ABSTRACT
The purposes of this academic article are to study and review the basic information
about the concepts, theories, researches of innovation linking to the community economy
and to discuss the phenomena from the results of research related in the following issues;
the meaning of innovation and community innovation, the components of community
innovation, the community economic linking and the community sustainability. In this article,
the definition of community innovation is creating creative differences to solve problems in
the community, furthering knowledge or folk wisdom, including strengthening the community
in the fields of economy, society, environment, education and balanced maintenance of local
wisdom. There are 3 components of community innovation which are 1) innovations created
to solve problems or promote a community 2) participation in community management by
people in the community and 3) good relationships with internal and external networks. The
linkage of the community economy involves the circular economy, the welfare and the
strength of the community. In order to plan for the sustainability of communities in Thailand,
it is necessary to consider the balance among economy, society, environment and education
without neglecting the foundation culture of the community and preserving local wisdom and
way of life. This finding support Stakeholders with community development for the guidelines
for creating and develop community innovations to connect the community economy to
sustainability.
Keywords: Innovation, community innovation, Linking economy community, sustainability,
participation management
Article history:
Received 13 May 2020
Revised 5 June 2020
Accepted 8 June 2020
SIMILARITY INDEX = 0.90 %
33 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
1. บทนำ
ในปัจจุบัน นวัตกรรม (Innovation) มีฐานะสำคัญโดยเป็นกุญแจหลักในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่
การเติบโตและสร้างความสามารถในการแข่งขันภายใต้เศรษฐกิจและสังคมยุคดิจิทัล องค์การทรัพย์สินทาง
ปัญญาแห่งโลก (WIPO) มีการจัดลำดับความก้าวหน้าของประเทศด้วยการวัดจากผลผลิตทางนวัตกรรม
เรียกว่า ดัชนีนวัตกรรมโลก ในปี 2019 มุ่งเน้นวัดผลจากนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ (Creating
Healthy Lives – The Future of Medical Innovation) ทม่ี องเหน็ ความสำคัญของนวตั กรรมทางการแพทย์
ที่ส่งผลอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตโดยประเทศไทยอยู่อันดับที่ 43 โดยมีผลงานที่ดี
ข้ึนในด้านสถาบัน (Institutions) ด้านทุนมนุษย์และการวิจัย (Human Capital and Research) ด้าน
ศักยภาพทางธรุ กจิ (Business Sophistication) และด้านผลผลิตจากองค์ความร้แู ละเทคโนโลยี (Knowledge
and Technology Output) (สำนกั งานนวัตกรรมแหง่ ชาติ, 2562)
นวัตกรรมมคี วามสมั พันธ์กับเรือ่ งของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของมนุษย์ ที่ส่งผลให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่างๆ ในทางธุรกิจ ทั้งในอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ และการตลาด
โดยนำแนวคิดนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมไปถึงกา รเพ่ิม
ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทั้งในตลาดระดับประเทศและ
ต่างประเทศ(จิตรลดา พันธุ์พณาสกุลและวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล,2562) ประเทศไทยมีนโยบายผลักดัน
ผู้ประกอบการ SMEs ให้ก้าวไปสู่ก้าวไปสู่การเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม มีความท้าทายที่ต้องเพ่ิม
ความคดิ สร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อสร้างธุรกิจท่ีมีมูลค่าเพ่ิมเชิงพาณชิ ย์เพื่อกา้ วข้ามความเป็นประเทศกำลัง
พัฒนาแต่อย่างไรก็ดี ประเทศไทย ต้องตระหนักถึงหนึ่งในประเด็นสำคัญของประเทศกำลังพัฒนาคือการ
มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วมักทำให้อุตสาหกรรมมองข้ามผลกระทบตอ่ สิ่งแวดล้อมที่มีสาเหตุ
จากการผลิต การบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมอย่างไม่เหมาะสมและผลกระทบที่เป็นอันตรายในภายภาค
หน้าได้ (Curie Park et al., 2019)
การมองเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมแต่เพียงการเพิ่มมูลค่าเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับ
รายได้ ให้พ้นกักดับของประเทศกำลังพัฒนาคงไม่เพียงพอจึงยังต้องหันกลับมามองถึงรากฐานของการพัฒนา
ประเทศ ในด้านของคุณภาพชีวิตและ การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การพัฒนาชุมชนด้วยนวัตกรรมย่อม
เป็นจดุ เริม่ ตน้ ของการแก้ไขปัญหาเดิมที่มีอยู่ สร้างสรรคต์ อ่ ยอดสิ่งใหม่เพอ่ื การพฒั นาอยา่ งรวดเรว็ และ เน้น
การพัฒนาที่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาตามกรอบ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่
ยั่งยืนใน 3 มิติมีความเชื่อมโยงเกื้อหนุนและบูรณาการ โดยในปี ค.ศ. 2030 มีความมุ่งมั่นในการขจัดความ
ยากจนบนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการ
พฒั นาการเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ, 2017)
บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดสำคัญเพื่อการสร้างนวัตก รรมชุมชนเพ่ือ
ขับเคลื่อนการเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน โดยนำเสนอนิยามของนวัตกรรของนักวิชาการ
34 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
องค์ประกอบของนวัตกรรมชุมชน นวัตกรรมชุมชนและการเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชน และ ความยั่งยืนของ
ชุมชน เพื่อเป็นประโยชน์ทางวิชาการ และการนำไปประยุกต์ใช้จริงในองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการ
นำพาประเทศสกู่ ารพฒั นาอยา่ งยั่งยืนและสมดุลในทุกมิติ
ความหมายของนวตั กรรม
นวัตกรรมเป็นคำที่พบมากในปัจจุบันมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้มากมาย ซึ่งโดยส่วน
ใหญ่ต้องคำนึงถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างความแตกต่างเพื่อให้เกิดความใหม่ที่สามารถมีประโยชน์ต่อ
องคก์ าร ทเ่ี ก่ยี วข้อง รวมถงึ มีประโยชนเ์ ชงิ พาณิชย์ด้วย
Robbins and Coulter (2002) ได้ให้ความหมายว่า นวัตกรรม คือ กระบวนการนำความคิด
สร้างสรรค์ มาแปลงให้เป็นสินค้า บริการ หรือวิธีการทำงานใหม่ ๆ ให้เกิดประโยชน์ หรือทำให้เป็นรูปธรรม
มากข้นึ ซ่ึงเป็นความหมายกวา้ งท่ีครอบคลมุ ไปถึงนวัตกรรมเชิงสังคมด้วย
จฑุ ารตั น์ บนั ดาลสิน (2557) กล่าวว่า นวตั กรรมจะเกิดขน้ึ ได้ย่อมมาจากความคิดสร้างสรรค์ของคนท่ี
คดิ หลากหลายวิธี เพ่ือแกไ้ ขหรือปรับปรุงสิ่งท่ีทำอยู่เดิมใหด้ ีหรือมีประสิทธภิ าพมากขึ้น รวมทั้งคิดค้นประดิษฐ์
สิ่งใหม่ๆ ขนึ้ มา
ดนชนก เบื่อน้อย (2559) นิยามว่า นวัตกรรม คือ “ทำสิ่งใหม่ขึ้น” นวัตกรรมมีความสัมพันธ์และ
ส่งผล ทำใหเ้ กิดดา้ นต่าง ๆ ไมว่ ่าจะเปน็ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวฒั นธรรม
สมนกึ เอ้ือจริ ะพงษพ์ ันธ์และคณะ (2553) ได้ให้ความหมายว่า นวตั กรรม คอื ส่ิงใหม่ทเี่ กดิ ขน้ึ จากการใช้ความรู้
ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสรา้ งสรรค์ ในการพฒั นา ขึ้น ซึง่ อาจจะมลี ักษณะเปน็ ผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการ
ใหม่ หรือกระบวนการใหม่ ทก่ี อ่ ใหเ้ กดิ ประโยชนใ์ นเชิงเศรษฐกิจ และสังคม
สำนักงานนวตั กรรมแห่งชาติ (2549) ได้นิยามว่า นวัตกรรม คอื “สง่ิ ใหมท่ ี่เกิดจากการใช้ความรู้และ
ความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม” นวัตกรรมนับเป็นกระบวนการที่เกิดจากการนำ
ความรู้และความคิดสร้างสรรค์มาผนวกกับความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นธุรกิจ
นวัตกรรมหรือธุรกิจใหม่ อันจะนำไปสู่การลงทุนใหม่ที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศ
จากการทบทวนวรรณกรรมข้างตน้ จะพบว่า นวัตกรรมถูกใช้อย่างแพรห่ ลายในบรบิ ทต่าง ๆ ท้งั บรบิ ท
องคก์ ารที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร
ในทรรศนะของผู้เขียน ขอนิยามคำว่า นวัตกรรมว่า เป็นการสร้างความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
เพื่อการแข่งขันอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนโดยผลลัพธ์ที่ได้นั้นอาจเป็นสินค้า หรือบริการ รวมทั้งต้องมีผู้ยอมรับ
ในนวัตกรรมน้ันว่ามคี ุณค่า หากเป็นสิ่งใหม่แตไ่ ม่มีผู้ยอมรบั และไมม่ ีคุณค่า ถือว่าไม่ใชค่ วามเปน็ นวัตกรรม หาก
พิจารณาเพียงบริบทความหมาย คนจำนวนมากต่างมุ่งให้ความสำคัญไปในทิศทางของเรื่องธุรกิจเพียงเท่านั้น
มองในเชิงพาณิชย์ที่มีการลงทนุ เพื่อหวังผลประโยชน์ดา้ นตัวเงินแต่แท้ท่ีจรงิ แล้วยังมีการใช้นวัตกรรมเพื่อการ
แก้ไขปัญหาในชุมชน เพื่อต่อยอดความรู้หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
35 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังเช่น ในแผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2563) ของกรมการ
พฒั นา-ชุมชน “เศรษฐกจิ ฐานรากมั่นคงและชมุ ชนพง่ึ ตนเองได้ ภายในปี 2565 ” ซ่งึ สอดคลอ้ งกับ แผนแม่บท
ภายใต้ยุทธศาสตรช์ าติ ในประเดน็ ต่าง ๆ ดงั น้ี
1) ประเด็น เศรษฐกิจฐานราก เรื่องการส่งเสริมให้มีนวัตกรรมทางการเงินเพื่อสนับสนุนแหล่งทุน
ใหก้ ับเศรษฐกจิ ชุมชน
2) ประเด็น การต่อต้านการทจุ รติ และประพฤตมิ ิชอบ โครงการพัฒนาชุมชนใสสะอาด เป็นนวัตกรรม
ในการต่อต้านการทุจริตแบบมีส่วนร่วมด้วยการสร้างจิตสานึกและค่านิยมให้บุคลากรในสังกัด ตลอดจนภาคี
เครอื ขา่ ย
3) ประเด็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัว โดยมีเป้าหมาย ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเพ่ิม
คณุ ค่าและมูลคา่ ใหก้ ับชมุ ชน เสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศอยา่ งเข้มแข็งและยั่งยนื ดว้ ยพฒั นาผลติ ภัณฑ์
ชุมชน ด้วยองค์ความรู้และนวตั กรรม
4) ประเด็นการมุ่งเน้นการใช้ระบบมาตรฐานและนวัตกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
(more sustainable) ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประชาชนกลุ่มต่างๆ และสถาบันทางเศรษฐกิจ มี
สมรรถนะสงู ขึ้น (high performance economic institution)
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้นิยาม นวัตกรรมเพื่อชุมชน ว่าคือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้
ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยการพัฒนา
และการเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรม ให้เกิดการ
ขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Kendra and Wachtendorf (2007) ได้
กล่าวว่า นวัตกรรมเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับนวตั กรรมทางเทคนิคหรืออุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ใหม่และนำเสนอผ่านการทำการตลาดที่แตกต่างกัน ส่วนนวัตกรรมชุมชน นวัตกรรมชุมชน
(Community Innovation) ถูกนำมาใช้ในมิติของศาสตร์การวางแผนและจัดการองค์การเกี่ยวข้องกับการ
จัดการทุนและกิจกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับชุมชนสังคมหรือการพัฒนาเศรษฐกิจรวมถึงเทคโนโลยีที่
สามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงการสร้างความยั่งยืนแก่ผู้ประกอบการทางสังคมโดยเฉพาะการริเริ่ม
ต่อต้านความยากจนในสังคม
ในทรรศนะผเู้ ขียน นวัตกรรมชุมชน จึงหมายถึง การสรา้ งความแตกตา่ งอยา่ งสร้างสรรค์เพ่ือการแก้ไข
ปัญหาในชุมชน เพื่อต่อยอดความรู้หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษาและการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างสมดุล การใช้
นวัตกรรมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและแพร่หลายมากในชุมชน ตัวอย่างนวัตกรรมชุมชนที่เราได้เห็นตลอด
ระยะเวลาสิบกว่าปี ที่ผ่านมาได้แก่ การแก้ปัญหาด้านการเงินด้วยกองทุนหมู่บ้าน หรือการจัดตั้งธนาคาร
ชุมชน การแก้ปญั หา ด้านสิง่ แวดลอ้ มด้วยการจัดตัง้ ธนาคารขยะ การพัฒนาผลิตภณั ฑ์ใหม่ของวิสาหกิจชุมชน
โครงการเหล่านี้ เป็นโครงการที่มีการผสานนวัตกรรมเพื่อเข้าไปช่วยเหลือ แก้ไข ปรับปรุง และต่อยอดให้แก่
36 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ชุมชนทั้งสิ้น หากแต่การขาดการเชื่อมโยงความเป็นชุมชนที่แท้จริง ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาเข้าสู่กับ
ระบบเศรษฐกจิ ท่ยี ังคงมีความเหลื่อมลำ้ และขาดความสมดลุ อันนำไปสู่ความไมย่ ั่งยนื ในทสี่ ดุ
องค์ประกอบของนวตั กรรมชุมชน
ผู้เขียนไดบ้ รู ณาการ นิยามความหมายและเส้นทางการนำไปใช้เพื่อแกป้ ัญหา และยกระดับผลิตภณั ฑ์
ภายในชุมชนแล้ว คำว่านวัตกรรมชุมชน นอกจากนี้ยังรวมถึงการประยุกต์ใช้กระบวนการใหม่ๆอันเกิดจาก
องคค์ วามรู้นวัตกรรมเพ่ือแกป้ ัญหาในชุมชน ต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แกผ่ ลิตภัณฑ์ หรือบริการของชุนชน
ได้ และบูรณาการงานวิชาการของนักวิชาการหลายท่านที่ได้กล่าวถึงความเป็นองค์การนวัตกร รมและการ
จัดการความรู้ท่ีสามารถนำมาใช้จัดการกับชมุ ชนเพ่ือสร้างความยั่งยนื ได้ เชน่ อรณุ ี ไพศาลพาณิชย์กลุ (2560)
ได้กล่าวว่า องค์การนวัตกรรม หมายถึง องค์การที่มีระบบการบริหารจดั การนวตั กรรมเพ่ือให้เกิดการปรับปรุง
หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ แผนงาน กระบวนการ โดยองค์การนวัตกรรม มีคุณลักษณะ ดังนี้ การนำ
องค์การ เพื่อนวัตกรรม โครงสร้างองค์การที่เอื้อต่อการบริหารจัดการนวัตกรรม บรรยากาศที่ส่งเสริมการ
เรียนรู้ความสามารถในการสร้างสร้างสรรค์และนวตั กรรม และ ระบบงานที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของ
บุคลากร ทั้งน้ี จันทร์ศรี สิมสนิ ธ์ุ และคณะ (2559) ศึกษา นวตั กรรมชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต พบว่า 1.
การพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับชุมชนเพื่อใหเ้ กิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่โดยคนในชมุ ชนตอ้ งร่วมกิจกรรม
ในนวัตกรรมชุมชนอย่างไม่แบ่งแยก เรียนรู้ร่วมกันเกิดทักษะในการดำเนินชีวิต นำหลักปรัชญาเศ รษฐกิจ
พอเพียงมาประยุกต์ใช้ 2.การพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรูใ้ ห้เกิดการเรียนรู้รว่ มกัน และ 3. คนในชุมชนมี
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงทุกด้านโดยเรียนรู้ได้ด้วยเชิงประจักษ์ในพฤติกรรมผ่านกิจกรรมหลักในการเรียนรู้
รว่ มกนั ใน 3 ช่องทางคือ 1) เรยี นรู้ร่วมกันในชมุ ชน 2) การนำชุมชนไปเรียนรรู้ ว่ มกับชุมชนอน่ื และ 3) ชุมชน
พื้นที่อื่นมาเรียนรู้ร่วมกับนวัตกรรมชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต นำหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมา
ประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ตระหนกั และเห็นคุณคา่ ของการเรยี นรู้ซึ่งต้องต่อเน่ืองตลอดชวี ติ นอกจากน้ี การ
เกิดขึ้นของนวัตกรรมในชุมชน เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ นวัตกรรมสังคมอันมีจุดหมายปลายทางเพ่ือ
แกป้ ัญหาทเี่ กิดข้ึนในชุมชน ซ่งึ ประกอบดว้ ย กระบวนการนวัตกรรมสงั คม พลวัตนวัตกรรมสังคม และเง่ือนไข
ในการบูรณาการนวตั กรรมสังคม เพอื่ เปน็ แนวทางการทำความเขา้ ใจนวัตกรรมสงั คมอย่างเปน็ ระบบ (บรรเลง
อนิ ทร์จนั ทร์, 2559)
โดยนวัตกรรมชมุ ชนในทรรศนะของผู้เขยี นตอ้ งมอี งคป์ ระกอบหลกั ดังน้ี
1. นวัตกรรมเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหรือส่งเสริมชุมชน ปัญหาหลักในการพัฒนาชุมชนในประเทศไทย
สืบเนื่องมากจาก คนในชุมชนปัญหาหนี้สิน ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
(อุ่นเรือน เล็กน้อย ,2556) ทั้งนี้มีหลายหน่วยงานที่เข้ามา ให้ความช่วยเหลือเป็นการบูรณาการวิจัยเพื่อหา
สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาและพยายามใช้ความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานขององค์ความรู้ศาสตร์ต่างๆเข้ามา
ช่วยเหลือ เช่น นวัตกรรมการจัดการดูแลสุขภาพของชุมชน “อาสาปันสุข” โดยสร้างกระบวนการนวัตกรรม
เน้นการมีสว่ นรว่ มของชุมชนเพ่ือการจดั การดูแลสุขภาพของชุมชนในกลุ่มผู้สูงอายตุ ดิ บ้านติดเตียง ภายใต้การ
37 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ดำเนนิ งานของชมรมอาสาปันสขุ (รังสยิ า นารนิ ทร์ และเรณู มีปาน,2558) โครงการ“บ้านพอเพียงชนบทแบบ
บูรณาการ”เพ่ือแกป้ ัญหาความเหล่ือมล้ำดว้ ยการสร้างความเข้าใจ สภาองค์การชุมชน ตั้งขบวนองค์การชุมชน
บูรณาการการทำงานในเชงิ รุก นอกจากน้ี นวตั กรรมชุมชนยงั เป็นการต่อยอดเพื่อการสง่ เสริมชุมชนในเร่ืองการ
พัฒนาผลิตภณั ฑ์ใหม่อกี ดว้ ย
2. การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยคนในชุมชน : การบริหารจัดการในชุมชน เป็นการบูรณาการ
แนวคิดทฤษฎีการมสี ว่ นรว่ มของประชาชน และ การบริหารการจดั การในการขับเคล่ือนการพัฒนากิจกรรมใน
ชุมชนโดยแนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลกั สำคัญในการบริหารจัดการและพัฒนาชุมชนให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทอ้ งถิ่น (สำนักวิชาการ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,2558) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นการเปิดโอกาสให้
ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมเตรียมการพัฒนาท้องถิ่นตั้งแต่การวางแผนและร่วมปฏิบัติ รวมทั้งการจัดสรร
ทรัพยากรของชุมชน สามารถลดความขัดแย้ง จากความแตกต่างด้านความคิด และมีความรู้สึกรับผิดชอบ
ร่วมกัน (Suebvises ,2018) การบริหารมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบเปิด ซึ่งเป็นการสื่อสาร
สองทางระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน หรือองค์การ ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเรื่องการพัฒนา
ร่วมคดิ รว่ มแก้ปญั หา รว่ มตดั สนิ ใจ ร่วมการดำเนนิ การและร่วมรบั ผลประโยชน์ (สมบตั ิ นามบุรี,2562) ในการ
ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา หรือ สร้างสรรค์ชุมชนให้ดีขึ้นและประสบผลสำเร็จนั้น ในทรรศนะผู้เขียนมีความ
คิดเห็นว่า ส่วนประกอบสำคัญควรประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน สมาชิกในชุมชน และการบริหารจัดการอย่าง
เป็นระบบ
ผนู้ ำชุมชน มสี ว่ นต่อความสำเร็จอยา่ งมาก ตอ้ งเปน็ คนมีวิสยั ทัศน์และพร้อมเสยี สละเพอ่ื สว่ นรวม ผู้นำ
มีบทบาทสำคญั ในการทำใหช้ ุมชนมีความหนาแน่นและเป็นกลุ่มพร้อมเปน็ ตัวแทนในการสร้างเครือข่าย กับ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน (Jingcheng et al., 2016) นอกจากนี้ ผู้นำมีอิทธิพลต่อ
ลักษณะทางวัฒนธรรมของชุมชนซ่งึ มผี ลกระทบต่อรายได้ของชุมชนสง่ ผลต่อการสรา้ งงาน และสรา้ งอาชีพ ใน
ชุมชน (Prummer and Siedlarek ,2017).
