The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ddttgr1125, 2020-04-15 21:24:04

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

เพ่ือเป็นอนุสรณ์และเป็นเคร่ืองบรรณาการตอบแทนท่านเหล่านั้น
ให้สมกับค�ำที่ว่า วันทะโก ปฏิวันทะนัง ผู้ไหว้ ย่อมได้รับไหว้ตอบ
ปูชะโก ละภะเต ปูชัง ผู้บูชา ย่อมได้รับบูชาตอบ เม่ือพิจารณาแล้ว
สร้างอะไรก็ไม่เหมาะสมเท่ากับสร้างธรรมะของพระพุทธเจ้า เพราะ
ส่ิงอื่นมีแก่ เจ็บ และตายได้ หรืออาจเป็นอันตรายได้ ส่วนธรรมะ
ของพระพุทธเจ้าไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย จึงเห็นสมควรจัดพิมพ์
หนังสือธรรมะข้ึนสักเร่ืองหน่ึง และตกลงจัดพิมพ์หนังสือจดหมาย
สองพ่ีน้อง ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของพระองค์ท่านเอง เพ่ือเป็นเกียรติ
ของพระองค์และเป็นเคร่ืองบรรณาการดังกล่าวแล้ว ให้ชื่อหนังสือ
เล่มนี้ว่า “จดหมายสองพี่น้อง” หวังว่าหนังสือเล่มน้ีจักเป็นประโยชน์
แกผ่ อู้ า่ นผูฟ้ งั อยู่บ้างไมม่ ากกน็ อ้ ย

ขออ�ำนาจกุศลบุญราศีซ่ึงเกิดจากการสร้างหนังสือเล่มน้ี
จงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ดวงพระวิญญาณของ
พระองค์ ตามสมควรแก่คติวิสัย หากดวงพระวิญญาณจะทรงสถิตอยู่
ณ พภิ พใด และทรงทราบได้โดยพระญาณวถิ ีแลว้ ขอไดท้ รงอนุโมทนา
กุศลนี้ เพอ่ื ส�ำเร็จวิบากสมบตั ิ ตามสมควรแกค่ ตินิยมนนั้ ดว้ ยเถิด

ชาวสพุ รรณบุรี
ค�ำปรารภในจดหมายสองพี่น้อง ฉบับออกพระเมรุพระศพ
ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชป๋า (เกิดวันอังคาร ปีวอก ๒๔๓๙
ณ บ้านสองพี่น้อง ส้ินพระชนม์ วันศุกร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๑๖
เวลา ๒๒.๒๕ น.) ลงท้ายด้วยค�ำว่า “ชาวสุพรรณบรุ ี” เขยี นในนามของ
ลูกหลานชาวสุพรรณบรุ ีทกุ คน จบลงดว้ ยประการฉะนฯ้ี

อนทุ นิ ประจำ� วัน 199



อนทุ นิ ประจำ� วัน

(๕๔๑ สถานปฏบิ ตั ธิ รรม ต.หนองกระทมุ่
อ.ก�ำแพงแสน จ.นครปฐม)

เปน็ ครง้ั แรกในชวี ติ ทเี่ ดนิ ทางไปรว่ มงานทำ� บญุ วนั เกดิ ของพระเทพ
มหาเจตยิ าจารย์ (ชยั วฒั น์ ป.ธ.๙) (เกดิ ตรงกบั วนั ท่ี ๒๐ ก.ค.๒๔๘๕)
เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ที่สถานปฏิบัติธรรม แต่เป็นคร้ังท่ีสอง
ในชีวิตที่เดินทางผ่านวัดหนองกระทุ่ม อ.ก�ำแพงแสน เลยห้วย
กระบอกไปนดิ หนง่ึ ตรงวัดสแ่ี ยกเจรญิ พร

กอ่ นเดนิ ทาง ไดน้ ำ� หนงั สอื ตน้ ฉบบั “สสู่ ำ� นกั นกิ สนั และวาตกิ นั ”
ฉบับเจ้าคุณพระฐาปนกิจโกศล (ผิน ปหุตวีโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด
พระเชตุพน ไปคืนเจ้าของที่วัดพระเชตุพน เป็นมรรยาทท่ีดีงาม
ในการหยิบยืมหนังสือผู้ใดแล้ว ต้องส่งคืนถึงที่และถึงมือเจ้าของคือ
ท่านพระมหาประเชญิ กอ่ น

พระมหาประเชิญ ศรีเหรา ป.ธ.๙ แจ้งว่า ได้ส่งการ์ดเชิญ
ดร.สมโพธิ์ ววิ ธิ เกยูรวงศ์ มารว่ มงานวนั สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชป๋า
(๓๐ มี.ค.๒๔๓๙ - ๗ ธ.ค.๒๕๑๖) ซ่ึงทางวัดได้จัดงานนับเป็นปีท่ี ๕
แต่ ดร.สมโพธิ์ติดงานมาไม่ได้ ถึงกระนั้นได้ฝากปัจจัยมาร่วมท�ำบุญ
และทา่ นเลา่ วา่ ดร.สมโพธเ์ิ ปน็ ศษิ ยข์ องพระครวู มิ ลมงั คลโพธิ์ (หลวงตา
บญุ ชู แซเ่ ตย่ี ว) (มรณภาพราวปี ๒๕๒๔ อายเุ ลย ๘๐ ป)ี คนตลาดบางลี่
ผชู้ ว่ ยเจา้ อาวาสวดั พระเชตพุ น ทค่ี ณะ ต.๓ วดั พระเชตพุ น ทำ� ใหข้ า้ พเจา้
อยากไปดคู ณะ ต. ๓

อนทุ ินประจ�ำวนั 201

ท่านยังเล่าว่า สมเดจ็ ป๋า มลี กู ศิษยอ์ ย่เู ปน็ รอ้ ย แต่หลวงตาบุญชู
มีลูกศิษย์ไม่ก่ีคน และเล่าเร่ืองหน่ึงว่า สมเด็จป๋าเคยยืมเงินหลวงตา
บญุ ชู ซ่งึ ข้าพเจ้าอยากฟงั เรื่องราว กอ่ นจะเดินทางไปดูคณะ ต.๓

ท่านว่า พลเรือเอกดิลก ภัทรโกศล หลังจากเรียนจบแล้ว
ไปลาสมเด็จป๋าจะกลับบ้านไปท�ำนา เพราะทางบ้านไม่มีปัญญาส่งให้
เรียน สมเด็จป๋าบอกว่า “ข้าจะส่งเอ็งเรียนเอง” เป็นสาเหตุให้พลเรือ
เอกดิลกได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนต่อ วันหนึ่งค่าเทอมมาถึง ดิลก
ไปหาสมเด็จป๋าๆ บอกให้ดิลกถือหนังสือไปให้หลวงตาบุญชู จดหมาย
อยู่ในซองที่ไม่ได้ปิดผนึก ด้วยความอยากรู้อยากเห็นตามประสาเด็ก
จึงแง้มเปิดซองดู ในอักษรที่เห็นนั้น เป็นหนังสือขอยืมเงิน ท�ำนองว่า
“ชู มีเงินไหม ขอยืมเงินหนอ่ ย ให้ดิลกไปเรยี นหนงั สือ”

ข้อความนั้น ท�ำให้พลเรือเอกดิลก ภัทรโกศล น�้ำตาซึม และ
จดจ�ำบุญคุณของสมเด็จป๋าตลอดชีวิต ว่าชีวิตนี้ถ้าไม่ได้สมเด็จป๋า
กไ็ มม่ พี ลเรือเอกดิลก ภัทรโกศล คนน้ี

ยงั มปี จุ ฉาวสิ ชั นาอกี วา่ เปน็ ไปไดไ้ หม ทสี่ มเดจ็ ปา๋ เปน็ พระผใู้ หญ่
ต้องไปยืมเงินหลวงตาชู ท่านพระมหาประเชิญต้ังค�ำถามเองและ
ตอบเองว่า สมัยก่อนสมเด็จป๋าเลี้ยงเด็กเป็นร้อยคน คงเงินขาดมือ
จึงตอ้ งไปยมื เงินจากหลวงตาชู แซ่เตี่ยว

ขา้ พเจา้ ยังจดจ�ำหอระฆงั วัดสองพีน่ อ้ งได้ดี ตง้ั แตเ่ ขา้ ไปอยวู่ ดั
สองพ่ีน้องใหม่ๆ ในปี ๒๕๑๔ เป็นหอระฆังท่ีพระครูวิมลมังคลโพธ์ิ
(หลวงตาบญุ ชู แซเ่ ตย่ี ว) เปน็ เจา้ ภาพออกเงนิ สรา้ งหอระฆงั ไวเ้ ปน็ อนสุ รณ์
ท่ีหน้าบันมีพัดยศพระครูสัญญาบัตรเป็นลวดลายวิจิตร เป็นฝีมือของ
ช่างจีนไหหล�ำในตระกลู “แซ่ด่าน” เป็นผู้สรา้ งหอฝากฝมี อื ไว้

202 อนุทินประจ�ำวนั

ข้าพเจ้าเดินไปดูคณะ ต.๓ วัดพระเชตุพน แล้วเดินทางไป
กำ� แพงแสน ใชเ้ สน้ ทาง อ.บางเลน จ.นครปฐม จากเสน้ ทางถนนมาลยั แมน
ตรงเข้าไปอีกราว ๙ กม. ตรงหน้าวัดส่ีแยกเจริญพร ก็เล้ียวซ้าย
เข้าไปอีกราว ๒ กม. ถึงสถานท่ีปฏิบัติธรรม สาขาวัดพระปฐมเจดีย์
ต.หนองกระทุ่ม อ.ก�ำแพงแสน จ.นครปฐม

ตอ้ งขอขอบใจและอนโุ มทนาพระมหาประเชญิ ทไี่ ดช้ ว่ ยขา้ พเจา้
พมิ พค์ ำ� ปรารภ หนงั สอื “จดหมายสองพน่ี อ้ ง” ฉบบั ออกพระเมรพุ ระศพ
สมเดจ็ พระสังฆราชปา๋ ในปี ๒๕๑๗ (ดู อนทุ นิ ประจำ� วัน ฉบับ ๕๔๐)
ทเี่ ขยี นลงท้ายด้วย “ชาวสุพรรณบรุ ”ี ขา้ พเจ้าอยากทราบว่า ใครเปน็
ผเู้ ขยี นแทนชาวสพุ รรณบรุ ี ตอ้ งตรกึ ตรอง และปรกึ ษาหลายรปู หลายคน
และอยากจะพมิ พน์ ำ� ไปถวายหลวงพอ่ พระธรรมพทุ ธมิ งคล (สอง้ิ ป.ธ.๘)
(เกิดปีจอ ๔ ม.ค.๒๔๗๗) วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร ท่ีปรึกษาเจ้าคณะ
จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะหลวงพ่อถ้าไม่รู้ ก็คงจะหาคนรู้ยากย่ิงขึ้น
ว่าเป็นใครที่เขียนค�ำปรารภนี้

พรงุ่ นี้ วดั พระเชตพุ น มงี านทร่ี ะลกึ ๑๒๒ ปชี าตกาล งานวนั มลู นธิ ิ
สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) วันท่ี ๒๑ ก.ค.๒๕๖๑
ที่หอประชมุ น.๑๖ ข้าพเจา้ ตัง้ ใจจะสอบถามข้อมลู เพิ่มเติม จากพ่ถี วลิ
จิ๋วเช้ือพันธุ์ และศิษย์สมเด็จป๋าที่มาร่วมงาน เพื่อตอบสนองความ
อยากรู้อยากเห็นของข้าพเจ้า หรือก่อนที่ข้าพเจ้าจะสรุปว่า ใครคือ
“ชาวสพุ รรณบุร”ี ผ้นู นั้ หรือจะปล่อยใหค้ งไว้อย่างนั้นตอ่ ไป

พอดไี ดเ้ ทปบนั ทกึ งานพระราชพธิ วี นั สถาปนา สมเดจ็ พระสงั ฆราช
องคท์ ่ี ๑๗ แหง่ กรงุ รตั นโกสินทร์ วนั ศกุ ร์ท่ี ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๕
เวลา ๑๕.๓๐ น. ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ
วัดพระเชตุพน ที่ไทยทีวีสีช่อง ๓ ถ่ายท�ำไว้ อยากน�ำมาเผยแพร่
ย้อนยุคเมอ่ื ๔๖ ปีท่ีแล้ว

อนทุ ินประจำ� วัน 203

ภายในเทปน้ี ขา้ พเจา้ เหน็ พระพรหมโมลี (วลิ าศ ป.ธ.๙) วดั ดอน
(ต่อมา ย้ายมาวัดยานนาวา) สมัยยังเป็นเจ้าคุณหนุ่มๆ และได้เห็น
พระศรีวิสุทธิโมลี (ป.อ. ปยุตโต) วัดพระพิเรนทร์ วรจักร ท่ีปัจจุบัน
ไดร้ ับการสถาปนาขนึ้ เป็น สมเดจ็ พระพุทธโฆษาจารย์ วดั ญาณเวศกวนั
จ.นครปฐม

ชมเทปดว้ ยกัน เป็นการยอ้ นยคุ และเรียนรูอ้ ดีตรว่ มกัน
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=13309
33303675883&id=602208356548385

204 อนุทนิ ประจ�ำวนั

อนทุ ินประจำ� วนั

(๕๔๒ วนั มูลนิธสิ มเดจ็ พระสังฆราช องค์ที่ ๑๗)

ไปฉนั เชา้ รอฟงั เทศน์ ทแี่ สดงโดยพระพรหมกวี (พงศส์ นั ต์ ป.ธ.๙)
วัดกัลยาณมิตร เจ้าคณะภาค ๑๓ ซ่ึงแสดงเร่ืองยโสภิวัฒนกถา
เล่าประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก องคท์ ี่ ๑๗ อธบิ ดสี งฆว์ ดั พระเชตพุ น องคท์ ี่ ๑๑
จับความได้ว่า นับเวลาได้ ๒๐ ปีพอดี จากพระราชาคณะช้ันสามัญ
ถึงสมเด็จพระวันรัต (๒๔๘๔-๒๕๐๔) นับว่าน่าอัศจรรย์มาก และว่า
ตอนที่เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน ว่างลง เจ้าพระคุณตอนนั้นยังเป็น
พระราชาคณะช้ันราช ไม่อยากรับต�ำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส เพราะวัด
พระเชตุพนเป็นวัดกษัตริย์สร้าง แต่พระองค์เป็นชาวนาจะมาซ่อมได้
อยา่ งไร

เป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ไพเราะเพราะพร้ิงอีกกัณฑ์หน่ึง
ยังมีใจความสำ� คัญดีๆ เปน็ เกร็ดและความรู้อกี มาก ต้องรอใหเ้ จา้ หนา้ ที่
ถอดเทปออกมาก่อน

ข้าพเจ้าไปดูรูปภาพท่ีต้ังอยู่เบื้องหน้าพระรูปหล่อของสมเด็จ
พระสังฆราชป๋า มีรูปภาพในกรอบรูปขนาด ๕ น้ิว จ�ำนวน ๒ กรอบ
แตข่ ้าพเจ้าทราบวา่ มีรปู ภาพซ้อนๆ กนั อยู่ มีถึง ๔ ภาพ เพราะขา้ พเจา้
เคยหยิบออกมาเปิดดูรูปภาพแต่ละภาพ เป็นภาพพระครูวินยานุโยค
(หลวงพอ่ เหนยี่ ง) ดา้ นหลงั เขยี นวา่ พระอปุ ชั ฌาย,์ รปู ภาพแมว่ นั สขุ เจรญิ

