The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ddttgr1125, 2020-04-15 21:24:04

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

บาลีชั้นต้นกับอาจารย์ที่ลาสิกขาไป เรียนบาลีด้วยตนเอง จนสอบ
ไดช้ นั้ ประโยค ๖ แล้ว หยุดไป ๓ ปี จงึ เข้ามาศกึ ษาตอ่ ณ วัดปากน้�ำ
ภาษเี จรญิ สอบได้ ป.ธ.๙ ไดใ้ นปี ๒๕๑๕

ข้าพเจ้ายังได้กราบเรียนว่า ได้ฟังเสียงอาจารย์เจ้าคุณคร้ังแรก
เป็นเทปบันทึกเสียง ท่ีข้าพเจ้าจ�ำได้ว่ามี ๓ รูป คืออาจารย์เจ้าคุณ
พระมหาวันชัย ทองจันทา ป.ธ.๗ และพระมหาทองสา ป.ธ.๘
ซึ่งอาจารย์เจ้าคุณได้แก้ข้อสงสัยและความเข้าใจผิดของข้าพเจ้าว่า
ไม่มีช่ือ พระมหาทองสาในเรื่องที่เกี่ยวกับการอัดเทปเสียงบาลีที่เรา
เรียกกันว่า “พระเทปาจารย์” แต่เป็นพระมหาตี่ ทสฺสนีโย ป.ธ.๗
คนนครสวรรค์ (ตอ่ มา พระวเิ ชยี รกวี (ต)่ี มรณภาพประมาณปี ๒๕๕๘-๕๙)
ท่ีเป็นเจ้าของเคร่ืองเทป และพระมหาวันชัย เป็นผู้ตรวจทาน ตอน
เจา้ คณุ อาจารยอ์ ดั บันทกึ เสยี ง

สามีจิกรรม ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ท่ียืนยันได้ว่า เป็นนักเรียนบาลี
โรงเรยี นสขุ ุมาลลัย และวดั สามพระยา

อนุทนิ ประจำ� วนั 249



อนทุ ินประจ�ำวัน

(๕๕๒ เปดิ บันทึกสมเด็จฯ ปา๋ วัดพระเชตพุ น)

หลังจากได้อ่านเปิดบันทึกก่อนเป็นสังฆราช ของพ่ีสมาน สุดโต
ลงในสยามอศั จรรย์ ฉบบั วนั อาทติ ย์ ท่ี ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑ แลว้
ก็อดใจไม่ได้ ต้องไปค้นและหยิบเอกสารประกอบที่เกี่ยวกับสมเด็จ
พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช องค์ท่ี ๑๗ วัดพระเชตุพน
ข้นึ มาอ่าน และทบทวน

“บนั ทกึ สมเดจ็ ฯ ปา๋ ” เปน็ หนังสือทีว่ ดั พระเชตพุ น ดำ� เนินการ
จัดพิมพ์ เนื่องในการบรรจุพระอัฐิ ยกฉัตร และฉลองพระเจดีย์
สมเดจ็ พระสังฆราช องคท์ ี่ ๑๗ ณ วดั สองพี่นอ้ ง วันศุกร์ ท่ี ๒๘ มนี าคม
พ.ศ.๒๕๕๑ พิมพ์ที่โรงพิมพส์ หธรรมกิ เปน็ หนังสือที่ใชอ้ ้างองิ บอ่ ยๆ

เปดิ บนั ทกึ หนา้ สดุ ทา้ ย (หนา้ ๙๖) พระองคบ์ นั ทกึ วา่ “เมอ่ื วนั ที่
๒๖ มนี าคม ๒๕๑๕ ในหลวงพระราชทานเงนิ ๓๐,๐๐๐ บาท สมทบ
ทนุ มลู นธิ พิ ระพทุ ธยอดฟา้ เปน็ พระมหากรณุ าธคิ ณุ แกว่ ดั เปน็ อยา่ งยงิ่ ”

หนังสือบันทึกไม่ได้บอกว่า “จบบริบูรณ์” และข้าพเจ้ายัง
ไมเ่ คยเหน็ ตน้ ฉบับเดมิ เหน็ แตท่ จ่ี ดั พิมพ์แลว้ แตก่ ็ไดจ้ กิ๊ ซอวว์ า่ บันทึก
ส้ินสุดลงก่อนวันประสูติปี ๒๕๑๕ เพียงไม่กี่วัน ซึ่งในช่วงระยะนั้น
พระองค์อาพาธกระเสาะกระเสะแล้ว จึงคิดว่าบันทึกต่างๆ ท่ีสามารถ
ตอ่ ยอดไดอ้ ีก คือ

อนทุ ินประจำ� วัน 251

- บ่อเกิดแห่งกุศลคือโรงพยาบาล ซึ่งคณะสงฆ์จังหวัด
สพุ รรณบรุ ี เคยจดั พมิ พ์ เนอื่ งในงานวนั เกดิ ของพระธรรมมหาวรี านวุ ตั ร
(ฉลอง จนิ ดาอินทร์) ปี ๒๕๕๑

- สู่ส�ำนักนิกสัน (มูลนิธิจัดพิมพ์ ๒๕๖๑) และสู่ส�ำนักวาติกัน
(มูลนิธิจดั พิมพ์ ๒๕๖๐)

- พระนิพนธ์เร่ืองการสถาปนา สมเด็จพระวันรัต ข้ึนเป็น
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (เรื่องสมเด็จพระวันรัต เน่ืองท�ำบุญ
อายุ ๒๘ มนี าคม ๒๕๑๖)

- สมุดไดอารปี่ ระจำ� พระองค์ท่บี นั ทึกส้ันๆ ในกจิ วตั รประจ�ำวัน
ข้าพเจ้าพลิกไปเปิดดูวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๑๖ ซ่ึงเป็นวันที่
พระองค์ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ได้เดินทาง
ไปประกอบพธิ ผี ูกพัทธสมี าทีว่ ดั ดอนเจดีย์ แต่ไม่พบหลักฐานบนั ทกึ ไว้
บันทึกสั้นๆ ของพระองค์ในสมุดพกเล่มเล็กๆ แสดงให้เห็น
กิจวัตรประจ�ำวันของพระองค์ (ส่วนใน***จะเป็นการแทรกค�ำอธิบาย
และข้อสนั นษิ ฐาน ของข้าพเจา้ **) ดงั น้ี

**
๑๔ มิถุนายน ๒๕๑๕ วดั จอมบึง อ.จอมบึง จังหวดั ราชบุรี
สรอย สธุ มโฺ ม
ประเสรฐิ ปภงฺกโร
พระครอู ินทเขมา วดั ปากช่อง อ.จอมบงึ
พระปลัดแดง วดั จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบรุ ี
๑๖.๑๗ น.

252 อนุทนิ ประจ�ำวนั

** เป็นช่วงหลังจากสมเด็จพระวันรัต และคณะ เดินทาง
กลับมายังประเทศไทย เม่ือวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๑๕ รวมเวลา
การเดินทางรอบโลกทั้งส้ิน ๓๔ วัน เป็นงานอุปสมบทนาค ๒ รูป
ชื่อนายสรวย กับนายประเสริฐ โดยพระองค์ต่้ังฉายาไว้ และก�ำหนด
พระคู่สวดไว้ พิธอี ปุ สมบทในเวลาช่วงเยน็ **

๑๕ มิถุนายน ๒๕๑๕
๒. พจน์ สวุ โจ
๑. พิชิต ฐิตวริ โิ ย
พระราชวิมลมุนี
พระราชโมลี
๑๙.๓๐ น.
**พระองคเ์ ขยี นเลขสลบั กนั เขา้ ใจวา่ หลงั จากสอบทานอายแุ ลว้
พชิ ติ มอี ายมุ ากกวา่ พจน์ และพระ ๒ รปู นน้ั คอื พระคสู่ วด พระราชวมิ ลมนุ ี
(พระวิสทุ ธาธิบดี (สงา่ ป.ธ.๘) และพระราชโมลี (พระธรรมราชานวุ ตั ร
(หลวงเตี่ย) นาคท้ังสองนี้ประกอบพิธีอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัด
พระเชตพุ น ในเวลาหวั ค�่ำ**
๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๕
วรวิทย์ อจารโิ ก
** สันนิษฐานว่าเป็นพระอุปัชฌาย์บวชพระ ไม่ได้ก�ำหนด
พระคู่สวดและเวลาไว้ คงเป็นที่วดั พระเชตพุ น**

อนทุ นิ ประจำ� วัน 253

๒๙ มถิ นุ ายน ๒๕๑๕
สรุ พล ผาสโุ ก
**สันนิษฐานว่าเป็นพระอุปัชฌาย์บวชพระ ไม่ได้ก�ำหนด
พระคสู่ วดและเวลาไว้ คงเปน็ ทว่ี ดั พระเชตุพน**
๑๘ มถิ นุ ายน ๒๕๑๕
วัดดีดวด อ.บางกอกใหญ่ ธนบรุ ี
ส.ณ.อนนั ต์ กมโล
พระราชพฒุ มิ ุนี
พระเทพมุนี
๑๕.๕๙ น. (พระองค์เขียนเวลาขวาง ซึ่งน่าจะหมายถึง
ส�ำเร็จเป็นพระภิกษุในเวลา ๑๕.๕๙ น. เพราะถัดไปเป็นวันเดียวกัน
ที่วดั พระเชตุพน อุปสมบทพระเถลงิ ศักด์ิ ในเวลา ๑๖.๕๐ น.)
**พระอุปัชฌาย์บวชให้ สามเณรอนันต์ ท่ีวัดดีดวด คงเป็น
เปรียญใหญพ่ อสมควร เพราะมพี ระราชาคณะชนั้ ผู้ใหญเ่ ปน็ คสู่ วด**
๑๘ มิถุนายน ๒๕๑๕
เถลิงศักดิ์ ชุตินธฺ โร
พระราชวมิ ลมนุ ี
พระราชโมลี
๑๖.๕๐ น.
**พธิ อี ุปสมบท ณ วัดพระเชตพุ น ภายในวันเดยี วกนั **

254 อนุทินประจำ� วัน

๒๔ มถิ ุนายน ๒๕๑๖
วดั สระเกศ
ตนั เบงซนิ ปยิ สีโล
พระราชสุธี
พระธรรมคณุ าภรณ์
๑๗.๓๓ น.
**น่ังอุปัชฌาย์ ณ วัดสระเกศ บวชพระชาวมาเลเซีย-สิงคโปร์
ชือ่ นายตนั เบง ซนิ ใหฉ้ ายาวา่ ปยิ สโี ล มรี ปู ภาพลงในหนังสอื พสล.
พร้อมค�ำบรรยาย พระราชสุธี (พระธรรมราชานุวัตร (หลวงเตี่ย)
วัดพระเชตุพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระธรรมคุณาภรณ์
(สมเดจ็ พระพฒุ าจารย์ (เกย่ี ว ป.ธ.๙) วดั สระเกศ เปน็ พระอนสุ าวนาจารย*์ *
น่นั คือบนั ทกึ จากไดอาร่ีของพระองค์ ถึงพระจรยิ วัตรอนั งดงาม
และภารกิจหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศท่ีอเมริกา เยือน
ทำ� เนยี บขาว และเชอื่ มสมั พนั ธไมตรที กี่ รงุ วาติกันแลว้
เพียงแค่ครง่ึ เดอื น ภายหลังกลบั มาจากเมอื งนอก
ค�ำบรรยายประกอบภาพ The Supreme Patriarch,
then Somdej Phra Wannarat, presides in council for the
higher ordination of Samanera Piyasilo (Tan Beng Sin)
of Malaysia in the convocation hall of Wat Sraket, Bangkok,
on 24th June 1972
Piyasilo Bhikkhu was initiatd as a novice by His
Holiness in Wat Anandametyaram, Singapore, on 10th May,
1970

อนุทนิ ประจำ� วนั 255



อนุทนิ ประจ�ำวนั

(๕๕๓ ชวี ติ ท่วี นเวยี นไปมา)

เมื่อปีที่แล้ว เดินทางไปฉันเช้าวัดพระปฐมเจดีย์ กลับมาฉันเพล
ทีว่ ัดพระพเิ รนทร์ ดงั อนุทนิ ฉบบั ท่ี ๑๙๔ เร่อื ง (เกิดกนั วันไหนแน?่ )
https://www.facebook.com/pphamonphon/posts/
1809273192421901?notif_id=1533007356746831&notif_t
=feedback_reaction_generic แต่ปีน้ีมีแปด ๒ หน แปดหน้ากับ
แปดหลัง ประเพณีไทยเข้าพรรษาแปดหลัง และปีน้ีตรงกับวันแรม
๔ ค่�ำ เดือน ๘-๘ ที่มีประเพณีให้พระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายเข้าไป
เจรญิ พระพทุ ธมนต์ ถวายเปน็ พทุ ธบชู า ณ วดั พระแกว้ ภายในพระบรม
มหาราชวงั

เม่ือวันออกเดินสายท�ำวัตรหรือท�ำสามีจิกรรม วันอาทิตย์
ที่ ๒๙ ก.ค.๒๕๖๑ ได้พบเจ้าคณะภาค ๑๔ วัดนิมมานรดี
ท่ีวัดชนะสงคราม ส่ิงแรกท่ีข้าพเจ้าถามว่า เปลี่ยนผ้าสีจีวรแล้วเหรอ?
เพราะจ�ำได้ว่าวัดนิมฯ เคยห่มผ้าสีท่ีเรียกว่าสีเหลืองทอง ซึ่งหมายถึง
สีเดียวกับวดั พระเชตพุ น วดั สุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ วดั ปากน�้ำ
ขา้ พเจา้ เรยี กวา่ หม่ ผา้ สเี หลอื ง แตเ่ หน็ พระเดชพระคณุ และพระเลขานกุ าร
ห่มผา้ สีราชนยิ ม จงึ ทักไปเชน่ นัน้

