The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mbakru1, 2022-06-29 14:17:53

วารสารวิทยาการจัดการปีที่8ฉบับที่2

Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University

Keywords: วารสารวิทยาการจัดการ

จากการสังเคราะห์องคป์ ระกอบตวั แปรปัจจัยสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้จัดทำบัญชีท่ีได้รับในการ
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบตัวแปรปัจจัยสมรรถนะการปฏิบัติงาน
ของผู้จัดทำบัญชีประกอบด้วยการวัดจำนวน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านมาตรฐานปฏิบัติงาน ด้าน
การรักษาความลบั ดา้ นความรับผิดชอบ ดา้ นจรรยาบรรณทัว่ ไป ดา้ นความโปรง่ ใส และดา้ นความเปน็ อสิ ระ

3.2. ตัวแปรปจั จยั ความรู้ (Knowledge)
จากการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยของต่างประเทศและในประเทศที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ความรู้
พบว่า นกั วิจัยได้ให้ความสำคัญกับความรู้ทส่ี ง่ ผลใหเ้ กิดศักยภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในประเทศไทยท่ี
น่าสนใจหลายท่านได้แก่ Edvinsson (2010), Michael & Nonaka (2009), Dickins, Higgs & McPhail
(2003), สภาวิชาชีพบญั ชี (2557) โดยพบวา่ มีองค์ประกอบท่สี ำคญั ดังรายละเอยี ดตามตารางที่ 2 ดังนี้

ตารางท่ี 2 แสดงการสงั เคราะห์องค์ประกอบตัวแปรปจั จัยความรู้ทางการบัญชีของผจู้ ัดทำบญั ชี

องค์ประกอบความรู้ ความรทู้ างการบัญชี ความรู้ทางองค์กรและ

นักวชิ าการ และการเงิน ธุรกิจ

Leif Edvinsson (2010) 

Michael Polanyi & Ikujiro Nonaka (2009)  

Dickins, Higgs & McPhail (2003) 

สภาวิชาชพี บญั ชี (2557) 

จากการสังเคราะห์องค์ประกอบตัวแปรปัจจัยความรู้ของผู้จัดทำบัญชี ที่ได้รับในการทบทวน
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบตัวแปรปัจจัยความรู้ของผู้จัดทำบัญชี
ประกอบด้วยการวัดจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ทางการบัญชีและการเงิน และความรู้ทางองค์กรและ
ธุรกจิ

3.3. ตวั แปรปจั จัยทักษะ (Skill)
จากการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยของตา่ งประเทศและในประเทศที่เก่ยี วข้องกบั ปัจจยั ทักษะพบว่า
นักวิจัยได้ให้ความสำคัญกับทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลให้เกิดศักยภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีใน
ประเทศไทยที่น่าสนใจหลายท่านได้แก่ Katz, Robert (1955), Kavanagh (2008), International
Federation of Accountants: IFAC (2008) และสภาวิชาชีพบัญชี (2557) โดยพบว่ามีองค์ประกอบที่สำคญั
ดงั รายละเอยี ดตามตารางที่ 3 ดังน้ี

183 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางที่ 3 แสดงการสังเคราะหอ์ งคป์ ระกอบตัวแปรปัจจัยทกั ษะทางการบัญชีของผู้จัดทำบัญชี
องคป์ ระกอบทักษะ

นักวชิ าการ
ัทกษะทาง
ปัญหา
ัทกษะทาง
วิชาการ
ัทกษะการ
ป ิฏสัมพัน
ัทกษ ์ธะการ
ส่ือสาร
ัทกษะการ
จัดการ
จัดการ

Katz (1955)  × × 

Kavanagh (2008) 

IFAC (2008) 

สภาวชิ าชีพบัญชี (2557) 

จากการสังเคราะห์องค์ประกอบตวั แปรปัจจัยทักษะของผ้จู ดั ทำบญั ชีที่ได้รบั ในการทบทวนวรรณกรรม

ที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบตัวแปรปัจจัยทักษะของผู้จัดทำบัญชีประกอบด้วยการวัด

จำนวน 5 ดา้ น ไดแ้ ก่ ด้านทักษะทางปัญญา ดา้ นทกั ษะทางวิชาการ ดา้ นทกั ษะการปฏสิ ัมพนั ธ์ ด้านทักษะการ

สื่อสาร และด้านทักษะการจัดการองค์กร

3.4. ตวั แปรปัจจยั ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System)
จากการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยของต่างประเทศและในประเทศที่เกีย่ วข้องกับปัจจัยทักษะปัจจัย
ระบบสารสนเทศทางการบญั ชีพบวา่ นกั วจิ ัยได้ใหค้ วามสำคัญกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี ท่สี ง่ ผลให้เกิด
ศักยภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในประเทศไทยที่น่าสนใจหลายท่านได้แก่ Loiacono et al. (2006),
Redman (2007), Romney & Steinbart (2009), Laudon (2012), Nelson, Todd & Wixom (2015) โดย
พบวา่ มีองค์ประกอบท่สี ำคญั ดังรายละเอียดตามตารางที่ 4 ดงั น้ี

ตารางที่ 4 แสดงการสังเคราะห์องค์ประกอบตัวแปรปัจจยั ระบบสารสนเทศทางการบัญชขี องผู้จัดทำบัญชี
องค์ประกอบระบบสารสนเทศทางการบญั ชี

นักวชิ าการ
ความ
ัทนส ัมย
่งายต่อการ
เ ้ขาใจ
ูถก ้ตอง
เ ื่ชอถือไ ้ด
ครบ ้ถวน
สม ูบรณ์
ตรวจสอบ

ได้

Loiacono et al. (2006) ××

Redman (2007)  × 

Romney & Steinbart (2009) 

Laudon (2012) 

Nelson, Todd & Wixom (2015) 

จากการสังเคราะห์องค์ประกอบตวั แปรปจั จัยระบบสารสนเทศทางการบญั ชีองผจู้ ัดทำบัญชีท่ีได้รับใน

การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบตัวแปรปัจจัยระบบสารสนเทศ

ทางการบญั ชขี องผจู้ ัดทำบัญชีประกอบดว้ ยการวดั จำนวน 5 ดา้ น ไดแ้ ก่ ด้านความทนั สมัย ด้านการมรี ูปแบบท่ี

ง่ายตอ่ การเข้าใจ ด้านความถูกต้องเชื่อถอื ได้ ด้านความครบถ้วน สมบรู ณ์ และด้านการตรวจสอบได้

184 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ทั้งนี้ จากการทบทวนวรรณกรรมและการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยจึงได้กำหนดกรอบ
แนวความคิดดังน้ี

ตวั แปรอิสระ ตวั แปรตาม
(Independent Variables) (Dependent Variable)

ปัจจัยทกั ษะทางวชิ าชพี ศักยภาพในการจัดทำบัญชขี องกลุ่ม
บญั ชี วิสาหกิจชมุ ชนจังหวัดนครปฐม

ปจั จัยความรู้ทางการบัญชี 1) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2) ด้านการแก้ไขปญั หา
ปจั จัยสมรรถนะการ 3) ดา้ นจรรยาบรรณวชิ าชีพ
ปฏบิ ตั งิ านของผจู้ ดั ทำบญั ชี 4) ดา้ นกฎหมายท่เี กยี่ วขอ้ งกบั นกั บัญชี
5) ด้านภาษาตา่ งประเทศ
ปจั จยั ระบบสารสนเทศ
ทางการบญั ชี

แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคดิ ในการทำวิจัย

3. วธิ ดี ำเนนิ การวิจัย

ประชากร ได้แก่ ผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตจังหวัดนครปฐมในเขต
กรุงเทพมหานคร จำนวน 144 ราย และกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวแทนประชากรที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งคำนวณหา
จำนวนกล่มุ ตัวอย่างโดยใชโ้ ปรแกรม G*Power โดยการเลือก Linear multiple regression: Fixed model,
R² deviation from zero และกำหนด effect size = 0.15, error prob. = 0.05 และ power (1-B error
prob.) = 0.95 เนื่องจากไม่ทราบค่าประมาณการพารามิเตอร์ในอดีต จึงได้เลือกใช้การกำหนดค่าขนาด
อิทธิพลสำเร็จรปู โดยเลือกกำหนดค่าขนาดอิทธพิ ลปานกลาง (effect size = 0.15) (Faul, Erdfelder, Lang
& Buchner, 2007) และกำหนดให้มีค่าความเชื่อมั่นของการทดสอบเท่ากับ 0.95 โดยยอมรับค่าความ
คลาดเคลอ่ื นไม่เกิน 0.05 ไดจ้ ำนวนขนาดกลุ่มตัวอยา่ งจำนวน 129 คน ดงั แสดงในตารางที่ 5 จากน้ันผู้วิจัยใช้
การสุ่มแบบบงั เอิญจนได้กลุ่มตวั อย่างครบตามจำนวนท่ีได้กำหนดไว้

185 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางท่ี 5 แสดงการคำนวณกลุ่มตัวอยา่ งด้วยโปรแกรม G*Power 3.1.9.4

Linear Multiple Regression: Fixed model, R² deviation from zero

Analysis : A priori: Compute required sample size

Input : Tail(s) = Two
Effect size f² = 0.15

α err prob = 0.05

Power (1-β err prob) = 0.95
Number of predictors =4

Output : Non-centrality parameter λ = 19.3500000

Critical F = 2.4447662

Numerator df =4

Denominator df = 124

Total sample size = 129

Actual power = 0.9505747

G*Power 3.1.9.4

เคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการวิจัย ไดแ้ กแ่ บบสอบถามแบบมาตราสว่ นประมาณคา่ 5 ระดับ (5-Rating Scale
Questionnaire) ในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอยา่ ง โดยแบบสอบถามมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 – 1.00 ขึ้น
ไปทุกข้อ จากการตรวจสอบความตรงด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และมีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธ์ิ
อัลฟาทงั้ ฉบับเทา่ กับ 0.983 และมีค่าความเช่อื มัน่ แบบสัมประสทิ ธิ์อลั ฟารายข้อ > 0.20 ข้นึ ไปทกุ ขอ้

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบไปด้วย สถิติพรรณนา วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสรุปอา้ งอิง วิเคราะห์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพนั ธ์แบบเพยี รส์ นั และการวิเคราะห์
ถดถอยพหคุ ูณ

4. ผลการวจิ ยั

ผลการวเิ คราะห์ข้อมลู ทัว่ ไปของกลุ่มตัวอยา่ งผู้ตอบแบบสอบถาม
ผลการวจิ ัยพบวา่ ผตู้ อบแบบสอบถามส่วนใหญเ่ ปน็ เพศหญิง (ร้อยละ 45.10) มอี ายุ 31-35 ปี

(ร้อยละ 57.40) การศึกษาจบระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 64.70) สถานภาพโสด (ร้อยละ 49.50) และมีรายได้
อยู่ระหวา่ ง 20,001-30,000 บาท (ร้อยละ 71.90)

186 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่ม
วิสาหกิจชุมชนจงั หวัดนครปฐม

ตารางท่ี 6 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
จงั หวัดนครปฐม โดยรวม และในรายดา้ น

ศกั ยภาพในการจดั ทำบญั ชขี องกลุ่มวิสาหกจิ Mean S.D.
ชุมชนจังหวดั นครปฐม

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.98 0.11
ดา้ นการแกไ้ ขปญั หา 2.67 0.08

ดา้ นจรรยาบรรณวิชาชีพ 2.65 0.27
ด้านกฎหมายทเ่ี กี่ยวขอ้ งกบั นักบญั ชี 2.55 0.06

ด้านภาษาตา่ งประเทศ 2.44 0.09

ศกั ยภาพในการจดั ทำบญั ชี 2.66 0.68

จากตารางที่ 6 ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐม

โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.66) เมอ่ื พจิ ารณาในรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 5

ด้าน เรียงตามลำดับได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ( X = 2.98) ด้านการแก้ไขปัญหา ( X = 2.67) ด้าน

จรรยาบรรณวิชาชีพ ( X = 2.66) และด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชี ( X = 2.55) และอยู่ในระดับน้อย
จำนวน 1 ดา้ น ไดแ้ ก่ ด้านภาษาต่างประเทศ (X = 2.44)

ผลการวิเคราะห์ปัจจยั ท่สี ่งผลตอ่ ศกั ยภาพในการจัดทำบญั ชีของกลมุ่ วสิ าหกิจชุมชนจังหวดั นครปฐม

ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพือ่ ทดสอบปญั หาภาวะเสน้ ตรงร่วมเชิงพหุระหว่างตวั แปร

Pearson’s Product Moment Correlation

R / r X2 X3 X4 Yรวม

X1 0.36** 0.18** 0.31** 0.41**
X2 1.00 0.46** 0.33** 0.32**

X3 - 1.00 0.72** 0.47**

X4 - - 1.00 0.49**

Xรวม - - - 0.52**
หมายเหตุ : ** = มีนัยสำทางสถิตทิ ่รี ะดบั .01

จากตารางที่ 7 พบวา่ ผลการวเิ คราะห์ความสัมพนั ธ์ระหว่างตวั แปรอิสระกับตวั แปรตามท่ีใช้ในการวิจัย

เพื่อทดสอบปัญหาภาวะเส้นตรงร่วมเชิงพหุด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่าโดยรวม มีค่า

ความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยโดย

187 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากที่สุดไปหาน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้จัดทำบัญชี
(X4, R = 0.49) ปัจจัยระบบสารสนเทศทางการบัญชี (X3, R = 0.47) ปัจจัยความรู้ทางการบัญชี
(X1, R = 0.41) และปัจจัยทักษะทางวิชาชีพบัญชี (X2, R = 0.32) และไม่พบว่ามีตัวแปรอิสระคู่ใดที่มีค่า
ความสัมพนั ธร์ ะหว่างกนั เองมากกวา่ .80 จนเกดิ ปญั หาภาวะเส้นตรงร่วมเชิงพหุ

ตารางที่ 8 ผลการวเิ คราะห์ปัจจยั ท่สี ง่ ผลต่อศักยภาพในการจัดทำบญั ชกี ลุ่มวสิ าหกจิ ชุมชนจังหวัดนครปฐม

Method : Enter Unstandardized Standardized t Sig.
B S. E. Beta

(Constant) 1.47 0.12 - 12.47 0.00**

ปัจจัยความร้ทู างการบญั ชี (X1) 0.25 0.04 0.41 6.09 .00**

ปจั จยั ทกั ษะทางการบัญชี (X2) 0.16 0.04 0.24 4.49 .00**

ปัจจยั ระบบสารสนเทศทางการบญั ชี (X3) 0.07 0.04 0.12 2.06 0.04*

ปจั จยั สมรรถนะการปฏบิ ัตงิ านผ้ทู ำบญั ชี (X4) 0.20 0.03 0.33 6.04 0.00**

R = .52 / R2 =. 27 / R2adj. = .26 / R2chg. = .01

จากตารางที่ 8 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัด
นครปฐมโดยรวม โดยใช้การวิเคราะห์แบบกำหนดตัวแปรเข้าไปในสมการทั้งหมด (Enter Method) ทั้ง 4 ตัว
แปร มีความสัมพันธ์พหุคูณกับศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวม
เท่ากับ 0.52 (R = 0.52) แสดงว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวแปรรวมกันมีความสัมพันธ์กับศักยภาพในการจัดทำ
บัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่า
ความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ คือ ร้อยละ 52.00 ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวแปรรวมกันสามารถอธิบายการผัน
แปรหรือการเปลี่ยนแปลงของศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวม ได้
อยา่ งถกู ตอ้ งร้อยละ 27.00 (R2 = 0.27) โดยปจั จยั ท่มี ผี ลตอ่ ศกั ยภาพในการจดั ทำบัญชขี องกลมุ่ วสิ าหกิจชุมชน
จังหวัดนครปฐมโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 0.05 มีจำนวนรวม 4 ตัวแปร สอดคล้องกับ
สมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ เรียงลำดับจากตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการผันแปรในตัวแปรตามในแบบคะแนน
มาตรฐานมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) ปัจจัยความรู้ทางการบัญชี (X1, Beta = 0.41) 2) ปัจจัยสมรรถนะการ
ปฏิบัติงานของผู้จัดทำบัญชี (X4, Beta = 0.31) 3) ปัจจัยทักษะทางวิชาชีพบัญชี (X2, Beta = 0.24) และ 4)
ปัจจัยระบบสารสนเทศทางการบัญชี (X3, Beta = 0.12) ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อปัจจัยความรู้ทางการ
บัญชี (X1, Beta = 0.41) ปัจจยั สมรรถนะการปฏิบตั งิ านของผ้จู ัดทำบัญชี (X4, Beta = 0.31) ปจั จยั ทักษะทาง
วิชาชพี บญั ชี (X2, Beta = 0.24) และปัจจัยระบบสารสนเทศทางการบัญชี (X3, Beta = 0.12) มกี ารเปล่ียนไป
1 หน่วย จะทำให้ศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมเปลี่ยนแปลงไป
0.41 หน่วย, 0.31 หนว่ ย, 0.24 หน่วย และ 0.12 หน่วยในทศิ ทางเดียวกันตามลำดับ

188 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ดังนั้น เม่อื ทราบค่าคงท่ี และคา่ สมั ประสิทธก์ิ ารพยากรณ์ จะสามารถสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นตรงใน
รูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังน้ี

สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized) มีดงั น้ี
Y = 1.47+(0.25X1)+(0.16X2)+ (0.07X3)+(0.20X4)
เม่อื Y = ศักยภาพในการจดั ทำบญั ชขี องกลมุ่ วสิ าหกิจชมุ ชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมในรูปคะแนนดิบ
สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized) มดี ังน้ี
Z = 0.41Z1 + 0.24Z2 + 0.12Z3 + 0.34Z4
เม่อื Z = ศักยภาพการจัดทำบัญชีกล่มุ วสิ าหกิจชมุ ชนจังหวดั นครปฐมโดยรวมรูปคะแนนมาตรฐาน

5. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1. สรปุ และอภปิ รายผล
1 จากผลการวิจัยศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวม

สามารถสรุปไดว้ ่า ศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
โดยอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 5 ด้าน และอยู่ในระดับน้อยจำนวน 1 ด้าน เรียงตามลำดับได้แก่ ด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ ด้านการแก้ไขปัญหา ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชี และด้าน
ภาษาตา่ งประเทศ ทั้งน้ผี ลการวิจัยดังกล่าวเป็นเพราะผู้จัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจส่วนมากให้ความสำคัญกับการ
จัดทำงบการเงินเพ่ือย่ืนชำระภาษีต่อกรมสรรพากรมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารและตัดสินใจ ซง่ึ
สะทอ้ นให้เห็นว่าข้อมูลทางการเงินท่ีไดส้ ร้างสรรค์ผลงานออกมายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์กับการตอบสนองในส่ิงที่ผู้
มีหน้าที่จัดทำงบการเงินในฐานะของผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้หนึ่งที่ต้องใช้ข้อมูลสรุปทางบัญชีเพื่อที่จะมาใช้ประโยชน์และ
เพือ่ ตอบโจทย์ในงานด้านบริหารและการตัดสินใจได้