อนทุ ินประจำ� วัน 205

ที่ด้านหลังเขียนว่า ๒ กรกฎาคม ๒๔๗๖ (ปีเดียวกับท่ีมีรูปภาพหมู่
ที่คณะศิษยานศุ ิษยร์ ่วมกนั ถวายพิมพด์ ดี แกส่ �ำนกั เรียนวัดพระเชตพุ น
มีพระมหาปุ่นเป็นประธานรับมอบ), รูปภาพหลวงพ่อผ่ึง มอญเก่า
คนไผห่ มู่ และรูปภาพหลวงพอ่ หอม เกสโร นามสกลุ แสงจนิ ดา ซึ่งเปน็
พระที่เกีย่ วข้องกบั สมเดจ็ พระสงั ฆราชปา๋ อย่างมาก

มเี วลากไ็ ปคยุ กบั คณุ ธนู ชวาลกลุ (เกดิ ๒๔๘๓) เคยเหน็ หนา้ กนั
ในโต๊ะประชุม แต่ไม่เคยคุยกันอย่างเป็นทางการ เพ่ิงทราบว่าเป็น
คนตลาดสามชุก เข้ามาอยู่วัดโพธิท์ ่คี ณะ น.๑๖ จากปี ๒๔๙๗-๒๕๑๐
และเล่าว่า “ถ้าไม่ได้สมเด็จป๋า ผมก็ไม่มีวันน้ี” ข้าพเจ้าถามว่า
ใครพามาฝาก และสมเด็จฯ ป๋าพดู ว่าอะไร? พธี่ นูบอกว่า มพี อ่ สนิทกบั
เจา้ อาวาสวดั ทศี่ รปี ระจนั ต์ พามาฝาก สมเดจ็ ฯ ปา๋ บอกวา่ “อยไู่ ดก้ อ็ ย”ู่
เพราะความเมตตาและความเรียบง่ายของพระองค์ และบอกว่า
ถ้าหลานของท่านคือนายบรรเจิด สุขเจริญน้ันไม่ได้ เคยตีก้นมาแล้ว
เคี่ยวเข็นมากอยู่ ส่วนคนอ่ืนๆ พระองค์ให้ความเสมอภาค ปกครอง
เหมือนพอ่ ปกครองลูก

พี่ถวิล จ๋ิวเชื้อพันธุ์ (เกิดปลายปีวอก ๒๔๗๕) เดินทางมาถึง
และน่ังคุยกับนายสมนึก สุวรรณศร อดีตสังฆการีกรมการศาสนา
พถ่ี วลิ บอกวา่ สง่ การด์ ไปเชญิ ใหม้ า เคยเรยี นกรรณสตู รว่ มชนั้ เดยี วกนั มา
มเี พ่อื นๆ อกี คนหน่ึงคือนายบรรจง มาแสง ทีอ่ ย่ทู ี่สพุ รรณบุรี เรยี กว่า
เป็นก๊วนเดียวกัน เป็นรุ่น ม.๑ พ.ศ.๒๔๘๘ จากดินแดนรั้วโรงเรียน
เดยี วกัน

พีบ่ ปุ ผา พูลทรัพย์ และครูวีรวฒุ ิ พึ่งเจรญิ ลูกของปลัดทองหล่อ
พึ่งเจริญ ท่ีเคยบวชพระและอยู่วัดพระเชตุพนมาก่อน ก็มาร่วมงาน
มูลนธิ วิ นั นี้ ไดพ้ ดู คยุ กนั คนละนดิ คนละหนอ่ ย ตามประสาคนทไ่ี มเ่ จอหนา้
กนั นาน

206 อนุทินประจ�ำวัน

พ่ีบรรเทา สมใจ (เกิดปีฉลู ๒๔๙๒) พาภรรยาพี่ครูจงกล
และลกู สาวมาร่วมพิธีแต่เช้า และนายบรรเจดิ สุขเจรญิ และชาวตลาด
บางลี่ก็มา ร่วมพิธีด้วยเช่นกัน ข้าพเจ้าเข้าไปคุยกับนายบรรเจิดและ
โชว์รูปภาพบ้านสมเด็จฯ ป๋า ว่าใช่ไหม นายบรรเจิดขอกระดาษและ
วาดเขยี นแผนผงั บา้ นชมุ ชนสะพานโคง้ บา้ นเกดิ ของสมเดจ็ พระสงั ฆราช
องค์ท่ี ๑๗ และบ้านของพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด มีแก้วน้อย)
และมอบให้ข้าพเจ้ามา ข้าพเจ้าแสดงรูปภาพที่สมเด็จพระวันรัตน่ังอยู่
กลางทงุ่ ซึ่งข้าพเจ้าบอกว่า สงสยั จะเปน็ งานวางศิลาฤกษโ์ รงพยาบาล
บางลี่ เม่ือปี ๒๕๑๐ จ�ำได้คนหน่ึงคือ ภาพครูเวียง ส�ำเนียงล�้ำ
ซ่ึงนายบรรเจิด สุขเจริญก็บอกว่า พี่เมินเมียครูเวียง ส�ำเนียงล้�ำ
เป็นลูกของตามัน ศรีทองเกิดๆ ลูกของนางเก้ียว เป็นญาติสนิทกัน
และพดู ถึงก�ำนนั ถม มีแกว้ น้อย วา่ นอ้ ยใจเรือ่ งอะไรไมท่ ราบ ไปเปลยี่ น
นามสกลุ จาก “มแี กว้ น้อย” เป็น “พวงวรินทร”์

อีกภาพหนึ่ง นายบรรเจิด สุขเจริญ ไม่กล้าฟันธงว่าเป็นภาพ
ใครบา้ ง แตข่ ณะอธบิ ายแผนผงั ชมุ ชนบา้ นสมเดจ็ ปา๋ กบ็ อกวา่ ยายคนนนั้
เหมือนยายสุข แสงจินดา พ่ีน้องกับมหาโหมด แสงจินดา ซึ่งข้าพเจ้า
ถามว่า ตอนเข้ามาอยู่วัดโพธิ์ ทันเห็นมหาโหมดไหม อยู่กุฏิไหน?
นายบรรเจดิ บอกวา่ ไมท่ นั มหาโหมดสกึ ออกไปแลว้ และผมอยกู่ ฏุ นิ อน
ทภี่ ายในกฏุ ิ คณะ น.๑๖ หลงั น้ี แตม่ าอยู่ ๒ ครง้ั เคยมาอยตู่ อนทสี่ มเดจ็ ปา๋
อย่คู ณะ น.๑ กอ่ น และคร้ังที่ ๒ มาอยู่ทคี่ ณะ น.๑๖

นั่นคือสีสันงานวันมูลนิธิประจำ� ปี ๒๕๖๑
ขา้ พเจา้ ตงั้ ใจมาหาคำ� ตอบวา่ ใครเปน็ ผเู้ ขยี นคำ� ปรารภในหนงั สอื
“จดหมายสองพ่ีน้อง” ในงานออกพระเมรุพระศพ ปี ๒๕๑๗ นั้น
สอบถามหลายคนหลายท่าน ผลสุดท้ายมาได้ค�ำตอบถูกใจจากท่าน

อนุทนิ ประจำ� วนั 207

พระครูโฆสิตวีรธรรม (สว่าง) (เกิดปีมะเส็ง ๒๔๘๔) ว่า น่าจะเป็น
มหากมล มะลิทอง เป็นผู้เขียน เพราะสนิทกับสมเด็จป๋ามาก
เป็นคนที่คะยั้นคะยอให้สมเด็จป๋าเขียนหนังสือแต่ไหนแต่ไรแล้ว
และตายหลังจากสมเด็จป๋าสิ้นพระชนม์ เป็นผู้รู้เร่ืองสุพรรณดีที่สุด
คนหน่ึง นั่นคือค�ำเฉลยในวันนี้ ส�ำหรับค�ำปรารภ ในหนังสือ ที่ใช้
นามแฝงวา่ “ชาวสพุ รรณบรุ ี”

เสรจ็ จากงานมลู นธิ ิ ขา้ พเจา้ และพส่ี มาน สดุ โต ไปรว่ มงานเสวนา
ฟิล์มกระจก ท่ีถนนเจ้าฟ้า ได้ยินคุณเอนก นาวิกมูล เจ้าของคติว่า
“เกบ็ วนั น้ี พรงุ่ นกี้ เ็ กา่ ” ไดพ้ ดู ถงึ ภาพแผน่ เงนิ ของตระกลู “กาญจนาคม”
ซ่ึงข้าพเจ้าเคยมีภาพน้ีอยู่ในคลังภาพ แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นภาพ
แผ่นเงนิ ก่อนจะพัฒนามาเป็นฟิล์มกระจก

ภาพสุดท้ายที่หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ก่อนอ�ำลาเป็นภาพ
สมเด็จพระปิยมหาราชทรงผนวช ทรงฉายเมื่อวันท่ี ๑๑ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๔๑๖ กอ่ นพระบรมราชาภเิ ษกครง้ั ที่ ๑ ตามโบราณราชประเพณี

208 อนทุ ินประจ�ำวัน

อนทุ นิ ประจำ� วนั

(๕๔๓ โรงพิมพ์รุ่งเรอื งธรรม-รงุ่ เรอื งรัตน์
หลงั กระทรวงมหาดไทย)

วันเกิดเจ๊หน่อย ร้านนานาภัณฑ์ (เกิดปีจอ ๒๕๐๑ จัดงาน
วันอาทิตย์ท่ี ๒๒ ก.ค.) ท่ีหอประชุม น.๑๖ วัดพระเชตุพน
ขา้ พเจา้ ไดก้ ราบเรยี นสภานายกมหาวทิ ยาลยั -อธบิ ดสี งฆว์ ดั มหาธาตุ
พระธรรมปญั ญาบดี (พรี ์ ป.ธ.๕) วา่ เจา้ คณุ อมุ่ พวงประดู่ คงเคยอยู่
วัดชีโพนมาก่อนหรืออย่างไร, ได้รับค�ำตอบว่าเป็นพวกเดียวกัน
ได้จังหวัดหรอื เจา้ คณุ พรอ้ มกัน ข้าพเจา้ จึงถามว่าเจ้าคณุ อมุ่ เป็นคน
ลาดน้�ำเค็ม แถววัดไหน

“เจา้ คณุ อมุ่ คนวดั ไผล่ อ้ ม บา้ นเดยี วกบั เจา้ คณุ สงา่ (พระวสิ ทุ ธาธบิ ด)ี
มีสง่าเล็กและสง่าใหญ่” ข้าพเจ้าก็กราบเรียนว่า เจ้าคุณสง่าตอนเป็น
สามเณรเคยมาอยู่วัดเลียบ ช่ือว่าสามเณรแช ช่ือเดิมมาเปลี่ยนเป็น
“สง่า” ตอนไหนไม่รู้”

ทค่ี ณะ น.๑ วดั พระเชตพุ น พระวสิ ทุ ธาธบิ ดี (สงา่ ปภสสฺ โร ป.ธ.๘)
เคยเปน็ เจา้ คณะมากอ่ น สมยั ดำ� รงสมณศกั ดท์ิ ี่ พระธรรมคณุ าภรณ์ (สงา่ )
ข้าพเจ้าเคยไปเซ็นหนังสือใบสุทธิพระในปี ๒๕๒๕ หลังจากอุปสมบท
เป็นพระภิกษุแล้ว คณะ น.๑ น้ี เป็นคณะที่สมเด็จพระสังฆราชป๋า
เคยอยจู่ ำ� พรรษามากอ่ นเจา้ คณุ สงา่ แลว้ ยา้ ยไปอย่คู ณะหอประชุมสงฆ์
น.๑๖ แต่ในช่วงสงครามโลกมหาเอเชียบูรพา สมเด็จฯ ป๋า พักอยู่ใน

อนุทนิ ประจำ� วัน 209

พระวหิ ารปา่ เลไลยก์ ดา้ นทศิ เหนอื ของวดั ในเขตพทุ ธาวาส แตช่ อื่ ประจำ�
อยู่ที่คณะ น.๑๖ ลกู ศษิ ยว์ ดั รนุ่ เกา๋ กก้ึ จรงิ ๆ จะอยทู่ นั เหน็ สมเดจ็ ฯ ปา๋
ทค่ี ณะ น.๑ เชน่ พ่ถี วิล จว๋ิ เช้อื พันธุ์ (เกิดปลายปีวอก ๒๔๗๕) เป็นต้น

พระราชธรรมสุนทร (ทองใบ) (เกิดปีมะเมีย ๒๔๗๓-๔)
เขา้ มาทกั วา่ ไมไ่ ดร้ บั หมายเรยี กตวั บา้ งหรอื ? เปน็ ทม่ี าแหง่ สนั ตปิ าลกถา
เพราะสภานายกฯ ของข้าพเจ้า เกิดปีมะเมีย ๒๔๗๓ เหมือนกัน
ขณะนนั้ หนลี ภี้ ยั ไปอยตู่ า่ งประเทศ ปรารภวา่ สง่ั บอกมาใหม้ หาชอ่ื อะไร
ประโยค ๗ วัดโพธิ์ คนอยุธยา แต่จ�ำช่ือไม่ได้แล้ว ให้ไปบอกมหามณี
สามงามยา และมหาสังเวียร มีเผ่าพงษ์ ป.ธ.๙ ว่าอย่าเข้ามาไทย
เขาจบั เขา้ คกุ หมด แตม่ หาสงั เวยี รไมเ่ ชอื่ บอกวา่ “ปา๋ ใหญ”่ เขา้ เมอื งไทย
มาเปน็ คนสดุ ทา้ ยท่โี ดนจับเข้าคกุ

สมเดจ็ ฯ ป๋า มเี ลขานุการหลายรูป เทา่ ทีเ่ ล่าขานกนั มา เชน่
มหาสังเวียร ป.ธ.๙ ลาสิกขาไปเป็นเลขานุการนายบุญชู
โรจนเสถียร คนนี้มชี ือ่ ปรากฏว่าเคยไปอยสู่ ันตปิ าลาราม
เทา่ ทไี่ ลเ่ รยี งชอื่ เลขานกุ ารสมเดจ็ ฯ ปา๋ ได้ มพี ระมหาอดุ ม ชนิ วโํ ส
ป.ธ.๕ คนยล่ี น้ วเิ ศษชยั ชาญ รปู นอี้ บุ ตั เิ หตทุ างรถไดเ้ ดอื นเศษ มรณภาพ
กถ็ งึ ยุคพระมหาสังเวียร มเี ผ่าพงษ์ ป.ธ.๙ เป็นเลขานกุ ารตอ่ แต่เป็นได้
หน่อยหนึ่ง เคยไปอยู่สันติปาลาราม สึกออกไป จึงถึงพระมหามณี
สามงามยา คนสองพ่ีน้อง (ซ่ึงเม่ือ ๘ พ.ค.๒๕๐๒ ใช้ที่อยู่พ�ำนัก
ณ สมาคมมหาโพธ์ิ, กัลกัตตา, อินเดีย ในค�ำไว้อาลัยพระมหาอุดม
เกษรบวั /อดุ ม ชนิ วํโส ป.ธ.๕, หนงั สอื มตี รายางเขยี นวา่ B.Maha Mani,
Kirori Mal College Hostel, University of Delhi, Delhi-8, India)
ก่อนจะมาถึงพระมหาสีนวล (พระเทพวีราภรณ์) และยุคหลวงเตี่ย
(พระธรรมราชานวุ ตั ร) เปน็ เลขานกุ ารสว่ นพระองคส์ มเดจ็ พระสงั ฆราช

210 อนุทนิ ประจ�ำวัน

การเดินทางของเลขานุการแต่ละรูป ใช้ระยะเวลายาวบ้าง
ส้นั บา้ ง แล้วแต่กรรมลขิ ติ แต่เลขานุการของสมเดจ็ ป๋ารปู หน่งึ /คนหนง่ึ
โดนข้อหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ประสบชะตากรรม ก่อนจะโลดโผน
ในยุทธจักร แต่อายุส้ันไปหน่อย บทบาทจึงหมดไปแทบไม่มีใครรู้จัก
แตย่ ังอยใู่ นวงสนทนาของผู้มพี รรษายุกาลมากๆ

