The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการดำเนินงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 12 ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Kunnua Kandalf, 2023-02-13 03:30:37

รายงานผลการดำเนินงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 12 ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

รายงานผลการดำเนินงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 12 ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๐๑ การปลูกกัญชาแบบครัวเรือน 6 ต้น ข้อดี ต้นทุนต่ำปัญหาศัตรูพืชน้อยกว่า ระบบเปิดได้รับแสงแดดธรรมชาติในเวลากลางวัน ซึ่งเหมาะกับ การเจริญของพืช ให้ผลผลิตใกล้เคียงระบบปิด ข้อเสีย ไม่สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมได้หมดเท่าระบบปิด การสาธิตการปักชำและขยายพันธุ์พืช การปลูกโดยเมล็ด ➢ เพาะเมล็ดพันธุ์อย่างไร ? อุปกรณ์: จาน แก้วน้ำ ทิชชู่ เมล็ดพันธุ์ วิธีทำ: Step 1 แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำทิ้งไว้ 1 คืน Step 2 ฉีดน้ำลงบนกระดาษทิชชู่ให้ชุ่ม Step 3 วางเมล็ดบนทิชชู่ที่เปียกห่างกัน 1 นิ้ว Step 4 เช็คความชื้น และอุณหภูมิ (20-35 องศาเซลเซียส) ➢ 3 Step ในการย้ายเมล็ดลงปลูก - ย้ายเมล็ดที่รากงอกแล้วลงดิน - ทำให้เกิดหลุมลึกประมาณ 0.6 เซนติเมตร ด้วยปากกาหรือไม้ - ให้น้ำแก่เมล็ดพันธุ์ ผลิตภัณฑ์จากกัญชงในอนาคต “กัญชง” (Hemp) มีลักษณะเป็นพืชมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. sativa อันเป็น ชนิ ด ย่ อยของ พ ื ชกั ญ ชา ( Cannabis sativa L.) ท ี ่ ม ี ป ร ิ ม า ณ สา รเต ต รา ไฮ โด รแคนนา บิ นอล (tetrahydrocannabinol, THC) ในใบและช่อดอก ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อน้ำหนักแห้ง โดยตรวจวิเคราะห์ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่มีลักษณะเป็นเมล็ดพันธุ์กัญชง (Hemp) ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ในใบและช่อดอก ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อน้ำหนักแห้ง การใช้ประโยชน์ของกัญชงในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังนำมาใช้ในการผลิตเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอเท่านั้น เนื่องจากมีเส้นใยที่แข็งแรงและคงทน สำหรับการใช้กัญชงในทางแพทย์ เช่น การใช้สารสกัด CBD จากใบและดอก ยังไม่ได้การยอมรับเป็นยารักษาโรค แต่ก็ไม่ปิดกั้นการวิจัยซึ่งอาจนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากกัญ ชงในการักษาโรคและผลิตภัณฑ์ในอนาคต


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๐๒ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากกัญชง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๐๓ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว และอาหาร


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๐๔ หมอพื้นบ้าน ปราชญ์ หรือผู้รู้ของจังหวัด นายหอม หะทัยทาระ ที่อยู่ 82 หมู่ 12 ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประวัติส่วนตัว • เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 • ศึกษากับบิดา พ.ศ.2516-2517 • ศึกษากับแพทย์ตำบล 2 ปี • ประสบการณ์การรักษา : ให้บริการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ความชำนาญ การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ กระษัยเคล็ด (กระดูกทับเส้น) ฝีในทรวง กระเพาะพิการ ขับในไต (ไตวาย)


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๐๕ วิสาหกิจชุมชนศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพร เพ ลา เพลิน เพื่อชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๐๕ องค์ความรู้ “เตือฮ” คือกลุ่มอาการที่มักเกิดกับสตรี มีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีอาการไข้ร่วมด้วย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขากรรไกรแข็ง หรือในสตรีหลังคลอด มีอาการน้ำนมไม่ไหล น้ำคาวปลา ไม่ไหล หากปล่อยให้อาการเหล่านี้เป็นแล้วไม่ได้รับการักษา ก็จะส่งผลให้เกิดอาการผอมแห้งแรงน้อย ไม่เจริญ อาหาร ทำให้เป็นเรื้อรังและรักษายาก “เตือฮ” แบ่งไก้เป็น ๒ ระยะ คือ ๑. ช่วยระยะหลังคลอดถึง ๓ เดือน ในช่วงระยะนี้จะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งการเลือกใช้ฟืนอยู่ไฟ เรื่องของอาหารการกิน ในช่วงนี้มัก เกิดจากอาหารเตือฮจำแน็ย (ผิดสำแดงอาหาร) เตือฮกะเสิน(ผิดสำแดงกลิ่น) เตือฮตี๊กอันเชิอม (ผิดสำแดงน้ำค้าง) และเตือฮกับเตียลตำเนก(เตือฉเนื่องด้วยการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง ๓ เดือนขณะอยู่ไฟ ๒. ช่วงระยะเวลาตลอดชีวิต ในช่วงชีวิตของผู้หญิงที่เคยมีบุตรแล้ว ต้องพึงระมัดระวังการรับประทานอาหารและการได้รับกลิ่นที่ส่งผล ให้เกิดอาการเตือฮ โดยมากผู้หญิงชาวสุรินทร์ยังถือปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่อง ถึงกระนั้นก็ยังมีอาการเตือฮเกิด ขึ้นอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น เตือฮจำเน็ย (ผิดสำแดงอาหาร) เตือฮกะเลิน(ผิดสำแดงกลิ่น) เตือฮมเตือฮรีง สุ รินทร์ SURIN นางสาวศิริพร ประทีปอรุโณทัย รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๐๗ สาเหตุ เตือฮ เกิดจากหลายสาเหตุ ๑. เกิดจากกินอาหารผิก ๒. เกิดจากการได้รับกลิ่นไม่พึงประสงค์ ๓. เกิดจากสัมผัสน้ำค้างหรือน้ำฝนขณะที่อยู่ในระหว่างหลังคลอด ๑-๓ เดือน ๔. เกิดจากการทำงานหนักระหว่างหลังคลอด ๑-๓ เดือน ๕. เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างหลังคลอด ๑-๓ เดือน ๖. เกิดจากมีอาการการเตือนแล้วไม่ได้รับการรักษา ทำให้มีอาการเรื้อรัง การรักษา -ใช้ตำรับยาพื้นบ้าน ดื่ม, ต้มอาบ, สูดไอน้ำ,พอก -การนวด ตำรับยาเตือฮชาติพันธุ์ส่วย ตำรับยาสมุนไพรบ้านหนองอียอ อ.สนม จ. สุรินทร์ ส่วนประกอบ มะมัง ,มะนาวป่า,คอแลน,มะเบ็ง,กำแพงเจ็ดชั้น,ตะไคร้ต้น,แก่นฝาง,เจตพังคี,หนวดฤาษี,ตัง ตุ่น,หลังดำ,ต้นขี้หนู สรรพคุณ แก้ปวดหลังปวดเอว ขับน้ำคาวปลา เป็นยาระบาย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดกระดูก บำรุงน้ำนม ยาเจริญอาหาร


