The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระปลัดเล็ก อานนฺโท (ทองแสน)-ดุษฎีนิพนธ์-สมบูรณ์ (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Phrapalad Lek, 2022-08-16 06:42:33

พระปลัดเล็ก อานนฺโท (ทองแสน)-ดุษฎีนิพนธ์-สมบูรณ์ (1)

พระปลัดเล็ก อานนฺโท (ทองแสน)-ดุษฎีนิพนธ์-สมบูรณ์ (1)

โปรแกรมออนไลนเ์ พ่ือเสรมิ การเรยี นรขู้ องครสู ู่การพัฒนาทกั ษะการเรยี นรู้
แบบชนี้ าตนเองของนักเรยี น

พระปลัดเล็ก อานนโฺ ท (ทองแสน)

ดษุ ฎีนพิ นธน์ ี้เปน็ สว่ นหน่งึ ของการศึกษาตามหลักสูตรศึกษาศาสตรดษุ ฎีบัณฑติ
สาขาวิชาการบรหิ ารการศึกษา

คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย
พุทธศกั ราช 2565

โปรแกรมออนไลนเ์ พ่ือเสรมิ การเรยี นรขู้ องครสู ู่การพัฒนาทกั ษะการเรยี นรู้
แบบชนี้ าตนเองของนักเรยี น

พระปลัดเล็ก อานนโฺ ท (ทองแสน)

ดษุ ฎีนพิ นธน์ ี้เปน็ สว่ นหน่งึ ของการศึกษาตามหลักสูตรศึกษาศาสตรดษุ ฎีบัณฑติ
สาขาวิชาการบรหิ ารการศึกษา

คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย
พุทธศกั ราช 2565

ONLINE PROGRAM TO ENHANCE TEACHER LEARNING
TO DEVELOP STUDENTS’ SELF-DIRECTED LEARNING SKILLS

PHRAPALADLEK ARNANDHO (THONGSAEN)

A DISSERTATION SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS
FOR THE DOCTOR DEGREE OF EDUCATION
PROGRAM IN EDUCATIONAL ADMINISTRATION
FACULTY OF EDUCATION
MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY
2022







บทคัดย่อ

หวั ข้อดุษฎีนิพนธ์ : โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะ
การเรยี นรแู้ บบชน้ี าตนเองของนักเรยี น
ช่ือนักศกึ ษา
ชอื่ ปรญิ ญา : พระปลัดเลก็ อานนฺโท (ทองแสน)
สาขาวิชา
ปีพุทธศกั ราช : ศึกษาศาสตรดษุ ฎีบัณฑิต
อาจารย์ทปี่ รกึ ษาหลกั
: การบรหิ ารการศึกษา

: 2565
: พระครสู ธุ ีจริยวฒั น,์ ผศ.ดร.

งานวิจัยน้ีมีจุดมุ่งหมายเพ่ือพัฒนา “โปรแกรมออนไลน์เพ่ือเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การ
พัฒนาทักษะการ เรียนรู้แบบช้ีนาตนเองของนักเรียน” ใช้แนวคิดท่ีว่า “พัฒนาครู แล้วครูพัฒนา
นกั เรียน” ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” โดยใช้ระเบยี บวิธีวิจยั และพัฒนา (R&D)
เปน็ โปรแกรมออนไลน์ทป่ี ระกอบด้วย 1) โครงการพฒั นาครู มคี ่มู อื เพื่อการเรียนรดู้ ้วยตนเองของครู 6
ชุด และ 2) โครงการครูพัฒนานักเรียน มีคู่มือเชิงปฏิบัติการ 1 ชุด จากผลการทดลองใช้โปรแกรม
ออนไลน์กับครู 25 รายและนักเรียน 146 รายในโรงเรียนท่ีสุ่มให้เป็นตัวแทนของโรงเรียนปริยัติธรรม
แผนกสามัญศกึ ษา สังกดั สานกั เขตการศึกษาพระปรยิ ตั ธิ รรม แผนกสามัญศึกษา กองพุทธศาสนศึกษา
สานักงานพระพทุ ธศาสนาแหง่ ชาติ พบว่า โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึน้ มีประสทิ ธิภาพ คอื เม่ือนาไป
ทดลองใช้แล้วส่งผลให้ครูมีคะแนนจากการทดสอบหลังการพัฒนาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90
และสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ส่วนนักเรียนก็มีผลการประเมินทักษะการเรียนรู้
แบบช้ีนาตนเอง หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาข้ึนน้ีสามารถนาไปเผยแพร่เพ่ือใช้ประโยชน์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่
เปน็ ประชากรเป้าหมายแหง่ อ่นื ได้

คาสาคัญ : ทกั ษะการเรียนรู้แบบช้นี าตนเอง, โปรแกรมออนไลน์, การวิจัยและพฒั นา



ABSTRACT

หัวข้อดุษฎนี พิ นธ์ : Online Program To Enhance Teacher Learning To
Develop Students’ Self-Directed Learning Skills
ชื่อนักศึกษา
ช่อื ปรญิ ญา : Phrapaladlek Arnandho (Thongsaen)
สาขาวิชา
ปพี ทุ ธศักราช : Doctor of Education
อาจารย์ท่ปี รึกษาหลกั
: Educational Administration

: 2022
: Phrakrusutheejariyawattana, Asst.Prof.Dr.

The objective of this study was to create an “ Online Program to Enhance
Teacher Learning to Develop Students’ Self-Directed Learning Skills” under the
following concepts : “Develop the teacher so that they will develop their students”,
“successful teachers, successful students”, and “Knowledge is not power; knowledge
plus action equals power.” This study employed the Research and Development
(R&D) methodology. The created online program included 1 ) Teachers’ learning
development project with six guidelines, and 2 ) Teachers develop students project
with one action guideline. The created online program was examined with 25
teachers and 146 students in the randomly selected school representing the
Pariyattidhamma Schools in the general education section, under National Office of
Buddhism. The results validated that the created online program was effective. The
findings illustrated that the post-development test for teachers met the standard of
90/90 criteria, and the mean score was statistically significantly higher than before
the development. In addition, the students’ mean score on self-directed learning
skills assessment after the development was statistically significantly higher than
before the development. This indicated that the created online program can be
disseminated for educational use in other Pariyattidhamma schools with the similar
target population.

Keywords: self-directed learning skills, online program, research and development

กิตตกิ รรมประกาศ

ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้ สาเร็จลงได้เนื่องจากบุคคลหลายฝ่ายที่ได้ช่วยเหลือในครั้งนี้ ผู้วิจัย
ขอขอบพระคณุ มหาวทิ ยาลยั มหามกุฏราชวิทยาลยั วิทยาเขตอสี าน ซง่ึ เป็นสถาบนั ทีป่ ระสทิ ธิประสาท
ความรูท้ างการศกึ ษา ด้านการบริหารการศึกษาในระดับปรญิ ญาเอก

ขอกราบขอบพระคุณอธิการบดี คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ที่ได้อานวยความสะดวกใน
การศึกษาตลอดหลกั สูตร และขอกราบขอบพระคณุ พระครูสุธีจรยิ วฒั น์, ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร. ทีใ่ ห้
ความอนุเคราะห์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ได้ให้คาปรึกษาตลอดจนตรวจสอบข้อพกพร่องต่าง ๆ
พรอ้ มทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรุงแก้ไขเน้ือหางานวจิ ัย ขอเจรญิ พรขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
ไพศาล สุวรรณน้อย ท่ีกรุณาเป็นประธานคณะกรรมการสอบ ตลอดจนท่านผู้เชี่ยวชาญทุกท่านท่ี
กรุณาเสียสละเวลาอันมีค่ายิ่ง เพ่ือให้ข้อเสนอแนะในการตรวจสอบเคร่ืองมือวิจัยจนได้เครื่องมือท่ีมี
คุณภาพสาหรับการวิจยั

ขอเจริญพรขอบคุณรองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ สารรัตนะ ที่ให้คาแนะนาและ
ข้อเสนอแนะ ในการทาวิจัยเป็นอย่างดีตลอดมา ขอขอบพระคุณท่านพระครูธรรมาภิสมัย, ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ ดร. พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ท่ีเป็นแรงผลักดันจุดประกาย
แนวคิดในการศึกษา และเจริญพรขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูล ทาชา ท่ีให้คาแนะนา พร้อม
ทั้งคอยใหก้ าลงั ใจ จนประสบความสาเร็จลุลว่ งไปด้วยดี

ขอกราบขอบพระคุณพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูปริยัติธรรมานุศาสก์ เจ้าอาวาสวัด
ศรีนวล ท่านอาจารย์พระครูปริยัติจันทสาร ผู้อานวยการโรงเรียนประภัสสรวิทยา วัดศรีนวล ผู้เป็น
ต้นแบบในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และได้เมตตานุเคราะห์อานวยความสะดวกในการทาวิจัย
และขอเจริญพรญาติพ่ีน้องทุกคน เริ่มตั้งแต่ คุณพี่บรรเจิด พี่เต๋า พี่ตุ๋ย พ่ีพรธิภา พ่ียูร พ่ีวรรณ พ่ีแหล่
และน้องแพ ผ้ใู ห้กาลังใจ และญาติธรรมทุกท่านที่คอยให้การอปุ ถัมภ์มาโดยตลอดตั้งแต่เรมิ่ เรยี นจนถึง
จบการศึกษา

ขอเจริญพรขอบคุณเจ้าหน้าท่ีบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยา
เขตอีสาน คณะผู้บริหาร คณาจารย์และบุคคลกรทางการศึกษาโรงเรียนประภัสสรวิทยา วัดศรีนวล
ทุกท่านท่ีได้อานวยความสะดวก เสียสละเวลาให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดียิ่ง
ตลอดจนเพ่ือนนักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 6 ทุกท่านท่ีคอยเป็น
กาลังใจแกผ่ ู้วิจยั เสมอมา

ท้ายท่ีสุด ขอคุณงามความดีและประโยชน์อันเกิดจากดุษฎีนิพนธ์เล่มน้ี ผู้วิจัยขอใช้เป็น
เคร่ืองสักการะบชู าคุณพระรตั นตรยั ถวายเป็นธรรมทานเพ่ืออุทิศส่วนกุศลถงึ คุณพ่อเขียน-คณุ แม่หวัน
ทองแสน ญาติพ่ีน้องทุกคน และบูรพาจารย์วัดศรีนวลทุกท่าน มี พระเดชพระคุณหลวงปู่ผาง ผคฺโค
พระเดชพระคุณเจ้าคุณปู่พระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปสฺสโร), พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณอาจารย์
พระกิตติญาณโสภณ (บัวผัน ปคุณธมฺโม ป.ธ.8) ผ้เู ป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเองในด้านการศกึ ษา
โดยเฉพาะอย่างย่ิงพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูสิริธรรมนิเทศก์ (พูลสวัสดิ์ ติสฺสเทโว ป.ธ.3) อดีต
เจ้าอาวาสวัดศรีนวล และที่ปรึกษาเจ้าคณะอาเภอบ้านแฮด ผู้ให้โอกาสในการเรียนรู้และสนองงาน
ขอบุญกุศลคณุ ความดนี จี้ งแผไ่ ปให้ถึงทุกท่านด้วยเทอญ

พระปลัดเล็ก อานนโท (ทองแสน)

สารบัญ

หนา้
บทคัดย่อภาษาไทย.............................................................................................. ง
บทคดั ย่อภาษาองั กฤษ......................................................................................... จ
กิตตกิ รรมประกาศ............................................................................................... ฉ
สารบญั ................................................................................................................ ช
สารบัญตาราง..................................................................................................... ฎ
สารบญั ภาพ........................................................................................................ ฐ
บทที่
1 บทนา.......................................................................................................... 1

1.1 ความเปน็ มาและความสาคัญของปัญหา…………………………………..….…….……….. 1
1.2 คาถามการวจิ ยั .................................................................................................... 6
1.3 วัตถุประสงค์การวิจัย........................................................................................... 7
1.4 สมมตฐิ านการวจิ ัย.............................................................................................. 7
1.5 ข้อตกลงเบื้องต้น……………………………………………………………………………….…….. 8
1.6 ขอบเขตการวิจยั ................................................................................................. 9
1.7 นิยามศพั ท์เฉพาะ................................................................................................. 10
1.8 ประโยชนท์ ค่ี าดว่าจะได้รบั ................................................................................... 12

2 เอกสาร และงานวจิ ัยท่ีเกีย่ วขอ้ ง................................................................... 14

2.1 หลกั ธรรมเพื่อคุณภาพและความสาเรจ็ ของงานวจิ ัย………………………..…………… 14
2.2 การวิจัยและพฒั นา : ระเบียบวิธีท่ใี ชใ้ นการวิจยั …………………………..……………… 18
2.3 แนวคดิ เชิงทฤษฎีเกี่ยวกับทกั ษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง (Self-Direction

Skill)…………………………………………………………..………….……………………….…….. 23
2.4 บริบทของโรงเรยี นมัธยมศกึ ษา-กลุ่มเป้าหมายในการเผยแพร่นวัตกรรม

จากผลการวจิ ยั ……………………………………………………………………………….…….... 106
2.5 บรบิ ทของโรงเรียนประภัสสรวทิ ยา วัดศรนี วล พืน้ ทที่ ดลอง (Experiment

Area) ในการวจิ ัย……………………………………………………………………................... 119
2.6 กรอบแนวคิดเพ่ือการวิจัย.................................................................................... 126

3 วิธีดาเนนิ การวิจัย…………………………………………………………………….………… 137

3.1 ขัน้ ตอนที่ 1 การจัดทาคู่มอื ประกอบโครงการ...................................................... 138
3.2 ขั้นตอนท่ี 2 การตรวจสอบคุณภาพของคู่มือและการปรบั ปรุงแก้ไข.................... 140
3.3 ขนั้ ตอนท่ี 3 การสร้างเครอ่ื งมือเพื่อการทดลองในภาคสนาม............................... 142
3.4 ขน้ั ตอนท่ี 4 การทดลองในภาคสนาม (Trial)………………………………………………. 149



สารบญั (ต่อ)

บทที่ หนา้

3.5 ข้ันตอนท่ี 5 การเขยี นรายงานผลการวิจยั และการเผยแพร่ผลงานวจิ ยั ................ 153

4 ผลการดาเนนิ การวิจัยและการวิเคราะหข์ อ้ มูล……………………………………….. 154

4.1 ข้ันตอนท่ี 1 ผลการจดั ทาคมู่ ือประกอบโครงการ................................................. 154
4.2 ขัน้ ตอนท่ี 2 ผลการตรวจสอบคณุ ภาพของคู่มอื และการปรบั ปรุงแก้ไข............... 157
4.3 ข้ันตอนท่ี 3 ผลการสร้างเครอ่ื งมือเพ่อื การทดลองในภาคสนาม.......................... 162
4.4 ขั้นตอนที่ 4 ผลการทดลองในภาคสนาม (Trial).................................................. 175

5 โปรแกรมออนไลนเ์ พ่อื เสริมการเรยี นร้ขู องครูสู่การพัฒนาการเรียนรู้แบบ
ช้ีนาตนเองของนักเรยี น: ผลจากการวิจยั และพฒั นา..................................... 208

5.1 คู่มอื ชดุ ที่ 1 ทัศนะเกี่ยวกบั นิยามของทักษะการเรยี นรู้แบบชน้ี าตนเอง…............ 213
5.2 คมู่ อื ชุดท่ี 2 ทัศนะเกีย่ วกับความสาคัญของทักษะการรู้แบบชน้ี าตนเอง…………. 224
5.3 คู่มอื ชดุ ที่ 3 ทัศนะเกย่ี วกบั ลกั ษณะของทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง……….. 237
5.4 คมู่ อื ชุดที่ 4 ทัศนะเก่ียวกบั แนวทางการพฒั นาทกั ษะการเรยี นรู้แบบชน้ี า

ตนเอง……………………………………………………………………………………………………. 245
5.5 คมู่ ือชุดท่ี 5 ทัศนะเกี่ยวกบั ขัน้ ตอนการพัฒนาทักษะการรู้แบบชน้ี าตนเอง......... 257
5.6 คู่มือชดุ ท่ี 6 ทัศนะเก่ียวกบั การประเมนิ ผลทักษะการรู้แบบชี้นาตนเอง.............. 262
5.7 คู่มอื ประกอบโครงการครูผูส้ อนนาความรสู้ ู่การพฒั นานักเรียน........................... 277

6 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ................................................................. 288

6.1 โครงการและคมู่ ือประกอบโครงการ.................................................................... 289
6.2 ขอ้ บกพรอ่ งของคู่มือที่ได้จากการตรวจสอบ และไดร้ ับการปรบั ปรุงแก้ไขแลว้ ...... 291
6.3 ประสทิ ธิภาพของโปรแกรมออนไลน์ท่ีสง่ ผลต่อการการเรยี นรขู้ องครู

ท่ีเปน็ กลมุ่ ทดลอง................................................................................................ 292
6.4 ประสิทธิภาพของโปรแกรมออนไลนท์ สี่ ่งผลต่อการเสริมสร้างทกั ษะ

การเรยี นรู้แบบช้ีนาตนเองของนกั เรยี น……………………………………………………… 293
6.5 อภปิ รายผล………………………………………………………………………………………..…… 293
6.6 ขอ้ เสนอแนะ………………………………………………………………………………………...... 298

บรรณานุกรม............................................................................................ 299
ภาคผนวก.................................................................................................... 307

ภาคผนวก ก รายช่อื และสถานภาพของครทู เ่ี ปน็ กลุม่ เปา้ หมายในการตรวจคู่มือ
ครัง้ ที่ 1............................................................................................................... 308

ภาคผนวก ข หนังสือของบณั ฑิตวิทยาลัยเพื่อขอความร่วมมอื จากครทู เี่ ป็น
กลุ่มเป้าหมายในการตรวจคู่มือ คร้งั ท่ี 1.............................................................. 310



สารบญั (ตอ่ )

บทท่ี หน้า

ภาคผนวก ค รายช่อื และสถานภาพของครทู ี่เป็นกลมุ่ เปา้ หมายในการตรวจคู่มอื
ครั้งท่ี 2............................................................................................................... 313

ภาคผนวก ง หนงั สอื ของบัณฑติ วทิ ยาลัยเพ่ือขอความรว่ มมือจากครูทเ่ี ปน็
กลุ่มเป้าหมายในการตรวจคู่มือ ครงั้ ที่ 2............................................................. 315

ภาคผนวก จ รายช่อื และสถานภาพของผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบความ
สอดคล้องของข้อคาถามกับวตั ถุประสงคก์ ารเรยี นรใู้ นแบบทดสอบผลการ
เรยี นรู้ของครู..................................................................................................... 320

ภาคผนวก ฉ หนงั สอื ของบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อขอความรว่ มมอื จากผู้ทรงคุณวุฒิ
เพอ่ื ตรวจสอบความสอดคลอ้ งของขอ้ สอบกับวตั ถุประสงค์การเรียนรู้ใน
แบบทดสอบผลการเรยี นร้ขู องครู...................................................................... 322

ภาคผนวก ช แบบตรวจสอบความสอดคล้องของขอ้ สอบกับวัตถุประสงค์การ
เรยี นรู้ในแบบทดสอบผลการเรยี นรู้ครู.............................................................. 324

ภาคผนวก ซ แบบทดสอบผลการเรียนรขู้ องครทู เ่ี ป็น Google Form....................... 335
ภาคผนวก ฌ หนังสือจากบัณฑิตวทิ ยาลัยถงึ โรงเรียนเพ่ือขออนญุ าตทดลองใช้

แบบทดสอบผลการเรียนรูข้ องครูกับครูในโรงเรียน........................................... 349
ภาคผนวก ญ รายชือ่ และสถานภาพของผูท้ รงคุณวฒุ ใิ นการตรวจสอบความ

สอดคล้องของข้อคาถามกบั วัตถุประสงค์การพฒั นาในแบบประเมินทักษะ
การเรียนร้แู บบชน้ี าตนเองของนกั เรียน…………………………………………………….. 352
ภาคผนวก ฎ หนังสือของบัณฑติ วิทยาลัยเพ่ือขอความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวฒุ ิ
เพ่ือตรวจสอบความสอดคลอ้ งของขอ้ คาถามกบั วตั ถปุ ระสงค์การพฒั นา
ในแบบประเมินทักษะการเรยี นร้แู บบช้ีนาตนเองของนักเรียน.......................... 354
ภาคผนวก ฏ แบบตรวจสอบความสอดคล้องของข้อคาถามกับวัตถปุ ระสงค์การ
พฒั นาในแบบประเมินทักษะการรู้แบบชน้ี าตนเองของนกั เรยี น....................... 356
ภาคผนวก ฐ แบบประเมินตนเองของนักเรยี นทเี่ ปน็ กลุ่มเป้าหมายในการพฒั นา
Google Form.................................................................................................. 361
ภาคผนวก ฑ หนงั สอื ของบัณฑิตวทิ ยาลัยเพ่ือขอความรว่ มมอื จากสถานศึกษา
เพือ่ การทดลองใช้แบบประเมินทักษะการรู้แบบชีน้ าตนเองของนักเรียน........... 369
ภาคผนวก ฒ ผลการวิเคราะห์ค่าสมั ประสทิ ธส์ิ หสัมพนั ธ์ของความเช่ือม่นั โดยใช้
วธิ ขี องครอนบาคของแบบประเมินทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง................ 371
ภาคผนวก ณ หนังสือของบณั ฑิตวิทยาลยั เพื่อขอความร่วมมือจากสถานศึกษาท่ี
เป็นพืน้ ทใ่ี นการวิจยั เชิงทดลอง......................................................................... 375
ภาคผนวก ด รายช่ือและสถานภาพของครูท่เี ป็นกลุม่ ทดลอง.................................... 377



สารบัญ (ต่อ)

บทที่ หนา้

ภาคผนวก ต ผลการวิเคราะห์เปรียบเทยี บผลการทดสอบผลการเรยี นรขู้ องครู
ทเี่ ป็นกลมุ่ ทดลองกอ่ นและหลังการพฒั นาโดยใช้การทดสอบที (t-test)............ 379

ภาคผนวก ถ ผลการวิเคราะห์เปรยี บเทียบผลการประเมนิ ทักษะการเรียนรู้
แบบชน้ี าตนเองของนักเรียนก่อนและหลงั การพฒั นาโดยใช้การทดสอบที
(t-test).............................................................................................................. 381

ประวัตผิ วู้ จิ ยั ................................................................................................. 383

สารบญั ตาราง

ตารางที่ หน้า

2.1 ขอ้ มลู บุคลากรของสถานศึกษา......................................................................................... 121

2.2 ข้อมลู นักเรยี น ปีการศึกษา 2564..................................................................................... 121

2.3 ข้อมูลการใช้แหลง่ เรียนรูภ้ ายในและภายนอกโรงเรยี น ปกี ารศึกษา 2564....................... 122

2.4 ข้อมูลผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนระดบั สถานศึกษา.............................................................. 123

2.5 แนวคดิ เชงิ ระบบของข้อเสนอทางเลอื กทห่ี ลากหลายในเชิงวชิ าการหรอื ทฤษฎี

(Academic or theoretical Alternative Offerings) ทีไ่ ด้จากการศึกษาวรรณกรรม

ทเ่ี ก่ียวข้องของผูว้ ิจยั : กรอบแนวคดิ ในการวิจัย............................................................... 129

3.1 เกณฑ์การพิจารณาค่าความยากง่าย ( p ) ของข้อสอบ..................................................... 145

3.2 เกณฑ์การพจิ ารณาค่าอานาจจาแนก ( r ) ของข้อสอบ..................................................... 145

3.3 แสดงกจิ กรรมและระยะเวลาในโครงการพัฒนาครูผ้สู อน................................................. 150

3.4 แสดงกิจกรรมและระยะเวลาในโครงการครูนาผลการเรยี นรู้สกู่ ารพฒั นานกั เรยี น........... 151

4.1 ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของข้อสอบกับวตั ถุประสงค์การเรยี นรใู้ นแบบ

ทดสอบผลการเรยี นร้ขู องครู.............................................................................................. 164

4.2 คะแนนจากการทดลองใช้ (Try-Out) แบบทดสอบผลการเรียนรู้ของครกู ับครูที่เป็น

กลุ่มตวั อย่างจานวน 30 ราย เพ่อื วิเคราะหค์ วามยากง่าย การกระจาย ความเชอ่ื มัน่

คา่ อานาจจาแนกรายข้อ และค่าสมั ประสิทธิ์ความเชอื่ มัน่ ด้วยวิธกี ารของ

Kuder-Richardson......................................................................................................... 166

4.3 เกณฑ์การพิจารณาค่าความยากงา่ ย (p) ของข้อสอบ....................................................... 168

4.4 เกณฑ์การพิจารณาค่าอานาจจาแนก ( r ) ของข้อสอบ..................................................... 168