สมาชิกในชุมชน เป็นส่วนสำเร็จของการสร้างชื่อเสียงให้แก่ชุมชนซึ่งขึ้นอยู่กับขึ้นอยู่กับลักษณะของ
การมีส่วนร่วมของสมาชิก สมาชิกในชุมชนต่างมีบทบาทที่หลากหลายและซับซ้อนแต่ต่างมีความมุ่งหวังที่จะ
ขับเคลื่อนชุมชนด้วยการวางแผนการบริหารจัดการชุมชนด้วยกัน (Cleopatra and Black,2019) ทั้งนี้ การ
เกิดขึ้นของนวัตกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพื่อจะแก้ปัญหาในชุมชนโดยพิจารณาจากสุขภาพของคนในชุมชนและ
ระบบนิเวศในชุมชนเอง บทบาทสำคัญของสามชิกในชุมชน คือบทบาทของการสื่อสารเพื่อสะท้อนปัญหา
ภายในชมุ ชนใหเ้ ป็นรปู ธรรม
การบรหิ ารจัดการอย่างเปน็ ระบบ เปน็ เสมอื นเครื่องมือในการขับเคล่ือนชุมชนให้มีประสิทธิภาพ เป็น
การบูรณาการหน้าท่ีทางการจัดการให้เข้ากับบริบทของชุมชน (เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสัญญา
เคณาภูมิ ,2559) ได้กล่าวว่า องค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการของการจัดการ ได้แก่ คน (Man) เป้าหมาย
(Goals) โครงสร้าง (Structure) ข้อมูลข่าวสารความรู้ (Data Message and Knowledge) เทคโนโลยี
38 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
(Technology) และสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยคนในชุมชนซึ่งเป็นแกนหลักสำคัญต้องร่วมกัน การ
วิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาของชุมชนมีการวางแผนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเหมาะสมกับ
ลักษณะทางกายภาพ ของชุมชน มีการกำหนดบทบาทในการดำเนินงานใครทำหน้าที่อะไรในเรื่องที่ต้องการ
ดำเนินงานในชุมชน ทั้งนี้ชุมชนต้องมีการสื่อสารระหว่างกันเพื่อให้การดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันและ
โปร่งใส รวมถึง การสื่อสารให้ข้อมูลแก่ หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ให้คำแนะนำหรืออำนวยความ
สะดวก ในปจั จุบนั ต้องมีการสนบั สนุนให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีและใช้เทคโนโลยีอย่างเปน็ ประโยชน์สูงสุดเพื่อ
ส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องรวมถึงมีการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผลไว้วางแผนการพัฒนาต่อยอด หรือ
แก้ปัญหาในชุมชนด้วย สิ่งแวดล้อม ในชุมชนเกี่ยวข้องกับ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น
ปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต และหล่อเลี้ยงคนในชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มี
ผลกระทบต่อจุดเริ่มต้นของความเสียหาย ของมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ หรือในระดับโลก
ตอ่ ไป การสร้างจิตสำนึกใหป้ ระชาชนมีสว่ นรว่ ม ในการจัดการสง่ิ แวดล้อมในชุมชนเป็นพนื้ ฐานสำคัญของการ
คงอย่ขู องชุมชน ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบน้ันมีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกนั ในการขับเคล่ือนการดำเนินงานด้วย
กระบวนการการจัดการประกอบไปด้วย การกำหนดเป้าหมายและการวางแผน การใช้ฐานข้อมูล การใช้
ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ การทำงานเป็นทีม และการเพิ่มสมรรถนะขององค์การทั้งประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล (อุทัย ปริญญาสุทธินันท์ ,2561) ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดการอย่างไร เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของคน
ในชมุ ชนต้องไปในทิศทางเดียวกันและมีการยอมรับร่วมกัน รวมถึงมีการสื่อสารอย่างต่อเน่ืองเพราะในปัจจุบัน
ไม่มีองคก์ ารใดท่หี ยุดนิง่ มีแตค่ วามเป็นพลวตั พร้อมรบั มอื กบั การเปล่ียนแปลงอยู่เสมอ
3. ความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายภายในและภายนอกชุมชน ในมุมมองทางธุรกิจเครือข่ายถูกมองว่า
เป็นทรัพยากรหนึ่งที่มีคุณค่าขององค์การ การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ (Business Networking) เป็นวิธีการ
หนึ่งซึ่งเป็นความรว่ มมือระหวา่ งผู้เกี่ยวข้องหรือธรุ กิจต่างหลายๆองค์การ ซึ่งการสร้างเครือข่ายจะสามารถทำ
ให้เพิ่มสามสามารถให้แก่องค์การดา้ นสร้างความไดเ้ ปรียบทางการแข่งขัน หรือแม้แต่การแบง่ ปนั ความรู้ (ยุทธ
ชัย ฮารีบิน และคณะ,2559) เครือข่ายของชุมชนเป็นส่ิงสำคญั ที่ทำให้เกดิ การพัฒนาในชมุ ชนได้ มีความหมาย
ที่กว้างไกลและสลับซับซ้อนมาก ในบทความนี้ ขอแบ่งเป็นเครือข่ายภายในชุมชนเอง ซึ่งหมายรวมถึงการ
รวมกลุ่มของคนในชุมชนตามลักษณะความสัมพันธ์และเป้าหมายทิศทางเดียวกัน หรือ แม้แต่เครือข่ายตาม
บริบทพ้นื ที่ของท่อี ยู่อาศัย เชน่ กลมุ่ ผูส้ งู อายุ กลุ่มสตรปี ระจำตำบล กลุ่มผนู้ ำหมูบ่ ้าน นอกจากนี้ ยังมเี ครอื ขา่ ย
กับหน่วยงานราชการภายในชุมชน เช่น โรงเรียน วัด องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งการทำงานร่วมกันของ
เครือข่ายภายในชุมชนนี้เพื่อสร้างการพึ่งพาตนเองให้แก่คนในอยู่ชุมได้มีวิถีชีวิต ที่มีความสุขร่วมกัน แต่
ปัจจุบันการมเี ครือข่ายภายนอกชมุ ชนเปน็ เรอ่ื งของการเข้ามาช่วยพัฒนาองคค์ วามรู้ ในชมุ ชนเพื่อสร้างความเป้
นอยู่ที่ดี รวมถึงการสรา้ งความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ชุมชน เปรียบเสมือนการทำงานแบบบูรณาการเพื่อสรา้ ง
ความเจรญิ กา้ วหนา้ ให้แก่ชมุ ชนในท่ีสดุ โดยเครือขา่ ยภายนอกน้ันจะเข้ามามสี ่วนรว่ ม ในการสรา้ งศกั ยภาพเพ่ือ
การแข่งขันอย่างยั่งยืน เช่น ครือข่ายด้านการตลาด เครือข่ายข้อมูล เครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งจะมีหน่วยงานทั้ง
ภาครัฐและเอกชนภายนอก รวมทง้ั องค์การระดบั ประเทศเข้ามามีสว่ นเก่ียวขอ้ ง
39 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
จากที่กล่าวมาข้างต้น องค์ประกอบของนวัตกรรมชุมชน ประกอบไปด้วย 1) นวัตกรรมเกิดขึ้นเพ่ือ
แก้ปัญหาหรือส่งเสริมชุมชน 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยคนในชุมชน และ 3) ความสัมพันธ์ที่ดีกับ
เครือข่ายภายในและภายนอกชุมชน เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ต้องผ่านกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์เพ่ื อ
สร้างประโยชนต์ ่อสว่ นรวมใหไ้ ดม้ ากทส่ี ดุ ต้องอาศัยการริเรม่ิ จากคนในชุมชน และการรว่ มแรงร่วมใจของคนใน
ชุนเป็นพละกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ทั้งนี้นวัตกรรมชุมชนเป็นการประยุกต์ใช้กระบวนการใหม่ๆ อันเกิดจาก
องคค์ วามรนู้ วัตกรรมเพ่ือแก้ปญั หาในชุมชน ตอ่ ยอดและสร้างมูลค่าเพมิ่ ใหแ้ ก่ผลิตภัณฑ์ หรอื บรกิ ารของชุมชน
ซึง่ สรา้ งมูลคา่ ให้แกช่ มุ ชนในเชิงเศรษฐกิจไดด้ ้วย
นวตั กรรมชมุ ชนและการเชื่อมโยงเศรษฐกจิ ชุมชน
ระบบเศรษฐกิจในประเทศไทยในปัจจุบันไม่สามารถมองแบบแยกส่วนได้ เนื่องจากมีการเชื่อมโยง
กระบวนการทางเศรษฐกิจตัง้ แตต่ ้นน้ำจนถึงปลายนำ้ อย่างเป็นองค์รวม การรวมตวั กนั ด้านเศรษฐกิจของโลกส่ง
ผลกระทบต่อสังคมมากขึน้ โดยการเช่ือมโยงของเศรษฐกิจชุมชนน้ันเก่ียวข้องกับ เศรษฐกจิ หมนุ เวียนในชุมชน
สวัสดิการของชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชน โดยหากมองลึกลงไปถึงมิติของเรื่องการจัดการเงินของ
ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโดยตรงพบว่า การประกอบอาชีพ การออมของคนในชุมชน การจัดสวัสดิการ
ชุมชน การพึ่งพาตนเอง การจัดกิจกรรมของชุมชน เป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญของคนในชุมชนซึ่งเป็นรากฐาน
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งได้ (นพพร จันทรนาชู และคณะ,2561) ในปัจจุบันนโยบายการ
พัฒนาประเทศหันกลับมมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาชีพให้แก่ คนในชุมชนมากขึ้นเพื่อสร้างรายได้ใน
ชุมชน มากกว่าการพึ่งพาอาชีพอันเกี่ยวเนื่องกลับอุตสาหกรรมใหญ่ อาจด้วยเหตุผลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ
โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้นการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กลุ่มคนที่อยู่ใน
ชุมชนดว้ ยการพัฒนาวตั ถุดิบทอ้ งถ่นิ ให้เปน็ ต้นน้ำของแหล่งวตั ถุดิบจนถึงกระบวนการปลายน้ำ การแปรรูปเพ่ือ
การส่งออกไปขาย หรือการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนโดยมีคนในชุมชนเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน
ประวัติสำคัญก็สามารถดึงดูดรายไดเ้ ข้าสชู่ มุ ชนไดใ้ นท่ีสุด
นวัตกรรมชุมชน จึงเป็นได้ทั้งเรื่องของการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน การลดลงของ
ต้นทุนต่างๆ รวมถึงการมีนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน สวัสดิการชุมชน อันมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายเงิน
เพ่อื แก้ปญั หาท่ีเกิดข้ึนในชุมชนได้อีกด้วย นวัตกรรมชมุ ชนจึงเปรียบเสมือนฟันเฟืองเล็กๆ ที่คอยขับเคลื่อนการ
กินดีอยู่ดี การแก้ปัญหาในชุมชน รวมถึงการการสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน ให้ชุมชนสามารถหล่อเลี้ยง
ตนเองได้ เป็นตน้ นำ้ ท่ีแข็งแกรง่ สู่การพฒั นาระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
ความย่ังยืนของชุมชน
ในภาพรวมความยั่งยืน คือ การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ทำให้เกิดปัญหา
ในอนาคตเป็นการใชท้ รัพยากรทีม่ ีอยูอ่ ย่างคุ้มค่า การพัฒนาต้องคำนึงถึงความเช่ือมโยงและสัมพันธ์เศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมตามนโยบายการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ ที่มองการพัฒนาเป็นมิติของ
40 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ
Sustainable Development Goals (SDGs) (Omer and Noguchi ,2020) หากมองในมิติของธุรกิจ ความ
ยั่งยืนอาจถูกมอง ในเรื่องของการมียอดขายหรือกําไรเพิม่ ขึ้น ความพึงพอใจในผลตอบแทนจากธุรกิจ ความ
พึงพอใจของเจ้าของธุรกิจและพนักงานเกี่ยวกับการดําเนินงานธุรกิจ ความสนใจต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การเข้าใจในการจัดการความเสี่ยงในการบริหารต้นทุนของกิจการ การมีแผนการจัดการความเสี่ยงแบบเป็น
องค์รวม และปรับใชใ้ หเ้ ข้ากบั สถานการณ์ในปัจจุบัน เพอื่ ใหเ้ กดิ การไดเ้ ปรยี บทางการแขง่ ขนั (ญาณิศา เผื่อน
เพาะ ,2562) ซึ่งในปัจจุบัน มีมุมมองเรื่องของการการดำเนินธุรกจิ อย่างมีจริยธรรม คำนึงถึงความรับผิดชอบ
ตอ่ สงั คม และส่งิ แวดล้อมเข้าไปดว้ ย วิสาหกิจชุมชนถือวา่ เปน็ องค์การที่การดำเนนิ งานในรปู แบบธุรกิจแต่ไม่ได้
ดำเนินการเพื่อแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียวยังดำเนินการเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อชุมชนและคนในชุมชน
อีกด้วย แต่หากมองในมิติของการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ก็จะต้องมองถึงเรื่องของระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ความเป็นอยู่การบริโภคอย่างยั่งยืนที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ต่ำ (Sherry, 2019) รวมถึงมอง
เรื่องการศกึ ษาในชุมชนเพื่อลดความเหล่ือมล้ำทางสงั คม รวมถึงการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของคนในชุมชน
เพราะฉะนั้นหากกล่าวถึงการวางแผนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในประเทศไทย ควรมีความสมดุลกันระหว่าง
เศรษฐกิจ สังคม ส่ิงแวดล้อม การศึกษา โดยไม่ลืมวัฒนธรรมรากฐานของชุมชน โดยมีการรักษาภูมิปัญญา
ท้องถน่ิ และวถิ ชี วี ติ ดว้ ย
บทสรุป
การขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนให้สมดุลท้ังด้านเศรษฐกจิ สังคม ส่ิงแวดลอ้ ม การศกึ ษาและการรักษา
ภูมปิ ญั ญาทอ้ งถ่ินใหส้ มดลุ ได้นนั้ เปน็ เรื่องของการประยุกต์ศาสตร์และศลิ ป์เพื่อการสร้างสรรค์การต่อยอดของ
สิ่งที่มีอยู่เดิมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทันต่อเหตุการณ์โลกในปัจจุบัน การใช้นวัตกรรมชุมชนซึ่งมีองค์การปะ
กอบสำคัญ 3 ประการ คือ 1) นวัตกรรมเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหรือส่งเสริมชุมชน 2) ความเกี่ยวพันกับการ
บริหารจัดการของคนในชุมชนโดยคนในชุมชน และ 3) ความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายภายในและภายนอก
ชุมชน ต้องตระหนักถึงความสอดคล้องกับพื้นฐานของแต่ละชุมชน ในเรื่องวิถีการดำเนนิ ชีวิต องค์ความรู้หรือ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน เศรษฐกิจชุมชนสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะของชุมชน รวมถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
นั้นๆ นวัตกรรมชุมชนจึงเป็นสิ่งที่แตกต่างจากนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ทั่วไป เพราะการใช้นวัตกรรมชุมชนต้อง
คำนึงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ขับเคลื่อนโดยคนในชุมชน และเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน แต่
อย่างไรก็ดี เครือข่ายภายนอกชุมชนก็สามารถเป็นแรงสนับสนุน ผลักดัน ด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยี หรือ
วิธีการแบบบูรณาการด้วยการเข้ามาส่งเสริมพัฒนาความรู้ ร่วมแบ่งปันความรู้ การสื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็น
ประโยชน์ ถ่ายทอดนโยบายเพื่อตั้งเป้าหมายร่วมกันเพื่อการบริหารจดั การชุมชนเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ
ภาพรวมระดับประเทศ เพอ่ื ทำให้เกดิ การเชือ่ มโยงทางเศรษฐกจิ ต้งั แตฐ่ านรากจนถึงระดบั ประเทศเกิดข้นึ ได้
41 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
เอกสารอ้างองิ
จนั ทรศ์ รี สมิ สนิ ธ์ุ ภูษิต บญุ ทองเถิง และ ทัศนีย์ นาคณุ ทรง. (2559). นวตั กรรมชมุ ชนเพ่อื การเรียนรู้ตลอด
ชวี ิต. วารสารบริหารการศกึ ษา, 12 (1), 83-94.
จติ รลดา พันธ์ุพณาสกุล และวรลกั ษณ์ ลลิตศศวิ ิมล. (2562). การสรา้ งความไดเ้ ปรียบทางการแขง่ ขันด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย : การทบทวนวรรณกรรม.วารสาร
บริหารธรุ กิจเทคโนโลยมี หานคร, 16(2), 19-39.
จุฑารัตน์ บันดาลสิน. (2557). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมการบริการพยาบาล. วารสาร
พยาบาลทหารบก, 15(3), 9-17.
ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2562). การจัดการความเสี่ยงในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิทยาการ
จดั การปริทัศน์, 21(1), 191 - 200.
ดนชนก เบื่อน้อย. (2559). นวัตกรรมกับความคิดสร้างสรรค์.วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ
มหาวิทยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลธญั บุรี, 3(1), 1-12.
นพพร จนั ทรนาช,ู พรรณธ์ ิดา เหลา่ พวงศกั ด์ิ และยวุ รี ผลพนั ธนิ . (2561). รูปแบบการประยกุ ต์ใช้ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงและความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนที่มีผลต่อความส ำเร็จในการบริหารจัดการ
สถาบันการเงนิ ชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 3217-3232.
บรรเลง อินทรจ์ ันทร์. (2559). นวตั กรรมสงั คมอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดา้ รใิ นเขตพ้ืนท่ีลมุ่ น้ำปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์, 2(2),
48-56.
ยุทธชัย ฮารีบิน สมนึก เอ้ือจิระพงษพ์ ันธ์ และสุนนั ทา เสียงไทย .(2559). ความสามารถดา้ นเครอื ข่ายและ
ความสามารถเชิงนวัตกรรมของวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารนักบริหาร Executive
Journal, 36(2), 79-88.
รังสยิ า นารินทร์ และเรณู มีปาน (2558). นวัตกรรมการจัดการดูแลสุขภาพของชมุ ชน: ‘อาสาปนั สขุ ’. วารสาร
พยาบาลสาร, 42(4), 1-11.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย และประกอบ คุปรัตน์ (2553). นวัตกรรม:
ความหมาย ประเภท และความสำคัญ ต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ คณะ
พาณิชยศาสตรแ์ ละการบญั ชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 33(128), 49- 65.
สมบัติ นามบุรี. (2562). นวตั กรรมและการบรหิ ารจัดการ. วารสารวจิ ัยวิชาการ, 2(2), 121-134.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ. (2017). ความเป็นมาของวาระการพัฒนาที่
ยั่งยืน Sustainable Development Goals: SDGs). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2563,
จาก http://sdgs.nesdb.go.th/about.
42 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). ประวัติสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). [ออนไลน์].
สืบค้นเมอ่ื 20 เมษายน 2563, จาก https://www.mhesi.go.th/main/th/org/1511-nia.html.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). ประเทศไทยอยู่จุดไหนในอันดับนวัตกรรมโลก (GLOBAL
INNOVATION INDEX: GII 2019). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2563, จาก
https://www.nia.or.th/GII2019.
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการกรรมการสภาผู้แทนราษฎร.(2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการ
ปกครองท้องถิ่น. เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนกิ ส์ สำนกั วิชาการ สำนักงานเลขาธกิ ารกรรมการสภา
ผแู้ ทนราษฎร. 1-11.
เสาวลกั ษณ์ โกศลกิตตอิ มั พร และสัญญา เคณาภูมิ. (2559). หลักการเบ้ืองต้นเกยี่ วกับองค์การและการจัดการ.
วารสารวชิ าการ แพรวากาฬสินธ์ุ มหาวทิ ยาลยั กาฬสินธ์ุ, 3(1), 170-193.
อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2560). องค์การนวัตกรรม: มโนทัศน์ และตวั แบบเชงิ ทฤษฎี. วารสารพัฒนบรหิ าร
ศาสตร์. 57(3), 158-187.
อนุ่ เรือน เลก็ นอ้ ย. (2556). บทบรรณาธกิ าร. วารสารวิจยั สงั คม Journal of Social Research, 36(1), i-v.
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2561). การพัฒนาองค์การ: ประเด็นทบทวนสู่การประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการชุมชน.
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38(6), 24-48.
Cleopatra, V., and Black, L. ( 2019). Creating and managing participative brand communities:
The roles members perform. Journal of Business Research: 1-13.
Curie, P., and Tantiyaswasdikul, K., and Evans, S., and Lertwattanaruk, P., (2019). Innovation
catalysts for industrial waste challenges: Sri Lankan and Thai cases. Procedia
Manufacturing. 33: 570-577.
Jingcheng, F., and Wu, J., and Liu, C., and Xu, J. ( 2016). Leaders in communities of real-world
networks. Physical A: Statistical Mechanics and its Applications. 444: 428-441.
Kendra, J. M., and Wachtendorf, T. (2007) Community Innovation and Disasters. In:
Handbook of Disaster Research. Handbooks of Sociology and Social Research. New
York : Springer,
Omer, M.A., and Noguchi, T. (2020). A conceptual framework for understanding the contribution
of building materials in the achievement of Sustainable Development Goals (SDGs).
Sustainable Cities and Society. 52: 1-14.
Prummer, A., and Siedlarek, J. P. (2017). Community leaders and the preservation of cultural
traits. Journal of Economic Theory. 168: 143-176.
Robbins, S. P., and Coulter, M. (2002). Management. (7th ed). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-
Hall
43 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
Sherry, J. ( 2019). The impact of community sustainability: A life cycle assessment of three
ecovillages. Journal of Cleaner Production. 237: 1-13
Suebvises, P. (2018). "Social capital, citizen participation in public administration, and public
sector performance in Thailand. World Development, 109: 236-248.
44 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
การพัฒนาโมเดลดา้ นอนามัยสงิ่ แวดล้อมในแหลง่ ท่องเทีย่ วเชงิ สขุ ภาพ ภูมภิ าคตะวนั ตก
เพ่อื การพัฒนาการทอ่ งเที่ยวเชงิ สุขภาพอยา่ งย่งั ยืน
Developing an Environmental Health Model for Health Tourism Destinations
and Sustainability in Western Thailand
วจนิ ี อารีรอบ ธนชั พร มุลิกะบตุ ร มัสลนิ บัวบาน และชลดิ า ตระกูลสุนทร
(Vajinee Areerob, Thanatchaporn Mulikaburt, Maslin Buaban and ChalidaTrakulsoontorn)
บทคดั ยอ่
การวิจยั นมี้ ีวตั ถปุ ระสงคเ์ พื่อ 1) เพ่ือศกึ ษาลักษณะอนามัยส่งิ แวดล้อมในแหลง่ ทอ่ งเทยี่ วเชิงสุขภาพภูมิภาค
ตะวันตก 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิภาคตะวันตก
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพใน
ภูมิภาคตะวันตก และ 4) เพื่อพัฒนาโมเดลดา้ นอนามัยสงิ่ แวดลอ้ มในแหลง่ ทอ่ งเที่ยวเชงิ สุขภาพ ภมู ภิ าคตะวนั ตกเพอ่ื
พัฒนาการทอ่ งเทย่ี วเชิงสุขภาพอย่างยง่ั ยืน
ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธีในการรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่หนึ่งและ
ระยะทส่ี องเป็นการวิจยั เชงิ คุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชงิ ลึกและการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาอนามัยส่ิงแวดล้อมกับผู้มี
สว่ นไดส้ ว่ นเสยี 50 คน ระยะท่ี 3 ศึกษาความพงึ พอใจของนกั ทอ่ งเทยี่ ว 358 คน ข้ันตอนที่ส่คี อื การพฒั นาแบบจำลอง
และทดสอบ
ผลการวิจัยนี้พบว่า อนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีความเหมาะสมตามบริบทของ
จุดหมายปลายทาง ประกอบด้วยปัจจัยด้านสุขภาพสิง่ แวดล้อม 7 ประการ ได้แก่ 1) ด้านสุขาภิบาลอาหาร 2) ด้าน
การจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ 3) ด้านการจัดการขยะมูลฝอย 4) ด้านการจัดการห้องน้ำห้องสุขา 5) ด้านการกำจัดน้ำเสีย
6) การจัดการท่ีพกั และ 7) การท่องเทีย่ วด้านสขุ ภาพท่ปี ลอดภยั
คำสำคญั : การท่องเท่ยี วเชิงสขุ ภาพ อนามัยสงิ่ แวดลอ้ ม การจดั การท่องเทยี่ ว
* คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั นครปฐม 73000
Faculty of Science and Technology Nakhon Pathom Rajabhat University 73000
Corresponding author: [email protected]
45 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
งานวิจัยนี้ได้คัดเลือกเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ 5 เส้นทางในภาคตะวันตก ได้แก่ เ1) ชุมชนป่าละอู จ.