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๐๘ ตำรับยาเตือฮชาติพันธุ์เขมร ตำรับยาพื้นบ้าน ใช้ดูแลกลุ่มอาการเตือฮ (ผิดสำแดง) บำรุงโรหิต ปรับสมดุลธาตุ วิธีใช้ นำสมุนไพรทั้งหมดมาต้ม น้ำท่วมยา ต้มนาน (๑๐-๑๖ นาที) ดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น หรือดื่มแทนน้ำ จนกว่ายา จะจืด เจ้าของตำรับ นายเมียด ทองวิจิตร ๑๓๘/๑ ม.๕ ต.สวาย อ.เมือง จ.สุรินทร์ ตำรับยาเตือฮชาติพันธุ์ลาว ตำรับยาแก้ผิดสำแดง พ่อเอียะ สายกระสุน แพทย์แผนไทยดีเด่น อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ สรรพคุณ แก้อาการผิดกลิ่นของแม่ลูกอ่อนหรือหญิงมราเคยผ่าน การมีลูกอ่อนมาก่อน ส่วนประกอบ ขมิ้นต้น โปร่งฟ้า กรวยป่า โสมไทย และโลดทะนง แดง วิธีใช้ นำสมุนไพรทุกอย่างฝนลงบนหินลับมีด ในน้ำเปล่าประมาณ ๘๐ มิลลิลิตร คำเตือน ควรเก็บสมุนไพรในที่แห้ง ห้ามเก็บไว้ในที่ชื้นเพราอาจทำ ให้ตัวยาชื้น และขึ้นราซึ่งจะทำให้ตัวยาเสื่อมคุณภาพลง ตำรับยาโลดทะนงแดง (ว่านพระเจ้าปลูกหลง) พ่อเอียะ สายกระสุน สรรพคุณ รักษาพิษงูทุกชนิด และแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น แมงมุม ตะขบ แมงป่อง ตัวต่อ แมงกะพรุน หรือ ผู้ที่กินเห็ดพิษ เป็นต้น ส่วนประกอบตัวยา โลดทะนงแดง และเมล็ดหมาก วิธีใช้/สำหรับดื่ม ให้นำโลดทะนงแดง และเมล็ดหมากแห้งมาฝนบนหินลบมืดในน้ำเปล่า โดยให้ตัวยามีสี ขุ่นในน้ำพอประมาณ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๐๙ ปริมาณในการดื่ม เด็ก และผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจร่วมด้วย ควรดื่มประมาณ ๑ แห้วเป๊กเหล้า หรือประมาณ ๔๐ มิลลิลิตร สำหรับผู้ป่วยปกติควรดื่มประมาณ ๘๐ มิลลิลิตร กรณีที่กินเห็ดพิษ หรือโดนงูพิษทั่วไปกัดให้ดื่ม ๑ ครั้ง (ยกเว้นเฉพาะงูจงอางให้ดื่ม ๒ ครั้ง โดยดื่มวันละ ๑ ครั้ง) ส่วนสัตว์มีพิษชนิดอืนมกัดต่อยไม่ต้องดื่ม สำหรับทาแผล บีบน้ำนาวลงบนหินลับมีด แล้วนำโลดทะนงแดง และเมล็ดหมากแห้งฝนลงบนหินลับมีด ฝน จนกระทั่งยามีลักษณะเหนียวเหมือนโคน จากนั้นนำมาทาบริเวณแผลที่โคนสัตว์กัดต่อย ทาเช้าเย็นติดต่อกัน จนกว่าจะหายเป็นปกติ (กรณีที่แผลมีอาการบวมเนื่องจากโดนสัตว์กัดต่อยมาหลายวัน ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดรอบ บริเวณแผลที่บวม ก่อนทำการทายาทุกครั้ง) คำเตือน ในช่วงที่ทำการรักษาให้งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลต่อการ รักษาซึ่งจะทำให้แผลอักเสบและหายช้าได้ ฝางเสน สรรพคุณ บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ร้อนใน แก้เสมหะและกำเดา แก่น รสขมฝาด ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ร้อนในกระหาย น้ำ แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก แก้กำเดา ขับ เสมหะ ขับระดู กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้เสหมะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ เมล็ด แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ทั้งต้น เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ต้มน้ำ ๓ ส่วน เคี่ยวให้งวดเหลือ ๑ ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งครึ่งหนึ่ง รับประทานวันละ ๓ เวลา หรือรับประทานน้ำยา เปล่า จนหมดน้ำยา กลีบดอก ชงกับน้ำรับประทานเพื่อลดความดัน ลดไขมันในเลือด ทำแยก


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๑๐ ขมิ้นชัน สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดี แก้ไข้เรื้อรัง แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ธาตุพิการ ขับ ผายลม สมานแผล เหง้าสด แก้โรคเหงือกบวมเป็นหนอง รักษาแผลสด แก้โรคกระเพาะ แก้ ไข้คลั่งเพ้อ แก้ไข้เรื้อรังผอมเหลือง แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องร่วง แก้บิด พอกแผลแก้เคล็ดขัดยอก ขับผายลมคุมธาตุ หยอดตาแก้ตาบวม ตาแดง ทาแผลถลอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ท้องอืดเฟ้อ รักษาแผลในกระเพาะ อาหาร เหง้าแห้ง บดเป็นผงเคี่ยวกับน้ำมันพืชทำน้ำมันใส่แผลสด ผสมน้ำทาผิว แก้เม็ดผดผื่นคัน ไพล สรรพคุณ ขับระดู ขับเลือดเสีย แก้ปวดเมื่อย เหง้า เป็นยาขับลม ขับประจำเดือนสตรี มีฤทธิ์ระบายอ่อน ๆ แก้บิด สมานลำไส้ เหง้าสด ฝนทาแก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา และสมานแผล ต้น รสฝาดขื่นเอียน แก้ธาตุพิการ อุจจาระไม่เป็นปกติ ใบ รสขื่นเอียน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อยปวด ดอก รสขื่น กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน แก้ช้ำใน ทำลายเลือดเสีย ขับประจำเดือนสตรี


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๑๑ นวัตกรรม แผ่นลดความร้อน HERBS FOR HEAT สำหรับลดปิตตะ โรงพยาบาลกาบเชิง จ.สุรินทร์ บทนำ ไม่มีใครรู้ว่าโลกร้อนมากเพียงเที่จะ “ปลอดภัย” แต่ที่เรารู้ก็คือ ภาวะโลกร้อนกำลังก่อให้เกิดอันตรายต่อ ผู้คนและระบบนิเวศ ซึ่งความจริงที่เราเห็นได้ก็คือ ธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย ปะการังที่กำลังตาย ระดับน้ำทะเลที่ กำลังเพิ่มสูงขึ้น และคลื่นความร้อนที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้ แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น และมีการ คาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า “ฤดูร้อนปี ๒๕๖๒ จะร้อนกว่าปี ๒๕๖๑ โดยจะร้อนกว่าปกติประมาณ ๑-๒ องศาเซลเซียส” จึงเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า ความร้อนระดับนี้มีผลอย่างไรต่อสุขภาพของเราบ้าง ซึ่งหลายคน อาจเริ่มรับรู้ได้จากข้อมูลของกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพบว่า “คนไทย เจ็บป่วยด้วยโรคจากความร้อนเพิ่มขึ้นทุกปี” จึงอาจกล่าวได้ว่า “ภาวะโลกร้อน” ที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ยังส่งผล โดยตรงต่อ “ภาวะโรคร้อน” ที่เกิดกับร่างกายเรา และถือเป็นภัยเงียบที่สำคัญที่มาพร้อมกับความเจิดจ้าของ แสงอาทิตย์ โดย “ภาวะโรคร้อน” ที่เรากำลังพูดถึงนั้นถูกแสดงออกมาให้เห็นได้เด่นชัดคือ ภาวะความร้อนในร่างกาย ที่ถูกตีขึ้น ซึ่งแสดงอาการออกมาในรูแบบของอาการต่าง ๆ โดยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอาการที่ร้อน จัดโดยตรง ได้แก่เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้งทั้งหลาย แต่ใช่ว่าคนที่ นั่งทำงานในห้องปรับอากาศ หรือหมดตัวอยู่ในบ้าน จะหนีพ้น “โรค” จากความร้อนไปได้อย่างง่าย ๆ เพราะยังมี อีกหลายปัจจัยที่ส่งผลทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตแบบไม่รู้ตัว นอกจากนี้ในทางการแพทย์แผนไทย ยังมองว่าภาวะความร้อนจากภายนอกที่เข้ามากระทบร่างกายนั้น ส่งผลต่อธาตุไฟในร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดความสมดุล และมักแสดงอาการออกมา เช่น ปวดศีรษะ ตาแดงร้อน หรือปวดกระบอกตา ตาพร่ามัว อาการอักเสบ บวม แดง ร้อน บริเวณผิวหนังภายนอก รวมไปถึงภาวะความดัน โลหิตสูงที่เกิดจากภาวะความร้อนภายนอกมากระตุ้น ดังนั้นการลดภาวะความร้อนจึงมุ่งเน้นไปที่การใช้สมุนไพร หรือตำรับยาที่มีรสเย็นเพื่อลดความร้อน ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาและพัฒนารูปแบบของตำรับยาสมุนไพรที่มีรสเย็นขึ้นมา เพื่อใช้ลดความ ร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกาย ณ ขณะนั้น ซึ่งเป็นการบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื่องต้น รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนและ ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากความร้อนในร่างกายที่สูงเกินไป


