The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พุทธวจน ภพภูมิ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-20 16:50:05

พุทธวจน ภพภูมิ

พุทธวจน ภพภูมิ

Keywords: พุทธวจน ภพภูมิ

เปิดธรรมทถ่ี กู ปิด : ภพภูมิ

ภิกษุท้ังหลาย !   ช่ือแห่งบรรพตนี้จักอันตรธาน
หมมู่ นุษยเ์ หลา่ น้ีจักทำ�กาละ และเรากจ็ ักปรินิพพาน.

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   สงั ขารท้งั หลายไม่เท่ยี งอย่างน้ี
สงั ขารทง้ั หลายไมย่ ง่ั ยนื อยา่ งน้ี สงั ขารทง้ั หลายเปน็ สง่ิ ที่
หวงั อะไรไมไ่ ด้อย่างน.้ี

ภิกษุท้ังหลาย !   ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว
เพอ่ื จะเบอ่ื หนา่ ยในสงั ขารทง้ั ปวง พอแลว้ เพอ่ื จะคลายก�ำ หนดั
พอแลว้ เพอ่ื จะหลดุ พน้ ดงั น.้ี

(คาถาผนวกทา้ ยพระสูตร)

ปาจนี วังสบรรพตของหมมู่ นษุ ย์ช่ือติวรา
วงกฏบรรพตของหมู่มนุษย์ช่ือโรหติ สั สะ
สุปัสสบรรพตของหมมู่ นษุ ย์ช่ือสปุ ปิยา
และเวปลุ ลบรรพตของหมู่มนษุ ย์ชอ่ื มาคธะ
สังขารท้ังหลายไม่เทย่ี งหนอ
มอี ันเกดิ ข้ึนและเส่อื มไปเปน็ ธรรมดา
คร้นั เกิดขึ้นแล้ว ยอ่ มดบั ไป
ความสงบร�ำ งบั ซง่ึ สงั ขารท้ังปวงได้ เปน็ สขุ ดังนี้.

425

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทีถ่ กู ปิด : ภพภมู ิ

สงิ่ ทั้งหลายไม่เทยี่ ง (นยั ท่ี ๒) 118

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๒-๑๐๕/๖๓.

ภิกษทุ ั้งหลาย !
สังขารทั้งหลาย ไมเ่ ท่ียง (อนจิ ฺจ)
สังขารทัง้ หลาย ไม่ยง่ั ยนื (อธุว)
สงั ขารทง้ั หลายเปน็ สง่ิ ทห่ี วงั อะไรไมไ่ ด้ (อนสสฺ าสกิ ).

ภิกษุทั้งหลาย !   ด้วยเหตุเพียงเท่าน้ี  ก็พอแล้ว
เพอ่ื จะเบอ่ื หนา่ ยในสงั ขารทง้ั ปวง พอแลว้ เพอ่ื จะคลายก�ำ หนดั
พอแลว้ เพอ่ื จะหลดุ พน้ ดงั น.้ี

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !  ขนุ เขาสเิ นรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน1์
โดยกวา้ ง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยง่ั ลงในมหาสมทุ ร ๘๔,๐๐๐ โยชน์
สงู ขน้ึ จากผวิ พน้ื สมทุ ร ๘๔,๐๐๐ โยชน.์

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !  มสี มยั ซง่ึ ลว่ งไปหลายปี หลายรอ้ ยปี
หลายพันปี หลายแสนปี ที่ฝนไม่ตกเลย เมื่อฝนไม่ตก
(ตลอดเวลาเท่านี้) ป่าใหญ่ๆ อันประกอบด้วย พีชคาม
ภูตคาม ไม้ หยูกยาและหญ้าท้ังหลาย ย่อมเฉา ย่อม
เห่ยี วแห้ง มีอย่ไู มไ่ ด.้

1. ๑ โยชน์ = ๑๖ กโิ ลเมตร.

426

เปดิ ธรรมท่ถี ูกปิด : ภพภมู ิ

ภิกษุทั้งหลาย !   สังขารทั้งหลายไม่เท่ียงอย่างนี้
สงั ขารทง้ั หลายไมย่ ง่ั ยนื อยา่ งน้ี สงั ขารทง้ั หลายเปน็ สง่ิ ทห่ี วัง
อะไรไมไ่ ดอ้ ย่างนี.้

ภิกษุท้ังหลาย !   ด้วยเหตุเพียงเท่าน้ี  ก็พอแล้ว
เพอ่ื จะเบอ่ื หนา่ ยในสงั ขารทง้ั ปวง พอแลว้ เพอ่ื จะคลายก�ำ หนดั
พอแลว้ เพอ่ื จะหลดุ พน้ ดงั น.้ี

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   มสี มยั ซง่ึ ในกาลบางครง้ั บางคราว
โดยการลว่ งไปแหง่ กาลนานไกล อาทติ ยด์ วงทส่ี อง ยอ่ มปรากฏ
เม่อื ดวงอาทิตย์ดวงท่สี องปรากฏ  แม่นำ�้ น้อย  หนองบึง
ทง้ั หมดกง็ วดแหง้ ไป ไมม่ อี ย.ู่

ภิกษุท้ังหลาย !   สังขารท้ังหลายไม่เที่ยงอย่างนี้
สงั ขารทง้ั หลายไมย่ ง่ั ยนื อยา่ งน้ี สงั ขารทง้ั หลายเปน็ สง่ิ ทหี่ วงั
อะไรไมไ่ ด้อย่างน้ี.

ภิกษุทั้งหลาย !   ด้วยเหตุเพียงเท่าน้ี  ก็พอแล้ว
เพอ่ื จะเบอ่ื หนา่ ยในสงั ขารทง้ั ปวง พอแลว้ เพอ่ื จะคลายก�ำ หนดั
พอแลว้ เพอ่ื จะหลดุ พน้ ดงั น.้ี

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   มสี มยั ซง่ึ ในกาลบางครง้ั บางคราว
โดยการลว่ งไปแหง่ กาลนานไกล อาทติ ยด์ วงทส่ี าม ยอ่ มปรากฏ

427

พทุ ธวจน - หมวดธรรม

เมอื่ ดวงอาทติ ยด์ วงทส่ี ามปรากฏ  แมน่ �ำ้ สายใหญๆ่ เชน่
แมน่ �ำ้ คงคา ยมุนา อจริ วดี สรภู มหี ทง้ั หมดกง็ วดแหง้ ไป
ไมม่ อี ย.ู่

ภิกษุท้ังหลาย !   สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้
สงั ขารทง้ั หลายไมย่ ง่ั ยนื อยา่ งน้ี สงั ขารทง้ั หลายเปน็ สง่ิ ทห่ี วัง
อะไรไมไ่ ดอ้ ย่างน้ี.

ภิกษุทั้งหลาย !   ด้วยเหตุเพียงเท่านี้  ก็พอแล้ว
เพอ่ื จะเบอ่ื หนา่ ยในสงั ขารทง้ั ปวง พอแลว้ เพอ่ื จะคลายก�ำ หนดั
พอแลว้ เพอ่ื จะหลดุ พน้ ดงั น.้ี

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   มสี มยั ซง่ึ ในกาลบางครง้ั บางคราว
โดยการลว่ งไปแหง่ กาลนานไกล อาทติ ยด์ วงทส่ี ่ี ยอ่ มปรากฏ
เมอ่ื ดวงอาทติ ยด์ วงทส่ี ป่ี รากฏ  มหาสระทง้ั หลาย อนั เปน็
ทเ่ี กดิ แหง่ แมน่ �ำ้ สายใหญๆ่ เชน่ แมน่ �ำ้ คงคา ยมนุ า อจริ วดี
สรภู มหี มหาสระเหล่านนั้ ทั้งหมดกง็ วดแห้งไป ไมม่ อี ยู่.

ภิกษุทั้งหลาย !   สังขารท้ังหลายไม่เที่ยงอย่างนี้
สงั ขารทง้ั หลายไมย่ ง่ั ยนื อยา่ งน้ี สงั ขารทง้ั หลายเปน็ สง่ิ ทหี่ วงั
อะไรไม่ไดอ้ ย่างนี้.

428

เปดิ ธรรมทถี่ กู ปดิ : ภพภูมิ

ภิกษุท้ังหลาย !   ด้วยเหตุเพียงเท่าน้ี  ก็พอแล้ว
เพอ่ื จะเบอ่ื หนา่ ยในสงั ขารทง้ั ปวง พอแลว้ เพอ่ื จะคลายก�ำ หนดั
พอแลว้ เพอ่ื จะหลดุ พน้ ดงั น.้ี

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   มสี มยั ซง่ึ ในกาลบางครง้ั บางคราว
โดยการลว่ งไปแหง่ กาลนานไกล อาทติ ยด์ วงทห่ี า้ ยอ่ มปรากฏ
เม่ือดวงอาทิตย์ดวงท่ีห้าปรากฏ  น้ำ�ในมหาสมทุ รอนั ลกึ
รอ้ ยโยชน์ กง็ วดลง น�ำ้ ในมหาสมทุ รอนั ลกึ สอง-สาม-ส-่ี หา้ -
หก-เจด็ รอ้ ยโยชน์ กง็ วดลง เหลอื อยเู่ พยี งเจด็ ชวั่ ตน้ ตาล
ก็มี เหลืออยู่เพียงหก-ห้า-สี่-สาม-สอง กระทั่งหน่ึงชั่ว
ต้นตาล กม็ ี งวดลงเหลอื อยเู่ พยี งเจด็ ชว่ั บรุ ษุ กม็ ี เหลอื อยู่
เพยี งหก-หา้ -ส-่ี สาม–สอง-หนง่ึ กระทั่งครงึ่ ช่ัวบุรษุ ก็มี
งวดลง เหลืออยู่เพียงแค่สะเอว เพียงแค่เข่า เพียงแค่
ขอ้ เทา้ กระทง่ั เหลอื อยู่ ลกึ เทา่ น�้ำ ในรอยเทา้ โค ในทน่ี น้ั ๆ
เช่นเดียวกับนำ้�ในรอยเท้าโค  เม่ือฝนเม็ดใหญ่เร่ิมตกใน
ฤดสู ารทลงมาในทีน่ น้ั ๆ.

