ั วา่ จะใหท้ รพั ยส์ นิ อนั จะตอ้ งท�ำ เปน็ หนงั สอื และจดทะเบยี น
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  แต่เป็นสัญญาท่ีมีขึ้นระหว่างโจทก์จำ�เลยเป็นพิเศษ  ซ่ึงเป็นบุคคลสิทธิ
ระหวา่ งคสู่ ญั ญาทใ่ี ชบ้ งั คบั กนั ได ้ ประกอบกบั ในการตคี วามสญั ญาประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์
มาตรา ๓๖๘  บัญญัติว่า  สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์
ถงึ ปกติประเพณีดว้ ย เมื่อโจทกน์ ำ�ท่ีดินแปลงใหญ่ซง่ึ รวมที่ดินพพิ าทไปออกโฉนดทดี่ ินแลว้ โจทก์จึง
มีหนา้ ที่ต้องจดทะเบียนแบ่งแยกและโอนใหแ้ ก่จ�ำ เลยตามสญั ญาเช่า
๖๓. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท ่ี ๑๖๕๖/๒๕๔๓  โจทกย์ กทด่ี นิ พพิ าทใหแ้ กจ่ �ำ เลยท่ี ๑ ตอบแทน
ท่ีจำ�เลยท่ี ๑ ไถถ่ อนจำ�นองท่ีดนิ พพิ าทให้ เป็นการให้โดยมีคา่ ภาระตดิ พนั แมห้ นังสอื สญั ญาให้ท่ีดนิ
ระบุว่าเปน็ การให้โดยเสนห่ าไมม่ ีค่าตอบแทนกต็ าม โจทก์ไม่มสี ิทธถิ อนคนื การใหเ้ พราะเหตปุ ระพฤติ
เนรคุณ
๖๔. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท่ี ๒๖๕๑/๒๕๔๓ โจทก์ยกที่ดนิ พพิ าทให้แก่จ�ำ เลยโดยเสนห่ า
โดยโจทก์ยังมสี ิทธิเก็บกนิ ในทด่ี นิ ท่ียกให้ ถอื เป็นการให้ทรัพย์สนิ แก่จ�ำ เลยโดยมคี า่ ภาระติดพัน โจทก์
จึงไม่มีสิทธิเรียกให้ถอนคืนการให้เพราะเหตุจำ�เลยประพฤติเนรคุณได้ และหากถูกจำ�เลยรบกวน
สทิ ธเิ กบ็ กนิ โจทกย์ อ่ มสามารถใชส้ ทิ ธทิ างศาลบงั คบั จ�ำ เลยไมใ่ หข้ ดั ขวางการใชส้ ทิ ธเิ กบ็ กนิ ของโจทกไ์ ด้
โดยไมจ่ ำ�เปน็ ต้องถอนคนื การให้
๖๕. คำ�พิพากษาฎีกาที่  ๘๓๐๐/๒๕๔๓  เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำ�บันทึกถ้อยคำ�ซึ่งเป็น
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ จำ�เลย และ บ. โดยบุคคลดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ว่าตามที่เจ้าหน้าที่
มาทำ�รังวดั ตรวจสอบเน้ือท่รี ายของโจทก์ จากการรังวัดปรากฏวา่ อาณาเขตทางด้านทศิ ตะวันตกของ
ท่ีดินจำ�เลยได้ทำ�การปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ําเข้าไปในท่ีดินของโจทก์ประมาณ ๖ เมตร
ปรากฏว่าคู่กรณีสามารถตกลงกันได้  โดยจำ�เลยยินยอมแบ่งแยกท่ีดินทางด้านทิศเหนือจากถนน
สาธารณะประมาณ ๔ เมตร ซึ่งวัดเฉียงตรงมายังชายทะเล และที่ดินของจำ�เลยยังคงเหลือระยะ
๖๘ เมตร เท่าเดิม  ในการตกลงครั้งนี้จำ�เลยยินยอมตกลงว่าจะไปทำ�คำ�ขอรังวัดแบ่งแยกให้โจทก์
ภายในเวลา ๑ เดือน นบั จากวันตกลงนี ้ ข้อตกลงในสว่ นโจทก์กบั จำ�เลยเป็นสัญญาซ่ึงผ้เู ป็นคู่สญั ญา
ท้ังสองฝ่ายระงับข้อพิพาทท่ีมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน  โดยจำ�เลยยอมแบ่งที่ดิน