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๑๒ คำสำคัญ ปิตตะ คือระบบการทำงานที่ควบคุมการย่อย การเผาผลาญพลังงาน รวมถึงความร้อนของ ร่างกาย วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใช้สำหรับบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น รวมถึงลด ภาวะแทรกซ้อนและความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากความร้อนในร่างกายที่สูงเกินไป ๒.พัฒนารูปแบบของตำรับยาพอกเย็นขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการใช้งาน วัตถุดิบ ใบสะเดา เถาบอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร หัวเปราะหอม อย่างละ ๑๐๐ กรัม ดินสอพองสะตุ ๕๐๐ กรัม *สมุนไพรทุกอย่าง นำมาอบให้แห้งและบดผ่านแร่งเบอร์ ๑๐๐ อุปกรณ์ ซองชาเยื่อกระดาษ ขนาด ๖x ๑๐ เซนติเมตร เครื่องซีลปิดปากถุง Fixomull stretch กว้างขนาด ๕ เซนติเมตร ซองสำหรับบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการดำเนินการ ๑.นำสมุนไพรทั้งหมดที่บดผ่านแร่งเบอร์ ๑๐๐ มาผสมกันในอัตราส่วนที่กำหนด ๒.จากนั้นแบ่งบรรจุลงในซองชาเยื่อกระดาษ ถุงละ ๕ กรัม ซีลถุง และใส่บรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้ ให้เรียบร้อย วิธีการใช้งาน หรือการพัฒนาต่อเนื่อง ๑.แช่แผ่นลดความร้อนลงในน้ำสะอาด ๓๐ วินาที – ๑ นาที ขยำแผ่นลดความร้อนเบา ๆ เพื่อให้ตัวยาเข้า กัน บีบน้ำออกจากแผ่นลดความร้อนให้เปียกหมาด ๆ ๒.จากนั้นนำแผ่นแปะลดความร้อนในข้อที่ ๑ วางลงบริเวณที่ต้องการลดความร้อน ลอกแผ่นฟิล์มออก แปะทับบนแผ่นลดความร้อน เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดทิ้งไว้จนแห้ง จากนั้นนำแผ่นแปะลดความร้อนออก ข้อห้าม/ข้อควรระวัง ห้ามใช้บริเวณที่มีแผลเปิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ระวังการใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้สมุนไพรดังกล่าว ผลจากการทดลองใช้แผ่นลดความร้อน HERBS FOR HEAT ๑.ใช้ในผู้ที่มีค่าความดันโลหิต ขณะนั้นตั้งแต่ ๑๔๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป จำนวน ๒๐ คน โดยแปะ แผ่นลดความร้อนบริเวณหน้าผากทิ้งไว้ ๑๐ นาที พบว่าค่าความดันโลหิตของผู้เข้าร่วมการทดสอบมีค่าลดลงทุกคน โดยค่าความดันโลหิตเฉลี่ยลดลงจาก ๑๖๐/๙๘ มิลลิเมตรปรอท เป็น ๑๓๓/๘๒ มิลลิเมตรปรอท ๒.ใช้ในผู้ที่มีอาการปวดศีรษะจำนวน ๑๐ คน โดยแปะแผ่นลดความร้อนบริเวณหน้าผากทิ้งไว้ ๑๐ นาที พบว่าอาการปวดศีรษะในผู้เข้าร่วมการทดสอบอาการดีขึ้นทุกคนโดยค่าเฉลี่ยของอาการปวดศีรษะ (pain score) ลดลงจาก ๕ เหลือ ๓ ข้อเสนอแนะ การทดสอบประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการลดภาวะความดันโลหิตนั้น ควรทำการทดสอบ ควบคู่กับกลุ่มควบคุมอื่น ๆ เช่น กลุ่มที่นอนพักเพื่อ Observe ความดันโลหิตกลุ่มที่ได้รับยาลดความดันโลหิตขณะ นอนพัก เป็นต้น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๑๒ จังหวัดยโสธรได้รวบรวมพันธุ์ข้าว 30 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวสุพรรณบุรี ข้าวผาแดง ข้าวขาวคำ ข้าวคำผาย ข้าวเหนียวอุบล ข้าวมะลิดำ ข้าวโสมาลี ข้าวธัญญสิริน ข้าวนางหก ข้าวกอเดียว ข้าวมะลิแดง ข้าวมะลินิล 7 ข้าวสันป่าตอง 1 ข้างเหลืองบุญมา ข้าว กข.22 ข้าวหอมใบเตย ข้าวทับทิมชุมแพ ข้าวขี้ตมหอม ข้าวเขี้ยวงู (หนัก) ข้าวอีเตี้ย ข้าวมะลิดำหนองคาย ข้าวเจ้าเหลือง ข้าว กข.6 ข้าวเหรียญทอง ข้าวดอหางฮี ข้าว กข.15 ข้าวเจ้าหอม ข้าวเหนียวมะลิ ข้าวน่าน 59 ข้าวก่ำ ย โสธร YASOTHON พท.ป.สุวิมล สุมลตรี รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๑๔ .....ประโยชน์ของข้าว….. 1. ข้าวเป็นอาหาร ข้าวตังออร์แกนิคหน้าธัญพืช ข้าวโป่ง ข้าวต้มมัด


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๑๕ 2. ข้าวเป็นยา น้ำซาวข้าวสรรพคุณ บำรุงไขข้อ แก้อัลไซเมอร์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้นอ่อนข้าวสาลี สรรพคุณ ช่วยขับล้างพิษในร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต บรรเทาอาการอ่อนเพลียรักษาระดับน้ำตาลใน เลือด ป้องกันโรคมะเร็ง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๑๖ โรงงานผลิตยาสมุนไพรโรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร เป็นโรงงานต้นแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อใช้ในโรงพยาบาลกุดชุมและ เผยแพร่การใช้สู่ระบบบริการสุขภาพของจังหวัดยโสธร เป็นการพัฒนางานด้านสมุนไพรให้เป็นยา ที่มีคุณภาพ สามารถนำมาใช้ในสถานบริการสาธารณสุขและชุมชน ทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน โดยจังหวัดสนับสนุนให้ ชุมชนต่าง ๆ ปลูกสมุนไพรที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาป้อนให้กับโรงพยาบาลเป็นฐานการผลิตยาที่มีคุณภาพ ตามบัญชียาหลักแห่งชาติของจังหวัด ทำให้ชุมชนมีรายได้ ส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรของโรงพยาบาลกุดชุม


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๑๗ • ยาประสะไพล สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ขับน้ำคาวปลา • ยาฟ้าทะลายโจร สรรพคุณ แก้ไข้ เจ็บคอ ท้องเสียไม่ติดเชื้อ • ยาขมิ้นชัน สรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม รักษาแผลในกระเพาะอาหาร • ยาอายุวัฒนะ สรรพคุณ บำรุงร่างกาย เจริญอาหาร ยาระบายอย่างอ่อน • ส้มแขก สรรพคุณ เร่งอัตราการเผาผลาญอาหาร ลดไขมันส่วนเกิน ช่วยระบาย • ยาผสมเพชรสังฆาต สรรพคุณ บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร • ยาผสมเถาวัลย์เปรียง สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย • ขี้ผึ้งพญายอ สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดแสบร้อน จากเริมงูสวัด แมลงสัตว์กัดต่อย • ขี้ผึ้งไพล สรรพคุณ บรรเทาอาการปวด ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้เคล็ด ขัดยอก • ยาดมไม้หอม สรรพคุณ ใช้สูดดม บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ • ยาธาตุอบเชย สรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม • ลูกประคบสมุนไพร สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดอาการอักเสบ ปวดบวม กระตุ้นการไหลเวียน เลือด