ภิกษุทั้งหลาย !   เพราะการปรากฏแห่งอาทิตย์
ดวงทหี่ ้า น�ำ้ ในมหาสมุทรไมม่ อี ยแู่ มส้ ักว่าองคลุ เี ดยี ว.

429

พุทธวจน - หมวดธรรม

ภิกษุทั้งหลาย !   สังขารท้ังหลายไม่เท่ียงอย่างน้ี
สงั ขารทง้ั หลายไมย่ ง่ั ยนื อยา่ งน้ี สงั ขารทง้ั หลายเปน็ สง่ิ ทห่ี วัง
อะไรไมไ่ ดอ้ ย่างน.้ี

ภิกษุท้ังหลาย !   ด้วยเหตุเพียงเท่านี้  ก็พอแล้ว
เพอ่ื จะเบอ่ื หนา่ ยในสงั ขารทง้ั ปวง พอแลว้ เพอ่ื จะคลายก�ำ หนดั
พอแลว้ เพอ่ื จะหลดุ พน้ ดงั น.้ี

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   มสี มยั ซง่ึ ในกาลบางครง้ั บางคราว
โดยการลว่ งไปแหง่ กาลนานไกล อาทติ ยด์ วงทห่ี ก ยอ่ มปรากฏ
เพราะความปรากฏแหง่ อาทติ ยด์ วงทห่ี ก  มหาปฐพนี แ้ี ละ
ขนุ เขาสเิ นรุ กม็ คี วนั ขนึ้ ยงิ่ ขน้ึ และยงิ่ ขนึ้ เปรยี บเหมอื น
เตาเผาหมอ้ อนั นายชา่ งหมอ้ สมุ ไฟแลว้ ยอ่ มมคี วนั ขน้ึ โขมง
ย่งิ ข้ึนและยง่ิ ข้นึ ฉะนน้ั .

ภิกษุทั้งหลาย !   สังขารท้ังหลายไม่เที่ยงอย่างนี้
สงั ขารทง้ั หลายไมย่ ง่ั ยนื อยา่ งน้ี สงั ขารทง้ั หลายเปน็ สง่ิ ทหี่ วัง
อะไรไมไ่ ด้อยา่ งนี้.

ภิกษุท้ังหลาย !   ด้วยเหตุเพียงเท่าน้ี  ก็พอแล้ว
เพอ่ื จะเบอ่ื หนา่ ยในสงั ขารทง้ั ปวง พอแลว้ เพอ่ื จะคลายก�ำ หนดั
พอแลว้ เพอ่ื จะหลดุ พน้ ดงั น.้ี

430

เปิดธรรมท่ีถูกปิด : ภพภมู ิ

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   มสี มยั ซง่ึ ในกาลบางครง้ั บางคราว
โดยการลว่ งไปแหง่ กาลนานไกล อาทติ ยด์ วงทเ่ี จด็ ยอ่ มปรากฏ
เพราะความปรากฏแหง่ อาทติ ยด์ วงทเ่ี จด็   มหาปฐพนี แ้ี ละ
ขนุ เขาสเิ นรุ ยอ่ มมไี ฟลกุ โพลงๆ มเี ปลวเปน็ อนั เดยี วกนั
เมอ่ื มหาปฐพนี แ้ี ละขนุ เขาสเิ นรุ อนั ไฟเผาอยู่ ไหมอ้ ยอู่ ยา่ งน้ี
เปลวไฟถูกลมซัดขน้ึ ไป จนถึงพรหมโลก.

ภิกษุท้ังหลาย !   เมื่อขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาอยู่ 
ไหม้อยู่ วินาศอยู่ อันกองไฟท่วมทับแล้ว  ยอดท้ังหลาย
อันสูงร้อยโยชน์บ้าง  สอง-สาม-สี่-ห้าร้อยโยชน์บ้าง
กพ็ งั ท�ำ ลายไป.

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   เมอ่ื มหาปฐพนี แ้ี ละขนุ เขาสเิ นรุ
อันไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่ ขี้เถ้าและเขม่า ย่อมไม่ปรากฏ
เหมือนเมื่อเนยใสหรือนำ้�มันถูกเผา ขี้เถ้าและเขม่า ย่อม
ไม่ปรากฏ ฉะน้ัน.

ภิกษุทั้งหลาย !   สังขารทั้งหลายไม่เท่ียงอย่างน้ี
สงั ขารทง้ั หลายไมย่ ง่ั ยนื อยา่ งน้ี สงั ขารทง้ั หลายเปน็ สง่ิ ทหี่ วัง
อะไรไม่ได้อย่างน.้ี

431

พทุ ธวจน - หมวดธรรม

ภิกษุทั้งหลาย !   ด้วยเหตุเพียงเท่าน้ี  ก็พอแล้ว
เพอ่ื จะเบอ่ื หนา่ ยในสงั ขารทง้ั ปวง พอแลว้ เพอ่ื จะคลายก�ำ หนดั
พอแลว้ เพอ่ื จะหลดุ พน้ ดงั น.้ี

ภกิ ษทุ งั้ หลาย !  
ในข้อความนั้น ใครจะคดิ ใครจะเช่อื ว่า
ปฐพนี ี้และขนุ เขาสเิ นรุจกั ลุกไหม้
จักวนิ าศ จกั สญู ส้นิ ไปได้
นอกเสียจาก พวกมบี ทอันเห็นแลว้ .

432

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทีถ่ ูกปิด : ภพภมู ิ

เพราะไมร่ อู้ ริยสจั 119
จึงตอ้ งท่องเทย่ี วไปในสงั สารวฏั

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑, ๕๕๐/๑๖๙๘, ๑๗๑๖.

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   เปรยี บเหมอื นทอ่ นไม้ อนั บคุ คล
ซดั ขน้ึ ไปสอู่ ากาศ บางคราวตกเอาโคนลง บางคราวตกเอา
ตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง ขอ้ นฉ้ี นั ใด.

ภิกษุท้ังหลาย !   สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชา
เปน็ เครอ่ื งกน้ั มตี ณั หาเปน็ เครอื่ งผกู ทอ่ งเทยี่ วไปมาอยู่
ก็ฉันน้ันเหมือนกัน  บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอ่ืน
บางคราวแลน่ จากโลกอน่ื สู่โลกนี้.

ข้อนน้ั เพราะเหตุไรเลา่  ?
ภิกษุท้ังหลาย !  
ข้อน้ันเพราะความที่สัตว์เหล่าน้ันไม่เห็นอริยสัจท้ังสี่.
อรยิ สจั ส่ี อยา่ งไรเลา่  ? สอ่ี ย่างคอื   
อริยสัจคือทกุ ข์
อรยิ สัจคอื เหตใุ ห้เกิดขึ้นแหง่ ทกุ ข์
อริยสัจคอื ความดบั ไม่เหลือแหง่ ทุกข์
อรยิ สจั คอื ทางด�ำ เนนิ ใหถ้ ึงความดับไม่เหลือแหง่ ทุกข.์

433

พทุ ธวจน - หมวดธรรม

ภกิ ษทุ ัง้ หลาย !   เพราะเหตุนนั้ ในเรอ่ื งนี้
เธอพงึ ประกอบโยคกรรมอนั เปน็ เครอ่ื งกระท�ำ ใหร้ วู้ า่   
ทกุ ข์ เปน็ อยา่ งน้ี
เหตเุ กดิ ขน้ึ แหง่ ทกุ ข์ เปน็ อยา่ งน้ี
ความดบั ไมเ่ หลอื แหง่ ทกุ ข์ เปน็ อยา่ งน้ี
ทางด�ำ เนนิ ใหถ้ งึ ความดบั ไมเ่ หลอื แหง่ ทกุ ข์ เปน็ อยา่ งน้ี ดงั น.้ี

… … … …
ภกิ ษทุ ั้งหลาย !  
เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซง่ึ อริยสจั ส่อี ยา่ ง
เราและพวกเธอท้งั หลาย
จงึ ไดท้ อ่ งเทยี่ วไปแลว้ ในสงั สารวฏั
ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพยี งน.ี้
ภกิ ษุทั้งหลาย !   อรยิ สัจส่ีอย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุท้ังหลาย !   เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซ่ึง
อรยิ สจั คอื ทกุ ข์ อรยิ สจั คอื เหตใุ หเ้ กดิ ทกุ ข์ อรยิ สจั คอื ความดบั
ไมเ่ หลอื ของทกุ ข์ และอรยิ สจั คอื ทางด�ำ เนนิ ใหถ้ งึ ความดบั
ไมเ่ หลอื ของทกุ ข ์ เราและพวกเธอทง้ั หลาย จงึ ไดท้ อ่ งเทย่ี ว
ไปแล้วในสงั สารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถงึ เพียงน.ี้

434

เปดิ ธรรมที่ถกู ปดิ : ภพภูมิ

ภกิ ษทุ ัง้ หลาย !  
เมือ่ อรยิ สจั คือทุกข์
เหตุใหเ้ กิดทุกข์
ความดับไมเ่ หลอื ของทุกข์
และทางดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลอื ของทุกข์
เปน็ ความจริงทเ่ี ราและพวกเธอทั้งหลาย
รู้ถึงและแทงตลอดแล้ว
ตณั หาในภพ กถ็ กู ถอนขน้ึ ขาด
ตัณหาที่จะน�ำ ไปส่ภู พ กส็ ิน้ ไปหมด
บดั น้ี ความตอ้ งเกดิ ขึน้ อกี มิได้มี ดงั น้.ี

435



นพิ พาน

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทีถ่ ูกปิด : ภพภูมิ

อปุ มาแห่งนิพพาน 120

-บาลี ม.ู ม. ๑๒/๑๕๓/๑๗๖.

