The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติท่านอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-03-06 19:27:08

ประวัติท่านอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม

ประวัติท่านอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม

Keywords: ประวัติท่านอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม

ประวัติท่านพระอาจารย์ต้ือ อจลธมฺโม

ISBN 978-616-7870-23-6

พิมพ์ครัง้ ท่ี ๑ มิถนุ ายน ๒๕๕๘

จ�ำนวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม

จัดทำ� โดย มูลนิธิพระสงบ มนสสฺ นฺโต
เลขที่ ๕ หมู่ ๓ บา้ นหนองแหน ต.หนองกวาง
อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ๗๐๑๒๐

จดั พิมพ์ท ี่ บรษิ ัท สยามพร้ินท ์ จำ� กดั
๑๑๕/๖๙ ซอยรามอินทรา ๔๐ แขวงนวลจนั ทร์ เขตบงึ กมุ่
กรงุ เทพมหานคร ๑๐๒๓๐
โทรศัพท์ ๐๒-๕๐๙ ๐๐๖๘ โทรสาร ๐๒-๕๐๙ ๐๐๖๗

หนงั สือเล่มนี้จดั พมิ พเ์ พือ่ เผยแผ่เป็นธรรมทาน หา้ มคัดลอก ตดั ตอน หรอื น�ำไปพมิ พจ์ �ำหน่าย
หากทา่ นใดประสงค์จะพิมพแ์ จกเปน็ ธรรมทาน โปรดติดต่อ มลู นธิ พิ ระสงบ มนสฺสนโฺ ต

www.sa–ngob.com

ค�ำน�ำ

ท่านพระอาจารยต์ ื้อ อจลธมฺโม หรอื หลวงป่ตู อ้ื อจลธมฺโม ท่านเป็นพระธุดงคกรรมฐาน
ศษิ ย์อาวโุ สสำ� คญั องค์หนึง่ ของ หลวงปู่มั่น ภูรทิ ตตฺ มหาเถร ท่ีดำ� เนินตามรอยองคพ์ ระบรมศาสดา
และพ่อแมค่ รูอาจารยไ์ ด้อย่างสมบูรณ์งดงามทสี่ ุด ท่านเป็นสังฆรัตนะและเป็นสรณะองค์หน่ึงในยคุ
กึ่งพทุ ธกาลทไ่ี ด้รบั การเคารพกราบไหว้เทิดทนู บูชาอยา่ งกวา้ งขวางจากพุทธศาสนิกชน
หลวงป่ตู อ้ื ท่านเปน็ เนติสงฆ์ที่เขม้ งวดกวดขนั รักษาพระธรรมวนิ ัยและธุดงควตั รด้วยความ
เครง่ ครัดย่ิง การปฏบิ ตั ธิ รรมของทา่ นก็เปน็ ไปอย่างอุกฤษฏ์ เปน็ ไปตามหลักไตรสกิ ขา หลักสมถะ
– วปิ ัสสนากรรมฐาน ฯลฯ ดว้ ยท่านมีหลวงป่มู น่ั เปน็ พอ่ แมค่ รูอาจารยค์ อยเมตตาชี้น�ำอบรมอย่าง
ใกลช้ ดิ ประดุจลกู หลาน ดว้ ยทา่ นมคี วามพากเพยี รเป็นเลศิ และด้วยสาวกบารมญี าณที่ท่านสงั่ สม
มาดว้ ยดแี ต่อดีตชาติ ท่านจึงได้บรรลอุ รยิ ธรรมขั้นสูงสุด เปน็ พระอรหนั ตป์ ระเภทปฏสิ ัมภทิ าญาณ
ถึงพรอ้ มด้วยอภญิ ญา ๖ มคี วามเปน็ เลิศดา้ นฤทธิ์ โดยหลวงตาพระมหาบัวได้กลา่ วยกยอ่ งทา่ น
เปน็ “เพชรนำ�้ หนงึ่ ” และเปน็ หนง่ึ ใน “โพธธ์ิ รรม” ของหลวงปมู่ นั่
หลวงปู่ตื้อ ท่านเป็นพระมหาเถระทม่ี ชี อื่ เสียงกิตตศิ ัพท์อนั เลอื่ งลอื ถึงคณุ ธรรม ท้งั ดา้ นฤทธิ์
และด้านเทศนาธรรม ท่านมีนิสัยเด็ดเดีย่ วองอาจกล้าหาญ กิริยาภายนอกแลดไู ม่งาม ชอบพูดจา
โผงผางเสยี งดงั ตรงไปตรงมา ปฏปิ ทาของท่านก็แปลก ไม่เหมือนใครและนา่ ประหลาดใจ วีรกรรม
ของทา่ นจงึ มมี ากมาย จนเป็นทเ่ี ลอื่ งลือในวงกรรมฐาน แต่หลวงปู่มน่ั กลับไวว้ างใจท่านมากและ
มกั มอบงานส�ำคญั ๆ ใหท้ า่ นเสมอๆ ทั้งมักพูดกับสานุศษิ ยท์ ง้ั หลายวา่ “ใครอยา่ ไปดูถูกทา่ นตือ้ นะ
ท่านตอื้ เป็นพระเถระ”
หลวงปูต่ ื้อ ทา่ นเป็นสหธรรมกิ กบั หลวงปแู่ หวน สุจิณโฺ ณ ซ่ึงต่างกม็ พี อ่ แม่ครอู าจารย์
องค์เดียวกัน คอื หลวงป่มู ัน่ และคราวญัตตเิ ปน็ ธรรมยตุ ตา่ งก็มอี ปุ ัชฌายอ์ าจารยอ์ งค์เดยี วกัน คือ
ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ท่านท้ังสองจึงได้ออกธุดงค์เส่ียงเป็น
เส่ียงตายรว่ มกันตง้ั แตว่ ยั หนมุ่ จนไดร้ ับการยอมรบั วา่ เป็นคู่สหธรรมิกที่เดนิ ธดุ งคท์ างไกลมากทสี่ ดุ
หลวงปู่ต้อื ท่านเปน็ พระอรหันตท์ ีเ่ ลิศดว้ ยปาฏิหาริย์ ๓ นอกจากท่านมีฤทธเิ์ ป็นเลิศแล้ว
ท่านยังมีปัญญาเปน็ เลศิ ซ่งึ สัมผสั ได้จากการเทศนาและการตอบปญั หาธรรม ธรรมอันเปน็ ของจรงิ
ถูกท่านน�ำมาแสดงตีแผ่อย่างเปิดเผย เข้มข้น ชนิดทางโลกคาดไม่ถึงและส่วนใหญ่ก็รับไม่ได้ แต่
ทางธรรมถือว่าเป็น “ยอดธรรม” อันเป็นคุณสมบัติพิเศษประจ�ำองค์ท่าน ยากจะหาใครมา
ลอกเลียนแบบได้ ทา่ นชอบแสดงธรรม แมใ้ กล้มรณกาล ท่านยังองอาจกล้าหาญ ไม่หวนั่ ไหว
พรั่นพรงึ ตอ่ ความตาย โดยทา่ นไดแ้ สดงธรรมจนวนิ าทีสดุ ทา้ ยกอ่ นจะส้นิ ลมหายใจ สมกับทา่ นเป็น
ศากยบุตรพุทธชิโนรสท่ีเปล่งบันลือสีหนาทแสดงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ได้อย่างสมบูรณ์หมดจดงดงาม
ท้ังในเบอื้ งตน้ ในทา่ มกลาง และในทส่ี ดุ สมเกียรตยิ ศ สมศกั ดศ์ิ รีแห่งสกุลพระธุดงคกรรมฐาน

มลู นิธพิ ระสงบ มนสฺสนฺโต
มิถนุ ายน ๒๕๕๘





ภาวนาบนเสน้ ทางช้างศึก 31
ภเู ขาควาย 32
ได้ครผู ึ้งมาสอนกรรมฐาน 33
เทวดามาบอกทซ่ี ่อนพระพทุ ธรปู ทองคำ� และพระพุทธรูปเงนิ 33
เดินธุดงคไ์ ปทางเมอื งหลวงพระบาง 34
พบชปี ะขาวพาไปดสู มบัติในถ้�ำ 35
ไดฉ้ ันอาหารวนั แรกหลงั ออกจากภเู ขาควาย 37
เรือ่ งชาวลบั แลท่ีเมืองหลวงพระบาง 38
หัวหน้าเทพเมอื งลับแลมานมิ นตห์ ลวงป ู่ 40
ธุดงค์เขา้ ไปในเขตพม่า 41
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๑ เดนิ ทางกลับประเทศไทย 41
ภาค ๔ กราบหลวงปูม่ ั่นคร้ังแรก และ พบสหธรรมิก
ครูบาอาจารย์ผสู้ อนภาคปฏบิ ตั ิสำ� คัญมาก 44
เสาะแสวงหาครูบาอาจารย์
พบหลวงปมู่ ัน่ ครงั้ แรก 44
แกลง้ พญานาค 45
พบหลวงปู่แหวน สจุ ณิ โฺ ณ ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ 46
ผจญผใี หญไ่ ม่นุ่งผ้า 47
สวดมนต์ช่วยชาวบ้านเปน็ โรคอหิวาต ์ 48
สาเหตทุ ช่ี าวบา้ นปว่ ยเป็นโรคอหิวาต ์ 50
เร่ืองกรรมของกำ� นนั วสา 51
พ.ศ. ๒๔๖๒ อบรมธรรมปฏบิ ตั กิ ับหลวงปู่มน่ั ท่ีเสนาสนะป่าบา้ นนาหมี – นายูง 52
สาเหตทุ ีห่ ลวงปู่มั่นโปรดชาวบา้ นนาหมี – นายูง 53
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๒ จารกิ ทางฝง่ั ซา้ ยของแม่น้�ำโขง รว่ มกบั หลวงปู่แหวน 55
คูอ่ รรถคู่ธรรมที่ต่างอปุ นสิ ัย 55
ชาวปา่ ถวายอาหารยามวิกาล 56
สามเณรเชอื ดไก่แลว้ ยา่ งมาถวาย 58
เณรภาวนาจิตสงบเห็นแมต่ กนรก 59
เย่ียมบาทหลวงทหี่ ลวงพระบาง 59
ผอี ยากไดพ้ ระอาจารยแ์ หวนเปน็ ผวั 60
61
62

ภาค ๕ จาริกสภู่ าคเหนือครัง้ แรก 64
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๒ – ๒๔๖๓ จาริกสภู่ าคเหนือครง้ั แรก
ขอบิณฑบาตข้าว จากชาวเขาเผา่ เย้า 64
พบหญิงเยา้ ใจอาร ี 64
พบพระชาวเหนือผู้มีเมตตาจติ 65
แยกกันเดินธดุ งค ์ 66
ภาค ๖ จาริกสู่แขวงสวุ รรณเขตพบเหตุการณร์ ะทกึ ขวญั 66
บรกิ รรมคาถาเรียกเรอื ข้ามแมน่ ำ้� โขง
เผชิญเหตกุ ารณน์ า่ ขนพองสยองเกลา้ 68
ผจญผกี องกอย – ชาวป่าข่าระแด
ธดุ งค์ในป่าดงพงไพรเตม็ ไปด้วยภยนั ตราย 68
ต้นปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ธุดงค์แยกทางกนั 69
หลวงปตู่ ือ้ เลา่ เรอ่ื งหลวงป่ไู มเ้ ท้าใหญ ่ 71
ภาค ๗ จาริกสู่อนิ เดยี พมา่ เชยี งตุง 73
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๔ จารกิ เขา้ ไปในประเทศพมา่ 75
การบณิ ฑบาตในพมา่ 76
พูดถงึ พระพม่า
เดนิ ทางเข้าประเทศอินเดยี 80
เดินทางกลบั เมืองไทยทางอำ� เภอแมส่ อด
ผีเขา้ ร่างพระอาจารย์แหวน 80
หลวงปตู่ ื้อพิสูจน์และสงเคราะหผ์ ตี นนั้น 81
เรอื่ งผเี จ้าเข้าสิงแกบ้ นด้วยการบวชจึงหาย 82
เรอื่ งหลวงพอ่ ตาแจง้ (ตาทพิ ย)์ 82
เรอ่ื งหลวงพ่อตาแจง้ (ตาทพิ ย์) โปรดนายพราน 83
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๕ จาริกไปเชียงตงุ เชยี งรุ้ง 83
จาริกไปแสนหวี ฝีฝ่อ หนองแส 85
ภาค ๘ กลบั มาอบรมธรรมปฏิบตั ิกับหลวงปู่ม่นั 86
พ.ศ. ๒๔๖๖ อบรมธรรมปฏบิ ัติกบั หลวงปมู่ นั่ ที่เสนาสนะปา่ บา้ นค้อ 87
อยพู่ ระบาทบวั บก – ลองเอาจติ ออกจากรา่ ง 90
ทา้ วสักกะพระอนิ ทร์และเหล่าทวยเทพมากราบหลวงปู่ม่ัน 91
92

94

94
94
96

พ.ศ. ๒๔๖๗ – พ.ศ. ๒๔๖๘ สนั นิษฐานว่าจ�ำพรรษาตามปา่ ตามเขาแถบ อ.บ้านผือ 97
อ.หนองบวั ล�ำภู จ.อุดรธานี และ อ.ทา่ บอ่ จ.หนองคาย
ภาค ๙ ผจญเสอื งูใหญ่ เปรต ภตู ผีวิญญาณ และเทวดา 98
การฝึกทรมานจิตของพระธุดงคกรรมฐานสายทา่ นพระอาจารยม์ นั่
อาจารยเ์ สอื ทบี่ า้ นภดู ิน 98
เรื่องวิญญาณหลวงตาคำ� ป้อ 98
วญิ ญาณชาวเผ่ากยุ ก่อมองกะเร 99
เจ้าปฑู่ ีฆาวุโสมาบอกลา 100
เรื่องผีเฝ้าทรพั ย ์ 101
เจอเจ้าทลี่ องดี 101
เจ้าท่ยี ังลองดตี ่อไป 102
เจา้ ท่ยี ังไมย่ อมลดละ 104
ประวัติ พระพุทธบาทบวั บก 105
หลวงปขู่ าวนมิ นตห์ ลวงปู่ตอื้ ใหช้ ว่ ยขบั ผตี ีนเดยี ว 106
พบกบั งใู หญข่ ณะเดนิ จงกรม 107
ผจญเปรตเจา้ ที่ 109
โดนเปรตแกล้ง 109
หลวงป่พู ูดถึงการเชือ่ ถอื เรื่องวิญญาณ 110
เร่อื งเสอื ท่ีพระพุทธบาทบัวบก 112
ถอื เอาเสือเป็นอาจารยก์ รรมฐาน 113
พ.ศ. ๒๔๖๙ – พ.ศ. ๒๔๗๐ จ�ำพรรษาพระพทุ ธบาทบัวบก 113
ภาค ๑๐ ญตั ตเิ ปน็ ธรรมยุต ธดุ งคต์ ิดตามพ่อแม่ครูอาจารย์ม่ัน 114
หลวงปูแ่ หวน หลวงปู่ตื้อ เคารพนับถือกันมาก
หลวงป่แู หวน หลวงปู่ตือ้ คราวญตั ตเิ ป็นธรรมยตุ 115
พ.ศ. ๒๔๗๑ หลวงปตู่ ื้อญตั ติเป็นพระธรรมยตุ ทีว่ ัดเจดียห์ ลวง
ท่านเจ้าคณุ อุบาลฯี เผยแผพ่ ระพุทธศาสนาทางภาคเหนือ 115
พ.ศ. ๒๔๗๒ – ๒๔๘๓ ทา่ นพระอาจารยม์ ั่นแยกไปบ�ำเพ็ญทางภาคเหนอื 115
หลวงปูม่ ่นั บรรลธุ รรม 117
เปน็ ลูกศษิ ยใ์ กลช้ ิดและได้รบั ความไวว้ างใจจากหลวงปมู่ ่ัน 117
เพอ่ื นสหธรรมิกต่างนกิ าย 118
ชวี ประวตั ิยอ่ และปฏปิ ทา หลวงปคู่ ำ� ปนั สภุ ทฺโท (พระครสู ภุ ัทรคณุ ) 119
122
122
123

ประวตั ยิ อ่ และปฏิปทา หลวงปูค่ ำ� แสน คณุ าลงกฺ าโร “ครบู าคำ� แสนนอ้ ย” 125
ตดิ ตามหลวงปู่ม่ันไปถำ�้ ดอกคำ� 126
นมิ ิตหลวงปู่มัน่ พน้ จากทกุ ข ์ 127
วิเวกถำ�้ เชยี งดาวกับหลวงปมู่ ่ัน 128
ส�ำรวจถ�้ำพระปจั เจกพทุ ธเจา้ 129
หลวงปู่มัน่ บอกเรือ่ งบอ่ นำ้� ทิพย ์ 131
สาเหตุท่หี ลวงปตู่ อื้ สำ� รวจถำ�้ พระปัจเจกพุทธเจา้ 134
หลวงปูต่ ้ือลาพุทธภมู ิ 135
จำ� พรรษาทถ่ี ้�ำปากเปียง 136
วิบากกรรมของคนเชยี งดาว 137
พญานาคในถ้�ำเชียงดาว 138
ธดุ งค์ไปหาหลวงปู่พบั พา ถำ�้ ตบั เตา่ 140
ประวัติย่อหลวงปูพ่ ับพา (หลวงปพู่ า) 142
ประวัติถ�้ำตบั เตา่ 144
พระยาทรายขาวบอกพระบาท ๓ รอย 145
เผาปากผี รวู้ า่ บาปแตท่ ำ� 147
สำ� รวจดอยหลวงเชยี งดาว 149
เท่ียววเิ วกกบั สหธรรมิก 150
ดอยหลวงเชยี งดาว 152
ตอนสาวน้อยจอ้ ยซอ 153
ตอนอยแู่ ตเ่ กบิ (อยู่แต่รองเท้า) 154
การส่งเสยี งกระแอมไอเปน็ สัญญาณขอเขา้ พบครบู าอาจารย ์ 156
เร่อื งครบู าศรวี ชิ ยั สรา้ งทางขน้ึ ดอยสเุ ทพ 157
พญานาคพ่นพิษ 158
หลวงปมู่ ่ันโปรดพญานาคมจิ ฉาทฐิ ิ 162
นมสั การพระบาทรังรงุ้ (พระพทุ ธบาทสี่รอย) 164
หลวงปตู่ อ้ื พดู ถึงพระพทุ ธบาทสร่ี อย 165
วดั ป่าห้วยส้มสุก 167
ผปี ลอ่ ยววั ธน ู 168
เรือ่ งเผ่าคนป่า 168
พบวิญญาณครบู าเฒ่า 169
เทพยดาผู้บ�ำเพ็ญบารมีเปน็ พระปจั เจกพทุ ธเจา้ 170

