The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการดำเนินงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 12 ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Kunnua Kandalf, 2023-02-13 03:30:37

รายงานผลการดำเนินงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 12 ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

รายงานผลการดำเนินงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 12 ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๕๑ องค์ความรู้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย...บึงกาฬ องค์ความรู้การรักษาของพ่อหมอจำนง ธรรมวาจารย์ หมอพื้นบ้าน จังหวัดบึงกาฬ โดยการเล่าเรื่องราวผ่านแผ่นพับความรู้และโปสเตอร์ที่นำมาจัด แสดงในงาน โดยหมอจำนงนั้นมีคนไข้ต้องดูแลรักษาอยู่ที่บ้านและชุมชน จึงไม่สามารถพบท่านในการจัดงานครั้งนี้ได้ แต่เรื่องราวของท่านได้ถูกนำมาเล่า สู่กันฟังโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและแพทย์แผนไทยจังหวัดบึงกาฬ ดังนี้ หมอ จำนง ธรรมวาจารย์นั้น เป็นผู้ที่มีความเสียสละ และเป็นที่ยอมรับนับถือของ ชาวบ้านชุมชนปากคาด เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2497 ปัจจุบันอายุ 66 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 245 หมู่ 9 ตำบลปากคาด อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ เมื่อตอนอายุ 15 ปี ได้เริ่มเรียนรู้เรื่องการรักษาผู้ป่วยด้วยยาสมุนไพรและการนวดจากบิดาซึ่งเป็นหมอพื้นบ้าน ต่อมาได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับธาตุทั้งสี่ ได้แก่ ดิน นำ ลม ไฟ จากหนังสือตำราแพทย์แผนไทยเดิม และ เริ่มรักษาผู้ป่วยเมื่ออายุ 28 ปี ประสบการณ์การรักษาผู้ป่วยเป็นเวลาเกือบ 38 ปี โดยท่านจะรักษาด้วยการใช้ยา สมุนไพรหลายชนิดร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น ยารักษาริดสีดวงทวาร มีตัวยาสมุนไพร ประกอบด้วย กำแพงเจ็ดชั้น หนังไก่ เรื้อนกวาง ตองทุ่ง หนาวเดือน 5 และลุมพุก โดยนำสมุนไพรทั้งหมดห่อผ้าขาวบาง เติมน้ำท่วมสมุนไพร ต้ม 10-15 นาที กินต่างน้ำ สำหรับข้อห้ามนั้น ห้ามรับประทานอาหารแสลงจำพวก หน่อไม้ เครื่องในสัตว์ เหล้า เบียร์ ของหมักดอง และยาแก้ปวด ยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ประกอบด้วยสมุนไพร ม้ากระทืบโรง กฤษณา กะ ลำพัก ขอนดอก เถาวัลย์เปรียง และประดงเหลือง โดยนำสมุนไพรทั้งหมดห่อผ้าขาวบางใส่หม้อเติมน้ำจนท่วมตัว ยาต้ม 10-15 นาที รับประทานต่างน้ำ 2-3 วัน จะทำให้รู้สึกสบายตัว ข้อห้าม ห้ามรับประทานอาหารแสลง จำพวก หน่อไม้ เครื่องในสัตว์ เหล้า เบียร์ ของหมักดอง และยาแก้ปวด ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ประกอบด้วย ลมพุก เหมือดแอ บทคาย เหมือดคน ประดงแดง ประดงเหลือง และประดงขาว นำสมุนไพรทั้งหมด ห่อผ้าขาวบาง ใส่หม้อเติมน้ำจนท่วมตัวยาต้ม 10-15 นาที รับประทานต่างน้ำ 2-3 วัน จะทำให้รู้สึกสบายตัว ข้อห้าม ห้ามรับประทานอาหารแสลงจำพวก หน่อไม้ เครื่องในสัตว์ เหล้า เบียร์ ของหมักดอง และยาแก้ปวด


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข สมุนไพรเด่น...บึงกาฬ ๔๕๒ ชื่อเครื่องยา สมุนไพรสุมยา ได้จาก ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน รูปไข่ สีแดงหรือสีขาว ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา หอมแดง ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) หอมแกง (ภาคกลาง ภาคใต้) หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว (ภาค กลาง) หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว (พายัพ) ผักบั่ว (อีสาน) ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium ascalonicum L. ชื่อวงศ์ Amaryllidaceae สรรพคุณ เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ลดความร้อน แก้ไอ บำรุงผมให้งอกงาม ทำเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ไข้ที่ทำให้ร้อนใน ปวดกระบอกตา แสบร้อนตา น้ำตาไหล ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้โรคปากคอ ฆ่าเชื้อโรค ใช้ภายนอกแก้ลมพิษ ทาแก้สิว แก้พิษแมลงกัด ทาแก้อาการปวด บวมตามข้อ ทำให้ระบบย่อยอาหารดี เจริญอาหาร ทำให้ความดัน โลหิตต่ำ ลดไขมันในเลือด แก้อาการอักเสบต่างๆ ชื่อเครื่องยา สมุนไพรสุมยา ได้จาก ผิวผลชั้นนอก ผล น้ำจากผล ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา มะกรูด ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ใต้) มะหูด (หนองคาย) มะขูด มะขุน (เหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) โกร้ยเชียด (เขมร) ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC. ชื่อวงศ์ Rutaceae สรรพคุณ ผิวมะกรูด มีรสปร่าหอม ร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับระดู ขับผายลม เป็นยาบำรุงหัวใจ ผล ดองเป็นยาฟอกเลือด


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ในสตรี ช่วยขับระดู ขับลมในลําไส้ แก้จุกเสียด ลักปิดลักเปิด นํ้ามัน ๔๕๓ จากผิวช่วยป้องกันรังแค และทำให้เส้นผมดกดำเป็นเงางาม ผล รส เปรี้ยว กัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิตระดู ขับระดู ขับลมในลำไส้ ถอนพิษผิดสำแดง ขับลม แก้ ปวดท้องในเด็ก แก้เสมหะในลำคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอก โลหิตระดู ขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืด ช่วยเจริญอาหาร ใช้สระ ผมกันรังแค แก้ลมกองละเอียด กองหยาบ แก้เสมหะโลหะ ใช้ปรุง ยาหอม แก้ทางลม แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ สระผม ให้ดกดำ เงางาม รักษาชันนะตุ ชื่อเครื่องยา สมุนไพรสุมยา ได้จาก เหง้าและลำต้น ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ตะไคร้ ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) จะไคร (เหนือ) เซิดเกรย (เขมร สุรินทร์) ตะไคร้ (ภาคกลาง) ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวสิงไค (เขมร ปราจีนบุรี) เหลอะเกรย (เขมร สุรินทร์) ไคร (คาบสมุทร) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ชื่อวงศ์ Graminae (Poaceae) สรรพคุณ ต้น รสหอมปร่า ขับลม ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด แก้อาการเกร็ง ขับเหงื่อ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ทำให้เจริญอาหาร ลดความดันโลหิต เหง้า แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุ แก้กระษัย ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะขัด แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว เป็นยา รักษาเกลื้อน แก้ไข้หวัด ขับประจำเดือน ขับระดูขาว ใช้ภายนอกทา แก้อาการปวดบวมตามข้อ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด ใช้รักษาอาการบวมในเด็ก วัยกลางคน และคนชรา ช่วยกระตุ้นให้ตื่นตัว มีชีวิตชีวา ทำให้กระปรี้กระเปร่า คลายเครียด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อย อาหาร ช่วยเจริญอาหาร บรรเทาอาการปวดโรคข้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๕๔ ชื่อเครื่องยา สมุนไพรสุมยา ได้จาก ดอกตูม (ดอกที่โตเต็มที่ แต่ยังไม่บาน) ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา กานพลู ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) จันจี่ (เหนือ) ดอกจันทร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry) ชื่อวงศ์ Myrtaceae สรรพคุณ ดอก รสเผ็ด กระจายเสมหะ แก้เสมหะเหนียว แก้เลือดออกตาม ไรฟัน แก้ปวดฟัน ดับกลิ่นปาก แก้หืด เป็นยาทำให้ร้อนเมื่อถูก ผิวหนังทำให้ชา เป็นยาฆ่าเชื้อ แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปวด ท้อง มวนในลำไส้ แก้ลม แก้เหน็บชา แก้พิษโลหิต พิษน้ำเหลือง ขับน้ำคาวปลา ทำอุจจาระให้ปกติ แก้ธาตุทั้ง 4 พิการ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แก้ท้องเสีย ขับผายลม กดลมให้ลงสู่เบื้องต่ำ แก้สะอึก แก้ซางต่างๆ ขับระดู เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน โดยใช้สำสีชุบนำมาอุดที่ฟัน ระงับ การกระตุก ตะคริว ขับผายลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด ผสมยากลั้ว คอ แต่งกลิ่นอาหาร แต่กลิ่นสบู่ ยาสีฟัน ดับกลิ่นปาก ดับกลิ่นเหล้า ไล่ยุง ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) แก้ลม วิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลม จุกแน่นในท้อง ตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร บรรเทา อาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด แก้อาการ ท้องอืดเฟ้อ ขับลมในผู้ใหญ่ ที่มา : งานนิทรรศการมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติระดับภาค ครั้งที่ 12 ภาคอีสาน อ้างในฐานข้อมูลเครื่องยา สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๕๕ นวัตกรรม Inhalation Chamber อุปกรณ์ช่วยในการสุมยาในหัตถการสุมยา สำหรับประเภท หัตถการร้อน ประโยชน์ 1. ช่วยเพิ่มธาตุไฟ ขับธาตุน้ำส่วนเกิน กระตุ้นการไหลเวียนลม 2. ลดการคั่ง/อั้น/ของ ระบบน้ำและลม 3. ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจเป็นปกติ น้ำมันหอมระเหยช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก ปากและลำคอ ข้อบ่งใช้อุปกรณ์และหัตถการ ทางการแพทย์แผนไทย: เสมหะและศอเสมหะกำเริบ/สิงฆานิกา พิการ ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน : Nasal Congestion/Headache due to Acutenasopharynxgitis การสุมยาสมุนไพร ตัวยาประกอบด้วย หอมแดง ตะไคร้ มะกรูด กานพลู การบูร วิธีทำ ตำสมุนไพร พอแหลก หรือหั่น เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำใส่ในหม้อต้มสมุนไพร ต้มน้ำ 1-1.5 ลิตร ปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 80-100 องศา แล้วนำนวัตกรรม Inhalation Chamber ครอบหม้อต้มสมุนไพร สุมยาโดยอังใบหน้าบริเวณท่อไอน้ำ แล้ว จึงสูดไอน้ำ 4-5 ครั้ง จึงออกมาพัก ทำซ้ำ 15 นาที นวัตกรรมสุขภาพหรือสินค้าที่จัดแสดง