สารบี ตุ ร !   เรายอ่ มรชู้ ดั ซง่ึ นพิ พาน ทางอนั ยงั สตั ว์
ใหถ้ งึ นพิ พาน และปฏปิ ทาอนั จะยงั สตั วใ์ หถ้ งึ นพิ พาน อนง่ึ
สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทำ�ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปญั ญาวมิ ตุ ติ อนั หาอาสวะมไิ ด้ เพราะอาสวะทง้ั หลายสน้ิ ไป
ดว้ ยปญั ญาอนั ยง่ิ เองในปจั จบุ นั เขา้ ถงึ แลว้ แลอยู่ เรายอ่ มรชู้ ดั
ซง่ึ ประการน้ันดว้ ย.

สารบี ตุ ร !  เปรยี บเหมอื นสระโบกขรณี มนี �ำ้ อนั ใส
สะอาดเยน็ ใสตลอด มที า่ อนั ดี นา่ รน่ื รมย์ และในทไ่ี มไ่ กล
สระโบกขรณีน้ัน มีแนวป่าอันทึบ ลำ�ดับนั้น บุรุษผู้มีตัว
อันความร้อนแผดเผา เหน็ดเหน่ือย หิว ระหาย ม่งุ มาสู่
สระโบกขรณนี น้ั แหละ โดยมรรคาสายเดยี ว บุรุษผู้มีจักษุ
เหน็ เขาแลว้ พงึ กลา่ วอยา่ งนว้ี า่ “บรุ ษุ ผเู้ จรญิ น้ี ปฏบิ ตั อิ ยา่ งนน้ั
ด�ำ เนนิ อยา่ งนน้ั และขนึ้ สหู่ นทางนน้ั จกั มาถงึ สระโบกขรณี
นท้ี เี ดยี ว”

438

เปิดธรรมทถี่ ูกปิด : ภพภมู ิ

โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาลงสู่
สระโบกขรณีนั้น อาบและด่ืม ระงับความกระวนกระวาย
ความเหน็ดเหน่อื ย และความร้อนหมดแล้ว ข้ึนไปนง่ั หรือ
นอนในแนวปา่ นน้ั เสวยสขุ เวทนาโดยสว่ นเดยี ว แม้ฉนั ใด.

สารีบุตร !   เราย่อมกำ�หนดรู้ใจบุคคลบางคนใน
โลกนดี้ ว้ ยใจฉนั นน้ั เหมอื นกนั วา่ บคุ คลนป้ี ฏบิ ตั อิ ยา่ งนนั้
ดำ�เนินอย่างน้ัน และขึ้นสู่หนทางน้ัน จักกระทำ�ให้แจ้ง
ซ่ึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน
เข้าถงึ แลว้ แลอยู่

โดยสมยั ตอ่ มา เรายอ่ มเหน็ บรุ ษุ นนั้ กระท�ำ ใหแ้ จง้
ซง่ึ เจโตวมิ ตุ ติ ปญั ญาวมิ ตุ ติ อนั หาอาสวะมไิ ด้ เพราะอาสวะ
ทง้ั หลายสน้ิ ไป ดว้ ยปญั ญาอนั ยง่ิ เองในปจั จบุ นั เขา้ ถงึ แลว้
แลอยู่ (ยอ่ ม) เสวยสขุ เวทนาโดยส่วนเดียว.

439

พุทธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทถ่ี กู ปิด : ภพภมู ิ

ความรู้สึกของปุถชุ น 121

-บาลี ม.ู ม. ๑๒/๑/๒.

ภิกษุทั้งหลาย !   ในโลกน้ีปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ
ไมเ่ หน็ พระอรยิ เจา้ ทง้ั หลาย ไมฉ่ ลาดในธรรมของพระอรยิ เจา้
ไมไ่ ดร้ บั การแนะน�ำ ในธรรมของพระอรยิ เจา้   ไมเ่ หน็ สปั บรุ ษุ
ทั้งหลาย  ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ  ไม่ได้รับการ
แนะน�ำ ในธรรมของสัปบุรุษ. ปถุ ุชนนน้ั

(๑) ยอ่ มรสู้ กึ ซง่ึ ดนิ โดยความเปน็ ดนิ   ครนั้ รสู้ กึ
ซ่ึงดินโดยความเป็นดินแล้ว  ย่อมสำ�คัญมั่นหมายซ่ึงดิน 
ยอ่ มส�ำ คญั มน่ั หมายในดนิ   ยอ่ มส�ำ คญั มน่ั หมายโดยความ
เป็นดิน ย่อมสำ�คัญม่ันหมายว่า ดินของเรา ย่อมเพลิน
อย่างย่งิ ซ่งึ ดิน  ข้อน้นั เพราะเหตุไรเล่า ?  ข้อน้นั เรากล่าว
ว่า  เพราะดินเปน็ สงิ่ ที่ปถุ ุชนนนั้ มิได้รู้โดยรอบแล้ว.

(๒) ยอ่ มรสู้ ึกซ่ึง น้ํา … .
(๓) ยอ่ มรสู้ กึ ซ่ึง ไฟ … .
(๔) ยอ่ มรสู้ ึกซง่ึ ลม … .
(๕) ยอ่ มรู้สึกซง่ึ ภตู สัตวท์ ้งั หลาย … .
(๖) ย่อมรู้สกึ ซึ่ง เทพท้ังหลาย … .

440

เปิดธรรมทถ่ี ูกปิด : ภพภมู ิ

(๗) ย่อมรสู้ ึกซง่ึ ปชาบดี … .
(๘) ยอ่ มรูส้ ึกซง่ึ พรหม … .
(๙) ยอ่ มร้สู กึ ซ่ึง อาภัสสระทั้งหลาย … .
(๑๐) ยอ่ มรสู้ กึ ซง่ึ สภุ กณิ หะทง้ั หลาย … .
( ๑๑) ยอ่ มรสู้ กึ ซง่ึ เวหปั ผละทง้ั หลาย … .
(๑๒) ย่อมรสู้ ึกซึ่ง อภิภู … .
( ๑๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากาสานญั จายตนะ … .
(๑๔) ยอ่ มรสู้ ึกซง่ึ วิญญาณญั จายตนะ … .
( ๑๕) ยอ่ มรสู้ ึกซ่งึ อากิญจัญญายตนะ … .
(๑๖) ยอ่ มรสู้ กึ ซง่ึ เนวสญั ญานาสญั ญายตนะ … .
(๑๗) ยอ่ มรู้สึกซง่ึ รปู ที่เหน็ แล้ว … .
( ๑๘) ยอ่ มรู้สกึ ซง่ึ เสยี งที่ไดฟ้ ังแลว้ … .
(๑๙) ยอ่ มร้สู ึกซ่งึ สิ่งที่รูส้ กึ แล้ว … .

(ทางจมูก ล้นิ ผวิ กาย) … .

(๒๐) ยอ่ มร้สู กึ ซง่ึ สงิ่ ทรี่ ู้แจ้งแล้ว … .
(ทางมโนวิญญาณ)
( ๒๑) ยอ่ มรสู้ ึกซึง่ เอกภาวะ1 (เอกตฺตํ) … .

1. เอกภาวะ = ความเปน็ หนึ่ง (วิญญาณ).

441

พทุ ธวจน - หมวดธรรม

( ๒๒) ย่อมรสู้ กึ ซง่ึ นานาภาวะ1 (นานตฺตํ) …
( ๒๓) ย่อมรูส้ กึ ซึ่ง สรรพภาวะ2 (สพพฺ ํ) … .
(๒๔) ย่อมรู้สึกซ่ึงนิพพาน  โดยความเป็น
นิพพาน  คร้ันรู้สึกซ่ึงนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว 
ย่อมสำ�คัญม่ันหมายซ่ึงนิพพาน  ย่อมสำ�คัญมั่นหมายใน
นิพพาน  ย่อมสำ�คัญม่ันหมายโดยความเป็นนิพพาน 
ย่อมสำ�คัญม่ันหมายว่านิพพานของเรา  ย่อมเพลินอย่าง
ย่ิงซึ่งนิพพาน  ข้อน้ันเพราะเหตุไรเล่า ?  ข้อนั้นเรากล่าว
วา่   เพราะนพิ พานเปน็ สง่ิ ทป่ี ถุ ชุ นนน้ั   มไิ ดร้ โู้ ดยรอบแลว้ .

1. นานาภาวะ = ความแตกต่างกนั (รปู เวทนา สญั ญาและสงั ขาร).
2. สรรพภาวะ = สง่ิ ทง้ั ปวง (ขันธท์ ั้ง ๕).
442

พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมท่ถี ูกปดิ : ภพภมู ิ

นิพพาน คือ 122
ธรรมเปน็ ทสี่ น้ิ ไปแหง่ อาสวะ

-บาลี มหาวาร. ส.ํ ๑๙/๑๐/๓๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !   ที่พระองค์ทรงเรียกอยู่ว่า
‘ธรรมเป็นทก่ี ำ�จดั ราคะ เปน็ ที่ก�ำ จัดโทสะ เป็นทีก่ �ำ จดั โมหะ’ ดังน้ี
ค�ำ วา่ ‘ธรรมเปน็ ทก่ี �ำ จดั ราคะ เปน็ ทก่ี �ำ จดั โทสะ เปน็ ทกี่ �ำ จดั โมหะ’
นเ้ี ปน็ ค�ำ ที่ใช้เรยี กแทนชือ่ ของอะไรเล่า พระเจ้าขา้  !