พระเดชพระคุณบอกว่า “เปลี่ยนสี แต่ไม่เปลี่ยนใจ” และ
คุยกัน ๒-๓ ค�ำ กอ่ นทีจ่ ะอ�ำลาจากกัน เพิง่ ทราบวา่ คณะสงฆ์หลายวดั
ปรับกลยุทธ์เปล่ียนสีผ้า นัยว่าผู้ที่จะอยู่รอดคือจิ้งจกท่ีต้องปรับตัว

อนทุ ินประจำ� วัน 257

เข้ากับสถานการณ์ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย ซึ่งข้าพเจ้าก็บอกตรงๆ ว่า
ไมเ่ หน็ ด้วย สว่ นใครจะเหน็ ด้วย ขา้ พเจา้ กไ็ มว่ า่ อะไร เพยี งแสดงทัศนะ
ว่าไมเ่ ห็นดว้ ย

รบั แสงอรณุ เขา้ พรรษาแลว้ จงึ ออกเดนิ ทางไปวดั พระปฐมเจดยี ์
ฉันเช้าเสร็จ ไม่เดินทางกลับกรุงเทพฯ ทันทีทันใด ไปเยี่ยมถึงกุฏิ
ท่านพระครูสุธีเจติยานุกูล (พระมหารุ่ง วันทอง) (เกิดปีกุน ๒๕๑๔)
เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ซ่ึงยังห่มผ้าเหลืองอ๋อย ศัพท์
ทางการเรียกว่าสีเหลืองทอง คุ้นเคยกันดีต้ังแต่ท�ำงานเป็นเลขานุการ
ดว้ ยกันมานาน วันนี้ไปเย่ยี มชมและข้ึนกฏุ ทิ ่าน ท่ชี ้ันลา่ งเป็นสำ� นกั งาน
วัดพระปฐมเจดีย์ ขา้ พเจา้ ทีแรกคดิ ว่าเคยไปแต่ชน้ั ล่างและไปมาบอ่ ยๆ
แต่ชั้นบนนั้นหลังจากขึ้นไปแล้ว ได้ชมรูปภาพและประวัติต่างๆ
ทปี่ ระทบั ใจมาก ซ่ึงจะน�ำมาเล่าสกู่ ันฟังในอนุทนิ ต่อไป

ก่อนลงบันไดมาช้ันล่าง นึกข้ึนได้ว่าเคยขึ้นมาบนกุฏิหลังนี้
คร้ังหนง่ึ นานมาแลว้ สมัยท่ีพระเทพมหาเจตยิ าจารย์ (ชัยวฒั น์ ป.ธ.๙)
ยงั เปน็ พระราชาคณะชน้ั ราชอยู่ แตจ่ ะปไี หน จำ� ไมไ่ ด้ มากบั หลวงพอ่ เลก็
(พระธรรมพุทธิมงคล) จะไปประชุมวัดไร่ขิงหรืออะไรสักอย่างหนึ่ง
ได้ขึ้นมาพักท่ีกุฏิน้ี ซ่ึงเป็นกุฏิเดิมของหลวงพ่อเจ้าคุณผูก จันทราศรี
ทีม่ รณภาพแลว้ (ตรวจสอบวา่ เป็นเจา้ คณะตกึ ศรทั ธาสหชน (คณะ ๑๐)
จนถึงปี ๒๕๔๖) เจา้ คณะจังหวดั นครปฐมเคยอยทู่ กี่ ุฏหิ รอื ตึกน้ีมาก่อน
และย้ายไปอกี กฏุ หิ นง่ึ ขณะทที่ ำ� การซอ่ มบูรณะ

ได้แวะไปพูดคุยกับท่านเจ้าคุณพิพัฒน์ ป.ธ.๙ ปี ๒๕๑๙
(พระศรีสุธรรมเวที) (เกิดปีขาล ๒๔๙๓) ถึงประวัติอะไรต่างๆ
ก่อนจะแวะไปชมดูกุฏิเจ้าจอมมารดาชุ่ม ท่ีถวายไว้ทั้งเรือน ยกมาจาก
พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่ทางรถไฟสายนครปฐมจะเปิดด�ำเนินการ
คอื ราวก่อนปี ๒๔๔๗

258 อนทุ นิ ประจำ� วัน

เวลา ๐๙.๐๐ น. เศษ จึงเดินทางกลับเขา้ กรงุ เทพฯ ไปฉันเพล
ที่วัดพระพิเรนทร์ วรจักร สนทนาธรรมะและสีจีวรผ้าของพระสงฆ์
องค์เจ้าตา่ งๆ ในพระพทุ ธศาสนา จนเวลาบา่ ย ๒ โมงครึง่ จงึ เดนิ ทาง
ไปวัดพระแก้ว เพ่ือร่วมเจริญพระพุทธมนต์ ถวายเป็นพุทธบูชา
ข้าพเจ้าต้ังใจไปก่อนแต่เนิ่นๆ เพ่ือเดินประทักษิณชมดูภาพจิตรกรรม
ฝาผนังชุดรามเกียรติ์ เจาะจงดูภาพท่ีเป็นฝีมือของสง่า มะยุระ
ท่ีเป็นช่างเขียนชาวสุพรรณบุรี ดูว่ามีกี่ภาพกันแน่ เป็นภาพอะไรบ้าง
ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง ได้เดินชมดูรอบหนึ่งพอดี พบฝีมือของสง่า มะยุระ
อยู่ทิศเหนือใต้ออกตกครบสี่ทิศ ๔ ภาพ บวกกับภาพซ่อม ๑ ภาพ
รวมเป็น ๕ ภาพวาดสวยงามมาก ตรงกบั ฐานขอ้ มูลเดิมว่าสง่าฝากฝีมือ
เป็นภาพวาดเรอื่ งรามเกยี รตร์ิ วมกนั ๕ ภาพ (หนุมานอาสา, กวางทอง
(มารีศ),.........- พระพรตทีห่ อ้ งสดุ ทา้ ย กอ่ นเรม่ิ หอ้ งที่ ๑, ภาพสง่าซอ่ ม
คอื ภาพปลอ่ ยมา้ อปุ การ ดา้ นทศิ ตะวนั ตก ซอ่ มในปี ๒๕๑๕) หลงั จากนน้ั
ไดเ้ ขา้ ไปภายในพระอโุ บสถวดั พระศรรี ตั นศาสดาราม ไดท้ น่ี ง่ั แถวหนา้ สดุ
เพราะว่างอยูพ่ อดี

ไดพ้ บนายเวก สวสั ดี เจา้ หนา้ ทส่ี ำ� นกั ราชวงั บอกวา่ วนั นเ้ี ปดิ โอกาส
ใหถ้ า่ ยภาพได้ หลงั จากเจรญิ พระพทุ ธมนตเ์ สรจ็ แลว้ ไดม้ โี อกาสเดนิ ชม
รอบพระแก้วมรกตหนึ่งรอบ ซ่ึงนับว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตที่มีโอกาส
ท่ีไดช้ มแบบนี้

สรปุ วา่ วนั นเี้ ปน็ บญุ ตาและบญุ ใจทไ่ี ดเ้ ดนิ ประทกั ษณิ รอบระเบยี ง
ชมภาพรามเกียรติ์ จากห้องเริ่มต้นห้องท่ีเท่าไรไม่รู้ ไม่ได้หมายใจไว้
แตเ่ ดนิ วนมาเหน็ หอ้ งสดุ ทา้ ยทเี่ ปน็ ฝมี อื ของสงา่ มะยรุ ะ (มหี า้ งรา้ นตง้ั อย)ู่
และเริ่มห้องท่ี ๑ ที่เริ่มเรื่องรามเกียรต์ิ มีพิธีไถนา พบนางสีดาเป็น
ปฐมเหตุ

อนทุ ินประจำ� วัน 259

ภาพห้องท่ี ๑ นี้ ข้าพเจ้าเพ่งพินิจช่ือผู้วาดพระเทวาภินิมมิต
วาดปี ๒๔๗๔ และชอ่ื ผซู้ ่อมเม่อื ปี ๒๕๒๐ ชอื่ “นายสนทิ ดิษฐพ์ ันธุ”์
ช่ือและนามสกุลน้ี จะเป็นคนเดียวกับคนแถวบางปลาหมอเปล่าหนอ?
ถ้าใช่ ข้าพเจ้าพบช่างวาดท่ีเป็นศิลปินชาวสุพรรณท่ีฝากฝีมือและ
ช่ือเสียงไว้ที่ระเบียงวัดพระแก้ว นับได้ถึง ๒ คน ถ้าไม่ใช่ก็แล้วไป
แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่าใช่คนสุพรรณแน่ ข้อนี้พิสูจน์ได้ไม่ยาก ในการค้นหา
ค�ำตอบ ซึง่ ตอ่ มาตรวจสอบแลว้ วา่ ไม่ใชค่ นสุพรรณ

ไดอ้ าศยั บารมรี ถของทา่ นเจา้ คณุ พระกติ ตโิ สภณวเิ ทศ (เศรษฐกจิ )
วัดนาคปรก ส่งที่หน้าวัด และภาคค่�ำนัดกับท่าน ดร.พรรษาไว้
เพอื่ ไปร่วมฟงั สวดศพท่ีวดั แกว้ บางพรม สกั คนื หนึง่

กวา่ จะเสรจ็ จากงาน แคเ่ ลา่ เรอ่ื งวา่ ไปไหนมาบา้ ง จงึ ไมเ่ ขา้ เรอ่ื ง
อะไรเลย เรียกว่าเลียบค่ายไปก่อนในวันนี้ วันต่อไปค่อยว่ากันใหม่
จะไมเ่ ขยี นอะไรฝากไว้ กด็ กู ะไรอยู่ น�ำภาพจิตรกรรมฝาผนังมาฝากไว้
ก็ยังดกี ว่าอยเู่ ปล่าๆ

260 อนทุ ินประจำ� วัน

อนทุ ินประจำ� วนั

(๕๕๔ กุฏิพระปฐมเจตยิ าทร

หลวงพอ่ บญุ ธรรม จันทรห์ อม)

เมอื่ ขน้ึ ไปเยย่ี มกฏุ ขิ องทา่ นพระครสู ธุ เี จตยิ านกุ ลู (พระมหารงุ่ วนั ทอง
ป.ธ.๖) (เกิดปีกุน ๒๕๑๔) ได้เห็นส่ิงต่างๆ มากมาย กุฏิหลังนี้
สรา้ งเสรจ็ ในปี ๒๕๐๖ และปนี น้ั หลวงพอ่ บญุ ธรรม จนั ทรห์ อม (๒๔๓๕-
๒๕๐๗) ได้รับพระราชทานสมณศกั ดเิ์ ปน็ เจ้าคุณท่ี พระปฐมเจตยิ าทร
จนถงึ เดอื นเมษายน ๒๕๐๗ ก็มรณภาพไป

ผสู้ บื ทอดดแู ลกฏุ คิ อื พระพพิ ฒั นว์ ริ ยิ าภรณ์ (หลวงพอ่ ผกู ฐติ สทโฺ ธ
นามสกุล จนั ทราศรี) ซ่ึงไดเ้ ลา่ เรื่องเปน็ มุขปาฐะไว้มากมาย, เจา้ คุณผูก
เล่าถึงคุณพิเศษของหลวงพ่อบุญธรรมว่า สมเด็จพระสังฆราชป๋า
(๒๔๓๙-๒๕๑๖) เป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกัน อายุอ่อนกว่าหลวงพ่อ
บญุ ธรรม มคี วามคนุ้ เคยกนั มาก คราวหนงึ่ สมเดจ็ ฯ ปา๋ เดนิ ทางไปเทศน์
ทเ่ี พชรบรุ ี แวะมาหาเจา้ คณุ บญุ ธรรม ทว่ี ดั พระปฐมเจดยี ์ และขนึ้ ไปพกั
และเยย่ี มเยอื นกนั

สมเด็จฯป๋า ถามว่ามีกัณฑ์เทศน์อะไรบ้าง หลวงพ่อบุญธรรม
เป็นพระหมอดูแม่นๆ แม่นหรือไม่แม่นขอเล่าย้อนหลังว่า สมัยท่ี
ยังเป็นฆราวาสน้ัน เป็นหมอดูที่ท�ำนายว่า ร.๖ จะมีพระราชธิดา
ท�ำให้ถูกจับตัวไปกักขังไว้ เม่ือปรากฏว่าเป็นพระราชธิดาจริง ได้รับ
การปล่อยตวั และวันรุ่งขนึ้ ร.๖ สวรรคต นน่ั คือเปน็ การท�ำนายทายทกั
ทเ่ี ลอื งลอื กันมา

อนทุ นิ ประจำ� วนั 261

หลวงพ่อบุญธรรมก็ท�ำนายบอกว่า มีนั่นมีน่ี และบอกว่า
มีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ซ่ึงสมเด็จฯ ป๋าคิดว่าทายผิดแน่ๆ คราวนี้
แตเ่ มอื่ เดนิ ทางมาถงึ วดั พระเชตพุ นแลว้ เดก็ ขนของลงจากรถ ปรากฏวา่
มีพระพุทธรูปจริงๆ เพราะมีโยมคนหน่ึงฝากมาถวายโดยไม่แจ้ง
ใหท้ ราบกอ่ น

พระบ้านนอกธรรมดารูปหนึ่งในสมัยก่อนโน้น แต่ได้รับ
การยกย่องให้เป็นพระราชาคณะในสมัยโบราณ นับว่าไม่ธรรมดา
ท่านเป็นพระหมอดูและน่ังทางใน ทายแม่นย�ำดังตาเห็น เสียงลือ
เสียงเลา่ อ้าง ยงั มถี ึงปัจจบุ นั