เร่ืองเทวดารบั ศลี 171
คนธรรพ์มาเที่ยวงานพระธาตจุ อมทอง 171
คนธรรพข์ โมยน้องสาวพรานทอง 173
ท้าเดิมพันเรอ่ื งตายสูญ ผบี ่ (ไม)่ มี 174
หลวงปู่โตก้ บั บาทหลวง 175
ท่านชอบรเู้ หน็ สิ่งตา่ งๆ ทีเ่ ร้นลบั 177
บ�ำเพญ็ กบั หลวงปมู่ ัน่ ๙ ปี ไม่สงสยั แล้ว 178
พ.ศ. ๒๔๘๒ พกั และอบรมภาวนากบั หลวงปมู่ ั่นทวี่ ดั ร้างปา่ แดง 179
อุบายฟังเทศน์ของหลวงปตู่ ื้อ 180
ประวตั ิโดยย่อ วดั รา้ งปา่ แดง 182
หลวงปู่มนั่ ประกาศเสรจ็ กจิ ในการบ�ำเพ็ญเพยี รทีว่ ัดรา้ งปา่ แดง 183
ภาค ๑๑ ปักหลกั ทางภาคเหนือ
สาเหตุท่ีปักหลักทางภาคเหนือ 184
ปฏิปทาของหลวงปู่แหวน หลวงปตู่ ื้อ หลวงปู่สิม
อดทนตอ่ สกู้ บั ความอดอยากและความหนาวเยน็ ทางภาคเหนือ 184
การรกั ษารอยมือรอยเท้าพ่อแม่ครูอาจารย์มน่ั 186
จำ� พรรษา วดั โรงธรรมสามคั ค ี 187
ธรรมย่อมรกั ษาผู้ประพฤติธรรม 189
พุทโธชว่ ยใหพ้ ้นภยนั ตรายได ้ 191
ทา่ นมุ่งมั่นฝึกฝนอบรมสัง่ สอนตนเองกอ่ น 192
อภญิ ญา 193
ปฏิสัมภิทาญาณ 195
กราบคารวะพอ่ แมค่ รูอาจารย์ม่นั 196
ภาค ๑๒ พัฒนาวดั ป่าดาราภริ มย์ ไดศ้ ษิ ยเ์ อกองค์ส�ำคัญ 196
พ.ศ. ๒๔๘๔ – พ.ศ. ๒๔๙๑ จ�ำพรรษา วัดป่าดาราภริ มย์ 197
ประวตั ิ วดั ป่าดาราภริ มย์
หลวงปตู่ ้อื กบั หลวงปู่ออ่ นพูดธรรมะกนั 198
ไดล้ กู ศษิ ยเ์ อกทมี่ อี ดตี เป็นขุนโจร
เครง่ ครดั ในพระธรรมวนิ ัยและระเบยี บปฏิบัตมิ าก 198
ชอบใหด้ ุดา่ เหมอื นกัน 198
ท�ำอย่างจติ ว่าง 201
202
204
205
205

บาทหลวงสงสยั 205
เรอื่ งของทา่ นพระอาจารยป์ ระยุทธ ธมมฺ ยุตโฺ ต 206
สอนศิษยแ์ มอ่ ุย้ เฒ่าท่ีวัดปา่ ดาราภริ มย์ 210
พระอรหันตธาตพุ ระอานนทเ์ สดจ็ 213
ภาค ๑๓ เสาหลักกรรมฐานทางภาคเหนอื
พ.ศ. ๒๔๙๒ จ�ำพรรษา วดั สันติธรรม 214
ประวตั ิ วัดสันตธิ รรม
ตอนหลวงปมู่ นั่ นิพพาน 214
ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๓ หลวงปู่ตือ้ ร่วมงานประชุมเพลิงศพหลวงปู่มั่น 214
พ.ศ. ๒๔๙๓ จ�ำพรรษาทีเ่ สนาสนะปา่ น�้ำรนิ อ�ำเภอแมร่ มิ จงั หวดั เชยี งใหม ่ 215
บทสวดโพชฌงั คปรติ ร 216
ประวัติ วดั ป่านำ�้ รนิ 218
หลวงปตู่ อ้ื เลา่ เรอื่ งอาจารยก์ ู่ เจอพญานาคหว้ ยนำ้� รนิ 219
พ.ศ. ๒๔๙๓ หลวงปตู่ ้อื ได้รับมอบหมายเปน็ แมท่ พั กองทัพธรรมภาคเหนอื 219
เหตุการณป์ ระชุมกองทพั ธรรมภาคเหนือ ณ วัดเจดยี ์หลวง 221
หลวงปู่ตอ้ื ทา่ นเป็นกองทัพธรรมศษิ ยท์ ่านพระอาจารยม์ ่นั 222
พ.ศ. ๒๔๙๔ จำ� พรรษาที่วดั ปา่ ดาราภริ มย์ 223
เรอื่ งการโต้วาทกี บั บาทหลวงทว่ี ดั ปา่ ดาราภริ มย์ 224
พ.ศ. ๒๔๙๕ – พ.ศ. ๒๔๙๖ จำ� พรรษาท่ีส�ำนกั สงฆ์อรัญญวิเวก 225
เรือ่ งเล่าความสนทิ สนมคุ้นเคยของหลวงป่ทู ั้งสอง 226
ประวัติ วัดอรัญญวิเวก 226
สอนพญานาคทีน่ ำ�้ ตกแมก่ ลาง 227
ภาค ๑๔ ปจั ฉิมวยั สร้างศาสนถาวรวัตถแุ ละเผยแผธ่ รรม 227
สรา้ งวัดป่าอาจารยต์ อื้ 228
สรา้ งวัดปา่ กรรมฐานตามปฏิปทาของบรู พาจารยใ์ หญ่
พ.ศ. ๒๔๙๗ – พ.ศ. ๒๕๑๐ จ�ำพรรษาวัดป่าอาจารยต์ อ้ื อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 230
ประวัติ วัดปา่ อาจารย์ตื้อ
ครบู าสามพี่น้อง 230
ประวัติยอ่ หลวงปสู่ งั ข์ สงกฺ ิจฺโจ 231
ประวัติย่อ หลวงปหู่ นูบาล จนฺทปญโฺ  233
ประวตั ิยอ่ พระอาจารย์ไท านตุ ฺตโม 234
235
236
238
241

ปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นองค์ประธานงานสมโภชพระพทุ ธรปู ณ วดั สันตธิ รรม 243
พ.ศ. ๒๔๙๙ จ�ำพรรษาวัดอรัญญวิเวก 244
พ.ศ. ๒๕๐๐ ร่วมงานฉลองกง่ึ พุทธกาล วัดอโศการาม 245
พ.ศ. ๒๕๐๑ ร่วมฉลองพระเจดีย์ วดั ถำ�้ พระสบาย 245
เร่อื งครูบาอาจารย์ทง้ั ๓ องค์ 246
ทา่ นพอ่ ลี ก่อนวนั มรณภาพคุยกบั หลวงปูต่ อื้ 247
เรื่องหลวงปสู่ ามถกู ท�ำร้ายและมาพักรกั ษาตวั กบั หลวงปตู่ อ้ื 247
เขม้ งวดกวดขันให้พระเรง่ ความเพยี ร 249
เรอ่ื งหทู ิพย์ ตาทพิ ย์ และ ปรจิตตวชิ ชาของหลวงปูต่ อื้ 249
ประวัตยิ ่อ ทา่ นพระอาจารยผ์ จญ อสโม 251
ภาค ๑๕ กลับสูม่ าตุภูมสิ ร้างศาสนถาวรวัตถุและเผยแผธ่ รรม
พ.ศ. ๒๕๑๑ – พ.ศ. ๒๕๑๓ จ�ำพรรษาทวี่ ัดปา่ อรญั ญวิเวก จ.นครพนม 253
ถวายพระพทุ ธรูป ๖๘ องคม์ อบให้ชาวนครพนม
งานวันรบั พระพทุ ธรปู 253
พ.ศ. ๒๕๑๔ นิมนตก์ ลับไปจำ� พรรษาท่เี ชยี งใหม ่ 253
พ.ศ. ๒๕๑๕ – พ.ศ. ๒๕๑๗ จ�ำพรรษา วดั ป่าอรญั ญวเิ วก เป็นวดั สดุ ท้าย 253
พ.ศ. ๒๕๑๖ ฉลองสมโภชองค์พระเจดยี ์ที่วดั ป่าอรญั ญวิเวก 254
หลวงปู่ต้อื ปว่ ยรกั ษาด้วยพุทโธ 255
บันทกึ ธรรมในชว่ งท่ีหลวงปูอ่ ยู่นครพนม 256
ภลู งั กา 256
ภารกิจช่วงสดุ ทา้ ยดา้ นการพฒั นาถาวรวตั ถุ 257
ได้พระผมู้ ีบญุ ฤทธิ์มาช่วยสรา้ งโบสถ ์ 261
ประวตั ิย่อ พระครูสถิตธรรมวสิ ทุ ธ์ิ (หลวงปถู่ ิร ติ ธมโฺ ม) 262
เผยแผธ่ รรม 262
ทา่ นเปน็ สังฆรตั นะเน้ือนาบุญ 265
ค�ำพยากรณข์ องหลวงปมู่ นั่ 267
เพชรน้�ำหนึง่ คู่งามตามคำ� พยากรณ์ 267
เร่ืองสรา้ งอโุ บสถเปน็ อนสุ รณแ์ ดท่ า่ นพระอาจารย์วัง ติ ิสาโร 269
สร้างวตั ถมุ งคล หลวงป่ตู ้ือ อจลธมฺโม 269
ประวตั ิย่อ พระอาจารยว์ งั ติ สิ าโร 271
272
272

ภาค ๑๖ แมม้ รณกาลยังแสดงธรรม 274
ก่อนมรณภาพ หลวงปู่สั่งไมต่ ้องสวดกสุ ลา
วาระสดุ ท้ายก่อนละขนั ธ ์ 274
เหตกุ ารณก์ ่อนหลวงป่มู รณภาพ 274
แมจ้ ะมรณภาพ ก็ยังแสดงธรรม 276
งานถวายเพลงิ ศพ 277
ภาค ๑๗ พระธาตุและอาคารพิพธิ ภัณฑห์ ลวงป่ตู อื้ อจลธมโฺ ม 278
เร่อื งพระธาตุของหลวงปตู่ ้ือ
อาคารพพิ ิธภณั ฑห์ ลวงปตู่ ้อื อจลธมฺโม 280
ภาค ๑๘ โอวาทธรรมค�ำสอน และ เทศนาธรรม
โอวาทธรรมค�ำสอน 280
เทศนาธรรม 282
• เทศน์พระนิพพาน
• เทศนเ์ รอื่ งฌาน กับ นิพพาน 284
• เร่อื งพระโมคคลั ลานห์ ลงทศิ
• เทศนไ์ ปธดุ งค์กราบไหว้รอยพระพทุ ธบาทต่างๆ 284
• เรื่องพระอรหันต์โปรดพ่อ แม่ พ่ีสาวท่ตี ายแลว้ ไปเกดิ เปน็ สัตว์ 288
• เร่ืองมักนอ้ ยสนั โดษ 288
• เทศนม์ งคลหมา 290
• เทศน์มงคลหม ู 292
ภาค ๑๙ การเทศนาอบรมสง่ั สอนธรรม 297
การแสดงธรรมของหลวงป ู่ 299
ลลี าเทศนาธรรม 302
แสดงธรรมเป็นประจ�ำทวี่ ัดอโศการาม 303
คนฟงั นอ้ ยหรอื มากกเ็ ทศน์ดเุ ดอื ดเหมอื นกัน 304
พุทโธ ธมั โม สงั โฆ นีแ่ หละเลศิ ประเสรฐิ แลว้
สอนศีล สมาธิ ปญั ญา หลกั ของพระพุทธศาสนา 306
การรกั ษาศีลสกิ ขาของพระเณรไมม่ ยี กเว้นโดยเดด็ ขาด
อยา่ คดิ วา่ ศีล ๒๒๗ นั้นไมม่ ีใครประพฤตติ ามได้ 306
สอนภาวนาพทุ โธ 307
308
308
309
310
311
312
313

สอนนรก – สวรรค์มจี ริง 313
ทา่ นสอนไม่ให้ใครเอาอย่างทา่ น 314
ตอ้ งเทศน์สอนตวั เองด้วย 314
เทศน์กระแทกใจ จนถูกประทว้ ง 315
นะโม มันของเกา่ 316
ฟังเทศนข์ องหลวงปคู่ รั้งแรกไมเ่ ขา้ ใจ 316
ตอบเรอื่ งสวรรคใ์ นอก นรกในใจ 318
ตอบค�ำถามเก่ยี วกับนมิ ิตต่างๆ 319
ยกนิมติ ของหลวงป่มู ่นั เป็นตัวอยา่ ง 320
แกป้ ัญหาการโตว้ าที 321
ภาค ๒๐ ปาฏิหาริย์ ๓
ปาฏหิ าริย์ทั้ง ๓ 322
พระโมคคลั ลาน์ กบั พระเทวทตั
ทา่ นเปน็ เลิศในปาฏหิ ารยิ ท์ ั้ง ๓ 322
เทศนบ์ ารมี ๑๐ ทศั ของพระพทุ ธเจ้า พระสมณโคดม 322
เรอ่ื งกราบสรรี ะศพพระมหากสั สปะ 324
ญาณหยั่งรู้หลวงปู่ตือ้ อจลธมฺโม 326
หลวงปูต่ อ้ื กบั รปู พระเจ้าแผน่ ดิน 327
เรื่องเล่าความเก่งของหลวงปตู่ ื้อ 329
เรอ่ื งอภิญญา ๖ ของหลวงปู่ตอื้ 331
รู้ลว่ งหนา้ วา่ ใครจะมาหา 333
เตรยี มรอรับการนมิ นต ์ 334
เรอ่ื งลงบ่ได ้ 334
เรอื่ งสามลอ้ เมืองเชยี งใหม ่ 335
ใช้พลงั จิตรกั ษาศษิ ย์ที่ป่วยไข้ป่า 335
ก็ไปถามหัวตอดซู ิ 336
ผมของกไู ปลักควายพอ่ มึงหรือ 338
เกยี่ วกบั เครอื่ งรางของขลัง 339
หลวงปูแ่ นะน�ำเรือ่ งฤทธ ์ิ 339
ภาค ๒๑ วีรกรรมหลวงปู่ตอ้ื 340
พระอรหนั ตล์ ะนิสัยวาสนาไม่ได้ นอกจากพระพุทธเจา้ เทา่ นัน้ 340

342

342

หลวงปู่ตอ้ื แอบดูหลวงปมู่ น่ั เหาะไปบณิ ฑบาต 343
ฉนั กอ่ นหลวงปมู่ ่นั 344
หลวงปชู่ อบเลา่ ถงึ การอุปฏั ฐากหลวงปมู่ ั่น 344
นั่งอาสนะของสมเด็จพระสังฆราชฯ 345
สมเดจ็ ฯ จะฟงั ไหม เกลา้ ฯ จะเทศน์ให้ฟงั 346
น่าจะเปน็ ความอารมณ์ดีของท่าน 347
ตวั อยา่ งความกล้าและพูดตรงของหลวงปู่ 347
แมพ้ ระผ้ใู หญ่หลวงปกู่ ็ว่าเอาแรงๆ 348
ฟังธรรมหลวงป่ตู อื้ แล้วไปนพิ พานได ้ 349
เทศน์ไม่ฟงั ฟงั ตดซะ 350
ดฉิ ันปล่อยวางหมดแล้ว 351
หลวงปตู่ อ้ื ต่อยพระพม่า 352
เรอื่ งพระตีโยม ขณะไปพระธาตุย่างกุ้ง 353
พบเสอื ใหญ่บนดอยลูกกะโซ 354
ไลป่ ล�้ำผีสาวท่ีมาร้อื ม้งุ กลด 354
ภาค ๒๒ ปกิรณกธรรม
การอปุ ฏั ฐากครูบาอาจารย์ 356
เก่ยี วกบั การขบฉนั จังหัน
หลวงปตู่ อ้ื กเ็ คยใบ้หวย 356
อจั ฉริยภาพดา้ นภาษาและการสือ่ สาร 357
หลวงปูต่ อื้ สวมสร้อยลูกประคำ� เปน็ ประจำ� หรอื ? 357
เมตตาธรรมของหลวงปู่ โปรดวญิ ญาณ 358
หลวงปตู่ อ้ื พบเรอ่ื งแปลกต่างๆ เพราะบพุ กรรมเคยเป็นโจร 359
หลวงปู่ตอ้ื กล่าวแกต้ ำ� ราพราหมณ ์ 360
หลวงปู่ต้อื พาสวดปารมี ๓๐ ทัศ 361
วิธีปราบผกี องกอย 361
ภาค ๒๓ บูรพาจารย์ 362
พอ่ แมค่ รูอาจารย์ของหลวงปตู่ ือ้ 362
หลวงปู่ตอ้ื กล่าวถึงท่านเจา้ คณุ อุบาลีฯ
ทา่ นเจา้ คุณอุบาลฯี จัดงานบญุ ถวายทานสลากภตั 364
หลวงปู่ตื้อเล่าเร่ืองทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี และ ครบู าศรวี ชิ ยั
364
364
364
365

หลวงปตู่ ้ือเทศนถ์ งึ สถานทน่ี พิ พานของพอ่ แม่ครูอาจารย์ 367
ทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลฯี และหลวงปู่ม่ันเล่าถงึ โยมพ่อโยมแม่ 368
หลวงปู่ตือ้ เทศน์ถึงหลวงปูเ่ สาร์ หลวงปู่ม่ัน 370
หลวงปตู่ อื้ เทศนถ์ ึงครูบาอาจารย์ท่ีถึงศาลาพันห้อง 370
วรี กรรมหลวงปู่ทองรัตน์ กนตฺ สีโล 372
หลวงปตู่ อื้ เลา่ เร่อื งอาจารยก์ ู่ เจอผใี หญภ่ กู ระดงึ – เจออาจารย์ผวู้ เิ ศษ 373
หลวงปชู่ อบกล่าวชมปัญญาของหลวงปูต่ ื้อ 375
หลวงปชู่ อบพาหลวงปูซ่ ามาฟังธรรมหลวงปูต่ ื้อ 376
หลวงปู่ชอบเล่าเรอ่ื งพญานาคทถี่ ำ�้ ผาจมอดีตสหายธรรมหลวงปู่ต้อื 376
เลา่ เรอื่ งถาม – ตอบพระนิพพานกบั หลวงป่เู ก่งิ 378
หลวงปตู่ อื้ กับหลวงปู่แหวนเทีย่ วธุดงคเ์ ก่งทส่ี ุด 379
อบุ ายขดั เกลากเิ ลสของหลวงปแู่ หวนกบั หลวงปู่ตอื้ 379
หลวงปเู่ หรียญกราบนมัสการและสนทนาธรรมกับหลวงปู่ตื้อ 380
หลวงปสู่ มิ เลา่ เรื่องฌานของหลวงปู่ตื้อ 382
หลวงปจู่ าม มหาปุญโฺ  เล่าเรอ่ื งหลวงปู่ตอ้ื 382
หลวงตาพระมหาบวั าณสมฺปนโฺ น เทศนถ์ ึงหลวงปตู่ ้อื 390
หลวงปอู่ ่อนสา สขุ กาโร กลา่ ววา่ “หลวงปูต่ ื้อนักเทศน์” 396
หลวงปตู่ ื้อเตะปากพระฝร่งั 397
หลวงป่เู จีย๊ ะ จุนโฺ ท พูดถึงหลวงปูต่ อื้ 398
หลวงปมู่ หาปราโมทย์ ปาโมชโฺ ช ถวายตัวเปน็ ศิษยห์ ลวงปู่ตื้อ 399
หลวงปู่ผาง ปริปณุ โฺ ณ เคยธุดงค์และพกั ปฏบิ ตั ิธรรมกบั หลวงปูต่ ้ือ 400
หลวงปู่บุญจนั ทร์ จนฺทวโร ถวายตวั เปน็ ศิษย ์ 400
หลวงปู่อดุ ม าณรโต เลา่ เรอ่ื งหลวงปูต่ ือ้ 401
หลวงปลู่ ี กุสลธโร เทศน์หลวงปตู่ ือ้ ไมห่ า่ งพุทโธ 402
หลวงปู่หลวง กตปญุ ฺโ เคยรว่ มธดุ งค์กบั หลวงปู่ตื้อ 402
เรือ่ งเลา่ ของหลวงป่หู นบู าล จนฺทปญฺโ 403
หลวงปตู่ ้อื กลา่ วถึงทา่ นพระอาจารยไ์ ท านุตตฺ โม 406
ท่านพระอาจารย์ไท านตุ ฺตโม เทศน์ถงึ หลวงป่ตู ือ้ 407
ทา่ นพระอาจารย์สงบ มนสฺสนโฺ ต เทศน์ถึงหลวงป่ตู ้อื 413
ภาค ๒๔ เกรด็ ประวัตหิ ลวงป่ตู ือ้
437

