The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการดำเนินงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 12 ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Kunnua Kandalf, 2023-02-13 03:30:37

รายงานผลการดำเนินงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 12 ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

รายงานผลการดำเนินงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 12 ระดับภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ จังหวัดสระบุรี กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ประยุกต์ใช้โปรแกรมและเพื่อเปรียบเทียบ ๓๘๒ คะแนนเฉลี่ย ๓.๑ ผู้สูงอายุปฏิบัติด้วยตนเองที่บ้าน วันละ ๒ ครั้ง (เช้า-เย็น) ตามโปรแกรม ได้แก่ ๑. Check (ตรวจสอบประเมินข้อเข่า) ๒. Hot Pack ประคบร้อนเข้าเข่า ๑๕ นาที ๓. Active knee ออกก าลังกายข้อเข่า ๑๕ นาที ๔. Rest พัก ๑๐ นาที โดยการพันผ้ายืด ๕. Massage นวดข้อเท่า ๑๕ นาที ๓.๒ ผู้วิจัยออกติดตามดูความถูกต้อง ครบถ้วนของการปฏิบัติกิจกรรมตามโปรแกรม ของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมที่เข้าร่วมวิจัยทุกคน (วันที่ ๒-๔ รวม ๓ วัน) กิจกรรมที่ ๔ (วันที่ ๔-๔๔) ผู้วิจัยออก ติดตามสอบถาม กระตุ้นเตือน ให้ก าลังใจ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมวิจัยทุกคน พูดคุยและ ให้ ค าแนะน ารายบุคคล และใช้โทรศัพท์ถึงผู้สูงอายุ ที่เข้าร่วมวิจัยทุกคน รวมคนละ ๘ ครั้งจนครบ ๔๕ วัน วันที่ ๔๕ (สิ้นสุด) ท า Post-test ท าการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติการ ทดสอบค่าที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent sample) ผลการวิจัย เพศ กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม ผู้สูงอายุดูแลตนเอง เพื่อลดอาการปวดข้อ ๕ ขั้นตอน กิจกรรมที่ ๓ (วันที่ ๒-๔ รวม ๓ วัน) กิจกรรมการปฏิบัติด้วนตนเองที่บ้านและการ ติดตามโดยผู้วิจัย ๑. ภายหลังการทดลอง พบว่ากลุ่มทดลอง มี คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อมด้าน การแพทย์แผนไทย (X=๒๑.๗๐,S.D.=๖.๗๐) แตกต่างกับกลุ่มควบคุม (X=๑๕.๗๗,S.D.=๕.๗๗) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๕ ๒. ภายหลังการทดลอง พบว่ากลุ่มทดลอง มี คะแนนความพึงพอใจต่อตนเอง (X=๖๔.๘๓, S.D.= ๔.๑๕) แตกต่างกับกลุ่มควบคุม (X=๕๘.๙๑,S.D.= ๗.๔๓) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๕ ๓. ภายหลังการทดลอง พบว่ากลุ่มทดลอง มี คะแนนความเจ็บปวดของข้อเข่าในผู้สูงอายุ (X= ๓.๔๐,S.D.=๒.๔๘) แตกต่างกับกลุ่มควบคุม (X= ๔.๕๐,S.D.=๑.๖๗) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๕


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ จังหวัดสระบุรี กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข หญิง ชาย หญิง ชาย ๓๘๓ ๖๓.๓๓ ๓๖.๖๗ ๖๖.๖๗ ๓๓.๓๓ ๔. ภายหลังการทดลอง พบว่ากลุ่มผู้เข้าร่วม โครงการมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมลดปวดของ ผู้สูงอายุในภาพรวมของทุกด้าน อยู่ในระดับสูง (X=๔.๐๕, S.D.=๐.๕๑) สรุป จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ ทฤษฏีการดูแลตนเองต่อการลดความเจ็บปวดของ ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม ท าให้สามารถลดความ เจ็บปวดข้อในผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเป็น อย่างดี ดังนั้นสถานบริการและผู้บริหารด้าน การแพทย์แผนไทย จึงควรน าไปใช้ให้สอดคล้อง กับบริบทของหน่วยงานต่อไป


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ จังหวัดสระบุรี กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๓๘๔ นวัตกรรมก้าวไกล...ใส่ใจสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ บทน า ปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทาวงเลือก มีการบรรจุอยู่ ใน แผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ เพื่อ น าไปสู่การดูแลสุขภาพจากภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทยไทย ที่มีมาตราฐานและหลากหลาย โดยผสมผสานทั้งภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และสากล ก าหนดให้ทุกโรงพยาบาลมีการเปิด ให้บริการขึ้น เพื่อบูรราการกับการแพทย์แผน ปัจจุบัน ให้เป็นการแพทย์สายหลักในระบบ สุขภาพแห่งชาติ และเมื่อพิจารณาการรักษา ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน จะเน้นการรักษา เฉพาะโรค หรือเฉพาะอวัยวะ ขาดความสนใจใน มิติอื่น ท าให้ไม่เชื่อโยงด้านกายภาพ จิต วิญญาณ และวัฒนธรรม ส่งผลให้ประชาชนเกิด ความกังวลจนต้องแสวงหาการรักษาจากที่อื่นๆ และบางครั้งไม่สามารถท าให้การรักษาหายเป็น ปกติได้ ส่วนการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย มี การบรรจุสมุนไพรเพื่อการรักษาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการวิจัยที่มีรองรับเพิ่มขึ้น จึงท าให้ ประชาชนหันมาดูแลตัวเองมากขึ้น โดยน า สมุนไพรมาใช้บ ารุงร่างกาย รักษาโรคอบ หรือ ประคบ เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้น ในฐานะที่ผู้วิจัยปฏิบัติงาน ด้านแพทย์แผนไทย ค าส าคัญ การดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทย, ความเชื่อมั่น, แรงสนับสนุนทางสังคม วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพตนเอง ความเชื่อมั่น แรงสนับสนุนทาง สังคมด้วยการแพทย์แผนไทย ที่มีความสัมพันธ์ต่อ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผน ไทยของผู้สูงอายุเทศบาลต าบลบ่อพลอย อ าเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด วิธีด าเนินการวิจัย - รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยแบบ Cross-sectional analysis study -ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุใน ชมรมผู้สูงอายุ จ านวน ๓๖๖ คน -ก าหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร ของยามาก าหนดค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่ม ตัวอย่าง ๑๙๒ คน -เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่ สร้างขึ้นจากการศึกษาแนวคิดทฤษฏี และงานวิจัยที่


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ จังหวัดสระบุรี กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จึงมีความสนใจ ศึกษางานวิจัยนี้ เพื่อเป็น ๓๘๕ แนวทางในการให้บริการ แรงสนับสนุนทางสังคมด้านการแพทย์แผนไทย และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วย การแพทย์แผนไทย ๒. ท า Try out กับผู้สูงอายุในเขตของ รพ.สต.บ้านคลองแอ่ง จ านวน ๓๐ ตัวอย่าง วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของหมวดความรู้ โดยวิธี KR ๒๐ ได้ค่าความเที่ยงของความรู้เท่ากับ ๐.๘๔ และหาความยากง่าย/อ านาจจ าแนก ได้ค่า pและ r ระหว่าง ๐.๒-๐.๘ ส่วนในหมวดความเชื่อมั่น แรง สนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแล สุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทย น ามา วิเคราะห์หาคุณภาพของแบบสอบถาม โดยใช้ แบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ตามแบบของคอนบาซ (Cronbach) ได้ค่าเท่ากับ ๐.๘๒, ๐.๘๐ และ ๐.๘๕ ตามล าดับ ๓. การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล - น าเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ความรู้เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทย ความ เชื่อมั่นเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย แรงสนับสนุนทาง สังคม ด้านการแพทย์แผนไทยและพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทย มาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วน เบี่ยงเบนมาตราฐาน ตามชนิดของข้อมูล เกี่ยวข้อง และบางส่วนได้มาจากการปรับปรุงพัฒนา เครื่องมือที่มีผู้สร้างไว้แล้ว ประกอบด้วย ๕ ส่วน คือ ๑. ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการ ดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทย ข้อมูล ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย แรง สนับสนุนทางสังคมด้านการแพทย์แผนไทยกับ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้านการแพทย์แผน ไทย ด้วยสถิติ สัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์ สัน (Pearson product moment correlation) - ที่ระดับนัยส าคัญทางสถิติ .๐๕ ๔. ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ ๖๔.๐๖ ค่าเฉลี่ยของอายุในกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ ๗๐.๖๙ มี สถานภาพสามรสคู่ ร้อยละ ๗๒.๙๒จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ ๗๒.๙๒ และพบว่ากลุ่มตัวอบ่างเป็นพ่อบ้าน/ แม่บ้านมากที่สุดร้อยละ ๔๑.๖๗ มีค่าเฉลี่ยของรายได้ ต่อเดือน ๗,๗๘๑.๗๗ บาท/เดือน กลุ่มตัวอย่างมี ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองด้านการแพทย์ แผนไทยในภาพรวม แรงสนับสนุนทางสังคม ด้าน การแพทย์แผนไทยในภาพรวม และพฤติกรรม การดูแล สุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยในภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ จังหวัดสระบุรี กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข - ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร เพศ อายุ ๓๘๖ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ กับ พฤติกรรมการใชข้บริการนวดไทยด้วยสถิติ Chisquare test และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัว แปรรายได้ต่อเดือนความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ตัวเองด้วยการแพทย์แผนไทย ตัวแปร r P value อายุ -๐.๒๔๓** ๐.๐๐๑ รายได้ต่อเดือน -๐.๐๑๓ .๐๔๐* ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ตนเองด้วยการแพทย์แผนไทย ๐.๒๐๒ ๐.๘๖๓ ความเชื่อมั่นด้าน การแพทย์แผนไทย -๐.๐๐๘ ๐.๙๐๘ แรงสนับสนุนทางสังคม เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้าน การแพทย์แผนไทย ๐.๓๒๓** ๐.๐๐๑ ** Significate ที่ระดับ ๐.๐๕ ปัจจัยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยการแพทย์แผนไทย ของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ ๐.๐๕ ได้แก่ สถานภาพการสมรส อายุ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง และ แรงสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ปัจจัย X 2 df p เพศ ๐.๘๑๒ ๑ ๐.๓๖๘ สถานะ การสมรส ๖.๔๑๙ ๒ ๐.๐๔๐* ระดับ การศึกษา ๐.๙๖๐ ๒ ๐.๖๑๙ อาชีพ ๕.๒๒๔ ๓ ๐.๑๕๖ ในส่วนของ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อ เดือน และความเชื่อมั่นด้านการแพทย์แผน ไทย ไม่มีความสัมมพันธ์ กับพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยการแพทย์แผนไทย ของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุเทศบาล ต าบลบ่อพลอย อ าเภอบ้านไร่ จังหวัดตราด บทสรุป จากการวิจัยจึงควรจัดท าโปรแกรมจากการ สร้างเสริมความรู้ของผู้สูงอายุเกี่ยวกับ การดูแล สุขภาพตนเองด้วยการแพทย์ แผนไทย รวมทั้ง ควรจัดท ากิจกรรมสร้างแรงสนับสนุนทางสังคม