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๕๖ นอกจากนี้ยังมีสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น พวงกุญแจ/ที่รัดผม ของที่ระลึก หอมกลิ่นสมุนไพร , โคลนบำบัด ประกอบด้วย ดินสอพอง 15 กรัม ดินเหนียว 15 กรัม ฟ้าทะลายโจร 5 กรัม และน้ำเปล่า 45 มล., รวีระงับ Mud Therapy ข้อบ่งใช้ รักษากล้ามเนื้อ ข้ออักเสบฉับพลัน วิธีการใช้ นำยาผสมน้ำเย็น อัตราส่วน 1:1 ทารอบข้อและกล้ามเนื้อทิ้งไว้ให้แห้ง , ตำรับยาตะโจพิการ เสลดพังพอน ใน Alcohol 95 % , ตำรับยาวรรณรังสีและตำรับยาเทพรังษิต ผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๕๖ 1. วิสาหกิจชุมชน สมุนไพรฐานภูเลย “คุณค่าจากสมุนไพร ภูมิปัญญาไทยจากยอดภู” Excellent Herbs of Thai Wisdom from highland เ ลย LOEI พท.ป.ธนดล มางาม รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๕๘ น้ำมันคลายเส้น สเปรย์สมุนไพรฐานภูเลย สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลังช่วงเอว หรือใช้สูดดมเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียน ศีรษะ วิธีใช้ ทา ถู นวด บริเวณที่มีอาการ ส่วนประกอบสำคัญ น้ำมันไพล น้ำมันระกำ ว่านเอ็นเหลือง เถาเอ็นอ่อน เกล็ดสาระแหน่ ยาหม่องเสลดพังพอน สรรพคุณ บรรเทาอาการแมลงสัตว์ กัดต่อย วิธีใช้ ทา ถู นวด บริเวณที่มีอาการ ส่วนประกอบสำคัญ ใบเสลดพังพอน ไพล ว่านเอ็นเหลือง ยาดมโบราณ สรรพคุณ บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ บรรเทาหวัด คัดจมูก วิธ๊ใช้สูดดม เมื่อมีอาการ ส่วนประกอบสำคัญ โกศสอ โกศหัวบัว พริกไทยดำ กานพลู


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๕๙ 2. บริษัทไบโอไบรท์ (ประเทศไทย) จำกัด “จากเกษตรท้องถิ่น สู่ผลิตภัณฑ์มาตรฐานสากล” ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำธรรมชาติ บูมกรีนพลัส สารสกัดจากสับปะรดเข้มข้น วิธีใช้ คราบหนัก ผสม 1 ฝา ต่อน้ำ 1 ส่วนหรือไม่ผสมน้ำ เททิ้งไว้ 10-15 นาที ใช้แปรงขัดถูแล้วล้างออก คราบทั่วไป/ ฝาผนัง/ สุขภัณฑ์ ผสมน้ำ 1/3 ต่อน้ำ 5-10 ลิตร เช็ดถูกทำความสะอาดแล้วล้างออก ผลิตภัณฑ์ล้างผักผลไม้ บูมกรีนพลัส ทำความสะอาดผักและผลไม้และล้างสิ่งปนเปื้อน เอนไซม์เข้มข้น (สับปะรด, มะกรูด, มะนาว, ตะลิงปลิง) วิธีใช้ : 3 ขั้นตอน 1) ล้างผักผลไม้ด้วยน้ำสะอาด 1 ครั้ง 2) ผลมน้ำล้างผัก 1 ช้อนชา : น้ำ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 15-30 นาที 3) ล้างออกด้วยน้ำสะอาด


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๖๐ ผลิตภัณฑ์ล้างจานธรรมชาติ บูมกรีนพลัส ส่วนประกอบจาก มะกรูดและสับปะรด วิธีใช้ ปั๊ม 1-2 ครั้งบนฟองน้ำ ล้างภาชนะที่ต้องการ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือปั๊ม 2-3 ครั้ง ผสมน้ำ 0.5-1 ลิตร สามารถใช้ได้ทั้งล้างมือ และเครื่องล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้าธรรมชาติ บูมกรีนพลัส สารสกัดจาสับปะรดและมะนาวเข้มข้น วิธีใช้ ผสมผลัตภัณฑ์ 1 ฝา ต่อผ้า 10 ชิ้น ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือ บูมกรีน ส่วนประกอบจากมะเขือเทศ, มะนาว, สับปะรด, น้ำผึ้ง น้ำมันกอมระเหย วิธีใช้ปั๊มเจล 1-2 ครั้ง ผสมน้ำเล็กน้อย ถูกให้ทั่วมือแล้วล้างออกด้วยน้ำ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๖๑ เจลอาบน้ำ สารสกัดจากฟักข้าว วิธีใช้ปั๊มเจล 1-2 ครั้ง ถูกให้ทั่วร่างกาย แล้วล้างออก 3. ตัวยาสมุนไพรสด/แห้ง 3.1 ขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe. สรรพคุณ ขับลม บรรเทาอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ส่วนที่ใช้ เหง้า 3.2 กระชายดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker. สรรพคุณ บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย ส่วนที่ใช้ เหง้า


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๖๒ 3.3 ขมิ้นชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longaLinn. สรรพคุณ แก้ท้องอืด ขับลมในกระเพาะและลำไส้ ส่วนที่ใช้ เหง้า 3.4 ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunarRoxb. สรรพคุณ แก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก บวม ช่วยขับลมในล้ำไส้ ส่วนที่ใช้ เหง้า 3.5 กวาวเครือขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Pueraria candollei Graham ex Benth. สรรพคุณ บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อตามร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ผมแห้ง นอนไม่หลับ เพิ่มโอร์โมนเพศหญิง ส่วนที่ใช้ เหง้า


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๖๒ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลพระอาจารย์ฟั่น อาจาโร จังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งผลิตตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่อนุญาตให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ 16 ตำรับแพทย์ แผนไทย ดังนี้ 1. ตำรับยาศุขไสยาศน์อาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ คัมภีร์ธาตุพระนารายน์ ข้อบ่งใช้ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร วิธีการใช้ รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน ใช้น้ำผึ้งรวง หรือน้ำ ต้มสุกเป็นกระสาย ข้อห้ามใช้ 1. ห้ามใช้ในเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีไข้สูง 2. ห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท ส่วนกลาง เช่น ยานอน หลับ และยาต้านการชัก รวมทั้ง แอลกอฮอล์ หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ ส กลนคร SAKON NAKHON พท.ป.ธนดล มางาม รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๖๔ คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกัน เลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการ แข็งตัวของ เลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ร่วมกับ ยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจาก ตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง 3) ควรระวังในผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก ผู้ป่วยโรคกระเพาะ อาหารและกรดไหลย้อนเนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน 4) ยานี้อาจทำให้ง่วงซึมได้ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงาน 2. ตำรับยาทำลายพระสุเมรุอาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับยาคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เล่ม ๒ ข้อบ่งใช้แก้ลมจุกเสียด ลมเมื่อยขบในร่างกาย ลมสะดุ้ง และสั่นไปทั้งตัวลมเปลี่ยวดำ ลมอัมพฤกษ์อัมพาต วิธีการใช้ รับประทานก่อน อาหารครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้น้ำอ้อย แดงหรือน้ำนมโค เป็นน้ำกระสายยา หรือน้ำต้มสุกแทน ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือด เป็นลิ่ม (anticoagulant) และยา ต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรค ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก โรคกระเพาะ อาหาร และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน 3) ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยใน ปริมาณสูง 4) ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ 5) ควรระวังการใช้ยาอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจาก อาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้ 3. ตำรับยาแก้ลมเนาวนารีวาโยอาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับยาตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ข้อบ่งใช้แก้ลมเนาวนารีวาโย วิธีการใช้ รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้น้ำผึ้งรวง หรือน้ำต้มสุกเป็นน้ำกระสายยา