หลวงป่ตู ื้อ อจลธมโฺ ม

r

1
ภาค ๑ ปฐมวัย – ฆราวาสก่อนบวช

ชาติก�ำเนิด

หลวงปูต่ ื้อ อจลธมโฺ ม ท่านมีนามเดิมว่า ตื้อ นามสกลุ ปาลปิ ัตต์
ท่านเกดิ เมือ่ วันจนั ทรท์ ี่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๒* ตรงกับวนั ข้ึน ๑๒ ค�่ำ เดือน ๓ ปีขาล
สมั ฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๔๐ ซ่ึงตรงกบั ในรัชสมยั ของพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั
รชั กาลที่ ๕ แหง่ ราชวงศ์จักรี
ทา่ นเกิด ณ บ้านข่า ตำ� บลบา้ นขา่ อำ� เภอทา่ อเุ ทน จงั หวดั นครพนม (ปจั จบุ นั ขึน้ กบั อ�ำเภอ
ศรสี งคราม)
* ปเี กิดและอายุของหลวงปู่ต้ือ จากพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ตอื้ เองในหลายวาระ และ
สอดคล้องกับคำ� บอกเลา่ ของครบู าอาจารย์ ทา่ นเกดิ ปี พ.ศ. ๒๔๒๒ อายุ ๙๕ ปี
จากพระธรรมเทศนาหลวงปู่ต้อื อจลธมโฺ ม กณั ฑพ์ ระมาลยั โปรดสัตว์ – มงคลทพิ ย์ และ
กัณฑอ์ ธิบายหลกั พทุ ธศาสนา – ชาติมนษุ ย์ หลวงปู่เทศนถ์ ึงอายขุ องทา่ นไวต้ ามลำ� ดับดงั นี้
“... พระอาจารย์ต้ือ อจลธมโฺ ม ไดบ้ วชมาแต่อายุ ๒๑ พรรษาท่ี ๗๔ อายุ ๙๕ ปีนล้ี ่ะ
จงึ ขอกลา่ วไว้ถวายแก่สมเด็จพระสังฆราชเจา้ ท่านเจ้าคณุ ท่านมหา คุณตา คณุ ยาย ผถู้ ือ
ศาสนา จงอนุโมทนาสาธุการเถิดครับ ...”
“... พระอาจารยต์ ื้อ อจลธมโฺ ม ไหวพ้ ระพทุ ธเจ้าดว้ ยกาย ไหวพ้ ระธรรมเจ้าดว้ ยวาจา
ไหว้สงั ฆเจา้ ดว้ ยใจ ดอกบัว ๕ ดอก รปู ขันธ์เปน็ ดอกท่ี ๑ เวทนาขันธด์ อกท่ี ๒ สัญญาขันธ์
ดอกท่ี ๓ สังขารขนั ธ์ดอกท่ี ๔ วิญญาณขนั ธด์ อกท่ี ๕ ดอกบัว ๕ ดอกน้ี ไดม้ าจากพระบดิ า
คณุ พอ่ ได้มาจากพระมารดาคณุ แม่ แตไ่ ด้พาขนั ธ์ ๕ บวชในพุทธศาสนา อายุ ๒๑ ปี จนถงึ
ทกุ วนั นน้ี บั เขา้ พรรษา ๗๔ อายุ ๙๕ …”
และครูบาอาจารยก์ ลา่ วไว้วา่ “หลวงปู่ตอ้ื มอี ายุแกก่ ว่าหลวงป่แู หวน ๘ ปี แต่ญัตติเปน็
ธรรมยุตหลงั หลวงปแู่ หวน ๑ ปี” ซึ่งสอดคล้องกบั พระธรรมเทศนาของหลวงปู่ตื้อ
หลวงปู่แหวน สุจิณโฺ ณ เกดิ เมือ่ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๐ หลวงปูต่ อื้ มอี ายแุ ก่กวา่
หลวงปแู่ หวน ๘ ปี ดังนนั้ จึงสรปุ ได้วา่ หลวงปู่ตื้อ เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๒

2

หลวงปู่ต้ือ มรณภาพเมอื่ วนั ท่ี ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ จงึ มสี ิริอายุนบั ได้ ๙๕ ปเี ศษ
ตน้ ตระกูลโบราณของท่าน อพยพมาจากเมืองจนี เกดิ กบฏก็เลยอพยพหนีแตกมา เขา้ มา
เมืองไทยสมัยรัชกาลท่ี ๓ ตระกลู คนโบราณ ท่านเลา่ ตอ่ ๆ กนั มา โดยไม่ได้เขยี นประวตั ไิ ว้
หลวงปู่ตื้อ ท่านได้บ�ำเพ็ญ ปุพฺเพ จ กตปุญฺตา เหตุฝ่ายดีมาแล้วแต่อดีตชาติปางก่อน
อย่างยาวไกลนบั แสนกัป เปน็ พระสาวกบารมีญาณผเู้ ลศิ ดว้ ยฤทธิ์
หลวงป่ตู อ้ื ทา่ นก็เฉกเชน่ เดียวกับพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระ
อาจารยม์ ่ัน ทง้ั หลาย ทไี่ ด้รบั การเคารพยกย่องเทิดทูนอยา่ งสูงสดุ ว่าเป็น “เพชรน�้ำหน่งึ ” หรอื
เป็น “พระอรหันตใ์ นสมัยครัง้ กงึ่ พทุ ธกาล” ทา่ นจึงได้เกดิ ใน ปฏริ ูปเทสวาสะ คอื อยู่ในประเทศ
อนั สมควร หรอื อยู่ในถิ่นทเ่ี หมาะทเี่ จริญ มคี นดี มีนกั ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา โดยทา่ นได้เกิด
ในตระกูลครอบครวั ชาวนาทเ่ี ป็น สัมมาทฏิ ฐิ คือ มีความเลอ่ื มใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา อันเป็น
สาเหตุส�ำคัญท่ีทำ� ให้ทา่ นไดอ้ ปุ สมบทเปน็ พระภิกษุสงฆ์ และเปน็ พระป่ากรรมฐานออกเทีย่ วธดุ งค์
ประพฤตปิ ฏบิ ัติธรรมในกาลต่อมา ดว้ ยขอ้ ปฏบิ ัติ สมั มาวายามะ คอื เพียรชอบอย่างยิ่งยวด
เพ่ือความพน้ ทุกข์
บิดา ชือ่ นายปา คะปัญญา มารดา ชื่อ นางปัตต์ คะปญั ญา
ทา่ นเปน็ บตุ รคนที่ ๕ มพี ่ีน้องร่วมบิดามารดา รวมท้ังหมด ๗ คน เป็นชาย ๕ หญิง ๒
ตามลำ� ดับดังน้ี
๑. แม่ชคี ำ� มี คะปญั ญา เป็นบุตรคนโต
๒. เปน็ บุตรชาย ถึงแก่กรรมต้ังแต่ยังเล็ก
๓. หลวงปทู่ อง (ไมท่ ราบฉายา) หรอื ญาคูทอง
๔. นายบัว คะปัญญา
๕. หลวงปู่ตอ้ื อจลธมโฺ ม (หลวงป่เู ปลยี่ นนามสกลุ เป็นปาลิปัตต์ โดยมาจากชือ่ บดิ า มารดา)
๖. นายตัว้ คะปญั ญา และ
๗. นางอั้ว ทสี กุ ะ เป็นบตุ รคนสดุ ท้อง

3

ปจั จบุ ัน หลวงปตู่ ือ้ ท่านไดล้ ะสงั ขารแล้ว สว่ นพ่ีน้องของท่านกไ็ ดถ้ งึ แกม่ รณกรรมหมดแล้ว
ซึ่งเป็นไปตามวัยและเป็นไปตามกฎธรรมชาติของสงั ขารรา่ งกายท่ีมกี ารเกดิ แก่ เจบ็ และตาย ทยี่ งั
เหลอื อยกู่ ็มีแต่ความดที ฝี่ ากไว้ ยังให้ผูค้ นไดร้ ะลึกถงึ และกลา่ วขานไปอกี ตราบนานเทา่ นาน

ชีวิตในวัยเยาว์

หลวงปตู่ ือ้ อจลธมฺโม ท่านเจรญิ เตบิ โตในครอบครัวชาวนา ชีวติ ในวัยเยาว์ ท่านจึงใช้ชวี ติ
ตามประสาเด็กชนบททวั่ ไปทางภาคอสี าน คือ ว่งิ เลน่ สนกุ สนานตามท้องไรท่ ้องนา เปน็ เดก็ เล้ียงวัว
เล้ียงควาย ชว่ ยบดิ ามารดาท�ำไร่ไถนาตามวถิ ชี ีวิตชาวนา ทา่ นเปน็ เดก็ เฉลยี วฉลาด คอ่ นขา้ งดอ้ื
มีนิสัยกล้าหาญ รักความสงบ เป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษา พูดจาโผงผางตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม
มีความอดทน ขยนั ขันแขง็ มรี ่างกายแข็งแรง และมีจติ ใจนอ้ มมาทางธรรม ชวี ิตตอ่ ไปภายภาคหนา้
ของท่านจะได้ออกบวชประพฤติปฏิบัติธรรม เพอ่ื ดำ� เนนิ ตามรอยองคพ์ ระบรมศาสดาและบรรดา
พระอรหนั ตสาวกท้งั หลาย
หลวงปู่ตื้อ ท่านจงึ เปน็ ที่รกั ใครแ่ ละไวว้ างใจของบดิ า มารดา ตลอดจนพีน่ ้องเครอื ญาติ และ
เป็นหลานรกั ของลุงที่มุ่งหวังในตวั ท่าน จะได้ออกบวชให้
โดยในบรรดาเครอื ญาตขิ องหลวงปตู่ ้อื นับเปน็ ครอบครวั ทใี่ กลช้ ดิ กบั วัด ใฝ่ใจตอ่ การศกึ ษา
ในทางพระพทุ ธศาสนา ซงึ่ เปน็ ท่นี า่ สังเกตว่า บรรดาผ้ชู ายลว้ นแตไ่ ด้บวชเป็นพระภิกษุ และถา้ เปน็
ผู้หญิงกส็ ละบ้านเรอื น ออกบวชชจี นตลอดชวี ติ กม็ ีหลายคน
หลวงปู่ตอ้ื จึงได้รับการปลูกฝงั จากครอบครัวให้สนใจการบวชเรียน สนใจพระพุทธศาสนา
โดยสายเลอื ดก็ว่าได้ ทา่ นเป็นศิษยว์ ัด รับใช้พระเณรตั้งแตย่ งั เปน็ เด็ก และเคยเข้ารับการบรรพชา
เป็นสามเณรอยู่ระยะหนง่ึ ทา่ นจึงมีความคนุ้ เคยกบั วัด ค้นุ เคยกบั พระเจา้ พระสงฆเ์ ปน็ อย่างดี และ
ปรารถนาท่ีจะไดอ้ อกบวชเปน็ พระภิกษุเมือ่ ถึงเวลาอันควร

ชีวิตในวัยหนุ่ม

ชีวติ ในวัยหนมุ่ สมยั เป็นฆราวาสก่อนออกบวช หลวงปตู่ ้อื อจลธมฺโม ทา่ นเปน็ คนหนมุ่ ท่มี ี
ร่างกายก�ำย�ำสูงใหญ่แข็งแรง ปราดเปรียวว่องไว และมีพละก�ำลังมากกว่าคนธรรมดาทั่วๆ ไป
อยา่ งเหน็ ได้ชดั ท่านจึงเปน็ กำ� ลังส�ำคัญของครอบครัวทบ่ี ิดามารดาใหค้ วามไว้วางใจ โดยท่านได้
ชว่ ยบดิ ามารดาประกอบอาชีพท�ำไรไ่ ถนาอยา่ งขยนั ขันแข็ง และท่านมจี ติ ใจกลา้ แขง็ เป็นคนใจเร็ว
ใจร้อน เป็นคนเอาจริงเอาจัง เป็น “หมอธรรม” ที่มีความเก่งกล้าสามารถในวิชาคาถาอาคม

4

มีฌานแกก่ ล้า โดยต้นตระกูลโบราณของท่านไปเรยี นวชิ าคาถาอาคมกันมาก ทา่ นได้ศกึ ษาจาก
อาจารย์ผเู้ ก่งกลา้ วชิ าคาถาอาคมในสมัยนนั้ และกเ็ ปน็ “ของเกา่ ” ท่ที ่านได้เคยบำ� เพ็ญฝกึ ฝนมา
แตอ่ ดตี ชาตติ ดิ ตามตวั ทา่ นมา
หลวงปู่ตอื้ ทา่ นได้รับการยกย่องวา่ เป็น “หมอธรรม” ปราบผีเก่งมาต้งั แต่สมยั เป็นหน่มุ
ยงั เป็นฆราวาส ชนิดผสี างนางไม้เพียงไดย้ นิ ชือ่ ทา่ นตา่ งกย็ ่าน (เกรงกลัว) กันแลว้ ต่อมาเมอื่ ทา่ น
ได้บวชและออกปฏิบัตธิ รรมตามปา่ ตามเขาแลว้ พระเพือ่ นสหธรรมกิ มักขอรอ้ งให้ทา่ นช่วยปราบผี
อยู่บอ่ ยคร้ัง และท่านกท็ ำ� สำ� เรจ็ ทุกครงั้
นอกจากทา่ นเป็นหมอธรรมปราบผีเก่งแลว้ ทา่ นยงั มี “วชิ าเสอื ” เปน็ วิชามาจากเมืองจนี
เปน็ วิชาของต้นตระกูลท่าน เมือ่ ท่านรา่ ยคาถาอาคมสะกดเสอื จะท�ำให้เสอื เช่ืองเหมือนสัตวเ์ ลีย้ ง
และเกรงกลวั ทา่ นมาก ท่านจะลบู หลังเสือไดเ้ หมือนลบู หลังหมาและแมว มบี ่อยครั้งท่พี ระศิษย์เหน็
ทา่ นร่ายคาถาอาคมเรียกเสอื มาขนึ้ ขหี่ ลงั ไดอ้ ยา่ งสบายๆ และท่านกเ็ คยเรยี กใช้เสอื มาชว่ ยค�ำรามขู่
ขบั ไลพ่ ระและญาตโิ ยมท่จี ะมาขับไล่ทา่ น จนตอ้ งหนเี ตลดิ เปดิ เปงิ เอาตัวรอดไปเลยก็มี

ก่อนบวชเคยไล่ฟันพญานาคงูใหญ่

หลวงปูต่ ือ้ อจลธมฺโม ในสมยั หนมุ่ ก่อนจะมาบวช ทา่ นเคยเอาดาบไล่ฟันพญานาคงูใหญ่
จนผูเ้ ฒา่ ผู้แก่ในหมบู่ า้ นเกรงกลวั เลยอยากให้ท่านบวชพระ
บ้านขา่ อันเป็นบา้ นเกิดของท่าน เปน็ หมบู่ า้ นอยู่กลางระหว่างหนองน้�ำใหญ่ ๒ หนอง
ทกุ ๆ ปี ฝนตกปีใหม่เดือน ๖ ฟา้ รอ้ งสนัน่ หว่ันไหว พ้นื แผน่ ดินแทบสัน่ สะเทอื น พญานาคงูใหญ่
ตวั นน้ั จะปรากฏตวั ทกุ ปี ลำ� ตวั เลอื่ มพรายเทา่ เหงา้ ตาล ชหู วั หงอนแดงเปลง่ สงู ประมาณตน้ มะพรา้ ว
พญานาคตวั นี้จะชูหวั ลอยผ่านท่งุ นาท้ายหมู่บา้ น จากตะวนั ตกไปตะวนั ออก พอปตี อ่ ไปก็ตะวนั ออก
คืนสู่ตะวนั ตกอย่างนัน้ ทกุ ปี ววั ควาย ผคู้ นต่างกลัวกนั มาก
หลวงปู่ต้ือ ตั้งแต่หนุ่มแน่นอายุ ๑๖ ปี ก�ำลังแข็งแรง ว่ิงเร็ว วันหนึ่งก็ฝนดาบ ลับดาบ
เตรียมไว้ รอเอาไว้ วันใดฝนฟ้าร้องปีใหม่กอ็ อกรออย่กู ลางทุง่ นา จอ้ นผ้าเหนบ็ เตีย่ ว มอื กำ� ดาบแนน่
เอาผ้าพันดาบไวไ้ ม่ให้ดาบหลดุ มือ เตรียมทา่ รออยู่
พอพญานาคงูใหญ่น้ันลอยผ่านมา ก็โจนเข้าไล่ฟัน หวังจะให้ขาดเป็นท่อนๆ แต่ก็แปลก
ไล่ฟนั ไมพ่ อจะทันมัน หรือได้ฟนั แตก่ ไ็ ม่ถกู

5

หน่มุ ต้ือไลไ่ ปๆ มนั หายแว้บลงรูนอ้ ย พอเอานว้ิ แยงเข้าไปได้ พอจะทันเง้ือมดาบว่าจะฟนั
มนั ก็หลุดริบเขา้ รนู ้อยๆ ไดแ้ ตเ่ อาปลายดาบแทงรูมนั ฟนั รูมัน
ทำ� อยู่เช่นน้ี ๔ ปี ผู้เฒ่าผู้แก่กลวั บา้ นเมืองลม่ จมถลม่ เหมอื นต�ำนานหนองหาน จงึ ตกลงกัน
ว่าจะให้หนุ่มตอื้ บวช ถา้ ฆา่ พญานาคน้ี คนและสตั ว์อาจไดร้ บั อนั ตรายได้ กาลตอ่ มาเมื่อทา่ นได้บวช
พอพรรษามากแล้ว จงึ รคู้ ุณของพระพทุ ธศาสนา ได้ส�ำนกึ ในคณุ ของพญานาคงใู หญ่ตัวน้นั เพราะ
เปน็ สาเหตุหนงึ่ ทีท่ า่ นได้มาบวช เอาไว้ได้ส�ำเร็จบรรลุธรรมเสียก่อน จะไดไ้ ปโปรดพญานาคงใู หญ่
ตัวนัน้

เร่ืองกรรมที่ฆ่างูใหญ่

พระศิษย์หลวงปตู่ ้อื ทา่ นไดเ้ มตตาเลา่ เรอื่ งนไี้ ว้ดังนี้
“เปน็ งูใหญอ่ ยู่แถวนนี้ ะ อยแู่ ถววัดนล้ี ะ่ เป็นทีเ่ ลีย้ งววั เลีย้ งควาย มนั เป็นเวรเปน็ กรรม
อะไรกนั ก็ไม่รู้ พอท่านตตี าย ทา่ นไปลากมาเผานั่นน่ะ มันรอ้ นตามมอื ตามอะไร มนั พองหมด
ลอกนะ ท่านบอก เปน็ ตอ้ งรกั ษานานนะ ตอนหนุม่ ๆ ตอนอายุ ๑๕ - ๑๖ ลอกเอานี่จนลอก
มนั รอ้ น เป็นกรรมอะไร มันร้อนๆ เอะ๊ ! ท�ำไมมันไมห่ าย
ผู้เฒา่ ผแู้ ก่บอกว่าเปน็ พญานาค มนั เป็นกรรมเปน็ เวรกนั มา ต้องมาตาย ท่านไมใ่ ช่เหรอไปตี
มนั ด�ำๆ จะว่างูเห่ากไ็ มใ่ ช่ ตอนมันตาย ท่านไปลาก ลากไปแล้วกไ็ ปใส่กองไฟเผา มือมันแพพ้ อง
มันรอ้ นเหมอื นโดนไฟเลย”