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ จังหวัดสระบุรี กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย ๓๘๗ ซึ่งจะท าให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยที่สูงขึ้นต่อไป รู้ไว้ใช่ว่า... อาหารแสลงหรือห้ามรับประทาน ส าหรับผู้ป่วยในทัศนะแพทย์แผนไทย ๑. ของหมักดองทุกชนิด เช่นปลาร้า ผัก/หน่อไม้/ผลไม้ดอง ๒. อาหารทะเลทุกชนิด ๓. เครื่องในสัตว์ทุกชนิด ๔. ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่นทุเรียน ลองกอง ล าไย ๕. ของหวานจัดทุกชนิด เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ข้าวเหนียวสังขยา แม้ว่าอาหารเหล่านี้จะมีคุณค่าทางโภชนาการมากก็ตาม แต่ก็มีผลท าให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงเช่นกัน โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับ การปวด เช่นปวดคอ บ่าไหล่ ปวดหลัง ปวดขา โดยไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงท าให้มี อาการอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย มึนศรีษะ (Office Syndrome) “อาการมีสาเหตประการหนึ่งมาจากอาหารแสลง” อาหารที่ทานได้ส่วนใหญ่ก็เป็นอาหารที่คนไทยในโบราณทานมานาน และมีอายุยืน แต่ อาหารเหล่านี้สามารถทานได้อีกครั้ง ถ้ารักษาให้หายตามแนวทางแพทย์แผนไทย


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๐๖ มหกรกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ ๔ – ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ณ โรงแรมมุกดาหารแกรนด์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร ....เมืองมุก ๒๕๐ ปี วิถีภูมิปัญญา อารยธรรมลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงอาเซียน...


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๐๘ นักงานสาธารณสุขจังหวัดกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยเขตสุขภาพที่ ๗ - ๑๐ จำนวน ๒๐ จังหวัด โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร เป็น เจ้าภาพการจัดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้รับ การสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยมีสรุปผลการ ดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้ ๑. กำหนดการจัดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ระดับภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ พุทธศักราช ๒๕๖๓ โดยมีธีมการจัดงาน คือ “เมืองมุก ๒๕๐ ปี วิถีภูมิปัญญา อารยธรรมลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงอาเซียน” ซึ่งได้มีการจัดงานร่วมในโอกาสเฉลิมฉลองที่จังหวัด มุกดาหารมีอายุการสถาปนาครบรอบ ๒๕๐ ปี ตลอดเส้นทางของการเกิดขึ้นของจังหวัดมุกดาหาร สิ่งที่อยู่ควบคู่ กันมานั้น คือ วิถีแห่งภูมิปัญญาของชาวมุกดาหาร และชาวอีสานเพื่อการดำรงอยู่ด้วยการพึ่งตนเองจากธรรมชาติ และยังคงมีวิถีชีวิตอันกลมเกลียวด้วยวัฒนธรรมพี่ น้องสองฝั่งไทย-ลาว ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ : อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน, นายแพทย์ประวิตร ศรีบุญรัตน์ : นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน, นายชยันต์ ศิริมาศ : ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร กล่าวต้อนรับสู่จังหวัดมุกดาหารและบรรยากาศของการจัดงาน และได้เชิญ ชวนท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัด รวมทั้งได้รับเกียรติจากผู้บริหารของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้บริหาร ระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ผู้บริหารหน่วยงานจากเครือข่ายจังหวัด ๒๐ จังหวัดภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และประชาชนทั่วไป ๒. นิทรรศการของเครือข่ายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการนำเสนอผลงาน ทางวิชาการ องค์ความรู้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และการการแพทย์ทางเลือกอื่น การแสดงผลงานนวัตกรรมที่ได้มีการคิดค้นพัฒนาเพื่อการดูแลสุขภาพ การจัดแสดงตำรับยาแผนไทยที่ได้มีการผลิต จากโรงงานผลิตยามาตรฐาน GMP ของเขตสุขภาพที่ ๑๐ ตำรับยาหมอพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัด แสดงอาหารเพื่อสุขภาพ การจัดแสดงผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เวชสำอางชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการ ของหน่วยงานภายนอกกระทรวงสาธารณสุข เช่น สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม สำ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๐๙ ๓. จุดเด่นของการจัดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยฯ ๓.๑ การจัดพิธีไหว้ครูการแพทย์แผนไทย และพิธีมอบตัวศิษย์ การเจิมหน้าผากให้แก่ศิษย์ ๓.๒ การแสดงสร้างความบันเทิงจากกลุ่มนักร้องที่มีชื่อเสียง ๓.๓ การจัดกิจกรรมทอล์คโชว์ โดย อาจารย์จตุพล ชมพูนิช ๓.๔ การประกวดอาหารว่าง จากสมุนไพร สร้างสีสันความสนุกสนานให้แก่ประชาชน ๓.๕ การจัดนิทรรศการมีชีวิต โดยหมอพื้นบ้านอีสาน ในแต่ละซุ้มนิทรรศการ รวมทั้งการให้คำปรึกษา การรักษาด้วยกรรมวิธีหมอพื้นบ้านอีสาน ๓.๖ การจัดนิทรรศการ Champion Products จากโรงงานผลิตยาสมุนไพรมาตรฐาน WHO GMP ๔. การจัดกิจกรรมทางวิชาการ การบรรยายและสาธิตด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก โดยให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุข แพทย์แผนไทย และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาส เข้าร่วม ซึ่งมีหัวข้อสำคัญ ดังนี้ ๔.๑ การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง มหัศจรรย์กัญชารักษาได้ทุกโรคจริงหรือ ? ใครบ้างที่สามารถปลูกได้ 4.๒ การให้ความรู้ และการสาธิต เรื่อง จัดกระดูกด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ๔.๓ การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง การคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์พื้นบ้านไทย และการประมวลกิจกรรมการจัดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทย โดย ดร.นันทศักดิ์ โชติชนะเดชาวงศ์ ๕. องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร โดยมีผลงานที่นำมาจัดแสดงเผยแพร่ให้แก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจ ซึ่งรวบรวมได้และมีการบันทึกนำไปใช้ รวมทั้งสิ้น ๓๐๖ เรื่อง/รายการ แบ่งเป็น ๖ ประเภท ดังนี้ ๕.๑ ประเภทที่ ๑ : หมอพื้นบ้าน ปราชญ์หรือผู้รู้ของจังหวัด จำนวน ๑๒ คน/องค์ความรู้ โดยมี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หมอพื้นบ้านผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร, หมอพื้นบ้านผู้เชี่ยวชาญการนวดเพื่อรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กษัยเส้น, หมอพื้นบ้านผู้เชี่ยวชาญการ รักษาโรคสตรี เป็นต้น ๕.๒ ประเภทที่ ๒ : ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือกหรือ องค์ความรู้อื่น จำนวน ๘๗ เรื่อง/รายการ โดยมีการจัดแสดงผลงาน เช่น จิงเจอร์ครีม, ตำรับยาเทพรังษิต, ตำรับยาวรรณรังสี, ตำรับโคลนบำบัด, ยาพอกระวีระงับ, สเปรย์ยาแก้ตะโจพิการ, ตำรับสมุนไพรพอกหน้าดิน ภูเขาไฟ, ตำรับยาสมุนไพรอบตัว, ตำรับยาสมุฏฐานปิตตะ, ตำรับยาศุขไสยาศน์, ตำรับยาทำลายพระสุเมรุ, ตำรับ ยาทิพยาธิคุณ, น้ำมันคลายเส้น, ภูมิปัญญาการดูแลมารดาหลังคลอดหมอพื้นบ้านอีสาน, ตำรับยาบำรุงน้ำนม, ตำรับยาจอดกระดูก เป็นต้น ๕.๓ ประเภทที่ ๓ : ผักพื้นบ้านหรืออาหารพื้นเมือง จำนวน ๖ ชนิด/รายการ โดยมีการจัดแสดงผลงาน เช่น น้ำตรีผลา, ข้าวตังออร์แกนิคหน้าธัญพืช, น้ำวาโยกัมปนาท, เมี่ยงคำญัฮกุร เป็นต้น ๕.๔ ประเภทที่ ๔ : สมุนไพร (สมุนไพรสดและสมุนไพรแห้ง) จำนวน ๑๑๓ รายการ โดยมีการจัด แสดงผลงาน เช่น ฟ้าทะลายโจร, ข้าวเย็นเหนือ, ข้าวเย็นใต้, แก่นฝางแดง, หอมแดง, ตะไคร้, มะกรูด, กานพลู, หญ้าใต้ใบ, เหง้าสับปะรด, เทียนขาว, กระวาน, ขิง, ว่านชักมดลูก, ขมิ้นชัน, กระชายดำ, เพชรสังฆาต, กำแพงเจ็ดชั้น, สมอไทย, ผักเสี้ยนผี เป็นต้น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๑๐ ๕.๕ ประเภทที่ ๕ : วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน และพิธีกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพ จำนวน ๖ รายการ โดยมีการจัดแสดงผลงาน เช่น พิธีแก้กรั้ว ศาสตร์และศิลป์ถิ่นภูมิปัญญาชนชาติพันธุ์ขะแมร์, พิธีเสี่ยงทายของ ชาวญัชกุร, พิธีไหว้ครูแพทย์แผนไทยและเจิมหน้าผาก เป็นต้น ๕.๖ ประเภทที่ ๖ : นวัตกรรมสุขภาพ จำนวน ๘๒ ชิ้น/รายการ โดยมีการจัดแสดงผลงาน เช่น นวัตกรรม Inhalation Chamber, นวัตกรรมสุขภาพรอกไม้ไผ่, นวัตกรรมสุขภาพกระดานพาเพลิน, นวัตกรรม เครื่องแช่เท้าสมุนไพรไฮเทค, นวัตกรรมลูกประคบสมุนไพรแบบไอน้ำร้อนต่อเนื่อง, พลาสเตอร์ยางมะละกอ กำจัดหูด, Herb Ball สมุนไพรแช่เท้า, นวัตกรรมหม้อสุมยาลาหวัด เป็นต้น ๖. คลินิกการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน การแพทย์พื้นบ้านไทย และการแพทย์ทางเลือก ให้บริการ ด้านสุขภาพแก่ประชาชนโดยผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้านการแพท ย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน ประกอบด้วย การตรวจ การวินิจฉัย การจ่ายยาสมุนไพร การฝังเข็ม การนวด โดยมีผู้ป่วยมารับบริการ มากกว่า ๓๒๕ คน ๗. การเชิญหน่วยงานภายนอกกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน วิสาหกิจชุมชน กลุ่มของผู้ผู้ลิต ผู้จำหน่ายที่ได้รับมาตรฐานการผลิต ได้มาร่วมจัดแสดงนิทรรศการ จำหน่ายสินค้า บริการอาหารปรุงสุกทุกสุขลักษณะ และปลอดภัย โดยมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้า ตลอดระยะเวลาของ การจัดงาน มากกว่า ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาทเศษ ๘. ผู้เข้าร่วมการจัดงาน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ผู้บริหารระดับท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขจากเครือข่ายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกลุ่มภาคเหนือ ประชาชนทั่วไป มากกว่า ๒๗,๐๐๐ คน ตามรายงานจำนวนการลงทะเบียน และระบบ Online และการตรวจสอบ ของ Organizer ๙. การประกวดกิจกรรมด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และอื่น ๆ โดยมีบุคลากร และหน่วยงานที่ได้รับรางวัล ดังนี้ ๙.๑ การประกวดผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก แบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ ๙.๑.๑ รางวัลผลงานวิจัย ประเภท Poster ๑) รางวัลชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้แก่ นางสาวกานต์ญาดา นาชัยเพชร และคณะ เรื่อง การพัฒนาเจลยาตั้งจากภูมิ ปัญญาหมอพื้นบ้านลดการปวดในโรคออฟฟิศซินโดรม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ๒) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้แก่ นางสาวเบญญทิพย์ วิวัฒน์วรกาญจน์ เรื่อง แผ่นลดความร้อน Herbs for Heal สำหรับลดปิตตะ โรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ๓) รางวัลรองชนะลิศ อันดับ ๓ ได้แก่ นางสาววิภารัตน์ ลี้ชัยกิจเจริญ, นางสาวนัฎธภรณ์ มีพร และคณะ เรื่อง ชุดกะลา ลูกประคบและลูกประคบจิ๋ว ภูมิปัญญาไทยลดอาการชา ในผู้ป่วยเบาหวาน เครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลภูเวียง โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๑๑ ๔) รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวอนุธิดา สิงห์นาค เรื่อง นวัตกรรมชีวภัณฑ์ลดการใช้สารเคมีในไร่อ้อย โรงพยาบาลสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู ๕) รางวัลชมเชย ได้แก่ เภสัชกรหญิงพิไลพรรณ จันทประสาร เรื่อง พลาสเตอร์ยางมะละกอกำจัดหูด โรงพยาบาลลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ๙.๑.๒ รางวัลผลงานวิจัย ประเภท Oral ๑) รางวัลชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง ผลิตภัณฑ์โลชั่นจากน้ำมันมะพร้าว ๒) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง ผลการรักษาอาการปวดเข่า โดยการกักน้ำมัน ๓) รางวัลรองชนะลิศ อันดับ ๓ ได้แก่ จังหวัดนครพนม เรื่อง โปรแกรมสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ ๔) รางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น เรื่อง ศึกษาวิธีการเพิ่มจำนวนและการเคลื่อนที่ของเซลล์ ๕) รางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาชงเปลือกพะยอม ๙.๒ การประกวดอาหาร (ว่าง) สมุนไพรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อการดูแลสุขภาพ ดังนี้ ๙.๒.๑ รางวัลชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ๙.๒.๒ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย ๙.๒.๓ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ๙.๒.๔ รางวัลชมเชย ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ๙.๒.๕ รางวัลชมเชย ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ๙.๓ การประกวดบูธนิทรรศการทางวิชาการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในงานมหกรรม การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้ ๙.๓.๑ รางวัลชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ๙.๓.๒ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย ๙.๓.๓ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๓ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๑๒ ๙.๓.๔ รางวัลชมเชย ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย ๙.๓.๕ รางวัลชมเชย ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ๙.๓.๖ รางวัลชมเชย ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ ๑๐. การมอบรางวัลผลการประกวดพื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติ ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีผลการประกวด ดังนี้ ๑๐.๑ ประเภทสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้แก่ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ ๗ ๑๐.๒ ประเภทโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้แก่ : โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ ๗ ๑๐.๓ ประเภทโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ : โรงพยาบาลหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ ๗ ๑๐.๔ ประเภทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี ได้แก่ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธาตุทอง จังหวัดสกลนคร เขตสุขภาพที่ ๘ ๑๑. การจัดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๓ ระดับภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณพุทธศักราช ๒๕๖๔ มีมติเห็นชอบมอบหมายให้เขตสุขภาพที่ ๘ โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภูเป็นผู้แทนจังหวัดเจ้าภาพจัดงาน ต่อไป ๑๒. ข้อเสนอแนะในการจัดงานครั้งต่อไป และการพัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทย ๑๒.๑ การเลือกสถานที่จัดงาน ควรให้เป็นแหล่งที่อยู่ใกล้ชุมชน ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น สนามกีฬากลางจังหวัด, ห้างสรรพสินค้า, บริเวณใกล้เคียงกับตลาดนัดสำคัญของชุมชน ฯลฯ ๑๒.๒ การกำหนดช่วงเวลาของการจัดงาน ควรจัดงานให้ถึงช่วงค่ำ (เนื่องจากเป็นช่วงวันราชการ กลุ่มเป้าหมายช่วงกลางวัน อาจไม่สามารถร่วมกิจกรรมได้)


