The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ddttgr1125, 2020-04-15 21:24:04

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

อนุทิน หลากหลายชีวิต พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ป.ธ.๙) ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา

อนทุ ินประจ�ำวนั

(๕๘๖ วดั พระปฐมเจดยี ์ ปี ๒๕๖๑)

ได้รับหนังสืออาราธนาบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย อดีตเจ้าอาวาส
วัดพระปฐมเจดีย์ ปีท่ี ๒๗ ณ กุฏิศรีสุนทรนาฏ (กุฏิเจ้าอาวาส)
ในบริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ เขตสังฆาวาส ลงนามโดยพระพรหมเวที
เจ้าคณะภาค ๑๕ เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ในวันจันทร์ที่
๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๐ น.

นึกถึงเขตบริเวณองค์พระเจดีย์ใหญ่ ท่ีเป็นเขตพุทธาวาส
เคยเห็นรายชื่อคนสร้างคนซ่อมปฏิสังขรณ์ ติดอยู่ตามเสาบ้าง
ตามผนังบ้าง อย่างน้อยก็มีช่ือ เช่น นายทาบ นางแนบ สโรบล
บริจาค ๑๐ บาท ต้องคดิ วา่ เงินในราวปี ๒๔๗๕ นนั้ ๒ บาท ๕ บาท
๑๐ บาท หรือแค่ ๑ บาทก็มีค่ามาก ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒
เป็นเชน่ นัน้ จรงิ ๆ

เพิ่งมาทราบชัดว่า นายทาบ สโรบล เป็นลูกของพ่อเทียบ
แม่ส�ำเนียง สโรบล (สถาปิตานนท์) และนางแนบภรรยานั้น เป็นลูก
ของแม่บู่ แม่บู่ลูกก�ำนันโก๋ ภมรพล คนบ้านโพธ์ิ ต�ำบลบ้านกุ่ม
อ�ำเภอสองพ่ีน้อง การมีช่ือติดบริจาคเช่นน้ี เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า
คนสองพี่น้องก็มสี ว่ นรว่ มในการปฏสิ ังขรณอ์ งค์พระใหญ่

ในวงฉนั เพล วงเดยี วกบั พระครสู ธุ เี จตยิ านกุ ลู (รงุ่ วนั ทอง ป.ธ.๖)
วัดพระปฐมเจดยี ์ ทีแ่ นะน�ำให้ร้จู ักพระครูภาวนาเจติยคุณ และบอกว่า
หนังสืออนุทินพิมพ์เสร็จยัง ก็บอกว่า ปลายปีน่าจะเสร็จสักเล่มหน่ึง

อนุทนิ ประจ�ำวัน 399

ก่อนตายน่าจะได้อ่านสักเล่มหนึ่ง หรือ ๒-๓ เล่ม ก�ำลังแบ่งหนังสือ
ให้เป็นขนาดอ่านราวสัก ๒๐๐ หน้า และท่านก็บอกว่านิมนต์มาวันนี้
ให้กลบั ไปเขียนอนทุ ินประจ�ำวันดว้ ย

ก่อนฉันเพล ได้เดินส�ำรวจดูช่องบรรจุอัฐิ ตั้งใจจะหาคนที่อาจ
จะรจู้ ักบา้ ง เชน่ ครถู นอมศรี มงคลวิทย์ (เกดิ ๒๔๖๙ เสยี ปี ๒๕๑๙)
บุตรีคนหนึ่งของท่านพระยาสุรศักดิเสนา (โต๊ะ ภมรพล) ท่ีทราบว่า
มาเป็นครูแถวนี้ และเสียชีวิตไป แว่วๆ ว่าอาจจะบรรจุอัฐิท่ีวัดน้ี
จึงเดินหาดูเผือ่ เจอ

พบชื่อนางเล็ก สุขเจริญ (เกิดปีฉลู ๒๔๕๖ - ๘ มิ.ย.๒๕๔๐)
นามสกลุ เดยี วกบั สมเดจ็ พระสงั ฆราช (ปนุ่ ปณุ ณฺ สริ ิ ป.ธ.๖ (๒๔๓๙-๒๕๑๖)
ดูช่วงปีเกิดก็ไล่เล่ียกัน ไม่รู้ว่าเป็นญาติกันอย่างไร แต่อย่างน้อยก็พบ
นามสกลุ คนสองพีน่ อ้ ง

อีกนามสกุลหน่งึ ท่ีสะดุดตา คอื “ย่าทวดแปลก แก้วไทรบาง,
ย่าล้วน อุดมผล, คุณพ่อพูน อุดมผล คุณแม่เจียม อุดมผล” เพราะ
นามสกุลนี้คุ้นๆ ว่าเป็นของคนทางสองพี่น้อง ส่วนท่ีวินิจฉัยว่า
เป็นคนบางปลาม้าก็มี “นางก้อนทอง คล้ายสุบรรณ (๒๔๗๒-๔ ส.ค.
๒๕๔๖ อายุ ๗๔ ปี) เปน็ ต้น

ดหู อระฆงั พระพทุ ธรกั ขติ (พลอย) (๒๔๕๔-๒๔๖๒) ทฐ่ี านขอ้ มลู
ของวดั พระปฐมเจดยี บ์ อกวา่ นามสกลุ “เกตทุ ตั ” เปน็ ชาวพระประแดง
สมุทรปราการ เคยมีต�ำแหน่งเป็นถึงเจ้าคณะใหญ่เมืองนครไชยศรี
และครองอาวาสเปน็ เวลา ๗ ปี (๒๔๕๕-๒๔๖๒)

ดูกุฏิฉัฏฐมราชูทิศหลังท่ี ๓ พระเทพสุธี (โชติ) ปฏิสังขรณ์
เม่ือ พ.ศ. ๒๔๗๒ ก็คิดไปว่า หลังที่ ๑ และหลังที่ ๒ อยู่ตรงไหน
อยากไปดูสภาพกฏุ นิ นั้ ๆ

400 อนุทนิ ประจำ� วนั

ทุกๆ ปี ข้าพเจ้ามักจะไปพิจารณาผ้าบังสุกุลท่ีพระราชโมลี
(ซ้อน ป.ธ.๖) (เกิด ๒๔๑๓) คนตลาดแก้ว อ�ำเภอบางปลาม้า
จังหวัดสุพรรณบุรี อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ ที่มาครองวัดอยู่เป็นเวลา
๓ ปี (๒๔๕๐-๒๔๕๓) ก่อนจะย้ายกลับไปอยู่วัดราชบุรณะและเป็น
เจา้ อาวาสวดั ราชบรุ ณะในปี ๒๔๖๖

แต่ปีนี้พิจารณาบังสุกุลที่พระราชสิริชัยมุนี (โชต์ิ ฐิตโชติ
นามสกลุ จยุ้ จติ ร) (๒๔๖๒-๒๕๓๕) ชาติภมู คิ นอมั พวา สมุทรสงคราม
ได้ครองวัดเป็นเวลา ๖ ปี ๔ เดอื น (๒๕๒๘-๒๕๓๕)

ได้คุยกับท่านพระครูศรีธรรมวาที (พระมหาศักดา สังข์แก้ว
ป.ธ.๖) วัดเทพอาวาส จ�ำไม่ได้ว่าเป็นเจ้าคณะอ�ำเภอเมือง หรือ
เป็นรองเจ้าคณะอ�ำเภอเมือง จังหวดั ราชบรุ ี จงึ ไดส้ อบถามวา่ เกิดท่ไี หน
ท่านบอกว่าเป็นคนบ้านแพ้ว แถววัดหนองสองห้อง แต่รกรากมาจาก
เพชรบุรี และบอกว่าหลวงพ่อสาย สุกฺกปุณฺโณ (๒๔๓๕-๒๕๓๐
อายุ ๙๕ ปี) นามสกลุ เพชรนลิ และบอกวา่ ทางแมข่ องท่านเป็นพวก
นามสกุล เพชรนลิ เช่นกนั

ขา้ พเจ้าฟังมาว่า หลวงพ่อสาย วา่ เดมิ จะเป็น “สงิ ลอ”? เปน็ คน
มาจากเพชรบุรี แต่ไม่รู้อ�ำเภออะไร ชื่อสมณศกั ดว์ิ า่ พระครสู ังวรสตุ าภิ
วัฒน์ (หลวงพ่อสาย) เจ้าอาวาสวัดหนองสองห้อง แต่พระครูศรีธรรม
วาที (ศักดา สังข์แก้ว) วัดเทพอาวาส ยืนยันว่าตนเป็นคนไทย
หนองสองหอ้ ง และบอกวา่ หลวงพอ่ สาย เพชรนิล เป็นคนไทยเพชรบรุ ี

ข้าพเจ้าถามว่า แม่ของท่านเป็นพี่น้องกับหลวงพ่อสายอย่างไร
และแม่เป็นเชื้อสายอะไร ท่านบอกว่า “เช้ือเขมรลาวเดิม” ท�ำให้งง
เข้าไปอกี

อนุทนิ วันนี้ จึงจบลงแบบงงๆ

อนุทนิ ประจำ� วัน 401



อนทุ นิ ประจำ� วัน

(๕๘๗ เท่ียววดั พระแท่นดงรงั )

หลงั จากไดแ้ ผนทส่ี พุ รรณบรุ ี ปี ๒๔๓๘ กต็ งั้ ใจไปดวู ดั พระแทน่ ดงรงั
ใหเ้ ตม็ ตาอกี ครง้ั ดงั แผนทน่ี ้ี สว่ นลา่ งสดุ บอกพกิ ดั เขตสพุ รรณบรุ ี
ท่ตี ดิ กับเขตเมืองราชบุรี ในเขตสพุ รรณเขยี น “วัดพระแทน่ ” ดา้ นบน
ระบุแขวงอ�ำเภอบ้านมะขามเรยี ง ดา้ นทิศตะวันตกของแผนท่ี

หลังจากได้รูปภาพสมเด็จพระวันรัตป๋า วัดพระเชตุพน
จารึกรอบโลก ในสู่ส�ำนักนิกสันและสู่ส�ำนักวาติกัน เป็นรูปภาพระบุ
ปีที่ถ่าย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เดิมก็ทราบแต่ว่ามี
พระครพู ทุ ธมญั จาภบิ าล (หลวงพอ่ ทองหลอ่ ) (เกิด ๒๔๖๕ มรณภาพ
๒๕๒๓) วดั พระแท่นดงรงั เปน็ ผูห้ น่งึ ทีเ่ ดนิ ทางรอบโลกคร้ังนี้

แต่ไดห้ ลกั ฐานเพ่มิ จากรูปภาพ สอดคลอ้ งกับหลวงพอ่ กาญจน-์
พระธรรมคณุ าภรณ์ (ไพบูลย์ กตปุญฺโญ ป.ธ.๘) เคยบอกขา้ พเจ้าไวว้ ่า
เคยเดินทางรอบโลกไปกับสมเด็จป๋า “ข้าเป็นพระผู้น้อยเจ้าคุณสามัญ
แบกเหรียญรอบโลกไปแจกท่ีอเมริกาและยุโรปกับเจ้าขรัววัดดอน
(พระศรีวิสุทธิโสภณ - วิลาศ ป.ธ.๙ วัดดอน)” และท่านยังบอกว่า
ไปรจู้ กั กบั เจา้ คณุ วลิ าสวา่ เปน็ คนบา้ นเดยี วกนั ในการเดนิ ทางรอบโลกนนั้

ได้สอบถามท่านเจ้าคุณพระโสภณกาญจนาภรณ์ (ทอมสันต์
ป.ธ.๔) (เกิดปกี ุน ๒๔๙๐) ว่าหลวงพ่อทองหล่อรูปไหน? ทา่ นช้ีให้ดูว่า
รูปที่สงู อย่างกับ.. รูปน้นั และเล่าเรือ่ งประกอบอีก

อนุทินประจ�ำวัน 403

เส้นทางของหลวงพ่อทองหล่อ-พระครูพุทธมัญจาภิบาล
ทไ่ี ดข้ ้อมูลจากหลักฐานต่างๆ ท่ที ่านพระครสู ธุ ีเจติยานุกูล (รุง่ ป.ธ.๖)
สง่ มาใหป้ ระกอบการเขยี นในวนั นี้ มี

(๑) พระครูสังฆรักษ์ ทองหล่อ ในพระมงคลรังษีวิสุทธิ์
เจ้าคณะจงั หวดั กาญจนบุรี วัดเทวสงั ฆาราม (๑ ม.ค.๒๕๐๑)

(๒) ให้พระครูสังฆรักษ์ทองหล่อ ปนาโท อายุ ๔๑ พรรษา
๒๐ นกั ธรรมเอก เปน็ เจ้าอาวาสวดั พระแทน่ (๑ มี.ค.๒๕๐๖)

(๓) ให้พระครูวินัยธรทองหล่อ ปนาโท อายุ ๔๓ พรรษา
๒๓ เปน็ พระอปุ ชั ฌาย์ (๑ ม.ิ ย.๒๕๑๐) ลงนามโดย สมเดจ็ พระวันรตั
เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ซ่ึงข้าพเจ้าจ�ำลายเซ็นได้ ต่อมาคือสมเด็จ
พระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ วัดพระเชตุพน นัน่ เอง

(๔) ให้พระครูพุทธมัญจาภิบาล อายุ ๔๗ พรรษา ๒๗ เป็น
เจา้ คณะตำ� บลพระแทน่ ดงรงั (๓๑ พ.ค.๒๕๑๒) ลายเซน็ พระมหาไพบลู ย์
กตปุญฺโญ เจา้ คณะจังหวัดกาญจนบรุ ี

ไทม์ไลน์ของพระครูฯ ทองหล่อนั้น ปรากฏว่าเป็นพระสงฆ์
รูปหนึ่งในจ�ำนวน ๑๐ กว่ารูปที่ติดตามไปรอบโลกกับสมเด็จป๋า
เมื่อปี ๒๕๑๕ และข้าพเจ้าสอบถามท่านเจ้าคุณพระราชวิสุทธาภรณ์
(ทองดำ� อิฏฺฐาสโภ ป.ธ.๖, พม., พธ.บ, พธ.ม (กติ ), เกิดปีฉลู ๒๔๙๒)
ว่าหลวงพ่อทองหล่อมรณภาพปีไหน และท่านเข้ามาด�ำรงต�ำแหน่ง
เจา้ อาวาสวัดพระแทน่ ในปีไหน

ท่านเจ้าคุณทองด�ำได้เฉลยว่า “หลวงพ่อทองหล่อมรณภาพ
ในปี ๒๕๒๓ ผมเป็นพระครูศรีกาญจนานุรักษ์ในปี ๒๕๒๓ เข้ามาอยู่
วดั พระแทน่ ดงรงั ปี ๒๕๒๔ ในขณะนน้ั หลวงพอ่ ไพบลู ย์ เจา้ คณะจงั หวดั
เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระแท่น จนถึงปี ๒๕๒๕ จึงได้รับ
การแต่งตง้ั ใหเ้ ปน็ เจา้ อาวาสวัดพระแท่น”

.