2. จากผลการวิจัยปัจจยั ท่ีส่งผลต่อศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐม
โดยรวม โดยใช้การวิเคราะห์แบบกำหนดตัวแปรเข้าไปในสมการทง้ั หมด (Enter Method) สามารถสรุปไดว้ ่า ปจั จัย
ที่มีผลต่อศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ี
ระดับ 0.01 และ 0.05 มีจำนวนรวม 4 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยความรู้ทางการบัญชี ปัจจัยสมรรถนะการปฏิบัติงาน
ของผู้จัดทำบัญชี ปัจจัยทักษะทางวิชาชีพบัญชี และปัจจัยระบบสารสนเทศทางการบัญชี ซึ่งสามารถอภิปรายผล
จำแนกตามตัวแปรได้ดังนี้

1) จากผลการวิจัยที่พบว่าปัจจัยด้านความรู้ทางการบัญชีเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อศักยภาพในการ
จดั ทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมอย่างมนี ัยสำคัญท่ีระดับ 0.01 ท้ังนี้ผลการวิจัยดังกล่าว
เป็นเพราะความรู้ทางการบัญชีส่งผลให้การปฏิบัติงานทางด้านบัญชีและด้านวิธีปฏิบัติงานทางบัญชี อีกทั้งหาก
ผู้ทำบัญชีมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายทางบัญชี ย่อมจะทำให้การจัดทำบัญชีและการเงินเป็นไปอย่างมี
ประสทิ ธิภาพและประสทิ ธผิ ล สอดคลอ้ งกบั สมมตฐิ านของการวจิ ัยทีไ่ ด้ตั้งไว้ โดยผลการวจิ ัยดงั กล่าวสอดคล้อง
กับผลการวจิ ัยของ เอกวินติ พรหมรักษา วิชติ อู่อน้ และนนทิพนั ธ์ุ ประยรู หงส์ (2560) ท่ีไดศ้ ึกษาเรื่อง ปัจจัย

189 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เชิงสาเหตทุ ีส่ ่งผลต่อประสิทธผิ ลการปฏบิ ตั งิ านของผู้ทำบัญชีในประเทศไทย โดยผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้าน
ความรู้ความเข้าใจของนักบัญชี เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลในทางตรงต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ
ผูท้ ำบัญชใี นประเทศไทยอย่างมีนยั สำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดบั 0.01

2) จากผลการวิจัยที่พบว่าปัจจัยสมรรถนะการปฏบิ ตั ิงานของผู้จัดทำบญั ชีเปน็ ตัวแปรที่ส่งผลตอ่
ศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ ทั้งนี้ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นเพราะสมรรถนะการปฏิบัติงานของ
ผ้จู ดั ทำบญั ชี เปน็ ผลรวมจากความรู้ทางการบัญชีและทักษะทางวชิ าชีพบัญชีอันจะทำใหก้ ารจัดทำบัญชีและการเงิน
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ โดยผลการวิจัย
ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของ McClelland (2004) และสอดคล้องกับแนวคิดของ Dickins and Higgs
(2006) ที่ได้อธิบายถึงสมรรถนะในการปฏิบตั ิงานไวว้ ่า เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธใ์ นเชิงบวกกับศักยภาพใน
การทำงานของผู้ปฏบิ ัตงิ าน

3) จากผลการวิจัยที่พบว่าปัจจัยทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้จัดทำบัญชีเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อ
ศักยภาพในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดั บ 0.05
สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ ทั้งนี้ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นเพราะศักยภาพภาพการปฏิบัติงาน
ทางการบัญชี ด้านคณุ ภาพผลงานของผู้ทำบัญชนี ั้น เก่ยี วเน่ืองกับการมีมาตรฐานการปฏบิ ัติงาน ซง่ึ หากผู้ทำบัญชีมี
มาตรฐานการปฏบิ ัติงานในด้านความรู้และทักษะทางวชิ าชีพ ดา้ นความรู้ความเข้าใจในกฎหมายทางบัญชี และด้าน
ความเที่ยงธรรม ได้สอดคล้องกับนโยบาย และแผนงานแล้ว ผลงานที่ได้จะมีความถูกต้อง มีคุณภาพ ทำให้ผู้ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลจากผลงานไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ
สมมติฐานของการวิจยั ที่ได้ตั้งไว้ โดยผลการวจิ ยั ดังกลา่ วสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ศิริพร มูลสาร และฐิตา
ภรณ์ สินจรูญศกั ด์ิ (2562) ที่ได้ศกึ ษาเรอื่ งปจั จัยทส่ี ่งผลกระทบต่อการปฏบิ ัติงานบัญชแี ละการเงินของสหกรณ์
การเกษตรในประเทศไทย โดยผลการวิจัยพบว่า ทักษะทางบัญชีของผู้ปฏิบัติงานทางด้านบัญชี เป็นตัวแปร
สำคัญท่ีส่งผลต่อการปฏิบัติงานบัญชีและการเงิน โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติงานบัญชีและ
การเงิน และเปน็ ตวั แปรที่มคี วามสมั พนั ธ์ในเชงิ บวกกบั ศักยภาพในการทำงานของผู้ปฏบิ ัติงานทางบัญชี

4) จากผลการวิจัยที่พบว่าปัจจัยระบบสารสนเทศทางการบัญชีเป็นตัวแปรทีส่ ง่ ผลต่อศักยภาพ
ในการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 สอดคล้องกับ
สมมติฐานของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ ทั้งนี้ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นเพราะระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้น เป็น
เครือ่ งมือซึ่งจะช่วยใหผ้ ู้จัดทำบัญชีสามารถปฏิบัติงานทางการบัญชีได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซ่ึง
ส่งผลต่อศักยภาพในการจัดทำบัญชี สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ โดยผลการวิจัยดังกล่าว
สอดคล้องกับผลการวิจัยของ จิตรลดา ศรีแก้ว, สุวรรณา บุญมาก และปริยากร สว่างศรี (2563) ที่ได้ศึกษา
เรื่อง ศักยภาพในการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชที ีม่ ีผลตอ่ ประสทิ ธิภาพการทำงานในเขตนิคม และ
ในเขตประกอบการอุตสาหกรรม โดยผลการวิจัยพบว่า ทักษะในการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของ

190 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผู้ปฏบิ ตั ิงานทางด้านบัญชี เป็นตวั แปรสำคญั ที่ส่งผลต่อศักยภาพในการปฏบิ ัติงานทางการบญั ชีของผู้ทำบัญชีที่
มีผลต่อประสทิ ธภิ าพการทำงานในเขตนคิ ม และในเขตประกอบการอตุ สาหกรรมอยา่ งมีนัยสำคัญทางสถติ ิ

5.2 ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย
1. จากผลการวิจยั ศักยภาพในการจดั ทำบัญชขี องกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมซึ่งพบวา่

อยูใ่ นระดบั ปานกลาง และดา้ นภาษาต่างประเทศ อยูใ่ นระดบั น้อย ดังน้นั ดังนนั้ เพือ่ ให้การจดั ทำบญั ชีและการเงิน
มีประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิผลอย่างเป็นที่น่าพอใจ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม ควรมีการอบรมเพื่อ
เพิ่มพูนทักษะอย่างสม่ำเสมอ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดต้องสนบั สนนุ ให้เจ้าหน้าท่ีเข้ารับการอบรมทางด้านบัญชี
และการเงิน ตลอดจนด้านภาษาต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยให้การสนับสนุนทั้งทางด้านงบประมาณเทคโนโลยี
เพื่อจัดการอบรม อันจะส่งผลให้ข้อมูลทางการบริหารงานด้านบัญชีและการเงินอย่างเป็นระบบ และบุคลากรมี
ศกั ยภาพในการปฏิบัติงานได้อยา่ งมีประสิทธิภาพและนา่ เชื่อถือ

2. จากผลการวิจัยท่ีพบวา่ ปัจจัยความรู้ทางการบัญชี ปจั จยั สมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้จัดทำ
บัญชี ปัจจัยทักษะทางวิชาชีพบัญชี และปัจจัยระบบสารสนเทศทางการบัญชีมีผลต่อศักยภาพในการจัดทำ
บัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น การอบรมเพื่อเพิ่มพูน
ทักษะทางด้านบัญชแี ละการเงิน ตลอดจนทางดา้ นภาษาต่างประเทศน้ัน สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม ควร
กำหนดเนื้อหาที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางการบัญชี และสร้างทักษะเกี่ยวกับการใช้
ระบบสารสนเทศทางการบัญชีห้าแก่บุคลากรผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนเพื่อเป็นการสร้าง
สมรรถนะการปฏิบตั ิงานของผ้จู ัดทำบัญชี และนำไปสูศ่ ักยภาพในการปฏิบัติงานทางบัญชีให้มีประสิทธิภาพและ
เกิดประสิทธผิ ลต่อไป

5.3 ขอ้ เสนอแนะเพือ่ การวจิ ัยในครง้ั ตอ่ ไป
1. การศึกษานี้มีขอบเขตด้านพื้นท่ีคือศึกษาจากวิสาหกิจชุมชนในเขตนครปฐม ซึ่งควรจะมีการ

ขยายการเก็บข้อมูลในเขตพื้นที่อื่น ๆ เพื่อทำการวิจัยเปรียบเทียบในเชิงพื้นทีอ่ ันจะช่วยให้ได้ผลการศกึ ษางาน
ที่มีมติ ชิ ดั เจนมากขน้ึ

2. ควรมีการศึกษาถึงแนวทางในการพัฒนาศกั ยภาพในการจัดทำบัญชขี องกลุ่มวิสาหกจิ ชุมชน
จังหวัดนครปฐมในเชิงลึก โดยการใช้ฐานคติจากผลการวิจัยที่ได้รับในครั้งนี้ และมีการนำแนวทางดังกล่าวไป
ทดลองใช้เพอ่ื เปรียบเทียบถึงความแตกตา่ งของการพฒั นาที่เกิดข้ึน

191 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เอกสารอ้างอิง

กรมพฒั นาชมุ ชน. (2563). สถิติผลการดำเนนิ งานวิสาหกจิ ชุมชน. กรงุ เทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
กองสง่ เสริมวสิ าหกจิ ชมุ ชน. (2563). การประเมนิ ผลการดำเนนิ งานวสิ าหกิจชุมชนในจังหวดั นครปฐม พ.ศ.

2561. กรงุ เทพฯ : กรมสง่ เสรมิ การเกษตร.
กองส่งเสริมวิสาหกจิ ชมุ ชน. (2561). ขอ้ มูลจำนวนวสิ าหกจิ ในจังหวดั นครปฐม พ.ศ. 2560. กรงุ เทพฯ : กรม

สง่ เสริมการเกษตร.
จิตรลดา ศรีแกว้ สุวรรณา บุญมาก และ ปรยิ ากร สวา่ งศรี. (2563). ศักยภาพในการปฏิบัตงิ านทางการบญั ชี

ของผ้ทู ำบญั ชที ี่มีผลตอ่ ประสิทธิภาพการทำงานในเขตนคิ ม และในเขตประกอบการอุตสาหกรรม.
เอกสารประกอบการประชุมวชิ าการระดับชาติ ครั้งที่ 7, วิทยาลัยนครราชสีมา, 187-198.
รดาภคั พลคำแก้ว และอจั ฉรา ชนากลาง. (2563).ปจั จัยทีส่ ่งผลต่อประสทิ ธิภาพในการจัดทำบญั ชีกองทุน
หมบู่ ้าน โดยมที นุ ทางจติ วิทยาเชงิ บวกเปน็ ตัวแปรกำกับ : กรณศี กึ ษากองทนุ หมู่บ้านและชุมชน
ในเขตจงั หวดั นครราชสีมา. วารสารชมุ ชนวิจยั มหาวทิ ยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 4(13), 261-274.
ศราวธุ พงศพ์ ฒั นพาณชิ ย์. (2556). จรรยาบรรณวชิ าชพี สภาวิชาชพี บัญชี. กรุงเทพฯ : บนั ลอื สาสน.์
ศิริพร มลู สาร และฐิตาภรณ์ สนิ จรูญศกั ด์ิ. (2562). ปจั จัยท่สี ่งผลกระทบตอ่ การปฏิบัติงานบญั ชีและการเงิน
ของสหกรณก์ ารเกษตรในประเทศไทย, วารสารอเิ ล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชงิ นวัตกรรม,
9(2), 65-75.
สภาวิชาชพี บัญชี. (2557). มาตรฐานการบญั ชีฉบบั ท่ี 2 (ปรบั ปรงุ 2554). กรงุ เทพฯ : สภาวิชาชีพบัญชี.
เอกวนิ ติ พรหมรกั ษา, วชิ ิต อ่อู น้ และนนทิพนั ธ์ุ ประยรู หงส์. (2560). ปจั จัยเชิงสาเหตทุ ีส่ ง่ ผลตอ่ ประสทิ ธิผล
การปฏิบตั งิ านของผู้ทำบัญชใี นประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชมุ วิชาการระดับชาติ
“นวตั กรรมและเทคโนโลยีวชิ าการ 2017”, 200-210.
Behn, Carcello, and Hermanson. (1997). The Determinants of audit Client Satisfaction Among
Clients of Big 6 Firms. Accounting Horizons, 11, 7-24.
Buntong, V. (2016). Accounting System and Internal audit of Village fund: A Case study
Pranburi District Prachuapkhiri khan Province. Research Report. Nakhon pathom:
Research and Development Institute Rajamangala University of Technology
Rattanakosin.
Dickins D. and Higgs J. L. (2006). Shopping for an Auditor. Corporate Accounting & Finance:
Wiley Periodicals.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical
power analysis program for the social, behavioral, and biomedical. Behavior
research methods, 39 (2), 175-191.

192 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

International Federation of Accountants: IFAC (2008) Guide to Quality Control for Small
and Medium Sized Practices. (3rd ed)., New York. IFA.

Kavanagh, H. (2008). What skills and attributes do an accounting graduate need?
Evidence from student perceptions and employer expectations. University of
Southern Queensland Australia.

Kongmitree, N. (2015). The relationship between Accountability with efficiency Performance
of accountants in the governing organization Local in Kalasin Province. Journal of
Accounting and Management, Mahasarakham University, 7(1), 117-127.

Laudon, K. C. (2012). Management Information Systems: Organization and Technology.
Upper Saddle, NJ: Prentice Hall.

Loiacono et al. (2006). WebQuery: A measure of website quality. American Marketing
Association, 13, 432-438.

McClelland, C. (20004). A guide to job competency assessment. Davies-Black Publishing.
Nelson, R. R., Todd, P. A., & Wixom, B. H. (2015). Antecedents of information and system

quality: an empirical examination within the context of data warehousing. Journal of
management information systems, 21(4), 199-235.
Redman, R. W. (2007). Critical challenges in doctoral education: Highlights of the biennial
meeting of the International Network for Doctoral Education in Nursing, Tokyo, Japan,
2007. Japan Journal of Nursing Science, 4(2), 61-65.
Romney, M. B., & Steinbart. P. J. (2009). Accounting Information Systems. (10th Ed.)
Upper Saddle, NJ: Prentice Hall.

193 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ความสามารถในการจดั การนวัตกรรมเพ่ือผลการดำเนนิ งานขององคก์ ร
ของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย

The Capability Innovation Management for the Organization Performance of
the Agricultural Industry in Thailand

สุดารัตน์ พิมลรตั นกานต์*
(Sudarat Pimonrattnakan)

บทคดั ยอ่

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลศักยภาพการพัฒนาทุนมนุษย์แบบพลวัต การจัดการ
การเปลี่ยนแปลงบนความหลากหลาย ศักยภาพการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจแบบสร้างสรรค์ ส่งผลต่อ
ความสามารถในการจัดการนวัตกรรมของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของ
ความสามารถในจัดการจัดการนวตั กรรมทีส่ ง่ ผลต่อการสร้างคุณคา่ ร่วมกันบนความเป็นเลศิ ทางการแข่งขันของ
อตุ สาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาอทิ ธพิ ลของความสามารถในการจัดการนวัตกรรมทส่ี ่งผล
การดำเนนิ งานองคก์ รขององคก์ รท่ยี ง่ั ยืนของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย 4) เพ่อื ศกึ ษาอิทธิพลของ
การสร้างคุณค่าร่วมกันบนความเป็นเลิศทางการแข่งขันที่ส่งผลการดำเนินงานองค์กรขององค์กรที่ยั่งยืน ของ
อุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คืออุตสาหกรรม
การเกษตรในประเทศไทย จำนวน 320 แห่ง เคร่ืองมอื ท่ีใชใ้ นการวิจยั เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ร้อยละ
ความถี่ ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าเฉลี่ย (Mean) สำหรบั สถติ ิทีใ่ ชใ้ นการทดสอบสมมติฐาน คา่ ดัชนีชี้วัด
ความกลมกลืน และผลการตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกัน โดยผลการ
วิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ค่า chi-square = 63.02 ระดับความมีนัยสำคัญ (p-value) =0.30 ค่าดัชนีวัดความ
กลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) = 1.00 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) = 0.98 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (AGFI)
= 0.96 และคา่ รากทสี่ องของค่าเฉล่ยี ความคลาดเคลอ่ื นกำลงั สองของการประมาณคา่ (RMSEA) = 0.02

* วิทยานพิ นธห์ ลักสูตรปรชั ญาดุษฎบี ัณฑติ สาขาวิชาการจดั การ คณะวทิ ยาการจัดการ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร 73000
ภายใตก้ ารควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วโิ รจน์ เจษฎาลกั ษณ์ผู้ และผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร. จันทนา แสนสขุ
Thesis Doctor of Philosphy Faculty of Management Science Silpakorn University 73000
Corresponding author: [email protected]

194 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพการพัฒนาทุนมนุษย์แบบพลวัต การจัดการการเปลี่ยนแปลงบนความ
หลากหลาย ศกั ยภาพการสรา้ งพนั ธมิตรทางธุรกิจแบบสรา้ งสรรค์มอี ิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อความสามารถ
ในการจดั การนวตั กรรมของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย 2) ความสามารถในการจัดการนวัตกรรมมี
อิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อการสร้างคุณค่าร่วมกันบนความเป็นเลิศทางการแข่งขันของอุตสาหกรรม
การเกษตรในประเทศไทย 3) ความสามารถในการจดั การนวตั กรรมมีอิทธิพลทางตรงเชงิ บวกตอ่ การดำเนินงาน
องค์กรขององค์กรที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย 4) การสร้างคุณค่าร่วมกันบนความเปน็
เลิศทางการแข่งขันมีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานองค์กรขององค์กรที่ยั่งยืนของ
อุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย และประโยชน์จากการวิจยั น้เี ปน็ แนวทางให้อตุ สาหกรรมมีการวางแผน
นำหลักการไปใช้ใหม้ ผี ลการดำเนินงานขององค์กรท่ยี ั่งยืน

คาํ สาํ คญั : ความสามารถในการจดั การนวตั กรรม การสร้างคณุ ค่ารว่ มกัน ความเป็นเลิศทางการแขง่ ขนั
องคก์ รท่ยี ง่ั ยนื

ABSTRACT

This research aimed 1) to study the influence of Dynamic Human Capital Development
Potential, Change Management Base on Diversity, Potential for Creating Creative Business
Alliances. This affects the Capability innovation Management of the agricultural industry in
Thailand. 2) to study the influence of Capability innovation Management that affect the
Value-Co-Creation base on Competitive Excellence of the agricultural industry in Thailand. 3)
to study the influence of Capability innovation Management that affect the Sustainable
Organization Performance of the agricultural industry in Thailand. 4) to study the influence of
Value-Co-Creation base on Competitive Excellence that affect the Sustainable Organization
Performance of the agricultural industry in Thailand. This research is quantitative research. The
sample is used in the agricultural industry in Thailand, consisting of 320 places. The research
instrument was a questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency,
percentage, mean, and standard deviation. For the statistics used to test the hypothesis, the
researcher used the harmonic index consisting of chi-square, GFI, RMSEA and CFI. And the
results of the verification were consistent with the empirical data. The results of the data
analysis showed that the Chi-square was 63.02 with the P-Value of 0.30 and the CFI was 1.00.
GFI was 0.98 and RMSEA was 0.02.

