The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ddttgr1125, 2020-04-15 21:24:04

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

ที่นายประวิทย์เคยไปอยู่อาศัยสมัยเป็นสามเณรน้อยน้ัน มีช่ือ
“นางเทิ้ม พลู สวัสด”์ิ ปรากฏชือ่ อยู่ อยากทราบวา่ เกี่ยวข้องกันไหม?

นายประวิทย์ มีช่ือที่มักเรียกกันว่า นายไช้เถ้า ส่งรูปภาพเก่า
ที่ถ่ายคู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) มาให้ และ
ข้าพเจ้ายืนยันว่า เจ้าประคุณสมเด็จเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย
โดยสวัสดิภาพแล้ว และเข้าอธิษฐานจ�ำพรรษา ณ ที่พักในชนบท
แหง่ หนึ่ง

จากดอนมะนาว ดนิ แดนไทยทรงดำ� ถงึ กาญจนบรุ ี “เทพบี า้ นนา”
และกลับมาท่วี ดั พระพเิ รนทร์ วรจักร จนได้

อนทุ นิ ประจ�ำวนั 349



อนุทนิ ประจำ� วัน

(๕๗๕ พบกันคร้งั แรก เจอกนั คร้งั สดุ ท้าย)

ท่ีดอนกระเบื้อง ต.บางเลน อ.สองพน่ี อ้ ง ข้าพเจ้าเพง่ิ พบพ่ีบญุ สม
เวทการ (เกดิ ปเี ถาะ ๒๔๙๔) เปน็ ครง้ั แรกในชวี ติ พบ่ี ญุ สมเปน็ ลกู
ของลุงสวน ปา้ หยวก เวทการ บ้านอยูบ่ างนอ้ ย อ.บางเลน รอยตะเข็บ
ระหวา่ งนครปฐมกบั สพุ รรณบรุ ี

เมื่อเห็นสวมใส่ผ้าลายคล้ายไทยทรงด�ำ ข้าพเจ้าสอบถาม
ด้วยความสนใจอยากรู้ในประวัติ, ป้าเชื้อได้เล่าว่า ติดตามพ่อคุณปาน
ไปหลายที่ไปอยู่ลพบุรี ที่ต่างๆ จนพ่ีบุญสมได้สามีคน อ.วัดโบสถ์
จ.พิษณุโลก เมื่อสามีเสียชีวิตแล้ว จึงกลับมาอยู่บ้านเรา และเล่าว่า
ยายหยวกแมข่ องพีบ่ ุญสมเปน็ พวก “ใจตรง” เพราะมีน้าชายช่ือน้าทง้ิ
ใช้นามสกุล “ใจตรง” คนหัวทรายดอนกลาง บ้านดั้งเดิมเดียวกัน
กบั ราชินีนกั ร้อง พ่มุ พวง ดวงจนั ทร์ ท่ไี ปแจ้งเกดิ ทไี่ หนไมร่ ู้ แต่ย้ายไป
ตั้งรกรากทบี่ า้ นดอนตำ� ลึง

สอบถามไดค้ วามวา่ จะไปรว่ มงานประชมุ เพลงิ นางยพุ นิ แกว้ มศี รี
(๒๔๙๑-๘ ส.ค.๒๕๖๑ อายุ ๗๐ ปี) ที่คนจะเรียกว่ายายจุก สามีชื่อ
นายสัมฤทธ์ิ ศรีน้อยเมือง มีลูกด้วยกัน ๗ คน เมื่อเห็นว่านามสกล
“แก้วมศี ร”ี ข้าพเจ้ากถ็ ามว่าเป็นใคร จึงทราบว่า เปน็ น้องสาวคนเล็ก
ของผใู้ หญฟ่ น้ื แกว้ มศี รี ลกู ผใู้ หญม่ ากกบั ยายรณุ แกว้ มศี รี (จนั ทรห์ อม),
ผู้ใหญ่มาก แก้วมีศรี เป็นพ่ีชายของแม่คุณบุญมี เวทการ (แก้วมีศรี)
ท่เี ป็นภรรยาของพ่อคุณปาน เวทการ

อนทุ ินประจำ� วัน 351

ยายจกุ มเี คหะสถานอยทู่ ล่ี าดพลี อายหุ า่ งจากผใู้ หญฟ่ น้ื รอบหนงึ่
ในทอ้ งของผใู้ หญม่ าก-นางรณุ แกว้ มศี รนี ้ี ขา้ พเจา้ รจู้ กั ผใู้ หญฟ่ น้ื คนเดยี ว
รู้ว่ามีภรรยา ๒ คนชื่อนางชด วรรณสุริยวงษ์คนหน่ึง และอีกคน
ชื่อนางมานะ ปั้นบุญมี แต่พี่น้องคนอ่ืนๆ ไม่คุ้นเคย แต่ได้ยินชื่อ
มีผู้ใหญ่จง แก้วมีศรี คนหัวปี และนายจอง แก้วมีศรี ถัดมาเป็น
ผใู้ หญฟ่ น้ื และยายจกุ ผวู้ ายชนมเ์ ปน็ คนสดุ ทอ้ ง ดว้ ยเหตนุ ี้ จงึ ไปเยยี่ มศพ
นิดหนึ่ง ได้พบปะลูกหลาน ได้พูดคุยและท�ำบุญแล้ว ก็อ�ำลาจากไป
บอกว่า ไม่ได้อยู่ร่วมเผา เพราะไม่รู้มาก่อน และรับปากไว้แล้วว่า
จะไปฟังเทศน์และร่วมงานพระราชทานเพลิงศพนางถนัด อยู่ดี
ทวี่ ัดทองประดิษฐ์ เน่ืองจากเวลาชนกันในวันเดยี วกนั

โยมมารดาของขา้ พเจา้ เสยี ชวี ติ เมอ่ื เชา้ ตรขู่ องวนั ท่ี ๒๙ สงิ หาคม
ปีน้�ำท่วมใหญ่ เพราะจ�ำได้ว่า หลังจากเผาแล้ว ท�ำบุญร้อยวันไม่ได้
ต้องเลื่อนออกไปท�ำบุญในช่วงราวเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม
เพราะน�้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๕๔ ถึงต้นปี ๒๕๕๕ เป็นเหตุการณ์ใหญ่
ที่ยังจ�ำได้ติดตา ใครจะไปรู้ว่าน้�ำจะท่วม เกิดมาทันเห็น และอยู่ร่วม
ดโู ลกเพ่ือนพ้องน้องพ่ี ทป่ี ระสบชะตากรรมรา้ ยยง่ิ กว่าข้าพเจา้

แวะกลบั ไปเย่ียมบา้ นนดิ ร�ำลกึ ความหลัง เห็นคลองไผ่ช้างแล่น
หน้าบ้าน เม่ือก่อนก็ไม่สนใจว่าไปเริ่มต้นที่ไหน สุดที่ไหน เพราะเป็น
คลองธรรมชาติที่ไหลผ่าน สมัยก่อนนั้นหน้าแล้งเดินไปโรงเรียน
และหน้าน�้ำพายเรือไปโรงเรียน ระยะทางห่างราว ๒ กม. และ
ก่อนจะเรียนจบชั้น ป.๔ อยู่ในช่วงชั้น ป.๓ ก็มาอยู่เป็นลูกศิษย์วัด
ถือปิ่นโตเดินตามพระบิณฑบาตแล้ว ชีวิตจึงคุ้นเคยกับข้าวก้นบาตร
มากกวา่ กับชีวิตพระทางธรรมมากกว่าฆราวาสและทางโลก

352 อนุทนิ ประจำ� วัน

สมยั เป็นเดก็ เลก็ จำ� ได้ว่า เคยมีแมวนอนกอดประจำ� แต่ต่อมา
ถูกพลัดพราก เขาไปปล่อยที่วัดห้วยม่วงในหน้าน�้ำ ยังจ�ำได้ว่า
แมวมันกลับมาอย่างไรไม่ทราบ แต่ผลสุดท้ายเขาก็น�ำไปปล่อย
และหายไป เพราะพ่อแม่กลัวว่าจะเป็นโรคหืดหอบ ย่ิงตอนเป็นเด็ก
จ�ำได้ว่าเป็นโรคไอประจ�ำตัว ต้องจิบยาส้มป่อยใหม่เป็นประจ�ำ
เพราะเวลาไอจะตัวงอเป็นกุ้ง แปลกที่โตข้ึนมา โรคไอหายไป นานๆ
จะเปน็ สกั ครั้งหน่งึ

ตามประสาเด็ก เคยไปเที่ยวดูหนังลิเกท่ีวัดรอบๆ บ้านเกิด
คือท่ีวัดห้วยม่วง เขตก�ำแพงแสน นครปฐมบ้าง วัดดอนกลาง
(วัดใหม่นพรัตน์) บ้าง, วัดดอนตาเกิด (วัดใหม่พิบูลย์ผล) บ้าง ใกล้ๆ
บริเวณแทบบ้านเกิดแถวนี้ เป็นเด็กไปเองไม่ได้ ต้องมีผู้ใหญ่ไปด้วย
คงเปน็ พอ่ แมท่ ่ีฝากคนอื่นใหไ้ ป

คดิ ดแู ลว้ ชวี ติ กแ็ ปลก บางคนพบแลว้ พบอกี บางคนพบแลว้ จาก
บางคนเพ่ิงพบเป็นคร้ังแรกอย่างพ่ีบุญสม เวทการ คิดว่าคงจะได้พบ
กนั อกี เพราะไดย้ นิ วา่ ยา้ ยกลบั ถาวรมาอยแู่ ถวบางนอ้ ยแลว้ และบางคน
เช่นนางยุพิน แก้วมีศรี (๒๔๙๑-๒๕๖๑) ข้าพเจ้าจ�ำไม่ได้ว่าเคยพบ
และพูดคุยกันไหม ดูเหมอื นจะเปน็ การพบกันครงั้ สดุ ท้าย

หลากหลายชีวติ

อนทุ ินประจำ� วัน 353

354 อนทุ นิ ประจำ� วนั

อนุทินประจำ� วัน

(๕๗๖ ชาวดอนกำ� ยาน ยนิ ดตี อ้ นรบั )

พบค�ำบรรยายหลังภาพสุภาพสตรีท่านหน่ึง เขียนว่า “ประธาน
จัดงานทอดกฐิน น.ส.ส�ำเนา วัดดอนก�ำยาน สุพรรณบุรี
๒๐ ต.ค.๐๓” ในอัลบั้มชุดหน่งึ ซ่งึ จะตอ้ งส่งคืนเจา้ ของ

นึกเสียดายว่า ถ้าภาพหลุดมือไปแล้ว ความรู้ก็จะหลุดหาย
ไปด้วย เป็นอัลบ้ัมชุดพระเกจิ สังกัดวัดราชนัดดาราม ด้านหลังภาพ
ระบุ ว-ด-ป. ว่า ปี ๒๕๐๓ เป็นภาพงานทอดกฐิน ท่ีวัดดอนก�ำยาน
ซ่ึงได้ส�ำรวจดูช่ือวัดในสุพรรณบุรีแล้ว มีต�ำบลดอนก�ำยาน ซึ่งมีวัด
ในสงั กดั เชน่ วดั วงั ยายหนุ่ , วดั บางปลาหมอ, วดั พนั ตำ� ลงึ , วดั วงั พระนอน...
ตงั้ อยใู่ นเขตอำ� เภอเมอื งสพุ รรณบุรี เสน้ ทางหลังวัดปา่ เลไลยก์

เคยถามนกั บณิ ฑบาตหลงั วดั ปา่ วา่ ทคี่ นเขาเรยี กวา่ “หลงั วดั ปา่ ”
คือตรงไหน เป็นที่ตรงทางรถไฟหรือไง? บางคนก็บอกว่า ที่สนามบิน
ตรงสนามกีฬาเป็นหลังวัดป่า คิดดูก็น่าจะถูกต้อง เพราะสนามกีฬา
อยู่ด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถและพระวิหารหลวงพ่อโต
แตน่ กั บณิ ฑผ์ฺ เู้ ชยี่ วชาญไดช้ พ้ี กิ ดั วา่ คอื ทเ่ี รยี กวา่ “หวั รงั ” และบอกเปน็
ภาษาอังกฤษปนภาษาไทยว่า แอลสอง (L2) ไม่รู้ว่าเป็นภาษาพวก
กรมชลประทานรึเปล่า

แอลทู ก็เส้นแอล L จะเป็น Lattitude? รึเปล่า ข้าพเจ้า
ไมท่ ราบชดั แต่ผู้สันทัดกรณบี อกว่า L-แอล คือ Left แปลวา่ “ซ้าย”
เอาเปน็ ว่าหลังวัดปา่ คือหัวรังกแ็ ล้วกนั

อนทุ ินประจ�ำวัน 355

เขตดอนก�ำยาน สมัยก่อนเป็นเขตแขวงอ�ำเภอสะแกย่างหมู
มีวัดสะแกย่างหมูเป็นหลักหมุดยึดถือ วันดีคืนดี ในยุคราวปี ๒๕๐๐
คณะสงฆ์ได้เปล่ียนช่ือจากวัดสะแกย่างหมู เป็นวัดตปะโยคาราม
ค�ำว่า ตปะ แปลวา่ “ย่างหมู” เหลอื ร่องรอยอยนู่ ดิ หนึง่

วัดดอนก�ำยาน ท่ีมีจารึกเขียนอยู่ด้านหลังรูปภาพหน่ึงน้ี
เม่อื เพง่ รปู พระในชุดภาพก็คล้ายๆ เคยเห็นหนา้ ตามาก่อน เพราะเป็น
หน่ึงในชุดเบญจภาคี ที่ภาษาวัดภาษาบ้านสุพรรณเรียกว่า
“หลวงพอ่ ฉัตร วดั วังพระนอน, หลวงพอ่ ผอ่ น วดั ไชนา, หลวงพ่อเทพ
วดั กุฎที อง, หลวงพ่อฉลอง วดั ศรบี วั บาน, และนายปาน หัวเวยี ง”

สมดังคนท้องถิ่นที่โอดครวญเมื่อเกิดการสูญเสียอะไรๆ
หลายอย่างในเวลาไล่เล่ียกันว่า “...ข้าวก็จู๋ หนูก็กัด หลวงพ่อฉัตร
ก็มาตาย หลวงพ่อใจก็มาเสีย” อะไรท�ำนองน้ี และมีต่อไปอีกว่า
“ตากริ่งก็มายา้ ย อนามยั กเ็ ขา้ มา ศาลากไ็ ฟไหม้”

วัดดอนก�ำยานท่ีว่านี้ คือวัดวังพระนอน มีหลวงพ่อฉัตร
หนึ่งในเบญจภาคที ่ีกล่าวมา ปจั จบุ ันมพี ระมหาชวกิ สขุ เกดิ ฉายา สชุ โี ว
ป.ธ.๓ เป็นเจ้าอาวาส

เลา่ ถงึ ทมี่ าทไี่ ปมาพอสมควรแลว้ มปี า้ ย “ชาวดอนกำ� ยานทกุ คน
ยินดีต้อนรับทุกๆ ท่าน” เป็นหลักฐาน ช่างถ่ายภาพชุดนี้ช่ือร้าน
“สรุ ศกั ด์ิ จกั พรรดภิ าพ” จงึ สนั นษิ ฐานตอ่ ไปวา่ รา้ นอยใู่ นกรงุ เทพ แถวๆ
เขตพระนครแถวๆ น้ี เพราะอะไร เพราะว่า ในอัลปั้มนี้ มีรูปภาพ
พุทธาภิเษกที่วัดราชนัดดารามเป็นหลักฐาน มีพระอาจารย์ไสว
คนราชบุรีเป็นเจ้าพิธี ดังรูปภาพประกอบท่ีจะทยอยลงให้หมดเปลือก
เพอื่ ช่วยกนั วนิ จิ ฉัยต่อไป