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๑๘ • ยาต้มเบาหวาน สรรพคุณ เสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวาน • ยาอบสมุนไพร สรรพคุณ บรรเทาปวดเมื่อย บำรุงผิวพรรณ ส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด • ยาต้มโคคลาน สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย • น้ำมันไพล สรรพคุณ บรรเทาอาการ ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้เคล็ด ขัดยอก • สเปรย์ตะไคร้หอม สรรพคุณ ป้องกันยุง • พิมเสนน้ำ สรรพคุณ บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้วิงเวียนศีรษะ • ครีมมะขาม สรรพคุณ บำรุงผิว ลดฝ้า เพื่อผิวหน้าเนียนนุ่ม ชุ่มชื่นนาน • ยาชงหญ้าดอกขาว สรรพคุณ ลดอาการอยากบุหรี่ • ยาชงตรีผลา สรรพคุณ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ • ยาชงหญ้าหนวดแมว สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขับนิ่วขนาดเล็ก • ยาชงชุมเห็ดเทศ สรรพคุณ ช่วยระบายท้อง สำหรับผู้มีอาการท้องผูก • ยาชาชงรางจืด สรรพคุณ ถอนพิษเบื่อเมา ขับสารพิษในร่างกาย • ยาชงย่านางแดง สรรพคุณ ขับสารพิษในร่างกาย แก้โลหิตผิดฤดู แก้ผิดสำแดง บำรุงน้ำนมหญิงคลอดบุตร ใหม่ • ผงขัดหน้าสมุนไพร สรรพคุณ ขจัดสิวเสี้ยน ลบรอยด่างดำ ฝ้าแดด ฝ้าลม • ผงพอกหน้าสมุนไพร สรรพคุณ ช่วยลดรอยจุดด่างดำ ทำให้ผิวหน้าเปล่งปลั่ง สดใส • ยาเหลืองปิดสมุทร สรรพคุณ บรรเทาอาการท้องเสียที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ • ยาปราบชมพูทวีป สรรพคุณ บรรเทาอาการหวัดในระยะแรก และบรรเทาอาการเนื่องจากอาการแพ้ อากาศ • ผงแช่เท้า สรรพคุณ ลดอาการคันเท้า และกลิ่นไม่พึงประสงค์ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต • ยาชงขิง สรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ • ยาชงดอกคำฝอย สรรพคุณ บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ลดระดับคอเรสเตอรอล • ยาบำรุงโลหิต สรรพคุณ บำรุงโลหิต • ยาบำรุงน้ำนม สรรพคุณ ช่วยบำรุงน้ำนมในมารดาหลังคลอด • กลีเซอรีนพญายอ สรรพคุณ รักษาแผลในปาก และเริมในปาก • ทิงเจอร์ทองพันชั่ง สรรพคุณ แก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา น้ำกัดเท้า • ยาอมบ๊วย สรรพคุณ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ศ รีสะเกษ ๕๑๘ SISAKET นายกฤษณะ คตสุข รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคีจีน… สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ ตำบลโพนข่า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๒๐ หมอพื้นบ้าน ปราชญ์พื้นเมือง...ศรีสะเกษ ชื่อ - สกุล พ่อหมอธีระพัฒน์ ย่อทอง วัน - เดือน - ปีเกิดเกิดวันที่ 19 เดือน ตุลาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ สถานที่ติดต่อ บ้านเลขที่ 101 หมู่ที่ 11 ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ความชำนาญ เป็นหมอพื้นบ้านที่มีความชำนาญด้านพิธีกรรม โดยเฉพาะการสเดาะเคราะห์ต่อชะตา การดูฤกษ์ ดูยาม โดยได้รับการ สืบทอดและศึกษาเพิ่มเติมจากอาจารย์สมิง เสียงเพราะซึ่งเป็นหมอพื้นบ้าน หรือหมอสูตรในชุมชน มีประสบการณ์การรักษาประมาณ 8 ปี ชื่อ - สกุล พ่อหมอบุรี แก้วคำ วัน - เดือน - ปีเกิดเกิดวันที่ 17 เดือน พฤศจิกายน ปีพุทธศักราช 2492 สถานที่ติดต่อ บ้านเลขที่ 157 บ้านละไทย ตำบลละลม อำเภอภูสิงห์จังหวัดศรีสะเกษ ความชำนาญ เป็นหมอพื้นบ้านที่มีความชำนาญด้านการนวด พื้นบ้าน โดยเฉพาะการแก้อาการไหล่ติด สะบักจม โดยเริ่มนวดจับเส้นรักษา ผู้ป่วยตั้งแต่อายุ 15 ปี มีประสบการณ์การรักษามากว่า 55 ปี


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๒๑ การนวดขิดเส้น การรักษาอาการเช่น ไหล่ติด สะบักจม อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ โดยมีขั้นตอนการตรวจ วินิจฉัยโรคดังนี้ 1.การตรวจจุดชีพจรท้อง ตรวจรอบ ๆ สะดือโดยใช้นิ้วทั้งสาม (นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง) กดรอบ ๆ สะดือหรือใช้ฝ่ามือทาบบริเวณท้องด้านบนของสะดือ จากนั้นเอียงฝ่ามือด้านนิ้วก้อยกดลงเหนือสะดือ เพื่อตรวจสอบว่าเส้น/เอ็นบริเวณนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติหรือไม่ 2. การตรวจชีพจรที่ข้อมือ แขน เพื่อตรวจดู อัตราการไหลเวียนของโลหิต 3. การสังเกตอาการของผู้มารับบริการตั้งแต่เริ่มเข้ามาหาหมอ เช่น ลักษณะการเดิน สีหน้าและสีผิว ลักษณะการหายใจและลมหายใจ จับฝ่ามือ ฝ่าเท้า เพื่อตรวจสอบอาการภายใน 4. การสอบถาม อาการโดยทั่วไป เช่น อาการผิดปกติเกิดจากสาเหตุใด กินอาหารอะไรไปบ้าง กินยาถ่ายพยาธิมาหรือเปล่า (เพราะ อาหารบางอย่างและการถ่ายพยาธิจะทำให้เกิดลมในกระเพาะ) เพื่อให้ทราบสาเหตุของความผิดปกติ 5. การทำ การยกแขน ยกขาเพื่อดูลักษณะของกล้ามเนื้อ โดยวิธีการรักษาหมอจะใช้วิธีการจับเส้นหรือขิดเส้น ซึ่งเป็นวิธีการ นวดพื้นบ้านของภาคอีสาน โดยการใช้หัวแม่มือกดบนเส้นด้านหนึ่ง แล้วใช้ 3 นิ้ว(นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง) กดรับ อีกด้านหนึ่งแล้วเขี่ยตวัดนิ้วหัวแม่มือขึ้นไป คนละด้านตามแนวเส้น ทำให้เส้นคลาย อ่อนตัว รู้สึกสบาย หาย ปวด เป็นเทคนิคการกดเส้นเอ็นที่ใช้กับส่วนของร่างกายบริเวณที่มีความแข็ง เช่น ขมับ หลัง หน้าแข้ง เป็นต้น ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๒๒ การสะเดาะเคราะห์เป็นการทำพิธีตามความเชื่อโบราณว่าจะสามารถส่งเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้นมักรวม ไปถึงการต่ออายุ หรือแก้ไขสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดีการเริ่มทำบุญตั้งแต่ต้นปีก็จะเพิ่มดวง เสริมสง่าราศีให้ชีวิต มีความสุขและประสบความสำเร็จตลอดทั้งปีและตลอดไป ทั้งนี้พิธีสืบชะตา ต่ออายุ และสะเดาะเคราะห์ เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่กระจายอยู่ในวัฒนธรรมแถบอีสาน โดยเฉพาะในหมู่ชาวพุทธ รูปแบบประเพณี ขึ้นอยู่กับ วัฒนธรรมของท้องถิ่น สำหรับการสะเดาะเคราะห์ที่ชาวอีสานนิยมกระทำนั้นคือ การแก้กรั้ว ซึ่งเป็นศาสตร์และ ศิลป์ถิ่นภูมิปัญญาชนชาติพันธุ์ ขะแมร์ ศรีษะเกษ โดยจะดูและทำนายจากดวงชะตาจากวัน เวลา ที่เกิด ซึ่งมีค่าครู ในการทำพิธี จำนวน 24 บาท