195 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

The results found that The results of the study showed that the results of the 1)
Dynamic Human Capital Development Potential, Change Management Base on Diversity,
Potential for Creating Creative Business Alliances has a direct positive influence on the
Capability innovation Management of the agricultural industry in Thailand. 2) Capability
innovation Management has a direct positive influence on the value-co-creation base on
Competitive Excellence of the agricultural industry in Thailand. 3) Capability innovation
Management has a direct positive influence on the Sustainable Organization Performance of
the agricultural industry in Thailand. 4) Value-co-creation base on Competitive Excellence has
a direct positive influence on the Sustainable Organization Performance of the agricultural
industry in Thailand. And the benefits of this research are a way for the industry to plan to
implement the principles of Sustainable Organization Performance.

Keywords: Capability Innovation Management, Value-Co-Creation, Competitive Excellence,
Sustainable Organization

Article history: Received 22 October 2020
Revised 8 December 2020
Accepted 20 January 2021
SIMILARITY INDEX = 0.56 %

1. บทนำ

การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันนั้นมีความรุนแรงทางการแข่งขันมากขึ้น อันเนื่องมาจากการ
เปลี่ยนแปลงทางระบบการค้าเข้าสู่ความเป็นเสรีและตลาดทั่วโลก จึงทำให้นวัตกรรมเข้ามาเป็นสิ่งสำคัญที่จะ
มาชว่ ยในการยกระดับขีดความสามารถในการแขง่ ขนั ทั้งในการแข่งขนั กนั ในภาคธุรกิจและการแข่งขันระหว่าง
ประเทศ (World Economic Forum, 2016) ซึ่งเห็นได้จากการที่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ในแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาตฉิ บบั ท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564) จากแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติฉบับน้ี
ไดใ้ ห้ความสำคัญคือในดา้ นการพัฒนาทางดา้ นนวัตกรรมมากยิง่ ข้ึน โดยมกี ารนำนวัตกรรมไปเป็นสว่ นสำคัญใน
การกำหนดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศจากการที่อยู่บนหลักการของการใช้องค์ความรู้ การใช้
เทคโนโลยี การใช้นวัตกรรม และในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เป็นเครื่องมื อที่สนับสนุนในการ
ขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศไทย สำหรบั ในประเทศไทย โดยสว่ นใหญ่จะอยู่ในภาคส่วนเอกชนที่มีส่วนใน

196 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การขับเคลื่อนคือภาคส่วนอุตสาหกรรมในประเทศไทย (Office of the National Economics and Social
Development Council, 2017)

อุตสาหกรรมการเกษตรเปน็ ส่วนสำคัญสว่ นหน่งึ ของสังคมและเมือ่ มแี รงผลักดันตา่ งๆ เกิดขน้ึ จงึ สง่ ผล
ให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปในยุคกระแสโลกาภิวัตน์นั่นคือที่ใดๆ ในโลกนี้คือตลาด
คือแหล่งผลิต คือแหล่งวัตถุดบิ ทั้งของเราและของคู่แขง่ ขัน ทำให้การตลาด การผลิตและการจัดหาทรพั ยากร
เป็นไปอย่างไร้พรมแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของโอกาสทางธุรกิจที่ทุกคนจะสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระ
บทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมการเกษตรรวมทั้งการจัดการผลิตที่มี
ประสิทธิภาพสูง จะต้องใช้เทคโนโลยีควบคุมทั้งในด้านปริมาณคุณภาพและประสิทธิผล (Peter Hazell,
Stanley Wood, 2007) จากปรากฏการณ์ดังกล่าว เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายองค์กรตระหนักถึงความ
จำเป็นในความสามารถในการจัดการนวัตกรรมขององค์กรเพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันใน
ปัจจุบันและความอยรู่ อดอย่างยงั่ ยนื

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาเกี่ยวกับ ความสามารถใน
การจดั การนวตั กรรมเพื่อผลการดำเนินงานขององคก์ รทยี่ ่งั ยนื ของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย ทั้งน้ี
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมการเกษตรเกิดความสามารถในการจัดการ
นวัตกรรมที่สมบูรณ์ โดยผลจากการวจิ ยั ในครัง้ น้ีจะนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนงานต่าง ๆ ภายใน
องค์การให้เกิดความเหมาะสมในการจัดการนวัตกรรมมีแนวปฏิบัติที่ดีเลิศ รวมทั้งเป็นแนวทางปรับปรุงและ
พัฒนาปัจจัยด้านต่าง ๆ การกำหนดแผนระยะยาวด้านแรงงานขององค์กร เพื่อสร้างความเป็นนวัตกรรมของ
อุตสาหกรรมการเกษตร การกระตุ้นให้บุคลากรดึงศักยภาพที่มีทำให้เกิดความสร้างสรรค์เกี่ยวกับนวัตกรรม
ใหม่ๆ ภายในองค์กร ตลอดจนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการสร้างความได้เปรียบในระดับ
อตุ สาหกรรมการเกษตรเพอ่ื การขบั เคล่ือนทางด้านเศรษฐกจิ ของประเทศไทยไดอ้ ย่างมัน่ คงยั่งยืนต่อไป

วตั ถุประสงคข์ องการวิจยั
1. เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถในจัดการจัดการนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการสร้างคุณค่าร่วมกัน

บนความเป็นเลิศทางการแข่งขันของอตุ สาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย
2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถในจัดการจัดการนวัตกรรมที่ส่งผลการดำเนินงานองค์กรของ

องค์กรท่ียงั่ ยนื ของอตุ สาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย
3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสร้างคุณค่าร่วมกันบนความเป็นเลิศทางการแข่งขันที่ส่งผลการ

ดำเนนิ งานองคก์ รขององคก์ รท่ยี ่ังยนื ของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย
4. เพื่อศึกษาอิทธิพลศักยภาพการพัฒนาทนุ มนุษย์แบบพลวัต การจัดการการเปลี่ยนแปลงบนความ

หลากหลาย ศักยภาพการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจแบบสร้างสรรค์ ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการ
นวตั กรรมของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย

197 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2. เอกสารและงานวจิ ัยทเ่ี ก่ียวข้อง

2.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจัดการนวัตกรรม (Capability
Innovation Management : CIM)

นวัตกรรมเป็นผลของงานวิจัยและพัฒนาที่ได้มีการสร้างสรรค์และปรับปรงุ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ตามแผนกลยุทธ์สำหรับการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งทางผู้บริหารองค์กรได้
วางแผนเอาไว้ (Tidd & John, 2009) อีกทั้งเป็นความสามารถในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเปลี่ยนแปลงองค์
ความรไู้ ปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ รบบบ และกระบวนการทเ่ี ป็นประโยชน์กบั องค์กรและผู้มีสว่ นได้ส่วนเสียอย่าง
ต่อเนื่อง (Lawson, 2011) สำหรับความสามารถด้านนวัตกรรมนั้นอธิบายได้ทั้งกลยุทธ์ที่ส่งเสริมด้าน
นวัตกรรม ด้านพฤติกรรมองค์กร ด้านกระบวนการทำงาน ด้านสินค้าและด้านการแสวงหาตลาดใหม่ด้าน
วิสัยทัศน์และด้านกลยุทธ์ที่สนับสนุนนวัตกรรมความสามารถและทรัพยากรการบริหารจัดการความคิด
สร้างสรรค์ (Zhou & Li, 2010)

จากท่ีกลา่ วมาผู้วจิ ัยสรุปไดว้ า่ ความสามารถในการจดั การนวตั กรรม หมายถึงการท่ีองคก์ ารส่งเสริม
ให้ระบบการทำงานและกระบวนการภายในองค์การมีการพัฒนาการสร้างสรรค์พัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ที่
หลากหลาย ที่เปน็ นวัตกรรมทางการตลาดเป็นการยกระดบั คุณค่าของผลิตภัณฑ์ในการสร้างเน้ือหาทางธุรกิจ
ผ่านทางช่องทางการตลาดสมัยใหม่ ความคิดสร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ ยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ใน
การเปล่ยี นแปลงในองค์การทเ่ี กย่ี วข้องกบั การพฒั นารปู แบบผลติ ภัณฑ์

2.2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคุณค่าร่วมกันบนความเป็นเลิศทางการแข่งขัน
(Value Co-Creation base on Competitive Excellence)

สำหรับแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วมกัน (value co-creation) ในปัจจุบันได้รบั ความสนใจมาก เฉพาะ
การร่วมกันสร้างระหว่างองคก์ รและผู้บริโภค (cocreation) โดยเป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดย
ยังไม่ได้ให้ความสำคญั กบั คุณคา่ ร่วมทีเ่ กดิ ขน้ึ ระหวา่ งองคก์ รและผบู้ รโิ ภค (Prahalad & Ramaswamy, 2004)
สำหรับแนวคิดน้ใี ห้ความสำคญั กับการรว่ มกันคดิ ผลติ ภัณฑแ์ ละบริการใหม่ๆ ขององคก์ รโดยการสนับสนุนจาก
ลูกค้าซึ่งอยู่ภายใต้การสื่อสารแบบดั้งเดิมที่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติและอิทธิพลของการสื่อสาร
ออนไลนต์ ่อการสร้างคุณค่าร่วมกนั (Shiavone, Metallo & Agrifoglio, 2014) สำหรบั การพัฒนาเทคโนโลยี
ที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร และความคาดหวังของลูกค้าให้ประสบความสำเร็จโดยโดยมีระบบห่วงโซ่คุณค่าของ
ธุรกิจทเ่ี ปน็ สำคัญในการสรา้ งสรรค์คณุ คา่ รว่ ม (Chathoth, Ungson, Harrington & Chan, 2016)

จากที่กล่าวมาผู้วจิ ัยสรปุ ไดว้ ่า การสรา้ งคณุ คา่ ร่วมกนั บนความเป็นเลิศทางการแขง่ ขัน หมายถงึ การ
สร้างคุณค่ารว่ มกันระหว่างองคก์ รกบั ลูกค้าในการดำเนินการร่วมกันระหวา่ งองคก์ รกับลูกค้าในการสร้างสรรค์
การมีปฏสิ มั พันธก์ ับองค์การ ท่มี งุ่ เน้นการมสี ว่ นร่วมของลูกคา้ ในการแลกเปลยี่ นขอ้ เสนอทม่ี ีคุณค่าให้กับลูกค้า
และองค์กรโดยผา่ นเครือข่ายสงั คมออนไลน์ โดยมุ่งเนน้ ในความเป็นเลิศในการบริการท่ใี ห้ความสำคัญกับความ

198 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

คล่องตัวต่อการตอบสนองความต้องของลูกค้าในการนำเสนอบริการใหม่ๆ การตัดสินใจทางการบริหารอย่าง
รวดเรว็

2.3 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงานขององค์กรที่ยั่งยืน (Sustainable
Organization Performance)

สำหรับการวัดผลการดำเนินงานขององค์การที่มีประสิทธิภาพนั้นองค์กรสามารถวัดผลได้ 2 ด้าน
ได้แก่ด้านการวดั ผลทางด้านเศรษฐกจิ ทีม่ ีตวั วัดเช่น การเจริญเติบโตของสว่ นแบง่ ทางการตลาด อตั ราส่วนทาง
การเงิน การสร้างกำไร และสำหรับการวัดผลทางด้านการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มีส่วนได้เสียขององค์การ
(Santos & Brito, 2012; Par Alin, 2012) สำหรับการศึกษาผลการดำเนินงานขององค์การมีกระบวนการ
สร้างแนวคิด ต่อผลการดำเนินงานขององคก์ าร การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสยี ขององคก์ ร และการตอบสนอง
เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความพึงพอใจ โดยที่การวัดผลการดำเนินงานขององค์กรทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ การ
วัดผลการดำเนินงานทางด้านการเงิน และการวัดผลการดำเนินงานด้านที่มิใช่ทางการเงิน (Santos & Brito,
2012)

จากที่กล่าวมาผู้วิจัยสรุปได้ว่า ผลการดำเนินงานขององค์กรที่ยั่งยืน หมายถึง ผลลัพธ์ของการ
ดำเนนิ งานขององค์การที่เกิดขึน้ จากกระบวนการผลผลติ จากการปฏบิ ัติงานของพนักงานในองคก์ ารในด้านการ
วัดผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงินและผลการดำเนินงานที่ไม่เป็นตัวเงินในลักษณะเป็นองค์รวม โดยมีผลการ
ดำเนินงานทางด้านการเงนิ ทแี่ สดงถงึ ผลการดำเนินงานท่มี ีเศรษฐกจิ เปน็ ตัววดั รวมถึงผลการดำเนินงานท่ีไม่ใช่
ด้านการเงิน

2.4 แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับศักยภาพการพัฒนาทุนมนุษย์แบบพลวัต (Dynamic Human
Capital Development Potential)

ศักยภาพการพัฒนาทุนมนุษย์แบบพลวัต เป็นการพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการ
บริหารจัดการองค์กรยุคใหม่และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยด้าน
ศักยภาพของทุนมนุษย์ โดยเป็นการใช้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างเพื่อพัฒนาให้เกิด นวัตกรรม และเกิดมูลค่าเพิ่ม
(Intan-Soraya & Chew, 2010; Chiang & Shih, 2011) อีกทง้ั ในการการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ในอุตสาหกรรม จึงต้องมใี นเรื่องของศักยภาพของทนุ มนุษย์ในองค์กร ในเร่ืองของความสามารถในการปรับตัว
อย่างเป็นพลวัต ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
(Craciun, 2015; Crook, Todd, Combs, Woehr & Ketchen, 2011; Prunea, 2014; Ukenna, Carol, &
Olise, 2010) รวมไปถึงความสามารถเชิงพลวัตจากการใช้ทรัพยากรขององค์กรจะมีอิทธิพลทางบวกต่อผล
การดำเนินงานและสามารถสร้างความได้เปรยี บทางการแขง่ ขันได้ (Chien, Tsai, 2012)

จากทีก่ ล่าวมาผวู้ จิ ยั สรุปไดว้ า่ ศักยภาพการพัฒนาทุนมนุษย์แบบพลวตั หมายถึง การพัฒนาบุคคล
ทีเ่ ก่ียวกับการพฒั นาเพื่อให้ได้มาซ่ึงความรู้ ทกั ษะ และการปรับเปลีย่ นพฤติกรรม การยอมรบั ในความแตกต่าง

199 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ของกันและกันเพื่อให้เกิดผลในการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น การพัฒนาอาชีพที่เป็นการพัฒนาบุคคลให้มีคุณค่ าและ
ความสามารถโดดเด่น ที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการทำงานของพนักงาน การการสร้างเครือข่ายเพื่อน
ร่วมงานและฝา่ ยงานในการร่วมกนั ปฏบิ ัติงานเพือ่ นำไปสูก่ ารสรา้ งความแตกตา่ งและนวัตกรรมใหม่

2.5 แนวคดิ และทฤษฎที ่ีเก่ียวข้องกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงบนความหลากหลาย (Change
Management Base on Diversity)

สำหรับการจัดการเทคโนโลยีที่มีผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ คือ การที่ผู้ประกอบการมี
เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในธุรกิจเพื่อในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งนวัตกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะทำให้
ธุรกิจประสบความสำเร็จเพราะเนื่องจากการที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดีซึ่งจะช่วยให้เกิดความได้เปรียบ
ทางการแข่งขันและที่สำคัญสามารถที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาในองค์กร (Jasra, Hunjra, Rehman,
Azam & Khan, 2012) สำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้องค์กรต่างๆเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้นซึ่งมี
ผลกระทบต่อกระบวนการบริหารจัดการ (Theodorakopoulos & Budhwar, 2015) อีกทั้งปัจจัยการ
เปลี่ยนแปลงบนความหลากหลายในประเด็นการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมจะเป็นการทำให้บุคลากรเกิด
ความรู้สกึ ความเป็นผปู้ ระกอบการ และการส่งเสริมให้บุคลากรสร้างนวัตกรรมใหม่ (Mehta & Gupta, 2014)

จากที่กล่าวมาผู้วิจัยสรุปได้ว่า การจัดการเปลี่ยนแปลงบนความหลากหลาย หมายถึง การ
ปรับเปล่ียนโครงสรา้ งโดยรวมทั้งหมด โดยการเปลีย่ นแปลงตามทรัพยากรและบุคลากรตามความชำนาญ การ
นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมถึงการ
เปลี่ยนแปลงที่เป็นวัฒนธรรมใหม่ขององค์การที่นำไปสู่แนวคิดใหม่ในการทำงานเป็นทีม การแบ่งปันความรู้
ความสามารถในการจัดการองค์การ ระบบการปฏิบัติงานในการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ต่อองคก์ าร

2.6 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจแบบสร้างสรรค์
(Potential for Creating Creative Business Alliances)

สำหรับการสร้างพันธมิตรในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศโดยการสร้างพันธมิตรท่ีมาสนับสนุนให้
เกดิ การแบ่งปันการใช้ทรัพยากรของธุรกจิ ข้ามชาติและธุรกิจระดับนานาชาติ โดยเปน็ การดำเนินธุรกิจระหว่าง
ประเทศนั้น ส่งผลทำให้การดำเนินการมีต้นทุนทีถ่ ูกลงและมีความผิดพลาดที่น้อยลงอีกทั้งการสร้างการเข้าใจ
ตลาดมาก (Harimukti, Harm-Jan, & Aard, 2018) รวมถงึ ความร่วมมอื ในการดำเนนิ ธรุ กิจในด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศสำหรับการดำเนินธุรกิจ การให้การสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น จึงทำให้ต้องมีพันธมิตรใน
การแลกเปลี่ยนทรัพยากรและองค์ความรู้ รวมไปถึงกลุ่มลูกค้านั้นในการขยายธุรกิจและเพื่อความอยู่รอดของ
องคก์ ร (Jeongeun, Tae-Eung & Hyun-Woo, 2018)

จากที่กล่าวมาผู้วิจัยสรุปได้ว่า ศักยภาพการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจแบบสร้างสรรค์ หมายถึง
ศักยภาพการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นกิจกรรมในการร่วมมือกันในการใช้ ทรัพยากรร่วมของพันธมิตร