กุฏิหลังนี้ ที่ชั้นล่างใช้เป็นห้องสมุด หลวงพ่อบุญธรรม
ชาวกรุงเทพมหานคร เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
บางคนว่าเป็นศิษย์ แต่บางคนว่าเป็นหลานหลวงพ่อปานทีเดียว
รกรากดั้งเดิมจริงๆ เป็นชาวอยุธยา มีชีวิตอยู่กับเรือที่ล่องไปล่องมา
บั้นปลายมาอยู่วัดพระปฐมเจดีย์ มีหลวงพ่อป่วน (พระครูปฐม
เจติยานุรักษ์) เป็นผู้ติดตามมาจากอยุธยาอีกรูปหนึ่ง เป็นสักขีพยาน
จากการตรวจสอบข้อมูลบรรพบรุ ุษ จึงทราบวา่ นามสกุล “จันทรห์ อม”
ส่วนหลวงพอ่ ปาน วดั บางนมโคนัน้ นามสกุล “สทุ ธาวงศ”์

ดังข้อมูลพื้นฐานที่ทราบกัน คือ นามเดิมว่า ปาน สุทธาวงศ์
(๑๖ ก.ค.๒๔๑๘ - ๒๖ ก.ค.๒๔๘๑ อายุ ๖๓ ปี, พรรษา ๓๒ ฉายา
พระว่า “โสนนฺโท” เจ้าอาวาสวัดบางนมโค อ.เสนา (ช่วงเจ้าอาวาส
ปี ๒๔๗๘-๒๔๘๑) เกิดที่บ้านต�ำบลบางนมโค อ.เสนา เป็นบุตรของ
นายสะอาด - นางอ่ิม สทุ ธาวงศ์

ส่วนหลวงพ่อบุญธรรม (พระปฐมเจติยาทร) จะเป็นศิษย์
หรือเปน็ หลานเก่ียวข้องกันอย่างไร เป็นเร่ืองท่นี ่าสบื ค้นตอ่ ไป

262 อนทุ ินประจ�ำวัน

ทา่ นพระครูสธุ เี จตยิ านุกลู ตงั่้ รปู บูรพาจารย์ ๓ รปู บนโต๊ะบชู า
มี เจ้าคุณบุญธรรม (พระปฐมเจติยาทร)-พระครูฯ ป่วน (พระครู
ปฐมเจตยิ านุรักษ์), เจา้ คณุ ผกู (พระพิพฒั นว์ ิรยิ าภรณ์)

นอกจากน้ี ยังมีแผนผังอุปัชฌายาจารย์ เริ่มจากสมเด็จ
พระพุฒาจารย์ (สนธ์ ประโยค ๓) วัดสระเกศ ซึ่งมีค�ำว่า “สมเด็จ”
นำ� หน้า “พระพุฒาจารย์” เปน็ รปู แรกในสมยั ร.๔ เป็นพระอปุ ัชฌาย์
ของสมเด็จพระวันรัตน (แดง สีลวัฑฒโน) วัดสุทัศนเทพวราราม,
สมเด็จฯ แดงเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระธรรมวโรดม (โชติ ป.ธ.๘)
(เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ๒๔๖๕-๒๔๙๗) คนลาดน�้ำเค็ม อยุธยา,
เจ้าคุณชิตเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (หลวงพ่อผูก
จันทราศรี), หลวงพ่อผูกเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระครูสุธีเจติยานุกูล
และพระครูกาญจนสันตคิ ณุ (แทง่ สันติกโร) วัดหนองลาน อ.ท่ามะกา
กาญจนบุรี ซงึ่ เปน็ พระอุปชั ฌาย์บวชสามเณรรุ่ง วันทอง

บนกฏุ ชิ นั้ สองแห่งน้ี ยงั มีรูปภาพต่างๆ ท่แี ขวนไว้ บาตรท่ีระลกึ
มีตรา จปร.๕, ย่าม, และตาลปตั รปักนารายณข์ ่ีครุฑ ซ่งึ เปน็ ของสงู

รูปภาพเก่าๆ ของพระภิกษุสามเณรวัดเบญจมพบิตร ที่เป็น
วัดด้ังเดิมท่ีพระธรรมวโรดม (โชติ ป.ธ.๘) เคยอยู่อาศัย ดังมีเรื่อง
เล่าขานว่า เมื่อบวชพระนั้น เป็นรูปแรกท่ีอุปสมบทท่ีพระอุโบสถใหม่
วัดเบญจมบพิตร ถึงขนาดที่ ร.๕ จูงเข้าพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร
ทเี ดียว

นัน่ คอื เรอ่ื งเลา่ เรือ่ งฝากจาก ปฐมนคร

อนทุ ินประจ�ำวนั 263



อนทุ ินประจ�ำวนั

(๕๕๕ พระอนุจร ติดตามไปต่างแดน)

ในส�ำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วงั น้อย เมือ่ เกดิ การผลดั ใบขนึ้ มกี ารแตง่ ตัง้ รก.อธกิ ารบดรี ปู ใหม่
และรอการโปรดเกล้าฯ อธิการบดีรูปใหม่ ในวันสุดท้ายของการขน
สิ่งของเชน่ หนังสอื ตา่ งๆ เขา้ ห้องสมดุ ขา้ พเจ้าไปเลอื กดูหนงั สือท่ีถูกใจ
ได้มา ๒-๓ เล่ม หลังจากที่ผ่านการคัดเลือกของผู้อ่ืนมาหลายวันแล้ว
เลม่ หน่ึงที่ขา้ พเจ้าเคยมแี ล้ว แต่หลังจากน้�ำทว่ ม ไม่แนใ่ จวา่ จะหาได้อกี
หรอื เปลา่ คอื “ภาพชวี ติ ” ของพระพรหมบณั ฑติ (ประยรู ป.ธ.๙, ดร., ศ.)
ตพี มิ พใ์ นปี ๒๕๕๘ ในวาระครบรอบ ๖๐ ปี (เกดิ ปมี ะแม ๑๗ ก.ย.๒๔๙๘)

ข้าพเจ้าคัดเลอื ก “ภาพชวี ิต” ของขา้ พเจ้าท่อี ยู่ในเล่มดงั กลา่ ว
ในฐานะผู้รว่ มเดินทางเป็นพระอนจุ รตดิ ตามไปต่างประเทศรูปหน่ึง

ชีวิตในต่างแดนท่ีร่วมชีวิตกัน ท�ำให้ใจหาย เม่ือทราบว่า
อธิการบดีท่ีกลายเป็นอดีตอธิการบดีไป ตัดสินใจวางมือหลังจาก
ดำ� รงต�ำแหนง่ อธกิ ารบดี ๕ สมยั เปน็ เวลา ๒๐ ปี (๒๕๔๐-๒๕๖๑)

แทรกภาพชีวิตที่เคยใช้ชีวิตร่วมกันระยะสั้น ๕-๖ เดือน ท่ี
International Students House, University of Delhi, Mall Road
ซ่ึงภาพถ่ายยังมีพระมหาปัญญา ครุฑวงษ์ (พระราชวิสุทธิเมธี), และ
พระมหาสมพงษ,์ พระมหาอนิ ศร ดวงคดิ (พระมงคลธีรคุณ) เป็นต้น

ในการทำ� งานรว่ มกนั นอกจากทม่ี หาวทิ ยาลยั จากทา่ พระจนั ทร์
ยันถึงวังน้อย ในฐานะที่อธิการบดีเป็นประธานจัดท�ำหลักสูตร และ

อนุทินประจำ� วัน 265

ขา้ พเจา้ เปน็ กรรมการจดั หนงั สอื เรยี นพระพทุ ธศาสนา หลกั สตู รการศกึ ษา
ขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นต้น

งานต่างประเทศ ท่ีเปน็ กาลานกุ รมเก่ียวข้องกบั ขา้ พเจา้ เชน่
- งานฉลอง ๒๕๐ ปี สยามนิกาย ณ เมืองแคนดี้ ประเทศ
ศรลี งั กา (๑๔ พ.ค.๒๕๔๖) และต่อมามีการฉลอง ๒๖๐ ปี (๒๕๕๖)
- ร่วมกับคณะสภาผู้น�ำศาสนาโลก ท่ีเมืองเยรูซาเล็ม ประเทศ
อสิ ราเอล (๑๓ ธ.ค.๒๕๔๖) โดยทกี่ อ่ น ว-ด-ป นนั้ เดนิ ทางไปรว่ มประชมุ
ท่เี มืองเซวิลญ่า ประเทศสเปน
- ประชุมทส่ี ิงคโปร์ ปี....(นา่ จะ ๒๕๔๗?)
- การลงนามในความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาจุฬาฯ
กับมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนากรุงปักก่ิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
(๒๑ เม.ย.๒๕๔๗)
-ประชุมชาวพุทธนานาชาติ เน่ืองในวันวิสาขบูชา วันส�ำคัญ
สากลของโลก คร้ังท่ี ๑ (๒๕ พ.ค.๒๕๔๗) และประชุมนานาชาติ
เร่อื งเถรวาทและมหายาน ณ ศูนยก์ ารประชมุ เอ็สแคป (๑๖-๒๐ ก.ค.
๒๕๔๗) นับจากครั้งท่ี ๑ จนถึงการประชุมวันส�ำคัญสากลของโลก
คร้ังที่ ๑๓ เดินทางไปประชุมที่เวียดนาม ๒ คร้ัง (๒๐๐๘, ๒๐๑๓
(๘-๑๐ พ.ค. ๒๕๕๗) และที่ศรลี งั กา (๒๐๑๗)
- ไปร่วมประชุมท่ีส�ำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ
นครนิวยอรก์ (๑ มิ.ย.๒๕๔๗)
- ไปช่วยอุทกภัยที่ประเทศเมียนมาร์ พายุนาร์กีสถล่มเม่ือ
เดือนกันยายน ๒๕๕๑
- ประชมุ สภาผนู้ ำ� ศาสนาโลก ครงั้ ที่ ๓ ณ เมอื งอสั ตานา ประเทศ
คาซักสถาน (๑-๒ ก.ค.๒๕๕๒)

266 อนทุ นิ ประจ�ำวัน

- ประชมุ พสล.ครงั้ ที่ ๒๗ ณ วดั ฝา่ เหมนิ มณฑลสา่ นซี (๑๗-๑๘
ต.ค. ๒๕๕๗) ซึง่ เปน็ ครั้งนท้ี ไี่ ดไ้ ปชมสุสานจน๋ิ ซีฮ่องเต้ดว้ ยกัน

- เดินทางไปประเทศอียิปต์ (๙-๑๒ ม.ี ค.๒๕๕๑)
- ร่วมเดินทางไปเยอื นประเทศภูฏาน (๒๑-๒๔ มี.ค.๒๕๕๘)

----เปน็ ต้น---
ขณะท่ีอยู่ในส�ำนักงานอธิการบดี นายหัฏฐกรณ์ แก่นท้าว
หน้าห้องอธิการบดียื่นให้ดูเอกสารชิ้นหน่ึง ซึ่งค้นพบเจอขณะล�ำเลียง
เอกสารและหนังสือต่างๆ เข้าสู่ห้องสมุด และบอกว่าได้สแกนส่ง
ให้ท่านเรียบร้อยแล้ว ท่านบอกว่าให้เก็บไว้ให้ดีๆ ข้าพเจ้าจึงขอสแกน
เอกสารชิ้นหน่ึง เป็นอนุสรณ์ในชีวิต เป็นค�ำส่ังแต่งต้ังสมาชิกสภา
มหาจฬุ าลงกรณร์ าชวทิ ยาลยั คำ� สงั่ ท่ี ๑/๒๔๙๐ ลงนามโดยพระพมิ ลธรรม
(ชอ้ ย ฐานะทัตตมหาเถระ) สภานายกมหาวทิ ยาลยั
ในบัญชีค�ำสั่งนี้ นับว่าเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ส�ำคัญ
ก่อนท่เี ราจะมาถงึ วันน้ี

อนทุ ินประจ�ำวนั 267



อนุทินประจำ� วนั

(๕๕๖ วงั หนา้ หนา้ วัดมหาธาตฯุ ท่าพระจันทร์)

ประตูวังหน้าถึงจะสร้างข้ึนใหม่ แต่ก็ให้บรรยากาศพอให้ทราบ
ได้ว่า ประตูวังหน้ามีลักษณะเป็นเช่นไร เดินไปดูก�ำแพงและ
ประตูวังหน้า ท่ีตรงป้ายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตรงราวกลาง
สนามหลวง ซ่ึงถัดไปมีถนนค่ัน แล้วถึงเขตวัดมหาธาตุฯ มีพระบรม-
ราชานวุ รยี ์ สมเดจ็ พระบวรราชเจา้ มหาสรุ สงิ หนาท (บญุ มา) ประดษิ ฐานอยู่

เดินผ่านไปมาหลายคร้ัง แต่ไม่เคยหยุดอ่านประวัติแผ่นจารึก
ประวัติการสร้างสมเด็จวังหน้า ให้หน�ำใจสักที จึงต้ังใจไปส�ำรวจ
เพราะเคยได้ยินว่า เก่ียวข้องกับพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หัวหน้า
คณะปฏริ ูป ในรัฐบาลยุคราวปี ๒๕๒๐

หวนร�ำลึกถึงวันที่ไปเจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพุทธบูชา
เมือ่ แรม ๕ ค่�ำ เดือน ๘-๘ (ตรงกับวนั ที่ ๓๑ ก.ค.๖๑) เห็นชอ่ื ศิลปนิ
ที่วาดเร่ืองรามเกียรติ์ ห้องที่ ๑ ผู้วาดช่ือพระเทวาภินิมมิต (วาดปี
๒๔๗๔) และผู้ซ่อมชื่อนายสนิท ดิษฐพันธุ์ (๒๔๖๕-๒๕๕๒) ศิลปิน
แหง่ ชาติปี ๒๕๓๒ ไดว้ าดซ่อมไว้เม่อื ปี ๒๕๒๐ และมพี ระสงฆร์ ูปเดยี ว
ที่เป็นศิลปินชื่อ พระครูเท่ียง วัดระฆังโฆสิตารามได้ฝากฝีมือวาดไว้
ภาพหนึ่ง ในปี ๒๔๗๒