ออกจากวัดพระเชตุพนฯ ข้าพเจ้าไปส�ำรวจวัดพระพิเรนทร์
วรจักร ดูรายช่ือโรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ มีช่ือนายสุวัฒน์ นางยุพิน
หล่อพงศ์พานชิ จึงสัมภาษณ์สอบถามเจา้ อาวาสว่า “รุ่งเรอื งธรรม กับ
รุ่งเรืองรัตน์” เป็นมาอย่างไร? เจ้าอาวาสบอกว่า พ่อช่ือนายรวล
รุ่งเรืองธรรม ตั้งโรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม มีระบบการพิมพ์ออฟเซ็ธแรกๆ
ของประเทศไทย เป็นไวยาวัจกรวัด เป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกับ
หลวงพ่อปู่ขุ่น (พระเทพคุณาธาร) โรงพิมพ์ตั้งอยู่หน้าวัดราชบพิธ
มีลูกสาวคนโตชื่อนางยุพินแต่งกับนายสุวัฒน์ หล่อพงศ์พานิช
ต้ังโรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ เรียกว่าอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ยายยุพิน
ยงั มชี วี ติ อยอู่ ายรุ าว ๘๐ กวา่ ปี มพี นี่ อ้ งทอ้ งเดยี วกนั ชอ่ื น.ส.มณ,ี บญุ ศร,ี
วฒั นา, บญุ เสริม (ไมไ่ ด้เรยี งลำ� ดบั ) โรงพิมพ์ใหม่เกิดในราวปี ๒๕๑๘-
๑๙-๒๐ ชว่ งนี้

ข้าพเจ้าไปยืนแหงนดูรายช่ือเจ้าภาพสร้างเมรุวัดพระพิเรนทร์
ที่สร้างคู่กับเมรุที่มีเจ้าภาพสร้างช่ือนายประยงค์-นางเล็ก ต้ังตรงจิตร
นายห้างตราใบโพธิ์ ที่ข้าพเจ้าเพิ่งได้หนังสืองานศพมา หลังแรก
สร้าง ๒๕๐๔ ก่อนท่ีนางเล็ก ต้ังตรงจิตรถึงแก่กรรมในปี ๒๕๐๗
ส่วนศาลาโรงพิมพ์น้ีสร้างคู่กันมีพี่ช้าง-นายประสิทธ์ิ เล็กสมบูรณ์
เป็นนายช่างคนหนึ่ง ซึ่งน่าจะสร้างในราวปี ๒๕๑๒ พบชื่อเช่น
หลวงเสถยี รวธิ จี กั ร-นางสงา่ - นายถาวร เสถยี รสตุ , น.ส.วฒั นา รงุ่ เรอื งธรรม
นายสว่ น-นางพิกุล, พ.ต.ต.ชุบ - คณุ หญิงอไุ รลกั ษณ์ ชาญกล เปน็ ตน้

อนุทนิ ประจำ� วนั 211

เย็น ๕ โมงตั้งใจไว้ว่าจะไปร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ
พระอมรเมธาจารย์ (มิ่ง ป.ธ.๙) ที่วัดสังเวชวิศยาราม บางล�ำพูบน
ได้ไปนั่งกบั เจา้ คณุ พระราชวสิ ทุ ธิโมลี (มนู สุมโน ป.ธ.๙) คนพติ เพยี น
อ.มหาราช จ.พระนครศรอี ยธุ ยา ทา่ นบอกวา่ ตอ้ งอา่ นวา่ “พดิ -ตะ-เพยี น”
และเลา่ เรอ่ื งประกอบวา่ มาจาก “พลกิ ปลาตะเพยี น” พระครวู รปญั ญาคณุ
(พระครูฯ หรง่ั ) บอกว่า ในภาษาเกา่ คำ� วา่ พิศ แปลว่า ดู จะมองดูปลา
ตะเพียนหรือเปล่า? และก็คุยสัพเพเหระต่างๆ รวมท้ังวัดพิศเพียน
ท่ีเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเจ้าคุณมนู ซ่ึงบอกว่า “ผมบวชปี ๒๕๐๑
พระครปู วัฑนส์ ิกขกจิ (เจริญ จนั ทเขโม) เป็นพระอปุ ัชฌาย์ เจา้ อาวาส
วัดมหาธาตุฯ คือพระธรรมปัญญาบดีรูปประธานเผาศพในวันนี้
ยังเป็นพระมหาพีรอ์ ยู่ เปน็ พระอันดับบวชผม”

วัดพิศเพียนเป็นมอญท้ังนั้น แต่มีคนไทยแทรกอยู่ ข้าพเจ้า
ถามว่า ผมเคยได้ฟังมาว่าเจ้าคุณม่ิงมีเช้ือสายมอญ ทั้งเจ้าคุณมนู
และพระครฯู หรง่ั ตา่ งมนั่ ใจวา่ ไมม่ เี ชอื้ มอญหรอก แตถ่ า้ เปน็ พระปลดั เนยี ม
อนมุ อญ คนราชบรุ ี เป็นมอญแน่ ซ่ึงขา้ พเจา้ กบ็ อกวา่ นามสกลุ บอกวา่
“มอญน้อย” อยู่แล้ว แต่เจ้าคุณม่ิงคนสามโคก ปทุมธานี เคยได้ยิน
วา่ มเี ชอื้ สายมอญ

หลังจากพิธีกรอ่านประวัติเสร็จลงแล้ว ข้าพเจ้าไปขอประวัติ
ผู้มรณภาพ ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ขณะรอเผาจริงอยู่นั้น ได้สอบถาม
ญาติโยมว่ากลุม่ พ่ีนอ้ งของเจ้าคณุ มง่ิ นงั่ อยูแ่ ทบไหน? เมอ่ื ได้รบั ค�ำตอบ
ก็ดิ่งไปหา และสอบถามพี่สาวเจ้าคุณมิ่งท่ีน่ังรถเข็นว่า เจ้าคุณมิ่ง
มเี ชอ้ื สายมอญไหม? ผดู้ แู ลพส่ี าวเจา้ คณุ มงิ่ บอกวา่ ทางแมท่ รพั ย์ อน้ แฉง่
มีเชอ้ื มอญนิดหน่งึ

.

212 อนุทินประจำ� วนั

น่ันไง สัญญาความจ�ำเรื่องเช้ือชาติของข้าพเจ้า ถูกต้องว่า
เจ้าคณุ ม่งิ มเี ชื้อมอญ เพราะขา้ พเจา้ คงเคยถามทา่ นเองมาก่อน จงึ ต้อง
พิสูจน์ข้อเท็จจริงอีกครั้งหน่ึง แต่ลืมถามไปว่า แม่ทรัพย์ของท่านนั้น
เดิมใช้นามสกุลอะไร?

จากวดั โพธิ์ ถงึ วดั สงั เวช ยงั มีเกรด็ ตา่ งๆ ให้เล่าตอ่ อกี
ส่งดวงวิญญาณเจ้าคุณม่ิง เกิดปีเถาะ ๒๔๗๐ มรณภาพปีจอ
๒๕๑๖ อายุ ๙๑ ปี แค่นี้

อนุทนิ ประจำ� วัน 213



อนุทนิ ประจ�ำวัน

(๕๔๔ นายประยงค์ ตง้ั ตรงจิตร)

นายประกิต ตั้งตรงจิตร (๑๘ ส.ค.๒๔๓๖-๗ ส.ค.๒๕๑๔) เป็น
พี่ชายต่างมารดาของนายประยงค์ ต้ังตรงจิตร (๓ ก.ค.๒๔๔๕-
๑๘ พ.ค.๒๕๐๗) บิดาเดยี วกันช่อื ก๋งเพ่ง แซต่ ง้ั

กง๋ เพง่ กบั นางซว่ น แซต่ งั้ มลี กู ชอ่ื (๑) นายเหลยี งฮวด ตงั้ ตรงจติ ร,
(๒) นายประกติ ต้งั ตรงจิตร (๓) นางงอ่ื เคี้ยม แซต่ ัง้

เดมิ ขา้ พเจา้ ยังไม่ทราบว่า ก๋งเพง่ กบั อามา่ ชอ่ื อะไร เปน็ มารดา
ของนายประยงค์ ตงั้ ตรงจติ ร, เดมิ รู้แตว่ ่าก๋งเพ่งมี ๒ เมีย ลกู ๗-๘ คน
นายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เปน็ หน่งึ ในนัน้ แตจ่ ากแมอ่ ืน่ ๆ อีก รวมเป็น
บุตรธิดาท้งั หมด ๑๓ คนของกง๋ เพง่

ไปวัดพระพิเรนท์ วรจักรทีไร มองไปที่ศาลาบ�ำเพ็ญกุศลศพ
ที่ตั้งเมรุสร้าง พ.ศ.๒๕๐๔ เห็นรูปภาพนายประยงค์ ตั้งตรงจิตร
ติดคู่กับนางเล็ก ต้ังตรงจิตร ผู้เป็นภรรยา และเห็นเตียงที่ระลึก
ท่ีนายประยงค์ สร้างอุทิศใหบ้ รรพบุรษุ เปน็ ต้น

สนใจประวัติมานาน ปรารภว่าอยากจะได้หนังสืองานศพของ
นายประกิต ต้ังตรงจิตร มานาน จนบุญบันดาลไปถึงพี่เล็ก (ผุสดี
ต้ังตรงจิตร) ได้ส�ำเนาหนังสือมาให้เล่มหน่ึง ขนาดหนา ๓๓๕ หน้า
พิมพ์ที่บรษิ ทั ประชาชน จ�ำกัด (แผนกการพิมพ์) เลขที่ ๓๕ ซอยพิพัฒน์
ถนนสลี ม พระนคร นายทรงเกยี รต์ิ เมณฑกา ผู้พมิ พผ์ ู้โฆษณา ๒๕๐๗

อนทุ นิ ประจำ� วนั 215

หนังสือแบ่งเป็น ๓ ภาค เป็นชีวประวัติภาคหนึ่ง ภาคสอง
เป็นคำ� ไวอ้ าลัย และภาคสาม ลกู ร�ำลึก

ชีวประวัตนิ นั้ นายประยงค์ ต้ังตรงจติ รเป็นผู้เขยี นไวเ้ อง ดงั นั้น
เปน็ ขอ้ มลู คนตายเขยี นใหค้ นเปน็ เพราะประวตั สิ ว่ นใหญข่ องคนเรานนั้
สว่ นใหญค่ นเปน็ เขยี นใหค้ นตาย จงึ นบั วา่ มคี า่ สงู และควรแกก่ ารยกยอ่ ง
มีความแม่นยำ� ในข้อมูลมาก

เร่ิมต้นตั้งแต่ข้อเขียนว่า “นายประยงค์ เกิดเม่ือวันพฤหัสบดี
ที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๕ แรม ๑๓ ค�ำ่ เดอื น ๗ ปขี าล เวลากลางคนื
๒ นาฬกิ าเศษ จลุ ศักราช ๑๒๖๔ รตั นโกสนิ ทรศก ๑๒๑ (ค.ศ.๑๙๐๒)
ในรชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั พระปยิ มหาราชเจา้
พระพทุ ธเจา้ หลวง รชั กาลท่ี ๕ เปน็ บตุ รของนายเพง่ นางถมยา ตง้ั ตรงจติ ร”

ขอสรุปข้อมูลง่ายๆ ตามสไตล์ของข้าพเจ้าดังนี้ เม่ืออายุ
นายประยงค์ได้ ๑ ขวบ ๗ เดือน แมถ่ มยา ตง้ั ตรงจติ ร ได้ถึงแก่กรรม
ตอนอายุได้ ๓๓ ปี ระบุวนั ตายคอื วันพุธท่ี ๒๗ มกราคม ๒๔๔๖ ปีเถาะ
ปีเกดิ ของแม่ถมยาคอื เกิดปีมะแม ๒๔๑๔

กง๋ เพง่ ตงั้ ตรงจติ ร (เกดิ ปมี ะเมยี ๓๐ สงิ หาคม ๒๔๑๓) มภี รรยา
ทท่ี ราบช่ือ ๒ คน คอื นางถมยา (๒๔๑๔-๒๔๔๖) และอกี คนหนงึ่ เปน็
น้าสาวของนายประยงค์ แม่กับน้าเป็นลูกพ่ีลูกน้องกัน ชื่อ “น้าช้วน”
(เกิดปฉี ลู ๒๔๒๐-ปีฉลู ๒๔๕๖) คืออายุถงึ แก่กรรมของแม่และน้าสาว
ห่างกนั แค่ ๑๐ ปีเอง

ทอ้ งแมถ่ มยา ตัง้ ตรงจิตร มีบุตรธิดาเดยี วกัน ๔ คน คือ
(๑) นางลูกมะเฟื่อง สุทธิพงศ์ (๒) นายประยูร ตั้งตรงจิตร
(๓) นายจ๊กเจี่ย ตัง้ ตรงจิตร (๔) นายประยงค์ ตั้งตรงจติ ร

216 อนุทินประจ�ำวนั

ท้องของน้าซ่วน มีบุตรธิดา ๓ คน ช่ือ (๑) นายเหลียงฮวด
ตงั้ ตรงจติ ร (๒) นายประกติ ตั้งตรงจิตร (๓) นางงื่อเคี้ยม แซต่ ง้ั และ
มีพ่ีน้องอื่นๆ อีก คือ (๔) นายประหยัด ตั้งตรงจิตร (๕) นายจ๊กชุ้น
ตั้งตรงจิตร (๖) น.ส.สมบุญ ตั้งตรงจิตร (๗) นายวิชัย ต้ังตรงจิตร
(๘) นายวิวฒั น์ ตั้งตรงจิตร (๙) นายวฑิ ูรย์ ต้งั ตรงจิตร

รวมลกู ของกง๋ เพ่งทัง้ หมด ๑๓ คน
ชวี ติ ครอบครวั ของนายประยงค์ ระบวุ า่ “วนั เสาร์ ที่ ๒๓ กมุ ภาพนั ธ์
พ.ศ.๒๔๖๖ แรม ๔ คำ่� กไ็ ดไ้ ปกระทำ� พธิ หี มนั้ และแตง่ งานกบั นางสาวเลก็
นิลประภสั สร ในคราวเดียวกัน”
นางเล็ก ต้งั ตรงจติ ร (เกดิ ปมี ะโรง ๑๓ กนั ยายน ๒๔๔๗ ท่บี า้ น
ถนนทิพากร ข้างวัดเก่า ใกล้ตลาดต้นหูกวาง อ�ำเภอเมือง นครปฐม)
เป็นบุตรของนายเอี้ยวเช็ง นางเป้า นิลประภัสสร เป็นก�ำพร้าบิดา
แต่ยังเยาว์ มีพนี่ อ้ งรวม ๘ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๕
นายประยงค์-นางเล็ก ตั้งตรงจิตร (นิลประภัสสร) มีบุตรธิดา
๖ คน คือ (๑) และ (๒) เปน็ หญิงไมม่ ชี ่อื เสียแตเ่ ล็ก (๓) นางจ�ำนงค์
วะนำ้� คา้ ง (๔) สดุ จติ ต์ ตง้ั ตรงจติ ร ถงึ แกก่ รรมแตย่ งั เยาว์ (๕) นายอำ� นวย
ต้ังตรงจิตร (๖) นายอัมพร ตง้ั ตรงจิตร
นางเล็ก ตั้งตรงจิตร ถึงแก่กรรมเม่ือวันเสาร์ที่ ๒๖ สิงหาคม
๒๔๘๗ อายุ ๔๐ ปีกับ ๓ วนั
นอกจากนี้ นายประยงค์ ยังมีบุตรธิดาอีก คือ (๑) น.ส.จิตรา
(๒) น.ส.ปราณี (๓) นายศรีศักดิ์ ต้ังตรงจติ ร (๔) นายพบิ ลู ย์ ตง้ั ตรงจติ ร
(๕) น.ส.ชจู ติ ต์ ตั้งตรงจิตร (๖) นายวรี ะ ตง้ั ตรงจิตร (๗) นายโชคชยั
ตง้ั ตรงจติ ร (๘) โฉมฉาย

