The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ddttgr1125, 2020-04-15 21:24:04

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

พระศรธ� วชั เมธี (ชนะ ป.ธ. ๙)

ผŒูอำนวยการศนู ยอาเซียนศึกษา





อนุทินประจำ� วัน

ห ล า ก ห ล า ย ชี วิ ต

พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ. ๙, พธ.บ., M.A.)
ISBN : 978-616-497-326-8
จำ� นวน ๔๕๖ หนา้
พิมพ์คร้ังแรก กรกฎาคม ๒๕๖๒
จ�ำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เลม่

ทีป่ รึกษา พระธรรมพทุ ธมิ งคล (สอ้ิง ป.ธ. ๘) วัดป่าเลไลยก์ วรวหิ าร
พระราชวรเมธี (ประสทิ ธ์ิ ป.ธ.๕, รศ. ดร.) รองอธกิ ารบดีฝา่ ยบรหิ าร
พระราชปรยิ ัติมนุ ี (เทียบ ป.ธ. ๙, รศ. ดร.) คณบดคี ณะพทุ ธศาสตร์
บรรณาธกิ าร พระศรธี วัชเมธี (ชนะ ป.ธ. ๙, พธ.บ., M.A.)
ผู้อำ� นวยการศูนยอ์ าเซยี นศกึ ษา
มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั
กองบรรณาธิการ พระมหาประเชิญ ปญฺาวุโธ ป.ธ. ๙
พระมหานพรัตน์ อภิชชฺ โว ป.ธ. ๗
นายสมาน สุดโต
พิสูจน์อกั ษร นายเอนก เรอื งเชื้อเหมอื น
จัดรูปเลม่ บริษทั โคเวอร์ ครีเอทีฟ จ�ำกดั

พมิ พ์ที่ บรษิ ทั โคเวอร์ ครเี อทีฟ จำ� กัด
โทร. ๐๘๖ ๓๒๑๓๗๘๙, ๐๒ ๐๓๒๙๖๖๘

e-mail : [email protected]

คำ� นยิ ม

คงจะหายากท่ีมีแฟนเพจกดไลค์อนุทินประจ�ำวันของใครคนใด
คนหนงึ่ เกือบ ๒ แสน เหมือนอนทุ นิ ประจำ� วันของพระศรธี วชั เมธี
(พระมหาชนะ ภมรพล ป.ธ. ๙, M.A.) ดังท่ีท่านเจ้าคุณเขียนอนุทิน
ชุดที่ ๕๐๐ เที่ยวไปหาข้อมูลไป ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๑ ว่า
ในเฟสบ๊คุ ขนึ้ หน้าจอวา่ มีผกู้ ดไลคจ์ ำ� นวน ๑๙๐,๐๐๐ คน จะไม่เขียน
อนุทินประจำ� วันกด็ ูกระไรอยู่

จ�ำนวนผู้คนนับแสนท่ีกดไลค์น้ัน ต้องมีผมอยู่ด้วยคนหนึ่ง
แน่นอน เพราะติดตามอ่านในแฟนเพจเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต
ประจ�ำวัน ท�ำไมต้องติดตามอ่านขนาดน้ัน ตามความเห็นของผม
พระศรีธวัชเมธีมีคุณสมบัติเฉพาะตัว คือท่านเหมือนนักปรัชญาท่ีรัก
การใฝร่ ตู้ ลอด ดงั นนั้ เนอ้ื หาสาระทท่ี า่ นเลา่ ในแฟนเพจ จงึ เปน็ แงม่ มุ หนงึ่
ของประวตั ศิ าสตรท์ มี่ าจากการคน้ ควา้ สบื คน้ และจากการบอกเลา่ ของ
ผรู้ ทู้ ่ีใกลช้ ิดกับเหตกุ ารณจ์ ริง ทา่ นจึงเหมอื นผวู้ เิ ศษท่ีปลุก หรือหยิบยก
เร่ืองราวของบุคคล โบราณวัตถุ หรือโบราณสถาน ท่ีน่ิงเฉยอยู่กับ
กาลเวลา ให้มีวิญญาณ ด้วยตัวอักษรท่ีจารจารึกลงไป จนบุคคลน้ัน
หรือส่ิงนั้น มีชีวิตโลดแล่น เล่าเรื่องอดีตท่ีเป็นต�ำนานที่คนเกือบลืม
ใหก้ ลบั ฟน้ื และมีชีวิตได้อยา่ งเหลอื เช่อื

พระศรธี วัชเมธี ช่ือเดมิ ชนะ นามสกลุ ภมรพล ฉายา ธมั มธโช
เกิดวันที่ ๑๙ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ที่บ้านไผ่ช้างแล่น
ต�ำบลบางเลน อำ� เภอสองพี่น้อง จงั หวดั สุพรรณบรุ ี

การศึกษา
๑ สอบ ป.ธ.๙ ได้ พ.ศ. ๒๕๒๕ ขณะทเี่ ปน็ สามเณร เมอื่ อปุ สมบท
จึงได้รบั พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ใหเ้ ปน็ นาคหลวง นบั เป็น
เกียรตยิ ศแหง่ ตระกลู อย่างยิ่ง
๒ จบพทุ ธศาสตรบัณฑิต (พธบ.) รนุ่ ท่ี ๒๘ พ.ศ. ๒๕๒๕
๓ จบปริญญาโท (M.A.) จากมหาวิทยาลัยมัทราส ประเทศ
อินเดยี (แตห่ ลายคนเขา้ ใจว่าจบปรญิ ญาเอก มักจะเรียกว่า ดร.เสมอ)
หน้าท่ี ความรับผิดชอบ
๑ เคยปฏบิ ตั หิ น้าท่พี ระธรรมทูต ประเทศออสเตรเลีย
๒ เปน็ ผชู้ ว่ ยเจา้ อาวาสวดั ราชบรุ ณราชวรวหิ าร กรงุ เทพมหานคร
๓ เป็นเลขานุการ เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ๒ สมัย คือ
เม่ือพระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง) เป็นเจ้าคณะจังหวัด และ
เม่ือพระธรรมพทุ ธิมงคล (สอง้ิ ) เป็นเจ้าคณะจงั หวดั
๔ เป็นผู้ช่วยเลขานกุ าร สหภูมสิ งฆ์สพุ รรณบุรี
๕ เปน็ ผอู้ ำ� นวยการศนู ยอ์ าเซยี นศกึ ษา (ระดบั ซี ๘) มหาวทิ ยาลยั
มหาจฬุ าฯ
ฯลฯ
นอกจากนนั้ ยังมีความสามารถพิเศษในการเปน็ บรรณาธกิ าร
หนังสือท่ีระลึกต่างๆ เช่น หนังสือท่ีระลึกวันสถาปนา สมเด็จ
พระอรยิ วงศาคตญาณ สมเดจ็ พระสังฆราช (ปุน่ ) สมเดจ็ พระสงั ฆราช
องค์ที่ ๑๗ อดีตอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ หนังสือรวมพระประวัติ
และประวัติเจ้าคุณเมืองสุพรรณ ทั้งอดีตและปัจจุบัน เป็นหัวหน้า
กองบรรณาธกิ ารหนงั สอื สาราสารกถา ทรี่ ะลกึ งานทำ� บญุ อายวุ ฒั นมงคล

๘๔ ปี พระธรรมพทุ ธมิ งคล (หลวงพ่อสอ้ิง) ทปี่ รกึ ษาเจ้าคณะจังหวดั
สุพรรณบุรี เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี ๔
มกราคม ๒๕๖๒ เป็นต้น

งานประชมุ นานาชาติ
ได้รับนิมนต์หรือได้รับมอบหมายให้เดินทางไปประชุมเก่ียวกับ
สันติภาพในแนวคิดของพระพุทธศาสนา การประชุมสหพันธ์สันติภาพ
สากล และการประชุมชาวพุทธโลก จัดโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน
ได้รับนิมนต์ประชุม World Summit ๒๐๑๙ ท่ี Seoul เกาหลีใต้
ล่าสุดวัดประยุรวงศาวาส สาขาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นิมนต์ร่วม
ฉลองวัดครบรอบ ๑๙ ปี วันท่ี ๒๑ กุมภาพนั ธ์ - ๕ มนี าคม ๒๕๖๒
อนุทินประจ�ำวันต้งั แตช่ ุดที่ ๕๐๐ ถึงชุดที่ ๕๙๘ ทที่ ่านเมตตา
ส่งให้อ่านน้ัน คือบันทึกทางประวัติศาสตร์ทั้งสถานท่ีและบุคคล
โดยไมเ่ นน้ เช้อื ชาติตระกลู โดยผา่ นการสืบคน้ หรือสัมภาษณ์ ซ่ึงจะถกู
น�ำมาเรียบเรียงลงในหน้าแฟนเพจเหมือนกัน ไม่ว่าบุคคลน้ันจะเป็น
ใครก็ตาม หน้าเฟสบุ๊คของท่านจึงมีสีสัน น่าติดตาม เพราะมีชีวิต
ท�ำให้เห็นตระกูลตั้งแต่คนธรรมดาสามัญ ชาวไร่ ชาวนา ไปจนถึง
พระสงฆ์ทรงสมณศักด์ิสูง เช่น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จ
พระสังฆราช (ปุ่น ปณุ ณสิริ) สมเดจ็ พระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่ง
กรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีบทบาทในแฟนเพจของท่านเป็นประจำ�
ยง่ิ ถา้ บคุ คลนนั้ ๆ เปน็ คนจงั หวดั สพุ รรณบรุ ี จะไดร้ บั ความสนใจ
เป็นพิเศษ ท่านจะซักไซ้สอบถามถึงต้นตระกูลว่าเป็นใครเกิดเม่ือไร
มพี นี่ อ้ งใครบา้ ง บา้ นเดมิ อยทู่ ไี่ หน ถา้ เปน็ คนอำ� เภอสองพน่ี อ้ ง อทู่ อง หรอื
อ�ำเภอเมอื ง ทา่ นจะนำ� มาสาธยายให้เหน็ สาแหรก ได้อย่างน่าอศั จรรย์

จุดเด่นของท่านอีกประการหน่ึง ท่ีท�ำให้มีผู้ติดตามอนุทิน
ประจ�ำวนั มาก เพราะท่านทำ� งานมรี ะบบ จัดการงานไมอ่ ากูล เล่าเรอื่ ง
น่าอ่าน น่าติดตาม ขอยกตัวอย่าง เม่ือวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
ผมติดตามท่านไปวัดสามพระยา ที่มีอบรมพระอุปัชฌาย์ของคณะสงฆ์
มหานกิ าย ซงึ่ ทา่ นไดร้ บั มอบหมายใหเ้ ปน็ เจา้ หนา้ ทใ่ี นฝา่ ยอบรมรปู หนงึ่
เมอ่ื มเี วลาวา่ งจากงาน ทา่ นชวนผมใหไ้ ปดสู งิ่ นา่ สนใจ ขา้ งวดั สามพระยา
คอื บ้าน ณ ปอ้ มเพชร เพราะท่านติดใจว่า นา่ จะเป็นบ้านที่เจา้ พระยา
ยมราช (ปัน้ สุขมุ ) คนสุพรรณ ท่ีเปน็ บุคคลส�ำคัญของชาตไิ ทย ในสมยั
รชั กาลที่ ๕ ถงึ รชั กาลท่ี ๘ อาจเคยพ�ำนกั ทน่ี กี่ ไ็ ด้ เพราะทา่ นผหู้ ญงิ ตลบั
ภรรยาเจา้ พระยายมราชนน้ั นามสกลุ ณ ป้อมเพชร นอกจากนัน้ ได้ใช้
โอกาสเดยี วกนั สบื หาขอ้ มูลอาคารสวยงามแบบโกธิค ซึง่ เปน็ ส�ำนกั งาน
เขตพระนคร และอาคารท่ีตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตพระนครที่อยู่
ในบริเวณเดยี วกันด้วย

เม่ือได้ข้อมูลพอสมควร ผมขอตัวกลับส�ำนักงาน นสพ.
โพสต์ทูเดย์ ท่ีคลองเตย ในเวลา ๑๔.๐๐ น. ส่วนท่านเจ้าคุณก็
ปฏิบตั งิ านตอ่ ที่วัดสามพระยา

เม่ือถึงตอนค่�ำของวันเดียวกัน ท่านสามารถเขียนเร่ืองต่างๆ
ท่ีพบเห็นลงในเฟสบุ๊คอย่างสวยงาม ครอบคลุมทุกประเด็นท่ีเห็น
และทีส่ อบถามมาด้วยกนั กบั ผมโดยไมต่ กหล่นในสาระสำ� คัญใดๆ

หรือเม่ือเดินทางไปประชุมที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ วันที่
๗-๑๑ ก.พ. ๒๕๖๒ ทา่ นกเ็ ลา่ บรรยากาศการประชุม และสภาพทั่วไป
ในกรงุ โซล รวมทั้งชน่ื ชมตกึ สงู ระฟ้า สูงเกินครึ่งกิโลเมตร (๕๕๕ เมตร)
ได้แบบเห็นภาพ จนผู้ตดิ ตามแฟนเพจเขยี นคอมเมนต์ว่าอยากเดินทาง
ไปเท่ยี วด้วย

ท่านเจ้าคุณกับผมมักพบปะพูดคุยที่กุฏิพระครูภัทรกิตติสุนทร
(พระมหาแถม โพธ์ิศรี คนสพุ รรณบรุ ี) เจา้ อาวาสวดั พระพเิ รนทร์ เสมอ
วัดพระพิเรนทร์จึงเป็นวัดท่ีท่านคุ้นเคย สนิทสนมกับทั้งพระและ
ญาติโยมของวัดเสมือนว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของวัดนี้ด้วย ดังน้ัน
เรอ่ื งของวดั พระพเิ รนทร์ ไมว่ า่ จะเปน็ เรอ่ื งของหลวงพอ่ พระเทพคณุ าธาร
(ผล ชนิ ปตุ โต) อดตี เจา้ อาวาส สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยตุ โฺ ต)
หรอื ญาตโิ ยมทส่ี รา้ งศาลา เชน่ นายประยงค-์ นางเลก็ ตงั้ ตรงจติ ร เปน็ ตน้
จะเป็นตัวละครในอนุทินประจ�ำวัน ขนาดคนในวัดพระพิเรนทร์ยังรู้
ไม่ลึกเท่าท่านเจ้าคณุ เลย

ผมเคยถามว่าท�ำไมจึงเขียนอนุทินประจ�ำวัน ท่านบอกว่า
คราวหน่ึงเม่ือ ๒ ปีที่แล้วป่วย คิดว่าถ้าเกิดตายไป ความรู้ที่มีจะหาย
ไปด้วย จงึ คิดเขยี นอนทุ ินนับแตน่ น้ั มา เมื่อเขยี นไปเขยี นมาคนตดิ ตาม
มากพอสมควร จึงคิดน�ำรวมเล่มพิมพ์ในงานแซยิด อายุวัฒนมงคล
๖๐ ปี ในปลายปี ๒๕๖๒ เพือ่ มอบแกก่ ัลยาณมิตรทงั้ หลาย

แต่กว่าฉบับรวมเล่มจะถึงมือผู้อ่าน ก็ไม่ทราบว่าท่านเขียน
อนุทินประจ�ำวันอีกกี่สิบเรื่อง ดังน้ัน เมื่อรวมเล่มฉบับที่ ๑ แล้ว
ตอ้ งมรี วมเลม่ ตามมาเปน็ ฉบบั ท่ี ๒ ที่ ๓ และตอ่ ๆ ไป ตามอายวุ ฒั นมงคล
อีกหลายรอบปีนักษตั ร ครับ

นายสมาน สดุ โต
ท่ปี รึกษากองบรรณาธกิ าร
และคอลัมนิสต์ นสพ. โพสต์ทูเดย์
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

คำ� นำ�

อนุทินประจ�ำวัน เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์ท้องถ่ิน
ในความคิดเห็นส่วนตัว เป็นกระจกเงาบานหน่ึง ที่ส่องให้เห็น
ความฉลาดของคนโง่และความโง่ของคนฉลาด เรียบเรียงกลั่นกรอง
ออกมาเป็นตัวอักษร จากแนวความคิดที่เขียนลงประจ�ำในเฟสบุ๊ค
ส่วนตัว ไดส้ าระบ้าง ไมไ่ ดส้ าระบา้ ง ดังค�ำสอนของครบู าอาจารย์ที่วา่
เป็นเวทีแสดงออกถึงความฉลาดของคนโง่ และเป็นเวทีแสดงออก
ซ่ึงความโง่ของคนฉลาด แต่เป็นคลังเก็บข้อมูลบางส่วนและผล
จากการค้นคว้าส่วนตัว จนเห็นว่า สมควรรวบรวมพิมพ์ออกมาเป็น
รูปเลม่ สำ� หรบั แฟนพันธ์ุแทแ้ ละผ้เู ข้าไมถ่ งึ โลกสงั คมออนไลน์