ภกิ ษุทงั้ หลาย !  
คำ�ว่า “ธรรมเป็นทกี่ ำ�จดั ราคะ (ราควินโย)
เป็นท่ีกำ�จัดโทสะ เป็นทก่ี ำ�จัดโมหะ” น้ี
เป็นคำ�ท่ีใช้เรียกแทนช่อื ของนิพพานธาตุ
เรยี กวา่ เปน็ ธรรมทส่ี น้ิ ไปแหง่ อาสวะทง้ั หลายแล.

443

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมที่ถูกปดิ : ภพภูมิ

ความส้นิ ตัณหา คอื นพิ พาน 123

-บาลี ขนธฺ . ส.ํ ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !   ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังน้ี
อนั วา่ สัตว์มไี ด้ ด้วยเหตุเพียงเทา่ ไรเล่า พระเจา้ ข้า !

ราธะ !   ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิ
อันใด ตัณหาอันใด มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา
ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เพราะการติดแล้ว
ข้องแล้ว ในส่ิงน้ันๆ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์”
ดังน.้ี

ราธะ !   เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยๆ หรือ
กมุ ารีน้อยๆ เล่นเรือนนอ้ ยๆ ทีท่ ำ�ดว้ ยดินอยู่ ตราบใด
เขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มี
ความเร่าร้อน และมีตัณหา ในเรือนน้อยท่ีทำ�ด้วยดิน
เหลา่ นน้ั   ตราบนน้ั พวกเดก็ นอ้ ยนนั้ ๆ ยอ่ มอาลยั เรอื น
น้อยท่ีทำ�ด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมี
เรือนน้อยท่ีทำ�ด้วยดินเหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อยท่ี
ทำ�ดว้ ยดินเหล่าน้นั ว่าเปน็ ของเรา ดังน้ี.

444

เปิดธรรมท่ีถูกปิด : ภพภูมิ

ราธะ !   แตเ่ มอ่ื ใดแล พวกกมุ ารนอ้ ยๆ หรอื กมุ ารี
นอ้ ยๆ เหล่านนั้ ปราศจากราคะแล้ว ปราศจากฉนั ทะแลว้
ปราศจากความรักแล้ว  ปราศจากความเร่าร้อนแล้ว
ปราศจากตัณหาแล้วในเรือนน้อยท่ีทำ�ด้วยดินเหล่าน้ัน
ในกาลนน้ั พวกเขายอ่ มท�ำ เรอื นนอ้ ยๆ ทท่ี �ำ ดว้ ยดนิ เหลา่ นน้ั
ให้กระจัดกระจายเร่ียรายเกล่ือนกล่นไป  กระทำ�ให้จบ
การเลน่ เสยี ดว้ ยมอื และเท้าท้ังหลาย อปุ มานีฉ้ นั ใด.

ราธะ !   อปุ ไมยก็ฉันนน้ั คือ  
แมพ้ วกเธอทง้ั หลายจงเรยี่ รายกระจายออก
ซง่ึ รปู เวทนา สัญญา สงั ขาร และวญิ ญาณ
จงขจดั เสยี ใหถ้ กู วธิ ี จงทำ�ใหแ้ หลกลาญ
โดยถกู วธิ ี จงทำ�ให้จบการเลน่ ใหถ้ ูกวิธี
จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตณั หาเถดิ .
ราธะ !  
เพราะว่า ความสน้ิ ไปแห่งตณั หานั้น
คือ นพิ พาน ดงั นีแ้ ล.

445

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมท่ีถูกปิด : ภพภมู ิ

นิพพานทเ่ี ห็นได้เอง 124

-บาลี ตกิ . อ.ํ ๒๐/๒๐๒/๔๙๕.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !   คำ�ท่ีพระโคดมกล่าวว่า
‘นพิ พานทเ่ี หน็ ไดเ้ อง (สนทฺ ฏิ ฺ กิ นพิ พฺ าน) นพิ พานทเ่ี หน็ ไดเ้ อง’ ดงั น.้ี

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !   นิพพานที่เห็นได้เอง  ไม่
ประกอบดว้ ยกาล เปน็ สงิ่ ทกี่ ลา่ วกบั ผอู้ นื่ วา่ ทา่ นจงมาดเู ถดิ เปน็ สงิ่
ท่ีควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งท่ีผู้รู้ได้เฉพาะตนน้ัน มีได้ด้วยเหตุ
เพียงเทา่ ไรเล่า พระเจา้ ข้า !

พราหมณ์ !   บุคคลผู้กำ�หนัดแล้ว  อันราคะ
ครอบงำ�แล้ว  มีจิตอันราคะรึงรัดแล้ว  ย่อมคิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนท้ังตนเองและผู้อ่ืนท้ังสองบ้าง
ยอ่ มเสวยเฉพาะซง่ึ ทกุ ขโทมนสั อนั เปน็ ไปทางจติ บา้ ง เมอื่
ละราคะไดแ้ ลว้ เขายอ่ มไมค่ ดิ แมเ้ พอ่ื เบยี ดเบยี นตนเอง
ย่อมไม่คิดแม้เพ่ือเบียดเบียนผู้อ่ืน  ย่อมไม่คิดแม้เพื่อ
เบียดเบียนตนเองและผู้อ่ืนท้ังสองอยา่ ง และย่อมไม่เสวย
เฉพาะซ่งึ ทกุ ขโทมนัสอันเป็นไปทางจติ โดยแท้.

446

เปิดธรรมทีถ่ กู ปิด : ภพภมู ิ

พราหมณ์ !   นิพพานที่เห็นได้เอง  ไม่ประกอบ
ด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อ่ืนว่า “ท่านจงมาดูเถิด
เปน็ สง่ิ ทค่ี วรนอ้ มเขา้ มาใสใ่ จ เปน็ สง่ิ ทผ่ี รู้ กู้ ร็ ไู้ ดเ้ ฉพาะตน”
ย่อมมีได้ แมด้ ้วยอาการอย่างน้ีแล.

พราหมณ์ !   บุคคลผู้เกิดโทสะแล้ว  อันโทสะ
ครอบงำ�แล้ว  มีจิตอันโทสะรึงรัดแล้ว  ย่อมคิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพ่ือเบียดเบียนผู้อ่ืนบ้าง
ย่อมคิดเพ่ือเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ยอ่ มเสวยเฉพาะซง่ึ ทกุ ขโทมนสั อนั เปน็ ไปทางจติ บา้ ง เมอื่
ละโทสะไดแ้ ลว้ เขายอ่ มไมค่ ดิ แมเ้ พอ่ื เบยี ดเบยี นตนเอง
ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนผู้อ่ืน  ย่อมไม่คิดแม้เพื่อ
เบียดเบียนตนเองและผอู้ ่นื ทั้งสองอยา่ ง และย่อมไมเ่ สวย
เฉพาะซ่งึ ทุกขโทมนัสอนั เปน็ ไปทางจติ โดยแท.้

พราหมณ์ !   นิพพานท่ีเห็นได้เอง  ไม่ประกอบ
ด้วยกาล เป็นส่ิงที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า “ท่านจงมาดูเถิด
เปน็ สง่ิ ทค่ี วรนอ้ มเขา้ มาใสใ่ จ เปน็ สง่ิ ทผ่ี รู้ กู้ ร็ ไู้ ดเ้ ฉพาะตน”
ยอ่ มมีได้ แม้ดว้ ยอาการอยา่ งน้ีแล.

447

พุทธวจน - หมวดธรรม

พราหมณ์ !   บุคคลผู้มีโมหะแล้ว  อันโมหะ
ครอบงำ�แล้ว  มีจิตอันโมหะรึงรัดแล้ว  ย่อมคิดเพ่ือ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพ่ือเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมคิดเพ่ือเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อ่ืนท้ังสองบ้าง
ยอ่ มเสวยเฉพาะซง่ึ ทกุ ขโทมนสั อนั เปน็ ไปทางจติ บา้ ง เมอื่
ละโมหะได้แล้ว ย่อมไม่คิดแม้เพ่ือเบียดเบียนตนเอง
ย่อมไม่คิดแม้เพ่ือเบียดเบียนผู้อื่น  ย่อมไม่คิดแม้เพื่อ
เบียดเบียนตนเองและผู้อน่ื ทง้ั สองอยา่ ง และยอ่ มไม่เสวย
เฉพาะซ่ึงทุกขโทมนัสอันเปน็ ไปในทางจติ โดยแท้.

พราหมณ์ !   นิพพานท่ีเห็นได้เอง  ไม่ประกอบ
ด้วยกาล เป็นส่ิงที่ควรกล่าวกะผู้อ่ืนว่า “ท่านจงมาดูเถิด
เปน็ สง่ิ ทค่ี วรนอ้ มเขา้ มาใสใ่ จ เปน็ สง่ิ ทผ่ี รู้ กู้ ร็ ไู้ ดเ้ ฉพาะตน”
ยอ่ มมีได้ แม้ดว้ ยอาการอยา่ งนี้แล.

พราหมณ์ !  
เม่อื ใดแล
ผ้นู ้ี ยอ่ มเสวยเฉพาะซึ่งความสิน้ ไปแห่งราคะ
อันหาเศษเหลอื มิได้
ยอ่ มเสวยเฉพาะซ่งึ ความส้นิ ไปแห่งโทสะ
อันหาเศษเหลอื มไิ ด้

448

เปิดธรรมที่ถกู ปดิ : ภพภูมิ

ยอ่ มเสวยเฉพาะซึง่ ความสิน้ ไปแหง่ โมหะ
อันหาเศษเหลอื มไิ ด้
พราหมณเ์ อย !  
เม่อื น้นั
นพิ พานท่ีเหน็ ไดเ้ อง
ไมป่ ระกอบด้วยกาล
เปน็ สง่ิ ที่ควรกล่าวกะผูอ้ ่นื ว่า
“ท่านจงมาดูเถิด
เปน็ ส่ิงท่คี วรนอ้ มเข้ามาใสใ่ จ
เป็นสิ่งที่ผ้รู ู้กร็ ้ไู ด้เฉพาะตน”
ย่อมมีได้ ดว้ ยอาการอยา่ งนี้แล.