ศุภนิมิตก่อนบวช

ท่านพระอาจารยไ์ ท านตุ ฺตโม วดั เขาพนุ ก อ�ำเภอปากทอ่ จังหวดั ราชบุรี ทา่ นเป็นทัง้
พระศษิ ย์และหลานแทๆ้ องค์หน่งึ ของหลวงปูต่ ือ้ อจลธมฺโม ทา่ นมปี ฏิปทาคลา้ ยหลวงปู่ และท่าน
ชอบสวมใสส่ รอ้ ยลกู ประค�ำเช่นเดยี วกับหลวงปู่ ทา่ นพระอาจารยไ์ ทได้รบั ความไว้วางใจจากหลวงปู่
และได้มโี อกาสอปุ ัฏฐากรบั ใชห้ ลวงปอู่ ยา่ งใกลช้ ดิ ท่านไดเ้ มตตาเล่าถา่ ยทอดประวตั ขิ องหลวงป่ตู อ้ื
ตามทที่ า่ นไดย้ ินจากปากหลวงป่เู ล่าให้ฟังในขณะที่ท่านเข้าไปอุปฏั ฐากบีบนวดขาหลวงปู่ ดังนี้
“วันนจี้ ะเลา่ ประวตั ิหลวงปู่ตอื้ ให้ฟงั แตค่ วามละเอียด กส็ งสัยจะไมค่ ่อยมีเท่าที่ควร ไอ้เรอื่ ง
ทีไ่ ด้ยนิ จากคนนัน้ พูด คนนพ้ี ูด ก็จะไมพ่ ดู จะเลา่ ตรงท่วี า่ ไดย้ ินต่อปากต่อคอทนี่ วดขาให้ ผเู้ ฒา่
(หลวงป่ตู อ้ื ) ฝอยขนาดไหน ก็จะฝอยใหฟ้ ัง เรียกว่าได้ละเอยี ดเทา่ ที่ควร

6

ครัง้ แรกหลวงปตู่ อื้ คยุ เร่อื งบวชใหฟ้ ัง อายุได้ ๒๑ ย่าง ๒๒ เขา้ คืนวนั จะบวช หลวงปูว่ า่
นอน นอนหลับไป ไปเหน็ อตี าชปี ะขาวคนหนงึ่ มาหา กไ็ ปกบั อีตาชปี ะขาว
“ไปนอ้ ยๆ (หนมุ่ นอ้ ย) เขาว่าโต (เจ้า) แข็งแรง แบกขอนใหเ้ ฮา (เรา) ดูซ”ิ ก็แบกขอน
“บ๊ะ ไดเ้ ว้ย” มนั มีครกต�ำขา้ วครกใหญ่ เขาเอาขา้ วเปลอื กใส ่ เราก็มีสากกเ็ ลยตำ�
“มานอ้ ยๆ (หนุม่ นอ้ ย) มา โตต�ำขา้ วใหเ้ ฮาดซู ”ิ
กจ็ บั สากตำ� ขา้ ว หลวงปู่วา่ “เราตำ� ไมก่ ่บี าท (ไม่กท่ี ี) กระจายหมดข้าว ข้าวเปน็ ข้าวสาร
ท้ังนน้ั ”
“เออ ! เจา้ นี่เกง่ น่ีหวา่ ”
พอดีหลวงปู่รู้สึกตัวตื่นข้ึนมา ตื่นมาก็ใจคอไม่ดี แล้วนั่งทบทวนพิจารณาถึงความฝัน
ที่ผ่านมา ฝนั ติดตาตดิ หู จะว่าฝันก็เหมอื นกบั เหน็ เหน็ เปน็ เร่ืองแปลกและพสิ ดารมาก คดิ ว่าศุภนิมิต
ความฝันเชน่ นีจ้ ะทำ� ใหเ้ กิดอะไรขน้ึ บ้างหนอ คิดแต่เพยี งว่าคงเป็นฝันดี ฝันน้นั เป็นสริ ิมงคล ตอ่ ไป
ภายภาคหนา้ จะต้องมีเหตกุ ารณ์ท่ดี ีเกดิ ข้ึนกบั ท่านอย่างแน่นอน”

คุณลุงขอร้องให้บวช

ท่านพระอาจารยไ์ ท านุตตฺ โม ไดเ้ ลา่ สาเหตกุ ารบวชของหลวงปู่ตือ้ ไวด้ งั นี้
“เชา้ วันนน้ั บิดาของหลวงปู่บอกวา่ “เออ ! ม้ือน้ี (วันน)้ี ไปเอาควายมาไถตากลา้ (ตากล้า
คือ แปลงนาส�ำหรบั หว่านเมลด็ พันธ์)ุ เขาจะหวา่ นกล้าแลว้ ” ควายปล่อยในป่า
เอ้ ! เราฝันอยา่ งน้ีไปเจอเสือหรือเปล่า แตก่ ่อนเสอื มนั มาก มา ! เอาปืนไป หลวงปูว่ ่า
“กลัวเสือ” ไปเอาควายมาก็เหตกุ ารณป์ กติ
เข้าไปในห้อง ในห้องบชู า (หอ้ งพระ) ไปเห็นขนั ดอกไม้ธูปเทยี นอย่างสวย บดิ าของท่านจึง
บอกว่า “กนิ ข้าวกินปลาแล้วไปหาลงุ ทมุ ลุงทุมอยากพบอยากเจอ”
เอาแลว้ ใจคอไม่ดี “เอ้ ! หรอื ว่าลุงนี่ อายคุ อ่ นข้างมาก อยากไดเ้ ราไปเป็นลกู เขยทำ� นา
เสยี ม้งั ” ใจคอไมด่ ี กลวั แต่ลงุ จะยกลกู สาวให้ หลวงปูว่ า่ อยา่ งนนั้

7

“เรายังไม่อยากมเี มีย โอย้ ! ไปครัง้ น้ี ใจคอเราไม่ดแี น่นอน” อะ๊ วา่ จะไม่ไปแล้ว
บดิ าของทา่ นจึงพดู กำ� ชบั วา่ “ไปนะ ลงุ สั่งแทๆ้ นะ” ก็เลยไป
พอไปถึงบา้ นลงุ ท่านเหน็ ลกู สาวของลุงยืนคอยอยหู่ น้าบนั ได ท่านก็ย่ิงใจคอไม่ดี ย่ิงปกั ใจ
เชอื่ ว่า ลงุ ของทา่ นจะยกลกู สาวใหแ้ ตง่ งานกนั เพราะท่านไมอ่ ยากมีครอบครัว
เมื่อลงุ ทราบจากลูกสาววา่ ทา่ นมาถึงเรือน เพราะคอยหลานคนนี้อยตู่ งั้ นานแล้ว จงึ เรยี กให้
หลานชาย ซ่ึงเป็นหลานรักคนน้ีข้ึนไปบนเรือน เมื่อเปิดประตูเข้าไป ลุงป้าของท่านต่างก็เข้ามา
จับมือของท่าน และเชิญให้ท่านนั่งบนผ้าท่ีปูเตรียมไว้อย่างดี เหมือนปูผ้าอาสนะถวายพระเถระ
แต่ท่านก็ไม่ยอมนั่ง ลุงป้าต่างได้คะยั้นคะยอขอให้ท่านนั่ง ท่านตามใจลุงป้าของท่านจึงยอมน่ัง
พอนงั่ แล้ว ปา้ ก็กราบ ลุงก็กราบ
“ใจคอไมด่ แี ล้วว้า” หลวงป่วู ่าอยา่ งน้ัน เราก็เดก็ ตัวเล็กๆ โอ้โห ! ปา้ ลุงมากราบ
แล้วลุงของท่านกพ็ ดู ขนึ้ มาว่า “โอย้ ! หลาน ขอใหบ้ วชฉลองลุงซักหนอ่ ย ลงุ ได้ซือ้ ขา้ ว
ซอื้ ของ (เครื่องบวช) แล้ว นึกว่าเณรวดั เราอายุพอ แต่บังเอญิ ไปถามอาจารยว์ ่าองค์ทพ่ี อ ก็คนอืน่
จองแล้ว มีแต่เณรก็อายุยังไม่พอ เป็นความผิดของลุงเอง ไม่ได้ไปปรึกษาหารือครูบาอาจารย์
นึกเอาเอง ไปซอ้ื แล้วก็ไมถ่ ามดอู ายุนี้ อายุไมค่ รบ ๒๐ ซักองค์เลย คือ ๒๐ คนอื่นบวชแลว้ เหตุน้นั
อย่าให้เสยี ศรทั ธาลงุ ขอใหบ้ วชให้ลงุ หนอ่ ย”
“เอ้ ! ไม่อยากบวชนะ ลุง”
“เอา้ ! บวชหนา บวชๆๆ ลงุ ใหบ้ วช ๓ วันกเ็ อา ๗ วนั ก็เอา ขอให้บวชใหล้ ุง ลุงพอใจแลว้ ”
ป้ากบั ลงุ น้ันจะคยุ ด้วยกับหลาน กพ็ นมมือด้วยน่ี ยงั กะคุยกบั สงั ฆราช สุดทา้ ยหลวงปู่
ซง่ึ เปน็ หลานก็ใจอ่อนเลยตดั สินใจบวช “เอาก็เอา” ก็เลยบวช แต่ทา่ นจะตอ้ งไปขออนญุ าตและ
บอกลาบิดามารดาก่อน
บดิ ามารดาของท่าน เม่อื ได้ยินลูกชายมาเล่าเร่ืองที่ลุงป้าขอให้บวช ทา่ นทงั้ สองกไ็ มข่ ดั ข้อง
และร้สู กึ ดีใจกบั ลูกชาย เพราะเป็นความประสงคข์ องท่านท้งั สองอยูแ่ ล้วทีอ่ ยากใหล้ กู ชายบวชให้
จงึ ไดอ้ นุญาตตามท่ลี ุงปา้ ขอ พร้อมกับกล่าวค�ำอนุโมทนาสาธกุ าร แสดงความยินดกี ับลูกชาย
เปน็ อยา่ งยิ่ง”

8
ภาค ๒ อุปสมบทเป็นพระฝ่ายมหานิกาย

พ.ศ. ๒๔๔๓ อุปสมบทเป็นพระในฝ่ายมหานิกาย

เม่ือหลวงปู่ท่านได้รับอนุญาตจากบิดามารดาให้บวชแล้ว ท่านก็ได้เข้าไปอยู่เป็นศิษย์วัด
เพอื่ เขา้ ไปเรียนรธู้ รรมเนยี มของพระ และฝกึ หดั ขานนาคเตรยี มตวั ท่จี ะบวช ทา่ นได้ทอ่ งขานนาค
จนคล่องข้นึ ใจ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ขณะนัน้ ทา่ นมีอายไุ ด้ ๒๑ ปี ท่านไดเ้ ข้ารบั การอปุ สมบทเป็น
พระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนาคร้ังแรกในฝ่ายมหานิกาย ณ วัดโพธ์ิชัย อ�ำเภอท่าอุเทน จังหวัด
นครพนม พระอุปัชฌาย์ ต้ังนามฉายาว่า “อจลธมฺโม” แปลว่า ผู้มีธรรมอันม่ันคง
ท่านพระอาจารยไ์ ท านุตฺตโม เมตตาเลา่ ต่อไปวา่
บวชได้ ๓ วนั ลุงไปถาม “อยากสกึ หรือยงั หลาน ถา้ คณุ หลานอยากสึกบอกลงุ ลุงจะรับรอง
ทกุ อย่าง”
หลวงปตู่ อบว่า “ยังๆๆ”
เม่ือหลวงปู่ต้ือ บวชครบ ๗ วัน ลุงของท่านได้มาท่ีวัด ไปถามพระหลานชายอีกว่า
“คุณหลานเป็นยงั ไงจติ ใจ ต้องการจะสึกหรือยังไม่สกึ ถ้าสกึ จะได้กลับไปจัดเสื้อผา้ มาให้”
“สงสัย มนั จะ ๗ วันสกึ ไปไมไ่ ดห้ รอกลงุ อายเขา ยถา สพั พฯี ก็ยังไม่ได้ แค่ ๗ วัน
บวชสึกออกไปแลว้ เขาเลา่ ว่าไอ้ทดิ ๓ เพล กนิ ขา้ วเพล ๓ ครงั้ ก็สกึ เขาเล่าลอื มันไม่สวยมัง้
ขอตลอดพรรษาเถอะลุง” ลงุ กส็ าธุ กราบอีก โอย้ ! พอใจ กราบแลว้ กราบอีก กราบคุณหลาน ให้มา
จ�ำพรรษาอยู่ เขาเรยี ก วัดธาตุ

คิดต้ังใจบวชตลอดชีวิต

หลวงปู่ตอื้ อจลธมฺโม ทา่ นมคี วามคิดตัง้ ใจบวชตลอดชวี ติ ดังพระธรรมเทศนาที่ทา่ นได้
แสดงไวด้ ังนี้
“ผ้ทู ่ีจะสรา้ งบุญสร้างกศุ ลกเ็ หมอื นกันนั่นแหละ มันมาจากใจนนั่ แหละ คดิ ไว้เสียก่อน
เรยี กว่า คดิ ในทางท่ดี ี เม่อื คิดว่าพวกเราจะตอ้ งเป็นผเู้ สียสละ วันนี้จะรักษาศีลห้า วันพระจะใหท้ าน
การกุศล จะนัง่ หลบั ตาภาวนาพทุ โธ คำ�่ มาจะไปสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนา เท่ากบั ว่ามาตาม
ความคดิ คือวา่ คิดในทางท่ีดี ผลสุดท้ายความคดิ นีพ้ ากระทำ� กท็ ำ� ไปทางที่ดี คอื รักษาศีล ใหท้ าน
ภาวนา

9

อาตมาทม่ี าบวชในพระพทุ ธศาสนานี่ก็เหมอื นกนั มาดว้ ยความคิดเหมอื นกัน บวชแลว้
ก็คิดเอา บวชแล้วจะไมส่ กึ ถ้าอุปชั ฌายไ์ ม่พาสึก ก็เลยอยตู่ ามความคิดของตนน้ัน อุปัชฌาย์
ไมพ่ าสกึ สกั ที เลยไม่ขอสึกละ่ ทีนี้ เอาไปเอามาอุปชั ฌาย์พาตายในผ้าเหลือง ทนี ค้ี ดิ อกี ที เราจะ
ตายเหมอื นกับอุปชั ฌาย์ ตายคาผ้าเหลืองเหมอื นกนั นน่ั แตม่ ันจะเป็นอยา่ งไรกค็ อยฟงั ดูก็แล้วกนั
เช่อื อุปัชฌาย์ไมพ่ าสกึ ก็ผ่านไปแล้วล่ะ เพน่ิ บส่ ึก (ทา่ นไม่สกึ ) เพน่ิ ตายแล้ว มาคิดอกี ตอนจะตาย
น่ันแหละ
เราจะตายเหมอื นอปุ ชั ฌาย์ คือ ตายคาผ้าเหลอื งเลย น่ผี ลสดุ ท้ายมันจะเป็นอยา่ งไร ก็ขอให้
ญาตโิ ยมคอยฟงั คอยดูไปวา่ จะตายอยา่ งไร ไม่ตายงา่ ยหรอก มาจากความคิดทัง้ นั้นแหละ
เพราะฉะน้นั จงึ ว่าขอใหค้ ดิ ดี อย่าไปคดิ ชัว่ คร้นั ถ้าคิดชว่ั คือ คดิ ดว้ ยจติ อกุศลน่ันแหละ
มันเปน็ อยา่ งนัน้ อันนี้ฉนั ใด คณุ งามความดที เ่ี ราท่านทง้ั หลายประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ มนั ไมไ่ หลไปไหนดอก
ขอให้พากันเข้าใจ...”
“...คนเรามนั คดิ เรื่องความคดิ นน่ั แหละ มันตายเพราะความคิด คนชวั่ มันกค็ ดิ ชัว่ มันจึงได้
ทำ� ชั่ว ผทู้ ำ� ดกี ค็ ิดดี …อยา่ งพระพุทธเจา้ ของเรา พระองคก์ ็เริ่มต้นดว้ ยการคิดดี คอื คดิ อยากเป็น
พระพทุ ธเจา้ ทา่ นกแ็ สวงหามรรคผล
มรรค ก็คือ การปฏบิ ัติ แสวงหาอยู่ ๖ ปี น่ันแหละ จึงหาถกู ทาง จึงไดเ้ ปน็ พระพทุ ธเจ้า
พระองคค์ ิดเสยี ก่อน พระอรหันตข์ ีณาสพกเ็ หมอื นกัน ทา่ นคดิ เสยี ก่อน เมื่อทา่ นฟงั ค�ำสอนของ
พระพุทธเจ้า คือศลี คอื สมาธิ คือปัญญา แล้วกค็ ดิ ซีทีน้ี สรา้ งจติ ใจให้เปน็ ศีล เปน็ สมาธิ เป็นปัญญา
ฆ่ากิเลส โลภ โกรธ หลง ออกไป ท่านกเ็ ลยหมดกเิ ลสเป็นพระอรหันต์…”

การบวชทดแทนคุณบิดามารดาประเสริฐท่ีสุด

ตามประวตั ิ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม กเ็ หมือนกบั พอ่ แม่ครอู าจารยอ์ งคส์ �ำคัญทง้ั หลาย ทไี่ ด้
ออกบวชประพฤตปิ ฏิบัติธรรมตลอดชีวติ เพอ่ื ทดแทนคุณบดิ ามารดา เชน่ หลวงปเู่ สาร์ หลวงป่มู น่ั
หลวงปู่ฝัน้ หลวงปู่แหวน หลวงตาพระมหาบวั ฯลฯ
หลวงปตู่ ื้อ อจลธมโฺ ม ตลอดชวี ิตบรรพชิตของทา่ น นบั แตท่ ่านไดอ้ อกบวชตั้งแต่วยั หน่มุ
ท่านไดจ้ ากบิดามารดาบพุ การผี มู้ ีพระคุณ ได้จากญาติพ่นี อ้ งทเี่ คารพรักและสนิทสนมคุน้ เคย และ
ไดจ้ ากบา้ นขา่ อันเป็นบา้ นเกดิ ถ่นิ ทท่ี า่ นเคยใชช้ วี ติ ว่งิ เล่นอย่างสนุกสนานกับเพอ่ื นๆ ต้งั แต่เยาวว์ ยั
เพ่ือไปศึกษาปริยัติธรรม ต่อมาเม่ือหลวงปู่ออกประพฤติปฏิบัติธรรม ท่านก็ถือพระธรรมวินัย

10

ถอื ธดุ งควตั รดว้ ยความเครง่ ครดั และไดอ้ อกเดนิ ธดุ งคต์ ามปา่ ตามเขา พเนจรไปอยใู่ นทตี่ า่ งถนิ่ หา่ งไกล
จากบ้านเกดิ คร่ำ� เครง่ ตั้งใจปฏิบตั สิ มถะ – วิปัสสนากรรมฐานอยา่ งอุกฤษฏ์ จนบรรลุอรยิ ธรรม
ข้ันสูงสุดเป็นพระอรหนั ตสาวก การออกบวชของหลวงปู่ตือ้ จงึ ถอื ว่าเปน็ การทดแทนพระคุณบดิ า
มารดาอย่างดีเยี่ยมประเสริฐทส่ี ดุ ดังนี้
“บิดามารดาเป็นบุพการี เปน็ ผมู้ พี ระคุณมากล้น สดุ ท่ลี ูกจะตอบแทนไดห้ มด เพราะบดิ า
มารดาเปรียบประดุจเปน็ พรหม เป็นเทวดา เป็นพระ และเป็นครคู นแรกของลูก”
องคส์ มเด็จพระสมั มาสมั พทุ ธเจ้าไดต้ รสั อปุ มาการตอบแทนคุณบดิ ามารดาไว้ ดังนี้
“ภกิ ษุทงั้ หลาย (ถ้า) บคุ คลจะเอาบา่ ขา้ งหนง่ึ แบกมารดาไว้ เอาอกี ขา้ งหนึ่งแบกบดิ าไว้
มีอายุยนื ได้ ๑๐๐ ปี มีชีวติ อยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ทง้ั ปรนนบิ ัติทา่ นด้วยการอบ การนวด การให้อาบน้�ำ
และการดดั กายทา่ นท้ัง ๒ และใหท้ า่ นถ่ายมูตร (อจุ จาระ) และกรีส (ปสั สาวะ) บนบา่ นั้นนั่นเอง
แต่หาได้ชือ่ ว่าปรนนบิ ัตหิ รอื ทำ� การตอบแทนคณุ มารดาบิดาไมเ่ ลย
ภิกษทุ ้ังหลาย และจะสถาปนามารดาบดิ าไว้ในไอศวรรยาธปิ ตั ยร์ าชสมบตั ใิ นพนื้ มหาปฐพนี ี้
ท่มี รี ตั นะท้ัง ๗ เพยี งพอ ก็ไม่ชือ่ วา่ ปรนนิบัตหิ รือทำ� การตอบแทนคุณมารดาบิดาไดเ้ ลย
ภิกษุทง้ั หลาย ข้อน้นั เพราะเหตุไร ?
ภกิ ษทุ ง้ั หลาย เพราะมารดาบดิ ามอี ปุ การะมาก เปน็ ผกู้ ลอ่ มเกลย้ี งเลย้ี งดบู ตุ ร แสดงโลกนี้
แกบ่ ุตรทัง้ หลาย
ภกิ ษุทัง้ หลาย บุตรคนใดแลชักชวนมารดาบดิ า ผไู้ ม่มศี รัทธาให้ตง้ั มนั่ ให้ประดิษฐานอยูใ่ น
สทั ธาสัมปทา ผู้ไม่มศี ลี ในสลี สัมปทา ผตู้ ระหนใ่ี นจาคสมั ปทา ชักชวนทา่ นผทู้ รามปัญญาให้ตัง้ มนั่
ใหป้ ระดิษฐานอยใู่ นปญั ญาสัมปทา ดว้ ยเหตเุ พียงเทา่ นแ้ี ล ภิกษุทงั้ หลาย การปรนนบิ ตั เิ ปน็ อนั บตุ ร
ได้ท�ำแลว้ ได้ตอบแทนแลว้ และไดท้ �ำใหย้ ง่ิ แล้วแกม่ ารดาบดิ าท้งั หลาย”
“การบวชสามารถยังประโยชนใ์ หเ้ กดิ ขนึ้ แกบ่ ุพการไี ด้ท้ังโดยตรงและโดยออ้ ม
โดยตรง คือ ทำ� ให้บิดามารดาหรอื ผู้มีพระคณุ ท่ีเปน็ ท่รี กั มีความอม่ิ ใจ มคี วามสขุ
โดยออ้ ม คือ เปน็ โอกาสหรือชอ่ งทางใหบ้ ิดามารดา หรือผู้มพี ระคณุ ทเี่ ป็นที่รกั ทง้ั หลาย
ได้มโี อกาสใกล้ชดิ พระพุทธศาสนามากขน้ึ และอาจเปน็ สาเหตทุ �ำใหท้ า่ นมโี อกาสไดร้ บั การพัฒนา
คุณธรรมภายในตนใหส้ ูงข้ึนไปดว้ ย ย่ิงถ้าหากผ้บู วชได้เป็นผชู้ กั น�ำให้ท่านเหลา่ นนั้ ไดส้ ดับรับฟัง