ประจวบคีรีขันธ์ 2) ชมุ ชนหนองหญ้าปลอ้ ง จ.เพชรบรุ ี 3) ชุมชนบา้ นหนองโรง จ.กาญจนบรุ ี 4) ชุมชนเหล่าตก๊ั ลกั จ.
ราชบุรี และ 5) ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ จ.นครปฐม ผลการวิจัยพว่า นักท่องเที่ยวพอใจกับการจัดการอนามัย
สิง่ แวดล้อมในระดับปานกลางถึงสูง ซึ่งทงั้ 5 แห่งได้คดั เลอื ก สถานทส่ี ว่ นใหญไ่ ม่มีบรกิ ารท่พี กั ท่ีดแี ละบางแหง่ มีโฮมส
เตย์ซึ่งจัดการโดยเจา้ ของบา้ นและข้ึนอยู่กับการตัดสินใจของเจ้าของบ้าน แบบทดสอบประเมิน 6 ด้าน รวม 25 เรื่อง
ต้นแบบสุขภาพสิ่งแวดล้อมจะนำจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว 5 แห่งไปสู่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิง
สุขภาพท่ยี งั่ ยืน หากพวกเขาพฒั นาและปรับปรุงการจดั การด้านสุขภาพส่งิ แวดล้อมใน 25 เร่อื ง รวม 141 แนวปฏิบตั ิ
ABSTRACT
The objectives of this research are 1) to study environmental health characteristics of
health tourism destinations in the western region 2) to study factors affecting environmental
health characteristics of health tourism destinations in the western region 3) to study the
satisfaction of tourists on environmental health factors of health tourism destinations in the
western region and 4) to develop the environmental health model in the health tourism
destinations.
A mixed method was applied for data collecting. This research was divided into 4 phase.
The first and the second phase were qualitative research. In-depth interview and focus group were
used for studying environmental health with 50 stakeholders. The third phase was to studied
tourists' satisfaction with 358 tourists. The fourth phase was to develop the model and test it.
This research found that, the environmental health in health tourism destinations is
characterized by the appropriateness of destinations’ context. It consists of 7 environmental
health factors, including 1) food sanitation, 2) supply of drinking water, 3) solid waste management,
4) toilet management, 5) waste water disposal, 6) management accommodation and 7) safety
health tourism. This research selected 5 health tourism routes in the western region, namely Route
1, Pala U Community, Prachuap Khiri Khan Province, Route 2, Nong Ya Plong Community,
Petchaburi Province, Route 3, Ban Nong Rong Community, Kanchanaburi Province, Route 4, Lao
Stud Community Klak, Ratchaburi Province, Route 5, Mahasawat Canal Community, Nakhon
Pathom Province. Tourists were satisfied with the environmental health management in the
medium to high levels. Which the 5 selected places. most of the places do not have a good
accommodation service and some places have a homestay which managed by the house
owner and depends on the owner's decision. the test is to evaluate 6 aspects in total of 25
46 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
issues. A model of the environmental health will lead 5 tourism destinations to be the sustainable
health tourism destinations if they develop and improve the environmental health management
in 25 issues, including 141 practices.
Keywords: health tourism, environmental health, tourism management
Article history: Received 9 May 2020
Revised 10 August 2020
Accepted 14 August 2020
SIMILARITY INDEX = 2.97 %
1. บทนำ
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจาก
นักท่องเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ที่สวยงามในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม
ตลอดจนได้เรยี นรู้วิถีชวี ิตและพกั ผ่อนหยอ่ นใจ โดยแบง่ เวลาส่วนหนึง่ จากการเดินทางท่องเท่ียวเพ่อื ทำกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมรักษาฟื้นฟูสุขภาพ โดยทั่วไปการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะจัดรายการท่องเที่ยว
พักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้ธรรมชาติมาบำบัดรักษา และสร้างเสริมสุขภาพกาย
สุขภาพจิตใหส้ ดชน่ื ผ่องใส เป็นการเพม่ิ พูนกำลังกายใหส้ มบูรณ์แข็งแรงปรบั สภาพจิตใจ ร่างกายให้สมดุล และ
สามารถประยุกต์ใชใ้ นชวี ิตประจำวัน
การท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทยแต่ละจังหวัดมีความแตกต่างในการจัดการการ
ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้านทรัพยากรท่องเที่ยว และโดยส่วนใหญ่รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของ
ภูมิภาคตะวันตกนัน้ เป็นรายได้ทีม่ าจากการบริการ SPA และการนวดไทย ซึ่งเป็นการใหบ้ ริการในโรงแรมหรือ
สถานประกอบการทมี่ ีมาตรฐาน ส่งผลใหก้ ารบริการสุขภาพในชุมชนยงั ไม่เปน็ ทีไ่ ดร้ ับความนยิ ม (กระทรวงการ
ท่องเที่ยวและกีฬา, 2559) นอกจากนี้ในส่วนของการติดตามและประเมินผลการพัฒนาแผนพัฒนาการ
ท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 และการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น จากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน
และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) กับการท่องเที่ยวในส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น เกี่ยวกับ
แนวทางการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทย และการจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยว 5 เขตพัฒนาการ
ท่องเที่ยว พบว่า ยังคงมีภาพลักษณ์ด้านลบที่ต้องเร่งปรับปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาจากความเสื่อม
โทรมของแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรการท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ปัญหาขยะ น้ำเสีย มลพิษ ระบบนิเวศวิทยา ส่ิง
เหล่าน้กี ลายเปน็ ปัญหาสำคัญท่ีสง่ ผลกระทบต่อการทอ่ งเทย่ี ว (กระทรวงการทอ่ งเทีย่ วและกีฬา, 2558)
จากการสำรวจสถานภาพของแหล่งท่องเที่ยว พบว่า มีแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมที่ต้องเร่งพัฒนา
จำนวน มาก ซึ่งเป็นผลมาจากหน่วยงานระดับพื้นที่ เช่น จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ
47 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการอนามัยส่ิงแวดลอ้ ม (สำนักอนามัยสิ่งแวดลอ้ ม,2558) ในขณะที่การ
จัดการดา้ นอนามัยสง่ิ แวดลอ้ มในแหล่งทอ่ งเท่ียวเป็นสิง่ สำคญั ที่นำไปส่กู ารเปน็ แหล่งท่องเทยี่ วที่ไดม้ าตรฐาน
และจากการศึกษาเบื้องต้นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวแทนชมุ ชน ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ในภูมิภาคตะวันตก พบว่า ชุมชนมีความต้องการให้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่ เนื่องจาก
การทอ่ งเท่ียวสามารถนำรายได้เข้ามาสู่ชุมชน แตท่ างชมุ ชนยังขาดความรู้และความสามารถในการจัดการด้าน
อนามัยสิ่งแวดล้อม ซ่ึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และนำไปสู่การที่จะดึงดูด
นักท่องเทีย่ วใหต้ ดั สินใจเข้ามาท่องเทย่ี วในพื้นท่ี ซงึ่ ในแผนพฒั นาแหล่งท่องเที่ยวขององคก์ รปกครองท้องถ่ินยัง
ไม่มีประเด็นนี้ในแผนงาน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการกำหนด
แผนพัฒนารปู แบบหรือโมเดลด้านอนามัยส่งิ แวดล้อมในแหล่งท่องเท่ยี ว โดยเฉพาะแหล่งท่องเท่ียวเชิงสุขภาพ
ในพ้นื ที่ ให้เกดิ ศักยภาพการท่องเท่ียวท่ยี ั่งยนื และสอดคล้องกับสภาพพื้นท่ี เพ่ือให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต และจากงานวิจัยของจินต์จุฑา แสงเพชร (2554) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการ
อนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ ได้สำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อสภาพการ
จัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวพบว่า ด้านความเพียงพอของปริมาณน้ำดื่มน้ำใช้อยู่ในระดับ ดี
ส่วนด้านสุขาภิบาลอาหาร การจัดการมลู ฝอย การจัดการห้องน้ำห้องสขุ า และด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับ
ปานกลาง ท้งั นี้ได้ใหข้ ้อเสนอว่า แหล่งทอ่ งเทยี่ วควรมีการพฒั นาดา้ นอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านห้องน้ำ-ห้องสุขา
ขยะมูลฝอย พัฒนามาตรการดแู ลนกั ทอ่ งเทยี่ วและสงิ่ แวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว
การวิจัยครั้งนี้ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ศึกษาการพัฒนาโมเดลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมใน
แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิภาคตะวันตก โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานท้ัง
ภาครฐั และภาคเอกชน ในการศกึ ษาเพอื่ สรา้ งโมเดลด้านอนามยั สิ่งแวดล้อมสำหรับการพฒั นาการท่องเทีย่ วเชิง
สขุ ภาพอย่างยัง่ ยนื โดยคำนึงถึงมติ ทิ ง้ั ทางด้านกายภาพ สงั คม เศรษฐกจิ และสิ่งแวดลอ้ ม เพ่ือให้เกิดประโยชน์
และเกิดผลในทางปฏิบตั ิในระดบั ประเทศ
วตั ถปุ ระสงค์ของการวจิ ัย
1. เพ่อื ศึกษาลักษณะอนามัยส่ิงแวดลอ้ มในแหล่งท่องเทยี่ วเชงิ สุขภาพภูมภิ าคตะวันตก
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิภาค
ตะวันตก
3. เพือ่ ศกึ ษาความพึงพอใจของนักท่องเทย่ี วท่ีมตี ่อปจั จัยดา้ นอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเท่ียว
เชิงสุขภาพในภูมิภาคตะวนั ตก
4. เพื่อพัฒนาโมเดลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ภูมิภาคตะวันตกเพื่อ
พัฒนา การทอ่ งเที่ยวเชิงสุขภาพอยา่ งยั่งยนื
48 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
2. เอกสารและงานวิจัยทเ่ี ก่ยี วข้อง
2.1 แนวคิดเก่ยี วกับการทอ่ งเท่ียวเชิงสุขภาพ (Health tourism)
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism) หมายถึง “การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานท่ี
ท่องเท่ียวที่สวยสดงดงามในแหล่งท่องเท่ยี วทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งมวี ัตถปุ ระสงค์เพ่ือเรยี นร้วู ถิ ชี ีวิต
และพกั ผอ่ นหย่อนใจโดยแบง่ เวลาจากการท่องเท่ียวเพื่อทํากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และ/หรอื การบําบัดรักษา
ฟื้นฟูสุขภาพ เช่น การรับคําปรึกษาแนะนําด้านสุขภาพ การออกกําลังกาย อย่างถูกวิธีการนวด/อบ/ประคบ
สมุนไพรการฝกึ ปฏิบตั ิสมาธิ ตลอดจนการตรวจรา่ งกาย การรักษาพยาบาล และอนื่ ๆ โดยเปน็ การท่องเท่ียวที่
มีจิตสํานึกต่อการส่งเสริมและรักษาสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป” (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,
2555)
2.2 แนวคิดเกย่ี วกับการพฒั นาการท่องเทีย่ วอยา่ งย่ังยืน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2539) ได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หมายถึง การ
ท่องเที่ยวรวมทั้งการจัดบริการอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดย ต้องดำเนินการในเรื่องขอบเขต
ความสามารถของธรรมชาติ ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ต้องตระหนักต่อการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตต่อกระบวนการด้านการทอ่ งเที่ยว ให้ประชาชน
ทุกส่วนได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน อีกทั้งต้องชี้นำตาม
ความปรารถนาของประชาชนทอ้ งถน่ิ และชมุ ชนในชนบททอ่ งเทย่ี ว
2.3 แนวคดิ เกีย่ วกบั การจัดการการท่องเท่ียว
นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว อาทิ Dickman (1996) กล่าวถึงองค์ประกอบการท่องเที่ยวและ
ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก หรือ ที่รู้จักกันในนาม 5A ประกอบด้วย 1. สิ่งท่ี
ดึงดูดใจ(Attraction) จัดเป็นองค์ประกอบที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง สามารถแบ่งเป็นสิ่งดึงดูดใจเชิงธรรมชาติ
(Natural attractions) สถานที่ท่องเที่ยวที่สร้างขึ้น (Built attractions) สิ่งดึงดูดใจเชิงศิลปวัฒนธรรม
(Cultural attractions) และสิ่งดึงดูดใจเชิงสังคม (Social attractions) 2. สิ่งอํานวยความสะดวกในการ
เดินทาง (Accessibility) ความสะดวกสบายทําให้ นักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางเข้าไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวได้
รวดเร็ว ปลอดภัยและสะดวกสบายมาก ขึ้น ซึ่งศรัณพร ชวนเกริกกุล (2553). กล่าวว่า ด้านการเข้าถึงแหล่ง
ท่องเที่ยว ควรมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวที่สําคัญต่าง ๆ ให้นักท่องเที่ยวรู้จักมากขึ้น การ
เดินทางควรมีการขนส่งมวลชนที่เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวก มีป้ายบอกทางที่ชัดเจนมากขึ้น ควรมี
พนักงานแนะนําให้ความรู้ใน สถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ กุลวดี แกล้วกล้า (2550) กล่าวว่า ผู้สูงอายุพึงพอใจใน
ความปลอดภัยในการเดินทาง ท่องเที่ยวและความสะดวกสบายในการท่องเที่ยว 3. สิ่งอํานวยความสะดวก
(Amenities) หมายถึง สิ่งอํานวยความสะดวกและ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่อนักท่องเที่ยวเช่น
สาธารณูปโภค นำ้ ไฟ โทรศัพท์ห้องสุขาร้านค้า และสง่ิ อํานวยความสะดวกที่นักท่องเท่ียวมคี วามจําเป็นต้องใช้
49 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
เช่น โรงพยาบาลธนาคารเป็นต้น 4. ที่พัก(Accommodation)แหล่งท่องเที่ยวควรมีจํานวนที่พักที่เพียงพอกับ
นักท่องเที่ยว รวมทั้งควรมีที่พักที่หลากหลายด้านราคาและการบริการที่เหมาะสมต่อสถานที่และไม่ไกลจาก
แหล่งท่องเที่ยว 5. กิจกรรม (Activities) ที่นักท่องเที่ยวสามารถกระทําในช่วงเวลาที่พํานักและท่องเที่ยว ณ
สถานที่นัน้ เพื่อทําให้การท่องเทีย่ วและช่วงเวลาพักผ่อนของนกั ท่องเทีย่ วน่าสนใจมากข้ึนและ กิจกรรมต่าง ๆ
ควรมีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวเช่น กิจกรรมที่ เกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอย
กจิ กรรมทางทะเลเชน่ ดําน้ำ ว่ายนำ้ กีฬาและนนั ทนาการต่าง ๆ เปน็ ต้น
2.4 แนวคิดด้านอนามยั ส่ิงแวดลอ้ ม
อนามัยสิ่งแวดล้อม หมายถึง การจัดการและควบคุมสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ
มนษุ ย์ เพอ่ื ใหเ้ กิดความสมดุลของระบบนเิ วศระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม อนั จะส่งผลใหม้ นุษยม์ ีความเป็นอยู่
ที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม (สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม, 2558) การดำเนินการทางด้านอนามัย
สิ่งแวดล้อม จะเน้นหนักด้านใดขึ้นอยู่กับปัญหาสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ สำหรับใน
งานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นขอบเขตงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว ด้านสุขาภิบาลอาหาร ด้านการ
จัดหาน้ำด่มื น้ำใช้ ด้านการจัดการขยะมูลฝอย ด้านการจัดการหอ้ งนำ้ ห้องสุขา ดา้ นการกำจัดนำ้ เสีย ดา้ นการ
จดั การทพี่ กั และด้านความปลอดภยั
2.5 แนวคิดเกี่ยวกับรปู แบบ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2558 ได้ให้ความหมายว่า รูปแบบ หมายถึง รูป ที่กําหนดขึ้นเป็น
หลักหรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับ รูปแบบมีหลายประเภทด้วยกัน โดย Keeves (1988) ได้แบ่งประเภทของ
รปู แบบออกเป็น 4 ประเภท คอื 1) รปู แบบเชิงเปรยี บเทียบ (Analogue model) เป็นรูปแบบแนวคิดที่ใช้การ
อุปมาอุปมัย หรือการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ซึ่งเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เป็น
นามธรรม รูปแบบที่สร้างขึ้นต้องมีองค์ประกอบที่ชัดเจน สามารถนำไปทดสอบด้วยข้อมูล เชิงประจักษ์ และ
สามารถนำไปใช้หาข้อสรุปของปรากฏการณ์ได้อย่างกว้างขวาง 2) รูปแบบเชิงภาษาหรือรูปแบบเชิงข้อความ
(Semantic model) เป็นรูปแบบแสดงออก ผ่านทางภาษาหรือใช้ภาษาเป็นสื่อในการบรรยายหรืออธิบาย
ปรากฏการณ์ที่ศึกษาอาจใช้ภาษา รูปภาพหรือแผนภูมิ เพื่อแสดงให้เห็นโครงสรา้ งทางความคิด องค์ประกอบ
และความสมั พันธ์ของ องคป์ ระกอบของปรากฏการณ์น้ัน ๆ และใชข้ ้อความอธิบายเพ่ือใหเ้ กิดความเข้าใจมาก
ข้ึน 3) รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical model) เป็นรูปแบบที่ใช้สมการทาง คณิตศาสตร์เป็นสื่อใน
การแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ 4) รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal model) เป็นรูปแบบแสดงใหเ้ หน็ ถงึ
ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในปรากฏการณ์ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ รูปแบบ
ระบบเชงิ เส้นเดย่ี วและเชงิ เสน้ คู่
50 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
กรอบดำเนินการวจิ ัย
แผนภาพท่ี 1 กรอบดำเนนิ การวิจยั
3. วธิ ีดำเนนิ การวิจัย
3.1 ผูใ้ หข้ ้อมลู หลัก
การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพในการวิจัยครั้งนี้ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นำชุมชน นักวิชาการด้านการ
ท่องเทยี่ ว สาธารณสุขศลิ ปะและวฒั นธรรม พัฒนาชมุ ชน ประชาชนในทอ้ งถนิ่ และกลุ่มผปู้ ระกอบการในแหล่ง
ท่องเที่ยวเชงิ สุขภาพ ภมู ภิ าคตะวนั ตก จำนวน 50 คน ไดแ้ ก่ ผนู้ ำชมุ ชน 15 คน นกั วิชาการด้านการท่องเท่ียว
สาธารณสุขศิลปะและวัฒนธรรม 5 คน พฒั นาชุมชน 4 คน ประชาชนในทอ้ งถิ่น 11 คน ตวั แทนผปู้ ระกอบการ
เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร และสถานประกอบการใหบ้ ริการด้านสุขภาพทงั้ จากภาครัฐ และเอกชนทเี่ ก่ียวข้องกับ
แหล่งทอ่ งเที่ยว 15 คน
การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณในการวจิ ัยคร้ังนผ้ี ู้ให้ข้อมลู ได้แก่ นักท่องเทีย่ วในแหล่งท่องเท่ียวเชิง
สุขภาพ ภูมิภาคตะวันตก จาก 5 แหล่งท่องเที่ยว คือ ชุมชนป่าละอู ชุมชนหนองหญ้าปล้อง ชุมชนเหล่าต๊ัก
ลัก ชมุ ชนคลองมหาสวัสดแิ์ ละชมุ ชนหนองโรง จำนวน 358 คน
51 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
3.2 เครอ่ื งมือท่ใี ช้
1) ใช้แบบประเมิน ลักษณะอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาเครื่องมือขึ้นโดยดัดแปลงจาก
จินต์จุฑา แสงเพชร (2554) ในการประเมินด้านสุขาภิบาลอาหาร ใช้แบบตรวจด้านสุขาภิบาลอาหารและแผง
ลอย ของสำนกั สขุ าภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย และการประเมินห้องนำ้ -ห้องสุขาใช้เกณฑ์มาตรฐานส้วม
สาธารณะระดบั ประเทศของกรมอนามยั (กรมอนามัย 2556; สำนกั สขุ าภิบาลอาหารและน้ำ 2557)