4.5 แสดงคา่ ความยากง่าย (p) ค่าอานาจจาแนก ( r ) และผลการพจิ ารณาคณุ ภาพของ

ข้อสอบรายข้อ................................................................................................................... 169

4.6 ผลการตรวจสอบความสอดคลอ้ งของข้อคาถามกับวตั ถุประสงค์การพัฒนาในแบบ

ประเมนิ ทักษะการรู้แบบช้ีนาตนเองของนักเรียน.............................................................. 172

4.7 ผลการวิเคราะหค์ า่ สัมประสิทธแ์ิ อลฟาของความเชอ่ื มน่ั ของแบบประเมนิ ทกั ษะ

การรแู้ บบช้นี าตนเองของนักเรียนจาแนกเปน็ รายดา้ นและโดยรวม.................................. 174

4.8 ผลการทดสอบผลการเรยี นรู้ของครทู ่ีเปน็ กลุ่มทดลองกอ่ นการพัฒนา (Pre-test)............ 177

4.9 ผลการทดสอบผลการเรยี นรู้ของครูที่เป็นกล่มุ ทดลองหลังการพฒั นา (Post-test)........... 181

4.10 ผลการทดสอบค่าที (t-test) เปรียบเทยี บความแตกตา่ งอยา่ งมนี ยั สาคัญทางสถิติ

ระหวา่ งคะแนน “ก่อน” และ “หลัง” การพัฒนาเพ่ือการเรียนรู้ของครู........................... 184

4.11 ผลการวเิ คราะหผ์ ลการทดสอบผลการเรียนร้ขู องครตู ามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90............. 186

4.12 คา่ เฉลยี่ (Mean : ) และคา่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)

จากผลการประเมนิ ทักษะการรู้แบบชีน้ าตนเองของนักเรียนก่อนการทดลอง

(Pre-test)......................................................................................................................... 189



สารบญั ตาราง (ต่อ)

ตารางที่ หนา้

4.13 ผลการประเมนิ ตนเองของครูท่เี ปน็ กลุ่มทดลองในการนาข้อเสนอทางเลอื กทเ่ี ป็น

หลักการ / แนวคิด / เทคนิค / วธิ ีการ / กจิ กรรมไปใช้ในการพฒั นาทักษะการ

เรยี นร้แู บบชี้นาตนเองให้กับนักเรยี น................................................................................ 194

4.14 ผลการประเมินตนเองของครูท่เี ป็นกลุม่ ทดลองในการนาข้อเสนอทางเลอื กที่เปน็

ขน้ั ตอนการพัฒนาไปใช้ในการพฒั นาทักษะการเรยี นรู้แบบช้ีนาตนเองให้กับนักเรียน........ 199

4.15 คา่ เฉลยี่ (Mean : ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)

จากผลการประเมนิ ทักษะการเรยี นรู้แบบชน้ี าตนเองของนักเรยี นหลังการพฒั นา

(Post-test)....................................................................................................................... 203

4.16 ผลการทดสอบคา่ ที (t-test) เปรียบเทียบความแตกตา่ งอย่างมนี ยั สาคญั ทางสถิติ

ระหวา่ งคะแนน “ก่อน” และ “หลัง” การพฒั นา............................................................. 205

สารบญั ภาพ

ภาพท่ี หนา้

2.1 หลักธรรมเพอ่ื คุณภาพและความสาเรจ็ ในการทาวจิ ัย....................................................... 18
2.2 แนวคดิ และข้นั ตอนการวจิ ัยและพัฒนาตามทศั นะของวิโรจน์ สารรตั นะ........................... 19
2.3 แผนภาพความชัดเจนและฉลาด (S.M.A.R.T.) ตามแนวคดิ ของ Rachel Dobbs............. 90
3.1 ขั้นตอนของการวจิ ัยและพัฒนาในงานวิจัย....................................................................... 138
3.2 กรอบแนวคิดในการจัดทาคู่มือเพ่ือพฒั นาครสู ่กู ารเสรมิ สร้างทักษะการเรียนรู้แบบ

ช้นี าตนเองของนักเรียนชนั้ มธั ยมศกึ ษา............................................................................. 140
4.1 แสดงคู่มือโปรแกรมออนไลนแ์ ละปกของคมู่ ือประกอบโครงการพัฒนาเพ่ือการเรียนรู้

ของครเู กย่ี วกบั การพฒั นาทกั ษะการเรยี นรู้แบบชนี้ าตนเอง............................................. 156
4.2 แสดงปกของคมู่ ือประกอบโครงการครูนาผลการเรียนรู้สู่การเสรมิ สรา้ งทักษะ

การเรยี นรูแ้ บบชน้ี าตนเองให้แกน่ ักเรยี น........................................................................... 157
4.3 การตรวจสอบคุณภาพของคมู่ ือและการปรับปรุงแกไ้ ข ณ โรงเรยี นวิเวกธรรม

ประสิทธวิ์ ิทยา................................................................................................................... 158
4.4 การตรวจสอบคุณภาพของคู่มือและการปรับปรงุ แกไ้ ข ณ โรงเรียนจนั ทวทิ ยาคม............ 161
4.5 การตรวจสอบคณุ ภาพของคู่มือและการปรบั ปรงุ แก้ไข ณ โรงเรียนวดั หนองแวงวิทยา....... 161
4.6 การประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการวิจยั และการทดสอบผลการเรยี นรู้ของครูทเ่ี ปน็

กลุ่มทดลองก่อนการพัฒนา (Pre-test) ณ โรงเรยี นประภัสสรวทิ ยา วัดศรนี วล............... 176
4.7 ครทู ่เี ปน็ กลมุ่ ทดลองกาลังศึกษาคู่มือประกอบโครงการพัฒนาความรูข้ องครูเกยี่ วกับ

การพฒั นาทักษะการเรยี นรู้แบบชี้นาตนเอง และค่มู ือประกอบโครงการครูนาความรู้
สู่การพัฒนานกั เรียน.......................................................................................................... 179
4.8 การประชมุ ชแี้ จงระเบียบวธิ วี ิจัยใหก้ ับครทู ่เี ปน็ กลุ่มทดลอง.............................................. 189
4.9 ครูทีเ่ ป็นกลุ่มทดลองนาผลการเรยี นร้สู ู่การพัฒนานกั เรียน............................................... 194

บทที่ 1
บทนา

1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา

การศึกษาเป็นปัจจัยสาคัญในการพัฒนาคน เพื่อให้คนเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาสังคม
และประเทศชาติ ซ่ึงในอดีตการศึกษาถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสังคม มีการถา่ ยทอดความรู้จาก
รุ่นสู่รุ่น เป็นเคร่ืองมือในการดารงชีวิตด้วยการเรียนรู้ทักษะอาชีพ บางครั้งก็ถูกใช้เพ่ือปลูกฝัง
อุดมการณ์และค่านิยมท้ังในทางบวกและทางลบ ในศตวรรษที่ 21 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
สารสนเทศและข้อมูลข่าวสาร ทาให้ประชาคมโลกมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างใกล้ชิดและรวดเร็วขึ้น
ประเทศต่าง ๆ ไม่อาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป ขณะเดยี วกันการแขง่ ขันกันทางเศรษฐกจิ ก็นับวันจะ
รุนแรงมากข้ึน เพราะเป็นเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้เป็นฐาน หรือเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge
based Society) ประเทศใดประชากรมีความรู้ดีย่อมได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นทุกประเทศจึง
จาเป็นต้องปฏิรูปการศึกษา เพื่อปลูกฝังความรู้และทักษะท่ีจาเป็นให้พลเมืองมีความสามารถในการ
แข่งขัน โดยเฉพาะทักษะท่ีสาคัญในศตวรรษท่ี 21 (21st Century Skill) คือทักษะการเรียนรู้และ
นวัตกรรม (Learning and Innovation Skill) ทักษะด้านสารสนเทศ ส่ือ เทคโนโลยี (Digital
Literacy) ทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skill) ซ่ึงหมายถึงคนในชาติต้องมีทักษะการคิด
ทักษะการทางาน ทักษะทางภาษาต่างประเทศ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (สานักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2557) บทบาทของการศึกษาในศตวรรษท่ี 21 เป็น
การศึกษาเพ่ือการทางานและสังคม เพ่ือฝึกฝนสติปัญญาของตน เพื่อทาหน้าท่ีพลเมืองและเพื่อสืบ
ทอดจารีตและคุณค่า (วิจารณ์ พานิช, 2555) อย่างไรกต็ ามในการพัฒนาการศึกษาตอ้ งอาศัยพลังและ
การขับเคล่ือนด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ทันกบั ความเปลี่ยนแปลง แนวทางการพัฒนา
การศึกษาใหม่ ๆ ซ่ึงต่างไปจากเดิมหรือท่ีเรียกกันว่านวัตกรรมการศึกษา เพ่ือให้เกิดผลการ
เปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่ผู้เรียน (วิไลลักษณ์ รัตนเพียร
ธมั มะ และ ปยิ ะนันท์ พร่ึงนอ้ ย, 2559)

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตราท่ี 54 ได้ระบุว่ารัฐต้อง
ดาเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการ
เรยี นรู้ตลอดชวี ิตและจัดให้มีการรว่ มมือกันระหวา่ งรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนใน
การจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าท่ีดาเนินการ กากับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การศึกษา
ดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, 2560) นอกจากน้ี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยงั ได้ยึดหลักปรชั ญาเศรษฐกิจ
พอเพียง มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเพ่ือให้เกิดการบูรณาการในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความ
พอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการบริหารจัดการความเส่ียงท่ีดี ซ่ึงเป็นเงื่อนไขท่ีจาเป็น
สาหรบั การพัฒนาท่ียั่งยืน ซ่ึงมุ่งเนน้ การพัฒนาคน มีความเปน็ คนท่ีสมบูรณ์ เปิดโอกาสให้กับบุคคลใน
สังคมได้ดาเนินชีวิตที่ดีมีความสุข โดยยดึ คนเป็นศูนย์กลาง มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะท่ีดี เป็น

2

คนมีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติท่ีดี รับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม
และจริยธรรม (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564, 2560) ดังนั้น
การศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบแรกท่ีมีความสาคัญต่อกระบวนการพัฒนาคน ให้มีคุณลักษณะตามที่
สังคมต้องการ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของประชากรไทย ท่ีสาคัญทาให้เกิด
ความก้าวหน้าท้ังทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวติ และสังคม รวมท้ังเพ่ือ
การพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงและสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืนในเวทีโลก
(สานกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษากระทรวงศกึ ษาธิการ, 2561)

โดยทป่ี ระเทศไทยนั้น มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และในมาตรา 6 ได้
ระบุไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
สติปัญญา ความรู้และคณุ ธรรมจรยิ ธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชวี ิต สามารถอยู่รว่ มกบั ผู้อ่ืนอย่าง
มีความสุข และในมาตรา 22 ได้กาหนดแนวทางในการจัดการศึกษาว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลัก
ว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด
กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
และในมาตรา 23 การจัดการศึกษา ท้ังการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตาม
อัธยาศัย ต้องเน้นความสาคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความ
เหมาะสมของแต่ละระดับ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, 2542) และจากหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อ
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ 5 ประการ ได้แก่ มีความสามารถด้านการส่ือสาร มีความสามารถในการ
คดิ มีความสามารถในการแก้ปญั หา มีความสามารถในการใชท้ กั ษะชีวิต และมีความสามารถในการใช้
เทคโนโลยี (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) จะเห็นได้ว่าความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นส่ิงท่ี
เก่ียวข้องกับวิถีชวี ิตประจาวัน เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง การทางาน และการอยู่ร่วมกันในสงั คมด้วย
การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ดังท่ี Maehl (2000); สุรางค์ ธรรมโวหาร, สุวิชา วัน
สุดล และ สิรินพร บ้านแสน (2559) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้
ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของคนในสังคมทุกระดับ ควรอยู่บนพื้นฐานของการจัดการ
ความรอู้ ยา่ งมปี ระสิทธิภาพ ซ่ึงการแสวงหาความรดู้ ว้ ยตนเองเป็นวิธีการหนึ่งท่ีจะทาให้คนเราสามารถ
เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น เพราะผู้เรียนมีความตั้งใจศึกษาค้นคว้าตามความต้องการของตนอย่าง
ต่อเนื่องได้ การเรียนรู้จึงไม่ใช่เป็นการเรียนท่ีต้องรับจากครูแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนด้วยวิธีการท่ีหลากหลาย และยังเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้ไม่สิ้นสุด ทุกเวลา ทุก
สถานท่ี ขอ้ มูลข่าวสารท่ีมคี วามรู้ใหม่เกิดข้ึนอย่างต่อเน่ือง เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยท่ีผู้เรยี นต้อง
พัฒนา ปรับตัวหรือเปล่ียนแปลงตนเอง อันเป็นผลมาจากกระบวนการพัฒนาสติปัญญา และจะ
กระทาต่อเน่ืองตลอดช่วงชีวิต ซึ่งอาจเป็นผลจากการดาเนินชีวิตทีต่ ้องเรียนรู้ การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึง
ไมไ่ ดค้ รอบคลมุ เฉพาะการศึกษาของผู้ใหญ่ แตเ่ ปน็ การศกึ ษาสาหรบั ทกุ ๆ ช่วงของชีวติ

การเรียนรู้ด้วยตนเองน้ัน เป็นวิชาการเรียนรู้ที่สาคัญในยุคปัจจุบัน เป็นทักษะท่ีทาให้
ผู้เรียนสามารถติดตามความรู้ที่เปล่ียนแปลงอย่ารวดเร็วได้ มีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีกลุ่มมนุษย
นิยม (Humanism) มีความเชอ่ื เรอ่ื งความเป็นอิสระ และความเปน็ ตัวของตวั เองของมนุษย์ ทุกคนเกิด
มาพร้อมกับความดีและสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างไม่มีขีดจากัด มีความรับผิดชอบต่อ

3

ตนเองและผู้อ่ืน ซึ่งเป็นแนวคิดท่ีสอดคล้องกับนักจิตวิทยามานุษยนิยม (Humanistic Psychology)
ท่ีให้ความสาคัญในฐานะท่ีผู้เรียนเป็นปัจเจกบุคคล และมีแนวคิดว่า มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพและมี
ความโนม้ เอยี งใส่ใจ ใฝ่รู้ ขวนขวายเรียนรูด้ ้วยตนเอง (สายสดุ า ขันธเวช, 2561)

จากการศึกษาความสาคัญของทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง (Self-Direction
Learning Skills) จากทัศนะของ Timpau (2015), Andriotis (2017), Holz (2017), Help
Teaching (2019), Gutierrez (2017), เว็บไซต์ของ Alternatives to School (2019), เว็บไซต์ของ
Assignment Bay (2017), เว็บไซต์ของ Western Academy of Beijing (2017), และเว็บไซต์ของ
Self-Directed Learning (n.d.) ได้กล่าวถงึ ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง ว่ามีความสาคัญต่อการ
เรียนรู้ในปัจจุบัน สามารถตอบสนองต่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และสอดคล้องกับสภาพสังคม
เทคโนโลยที ี่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นการเตรียมความพร้อมให้ผเู้ รยี นสามารถแสวงหาความรไู้ ด้
ตามความสนใจของแต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันและสอดคล้องกับพัฒนาการทางจิตวิทยาและ
ธรรมชาติของผู้เรียน เพ่ือให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาบุคลิกภาพ ทัศนคติในการเรียนรู้ การแสวงหา
ความรู้ใหม่ ๆ นาไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซ่ึงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน คือได้เรียนรู้ในส่ิงท่ี
ต้องการ และมีความสนใจ เพราะเป็นผู้กาหนดวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง กาหนดวัตถุประสงค์และ
จุดหมายอย่างชัดเจน มีความตั้งใจใฝ่เรียนรู้ มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์และ
สภาพแวดล้อมจริง สามารถนาส่ิงที่เรียนรู้มาใช้ประโยชน์ในชวี ิตประจาวัน ช่วยให้ผเู้ รียนเกิดความคิด
สร้างสรรค์ มีเจตคติท่ีดีต่อการเรียน มีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาได้
ตระหนักเห็นคุณค่าและความสาเร็จของตน โดยพร้อมท่ีจะเรียนรู้ตลอดเวลา ได้เรียนรู้และพัฒนา
ทักษะการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ได้พัฒนาความสามารถในการจัดการตนเองทั้งในด้านเวลาและ
ความรู้ มีอิสระจากการได้พัฒนาทักษะพ้ืนฐาน คือการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การทางานร่วมกับ
บุคคลอื่น สามารถมารถวางแผนการดาเนินการ ติดตาม ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง ได้ปลูกฝัง
กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล ได้เรียนรู้จากการสารวจ มีความสามารถในการเช่ือมความสัมพันธ์กับ
เพ่ือนร่วมงาน ครูและผู้เช่ียวชาญ เพ่ือขอความช่วยเหลือและขอคาปรึกษา ได้เรียนรู้การแก้ปัญหา
อยา่ งสรา้ งสรรค์

จากสภาพสังคมปัจจุบันที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ สามารถค้นหา
ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีการนาเทคโนโลยีมาใช้ในการทางาน เพ่ือเพิ่ม
ประสิทธิภาพขององค์กร โดยท่ีมีข้อมูลสารสนเทศมีอยู่มากมาย จาเป็นต้องมีหลักการในการเลือกใช้
สื่ออย่างถูกต้องและเหมาะสมและนาไปใช้ให้เกดิ ประโยชน์ (ศุภธิดา พรหมพยัคฆ์, สภุ าณี เส็งศรี, ชัย
ยงค์ พรหมวงศ์, และมนตรี แย้มกสิกร, 2561) เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นส่ิงใกล้ตวั และขาดไม่ได้
ในชีวิตประจาวัน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ถือว่าเป็นเยาวชน Net-Generation หรือ Net Geners โดยมี
ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมท่ีเกี่ยวข้องกับไอที มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีต่าง ๆ ท่ีมาก
ขึน้ รวมไปถึงการส่ือสารกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์ ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนและการใช้สื่อการ
เรียนรู้ต้องก้าวตามไปด้วย (Best, 1997; พรทิพย์ เกิดถาวร, 2563) สอดคล้องกับวิจารณ์ พานิช
(2555) ท่ีกล่าวว่า ลักษณะของกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียนในปัจจุบันว่าเป็นกลุ่มเด็กเจนเนอร์เรชั่นวายและซี
(Gen Y&Z) ที่เกิดมาท่ามกลางสังคมกลางอากาศไร้พรมแดน เป็นกลุ่มเด็กท่ีมีชีวิตอยู่กับเทคโนโลยี
ตลอดเวลา มคี วามสามารถในการใช้เทคโนโลยี เรียนรูไ้ ด้เร็ว มีความต้องการทั่วไปในการสบื คน้ ข้อมูล

4

การให้ข้อมูลย้อนกลับ ความเข้าใจเทคโนโลยี ความเท่าเทียม ความยุติธรรม ความมีเหตุผล ความ
เคารพ คาแนะนา การสืบสวนสอบสวน สนใจโซเชียลมีเดีย และสังคมออนไลน์ มีความสนใจและให้
ความสาคัญกับเพ่ือน อยากลอง ชอบความท้าทาย ชอบอิสระ เชื่อม่ันในตนเอง ชอบแสวงหาความรู้
รู้จักเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การเลือกใช้ข้อมูล รู้จักความสามารถของตน รัก
และเห็นคณุ คา่ ในตนเอง

โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เป็นโรงเรียนท่ีการจัดการเรียนการสอนให้
สอดคล้องกับนโยบายของคณะสงฆ์เป็นสาคัญ โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือระดับมัธยมศึกษา
ตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นโรงเรียนในระบบเดียวกับโรงเรียนของรัฐและเอกชนทั่วไป
จัด ก ารเรีย น ก ารส อ น โด ย ใช้ ห ลั ก สู ต รก ารศึ ก ษ าขั้ น พื้ น ฐ าน พุ ท ธ ศั ก ราช 2551 ข อ ง
กระทรวงศึกษาธิการ และวิชาทางพระพุทธศาสนา อันประกอบด้วย วิชาภาษาบาลี พุทธประวัติ
ธรรมะ วินัย และศาสนปฏิบัติ เป็นพื้นฐานในการศึกษาหลักพระพุทธศาสนาในคัมภีร์พระไตรปิฎก
สามารถนาไปเป็นเคร่ืองมือเผยแผ่พระพุทธศาสนา อันเป็นหน้าท่ีสาคัญของพระภิกษุสามเณร ใน
ฐานะที่เป็นศาสนทายาทผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ
เพ่ือให้พระภิกษุสามเณรได้นาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาจิตใจและปัญญา เป็น
ที่เลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป (สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2563) อีกท้ังเป็นการ
จูงใจดึงดูดผู้เข้ามาบวช เพิ่มบุคลากรทางศาสนาให้มีความรู้ทุกแขนงมากขึ้น เป็นการพัฒนาบุคลากร
ทางพระพทุ ธศาสนา ที่มีการศึกษาพระปริยัติธรรมทัง้ ทางธรรมและสามญั สมบูรณม์ ากข้ึน ไม่มีชอ่ งวา่ ง
ทางความรู้ เป็นมาตรฐานสากลและให้การศึกษาท่ีเหมาะสมแก่ศาสนทายาทที่ดี ได้มีความรู้ท้ังทาง
โลกและทางธรรม มอี งค์ความรู้ที่หลากหลาย มีความรู้ก้าวทันกับการศึกษาทางโลก เป็นการยกระดับ
การศึกษาของชาติ และลดความซ้าซ้อนของผู้เรียน ขณะเดียวกันด้วยสภาพการณ์ในปัจจุบันที่
เปล่ียนแปลงอย่ารวดเร็วเข้าสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ (ฉลอง) และ
บรรจบ บรรณรุจ,ิ 2557)

การจัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จึงต้องปรับเปล่ียนให้ทัน
ตามความต้องการของสังคมในยุคดังกล่าว โดยเฉพาะการพัฒนาครูให้มีคุณภาพในการจัดการเรียน
การสอน (กองพุทธศาสนศึกษา, 2553) สอดคล้องกับ พระครูพนมปรีชากร (2561) ที่กล่าวถึง
องค์ประกอบท่ีส่งผลต่ออนาคตภาพโรงเรียนพระปริยัตธิ รรม แผนกสามญั ศกึ ษา ระหว่าง พ.ศ. 2559-
2573 ในด้านครูคุณภาพ ซ่ึงครูต้องมีความรู้ในการถ่ายทอดประสบการณ์ ฉลาดและรู้จักคิดวเิ คราะห์
ปัญหา เข้าใจในพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีจัดการเรียนรู้และทักษะ
ต่าง ๆ และมีทักษะในการเช่ือมโยงความรู้ใหม่และประสบการณ์เดิม และในด้านผู้เรียนคุณภาพ ซ่ึง
ผเู้ รยี นตอ้ งมีความรทู้ ั้งทางด้านปริยัติธรรมควบคู่กับวชิ าสามญั สามารถประยุกตใ์ ชใ้ นชีวิตประจาวนั ได้
อย่างเหมาะสม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคมโลก แล้วนามาพัฒนาตนเอง มี
ความประพฤติดี เป็นตัวอย่างท่ีดีของสังคม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม มีจิตสานึกท่ีจะ
รกั ษาพระพทุ ธศาสนาให้มน่ั คงเจริญรงุ่ เรืองสบื ไป

จากการศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง (Self-Direction
Learning Skills) จากทัศนะของเว็บไซต์ของ Impact Teacher (2018), Briggs (2015), Centre for
Teaching Excellence (n.d.)., Weimer (2010), Cobb (2019), Dickinson (2018), เว็บไซต์ของ

5

Professional Learning Board (2019), เว็บไซต์ของ Wabisabi Learning (2018), Nicora (2019)
และเว็บไซต์ของ Design Your Homeschool (2006) ได้กล่าวถึงแนวทางในการพัฒนาทักษะการ
เรียนร้แู บบช้นี าตนเอง สามารถแบง่ เป็นกลมุ่ 4 กลุ่มดังน้ี คือ 1) การพัฒนาระดับบุคคล 2) การพฒั นา
ระดบั กลุม่ หรอื ระดับช้นั เรยี น 3) การพฒั นาระดับโรงเรียน 4) การพัฒนาระดบั ครอบครวั และชุมชน