พระบรมราชานุสาวรีย์วังหน้า วางศิลาฤกษ์ปี ๒๕๒๑ และ
สรา้ งเสรจ็ ปี ๒๕๒๒ มรี ายละเอยี ดปรากฏบนจารกึ ทบี่ นั ทกึ เหตกุ ารณไ์ ว้
ว่าสร้างในสมัยพระธรรมปัญญาบดี (สวัสด์ิ กิตติสารมหาเถระ)

อนทุ ินประจ�ำวัน 269

อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯ เป็นประธานพร้อมด้วยคณะบรรพชิต
วัดมหาธาตุฯ และ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ประธานฝ่ายคฤหัสถ์
กรรมการบริหารสมาคมศษิ ย์เก่าวดั มหาธาตฯุ

นายสนิท ดิษฐพันธุ์ เป็นผู้ออกแบบพระรูป นายแหลมสิงห์
ดิษฐ์พันธุ์ เป็นช่างปั้นหล่อ งานน้ียังได้บันทึกศิษย์เก่าวัดมหาธาตุฯ
เช่น ศ.พเิ ศษ เสฐยี ร พนั ธรงั ษี ราชบณั ฑติ เลขานุการไวด้ ว้ ย นับวา่ เปน็
หลักฐานส�ำคัญอกี ชิน้ หนึ่ง

เดินเข้าภายในพระวิหารคดวัดมหาธาตุฯ ด้านทิศเหนือ
บังเอิญเห็นป้ายจารึกอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯ ท่านเจ้าประคุณ
สมเด็จพระวนั รตั (เขมจารีมหาเถระ กมิ เฮง) น่าสนใจดีมาก เดิมไดย้ ิน
แต่เรยี กกันว่า สมเดจ็ พระวนั รตั (เฮง) แต่ทแี่ ท้ในจารกึ แผ่นน้ี จารึกวา่
กิมเฮง และเจ้าประคุณสมเด็จฯ เฮง มีพี่ชายบวชเป็นพระชื่อว่า
“กมิ ฮวด” มาดจู ารกึ กนั ดังนี้

อฐั บิ พุ การี และบพุ การนิ ี ของ สมเดจ็ พระวนั รตั (เขมจารมี หาเถระ
กมิ เฮง), นายเอง ตา, นางแห ยาย, นางเกษร์ ปา้ , นายตว้ั เก้า บิดา,
นางทบั ทมิ มารดา, นางยมิ้ มารดาเลยี้ ง, พระสนุ ทรมุนี (อนิ ทฺ สวุ ณฺโณ
กิมฮวด) พ่ีชาย, บรรจุ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๘. พระราชรัตนเมธี
(อภิปาโล ชนินทร์) พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ในท่านเจ้าประคุณสมเด็จ
พระอปุ ชั ฌาย์ ปฏิสงั ขรณ์ พทุ ธศักราช ๒๕๒๑

ใกล้ๆ กันในด้านทิศเหนือน้ัน ยังมีอัฐิของ พล.ร.จ.เรียง
วิภัติภูมิประเทศ (๒๔๓๙-๒๕๓๘) และนางบุญชุบ วิภัติภูมิประเทศ
(๒๔๕๓-๒๕๒๗) ซึ่งนามสกุลน้ีเก่ียวข้องกับบรรพบุรุษคนสองพ่ีน้อง
คนบ้านเดยี วกบั ข้าพเจา้

270 อนทุ นิ ประจ�ำวนั

ออกจากเขตพุทธาวาส ก่อนจะออกประตูวัดมหาธาตุฯ
ไปถนนมหาราช นึกอย่างไรไม่ทราบ เม่ือเดินทางผ่านสมาคมศิษย์เก่า
วัดมหาธาตุฯ ผลักประตูเข้าไปกะสอบถามข้อมูลสัก ๒-๓ ค�ำ
เห็นวงประชุมประกอบด้วยพระเดชพระคุณพระธรรมปัญญาบดี (พีร์)
อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯ, นายประสิทธ์ิ ขันธีวิทย์ และนายมนัส
พวงล�ำเจียก อดีตพระมหามนัส จิตฺตทโม ป.ธ.๖ ท่ีเคยถูกจับคุมขัง
ขอ้ หาเปน็ คอมมิวนิสต์

ข้าพเจ้าเคยสอบถามนายมนัส อายุ ๙๐ กว่าปีว่าถูกต�ำรวจ
จับคุมขังกี่เดือน ได้ยินว่า ๑๐ เดือน และจ�ำวันเดือนปีที่ถูกจับได้ไหม
มหามนัสบอกทันทีว่า วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๐๓ ถูกจับคุมขังอยู่
เป็นเวลา ๔ ปคี ร่ึง ว่ารว่ ม ๕ ปี และเลา่ กนั ว่า มหาสังเวยี ร มเี ผ่าพงษ์
ป.ธ.๙ เหลืออยู่คนเดียวอยู่ท่ีอินเดีย ส่ังให้ไปบอกว่าอย่ากลับมา
แต่นึกว่า สมเด็จพระวันรัต (ป๋า) วัดพระเชตุพนใหญ่ ที่ไหนได้
พอกลับมาก็ถูกรวบตัว จับเข้าคุกเหมือนกัน ออกจากคุกพร้อมกัน
มีพระมหานคร (พระราชรัตนโมลี)-มหาสังเวียร-มหามนัส ซ่ึงในคน
รนุ่ เดยี วกนั นี้ จะเลา่ ไดเ้ พราะเหลอื อยคู่ นเดยี วคอื มหามนสั พวงลำ� เจยี ก
อายุ ๙๑ ปีน่นั เอง

จากวงสนทนากัน ข้าพเจ้าได้รับค�ำตอบหลายอย่าง เช่น
พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เป็นศิษย์วัดมหาธาตุฯ เคยเข้ามาบวชอยู่
พรรษาหนึ่ง, มีชื่อพ้องกัน ๒ พระมหาชนินทร์ คนแรกพระมหาแล
ประโยค ๓ คนหนองผกั นาก สพุ รรณบรุ ี เปลยี่ นชอื่ เปน็ พระมหาชนนิ ทร์
เป็นเจ้าคณะ ๒๐ และพระมหาค�ำผา เปลี่ยนช่ือเป็นพระมหาชนินทร์
อภิปาโล นามสกุล “จันทร์ดี” ประโยค ๕ เป็นคนพวนหัวสะแก
อ.เมืองลพบุรี ต่อมาเปน็ พระรตั นเมธี และพระราชรตั นเมธี โดยลำ� ดบั

อนุทินประจ�ำวนั 271

ข้าพเจ้าสอบถามถึงนายสนิท ดิษฐพันธุ์ ซึ่งได้รับค�ำตอบว่า
เป็นศิษย์วัดมหาธาตุฯ บ้านแม่อยู่แถววงษ์สว่าง หลังดับเพลิง
แต่ไม่ทราบรายละเอียด ยืนยันว่าเป็นศิษย์วัดมหาธาตุฯ เช่นเดียวกับ
นายช�ำนาญ ยวุ บรู ณ์ และพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

ออกจากวัดมหาธาตุฯ เข้าไปวัดพระเชตุพน ไปดูอัฐิของ
พระครูวิมลมงั คลโพธ์ิ (หลวงตาช)ู คณะ ต.๓ ท่พี ระวหิ ารคด เผอ่ื จะได้
ร่องรอยอะไรเพ่ิมเติม แล้วเข้าเขตสังฆาวาส ไปเย่ียมคนนั้นคนน้ี
สุดท้ายไปสนทนาธรรมกับพระมหาประเชิญ ศรีเหรา ป.ธ.๙ ท่ีโชว์
ภาพแรกของ ด.ช.ประเชิญ และภาพสุดท้ายของแม่บุญช่วย ศรีเหรา
(วงษา) (๒๔๗๕-๒๕๑๕) ซ่ึงบอกว่าก�ำพรา้ แม่ แมเ่ สยี ตง้ั แตอ่ ายุ ๗ ขวบ
ยังไม่เขา้ โรงเรียน นอ้ งชายอายุ ๕ ขวบเอง

จากวงั หนา้ หนา้ วดั มหาธาตฯุ ทา่ พระจนั ทร์ จนถงึ วดั พระเชตพุ น
ความจำ� ยังสดใสกอ่ นจะเลือนหายไปพร้อมกับกาลเวลา

272 อนุทนิ ประจำ� วนั

อนุทินประจำ� วนั

(๕๕๗ ท�ำเนียบ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค)

ระยะหลังน้ี นานๆ จะได้หยิบหนังสือ ท�ำเนียบพระเปรียญธรรม
๙ ประโยค สมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ ปที ม่ี อี ยใู่ นมอื ขณะนี้ พทุ ธศกั ราช
๒๕๖๑ ธนาคารกรงุ เทพ นอ้ มถวายตอ่ เนื่องเปน็ ปีที่ ๔๕

พลิกดูบัญชีรายช่ือสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ
เปรียญธรรม ๙ ประโยค ข้ึนทะเบียนไว้ทง้ั สนิ้ ๑๙๐ รูปพอดี ล�ำดบั ท่ี ๑
สมเด็จพระมหารชั มังคลาจารย์ (ช่วง วรปญฺโญ) วัดปากน�้ำ ภาษีเจรญิ
สอบได้ประโยค ๙ ปี ๒๔๙๗ ต�ำแหน่งทางคณะสงฆ์ กรรมการ
มหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดปากน้�ำ ล�ำดับสุดท้ายเลขที่ ๑๙๐
พระปิฎกโกศล (ปราโมทย์ ปโมทิโต) วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
ราชบรุ ี สอบไดป้ ี ๒๕๔๖ ตำ� แหนง่ รองเจา้ คณะจงั หวดั ราชบรุ ี รองเจา้ อาวาส
วดั หลวงพ่อสดฯ

นับสามเณรนาคหลวงได้ทั้งส้ิน ๒๔๙ รูป มีสามเณรสา
วดั ราชาธวิ าสราชวรวหิ าร สอบไดเ้ มอ่ื ปี ๒๓๗๔ เปน็ รปู ที่ ๑ แหง่ กรงุ
รตั นโกสนิ ทร์

หนงั สอื มีความหนา ๑๕๙ หน้า ท่ขี ้าพเจ้าสนใจมากเปน็ พเิ ศษ
เปน็ หน้าที่ ๔๑ ประวตั ิพระมหาธนัฐ ฉายา ธมมฺ จารี นามสกลุ น�้ำคา้ ง
อายุ ๒๘ พรรษา ๘ วดั เทพธดิ ารามวรวหิ าร ชาตภิ มู ิ เกิดวนั ท่ี ๒๘ ต.ค.
๒๕๓๒ ปีมะเสง็ ณ บา้ นหนองสะเดา อ.สามชุก จ.สพุ รรณบุรี

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 273

บรรพชา เมอ่ื วนั ท่ี ๙ เม.ย.๒๕๔๕ ณ วดั ดอนไชย อ.เถนิ จ.ลำ� ปาง
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๓ มี.ค.๒๕๕๓ ณ วัดเทพธิดาราม
มพี ระเทพวิสทุ ธเิ มธี (แผว่ ปรกกฺ โม ป.ธ.๙) เจา้ อาวาสวัดเทพธิดาราม
เป็นพระอุปัชฌาย์, พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) วัดราชบุรณะ
เปน็ พระกรรมวาจาจารย์ และพระศรีสิทธมิ ุนี (พล ป.ธ.๙) วดั สงั เวช-
วศิ ยาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ที่สนใจนอกจากเก่ียวข้องในฐานะเป็นอันเตวาสิกของข้าพเจ้า
เมอื่ ปี ๒๕๕๓ แลว้ นามสกุล “น�ำ้ ค้าง” เป็นนามสกลุ ของคนสพุ รรณบุรี
มีนายอ�ำเภอเมืองสุพรรณบุรีคนหนึ่งเป็นหลักฐาน (ไม่ทราบว่ายังอยู่
รึเปล่า?) เพราะข้าพเจ้าไม่คอ่ ยได้ไปสพุ รรณบรุ ีบอ่ ยนกั ในระยะหลงั น้ี
ในวนั ฉลองประโยค ๙ ณ วดั เทพธดิ าราม ในวนั ท่ี ๔ ส.ค. ๒๕๖๑
ไดม้ โี อกาสสมั ภาษณป์ ขู่ องทา่ นพระมหาธนฐั ป.ธ.๙ ชอ่ื ปเู่ รอื งชยั นำ้� คา้ ง
(เกดิ มะโรง ๒๔๘๓) จงึ ทราบวา่ ปเู่ ปน็ คนบา้ นกระดาษ แถววดั เสาธงทอง
อ.ศรีประจนั ต์ ย่านามสกลุ ดิษฐสวุ รรณ คนทางหนองสะเดา เกี่ยวพัน
กบั หลวงพอ่ มยุ่ วดั ดอนไร,่ พอ่ ของทา่ นมหามลี กู โทนคนเดยี ว เสยี ชวี ติ ไป
จึงเข้ามาบวชเป็นสามเณรและบวชพระตามล�ำดับ จนสอบได้
เปรียญธรรม ๙ ประโยค, แม่รกรากเป็นคนล�ำปาง น่ันคือเหตุผลว่า
ทำ� ไมจงึ ไปบรรพชาเป็นสามเณรทางภาคเหนือ
ไดม้ โี อกาสสมั ภาษณป์ เู่ รืองชยั นำ�้ คา้ ง ลกู ของนายผอ่ ง น้ำ� ค้าง
ว่าก๋งชื่อก๋งตุ่นกับย่าทิพย์ ว่าดูเป็น “แซ่ห่าน” แต่ไม่แน่ใจ ว่าเป็นจีน
ไว้ผมเปียยาว ข้าพเจ้าถามว่าเป็นญาติกับนายอ�ำเภอสฤษฏิ์ น�้ำค้าง
คนศรีประจันต์ไหม? ปู่เรืองชยั บอกว่า เป็นลกู ของครมู ณี น�ำ้ ค้าง เกดิ
ปีระกา (๒๔๗๖) ปีเดียวกับพ่ีชายช่ือลุงอรุณ น้�ำค้าง ตอนบวชยังไป
อุ้มบาตรกัน แต่ไม่รู้ว่าบรรพบุรุษชั้นสูงของครูมณีว่าช่ืออะไร แต่เป็น
ญาติสนทิ กัน และทางกุฎีทองกเ็ ปน็ ญาตกิ ัน