ส�ำหรับผู้ใช้โซเชียลมีเดีย อาจผ่านตาผลงานเหล่าน้ีมาบ้าง
ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง มีแฟนประจ�ำบางท่านที่ติดตามและคอยเป็น
ก�ำลังใจกดไลค์ให้ เป็นเหมือนยาบ�ำรงุ ใจ ใหก้ ำ� ลังใจ ให้หม่นั ขยันเขียน
สมำ�่ เสมอ พรอ้ มมคี ำ� ตชิ มและขอ้ เสนอแนะบางประการทนี่ ำ� มาปรบั ปรงุ
แก้ไข ผลงานบางช้ินบางตอนอาจล้าสมัยไป เม่ือได้ข้อมูลเข้ามาใหม่
ล่าสุด เมื่อยังไม่จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือข้ึนมา ก็สามารถแก้ไข
เปลย่ี นแปลงได้ นนั่ เปน็ ขอ้ ดขี องสงั คมออนไลน์ แตเ่ มอื่ พมิ พอ์ อกมาเปน็
หนังสือและผ่านการตรวจตราและกล่ันกรองแล้ว เป็นการยากท่ีจะแก้
ข้อมูลให้ทันสมัยได้ ถึงกระนั้น ก็หวังในใจลึกๆ ว่า เมื่อมีโอกาสจะมี
เล่มใหม่ล่าสุดต่อมาอีก และอาจรวมเล่มใหญ่เป็นผลงานท้ังหมด
เขา้ ด้วยกัน พรอ้ มจัดทำ� ดรรชนีคน้ คำ� เพื่อสะดวกต่อการคน้ ควา้ ยงิ่ ข้ึน

นอกจากประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์ท้องถ่ิน ท่ีมองผ่านลอด
แว่นตาส่องของผู้เขียนเองแล้ว ยังมีเรื่องเกร็ดเล็กผสมน้อยเก่ียวกับ
วัดวาอารามและเจ้าอาวาส เจ้าคณะผู้ปกครอง พระสังฆาธิการ
ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันที่มองผ่านสายตาของผู้บันทึกเหตุการณ์
ที่เดินทางผ่านไปพบเห็นเข้า รวมทั้งงานเดินทางไปต่างจังหวัด และ
ต่างประเทศท่ีมีโอกาสเข้ารว่ มเหตกุ ารณ์สำ� คัญนนั้ ๆ

อนุทินประจ�ำวันเล่มแรก ในโลกหนังสือประวัติศาสตร์-
ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น เร่ิมพิมพ์ต้ังแต่อนุทินประจ�ำวันฉบับที่ ๕๐๐
เป็นต้นมา เดิมตั้งใจไว้ว่า เมื่อรวบรวมเนื้อหาได้ราว ๒๐๐ หน้าก็จะ
จัดพิมพ์เล่มหน่ึง เป็นหนังสืออ่านเล่นเป็นเพื่อนยามว่าง ไม่เป็น
งานวชิ าการจนเกนิ ไป ประเภทวา่ เดก็ อา่ นได้ ผใู้ หญอ่ า่ นดี แตป่ รากฏวา่
เล่มแรกน้ใี ชเ้ นอ้ื ทไ่ี ปถงึ ๔๕๖ หนา้ กลายเป็นรวมเอา ๒ เลม่ เข้าดว้ ยกนั
ถอื วา่ เปน็ อภนิ นั ทนาการ ธรรมบรรณาการ สจั บรรณาการ ทม่ี อบใหแ้ ก่
ทา่ นผอู้ า่ น เพอ่ื เปน็ แรงบนั ดาลใจ กระตนุ้ ใหค้ ดิ ถงึ และบำ� เพญ็ ประโยชน์
แก่บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน นึกถึงบรรพชนคนรุ่นเก่า ที่กว่าจะมาเป็น
ตวั เราในวนั น้ี

หวงั ว่า อนุทนิ ประจำ� วนั เล่มน้ี ไม่มากเกนิ ไป ไม่นอ้ ยเกนิ ไป

วัดราชบุรณะ พระศรธี วัชเมธี
พระนคร
๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ ผอู้ �ำนวยการศูนยอ์ าเซียนศกึ ษา
มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั

ส า ร บั ญ

ค�ำนยิ ม
ค�ำนำ�
๕๐๐ เทีย่ วไป หาขอ้ มลู ไป ๑๕
๕๐๑ จากดอนก�ำยานถงึ พระอาจารย์ใหญฝ่ ่ายวิปัสสนา วดั ปราสาททอง ๑๙
๕๐๒ พระอาจารยส์ นุ ทร ฐติ กาโม “สขุ เถื่อน” วัดปราสาททอง ๒๓
๕๐๓ วดั ดอนตาเกิด-นายเพช็ ร ขุนทะยา อายุ ๘๙ ปี ๒๗
๕๐๔ สวนผัก ถึงเสน้ ทางรถไฟเกา่ ไปสิ้นท่แี ถวท่าวาสุกรี ๓๑
๕๐๕ ร�ำพึงย้อนหลัง ๓๕
๕๐๖ กรมการเมืองสุพรรณบุรี-พระยาสุนทรสงคราม ๔๑
๕๐๗ จากเจดีย์ กรมหลวงเสนบี รริ ักษ์ วัดระฆงั โฆสิตาราม ๔๗
๕๐๘ โคลงยวนพ่าย ๕๓
๕๐๙ จากท่วี ่าการอ�ำเภอบางใหญ่ ถึงวดั เขาพระฯ อทู่ อง ๕๙
๕๑๐ ถึงแค่วัดชโี พน ยงั ไม่ถงึ ลาดนำ้� เคม็ ๖๕
๕๑๑ เทพีนางงามเทศบาลอำ� เภอสองพนี่ อ้ ง ๗๑
คนตำ� บลบางเลน ท่ลี าลับจากไป
๕๑๒ ยา่ นหวั เจริญกรุง ๗๗
๕๑๓ สมเด็จพระพฒุ าจารย์ (โต, พุก, ศรี...) ณ วดั ไรข่ งิ ๗๙
๕๑๔ คมั ภรี ์-ลายแทง สงิ เรือง สงิ ลอ... ๘๓
๕๑๕ ฌาปนกิจศพคณุ นายพิมพา ณ วัดหนองหนิ ๘๙
๕๑๖ วัดประดใู่ นทรงธรรม ทา่ พระ ๙๓
๕๑๗ สิงคโปรร์ ำ� ลึก ๙๗
๕๑๘ “รอ นคร city” ทส่ี ิงคโปร์ ๑๐๑
๕๑๙ ดอนระฆัง และโคกเผาขา้ ว ๑๐๕
๕๒๐ โรงละครแห่งแรก โรงหนงั แหง่ แรกทส่ี ถานีสามยอด ๑๑๑
๕๒๑ วดั โพธินมิ ิตร ถนนเทอดไท ตลาดพลู ๑๑๕
๕๒๒ พระศาสนโศภน - เดมิ ชื่อแปลก แรกชื่อจ่า มาชอ่ื แจม่ ๑๒๑
๕๒๓ สวนนกจูร่ง สิงคโปร์ - Jurong Bird Park ๑๒๕

๕๒๔ ต�ำบลบางเลน-ทุง่ คอก-ต้นตาล ๑๒๙
๕๒๕ คณุ ยา่ จอ้ ย โตงาม อายุ ๑๐๘ ปี ๑๓๕
๕๒๖ รถเมลบ์ างล่ี-กรุงเทพฯ ๑๔๑
๕๒๗ สาแหรกมีแก้วนอ้ ย - พวงวรินทร์ ๑๔๓
๕๒๘ ปู่ทวดยา่ ทวด และปขู่ องข้าพเจา้ ๑๔๗
๕๒๙ แผนท่สี พุ รรณบรุ ี หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ ๑๕๑
๕๓๐ ไวยาวจั กรวดั สองพ่ีนอ้ ง ๑๕๕
๕๓๑ ตามหาร่องรอยทว่ี ัดพระพเิ รนทร์ วรจักร ๑๕๙
๕๓๒ ร.ต.ต.สุพจน์ สขุ เจรญิ อายุ ๖๘ ปี ๑๖๓
๕๓๔ ชาตกาล ๑๕๖ ปี เจา้ พระยายมราช (ปนั้ สขุ ุม) ๑๖๗
๕๓๕ โฉนดที่ดินวัดสองพน่ี ้อง ๑๗๓
๕๓๖ นางลมอ่ ม ศรีทองอินทร์ (ฉายอรณุ ) ๑๗๗
(๒๔๖๖-๒๕๖๑ อายุ ๙๕ ป)ี
๕๓๗ เย่ียมถ่นิ บรรพบรุ ุษฝา่ ยป่ทู วดย่าทวด ทีบ่ า้ นกุ่ม ๑๘๑
๕๓๘ พระอมรเมธาจารย์ (มง่ิ ป.ธ.๙) อายุ ๙๑ ปี ๑๘๗
๕๓๙ สมณศักดิท์ ี่ “พระอมรเมธาจารย”์ ๑๙๑
๕๔๐ จดหมายสองพนี่ อ้ ง ฉบบั งานออกพระเมรพุ ระศพ ๑๙๕
๕๔๑ สถานปฏิบัติธรรม ต.หนองกระทุ่ม อ.กำ� แพงแสน จ.นครปฐม ๒๐๑
๕๔๒ วนั มลู นิธสิ มเดจ็ พระสังฆราช องคท์ ี่ ๑๗ ๒๐๕
๕๔๓ โรงพมิ พ์รุง่ เรืองธรรม-ร่งุ เรืองรตั น์ หลังกระทรวงมหาดไทย ๒๐๙
๕๔๔ นายประยงค์ ต้งั ตรงจิตร ๒๑๕
๕๔๕ ต�ำนานสมเดจ็ พระวันรัต (ปนุ่ ปณุ ณสริ ิมหาเถระ) ๒๑๙
๕๔๖ ตามเสน้ ทางนริ าศ ชมตลาดสำ� เพง็ ๒๒๓
๕๔๗ วัดปรนิ ายกแกว้ เจา้ พระยาบดนิ ทรเดชา (สิงห์ สิงหเสน)ี ๒๒๗
๕๔๘ ศลิ ปนิ แห่งชาติ ขวญั จิต ศรปี ระจันต์ ๒๓๑
๕๔๙ วันรบั พมุ่ เทียนพรรษา ๒๓๕
๕๕๐ วันอธษิ ฐานเขา้ พรรษา ๒๓๙

ส า ร บั ญ ๒๕๕
๒๕๑
๕๕๑ ท�ำวัตร ท�ำสามจี กิ รรม ๒๕๗
๕๕๒ เปดิ บันทกึ สมเด็จฯ ปา๋ วดั พระเชตุพน ๒๖๑
๕๕๓ ชวี ิตท่วี นเวยี นไปมา ๒๖๕
๕๕๔ กฏุ พิ ระปฐมเจติยาทร หลวงพ่อบญุ ธรรม จนั ทร์หอม ๒๖๙
๕๕๕ พระอนุจร ตดิ ตามไปตา่ งแดน ๒๗๓
๕๕๖ วงั หน้า หน้าวัดมหาธาตุฯ ท่าพระจนั ทร์ ๒๗๗
๕๕๗ ท�ำเนียบ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค ๒๘๓
๕๕๘ ท�ำวัตรประจำ� ปี ๒๕๖๑ ๒๘๗
๕๕๙ สหชาตปิ ระโยค ๙ ปี ๒๕๒๕ ๒๙๑
๕๖๐ คอกม้าที่สแี่ ยกวรจกั ร ๒๙๕
๕๖๑ สายนำ้� ..สายธารชวี ิต ๒๙๙
๕๖๒ ไผ่ประดิษฐ์ ท่วี ดั พระพเิ รนทร์ วรจักร ๓๐๓
ถงึ วัดโพธนิ ิมติ รฯ ย่านตลาดพลู ๓๐๙
๕๖๓ จากวดั แจง้ ถงึ ท่าน้�ำเมอื งนนทบุรี ๓๑๑
๕๖๔ วดั ทองประดิษฐ์ วดั เล็ก ๓๑๕
๕๖๕ แมเ่ สยี น คุณฑี (ชุม่ เพง็ พนั ธ)ุ์ (เพง็ เรอื ง) ๓๑๙
๕๖๖ ธรรมาภิบาล good governance ๓๒๕
๕๖๗ พระราชสุธี บุญสง่ สว่างศรี ป.ธ.๙ ๓๒๙
๕๖๘ พระโพธสิ งั วรเถร (ฑรู ย)์ อดตี เจ้าอาวาสวดั โพธนิ มิ ิตรฯ ๓๓๓
๕๖๙ ราชาพกู่ ัน สง่า มะยรุ ะ ๓๓๗
๕๗๐ คงุ้ วัดตะไกร ๓๔๑
๕๗๑ วดั กงจกั ร พระนาคปรก - คณุ แมอ่ นงค์ จาดทองคำ� ๓๔๕
๕๗๒ แมน่ ้ำ� สุพรรณสายเก่า และ สงิ เรอื ง ท่ีดอนมะนาว)
๕๗๓ วัดบวรนิเวศ - ยายจัน โกมลสงิ ห์
ญาตสิ นทิ กับเจ้าคุณสนธ์ิ ม่ังเมือง คนนนทบรุ ี
๕๗๔ ดอนมะนาว เดมิ คือต�ำบลทุง่ คอก

๕๗๕ พบกนั ครัง้ แรก เจอกนั ครง้ั สดุ ทา้ ย ๓๕๑
๕๗๖ ชาวดอนก�ำยาน ยนิ ดีต้อนรับ ๓๕๕
๕๗๗ ไชนา่ ทาวน์ และ พธิ ีไหว้ครู ครบรอบ ๔๘ ปี ส.ส.ศ. ๓๕๙
๕๗๘ วัดไผต่ นั กบั นามสกุล “ทรงสอาด, เอกพจน์ และ แจ่มนชุ ” ๓๖๕
๕๗๙ หลวงเตย่ี ๑๖ ปีแหง่ ความหลัง ๓๖๙
๕๘๐ วดั ขีเ้ หลก็ เปลี่ยนเปน็ วดั สุวรรณครี ี ๓๗๓
๕๘๑ นางจ�ำเนยี ร กระตา่ ยทอง (บริสุทธ์ิ) (๒๔๗๑-๒๕๖๑) ๓๗๗
๕๘๒ จอมพลฯ เจิม แสงชูโต และวดั พระพเิ รนทร์ วพร. ๓๘๑
๕๘๓ พิธีครอบครู พธิ ไี หว้ครู ส.ส.ศ. ๓๘๕
๕๘๔ รอ่ งรอยพระยาสุนทรสงคราม (แจ่ม) ขา้ หลวงเมอื งสุพรรณบรุ ี ๓๙๑
๕๘๕ พระเทพสาครมนุ ี (หลวงปแู่ กว้ ป.ธ.๖) วดั ชอ่ งลม ๓๙๕
๕๘๖ วดั พระปฐมเจดยี ์ ปี ๒๕๖๑ ๓๙๙
๕๘๗ เทยี่ ววัดพระแทน่ ดงรงั ๔๐๓
๕๘๘ วันกราวนซ์ ีโร - 9/11 ๔๐๗
๕๘๙ หลวงพ่อใหญ่ วดั ป่า ๔๑๑
๕๙๐ แม่ตยุ้ บษุ บก ๔๑๕
๕๙๑ Wat Chumpa วัดจำ� ปา ตำ� บลบา้ นโขง้ - นายหอ้ ย ศรบี ุญเพง็ ๔๑๙
๕๙๒ คนเกิดปีมะ ๔๒๓
๕๙๓ หลวงพอ่ ประสม เรืองจรญู วิญญาณศลิ ปนิ แห่ง ส.ส.ศ. ๔๒๗
๕๙๔ สนามบนิ อนิ ชอนร�ำลึก ๔๓๑
๕๙๕ รำ� ลึกถงึ ทา่ นประธานประเทศเวียดนาม เจ่นิ ได๋ กว่าง ๔๓๕
๕๙๖ หมู่บา้ นศีลห้าระดับโลก: The World Peace Summit ๔๔๑
๕๙๗ พระธรรมทพี่ ระพทุ ธเจา้ ทรงสอน ๔๔๗
๕๙๘ ต�ำแหนง่ ทส่ี มเดจ็ พระวนั รตั ๔๕๑



อนทุ ินประจ�ำวัน

(๕๐๐ เท่ยี วไป หาข้อมูลไป)

ht t p s : / / w w w . f a c e b o o k . c o m / F i n e A r t s D e p t /
v i d e o s / 1 8 1 8 9 2 5 3 4 8 1 9 7 6 4 2 / ? h c _ r e f = A R T f 0 s fi o
Y--OO0FskvUFlGsVVfJItoeArA8oFhVH2uSqoytZKZAVvj
YCn6juUI6u7U

ในเฟสบุ๊คข้ึนหน้าจอว่า มีผู้กดไลค์จ�ำนวน ๑๙๐,๐๐๐ คน
จะไม่เขยี นอนุทนิ ประจำ� วันกด็ ูกระไรอยู่ เลา่ เรือ่ งทไ่ี ปวันนก้ี ็แล้วกัน