404 อนทุ นิ ประจ�ำวนั

ไปวดั พระแทน่ คราวใด กน็ กึ ถงึ รอยพระพทุ ธบาทมกุ จำ� ลองบา้ ง
อะไรต่างๆ บ้าง แต่ไม่น่าเช่ือว่า ไม่ได้ขึ้นไปชมมณฑปรอบพระบาท
บนภเู ขาสักที มองบนั ไดนาคข้นึ ไป สงู แท้ วันนี้ทำ� การบา้ น โทร. มาถาม
ท่านพระครูวิบูลกาญจโนภาส (สมบัติ) (เกิดปีจอ ๒๕๐๑) เจ้าคณะ
อ�ำเภอท่ามะกาก่อนว่า มีทางรถเข้าข้ึนไปถึงข้างบนได้ไหม? ซึ่ง
ทา่ นพระครูได้อธิบายบอกหนทางวา่ ใหเ้ ลยี้ วซา้ ยขึ้นไปข้างบนได้

ดังนั้น จึงขึ้นไปชมข้างบน ไม่เจอมนุษย์สักคนเลย กุญแจ
มณฑปล็อกไว้ หลังจากเดินประทักษิณรอบหนึ่ง และมาศึกษาดูป้าย
และจดหมายเหตุที่ ร.๕ เสด็จประพาสในปี ๒๔๒๐ อ่านแล้วจับใจ
ในค�ำบรรยายนั้น มองเห็นภาพพจน์ แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า ในสมัยนั้น
แผนท่ีวัดพระแท่นยังเป็นรอยตะเข็บกับราชบุรี และสุพรรณบุรี
อยา่ งนอ้ ยนายอำ� เภอตา่ งๆ คงมาชมุ นมุ ถวายการตอ้ นรบั กนั ทวี่ ดั พระแทน่
ตรงนี้

ไดห้ นังสอื ธศร. (ธรรมศึกษาในโรงเรยี น) “นิตยสาร” ประเภท
รายปีเล่มแรก เพราะเพิ่งเปลี่ยนช่ือจากวารสาร ธศร. เป็นนิตยสาร
จงึ กลายเปน็ เลม่ แรก เปดิ ดสู ารบญั เหน็ เรอื่ ง “เมอ่ื เทวดาเปน็ อนั ธพาล”
เป็นผลงานเขียนของท่านเจ้าคุณพระราชวิสุทธาภรณ์ อ่านแล้ว
เพลิดเพลินเจริญใจดี เห็นว่าท่านเจ้าคุณนอกจากมีหัวทางศิลป์แล้ว
ยังมีแววเป็นนักประพันธ์ได้ เพราะคร้ังก่อนเห็นเร่ือง “ล่องแพ”
ของท่านเจ้าคุณ ลงในวารสาร ธศร. ท�ำให้นึกได้ว่ามาวัดพระแท่น
ครง้ั สดุ ทา้ ย เมอ่ื วนั สถาปนาครบ ๔๕ ปี ณ พระอโุ บสถวดั พระแทน่ ดงรงั
เมอ่ื ๒๘ ธนั วาคม ๒๕๖๐

ค�ำนวณตัวเลขจากฐานข้อมูลข้างบนน้ี ท�ำให้ทราบว่า
วัดพระแท่นดงรัง ได้รับการยกข้ึนเป็นพระอารามหลวง ในปี ๒๕๑๕

อนทุ ินประจำ� วนั 405

ในสมยั หลวงพอ่ ทองหลอ่ -พระครพู ุทธมัญจาภิบาล เปน็ เจา้ คณะต�ำบล
พระแท่น ในสมัยพระวิสุทธิรังษี (ต่อมา พระธรรมคุณาภรณ์)
(ไพบูลย์ ป.ธ.๘) เป็นเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี และตรงกับยุคสมัย
สมเด็จป๋า วัดพระเชตุพน เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นปีเดียวกับ
ทม่ี ี “เหรยี ญรอบโลก” ทเ่ี รยี กเปน็ ภาษาองั กฤษวา่ Around the World

406 อนุทินประจ�ำวนั

อนุทินประจ�ำวัน

๕๘๘ วันกราวดซ์ โี ร - 9/11)

จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมสะท้านโลก - กราวด์ซีโร (Ground
zero) ตึกเวิร์ดเทรดถูกถล่มด้วยภัยก่อการร้าย ท�ำให้มีผู้คน
เสยี ชวี ติ จำ� นวน ๒,๙๗๗ คน จาก ๙๐ ประเทศ ผเู้ สยี ชวี ติ ทอี่ ายมุ ากทสี่ ดุ
คอื ๘๕ ปี และผ้เู สยี ชีวติ อายนุ อ้ ยท่ีสุด ๒ ขวบ เปน็ เหตุการณ์ท่เี กิดขึน้
เมอื่ ๙ กนั ยายน ๒๕๔๔ (9-11-2001)

หลังจากเข้าท�ำงานประจ�ำที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วทิ ยาลยั สำ� นกั งาน ณ วัดมหาธาตฯุ ท่าพระจนั ทร์ ตงั้ แต่ตน้ ปี ๒๕๔๓
(เยียร์ ๒๐๐๐) จ�ำไม่ได้ว่าเป็นศาสนกิจเดินทางต่างประเทศครั้งแรก
หรือเปล่า แต่จ�ำได้แม่นว่าขณะนั้นอยู่ท่ีแถวเมืองฟูซาน ประเทศ
เกาหลีใต้ ทีวีเปิดค้างไว้ด้วยใจระทึกว่า ก่อการร้ายจะขยายไปทั่วโลก
หรอื เปลา่ และจะมผี ลกระทบตอ่ เทยี่ วการบนิ เดนิ ทางกลบั ประเทศไทย
หรือเปลา่

จากตึกสูงระฟ้า ศูนย์การค้ากลางมหานครนิวยอร์ก ท่ีเป็น
ความภาคภูมิใจของสหรัฐอเมริกา ถูกเครื่องบินพุ่งชนจนถล่มทลาย
ลงมากับพื้น เคยเดินทางไปเย่ียมสถานท่ีแห่งนี้ และไปยืนบังสุกุล
อุทศิ สว่ นกุศลให้ผู้เสยี ชวี ติ ไป ไดแ้ ตส่ ะท้อนสะเทือนใจ โลกท่ีปราศจาก
เมตตาปรานี

“จิตเหมือนปลา เมตตาเหมือนน�้ำ จิตปราศจากเมตตา
เหมือนปลาขาดนำ�้ ” โลกเราตอ้ งการสันติภาพ ความสงบสุข

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 407

นา่ จะเปน็ ปีเดียวกะม่งั ในวันที่ ๑๑ กนั ยายน ทข่ี ้าพเจา้ เดินทาง
ไปต่างประเทศ และในปีนั้นเป็นปีท่ีเรียกว่าวันกราวด์ซีโรท่ีแผ่นดิน
นกอินทรี นอกจากปีน้ันแล้ว ส่วนใหญ่เดินทางไปร่วมงานบุรพาจารย์
อทุ ศิ ถวายอดตี เจา้ อาวาสวดั พระแทน่ ดงรงั และผทู้ ำ� คณุ ประโยชนต์ อ่ วดั
มรี ายช่ืออดีตเจ้าอาวาสหลายรปู

แต่ทา้ ยๆ ทท่ี ราบและจำ� ไดข้ ึ้นใจมีชอ่ื พระครพู ทุ ธมัญจาภิบาล
(ทองหล่อ ปนาโท น.ธ.เอก) (๒๔๖๕-๒๕๒๓) และรูปสุดท้าย
พระธรรมคุณาภรณ์ (ไพบูลย์ ป.ธ.๘) (ปีมะเมีย ๖ ต.ค.๒๔๗๓ -
๒๕ ธ.ค. ๒๕๔๕) ในขณะนน้ั น่าจะยงั เป็น พระราชปญั ญาสธุ ี (ไพบูลย)์
ทเ่ี ขา้ มารกั ษาการแทนเจา้ อาวาสวดั พระแทน่ ดงรงั ในชว่ งระยะเวลาสนั้ ๆ
จากปี ๒๕๒๓-๒๕๒๕

ตรงกับวันกราวน์ซีโรท่ีสหรัฐฯ ที่วัดแก้วฟ้าจุฬามณี ท่าน�้ำ
เกยี กกาย เขตดสุ ติ ตดิ กบั เขตบางซอื่ ภาษาปากพดู กนั วา่ “พระพพ่ี ระนอ้ ง”
พระราชรตั นาภรณ์ (บญุ ชว่ ย บชู า ป.ธ.๖, M.A.) (ปชี วด ๑๒ เม.ย. ๒๔๙๑
- ๑๑ ก.ย.๒๕๖๐) เจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้าฯ เจ้าคณะเขตบางซ่ือ
ได้มรณภาพจากไปดว้ ยวัย ๖๘ ปี ครบรอบ ๑ ปเี วียนมาบรรจบพอดี

กลับจากวัดพระแท่นดงรงั แวะเขา้ วัดปากน�ำ้ นนทบรุ ี มคี ลอง
แบง่ เขตระหวา่ งเขตบางซอ่ื กรงุ เทพมหานคร กบั เขตอำ� เภอเมอื ง นนทบรุ ี
ท่ีหน้าวัดปากน้�ำแห่งน้ี ในด้านย่านติดกับชายแม่น้�ำ เป็นชุมชนแขก
นบั ถือศาสนาอิสลาม เปน็ เส้นทางท่ีเข้าไปวดั พลบั พลาได้

วัดปากน�้ำ นนทบุรี เป็นวัดหลวงพ่อเก๋ ที่เพิ่งมรณภาพไป
เป็นวัดท่ีเก็บอัฐิของราชาพู่กัน นายสง่า มะยุระ และเป็นวัดท่ีมีเจดีย์
บรรจุอฐั ิจอมพล ป.พบิ ูลสงคราม เป็นเจดยี ข์ องตระกูล “ขตี ตะสังคะ”
น่ันเอง

408 อนุทนิ ประจ�ำวนั

ยอ้ นหลงั ไปเมอื่ ราว ๔๐ ปี เคยนงั่ รถมาเยยี่ มเพอ่ื นสามเณรรนุ่ พี่
ข้าพเจ้าเรียกว่า “สามเณรเผือก ใจบุญ” คนท่าไชย ครั้งหน่ึงในชีวิต
ท่ีเคยมา และวันน้ี (๑๑ กนั ยายน ๒๕๖๑) มาเปน็ คร้งั ท่ี ๒ ในชวี ติ

พเ่ี สนาะ เฑียรทอง ประโยค ๖ (เกดิ ปมี ะเสง็ ๒๔๙๖) เคยเลา่
ให้ฟังว่า “ตอนเข้ากรุงเทพฯ ใหม่ๆ แต่ท่ีแท้เป็นเขตนนทบุรี ไปอยู่ท่ี
วัดเล็กๆ ในสวนชื่อว่าวัดขวาง เพราะหาวัดในกรุงเทพฯ ไม่ได้ ต่อมา
พบหลวงพ่อเล็ก (พระธรรมพุทธิมงคล) ถามว่าไปอยู่วัดไหน จึงได้
ฝากให้ไปอยู่วัดสุคันธาราม เขตดุสิต กับพระมหาลิ้นจ่ี อาภรณ์รัตน์
และบวชพระที่วัดสคุ ันฯ แหง่ นี้ มีนายฉันทิชย์ กระแสสนิ ธ์ุ เปน็ เจา้ ภาพ
บวชพระให”้

นายฉนั ทชิ ย์ กระแสสนิ ธ์ุ (เกดิ ๒๔๕๐, ๑๑๐ ปชี าตกาล ๒๕๖๑)
เปน็ ลูกของนายวอน กระแสสินธุ์ ศษิ ยส์ ำ� นักวัดสุวรรณาราม (วดั ใหญ่
จังหวัดเพชรบุรี แต่งงานกับแม่แย้ม เป็นเจ้าภาพบวชให้พี่เสนาะ
เฑยี รทอง ศษิ ยว์ ดั สองพน่ี อ้ ง (ศษิ ยว์ ดั สคุ นั ธาราม และศษิ ยว์ ดั ราชบรุ ณะ
ก่อนลาสิกขา) และเล่าต่อว่า ในปี ๒๕๑๖ นั้นแม่แย้ม กระแสสินธุ์
ตายและเผาท่ีวัดสุคันธาราม สมเด็จวัดชนะ (นิยม ป.ธ.๙) ก็มา
พระมหาอมั พร อตเิ มโธ ป.ธ.๖ กม็ าร่วมงานเผาท่ีวัดสุคันธาราม

ชา่ งถา่ ยในงานศพแม่แย้ม กระแสสินธุ์ กค็ ือพี่เสนาะ เฑียรทอง
ท่ีเคยไปอยู่วัดขวาง นนทบุรี ซ่ึงมีพระครูนนทการโกศล (สะอาด
ถนอมผล, อายุ ๙๖ ปี เสียนานแลว้ แต่มาเผาเมอื่ ๑๘ ธ.ค. ๒๕๕๙)
คนบางเลน อ�ำเภอบางปลาม้า ซ่ึงเจ้าคุณส�ำร่วย ท้วมทวยหาญ
(พระสิริสุพรรณาภรณ์) ก็บอกว่า พระครูฯ สะอาด ถนอมผล เป็น
พวกเดียวกันกับน้าสิทธ์ิ-น้าออ สังข์มังกร เป็นถิ่นท่ีคนสุพรรณไปอยู่
กนั มาก

อนุทินประจ�ำวนั 409

นกึ ถงึ สามเณรเผอื ก ใจบญุ ทเ่ี ขา้ อยวู่ ดั ปากนำ้� นนทบรุ ี ทจี่ ากกนั
ในวนั นัน้ ถงึ วันนี้ ไม่เคยเจอกนั อีกเลย... แปลก แต่ จรงิ ... ชีวิตคนเรา
จากกราวดซ์ ีโร ทีด่ ำ� รงชวี ติ อย่มู า ๑๗ ปีแหง่ ความหลงั จากเมอื งฟูซาน
เกาหลีใต้ จนถึงวัดปากน�้ำ นนทบุรี และวัดแก้วฟ้าจุฬามณี ในวันที่
๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑

410 อนุทนิ ประจ�ำวัน

อนทุ ินประจำ� วนั

(๕๘๙ หลวงพอ่ ใหญ่ วัดปา่ )

เม่ือวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้าพเจ้าอยู่ในกรุงเทพฯ
ชีวติ ในช่วงน้ัน เม่ือ ๘ ปีท่ีแล้ว กเ็ ขา้ ๆ ออกๆ โรงพยาบาลวชิ ยั ยุทธ
ที่ไปประจ�ำเพราะไปเฝ้าบ้าง ไปเยี่ยมบ้าง หลวงพ่อใหญ่ พระธรรม
มหาวีรานุวตั ร (ฉลอง จนิ ดาอินทร์ ป.ธ.๕) (เกิดปขี าล ๒๗ ส.ค.๒๔๖๙)
และในชว่ งนน้ั สำ� นกั งานทที่ ำ� งานประจำ� กอ็ ยวู่ ดั มหาธาตฯุ ทา่ พระจนั ทร์
เรียกว่าไปๆ มาๆ สะดวกมาก จนถึงเช้าของวันท่ี ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๓
ได้ยินเสียงโทรศัพท์มาแต่เช้า ว่าถ้าจะมาดูวาระสุดท้ายของหลวงพ่อ
กใ็ ห้รีบมา และแจง้ ให้บอกคนสนทิ อีก ๒-๓ คน

ได้ไปดูวาระสุดท้ายของหลวงพ่อ... แล้วจ�ำได้มีการน�ำศพกลับ
วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร ข้าพเจ้าไม่ได้ติดตามรถน�ำศพไป เพราะติด
ธรุ ะส�ำคญั บางอย่างในวนั นำ� ศพกลบั

แล้วก็มีการบ�ำเพ็ญกุศพเป็นเวลา ๕๐ วัน มีงานพระราชทาน
เพลิงศพ ....