11

พระธรรมเทศนา หรอื ได้ปฏบิ ตั ธิ รรม จนเกิดศรัทธา มีศลี รู้จักเสยี สละ และมปี ญั ญา กย็ ่อม
เป็นคุณค่าท่ีสอดคล้องกับหลักการตอบแทนผู้มีพระคุณ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงสอนว่า เปน็ การตอบแทนพระคณุ ท่ีดที สี่ ุด”
นอกจากน้ี การบวชของหลวงปู่ต้ือ ไม่เพียงจะเปน็ ประโยชนเ์ ฉพาะครอบครัวของหลวงปู่
เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์และเป็นคติแบบอย่างอันดีงามให้กับกุลบุตร กุลธิดา ชาวบ้านข่า
อ�ำเภอศรีสงคราม จงั หวัดนครพนม และพุทธบริษัทผูม้ จี ติ เลอื่ มใสศรทั ธาท่ัวไป จะได้ออกบวช
เจริญรอยตามหลวงปู่ ซึ่งต่อมาภายหลงั ได้มลี กู หลานชาวบ้านข่า ผู้ชายไดอ้ อกบวชตดิ ตามหลวงปู่
โดยถวายตัวเป็นศิษย์และปฏิบัติธรรมตามรอยองค์หลวงปู่จนมีช่ือเสียงโด่งดังก็หลายท่าน ส่วน
ผู้หญิงก็ได้ถืออุโบสถปฏบิ ตั ิภาวนาทวี่ ัดป่าอรญั ญวิเวก และในปัจจบุ ันนีล้ กู หลานชาวบา้ นข่ากไ็ ด้
สืบทอดประเพณอี นั ดงี ามนีเ้ รื่อยมาตราบเท่าทกุ วันนี้

บวชแล้วยังดื้ออยู่เหมือนเดิม

ท่านพระอาจารย์ไท านุตฺตโม เล่าถึงเหตุการณ์ขณะที่หลวงปู่บวชใหม่ๆ มีอุปสรรค
ท่านร�ำคาญคนคุยเรือ่ งหนังเหนียว เลยเอามดี ไล่แทงบา้ ง เอาค้อนไลต่ ีบ้าง จนญาติของทา่ น
เอย่ ปากวา่ ท่าน “บวชแลว้ ยังดื้ออยเู่ หมือนเดมิ ” ดงั นี้
“วดั ธาตุ เด๋ยี วนี้มนั เป็นอนามัย อยูท่ างตะวันตกบ้าน สมัยนั้นเขาเรียก โบราณมันกิน
ข้าวเหนียวนี่ภาคอีสาน จักตอกเหลาข้าวเหนียว* ท�ำตอกข้าวเหนียวน่ี มีอีตาคนหนึ่งว่ามาจาก
ทองคงุ มาคุยว่าหนงั เหนียว “โอ้ ! คุณหลาน คาถาผมนเ่ี กง่ แทงบาทตอ่ บาท (แทง ๑ ครง้ั ให้
๑ บาท)” แทงตาเอาสิทีนี้ “ให้เจ้าแทงบาทนงึ มา (แทง ๑ ครัง้ ) ข่อย (ขา้ ) สเิ อาเงนิ ให้บาทนึง
(หน่ึงบาท)”
“เจา้ จะมาคุย เด๋ยี วเจา้ จะตายนะ”
“โอ้ย ! บาทต่อบาท”
เงินไปเทศน์กเ็ อามาไว้ ก็ประมาณ ๓ – ๔ บาท ก็ไปจับเงนิ มาดๆี แล้วท้งิ ให้ ก็มีดเหลาตอก
ก็ไลแ่ ทงใหเ้ ลย โอย้ ! เขา้ เกยี รห์ มา ทีน้ีก็ออกขา้ งนอก ไลแ่ ทง

*จักตอก คือ เอามีดผา่ ไมไ้ ผใ่ ห้เป็นเส้นแบนบาง สำ� หรบั ใชผ้ กู มัด หรือสานเปน็ กระตบิ ขา้ วเหนียว
กระบุง ตะกรา้ หรือเคร่อื งใชต้ ่างๆ

12

กอ็ อกไปฟอ้ งผใู้ หญ่บา้ น อผี ้ใู หญ่บ้านกเ็ ปน็ โยมตาผม (ตาของทา่ นพระอาจารย์ไท) บอกว่า
“มีครูบาใหญ่ผหู้ นึ่ง องค์สีดำ� ๆ ตาลึกๆ คยุ บ่ได้ (จะโม้ด้วยไม่ได)้ ครบู าน่กี ม็ ดี ไลแ่ ทง”
“โอ้ ! คุณต้อื ไมม่ ีผใู้ ด คุณตอ้ื แหงๆ เลย”
ตอนเย็นกพ็ อ่ ออกตามาแลว้ “วา่ ยังไง คุณหลาน เห็นเขาไปฟอ้ งเม่ือกน้ี ี้ ว่าเอามีดไปไล่
แทงเขาหรอื ไงน่ี”
“โอ้ ! ว่าร�ำคาญ คยุ วา่ เหนยี วนักน้นั โอ้ย ! เจ้าอย่ามาคยุ ขนาดยุงตัวเล็กๆ กัดก็ยงั เขา้
โอย้ ! ข้าเรยี นมาแลว้ บาทตอ่ บาทแทง มนั รำ� คาญ ก็ทงิ้ เงินกณั ฑเ์ ทศน์ ก็ไล่แทงเอานนั้ แหลว่ (แลว้ )”
“โอย้ ! เจา้ นีย่ ังไงนอ้ น่”ี
กอ็ ยไู่ ปอีก “โอ้ ! เวรกรรม” หลวงปูต่ ้อื ว่าอย่างนน้ั มแี ต่อปุ สรรคอย่นู ี้ ยังไมถ่ งึ ๒ เดือน
อตี าคนหนง่ึ มาคมค้อนนี้ละ่ นี่ หลวงป่วู า่ “เขา้ มาเวยี นตายอีกแล้ว”
อีตาคนนัน้ พดู ว่า “คาถา ขอ่ ย (ข้า) เรยี น เจา้ จะเอาบ่ (เอาไหม) ขันตัง้ ๖ บาท คุณหลาน
ค้อนตบี ่ (ไม่) ได้ บแ่ ตก ตีหวั ก็บเ่ จบ็ ”
หลวงปู่ “อย่ามาวา่ อยา่ งน้นั นะ”
“อยากให้คณุ หลานได้เรยี นเน่ยี มาขอข้าว ๑๐ บาท ขา้ วแกงนั้นนะ”
มาขอข้าวกนิ ยังมาเวียนตายแท้
“ถา้ แนน่ อนจรงิ ๆ แลว้ กห็ ากทดลองดแู ลว้ กจ็ ะเรียน”
“แหม ! รบั รองไดแ้ ท้ๆ คาถาผมนี”่
คณุ หลานนั้นเอาค้อนตีโปง ปัดโธ่ ! คอ้ นตีระฆงั เรากย็ ังน้อย รบี ไปเอาคอ้ นตีโปงไล่ตี
ตาคนนั้นก็ว่งิ ออกต้นตะครอ้ กป็ ล่อยเข้าบ้าน ไปฟอ้ งคณุ อดุ ม ก็ตาผมอกี (ตาของทา่ น
พระอาจารย์ไท)
“ครบู าองค์สดี ำ� ๆ ตาลกึ ๆ บไ่ ด้ คยุ เล่นบ่ได้ ค้อนไลต่ เี กอื บตาย”
ตอนเย็นเขา้ มา “ทำ� ไมคณุ หลานนี่ เอะอะ ไล่ตเี อาญาตโิ ยม”

13

“โอย้ ! กม็ าคยุ แตเ่ รอื่ งหนงั เหนียว มนั ร�ำคาญ”
“โอ้ย ! คณุ หลานน่ี บวชแลว้ กย็ ังดอ้ื อยู่เหมอื นเดมิ เลย” กเ็ ลยรู้แลว้ รรู้ อดกันไป”

บอกเทวดาเข้าพรรษา

ท่านพระอาจารยไ์ ท านตุ ฺตโม ไดเ้ ลา่ เร่อื งหลวงปูต่ ้อื ตะโกนบอกเทวดาเข้าพรรษา ดังนี้
“บวชแล้วพอ่ อาจารย์สังข์ (พ่อของหลวงป่สู งั ข)์ นี่ เป็นพระใหมด่ ว้ ยกัน เขา้ พรรษาน่ใี ห้ไป
บอกเทวดาจะไดป้ ระเพณีโบราณ ต้นโพธใิ์ หญอ่ ยู่หน้าวดั บอกคุณเฮ้า (พ่อของหลวงปู่สังข)์ ไปบอก
เทวดาไป พรุ่งน้ีจะเข้าพรรษาแล้ว ไป
ครูบาเฮ้ามาบอกหลวงปตู่ ้อื นี่ “โอย้ ! ครบู า (หลวงปู่ตอื้ ) ไปบอกเทวดาให้หลวงลุงหนอ่ ย
หลวงลุงบอกใหไ้ ปบอกเทวดา ผมพดู คนเดยี ว ผมอาย”
ก็ไปแหล่ว (แล้ว) ดอกไม้ธูปเทยี นก็จุด บอกว่า “เทวดา วันพร่งุ นี้ ครบู าอาจารย์เพนิ่ (ท่าน)
จะเข้าพรรษา เทวดาองค์ใดมีศีลมีธรรมก็อยู่ เทวดาองค์ใดไม่มีศลี มธี รรมกอ็ ย่าอยู่ ให้หนี”
กม็ าแหลว่ สกั พกั อาจารยใ์ หญม่ าแหล่ว “เอา้ ๆๆ ใครไปบอกเทวดา เจา้ ไปบอกหรอื ยัง”
“ผมไม่ไดไ้ ป ผมบอกคุณตอื้ ไปครับ ผมพูดคนเดยี ว ผมอาย”
“มันกย็ ังมาพดู เบาแท้ หือ ! อปี ากมนั กนิ ขบี้ อ้ (เหรอ) ปดั โธ่ ! มึงข้ึนไป ! ไปบอกกนั อีก
เด๋ียวน”้ี
ไปตะโกนที่ศาลาก็ “เทวดา เอย้ วนั พรงุ่ น้ญี าคใู หญเ่ พ่ิน (ทา่ น) จะเขา้ พรรษา องคไ์ หน
มศี ลี มีธรรมกอ็ ยู่ องคไ์ หนไม่มีศีลมีธรรมใหห้ นี ค้อนตกใส่หวั เทวดาวันน้ี !” หลวงปตู่ ้อื ว่า
พระอาจารยใ์ หญเ่ ข้าหอ้ งเลย “บไ่ ดๆ้ คุณหลานน้ีด้ือ ไปวนุ่ วายบ่ได”้ ผู้เฒา่ ว่าอย่างนนั้

ตอนจะไปเรียนมูลกัจจายน์

หลวงปู่ตือ้ อจลธมฺโม เม่อื เปน็ พระบวชใหม่ในฝ่ายมหานิกาย การประพฤติปฏบิ ตั ิตามหลกั
พระธรรมวนิ ยั ในสมยั นนั้ เป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ปฏิบตั แิ บบผิดๆ พลาดๆ และกป็ ฏิบตั สิ บื ทอดกันมา
เช่น การลงอุโบสถปาฏิโมกข์ พระในวัดทุกองค์ต้องลงพร้อมกัน แต่ท่ีปฏิบัติกันสมัยน้ันไม่ได้ลง
พร้อมกัน ต่างองค์ตา่ งลง เป็นต้น หลวงปูต่ อื้ ทา่ นจงึ ตกลงใจไปเรียนมูลกัจจายนก์ บั หลวงปูส่ ที ัตถ์

14

วดั พระธาตุทา่ อุเทน อำ� เภอทา่ อเุ ทน จังหวดั นครพนม
ท่านพระอาจารยไ์ ท านตุ ฺตโม ไดเ้ ล่าเรอื่ งนี้ไว้ดังนี้
“ตอนอยูไ่ ป น้ตี อนจะไปเรยี นมลู กจั จายน์นี่ ลกู ศษิ ย์ท่านเจา้ คุณหลวงปจู่ นั โท หลวงปู่จันโท
บา้ นทองกก – นามน ใกล้ๆ สกลนคร เปน็ หลวงปู่ทคี่ นเคารพนบั ถือมาก เปน็ พระผู้เฒ่า
“ไป แขกในวัดมากเด้ (มากนะ) พระในวดั มาก ก็วันอุโบสถนี่” หลวงปตู่ ื้อวา่ ก็ตฆี ้อง
โหม่งๆๆ “อโุ บสถๆ” หม่หู นงึ่ วา่ “โอ้ย ! ขา้ ยงั งว่ งนอนอยู่เลย โอ้ย ! นอนก่อน ไอ้เครือ่ งกรงุ เทพฯ
กอ่ น (ใครไปถงึ กอ่ น) ก็ไปลงก่อนเด้อ พวกผมจะไปสวดทหี ลงั พวกผมยงั ง่วงนอนอยู”่ ก็แลว้ กันไป
ตอนเยน็ มาครูบาลกู ศษิ ย์หลวงปจู่ นั โทน้ัน “เอ ! มนั ไม่ใช่นะครูบา ผมอย่กู บั หลวงปู่ใหญ่
ท่านบอกพระในวดั ทกุ องคต์ ้องลง ถ้าองคใ์ ดองคห์ นึง่ ไมร่ วม ปาฏโิ มกข์ไมส่ มบรู ณ์ ตะกน๊ี ท้ี �ำไม
ว่าใครขเ้ี กยี จก็นอนไปกอ่ น เพราะยังงว่ งนอน องค์ไหนไปก่อนก็สวดไปเถอะ ขา้ จะไปสวดทีหลงั
ข้าก็สวดได”้
“ไมไ่ ด้”
“ก็ทำ� ยังไงกไ็ ม่รู้ละ่ ครูบาอาจารยค์ รับ ผมท�ำมาอย่างนี้” เขาวา่
แต่ผลสุดทา้ ยก็ไป ไปคยุ กับครูบาอาจารย์ “โอย้ ! ก็เคยท�ำมาอยา่ งน้ี ขา้ ก็บวชมาหลายปี
ก็เคยท�ำอยา่ งนี”้
ยังสงสัยอยใู่ นจิต “เอ๊ ! ท�ำไมมันเปน็ อย่างน”้ี
ครบู าอาจารย์กด็ ไู ม่เชอ่ื เร่ืองหลวงป่ตู อ้ื นี่ เชือ่ หลวงปู่ใหญ่ หลวงปูจ่ ันโท เพราะอันนีม้ นั ก็
เรือ่ งมเี หตุผล แต่อันน้กี ธ็ รรมดา พดู งา่ ยๆ อนั น้นั ทั้งบา้ นท้ังเมอื งเล่าลือ เหมอื นกับหลวงปู่แหวน
น่ีแหละ บะ๊ ! อยู่บา้ นเฉยๆ มแี ตก่ ินข้าว กับ ยถาฯ ใหแ้ มอ่ อก มันจะไปรู้อะไร งน้ั ไปเรียนหนงั สือ
ดกี วา่ กล็ า”

เทศน์เก่งกว่าพระในเมือง

ท่านพระอาจารย์ไท านตุ ฺตโม เล่าถงึ หลวงปตู่ ้ือเทศน์เกง่ ตั้งแตท่ ่านยงั เป็นพระหนุ่ม
ขณะไปเรียนมูลกัจจายน์ ดงั นี้

15

“ลาครูบาอาจารย์ กไ็ ปอยกู่ ับหลวงปสู่ ีทัตถ์ เมอื งท่าอเุ ทน จังหวดั นครพนม ไปเรยี นหนังสอื
เรียนมูลกัจจายน์ ไปเรียนหนังสืออยู่ได้ ๔ ปี หลวงปตู่ ือ้ วา่ ไปเรยี นมลู กจั จายน ์
แต่วดั บา้ นนอกถงึ ประเพณแี ลว้ กต็ อ้ งไปรวม เขาวา่ เมอื งใหญ่ ไปรวมวดั คณะใหญ่ มีงาน
ประเพณจี ัดท�ำบญุ คลา้ ยๆ บุญวัดพระศรฯี ท่ผี ม (ท่านพระอาจารย์ไท) ไปน่นั งานประจ�ำปวี งการ
แตใ่ นวงการท้ังอ�ำเภอไป หลวงปู่ต้ือไปอยูท่ างพู้น (ทางโนน้ ) แลว้ อาจารยผ์ ้เู ฒ่า (หลวงปตู่ ือ้ )
มาแล้วนะนี่ กไ็ ป เทศนด์ ้วยเสยี ง เทศน์มหาชาติ
ไปถึง “คุณต้ือ โอย้ ! เจา้ เทศนใ์ ห้ข้าหนอ่ ยเถอะ”
“โอ้ย ! ท่านนมิ นต์ผมมาเทศน์ละ่ ครบั เทศนไ์ ม่ได้ มแี ต่นกั เทศนเ์ อก นกั เทศน์โท
นกั เทศนต์ รี ทง้ั น้ันแหละ ผมอาย เทศนไ์ มไ่ ด้ ผมกเ็ ทศน์อยู่ เทศนอ์ ยู่บ้านนอกนัน้ อนั น้กี ็มาจากนั้น
มีแตน่ กั เทศนเ์ สียงดีๆ เล่าลอื ผมเทศนไ์ มไ่ ด้”
“ไม่ ไม่เทศน์ๆ”
“เอา ! เทศน์นะคุณหลาน ขอใหเ้ ทศน์หน่อย”
ไปเทศน์ เทศนเ์ ก่งสู้หลวงปู่ตอ้ื ไม่ได้ หลวงปู่วา่ องคน์ นั้ ก็เหน็ นักเทศนเ์ อกมาก็จะเรง่
เต็มสตรมี (Stream) ไมไ่ ด้ (เร่งเต็มทไ่ี มไ่ ด)้ อายกนั องค์นี้กอ็ ายองค์น้ัน องค์นนั้ ก็อายองคน์ ้ี เสยี งมนั
เลยไม่เข้าทิศเข้าขน้ั สกั ทเี ลย ต่างคนตา่ งไวล้ ายกัน
เรียกวา่ สงั คมบ้านนอกสมยั เก่า จะเล่นหลวงปตู่ ้ือเรา “อา้ ! นคี่ ุณหลาน (หลวงปูต่ ้อื ) มาจาก
บา้ นขา่ มาเรียนหนังสอื อยู่น่ี เอ้า”
หลวงป่เู สียงดี หลวงปตู่ ้อื โอย้ ! เทศนก์ ัณฑม์ ทั รี หรือมหาราช ก็ใสอ่ ยา่ งแรง เต็มทเ่ี ลย
ปดั โธ่ “คนฟังขนาด” (คนฟงั มาก) เพิ่น (ท่าน) วา่ “พระโพธริ าชเป็นโยมอบุ าสก ยกมอื ใสห่ วั กบั ผา้
๑ ไตร กับถวายเป็นเงนิ ก่บี าท โอ้ย ! เงินราว ๓ – ๔ – ๕ บาท นนั่ แหละ ไม่มากหรอก
๓ – ๔ – ๕ บาท สมยั ก่อนก็ไมใ่ ช่ของน้อยอะไรส”ิ
“โอ้ย ! นกั เทศน์ในเมอื งในนาว่าเกง่ ๆ สนู้ ักเทศนบ์ า้ นนอกไมไ่ ด”้
“ก็รวย” หลวงปตู่ ือ้ ว่า