449

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทีถ่ ูกปิด : ภพภูมิ

นพิ พาน คอื 125
ธรรมเปน็ ที่ส้ินไปแหง่ อาสวะ

-บาลี นวก. อ.ํ ๒๓/๔๗๕/๒๕๑.

อาวโุ ส !  มคี �ำ กลา่ วกนั อยวู่ า่ ‘สนั ทฏิ ฐกิ นพิ พาน (สนทฺ ฏิ ฺ กิ
นพิ พฺ าน) สนั ทฏิ ฐกิ นพิ พาน’ ดงั น.้ี

อาวุโส !   สันทิฏฐิกนิพพานน้ี  พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ด้วยเหตมุ ีประมาณเทา่ ไรหนอแล ?

(พระอทุ ายีถามพระอานนท์ พระอานนท์เป็นผู้ตอบ)

อาวโุ ส !  ภกิ ษใุ นกรณนี ้ี สงดั แลว้ จากกาม สงดั แลว้
จากอกศุ ลธรรม เขา้ ถงึ ปฐมฌาน อนั มวี ติ กวจิ าร มปี ตี แิ ละสขุ
อนั เกิดจากวิเวก แลว้ แลอย่.ู

อาวโุ ส !   สนั ทิฏฐิกนิพพาน อันพระผมู้ พี ระภาค
ตรสั ไว้ ดว้ ยเหตมุ ปี ระมาณเทา่ นแ้ี ล เมอ่ื กลา่ วโดยปรยิ าย.1

(ในกรณีแห่งทุตยิ ฌาน ตติยฌาน จตตุ ถฌาน อากาสา-
นญั จายตนะ วญิ ญาณญั จายตนะ อากญิ จญั ญายตนะ และเนวสญั ญา-
นาสญั ญายตนะ มขี อ้ ความทก่ี ลา่ วไวโ้ ดยท�ำ นองเดยี วกนั กบั ขอ้ ความ
ในกรณแี หง่ ปฐมฌานทกุ ประการ และในฐานะเปน็ สนั ทฏิ ฐกิ นพิ พาน
โดยปริยาย.

1. ปริยาย = โดยออ้ ม.

450

เปดิ ธรรมที่ถกู ปิด : ภพภมู ิ

ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธซ่ึงมีการสิ้นอาสวะน้ันกล่าวไว้ใน
ฐานะเปน็ สนั ทฏิ ฐกิ นพิ พานโดยนปิ ปรยิ ายดว้ ยขอ้ ความดงั ตอ่ ไปน ้ี)

อาวุโส !   นัยอ่ืนอีกมอี ยู่ ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวลว่ ง
เสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการท้ังปวง
เขา้ ถงึ สญั ญาเวทยติ นิโรธ แลว้ แลอยู่ อน่งึ เพราะเหน็ ด้วย
ปญั ญา อาสวะทัง้ หลายของเธอน้นั กส็ ้นิ ไปรอบ.

อาวุโส !   สนั ทฏิ ฐิกนพิ พาน อันพระผู้มีพระภาค
ตรสั ไว้ ดว้ ยเหตมุ ปี ระมาณเทา่ นแ้ี ล เมอ่ื กลา่ วโดยนปิ ปรยิ าย.1

1. นปิ ปรยิ าย = โดยตรง.

451

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทีถ่ ูกปดิ : ภพภมู ิ

การปรนิ พิ พานในปัจจุบนั 126

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๘, ๑๗๗/๑๙๒, ๒๔๔.

คหบดี !   รูปท้ังหลาย  ท่ีเห็นด้วยตาก็ดี  เสียง
ท้ังหลาย ที่ฟังด้วยหูก็ดี  กลิ่นท้ังหลาย ที่ดมด้วยจมูกก็ดี 
รสทง้ั หลาย ทล่ี มิ้ ดว้ ยลนิ้ กด็  ี โผฏฐพั พะทงั้ หลาย ทสี่ มั ผสั
ด้วยกายก็ดี และธรรมารมณ์ท้ังหลาย ท่ีรู้แจ้งด้วยใจก็ดี  
อนั เปน็ สง่ิ ทน่ี า่ ปรารถนา นา่ รกั ใคร่ นา่ พอใจ ทย่ี วนตายวนใจ
ใหร้ กั เปน็ ทเี่ ขา้ ไปตง้ั อาศยั อยแู่ หง่ ความใคร่ เปน็ ทตี่ งั้ แหง่
ความกำ�หนดั ยอ้ มใจ มอี ยู่

และภิกษุกไ็ ม่เปน็ ผู้เพลดิ เพลิน ไมพ่ ร�่ำ สรรเสรญิ
ไมเ่ มาหมกอยู่ ซง่ึ อารมณม์ รี ปู เปน็ ตน้ นน้ั เมอ่ื ไมเ่ พลดิ เพลนิ
ไมพ่ ร�ำ่ สรรเสรญิ ไมเ่ มาหมกอยู่ ซง่ึ อารมณม์ รี ปู เปน็ ตน้ นน้ั
วญิ ญาณของภกิ ษนุ น้ั กไ็ มอ่ าศยั ซง่ึ อารมณม์ รี ปู เปน็ ตน้ นน้ั
ไมม่ สี ง่ิ นน้ั ๆ เปน็ อปุ าทาน.

คหบดี !   ภกิ ษผุ หู้ มดอปุ าทาน ยอ่ มปรนิ พิ พาน.

คหบด ี !   นแ่ี ล เปน็ เหตเุ ปน็ ปจั จยั ทส่ี ตั วท์ ง้ั หลาย
บางเหลา่ ในโลกน้ี ยอ่ มปรนิ พิ พานในปจั จบุ นั นแ้ี ล.

452

เปิดธรรมทถ่ี กู ปิด : ภพภมู ิ

ภกิ ษทุ งั้ หลาย !  
ถ้าภกิ ษุ เปน็ ผู้หลุดพน้ แล้ว
ไมถ่ ือมน่ั ดว้ ยอุปาทาน
เพราะความหน่าย เพราะคลายกำ�หนดั
เพราะความดบั เย็นแล้ว
ที่ตา ท่หี ู ที่จมูก ท่ลี ิ้น ท่กี าย ที่ใจ
ก็เปน็ การสมควรทจี่ ะกลา่ วว่า
ภกิ ษเุ ปน็ ผถู้ งึ แลว้ ซง่ึ นพิ พานในทฏิ ฐธรรมน้ี นน่ั แล.

453

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทถ่ี ูกปิด : ภพภูมิ

ความหมายของค�ำวา่ “ความดับ” 127

-บาลี ขนธฺ . ส.ํ ๑๗/๓๐/๔๘.

ขา้ แตพ่ ระองคผ์ เู้ จรญิ  !  พระองคก์ ลา่ วอยวู่ า่ “ความดบั ๆ”
ดงั น้ี อนั วา่ “ความดบั ๆ” ดงั กลา่ วน้ี หมายถงึ ความดบั แหง่ ธรรมทง้ั หลาย
เหลา่ ไหนเลา่ พระเจา้ ขา้  !

อานนท์ !   รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขาร
ทั้งหลายก็ดี วิญญาณก็ดี เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัย
ปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความส้ินไปเป็น
ธรรมดา มคี วามเสอื่ มไปเปน็ ธรรมดา มคี วามจางคลายไป
เปน็ ธรรมดา มคี วามดบั ไปเปน็ ธรรมดา  ค�ำ อนั เรากลา่ ววา่
“ความดับๆ” หมายถึง ความดับแห่งรูป แห่งเวทนา
แหง่ สัญญา แห่งสังขาร และแหง่ วิญญาณ ดังนี้.

อานนท ์ !   ค�ำ อนั เรากลา่ ววา่ “ความดบั ๆ” ดงั น้ี
หมายถงึ ความดบั แหง่ ธรรมท้งั หลายเหลา่ น้ีแล.

454

พุทธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทถี่ ูกปดิ : ภพภมู ิ

ความดับของขนั ธ์ ๕ 128
คือ ความดบั ของทุกข์
-บาลี ขนธฺ . สํ. ๑๗/๒๘๗/๔๙๘.

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !  
ความดบั ความเขา้ ไปสงบร�ำ งบั ความตง้ั อยไู่ มไ่ ดข้ องรปู
ของเวทนา ของสญั ญา ของสงั ขาร และของวญิ ญาณ ใดๆ 
อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์ 
อันน้ันแหละเป็นความเข้าไปสงบรำ�งับของสิ่งซ่ึงมีปกติ
เสยี บแทงท้งั หลาย 
อนั นน้ั แหละเปน็ ความตง้ั อยไู่ มไ่ ดข้ องชราและมรณะแล.

… … … …
ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !  ธรรมน้ี เปน็ ธรรมทส่ี มควรแกภ่ กิ ษุ
ผูป้ ฏบิ ัติธรรมสมควรแกธ่ รรม.
คอื ขอ้ ทภ่ี กิ ษเุ ปน็ ผมู้ ากอยดู่ ว้ ยความรสู้ กึ เบอ่ื หนา่ ย
ในรูป  เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบ่ือหน่ายในเวทนา 
เปน็ ผมู้ ากอยดู่ ว้ ยความรสู้ กึ เบอ่ื หนา่ ยในสญั ญา เปน็ ผมู้ ากอยู่
ดว้ ยความรสู้ กึ เบอ่ื หนา่ ยในสงั ขาร เปน็ ผมู้ ากอยดู่ ว้ ยความรสู้ กึ
เบอ่ื หนา่ ยในวญิ ญาณ.