ของจำ�เลยบางส่วนชดใช้ให้แก่โจทก์เนื่องจากจำ�เลยได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ําเข้าไป
ในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่สัญญา
ใหท้ รัพยส์ นิ

๒๓๗
๖๖. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๓๔๒๑/๒๕๔๕  โจทก์เป็นภริยาของ บ.  ซ่ึงเป็นเจ้าของ
ทพ่ี พิ าทโดยมิไดจ้ ดทะเบียนสมรสกัน หลงั จาก บ. ถึงแก่ความตาย โจทกไ์ ด้ครอบครองท่พี พิ าทอยา่ ง
เป็นของตนเองตลอดมา จ�ำ เลยซง่ึ เปน็ พข่ี อง บ. มไิ ดเ้ ขา้ มาเกย่ี วขอ้ งดว้ ยเลย ตอ่ มาโจทกต์ อ้ งการเปน็
ผู้ถือสิทธิครอบครองท่ีพิพาททางทะเบียนให้ถูกต้อง  แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจดำ�เนินการให้ได้
เพราะโจทกก์ บั  บ. มไิ ดจ้ ดทะเบยี นสมรสกนั จงึ แนะน�ำ ใหโ้ จทกไ์ ปตามจ�ำ เลยมาขอรบั โอนมรดกทพ่ี พิ าท
ของ บ.  แล้วให้จำ�เลยโอนท่ีพิพาทแก่โจทก์ภายหลังซ่ึงเป็นเร่ืองไม่ถูกต้อง  เพราะขณะน้ันท่ีพิพาท
ไมเ่ ปน็ ทรพั ยม์ รดกของ บ. แล้ว การที่จำ�เลยทำ�หนังสือว่าจะให้ที่พิพาทแก่โจทก์ก่อนไปจดทะเบียน
โอนมรดกจึงมิใช่สัญญาจะให้ที่ดิน  แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่ออย่างหนึ่งที่ไม่ต้องทำ�เป็นหนังสือและ
จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๒๖ ดังนั้น
ท่ีจำ�เลยยื่นคำ�ร้องขอรับมรดกท่ีพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นการดำ�เนินการตามสัญญาท่ีทำ�ไว้
กับโจทก์น่นั เอง จ�ำ เลยต้องโอนทีพ่ ิพาทใหแ้ กโ่ จทกต์ ามสัญญา
๖๗. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๕๑๒๖/๒๕๔๕  โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำ�เลยทั้งสองในการ
สมรส  ไม่ว่าจำ�เลยท้ังสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่  โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ มาตรา ๕๓๕ (๔)
๖๘. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท่ี ๘๑๘/๒๕๔๖ โจทกจ์ ดทะเบยี นใหท้ ด่ี นิ แกจ่ �ำ เลยซง่ึ เปน็ ภรรยา
ระหว่างสมรส ซงึ่ ตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ มาตรา ๑๔๖๙ ได้บญั ญตั ถิ ึงการบอกล้าง
สัญญาที่เกยี่ วกับทรพั ย์สินทสี่ ามภี รรยาท�ำ ไว้ต่อกันในช่วงเวลาดงั กล่าวไว้โดยเฉพาะแลว้ ดังน้นั เมื่อ
โจทกต์ อ้ งการบอกล้างสัญญาการใหท้ ด่ี ินต่อจ�ำ เลย จึงต้องน�ำ บทบัญญัติมาตรา ๑๔๖๙ มาใช้บังคบั
หาใชน่ ำ�บทบัญญตั ิมาตรา ๕๓๕ อนั เป็นบทบัญญตั ิทั่วไปมาใชบ้ งั คบั ไม่
๖๙. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๔๗๒๙/๒๕๔๗ การที่จำ�เลยตกลงว่าจำ�เลยจะไถ่ถอนที่ดิน