356 อนทุ ินประจ�ำวนั

ทว่ี ดั ราชนดั ดาราม มเี จา้ คณุ พระราชปญั ญาโสภณ (หลวงพอ่ สขุ
สายสงั ข)์ คนดอนก�ำยาน ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาส เคยเปน็ ที่พึง่ อาศยั
ของชาวสุพรรณมาก่อน คู่กับวัดปรินายกท่ีเคยมีเจ้าอาวาสเป็น
ชาวสุพรรณ เช่น เจ้าคุณอ่อน บุญญพันธุ์ ก็เป็นพระราชาคณะฤกษ์
เม่ือวันท่ี ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ปรากฏว่าเป็นเจ้าคุณได้ ๓ ปี
กล็ าสกิ ขาไปใชช้ วี ติ ฆราวาส

จะเหน็ ภาพหลวงพอ่ พลอย ป.ธ.๙ (ตอ่ มา พระวสิ ทุ ธวิ งศาจารย)์
วดั เทพธดิ าราม, หลวงพอ่ นาค วัดระฆังโฆสิตาราม เปน็ ต้น เพราะเป็น
พระเกจใิ นยุคราวปี ๒๕๐๐

ยงั มรี ปู ภาพชดุ ไปรเวท ทห่ี ลวงพอ่ ฉตั รรว่ มวงฉนั ขา้ วกบั พระสงฆ์
ดว้ ยกนั ซง่ึ แสดงวา่ มคี วามคนุ้ เคยกนั มาก และรปู ภาพอาคารกอ่ สรา้ งใหม่
ที่จะเป็นโรงเรียนหรืออะไร และท่ีไหน ท่ีข้าพเจ้าไม่ทราบชัดว่า
อยู่ท่ีดอนก�ำยานหรือเปล่า อาจจะเก่ียวเน่ืองกัน หรือไม่เก่ียวกันเลย
แต่เหน็ ว่าอยูใ่ นอลั บ้ัมชุดเดียวกนั จึงลงใหด้ ปู ระกอบ

ขอขอบคณุ ในคอมเมนตเ์ พมิ่ เตมิ ทเ่ี รยี กนำ้� ยอ่ ยมาพอสมควรแลว้
ตอนน้ถี ึงเวลา main course อาหารหนักเสริ ฟ์ ได้ ณ บัดน้ี

อนทุ ินประจ�ำวนั 357



อนทุ นิ ประจำ� วัน

(๕๗๗ ไชน่าทาวน์ และ พิธไี หว้ครู
ครบรอบ ๔๘ ปี ส.ส.ศ.)

เม่ือเห็นภาพถนนเยาวราช มีป้ายคาเธ่ย์ เซ็นทรัล เป็นต้น ก็อยาก
จะรู้ว่าอยู่ที่ไหนในถนนเยาวราช เพราะจ�ำได้ว่าในถนนมังกร
ย่านฝั่งตรงข้ามกับวัดกันมาตุยาราม เป็นโรงอะไรสักอย่างหน่ึง
บางคนก็ว่า โรงหนังคาเธ่ย์ท่ีเปล่ียนมาเป็นห้างคาเธ่ย์ แล้วปัจจุบัน
เป็นท่ีจอดรถไป แต่จากการตรวจสอบกับผู้รู้แล้ว โรงหนังคาเธ่ย์
อยู่บนถนนเยาวราช ฉายหนังแขก ช้างเพื่อนแก้ว เป็นเวลาครึ่งปี
เหมอื นกบั โรงหนงั กรงุ เกษมฉายหนงั ฝรง่ั ? เป็นเวลาครงึ่ ปีถึงหนึง่ ปี

ไปวัดพระพิเรนทร์ วรจักร เห็นเอกสารท่ีระลึกพิธีไหว้ครู
ครบรอบ ๔๘ ปี สมาคมสงเคราะหส์ หายศลิ ปนิ วดั พระพเิ รนทร์ วรจักร
วันพฤหสั บดี ที่ ๖ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ มขี อ้ ความนอกจากคำ� ปรารภ
ของเจา้ อาวาสแลว้ มี

ประวัติความเปน็ มา วา่
วัดพระพิเรนทร์ วรจักร เป็นท่ีตั้งของสมาคมสงเคราะห์
สหายศิลปิน (ส.ส.ศ.) เป็นท่ีทราบกันดีมาช้านานว่า เป็นวัดลิเก-
วัดปี่พาทย์ และเป็นที่ชุมนุมของศิลปินตั้งแต่สมัยพระเทพคุณาธาร
(หลวงพ่อปู่ขุน่ เลก็ สมบูรณ,์ หลวงพอ่ ผล ชนิ ปุตฺโต) (๒๔๔๕- ๗ ตุลาคม
๒๕๑๒) ดำ� รงตำ� แหนง่ เปน็ เจา้ อาวาส ชมรมไดถ้ อื เอาวนั ที่ ๒๒ ตลุ าคม
พ.ศ. ๒๕๑๒ เปน็ วนั กอ่ ตง้ั ของสมาคมสงเคราะหส์ หายศลิ ปนิ (ส.ส.ศ.)

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 359

ซง่ึ เปน็ มงคลนาม ทเี่ จา้ ประคณุ สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยตุ โฺ ต)
ขณะดำ� รงสมณศกั ด์ิเป็น พระศรวี ิสุทธโิ มลี (ป.อ. ปยุตฺโต) ขณะพ�ำนกั
สังกัด ณ วดั แห่งนี้ เปน็ ผดู้ ำ� รคิ ิดตั้งช่ือขึ้นและประทานมอบให้ โดยมีพธิ ี
เปิดป้ายสมาคม ในวันท่ี ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ณ หอสมุด
วัดพระพเิ รนทร์ โดยมีพระเจา้ วรวงศเ์ ธอ พระองค์เจ้าเฉลมิ พลฑิฆมั พร
หรอื พระองคช์ ายกลาง (๒๔๕๖-๒๕๓๔) ทรงเปน็ ประธานและเปดิ ปา้ ย
ชอ่ื สมาคม

ส.ส.ศ. มวี ัตถปุ ระสงค์หลกั ๓ ประการ คือ
๑. เพื่อช่วยเหลือจัดการศพศิลปินท่ียากจนและไม่มีญาติ
ตลอดจนให้ความชว่ ยเหลือในทางสวัสดิการแก่มวลศลิ ปนิ
๒. เพ่ือสนับสนุน ส่งเสริม และรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม
การดนตรไี ทยและนาฏศลิ ป์ไทย
๓. เพ่ือได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กัน และเสริมสร้างความ
สมคั รสมานสามคั คขี องมวลศิลปนิ
อนึ่ง เพื่อเป็นการน้อมร�ำลึกถึงและแสดงความกตัญญูกตเวที
ของมวลศิลปินที่มีชีวิตอยู่ ต่อพระภรตมุนี ครูนาฏศิลปะ และครูนิ่ม
โพธิ์เอ่ียม (เกิด ๒๔๔๖) หลานของครูพุ่ม พุ่มเสนาะ เจ้าของปี่พาทย์
ครปู ี่พาทย์ วงคลองบางแวก ธนบุรี ปพี่ าทยป์ ระจำ� วงกรมหลวงชุมพร
เขตอุดมศักดิ์ คร้ังพระองค์ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
ซ่ึงชาวศิลปินถือกันว่า ครูนิ่ม โพธ์ิเอ่ียม เป็นทายาทศิลปินผู้หน่ึง
มีผลงานเขียนหนังสือ ประมวลพรหมประวัติ-พุทธประวัติ ตอนสร้าง
มนุษย์โลก เป็นอาทิ ถือวา่ เป็นการบูชาครู
ในยคุ กอ่ ตง้ั กอ่ นกอ่ ตง้ั สมาคม มที า่ นพลโท ม.ล.ขาบมงคล กญุ ชร
เปน็ นายกสมาคม และ ศาสตราจารย์ ดร.อทุ ศิ นาคสวสั ด์ิ เปน็ รองนายก

360 อนุทนิ ประจ�ำวนั

คนท่ี ๑ นายปรีชา พวงประยงค์ เปน็ รองนายกคนที่ ๒ ได้มกี ารบริหาร
และด�ำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์เร่ือยมา ตลอดเวลา ๔๘ ปี
(๒๕๑๓-๒๕๖๑) ยดึ ถอื คตวิ ่า รวมกนั เราอยู่ แยกกนั เราตาย

เนื่องจาก ส.ส.ศ. ผู้ก่อต้ังส่วนมาก มีฐานะไม่มั่นคง แต่
ประกอบด้วยจิตใจเป็นมหากุศล คิดช่วยเหลือสงเคราะห์เพื่อนศิลปิน
และส่งเสรมิ การดนตรีไทยและนาฏศลิ ป์ไทยให้รุ่งเรอื งสบื สถาพรต่อไป
ขาดแคลนทนุ ทรพั ยจ์ ำ� นวนมากทจี่ กั ดำ� เนนิ งานใหเ้ ปน็ ไปตามวตั ถปุ ระสงค์

ดังนั้น ในวันไหว้ครูประจ�ำปี ได้จัดสร้างเหรียญพ่อแก่-พ่อครู
จัดสร้างเหรียญรุ่นแรก จ�ำนวน ๕,๐๐๐ เหรียญ ในปี ๒๕๑๓ และ
สร้างเหรียญรุ่นท่ี ๒ จ�ำนวนไม่ทราบแน่ชัด ในปี ๒๕๑๕ ปรากฏว่า
เป็นท่ีนิยมแพร่หลายมาก จนกล่าวขานกันในวงการพระเครื่องและ
มวลเหล่าศิลปินว่า พระสมเด็จแท้ต้องวัดระฆัง เหรียญพ่อแก่ดัง
และแทต้ ้องวัดพระพเิ รนทร์

ทางวดั พระพเิ รนทร์ วรจกั ร และ ส.ส.ศ. ไดร้ ว่ มกนั ดำ� เนินการ
จัดสร้างเหรียญรุ่นท่ี ๓ ประกอบพิธีบวงสรวงและพิมพ์เหรียญ
ในวันศกุ รท์ ่ี ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เวลา ๑๒.๐๐ น. ท่ีโรงหลอ่
ยา่ นธนบุรี เกิดความอศั จรรยต์ ้งั แตว่ ันเททอง เกดิ พระอาทติ ย์ทรงกลด
ตรงเวลาฤกษ์เททองพอดี หลังจากน้ันได้มีฝนตกโปรยปรายลงมา
ท�ำให้ผู้ร่วมพิธีมีความสดช่ืนและเกิดปีติกับปรากฏการณ์ครั้งนี้ ต่อมา
จัดพิธีอธษิ ฐานจติ ในวนั เสาร์ที่ ๑ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๖๑

ที่เหลอื เป็นรายละเอยี ดการจัดสรา้ งเหรยี ญตา่ งๆ ว่า
เหรียญรุ่นที่ ๑ จัดสร้างปี ๒๕๑๓ จ�ำนวน ๕,๐๐๐ เหรียญ
จัดพิธอี ธิษฐานจติ ภายในพรรษา
เหรียญรนุ่ ที่ ๒ จดั สร้างปี ๒๕๑๕ ไม่ทราบจำ� นวนที่แน่ชดั

อนุทินประจำ� วนั 361

เหรียญรุ่นที่ ๓ จัดสร้างในพิธีวันไหว้ครู ครบรอบ ๔๘ ปี
ประกอบพิธีอธิษฐานจิต ในวันเสาร์ ที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
มจี ำ� นวนดังนี้

เหรยี ญเน้ือทองคำ� สร้าง ๒๓ เหรียญ (ตามจ�ำนวนส่ังจอง)
เหรยี ญเน้อื เงิน สร้าง ๕๔๙ เหรียญ
เหรียญเนอ้ื นวโลหะ สร้าง ๒๙๙ เหรียญ
เหรียญเน้ือทองแดง สรา้ ง ๑๐,๒๙๙ เหรยี ญ
และเหรยี ญชุดกรรมการอีก และทา้ ยสุดบอกว่า
รายได้เพ่ือสมทบทุนสมาคมสงเคราะหส์ หายศิลปิน
ตดิ ต่อบชู าได้ ท่วี ดั พระพเิ รนทร์ วรจกั ร
เหรียญท่ีจัดสร้าง มีรหัสตอกโค้ดหมายเลขล�ำดับก�ำกับไว้
ทุกเหรยี ญ

***
“พระสมเดจ็ แทต้ อ้ งวดั ระฆงั พอ่ แกด่ งั และแทต้ อ้ งวดั พระพเิ รนทร์
แห่งเดียวเท่าน้ัน”
ได้ส�ำรวจดูวัดพระพิเรนทร์ วรจักร โดยเฉพาะได้เข้าไปภายใน
กุฏิเจ้าอาวาสรูปก่อน พระเทพวิสุทธิโมลี (อุทัย ป.ธ.๙) จ�ำได้ว่า
ตอนท่ที ่านเป็นพระราชาคณะช้นั เทพ ไดเ้ ข้ามามทุ ติ า ซ่ึงเป็นปี ๒๕๕๓
คิดว่าเป็นเวลา ๘ ปีแล้วรึท่ีไม่ได้เข้ามาภายในกุฏิหลังนี้ มาคร้ังน้ี
ได้ขอโอกาสข้ึนไปบนกุฏิชั้นสองเป็นครั้งแรกในชีวิต ท่ีขึ้นไปดูเพราะ
มองจากข้างล่างเห็นเจดีย์หน่ึงบนกุฏิ จึงอยากไปดูให้ชัดตา สอบถาม
ได้ความวา่ ตามจารึกทีเ่ ขยี นไวว้ ่า “พ.ศ.๒๔๘๐ นางพร วีระประเสรฐิ พ่ี
สร้างอุทิศให้นางพัน ชาตรูปประมัย น้อง” ว่าเป็นเจ้าของเจดีย์ที่ต้ัง
อย่นู ี้ จากชานกุฏนิ ้มี องไปทีเ่ มรุเหน็ จารึกท่ีปลอ่ งเมรุวา่ “มาดไี ปดี””.