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๖๕ ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี คำเตือน/ข้อควรระวังควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยา ต้านการแข็งตัวของเลือด(antiplatelets) 4. ตำรับยาแก้นอนไม่หลับ ยาแก้ไข้ผอมเหลืองอาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒๘ ข้อบ่งใช้แก้นอนไม่หลับ ไข้ผอมเหลือง ตัวสั่น เสียงสั่น ไม่มีกำลัง อ่อนเพลีย วิธีการใช้ รับประทานก่อน อาหารครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้น้ำ มะพร้าว น้ำผึ้ง น้ำส้มซ่า น้ำตาลทราย กะทือสด น้ำเบญจทับทิมต้มเป็น น้ำกระสายยา หรือใช้น้ำต้มสุกแทนได้ ข้อห้ามใช้ 1) ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้สูง และ เด็ก 2) ห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท ส่วนกลาง นอนหลับ และยาต้านการชัก รวมทั้ง แอลกอฮอล์ หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจาก ตำรับนี้มีพริกไทยใน ปริมาณสูงยานี้อาจทำให้ง่วงซึมได้ 3) ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักรกล 4) ควรระวังในผู้ที่ประกอบ อาชีพทางน้ำหรือผู้ที่ร่างกาย ต้องสัมผัสความเย็นเป็นเวลานาน เพราะจะทำ ให้เป็น ตะคริวตรงบริเวณท้องได้ 5. ตำรับยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูงอาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ ศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ข้อบ่งใช้แก้ลมขึ้นเบื้องสูง แก้โรคสรรพลมทั้งปวง อันกำเริบ พัดขึ้นเบื้องบน วิธีการใช้ รับประทานก่อนอาหารครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้น้ำผึ้งเป็นกระสาย หรือใช้น้ำต้มสุกเป็น กระสายยาแทนได้ ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ผู้ที่มีไข้ และผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๖๖ คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจาก ตำรับนี้มีพริกไทยใน ปริมาณสูง 3) ควรระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก โรคกระเพาะอาหารและกรด ไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับ ยารสร้อน 6. ตำรับยาทัพยาธิคุณ อาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เล่ม ๒ ข้อบ่งใช้แก้กล่อนที่ทำให้จุกเสียดเป็น พรรดึกเป็นก้อนในท้อง เจ็บเมื่อย ขบตามร่างกาย ปากเปรี้ยว กินอาหารไม่รู้รส นอนไม่หลับ วิธีการใช้ รับประทานก่อนอาหารครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้น้ำผึ้งรวงหรือน้ำต้มสุกเป็นน้ำกระสายยา ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้สูง และเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยา ต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจาก ตำรับนี้มีพริกไทยใน ปริมาณสูง 3) ควรระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติกโรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับ ยารสร้อน 4) ควรระวังการใช้ยานี้ใน ผู้ป่วยสูงอายุ 7. ตำรับยาไพสาลีอาจาโร เฮิร์บ ที่มาของตำรับ อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม ๒ ข้อบ่งใช้แก้โรคลม แก้หืด ไอ มีเสมหะ วิธีการใช้ รับประทานก่อน อาหารครั้งละ 2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ใช้น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แดง น้ำนมโค หรือ น้ำต้มสุกเป็น กระสายยา ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือด เป็นลิ่ม (anticoagulant) และยา ต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets)


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๖๗ 2) ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจาก ตำรับนี้มีพริกไทยใน ปริมาณสูง 3) ควรระวังในผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรค แผลเปื่อยเพปติก ผู้ป่วยโรค กระเพาะ อาหารและกรดไหลย้อนเนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน 4) ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ 5) ควรระวังการใช้ยาอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต เนื่องจาก อาจเกิดการสะสม ของการบูรและเกิดพิษได้ 8. ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนังอาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม ๒ ข้อบ่งใช้ทาแก้ริดสีดวง ทวารหนัก และ ทาแก้โรคผิวหนัง (เช่น เรื้อนกวาง เรื้อนมูลนก) วิธีการใช้ ทาวันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำ เช้า-เย็น คำเตือน/ข้อควรระวัง 1. ควรระวังการใช้กับผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของตำรับ 9. ตำรับยาแก้โรคจิต อาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม ๒ ข้อบ่งใช้แก้โรคลมที่ทำให้กังวล เครียด นอนไม่หลับ วิธีการใช้ รับประทานครั้งแรก ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้าและเย็น ถ้านอนไม่หลับ รับประทานครั้งละ 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้าและเย็น น้ำกระสายยาใช้น้ำ ร้อนแทรกพิมเสน ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ให้ใช้น้ำสุกแทน ข้อห้ามใช้ 1) ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่ มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 2) ห้ามใช้ในผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิต คำเตือน/ข้อควรระวังควรระวังการใช้ยาตำรับที่มีระย่อมเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากสารสำคัญซึ่งมีฤทธิ์ ในการลดความดัน คือ สาร reserpine และอัลคาลอยด์อื่น ๆ หากได้รับในขนาดที่สูง เกินไปจะเป็นพิษต่อ ระบบประสาท มีผลกดการทำงานของประสาท ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปากแห้ง คัดจมูก ท้องร่วง มึนงง หน้ามืดใจสั่น ซึม มือแขนสั่น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๖๘ 10. ตำรับยาอัคคินีวคณะอาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ คัมภีร์ธาตุพระนารายน์ ข้อบ่งใช้แก้คลื่นเหียน อาเจียน ที่เกิด จากไฟย่อยอาหารผิดปกติ วิธีการใช้ รับประทานวันละ 3.75 กรัม วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า ใช้น้ำผึ้งรวง หรือน้ำต้มสุกเป็น กระสายยา ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่ มีอายุต่ำกว่า 18 ปี คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือด เป็นลิ่ม (anticoagulant) และยา ต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคแผลเปื่อย เพปติก โรคกระเพาะ อาหารและกรดไหลย้อน เนื่องจาก เป็นตำรับยารสร้อน 11. ตำรับยาแก้ลมแก้เส้น อาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับยาเวชศาสตร์วัณ์ณณา เล่ม ๕ ข้อบ่งใช้แก้ลมในเส้น บรรเทาอาการมือเท้าชาอ่อนแรง วิธีการใช้ รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้ละลายน้ำผึ้ง หรือ น้ำส้มซ่า หรือน้ำ ต้มสุกเป็นน้ำ กระสายยา ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้สูง และ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยา ต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจาก ตำรับนี้มีพริกไทยใน ปริมาณสูง 3) ควรระวังในผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก ผู้ป่วย โรคกระเพาะ อาหารและกรดไหลย้อนเนื่องจากเป็นตำรับ ยารสร้อน 4) ควรระวังการใช้ยานี้ใน ผู้ป่วยสูงอายุ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๖๙ 12. ตำรับยาแก้สันฑฆาต กล่อนแห้งอาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒๘ ข้อบ่งใช้บรรเทาอาการ ท้องผูกเป็น พรรดึก อาการ ปวดเมื่อยทั่วร่างกาย มือชา เท้าชา ปวดศีรษะ หน้ามืดวิงเวียน จุกเสียดท้องแน่น หน้าอก ที่เกิดจากโทสันฑฆาตและกล่อนแห้ง วิธีการใช้ รับประทานก่อนอาหาร ครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้น้ำผึ้งรวง เป็นกระสายยาถ้าหาน้ำกระสายยา ไม่ได้ให้ใช้น้ำต้มสุก ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่ มีอายุต่ำกว่า 18 ปี คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือด เป็นลิ่ม (anticoagulant) และยา ต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจาก ตำรับนี้มีพริกไทยใน ปริมาณสูง 3) ควรระวังการใช้ยานี้ใน ผู้ป่วยสูงอายุ 13. ตำรับยาอัมฤตย์โอสถอาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒๘ ข้อบ่งใช้แก้ลมกษัย วิธีการใช้ รับประทานก่อน อาหาร ครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจาก ตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง 3) ควรระวังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก ผู้ป่วย โรคกระเพาะ อาหารและกรดไหลย้อนเนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน 4) ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๗๐ 14. ตำรับยาอไภยสาลีอาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒๗ ข้อบ่งใช้แก้โรคทางลม บรรเทาอาการจุกเสียดแน่น วิธีการใช้ รับประทานก่อน อาหารครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่ มีอายุต่ำกว่า 18 ปี คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือด เป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจาก ตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง 15. ตำรับยาไฟอาวุธอาจาโร เฮิร์บ ที่มาของตำรับ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒๘ ข้อบ่งใช้แก้ลมจุกเสียด ปวดมวนท้อง แก้ดานเสมหะ วิธีการใช้ รับประทานก่อนอาหารครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้น้ำมะนาว ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำต้มสุกเป็นน้ำกระสายยา ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี คำเตือน/ข้อควรระวัง 1. ควรระวังการรับประทาน ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการ แข็งตัวของเลือด (antiplatelets) 2. ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจาก ตำรับนี้มีพริกไทยใน ปริมาณสูง 3. ควรระวังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก ผู้ป่วยโรคกระเพาะ อาหารและกรดไหลย้อนเนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน 16. ตำรับยาน้ำมันสนั่นไตรภพ อาจาโรเฮิร์บ ที่มาของตำรับ ศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายา วัดราชโอรสาราวรวิหาร. ข้อบ่งใช้แก้กษัยเหล็ก วิธีการใช้ ใช้น้ำมันทารีดท้อง นวดคลึงบริเวณ รอบสะดือถึงชายโครง ทิศตามเข็ม นาฬิกา ๓ วันก่อน แล้วจึงรับประทาน น้ำมัน รับประทาน ครั้งละ 3 - 5 มิลลิลิตร วันละ 1 ครั้งก่อนอาหาร เช้า เป็นเวลา 3 วัน ข้อห้ามใช้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๗๑ คำเตือน/ข้อควรระวัง 1) ควรระวังการรับประทานร่วมกับ ยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับ ตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets) 2) ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากต้า รับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง 3) ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก ผู้ป่วยโรค กระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นต้ารับยารสร้อน 4) ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต เนื่องจาก อาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้ 5) ควรระวังในการทาบริเวณผิวที่ บอบบางหรือผิวหนังที่แตกเนื่องจากอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๗๑ 1. การติดตามประสิทธิผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยยาปรุงเฉพาะรายตำรับสมุฏฐานปิตตะ ในคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดเหนองคาย พท.ป.รสมน เพ็งสิงห์, นายแพทย์บรรจบ อุบลแสน, นางสาวอภินัส คันธี บทนำ เบาหวาน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่คุกคามสุขภาพของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี การคัดกรองหากลุ่ม เสี่ยงเบาหวานมีความจำเป็นสำหรับค้นหาผู้ที่เป็นโรคในระยะเริ่มแรก เพื่อให้การรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่อาจตามมาได้ จากการตรวจคัดกรองเบาหวานในเขต ต.แห้งไก่ อ.สังคม จใหนองคาย ซึ่งอยู่ในความดูแลของกลุ่ม งานเวชปฏิบัติครอบครัวและบริการปฐมภูมิ รพ.สังคม พบผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง แลพกลุ่มป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี พ.ศ. กลุ่ม 2560 2561 2562 กลุ่มปกติ 92.5 % 90.57 % 87.05 % กลุ่มเสี่ยง 6.15 % 7.27 % 9.96 % กลุ่มป่วย 1.8 % 2.16 % 2.98 % ห นองคาย NONG KHAI พท.ป.ธนดล มางาม รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๗๓ จากสถิติ 3 ปีย้อนหลังนี้จะเห็นได้ว่าประชากรในกลุ่มปกติลดลง ประชากรใรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่ม ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อดูข้อมูลรายบุคคลแล้ว พบว่าเป็นประชากรคนเดิมที่ผ่านการคัดกรองในแต่ละปี อาจมีการดูแลตนเองและควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้กลายเป็ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่และต้องรับยา ประจำต่อเนื่อง งานแพทย์แผนไทย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ และจากการวิเคราะห์กลไกเกิด โรคเบาหวานตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย พบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เกิดจากสมุฏฐานปิตตะ ที่มีกำลังอ่อน ลง ได้แก่ ไฟที่ช่วยย่อยอาหาร (ปริณามัคคี) ส่งผลให้กรีสัง (อาหารเก่า) ไม่ถูกดูดซึมไปเป็นสารอาหารหล่อเลี้ยง ร่างกาย จึงคั่งค้างในสมุฏฐานเสมหะ (ระบบไหลเวียนเลือด) ทำให้สมุฏฐานเสมหะกำเริบ ผู้ป่วยจึงมีอาการบวมที่ ขาหรือเท้า อาการปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะมาก รวมถึงอาการปากแห้ง คอแห้ง จึงใช้ยาปรุงเฉพาะรายที่มียาหลัก คือ กลุ่มยารสขมเป็นส่วนประกอบ จันทน์ขาว จันทน์แดง บอระเพ็ด มะระขี้นก หญ้าใต้ใบ ลูกใต้ใบ เป็นต้น เพื่อ บำรุงไฟธาตุ และยารองคือกลุ่มยารสจืดเย็น ได้แก่ รากหญ้าคา เหง้าสับปะรด รากแผกหอม รากเตยหอม เหง้า ตะไคร้ ครอบจักรวาล เพื่อขับปัสสาวะ ลดการกำเริบของสมุฏฐานเสมหะ นอกจากนี้ยังให้ยาประกอบ คือ กลุ่มยา รสสุขุมร้อน ได้แก่ กระวาน เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เพื่อกระจายลมให้พัดสะวดกทั่วร่างกาย ดังนั้น จึงมีการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัย ของยาปรุงเฉพาะรายตำรับสมุฏฐาน ปิตตะ ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ผลการศึกษา พบว่ายาปรุงเฉพาะรายตำรับสมุฏฐานปิตตะ มีประสิทธิผลในการลด ระดับน้ำตาลในเลือด และลดอาการแสดงทางคลินิกของโรคเบาหวาน และมีความปลอดภัย และสามารถนำผลการ ติดตามการใช้ยาไปใช้อธิบายและยืนยันผลเบื้องต้น เพื่อนำข้อมูลการวิจัยที่ได้ไปเป็นข้อมูลการศึกษาวิจัยทางคลินิก ต่อไป และเพื่อลดน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ และกลุ่มเสี่ยงเบาหวานให้กลับไปเป็นกลุ่มปกติ เพื่อลด ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลและลดอาการค้างเคียงจากการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วยที่ทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนในร่างกาย วิธีการศึกษา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบ Actual Use Research : AUR ซึ่งผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย หมายเลขรับรอง 17/2561 กลุ่มตัวอย่าง 1. กลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่ผ่านการคัดกรองและส่งต่อจากแพทย์แผนปัจจุบัน 2. กลุ่มเสี่ยงเหบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุ 30 – 70 ปี 3. มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 4. เป็นผู้ที่แพทย์อนุญาตให้เข้าร่วมโครงการ 5. เป็นผู้ที่สมัครใจร่วมโครงการ Intervention 1. ยาปรุงเฉพาะราย (ตำรับสมุฏฐานปิตตะ) 2. การให้สุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตตามมูลเหตุการเกิดโรค 8 ประการ การติดตาม 1. ให้ยาปรุงเฉพาะราย + ตรวจ FPG ทุก 1 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 1 เดือน 2. นัดคัดกรองเบาหวานซ้ำในรอบ 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๗๔ ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 12 คน ส่วนใหญ่อายุ 45-49 ปี ร้อยละ 41.67 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.67 ดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 27.5 กก./ม2 ขึ้นไป ร้อยละ 50 โรคประจำตัวเป็นโณคความดันโ,หิต สูงและโณคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 33.33 มีประวัติโรคเบาหวานในญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่น้อง) ร้อยละ 75 หลังจากได้รับยาปรุงเฉพาะรายตำรับสมุฏฐานปิตตะ พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดก่อน รับประทานยา เท่ากับ 124 ± 1.084 หลังรับประทานยา 4 สัปดาห์ เท่ากับ 108.33 ± 9.139 ซึ่งระดับ น้ำตาลในเลือดลดลง แตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (Mean difference 15.750, p<0.001) ติดตามหลังจากหยุดรับประทานยา เป็นระยะเวลา 3 เดือน เท่ากับ 104.67±7.402 ซึ่งระดับ น้ำตาลในเลือดอยู่ระดับปกติ ไม่แตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (Mean difference 3.660, p<0.421) ติดตามหลังจากหยุดรับประทานยา 6 เดือน เท่ากับ 97.50±5.776 ระดับน้ำตาลลดลงไม่ แตกต่างไม่แตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (Mean difference 7.170, p<0.017) และติดตามหลังจากหยุดรับประทานยา 1 ปี เท่ากับ 92.42±5.776 ระดับน้ำตาลลดลง ไม่ แตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (Mean difference 5.080, p<0.017) และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ รุนแรง สรุปและข้อเสนอแนะ การใช้ยาสมุนไพรปรุงเฉพาะรายตำรับสมุฏฐานปิตตะ เป็นระยะเวลา 1 เดือน ในกลุ่มเสี่ยง เบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มเสี่ยงลดลง และหลังจากหยุดรับประทานยา ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามมูลเหตุของการเกิดโณค 8 ประการ นัดติดตาม 3 เดือน 6 เดือน พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติโดยไม่พบผลค้างเคียงที่รุนแรง ซึ่ง การคัดกรองเบาหวานในรอบปีต่อมา พบว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ลดลงมาอยู่ในกลุ่มปกติ ทั้งนี้ควรมีการติดตามอย่าง ต่อเนื่อง