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๒๒ ตำรับยาริดสีดวงทวาร การแพทย์แผนไทย ริดสีดวงทวาร เป็นโรคที่มีลักษณะร้อนแห้งชื้น คือมี การกำเริบทั้งธาตุลม ธาตุน้ำ และธาตุไฟหรือปิตตะเป็นหลักการดูแลระบบย่อย อาหารเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด ดูเหมือนว่าขมิ้นชันจะเป็นสมุนไพรที่ช่วยย่อยโดย ไม่ไปกระทบต่อธาตุใด ทั้งยังมีฤทธิ์ลดการอักเสบฝาดสมานช่วยให้เนื้อเยื่อ กระชับขึ้นและยังช่วยฆ่าเชื้อโรคโดยสามารถใช้ได้ทั้งการกินและการทาน นอกจากนี้ “เพชรสังฆาต” ยังมีฤทธิ์ลดการอักเสบและช่วยทำให้กล้ามเนื้อ กระชับขึ้นเช่นกันใช้เป็นยากิน นอกจากการใช้สมุนไพรพื้นฐานแล้ว ยังต้องดู สาเหตุเกิดกำเริบของริดสีดวง อีกด้วย ตัวเอย่าง เช่น อำ นาจเจริญ AMNAT CHAROEN นางสาวศิริพร ประทีปอรุโณทัย รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๒๔ เกิดจากการกำเริบของธาตุลม มักเป็นในผู้สูงอายุมีลักษณะแห้งและเย็น ริดสีดวงไม่อักเสบไม่มีเลือดออก จะมีอาการปวดไม่เฉพาะที่หัวริดสีดวง แต่จะปวดหลัง ปวดท้อง ปวดกระเพาะปัสสาวะ มีอารมณ์ที่แปรปรวน เครียดวิตกกังวล โดยทั่วไปหัวในลักษณะนี้ต้องใช้สมุนไพรที่มีความชุ่มชื่นหล่อลื่น เช่น งา แมงลัก กระเจี๊ยบมอญ เม็ดในมะม่วง เป็นต้น เกิดจากการดำเริบของธาตุไฟ มักเกิดจากการกินอาหารรสจัด จะมีอาการอักเสบ มีเลือดออกที่หัวริดสีดวง รู้สึกร้อนวูบวาบตามตัว มักโกรธ ขี้โมโห ตากแดดมาก เสียน้ำมาก กินน้ำน้อย ดังนั้นควรงดอาหารทด อาหารหมัก ดอก อาหารมัน อาหารที่คุณสมบัติร้อน เช่น มันฝรั่ง มะเขือ มะเขือเทศ พริก โดยเฉพาะในช่วงที่เลือดออก และควรกินผักสดให้มาก ๆ สมุนไพรที่ควรใช้เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น เช่น บัวบก ย่านาง ไผ่ ผักบุ้งจีนเป็นต้น เกิดจากการกำเริบของธาตุน้ำ มักเกิดในคนทำงานที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว นั่งเป็นประจำหัวริดสีดวงจะนิ่ม ไม่อักเสบไม่มีเลือดออกโผล่ออกมามาก มีมูกปนมากับอุจจาระ จึงต้องงดอาหารที่จะไปเพิ่มมูกหรือเมือกมัน ร่างกาย เช่นนม ผลิตภัณฑ์จากนม โดยให้รับประทานสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น พริกไทย ขิง ดีปลี เหงือกปลาหมอ อัคคีทวาร ต้นกระเจี๊ยบแดง ระยะของโรคริดสีดวงทวาร ระยะที่ ๑ มีเลือดไหล ระยะที่ ๒ มีหัวริดสีดวงยื่นออกมาขณะถ่าย ระยะที่ ๓ ก่อนและหลังถ่ายมีหัวยื่นออกมาใช้นิ้วดันกลับ ระยะที่ ๔ หัวยื่นออกมาตลอด “ระยะที่ ๑ และ ๒ สะดวกต่อการรักษาทางแพทย์แผนไทย โดยการจ่ายยาสมุนไพร และการให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติตัว สาเหตุท้องผูกบ่อย ๆ ท้องเสียเรื้อรัง ตั้งครรภ์ นั่งแช่นาน ๆ อายุที่มากขึ้น มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก การรักษา การฉีดยา การจี้ การผ่าตัดริดสีดวงทวารออก ผักเสี้ยนผี สรรพคุณ ขับหนองในร่างกาย แก้ฝีภายใน ราก แก้โรคผอมแห้งใน สตรี แก้วัณโรค รากและเมล็ด ช่วยกระตุ้นหัวใจ แก้โรคเลือดออกตาม ไรฟัน ทั้งต้น ขับหนองในร่างกายให้แห้ง ใช้ภายในเป็นยาแก้ฝีในปอด ลำไส้ ตับ แก้โรคไขข้ออักเสบ โรคบิด ใช้ล้างแผลเรื้อรัง ใบและเมล็ด ขับน้ำเหลืองเสีย ดอก เป็นยาฆ่าเชื้อโรค ฆ่าพยาธิ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๒๕ สมอไทย สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้น้ำดี รู้ถ่ายรู้ปิดเอง ขับน้ำเหลืองเสีย ทั้ง ต้น ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้อาการเสียวคอและเป็นยาฝาดสมาน ดอก รักษาโรคบิด ผลอ่อน เป็นยาระบาย ผลแก่ เป็นยาฝาดสมาน แก้ ลมจุกเสียด เป็นยาเจริญอาหาร ผล ขับน้ำเหลืองเสีย เนื้อหุ้มเมล็ด แก้ บิด แก้ท้องผูก ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้ท้องร่วงเรื้อรัง ข้าวเย็นเหนือ สรรพคุณ แก้ประดง แก้มะเร็งคุดทะราด แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ น้ำเหลืองเสีย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรค เข้าข้อออกดอก เข้าข้อ ฝี แผลเน่าเปื่อยพุพอง ทำให้แผลฝียุบแห้ง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ดับ พิษในกระดูก แก้ปัสสาวะพิการ แก้อักเสบในร่างกาย เพชรสังฆาต สรรพคุณ แก้ลักปิดลักเปิด ขับลมในลำไส้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก เถา รสร้อนขมคัน คั้นน้ำดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ประจำเดือนไม่ ปกติ แก้ริดสีดวงทวาร แก้กระดูกแตกหักซ้น ขับลมในลำไส้ แก้ ริดสีดวงทวารหนักทั้งชนิดกลีบมะไฟและเดือยไก่ กำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณ บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต ขับผายลม แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ ร้อน แก้ไข้ แก้ปวดข้อ ลำต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มหรือดองสุราดื่ม บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกหรือขับโลหิตระดู เป็นยาระบาย แก้ปวดเมื่อย ราก รสเมาเบื่อฝาด ต้มหรือดองสุรา ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต ดับพิษ ร้อนของโลหิต


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๒๖ ข้าวเย็นใต้ สรรพคุณ แก้มะเร็ง แก้เส้นพิการ น้ำเหลืองเสีย แก้กามโรค แก้แผล เปื่อยพุพอง แก้อัมพาต แก้ประดง แก้คุดทะราด แก้ผื่นคัน แก้ดับพิษ ในกระดูก แก้ปัสสาวะ ราก แก้พุพอง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ปัสสาวะ พิการ แก้พยาธิในท้อง ใบ แก้ปวดบวมอักเสบ ดอก แก้โรคผิวหนัง แก้ คุดทะราด ผล แก้ลมริดสีดวง สรรพคุณ บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร ส่วนประกอบ กำแพงเจ็ดชั้น กำแพงเก้าชั้น ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ผักเสี้ยนผี อัคคีทวาร เจตพังคี สมอไทย เพชรสังฆาต วิธีใช้ ใส่น้ำพอท่วม เคี่ยวไฟอ่อน ต้มสามเอาหนึ่ง รับประทานครั้งละ ๑ แก้ว เช้าเย็น ผลิตภัณฑ์โรงพยาบาลพนา จ.อำนาจเจริญ “สมุนไพรพนา” เป็นผลิตภัณฑ์แต่เดิมใช่ชื่อว่า สมุนไพรพนา และได้รับการปรับเป็นแบนด์“พนาพรรณ” เมื่อปี ๒๕๕๘ โดยได้รับความร่วมมือกับทาง อพ.สธ. ในการออกแบบและปรับปรุงผลิตภัณฑ์สมุนไพรพนา จนเป็น ที่โดดเด่นน่าชใช้