455

พุทธวจน - หมวดธรรม

ภกิ ษนุ น้ั เมอ่ื เปน็ ผมู้ ากอยดู่ ว้ ยความรสู้ กึ เบอ่ื หนา่ ย
ในรปู ในเวทนา ในสญั ญา ในสังขาร ในวิญญาณ

ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซ่ึงสังขาร
ซึ่งวิญญาณ

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซ่ึงรูป  ซึ่งเวทนา  ซ่ึงสัญญา
ซง่ึ สังขาร ซึง่ วิญญาณ

ย่อมหลุดพ้นจากรูป  จากเวทนา  จากสัญญา
จากสงั ขาร จากวิญญาณ

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ
ความตาย ความโศก ความร่ำ�ไรรำ�พัน ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ ความคบั แค้นใจ

เราตถาคตกลา่ ววา่ เขายอ่ มหลดุ พน้ จากทกุ ข์ ดงั น.้ี
… … … …
ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !  ธรรมน้ี เปน็ ธรรมทส่ี มควรแกภ่ กิ ษุ
ผู้ปฏิบตั ธิ รรมสมควรแก่ธรรม.
คือ ข้อท่ีภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความไม่เท่ียงในรูป
อยู่เป็นประจำ�  เป็นผู้ตามเห็นความไม่เท่ียงในเวทนาอยู่
เป็นประจ�ำ   เปน็ ผตู้ ามเหน็ ความไม่เท่ยี งในสญั ญาอย่เู ป็น
ประจ�ำ เปน็ ผตู้ ามเหน็ ความไมเ่ ทย่ี งในสงั ขารอยเู่ ปน็ ประจ�ำ  
เปน็ ผตู้ ามเหน็ ความไม่เท่ยี งในวญิ ญาณอยูเ่ ปน็ ประจ�ำ .

456

เปดิ ธรรมทีถ่ กู ปดิ : ภพภูมิ

ภกิ ษนุ ้ัน เม่อื เปน็ ผตู้ ามเหน็ ความไม่เทีย่ งในรปู
ในเวทนา ในสญั ญา ในสงั ขาร ในวญิ ญาณ อยเู่ ปน็ ประจ�ำ

ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซ่ึงสังขาร
ซงึ่ วญิ ญาณ

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป  ซ่ึงเวทนา  ซ่ึงสัญญา
ซ่งึ สงั ขาร ซ่ึงวญิ ญาณ

ย่อมหลุดพ้นจากรูป  จากเวทนา  จากสัญญา
จากสงั ขาร จากวญิ ญาณ

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ
ความตาย ความโศก ความรำ่�ไรรำ�พัน ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ ความคับแคน้ ใจ

เราตถาคตกลา่ ววา่ เขายอ่ มหลดุ พน้ จากทกุ ข์ ดงั น.้ี
… … … …
ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !  ธรรมน้ี เปน็ ธรรมทส่ี มควรแกภ่ กิ ษุ
ผปู้ ฏบิ ตั ิธรรมสมควรแกธ่ รรม.
คือ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ในรูป
อย่เู ป็นประจำ�  เป็นผ้ตู ามเห็นความเป็นทุกข์ในเวทนาอยู่
เปน็ ประจ�ำ   เปน็ ผตู้ ามเหน็ ความเปน็ ทกุ ขใ์ นสญั ญาอยเู่ ปน็
ประจ�ำ   เปน็ ผตู้ ามเหน็ ความเปน็ ทกุ ขใ์ นสงั ขารอยเู่ ปน็ ประจ�ำ  
เป็นผตู้ ามเห็นความเป็นทกุ ขใ์ นวญิ ญาณอย่เู ปน็ ประจ�ำ

457

พทุ ธวจน - หมวดธรรม

ภกิ ษนุ น้ั เมอ่ื เปน็ ผตู้ ามเหน็ ความเปน็ ทกุ ข์ ในรปู
ในเวทนา ในสญั ญา ในสงั ขาร ในวญิ ญาณ อยเู่ ปน็ ประจ�ำ

ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซ่ึงสัญญา ซึ่งสังขาร
ซ่ึงวญิ ญาณ

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซ่ึงรูป  ซึ่งเวทนา  ซึ่งสัญญา
ซงึ่ สังขาร ซึ่งวิญญาณ

ย่อมหลุดพ้นจากรูป  จากเวทนา  จากสัญญา
จากสังขาร จากวญิ ญาณ

ย่อมพ้นได้จากความเกิด  ความแก่  ความเจ็บ
ความตาย ความโศก ความร่ำ�ไรรำ�พัน ความทุกข์กาย
ความทกุ ข์ใจ ความคบั แคน้ ใจ

เราตถาคตกลา่ ววา่ เขายอ่ มหลดุ พน้ จากทกุ ข์ ดงั น.้ี
… … … …
ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !  ธรรมน้ี เปน็ ธรรมทส่ี มควรแกภ่ กิ ษุ
ผู้ปฏบิ ตั ธิ รรมสมควรแก่ธรรม.
คือ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตาใน
รูปอยู่เป็นประจำ�  เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตาใน
เวทนาอย่เู ป็นประจำ�  เป็นผ้ตู ามเห็นความเป็นอนัตตาใน
สัญญาอย่เู ป็นประจำ�  เป็นผ้ตู ามเห็นความเป็นอนัตตาใน

458

เปดิ ธรรมทถ่ี ูกปิด : ภพภูมิ

สังขารอย่เู ปน็ ประจำ�  เปน็ ผูต้ ามเหน็ ความเปน็ อนัตตาใน
วญิ ญาณอยู่เป็นประจ�ำ .

ภิกษุนั้น เม่ือตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป
ในเวทนา ในสญั ญา ในสงั ขาร ในวญิ ญาณ อยเู่ ปน็ ประจ�ำ

ย่อมรู้รอบ ซ่ึงรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซ่ึงสังขาร
ซึ่งวิญญาณ

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซ่ึงรูป  ซ่ึงเวทนา  ซ่ึงสัญญา
ซ่ึงสังขาร ซึง่ วญิ ญาณ

ย่อมหลุดพ้นจากรูป  จากเวทนา  จากสัญญา
จากสงั ขาร จากวญิ ญาณ

ย่อมพ้นได้จากความเกิด  ความแก่  ความเจ็บ
ความตาย ความโศก ความรำ่�ไรรำ�พัน ความทุกข์กาย
ความทกุ ขใ์ จ ความคบั แค้นใจ

เราตถาคตกลา่ ววา่ เขายอ่ มหลดุ พน้ จากทกุ ข์ ดงั น.้ี

459

พุทธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมท่ีถกู ปดิ : ภพภมู ิ

ความดับของอายตนะ 129
คือ ความดับของทกุ ข์

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๓-๒๘๔/๔๘๐-๔๘๒., -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๗/๒๑-๒๓.

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !  
ความดบั ความเขา้ ไปสงบรำ�งับ และความตั้งอย่ไู มไ่ ด้
แหง่ ตา แหง่ หู แหง่ จมกู แหง่ ลนิ้ แหง่ กาย แหง่ ใจ ใดๆ 
อันน้นั แหละเปน็ ความดับแหง่ ทุกข์
อันน้นั แหละเป็นความเข้าไปสงบรำ�งับแห่งส่งิ ซ่งึ มีปกติ
เสียบแทงท้ังหลาย 
อนั นน้ั แหละเปน็ ความตง้ั อยไู่ มไ่ ดแ้ หง่ ชราและมรณะแล.

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !  
ความดบั ความเข้าไปสงบรำ�งบั และความตัง้ อยไู่ มไ่ ด้
แห่งรูป แห่งเสียง แห่งกลิ่น แห่งรส แห่งโผฏฐัพพะ
แห่งธรรมารมณ์ ใดๆ 
อันน้ันแหละ เปน็ ความดบั แหง่ ทุกข์  
อนั นน้ั แหละเปน็ ความเขา้ ไปสงบรำ�งับแห่งส่ิงซึ่งมีปกติ
เสียบแทงทงั้ หลาย 
อนั นน้ั แหละเปน็ ความตง้ั อยไู่ มไ่ ดแ้ หง่ ชราและมรณะแล.

460

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมท่ถี ูกปิด : ภพภมู ิ

ละตณั หาได้ คือ ละเบญจขนั ธไ์ ด้ 130

-บาลี ขนธฺ . สํ. ๑๗/๒๓๖-๒๓๗/๓๗๕-๓๗๖.

ราธะ !   ความพอใจ (ฉันทะ) ก็ดี  ความกำ�หนัด
(ราคะ) ก็ดี  ความเพลนิ (นนั ท)ิ กด็  ี ความอยาก (ตณั หา)
ก็ด ี มีอยู่ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารท้ังหลาย
ในวญิ ญาณ ใดๆ

พวกเธอทง้ั หลาย จงละกเิ ลสนัน้ ๆ เสยี .
ดว้ ยการท�ำ อยา่ งน้ี รปู เวทนา สญั ญา สงั ขารทง้ั หลาย
วญิ ญาณนน้ั ๆ จกั เปน็ สง่ิ ทพ่ี วกเธอละไดแ้ ลว้ เปน็ สง่ิ ทม่ี มี ลู ราก
อนั ตัดเสียแล้ว ทำ�ให้เหมือนตาลยอดเนา่ ท�ำ ใหม้ อี ยู่ไมไ่ ด้
ทำ�ใหเ้ ปน็ ส่งิ ทีเ่ กดิ ขึน้ ไมไ่ ดอ้ กี ต่อไป.