274 อนุทนิ ประจำ� วนั

ในฐานะที่เป็นคนวัดเสาธงทอง ข้าพเจ้าสอบถามประวัติพลุ
ของหลวงพอ่ เพม่ิ ปเู่ รืองชยั บอกว่า คนเล่าวา่ หลวงพอ่ เพม่ิ เคยจุดพลุ
ถวายในหลวงมาแลว้ แต่หลวงพ่อเพ่ิมขอจุดสองดอกสุดท้าย ใหค้ นอืน่
จุดหมดก่อน เวลาจุดพลุ กระจกและแก้วส่ันสะเทือนจะแตกหมด
จนตอ้ งมาหา้ มว่า “พอแล้ว รู้แลว้ ว่าดังจริง” น่ันคือชอื่ เสียงต�ำนานพลุ
ของหลวงพ่อเพ่ิม วัดเสาธงทอง และปู่เรืองชัยยังเล่าว่า หลวงพ่ออ่ิม
วัดหัวเขา เป็นคนไกเ่ ต้ีย เปน็ ศิษย์หลวงพ่อเพ่ิม

ข้าพเจา้ ชวนคยุ เร่อื งราชาพู่กันสงา่ มะยรุ ะ ซ่ึงปเู่ รอื งชัย น้�ำคา้ ง
บอกว่า แม่ของสง่า นามสกลุ “น้�ำค้าง” จะช่ือนางมัยหรืออะไรน่ีแหละ
สง่าคนใตว้ ดั เสาธงทอง เปน็ ศษิ ย์หลวงพอ่ หรุ่น คนท่าระหดั เจา้ อาวาส
วัดเสาธงทอง หลวงพ่อหรุ่นส่งสง่าไปเรียนและอยู่วัดทองในกรุงเทพฯ
ตามค�ำแนะน�ำของตาอู๋ ช่างวาดภาพในโบสถ์ ซึ่งบอกว่า อนาคตของ
สงา่ ไปไกล ดังนนั้ จงึ เปน็ ศิษยเ์ อกของหลวงพอ่ หร่นุ

ปู่เรืองชัย น�้ำค้าง ยังคุยต่อไปว่า ผมสนิทกับตาฉาบ สอดสี
ซ่ึงเป็นอาของท่านเจ้าคุณพระพรหมโมลี (สุชาติ สอดสี ป.ธ.๙)
พ่อของตาฉาบซึ่งเป็นปู่ของพระพรหมโมลี ช่ือตาโด สอดสี เป็นคน
หนองเพียร รกรากตระกลู เป็นคนหนองเพยี ร

ออกจากวัดเทพธิดาราม ข้าพเจ้าไปร่วมพิธีฌาปนกิจศพ
ท่ีวัดแก้ว บางพรม เดินดูเจดีย์อัฐิต่างๆ และมาสะดุดใจกับเจดีย์หน่ึง
ซงึ่ มชี อ่ื ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั คนสพุ รรณ จารกึ เขยี นวา่ “คณุ ตาหรนุ่ คณุ ยายปลม้ื
งามปล่ัง, คุณปู่หลวงสกลสาลีกิจ มหาขันธ์, คุณย่าผัน มหาขันธ์,
คุณพ่อแถม-คณุ แม่ลออ มหาขนั ธ์”

ในบัญชีนามสกุลพระราชทาน อันดับที่ “๑๐๖๙ มหาขันธ์
Maha^khandha ขนุ สกลสาลกี จิ (ปอ้ ม) นายทะเบยี นและผรู้ งั้ กรมการ

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 275

ต�ำแหน่งนา เมืองสุพรรณบุรี เป็นบุตรพระยาโยธาเขื่อนขันธ์ (โต)
๕/๓/๑๓”

จารึกบรรพบุรุษของหลวงสกลสาลีกิจ นามสกุล “มหาขันธ์”
ตรงกบั จารึกทว่ี ดั ปทุมวราราม หรอื วัดวงั พอง อ.อู่ทอง ดังนัน้ ข้าพเจา้
สรุปในเบือ้ งตน้ วา่ หลวงสกลสาลกี ิจทา่ นนีเ้ กย่ี วขอ้ งกบั ชาวสุพรรณบรุ ี
แน่นอน โดยเฉพาะกับชาววังพอง ข้าพเจ้าก�ำลังแกะรอยนามสกุล
“มหาขันธ์” ว่าเปน็ มาอยา่ งไร และไปอย่สู พุ รรณบุรไี ด้อย่างไร คนบาง
พรมไปอยู่สุพรรณ หรือคนสุพรรณมาอยู่บางพรม น่ันคือปริศนา
ในการติดตามหาร่องรอยตอ่ ไป

276 อนุทินประจ�ำวนั

อนุทนิ ประจำ� วนั

(๕๕๘ ท�ำวตั รประจำ� ปี ๒๕๖๑)

ศิษยพ์ ่ี ศษิ ยน์ อ้ ง สำ� นกั เรยี นวดั สองพน่ี อ้ ง - ดอนเจดยี ์ - ปา่ เลไลยก์
วรวิหาร มีพันธะทางใจว่า เมื่อช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ราว
วนั อาทติ ยแ์ รก จะรวมตวั กนั ไปทำ� วตั รหรอื สามจี กิ รรมทแี่ หลง่ จดุ กำ� เนดิ
ดา้ นการศกึ ษา แหลง่ ทเ่ี ราไดม้ ารจู้ กั คนุ้ เคย เปน็ เพอื่ นเปน็ สหายครง้ั แรก
ในชีวติ ของการศกึ ษาทางพระ

ปีนี้นัดหมายวันอาทิตย์ ท่ี ๕ สิงหาคม ๒๕๖๑ สถานท่ีเดิม
คือวัดแก้วฟ้าจุฬามณี ท่าน�้ำเกียกกาย หลังจากฉันข้าวต้มแล้ว
ล้อรถสองชนั้ บรรจุท่ีนัง่ ได้ ๕๐ ทีน่ ่ัง แตผ่ ้โู ดยสารนับสามเณรได้ ๗ รปู
พระภิกษุได้ ๑๓ รปู และฆราวาสได้ ๑๓ คน รวมเปน็ ๓๓ ชวี ิตพอดี
พเี่ สนาะ เฑยี รทอง เลขานกุ ารฝา่ ยฆราวาสรสู้ กึ หนกั ใจวา่ มกี นั นอ้ ยมาก
ชักใจไม่ดี รถว่างมากเกือบครึ่งคันรถสองช้ัน ที่พวกเราใช้บริการ
มาเปน็ สบิ กวา่ ปี

เส้นทางท�ำวัตรปีนี้ เริ่มต้นท่ีวัดสองพ่ีน้อง ฉันเพลแล้วพาไป
ไหวพ้ ระทว่ี ดั อมั พวนั (วดั หลวงพอ่ โหนง่ ) พาไปชมพระแกะสลกั ปษุ ยครี ี
ศรีสุวรรณภูมิท่ีอู่ทอง ไปท�ำวัตรหลวงพ่อเก็บ (พระวิบูลเมธาจารย์)
และร่วมบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายนิมนต์พระเณรวัดดอนเจดีย์หมด
วดั มาตกิ า-บงั สกุ ลุ แลว้ ไปทำ� วตั รหลวงพอ่ ใหญ่ (พระธรรมมหาวรี านวุ ตั ร)
ทว่ี ดั ปา่ เลไลยก์วรวหิ าร เสร็จแล้วบ่ายหน้ากลับกรุงเทพมหานคร

อนุทนิ ประจ�ำวัน 277

ที่วัดแก้วฟ้าจุฬามณี เป็นปีแรกท่ีท�ำวัตรอดีตเจ้าอาวาสและ
อดีตประธานชุมนุมศิษย์ พระราชรัตนาภรณ์ (เกิดปีชวด ๑๒ เม.ย.
๒๔๙๑ - ๑๑ ก.ย. ๒๕๖๐) ซง่ึ เมอ่ื ปีทแ่ี ล้วไดท้ ำ� วตั รทา่ นขณะมีชวี ติ อยู่
ท่านยังบอกว่าปีหน้าจะร่วมเดินทางไปท�ำวัตรด้วย พูดอยู่แค่ราว
๒ เดือนเอง ก็มรณภาพจากไปเสียแล้ว น่ันคือความเป็นไปของชีวิต
ปีน้ีชุมนุมศิษย์ได้ท�ำวัตรต่อหน้าอัฐิบอกกล่าวดวงวิญญาณของท่าน
ว่าจะไปร่วมท�ำวัตรหรือไม่ไปก็ได้ แต่พวกเราต้ังใจไปรักษาประเพณี
ทีส่ ืบทอดมา

พี่เสนาะ เฑียรทอง เล่าว่า ตั้งแต่มีการท�ำวัตรที่วัดสองพี่น้อง
เรมิ่ สมยั พระปลัดพลายงาม โดยค�ำดี วดั ก�ำแพงบางจาก ขาดเพียง ๒ ปี
ปีหนึ่งคือปีที่มีการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก
กรงุ เทพฯ ขา้ พเจา้ ฟังไมถ่ นัด จบั แตค่ วามไดว้ ่า ในสมัยสมัคร สุนทรเวช
เพราะเป็นกรรมการหน่วยเลือกตั้ง นั่นคือสถิติ ๔๐ กว่าปีที่พี่เสนาะ
เฑียรทอง รว่ มกจิ กรรมตลอดมา

ปกติเลขานุการชุมนุมศิษย์ พูดไมค์ไม่เป็น ขาเดินทางกลับ
เข้ากรุงเทพฯ นับผู้โดยสารได้ ๒๖ รูป/คน ได้พูดระบายความในใจ
หลายเร่ือง เรื่องหน่ึงคือท่านไม่ได้มีชาติภูมิเกิดท่ีสุพรรณบุรี
เกิดท่ีนครปฐม แต่พ่อและปู่คนสุพรรณ แม่คนทะเลบก นครปฐม
จึงไปเกิดท่ีนั่น แต่ก็ท�ำหน้าที่ไปท�ำหน้าที่มา กลายเป็นคนสุพรรณไป
เพราะบรรพบุรุษอยู่สุพรรณ เผยความจริงว่า ตลอด ๓๗ ปีตั้งแต่
บวชพระมาในปี ๒๕๒๔ ไม่เคยขาดกิจกรรมท�ำวัตรเลยสักปีเดียว
นับเป็นสถิติที่ยอดเย่ียม สมกับจะให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นเลขานุการ
ตอ่ ไปอกี ยาวนาน ถึงจะดำ� รงต�ำแหนง่ เป็นเจา้ อาวาสวดั แก้วฟา้ จุฬามณี
แลว้ ก็ตาม

278 อนุทินประจ�ำวัน

ถึงวัดสองพ่ีน้อง เห็นมีญาติโยมคนท้ายบ้านมาจากนนทบุรี
จึงได้สอบถามพูดคุยกัน ปรากฏว่าเป็นสมาชิกในเฟสช่ือโยมประไพ
อาจแยม้ สรวล เปน็ สะใภ้ เพราะนามสกลุ เดมิ “ศรแี กว้ เกดิ ” (เกดิ ปรี ะกา
๒๔๘๘) นึกอยู่ต้ังนานว่าเป็นนามสกุลของใคร ของแม่ครัววัดช่ือ
โยมผ่อง ศรีแก้วเกิดนั่นเอง ได้พูดคุยกันจึงทราบว่า บรรพบุรุษช่ือ
นายหมา นายเสงี่ยม พลายชมพูนุช มีลูก ๕ คนช่ือนางแอ้ม,
มหาส�ำอางค์ พลายชมพูนชุ , สอ้ิง, สะเอยี บ, ครสู ะออ่ ง พลายชมพนู ชุ .
ขา้ พเจ้าคนุ้ กบั ช่ือครสู ะอ่อง และได้ยนิ ชื่อมหาส�ำอางค์มานาน ทราบวา่
เป็นศิษย์วัดเบญจมบพิตร เปรียญธรรม ๔ ประโยค เสียชีวิตแล้ว
ที่แถวหอมเกร็ด ว่าได้ภรรยาเป็นหลานมหาถม ชูแก้วไม้ คนบางสาม
แตไ่ ปอยู่หอมเกรด็ อยา่ งไรไมท่ ราบ

นอกจากเจอโยมประไพหรือชือ่ เล่นว่าโยมจกุ แลว้ ยงั ได้เจอกับ
โยมทองเตมิ พลายชมพนู ุช ได้ไลช่ อ่ื พ่ีน้องของนายหมา ซ่งึ โยมท้ังสอง
เรียกว่า “ลุงหมา” ว่ามีช่ือ นายหมา พลายชมพูนุช, นายปลิด,
นางวนั ศรแี กว้ เกดิ , นางทองดำ� แหลมทอง, นางเลก็ คนสดุ ทา้ ยทไ่ี ดส้ ามี
เปน็ คนจีน ใชน้ ามสกลุ พลายชมพนู ุช

พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ (พระมหาณรงค์ เจดีย์ ป.ธ.๖)
กม็ ารว่ มกจิ กรรม ขา้ พเจา้ ถามวา่ เปน็ เจา้ อาวาสวดั กำ� แพงบางจากในปใี ด
เพราะต้องการทราบปีที่ปลัดพลายงามลาสิกขาไป ซ่ึงอาจารย์ณรงค์
กบ็ อกวา่ เปน็ เจา้ อาวาสปี ๒๕๒๔ พระวสิ ทุ ธาธบิ ดี (ไสว ป.ธ.๗) วดั ไตรมติ ร
เป็นผ้ลู งนามแตง่ ต้ัง