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๒๗ ชาชงหญ้าดอกขาว ลด ความหยากบุหรี่ ชาชงรางจืด ช่วยขับล้าง สารพิษ ชาชงตรีผลาช่วยในการ ระบาย ลดไขมันในเลือด ชาชงหญ้าหนวดแมว ช่วยลดความดันโลหิต ชาชงกระเจี๊ยบ ช่วยขับ ปัสสาวะ ชาชงขิง ช่วยขับลม จุก แน่นท้อง ชาชงชุมเห็ดเทศ ช่วย ระบาย ครีมมะขามพลัส เถาวัลย์เปรียง บรรเทา การปวดกล้ามเนื้อ ลด การอักเสบของกล้ามเนื้อ ฟ้าทะลายโจรแก้ไข้แก้ ปวด บรรเทาอาการเจ็บ คอ พนายงแคปซูลเพื่อลด ไขมันในเลือด ระบาย อ่อน ๆ แก้ท้องผูก พนายงแคปซูล สูตร 2 ยาผสมเพชรสังฆาต แคปซูล ยาสหัศธาราแคปซูล สเปรย์ตะไคร้หอม ป้องกันยุงกัด หม่องพญา-ไพล แก้ปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ ครีมไพร บรรเทาอาการ บวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก ครีมไพรผสมพริก บรรเทาการปวด เคล็ด ยอกตามร่างกาย


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๒๘ นวัตกรรมสุขภาพ Papaya Latex Plaster (PLP) :พลาสเตอร์ยางมะละกอกำจัดหูด โรงพยาบาลลืออำนาจ ที่มาและความสำคัญ หูดเป็นโรคติดต่อทางผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Human Papiloma Virus:HPV) โดยกระตุ้นเซลล์ที่ ผิวหนังให้เกิดการหนาตัว และแข็ง เกิดได้กับผิวหนังทุกส่วนและแพร่กระจายได้จากการสัมผัส ลักษณะของหูด เช่น หูดธรรมดา หูดผิวเรียบ การรักษาใช้วิธีจี้เย็น ผ่าตัด เลเซอร์ ทายา เช่น กรดซาลิซาลิก ซึ่งต้องใช้การรักษาเป็น เวลาหลายวัน ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บและแสบมาก กลัวไม่ยอมมารักษาต่อเนื่อง ทำให้หูดแพร่กระจายตามร่างกาย แนวคิด ภูมิปัญญาพื้นบ้านใช้ยางมะละกอทาบริเวณที่เป็นหูด ซึ่งในยางมะละกอจะมีเอนไซม์ papain มีคุณสมบัติ เป็นเอนไซม์ในกลุ่ม โปรตีเอส (protease) ซึ่งเป็น proteolytic enzyme นวัตกรรมพลาสเตอร์กำจัดหูด วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อผลิตพลาสเตอร์ยางมะละกอกำจัดหูด ๒. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของพลาสเตอร์ยางมะละกอในการกำจัดหูด ชนิด หูดธรรมดา วัสดุอุปกรณ์ ๑. ยางมะละกอจากผลดิบ ๒. ผ้าก๊อช ๓. แผ่นพลาสเตอร์ขนาดต่าง ๆ ๔. ไซริงค์ ๕. ขวดพลาสติก ๖. มีด ๗. หลอดหยดสาร ๘. บีกเกอร์ขนาดเล็ก ขั้นตอนการดำเนินงาน ๑. รับสมัครผู้ป่วยที่ต้องการรักษาโดยสมัครใจจำนวน ๑๐ คน ชาย ๕ หญิง ๕ ๒. เก็บยางมะละกอจากผลดิบบนต้นโดยทำความสะอาดผลมะละกอด้วยน้ำเช็ดให้แห้ง ใช้มีดกรีดผล มะละกอโดยกรีดขึ้น ใช้ขวดพลาสติกกรองเก็บน้ำยางมะละกอ ๓. ตัดก๊อซเป็นชิ้นเล็ก ๆ ๒ ขนาดคือ ๐.๕ และ ๑ เซนติเมตร นำก๊อซที่ตัดวางลงบนพลาสเตอร์ หยดน้ำ ยางมะละกอลงบนก๊อซ ๑ และ ๒ ซีซี ๔. ทำการทดสอบประสิทธิภาพพลาสเตอร์ โดยเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่เป็นหูดด้วยน้ำเกลือ รอให้ผิว แห้ง ติดพลาสเตอร์ยางมะละกอบริเวณที่เป็นหูด นาน ๒ ชั่วโมง และแกะออก ทำต่อเนื่องทุกวัน ๆ ละ ๑ ครั้ง ใน เวลาเดิม


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๒๙ การผลิตพลาสเตอร์ PLP สามารถลผลิตได้จากพลาสเตอร์ติดแผลและก๊อชที่มีในโรงพยาบาลและพัฒนา ให้มีความติดทนได้โดยเลือกใช้พลาสเตอร์ติดแผลที่มีขายในท้องตลาอด พลาสเตอร์ PLP สามารถกำจัดหูดได้ดีทั้ง ในหญิงและชาย ข้อเสนอแนะในการศึกษา ๑. เกิดการระคายเคืองและคันในผู้ป่วยบางราย ๒. การเลือดชนิดพลาสเตอร์เพื่อนำมาใช้ควรเป็นพลาสเตอร์ที่มีการยึดเกาะกับผิวที่ดีเพราะยางมะละกอลื่น ๓. ยางมะละกอเกิดการเน่าเหม็นได้ง่ายต้องเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ ๒-๘ องศาเซลเซียส ๔. หลังกำจัดหูดบริเวณผิวหนังที่กำจัดหูดออกจะแห้งควรใช้โลชั่น หรือ เจลทาเพิ่มความชุ่มชื้น ๕. Papaya latex Plaster สามารถเก็บในตู้เย็นได้นาน ๑ เดือน ๖. ควรมีการติดตามผู้ป่วย เพราะสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ลูกประคบสมุนไพรแบบไอน้ำร้อนต่อเนื่อง (The continuous hot stream compression herbal ball) โรงพยาบาลชานุมาน ที่มาและความสำคัญ หลักการและเหตุ การประคบแบบเดิมจะใช้การนึ่งลูกประคบในกระทะไฟฟ้าจำนวนมาก และต้องเปิด เครื่องนึ่งก่อน ๑๕-๑๘ นาที และขณะทำการประคบ ผู้รักษาต้องเดินมาเปลี่ยนลูกประคบลูกใหม่เป็นระยะ ๆ โดย เฉลี่ยแล้วกว่าจะประคบคนไข้แล้วเสร็จ ต้องเปลี่ยนลูกประคบจำนวน ๕-๘ ลูก ซึ่งเสียเวลาและเกิดการล่าช้าของ การบริการ จากเหตุการณ์ดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้ทดลองสร้างนวัตกรรม “ลูกประคบสมุนไพรแบบไอน้ำร้อนต่อเนื่อง” เพื่อลดขั้นตอนการเดินไปเปลี่ยนลูกประคบหลาย ๆ รอบลง ทำให้ลดระยะเวลาการประคบ ก่อให้เกิดความพึง พอใจต่อเจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการ เป็นการพัฒนารูปแบบการดูแลการประคบสมุนไพรกับผู้ป่วยที่เหมาะสม ต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อลดระยะเวลาการให้บริการผู้ป่วย ทำให้การประคบสมุนไพรง่าย สะดวก และสามารถลด จำนวนการใช้ลูกประคบต่อคนไข้ ๑ รายได้ วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ ๑. เตารีดไอน้ำ ๒. เทปดำ ๓. ข้อต่อท่อ PVC ๔. ลูกประคบ ๕. ผ้าดิบ ๖. ด้าย