2) ใช้แบบสัมภาษณ์การบริหารจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุ ขภาพ เพื่อ
ศึกษาสภาพการบรหิ ารจัดการอนามยั สงิ่ แวดล้อมด้านต่างๆ ในแหล่งท่องเทีย่ ว
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่ง
ทอ่ งเทย่ี วเชิงสขุ ภาพ
3.3 วธิ ีดำเนนิ การวจิ ัย
1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ทบทวนวรรณกรรม) จากการศึกษาค้นคว้าและรวบรวม
เอกสารทางวิชาการ ตำรา รายงาน แนวความคิดและบทความจากวารสารต่างๆ ที่เป็นหลักการแนวความคิด
และทฤษฎีทเี่ กี่ยวข้องกบั การท่องเที่ยวเพ่ือศึกษาปจั จยั ด้านอนามัยส่งิ แวดล้อม
2) ดำเนินการสำรวจพื้นที่ศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคตะวันตก โดยใช้แบบประเมินการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่ง
ทอ่ งเทย่ี วเชิงสุขภาพในภูมภิ าคตะวนั ตก ซง่ึ การประเมินศักยภาพพื้นท่ดี ้านอนามยั สิง่ แวดล้อมประยุกต์มาจาก
แบบประเมินอนามัยสิ่งแวดล้อมสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ของสำนัก
อนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย และแบบประเมินเพื่อการวิจัยเรื่องสภาพแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว ใน
งานวิจัยของนางสาวจินต์จุฑา แสงเพชร เรื่องการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด
ชัยภูมิ
3) จัดประชุมกลุ่มย่อยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้นำชุมชน นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว
สาธารณสุขศลิ ปะและวัฒนธรรม พัฒนาชุมชน ประชาชนในทอ้ งถนิ่ และกลุ่มผปู้ ระกอบการ ในแหลง่ ทอ่ งเทีย่ ว
เชิงสุขภาพ ภูมิภาคตะวันตก ที่ผ่านการคัดเลือกในระยะที่ 1 จำนวน 50 คน เพื่อศึกษาสภาพการบริหาร
จัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมดา้ นต่าง ๆ ในแหลง่ ท่องเที่ยว
4) สำรวจความพงึ พอใจของนกั ทอ่ งเที่ยวที่มีต่อปจั จัยด้านอนามยั สง่ิ แวดล้อม
5) หาโมเดลเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรงุ และพฒั นาการบรหิ ารจัดการอนามยั สิ่งแวดล้อมด้านต่าง
ๆ ร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้นำชุมชน นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว สาธารณสุขศิลปะและ
วัฒนธรรม พัฒนาชุมชน ประชาชนในท้องถิ่น และกลุ่มผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ภูมิภาค
ตะวนั ตก
52 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
3.4 การวเิ คราะหข์ อ้ มลู
การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย โดยการวิเคราะห์คุณสมบัติของ
ส่วนประกอบของข้อมูลนั้นมาเปรียบเทียบเพื่อหาลักษณะร่วมที่เหมือนและแตกต่างกัน แล้วทำการสรุป
บรรยายใหเ้ หน็ ถึงความหมายของขอ้ มูลเหล่าน้ัน (สุภางค์ จนั ทวนชิ , 2546 : 100)
การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร ใช้ในการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารทาง
วิชาการ ตำรา รายงาน แนวความคดิ และบทความจากวารสารตา่ ง ๆ ท่ีเป็นหลักการแนวความคดิ และทฤษฎีที่
เกยี่ วข้องกบั การทอ่ งเท่ียว แนวคิดดา้ นอนามยั สงิ่ แวดลอ้ ม แนวคดิ เกยี่ วกับรูปแบบ การวิจัยเชงิ ปฏบิ ัติการแบบ
มสี ว่ นร่วม โดยมกี ารแบ่งประเภทตามเนอ้ื หาของเอกสาร แลว้ เปรียบเทียบเนื้อหาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
การวเิ คราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ใชใ้ นการอธบิ ายข้อมูลท่ัวไปของกลุ่ม
ตัวอย่าง ค่าเฉลี่ย (Average) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้ในการวิเคราะห์ความ
พงึ พอใจของนักท่องเที่ยวในแหลง่ ทอ่ งเท่ียวเชิงสุขภาพ 5 แหล่ง
4. ผลการวจิ ัย
ระยะที่ 1 ผลการศึกษาลักษณะอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสขุ ภาพภูมิภาคตะวันตก ท้ัง
5 แหล่ง ประกอบด้วย 1) ชุมชนท่องเที่ยวบ้านป่าละอู หมู่ 3 ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ 2 ) ชุมชนหนองหญ้าปล้อง ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี 3)
ชุมชนบ้านหนองโรง ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 4) ชุมชนเหล่าตั๊กลัก ตำบลดำเนิน
สะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 5) ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล
จงั หวัดนครปฐม พบว่า ดา้ นการสุขาภบิ าลอาหาร ส่วนใหญร่ า้ นอาหารมีบอ่ ดักไขมัน แต่ไมม่ รี ะบบการเฝา้ ระวัง
ด้านแบคทเี รยี ไม่ผา่ นมาตรฐานร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ดา้ นนำ้ ดืม่ นำ้ ใช้ แหล่งท่องเท่ียวส่วน
ใหญ่มีการจัดการน้ำดื่มน้ำใช้ จุดบริการน้ำดื่มมีความสะอาดเพียงพอ และมีมาตรฐาน อย. มีการจัดภาชนะ
สำหรับน้ำดื่มไว้บริการเฉพาะบุคคลไม่ใช้ร่วมกัน น้ำใช้ที่ให้บริการมีความสะอาดเพียงพอ มีการเฝ้าระวังการ
ปนเปื้อน และมีระบบตรวจเช็ค รองลงมามีการจัดการน้ำดื่มน้ำใช้แต่ไม่ครบทุกด้าน ด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล
แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มีการจัดการสิง่ ปฏิกูลเป็นระบบ การจัดการห้องน้ำห้องส้วม พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ผ่าน
เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะ(HAS) กรมอนามัย ด้านการจัดการขยะมูลฝอย พบว่าส่วนใหญ่ดำเนินการ
ครบถว้ นทกุ ประเด็นไดแ้ ก่ ทรี่ องรบั ขยะมูลฝอยมีความคงทน ไมร่ ว่ั ซึม มีฝาปดิ ปอ้ งกันสัตว์ และแมลงรบกวนได้
มีที่จับยกที่ทำความสะอาดง่าย ที่รองรับขยะมูลฝอยมีความกลมกลืนกับสถานที่ มีสภาพดี และสะอาด อยู่ใน
จุดที่สะดวกต่อการใช้งาน มีการแยกประเภท ตั้งอยู่ในสถานที่เหมาะสมและสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว มีจุด
รวบรวมขยะมลู ฝอยที่ถูกสุขลักษณะ ไมม่ ขี ยะตกคา้ งในแต่ละวนั มีพนักงานเก็บกวาดอยา่ งสมำ่ เสมอ มรี ะเบยี บ
หรือมาตรการที่สร้างแรงจูงใจในการช่วยกันรักษาความสะอาดสำหรับนักท่องเที่ยว มีเพียง 1 แหล่ง ที่ดำเนนิ การดา้ น
การจัดการขยะมูลฝอยไม่ครบถว้ นคอื ชมุ ชนทอ่ งเท่ียวบ้านป่าละอู ด้านการกำจัดน้ำเสีย พบว่าส่วนใหญ่การจัดการนำ้ เสียไม่มี
ประสิทธิภาพ เช่น ท่ออุดตัน มีน้ำขังและคุณภาพน้ำทิง้ แตล่ ะจุดไมไ่ ด้มาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่สาธารณะ ด้าน
53 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
การบริหารจดั การดา้ นความปลอดภยั พบวา่ ส่วนใหญ่ไมไ่ ดด้ ำเนินการเรือ่ ง การจดั ป้ายเตอื น ข้อแนะนำสำหรับ
นักท่องเที่ยว เช่น สุขลักษณะในการใช้สถานที่ การใช้ห้องน้ำห้องส้วมและความปลอดภัยต่างๆ เช่นจุดเสี่ยง
จุดอันตราย มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย มีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เช่น เสื้อชูชีพ ถังดับเพลิง
ด้านการบริหารจัดการที่พัก พบว่าส่วนใหญ่มีการบรหิ ารจัดการที่พักในแหล่งท่องเที่ยว เช่น ตัวอาคารสะอาด
ตามหลักสุขาภิบาล ได้มาตรฐานโรงแรมนา่ อย่นู า่ พกั ลานกางเตน็ ท์ ห้องน้ำหอ้ งส้วมสะอาดตามหลักสุขาภิบาล
มีการจดั ทำทะเบยี นผเู้ ขา้ พักเปน็ ปัจจุบันและมเี บอร์โทรฉุกเฉินไวบ้ รกิ าร แตผ่ า่ นการประเมินในด้านดังกล่าวไม่
ครบทุกขอ้ และมแี หลง่ ท่องเที่ยว จำนวน 2 แหลง่ คอื ชุมชนหนองหญ้าปล้อง และชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ท่ีไม่
มกี ารบริหารจดั การท่พี กั
ระยะที่ 2 ผลการสัมภาษณ์การบริหารจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อศึกษา
ปัจจัยที่สง่ ผลต่อลักษณะอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเท่ียวเชงิ สุขภาพภูมิภาคตะวันตก พบว่า ด้านสุขาภิบาล
อาหารมีการบริหารจดั การเกยี่ วกับความสะอาดของอาหารที่มีไว้บริการและจำหน่าย ความสะอาดของภาชนะ
ใส่อาหาร ช้อน ส้อม ความสะอาดของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร การป้องกันอาหารที่พร้อมบริโภค
จากสตั วแ์ ละแมลงรบกวน การแต่งกายของผสู้ ัมผัสอาหารสะอาด ดา้ นการจดั หานำ้ ดมื่ น้ำใช้ในแหล่งท่องเท่ียว
มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับความสะอาด ความเพียงพอของน้ำดื่มที่มีไว้บริการ/จำหน่าย และมีการบริหาร
จัดการเกี่ยวกับความสะอาดของน้ำใช้ เช่น น้ำล้างมือ น้ำในห้องน้ำ และความเพียงพอของน้ำใช้ต่อจำนวน
นักท่องเที่ยว ด้านการจัดการสิ่งปฎิกูล มีการบริหารจัดการความสะอาด ความเพียงพออุปกรณ์ภายใน
กระดาษชำระ สบลู่ า้ งมอื และสถานที่ตั้งของห้องน้ำ–ห้องสุขา ด้านการจดั การขยะมูลฝอยมีการบริหารจัดการ
ความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว ความพอเพียงของที่ทิ้งขยะมูลฝอย การแยกประเภทของขยะมูลฝอย และ
ความคงทนของภาชนะรองรับขยะมูลฝอย เช่น ไม่รั่วซึม มีฝาปิดป้องกันสัตว์ และแมลงรบกวนได้ ด้านการ
กำจัดน้ำเสยี มีการบริหารจัดการ คือดูแลไม่ให้มีน้ำขังบรเิ วณห้องน้ำ–หอ้ งสุขา และท่อระบายนำ้ ไมใ่ ห้ตัน หรือ
มีกลิ่นเหม็น ด้านการจัดการความปลอดภัยมีการบริหารจัดการ ในเรื่องความแข็งแรงและปลอดภัยของทาง
เท้า/บันได/สะพาน/ราวกันตก สถานที่/อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่
นักท่องเที่ยว ป้ายประชาสัมพนั ธ์ คำเตือน หรือแนะนำการปฏิบัติตัวของนกั ท่องเท่ียว เพื่อความปลอดภัย จัด
ใหม้ ีศนู ย์ประชาสมั พันธน์ ักท่องเที่ยวและเจา้ หน้าท่ีอำนวยความสะดวกเกยี่ วกบั การให้ข้อมูลดา้ นการท่องเที่ยว
ทีจ่ ำเป็นแก่นักท่องเที่ยว และจดั เจา้ หน้าที่ดูแล รักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเท่ยี ว ดา้ นการบริหารจัดการท่ี
พัก ส่วนใหญ่แหล่งท่องเที่ยวไม่มีที่พักค้างคืน ถ้ามีที่พักจะเป็นโฮมสเตย์ หรือมีลานกางเต็นท์ ซึ่งการจัดการ
ข้ึนอยู่กบั เจา้ ของกิจการ จงึ ไมม่ ีดา้ นการบรหิ ารจัดการในดา้ นน้ี
ระยะที่ 3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จำนวน 358 คนที่มีต่อการบริหารจัดการ
อนามัยสิ่งแวดล้อม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวเพศหญิง ร้อยละ 60.6 มีอาชีพนักเรียนหรือนักศึกษา
ร้อยละ 45.3 ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ร้อยละ 62.3 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 15 ,000
บาท ร้อยละ 71.4 มภี ูมลิ ำเนาอยู่ในภาคกลางร้อยละ 65.6 และเดินทางมาแหล่งทอ่ งเทีย่ วเปน็ ครงั้ แรก ร้อยละ
69.3 โดยระดับความพึงพอใจต่อการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเทีย่ ว พบว่า นักท่องเที่ยวมีความ
54 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
พึงพอใจต่อการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดลอ้ มในแหล่งท่องเที่ยวภาพรวมอยู่ในระดับมาก(x̅=3.58 , S.D. =
0.745) โดยแหล่งท่องเที่ยวชมุ ชนหนองโรง นักท่องเที่ยวมคี วามพึงพอใจสงู สุด รองลงมาคอื ชุมชนคลองมหา
สวัสดิ์ ชุมชนป่าละอู ชุมชนหนองหญ้าปล้อง และชุมชนเหล่าตั๊กลัก ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านการจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้มากทีสุด (x̅=3.73 , S.D. = 0.71) รองลงมาคือ ด้าน
การจดั การขยะมลู ฝอย (x̅=3.66 , S.D.=0.736) ดา้ นความปลอดภัย (x̅=3.65 , S.D.= 0.719) ด้านสุขาภบิ าล
อาหาร (x̅=3.63 , S.D.=0.604) ด้านการจัดการน้ำเสีย (x̅=3.44 , S.D.=0.865) และด้านการจัดการห้องน้ำ-
หอ้ งสขุ า ( x̅=3.37 , S.D.= 0.829) ตามลำดับ
ระยะที่ 4 ผลการพัฒนาโมเดลดา้ นอนามยั สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ภูมิภาคตะวันตก
เพอ่ื พัฒนาการท่องเท่ียวเชิงสขุ ภาพอย่างยั่งยนื ทีไ่ ด้จากการวจิ ัยดังภาพ
ภาพท่ี 2 โมเดลการจดั การอนามยั สง่ิ แวดลอ้ มในแหลง่ ทอ่ งเทย่ี วเชิงสุขภาพภมู ภิ าคตะวันตก
จากภาพกระบวนการสร้างแนวทางเพื่อการจัดการอนามัยสิ่งแวดลอ้ มโดยมีองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่
ผู้ดูแลแหล่งท่องเที่ยว ผู้นำชุมชน อบต. รพ.สต. พัฒนาชุมชน และผู้ประกอบการ ร่วมกันวิเคราะห์สภาพ
ปัญหาโดยนำความพึงพอใจด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของนักท่องเที่ยว มาร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดการ
55 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
อนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว พบว่าควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้และจัดทำคู่มือเกี่ยวกับวิธีการ
จัดการดา้ นอนามัยสิ่งแวดลอ้ มในแหล่งท่องเทีย่ ว ให้แกผ่ ปู้ ระกอบการ ดงั นี้
ดา้ นสุขาภิบาลอาหาร ได้แก่
เรื่องการป้องกันอาหารที่พร้อมบริโภคจากสัตว์และแมลงรบกวน มีวิธีการคือ 1) ให้ความรู้ และ
สร้างความตระหนักในเร่ืองผลกระทบท่เี กิดจากสตั ว์และแมลงรบกวนในอาหารพร้อมบรโิ ภคแก่ผู้ประกอบการ
2) เตรียมปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. ไม่เตรียมอาหารบนพื้น/บริเวณหน้าห้องน้ำ- ห้อง
ส้วม 3) อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วจัดเก็บในภาชนะที่สะอาด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. และปกปิดเพ่ือ
ป้องกันไม่ให้สัตว์และแมลงนำโรคไต่ตอม 4) รักษาความสะอาดบริเวณสถานที่เพื่อไม่ให้มีสัตวพ์ าหะนำโรคมา
รบกวน
เรื่องความสะอาดของภาชนะใส่อาหาร ช้อน ส้อม มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนกั ในเรือ่ งความ
สะอาดของภาชนะให้แก่ผู้ประกอบการ 2) การล้างภาชนะต้องล้างด้วยน้ำยาล้างภาชนะ และล้างด้วยน้ำ
สะอาด 2 ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล โดยที่ล้างภาชนะต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 3) การเก็บช้อน
ส้อม ตะเกียบ เมอ่ื แหง้ แลว้ ต้องเกบ็ ในตะกร้าสูงโปรง่ สะอาด เอาด้ามขึ้น และมกี ารปกปิด เก็บสูงจากพ้ืนอย่าง
นอ้ ย 60 ซม. 4) ทำหรือดัดแปลงภาชนะใส่ช้อน สอ้ มจากวัสดุเหลือใชห้ รือวัสดใุ นท้องถิ่นทีม่ ีฝาปิดมดิ ชดิ 5) ทำ
ซองสวมชอ้ น สอ้ มและอปุ กรณ์รบั ประทานอาหาร
เรื่องการแต่งกายของผู้สัมผัสอาหารสะอาด ผ้ากันเปื้อน หมวก หรือเน็ทคลุมผม มีวิธีการคือ 1)
สร้างความตระหนักในเรื่องความสะอาดของผู้สัมผัสอาหาร 2) จัดหาชุดหมวก ผ้ากันเปื้อน เน็ทคลุมผมสีเข้ม
และเป็นสีเดียวกันทั้งชุดให้แก่ผู้ประกอบการ 3) ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผู้ปรุงอาหาร
ต้องผูกผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม 4) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียม
ปรุง ประกอบ จำหน่ายอาหารทุกครั้ง และใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงแล้ว 5) ผู้สัมผัสอาหารที่มี
บาดแผลที่มือตอ้ งปดิ แผลใหม้ ดิ ชดิ หลีกเลยี่ งการปฏบิ ตั ิงานทม่ี โี อกาสสมั ผสั อาหาร 6) ผสู้ ัมผัสอาหารทเี่ จ็บป่วย
ด้วยโรคที่สามารถติดต่อไปยังผู้บริโภค โดยมีน้ำและอาหารเป็นสื่อ ให้หยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะรักษาให้
หายขาด 7) ผู้สมั ผสั อาหารตอ้ งรักษาความสะอาดเลบ็ มือ ตัดใหส้ ้นั และไมท่ าสเี ล็บ 8) ผปู้ ระกอบอาหารต้องใช้
ผ้าปิดปากเพ่ือป้องกนั โรคทางเดนิ หายใจ 9) จดั ให้มีการแข่งขนั การแต่งกายท่ีเหมาะสมของผ้สู มั ผัสอาหาร
เรื่องความสะอาดของอาหารที่มีไว้บริการ และจำหน่าย มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักให้แก่
ผู้ประกอบการ ในเรื่องความสะอาดในการประกอบอาหาร เช่น ผู้ประกอบการไม่อุ้มสัตว์เลี้ยง ก่อนหรือขณะ
ทำอาหาร 2) สร้างความตระหนักให้แก่ผู้ประกอบการ ในเรื่องความสะอาดของอาหาร 3) หน่วยงาน
สาธารณสุข ตรวจสอบและกวดขันร้านอาหารสะอาดและปลอดภัยอย่างจริงจัง 4) มอบป้ายสำหรับร้านที่ผ่าน
เกณฑ์ 5) ผปู้ ระกอบอาหารควรมใี บอนุญาตการประกอบอาหาร 6) ใชส้ ารปรุงแตง่ อาหารที่มีความปลอดภยั มี
เครื่องหมายรับรองของทางราชการ เช่น เลขทะเบียนตำรับอาหาร (อย.) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานของ
กระทรวงอุตสาหกรรม 7) อาหารสดต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุง หรือเก็บ โดยเก็บแยกเป็นสัดส่วน 8)
เขียงและมีด ต้องสภาพดี แยกใช้ระหว่างเนื้อสัตว์สุก เนื้อสัตว์ดิบ และผัก ผลไม้ 9) น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้อง
56 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
สะอาด เก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด ใช้อุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับคีบ หรือตักโดยเฉพาะ วางสูงจากพื้นอย่าง
น้อย 60 ซม. 10) ไม่แช่อาหารหรือสิ่งของอื่นๆ ในน้ำแข็งสำหรับบริโภค 11) ผู้ประกอบการต้องใส่ใจรสชาติ
อาหาร
เรื่องความสะอาดของร้านอาหาร /แผงลอยจำหน่ายอาหาร มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนัก
ให้แก่ผู้ประกอบการในเรื่องเกณฑ์ความสะอาดของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร 2) ตรวจสอบ
ร้านอาหารเป็นประจำโดยเจ้าหน้าท่ีสาธารณสุข และมอบป้ายสำหรบั ร้านท่ีผ่านเกณฑ์ 3) จัดกิจกรรมส่งเสรมิ
สขุ ภาพใหก้ ับผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร 4) สรา้ งข้อปฏบิ ตั ิสำหรับร้านอาหาร/แผง
ลอยจำหน่ายอาหารของชุมชน บังคับใช้ และจดั ทีมตรวจตรา 5) จัดกจิ กรรมรณรงค์ทำความสะอาดร้านค้า 6)
สถานทร่ี บั ประทานอาหาร สถานทเ่ี ตรียมปรุง ประกอบอาหาร ตอ้ งจัดให้สะอาดเป็นระเบียบ และเป็นสัดส่วน
7) กำจัดน้ำเสีย และขยะมูลฝอยทุกชนิดด้วยวิธีที่ถูกหลักสุขาภิบาล 8) จัดหาห้องน้ำ-ห้องสุขาอ่างล้างมือ ท่ี
สะอาด และมีสบไู่ ว้สำหรบั ผู้สัมผสั อาหาร และผบู้ ริโภค
การจดั หาน้ำดมื่ น้ำใช้ ได้แก่
เรื่องความสะอาดของน้ำใช้ เช่น น้ำล้างมือ น้ำในห้องน้ำ มีวิธีการ คือ 1) สร้างความตระหนักให้แก่
ผู้ประกอบการในเร่ืองความสะอาดของน้ำใช้ 2) นำน้ำทผี่ ่านการปรับปรุงคุณภาพมาใช้ในแหล่งท่องเท่ียว และ
ทำความสะอาดถัง/ภาชนะกักเก็บน้ำเสมอ 4) กำหนดเวลาการทำความสะอาดภาชนะกักเก็บน้ำในห้องน้ำ
อยา่ งนอ้ ยสัปดาหล์ ะครงั้ 5) ปรบั ปรงุ ระบบนำ้ ประปาใหส้ ะอาดและจัดหานำ้ ใหพ้ รอ้ มใช้
เรื่องความเพียงพอของน้ำใช้ต่อจำนวนนักท่องเที่ยว มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักในเรื่อง
ความเพียงพอของน้ำใช้ 2) จดั ให้มีการประเมนิ การใช้นำ้ สำหรับการท่องเที่ยวก่อนจดั การท่องเที่ยว
เรื่องความสะอาดของน้ำดื่มที่มีไว้บริการ และจำหน่าย มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักในเรื่อง
ความสะอาดของน้ำดื่ม 2) มีการตรวจสอบสภาพภายนอก และสภาพภายในของขวด/ถังที่ใช้บรรจุน้ำ ต้อง
สะอาดไมร่ วั่ ซึมหรือมขี อบสกปรก มีฝาปดิ สนทิ ไมม่ รี อ่ งรอยการเปิดใช้ 3) นำ้ ด่มื ต้องใสสะอาด ไม่มีตะกอน ไม่
มีกลิ่น รสชาติไม่ผิดปกติ 4) ฉลากมีชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต ตราน้ำดื่ม ปริมาตรสุทธิ มีเลขทะเบียน อย.อย่าง
ชัดเจน 5) ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการเลือกซื้อน้ำบริโภคที่สะอาด ปลอดภัย 6) ใช้แก้วใสใส่น้ำ
เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก 7) สร้างข้อตกลงในการใช้น้ำสะอาด และมีเครื่องหมาย อย.ในการบริการ/
จำหน่าย
เรื่องความเพียงพอของน้ำดื่มต่อจำนวนนักท่องเที่ยว มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักในเรื่อง
ความพอเพียงของน้ำดื่ม 2) มีการประเมินจำนวนนักท่องเที่ยวต่อวัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการ
นำ้ ดืม่
ดา้ นการจัดการขยะมลู ฝอย ได้แก่
เรื่องความพอเพียงของที่ทิ้งขยะมูลฝอย มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักในเรื่องความพอเพียง
ของที่ทิ้งขยะมูลฝอย 2) จัดให้มีถังรองรับขยะมูลฝอยในจุดที่คาดว่าจะเกิดขยะมูลฝอย เช่น บริเวณที่น่ัง
พักผ่อน 3) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนที่รองรับขยะมูลฝอยแยกประเภทแก่ผู้ประกอบการ 4)
57 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
จดั ทำปา้ ยบอกประเภทของขยะมูลฝอยติดที่ถังรองรับขยะมลู ฝอย 5) องคก์ รปกครองส่วนท้องถ่ินควรเพ่ิมรอบ
ในการเก็บขนขยะมูลฝอยเพื่อนำไปทำลาย 6) มีการวางระบบการควบคุมการจัดการขยะให้เป็นไปตาม
แนวทางที่ชุมชนกำหนด 7) ลดปริมาณขยะมูลฝอยโดยใช้วัสดุย่อยสลายได้ เช่น ใบเล็บครุฑลังกา กลีบหัวปลี
ใบตอง แทนการใช้ โฟม หรือพลาสตกิ 8) นำขยะมลู ฝอยไปทำปุ๋ยหมกั ฝงั กลบ
เรื่องท่ีรองรับขยะมูลฝอยมคี วามคงทน ไมร่ ัว่ ซมึ มฝี าปดิ ปอ้ งกันสัตว์และแมลงรบกวนได้ มีวิธีการ
คือ 1) สร้างความตระหนักในเรื่องความคงทนของที่รองรับขยะมูลฝอย 2) ที่รองรับขยะมูลฝอยมีฝาปิด ไม่
ชำรดุ พร้อมใชง้ านได้ 3) จัดใหม้ ีระบบการควบคุมตรวจตราสภาพใชง้ านของที่รองรบั ขยะมูลฝอยเปน็ ประจำ
เรื่องที่ท้ิงขยะมูลฝอยแบ่งตามประเภทของขยะมูลฝอย มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนัก ในเรื่อง
การแยกประเภทขยะมลู ฝอย 2) จัดใหม้ ที ่รี องรบั ขยะมูลฝอยแยกประเภท และมปี า้ ยบอกชนิดของขยะมูลฝอย
อย่างชดั เจน 3) มปี ้ายแนะนำวิธีการแยกขยะมลู ฝอยก่อนท้ิง 4) ประสานงานกบั ร้านรับซ้ือของเก่าในพ้ืนท่ีเพ่ือ
รับซอื้ ขยะรีไซเคลิ
เรื่องความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักในเรื่องการรักษาความ
สะอาดของสถานทท่ี ่องเทย่ี วให้กับผู้ประกอบการ/คนในชุมชน 2) ปลูกจิตสำนึกเร่อื งการรักษาความสะอาดแก่
นักท่องเที่ยว โดยให้ผู้ประกอบการ/คนในชุมชนรักษาความสะอาด และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่
นักท่องเที่ยว 3) ให้ผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวแยกขยะก่อนทิ้ง 4) กำหนดเวลาในการจัดเก็บขยะ และ
สร้างระบบการควบคุมตรวจตราเป็นประจำ 5) จดั ให้มีการทำความสะอาดในแหลง่ ท่องเทย่ี ว และกำหนดเวลา
ในการตรวจสอบ 6) จัดป้ายรณรงคก์ ารรักษาความสะอาด 7) จัดทำโครงการรณรงค์งดใชว้ ัสดุท่ีกำจดั ยาก เช่น
โฟมบรรจุอาหาร และถงุ พลาสตกิ และใช้วัสดธุ รรมจากชาตทิ มี่ ีในทอ้ งถิน่ แทน เชน่ ใบตอง
ด้านการจัดการห้องนำ้ –ห้องสุขา ได้แก่
เรื่องความสะอาดของห้องน้ำ–ห้องสุขา มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักเรื่องความสะอาดของ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาให้ผู้ประกอบการ/คนในชุมชน 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดงบประมาณส่วนกลาง หรือ
เกบ็ คา่ บรกิ าร หรือขายกระดาษชำระ เพอ่ื จัดจ้างเจา้ หนา้ ท่ีดแู ลห้องน้ำ-ห้องสุขาเป็นประจำอยา่ งชัดเจน 3) จัด
อบรมเพื่อให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และรักษาความสะอาดห้องน้ำ -
ห้องสุขาให้ได้ตามมาตรฐาน 4) ทำความสะอาด พื้น ผนัง เพดาน โถส้วม โถปัสสาวะ ที่กดให้สะอาด และ
กำหนดเวลาการตรวจสอบสภาพการใช้งาน และวางระบบการควบคุมตรวจตรา 5) กำหนดเวลาในการ
ตรวจสอบความสะอาด 6) กำหนดเวลาการทำความสะอาดภาชนะเก็บน้ำในห้องน้ำ – ห้องสุขาอย่างน้อย
สปั ดาห์ละครั้ง 7) เพมิ่ จุดบรกิ ารกระดาษชำระในหอ้ งน้ำสำหรบั ผู้พิการ
เรือ่ งความเพียงพอของห้องนำ้ – ห้องสขุ า มีวธิ ีการคือ 1) สร้างความตระหนกั ในเรอื่ งความเพียงพอ
ของห้องน้ำ-หอ้ งสุขาให้ผูร้ ับผิดชอบ 2) จัดให้มีส้วมเพยี งพอตอ่ ความตอ้ งการของนักท่องเที่ยว ดังนี้ ส้วมชาย/
โถปัสสาวะชาย จดั ใหม้ อี ยา่ งน้อย 1 ท่ี / 120 คน ส้วมหญิง จัดใหม้ ีอยา่ งนอ้ ย 1 ท่ี / 60 คน 3) อา่ งลา้ งมือจัด
ใหม้ ีอย่างน้อย 1 ที่ /120 คน 4) จัดให้มสี ว้ มน่งั ราบสำหรับผู้พิการ ผู้สูงวยั หญิงตงั้ ครรภ์และประชาชนท่ัวไป
58 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
อย่างน้อยหนึ่งท่ี 5) จัดส้วมพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ 6) จัดให้มีอ่างล้างมือเพิ่ม และทำความ
สะอาดทุกวนั 7) เปลยี่ นส้วมนั่งยองเป็นสว้ มนงั่ ราบทงั้ หมด 8) จดั ทำหอ้ งสว้ มสำหรับผู้สงู อายแุ ละผพู้ กิ าร
เรื่องอุปกรณ์ภายในห้องน้ำ – ห้องสุขา ให้พร้อมใช้งานได้ มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักใน
เรื่องความพร้อมใช้งานของอุปกรณใ์ นห้องน้ำ-ห้องสุขาให้แกผ่ ู้รับผิดชอบ 2) มีการตรวจสอบความสะอาด และ
สภาพการใชง้ านของประตู ทจ่ี ับเปดิ – ปดิ และที่ล็อคด้านในให้อยู่ในสภาพดี 3) มีการตรวจสอบความสะอาดและ
สภาพการใช้งานของอุปกรณ์ที่ใช้ภายในห้องน้ำ เช่น สายฉีดชำระ ขันน้ำ ก๊อกน้ำให้อยู่ในสภาพดี 4) อบรม
เจา้ หน้าทใี่ นเรือ่ งของการซอ่ มแซมอปุ กรณ์ที่ชำรุด เพื่อประหยัดงบประมาณในการซอื้ ใหม่ 5) ซ่อมแซมอุปกรณ์
ในหอ้ งน้ำทชี่ ำรุดให้พรอ้ มใช้งานไดเ้ สมอ
เรื่องสถานที่ตั้งห้องน้ำ – ห้องสุขา ไม่อยู่ในที่ลับตา/เปลี่ยว มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักใน
เรือ่ งสถานทีต่ ง้ั ห้องน้ำ-ห้องสุขา 2) จดั ให้มีแสงสว่างเพยี งพอ สามารถมองเห็นได้ทว่ั บรเิ วณ 3) จัดให้มีป้ายบอก
ทางที่ชัดเจน ในกรณีที่มีห้องส้วมตั้งแต่ 2 ห้องขึ้นไปให้แยกเป็นห้องส้วมสำหรับ ชาย – หญิง โดยมีป้ายหรือ
สัญลกั ษณท์ ่ีชัดเจน 4) จดั สภาพแวดลอ้ มบรเิ วณห้องน้ำให้โปร่ง ไมร่ กตา
เรื่องห้องสุขา มีกระดาษชำระ สบู่ล้างมือ มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักในเรื่อง การจัดหา
กระดาษชำระ และสบู่ล้างมือในห้องน้ำ ห้องสุขา 2) ตั้งจุดบริการกระดาษชำระไว้หน้าห้องน้ำเพียงจุดเดียว 3)
กระดาษชำระที่มีไว้บริการ อาจจำหน่าย หรือบริการฟรี 4) มีสบู่ล้างมือไว้บริการ อาจเป็นสบู่เหลวที่ผลิตข้นึ ใช้
เองภายในชมุ ชน 5) จัดหาผ้าเช็ดมอื 1 ผนื ตอ่ หนึ่งคน แทนการใช้กระดาษชำระ
ด้านการกำจดั น้ำเสีย ได้แก่
เรื่องไม่มีน้ำขังบริเวณห้องน้ำ – ห้องสุขาแนวทางการดำเนินการ มีวิธีการคือ 1) สร้างความ
ตระหนักในเรื่องการดูแลไม่ให้น้ำขังบริเวณห้องน้ำ- ห้องสุขาให้ผู้ประกอบการ/คนในชุมชน 2) จัดเจ้าหน้าท่ี
ดูแลพื้นห้องน้ำให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ 3) จัดที่ล้างภาชนะให้อยู่ใกล้ที่ระบายน้ำเสีย เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน
4) ปลูกต้นเตย ต้นดาหลา ต้นชะพลู บริเวณปลายท่อน้ำทิ้งเพื่อปรับสภาพน้ำ 5) กรณีเป็นผู้ประกอบการราย
ใหญ่ตอ้ งจัดให้มีบอ่ บำบัดน้ำเสยี
เรื่องท่อระบายน้ำ ต้องไม่ตัน หรือมีกลิ่นเหม็น มีวิธีการคือ 1) สร้างความตระหนักในเรื่องการ
จัดการท่อระบายน้ำไม่ให้ตนั ให้แก่ผู้ประกอบการ 2) ใชฝ้ าปิดท่อน้ำทิง้ เพ่ือป้องกันเศษขยะอุดตนั 3) ตรวจสอบ
สภาพท่อน้ำท้งิ ไม่ให้ชำรุด หรือรอยแตกร้าว 4) จดั ให้มีระบบบำบดั น้ำเสียรวมของแหล่งท่องเทีย่ ว 5) ส่งเสริม
การนำภมู ปิ ัญญาท้องถน่ิ มาประยุกต์ใช้ในการกำจดั น้ำเสยี เชน่ ปลกู ต้นพุทธรักษา หญา้ แฝกอินเดยี ธูปฤๅษี กก
กลม (จันทบูรณ์) ชะพลู เตย หญ้าแฝกอนิ เดยี และดาหลา 6) จดั หาถังดักไขมนั แจกให้กบั ผปู้ ระกอบการ
ด้านความปลอดภยั ไดแ้ ก่
เรื่องศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลด้านการ
ท่องเที่ยวที่จำเป็นแก่นักท่องเที่ยว มีวิธีการคือ 1)สร้างความตระหนักในเรื่องศูนย์ประชาสัมพันธ์ 2) สร้าง
เส้นทางท่องเที่ยวนำร่องเพื่อนำเสนอจดุ ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในแหล่งท่องเทีย่ ว 3)จัดทำเอกสารหรือเจ้าหน้าท่ี
แนะนำเส้นทางท่องเที่ยว 4) จัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์นกั ท่องเที่ยว มีป้ายแสดงศูนย์อย่างชัดเจน มีเจ้าหน้าท่ี
59 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ประจำ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว 5) มีป้ายประชาสัมพันธ์
จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว เช่น อากาศดีบรรยากาศสวยงาม น้ำสะอาด ได้รางวัลต่าง ๆ หน้าศูนย์
ประชาสมั พันธ์ ตามเส้นทางทอ่ งเทียว หรอื จดั ทำเวป็ ไซตข์ องแหลง่ ท่องเท่ยี ว
เรื่องสถานที่/อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวแนว
ทางการดำเนินการ มีวิธกี ารคอื 1) สร้างความตระหนักในเร่ืองการปฐมพยาบาลเบ้ืองต้นในแหล่งท่องเท่ียว 2)
จัดใหม้ ีหนว่ ยพยาบาลบริการนักท่องเทย่ี วและมปี ้ายบอกใหช้ ดั เจน 3) มีปา้ ยประชาสัมพันธ/์ เบอร์ฉุกเฉินกรณี
เกดิ อบุ ตั เิ หตหุ รือเม่ือต้องการความช่วยเหลือ 4) เพ่มิ จดุ ปฐมพยาบาล 5) มตี ยู้ า/กระเป๋ายา/อุปกรณ์ช่วยเหลือ
เบื้องต้นไว้ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ 6) จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการช่วยเหลือนักท่องเทีย่ วเบือ้ งต้นก่อนส่งโรงพยาบาล
7) กำหนดตารางตรวจสอบวันหมดอายขุ องยาทม่ี ีไวบ้ ริการแกน่ กั ท่องเท่ียว
เรื่องความแข็งแรงและปลอดภัยของทางเทา้ /บนั ได/สะพาน/ราวกันตก แนวทางการดำเนนิ การ มี
วธิ ีการคือ 1) สรา้ งความตระหนักในเรื่องความแขง็ แรงของอุปกรณ์ 2) จดั สร้างทางเท้า/บันได/สะพาน/ราวกัน
ตก ในบริเวณทีเ่ ป็นจดุ เสย่ี ง เชน่ ทางข้ามร่องน้ำ ใหม้ คี วามคงทนแข็งแรงสามารถรองรับนักท่องเทย่ี วได้ 3) จัด
ให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพความแข็งแรงและปลอดภัยของ ทางเท้า/บันได/สะพาน/ราวกันตก และ
ปรับปรงุ ให้พรอ้ มใชง้ านอยู่เสมอ 4) จดั ทำรวั้ กนั้ พน้ื ทหี่ ้ามนักท่องเทย่ี วในพ้นื ที่
เรื่องเจ้าหน้าที่ดูแล รักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว แนวทางการดำเนินการ มีวิธีการคือ 1)
สร้างความตระหนกั ในเรื่องเจ้าหน้าทีด่ ูแลรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว 2) จัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลความ
ปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในบริเวณทางเข้าออกสถานที่ท่องเที่ยว 3) จัดให้มีเจ้าหน้าที่อำนวยความ
สะดวกในจุดเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายกับนักท่องเที่ยว 4) สำหรับการท่องเที่ยวทางเรือ ต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำ
เรืออย่างน้อย 2 คน คือ คนขับและเด็กหัวเรือที่ช่วยดึงเชือกที่หัวเรือเพื่อให้เรือจอดสนิท และจัดหาเรือกู้ภัย
ทางนำ้ ไวค้ อยบริการกรณฉี ุกเฉิน
5. สรุป อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ
5.1. สรปุ และอภิปรายผล
การศึกษาลักษณะอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิภาคตะวันตกทั้ง 7 ด้าน
ได้แก่ 1) ด้านสุขาภิบาลอาหาร 2) ด้านการจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ 3) ด้านการจัดการขยะมูลฝอย 4) ด้านการจัดการ
หอ้ งน้ำห้องสขุ า 5) ดา้ นการกำจดั น้ำเสีย 6) ด้านการจดั การท่ีพัก และ 7) ดา้ นความปลอดภัย ได้เส้นทางการท่องเท่ียว
เชิงสุขภาพ 5 เส้นทาง คือ 1) ชุมชนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ 2) ชุมชนหนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี 3) ชุมชน
บ้านหนองโรง จ.กาญจนบุรี 4) ชุมชนเหล่าตั๊กลัก จ.ราชบุรี และ 5) ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ จ.นครปฐม ซึ่งมีการ
จดั การดา้ นอนามัยส่ิงแวดล้อมท่ีพร้อมและผ่านเกณฑ์การประเมินมากทส่ี ุดมาเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะ
อนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิภาคตะวันตก จากการประชุมกลุ่มย่อย ผู้ประชุมกลุ่มย่อยใน
ทั้ง 5 เส้นทางการท่องเที่ยว มีการนำเสนอการดำเนินการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 7
ด้าน โดยดา้ นสขุ าภิบาลอาหาร และด้านการจัดหาน้ำด่ืมน้ำใช้ เนน้ ความสะอาดของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่าย
60 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
อาหาร อาหาร การแต่งกายของผู้ปรุงประกอบ/แม่ค้า ภาชนะอุปกรณ์สัมผัสอาหาร การป้องกันอาหารที่พร้อม
บริโภค ความสะอาดและความเพียงพอของน้ำดื่มน้ำใช้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศุภชัย ปิดตานัง (2555) และ
นาวีน บุตรคำชิด (2550) ในการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร และการจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ในแหล่งท่องเที่ยว โดย
มุ่งเน้นการปรับปรงุ และพัฒนาแบบมีส่วนรว่ มในทุกฝา่ ยท่ีรับผิดชอบ สำหรบั ดา้ นการจัดการสิ่งปฏิกูล การจัดการ
ขยะมูลฝอย การกำจัดน้ำเสีย แหล่งท่องเที่ยวมีระบบในการดำเนินการบริหารจัดการอยู่แล้ว แต่ควรมีระบบท่ี
รองรับในกรณีที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในปริมาณที่มากโดยเฉพาะในวันหยุดราชการ วันหยุดนักขัตฤกษ์ แหล่ง
ท่องเที่ยวควรเพิ่มจำนวนถังขยะให้มีกระจายทั่วพื้นที่และรูปแบบกลมกลืนธรรมชาติ ถังขยะมิดชิดไม่มีกลิ่น
รบกวน เก็บขนขยะได้สะดวกและไม่ควรทิ้งขยะเอาไว้นาน (ปราณี ไพบูลย์สมบัติ, 2546) ความเพียงพอ ความ
สะอาด และความพร้องในการใช้งานของห้องน้ำ ห้องสุขา ทั้งนก้ี ารจดั การด้านความปลอดภัยแหล่งท่องเท่ียวควร
มีการตรวจสอบความแข็งแรงและปลอดภัยของทางเท้า/บันได/สะพาน/ราวกันตก จัดให้มีสถานที่/อุปกรณ์ปฐม
พยาบาลเบื้องต้นเพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ป้ายประชาสัมพันธ์ คำเตือน หรือแนะนำการปฏิบัติ
ตัวของนักท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย รวมทั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่อำนวยความ
สะดวกในการให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวที่จำเปน็ แก่นกั ท่องเที่ยว สอดคล้องกับงานวิจัยของ จินต์จุฑา แสงเพชร
(2554) พบว่า ในช่วงฤดูท่องเที่ยว และวันเสาร์-อาทิตย์ ห้องน้ำ ห้องสุขาไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้บริการ
ของนักท่องเที่ยว จึงควรมีการจัดหาห้องน้ำ ห้องสุขา แบบติดตั้งชั่วคราว เช่น รถสุขาเคลื่อนที่ ห้องน้ำ-ห้องสุขา
แบบน็อคดาวน์ เป็นต้น เพื่อมาให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ควรมีการจัดแสดงป้ายสัญลักษณ์
เพอื่ การปฏบิ ัติตัวและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว รวมถึงสง่ิ ก่อสร้างพ้ืนฐานท่ีช่วยอำนายความสะดวกให้ แก่
นักท่องเที่ยวอาทิ ทางเดินเท้า บันได ราวกันตก ในจุดที่อาจเป็นอันตรายกับนักท่องเทีย่ ว สำหรับด้านการจัดการ
ที่พัก จากการประชุมกลุ่มย่อย ผู้ประชุมกลุ่มย่อยได้นำเสนอว่าส่วนใหญ่แหล่งท่องเที่ยวไม่มีที่พักค้างคืน ถ้ามีที่
พกั จะเป็นโฮมสเตย์ หรอื มลี านกางเตน็ ท์ ซึ่งการจัดการขน้ึ อยู่กับเจา้ ของกิจการ จึงไม่มกี ารบรหิ ารจัดการในดา้ นนี้
ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพใน
ภูมิภาคตะวันตก พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในระดับปานกลาง
ถึงมาก จึงพัฒนาโมเดลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ภูมิภาคตะวันตกเพื่อพัฒนาการ
ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนเพื่อหารูปแบบการพัฒนาและปรับปรุงร่วมกับชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 5
แหล่ง ทำให้เกิดแนวปฏิบัติในการการพัฒนาและปรับปรุง การบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม 25 เรื่อง รวม
141 แนวปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อริศรา ห้องทรัพย์ (2557, 71-133) ศึกษาแนวทางการจัดการ
ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแหล่งน้ำพุร้อนในภูมิภาคทางตอนเหนือของประเทศไทย พบว่า แนวทางพัฒนาการจัดการ
ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแหล่งน้ำพุร้อนในภูมิภาคทางตอนเหนือของประเทศไทย ควรมีการปรับปรุงและแก้ไขด้าน
อนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ 1) ความสะอาดโดยรวมของสถานที่ท่องเที่ยว 2) การปรับปรุงภูมิ
ทัศน์สถานที่ท่องเที่ยวให้มีความสวยงาม 3) การจัดให้มีสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ 4)
การซ่อมแซม ห้องสุขา ห้องแช่น้ำพุร้อน และห้องอาบน้ำพุร้อนให้มีสภาพที่ดี 5) การจัดให้มีป้ายนิทรรศการ
แนะนําแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ใกล้เคียง 6) ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานทุกประเภท
61 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ให้ดีมีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว 7) ควรปรับปรุงมาตรการการรักษาความปลอดภัย
ในแหล่งท่องเที่ยวให้เหมาะสม และจัดให้มีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทั้งนี้แหล่งท่องเที่ยวควรดำเนินการพัฒนา
หรอื ปรบั ปรุงการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญมากทีส่ ุดเป็นอันดับแรก แต่หากนักท่องเที่ยวมี
ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการในเรื่องนั้นมากอยู่แล้ว แหล่งท่องเที่ยวควรพัฒนาหรือปรับปรุงการบริหาร
จดั การอนามัยส่ิงแวดล้อมในเรื่องอื่นแทน
5.2 ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบาย
1. หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรนำผลการวิจัยไปพัฒนาและยกระดับให้แหล่ง
ท่องเท่ียวของชุมชนในพื้นที่ไดม้ าตรฐานต่อไป
2. แหล่งท่องเที่ยวควรพัฒนาการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมกรณีได้รับความพึงพอใจอยู่ใน
ระดับมาก และดำเนินการปรับปรงุ การบรหิ ารจัดการอนามยั สิ่งแวดล้อมในเรือ่ งอน่ื แทน
5.3 ขอ้ เสนอแนะเพอ่ื การวจิ ยั ในครง้ั ต่อไป
1. ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหาความสัมพันธ์ของการใช้โมเดลการพัฒนาอนามัย
สง่ิ แวดล้อมในแหล่งทอ่ งกับการกลับมาเทีย่ วในแหล่งท่องเท่ียวอกี
2. ควรมกี ารศกึ ษาแนวทางการมสี ว่ นร่วมในการบริหารจัดการด้านอนามัยสง่ิ แวดล้อมของชุมชน
ด้วยโมเดลการพฒั นาสิ่งแวดลอ้ มเพ่ือเป็นแนวทางการจัดการอย่างเป็นระบบและพัฒนาแหลง่ ท่องให้ย่ังยืน
3. ควรนำโมเดลด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ได้จากงานวิจัยคร้ังนี้ไปทดลองใช้กับแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในแหล่ง
ท่องเทยี่ วที่มีความแตกต่างกันเชงิ พ้ืนท่ี
เอกสารอา้ งอิง
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). สรุปสถานการณ์การท่องเที่ยวต่างชาติ ปี
2548-2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเท่ยี วและกฬี า.