ราธะ !   ความพอใจก็ดี  ความกำ�หนัดก็ดี 
ความเพลินก็ดี  ความอยากก็ดี  กิเลสเป็นเหตุให้เข้าไป
สภู่ พ (อปุ ายะ) กด็  ี และความยดึ มน่ั (อปุ าทาน) กด็  ี อนั เปน็
เครอ่ื งตง้ั ทบั เครอ่ื งเขา้ ไปอาศยั และเครอ่ื งนอนเนอ่ื งแหง่ จติ
มอี ยู่ ในรปู ในเวทนา ในสญั ญา ในสงั ขาร ในวญิ ญาณ ใดๆ

พวกเธอท้งั หลายจงละกิเลสน้ันๆ เสีย

461

พุทธวจน - หมวดธรรม

ด้วยการทำ�อย่างน้ี รูป เวทนา สัญญา สังขาร
ทั้งหลาย วิญญาณ น้ันๆ จักเป็นสิ่งท่ีพวกเธอละได้แล้ว
เปน็ สง่ิ ทม่ี มี ลู รากอนั ตดั เสยี แลว้ ท�ำ ใหเ้ หมอื นตาลยอดเนา่
ท�ำ ให้มอี ยไู่ ม่ได้ ท�ำ ใหเ้ ปน็ ส่ิงทีเ่ กดิ ข้ึนไมไ่ ด้อีกต่อไป.

462

พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมที่ถกู ปิด : ภพภูมิ

ดับตัณหา คอื ปลงภาระหนักลงได้ 131

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๕๒-๕๓.

ภิกษุทัง้ หลาย !  
การปลงภาระหนักลงเสียได้ เปน็ อย่างไรเลา่  ?

ภกิ ษุทั้งหลาย !  
เพราะความจางคลายดบั ไปโดยไมเ่ หลอื
แห่งตณั หานัน้ นน่ั เทยี ว
ความละไปของตัณหาน้นั
ความสลดั คืนของตณั หานน้ั
ความหลุดออกไปของตณั หาน้ัน 

และความไมม่ ที อ่ี าศยั อกี ตอ่ ไปของตณั หานน้ั อนั ใด.

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !  
อนั นเ้ี ราเรยี กวา่ การปลงภาระหนกั ลงเสยี ได้ ดงั น.้ี

463

พุทธวจน - หมวดธรรม

(คาถาผนวกท้ายพระสตู ร)

ขันธท์ ้งั ห้าเปน็ ของหนัก
บุคคลนน่ั แหละ เป็นผู้แบกของหนกั พาไป
การแบกถอื ของหนกั เป็นความทุกข์ในโลก
การปลงภาระหนกั เสยี ได้ เป็นความสขุ
พระอรยิ เจา้ ปลงภาระหนักลงเสียแลว้
ทง้ั ไม่หยบิ ฉวยเอาของหนกั อันอื่นขน้ึ มาอีก
ก็เปน็ ผู้ถอนตัณหาขนึ้ ไดก้ ระทัง่ ราก (อวชิ ชา)
เปน็ ผหู้ มดสง่ิ ปรารถนา ดบั สนทิ ไมม่ สี ว่ นเหลอื ดงั น.้ี

464

พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมที่ถกู ปิด : ภพภมู ิ

ความดับของอายตนะ 132
คอื ความดับของทกุ ข์
-บาลี ขนฺธ. ส.ํ ๑๗/๓๓/๕๖-๕๘.

ภกิ ษทุ งั้ หลาย !   เมอื่ ไมร่ ยู้ ง่ิ เมอื่ ไมร่ รู้ อบ เมอ่ื ไม่
คลายก�ำ หนดั เมอ่ื ไมล่ ะขาด ซง่ึ รปู … เวทนา … สญั ญา …
สังขาร … วิญญาณ กไ็ มค่ วรแก่ความสน้ิ ไปแหง่ ทุกข์.

ภกิ ษุทง้ั หลาย !   เม่อื รยู้ ่งิ เม่ือรู้รอบ เมื่อคลาย
กำ�หนัด  เมื่อละขาด ซ่ึงรูป … เวทนา … สัญญา …
สังขาร … วิญญาณ กค็ วรแกค่ วามสนิ้ ไปแห่งทุกข.์

ภิกษุท้ังหลาย !   เธอท้ังหลาย จงละฉันทราคะ
ในรปู … เวทนา … สญั ญา … สงั ขาร … วญิ ญาณ เสยี
ดว้ ยการกระท�ำ อยา่ งน้ี เปน็ อนั วา่ รปู … เวทนา … สญั ญา
… สังขาร … วิญญาณนั้น เป็นส่ิงที่เธอละขาดแล้ว
มีรากอันขาดแล้ว  ทำ�ให้เป็นเหมือนต้นตาลมีข้ัวยอด
อันขาดแล้วให้ถึงความไม่มีอยู่  มีอันไม่เกิดข้ึนอีกต่อไป
เปน็ ธรรมดา.

465

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทีถ่ ูกปิด : ภพภูมิ

เมอ่ื “เธอ” ไม่มี 133

-บาลี อ.ุ ขุ. ๒๕/๘๓/๔๙.

พาหยิ ะ !   เมื่อใด “เธอ”
เห็นรูปแลว้ สักว่าเหน็
ได้ฟังเสยี งแลว้ สักว่าฟงั
ไดก้ ลน่ิ ลิ้มรส สัมผัสทางผิวกาย
ก็สกั ว่า ดม ล้ิม สมั ผัส
ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ กส็ ักวา่ ได้รูแ้ จง้ แลว้

เมือ่ นัน้ “เธอ” จกั ไมม่ ี
เม่ือใด “เธอ” ไม่มี
เมอ่ื นนั้ “เธอ” ก็ไม่ปรากฏในโลกนี้
ไม่ปรากฏในโลกอนื่
ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกท้งั สอง
นัน่ แหละ คอื ทส่ี ุดแหง่ ทุกข์ ละ.

466

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทีถ่ ูกปดิ : ภพภมู ิ

สังขตลักษณะ 134

-บาลี ติก. อ.ํ ๒๐/๑๙๒/๔๘๖.

ภกิ ษทุ ้ังหลาย !  
สังขตลกั ษณะแห่งสงั ขตธรรม
๓ อย่าง เหลา่ น้ี มอี ย.ู่
๓ อยา่ ง อยา่ งไรเล่า ? ๓ อยา่ ง คอื   

(๑) มีการเกดิ ปรากฏ (อุปปฺ าโท ปญฺ ายต)ิ
(๒) มกี ารเสือ่ มปรากฏ (วโย ปญฺายต)ิ
(๓) เมื่อต้ังอยู่ กม็ ีภาวะอยา่ งอ่นื ปรากฏ
(ติ สสฺ อญฺถตฺตํ ปญฺายต)ิ

ภกิ ษทุ ัง้ หลาย !  
๓ อยา่ ง เหล่าน้ีแล คอื
สงั ขตลกั ษณะแห่งสังขตธรรม.

467

พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทถ่ี กู ปิด : ภพภมู ิ

อสังขตลกั ษณะ 135

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๗.

ภิกษทุ ้งั หลาย !  
อสงั ขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม
๓ อย่างเหล่าน้ี มอี ยู่.
๓ อยา่ งอย่างไรเล่า ? ๓ อย่าง คือ  

(๑) ไม่ปรากฏมกี ารเกิด (น อุปปฺ าโท ปญฺายติ) 
(๒) ไม่ปรากฏมกี ารเสอ่ื ม (น วโย ปญฺายต)ิ
(๓) เมื่อต้งั อยู่ กไ็ ม่มีภาวะอยา่ งอืน่ ปรากฏ
(น ติ สฺส อญฺ ถตฺตํ ปญฺายต)ิ

ภิกษุทงั้ หลาย !  
๓ อย่าง เหลา่ น้ีแล คอื
อสงั ขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม.

468

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทถ่ี ูกปิด : ภพภมู ิ

“ดนิ นำ้� ไฟ ลม” 136
ไม่อาจหยง่ั ลงได้ในท่ีไหน
-บาลี สี. ที. ๙/๒๗๗/๓๔๓.

เกวัฏฏะ !   เร่ืองเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ใน
หมภู่ กิ ษนุ เ้ี อง  เกดิ ความสงสยั ขน้ึ ในใจวา่   “มหาภตู ส่ี คอื
ดิน นำ้� ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ ใน
ทไ่ี หนหนอ” ดังนี้.

(ความวา่   ภกิ ษรุ ปู นน้ั ไดเ้ ขา้ สมาธอิ นั อาจน�ำ ไปสเู่ ทวโลก
ไดน้ �ำ เอาปญั หาขอ้ ทต่ี นสงสยั นน้ั ไปเทย่ี วถามเทวดาพวกจาตมุ หาราชกิ า
เมอ่ื ไมม่ ใี ครตอบได้ กเ็ ลยไปถามเทวดาในชน้ั ดาวดงึ ส์ เทวดาชน้ั นน้ั
โยนให้ไปถามท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันตุสิตะ ท้าวสุนิมมิตะ
ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี ถามเทพพวกพรหมกายิกา กระทั่งท้าว
มหาพรหมในท่ีสุด ทา้ วมหาพรหมพยายามหลกี เลีย่ ง เบย่ี งบ่ายที่
จะไมต่ อบอยพู่ กั หนง่ึ แลว้ ในทส่ี ดุ ไดส้ ารภาพวา่ พวกเทวดาทง้ั หลาย
พากันคิดว่าท้าวมหาพรหมเอง เปน็ ผรู้ เู้ หน็ ไปทกุ สง่ิ ทกุ อยา่ ง แตท่ ่ี
จรงิ ไมร่ ู้ ในปญั หาทว่ี า่ มหาภตู รปู จกั ดบั ไปในทไ่ี หนนน้ั เลย มนั เปน็
ความผดิ ของภกิ ษนุ น้ั เอง ทไ่ี มไ่ ปทลู ถามพระผมู้ พี ระภาคเจา้ ในทส่ี ดุ
กต็ อ้ งยอ้ นกลบั มาเฝา้ พระผมู้ พี ระภาคเจ้า)

469

พุทธวจน - หมวดธรรม

เกวัฏฏะ !   ภิกษุน้ันได้กลับมาอภิวาทเรา น่ัง ณ
ท่ีควร แล้วถามเราว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  มหาภูต
สี่ คือ ดิน นำ�้ ไฟ ลม เหล่านี้ ยอ่ มดับสนิท ไมม่ ีเศษเหลือ
ในท่ไี หน ?” ดงั น้ี.