200 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ส่งเสริมศักยภาพของทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันแต่ละที่โดยการมีการนำทรัพยากรแต่ละที่มาเสริมกันในการใช้
ทรพั ยากรรว่ มกัน การจัดการความรู้ของความคิดสร้างสรรคใ์ หมท่ ่ีเป็นการจัดการความรู้ท่ีเป็นการแลกเปลี่ยน
แนวคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ที่เกิดขึ้นในระหว่างองค์การโดยการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งทำให้เป็น
ฐานของการสร้างสรรคใ์ ห้เกดิ สง่ิ ใหมข่ ้นึ ในธรุ กิจ

จากการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร ตลอดงานวจิ ัยที่เก่ยี วข้องมาสร้างกรอบการวจิ ยั ไดด้ งั น้ี
กรอบแนวคิดการวจิ ัย

แผนภาพท่ี 1 กรอบแนวคดิ ในการวิจยั

3. วิธีดำเนินการวจิ ยั

3.1 ประชากรและกลุ่มตวั อยา่ ง
ประชากรท่ใี ชใ้ นการวิจัยนี้คือ ผ้บู รหิ ารระดับสูงอตุ สาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยได้พิจารณาถึงลักษณะข้อมูลการวิจัยที่จะต้องใช้สถิติวิเคราะห์ขั้นสูง คือ การวิเคราะห์เส้นทาง ( Path
Analysis) จึงกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างให้สอดคล้องกบั การใชส้ ถิตเิ ปน็ เบ้ืองต้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างขนาด
ใหญ่เป็นเกณฑ์ สำหรับการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งหน่วย วิเคราะห์ (Unit of Analysis) ของการวิจัย
คร้ังน้เี ปน็ ระดบั องค์การ ผูว้ ิจยั จงึ ใช้ขอ้ มูลผู้ประกอบการของกรมโรงงานอุตสาหกรรม การจำแนกลักษณะของ
บริษัทจะจำแนกโดยใช้บัญชีประเภทโรงงานอุตสาหกรรม ตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ข้อมูลจากผู้ประกอบการของกรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทรวง
201 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

อตุ สาหกรรม จำนวน 5,645 แหง่ ทัว่ ประเทศไทย (ขอ้ มลู ณ วันท่ี 15 พฤษภาคม 2562) การวิจัยน้ีผู้วิจัยจึง
ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย (Panayides, 2007) ดังนั้น เพื่อให้อัตราการตอบกลับเป็นไปตาม
จำนวนที่กำหนดตามเกณฑ์ สอดคล้องกับการวจิ ัยนี้ ซึ่งจำเป็นต้องพจิ ารณาเงื่อนไขของขนาดตัวอย่างท่ีตอ้ ง
สอดคล้องกับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดย (Kline, 2011) กล่าวถึงเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดขนาดกลุ่ม
ตัวอย่างคอื 10-20 เทา่ ของตวั แปรสังเกต 1 ตวั แปร ซึ่งการวจิ ยั นีม้ ีตัวแปรสังเกตจำนวน 16 ตวั แปร จึงต้อง
มีขนาดตัวอย่างเท่ากับ 160-320 ตัวอย่าง โดยงานวิจัยนี้มีจำนวนตัวอย่างท่ีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งส้ิน
จำนวน 320 ตัวอย่าง จึงเป็นไปตามข้อกำหนด โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive
sampling) กบั ผบู้ รหิ ารระดับสูงของอุตสาหกรรมการเกษตร

3.2 เครอื่ งมอื วิจยั
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมขอ้ มูล ผู้วิจัยใช้แบบสอบ ซึ่งเป็นลักษณะคำถามปลายปิด ซึ่งในตอนที่ 1
และตอนที่ 2 เป็นคำถามแบบเลือกตอบ (Check List) และสำหรับตอนที่ 3 – 5 เป็นแบบมาตรประมาณค่า
(Rating Scale) ของ Likert (1967) และตอนที่ 6 เป็นคำถามแบบปลายเปิด ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของ
ผตู้ อบแบบสอบถามในการวิจัย เป็นคำถามแบบเลือกตอบ (Check List) ตอนท่ี 2 ข้อมลู ทัว่ ไปของธุรกจิ ตอน
ท่ี 3 ความสามารถในการจัดการนวัตกรรม ตอนที่ 4 ผลลัพธข์ องความสามารถในการจัดการนวัตกรรม ตอน
ท่ี 5 ปัจจัยเชิงสาเหตขุ องความสามารถในการจัดการนวัตกรรม และตอนที่ 6 เป็นข้อเสนอแนะเพ่มิ เตมิ

3.3 การตรวจสอบคณุ ภาพของเคร่อื งมือวิจยั
การทดสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีขั้นตอนคือ 1) การทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา
(Content Validity) โดยการนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความ
สอดคล้องของขอ้ คำถามกับวตั ถปุ ระสงค์กรอบแนวคิดในการวิจยั ตลอดจนนยิ ามศัพทเ์ ฉพาะของตัวแปรที่ใช้ใน
การวจิ ัย และนำมาปรบั ปรุงข้อคำถาม จากน้ันหาคา่ ดชั นคี วามสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับคณุ ลักษณะตาม
วัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยใชส้ ตู ร IOC (Index of Item Object Congruence) = Σ R/N จากนั้นประมวล
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเปน็ รายข้อ โดยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามต้องมีค่าตัง้ แต่ 0.50 ขึ้นไป
จึงจะถือว่าข้อคำถามมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและนิยามศัพท์ และสามารถนำมาใช้เป็น
ข้อคำถามในแบบสอบถามได้ จากการทดสอบพบว่า ค่าดังกล่าวอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 สามารถนำมาใช้
เป็นข้อคำถามได้ 2) การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) เพื่อทดสอบความเที่ยงตรงของ
เครื่องมือจากการทดลองโดย (Try Out) กับผู้บริหารระดับสูงของอุตสาหกรรมการเกษตรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอยา่ ง
จริง จำนวน 30 แห่ง โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค
(Cronbach, 1984) โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับต้องมีค่าตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป จึงจะถือว่า
ยอมรับได้ (Hair et al., 2006) จากการทดสอบ พบว่าค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ
0.901 และจากผลการทดสอบคุณภาพเคร่ืองมือการวิจัยดว้ ยการตรวจสอบความเชื่อม่ัน โดยใชค้ ่าสัมประสิทธิ์

202 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

แอลฟาตามวิธีของครอนบาค พบว่าค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่แบ่งตามรายด้านมีค่าระหว่าง 0.823-
930 ซึ่งเปน็ ไปตามขอ้ กำหนด ดังน้นั แบบสอบถามดงั กล่าวสามารถนำไปใชเ้ ก็บรวมรวมขอ้ มลู การวจิ ัยได้

3.4 สถติ แิ ละการวเิ คราะห์ข้อมลู
1. ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic)

และนำข้อมูลที่ได้มาวเิ คราะห์หาคา่ สถติ ิซ่งึ ประกอบดว้ ย คา่ ความถ่ี (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage)
และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์
สมการโครงสร้าง (Structural Equation Model : SEM)

2. การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุด้วยการวิเคราะห์แบบ Path Analysis โดยใช้โปรแกรม
สำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Model : SEM) และ
พิจารณาค่า χ2 /df มีค่าน้อยกว่า 2 ค่าดัชนี CFI มีค่าเข้าใกล้ 1 ค่าดัชนี RMSEA และ ดัชนี RMR มีค่าต่ำ
กว่า 0.05 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ทีย่ อมรับได้ ซึ่ง Hair et al (2006). จึงถือว่ารูปแบบนั้นมคี วามสอดคล้องกลมกลนื
กับขอ้ มูลเชิงประจักษ์

4. ผลการวจิ ัย

ผู้ตอบแบบสอบถามในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 320 คน ผลการศึกษาห์ข้อมูลทั่วไป
ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.17 ส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่
30-40 ปี มากทสี่ ดุ คดิ เปน็ ร้อยละ 67.84 ส่วนใหญ่มีระดับ การศึกษาระดับปรญิ ญาตรี มากที่สุด คิดเป็นร้อย
ละ 44.15 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ตั้งแต่ 10-20 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.00 และส่วนใหญ่ดำรง
ตำแหน่งงานเปน็ ผ้จู ดั การฝ่ายผลิต มากทส่ี ุด คดิ เป็นรอ้ ยละ 57.68

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตร พบว่า ส่วนใหญ่มีลักษณะการจด
ทะเบียนประกอบธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัด มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.77 ส่วนใหญ่มีลักษณะของการ
ดำเนินธุรกิจเป็นกิจการของคนไทย มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.89 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจใน
กลุม่ อุตสาหกรรมผลิตภณั ฑผ์ ลไม้กระป๋อง มากทสี่ ุด คิดเปน็ รอ้ ยละ 32.75 ส่วนใหญ่มที ุนจดทะเบียนของธุรกิจ
10-50 ล้าน มากที่สดุ คิดเปน็ รอ้ ยละ 76.32 ส่วนใหญม่ บี คุ ลากรทั้งหมด 100-300 คน คิดเป็นร้อยละ 46.49
และสว่ นใหญ่ดำเนินธรุ กิจ 10-20 ปี คิดเปน็ ร้อยละ 61.40

และมีกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามมีความเห็นในภาพรวมระดับมาก และรายด้านทั้ง 6 ด้าน
ได้แก่ด้าน ด้านศักยภาพการพัฒนาทุนมนุษย์แบบพลวัต ด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงบนความหลากหลาย
ดา้ นศักยภาพการสร้างพนั ธมติ รทางธุรกจิ แบบสร้างสรรค์ ความสามารถในการจัดการนวัตกรรม ด้านการสร้าง
คุณค่ารว่ มกันบนความเป็นเลิศทางการแขง่ ขัน ดา้ นผลการดำเนินงานขององคก์ รที่ยง่ั ยืน อยใู่ นระดับมาก

ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติพหุตัวแปรโดยใช้การวิเคราะห์ Path Analysis เพื่อทำการทดสอบ
สมมุติฐานการวิจัยเพื่อตรวจสอบตามข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง เพื่อให้เห็น

203 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงหรือไม่ และมีความสัมพันธ์
ทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีค่าอยู่ระดับใด ซ่ึงจากการทดสอบ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ของตัวแปรสังเกตทั้ง 16 ตัวแปร จำนวน 120 คู่ มีความสัมพันธ์และความสัมพันธ์ของตัวแปรทุกคู่มีทิศทาง
เดียวกัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก มีค่าสัมประสิทธิ์ระหว่าง
0.352 – 0.818 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของตัวแปรต้องมี ค่าไม่
เกนิ 0.90 ซึ่งแสดงว่าตวั แปรท่ีศึกษาไม่ มีปัญหาในเรื่องความสัมพันธส์ ูงเกนิ ไป (Multicollinearity) (Pallant,
2010; Rubin, 2012) รวมทั้งการทดสอบความเป็นอิสระของตัวแปรเหล่านี้ด้วยค่า KMO (Kaiser-Meyer-
Olkin) และค่า Bartlett’s test of Sphericity เพ่อื ตรวจสอบความเหมาะสมของกลุ่มตัวแปร พบวา่ ค่า KMO
ท่ีไดค้ อื 0.920 ซึง่ มีคา่ มากกว่า 0.8 มคี วามเหมาะสมที่จะนำมาวิเคราะห์องคป์ ระกอบดีมาก และคา่ Bartlett’s
test of Sphericity มีนัยสำคัญทางสถิติ (Bartlett’s Test = 4549.634, df = 120, Sig = 0.000) ตัวแปร
เหล่านี้ไม่มีปัญหาภาวะร่วมพหุจึงมีความเหมาะสมทจ่ี ะสามารถนาไปวเิ คราะหโ์ มเดลการวัดและโมเดลการวิจัย
ทพี่ ฒั นาขนึ้ (Hair et al., 2006)

ผลการวิเคราะห์โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามา รถในการจัดการนวัตกรรม
ของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทยหลังการปรับโมเดล ผลการตรวจสอบพบว่า ค่า chi-square =
63.02 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.30 (p-value=0.30) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ
1.00 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวดั ความกลมกลืน (AGFI) เท่ากับ 0.95 และค่าราก
ที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.02 ดัชนีทุกค่าผ่าน
เกณฑ์ทบี่ ่งบอกได้วา่ โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมลู เชิงประจักษ์ ดังภาพท่ี 2

Chi-Square=63.02 df=58, p-value=0.30327, RMSEA=0.016

แผนภาพที่ 2 ผลการวิเคราะห์โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถในการจัดการ
นวัตกรรมของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทยหลังการปรับโมเดล

204 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวม พบว่าตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบ
ของตัวแปรสาเหตุและผลลัพธ์ของความสามารถในการจัดการนวัตกรรมขององค์กรที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรม
การเกษตรในประเทศไทย มีค่าอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมโดยแบ่งตามสมมติฐานการ
วจิ ยั ดังตารางที่ 1

ตารางท่ี 1 อทิ ธพิ ลทางตรง (DE) อทิ ธิพลทางอ้อม (IE) และอิทธิพลรวม (TE)

ตวั แปรผล

ตัวแปรเชงิ สาเหตุ ความสามารถในการจัดการ การสรา้ งคุณค่ารว่ มกนั บนความ ผลการดำเนินงานขององคก์ รที่

นวตั กรรม (CINM) เป็นเลิศทางการแข่งขนั (VCCE) ยงั่ ยนื (SOPF)
DE IE TE
DE IE TE DE IE TE - 0.13* 0.13*

ศักยภาพการพัฒนาทนุ 0.15* - 0.15* - 0.14* 0.14* - 0.44** 0.44**

มนษุ ยแ์ บบพลวัต - 0.51** 0.51**

(DHCP) 0.29* 0.57** 0.86**

การจดั การการ 0.51** - 0.51** - 0.46** 0.46** 0.92** - 0.92**

เปลี่ยนแปลงบนความ

หลากหลาย (CMBD)

ศักยภาพการสร้าง 0.59** - 0.59** - 0.53** 0.53**

พนั ธมิตรทางธุรกจิ แบบ

สร้างสรรค์ (PCBA)

ความสามารถในการ - - - 0.91** - 0.91**
จัดการนวัตกรรม

(CINM)

การสร้างคณุ คา่ ร่วมกัน -- - - - -

บนความเป็นเลิศทางการ

แข่งขัน (VCCE)

**p<0.01, *p<0.05

จากแผนภาพที่ 2 และตารางท่ี 1 ผลการวเิ คราะห์พบวา่
(1) ความสามารถในการจัดการนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการสร้างคุณค่าร่วมกันบน

ความเป็นเลิศทางการแข่งขัน พบว่า ความสามารถในการจัดการนวัตกรรม (CINM) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก
ต่อการสร้างคณุ คา่ ร่วมกนั บนความเปน็ เลศิ ทางการแข่งขัน (VCCE) โดยมคี า่ อิทธิพลทางตรง เท่ากบั 0.91 และ
มีค่าอิทธพิ ลรวม เทา่ กับ 0.91 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตทิ ่รี ะดบั 0.01

(2) ความสามารถในการจัดการนวัตกรรมมีอทิ ธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กรท่ี
ยั่งยืน พบว่า ความสามารถในการจัดการนวัตกรรม (CINM) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน
ขององค์กรที่ย่ังยืน (SOPF) โดยมคี า่ อิทธิพลทางตรง เท่ากบั 0.29 ค่าอทิ ธพิ ลทางอ้อม เทา่ กบั 0.57 และมีค่า
อทิ ธพิ ลรวม เทา่ กับ 0.86 อยา่ งมนี ยั สำคัญทางสถติ ทิ ี่ระดับ 0.05

205 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

(3) การสร้างคุณค่าร่วมกันบนความเป็นเลิศทางการแข่งขัน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการ
ดำเนินงานขององคก์ รทีย่ ่ังยืนโดยมีคา่ อิทธิพลทางตรง พบว่า การสร้างคุณค่าร่วมกันบนความเป็นเลิศทางการ
แข่งขัน (VCCE) มอี ิทธิพลทางตรงเชงิ บวกต่อผลการดำเนนิ งานขององค์กรท่ียั่งยนื (SOPF) โดยมีค่าอิทธิพล
ทางตรง เท่ากับ 0.92 และมคี า่ อิทธพิ ลรวม เทา่ กับ 0.92 อยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถิติทรี่ ะดับ 0.01

(4) ศักยภาพการพัฒนาทุนมนุษยแ์ บบพลวัตมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการจัดการ
นวตั กรรม พบว่า ศกั ยภาพการพฒั นาทุนมนุษย์แบบพลวตั (DHCP) มีอทิ ธพิ ลทางตรงเชงิ บวกต่อความสามารถ
ในการจัดการนวัตกรรม (CINM) โดยมีค่าอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.15 และมีค่าอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.15
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่รี ะดับ 0.05

(5) การจัดการการเปลี่ยนแปลงบนความหลากหลายมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถใน
การจัดการนวัตกรรม พบว่า การจัดการการเปลี่ยนแปลงบนความหลากหลาย (CMBD) มีอิทธิพลทางตรงเชิง
บวกต่อความสามารถในการจดั การนวตั กรรม (CINM) โดยมีค่าอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.51 และมีค่าอิทธพิ ล
รวม เท่ากบั 0.51 อยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถติ ิที่ระดบั 0.01
(6) ศักยภาพการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจแบบสร้างสรรค์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการ
จัดการนวัตกรรม พบว่า ศักยภาพการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจแบบสร้างสรรค์ (PCBA) มีอิทธิพลทางตรงเชิง
บวกต่อความสามารถในการจัดการนวตั กรรม (CINM) โดยมีคา่ อทิ ธิพลทางตรง เทา่ กับ 0.59 และมีค่าอิทธิพล
รวม เท่ากบั 0.59 อยา่ งมนี ยั สำคญั ทางสถติ ทิ ่รี ะดบั 0.01

5. สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1. สรปุ และอภปิ รายผล
1. ความสามารถในการจัดการนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการสร้างคุณค่าร่วมกันบน

ความเป็นเลิศทางการแข่งขัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้เนื่องมาจาก ผู้บริหารอุตสาหกรรม
ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนนิ งานและวิธีการอย่างรวดเร็วและต้องปรบั ตัวตามยุคสมัยในสภาวะที่มี
การแข่งขันกันสูง ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษา Zhou & Li (2010) ที่กล่าวว่า ในแง่ของการ
ดำเนินธุรกิจนั้น อาจมีการเผชิญกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การพัฒนาความสามารถด้าน
นวัตกรรมนั้นช่วยส่งเสริมให้ประสิทธิภาพทางการแข่งขันของกิจการเพิ่มสูงขึ้น จากการพัฒนากระบวนการ
สนิ คา้ และบริการท่เี หนอื กว่าค่แู ขง่ ขันในอุตสาหกรรม

2. ความสามารถในการจัดการนวัตกรรมมีอทิ ธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนนิ งานขององคก์ รที่
ยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้เนื่องมาจากผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการมีการ
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูลเพี่อการ
คาดการณ์และการวางแผน การใช้ความรจู้ ากกระบวนการ การทำใหอ้ ตุ สาหกรรมสามารถแข่งขันและสร้างผล
การดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน การมบี รรจภุ ณั ฑ์ที่สรา้ งสรรค์ เพราะความแตกต่าง ความไม่เหมือนใคร ซึ่งจะทำ