ดังกล่าวแล้วคืนโฉนดนั้นแก่โจทก์ท้ังสี่ภายใน  ๖  เดือน  ไม่เช่นนั้นจำ�เลยก็จะต้องนำ�เงินจำ�นวน
๕๐๐,๐๐๐.-  บาท  มอบแกโ่ จทกท์ ง้ั สเ่ี พอ่ื น�ำ เงนิ ไปไถถ่ อนจ�ำ นอง  ขอ้ ตกลงดงั กลา่ วเปน็ ค�ำ มน่ั วา่ จะให้
เมื่อมิได้ทำ�เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี  จึงไม่มีผลผูกพันจำ�เลยตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๒๖ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำ�เลยส่งมอบเงินจำ�นวนดังกล่าว
แ ล ะ เรื่ อ ง อำ � น า จ ฟ้ อ ง เ ป็ น ปั ญ ห า ข้ อ ก ฎ ห ม า ย อั น เ กี่ ย ว ด้ ว ย ค ว า ม ส ง บ เรี ย บ ร้ อ ย ข อ ง ป ร ะ ช า ช น
ศาลอุทธรณ์มอี �ำ นาจยกขน้ึ วินจิ ฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวธิ พี จิ ารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๕)
ประกอบมาตรา ๒๔๖
๗๐. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๗๘๖๔/๒๕๔๗  จำ�เลยตกลงยกที่ดินให้แก่โจทก์เพ่ือระงับ
ข้อพิพาทเก่ียวกับท่ีดินระหว่างโจทก์และจำ�เลย  จึงมิใช่เป็นการให้โดยเสน่หาท่ีจะต้องจดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าท่ี แตเ่ ป็นสญั ญาประนปี ระนอมยอมความ เมือ่ มีหลักฐานเปน็ หนังสอื ลงลายพิมพ ์
น้วิ มือจำ�เลย และมพี ยานลงลายมอื ชอ่ื รับรองไวด้ ้วย ๒ คน โจทก์ยอ่ มฟอ้ งรอ้ งให้บังคบั คดจี ำ�เลยได้

๒๓๘
๗๑. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๔๕๖/๒๕๔๘ แม้ตามหนังสือแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. ๓
จะระบชุ ัดเจนวา่ โจทก์และ ป. ให้ทด่ี ินตาม น.ส. ๓ ดังกลา่ วแก่จำ�เลยที่ ๑ มเี นอ้ื ท่ี ๓ งาน ๖๐ ตารางวา
แตเ่ มอ่ื จำ�เลยที่ ๑ เขา้ ครอบครองท�ำ ประโยชน์ในทดี่ ินพพิ าทและที่ไดร้ บั การให้ตลอดมา โดยโจทก์
มิไดโ้ ตแ้ ย้งคดั ค้าน ท้ังตอนท่จี �ำ เลยที่ ๑ นำ�เจ้าพนกั งานที่ดินไปรังวัดเพอื่ ออกโฉนดท่ีดินโจทกก์ ็ไป
ระวังและรับรองแนวเขตในฐานะเจ้าของท่ีดินข้างเคียงให้  แม้ขณะนั้นในการรังวัดออกโฉนดที่ดิน
ของจ�ำ เลยท่ี ๑ โจทก์เห็นว่าถูกตอ้ งแล้ว ไม่มกี ารรกุ ล้าํ แนวเขตกันแตอ่ ย่างใด เท่ากับโจทกย์ อมรับวา่
จ�ำ เลยท่ี ๑ เปน็ ผู้ครอบครองและท�ำ ประโยชน์ในที่ดนิ สว่ นทีไ่ ดร้ ับการให้ และรงั วัดออกโฉนดในสว่ นท่ี
ครอบครองทำ�ประโยชน ์ จึงเป็นการใหท้ ่ีดนิ ด้วยการสง่ มอบการครอบครองท่ีดินแกจ่ ำ�เลยที่ ๑ โดยมี
เจตนาใหต้ ามสว่ นทไ่ี ดร้ บั มอบการครอบครองยง่ิ กวา่ ทร่ี ะบไุ วใ้ นหนงั สอื สญั ญาแบง่ ใหท้ ด่ี นิ และ น.ส.๓
ดงั น้นั เม่อื มกี ารรังวัดออกโฉนดทีด่ นิ ได้เนื้อที่ ๑ ไร่ ๙๙ ตารางวา กรณตี อ้ งถอื ว่าโจทกแ์ ละ ป. ให้ท่ีดิน