362 อนทุ นิ ประจำ� วัน

เห็นตู้เก่า ๒ ตู้สวยงาม ตั้งอยู่ซ้ายขวา ตู้หนึ่งเขียนว่า
“งานสมโภชสมณศักด์ิและตราต้ังอุปัชฌาย์ ..ของศิษยานุศิษย์
๑๗ กรกฎาคม ๒๔๙๓” และอีกตู้หนึ่ง - พระยาบริหารราชมานพ
(สอน ศรเกตุ) สร้างอุทิศให้ภรรยาแม่ปนุ่ ในปี ๒๔๙๓

ได้เข้าไปส�ำรวจภายในห้องสมุดเก่าวัดพระพิเรนทร์ ซึ่งเป็น
ท่ีตั้งสมาคมสงเคราะห์สหายศิลปิน (ส.ส.ศ.) ภายในพบภาพหนึ่ง
ที่สะดดุ ใจมาก มขี ้อความวา่ “ทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ พระราชทาน
แผ่นเสียงทองค�ำรางวัลชนะเลิศ เพลง “คิดจะปลูกต้นรักอีกกอ”
ของ บุญชว่ ย กมลวาทนิ ”

ท�ำให้อยากไปดูโรงหนังโรงละครสมัยเก่า ว่าเป็นอย่างไร
เท่ยี วชมไชนา่ ทาวน์นิดหน่งึ แล้วไปดูโรงหนังควีน สอบถามชาวบา้ นว่า
โรงหนังคงิ สแ์ ละแกรนด์อยู่ตรงไหน เพอ่ื ได้ความรชู้ ดั เจน ถูกต้อง

เดินเลียบคลองโอ่งอ่าง เห็น กทม.ก�ำลังปรับปรุงภูมิทัศน์
คิดว่าต่อไป งานศิลปะข้างทาง คงจะหายไปหมด เม่ือวิสัยทัศน์ของ
ผนู้ ำ� ใหมเ่ ขา้ มา.... คลองทเ่ี คยกวา้ งราว ๖ เมตร กค็ งลดลงเหลอื ๓ เมตร
นกึ ถงึ พทุ ธสภุ าษติ น สยิ า โลกวฑฒฺ โน มกั แปลกนั วา่ อยา่ เปน็ คนรกโลก
คดิ วา่ “อยา่ เจรญิ แตท่ างโลก ทา่ นใหเ้ จรญิ ทางธรรมคอื พฒั นาจติ ใจดว้ ย”

อนทุ ินประจำ� วัน 363



อนุทนิ ประจำ� วัน

(๕๗๘ วดั ไผต่ นั กบั นามสกุล
“ทรงสอาด, เอกพจน์ และ แจม่ นชุ ”)

วันท่ี ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ตรงกับวันเกิดของพระราชวรมุนี
(พล ป.ธ.๙, ดร.) วัดสังเวชวิศยาราม รองเจ้าคณะภาค ๖
ขา้ พเจา้ อวยพรวา่ ในวาระปญั จปญั ญาสวสั สกาลน้ี (เกดิ ปเี ถาะ ๒๕๐๖)
ขอให้ “ปปฺโปตุ สพฺพโสตฺถิญฺจ สพฺพญฺจ ชยมงฺคลํ” ท่อนความน้ี
น�ำมาจากใครผู้ยกร่าง วันน้ีก็อดไม่ได้ที่จะพูดถึงท่านผู้น้ัน ขอถวาย
พรอันประเสริฐ จงถึงท่านให้มีสุขภาพแข็งแรง กลับมาสร้างสีสัน
ใหว้ งการตอ่ ไปด้วย

ข้าพเจ้าจ้องมองรูปภาพวาดของเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต
(ทรัพย์ โฆสโก ป.ธ.๖) คนอยุธยา ซึ่งเป็นสหธรรมิกกับสมเด็จฯ ป๋า
วัดโพธ์ิ และพิจารณาดูผ้าห่มท่ีสีทองผ่องอ�ำไพ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็น
ผา้ สเี หลอื งทอง อดครนุ่ คดิ ไมไ่ ดท้ ส่ี งั ฆมณฑลมกี ารเปลยี่ นแปลงเกย่ี วกบั
สผี ้าของพระสงฆ์

เม่ือวันท�ำวัตรเทศกาลเข้าพรรษา ข้าพเจ้าเห็นผ้าสีทองของ
วัดนิมมานรดี เจ้าคณะภาค ๑๔ เปล่ียนเป็นสีราชนิยม อ้อ..
ทา่ นเจ้าคณุ พระธรรมโพธิมงคล (สมควร ป.ธ.๙) นามสกลุ “อุบลไทร”
คนบึงลาดสวาย อ.บางเลน เกดิ วันนีเ้ ชน่ กัน ในปีฉลู ๒๔๙๒ หลงั จาก
ออกจากต�ำแหน่งเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดแล้ว ข้าพเจ้าก็เหินห่าง
ออกไป ตามประสาของข้าพเจ้าเอง

อนุทนิ ประจำ� วนั 365

ที่วัดสังเวชวิศยาราม ได้ทราบถึงการเปล่ียนผ้าจากสีทอง
เปน็ สรี าชนยิ ม เมอ่ื ผา่ นวนั เขา้ พรรษาได้ ๑๕ วนั คอื วนั ท่ี ๑๑ ส.ค. ๒๕๖๑
ขา้ พเจา้ คยุ กบั เจา้ อาวาสทพ่ี บปะกนั ในวนั นว้ี า่ ขอใหด้ ทู ศิ ทางราชบณั ฑติ
เช่น วัดญาณเวศกวนั เจา้ ประคุณ ป.อ. ปยตุ โฺ ต และพระเดชพระคุณ
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี ป.ธ.๙) เป็นหลัก อย่าต่ืนตูมกัน
ใหม้ ากนักเลย

ตั้งใจมาฟังพระธรรมเทศนาท่ีวัดไผ่ตัน วันท�ำบุญอายุ ๘๘ ปี
ของโยมบุญนาค แจ่มนุช (เอกพจน์) ที่เกิดปีมะเมีย ๒๔๗๓ องค์
แสดงพระเทศนาคอื พระมหาโพธวิ งศาจารย์ (ทองดี ป.ธ.๙) ท่ขี ้าพเจา้
จะเรยี กว่า เจา้ คุณอาจารย์ได้เทศน์เรอื่ งความไมป่ ระมาท อปฺปมตฺตา น
มียนฺติ และอธิบายว่า คนไม่ประมาทคือผู้ไม่เผลอท�ำความดี เมื่อถึง
โอกาสก็ต้องบ�ำเพ็ญบุญสร้างกุศลทันที ไม่ลืมท�ำความดีเป็นสารัตถะท่ี
ขา้ พเจ้าเก็บตนุ ไวใ้ นมนั สมองกอ้ นกลมๆ

หลังจากเจ้าคุณอาจารย์ลงจากธรรมาสน์มาแล้ว ข้าพเจ้า
ถือโอกาสเขา้ ไปกราบและสอบถามสงิ่ คาใจวา่ ตอนท่อี าจารย์เรยี นบาลี
ท่ีบ้านนอกที่ก�ำแพงเพชรน้ัน มีอาจารย์ที่เคยบวชเป็นพระมหามาสอน
ในเบ้ืองต้น อาจารย์น้ันชื่ออะไร คนที่ไหน จึงได้รับค�ำไขกระจ่างว่า
อาจารยค์ นแรกช่ือมหาวชิ ัย ประโยค ๔ คนสามงา่ ม จ.พิจิตร ว่าสอน
ได้ปีหน่ึงก็ลาสิกขาไป และระบุถึงรูปท่ี ๒ ชื่อมหาวิเชษฐ์ ประโยค ๕
ศษิ ย์วัดโพธิ์ ซึ่งเป็นคนสุพรรณบุรี มีเชือ้ สายจีน ไมแ่ น่ใจในนามสกลุ วา่
“มีสิทธิกุล” รึเปล่า แต่บอกว่า ถ้าอยู่ก็อายุราว ๙๐ ปี สึกไปท�ำนา
ตัวด�ำปี๋เลย ข้าพเจ้าได้ชื่ออาจารย์ของอาจารย์เจ้าคุณ เป็นร่องรอย
การสบื ตามหาตอ่ ไป

366 อนุทนิ ประจำ� วัน

ทว่ี ดั ไผต่ นั นี้ มนี ามสกลุ ใหญๆ่ อปุ ถมั ภว์ ดั เชน่ ทรงสอาด, แจม่ นชุ
เปน็ ตน้ และขา้ พเจา้ กเ็ คยเขยี นอนทุ นิ ฯ ไปกอ่ นแลว้ ขอยอ้ นหลงั นดิ หนง่ึ
ดังน้ี

ตระกลู ใหญๆ่ เช่น “ทรงสอาด” ซึ่งนา่ จะมาจาก “ตาชวดอาจ
ยายชวดสละ ทรงสอาด”? มีศาลานายจันทร์ นางทองดี ทรงสอาด,
ศาลานายแถม นางไล้ ทรงสอาด เป็นตน้

มีโอกาสได้สัมภาษณ์โยมบุญนาค แจ่มนุช (เอกพจน์)
(เกิดปีมะเมีย ๒๔๗๓) บอกว่า อายุ ๘๘ ปี จะท�ำบุญใหญ่นิมนต์
พระสวดแจง ๕๐๐ รปู เปน็ สะใภข้ องพอ่ ฉตั ร-แมพ่ ุ่ม แจม่ นชุ แตง่ งาน
กับบุตรคนที่ ๓ ของพ่อฉัตรแม่พุ่ม ช่ือนายพิน แจ่มนุช (ถึงแก่กรรม
ปี ๒๕๑๗) ภายหลังจากแมพ่ ุม่ แจ่มนชุ แม่ผวั เสยี ชีวติ ลงในปี ๒๕๑๕

มีจารึกที่พบ “ศาลาน้ี นายฉัตร แจ่มนุช พร้อมท้ังบุตรธิดา
ผู้สร้าง ๙ ต.ค.๒๕๑๘” และ “บุตรธิดา สร้างอุทิศให้พ่อฉัตร แม่พุ่ม
แจม่ นชุ เปน็ ต้น

ขา้ พเจา้ สอบถามโยมบญุ นาค แจม่ นชุ วา่ โยมนามสกลุ เดมิ อะไร?
แม่พุ่ม แจ่มนุชเป็นลูกของใคร? และพ่อฉัตร แจ่มนุช เป็นลูกใคร?
ตามประสาคนอยากรโู้ คตรเหง้าศักราช

โยมบญุ นาค บอกวา่ เกดิ ในตระกลู “เอกพจน”์ คนทอ้ งถน่ิ แถวน้ี
และบอกว่า แม่พุ่มลูกของตาสด-ยายคล้อย จ�ำนามสกุลไม่ได้
(-วันน้ีข้าพเจ้าถอดรหัสได้ว่า-พ่อสดแม่คล้อย คล้ายมณี--) และ
พยายามนึกช่ือพ่อแม่ของพ่อฉัตร แจ่มนุช ว่าช่ืออะไร? ซ่ึงข้าพเจ้า
ก็บอกว่า สงสัยว่า พ่อฉัตร แจ่มนุช จะเป็นลูกหรือหลานหรือเหลน
ของปฉู่ ตั ร ทวดนชุ กะมง่ั ?----(---พอ่ ปเู่ จยี มยา่ สนุ่ นลิ เจรญิ - ปรากฏชอื่ น้ี
อยใู่ นจารกึ ที่ ศาลา ๕--)

อนุทนิ ประจำ� วนั 367

นน่ั เปน็ ขอ้ เขยี นยอ้ นหลงั ไปเมอ่ื ราว ๓ เดอื นทแ่ี ลว้ มง้ั ไมถ่ กู หมด
แต่ก็ใกล้เคียง วันนี้เมื่อมาน่ังฟังเทศน์ มีรายการบริจาคของโยม
บญุ นาค แจ่มนุช นอกจากอปุ ถัมภ์วดั ไผต่ นั ยงั ไปสร้างศาลาไวห้ ลังหน่ึง
ที่วัดแก้วฟ้าฯ เกียกกายอีกด้วย ข้อไขปริศนาอยู่ท่ีรายชื่อค�ำอุทิศ
ในศาลา ๕ วัดไผ่ตัน ท่ีคุณโยมบุญนาคเป็นผู้สร้างถวายไว้ใน
พระพุทธศาสนา มคี �ำจารึกว่า “ศาลาหลังนี้สร้างอุทิศให้ พระครูสุนทร
สุทธิวัตร (แฉล้ม ทรงสอาด) และพระครูวินัยธร (เจียม เกิดเงิน),
พอ่ เจยี ม-แมต่ ลบั เอกพจน์, ปูเ่ พ็ง-ยา่ พัน เอกพจน,์ ตาสด-ยายคล้อย
คลา้ ยมณ,ี พอ่ ฉตั ร-แมพ่ มุ่ แจม่ นชุ (คลา้ ยมณ)ี , ปทู่ อง-ยา่ แมน้ ทรงสอาด,
ปู่เจียม-ย่าสุ่ม แจ่มนุช, ตาแฝง-ยายเงิน นิลเจริญ (ทรงสอาด),
ปา้ ขำ� คลา้ ยมณ,ี ปา้ ตลบั นลิ เจรญิ , พพ่ี นิ แจม่ นชุ (สามขี องนางบญุ นาค
แจม่ นชุ (ผู้เกิด ๒๔๗๓), นายบุญส่ง เอกพจน”์ และระบุช่อื ผู้สรา้ งอทุ ศิ
ชื่อ นางบุญนาค แจ่มนุช ราคา ๒.๔ ล้านบาท ลงวันที่ก�ำกับว่า
“๒๕ พ.ค.๓๕”

ข้าพเจ้าอวยพรโยมด้วยกระจกวิเศษและบอกว่า ขอให้อายุถึง
๑๐๐ ปีจงอย่าน้อย ให้เกินร้อยปีฉน�ำขึ้นไป แล้วจะมาสวดมนต์ให้
โยมใหม่

เมื่อแสงสุรีย์จะลับขอบฟ้า ข้าพเจ้าไปร่วมดูพิธีจ�ำเริญบล็อก
พมิ พเ์ หรยี ญพอ่ แก่ พอ่ ครู ทว่ี ดั พระพเิ รนทร์ วรจกั ร เปน็ ประจกั ษพ์ ยาน
เหรียญพ่อแก่ ท่ีระลึกพิธีไหว้ครูครบรอบ ๔๘ ปี สมาคมสงเคราะห์
สหายศิลปิน (ส.ส.ศ.)