วันก่อนไปตลาดน้อย เขตติดต่อระหว่างเขตบางรักกับเขต
สัมพันธวงศ์ ปรากฏว่าติดฝนที่เทลงมา พบซอยโชฎึกใต้ป้ายถนน
เจริญกรุง ๓๑ และเห็นสะพานโสณบัณฑิตย์แล้ว แต่ยังไม่ได้ส�ำรวจดู
ให้จุใจ วันนี้ติดใจไปอีก ไปดูถนนเจริญกรุง ๓๑ (ซอยโชฎึก) อีกครั้ง
ได้เดินเข้าซอย เล้ียวซ้ายแลขวามองไม่เห็นบ้านใดที่จะเป็นบ้าน
ระดับพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเลย จะเดินเข้าวัดญวนตลาดน้อยก็เคย
ไปสำ� รวจมาแล้ว จึงเดินสำ� รวจพื้นทไี่ ปเรื่อยๆ

เดนิ ผา่ นศาลเจา้ เหง้ เจยี แตไ่ มไ่ ดเ้ ขา้ ไปภายใน จนไปถงึ ธนาคาร
ยโู อบี ตรงเปน็ สามยอดหรอื สามแยกเจรญิ กรงุ วา่ เดมิ มสี ง่ิ สำ� คญั สถติ อยู่
ณ ตรงหน้านี้ จะเป็นปรางค์หรือเจดยี อ์ ะไรสักอย่างหนึ่ง มองขา้ มถนน
ไปเหน็ รา้ น “สิงคโปร์โภชนา” เปน็ ช่ือรา้ นมีภาษาจนี ก�ำกับ ท่ดี า้ นล่าง
มีชื่อ “ลอดช่องสิงคโปร์” มาหาลอดช่องสิงคโปร์จนได้ เม่ือก่อนนี้
ให้โยมปลา มาถ่ายรูปให้ดูก่อนว่าอยู่ท่ีจุดไหน วันนี้มาถึงสถานท่ี

อนุทนิ ประจำ� วนั 15

เหน็ ดว้ ยตาตนเอง ขา้ งๆ ถดั ไปอกี หอ้ งหนงึ่ เหน็ ปา้ ยชอ่ื รา้ นคนั่ กนี่ ำ�้ เตา้ ทอง
พ.ศ.๒๔๔๔ อายุเลย ๑๐๐ ปีแล้ว จ�ำได้ว่าเคยเป็นโรคร้อนใน ให้คน
มาซอ้ื ยายี่หอ้ น้�ำเตา้ ทองรา้ นนไี้ ป

เดนิ เขา้ ภายในศาลเจา้ กวางตงุ้ เปน็ ครงั้ แรกในชวี ติ ใกลก้ บั สถานี
ใต้ดินชื่อสถานีมังกร ใกล้ๆ กับถนนผดุงเผ่าหรือผดุงด้าว ไปไหว้พระ
มหายาน และเดินชมพระอรหันต์ด้านละ ๙ องค์ รวมเป็นพระอรหันต์
๑๘ องค์

วนั นี้ พสี่ มาน สดุ โต นำ� เอาอาหารมาเสรมิ หลงั จากเสรจ็ ภตั ตกจิ
แล้ว ในเวลาเทย่ี งครง่ึ ก็ชวนกนั ออกเดินทางไปงานเสวนาวิชาการเร่ือง
“ฟลิ ม์ กระจกหนว่ ยงานในไทยและตา่ งประเทศ” รถวง่ิ เปน็ วงกลมจาก
ถนนจกั รวรรดิ เล้ียวเขา้ ถนนเยาวราช ข้ามสะพานด�ำ พ่สี มานบอกวา่
พ่อมาตั้งร้านอยู่ท่ีถนนบริพัตรตรงนี้ ยังถามว่าร้านเซ้งหรือขายไปแล้ว
ตงั้ แตเ่ มอ่ื ไร? ขณะเดนิ ทางผา่ นโรงแรมสามยอดทเ่ี รยี กวา่ บรู พาเยอ้ื งกบั
สถานรี ถไฟสามยอด แลว้ ถงึ ตน้ โพธิ์ พส่ี มานบอกวา่ ตรงนเี้ คยมโี รงละคร
อยแู่ หง่ หนงึ่ ดา้ นหลงั เปน็ ซอ่ งและมบี อ่ นการพนนั และทถี่ นนอณุ ากรรณ
เปน็ สะพานถา่ น ซ่งึ ตงั้ อยูด่ า้ นทศิ ตะวันออกของวดั สุทศั น์

คุยกันไปเร่ือย ผ่านเลยถนนราชด�ำเนินกลาง และธนาคาร
กรุงเทพฯ ท่เี ปน็ หอศลิ ปแลว้ ช่อื ถนนอะไรจ�ำไมไ่ ด้ กอ่ นถึงถนนดินสอ
ตัดกัน และก่อนถึงซากก�ำแพงเมืองเก่า ได้ยินพ่ีสมานบอกว่า
“เดิม น.ส.พ.บางกอกโพสท์ มอี อฟฟิศอยูต่ รงนี้ ก่อนจะย้ายไปที่ตกึ
อื้อจือเหลียง และย้ายไปท่ีแถวบางเตย” พ่ีสมานเข้าท�ำงาน
หนงั สอื พิมพบ์ างกอกโพสตใ์ นปี ๒๕๒๒ ทตี่ กึ อ้อื จอื เหลียง

มองเห็นตึกอาคารหน่ึงแปลกตาดี ลวดลายเป็นศิลปะยุโรป
พสี่ มานบอกวา่ เจา้ ของเปน็ เจา้ ของบรษิ ทั นำ� เขา้ รถเบนซ์ ชอื่ “วริ ยิ ะพานชิ ”

16 อนทุ นิ ประจ�ำวนั

แต่เป็นตึกท�ำใหม่ ไม่ใช่ตึกด้ังเดิม คุยชมนกชมไม้ไปเร่ือยๆ จนถึง
วดั บวรนเิ วศ และรถไปเขา้ ทางตรงไปวดั ชนะสงคราม ขา้ พเจา้ เลา่ ใหฟ้ งั
ว่า “คร้ังแรกในชีวิต เคยมาซ้ือหนังสือบาลีที่ร้าน ส.ธรรมภักด ี
ทหี่ นา้ วดั ชนะสงครามแถวๆ น้ี ก่อนที่ ลกู ส.ธรรมภักดี จะยา้ ยไปอยู่
หน้าวดั มหรรณพารามปัจจุบนั ”

และถามหาว่าย่านนี้ รู้จักอีกแห่งหนึ่งคือโรงแรมเวียงใต้
เพราะเคยมาซื้อต๋ัวเคร่ืองบิน คนขับรถแท็กซี่ได้ช้ีให้ดูว่าต้องเข้าอีก
ซอยหนึง่ ไป

ไปลงหนา้ หอศลิ ป ถนนเจา้ ฟา้ เดนิ เขา้ ไป เหน็ คณุ เอนก นาวกิ มลู
(เกิดปมี ะเส็ง ๒๔๙๖) ผ่านมา กท็ ักทายกนั วา่ เพิง่ เห็นตัวจรงิ ยังหนุ่ม
หล่อเฟี้ยว ผมดก และปรารภว่าอยากให้ท�ำสมุดภาพสุพรรณบุรี
เหมือนที่ไปท�ำท่ีจังหวัดอ่ืนๆ บ้าง คุณเอนกแนะน�ำให้รู้จักคุณอ้วน
(ธงชัย ลขิ ิตพรสวรรค)์ (เกิดปกี ุน ๒๕๐๒) กรรมการผจู้ ดั การสำ� นกั พิมพ์
ต้นฉบบั

เหน็ คนมกั ค้นุ ท่านหน่งึ ชื่อ นายประทปี เพ็งตะโก ต�ำแหน่งเป็น
รองอะไรสักอย่างหน่ึง แต่ใหญ่โต จ�ำได้ว่าเป็นลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณ
พระเทพมหาเจติยาจารย์ (ชัยวัฒน์ ป.ธ.๙) เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม
และตอ่ มากร็ จู้ ักกับคุณวุฒิพงศ์ ท้าวฬา ผอ.ศนู ย์เทคโนโลยีการควบคุม
ทางศุลกากร ซ่ึงมีพ่อเป็นคนไผ่ขาด อ�ำเภอสองพ่ีน้อง ส่วนแม่เป็นลูก
ของตาพร ยายระเบียบ ทองประเสรฐิ (ฉายอรณุ ) จึงกระซิบคุยกันว่า
รไู้ หมวา่ พทุ ธอสิ ระทช่ี อื่ วา่ สวุ ทิ ย์ ทองประเสรฐิ เปน็ สายเรายา่ นสองพนี่ อ้ ง
รึเปลา่ ?

๒ ชม.ในงานเสวนาวชิ าการ ทห่ี อศิลป และชมรปู ภาพทนี่ �ำมา
แสดงในงานนี้ เม่ือวานน้ีได้มาดูภาพต่างๆ ที่น�ำออกแสดงนิทรรศการ

อนทุ ินประจ�ำวัน 17

หมดแลว้ วนั นไี้ ดฟ้ งั เทคนคิ และขบวนการเกย่ี วกบั รปู ภาพ ฟงั เขา้ ใจบา้ ง
ไม่เขา้ ใจบ้าง โดยเฉพาะในยุคแรกๆ ของการมีรปู ภาพ

ติดใจว่าจะเขียนกระดาษไปถามพิธีกรบนเวทีว่า “ร้านถ่ายรูป
โรเบริ ต์ เลนซอ์ ยทู่ ไ่ี หน ในถนนเจรญิ กรงุ ” พอดนี ายธงชยั ลขิ ติ พรสวรรค์
นง่ั อยดู่ ้านขา้ ง จึงถามคนขา้ งๆ ก่อน ไดร้ บั คำ� ตอบว่า อยเู่ ย้อื งโรงหนัง
ศาลาเฉลิมกรุง ตรงมมุ ถนนตีทองนัน่ เอง

เสร็จงานเสวนา เพราะสนใจว่าจะลองถ่ายภาพเป็นที่ระลึก
สกั ภาพหนง่ึ แตค่ วิ ยาวเหลอื เกนิ จงึ ออกมาแลว้ เดนิ ทางไปยงั สำ� นกั งาน
วัดพระเชตุพนฯ และน่ังสนทนากันต่อกับพ่ีสมาน ถึงเรื่องอะไรต่างๆ
ณ ตึกกวี เหวยี นระวีแหง่ น้ี ก่อนจะแยกย้ายกนั

นน่ั เปน็ อกี วนั หนงึ่ ของการเทยี่ วไป หาขอ้ มลู ไป อยา่ งนอ้ ยกเ็ หน็
และมคี นยนื ยนั วา่ ภาพทขี่ น้ึ ไปถา่ ยบนยอดพระปรางคว์ ดั อรณุ ราชวราราม
เหน็ ยอดปรางค์วดั ราชบุรณะ ปรากฏใหเ้ ห็นทมี่ มุ ด้านซา้ ยมอื แตแ่ ทบ
ไม่น่าเชื่อว่าเรือนแพท่ีจอดอยู่เต็มฝั่งแม่น้�ำเจ้าพระยาด้านฝั่งพระนคร
หายไปไหนหมด แม่น้�ำที่ว่าใหญ่แลดูจากภาพเหมือนจะแคบ ด่ังจะ
ว่ายน้�ำข้ามได้ และโค้งของแม่น�้ำเจ้าพระยา จากจุดวัดโพธิ์-วัดแจ้ง
เปน็ ทศิ ตะวนั ออกกบั ทศิ ตะวนั ตก แตพ่ อถงึ เชงิ สะพานพทุ ธ ฝง่ั พระนคร
เปน็ ทศิ เหนอื ฝง่ั ธนบรุ เี ปน็ ทศิ ใต้ นน่ั คอื ความโคง้ ของลำ� แมน่ ำ้� เจา้ พระยา

18 อนทุ ินประจ�ำวนั

อนทุ นิ ประจำ� วัน

(๕๐๑ จากดอนก�ำยานถงึ พระอาจารยใ์ หญฝ่ า่ ยวปิ ัสสนา
วัดปราสาททอง)

มาย่านดอนก�ำยานคราวใดก็นึกถึงค�ำพูดท่ีฮิตติดปากในราว
ยคุ ๒๕๒๐ วา่ “หลวงพอ่ ฉตั รกม็ าตาย หลวงพอ่ ใจ กม็ าส้นิ ”
หลวงพ่อฉัตร เจ้าอาวาสวัดวงั พระนอน เคยสง่ สามเณรไปเรยี นบาลี
ทส่ี ำ� นกั เรยี นบาลวี ดั สองพนี่ อ้ งหลายรปู ยงั จำ� ลำ� คลองทเ่ี รอื หางยาว
ว่ิงจากย่านนี้ไปทางท่าไชย แล้วเข้าเขตบางบอน-บางพลับ ผ่าน
ตลาดบางล่ี แล้วไปถึงวัดสองพนี่ ้องได้

ส่วนหลวงพ่อใจ เป็นเจ้าอาวาสวัดวังยายหุ่น ชื่อปัจจุบันว่า
วัดนิเวศน์ธรรมาราม ข้าพเจ้าจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดสามนาค”
เดมิ วา่ มวี ดั หนงึ่ ปจั จบุ นั อยฝู่ ง่ั โนน้ ตอนสรา้ งวดั วงั ยายหนุ่ กข็ นอฐิ จากวดั
ร้างชือ่ วดั กำ� แพงมาอยฝู่ ั่งน้ี หลวงพ่อใจเกิดในตระกลู “เพ็งเรือง”

ต้ังใจไปฉันเพล เป็นเพื่อนงานโยมบดิ าของท่านพระมหาจ�ำเรญิ
สวุ ัฑฒโน ป.ธ.๓ นามสกลุ ศรอี ทุ มุ พร เจ้าอาวาส ชอ่ื พอ่ มี ศรอี ทุ ุมพร
(๒๔๘๒-๒๕๖๑ อายุ ๗๙ ปี) ลูกของปู่สิงห์-ย่าตูน ศรีอุทุมพร
(ยา่ ตนู ลูกของเจก๊ ผ้า แซ่ตงั้ มาจากจนี เปลี่ยนนามสกลุ เป็น “โอชา”)
ซงึ่ มลี กู ๓ คน คอื (๑) ลงุ มนิ ศรอี ทุ มุ พร (๒) พอ่ มี ศรอี ทุ มุ พร (ผวู้ ายชนม)์
ซงึ่ มลี กู หญงิ ชายรวม ๙ คน ทา่ นพระมหาจำ� เรญิ เปน็ ลกู คนกลาง คนทหี่ า้ ,
(๓) อาเมา ศรอี ุทมุ พร ซ่ึงมีลกู ชายหญงิ รวม ๑๐ คน พระมหารุ่งเพชร
ป.ธ.๕ วัดพระพิเรนทร์ วรจักร เปน็ ลูกคนที่ ๖

อนทุ ินประจ�ำวัน 19

ได้คุยกับพระมหารุ่งเพชร ศรีอุทุมพร เล่าว่า ที่ท่านทราบมา
ตน้ ตระกลู ของทา่ นอยใู่ นประเทศกมั พชู า ชอื่ เปน็ ภาษาเขมร จำ� ไมไ่ ดแ้ ลว้
แต่จ�ำได้ว่าในสมยั ร.๔ เกิดข้อพพิ าทกนั ครอบครวั ของทา่ นไดโ้ ยกยา้ ย
มาอยู่ฝง่ั ไทย ณ บา้ นต�ำบลเมอื ง แตพ่ อถงึ สมยั ร.๕ เกิดโรคห่าข้นึ อกี
ผคู้ นลม้ ตายกนั มาก ไดย้ า้ ยออกมาหา่ งจากจดุ เดมิ ๕ กม. มาอยทู่ อ่ี ำ� เภอ
อุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ซ่ึงบ้านท่านห่างจากเขาพระวิหารแค่
๑๗ กม. ยงั มญี าตพิ นี่ อ้ งอยฝู่ ง่ั ประเทศกมั พชู า บรรพบรุ ษุ ยงั ไปมาหาสกู่ นั

หลงั จากเปน็ หวั หนา้ สวดธรรมนยิ าม ฉนั เพลเสรจ็ แลว้ ไดพ้ ดู คยุ
กับญาติโยมสักพักหน่ึง มีเป้าหมายส�ำคัญคือ นัดหมายกับนายพิพัฒน์
หวลบตุ ตาไปเยย่ี มเยอื นเพอื่ นเกา่ ทไ่ี มเ่ คยเจอกนั เลยเปน็ เวลา ๔๐ กวา่ ปี
ช่ือนายยรรยง แก้วเมฆ (เกิดปีวอก ๙ ธ.ค.๒๔๙๙) พักรักษาตัวอยู่ท่ี
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ได้พบกับพี่สาวของนายยรรยงช่ือพี่เฮ้ง
และพีเ่ ขยชอ่ื พท่ี วน เสมด�ำ มลี กู ชายช่ือนายสเุ ทพ เสมคำ� (เกดิ ๒๕๑๖)
ซ่ึงข้าพเจ้าทกั ว่าหน้าตาละม้ายกับนายยรรยง แกว้ เมฆมาก

ส�ำหรับนายยรรยงนั้น เดิมข้าพเจ้าเข้าใจคลาดเคล่ือน นึกว่า
ชอ่ื “พลายยงค”์ เสยี อกี มี ๒ ยงคท์ มี่ าอยวู่ ดั สองพนี่ อ้ งในราวปี ๒๕๑๕-๑๖
คนหน่ึงชื่อมหาพยงค์ อินตะโชติ ลูกตาเช้ากับยายส�ำลี คนน้ีอยู่วัด
สองพี่น้อง แล้วย้ายมาอยู่วัดราชบุรณะ และสุดท้ายไปอยู่วัดปากน�้ำ
ภาษีเจริญ เปน็ เปรียญ ๔ ประโยค ลาสกิ ขาก็หายเขา้ กลีบเมฆไปแล้ว
และอีก “ยงค์” หนึ่ง คือคนที่นอนรักษาตัวอยู่นี้ ซ่ีงมีชีวิตน่าอนาถ
มากท่ีสุด เพราะอะไร?