แกจ่ �ำ เลยท่ี ๑ มเี น้ือที่ดงั กลา่ ว หาใชเ่ น้อื ท่ี ๓ งาน ๖๐ ตารางวา ตามทร่ี ะบไุ ว้ในหนงั สอื สัญญาแบ่งให้
ท่ดี นิ และ น.ส. ๓ ไม่
๗๒. ค�ำ พพิ ากษาฎีกาที่ ๒๓๐๔/๒๕๔๘ การที่จ�ำ เลยท่ี ๒ ตกลงซ้อื ทดี่ นิ พพิ าทจาก
จ�ำ เลยที่ ๑ แตก่ ลบั ปล่อยให้จ�ำ เลยที่ ๑ ครอบครองที่ดนิ พิพาทตลอดมาโดยอา้ งเหตวุ ่าตนเหน็ ว่ายงั มี
การฟอ้ งร้องกันอย่ยู ่อมเป็นการแสดงวา่ จ�ำ เลยที่ ๒ ร้อู ย่กู อ่ นแล้ววา่ จ�ำ เลยที่ ๑ กับโจทก์มปี ัญหาเร่ือง
ทดี่ นิ พิพาทกันแล้วยงั ซ้ือ เช่นน้ี น่าจะเป็นการซื้อไว้โดยไม่สุจรติ ท้งั ปรากฏขอ้ เทจ็ จริงว่าจ�ำ เลยท่ี ๒
ยังอาศัยอยู่กับบิดามารดา และไม่มีเหตุผลใดๆ ในการซื้อที่ดินพิพาทมาทิ้งไว้โดยไม่เข้าทำ�ประโยชน์
พฤติการณ์ในการโอนขายท่ีดินพิพาทระหว่างจำ�เลยท้ังสองเป็นการกระทำ�ไปโดยรู้ว่าโจทก์ผู้ให้อยู่ใน
ฐานะเป็นเจ้าหนแ้ี ละเปน็ ฝ่ายตอ้ งเสยี เปรยี บ จงึ เป็นการสมคบกนั ฉ้อฉลโจทก์ โจทกจ์ ึงมสี ทิ ธขิ อให้
เพิกถอนนิตกิ รรมการโอนระหว่างจำ�เลยท่ี ๑ และท่ี ๒ ได้
๗๓. ค�ำ พิพากษาฎีกาที่ ๔๓๗๗/๒๕๔๙ ช.  ยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแลว้
แม้จะระบุว่า ช. จะมาจดทะเบียนให้เสร็จภายใน ๓ วัน แต่เป็นการยกให้เป็นทางสาธารณะ
จงึ ตกเปน็ สาธารณสมบตั ขิ องแผน่ ดนิ โดยสมบรู ณต์ ามกฎหมายทนั ทท่ี ่ี ช. ไดแ้ สดงเจตนา โดยไมจ่ �ำ เปน็
ต้องจดทะเบยี นโอนสิทธกิ ารให้ตอ่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๕๒๕ อกี ทงั้ การยกท่ีดินให้เปน็ ทางสาธารณะ ไมต่ ้องมนี ายอ�ำ เภอหรอื นายกเทศมนตรีในท้องทแ่ี สดง
เจตนารับ
๗๔. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๑๐๒๔๓/๒๕๕๐  ท่ีดินพิพาทเป็นสินสมรส  ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา ๑๔๗๔ (๑) ระหว่างโจทกก์ ับ ฉ. ซึ่งถือว่าโจทกเ์ ปน็ เจา้ ของรวม
อยู่ด้วย  และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องขอให้ลงช่ือตนเป็นเจ้าของรวมในโฉนดท่ีดินพิพาทได้  ตามมาตรา 
๑๔๗๕  แต่ถึงแมโ้ จทก์จะมไิ ดร้ อ้ งขอดังกล่าวแตก่ ารจัดการเกยี่ วกบั ท่ีดินพพิ าท ตามมาตรา ๑๔๗๖
(๑) ถงึ (๘) ต้องจัดการรว่ มกันหรอื ได้รับความยินยอมจากอกี ฝา่ ยหน่ึง เม่ือ ฉ. โอนท่ดี ินพิพาทให้แก่
จำ�เลยโดยโจทกใ์ หค้ วามยนิ ยอมถอื ได้วา่ โจทก์เป็นผูใ้ ห้ ตามมาตรา ๕๒๑ ด้วย โจทกจ์ ึงมอี �ำ นาจฟ้อง
ถอนคนื การให้ได้

๒๓๙
โจทก์และ ฉ. ยกท่ดี ินพพิ าทให้แกจ่ �ำ เลยโดยเสนห่ าเมอ่ื พ.ศ. ๒๕๒๘ ตอ่ มา พ.ศ.๒๕๓๖
ฉ. ถงึ แกค่ วามตายแล้ว แตเ่ หตุแหง่ การประพฤตเิ นรคุณเกิดขนึ้ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๔๓ ภายหลังจากที่ ฉ.