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๑๒ “องค์ความรู้ ภูมิปัญญา การดูแลสุขภาพของพี่ น้องชาวอีสาน เรายังคงมีวิถีวัฒธรรมของการพึ่งพิง ธรรมชาติ ยังคงมีความเชื่อสิ่งลี้ลับที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เหนือธรรมชาติ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยมาก ก็มักจะหมายถึง การที่บุคคลนั้น ไปกระทำผิดต่อธรรมชาติหรือสิ่งที่มองไม่เห็น การดูแลรักษา จึงมักเริ่มด้วยการเสี่ยงทายจาก ความเชื่อถ้าหายดีก็แปลว่าใช่ ถ้าไม่หายก็จะใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นมาเพื่อการบำบัด รักษา” มุ กดาหาร MUKDAHAN พท.ศราวุฒิ จันดี รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล ...เมืองมุก ๒๕๐ ปี วิถีภูมิปัญญา อารยธรรมลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงอินโดจีน… สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมุกดาหาร เจ้าภาพการจัดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๑๔ หมอพื้นบ้าน ปราชญ์พื้นเมือง...มุกดาหาร ชื่อ - สกุล พ่อหมอกฤษณ สมุทรเวช วัน - เดือน - ปีเกิดเกิด ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ สถานที่ติดต่อ บ้านเลขที่ ๑๒๔ หมู่ที่ ๔ บ้านนายาง ตำบลบ้านบาก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ความชำนาญ เป็นหมอพื้นบ้านที่มีความชำนาญการใช้สมุนไพรเพื่อ การบำบัดรักษาผู้ป่วย เป็นหมอเป่าคาถา เป็นหมอพิธีกรรม มีวิธีการตรวจ วินิจฉัยผู้ป่วยด้วยการแมะบริเวณข้อมือ และจ่ายยาตำรับเฉพาะรายหรือ ตามอาการ/โรคต่าง ๆ เช่น โรคฝีภายใน ฝีมะเร็ง พิษร้อน พิษไข้ อาการเมาเบื่อจากเห็ดพิษ แมลงสัตว์กัดต่อยต่าง ๆ รักษาโรคเกี่ยวกับเลือกหรือโลหิต โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบขับถ่าย (ริดสีดวง ทวาร)รวมทั้งโรคที่เกี่ยวกับระบบโครงสร้าง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และโรคกษัย เกียรติภูมิ พ่อหมอกฤษณ สมุทรเวช เป็นหมอพื้นบ้านดีเด่น ระดับเขตสุขภาพที่ ๑๐ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ และได้รับการคัดเลือก เป็นหมอไทยดีเด่น ระดับจังหวัด สมุนไพรเด่น...หมอพื้นบ้าน ชื่อเครื่องยา โกฐพุงปลา ได้จาก ก้อนแข็ง ปูด (gall) จากใบ และยอดอ่อนของสมอไทย ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา สมอไทย ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) กกส้มมอ, สมอ, มาแน่,สมออัพยา, หมากแน่ะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia chebulaRetz. var chebula ชื่อวงศ์ Combretaceae สรรพคุณ แก้อุจจาระธาตุพิการ แก้อติสาร แก้บิดมูกเลือด คุมธาตุ แก้ไข้จาก ลำไส้อักเสบ แก้ไข้พิษ แก้พิษทำให้ร้อน แก้อาเจียน แก้เสมหะพิการ แก้เม็ดยอดภายใน สมานแผล แก้ฝีภายใน แก้โรคอุจจาระธาตุ ลงอติสาร ลงแดง เป็นยาฝาดสมาน