อนุทินประจำ� วัน 217

ถึงภรรยาช่ือแม่เล็ก ต้ังตรงจิตรจะเสียชีวิตไปก่อนแล้ว แต่
ในการบำ� เพญ็ บญุ กศุ ลทกุ ครง้ั นายประยงค์ จะใสช่ อ่ื นางเลก็ ตง้ั ตรงจติ ร
คกู่ นั เปน็ อนสุ รณท์ กุ ครง้ั ดงั นน้ั ทเ่ี มรวุ ดั พระพเิ รนทร์ วรจกั ร ถงึ จะสรา้ ง
ในปี ๒๕๐๔ จะเหน็ ชอ่ื นายประยงค์ นางเลก็ ตง้ั ตรงจติ ร เคยี งคกู่ นั ตลอด

นับวา่ เปน็ สิง่ ที่น่าสรรเสริญย่ิงนัก
ทา้ ยสดุ ยา่ คณุ ของนายประยงค์ ตงั้ ตรงจติ ร ชอื่ คณุ ทา้ วศรทั ธาทำ�
(คุณย่าเนย) เนื่องจากท�ำบุญเก่ง ความทราบถึงพระพุทธเจ้าหลวง
ทรงพอพระราชหฤทัยและทรงโปรดปราน ได้พระราชทานยกย่อง
แต่งตั้งให้เป็น “ท้าวศรัทธาท�ำ” อันนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณ
อย่างสงู ยงิ่ และเป็นเกยี รติแหง่ สกุลน้ีตลอดมา

218 อนุทนิ ประจ�ำวัน

อนุทนิ ประจำ� วนั

(๕๔๕ ตำ� นานสมเดจ็ พระวันรตั (ปุ่น ปุณณสริ ิมหาเถระ)

พ่ีถวลิ จวิ๋ เชอ้ื พนั ธ์ุ (เกดิ ปลายปวี อก ๒๔๗๕) เคยสอบถามขา้ พเจา้ วา่
วันเกิดสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
องค์ที่ ๑๗ ในหนังสือ ๒ เล่มระบุวันเกิดไม่ตรงกัน ข้าพเจ้าบอกว่า
ถูกทั้งคู่ ไม่ผิด แล้วแต่แหล่งท่ีมา มาจากเล่มไหน ดังที่เคยค้นคว้า
หลักฐานทะเบียนบ้านนั้น ปรากฏว่า ในทะเบียนบ้านวัดพระเชตุพน
ลงวา่ วนั เกิดของพระองคเ์ ป็น ๒๔ มนี าคม ๒๔๓๙

ที่วัดพระเชตุพนเอง ก�ำหนดวันท�ำบุญอุทิศถวายพระองค์
วันคล้ายวันประสูติตรงกับวันที่ ๒๘ มีนาคม และท่ีวัดสองพี่น้อง
ก�ำหนดวันบุรพาจารยต์ รงกับวันท่ี ๒๘ เช่นกัน

ไปหยบิ หนงั สอื “สมณศกั ด์ิ พระวนั รตั และสมเดจ็ พระราชาคณะ
ผูท้ รงสมณศกั ดิ์ สมเด็จพระวนั รตั ในสมัยกรุงรัตนโกสนิ ทร”์ เรยี บเรยี ง
โดย ธนิต อยู่โพธ์ิ ซ่ึงคณะศิษยานุศิษย์จัดพิมพ์ถวาย ในงานฉลอง
พระชนมายุ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม วนั ที่ ๒๘ มนี าคม พ.ศ.๒๕๑๖ พมิ พ์ที่
หา้ งหนุ้ สว่ นจำ� กดั ศวิ พร ๗๔ ซอยรชั ฏภณั ฑ์ มกั กะสนั กรงุ เทพมหานคร
นายจรสั วันทนทวี ผพู้ ิมพผ์ ้โู ฆษณา ๒๕๑๖

อนุทินประจำ� วนั 219

เปดิ ดูหนา้ ๑๓๙ มีข้อความว่า
“๒๐. สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ)” และข้อความท่ี
นายธนิต อยู่โพธิ์ เรียบเรียงว่า “สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน
นามเดิมว่า ปุ่น นามสกุล สุขเจริญ นามฉายาว่า ปุณฺณสิริ เกิดเมื่อ
วันอังคาร เดือน ๔ แรม ๑๕ ค่�ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม
พ.ศ.๒๔๓๙ ณ บ้านสองพี่น้อง อ�ำเภอสองพ่ีน้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
บดิ าชือ่ เนา้ มารดาชอื่ วัน มอี าชีพเป็นชาวนา”
ในหนงั สอื เลม่ เดยี วกนั สมเดจ็ พระสงั ฆราช องคท์ ี่ ๑๗ ไดน้ พิ นธ์
ค�ำนำ� ว่า “ตามปกติ ถึงวันเกดิ ท่ี ๒๘ มนี าคม ๒๕๑๖ ไดบ้ ำ� เพ็ญกุศล
พอสมควร แต่ พ.ศ. น.้ี .......”
เล่มเดียวกัน ก็มียังนัยที่แย้งกัน ดังน้ัน อนุทินประจ�ำวัน
ฉบับน้ี ขอลงหลักฐานพระนิพนธ์ “ค�ำน�ำ” ฉบับสมบูรณ์ เพ่ือเป็น
หลกั ฐานประกอบการพิจารณาสมบูรณ์ แบบไมต่ ัดตอน
“คำ� น�ำ”
เมื่อได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระวันรัต รู้สึกว่าต�ำแหน่งนี้
ท่านผู้ทรงคุณสมบัติในอดีตได้รับมาโดยล�ำดับ ตั้งต้นแต่สมัย
กรุงศรีอยุธยา พระคุณเจ้าในต�ำแหน่งนี้มีความส�ำคัญสมัยสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราช ซาบซ้ึงกันทั่ว และก็ได้รับต�ำแหน่งนี้สืบต่อมา
จนถงึ รัชกาลสมเดจ็ พระเจ้าตากสนิ มหาราช และสมัยกรงุ รตั นโกสนิ ทร์
จึงคิดอยู่ว่า จะรวบรวมจากเอกสารต่างๆ มาพิมพ์ไว้ในท่ีแห่งเดียวกัน
คิดแล้วคิดเล่าก็ไม่มีโอกาสลงมือเขียน ได้ตั้งใจมาถึงได้พ้นจาก
ต�ำแหนง่ นี้

220 อนทุ นิ ประจำ� วัน

ตามปกติ ถึงวันเกิด ท่ี ๒๘ มีนาคม ๒๕๑๖ ได้บ�ำเพ็ญกุศล
พอสมควร แต่ พ.ศ. นี้ คณะศิษยานุศิษย์จะบ�ำเพ็ญกุศลเป็นพิเศษ
เก่ียวแก่ฉลองสุพรรณบัฏ ต�ำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชด้วย คิดว่า
ควรจะรวบรวมพิมพ์ในงานนี้ ตนเองสุขภาพไม่ดี ถึงกับต้องมาอยู่
โรงพยาบาลจุฬาฯ ถึง ๒ ครั้ง และต้องท�ำการผ่าตัดปอดด้วย คงไม่
สามารถจะเขียนได้ จึงขออนุเคราะห์จากคุณธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดี
กรมศิลปากร ช่วยค้นคว้าและรวบรวมให้ ตลอดถึงด�ำเนินการพิมพ์
จนสำ� เรจ็ คุณธนติ ก็ยนิ ดสี นองความต้องการ เป็นความกรณุ าอยา่ งยิง่

การที่มีความด�ำริรวบรวมน้ี เพราะเราได้ทันเห็นพระมหาเถระ
ด�ำรงสมณศักด์ิเป็นสมเด็จพระวันรัตหลายองค์ ล้วนแต่ทรงคุณสมบัติ
ควรแก่ความยกย่อง เคารพนับถือ ท้ังทรงวิทยฐานะอย่างสูง ยากท่ี
เราท่านจะทัดเทียมได้ ทุกรปู ทา่ นสมควรเปน็ พระเถระท่เี ป็นตัวอยา่ ง
อันดีย่ิง เมื่อได้น�ำมารวมไว้แห่งเดียวกัน ก็จักเป็นส่ิงเจริญใจของ
ผู้ได้อา่ น และจะเปน็ วทิ ยาทานเปน็ อย่างดี

สมเดจ็ พระวนั รตั องคต์ น้ ๆ นน้ั หาเรอ่ื งราวไดน้ อ้ ยมาก แมส้ มเดจ็
พระวันรัตน (แดง) วัดสุทัศน์ แม้ว่าเราท่านก็หวิดๆ จะทันเห็น แต่ก็
ไม่ได้เห็น เพราะทราบเพียงว่า พระคุณท่านทรงเกียรติไม่น้อยกว่า
ทา่ นผ้ทู รงเกยี รตทิ ปี่ รากฏในเอกสาร นอกจากขา้ พเจ้าผู้พิมพห์ นังสือน้ี
ได้สืบถามพระวสิ ุทธวิ งศาจารย์ เจา้ อาวาสวัดสทุ ัศน์ ไม่ได้อะไรเป็นช้นิ
เป็นอัน คิดแปลกใจวา่ ไม่มใี ครในวัดเล่าเป็นต�ำนานปากไวเ้ ลย ความดี
ท่ีท�ำก็สูญไป ไม่เหมือนสมเด็จพระวันรัตบางองค์ มีสมเด็จพระวันรัต
วัดมหาธาตุ เป็นต้น ศิษยานุศิษย์ทราบกรณียกิจมากคน จนเขียน
ไดล้ ะเอียดละออ ประวตั ิอย่างน้ีเป็นตัวอยา่ งอนั ดีของพระเถระร่นุ หลงั

อนทุ นิ ประจ�ำวนั 221

ข้าพเจ้าขอกราบเท้าพระมหาเถระ ท่ีได้น�ำประวัติมาพิมพ์
เป็นสมุดเล่มน้ี เพ่ือขออัจจยะโทษท่ีได้ล่วงเกิน หากเกิดมี และขอให้
พระคุณเจ้าท้ังหลายแผ่พระเมตตาบารมีช่วยปฏิบัติงานคณะสงฆ์
เป็นประโยชนแ์ กช่ าติและศาสนา ชวั่ นิรนั ดร

ขอขอบใจ คุณธนติ อยโู่ พธิ์ ไวใ้ นโอกาสนี้ด้วย
(สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ)

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก
วัดพระเชตุพน

๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖”
ในหนงั สอื เลม่ ดงั กลา่ วน้ี ทา้ ยเลม่ ยงั มี “พระนพิ นธบ์ นั ทกึ ” ของ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเดจ็ พระสังฆราช เร่อื ง การสถาปนา
สมเดจ็ พระสังฆราช องคท์ ่ี ๑๗ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕

222 อนทุ นิ ประจ�ำวนั

อนทุ นิ ประจำ� วัน

(๕๔๖ ตามเสน้ ทางนิราศ ชมตลาดส�ำเพง็ )

มัคคเุ ทศกแ์ ละลา่ มแปลภาษาชอื่ ทวิ ารี ขา้ พเจา้ แปลวา่ แมน่ ำ�้ สองสาย
คือแม่น้�ำเจ้าพระยากับแม่น้�ำแดงในเวียดนาม เธอมีช่ือเป็น
ภาษาเวยี ดนามว่า Thuy Ha เคยสง่ นิราศ ชมตลาดส�ำเพง็ มีใจความว่า

“ถงึ ตรอกวดั ญวนนอกหรอื ตรอกเตา๊ พก่ี ลบั เศรา้ ทรวงคะนงึ ถงึ สมร
เคยเปน็ คสู่ ่หู าพงางอน เมอ่ื แต่ก่อนน้องบอกอยู่ตรอกน้ี
แตเ่ ลกิ ร้างหา่ งเหเสนห่ า กเ็ พราะวา่ ท�ำให้ได้บดั สี
เสียดายรกั หกั มาเปน็ ราคี ไมถ่ งึ ปีกลายกลับไปลับลบิ
ฤดเู ปลยี่ นเวียนจกั รตอ้ งยักย้าย เทีย่ วเร่รา่ ยราดเร่ยี ไปเสียฉบิ
ออกเคลื่อนคลอ้ ยลอยรอนจนั ทรทิพย์ ดแู ลลิบคลาดคลาดไป
ขาดลอย
อันมนษุ ย์สุดจะลว่ งสรวงสวรรค์ ไมซ้ กี สัน้ ตะมดุ กดุ เห็นสดุ สอย
ท้งั สิ้นฤทธิ์พิษหมดเหมอื นมดตะนอย เหลก็ ในน้อยตอ่ ยแสบ
ไดแ้ ปลบเดียว

.........
เหลยี วเห็นตรอกสะพานญวนหวนถวลิ ถงึ ยพุ ินม่งิ มิตรขนิษฐา
เจ้าเช้ือญวนนวลนางสำ� อางตา จะพดู จาก็ขัดไมช่ ัดไทย
(นิราศ ชมตลาดสาํ เพ็ง)

อนทุ นิ ประจ�ำวนั 223

ข้าพเจ้าเคยได้ยินตรอกเต๊ามานานแล้ว และพยายามหา
ความหมายว่าเป็นชื่อของอะไร เป็นภาษาอะไร แต่ยังหาไม่ได้ ได้แต่
นิราศท่ีพูดถึง “วัดญวนนอกหรือตรอกเต๊า” ในย่านส�ำเพ็งน้ี จากการ
สำ� รวจพื้นท่ี พบวัดญวนมากกวา่ วดั จีนเสียอีก

เมือ่ วนั ที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ทา่ นเจ้าคุณพระโสภณ-
วชิราภรณ์ รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ แจ้งก�ำหนดการ
ไปรว่ มบำ� เพญ็ กศุ ลอทุ ศิ ถวายเจา้ คณะใหญฝ่ า่ ยอนมั นกิ าย เทยี บเทา่ กบั
สมเด็จพระสังฆราชไทย แต่เป็นฝ่ายอนัมนิกาย ค�ำว่า “อนัมนิกาย”
เป็นช่ือพระราชทาน มีแห่งเดียวในประเทศไทย มีอายุกว่า ๒๔๐ ปี
(นับแต่ปี ๒๓๑๙ เป็นต้นมา) นัดหมายพบกัน ท่ีวัดกุศลสมาคร
ถนนราชวงศ์ ตรงขา้ มกับ Grand China ในเวลา ๒๐.๐๐ น.