368 อนทุ ินประจำ� วัน

อนทุ ินประจ�ำวัน

(๕๗๙ หลวงเต่ยี ๑๖ ปแี หง่ ความหลัง)

ได้หนังสือพิมพ์ประกาศเกียรติคุณ ในคราวบ�ำเพ็ญกุศลถวายคล้าย
วันมรณภาพ ครบปีที่ ๑๖ พระธรรมราชานุวัตร (กมล ล้ิมศิริชัย
ฉายา โกวโิ ท) (๗ พ.ค. ๒๔๖๗-๒ ก.ย. ๒๕๔๕) อดีตผชู้ ว่ ยเจ้าอาวาส
วัดพระเชตุพน และเจ้าคณะภาค ๓ ณ หอประชุมสงฆ์ น.๑๖
ในวนั อาทติ ย์ ที่ ๒ กนั ยายน พทุ ธศักราช ๒๕๖๑

ปีน้ีเป็นปีแรกท่ีมีพิมพ์หนังสือท่ีระลึกมีภาพสีประกอบ ๒ ยก
ในนามมูลนธิ ิ จงึ เปน็ หนงั สอื เลม่ เลก็ ทีด่ อี กี เลม่ หนง่ึ มิใชเ่ พราะขา้ พเจา้
มีส่วนร่วมในหนังสือเล่มน้ี แต่เพราะเป็นหนังสือที่บันทึกเหตุการณ์
“ช่วงเปล่ียนผ่าน” ของมูลนิธิพระธรรมราชานุวัตร จากยอดเงิน
๑๓ ล้านบาทเมอื่ ปี ๒๕๖๐ เป็น ๔๗ ลา้ นบาทในปี ๒๕๖๑

ได้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกับพระเถระหลายรูป เช่น
ท่านเจ้าคุณพระโสภณกิตติวิเทศ (เศรษฐกิจ) วัดนาคปรก บอกว่า
แม่ชีอารยี ์ วดั ไทยนาลันทา อายุ ๘๐ กวา่ ปี ขึ้นต้นไม้ แล้วตกลงมาตาย
ซึ่งข้าพเจ้าก็แย้งไปว่าแปลกแท้ ถ้าก่ิงไม้หล่นมาถูกร่างกายแล้วตาย
ก็ไม่แปลก ท่ีแปลกเพราะว่าอายุ ๘๐ กว่าปีแล้วยังข้ึนต้นไม้ไหว
แม่ชอี ารยี ์รูปน้ีข้าพเจา้ ไม่รจู้ กั วา่ เป็นคนทางภาคใต้

ทา่ นเจา้ คณุ พระสมหุ วรคณสิ สรสทิ ธกิ าร (ประเสรฐิ ศรสี มพนั ธ)์ุ
(เกิดปีฉลู ๒๔๙๒) บอกว่าในหนังสือเจ้าคุณสุพรรณน้ัน ช่ือของท่าน
เป็นพระราชาคณะปลัดกลางในกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ซ่ึงต้อง

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 369

นั่งหน้าเหนือกว่าพระราชาคณะช้ันสามัญท้ังหมด ท่านนั่งถัดรองจาก
พระทักษิณคณิสสรรูปเดียว ซึ่งตอนนี้ยังไม่ตั้ง และก็คุยกันถึงเร่ือง
แปลกประหลาดว่า นายสนิท ดิษฐ์พัุนธุ์ มีช่ือและนามสกุลตรงกัน
กับช่างวาดเขียนท่ีระเบียงคดวัดพระแก้ว โลกน้ีก็แปลกดี และเล่าว่า
นายสนิทแต่งกับป้าหงวน ท่านเรียกว่า ป้าก็ได้ เรียกว่าอาก็ได้
ข้าพเจ้าถามว่า ป้าหงวนเป็นลูกใคร ซึ่งท่านก็ว่าเป็นน้องสาวของ
นายจวน อภิรมย์ เป็นลูกของยายสาย ตาเผ่ือน อภริ มย์

เม่ือเจอพี่ถวิล จ๋ิวเช้ือพันธุ์ ข้าพเจ้าแจ้งล่วงหน้าก่อนแล้วว่า
รูปภาพศิษย์วัดโพธิ์ปี ๒๔๙๙ ท่ีบอร์ดนิทรรศการนั้น กับรูปภาพ
ในหนังสือเล่มเล็กนั้น น�ำมาจากแหล่งท่ีเดียวกัน แต่เป็นกอปปี้จาก
คนละแหลง่ ภาพในหนงั สอื สมบรู ณ์ สว่ นภาพในบอรด์ บกพรอ่ งไปหนอ่ ย
และสอบถามว่า มใี ครบา้ งในศษิ ยว์ ดั โพธิ์ในภาพน้นั

ภาพที่มพี ่ีถวิล จ๋วิ เช้ือพนั ธ์ุ (ยืนอยหู่ ลังสุด), ในนนั้ มนี ายวเิ ชยี ร
วริ ยิ ะประสิทธิ์, พบ่ี ุญธง ลิ้มศิริชยั ทใ่ี บหนา้ ยังเปน็ เดก็ , มีหมอไพบลู ย์
พาณิชยการ (เสียแล้ว) เป็นต้น และข้าพเจ้าก็ขอให้พ่ีถวิลเขียนโน้ต
สง่ มาให้ว่ามีใครบ้างในภาพน้นั จงึ ไดข้ อ้ มูลมาว่า

“(จากซ้ายไปขวา) แถวหน้าสุด นายฉลอง ม่วงงาม (ตาย),
นายปองชยั เรอื งสมบรู ณ์ (กก.มลู นธิ สิ มเดจ็ ฯ)-เรยี กวา่ ไอป้ อ๋ ง วา่ เจา้ ของ
โรงสหี นองหญา้ ไทรหรอื หนองผกั นาก, เบด๊ิ -นายสมนกึ สาทสนทิ (ตาย),
นายสมจิตต์ ตากสกุล (ตาย), พ.ต.ท.สุภา มณีไพโรจน์ (ตาย),
“หลวงเตยี่ /พระครปู ลัดสวุ ัฒนสตุ คณุ ฐานาฯ ในพระธรรมวโรดม (ปนุ่ )
ภาพปี ๒๔๙๙”, นายบำ� รงุ ศลิ ปชยั (ตาย), นพ.ไพบลู ย์ พานชิ ยการ (ตาย),
นายนิพนธ์ ศรพี ิทักษ์ (ตาย), จำ� ไม่ได)้

370 อนทุ นิ ประจ�ำวัน

ส่วนท่ียืนมี “นายบันลือ นิยมเวช (ตาย), นายสมจิตต์
วิริยะประสิทธิ์ (พ่ีชายของนายวิเชียร วิริยะประสิทธ์ิ), นายมนัส
ชา่ งสพุ รรณ (ชอื่ เลน่ วา่ ตา่ ย), รอ้ ยตรที วี ไทศร,ี นายวชิ ยั อยขู่ า้ งไหลข่ วา
หลวงเต่ียสองคน ต้องถามพี่บุญธง ล้ิมศิริชัย-นายจินดา จิตต์บรรจง,
นายวิเชียร วริ ิยะประสทิ ธ์ิ

ยืนกลุ่มหลังสุด นายมงคล ชวาลกุล, นายสมจิตต์ น�้ำแก้ว,
นพ.บุญเหลือ ญาดี (ตาย), นายทีฆนนั ท์ ชาญศิลป์, พบี่ ญุ ธง ลิ้มศิรชิ ยั ,
นายถวิล จิ๋วเชื้อพันธุ์, พ่ีธนู ชวาลกุล (เกิด ๒๔๘๓ ท่ีตลาดสามชุก
เข้ามาอยู่วัดโพธ์ิปี ๒๔๙๗-๒๕๑๐ จึงทันเห็นพี่บรรเทา สมใจ
หลานสมเด็จฯ ป๋า ท่เี ข้ามาอยู่วัดโพธ์ิ ในปี ๒๕๐๙)

ได้ยินโยมผู้หญิงที่น�ำอาหารมาเลี้ยงท�ำบุญทุกปี ถามพ่ีบุญธง
ลมิ้ ศริ ชิ ยั วา่ “พอ่ หนคู นไหน? ซง่ึ พบ่ี ญุ ธงกช็ ใี้ หด้ ู และบอกแกข่ า้ พเจา้ วา่
เป็นคนราชบุรี เคยไปอยู่สหรัฐ มีที่ดินแยะ ข้าพเจ้าก็ลืมสอบถาม
ชอ่ื เธอไป และไมจ่ ำ� ชื่อพอ่ ของเธอทพ่ี บี่ ญุ ธงช้บี อกไว้

จึงคิดว่า ต้องน�ำภาพนี้มาจัดพิมพ์ใหม่ และเขียนชื่อเสียง
เรียงนามไว้ในครง้ั ต่อไป

เสร็จจากงานบ�ำเพ็ญกุศลภาคเช้า ข้าพเจ้าไปสนทนาธรรม
กับพระมหาประเชิญ ศรีเหรา ป.ธ.๙ และบังเอิญได้หลักฐานจาก
หนงั สือ ๗๒ ปีหลวงเตยี่ ท�ำใหร้ �ำลกึ ความหลงั วา่ สมยั กอ่ นปี ๒๕๔๕
ข้าพเจ้าเคยมาฉันเพลงานวันเกิดหลวงเตี่ยคร้ังหนึ่ง จ�ำได้ว่าเข้านั่ง
ฉันเพลในพระต�ำหนักวาสุกรี และยังจ�ำได้ว่า พระครูวิมลจริยาภรณ์
(สงิ ห์ไชย) เลขานุการหลวงเตีย่ ได้น�ำซองมาถวาย ยงั จำ� จำ� นวนปัจจยั
ว่าฉันเพล ๒๐๐ บาท เพราะว่าสมัยนั้นท้ังภายในวัดและนอกวัด
ถวายปจั จยั ๒๐๐ บาทเหมอื นกนั หมด

อนทุ ินประจ�ำวนั 371

เคยได้ยินเรื่องเล่าว่า นกอีแร้งสายตาดี มองทางไกลเห็น
๑๐๐ โยชน์ คือจากภูเก็ตมองไปเห็นถึงเชียงใหม่ได้ เช่นเดียวกัน
ขา้ พเจา้ ตามหารปู ภาพสมเดจ็ พระวนั รตั (ปา๋ ) ทป่ี ระกอบพธิ วี างศลิ าฤกษ์
วดั ไทยลอสแองเจลสิ สหรฐั อเมรกิ า เมอื่ วนั ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๑๕ นนั้
ถามหารูปภาพอยู่ ๒-๓ เดอื นแล้ว ปรากฏว่าอยูท่ ีน่ ี่เอง

ตามเจอร่องรอย Around the World ที่ในภาพหมู่น้ัน
มพี ระวสิ ทุ ธริ ังษี (ไพบลู ย์ กตปุญโฺ ญ ป.ธ.๘) เจา้ คณะจังหวัดกาญจนบรุ ี
และพระศรีวิสุทธโิ สภณ (วิลาศ ป.ธ.๙) วัดดอน ทเี่ กดิ ปมี ะเมยี ๒๔๗๓
เป็นสหายธรรมและสหายชาติภูมิคนกาญจนบุรีเช่นเดียวกัน และ
พบภาพพระสงฆ์ที่เดินทาง Around the World ก่อนท่ีสมเด็จ
พระวันรัต จะน�ำคณะสู่ยุโรป เพ่ือพบกันสมเด็จพระสันตปาปา ปอล
ท่ี ๖ หลังจากเข้าพบประธานาธิบดีนิกสันท่ีสหรัฐฯ แล้ว ก็มุ่งสู่
ดินแดนยุโรป

372 อนุทนิ ประจำ� วัน

อนทุ ินประจ�ำวนั

(๕๘๐ วัดขี้เหล็ก เปลยี่ นเปน็ วัดสุวรรณครี )ี

พระราชสุวรรณเวที (หลวงพ่อทองด�ำ สิงห์สุวรรณ) เจ้าอาวาส
วัดสุวรรณคีรี เขตบางกอกน้อย บอกว่า เป็นวัดเก่าแก่คู่กับ
วัดทองที่เปลี่ยนช่ือเป็นวัดสุวรรณาราม ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง
ส่วนวัดข้ีเหล็ก เดิมมีต้นข้ีเหล็กขึ้นแยะ ได้ช่ือใหม่เป็นวัดสุวรรณคีรี
ว่ามีเขาย่อมๆ คงเป็นเนินดิน แต่ไม่ได้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง
ยังเปน็ วัดราษฎร์

วัดขี้เหล็กตั้งอยู่ท่ีปากน้�ำทางสามแพร่ง เป็นตัวที ทางหน่ึง
ไปออกบรรจบแม่น้ำ� เจา้ พระยา ตรงโรงพยาบาลศิริราช

เส้นทางหนงึ่ ไปทางวัดไก่เตย้ี ไปงว้ิ ราย หรอื ไปสุพรรณบุรไี ด้
เส้นน้ีเรียกว่า “คลองบางกอกน้อย” ตามเพลง สุดคลอง
บางกอกน้อย พายเรือตามหาบัวลอย... แต่จะสุดท่ีไหนไม่ทราบ
เพราะบางคนวา่ ไปสดุ ทสี่ าวบางอ้อ นนทบรุ ีบ้าง
แต่อกี เสน้ ทางหนึ่งเรยี กว่า “คลองชกั พระ” ไปทางวัดเจา้ อาม
ไปบรรจบกับเสน้ ทางบางกอกใหญ่ ไปวัดปากนำ้� ภาษีเจริญ จะไปออก
คลองด่านก็ได้ แต่ถ้าออกไปทางทิศตะวันออก ผ่านวัดสังข์กระจาย
ไปออกป้อมวิชยั ประสิทธ์ิ อีกช่ือหนงึ่ ท่เี รยี กคือ คลองบางหลวง
ข้าพเจ้าถามว่า นามสกุล “สุนทรเกตุ” ที่บรรจุอัฐิอยู่ท่ีวัดนี้
บา้ นอยไู่ หน ทา่ นชไี้ ปฝง่ั ตรงขา้ มกบั วดั วา่ เปน็ บา้ นมฐี านะ บา้ นอยแู่ ถวโนน้
และยังถามท่านไปอีกว่า แล้ว “สิงห์สุวรรณ” ของท่านมาจากไหน?

อนุทินประจำ� วัน 373

ท่านบอกว่าให้ไปถามไอ้หมูน้องชายท่าน และบอกว่าท่านเกิดที่แถวน้ี
ตระกูลท�ำบุญหลายวัด แต่อัฐิบรรจุท่ีวัดบางบ�ำหรุ บรรพบุรุษช้ันสูง
สืบไม่ได้ รู้แต่ว่าปู่ช่ือปู่เสริม สิงห์สุวรรณกับย่าจ�ำเริญ คนวัดไก่เต้ีย
มาจากไหนไม่รู้ ไอ้หมูว่ามาจากสุพรรณบุรี มาจากสิงห์บุรีทางโน้น
ตอนปู่เสริมตาย ผมบวชเณรได้พรรษาหน่ึง ในปี ๒๕๑๑-๒ ไม่ได้
บวชหนา้ ไฟ

เกี่ยวกับราชาพู่กัน นายสง่า มะยุระ ท่านเจ้าคุณอ้างถึง
อดตี เจา้ อาวาสทม่ี รณภาพในปี ๒๕๒๘ อายุ ๗๐ กวา่ ปี เคยเล่าให้ท่าน
ฟงั วา่ นายสงา่ อยวู่ ดั ทอง พายเรอื มาวาดภาพวดั ขเี้ หลก็ วาดทบี่ านประตู
และบานหน้าต่าง, อดีตเจ้าอาวาสพูดให้ฟังบ่อยว่า สง่าวาด ๓ วัด
คอื วัดทอง วดั ข่้ีเหล็ก และวัดพระแกว้ ส่วนทว่ี ดั นี้ ยงั เคยเห็นป้ายตดิ
ช่ือ “นายสง่า เป็นผู้วาด” แขวนท่ีบานประตูหลังโบสถ์บานหน่ึง
แตไ่ มร่ วู้ า่ ปา้ ยหลน่ หายไปไหนแลว้ และหายไปตอนไหนกไ็ มร่ เู้ หมอื นกนั

เปน็ เหตใุ หข้ า้ พเจา้ สำ� รวจภาพวาดทวี่ า่ เปน็ ฝมี อื ของสงา่ มะยรุ ะ
(๒๔๕๒-๒๕๒๑) คนเสาธงทอง ศรีประจันต์ สุพรรณบรุ ี อย่างละเอียด

ด่ังที่เคยเขียนในอนุทินมาแล้วว่า สง่าได้ฝากฝีมือไว้ตอน
อายุ ๑๗ ปี ภาพวาดหนุมานที่มณฑปวัดสัปรสเทศ ก่อนจะเข้ามา
อยู่ในกรุงเทพฯ ตอนอายุ ๑๗ ปีท้ิงฝีมือไว้ท่ีศรีประจันต์ แล้วเข้าไป
เมืองหลวง จนปรากฏฝีไม้ลายมือ ในภาพเร่ืองชุดรามเกียรต์ิ ๔ ภาพ
ในปี ๒๔๗๒-๓ และมีภาพเขียนซ่อมในปี ๒๕๑๕ เป็นภาพสุดท้าย
ที่เห็นผลงานท่ีวัดพระแก้ว เพราะหลังจากน้ันไม่นาน ท่านเสียชีวิต
ลงในปี ๒๕๒๑