ข้าพเจา้ ค�ำนวณวา่ ปลดั พลายงาม ลาสิกขาไปในราวปี ๒๕๒๒
และเสียชีวิตในกาลตอ่ มาไมน่ าน ประเพณีการทำ� วัตรประจำ� ปที ่ีเร่ิมมา
แตค่ รง้ั กอ่ นนัน้ คงในราวปี ๒๕๑๔-๕ และปนี ี้เปน็ ปที ข่ี ้าพเจ้าได้พบกบั

อนุทนิ ประจำ� วนั 279

นายสถติ ย์ ทองกัก๊ ทไ่ี มเ่ จอกันเลยเปน็ เวลา ๔๕ ปี ครง้ั สดุ ทา้ ยข้าพเจา้
กับพระมหาด�ำรงค์ เกิดโภคา (ขณะเป็นสามเณรด�ำรงค์) ได้เดินทาง
ไปหาสามเณรสถิตย์ คนยงุ้ ทะลายทว่ี ัดไชยชมุ พลชนะสงคราม (วัดใต้)
ซ่ึงสามเณรอยู่ได้ปีเดียวก็ย้ายไปอยู่เพชรบุรี ต่อมาลาสิกขา ประกอบ
อาชีพเป็นครู เพ่งิ เกษยี ณอายุเม่ือปี ๒๕๕๙

ปีนี้หลวงพ่อพระธรรมพุทธิมงคล (สอ้ิง อาสน์สถิตย์ ป.ธ.๘)
(เกิดปีจอ ๔ ม.ค.๒๔๗๗) ให้ข้อคิดต่างๆ หลายอย่าง ท่ีจ�ำได้คือ
“มนาปทายี ลภเต มนาปํ ให้น้�ำใจแก่เขา เราได้น้�ำใจเขากลับมา”,
จติ เหมอื นปลา เมตตาเหมอื นนำ�้ จติ ปราศจากเมตตา เหมอื นปลาขาดนำ�้
และว่าจิตใจของเราอย่าให้เสียอย่าให้เน่า เพราะจิตใจเสียและเน่า
ด้วยความโกรธและความเกลียด หลวงพ่อให้โอวาทประจ�ำปี นับเป็น
พรอนั ประเสรฐิ บอกวา่ อยูใ่ นมรดกหลวงพ่อทัง้ น้ัน

ได้น�ำพาคณะไปกราบไหว้หลวงพ่อโหน่ง พระอริยสงฆ์แห่ง
อ�ำเภอสองพี่น้อง พาไปดูจิตรกรรมฝาผนังที่วิหารเก่าวัดอัมพวัน
เรื่องพระมาลัย ท่ีระบุว่าวาดไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ (จะครบร้อยปีในอีก
๕ ปีข้างหน้าน้ี) มีภาพวาดหลวงพ่อโหน่ง (เกิด ๒๔๐๘-๒๔๗๗)
และภาพวาดแมจ่ ้อย โตงาม โยมมารดาหลวงพ่อโหน่งท่อี ายุ ๑๐๘ ปี
สว่ นศิลปินทว่ี าดน้ันมีชือ่ พระคณู , พระฉวย, พระตกึ เป็นตน้ ข้าพเจา้
คุ้นกับช่ือนายตึก เดชรุ่ง ที่เป็นคนย่านแม่น�้ำ เป็นทวดหรือเป็นเทียด
ของกบ-ปภสั รา เตชะไพบลู ย์ ทตี่ ดิ ตามหลวงพอ่ โหนง่ ขน้ึ ไปอยบู่ า้ นดอน
แถวนั้น ส่วนพระฉวย ข้าพเจ้าเข้าใจว่าน่าจะเป็นองค์เดียวกับที่เป็น
อดีตเจ้าอาวาสวัดอมั พวันสืบตอ่ มา

พาชมศาลาเทพสธุ าจารึก ซงึ่ ตระกูล “เทพสุธา” คนทางตลาด
บางลสี่ รา้ งไว้ มคี ำ� บาลกี ำ� กบั วา่ “จริ ํ ตฏิ ฺ ตุ โลกสมฺ ึ สมมฺ าสมพฺ ทุ ธฺ สาสน”ํ

280 อนทุ นิ ประจ�ำวนั

(แปลว่า ขอค�ำสงั่ สอนของพระพทุ ธเจ้าจงด�ำรงมัน่ อยใู่ นโลกตลอดกาล
นานเทอญ) ระบวุ ่าสรา้ งปีมะโรง ๒๔๙๕

ออกจากวัดอัมพวัน ที่ในปี ๒๔๙๕ เขียนว่า วัดใหม่อัมพวัน
หรือจะเรียกว่าวัดหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน มีชื่อให้เรียกได้
หลากหลายดีจัง แต่คือวัดเดียวกัน มุ่งหน้าไปไหว้พระพุทธปุษยคีรี
ที่อู่ทอง แล้วมุ่งหน้าไปวัดดอนเจดีย์ ตามเส้นทางแสวงบุญประจ�ำปี
ส้ินสุดโปรแกรมสุดท้ายเวลา ๕ โมงเย็น เสียงบอกว่าประตูพระวิหาร
ปิดแล้ว เรือนขุนช้างก็ปิดแล้ว ไม่มีอะไรชมแล้ว จึงเดินทางกลับ
กรงุ เทพฯ กวา่ จะถึงปลายทางก็เป็นเวลาราว ๑๙.๓๐ น.

จากกันวันนี้ พร้อมกับมีความทรงจ�ำร่วมกันของการท�ำวัตร
รว่ มกนั ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ปีหนา้ พบกนั ใหม่

ย้อนร�ำลึกท�ำวัตรประจ�ำปี ๒๕๖๐ ได้ที่นี่ https://www.
facebook.com/pphamonphon/posts/1790196594329561

อนทุ นิ ประจำ� วัน 281



อนทุ นิ ประจ�ำวัน

(๕๕๙ สหชาตปิ ระโยค ๙ ปี ๒๕๒๕)

ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นปีแรกที่มีผู้สอบได้ประโยคบาลีสนามหลวง
ชั้นเปรียญธรรม ๙ ประโยคมากที่สดุ ในประเทศไทย ก่อนหนา้ นน้ั
ไมเ่ คยมสี ถติ สิ อบไดถ้ งึ ๒๐ รปู แตป่ ฉี ลองกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ สอบไดจ้ ำ� นวน
มากถงึ ๒๓ รูป นับเป็นปีทองของการศึกษาบาลี

ถึงจะมีเสียงเล็ดลอดออกมาว่า ทางแม่กองบาลีสนามหลวง
ตั้งเป้าหมายไว้ถึง ๒๕ รูป เพื่อร่วมฉลองปี ๒๕๒๕ ซ่ึงเป็นปีฉลอง
กรุงรัตนโกสินทร์ แต่เม่ือมีเสียงคัดค้านว่า ถ้านักเรียนท�ำข้อสอบไม่ได้
จะให้สอบได้กันไดอ้ ยา่ งไร แตส่ ถติ ขิ องปีน้นั คอื ตัวเลขผูส้ อบเปรยี ญ ๙
ประโยคได้ ๒๓ รูป

ในจำ� นวน ๒๓ รปู นั้น ลาสกิ ขาเกือบหมด นั่นคอื เสียงสะท้อน
ของการศึกษาบาลีในประเทศไทย ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก
ส่วนใครสึกกอ่ นสึกหลงั จะไม่ตดิ ตามไปดใู นอนทุ ินวนั นี้

ส�ำหรับผู้ที่ด�ำรงเพศสมณะอยู่ในปัจจุบัน มี ๗-๘ รูป และ
มีสมณศักดิค์ วามเจริญเตบิ โต ในพระพทุ ธศาสนา นบั ไดด้ ังน้ี

๑. พระพรหมเวที (สุเทพ ป.ธ.๙) (ช้ันรองสมเด็จ ปี ๒๕๕๗)
วัดพระปฐมเจดยี ์ เจ้าคณะภาค ๑๕ ชาตภิ ูมิ บางคนฑี สมุทรสงคราม

๒. พระเทพเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.๙) (ช้ันเทพ ๒๕๔๙)
เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (๒๕๖๑), เจ้าคณะภาค ๙ (๒๕๕๗)
ชาติภมู ิ บรบือ มหาสารคาม

อนุทินประจำ� วัน 283

๓. พระเทพวสิ ทุ ธเิ มธี (แผว่ ป.ธ.๙) วดั เทพธดิ าราม รองเจา้ คณะ
ภาค ๙ ชาตภิ มู ิ นครราชสีมา

๔. พระเทพวสิ ทุ ธโิ มลี (พรหมา ป.ธ.๙) (เกดิ ๑๔ พ.ย.๒๔๘๔),
นามสกุล “ดวงดาว”, ฉายา สปฺปญฺโญ, ชาติภูมิ คนสตึก บุรีรัมย์
วัดจกั รวรรดริ าชาวาส, (ว่าท)ี่ เจ้าคณะภาค ๑๐

๕. พระศรปี รยิ ตั โิ กศล (ปรชี า ป.ธ.๙) รองเจา้ อาวาสวดั ปา่ เลไลยก์
วรวิหาร, อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี, ชาติภูมิ สองพ่ีน้อง
สพุ รรณบรุ ี

๖. พระศรธี วชั เมธี (ชนะ ป.ธ.๙) วดั ราชบรุ ณะ ชาตภิ มู ิ สองพนี่ อ้ ง
สพุ รรณบรุ ี

๗. พระศรีปริยัตยาภรณ์ (ฉลาด ป.ธ.๙) วัดโมลีโลกยาราม
(๒๔๘๐-๒๕๔๐ อายุ ๖๐ ปี) (ไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม
แต่เคยด�ำรงต�ำแหน่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสก่อนพระพรหมกวี
(เจา้ คณุ วรวทิ ย์ ป.ธ.๘) จะเขา้ มาเปน็ เจา้ อาวาส, มรณภาพ ในปี ๒๕๔๐
ท่ี จ.ชยั ภมู ิ ตำ� แหน่ง ผจล.วดั โมลีฯ

ส�ำหรับพระเทพเมธี (สมเกียรติ ป.ธ.๙) (เกิดปีมะแม ๒๔๘๖)
เดิมช่ือพระมหาส้มจี่ นามสกุล ชาวดง เปล่ียนช่ือและนามสกุลเป็น
พระมหาสมเกียรติ พัตตพักตร์, คนบรบือ ที่แปลว่า “นาเกลือ”
เมืองนักปราชญ์ชื่อว่ามหาสารคาม ท่านเคยไปอยู่จ�ำพรรษาท่ี
จงั หวัดสุพรรณบุรี ท่วี ัดศาลาท่าทราย อำ� เภอบางปลาม้า ท่านเคยเลา่
ว่า หาวัดในกรุงเทพฯ ไม่ได้ มาจากบ้านนอกในสมัยนั้น หากุฏิที่พัก
ไมไ่ ดเ้ ลย จึงม่งุ หนา้ ไปวดั ลานคา อ�ำเภอบางปลาม้า ท่ีเปน็ สำ� นักเรียน
มีชื่อเสียง แต่ก็เต็มอีก ท่านหาวัดอยู่ไม่ได้ จึงต้องไปอาศัยอยู่วัดศาลา
ท่าทราย ไปหดั พายเรอื เปน็ ท่วี ัดแหง่ น้ี

284 อนทุ ินประจำ� วัน

ออกพรรษาท่ีสุพรรณบุรี จึงเข้ามาอยู่วัดพิชยญาติการาม
(ปี ๒๕๐๔-๒๕๑๗), แล้วย้ายไปอยวู่ ดั ราชสทิ ธาราม สอบไดป้ ระโยค ๙
ได้ในส�ำนักน้ีในปี ๒๕๒๕, ชีวิตท่านยังก้าวต่อไป เมื่อตัดสินใจเป็น
พระอนจุ รพระธรรมสริ ชิ ยั (บญุ เลศิ ) มาอยวู่ ดั อรณุ ราชวราราม เพอ่ื เปน็
อาจารยส์ อนบาลีใหม้ นั่ คงสถาพรสบื ต่อไป

เคยด�ำรงต�ำแหน่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดอรุณ
ราชวรารามถึง ๒ คร้ัง (๒๕๕๑, ๒๕๖๐) จนมาได้รับพระบัญชาเป็น
เจ้าอาวาสพระอารามหลวงช้ันเอกอุ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันท่ี
๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑ และประกอบพิธีรับพระบัญชา เมื่อวันท่ี
๕ สิงหาคม ๒๕๖๑

นบั วา่ เปน็ ทป่ี ลาบปลม้ื ยนิ ดยี งิ่ ทพ่ี ระเทพเมธี (สมเกยี รติ ป.ธ.๙)
ไดก้ า้ วมาถงึ ก้าวสำ� คัญนี้

ขอแสดงความยนิ ดี ในฐานะสหชาตปิ ระโยค ๙ ร่วมกนั มา

อนุทินประจ�ำวัน 285



อนุทนิ ประจำ� วนั

(๕๖๐ คอกมา้ ทส่ี แ่ี ยกวรจักร)

เมอื่ พดู ถงึ “มา้ ” ในนครหลวง กน็ กึ ถงึ สนามมา้ นางเลงิ้ ทก่ี ำ� ลงั จะยา้ ย
ออกไปไหนไม่ทราบ แต่ยังพอสืบร่องรอยได้ เพราะเป็นปัจจุบัน
หากจะพูดถงึ “คอกม้า” ทแี่ ยกวรจักรท่หี ายไป ใครจะรูว้ า่ อย่ทู ีไ่ หน

ก่อนจะรู้ว่าคอกม้าวรจักรอยู่ไหน ก็ต้องรู้ว่าธนาคารกรุงเทพ
ที่วรจกั รอยู่ไหนก่อน เขา้ ไปภายในวดั พระพเิ รนทร์ วรจกั ร หากส�ำรวจ
ดชู ่ือเจ้าภาพ จะเห็นช่ือธนาคารกรุงเทพร่วมบรจิ าคหลายรายการ เชน่
ทศี่ าลาประชาอุทิศ ๑ และทีศ่ าลาฌาปนสถาน