เป็นเวลา ๘ ปีท่ีข้าพเจ้าไปร่วมพิธีบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย
หลวงพ่อใหญ่ตลอด แม้ในปีนี้ นับนิ้วดูถ้าหลวงพ่ออยู่อายุ ๙๒ ปี
(๒๔๖๙-๒๕๖๑) บุตรของพ่อผลแม่กวา จินดาอินทร์ คนท้ายบ้าน
ต�ำบลต้นตาล อ�ำเภอสองพี่น้อง ในปีนี้มีรูปภาพระบุว่าถ่ายเม่ืออายุ
๒๔ ปี ค�ำนวณดูวา่ ถ่ายในปี ๒๔๙๓ เปน็ สิ่งร�ำลกึ นกึ ถงึ

อนุทนิ ประจ�ำวัน 411

ทางวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร แจ้งสั้นๆ ว่าจะมีการบ�ำเพ็ญกุศล
ภายใน นมิ นต์ข้าพเจา้ และพระเถระกรุงเทพฯ อีก ๒ รูป และจะนมิ นต์
ภายในจังหวัดเอง การสื่อสารบ่งบอกอย่างนั้น แล้วยังแจ้งให้ข้าพเจ้า
บอกญาตหิ ลวงพ่อใหญท่ ท่ี ้ายบา้ นว่าให้มารว่ มงานดว้ ย

ทราบต่อมา เมื่อวันเสาร์ ท่ี ๘ ก.ย.๖๑ ญาติหลวงพ่อใหญ่
ลูกหลานของชวดจ�ำเนียร ผลศรีนาค พบหลวงพ่อเล็ก (พระธรรม-
พุทธิมงคล) ในงานศพที่วัดสองพี่น้อง และหลวงพ่อสั่งให้ท�ำแกงส้ม
ไปเลยี้ งพระ

วนั นอี้ อกเดนิ ทางในเวลา ๐๘.๐๐ น. ไปถงึ ในเวลาทไี่ มเ่ ชา้ เกนิ ไป
ไม่สายเกินไป ก�ำลังพอดีๆ เมื่อพบพี่อ�ำนวย ใจสมานมิตร์ (เกิดปีกุน
๒๔๗๘) กลุ่มท้ายบ้านท่ีเดินทางมาร่วมงาน ก็ซักถามว่า นายดอกรัก
โกมลสิงห์ เป็นลูกเต้าเหล่าใคร ได้ค�ำตอบว่าเป็นลูกของตาหม่น
โกมลสิงห์ และซกั ถามต่อไปว่า นางยม, นายใย พ่งึ เจรญิ พวกอักษร ย
เหลา่ นี้ เปน็ ลกู ของใคร? พอี่ ำ� นวย ไดเ้ ฉลยใหท้ ราบวา่ เปน็ ลกู ของยายฉอ่ ง
ตาดี พ่งึ เจรญิ

ขา้ พเจา้ หลงทางเสยี นาน เพราะเคยสอบถามสมั ภาษณห์ ลายคน
ก็นึกว่า ตาดี นามสกุล “รุ่งเจริญ” พวกเดียวกับก๊กคนลาดพลี และ
บางสาม แต่กลายเป็นนามสกุล “พ่ึงเจริญ” ซ่ึงเป็นนามสกุลเดียวกับ
หลวงพอ่ ถิร พึ่งเจริญ (พระวิสทุ ธสิ ารเถร) อดตี เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์
ก่อนหลวงพ่อใหญจ่ ะมาสืบเป็นเจา้ อาวาสต่อมา

ส่วนนายดี พึ่งเจริญ จะมาอย่างไร ก็สุดสายที่จะสืบต่อไปได้
แต่ท่ีสืบได้คือก๋งผึ่งย่าอิ่ม แซ่ตั้ง ลูกคือเต่ีย ชื่อนายวาส แซ่ต้ัง
เปล่ยี นมาเป็น พงึ่ เจรญิ เป็นกง๋ และเตีย่ ของหลวงพอ่ ถิร ลกู พ่อวาสแม่
เพ่ิม พึ่งเจรญิ (สิงห์สุวรรณ) สว่ นนายดี พง่ึ เจรญิ จะมาอยา่ งไร ขา้ พเจ้า
ยังไม่ทราบ ถ้าใครทราบชว่ ยบอกด้วย

412 อนุทนิ ประจ�ำวนั

สงิ่ ทต่ี น่ื เตน้ ทสี่ ดุ คอื หลกั ฐานทไ่ี ดจ้ ากทา่ นพระครสู วุ รรณคณุ วฒั น์
(พระครฯู อู๊ด) ทีเ่ ล่าวา่ มโี ยมน�ำเอกสารชดุ หน่ึงมาให้ เป็นทะเบยี นบ้าน
และมรณบัตร เขาเล่าว่า รกรากคนพิหารแดง เป็นหลวงอะไรก็ไม่รู้
ขา้ พเจา้ บอกวา่ ใหร้ บี กลบั ไปนำ� เอกสารมาใหห้ นอ่ ย เพราะอยากทราบมาก

เป็นเหตุให้ได้เอกสารน้ันมา เป็นนามสกุล เอมสุวรรณ หรือ
เอมะสุวรรณ เมื่อเห็นนามสกุล นึกถึงอาจารย์ชิน อยู่ดี ข้ึนมาทันที
จากฐานข้อมูลท่ีทราบมา “อาจารย์ชิน อยู่ดี (๒๔๕๕-๒๕๒๙)
เป็นบุตรของนายเชย และนางชอุ่ม อยู่ดี (เอมะสุวรรณ) เกิดเมอื่ วนั ที่
๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๕ ที่ต�ำบลวังไม้ขอน อ�ำเภอเมือง
จังหวัดสวรรคโลก (ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ อ�ำเภอเมืองเปล่ียนชื่อเป็น
อ�ำเภอวังไม้ขอน ต่อมาเปล่ียนช่ือเป็นอ�ำเภอเมืองสวรรคโลก ในปี
พ.ศ. ๒๔๘๒ ทางราชการไดย้ ุบจงั หวดั สวรรคโลก แลว้ โอนอ�ำเภอเมือง
สวรรคโลกไปขนึ้ กบั จงั หวดั สโุ ขทยั และเปลย่ี นชอ่ื เปน็ อำ� เภอสวรรคโลก)
อาจารย์ชิน อยู่ดถี งึ แก่กรรม ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๒๙ สิรอิ ายุ ๗๔ ปี”

อาจารยช์ นิ อยดู่ ี เคยมาพกั กับหลวงพ่อชนุ บูชา ทวี่ ัดบางสาม
คงจะตามมาหาญาติท่ีสุพรรณบุรี เพราะในทุ่งสองพ่ีน้อง ท่ีต้นตาล
มพี วกนามสกลุ “อยดู่ ”ี ของหลวงพ่อพระพทุ ธวิ งศาจารย์ (ปลด อย่ดู ี)
วัดเบญจมบพติ ร มรณภาพในราวปี ๒๔๙๙

จะเกี่ยวกันไหม? โดยเฉพาะเม่ือข้าพเจ้าเห็นหลักฐานชื่อ
“หลวงพิทักษ”์ ซงึ่ เปน็ บคุ คลท่ีมชี ีวติ อยใู่ นราวปี ๒๔๓๐

จากคนรกรากพิหารแดง ไปพบหลักฐานทะเบียนบ้าน ๑๘๙
ถนนหนา้ เมอื ง ต�ำบลเมอื งสวรรคโลก อำ� เภอสวรรคโลก จังหวดั สุโขทัย
ช่ือ นางดวงเดอื น นาคราช (เอมสุวรรณ) (นาคราช เปน็ นามสกลุ ของ
สาม)ี (เกดิ ๑๐ ก.ย. ๒๔๙๓) ลูกแม่เสมอจติ ต์-พ่อดรณุ เอมสุวรรณ์

อนุทนิ ประจ�ำวนั 413

นางเสมอจิตต์ เอมสุวรรณ์ () (๒๔๖๐ – ๒๕๔๙ อายุ ๘๙ ป)ี
ลกู แมเ่ งนิ -พอ่ ชอ่ื หลวงพทิ กั ษ์ มลี กู สาวชอ่ื นางดวงเดอื น นาคราช (บตุ ร)
เปน็ ผแู้ จง้ การตาย

และยงั พบหลกั ฐานของนายดรุณ เอมสวุ รรณ์ (๒๔๖๗-๒๕๓๙
อายุ ๗๒ ปี) ขา้ ราชการบ�ำนาญ ตายเม่ือ ๒๕ พ.ย.๒๕๓๙ รพ.อตุ รดติ ถ์
ลูกหลวงชัยอาญัติ-แม่ลออ, ผู้แจ้งตายชื่อนายผดุงชาติ เอมะสุวรรณ
จนท.บรหิ ารงานสรรพากร ๗ บ้านเลขท่ี ๒/๓ ถ.ประชานมิ ิต ต.ท่าอฐิ
อ.เมือง จ.อตุ รดติ ถ์ แจง้ การตายเมือ่ ๒๕ พ.ย.๒๕๓๙

จากทุ่งตน้ ตาล ถงึ พหิ ารแดง
จากสุพรรณบรุ ี ถงึ สวรรคโลก สุโขทัย และอตุ รดิตถ์

414 อนุทนิ ประจ�ำวัน

อนทุ ินประจ�ำวัน

(๕๙๐ แมต่ ุ้ย บษุ บก)

วันท่ี ๑๔ กันยายน เป็นวันท�ำบุญอุทิศให้โยมมารดา ของท่าน
เจ้าคณุ พระพรหมเวที (สเุ ทพ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวดั พระปฐมเจดยี ์
เจ้าคณะภาค ๑๕ ทา่ นเป็นลูกของแม่ตยุ้ บุษบก (๒๘ มนี าคม ๒๔๕๐
- ๑๔ กนั ยายน ๒๕๔๖ อายุ ๙๖ ป)ี ถา้ อยใู่ นปี ๒๕๖๑ อายุ ๑๑๑-๒ ปี,
แม่ตุ้ยเป็นลูกของตาพลอย ยายริด ชุ่มปรีชา, แม่ตุ้ยแต่งงานกับ
พ่อบัว บุษบก (๑๘ ก.พ.๒๔๔๖-๑๗ ก.พ.๒๕๑๖) รกรากคนบางคนฑี
สมุทรสงคราม แถววดั ปราโมทย์

ในวนั พระราชทานเพลงิ ศพแมต่ ยุ้ บษุ บก ณ เมรวุ ดั พระปฐมเจดยี ์
ขา้ พเจา้ จำ� ไดด้ ี เพราะนา่ จะเปน็ ครงั้ แรกทไี่ ปนง่ั อยใู่ นศาลารอบเมรสุ ถาน
วัดองค์พระใหญ่ ที่จ�ำได้ดี เพราะเห็นท่านเจ้าคุณรูปร่างซูบผอมมาก
เพ่ิงจะฟื้นจากไข้หนักที่เรียกว่าอาการปางตาย ได้ยินพิธีกรประกาศว่า
ทำ� บุญให้แม่ตยุ้ บุษบกปที ี่ ๑๕ นัน่ คอื กาลเวลาท่ผี ่านมาแล้ว ๑๕ ปี

เม่ือไปถึงก็เดินประทักษิณรอบองค์พระใหญ่ ตามนิสัยของ
นักส�ำรวจสาแหรกตระกูล พบช่ือ “จีนเท้งนายอากรสุรา” ก็คิดว่า
เป็นใครที่มาเป็นเจ้าภาพสร้างห้องไว้ มีหลายท่านท่ีมีชื่อคุ้นบ้าง
ไม่คุ้นบ้าง โดยบังเอิญไปอ่านป้ายเจ้าภาพปูกระเบื้องในสมัยข้าหลวง
สุพรรณบุรีช่ือนายปรง พะหูชนม์ คือในราวปี ๒๔๘๐ พบช่ือ
น.ส.ละออ ชยั อาญา นามสกลุ นคี้ นุ้ มาก เพราะมาจากนายขาว อนิ ทาปจั
คนเดิมบาง และเกย่ี วขอ้ งกับย่าเหล สุนัขทรงโปรดของ ร.๖

อนทุ นิ ประจำ� วัน 415

มบี นั ทกึ วา่ “ยา่ เหล เปน็ สนุ ขั ของหลวงไชยอาญา (โพธ์ิ เคหะนนั ทน)์
/ (ตอ่ มาเปน็ พระพทุ ธเกษตรานรุ กั ษ์ (โพธ)ิ์ (๒๓๙๒-๒๔๗๓) ซงึ่ ขณะนน้ั
มีต�ำแหน่งเป็นพะท�ำมะรง เรือนจ�ำจังหวัดนครปฐมต่อมาย้ายไปเป็น
เจ้าพนักงานรักษาการองค์พระปฐมเจดีย์ แล้วเปล่ียนราชทินนาม
เป็นหลวงพุทธเกษตรานุรักษ์ ต่อมาได้เล่ือนเป็น รองอ�ำมาตย์เอก
พระพุทธเกษตรานุรักษ์ และเป็นเวลาเดียวกันกับที่ย่าเหลเกิด
พระพุทธเกษตรานุรักษ์มีบุตรบุญธรรมคือนายขาว อินทาปัจ ซ่ึงเป็น
เสมียนเรือนจ�ำจังหวัดนครปฐม เมื่อพระพุทธเกษตรานุรักษ์
ยา้ ยไปเปน็ พนกั งานรกั ษาการองคพ์ ระปฐมเจดยี แ์ ลว้ , นายขาว อนิ ทาปจั
ก็ได้เลื่อนเป็นพะท�ำมะรง เรือนจ�ำจังหวัดนครปฐมแทน และได้รับ
บรรดาศกั ด์เิ ป็น ขนุ อภบิ าลปฐมทัณฑ์ (๒๔๕๙) ตอ่ มาเมือ่ อายุ ๔๔ ปี
เลอื่ นขน้ึ เปน็ รองอามาตยเ์ อก หลวงชยั อาญา (๒๔๖๓) ไดร้ บั ราชทนิ นาม
เป็นช่ือนามสกลุ ใหม่วา่ “ชยั อาญา”

นายขาว อินทาปัจ (เกิด ๒๔๑๙) รกรากคนหัวเขา เดิมบาง
ว่าไปเรียนต่อที่นครปฐม และจบ ป.๔ รับราชการผู้คุมเรือนจ�ำ,
เคยค้นหลักฐานชิ้นหนึ่ง ได้ระบุไว้ว่า “๖ ม.ค.๒๔๖๖ หลวงชัยอาญา
(ขาว อินทาปัจ)”, เก่ียวข้องกับ ร.๖ ซึ่งมีพระอุปนิสัยทรงเป็น
นักประพันธแ์ ละโปรดการละเล่นตา่ งๆ เชน่ เมอื่ ร.๕ เสด็จเย่ียมยุโรป
เม่ือวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๔๐ มีพิธีรับเสด็จโดยการแสดงละคร
เรื่อง My friend Jarlet ร.๖ ทรงแต่งตัวแสดงเป็นหญิง และท่ียืน
ซ้ายมือคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์พงศ์ แต่งตัวเป็น
พลทหาร

ฉนั เพลวงเดยี วกบั ทา่ นเจา้ คณุ พระศรสี ธุ รรมเวที (พพิ ฒั น์ ป.ธ.๙)
(เกดิ ปขี าล ๒๔๙๓) ซงึ่ ทา่ นเคยเลา่ ประวตั ใิ หฟ้ งั วา่ เคยไปอยวู่ ดั ทองนพคณุ

416 อนุทนิ ประจ�ำวัน

ในกรงุ เทพฯ และสอนหนงั สอื มลี กู ศษิ ยเ์ ปน็ รองสมเดจ็ พระราชาคณะแลว้
ส่วนตัวท่านเองนั้น สอบได้ในปีท่ีมีนาคหลวง ๓ รูป เป็นรองสมเด็จ
หมดแลว้ ทเ่ี ปน็ สมเดจ็ พระราชาคณะกม็ ี และสรปุ ลงมา เปน็ บญุ วาสนา
ของเพ่ือนร่วมสหชาติสอบไดป้ เี ดยี วกันในปี ๒๕๑๙ น้ัน

ข้าพเจ้าสนใจพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ประดิษฐานล้อมรอบ
องค์พระปฐมเจดีย์น้ัน และเห็นพระชัยวัฒน์จ�ำลอง มีป้ายเขียนว่า
“ปางพิเศษ พระปฏิมาชัยวัฒน์ประจ�ำรัชกาลท่ี ๖ มีอธิบายว่า
พระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางที่พระเพลา? (เข่า)
พระหัตถ์ซ้ายกุมด้ามพัดตั้งบังพระพักตร์ ในลักษณะถวายพระพร”
ด้วยเหตนุ ี้ ข้าพเจ้าจึงอยากส�ำรวจภูมิทศั น์อืน่ ๆ ขององคพ์ ระปฐมเจดยี ์
เพ่มิ เติมอีก

ส่ิงหน่ึงท่ีคุยกันคือ เจ้าคุณวงศ์ (พระธรรมเจติยาจารย์)
(๒๔๒๖-๒๖๒๗) อายุ ๑๐๐ กว่าปี วัดเสน่หา ซ่ึงท่านเจ้าคุณพิพัฒน์
บอกว่า เจ้าคุณวงศ์ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ไกล เป็นคนต�ำบลถนนขาด
แถววัดเกาะวังไทร อ.เมอื ง จ.นครปฐม แต่ไปบวชพระทวี่ ดั สัมปะทวน
ขา้ พเจา้ ขอใหท้ า่ นชว่ ยสบื ประวตั นิ ามสกลุ วา่ เจา้ คณุ วงศ์ นามสกลุ อะไร
และเปน็ คนที่ไหนแน่

ก่อนเดินทางกลับ คิดจะเข้าชมพิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์
เขาล็อกกุญแจปิดพักเที่ยงพอดี ได้อาศัยความเมตตาของท่านพระครู
วิกรม... เรียกให้เจ้าหน้าท่ีเปิดประตูให้เข้าชมเป็นกรณีพิเศษ
เป็นแขกวีไอพีรูปเดียว ปกติถ่ายรูปภายในไม่ได้ ก็ขอเป็นกรณีพิเศษ
เกบ็ ภาพภายในเปน็ ที่ระลึก ตั้งแต่ตราธรรมจักร ๒ วงดา้ นนอก ไปถึง
หบี ศพหมายา่ เหลทีเดียว

.