ไดห้ ลกั ฐานภายในโบสถว์ ดั สวุ รรณครี แี หง่ นวี้ า่ ภาพซอ่ มปฏสิ งั ขรณ์
ท่ีบานประตูโบสถ์ปี ๒๔๗๑ และภาพต่างๆ ท้ังซ่อมบานประตูโบสถ์

374 อนุทินประจำ� วนั

และภาพใหม่ทีบ่ านหน้าต่าง ลว้ นเปน็ ฝีมือของนายสงา่ มะยุระ กอ่ นที่
จะไปวาดภาพยกระดบั ตนเองเปน็ ชา่ งหลวง ทว่ี ดั พระแกว้

ยืนยันหลักฐานความมีตัวตน และเส้นทางคลองบางกอกน้อย
และคลองชกั พระ เกีย่ วเนอื่ งกับคนสพุ รรณ

ขา้ พเจา้ ถามวา่ พระประธานในโบสถช์ อ่ื อะไร เจา้ อาวาสบอกวา่
ชอ่ื วา่ พระพุทธปจั จยาการ และเล่าวา่ มพี ระพุทธรปู อีกองคอ์ ยภู่ ายใน
องค์ใหญ่หุ้มอยู่ และคู่กับโบสถ์น้ี และระบุไปว่า วัดขี้เหล็กและ
พระประธาน สร้างใน พ.ศ. ๒๒๒๖ นั่นคอื อายุ ๓๐๐ กวา่ ปีแลว้

เดินสำ� รวจกุฏเิ สนาสนะ และซุ้มพระทศี่ าลาทา่ นำ้� ซงึ่ มี ๒ หลงั
เจอซมุ้ พระทห่ี นั หนา้ ไปทางปากนำ�้ และพบอฐั ขิ องนามสกลุ “สนุ ทรเกต”ุ
เป็นตน้

นบั เปน็ รอ่ งรอยหนงึ่ ของ “สดุ คลองบางกอกนอ้ ย....” ทข่ี า้ พเจา้
ไปยังไม่สุด เพียงเป็นการเริ่มต้นหนึ่ง ก้าวเล็กๆ ก้าวหนึ่ง ที่จะเป็น
ก้าวใหญต่ อ่ ไป

อนทุ นิ ประจำ� วนั 375



อนุทินประจ�ำวัน

(๕๘๑ นางจ�ำเนยี ร กระตา่ ยทอง (บริสุทธ์ิ)
(๒๔๗๑-๒๕๖๑)

ข่าวนางจ�ำเนียร กระต่ายทอง ถึงแก่กรรม สิริอายุ ๙๐ ปี มาถึง
พร้อมกบั แจง้ ข่าวพธิ รี ดน�ำ้ ศพ ทวี่ ัดสองพีน่ ้อง ในเวลา ๑๖.๐๐ น.
ของวนั ท่ี ๓ ก.ย. และกำ� หนดการประชมุ เพลงิ ในวนั เสาร์ ท่ี ๘ กนั ยายน
พ.ศ. ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๐๐ น. ในช่วงนมี้ ีบำ� เพญ็ กศุ ลสวดพระอภธิ รรม
ทุกคนื เวลา ๒๐.๐๐ น.

พบเห็นครั้งสุดท้าย เมื่อราว ๓ ปีก่อน ท่ีบ้านผลศรีนาค
นนั่ เปน็ การพบครงั้ สดุ ทา้ ยขณะทมี่ ชี วี ติ อยู่ หลงั จากนนั้ กท็ ราบวา่ สน้ิ ลม
หายใจ เมอื่ คืนของวนั ท่ี ๒ ก.ย.

ตั้งใจว่าจะไปร่วมพิธีเผาศพนายประเสริฐ ทองเชื้อ (เกิดปีฉลู
๒๔๙๒) ทว่ี ดั ดอนตาเกิด และเลยไปรดนำ้� ศพนางจำ� เนียร กระตา่ ยทอง
ท่ีวดั สองพ่นี อ้ ง แต่ไปไม่ทนั งานประชุมเพลงิ ศพนายประเสรฐิ , จำ� ไดว้ า่
พบนายประเสริฐ ทองเชอ้ื ลกู นางไพฑูรย์-นายบญุ ทองเชื้อ ครงั้ ลา่ สดุ
ในงานศพคุณนายพิมพา ชูวงษ์วิชช ที่วัดหนองหิน (วัดอินทร์เกษม)
ยังไม่ครบร้อยวันดีเลย ก็มาจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ก็ได้ข่าวว่าป่วย
กระเสาะกระแสะบ้างแล้ว ก็ขอส่งดวงวิญญาณแค่น้ี สุคติปรายโน
มสี ุคตเิ ปน็ ทไ่ี ปในเบื้องหนา้

ที่ท้ายบ้าน มีช่ือ ๒ เนียร หรือ ๒ จ�ำเนียร, จ�ำเนียรแรกเป็น
พ่ีสาวหลวงพ่อใหญ่-พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินดาอินทร์)

อนุทินประจำ� วัน 377

(เกดิ ปีขาล ๒๗ ส.ค. ๒๔๖๙ มรณะ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๓) ชอื่ นางจำ� เนียร
ผลศรีนาค (๒๔๖๒-๑ ก.ย. ๒๕๕๙ อายุ ๙๗ ปี) ซึ่งเป็นลูกของ
พอ่ ผล แมก่ วา จนิ ดาอนิ ทร์ และจำ� เนยี รท่ี ๒ ชอ่ื นางจำ� เนยี ร กระตา่ ยทอง
(บริสุทธ์ิ) (เกิดปีมะโรง ๒๔๗๑ - ๒ ก.ย. ๒๕๖๑ อายุ ๙๐ ปี) บตุ รสาว
คนเล็กของพ่อเวช บริสุทธ์ิ (เกิดราว ๒๔๒๘-๒๕๑๖ อายุ ๘๘ ปี)
กับนางเคล้า บรสิ ุทธิ์ (จินดาอินทร์)

นางจ�ำเนียร กระต่ายทอง แต่งงานกับครูสน กระต่ายทอง
ลูกของพ่อเจ๊กแม่แหน กระต่ายทอง (โพธิพันธุ์), ได้พบครูเย่ือ นุชศิริ
(เกิด ๒๔๖๓) บอกว่าอายุ ๙๙ ปี เกิดเดือนเดียวปีเดียวกับครูสน
หา่ งกนั แค่ ๑๔ วนั เอง และบอกว่าครสู น บ้านใกลก้ นั เป็นครเู หมอื นกัน
ลูกตาเจ๊ก กระต่ายทอง ข้าพเจ้าถามต่อว่าตาเจ๊กคนที่ไหน? ครูเย่ือ
บอกว่าไม่รู้ว่าคนท่ีไหน ซ่ึงข้าพเจ้าบอกว่าคงเป็นคนบ้านโพธ์ิหรือ
ทางบางแม่หม้าย ย่านแมน่ ้�ำโน้น

ทีแรกรู้สึกแปลกใจนิดหนึ่งว่า นางอ�ำนวย รัตนผุสดีกุล (อายุ
๘๐ ปีเศษ) บ้านบางหลวงมาทางสายไหน เข้าไปทักพูดคุย ๒-๓
ค�ำก่อน ซึ่งบอกว่าเพ่ิงกลับมาจากกรุงเทพฯ ยังไม่ได้เปล่ียนชุดเลย
เพิ่งถึงบางอ้อ เพราะแม่แหน กระต่ายทอง ภรรยาของพ่อเจ๊ก
นามสกุลเดมิ โพธพิ นั ธ์ุ น่ันเอง

หลงั รดนำ�้ ศพเสรจ็ ฝนเทลงมาพกั ใหญ่ กอ่ นจะกา้ วเทา้ ออกจาก
ศาลาการเปรยี ญวดั สองพน่ี อ้ ง ไดพ้ บกบั นายวนิ ยั นาคสนุ่ (เกดิ ๒๔๘๖)
ที่เจ้าคุณส�ำร่วย (พระสิริสุพรรณาภรณ์) วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร
มักเรยี กว่า “ไอเ้ บิม้ ” เพราะเล่าใหฟ้ ังบ่อยว่า ไอ้เบิ้มติดตามพวกตาเวช
ตาปุ่น ตาปั่น บริสุทธิ์ มาเกี่ยวข้าวท่ีบางแม่หม้าย ว่ารู้จักคุ้นเคย
กันดีมาก เจ้าคุณส�ำร่วยเวลาคุยถึงคนสองพ่ีน้อง จะถามว่า ไอ้เบ้ิม
ไปอยูไ่ หน และเลา่ วา่ เคยมางานแตง่ ไอ้เถียรทอ่ี ำ� เภอเก่าสองพ่ีน้อง

378 อนุทินประจำ� วนั

ขา้ พเจา้ ซกั ถามนายเบม้ิ นาคสนุ่ วา่ เจา้ คณุ สำ� รว่ ยมางานแตง่ ใคร
ในสมยั ทย่ี งั เป็นหนุ่ม ยงั ไมบ่ วชเปน็ พระ จงึ ไดร้ ับคำ� ตอบวา่ มางานแต่ง
นายเสถียร ไพเราะลูกพ่อเถาแม่ทองเติม ไพเราะ คนบางแม่หม้าย
ทม่ี าแตง่ กบั นางศรรี ตั น์ ลกู ของแมแ่ ฉลม้ พอ่ ปี เสง็ หลวง อาชพี คา้ ขายขา้ ว
ทอี่ �ำเภอเก่า

และเล่าว่า ย่าของนายเสถียร ไพเราะ นามสกุลเดียวกันคือ
“นาคสุ่น” เป็นญาติสนิทกัน, นายเสถียรเป็นลูกของพ่อเถา ไพเราะ
ทม่ี แี มเ่ ปน็ “นาคสนุ่ ” สว่ นนายเบม้ิ เปน็ ลกู ของพอ่ ตงิ่ ปเู่ ชงิ ยา่ พมุ่ นาคสนุ่
รกรากบางแมห่ มา้ ยโนน้ สว่ นแมข่ องนายเบม้ิ เปน็ ลกู ของตาเวช บรสิ ทุ ธ์ิ
ชือ่ แม่น่วม นาคสุ่น (บรสิ ทุ ธ)์ิ

ในวงสนทนายังมีผู้ใหญ่ต้ัม บริสุทธ์ิ สายของก๋งชุน บริสุทธิ์
ที่เล่าว่า มี ๓ ก๋งพี่น้องกัน ช่ือก๋งอยู่ บริสุทธิ์ อยู่ในตัวเมือง ก๋งก้ัง
คอื สายตาเวช บรสิ ทุ ธ์ิ พชี่ าย ๒ คนบวชและตายเปน็ พระชอ่ื หลวงปปู่ ลงั่
บริสทุ ธิ์ และหลวงปนู่ ่อม บริสุทธิ์ สายน้ที ใ่ี ช้ “บริสทุ ธ”์ิ มสี ายตาเวช
คนเดยี ว, และก๋งชุน บริสุทธิ์ ทเ่ี ปน็ สายยายเฉอื่ ย อุฉนั ยา (๒๔๕๘-๒๒
ม.ค. ๒๕๖๐ อายุ ๑๐๑ ปี) ท่ีเสียไปเม่ือปีท่ีแล้ว ซึ่งเป็นสายของตน
สายนี้ยงั มีลกู หลานทีใ่ ช้ “บรสิ ุทธ์ิ” กันหลายคน

ขา้ พเจา้ ถามผูใ้ หญ่ตมั้ วา่ นามสกุล “บริสทุ ธ”์ิ มาจากแซ่อะไร?
ผู้ใหญ่ต้ัมบอกว่า อาอางค์น้องของแมเ่ พ่งิ บอกมาหยกๆ แตจ่ �ำไมไ่ ดแ้ ลว้
วา่ แซ่อะไร เดีย๋ วจะไปถามอาอางคก์ ่อน ขา้ พเจา้ ก�ำชับไปวา่ อยากรู้วา่
“บรสิ ทุ ธ”ิ์ มาจากแซอ่ ะไร เพราะเหน็ เรยี ก “กง๋ ” กนั เพงิ่ มาในรนุ่ หลงั นี้
ทไี่ ม่เรียกกง๋ เรยี กเตี่ยแลว้

ส่วนนางเคล้า บริสุทธิ์ (จินดาอินทรฺ์) แม่ของนางจ�ำเนียร
กระต่ายทองน้ัน เป็นใคร? และสายไหน ใน “คุ้ม กัน มั่น คง”

อนุทินประจ�ำวัน 379

ข้าพเจ้ากลับไม่ซักถาม แต่ได้ถามครูเยื่อ นุชศิริ (เกิด ๒๔๖๓
แต่คุยว่าอายุ ๙๙ ปี คงจะนับแบบประเพณีจีนกะมัง) ว่า ในบันทึก
กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ว่าบ้านเรามีศาสตราจารย์เกวียนด้วย
อยากทราบวา่ บ้านเราในยา่ นสองพีน่ อ้ งน้ี ใครเปน็ ช่างเกวียนบ้าง?

ครูเยือ่ นชุ ศิริ บอกวา่ ชมุ ชนบา้ นนายจาง มีตาจอ๋ ง ส�ำเนยี งลำ้�
พ่อของครูเวียง ส�ำเนียงล�้ำ และท้ายบ้านมีพวกยายจะ ช่างกลึงดี
(จนิ ดาอนิ ทร์) เป็นพวกตระกูลช่าง เป็นชา่ งบา้ นเรา จนได้นามสกลุ ว่า
“ช่างกลึง...” อะไรต่างๆ ที่สองพ่ีน้องต้องนับว่าชุมชนบ้านสองพ่ีน้อง
เปน็ ตระกูลช่าง ส่วนที่อำ� เภออื่นไมร่ ู้วา่ อยู่ทบ่ี ้านไหนบา้ ง?.

นางจ�ำเนยี ร กระต่ายทอง (บรสิ ทุ ธ)์ิ (๒๔๗๑-๒๕๖๑) ลกู ของ
ตาเวช บริสุทธ์ิ (ราว ๒๔๒๘-๒๕๑๖) บอกเวลาที่ผ่านมาได้ ๑๓๓ ปี
ชาตกาลของนายเวช บรสิ ทุ ธิ์ สว่ นพอ่ แมข่ องนายเวชชอ่ื นายอำ� เภอกงั้ )
กบั ยา่ ชวดเผาะ ตอ้ งเกดิ ในราว ๒๔๐๐ ตน้ ๆ นนั่ คอื นบั อายไุ ด้ ๑๖๐ กวา่ ปี
และถ้าบวกรุ่นพ่อแม่ของก๋งอยู่-ก๋งก้ัง-ก๋งชุนไปอีกชั้นหนึ่ง นับอายุ
ได้ราว ๑๘๐-๑๙๐ ปขี องตระกูล “บริสทุ ธิ”์ ทม่ี าจาก “แซ?่ ”

380 อนุทินประจ�ำวนั

อนุทินประจ�ำวัน

(๕๘๒ จอมพลฯ เจิม แสงชโู ต
และวัดพระพเิ รนทร์ วพร.)