16

กลบั มาข่าวเล่าลือนีห่ มด ครบู าต้อื ไปเทศนอ์ ยู่ เงินสัก ๔ – ๕ บาท ๖ บาท กไ็ ด้อยู่ ผา้ ก็
๒ – ๓ ไตร แตก่ อ่ นกัณฑ์ละสลึงนี่กบ็ ุญแลว้ มันไมถ่ งึ ๒ – ๓ สตางค์ จะว่าไง
ส่วนหลวงลุงผู้เฒา่ ได้ข่าวว่าหลานรวย “โอย้ ! คุณตอื้ ขา่ ววา่ เจ้าเทศนร์ วย มาแบ่งกนั เถอะ”
“บๆ่ บ่ให้ๆ (ไมใ่ ห้ๆ) ทา่ นหรอก กเ็ ขาใหน้ มิ นตม์ าเทศน์ ท�ำไมไมเ่ ทศน์ ก็เทศน์อยูค่ นเดยี ว
เทศน์แลว้ มาหาแบ่งกัน ไม่เอาๆๆ”
“อ้าว ! เจ้าคุณหลานน”่ี คยุ กนั นะ
พูดอย่างนแ้ี ล้ว “กต็ นเองไม่เทศน์ กผ็ ู้อน่ื อย่าถาม แลว้ กจ็ ะมาหาขอเอาหรอก เขานมิ นต์
ตนเองให้เทศน์ กไ็ ม่ๆ ไม่เทศน”์ เลยไมใ่ หส้ ักสตางค์ นห่ี ลวงปู่ว่า
“นีเ้ ขานมิ นต์มาเทศน์ เจา้ ของเทศน์ไมไ่ ด้ อาย ใหค้ นอืน่ เทศน์แลว้ ยงั จะมาขอแบ่งกนั
มนั ไม่เปน็ ธรรม” ท่านวา่ “ไม่ให”้ เลยไมใ่ ห”้

ประวัติย่อ หลวงปู่สีทัตถ์ าณสมฺปนฺโน

หลวงปู่สที ัตถ์ าณสมปฺ นฺโน อดตี เจ้าอาวาสวดั พระธาตทุ ่าอเุ ทน อ�ำเภอท่าอุเทน จงั หวัด
นครพนม พระเกจิอาจารย์ช่ือดัง วทิ ยาคมเขม้ ขลัง เปน็ ทเ่ี ลอ่ื งลือแห่งลมุ่ น�้ำสองฝั่งโขงไทย – ลาว
หลวงปู่สีทตั ถ ์ าณสมปฺ นฺโน ท่านเปน็ ชาวท่าอุเทนโดยก�ำเนดิ
ทา่ นเกิดท่ีหมู่ที่ ๔ ตำ� บลท่าอเุ ทน อำ� เภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๐๘
โยมบิดาชอื่ นายมาก โยมมารดาชื่อ นางดา สวุ รรณมาโจ
เมือ่ อายคุ รบ ๒๐ ปี ทา่ นไดเ้ ขา้ อปุ สมบทเป็นพระภกิ ษทุ ว่ี ัดโพนแก้ว อ�ำเภอทา่ อุเทน
จังหวดั นครพนม
หลงั จากอุปสมบทแลว้ ท่านไดศ้ ึกษาพระปริยัตธิ รรมทางบาลจี ากท่านพระอาจารย์ขนั ธ์
พระอาจารยผ์ ้มู ีวิทยาคมสูงยง่ิ แห่งวดั โพนแกว้ นน่ั เอง เมื่อเห็นว่ามคี วามรขู้ ้ันพืน้ ฐานดีแล้ว ท่านจึง
ได้ย้ายสำ� นกั ไปเรยี นอยู่กับ พระอาจารยต์ าค�ำ แหง่ วดั ศรีสะเกษในตวั เมอื งทา่ อุเทนเชน่ กัน
การเรียนในสำ� นกั ของพระอาจารยต์ าคำ� น้ัน ทา่ นมุ่งเรยี นในวชิ ามลู กจั จายนแ์ ละคมั ภรี ท์ ั้ง ๕
จนมคี วามร้แู ตกฉานในทางบาลเี ป็นอย่างดี ในสมัยน้นั การศกึ ษาทางฝ่ายปรยิ ตั ธิ รรม ยังไม่ไดแ้ ยก

17

เปน็ ชั้นเชน่ ทกุ วันน้ี คอื นกั ธรรมชั้นตรี โท เอก และมหาเปรียญแต่อย่างใด เพียงแตเ่ รยี นรวมกัน
ทเี ดยี วเปน็ ปี ๆ เลย
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ มีพระภกิ ษุ ๒ รปู ไดเ้ ปรียญธรรม ๔ – ๕ ประโยค เดินทางจากกรงุ เทพฯ
เพือ่ วดั ความรู้พระอาจารยส์ ีทตั ถ์ ขณะก�ำลงั สรา้ งพระธาตพุ ระบาทบัวบก ผูกประโยคเป็นภาษา
บาลีใหท้ ่านแปลเปน็ ภาษาไทยรปู ละ ๑ ประโยค ปรากฏวา่ ท่านสามารถแปลไดอ้ ยา่ งงา่ ยดาย
พระอาจารย์สีทัตถ์ ได้อุปสมบทและลาสกิ ขาไป ๒ ครั้ง ระหว่างนน้ั แตง่ งานมคี รอบครวั
มบี ุตรธิดา จนกระท่ังเกิดความเบ่อื หนา่ ยในเพศฆราวาส ไดเ้ ข้าพิธอี ุปสมบทครัง้ สดุ ทา้ ยปวารณาตวั
อยู่ในสมณเพศไปตลอดชีวติ
หลวงป่สู ที ัตถ์ ท่านเป็นพระที่มีบุญญาบารมสี ูงยิง่ จริงๆ และทา่ นมีอภินิหารแก่กล้ามาก
ทา่ นสามารถกอ่ สรา้ งพระธาตตุ า่ งๆ สำ� เรจ็ มาแล้วหลายแห่ง เช่น
พระธาตุทา่ อุเทน อำ� เภอทา่ อเุ ทน จงั หวดั นครพนม
พระธาตุพระพุทธบาทบวั บก อำ� เภอบา้ นผอื จังหวัดอดุ รธานี
มณฑปโพนสนั ประเทศลาว
โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ การสรา้ งพระธาตทุ า่ อเุ ทนนั้น หลวงปสู่ ีทตั ถท์ า่ นมคี วามสามารถสรา้ ง
เหมอื นพระธาตพุ นมสมยั ก่อนได้ ทั้งๆ ทีฐ่ านรองรับก็เพยี งขดุ หลุมแล้วใส่หนิ นางเรียง หรอื หนิ แก้ว
นางฝาน เป็นฐานรองรับพระธาตุซึง่ ยงั ไมท่ รดุ แต่ประการใด และมีอายุยาวนานมากวา่ ๗๐ ปแี ลว้
นับว่าเปน็ สิ่งมหัศจรรย์มิใชน่ ้อยทีค่ นในสมัยนี้คงไมม่ ีบารมีก่อสร้างได้เช่นท่าน เพราะการน�ำเอาหิน
แก้วนางฝานมารองรบั องคพ์ ระธาตไุ ดน้ ้ี นบั วา่ เป็นอภนิ ิหารอันแก่กล้าของท่านเหนือโลกจริงๆ
พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงปู่สที ัตถ์ ไดไ้ ปสร้างพระพทุ ธบาทบัวบก อ�ำเภอบ้านผือ จงั หวัดอุดรธานี
ได้ถกู สามเณรรปู หน่ึงท�ำร้าย โดยใช้ไม้ปลายแหลมแทงหนา้ อก ๒ – ๓ ครั้ง ก่อนใชไ้ ม้ตีพริกตกี า้ นคอ
๒ – ๓ คร้ังจนสลบ ญาตโิ ยมนำ� ไปรักษาท่ีโรงพยาบาลเวยี งจันทน์นาน ๑ เดอื น แต่ทา่ นไมไ่ ด้
เอาเรอื่ งกับผทู้ ีท่ ำ� รา้ ยทา่ นแตอ่ ยา่ งใด
หลังสรา้ งพระพุทธบาทบัวบกเสรจ็ ท่านไดข้ า้ มโขงไปธุดงค์กมั มฏั ฐานในฝ่ังลาว และได้สรา้ ง
มณฑปครอบพระพทุ ธบาท ที่บา้ นโพนสัน โดยจำ� พรรษาอยู่ทนี่ ั่นนาน ๖ ปี
หลวงปูส่ ที ัตถ์ ไดม้ รณภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ สริ ิอายุ ๗๕ ปี

18

ก่อนมรณภาพท่านไดส้ ั่งเสยี กับลูกศิษย์ ให้น�ำอัฐขิ องท่านโปรยลงในแมน่ ้�ำโขง
หลวงปู่สีทัตถ์ าณสมฺปนฺโน เป็นนามแห่งพระเถระท่ีคณะศิษย์และสาธุชนชาวเมือง
นครพนม ต่างเลือ่ มใสศรทั ธาน�ำคำ� ส่งั สอนไปปฏบิ ตั ิ ตราบเทา่ จนทกุ วันนี้

พาเณรไปบ่อพระแทนเอาแก้ว

ท่านพระอาจารยไ์ ท านุตตฺ โม เลา่ เร่อื ง หลวงปู่ต้อื ชวนเณรไปเอาแกว้ แลว้ เณรล้มปว่ ย
ตอ้ งน�ำแกว้ ไปคืนเจา้ ของถึงจะหายปว่ ย ดงั นี้
“มาเรยี นมูลกจั จายนอ์ ยู่ ไปบ่อพระแทน บอ่ พระแทนมนั ฝ่ังแม่นำ้� โขง ไปบ่อพระแทน
ฝง่ั แมน่ ำ�้ โขง มนั มแี กว้ ขนาดเทา่ กำ� มอื กำ� ปน้ั ใครเอามามนั เปอ่ื ย (ปว่ ย) บางทกี ล็ กั หนี คนอนื่ อยเู่ งยี บๆ
ไม่ไป ก็ชวนเณร ๓ องคข์ ึ้นเรือแลว้ ข้ามแม่น�้ำโขง เอาคนละเม็ดสองเมด็ หลวงปตู่ ื้อเอา ๓ เม็ด
มาถึงวัด เณรป่วย เขาก็ไปหาหมอดู หมอดเู ขากแ็ น่ (เกง่ จรงิ ) ยอมรับ หลวงปู่ว่า “เขาก็แน่
อันนไ้ี ดข้ องขาว สขี าวอยู่ มาจากทางไกล เจา้ ของเขามาตามเอา ถ้าอยา่ งนน้ั ไม่หาย”
“เณร ไปเอามาจากไหน ?”
“กไ็ ปเอาแก้วมากบั ครูบาตอื้ นัน่ แลว้ ”
“โอ๊ย ! เอาไปส่ง เอาไปส่ง”
ตอนเย็นมากค็ รูบาใหญ่ “ตื้อๆ เจา้ พาเณรไปเอาแก้วบอ้ เด๋ยี วน่ี ? (ใชไ่ หม)”
“บ่ (ไม่) ครบั ผมไมไ่ ด้ไป” หลวงปูว่ า่ “ไมไ่ ดไ้ ปครับ”
“เณรกไ็ ข้”
“ไขก้ ไ็ ขแ้ ล้ว ผมไมไ่ ด้ไปเอาแก้วกับเขา ก็รอู้ ย่”ู
“วา้ ! เจา้ นี่แม่นดอื้ แทๆ้ ” (ด้ือจรงิ ๆ )
เขาก็เอาแก้วไปสง่ กลับกห็ าย แตแ่ ก้วหลวงปตู่ ื้อ ท่านไม่สง่
หลวงปวู่ า่ “จะส่งท�ำไม ผีเอาของเรา เราเอามาแลว้ ” หลวงป่วู า่ “ผมี าเอา กต็ ีปากผี
เทา่ นน้ั ละ่ ” พอดไี ด้ปสี องปแี ล้วให้อีตาจารย์ตดิ แก้วนใ่ี ส๊ใส หลวงปตู่ ือ้ เล่าให้ฟัง”

19

พบหมู่เพ่ือนเก่งโหร

ท่านพระอาจารย์ไท านตุ ตฺ โม เล่าเรอ่ื ง หลวงป่ตู อ้ื อจลธมโฺ ม ขณะไปเรยี นมลู กจั จายน์
พบหมเู่ พื่อนเกง่ โหร ดงั น้ี
“กไ็ ปเจอหมู่เรียนมลู กจั จายน์ดว้ ยกนั นนั่ เป็นหมอโหรๆ ครบู าไดเ๋ ขา้ มารนุ่ เดียวกัน
เก่งจริงๆ” หลวงปตู่ ้ือวา่ ในฝาผนงั กุฏิผู้เฒ่า มีแต่ตวั เลขผ้เู ฒา่ ค�ำนวณ เดือนนั้นๆ อยา่ งนัน้ ๆ
วนั หนึง่ “ครบู า ครูบาผมเก่งนะ เออ ! ผมเรยี นโหรจบแล้ว ครบู า”
“โอย๊ ! อย่ามาหาเช่อื อะไร”
“อือ ! เอาเถอะนะ ทดลองก็ได้”
ก็ “เณรต๊ะมาน่ี ไปเอาขนั ในนำ�้ ไปตักเอาพทุ ราเล็กๆ น้ัน เอามาลอง”
ตอกปึ้บ “หมอโหรว่าเกง่ แทๆ้ เอามาลอง”
ผ้เู ฒ่าจะดนู าฬิกาอยู่ ครูบาองค์น้ัน ก๊อกๆ “มีประมาณเทา่ น้ันลูก ลูกทมี่ ันเสียประมาณ...”
“เอ๊า ! เณรต๊ะนบั ” ถกู ต้อง งงเลย หลวงปู่ว่า “เอาเหนบ็ เอาไปไวใ้ นหอ้ งซอ่ นไว้”
เอาแลว้ ก็ “อยูม่ มุ ไหนหมอโหร ?”
“เออ ! เดี๋ยวๆ หนงั สอื มาดูกอ่ น” ไลไ่ ปเร่ือย “อยู่มมุ ทางทิศเหนือ หันปลายข้ึนบนฟ้า มันมี
อันหนง่ึ กลมๆ ครอบ แต่ใจว่าเป็นกระดง้ หรอื ก็ไมใ่ ช่ ลักษณะคลา้ ยๆ โลหะ หรอื จะเปน็ ถาดอะไร”
“ว่ายงั ไงเณรต๊ะ”
“ใช่แล้วครับ ผมเอาฆอ้ งครอบไว้”
“เหอะ ! ฆ้องก็ใหญซ่ ี...”
เก่งๆๆ เออ ! มาเปิดเทสตอ์ กี กถ็ ูกอกี เอ ! ชักจะงงหมอโหร
ครบู าตอ้ งนบั แต่ อตั ตะ หินะ ธนัง กดุมภะ มรณะไปแลว้ นนั่ จบคือ สุดทา้ ย คอื คัมภรี ์
สายไหลแหล ปีหน่ึงแบ่งเปน็ ๒๔ ฤกษ์ ถา้ จบอันน้ีกจ็ บ ถา้ หากวา่ ยังไม่จบถึงบรู พนั ธะคมั ภีรแ์ ล้วก็

20

เพียงอัตตะ หนิ ะ เทา่ นนั้ บอกไมช่ ดั เจน ของจรงิ เทา่ นั้น
เพน่ิ (ทา่ น) รอ้ งไห้มา ครบู าหมอโหรร้องไห้มา
“อะไรครบู า ?”
“โอ๊ย ! แยแ่ ล้วครูบา ผมพยายามต้งั ใจเรียนเพ่ือจะชว่ ยบ้านชว่ ยเมอื งบางอยา่ งบางประการ
ชวี ติ ผมจะหมดแล้วนิ น่ีผมไมก่ วี่ ัน ผมกจ็ ะตายแล้ว” รอ้ งไห้
หลวงปูบ่ อก “โอ๊ย ! อยา่ ไปหาเชื่อตำ� รา”
“จริง ครบู าไมผ่ ดิ ” ในพรรษาน้ันไมน่ านก็เปน็ ไข้ปา่ กเ็ ลยตายแทๆ้
น่ีนา หลวงปตู่ อื้ ว่า “เหน็ หมอโหรเก่งน่ี เห็นครบู าเพอ่ื นเดยี วกนั น่ะ นอกนนั้ มันโกหก
บอกไมช่ ดั เจน มันไม่คอ่ ยถกู ผเู้ ฒา่ นะเก่งจริงๆ เลย ออื ! ไม่รผู้ เู้ ฒา่ เรียนมาจากทีไ่ หน ค้นคว้า
แต่ต�ำราเดยี วกันนลี่ ่ะ ส�ำคัญที่ตอ้ งเวลา ครูบานักโหรนี่ ถือเวลาเปน็ ใหญ่นะ ถา้ เวลาผิด ผิดเลย
ใครจะถามอะไร ผเู้ ฒา่ ตอ้ งดู มีนาฬิกา ผู้เฒา่ ต้องดเู วลา เวลาน้นั ฤกษจ์ ะเป็นอย่างนน้ั คนถามผี
จะเป็นอย่างน้ัน ไม่ผิด เกง่ จรงิ ๆ อันนเ้ี หน็ หมอโหรใหญ่”