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 417

กอ่ นเดนิ ทางกลบั เขา้ ไปกราบไหวพ้ ระประธานภายในพระอโุ บสถ
วัดพระปฐมเจดีย์ ได้พบกับญาติสนิทของหลวงพ่อใหญ่ (พระธรรม-
มหาวีรานวุ ตั ร) (๒๔๖๙-๒๕๕๓) บอกวา่ เปน็ ลกู ของพอ่ เปลื้องแม่สอน
จินดาอินทร์ (เสือข�ำ) หลานปู่ดีย่าแปลก จินดาอินทร์ (วัชรพันธุ์)
และเล่าว่าเนื่องจากปู่และย่าเสียชีวิตท้ังคู่ ต้ังแต่พ่อเปล้ืองยังตัวเล็กๆ
พอ่ เปลอื้ งบวชพระพรอ้ มกบั หลวงพอ่ ใหญท่ เี่ ขาเรยี กวา่ “หลวงลงุ ฉลอง”
เกิดปีขาล ๒๔๖๙ พ่อเปล้ืองเกิดปีชวด ๒๔๗๑ ตอนบวชพระคู่กัน
เน่ืองจากย่ากวา จินดาอินทร์ (วัชรพันธุ์) เป็นเจ้าภาพจัดการบวช
ให้พรอ้ มกันเลย และต่อมา พอ่ เปล้อื งบวชครั้งที่ ๒ พรอ้ มกบั นายสุนทร
จนิ ดาอนิ ทร์ อดีต ส.ว.จงั หวัดกำ� แพงเพชรอีกดว้ ย

เดก็ หนมุ่ ทค่ี ยุ ดว้ ยชอ่ื นายวสิ ตู ร จนิ ดาอนิ ทร์ (เกดิ ปเี ถาะ ๒๕๐๖)
เป็นนอ้ งชายของผู้ใหญป่ ราศัย จินดาอินทร์ ทา้ ยบ้านน่ันเอง วา่ ตอนน้ี
ไปอยชู่ ลบุรี มีเมยี และลูก ๒ คน อยู่ทส่ี มุทรปราการ

จากสพุ รรณบรุ ี ยงั ไปอยกู่ รงุ เทพมหานคร, จากลกู แมต่ ยุ้ บษุ บก
คนบางคนฑี ยังเคยไปอยู่สุพรรณบุรี, เช่นเดียวกับหลวงชัยอาญา
(ขาว อนิ ทาปจั ) คนเดมิ บางที่มาอยู่นครปฐม

วัฏจักรและความจริงของชีวิตเป็นเช่นนเ้ี อง

418 อนุทนิ ประจ�ำวัน

อนุทนิ ประจำ� วนั

(๕๙๑ Wat Chumpa วดั จ�ำปา
ต�ำบลบ้านโขง้ - นายห้อย ศรีบญุ เพง็ )

ไปรว่ มงานประชมุ เพลงิ ศพนายหอ้ ย ศรบี ญุ เพง็ (๒๔๘๕ - ๑๐ ก.ย. ๒๕๖๑
อายุ ๗๖ ป)ี บตุ รของพอ่ ปน่ิ แมน่ อ้ ย ศรบี ญุ เพง็ คนบา้ นหนองจอกนอ้ ย
ต�ำบลบา้ นโข้ง อ�ำเภออู่ทอง จังหวดั สพุ รรณบุรี

พ่อป่ิน แม่น้อย ศรบี ญุ เพ็ง มีบุตรธิดา ๖ คน
(๑) นายจ่อย ศรีบญุ เพง็
(๒) นายห้อย ศรีบุญเพ็ง (เกิด ๒๔๘๕, ป.๔ รร.วัดจ�ำปา)
(+นางลา ศรบี ญุ เพ็ง) มีบตุ รชาย ๒ คนชื่อนายวชิ ัย ศรีบุญเพ็ง (ศักด)์ิ
และนายไพศักด์ิ ศรีบุญเพง็ (เบิม้ )
(๓) นางสมบรู ณ์ ศรคี ำ� พลอย
(๔) นายชนุ ศรีบุญเพง็
(๕) นางทองยุ้น นอ้ ยแพงดี
(๖) สท.วทิ ยา ศรบี ุญเพ็ง (เกดิ ปีกนุ ๒๕๐๒)
ประชมุ เพลงิ ณ เมรุวดั จ�ำปา เมอ่ื ๑๕ ก.ย.๒๕๖๑ ไดไ้ ปร่วม
พิธีเผาเป็นคร้งั แรกที่เมรหุ ลงั นี้
ปกตไิ ปรว่ มในงานพระราชทานเพลงิ ศพ ตงั้ เมรลุ อยหนา้ โรงเรยี น
เรียกว่าไปงานหลวง แต่คราวนี้ไปงานเผาแบบชาวบ้านธรรมดา
ได้เห็นประเพณีต่างๆ ซ่ึงเป็นวิถีชีวิตชาวบ้าน ยังนึกว่าสมัยก่อน
เม่อื มาวัดจำ� ปาเมือ่ ๓๐ - ๔๐ ปกี อ่ นนน้ั ดงมะม่วงอยูแ่ ถวไหน นกึ ภาพ

อนทุ นิ ประจำ� วนั 419

ไมอ่ อก กฏุ ิเสนาสนะใหม่ๆ ไดร้ บั การพัฒนาปรับปรุงดียิ่งข้ึน สมัยก่อน
จ�ำไดว้ ่ามาคา้ งคืน ต้องนอนรวมกนั บนศาลาหรอื ท่ไี หนสักแหง่ หนึ่ง

นกึ ทบทวนความหลงั วา่ เมอื่ ถงึ หนา้ ทางโคง้ กอ่ นจะเขา้ วดั จำ� ปา
เหน็ ปา้ ย Wat Chumpa (ขา้ พเจา้ อา่ นวา่ วดั จมุ ปา) ไดถ้ ามเจา้ อาวาสวา่
ท�ำไมเขียนแบบนี้ ท่านบอกว่า ทางวัดจะเขียน Champa แต่ทาง
โรงเรยี นยนื ยนั เขยี นวา่ Chumpa และทา่ นบอกวา่ ใหอ้ า่ นปา้ ยภาษาไทย
แต่ข้าพเจ้าแย้งว่า พอดีเป็นกลุ่มสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ ท�ำให้
อ่านไดว้ า่ “วัดจุมปา”

มาวัดจ�ำปาแห่งนี้คร้ังสุดท้ายเม่ือเดือนเมษายน ในงานท�ำบุญ
๑๐๐ วันคุณพ่อชม ศรีบุญเพ็ง (๒๔๖๖-๗ ม.ค.๒๕๖๑ อายุ ๙๕ ปี)
มาในวนั นใ้ี นงานเผาศพนายหอ้ ย ศรบี ญุ เพง็ อายุ ๗๖ ปี นามสกลุ เดยี วกนั
จงึ ถามนอ้ งชายของนายหอ้ ย ชอื่ สท.วทิ ยา ศรบี ญุ เพง็ (เกดิ ปกี นุ ๒๕๐๒)
วา่ เรียกคุณพอ่ ชม ศรบี ุญเพง็ วา่ อะไร, นายวทิ ยาบอกว่า เรียกวา่ “ปู่”
และถา้ เรยี กตามศักด์ิจะเรยี กว่า “ลุงชม”

แค่ดูอายุของพีห่ ้อย กับ นอ้ งวทิ ยา กห็ ่างกนั ตงั้ ๑๗ ปี ชวี ิตของ
คนเราเป็นเช่นน้ี ว่าไม่ต้องซักถามมาก แต่ข้าพเจ้าก็ชอบซักถาม
อยา่ งเจา้ คณุ พระราชวสิ ทุ ธเิ วที (นกิ ร ป.ธ.๙) ลกู พอ่ ชม แมข่ ง้ิ ศรบี ญุ เพง็
ก็เช่นเดียวกัน ว่าพ่ีถม ศรีบุญเพ็ง พ่ีสาวเกิดปีมะเส็ง ๒๔๙๖ และ
ตวั ท่านเกดิ ปมี ะโรง ๒๕๐๗ ห่างกนั ถงึ ๑๑ ปี

เสียดายท่ีเขานิมนต์ให้มาฉันเพลด้วย เพ่ือซักถามสาแหรก
แต่ตัดสินใจไปร่วมตอนประชุมเพลิงเลย ตอนเรียกผู้ทอดผ้าบังสกุล
ที่ตรงกับขา้ พเจา้ ผทู้ อดชอื่ กำ� นนั วไิ ล ศรบี ญุ เพง็ หลงั ขา้ พเจา้ พจิ ารณาผา้
เสร็จแล้ว ก็ทบทวนว่าเจอกันครั้งสุดท้ายในวันพระราชทานเพลิงศพ
คุณพ่อชม ศรีบุญเพ็ง เมือ่ วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๑ วา่ ยังสัมภาษณ์วา่

420 อนทุ ินประจำ� วนั

ช่ือปู่ย่าตายายยังไม่ทันจบดี ก็อยากจะสัมภาษณ์ต่ออีก จับประเด็น
ได้ว่า เธอมีสามีชื่อ นายวิเชียร ศรีบุญเพ็ง ท่ีมีบรรพบุรุษเป็นญาติกับ
นายชม ศรีบญุ เพง็

ได้สัมภาษณ์โยมปอ้ จามะรี (เกิดปกี นุ ๒๔๗๘) อายุ ๘๓ ปีวา่
เป็นพี่น้องกับนางข้ิง ศรีบุญเพ็ง (จามะรี) ว่าท้องของพ่อคุณคาน-
แม่คณุ สงิ่ จามะรี มลี กู คอื (๑) ตาสงิ ห์ จามะรี (๒) แมข่ งิ้ ศรีบุญเพง็
(๒๔๖๖-๒๕๔๓) (๓) ยายทา (๔) ยายยา (๕) ยายลา ทำ� จะดี แตง่ กบั ตาที
ท�ำจะดี (๖) ตาเบ้ียว จามะรี แต่กลับใช้ “ศรีบุญเพ็ง” เป็นตาเบ้ียว
ศรีบุญเพง็ , (๗) นางปอ้ จามะรี (เกิดกนุ ๒๔๗๘)

จึงซักถามว่า เรียกผู้วายชมน์คือนายห้อย ศรีบุญเพ็งว่าอะไร,
นางป้อบอกว่า เรียกว่า น้าห้อย, ส่วนเจ้าคุณพระราชวิสุทธิเวที
(นิกร ป.ธ.๙) ก็บอกว่า โยมห้อยเป็นมรรคนายกวัดจ�ำปา กับท่านน้ัน
เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน คือย่าของโยมห้อยช่ือย่าปัทมา ศรีบุญเพ็ง
ไมร่ วู้ า่ แตง่ กบั ใคร และยา่ ของทา่ นชอ่ื ยา่ สกุ ศรบี ญุ เพง็ (ภรรยาของปอู่ ยู่
ศรีบุญเพ็ง) เป็นพี่น้องกัน และอธิบายว่าเป็นญาติกันทั้งหมู่บ้าน
พันกนั ไปกนั มา ล�ำดบั ไมถ่ กู

สรุปว่า นามสกุลเดียวกัน ก็ต้องเป็นญาติกัน อย่างน้าเบ้ียว
ลูกพ่อคุณคาน แม่คุณสิ่ง จามะรี แทนท่ีจะใช้นามสกุล “จามะรี”
กย็ ังดันมาใช้ “ศรบี ุญเพ็ง” ขา้ มห้วยมาอยา่ งไรไม่ทราบ

นนั่ คอื ชมุ ชนคนบา้ นโขง้ จรา้ เกา่ ทเี่ รยี กวา่ วดั จำ� ปา ทำ� ใหน้ กึ ถงึ
เพลงประจ�ำชาตลิ าวขน้ึ มาทันที ช่ือว่าเพลง โอ.้ .เจา้ ดอกจำ� ปา...

อนุทินประจ�ำวัน 421



อนทุ นิ ประจำ� วนั

(๕๙๒ คนเกดิ ปีมะ)

เอาเลข ๑๒ หารด้วยจ�ำนวนประชากรพลเมืองประเทศ ก็มีผู้เกิด
ปีมะนับได้ ๒๐ ลา้ นคน เพราะมะโรงบวกมะเสง็ มะเมยี บวกมะแม
วนั นี้จะคยุ ถงึ ผเู้ กดิ ปีมะเมีย

ที่รู้จักและจ�ำได้แม่น มีพระพรหมโมลี (วิลาศ ป.ธ.๙) อดีต
เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๑,
พระธรรมคุณาภรณ์ (ไพบูลย์ ป.ธ.๘) อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพล
ชนะสงคราม เจา้ คณะจงั หวดั กาญจนบรุ ,ี พระธรรมปญั ญาบดี (พรี ์ ป.ธ.๕)
เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ นายกสภามหาจุฬาลงกรณ-
ราชวิทยาลัย รูปน้ีเป็นพระราชาคณะชั้นรองสมเด็จ แต่ยังไม่ได้เป็น
กรรมการมหาเถรสมาคม คิดว่าน่าจะไดเ้ ป็น, อกี รปู หนง่ึ คือพระธรรม-
สทิ ธเิ วที (ถมยา วโิ รจนร์ ตั น)์ วดั สงั เวชวศิ ยาราม เลขานกุ ารศนู ยค์ วบคมุ
พระภิกษุเดินทางไปต่างประเทศ (ศ.ต.ภ.) ซ่ึงข้าพเจ้าเรียกว่า รมต.
พระฝ่ายตา่ งประเทศ

ปกติเท่าท่จี ำ� ความได้ พระธรรมสทิ ธเิ วที ท�ำบญุ วันเกดิ ตรงกบั
วันที่ ๒๘ กันยายน ของทุกปี ในท�ำเนียบประวัติสมณศักด์ิก็ระบุว่า
เกิดวันอาทิตย์ท่ี ๒๘ กนั ยายน พ.ศ. ๒๔๗๓

ขา้ พเจ้าไปรว่ มงานวนั เกิดเกือบทุกปี ที่ “เกอื บ” เพราะจ�ำได้ว่า
ปีหนึ่งเดินทางไปวดั มา้ ขาว เมอื งลั่วหยาง ประเทศจีน ซงึ่ ปนี น้ั ตรงกบั
ท�ำบญุ อายุ ๘๔ ปี ข้าพเจ้าไม่ได้ไปรว่ ม, อยา่ งนอ้ ยปีหนึง่ ส่วนทเี่ หลือ
นั้นส่วนใหญจ่ ะไปฉันเช้า

อนทุ นิ ประจ�ำวนั 423

ปีน้ี เล่ือนท�ำบุญมาเป็นวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
แปลกแต่จริง ทีแรกก็ไม่ค่อยเชื่อ นึกว่าพระเดชพระคุณพูดเล่น
แต่เช็กข้อมูลแล้วว่าเป็นจริงตามนั้น จึงตัดสินใจไปฉันข้าวต้ม และ
สอบถามความจริงใหแ้ นช่ ดั

ไปซักถามพิธีกรว่า เห็นมีพระทางฉะเชิงเทรามาแยะ และ
มีคนแต่งชุดมอญมาร่วมงาน ท่านเป็นมอญท้ังพ่อและแม่ไหม?
ได้ฟังพิธีกรบอกว่า หลวงพ่อเป็นมอญ ข้าพเจ้ากะว่าจะไปบอกว่า
ขา้ พเจา้ เปน็ จปม. เจก๊ ปนมอญเหมอื นกนั แตไ่ มก่ ลา้ กไ็ ดแ้ ตส่ อบถามวา่
เป็นอย่างไรจึงเลอื่ นมาจดั งานวันเกดิ วันท่ี ๑๖ แทนวนั ท่ี ๒๘

หลวงพอ่ ถมยาของขา้ พเจา้ บอกวา่ เกดิ ทบี่ า้ นนอก กวา่ จะไปแจง้
ทางฝ่ายบ้านเมือง บางทีก็ล่วงมาแล้วเป็นเวลา ๔-๕ เดือน และ
ให้เหตุผลว่า เพื่อให้ตรงกับข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ตามหลักฐานจริง
ขา้ พเจา้ กย็ งั ถามตอ่ อกี วา่ แลว้ ทเี่ คยจดั วนั ที่ ๒๘ กนั ยานนั้ ใชเ้ กณฑอ์ ะไร
หลวงพอ่ บอกวา่ กท็ �ำตามท่ีญาตพิ ่นี ้องเขาทำ� บญุ ใหพ้ วกตาท้ยุ ตาอะไร
ต่างๆ

ข้าพเจ้ายังถามอีกว่า แล้วจะต้องไปแก้ประวัติสมณศักดิ์ไหม?
ทา่ นบอกว่า ลงโกศเม่อื ไร แลว้ ค่อยไปแก้กันเอง