ที่ดา้ นหลงั โรงไฟฟา้ นครหลวง วดั เลยี บ พาหรุ ดั มอี นสุ าวรยี จ์ อมพล
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) (๒๓๙๔-๒๔๗๔)
จารึกที่ฐานเขียนว่า “จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)
แม่ทัพปราบเง้ียว เป็นผู้ให้ก�ำเนิดไฟฟ้าในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๐
กันยายน พ.ศ.๒๔๒๗ โดยส่ังเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์
จากประเทศองั กฤษมาสองเครอ่ื ง ตดิ ตงั้ ใชง้ านภายในพระบรมมหาราชวงั
และโรงทหารหน้ากระทรวงกลาโหม โดยได้ขายท่ีดินของท่านเอง
เปน็ เงนิ ๑๘๐ ชัง่ และต่อมาได้รับพระราชทานเงินคืน”

จอมพลท่านนี้ เกี่ยวข้องกับบ้านศาลาแดง และเก่ียวข้องกับ
สุพรรณบุรี ในขณะเป็น “จม่ืนไวยวรนาถ” ได้ไปปราบโจรสุพรรณ
ตรงนข้ี ออธบิ ายใหช้ ดั กอ่ นวา่ บรรดาศกั ดิ์ “หมนื่ ” กบั “จมน่ื ไวยวรนาถ”
นั้นแตกต่างกัน เพราะหม่ืนมีศักดินา ๒๐๐ ไร่ ขุนศักดินา ๓๐๐ ไร่,
หลวงศกั ดนิ า ๔๐๐ ไร,่ สว่ นจมน่ื ไวยวรนาถ มศี กั ดนิ าในระดบั “พระยา”
บรรดาศักด์ิกอ่ นจะขึ้นเป็น “เจา้ พระยา”

ทเ่ี กย่ี วกบั สพุ รรณ เพราะประวตั ทิ า่ น บอกวา่ “เมอื่ ปี พ.ศ. ๒๔๒๖
เกดิ เหตโุ จรผรู้ า้ ยชกุ ชมุ ทเี่ มอื งสพุ รรณบรุ ี จมน่ื ไวยวรนาถไดร้ บั มอบหมาย
ใหไ้ ปปราบ ซง่ึ สามารถปราบได้สำ� เร็จ รวมทัง้ ปราบโจรผู้รา้ ย จากทาง
หัวเมืองตะวนั ออกด้วย ในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ยงั ได้รบั หน้าท่ีให้เปน็ แม่ทพั

อนุทินประจ�ำวนั 381

ปราบฮอ่ ท่หี วั เมืองลาว และในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ไดร้ บั หน้าทไ่ี ปปราบฮ่อ
อีกครั้งหนึ่ง โดยคิดค้น และผลิตลูกระเบิดข้ึนใช้ในการรบ จนกระทั่ง
ปราบฮอ่ ได้ส�ำเรจ็ ราบคาบ

จม่ืนไวยวรนาถได้ริเริ่มวางแผนการ ก่อตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นใช้ใน
กองทัพบก และเชิญชวนให้มีการเข้าหุ้นตั้งโรงไฟฟ้า ซ่ึงท่านน�ำไฟฟ้า
มาใช้ ในประเทศไทยเปน็ ครงั้ แรก...”

ท่านไปปราบโจรสุพรรณในปี ๒๔๒๖-๗ กลับมาแล้ว ก็สั่ง
เครอ่ื งกำ� เนดิ ไฟฟา้ เขา้ มาในสยามประเทศในวนั ท่ี ๒๐ กนั ยายน ๒๔๒๗
ดงั จารกึ ที่ฐานเป็นหลกั ฐาน

โรงไฟฟ้าวัดเลียบมีขั้นตอนผลิตอย่างไร ข้าพเจ้าไม่ทราบ
เคยไดย้ นิ ว่า น�ำเอาแกลบหรอื วัสดุมาเป็นเชอื้ เพลงิ เคยเหน็ ปลอ่ งควนั
วัดเลียบพวยพุ่งข้ึน คลุ้งไปในนภากาศ มองเห็นได้จากสะพานพุทธ
เดมิ มคี ลองล�ำเลยี งเชื้อเพลิง ทป่ี จั จุบันถมเปน็ ถนนไป

จอมพลเจา้ พระยาสรุ ศกั ดิ์มนตรี ขุนพลสมัย ร.๕ เกยี่ วขอ้ งกนั
ชาวสุพรรณ เวลาเดินทางเข้าเขตตัวเมืองกาญจนบุรี เห็นชื่อถนน
แสงชูโตคราวใด ก็อดนึกถึงคุณูปการของนามสกุลน้ีไม่ได้ และนึกถึง
ศึกสงครามการปราบฮ่อ ทช่ี าวสพุ รรณมีส่วนร่วมเขา้ รบในสมรภมู ิดว้ ย
ไม่มากกน็ ้อย แต่จะปราบฮอ่ คราวไหนปีใด มรี ายชือ่ นักรบว่าอะไรบา้ ง
ภาพประวัติศาสตร์ยังไม่ชัดเจนนักส�ำหรับข้าพเจ้า เพียงได้ยินว่า
มีบรรพบุรุษชาวสุพรรณเข้ารบพุ่ง เพราะเป็นเหตุการณ์เม่ือ ๑๖๐ ปี
ยงั พอได้ขา่ วระแคะระคายบ้าง

วัดพระพิเรนทร์ วรจักร เกี่ยวข้องกับคนสุพรรณมากเท่าท่ี
สบื ทราบได้ ตง้ั แตส่ มยั หลวงพอ่ ปอมาเปน็ เจา้ อาวาส ทปี่ ระตเู ขา้ วดั เขยี น
ว่าสร้างปี ๒๔๗๙ ส่วนอีกด้านที่เคยเป็นโรงเลี้ยงม้าและเคยเป็น

382 อนุทนิ ประจำ� วนั

ท่ีตั้งธนาคารกรุงเทพมาก่อน เขียนปี ๒๕๐๐ สร้างในสมัยพระเทพ
คุณาธาร (ผล ชินปตุ ฺโต ป.ธ.๕) หรือหลวงพอ่ ปู่ขุ่น เล็กสมบรู ณ/์ แซ่เลก็
ทด่ี ำ� รงตำ� แหนง่ เจา้ อาวาสตอ่ จากหลวงพอ่ ปอ เอาเปน็ วา่ ในรอบ ๑๐๐ ปนี ี้
วัดพระพิเรนทร์ วรจักร (อักษรยอ่ วา่ วพร.) ได้เป็นฐานทพ่ี กั พิงอาศยั
สำ� หรับคนสพุ รรณตลอดมา

ท่ีเก๋งจีนวัดพระพิเรนทร์ ระหว่างอุโบสถและวิหาร ภายในมี
พระสังกัจจายน์เป็นประธานน่ังเอ้เต้ อ�ำนวยโชคอ�ำนวยชัยให้ผู้เข้ามา
กราบไหว้ ข้าพเจา้ มกั ซกั ถามเสมอว่า ใครเจ้าภาพสรา้ ง และอักษรจีน
อา่ นวา่ อะไร เพราะไมพ่ บประวตั ภิ าษาไทย และภายในมอี กั ษรจนี กำ� กบั
เท่านัน้

นายเนา้ (นายอำ� นวย ปฏริ พ) (เกดิ ปจี อ ๒๔๘๙) เขา้ มาเพง่ พนิ จิ
สักครู่หนึ่ง แล้วบอกว่า “เช่ือผมสิ คนกลางเป็นสามี มีภรรยา ๒ คน
คนหน่ึงเป็นภรรยามาจากเมืองจีน และอีกคนเป็นภรรยาเกิดในไทย”
ขา้ พเจา้ ยงั แยง้ วา่ อกี คนอาจจะเปน็ บรรพบรุ ษุ ใกลช้ ดิ กไ็ ด้ และยงั แยง้ วา่
อ่านภาษาจีนกไ็ ม่ได้ อยา่ เพ่ิงวนิ จิ ฉยั ช้ขี าด

คำ� ตอบอยทู่ ใ่ี ตฐ้ านพระ เมอื่ เปดิ ออกมา พบจารกึ เปน็ ภาษาจนี อกี
แตภ่ าษาไทยเขียนว่า “นางสงั วาล แซ่อง้ึ นายปงั้ แซเ่ บ๊ นางซกหู่ แซจ่ วิ
(อศั วยงค)์ ”... เบ๊ แปลวา่ มา้ คนไทยนยิ มใชค้ ำ� วา่ “อศั วะ” เชน่ อศั วเหม

นายเนา้ อทุ านวา่ แหม! แซจ่ วิ แซเ่ ดยี วกบั เราเลย กอ่ นจะเปลยี่ น
มาเปน็ ปฏิรพ ซึง่ ขา้ พเจา้ ก็ไม่ได้ถามว่าหมายถงึ อะไร

อนุทินประจำ� วัน 383



อนุทนิ ประจำ� วัน

(๕๘๓ พธิ คี รอบครู พธิ ไี หวค้ รู ส.ส.ศ.)

ในพิธีครอบครู ของสมาคมสงเคราะห์สหายศิลปิน (ส.ส.ศ.)
ณ วดั พระพิเรนทร์ วรจักร วนั พฤหัสบดี ที่ ๖ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ได้พบนายปยิ ะ ตระกูลราษฎร์ (เกิดปมี ะเมยี ๒๔๙๗) ตวั จริงเสียงจรงิ
เป็นคร้งั แรกในชวี ิต

ย้อนไปในยุคสมัยราวปี ๒๕๒๐+ มีภาพยนตร์เร่ืองหนึ่ง
ท่ีไดร้ างวัลดีเด่นด้วย ชอ่ื “ครบู ้านนอก” เป็นครงั้ แรกทไ่ี ดเ้ หน็ ตัวปิยะ
ตระกลู ราษฎรใ์ นแผน่ เงนิ จำ� ไดต้ ดิ ตาว่า สมยั นัน้ ได้น�ำภาพยนตรเ์ ร่อื งน้ี
มาฉายให้นิสิตดูท่ีต�ำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ เรียกว่า
ฉายชนโรงทีเดียว น่าจะเป็นคณะครุศาสตร์ที่ด�ำเนินการติดต่อ
ประสานงาน และได้ดูหนังชนโรงเป็นคร้ังแรกในชีวิต ส่วนมาก
จะเคยกับโรงหนงั กลางแปลง จงึ ต่นื เตน้ มาก และจ�ำตอนจบทพี่ ระเอก
ถูกยิงตาย และเสียงเพลง “แม่พิมพ์ของชาติ” ของวงจันทร์ ไพโรจน์
ชา่ งไพเราะจบั ใจ จนเกอื บจะเปลยี่ นวถิ ชี วี ติ ใหเ้ ปลยี่ นจากคณะพทุ ธศาสตร์
เปน็ คณะครุศาสตร์

ทราบมานานแล้วว่าเป็นคนอ�ำเภอเดียวกัน เคยฝากครูสนั่น
นุชบรู ณ์ใหไ้ ปสอบถามวา่ “ตระกูลราษฎร์” มาจากแซ่อะไร? ครูสน่ัน
รบั ปากแล้ว ก็ยังหาคำ� ตอบไมไ่ ด้ จนถงึ แกก่ รรมไปแลว้ เพราะครูสนัน่
เปน็ คนบางสะแกและเปน็ ญาตทิ างแมข่ องปยิ ะ ตระกลู ราษฎร์ ทบ่ี อกวา่
แม่ชื่อล้ินจี่ เป็นลูกของพ่อคุณแช่ม แม่คุณม้วน คนคลองบางสะแก

อนุทินประจำ� วัน 385

ส่วนพ่อช่ือพ่อจุ่น ตระกูลราษฎร์ ลูกของปู่ย่าอะไรก็จ�ำไม่ได้ บอกว่า
เกิดมาไม่ทนั เหน็

เดิมช่ือว่า ชัยยะ เปล่ียนมาเป็น ปิยะ บอกว่าติดตามพ่ีชาย
ช่ือพ่ีประจักษ์ ตระกูลราษฎร์ เข้ามาอยู่วัดพระพิเรนทร์ วรจักร
เป็นลูกศิษย์ของมหาสัมฤทธ์ิ รุ่งแสงจันทร์ พี่ชายมีชื่อเล่นว่าพี่เหว่า
ก็เสยี ชวี ติ ไปแลว้ มีพ่ีน้องรวม ๘ คนดว้ ยกนั

นายปยิ ะ ตระกูลราษฎร์หายจากวงการไปนาน ขา้ พเจา้ ถามวา่
แสดงหนงั ได้รางวลั ก่ีตวั บอกว่า ๓ รางวลั ดว้ ยกนั มีเรอื่ งครูบา้ นนอก,
กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่, และเทพเจ้าแห่งบ้านบางปูน และผันชีวิตเป็น
นักแต่งเพลง และระยะหลังนเ้ี ปน็ นกั พากยม์ วย

ท่ีมาด้วยกันช่ือนายอ�ำนวย สอ้ิงทอง (เกิด ๒๔๘๗) เป็นศิษย์
วัดพระพิเรนทร์ รุ่นพี่ บอกว่าครูปุ๊ วิทยาลัยสารพัดช่างฝากมาอยู่กับ
พระครูปลัดสมัย สุพรรณโรจน์ ในช่วง ๒๕๐๖-๘ ปัจจุบันเป็นนักจัด
รายการวทิ ยลุ ูกทุง่

สอบถามวา่ เปน็ คนทไ่ี หน บอกวา่ คนวงั นำ�้ เยน็ คอื ตำ� บลวงั นำ�้ เยน็
บ้านชื่อดอนยอ เป็นลูกของพ่อสุวรรณ แม่ค�ำ หลานปู่พุด สอ้ิงทอง
และว่าก�ำนันมณฑา สอิ้งทอง เป็นลุง และคุยว่า วันหน่ึงไปซ้ือรถ
เจอคนขายเป็นคนจีนนามสกุลเดียวกัน คุยกันไปกันมาจึงทราบว่า
ภรรยาเป็นนามสกุลเดียวกัน คือ “สอิ้งทอง” และรู้จักเป็นญาติกัน
และยังเลา่ ว่าทที่ หารเรอื น้นั ก็มนี ายทหารผู้ใหญ่นามสกุลเดียวกนั อีก

ท้ังปิยะ ตระกูลราษฎร์ และนายอ�ำนวย สอิ้งทอง มาร่วมพิธี
ครอบครูประจ�ำปี ๒๕๖๑ ในช่วงเช้าจนถึงเท่ียงวัน ได้คุยกันพอ
หอมปากหอมคอและก็จากไป ก่อนจากนายอ�ำนวยบอกว่า มีอะไร
ให้ส่งข่าวบอกไดเ้ ลย

386 อนุทนิ ประจ�ำวนั

ตอนเย็นเดินผ่านพิธี ได้ยินโฆษกบอกล�ำดับผู้เข้าพิธีครอบครู
อันดับท่ี ๙๐๐ พอดี และได้ยินว่า ครูบุญเลิศ อายุมากแล้ว วันน้ี
ครอบครไู ด้ ๑,๐๔๓ คน เมือ่ ปกี อ่ นครอบไดร้ าว ๑,๕๐๐ คน