ลาสิกขาแล้ว ไปเป็นทหารราบ ตอนฝึกซ้อมอาวุธกันท่ีค่าย
แห่งหนึ่ง ปกติซ้อมใช้โยนลูกระเบิดปลอม แต่วันหนึ่งดวงซวยมาถึง
ครูฝึกหยิบลูกระเบิดจริง แล้วโยนมาถึงนายยรรยงค์ ซ่ึงตกลงที่พื้นดิน

20 อนุทนิ ประจำ� วัน

และเจ้าตัวก็ก้มหน้าลงพอดี ระเบิดตูม ม่านตาด�ำดับสนิท ใบหน้าเละ
น่ันคือข่าวท่ีข้าพเจ้าทราบมา ไปรักษาตัวที่นั่นบ้าง ท่ีน่ีบ้าง บางครั้ง
ก็หนีออกจากบ้านไป จนได้ข่าวล่าสุดวันที่ข้าพเจ้าวางแผนไปงาน
พระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาวัดปราสาททอง
ช่ือพระอาจารย์ สุนทร ฐิตกาโม นามสกุล “สุขเถื่อน” (๒๔๕๘-
๒๗ ต.ค.๒๕๕๙ อายุ ๑๐๑ ป)ี ไดม้ โี อกาสไปเยย่ี มและยนื ปลงอนจิ จงั วา่
เป็นชีวติ ทนี่ า่ อนาถมาก รปู รา่ งผอมโซ และตดิ เชื้ออีกดว้ ย ใบหนา้ ท่เี คย
เป็นคนหลอ่ เหลา คมคาย เคา้ หนา้ ของคนหลอ่ มาก่อน ถกู ทำ� ลายในวัย
อนั ไมส่ มควร

ห้องทีน่ ายยรรยง แก้วเมฆพกั รกั ษาตัวอยู่นัน้ อยตู่ กึ บรรหาร ๒
คนไข้พิเศษ ช้ันล่าง ข้าพเจ้าจ�ำได้ว่า ตอนโยมบิดาของข้าพเจ้ามาพัก
รกั ษาตวั ดว้ ยโรคไต ก็มาพกั อยทู่ หี่ อ้ งตรงนี้ ย่งิ เศร้าใจเขา้ ไปอีก

เสร็จจากเย่ียมคนไข้ ก็เข้าไปวัดปราสาททอง เพื่อร่วมงานเผา
พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาที่เคารพนับถือกัน พระอาจารย์สุนทร
ได้มรณภาพไปเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ท่านได้สละร่างเป็นอาจารย์ใหญ่ให้
โรงพยาบาลศิริราช เพิ่งได้น�ำร่างกลับมาเพ่ือประกอบพิธีพระราชทาน
เพลงิ ศพ ณ วัดปราสาททอง ซงึ่ เป็นวดั ทท่ี า่ นเคยสงั กดั มา

ก่อนขึ้นไปบนศาลาการเปรียญ เข้าไปในศาลาอัยรารัตน์
เห็นศพหน่ึงชอื่ อยั การพบิ ูล สาครวาสี (๒ ม.ค.๒๔๘๔-๑๖ มิ.ย.๒๕๖๑
อายุ ๗๗ ป)ี เมอื่ ดนู ามสกลุ กค็ นุ้ ๆ วา่ เปน็ ตระกลู ทส่ี รา้ งวดั กนั มาตยุ าราม
กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นวัดท่ีมหาสุชีพ ปุญญานุภาพ ป.ธ.๙ เคยจ�ำพรรษา
อยู่ข้างวัดญวนชื่อวัดกุศลสมาคร เห็นพวงหรีดมี “ครอบครัวสุดโต”,
“นันทิยา พ่ึงบุญ ณ อยุธยา”, “พญ.รตวรรษ์ สถาปิตานนท์”
“นายแพทยส์ วุ ฒั น์ เฑยี รทอง”, และ “นายแพทยศ์ ราวฒุ ิ ตงั้ ศรสี กลุ ”

อนุทินประจ�ำวนั 21

เปน็ ตน้ พอเหน็ นามสกลุ “สถาปิตานนท”์ ก็อยากไปดกู ุฏิท่เี คยไดย้ นิ
มาวา่ เกย่ี วเนอ่ื งกบั บา้ น “คณุ ยายคล่ี ณ นคร (สถาปติ านนท)์ (๒๔๒๔-
๒๕๐๑) บุตรีของหลวงพรหมสุภา (บุญรอด สถาปิตานนท์) และ
นางพรหมสุภา (ถมยา)” จึงเดินไปดูว่ายังปกติดีอยู่หรือเปล่า กุฏินี้
อยู่ด้านหลังหอสวดมนต์ เดินผ่านหอระฆังสร้างใหม่เข้าไปด้านหลัง
ฟน้ื ความทรงจ�ำเก่าๆ ที่เคยมาเยอื นถิ่นบ้านกวยและวัดปราสาททอง

เม่ือกลับขึ้นไปอยู่บนศาลาการเปรียญบ�ำเพ็ญกุศล ได้น่ังคู่กับ
เจ้าอาวาสวัดปราสาททองช่ือพระครูศรีปริยัตยานุศาสก์ (วีระ ป.ธ.๖)
ข้าพเจ้าสอบถามว่า เวลาท�ำวัตรและกรวดน้�ำ อุทิศบุญกุศลให้อดีต
เจา้ อาวาสมีช่ืออะไรบา้ ง?

ทา่ นวา่ “อทุ ศิ ใหห้ ลวงพอ่ อมุ่ (พระวบิ ลู เมธาจารย)์ , หลวงพอ่ ผล
(พระวกิ รมมนุ )ี , หลวงปเู่ จก๊ , หลวงปแู่ กว้ , หลวงปพู่ รหม, และอาจารย์
ทองเหมาะ หงษท์ อง” ขา้ พเจา้ ถามวา่ หลวงปเู่ จก๊ กบั หลวงปแู่ กว้ เปน็ ใคร?
ท่านว่าเกิดไม่ทัน แต่หลวงปู่พรหมนั้นคือหลวงพรหมสุภา (บุญรอด
สถาปิตานนท์) น่ันเอง ซึ่งหลวงพรหมสุภา (รอด หรอื บญุ รอด) เคยบวช
พระวดั ปราสาททอง และเสยี ชวี ติ แลว้ ทา่ นวา่ จงึ นมิ นตพ์ ระวบิ ลู เมธาจารย์
ที่สมัยนั้นยงั เปน็ พระมหาอ่มุ ประโยค ๓ มาเป็นเจ้าอาวาสตอ่ มา

ใครอยากรู้ว่า หลวงพรหมสุภา เสยี ชีวติ ในราวปใี ด ก็ต้องไปหา
หลกั ฐานวา่ พระมหาอ่มุ คนชีโพน อยุธยามาอยูว่ ัดปราสาททองเมอื่ ไร
และปีท่ีหลวงพรหมสุภาเป็นนายอ�ำเภอบ้านทึงในปีใด ก็ไปค้นหาใน
ราชกจิ จานุเบกษา วา่ นายอำ� เภอเก่า ๔ ท่านทรี่ ่วมยคุ สมยั กัน ที่อ�ำเภอ
บ้านทึง นามสกุล “สถาปิตานนท์” อ�ำเภอบางปลาม้า นามสกุล
“โกมารทตั ” อำ� เภอบางลน่ี ามสกลุ “ภมรพล” คอื ใครบา้ ง สว่ นอำ� เภอเมอื ง
สุพรรณบุรี ยังสืบไม่ได้เบาะแส รู้แต่ช่ือตามป้ายทะเบียนอ�ำเภอ
แต่ยังไม่ทราบว่านามสกลุ อะไร

22 อนทุ นิ ประจ�ำวนั

อนุทินประจำ� วนั

(๕๐๒ พระอาจารยส์ นุ ทร ฐิตกาโม “สุขเถอ่ื น”
วัดปราสาททอง)

พระอาจารย์สุนทร ฐิตกาโม (เกิดปีเถาะ ๒๔ พ.ค.๒๔๕๘-
๒๖ ต.ค.๒๕๖๑) ท่ีบ้านดอนพทุ รา ต�ำบลดอนมะสัง อำ� เภอ
เมอื งสพุ รรณบรุ ี ใชน้ ามสกลุ “สขุ เถอ่ื น” นามสกลุ เดยี วกบั หลวงพอ่ บญุ
สขุ เถอื่ น (พระครวู ฒุ ธิ รรมนาถ หลวงพอ่ บญุ ถาวโร นามสกลุ “สขุ เถอ่ื น”)
(๒๗ มนี าคม ๒๔๔๔- ๒๕๒๗) วดั โคกโคเฒา่ , เป็นบุตรของพ่อฮ้ี แมเ่ ปา๋
สุขเถื่อน โยมบิดาท่านเป็นคนจีน เกิดในตระกูล “แซ่เล็ก” ส่วน
โยมมารดาแมเ่ ปา๋ นั้น เกิดในตระกูล “สุขเถือ่ น” จึงเปน็ ญาติสายโลหิต
กับหลวงพ่อบุญ สุขเถ่ือน วัดโคกโคเฒ่าทางมารดา และท่านมีช่ือ
เรียกอีกช่อื ว่า พระอาจารย์ไฮ้ สขุ เถือ่ น

ในประวตั วิ า่ พระอาจารยส์ นุ ทร ทา่ นเปน็ บตุ รคนที่ ๒ ในบรรดา
พี่น้องรว่ มบดิ ามารดา จำ� นวน ๖ คน คอื (๑) นายไฮ้ สุขเถ่อื น (ช่ือเดียว
กบั ทตี่ อ่ มาคนเรยี กชอ่ื พระอาจารยส์ นุ ทรวา่ พระอาจารยไ์ ฮ)้ จงึ เรยี กวา่
“ไฮใ้ หญ”่ (๒) พระอาจารย์สนุ ทร สุขเถอื่ น หรือไฮ้เลก็ (๓) นางเซก็
เสอื ป่า (๔) นายเล็ก สุขเถอ่ื น (๕) หมอจำ� รัส สุขเถอ่ื น (๖) นางเปลง่ ศรี
สขุ เถอ่ื น หรือนางเลก็ บ้านอยู่ห้วยเจรญิ ศรปี ระจนั ต์

อุปสมบท เม่ืออายุ ๒๑ ปี ตรงกับวนั ที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๗๙
ณ พัทธสีมาวัดพังม่วง ต�ำบลบ้านไร่ (ปัจจุบัน ต�ำบลวังน้�ำซับ)

อนทุ ินประจำ� วัน 23

อ�ำเภอศรีประจันต์ มีหลวงพ่อสม (พระครูศรีคณานุรักษ์) เจ้าคณะ
อำ� เภอศรปี ระจนั ต์ วดั ดอนบปุ ผารามเปน็ พระอปุ ชั ฌาย,์ พระอาจารยท์ อง
เจ้าอาวาสวัดพังม่วง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาผล ภัททิโย
(พระภัทรมุนี ต่อมา ด�ำรงต�ำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
วดั ไชนาวาส) วดั พงั มว่ ง เปน็ พระอนสุ าวนาจารย์ หลงั จากบวชพระแลว้
ได้ ๓ วัน ได้กลับไปจำ� พรรษาทีว่ ัดโคกโคเฒ่า (ถน่ิ ฐานบ้านชอ่ งดง้ั เดิม
ของมารดาบิดา ที่ย้ายออกไปประกอบอาชีพท่ีดอนปรู ศรีประจันต์)
แล้วย้ายไปอยู่วัดไชนาวาส (๒๔๘๐) สอบได้นักธรรมช้ันตรี (๒๔๘๑),
นักธรรมช้นั โท (๒๔๘๕), นกั ธรรมชนั้ เอก (๒๔๘๙)

หลงั จากนน้ั ไดเ้ ดนิ ทางไปศกึ ษาพระอภธิ รรม ณ วดั ระฆงั โฆสติ า
ราม (๒๔๙๙) จนสอบได้วิชาพระอภิธรรม (๒๕๐๓) แล้วได้ศึกษา
ทางด้านวิปัสสนาอย่างลึกซึ้ง กลับมาจ�ำพรรษาวัดไชนาวาส เม่ือ
วัดปราสาททองริเริ่มศึกษาอบรมและการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ไดเ้ ขา้ รว่ มฝกึ ฝน และไดเ้ ดนิ ทางไปเขา้ รบั การอบรมดา้ นวปิ สั สนากรรมฐาน
จากอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ท่วี ดั ระฆังโฆสิตาราม ได้รบั การศึกษา
เพมิ่ เติมอีกประมาณ ๕ เดอื นเศษ (๒๕๐๔)

ท่านเป็นผูร้ กั ษาการแทนเจา้ อาวาสหลายวดั เช่น วัดไชนาวาส
และวัดปราสาททอง แต่ไม่ปรารถนาจะครองต�ำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
มีต�ำแหน่งเดียวท่ีท่านมีคือ “พระธรรมธร” (๒๔๘๙) ฐานานุกรม
ในเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี พระวิกรมมุนี (ผล อุปติสฺโส ป.ธ.๕)
วัดปราสาททอง ดังนั้น มีช่ือทางการจริงๆ ว่า “พระธรรมธรสุนทร”
หรือ “พระธรรมธรไฮ้” แต่ชื่อท่ีสร้างชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักท่ัวไป
ของญาติโยม คอื “พระอาจารย์ใหญฝ่ ่ายวปิ ัสสนาวดั ปราสาททอง”

24 อนทุ ินประจำ� วนั

พระเดชพระคุณพระพรหมเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม ป.ธ.๙)
เจา้ อาวาสวดั พระปฐมเจดยี ์ เจา้ คณะภาค ๑๕ ไดแ้ สดงพระธรรมเทศนา
เรื่อง อนิจฺจา วต สังขารา ฯลฯ เมื่อก่อนพิธีพระราชทานเพลิงศพ
พระอาจารย์สุนทร ฐติ กาโม ณ วดั ปราสาททอง เมื่อวนั อาทิตย์ ที่ ๑๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยเล่าเรื่องประกอบว่า ตัวท่านเป็นลูกศิษย์
เรียนวิปัสสนากับท่านอาจารย์สุนทร ซ่ึงสอนเร่ือง “เห็นนามและรูป
ในปจั จบุ นั ” มสี ตอิ ยกู่ บั ปจั จบุ นั และเลา่ วา่ ทา่ นบวชเปน็ พระในปี ๒๕๐๔
ย้ายตามสามเณรขวัญเมือง/พระมหาขวัญเมือง, ต่อมา พระเทพ
มหาเจติยาจารย์ (ชัยวัฒน์ ป.ธ.๙ สอบได้ปี ๒๕๑๕) เจ้าคณะจังหวัด
นครปฐม) ไปเรียนบาลี ณ วดั พระปฐมเจดยี ์ ในปี ๒๕๐๘ และสอบได้
เป็นมหาเปรียญ (๒๕๑๐), สอบได้ ป.ธ.๙ (๒๕๒๕), เป็นเจ้าคุณ
พระศรีสุธรรมเมธี (๒๕๒๖), พระราชสุธรรมเมธี (๒๕๓๗), พระเทพ
ปริยัตมิ ุนี (๒๕๔๒), พระธรรมปริยตั ิเวที (๒๕๔๗), เจ้าคณะรองสมเด็จ
ช้ันหิรัญบัฏที่ พระพรหมเวที (๒๕๕๗) น่ีก็เป็นศิษย์ของพระอาจารย์
สนุ ทร ผ้มู รณภาพจากไป