อายุวัฒนมงคลของคนเกิดปีมะเมีย ของพระธรรมสิทธิเวที
(หลวงพ่อถมยา) เป็นเช่นน้ีเอง ส�ำหรับข้าพเจ้ารู้จักหลวงพ่อต้ังแต่
สมัยยังเป็นพระโสภณรัตนาภรณ์ จ�ำได้ว่าไปท�ำหนังสือเดินทางไป
ตา่ งประเทศคอื ไปประเทศอนิ เดยี เปน็ ครงั้ แรกในชวี ติ ในราวปี ๒๕๒๕-๖
และยังจ�ำไดว้ า่ หลวงพ่อถมยาเคยเดินทางไปรอบประเทศออสเตรเลีย
ไปถงึ เมอื งแครนส์ และเมอื งอะไรตา่ งๆ เรยี กวา่ คนุ้ เคยกนั ดใี นระดบั หนง่ึ
ระหว่างข้าพเจา้ ผู้นอ้ ย กบั หลวงพ่อถมยา ทเ่ี ป็นคนรนุ่ ปู่ทวด

424 อนทุ ินประจ�ำวนั

อายุวัฒนมงคลส�ำหรับคนเกิดปีมะเมีย ท�ำให้นึกถึงบทสนทนา
ท่ีเรียนถามหลวงพ่อถมยาว่า เกิดปีมะเมีย ปีเดียวกับพระพรหมโมลี
วัดดอน ใช่ไหม? หลวงพ่อคงฟังค�ำถามของข้าพเจ้าไม่ถนัด ตอบว่า
เจา้ คณุ พระพรหมโมลีเกดิ ปีเดียวกนั แต่หา่ งกนั ๓ รอบ

ข้าพเจ้าจงึ ตะล่อมบอกว่า พระพรหมโมลี (วลิ าศ ป.ธ.๙) ทเ่ี ปน็
สหชาติเกิดปีเดียวกับหลวงพ่อกาญจน์ของข้าพเจ้า หลวงพ่อถมยา
จึงบอกว่า ใชเ่ กดิ ปเี ดยี วกัน

ข้าพเจ้ายังนึกต่อไปอีกว่า พระพรหมโมลี (สุชาติ ป.ธ.๙)
วัดปากนำ้� ภาษเี จริญ แมก่ องบาลีสนามหลวงเกิดปมี ะเมยี เช่นเดยี วกัน
แตห่ ่างกบั หลวงพ่อถมยาแค่ ๒ รอบ ไม่ใช่ ๓ รอบ

กลบั มาทำ� วตั รเชา้ และบอกลาสตั ตาหะไปงานประชมุ สนั ตภิ าพ
โลกทกี่ รุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เป็นเวลา ๔- ๕ วนั

ไปรว่ มกจิ กรรมงานอายวุ ฒั นมงคลวนั เกดิ ๖๓ ปขี องพระพรหม-
บณั ฑติ (ประยรู ป.ธ.๙) อธกิ ารบดมี หาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั ๕ สมยั
๒๐ ปี (๒๕๔๐-๒๕๖๑) เพราะทุกๆ ปีก็ไปร่วมงาน จ�ำได้ว่าไปทุกปี
ดูเหมือนอย่างน้อยปีหนึ่ง ไม่ได้ไปร่วมเพราะเดินทางไปประเทศ
คาซักสถาน ปีนี้ไปร่วมในวันนี้ ไปในฐานะท่ีท่านเป็นเจ้านายเก่า
เปน็ อดีตอธิการบดี ท่ีเคยเดินทางรว่ มกนั หลายรอ้ ยหลายพันลี้

มีพระสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายได้มาร่วมแสดงมุทิตาสักการะด้วย
และมีผู้แทนพระองค์ พลอากาศเอกเกษม อยู่สุข มาถวายน�้ำสรง
อายุวฒั นมงคล ได้อยู่ฉนั เพลเสร็จ รว่ มเจริญชัยมงคลคาถาทห่ี อประชุม
สิริภักดีธรรม ชั้น ๓ นับเป็นครั้งแรกที่ขึ้นหอประชุมหลังน้ี จ�ำได้ว่า
ตรงนี้เดิมเป็นห้องสมุด เคยมาเยี่ยมพระมหาชล และพระมหาสุทิน
ทองเช้ือ (พระครูบัณฑิตธรรมวิเทศ) (๒๕๐๐-๒๕๖๐) ซึ่งท่านเป็น

อนุทนิ ประจำ� วนั 425

พระมหารปู แรกของดอนมะนาว อำ� เภอสองพีน่ ้อง ใกลบ้ ้านเรอื นเคยี ง
กบั ขา้ พเจ้า

หลงั ชยันโตเสร็จ ปรากฏวา่ ไม่มยี า่ มตรายูเนสโกถวาย จงึ ไปขอ
ท่ีส�ำนักงานเจ้าคณะภาค ๒ ท่ีพร้อมจะน�ำไปใช้ที่ประเทศเกาหลีใต้
ในการประชุมสันติภาพโลกในชว่ ง ๔ วนั ขา้ งหนา้ น้ี

อายุวัฒนมงคล ๖๓ ปีของพระพรหมบัณฑิต คนเกิดปีมะแม
ได้พบญาติโยมมาจากสุพรรณบ้าง ศิษย์เก่าวัดประยุรวงศาวาสบ้าง
สถานท่ีเก่าๆ ที่แปรสภาพเป็นสถานที่ใหม่... นับว่ามีสีสันมากมาย
เสียดายท่ีข้าพเจ้ามีเวลาร่วมได้วันสุกดิบวันเดียว เพราะคล้ายวันเกิด
จรงิ ๆ ของพระพรหมบณั ฑติ คอื วนั ท่ี ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๑

นบั วา่ เปน็ อกี ปหี นง่ึ ทอี่ ยใู่ นความทรงจำ� ในอนทุ นิ ประจำ� วนั ของ
วนั ท่ี ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑

426 อนทุ นิ ประจำ� วัน

อนุทนิ ประจ�ำวนั

(๕๙๓ หลวงพ่อประสม เรอื งจรญู
วญิ ญาณศิลปินแห่ง ส.ส.ศ.)

ไดพ้ บกบั พี่สมาน สดุ โต และทดี่ ีใจสดุ ๆ คอื ไดห้ นงั สือ “ธรรมเพอื่ ชีวติ
และการพัฒนาวัฒนธรรม” โดยพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
เป็นข้อสังเกตว่าในหนังสือเล่มนี้ ยังไม่ใช้อักษรย่อ ว่า ป.อ. ปยุตฺโต
เปน็ หนงั สอื อนสุ รณง์ านพระราชทานเพลงิ ศพ พระครกู ติ ตญิ าณประยตุ
(ประสม กิตตฺ ิญาโณ) เม่ือวนั ที่ ๒๖ มนี าคม ๒๕๓๒

หลวงพ่อประสม เรืองจรูญ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์
(ตรงนก้ี ย็ ังไมน่ ิยม เติมค�ำว่า วรจักร ตอ่ ท้าย) (ชาตะ ๙ ก.พ. ๒๔๖๓
มรณะ ๑๙ ต.ค.๒๕๓๑) ที่ดีใจเพราะจะได้เห็นรอยต่อช่วงระหว่าง
เจ้าอาวาสรูปก่อน ก่อนที่เจ้าคุณอุทัย (พระเทพวิสุทธิโมลี) ขึ้นครอง
ต�ำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสต่อมา และท่ีดีใจยังได้เห็นช่องทางว่า ต้องมี
หนงั สอื งานศพพระครปู ลดั สมยั สพุ รรณโรจน์ อดตี เจา้ อาวาสวดั พระพเิ รนทร์
ก่อนหลวงพ่อประสม

ในหนังสือเล่มน้ี มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
เป็นประธานในพิธีรดน้�ำศพ, สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา
สรงน�้ำศพ, พระมหาเถระมาร่วมฟังพระสวดอภิธรรมคืนสุดท้าย
ก่อนปิดการสวด และภาพรักษาการเจ้าอาวาส และญาติโยมท่ีรู้จัก
คุน้ เคยกับหลวงพอ่ ประสม

อนทุ ินประจ�ำวนั 427

ท่ีส�ำคัญมีภาพที่ในหนังสือบรรยายว่า “คุณลุงนิ่ม โพธ์ิเอี่ยม
ผู้ท่ีได้เลี้ยงท่านพระครูมาต้ังแต่เล็กๆ, คุณลุงพร พี่ชายคนเดียวของ
ทา่ นพระครู และคณุ พช่ี ดิ ผทู้ เ่ี คยอยปู่ รนนบิ ตั ทิ า่ นพระครใู นระยะหนง่ึ ”
และภาพญาตพิ ่ีน้องของท่านพระครูฯ เปน็ ตน้

ประวัติ พระครูกิตติญาณประยุต เดิมชื่อ ประสม เรืองจรูญ
เกิดวนั ที่ ๙ ก.พ.๒๔๖๓ ตรงกบั วันจนั ทร์ แรม ๘ ค�ำ่ เดอื น ๒ ปวี อก
ณ ตำ� บลวดั บวรนเิ วศ อำ� เภอพระนคร จงั หวดั พระนคร บดิ าชอ่ื นายหนนั
เรืองจรูญ มารดาช่ือนางประจวบ เรืองจรูญ

พอ่ หนนั เรอื งจรญู ของทา่ นมภี รรยา ๔ คน และภรรยาแตล่ ะคน
กม็ ีลูกคนละ ๑ คน คอื

(๑) นางบุญนาค เรืองจรูญ มบี ุตรสาวชอ่ื นางอนงค์
(๒) นางพวง เรืองจรูญ มบี ตุ รชาย ชอื่ นายพร เรอื งจรญู (ลงุ พร)
(๓) นางประจวบ เรอื งจรญู มบี ตุ รชายชอ่ื พระครกู ติ ตญิ าณประยตุ
(๔) นางมน เรืองจรญู มบี ุตรสาวชอ่ื นางมาลี
ด้านการศึกษา จบ ม.๑ จาก รร.วดั บวรนิเวศ, นักธรรมชั้นเอก
(๒๔๙๐) สำ� นักเรยี นวัดสุทศั น์
วญิ ญาณศลิ ปนิ ท่านพระครูฯ มวี ญิ ญาณแหง่ ความเปน็ ศลิ ปิน
มาตั้งแต่เล็กๆ โดยได้เร่ิมหัดเล่นโขน ละคร กับแม่สอน ครูฟื้น
ต่อมา เม่ือมีความคุ้นเคยกับผู้แสดงของกรมศิลปากรบ้างบางคน
จงึ ไดม้ โี อกาสแสดงโขน ละคร กบั ม.ล.ราชพงษ์ จนกระทง่ั ทา่ นตดั สนิ ใจ
ขอเขา้ อปุ สมบทในพระบวรพระพทุ ธศาสนา
อุปสมบท เมื่ออายุ ๒๕ ปี ตรงกับวันที่ ๓๑ ก.ค. ๒๔๘๗
ณ วัดพระพิเรนทร์ วรจักร ต�ำบลบ้านบาตร อ�ำเภอป้อมปราบฯ
จงั หวดั พระนคร โดยมี พระธรรมเจดยี ์ (ตอ่ มา สมเดจ็ พระสงั ฆราช (อย)ู่

428 อนุทินประจ�ำวนั

วดั สระเกศ เปน็ พระอปุ ชั ฌาย,์ พระครศู ลี ขนั ธโสภติ (ผล ชนิ ปตุ โฺ ต ป.ธ.๕)
วัดพระพิเรนทร์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาถาวร
วดั พระพเิ รนทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

การบำ� เพญ็ ประโยชน์ ทำ� งานเปน็ ทไี่ วเ้ นอื้ เชอ่ื ใจของเจา้ อาวาส
(หลวงพอ่ พระครศู ลี ขนั ธโสภติ ตอ่ มา พระเทพคณุ าธาร) และในหนงั สอื
ได้ระบุว่า “เม่ือครั้งสงครามโลกคร้ังที่ ๒ ลูกระเบิดลงท่ีวัดเลียบ
(วัดราชบุรณะ) จนวัดเสียหาย หลังสงครามทางวัดจึงขออนุญาต
ซอ่ มแซมวดั ทางวดั พระพเิ รนทร์นำ� โดยเจ้าอาวาส (หลวงพ่อพระครูศลี
ขันธโสภิต) และพระประสม น�ำคณะไปตั้งโรงครัว และจัดหามหรสพ
มาแสดง เช่น ลิเก โขน ละคร โดยการบอกและเชิญชวนเพื่อนๆ
ของทา่ นมาแสดงใหฟ้ รี เพอ่ื หาทนุ ทรพั ยม์ าเปน็ คา่ ใชจ้ า่ ยในการซอ่ มแซม
ส่งิ ปรักหกั พงั ภายในวดั เลยี บจนส�ำเร็จ”

ประโยควรรคทอง นอกจากหลวงพ่อประสมมีวิญญาณ
เปน็ ศลิ ปิน และเปน็ ญาติสนทิ กับครนู ม่ิ โพธิ์เอ่ียม ซ่งึ ท่านพระครูเรียก
วา่ “พน่ี ม่ิ โพธเิ์ อย่ี ม” แลว้ ยงั มคี วามสำ� คญั มากในการชว่ ยฟน้ื ฟวู ดั เลยี บ
จนเปน็ รูปเปน็ รา่ ง

จะไม่เขียนอนุทินท้ิงไว้ก็กะไรอยู่ เพราะว่าเดินทางไปหลายวัน
นึกถึงบทสนทนาของพ่ีสมาน สุดโตว่า อยากได้ประวัติว่าวัดญี่ปุ่น
มาอยภู่ ายในวดั เลยี บไดอ้ ยา่ งไร ไปสถานทตู ญปี่ นุ่ และไดร้ ะแคะระคาย
มาว่า อัฐิที่บรรจุไว้ที่วัดญ่ีปุ่นนั้นเป็นหญิงโสเภณีชาวญ่ีปุ่นชุดแรกๆ
ทเี่ ขา้ มาทำ� มาหากนิ ผดิ กบั สมยั นที้ คี่ นไทยกลบั กนั ไปเปน็ มามา่ ซงั ทญี่ ป่ี นุ่
ก็มี

ข้าพเจ้าเสริมว่า ประวัติวัดญ่ีปุ่นน้ัน ที่ทราบมาเช่นกันว่า
เป็นวัดสายลับญี่ปุ่น เร่ิมต้นประวัติไม่ค่อยดี เขาจึงปกปิดไว้ เพราะ

อนทุ นิ ประจำ� วัน 429

เม่ือยกพลขึ้นบกน้ัน กรรมกรญี่ปุ่นท่ีหมกซุ่มซ่อนตัวอยู่ ก็กลายร่าง
เป็นนายร้อย นายพัน นายพล กัน เรียกว่าเป็นวัดเก็ตตาโปวัดหน่ึง
เรือ่ งทไ่ี ดฟ้ งั มาจากปากของชาวญป่ี ่นุ เอง เล่าเร่ืองไว้เป็นอยา่ งนี้

อยากบอกว่า มีศาลเจ้าแม่ทับทิมภายในวัด ปีหนึ่งก็มีเล่นงิ้ว
๓ คนื ไมร่ เู้ หมอื นกนั วา่ มปี ระวตั เิ ปน็ มาอยา่ งไร วา่ งๆ ตอ้ งมาดงู วิ้ ไหหลำ�
สบื ประวัติกันหนอ่ ย

430 อนทุ นิ ประจำ� วนั

อนุทนิ ประจ�ำวนั

(๕๙๔ สนามบนิ อินชอนรำ� ลกึ )

ได้ยินชื่อสนามบินอินชอนคร้ังแรก น่าจะเป็น Transit เคร่ืองที่น้ี่
เพื่อต่อไปสนามบินพูซาน จะมาเหยียบมาเยือนคร้ังหรือสองครั้ง
จำ� ไมไ่ ด้ แตเ่ ปน็ ครงั้ แรกในชวี ติ ทผ่ี า่ นดา่ นตรวจคนเขา้ เมอื งทเ่ี มอื งอนิ ชอน
(Incheon) เมอื งอนั ดบั ๓ หรืออนั ดับ ๔ รองจากกรุงโซล, พูซาน และ
อะไรอีกเมอื งหน่งึ ที่เปน็ คแู่ ข่ง แต่ถา้ นับสนามบนิ แล้ว นับเป็นหนง่ึ

สบื เนอื่ งจากองคก์ รศาสนา สนั ตภิ าพโลก และฟน้ื ฟแู สงประทปี
(HWPL: Heavenly Culture, World Peace and Restoration of Light)
จัดประชุมสันติภาพโลกครั้งที่ ๔ ภายใต้หัวข้อว่า ประกาศสันติและ
หยุดสงคราม (Declaration of Peace and Cessation of War)
องค์กรนี้เป็นหน่วยงานเอ็นจีโอ มีสมาชิกทั่วโลก ๒ แสนคน เฉพาะ
ที่ประเทศไทย มีสาขา ๒ แห่งที่กรุงเทพฯ (สมาชิก ๔๐ คน) และ
เชียงใหม่ (สมาชิก ๓๐ คน) เคยเข้าพบปะนายกรัฐมนตรีไทยในสมัย
น.ส.ยงิ่ ลักษณ์ ชินวตั ร เม่ือวนั ที่ ๑ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อีกทั้งไดพ้ บ
ผ้นู �ำศาสนาสำ� คญั ๆ ในประเทศไทย

เขาสง่ หนังสอื เชญิ ผู้นำ� ศาสนา ๑ นกั การเมืองการทตู ๑ กลุม่
สตรี ๑ กลมุ่ เยาวชน ๑ ส่อื สารมวลชน ๑ และหนว่ ยงานที่จดั การศึกษา
เรอ่ื งสันติ หนังสือเชิญมาถึงพระพรหมบัณฑิต (ประยรู ป.ธ.๙, ดร., ศ.,
ประธานสภาสากลจัดงานวิสาขบูชาโลก ฯลฯ) ว่าจะจัดประชุม
เร่ืองสันติภาพคร้ังท่ี ๔ ในช่วงระหว่าง ๑๗ - ๑๙ ก.ย. ๒๕๖๑ นี้

อนุทนิ ประจำ� วัน 431

ในหนังสือเชิญระบุสถานที่ว่าจะจัดประชุมท่ีกรุงโซล แต่พอเดินทาง
ไปจรงิ ๆ กลายเปน็ เมอื งอนิ ชอนไป โดยเฉพาะการประชมุ สมั มนาจดั ขน้ึ
ท่ีอ�ำเภอซองโด (Songdo) แปลว่า เกาะไม้สน

องค์กรสันติภาพนั้น อาราธนาเจาะจงพระพรหมบัณฑิตไป
แต่ท่านติดภารกิจส�ำคัญ ไปไม่ได้ ถามใครๆ ก็ไม่อยากไป เป็นเหตุ
ให้ทา่ นเจ้าคณุ พระราชวรเมธี ตำ� แหน่ง รศ. (Assoc.Professor) ใหม่ๆ
ถอดด้าม รับหน้าเส่ือไปเอง เพราะอย่างไรท�ำงานท่ีมหาจุฬา และ
อยู่สังกัดวัดเดียวกัน เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส และ
เอย่ ชวนข้าพเจา้ วา่ จะไปประชมุ ดว้ ยกันไหม?