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๑๕ เขตสุขภาพที่ ๑๐ โดยมีหน่วยงานระดับจังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัด ยโสธร, จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี และมีโรงพยาบาลในสังกัดที่ได้รับมาตรฐานการผลิตยาจาก สมุนไพรด้วยกันหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร, โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัด อุบลราชธานี, โรงพยาบาลพนา จังหวัดอำนาจเจริญ, โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร “ไพรวนารี” อยู่ภายใต้การควบคุมการผลิตของโรงพยาบาลนิคมคำสร้อย อำเภอ นิคมคำสร้อยจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งได้รับการตรวจประเมินให้เป็นโรงงานผลิตยาสมุนไพรมาตรฐาน GMP มีผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยหรือประชาชนในพื้นที่ และหน่วยงานที่ สนใจสั่งซื้อยาสมุนไพรของโรงงาน PRODUCT CHAMPION GMP เขตสุขภาพที่ 10


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๑๖ ผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร “ไพรวนารี” ขมิ้นชัน (แคปซูล) สรรพคุณ ขับลม บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นท้อง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร วิธีการใช้ รับประทานครั้งละ ๑ แคปซูล วันละ ๔ ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ใบมะขามแขก (แคปซูล) สรรพคุณ ช่วยระบาย บรรเทาอาการท้องผูก วิธีการใช้ รับประทานครั้งละ ๑ - ๒ แคปซูล วันละ ๑ ครั้ง หลังตื่นนอนหรือก่อนนอน ฟ้าทะลายโจร (แคปซูล) สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร วิธีการใช้ รับประทานครั้งละ ๑ - ๒ แคปซูล วันละ ๔ ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน บัวบก (แคปซูล) สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนใน ช่วยบำรุงประสาทและสมอง วิธีการใช้ รับประทานครั้งละ ๑ - ๒ แคปซูล วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๑๗ ยาธาตุอบเชย สรรพคุณ ขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้ วิธีการใช้ รับประทานครั้งละ ๒ ช้อนโต๊ะ วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร น้ำมันไพล สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ลดการอักเสบ ฟกซ้ำ ปวดบวม วิธีการใช้ เป็นยาใช้ทาภายนอก ทาบริเวณที่มีอาการ ยาขี้ผึ้งเสลดพังพอน สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ลมวิงเวียน งูสวัด วิธีการใช้ เป็นยาใช้ทาภายนอก ทาบริเวณที่มีอาการหรือรู้สึกมีอาการ เถาวัลย์เปรียง (แคปซูล) สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย วิธีการใช้ รับประทานครั้งละ ๑ - ๒ แคปซูล วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร รางจืด (แคปซูล) สรรพคุณ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้ ถอนพิษทั้งปวง วิธีการใช้ รับประทานครั้งละ ๑ - ๒ แคปซูล วันละ ๒ - ๓ ครั้ง หลังอาหาร


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๑๘ วิทยาลัยช ุมชน มุกดาหาร ล ูกประคบสมุนไพร วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เป็นสถาบันอุดมศึกษาหลักของชุมชน ที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน สามารถ แก้ไขปัญหา ตอบสนองความต้องการของชุมชน รวมทั้งเป็นกลไกในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน บนพื้นฐานของการามีส่วนร่วมของชุมชน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจ : วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ๑. การจัดการศึกษา จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญา ทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ ตามหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ทั้งหลักสูตรอนุปริญญา ประกาศนียบัตร หลักสูตร ระยะสั้น และหลักสูตรปรับพื้นฐาน โดยจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ๒. การจัดฝึกอบรม จัดการฝึกอบรมให้กับประชาชน และภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในชุมชน ๓. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้ได้มาตรฐาน สำหรับการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษา สิ่งที่สำคัญของวิทยาลัยชุมชนที่ดำเนินการอยู่นั้น คือ ได้ร่วมกับชุมชนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา และการใช้ ประโยชน์จากพืชสมุนไพรเพื่อดูแล รักษาเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยหรือเพื่อป้องกันโรค ช่วยให้มีสุขภาพร่างกาย แข็งแรงดี ลดต้นทุน ช่วยให้ประหยุดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนด้วย โครงการจัดการความรู้การใช้สมุนไพร เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้น โดยได้มีการใช้สมุนไพรภายในชุมชน มาแปรรูปหรือใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อการรักษา ดูแลสุขภาพ เช่น ส่วนประกอบของลูกประคบ ๑. ไพล ๑ ส่วน ๒. ขมิ้นอ้อย ๑/๒ ส่วน ๓. ขมิ้นชัน ๑/๒ ส่วน ๔. ใบมะขาม ๑/๒ ส่วน ๕. ตะไค้หอม ๑ ส่วน ๖. ใบหนาด ๑/๒ ส่วน


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๗. ผิวมะกรูด ๑ ส่วน ๘. ใบส้มป่อย ๑/๒ ส่วน ๔๑๙ ๙. ตะไคร้ต้น ๑ ส่วน ๑๐. หัวมะแหน่ง ๑ ส่วน ๑๑. ใบเปล้าใหญ่ ๑/๒ ส่วน ๑๒. เปลือกไม้แดง ๑ ส่วน ๑๓. เถาสะค้าน ๑ ส่วน ๑๔. เกลือ ๑/๒ ส่วน ๑๕. การบูร ๑/๒ ส่วน ๑๖. พิมเสน ๑/๒ ส่วน วิธีการทำลูกประคบ ๑. นำสมุนไพรสดทั้งหมด (ข้อ ๑. – ข้อ ๑๓.) ล้างทำความสะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ๒. นำสมุนไพสดที่ผ่านการทำความสะอาดทั้งหมด มาหันหรือสับให้เป็นชิ้นขนาดเล็ก ๓. นำสมุนไพรทั้งหมด ตามอัตราส่วนที่กำหนดผสมคลุกเคล้าในกาละมังขนาดใหญ่ จากนั้นเติมเกลือ การบูร และพิมเสนลงไป แล้วคนให้ส่วนประกอบทั้งหมดผสมเข้าด้วยกัน ๔. นำส่วนประกอบของสมุนไพรทำลูกประคบ ตามข้อ ๓. ตกใส่ผ้าขาว (ผ้าด้ายดิบขนาด กว้าง ๓๐ เซนติเมตร X ยาว ๓๐ เซนติเมตร) หลังจากนั้นห่อให้สมุนไพรเป็นลูกกลม เว้นให้มีด้ามจับ ๕. นำเชือกผ้ามาผูกรัดให้แน่นได้มากที่สุด เพื่อเวลานำลูกประคบสมุนไพรไปนึ่งด้วยความร้อน จะไม่ ทำให้ลูกประคบเสียรูปและปริแตกได้ง่าย ที่สำคัญ การที่เราผูกรัดให้ลูกประคบสมุนไพรแน่น จะช่วยให้เก็บความ ร้อนได้ยาวนานขึ้น ๖. หลังจากได้ลูกประคบสมุนไพรเรียบร้อยแล้ว นำไปนึ่งด้วยไอน้ำความร้อน นาน ๕ – ๑๐ นาที แล้วนำไปประคบบริเวณผิวหนัง/กล้ามเนื้อของผู้ที่มีอาการปวดเมื่อย ปวดตึงต่าง ๆ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๒๐ น้ำมันเหลืองสมุนไพร ส่วนประกอบของน้ำมันเหลืองสมุนไพร ๑. ไพลสด ๒. ขมิ้น ๓. ข่า ๔. ขิง ๕. น้ำมันสมุนไพร (สกัดจาก ข้อ ๑. – ข้อ ๔.) ปริมาณ ๔๐ % ๖. น้ำมันระกำ ปริมาณ ๓๐ % ๗. สารละลายพิมเสน, เมนทอล, การบูร ปริมาณ ๒๕ % ๘. น้ำมันยูคาลิปตัส ปริมาณ ๕ % วิธีการทำน้ำมันเหลืองสมุนไพร ๑. นำสมุนไพรสดทั้งหมด (ตามข้อ ๑. – ข้อ ๔.) ล้างทำความสะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ๒. นำสมุนไพรมาหันเป็นแว่นบาง ๆ จากนั้นนำไปทอดในน้ำมัน แล้วกรองเอากากออก ๓. นำน้ำสมุนไพรที่ได้จากการทอด ปริมาณ ๔๐ % ผสมรวมเข้ากับ น้ำมันระกำ, สารละลายพิมเสน, เมนทอล, การบูร และน้ำมันยูคาลิปตัส ตามปริมาณที่กำหนด แล้วกวนเบา ๆ ไปในทิศทางเดียวให้ส่วนผสมทั้งหมด เข้ากันดี ๔. หลังจากได้น้ำมันเหลืองสมุนไพรตามสูตรที่ต้องการ แล้วบรรจุลงในขวดแก้ว ปิดฉลากให้เรียบร้อย