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๗๕ 2. นวัตกรรม รอกไม้ไผ่และกระดานพาเพลิน ที่มา นวัตกรรมในชุมชน “รอกไม้ไผ่และกระดานพาเพลิน” เกิดจากปัญหาสุขภาพของคนในรชุมชน ปัญหาที่สำคัญคือ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ และบางรายไม่มีญาติช่วยดูแล นอกจากนี้นยังพบ ปัญหาข้อติด ข้อเสื่อม ในผู้สูงอายุ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลอาจเสี่ยงกับภาวะหกล้ม อุบัติเหตุ ทำให้การดำเนิน ชีวิตประจำวันมีปัญหาได้ในอนาคต จึงจัดทำนวัตกรรมชุมชน รอกไม้ไผ่ และกระดานพาเพลิน ใช้ในผู้ป่วยติดเตียง และผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการข้อติด เข้าเสื่อม เพื่อแก้ไขปัญหาข้อติดและใช้บริหารร่างกาย วัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการบริหารกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ส่วนต่างๆ ของร่างกาย อุปกรณ์ที่ใช้ 1. ไม้ไผ่ขนาด 2.2 เมตร จำนวน 4 ลำ 2. รอกเชือกขนาดที่เหมาะสม จำนวน 1 อัน 3. เชื่อก ขนาด 4 เมตร จำนวน 1 เส้น 4. ไม้กระดาน ขนาด 16 x 47 ซม. จำนวน 1 แผ่น 5. ไม้กระดาน ขนาด 9 x 45 ซม. จำนวน 1 แผ่น 6. ล้อเลื่อน จำนวน 8 อัน วิธีการทำ 1. ประกอบกับไม่ไผ่ทั้ง 4 ลำ เข้าด้วยกัน 2. ใส่รอกด้านบนของมุมไม้ไผ่ 3. จัดทำไม้กระดาน ใส่ล้อเลื่อนทั้ง 4 มุม


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๗๖ วิธีการใช้ แบบที่ 1 การใช้รอกไม่ไผ่ บริหารส่วนขา ให้ผู้ป่วยนอนลงระหว่างกลางของรอกไม้ไผ่ สอดเท้าเข้าเชือกที่แขวนอยู่กับรอก ใช้มือดึงเชือกอีก เส้นหนึ่งที่แขวนอยู่กับรอก โดยดึงเชือกลงขาของผู้ป่วยจะยกขึ้น แล้วปล่อยเชือกลงอย่างช้าๆ ทำข้างละ 15-20 ครั้ง แบบที่ 2 การใช้รอกไม่ไผ่ บริหารส่วนแขน ให้ผู้ป่วยนอนในท่าสบายจับส่วนปลายของเชือกที่แขวนกับรอกไม้ไผ่ทั้งสองข้าง ดึงเชือกสลับกัน ไปมาอย่างช้า ๆ และยกมือขึ้นให้สุดแขน ทำข้างละ 15-20 ครั้ง แบบที่ 3 การใช้กระดานพาเพลิน (แผ่นใหญ่) บริหารส่วนสะโพกและข้อเข่า ใช้ขาส่วนล่างของผู้ป่วยวางไว้บนกระดานพาเพลิน ให้ผู้ป่วยจับเชือกที่แขวนอยู่บนรอกไม้ไผ่ จากนั้นโยกกระดานไปทางซ้ายและขวาสลับกันไปมา ทำ 15-20 ครั้ง แบบที่ 4 การใช้กระดานพาเพลิน (แผ่นเล็ก) บริหารหัวไหล่ ให้ผู้ป่วยเอามือวางบนกระดาน เลื่อนกระดานไปมาเป็นวงสวิงกว้าง ๆ ทำ 15-20 ครั้ง สลับกัน ทั้ง 2 ข้าง ผลการใช้นวัตกรรม ผลการใช้ยวัตรกรรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่าผู้ป่วยติดเตียงอาการดีขึ้น สามารถช่วยเหลือ ตัวเองได้ 3. ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 3.1 ยาหม่องไพล ส่วนประกอบที่สำคัญ ไพล การบูร พิมเสน เมนทอล น้ำมันระกำ และตัวยาอื่น ๆ สรรพคุณ บรรเทาอาการกล้ามเนื้ออักเสบ เคล็ด ขัด ยอก วิธีใช้ ทา ถูนวด บริเวณที่มีอาการ 3.2 พิมเสนน้ำ ส่วนประกอบที่สำคัญ การบูร พิมเสน เมนทอล น้ำมันระกำ สรรพคุณ บรรเทาอาการวิงเวียน วิธีใช้ ใช้สูดดม เมื่อมีอาการ 3.3 ยาสมุนไพรอบตัว ส่วนประกอบ เหง้าไพล เหง้าขมิ้น ผิวมะกรูด ใบมะขาม เกสรทั้ง 5 และตัวยาอื่นๆ สรรพคุณ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ช่วยให้การหายใจดีขึ้น บรรเทาอาการผดผื่นคัน ฟื้นฟูมารดาหลังคลอด วิธีใช้นำสมุนไพรใส่ในหม้อ เติมน้ำให้ท่วมตัวยา ต้มให้เดือด อบสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ ไม่เกิน 30 นาที