จากสภาพปัญหาของโรงเรียนพระปรยิ ัติธรรม แผนกสามัญศกึ ษา อันมีผลมาจากระบบการ
จัดการศึกษาไม่มีแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้บังคับอย่างชัดเจน ไม่มีแผนงานในการบริหารจัดการ แผน
งบประมาณ และนโยบายในการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาอย่างชัดเจน พร้อมท้ังขาด
การวางแผนในการพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ขาดการนาข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์
เพื่อวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง การจัดการศึกษา ยังอยู่ในส่วนของปริยัติ คือ
ภาคทฤษฎี องค์ความรู้มากเกินไป การเช่ือมต่อความรู้เข้าสู่ภาคปฏิบัติ เพ่ือให้เกิดปัญญาพุทธธรรม
ตามหลักไตรสิกขายังไม่ได้รับการสนับสนุน ส่งเสริม ให้ดาเนินการเท่าท่ีควร พร้อมท้ังขาดการมีส่วน
ร่วมในการบริหารจัดการ และการจดั การศึกษาจากภาคส่วนภายนอก การบริหารจัดการของโรงเรียน
พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษามีข้อจากัดในด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา งบประมาณ และ
ตัวนักเรียน ระบบสวัสดิการสาหรับผู้เรียนยังขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ระบบการ
ประกันคณุ ภาพภายในสถานศกึ ษายังขาดประสิทธิภาพ และระบบการบริการทางวิชาการและการเผย
แผ่พระพุทธศาสนายังไม่เป็นระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการและการจัดการศึกษา
ยังไม่มคี วามทันสมยั ตลอดจนระบบฐานขอ้ มูล ยงั ไมค่ รอบคลุม และไม่มีประสิทธิภาพ และการเข้าถึง
เทคโนโลยียังไม่แพร่หลายและทั่วถึง ขาดแคลนคอมพิวเตอร์ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี ที่ทันสมัย
สาหรับการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดกลางและ
ขนาดเล็ก เน่ืองจากขาดงบประมาณสนับสนุน และขาดงบประมาณในการซ่อมบารุง ส่ือ วัสดุ
อุปกรณ์ ทาให้ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ หลักสูตรท่ีใช้เป็นหลักในการจัดการศึกษา เป็น
การนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ ซ่ึงยังขาดความสอดคล้องกับ
บริบทของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา และการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นศาสนทายาทของ
พระพทุ ธศาสนา (สานักงานพระพทุ ธศาสนาแหง่ ชาติ, 2563)

จากปัญหาและความสาคัญที่กล่าวมาข้างต้น จึงทาให้ผู้วิจัยสนใจพัฒนาโปรแกรมออนไลน์
เพ่ือเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเองของนักเรียน โดยใช้ระเบียบ
วิธีวจิ ัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ตามทัศนะของวิโรจน์ สารรัตนะ (2561)
ที่เห็นว่า นวัตกรรมท่ีพัฒนาขึ้นโดยกระบวนการวิจัยและพัฒนามีจุดมุ่งหมายเพื่อนาไปใช้พัฒนา
บุคลากรสู่การพัฒนาคุณภาพของงานท่ีมีปรากฏการณ์หรือข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่ามีควา ม
จาเปน็ เกิดขน้ึ เช่น เป็นผลสืบเน่ืองจากการกาหนดความคาดหวังใหม่ท่ที า้ ทายของหนว่ ยงาน หรอื การ
เปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การทางานจากเก่าสู่ใหม่ท่ีบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะใน
กระบวนทัศน์ใหม่ และในปัจจุบันมีหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการบริหาร
การศึกษาเกิดข้ึนมากมาย ท่ีคาดหวังว่าหากบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ (Knowledge) แล้ว
กระตุ้นให้พวกเขานาความรู้เหล่าน้ีสู่การปฏิบัติ (Action) ก็จะก่อให้เกิดพลัง (Power) ให้การ
ปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลย่ิงข้ึน ตามแนวคิด “Knowledge +
Action = Power” หรือตามคากล่าวที่ว่า “Make Them Know What To Do, Then Encourage

6

Them Do What They Know” หรือ “Link To On-The-Job Application” ซ่ึงจากลักษณ ะ
สาคัญของการวิจัยและพัฒนาดังกล่าว ผู้วิจัยเช่ือว่าจะสามารถตอบสนองต่อความเป็นมาและ
ความสาคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น เพราะการวิจัยและพัฒนาจะช่วยพัฒนานวัตกรรมเพ่ือการ
เรียนรู้แบบออนไลน์ในยุคสังคมดิจิทัลให้เกิดการเรียนรู้และการนาไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากข้ึน ซึ่งในยุคสมัยดิจิทัลในปัจจุบัน มีความสาคัญจาเป็นมากและเป็นเร่ืองใหม่ที่ครูผู้สอน
(Teachers) จะต้องเรียนรู้และทาความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง (Self-
Direction Learning Skills) ซึ่งเป็นทักษะสาคัญทักษะหนึ่งสาหรับการศึกษาในศตวรรษท่ี 21 เพ่ือ
นาไปสู่การพัฒนานักเรียน (Students) ซ่ึงเป็นเป้าหมายสุดท้าย (Ultimate Goal) ของการจัด
การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะโปรแกรมออนไลน์เพ่ือเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนา
ทกั ษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเองของนักเรียน ท่ีเป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาจาก “กลุ่มทดลอง” ท่ี
ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรยี นประภัสสรวิทยา วัดศรีนวล อาเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซ่ึงเป็น
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสานักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ
ศึกษา เขต 7 กองพุทธศาสนศึกษา สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สามารถจะนาไปเผยแพร่เพ่ือ
ใช้ให้เกิดประโยชน์ในกลุ่มประชากร (Population) ซ่ึงเป็นเป้าหมายอ้างอิงในการนาผลการวิจัยไป
เผยแพร่เพ่ือใช้ให้เกิดประโยชน์หลังการวิจัยและพัฒนา คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ
ศึกษา สังกัดสานักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กองพุทธศาสนศึกษา สานักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ “ทุกโรงท่ัวประเทศ” ได้ตามหลักการของการวิจัยและพัฒนา (Research
and Development : R&D) ที่วิจัยและพัฒนานวัตกรรมใด ๆ ขึ้นมา แล้วนานวัตกรรมน้ันไปทดลอง
ใช้ในพื้นที่ทดลองแห่งใดแห่งหนึ่งที่มีคุณลักษณะเป็นตัวแทนของประชากร เมื่อผลจากการทดลอง
พบว่านวัตกรรมนั้นมคี ุณภาพหรือมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กาหนด ก็แสดงว่า สามารถเผยแพร่เพื่อ
การนาไปใช้ประโยชน์กับประชากรที่เป็นกลุ่มอ้างอิงในการวิจัยได้ และยิ่งเป็นโปรแกรมแบบออนไลน์
(Online Program) ที่พัฒนาขึ้นตามยุคสมัยดิจิทัลแบบใหม่ ไม่เป็นโปรแกรมแบบเอกสาร
(Document Based Program) แบบยุคสมัยการพิมพ์แบบด้ังเดิม จะย่ิงทวีความเป็นประโยชน์ต่อ
การนานวัตกรรมที่พัฒนาข้ึนไปเผยแพร่เพ่ือใช้ประโยชน์ของประชากรท่ีเป็นกลุ่มอ้างอิงในการวิจัยได้
อย่างกวา้ งขวาง อย่างประหยดั อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ และเกิดประสิทธิผลได้มากกวา่

1.2 คาถามการวจิ ัย

โปรแกรมออนไลน์เพอื่ เสริมการเรียนรู้ของครูสูก่ ารพัฒนาทักษะการเรยี นรู้แบบชี้นาตนเอง
ของนักเรียน ที่พัฒนาข้ึนโดยกระบวนการวิจัยและพัฒนาด้วยแนวคิด “Knowledge + Action =
Power” ประกอบด้วยโครงการ 2 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาเพอ่ื การเรียนรู้ของครูเกย่ี วกับการ
พัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง 2) โครงการครูเพื่อการเรียนรู้ของครูสู่การเสริมสร้างทักษะ
การเรียนรู้แบบชี้นาตนเองให้กบั นักเรียน มีค่มู ือประกอบแตล่ ะโครงการทีม่ ีเนื้อหาสาระอะไรบ้าง และ
หลังการใช้คู่มือประกอบแต่ละโครงการในภาคสนามด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง ครูท่ีเป็นกลุ่ม
ทดลองหลังการดาเนินงานในโครงการแรกได้คะแนนจากการทดสอบความรู้เป็น ไปตามเกณฑ์
มาตรฐาน 90/90 หรือไม่ และมีผลการเรียนรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญ
ทางสถิติหรือไม่ ผลการประเมินทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเองของนักเรียนหลังการดาเนินงานใน

7

โครงการท่ีสองมีค่าเฉล่ียของคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสา คัญทางสถิติ
หรอื ไม่ และมขี อ้ เสนอแนะจากครูที่เป็นกลมุ่ ทดลองเพื่อการปรับปรงุ แก้ไขเนื้อหาสาระในคมู่ ืออะไรอีก

1.3 วัตถุประสงคก์ ารวิจยั

การวิจัยในครั้งน้ีมีจุดมุ่งหมายเพื่อวิจัยและพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้
ของครูสู่การพฒั นาทกั ษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองของนักเรียน มวี ตั ถปุ ระสงคด์ ังนี้

1.3.1 เพ่ือพัฒนาโปรแกรมออนไลน์ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” ท่ี
ประกอบด้วยโครงการ 2 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครูเกี่ยวกับการพัฒนา
ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง 2) โครงการครูนาผลการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้
แบบชี้นาตนเองให้กับนักเรียน โดยมีค่มู ือประกอบแต่ละโครงการ

1.3.2 เพ่ือประเมินความมีประสิทธิภาพของโปรแกรมออนไลน์จากผลการวิจัยเชิงทดลอง
ในภาคสนาม 2 ระยะ คือ การพัฒนาครู และครูพฒั นานกั เรียน

1.3.3 เพ่ือระดมสมองของครูที่เป็นกลุ่มทดลองให้ทราบถึงข้อเสนอแนะเพ่ือการปรับปรุง
แก้ไขโปรแกรมออนไลน์

1.4 สมมตฐิ านการวิจัย

การวิจัยและพัฒนา เรื่อง โปรแกรมออนไลน์เพ่ือเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะ
การเรียนรู้แบบชี้นาตนเองของนักเรียน (Online Program to Enhance Teacher Learning to
Develop Students' Self-Directed Learning Skills) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research
and Development : R&D) ตามทัศนะของวิโรจน์ สารรัตนะ (2561) ท่ีเห็นว่า นวัตกรรมที่
พัฒนาขึ้น โดยกระบวนการวิจัยและพัฒนามีจุดมุ่งหมายเพ่ือนาไปใช้พัฒนาบุคลากรสู่การพัฒนา
คุณภาพของงานที่มีปรากฏการณ์หรือข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่ามีความจาเป็นเกิดขึ้น เช่น
เป็นผลสืบเน่ืองจากการกาหนดความคาดหวังใหม่ท่ีท้าทายของหน่วยงาน หรือการเปล่ียนแปลงใน
กระบวนทัศน์การทางานจากเก่าสู่ใหม่ท่ีบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในกระบวนทัศน์
ใหม่ และในปัจจบุ ันมีหลักการ แนวคดิ ทฤษฎีทถี่ ือเป็นนวตั กรรมใหม่ทางการบริหารการศึกษาเกิดข้ึน
มากมาย ที่คาดหวังว่าหากบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ (Knowledge) แล้วกระตุ้นให้พวกเขานา
ความรู้เหล่านี้สู่การปฏิบัติ (Action) ก็จะก่อให้เกิดพลัง (Power) ให้การปฏิบัติงานในหน้าท่ีเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลย่ิงข้ึน ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” หรือ
ตามคากล่าวที่ว่า “Make Them Know What To Do, Then Encourage Them Do What They
Know” หรือ “Link To On-The-Job Application” และด้วยแนวคิดท่ีว่าการศึกษาวรรณกรรมที่
เก่ียวข้องในบทท่ี 2 ถือเป็นจุดเร่ิมต้นที่สาคัญของการวิจัยและพัฒนา เพราะจะทาให้ได้โปรแกรม
ออนไลน์การเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง : จากความรู้ของครูสู่การปฏิบัติเพ่ือนักเรียน ในโรงเรียนพระ
ปริยัตธิ รรม แผนกสามญั ศกึ ษา ทมี่ ีคุณภาพและประสิทธิภาพ

ผลจากการศึกษาเอกสารและงายวิจัยที่เก่ียวข้องในบทที่ 2 ผู้วิจัยได้กาหนดกรอบแนวคิด
เพ่ือพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะการเรยี นร้แู บบชนี้ าตนเอง
ของนักเรียน ที่ประกอบด้วยโครงการ 2 โครงการ คือ คือ 1) โครงการพัฒนาเพ่ือการเรียนรู้ของครู

8

เก่ียวกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง และ 2) โครงการครูนาผลการเรียนรู้สู่การ
เสริมสร้างทักษะการเรยี นรแู้ บบช้ีนาตนเองให้กบั นักเรียน

ในการดาเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ดาเนินการจัดทาโครงการ จัดทาคู่มือ ตรวจสอบคุณภาพ
ของคู่มือ สร้างเครื่องมือเพ่ือใช้ในการวิจัย และทดลองในภาคสนาม จากขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัย
คือ ข้ันตอนการจัดทาคู่มือประกอบโครงการ ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพคู่มือและการปรับปรุง
แก้ไข 2 ระยะ ขั้นตอนการสร้างเคร่ืองมือเพื่อการทดลอง และขั้นตอนการทดลองในภาคสนาม ซึ่ง
เป็นข้ันตอนการวิจัยที่เชื่อว่าจะทาให้ได้ผลการวิจัยท่ีมีคุณภาพ ดังนั้น จึงกาหนดสมมติฐานการวิจัย
โปรแกรมออนไลน์เพ่ือเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเองของ
นักเรียน ทผี่ า่ นการทดลองในภาคสนามแลว้ จะมีประสิทธิภาพจากผลการประเมิน 2 กรณี ดงั นี้

1.4.1 ผลการทดสอบผลการเรียนรู้ของครูที่เป็นกลุ่มทดลองหลังการดาเนินงานใน
โครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครูเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง เป็นไปตาม
เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และมีผลการเรียนรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญ
ทางสถิติหรือไม่

1.4.2 ผลการประเมินทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองของนักเรียนตามโครงการครูนาผล
การเรียนรู้สู่การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเองให้กับนักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลัง
การทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมนี ยั สาคัญทางสถิติ

1.5 กรอบแนวคดิ ของการวจิ ัยในสาขาวิชาการบรหิ ารการศึกษา

การวิจัยเร่ือง “โปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
แบบชี้นาตนเองของนักเรียน” น้ีเป็นการวิจัยในหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา
(Research and Development: R&D) มีจุดมุ่งหมายเพ่ือให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่เป็น
โปรแกรมอบรมออนไลน์ด้วยตนเองทป่ี ระกอบดว้ ย 2 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาเพ่ือการเรียนรู้
ของครู และ 2) โครงการครูนาผลการเรียนสู่การพัฒนาผู้เรยี น โครงการแรกมีคู่มอื เพ่ือการอบรมด้วย
ตนเอง (Self-Training) ของครู โครงการท่ีสองมีคมู่ ือเชิงปฏิบัติการเพ่อื ครนู าไปใชเ้ ปน็ แนวการพัฒนา
ผู้เรียน โดยคาดหวังว่านวัตกรรมทางการศึกษาน้ี เม่ือผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาหลายข้ันตอน
(Ri&Di) แลว้ นาไปทดลองใช้ในพืน้ ท่ที ่เี ป็นตัวแทนของประชากร เม่ือผลการทดลองพบวา่ นวัตกรรมนั้น
มีประสิทธิภาพ ก็สามารถนาไปเผยแพรใ่ ห้กับประชากรท่ีเปน็ พ้ืนทเ่ี ป้าหมายไดใ้ ชป้ ระโยชน์ในวงกว้าง
ได้อย่างมีผลการวิจัยรองรับ ดังน้ัน การวิจัยนี้มีกรอบแนวคิดของการวิจัยในสาขาวิชาการบริหาร
การศกึ ษา ดังน้ี

1.5.1 ในเชิงวชิ าการ มีหลายประการ แตข่ อนามากล่าวถึงที่สาคัญ ดังน้ี
1.5.1.1 งานวิจัยนี้ให้ความสาคัญกับการศึกษาศตวรรษที่ 21 ซ่ึงมีความสาคัญเพราะ

เป็นส่ิงท้าทายต่อการบริหารการศึกษาในศตวรรษใหม่นี้ อันเนื่องจากการเปล่ียนแปลงในกระบวน
ทศั น์ทางการศึกษาที่แตกต่างจากศตวรรษที่ 20 ทุกด้าน ท้งั ด้านศาสตร์การสอน หลักสูตร ทักษะการ
เรียนรู้ ทักษะของครู ทักษะท่ีคาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ลักษณะของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
บริบทของสถานศึกษา บริบทของห้องเรียน และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ บทบาทหน้าท่ีและภาวะ

9

ผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา (Churches, 2008; Driscoll, 2022;
and Kashyap, n.d.)

1.5.1.2 งานวิจัยน้ีมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับสถานศึกษา ท่ีนักวิชาการให้
ความเห็นว่า การบริหารการศึกษาเกิดข้ึนในระดับตา่ ง ๆ ต้งั แต่ส่วนกลางถงึ ระดับสถานศึกษา แต่การ
บริหารการศึกษาระดับสถานศึกษา (คือ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือชื่อเรียกอื่นๆ) มี
ความสาคัญเพราะเป็นฐานปฏิบัติท่ีจะทาให้การระดมทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรวัตถุให้เกิด
ประโยชน์ที่ใช้งานได้จริง เป็นฐานปฏิบัติท่ีจะช่วยเสริมสร้างการสอนและการเรียนรู้ท่ีจะส่งผลให้
นักเรียนได้รับการศึกษาที่ถูกต้องจากครูที่ถูกต้อง และเป็นฐานปฏิบัติท่ีจะสร้างอิทธิพลที่ส่งผลต่อ
นักเรียนให้เติบโตไปสู่เป้าหมายท่ีกาหนดโดยมีครูเป็นผู้นาการเปล่ียนแปลง (Kashyap, n.d.)
สอดคล้องกับแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management: SBM) ซึ่ง
เป็นรูปแบบการกระจายอานาจให้โรงเรยี นทเี่ ปน็ หนว่ ยหลักในการจัดการศึกษา (Edge, 2000)

1.5.1.3 การวิจัยนี้ใช้หลักการ “พัฒนาครู แล้วครูนาผลท่ีได้รับไปพัฒนาที่ส่งผลต่อ
ผู้เรียน” ถือเป็นหลักการท่ีเป็นจุดเน้นของการบริหารการศึกษา คือ การเสริมสร้างการสอนและการ
เรียนรู้ (The Focus of Educational Administration is the Enhancement of Teaching and
Learning) (Amadi, 2008) เป็นกระบวนการช่วยให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่ถูกต้องจากครูที่ถูกต้อง
(Enables the Right Pupils to Receive the Right Education from the Right Teachers)
(Dhammei, 2022) เป็นการกระตุ้นการพัฒนาโปรแกรมท่ีเหมาะสมสาหรับการสอนและการเรียนรู้
(Bamte, n.d.) เป็นไปตามหน้าที่ของการบริหารการศึกษาตามทัศนะของ Amadi (2008) ท่ีกล่าวถึง
หน้าท่ีเกี่ยวกับหลักสูตร/การสอน (The Curriculum/Instructional Functions) หน้าท่ีเก่ียวกับ
บุ คลากร (The Staff Personnel Functions) และห น้ าท่ี เก่ียวกับ นั กเรียน (The Student
Personnel Functions) และเป็นไปตามวัตถุประสงคข์ องการบริหารการศึกษา คือ เพื่อให้การศึกษา
ท่ีเหมาะสมแก่นักเรียน (To Provide Proper Education to Students) เพอ่ื ใหแ้ น่ใจว่ามีการพฒั นา
วิชาชีพของครู (To Ensure Professional Development among Teachers) และเพ่ือความมั่นใจ
ใน การพั ฒ น าคุณ ภ าพ การศึก ษ า (To Ensure Qualitative Improvement of Education)
(Kashyap, n.d.) อันเน่ืองจากหลักการ “พัฒนาครู แล้วครูนาผลที่ได้รับไปพัฒนาท่ีส่งผลต่อผู้เรียน”
เป็นหลักการส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้นาทางการศึกษาให้กับครูตามทัศนะของ Speck (1999) และ
Seyfarth (1999) ส่งเสริมต่อการทาหน้าท่ีของผู้บริหารการศึกษาที่จะต้องสนับสนุนคณะครูด้วยการ
ฝึกอบรมและให้คาแนะนาตามทัศนะของ University of Bridgeport (2022) และ Target Jobs
(n.d.) และส่งเสริมต่อแนวคิดพัฒนาวิชาชีพของครูท่ีให้คานึงถึงการส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็น
เป้าหมายสูงสุด (Ultimate Goal) ของการศึกษาตามทัศนะของ Gusky (2000) และ Hoy and
Miskel (2001)

1.5.2 ในเชิงวิชาชีพ การวิจัยน้ีคานึงถึงมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาและ
ผู้บริหารการศึกษาที่คุรุสภากาหนดตามมาตรฐานด้านความรู้ ในกรณีสามารถพัฒนาครูและบุคลากร
ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนาความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎี
ไปประยุกต์ใช้ สามารถวิเคราะห์สังเคราะห์และสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการการศึกษา
สามารถนากระบวนการทางการวิจัย การวัดและประเมินผล ไปใช้ในการบริหารจัดการการศึกษาได้

10

สามารถส่งเสรมิ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการศึกษา และสามารถบรหิ ารจดั การข้อมูล
ข่าวสารไปสู่ผู้เรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา และตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในกรณีปฏิบัติ
โดยคานึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน พัฒนาผู้รว่ มงานให้สามารถ
ปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูง และสร้าง
โอกาสการพฒั นาไดท้ ุกสถานการณ์ (The Teachers Council of Thailand, n.d)

1.6 ขอบเขตการวิจัย

ดงั กล่าวในตอนต้นว่าโปรแกรมออนไลน์ที่เป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาจากกลุ่มทดลองท่ี
ใช้ในการวิจัยสามารถจะนาไปเผยแพร่เพ่ือใช้ให้เกิดประโยชน์ในกลุ่มประชากรเป้าหมาย (Target
Population) ได้ทั่วประเทศ ตามหลักการของการวิจัยและพัฒนาท่ีวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใด ๆ
ขึน้ มา แลว้ นานวัตกรรมนน้ั ไปทดลองใช้ในพ้นื ทีท่ ดลองแหง่ ใดแห่งหนึ่งท่มี คี ุณลักษณะเปน็ ตัวแทนของ
กลมุ่ ประชากรเป้าหมายในการเผยแพรน่ วตั กรรม เมอื่ ผลจากการทดลองพบว่านวตั กรรมน้นั มีคณุ ภาพ
หรือมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กาหนด ก็แสดงว่า สามารถนานวัตกรรมน้ันไปเผยแพร่เพื่อการ
นาไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มประชากรเป้าหมายเพ่ือการเผยแพร่ได้ ดังน้ัน ในการวิจัยน้ีจึงกาหนด
ขอบเขตของการวิจยั ดังนี้

1.6.1 พ้ืนที่ทดลอง (Experimental Area) ในการวิจัยและพัฒนาการวิจัยเรื่อง
โปรแกรมออนไลน์เพ่ือเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองของ
นกั เรยี นน้ี คอื โรงเรียนประภัสสรวทิ ยา วัดศรีนวล ซ่ึงเปน็ โรงเรียนพระปริยัตธิ รรม แผนกสามัญศกึ ษา
สงั กดั กองพุทธศาสนศกึ ษา สานักงานพระพุทธศาสนาแหง่ ชาติ มีครรู ะดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น 10 รปู /
คน ครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 15 รูป/คน รวม 25 รูป/คน และมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ตอนต้น 77 รูป นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 69 รูป รวม 146 รูป ระยะเวลาดาเนนิ การทดลองใน
ภาคสนาม คือ ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2564

1.6.2 พ้ืนที่ของประชากรเป้าหมายเพื่อการเผยแพร่นวัตกรรมจากการวิจัย (Target
Population for Dissemination of Research Innovation) ซึ่งเป็นเป้าหมายอ้างอิงในการนา
ผลการวิจัยไปเผยแพร่ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์หลังการวิจัยและพัฒนา คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรม
แผนกสามัญศึกษา สานักเขตการศกึ ษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศกึ ษา สังกัดกองพุทธศาสนศึกษา
สานักงานพระพทุ ธศาสนาแหง่ ชาติ ทกุ โรงท่วั ประเทศ

1.7 นยิ ามศัพทเ์ ฉพาะ

เพ่ือให้เกิดความเข้าใจถูกต้องและตรงกัน ผู้วจิ ัยได้กาหนดนิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย
ครัง้ น้ี ดงั น้ี