ก่อนพิธีไหว้ครู ด้วยการเล่นปี่พาทย์ถวายครู ท่ีเก๋งจีน
วดั พระพเิ รนทร์ แหงนหนา้ ดปู า้ ยเพงิ่ เหน็ ปา้ ยเขยี นวา่ “นายฮอ่ งเอง่ แซเ่ บ๊
(อัศวยงค์) สร้างอุทิศส่วนกุศลให้คุณพ่อปั้ง (เอี๊ยบป๊า) แซ่เบ๊ ไว้เป็น
อนุสรณ์ เมื่อวนั ที่ ๑๗ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๐๘” มีภาษาจีนเขยี นก�ำกับ
ยนื ยนั วา่ ปที สี่ ร้างในสมัยหลวงพอ่ พระเทพคณุ าธาร และเปน็ ปี ๒๕๐๘

ได้มีโอกาสพูดคุยกับนายด�ำ หรือนายโอ ช่ือจริงนายวีระศักด์ิ
พุทธธีรภาพ (เกิดปีมะเส็ง ๒๔๘๔) เด็กวัดพระพิเรนทร์สมัยหลวงพ่อ
เทพคุณาธาร ที่ตนเรียกว่าหลวงพ่อผล แขวนเหรียญหลวงพ่อติดคอ
ประจ�ำ เล่าให้ฟังถึงอดีตท่ีประทับใจมากมายเกี่ยวกับวัดพระพิเรนทร์
ข้าพเจ้าสอบถามว่ารู้จักหลวงปู่ผิวไหม? นายด�ำบอกว่า คุ้นเคยกันดี
หลวงพ่อผิวเป็นลิเกเก่า มาบวชพระชอบท�ำบุญ และเคยพายเรือ
ไปน�ำมะพรา้ วแถวอ�ำเภอบางเลนไปกบั หลวงพ่อผวิ

ข้าพเจ้าบอกให้พระตุ๊จ๋ายไปหยิบรูปในหอบูรพาจารย์มา
ที่ใต้รูปเขียนว่า “หลวงปู่ผิว” ให้ดูและถามว่าใช่รูปหลวงพ่อผิวไหม?
นายด�ำบอกว่า ผมยืนยันเด็ดขาดว่าไม่ใช่หลวงพ่อผิว หลวงพ่อผิวขาว
กว่าน้ี และรูปร่างท้วมหน่อย ข้าพเจ้าบอกว่า หลายคนวินิจฉัยว่า
เปน็ หลวงพ่อพร้งิ (พระครธู รรมสารรักษา) วัดวรจันทร์ อ.ศรปี ระจันต์
สุพรรณบุรี ซ่ึงเป็นพระคู่สวดของหลวงพ่อพระเทพคุณาธาร แต่ไม่มี
ใครที่ทนั เหน็ หลวงพอ่ ผวิ มาช่วยยนื ยันได้

หลังจากนั้น ได้พาเข้าไปภายในอุโบสถที่หน้าต่างด้านทิศใต้
ท่ีเขียนชื่อว่า “พระภิกษุผิว ชัยสายัณห์ พ.ศ. ๒๕๐๖” และนายด�ำ

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 387

ก็บอกว่า นี่ล่ะครับคือหลวงพ่อผิว ท่ีเดิมเป็นลิเกเก่า ชอบท�ำบุญ
แต่มรณภาพปีไหน ผมไม่ทราบ เพราะไม่ได้มาร่วมพิธีเผาด้วย และ
บอกว่า วัดพระพิเรนทร์น้ีเป็นวัดเก่าแก่มาก เคยได้ยินวงสนทนา
หลวงพอ่ ผลคุยกนั วา่ ตอนสร้างวดั สุทัศนน์ ัน้ วัสดุทีเ่ หลอื จากวัดสุทัศน์
ได้น�ำมาสร้างถาวรวตั ถคุ ือโบสถ์วหิ ารวดั พระพเิ รนทร์เรา

และเล่าว่า วัดพระพิเรนทร์ล้อมรอบด้วยวังต่างๆ มีกรมพระ
ก�ำแพงเพชร มีเจ้ากรมแย้ม เจ้ากรมรถไฟ อะไรต่างๆ ผมยังทัน
ไฟไหม้ใหญ่ท่ีหลังโรงพยาบาลกลาง แล้วอพยพผู้คนมาพักที่
วดั พระพเิ รนทร์ ข้าพเจ้าถามวา่ ตรอกเตา้ หอู้ ยู่ท่ีไหน? ไดร้ บั คำ� ตอบว่า
อยูว่ งเวียน ๒๒ คกู่ ับ ตรอกถวั่ งอก

ขา้ พเจา้ ถามถงึ ตรอกเตา้ หู้ ทเ่ี ดมิ เปน็ ตำ� บลเตา้ หู้ เพราะมปี ระวตั ิ
ทอ่ี ่านจากป้ายถนนศรธี รรมาธริ าช ดงั นี้

“ถนนศรีธรรมาธิราช เป็นถนนแยกออกจากถนนเจริญกรุง
ไปออกถนนเจ้าค�ำรพ สร้างขึ้นในสมัย ร.๖ เม่ือปี ๒๔๖๔ เนื่องจาก
เกิดเพลงิ ไหมท้ ่ตี �ำบลตรอกเตา้ หู้ ตอนรมิ ถนนเจริญกรุง ท�ำให้ทรพั ย์สิน
เสียหายมาก เพราะพ้ืนที่บริเวณน้ีมีบ้านเรือนหนาแน่น มีถนนใหญ่
ไม่เพียงพอท่ีจะเข้าไปป้องกันอันตรายได้ทันท่วงที กรมสุขาภิบาล
กระทรวงนครบาล จึงขอพระบรมราชานุญาตตัดถนนสายน้ี ร.๖
ได้โปรดให้ตัดถนนสายน้ี พร้อมกันกับถนนเสือป่า ถนนยมราชสุขุม
ถนนเจา้ คำ� รพ พรอ้ มทง้ั ขยายตรอกเตา้ หดู้ ว้ ย และโปรดใหเ้ จา้ พระยายมราช
จดนามสถานท่ีส�ำคัญ นามบุคคลส�ำคัญ ท่ีอยู่ใกล้เคียงหรือเก่ียวข้อง
เพอื่ ถอื เปน็ เกณฑใ์ นการพระราชทานนาม และพระองคท์ รงพระราชทาน
นามถนนที่กรมสุขาภิบาล ขอพระบรมราชานุญาตตัดข้ึนใหม่น้ีว่า
ถนนศรธี รรมาธริ าช”

388 อนทุ ินประจำ� วัน

พบหลักการและเหตุผลในการตั้งชื่อถนนส�ำคัญหลายสาย
ในแถวบรเิ วณลอ้ มๆ วัดพระพิเรนทร์ วรจกั ร นายดำ� บอกว่า รู้ไหมวา่
ซอยบรุ รี มย์ มาจากอะไร? และบอกวา่ “รมย์ นนั้ คอื ซ่อง และโรงฝิ่น
เป็นสถานเริงรมย์นั่นเอง และตรงสามยอดแทบน้ันมีสะพานถ่าน
หลงั โรงแรมบูรพามีโรงหวย ก. ข. และอะไรตา่ งๆ ผมเป็นเดก็ ว่งิ เล่นอยู่
แถวน้ี”

อนุทินประจ�ำวนั 389



อนทุ ินประจำ� วนั

(๕๘๔ ร่องรอยพระยาสุนทรสงคราม (แจม่ )
ขา้ หลวงเมอื งสพุ รรณบุร)ี

ได้แผ่นชีทสาแหรกแผ่นหนึ่ง จากงาน ๑๐๐ ปี สุนทรวิภาต จัดที่
วัดสุวรรณภมู ิ ในเดอื นกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เปน็ ลายมือของใคร
ไม่ทราบจรงิ ๆ จำ� ไม่ไดแ้ ล้ว เพยี งแค่ ๔ ปเี อง ขอ้ มูลทเ่ี คยจดไว้กไ็ ว้ใจ
ไม่ได้เลย ขนาดไดอาร่ีบันทึกไว้ดีๆ วันดีคืนน้ี เครื่องคอมฯ มีปัญหา
ข้อมูลหายไปเป็นปสี องปี คดิ แลว้ ก็น่าใจหาย

ค้นพบแผ่นสาแหรกโดยบังเอิญ จึงน�ำข้ึนมาศึกษา และค้นดู
บนั ทึกเกา่ ๆ ท่เี หลือร่องรอยอยู่ จับประเดน็ ไดว้ ่า พระยาสนุ ทรสงคราม
(แจม่ ) เปน็ ตำ� รวจกอ่ น แลว้ เปน็ จา่ หาญ แลว้ เปน็ พระไชย (ดจู ากมมุ ภาพ
ดา้ นขวามอื ) กอ่ นจะเปน็ พระยาสนุ ทรสงคราม ขา้ หลวงเมอื งสพุ รรณบรุ ี
(ราวปี ๒๔๑๑-๒๔๒๒) ดงั นนั้ เปน็ คนทเี่ กดิ อยา่ งนอ้ ยๆ กเ็ กดิ ราว ๒๓๗๐
หรือก่อนหน้านั้น วันเกิดปียังไม่ชัด ก�ำลังหาข้อมูลที่ชัดๆ ตีเสียว่า
เกิดปี ๒๓๕๐ ก็แลว้ กนั เผ่ือจะนับว่า ชาตกาล ๒๑๑ ปี

นับโคตรละ ๒๕ ปี จะนบั ได้ ๗-๘ ร่นุ หรอื โคตร (generation)
คนอ่ืนนับไม่ได้ไม่เปน็ ไร แตข่ า้ พเจา้ นับไดร้ าวเชน่ นน้ั

ในบนั ทกึ เขยี นไวว้ า่ ในงาน ๑๐๐ ปี สุนทรวิภาต มปี พ่ี าทยไ์ ทย-
มอญชอ่ื “ธนกรณศ์ ลิ ป”์ มาจากทา่ มะกา ซง่ึ เปน็ ลกู หลานของสนุ ทรวภิ าต
มาเล่นท่ีวัดใหม่, ได้ข้อมูลจากนายนิกร สุนทรวิภาต อายุ ๘๖ ปี ว่า
พระยาสนุ ทรสงคราม (แจ่ม) กับภรรยาคนสดุ ทา้ ย (สมเหตุผล เพราะ

อนุทินประจ�ำวัน 391

เมอ่ื ไล่อายกุ ันแล้ว) ชื่อยายชวด “อิ่ม” มลี ูกคอื
๑. โสด ไม่แต่งงาน เป็นคนถวายท่ีดินให้วัด จ�ำศีลเสียชีวิต

เมอ่ื ตนเองอายุ ๑๓ ปี ***ขอ้ นถี้ า้ ดโู ฉนดทด่ี นิ วดั ใหม่ นา่ จะเหน็ หลกั ฐาน
ชัดข้นึ อีก แต่ไปคน้ ดูแล้ว ไมพ่ บโฉนดยา่ มอญน้ี มีแปลงหน่งึ ๑ ไรท่ ี่ระบุ
แมน่ ำ้� อยทู่ ศิ เหนอื แตอ่ กี ๑๐ ไรไ่ มพ่ บระบชุ อื่ “วดั ใหม”่ , มโี ฉนดวดั ใหม่
ทศี่ รปี ระจนั ตเ์ ปน็ ของพวก “จำ� ปาเงนิ ” ถวาย และทบี่ างแมห่ มา้ ย ๕๑ ไร่
เป็นของพวก “ศิริวฒั น์” เชื้อสายหลวงสงา่ งามเมอื ง (พัน)***,

๒. ตาทงั่ สุนทรวภิ าต/จมน่ื ทง่ั ,
๓. ตาท้วม สุนทรวิภาต/ขุนนครภกั ดี เรยี กวา่ “ขุนนคร” เป็นปู่
ของย่า และตนนับเป็นช้ันที่ ๕ ส่วนจงรัก ปรีชานนท์ว่าเป็นช้ันท่ี ๔
และหลานเปน็ ชั้นที่ ๗,
๔. ตาบุญ สุนทรวภิ าต (ย่าคลี่) ซ่ึงเป็นสายของปู่ ดร.เจิดหล้า
สนุ ทรวิภาต
๕. ...................., ว่าตาทว้ ม/ขุนนครภกั ดี แต่งกบั ย่าเผ่ือนหรือ
ชอ่ื ยา่ ผนั ? มลี กู ๔ คน เชน่ ยา่ หนุ่ สถลนนั ทน์ ทเ่ี ปน็ ยา่ ของอดตี อธกิ ารบดี
มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ จงรกั ปรชี านนท์
ถอดความในแผ่นชีทไดว้ ่า ขนุ นครบาลภกั ดี (ท้วม) มีลกู ๔ คน
(๑) ทนายบญุ เกิด สุนทรวภิ าต มลี กู ประกอบ, ประกติ , เกษม,
แจ้ด, พิกุล (เหวอ), กรรณิกา (แอ๊ด) (ข้อความมีแก้ไขจากร่างเดิม)”
จากข้อทักท้วงของเดียร์ สุพรรณ ว่า “ท�ำไม บุตรของทนาย บุญเกิด
ถึงไม่มีชื่อย่าผมอะครับ ช่ือ เหวอ กับ พิกุล ก็คนเดียวกัน และ
คนชอื่ แจค็ กไ็ มใ่ ช่ เขาชื่อ แจ้ด ข้อมลู บิดๆ เบือนๆ ไปนดิ หนึง่ นะครับ
ประเด็นคอื ...ช่อื ยา่ ผมไปไหน ย่า แอ๊ด กรรณิกา”

392 อนทุ นิ ประจำ� วัน

(๒) ยายหุ่น สถลนันทน์ มีลูกคือ (๑) ทองเจือ สถลนันทน์
(๒๔๕๔) ท่ีมีรุ่นลูกช่ืออาจารย์จงรัก ปรีชานนท์ อดีตอธิการบดี
ม.เกษตรศาสตร์, ชูศรี, นิรมล, จงกลนี, อภิวัฒน์, สุรวุฒิ (๒) ฉลวย
(กาญจน)์ มีลูกคือ น.อ.ทะแกล้ว ดวงตา, พล.อ.สมชาต,ิ พ.ต.ท.จมุ พล,
ร.ท.กฤษณะ, (๓) ครูฉลอง สถลนันทน์ (ครูกรรณสูตปี ๒๔๙๙)
(๔) อจั ฉรา

(๓) ครทู องยอ้ ย สนุ ทรวภิ าต มีลูกชอ่ื ครูย่ีสน, ถาวร, นายวบิ ูลย์
สนุ ทรวภิ าตเป็นผพู้ พิ ากษา อายุ ๗๐ ปี อยบู่ ้านโชคชยั สี,่ ว่ามีพไ่ี พบลู ย์
สุนทรวิภาต เปลี่ยนช่ือเป็นนายชาญบุญ สุนทรวิภาตในปัจจุบัน
ไมร่ ู้ว่าเปน็ คนเดียวกนั หรือต่างคน