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๗๗ 3.4 ยาประคบ ส่วนประกอบสำคัญ เหง้าไพล เหง้าขมิ้นอ้อย ผิวมะกรูด และตัวยาอื่นๆ สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดการอักเสบ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ ช่วยเพิ่มการไหลเวียน ของโลหิต วิธีใช้นำไปนึ่ง แล้วใช้ประคบขณะอุ่นๆ วันละ 1-2 ครั้ง. 4. ตำรับยาสลายนิ่ว (ของหมอโฮม เทพอำนวย) ส่วนประกอบ - ขิงเหี่ยว - หญ้าหนวดแมว - ว่านสลายนิ่ว (ชื่อท้องถิ่น) สรรพคุณ แก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอยแก้ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด ขนาดและวิธีใช้ต้มเดือด กินต่างน้ำ 5. ตำรับยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กษัยเส้น ส่วนประกอบ กำลังวัวเถลิง กำลังช้างสาร กำลังเสือโร่ง อ้อยสามสวน สบู่เลือด และตัวยาอื่น ๆ วิธีปรุง ใส่น้ำให้ท่วมตัวยา ต้มเดือด 15 นาที ขนาดรับประทาน ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า กลางวัน และเย็น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๗๗ นวัตกรรมชีวภัณฑ์ลดการใช้สารเคมีในไร่อ้อย ตำบลกุดผึ้ง อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู บทนำ จากสถาการณ์ปัญหาผลกระทบจากสารเคมีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ พบว่า ชาวบ้านมองเห็นความสำคัญของ ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ก็มักมีคำถามว่า “ถ้าไม่ใช้สารเคมีจะให้ใช้อะไร” เพราะการทำการเกษตรในปัจจุบันแรงงานในครอบครัวมีน้อยและค่าจ้างแรงงานมีอัตราที่สูง จึงมีคำถามว่าแล้ว องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีนั้นมีหรือไม่และจะนำมาใช้ในการทำเกษตร ยุคปัจจุบันได้หรือไม่ปัญหาการใช้สารเคมีทางการเกษตรในขณะนี้ส่วนมากมาจากยาฆ่าหญ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อ สุขภาพร่างกาย และความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนเป็นอย่างมาก ทั้งจากการได้รับทางตรง เช่น การสัมผัสยา ฆ่าหญ้าจากการใช้เอง หรือการรับจ้างฉีดพ่นยาฆ่าหญ้า ในทางอ้อมคือ การได้รับสารเคมีในที่ทำกินอยู่บริเวณ ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยเฉพาะเป็นไร่อ้อย พบสารเคมีระเหยไปตามอากาศหรือ ตกค้างตามสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่การซื้อผักผลไม้และข้าวสารมารับประทานโดยไม่ทราบเลยว่ามียาฆ่าหญ้าหรือ ยาฆ่าแมลงปนเปื้อนอยู่ ปัญหาทางจิตใจนั้น ก็ตามมาเกิดการทะเลาะวิวาทกัน โรคที่ประชาชนเจ็บป่วยจะรุนแรง ขึ้นต้องปรับวิธีการรักษา เช่น โรคผื่นคัน ห นองบัวลำภู NONG BUA LAM PHU นางสาวศิริพร ประทีปอรุโณทัย รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๗๙ ก่อนนี้ใช้ยาแก้แพ้ไปรับประทาน ให้ยาแก้แพ้ไปทาก็จะหาย แต่เดี๋ยวนี้ถ้าผื่นแพ้นั้นเกิดจากการไปแช่น้ำ ด้วยจะต้องเพิ่มยาฉีด ซึ่งเป็นการเพิ่มรายจ่ายในการดูแลรักษาเพิ่ม ดังนั้นนวัตกรรมนี้จึงเป็นการนำเอาภูมิปัญญา และองค์ความรู้ดั้งเดิมหรือค้นคว้าเพิ่มเติมให้เป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแพ้ สารเคมีให้ลดลง โดยนวัตกรรมนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมนวัตกรรมลดการใช้สารเคมีในไร่อ้อย วิธีดำเนินการ นวัตกรรมนี้ได้เริมจากการเก็บข้อมูลการใช้ วิธีการทดแทนสารเคมีในไร่อ้อย ซึ่งพบว่าไม่มีการกำจัดวัชพืช ใดที่ทดแทนการใช้สารเคมีได้ นอกจาก จอบและเสียม เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ก็ทำการคืนข้อมูลแก่ชุมชนและค้นหาสูตร กำจัดวัชพืชต่าง ๆ มาทดลองใช้กับแปลงทดลอง โดยมีเป้าหมายให้เกิดแปลงทดลองขึ้นในพื้นที่อย่างน้อย ๓๐ แปลง ผลการศึกษา ๑) สูตรยาฆ่าหญ้าชีวภาพต้นกล้วยพบว่า หญ้าเริ่มมีความขาวของใบและเริ่มเหลืองลง แต่ต้องเป็นหญ้าที่ลำต้น อ่อน อายุของลำต้นของหญ้าไม่เยอะ สูตรนี้จึงจะสามารถใช้ได้ผลดี ๒) สูตรเกลือผสมยูเรียใช้เกลือ พบว่าหญ้าเขียวใบอ่อนเริ่มเหลืองลง ๆ ตามเวลาที่ฉีดพ่น ๓) สูตรเหล้าขาวพบว่าภายในระยะเวลาไม่ถึงสองชั่วโมงหญ้าเริ่มเหี่ยวแห้งตาย ๔) สูตรผลไม้รสเปรี้ยว พบว่าใบของหญ้าเริ่มเหลืองในช่วงปลายใบก่อนที่จะแห้งตายไป แต่ต้องฉีดช้ำบ่อย ๆ ๕) สูตรน้ำจากถังไอศรีมสูตรนี้เป็นสูตรที่ได้ผลดีมากพอสมควร นอกจากนี้ยังเกิดแปลงทดลองและเกษตรกรนำร่องที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้ชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืช จำนวน ๕๙ ครัวเรือน พัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียน ระยะสั้นสอนในโรงเรียนวัดสุวรรณาราม ๑๓ ชม. และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ๖ ชม. ข้อสรุป นวัตกรรมนี้เป็นทางเลือกหนึ่งให้เกษตรกรเลือกใช้ในการป้องกันตัวเองจากการใช้สารเคมีไม่ให้ได้รับ อันตรายจากสารเคมีจะได้ไม่ป่วย ซึ่งจะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับบริบทและความเหมาะสมของการ เลือกใช้ในแต่ละสูตรแต่ละพื้นที่ ซึ่งนวัตกรรมนี้ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภ าพชีวิตของประชาชนให้เกิดการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตรเกิดแปลงทดลองขึ้นกว่า ๓๐ แปลง ส่งผลต่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น และยัง สามารถส่งผลต่อการขยายองค์ความรู้ในพื้นที่เพื่อนำไปสู่อาหารที่ปลอดภัยในชุมชน


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๘๐ สูตรต้นกล้วย ๑. ต้นกล้วยสับ ๓๐ กิโลกรัม ๒. น้ำ ๕๐ ลิตร ๓. น้ำตาลทราย ๒ กิโลกรัม ๔. ยาคูลท์ ๑ ขวด ๕. แป้งข้าวหมาก ๑ ลูก ๖. ดินประสิว ๑ กิโลกรัม ๗. ด่างทับทิม ๑ ช้อนชา วิธีทำ นำทุกอย่างรวมกัน หมักไว้ ๗ วัน เปิดฝาคนทุกวัน วิธีใช้ ๕ ลิตรต่อน้ำ ๒๕ ลิตร ทุก ๆ ๗ วัน สูตรเกลือผสมยูเรีย ๑. เกลือ ๒ กิโลกรัม ๒. น้ำ ๒๐ ลิตร ๓. ปุ๋ยยูเรีย ๒๑-๐-๐ ๒ กิโลกรัม วิธีทำ นำมาผสมรวมกัน ฉีดพ่น วิธีใช้ ฉีดอาทิตย์ละ ๑ ครั้ง สูตรผลไม้รสเปรี้ยว ๑. สัปปะรด ๓ กิโลกรัม ๒. ผลไม้รสเปรี้ยว ๗ กิโลกรัม ๓. เกลือ ๔ กิโลกรัม ๔. กากน้ำตาล ๒ กิโลกรัม ๕. จุลินทรีย์ย่อยสลาย ๑ ลิตร ๖. น้ำส้มสายชู ๔ ลิตร


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๘๑ วิธีทำ นำทุกอย่างผสมรวมกัน หมักไว้ ๒๑ วัน วิธีใช้ ๕๐๐ cc/ น้ำ ๒๐ ลิตร .....ผลผลิตที่ได้จากการใช้นวัตกรรมชีวภัณฑ์…..