เกวฏั ฏะ !   เมอื่ เธอถามขน้ึ อยา่ งนี้ เราไดก้ ลา่ วกะ
ภกิ ษุนัน้ วา่   

แน่ะภิกษุ !  เร่ืองเก่าแก่มีอยู่ว่า พวกค้าทางทะเล
ไดพ้ านกสำ�หรบั ค้นหาฝงั่ ไปกบั เรือคา้ ดว้ ย เมอ่ื เรอื หลงทศิ
ในทะเล และแลไมเ่ หน็ ฝง่ั พวกเขาปลอ่ ยนก ส�ำ หรบั คน้ หา
ฝ่ังน้ันไป นกน้ันบินไปทางทิศตะวันออกบ้าง ทิศใต้บ้าง
ทศิ ตะวนั ตกบา้ ง ทศิ เหนอื บา้ ง ทศิ เบอ้ื งบนบา้ ง ทศิ นอ้ ยๆ บา้ ง
เม่อื มันเห็นฝ่งั ทางทิศใดแล้ว  มันก็จะบินตรงไปยังทิศน้นั
แต่ถ้าไม่เห็น กจ็ กั บินกลบั มาสเู่ รอื ตามเดิม.

ภิกษุ !   เช่นเดียวกับเธอนั้นแหละ  ได้เที่ยวหา
คำ�ตอบของปญั หาน้ี มาจนจบท่วั กระท่ังถงึ พรหมโลกแล้ว
ในที่สดุ กย็ งั ตอ้ งย้อนมาหาเราอีก.

ภกิ ษ ุ!   ในปญั หาของเธอนน้ั เธอไมค่ วรตง้ั ค�ำ ถาม
ขึ้นว่า “มหาภตู สี่ คือ ดิน น้�ำ ไฟ ลม เหลา่ น้ี ย่อมดบั สนทิ
ไม่มีเศษเหลอื ในท่ไี หน ?” ดังนเี้ ลย.

470

เปิดธรรมท่ีถกู ปดิ : ภพภูมิ

อนั ทีจ่ รงิ เธอควรจะตงั้ ค�ำ ถามข้นึ อยา่ งนี้วา่   
“ดนิ น�้ำ ไฟ ลม ไมห่ ยั่งลงไดใ้ นท่ีไหน ?
ความยาว ความสน้ั ความเลก็ ความใหญ่ ความงาม
ความไมง่ าม ไมห่ ยั่งลงไดใ้ นที่ไหน ?
นามรูป ย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลอื ในทไี่ หน ?”
ดังนี้ ตา่ งหาก.
ภกิ ษุ !   ในปัญหาน้นั คำ�ตอบมีดงั น้ี
“สง่ิ ” สงิ่ หนงึ่ ซง่ึ บคุ คลพงึ รแู้ จง้
เป็นสิ่งที่ไมม่ ปี รากฏการณ์ ไมม่ ที ี่สดุ
แตม่ ที างปฏิบัติเขา้ มาถงึ ได้โดยรอบน้ัน มีอย.ู่
ใน “สิง่ ” นน้ั แหละ
ดนิ น้�ำ ไฟ ลม ไมห่ ยง่ั ลงได้.
ใน “ส่งิ ” นั้นแหละ
ความยาว ความสั้น ความเลก็ ความใหญ่
ความงาม ความไมง่ าม ไมห่ ยงั่ ลงได.้
ใน “ส่งิ ” นน้ั แหละ
นามรูป ย่อมดบั สนิท ไมม่ เี ศษเหลอื
นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” น้ี
เพราะการดบั สนิทของวญิ ญาณ ดังน้.ี

471

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทถ่ี กู ปดิ : ภพภูมิ

“สง่ิ นัน้ ” หาพบในกายนี้ 137

-บาลี จตุกฺก. อ.ํ ๒๑/๖๒/๔๕.

แนะ่ เธอ !  
ทีส่ ุดโลก แหง่ ใด
อันสตั วไ์ ม่เกดิ ไม่แก่ ไม่ตาย ไมจ่ ตุ ิ ไม่อบุ ตั ิ
เราไม่กลา่ ววา่ ใครๆ อาจรู้ อาจเห็น
อาจถงึ ท่สี ุดแห่งโลกนนั้ ด้วยการไป.

แน่ะเธอ !  
ในรา่ งกายทย่ี าวประมาณวาหนง่ึ นี้
ท่ียังประกอบดว้ ยสญั ญาและใจน่ีเอง
เราไดบ้ ัญญัติโลก
เหตุให้เกดิ โลก
ความดับสนทิ ไม่เหลือของโลก
และทางด�ำ เนนิ ใหถ้ งึ ความดบั สนทิ ไมเ่ หลอื ของโลกไว้
ดงั นี้แล.

472

พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมท่ถี กู ปดิ : ภพภมู ิ

สิ่งๆ นั้น มีอยู่ 138

-บาลี อ.ุ ข.ุ ๒๕/๒๐๖/๑๕๘.

ภกิ ษทุ ั้งหลาย !  
“ส่งิ ” สิ่งน้นั มีอยู่
เป็นส่ิงซึง่ ในนน้ั ไม่มดี ิน ไม่มีนํ้า ไมม่ ีไฟ ไมม่ ลี ม
ไมใ่ ชอ่ ากาสานญั จายตนะ ไมใ่ ชว่ ญิ ญาณญั จายตนะ
ไม่ใช่อากญิ จญั ญายตนะ
ไมใ่ ชเ่ นวสญั ญานาสญั ญายตนะ
ไมใ่ ช่โลกน้ี ไมใ่ ชโ่ ลกอ่นื
ไม่ใช่ดวงจันทร์ หรอื ดวงอาทิตยท์ ั้งสองอยา่ ง.
ภกิ ษุทั้งหลาย !  
ในกรณอี นั เก่ียวกับ “ส่ิง”
สิ่งน้นั เราไมก่ ล่าววา่ มกี ารมา
ไมก่ ล่าววา่ มกี ารไป  ไม่กลา่ วว่ามีการหยุด
ไมก่ ล่าวว่ามีการจตุ ิ  ไม่กล่าววา่ มีการเกดิ ข้ึน
สิ่งน้ันมไิ ด้ตงั้ อยู่  สิง่ นั้นมไิ ด้เปน็ ไป
และสิ่งน้ันมใิ ช่อารมณ ์
นนั่ แหละคือ ท่ีสุดแหง่ ทกุ ข์ ละ.

473

พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมท่ีถูกปิด : ภพภูมิ

สงิ่ นั้น มีแน่ 139

-บาลี อติ ิวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๗/๒๒๑., -บาลี อ.ุ ขุ. ๒๕/๒๐๗/๑๖๐.

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   สง่ิ ซง่ึ มไิ ดเ้ กดิ (อชาต)ํ   มไิ ดเ้ ปน็
(อภตู )ํ   มไิ ดถ้ กู อะไรท�ำ (อกต)ํ   มไิ ดถ้ กู อะไรปรงุ (อสงขฺ ต)ํ
น้ันมอี ย่.ู

ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   ถา้ หากวา่ สงิ่ ทมี่ ไิ ดเ้ กดิ มไิ ดเ้ ปน็
มิได้ถูกอะไรทำ�  มิได้ถูกอะไรปรุง  จักไม่มีอยู่แล้วไซร้
การรอดออกไปไดส้ �ำ หรบั สง่ิ ทเ่ี กดิ ทเ่ี ปน็ ทถ่ี กู อะไรท�ำ ทถ่ี กู
อะไรปรุง ก็จกั ไมป่ รากฏ.

ภิกษุท้ังหลาย !   เพราะเหตุที่มีส่ิง ซึ่งมิได้เกิด
มไิ ดเ้ ปน็ มไิ ดถ้ กู อะไรท�ำ มไิ ดถ้ กู อะไรปรงุ นน่ั เอง การรอด
ออกไปไดส้ �ำ หรบั สง่ิ ทเ่ี กดิ ทเ่ี ปน็ ทถ่ี กู อะไรท�ำ ทถ่ี กู อะไรปรงุ
จงึ ไดป้ รากฏอย.ู่

(คาถาผนวกทา้ ยพระสตู ร)

ใครๆ ไมค่ วรเพลดิ เพลนิ ตอ่ สง่ิ ซง่ึ เกดิ แลว้ เปน็ แลว้
เกดิ ขน้ึ พรอ้ มแลว้ อนั ปจั จยั กระท�ำ แลว้ อนั ปจั จยั ปรงุ แตง่ แลว้
ไมย่ ง่ั ยนื ปรงุ แตง่ เพอ่ื ชราและมรณะ เปน็ รงั โรค เปน็ ของผพุ งั
มอี าหารและเนตติ (ตณั หา) เปน็ แดนเกดิ .

474


Click to View FlipBook Version