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๒๑ สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดโลกอุตสาหกรรมอาหารไทย สู่โลกอนาคต... The Future Gateway About NFI National Food Institute จากแนวคิดของการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมไทย สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ก่อกำเนิดขึ้นจากแนวคิดของภาตรัฐ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมไปถึง ภาคเอกชน โดย กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อหาองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่อ การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม จึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินการศึกษา เพื่อหาข้อเสนอแนะ และความจำเป็นในการจัดตั้งองค์กรหรอหน่วยงานที่จะเป็นแกนนำในภารกิจดังกล่าว จากผลการศึกษาได้มีข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ให้มีหน่วยงานใหม่ที่จะเป็นองค์กรนำในการพัฒนา ภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ในรูปแบบของ “สถาบัน” โดยมีภารกิจเป็นแหล่งให้บริการข้อมูลด้าน การค้าและเทคโนโลยี การบริการด้านการตรวจวิเคราะห์ การประสานความร่วมมือเพื่อการแก้ไขปัญหา และ ยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหารกับบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหาร ด้านความปลอดภัย ร่วมมือกับหน่วยงานหลักของประเทศ ส่งเสริมให้สินค้าอาหารไทยมีความปลอกภัย และสนับสนุนให้เกิด มาตรฐานการควบคุมด้านอาหารปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก และองค์การด้านอาหาร ระหว่างประเทศ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๒๒ ด้านวิจัยและพัฒนา สนับสนุนและวางนโยบายแผนยุทธศาสตร์การวิจัย และการพัฒนาด้านนวัตกรรมอาหารของประเทศให้มี ประสิทธอภาพในการสร้างศักยภาพการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมอาหารไทย ทั้งทางด้านการผลิต การแปรรูป และการจำหน่าย ในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร โดยร่วมมือกับหน่วยงนที่เกี่ยวข้อง สถาบันวิจัย และ สถาบันการศึกษา แหล่งวิจัยเชิงลึก ประสานหน่วยงานหลัก คือ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ รวบรวมวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกที่ทันสมัย และเป็นประโยชน์ สำหรับงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อาทิ การเจรจา ทางการค้า การจัดทำมาตรฐาน การตัดสินใจในเชิงการค้า ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศํกยภาพในการแข่งขันและเสถียรภาพของ อุตสาหกรรมอาหารของประเทศ ด้านการพัฒนาธุรกิจ สนับสนุน สร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาตลาดอาหารครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำหรือการผลิต (Supply) จนถึง ปลายน้ำหรือผู้บริโภค (Demand) ให้เกิดการรวมกลุ่ม ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งด้านผู้ผลิต การกระจายสินค้า และการสนองตอบความต้องการของตลาด ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และตลาดใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (Matching Demand and Supply) เป้าหมายของอุตสาหกรรมอาหารไทย ก้าวสู่การเป็นชาติชั้นนำด้านอุตสาหกรรมอาหารตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (๒๐๑๗ – ๒๐๓๖) สร้าง ๓,๕๐๐ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารให้เป็นนักรบพันธุ์ใหม่เป็น ๕ ชาติ ของประเทศชั้นนำด้านอุตสาหกรรมอาหารส่งออก ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่มเติบโต ร้อยละ ๔


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๒๓ ตัวอย่าง : ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปของสถาบันอาหาร แกงส้มผักรวม Mixed Vegetable Sour Soup หมายเลขขึ้นทะเบียนอาหาร อย.๑๐๑๐๓๖๕๙๕๐๐๐๔ แกงเลียงกุ้งสด Instant Thai Spicy Mixed Vegetable Soup with Shrimps หมายเลขขึ้นทะเบียนอาหาร อย.๑๐๑๐๓๖๕๙๕๐๐๐๑ “นำอุตสาหกรรมอาหารไทย ก้าวสู่การเป็นอาหารแห่งอนาคตด้วยกัน”


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๒๔ คลินิกการแพทย ์แผนไทย ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คลินิกการแพทย์แผนไทย ที่เปิดให้บริการในงานมหกรรม การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ระดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร มีบริการตรวจ วินิจฉัยโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และให้บริการนวด แผนไทยเพื่อการรักษาอาการทางกล้ามเนื้อต่าง ๆ คลินิกเฉพาะโรค โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ให้บริการผู้ป่วยที่มีอาการเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ให้บริการพอกข้อเข่า เป็นต้น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๒๔ หมอบุญยงค์ บัวบุปผา ได้รับรางวัลต้นแบบดีเด่นครั้งที่ ๑ Maha Naga Award 2019 ที่อยู่ ๒๙ ม. ๕ ต.เหล่ากลาง อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ สถานที่รักษา ที่บ้าน โรงพยาบาลกมลาไสย ประเภทหมอ หมอยาสมุนไพร หมอนวดรักษา ความเชี่ยนชาญ อัมพฤกษ์อัมพาต โรคมะเร็ง โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ตำรับยาสมุนไพร กา ฬสินธุ์ KALASIN นางสาวศิริพร ประทีปอรุโณทัย รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๒๖ ตำรับยาผงประสะน้ำนม ส่วนประกอบ จันทน์เทศ ชะเอม กานพลู ลูกมะแว้งต้น โกศสอ โกฐเขมา โกฐ ก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐจุฬาลัมพา สรรพคุณ ชำระน้ำนมร้ายกลายเป็นดี วิธีปรุงยา นำตัวยาที่ได้ใส่หม้อเติมน้ำพอท่วมยาต้มนาน ๑๕ นาที วิธีรับประทาน ครั้งละ ๒ ช้อนชา ผสมน้ำอุ่น เช้า-เย็น ก่อนอาหาร ตำรับยาต้มแก้ฝีในท้อง ส่วนประกอบ เถาวัลย์เปรียง ข้าวเย็นใต้ โพกพาย รากหมีเหม็น สรรพคุณ แก้ฝีในท้องทุกชนิด วิธีปรุงยา นำตัวยาที่ได้ใส่หม้อเติมน้ำพอท่วมยา ต้มนาน ๑๕ นาที วิธีรับประทาน ครั้งละ ๒ ถ้วยน้ำชา เช้า-เย็น ก่อนเข้านอนให้ทานหลังอาหารหรือเวลามีอาการปวด โกฐพุงปลา สรรพคุณ แก้อุจจาระธาตุพิการ แก้อติสาร แก้บิดมูกเลือด คุมธาตุ แก้ไข้จาก ลำไส้อักเสบ แก้ไข้พิษ แก้พิษทำให้ร้อน แก้อาเจียน แก้เสมหะพิการ แก้เม็ด ยอดภายใน สมานแผล แก้ฝีภายใน แก้โรคอุจจาระธาตุลงอติสาร ลง แดง เป็นยาฝาดสมาน โกฐสอ สรรพคุณ แก้ไข้แก้หืด แก้ไอ ทำหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึก แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไข้จับสั่น จีนนิยมใช้ยานี้มานานแล้ว โดยมักใช้เป็นยา แก้ไข้หวัด แก้ปวดหัว โพรงจมูกอักเสบ แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวาร หนัก แก้อาการทางผิวหนังต่างๆ เช่น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก บวม แก้ ริดสีดวงจมูกโดยเตรียมเป็นยานัตถุ์ จีนถือว่ายานี้เป็นยาเฉพาะสตรีจึงใช้ยานี้ เป็นยาเกี่ยวกับระดู เช่น ใช้แก้ตกขาว อาการปวด บวมแดง นอกจากนั้นยัง ใช้ผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าหลายชนิด


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โกฐเขมา ๔๒๗ สรรพคุณ เหง้าเป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม เป็นยาบำรุง ใช้แก้โรคเข้าข้อ เป็นยา เจริญอาหาร ยาขับปัสสาวะ แก้โรคในปากในคอเป็นแผลเน่าเปื่อย แก้เสียด แทงสองราวข้าง แก้จุกแน่น แก้หอบหืด ระงับอาการหอบ แก้หวัดคัดจมูก แก้ ไข้ แก้ลมตะกัง แก้เหงื่อออกมาก แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง แก้ขาปวดบวม ขาไม่มี แรง ปวดข้อ แก้ท้องเสีย แพทย์แผนจีนนิยมใช้โกฐเขมามาก เข้าในยาจีน หลายขนาน ตำรายาจีนว่าใช้แก้อาการท้องร่วงท้องเสีย แก้อาการบวม โดยเฉพาะอาการบวมที่ขา แก้ปวดข้อ เนื่องจากโรคข้ออักเสบ แก้หวัด และแก้ โรคตาบอดตอนกลางคืน ชะเอม สรรพคุณ เถา รสหวาน ตัดเป็นท่อนให้เด็กเคี้ยวเพื่อให้ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ รากสด ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเอว เป็นยาบำรุงธาตุ กินเป็นยากัดเสมหะ แก้ไอ แก้ เยื่ออ่อนในลำคออักเสบ ผล กินเป็นยาทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้กระหาย จันทน์เทศ สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดี ดับพิษดีพิษโลหิต บำรุงตับ แก่น เป็นยาลดไข้ บำรุงตับและปอด ดอกจันทน์ (รากหุ้มเมล็ด) รสหอมออกฝาด บำรุงโลหิต ลูกจันทน์(เมล็ด) รสเผ็ดร้อน บำรุงกำลัง ขับลม แก้ปวดมดลูก แก้ท้องร่วง ธาตุ พิการ เปลือกเมล็ด รสฝาดมันหอม สมานบาดแผลภายใน แก้ท้องขึ้น แก้ปวดท้อง หมอนาด ศรีหาตา (เสียชีวิตเมื่อ ๒ เดือนที่แล้ว) หมอพื้นบ้านเจ้าของตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่อยู่ ๘๒/๑ ม.๖ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ สถานที่รักษา ที่บ้าน ประเภทหมอ หมอยาสมุนไพร หมอนวดรักษา ความเชี่ยวชาญ สมานกระดูก ปวดตึงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๒๘ ตำรับยาน้ำมันจอกกระดูก “จอก” หมายถึงเชื่อม ให้ติดกัน ส่วนประกอบ กัญชา งา หัวแห้วหมู และอื่น ๆ สรรพคุณ จอกกระดูก โรคกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น วิธีใช้ ทาเมื่อมีอาการ งา สรรพคุณ บำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น ขับปัสสาวะ เมล็ด รสฝาดหวานขม เป็นยาระบายอ่อน ๆ บำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายมีความ อบอุ่น แต่ทำให้ดีกำเริบ น้ำมันงา รสฝาดร้อน ใช้ทำน้ำใส่แผล ทาผิวหนังให้นุ่มและชุ่มชื่น แห้วหมู สรรพคุณ ขับลม บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ หัว มีกลิ่นหอม ใช้เข้ายา เป็นยาฝาดสมาน ขับปัสสาวะ ขับลม บำรุงธาตุ ขับ ระดู ขับเหงื่อ สงบประสาท แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ท้องมาน ช่วยย่อย แก้ อาเจียน ลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้ตับอักเสบ ใช้ในปริมาณมากจะขับพยาธิตัว กลมได้