206 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ให้องค์การสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และนำมาซึ่งผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นและยั่งยืนได้
ผลการวจิ ยั ดังกลา่ วสอดคล้องกับการศกึ ษาของ Shu, Zhou, Xiao & Gao (2014)

3. การสร้างคุณค่าร่วมกันบนความเป็นเลิศทางการแข่งขัน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการ
ดำเนนิ งานขององค์กรทย่ี ัง่ ยนื อยา่ งมีนัยสำคัญทางสถิตทิ ่ีระดบั 0.01 ท้ังนี้เนือ่ งมาจาก ผ้บู รหิ ารมกี ารร่วมกัน
ดำเนินการสร้างคุณค่าเพื่อความเป็นเลิศในการแข่งขัน โดยธุรกิจจะต้องเปิดโอกาสและกระตุ้นให้เกิดการ
แบ่งปันข้อมูลต่างๆ ระหว่างกันโดยปฏิบัติการบนออนไลน์ ในการสร้างความสัมพันธ์สร้างบทสนทนาบนโลก
ออนไลน์ ซึ่งทำให้ทราบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของลูกค้าของผู้บริโภคร่วมกับองค์กรในการสร้าง
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้านั่นเอง ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาของ Maglio, Vargo,
Caswell, & Spohrer (2009) ยังกล่าวว่า ความสำคัญกับการบริการนั้นอยู่บนพื้นฐานของการสร้างคุณค่า
ร่วมกันระหว่างองค์กรกับลูกค้า รวมถึงกระบวนการการสือ่ สาร ในการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อองค์กรน่นั เอง
ซึ่งจะทำให้องค์กรและลูกค้าได้มีส่วนร่วมในการคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ดังนั้นจึงสามารถที่จะตอบสนองความ
ตอ้ งการของลกู ค้าไดอ้ ย่างชัดเจน

4. ศักยภาพการพัฒนาทุนมนุษย์แบบพลวัตมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการ
จัดการนวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้เนื่องมาจาก สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงใน
ปจั จบุ ัน ซ่ึงเป็นเปลี่ยนแปลงในลักษณะเชิงพลวตั นาํ มาซง่ึ การเปล่ยี นแปลงเพื่อความอยูรอดอยางยง่ั ยืนและการ
ให้ความสําคัญกับทรัพยากรมนุษย์แบบรายปจเจกบคุ คลเพิ่มมากขึ้นจากการตกผลึกทางความรู้ความสามารถ
ทักษะที่โดดเด่นของแต่ละบุคคลมาใช้ในการพัฒนาองค์การส่งผลให้ทุกฝ่ายนั้นมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและเกิด
การช่วยเหลือช่วยให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อกัน และความเข้าใจกันนี้จะช่วยทำให้องค์การเกิดนวัตกรรม
ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาของ Craciun (2015); Crook, Todd, Combs, Woehr &
Ketchen (2011); Prunea (2014); Ukenna, Carol, & Olise (2010) ที่แสดงให้เห็นว่า ศักยภาพทุนมนุษย์
ด้านความสามารถเชิงพลวัต โดยท่ีองค์กรต้องแสวงหาความรู้ แสวงหาทักษะที่มีอยู่ในตัวบุคคล เพื่อเป็นการ
พัฒนาความสามารถของบุคลากรในองค์การ เพื่อให้องค์กรสร้างความสามารถที่จะตอบสนองต่อการ
เปลีย่ นแปลงภายนอกไดอ้ ย่างรวดเร็วอย่เู สมอ

5. การจัดการการเปลีย่ นแปลงบนความหลากหลายมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการ
จัดการนวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้เนื่องมาจาก สภาพแวดล้อมในการแข่งขันของ
ธุรกจิ ทำให้อุตสาหกรรมการเกษตรมีการปรบั ตัวให้ทันและรองรับการเปล่ียนแปลงในการมุ่งเน้นความยืดหยุ่น
ของโครงสร้าง ซึ่งความยืดหยุ่นโครงสร้างองค์กรที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนคือในด้านการปรับปรุงแผนงานเพื่อ
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความล่าช้า ผู้บริหารให้ความสำคัญในการจัดการความหลากหลาย
ของการใช้ ให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม ซึ่งหากองค์การสามารถจัดการการ
เปลี่ยนแปลงบนความหลากหลายได้ ก็จะส่งผลให้องค์การมีความสามารถในการจัดการนวัตกรรมตามไปด้วย
ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาของ Merchant & Van der Stede (2007) ที่กล่าวว่า สำหรับ
โครงสรา้ งขององค์กรที่มคี วามยืดหย่นุ บคุ ลากรมกี ารทำงานเป็นทีมงาน รวมถงึ สามารถทำหน้าท่ีท่ีหลากหลาย

207 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ในองค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรกำลังมีการดำเนินการทำงานเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร
แล้ว และจะนำไปสู่การจัดการนวัตกรรมที่ดีขององค์กรต่อไปนั่นเอง และนอกจากน้ีสำหรับในด้านของการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ

6. ศกั ยภาพการสร้างพนั ธมติ รทางธุรกิจแบบสร้างสรรค์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถใน
การจดั การนวัตกรรม อย่างมีนัยสำคญั ทางสถิตทิ ี่ระดบั 0.01 ท้งั นี้เนือ่ งมาจาก ผูบ้ ริหารควรมีความยืดหยุ่นใน
ความร่วมมือทรัพยากรของธุรกิจโดยเป็นการร่วมมือกันที่จะพัฒนาและปรับปรงุ กระบวนการผลิตของเราใหม้ ี
ประสทิ ธภิ าพมากขน้ึ และการลดของเสียให้น้อยลงทีส่ ุด อีกทั้งยงั มีการนำความรู้ใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่
มาแบ่งปันกันเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน อีกทั้งมีการรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ใหม่อย่างเป็นระบบ
ฐานข้อมูลกลาง เพื่อการเข้าถึงข้อมูลระหว่างองค์กรหรือระหว่างพันธมิตรได้อย่างทั่วถึง ผลการวิจัยดังกล่าว
สอดคล้องกับการศึกษาของ Jeongeun, Tae-Eung, & Hyun-Woo (2018) ที่พบว่า ความร่วมมือในการ
ปฎิบัติงานขององค์กรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับองค์กรนั้น การให้การสนับสนุนเทคโนโลยี
สารสนเทศในองค์การนั้น ต้องมีอุปกรณ์และระบบเทคโนโลยี ท่ีเกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้นการการมีพันธมิตรในการ
แลกเปลี่ยนทรัพยากรแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ กลุ่มลูกค้าต่างๆ นั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการที่จะ
ขยายธุรกิจและเพอื่ ความอยูร่ อดขององค์กร

5.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. ภาครัฐมีนโยบายเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของอุตสาหกรรมการเกษตร

ไทยโดยมีการเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมเอกชนตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการ
ทำงานของภาคเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่ตรงตามความต้องการของภาคเอกชนอย่าง
แท้จริง เน้นการส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมท่ีมีศักยภาพและมีความได้เปรียบอยู่แล้วก็จะสามารถต่อยอด
ระดับของการพัฒนาทีม่ ีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกวา้ งไดอ้ ยา่ งรวดเรว็

2. ควรมีการวางแผนและกำหนดความรับผิดชอบให้เกดิ ขึ้นในระดับองค์กร โดยจัดให้มีส่วนงานที่
รับผิดชอบเรื่องการจัดการนวัตกรรมองค์กรของอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อให้การดำเนินงานเกิดขึ้นในระยะ
ยาว โดยผรู้ บั ผดิ ชอบหลกั อาจเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เนอื่ งจากผลการวจิ ัยแสดงใหเ้ ห็นว่า ผู้บริหารมี
ศักยภาพในการผลักดันมีความสามารถในจัดการนวัตกรรม ดังนั้นจึงควรมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้นำให้มี
การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเข้มแข็งมีความเข้าใจปรับปรุงระดับของความร่วมมือการสื่อสารไปใน
ระดบั สากล

5.3 ข้อเสนอแนะเพื่อการวจิ ัยในครั้งตอ่ ไป
1. ในการวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสามารถในการจัดการนวัตกรรมเพื่อผลการดำเนินงานของ

องค์กรที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งมีหน่วยวิเคราะห์เป็นระดับองค์กร ในการศึกษา
ครงั้ ตอ่ ไปควรทำการศึกษาเพ่มิ เติมในระดับบคุ คล รวมทง้ั ผลลพั ธ์ของการความสามารถในการจัดการนวัตกรรม

208 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ในมุมมองของพนักงาน นอกจากนั้น ควรทำการศึกษาในพหุระดับ (Multi-Level Model) เช่น ระดับบุคคล
ระดับกล่มุ หรือระดบั องคก์ ร เปน็ ตน้ เพ่ือใหเ้ ห็นถงึ องคป์ ระกอบของของความสามารถในการจดั การนวัตกรรม
ในหลายระดับ

2. ในการวิจัยในอนาคต อาจนำกรอบแนวคิดของการวิจัยครั้งนี้ มาทำการศึกษากลุ่มตัวแปร
ควบคุมที่มีการแบ่งแยกที่ชัดเจน ได้แก่ มาตรฐานของโรงงาน หรือแม้กระทั่งตัวแปรอื่น ๆ เช่น จำนวน
พนักงาน ประเภทของอุตสาหกรรมและขนาดอุตสาหกรรม เพื่อทำการทดสอบว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่
อย่างไรในเรื่องความสามารถในการจดั การนวัตกรรมของอุตสาหกรรม ดังนั้นในอนาคตจึงควรนำผลการวจิ ยั ท่ี
ได้ในครั้งนี้ไปทำการศึกษาในธุรกิจอื่น หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบและยืนยันผลการศึกษา
รวมถึง ทำการศึกษาโดยแยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมของธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรม
ผลิตภัณฑ์ยางและปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมผลไม้กระป๋อง กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากข้าว และกลุ่ม
อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เพื่อทำการทดสอบว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรในเรื่องความสามารถใน
การจัดการนวตั กรรมของอตุ สาหกรรม

เอกสารอ้างอิง

Chathoth, P.K., Ungson, G.R., Harrington, R.J., & Chan, E.S.W. (2016). Co-creation and higher
order customer engagement in hospitality and tourism services: A critical review.
International Journal of Contemporary Hospitality Management, 28(2), 222-
245.

Chiang, Y. H., & Shih, H. A. (2011). Knowledge-oriented human resource configurations, the
new product development learning process, and perceived new product
performance. The International Journal of Human Resource Management,
22(15), 3202-3221.

Chien, S., Tsai, C. (2012). Dynamic capability, knowledge, learning, and firm performance.
Journal of Organizational Change Management, 25(3), 434-444.

Craciun, E. (2015). Human Capital – A Quality Factor for the Competitiveness of IT
Companies. Leadership and Strategy in the Context of Changing Power
Poles, (21), 44-51.

Crook, T. R., Todd, S. Y., Combs, J. G., Woehr, D. J., & Ketchen, D. J. (2011). Does human
capital matter? A meta-analysis of the relationship between human capital and
firm performance. Journal of Applied Psychology, 96(3), 443–456

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.

209 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data
Analysis. (6th ed.). Uppersaddle River: Pearson Prentice Hall. European Business
Review, 20(4), 298-314.

Harimukti, W., Harm-Jan, S., & Aard, G. (2018). Exploring stakeholders’ support in International
equity placement strategic alliance. Gadjah Mada International Journal of
Business, 20(2), 205-228.

Intan-Soraya, R., & Chew, K. W. (2010). A framework for human resource management in the
knowledge economy: Building intellectual capital and innovative capability.
International Journal of Business and Management Science, 3(2), 251.

Jasra, J. M., Hunjra, A. I., Rehman, A. U., Azam, R. I., & Khan, M. A. (2012). Determinants of
business success of small and medium enterprises. International Journal of
Business and Social Science, 2(20)

Jeongeun, S., Tae-Eung, S., & Hyun-Woo, P. (2018). A network analysis of strategic alliance
drivers in ICT open ecosystem: with focus on mobile, cloud computing and
multimedia. Multimedia Tools and Application, 77(12), 14725-14745.

Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. (3rd ed.).
New York, N: The Guilford Press.

Lawson, B., & Samson,D. (2011). Developing innovation capability in organizations: A dynamic
capabilities approach. International Journal of Innovation Management, 5(3),
377-400.

Likert R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York:
McGraw-Hill company.

Maglio, P., Vargo, S. L., Caswell, N., & Spohrer, J. (2009). The service system is the basic
abstraction of service science. Information Systems and E-Business Management,
7(4), 395–406

Mehta, C., & Gupta, P. (2014). Sculpting Future Leaders: An Intrapreneurial Approach. Global
Journal of Finance and Management, 6(4), 313-320.

Merchant, K. A., & Van der Stede, W. A. (2007). Management Control Systems. (2nd ed.).
England: Pearson Education Limited.

Office of the National Economics and Social Development Council. (2017). Summary of
Draft The 12th National Economic and Social Development Plan (2017-
2021). Retrieved February 5, 2020, from http://www.nesdb.go.th.

210 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Pallant, J. (2010). SPSS survival manual: A step by step guide to data analysis using
SPSS. Maidenhead. Open University Press/McGraw-Hill.

Peter Hazell and Stanley Wood. (2007). Drivers of change in global agriculture,
The Royal Society.

Protogerou, A., Caloghirou, Y., & Lioukas, S. (2011). Dynamic capabilities and their indirect
impact on firm performance. Industrial and Corporate .21(3)1-14.

Prahalad, C. K., & Ramaswamy, V. (2004). The future of competition: Co-creating unique
value with customers. Boston: Harvard Business Review Press.

Prahalad, C.K., Ramaswamy., V. (2004). Co-creation experiences: The next practice in value
creation. Journal of Interactive Marketing, 18(3), 5-14.

Prunea, A. (2014). Competitive Advantage in the Enterprise Performance. Annals of the
University of Oradea. Economic Science Series, 23(1), 524-531.

Rubin, A. (2012). Statistics for evidence-based practice and evaluation. US: Cengage
Learning.

Santos, J. B., & Brito, L. A. L. (2012). Toward a subjective measurement model for firm
performance. Brazilian Administration Review, 9(6), 95-117.

Shiavone, F.,Metallo, C., & Agrifoglio, R. (2014). Extending the dart model for social media.
International Journal of Technology Management, 66(4), 271-287.

Shu, C., Zhou, K. Z., Xiao, Y., & Gao, S. (2014). How Green Management Influences Product
Innovation in China: The Role of Institutional Benefits. Journal of Business Ethics,
133(3), 471-485.

Tidd, Joe, & John Bessant. (2009). Managing Innovation Integrating Technological and
Organization Change. (4th ed.). West Sussex : John Wiley and Sons.

Theodorakopoulos, N., & Budhwar, P. (2015). Guest Editors' Introduction: Diversity and
Inclusion in Different Work Settings: Emerging Patterns, Challenges, and
Research Agenda. Human Resource Management, 54 (2), 177-197.
doi:10.1002/hrm.21715

Ukenna, S.I., Carol, N.A., & Olise, M.C. (2010). Effect of Investment in Human Capital
Development on Organizational Performance: Empirical Examination of the
Perception of Small Business Owners in Nigeria. European Journal of
Economics, Finance and Administrative Sciences, 26(11), 93-107

211 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

World Economic Forum. (2016). The Global Competitiveness Report 2015-2016. Retrieved
January 20, 2018 from http://reports.weforum.org/global-competitiveness-
report-2015-2016.

Zhou, K. Z., & Li, C. B. (2010). How strategic orientations influence the building of dynamic
capability in emerging economies. Journal of Business Research, 63(3), 224-231.

212 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

กลยทุ ธก์ ารบริหารงานอย่างมีดลุ ยภาพของวิสาหกจิ ชุมชนกลุม่ ผลติ ภัณฑ์แปรรปู
จากมะพรา้ ว อำเภออัมพวา จงั หวัดสมุทรสงคราม

Balanced Scorecard Administrative Strategies of A Community
Enterprises Group for Processing Product from Coconut,

Ampawa District, Samut Songkhram Province

วรินทรธ์ ร ธรสาสรสมบัติ*
(Varinthorn Tarasansombut)

บทคัดยอ่

การศึกษามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก
มะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ2) เพื่อเสนอกลยุทธ์การบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC)
ของกลุ่มผลิตภณั ฑ์แปรรปู จากมะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-
depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลักรวมทั้งหมด 24 คน ประกอบด้วย หัวหน้าวิสาหกิจชุมชน และสมาชิก
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว จาก 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว อำเภออัมพวา
จังหวัดสมทุ รสงคราม ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ตามรอยพระราชดำริ กลุ่มวิสาหกิจชมุ ชนผลิตรองเท้า วิสาหกิจชมุ ชน
ขนมไทยโบราณและจกั สานก้านมะพรา้ ว บางชา้ ง และกล่มุ จักสานก้านมะพร้าวนำ้ ตาล ท่าคาซึ่งผวู้ ิจัยนำขอ้ มูล
ที่ไดร้ ับมาวิเคราะห์ รวบรวม ตดั ทอนประเด็นท่เี กี่ยวขอ้ ง และหาขอ้ สรปุ เพ่ือเสนอแนวทางทเ่ี หมาะสม

ผลการวิจัยพบว่าการบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 1) ด้านลูกค้า กลุ่มเป้าหมายจะเป็นลูกค้านอกท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะ
เดนิ ทางมาเที่ยวหรือพักผ่อน แล้วจึงเขา้ มาเลอื กซ้ือสนิ ค้าเพือ่ ซื้อเปน็ ทร่ี ะลึก สำหรับลูกค้าในทอ้ งถนิ่ จะซ้ือเพื่อ
ใช้ในครัวเรอื น โดยจะกลับมาซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาไม่แพง 2) ด้านการเงิน อัตรารายได้ในรอบปี
ของกลุ่มเป้าหมาย ของกลุ่มศูนย์เรียนรู้ตามรอยพระราชดำริ มีอัตราเพิ่มของรายได้อยู่ระหว่าง 45,000-
80,000 บาท เนื่องจากมีผลิตภณั ฑ์ให้เลือกอย่างหลากหลาย ส่วนกลุ่มอื่นๆ อยู่ระหว่าง 15,000-30,000 บาท
เน่อื งจากมีผลติ ภณั ฑ์ใหเ้ ลอื กอยา่ งจำกดั 3) ด้านกระบวนการภายใน มีการกำหนดโครงสรา้ งในรูปแบบหัวหน้า

* อาจารย์ผูร้ บั ผดิ ชอบหลักสูตรทวิปริญญาโททางรฐั ประศาสนศาสตร์และบริหารธรุ กิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 10240
Dual Master's Degree Program in Public and Business Administration Ramkhamhaeng University. 10240
Corresponding author: [email protected]

213 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

วิสาหกจิ ชมุ ชน คณะกรรมการบริหารวิสาหกิจชุมชน และสมาชกิ วิสาหกิจชมุ ชน โดยรปู แบบจะดำเนนิ งานโดย
ประธาน รองประธาน และเลขา ซึ่งมีลักษณะคลา้ ยคลึงกัน เนื่องจากไม่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ และ 4) ด้าน
การเรยี นรู้และเจริญเตบิ โต ไม่มีความรู้ในการต่อยอดสนิ ค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และไมม่ ีทายาท ที่ช่วยสืบทอด
ตอ่ ไป

ผลการวิจัยกลยุทธ์การบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า 1.กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพ 2.
กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้มีความหลากหลาย 3.กลยุทธ์การให้บริการที่ดี และสามารถเข้าถึงได้
โดยง่าย 4.กลยุทธ์การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ควรนำระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยในการ
พัฒนาผลติ ภัณฑช์ ุมชน 5.กลยทุ ธก์ ารขนสง่ ทีม่ ีคุณภาพ ควรเลือกใช้บรกิ ารขนส่งภาคเอกชน เขา้ มามีส่วนช่วย
เพื่อการขนสง่ ที่ครบถว้ น และรวดเร็ว 6.กลยุทธ์การประชาสัมพนั ธ์เชิงรกุ ควรเลือกใชส้ ื่อประชาสัมพันธส์ ินค้า
วิสาหกิจชุมชนให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย และทำอย่างต่อเนื่อง และ 7.กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพของ
บุคลากรให้สงู สุด ควรพฒั นาคนที่มคี วามรู้ความสามารถ และความเช่ยี วชาญในวิชาชีพเกี่ยวกับสินค้าวิสาหกิจ
ชุมชน

คำสำคญั : กลยทุ ธ์ การบรหิ ารงานอย่างมดี ลุ ยภาพ วิสาหกิจชุมชน ผลิตภณั ฑ์แปรรูปจากมะพร้าว

ABSTRACT

The study was aimed to 1) study the Balanced Scorecard (BSC) administrative strategies
of community enterprise groups for processing product from coconut, Ampawa District, Samut
Songkhram Province and 2) to present the Balanced Scorecard (BSC) administrative strategies
of community enterprise groups for processing product from coconut, Ampawa District, Samut
Songkhram Province by using the in-depth interview. The sample group of this study was 24
leaders and members from 4 community enterprise groups; The Learning Center under the
Royal Initiative, Shoe-Manufacturing community enterprise group, Traditional Thai Dessert and
Coconut Stalk Basketry community enterprise group in Bang Chang and Brown Coconut Stalk
Basketry community enterprise group in Tha Ka. All data obtained were analyzed, gathered
and concluded for the appropriate guideline.