ร�ำลึกถึงงานต่างประเทศ ที่เคยติดตามพระพรหมบัณฑิต
ไปประชมุ หลายประเทศ ลา่ สดุ ทจ่ี ำ� ไดก้ เ็ ปน็ ผตู้ ดิ ตามไปประเทศเวยี ดนาม
เมือ่ เดอื นมนี าคม ปี ๒๕๖๐ กบั คณะสงฆอ์ นัมนกิ ายท่ีเป็นพันธมติ รกัน
ครัง้ นี้ท่านไปไม่ได้ จึงเป็นผู้ติดตามท่านเจ้าคณุ พระราชวรเมธีไป

ขาไปขน้ึ เครอื่ งบินลำ� เดยี วกนั ไปสายการบนิ เกาหลี เครอื่ งออก
เดินทาง ๒๓.๒๐ น. ของวันท่ี ๑๖ ก.ย. เคร่ืองดีเลย์ราว ๑ ชม.
ไปถึงปลายทางเมืองอินชอนในเวลาราว ๘ โมงเชา้ วนั จนั ทรท์ ี่ ๑๗ ก.ย.
ส่วนขากลับแยกกันเดินทางกลับ ท่านกลับด้วยสายการบินเกาหลี
ออกเดนิ ทางกลบั ในเวลา ๑๗.๐๐ น. สว่ นขา้ พเจา้ บนิ กลบั ดว้ ยสายการบนิ
เจจู (Jeju Airlines)

สายการบนิ ตา่ งกนั และเทอมนิ อล (Terminal)-สถานอี ากาศยาน
ก็ต่างกนั ระหว่างเทอมินอล ๑ กบั ๒ เพราะสายการบินเกาหลีบนิ ขึ้น
ลงที่เทอมินอล ๒ ซ่ึงช่วงขาไปนั้นได้สังเกตเห็นประตู (Gate 270)
๒๗๐ ประตู เรียกว่าแยะมากจริงๆ ยังคิดว่าจริงหรือเปล่า ท�ำไม
มันมากแท้

432 อนุทินประจำ� วัน

เทอมนิ อล ๑ คอื ประตทู เ่ี รม่ิ ดว้ ยเลขตน้ ๆ สว่ นสถานอี ากาศยาน
๒ เปน็ เลขประตทู า้ ยๆ เปน็ จรงิ แทแ้ ล ชว่ งระหวา่ งสถานอี ากาศยาน ๑
และ ๒ ระยะทางห่างกันราว ๒๐ กม. ถ้าไมเ่ ชอ่ื กต็ อ้ งเชือ่

พลเมอื งเกาหลใี ตแ้ ค่ ๕๑ ลา้ นคน ตอ้ งยอมรบั วา่ เปน็ คนมศี กั ยภาพ
คิดเป็น ท�ำเป็น เป็นเจ้าของบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลก ดูรถยนต์ฮุนได
เปน็ แค่ตวั อยา่ งน้อยๆ

มาประชุม ๓ วันเต็มๆ เสร็จ ๒-๓ ทุ่มทุกคืน อย่างเม่ือคืนนี้
ภาคเช้าประชุม ภาคบ่ายเดินทางไปเมืองโกเชิง ส�ำนักงานพิพิธภัณฑ์
สันติภาพ (Peace Museum) และเขาจัดงานเล้ียงส่งแขกกันที่นั่น
พระสงฆ์เราก็นั่งดูเขารับประทานอาหารเย็นไป ได้ดูชมบรรยากาศ
เลยี้ งสง่ และฉนั นำ้� ปานะ เดนิ ทางไป ๒ ชม. อยรู่ ว่ มพธิ เี ลย้ี งสง่ ราว ๒ ชม.
รอเขา้ คิวอะไรต่างๆ ราว ๒ ชม. และเดินทางกลบั ๒ ชม. ใชเ้ วลารวม
เฉพาะจากบ่าย ๒ กว่าจะกลับเข้าท่ีพักในเวลา ๔ ทุ่ม นับน้ิวใช้เวลา
ไป ๘ ชม. เรียกวา่ มาแล้วเขาใช้เราคุ้มจริงๆ

วันน้ีวันเดินทางกลบั ไปฉันเชา้ ที่เจา้ หนา้ ทีม่ าบอกว่าเหลือเวลา
อีก ๑๐ นาที รา้ นอาหารจะปดิ ทำ� การ เพราะเปน็ เวลาใกล้ ๙.๓๐ น.
เดมิ มีโปรแกรมไปเยีย่ มวัดแหง่ หน่ึงทต่ี ้งั อยู่ใกลๆ้ ท่พี ัก แตเ่ ชก็ ขอ้ มลู ว่า
ต้องปีนบนั ไดขึ้นไป ๑๐๘ ข้นั มีฝนโปรยปรายลงมา จงึ ตดั โปรแกรมนี้
ออกไป แล้วเดินทางไปชมเมืองซองโด ทีเ่ ซ็นทรลั ปาร์ก (Central Park)
ไปชมหมบู่ า้ นฮนั อก (บา้ นเกาหล)ี ทเ่ี ขาผสมประสานระหวา่ งเกา่ กบั ใหม่
ได้กลมกลนื ไม่เจอมนุษยเ์ ท่าไร ยงั นึกวา่ เปน็ เมอื งผหี รือเปลา่ แต่เห็น
ตึกรามบ้านช่อง อพาร์ตเมนต์ต่างๆ ตึกสูงระฟ้า น่ีขนาดระดับอ�ำเภอ
ยงั เจริญดว้ ยวตั ถุขนาดน้ี

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 433

เดินเลาะเลียบน�้ำแม่ อีกฟากฝั่งหนึ่งเขาอนุรักษ์สภาพบ้าน
ท่ีอยู่อาศัยเก่าๆ มีฟาร์มเล้ียงแกะ อีกด้านหนึ่งมีลานเวทีเล่นดนตรี
(Busking) เปน็ แหลง่ พกั ผอ่ นชน้ั เยยี่ ม มาถงึ เมอื งซองโดทเี่ มอื งแหง่ นเ้ี อง
แล้วไปฉันเพลในตึกสามสี่ฤดู เขาเขียนว่า NC Cube ถามว่า เอ็นซี
คือ new city เมืองใหม่ใช่ไหม? เขาว่าเป็นชื่อแบรนด์เนม เดินเลียบ
ลำ� คลองทเี่ รียกว่า canal walk พอได้ประทับรอยเท้าทิ้งไว้เป็นอนสุ รณ์

ก่อนจะมุ่งตรงไปสนามบินนานาชาติอินชอน ข้ามสะพาน
ที่เชื่อมโยงยาวเป็น ๑๐ กม. ถือว่าเป็นแลนด์มาร์กอย่างหนึ่งของ
เมืองอินชอน ที่เป็นเมืองท่าเรือ (Port) ที่เคียงคู่กับเมืองพูซาน และ
เปน็ ทส่ี ำ� คญั เปน็ เมอื งทา่ อากาศยานใหญอ่ นั ดบั หนงึ่ ของประเทศเกาหลใี ต้

หลังจากไปส่งท่านรองบริหาร เจ้าคุณพระราชวรเมธี ที่สถานี
อากาศยาน ๒ แล้ว นั่งรถยนต์มีหน่วย Protocal (Liason) มาส่ง
ทส่ี ถานอี ากาศยาน ๑ เชค็ ตวั๋ บนิ และผา่ น ตม.เสรจ็ แลว้ นงั่ รถไฟกระสวย
ท่ีเรียกว่า shuttle train ไปยังประตูที่ concourse หาช่องประตู
ที่จะบินกลับไทยชอ่ งเลขท่ี ๑๑๒ ไดแ้ ลว้ อยากจะทดลองนงั่ รถไฟเล่น
จากสถานอี ากาศยาน ๑ กบั ๒ แตเ่ จา้ หนา้ ทเ่ี ขาบอกวา่ คณุ มตี ว๋ั ออกทน่ี ี่
กต็ อ้ งอยทู่ ี่นี่ นั่นคือหา้ มไปเทยี่ วทไ่ี หน

อกี เสยี้ วหนง่ึ ของชวี ติ ๔ วนั ในเกาหลใี ต้ ทเี่ มอื งอนิ ชอน (Incheon)
ประชมุ ๓ วันเต็ม เทยี่ วชมเมอื งซองโดเกาะไม้สน ๒ ชม. แลว้ ตรงไป
ทา่ อากาศยานอินชอน ทีม่ ีช่ือเสยี งระดบั โลก บนั ทกึ เป็นหมายเหตุชีวติ
อีกชนิ้ หนงึ่

เขยี นท่ี Incheon เกาหลใี ต้ ภายในทา่ อากาศยาน ๑ ณ จดุ ทพี่ กั
และผ่อนคลาย (Rest and Relax Area) เวลา ๑๙.๐๘ น. ของ
วนั พฤหสั บดี ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑

434 อนุทินประจ�ำวนั

อนุทนิ ประจ�ำวัน

(๕๙๕ ร�ำลกึ ถงึ ทา่ นประธานประเทศเวียดนาม
เจน่ิ ได๋ กวา่ ง)

พาดหวั ขา่ วใหญท่ กุ สำ� นกั ขา่ ววา่ ทา่ นประธานาธบิ ดี เจน่ิ ได๋ กวา่ ง
(President Tran Dai Guang) ของเวียดนาม ถึงแก่กรรม
ดว้ ยวัย ๖๑ ปี เมอ่ื วนั ท่ี ๒๑ กนั ยายน ๒๕๖๑ จึงไปคน้ บนั ทกึ ชิน้ หน่ึง
ท่ีเคยมีโอกาสได้เป็นอนุจรติดตามพระพรหมบัณฑิต ผู้แทนกรรมการ
มหาเถรสมาคม เข้าไปพบกับท่านประธาน เจ่ิน ได๋ กว่าง (ตรงกับ
แซ่ตัน หรอื แซต่ งั้ หรอื แซ่เฉิน) ณ ท�ำเนียบประธานาธบิ ดี กรงุ ฮานอย
เมอื่ วนั ท่ี ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๐

ในบันทึกนั้น ขอน�ำมาขัดเกลาใหม่ เป็นอนุสรณ์แห่งพันธมิตร
สองประเทศ และการพบปะกนั พบแลว้ จากกนั แบบไมม่ วี นั ไดพ้ บกนั อกี
ดังน้ี

วนั จันทร์ ที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐ (แรม ๑๕ คำ่� เดอื น ๔)
Day 3 Hanoi Only, ตรงกับวันพระใหญ่ในไทย แต่ในกรุงฮานอย
เป็นวันที่มีก�ำหนดการเข้าพบปะสนทนาตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เช้า
เดินทางไปท�ำเนยี บประธานประเทศ ฉนั เพลทวี่ ัดกวา๊ นซือ บา่ ยเขา้ พบ
ท่านเอกอัครราชทูตไทยที่สถานทูตไทย ยันค�่ำพบ “ประธาน
คณะกรรมการแนวรว่ มปิตภุ ูมเิ วียดนาม ทีส่ �ำนกั งาน”

@ ท�ำเนียบประธานประเทศเวียดนาม เป็นตึกทาสีเหลือง
ซึ่งเป็นสีประจ�ำพระเจ้าจักรพรรดิ (ดั่งเช่นสายสะพายของในหลวง

อนทุ นิ ประจำ� วัน 435

สเี หลอื ง มพี ระองคเ์ ดยี วในประเทศไทย) เมอื่ ลงจากรถแลว้ มกี ารถา่ ยรปู
ร่วมกัน ท่านเลขาธิการช่ือ พระติช ดึก เทียน เจ้าอาวาสวัดอมิตาภะ
เขา้ มาทกั ทายและแจง้ ขา่ ววา่ คณะสงฆเ์ วยี ดนามจะเดนิ ทางไปรว่ มงาน
วิสาขบูชาทศี่ รีลังกาจำ� นวน ๓ รปู

เมื่อเข้าไปในห้องรับรองภายในท�ำเนียบ ด้านหลังมีรูปหล่อ
ลุงโฮจิมินห์ ประดับด้วยดอกไม้สดสวยงาม ท่านประธานประเทศ
แซเ่ จิ่น นั่งอยู่ตรงกลาง, ขนาบด้วยท่านพระติช ดกึ เทยี น และฆราวาส
ที่คงเปน็ ฝ่ายคณะท�ำงานของทา่ นประธานเจิน่ , ดา้ นซา้ ย มีโตะ๊ ส�ำหรบั
หลวงปู่ตี๋, อธิการบดีพระพรหมบัณฑิต, หลวงพ่ออู๋, อีกด้านหน่ึง
เป็นท่ีน่ัง ๓ ท่ีส�ำหรับท่านผู้ช่วย รมต.ต่างประเทศ และท่านผู้หญิง
อีกคนหน่ึง, บทสนทนาเร่ิมต้นด้วยผู้ช่วยรัฐมนตรีกล่าวรายงาน
ความเป็นมา, หลวงปู่ต๋ีผู้แทนคณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายกล่าวรายงาน,
อธิการบดีกลา่ วว่า “ท่านประธานประเทศ...(ดูด้านลา่ ง...)