อีกรูปหนึ่ง พระธรรมกถึกได้ยกตัวอย่างประกอบว่า สามเณร
ขวญั เมอื ง (ต่อมา พระมหาชัยวฒั น์ ป.ธ.๙ (๒๕๑๕), พระศรีรตั นโมลี
(๒๕๑๘), พระราชรตั นมนุ ี (๑๒ ส.ค.๒๕๔๗), พระเทพมหาเจติยาจารย์
(๒๕๕๖) ตอนเป็นสามเณรน้ันอยู่กุฏิเดียวกัน กับพระอาจารย์สุนทร
พระอาจารย์ตืน่ ข้นึ ตั้งแตต่ ี ๓ ตี ๔ เปน็ ประจำ� เรยี กว่าเปน็ ศษิ ยก์ น้ กฏุ ิ
ต้ังแต่ยังเป็นสามเณรเรียนอภิธรรมกับพระอาจารย์สุนทร จนต่อมา
ไดย้ า้ ยเขา้ มาอยวู่ ดั พระปฐมเจดยี ์ (๒๕๐๖) และสอบไดป้ ระโยค ๓ (๒๕๐๘)
ทา่ นไดต้ ามมหาขวญั เมอื งมาอยดู่ ว้ ยทว่ี ดั พระปฐมเจดยี ์ ปจั จบุ นั สามเณร
ก้นกฏุ ขิ องพระอาจารยส์ นุ ทรรูปน้ัน เป็นเจ้าคณะจงั หวัดนครปฐม

อนทุ ินประจ�ำวัน 25

หนังสือท่ีแจกในงานศพ มีหนังสือเรื่อง ภะคะวา ที่ระลึกงาน
ท�ำบุญวันเกิดครบ ๘๐ ปี พระอาจารย์สุนทร ฐิตกาโม (สุขเถ่ือน) ๑
แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา และค�ำอธิษฐาน โดยพระอาจารย์สุนทร
ทร่ี ะลกึ งานทำ� บญุ วนั เกดิ ครบ ๙๐ ปี ๑ วธิ ภี าวนาพรหมวหิ าร ๔ (อยา่ งยอ่ )
คณะศษิ ย์จัดท�ำถวาย ๑ การปฏิบัตวิ ิปสั สนากรรมฐาน ท่รี ะลึกพธิ เี ปดิ
ศาลาพระธรรมปรยิ ตั เิ วที มลู นธิ วิ ดั ปราสาททอง ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑
อีก ๑ เลม่ ซ่ึงประวตั ิของพระอาจารย์สุนทร ปรากฏอยู่ในเล่มเดยี ว คอื
เลม่ ท�ำบญุ อายุ ๘๐ ปี

๔๕ ปยี อ้ นหลังไป เม่ือวันที่ ๑๐ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พระธรรม
ธรสุนทร สุขเถ่ือน อายุ ๕๗ ปี สัญชาติไทย สังกัดวัดปราสาททอง
ถนนหมืน่ หาญ ได้ท�ำหนังสอื พนิ ัยกรรมไว้แก่ภาควิชากายวภิ าคศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพ่ือแสดงว่า
“เตม็ ใจและยนิ ดอี ทุ ศิ ศพตนเองเมอ่ื ถงึ แกก่ รรมแลว้ เพอื่ ประโยชนใ์ น
การศึกษาของนักศึกษาแพทย์” และเพื่อเป็นกายวิทยาทาน โดยได้
มอบหนังสือไว้แก่ พระภิกษุผล ยโสธโร และพระภิกษุเจียม ภิรมย์
ให้เป็นผู้แจ้งการถึงแก่กรรมแก่เจ้าหน้าที่ และได้ลงช่ือ พระธรรมธร
สุนทร สขุ เถอื่ น ผู้ท�ำพนิ ัยกรรม มพี ยาน ลงช่ือไว้ มี นอ.มานติ พชิ ติ
ชโลธร ร.น., นท.ประยรู ........ (อา่ นไม่ออก) โดยผูเ้ ขียนคอื นอ.มานิต
พิชิตชโลธร ร.น. โดยหมายเหตุได้ระบุว่า “ภายหลังที่ได้ศึกษาแล้ว
ขอไดโ้ ปรดนำ� กลบั ไปยงั สำ� นกั วปิ สั สนาวดั ปราสาททองจ.ว.สพุ รรณบรุ ”ี

นั่นคือหลังจากมรณภาพเม่ือวันท่ี ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙
สิริอายุ ๑๐๑ ปีแลว้ ได้สง่ รา่ งไปเป็นอาจารยใ์ หญ่ และส่งร่างกลับมา
ณ วดั ปราสาททอง ไดด้ ำ� เนนิ การขอพระราชทานเพลงิ ศพ ในวนั อาทติ ย์
ที่ ๑๗ มิถนุ ายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๐๐ น.

26 อนุทนิ ประจำ� วนั

อนุทนิ ประจ�ำวัน

(๕๐๓ วัดดอนตาเกิด-นายเพ็ชร ขนุ ทะยา อายุ ๘๙ ปี)

นายเพช็ ร ขนุ ทะยา (ปมี ะเสง็ ๑๘ ส.ค. ๒๔๗๒ - ๑๔ ม.ิ ย.๒๕๖๑
อายุ ๘๙ ปี) เป็นไวยาวัจกรวัดใหม่พิบูลย์ผลยาวนานมาก
ทจี่ �ำไดถ้ งึ ๓ ยุค ๓ สมยั ตง้ั แตส่ มยั หลวงพ่อหว่นั , หลวงพีเ่ คราะห,์
และพระมหาไชยา, เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๖ ต�ำบลบางเลน
เป็นเวลาหลายสบิ ปี

นอกจากนนั้ นายเพช็ ร ยงั มเี ชอ้ื สายชาตพิ นั ธไ์ุ ทยโซง่ ไทยทรงดำ�
รนุ่ ท่ี ๓ ในการเขา้ มากอ่ ต้งั หมูบ่ ้านโคกลอย (ลาดมะขาม-ไผ่ชา้ งแล่น)
ทำ� หนา้ ทเี่ ปน็ ปราชญช์ าวบา้ นในงานประเพณี จนเขา้ สวู่ ยั ชรา ยงั รบั เปน็
ท่ปี รกึ ษาของวัดและของคนทวั่ ไป พร้อมกับประพฤติตนเปน็ แบบอย่าง
ที่ดียิ่ง

ไทยทรงดำ� ทตี่ ำ� บลบางเลน ทเี่ รยี กวา่ โคกลอยบา้ ง ไผช่ า้ งแลน่ บา้ ง
ลาดมะขามบา้ ง เคลอื่ นยา้ ยอพยพมาจากจงั หวดั เพชรบรุ ี แถวหนองปรง
บางเคม็ ทบั คาง เปน็ ตน้ นับรนุ่ แรกท่เี ข้ามาอยู่ อายุราว ๑๐๐ ปี

อาจารย์ภาคภูมิ ขุนไชยา (เกิดปีมะแม ๒๔๙๘) เป็นบุตรคน
สดุ ทอ้ งของพอ่ ยนื ขนุ ไชยา คำ� นวณปอี พยพเขา้ มาวา่ ราวปี พ.ศ.๒๔๕๔
ทย่ี า้ ยเขา้ มา เพราะพอ่ ยนื อายุ ๕ ขวบทปี่ รู่ อด-ยา่ ควั ขนุ ทะยา พาอพยพ
ลูกชาย ๒ คน คนโตช่ือลุงอยู่ ขุนทะยา และพ่อของตนช่ือนายยืน
ขนุ ไชยา แต่ใชน้ ามสกลุ ต่างกนั เพราะตอนไปแจง้ ทีอ่ �ำเภอ เขาเขียนผดิ
มาแล้วไมไ่ ด้ทักท้วง

อนุทนิ ประจำ� วัน 27

นายยนื ขนุ ไชยา พอ่ ของอาจารยภ์ าคภมู ิ (ค�ำนวณปเี กดิ ๒๔๕๙
เสียในปี ๒๕๔๒ อายุ ๘๓ ป)ี นับเปน็ ไทยทรงดำ� รนุ่ ท่ี ๒ รนุ่ เดียวกับ
นายอยู่ ขนุ ทะยา ทเ่ี ปน็ พ่อของนายเพช็ ร ขุนทะยา

สว่ นรนุ่ แรกนบั ปรู่ อด-ยา่ ควั ขนุ ทะยา พอ่ แมข่ องนายอยู่ ขนุ ทะยา
และนายยนื ขนุ ไชยา

ข้าพเจ้าเคยสัมภาษณ์กับนายเพ็ชร ขุนทะยาผู้วายชนม์ไป
ซึ่งบอกว่า ผู้บุกเบิกเข้ามาก่อน คือรุ่นพ่อของผู้ใหญ่ล้อม-ผู้ใหญ่เทียน
ทองเช้ือ ช่ือผู้ใหญ่ทรัพย์-ย่าแสง ทองเช้ือ และคนรุ่นพ่อของ
นายพิศ คชเดช ช่ือปู่เฝ้า-ย่าเฉลียว คชเดช (แสงอรุณ) ได้ย้าย
มาอย่กู ่อน แล้วปรู่ อด-ย่าคัว ขนุ ทะยา ก็อพยพตามมาจากทับคาง

ตามประวัติสังเขปของนายเพช็ ร ขุนทะยา ระบวุ ่า เป็นลกู ของ
พ่ออยู่-แม่ทอง ขุนทะยา, พ่ออยู่เป็นลูกของปู่รอด-ย่าคัว ขุนทะยา,
และระบวุ า่ เกดิ ทบ่ี า้ นหวั ชกุ บวั เลขท่ี ๑ หมทู่ ี่ ๓ ตำ� บลสระสม่ี มุ (ปจั จบุ นั
ตำ� บลสระพฒั นา) อ�ำเภอกำ� แพงแสน จังหวดั นครปฐม

พ่ออยู่ (+แม่ทอง,....) ขนุ ทะยา มลี ูก ๕ คน คอื (๑) นายเพ็ชร
ขุนทะยา (๒) นายพลอย ขนุ ทะยา (๓) นายพลาย ขุนทะยา (+นางมาลี
ลกู ของตาจนั -ยายทอด แสงอรณุ ) (๔) นายสนุ ทร ขนุ ทะยา (๕) นางสาว
สาคร ขุนทะยา

นายเพ็ชร เป็นบุตรคนโต แต่ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้น
ประถมศึกษาช้ันปีท่ี ๔ ถือว่าเป็นนักเรียนวัดใหม่พิบูลย์ผลรุ่นแรก
มคี วามรอู้ า่ นออกเขยี นได้ และชว่ ยพอ่ แมท่ ำ� มาหากนิ จวบจบอายุ ๒๐ ปแี ลว้
ก็เข้าพิธีอุปสมบทเป็นเวลา ๑ พรรษา ณ วัดใหม่พิบูลย์ผล ในยุค
พระอาจารย์ทองพลู คชเดช เปน็ เจา้ อาวาส

.

28 อนุทนิ ประจ�ำวนั

ชีวติ สมรส ได้แต่งงานกับนางสาวจนั ทา สระทองปล่งั คนบา้ น
หนองหมู หมู่ ๖ ต�ำบลสระพัฒนา อ.ก�ำแพงแสน จ.นครปฐม
ซ่ึงถึงแก่กรรมไปแล้ว (เสียราวปี ๒๕๕๑ อายุราว ๘๐ ปี) มีบุตรธิดา
ด้วยกัน ๑๑ คน เป็นชาย ๕ คน และหญิง ๖ คน ชื่อ นางจ�ำลอง
สระทองทม, น.ส.ค�ำพอง ขุนทะยา, นายจำ� นง ขนุ ทะยา, น.ส.พะยง,
นายณรงค์ ขุนทะยา, นายบุญส่ง ขุนทะยา, น.ส.พิศวงษ์, นายไสว
ขนุ ทะยา, น.ส.สวงิ , นายวนิ ยั ขนุ ทะยา, น.ส.สายหยุด

ไวยาวจั กรวดั ดอนตาเกดิ ทมี่ รี ปู ภาพตดิ อยทู่ วี่ ดั ขา้ พเจา้ จำ� ไดว้ า่
มีนายปิ๋ว บุญทอง, ครูบุญช่วย ค�ำนิยาย เคยสอนข้าพเจ้าตอนอยู่ชั้น
ป.๒ และท่จี �ำไดแ้ ม่นมากที่สดุ คอื ไวยาฯ เพช็ ร ขุนทะยา ผูว้ ายชนม์ไป
ไดพ้ ดู คุยกันหลายครงั้

นายบญุ มี ทองเชอ้ื (ตาโฮม) (เกดิ ปชี วด เม.ย.๒๔๗๙) หลานของ
ผู้ใหญ่เทียน เหลนของผู้ใหญ่ทรัพย์ ทองเช้ือ ผู้เข้ามาบุกเบิกยุคแรกๆ
ได้บอกข้าพเจ้าว่า “รุ่นอุปถัมภ์วัดดอนตาเกิด ยุคแรกๆ ที่จ�ำช่ือได้
จากไผ่ช้างแล่นมีโยมชุ่ม อาจหาญ พ่อของนายชวนเมียช่ือยายมี
(ผลศรนี าค), นายเปลง่ อรา่ มศรี พอ่ ของพลเอกมนสั , จากลาดมะขาม
มนี ายพศิ คชเดช, นายอยู่ ขนุ ทะยา, จากลาดพลี มนี ายสงา่ ผวิ คราม,
นายแดง กล่นิ สอน เปน็ ต้น” และยงั ชบ้ี อกว่า “คนชื่อตาเกิดมีจรงิ ๆ
ทเ่ี ปน็ ท่ีมาแห่งวัดดอนตาเกดิ แต่ไมร่ ู้นามสกุลอะไร มาเล้ยี งววั เลีย้ ง
ควายตรงลานหน้าเมรุแห่งน้ี ตาเกิดเป็นพวกเดียวกับตาตุ๊-ตาเกาะ
บูชา ลูกของตาปาน บชู า”

ตาโฮม ทองเช้ือ คนนี้บอกว่าเป็นเพ่ือนเที่ยวเล่นกับอาชาญ
อาของขา้ พเจา้ ว่าเป็นคนรุ่นเดยี วกนั อายุอ่อนกวา่ โยมพ่อของข้าพเจ้า
ที่เกิดปีระกา ๒-๓ ปี ให้รายช่ือลูกของผู้ใหญ่ทรัพย์-ย่าแสง ทองเช้ือ

อนุทินประจำ� วนั 29

ว่ามี (๑) ผู้ใหญ่ล้อม (+ย่าสาด) ผู้ใหญ่ล้อมเป็นผู้ใหญ่บ้านสืบต่อจาก
ผใู้ หญท่ รพั ย์ (๒) นายพงิ (+นางงาม) (๓) นายเทพ ทองเชอื้ (๔) ผใู้ หญเ่ ทยี น
(+นางแสง) (๕) นางหอม (+นายสาด ออมสนิ ) (๖) นายทอง (+นางจุม่
คนดอนมะนาว) ในท้องน้มี ีผู้หญงิ คนเดียว ทำ� ให้ “ทองเชอ้ื ” ท่ดี อนตา
เกิดเต็มไปหมด

สบื สายตอ่ มาคอื พอ่ แมข่ องตาโฮม ทเี่ ปน็ ลกู คนโตชอื่ ผใู้ หญล่ อ้ ม
ทองเชอื้ มลี กู สบื สายตอ่ มา คือ (๑) นายมาก (+นางใบ อู่บางเคม็ พ่สี าว
หลวงพอ่ หวนั่ ลกู นายวงั อบู่ างเคม็ ) (๒) นายมกิ (+นางรดั คนเกาะแรต)
(๓) นางหมก (+นายลอื เรอื งทอง) (๔) นางเหมาะ (+นายแพง แสงอรณุ )
ไปอยดู่ า่ นชา้ ง (๕) นายโทน (+นางพวง คนหนองหมู) ซง่ึ อยู่หัวไผ่ชา้ ง
แลน่ และตาโฮมบอกว่า “พ่อผมผู้ใหญ่ลอ้ ม ซ้อื ท่ี ๑๐ ไร่ ที่หวั ไผช่ ้าง
แลน่ ในราคา ๘๐ บาทในยุคนน้ั ”

หากเอาคนรุน่ ตาโฮม ทองเช้ือ (เกดิ ปชี วด ๒๔๗๙) เป็นเกณฑ์
นับอายุ คนร่นุ ผใู้ หญล่ ้อม ทองเชอื้ กน็ า่ จะเกดิ ราวปี ๒๔๖๐ นบั เป็น
คนรุ่นท่ี ๒ และคนรุ่นผู้ใหญ่ทรัพย์-ย่าแสง ทองเช้ือที่ว่าเข้ามาบุกเบิก
โคกลอย-ลาดมะขามรนุ่ แรกๆ กเ็ กดิ ในราวปี ๒๔๔๐ (บวกลบ ๑๐-๑๕ ป)ี

จากทบั คาง เพชรบรุ ี สไู่ ผช่ า้ งแลน่ ตำ� บลบางเลน สพุ รรณบรุ ี
กอ่ นเดนิ ทางกลบั แหงนหนา้ ดหู อระฆงั วดั ใหมพ่ บิ ลู ยผ์ ล เหน็ ชอ่ื
และคำ� อทุ ิศให้ มีชื่อนายสงา่ -นางหวิง ผวิ คราม และชอ่ื ส.ต.ต.แหยม
สมใจเพง็ อทุ ศิ ใหค้ ณุ พอ่ ลน้ -คณุ แมเ่ ลยี่ ม สมใจเพง็ เปน็ ตน้ ...รอ่ งรอยของ
คนเกา่ แก่ จา่ แหยม คนโพธพ์ิ ระยา ศรปี ระจนั ต์ แตม่ าเปน็ เขยลาดพลี
ทด่ี อนตาเกดิ เป็นตน้