The findings of the Balanced Scorecard (BSC) administrative strategies of community
enterprise groups for processing product from coconut, Ampawa District, Samut Songkhram
Province revealed that; 1) Customer Perspective – the target group was not the local customer
who traveled and bought it as a souvenir, and the local customer who bought it for the

214 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

household use as it’s not expensive, 2) Financial Perspective – the annual income rate of the
target group of The Learning Center under the Royal Initiative has increased 45,000-80,000
baht as there were a different kind of product, and the annual income rate of other community
enterprise groups has increased 15,000-30,000 baht as there was a limit of the product, 3)
Internal Process Perspective – it was structured as the community enterprise group leader,
board of the community enterprise group and member of the community enterprise group,
operated by the chairman, vice chairman and secretary with the undefined role and
responsibility, and 4) Learning and Growth Perspective – there was no knowledge of creating
value-added product and no new generation for its inheritance.

The findings of the Balanced Scorecard (BSC) administrative strategies of community
enterprise groups for processing product from coconut, Ampawa District, Samut Songkhram
Province revealed that; 1) Product Development Strategy – to enhance the quality standard,
2) New Product Development Strategy – for more different kind of product, 3) Service Strategy
– for more accessibility, 4) Distribution Strategy – to apply the information technology for the
local product development, 5) Transportation Strategy – to choose the private transport
service for more rapidity, 6) Proactive Public Relation – to choose the appropriate public
relation media for the community enterprise product, 7) Proficiency Development Strategy –
to improve the human capital for more knowledge, proficiency and expertise on the
community enterprise product.

Keywords: Strategy, Balanced Scorecard, Community Enterprise,
Processing Product from Coconut

Article history: Received 19 October 2020
Revised 28 January 2021
Accepted 1 February 2021
SIMILARITY INDEX = 2.80 %

215 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1. บทนำ

วิสาหกิจชุมชน เป็นนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีแนวคิดการแก้ปัญหาของประชาชนมีหนี้สินเพิ่มข้ึน
สามารถแก้ไขได้ด้วยการที่ประชาชนรู้จักนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ในชุมชน ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มสามารถจัดปัญหา
ความยากจน เป็นการสรา้ งอาชีพที่ยง่ั ยืนและรายไดท้ ่ีมน่ั คง เปน็ การพง่ึ ตนเองและพึ่งพากนั และกันของชุมชน
(สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน 2548 : 2) จากการพัฒนาทุกภาคส่วนได้พัฒนา
วิสาหกิจชุมชนไปสู่การเป็นผู้ประกอบกิจการ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2560 : 12) เพอื่ สร้างวิสาหกจิ ชมุ ชนใหเ้ กิดขึ้นในทุกชุมชนของประเทศ สง่ ผลใหป้ ริมาณวิสาหกิจชุมชนเกิดข้ึน
เปน็ จำนวนมาก และก็มีวิสาหกจิ ชมุ ชนที่เลิกกิจการไป เนอื่ งจากการขาดการสนบั สนุนอยา่ งต่อเน่ือง (จักรพงษ์
นวลชื่น 2560 4) จากผลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน จ.สมุทรสงคราม ปี พ.ศ.2562 พบว่า บางกลุ่มไม่
สามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อเนื่อง เกิดจากปัญหาชุมชนไม่เข้มแข็ง ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มขาดเอกลักษณ์ เพราะ
พัฒนามาจากภูมิปัญญาเดียวกัน แตกต่างเพียงการปรุงแต่งเพียงเท่านั้น ส่งผลให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม่ มี
อำนาจต่อรอง มีข้อด้อยด้านการบริหารจัดการเงินทุนหรือวัตถุดิบ โดยขาดการวางแผนในระยะยาว ไม่
สามารถควบคุมปัจจัยทางการผลิตได้ส่งผลให้ผลิตสินค้าไม่ทัน นำไปสู่การไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในการ
ดำเนินงาน รวมไปถึงการลดลงของจำนวนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูป สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาบาง
ประการ ทำให้ต้องเลิกการดำเนินการวิสาหกิจชุมชน หรืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประกอบการ
จากวิสาหกิจชมุ ชนไปเป็นรูปแบบอื่นๆ เช่น ผู้ประกอบการคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และบริษัท ส่งผลให้วิสาหกิจ
ชุมชน จ.สมุทรสงคราม ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าทีค่ วร เนื่องจากประสบปัญหาหลายดา้ น เช่น ขาดทักษะ
ในการผลิต ขาดทักษะในการบริหาร ทั้งด้านการตลาด การเงิน การบริหารจัดการ และขาดด้านทุนทรัพย์
แหล่งเงินทุน เป็นต้น (สำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม
2562 : 3)

ดงั นน้ั เพอ่ื นำไปสู่การแก้ไขปัญหา จะต้องเรม่ิ จากการประเมินผลองค์กรก่อน ซ่งึ เป็นสิ่งท่ีจำเป็นและ
มีความสำคัญสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หากนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม และพัฒนาให้เป็นเครื่องมือในการ
บริหารองค์กรทั้งหมด ที่ผู้บริหารสามารถใช้เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารองค์กร โดยวัดหรือประเมินกลไกใน
การขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กรไปสู่การปฏิบัติ การกำกับ และติดตามผลการดำเนินงาน ในการศึกษาครั้งนี้
พิจารณาจากปัจจัยที่วัดความสำเร็จในการบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน
ลูกค้า กระบวนการภายใน และการเรียนรู้และเติบโตขององค์กร ปัจจัยดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่
เปลี่ยนพันธกิจ (Mission) และกลยุทธ์ (Strategy) ให้เป็นแบบวัดผลการปฏิบัติงานที่มีส่วนช่วยกำหนดกรอบ
ของระบบการวัดและการบริหารกลยุทธ์ทค่ี รอบคลุม (Kaplan and Norton 1996a) ผวู้ จิ ยั จงึ สนใจศึกษาเร่ือง
“กลยุทธ์การบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว
อ.อมั พวา จ.สมุทรสงคราม” และสร้างความได้เปรียบในการแขง่ ขัน และการพัฒนาอยา่ งยง่ั ยนื ต่อไป

216 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

วัตถุประสงค์ของการวจิ ัย
1. เพื่อศึกษาการบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว อำเภอ

อัมพวา จงั หวดั สมทุ รสงคราม
2. เพ่ือเสนอกลยุทธ์การบรหิ ารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของกลุ่มผลติ ภณั ฑ์แปรรปู จากมะพรา้ ว

อำเภออมั พวา จงั หวัดสมุทรสงคราม

2. เอกสารและงานวิจยั ทเี่ ก่ียวข้อง

ผวู้ ิจยั ได้ทำการศึกษางานวิจยั ตา่ งๆ ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง ซ่งึ มเี อกสารและงานวจิ ยั ทีเ่ กี่ยวขอ้ ง ดังนี้
2.1 แนวคดิ การบริหารงานอยา่ งมดี ลุ ยภาพ (BSC)
การวดั ความสำเร็จในการบริหารงานอย่างมดี ุลยภาพ (Balanced Scorecard) เรมิ่ ต้นจากแนวคดิ ของ
Kaplan and Norton และ David Norton โดยไดใ้ หน้ ิยามคำว่า “Balanced Scorecard” คอื เปน็ เครื่องมือ
ทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฎิบัติ (Strategic Implementation) โดยอาศัยการวัด
หรือประเมิน ทจ่ี ะชว่ ยทำให้องค์กรเกดิ ความสอดคล้องเป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน และมุง่ เนน้ ในส่ิงที่มคี วามสำคัญ
ต่อความสำเร็จขององค์กร (Kaplan and Norton 1996b : 2) โดยแนวคิดการบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ
ประกอบด้วย 4 มุมมอง ซึ่งประกอบด้วย 1) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) 2) มุมมองด้าน
การเงิน (Financial Perspective) 3) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective)
และ 4) มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต (Learning and Growth Perspective) โดยมุมมองทุกด้านจะมี
วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรเป็นศูนย์กลาง และประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ 2) ตัวชี้วัด 3) เป้าหมาย
และ 4) แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม จะทำให้ข้อมูลมีความชัดเจนมากขึ้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการ
บริหารจัดการองค์กรให้พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ โดยการผลักดันให้มีนโยบายหรือกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ไปสู่การ
ปฏิบัติ โดยมุมมองทุกด้านจะมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรเป็นศูนย์กลาง และประกอบด้วย 1)
วัตถุประสงค์ 2) ตัวชี้วัด 3) เป้าหมาย และ 4) แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม จะทำให้ข้อมูลมีความชัดเจนมาก
ข้ึน สามารถนำมาประยกุ ต์ใช้ในการบรหิ ารจัดการองค์กรให้พัฒนาส่คู วามเปน็ เลิศ โดยการผลักดนั ใหม้ ีนโยบาย
หรือกลยทุ ธ์ทีก่ ำหนดไวไ้ ปสกู่ ารปฏบิ ตั ิ

2.2 แนวคดิ การบริหารการจัดการวสิ าหกจิ ชุมชน
การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเป็นกระบวนการบริหารจัดการในชุมชน โดยศึกษารายละเอียดดังน้ี
(ทรงศกั ด์ิ ศรีบญุ จติ ต์ และคณะ 2547)
การจัดการองค์กรและการบริหารงาน การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดการองค์กรและการ
บริหารงาน กลุ่มแตล่ ะกลมุ่ ใหข้ ้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเปน็ มาของกลุ่ม ปรัชญาและวตั ถปุ ระสงค์การจัดต้ัง
และลักษณะของกลุ่ม การศึกษาครอบคลุมรูปแบบการจัดองค์กร ขนาดของกลุ่มโดยพิจารณาจากจำนวน
สมาชิก ลักษณะการกระจายการถือหุ้น และสอดคล้องกันระหว่างหน้าที่ตามตำแหน่งกับงาน ที่ปฏิบัติจริง

217 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ปรชั ญาพ้ืนฐานของการดำเนินธุรกจิ ของกลมุ่ และพจิ ารณาการดำเนินงานว่าสอดคลอ้ งกบั ปรชั ญาทีต่ ้ังไว้ โดย
ใชล้ กั ษณะ 7 ประการขององค์ประกอบของวสิ าหกิจชมุ ชนเป็นฐาน

การผลิต การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างการผลิตนั้น ประกอบด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
การคัดคุณภาพของวัตถุดิบ การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการผลิต ต้นทุน
และผลตอบแทนในการผลิต และความต้องการความช่วยเหลือด้านการผลิต รวมถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์
ประกอบด้วย ศักยภาพในการทำกำไรต่อหน่วย ศักยภาพทางด้านยอดขาย และศักยภาพทางด้านยอดข าย
รวมและกำไรรวม

การเงินและการบริหารการเงิน การศึกษาถึงโครงสร้างการเงนิ นั้น ประกอบด้วยการศึกษาเก่ยี วกบั
การตัดสินใจในด้านการบริหารการเงิน การจัดทำบัญชี การกู้ยืมเงิน การวางแผนการใช้เงินทุน และ
ศักยภาพทางการเงนิ
การตลาดและการบริหารการตลาด การวิเคราะห์การบริหารการตลาดของกลุ่ม ครอบคลุมการวางแผน
การตลาด ความสามารถในการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ การตั้งราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การ
ส่งเสริมการขาย และกลยุทธ์การตลาดของกลุ่ม ตลอดจนความสามารถของบุคลากรของกลุ่มในด้าน
การตลาดดว้ ย

3. วธิ ดี ำเนินการวจิ ยั

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเป็นการศึกษามุ่งประเด็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การ
บริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวัด
สมุทรสงคราม ในการวเิ คราะห์การบริหารการจดั การวิสาหกิจชุมช และการบริหารงานอยา่ งมีดุลยภาพ (BSC)
ที่เกี่ยวข้อง จากบทความ รายงาน และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยใช้กระบวนการดำเนินการ
ประกอบด้วยกระบวนการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และวิเคราะห์ข้อมูลจาก
เอกสาร (Documentary Research) โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักสำคัญที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้รวมทั้งหมด 24 คน
ประกอบด้วย หัวหน้าวิสาหกิจชุมชน และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว จาก 4
กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ (สำนักงานสหกรณ์จังหวัด
สมทุ รสงคราม 2563)

กลุม่ ที่ 1 ศนู ยเ์ รยี นรตู้ ามรอยพระราชดำริ
กลุ่มท่ี 2 กลมุ่ วสิ าหกิจชมุ ชนผลติ รองเท้า
กลมุ่ ที่ 3 วสิ าหกิจชุมชนขนมไทยโบราณและจกั สานกา้ นมะพร้าว บางชา้ ง
กลมุ่ ที่ 4 กลุม่ จกั สานกา้ นมะพรา้ วน้ำตาล ทา่ คา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล
สำคัญ นำข้อมูลท่ีไดร้ ับ มาจัดกลุ่มข้อมลู เช่น การจำแนกหมวดหมูข่ องข้อมูลให้เป็นระบบ วิเคราะห์ รวบรวม
ตัดทอนประเด็นที่เกี่ยวข้อง และหาข้อสรุป เพื่อความเชื่อมั่นของข้อมูลที่ได้รับ นำไปสู่เสนอแนวทางที่

218 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เหมาะสมสำหรับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวัด
สมทุ รสงครามตอ่ ไป

4. ผลการวจิ ยั

1. ผลการศึกษาการบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว
อำเภออมั พวา จงั หวดั สมทุ รสงคราม

ขอ้ มลู ทวั่ ไปอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากพ้ืนทปี่ ลูกมะพร้าวจำนวนมาก วัตถุดิบท่ีมี
กันทุกบ้าน นอกจากมะพร้าวที่นำมาทำกะทิ เพื่อทำอาหารและขนม ชุมชนยังสามารถนำมาแปรรูปให้มมี ูลค่า
เช่น นำก้านมะพร้าว มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จักสาน สร้างรายได้และชื่อเสียงอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น กลุ่ม
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ตามรอย
พระราชดำริ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตรองเท้า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทยโบราณและจักสานก้านมะพร้าว
บางช้าง และกลมุ่ จักสานก้านมะพรา้ วนำ้ ตาล ทา่ คา

กลุ่มศูนย์เรียนรู้ตามรอยพระราชดำริ ดำเนินงานโดยคุณจิราภรณ์ จาตุรัตน์ ประธานกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์หลัก คือ น้ำตาลผง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์จากส้มโอ เปลือกส้มโอ ไว้ไล่ยุง เจล หรือ
โลชนั่ จากกุหลาบมอญ ผลติ ภัณฑ์จากกล้วย เชน่ กล้วยเบรกแตก กล้วยกวน กล้วยตาก และขนมไทย เป็นตน้

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตรองเท้า ดำเนินงานโดยคุณจุฬา จันทร์เพ็ง ประธานกลุ่ม ผลิตภัณฑ์หลัก
คอื รองเทา้ เพ่ือสขุ ภาพผลติ จากกะลา และลกู บบี กะลาปลดลอ็ คแก้ปวดเม่ือย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทยโบราณและจักสานก้านมะพร้าว บางช้าง ดำเนินงานโดยคุณสัมพันธ์
พงศ์พรรณกุล ประธานกล่มุ ผลติ ภณั ฑห์ ลัก คอื กระเปา๋ และตะกรา้

กลุ่มจักสานก้านมะพร้าวน้ำตาล ท่าคา ดำเนินงานโดยคุณวิภารัตน์ รัตนพิทักษ์ ประธานกลุ่ม
ผลิตภณั ฑห์ ลกั คอื งานจกั สาน และตะกรา้

จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวัด
สมุทรสงคราม พบว่า การบริหารจัดวิสาหกิจชุมชม ส่วนใหญจ่ ะบริหารจัดการโดยผู้นำกลุ่ม หรือผู้นำในชมุ ชน
ปจั จุบนั ผ้นู ำกลมุ่ วสิ าหกิจชุมชนจะเปน็ ผทู้ ม่ี ีความเชีย่ วชาญและมที ักษะเกย่ี วกบั สินคา้ หรือผลติ ภณั ฑ์นั้น ๆ การ
บริหารจัดการด้านการเงินและการระดมทุน ส่วนใหญ่จะทำบัญชีแบบง่ายๆ ทำให้การบริหารการเงินไม่รัดกมุ
การใช้เงินอย่างขาดประสิทธิภาพ นำไปสู่ความผิดพลาดและล้มเหลวได้ การบริหารจัดการด้านการตลาด
สินค้าส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน เนื่องจากเป็นการแปรรูปผลผลิตที่มีในชุมชนที่มีเหมือนกัน
รวมทั้งกลุ่มวิสาหกิจยังไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย รวมทั้งยังไม่สามารถสร้างความ
แตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการบริหารจัดการด้านการขาย ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็น
ลูกค้าในทอ้ งถิน่ และลกู ค้านอกท้องถ่นิ