ค�ำกล่าวรายงานของท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ ต่อท่าน
ประธานประเทศ ฯพณฯ เจิ่น ได๋ กว่าง มีใจความว่า วันนี้
คณะกรรมการดูแลชาวเวียดในต่างประเทศมีความร่วมมือกันมาเยือน
ณ ท�ำเนียบประธานาธิบดี ขอต้อนรับคณะสงฆ์ไทยและอนัมนิกาย
ที่เดินทางมาเยือน, ในประเทศไทยมีวัดเวียดนามจ�ำนวน ๒๔ วัด
เป็นวัดที่ขึ้นป้ายเป็นภาษาเวียดนาม ๗ วัด, วัดเช้ือสายเวียดนาม
ในประเทศไทยมีบทบาทส�ำคัญในการรักษาประเพณีวัฒนธรรม
ของเวียดนาม วันนี้คณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์อนัมนิกายจาก
ประเทศไทยมาพบท่านประธานประเทศ ฯพณฯ เจ่ิน ได๋ กว่าง
(แซต่ นั หรอื แซต่ งั้ ) จงึ ขอแนะนำ� มหี ลวงปเู่ จรญิ กนิ๊ เจย๊ี ว วดั กศุ ลสมาคร,
ทา่ นตชิ เทยี น เขยี ว, พระพรหมบณั ฑติ ผแู้ ทนมหาเถรสมาคม วดั ประยรุ
วงศาวาส, หลวงพอ่ ...... เป็นต้น

436 อนทุ นิ ประจำ� วัน

ท่านพระติช ดึก เทียน เลขาธิการส�ำนักงานพระพุทธศาสนา
เวยี ดนามภาคเหนือ ได้กล่าวต้อนรบั ว่า “ประเทศเวียดนามขอตอ้ นรบั
ในวนั นม้ี ที า่ นประธานประเทศมาตอ้ นรบั ดว้ ยตนเอง ในการเชอื่ มสมั พนั ธ์
ระหว่างอนัมนิกายกับคณะสงฆ์ในเวียดนาม ขอขอบคุณท่านประธาน
ประเทศที่ให้การต้อนรับอย่างดียิ่งต่อคณะสงฆ์อนัมนิกาย และ
คณะสงฆ์ไทยที่มาเยือน ถือว่าเป็นการเยือนท่ีมีความหมายอย่างดีย่ิงนี้
ขอขอบพระคณุ พระพรหมบัณฑติ ทส่ี นบั สนุนคณะสงฆฝ์ ่ายอนมั นิกาย
ในประเทศไทย ใหก้ ารร่วมมือในการจดั งานวิสาขบูชาโลก

หลวงพอ่ อู๋ ผู้ช่วยเจา้ คณะใหญ่ วดั ญวนสะพานขาว ไดก้ ล่าววา่
ในนามคณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายแห่งประเทศไทย ท่ีสืบทอดมาจาก
เวียดนามตั้งแต่สมัยธนบุรี มีอายุสืบมานับได้ถึง ๒๔๐ ปี จนถึงยุค
ทห่ี ลวงพอ่ บนิ๊ เลอื ง เจา้ คณะใหญฝ่ า่ ยอนมั นกิ าย (สงั ฆราช) รปู ท่ี ๘ อดตี
เจา้ อาวาสวดั โลกานเุ คราะห์ ทคี่ นุ้ เคยกบั ทา่ นประธานประเทศโฮจมิ นิ ห์
ในช่วงปี ๒๔๗๑-๒๔๗๓ เป็นอยา่ งดี...

ค�ำกล่าวของพระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก
กรรมการมหาเถรสมาคม เม่อื วันจันทร์ ที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ณ ท�ำเนียบประธานาธิบดี กรุงฮานอย ประเทศสาธารณรัฐสังคมนยิ ม
เวียดนาม มีใจความว่า

****

อนุทินประจ�ำวนั 437

ขอเจริญพร ฯพณฯ ประธานประเทศ เจิน่ ได๋ กวา่ ง
พระเถรานุเถระทเี่ คารพ
ในนามของมหาเถรสมาคมและคณะสงฆ์ไทย ข้าพเจ้าขอถือ
โอกาสน้ี กล่าวขอบคุณรัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ
ทา่ นประธานประเทศ ทา่ นเจิน่ ได๋ กวา่ ง ท่ีใหก้ ารต้อนรบั อยา่ งอบอุน่
ในการเชอื่ มกระชับสัมพันธไมตรรี ะหว่างเวยี ดนามและไทย
การเชิญชวนให้ชาวเวียดนามท่ีอาศัยอยู่ท่ัวโลกและท่ีอยู่ใน
ประเทศไทย กลับมาเยี่ยมถิ่นปิตุภูมิ และกลับมาหารากเหง้าดั้งเดิม
ทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และภาษา เป็นต้น เป็นการแสดงถึง
นโยบายอันเปิดกว้างและมิตรไมตรีของรัฐบาลของท่านประธานาธิบดี
ซงึ่ แสดงให้เหน็ วา่ แมจ้ ะมีความแตกตา่ งในเรอื่ งความเชอื่ ศาสนาและ
วฒั นธรรม เปน็ ตน้ ถา้ เราใหค้ วามเคารพตอ่ กนั ในเรอื่ งความแตกตา่ งนนั้
เรากส็ ามารถอยูร่ ่วมกันอย่างสันตแิ ละเจรญิ กา้ วหนา้ ไปดว้ ยกนั
ในวนั น้ี พวกเรามคี วามดใี จปลม้ื ใจ ทห่ี วนกลบั มาเยอื นเวยี ดนาม
อีกคร้ังหน่ึง หลังจากประเทศน้ีเป็นเจ้าภาพจัดงานวันวิสาขบูชาโลก
ประสบผลส�ำเร็จด้วยดี ถึง ๒ ครั้ง คอื ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ท่ีกรุงฮานอย
และใน พ.ศ.๒๕๕๗ ทจ่ี งั หวดั นนิ หบ์ นิ ห์ ขา้ พเจา้ ในฐานะเปน็ ประธานสภา
สากลวันวิสาขาบูชาโลก ขออนุโมทนาจากใจจริง ต่อรัฐบาลเวียดนาม
ทใ่ี หก้ ารสนบั สนนุ กจิ กรรมแหง่ ความสมั พนั ธข์ องประชาชนชาวเวยี ดนาม
และชาวไทยอย่างมากมาย ท้ังในอดีตทีผ่ า่ นมาและในปัจจุบนั
ชาวเวียดนามและชาวไทยได้ช่วยเหลือซ่ึงกันและกันมาเป็น
เวลาช้านาน ชาวเวียดนามในประเทศไทย แม้เป็นพระสงฆ์ เช่น
หลวงพ่อบินเลือง อดีตเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย (สังฆราช) รูปท่ี ๘

438 อนุทนิ ประจำ� วนั

ท่านเป็นชาวเวียดนามท่ีเคยพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย หลวงพ่อ
บินเลืองได้ช่วยเหลือท่านประธานโฮจิมินห์ขณะท่ีไปเคล่ือนไหว
ในประเทศไทยในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๒๘-๑๙๒๙ เพื่อเรียกร้องเอกราช
จากประเทศฝรง่ั เศส

ในบน้ั ปลายชวี ิต หลวงพอ่ บินเลอื งได้กลับมาประเทศเวยี ดนาม
โดยการช่วยเหลือของท่านประธานโฮจิมินห์และกลับมามรณภาพ
ท่ีเวียดนาม เม่ือวานคณะของเราได้ไปคารวะสุสานของท้ังสองท่าน
และได้รับแรงบันดาลใจจากความร่วมมือกันในอดีตของบุคคลท้ังสอง
และต้ังใจแน่วแน่ว่าพวกเราจะเดินตามรอยแห่งการร่วมมือกันที่ท่าน
ประธานโฮจมิ นิ หแ์ ละหลวงพอ่ บนิ เลอื งไดท้ ำ� ใหด้ เู ปน็ ตวั อยา่ งมาแลว้ นนั้

การมาเยอื นเวยี ดนามของคณะเราในครงั้ น้ี เกดิ ขน้ึ เปน็ ครงั้ แรก
นับแต่ประชาคมอาเซียนประกาศใช้นโยบายต้ังแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๕๘ เป็นต้นมา น่ันคือนโยบายประชาคมอาเซียนท่ีประกอบด้วย
เสาหลัก ๓ เสาคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
การมาเยือนของพวกเราคร้ังนี้ สอดคล้องกับค�ำขวัญของอาเซียนท่ีว่า
หนง่ึ วสิ ยั ทศั น์ หนง่ึ เอกภาพ หนงึ่ ประชาคม “One Vision, One Identity,
One Community.”

ในฐานะผู้แทนกรรมการมหาเถรสมาคมและคณะสงฆ์ไทย
ขา้ พเจา้ ขออนโุ มทนาขอบคณุ รฐั บาลของทา่ นประธานประเทศทไี่ ดเ้ ชญิ
พวกเรามาและให้โอกาสพบปะกบั ท่านประธานในวันน้ี

ข้าพเจ้าเชื่อม่ันว่าการมาเยือนเวียดนามในคร้ังน้ีจะประสบ
ผลส�ำเร็จด้วยดีและช่วยสานต่อความสัมพันธ์อันดีดังที่ท่านประธาน
โฮจิมินห์และหลวงพ่อบินเลืองได้ท�ำไว้ ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์

อนทุ นิ ประจ�ำวัน 439

ระหว่างประชาชนของเวียดนามและไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปตลอด
กาลนานฯ

**
ท่านประธานประเทศเวียดนาม ฯพณฯ เจ่ิน ได๋ กว่าง
ได้กล่าวว่า “ขอนมัสการคณะสงฆ์ไทย-เวียด และผู้มีเกียรติทุกท่าน
ขอฝากความปรารถนาดไี ปยงั ในหลวง พระบรมวงศานวุ งศ์ คณะรฐั บาลไทย
และชาวเวยี ดในไทย
เราทง้ั สองประเทศใหค้ วามรว่ มมอื กนั ในดา้ นการเมอื ง วฒั นธรรม
การศึกษา กีฬา ความมั่นคง ท้ังในภาครัฐและภาคประชาชน เพ่ือ
เจรญิ สมั พนั ธไมตรขี อง ๒ ประเทศ และกลมุ่ ประเทศอาเซยี น, คณะสงฆ์
ฝา่ ยอนมั นกิ ายและคนไทยเชอ้ื สายเวยี ดนามจะเปน็ แหลง่ ใหร้ กั บา้ นเกดิ
เมอื งนอน ช่วยรกั ษาวฒั นธรรมของเวียดนามไว้ได้...”
นน่ั คอื อนสุ รณแ์ หง่ การพบปะกนั ระหวา่ งคณะสงฆฝ์ า่ ยอนมั นกิ าย
และคณะสงฆ์ไทยที่ไปเยือนถึงท�ำเนียบท่านประธานเจ่ิน ได๋ กว่าง
ทถี่ ึงอสัญกรรมด้วยวยั เพยี ง ๖๑ ปี
https://edition.cnn.com/…/vietnam-president-qua…/index.
html…
https://www.facebook.com/media/set/…

440 อนุทนิ ประจำ� วัน

อนทุ ินประจ�ำวนั

(๕๙๖ หมบู่ ้านศีลหา้ ระดบั โลก:
The World Peace Summit)

อุตสา่ หไ์ ปอย่เู มอื งอินชอน (Incheon) เกาหลีใต้ตง้ั ๔ วนั จะเขยี น
อนุทนิ ชวี ติ เพียงวันเดยี ว กด็ ูกระไรอยู่ จงึ เขยี นเลา่ ประสบการณ์
๓ วนั ในภาพรวมๆ ของการประชมุ สันติภาพโลก
องค์กรจัดการประชุม มีท่านประธานลี (Chairman Lee)
วยั ๘๘ ปี พน้ื ฐานเปน็ ผนู้ บั ถอื ศาสนาครสิ ตม์ ากอ่ น แตเ่ หน็ วา่ ทกุ ศาสนา
มีจุดยืนอันเดียวกัน คือหลีกหนีทุกข์ ต้องการสุข ถึงจะมีชื่อองค์กรว่า
Heavenly Culture, World Peace, and Restoration of Light
มีเปา้ หมายสนั ติภาพโลกเป็นหลัก โดยเฉพาะการรวมคาบสมุทรเกาหลี
เปน็ หนง่ึ (Unification of Korean penisula) ซงึ่ ถอื วา่ เปน็ การประกาศ
สนั ตภิ าพและหยดุ สงครามความเกลยี ดชัง

เป็นองค์กรเอ็นจีโอ ถึงจะชื่อ “สันติ” ก็มีการประท้วงท่ีมี
เบื้องหลังมาจากองค์กรศาสนาองค์กรหนึ่งเช่นกัน มีโปรก็มีคอน
มีสวา่ งกม็ ีมืด มปี ัญญากม็ ปี ญั หา น่ีเป็นธรรมดาของโลก

จึงขอเขียนรายงาน เพื่อให้ครบรอบด้าน ครบทิศเหนือใต้
ออกตก เป็นอนสุ รณก์ ารเยือนและร่วมประชุมสนั ตภิ าพโลก ครงั้ ท่ี ๔

เครื่องบินสายการบินเกาหลี ออกจากสุวรรณภูมิ ในเวลา
๒๓.๒๐ น. ใช้เวลาบิน ๕ ชม. (บวกเดย์ไลท์เซฟว่ิง เวลาเกาหลี
เรว็ กว่าไทย ๒ ชม.) และเคร่ืองดีเลย์อกี ราว ๑ ชม.เป็นธรรมชาตขิ อง

อนุทินประจำ� วัน 441

ผู้เดินทางไกลด้วยสายการบินที่นอนไม่หลับสนิทเต็มที ได้ฉันเช้าบน
เครอ่ื งบินกอ่ น และเครอ่ื งก็แตะแผ่นดินโสมทเี่ มอื งอนิ ชอน

มเี จ้าหนา้ ที่ขององคก์ รมาให้ตอ้ นรบั เป็นอย่างดี และน�ำพาไปสู่
ที่พักและที่ประชุม ท่ีอยู่ห่างจากสนามบินไปราว ๓๐-๔๐ นาที
ท่ีเมืองซองโด (Songdo) พอถึงสถานที่ก็พาเข้าห้องประชุมทันที
ในภาคเช้าของวันท่ี ๑๗ ก.ย.เป็นการประชุมของผู้น�ำศาสนาฮินดู-
พุทธ-คริสต์-อิสลาม...มีผู้ประท้วงจากผู้เข้าประชุมจากด้านล่างว่า
ท�ำไมไม่มีผู้แทนศาสนาซิกซ์อยู่บนเวทีอภิปรายด้วย ซ่ึงก็ต้องชี้แจง
กันไป

หัวข้อการประชุมเก่ียวกับพระเจ้าว่ามีหรือไม่? ทุกศาสนา
บนเวทีได้ชี้แจงจุดยืนของศาสนา ว่าศาสนาตนมีพระเจ้าอย่างไร
ยกเว้นพระพุทธศาสนาซ่ึงมีอุบาสกช่ือนายอันบัน มาจากอินเดียใต้
ไดย้ นื ยนั วา่ ศาสนาพทุ ธไมม่ พี ระเจา้ ผสู้ รา้ ง (Creator) มแี ตพ่ ระศาสดา
ผู้สอน และชีวิตประกอบด้วยนามและรูป เป็นขันธ์ห้าท่ีเรียกว่าชีวิต
และบนเวทีได้มีการพูดถึงวิถีแห่งเต๋า (Path to Tao) คือการเข้าถึง
พระนพิ พาน

การประชมุ ภาคเชา้ บนเวที จบลงด้วยการแสดงบนเวที ขับรอ้ ง
บทเพลง We are One เราเป็นหน่ึง

พักเท่ียงก็ออกไปฉันเพล เป็นอาหารกิมจิท่ีภัตตาคารแห่งหน่ึง
ใกล้กับสถานท่ีประชุม แล้วจึงเช็กอินเข้าห้องที่พักได้สักครู่หนึ่ง
กเ็ ปน็ เวลาเขา้ หอ้ งประชมุ ภาคบา่ ย ซงึ่ เปน็ หอ้ งประชมุ ใหญก่ วา่ เมอ่ื เชา้ นี้
ชอ่ื วา่ หอ้ งดาวนิ ซี บรรจคุ นได้ ๖๐๐ คน เปน็ พธิ กี ลา่ วตอ้ นรบั เปดิ ประชมุ
และฉายวดี ทิ ศั น์ ภายใต้หวั ข้อว่า ดพี ซี ีดับเบิลยู (DPCW: Declaration
of Peace and Cessation of War) พูดถึงความร่วมมือระดับโลก

442 อนทุ นิ ประจ�ำวัน

เพอ่ื ใหเ้ กิดสันติภาพรวมเปน็ อันเดียวกันของคาบสมุทรเกาหลี (Global
Cooperation for the reaslization of a peaceful unification
on the Korean penisula) ปิดท้ายด้วยการลงนามยืนยันของ
ผู้เข้าร่วมประชมุ วา่ ใหป้ ระกาศสนั ตภิ าพและหยดุ สงคราม ซง่ึ ขา้ พเจา้
กล็ งนามไป ในฐานะทเี่ ปน็ ทตู สนั ตภิ าพ ทเี่ ขาใชศ้ พั ทว์ า่ Peace Messenger
หรอื Peace Maker

ภาคคำ่� ของวนั แรกมพี ธิ เี ลย้ี งตอ้ นรบั ซง่ึ ขา้ พเจา้ และทา่ นเจา้ คณุ
พระราชวรเมธี ผศ., ดร. ตกลงกันว่า ขอตัวไม่ไปร่วมพิธี ขอพักผ่อน
หลบั ยาวๆ เพราะเดนิ ทางมาเหนอ่ื ยๆ และพรงุ่ นที้ า่ นเจา้ คณุ ตอ้ งขน้ึ พดู
บนเวทอี ภิปราย