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๒๙ อ้อยแดง สรรพคุณ ใช้ลำต้นสด ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว อาการ ไอ แก้ไข้ คอแห้ง กระหายน้ำรักษาแผลพุพอง รักษาโรคงูสวัด หมอวรวุฒิ บุญแสง หมอไทยดีเด่นระดับจังหวัด ปี ๒๕๖๑ ที่อยู่ ๒๘ ม. ๙ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ สถานที่รักษา ที่บ้าน ประเภทหมอ หมอยาสมุนไพร ความเชี่ยวชาญ โรคสตรี ตำรับยาบำรุงน้ำนม ส่วนประกอบ ฝางแดง ม้ากระทืบโรง นมสาว แส้ม้าทะลาย แน่งหอม ช้างน้าว กำแพง ๗ ชั้น ตะโกนา ไม้ตานกกด รางแดง ย่านางแดง กำลังเสือ โครง สรรพคุณ บำรุงน้ำนม ขับน้ำคาวปลา วิธีใช้ ต้มน้ำ ๕ ลิตร/ห่อ นำมาจิบกินตลอดทั้งวัน กำลังเสือโคร่ง สรรพคุณ ใช้ดอง บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ กำแพงเจ็ด 7 ชั้น สรรพคุณ บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต ขับผายลม แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ ร้อน แก้ไข้ แก้ปวดข้อ ฝางแดง สรรพคุณ บำรุงโลหิต แก้ปอด พิการ แก้ร้อนใน แก้เสมหะและ กำเดา


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๓๐ แน่งหอม สรรพคุณ นมสาว สรรพคุณ ช่วยบำรุงน้ำนม ช่วยเพิ่ม น้ำนม ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม สำหรับเลี้ยงทารกช่วยลดไข้ช่วย ละลายเสมหะรักษาหัด แก้ อีสุกอีใส รักษาโรคบิดแก้อาการ ท้องร่วงท้องเสียช่วยขับลม แซ้ม้าทะลาย สรรพคุณ แก้พิษร้อน แก้ประดง แก้โรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ ประดงผื่นคัน ทาแก้ผื่นคันเป็นเม็ด ตามตัว ดองสุราหรือต้มดื่มแก้ปวด เมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว บำรุง กำลัง เข้ายาแก้โรคเบาหวาน ย่านางแดง สรรพคุณ ใบ เถา และรากใช้แก้ พิษ ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษและแก้ ไข้พิษทั้งปวง ขับพิษโลหิตและ น้ำเหลือง แก้ท้องผูกไม่ถ่าย ใช้ฝน กับน้ำ หรือน้ำซาวข้าว หรือต้มน้ำ ดื่ม สรรพคุณเหมือนย่านางขาวทุก ประการ แต่มีฤทธิ์แรงกว่า เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณ ถ่ายเส้น ถ่ายกษัย ทำให้ เส้นเอ็นอ่อน ขับปัสสาวะ แก้ปวด เมื่อยตามร่างกาย รางแดง สรรพคุณ แก้เส้นเอ็นตึง แก้กษัย ขับปัสสาวะ


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๓๑ นวัตกรรมสุขภาพ การพัฒนาเจลยาตั้งจากภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านลดการปวดในโรคออฟฟิศซินโดรม สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ บทนำ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี ๒๕๕๖-๒๕๖๐ พบว่าประเทศไทยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ ๓๐.๘ ล้านคน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามคอ บ่า ไหล่ หลัง ขาจนถึง ปวดศีรษะ เมื่อเทียบการโรคทางแพทย์แผนไทย คือ โรคลมปลายปัตคาต มีวิธีการรักษาด้วยการกินยา ฉีดยา การทำกายภาพบำบัดและการรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย จากการสำรวจข้อมูลด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๖๒ จำนวน ๑๕๐ ราย พบว่ามีอาการปวด คอ บ่า ไหล่ ร้อนละ ๕๔.๖๗ และมีสาเหตุการปวดร่างกายจาก การนั่งร้อยละ ๘๘.๐๐ เวลานั่งทำงานติดต่อกันนาน ๓ ชั่วโมง ร้อยละ ๔๗.๓๓ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับโรค ออฟฟิศซินโดรมระดับมากต้องใส่ใจ ร้อนละ ๙๓.๓๓ กลุ่มงานการแพทย์แผนไทย ฯ สำนักงานสาธารณสุขกาฬสินธุ์ ได้รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน พบว่า พ่อหมอเจ้ย คำพิชชู อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ เป็นตำรัยยาตั้งไว้ประคบลดอาการปวดตามร่างกาย ซึ่งมี สมุนไพร ๓ ชนิด ได้แก่ ไพล เปล้า คนทา โดยใช้ทั้งแบบสดและแห้งในสัดส่วนที่เท่ากันมารวมกันแล้วทุบพอหยาบ เสร็จแล้วห่อด้วยผ้านำไปนึ่งให้อุ่นแล้วนำไปตั้งหรือประคบในบริเวณที่มีอาการปวด ไม่สบายตัว หรือฟกชำจาก อุบัติเหตุ แต่พบปัญหาคือ สมุนไพรที่ใช้เป็นแบบสดและแห้งและต้องห่อด้วยผ้าทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้ พกพา ลำบากคุณภาพอาจเสื่อมสภาพง่าย ดังนั้นผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะพัฒนาเป็นยาในรูปแบบเจลเพื่อให้ง่ายต่อการใช้ การ เก็บรักษาและการพกพาได้สะดวก วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อศึกษาประสิทธิผลเจลยาตั้งจากภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านต่อระดับการลดระดับความปวดของผู้ป่วย โรคออฟฟิศซินโดรม (โรคลมปลายปัตคาต) ๒.เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์เจลยาตั้งลดการปวดในโรคออฟฟิศซินโดรม (โรคลม ปลายปัตคาต) วิธีการดำเนินงาน การวิจับครั้งนี้เป็นการกึ่งทดลอง ในบุคลากรที่ทำงานออฟฟิศในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยแพทย์แผนไทยวินิจฉัยเป็นโรคลมปลายปัตคาตเทียบเคียงโรคออฟฟิศซินโดรมรวมทั้งหมด ๓๐ ราย สุ่มตัวอย่าง เป็นแบบเจาะจง โดยใช้เจลยาตั้งในการลดระดับการปวดก่อนหลัง และวัดความพึงพอใจต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๓๒ ข้อสรุปและเสนอแนะ การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าใช้และง่ายต่อการนำไปใช้ ประยุกต์ใช้ในหน่วยบริการ สาธารณสุขในการบรรเทาอาการปวดเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม ส่งเสริมการจดทะเบียนสิทธิภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทยส่วนบุคคลา ประเภทภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตำรับยาสมุนไพรส่งเสริมการสร้างรายได้ จากการแปรรูปสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP จังหวัดกาฬสินธุ์


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๓๒ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก น้ำมันทิพย์ตะโจ ทาบรรเทาอาการจากโรคผิวหนังอักเสบ เช่น ผดผื่นคัน ผื่นแพ้ผิวหนัง เรียบเรียงถ้อย ร้อยบันดาล งานต่างต่าง ผิวหน้าบ้าง สมุนไพรบ้าง ทางรักษา ป่าชุมชน ระคนเข้า เคล้าเวลา หยิบรวบมา สะสม เป็นผลงาน “สิรินธร” พร้อมใจ ให้งานเถิด พร้อมเป็นเลิศ เป็นต้นแบบ และสืบสาน แพทย์แผนไทย ให้คงอยู่ คู่แสนนาน อยู่คู่บ้าน คู่คนไทย ไปนิรันดร์ งานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ข อนแก่น KHON KAEN พท.ศราวุฒิ จันดี รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๓๔ ส่วนประกอบตำรับยา “ทิพย์ตะโจ” ปรึกษาและตวจรักษาได้ที่ คลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ทุกวันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ ๑๖.๐๐ น. ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์ ๐๔๓ – ๒๖๗๐๔๑ ต่อ ๒๐๐๕,๔๐๕ นวัตกรรมสุขภาพ หม้อสุมยา ลาหวัด เสลดพังพอน ช่วยบรรเทาแผลโรคผิวหนัง แก้ปวดบาดแผล ผักบุ้งแดง แก้ฟกซ้ำ ใช้ถอนพิษ แก้ผิดสำแดง หญ้างวงช้าง ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง ช่วยลดอาการปวด บวม ตามผิวหนัง


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๓๕ ส่วนประกอบตำรับยาในนวัตกรรมสุขภาพ “หม้อสุมยา ลาหวัด” หูเสือ แก้หวัด คัดจมูก แก้ไอเรื้อรัง หืดหอบ แก้ลมชักบางประเภท ผิวมะกรูด น้ำมันหอมระเหย ใช้ได้ผลดีกับคนที่มี อาการเกี่ยวกับจิตประสาท หอมแดง แก้หวัด คัดจมูก แก้ไอ ขับเสมหะ แก้โรคปากคอ น้ำหัวหอมใช้ดมเวลาเป็นลม ตะไคร้ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แก้ไข้หวัด ช่วยกระตุ้นให้มีชีวิตชีวา ทำให้กระปรี้กระเปร่า เปราะหอม แก้หวัด คัดจมูก แก้เสมหะ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ วิธีการใช้หม้อสุมยา ๑. นำเอาท้อทองเหลืองมาประกอบเข้ากับฝาหม้อ ๒. จากนั้น นำฝากระติ๊บข้าวเหนียวมาต่อกับข้อต่อท่อทองเหลือง หมุนเกลียวให้แน่นพร้อมใช้งาน ๓. เสียบปลั๊กไฟ เติมน้ำลงในหม้อ แล้วตามด้วยสมุนไพรที่เตรียมไว้ ๔. เมื่อเริ่มมีกลิ่นหอมของสมุนไพรหรือมีไอระเหยขึ้นมา ให้สูดดมเข้าไปผ่านผ้าที่เชื่อมกับท่อฝากระติ๊บข้าว ๕. สูดดมไอน้ำ/พักเป็นระยะ สูดดมใหม่อีกครั้ง ข้อควรระวัง ๑. ไม่ควรสุมยาในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ๒. ไม่ควรสุมยาในผู้ป่วยที่กำลังเป็นไข้ ๓. ไม่ควรสุมยาในผู้ป่วยที่แพ้น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรในตำรับนี้ ๔. หม้อพ้นยาไอน้ำสมุนไพรมีความร้อน ไม่ควรสัมผัสหม้อด้วยมือเปล่า ๕. เนื่องจากไอน้ำสมุนไพรมีความร้อน จึงควรสูดดมไอระเหยอย่างระมัดระวัง เมื่อรู้สึกร้อนบริเวณใบหน้าให้ ขยับหน้าห่างจากฝากระติ๊บ เพื่อให้ได้รับความร้อนที่เหมาะสม