ไหนๆ จะเหยียบถ่ินส�ำเพ็ง ย่านเยาวราชแล้ว ไปถึงสถานที่
แต่เนนิ่ ๆ หนอ่ ย แทนที่จะตรงเขา้ ประตวู ัด ก็เดินเลียบเลาะวนไปวนมา
ได้รอบหนง่ึ พอดี เริ่มแตเ่ ดินเวยี นอตุ ราวัฏ-เวยี นซา้ ย จากถนนเยาวราช
เข้าถนนมังกร ผ่านศาลเจ้าพระศรีทรงยศ (เจส๊ วั เนียม) เขา้ ไปเทยี่ วชม
วดั กันมาตุยาราม ไปดอู นุสาวรียแ์ มก่ ลีบ มารดาของนายกนั สาครวาสี
ซ่ึงใส่กุญแจล็อกอยู่ เดินมองดูหอระฆัง นึกว่าอยู่ตรงประตูเข้า
ไม่ด้านซ้ายก็ด้านขวา สอบถามชาวบ้านแถวน้ันก็บอกว่า ไม่มีอะไร
โยกยา้ ย ส่งิ ใหม่มสี ง่ิ กอ่ สร้างตรงกลางเปน็ สิง่ ใหม่

พบพระหนมุ่ รปู หนงึ่ ใจดเี ขา้ มาสอบถามวา่ มาธรุ ะอะไร บอกวา่
มาดูหอระฆัง ท่านชี้ให้ดูว่าหออยู่ข้างกุฏิเจ้าอาวาส ข้าพเจ้าบอกว่า
ข้าพเจ้าเป็นคนบางเลน แต่เป็นต�ำบลบางเลน อยากเข้าไปกราบ
เจ้าอาวาสที่ทราบว่าเป็นคนนครปฐม คงจะเป็นคนอ�ำเภอบางเลน?
เพราะเจา้ คณุ สชุ พี ปญุ ญานภุ าพ (บญุ รอด สงวนเชอื้ หรอื พระศรวี สิ ทุ ธญิ าณ)

224 อนุทินประจำ� วนั

เป็นคนบางไทรป่า อ�ำเภอบางเลน นครปฐม
สญั ญาของขา้ พเจา้ หวนนกึ ถงึ วา่ ครงั้ แรกในชวี ติ ไดเ้ จอหลวงพอ่

เจา้ อาวาสวดั กนั ฯ พระปริยตั ิธรรมสุธี (เกิด ๒๔๗๒, นามสกุล “โสดา”)
ท่ีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นานมาแล้ว พูดคุยกันถูกอัธยาศัยดี
ท่านเรียนจบจากมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงอยากเข้าพบปะพูดคุย
สอบถามข้อมูลบางประการ โดยเฉพาะตอนมหาสุชีพ ปุญญานุภาพ
อยูว่ ดั น้ี อยู่กฏุ ไิ หน

ด้วยธรรมปฏิสันถาร ถึงจะต่างนิกายกัน บทสนทนาได้เริ่มข้ึน
ท่านบอกว่าเป็นคนทุ่งมะกรูด อ�ำเภอก�ำแพงแสนตอนท่ีเกิด ทางการ
เปล่ียนมาเป็นอ�ำเภอดอนตูม บวชเณรและบวชพระได้ประโยค ๔
แล้วจงึ เข้ามาอยกู่ รุงเทพฯ ทว่ี ดั กันมาตุยารามในปี ๒๕๑๕

กุฏิหลังที่อยู่เดิมเป็นกุฏิเก่าท่ีสุชีพ ปุญญานุภาพ (บุญรอด)
เคยอยู่มาก่อน ปัจจุบันบูรณะขึ้นใหม่ ท่านเล่าว่า สุชีพเป็นเจ้าคุณ
ท่ีพระศรีวิสุทธิญาณ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ๕ ปีก่อนจะสึกไป ที่สึกไป
ก็ไม่ได้วางแผนล่วงหน้ามาก่อน มีศาสตราจารย์ท่านหนึ่งมาหาบอกว่า
จะนมิ นตไ์ ปบรรยายทอ่ี งั กฤษ เจา้ คณุ สชุ พี ไปลาสมเดจ็ พระสงั ฆราชเจา้
(ชื่น นพวงศ์) พระองค์ไม่อนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ เพราะ
ในตอนนั้นยังไม่มีพระไทยเดินทางไปต่างประเทศ ด้วยความที่
ท่านอยากจะไป จึงลาสิกขาจะไปนอก ตาศาสตราจารย์ฝรั่งท่านนี้
บอกว่า ทจ่ี ะนมิ นต์ไปต้องเปน็ สเี หลอื งนี้ ถา้ เป็นชดุ อน่ื แลว้ กเ็ ปน็ อนั วา่
ไมเ่ อาไป สรุปว่าท่านถูกหลอกให้สกึ

ข้าพเจ้าเดินออกจากวัดกันมาตุยาราม ก�ำลังคิดมึนหัวว่า
เป็นเจ้าคุณยังให้เขาหลอก แปลกดี เหลือบตาดูอาคารพิชัยญาติ
ในเครอื ไพบลู ย์ จ�ำกดั สอบถามพระท่ีมาส่งวา่ เคยเป็นโรงหนังมากอ่ น

อนทุ ินประจ�ำวัน 225

และเคยเปน็ คลบั เปน็ บารอ์ ะไรตา่ งๆ ขา้ พเจา้ คดิ ถงึ เจา้ พระยาพชิ ยั ญาติ
และพระยาไพบลู ยส์ มบตั ิ (เดช บนุ นาค)

เดินไปดูตรอกอศิ รานภุ าพ เจรญิ กรงุ ๒๓ อย่ฝู ัง่ ตรงข้าม สว่ นฝั่ง
ที่ต้ังสถานีรถไฟมังกรเป็นเจริญกรุง ๑๖ ตรอกน้ีก็เคยเดินชมมาแล้ว
หันหลังกลับเดินเลียบเจริญกรุงย้อนมาและเดินเข้าเจริญกรุง ๑๔
ซ่ึงสามารถทะลุไปวัดจีนบ�ำเพ็ญพรต เลาะก�ำแพงวัดกันมาตุยารามไป
นึกว่าจะเข้าทางประตูข้างวัดจีนได้ เมื่อไม่ได้ก็ย้อนกลับนิดหน่ึง
แล้วเดินเลาะเลียบเข้าวัดกุศลสมาครได้ เส้นทางท่ีข้าพเจ้าเข้ามานี้
มีคนบอกว่าเรียกว่าตรอกเต๊าในอดีต ข้าพเจ้าสอบถามว่า ค�ำว่า เต๊า
หมายถึงอะไร เป็นภาษาอะไร

ไม่ได้ค�ำตอบชัดเจน ได้เพียงว่าเดิมเป็นถ่ินไม่ดีมาก่อน
มีโคมเขยี วโคมอะไรต่างๆ ตง้ั อยูใ่ นตรอกน้ี แตท่ ี่ขา้ พเจ้าเดนิ ผ่านมานั้น
ไม่มีสง่ิ เหล่าน้ีให้เหน็

สงบจิตเป็นสมาธิ... บ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายหลวงพ่อตี๋ใหญ่
แซ่บู๊ แม่แซ่ตัน คนท่าม่วง--ท่านเจ้าพระคุณ พระมหาคณานัมธรรม
ปัญญาธิวัตร (เจริญ กิ๊นเจ๊ียวมหาเถระ) เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
รปู ที่ ๑๑ เจา้ อาวาสวัดกศุ ลสมาคร รูปที่ ๗ (เกดิ ๓ ธนั วาคม ๒๔๗๑
ณ ตำ� บลทา่ มว่ ง อำ� เภอทา่ มว่ ง จงั หวดั กาญจนบรุ )ี ...หลงั จากรว่ มเดนิ ทาง
ด้วยกันเมื่อต้นปี ๒๕๖๐ เพียงปีเดียวก็มาลาจากกัน.... พิธีน�ำร่าง
ไปสู่สุสานท่ีเมืองกาญจนบุรี จัดให้มีข้ึนในวันที่ ๒๕ กรกฎาคมน้ี
ทแ่ี ถววัดมังกรทอง อ.ท่ามว่ ง จ.กาญจนบรุ ี

226 อนทุ ินประจำ� วนั

อนุทินประจ�ำวนั

(๕๔๗ วัดปรินายกแก้ว
เจา้ พระยาบดนิ ทรเดชา (สงิ ห์ สงิ หเสน)ี )

วัดปรนิ ายก ท�ำไมไมเ่ ขียนเปน็ “วัดปรณิ ายก”? ขา้ พเจา้ เคยเขา้ มา
คร้ังแรกในยุคราว พ.ศ.๒๕๒๐ บวกลบ แล้วก็ไม่ได้เหยียบย่าง
เข้ามาอีกเลย สมัยก่อนเป็นท่ีพักพิงอาศัยของชาวสุพรรณบุรี มาหา
พรรคพวกกัน เป็นสามเณรท่ีเคยอยู่วัดสองพี่น้องมาก่อน เป็นรุ่นพี่
แต่เขา้ มาอยกู่ รงุ เทพฯ ก่อนข้าพเจ้า จะชือ่ อะไรกจ็ �ำไมไ่ ดแ้ ลว้ อาจจะ
ชื่อสามเณรเพชร แสงอโณ หรือสามเณรอนุภูมิ โซวเกษม ข้าพเจ้า
จำ� ไม่ไดจ้ ริงๆ

พระเณรชาวสุพรรณก็ค่อยๆ หมดจากวัดปรินายกไป เหลือ
พระสุพรรณอยู่รูปเดียว เมื่อปี ๒๕๓๙ ข้าพเจ้าเข้ามาเยี่ยมเจ้าอาวาส
รูปก่อนช่อื พระอมรเมธาจารย์ (สคุ นธ์ ป.ธ.๖) คนศรสี ะเกษ ทีจ่ ำ� ได้ว่า
เปน็ ปนี น้ั เพราะมาตามหารปู ภาพเจา้ คณุ ออ่ น บญุ ญพนั ธ์ุ(พระวสิ ทุ ธนิ ายก)
ชาติภูมิชาวบางปลาม้า และรูปภาพเจ้าคุณใคล (พระวิสุทธินายก)
ชาติภมู ชิ าวบางซอ อำ� เภอสองพ่ีนอ้ ง ดูเหมือนจะไดร้ ปู ภาพเจา้ คุณใคล
ไปจากหนังสือเล่มใดเล่มหน่ึง ส่วนรูปเจ้าคุณอ่อนน้ันทางวัดไม่มี
ขา้ พเจ้าตามหารปู เจา้ คณุ ออ่ นไดจ้ ากวัดรอเจริญ อ�ำเภอบางปลาม้า

เช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าได้รูปภาพเจ้าคุณพาว เมธิโก ป.ธ.๙
รูปแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี ช่ือพระเมธีวรคณาจารย์ วัดวิเศษการ
จากวัดทุง่ อทุ ุมพร ใกลก้ ับตลาดแก้ว อ�ำเภอบางปลาม้า

อนุทนิ ประจ�ำวัน 227

จากปี ๒๕๓๙ เป็นต้นมา ข้าพเจ้าไม่เคยเหยียบย่างเข้าวัด
ปรนิ ายก เพราะไมม่ กี จิ จะตอ้ งเขา้ ไปอกี จนมาถงึ วนั น้ี (๒๕ ก.ค.๒๕๖๑)
มนี ัดหมายกับเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติ ทจี่ ะน�ำเอกสารมาใหข้ ้าพเจ้า
ซึ่งใกล้กว่าท่ีข้าพเจ้าจะเดินทางไปหอสมุดท่ีท่าวาสุกรี จึงเป็นเหตุให้
เข้าวัดปรนิ ายก

นัดเวลาไว้เวลา ๐๙.๐๐ น. แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่นั้นยัง
เดินทางมาไม่ถึง จงึ สำ� รวจพระอโุ บสถกอ่ น มีใบสมี าคู่ สอบถามพระวา่
โบสถ์สร้างปีอะไร ท่านบอกว่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ เพราะย้ายมาจาก
กลางถนนราชด�ำเนิน มาอยู่ท่ีตรงน้ี เรียกว่าเป็นโบสถใหม่ มีตราสิงห์
แบกเคร่ืองสูง ซ่ึงเป็นตราลัญจกรของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์)
ตน้ ตระกลู “สิงหเสนี” ทีเ่ ปน็ ขนุ พลแกว้ ของรชั กาลที่ ๓ ดงั พระนาม
ท่ีปรากฏด้านหลังรูปหล่อเจ้าพระยาขุนพลแก้วว่า “ปรินายกแก้ว”
ทราบว่าเป็นรูปที่หล่อในสมัยของเจ้าอาวาสรูปก่อนคือเจ้าคุณ
พระอมรเมธาจารย์ (สุคนธ์ ป.ธ.๖ มรณภาพในปี ๒๕๕๒) ส่วน
เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเป็นคนจังหวัดตราด มาจากวัดชนะสงคราม
ช่ือว่าเจ้าคุณบุญชู ป.ธ.๗ (พระพิพัฒน์จริยาลังการ) ครองต�ำแหน่ง
เจ้าอาวาสจากปี ๒๕๕๓ เปน็ ตน้ มา

ระหวา่ งรอคอยเอกสาร ขา้ พเจา้ สอบถามวา่ ยงั มพี ระชาวสพุ รรณ
อยู่บ้างไหม ได้รับค�ำตอบว่ามีพระมหาเมธี จนฺทสิริ ป.ธ.๕ ผู้ช่วย
เจ้าอาวาสวัดปรินายก เป็นชาวสุพรรณเหลืออยู่รูปเดียว จึงขอให้
พาไปยังคณะ ๓ เพอื่ สอบถามข้อมูลบางประการ

พระมหาเมธี นามสกลุ เดมิ อดุ ทา เปน็ คนบา้ นทงึ อำ� เภอสามชกุ
(เกิดปีชวด ๒๑ เม.ย.๒๔๗๙) เล่าว่าบวชเณรหางนาคท่ีวัดโป่งแดง
อำ� เภอสามชกุ มพี ระครธู รรมสารรกั ษา (พระมหาสวงิ ) เปน็ พระอปุ ชั ฌาย์

228 อนทุ ินประจำ� วัน

ท่านว่าในสมัยนน้ั มีอปุ ัชฌายแ์ ค่ ๒ รูปคือพระมหาสวิงกบั หลวงพอ่ กร่ิง
หํโส วัดบ้านทงึ ท่านไปบวชเณรท่วี ัดโปง่ แดงเมื่ออายุ ๑๔ ปี แลว้ เขา้ มา
อยวู่ ดั ปรนิ ายกตงั้ แตส่ มยั เจา้ คณุ ออ่ น เปน็ เจา้ อาวาส สอบไดป้ ระโยค ๓
ก่อนที่เจ้าคุณใคล บุญลือพันธุ์จะเป็นเจ้าคุณ และว่าเจ้าคุณอ่อน
เป็นเจ้าอาวาสได้ไม่กี่ปีก็ลาสิกขาไป ข้าพเจ้าตรวจเช็กข้อมูลว่า
เจา้ คุณออ่ นลาสิกขาในปี ๒๔๙๖

ยังไดส้ อบถามว่า จ�ำปที เ่ี จ้าคุณออ่ นตายไดไ้ หม เพราะข้าพเจา้
จ�ำได้ว่ามาร่วมพิธีเก็บศพที่วัดเครือวัลย์ในราวปี ๒๕๓๙-๒๕๔๒
แต่ไม่รู้ว่าศพเผาท่ีไหน ท่านพระมหาเมธีบอกว่า ศพน�ำมาเผาท่ี
วัดมกุฏกษัตริยารามหรือไง? ข้าพเจ้ายังถามว่า โยมมารดาของ
เจา้ คณุ ใคล ตง้ั ศพอย่บู นศาลาการเปรยี ญวัดปรินายก ตอนเจ้าคณุ ใคล
มรณภาพน้ันยังไม่ได้เผา เขาเผาพร้อมกันหรือไร? ท่านว่าใช่น�ำศพ
เจ้าคณุ ใคลและโยมมารดาไปเผาพร้อมกนั ที่วัดสระเกศ ท่านจ�ำปีไม่ได้

หลังจากนายวนิ ัย เภาเสน น�ำเอกสารมาใหข้ า้ พเจา้ แลว้ กอ็ ำ� ลา
จากกนั ขา้ พเจา้ เดนิ สำ� รวจดหู อระฆงั สรา้ งปี ๒๔๖๙ เดนิ ดกู ฏุ เิ สนาสนะ
ตา่ งๆ และไปดกู ำ� แพงอฐั สิ กั หนอ่ ย เผอ่ื เจอคนรจู้ กั กนั แตด่ แู ลว้ มชี อ่ื เดยี ว
ท่ีคุ้นๆ ชื่อ “แม่ชีบุญรอด มั่นคง (๒๔๖๔-๒๕๔๔)” เพราะนามสกุล
“มั่นคง” เปน็ คนทางตัวเมืองสุพรรณบุรี แถวกุฎที องเปน็ ต้น