ถงึ แกค่ วามตายแล้ว และจ�ำ เลยประพฤติเนรคณุ เฉพาะตอ่ โจทกเ์ ท่าน้ัน โจทกจ์ งึ มสี ิทธถิ อนคนื การให้
เพราะเหตผุ ู้รบั ประพฤติเนรคณุ ได้เฉพาะในส่วนของตน
๗๕. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๓๐๑/๒๕๕๑  เหตุท่ีโจทก์ซ่ึงเป็นผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้
เพราะเหตุที่จำ�เลยซึ่งเป็นผู้รับประพฤติเนรคุณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๕๓๑ (๓) น้ัน จะตอ้ งปรากฏขอ้ เทจ็ จริงวา่ ผใู้ ห้มคี วามจ�ำ เปน็ เพราะขาดแคลนปจั จัยในการดำ�รงชวี ิต
แล้วผู้ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้รับและผู้รับอยู่ในฐานะท่ีจะให้ได้โดยไม่เดือดร้อน  แล้วผู้รับ
ปฏเิ สธทจ่ี ะใหน้ น้ั การทจ่ี �ำ เลยจะขายทด่ี นิ ทโ่ี จทกย์ กใหแ้ ตถ่ กู โจทกห์ า้ มปราม จ�ำ เลยจงึ ไปอยเู่ สยี ทอ่ี น่ื
จนโจทก์ต้องไปอาศัยกับน้องสาวน้ัน  จะฟังว่าโจทก์ได้ขอความช่วยเหลือจากจำ�เลยและจำ�เลยอยู่ใน
ฐานะที่จะให้ความช่วยเหลือโจทก์ได้โดยไม่เดือดร้อนแล้วจำ�เลยไม่ช่วยเหลือหาได้ไม่ ข้อเท็จจริง
รับฟงั ไม่ได้วา่ จำ�เลยประพฤตเิ นรคุณโจทก์ตามฟ้อง
คู่สมรสที่ไม่มีช่ือในโฉนดที่ดินให้ความยินยอมแก่คู่สมรสท่ีมีชื่อในโฉนดที่ดินในการยก
ท่ีดินให้แก่ผู้อื่น  ถือว่าคู่สมรสฝ่ายท่ีให้ความยินยอมเป็นผู้ให้ด้วย  จึงมีอำ�นาจฟ้องถอนคืนการให้ได้
(เฉพาะส่วนทตี่ นยกให้)
๗๖. คำ�พิพากษาฎีกาท่ี  ๔๔๗๕/๒๕๕๑  โจทก์กับจำ�เลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา
เดียวกัน  โจทก์จดทะเบียนโอนท่ีดินให้จำ�เลยเป็นการตอบแทนท่ีจำ�เลยไถ่ถอนจำ�นองท่ีดินพิพาทท่ี
โจทกเ์ ปน็ หนธ้ี นาคารอยู่ อนั เป็นการใหส้ ิ่งท่มี คี ่าภาระตดิ พนั โจทก์จงึ ไม่มสี ิทธถิ อนคืนการใหเ้ พราะ
เหตปุ ระพฤตเิ นรคณุ
๗๗. ค�ำ พพิ ากษาฎกี าท ่ี ๙๕๔๓/๒๕๕๑ โจทกท์ ่ี ๒ ซอ้ื ทด่ี นิ พพิ าทจากผอู้ น่ื แลว้ ยกใหว้ ดั
โจทก์ที่ ๑ ขณะที่โจทก์ที่ ๑ ยังไม่เป็นนิติบุคคล ต่อมาเมื่อโจทก์ที่ ๑ ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัด
เมอ่ื วนั ที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๓ โดยมีโจทกท์ ี่ ๒ ซง่ึ ไดร้ บั การแต่งต้งั ให้เป็นเจา้ อาวาส โจทกท์ ี่ ๒ กไ็ ด้
แสดงเจตนายืนยันว่าได้มีการยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ ๑ ตลอดมา โดยมีการทำ�บันทึกถ้อยคำ�ว่า
โจทก์ที่ ๑ มีความประสงค์ขอรับโอนที่ดินพิพาทจากโจทกท์ ี่ ๒ นับแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๓
ถือได้ว่ามีเจตนาอุทิศท่ีดินพิพาทเพื่อใช้เป็นท่ีสร้างวัดท่ีดินพิพาท  ย่อมตกเป็นของแผ่นดินสำ�หรับ
ใช้เป็นที่สำ�หรับสร้างวัดโจทก์ที่ ๑ ตามเจตนาของผู้อุทิศทันที โดยไม่จำ�เป็นต้องทำ�เป็นหนังสือและ
จดทะเบียนการยกใหต้ ่อพนกั งานเจ้าหนา้ ท ่ี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย ์ มาตรา ๕๒๕