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยปี 2558-2560.
กรงุ เทพฯ: กระทรวงการท่องเทยี่ วและกีฬา.
กรมอนามัย. (2556). เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ. [ออนไลน์]. สืบค้นเม่ือ 29 ตุลาคม
2559, จาก http://203.157.186.111/scm/docs/3609/HAS.pdf.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2539). นโยบายและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พ.ศ.
2539-2540. กรงุ เทพฯ: กองนโยบาย และแผนการทอ่ งเท่ียวแหง่ ประเทศไทย.
62 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2555). ความสำคัญของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.
[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2559, จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-
read-web-etatjournal/menu-2012/menu-2012-apr-jun/449-22555-travel.
กุลวดี แกล้วกล้า. (2550). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของข้าราชการเกษียณอายุ. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยมหิดล.
จนิ ต์จฑุ า แสงเพชร. (2554). การจัดการอนามัยสงิ่ แวดลอ้ มของแหลง่ ท่องเทีย่ วในจงั หวดั ชยั ภมู ิ. วารสารวิจยั
สาธารณสขุ ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น, 3, 87-96.
นาวีน บุตรคำชิต. (2550). รูปแบบการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารในแหล่งท่องเท่ียว ตามโครงการอาหาร
สะอาด รสชาตอิ รอ่ ย : กรณศี กึ ษา อทุ ยานแห่งชาติภูกระดึง. วิทยานิพนธ์ปรญิ ญาสาธารณสุขศาสต
รมหาบัณฑติ . ขอนแก่น: บณั ฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ .
ปราณี ไพบูลย์สมบัติ. 2546. ชนิดและปริมาณ ขยะและพฤติกรรมการทิ้งขยะของนักท่องเที่ยวและ
ผู้ประกอบการในอทุ ยานแห่งชาติเขาใหญ.่ วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑติ . กรุงเทพฯ:
บณั ฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์.
ศรัณพร ชวนเกริกกุล. (2553). การสื่อสารและภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร.
กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลัยเกรกิ .
ศุภชัย ปิดตานัง. (2555). รูปแบบการดำเนนิ งานสุขาภิบาลร้านอาหาร โดยกระบวนการมีสว่ นร่วมสู่มาตรฐาน
อาหารสะอาดรสชาตอิ ร่อย. วารสารราชพฤกษ์, 10 (1), 65-70.
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. (2557). คู่มือการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ สำหรับ
สาธารณสุขอำเภอ: ข้อกำหนดมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแหง่ ประเทศไทย.
สำนักอนามยั ส่ิงแวดล้อม. (2558). คูม่ อื วิชาการอนามัยส่ิงแวดล้อมพน้ื ฐาน สำหรับเจา้ พนักงานสาธารณสุข
ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ: แก้วเจา้ จอม มหาวิทยาลยั ราชภัฏสวน
สุนนั ทา.
สุภางค์ จันทวานิช. (2546). การวเิ คราะหข์ ้อมลู ในการวิจัยเชงิ คณุ ภาพ. (พมิ พ์ครง้ั ท่ี 5). กรงุ เทพ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย.
อริศรา ห้องทรัพย์. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแหล่งน้ำพุร้อนในภูมิภาคทางตอน
เหนือของประเทศไทย. วทิ ยานิพนธป์ รญิ ญาวทิ ยาศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวิชาวทิ ยาศาสตรก์ ารกีฬา.
บัณฑิตวิทยาลัย.จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั .
Dickman, S. (1996). Tourism: An introductory text (2nd ed.). Melbourne: Hodder Education
Keeves, J. B. (1988). Models and model building. In J. P. Keeves, (Ed.), Educational Research
Methodology, Approach. New York: McGraw-Hill.
63 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ผลของการใช้โปรแกรมฝึกอบรมเพอ่ื เสรมิ สรา้ งความรู้ ตอ่ พฤติกรรม
การเปน็ ผสู้ ูงอายทุ ี่ประสบความสำเร็จ
The Effect of Using Training Program for Enhancing Knowledge
to Successful Aging Behavior
จนั จริ าภรณ์ ปานยินดี*
(Janjirapon Panyindee)
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้การเป็น
ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ และ 2) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ต่อพฤติกรรม
การเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60-69 ปี เข้าร่วมอบรม
ตลอดการวิจัยจำนวน 35 คน โดยผู้สูงอายประเมินตนเองว่ามีพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ
สถติ ิทใี่ ช้วิเคราะห์ ไดแ้ ก่ ค่าความถี่ คา่ รอ้ ยละ คา่ เฉลย่ี สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที
ผลการวจิ ยั พบวา่
1. โปรแกรมฝึกอบรมเพ่ือเสริมสร้างความรู้ของพฤติกรรมการเปน็ ผสู้ ูงอายุท่ีประสบความสำเร็จมีการ
ดำเนินงาน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
และประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 ทดลองใช้โปรแกรมฝึกอบรม โดยแบ่งเป็น 5 หน่วย ได้แก่
สุขภาพกาย สุขภาพจิต การพัฒนาจิตวิญญาณ การสนับสนุนทางสังคม และการพึ่งพาตนเอง รวมทั้งหมด 30 ชั่วโมง
โดยใช้วิธีการฝึกอบรมที่หลากหลาย ประเมินพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จหลังฝึกอบรม
1 เดอื น
2. ผลของการใชโ้ ปรแกรมฝึกอบรมมีดังน้ี
2.1 ผู้เข้าอบรมมีคะแนนความรู้การเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมมากกว่า
ก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตทิ ่ีระดับ .01
2.2 ผู้เข้าอบรมมีพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จหลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการ
ฝึกอบรมอย่างมนี ัยสำคญั ทางสถติ ิที่ระดับ .01
คำสำคญั : โปรแกรมฝึกอบรม พฤตกิ รรมการเป็นผู้สูงอายทุ ี่ประสบความสำเรจ็ ผูส้ ูงอายุ
เลขทีใ่ บรับรองจรยิ ธรรมการวจิ ยั 013/2561
*อาจารย์ คณะวทิ ยาการจดั การ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
Lecturer Faculty of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University 73000
Corresponding author:[email protected]
64 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ABSTRACT
The objectives of this research were to 1) develop training program for enhancing
knowledge to successful aging behavior 2) study the effect of using training program for
enhancing knowledge to successful aging behavior. The research was quasi experimental
design. The elders aged 60–69 years for 35 elders participated throughout the research. The
elders were self-assessed to have successful aging behavior. The data was analyzed in term
of frequency, percentage, mean, standard deviation, and paired t – test. The results from this
research indicated that as following:
1. Training program for enhancing knowledge to successful aging behavior was two
phases. First phase was training program development by review literature and focus group
discussion with stakeholder. Second phase was try out the training program, divided into 5
units, which are physical health, mental health, spiritual development, social support and
independence for thirty hours using various training methods. Finally, successful aging
behavior was assessed after one month of training.
2. The results of using the training program were as follows:
2.1 The learners had knowledge higher than before participation in training program
with statistical significance at the level of .01.
2.2 The learners had successful aging behavior higher than before participation in
training program with statistical significance at the level of .01.
Keywords: training Program, successful aging behavior, elder
Article history: Received 12 June 2020
Revised 10 August 2020
Accepted 14 August 2020
SIMILARITY INDEX = 0.00 %
65 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
1. บทนำ
ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ขณะโครงสร้าง
ประชากรวัยเด็ก และวัยแรงงานลดลง อันเนื่องมาจากภาวะเจริญพันธ์ของสตรไี ทยลดต่ำลงอยู่ที่ 1.6 ส่งผลให้
สัดส่วนประชากรวัยเด็ก: วัยแรงงาน: วัยผู้สูงอายุ ลดลงจากร้อยละ 20.5: 67.6: 11.9 ในปี 2553 เป็นร้อยละ
18.3: 66.9: 14.8 ในปี 2559 ผู้สูงอายุสามารถแบง่ เป็น 3 ช่วง ได้แก่วัยต้น (อายุ 60-69ปี) วัยกลาง อายุ 70-
79 ปี และวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป ซึ่งจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าประเทศไทยมี
ผูส้ ูงอายอุ ยู่ในชว่ งวัยต้นถงึ ร้อยละ 56.5 ของผูส้ ูงอายทุ ้ังหมด อตั ราการพ่งึ พิงวัยสูงอายุมีอัตราเพิ่มข้ึนจากร้อย
ละ 18.1 ในปี 2554 และเพิม่ เป็น 22.3 ในปี 2557 หมายถึงประชากรวัยทำงาน 100 คน ต้องเลี้ยงดผู ้สู ูงอายุ 22
คน ขณะที่อัตราเกื้อหนุนมีแนวโน้มลดต่ำลง จากร้อยละ 5.5 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 4.5 ในปี 2557 ซ่ึง
หมายถึงคนในวัยแรงงาน 4 คนจะเลี้ยงดูผู้สูงอายุได้ 1 คน ผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแลหรือดูแลตนเ อง ร้อยละ 88.9
(สำนกั งานสถิตแิ หง่ ชาติ, 2557)
การเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ หมายถึง ผู้สูงอายุที่มีแบบแผนการดำเนินชีวิตหลากหลาย
แนวทางท่ีนำไปสู่การมีความพึงพอใจ ความสุขท้ังต่อตนเองและผู้อื่น (อุไร เดชพลกรัง, 2554) การมีสุขภาพ
ที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (Dahany et al., 2014: 365-370) การผสมผสานด้านร่างกายและด้านการรับรู้
การมีจิตใจสุขสงบ การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต การเห็นคุณค่าในตนเอง การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง การมี
ความสมั พนั ธท์ ีด่ ีกับครอบครัว การมสี ขุ ภาพร่างกายที่ดี (พิศทุ ธภิ า เมธกี ุล (2554) ขณะเดียวกันผลการศึกษา
ตัวชี้วัดระดับโลกของการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย สุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาพทาง
สงั คม การมคี วามสขุ การนบั ถอื ศาสนาหรือมจี ิตวิญญาณ (Gwee et al., 2014) ดังนน้ั สามารถสรปุ ได้ว่าการ
เป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ (successful aging) หมายถึง ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมหรือการกระทำ
สอดคล้องกับเกณฑ์การเป็นผู้สูงอายุระดับโลก ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี มีการ
พัฒนาทางจิตวิญญาณ มีการสนับสนุนทางสังคม และสามารถดูแลพึ่งพาตนเองได้ ขณะท่ีพฤติกรรมการเป็น
ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ (successful aging behavior) หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่จะนำไปสู่การ
ดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุทีป่ ระสบความสำเร็จ โดยมีการดูแลสขุ ภาพกายและสุขภาพจิต มีการพัฒนาจิตวิญญาณ มี
การสนับสนนุ ทางสงั คมทั้งการปฏิบัตติ นทเ่ี ป็นประโยชน์ต่อสังคมและการได้รับการชว่ ยเหลือจากสงั คม รวมทั้ง
การพึ่งพาตนเอง
ลักษณะของผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ควรนำมาใช้เป็นบทเรียนเพื่อเป็น
การเตรียมตวั ท่ีดีในอนาคตสำหรับกลุ่มคนวัยทำงาน ใกลเ้ กษยี ณอายุ ในการดแู ลรกั ษาสุขภาพรา่ งกาย จิตใจให้
แข็งแรงสมบูรณ์ มีบุคลิกภาพที่เปิดเผยสามารถเข้ากับบุคคลรอบข้างในชุมชนและสังคมได้ รวมถึงขณะที่
ทำงานตอ้ งมีการเตรยี มตัวทางด้านการเงิน กล่าวไดว้ ่า การเตรยี มตวั สู่การเป็นผสู้ ูงอายุท่ีมีประสบความสำเร็จ
โดยใชบ้ ทเรียนที่ดีเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยใหเ้ ป็นผูส้ งู อายุทีป่ ระสบความสำเร็จในสังคมไทย (สุธรรม นันทมงคลชัย,
2561) ผู้สูงอายุไม่ได้มีลักษณะและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทุกคน โดยผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพทั้ง
กายและใจ ทำใหส้ ามารถดำเนนิ กจิ กรรมต่าง ๆ ในชีวิตไดด้ ้วยตนเอง ไมเ่ ป็นภาระตอ่ ลูกหลาน (อรทัย อาจอ่ำ,
66 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
2553: 167-184) นอกจากนี้ยังต้องมีการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงนิ โดยจะต้องมีรายได้ที่เพียงพอ ซึ่ง
ส่งผลให้ผู้สูงอายุเปน็ ผู้ที่มีคุณภาพชีวิตทีด่ ีและเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ แต่ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุยัง
ขาดความรู้ในการปฏิบัติตนให้เป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข ประสบความสำเร็จ ขาดความรู้ที่ในการดูแลตนเอง
เช่น ความรู้ในการดูแลสุขภาพการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งด้านอาหาร การออกกำลังกาย ความรู้ ในการ
ปรับตัวทางด้านสังคมและจติ ใจ เช่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทกั ษะในการปรบั ตัวให้เข้ากบั ผู้อื่น ขาดความรู้
ในเรื่องรายรับรายจ่ายและการจัดการทางการเงิน ตลอดจนขาดความรู้เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมที่
เหมาะสมกับตนเอง (เครือวลั ย์ มาลาศรี และภทั รธิรา ผลงาม, 2559: 26-38)
อย่างไรก็ตามมีผลการศึกษาหลายงานที่เชื่อมโยงให้เห็นว่าหลังจากผู้สูงอายุได้รับความรู้จาการ ฝึกอบรมแล้ว
ผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้นและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ผลการศึกษาของศศิมา พึ่งโพธิ์ทอง และคณะ
(2562: 581-591) พบว่าผสู้ งู อายหุ ลังเขา้ ร่วมโปรแกรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางท่ีดขี ้ึน เน่ืองจาก
ลุ่มตัวอย่างไดร้ ับความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. มีการสาธิตการออกกำลังกาย
สาธิตอาหาร ร่วมกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้กลุ่มตัวอย่างได้คิดและสะท้อนเห็นการดูแลสุขภาพ
ตนเองรวมถึงรับรู้ถึงความรุนแรงของโรค ทำให้เกิดความคิดที่จะปรับพฤติกรรมในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ผู้สูงอายุจะ
ปฏิบตั แิ ละพบความสำเร็จดว้ ยตนเอง สอดคล้องกับประนอม โอทกานนท์ รชั นีภรณ์ ทรัพยก์ รานนท์ วารี กังใจ
และสิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ (2557) พบว่าผลการเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมี
คะแนนเฉลี่ย หลังอบรมมากกว่าก่อนการอบรม เช่นเดียวกันกับ พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ (2555) พบว่า ผู้เข้ารับ
การอบรมทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านจุดประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ทุกหน่วยร้อยละ 80 ขึ้น
ไป หลังการอบรมผู้สงู อายุมสี มรรถภาพร่างกายดขี ึ้น ความเครียดลดลง ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาผลของการ
ใชโ้ ปรแกรมฝกึ อบรมเพ่ือเสริมสร้างความรู้ต่อพฤติกรรมการเป็นผสู้ ูงอายทุ ี่ประสบความสำเร็จ เพ่ือให้ผู้สูงอายุ
ได้รบั ความรแู้ ละสามารถนำไปปฏบิ ัติได้ รวมท้งั สนับสนุนให้ผู้สูงอายมุ ีคุณภาพชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิต
ดีต่อไป ขณะเดียวกันจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
ครอบครัว โรงเรียน องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงสาธารณสุข สามารถนำข้อมูลนี้เป็นพื้นฐานในการวางแผนและกำหนดนโยบายการและเผยแพร่
ความรทู้ ่ีเปน็ ประโยชนต์ อ่ ชมุ ชน สังคม และประเทศ
วัตถุประสงคข์ องการวจิ ยั
1. เพ่อื พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้การเป็นผสู้ งู อายุท่ีประสบความสำเร็จ
2. เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ต่อพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุท่ี
ประสบความสำเร็จ
67 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
2. เอกสารและงานวจิ ัยทเ่ี กยี่ วข้อง
2.1 แนวคดิ การจดั การทรพั ยากรมนษุ ย์
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการแสวงหาบุคลากร ฝึกอบรม ประเมินผลการ
ปฏิบัติงาน การจัดการค่าตอบแทน แรงงานสัมพันธ์ ความปลอดภัยและสุขภาพ และให้ความยุติธรรมกับ
บุคลากร (Dessler, 2013: 4) การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญ ได้แก่ 1) ทำให้เกิดความสามารถใน
การแขง่ ขันขององค์การ ชมุ ชน และประเทศ 2) เพ่ิมผลติ ภาพและคุณภาพ และ 3) ทำให้มคี วามรับผิดชอบต่อ
สังคม คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อม และ 4) การสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตของบุคคล
กิจกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์หนึ่งที่มีความสำคัญคือ การฝึกอบรมเป็นกระบวนการพัฒนาให้บุคคลมี
ความรู้และทักษะความสามารถ ทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานได้ดี และสามารถเติบโตก้าวหน้าในอาชีพได้
ตลอดจนสามารถจดั การชวี ติ ไดอ้ ยา่ งสมดุล (DeNisi, 2008: 15)
การฝึกอบรม
การฝึกอบรม หมายถึง ความพยายามท่ีเป็นแบบแผนขององค์การในการช่วยให้บุคลากรมีความรู้
ทเ่ี ก่ยี วข้องกบั งาน ทักษะ ความสามารถและมพี ฤตกิ รรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใชใ้ นการทำงาน กระบวนการ
ฝึกอบรม แบ่งได้ 4 ขั้น โดยเริ่มจากขั้นที่หนึ่ง การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม ขั้นที่สอง การ
ออกแบบโปรแกรมฝึกอบรม ขั้นที่สามการจัดฝึกอบรม ขั้นที่สี่ประเมินผลฝึกอบรม จากผลการวิจัยแนวทางท่ี
บุคคลเรียนรู้ได้ดีที่สุดมีแนวทางปฏิบัติ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การสื่อสารวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สาธิตผลการ
ปฏิบัติงานที่คาดหวัง มุ่งเน้นประเด็นสำคัญ ใช้รูปภาพมากกว่าคำพูด เนื้อหาที่ใช้ฝึกอบรมควรกำหนดให้มี
ความเหมาะสม มีสื่อที่เป็นภาพ และสื่อที่สามารถนำมาฝึกปฏิบัติซ้ำได้ ประเมินความเข้าใจของผู้เข้ารับการ
ฝึกอบรม แจ้งผลการปฏิบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอย่างถูกต้องและรวดเร็ว มีการประเมินผลว่าโปรแกรม
ฝกึ อบรมบรรลุวัตถปุ ระสงคห์ รือไม่ ประเมินความรู้ หรอื ความสามารถท่ีไดร้ ับจากการฝึกอบรม ประเมินการใช้
ความรูแ้ ละพฤติกรรม (Noe, Hollenbeck, Gerhart & Wright, 2011: 189- 214)
จากแนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์สามารถสรุปได้ว่าการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญ
ทำใหเ้ กิดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มผลติ ภาพและคุณภาพ มคี วามรบั ผดิ ชอบต่อสังคม สนบั สนุนการพัฒนา
และการเติบโตของบุคคล ทุกหน่วยของสังคมทั้งองค์กร ชุมชน ประเทศต้องมีการจัดการทรัพยากรมนษุ ย์ การฝึกอบรม
เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้บุคคลมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ ทำให้เกิดผลงานที่ดี และมีความก้าวหน้าใน
อาชีพ รวมทั้งสามารถจัดการชีวิตได้อย่างสมดุล กระบวนการฝึกอบรมเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ความจำเป็นใน
การฝึกอบรมจนกระทั่งการประเมินผลการฝึกอบรม ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวสามารถนำไปใช้พัฒนาโปรแกรม
ฝึกอบรมได้อยา่ งเปน็ กระบวนการ และมีแนวทางการจดั ฝึกอบรมท่ีทำให้บคุ คลเกิดการเรียนรู้ไดด้ ี
2.2 ทฤษฎีการเรียนร้ขู องผูใ้ หญ่
ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (adult learning theory) Knowles ได้กล่าวถึงคุณลักษณะการ
เรียนรูข้ องผู้ใหญ่ (adult learner) ตงั้ แต่ปี ค.ศ. 1968 (Russell, 2006: 349-352) โดยมีประเดน็ สำคัญ ได้แก่
68 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ผู้ใหญ่มีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถดึงประสบการณ์ในชีวิตของตนเองมาช่วยในการเรียนรู้ พร้อม
เรียนรู้ตามสภาพการเปลี่ยนแปลง ให้ความสำคัญกับปัญหาเป็นศูนย์กลางและความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้
สามารถนำไปใช้ในชีวิต มีแรงจูงใจภายในท่ีช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้มากกว่าแรงจูงใจจากภายนอก (ปิยะ ศักดิ์เจริญ,
2558: 8-13) รูปแบบวิธีการสอนมีหลากหลายแบบ เช่น การบรรยาย การระดมสมอง การสัมมนา การ
อภปิ รายกลมุ่ การสาธติ กรณีศึกษา การทำโครงการเปน็ กลุม่ การฝกึ งาน การสอนกลมุ่ ย่อย ทัศนศกึ ษา
จากทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่สามารถสรุปได้ว่าผู้ใหญ่มีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้
ความสำคัญกับปัญหาเป็นศูนยก์ ลางและความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ในชวี ติ ใช้รูปแบบการสอน
ทหี่ ลากหลาย ซ่ึงแนวคิดดังกลา่ วสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมท่เี หมาะสมกบั ผู้สูงอายุท่ีเป็น
กลุ่มเปา้ หมาย
2.3 ทฤษฎีการเปน็ ผสู้ งู อายุทีป่ ระสบความสำเรจ็
ทฤษฎีการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ (successful aging theory) พัฒนาโดย Rowe
and Kahn ในปี ค.ศ. 1987 ทฤษฎีการเป็นผสู้ งู อายุที่ประสบความสำเร็จถูกสร้างขึ้นมาเพื่อโต้ตอบมุมมองที่ว่า
ผู้สูงอายุเป็นภาระทางสังคมและผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วยและความเสื่อมถอย Rowe and Kahn (1997)
กล่าวถึงว่าการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวข้องกับการที่ผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วยน้อย และการไร้
ความสามารถอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยมีระดับน้อย (Rowe & Kahn, 1997: 433) การเป็นผู้สูงอายุที่
ประสบความสำเรจ็ ประกอบด้วย ความสามารถทางสติปัญญาและความสามารถทางกาย รวมทั้งการมสี ่วนร่วม
ในการใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกัน แต่ละคนมีระดับการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบ
ความสำเร็จไม่เท่ากัน นอกจากนี้ความรู้สึกของผู้สูงอายุสามารถปรับเปลี่ยนระหว่างความสำเร็จกับความ
ล้มเหลวได้ Gwee et al. (2014) ศึกษาตัวชี้วัดระดับโลกของการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ
ประกอบด้วย สุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาพทางสังคม การมีความสุข การนับถือศาสนาหรือมีจิตวิญญาณ
สอดคล้องกับ Cosco et al. (2014) กล่าวถึงองค์ประกอบของพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบ
ความสำเรจ็ ประกอบดว้ ย สุขภาพกาย การมีความสขุ การผูกพนั การมคี วามสามารถสว่ นบคุ คล และปัจจัย
ภายนอก เช่นเดียวกันกับ Kim (2013) กล่าวถึงพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในประเทศ
เกาหลี ไดแ้ ก่ ความพึงพอใจในชีวิต การสรา้ งสรรค์ การรบั มือกบั สงิ่ ที่เกดิ ขึ้น การยอมรับและเข้าใจธรรมชาติ
ของชีวิต สอดคล้องกับ Tate et al. (2009) กล่าวถึงองค์ประกอบของพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบ
ความสำเร็จ ประกอบด้วย สุขภาพแข็งแรง พฤติกรรมที่รักษาสุขภาพ การดำเนินชีวิตที่ดี ชีวิตยืนยาวและมี
ภูมิคุ้มกันต่อความชรา มีผลิตภาพ เป็นประโยชน์ ให้การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นอาสาสมคั ร พึ่งพาตนเองได้ มีจิต
วญิ ญาณหรือความศรัทธา ยอมรบั หรอื มีการปรบั ตวั รวมถงึ การจัดการสงิ่ ตา่ ง ๆ ไดม้ เี ครือขา่ ยทางสังคม และมี
ประสบการณ์ชีวติ
จากการทบทวนวรรณกรรมทีเ่ ก่ียวข้องผวู้ ิจัยจึงให้ความหมายของพฤติกรรมการเปน็ ผูส้ งู อายุท่ีประสบ
ความสำเร็จไว้ว่าเป็นพฤติกรรมหรือการกระทำที่จะนำไปสู่การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่ประสบความส ำเร็จ
69 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
โดยมีการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต มีการพัฒนาทางจิตวิญญาณ มีการสนับสนุนทางสังคมทั้งการปฏิบัติ
ตนทเ่ี ปน็ ประโยชนต์ อ่ สงั คมและการได้รบั การช่วยเหลอื จากสังคม รวมท้ังการพึ่งพาตนเองพัฒนา องค์ประกอบ
ของพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จมี 5 ด้าน ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต การพัฒนาจิต
วิญญาณ การสนบั สนนุ ทางสงั คม และการพึง่ พาตนเอง
โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้การเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความเสร็จได้พัฒนาจากการ
ทบทวนเอกสารที่กล่าวข้างต้น และพัฒนาเนื้อหาความรู้ให้สอดคล้องกับกลุ่มเปา้ หมาย เช่น ผลการศึกษาจาก
อมั พร เบญจพลพทิ ักษ์ กาญจนา วณิชรมณยี ์ และพรรณี ภาณุ วฒั นส์ ขุ (2556) อธบิ ายถงึ คู่มือความสุข 5 มิติ
สำหรับผู้สูงอายุ ขณะที่ประไพศิริ เชี่ยวสาริกิจ (2555) เสนอคู่มือสูงวัยอย่างสมาร์ท ประกอบกับสำนักงาน
ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (2556) เสนอชุดความรู้เพื่อการเตรียม
ความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพ ขณะที่มณฑา ไชยะวัฒน และวิเชียร ตันสุวรรณนนท์ (2559) กล่าวถึง
ค่มู อื หลักสูตรโรงเรยี นผ้สู ูงอายุเขตสุขภาพท่ี 5 เช่นเดียวกันกบั สมพร กันทรดษุ ฎี เตรียมชยั ศรี (2562) อธิบาย
การสร้างเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัดแบบ SKT 1-7 ซึ่งโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้การเป็น
ผู้สูงอายุที่ประสบความเสร็จมี 5 หน่วยความรู้ ได้แก่ 1) สุขภาพกาย เช่น อาหาร การออกกำลังกาย 2) สุขภาพจิต
เชน่ ปญั หาสขุ ภาพจิตท่ีพบบ่อย ภาวะซึมเศรา้ 3) การพฒั นาจติ วิญญาณ เช่น การดำเนนิ ชีวิตตามหลักศาสนา
เพื่อความมั่นคงทางใจ การเผชิญกับวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ 4) การสนับสนุนทางสังคม เช่น การ
เปลี่ยนแปลงด้านสังคมของผู้สูงอายุ การปรับตัวในการดำเนินชีวิต และ 5) การพึ่งพาตนเอง เช่น การพึ่งพา
ตนเองของผูส้ งู อายุ กฎหมายและสิทธิประโยชนข์ องผูส้ ูงอายุ
2.4 งานวจิ ัยท่ีเกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยของ Lesinski et al. (2015) พบว่าช่วงเวลาการฝึกอบรมที่เหมาะสมคือ 11-12 สัปดาห์
มี 3 กิจกรรมต่อสัปดาห์ จำนวนกิจกรรมที่เหมาะสม 36-40 กิจกรรม ใช้ระยะเวลา 36-40 นาทีต่อกิจกรรม และ
ใช้เวลา 91-120 นาทีต่อสัปดาห์ สอดคล้องกับ Dahanyet et al. (2014) พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุน้อย
และทำกิจกรรมทางศาสนา ปัจจัยด้านสุขภาพใจและสุขภาพกาย และพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ออกกำลังกายเป็น
ประจำ มีความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกันกับ พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ (2555) พบว่าการ
พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การสร้าง
หลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 การนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้และประเมินผล ระยะที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตร
ฝึกอบรม ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านจุดประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ทุกหน่วย
ร้อยละ 80 ขึ้นไป หลังการอบรมผูส้ ูงอายุมีสมรรถภาพร่างกายดีข้ึน ความเครยี ดลดลง ขณะทปี่ ระนอม โอทกานนท์
รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ วารี กังใจ และสิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ (2557) พบว่าการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมี 3
ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การยกร่างหลักสูตร ระยะที่ 2 นำหลักสูตรไปใช้ ระยะที่ 3 ประเมินผลหลักสูตร ผลการ
เปรียบเทียบความรู้กอ่ นและหลังอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมคี ะแนนเฉลี่ยหลงั อบรมมากกว่า อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิตทิ ี่ระดับ 0.001 สอดคล้องกับวณิช นิรันตรานนท์ และศศธิ ร นริ นั ตรานนท์ (2555) พบว่าการพัฒนาหลักสูตร
70 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ฝึกอบรมมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับสร้างหลักสูตร ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร
จำลอง ระยะท่ี 3 การนำหลักสูตรไปทดลองใช้ หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติ
ตนได้ถูกต้องในการเสริมสร้างสุขภาพของตนเองมากกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ระยะที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร สอดคล้องกับศศิมา พึ่งโพธิ์ทอง และคณะ (2562: 581-591)
พบว่าผู้สูงอายุหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากลุ่มตัวอย่างได้รับ
ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. มีการสาธิตการออกกำลังกาย สาธิตอาหาร ร่วมกับ
การแลกเปล่ียนประสบการณ์ ทำให้กลุ่มตัวอย่างได้คิดและสะท้อนเห็นการดูแลสุขภาพตนเองรวมถึงรับรู้ถึงความ
รุนแรงของโรค ทำให้เกิดความคิดที่จะปรับพฤติกรรมในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ผู้สูงอายุจะปฏิบัติและพบความสำเรจ็
ด้วยตนเอง
จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปได้ว่าการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเริ่มจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
การจัดฝึกอบรม และการประเมินผลการฝึกอบรม ทั้งนี้การประเมินผลการฝึกอบรมจะเปรียบเทียบความรู้ก่อน
และหลังการฝึกอบรม การเปรียบเทียบพฤติกรรมก่อนและหลังการฝึกอบรม ซึ่งเห็นความเชื่อมโยงระหว่าง
กิจกรรมฝึกอบรม ความรู้ที่เพิ่มขึ้น และพฤติกรรมที่มีการปรับเปลี่ยน ซึ่งสามารถนำมาใช้การพัฒนาโปรแกรม
ฝกึ อบรม และประเมนิ ผลการฝึกอบรม
3. วิธีดำเนินการวจิ ัย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental design) ดำเนินการตามแผนการวิจัย
การศึกษากลมุ่ เดียว วดั ก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest - posttest design)
ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุต้ังแต่ 60-69 ปี จำนวน 35 คน เหตุผลการเลือกช่วงอายุดังกล่าวมาจาก
ผลการศกึ ษาของ สุธรรม นันทมงคลชัย (2561) พบว่าผสู้ งู อายทุ ป่ี ระสบความสำเร็จอยู่ในช่วงอายุประมาณ 60-69 ปี
และจัดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น ซึ่งประเทศไทยมีผู้สูงอายุอยู่ในช่วงวัยต้นถึงร้อยละ 56.5 ของผู้สูงอายุทั้งหมด
(สำนักงานสถติ ิแหง่ ชาติ, 2557)
เครื่องมือที่ใชใ้ นการวิจยั ได้สร้างและพัฒนาเครื่องมือให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่
1. โปรแกรมฝึกอบรม ประกอบดว้ ย หลักการและเหตุผล จุดมงุ่ หมายโปรแกรมฝกึ อบรม โครงสรา้ ง
โปรแกรมฝกึ อบรม สถานที่จดั ระยะเวลา หนว่ ยความรเู้ กยี่ วกับสุขภาพกาย สุขภาพจิต การพฒั นาจติ วญิ ญาณ
การสนับสนนุ ทางสังคม การพง่ึ พาตนเอง และการประเมินผล
2. แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้สูงอายุท่ีประสบความสำเร็จ พัฒนาจากสำนักงานส่งเสริม
สวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (2556); มณฑา ไชยะวัฒน และวิเชียร ตัน
สุวรรณนนท์ (2559) มี 5 ชุด ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกาย สุขภาพจิต การพัฒนาจิตวิญญาณ การ
สนับสนุนทางสังคม และการพึ่งพาตนเอง แต่ละชุดมีข้อคำถาม 10 ข้อ รวม 50 ข้อ แบบทดสอบความรู้มีการ
ให้คะแนนแบบ 1 กับ 0 โดยคะแนน 1 หมายถึง ตอบถูก คะแนน 0 หมายถึง ตอบผดิ
71 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
3. แบบประเมินพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ พัฒนาจาก Gwee et al., 2014;
Kim, 2013; สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย, 2560 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป เป็นคำถามแบบปลายเปิด
พฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต การพัฒนาจิตวิญญาณ การ
สนับสนุนทางสังคม การพึ่งพาตนเอง เป็นคำถามมาตรวัดแบบประมาณค่า (rating scale) 3 ระดับ โดยปฏิบัติ
เป็นประจำ กำหนดให้ 3 คะแนน ปฏิบัติบางครั้ง กำหนดให้ 2 คะแนน ไม่เคยปฏิบัติ กำหนดให้ 1 คะแนน
และข้อเสนอแนะ เปน็ คำถามแบบปลายเปิด
การทดสอบคณุ ภาพเครื่องมอื วิจยั
1. โปรแกรมฝึกอบรม ประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ความ
เหมาะสมของโปรแกรมฝึกอบรมมคี ่าเฉลย่ี อยรู่ ะหวา่ ง 4.00-4.60 คา่ ความสอดคล้องของโปรแกรมฝึกอบรมอยู่
ระหวา่ ง 0.6-1.00
2. แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ ค่าความยากง่ายของ
แบบทดสอบอยู่ระหว่าง 0.40-0.73 และค่าความเที่ยงด้วยสูตร KR-20 ของ Kuder-Richardson เนื่องจาก
แบบทดสอบความรู้มีการใหค้ ะแนนแบบ 1 กบั 0 คา่ ความเทย่ี งอยู่ระหว่าง 0.82-0.87
3. แบบประเมินพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ มีการตรวจสอบความตรงตาม
เนื้อหา (content validity) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ซึ่งหาความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือในแต่ละชุด
โดยการคำนวณความถูกต้องและความชัดเจนของเนื้อหา (index of congruence) ซึ่งมีค่า IOC มากกว่า 0.5 ถือ
ว่าในข้อนั้นสอดคล้องกันในระดับที่ยอมรับได้และแสดงว่าข้อนั้นมีความตรง (Osterlind, 2002: 260-264)
หลังจากน้ันนำแบบประเมินไปทดลองกับผู้สูงอายุที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน และมีการหาค่าอำนาจ
การจำแนกเป็นรายข้อ (discriminant power) โดยใช้เทคนิค item-total correlation ซึ่งค่าได้อยู่ระหว่าง
0.44-0.74 มีค่ามากกว่า 0.4 ซึ่งถือเป็นค่าที่ยอมรับได้ (Johnson-Conley, 2009: 48) รวมทั้งการตรวจสอบ
ความเที่ยง (reliability) วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha
coefficient) ค่าที่ได้เท่ากับ 0.98 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.70 จึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเชื่อถือได้ (Hair et al.,
2010: 673)
ระยะเวลาการวจิ ัย การวจิ ัยดำเนนิ การระหว่าง 2 ตุลาคม 2561 ถึง 29 พฤษภาคม 2563
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที
(paired t – test)
72 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
4. ผลการวจิ ัย
การวจิ ัยคร้ังน้ีแบง่ การนำเสนอเปน็ 3 ตอน สอดคล้องกับวตั ถุประสงคก์ ารวจิ ัย ดังนี้
ตอนท่ี 1 ขอ้ มลู ทวั่ ไปของผ้เู ขา้ รับการฝกึ อบรม
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมดเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 100.00 ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมี
อายุระหว่าง 60-64 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.40 การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 68.60
สถานภาพแต่งงาน คิดเป็นร้อยละ 71.40 รูปแบบการอยู่อาศัยอยู่กับสามี/ภรรยา/ลูก คิดเป็นร้อยละ 71.40
อาชีพรับจ้าง คิดเป็นร้อยละ 62.90 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 82.86 ไม่มีเงินออมตำ่
คดิ เปน็ ร้อยละ 77.10 ไม่มหี นี้สนิ คดิ เปน็ รอ้ ยละ 57.10 งานอดเิ รกเขา้ วัด ทำบุญ ปฏิบตั ิธรรม คดิ เป็นรอ้ ยละ 54.30
ตอนที่ 2 โปรแกรมฝกึ อบรมเพอ่ื เสรมิ สรา้ งความรู้การเปน็ ผ้สู ูงอายุท่ีประสบความสำเร็จ
โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ของพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จมีการ
ดำเนินงาน 2 ระยะ ดังน้ี
ระยะท่ี 1 พฒั นาโปรแกรมฝึกอบรม
1.1 พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีการเป็น
ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จของ Rowe and Kahn (Rowe & Kahn, 1997: 433) ทฤษฎีการเรียนรู้ของ
ผู้ใหญ่ของ Knowles (Russell, 2006: 349-352) และประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมของ
ประนอม โอทกานนท์ รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ วารี กังใจ และสิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ ( 2557) รวมท้ัง
รายละเอยี ดเน้ือหาความรู้การเปน็ ผสู้ ูงอายุท่ีประสบความสำเร็จได้พฒั นาจากเอกสารท่ีเกี่ยวข้องหลายเอกสาร
และพัฒนาเนื้อหาความรู้ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผลการศึกษาจาก อัมพร เบญจพลพิทักษ์
กาญจนา วณิชรมณีย์ และพรรณี ภาณุ วัฒน์สุข (2556) อธิบายถึงคู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ ขณะที่
ประไพศิริ เชี่ยวสาริกิจ (2555) เสนอคู่มือสูงวัยอย่างสมาร์ท ประกอบกับสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและ
พิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (2556) เสนอชุดความรู้เพื่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัย
สูงอายุที่มีคุณภาพ ขณะที่มณฑา ไชยะวัฒน และวิเชียร ตันสุวรรณนนท์ (2559) ได้กล่าวถึงคู่มือหลักสูตร
โรงเรียนผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 5 เช่นเดียวกันกับสมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี (2562) อธิบายถึงสร้างเสริม
สุขภาพดว้ ยสมาธิบำบัดแบบ SKT 1-7
1.2 ประชุมกลุ่มย่อย (focus group discussion) กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุ และ
คณะทำงานจดั ทำโปรแกรมฝกึ อบรม
กล่มุ ที่ 1 ผู้สงู อายทุ ่มี ีอายุต้ังแต่ 60-69 ปี จำนวน 5 คน ทีอ่ าศัยอย่ใู นตำบลบางหญา้ แพรก อำเภอ
เมือง จังหวัดสมุทรสาคร
กลุ่มที่ 2 คณะทำงานจัดทำโปรแกรมฝึกอบรม 3 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญการสอนหรือ
ฝกึ อบรมผ้ใู หญ่ จำนวน 1 คน ผู้เชีย่ วชาญเกี่ยวกบั ผู้สงู อายุ จำนวน 1 คน และผ้วู จิ ยั
73 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
1.3 นำร่างโปรแกรมฝึกอบรมมาตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 5 คน ประกอบดว้ ยผู้เช่ียวชาญการสอนหรอื ฝึกอบรมผู้ใหญ่ จำนวน 3 คน ผเู้ ช่ียวชาญเกีย่ วกับผสู้ ูงอายุ
จำนวน 2 คน
ระยะที่ 2 ทดลองใช้โปรแกรมฝึกอบรมและประเมนิ ผล
2.1 นดั หมายชีแ้ จงข้อมลู เกี่ยวกับโปรแกรมฝกึ อบรมกับผู้สงู อายุมีอายุต้งั แต่ 60-69 ปี จำนวน 35 คน
เพอื่ ใหท้ ราบถงึ วัตถุประสงค์ วิธกี าร ส่ือ และการวดั ประเมินผลของโปรแกรมฝึกอบรม และประเมินพฤติกรรม
การเปน็ ผสู้ ูงอายุทปี่ ระสบความสำเรจ็ ก่อนฝึกอบรม 1 เดือน โดยใหผ้ ้สู ูงอายุทำการประเมินตนเองก่อนเข้าร่วม
โปรแกรมฝกึ อบรม
2.2 จัดโปรแกรมฝึกอบรม จำนวน 5 หน่วยความรู้ รวมทั้งหมด 10 วัน คิดเป็น 30 ชั่วโมง โดยแต่ละ
วันจัดอบรม 3 ชั่วโมง แบ่งเป็น หน่วยที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกาย จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยเรื่อง
อาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การใช้ยา และการจัดการภาวะฉุกเฉิน หน่วยที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับ
สุขภาพจิต จำนวน 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยเรื่องปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อย ภาวะซึมเศร้าการเห็นคุณค่าแห่ง
ตนในผู้สูงอายุ การจัดการความเครียด การเสริมสร้างสุขภาพจิต หน่วยที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาจิต
วิญญาณ จำนวน 6 ช่ัวโมง ประกอบด้วยเร่ืองการดำเนินชีวติ ตามหลักศาสนาเพ่ือความมั่นคงทางใจ การเผชิญ
กบั วาระสดุ ท้ายของชีวติ อย่างสงบ การเสริมสรา้ งความผาสุกทางจติ วญิ ญาณของผ้สู ูงอายุ การฝึกสมาธิ SKT 7
หนว่ ยท่ี 4 ความรเู้ ก่ยี วกับการสนบั สนุนทางสงั คม จำนวน 6 ช่วั โมง ประกอบด้วยเร่ืองการสนับสนุนทางสังคม
ประกอบดว้ ย การเปลยี่ นแปลงดา้ นสงั คมของผูส้ งู อายุ การปรบั ตัวในการดำเนินชีวติ การสรา้ งสัมพนั ธภาพ
บทบาทของผู้สูงอายุต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม หน่วยที่ 5 ความรู้เกี่ยวกับการพึ่งพาตนเอง จำนวน 6
ชั่วโมง ประกอบด้วยเรื่องการพ่ึงพาตนเองของผู้สูงอายุ กฎหมายและสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ การทำ
พินัยกรรม การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยใช้วิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสมทั้งบรรยาย การสาธิต
กรณศี ึกษา การอภิปราย ชมวดี ิทศั น์ การฝึกปฏบิ ตั ิ และแลกเปล่ยี นประสบการณ์
2.3 ประเมินพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จหลังฝึกอบรม 1 เดือน โดยให้ผู้สูงอายุทำ
การประเมินตนเองหลังเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรม
ตอนท่ี 3 ผลของการใช้โปรแกรมฝกึ อบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ตอ่ พฤติกรรมการเปน็ ผู้สูงอายุท่ปี ระสบ
ความสำเร็จ
การวิจัยครั้งนี้นำเสนอผลของการใช้โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ต่อพฤติกรรมการเป็น
ผสู้ ูงอายุทป่ี ระสบความสำเร็จ ดังนี้
74 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ตารางท่ี 1 ค่าเฉลี่ย สว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐาน และผลของการทดสอบค่าที ความรู้การเป็นผูส้ ูงอายทุ ่ีประสบ
ความสำเร็จก่อนและหลังการฝึกอบรม
ความรูก้ ารเปน็ ผู้สงู อายุ ก่อน หลงั t-test
ทป่ี ระสบความสำเรจ็ xˉ S.D. xˉ S.D.