ไดด้ แู ผนทเี่ กา่ บอกตำ� แหนง่ ตลาดสดี า ทส่ี แี่ ยกวรจกั ร ฝง่ั ตรงขา้ ม
กับวัดพระพิเรนทร์ วรจักร ในแผนท่ี https://www.facebook.com/
photo.php?fbid=1229732630501981&set=a.2634931804592
69.1073741829.100003957666315&type=3&theater ไมย่ กั เขยี น
ช่อื วดั พระพิเรนทรบ์ นแผนที่ ผิดกับชือ่ วดั ดสิ านุการาม (วดั จางวางดิส)
ท่ีเขียนบอกไว้ อดใจไม่ได้ต้องไปพึ่งแผนที่เก่ากรุงเทพฯ จ.ศ.๑๒๔๙
ตรงกบั พ.ศ.๒๔๓๐ ซง่ึ ระบเุ ขยี นชดั เจนชอ่ื “วดั พระพเิ รนทร”์ อยตู่ รงไหน

เม่ือรู้ตลาดสีดาแล้ว ก็อยากไปส�ำรวจดูตลาดบ้านดอกไม้
ที่ติดกับบ้านบาตร พบศาลเจ้ากวมอิมโพธิสัตว์อยู่ภายในตลาด
ก่อนจะเดินเข้าตรอกบ้านดอกไม้ ๓ มาออกท่ีถนนหลวง ท่ีเร่ิมมาจาก
คลองผดุงกรุงเกษม ผ่านแยกพลับพลาไชย โรงพยาบาลกลาง สี่แยก
วรจักร และไปสดุ ทห่ี น้าเรอื นจ�ำ ถนนมหาไชย

อนทุ นิ ประจำ� วัน 287

ส่วนใหญ่จะคุ้นกับถนนหลานหลวง แต่ที่ตัดกับสี่แยกวรจักรน้ี
ไมม่ คี ำ� วา่ “หลาน” หรือ “ลูก” นำ� หน้า แต่เป็น “ถนนหลวง” ทเี ดยี ว

มีตรอกก๋วยจับ๊ จากด้านถนนหลวง เดนิ ทะลเุ ขา้ วดั พระพิเรนทร์
ดา้ นทศิ เหนอื เข้าไปภายในวัดนี้ ไมม่ ีปา้ ยบอกช่อื ตรอก จงึ ถามชาวบ้าน
ว่าชื่อตรอกอะไร เขาบอกว่า “ตรอกวัดพระพิเรนทร์” จากตรอกนี้
ถ้าเดินตรงไปเร่ือยๆ ก็ไปออกประตูวัดด้านทิศใต้ ตรงไปเรื่อยก็ตัดกับ
ถนนเจริญกรุง เข้าเว้ิงนาครเขษม ไปจรดกับถนนเยาวราช ที่เรียกว่า
หางมังกร ใกล้กบั ดา้ นคลองโอ่งอ่าง

ท�ำไมพื้นที่ของวัดพระพิเรนทร์ วรจักร จึงบูดเบ้ียว ไม่เหมือน
ชาวบา้ นเขา? พระมหาแถม โพธ์ิศรี (เกิดปมี ะแม ๒๔๙๗) เคยสอบถาม
พระปลัดสมัย สุพรรณโรจน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ ซ่ึงได้รับ
ค�ำตอบจากท่านว่า ท่ีตรงธนาคารกรุงเทพนั้นเป็นคอกม้ามาก่อน
คณุ นายชอมุ่ บอกขายให้วัดในราคาถกู ๆ

นั่นเป็นค�ำบอกเล่าของพระครูภัทรกิตติสุนทร (แถม โพธิ์ศรี)
เจา้ อาวาสวัดพระพเิ รนทร์ รูปปัจจุบัน ที่ข้าพเจ้ายังสงสยั ว่าคอกม้าอยู่
ตรงไหน ธนาคารกรุงเทพอยู่ตรงไหน และเม่ือมีคอกม้าก็ต้องมีม้า
ซ่ึงบอกว่า ก็ย้อนหลังไปถึงยุคใช้รถม้าสมัย ร.๕ นั่นแหละ คอกม้า
หมดไปธนาคารกรุงเทพก็มาขอเช่าท่ีวัดแทน ตรงด้านทางออกจากวัด
พระพเิ รนทรน์ น่ั เอง ตอ่ มาในยคุ เจา้ คณุ พระเทพวสิ ทุ ธโิ มลี (อทุ ยั ป.ธ.๙)
เปน็ เจา้ อาวาส ธนาคารกรงุ เทพไดย้ า้ ยจากดา้ นหนา้ วดั พระพเิ รนทรต์ รง
คอกมา้ น้ี ไปอย่หู น้าวัดดิสานกุ าราม (วัดวางจางดสิ )

คุณหญิงชอุ่มยังได้มาสร้างกุฏิไว้หลังหน่ึง บรรจุอัฐิไว้ แต่กุฏิ
ก็รื้อไปแล้ว จึงย้ายอัฐิไปบรรจุไว้ในฐานะผู้มีอุปการคุณต่อวัดที่อาคาร
พระเทพวสิ ุทธิโมลี (อทุ ยั ป.ธ.๙) หลงั ใหม่

288 อนทุ ินประจำ� วัน

จากค�ำบอกเล่านี้ ท�ำให้ข้าพเจ้าติดตามไปดูอัฐิ เขียนว่า
นางชอุ่ม เทพวทิ ยเสถียร (โกมลวณชิ ) (๒๔๓๒-๒๕๐๕) และอฐั ิตระกูล
เทพวิทยเสถียร พร้อมรูปภาพเป็นหลักฐานส�ำคัญว่ารูปร่างหน้าตา
เป็นอย่างไร

ตามไปค้นหนงั สือในงานศพเร่อื งหลายรส หลายเร่ือง ของพระ
เณรวดั พระพิเรนทร์ พมิ พอ์ ุทิศให้ ในงานศพนางชอุ่ม เทพวิทยเสถยี ร
ซง่ึ นามสกลุ เดมิ คอื “โกมลวณชิ ” เปน็ นามสกลุ พระราชทานใหแ้ กป่ อู่ อ่ น
อาชีพพ่อค้า ฉะน้ัน จึงมีฐานะและเคยมีช่ือเสียงมาก่อน เพราะได้ยิน
เขาเรียกว่า “คุณนายชอุ่ม” มีหนังสืองานศพ https://archive.org/
details/unset0000unse_v0n4 แต่เสียดายไม่มีประวัติของคุณนาย
บอกรายละเอียดให้ไว้ ยังพบข้อเขียนของพระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต
ในปี ๒๕๐๕ ท่ีทางวัดจัดพิมพ์หนังสือไว้เป็นอนุสรณ์ ศึกษาประวัติ
อย่างคร่าวๆ ตระกูลน้ีเก่ียวข้องกับโรงเรียนวัดท่าต�ำหนัก นครชัยศรี
นครปฐมอีกด้วย ว่างๆ ผ่านวัดท่าต�ำหนัก เพราะไม่เคยเข้าไปเลย
ในชีวิต วา่ งๆ ต้องหาโอกาสแวะเขา้ ไปดูเสยี แล้ว

ถึงเวลาท่ีจะต้องส�ำรวจห้างใต้ฟ้าและห้างแมวด�ำ ว่าท่ีอยู่
สี่แยกราชวงศ์ตรงไหน เพราะสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น เคยเห็นภาพ
ในอดีตย่านเยาวราชท่ีมีรถรางวิ่ง จึงไปยืนดูท่ีฝั่งตรงข้ามเยาวราช ๘
ขา้ งบนเขยี นวา่ “ยง่ ฮกย่ี วดั บำ� เพญ็ พรตจนี ” ภายในตรอกเปน็ unseen
ท่ีมี ๓ วัดต้ังอยกู่ �ำแพงชนกนั คอื วดั จีน-วัดญวน (กศุ ลสมาคร) - วัดไทย
(วัดกันมาตยุ าราม) ตรอกภายในไปทะลุย่านเจริญกรุง ๑๔ ได้ แต่ตรงท่ี
ข้าพเจ้ายืนนี้เป็นเยาวราช ๑๕ เห็นป้ายว่า “ตรอกเต๊า” ที่ข้าพเจ้า
ตามหาอยนู่ านจนเจอ

อนุทินประจำ� วัน 289

ผ่านศาลเจา้ อาเน้ยี เขตสมั พันธวงศ์ กรงุ เทพฯ ไม่รู้ “อาเนย้ี ”
แปลว่าอะไร แต่ที่ปลายสุดเขียนว่า “ตรอกอาเน้ียเก็ง” ขนานกับ
ถนนมังกรด้านหน่ึง และอีกด้านหนึ่งขนานกับถนนราชวงศ์เส้นใหญ่
ที่มาจรดทีท่ า่ นำ้� ราชวงศ์

ฝนตกเทลงมาเปน็ ระยะ แตไ่ ดอ้ าศยั ใตร้ ม่ ใหญข่ องพระพรหมดลิ ก
(เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.๙, Ph.D.) ท่ีท�ำบุญอายุ ๖ รอบ ๗๒ ปี เม่ือ
๑๓ ก.ค. ๒๕๖๐ ชีวิตท่ีแปรพลิกผันยิ่งกว่านิยาย ยังถูกจับคุมขัง
โดยยงั ไมไ่ ดร้ บั การประกนั จาก ๒๔ พ.ค. - ๗ ส.ค. ๒๕๖๑ นับเปน็ เวลา
ได้ ๗๖ วนั

ต้นไม้ใหญ่ท่ีแผ่ก่ิงก้านสาขาให้ความร่มเย็นสุขสบาย แต่ถูก
ความอยุตธิ รรม ท�ำลายลงในนามของความยตุ ธิ รรม

นน่ั คอื ชวี ติ หลากหลายแงม่ มุ .. ตอนมชี วี ติ มวี าสนา กเ็ กง่ กนั นกั ...

290 อนทุ นิ ประจ�ำวนั

อนทุ นิ ประจำ� วนั

(๕๖๑ สายน�้ำ..สายธารชวี ิต)

คุ้นเคยกับวัดปากน�้ำ ภาษีเจริญ ตั้งแต่สมัยเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
ใหมๆ่ จำ� ไดว้ า่ ตำ� บลปากคลองภาษเี จรญิ เขตภาษเี จรญิ เขยี นยอ่ ๆ
ว่า ตำ� บลปากคลอง
เมื่อเห็นหลักฐานเก่าว่า เดิมช่ือต�ำบลคลองด่าน นับว่าเป็น
ความรู้ใหม่ เพราะคลองด่านคือคลองที่แยกจากคลองบางหลวง
ผ่านวัดขุนจันทร์ วัดนางชี ไปวัดราชโอรสาราม เป็นเส้นทางเดินทัพ
โบราณ จงึ คุ้นกบั คำ� วา่ “คลองด่าน” ทราบว่าอยู่ท่ีไหน

หวนร�ำลึกในชีวิตท่ีผ่านมา น่ังเรือเข้าบางกอกน้อยไปส้ินสุด
ท่ีวัดไก่เตี้ย ส่วนคลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวง ไม่เคยน่ังไป
ทางคลองดา่ น แต่เคยไปเส้นทางผา่ นวัดนวลนรดิศ วัดกำ� แพงบางจาก
วดั คหู าสวรรค์ และเคยไปสิน้ สดุ ทีว่ ัดบางแวก แถวๆ น้ัน

สมัยก่อนในราวยุค ๒๕๒๐-๒๕๒๕ เคยใช้บริการเรือหางยาว
เดินทางไปข้ึนท่ีวัดปากน้�ำ ภาษีเจริญเป็นประจ�ำ เส้นทางท่ีสั้นท่ีสุด
ทขี่ ึ้นประจำ� คอื ท่าวัดสงั ข์กระจาย

เรือด่วนเจ้าพระยาใช้บริการทางใต้ไปถึงท่าสาธร ทางเหนือ
ไปสุดท่ีท่าเกียกกาย มีความปรารถนาแรงกล้าว่า สักวันหน่ึงจะต้อง
ขน้ึ ไปสุดทท่ี า่ เมืองนนทบรุ ีซงึ่ เปน็ ทา่ เรือสดุ ทางเรอื ด่วน

ปลายทางด้านท่าวัดราขสิงขร เคยไปวัดราชสิงขรทางบก
ทางรถ แต่ไม่เคยไปทางเรือแล้วไปข้ึนท่าวัดราชสิงขร นับเป็นวันดี

อนุทินประจำ� วัน 291

ที่ท้องฟ้าเปิดโล่ง ดูท่าฝนจะไม่มาตามค�ำพยากรณ์ว่าให้ระวังฝนตก
ลงมาในชว่ งนี้

อยากดูตึกหนึ่งที่ว่ารูปทรงเอนๆ แต่ได้วิศวะชาวเยอรมัน
ออกแบบ เคยเห็นเมื่อเดินทางด้วยรถยนต์ แต่มาเรือด่วนวันนี้
มองไม่เห็น หรอื จะผ่านเลยไปอย่างไรไมท่ ราบ

ทวิ ทศั นส์ องฟากทางของแมน่ ำ�้ เจา้ พระยา ในดา้ นใตส้ ะพานพทุ ธ
ลงไป ยังเป็นภาพงดงามจับตาจับใจ ได้เห็นตึกบริษัทอีสท์เอเชียติก
และตึกรามบ้านช่อง ธนาคารไทยพาณิชย์ (ตึกเก่า) สถานทูตต่างๆ
จ�ำธงชาตไิ ดบ้ ้าง ไมไ่ ด้บา้ ง