1.7.1 โปรแกรมออนไลน์ หมายถึง สื่อดิจิทัลท่ีเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม
(Social Tool) เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์
โดยนาเอาคู่มือประกอบโครงการพัฒนาความรู้ 2 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาความรู้ของครู
เก่ียวกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง 2) โครงการครูนาความรู้สู่การเสริมสร้างทักษะ
การเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองให้กับนักเรียน ลงเว็บไซต์เพ่ือให้ง่ายต่อการเข้าถึงคู่มือประกอบโครงการ

11

1.7.2 ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง (Self-Direction Learning Skills) หมายถึง
กระบวนการเรียนรู้ด้วยความต้องการของตนเอง เป็นอิสระเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ซึ่งผู้เรียนแต่ละคน
เป็นผู้วิเคราะห์ความต้องการ สร้างแผน เป้าหมายของตนเอง เป็นผู้เลือกทรัพยากร แหล่งเรียนรู้
ข้อมูลท่ีจะเรียนรู้ กาหนดวัตถุประสงค์ การประเมินผล วิธีการเรียนรู้ รูปแบบ ทัศนคติ ค่านิยม และ
ความสามารถ การสารวจ การค้นหาสิ่งใหม่ ๆ การตั้งคาถาม การโต้ตอบ การตอบสนองด้วยตนเอง
การไตร่ตรองในข้อมูลน้ัน ๆ ร่วมกับชุมชน การเรียนรู้อย่างต้ังใจและยอมรับในกฎเกณฑ์ การส่ือสาร
ระหว่างกัน การกระตุน้ ใฝ่เรียนรขู้ องตนเอง การเรียนรูโ้ ดยอาศัยประสบการณ์ของผ้เู รียนให้สอดคลอ้ ง
กบั ส่ิงท่ีเกิดข้ึนในชวี ิตประจาวนั และเวลาท่เี หมาะสม ซ่ึงผู้เรยี นมีบทบาทและมคี วามรับผิดชอบต่อการ
เรียนรู้ของตนเอง จะดาเนินการด้วยตนเอง หรือขอความร่วมมือจากผู้อ่ืนหรือไม่ก็ได้ ในงานวิจัยน้ีได้
กาหนดทกั ษะเพอ่ื การประเมนิ ผลจากการพฒั นา 7 ทักษะ แตล่ ะทกั ษะมีนยิ ามศพั ท์เฉพาะดังน้ี

1.7.3 การตระหนักรู้ (Awareness) หมายถึง การรับผิดชอบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
สามารถวางแผนและตั้งเป้าหมายการเรยี นร้ขู องตัวเองได้ สามารถระบุความตอ้ งการในการเรียนรู้ของ
ตนเอง สามารถเลือกวิธีการเรียนรู้ที่ดีท่ีสุดให้กับตัวเองได้ และสามารถรักษาแรงจูงใจเพ่ือการเรียนรู้
ของตนเองไวไ้ ด้

1.7.4 การควบคุมตนเอง (Self-control) หมายถึง การชอบท่ีจะตัดสินใจด้วยตัวเอง รู้
ขีดความสามารถของตัวเอง เช่ือในความสามารถของตัวเอง จัดการเวลาได้เป็นอย่างดี ลาดับ
ความสาคัญการทางาน และชอบต้งั เปา้ หมายและวางแผนการเรียนร้ขู องตัวเอง

1.7.5 การประเมินตนเอง (Self-Evaluation) หมายถึง การชอบที่จะประเมินสิ่งที่
ตนเองทา สามารถระบุจุดแข็งหรือจุดอ่อนของตัวเองได้ ได้แรงบันดาลใจจากความสาเร็จของผู้อื่น
ตรวจสอบตนเองเสมอไม่ว่าจะบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้หรือไม่ และพบว่าท้ังความสาเร็จและความ
ลม้ เหลวน้ันล้วนเป็นแรงบันดาลใจใหต้ นเองเรยี นรู้มากข้นึ

1.7.6 ความปรารถนาในการเรียนรู้ (Desire for Learning) หมายถงึ การอยากเรยี นรู้
ส่ิงใหม่ ๆ การสนุกกับการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ การเปิดรับความคิดใหม่ ๆ เสมอ การเรียนรู้จากความ
ผิดพลาด ชอบท่ีจะรวบรวมข้อเท็จจริงก่อนทาการตัดสินใจ และเม่ือประสบปัญหาท่ีไม่สามารถแก้ไข
ไดจ้ ะขอความช่วยเหลอื

1.7.7 กลยุทธ์การเรียนรู้ (Learning Strategies) หมายถึง การมีส่วนร่วมในการ
อภิปรายภายในกลุ่มเสมอ การเรียนรู้จากกรณีตัวอย่างน้ันมีประโยชน์ การท่ีมีเพื่อนเป็นโค้ชนั้นเป็น
อะไรที่มีประสิทธิภาพ การใช้แผนผังมโนทัศน์เปน็ วิธีการเรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพ การมีส่วนรว่ มในการ
เรยี นการสอนน้ันมีประสิทธิภาพมากกว่าการน่ังฟังบรรยาย และการนาเทคโนโลยีการศึกษาที่ทันสมัย
มาช่วยปรบั ปรงุ กระบวนการเรียนรขู้ องตนเองใหด้ ยี ิง่ ข้นึ

1.7.8 กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) หมายถึง การซักซ้อมและทบทวน
บทเรียนใหม่เสมอ การเปิดใจให้กับความเห็นของผู้อื่นเสมอ ชอบท่ีจะหยุดพักระหว่างการเรียนแต่ละ
ครั้ง ชอบใช้แผนผังมโนทัศน์ในการทาความเข้าใจข้อมูลท่ีหลากหลาย และใช้สื่อสังคมออนไลน์
เฟซบ๊กุ ทวิตเตอร์ หรือกระดานถาม-ตอบบนอินเทอรเ์ นต็ เป็นประจา

17.9 การติดตอ่ สอ่ื สารระหว่างบุคคล (Interpersonal Skills) หมายถึง การมีส่วนรว่ ม
ในการทางานกับผู้อื่น การสื่อสารด้วยวาจา การแสดงความคิดผ่านการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

12

การเรียนรู้กับบุคคลท่ีหลากหลาย และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืนซึ่งจะช่วยให้พัฒนาความเข้าใจและ
การเรยี นรู้ไดอ้ ยา่ งลึกซึ้ง

1.7.10 คู่มือประกอบโครงการ หมายถึง ชุดของข้อมูลที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังน้ี คือ
ช่ือของคู่มือ คาแนะนาการใช้คู่มือ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่คาดหวังจากคู่มือ เนื้อหาท่ีนาเสนอใน
รูปแบบเพ่ือการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) แบ่งเน้ือหาเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงมีกิจกรรมให้
ทบทวน เช่น การต้ังคาถามให้ตอบ การให้ระบุข้อสังเกต การให้ระบุคาแนะนาเพื่อการปรับปรุงแก้ไข
เปน็ ต้น สรุปแบบประเมินผลตนเองทา้ ยชดุ และรายชือ่ เอกสารอ้างอิง

1.7.11 คู่มือประกอบโครงการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของครูเก่ียวกับการพัฒนาทักษะ
การเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง ชุดของข้อมูลท่ีนาเสนอเน้ือหาเก่ียวกับนิยาม ความสาคัญ
ลักษณะหรือคุณลักษณะ แนวการพัฒนา และข้ันตอนการประเมินทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง
โดยมีช่ือของคู่มือ คาแนะนาการใช้คู่มือ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่คาดหวังจากคู่มือ เน้ือหาที่นาเสนอ
ในรูปแบบเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) แบ่งเนื้อหาเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงมีกิจกรรมให้
ทบทวน เช่น การตั้งคาถามให้ตอบ การให้ระบุข้อสังเกต การให้ระบุคาแนะนาเพื่อการปรบั ปรุงแก้ไข
มีแบบประเมนิ ผลตนเองท้ายชุด และรายช่อื เอกสารอา้ งอิง เป็นตน้

1.7.12 คู่มือประกอบโครงการครูนาผลการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้
แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง ชุดของข้อมูลที่เสนอเน้ือหาเก่ียวกับคาแนะนา และการกาหนดงานให้กับ
ครูในการนาความรู้เกี่ยวกับนิยาม ความสาคัญ ลักษณะหรือคุณลักษณะ แนวการพัฒนา และขั้นตอน
การประเมินทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง สู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองของ
นักเรียนในโรงเรยี นพระปริยตั ิธรรม แผนกสามัญศกึ ษา

1.7.13 เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard) หมายถึง เกณฑ์ที่ใช้วัด
ความมีประสิทธิภาพของคู่มือต่อการเสริมสร้างความรู้ในโครงการพัฒนาความรู้ให้กับครูท่ีเป็นกลุ่ม
ทดลอง โดย 90 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนท้ังกลุ่มท่ีได้จากการวัดด้วย
แบบทดสอบวัดความรอบรู้หลังจากเรียนจากบทเรียนท่ีสร้างขึ้นจบลง 90 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละ
ของจานวนผู้เรียนที่สามารถทาแบบทดสอบ (วัดความรอบรู้หลังการเรียนจากบทเรียนท่ีสร้างขึ้นจบ
ลง) โดยสามารถทาแบบทดสอบไดผ้ ่านตามเกณฑ์วัตถปุ ระสงค์ทุกวตั ถปุ ระสงค์

1.8 ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รบั

1.8.1 การวิจยั น้ีส่งเสริมตอ่ แนวคิดการเป็นแผนงานวิจัยและชุดโครงการวิจัย มหาวทิ ยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัย วทิ ยาเขตอีสาน มีนโยบายส่งเสริมการทาวทิ ยานิพนธ์ของนักศึกษาในหลักสูตร
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภายใต้ร่มหรือกรอบของแผนงาน
“การศึกษาศตวรรษที่ 21 (21St Century Education)” โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของการจัดทาแผน
งานวจิ ัยหรือชุดโครงการวจิ ัยมาใช้เป็นการภายในของหลักสตู ร โดยเช่ือว่า “การส่งเสรมิ ให้ทางานวิจัย
เป็นแผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัย จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาการหรือต่อการนาไป
ปฏิบัติท่ีดีกว่าการทางานวิจยั ในลักษณะเป็นโครงการเดี่ยว” ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชนด์ ังคากล่าวของ
โยธิน แสวงดี (ม.ป.ป.) อาจารย์ประจาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ท่ีว่าชุด
โครงการวิจัยเป็นการกลุ่มรวมของโครงการวิจัยย่อยท่ีค้นหาองค์ความรู้ในสิ่งท่ีเอื้อต่อกันและ กัน

13

สามารถนาไปใช้ในการผลักดันให้เกิดส่ิงที่ต้องการให้เกิดขึ้นได้ เป็นชุดความรู้รวมทั้งหมดท่ีเม่ือบูรณา
การกันแล้วจะสามารถได้ความรู้เป็นองค์รวม (Holistic) ท่ีนาไปใช้เป็นพื้นฐานในการคิดและประดิษฐ์
ตามเป้าหมาย เพราะหากทาโครงการเด่ียว โครงการเดียวอาจได้แต่ความรู้โดด ๆ นาไปพัฒนาหรือ
ประดิษฐ์ไม่ได้ เพราะขาดองค์ความรู้บางอย่างบางตอนที่ไม่ทราบเพราะไม่ได้ตรวจสอบหรือทาวิจัย
ดังนน้ั งานวิจัยนี้จึงให้ความสาคัญกบั ประเด็นหรือทักษะของการศึกษาศตวรรษท่ี 21 ท่ีมีนักศึกษาคน
อ่ืนๆในหลักสูตรได้ทากันในลักษณะ 1 นักศึกษาต่อ 1 ทักษะศตวรรษท่ี 21 หรือต่อ 1 ประเด็น
การศกึ ษาศตวรรษท่ี 21

1.8.2 การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ส่งเสริมต่อแนวคิดของแผนงานวิจัยหรือชุด
โครงการวิจัย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังทัศนะของ โยธิน แสวงดี (ม.ป.ป.) ท่ีกล่าวว่าการทาวิจัย
แบบแผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยส่วนมากจะเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and
Development) เพราะต้องมีการค้นหาชุดความรู้และการวัดสถานะการเบ้ืองต้น (Formative
Evaluation) ที่มีตัวช้ีวัดยืนยัน มีการพัฒนา การสร้าง การทดลองใช้ การวัดและการติดตาม การ
สังเกตการเปล่ียนแปลงในตัวชี้วัด และมีการประเมินผล (Summative Evaluation) ตามตัวช้ีวัด
นาไปสู่การเปลี่ยนแปลง (แตกต่าง เช่น ใช้ t-test เปรียบเทียบ) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเมื่อ
เปรยี บเทียบกอ่ นและหลังการปฏิบัติงาน

1.8.3 การวิจัยน้ีใช้ระเบียบวิธีวิจัยท่ีให้สาคัญต่อแนวคิดการพัฒนาและประยุกต์
(Development) ซ่ึงจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังทัศนะของสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(2563) ที่กล่าวถึงงานวิจัยพัฒนาและประยุกต์ว่า เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ และมี
วัตถุประสงค์เพื่อนาความรู้นั้นไปใช้อย่างใดอย่างหน่งึ หรือเป็นการนาเอาความร้แู ละวิธกี ารต่างๆ ทีไ่ ด้
จากการวิจัยข้ันพ้ืนฐานมาประยุกต์อีกต่อหน่ึง หรือหาวิธีใหม่ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ระบุไว้แน่ชัด
ล่วงหน้า เพื่อสร้างวัสดุ ผลิตภัณฑ์และเคร่ืองมือใหม่ เพ่ือติดต้ังกระบวนการ ระบบและบริการใหม่
หรือเพ่ือการปรับปรุงสิ่งต่างๆ เหล่านั้นให้ดีข้ึน และตอบสนองต่อแนวคิดการขยายผลงานวิจัย
(Implementation) ที่หมายถึงการนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ ให้สามารถประยุกต์
กบั งานหรอื ขยายผลได้อยา่ งเหมาะสม

1.8.4 การวิจัยนี้จะก่อประโยชน์กับการวิจัยในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ดังนี้ 1)
ในเชิงวิชาการ คือ ให้ความสาคัญกับประเด็นท่ีเป็นการศึกษาศตวรรษที่ 21 มุ่งพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาในระดับสถานศึกษา และใช้หลักการ “พัฒนาครู แล้วครูนาผลท่ีได้รับไปพัฒนาผู้เรียน” 2)
ในเชิงวิชาชีพ คานึงถึงมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาท่ีคุรุสภา
กาหนดตามมาตรฐานด้านความรู้และตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังมีรายละเอียดกล่าวไว้ในหัวข้อ
1.5 ของบทที่ 1 นี้

บทท่ี 2
เอกสาร และงานวจิ ัยทเ่ี กี่ยวขอ้ ง

การวิจัยเร่ืองโปรแกรมออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
แบบชี้นาตนเองของนักเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมออนไลน์ตามแนวคิด
“Knowledge + Action = Power” ทป่ี ระกอบดว้ ยโครงการและคู่มือประกอบโครงการ 2) ประเมิน
ความมีประสิทธิผลของโปรแกรมออนไลน์จากผลการวิจัยเชิงทดลองในภาคสนาม 2 ระยะ คือ การ
พฒั นาครู และครูพัฒนานักเรยี น และ 3) ถอดบทเรียนให้ทราบถึงข้อเสนอแนะเพ่ือการปรับปรุงแก้ไข
โปรแกรมออนไลน์ ดังนั้น เพ่ือให้มีความกระจ่างในแนวคิดและเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทั้ง
ระเบียบวิธวี ิจัยท่ีใช้และแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการเสรมิ สร้างทักษะการเรยี นรู้แบบชี้นาตนเองของ
นักเรียน รวมท้ังแนวคิดการนาหลักธรรมมาใช้เพ่ือความมีคุณภาพและความสาเร็จของการทาวิจัย
เพ่ือนาไปสร้างเป็นกรอบแนวคิดเพื่อการวิจัย รวมท้ังใช้ในการอ้างอิงและการอภิปรายผลในผลจาก
การวจิ ัยในภายหลงั ด้วย ผวู้ จิ ยั ขอนาเสนอผลการศกึ ษาวรรณกรรมทเี่ กย่ี วขอ้ งดงั น้ี

2.1 หลักธรรมเพือ่ ความมคี ณุ ภาพและความสาเรจ็ ในการทาวจิ ยั
2.2 การวิจยั และพฒั นา : ระเบียบวธิ วี ิจยั ที่ใชใ้ นการวิจัย
2.3 แนวคิดเชิงทฤษฎีเกยี่ วกับทกั ษะการเรยี นรู้แบบช้นี าตนเอง
2.4 บริบทของโรงเรียนปริยัตธิ รรม แผนกสามญั ศึกษา กลมุ่ เปา้ หมายในการวจิ ัย
2.5 โรงเรียนประภัสสรวทิ ยา วัดศรีนวล กลมุ่ ทดลองในการวจิ ัย
2.6 กรอบแนวคดิ เพอื่ การวิจยั

2.1 หลักธรรมเพอ่ื คุณภาพและความสาเร็จในการทาวิจัย

ตามท่ีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้กาหนดปรัชญาของมหาวิทยาลัยไว้ว่า
“ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา” (Academic Excellence based on
Buddhism) และเนื่องจากในงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยท่ีใช้การวิจัยและพัฒนา (Research and
Development: R&D) มีจุดมุ่งหมายเพ่ือพัฒนานวัตกรรม โดยนวัตกรรมที่พัฒนาข้ึนมีจุดมุ่งหมาย
เพื่ อ น า ไป ใช้ พั ฒ น า ค น สู่ ก า ร พั ฒ น า คุ ณ ภ า พ ข อ งง า น มี ก ร ะ บ ว น ก า ร ใน รู ป แ บ บ
R1D1..R2D2..R3D3..RiDi มีข้ันตอนสุดท้ายเป็นการวิจัยเชิงทดลองในภาคสนามจริง มีจุดมุ่งหมาย
หลักเพื่อทดสอบคุณภาพของนวัตกรรมในลักษณะ If X…Then Y และเพื่อการปรับปรุงแก้ไข
ข้อบกพร่องของนวัตกรรมนั้นด้วย ดังนั้น ในการดาเนินการวิจัยน้ี ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีหลักธรรมท่ีเป็น
ข้อคิดเตือนใจตลอดระยะเวลาในการดาเนินงานวจิ ัย โดยเชื่อว่าการนาหลักธรรมที่จะกล่าวถึงมาใช้จะ
ช่วยตอบสนองต่อปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยดังกล่าวข้างต้น และช่วยเสรมิ สร้าง
ให้การดาเนินงานวิจัยเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุผลสาเร็จ จึงขอนาหลักธรรมที่จะเป็นข้อคิด
เตือนใจเพือ่ การวจิ ยั มากลา่ วถงึ ดงั นี้

15

2.1.1 อทิ ธบิ าท 4
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2558) อิทธิบาท แปลว่า คุณเคร่ืองให้ถึงความสาเร็จ
คุณธรรมที่นาไปสู่ความสาเรจ็ แห่งผลที่มุ่งหมาย 1) ฉนั ทะ ความพอใจ คือความต้องการท่ีจะทา ใฝ่ใจ
รักจะทาสิ่งนั้นเสมอ และปรารถนาจะทาให้ได้ผลดีย่ิง ๆ ขึ้นไป 2) จิตตะ ความเพียร คือขยันหม่ัน
ประกอบสิ่งน้ันด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธรุ ะ ไม่ท้อถอย 3) จิตตะ ความคิดมุ่งไป คือต้ัง
จิตรับรู้ในสิ่งที่ทาและทาสิ่งน้ันด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเล่ือนลอยไป อุทิศตัว
อุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทา 4) วิมังสา ความไตรต่ รองหรือทดลอง คือหม่ันใช้ปญั ญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจ
ตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อย่ิงหย่อนในส่ิงที่ทาน้ันมีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง
เป็นต้น
จากหลักธรรมอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นแนวทางในการทางานให้ประสบผลสาเร็จ ปฏิบัติงานได้
ผลสาเร็จตามความประสงค์ ผู้วิจัยได้นาหลักธรรมมาเป็นแนวทางในการทางานวิจัยในคร้ังน้ี ซึ่งเริ่ม
ต้ังแต่ความมีใจรกั ในงานวิจยั ที่จะทา มคี วามมุ่งมั่น ไม่ท้อถอย ต่อปัญหาและอุปสรรคท่ีเกิดขึ้นในขณะ
ดาเนินการวิจัย มีความเอาใจใส่ต่องานวิจัยท่ีตนเองรบั ผิดชอบ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง เพ่ือให้งานวิจัยมี
ความสมบูรณ์ ครบถ้วนตามมาตรฐานทกี่ าหนดไว้ และผู้วจิ ัยยังได้หม่ันตรวจสอบ ประเมินผล หาขอ้ ท่ี
เป็นจุดเดน่ จดุ ทีต่ อ้ งแกไ้ ข เพอ่ื ให้ม่ันใจวา่ ผลงานวิจัยนั้นมคี ณุ ภาพ
2.1.2 สังคหวัตถุ 4
พุทธทาสภิกขุ (2525) สังคหวัตถุ คือ หลักสงเคราะห์ หรือการช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน ซ่ึง
ประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ดังนี้ 1) ทาน หมายถึง การแบ่งปัน
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซ่ึงกันและกัน 2) ปิยวาจา หมายถึง การพูดจาน่ารักนิยมนับถือ ประกอบด้วยความ
จริงใจและต้องเกิดประโยชน์แก่ผู้เจรจา 3) อัตถจริยา หมายถึง การบาเพ็ญประโยชน์ การประพฤติ
ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น 4) สมานัตตตา หมายถึง การวางตนเสมอ การรู้จักปรับตัวให้
เข้ากบั ผู้อนื่ รว่ มสุข ร่วมทุกขก์ นั ได้ เสมอตน้ เสมอปลาย
จากหลกั ธรรมสงั คหวตั ถุ 4 ซ่ึงเปน็ หัวข้อธรรมท่ีสนับสนุนใหเ้ กดิ ความสมั พนั ธ์ทดี่ ี เกิดความ
สามัคคี และช่วยให้สามารถทางานเป็นได้เป็นอย่างดี มีความเหนยี วแน่นและมีประสทิ ธิภาพ ผู้วิจยั ได้
ใช้มาเป็นแนวทางในการดาเนินการวิจัย เพ่ือใช้ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ท่ีดี ความผูกพัน ความ
ไว้เน้ือเชื่อใจระหว่างผู้วิจัยเองกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน เร่ิมต้ังแต่ผู้วิจัยเปิดใจรับฟัง
ขอ้ เสนอแนะจากทุกฝ่าย และช่วยเหลอื เออ้ื เฟอ้ื เผ่อื แผแ่ ต่เพอื่ นรว่ มงาน รวมถึงการแบง่ ปนั ทรพั ยากร
ต่าง ๆ ท่ีใช้ร่วมกัน ให้โอกาสในการทางานเพื่อเรียนรู้และพัฒนาองค์กรร่วมกัน มีการใช้คาพูดที่
เหมาะสม อาทิ คาสุภาพ คาพูดที่นุ่มนวล จริงใจ ให้เกียรติ ร่วมถึงการชื่นชมยกย่องในขณะร่วม
ดาเนินการวิจัย การช่วยเหลือเก้ือกูลซ่ึงกันและกันในขณะทางาน เช่น แนะนาในส่วนท่ียังไม่สมบูรณ์
ขอความช่วยเหลือจากผู้เช่ียวชาญที่สามารถช่วยเหลือในขณะดาเนินการวิจัย รวมถึงการคอยให้
กาลังใจแก่เพ่ือนสหธรรมิกในขณะทางาน การวางตวั ให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าท่ีในฐานะผู้วจิ ัย โดย
คานงึ ถึงวฒั นธรรมในองค์กร หลกั การทีถ่ ูกตอ้ ง ไม่มีอคติ
2.1.3 อริยสัจ 4
อริยสจั 4 ราชบัณฑิตยสถาน (2548) กล่าวถงึ อริยสัจ 4 ประกอบด้วย 1) ทุกข์ คือ สภาพ
ที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพท่ีบีบค้ัน ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การ

16

เก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสญู ส้ิน) การประสบกบั สิง่ อันไม่เป็นท่ีรัก การพลดั พรากจากส่ิง
อันเปน็ ที่รกั การปรารถนา สิง่ ใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนนั้ กล่าวโดยยอ่ ทกุ ข์ก็คืออุปาทานขนั ธ์ หรอื ขันธ์
5 2) สมุทัย คือ สาเหตุท่ีทาให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม
ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความ
อยากท่ีประกอบด้วยภวทิฏฐิหรอื สสั สตทฏิ ฐิ และวิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ
ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นน่ี ความอยากท่ีประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ 3) นิโรธ คือ ความ
ดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุท่ีทาให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง 4) มรรค คือ แนว
ปฏิบัติท่ีนาไปสู่หรือนาไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความ
เห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดาริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทาการงาน
ชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ
8. สมั มาสมาธิ-ตงั้ ใจชอบ ซง่ึ รวมเรยี กอกี ชอ่ื หน่ึงไดว้ ่า “มัชฌมิ าปฏิปทา” หรือทางสายกลาง

ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจยั ได้ใชห้ ลักธรรม อริยสัจ 4 ดงั กล่าวขา้ งตน้ มาเป็นแนวทางในการทางาน
วิจัย ซ่ึงในระหว่างการดาเนินการวิจัย ผู้วิจัยอาจจะประสบกับความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เพราะ
แต่ละขั้นตอนในการทางานวิจยั และพัฒนาอาจจะมีปัญหาและอุปสรรค เป็นเหตุนามาซ่ึงทุกข์ จาเป็น
อย่างยิ่งท่ีผู้วิจัยเองจะต้องหาสาเหตขุ องความทุกข์นั้น คือสมุทัย และทาให้ปัญหาและอุปสรรคน้ันยุติ
ลง นั่นคือนิโรธ ขณะเดียวกันผู้วิจัยเองก็หาแนวทางในการแก้ปัญหาและวิธีการต่าง ๆ อย่างละเอียด
เพอื่ ใหง้ านวจิ ยั นนั้ บรรลตุ ามวตั ถุประสงค์ คอื มรรค

2.1.4 กัลยาณมติ รธรรม 7
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (2546) กัลยาณมิตร หมายถึง บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วย
คุณสมบัติที่จะส่ังสอน แนะนา ช้ีแจง ชักจูง ช่วยบอกช่องทาง หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นดาเนินไปใน
มรรคาแห่งการฝึกฝนอบรมอย่างถูกต้อง ในกระบวนการพัฒนาปัญญา ความมีกัลยาณมิตรน้ี จัดเป็น
ระดับความเจริญปัญญาในขั้นศรัทธา ส่วนในระบบการศึกษาอบรม ความมีกัลยาณมิตรควรมี
ความหมายครอบคลุมทั้งตัวบุคคลผู้อบรมส่ังสอน เช่น พ่อแม่ ครู อาจารย์ เป็นต้น ทั้งคุณสมบัติของ
ผูส้ อน ท้ังหลักการ วิธีการ อุปกรณ์ อบุ ายต่าง ๆ ในการสอน และการจัดดาเนินการต่าง ๆ ทุกอย่างที่
ผู้มีหน้าที่ให้การศึกษาจะพึงจัดทาเพื่อให้การศึกษาอบรมได้ผลดี ตลอดจนหนังสือ ส่ือมวลชน บุคคล
ตวั อยา่ ง เช่น มหาบุรษุ หรือผู้ประสบความสาเรจ็ โดยธรรม และสิ่งแวดลอ้ มทางสังคมท้ังหลายที่ดีงาม
เปน็ ประโยชน์ เทา่ ท่ีจะเป็นองค์ประกอบภายนอกในกระบวนการพัฒนาปัญญานัน้ ได้ส่วนกัลยาณมติ ร
ในแง่ทาหน้าที่ต่อผู้อื่น สมควรมีคุณลักษณะพิเศษจาเพาะสาหรับการทาหน้าที่นั้นอีกส่วนหน่ึง
โดยเฉพาะคุณสมบัติพ้ืนฐาน ที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม 7 ประการ ดังนี้ 1) ปิโย น่ารัก คือ เข้าถึง
จิตใจ สร้างความรู้สึกสนิทสนม เป็นกันเอง ชวนให้ผู้เรียนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม 2) ครุ น่า
เคารพ คือ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทาให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้และปลอดภัย
3) ภาวนีโย น่าเจริญใจ คือ มีความรู้จริง ทรงภูมิปัญญาแท้จริง และเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตนเองอยู่
เสมอ เป็นที่น่ายกย่อง ควรเอาอย่าง ทาให้ศิษย์เอ่ยอ้าง และราลึกถึง ด้วยความซาบซึ้ง มั่นใจ และ
ภาคภูมิใจ 4) วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล คือ พูดเป็น รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร
คอยให้คาแนะนา ว่ากล่าว ตักเตือน เป็นท่ีปรึกษาที่ดี 5) วจนักขโม ทนต่อถ้อยคา คือ พร้อมท่ีจะรับ
ฟังคาปรกึ ษาซักถามแม้จุกจิก ตลอดจนคาล่วงเกิน และคาตักเตือนวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ อดทนฟังได้

17

ไม่เบ่ือหน่าย ไม่เสียอารมณ์ 6) คัมภีรญั จะ กะถัง กัตตา แถลงเรื่องล้าลึกได้ คือกล่าวชี้แจงเรื่องต่าง ๆ
ที่ลึกซ้ึงซับซ้อนให้เข้าใจได้ และสอนศิษย์ให้ได้เรียนรู้เร่ืองราวที่ลึกซ้ึงยิ่งข้ึนไป 7) โน จัฏฐาเน นิโยชะ
เย ไม่ชักนาในอฐาน คอื ไมช่ กั นาไปในทางท่ีเสื่อมเสยี หรอื เร่อื งเหลวไหลไม่สมควร

จากหลักธรรมกัลยาณมิตรธรรม 7 ซ่ึงเป็นหัวข้อธรรมท่ีเป็นคุณลักษณะของมิตรที่ดี หรือ
มิตรแท้ เมอื่ ได้คบหา สนทนาแล้วจะเป็นเหตใุ หเ้ กิดความดีงามและความเจริญ ผวู้ จิ ยั ได้พิจารณาเพือ่ น
สหธรรมิกที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนประภัสสรวิทยา วัดศรีนวล ซ่ึงมีความสนิทสนม รักใคร่ มี
ความเคารพ นับถือทั้งในฐานะครูอาจารย์ ลูกศิษย์ อีกทั้งเป็นผู้ที่ทรงภูมิความรู้ท้ังทางโลกและทาง
ธรรม เป็นผู้ท่ีสามารถให้คาแนะนา ข้อคิด และเป็นที่ปรึกษาที่ดี พร้อมที่จะรับฟังปัญหาท้ังในส่วนที่
เก่ยี วกบั เนื้อหางานวิจัยและการดาเนนิ การวิจยั

2.1.5 พรหมวหิ าร 4
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2558) พรหมวิหาร เป็นธรรมสาหรบั ผู้ประเสรฐิ ที่ต้อง
มีไว้เป็นหลักธรรมประจาใจ และกากับความประพฤติ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้
1) เมตตา หมายถงึ ปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข มจี ิตอันแผ่ไมตรแี ละคิดทาประโยชน์แก่มนุษย์
สัตว์ท่ัวหน้า 2) กรุณา หมายถงึ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝใ่ จในอันจะปลดเปลื้องบาบดั ความ
ทกุ ขย์ ากเดือดร้อนของปวงสตั ว์3) มุทติ า หมายถึง ความยนิ ดี ในเม่ือผู้อน่ื อย่ดู ีมสี ุข มีจติ ผ่องใสบันเทิง
กอรปด้วยอาการแช่มช่ืนเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดารงในปกติสุข พลอยยินดีเม่ือเขาได้ดีมี
สุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป 4) อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดารงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณา
เห็นด้วยปัญญา คือ มีจิตเรียบตรง เท่ียงธรรมดุจตราชูไม่เอนเอียงด้วยรักและชงั พิจารณาเห็นกรรมท่ี
สัตว์ท้ังหลายกระทาแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่ เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัย
และปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเม่ือไม่มีกิจท่ีควรทา เพราะเขารับผิดชอบ
ตนได้ดแี ลว้ เขาสมควรรับผดิ ชอบตนเอง หรอื เขาควรไดร้ บั ผลอนั สมกบั ความรบั ผิดชอบของตน
ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 มาเป็นแนวทางในการทางานวิจัย ได้ให้
คาแนะนา ช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริมอย่างจริงใจต่อเพ่ือนสหธรรมิกรวมไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ผวู้ จิ ัยยงั ได้รับความรัก ความปรารถนาดี จากผู้บรหิ ารโรงเรยี น บุคลากรภายในโรงเรยี น ซึ่ง
เป็นผลให้ผู้วิจัยมีกาลังใจ ทุ่มเทการทางานวิจัยอย่างเต็มความสามารถ ส่งผลต่อกาลังใจในการทางาน
วิจัย วางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงตามความรัก ความเกลียด ความกลัว ความหลง ยึดมั่นในหลักท่ี
ถกู ต้อง ซ่ึงในการทางานวจิ ยั ผู้วจิ ัยจะต้องลงพื้นทเี่ พ่ือเก็บรวบรวมข้อมลู
โดยสรุป ในการดาเนินงานวจิ ยั นี้ ผวู้ จิ ยั ไดน้ าเอา 5 หลกั ธรรมดังกล่าวขา้ งต้น มาใช้เปน็
ขอ้ คิดเตือนใจ ตลอดระยะเวลาในการดาเนินงานวิจัย เพอ่ื ใหก้ ารดาเนนิ งานวิจยั เปน็ ไปตาม
วัตถปุ ระสงค์และประสบผลสาเรจ็ ดังแสดงภาพประกอบท่ี 2.1

18

ภาพท่ี 2.1 หลกั ธรรมเพ่ือความมคี ุณภาพและความสาเร็จในการทาวิจัย

2.2 การวจิ ัยและพฒั นา : ระเบยี บวธิ วี ิจัยที่ใชใ้ นการวิจยั

ในการวิจัยน้ี ผู้วิจัยใช้แนวคิด แนวปฏิบัติ และกรณีศึกษาเพื่อการวิจัยและพัฒนา
(Research and Development : R&D) ตามทัศนะของวิโรจน์ สารรัตนะ (2561) โดยเนื้อท่ีจะ
นาเสนอต่อไปข้างลา่ งนี้ ไดร้ บั อนญุ าตจากผเู้ ขยี นแลว้ ดงั น้ี

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา
ผลผลิต (Product) ในทางธุรกิจอาจเรียกว่า “ผลิตภัณฑ์” ที่เป็นตัวสินค้า ในทางการศึกษาอาจ
เรียกว่า “นวัตกรรม” ท่ีอาจเป็นวัตถุ (Material) หลักการ (Principle) แนวคิด (Concept) หรือ
ทฤษฎี (Theory) ที่สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ เทคนคิ กระบวนการ หรือวธิ ีการเพ่ือการปฏบิ ตั ิ

นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยกระบวนการวิจยั และพัฒนามีจุดมุ่งหมายเพื่อนาไปใช้พัฒนาคนสู่
การพัฒนาคุณภาพของงาน ที่มีปรากฏการณ์หรือข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่ามีความจาเป็น
(Need) เกดิ ขน้ึ ซงึ่ อาจเปน็ ผลสืบเนื่องจากการกาหนดความคาดหวังใหม่ท่ที ้าทายของหน่วยงาน หรือ
เกิดการเปล่ียนแปลงในกระบวนทัศน์การทางานจากเก่าสู่ใหม่ที่บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจและ
ทักษะในกระบวนทัศน์ใหม่ หรือเกิดจากการปฏิบัติงานที่ไม่บรรลุผลสาเร็จตามท่ีคาดหวังมาอย่าง
ยาวนาน จึงตอ้ งการนวตั กรรมใหมม่ าใช้ หรืออาจเปน็ ผลสืบเน่อื งจากปัจจยั อนื่ ๆ แล้วแต่กรณี

การวิจัยและพัฒนา มีกระบวนการในรูปแบบ R1D1..R2D2..R3D3..RiDi มีขั้นตอนสุดท้าย
เป็นการวิจัยก่อนทดลอง (Pre-Experiment) หรือก่ึงทดลอง (Quasi-Experiment) ในภาคสนามจริง มี
จุดมุ่งหมายหลักเพื่อทดสอบคุณภาพของนวัตกรรมในลักษณะ If X…Then Y และเพื่อการปรับปรุงแก้ไข
ขอ้ บกพร่องของนวัตกรรมนั้นด้วย จากน้ันจึงนาไปเผยแพร่ในวงกวา้ งต่อไป โดยนวัตกรรมน้ันผู้เขียนเห็น
ว่าอาจเป็นการนามาจากที่อ่ืน (Adopt) หรือมีการปรับมาจากท่ีอื่น (Adapt) หรือมีการริเร่ิมสร้างสรรค์
ข้นึ ใหม่ (Create)

19

แนวคดิ และข้นั ตอนการวจิ ยั และพฒั นา
ดังกล่าวข้างต้นว่าการวิจัยและพัฒนามีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรม มีจุดมุ่งหมายเพ่ือ
นาไปใช้พัฒนาคนสู่การพัฒนาคุณภาพของงาน ท่ีมีปรากฏการณ์หรือข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็น
ว่ามีความจาเป็น (Need) เกิดข้ึน ซึ่งอาจเป็นผลสืบเนื่องจากการกาหนดความคาดหวังใหม่ที่ท้าทาย
ของหน่วยงาน หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การทางานจากเก่าสู่ใหม่ หรือเกิดจากการ
ปฏิบัติงานที่ไม่บรรลุผลสาเร็จตามท่ีคาดหวังมาอย่างยืดเยื้อยาวนาน จึงต้องการนวัตกรรมใหม่มาใช้
หรืออาจเป็นผลสืบเน่ืองจากปัจจยั อน่ื ๆ แลว้ แต่กรณี
ในปัจจุบันมีหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการบริหารการศึกษา
เกิดข้ึนมากมาย ท่ีคาดหวังว่า หากบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ (Knowledge) แล้วกระตุ้นให้พวก
เขานาความรู้เหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติ (Action) ก็จะก่อให้เกิดพลัง (Power) ให้การปฏิบัติงานในหน้าที่
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” หรือ
ตามคากล่าวท่ีว่า “Make Them Know What To Do, Then Encourage Them Do What They
Know” หรือ “Link To On-The-Job Application” และด้วยแนวคิดที่ว่าการศึกษาวรรณกรรมที่
เก่ียวข้องในบทท่ี 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นท่ีสาคัญของการวิจัยและพัฒนาเพราะจะทาให้ได้ “โปรแกรม
พัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง” ท่ปี ระกอบด้วยโครงการอยา่ งน้อย 2 โครงการ คือ โครงการ
พัฒนาความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง และโครงการนาความรู้สู่การปฏิบัติดังนั้น
วิธีดาเนินการวิจัยในบทที่ 3 จึงจะเร่ิมต้นด้วยการนาเอา “โปรแกรมพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบช้นี า
ตนเองที่ถือเป็นกรอบแนวคิดเพ่ือการวิจัย” น้ัน เป็นตัวตั้งต้น ตามด้วยข้ันตอนการวิจัยอ่ืน ๆ ดัง
ภาพประกอบขา้ งลา่ ง

โปรแกรมพฒั นา...... ที่ถอื เป็นกรอบแนวคดิ เพ่อื การวจิ ยั ที่พัฒนาได้จากบทท่ี 2

ขั้นตอนที่ การตรวจสอบ “โปรแกรมพัฒนา.... ท่ีถือเป็นกรอบแนวคิดเพ่ือการวิจัย” ที่พัฒนาได้จากบทที่ 2 และ
1 การปรับปรุงแกไ้ ขตามขอ้ เสนอแนะ

ข้นั ตอนที่  การจัดทาคู่มือประกอบโปรแกรมใน 2 โครงการ คอื
2  คูม่ อื ประกอบโครงการพัฒนาความร้ใู ห้กับกลุ่มเปา้ หมายในการทดลอง
คู่มอื ประกอบโครงการนาความร้สู ูก่ ารปฏิบตั ิ
ขั้นตอนที่ 
3 การตรวจสอบคุณภาพคู่มือประกอบโปรแกรมและการปรับปรุงแก้ไข
 การตรวจสอบภาคสนามเบ้อื งต้นและการปรบั ปรงุ แก้ไข
การตรวจสอบภาคสนามครัง้ สาคัญและการปรบั ปรงุ แกไ้ ข
ข้ันตอนที่ 
4  การสรา้ งเครือ่ งมอื เพอื่ การทดลองโปรแกรมในภาคสนามใน 2 โครงการคือ
เคร่อื งมือประกอบโครงการพัฒนาความรู้ให้กบั กลมุ่ เป้าหมายในการทดลอง
ขนั้ ตอนท่ี  เครอื่ งมือประกอบโครงการนาความรู้สกู่ ารปฏบิ ตั ิ
5
การทดลองโปรแกรมในภาคสนาม
ขนั้ ตอนที่ โครงการพัฒนาความร้ใู ห้กบั กล่มุ เปา้ หมายในการทดลอง
6 โครงการนาความรสู้ ่กู ารปฏบิ ตั ิ

สรปุ ผลการทดลอง และปรับปรุงแกไ้ ขโปรแกรมในโครงการทั้งสอง
การเขยี นรายงานวจิ ัย
การเผยแพร่ผลการวจิ ยั

ภาพท่ี 2.2 แนวคิดและขั้นตอนการวจิ ยั และพัฒนาตามทัศนะของวโิ รจน์ สารรตั นะ

20

คาอธิบาย
ข้ันตอนท่ี 1 การตรวจสอบกรอบแนวคิดเพ่ือการวิจัยและการปรับปรุงแก้ไข อาจใช้
เกณฑ์เพ่ือประกอบการพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ความสอดคล้อง
(Congruency) ความถูกต้อง (Accuracy) ความเป็นประโยชน์ (Utility) เป็นต้น ประกอบด้วย 2
กิจกรรมหลัก คอื
1. การตรวจสอบ “โปรแกรมพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง ที่ถือเป็นกรอบ
แนวคิดเพ่ือการวิจัย” ที่พัฒนาได้จากบทท่ี 2 อาจดาเนินการโดยวิธีการใดวิธีการหน่ึง หรือหลายวิธี
ผสมกันตามศกั ยภาพทจี่ ะทาได้ เช่น 1) การสัมภาษณเ์ ชงิ ลกึ (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ ท้ัง
ทางวิชาการและทางการปฏิบัติ เป็นใครและจานวนเท่าไรขึ้นกับเกณฑ์ที่จะกาหนด 2) การอภิปราย
กลุ่มเป้าหมาย (Focus Group Discussion) เป็นกลุ่มเป้าหมายท่ีมีจุดมุ่งหมายจะนาโปรแกรมไป
เผยแพร่และใช้ประโยชน์ 3) การวิจัยเชิงสารวจ (Survey Study) เพ่ือสอบถามความเห็นจากกลุ่ม
ตวั อย่างของประชากรที่เปน็ กลุม่ เปา้ หมายท่จี ะนาโปรแกรมไปเผยแพร่และใชป้ ระโยชน์
2. การปรบั ปรุงแกไ้ ขโปรแกรมตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ
ขนั้ ตอนที่ 2 การจัดทาค่มู อื ประกอบโปรแกรม ในโครงการอย่างนอ้ ย 2 โครงการ คือ
1. คู่มือประกอบโครงการพัฒนาความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในการทดลองเป็นความรู้
เก่ียวกับ “นวัตกรรม” ที่จะพัฒนาขึ้น และความรู้เก่ียวกับ “งาน” ท่ีจะให้ปฏิบัติ จึงเป็นโครงการที่มี
กิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกอบรม การสัมมนา การศึกษาดูงานต้นแบบ การศึกษาด้วยตนเอง การศึกษา
เปน็ กลุม่ หรืออนื่ ๆ
2. คู่มือประกอบโครงการนาความรู้สกู่ ารปฏิบัตขิ องกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง เป็นคู่มือ
ที่แสดงให้เห็นถึงการวางแผนเพ่ือการปฏิบัติไว้ล่วงหน้า มีการกาหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีกิจกรรม
ดาเนินงาน มีการกาหนดระยะเวลาและขอบเขตของเวลา มีการบริหารจัดการ มีการติดตามและ
ประเมนิ ผลทห่ี ลากหลายมิติ
ข้ันตอนน้ีถือเป็นภาระงานท่ีหนกั สาหรับผู้วิจัยต้องใชเ้ วลาและความพยายามสูง อย่างน้อย
ก็ประมาณ 1 ภาคเรียน แต่ก็ข้ึนกับผลการทางานในระยะที่ผ่านมาของผู้วิจัยด้วย หากในบทท่ี 2
ผู้วิจัยได้ศึกษาวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องไว้ได้ดีก็จะทาให้มี “สารสนเทศ/ความรู้” ที่จะนามาจัดทาเป็น
คู่มือประกอบโปรแกรมที่เพียงพอ ท้ังในส่วนท่ีเกี่ยวกับ “นวัตกรรม” และเกี่ยวกับ “งาน” และขอให้
ข้อสังเกตด้วยว่า “คู่มือประกอบโปรแกรม” น้ี อาจเป็นคู่มือท่ีเป็นเอกสารตามท่ีนิยมใช้กันโดยทั่วไป
หรืออาจเป็นคู่มือเพ่ือ e-Learning เช่น แผ่นซีดีเพ่ือศึกษาจากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น หรืออาจผสมกัน
หลากหลายลักษณะ
สาหรับรูปแบบการเขียนโครงการ อาจเป็นรูปแบบเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework)
หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า Log Frame หรืออาจเป็นรูปแบบปกติ (Traditional) ที่ใช้กันโดยทั่วไป ใน
หน่วยงานราชการ มหี ัวข้อเกี่ยวกับหลกั การและเหตุผล วตั ถปุ ระสงคข์ องโครงการ เป้าหมาย กจิ กรรม
กล่มุ เป้าหมาย ระยะเวลา ทรัพยากร และอ่นื ๆ
ข้ันตอนท่ี 3 การตรวจสอบโปรแกรมและการปรับปรุงแก้ไข 2 ระยะ ประกอบด้วย 2
กิจกรรมหลัก ซ่ึงไม่ตายตัว ผู้วิจัยอาจปรับเปล่ียนตามความเหมาะสม โดยยึดจุดมุ่งหมายเพ่ือการ
ตรวจสอบและการปรบั ปรงุ แก้ไข

21

1. การตรวจสอบภาคสนามเบื้องต้นและการปรับปรุงแก้ไข (Preliminary Field
Checking and Revision) กับกลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้เสียและอ่ืน ๆ แล้วแต่ความเหมาะสมกับ
งานวิจัย จานวนหน่ึงประมาณ 5-10-15 ราย อาจด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)
การอภิปรายกลุ่มเป้าหมาย (Focus Group Discussion) หรืออ่ืน ๆ แล้วแต่ความเหมาะสมมี
จดุ มุ่งหมายเพื่อตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมที่อาจใช้เกณฑ์ความสอดคล้อง (Congruency) ความ
ถูกต้อง (Accuracy) ความเป็นประโยชน์ (Utility) เป็นตน้

2. การตรวจสอบภาคสนามคร้ังสาคัญและการปรับปรุงแก้ไข (Main Field Checking
and Revision) กับกลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้เสีย และอื่น ๆ แล้วแต่ความเหมาะสมกับงานวิจัย
จานวนหนึ่งท่ีไม่ซ้ากับข้อ 1 ประมาณ 10-15-20 ราย อาจด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth
Interview) การอภิปรายกลุ่มเป้าหมาย (Focus Group Discussion) หรืออื่น ๆ แล้วแต่ความ
เหมาะสม มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรม ที่อาจใช้เกณฑ์พิจารณาเช่นเดียวกับข้อ
1 คือ ความสอดคลอ้ ง (Congruency) ความถกู ต้อง (Accuracy) และความเปน็ ประโยชน์ (Utility)

ข้ันตอนท่ี 4 การสร้างเคร่ืองมือเพื่อการทดลองโปรแกรมในภาคสนาม ควรมีแบบ
ประเมิน 6 ประเภท คอื

1. แบบประเมินปฏิกิริยา (Reaction) ของกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง ในช่วงหลังสิ้นสุด
การดาเนินงานของโครงการหน่ึง ๆ เพ่ือดูประสิทธผิ ลของโครงการและหาขอ้ บกพร่องในการปรับปรุง
แก้ไข โดยอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การระดมสมอง การถอดบทเรียน หรืออ่ืน ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูล
สะทอ้ นกลับ (Reflection) ตามความเหมาะสม

2. แบบประเมินความรู้ (Knowledge) หลังการดาเนินงานโครงการพัฒนาความรู้ของ
กลุ่มเป้าหมายในการทดลองเพ่ือให้ทราบว่ามีมากเพียงพอที่จะนาไปสู่การปฏิบัติได้หรือไม่หลั งจากมี
การดาเนินงานตามโครงการน้ีแล้ว อาจใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เป็นตัวช้ีวัดว่าผ่านหรือไม่ผ่านโดย
80 แรกหมายถึงบุคคลน้ัน ๆ ทาแบบประเมนิ ความรผู้ ่าน 80% สว่ น 80 หลงั หมายถึงทั้งกลุ่มทาแบบ
ประเมนิ ความร้ผู า่ น 80%