วนั ที่ ๒ Day 2 of HWPL conference
ตรงกบั วนั ท่ี ๑๘ ก.ย.๒๕๖๑ ลงมาฉนั เชา้ มนี ายจรญู สขุ ประเสรฐิ
(ว่ามาจาก แซ่เฮ้ง) มาเสิร์ฟอาหารถวายให้ มีคณะคนไทยมาร่วม
ประชุมด้วย นับได้ ๒๔ รูป/คน เป็นพระระดับผู้น�ำศาสนาคือเจ้าคุณ
พระราชวรเมธี และขา้ พเจา้ ในระหวา่ งฉนั เชา้ นน้ั มภี กิ ษณุ ใี นนกิ ายโชเก
มาทักทายคยุ เปน็ มติ รดีมาก เธอพูดภาษาอังกฤษไมไ่ ด้ สว่ นพวกเราพูด
ภาษาเกาหลไี มไ่ ด้ กใ็ ช้มอื ใช้ไม้คุยกัน
ได้เจอ ดร.อุบาสก อี. อันบัน (Dr. Upasaka E. Anban)
ผู้แทนชาวพุทธจากเมืองเจนไน อินเดียใต้ ซึ่งคุ้นเคยกับท่านเจ้าคุณ
พระราชวรเมธดี ี เพราะเรยี กว่า คุรุ คืออาจารย์นน่ั เอง ซึ่งในวนั สุดท้าย
ก็ได้เจอกัน และจากลากันด้วยดี เป็นมิตรภาพที่เกิดจากการประชุม
สันติภาพ
สถานที่จัดประชุมอยู่ชานนครอินชอน ชื่อว่ารามาดา ซองโด
(Ramada Songdo) ซ่ึงเป็นเมืองที่ไม่เคยมาเหยียบย่างเลยในชีวิต

อนทุ ินประจำ� วัน 443

นึกถึงว่าแม้แต่กรุงโซลเอง ในชีวิตก็เคยน่ังรถไฟจากเมืองพูซาน
มาเท่ียวครั้งหนึ่ง ประเภทไปเช้าเย็นกลบั ยงั ไมไ่ ดซ้ ึบซับกบั เมอื งหลวง
เขาเท่าไรนัก ปกติช่วงเช้าชอบออกไปเดินรอบๆ สถานที่พัก แต่เนื่อง
จากมกี ารประทว้ งรอบๆ ทพ่ี กั ดงั ทเี่ มอื่ วานนกี้ เ็ หน็ เจา้ หนา้ ทหี่ นว่ ยรกั ษา
ความปลอดภยั รอบๆ บรเิ วณน้ี จงึ ตดั สนิ ใจไม่ออกไปไหนตามล�ำพงั

ได้เวลาประชุมก็เข้าไป บนเวทีอภิปรายเขาจัดท่ีนั่งไว้ ๙ ที่
พิธีกรเป็นชาวอเมริกันจากวอชิงตันดีซี ชื่อนายเดเนียล ได้แนะน�ำว่า
เป็นการประชุมผู้นำ� ศาสนาระดับสูงท่ีเปน็ พนั ธมติ รกนั เรียกเปน็ ภาษา
อังกฤษว่า High-Level Religious Leaders’ Conference for
Alliance of Religions เขาประกาศประเทศท่ีเข้าประชุมจาก
๑๒๖ ประเทศ (เกือบเท่าสมาชิกยูเอ็น ซึ่งมีสมาชิก ๑๔๕ ประเทศ)
หวั ขอ้ การประชมุ เรอ่ื งเปรยี บเทยี บคมั ภรี ต์ า่ งๆ เพอ่ื ความเปน็ หนงึ่ เดยี ว
ของกรรมการเพื่อสันติ (Comparison of Scriptures- discussion
on how to develop and spread the activities of the solitarity
of Religious Peace Committee)

ส่วนใหญจ่ ะเป็นสาส์นบ้าง ขอ้ คิดเหน็ ต่างๆ บา้ ง เช่น ถ้าสิทธิ
มนุษยชนถูกละเมิด ก็ไม่เกิดสันติภาพ หรือไร้ความยุติธรรมก็ไม่มี
สันติภาพ และพูดถึงการให้อภัยทาน (Forgiveness) ขันติธรรม
อะไรตา่ งๆ ท่ีเปน็ หลกั ธรรมสำ� คญั กอ่ ให้เกดิ สนั ติ

ท่านเจ้าคุณพระราชวรเมธี ได้แนะน�ำตัวว่ามาแทนพระพรหม
บัณฑิต และอ่านสาส์นสันติภาพว่าสันติภาพต้องเกิดจากภายในก่อน
จึงจะเกิดสันติภายนอกได้ และท่านพูดถึงหลักสันติภาพจะเกิดได้เม่ือ
ทกุ คนรกั ษาศลี หา้ ยกตวั อยา่ งพระสงฆใ์ นประเทศไทยและตา่ งประเทศ
มากกว่า ๓ แสนรูป จากวดั ตา่ งๆ กว่า ๓ หมนื่ กวา่ วัด รณรงค์หมบู่ ้าน

444 อนทุ นิ ประจ�ำวนั

ศลี หา้ และสรปุ ลงมา นค่ี อื หลกั การกอ่ ใหเ้ กดิ สนั ตแิ ละหยดุ ความเกลยี ด
ชัง ปราศจากสงคราม และอวยพรสุดท้ายว่า May peace prevail
on Earth ขอให้สันตภิ าพบังเกิดขน้ึ ในโลกใบนี้

พระเกาหลีได้พูดถึงการจัดท�ำหนังสือเล่มเล็ก (booklet)
อธิบายหลักการส�ำคัญในศาสนา และเน้นย้�ำว่าไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา
แต่ให้เป็นศาสนกิ ชนทดี่ ขี องศาสนานัน้ ๆ ใชค้ �ำสอนที่แท้จรงิ

สุดท้ายมีการลงนามของผู้น�ำศาสนาว่าจะน�ำข้อคิดเห็นต่างๆ
เปน็ พนั ธสญั ญา สมดุ เซน็ ลงนามเขามใี ห้ ๒ ฉบบั ใหผ้ นู้ ำ� กลบั ไปประเทศ
ตน ๑ ฉบับ และอีกฉบับหน่ึงจะเก็บรักษาไว้ท่ีพิพิธภัณฑ์สันติภาพ
(Peace Museum)

เสร็จประชุมภาคเช้า หลังจากถ่ายรูปร่วมกันแล้ว ก็ฉันเพล
ที่ห้องพัก แล้วนัดหมายเวลาบ่ายโมงเพ่ือเดินทางไปยังสนามกีฬา
เมอื งอินชอน ซึ่งจะใช้เวลาเดนิ ทางราว ๓๐ นาที

ภายในสนามกีฬา เขาแบ่งผู้น�ำศาสนาระดับสูงไปนั่งในแถบ
ชดุ วไี อพี และผรู้ ว่ มประชมุ ระดบั ขา้ พเจา้ อกี ทนี่ งั่ หนงึ่ กอ่ นขน้ึ ไปนงั่ ประจำ�
ก็ได้ลงไปด้านล่างสนามกีฬา ท่ามกลางผู้เข้าร่วมพิธีเต็มสนามราว
๕๐,๐๐๐ คน มีท้ังเด็ก ผู้ใหญ่ผู้ปกครอง และอาสาสมัครต่างๆ
มีเด็กน้อยอายุ ๑๐ ขวบ เดินคู่กันไปในท่ามกลางสนามกีฬา แล้วจึง
ข้ึนไปนั่งประจ�ำข้างบน ชมการแปรอักษร ที่ส่วนใหญ่จะอ่านได้จาก
จอโปรเจก็ เตอรใ์ หญ่ มใี จความวา่ “ไมม่ สี งคราม (No War), สนั ตภิ าพโลก
(World Peace)” รวมทงั้ การรวมเปน็ หนง่ึ ของเกาหลเี หนอื กบั เกาหลใี ต้
ใช้เวลาชมราว ๒-๓ ชม. สุดท้ายมีการถ่ายทอดสดจากประเทศญี่ปุ่น
(โอซาก้า, โตเกียว) ออสเตรเลีย (เมลเบิร์น), มาเลเซีย, มองโกเลีย,
สิงคโปร์, ศรีลังกา, นิวซีแลนด์, เยอรมนี (เบอร์ลิน, แฟรงก์เฟิร์ต),

อนทุ ินประจำ� วัน 445

สหรัฐอเมริกา (แอลเอ, ชิคาโก), เนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส (ปารีส),
สาธารณรัฐเชค, แอฟริกาใต,้ ยกู ันดา ฯลฯ

แม้ในเกาหลใี ต้เอง ก็มภี าพถา่ ยทอดสดมาจากกรุงโซล, พซู าน
เป็นตน้ เชน่ กัน

นั่นคือความยิ่งใหญ่ท่ีจัดการประชุม เชิญอดีตประธานาธิบดี
ผู้น�ำส�ำคัญของโลก ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เก่ียวกับสันติภาพโลก กว่าจะ
เสร็จพธิ ใี นสเตเดยี ม กเ็ ปน็ เวลา ๒ ทุ่มเศษ และกว่าจะกลบั เข้าท่พี กั ได้
ก็เปน็ เวลา ๓ ทุ่มเศษ

วันที่ ๓ Day 3
ภาคเชา้ เปน็ การประชมุ สรปุ งานสำ� คญั ทจ่ี ะทำ� รว่ มกนั มอี า่ นสาสน์
และกลา่ วปาฐกถา และสดุ ทา้ ยเปน็ การบรรยายพเิ ศษของทา่ นประธานลี
บา่ ย ๒ โมงเดินทางไปอกี เมอื งหนง่ึ ชอื่ Gochoeng? ใชเ้ วลา
๒ ชม. เพอ่ื ไปร่วมงานเลีย้ งส่งอำ� ลา “Farewell Banquet” ซึ่งขาไป
ต้องน่ังเรือเข้าไปที่ภูเขาลูกหน่ึง ใช้เวลาในงานเลี้ยงส่งอีก ๒ ชม.
ส่วนขากลับนั่งรถออกมา แต่กว่าจะได้คิวรถเดินทางกลับก็ต้องใช้เวลา
รอคิวราว ๑ ชม. จึงได้คิวเดินทางกลับเข้าที่พักในเวลา ๒ ทุ่มเศษ
และเดนิ ทางถึงทีพ่ ักในเวลา ๔ ทุ่มเศษ
นน่ั คือศาสนกจิ ๓ วันในเมืองอินชอน
http://www.warpsummit.org/…/HighLevelReligiousLeaders
%E2%80…

446 อนุทินประจำ� วัน

อนทุ ินประจำ� วัน

(๕๙๗ พระธรรมที่พระพทุ ธเจ้าทรงสอน)

งานอดีตเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ปีที่ ๗๓ ตรงกับวันที่
๒๓ กันยายน ๒๕๖๑ ได้หนังสือสีแดงสดชื่อ อนัตตลักขณสูตร
โดยพระมหาโพธวิ งศาจารย์ (ทองดี ป.ธ.๙, ราชบณั ฑิต) เปิดดรู ายชอื่
เจา้ ภาพฝา่ ยฆราวาสทม่ี ีชอื่ คุ้นๆ เชน่ คณุ บรรเจดิ ลักษณ์ อาจแย้มสรวล
นามสกลุ นคี้ นุ้ ๆ วา่ เปน็ คนบา้ นอำ� เภอสองพน่ี อ้ ง แตจ่ ะมาตรงกนั อยา่ งไร
หรือมาอย่างไร ไม่มีโอกาสได้ซกั ถาม

มชี อื่ คณุ ทศั นยี ์ ใจซอ่ื และคณุ สรุ พล โพธท์ิ อง สองคนนก้ี เ็ ชน่ กนั
นามสกุล “ใจซ่ือ” เป็นกลุ่มคนมอญทุ่งเข็น อ�ำเภอสองพ่ีน้อง ส่วน
“โพธ์ิทอง” รกรากคนยุ้งทะลาย อ�ำเภออู่ทอง และโยกย้ายลงมาอยู่
สองพนี่ อ้ งบ้าง และบางปลามา้ บ้าง

นอกจากอนัตตลักขณสูตรแล้ว ปีน้ีพิเศษ เพราะมีหนังสือ
What the Buddha Taught พระธรรมท่ีพระพุทธเจ้าทรงสอน
โดยทา่ น ดร.พระราหลุ เปน็ ฉบบั องั กฤษ-ไทย อา่ นดรู ายละเอยี ดจดั พมิ พ์
เป็นธรรมทาน เน่ืองในโอกาสท�ำบุญอายุวัฒนมงคล ๗๐ ปีของ
พระราชปฏิภาณโสภณ (มานพ ป.ธ.๙) วัดราชโอรสาราม ในวันที่
๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๑

ไดม้ โี อกาสนงั่ คยุ กบั ทา่ นเจา้ คณุ มานพ (พระราชปฏภิ าณโสภณ)
ว่าเป็นหนังสือที่ลิขสิทธ์ิการพิมพ์ในประเทศไทยเป็นของกองทุน
บุญนิธิหอไตร และได้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาชื่อ นวพร เรืองสกุล เป็น

อนุทินประจ�ำวนั 447

ผแู้ ปล และทา่ นเจา้ คณุ เปน็ ผตู้ รวจและด�ำเนนิ การจดั พมิ พ์ พมิ พค์ รงั้ แรก
พ.ศ.๒๕๖๑

เคยเหน็ หนงั สอื เลม่ นเี้ ปน็ ครง้ั แรก สมยั เปน็ นสิ ติ อยวู่ ดั มหาธาตฯุ
ทา่ พระจนั ทร์ เมอ่ื ราวปี ๒๕๒๐-๑ และตอ่ มาบุญนิธหิ อไตรไดล้ ิขสทิ ธิ์
มาจดั พิมพ์ มคี ำ� อนโุ มทนา ที่เขียนโดยพระเทพเวที (ประยทุ ธ์ ปยุตโฺ ต)
ลงวนั ท่ี ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๑ ในภาคภาษาไทยระบวุ า่ พระเทพเวที
(ป. อ. ปยุตฺโต) และมีหมายเหตวุ ่า *สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์

นบั เปน็ หนงั สอื ทด่ี มี ากทสี่ ดุ เลม่ หนง่ึ ไมว่ า่ จะอา่ นตอนไหนกต็ าม
สำ� หรบั เจา้ ประคณุ สมเดจ็ ฯ ป. อ. ปยตุ โฺ ต นนั้ สมยั เปน็ พระราชา
คณะช้ันสามัญ ช้ันราช และชั้นเทพ ยังเขียนช่ือเต็มในวงเล็บว่า
ประยุทธ์ ปยุตฺโต แต่ต่อมาน่าจะด�ำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ
ชนั้ ธรรม จึงใชอ้ ักษรย่อวา่ ป. อ. ปยตุ โฺ ต ซึง่ มาจากชอื่ +นามสกุล+ฉายา
นนั่ คอื สมณศกั ดอ์ิ ยหู่ นา้ ในวงเลบ็ เปน็ ป. คอื ประยทุ ธ์ อ. คอื อารยางกรู
และฉายาทเ่ี ขยี นเตม็
ดังจะเห็นได้จากหนังสือเรื่อง ธรรมเพ่ือชีวิตและการพัฒนา
วฒั นธรรม โดย พระเทพเวที (ประยทุ ธ์ ปยตุ โฺ ต) อนสุ รณง์ านพระราชทาน
เพลงิ ศพ พระครกู ติ ตญิ าณประยตุ (ประสม กติ ตฺ ญิ าโณ) อดตี เจา้ อาวาส
วดั พระพเิ รนทร์ เมื่อวันที่ ๒๖ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๓๒
ท่านเจ้าคุณมานพ ป.ธ.๙ (สอบได้ปี ๒๕๒๐ น่ังรถหลวงส่ง
คันเดียวกับพระมหาชุบ มหาวีโร ป.ธ.๙ ต่อมา พระศรีวิสุทธิโมลี)
เจา้ ของลขิ สทิ ธห์ิ นงั สอื ของทา่ นดร.พระราหลุ เลา่ วา่ ขณะทไ่ี ปจำ� พรรษา
ทีอ่ ังกฤษ เห็นหนังสอื What the Buddha Taught ร้สู ึกชอบใจมาก
และมีโอกาสได้พบกับเจ้าของผู้แต่งหนังสือ ได้ลายลักษณ์อักษร
บอกว่าลิขสิทธิ์การจัดพิมพ์ในประเทศไทยเป็นของบุญนิธิหอไตร

448 อนุทนิ ประจำ� วนั


Click to View FlipBook Version