ตีพญานาค

ทา่ นพระอาจารย์ไท านุตตฺ โม เลา่ เรอ่ื ง หลวงปตู่ ้อื อจลธมฺโม เอาไมพ้ ายตพี ญานาค
แลว้ พญานาคโกรธไปเข้าสงิ สาวคนหนึง่ ในบา้ นตาย แลว้ พูดขู่หลวงปู่ตอื้ จนพรรษานัน้ หลวงปูต่ ือ้
ไม่ลงอาบน้�ำในแมน่ ้�ำโขง ดังนี้
“ไอค้ ร้งั ทีต่ ีพญานาคน่ี ครง้ั ทีต่ ี ออกจากนัน้ แล้วก็อยู่มาก็ เมื่อครงั้ ตีพญานาคนี่ มันอย่างน ้ี
หลวงปู่ตอ้ื ว่า
ผมตื้อ กบั หลวงป่เู ฒ่า กผ็ มเปน็ ศิษยก์ ็อยูใ่ นระยะนน้ั หลวงปโู่ พธลิ ะกม็ าบวช หมอผี
หมอคาถา หมอยา หมออะไรทงั้ น้นั แหละ ขึน้ ไปบ้านมะขามเตย้ี – น้�ำทวย ไปเอาไม้ไผ่มาเป็น
ไม้นัง่ รา้ นจะก่อโบสถ์ สร้างโบสถ์ ทางน้ีเขาเรียก สีมา ก่อโบสถ์ ไปแล้วข้ึนเรือไป
โอย้ ! พายเรอื เหน่ือยจะตายเลย ทวนน้ำ� นี่ ไปขอบณิ ฑบาต กไ็ มไ่ ดซ้ ื้อหรอก ไปขอ
บณิ ฑบาต วนั นน้ั วนั นก้ี จ็ ะมารบั ขอบา้ นละ ๓ ตน้ ๕ ตน้ กะวา่ ใหโ้ ยมตดั ไวใ้ ห้ กลบั มาก็ พอขากลบั นี้
ไมไ่ ด้พายเรือแล้วนี่ นอน หลวงป่โู พธลิ ะนัน่ สิ นายทา้ ย หลวงป่ตู ือ้ กอ็ ยบู่ นเรือก็นอนแล้วนี่

21

นอนไป คอยไปคดั ทา้ ยเรือกว็ ่ิงตามแมน่ �ำ้ จะลดั เขา้ ท่งุ เณรน้อยเณรตะ๊ เณรติดตาม
หลวงปู่ต้ือ “ครูบาๆ งจู ะกัดหวั ๆ” มันเอาหางเกี่ยวตน้ พ่มุ “ไม้พายใส่เลย (ตีเลย)” หลวงปู่ตือ้ วา่
ต้มึ ! ลงนำ้� ไป ปัดโธ่ ! เรือกจ็ ะคว�่ำ หลวงปู่โพธิละเสกคาถา เป่าหนา้ เปา่ หลัง เรอื กเ็ กือบคว่�ำ พอดี
พ้นแม่นำ�้ โขง กเ็ ข้าท่งุ นา เขา้ กจ็ อดเรือ ฝนตกหยดุ แลว้ ก็ เม่ือฝนตกหยดุ แล้วกค็ ่อยมาเอาเรือกลบั
กลบั มาเขา้ (สิง) สาวในบ้านตายคนหนงึ่ บอกวา่ “ปูโ่ มโหมาก พระตกี เู มอ่ื กี้น้ี กูยังไมร่ ลู้ กู
รู้หลานใคร เจอใครก็ฆา่ ว่าตายแลว้ กูจึงไดส้ ตวิ ่าเปน็ ลูกเป็นหลาน กเู สียอกเสยี ใจมาก” น่ีอะไร
เจ้าพ่อ เจ้าพ่อผีนำ�้
“เอาเถอะ ครูบาดำ� ๆ ตาลึกๆ ถ้ากเู จอวนั ไหน กจู ะเอาแน่ พรรษานกี้ ูตอ้ งพยายาม เอาแน่
ตกี ูเกอื บตาย เฮ้ย ! กวู ่าจะทดลอง เอาหวั สกั หน่อย แตเ่ ณรมนั ก็ตาดี โธ่ ! ถา้ ไม่บอกครบู านะ
เณรเอ้ย ว่าจะควำ�่ เรือสกั หนอ่ ย ครบู าองคข์ าวๆ เปา่ ไฟใส่กู มอื เปื่อยหมดเลย”
ปนี นั้ พรรษาน้นั หลวงปตู่ ้อื ไม่ลงอาบแมน่ ้ำ� โขงนะ กลัวพญานาค ให้เณรตกั น�้ำให้อาบ
กลวั เหมือนกนั แหละ กลวั ”

เรียนมูลกัจจายน์ ๔ ปี แล้วอยากออกกรรมฐาน

หลวงปตู่ ื้อ อจลธมฺโม เปน็ พระผูม้ ีอปุ นิสยั ใฝ่เรยี นใฝ่รูอ้ ยใู่ นตัวทา่ น ตอ้ งการศึกษาธรรมะ
ในพระพทุ ธศาสนาใหม้ ีความรู้แตกฉาน ลึกซง้ึ กว้างขวางออกไป
การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนา ที่ถือว่าเป็นสุดยอดในสมัยน้ัน เรียกกันว่า
“เรียนสนธิ เรียนนาม มูลกัจจายน”์ คอื หดั อ่าน – เขียนภาษาบาลี ซงึ่ เปน็ ภาษาทีใ่ ชใ้ นการเผยแผ่
และจารึกค�ำสอนในทางพระพุทธศาสนา ผูท้ ่ีสนใจศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้เข้าใจ
ลึกซงึ้ อยา่ งถอ่ งแทแ้ ลว้ จึงจ�ำเป็นตอ้ งรภู้ าษาบาลอี ย่างแตกฉานก่อน
“การเรยี นสนธิ เรยี นนาม มูลกัจจายน”์ ซง่ึ เปน็ การเรียนทยี่ ากนัน้ ผู้เรียนตอ้ งมี
ความเฉลียวฉลาด ขยนั และอดทนอยา่ งแท้จริง ถ้าหากใครเรยี นจบตามหลักสูตรดงั กล่าวจดั ว่าเป็น
“นักปราชญ์” คอื เปน็ ผู้มคี วามรแู้ ตกฉานในพระธรรมวินยั อย่างแท้จรงิ
ท่านเจา้ คุณพระอุบาลีคุณปู มาจารย์ (จนั ทร์ สิรจิ นโฺ ท) ซึ่งท่านเกง่ เป็นเลิศทงั้ ดา้ นปริยตั ิ
และดา้ นปฏิบัติ ท่านไดก้ ลา่ วถงึ ความยากในการเรยี นมลู กจั จายนไ์ ว้ดงั น้ี

22

“อตั ตโนเปน็ พระผใู้ หญ่ได้ ๗ พรรษาแล้ว ไปอยูว่ ดั บุปผาราม เรยี นหนังสือในส�ำนกั
มหาอ่อน ท่านบอกว่าแปลหนังสือกพ็ อสมควรแล้ว เรียนมูลอีกเถอะ กต็ ัง้ หนา้ ท่องสตู รมูลอกี ที่ทอ่ ง
ไวแ้ ตก่ ่อนลืมหมดแล้ว กวา่ จะได้ลงมอื เรียนตง้ั ๓ เดือน
สตู รมูลเป็นของจ�ำยาก ชอบลืม ชอบสงสยั เวน้ ไมท่ ่องสกั ๓ วันจับทอ่ งเขา้ เกิดสงสัย
บางแหง่ ข้ึนแล้ว เรียนมูลตั้งต้นแต่สนธไิ ปตลอดปี ไดส้ นธกิ ับนามผกู หนงึ่ เทา่ นัน้ ”
ตอ่ มาภายหลัง สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระองคท์ รงเหน็ วา่
การเรียนแบบมลู กัจจายนน์ ้ันยากเกินไป ทำ� ใหม้ ีผู้เรยี นไดจ้ บหลักสูตรนอ้ ย และต้องเสียเวลา
ในการเรยี นนานเกินความจำ� เปน็ พระองค์จึงไดป้ รับปรุงเปลีย่ นแปลงหลักสูตรการเรยี นเสียใหม่
ซ่ึงกใ็ ช้เป็นหลักสูตรของการศึกษาฝา่ ยคณะสงฆ์มาจนถงึ ปจั จุบัน นบั แต่นั้นมาการเรยี นมูลกจั จายน์
จึงถูกลืมในวงการศึกษาของคณะสงฆ์มาจนทุกวันน้ี
หลวงป่ตู อ้ื หลังจากลาครบู าอาจารย์ ท่านไดเ้ ดนิ ทางไปศกึ ษาเล่าเรียนธรรมที่ส�ำนกั เรียน
วัดพระธาตุท่าอุเทน อำ� เภอทา่ อุเทน จังหวดั นครพนม
วดั พระธาตุท่าอเุ ทน เปน็ ส�ำนกั เรยี นสนธิ เรยี นนาม มลู กัจจายน์ ทีม่ ีช่ือเสยี งมากในสมยั นั้น
มพี ระอาจารย์สที ตั ถ์ าณสมฺปนฺโน เปน็ เจา้ ส�ำนักเรยี น
หลวงปูต่ ้ือ อจลธมโฺ ม ออกเดินทางจากวดั บา้ นเกดิ การเดินทางไปมีความล�ำบากมาก
เพราะสมยั น้ันทางคมนาคมไมส่ ะดวก ต้องเดนิ ทางด้วยเท้าไปเป็นระยะทางประมาณ ๖๒ กิโลเมตร
ต้องบุกป่าฝา่ ดงไปดว้ ยความยากล�ำบาก
หลวงปตู่ ้ังใจศกึ ษาเลา่ เรียนอย่างเอาจริงเอาจงั เรียนอยู่ ๔ ปี เกิดความเบื่อ อยากจะออก
ธุดงคกรรมฐาน

สาเหตุการออกธุดงคกรรมฐาน

ทา่ นพระอาจารยไ์ ท านตุ ตฺ โม เลา่ สาเหตุท่ี หลวงปู่ต้อื อจลธมโฺ ม ออกธุดงคกรรมฐาน
ไวด้ ังน้ี
“ตอนจะออกกรรมฐานอยา่ งนี้ เบ่ือผี หลวงป่วู ่า เมยี หมนื่ ขุนสกลุ หตู ูบ (หูไมก่ าง) ตาย
ทอ้ งได้ ๔ เดือน ตายแล้วกไ็ ปฝังไว้ ฝงั ไวร้ วมญาตพิ ี่นอ้ งแลว้ ไปขุดขึน้ มา มาทำ� บญุ เผา ได้ ๔ วัน
๕ วนั เอาข้นึ มา ข้นึ มากไ็ มไ่ ด้ใสห่ ีบใสโ่ ลงเหมือนกบั ทางเรา โบราณ เอามากเ็ อาศพมานอนไว้

23

เอาผ้าขาวปก (ปิดไว้) ไปนมิ นตพ์ ระไปชกั บังสกุ ุล กอ่ นจะบังสกุ ลุ ตอ้ งสวดมนตม์ าตกิ าเสียก่อน
คณะแรกหลวงปู่ผึ้งพาเณรลูกศิษย์ลูกหาทั้งพระทั้งเณรไม่น้อยกว่า ๘๐ ข้ึนไปสวด
สวดแล้วกช็ กั บงั สุกุลไป คณะท่สี องหลวงปู่บปุ ผาท้งั พระท้ังเณรกร็ นุ่ เดียวกนั นนั่ แหละ อาจจะ
ตำ�่ ลงมาหนอ่ ย สวดกช็ ักบังสกุ ลุ ไป คณะทีส่ ามบอกวา่ หลวงปู่ทองรตั นท์ ง้ั คณะพระเณร ๕๐ กวา่
นง่ั ยองๆ สวดสงั โยค โวย้ ! จบไมเ่ ป็นสักที กล่ินเหมน็ กเ็ หมน็ แมลงวนั ตอมหัวล้านหง่ึ
“กตู ายแน”่ หลวงปู่ตอ้ื วา่ “ตายๆ ให้ได้ ไม่เห็นเหรอ โธ่ ! จะอว้ กออก มันโยนๆ (วงิ เวยี น)
หรืออะไร เมารถ” หลวงปวู่ า่
“โธๆ่ ๆ ไม่ไหว กเ็ อาผ้าบังสุกุลเหน็บขี้แร้ (รกั แร)้ มนั เหม็นตดิ กูจะไมเ่ อาหรอก ผา้ น่”ี
หลวงปูต่ ้ือวา่ เดนิ ๆ มา ก็ผ้าเหนบ็ ข้ีแร้อยูด่ ีๆ ผา้ ตกก็เดินเฉย
หลวงปโู่ พธิละ ฮึ ผา้ คณุ ตอ้ื ตก จับเอา “คณุ ต้ือๆ เอ้ ! ผ้าคณุ ตอื้ ตก ผ้าบงั สุกุล ผมเกบ็ ไวใ้ ห้
มาเอาด”ิ
“หอื ! น่ไี มใ่ ช่ผา้ ผมครบั ”
“เอา้ ! ก็ผ้าคณุ ต้ือนะ ผมเดินตามหลัง”
“เอา้ ! หลวงพ่อเกบ็ ได้ หลวงพ่อก็เอาซะเถอะ”
ก็หือ ! เหม็น ไม่อยากไดข้ อง ท่ีแทต้ ั้งใจทง้ิ ไปถงึ หลวงป่ตู อ้ื ก็อาบน�้ำ
“เปน็ ยังไงอีกคณุ หลาน หน้าเหลืองๆ” หลวงป่โู พธลิ ะถาม ท่านเปน็ หมอนี่ ไปเลา่ ใหฟ้ งั วา่
“เหมน็ ”
“เออ ! ท่านเปน็ โรค คนแพก้ ล่นิ ก็อย่างน้ีแหละ อาบน�ำ้ ทุกวันก็ผอ่ ง ไม่อยา่ งนน้ั กจ็ ะไข้ตอ่
คนแพก้ ล่นิ ”
กเ็ ลย “เอ้ ! ถ้ากอู ยู่หลายปไี ปนี่ กกู จ็ ะดมผอี ยู่ตลอดกาล ไม่ไหวเรยี นหนังสอื เรียนมลู –
กัจจายน์ มหากไู มเ่ อาแน่ กูเบื่อผี ไมอ่ ยู่ กหู นีดกี ว่า” หลวงปตู่ อ้ื วา่ กล็ าครูบาอาจารย์บอกว่า
จะไปกรรมฐาน

24

ลาโยมพ่อโยมแม่ออกธุดงคกรรมฐาน

เมอื่ ครบู าอาจารยอ์ นุญาตให้หลวงปอู่ อกธดุ งคกรรมฐานแลว้ หลวงปู่ตอื้ ท่านก็ไดเ้ ดินทาง
มาลาโยมพอ่ โยมแม่ โดยกอ่ นไปลา ลุงของท่านไดน้ ิมนต์ใหท้ า่ นไปเทศนง์ านศพลกู สาว ซ่งึ มศี กั ด์ิ
เป็นพ่ีสาวของหลวงปู่
ทา่ นพระอาจารยไ์ ท านุตตฺ โม ได้เลา่ เรอื่ งน้ีไว้ดังนี้
“หลวงปตู่ อื้ เดนิ มาเลย เดินมาจากทา่ อุเทน มาถึงบา้ นมะเดอ่ื บ้านมะเดอื่ บา้ นโยมแมข่ อง
หลวงปู่ต้อื วันหนึง่ เต็มๆ มาถงึ บา้ นมะเดอื่
อสี ุ่มตาย โยมสุ่มนเ่ี ปน็ ลูกลุง หลวงปวู่ ่า เป็นลูกลงุ หลวงปูเ่ รียก “อสี ุม่ ๆ” พระเณรก็ไปกัน
ท้งั หลายแหล่ ในวดั ไม่มีพระอยู่สกั องค์ ไปนมสั การพระธาตุพนม ถงึ หน้านมสั การพระธาตพุ นม
บางวัดไม่มีพระอยู่ ถือประเพณีเข้ากระดูกด�ำในพระธาตุพนมสมัยก่อน แต่สมัยโบราณมา
ไปนมสั การพระธาตุพนมหมด พอดีลงุ มาถงึ หลวงปมู่ าถึง ลงุ ก็มา
“โอย๊ ! คณุ หลานมาแลว้ กด็ แี ลว้ ” คณุ ลงุ กด็ อี กดใี จ “ขอไปเทศนใ์ หพ้ ส่ี าวฟงั หนอ่ ย พสี่ าวตาย
พระเจ้าพระสงฆ์ก็ไม่อย”ู่
ลุงผ้เู ฒ่าน่คี นรวยขต้ี ระหน่ี หลวงปวู่ ่า
“ได้ แต่ขอกัณฑ์เทศน์ ๖ บาท”
“ปัดโธ่ มันมากไปมง้ั คณุ หลาน ขอลดลงมาได้ไหม คุณหลาน”
“ไมๆ่ ต้อง ๖ บาท” ท่านว่า ต่อกณั ฑเ์ ทศน์
ลุงข้ึนไป ๔ บาท “เอาเถอะ ขอให้ไปเทศน์ ลุงจะใหต้ ้งั ๔ บาท ให้ไปเทศน์”
“ไม.่ .. ตอ้ ง ๖ บาท” หลวงปู่ว่า
แตส่ มยั รนุ่ เจ้าคณุ อย่แู ปดริว้ มหาสุบินเปน็ เณรรุ่นหลังหลวงป่ตู ือ้ เปน็ สบิ ๆ ปีนน้ั น่ะมาเทศน์
บ้านผม ได้กณั ฑ์เทศน์ ๓ สตางค์แดง ดใี จเกือบตาย หลวงปูเ่ ปน็ พระเลก็ พระนอ้ ย จะเอากัณฑเ์ ทศน์
๖ บาท ไมง่ นั้ ไมเ่ ทศน์
เอาไปเอามา “อ๊ะ ๖ บาท ก็ ๖ บาท หลานอยากได้ ๖ บาท ลุงกใ็ ห้ ๖ บาทเหมือนกัน”

25

“เออไป”
พอเทศน์จบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลุงให้แค่ ๔ บาท ไม่ให้ ๖ บาท เปรตท�ำบุญตาย
ขี้ยาเผน่ เลย ก็รุน่ เดียวกนั เปรตท�ำบุญตาย
“เออ ! คณุ ตามาน่ี เอาเงิน ๔ บาทกูไปซอื้ กนิ ซะ เขาวา่ จะใหก้ ู ๖ บาท ท�ำไมมาใหก้ แู ค่
๔ บาท มึงไปซอื้ ยาฝ่นิ กนิ ถา้ เขาถามเอาเงิน ๔ บาทกบั มงึ มึงก็ต้องตีปากผอู้ ่นื ไปก่อน”
หลวงปูว่ า่ “จะให้กู ๖ บาท แตใ่ หก้ ูแค่ ๔ บาท”
มาเลย มานอนอยวู่ ัด วนั ใหม่ “เอ้ย ! คุณหลานขอไปสง่ พสี่ าวท่ปี ่าช้าหนอ่ ย จะไปเผาแล้ว”
“เซาๆ (เลิกๆ) สีๆ่ (๔ บาท) อสี มุ่ ตาย มาโกหกกตู ั้งแตเ่ ม่ือคนื แลว้ ล่ะ มาหาตว๋ั (หลอก) กู
เล่นๆ สูตายเดอ้ (แกตายนะ)”
“บ๊ะ ! คณุ หลานน่ี ยงั ดื้ออยู่อย่างเดิมเลย”
ออกจากนน้ั ตรงมาบา้ นมาลาโยมพ่อโยมแม่แล้ว หลวงปวู่ า่ “จะไปกรรมฐาน”

แวะพักวัดมัชฌิมาวาส ก่อนไปวัดพระบาทบัวบก

เมือ่ หลวงปู่ตือ้ อจลธมฺโม ลาโยมพอ่ โยมแม่แลว้ ทา่ นได้ออกเดนิ ธดุ งค์มุ่งสู่จงั หวดั อุดรธานี
โดยมคี รบู าเฮ้า (โยมพอ่ ของหลวงปูส่ ังข์ สงฺกิจโฺ จ) ขอติดตามไปธุดงค์ด้วย ทา่ นพระอาจารยไ์ ท
านตุ ตฺ โม ได้เลา่ ไว้ดงั ต่อไปนี้
“แลว้ ก็นพ่ี อ่ อาจารย์สังขน์ ี่ ทเี่ ราบอกวา่ จะใหบ้ อกเทวดาดว้ ยกัน เออ้ ! บอกเทวดา
“เออ ! ถา้ ครบู าไป ผมกจ็ ะไปกรรมฐานดว้ ยกนั ” ก็เลยเดินทางมา ค�ำวา่ รถรางคอื อะไรไม่รู้
ไมเ่ คยเห็น มาถึงบา้ นไอน้ ่ี บ้านคอ้ บ้านผกั กะย่า ใกลๆ้ บา้ นยาย ท่ีไอ้นีไ่ ง ทีข่ องเกา่ นนั้ นะ ใกลๆ้
เอ๊ ! อะไรพ่ออตี าสงั ขน์ ี้ คดิ ถงึ บ้านร้องไห้เอานี่ ไปกรรมฐานรอ้ งไห้ “โอ้ยๆ ผมไปดว้ ยไมไ่ ด้หรอก
ครบู า คิดถึงบา้ นจะตายอยูแ่ ล้วน่”ี เอาแล้วก็จะร้องไห้ คดิ ถึงถงึ กบั รอ้ งไห้ กรรมฐานคดิ ถึงบา้ น
“กร็ ้อง กลบั ขึ้นไป ไปสง่ ไปสง่ อีอาจารยเ์ ฮ้าอีก หมอนมี่ ันคดิ ถงึ บ้าน” หลวงปู่ตือ้ วา่
กลับมา มาน่ี เดินทางมาอุดรฯ ไปวดั มัชฌิมาวาส สมยั นน้ั เปน็ ป่าเปน็ ดงอยู่ เจ้าคุณดีเนาะ
หลวงน่ี (พระเทพวสิ ทุ ธาจารย์ หรือ หลวงปดู่ ีเนาะ) อาจารยจ์ ันทรน์ ่ี ไปถงึ “คณุ หลานจะไปไส