3. แบบประเมินการนาความรู้สู่การปฏิบัติ (From Knowledge to Action) ของ
กลุ่มเป้าหมาย ในการทดลอง ประเมินหลังจากดาเนินงานตามโครงการนาความรู้สู่การปฏิบัติไปแล้ว
ระยะหน่งึ โดยอาจมกี ารประเมนิ เป็นระยะ ๆ หรอื เม่ือส้ินสุดโครงการในตอนทา้ ยของการวจิ ัย

4. แบบประเมินการเปลี่ยนแปลง (Change) อาจใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบ
สังเกต แบบบันทึกข้อมูล ภาพถ่าย หรอื อืน่ ๆ ท่ีแสดงให้เห็นถึงการเปลยี่ นแปลงในมิติตา่ ง ๆ เช่น การ
เปล่ียนแปลงในงานท่ีปฏิบัติ การเปล่ียนแปลงในบรรยากาศองค์การ การเปล่ียนแปลงในเทคนิคหรือ
วิธีการทางาน และอนื่ ๆ

5. แบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เกิดข้ึนกับนักเรียน (Student Learning Outcome) ใน
กรณีท่ีโปรแกรมนั้นส่งผลถึงนักเรียนด้วย อาจเป็นแบบประเมินความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ
หรืออื่น ๆ รวมทั้งความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อปรากฏการณ์ท่ีเกิดข้ึนจากการวิจัย แล้วแต่กรณี
แตห่ ากโปรแกรมนัน้ ไม่ส่งผลถึงนักเรยี น กไ็ มต่ ้องมแี บบการประเมนิ น้ี

22

6. แบบประเมินข้อบกพร่องของนวัตกรรมท่ีพัฒนาข้ึน เพื่อนาผลจากการประเมนิ ไปใช้ใน
การปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมในช่วงท้ายของการวิจัย อาจใช้เคร่ืองมือท่ีหลากหลาย เช่น แบบ
สัมภาษณ์ แบบสงั เกต แบบบันทึก แบบอภิปรายกล่มุ เป็นตน้

เหตุผลที่สร้างเคร่ืองมือในขั้นตอนน้ี ก็เพ่ือให้ได้เครื่องมือการประเมินที่มีความตรงเชิง
เน้ือหากับโปรแกรมที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันแล้วจากข้ันตอนที่ 3 โดยเคร่ืองมือที่สร้างข้ึนจะต้องมี
กระบวนการพัฒนาคุณภาพเช่นเดยี วกับการวิจัยประเภทอ่ืนด้วยเช่นกัน เช่น การตรวจสอบความตรง
เชิงเน้ือหา โดยการสอบถามความเห็นจากผู้เช่ียวชาญหรือผู้มีส่วนเก่ียวข้อง แล้ววิเคราะห์หาค่า IOC
รวมท้งั การนาไปทดลองใช้เครอ่ื งมือ (Try Out) เพอ่ื หาค่าความเชื่อมัน่ (Reliability) เป็นต้น

ขนั้ ตอนท่ี 5 การทดลองโปรแกรมในภาคสนาม (Trial) มี 2 กจิ กรรมหลกั คอื
1. ดาเนินการทดลองใช้โปรแกรมกับกลุ่มเป้าหมายการทดลองในภาคสนาม เป็นการ
วิจัยก่อนทดลอง (Pre-Experiment) หรือก่ึงทดลอง (Quasi-Experiment) รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
เช่น แบบกลุ่มควบคุมไม่ได้ สุ่มแต่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Nonrandomized
Control-Group Pretest-Posttest Design) แบบวิจัยอนุกรมเวลา (Time Series Design) แบบ
อนุกรมเวลามีกลุ่มควบคุม (Control-Group Time Series Design) เป็นต้น แล้วแต่ความเหมาะสม
ผู้วิจัยก็ควรศึกษาระเบียบวิธีวิจัยของรูปแบบท่ีเลือกนามาใช้ และมีการดาเนินงานตามระเบียบวิธีวิจัย
นั้นซึ่งการทดลองนวัตกรรมท่ีผู้วิจัยพัฒนาข้ึนในสาขาบริหารการศึกษา ควรเป็นการทดลองใน
หน่วยงานหน่วยใดหน่วยหน่ึง หากเป็นโรงเรียนก็ควรเป็น “โรงเรยี นใดโรงเรียนหนึ่ง” เพราะสามารถ
ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดีกว่าการทดลองกับกลุ่มเป้าหมายที่กระจายในวงกว้าง เช่น ครู
หรือผู้บริหารโรงเรียนท่ีกระจายท้ังเขตพื้นท่ีการศึกษา เป็นต้น การทดลองโปรแกรมในภาคสนามน้ี
ควรใช้ระยะเวลา 1 ภาคเรียน เพื่อใหม้ เี วลาเพียงพอต่อการดาเนินงานในโครงการ 2 ประเภท คือ

1) โครงการพัฒนาความรู้ของกลุ่มเป้าหมายในการทดลองในระยะเริ่มแรก ใน
ข้นั ตอนน้ี ผู้วิจัยควรคานึงการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรท่ีหลากหลายวิธี ไม่จากัดเฉพาะเรื่องการ
ฝึกอบรมหรือสัมมนาเท่าน้ัน เช่น การศึกษาด้วยตนเอง การศึกษาร่วมกันเป็นกลุ่ม การระดมสมอง
การนาเสนอและการอภปิ ราย การเป็นพ่เี ลี้ยง การศึกษาดูงาน เป็นต้นและควรใช้เวลาประมาณ 1 ใน
4 ของเวลาใน 1 ภาคเรียน

2) โครงการนาความรู้สู่การปฏิบัติสืบเนื่องจากโครงการแรก ในอดีตสาหรับศตวรรษ
ที่ 20 ด้วยความเชื่อที่ว่า “Knowledge is Power” จึงมีอิทธิพลต่อแนวคิดการพัฒนาบุคลากรใน
กระบวนการวิจัยและพัฒนาดว้ ย โดยกระทาในส่งิ ที่เรียกว่า “Train and Hope” มุ่งเน้นให้บคุ ลากรมี
ความรู้อย่างเดียว แล้วหวังว่าพวกเขาจะนาความรู้น้ันไปสู่การปฏิบัติ โดยที่ผลจากการวิจัยพบว่ามี
โอกาสน้อยมากที่จะเป็นเช่นน้ัน ดังนั้น การวิจัยและพัฒนาในอดีตและอาจยังมีอยู่บ้างในปัจจุบัน จึง
มักจบลงในระยะการพัฒนาความรู้ของกลุ่มเป้าหมายในการทดลองเท่านั้น แต่ในปัจจุบันสาหรับ
ศตวรรษที่ 21 แนวคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนไป จาก “Knowledge Is Power” เป็น “Knowledge +
Action = Power” ห รื อ “Make Them Know What To Do, Then Encourage Them Do
What They Know” หรือ “Link To On-The-Job Application” ซ่ึงส่งผลต่อการกาหนดแนวคิด
ในการวิจัยและพัฒนาให้มีโครงการนาความรู้สู่การปฏิบัติด้วย เป็นโครงการท่ีผู้วิจัยจะต้องมีการ
วางแผนล่วงหน้า จัดทาคู่มือประกอบล่วงหน้า มีการกาหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีกิจก รรม

23

ดาเนินงาน มีการบริหารจัดการ มีการติดตามและประเมินผลที่หลากหลายมิติ มีการกาหนด
ระยะเวลาและขอบเขตของเวลา โดยเวลาที่ใช้ควรประมาณ 3 ใน 4 ของเวลาใน 1 ภาคเรียน

2. สรุปผลการทดลอง และปรังปรุงแก้ไขโปรแกรม โดยการสรุปผลน้ัน มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อดูว่าโปรแกรมที่พัฒนาข้ึนน้ันมีคุณภาพส่งผลต่อการเปล่ียนแปลงที่ดีข้ึนตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกาหนด
ในมิติต่าง ๆ ตามเครื่องมือการประเมินท่ีสร้างข้ึนในขั้นตอนท่ี 5 หรือไม่ ? ในกรณีการปรับปรุงแก้ไข
น้ัน เป็นการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมโดยพิจารณาข้อมูลจากการนาไปปฏิบัติจริง การสังเกต การ
บันทึก การสัมภาษณ์ การถอดบทเรยี น และอ่นื ๆ ทผ่ี ู้วจิ ยั ใชใ้ นทุกระยะของการดาเนินการทดลอง

ขั้นตอนที่ 6 การเขียนรายงานการวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัย การเขียนรายงาน
ผลการวจิ ัย (บทท่ี 4) ควรมีดังน้ี

1. ผลการตรวจสอบกรอบแนวคดิ เพื่อการวิจยั และการปรบั ปรงุ แกไ้ ข
2. ผลการจัดทาคมู่ อื ประกอบโปรแกรม

2.1 คู่มือประกอบโครงการพัฒนาความรู้ของกลุ่มเป้าหมายการทดลอง
2.2 ค่มู ือประกอบโครงการนาความรู้ส่กู ารปฏบิ ัติ
3. ผลการตรวจสอบโปรแกรมและการปรบั ปรุงแก้ไข
3.1 ผลการตรวจสอบภาคสนามเบือ้ งต้นและการปรบั ปรุงแกไ้ ข
3.2 ผลการตรวจสอบภาคสนามครั้งสาคัญและการปรบั ปรุงแก้ไข
4. ผลการสรา้ งเครอื่ งมือเพื่อการทดลองในภาคสนาม
4.1 เคร่ืองมือสาหรับโครงการพฒั นาความรู้ของกลุ่มเปา้ หมายการทดลอง
4.2 เคร่อื งมือสาหรบั โครงการนาความรูส้ กู่ ารปฏิบัติ
4.3 เครื่องมือประเมินข้อบกพร่องของนวตั กรรมที่พัฒนาข้ึน
5. ผลการทดลองโปรแกรมในภาคสนาม (trial) เป็นการบรรยายถึงเหตกุ ารณท์ ดลองใน
ภาคสนาม แสดงผลจากแบบประเมินต่าง ๆ ทใี่ ช้
5.1 ผลการทดลองโครงการพัฒนาความรู้ของกลุ่มเป้าหมายการทดลอง
5.2 ผลการทดลองโครงการนาความร้สู กู่ ารปฏิบตั ิ
5.3 ผลการประเมินข้อบกพร่องของนวตั กรรมที่พัฒนาขนึ้
6. ผลผลิตสุดท้าย (Final Product) จากการวิจัย คือ นวัตกรรมที่เป็น “โปรแกรม
พัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง” ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจากผลการประเมินข้อบกพร่อง
ของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น กรณีการเผยแพร่ผลงานวิจัย อาจดาเนินการได้หลายวิธี เช่น การนาเสนอ
ผลงานวิจัยในการสัมมนาวิชาการ การตีพิมพ์ในวารสาร การจัดพิมพ์คู่มือประกอบโปรแกรมเป็น
เอกสารหรือตาราเป็นตน้

2.3 แนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง (Self-Direction
Learning Skills)

ตามทัศนะของวิโรจน์ สารรัตนะ (2561) ท่ีนามากล่าวถึงในข้อ 2.2 กล่าวว่า การวิจัยและ
พัฒนามีจุดมุ่งหมายเพ่ือพัฒนานวัตกรรม แล้วนานวัตกรรมนั้นไปพัฒนาคนสู่การพัฒนาคุณภาพของ
งาน ที่มีปรากฏการณ์หรือข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่ามีความจาเป็น (Need) เกิดขึ้น ซ่ึงอาจ

24

เปน็ ผลสบื เนอื่ งจากการกาหนดความคาดหวงั ใหม่ทีท่ ้าทายของหนว่ ยงาน หรอื เกดิ การเปลี่ยนแปลงใน
กระบวนทัศน์การทางานจากเก่าสู่ใหม่ หรือเกิดจากการปฏิบัติงานที่ไม่บรรลุผลสาเร็จตามท่ีคาดหวัง
มาอย่างยืดเยื้อยาวนาน จึงต้องการนวัตกรรมใหม่มาใช้ หรืออาจเป็นผลสืบเน่ืองจากปัจจัยอ่ืน ๆ
แล้วแตก่ รณี

ในปัจจุบันมีหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการบริหารการศึกษา
เกิดข้ึนมากมาย ที่คาดหวังว่า หากบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ (Knowledge) แล้วกระตุ้นให้พวก
เขานาความรู้เหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติ (Action) ก็จะก่อให้เกิดพลัง (Power) ให้การปฏิบัติงานในหน้าที่
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามแนวคิด “Knowledge + Action = Power” หรือ
ตามคากล่าวที่ว่า “Make Them Know What To Do, Then Encourage Them Do What They
Know” หรือ Link To On-The-Job Application” และด้วยแนวคิดที่ว่าการศึกษาวรรณกรรมที่
เก่ียวข้องในบทท่ี 2 ถือเป็นจุดเร่ิมต้นที่สาคัญของการวิจัยและพัฒนาเพราะจะทาให้ได้ “โปรแกรม
พัฒนา” ที่ประกอบด้วยโครงการอย่างน้อย 2 โครงการ คือ โครงการพัฒนาความรู้ให้กับ
กลุ่มเป้าหมายในการทดลอง และโครงการนาความรู้สู่การปฏิบัติ ด้วยการวิจัยและพัฒนา ซ่ึงมี
กระบวนการในรูปแบบ R1D1..R2D2..R3D3..RiDi มีขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวิจัยแบบก่อนทดลอง
(Pre-Experiment) หรือแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experiment) ในภาคสนามจริง มีจุดมุ่งหมายหลัก
เพ่ือทดสอบคุณภาพของนวัตกรรมในลักษณะ If X…Then Y และเพ่ือการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
ของนวัตกรรมนั้นดว้ ย จากน้นั จงึ นาไปเผยแพร่ในวงกวา้ งตอ่ ไป

สาหรับโครงการพัฒนาความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง ผู้วิจัยจะต้องจัดทาคู่มือ
ประกอบโครงการขึ้นมาจานวนหน่ึง เป็นคู่มือที่นาเสนอความรู้เกี่ยวกับ “นวัตกรรม” ท่ีจะพัฒนาข้ึน
และความรู้เก่ยี วกับ “งาน” ที่จะให้ปฏิบตั ิ รวมทั้งโครงการนาความรสู้ กู่ ารปฏิบัติของกลมุ่ เปา้ หมายใน
การทดลอง ผู้วิจัยก็จะต้องจัดทาคู่มือเพ่ือเป็นแนวทางให้มีการวางแผนเพ่ือการปฏิบัติของ
กลุ่มเป้าหมายในการทดลอง ซึ่งการจัดทาคู่มือประกอบโครงการท้ัง 2 โครงการดังกล่าวน้ี ถือเป็น
ภาระงานที่หนักท่ีผู้วิจัยจะต้องใช้เวลาและความพยายามสูง อย่างน้อยก็ประมาณ 1 ภาคเรียน แต่
หากในบทที่ 2 ผู้วิจัยได้ศึกษาวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องไว้ได้ดีก็จะทาให้มี “สารสนเทศ/ความรู้” ท่ีจะ
จัดทาเป็นคู่มือประกอบทเี่ พยี งพอ

ดังนั้น การศึกษาวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องในหัวข้อนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายเพ่ือให้ได้ทัศนะของ
นักวิชาการและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ถือเป็นแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theoretical Perspectives) เก่ียวกับ
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง (Self-Direction Learning Skills) จากหลากหลาย
ทัศนะ อันจะเป็น “สารสนเทศ/ความรู้” ท่ีจะนาไปสู่การจัดทา “คู่มือ” ประกอบโครงการพัฒนา
ความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง และโครงการนาความรู้สู่การปฏิบัติ ได้อย่างมีคุณภาพและ
อย่างมีประสิทธิผล โดยมีผลการศึกษาแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theoretical Perspectives) เก่ียวกับการ
พัฒนาทกั ษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง (Self-Direction Learning Skills) ดงั ต่อไปนี้ตามลาดบั

2.3.1 ทัศนะเกี่ยวกบั นยิ ามของทักษะการเรียนร้แู บบชน้ี าตนเอง (The Definition of
Self-Direction Learning Skills)

Meredith (1989) เป็นนักการศึกษาประจาวิทยาลัยอาชีวศึกษาโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ
สหรฐั อเมรกิ า ไดก้ ลา่ วว่าประมาณ 70% ของการเรยี นรู้แบบผใู้ หญ่ เป็นการเรียนร้แู บบชี้นาตนเอง ซ่ึง

25

ถือเป็น “กระบวนการที่แต่ละคนเป็นผู้ริเร่ิม โดยอาจมีคนช่วยหรือไม่มีก็ได้” เพื่อวิเคราะห์ความ
ต้องการในการเรยี นรู้ สร้างเปา้ หมายในการเรียนรู้ ระบุแหล่งเรยี นรู้ เลือกและนากลยุทธก์ ารเรียนรไู้ ป
ใช้ และประเมินผลลพั ธ์ของการเรยี นร้นู ้นั

Gibbons (2016) เป็นอาจารย์ประจามหาวิทยาลัย Simon Fraser ได้กล่าวว่า ในการ
เรียนรแู้ บบช้ีนาตนเองนัน้ ผเู้ รียนแต่ละคนจะเปน็ ผู้รเิ ร่ิมและรับผดิ ชอบตอ่ สิง่ ที่เกิดขน้ึ โดยแต่ละคนจะ
เลือก จัดการ และประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเอง ซ่ึงสามารถทาได้ไม่จากัดเวลา สถานท่ี
วิธีการและวัยของผู้เรียน ส่วนกิจกรรมแบบการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองในโรงเรยี นน้ัน ผู้สอนก็สามารถ
มีส่วนร่วมในช่วงต่าง ๆ ของผู้เรียนได้ โดยการสอนต้องเน้นทักษะ กระบวนการและระบบ SDL
มากกว่าท่ีจะให้ครอบคลุมเน้ือหาและการทดสอบ สาหรับตัวผู้เรียนนั้น การใช้การเรียนรู้แบบช้ีนา
ตนเองเป็นการริเริ่มกิจกรรมท่ีท้าทายตนเองและพัฒ นาคุณ ลักษณ ะของตนเพ่ือนาพาตนเองไปสู่
ความสาเร็จ

Petro (2017) เป็นผู้ร่วมก่อต้ัง Know My World ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาทั่วโลก ที่
ปรึกษาด้านการศึกษาท่ีเช่ียวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร การฝึกอบรมครู การประเมินผลและการ
ประเมินสาหรับการศึกษาระดับโลก และความสามารถทางวัฒนธรรม ได้กลา่ วว่า ในยุคต้นของทฤษฎี
สมัยใหม่ของการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองน้ัน บางทฤษฎีเกิดจากแนวคิดการศึกษาแบบพิพัฒนาการ
หรือแนวคิดทางการศึกษาแบบก้าวหน้า (Progressive Education) ของ John Dewey ที่เช่ือว่า
ประสบการณ์เป็นรากฐานของการศึกษา ซึ่งการบูรณาการประสบการณ์ท้ังในอดีตและปัจจุบันตาม
การตีความส่วนตัวและตามสาระวิชา จะทาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากท่ีสุด ดังนั้น
บทบาทของนักการศึกษาก็คือเป็นผู้ชี้แนะที่จะสนับสนุนผู้เรียนให้สารวจโลกรอบตัว สร้างคาถามที่
ชวนสืบคน้ และทาการทดสอบสมมตฐิ าน

ปัจจุบัน มีระบบการศึกษาท่ีหลากหลายท่ีนาศาสตร์การเรียนร้แู บบนาตนเองมาใช้ ภายใต้
แนวคิดท่ีว่ามนุษย์ทุกคนควรรับผิดชอบต่อพัฒนาทางสติปัญญาของตนเอง โดยมีโมเดลที่มีช่ือเสียง
ได้แก่ โรงเรียนและหลักสูตรแบบ Democratic Free Schools เช่น Institute for Democratic
Education (IDEA) และ Sudbury School ที่ เน้ น อิส ระท างการศึ กษ า การป กค รองแบ บ
ประชาธิปไตย และความรับผิดชอบต่อตนเอง

ความหลากหลายของการเรียนรู้แบบนาตนเอง เกิดข้ึนได้ง่ายเพียงแค่ค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ
และคิดไตร่ตรองในข้อมูลนั้น ๆ การเข้าร่วมและมีส่วนช่วยในชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างแข็งขัน หรือ
ออกแบบเสน้ ทางการเรยี นรู้ของตนเอง รวมถงึ การเลอื กทรพั ยากร ข้อชน้ี า และขอ้ มูลทีจ่ ะเรียนรู้

Mocker & Spear (1982) ได้ใส่คาว่าการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง เข้าไว้ในคาจากัดความ
ของโมเดลการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Model of Lifelong Learning) ซึ่งทาหน้าท่ีหลักในการตัดสินใจ
เก่ียวกับวัตถุประสงค์และวิธีการของการเรียนรู้ โมเดลดังกล่าวมีลักษณะเป็นตารางเมทริกซ์ 2x2 คือ
ตัวผู้เรียนกับโรงเรียน น่ันคือ สถานการณ์การเรียนรู้แบบนาตนเองเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียน (ไม่ใช่โรงเรียน)
กาหนดท้ังวัตถุประสงค์และวิธีการเรียนรู้ โดยสถานการณ์ต่าง ๆ ต่อไปน้ีจะถูกจัดอยู่ในตารางช่องอ่ืน ๆ
ของเมทริกซ์ ได้แก่ 1) การเรียนรู้ตามระบบ (Formal Learning) ซึ่งโรงเรียน (ไม่ใช่ผู้เรียน) กาหนด
วัตถุประสงค์และวิธีการเรียนรู้ 2) การเรียนรู้นอกระบบ (Non-Formal Learning) ซึ่งผู้เรียนกาหนด

26

วัตถุประสงค์ แต่โรงเรียนกาหนดวิธีการ และ (3) การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal Learning) ซ่ึง
โรงเรยี นกาหนดวัตถุประสงค์ แตผ่ ู้เรียนกาหนดวธิ กี ารเรียนรู้

ดงั นั้น ไม่ว่าการเรียนรจู้ ะเป็นแบบช้ีนาตนเองหรือไม่ ก็ไม่ได้ข้ึนอยู่กับเน้ือหาวชิ าท่ีจะเรียน
หรือวิธีการสอนท่ีใช้ แต่จะข้ึนอยู่กับว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ น่ันคือ ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าควรจะเรียน
อะไร ใครควรจะเป็นผู้เรียนสิ่งน้ัน จะใช้วิธีการหรือแหล่งเรียนรู้ใด และจะวัดความสาเร็จจากความ
พยายามเหล่านี้ได้อยา่ งไร ซึ่งขอบเขตของการตัดสินใจเหล่าน้ีน่เี อง ที่เป็นลักษณะของการเรียนรู้แบบ
ชีน้ าตนเอง

Mezirow (1985) ได้ช้ใี ห้เห็นวา่ การเลือกวัตถปุ ระสงค์จะไม่สามารถทาไดอ้ ย่างเป็นอิสระ
ถ้าบอกไม่ได้ว่าวัตถุประสงค์ท้ังหมดมีความเป็นไปได้ตามมาตรฐานของโรงเรียน ดังนั้นส่ิงที่สามารถ
เป็นไปได้จริง กอ็ าจมีเพียงระดับของการช้ีนาตนเองเท่านั้น ทาให้นักวิชาการบางคนมองว่าโมเดลของ
Mocker และ Spear เป็นเพียงลาดบั ทีต่ ่อเนอ่ื งกัน มากกว่าจะเปน็ รปู แบบเมทรกิ ซ์

การเรียนรู้แบบชี้นาตนเองอาจเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ในห้องสมุดท่ีเงียบสงบเพียงลาพัง หรือใช้
บริบทของการส่ือสารระหว่างกัน ซึ่งพบได้ท่ัวไปในช้ันเรียนแบบด้ังเดิมทรัพยากรเรียนรู้ท่ีใช้สาหรับ
ผ้เู รียนแบบช้ีนาตนเอง ก็จะมที ้ังส่ือ วัสดุส่ิงพิมพ์ และโสตทศั นูปกรณ์ ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ
ทางจดหมาย โทรศัพท์ หรือสัมภาษณ์ต่อหน้า สถานที่ทางวัฒนธรรม เช่น พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ สวน
รกุ ขชาติ และสอ่ื หรอื แหลง่ หลาย ๆ ประเภทรวมกนั

Carter (2009) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้แบบชี้นาตนเองเป็นกระบวนการของการเรียนรู้ท่ี
ผเู้ รียนรับหน้าที่หลักในการวางแผน นาไปปฏิบัติ และประเมินโครงการเรียนรู้นนั้ ผู้เรียนเลือกส่ิงที่จะ
เรียนและวธิ กี ารทจ่ี ะเรียน และตัดสนิ ใจวา่ เมอ่ื ไหร่จะเดนิ หน้าตอ่ หรือหยดุ กิจกรรมการเรยี นรนู้ นั้