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๘๑ หมอพื้นบ้าน...จังหวัดอุดรธานี อุดรธานี...เมืองท่องเที่ยวอาหาร ความงาม และการแพทย์แผนไทย ชื่อ – นามสกุล นางเครือ เนตรภักดี วัน-เดือน-ปีเกิด วันที่ ๑ เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๔๐ หมู่ ๑๑ ตำบลหนองหว้า อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ความชำนาญ หมอจับเส้น, ผู้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพ คำขวัญประจำใจ “ฉันมีแพทย์แผนไทยไว้ประจำจิต ฉันนั้นคิดไว้ให้ ลูกหลาน เมื่อยามเจ็บฉับพลัน จะทันการณ์ แผนโบราณนี้ ดีแน่ไม่ทื้งไป” ๑. ประวัติส่วนตัว นางเครือ เนตรภักดี เกิดที่ ตำบลหนองหว้า อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ครอบครัว ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน ซึ่งตนเป็นคนที่ ๕ ระดับการศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายชั้นปีที่ ๖ สมรสกับนายทองม้วน ทองภู ปัจจุบันมีบุตรชายด้วยกัน ๒ คน อุ ดรธานี UDON THANI พท.ศราวุฒิ จันดี รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อุดรธานี


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๘๓ ๒. แรงบันดาลใจในการเป็นหมอพื้นบ้าน บิดาเป็นหมอพื้นบ้าน รักษาคนไข้ให้หายป่วย ได้รับการถ่ายทอด ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยจากบิดา และให้บริการรักษาคนในชุมชน รวมทั้งตนเองมีใจรักในงาน การแพทย์แผนไทย ด้วยความรักชุมชน รักบ้านเกิดของตนเอง และอยากให้ชุมชนของตนเองมีความ สุข จึงอาสาเข้ามาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อจะได้นำความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยมาใช้ ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ค้นหาและรวบรวมองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย สืบสานงานแพทย์ แผนไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพให้คงไว้ไม่ให้สูญหาย และเป็นผู้นำด้านสุขภาพ เป็นตัวอย่างที่ดี ให้แก่ชุมชน และคอยช่วยเหลือแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ และด้านอื่น ๆ เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง และอยู่เย็นเป็นสุข ๓. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นางเครือ เนตรภักดี เป็นผู้ที่สนใจด้านการใช้สมุนไพรพื้นบ้านโดยได้ศึกษาและ ได้รับการถ่ายทอดจากปราชญ์ชาวบ้านเพื่อใช้รักษาโรคในหมู่บ้าน เป็นหมอจับเส้นโดยนำความรู้ที่มีมาใช้ ในการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ในพื้นที่และหมู่บ้านใกล้เคียง ตำรับยาของหมอพื้นบ้าน...ยาบำรุงกำลัง ส่วนประกอบ ม้ากระทืบโลง กำลังเสือโคร่ง ฝางบำรุงเลือด เถาเอ็นอ่อน และอื่น ๆ วิธีปรุง สมุนไพร 1 ห่อ ต่อน้ำ 2 ลิตร ต้มดื่มเช้า - เย็น หรือตามต้องการ สรรพคุณ บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตำรับยาของหมอพื้นบ้าน...ยานวดสมุนไพร ส่วนประกอบ ว่านไพล เถาเอ็นอ่อน พลับพลึง และอื่น ๆ วิธีใช้ ทา ถู นวดเป็นยาภายนอก สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ภูมิปัญญา มรดกแห่งการพึ่งพาธรรมชาติ และตนเอง


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๘๔ ชุมชนต้นแบบด้านสมุนไพร อำเภอกู่แก้ว พื้นที่ต้นแบบสมุนไพร เชิงอัตลักษณ์ อุดรธานี...เมืองสมุนไพร ๔.๐ สู่ระเบียงเศรษฐกิจ (กลุ่มเมืองสมุนไพร สบายดี กินดี อยู่ดี ๔.๐) ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรโดยกลุ่มสตรีกู่แก้ว อำเภอกู่แก้ว...ที่ตั้งของอโรคยาศาลาโบราณหรือโรงพยาบาลในยุคขอมนั้นเอง ทำให้อำเภอกู่แก้ว เป็นพื้นที่ป่าสมุนไพรที่หลากหลายของจังหวัดอุดรธานี มีวัตถุดิบหลายชนิด ในท้องถิ่น ถูกคัดเลือกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มากคุณประโยชน์ และบรรจุภัณฑ์สวยงาม พร้อมเป็นของฝาก เช่น หมอนสุขภาพผ้าทอพื้นเมือง จากไพล ตะไคร้หอม ใบเตยหอม, ผลิตภัณฑ์สปาเท้า สูตรต้มยำเท้าจากขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด, เครื่องหอมสมุนไพรจาก มะกรูด ขมิ้นชัน กานพลู พริกไทย ไพล พิมเสน การบูร เป็นต้น ชุมชนต้นแบบด้านสมุนไพร


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๘๕ ชุมชนต้นแบบด้านสมุนไพร อำเภอบ้านผือ กลุ่มกลางใหญ่เมืองหญ้าหวาน ตำบลกลางใหญ่ หญ้าหวาน (หรือสเตเวีย) ความพิเศษของหญ้าหวานคือ ส่วนของใบให้ความหวานมากกว่าน้ำมตาลถึง 10 - 15 เท่า แต่ความ หวานนี้ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน (0 แคลอรี่/กรัม) นอกจากนี้ยังมีสาร สกัดที่เกิดจากหญ้าหวานชื่อว่า สตีวิโอไซด์ เป็นสารที่ให้ความหวาน มากกว่า 200 - 300 เท่าของน้ำตาล สรรพคุณของหญ้าหวาน ๑. สมุนไพรหญ้าหวานช่วยเพิ่มกำลังวังชา ๒. ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ๓. ช่วยในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด ๔. ช่วยลดไขมันในเลือด ๕. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ๖. ช่วยบำรุงตับ ๗. ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก “หญ้าหวาน กลุ่มกลางใหญ่เมืองหญ้าหวานมีของดีคือ... ข้าวเม่าจากหญ้าหวาน ผลิตภัณฑ์หญ้าหวาน แปรรูป ต่าง ๆ เช่น ชาหญ้าหวาน (teabag) หญ้าหวานแห้ง หญ้าหวานผง - สกัดแห้ง และไซรัปหญ้าหวาน เป็นต้น”


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๘๖ ชาสมุนไพรหญ้าหวาน ช่วยในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้น เลือด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ชาดอกอัญชัน ต้านอนุมูลอิสระ บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท บำรุงสายตา บรรเทาอาการหอบหืด ลดความเครียด ชาใบเตย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงประสาท แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๘๗ ชุมชนต้นแบบด้านสมุนไพร อำเภอบ้านผือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาเมืองไทยสมุนไพรเพื่อสุขภาพ “ขมิ้นชันและไพร เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกมากใน อำเภอน้ำโสม และมีการนำมาใช้ในรโรงพยาบาลน้ำโสม” ขมิ้นชัน นอกจากจะช่วยทำให้อาหารอร่อย และบำรุงสุขภาพให้ดีขึ้นได้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้บำรุง เรื่องความสวยความงามได้อีกสารพัดประโยชน์เลยทีเดียว เพราะขมิ้นชัน มีสารสำคัญอย่าง “เคอรฺคูมินอยด์” ที่ประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งวิตามินทั้งหมดนี้จะช่วย เพิ่มสรรพคุณทางการบำรุงผิวให้กระจ่างใส พร้อมต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันการงอก ของขน และสมานแผลได้เป็นอย่างดี ไพล เป็นพืชล้มลุกที่สูงราว 1 - 1.5 เมตร ส่วนสำคัญอยู่ในส่วนเหง้าซึ่งมีเปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองแกมเขียวมีกลิ่นเฉพาะและเป็นส่วนที่สามารถนำมาขัดผิวช่วยทำให้ผิวผุดผ่องเป็นยองใย ลบริ้วรอยจุดด่างดำ และทำให้ไม่เกิดสิว ทั้งยังมีคุณสมบัติช่งบปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาเมืองไทยสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ได้นำมาแปรรูปเป็นผง เพื่อนำมาผสมกับ น้ำผึ้ง หรือมะขามเปียก ในการดูแลสุขภาพผิวพรรณและความงามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๘๗ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “หมู่บ้านญัฮกุร” ชุมชนบ้านไร่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ญัฮกุรมอญโบราณ สมัยทวารวดีแห่งเทพสถิต คำว่า “ญัฮกุร” แปลว่า “คน” คำว่า “กุร”แปลว่า “ภูเขา” คงจะทำให้เรารู้ได้ว่า ชนกลุ่มนี้เป็นคนที่อาศัย อยู่ในป่าบนภูเขา เรื่องราวที่น่าสนใจของชาวญัฮกุร จึงมีเรื่องราวของป่าเขาไปปะปนด้วยอย่างไม่อาจแยกออกจากกัน แต่เดิมนั้นชาวญัฮกุรเป็นพรานป่า มักย้ายถิ่นที่อยู่ไปเรื่อย ๆ เคยอาศัยในบริเวณป่าแถบเทือกเขาพังเหย ซึ่งมีอาณา บริเวณคาบเกี่ยวต่อเนื่องถึง ๓ จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิและนครราชสีมา ในปัจจุบันยังคงพบชาวญัฮกุร ได้ใน เขตพื้นที่ ๓ จังหวัดดังกล่าว ตรงบริเวณใจกลางของประเทศไทย โดยอยู่บนขอบที่ราบสูงโคราช และพื้นที่ราบสูง จังหวัดชัยภูมิ แนวเขตที่มีความเชื่อมต่อกับภาคเหนือ (จังหวัดเพชรบูรณ์) และติดต่อกับภาคกลาง (จังหวัดลพบุรี) แต่พบในจำนวนที่ลดลง เนื่องจากถูกกลืนโดยคนไทยเบิ้งหรือไทยโคราช และคนลาวอีสานที่เข้าไปอยู่อาศัยปะปน และมีการย้ายถิ่นฐานกระจัดกระจายไปบ้าง สำหรับชัยภูมินั้น ที่อำเภอเทพสถิต นับว่าเป็นพื้นที่ที่มีชาวญัฮกุรอาศัย อยู่จำนวนมากที่สุด ชั ยภูมิ CHAI YA PHUM พท.ศราวุฒิ จันดี รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล สืบสานภูมิปัญญา... “ญัฮกุร” ชนเผ่าโลกไม่ลืม