219 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลการศึกษาการบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว อำเภอ
อมั พวา จงั หวดั สมทุ รสงคราม สามารถสรปุ ไดด้ งั นี้

1. ด้านลูกค้า พบว่า กลุ่มเป้าหมายจะเป็นลูกค้านอกท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเดินทางมาเที่ยวหรือ
พักผ่อนที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วจึงเข้ามาเลือกซื้อสินค้าเพื่อซื้อเป็นที่ระลึก และซื้อฝาก
ครอบครวั หรอื เพือ่ นๆ และมกี ารกลับมาซอ้ื ซ้ำ เนอ่ื งจากใช้สนิ ค้าแล้วพึงพอใจ จึงกลับมาซอื้ ซำ้ สำหรับลกู คา้ ใน
ท้องถิ่น จะซื้อเพื่อใช้ในครัวเรือน โดยจะกลับมาซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาไม่แพง และได้ของที่มี
คณุ ภาพ ประหยัดเวลา ไม่ต้องเดินทางไกล เพ่อื ไปซอื้ สินค้าดังกลา่ วในตวั เมือง รวมไปถึงการไปออกบูธร่วมกับ
เครือข่ายของภาครัฐ เพื่อประชาสมั พันธแ์ ละขยายฐานลูกค้าใหม่ ได้สินค้าใหม่ ออกมาให้ลูกค้าเป็นสินค้าแจก
เพ่ือทดลองใช้ และสอบถามถงึ ความพึงพอใจ

2. ด้านการเงิน พบว่า อัตรารายได้ในรอบปีของกลุ่มเป้าหมาย ของกลุ่มศูนย์เรียนรู้ตามรอย
พระราชดำริ มีอัตราเพิ่มของรายได้อยู่ระหว่าง 45,000-80,000 บาท เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกอย่าง
หลากหลาย สว่ นกลุ่มอืน่ ๆ อยู่ระหว่าง 15,000-30,000 บาท เนือ่ งจากมีผลิตภัณฑใ์ ห้เลือกอย่างจำกัด การลด
ต้นทุนทางการผลติ โดยส่วนใหญเ่ ลือกใชว้ ัตถุดิบจากชมุ ชน วตั ถุดิบท่ีเลือกใช้นนั้ มีเพยี งพอ และสามารถหาซ้ือ
ได้ในชุมชนในราคาประหยดั นอกจากมียอดสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก จึงเพิ่มจึงเพิ่มปริมาณการผลิต โดยจัดซ้อื
วัตถุดิบจากภายในชุมชน หรือแหล่งอื่น ในการจัดทำบัญชี พบว่า นอกจากประธานกลุ่มวิสาหกิจ ยัง ได้
กำหนดให้เลขา หรือเหรัญญิกของกลุ่มวิสาหกิจเป็นผู้ดูแล โดยเก็บรักษาไว้ที่ประธานกลุ่ม แล้วนำไปฝากไว้ที่
ธนาคาร แต่พบปัญหาการนำเงินส่วนกลางออกมาใช้จ่าย ในลักษณะให้สมาชิกยืมเงินไปใช้ก่อน โดยไม่ได้
ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของเงินในบญั ชีจากสมาชกิ ทีเ่ หลือ

3. ด้านกระบวนการภายใน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีการกำหนดโครงสร้างในรูปแบบหัวหน้าวิสาหกิจ
ชุมชน และสมาชกิ วิสาหกจิ ชุมชน โดยรูปแบบจะดำเนนิ งานโดยประธาน รองประธาน และเลขา ซึ่งมีลักษณะ
คล้ายคลึงกัน เนื่องจากไม่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ รวมถึงข้อปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้านการประสานงานภายใน
กลุ่ม จะมีการเรียกประชุมก็ต่อเม่ือมีกิจกรรม และการเรียกประชมุ ประจำเดือน โดยเรียกประชุมชี้แจงผลการ
ทำงานเดือนละ 1 ครั้ง แต่ไม่ได้ประชุมอย่างเป็นทางการ ด้านขนส่ง ได้ใช้บริการของขนส่งเอกชน รวดเร็ว
จัดสง่ สินคา้ ได้ตามเวลา ดา้ นคณุ ภาพของวัตถุดบิ ไดม้ กี ารคดั เลือกวัตถดุ ิบในชมุ ชน และสามารถนำมาแปรรูป

4. ด้านการเรียนรู้และเจริญเตบิ โต พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มเป้าหมายไม่มคี วามรู้ในการต่อยอดสินค้าเพือ่
สร้างมูลค่าเพิ่ม มีภาครัฐและเครือข่าย เข้ามามีส่วนช่วยในการอบรมการพัฒนาสินค้า กลุ่มวิสาหกิจได้ส่ง
ตัวแทนเพื่อเข้าฝึกอบรมและนำความรู้มาถา่ ยทอดต่อกับสมาชิกในกลุ่ม ในส่วนของความพึงพอใจของสมาชกิ
กลุ่มวิสาหกิจ มีความพอใจในเรื่องผลตอบแทน ทำให้มีรายได้เพิ่มช่วยเหลือครอบครัว ปัญหาที่พบ ส่วนใหญ่
กลุ่มวิสาหกิจไม่มีทายาท ที่ช่วยสืบทอดต่อไป จึงอยากส่งเสรมิ คนรุ่นใหม่ โดยพยายามชีแ้ นะให้เด็กรุ่นหลังได้
เกดิ การเรยี นรู้ ในโรงเรยี น และเยาวชน ได้เรยี นรู้

2. ผลการศึกษากลยุทธ์การบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก
มะพรา้ ว อำเภออมั พวา จังหวัดสมุทรสงคราม

220 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

จากการสัมภาษณผ์ ใู้ ห้ข้อมลู หลกั ผู้วจิ ยั จงึ ได้นำแนวคดิ การบรหิ ารงานอย่างมีดลุ ยภาพ (BSC) มาปรับ
ใช้ โดยมีการควบคมุ กลยทุ ธ์ใหป้ ระสบความสำเรจ็ สามารถสรปุ ได้ดังน้ี
ตารางที่ 1 กลยุทธ์การบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก
มะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

วสิ าหกจิ ชุมชนกลุ่มผลิตภณั ฑ์แปรรปู จากมะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวดั สมทุ รสงคราม

วิสยั ทศั น์ : พัฒนาผลติ ภณั ฑ์แปรรปู จากมะพรา้ วสู่สากล

พนั ธกจิ : กลยทุ ธ์ ตวั ช้ีวัด เปา้ หมาย กจิ กรรม
วตั ถุประสงค์

1.ด้านลูกค้า การพัฒนา จำนวนลูกคา้ ท่ีพึง 10% การวิจัยและพฒั นา

1.1 สร้างความพึง ผลิตภัณฑเ์ พ่ือ พอใจมากขึน้ ผลติ ภณั ฑ์
พอใจให้กบั ลูกคา้
ยกระดบั

มาตรฐานคุณภาพ

1.2 รักษาลกู คา้ เก่า การให้บริการท่ดี ี จำนวนลูกค้าที่ 5% การจดั ทำระบบสมาชิก
หายไป
1.3 การเพม่ิ ฐานลูกคา้ การพฒั นา จำนวนลูกค้าที่ 10% การออกบธู ประชาสัมพันธ์
ใหม่ ผลิตภัณฑใ์ หม่ เพิ่มข้ึน งานแสดงสนิ คา้ ร่วมกบั
ภาครฐั และเครือขา่ ย

2. ด้านการเงิน การเพิ่มชอ่ ง รายได้ท่เี พ่ิมขึ้น - จดั ทำระบบเทคโนโลยี
2.1 รายไดเ้ พ่ิมข้ึน ทางการจัด เทียบกบั ปที ่ีผา่ น 20% สารสนเทศ เพ่ือเขา้ มาชว่ ย
จำหน่าย มา
2.2 ลดต้นทุน - ขยายชอ่ งทางการจัด
จำหน่าย

- ขยายตวั เข้าสู่ตลาดสากล

การพฒั นา จำนวนผลติ ภัณฑ์ การเลอื กใช้วัตถดุ บิ จาก

ผลติ ภัณฑเ์ พ่ือ ทผี่ ลติ ตอ่ ครั้ง 20% ชุมชน

ยกระดับ เพิ่มขน้ึ

มาตรฐานคณุ ภาพ

221 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางท่ี 1 (ต่อ)

วสิ าหกจิ ชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑแ์ ปรรปู จากมะพรา้ ว อำเภออัมพวา จังหวดั สมุทรสงคราม

วิสยั ทัศน์ : พฒั นาผลติ ภัณฑ์แปรรปู จากมะพรา้ วสู่สากล

พันธกิจ : กลยุทธ์ ตวั ชีว้ ัด เป้าหมาย กิจกรรม

วตั ถปุ ระสงค์ การพัฒนา จำนวนผลติ ภัณฑ์ 5% -การวจิ ยั และพัฒนา
ผลิตภณั ฑ์ใหม่ ใหม่ทเี่ พม่ิ ขึน้ ผลิตภัณฑ์
3. ดา้ นกระบวนการ
ภายใน จำนวนการขนส่ง
3.1 วจิ ัยและพฒั นา ท่ีเพ่ิมข้ึน
ผลิตภัณฑ์ จำนวนคร้ังการ
ประชาสัมพนั ธ์ที่
เพ่มิ ข้ึน -การเลอื กวัตถุดิบทม่ี ี

สมาชกิ มที ักษะ คณุ ภาพ
ความร้เู พ่มิ ข้ึน
3.2 การขนส่งท่ีมี การขนสง่ ท่ีมี 20% การเลอื กขนสง่ เอกชนทม่ี ี
ครบถ้วน รวดเรว็ คณุ ภาพ คณุ ภาพ
3.3 การประชาสมั พันธ์ การ
20% - การประชาสัมพนั ธ์
ประชาสมั พันธ์ ออนไลน์ และออฟไลน์
เชิงรุก
- การออกบธู ประชา

สัมพนั ธ์ งานแสดงสินคา้

ร่วมกับภาครฐั และ

เครือข่าย

4. ดา้ นการเรียนร้แู ละ

เจริญเตบิ โต

4.1 การพัฒนา การพัฒนา จัดอบรมการพัฒนา
10% ผลิตภณั ฑ์ และทักษะอ่นื ๆ
ศักยภาพของบุคลากร ศักยภาพของ

บุคลากรใหส้ งู สุด

4.2 ความพงึ พอใจของ การพฒั นา ผลตอบแทน การพฒั นาสินค้าใหม้ ี

สมาชิกกลมุ่ ฯ ศักยภาพของ รายไดข้ องสมาชกิ 20% คุณภาพ และความ

บุคลากรให้สูงสดุ เพมิ่ ข้นึ หลากหลาย

222 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

จากการวเิ คราะห์การบรหิ ารงานอยา่ งมดี ลุ ยภาพ (BSC) ของวสิ าหกิจชมุ ชนกลมุ่ ผลติ ภัณฑแ์ ปรรูปจาก
มะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยขอเสนอกลยุทธ์การบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC)
ของวสิ าหกจิ ชมุ ชนกลุ่มผลติ ภัณฑ์แปรรปู จากมะพร้าว อำเภออมั พวา จงั หวดั สมุทรสงคราม ดังนี้

1.กลยุทธ์การพฒั นาผลติ ภณั ฑเ์ พ่ือยกระดบั มาตรฐานคณุ ภาพ
ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาศักยภาพการผลิต เพื่อ
ยกระดับมาตรฐานคุณภาพ ผลิตภัณฑ์สู่ระดับประเทศและระดับสากล ให้มีขีดความสามารถผลิตสินค้าที่มี
คุณภาพ ปลอดภัย และมมี าตรฐาน การเลอื กใช้วัตถดุ ิบจากชุมชน เปน็ จุดแข็ง และมีเอกลักษณเ์ ฉพาะวิสาหกิจ
นอกจากจะช่วยลดต้นทุน จึงควรพัฒนาจากจุดแข็งและโอกาสนี้พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนให้มี
การยอมรบั รวมถงึ การยกระดับมาตรฐานการผลติ ให้สูงข้นึ มาตรฐานการผลิตทด่ี ี
2. กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภณั ฑ์ใหม่
ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้มีความหลากหลาย และใช้จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความ
แตกตา่ ง โดยมีการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลติ หรอื เทคโนโลยี เพอ่ื การผลติ วิสาหกิจชุมชน ควรตระหนัก
และนำเข้ามา ชว่ ยสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าของวสิ าหกจิ ชมุ ชน
3. กลยทุ ธก์ ารให้บรกิ ารทด่ี ี
ควรให้บริการอย่างไร้ที่ติ และสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย เพื่อทำให้ผู้ซื้อประทับใจในสินค้าและบริการ
และกลับมาซื้อซ้ำ สำหรับลูกคา้ นอกท้องถ่นิ จะซอื้ สินคา้ เพ่ือซ้ือเป็นท่ีระลึก และซอื้ ฝากครอบครัวหรือเพื่อนๆ
หากประทบั ใจในการใหบ้ ริการ ก็จะมีการบอกตอ่ และมีการกลบั มาซอื้ ซ้ำ และลกู คา้ ในทอ้ งถิน่ จะซือ้ เพื่อใช้ใน
ครัวเรือน โดยจะกลับมาซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาไม่แพง และได้ของที่มีคุณภาพ ประหยัดเวล า ไม่
ต้องเดนิ ทางไกล เพื่อไปซ้ือสนิ คา้ ดงั กลา่ วในตวั เมอื ง
4. กลยทุ ธ์การเพิ่มชอ่ งทางการจัดจำหนา่ ย
ควรนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มช่องทางการ
จำหนา่ ยใหม้ ีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยนำอนิ เทอร์เน็ตมาช่วยสนับสนุน เชน่ การขายออนไลน์ เป็นต้น
ในการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย จากช่องทางการจัดจำหน่ายแบบดั้งเดิม เช่น การขายผ่านหน้าร้านร้าน
(Offline) ที่จังหวัด หรือวิสาหกิจชุมชนนั้น และเพิ่มวิธีการขยายช่องทางการตลาดผ่านช่องทางการจัด
จำหน่ายแบบสมัยใหม่ เช่น การรุกตลาดผ่านช่องทาง Online เช่น ทางเว็บไซต์ ทาง facebook ทาง line
เป็นตน้ กน็ ับเปน็ อีกหน่ึงชอ่ งทางสำคัญทกี่ า้ วเขา้ มามบี ทบาทมากข้ึนในสังคมยคุ ดิจิตอล
5. กลยุทธ์การขนสง่ ทีม่ ีคุณภาพ
ควรเลือกใช้บริการขนส่งภาคเอกชน เข้ามามีส่วนช่วย เพื่อการขนส่งที่ครบถ้วน และรวดเร็ว จัดส่ง
สินค้าได้ตามเวลา ตอบสนองความต้องการของลูกคา้

223 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

6. กลยุทธก์ ารประชาสมั พันธ์เชงิ รุก
ควรเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์สินค้าวิสาหกิจชุมชนให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย และทำอย่าง
ตอ่ เนือ่ ง เนื่องจากปัจจบุ นั เทคโนโลยสี ำคัญมาเปน็ อันดบั หนึ่ง ดังนนั้ การเลือกใช้ส่ือประชาสมั พนั ธ์ ควรเลือก
การประชาสัมพันธ์ทางออนไลน์ให้มากขึ้น เช่น ทางเว็บไซต์ ทางสื่อ Social Media เช่น Facebook
Instagram Line เป็นต้น เพื่อเป็นสนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์แบบออฟไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น
การออกงานแสดงสนิ ค้าร่วมกับภาครัฐและเครือขา่ ยให้มากขนึ้
7. กลยทุ ธก์ ารพัฒนาศกั ยภาพของบุคลากรให้สูงสุด
ควรพัฒนาคนที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเกี่ยวกับสินค้าวิสาหกิจชุมชน
เช่น การให้ความรู้เรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พัฒนาผู้ประกอบการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ ให้มีความโดดเด่น ทันสมัย และสามารถวางจำหน่ายได้ทุกช่องทางการตลาด ควรติดต่อขอรับการ
ฝึกอบรมจากหน่วยงานที่เก่ียวข้อง เกยี่ วกับการใหค้ วามรูแ้ ละการให้บริการปรกึ ษาเกยี่ วกับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจ
ชมุ ชน เชน่ ดา้ นการออกแบบพฒั นาผลิตภัณฑ์ควบคู่กับบรรจภุ ัณฑ์ ด้านการบริหารจัดการวัตถุดิบ สามารถ
นำวัตถุดิบที่มีอยู่ มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน การจัดทำงบการเงิน สามารถจัดทำงบการเงินของวิสาหกิจ
และได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารการเงินการบัญชี การบริหารจัดการธุรกิจของวิสาหกิจ
สามารถนำความรทู้ ีไ่ ดร้ ับไปแนะนำใหว้ ิสาหกจิ จดั ทำงบการเงินได้ และใชเ้ ปน็ เคร่อื งมือในการควบคุมดูแลทาง
การเงนิ และพฒั นาธรุ กจิ ให้มปี ระสิทธภิ าพ เปน็ ต้น

5. สรปุ อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ

5.1. สรปุ และอภปิ รายผล
จากผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดวิสาหกิจชุมชม ส่วนใหญจ่ ะบริหารจัดการโดยผู้นำกลุ่ม หรือผู้นำ
ในชุมชน ปัจจุบันผนู้ ำกลมุ่ วสิ าหกจิ ชุมชนจะเปน็ ผทู้ ี่มีความเชย่ี วชาญและมีทักษะเกย่ี วกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์
นั้น ๆ การบรหิ ารจัดการด้านการเงินและการระดมทนุ สว่ นใหญ่จะทำบญั ชแี บบงา่ ยๆ ทำให้การบรหิ ารการเงิน
ไม่รัดกุม การใช้เงินอย่างขาดประสิทธิภาพ นำไปสู่ความผิดพลาดและล้มเหลวได้ การบริหารจัดการด้าน
การตลาด สินค้าส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน เนื่องจากเป็นการแปรรูปผลผลิตที่มีในชุมชนที่มี
เหมือนกัน รวมทั้งกลุ่มวสิ าหกิจยังไม่มีการพัฒนาผลิตภณั ฑ์ให้มีความหลากหลาย รวมทั้งยังไม่สามารถสรา้ ง
ความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการบริหารจัดการด้านการขาย ลูกค้าส่วนใหญ่จะ
เป็นลูกค้าในท้องถิ่นและลูกค้านอกท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับ ภัทรธิดา วัฒนาพรรณกิตติ (2559) ปัจจัยที่มีผล
ต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนระดับ 5 ดาว จังหวัดลำปาง ผลการวิจัยพบว่า 5 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน
จังหวัดลำปางมีรูปแบบการดำเนินการ และการบริหารจัดการที่คล้ายคลึงกัน คือ มีการเลือกบุคคลที่มีทักษะ
ความสามารถในด้านการสร้างผลิตภัณฑ์และเป็นผู้ที่สมาชิกให้ความเคารพนับถือเป็นประธานกลุ่ม มีการ
แต่งตั้งบุคคลขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบฝ่ายต่างๆ ในโครงสร้างของการบริหารจัดการ กรณีของปัจจัยที่สมาชิกมี