จนมาสิ้นสุดท่ีท่าวัดราชสิงขร เดินข้ึนไปส�ำรวจดูวัด มาย้อน
ความหลงั อดตี เจา้ อาวาสรปู เกา่ กค็ นุ้ เคยกนั ดี ลาสกิ ขาไปได้ ๒-๓ ปแี ลว้
อดีตองค์ก่อนโน้นก็ได้มาส่งดวงวิญญาณไปสวรรค์ คุ้นเคยกันดี
เดินดูโบสถ์วิหารแล้ว น่ังเรือย้อนกลับทางเดิม เพ่ือดูอีกฟากหนึ่งของ
แม่น�้ำเจา้ พระยา

ส�ำรวจเส้นทางถนนมังกรจากถนนทรงวาด ซ่ึงขนานกับ
ตรอกเต๊า นึกถึงศาลเจ้าอาเน้ียเก็ง ท่ีเป็นที่ประกาศชัยชนะของ
จางชูเหลียงในเรอ่ื งเลบ็ ครุฑ ทีต่ รอกเต๊าแหง่ น้ี นบั วา่ เป็นแหลง่ ท่ชี มุ นุม
ของนกั เลงเยาวราชสมยั กอ่ นโน้น

จนถึงตรอกสีดา ที่เคยเป็นตลาดสีดาในอดีต ท่ีอยู่ด้านหลัง
ถนนวรจักร เดินข้ามถนนแล้วเข้าทางด้านประตูทางออก (Exit) ของ
วดั พระพเิ รนทร์ วรจกั ร สอบถามไดค้ วามวา่ ตรงปากทางออกตรงน้ี เปน็
ที่ต้ังธนาคารกรุงเทพฯ จ�ำกัด ด้านหลังธนาคารเป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยว
และมีเจดยี ์สามองค์เล็กๆ ถัดไป สภาพหายไปแล้ว ธนาคารกรุงเทพฯ
สาขาวรจักร ย้ายไปท่ีหน้าวัดดิสานุการาม ยังเห็นป้ายช่ือเจ้าภาพ
ธนาคารกรุงเทพฯ จำ� กดั ทศ่ี าลาบำ� เพ็ญกุศลศพภายในวัด

292 อนทุ นิ ประจำ� วัน

ย้อนกลับมาดูประวัติพระครูสุวัตถิธรรมประภาส (หลวงพ่อ
จ�ำเนียร จิรโสตฺถิโก/จ�ำเนียร ขจายแสง) วัดล�ำพยา อ.บางเลน
ท่ีสมัยก่อนเป็นอ�ำเภอบางปลา เป็นวัดหน่ึงที่ในอดีตมีความสัมพันธ์
เกี่ยวเนอ่ื งกบั ย่านสองพนี่ อ้ ง บ้านเกดิ ของข้าพเจ้า จากขอ้ มูลมขุ ปาฐะ
ไม้ส่วนหน่ึงท่ีเคยเป็นอาคารสถานท่ีของบ้านหลังหนึ่ง ได้ถูกน�ำมาอยู่
ท่ีวดั ลำ� พยา

พระครูสุวัตถิธรรมประภาส (หลวงพ่อจ�ำเนียร จิรโสตฺถิโก/
หลวงพ่อจ�ำเนียร ขจายแสง) (เกิดปีมะเส็ง ๒๒ ส.ค.๒๔๔๘
ณ บา้ นบางวัว ม.๑ ต.บางปลา อ.บางเลน (เดิม อ.บางปลา) มรณภาพ
เม่ือ ๑๒ ส.ค.๒๕๓๒) เป็นบุตรของนายชด ขจายแสง กับนางเจียม
น่วมสุวรรณ

บรรพชา ณ วัดปากน้�ำ ต.คลองด่าน (๑๕ พ.ค.๒๔๖๖)
มีพระครูสมณธรรมสมาทาน (สด จนฺทสโร) เจ้าอาวาสวัดปากน�้ำ
เปน็ พระอุปชั ฌาย์

อปุ สมบท ณ วัดบางปลา (๑๔ พ.ค.๒๔๖๘) มพี ระธรรมปฎิ ก
(โชติ โชติโก) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์,
พระปลัดยิ้ม เจ้าอาวาสวัดบางปลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์,
พระครูสมณธรรมสมาทาน (สด จนฺทสโร) เจ้าอาวาสวัดปากน�้ำ
เป็นพระอนุสาวนาจารย์)

หากจะจดจ�ำงา่ ยๆ ในสงั เขปประวัติหลวงพ่อจ�ำเนยี ร (๒๔๔๘-
๒๕๓๒) อดีตเจา้ อาวาสวัดล�ำพญา รปู ท่ี ๕ (๑ พ.ค.๒๔๘๓ - ๑๒ ส.ค.
๒๕๓๒), อดตี เจา้ คณะอำ� เภอบางเลน (๒๐ ก.ย.๒๕๑๙ - ๑๒ ส.ค.๒๕๓๒)

ข้าพเจ้าสงสัยว่า พระธรรมปิฎก คือเจ้าคุณโชติ ฉายา โชติโก
แค่น้ัน? หรือ ธมฺมปฺปโชติโก ป.ธ.๘ กันแน่? แต่เป็นเจ้าคณะมณฑล
นครไชยศรี มสี มณศกั ด์ติ อ่ มาว่า พระธรรมวโรดม (โชติ ป.ธ.๘)

อนุทนิ ประจำ� วัน 293

เสียงกระซบิ จากเกรด็ ประวตั ิศาสตรว์ ่า “เคยได้ยนิ หลวงพ่อผกู
เล่าให้ฟังว่า ฉายาเจ้าคุณโชติ “ธมฺมปฺปโชติโก”

ฉายาใหม่ แรกแค่ “โชติโก” เท่านั้น, ว่ากันว่า กรมหลวง
ชินวรสิริวัฒน์ เติมให้ เป็น “ธมฺมปฺปโชติโก”, เพ่ือจะให้คล้องข้องกับ
ฉายาอาจารย์ของท่าน ที่วัดเบญมบพิตร ฉายา “พฺรหฺมปฺปโชติโก”
คือพระราชเวที (เจ้าคุณหร่นุ ป.ธ.๙)

294 อนทุ ินประจ�ำวนั

อนุทินประจำ� วัน

(๕๖๒ ไผป่ ระดิษฐ์ ทีว่ ัดพระพิเรนทร์ วรจักร
ถึงวัดโพธินมิ ิตรฯ ยา่ นตลาดพลู)

ชีวิตของข้าพเจ้ายังวนเวียนไปๆ มาๆ กับวัดพระพิเรนทร์ วรจักร
หลังจากได้จุดพิกัดคอกม้าในอดีตท่ีเป็นธนาคารกรุงเทพ
สาขาวรจักร ซึ่งย้ายไปอยู่ท่ีหน้าวัดดิสานุการาม ซ่ึงพลายกระซิบ
บอกว่าตรงน้ันเปน็ สถานทีเ่ รียนหนงั สือของอะไรสกั อยา่ งหนึง่

อุโบสถวัดพระพิเรนทร์ วรจักร เปิดประตูต้อนรับทั้งวัน
เพื่อให้สาธุชนเข้าไปไหว้พระสวดมนต์ หรือไปสงบจิตใจ พระประธาน
เป็น “หลวงพ่อศีรษะโต” งดงามปานเทพเนรมิต ท่ีฐานพระพุทธรูป
มีอัฐิของ “ทองหยู่ มัธยมจันท์ และนางจ�ำนงยุธกิจ (เกิด ๒๔๐๙)
ซ่ึงเป็นพี่สาวของนายทง ไผ่ประดิษฐ์ เป็นต้น ข้าพเจ้าสอบถามว่า
ตระกูล “ไผ่ประดษิ ฐ”์ เป็นคนท่ไี หน เกยี่ วข้องอยา่ งไร ได้รับค�ำตอบวา่
เป็นเจ้าของที่ตึกแถวในย่านวรจักรน้ี ดังน้ัน จึงเป็นผู้อุปถัมภ์วัด
รายส�ำคัญ

ลกู สาวของนายทง ไผป่ ระดษิ ฐ์ ทม่ี ีชอื่ เสียงรจู้ ักกนั ดคี นหนง่ึ คือ
คุณพริ้ง ไผ่ประดิษฐ์ ข้าพเจ้าถามว่า เป็นคนเดียวกับยายพร้ิงผู้ใจบุญ
หรอื เปลา่ ? ไดร้ บั คำ� ตอบวา่ ยายพรง้ิ นนั้ เปน็ บทเขยี นของนายทวี วรคณุ
เป็นคนละพริ้งกนั เพราะคุณพร้ิง ไผป่ ระดษิ ฐล์ กู นายทงคนนี้ เสยี ชีวติ
ในปี ๒๕๑๓

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 295

ไดย้ นิ วา่ มี ๒ คณุ นาย ทท่ี �ำบญุ ประจำ� ท่วี ดั พระพิเรนทร์ วรจกั ร
รายหนง่ึ คอื คณุ นายชอมุ่ เทพวทิ ยเสถยี ร (โกมลวณชิ ) ทม่ี คี วามเกย่ี วขอ้ ง
กับโรงเรียนวัดท่าต�ำหนัก นครไชยศรี และโรงเรียนวัดสุทธาราม
บางล�ำพูล่าง เขตคลองสาน ซ่ึงข้าพเจ้าเคยไปวัดนี้มาแล้ว ได้แต่
ผา่ นโรงเรียนไป แตย่ ังไม่ได้สอบถามข้อมูลเชิงลกึ

อีกคณุ นายหน่งึ ชอ่ื คุณนายแฉล้ม ต้งั ทวี ข้าพเจา้ คดิ วา่ คงเปน็
แซ่ต้ัง ผู้นี้ได้ถวายที่ธรณีสงฆ์แปลงเล็กๆ ไว้ ต้ังอยู่ในตรอกช่ืออะไร
ไม่ทราบ แตเ่ ดินไปทะลุหลังตลาดศรวี รจกั รได้ ตรอกที่วา่ น้อี ยูข่ นานกับ
ตรอกสดี า ทขี่ นานกบั ถนนวรจกั ร ดา้ นฝง่ั ตรงขา้ มวดั พระพเิ รนทร์ วรจกั ร
นัน่ เอง

ดา้ นหลงั พระประธานภายในอโุ บสถดา้ นใน มพี ระพทุ ธรปู ยนื อยู่
จำ� นวน ๖ องค์ ขา้ พเจา้ ลงมอื สำ� รวจจารกึ ทฐี่ านพระพทุ ธรปู ยนื อมุ้ บาตร
อ่านได้ชัดเจนว่า สร้างปี ๒๔๔๒ เป็นพระพุทธรูปสร้างในสมัย ร.๕
สว่ นพระพุทธรูปยืนอีกองค์หน่ึง ทฐ่ี านจารึกถูกทองทบั อ่านแทบไมไ่ ด้
แต่ข้าพเจ้าก็อ่านออกมาได้ว่า เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในปี ๒๓๙๘
ในสมยั ร.๔

ได้พบชื่อพระภิกษุผิว ชัยสายัณห์ เป็นเจ้าภาพสร้างหน้าต่าง
ปี ๒๕๐๖ ขา้ พเจ้าบอกวา่ สงสัยวา่ ช่ือพระภกิ ษุผิวรูปนเ้ี อง ทถี่ ูกจำ� ผดิ
ว่าเป็นหลวงพ่อผิวหรือหลวงปู่ผิว แต่รูปภาพวันบุรพาจารย์ที่ตั้งอยู่น้ัน
ที่แท้และถกู ตอ้ ง คอื พระครธู รรมสารรักษา (หลวงพอ่ พรงิ้ วัดวรจันทร)์

นับเป็นเวลานานทีเดียว ที่ข้าพเจ้าไม่ได้ไปร่วมบ�ำเพ็ญกุศล
ฟังสวดพระอภิธรรม พระราชสธุ ี (บญุ สง่ ฐานงั กโร ป.ธ.๙) อายุ ๗๙ ปี
ที่วัดโพธินิมิตรฯ ย่านตลาดพลู เม่ือไปถึงวัด ได้ยืนดูฌาปนสถานท่ี
การออกแบบของเมรุคล้ายกับของวัดพระพิเรนทร์ วรจักรมาก
ศาลาบำ� เพ็ญกุศลสร้างเมอ่ื วันท่ี ๓๑ สงิ หาคม ๒๔๙๔

296 อนุทินประจ�ำวัน

ไดเ้ ดินสำ� รวจเจดียด์ า้ นหน้าพระอโุ บสถ เหน็ ขอบเขตขัณฑสีมา
ใหญ่น้อยอย่างชัดเจน ทั้งชั้นนอกและชั้นใน ได้ขึ้นเดินด้านบนเจดีย์
เหน็ ช่อื พ.ต.ต.วินิจ (กหุ ลาบ) ภมรพล (๒๔๖๒-๒๕๐๙) มีอัฐบิ รรจอุ ยู่
ข้างบนฐานพระเจดีย์ แล้วส�ำรวจดูศาลาการเปรียญที่ภายในมีภาพ
มหาเวสสันดรชาดก สร้างปี ๒๔๗๒ โดยนางช้วน บุษยอังกูร และ
พระพุทธรปู ประจ�ำศาลาสร้างโดยนางชม ในปี ๒๔๖๖

ได้แกะอ่านรายช่ือผู้มีส่วนในการบูรณะศาลาการเปรียญ
และศาลา ๘๐ ปหี ลวงพอ่ โพ

สุดท้ายไปนั่งคุยกับท่านพระครูโพธิพัฒนานุกูล (วิเชียร
เชอ้ื วงษพ์ รม) เกิด ๒๔๙๓ อายุ ๖๘ ปี ถึงเรื่องราวต่างๆ กอ่ นทจ่ี ะไป
ร่วมฟังพระสวดพระอภิธรรม ๔ จบ

เปน็ วันหนึ่งจากวดั พระพเิ รนทร์ วรจักร ทีไ่ ปถงึ วัดโพธนิ ิมติ รฯ
ตลาดพลู ดอู ฐั ิของนางสมจติ ต์-นายสวง (ล้อตอ๊ ก) ทรพั ยส์ ำ� รวย

อนุทนิ ประจ�ำวัน 297


Click to View FlipBook Version