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๘๙ หมอพื้นบ้าน ปราชญ์พื้นเมืองจังหวัดชัยภูมิ... ความเชื่อของชาวญัฮกุร ชาวญัฮกุร มีความเชื่อในเรื่องภูต ผี วิญญาณ เวทย์มนต์ คาถา เครื่องรางของขลัง ฤกษ์ยาม ความฝัน และมีพิธีกรรมที่ เกี่ยวเนื่องกับชีวิต และการประกอบอาชีพอยู่หลายอย่าง เช่น พิธีเสี่ยงทายของชาวญัฮกุร เพื่อถามเรื่องของหาย การตรวจ ดวงชะตา และการสะเดาะเคราะห์ และการรักษาอาการ เจ็บป่วยอีกด้วย สมุนไพรพื้นบ้านของชาวญัฮกุร ชาวญัฮกุร มีชีวิตที่ผูกพันกับผืนป่ามากมาย จึงทำให้ ชาวญัฮกุรรู้จักทรัพยากรในป่าเป็นอย่างดี พืชพันธุ์ไม้ทุกชนิด ชาวญัฮกุรรู้ว่าชนิดไหนที่สามารถกินได้ สามารถนำมาทำเป็นยาได้ จุดเรียนรู้ด้านสมุนไพรพื้นบ้าน จึงเป็นอีกหนึ่งแห่งสำคัญที่ดึงดูด ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาศึกษา ชิม ลิ้มลองรสชาติ และซื้อสมุนไพร บำรุงสุขภาพตำรับพื้นบ้านกลับไปด้วย ชื่อ – สกุล นายสมาน แก้วอุบล สถานที่ติดต่อ บ้านเลขที่ ๕ บ้านหินลาด ตำบลชีบน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ความชำนาญ เริ่มเรียนรู้ ศึกษาสมุนไพรตั้งแต่ อายุ ๑๐ ปี โดยผู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสมุนไพรให้กับนายสมาน แก้วอุบล คือ นายคำ หาญรบ ผู้ซึ่งเป็นปู่ โดยเป็นหมอพื้นบ้านประจำบ้านหินลาด โดยวิธีการ เรียนรู้ โดยการออกติดตามผู้เป็นปู่ออกไปเก็บสมุนไพรตามป่าเขาและคำสอน ถ่ายทอดจากปู่ เรียนรู้ ฝึกฝนทักษะจากการเป็นผู้ช่วยปู่ในการรักษาผู้ป่วย สะสมทักษะความรู้และประสบการณ์มากกว่า ๒๖ ปี และเริ่มทำการรักษา ผู้ป่วยด้วยตนเองเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ จนถึงปัจจุบัน การทำคุณประโยชน์ การอุทิศตนเพื่อการส่งเสริมอนุรักษ์ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน การเข้าร่วม โครงการและกิจกรรมด้านภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้านที่ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่และเยาวชนด้านการดูแล สุขภาพด้วยสมุนไพร และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านหินลาด เพื่อร่วมดูแล รักษา อนุรักษ์ พื้นที่ป่า สมุนไพรที่สมบูรณ์ ช่วยเหลือผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยในชุมชนด้วยความรู้ที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยไม่ เรียกร้องค่าตอบแทนจนได้รับคัดเลือกให้เป็นหมอพื้นบ้านดีเด่นจังหวัดชัยภูมิ ด้วยความรู้ ความชำนาญในด้าน สมุนไพรและคุณงามความดีที่อุทิศตนเพื่อสังคม


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๙๐ ตำรับยาบำรุงเลือด ของหมอพื้นบ้าน ตำรับยาแก้ปวด ของหมอพื้นบ้าน ส่วนประกอบ ๑. แก่นคอแลน ๒. แก่นฝางแดง ๓. กำแพงเจ็ดชั้น วิธีการปรุงยา ๑. นำเอาแก่นคอแลน กับแก่นฝางแดง และกำแพงเจ็ดชั้น มาต้มสัดส่วนเสมอภาค ๒. ต้มพอเดือดให้น้ำเปลี่ยนสี วิธีการรับประทาน ดื่มวันละ ๑ แก้ว ๓ เวลา (เช้า – กลางวัน – เย็น) ส่วนประกอบ ๑. เถาวัลย์เปรียง ๑ กรัมมือ ๒. ใบเตย ๕ ใบ ๓. รางจืด ๓ ใบ วิธีการปรุงยา ๑. นำเอาเถาวัลย์เปรียง กับใบเตย และรางจืด มาต้มตามสัดส่วนตำรับยา ๒. ต้มพอเดือดให้น้ำเปลี่ยนสี วิธีการรับประทาน ดื่มวันละ ๑ แก้ว ๓ เวลา (เช้า – กลางวัน – เย็น)


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๙๐ 1. น้ำวาโยกัมปนาท ส่วนประกอบ ขิง ตะไคร้ ใบเตย วุ้นว่านหางจระเข้ (แช่น้ำดอกอัญชัน) มะนาว สรรพคุณ ขับลม ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ น ครราชสีมา NAKHON RATCHASIMA พท.ป.สุวิมล สุมลตรี รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๙๒ 2. สมุนไพรที่จังหวัดส่งเสริมการปลูก 2.1 หม่อน สรรพคุณ ใบ ผล กิ่ง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ผลช่วยบำรุงสายตา วิธีใช้ ▪ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ใบนำมาทำเป็นชาใช้ชงกับน้ำดื่ม ใบ สด 5-7 ใบ ต้มน้ำ 200 มิลลิลิตร ดื่มแทนน้ำ ▪ บำรุงสายตา ใช้ผลสด รับประทานวันละ 10 ผล หรือผลแห้ง ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้ม กับน้ำดื่ม ข้อควรระวัง ไม่รับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานเกินไป ควรพักรับประทานเป็นช่วง ๆ 5-7 วัน พร้อมกับวัดค่าระดับ น้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิต


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๙๓ 2.2 หอมแดง สรรพคุณ บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก บรรเทาอาการพิษแมลงสัตว์กัดต่อย วิธีใช้ ▪ บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก ใช้ประมาณ 2-4 หัว ทุบพอบุบ ห่อผ้าขาวบางวางไว้บนหัวนอนหรือ ข้างหมอน ▪ บรรเทาอาการพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ประมาณ 1 หัว ขยี้หรือตำให้แหลกแล้วนำมาทาบริเวณที่ แมลงสัตว์กัดต่อย ข้อควรระวัง ▪ น้ำมันของหอมแดงมีสารกำมะถันสูง จึงทำให้มีอาการแสบตา และอาจทำให้มีอาการแสบร้อนที่ ผิวหนัง จึงควรหลีกเลี่ยงการทาบริเวณผิวที่บอบบาง ▪ หอมแดงอาจจะชะลอการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหอมแดงอย่าง น้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด ▪ 2.3 ว่านหางจระเข้ สรรพคุณ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลสด ผิวไหม้ เนื่องจากถูกแดดเผา และลดการอักเสบร้อนแดง ของผิวหนัง ลดรอยแผลเป็น วิธีใช้ ใช้รักษาแผล โดยนำใบสดล้างให้สะอาดมาปอกเอาแต่วุ้นล้างให้สะอาด ถูและปิดแผลที่โดนความ ร้อน ควรรีบรักษาใน 24 ชั่วโมง จะทำให้การรักษาได้ผลดี ข้อควรระวัง หากมีการใช้ว่านหางจระเข้ติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยจะทำให้เกิด ภาวะภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ และการอักเสบของโรคผิวหนัง ในส่วนของผู้ที่แพ้ หากใช้ว่านหางจระเข้หลังจาก เกิดการไหม้แดดของผิว อาจจะทำให้เกิดผื่นหรือการบวมบริเวณนั้น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๙๔ 2.4 รางจืด สรรพคุณ ช่วยขับสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย วิธีใช้ใช้ใบรางจืดสดประมาณ 4-5 ใบ นำมาชงกับน้ำดื่ม ดื่มครั้งละ 75 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อน อาหาร ข้อควรระวัง ควรรับประทานในปริมาณที่ไม่เข้มข้นจนเกินไป หลีกเลี่ยงการดื่มติดต่อกันทุกวัน เพราะจะ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล มีการสะสมของสารบางชนิดมากเกินไป 2.5 ขิง สรรพคุณ • บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม จุกเสียด แน่นท้อง • ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเทารถ เมาเรือ • ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด วิธีใช้ • บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม จุกเสียด แน่นท้อง อาเจียน ใช้ขิงแก่สดขนาด 2 หัวแม่มือ ล้างให้ สะอาด ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละ 80 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร • บรรเทาอาการไอระคายคอจากเสมหะ ใช้ขิงแก่สดขนาด 2 หัวแม่มือ ล้างให้สะอาด ฝนกับน้ำ มะนาวกวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร หรือตำแล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือเล็กน้อย ข้อควรระวัง • ระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets) เนื่องจากอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า และทำให้เลือดไหลหยุดยาก • ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์ • ไม่แนะนำให้รับประทานในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๙๕ 2.6 ตะไคร้ สรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด วิธีใช้ เหง้าและลำต้นสด หรือแห้ง 1 กำมือ ทุบต้มกับน้ำพอควร หรือจะหั่นตะไคร้ คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ พอเหลืองชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 75 มิลลิลิตร ก่อนอาหาร ข้อควรระวัง ▪ ควรระวังการใช้ในคนที่เป็นต้อหิน (glaucoma) เนื่องจากสาร citral จะทำให้ความดันในลูกตา เพิ่มขึ้น ▪ ตะไคร้มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว มีผลต่อระบบไหลเวียนเลือด ดังนั้น คนที่กำลังตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานตะไคร้ เนื่องจากจะทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวอย่างรุนแรง จน เสี่ยงต่อการแท้งได้