๗๘. คำ�พิพากษาฎกี าที ่ ๑๐๓๔๔/๒๕๕๑  ขณะท่ี ท. สามีโจทกย์ ังมชี ีวติ อยู่ โจทก์กับ
ท. แบง่ ทด่ี นิ ส�ำ หรบั ปลกู บา้ น ทน่ี าและทส่ี วนใหแ้ กบ่ ตุ รทกุ คนรวมกนั ทง้ั จ�ำ เลยดว้ ย โดยจ�ำ เลยไดท้ ด่ี นิ
พิพาทท้ังสองแปลง ในการใหท้ ีด่ นิ ดงั กลา่ วมีข้อตกลงว่าโจทกก์ ับ ท. มีสทิ ธิเก็บกินในทดี่ นิ ถ้าเปน็
ที่นาโจทก์กับ ท. มีสิทธิเก็บค่าเช่าที่นา ถ้าเป็นที่สวนผลไม้โจทก์กับ ท. มีสิทธินำ�ผลไม้ไปขายได้
หรือหากบุตรซึ่งเป็นผู้รับนำ�ผลไม้ไปขายก็ต้องนำ�เงินมาให้โจทก์กับ ท.  ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์
ยกทดี่ นิ พพิ าทท้ังสองแปลงให้จำ�เลย โดยโจทก์ยังมีสิทธิเกบ็ กินผลประโยชน์ในทด่ี นิ ดังกล่าว ถือไดว้ ่า

๒๔๐

เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน  โจทก์จึงไม่มีอำ�นาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำ�เลย
ประพฤติเนรคณุ ได้ ตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ มาตรา ๕๓๕ (๒)
๗๙. คำ�พิพากษาฎีกาที่  ๖๐๗/๒๕๕๒  จำ�เลยแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดิน
ที่มีหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ตีใช้หนี้และส่งมอบท่ีดินพิพาทแก่โจทก์โดยมิได้ทำ�เป็นหนังสือและ
จดทะเบยี นตอ่ พนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี ยอ่ มไมช่ อบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๒๕
ประกอบด้วยมาตรา  ๔๕๖  วรรคหนึ่ง  แต่ท่ีดินพิพาทมีแต่สิทธิครอบครองจึงถือได้ว่าจำ�เลยสละ
เจตนาครอบครองไมย่ ึดถอื ท่ีดนิ พพิ าทตอ่ ไป เมอื่ โจทก์เข้าครอบครองทำ�ประโยชนใ์ นทด่ี ินพิพาทแล้ว
โจทก์ยอ่ มได้สิทธคิ รอบครอง ตามมาตรา ๑๓๗๗ และ ๑๓๗๘ อันเปน็ การได้สทิ ธคิ รอบครองดว้ ย
การครอบครองตามกฎหมาย  มใิ ชไ่ ดม้ าตามสญั ญายกให ้ โจทกจ์ งึ ไมม่ สี ทิ ธทิ จ่ี ะฟอ้ งบงั คบั ใหจ้ �ำ เลยไป
จดทะเบยี นโอนที่ดนิ พิพาทเป็นช่อื โจทก์
๘๐. คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๓๗๐๕/๒๕๕๓ แม้การที่ น. ยกบ้านพิพาทให้โจทก์
จะไมส่ มบรู ณ์ เพราะมไิ ดท้ �ำ เปน็ หนงั สอื และจดทะเบยี นตอ่ พนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี ตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๒๕ แตต่ ่อมาโจทก์ไดร้ ับการจดทะเบยี นยกใหท้ ี่ดนิ โฉนดเลขท่ี ๑๒๐๕๗
บ้านพิพาทปลูกอยู่  ย่อมทำ�ให้บ้านพิพาทตกเป็นส่วนควบของท่ีดินโฉนดเลขที่  ๑๒๐๕๗  ทันที
ซึ่งบ้านพิพาทปลูกอยู่ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินจึงมีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท ตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา ๑๔๔ ส่วนการท่ี น. ทำ�พินัยกรรมเอกสารฝา่ ยเมอื งยกบา้ นพิพาทให้จ�ำ เลย
ไว้กอ่ น ต่อมา น. ยกบ้านพพิ าทให้โจทก์ระหวา่ งท่ี น. ยงั มีชวี ิตอยู่ จงึ ท�ำ ใหข้ อ้ ก�ำ หนดในพินัยกรรม