หนว่ ยความรู้เก่ียวกบั สขุ ภาพกาย 3.40 1.82 6.51 0.61 9.513**
หนว่ ยความรเู้ กย่ี วกบั สขุ ภาพจติ 3.20 1.51 6.43 0.74 11.729**
หนว่ ยความร้เู กี่ยวกับการพฒั นาจิตวญิ ญาณ 4.20 0.76 7.00 1.06 16.663**
หน่วยความรู้เกย่ี วกบั การสนับสนนุ 3.09 1.29 6.34 0.73 13.97**
ทางสงั คม
หนว่ ยความรู้เกี่ยวกับการพง่ึ พาตนเอง 2.97 1.46 6.60 0.81 14.943**
ภาพรวม 16.86 2.95 32.89 2.26 27.61**
จากตารางท่ี 1 พบวา่ ผู้เข้าอบรมมีคะแนนความรู้การเป็นผู้สงู อายุท่ีประสบความสำเร็จเฉล่ียหลังการ
ฝึกอบรมมากกว่าก่อนการฝึกอบรมทั้ง 5 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่าหลังการ
ฝกึ อบรมผ้เู ข้าอบรมมีความรู้เร่ืองสขุ ภาพกาย สขุ ภาพจิต การพฒั นาจิตวิญญาณ การสนับสนุนทางสังคม และ
การพึง่ พาตนเองเพมิ่ มากข้ึน
ตารางท่ี 2 คา่ เฉลี่ย สว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐาน และผลของการทดสอบค่า t พฤติกรรมการเป็นผสู้ ูงอายุที่ประสบ
ความสำเรจ็ กอ่ นและหลังการฝกึ อบรม
พฤตกิ รรมการเป็นผ้สู ูงอายุ กอ่ น หลัง t-test
ทีป่ ระสบความสำเรจ็ xˉ S.D. xˉ S.D.
สขุ ภาพกาย 1.75 0.11 2.31 0.16 30.615**
สุขภาพจติ 1.84 0.24 2.46 0.18 19.454**
การพฒั นาจติ วิญญาณ 2.16 0.23 2.47 0.19 11.352**
การสนบั สนนุ ทางสงั คม 1.98 0.19 2.32 0.19 12.387**
การพึง่ พาตนเอง 1.88 0.24 2.13 0.19 10.591**
ภาพรวม 1.90 0.11 2.34 0.10 37.419**
จากตารางที่ 2 พบว่า ผู้เข้าอบรมมีพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จหลังการฝึกอบรม
มากกว่าก่อนการฝึกอบรมทั้ง 5 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่าหลังการฝึกอบรมผู้เข้า
อบรมมีพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต การพัฒนาจิตวิญญาณ
การสนบั สนุนทางสังคม และการพง่ึ พาตนเองเพ่ิมมากข้ึน
75 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
5. สรปุ อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ
5.1. สรปุ และอภปิ รายผล
1. ผลจากวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่าโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ของพฤติกรรมการ
เป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จมีการดำเนินงาน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมจาก
การศึกษาแนวคิดทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 ทดลองใช้
โปรแกรมฝกึ อบรม โดยแบง่ เปน็ 5 หน่วย ไดแ้ ก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต การพัฒนาจิตวิญญาณ การสนับสนุนทาง
สังคม และการพึ่งพาตนเอง รวมทั้งหมด 30 ชั่วโมง โดยใช้วิธีการฝึกอบรมที่หลากหลาย ประเมินพฤติกรรมการ
เป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จหลังฝึกอบรม 1 เดือน สอดคล้องกับ พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ (2555) พบว่าการ
พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การสร้าง
หลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 การนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้และประเมินผล ระยะที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตร
ฝึกอบรม ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านจุดประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ทุกหน่วย
ร้อยละ 80 ขึ้นไป หลังการอบรมผู้สูงอายุมีสมรรถภาพร่างกายดีขึ้น เช่นเดียวกันกับ วณิช นิรันตรานนท์ และ
ศศิธร นิรันตรานนท์ (2555) พบว่าการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูล
พื้นฐานสำหรับสร้างหลักสูตร ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรจำลอง ระยะที่ 3 การนำหลักสูตรไปทดลองใช้
หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตนได้ถูกต้องในการเสริมสร้างสุขภาพของ
ตนเองมากกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระยะที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุง
หลักสูตร
2. ผลจากวจิ ยั วตั ถุประสงคท์ ่ี 2 พบวา่ หลงั จากเข้ารว่ มโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสรา้ งความรู้ของ
พฤตกิ รรมการเป็นผสู้ ูงอายุทป่ี ระสบความสำเรจ็ ผู้เขา้ อบรมมคี ะแนนความรู้การเปน็ ผสู้ ูงอายุที่ประสบความสำเร็จ
เฉลี่ยหลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการฝึกอบรม มีความพึงพอใจเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการ
ฝึกอบรม และมีพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุท่ีประสบความสำเร็จหลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าหลังการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องสุขภาพกาย สุขภาพจิต การ
พัฒนาจิตวิญญาณ การสนับสนุนทางสังคม และการพึ่งพาตนเองเพิ่มมากขึ้น มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น และมี
พฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ประนอม โอทกานนท์
รัชนภี รณ์ ทรพั ย์กรานนท์ วารี กงั ใจ และสริ ิลักษณ์ โสมานุสรณ์ (2557) พบวา่ ผลการเปรียบเทียบความรู้ก่อนและ
หลังอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย หลังอบรมมากกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.001 เชน่ เดยี วกนั กับผลการศึกษาของเช่นเดียวกบั พเิ ชษฐ ไพบลู ย์ศริ ิ (2555) พบว่าซึง่ ผเู้ ข้ารับการอบรมทุกคน
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านจุดประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ทุกหน่วยร้อยละ 80 ขึ้นไป หลังการอบรม
ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพร่างกายดีขึ้น สอดคล้องกับศศิมา พึ่งโพธิ์ทอง และคณะ (2562: 581-591) พบว่า ผู้สูงอายุ
หลังเขา้ ร่วมโปรแกรมมีการปรับเปล่ียนพฤติกรรมสุขภาพในทางทีด่ ีข้ึน เน่อื งจากลุ่มตัวอย่างได้รับความรู้เกี่ยวกับ
พฤตกิ รรมการส่งเสริมสขุ ภาพตามหลกั 3อ.2ส. มกี ารสาธติ การออกกำลงั กาย สาธิตอาหาร ร่วมกับการแลกเปลี่ยน
76 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ประสบการณ์ ทำให้กลุ่มตัวอย่างได้คิดและสะท้อนเห็นการดูแลสุขภาพตนเองรวมถึงรับรู้ถึงความรุนแรงของโรค
ทำใหเ้ กดิ ความคิดทีจ่ ะปรับพฤติกรรมในส่ิงที่ไม่ถูกต้อง ผูส้ ูงอายุจะปฏบิ ัตแิ ละพบความสำเร็จดว้ ยตนเอง
5.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. ผู้ทเ่ี กีย่ วข้องใกล้ชดิ กบั ผู้สูงอายุ เช่น บุตร บรวิ าร ญาติ พ่ี นอ้ ง เพอื่ น ควรศึกษาและทำความ
เขา้ ใจกบั พฤตกิ รรม อารมณ์ สภาพจติ ใจ ตลอดจนการเปลย่ี นแปลงทางด้านรา่ งกายของผสู้ ูงอายุ โดยผสู้ งู อายุ
มีความคาดหวงั ใหต้ นเองเป็นที่ยอมรบั ในสงั คม ต้องการความรัก และการดแู ลเอาใจใส่ โดยเฉพาะจากคนใน
ครอบครัว ผูส้ ูงอายุสว่ นใหญ่ต้องการอยู่กบั บุตรหลาน การสอนให้คำปรึกษาแก่บุตรหลานจะทำใหผ้ ูส้ งู อายุรู้สึก
ว่าตนเองยงั มคี วามสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อครอบครัว นำมาซึ่งความมั่นใจในการดำรงชวี ิตและความสุขใน
บั้นปลายของชีวติ ต่อไป
2. หน่วยงานทงั้ ภาครัฐ และเอกชนท่เี กีย่ วขอ้ งกับการดแู ลสง่ เสรมิ ผู้สูงอายุ สามารถนำโปรแกรม
การฝกึ อบรมเพ่ือเสริมสรา้ งการเป็นผสู้ ูงอายุทป่ี ระสบความสำเรจ็ ไปจดั ฝกึ อบรมให้กับผ้สู งู อายุเพื่อให้ผู้สูงอายุ
ได้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกาย การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร สุขภาพใจและการพัฒนา
ทางจิตวญิ ญาณ เช่น การปลอ่ ยวาง คดิ บวก การทำสมาธิ การปฏบิ ัตธิ รรม การเตรียมพร้อมในการเผชิญความ
ตาย ด้านการฝึกอาชีพ สร้างงาน และช่องทางการสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุ ตลอดจนการรับรู้การสนับสนุน
ทางสังคม โดยโปรแกรมการฝึกอบรมจะต้องมีจุดมุ่งหมายในการฝึกอบรมที่ชัดเจน คัดเลือกวิทยากรท่ี
เหมาะสมและมีประสบการณ์ในการอบรมผู้สูงอายุ รวมถึงการกำหนดวิธีการประเมินผล จะช่วยให้การ
ฝึกอบรมเกดิ ประสทิ ธิภาพและเป็นประโยชนต์ อ่ ผสู้ งู อายุอย่างแท้จรงิ
5.3 ขอ้ เสนอแนะเพ่ือการวิจัยในครง้ั ตอ่ ไป
การเป็นวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental design) ดำเนินการตาม
แผนการวิจัยการศึกษากลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest - posttest design)
สำหรับงานวิจยั ในอนาคตควรศึกษาเปรยี บเทียบโปรแกรมฝึกอบรมการเป็นผู้สงู อายุท่ีประสบความสำเร็จจาก
ชมุ ชนอ่ืนทไ่ี ด้รับรางวัล หรือชมุ ชนผสู้ งู อายตุ ้นแบบ (benchmarking) เพอ่ื ใหไ้ ด้รูปแบบของโปรแกรมฝึกอบรม
การเปน็ ผ้สู ูงอายุทปี่ ระสบความสำเรจ็ อย่างมปี ระสิทธภิ าพมากทสี่ ุด (best practice)
77 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
เอกสารอา้ งองิ
เครือวัลย์ มาลาศรี และภัทรธิรา ผลงาม. (2559). การพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ :
กรณีศึกษาในชมรมผู้สูงอายุ ตําบลสะอาด อําเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการ
มหาวทิ ยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 11(2). 26-38.
ประนอม โอทกานนท์ รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ วารี กังใจ และสิริลักษณ์ โสมานุสรณ์. (2557). การพัฒนา
หลักสูตรฝึกอบรม เรื่องทักษะการจัดการความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพสาหรับผู้สูงวัย. วารสาร
วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี. 22(5). 716-730.
ประไพศิริ เชี่ยวสาริกจิ . (2555). คู่มือสูงวัยอยา่ งสมาร์ท. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวจิ ยั และพัฒนาผู้สงู อายุ
ไทย (มส. ผส.).
ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง: กระบวนการ
เรียนรู้เพ่ือการสง่ เสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารพยาบาลทหารบก. 16(1). 8-13.
พิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลยั อสี เทิรน์ เอเชยี ฉบบั สงั คมศาสตร์ และมนษุ ยศาสตร์. 6(1). 191-199.
พิศุทธิภา เมธีกุล. (2554). ประสบการณ์การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุไทยที่มีสุขภาวะ
ทางจิตสูง: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา
บณั ฑิต สาขาวิชาจิตวทิ ยาการปรกึ ษา สาขาวิชาจิตวิทยาการปรกึ ษา จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย
มณฑา ไชยะวัฒน และวเิ ชยี ร ตันสุวรรณนนท.์ (บรรณาธิการ). (2559). ค่มู อื หลกั สูตรโรงเรียนผู้สงู อายุเขต
สุขภาพที่ 5. ราชบรุ ี: ศูนย์อนามยั ที่ 5 ราชบรุ ี กรมอนามยั .
วณิช นิรันตรานนท์ และศศิธร นิรันตรานนท์. (2555). การพัฒนาหลักสูตรการดูแลสุขภาพตนเองของ
ผู้สูงอายุ : รูปแบบการฝึกอบรมการดูแลสุขภาพโดยใช้กิจกรรมพลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการ
และวิทยาศาสตรก์ ารกีฬา. อุดรธานี: สถาบันการพลศกึ ษา วทิ ยาเขตอุดรธานี.
ศศมิ า พ่ึงโพธท์ิ อง ทพิ วรรณ ต้งั วงษก์ ิจ อรนชุ นนุ่ ละออง มยรุ ี บญุ ทดั และนนั ทช์ วัล คณาสรุ ยิ พัฒน์. (2562).
ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุโรคความ
ดนั โลหติ สูง อำเภอสรรคบรุ ี จังหวัดชยั นาท. วารสารแพทย์นาวี. 46(3). 581-591.
สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี. (2562). สร้างเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัดแบบ SKT 1-7. [ออนไลน์].
คน้ เมื่อ 8 มกราคม 2562, จาก https://thaicam.go.th/wp-content/uploads/2019/06/14-2.pdf
สำนักงานสง่ เสรมิ สวสั ดภิ าพและพิทักษเ์ ด็ก เยาวชน ผูด้ ้อยโอกาส และผสู้ งู อายุ. (2556). ชุดความรู้เพ่ือการ
เตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ:
บรษิ ทั เท็กซ์ แอนด์เจอร์นลั พับลเิ คชั่น จำกดั .
78 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. (2560). สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้ว
เจ้าจอม มหาวทิ ยาลยั ราชภฎั สวนสนุ ันทา
สธุ รรม นันทมงคลชัย. (2561). ผ้สู งู อายทุ ปี่ ระสบความสำเร็จ : บทเรียนเพอื่ การเตรียมตวั ทดี่ ี. [ออนไลน์].
ค้นเมอื่ 20 กรกฎาคม 2561, จาก http://phfh.ph.mahidol.ac.th/article.pdf.
อรทัย อาจอำ่ . (2553). แกแ่ ล้วไม่มคี ณุ คา่ จริงหรือ?บทสงั เคราะห์ความรู้เกี่ยวกับคณุ ค่าของผสู้ ูงอายุ. การ
ประชมุ วชิ าการระดับชาตคิ รั้งท่ี 6 สถาบนั วิจยั ประชากรและสงั คม มหาวิทยาลยั มหิดล.
อัมพร เบญจพลพิทักษ์ กาญจนา วณิชรมณีย์ และพรรณี ภาณุ วัฒน์สุข. (2556). คู่มือความสุข 5 มิติ
สำหรับผ้สู ูงอายุ. นนทบุรี: สำนกั พัฒนาสุขภาพใจ กรมสุขภาพใจ.
อุไร เดชพลกรัง. (2554). ทัศนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการเป็นผู้สูงอายุท่ีมีศักยภาพ.
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบณั ฑติ . การบริหารและนโยบายสวสั ดิการสังคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.์
Cosco, T. D., Prina, A. M., Perales, J., Stephan, B. C., & Brayne, C. (2014). Operational definitions of
successful aging: a systematic review. International Psychogeriatrics, 26 (3), 373-381.
Dahany, M. M., Dramé, M., Mahmoudi, R., Novella, J. L., Ciocan, D., Kanagaratnam, L., & Jolly,
D. (2014). Factors associated with successful aging in persons aged 65 to 75 years.
European Geriatric Medicine. 5(6). 365-370.
DeNisi, A. S., & Griffin, R. W. ( 2008) . Human Resource Management. Boston: Houghton
Mifflin Company
Dessler, G. (2013). Human resource management. (13th ed.). USA: Pearson Education.
Gwee, X., Nyunt, M. S. Z., Kua, E. H., Jeste, D. V., Kumar, R., & Ng, T. P. (2014). Reliability and
validity of a self-rated analogue scale for global measure of successful aging. The
American Journal of Geriatric Psychiatry. 22(8). 829-837.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis.
(7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Johnson-Conley, C.D. (2009). Using community-based participatory research in the
development of a consumer-driven cultural competency tool. Ph.D. Thesis, University.
Kim, E. J. (2013). Accessing factor structure and construct validity of the successful aging
inventory. Journal of Korean Academy of Nursing, 43 (4), 568-578.
Lesinski, M., Hortobágyi, T., Muehlbauer, T., Gollhofer, A., & Granacher, U. (2015). Effects of
balance training on balance performance in healthy older adults: a systematic review
and meta-analysis. Sports medicine, 45 (12), 1721-1738.
Noe, R. A., Hollenbeck, J. R., Gerhart, B., & Wright, P. M. (2 0 1 1 ) . Fundamentals of human
resource management. (4th ed.). Boston: McGraw-Hill.
79 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
Osterlind, S. J. (2002). Constructing Test Items: Multiple-Choice, Constructed-Response,
Performance, and Other Formats. (2nd ed.). NY: Kluwer Academic Publishers.
Rowe, J. W., & Kahn, R. L. (1987). Human aging: Usual and successful. Science. 237. 143-149.
Rowe, J. W., & Kahn, R. L. (1997). Successful aging. The Gerontologist. 37. 433-440.
Russell, S. S. (2006). An overview of adult-learning processes. Urologic nursing. 26 (5). 349-
352.
Tate, R. B., Loewen, B. L. , Bayomi, D. J. , and Payne, B. J. (2009). The Consistency of Definitions
of Successful Aging Provided by Older Men: The Manitoba Follow-up Study. Canadian
Journal on Aging, 28 (4), 315– 322.
80 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
แนวทางการพัฒนากลยุทธก์ ารแขง่ ขนั ของธุรกจิ สง่ ออกผกั และผลไมใ้ นจังหวัดนครปฐม
Guidelines for Developing Competitive Strategies for Fruit and
Vegetable Export Businesses in Nakhon Pathom Province
วลั ลภา วิชะยะวงศ์*
(Wallapa Wichayawong)
บทคดั ยอ่
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของธุรกิจ
ส่งออกผกั และผลไม้ในจงั หวดั นครปฐม ผวู้ ิจยั ใชก้ ารวิจัยเชงิ คุณภาพ เครอ่ื งมือในการวจิ ยั ใชแ้ บบสัมภาษณ์
แบบกึ่งโครงสร้าง การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ประกอบการ และตัวแทนผู้ประกอบการส่งออกผักและ
ผลไม้ ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 14 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยการ
วเิ คราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอปุ สรรค ที่จะนำไปสู่การการวิเคราะห์กลยุทธโ์ ดยใช้ TOWS Matrix
รวมถึงการวิเคราะห์การแข่งขันในอุตสาหกรรมโดยใช้ Five-Forces Model ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์
การแข่งขันของธุรกิจส่งออกผักและผลไม้ในจังหวัดนครปฐมที่เหมาะสม คือ กลยุทธ์ สร้างความแตกต่าง
โดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่าในตราสินค้า การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเลือกตลาดที่มี
ศกั ยภาพในการทำกำไรสงู
คำสำคัญ: ผักและผลไม้ แนวทางการพฒั นา กลยทุ ธ์การแขง่ ขัน ธรุ กจิ สง่ ออก สภาพแวดล้อมทางธุรกจิ
*อาจารย์ คณะวิทยาการจดั การ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
Lecturer Faculty of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University 73000
Corresponding author: [email protected]
81 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021
ABSTRACT
This research aims to: Study the guidelines for developing the competitive strategy of
fruit and vegetable export business in Nakhon Pathom province. This research used qualitative
research methodology. Research tools were semi-structured interview forms. The samples
were specific sampling of 14 entrepreneurs and representatives of exporters of vegetable
and fruit in Nakhon Pathom province. This research used content analysis in business
environments by analysing strengths, weaknesses, opportunities, and obstacles, leading to
strategic analysis using TOWS Matrix. Including analysis of competition in the industry using
the Five-Forces Model. The research found that the appropriate competitive strategy of the
fruit and vegetable export business in Nakhon Pathom province were strategies for making a
difference by adding value, creating brand value, product quality development and choosing
the market where has high profit potential.
Keywords: fruit and vegetable, development guidelines, competitive strategies,
export business, business environment
Article history: Received 5 June 2020
Revised 10 October 2020
Accepted 12 October 2020
SIMILARITY INDEX = 0.00 %
82 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021