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ม หาสารคาม ๔๓๕ MAHASARAKHAM กฤษณะ คตสุข รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล “พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร” สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๓๗ องค์ความรู้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย ตำรับยาแผนโบราณตรีผลา ซึ่งมีการใช้ทางการแพทย์อายุรเวท ของอินเดียและการแพทย์แผนไทย ซึ่งคำว่าตรี แปลว่า สาม และ ผลา แปลว่า ผลไม้ รวมแล้วแปลว่า ผลไม้สามชนิด คือ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก โดยมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการ อักเสบ กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดระดับไขมันและ คอลเลสเตอรอล ต้านเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ตรีผลา เป็นยาลดธาตุไฟในร่างกาย สาเหตุที่ทำให้ธาตุต่าง ๆ กำเริบ หรือไม่สมดุล เช่น โกรธง่าย มีความเครียดบ่อย ๆ ถูกแดดจัด ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ พักผ่อนไม่เพียงพอ โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของตับ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งทางการแพทย์แผนไทยได้กำหนดให้ตรีผลา เป็นยาปรับธาตุประจำ ฤดูร้อน


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๓๘ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ของโรงงานฟาร์มแคร์ฟาร์มมาซูติคอล โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม จากภูมิปัญญาและงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำตรีผลา ตราฟาร์มแคร์ อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ Gallic acid และ Ellagic acid ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำตรีผลา ฟาร์มแคร์วิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC สบู่เหลวตรีผลาและโลชั่น ตราฟาร์มแคร์ ประกอบด้วยสารสกัดจากตรีผลา สารสกัดขมิ้นชัน และน้ำผึ้ง สบู่ตรีผลา ช่วยทำความสะอาดผิวกาย ทำให้กระจ่างใส ไกลสิว ผิวเนียนนุ่ม ชุ่มชื้น ไม่แห้งหลังอาบน้ำ โลชั่นตรีผลา ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่ม ชุ่มชื้น ทำให้กระจ่างใส ดูอ่อนกว่าวัย ยาพิกัดตรีผลา ตราฟาร์มแคร์ ปรับสมดุลธาตุ ล้างพิษ ช่วยระบายในผู้ที่มีอาการท้องผูก ครีมนวดผมสมุนไพรสูตรสารสกัดผล มะกรูด ครีมนวดผมสมุนไพรสูตรสารสกัดอัญชัน โลชั่นออแกนิคกันยุง ผลิตจากธรรมชาติ 100 % เหมาะกับผู้ที่มี ผิวแพ้ง่ายและแห้ง สามารถทาได้ทั่วบริเวณผิวกาย วิธีใช้ ทาบนผิวหนังเพื่อกันยุงและแมลง ผลิตภัณฑ์ยาฟ้า ทะลายโจรแคปซูล ยาประสะไพลแคปซูล วิสาหกิจชุมชน การปลูกผักปลอดภัย ใบโอชาร์ สนับสนุนโดยสำนักงาน สาธารณสุขอำเภอหว้านใหญ่ และเกษตรอำเภอหว้านใหญ่ ต้อเจริญฟาร์ม กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ตำบลบางทราย น้อย สนับสนุนโดย สำนักงานเกษตรอำเภอหว้านใหญ่ กรมส่งเสริมการเกษตร เกษตรอินทรีย์บ้านนามน เสนอ ผลิตภัณฑ์จิงเจอร์ครีม บรรเทาอาการปวดขา และชาเท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน รวมทั้งอาการปวดเมื่อยจากโรค ออฟฟิศซินโดรม เพิ่มการไหลเวียนโลหิต จิงเจอร์ครีม ประกอบด้วย น้ำมันขิง 1 เปอร์เซ็นต์ช่วยกระตุ้นการ ไหลเวียนโลหิตไปถึงปลายมือ ปลายเท้า โดยเฉพาะเมื่อร่วมกับการนวด และส่งผลให้แผลในผู้ป่วยเบาหวานหาย เร็วขึ้น ไม่แสบร้อน รูปแบบครีมจะช่วยให้ดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ง่าย ไม่รู้สึกแสบร้อน ไม่ทำให้ผิวหนังไหม้ เหมาะ กับผู้มีผิวบอบบางและผิวปกติ ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเบาหวาน นวัตกรรมสุขภาพหรือสินค้าที่จัดแสดง


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๓๙


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ร้ อยเอ็ด ๔๓๙ ROIET พท.ป.สุวิมล สุมลตรี รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๔๑ การดูแลมารดาหลังคลอด ...การอยู่ไฟ… ในสมัยก่อนหมอตำแยจะไม่ได้เย็บแผลช่องคลอดที่ฉีกขาดจากการคลอด จึงต้องให้คุณแม่นอนบนกระดาน แผ่นเดียวจะได้หนีบขาทั้งสองข้างไว้ให้ชิดกันเพื่อให้แผลฝีเย็บติดกัน การอยู่ไฟมีหลายชนิดตามแต่จะนิยมกัน ซึ่งผู้คลอดจะนอนอยู่บนกระดานแผ่นใหญ่ที่เรียกว่า “กระดาน ไฟ” ถ้ายกกระดานไฟให้สูงขึ้นแล้วเลื่อนกองไฟเข้าไปใกล้ ๆ หรือเอากองไฟมาก่อไว้ใต้กระดาน เรียกว่า “อยู่ไฟ ญวน” หรือ “ไฟแคร่” (นอนบนไม้กระดาน ส่วนเตาไฟอยู่ใต้แคร่ มีแผ่นสังกะสีรองทับอีกที เหมือนการนอนปิ้งไฟ) แต่ถ้านอนบนกระดานไฟซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับพื้นและมีกองไฟอยู่ข้าง ๆ จะเรียกว่า “อยู่ไฟไทย” หรือ “ไฟข้าง” (ก่อไฟอยู่ข้างตัวบริเวณท้อง) บ้างก็เรียกกันไปตามชนิดของฟืน ถ้าใช้ไม้ฟืนก่อไฟก็เรียกว่า “อยู่ไฟฟืน” (นิยมใช้ไม้ มะขาม เพราะไม่ทำให้ฟืนแตก) แต่ถ้าใช้ถ่านก่อไฟก็จะเรียกว่า “อยู่ไฟถ่าน” และข้าง ๆ กองไฟมักจะมีภาชนะใส่ น้ำร้อนเอาไว้เพื่อใช้ราดหรือพรมไม่ให้ไฟลุกแรงเกินไป ส่วนทางภาคอีสานจะเรียกการอยู่ไฟว่า “อยู่กรรม” เพราะเชื่อกันว่าคุณแม่คนใดที่ไม่อยู่ไฟ ร่างกายจะ ผอมแห้ง ผิวพรรณซูบซีด ไม่มีน้ำนม กินผิดสำแดงได้ง่าย ซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรงของผู้หญิงสมัยก่อนส่วนจำนวนวัน ในการอยู่ไฟนั้น ถ้าเป็นการคลอดครั้งแรกจะอยู่นานกว่าคลอดครรภ์หลัง เมื่ออยู่ครบแล้วก็จะมีพิธีออกไฟในตอน เช้ามืด ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ประโยชน์การอยู่ไฟ 1. การอยู่ไฟช่วยให้หญิงหลังคลอดได้พักผ่อน และให้ร่างกายอบอุ่น เพราะความร้อนช่วยกระตุ้นการหดรัด ตัวของมดลูก 2. ทำให้น้ำคาวปลาถูกขับออกมา 3. ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น 4. ช่วยให้แผลฝีเย็บ รวมทั้งแผลภายในมดลูกแห้งเร็วขึ้น 5. ทำให้สิ่งตกค้างต่าง ๆ ภายในโพรงมดลูกถูกขับออกมาได้ดีขึ้น


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๔๒ หมอพื้นบ้าน ปราชญ์ หรือผู้รู้ของจังหวัด นายทองสา เจริญตา ที่อยู่ 24/4 ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด 45210 ประวัติส่วนตัว • ที่อยู่ ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด • ปัจจุบัน อายุ 83 ปี (เกิด พ.ศ. 2480) • ประสบการณ์การรักษา : ให้บริการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ พ.ศ. 2504 • ใบประกอบโรคศิลปะ ประเภทเวชกรรมไทย ประเภท (ค) เลขที่ พท.ว.19032 ความชำนาญ • การรักษาไข้หมากไม้ ประดง ฝี ไข้ นิ่วในไต สัตว์พิษกัด โรคเลือด ริดสีดวง โรคเด็ก โรคสตรี โรคบุรุษ ฯลฯ มีวิธีการรักษาหลายรูปแบบ เช่น ยาฝน ยาต้ม ยาทา และอบสมุนไพร เป็นต้น • การอ่านอักษรธรรม อักษรไทยน้อย


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๔๓ ตัวอย่างตำรับยาที่นำมาจัดแสดง ยาดอง ส่วนประกอบตัวยา แก่นช้างน้าว แก่นคัดเค้า แก่นหนามแดง แก่นหนามแท่ง แก่นฮังฮ้อน แก่นหนามขอบ แก่นม้ากระทืบโรง แก่นเสือโคร่ง แก่นหนามเล็บแมว แก่นทรายดิน แก่นบอหมันดีปลี พริกไทย ขิง เจตมูลเพลิงแดง เจตมูลเพลิงขาว วิธีทำ ดองกับเหล้าโรง 6 ขวด และน้ำผึ้ง 1 ขวด ระยะเวลา 15 วัน หรือถ้าดองเป็นปียิ่งดี สรรพคุณ แก้เลือดเสีย บำรุงเลือด ขับไขมัน