26

(ไปไหน) ?” หลวงป่ตู ้ือตอบว่า “โอ้ ! ผู้ขา้ (ขา้ พเจา้ ) วา่ อยากไปกรรมฐานขอรบั ”
“ไปเถอะ วัดพระบาทบัวบก โอ้ ! ครูบาอาจารยก์ รรมฐานมาอยภู่ าวนาหลายแท้ๆ ไปโลดๆ
(ไปเลยๆ) คุณหลานไปโลด ผมก็อยากไปอยเู่ ด้ (นะ) เดี๋ยวน่ี แตผ่ มมันเป็นพวกลกู ศิษย์ลกู หา
หลายโพด (มากเกิน) มนั ยากกบั เปน็ อปุ ชั ฌายเ์ ดย๋ี วน่ี ถ้าบ่ (ไม)่ เป็นอุปัชฌาย์ ผมไปแลว้ นิมนตๆ์
คณุ หลาน”
ไปพกั เอาแรงอยกู่ บั เจา้ คณุ ดเี นาะ ๒ – ๓ วนั เจา้ คณุ ดเี นาะวา่ “เดนิ ทางจากนนั้ ไปอำ� เภอผอื
(อำ� เภอบ้านผือ) วนั หน่ึงคงจะไม่ถงึ เพราะมันไกลพอสมควร ผมก็เคยไป แตน่ งั่ รถไป” กไ็ ป
อ�ำเภอผือ จากอำ� เภอผือกไ็ ปพระบาทบวั บก”

ประวัติวัดมัชฌิมาวาส

วดั มัชฌิมาวาส เดิมช่อื วัดโนนหมากแข้ง ตงั้ อยู่ตำ� บลหมากแข้ง อ�ำเภอเมือง จงั หวดั
อุดรธานี เดิมเปน็ วัดร้าง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
สมยั ดำ� รงตำ� แหนง่ เปน็ ขา้ หลวงใหญ่ ผสู้ ำ� เรจ็ ราชการหวั เมอื งลาวพวน ไดท้ รงสรา้ งวดั โนนหมากแขง้
ณ บรเิ วณวัดร้างแห่งนี้ แลว้ มภี ิกษจุ ำ� พรรษาอีกครง้ั เปลี่ยนช่อื ใหมเ่ ปน็ วัดมชั ฌิมาวาส เม่อื ราว
พ.ศ. ๒๔๓๖ พรอ้ มกับการสร้างเมอื งอุดรธานีขน้ึ วดั มัชฌิมาวาส จงึ ไดข้ น้ึ ช่ือว่าเป็นวัดคบู่ ้านคเู่ มือง
อดุ รธาน ี จนตราบเทา่ ทกุ วันนี้
หลักฐานทพี่ อให้ทราบได้ว่าวัดมัชฌมิ าวาสเคยเป็นวัดรา้ งนัน้ มีอยู่ ๒ อย่าง คอื
๑. เจดียศ์ ลิ าแลงต้งั อยทู่ ่โี นน (เนิน) ประชาชนเลา่ สบื กันมาวา่ เจดีย์นน้ั ไดค้ รอบ หรือ คร่อม
ตอหมากแขง้ (ตน้ มะเขือพวง) ขนาดใหญ่
๒. พระพุทธรปู หนิ ขาว ปางนาคปรก (ปจั จบุ ัน คือ หลวงปู่นาค) อยู่ภายในเจดีย์
ปัจจบุ นั พระพทุ ธรปู หนิ ขาวปางนาคปรก ก็ไดน้ �ำมาประดิษฐานไว้ท่ีหนา้ พระอุโบสถ ให้
ชาวอดุ รฯ และจงั หวัดใกล้เคียงได้สกั การบชู ากนั มาจนถงึ ทุกวนั น้ี และกลายเป็นพระพุทธรูปที่
ขึน้ ช่ือในเร่อื งของความศกั ด์ิสิทธค์ิ ูว่ ัดมชั ฌมิ าวาสตลอดมา

27

วัดมชั ฌมิ าวาส ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมอ่ื วันท่ี ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ต่อมา
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ พระเทพวสิ ทุ ธาจารย์ (หลวงปูด่ เี นาะ) เจ้าอาวาสไดป้ ฏสิ ังขรณพ์ ระอุโบสถใหม่
พร้อมกับบูรณะหลวงพ่อนาคโดยหุ้มพระพุทธรูปองค์เก่าไว้ภายใน และต่อมาได้รับพระราชทาน
บรมราชานุญาตสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๐๗

28
ภาค ๓ ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมด้วยล�ำพังตนเอง

ออกปฏิบัติธุดงคกรรมฐาน

หลวงป่ตู อ้ื อจลธมโฺ ม ไปอาศัยพ�ำนกั ที่ วดั มชั ฌิมาวาส อ�ำเภอเมอื ง จงั หวดั อุดรธานี
ได้ ๒ – ๓ วนั จงึ เดินทางไปพระบาทบวั บก
หลวงป่มู ีความเห็นวา่ “การปฏิบัติกรรมฐาน เปน็ การเดนิ ทางเส้นตรงตอ่ การบรรลุธรรม
อย่างแทจ้ รงิ เปน็ การด�ำเนนิ ตามรอยองคส์ มเด็จพระสัมมาสัมพทุ ธเจา้ ดว้ ยการปฏิบัตบิ ูชา
สมดังท่ีองค์พระบรมศาสดาทรงสรรเสรญิ ยิ่งกวา่ การบชู าใดๆ”
ปณธิ านความตัง้ ใจอนั แนว่ แนข่ องหลวงปู่ ในการออกปฏบิ ตั ิกรรมฐานเพอื่ การบรรลุธรรม
เป็นปณธิ านอนั สูงสุดของพระอรหนั ตสาวกในคร้ังพทุ ธกาล และของพระธุดงคกรรมฐานประเภท
“เพชรนำ�้ หน่งึ ” ศิษยท์ ่านพระอาจารยเ์ สาร์ ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั ถือเป็นเปา้ หมายสูงสดุ
ของพระพุทธศาสนา และเปน็ ไปตามพระโอวาทท่อี งคพ์ ระบรมศาสดาได้ทรงประทานไว้ส�ำหรับ
กุลบุตรผู้เขา้ มาบรรพชาอุปสมบทในพระพทุ ธศาสนา เพอ่ื แสวงธรรม เพอื่ ความพน้ ทุกข์
พระอุปัชฌาย์ทุกท่านจะต้องสอนพระโอวาทส�ำคัญข้อนี้กับพระผู้บวชใหม่ทุกรูป โดยมิได้
ยกเว้น ถอื เป็นหน้าท่โี ดยตรงของพระอปุ ัชฌาย์ ถา้ ไมไ่ ดส้ อนพระโอวาทขอ้ น้ี ถือวา่ ผิดและ
ปลดจากอปุ ชั ฌายไ์ ด้ คอื “รกุ ขฺ มลู เสนาสนํ นสิ สฺ าย ปพพฺ ชชฺ า ตตถฺ เต ยาวชวี ํ อสุ สฺ าโห กรณโี ย”
เมอ่ื บรรพชาอปุ สมบทแลว้ โปรดไดอ้ าศยั อยตู่ ามโคนตน้ ไม้ รม่ ไม้ ชายปา่ ชายเขา ในถำ�้ เงอ้ื มผา ปา่ ชา้
ปา่ รกชฏั และท�ำความอตุ สา่ หพ์ ยายามอยอู่ ยา่ งนนั้ ตลอดชวี ติ เถิด
หลวงปู่ตื้อ เมื่อท่านได้ออกรุกขมูลธุดงค์ตามป่าตามเขาและถือธุดงควัตรแล้ว จากน้ัน
เป็นต้นมา ท่านได้ด�ำเนินชีวิตตามพระโอวาท “รุกฺขมูลเสนาสนํฯ” อย่างเคร่งครัดตลอดชีวิต
แม้ในชีวิตบ้ันปลาย ท่านอยู่ในวัยชรา เม่ือท่านได้หยุดธุดงค์แล้ว ท่านก็อยู่ในเสนาสนะป่า
อนั เงียบสงัดทีท่ ่านสรา้ งขึน้ เอง

เป็นพระภิกษุหนุ่มออกธุดงคกรรมฐาน

หลวงปตู่ ้ือ อจลธมฺโม สมัยทา่ นเป็นพระภิกษุหนุ่ม ในฝา่ ยมหานิกาย เม่ือท่านได้ตดั สินใจ
ออกปฏิบัติธรรมเป็นพระธุดงคกรรมฐานทแ่ี บกกลด สะพายบาตร ออกเดินเทา้ ธุดงคป์ กั กลดภาวนา
นอนตามป่าตามเขาอย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญตามล�ำพัง เพื่อแสวงหาโมกขธรรม เป็นศากยบุตร

29

พทุ ธชิโนรสจรรโลงสืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นภาพทงี่ ดงามและหาดไู ด้ยากย่งิ นัก
หลวงตาพระมหาบัว าณสมฺปนโฺ น ท่านได้เทศนาธรรมถึง การออกเดนิ เท้าธุดงคต์ ามป่า
ตามเขาของพระกรรมฐาน ไว้อยา่ งชัดเจน ดังน้ี
“พระผู้ปฏิบตั ิเพ่ืออรรถเพอื่ ธรรม มีสตอิ ย่โู ดยสมำ่� เสมอ จิตยอ่ มไมด่ ิน้ รน กิรยิ าแสดงออก
แหง่ ความดน้ิ รนของใจกแ็ สดงให้เห็นสิ่งนน้ั สงิ่ น้ีทเี่ ปน็ กิเลสออกมา ความมักนอ้ ยน้สี �ำคญั เป็นส่งิ ท่ี
ตดั ความกระวนกระวาย ตัดความห่วงใยอะไรออกได้
เพราะฉะนน้ั พระกรรมฐานไปไหน จงึ ไม่มีหว่ งหนา้ หว่ งหลัง มแี ต่บรขิ าร ๘ เทา่ น้ัน สิ่งท่ี
เลยบรขิ าร ๘ ไปก็คอื กานำ้� พวกมงุ้ พวกกลด ขนาดน้นั กเ็ อาไปไดส้ บายๆ ไม่เห็นมอี ะไร ไปอยู่
ทไี่ หนกส็ บาย ถา้ วา่ จะไปกจ็ บั ของเหลา่ นนั้ มาใสบ่ าตร บรรจใุ นบาตรปบ๊ั เตม็ บาตรพอดี สะพายบาตร
เพราะฉะน้ัน พระกรรมฐานจงึ มบี าตรใหญ่กวา่ ปกติอย่บู า้ ง
บางคนเขาไม่เข้าใจว่า เอ๊ะ ! พระกรรมฐานน่ีว่าเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ท�ำไมจึงต้องมี
บาตรใหญน่ กั หนา เขาไมเ่ ขา้ ใจความหมายของพระกรรมฐานวา่ ทำ� บาตรใหญเ่ พอ่ื ทจี่ ะไดอ้ าหารมากๆ
มาฉัน ความจริงบาตรใหญ่น้ันใช้แทนกระเป๋าเดินทาง ถ้าบาตรลูกเล็กๆ ใส่สังฆาฏิตัวเดียว
มนั กห็ มดแลว้ ทนี ขี้ องนน้ั จะเอาใสท่ ไ่ี หน ไมม่ ที ใี่ ส่ เมอื่ บาตรใหญ่ มงุ้ กล็ งทน่ี นั่ สงั ฆาฏกิ ล็ งทน่ี นั่ แนะ่
โคมไฟก็เอาลงท่ีนั่นพอดี เทียนไข ไม้ขีดไฟที่มีติดตัวไปบ้างก็เอาลงที่น่ัน สะพายพอดีเลย
หนกั กพ็ อดี ไมห่ นกั มาก กลดกแ็ บกเสยี บาตรก็สะพายเสยี ย่ามเล็กใสท่ างบ่าข้างหนึ่ง แล้วไป
ธุดงคกรรมฐานได้อยา่ งคล่องตวั
ไปทไ่ี หนก็ผาสกุ สบาย มองดตู ั้งแตร่ ม่ ไม้ชายเขาทไ่ี หนสะดวกสบายในการบ�ำเพญ็ สมณธรรม
ไมไ่ ดม้ องดูเร่ืองโลกเรอื่ งสงสาร เรื่องวตั ถุส่งิ ของเงินทองอะไร ซ่งึ จะเป็นการพอกพูนกิเลสข้ึนภายใน
จติ ใจ ไปไหนกม็ องหาตัง้ แต่เรอ่ื งชำ� ระกิเลสอยา่ งเดียว หูฟงั ก็ฟังเพ่อื ช�ำระกิเลส ตาดกู ็ดูเพ่อื ชำ� ระ
กิเลส อะไรสมั ผสั สมั พนั ธท์ างตา หู จมกู ล้ิน กาย ใจ กพ็ จิ ารณาเพ่ือเป็นการถอดถอนกิเลส
ทง้ั มวล”

ปฏิปทาการปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่ต้ือ

ปฏิปทาการปฏิบัติภาวนาของ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นปฏิปทาอดอยากเดนตาย
เพ่ือความพ้นทุกข์โดยถ่ายเดียว เช่นเดียวกับพระอรหันตสาวกในคร้ังพุทธกาล และพ่อแม่
ครูอาจารยท์ ้ังหลายทห่ี ลวงตาพระมหาบวั าณสมฺปนฺโน ไดก้ ล่าวยกยอ่ งใหเ้ ป็น “เพชรนำ�้ หน่ึง”

30

หลวงปตู่ ้ือ ท่านเป็นพระมหาเถระส�ำคัญอีกองคห์ นงึ่ ทีไ่ ดร้ ับการยอมรบั และเคารพเทดิ ทนู
อยา่ งกวา้ งขวางในวงกรรมฐานสายหลวงปมู่ ่ัน พระเพ่ือนสหธรรมิกท่ีเคยออกเที่ยวธุดงคก์ บั ทา่ น
หรอื พระศิษย์ที่ได้มโี อกาสเขา้ ไปศึกษาอบรมธรรมปฏิบัตจิ ากท่าน จะเห็นปฏิปทาการปฏิบตั ิภาวนา
ของทา่ นอยา่ งใกล้ชิด จะยิง่ ให้การยอมรบั และให้ความเคารพศรทั ธาท่านเปน็ อยา่ งมาก
เพราะหลวงปตู่ อ้ื ทา่ นเปน็ พระทปี่ ฏบิ ตั ติ ามพระธรรมวนิ ยั อยา่ งเครง่ ครดั และถอื ธดุ งควตั ร
อย่างเข้มงวด ท่านเป็นพระพูดจริงท�ำจริง การปฏิบัติธรรมก็เป็นไปอย่างกล้าหาญ เด็ดเด่ียว
เข้มแข็ง เอาจริงเอาจัง ชนดิ ท่มุ เทกำ� ลังทั้งหมด แมก้ ระทั่งชวี ิตทา่ นก็ยอมสละ เชน่ ท่านเคยอยู่ใน
อริ ิยาบถน่ังสมาธิภาวนา ๗ วนั ๗ คืน โดยไมล่ กุ และไม่ฉันอะไรเลย ทา่ นเคยปกั กลดนั่งสมาธิ
ทบั รพู ญานาค ทา่ นเคยปกั กลดภาวนาต่อสู้กับพวกวญิ ญาณ เปรต ผรี า้ ย จนทา่ นไดร้ ับชัยชนะ
และทา่ นเคยอดขา้ วปฏบิ ตั ิภาวนาอยู่ในปา่ ดงพงไพรแสนกนั ดารนาน ๒ – ๓ สัปดาห์ จนเทวดา
ได้แสดงความช่ืนชมในความอดทนของทา่ น เปน็ ต้น

เป้าหมายแรกมุ่งธุดงค์ฝั่งประเทศลาว

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านออกท่องธดุ งคกรรมฐานติดต่อกนั อยา่ งยาวนานกว่า ๖๐ ปี
เรื่องราวของทา่ นจงึ มมี ากมาย แตข่ าดการรวบรวมและจดบนั ทกึ อย่างเป็นหลกั ฐาน ลกู ศษิ ยล์ ูกหา
ของทา่ นจะไดย้ นิ ได้ฟังจากท่ที ่านเมตตาเล่าให้ฟัง ขณะเขา้ ไปอุปัฏฐาก หรือจากทที่ า่ นแสดงธรรม
และได้บนั ทกึ ไว้ รวมทั้งการเลา่ สบื ตอ่ กันมาในสว่ นทค่ี รูบาอาจารยร์ นุ่ หลงั ได้รไู้ ด้เหน็
ดังน้นั การน�ำเสนอเรอ่ื งราวเก่ยี วกับการเดินธุดงคข์ องท่านในล�ำดบั ต่อนไี้ ป จึงไม่ไดจ้ ดั เรยี ง
ตามล�ำดับกอ่ นหลัง รวมท้งั การระบวุ นั และสถานท่จี งึ ไมส่ ามารถท�ำได้ชดั เจน คงน�ำเสนอไดเ้ ฉพาะ
เหตกุ ารณแ์ ละเรื่องราวท่เี กดิ ขึ้นตามที่มีการบอกเลา่ สืบตอ่ กนั มาเทา่ นน้ั
หลวงปตู่ อ้ื อจลธมโฺ ม ต้งั แตท่ า่ นยังเป็นพระภิกษหุ นมุ่ จัดอยู่ในวัยฉกรรจ์ ในระยะแรกๆ
ท่านไดอ้ อกเดนิ ธดุ งค์ทางไกลตามล�ำพงั แตเ่ พยี งผู้เดียว ทา่ นไดอ้ อกผจญภยั ตามป่าตามเขาในถิน่
ทุรกนั ดาร สถานท่ีสงบเงียบสงดั วเิ วกแสนนา่ กลวั เพอื่ ฝกึ จิตทรมานใจอยา่ งไม่อาลยั อาวรณ์ในชีวิต
ความเป็นอยทู่ ีแ่ สนทุกข์ยากลำ� บากอย่างยาวนาน เพื่อมุ่งเสาะแสวงหาครบู าอาจารย์ และแสวงหา
โมกขธรรม เพอ่ื ตามรอยองคพ์ ระบรมศาสดา ทงั้ ในฝ่ังไทยและประเทศเพ่ือนบ้าน เชน่ ลาว พมา่
อนิ เดยี เปน็ ตน้ ฉะนัน้ ประสบการณ์การเทีย่ วธดุ งคแ์ ละเรอื่ งพสิ ดารอัศจรรยล์ ล้ี บั ชวนใหน้ า่ ระทกึ
น่าหวาดกลัวของท่าน จงึ มมี ากมาย
เป้าหมายแรก ทา่ นมงุ่ ออกธุดงค์ไปทางฝ่ังประเทศลาว เพราะเปน็ ท่ที ่พี ระธุดงคใ์ นสมยั นน้ั
ไปกนั มาก เพราะมคี วามเหมาะสมในการบ�ำเพ็ญภาวนาหลายประการ


Click to View FlipBook Version