ดโู รงเรยี นอนบุ าลวดั ปรนิ ายก สรา้ งโดยพระครนู ายกจรยิ านวุ ตั ร
(ตอ่ มา พระอมรเมธาจารย์ (สคุ นธ์ ป.ธ.๖) จารกึ วา่ สรา้ งเมอื่ ๒ มถิ นุ ายน
๒๕๓๑

เดินเข้าไปดูคณะ ๑ ที่เป็นคณะและกุฏิเจ้าอาวาส จ�ำได้ว่า
เม่ือมาคร้ังก่อน ได้ข้ึนไปบนกุฏิและไปกราบพระอมรเมธาจารย์
(สคุ นธ์ ป.ธ.๖) นบั เปน็ เวลา ๒๐ ปกี ะมงั่ ทยี่ อ้ นรอยกลบั มาดอู กี ครง้ั หนงึ่

อนุทินประจำ� วนั 229

ได้พบพระมหาปณิธาน สว่างพ้ืน ป.ธ.๘ พระอนุจรเจ้าคุณ
บุญชู เจ้าอาวาสมาจากวัดชนะสงคราม เป็นคนปากท่อ ราชบุรี
ข้าพเจ้าถามว่า มีเชื้อเขมรผสมไหม? ท่านบอกว่ามีเชื้อผสมมอญ
นิดหน่อย ยังได้สอบถามว่า มีรูปภาพเจ้าคุณอ่อนและเจ้าคุณใคลไหม
ทา่ นบอกวา่ เหน็ แตร่ ปู เจา้ คณุ ใคล แตไ่ มเ่ คยเหน็ รปู เจา้ คณุ ออ่ น บญุ ญพนั ธ์ุ

ข้าพเจ้ารับปากว่าจะหาหนังสือท่ีมีรูปเจ้าคุณอ่อน บุญญพันธุ์
(พระวิสุทธินายก) ไปถวาย ก่อนจะอ�ำลาจากกัน นึกถึงหนังสือ
เจ้าคุณสุพรรณ ท่ีจัดพิมพ์ในงานอายุวัฒนมงคลพระวิสุทธิวงศาจารย์
(วิเชยี ร ป.ธ.๙) รองเจา้ อาวาสวดั ปากน�้ำ ภาษเี จรญิ เมือ่ ปลายปี ๒๕๖๐
ขึน้ มาทันที

230 อนุทินประจ�ำวัน

อนทุ นิ ประจ�ำวัน

(๕๔๘ ศลิ ปินแหง่ ชาติ ขวัญจติ ศรปี ระจันต์)

ไดพ้ ูดคุยกับขวัญจิต ศรีประจนั ต์ (เกดิ ปีกนุ ๒๔๙๐) ศลิ ปินแห่งชาติ
สอบถามเกี่ยวกับแม่ครูบัวผัน จันทร์ศรี (เกิด ๒๔๖๒-๒๕๔๘
อายุ ๘๖ ป)ี คนห้วยคนั แหลน (คนหว้ ยโรง) อ.วเิ ศษชัยชาญ ทม่ี ลี ูกตดิ
ชื่อนางประจวบ ศรแก้วดารา (จันทร์ศรี) ซึ่งเสียชีวิตก่อนแม่บัวผัน
เพียง ๔-๕ เดอื น

ครูบัวผนั จันทรศ์ รี แม่ครูเพลงอแี ซว คนอา่ งทอง เดมิ นามสกลุ
“โพธิภ์ ักด”ิ์ เป็นลูกของนายดิน โพธิภ์ กั ด์ิ พ่ีชายของนายอิน โพธิภ์ กั ดิ์
พอ่ ของครูเทีย่ ง โพธภ์ิ กั ดิ์

แม่บัวผันมาได้กับนายไสว สุวรรณประทีป ต่อมาบอกว่า
เปล่ียนนามสกุลเป็น วงษ์งาม เกิด ๒๔๖๕ เสยี ปี ๒๕๓๕ อายุ ๗๑ ปี
อายุอ่อนกว่าแม่บัวผัน ก็อยู่กินด้วยกัน เป็นพ่อเพลงและแม่เพลง
ทส่ี รา้ งความสนุกและเพลดิ เพลินแก่ผู้ชม

พ่อไสว เป็นหนุ่มรูปหล่อ ก็คงมีภรรยาหลายคน ตามประสา
พวก รถไฟ เรอื เมล์ ลเิ ก ตำ� รวจ แต่ทม่ี ลี กู ดว้ ยกันกับยายบด มีลกู ๔ คน
ชาย ๓ หญงิ ๑ ผชู้ ายใชน้ ามสกุล “สุวรรณประทีป” ลกู ชายคนหนงึ่
ชือ่ ธนะโชตหิ รอื ชนะโชติ สุวรรณประทีป ยงั เลน่ วงเพลงได้สบื สายเลอื ด
ศิลปินตอ่ มา

ลกู ศษิ ยล์ กู หาเชน่ “เกลยี ว-นง-นะ” เปน็ ๓ ศษิ ยส์ าวทม่ี ชี อ่ื เสยี ง
เกลยี ว คือขวญั จิต ศรีประจนั ทร์ นามสกลุ “เสรจ็ กิจ”, นง คอื ขวัญใจ
ศรปี ระจนั ต์ เป็นนอ้ งสาว รปู รา่ งดี เสียงดี แตไ่ ม่ได้เปน็ ศลิ ปนิ แห่งชาติ,

อนทุ ินประจ�ำวัน 231

ส่วน นะ คือขวัญตา ศรีประจันต์ ลูกของครูกร่าย จันทร์แดง ส่วน
ผชู้ ายน้นั ท่มี ชี อ่ื เช่น สุจนิ ต์ ศรีประจนั ต์ นามสกลุ เดมิ ชาวบางงาม

ท่ีเป็นศิลปินนักร้องอีกคนหน่ึงเป็นผู้หญิงชื่อ “บรรจง สมใจ”
เดิมก็คิดว่า เป็นนามสกุลจริง เพราะเป็นนามสกุลของคนสองพ่ีน้อง
แถวบ้านกระบอกช่ือนายบรรจง สมใจ พ่อของพ่ีบรรเทา สมใจ
(เกดิ ปฉี ลู ๒๔๙๒) ซง่ึ เคยสอบถามวา่ เปน็ ใคร แตท่ างสองพนี่ อ้ งกไ็ มท่ ราบ
ว่าเป็นใคร มาอยา่ งไร

บรรจง สมใจ เป็นนามของนักร้องหญิงคนศรีประจันต์
ช่ือเดิมว่า “สนั่น” (เกิดปีเถาะ ๒๔๙๔) ในวงการเรียกว่า “ต๊ิก”
สรา้ งชอ่ื เสยี งตนเอง ดว้ ยเพลง “สาวนครปฐม” ทเ่ี มอื งมนต์ สมบตั เิ จรญิ
ร้องคู่แก้กัน และท่ีดังอีกเพลงหนึ่งช่ือเพลง “สาวช่วยเก่ียว” ร้องแก้
เมอื งมนต์ สมบัติเจรญิ ทร่ี อ้ งเพลง “หนมุ่ เกย่ี วขา้ ว” แต่เมอื งมนต์ได้แต่
บันทึกเทปเสียงไว้ ตนเองไม่มีโอกาสได้ฟังเสียงตัวเอง ถึงแก่กรรม
ไปก่อน ในปลายปี ๒๕๑๓ ส่วนบรรจง สมใจก็โด่งดังจาก ๒ เพลงนี้
เมอ่ื วงแตกกก็ ลบั ไปอยู่ศรีประจนั ต์ แถวรางหางมา้

ขวญั จติ ศรปี ระจนั ต์ บอกวา่ จำ� นามสกุลเดมิ ของบรรจง สมใจ
ไมไ่ ด้ แตช่ อ่ื สนน่ั อยรู่ างหางมา้ แมเ่ ขานามสกลุ “เสรจ็ กจิ ” เปน็ ญาตกิ นั
เคยเลา่ ส่กู นั ฟังในวง และเลา่ ว่า นายสง่า มะยรุ ะทเี่ ป็นช่างวาดเขยี นนั้น
เข้าไปอยู่กรุงเทพฯ เป็นญาติกัน เพราะนายสง่าบอกว่า พวกแก
ต้องเรียกว่า “ก๋งสง่า” น่ันคือความเป็นญาติหรือความผูกพันระหว่าง
ตระกูล “เสร็จกจิ ” กับ “มะยรุ ะ” ที่ฝากผลงานพกู่ ันสงา่ มะยรุ ะไว้ใน
โลกใบนี้

บรรจง สมใจ เข้าสู่วงการเพลงในปี ๒๕๑๑ กับวงเมืองมนต์
สมบัตเิ จรญิ อยไู่ ด้เพยี ง ๒ ปีเอง เมอื งมนต์ (จรูญ สขุ รกั ษ์) กเ็ สียชีวิต
อ�ำลาจากโลกไป

232 อนุทินประจ�ำวัน

ข้าพเจ้าถามว่า นางประจวบ ลูกของแม่บัวผัน ได้เล่นเพลง
ด้วยกันไหม ขวัญจิตบอกว่าเขาเป็นรุ่นแก่กว่า เป็นแม่เพลง แต่
ไมไ่ ด้เลน่ แลว้ ไดแ้ ต่สอนรำ� ใหแ้ กล่ กู ศษิ ย์ นบั วา่ เป็นต�ำนานเพลงอีแซว
ทน่ี ่าจดบนั ทกึ ไว้ จากหว้ ยโรง อ่างทอง ถงึ วงั กรานต์ หรอื เดิมเรยี กวา่
“บ้านไร”่ ทปี่ ัจจุบนั เอาวัดพังมว่ ง เปน็ จุดศูนย์กลาง

ไปฉนั เพลวดั พระพเิ รนทร์ วรจักร มรี า้ นสยามวรจกั รอิเลก็ ตรกิ
หน้าวัดพระพิเรนทร์มาท�ำบุญเลี้ยงพระประจ�ำปี เห็นตาลปัตรพัดรอง
เขียนว่า นายปราโมทย์-นางมณีรัตน์ ปิตตะพันธ์ และครอบครัว
หมอไพศาล ในงานวันเกิด ๒๔ ธันวาคม ๒๔๗๖ อายุครบ ๘๐ ปี
ได้สอบถามว่าเป็นพัดรองท่ีสร้างข้ึนเม่ือ ๒๕๕๖ ของหมอไพศาล
ท่เี กิดปีระกา ๒๔๗๖ ปเี ดียวกบั โยมบิดาของขา้ พเจ้าพอดี หมอไพศาล
ยงั มชี ีวิตอยู่ อายุ ๘๕-๘๖ ปี

เมื่อวานนี้เดินผ่านเว้ิงนาครเขษม เห็นป้ายหนึ่ง น่าสนใจดี
เขยี นวา่ “อนสุ าวรยี แ์ หง่ ความยตุ ธิ รรม” อยทู่ ร่ี า้ นเพชรสยามซาวดก์ รฟุ๊
จ�ำกัด ท่ีปัจจุบันย้ายไปอยู่บนตึกท่ีถนนสนามไชยแล้ว เดินไปดู
ป้ายรถรางอันสุดท้ายที่ยังไม่หายไปไหน เพราะเผลอๆ สักวันหน่ึง
ป้ายรถรางแผ่นโลหะชน้ิ นี้ อาจจะหายไปในวนั ไหนกไ็ ม่ทราบ

เทศกาลเข้าพรรษามาถึง หวนร�ำลึกประเพณีท�ำวัตรหรือ
ท�ำสามีจิกรรมประจ�ำปี ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาแล้ว ได้รูปภาพเก่า
ถา่ ยในสมยั ปี ๒๕๑๕ ทบี่ วชพรรษาแรกพอดี ทำ� ใหใ้ จลอ่ งลอยกลบั ไปอยู่
สุพรรณบรุ ี แต่กายยังอยู่ ณ วดั ราชบุรณะ เชิงสะพานพทุ ธเช่นเดิม

จากวรจักร ถึงศิลปินศรีประจนั ต์ ผา่ นเวิง้ นาครเขษม... กลบั ไป
ถึงวัดสองพี่น้อง ร�ำลึกความหลังจากวันนั้น ถึงวันนี้ ที่มีวันน้ี เพราะ
มวี นั น้ัน

อนุทินประจำ� วนั 233



อนทุ นิ ประจ�ำวัน

(๕๔๙ วันรับพุ่มเทียนพรรษา)

ได้ฎกี าหลวงในพระราชพธิ ที รงบำ� เพญ็ พระราชกุศลวนั อาสาฬหบชู า
และเทศกาลเข้าพรรษา ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ในหนังสือระบุว่า
“รบั พระราชทานพมุ่ เทยี นพรรษา” วนั ศกุ ร์ ท่ี ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑
เวลา ๑๗.๐๐ น. แต่ข่าวที่ได้รับเมื่อวานน้ีทางไลน์บ้าง จากค�ำพูดที่
นา่ เช่อื ถอื ได้บา้ งว่า เลอ่ื นเวลาเขา้ มาเป็นเวลา ๑๕.๐๐ น.

นับเป็นปีที่รับพุ่มเทียนติดต่อมาทุกปี ท�ำสถิติว่ายังไม่เคยขาด
เลยสักปีหนึ่ง อย่างน้อยได้ถือพัดยศเข้าไปภายในวัดพระแก้ว ท่ีมี
พระแก้วมรกตศักด์ิสิทธ์ิประดิษฐานต้ังอยู่ ไปดูความเป็นไปของสังคม
พระและสงั คมวงั

ปีนี้เป็นปีแรกที่เลื่อนเวลาเข้ามาเป็นบ่าย ๓ โมง และจัดแยก
พระราชาคณะช้ันสามัญไว้ท่ีระเบียงพระวิหารคด ตรงจุดท่ีเป็น
เมืองลงกาพอดี ได้ดูจิตรกรรมฝาผนังฝีมือของสง่า มะยุระ ท่ีวาดไว้
ในปี ๒๔๗๒ งดงามประดุจฝีมือเทพ ยงั คุยกับพระด้วยกันวา่ มาต้ังโต๊ะ
วางพดั รอเวลาท่ภี าพวาดของสงา่ พอดเี ลย

มีเวลาในวันหยุดเช่นน้ี เพิ่งมีโอกาสได้เปิดหนังสือเล่มใหญ่
๓๘๐ หนา้ เปน็ หนงั สอื สมโภชวดั ยาง พระอารามหลวง และฉลองอาคาร
พระราชพฒั โนดม (บญุ ช่วย ยาจิตต์) (เกดิ ๒๑ ก.ค.๒๔๗๑) ท่ีเจรญิ อายุ
มาได้ ๙๐ ปี ได้พัฒนาวัดยาง ท่ีเดิมช่ือวัดย้ัง กลายมาเป็น “ยาง”
เขตสวนหลวง ท่ีเดิมเป็นต�ำบลสวนหลวง ขึ้นอยู่กับพระโขนงมาก่อน

อนทุ ินประจ�ำวนั 235

ดั้งเดิมจริงๆ ทั้งอ�ำเภอพระโขนง และต�ำบลสวนหลวงแห่งน้ี ข้ึนกับ
นครเขื่อนขันธ์ คือสมุทรปราการ แบ่งกันไปแบ่งกันมา ปัจจุบันเป็น
เขตพระโขนง และเขตสวนหลวง ขนึ้ กบั กรงุ เทพมหานคร