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๔๓ 1. นวัตกรรม : กระโจมอบสมุนไพรเคลื่อนที่เอนกประสงค์ เจ้าของผลงาน : เสฎฐวุฒิ ไชตเทศ โรงพยาบาลเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ความเป็นมาและความสำคัญ การดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดเพื่อให้มารดาหลังคลอดมีสุขภาพแข็งแรงปกติ ลดภาวะแทรกซ้อน จากการคลอดบุตร เช่น การตกเลือดหลังคลอด ปัญหาการไหลของน้ำคาวปลา การอบสมุนไพรหลังคลอดเป็นอีก วิธีหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ แต่พบว่าปัญหาเกี่ยวกับมารดาหลังคลอดที่กลับไปอยู่บ้านไม่สามารถมา รับบริการที่โณงพยาบาลได้ เนื่องจากมีอุปสรรค์ในเรื่องการเดินทาง ระยะเวลาในการมารับบริการสมุนไพรรวมถึงมี ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงมีแนวคิดในการประดิษฐ์กระโจมอบสมุนไพรแบบเคลื่อนที่ได้ มีขนาดเล็ก กะทัดรัด ง่าย ต่อการใช้งาน พกพาสะดวกและสามารถนำไปใช้ในการลงชุมชนได้ และมีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าตู้อบสมุนไพร แบบเดิมถึง 10 เท่า น ครพนม NAKHON PHANOM พท.ป.ธนดล มางาม รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๔๕ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน 1) เพื่อพัฒนาและประดิษฐ์ตู้อบสมุนไพรแบบเคลื่อนที่ได้ 2) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรับบริการของคนในชุมชน การออกแบบกระโจมอบสมุนไพร 1) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอบสมุนไพรแบบเดิม พร้อมวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนาเป็น เครื่องมือที่เหมาะสม 2) ใช้โครงเหล็กเต็นท์นอนสรปิง มาใช้เป็นโครงกระโม เพื่อประโยชน์ในการพับเก็บ ใช้ผ้าใบหุ้มโครงเพื่อ ใช้เป็นตัวกระโจมอบ และกาต้มน้ำไฟฟ้า ขนาด 1.8 ลิตร การทดสอบประสิทธิภาพ (ความร้อน, ระยะเวลาในการอบและอุณหภูมิภายในกระโจม) หัวข้อ หม้อต้มน้ำไฟฟ้า อุณหภูมิ ระยะเวลา ปริมาณน้ำที่ต้มต่อครั้ง 1.5 ลิตร 40-60 c 25 นาที ปริมาณน้ำที่ต้มรวมสมุนไพร 1.7 ลิตร 40-50 c 20 นาที สรุปและข้อเสนอแนะ นวัตกรรมกระโจมอบสมุนไพรเคลื่อนที่ได้เอนกประสงค์ มีต้นทุนค่าใช้จ่าย 1,400 บาท แต่มีส่วนในการ เข้าถึงบริการอบสมุนไพรแม่หลังคลอดในชุมชนได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น 2. นวัตกรรม ลูกประคบสมุนไพรมือถือ เจ้าของผลงาน สุริยา คำคนซื่อ, สมชัย อุสังหาร และนางปริยากรณ์ ธนกุล ความเป็นมาและความสำคัญ การบริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลท่าลาด มีทั้งการให้บริการในสถานบริการและการบริการใน ชุมชนปี 2558 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าลาดมี ผู้รับบริการด้านการแพทย์แผนไทยทั้งหมด 655 คน 702 ครั้ง ให้บริการในสถานบริการ 452 คน 484 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 69.01 และบริการในชุมชน 102 คน 127 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 18.32 ในการให้บริการในชุมชน แยกเป็นนวด 114 คน 118 ครั้ง ส่วนการประคบสมุนไพรมีจำนวนเพียง 45 คน 45 ครั้ง ซึ่ง เป็นจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการ ประคบสมุนไพร อีกทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถมารับบริการทีโรงพยาบาลได้ อีกทั้งบางรายต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาถึงหลักการนึ่งลูกประคบสมุนไพร พบว่าใช้หลักการนึ่งด้วยไอน้ำ ซึ่งหม้อนึ่งแบบเดิมนั้น ส่วนมากนิยมใช้กระทะไฟฟ้าพร้อมซึ้ง ขนาด 5 ลิตร น้ำหนัก 3.5 กิโลกรัม ซึ่งมีขนาดใหญ่ เคลื่อนย้ายลำบาก จึง ได้ประดิษฐ์ลูกประคบสมุนไพรมือถือ โดยดัดแปลงจากกาต้มน้ำไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กน้ำหนักเพียง 1.5 กิโลกรัม


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๔๖ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือนึ่งลูกประคบสมุนไพรที่มีขนาดเล็ก 2) เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมการให้บริการประคบสมุนไพร การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ หัวข้อ หม้อกระทะไฟฟ้า กาต้มน้ำไฟฟ้า โอกาสพัฒนา 1. ขนาด ใหญ่ เล็ก ดัดแปลงกาต้มน้ำไฟฟ้า 2. น้ำหนักรวม 3.5 กิโลกรัม 1.5 กิโลกรัม เป็นเครื่องนึ่งลูกประคบ 3. ราคา 850 บาท 300 บาท 4. การเคลื่อนย้าย ใช้จนท. 2 คน ใช้จนท. 1 คน 5. ความถี่ในการให้บริการ นาน ๆ ครั้ง บ่อยครั้ง การทดสอบประสิทธิภาพ (ความร้อนและระยะเวลา) หัวข้อ หม้อกระทะไฟฟ้า กาต้มน้ำไฟฟ้า ผลการเปรียบเทียบ 1. ปริมาณน้ำที่เติม 700 ซีซี 300 ซีซี น้อยกว่า 2.3 เท่า 2. ระยเวลาน้ำเดือด 9 นาที 3 นาที เร็วกว่า 3 เท่า 3. ระยะเวลาที่ใช้นึ่งลูกประคบ 5 นาที 3 นาที น้อยกว่า 1.6 เท่า 4. ระยะเวลารวมทั้งหมด 30-40 นาที 20-25 นาที น้อยกว่า 1.5 เท่า สรุปและข้อเสนอแนะ นวัตกรรมลูกประคบสมุนไพรมือถือ มีต้นทุนถูกกว่า ส่งผลต่อการเข้ารับบริการประคบสมุนไพรในชุมชน ได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากขยิ่งขึ้น ในปี 2559 ได้ขยายผลให้อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ทั้ง 8 หมู่บ้าน และนำไปใช้ดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพต่อไป 3. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร 3.1 ยาโลหิตตังพิการ ส่วนประกอบ ดอกคำฝอย กระเทียม พริกไทย ยาดำ บอระเพ็ด สมอไทย สมอภิเพก สรรพคุณ แก้โลหิตตังพิการ กรีสังพิการ บุพโพพิการ ขับพิษธาตุทั้ง 4 เมโทพิการ วสาพิการ วิธีใช้ รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๔๗ 3.2 ชาชงดอกคำฝอย สรรพคุณ บำรุงโลหิต ช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือด ขนาดและวิธีใช้ ชา 1 ซอง แช่ในน้ำร้อน 1 แก้ว ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ดื่มขณะอุ่น ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ ข้อควรระวัง ควรระวังเมื่อใช้ร่วมกับยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ข้อเสนอแนะ ในกรณีใช้เพื่อลดไขมันในเส้นเลือด ควรใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารที่มีไขมันสูง เช่นเครื่อง ในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล เป็นต้น 3.3 ชาชงเหงือกปลาหมอ สรรพคุณ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้โรคผิวหนัง เป็นยาอายุวัฒนะ ขับลม แก้ท้องอืด ขนาดและวิธ๊ใช้ ชา 1 ซอง แช่ในน้ำร้อน 1 แก้ว ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ดื่มขณะอุ่น วันละ 2 ครั้งหลัง อาหาร ข้อควรระวัง ควรระวังในผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรใช้เหงือกปลาหมอในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน 3.4 ชาชงชุมเห็ดเทศ สรรพคุณ เป็นยาระบาย บรรเทาอาการท้องผูก ขนาดและวิธีใช้ นำชา 1-2 ซอง แช่ในน้ำร้อน 1 แก้ว ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ดื่มขณะอุ่น วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน ข้อห้ามใช้ - ผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินอาหารอุดตันหรือปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ - หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร - เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี คำแนะนำควรใช้เมื่อมีอาการท้องผูกเท่านั้น ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน 3.2 3.3 3.4


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๔๘ 3.6 ชาชงรางจืด สรรพคุณ ถอนพิษเบื่อเมา ถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน ขนาดและวิธีใช้ นำชา 1-2 ซอง แช่ในน้ำร้อน 1 แก้ว ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ดื่นขณะอุ่น วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ ข้อควรระวัง - ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ - ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของยาอื่นลดลง 3.7 ชาชงหญ้าหนวดแมว สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขับนิ้วขนาดเล็ก ขนาดและวิธ๊ใช้ ชา 1-2 ซอง แช่ในน้ำร้อน 1 แก้ว ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ดื่นขณะอุ่น วันละ 2-3 ครั้ง ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในผู้ป่วยยโรคหัวใจและโรคไต ข้อควรระวัง - ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณโพแทสเซียม - ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือด 3.6 3.7


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ๔๔๙ 3.8 ลูกประคบสมุนไพร สรรพคุณ บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยลดอาการปวดบวมอักเสบของกล้ามเนื้อ ลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ช่วยให้เนื้อเยื่อพังพืดยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด วิธีใช้นำสมุนไพรหรือเหล้าขาวให้เปียกชุ่มทั่วลูกประคบ จากนั้นนำไปนึ่ง ใช้เวลา 15-20 นาที แล้ว นำไปประคบบริเวณที่ต้องการ เมื่อใช้เสร็จนำสมุนไพรออกมาผึ่งแดดให้แห้งเก็บยใช้ได้นาน 7 วัน ข้อควรระวัง ระวังความร้อนที่มากเกินไปในผู้ป่วยเบาหวาน โรคผิวหนัง อัมพฤกษ์ อัมพาตผู้สูงอายุและ เด็ก 3.8


องค์ความรู้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก ในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ ๑๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดมุกดาหาร กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข บึ งกาฬ ๔๔๙ BUENG KAN นายกฤษณะ คตสุข รวบรวม และเรียบเรียงข้อมูล ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนางจีน… สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดบึงกาฬ ๗๐๙ หมู่ ๗ ต.วิศิษฐ์ อ.บึงกาฬ จ.บึงกาฬ


Click to View FlipBook Version