การศึกษาลักษณะของผู้เรียนแบบชี้นาตนเองเหล่านี้ จะทาให้ผู้วิจัยสามารถแยกอิทธิพล
ของสภาพแวดล้อมของการสอนในระบบออกไปได้ และทาการศึกษาในผู้ใหญ่เมื่อมีการเรียนรู้ตาม
ธรรมชาติและโดยอัตโนมัติ เป้าหมายของการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองก็คือ การเพ่ิมความสามารถของ
วยั ผู้ใหญ่ในการกากับการเรยี นรขู้ องตนเองให้มากขึน้ (ด้วยวิธีการทางมนษุ ยศาสตร์) ซึ่งการสนับสนุน
การเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลง (Transformational Learning) จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงมือ
กระทาทางสังคมได้

การเพม่ิ ความสามารถในการเป็นผู้ใหญ่ท่ีเรียนรู้แบบชนี้ าตนเองจาเป็นต้องพัฒนาทั้งทักษะ
และคุณลักษณะในการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หน้าท่ีของนักการศึกษาในด้านน้ีก็คือช่วยแต่ละคนให้
สามารถปรับปรุงการวางแผน ดาเนินการตามแผน และประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้ การ
สนับสนุนการเรียนรู้เพ่ือการเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดข้ึนกับผู้เรียนแบบชี้นาตนเอง เว้นแต่ว่าจะเกิด
ระหว่างที่ผู้เรียนเข้าร่วมในสถานการณ์นั้นอย่างเต็มท่ีและเป็นอิสระ ในขณะที่มีการทดสอบความ
สนใจและมุมมองที่มีตอ่ ผ้อู ืน่ แล้วปรับตวั เองเข้ากับเปา้ หมายการเรยี นรนู้ ้ัน รปู แบบท่ีสมบูรณ์ท่ีสดุ ของ
การเรียนรู้แบบชี้นาตนเองจะเกิดขึ้นเม่ือกระบวนการและการสะท้อนผลได้รวมตัวกันในระหว่างการ
คน้ หาความหมายของวัยผใู้ หญ่

Brookfield (1985) เป็นศาสตราจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยจอห์นไอร์แลนด์ และเป็น
ประธานท่ีปรึกษามหาวิทยาลัยเซนต์โทมัส ในมินนิอาโปลิส - เซนต์ พอลมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา ได้
ให้ความเห็นว่า หากการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองไม่ใช่ส่ิงเดียวกับการแยกตัวเพื่อเรียนเพียงลาพัง แล้ว

27

จะให้เข้าใจว่ามันคืออะไรกนั แน่ล่ะ ซึง่ เขาได้อธิบายว่า การลงมือเรียนรู้แบบชี้นาตนเองนั้น ผู้เรียนจะ
ร้สู ึกและทาการควบคุมเน้ือหา รปู แบบ และวตั ถุประสงคข์ องการเรียนรู้ของตนเอง ผู้เรียนยังได้ลงมือ
ตัดสินเก่ียวกับความสาคัญและวิธีการของประสบการณ์นั้นเอง ท้ังน้ี เพ่ือให้การควบคุมเป็นไปอย่าง
น่าเชื่อถือ ผู้เรียนต้องลงมือกระทาบนพ้ืนฐานของความรู้ในสิ่งท่ีจะเป็นไปได้ในแบบต่าง ๆ เท่าที่จะ
เป็นไปได้ตามข้อมูลที่มี ซ่ึงผู้เรียนต้องสามารถเลือกจากสิ่งที่เป็นไปได้เหล่าน้ัน ที่จะสามารถทาให้เป็น
จริงได้ ยังเช่อื ว่า มีข้อคานึงถึงการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง ทเ่ี ก่ียวกับการเปล่ียนแปลงภายในของภาวะ
ทางจิต ซง่ึ มากพอ ๆ กับกิจกรรมทางกายที่อธิบายในนิยามของ Knowles โดยเป็นการตระหนกั ถึงสิ่ง
ท่ีคิดกับการกระทา และธรรมชาติท่ีมีโครงสร้างจากวัฒนธรรมของความเช่ือและหลักจริยธรรม หาก
ตอ้ งนิยามการเรียนร้แู บบนาตนเอง ยงั ยืนยนั ในส่ิงทไี่ ด้เขียนไวเ้ มือ่ 10 กวา่ ปที ่ีแลว้ ว่า

เมื่อเทคนิคของการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองสัมพันธ์กับการค้นหาของวัยผู้ใหญ่ ในการ
สะท้อนคิด (Critical Reflection) และการสร้างความหมายข้ึนเองหลังจากพิจารณาอย่างถ่ีถ้วนตาม
กรอบค่านิยมต่าง ๆ และความเป็นไปได้ของการกระทา เม่ือนั้นรูปแบบที่สมบูรณ์ที่สุดของการเรียนรู้
แบบชี้นาตนเองก็จะปรากฏข้ึน โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบนาตนเองที่สมบูรณ์ท่ีสุดสาหรับผู้ใหญ่น้ี
เป็นหน่ึงในการสะท้อนความคิดในคุณลักษณะของความเป็นจริงท่ีอาจเกิดข้ึน การค้นหาระบบของ
มุมมองและความหมายต่าง ๆ และการปรับสภาพแวดล้อมของตนเองและสังคมที่เป็นปัจจุบัน ท้ังนี้
วิธีการจากภายนอกและมิติของการสะท้อนจากภายในถูกเช่ือมเข้าด้วยกันเม่ือผู้ใหญ่เข้าใจใน
ธรรมชาติที่มีโครงสร้างจากวัฒนธรรมของความรู้และค่านิยม และเม่ือลงมือทาบนพ้ืนฐานของการ
เข้าใจอย่างลึกซ้ึง เพื่อตีความและสร้างโลกและสังคมข้ึนมาใหม่ ซึ่งการคิดและลงมือทาเช่นน้ีเป็นการ
แสดงให้เห็นรูปแบบที่สมบูรณ์ของการกากับตนเองของผู้ใหญ่ ซ่ึงก็คือการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง
น่ันเอง

Ecu (2019) เป็นเว็บไซต์ของ Edith Cowan University ได้กล่าวว่า การเรยี นรู้แบบชี้นา
ตนเองก็คือการที่ผู้เรียนริเริ่มและรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งสามารถเกิดข้ึนได้ด้วยการ
ตัง้ เป้าหมายของการเรียนรู้ท่ีชัดเจนตลอดท้ังการเรียนนั้น การทาตามกาหนดการและการประเมินผล
การเรียนรนู้ ั้น การเป็นผเู้ รียนแบบช้ีนาตนเองที่จะประสบความสาเรจ็ นั้น มีสมรรถนะหลายประการท่ี
ต้องตระหนักและเรียนรู้วิธีการนามาใช้ ได้แก่ (1) กาหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์: การริเร่ิม
(2) จัดตารางการทางานและพยายามทาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์: มีวินัยและเป็นระบบ (3) มีส่วน
ร่วมและกระตือรือร้นในกระบวนการเรียนรู้: กากับตนเองและเรียนรู้ท่ีจะส่ือสาร (4) ประเมินการ
เรยี นรู้ของตนเพ่ือใหแ้ น่ใจวา่ สาเรจ็ ตามเป้าหมาย: กากับตนเองและสะทอ้ นตนเองได้

Garland (1985) เป็นอาจารย์ประจามหาวิทยาลัย จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกใน
ด้านการศึกษาและปริญญาโทในการจัดการธุรกิจ มีประสบการณ์ 10 ปีในการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ได้กล่าวว่า การเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองเป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนท่ีผู้เรียนตัดสินใจว่าจะเรียนรู้
อย่างไรโดยการแนะแนวทางจากผู้สอน ซึ่งสามารถสาเร็จได้ด้วยตนเองหรือเรียนรู้กันเป็นกลุ่ม แต่
แนวคิดหลักก็คือ ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ผู้สอนอาจให้วัตถุประสงค์
การเรียนรู้โดยทั่วไป เช่น ให้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ จากน้ัน ผู้เรียนก็ตัดสินใจร่วมกับ
ผู้สอนถึงขอบเขตท่ีจะเรียน ระยะเวลา และผลลัพธ์ที่จะทาให้เห็นว่าเกิดการเรียนรู้ ซ่ึงผู้เรียนบางคน
อาจเลือกท่ีจะเรยี นเกี่ยวกับอเมริกาใต้และสรา้ งเวบ็ ไซต์ขึ้นมา ขณะทอ่ี ีกคนอาจเลือกวิจยั เกี่ยวกับการ

28

ตัดไม้ทาลายป่าท่ีส่งผลต่อเกาะบอร์เนียว พร้อมเขียนรายงานไปยังรัฐบาล หรืออีกคนอาจเลือกเอา
เมืองใดเมืองหน่ึงแล้วศกึ ษาความสาคัญทางประวัตศิ าสตร์ ถา่ ยวิดีโอจากการสมั ภาษณ์ผู้คน ซึ่งการให้
ผู้เรียนเลือกวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่แตกต่างกันน้ี เป็นการให้เลือกตามความสนใจและ
ตามศกั ยภาพของแต่ละคน

Weimer (2010) เป็นศาสตราจารย์ด้านการสอนและการเรียนรู้ที่ Penn State Berks
และได้รับรางวัล Milton S. Eisenhower ของ Penn State สาหรับการสอนท่ีโดดเด่นในปี 2548
และเป็นท่ีปรึกษาของมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยมากกว่า 600 แห่งในประเด็นการเรียนการสอน ได้
กล่าวถึงนิยามการเรียนรูแ้ บบชีน้ าตนเอง (SDL) จากผลงานวิจยั ของเขาว่า ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นา
ตนเองเป็นความสามารถในการจัดการภาระงานโดยไม่ต้องมีใครมากากับ เป็นทักษะที่จาเป็นสาหรับ
การเรียนรู้ตลอดชีวิตท่ีมปี ระสิทธิผล และเป็นหน่ึงในทักษะการเรียนร้หู ลาย ๆ ทักษะท่ีถูกคาดหวังให้
มีการพัฒนาระหว่างการเรียนระดับอุดมศึกษา เป็นความคาดหวังที่อยากให้นักศึกษาเป็นผู้เรียนที่
กากับตนเองได้ในขณะกาลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่และรับเอาเนื้อหาความรู้ ซึ่งตัวอย่างต่อไปน้ี เป็น
กรณีศึกษาท่ีแสดงให้เห็นถึงวิธีการท่ีนักศึกษากลายเป็นผู้เรียนแบบนาตนเองได้ด้วยการจัดเรียนการ
สอนทเี่ นน้ การอธบิ ายและยกตัวอยา่ งใหช้ ดั เจน (Explicit Instruction)

งานวิจัยน้ีดาเนินการในรายวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ สาหรับนักศึกษาช้ันปีที่ 3-4 แม้ว่า
นักศึกษากลุ่มใหญ่ (59% ในเทอม Spring และ 61% ในเทอม Fall) ไม่พร้อมสาหรับการเรียนรู้ด้วย
ตนเองเม่ือพิจารณาคะแนนจากแบบวัดความพร้อมต่อการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง (Self-Directed
Learning Readiness Scale) แต่เคร่ืองมือวัดก็ถูกนาไปพัฒนาในงานวิจัยอื่น ๆ และใช้กันอย่าง
แพรห่ ลาย นกั วจิ ัยหลาย ๆ คนสนใจในประเด็นการแทรกแซงท่ีอาจจะทาให้คะแนนความพร้อมสูงข้ึน
และต้ังสมมติฐานว่าผู้เรียนท่ีได้คะแนนต่าจะสามารถพัฒนาได้ในสภาพแวดล้อมท่ีมีการจัดเตรียมไว้
ซ่งึ จะสร้างรปู แบบของทักษะการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ท่ีผู้เรียนรแู้ บบนาตนเองได้นาไปใช้ ซ่ึงนักวิจัย
เหล่าน้ีได้สร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ด้วยการใช้คาถามแบบเจาะจงในทุกสัปดาห์เกี่ยวกับ
รายวชิ าท่เี รียน โดยอธบิ ายและให้รายละเอยี ดท่ีชัดเจนสาหรับทางานใหส้ าเรจ็ แตใ่ ห้อสิ ระนอ้ ยมากใน
การกาหนดขอบเขตของงาน จากน้ันให้นักศึกษาท่ีมีคะแนนต่า คะแนนต่ากว่าคะแนนเฉลี่ย และ
คะแนนปานกลางเขา้ ร่วมในสภาพแวดล้อมทจ่ี ดั ไว้

นักศึกษาท่ีมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย และคะแนนสูงให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการ
จัดเตรยี ม ซึ่งมีอิสระมากกว่าในการจดั การงานของตน โดยเป็นการใหน้ ักศึกษาระบลุ ักษณะสาคญั และ
ต้ังคาถามเก่ียวกบั เร่ืองท่ีให้อ่าน ซึ่งนักศกึ ษาสามารถกาหนดโครงการวิจัยเองได้ นั่นคอื นักศึกษากลุ่ม
น้ีออกแบบบทเรยี นเอง

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษากลุ่มท่ีอยู่ในสภาพแวดล้อมท่ีถูดจัดไว้ มีคะแนนจากแบบวัด
ความพร้อมต่อการเรียนรู้แบบนาตนเองสูงข้ึน 6.8 คะแนน ส่วนกลุ่มท่ีอยู่ในสภาพแวดล้อมท่ีไม่มีการ
จัดเตรียม คะแนนสูงขึ้น 13 คะแนน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของคะแนนนี้ก็ทาให้เกิดการเปรียบเทียบกรณี
นักศึกษาท่ีคะแนนไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เช่น ผู้ท่ีมีคะแนนต่าเป็นนักศึกษาที่อยู่ใน
สภาพแวดล้อมที่ไม่มีการจัดเตรียม เป็นต้น ซึ่ง “ข้อค้นพบน้ีได้ช้ีว่า การจัดเตรียมท่ีสอดคล้องจะช่วย
เสริมทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง น่ันคือ การออกแบบบทเรียนท่ีจะช่วยเสริมความพร้อมให้
ผู้เรียนนั้น เปน็ สง่ิ ทสี่ ามารถทาได้”

29

ผู้วิจัยยังได้ระบุว่า การขาดความพร้อมสาหรับการเรียนรู้แบบชี้นาตนเองในรายวิชาเรียน
ของช้ันปีที่สูงข้ึน จะชี้ให้เห็นถึงความต้องการในการพัฒนาทักษะเหล่านี้ในช่วงเริ่มเรียนตามหลักสูตร
แลว้ ค่อยเพม่ิ โอกาสสาหรบั การเรยี นรแู้ บบนาตนเองให้มีตลอดทัง้ หลกั สูตร

Boles (n.d.) เป็นผู้อานวยการของ Unschool ผจญภัย (บริษัท ท่องเท่ียวสาหรับการ
กากับตนเองคนหนุ่มสาว) พิธีกรของ “Off-Trail การเรียนรู้” พอดคาสต์และผู้เขียนของวิทยาลัย
Better Than วทิ ยาลัยและศิลปะของตนเองการเรยี นรู้โดยตรง ไดก้ ล่าววา่ การเรยี นรู้แบบชน้ี าตนเอง
เปน็ วธิ ีการทส่ี รา้ งอิสระ ตวั เลือก และความรบั ผดิ ชอบ ในการเรียนรู้ใหอ้ ยูใ่ นมอื ของผเู้ รียนเอง

เมื่อทาการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง สิ่งท่ีจะเกิดขึ้นคือ (1) การเลือกที่จะเรียนรู้ ศึกษา หรือ
ฝึกฝนเพราะว่าส่ิงนั้นน่าสนใจ สาคัญและมีความหมาย (2) การเข้าหาคน แหล่งข้อมูล หาผู้ร่วมทีม
และคนอืน่ ๆ ทอ่ี าจขอความชว่ ยเหลือในระหว่างที่เรยี นรู้ (3) การนยิ ามคาว่า “ความสาเรจ็ ” ของการ
เรยี นร้ทู ่ีเหมาะสม และ (4) การรับภาระหน้าทีส่ าคญั ที่สดุ เพ่อื ผลลัพธจ์ ากความพยายามน้นั

การเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองไม่ใช่การต่อต้านแบบแผน โรงเรียน การสอน หรือการทดสอบ
แต่ให้คิดว่าเป็นการเรียนรู้โดยต้ังใจ (Intentional Learning) หรือการเรียนรู้ที่เห็นชอบร่วมกัน
(Consensual Learning) ผู้เรียนรู้แบบนาตนเองสามารถทาได้ดีในทุกสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้
ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่มีแบบแผนเข้มงวด หรือแบบด้ังเดิม ตราบเท่าที่ได้เลือกอย่างต้ังใจและ
ยอมรับในกฎเกณฑเ์ หล่าน้ัน

สิ่งตรงข้ามของการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง อาจเรียกว่า การเรียนรู้ที่ไม่ได้มีการตรวจตรา
(Unexamined Learning) นั่นคือ (1) เรียนรู้เพียงเพราะถูกบอกให้เรียน โดยไม่คานึงว่าจะมีคุณและ
โทษต่อตนเอง (2) ใช้ความพยายามเพียงน้อยนิดในการเรียนรู้เพราะเชื่อว่าความรู้หรือทรัพยากรจะ
เกิดขึ้นได้เอง (3) พอใจกับนิยามความสาเร็จท่ีได้มาเพียงเปลือกนอก เช่น คะแนนสอบสูง ช่ือเสียง
ความร่ารวย และ (4) นึกเอาว่าผู้อื่นหรือส่ิงอ่ืนต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เราจะเรียนรู้หรือประสบ
ความสาเรจ็ เชน่ ครู โรงเรียน หรอื สงั คม

Noelle (2018) เป็นครู เป็นนักเขียน เป็นผู้ฝึกอบรมทางวิชาชีพ เมืองพอร์ตแลนด์ ออริ
กอนสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงการศึกษาแบบชี้นาตนเอง หรือ Self-Directed Education (SDE)
หมายถึงแนวคิดและการลงมือปฏิบัติท่ีวัยเด็กและวัยรุ่นจะรับผิดชอบการศึกษาของตนเอง โดย
การศึกษาแบบ SDE จะไม่เทียบเท่าระบบโรงเรียน แต่จะถูกมองและเป็นที่เข้าใจได้กว้างกว่า เพราะ
เป็นกระบวนการได้มาซึ่งความรู้ ค่านิยม และทักษะที่เอื้อต่อการมีชีวิตท่ีน่าพอใจและมีความหมาย
ดังนั้น การศึกษาก็คือธรรมชาติ เกิดข้ึนทุกท่ี ทุกเวลา เป็นกระบวนการพัฒนาท่ีเริ่มต้ังแต่เกิดและ
ดาเนนิ ไปจนช่ัวชวี ิต

เมื่อได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมตามความสนใจจริง ๆ และตามความชอบโดยทั่วไปแล้ว ก็
จะเรียนรู้ในสิ่งที่อยากเรียน เม่ือเต็มใจท่ีสุดและได้รับแรงกระตุ้น การเรียนรู้เหล่าน้ีอาจต้องใช้ความ
พยายามอย่างมาก นั่นคือ มีการทดลองและความผิดพลาด การค้นหาคาตอบ มองหาผู้ช่วย และมี
คาถามอย่างไม่รู้จบ ซ่ึงฟังดูเหมือนเป็นเร่ืองง่าย ๆ สาหรับผู้เรียนที่มีความกระตือรือร้นจากแรงขับ
ด้านการศึกษาตามธรรมชาติ นั่นคือ ความสงสัยใคร่รู้ (Curiosity) ความสนุกสนาน (Playfulness)
และการชอบเขา้ สงั คม (Sociability)

30

ส่ิงเหล่าน้ีเป็นวิธีที่วัยเด็กใช้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมก่อนท่ีจะเข้าสู่วัยเรียน (School
Age) และยังเป็นวิธีเรียนรู้ตามอัธยาศัยท่ีเกิดข้ึนมากท่ีสุดในวัยผู้ใหญ่ ในการศึกษาแบบ SDE จะไม่มี
เกณฑ์อายวุ ่ากระบวนการธรรมชาตเิ หล่านี้ต้องถูกแทนท่ีด้วยหลักสูตรทเี่ นน้ ครผู ู้สอนในบริบทโรงเรียน
เป็นหลัก เพราะถือเป็นการแยกออกจากส่ิงที่เกิดในชีวิตจริง เด็กท่ีเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองจะเรียนรู้ที่
จะอ่าน เขียน และคานวณบ่อย ๆ ในแบบง่าย ๆ เมื่อจาเป็นต้องใช้ทักษะเหล่านี้ในกิจกรรมที่พวกเขา
เลอื กเอง โดยทไ่ี ม่ต้องมกี ารสอนหรอื ตั้งใจจดจ่อกับสิง่ นน้ั ๆ และการนาตนเองนจี้ ะทาให้สามารถเลอื ก
การเรยี นรทู้ เ่ี ปน็ แบบแผนท่ีเหมาะสมได้เมือ่ ถงึ เวลา

IGI Global Disseminator of Knowledge (1988) มีสานกั งานใหญ่อยู่ทเ่ี มืองเฮอรช์ ีย์
รฐั เพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เป็นสานกั พิมพ์ชั้นนาระดับนานาชาติท่ีมุ่งมน่ั ท่ีจะอานวยความสะดวก
ในการค้นพบงานวิจัยบุกเบิกที่ช่วยยกระดับและขยายองค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนการวิจัย ได้กล่าวถึง
นยิ ามของทกั ษะการเรียนรูแ้ บบช้ีนาตนเอง (Self-Direction Learning Skills) ในแง่มมุ ตา่ ง ๆ ดงั นี้

1) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง กลยุทธ์การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีบทบาทใน
กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง (วิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้ ระบุเป้าหมายการเรียนรู้ เลือก
กลยุทธก์ ารเรยี นรู้ และประเมนิ ความสามารถและผลการเรียนรู้)

2) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง การควบคุมกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
ของผู้ใหญ่ หรือ เป็นการเรียนรู้ท่ีเก่ียวกับการเลือกว่าจะเรียนรู้อะไร เรียนรู้อย่างไร และตัดสินได้
อยา่ งไรว่า สิ่งทไ่ี ด้เรียนรู้น้นั ดีหรอื ไมอ่ ย่างไร

3) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง รู้กันในอีกความหมายว่า เป็นการเรียนรู้ตามมโนทัศน์
ของตนเอง หรือการเรียนรแู้ บบริเริม่ ด้วยตนเอง ซึ่งเป็น 1 ใน 6 หลักการของการเรียนรขู้ องผู้ใหญ่

4) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง การริเร่ิมและความรับผิดชอบของผู้เรียนแต่
ละคน (สร้างเองหรอื มีคนชว่ ย) ในการระบุ ประเมิน และจัดลาดับความต้องการในการเรยี นรู้

5) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง ประเภทของการเรียนรู้ซ่ึงผู้เรียนต้อง
รับผดิ ชอบเองว่าจะเรยี นรูอ้ ะไร เม่ือไหร่ และอย่างไร

6) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง การลงมือปฏิบัติและรับผิดชอบต่อการ
เรยี นรู้ของตนเอง

7) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเม่ือผู้เรียนทาการ
สารวจ ตัง้ คาถาม โต้ตอบ และตอบสนองตอ่ สิง่ เรยี นรทู้ ่ีเก่ียวขอ้ งกบั ความตอ้ งการของตน

8) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง การอนุญาตให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเวลาที่
เหมาะสมของแตล่ ะคน ซึ่งเปน็ การจดั ให้เรียนรู้ตามศกั ยภาพของแตล่ ะบคุ คล

9) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ถือว่าผู้เรียนมี
หน้าที่หลักในการเรียนรู้ หรือเป็นบุคลิกลักษณะอย่างหน่ึงที่เน้นความต้องการหรือความชอบของ
ผเู้ รยี นเป็นศนู ยก์ ลาง เพอ่ื รับผดิ ชอบตอ่ การเรยี นรู้

10) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง รูปแบบของการเรียนรู้ กระบวนการเรียน
การสอน หรือคุณลักษณะของผู้เรียน ท่ีเพิ่มความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองเข้าไป ทั้งในการ
เลอื กเรอ่ื งท่ีจะเรียน แหล่งเรียนรู้ รูปแบบของการเรยี น และการประเมนิ ผล

31

11) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ในการจัดการและ
กากบั การเรยี นรู้ของตนเองใหส้ มดุลกบั สง่ิ ที่เกิดข้ึนจรงิ ในชีวติ ประจาวนั และการประกอบอาชพี

12) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง การท่ีผู้เรียนริเร่ิมท่ีจะสอนตนเองโดยใช้
วิธีการสอนหรอื วธิ กี ารเรียนรขู้ องตนเอง