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๙๕ เนื่องด้วยกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาการใช้กัญชา ทางการแพทย์ (Medical Cannabis Service Plan) เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคให้กับประชาชนที่เจ็บป่วย ทรมานจากกลุ่มโรคเรื้อรังและไม่ตอบสนองต่อการรักษาทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน ทำให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยดังกล่าว ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ดังนั้นสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์จึงเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สามารถช่วย บรรเทาอาการเจ็บป่วยทรมานแก่ผู้ป่วยได้โดยกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยและแพทย์พื้นบ้านหรือแพทย์ แผนไทยได้ร่วมกันพัฒนาทาการวิจัยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและองค์ความรู้แพทย์แผนไทยร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ให้ได้ผลิตภัณฑ์และแนวทางการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์เพื่อเป็น การเสริมการรักษาของแพทย์แผน ปัจจุบันหรือแพทย์แผนไทยที่มีอยู่ ซึ่งจักสามารถลดความแออัดการรอคอย การรับบริการในโรงพยาบาลและ สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยได้ บุ รีรัมย์ BURIRAM พท.ป.สุวิมล สุมลตรี รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๙๗ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกุล มอบนโยบายเร่งด่วน เพื่อให้มีการบริการการรักษาด้วยสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์แก่ประชาชนได้อย่างปลอดภัยรวดเร็วและ ครอบคลุม กระทรวงสาธารณสุขจึงให้มีการเปิดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์(Medical Cannabis Clinic) แบบผสมผสานแพทย์ปัจจุบันและแพทย์แผนไทยในสถานพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ เป็นมาตรการเร่งด่วนโดยโรงพยาบาลนำร่องสังกัดกระทรวงสาธารณสุข26 แห่งทั่วประเทศ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ให้บริการแบบแพทย์แผนปัจจุบัน 13 แห่ง และการแพทย์ทางเลือกและ แผนไทย13 แห่ง โรงพยาบาลนำร่องที่เปิดให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้แก่ 1. โรงพยาบาลลำปางจ.ลำปาง 2. โรงพยาบาลพุทธชินราชจ.พิษณุโลก 3. โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์จ.นครสวรรค์ 4. โรงพยาบาลสระบุรีจ.สระบุรี 5. โรงพยาบาลราชบุรีจ.ราชบุรี 6. โรงพยาบาลระยองจ.ระยอง 7. โรงพยาบาลขอนแก่น จ.ขอนแก่น 8. โรงพยาบาลอุดรธานีจ.อุดรธานี 9. โรงพยาบาลบุรีรัมย์จ.บุรีรัมย์ 10. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จ.อุบลราชธานี 11. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีจ.สุราษฎร์ธานี 12. โรงพยาบาลหาดใหญ่จ.สงขลา 13. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี “กัญชา” นับเป็นพืชที่มีอยู่ในตำรับยาไทย มานานนับพันปี โดยมีจารึกไว้ในตำรายาต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการเผยแพร่ด้วยติดที่กัญชายังเป็นยาเสพติด แต่เมื่อมีความชัดเจนมากขึ้นแล้วว่า “กัญชา” มีสรรพคุณเป็นยาที่สำคัญ ทำให้ประเทศไทยเร่งแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ปลดล็อก ให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๙๘ แน่นอนว่าการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ครอบคลุมมาถึงตำรับยาไทยด้วย ล่าสุด กรมการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือกจึงได้ที่การสังเคราะห์ตำรับยาไทย ได้ 96 ตำรับ ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มที่ ได้แก่ 1. กลุ่ม ก. มี 16 ตัว ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สูตรชัด วิธีการชัดสามารถใช้ได้เลย ส่วนใหญ่ใช้ในการ รักษากลุ่มอาการ ปวด นอนไม่หลับ เป็นต้น 2. กลุ่ม ข. กลุ่มที่มีสูตรชัด แต่วิธีการปรุงยายังไม่ชัด ต้องศึกษาเพิ่มเติม 3. กลุ่ม ค. ต้องศึกษาวิจัย 4. กลุ่ม ง. กลุ่มที่ยังติดขัดในข้อกฎหมายอื่น ๆ เช่น อนุสัญญาไซเตส เพราะมีการห้ามใช้สมุนไพรบางตัว สำหรับ กลุ่ม ก.ที่ชัดเจนแล้วมี 16 ตำรับประกอบด้วย 1.ยาอัคคินีวคณะ จากคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ แก้คลื่นเหียน อาเจียน 2.ยาสุขไสยาสน์ จากคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์แก้สรรพโรคทั้งปวงหายสิ้น มีกำลังกินข้าวได้ หลับสบาย 3.ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย จากตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 4.ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ จากตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 5.ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง จากตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 6.ยาไฟอาวุธ จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช 7.ยาแก้นอนไม่หลับ ยาแก้ไข้ผอมเหลือง จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ 8.ยาแก้สัณฑะฆาต กล่อนแห้ง จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 แก้ลมเสียดแทง 9.ยาอัมฤตโอสถ จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช 10.ยาอไภยสาลี จากตำราเวชศึกษา พระยาพิศณุประสาทเวช 11.ยาแก้ลมแก้เส้น จากตำราเวชศาสตร์วัณ์ณณา 12.ยาแก้โรคจิต จากตำรายาอายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2 13. ยาไพสาลี จากตำราอายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2 14. ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง จากตำราอายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2 15. ยาทำลายพระสุเมรุ จากคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ 16. ยาทัพยาธิคุณ จากคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๙๙ ข้อมูลทั่วไปของตำรับเข้ากัญชาและน้ำมันกัญชา 1. ศุขไสยาสน์ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ มีตัวยา 12 ตัว รวมถึงส่วนประกอบของใบกัญชา -ข้อบ่งใช้: ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร - เปอร์เซ็นต์ของกัญชาในตำรับ: 15.38% (คิดเป็นน้ำหนักกัญชาประมาณ 300 มก. /ผงยา 2 กรัม มีปริมมาณ THC 9.21 mg CBD 27.45 ng. ต่อผงยา 1 กรัม)***1,000,000 ng.= 1 mg - ขนาดที่แนะนำให้ใช้: 1/2 ซอง(1กรัม) ก่อนนอน ใช้น้ำต้มสุกเป็นน้ำกระสายยา - จำนวนมากที่สุดที่สามารถใช้ได้: 2 กรัมต่อวัน (1 ซอง) 2. ทำลายพระสุเมรุจากคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์มีตัวยา 20 ชนิด รวมถึงส่วนประกอบของกัญชา -ข้อบ่งใช้: แก้ ลมอัมพฤกษ์อัมพาตกล้ามเนื้อออ่นแรง - เปอร์เซ็นต์ของกัญชาในตำรับ: 2.23% (คิดเป็นน้ำหนักกัญชาประมาณ 44 มก. /ผงยา 2 กรัม มีปริมมาณ THC 12.08 mg CBD 691.04 ng. ต่อผงยา 1 กรัม)***1,000,000 ng.= 1 mg - ขนาดที่แนะนำให้ใช้: 1/2 ซอง ก่อนนอน ใช้น้ำต้มสุกเป็นน้ำกระสายยา - จำนวนมากที่สุดที่สามารถใช้ได้: 2 กรัมต่อวัน (1 ซอง)


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๕๐๐ 3. แก้ลมแก้เส้นจากตำราเวชศาสตร์วัณ์ณณา มีตัวยา 7 ชนิด รวมถึงส่วนประกอบของใบกัญชา - ข้อบ่งใช้: แก้ลมในเส้น บรรเทาอาการมือเท้าชา กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง - เปอร์เซ็นต์ของกัญชาในตำรับ: 26.67%(คิดเป็นน้ำหนักกัญชาประมาณ 533mg. /ผงยา 2 g) - ขนาดรับประทาน/วิธีการใช้ ที่แนะนำ: รับประทานครั้งละ 2 กรัม(1ซอง) วันละ 2 ครั้ง ก่อน อาหาร เช้า-เย็น ใช้น้ำผึ้งรวง, น้ำส้มซ่า หรือน้ำต้มสุกเป็นน้ำกระสายยา - จำนวนมากที่สุดที่สามารถใช้ได้: ไม่เกิน 4 กรัม ต่อวัน (2 ซอง) 4. น้ำมันอาจารย์เดชา มีปริมมาณ THC 2.1 mg/ml. CBD 0.6 mg/ml. - ข้อบ่งใช้: ช่วยให้นอนหลับเจริญอาหาร ปวดศีรษะข้างเดียว(ลมตะกัง) ปวดเรื้อรัง - เปอร์เซ็นต์ของกัญชาในตำรับ: 10%(เตรียมจากกัญชา 1 กก./น้ำมันมะพร้าว10 กก.) - ขนาดที่แนะนำให้ใช้: เริ่มต้นที่1-3 หยด ปรับเพิ่มครั้งละ 2 หยด ปรับลดครั้งละ 1 หยด - จำนวนมากที่สุดที่สามารถใช้ได้: 15 หยด/วัน วิธีการเก็บรักษาและวิธีการใช้ น้ำมันอาจารย์เดชา วิธีการเก็บ: วางเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่ต้องน้ำเก็บในตู้เย็น เนื่องจากตัวยามีส่วนประกอบของน้ำมัน จะ เกิดการแข็งตัวได้ หากนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น วิธีการใช้: เขย่าขวด หยดน้ำมันใส่ในช้อน รับประทานและดื่มน้ำตาม Households Model (Buriram Model)


Click to View FlipBook Version