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๓๐ วิธีการศึกษาการดำเนินการ พัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมโดยใช้เตารีดไอน้ำแบบแขวนมาดัดแปลงให้ส่งไอน้ำร้อนอย่างต่อเนื่อง ควบคุมด้วย thermostat ที่โดนลูกประคบ เพื่อให้เครื่องทำงานเป็นพัก ๆ ทดสอบประสิทธิภาพและความ ปลอดภัย โดยทดสอบอุณหภูมิของลูกประคบก่อนมีการประคบ ด้วยการประคบที่ท้องแขนของผู้รักษาก่อนประคบ คนไข้จริงแต่ละครั้ง นำมาศึกษาในผู้ป่วยอาสาสมัคร จำนวน ๓ ราย โดยใช้แบบสอบถาม ความพึงพอใจ ใช้ เปรียบเทียบกับการใช้ลูกประคบที่นึ่งในแบบเดิม ผลการศึกษา ผู้ป่วยอาสาสมัคร จำนวน ๓ ราย โดบใช้แบบสอบถาม ความพึงพอใจ โดยอาสาสมัครได้ทดสอบประคบ สมุนไพรแบบเดิมที่แขนและขาซ้ายจนครบพร้อมจับเวลา จากนั้นให้ผู้ป่วยอาสาสมัครทดลองประคบโดยใช้ นวัตกรรม ที่แขนและขาขวา จับเวลา พบว่าใช้ได้ดี ให้ความรู้สึกษไม่แตกต่างกันและมีความพึงพอใจเนื่องจากไม่ได้ ใช้ลูกประคบปะปนกับคนอื่น ด้านระยะเวลาสามารถลดระยะเวลาตั้งหม้อ เฉลี่ย ๑๕ นาที ๔ วินาที และการ ประคบแบบเดิมจนแล้วเสร็จ เฉลี่ย ๒๖ นาที ๖ วินาที แต่นวัตกรรมใช้เวลาเฉลี่ย ๑๑ นาที ๓ วินาที สามารถลด ระยะเวลาลงได้มากกว่าการประคบแบบเดิม ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ นวัตกรรม “ลูกประคบสมุนไพรแบบไอน้ำร้อนต่อเนื่อง” สามารถนำไปใช้ในการประคบสมุนไพรในผู้มารับ บริการ ทำให้ลดระยะเวลาในการบริการ และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วยได้ Herb Ball สมุนไพรแช่เท้า โรงพยาบาลลืออำนาจ ที่มาและความสำคัญ เดิมการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาบริเวณเท้าทางการแพทย์แผนไทย จะให้การรักษาด้วยการ นวดและการแช่เท้าสมุนไพร ซึ่งการแช่เท้าด้วยสมุนไพรจะมีขั้นตอนและการเตรียมอุปกรณ์ที่ยุ่งยากและสมุนไพรที่ ใช้ในการแช่เท้าจะไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ทางงานการแพทย์แผนไทยจึงมีแนวคิดการพัฒนางานให้บริการ โดย คิดค้นนวัตกรรมสมุนไพรแช่เท้าเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยนวัตกรรม Herb Ball สมุนไพรแช่เท้า ที่ทำจาก สมุนไพรตำรับแช่เท้าของงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลลืออำนาจ ประกอบด้วยสมุนไพรที่มีสรรรพคุณเพิ่มการ ไหลเวียนโลหิต ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียด นำมาทำเป็นรูปแบบก้อนเพื่อให้การแช่เท้าที่สะดวก จัดเก็บได้นานและยังได้รับคุณค่าสมุนไพรตำรับครบถ้วน เช่นเดียวกับวิธีดั้งเดิม สำหรับใช้ให้บริการผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาบริเวณเท้า วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อพัฒนรูปแบบของสมุนไพรแช่เท้า ๒. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของ Herb Ball ในการรักษาอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๓๑ วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ การพัฒนานวัตกรรม ๑.๑ เตรียมสมุนไพรรูปแบบผงจากพืชสมุนไพร คือ ไพล ขมิ้นอ้อย ดีปลี ผิวมะกรูด น้ำมันมะพร้าว ๑.๒ นำผงสมุนไพรที่ได้ผสมกับ กรดซิตริก (Citric acid) หรือกรดมะนาว โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) หรือเบกกิ้งโซดา (Baking Soda) และแป้งข้าวโพด การทดสอบประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์ นำ Herb Ball มาใช้กับผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาบริเวณเท้าอย่างน้อย ๑ จุด โดยการตรวจเท้าด้วย Monofilament ที่มีอาการชาเท้าอยู่ในระดับเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูงจำนวน ๙๗ คนจำนวนที่สมัครใจเข้าร่วม โครงการและผ่านเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ ๑. แบบฟอร์มการตรวจเท้า ๒. แบบตรวจการรับความรู้สึกที่เท้า Monofilament ๓. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อนวัตกรรม การให้การรักษา ๑. ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการตรวจประเมินเท้าเบื้องต้น ๒. ตรวจการรับรู้ความรู้สึกเท้าด้วย Monofilament ๓. นำ Herb Ball ใส่ในน้ำอุ่น แช่เท้านาน ๒๐ นาที วันละ ๑ ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา ๔ สับดาห์ สรุปผลการศึกษา ๑. Herb Ball สมุนไพรแช่เท้า สามารถลดอาการชาบริเวณเท้าของผู้ป่วยเบาหวานได้ ๒. ผู้ป่วยรู้สึกสบายเท้ามากขึ้นแม้อาการชาบริเวณเท้าจะไม่ลดลง ๓. จากการใช้ Herb Ball ในกลุ่มตัวอย่างไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการชาบริเวณเท้าเพิ่มมากขึ้น ๔. ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจในรูปแบบของนวัตกรรมกับการนำมาใช้งาน การเก็บรักษาที่ง่ายและผลจาก การใช้นวัตกรรมมากที่สุด ประโยชน์ ๑. มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรแช่เท้าใช้ในโรงพยาบาล ๒. สะดวกต่อการใช้งาน ๓. สามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า ๔. สามารถสอนให้กลุ่มผู้ป่วยทำใช้เอง ทำผลิตภัณฑ์จำหน่ายเพิ่มรายได้


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๓๒ เครื่องแช่เท้าสมุนไพรไฮเทค (Herbal foot bath with TENS at SP6 acupuncture point) โรงพยาบาลชานุมาน บทนำ การแช่เท้าสมุนไพร เป็นการดูแลสุขภาพแบบแพทย์แผนไทย ซึ่งน้ำสมุนไพรอุ่นช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นำเลือดมาเลี้ยงบริเวณเท้ามากขึ้น ส่วนการกระตุ้นผิวหนังด้วยไฟฟ้า (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation :TENS) ช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานดีขึ้น จุดชานอินเจียว (Saninjiao:SP6) เป็นจุด ฝังเข็มของแพทย์แผนไทย มีคุณสมบัติหลายอย่างเพราะช่วยบำรุงอินของร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน ร่างกาย ยังช่วยลดอาการของโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน คณะผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ เครื่อง แช่เท้าสมุนไพรไฮเทค โดยผสมผสานเรื่องการแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพรของแพทย์แผนไทยมาเพิ่มศักยภาพให้สูงขึ้น ด้วยการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าทางผิวหนัง (TENS) ของเวชศาสตร์ฟื้นฟูร่วมกับองค์ความรู้ของแพทย์แผนจีนในด้าน จุดฝังเข็มมากระตุ้นบริเวณจุดชานอินเจียว (SP6) วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายบริเวณปลายเท้าของผู้ป่วยเบาหวานให้มีความรู้สึกดีขึ้น ลดอาการชา ปลายเท้า ป้องกันการเกิดแผลจากเท้าเบาหวาน วิธีการศึกษา นำแท่งเหล็กมายึดติดกับกะละมังแช่เท้าด้านใน ซึ่งภายในกะละมังมีลูกแก้ววางอยู่ ใช้แท่งเหล็กเป็นตัวส่ง กระแสไฟฟ้าจากขั้วลบจากเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (TENS) ผ่านน้ำสมุนไพรในกะละมังซึ่งมีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ ไปสู่ ขั้วบวกของเครื่องซึ่งติดไว้ที่จุดซานอินเจียว (SP6) น้ำสมุนไพรสำหรับแช่เท้าจะควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน ๓๘ องศาเซลเซียส ทำให้ผู้ป่วยได้รับการกระตุ้นเส้นประสาทปลายเท้าด้วยตัวยาสมุนไพรพร้อม ๆ กับการกระตุ้นจุด ชานอินเจียว (SP6) ทำให้ได้รับคุณสมบัติด้านการฝังเข็มนี้ของแพทย์จีนร่วมด้วย การดำเนินการ คณะผู้ประดิษฐ์นำนวัตกรรมเครื่องแช่เท้าสมุนไพรไฮเทคไปใช้กับผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายเท้า ส่งมาจากคลินิกเบาหวานจำนวน ๑๕ ราย และวัดความรู้สึกประสาทส่วนปลายที่เท้า ด้วย monofilament ก่อน และหลังการทดลอง ผลการศึกษา พบว่าผลระดับความรู้สึกประสาทส่วนปลายที่เท้า มีอาการเท่าเดิม ๑ ราย ดีขึ้น ๑๔ ราย เมื่อเปรียบเทียบ กับการแช่เท้ารูปแบบเดิม ผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากกว่า คิดเป็นร้อนละ ๙๓.๓๓ เนื่องจากการกระตุ้นไฟฟ้าทำให้ รู้สึกผ่อนคลายมากกว่าแบบเดิมและบริเวณเท้ามีความรู้สึกมากขึ้น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๓๓ ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ นวัตกรรม “เครื่องแช่เท้าสมุนไพรไฮเทค” ช่วยให้ผู้ป่วยเบาวหวานได้รับการกระตุ้นเส้นประสาทส่วน ปลายรับความรู้สึกไม่ให้สูญเสียไปจากกลไกของโรคเบาหวานร่วมกับการปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ การควบคุมเบาหวานทำได้ดีขึ้น ลดการเกิดแผลที่เท้าและป้องกันการสูญเสียเท้าจากแผลเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยได้มี ส่วนร่วมในการดูแลเท้าตนเอง (Health literacy) รวมถึงทำให้คลินิกแพทย์แผนไทย มีเครื่องมืออันทรงพลัง ที่ช่วย ป้องกันผู้ป่วยเบาหวานไม่ให้โดนตัดเท้าได้ในอนาคต