30 อนทุ ินประจำ� วนั

อนุทินประจำ� วัน

(๕๐๔ สวนผัก ถงึ เส้นทางรถไฟเก่า
ไปสิน้ ทแ่ี ถวทา่ วาสกุ ร)ี

ดร.สนธยา กลอ่ มเปลยี่ น ป.ภ., บ.ช. (เกดิ ปวี อก ๒๐ ม.ิ ย.๒๔๙๙)
คงเปน็ วนั พธุ เพราะถวายยา่ มสเี ขยี ว ทำ� บญุ วนั เกดิ ทบี่ า้ นสวน
ผกั ตลง่ิ ชนั หลายๆ ปที ผ่ี า่ นมากไ็ ปรว่ มงานในชว่ งเชา้ ในฐานะทโ่ี ยม
คุ้นเคยกับชาวสุพรรณมาก่อน ใกล้วันงานก็ทราบข่าวนิมนต์จาก
ทา่ นเจา้ คณุ พระราชสรุ วาที (ณรงค์ ป.ธ.๔) วดั มหาธาตฯุ ทา่ พระจนั ทร์

นงั่ ฉนั เชา้ รว่ มโตะ๊ อาหารวงเดยี วกบั ทา่ นเจา้ คณุ พระราชประสทิ ธวิ มิ ล
(ประจวบ บญุ อาจ ป.ธ.๔) (เกดิ ปเี ถาะ สงิ หาคม ๒๔๘๒) วดั ระฆงั โฆสติ าราม
เจ้าคณะเขตบางกอกน้อย ท่ีบอกว่ามาอยู่วัดระฆังต้ังแต่เป็นสามเณร
ตง้ั แตป่ ี ๒๔๙.. ทันเหน็ พระอาจารย์สนุ ทร สขุ เถ่ือน (๒๔๕๘-๒๕๕๙)
วัดปราสาททอง มาเรียนพระอภิธรรมกับอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
และทา่ นวา่ ตัวท่านได้อยรู่ บั ใช้อดีตเจา้ อาวาสวัดระฆังมาถึง ๓ รนุ่ คือ
หลวงพอ่ นาค, หลวงพอ่ ลมลู , และหลวงพ่อผัน

ข้าพเจ้าสอบถามว่ารูปภาพนั่งที่มีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
เป็นภาพท่ีสามารถขยายให้ใหญ่เท่าไรก็ได้ แต่อยากทราบว่ารู้จักช่ือ
พระ ๒ รูป และเดก็ ๆ ท่อี ยู่ดา้ นหลังของสมเด็จฯ โตไหม? ท่านเจา้ คุณ
ประจวบบอกวา่ “ไม่ทราบ ทราบแตส่ มเดจ็ ฯ โตรูปเดียว ท่ีชีบ้ อกได้”

ขา้ พเจ้าถามวา่ ทนั เหน็ มหาแสง สาลิตลุ ประโยค ๖ (พระพนิ ิจ-
วรรณการ) (๒๔๒๘-๒๔๘๖) คนสองพ่ีน้องท่ีมาบวชอยู่วัดระฆังและ

อนทุ ินประจ�ำวัน 31

ลาสิกขาไป เคยเจอกันบ้างไหม? ท่านบอกว่า “ไม่ทัน และไม่รู้จัก
มหาแสงเลย” ข้าพเจ้าบอกว่า ในบ้ันปลายมหาแสงตัดสินใจท้ิงงาน
ราชการ กลับไปอยู่บ้านนอกเรียกว่าบ้านกระบอก และเสียชีวิตที่นั่น
ยงั สงสัยว่าอัฐจิ ะบรรจุเก็บไวท้ ี่บ้านนอก ลกู หลานคงไม่นำ� เขา้ กรุง

อีกรูปหน่ึงท่ีน่ังวงเดียวกันคือท่านเจ้าคุณพระพิศาลกิจจาภรณ์
(บุญมี ชำ� นาญแท)้ วัดชนะสงคราม คนลพบรุ ี ซ่งึ ข้าพเจ้าทราบมาก่อน
ว่าเคยอยู่วดั โพธริ าษฎร์ จังหวัดอา่ งทอง จึงถามว่า เคยไปบ้านเจา้ คณุ
พระศรีธรรมโสภณ (เสง่ียม ช้างวงษ์ ป.ธ.๙) (มรณภาพปี ๒๕๔๖)
วดั สุวรรณาราม บา้ งไหม? ทา่ นบอกว่า เรยี นบาลไี วยากรณม์ าด้วยกัน
แตไ่ มเ่ คยชวนไปเทย่ี วบา้ นทา่ นเลย และวา่ เจา้ คณุ เสงย่ี มไปอยหู่ ลายวดั
วัดวเิ ศษการกเ็ คยไปอยู่ แตบ่ ้นั ปลายมาอยู่วัดสวุ รรณาราม

ทา่ นเจา้ คณุ พระพศิ าลกจิ จาภรณ์ (บญุ ม)ี วดั ชนะสงครามเลา่ วา่
อาจารย์ท่านชื่อพระมหาบุญส่ง สอบประโยค ๘ ถึง ๘ ปี จึงสอบได้
เวลาเข้ามาเรียนในกรงุ เทพฯ กม็ าพักวดั สามพระยา ชอบสอนหนังสอื
วันหนง่ึ สอน ๓ เวลา เป็นเจา้ คณุ ชอ่ื พระโพธวิ รญาณ (๕ ธ.ค.๒๕๑๖)
คนพ้ืนเพวัดโพธิราษฎร์ จึงมีค�ำว่า “โพธิ” ติดอยู่ในช่ือเจ้าคุณด้วย
ตอ่ มาเปน็ เจา้ คณะจงั หวดั อา่ งทอง และยา้ ยมาเปน็ เจา้ อาวาสวดั อา่ งทอง
วรวิหาร, เป็นเจ้าคุณช้ันราชในปี ๒๕๓๕ ท่ีพระราชสุวรรณโสภณ
(บญุ สง่ ป.ธ.๘) (มรณภาพ ๒๙ ก.ย. ๒๕๕๑ อายุ ๗๘ ปี)

ขณะนงั่ รถกลบั วดั นง่ั รถขา้ มฟากใชส้ ะพานพระปกเกลา้ ทสี่ รา้ ง
ขนานกับสะพานพุทธ มองเห็นช่วงกลางของสะพานพระปกเกล้า
เป็นเส้นทางที่สร้างรองรับทางรถไฟ ทราบว่าเป็นโครงการที่จะสร้าง
ทางรถไฟผา่ นหนา้ วดั พระพเิ รนทร์ วรจกั ร แตถ่ กู ระงบั ไปอยา่ งไรไมท่ ราบ
โครงการนเ้ี กดิ ขน้ึ ในสมยั นายกฯ เปรม ตณิ สลู านนท์ มนี ายวรี ะ มสุ กิ พงศ์

32 อนทุ ินประจ�ำวัน

เป็นรฐั มนตรชี ่วยวา่ การกระทรวงคมนาคม ในปี ๒๕๒๔-๒๕๒๖
วนั กอ่ นโนน้ ไปเทยี่ ววดั ราชาธวิ าสมา แตช่ มไดไ้ มจ่ ใุ จ เปน็ เวลาเยน็

เสียก่อน จึงอยากไปดูให้เต็มตาอีก คราวนี้มีโอกาสเข้าไปชมภายใน
พระอุโบสถหลังงาม ดูภาพเขียนสีฝุ่นเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก
ท่ีออกแบบภาพโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา
นริศรานุวัดติวงษ์ และมอบให้ช่างชาวอิตาลีชื่อนายคาร์โล ริโกลี ลงสี
เปน็ ชา่ งอติ าลคี นเดยี วกบั ทว่ี าดภาพหรอื ลงสไี วใ้ นพระทนี่ ง่ั อนนั ตสมาคม
ไดช้ มภาพอยา่ งอมิ่ ใจ และลำ� ดบั กณั ฑต์ า่ งๆ ไดค้ รบถว้ น ตามคตคิ วามเชอื่
ถ้าใครได้ฟังพระมหาเวสสันดรจบติดต่อกัน ไม่ตกนรก วันน้ีข้าพเจ้า
ไล่เรียงภาพต่างๆ จากอุบัติเหตุของเรื่องท่ีฝนโบกขรพรรษตกลงมา
พระพุทธเจา้ เสดจ็ ไปโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ

ชมความงามของพระอุโบสถแล้ว ขณะเดินจะไปชมภาพวาด
พุทธประวัติท่ีคณะบน ที่ศาลาสวัสดิวัตน์ ผ่านอัฐิของคุณสะสม
พราหมณพ์ ันธุ์ (๑๐ ก.ย.๒๔๗๑-๑๒ ส.ค.๒๕๔๐ อายุ ๖๙ ปี) ท�ำให้
นกึ ถึงคนสรา้ งหนงั ช่อื นายสุพรรณ พราหมณ์พันธ์ุ เพราะเป็นนามสกลุ
เดียวกนั

ชมนกชมไม้ ชมโบสถ์แพท่ีว่าเดิมอยู่ท่ีหน้าวัดคือด้านแม่น�้ำ
เจา้ พระยา วดั ราชาธวิ าสนพ้ี ระพทุ ธรปู หนั พระพกั ตรล์ งแมน่ ำ�้ ซง่ึ อยทู่ าง
ทิศตะวันตก มีเรือยนต์หลวงอยู่ด้านใต้ของวัด ซึ่งมีล�ำคลองหนึ่ง
คนั่ ตวั พระอารามกบั ทา่ วาสกุ รีและหอสมดุ แห่งชาติ

ออกจากวัดราชาธิวาส ก็ไปหอจดหมายเหตุ กะว่าจะไปดู
แผนท่ีเก่าจังหวัดสุพรรณบุรีสักหน่อย หอจดหมายเหตุปิดเวลาท�ำการ
ในเวลา ๑๖.๐๐ น. ได้แต่ท�ำบัตรประจ�ำตัวผู้ค้นคว้าแค่น้ัน วันหน้า
คอ่ ยกลับมาคน้ และคว้า

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 33

เดนิ ผา่ นรา้ นขายหนงั สอื กรมศลิ ปากร นกึ ถงึ หนงั สอื ทเี่ ขาแนะนำ�
เล่มหนึ่งนานมาแล้ว เก่ียวกับขรัวอิน พระภิกษุชาวเพชรบุรี ที่มาอยู่
วดั ราชบรุ ณะ เปน็ ศลิ ปนิ วาดภาพฝมี อื เอก แตไ่ มไ่ ดฝ้ ากฝมี อื ไวท้ ว่ี ดั เลยี บ
อยากดตู อ้ งไปทว่ี ดั บวรนเิ วศและวดั บรมนวิ าส หรอื ไปทแี่ ถวเพชรบรุ โี นน้
เดิมจะไปซื้อแถวตึกแดง ข้างสนามหลวง แต่ไม่ได้ไปสักที ก็ไม่ได้ซ้ือ
จนมาถงึ วันนี้

ชื่อหนังสือว่า “ต้นร่างรูปภาพขรัวอินโข่ง” สมใจปรารถนา
สักทีหน่ึง ถึงกระน้ัน ก็อดซื้อหนังสืออ่ืนๆ ติดไม้ติดมือมาไม่ได้ มี
“พระราชหัตถเลขาเร่อื ง เสด็จประพาสลำ� น้ำ� มะขามเฒา่ เมื่อ พ.ศ.
๒๔๕๑” กรมศิลปากรจดั พิมพ์เผยแพรใ่ หม่ในปี ๒๕๖๑ (พมิ พค์ รัง้ แรก
๒๔๙๓, ครงั้ ท่ี ๒ ปี ๒๕๐๕, ครง้ั ที่ ๓ ปี ๒๕๖๑) เลม่ นม้ี ภี าพประกอบดๆี
เกยี่ วกบั เหตุการณเ์ ม่อื ๑๑๐ ปที ผ่ี า่ นมา

เดินข้นึ หอสมดุ แหง่ ชาติ หาหอ้ งหนังสอื หายาก (Rare books)
ปรากฏว่าโชคไม่เข้าข้าง เพราะว่าในวันนี้เจ้าหน้าท่ีปิดห้องหนังสือ
หายาก เพื่อฉีดยากันเช้ือรา เจ้าหน้าที่บอกว่า “วันหน้าให้มาใหม ่
ถา้ อยากเข้าไปค้นคว้าอะไร ภายในห้องน้ี”

34 อนุทินประจำ� วัน

อนทุ ินประจ�ำวนั

(๕๐๕ รำ� พึงยอ้ นหลงั )

เมื่อวันเสวนาวิชาการฉลองฟิล์มกระจก ที่หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า
วนั เสารท์ ่ี ๑๖ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เมอื่ พบกบั คณุ เอนก นาวกิ มลู
(เกดิ ปมี ะเสง็ ๒๔๙๖) เปน็ ครง้ั แรกแลว้ สง่ิ ทที่ ำ� ใหจ้ ำ� คณุ เอนกไดแ้ มน่
เพราะเป็นแฟนคลับตามอ่านหนังสืออยู่หลายเล่ม และท่ีจ�ำได้แม่น
ทสี่ ดุ คอื อา่ นบทความหรอื เกรด็ ประวตั คิ รเู หม อนิ ทรส์ วาท ทคี่ ณุ เอนก
เคยลงรูปภาพถ่าย (๒๕๒๑)

ดังท่ีเคยลงยืมภาพ (credit ภาพคุณเอนก นาวิกมูล) มีภาพ
(จากซา้ ย) ครูเหม อนิ ทร์สวาท (เกิด ๒๔๕๒) คนเขมรปากท่อ ราชบรุ ,ี
ยายชุบ โพธิ์ถนอม, ยายจ�ำรัส เงินด�ำรง, ยายเอิบ ล�้ำเลิศ ส่วนผู้ชาย
ที่ช้ีมือคือ..................... และผู้หญิงท่ีก�ำลังตบมือช่ือสุกัญญา สุจฉายา
คนบางซอ (ว่าเป็นพวกลูกหลานของขุนขยันศรีกิจการ-ก�ำนันไล้
ศรีกจิ การ มาจาก “แซเ่ จ่ีย”) ซ่งึ ในภาพ “กำ� ลงั เล่นเพลงปรบไก่ และ
เพลงทรงเครือ่ ง” ข้าพเจ้าพอทราบ คณะครูเหม อินทร์สวาท (สามีช่ือ
นายสวัสดิ์ อินทร์สวาท เปน็ คนสองพ่นี ้อง) มาอยดู่ อนกลาง ครเู หมเอง
เปน็ ศษิ ยค์ รูยายดำ� กก๊ ศลิ ปนิ เหล่าน้ีเคลอ่ื นยา้ ยอพยพมาจากราชบุรี

ข้าพเจ้ายังค้นรูปภาพท่ีคุณเอนก นาวิกมูลถ่ายตลาดบางล่ี
ตลาดสองฤดู กอ่ นทีจ่ ะเปล่ยี นเปน็ ฤดเู ดียวเชน่ ปจั จุบนั ยังเซฟเกบ็ ภาพ
หนงึ่ ในยุคปี ๒๕๒๓ ไว้

.