พลิกดูหนังสือเห็นภาพ “คุณแม่วิมล ศาลยาชีวิน” ไม่รู้ว่า
เป็นคนท่ีไหน แต่ทราบว่าเป็นภรรยาของท่านอธิบดีชุบ ศาลยาชีวิน
(๒๔๕๐-๒๕๒๖) รกรากคนโพธิ์พระยา เคยไปส�ำรวจดูวัดยาง พบชื่อ
เจา้ ภาพชื่อ “นายชุบ นางวิมล ศาลยาชีวนิ ” สรา้ งถาวรวตั ถทุ ีว่ ัดยางน้ี
หลายอย่าง, นายชุบเป็นลูกของนางกร่ิง ศาลยาชีวิน น้องสาวของ
นางเติม และน้องสาวของพระยาลักษณมัณสุพจน์ (บุญ ศาลยาชีวิน
(๒๔๑๘-๒๕๐๔)) พูดง่ายๆ วา่ นายชบุ ศาลยาชีวินคนน้เี ป็นหลานของ
พระยาฯ บุญ ตระกูลเป็นพวกทนายความ

ฉันเพลท่ีคณะ ต.๓๔ ครบวันมรณภาพปีที่ ๔ ของพระธรรม
ปญั ญาบดี (ถาวร เจรญิ พานิช) (ปมี ะโรง ๒๔๕๙ - ปีมะเมยี ๒๕๕๗)
อายุ ๙๘ ป)ี ถ้าหลวงพ่อยงั มชี วี ิตอยู่ จะอายุ ๑๐๒ ปี ไดส้ นทนาพูดคุย
กบั พระอมรสธุ ี (โกศล ป.ธ.๕) (เกดิ ปมี ะเมยี ๑๗ ม.ิ ย.๒๔๗๓) ไดส้ อบถาม
ถงึ ต้นฉบับหนังสอื บันทกึ สมเดจ็ ฯ ป๋าว่าใครเก็บต้นฉบับไว้ เพราะอยาก
ตรวจสอบขอ้ มลู ตน้ ฉบบั กอ่ นตพี มิ พ์ และตรวจทานวนั เดอื นปใี หช้ ดั เจน
อกี ที ท่านก็บอกวา่ จ�ำไมไ่ ดแ้ ลว้ จงึ บอกพระทีด่ แู ลชอื่ พระมหาบุญเลศิ
ว่าช่วยไปจดรายการหนังสือท่ีประพันธ์โดยสมเด็จพระสังฆราชป๋า
วา่ มีเรื่องอะไรบา้ ง

ไดพ้ บและทักทายบาทหลวง ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ จึงทราบว่า
เป็นคนบา้ นบางภาษี อำ� เภอบางเลน จังหวดั นครปฐม ขา้ พเจา้ บอกว่า
ข้าพเจ้าคนต�ำบลบางเลน แต่อ�ำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
นับว่าเป็นวาสนาท่ชี อื่ “บางเลน” เหมอื นกัน ยังได้ถามว่า ธญั ญอนนั ต์
มาจากแซอ่ ะไร ท่านบาทหลวงบอกว่า มาจาก “แซค่ ”ู ขา้ พเจา้ ยังพดู

236 อนทุ นิ ประจำ� วัน

ต่อไปว่า แซ่คู และ แซ่คิ้ว น่าจะเป็นแซ่เดียวกัน และนายทักษิณ
ชินวัตรนน้ั กอ่ นเป็น ชินวัตร ก็เปน็ “แซ่ค”ู มาก่อนเชน่ กนั

ไดพ้ บพี่ถวลิ จิว๋ เชอ้ื พันธ์ุ เกิดปีมะโรงปลายปี ๒๔๗๕ แต่วันนี้
ไมส่ อบถามอะไรเพมิ่ เตมิ เพราะมวั แตไ่ ปคยุ กบั นายวทิ ยา เจนโชตสิ วุ รรณ
คนบางล่ี ทมี่ าเปน็ ศษิ ยห์ ลวงตาชู (พระครวู มิ ลมงั คลโพธ์ิ วดั พระเชตพุ น
มรณภาพ ๒๕๒๔) เข้ามาอยู่วัดโพธติ์ ัง้ แตร่ าวปี ๒๕๐๕-๖ และเรยี นจบ
บัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้าพเจ้าสอบถามว่า เจนโชติสุวรรณ
เดิมเป็นแซ่อะไร ได้รับค�ำตอบว่า แซ่จัง ซึ่งข้าพเจ้าพูดเสริมว่า
เป็น แซ่เดียวกับหลวงตาชู แต่นายวิทยาบอกว่า หลวงตาชู แซ่เตี่ยว
ไม่ใช่ แซ่จัง

ขณะรอเวลาเข้ารับพุ่มเทียน ข้าพเจ้าน่ังคุยกับท่านเจ้าคุณ
พระมงคลสุตาคม (ประสิทธิชัย ชาวเพชร ป.ธ.๗) ท่านบอกว่า มีก๋ง
แต่ไม่ทราบว่าแซ่อะไร แต่ย่าเป็นคนเมืองเพชรบุรี จึงใช้นามสกุลว่า
“ชาวเพชร” รกรากของท่านมาอยู่ขื่อชนก อ�ำเภอสองพี่น้อง จังหวัด
สพุ รรณบุรี แล้วยา้ ยไปอยูพ่ ิจติ รโนน้ มีลุงเป็นนักบวชและเปน็ นกั เทศน์
ชอื่ มหาสวิง แพทะวงษ์ เทศนค์ กู่ ับพระธรรมทศั นาธร อดตี เจา้ อาวาส
วัดชนะสงคราม แต่ลาสิกขาไปท�ำงานชลประทาน ย้ายไปอยู่พิจิตร
เช่นกัน ข้าพเจ้าบอกว่า ถ้าเรียกว่าลุง ท�ำไมใช้นามสกุลต่างกัน
เพราะพอ่ ทา่ นใช้ “ชาวเพชร” แตล่ งุ มหาสวิง ใช้ แพทะวงษ์

ท่านเจ้าคุณบอกว่า เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน และว่าพ่อของท่าน
เกิดปีมะเส็ง ๒๔๗๒ อายุ ๘๙ ปี ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนลุงมหาสวิงนั้น
ถงึ แก่กรรมไปแลว้

เปน็ วนั รบั พมุ่ เทยี นทมี่ เี รอื่ งราวหลากหลาย เปน็ พมุ่ เทยี นวาไรตี้
ที่โชคดียังไม่โดนฝนโปรยลงมา เพราะอาจจะเป็นปีอธิกมาส ปีที่มี
แปดสองหน แปดหน้า แปดหลงั เรากำ� ลังอย่ใู นแปดหลังกนั ในวันน้ี

อนุทินประจำ� วนั 237



อนุทนิ ประจำ� วนั

(๕๕๐ วันอธิษฐานเขา้ พรรษา)

ตามหลกั การอะไรสกั อย่างหนง่ึ ขา้ พเจ้ามีความเชื่อว่า อกี ๑๙ ปี
ข้างหน้า ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ท่ี ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๘๐
จะเปน็ วนั แรม ๑ คำ่� เดอื นแปดหลงั ถา้ ยงั มชี วี ติ อยจู่ ะเปน็ วยั ใกล้ ๘๐ ปี
แต่เป็นวันเดือนปีท่ีหลังจากเดือนกรกฎาคมไปอีก ๔-๕ เดือน คิดว่า
จะต้องท�ำบุญใหญฉ่ ลองอายุ ๘๐ ปี

วัยใกล้ ๘๐ ปี เป็นไม้ที่ใกล้ฝั่ง จะมีคุณค่ามากน้อยเพียงไร
ที่สำ� คญั ตอ้ งรอไปอีก ๒๐ ปีขา้ งหนา้

วันอธิษฐานเข้าพรรษาวันแรก หลังจากท�ำวัตรเช้าแล้ว
พ่ีสมาน สุดโตมาชวนไปหอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของ
เฉลิมฟิล์มกระจก ใจจริงก็อยากจะไป แต่วันนี้มีกิจกรรมของวัด
มีญาติโยมชาวพาหุรัดมาถวายเพล และบ่ายโมงมีถวายสลากภัต
เหมือนเชน่ ทกุ ปที ผ่ี ่านมา

กว่าจะเสร็จพิธีตา่ งๆ กเ็ ป็นเวลาบ่าย ๒ โมงเศษ บ่ายสี่โมงเย็น
ต้องท�ำวัตรสวดมนต์เยน็ และอธิษฐานเข้าพรรษา

หวนคิดถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาในยุคปี ๒๕๒๐ บวกลบ
ในยามหัวค่�ำเช่นน้ี เขาเรียกว่าคล่ืนมหาชนหล่ังไหลจากวงเวียนใหญ่
ข้ามสะพานพุทธ ไปสนามหลวงกัน ท้ังคืนมีมหรสพสมโภชสนุกสนาน
เสียงพลุดังกึกก้อง ท้องฟ้าแจ่มฟ้า นั่นเป็นบรรยากาศของยุคทีนเอจ
ทีไ่ ดย้ ินได้ฟังมาทกุ ปี จนเกอื บขึน้ สมอง

อนทุ ินประจ�ำวนั 239

เชิงสะพานพุทธฝั่งพระนครประดับด้วยแสงไฟฟ้าสีสวย
ได้เดินไปดูบรรยากาศนิดหน่ึงเม่ือคืนน้ี กลางวันของวันน้ีช่วงบ่าย
อยากดูบรรยากาศ สถานท่ีใกล้มากที่สุดคือวัดพระเชตุพน ซึ่งก็มี
กิจกรรมต่างๆ มากมาย ที่ส�ำคัญวันน้ี ท่านเจ้าคุณพระราชคุณาธาร
(ถาวร ถาวโร ป.ธ.๗) เจ้าคณะ น.๑ เดินทางกลับเข้าวัดพระเชตุพน
หลังจากเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลาร่วม ๒ เดือน นับจาก
วันท่ี ๘ หรือ ๙ มิถุนายน เป็นต้นมา เพราะข้าพเจ้าไปเยี่ยมในวันที่
๙ มิถนุ ายน หลงั จากทราบขา่ ววา่ ไปรักษากระดูกคอร้าว

บ่าย ๒ โมงครึ่ง ไปถึงกุฏิของท่าน ซึ่งยังไม่กลับมาจาก
โรงพยาบาล ก�ำหนดการบ่าย ๓ โมงมาถึง จึงมีเวลาชมรูปภาพต่างๆ
ภายในกุฏิ คณะ น.๑ ซ่ึงเคยเป็นกุฏขิ องพระวิสุทธาธบิ ดี (สงา่ ปภสฺสโร
ป.ธ.๘) คนไผล่ อ้ ม ต.ลาดน�้ำเคม็ อ.ผกั ไห่ จ.พระนครศรีอยธุ ยา

มีรูปภาพ “ส.สุรเชษฐ์พันธุ์ ๒๒ ธันวา ๖๙” และด้านล่าง
เขียนว่า “๑๙ ปี” ข้าพเจ้าเคยสอบถามว่า เป็นภาพสามเณรสง่า
ซึ่งคงจะเปล่ียนชื่อหรืออย่างไร จึงจะเป็นอีกนามหนึ่ง ข้าพเจ้า
ทราบมาก่อนนานแล้วว่า พระวิสุทธาธิบดี (สง่า) (๒๔๕๑-๒๕๓๔)
เคยเป็นสามเณรอยู่วัดราชบุรณะมาก่อน และรู้มาอย่างไรไม่ทราบว่า
เดมิ มชี ือ่ เรยี กอกี ช่ือวา่ สามเณรแช จะเป็นปใี ดไมท่ ราบ ทีย่ า้ ยออกมา
จากวัดราชบุรณะ มาอยู่วัดพระเชตุพน และมีบุญวาสนาบารมีสูงส่ง
เปน็ อธิบดสี งฆ์ องคท์ ่ี ๑๓ วัดพระเชตุพน

พระเถระชาวจังหวัดกาญจนบุรีส่วนใหญ่ ข้าพเจ้าจะคุ้นเคย
กันดี เพราะพระอนุสาวนาจารย์ของข้าพเจ้าเป็นชาวกาญจนบุรี
คนพนมทวน ชอ่ื หลวงพอ่ ไพบลู ย์ กตปญุ โฺ ญ ป.ธ.๘ (พระธรรมคณุ าภรณ)์
อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม และอดีตเจ้าคณะจังหวัด

240 อนุทินประจ�ำวนั

กาญจนบุรี ด้วยบารมีของหลวงพ่อท�ำให้ข้าพเจ้าไปมาหาสู่กับ
พระเถรานุเถระชาวกาญจนบุรี แม้แต่พระเถระท่ีเป็นฝ่ายอนัมนิกาย
ก็มีความคุ้นเคยระดับหนึ่ง ในฐานะเคยไปเช่ือมสัมพันธไมตรีท่ี
ประเทศเวยี ดนามดว้ ยกนั

พระโสภณกาญจนาภรณ์ (ทอมสนั ต์ ป.ธ.๔) (เกิดปกี นุ ๒๔๙๐)
วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เจ้าคณะอ�ำเภอเมืองกาญจนบุรี ถึงจะเป็น
รนุ่ พใ่ี หญ่ แตก่ ส็ นทิ ชดิ ชอบกนั เมอ่ื วานนย้ี งั แวะมาหาและน�ำยาวติ ามนิ
ต่างๆ มาถวาย ยกเปน็ ตัวอย่างพอเปน็ นทิ รรศนะ

ส�ำหรับท่านเจ้าคุณพระราชคุณาธาร (ถาวร ถาวโร ป.ธ.๗)
เดิมชื่อ “จับ” เปล่ียนช่ือตามฉายาพระเป็น “ถาวร” นามสกุลเดิม
“นาคะ” ปจั จบุ นั เปน็ “นาคะอนนั ต”์ รกรากบรรพบรุ ษเปน็ คนหนองขาว
ท่ีข้าพเจ้าทราบว่ามีประเพณีรักษาหม้อหรือหม้อผีปู่ย่าตายาย
ท่านเจ้าคุณบอกวา่ เป็นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ แตข่ ้าพเจา้ กย็ งั สงสัยวา่
คนหนองขาว พูดส�ำเนียงเหนอ่ ๆ เหมือนคนสุพรรณบรุ ี จะมพี วกมอญ
ผสมปนอยดู่ ว้ ย

เจ้าคุณเกิดท่ีหนองขาวในปีกุน ๒๔๗๘ แต่ไปโตท่ีหนองบัว
บวชพระที่วัดหนองบัว เข้ามาอยู่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม และ
หลวงพอ่ ลำ� ใยพามาฝากอยทู่ ว่ี ดั พระเชตพุ น ในปี ๒๕๐๗ ไดเ้ จรญิ เตบิ โต
ในหน้าท่ีการงานต่างๆ จนเกษียณอายุ ๘๐ ปีแล้ว จึงอยู่วัดสวดมนต์
ไหวพ้ ระ ขา้ พเจา้ แวะผา่ นไปวดั โพธทิ์ ไี ร กม็ กั จะวนเวยี นไปพดู คยุ ประจำ�
ที่ส�ำคัญภายในกุฏิของท่านมีรูปภาพต่างๆ โดยเฉพาะท่ีเกี่ยวข้องกับ
พระวิสทุ ธาธบิ ดี (สง่า ป.ธ.๘) คนลาดน้ำ� เคม็

พระวิสุทธาธิบดี (สง่า) อุปสมบทเม่ือปี ๒๔๗๑ มีสมเด็จ
พระพุฒาจารย์ (เข้ม ป.ธ.๖) เป็นพระอุปัชฌาย์, สมเด็จพระวันรัต

อนทุ ินประจำ� วนั 241

(เผอ่ื น ป.ธ.๙) เปน็ พระกรรมวาจารย,์ พระอดุ รคณารกั ษ์ (ศร)ี (คนชยั นาท)
เปน็ พระอนสุ าวนาจารย์ ขา้ พเจา้ เหน็ รปู ภาพของสมเดจ็ พระสงั ฆราชปา๋
(๒๔๓๙-๒๕๑๖) มีภาพหนึ่งเขียนว่า “พระธรรมานุศาสนาจารย์”
ยงั ไมไ่ ด้สอบถามว่าเกยี่ วข้องอยา่ งไรหรือไม่ เพราะอายุไลเ่ ล่ียกัน