เอกสารฝ่ายเมืองเป็นอันเพิกถอนไปเพราะบ้านพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไปก่อนท่ีข้อกำ�หนด
ให้พนิ ยั กรรมเอกสารฝา่ ยเมืองจะมีผลใชบ้ ังคบั บ้านพิพาทจงึ เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์
l ค่าธรรมเนียม
๑. การจดทะเบยี นสทิ ธแิ ละนติ กิ รรมประเภทใหเ้ ปน็ การจดทะเบยี นประเภทมที นุ ทรพั ย์
เรยี กเก็บค่าธรรมเนยี มจดทะเบยี นร้อยละ ๒ ของราคาประเมนิ ทนุ ทรพั ย์ แต่ถา้ เปน็ การให้ระหวา่ ง
ผู้บพุ การีกบั ผ้สู บื สนั ดาน หรือระหวา่ งคสู่ มรส เรียกเก็บคา่ ธรรมเนยี มจดทะเบียนร้อยละ ๐.๕ ของ
ราคาประเมินทนุ ทรพั ย์ ตามกฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๗ (พ.ศ.๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญตั ิ
ใหใ้ ช้ประมวลกฎหมายทดี่ นิ พ.ศ. ๒๔๙๗ ขอ้ ๒ (๗) (ง)
๒. การจดทะเบียนประเภทคำ�มั่นจะให้เป็นการจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรัพย์เรียก
เกบ็ ค่าธรรมเนยี มแปลงละ ๕๐ บาท ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความใน
พระราชบัญญัตใิ หใ้ ชป้ ระมวลกฎหมายทด่ี นิ พ.ศ. ๒๔๙๗ ขอ้ ๒ (๗) (ฑ)
๓. การให้ระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดานถือสายเลือดเป็นหลัก  ไม่จำ�เป็นว่าบิดา
จะต้องสมรสโดยชอบกับมารดาของบุตร  บิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตรที่เกิดมาโดย
บิดารบั รองโดยพฤติการณร์ บั ให้ทดี่ นิ จากบดิ า เรยี กเก็บคา่ ธรรมเนียมรอ้ ยละ ๐.๕ ของราคาประเมิน
ทุนทรัพย์ แต่การให้ระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม เรียกเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละ ๒

๒๔๑
ของราคาประเมินทนุ ทรพั ย ์ (หนังสือกรมที่ดิน ดว่ นมาก ท ี่ มท ๐๗๐๘/ว ๑๙๔๙๘ ลงวันท่ ี ๑๔
สงิ หาคม ๒๕๒๘)
๔. ค่าธรรมเนียมถอนคนื การให้ เรยี กเกบ็ ร้อยละ ๒ หรือรอ้ ยละ ๐.๕ จากราคาประเมิน
ทนุ ทรพั ย ์ แลว้ แตก่ รณวี า่ เปน็ การถอนคนื การใหร้ ะหวา่ งผใู้ ด โดยพจิ ารณาขอ้ เทจ็ จรงิ จากค�ำ พพิ ากษา
เชน่ ตามค�ำ พพิ ากษาเปน็ การถอนคนื การใหร้ ะหวา่ งผบู้ พุ การกี บั ผสู้ บื สนั ดาน กเ็ รยี กเกบ็ คา่ ธรรมเนยี ม
รอ้ ยละ ๐.๕ จากราคาประเมินทุนทรัพย์ตามกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัตใิ ห้ใชป้ ระมวลกฎหมายท่ีดนิ พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๒ (๗) (ง) หรอื หากเป็นการถอนคนื
การใหร้ ะหวา่ งผรู้ บั บตุ รบญุ ธรรมกบั บตุ รบญุ ธรรม กเ็ รยี กเกบ็ คา่ ธรรมเนยี มรอ้ ยละ ๒ ตามกฎกระทรวง
ฉบับท่ี ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑)ฯ ขอ้ ๒ (๗) (ก) เป็นต้น
๕. ผู้รับมรดกหรือผู้รับให้หลายคน  ทายาทหรือผู้รับให้บางคนไม่ได้เป็นบุพการีหรือ