อนุทนิ ประจ�ำวัน 35

คณุ เอนก นาวกิ มลู บอกวา่ อยากยอ้ นกลบั ไปวดั เนนิ พระปรางค์
อีกคร้ัง เสียดายว่าสิ่งในอดีตจะเหมือนเดิมไหม? ข้าพเจ้าบอกว่า
คงหมายถึงวดั ดอนกลางหรือวดั ใหมน่ พรตั น์ ของหลวงพ่อแกว้ มากกวา่
ซึ่งคณุ เอนกก็ยอมรับ เพราะเนนิ พระปรางคเ์ ป็นช่ือต�ำบล วัดดอนกลาง
ตรงน้ีสมัยก่อนข้ึนกับต�ำบลทุ่งคอก และก่อนนั้นไปอีกเป็นต�ำบล
หวายสอ ส่วนท่ีบ้านของผู้ใหญ่เดช ล้�ำเลิศนั้นเป็นต�ำบลบางเลน
ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นต�ำบลเนินพระปรางค์แล้ว วัดเนินพระปรางค์
เป็นวัดหน่ึงที่หลวงพอ่ เกบ็ (พระวบิ ลู เมธาจารย)์ เปน็ ผู้สรา้ งไว้

หลวงพอ่ ประยรู (พระครสู วุ รรณคณาภบิ าล) เคยเปน็ เจา้ อาวาส
วดั เนินพระปรางค์ ข้าพเจ้าเคยไปสมยั เป็นสามเณรตอนเปน็ สนามสอบ
พระนวกภูมิ ในช่วงราวปี ๒๕๑๕-๑๖ หลวงพ่อประยูร ใช้นามสกุล
“บริสุทธิ์” ของฝ่ายแม่ ทั่วไปจะเรียกหลวงพ่อประยูรว่า “ขุนด่าน”
หมายถึง “เจ้าคณะอ�ำเภอด่านช้าง” เพราะคณะสงฆ์ส่งไปเป็น
เจ้าอาวาสวัดบรรหารแจ่มใส เจ้าคณะอ�ำเภอด่านช้าง ข้าพเจ้ายังตาม
ไปช่วยงานบวชสามเณรภาคฤดูร้อนในราวปี ๒๕๒๔ หรือ ๒๕๒๕
อยูห่ นหน่งึ เปน็ โครงการ ๑๕ วนั และตอนมรณภาพกช็ ่วยท�ำหนังสือ
ท่ีระลึกเล่มหน่ึง รวบรวมข้อเขียนและธรรมเทศนาของหลวงพ่อเก็บ
เล่มสีเลอื ดหมู

บทสนทนากับคุณเอนก นาวิกมูล ในวันน้ัน จบลงที่ข้าพเจ้า
บอกวา่ ผูใ้ หญ่ฟ้นื แก้วมีศรี (๒๔๗๘-๒๕๕๔) พระเอกลเิ ก ศลิ ปินผเู้ ป็น
ศิษย์ของครูเหม อินทร์สวาทได้เสียชีวิตไปแล้วอีกคนหน่ึง และเล่าว่า
ผู้ใหญ่ฟื้นเป็นคนลาดพลี ต�ำบลบางเลน คนบ้านเดียวกับข้าพเจ้า
เปน็ ญาตกิ ันทางฝา่ ยโยมมารดาของข้าพเจา้

36 อนทุ นิ ประจ�ำวัน

รำ� พงึ ยอ้ นหลงั ไปเมอื่ แคอ่ าทติ ยก์ อ่ น วา่ จำ� อะไรไดบ้ า้ ง หากยอ้ น
ไปเมอื่ เดือนก่อน เม่อื ข้าพเจา้ เดินทางไปประเทศสงิ คโปรช์ ่วง ๑๒-๑๕
พ.ค.๒๕๖๑ น้ัน ได้พบเพ่ือนเก่า สหายเก่า สหายใหม่มากมาย ทั้ง
พระมหาเถระและอนเุ ถระ เพราะเปน็ งานฉลอง ๑๐๐ ปี วดั อนนั ตเมตยาราม,
ฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปีของเจ้าอาวาสพระเทพสิทธิวิเทศ
(สจุ ินต์ ป.ธ.๖, พธ.บ., M.A.), และมกี ารประชุมพระธรรมทตู จากสท่ี วปี

สงิ่ ทข่ี า้ พเจา้ ไมไ่ ดบ้ อกกลา่ วในอนทุ นิ ประจำ� วนั ในเดอื นกอ่ น คอื
ได้พบกับเจ้าคุณแป๊ะ-พระมหาศาสนมุนี วัดปากน�้ำ ในวันท่ี ๑๓-๑๔
พ.ค. ๒๕๖๑ คือในวันท่ีนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์มาร่วมพิธีเปิดงาน
แต่เป็นการพบขณะท่านน่ังโต๊ะฉันเพล ซึ่งอยู่กันคนละโต๊ะ ข้าพเจ้า
เดนิ เขา้ ไปทกั ทาย และในวนั รงุ่ ขนึ้ ขา้ พเจา้ ไปนงั่ ฉนั กาแฟเชา้ เปน็ เพอ่ื นทา่ น
และสอบถามว่า พกั อยู่ที่ไหน ทา่ นว่าทยี่ โุ รปบา้ ง ที่สงิ คโปร์บ้าง

ผ่านไปแค่ ๕ อาทิตย์เอง จาก ๑๔ พ.ค.-๒๑ มิ.ย.วันนี้.,
มีข่าวออกมาเมื่อวันสองวันนี้ ว่าส่ือ นสพ.ลงข่าวลือว่าเจ้าคุณแป๊ะ
สกึ ไปแลว้ ถงึ ขนาดรองนายกรฐั มนตรไี ทยสายซไี อเอ บอกวา่ “ไดท้ ราบ
ข่าวว่าลาสกิ ขาแลว้ แตย่ งั ไมไ่ ด้รบั รายงานอยา่ งเปน็ ทางการ” และ
ผอ.ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ - พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์
บอกยืนยันว่า “ผมนับถือศาสนาพุทธ และพ่อแม่ผมก็นับถือพุทธ
แต่ยังไมไ่ ด้รบั ขา่ วการลาสกิ ขาของเจ้าคุณแป๊ะอย่างเป็นทางการ”

ขา่ วทยี่ นื ยนั และเปน็ มงคลแนน่ อน คอื ขา่ วมตกิ รรมการมหาเถร
สมาคม อนมุ ตั กิ ารแตง่ ตง้ั พระเทพเมธี (สมเกยี รติ ป.ธ.๙) เจา้ คณะภาค ๙
เป็นเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม หายใจโล่งอกไปเสียที เพราะเป็น
สหชาติสอบได้ชน้ั ประโยค ๙ ปเี ดียวกัน ในปี ๒๕๒๕ และทา่ นเคยมา
จำ� พรรษาท่วี ัดศาลาท่าทราย อ.บางปลามา้ อยู่พรรษาหน่งึ

อนุทินประจ�ำวัน 37

วนั นน้ี งั่ คยุ กบั ทา่ นพระครคู มั ภรี ป์ ญั ญาวกิ รม (กำ� พรา้ โตชาวปา่ )
วดั อรณุ ราชวราราม ไดส้ นทนากนั ถงึ เจา้ อาวาสวดั ยายรม่ เขตบางขนุ เทยี น
ซงึ่ ขา้ พเจา้ กบ็ อกวา่ เดนิ ทางไปสงิ คโปรเ์ ครอ่ื งบนิ ลำ� เดยี วกนั กบั ขา้ พเจา้
เม่ือเดือนที่แล้ว จึงได้พูดคุยกันและรู้จักตัว ว่าข้าพเจ้าเพิ่งรู้จักตัวท่าน
เป็นครั้งแรก และได้ช่วยเหลือตอนเข้าด่านตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์
เพราะต้องกรอกแบบฟอร์มต่างๆ เจ้าอาวาสวัดยายร่มย่อมจ�ำข้าพเจ้า
ได้แน่

ท่านพระครูคัมภีร์ฯ ได้เล่าบ้างว่า ท่านไปเป็นพระนั่งอันดับ
ในงานอุปสมบทเจ้าอาวาสวัดยายร่มรูปนี้ เมื่อราวปี ๒๕๑๖-๑๗
หลงั จากทา่ นเรยี นจบพทุ ธศาสตรบณั ฑติ แลว้ จงึ เทา้ ความวา่ เปน็ อยา่ งไร
มาอย่างไรจงึ ไปถึงวดั ยายร่มได้

ทา่ นเล่าว่า นงั่ เรือไปจากวัดหนงั ไปวัดยายรม่ เพราะวา่
พระครวู บิ ลู ศลี วตั ร (หลวงพอ่ ชว้ น นามสกลุ ชนิ กาล) เปน็ หลวงลงุ
ของพระครโู สภณบญุ ญาทร เจา้ อาวาสวดั ยายรม่ เปน็ ลงุ แทๆ้ แตท่ างแม่
เปน็ คนพน้ื ทแ่ี ถวยายรม่ หลวงพอ่ ชว้ นอยวู่ ดั หนงั เขตจอมทอง เปน็ ศษิ ย์
และเปน็ พระปลดั ชว้ น พระฐานานกุ รมในพระโสภณสมาจาร (หลวงพอ่ ผล)
วดั หนงั , หลวงพอ่ ผลเปน็ ศษิ ยข์ องพระวเิ ชยี รกวี (หลวงพอ่ ฉตั ร) วดั หนงั ,
หลวงพ่อฉัตรเป็นศิษย์ของหลวงปู่เฒ่าคือพระภาวนาโกศลเถร วิ.
(หลวงปู่เอยี่ ม) วดั หนงั
ขา้ พเจา้ บอกเสรมิ วา่ เมอ่ื วนั กอ่ นไดค้ ยุ กบั เจา้ อาวาสวดั อา่ งแกว้
ซง่ึ บอกวา่ หลวงปเู่ อยี่ มวดั หนงั เปน็ ศษิ ยห์ รอื ไดร้ บั สมณศกั ดชิ์ อ่ื เดยี วกนั
มาจากพระภาวนาโกศลเถร (รอด) วัดอ่างแก้ว ซ่ึงหลวงปู่รอด
เคยเป็นเจ้าคุณ แต่ถูกถอดสมณศักดิ์ในสมัย ร.๔ และยุคในสมัย ร.๕
พระองค์ประสงค์จะคืนสมณศักดิ์แด่หลวงปู่รอด แต่หลวงปู่กลับบอกว่า

38 อนทุ นิ ประจ�ำวัน

“องค์ใดถอด ก็ต้ององค์นั้นน�ำมาถวายคืน” ผลสุดท้ายหลวงปู่รอด
คงเปน็ หลวงปรู่ อดหรอื ไดร้ บั สมณศกั ดคิ์ นื เปน็ “พระภาวนาโกศลเถร”
กลับมาดงั กลา่ วหรือเปลา่ ข้าพเจา้ ไม่แนใ่ จ

ข้าพเจ้าถามว่า วัดหนังมีพระเชื้อสายสุพรรณอยู่ จ�ำได้
คลบั คล้ายคลบั คลาว่า พระวนิ ัยธรสุกรี (ตอ่ มาพระราชาคณะชั้นธรรม)
เคยเป็นฐานานุกรมในสมเด็จฯ ป๋า วัดพระเชตุพน ท�ำไมไม่นิมนต์
สมเด็จฯ ปา๋ ไปเปน็ พระอปุ ัชฌาย์ท่ีวดั ยายรม่ ?

พระครูคัมภีร์ฯ บอกว่า หลวงพ่อช้วน ชินกาล หลวงลุงของ
เจา้ อาวาสยายรม่ สนทิ กบั พระสายอยธุ ยา จงึ นมิ นตส์ มเดจ็ พระพฒุ าจารย์
(เสงย่ี ม ป.ธ.๖) วดั สทุ ศั นเทพวราราม ไปเป็นพระอุปชั ฌาย์ ซ่งึ ตอนนั้น
สมเด็จยังเป็นพระวิสุทธิวงศาจารย์หรือ พระราชาคณะช้ันธรรมอยู่
ไม่แน่ใจ ที่ท่านแน่ใจคือตัวท่านน่ังเรือไปเป็นพระอันดับที่วัดยายร่ม
เพราะหลวงพอ่ ช้วน สนิทกับโยมปานคนอยุธยา ซึ่งเป็นคนชอบพอกบั
เจา้ คณุ เชิดหรือพระมหาเชิด (พระธรรมรตั นดลิ ก) เจ้าอาวาสวัดสทุ ศั น
เทพวราราม รปู ปจั จุบนั น้ี

อนุทนิ ประจ�ำวนั 39



อนุทนิ ประจ�ำวัน

(๕๐๖ กรมการเมอื งสพุ รรณบรุ -ี พระยาสนุ ทรสงคราม)

วัดใหม่ เปลีย่ นชือ่ เป็น “วัดสุวรรณภมู ”ิ เมื่อวนั ที่ ๑๕ มนี าคม
พ.ศ.๒๔๕๙ ข้อมูลทางวัดกล่าวยืนยัน ข้าพเจ้าเคยเห็น
ใบตราตั้งพระราชทานนามวัดท่ีพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระสังฆราชป๋า
วดั สวุ รรณภูมิ

เคยอ่านเอกสารประวัติวัด ว่า “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระเจ้าน้องยาเธอ ในรัชกาลที่ ๖
เสดจ็ ตรวจการคณะสงฆ์ทางชลมารค ประทับ ณ วัดใหม่ ๓ ราตรี
ทรงเปล่ียนแปลงคณะสงฆ์ใหม่ ทรงแต่งต้ังพระครูวินยานุโยค
(หลวงพ่อล่ี) เจ้าอาวาสวัดใหม่ ซ่ึงเป็นเจ้าคณะแขวงบางปลาม้า
ให้ดำ� รงต�ำแหนง่ เจา้ คณะจังหวดั สุพรรณบุร”ี

ฝา่ ยพุทธอาณาจักร มกี ารเปลี่ยนแปลง พระครวู บิ ูลเมธาจารย์
(หลวงพอ่ ภู) (๒๓๘๙ - ๔ ก.ค.๒๔๖๕) วดั ประตสู าร ยกข้ึนเปน็ เจา้ คณะ
จังหวัดกิตติมศักด์ิ และแต่งตั้งพระครูวินยานุโยค (หลวงพ่อล่ี) เป็น
“พระครูสัทธานุสารีวินยานุโยค (ลี่)” ให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดแทน
มฐี านานกุ รม เชน่ พระปลดั อาจ ศรีทองสขุ วดั วังยายหนุ่

ในฝ่ายการปกครองของอาณาจักรบ้านเมือง ได้กล่าวว่า
“ปลายรัชกาลที่ ๓ ตอ่ รัชกาลท่ี ๔ เมื่อสพุ รรณบุรีฟืน้ ตวั การปกครอง
บ้านเมืองเปลยี่ นผูป้ กครองจาก “ผรู้ งั้ ” มาเปน็ “เจ้าเมือง” เริ่มจาก
พระยาสุนทรสงคราม (จัน สุนทรพงษ์) พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๒ แล้ว

อนทุ ินประจำ� วัน 41

พระยาสุนทรสงครามรามพิไชย (แจ่ม สุนทรวิภาต) ๒๔๑๒-๒๔๒๕
จวนเจ้าเมืองอยู่ถดั วดั กลาง ไปทางด้านทศิ ใต้”

คำ� วา่ “ฟน้ื ตวั ” คงหมายถงึ ฟน้ื ตวั จากสงคราม และมกี ารอพยพ
ผู้คนมาจากแหล่งอ่ืนๆ พวกที่หนีเข้าป่าเข้าไพรให้กลับมาอยู่ในเมือง
รวมท้ังพวกอพยพถ่ินฐานบ้านช่องมาจากอยุธยาบ้าง อพยพเพราะ
กลยุทธการสงครามบา้ ง ฯลฯ

พระราชบัญญัตินามสกุล มีในปี ๒๔๕๖ ดังนั้น ข้าพเจ้า
จึงใส่นามสกุลเพ่ือแสดงว่าเป็นสายไหนให้ชัดเจนยิ่งข้ึน ส่วนผู้รั้งเมือง
หรือครองเมืองน้ัน ท่านเอามาจากไหน ข้าพเจ้าไม่ทราบ ที่ทราบคือ
พระยาสนุ ทรสงคราม (แจม่ ) ขน้ึ เปน็ เจา้ เมืองหลงั จากที่ ร.๕ เสดจ็ ขนึ้
ครองราชย์ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๑๑ เห็นไหมว่าข้าพเจ้าเห็นแย้ง
ตามเอกสารทอ่ี า้ ง และปที ท่ี า่ นครองเมอื งกส็ น้ิ สดุ ลงในปี พ.ศ.๒๔๒๑-๒
ไม่ถึงปี ๒๔๒๕ ดังอา้ งขา้ งบน

ส่วนค�ำว่า “วัดกลาง” คือวัดใหม่ คือวัดสุวรรณภูมิปัจจุบันนี้
แตค่ นเรยี กวา่ วดั ใหมส่ วุ รรณภมู ิ เอาคำ� สองคำ� มาตอ่ กนั เดมิ ชอ่ื วดั กลาง
มผี เู้ ลา่ วา่ พวกเจา้ เมอื งสพุ รรณไปรบชนะกวาดตอ้ นไพรพ่ ลมาใหส้ รา้ งวดั
ใหมค่ อื ช่วยซอ่ มบูรณะใหม่ เลยได้ช่อื วา่ วดั ใหม่ ดงั หลักฐานที่พระมหา
สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า
“วัดสุวรรณภมู ”ิ

ในยุคแรกๆ นั้น เจ้าเมืองจะช่ืออะไร เช้ือสายไหน มารั้ง
หรอื ครองเมอื งสพุ รรณ กจ็ ะมบี รรดาศกั ดวิ์ า่ “พระสนุ ทรสงคราม หรอื
พระยาสุนทรสงคราม” แมแ้ ตพ่ ระยาสุนทรบุรี (อ้ี กรรณสตู ) ตอนมา
เป็นเจ้าเมืองสุพรรณบุรี ก็มีชื่อว่าพระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูต)
เชน่ กนั ทา่ นเปน็ เจา้ เมอื ง มภี รรยาหลายคน มเี มยี ใหญ่ เมยี นอ้ ยทเ่ี รยี กวา่

42 อนุทนิ ประจ�ำวัน

อนุภรรยา เชน่ ลูกสาวกรมการเมอื งระดับนายอำ� เภอบางปลาม้าก็เปน็
ภรรยาคนหนง่ึ ของทา่ นพระยาสนุ ทรบรุ ี ไมเ่ ชอ่ื ไปถามครเู ออ้ื สนุ ทรสนาน
ดกู ไ็ ด้