(๔) จำ� รสั มีลกู ชื่อพาณี, เพญ็ ศรี, สุธีรา***
ในบันทึกเขียนว่า ได้สอบถามนายนิกร สุนทรวิภาต (ตี๋)
อายุ ๘๖ ปี วา่ ปทู่ ว้ ม แตง่ กบั ใคร, วา่ ปทู่ ว้ ม (ขนุ นคร)-ยา่ ผนั สนุ ทรวภิ าต,
และระบุชื่อลูกคือ (๑) ทนายบุญเกิด สุนทรวิภาต, (๒) ย่ามอญ,
(๓) นายยอ้ ย สนุ ทรวภิ าต, (๔) อาหนุ่ และวา่ (๕) ยา่ จำ� รสั เปน็ คนสดุ ทอ้ ง
เม่ือถามว่าเจดีย์พระยาฯ แจ่มต้ังอยู่ที่ไหน ว่าอยู่ตรงกลางหน้าวิหาร
นนั่ เอง, สอดคลอ้ งกบั ขอ้ มลู ทวี่ า่ “เคยมเี จดยี อ์ ยหู่ นา้ วหิ ารหลงั ปจั จบุ นั น้ี
แตไ่ มร่ วู้ ่าเปน็ เจดยี อ์ ะไร” (พระมหาอดศิ ร มะลิทอง ป.ธ.๘, ๒๕๕๘),
และวา่ พระยาฯ แจม่ มลี กู คอื ปทู่ ว้ ม สนุ ทรวภิ าต, ปทู่ งั่ สนุ ทรวภิ าต
และยืนยันว่าบ้านอยู่มดแดง ศรีประจันต์ อยู่มดแดงเข้ามารับราชการ
ในเมือง และเล่าเร่ืองที่จงรัก ปรีชานนท์บอกว่าได้ฟังมาเช่นเดียวกัน
ว่า “ตอนเป็นรองเจ้าเมอื งสุพรรณ ไปรบกบั ใคร (ฮ่อ?) ถูกลกู ปนื ใหญ่
ถูกยิงไม่ตกม้า ทหารคนสนิทกระโดดรับไว้อยู่ ไม่ตกถึงดิน กระโดด

อนทุ ินประจ�ำวนั 393

มารับไว้ สลบไปถึง ๓ วัน ไม่เป็นไร เม่ือตอนตายนั้นยังมีรอยด�ำๆ
ที่หน้าท้องจากรอยกระสนุ ปนื วา่ โดนยิงไมเ่ ป็นไร”

พระยาฯ แจม่ ตามหลกั ฐานโฉนดบา้ นทศั นพนั ธ์ุ และทา่ นจรี ตั น์
ทัศนพันธุ์ยืนยันว่า “ท่ังลูกแจ่ม” ระบุชื่อผู้รับมรดก ๒ คน คือ
๑. ตาทั่ง รองจ่าเมือง จมื่นท่ัง สุนทรวิภาต รองจ่าเมือง ๒. ตาท้วม
สุนทรวิภาต (ขนุ นคร)

แต่จากแผน่ ชีทในงาน ๑๐๐ ปี สุนทรวิภาต ได้รายชื่อเพมิ่ มาว่า
“พระยาสนุ ทรสงครามรามพไิ ชย (แจม่ ) กบั (ภรรยาคนสดุ ทา้ ย) ชอ่ื อมิ่ ”
มีลกู ๔ คน คอื ๑.ย่ามอญ ไมแ่ ตง่ งาน, ๒.จมืน่ ท่งั (+ยา่ ชม) มลี ูกคือ
ก�ำนันแหยม สุนทรวิภาต, ตาย้ิม สุนทรวิภาต, นางแย้ม โชคสุข,
อุ่นเรือน บุญซิววงษ์, ชื่น ทัศนพันธุ์, ๓.นายท้วม สุนทรวิภาต
(ขนุ นครบาลภักด)ี (+ย่าเผ่อื น หรือย่าผัน) พ่อครูทองย้อย สนุ ทรวิภาต,
๔.ตาบญุ (สมบุญ สนุ ทรวภิ าต-ย่าคล่)ี และขา้ งทา้ ยเขยี นวา่ ต�ำแหน่ง
หม่นื รองจ่าเมืองทั่ง และระบวุ า่ นายทง่ั และนายท้วม มีนอ้ งอีก ๑ คน
ช่อื ไม่แนช่ ดั จะจดั หาให้ หลานอยโู่ คกโคเฒ่า

น่ีคือภรรยาคนหน่ึง ที่ชื่อ “แม่อิ่ม” ก็มีลูกหลานเหลนโหลน
มาถึงทกุ วนั นี้ นับได้ ๗-๘ รุน่ ยังไม่ได้กลา่ วถึงสายแม่อืน่ ๆ เชน่ สายแม่
ของหลวงมหาดไทย (เอย่ี ม) (กบั แมห่ น)ู ทมี่ ลี กู ชอ่ื หลวงมหาดไทย (เจก๊ )
หรือพระศรีมงคล (เจ๊ก) ซึ่งเป็นสายนายอ�ำเภอชิต สุนทรวิภาต และ
สายคุณหญงิ น�ำ ทีม่ ลี ูกชื่อหลวงจา่ เมือง (ปน้ั ) ซ่ึงสายนอี้ ยหู่ นอื วดั ใหม่
เกย่ี วขอ้ งกบั ตระกูล สังฆสุวรรณ

ส่วน “ท้วม กับ ท่ัง” ใครเป็นพ่ี ใครเป็นน้องกันแน่ ข้าพเจ้า
ขอยดึ ตามบัญชีทีแ่ นบมานี้ไปก่อน จนกว่าจะมหี ลักฐานเปน็ อน่ื

394 อนุทินประจ�ำวัน

อนุทินประจ�ำวนั

(๕๘๕ พระเทพสาครมุนี
(หลวงปูแ่ ก้ว ป.ธ.๖) วดั ช่องลม)

พระสาครมุนี เจ้าอาวาสวัดสุทธิวาตวราราม ได้เมตตานิมนต์
ไปสวดพระพุทธมนต์และฉันภัตตาหารเพล เน่ืองในวันคล้าย
วนั มรณภาพครบ ๓๕ ปี ถวายพระเทพสาครมนุ ี (หลวงปู่แก้ว ป.ธ.๖)
(๒๕ ธ.ค.๒๔๔๖-๙ ก.ย.๒๕๒๖ อายุ ๘๐ ปี) อดีตเจ้าอาวาสรูปท่ี ๘
ของวัดสุทธิวาตวราราม ที่แปลว่า “วัดลมบริสุทธ์ิ” เรียกช่ือตามปาก
ชาวบ้านทั่วไปว่า “วัดช่องลม” ตั้งอยู่ที่ ต�ำบลท่าฉลอม อ�ำเภอเมือง
จังหวดั สมทุ รสาคร

มกี ารบา้ นเตม็ สมองกอ่ นไปวา่ อยากจะไปดคู ลองหลวงเดมิ บาง
ทเ่ี คยเหน็ สะพานมชี อื่ นี้ ตอนไปวดั คลองขอมกจ็ อ้ งมองดอู ยู่ แตจ่ ำ� ไมไ่ ด้
วา่ อยตู่ รงไหนแล้ว คราวน้ีก็บอกว่า เมอ่ื ผ่านสะพานอะไร ก็ใหช้ ลอรถ
เพ่ือดคู ลองดังกลา่ ว เผื่อจะโชคดีเหน็ อกี

ผ่านวัดกลางอ่างแก้ว ต�ำบลท่าจีน นึกถึงโอวาทหลวงเตี่ย-
พระธรรมราชานุวัตร (๗ พ.ค.๒๔๖๗-๒ ก.ย.๒๕๔๕) วัดพระเชตุพน
พดู ไว้เม่อื ปี ๒๕๓๔ ที่วัดพิกลุ ทอง ถงึ โครงการอบรมนักธรรมก่อนสอบ
จดั ทวี่ ดั กลางอา่ งแกว้ จงั หวดั สมทุ รสาครแหง่ นเ้ี ปน็ จงั หวดั แรก ทราบวา่
เจา้ อาวาสเคยเปน็ พระปลัดหรือพระฐานานุกรมในหลวงเต่ยี

เทศบาลทา่ จนี เปน็ หลกั ฐานวา่ แมน่ ำ�้ ทา่ จนี ทไ่ี หลผา่ นสพุ รรณบรุ ี
ผ่านนครปฐม มาลงที่ทะเลมหาชัยน้ี ได้ชื่อ “ท่าจีน” มาจากต�ำบล
ท่าจีน รถเข้าเขตท่าจีน ผ่านวัดน้อยนางหงส์ ก็ยังเป็นเขตท่าจีนอยู่

อนุทนิ ประจ�ำวัน 395

จนเข้าเขตต�ำบลทา่ ฉลอม ก็ถึงวัดชอ่ งลม รถวงิ่ ผ่านเพื่อไปดจู ุดทน่ี ำ� อัฐิ
มาลอยทแี่ มน่ ำ้� ทา่ จนี กนั มองเหน็ ปา้ ยสถานรี ถไฟทา่ ฉลอม ทอ่ี ยหู่ นา้ วดั
พอดี

อยากดคู ลองหลวงเดมิ บาง ยงั ไมพ่ อ เพราะเสยี งของพลเรอื เอก
ดลิ ก ภทั รโกศล (๓ ตลุ าคม ๒๔๗๒ – ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖ อายุ ๘๓ ป)ี
พดู ไวก้ อ่ นตายวา่ สาแหรกสงิ หส์ วุ รรณ มคี นหนงึ่ ชอ่ื นายทอง สงิ หส์ วุ รรณ
สืบยังไม่ได้ แต่ไดข้ ่าววา่ ไปอยู่ทางมหาชยั จึงต้งั ใจไปสืบ “สิงห์สวุ รรณ”
ทท่ี า่ ฉลอมด้วย พอเหน็ ศาลา มณีรัตน์ พ.ศ.๒๕๓๙ ก็ไปขอเปดิ ศาลาดู
พบช่ือ “ขุนสมุทรมณีรัตน์ (มิ่ง มณีรัตน์) และนางสมุทรมณีรัตน์
(เหง่ มณีรัตน)์ ” ไม่มรี ูปภาพภายในศาลา เพยี งบอกปีสร้างไว้ นามสกุล
“มณรี ตั น”์ กอ็ อกจากเมอื งสมทุ รแหง่ น้ี ไปนครปฐม และไปถงึ สพุ รรณบรุ ี
เช่นกัน

อีกนามสกุลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิงห์สุวรรณ คือ “ตู้จินดา”
ได้พบรอ่ งรอยบา้ ง ภายในอโุ บสถและปา้ ยอนสุ รณ์ แต่เมื่อสอบถามถึง
นามสกลุ “สงิ หส์ วุ รรณ” คนทอ้ งถน่ิ กลบั บอกวา่ ไมเ่ คยไดย้ นิ นามสกลุ นเ้ี ลย

ตามประวัติของนายรัก สิงห์สุวรรณ (๒๔๔๒-๒๔๙๓)
เป็นบุตรคนที่ ๕ ของพ่อสิงห์ แม่มี สิงห์สุวรรณ เกิดที่บ้านโพหลวง,
นายทอง สิงห์สุวรรณ ที่ว่าหายจากสาแหรกไปมีหน้าตาเป็นอย่างไร
จึงลงรูปใหด้ ูวา่ นายรกั คนน้เี ปน็ น้องชาย มหี นา้ ตาแบบนี้

ส่วนรูปภาพของนายเสริม บริสุทธ์ิ (๒๔๔๐-๒๕๑๑) เป็นลูก
ของพอ่ สงิ ห์ แมแ่ จ่ง สิงหส์ ุวรรณ ไม่มีชอ่ื อยู่ในโผสาแหรกสงิ หส์ วุ รรณ
ตรวจสอบวา่ เปน็ คนคลองชกั พระ บางกอกนอ้ ยนเี่ อง แตด่ ดู วงชาตะเกดิ แลว้
ใกล้กันมาก

วดั ชอ่ งลมนี้ ขา้ พเจา้ จำ� ไดว้ า่ เคยมาครง้ หนง่ึ มาเยย่ี มเจา้ คณุ สมบรู ณ์
(พระเทพสาครมุนี รูปปัจจุบัน) มาที่โรงเรียนพระปริยัติธรรม ต้ังแต่

396 อนุทินประจำ� วัน

สมยั ทา่ นยงั เปน็ พระมหาสมบรู ณ์ แตป่ ระโยคอะไรจำ� ไมไ่ ด้ นา่ จะประโยค ๘
ในช่วงนน้ั ซ่ึงเปน็ ยุคในราวกอ่ นปี ๒๕๒๕

ในช่วง ๑๐ กว่าปีหลังนี้ ได้มาอีกหนหน่ึง และวันนี้นับเป็น
ครั้งท่ี ๓ แต่ก็ซึมซับประวัติวัดช่องลม และประวัติหลวงปู่แก้วไว้มาก
เพราะทราบว่า หลวงปเู่ ปน็ พระไทยเขมร เกดิ ท่พี ระตะบอง เสยี มราฐ
ประเทศกมั พูชาโนน้ เคยจ�ำพรรษาอยวู่ ดั ชำ� นหิ ัตถการ เขตปอ้ มปราบฯ
ซง่ึ ในสมยั กอ่ นนนั้ เปน็ วดั ทคี่ นเขมรมาอยกู่ นั มาก หลวงปแู่ กว้ อายอุ อ่ นกวา่
สมเดจ็ พระสงั ฆราช ปา๋ (๒๔๓๙-๒๕๑๖) วัดพระเชตุพน เคยไดย้ นิ ว่า
สนิทสนมกันมาก และสมเด็จฯ ป๋าส่งให้มาอยู่วัดช่องลมแห่งนี้
ได้พัฒนาวัดให้มีความเจริญอย่างมาก เจริญทั้งถาวรวัตถุและสร้าง
บุคลากรไวใ้ นพระพทุ ธศาสนา

ไดพ้ บท่านเจา้ คณุ พระศรีธรี วงศ์ (สมยั ป.ธ.๙) เจ้าคณะอ�ำเภอ
ดอนตูม เดิมอยวู่ ดั พระประโทณเจดีย์ ปจั จุบนั ท่านไปครองวดั สามงา่ ม
ของหลวงพอ่ เต๋ คงทอง จงึ สอบถามวา่ ชมุ ชนวดั สามงา่ มเปน็ ลาวอะไรแน?่
ทา่ นกว็ า่ หลวงพอ่ เตเ๋ ปน็ คนไทย และมอี ดตี เจา้ อาวาสเปน็ ไทยพวนบา้ ง
และมที เี่ ปน็ ไทยทรงดำ� บา้ ง ทา่ นเจา้ คณุ สมยั เปน็ ลาวเวยี ง บา้ นโปง่ ราชบรุ ี
กบ็ อกมาแบบนน้ั กต็ อ่ ว่าท่านไปว่า ยา้ ยวดั ก็ไม่บอกให้ทราบสกั คำ�

มาถงึ ท่าฉลอมแลว้ หลายคนคงนึกถึงเพลงชรินทร์ นันทนาคร
ชอ่ื เพลงทา่ ฉลอม ทม่ี เี นอ้ื รอ้ งเกยี่ วกบั สาวมหาชยั แตข่ า้ พเจา้ กลบั คดิ ถงึ
เสน้ ทางคมนาคม จากทา่ จนี ขนึ้ ไปสเู่ มอื งสพุ รรณในอดตี และการโยกยา้ ย
คนจากชมุ ชนหนง่ึ สอู่ กี ชมุ ชนหนง่ึ

พบ “มณีรัตน์” ทวี่ า่ มาจาก แซ่ลี้ และพบ ตู้จินดา ทวี่ า่ มาจาก
แซ่เฮง้ แตย่ งั ไม่พบ “สิงหส์ ุวรรณ” ท่เี มืองสมทุ รสาคร คงจะต้องสำ� รวจ
กนั ต่อไป

อนทุ นิ ประจำ� วัน 397


Click to View FlipBook Version