ผู้สบื สันดานหรอื เจ้าของมรดกหรือผูใ้ ห้ หรอื ในทางกลบั กนั เมอื่ จดทะเบียนในวาระเดยี วกันกใ็ หเ้ รียก
เก็บค่าธรรมเนียมโดยแยกเก็บตามส่วน (หนังสือกรมที่ดิน ด่วนมาก ที่ มท ๐๗๐๘/ว ๑๙๔๙๘
ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๘)
๖. ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีเอกชนบริจาคที่ดินให้แก่
ทางราชการเพ่ือสร้างโรงพยาบาลอำ�เภอ  สถานีอนามัย  หรือสำ�นักงานผดุงครรภ์  ซึ่งทางราชการ
จะนำ�ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้นั้น  หากไม่มีค่าตอบแทนและเงื่อนไขอย่างอื่นนอกเหนือไปจากนี้
ยังอยู่ในความหมายของคำ�ว่าบริจาคตามความในมาตรา  ๑๐๓  ทวิ  แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน
ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน (หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๖๑๒/๑/๑๗๐๔๐ ลงวันที่
๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๓ เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๖๑๒/๑/ว ๑๗๒๑๙ ลงวันที่ ๑๕
สิงหาคม ๒๕๒๓)
๗. กรณใี ห้สิง่ ปลูกสรา้ งแกก่ ระทรวงการคลัง โดยกระทรวงการคลงั รบั ให้สิ่งปลกู สรา้ ง
ดังกล่าวแล้ว  จะต้องให้สิทธิการเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้ให้  เช่นน้ีมิใช่เป็นการบริจาคตาม
ความหมายในมาตรา ๑๐๓ ทวิ แหง่ ประมวลกฎหมายทดี่ ิน ท่จี ะได้รับยกเวน้ ค่าธรรมเนยี มในการ
จดทะเบียน (หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๖๑๒/๑/๑๗๐๔๒ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๒๓
เวียนโดยหนังสือกรมท่ีดิน ท่ี มท ๐๖๑๒/๑/ว ๑๗๒๒๐ ลงวนั ที่ ๑๕ สงิ หาคม ๒๕๒๓)
๘. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่มูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับ
การประกาศใหเ้ ปน็ องคก์ ารกศุ ลสาธารณะ ไดร้ บั ลดหยอ่ นคา่ ธรรมเนยี มจดทะเบยี นโอนอสงั หารมิ ทรพั ย์
เหลอื ร้อยละ ๐.๐๑ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เร่ือง การเรยี กเกบ็ ค่าธรรมเนียมจดทะเบยี น
สิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน  กรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่มูลนิธิหรือสมาคม
ตามหลักเกณฑ์ทีค่ ณะรัฐมนตรีก�ำ หนด ประกาศ ณ วันท่ี ๒๒ ตลุ าคม พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นการลดให้
เฉพาะกับกรณีมูลนิธิหรือสมาคมท่ีได้รับการประกาศเป็นองค์การกุศลสาธารณะตามประกาศ
กระทรวงการคลังเปน็ ผู้รับให้ และตอ้ งเปน็ กรณีรบั ใหไ้ วเ้ พ่ือใช้ประโยชน์ในการกุศลสาธารณะเท่านนั้
ทง้ั นใ้ี นสว่ นทไ่ี ดม้ าเมอ่ื รวมกบั ทด่ี นิ ทม่ี อี ยกู่ อ่ นแลว้ ไมเ่ กนิ ๒๕ ไร่ (หนงั สอื กรมทด่ี นิ ท่ี มท ๐๕๑๕/ว
๓๕๔๓๕ ลงวนั ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๕)


Click to View FlipBook Version