แตข่ า้ พเจา้ ทราบมากอ่ นวา่ กฏุ นิ เ้ี คยเปน็ กฏุ ทิ สี่ มเดจ็ พระสงั ฆราช
องคท์ ่ี ๑๗ (เคยเป็นเจ้าคณะ น.๑) ก่อนจะยา้ ยไปประจำ� ท่ีหอประชมุ
คณะ น.๑๖ ไดส้ อบถามกับพระราชธรรมสุนทร (ทองใบ) (เกิดปมี ะเมีย
๒๔๗๓) เขา้ มาอยวู่ ดั พระเชตพุ นเมอื่ ปี ๒๔๙๙ ทา่ นบอกวา่ ทราบแตว่ า่
ขณะยังเป็นพระมหาปุ่น อยู่คณะ ก.๒๙ มีเจ้าคุณเจียเป็นเจ้าคณะ
ซงึ่ อยู่คณะ ก.๓๗

เคยฟงั หลวงพอ่ พระธรรมมหาวรี านวุ ตั ร (ฉลอง จนิ ดาอนิ ทร์ ป.ธ.๕)
(๒๔๖๙-๒๕๕๓) เคยอยู่วัดพระเชตุพนขณะยังเป็นพระมหาฉลอง
ข้าพเจ้าก็ลืมถามไปว่าอยู่คณะอะไร แต่จ�ำค�ำพูดของหลวงพ่อได้ว่า
สมเดจ็ ฯ ปา๋ อยเู่ กอื บทกุ คณะ ยา้ ยไปเรอื่ ย จนบนั้ ปลายมาอยคู่ ณะ น.๑๖

พี่ถวิล จิ๋วเช้ือพันธุ์ (เกิดปลายปีมะโรง ๒๔๗๕) เม่ือสอบถาม
เรอ่ื งน้ี ยงั พูดวา่ สมเด็จฯ ปา๋ เคยอยูค่ ณะ น.๑ มาก่อน จ�ำไดเ้ พราะมี
ตน้ แจงใหญ่

นั่นเป็นเรื่องของวัดพระเชตุพน ที่ข้าพเจ้าวนไปเวียนมา วันน้ี
ได้บทความเร่ืองสยามอัศจรรย์ของพ่ีสมาน สุดโต เก่ียวกับเปิดบันทึก
ก่อนเปน็ สงั ฆราช และรชั กาลที่ ๔ ทรงปิดตำ� หนกั สนทนากับอธิบดสี งฆ์
วัดโพธิ์

ได้เห็นสาแหรกของตระกูล “สงเคราะห์, กล่ินเอ่ียม, สงั ขพิชัย,
ขาวเน” ทค่ี ณุ วิรัช สงเคราะหส์ ่งมาให้ นับวา่ เปน็ ความคบื หน้าในการ
หาสาแหรกตระกลู ของคนสพุ รรณ จงึ นำ� เสนอเป็นอภนิ ันทนาการไว้

242 อนทุ นิ ประจ�ำวัน

พร้อมกับจดบันทึกว่า อีก ๑๙ ปีข้างหน้า วันทางสุริยคติกับ
วนั ทางจนั ทรคตจิ ะมาชนตรงกนั อกี ครงั้ เมอ่ื วยั ของขา้ พเจา้ เขา้ สวู่ ยั ชรา
ถ้ายังไม่รีบลาโลกนี้ไป จะคอยดูว่าจะตรงกับท่ที �ำนายพยากรณ์ไวไ้ หม?

อนุทนิ ประจ�ำวัน 243



อนุทินประจำ� วัน

(๕๕๑ ท�ำวัตร ทำ� สามีจิกรรม)

ชาวบ้านอาจจะสงสัยว่า การท�ำวัตร เป็นกิจวัตรประจ�ำวันของ
พระภิกษุสามเณรอยู่แล้ว พอถึงเทศกาลเข้าพรรษา ท�ำไมมี
การท�ำวตั รอะไรกนั พระตอ้ งออกจากวดั ถือพมุ่ เทยี นดอกไม้ไปท�ำวัตร
อะไรกนั

เป็นศัพท์ภาษาวัดเรียกการเข้าไปกราบไหว้ ขอขมาลาโทษ
และขอพรจากพระท่ที า่ นเคารพนับถอื ว่า ไปทำ� วตั ร ศัพทท์ างวิชาการ
เรียกว่า ไปท�ำสามีจิกรรม ซึ่งเป็นค�ำบาลีอีก หมายถึงเข้าไปกราบไหว้
ครบู าอาจารย์ ท่านท่ีเคารพนับถอื กัน ทา่ นท่ีเปน็ ผู้ปกครองดูแลเรา

ความหมายแท้จริงที่ดูจากค�ำขอขมา คือกิริยาท่ีไปขอขมาโทษ
ต่อกัน หากมีความพลาดพล้ังผิดพลาดไปทางกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ส่วนใหญ่ที่เห็นบทบาลีที่ใช้ขอขมาในกรุงเทพมหานคร
และทวั่ ไป จะใชค้ ำ� บาลีว่า

มหาเถเร ปมาเทนะ ทวารัตตะเยนะ กตัง สัพพัง อปราธัง
ขะมะถะ โน ภันเต แปลวา่ “ด้วยความพล้ังเผลอในท่านพระมหาเถระ
(หาก) ข้าพเจา้ ลว่ งเกินไปดว้ ยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมไปแลว้ ก็ดี
ขอใหพ้ ระเดชพระคณุ จงยกโทษทง้ั ปวงใหข้ า้ พเจา้ ดว้ ยครบั ” ทา่ นกลา่ ว
ยกโทษให้แล้ว ก็อ�ำนวยพรและขอบอกขอบใจท่ียังคิดถึงท่านอยู่
ไม่ลืมทา่ น

มคี ำ� กลา่ วแบบมหานกิ าย เช่น วดั พระเชตุพน จะใชธ้ รรมเนยี ม

อนุทนิ ประจ�ำวนั 245

การกลา่ วทแี่ ตกตา่ งออกไปเลก็ นอ้ ย ผนู้ อ้ ยจะใชค้ ำ� บาลวี า่ สพั พงั อปราธงั
ขะมะถะ เม ภนั เต อกุ าสะ ทวารตั ตะเยนะ กตงั สพั พงั อปราธงั ขะมะถะ
เม ภันเต ซงึ่ ความหมายกค็ ลา้ ยๆ กันกบั ขา้ งบน จึงแปลความหมายของ
คำ� บาลอี อกมาทเี ดยี ว แตใ่ ชต้ า่ งกนั คอื แบบดงั กลา่ วขา้ งลา่ งนี้ เปน็ แบบ
มหานิกาย ซงึ่ี ส�ำนักเรยี นวัดสองพีน่ ้อง กส็ อนกันแบบนแ้ี ตไ่ หนแต่ไรมา

ปนี เี้ จา้ อาวาสวดั ราชบรุ ณะ กำ� หนดวดั ทจ่ี ะไปทำ� สามจี กิ รรม ๗ วดั
เร่ิมแต่วัดมหาธาตฯุ ท่าพระจนั ทร์ ไดไ้ ปกราบไหว้พระธรรมปญั ญาบดี
(พรี ์ สุชาตมหาเถระ) (เกิดปมี ะเมีย ๒๔๗๓) ก็ใหศ้ ีลให้พร และปรารภ
เป็นห่วงเป็นใยในสถานการณ์พระพุทธศาสนา พระเดชพระคุณเป็น
พระลกู ทงุ่ ผสมลกู กรงุ เปน็ คนลาดนำ�้ เคม็ อ.ผกั ไห่ จ.พระนครศรอี ยธุ ยา

ออกจากวัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ ก็เดินทางไปกราบไหว้
และท�ำวัตรเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสสรมหา
เถระ ป.ธ.๙) (เกดิ ปฉี ลู ๑๐ ก.พ.๒๔๖๘ – ๑๑ ก.พ.๒๕๕๔ อายุ ๘๖ ปี)
ซึ่งมรณภาพไปแล้วเป็นเวลา ๗ ปี ได้รับหนังสือแจกเล่มเดิมช่ือว่า
“ฐานิสสรมหาเถรานุสรณ์ ปีท่ี ๔” ข้าพเจ้าเปิดดูหนังสือรูปภาพ
หนา้ ๒๔ ประมวลภาพ เห็นภาพที่เจ้าประคณุ สมเดจ็ รบั พัดยศชน้ั ธรรม
คือพระธรรมปิฎก (ปี ๒๕๑๕) หรือจะเป็นพัดยศช้ันรองสมเด็จที่
พระธรรมวโรดม (ปี ๒๕๓๐) ไม่แน่ใจ? แต่จากเจ้าพระคุณสมเด็จ
พระสงั ฆราช องค์ที่ ๑๘ (วาสน์ วาสโน) ภายในพระวหิ ารวัดราชบพธิ
กเ็ กบ็ ความสงสยั ไว้ จนไดพ้ บกบั พระมหาปกรณ์ ป.ธ.๙ วดั ชนะสงคราม
ท่ีได้ไขความกระจ่างว่า ตอนที่เจ้าประคุณรับพัดยศจากในหลวงมานั้น
สภาพพดั ยศทรดุ โทรมมาก เจา้ หนา้ ทก่ี รมการศาสนานำ� มาเปลยี่ นใหใ้ หม่
และในพระราชพิธีอะไรสักอย่างหนึ่งที่วัดราชบพิธ ได้รับมอบพัดยศ
อีกครง้ั หนึ่ง

246 อนุทินประจำ� วนั

ที่จริง ท่านพระมหาปกรณ์ระบุว่าเป็นปี ๒๕๑๕ แต่ข้าพเจ้า
ยังแคลงใจอยู่ เพราะในยุคนั้น สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ (ปุ่น
ปณุ ณฺ สริ )ิ ประทบั อยวู่ ดั พระเชตพุ น หรอื พระองคจ์ ะเสดจ็ ไปตา่ งประเทศ
จึงมอบหมายสมเด็จฯ วดั ราชบพธิ ปฏบิ ตั หิ น้าทแ่ี ทน

ออกจากวัดชนะสงคราม ก็เดินทางไปกราบไหว้เจ้าประคุณ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เก่ยี ว อุปเสณมหาเถระ ป.ธ.๙) (๑๑ มกราคม
๒๔๗๑ - ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ อายุ ๘๕ ป)ี วดั สระเกศ เหมอื นทุกปี
ที่ผ่านมา

ในฝง่ั พระนคร ได้เดนิ ทางไปวดั สดุ ท้ายคอื วดั ไตรมติ รวิทยาราม
เขา้ ทำ� วตั รเจา้ ประคณุ สมเดจ็ พระพฒุ าจารย์ (สนทิ ป.ธ.๙) เจา้ คณะใหญ่
หนตะวันออก ก่อนเดินทางกลับ ข้าพเจ้ายืนดูพระอุโบสถท่ีเคยเป็น
ท่ีประดิษฐานพระพุทธรูปทองค�ำ ซึ่งช่างผู้ออกแบบช่ือหลวงวิศาล
ศิลปกรรม (เชอื้ ปทั มจินดา) เป็นช่างคนดยี วกบั ที่ออกแบบพระอุโบสถ
วัดราชบุรณะ และอีกหลายวัด เป็นนายช่างใหญ่คนหนึ่ง ทราบว่า
ท่านเป็นชาวจังหวัดสมุทรปราการ ข้าพเจ้าไม่ทราบประวัติของท่าน
มากนัก แต่ทราบว่าตึกอักษรศาสตร์ ท่ีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น
ก็ชว่ งหลวงท่านน้ีล่ะ เป็นผูอ้ อกแบบ

ข้ามฟากมาฝั่งธนบุรี เข้าวัดพิชยญาติการาม ดีใจท่ีพบเจ้าคุณ
พระราชรัตนมุนี (บุญเทียม) ท่ีออกมาต้อนรับ ก็กล่าวปฏิสันถาร
กันนิดหน่อย ก่อนท่ีหมู่คณะใหญ่จะเข้าท�ำวัตรเจ้าประคุณสมเด็จ
พระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสมะมหาเถระ ป.ธ.๙) เจ้าคณะใหญ่
หนกลาง

วัดพิชยญาติการาม ท�ำให้หวนร�ำลึกโรงเรียนสุขุมาลลัย
ท่ีหน้าบันจารึกค�ำว่า พระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๒๔๔๐ เพราะ

อนุทนิ ประจ�ำวนั 247

ข้าพเจ้าเป็นศิษย์โรงเรียนแห่งนี้ เคยมาเรียนบาลีกับอาจารย์
พระมหาสถิตย์ ป.ธ.๙ (ต่อมา พระปริยัติธรรมธาดา, มรณภาพแล้ว)
เป็นเวลา ๒ ปี ช่วงปี ๒๕๒๓-๒๕๒๔ ช่วงทอี่ าจารย์เจา้ คุณพระปริยตั ิ
ธรรมธาดา (สถิตย์ ป.ธ.๙) มรณภาพนั้น เป็นช่วงราวปี ๒๕๔๓-๔
ไม่แนใ่ จ ไม่ไดเ้ กบ็ ประวตั ิของอาจารยไ์ ว้ นับวา่ นา่ เสียดายมาก ทราบวา่
ทา่ นเปน็ คนมหาสารคามหรอื ไง? แตร่ จู้ กั คนุ้ เคยกบั พระมหาถาวร ป.ธ.๙
วัดมะขามล้ม ซึ่งมรณภาพที่วัดมะขามล้ม ตอนเผาข้าพเจ้าไปร่วมงาน
แต่ก็ลืมจดปีไว้อีก นั่นเป็นสิ่งท่ีน่าเสียดายในชีวิตท่ีไม่ได้เก็บสิ่งต่างๆ
ท่ผี า่ นมาในชีวิต

เข้าวัดปากน้�ำ ภาษีเจริญ เข้าท�ำวัตรกับเจ้าประคุณพระวิสุทธิ
วงศาจารย์ (วเิ ชียร อโนมคณุ มหาเถระ ป.ธ.๙) เจ้าคณะใหญห่ นเหนือ
ชาติภูมิคนอ�ำเภอสองพ่ีน้อง ประธานสหภูมิสงฆ์กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี
และปลายทางไปส้ินสุดท่ีวัดราชโอรสาราม ท�ำวัตรและสนทนาธรรม
ราวคร่ึงช่ัวโมง กบั เจา้ ประคณุ พระมหาโพธวิ งศาจารย์ (ทองดี สรุ เตชะ
มหาเถระ ป.ธ.๙) ซง่ึ ข้าพเจา้ ได้เรียนถามว่า เรมิ่ เรยี นบาลที ่ีไหน?

ขา้ พเจ้าเรียกว่าเจ้าคณุ อาจารยบ์ า้ ง อาจารย์เจ้าคุณบ้าง เพราะ
เป็นอาจารย์สอนบาลีในช่วงปี ๒๕๒๒-๒๔ จริงๆ ณ ส�ำนักเรียนสงฆ์
ส่วนกลางวัดสามพระยา น่ันคือช่วงเช้าเข้าเรียนที่วัดพิชัยญาติ
กบั อาจารยพ์ ระมหาสถติ ย์ ป.ธ.๙, ในภาคบ่ายเขา้ เรยี นท่มี หาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุฯ และภาคเย็น ไปเรียนท่ี
วดั สามพระยา ในชว่ งสองสามปชี ว่ งเขา้ พรรษานน้ั นน่ั คอื ชวี ติ การศกึ ษา
ของข้าพเจ้า

เจา้ คณุ อาจารยท์ องดี เลา่ วา่ บวชเณรและบวชพระทวี่ ดั บา้ นเกดิ
ช่ือวัดไตรภูมิ อ�ำเภอพรานกระต่าย จังหวัดก�ำแพงเพชร และเรียน

248 อนุทินประจ�ำวัน


Click to View FlipBook Version