พวกกรมการเมืองส่วนหน่ึง ก็จะแต่งงานเป็นวงศาคณาญาติ
กันเองบ้าง

เพ่ือการค�ำนวณ ตัวเลขอาจจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง บวกลบ
๑๐-๒๐ ปี ขา้ พเจ้าคำ� นวณครา่ วๆ วา่

พระยาสุนทรสงครามรามพิไชย (แจม่ สุนทรวภิ าต) (ค�ำนวณวา่
เกิดราว ๒๓๔๖** - ด�ำรงต�ำแหน่งข้าหลวงปี ๒๔๑๑ ตอนอายุราว
๖๕ ปี อนจิ กรรม ๒๔๒๒ อายรุ าว ๗๖ ป*ี **

ข้อมูลต่อไปน้ี ไม่ได้ค�ำนวณ แต่เกิดจากเอกสารชิ้นหนึ่งว่า
“พระไชยราชรักษา (อุ่ม ไชยพันธุ์) เกิด ๒๓๗๐, ปลัด ๒๔๑๑
อายุ ๔๑, อนิจกรรม ๒๔๓๗ อายุ ๖๗ ป”ี

สว่ นท่อี ยากจะคำ� นวณเพม่ิ อีกคือ
หลวงมหาดไทย (เอ่ยี ม สุนทรวิภาต) เกิด.........
หลวงจ่าเมือง (ปน้ั สนุ ทรวิภาต) เกดิ ...............
ข้อมูลจากเอกสาร “พระศรีมงคล (เจ๊ก สุนทรวิภาต)
(๑๕ เมษายน ๒๓๙๖ - ๕ พฤศจกิ ายน ๒๔๗๗ อายุ ๘๑) ท่านพระศรีฯ
ครั้งเป็นหลวงมหาดไทย (เจ๊ก) หลานปู่พระยาสุนทรสงคราม (แจ่ม)
ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล, และนายอ�ำเภอชิต สุนทรวิภาต เป็น
บตุ รชายในสายนี้
นายอ�ำเภอชติ สุนทรวภิ าต (เกดิ ๒๔๓๘ เสยี ๒๕๐๒ อายุ ๖๔
ป)ี หลานคนหนึ่งชื่อ ดร.ประอร สนุ ทรวภิ าต (เกิด ๒๕๐๐)
มาดสู าย “ภมรพล” บา้ ง

อนทุ นิ ประจำ� วนั 43

หลวงไชย รองปลดั (โต ภมรพล) (๒๓๘๗ - ๒๔๗๐) แกก่ วา่
หลวงพ่อภู (๒๓๘๙ - ๔ ก.ค.๒๔๖๕) วดั ประตสู าร

หลวงบรรเทาทุกขราษฎร์ (เทียน ภมรพล) (เกิดราว ๒๓๙๐ -
มรณะราว ๒๔๖๑) เมยี หลวงชอื่ นางบรรเทาทกุ ขราษฎร์ (แข ภมรพล)
(๒๓๙๘ - ๒๔๗๗ อายุ ๘๐ ป,ี เผา ๒๔๘๑)

พนั เอกพระยาสรุ ศักดิเสนา (โต๊ะ ภมรพล) (๒๔๓๑ - ๒๕๑๗)
ผูข้ อรับพระราชทานนามสกุล เป็นบุตรชายของหลวงบรรเทาฯ
นายอำ� เภอบางล่ี
ถกู ผิดกเ็ ขยี นบนั ทึกไว้ก่อน ใครมีข้อมลู ถูกต้องและแมน่ ยำ� กวา่
ก็ยอมรบั
เม่อื วันเสาร์ที่ ๑๖ มิถนุ ายน พ.ศ.๒๕๖๑ ณ ตกึ กวี เหวยี นระวี
ภายหลังจากข้าพเจ้ากับพี่สมาน สุดโต ไปร่วมงานเสวนาวิชา
การฟลิ ม์ กระจก ท่ีหอศลิ ป ถนนเจ้าฟา้ เสรจ็ งานแล้ว ข้าพเจ้าชวนมาท่ี
วัดพระเชตพุ นฯ เพราะขา้ พเจา้ นัดหมายมาเอารูปภาพ เพอื่ ลงหนังสือ
งานมูลนิธิสมเด็จพระสังฆราชป๋า (๒๔๓๙-๒๕๑๖) ชาตกาล ๑๒๒ ปี
จึงได้ตั้งวงสนทนากันว่า สุพรรณบ้านเราเฉพาะท่ีอ�ำเภอสองพ่ีน้อง
ตดิ กบั บางแมห่ มา้ ย มสี ายตระกลู มาจากกรงุ เทพฯ มาอยอู่ ยา่ งไรไมท่ ราบ
เช่น นามสกุล “สโรบล, พึ่งบุญ ณ อยุธยา, ปาลกะวงศ์, เสนีวงศ ์
ณ อยุธยา” นับนวิ้ ได้ ๔-๕ ตระกลู ใหญ่ และคุยกนั ถงึ ม.ร.ว.ถนดั ศรี
สวสั ดวิ ตั น์ ว่าหมอ่ มแม่ของคุณชายดูจะมีเชื้อสายคนสุพรรณด้วย
พี่สมาน สุดโต บอกว่า ท่ีท�ำงานบางกอกโพสต์มีคนหนึ่ง
ที่ความจ�ำดีเย่ียม เล่าเร่ืองและจ�ำชื่อคน ๒ ชั่วอายุคนได้แม่นย�ำ
จึงตอ่ สายใหพ้ ดู คุยด้วย เรียกเธอวา่ หมอ่ มหลวงเพิรล์ เชือ้ สายตระกูล
“สวสั ดวิ ัตน”์

44 อนุทินประจ�ำวัน

ซ่ึงเธอก็เล่าให้ฟังว่า หม่อมย่าเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา
นามสกุลเดิม เศวตะทัต เกิด ร.ศ.๑๑๓ (พ.ศ.๒๔๓๗) มีเช้ือสาย
เกยี่ วขอ้ งกบั คนสพุ รรณ ตอนชว่ งสงครามยงั หลบหนภี ยั มาอยทู่ ส่ี พุ รรณ
ระยะหน่ึง จึงไล่ชือ่ พ่อแม่วา่ ชือ่ อะไร

พอ่ ของหมอ่ มยา่ เจรญิ ชอ่ื คณุ ทวดอนิ วา่ คณุ ทวดอนิ มบี รรดาศกั ดิ์
และเป็นลูกหรือจะเป็นชั้นหลานของหลวงอภัยสมบัติ (ทัด) เจ้ากรม
เจ้าจ�ำนวน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เท่ากับทรัพย์สินส่วน-
พระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน แม่ของหม่อมย่าเจริญช่ือคุณทวดปุ้ย
(แมข่ องหมอ่ มเจรญิ เศวตะทตั (สนุ ทรเกศ) เนน้ เปน็ ศ คอื เกศ ไมใ่ ช่ เกต)ุ

ไปค้นนามสกุล “เศวตะทัต” จึงได้ความว่า มาจากช่ือ “พ่อ
เผอื ก ปู่ทดั ”

หลวงอภัยสมบัติ (ทัด) เป็นพ่อหรือปู่ของคุณปู่ทวดอิน
เศวตะทตั (ช) (คำ� นวณวา่ คนทเี่ ปน็ พอ่ คงเกดิ ราว ๒๔๐๐) ทเ่ี ปน็ พอ่ ของ
พระสวัสด์ิฯ และหม่อมย่าเจริญ (+ยายทวดปุ้ย ลูกหรือหลานของ
พระสนุ ทรสงคราม (เกศ) จงึ น่าจะเป็นช้ันสงู กวา่ นอ้ี ีกชน้ั หนึ่ง)

ข้อมูลยังไม่ชัดนักว่า จากหลวงวิเศษสมบัติ (ทัดหรือชื่ออะไร)
หรอื ชนั้ ลูกชัน้ หลาน จึงมาเป็นปทู่ วดอิน (ช) แล้วมาเป็นชั้นพระสวสั ด์ิฯ
(ช) นามสกลุ “เศวตะทตั ” แต่งกับ “ยายทวดปุ้ย” เป็นลกู ของหลวง
วิเศษภักดี (สุนทรเกศ)----สันนิษฐานว่า พระสุนทรสงคราม (เกศ)
มาเป็น หลวงวิเศษภักดี (?) หรือหลวงวิเศษภักดีลูกของพระสุนทร
สงคราม (เกศ) แตง่ กบั ภรรยาไมท่ ราบชอื่ มาเปน็ ยายทวดปยุ้ เศวตะทตั
(สนุ ทรเกศ)

ดังน้ัน หม่อมย่าเจริญ เศวตะทัต (นามสกุลเดิม) ลูกของ
คณุ ทวดปุ้ย, คณุ ทวดป้ยุ เช้ือสายสนุ ทรเกศ มลี ูก ๔ คน (ช.๒ ญ. ๒)

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 45

หม่อมเจริญ เศวตะทัต (สุนทรเกศ) เป็นคนท่ี ๓ เรียงล�ำดับได้ คือ
“ผล (ขนุ ญาณอักษรนติ ิ), พระสวัสด์ิ, หมอ่ มยา่ เจรญิ , นางทองสขุ ”

ปู่ผลเป็นขุนญาณอักษรนิติ (ผล เศวตะทัต) ว่าน่าจะมี
ภรรยาหลายคน, ปู่พระสวัสดิ์ เศวตะทัต รับต�ำแหน่งแทนสืบต่อจาก
“คุณพระสวัสด์ิ” ของพ่อ, หม่อมย่าเจริญ สวัสดิวัตน์ (เศวตะทัต),
และทองสุข ช่ือบรรดาศักด์ิเป็น “นางศรีสรสิทธ์ิ” สามีเป็นพระ
หรือหลวง

หม่อมหลวงเพิร์ล เรียกว่า “หม่อมย่าเจริญ” และเรียก
ม.ร.ว.ถนดั ศรี สวสั ดวิ ตั น์ วา่ “ลงุ ชาย (วา่ เปน็ ชอ่ื เลน่ “ชาย”)” และ
บอกว่า ยังเหลือป้าหญิงช่ือ ม.ร.ว. สนองศรี สวัสดิวัตน์ อีกคนหน่ึง
อายุ ๙๖ ปี (๒๕๖๑) ทยี่ ังสบื ความได้

รายช่ือเจ้าเมืองสุพรรณบุรี ชื่อพระยาสุนทรสงคราม (เกศ)
หายไปจากทำ� เนยี บผวู้ า่ ราชการจงั หวดั สพุ รรณบรุ ี ทง้ั ๆ ทเ่ี ปน็ บคุ คลสำ� คญั
ท่านหนึ่ง ยังค�ำนวณอายุท่านเจ้าเมืองแกว่งไปแกว่งมา จนกว่าจะได้
หลักฐานชดั เจนยง่ิ ขึน้

จงึ เลา่ สกู่ นั ฟงั เกยี่ วกบั กรมการเมอื งสพุ รรณบรุ ี ทม่ี บี รรดาศกั ดิ์
ขน้ึ ตน้ นามสกลุ วา่ “สนุ ทร” เชน่ สนุ ทรเกศ, สนุ ทรพงษ,์ สนุ ทรวภิ าต....

46 อนุทนิ ประจ�ำวัน

อนุทินประจำ� วนั

(๕๐๗ จากเจดยี ์ กรมหลวงเสนีบริรกั ษ์
วดั ระฆงั โฆสิตาราม)

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) เรียกว่า
สมเด็จโตบ้าง ขรัวโตบ้าง ในทีนี้จะเขียนส้ันๆ ว่า “สมเด็จโต”
ผู้เกิด ๑๗ เมษายน ๒๓๓๑ มรณภาพ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕
สิรอิ ายุ ๘๔ ปี บวชพระนบั ได้ ๖๔ พรรษา ด�ำรงตำ� แหน่งเจา้ อาวาส
วัดระฆังโฆสิตารามได้ ๒๐ ปี ธุดงค์ไปท่ัวหลายวัด มีอนุสรณ์
และท�ำบุญอุทิศส�ำคัญเช่นวัดไชโย อ่างทอง วัดสะตือ อ.ท่าเรือ
จ.พระนครศรีอยุธยา

นับชาตกาลได้ ๒๓๐ ปี นบั มรณกาลได้ ๑๔๖ ปี
เม่ือถึงวัดระฆังโฆสิตาราม รถจอดภายในโรงเรียนโฆสิตสโมสร
ข้าพเจ้าไม่รีบ เดินตรงไปด้านหน้าโบสถ์ซ่ึงเป็นด้านทิศตะวันออก
แต่เข้าก�ำแพงโบสถ์เดินไปดูเจดีย์กรมหลวงเสนีบริรักษ์ หนึ่งในเจดีย์
สีขาว ๓ เจดีย์ ด้านทิศเหนือ เพื่อดูอัฐิตระกูล “สุนทรวิภาต” ของ
นายแปลก สุนทรวิภาต (๒๔๕๐-๒๕๓๓) และแม่พเยาว์ สุนทรวิภาต
(ศรีสมุทร) (๒๔๖๐-๒๕๔๕) ปรากฏว่า บนฐานและรอบๆ เจดีย์
ทงั้ สามองคน์ ้ี เขาไดน้ ำ� ลงมาบรรจดุ า้ นลา่ งบา้ ง นำ� ไปบรรจทุ ว่ี ดั ใกลเ้ คยี ง
บ้านเขา ระบุชอ่ื วดั หนึง่ ว่านำ� ไปบรรจทุ ่วี ัดเครือวลั ยบ์ า้ ง

อนทุ ินประจำ� วนั 47

เดินเวียนซ้าย ซึ่งเป็นการเดินสวนกับงานมงคลท่ีต้องวนขวา
ไม่พบช่ือและนามสกุลท่ีสะดุดตาและสะดุดใจ นอกจากช่องบรรจุอัฐิ
หนง่ึ ดา้ นทิศเหนอื จารึกว่า “พ.ต.ต.เลข คงสมจิตต์ (๒๙ พ.ค.๒๔๕๔-
๑๖ ม.ี ค.๒๕๒๒) -นางชบุ คงสมจติ ต์ (๒๕ ม.ิ ย.๒๔๕๔-๑๐ พ.ย.๒๕๑๙)”
เพราะนามสกลุ “คงสมจิตต์” เปน็ ของมหายัญ คงสมจติ ต์ ประโยค ๙
คนสุพรรณ

ตอนมหายญั บวชพระ ขา้ พเจา้ เคยไดย้ นิ แวว่ ๆ มาวา่ เจา้ พระยา
ยมราช (ปน้ั สขุ มุ ) เปน็ โยมอปุ ถมั ภห์ รอื อะไร? ไมก่ ลา้ ยนื ยนั แตไ่ ดย้ นิ มา
ลาสิกขาไปเป็นอาจารย์สอนกฎหมายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซึ่งเมื่อก่อนน้ีเป็นช่ืออื่น เป็นลูกศิษย์ของท่านปรีดี พนมยงค์ ที่มี
คนบอกว่า “ปรีดีข้ึนสมอง” เพราะท่ีบ้านมีรูปหล่อหรือรูปปั้นของ
อาจารยป์ รดี ี พนมยงคด์ ว้ ย, มหายญั เปน็ ศษิ ยห์ ลวงพอ่ ตว่ น วดั มเหยงคณ์
และเคยมคี นบอกว่า นามสกุล “คงสมจติ ต์” น่าจะมาจากอยธุ ยา

เดินออกไปดูพระต�ำหนักแดง ที่เคยเป็นท่ีประทับของ ร.๑
ทพี่ ระองคไ์ ดย้ กถวายแกว่ ดั บางหวา้ ใหญ่ คอื วดั ระฆงั วดั นี้ ชอ่ื เดมิ ในอดตี
คราวท่ีพระองค์ย้ายพระราชวังไปอยู่ ณ บริเวณพระบรมมหาราชวัง
วดั พระแกว้ ท่เี รียกวา่ วังหลวงปจั จุบนั ในปี ๒๔๒๘ ภายในพระตำ� หนัก
ข้าพเจ้าเคยข้ึนไปดูภาพวาดฝีมือพระอาจารย์นาค คิดว่าจะขึ้นไปย้อน
อดีตใหม่ แต่ใส่กุญแจไว้ จึงต้องถอยกลับ เดินไปหน้าพระอุโบสถ
ไปดอ้ มๆ มองๆ ภายในพระอโุ บสถ เพราะยงั ไมถ่ งึ พธิ พี ระ เหน็ ทา่ นเจา้ คณุ
พระราชประสิทธิวิมล (ประจวบ บุญอาจ ป.ธ.๔) (เกิดปี ๒๔๘๒)
ผู้ชว่ ยเจ้าอาวาสวดั ระฆังโฆสติ าราม น่ังอยู่ภายใน เพราะเจ้าอาวาสชอื่
พระธรรมธรี ราชมหามนุ ี (เทย่ี ง ป.ธ.๙) ยงั ไมไ่ ดเ้ ขา้ มา จงึ ถอื โอกาสเขา้ ไป
ภายในเป็นครั้งแรกในชีวิต เข้าไปกราบพระประธาน เบ้ืองหน้ามี

48 อนุทินประจ�ำวนั


Click to View FlipBook Version