13) ทกั ษะการเรยี นรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง การเรียนรูแ้ บบนาตนเอง เป็นการรวมกันท่ี
ซับซ้อนของทัศนคติ ค่านิยม และความสามารถ ซ่ึงอาจทาให้แต่ละคนสามารถขีดเส้นทางแห่งการ
เรยี นรูข้ องตนเองได้

14) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีผู้เรียนมีหน้าที่
สาคัญในการมสี ว่ นรว่ ม การวางแผนกลยุทธแ์ ละแนวทางเพ่อื ใหส้ ิง่ ที่เรยี นรู้นน้ั บรรลุผล

15) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ท่ีมีพ้ืนฐานมา
จากความเป็นอสิ ระของแต่ละคน

16) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง ในความหมายกว้าง ๆ น้ัน เป็นการอธิบาย
กระบวนการท่ีแต่ละคนได้ริเริ่ม (ดว้ ยตนเองหรือมคี นชว่ ย) ในการวิเคราะห์ความตอ้ งการในการเรียนรู้
ของตนเอง การสร้างเปา้ หมายการเรียนรู้ การระบุแหล่งเรียนรู้ทั้งท่ีเป็นมนุษย์และเป็นวัตถุ การเลือก
และนากลยุทธ์การเรียนรู้ทเี่ หมาะสมไปใช้ และการประเมินผลการเรยี นรู้

17) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีผู้เรียนมีหน้าที่
สาคญั ในการมีสว่ นรว่ ม การวางแผนกลยทุ ธแ์ ละแนวทางเพอื่ ให้สงิ่ ทเี่ รยี นรูน้ นั้ บรรลผุ ล

18) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง กระบวนการท่ีผู้เรียนได้ริเร่ิมวิเคราะห์
ความต้องการในการเรยี นรู้ของตนเอง สรา้ งเปา้ หมายการเรยี นรู้ และจดั กิจกรรมการเรยี นรนู้ ้นั

19) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง กระบวนการท่ีกระทาอย่างเป็นอิสระ
เพ่อื ใหไ้ ดม้ าซึ่งความรู้ โดยการริเรมิ่ ทจี่ ะเลือกและจดั กจิ กรรมการเรียนร้นู นั้ ๆ

20) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง กลยุทธ์การเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นผู้
ตัดสินใจโดยการแนะแนวทางจากผูส้ อน วา่ จะเรยี นรอู้ ะไรและเรียนรู้อยา่ งไร

21) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง รูปแบบท่ีอธิบายว่าแต่ละคนจะรับผิดชอบ
และริเริ่มตั้งเป้าหมายและกลยุทธ์ของตนเองอย่างไร เพ่ือตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของ
ตนเอง

22) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง การเรียนรู้ที่ถูกควบคุมและจัดการโดย
ผู้เรียน อาจนับเป็นเทคนิคการสอนอย่างหนึ่ง หรืออาจถือเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนทา
ตามความสนใจ ความต้องการ และส่งิ ที่ตนเองเก่ยี วขอ้ งด้วย

23) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง กระบวนการที่แต่ละคนวิเคราะห์ความ
ต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง สรา้ งแผนและเป้าหมาย ระบุแหล่งเรียนรู้ นากลยุทธก์ ารเรียนร้ไู ปใช้
และประเมนิ ผลการเรยี นรู้

24) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดข้ึนเมื่อผู้เรียนเป็นผู้ริเร่ิม
ระบุความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง พัฒนากลยุทธ์และเป้าหมาย นากลยุทธ์นั้นไปใช้ และ
ประเมินผลทไ่ี ด้

32

25) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง กระบวนการท่ีแต่ละคนได้ริเร่ิม (ด้วย
ตนเองหรือมีคนช่วย) วิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง การสร้างเป้าหมายการเรียนรู้
การระบุแหล่งเรียนรู้ทั้งท่ีเป็นมนุษย์และเป็นวัตถุ การเลือกและนากลยุทธ์การเรียนรู้ท่ีเหมาะสมไปใช้
และการประเมินผลการเรยี นรู้

26) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง การนิยามเชิงปฏิบัติการที่ใช้กันมากท่ีสุดในการให้
ความหมายของการเรียนรู้แบบนาตนเอง ก็คือ การรวมตัวกันอย่างซับซ้อนของคุณลักษณะ ค่านิยม
และความสนใจ ของผ้เู รียนวัยผใู้ หญ่ซึ่งเป็นไปไดว้ ่าจะสามารถกากบั การเรยี นรู้ของตนเองได้

27) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง การกระตุ้นผู้เรียนแต่ละคนให้ตัดสินใจใน
สง่ิ ที่เกยี่ วขอ้ งกับการเรยี นร้ขู องตนเอง

28) ทักษะการเรยี นรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง กระบวนการที่แตล่ ะคนได้ริเริ่มข้ึนเพื่อเพ่ิม
ความรแู้ ละทักษะอย่างไม่จากัดเวลาและสถานท่ี โดยผสู้ อนไม่ตอ้ งช่วยเหลือ

29) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง ผู้เรียนแต่ละคนจะรับผิดชอบและมีภาระ
ต่อการเรยี นรขู้ องตนเอง

30) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง การเรียนรู้แบบนาตนเองเป็นกลยุทธ์การ
เรยี นการสอนที่มอบความรบั ผดิ ชอบตอ่ ความกา้ วหน้าของการเรียนรู้ไปท่ีผู้เรยี น

31) ทักษะการเรียนรูแ้ บบช้ีนาตนเอง หมายถึง ช่วงเวลาท่ีแต่ละคนไดร้ ิเร่มิ และรับผิดชอบ
ต่อการเรยี นรู้

32) ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง หมายถึง แนวคิดที่มีการอภิปรายกันเป็นอย่างมาก
ซ่ึงนักทฤษฎีท่ีมีช่ือเสียงหลายต่อหลายท่านได้พยายามให้คานิยามไว้ โดย ในหนังสือนี้ Susan
Isenberg ได้พยายามอธิบายมุมมองของ Tough ท่ีว่า โดยพื้นฐานแล้วการเรียนรู้แบบนาตนเองถือ
เป็นการสอนตนเอง

33) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง ผู้เรียนแต่ละคนจะรับผิดชอบและมีภาระ
ตอ่ การเรยี นรขู้ องตนเอง

34) ทกั ษะการเรยี นรแู้ บบช้ีนาตนเอง หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนท่ีกระตุ้นผู้เรียน
ให้รับผิดชอบตอ่ กระบวนการเรยี นรู้ของตนเองโดยใช้กลยุทธท์ ี่นาไปสกู่ ารเรียนรู้ดว้ ยตนเอง

35) ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ท่ีผู้เรียนทาให้สาเร็จได้
โดยผสู้ อนไม่ตอ้ งใหแ้ นวทาง

กล่าวโดยสรุป นิยามของ ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง (Self-Direction Learning
Skills) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ดว้ ยความต้องการของตนเอง เป็นอิสระเพ่ือให้ได้มาซึ่งความรู้ ซ่ึง
ผู้เรียนแต่ละคนเป็นผู้วิเคราะห์ความต้องการ สร้างแผน เป้าหมายของตนเอง เป็นผู้เลือกทรัพยากร
แหล่งเรียนรู้ ข้อมูลที่จะเรียนรู้ กาหนดวัตถุประสงค์ การประเมินผล วิธีการเรียนรู้ รูปแบบ ทัศนคติ
คา่ นิยม และความสามารถ การสารวจ การคน้ หาส่ิงใหม่ ๆ การต้ังคาถาม การโต้ตอบ การตอบสนอง
ด้วยตนเอง การไตร่ตรองในข้อมูลน้ัน ๆ ร่วมกับชุมชน การเรียนรู้อย่างต้ังใจและยอมรับในกฎเกณฑ์
การสื่อสารระหว่างกัน การกระตุ้นใฝ่เรียนรู้ของตนเอง การเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ของผู้เรียน
ให้สอดคล้องกับส่ิงท่ีเกิดข้ึนในชีวิตประจาวันและเวลาที่เหมาะสม ซ่ึงผู้เรียนมีบทบาทและมีความ
รับผดิ ชอบต่อการเรียนร้ขู องตนเอง จะดาเนินการด้วยตนเอง หรอื ขอความร่วมมอื จากผู้อื่นหรือไมก่ ็ได้

33

2.3.2 ทัศนะเกี่ยวกับความสาคัญของทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง (The
Importance of Self-Direction Learning Skills)

Timpau (2015) เป็นอาจารย์สอนนักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะจิตวิทยาและ
วิทยาศาสตร์การศึกษา University of Bucharest, Bucharest, Romania กล่าวถึงความสาคัญของ
ทักษะการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง (Self-Direction Learning Skills) ว่า การเปล่ียนแปลงทุกอย่างใน
สังคมจะเปล่ียนแปลงสภาพความเปน็ อย่แู ละกิจกรรมของมนุษย์อยู่เสมอ ซ่งึ ทาใหร้ ูปลักษณข์ องมนษุ ย์
และประเด็นอ่ืน ๆ อีกมากมายท่ีเรามักอยากให้มีการปรับตัวอย่างทันท่วงทีและพอเหมาะกับความ
ตอ้ งการตามแบบชวี ติ สมัยใหมน่ ้ัน มักจะข้ึนอยกู่ ับขอ้ มูลที่เป็นปัจจุบนั และความสามารถในการพัฒนา
พฤติกรรมให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ คนสมัยใหม่ถูกบังคับให้เรียนรู้อย่างต่อเน่ืองเพ่ือรับมือกับการ
เปล่ยี นแปลงชีวิตของเขาทเ่ี กิดขึ้นในโลกแห่งความรู้ ในการทางานตามอาชพี และทุกเร่ืองราวของชีวิต
การวิจัยน้ีได้เสนอมุมมองของนักเรียนเกี่ยวกับการแนะนารายวิชาพิเศษในหลักสูตรการศึกษาเพ่ือ
เตรียมความพรอ้ มสาหรบั การเรยี นรู้ตลอดชีวิตและการเรยี นรู้ที่เปน็ อิสระ ดังนั้นจึงมีการระบุเหตผุ ลท่ี
นักเรียนควรเข้าร่วมหลักสูตรนี้อย่างมีวัตถุประสงค์ น่ันคือ แรงจูงใจในการเรียนรู้ การระบุรูปแบบ
และกลยทุ ธก์ ารเรยี นรู้ การกาหนดวัตถุประสงค์การเรียนรูต้ ามความต้องการของพวกเขา การวางแผน
การติดตามและประเมินผลการเรียนรู้ การฝึกและพัฒนาทักษะการรู้คิด และการจัดการอารมณ์
ความรู้สึกและทรัพยากร การวจิ ัยนมี้ คี วามสาคัญเนื่องจากเป็นการวัดผลการมีส่วนร่วมของนักเรียนใน
การฝึกตนเองโดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง และแรงจูงใจของพวกเขาในการเตรียมและ
พฒั นาในฐานะบุคคลที่สามารถเผชิญหน้ากับชีวิตได้เพียงลาพังและฟันฝ่าอุปสรรคได้ โดยเฉพาะอย่าง
ย่ิงส่ิงทีเ่ กย่ี วขอ้ งกบั การฝกึ นน้ั ๆ

Andriotis (2017) สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านสารสนเทศและมี
ประสบการณ์ด้านการศึกษาไอทีและ e-learning งานเขียนของเขาได้รับการตีพิมพ์ในหลายสาขา
กลา่ วถงึ ความสาคญั ของทกั ษะการเรียนรู้แบบชนี้ าตนเอง (Self-Direction Learning Skills) วา่

1. ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะเฉพาะได้มากข้ึน (More Learners’ Development of
Specialized Skills) เม่ือพนักงานได้รับอนุญาตให้เลือกเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง พวกเขาจะมี
โอกาสฝกึ ฝนการช้ีนาตนเองทีช่ ว่ ยให้พวกเขาเรียนรู้ทกั ษะทพ่ี วกเขาสนใจอย่างแท้จริง ด้วยความสนใจ
ทมี่ ากข้ึนนพี้ วกเขากจ็ ะมโี อกาสมากข้นึ ที่จะไดพ้ ัฒนาทกั ษะใหม่ ๆ ซง่ึ จะเป็นการเพ่ิมคณุ ค่าใหต้ วั เอง

2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ (Leaners Learn What They Need) เราไม่ได้เรียนรู้
ดว้ ยวิธีเดียวกัน ข้อมลู จะไม่ถูกซึมซับและไมไ่ ดเ้ ข้าใจในจังหวะเดียวกันหรือดว้ ยวิธีการเดียวกัน นั่นคือ
บางคนอยากอ่านขณะอีกคนอาจชอบลงมือทา ซ่ึงรูปแบบการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองจะตอบโจทย์ใน
เร่ืองนีแ้ ละช่วยใหผ้ ู้เรียนทาตามสง่ิ ท่เี ขาต้องการและเรียนรใู้ นวิธีทรี่ ้สู ึกวา่ ใช่

3. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง (Leaners Learn from Direct Experience)
เมื่ออาจารย์สอนบทเรียนให้กับผู้เรียนอย่างงา่ ย ๆ และตรงไปตรงมา ผู้เรียนอาจเรียนรู้เรื่องน้ันได้ แต่
ก็ไม่มีอะไรมากกว่านั้น แต่ด้วยการเรียนรู้แบบชี้นาตนเอง (SDL) ผู้เรียนจะเข้าใจแนวคิดของส่ิงนั้น
และจะสามารถนาแนวคิดนี้ไปใช้กับสถานการณ์อ่ืน ๆ ได้ น่ีคือความแตกต่างท่ีสาคัญระหว่างการ
เรียนรู้แบบลึกซึ้งและการเรียนรู้แบบผิวเผิน ซึ่งการเรียนรู้แบบลึกซ้ึงนั้นผู้เรียนจะครุ่นคิดเกี่ยวกับ
ภาระงานและจดจ่อกบั สงิ่ นน้ั ๆ ขณะท่ีการเรียนรแู้ บบผิวเผนิ จะดีกวา่ การทอ่ งจาเพยี งเลก็ น้อย

34

Holz (2017) ท่ีปรึกษาด้านการส่ือสารและการตลาด Cape Town Area, South Africa
กล่าวถึง ทักษะการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง (Self-Direction Learning Skills) ว่าเป็นวลีท่ีสาคัญของ
นักการศึกษาในศตวรรษท่ี 21 และไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเป็นทักษะที่สาคัญในตลาดแรงงานในอนาคต
โลกสมัยใหม่ของการทางานเรียกร้องให้ผู้คนมีความสามารถในการจัดการตนเองได้ ท้ังในด้านเวลา
และความรู้ พนักงานท่ีสามารถมอบหมายให้แก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องมัวจัดการกับเร่ืองเล็ก ๆ น้อย ๆ
(micro-management) และสามารถพ่ึงพาได้ในเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบและประหยัด
จะไดร้ บั ผลตอบแทนสูง

ในอีกดา้ นหน่ึง อิสระในการบรรลเุ ป้าหมายและวตั ถปุ ระสงคใ์ นแบบของคุณเอง ก็เปน็ ที่ช่ืน
ชมของพนักงานเช่นกัน เม่ือองค์กรกาหนดวัตถุประสงค์แทนท่ีจะเป็นการกาหนดตัวงาน พนักงานจะ
รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของและความเป็นอิสระซ่ึงต่างจากการทางานให้เสร็จ ๆ ไปในแต่ละวัน โดยการ
กาหนดเป้าหมายปลายทางซึ่งไม่ใช่การกาหนดกระบวนการ ถือว่าองค์กรให้อานาจแก่ทีมในการ
ดาเนนิ โครงการด้วยวิธที ี่สร้างสรรคแ์ ละมีประสิทธภิ าพมากขนึ้

จากน้ันก็มี “เทรนด์รับงานอิสระ” ซึ่ง 34% ของแรงงานของอเมริการะบุตัวเองว่าเป็น
คนทางานอิสระ ผู้เช่ียวชาญในวิชาชีพจานวนมากท่ีผ่านการศึกษาในระบบมาแล้วต่างก็ใฝ่หางาน
สจุ ริตและอาชีพที่มีผลตอบแทนดี เพ่ือเสนอให้คนเลอื กซ้ือทักษะความเชี่ยวชาญของพวกเขาในตลาด
งานฟรีแลนซ์ท่ีมีการแข่งขันสูงในโลก ไม่ว่าพวกเขาจะเรียนท่ีโรงเรียนหรือไม่ก็ตาม บุคคลเหล่านี้
จาเป็นต้องใช้แรงขับ วินัยและการจัดการเวลาเป็นอย่างมากในแต่ละวัน กล่าวส้ัน ๆ ก็คือ ชีวิตการ
ทางานทง้ั หมดของพวกเขาคือการชีน้ าตนเอง

บริษัทและองค์กรขนาดใหญ่ได้ทาการบันทึกจุดเด่นของประโยชน์จากพนักงานท่ีเป็นฟรี
แลนซ์ บ้างก็เร่ิมทดลองกับโครงสร้างองค์กรท่ีใช้โครงการเป็นฐาน (แทนท่ีจะเป็นโครงสร้างแบบไซโล
หรือ ปิรามิด) ผู้เชี่ยวชาญด้านองค์กรหลายคนเชื่อว่าคุณลักษณะแบบผู้รับงานอิสระสามารถเพิ่ม
คณุ ค่ามหาศาลให้กับวิธกี ารท่ีองคก์ รขับเคล่ือนและก้าวหน้าไป

สิ่งสาคัญท่ีสุดคือ การชี้นาตนเองเป็นทักษะที่จาเป็นในโลกที่เรากาลังเตรียมนักเรียนของ
เราไว้ อย่างไรก็ตามวฒั นธรรมในห้องเรียนที่เราสร้างขึ้นและสืบทอดมานั้น ไม่ได้ออกแบบมาเพ่ือการ
ชนี้ าตนเอง และมีแนวโน้มจะเป็นเช่นน้ีมากข้ึนเช่นเดียวกับการบริโภคแบบยอมทาตาม และกระบวน
ทัศน์ท่ีไม่มีการคิดย้อนกลับ ซ่ึงนักเรียนซึมซับสิ่งที่ครูพูดและขย้อนออกมาในรูปของการเขียนความ
เรียง ภาระงานและการสอบ เพอื่ แสดงให้เห็นว่าเข้าใจสิ่งนั้นแลว้

ในขณะท่ีครูหลายคนจะรับรู้ว่า วยั รุ่น อาจเป็นตัวแทนข้อสรุปของการขาดการชี้นาตนเอง
แต่ก็มีตัวอย่างและกรณีศึกษาที่อาจแสดงถึงส่ิงที่ตรงกันข้าม น่ันคือ โอกาสที่จะแสดงในลักษณะชี้นา
ตนเองในชั้นเรียน นักเรียนจะประเมินค่าไว้สูงโดยมองหาอิสระในการสร้างสรรค์ การแสดงออก และ
การรู้จกั ควบคุมตนเอง

Help Teaching (2019) เป็นเวบ็ ไซต์ท่ีนาเสนอขอ้ มูลทีห่ ลากหลายครอบคลุมเนอ้ื หาวิชา
พ้นื ฐาน 4 วชิ า (ภาษาอังกฤษ / ศิลปะ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สงั คมศึกษา) และวิชาอ่นื ๆ รวมถึง
การศึกษาปฐมวัย ศิลปะดนตรีและทักษะการเรียนรู้ ได้กล่าวถึงความสาคัญของ Self-Direction
Learning Skills ว่า ตอนเรยี นมัธยมศกึ ษาตอนปลายฉันรู้สึกหลงใหลในดาราศาสตร์ ฉนั ไม่รูอ้ ะไรมาก
แต่สงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับจักรวาลของเรามากข้ึน โรงเรียนของฉันเสนอโปรแกรมท่ีอนุญาตให้นักเรียน

35

ออกแบบและทาตามหลักสตู รของตนเองภายใต้การแนะนาของอาจารย์ที่ปรกึ ษา ฉันใช้เวลาปีสุดท้าย
ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์แบบดั้งเดิม เย่ียมชมหอดูดาว ทาการวิจัย งานเขียน
ศึกษาแผนภูมิดาวและท้องฟ้ายามค่าคืน และเข้าฟังการบรรยาย ส่ิงท่ีน่าจดจาท่ีสุดคือการสอนโดย
อาจารย์ Clyde Tombaugh ผู้ค้นพบดาวพลูโตซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว ทั้งหมดน้ีเกิดขึ้นก่อนจะมีการ
เรยี นรแู้ บบออนไลน์และมกี ารค้นพบดาวเคราะหน์ อกระบบดวงแรก

ผู้ใหญ่เป็นผู้เรียนรู้ที่ช้ีนาตนเอง (Adults are Self-Directed Leaners) เม่ือหัวหน้าของ
คุณขอให้คุณทาโครงการใหม่ ๆ คุณจะไม่ยกมือขึ้นแล้วพูดไปว่า “ฉันทาไม่ได้” แต่คุณจะพัฒนา
แผนปฏิบัติการและลงมือทางาน หากคุณพบสิ่งท่ีน่าสนใจคุณก็จะได้เรียนรู้เพ่ิมเติมโดยการอ่าน ดู
วิดีโอ ฟังพอดแคสต์ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืนท้ังแบบต่อหน้าและเสมือนจริง คุณได้เรียนรู้วิธีการ
เรียนรู้

การรู้วิธีเรียนรู้เป็นทักษะท่ีจาเป็นในชีวิตของเราในฐานะท่ีเป็นผู้ใหญ่ ดังน้ันเราไม่ควรให้
นักเรียนและลูก ๆ ของเราทาสิ่งเดียวกันหรอกหรือ? การให้เคร่ืองมือ คาแนะนา และแรงจูงใจที่
ถกู ตอ้ งเหมาะสม จะทาใหศ้ กั ยภาพในการประสบความสาเร็จของนักเรียนน้นั ไรข้ ีดจากัด

กระตนุ้ การเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง (Stimulate The Self-Directed Learning)
ทารกและเด็กวัยหัดเดินเป็นผู้เรียนรู้แบบชน้ี าตนเองตามธรรมชาติ พวกเขาทาการรวบรวม
ข้อมูลอย่างต่อเน่ืองเพ่ือหาข้อสรุปเองเกี่ยวกับวิธีการทางานของโลก แต่เมื่อเด็ก ๆ เข้าโรงเรียนแล้ว
พวกเขาสูญเสียแรงจูงใจในตัวเองเล็กน้อยและมุ่งเน้นไปท่ีการแนะแนวทางจากครูและผู้ปกครองแทน
การเรียนรู้แบบช้ีนาตนเองทาให้ผู้ใหญ่แสดงบทบาทผู้จดั การหรอื ท่ปี รึกษาท่ีเป็นกลาง มากกว่าเปน็ ครู
ดว้ ยการต้งั คาถามและจดั กิจกรรมเพ่ือช่วยให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง
คุณสามารถกระตนุ้ ให้เด็กมีสว่ นร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้แบบช้นี าตนเองโดย :
1. ใหน้ กั เรยี นต้ังเป้าหมายการเรียนรใู้ นต้นปีการศกึ ษา
2. กระตุน้ นักเรียนใหป้ ระเมนิ ตนเองและติดตามผลการเรียนของพวกเขา
3. การจัดบทเรียนที่สามารถดาเนนิ การดว้ ยตนเองเพอ่ื ใหน้ ักเรยี นทางานดว้ ยตนเอง
4. การกาหนดโครงงานวจิ ยั ทน่ี ักเรียนได้เลอื กหัวขอ้
5. การต้ังคาถามเพ่ือใหน้ ักเรยี นตอบ
6. นาเสนอปัญหาเพื่อให้นักเรยี นแกไ้ ข
7. การให้นกั เรยี นทาการสอนในส่งิ ทีพ่ วกเขาสนใจ
การสอนนักเรียนให้ถาม “ทาไม” และไมย่ อมรับคาตอบ “ฉนั ไมร่ ”ู้
เมื่อนักเรียนเริ่มเรียนรู้ด้วยตนเองพวกเขาจะต้องได้รับการสนับสนุนและให้กาลังใจอย่าง
มาก สาหรับนักเรียนท่ีจะประสบความสาเร็จอย่างแท้จริงด้วยการเรียนรู้แบบช้ีนาตนเอง คุณจะต้อง
จัดหาเคร่ืองมือเพ่ือช่วยให้พวกเขาอยู่ในเส้นทางท่ีถูกต้อง ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะต้องมีทักษะการ
เรียนรู้ที่ชานาญและรู้วิธีกาหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในขณะท่ีพวกเขาพัฒนาทักษะ
เหล่าน้ีคุณจะสามารถก้าวไปอยู่ในตาแหน่งเบื้องหลัง และปล่อยให้พวกเขามีอิสระในการเรียนรู้ด้วย
ตนเอง
ความสาคัญการเรยี นรู้แบบชนี้ าตนเอง (Importance of Self-Directed Learning)


Click to View FlipBook Version