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๓๓ เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพ ที่รวมพลังสังคม เพื่อประชาชนสุขภาพดี อุ บลราชธานี UBON RATCHATHANI นายกฤษณะ คตสุข รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล “อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวย ราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดน อนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล” สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี ถนนพรหมเทพ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๓๕ หมอพื้นบ้าน ปราชญ์พื้นเมือง...อุบลราชธานี ชื่อ - สกุล พ่อหมออุดร สีถีระบุตร วัน - เดือน - ปีเกิดเกิดวันที่ 2 เดือน ธันวาคม ปีพุทธศักราช 2499 สถานที่ติดต่อ บ้านเลขที่ ๒๕ หมู่ที่ ๘ บ้านป่งคอม ตำบลหนองสิม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ความชำนาญ เป็นหมอพื้นบ้านที่มีความชำนาญการใช้สมุนไพร เพื่อการบำบัดรักษาผู้ป่วย เป็นหมอยาสมุนไพร หมอเป่าคาถา รักษาโรค เกี่ยวกับการถอนพิษไข้แมลงสัตว์กัดต่อย โรคกระเพาะอาหาร การบำรุง กำหนัด โรคตกขาว การแก้อาการผิดสำแดงในหญิงหลังคลอด โรคริดสีดวงทวาร แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และการบำรุงน้ำนม เกียรติภูมิ พ่อหมออุดร สีถีระบุตร เป็นหมอพื้นบ้านดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ ตำรับยาเด่น...หมอพื้นบ้าน ตำรับยาแก้โรคกระเพาะอาหาร ส่วนประกอบสมุนไพร ได้แก่แก่นขี้เห็น แก่นตีนนก แก่นแตงแซง แก่นเมยขาว แก่นเมยแดง บวบลม แก่นลุมพุก แก่นส้มเสี้ยว ตำรับยาสมุนไพรบำรุงกำลัง ส่วนประกอบสมุนไพรได้แก่กาวเครือแดงน้อย รากเขาใกล้ แก่นนมสาว แก่นลูกไส แก่นกางของปีบ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๓๖ ตำรับยาแก้ตกขาว ส่วนประกอบสมุนไพรได้แก่ หญ้าคมปาว ต้นดอกอึ่ง และรากก้นแก้ว ตำรับยาแก้โรคมะเร็งตับ ส่วนประกอบสมุนไพรได้แก่กำลังเสือโคร่ง ใบบัวบก แก่นขี้เห็น บวบลม รากก้นแก้ว แก่นแตงแซง แก่นลุมพุก ขมิ้นเครือ หญ้าคมปาว รากกะทกรก แก่นตีนนก ฯลฯ การนวดไทยซึ่งเป็นศาสตร์และศิลป์ของการดูแลสุขภาพที่มุ่งแก้ไขความผิดปกติองธาตุทั้งสี่ในร่างกาย โดยเฉพาะอาการติดขัดของเลือดและลมในเส้นด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ได้แก่ การกด การคลึง กรบีบ การทุบ การสับ การประคบ หรือกรรมวิธีอื่น ๆ ตามที่ได้มีการสืบทอดและพัฒนาสืบต่อกันมาโดยครูหอนวดไทยในอดีตจนถึง ปัจจุบัน ความเชื่อ จริยธรรมและความรู้ มิได้จำกัดเฉพาะในหมู่ประชาชนที่เป็นเกษตรกรผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งผู้ป่วย ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบโครงสร้างร่างกายเท่านั้น ยังมีประโยชน์ในการผ่อนคลายร่างกาย เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ ต้องการการบริการสุขภาพ ในรูปลักษณ์สมัยใหม่ จึงมีศักยภาพที่จะเติบโตในตลาดธุรกิจบริการสุขภาพซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศ หน้าที่ทางสังคม ค่านิยมและคุณค่า ได้เผยแพร่ไปสู่ชาวต่างชาติ ทั้ง ในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง มีชาวต่างประเทศสนใจมาเรียนการนวดไทย เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี กล่าวได้ว่า นวดไทย ไม่เพียงแค่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมของมนุษยชาติ นอกจากนี้ประวัติความเป็นมาของการนวดไทย ซึ่งเป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว เน้นไปที่ การกดจุด การนวด การดัด การดึง การใช้ความร้อน-ความเย็น การใช้ตัวยาสมุนไพรเพื่อทาถูนวด อบ ประคบ รวมทั้งการใช้พลังจากสมาธิจิต ในการกระทำต่อจุดต่าง ๆ บนร่างกายตามทฤษฎีเส้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการ ทำให้ลมและเลือดที่ไหลเวียนติดขัดในเส้นกลับมาเป็นปกติ สำหรับการฟื้นฟูการนวดแผนไทย ปัจจุบันได้กลายเป็น ส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพตนเอง ในการสาธารณสุขมูลฐานของประเทศ ภายใต้ระบบบริการสุขภาพและระบบ ประกันสุขภาพ มีการประยุกต์การนวดไทยไปใช้ในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ช่วยสร้างอาชีพและรายได้ จากธุรกิจบริการในทุกระดับเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ องค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการนวดไทย


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๓๗ ชุดผ้าย้อมคราม เป็นผ้าที่ย้อมด้วยครามซึ่งเป็นพืชธรรมชาติที่ย้อมผ้าแล้วมีเฉดสีฟ้าหรือสีน้ำเงินเข้ม ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลายมากขึ้นเนื่องจากสวมใส่แล้วเป็นธรรมชาติ มีความสวยงาม สามารถนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า รองเท้า กระโปรง กระเป๋า ฯลฯ ตามที่ผู้บริโภคมีความประสงค์ หรือใช้สำหรับเป็นผ้าพันคอในช่วงที่มีอากาศเย็น หรือหนาวจะเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย นอกจากจะซื้อไว้ใช้เองแล้ว ยังเหมาะสำหรับเป็นของฝากหรือของขวัญ เพราะมีความสวยงามและเป็นผ้าที่ทอจากสีของพื ชธรรมชาติไม่เ ป็นอัตรายต่อสิ่งแวดล้ อม การดูแลรักษา ควรซักมือ ขยี้เบาๆ ไม่ควรซักเครื่อง และควรตากในที่ร่มที่มีลมพัดผ่าน องค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการนวดไทย การจัดนิทรรศการนำเสนอเรื่องราวของหมอพื้นบ้าน ชำนาญการนวด หมอสุรศักดิ์ กองสุข อายุ 49 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 287 หมู่ 3 บ้านหนองแก ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคทั่วไปที่เกิดจาก กล้ามเนื้อ เส้น เอ็น ของร่างกายผิดปกติ การจัดแสดงสินค้า OTOP ชุดผ้าคราม นวัตกรรมสุขภาพหรือสินค้าที่จัดแสดง


Click to View FlipBook Version