224 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ความเห็นว่ามีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการดำเนินการมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ รองลงมา
คอื ปจั จัยดา้ นการตลาด

จากผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรปู จากมะพร้าว
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 1) ด้านลูกค้า พบว่า กลุ่มเป้าหมายจะเป็นลูกค้านอกท้องถิ่น ส่วนใหญ่
จะเดนิ ทางมาเทย่ี วหรือพักผอ่ น แล้วจึงเข้ามาเลือกซื้อสนิ ค้าเพอื่ ซื้อเปน็ ทีร่ ะลึก และมีการกลับมาซ้ือซำ้ สำหรบั
ลูกค้าในท้องถิ่น จะซื้อเพื่อใช้ในครัวเรือน โดยจะกลับมาซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาไม่แพง 2) ด้าน
การเงิน พบว่า อัตรารายได้ในรอบปีของกลุ่มเป้าหมาย ของกลุ่มศูนย์เรียนรู้ตามรอยพระราชดำริ มีอัตราเพิ่ม
ของรายได้อยู่ระหว่าง 45,000-80,000 บาท เนอ่ื งจากมีผลติ ภัณฑใ์ หเ้ ลือกอย่างหลากหลาย ส่วนกลุ่มอื่นๆ อยู่
ระหว่าง 15,000-30,000 บาท เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกอย่างจำกัด การลดต้นทุนทางการผลิต โดยส่วน
ใหญ่เลือกใช้วัตถดุ ิบจากชุมชน วัตถุดิบที่เลือกใชน้ ้ันมเี พียงพอ และสามารถหาซื้อได้ในชุมชนในราคาประหยดั
3) ด้านกระบวนการภายใน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีการกำหนดโครงสร้างในรูปแบบหัวหน้าวิสาหกิจชุมชน
คณะกรรมการบริหารวิสาหกิจชุมชน และสมาชิกวิสาหกิจชุมชน โดยรูปแบบจะดำเนินงานโดยประธาน รอง
ประธาน และเลขา ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เนื่องจากไม่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ รวมถึงข้อปฏิบัติอย่าง
จริงจัง และ 4) ด้านการเรียนรู้และเจริญเติบโต พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มเป้าหมายไมม่ ีความรู้ในการต่อยอดสินค้า
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และกลุ่มวิสาหกิจไม่มีทายาท ที่ช่วยสืบทอดต่อไป จึงอยากส่งเสริมคนรุ่นใหม่ โดย
พยายามช้ีแนะให้เด็กรุ่นหลังไดเ้ กดิ การเรยี นรู้ ในโรงเรยี น และเยาวชน ไดเ้ รียนรู้ ซึง่ สอดคล้องกับ กรกฎ สระ
คูพนั ธ์ และ ศุภวฒั นากร วงศธ์ นวสุ (2561) ศกึ ษาเร่ืองการศึกษาการบริหารจัดการวสิ าหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูป
จากข้าวหอมมะลิ : กรณีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร
วิสาหกิจชุมชน จะต้องมีการจัดโครงสร้างการทำงานให้มีความชัดเจน ไม่ละเลยด้านการประสานงานภายใน
องค์กร และควรมีการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานของรัฐ 2) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิสาหกจิ
ชุมชนไมร่ ูเ้ ทคนิคการทำตลาด สนิ คา้ หรอื ผลติ ภณั ฑ์ไม่เป็นรู้จักของผบู้ ริโภค ควรใหภ้ าครัฐและเอกชนให้ความรู้
ทางด้านการตลาด 3) ดา้ นการเงิน วิสาหกจิ ชมุ ชนต้องมีการวางแผนจัดการด้านตน้ ทุน และจัดทำบัญชีรับจ่าย
อย่างสม่ำเสมอมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และ 4) ด้านลูกค้า การเพิ่มช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า ผ่านทางส่ือ
สงั คมออนไลน์

5.2 ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบาย
1. ด้านการเงิน วิสาหกิจชุมชนควรมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย สำหรับสมาชิกทุกคน โดย

ต้องมีการวางแผนด้านต้นทุน ควบคุมวัตถุดิบ เพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมถึงต้องมีการวางแผนด้านรายได้ที่
เพม่ิ ข้ึน จากการเพ่มิ ลูกคา้ ใหม่ และรักษาฐานลูกคา้ เก่า

2. ด้านลูกค้า วิสาหกิจชุมชนควรคำนึงถึงลูกค้าก่อนเสมอ โดยจะต้องทำให้ลูกค้าเกิดความพึง
พอใจสูงสุด และต้องรักษาฐานลูกค้าเก่า และเพิ่มลูกค้าใหม่ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและมี
คณุ ภาพ

225 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3. ด้านกระบวนการภายใน วิสาหกิจชุมชนควรมีการจัดการโครงสร้างที่ชัดเจน และมีการ
ประสานงานภายในอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน มี
การคดั เลอื กขนส่งเอกชน เพอ่ื การขนส่งท่ีมีครบถ้วน รวดเรว็ จดั ส่งสินค้าได้ตามเวลา ตอบสนองความต้องการ
ของลูกค้า รวมถึงการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อประชาสัมพันธ์วิสาหกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และขยายฐาน
ลกู ค้าท่ีเพ่ิมขึน้

4. ด้านการเรียนรู้และเจริญเติบโต วิสาหกิจชุมชนควรได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะ และ
ความสามารถของสมาชิกภายในกลุ่ม ผ่านหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และให้ความสำคัญกับความพึง
พอใจของสมาชิกในการปฏิบัตงิ าน

5.3 ขอ้ เสนอแนะเพ่ือการวิจยั ในคร้งั ตอ่ ไป
1. ผู้ที่สนใจศึกษาต่อยอดจากการวิจัยครั้งนี้ ควรทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างใหม่ โดยศึกษากลุ่ม

วิสาหกิจชุมชนใหม่ หรือทำการศึกษาโดยแบ่งผู้ประกอบการวิสาหกิจเป็นภูมิภาค รายจังหวัด หรือประเทศ
เพอื่ ผลการวจิ ัยสามารถนำไปใชป้ ระโยชนใ์ หค้ รอบคลมุ กลุ่มผู้ประกอบการวสิ าหกิจชมุ ชนมากขึน้

2. ผู้ที่สนใจศึกษาต่อต่อยอดจากการวิจัยครั้งนี้ ควรนำผลการศึกษาไปใช้เปน็ แนวทางการนำการ
บริหารงานอย่างมีดุลยภาพ (BSC) ไปกำหนดเป็นกลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและนำไปใช้ รวมถึง
สามารถนำผลการศึกษาไปใช้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานและเป็นประโยชน์ทางการศึกษาแก่ผู้สนใจต้องการศึกษา
และในการทำวิจัยในอนาคต

เอกสารอา้ งอิง

กรกฎ สระคพู นั ธ์ และศภุ วัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2561). การศึกษาการบริหารจดั การวสิ าหกจิ ชมุ ชนกลุม่ แปรรูป
จากขา้ วหอมมะลิ : กรณศี กึ ษาจงั หวดั รอ้ ยเอ็ด. วารสารบณั ฑติ ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภฎั สกลนคร,
16 (74), 14.

จักรพงษ์ นวลชื่น. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษากรณี
วสิ าหกิจชุมชนในจังหวดั นครพนมและจังหวดั สกลนคร. กรุงเทพฯ : วิทยาลยั ปอ้ งกันราชอาณาจักร.

ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ อารี วิบูลย์พงศ์ นันธมน ธีระกุล ประทานทิพย์ กระมล และพิมพิมล แก้วมณี. (2547).
การปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมหัตถกรรมพื้นบ้านในภาคเหนือตอนบน. เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัย
เพื่อเพ่มิ ผลผลติ ทางเกษตร คณะเกษตรศาสตรแ์ ละคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลยั เชยี งใหม.่

ภัทรธดิ า วัฒนาพรรณกิตติ. (2559). ปัจจยั ที่มผี ลต่อความสำเร็จของวิสาหกจิ ชมุ ชนระดับ 5 ดาว จังหวัด
ลำปาง. วารสารการวจิ ยั กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10 (2), 1-16.

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม. (2563). ข้อมูลกลุ่มอาชีพ/วิสาหกิจชุมชน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ1
กรกฎาคม 2563 จาก http://webhost.cpd.go.th/samutsongkram/data_3.html

226 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบบั ท่ี 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขานกุ าร คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชมุ ชน. (2548). พระราชบัญญัตสิ ่งเสริมวสิ าหกิจชุมชน
พ.ศ.2548. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสรมิ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม. (2562) สรุปผลการ
ดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพฒั นาวิสาหกจิ ชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร

Kaplan, R. S. and Norton D. P. (1996a). The Balanced Scorecard: Translating
Strategies into Action. Boston: Harvard Business School Press.

Kaplan, R. S. and Norton D. P.. (1996b). Using the Balanced Scorecard as Strategic
Management System. Boston: Harvard Business School Press.

227 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ปัจจยั ในการทำงานทีส่ ่งผลตอ่ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ของพนักงานองค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถ่นิ อำเภอคลองหลวง จังหวดั ปทมุ ธานี
Work Factors Affecting Work Efficiency of Local Government Organization

Employees in Khlong Luang District Pathum Thani Province

กรวิกา มีสามเสน1 และกฤษดา เชยี รวัฒนสุข2*
(Kronwaka Meesamsen and Krisada Chienwattanasook)

บทคัดย่อ

การศึกษานีม้ วี ัตถปุ ระสงคเ์ พือ่ ศึกษา 1) ปัจจยั ในการทำงานของพนกั งานองค์กรปกครองส่วนทอ้ งถน่ิ อำเภอ
คลองหลวง จังหวัดปทมุ ธานี และ 2) อิทธิพลของปัจจัยในการทำงาน ที่ส่งผลต่อประสทิ ธิภาพในการปฏิบัติงานของ
พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้
แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ จำนวน
340 คน จากบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งประกอบด้วย
2 เทศบาล และ 5 องค์การบรหิ ารสว่ นตำบล ทำการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
ค่าร้อยละ คา่ เฉล่ยี คา่ เบ่ียงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านความสำเร็จและ
ก้าวหน้าในงาน ด้านสมั พนั ธภาพภายในองคก์ ร และดา้ นสภาพแวดลอ้ มในองค์กรทำงาน โดยภาพรวม มคี วามคดิ เห็น
อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความสำเร็จและก้าวหน้าในงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ
ดา้ นสัมพันธภาพภายในองคก์ ร 2) ปจั จยั ในการทำงาน ด้านสภาพแวดลอ้ มในองค์กร (β = 0.367) และด้านบทบาท
หน้าที่ (β = 0.323) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .01 สามารถอธิบายความผันแปรของประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานภาพรวม ได้ร้อยละ 32.7 และเขียน
สมการได้ดงั น้ี

Y=0.018X1+0.323X2**+0.025X3+0.031X4+0.363X5**

คำสำคญั : ปจั จัยในการทำงาน ประสิทธภิ าพในการปฏบิ ตั ิงาน องคก์ รปกรครองสว่ นทอ้ งถน่ิ

1 หลักสตู รบริหารธุรกจิ มหาบณั ฑติ คณะบริหารธรุ กิจ มหาวิทยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลธญั บุรี 12110
1 Master of Business Administration Program Faculty of Business Administration Rajamangala University of
Technology Thanyaburi 12110
2 สาขาวชิ าการจัดการ คณะบรหิ ารธุรกิจ มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 12110
2 Management disciplines Faculty of Business Administration Rajamangala University of Technology
Thanyaburi 12110
Corresponding author: [email protected]

228 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ABSTRACT

The objectives of this study are to 1) study the working conditions of local government
organization employees. Khlong Luang District Pathumthani Province and 2) study the influence of
working factors. That affects the efficiency of the work of the employees of the local administrative
organization in Khlong Luang District Pathumthani Province it is quantitative research. The
questionnaire was used as a tool for data collection. The sample group was determined according
to the formula of 340 Taro Yamane from the personnel of the Klong Luang District Local
Administrative Organization. Pathumthani Province number 2 municipalities 5 sub-district
administrative organizations with convenient sampling methods The statistics used for data analysis
were percentage, mean, standard deviation, and Multiple Regression Analysis.

The results of the research were as follows: 1) The working factors consisted of job
characteristics. role Success and progress in the work Relationships within the organization and the
environment in the organization as a whole, there was a high level of opinion. The area with the
highest average is the success and progress of the job. And the aspect that had the lowest average
was internal relationships. 2) The factors of work That affect the efficiency of the work of the
employees of the local administrative organization in Khlong Luang District Pathumthani Province as
a whole, including the environment in the organization (β = 0.367) and roles (β = 0.367) with
statistical significance at the .01 level, Able to explain the fluctuation of the overall operational
efficiency of 32.7 percent and write the equation as follows

Y=0.018X1+0.323X2**+0.025X3+0.031X4+0.363X5**

Keywords: Work Factors, Work Efficiency, Local Government

Article history: Received 20 February 2021
Revised 10 March 2021
Accepted 15 March 2021
SIMILARITY INDEX = 4.05 %

229 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1. บทนำ

การทำงานในองค์การภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือภาคเอกชน การตระหนักถึงการปรับเปลี่ยน
กระบวนการหรือวิธีการทำงานเพ่ือให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสทิ ธิผล ผู้บริหารควรคำนึงถึงกลยทุ ธ์
ในการสร้างความสำเร็จในการทำงาน เทคนิคการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนการสร้าง
บรรยากาศใหพ้ นกั งานทำงานให้มคี วามสุข สำหรบั การทำงานไม่วา่ จะเปน็ งานประเภทใด ตำแหนง่ งานใด หรือ
มีหนา้ ท่ีรบั ผิดชอบอะไร พนักงานต้องมีความสุขในการทำงาน ถงึ แมว้ ่าบางคร้ังอาจจะมีการบ่นเหนื่อย แต่เม่ือ
เขาเห็นผลสำเร็จของการทำงานแล้ว เขาก็จะมองข้ามอุปสรรคเหล่านั้นไปได้ ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพต่อ
องค์การ

ประสิทธิภาพในการทำงานในองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการนำองค์การไปสู่การบรรลุผลความสำเร็จ
ของการดำเนินงาน องค์การจะมีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจทั้งในด้านการผลิต การบริการ มีความเจริญก้าวหน้า
และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและบุคลากรองค์การ ซึ่งองค์ประกอบการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานท่ี
สำคัญ ได้แก่ (1) สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร คือ สภาพเศรษฐกิจของสังคมและ ความเปลี่ยนแปลงของสงั คม
(2) สิ่งแวดล้อมภายในองค์กร คือ นโยบาย วิสัยทัศน์ และปรัชญาขององค์กรที่กำหนดทิศทางการดำเนินงาน
วัฒนธรรมองค์กร และการจัดบรรยากาศการทำงานที่ส่งเสริมการทำงานของบุคลากร (3) ปัจจัยขององค์การ
คือ สภาพความพร้อมขององค์กรในด้านที่ดิน อาคารสถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ เงินทุน เทคโนโลยี
และศักยภาพของบุคคล (4) กระบวนการที่สำคัญขององค์การ คือ การดำเนินงานทั้งหมดที่จะทำให้เกิด การ
ผลิต และการบริการที่น่าพอใจ ขอบข่ายของกระบวนการขององค์การที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของ
องค์กร ไดแ้ ก่ การจัดโครงสรา้ งงานขององค์การ การวางแผน การจัดองค์กรในดา้ นบุคลากร การสร้างแรงจูงใจ
ในการทำงาน การควบคุมคุณภาพการทำงาน และการพัฒนาองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (จิตติมา อัครธิติ
พงศ์, 2556) ดังนั้น การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน ถือเป็นการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมความสามารถ และ
ทักษะในการทำงานของตนเองหรือผู้อื่นใหด้ ีขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งการที่บุคลากรในองค์กร
จะทำงานได้มีประสิทธิภาพ สูงหรือต่ำ เป็นผลมาจากความพึงพอใจในการทำงานของแต่ละคนซึ่งสามารถ
ตรวจวดั ได้จาก (1) คณุ ภาพของงาน (Quality) จะตอ้ งมีคณุ ภาพสูง คอื ผู้ผลิตและผใู้ ช้ไดป้ ระโยชน์คุม้ คา่ และมี
ความพึงพอใจ (2) ปริมาณ (Quality) งานที่เกิดขึ้นต้องเป็นไปตามความคาดหวังของหน่วยงาน (3) เวลา
(Time) คอื เวลาท่ใี ช้ในการดำเนินงานต้องถูกต้อง เหมาะสมกบั หลักการและทันสมยั (4) ค่าใช้จ่าย (Cost) ใน
การดำเนินการทั้งหมดจะต้องเหมาะสมกับงานและวิธีการ คือ จะต้องลงทุนน้อยและได้ผลกำไรมากที่สุด
Peterson and Plowman (1989: p.325 อา้ งถงึ ใน อุทสั น์ วรี ะศักด์กิ ารุณย์, 2556)

สำหรับองคก์ รปกครองส่วนท้องถิน่ มีบทบาทสำคัญในการบรหิ ารจดั การตามภารกิจและอำนาจหน้าที่
จัดบริการสาธารณะตามมาตรฐานอันจะส่งผลให้ประชาชนในพ้ืนที่ได้รับบริการสาธารณะที่ดีและมีส่วนร่วมใน
การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทง้ั น้ี คุณภาพชีวติ ความเป็นอยู่ของประชาชนและสภาพบริบท
ในพื้นที่ สามารถเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารงานของท้องถิ่น ได้ว่าการบริหารองค์การประสบ
ความสำเร็จหรือไม่เพียงใด และยังเป็นปัจจัยบ่งชี้ถึงความสำเร็จของผู้นำที่แสดงถึงความสามารถ ศักยภาพ

230 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ภาวะผู้นำและความรบั ผดิ ชอบในการบริหารองคก์ าร โดยการกำหนดโครงสรา้ ง อำนาจหน้าทใี่ หม้ คี วามชัดเจน
และสอดคล้องกันในระดับนโยบาย และการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อลดความขัดแย้งในการปฏิบัติ
ภายในองคก์ าร และเกิดผลการปฏบิ ตั ิงานท่มี ีประสิทธิภาพ

ปัจจัยในการทำงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย การ
ดำเนินงานขององค์การย่อมขึ้นอยู่กบั ประสิทธภิ าพของบุคลากรผูป้ ฏิบัตงิ านในองค์การนั้น ซง่ึ หมายถึง คน ถือ
เป็นฟันเฟืองสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลว ถ้าองค์การมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งทำให้การ
ดำเนินงานขององค์การประสบผลสำเร็จ ดังนั้น ผู้บริหารต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้มีพฤติกรรมการ
ปฏบิ ตั งิ านไปในทศิ ทางเดียวกัน มกี ารดำเนนิ งานท่ีสอดคล้องกบั วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การ ทำให้คนใน
องคกรมีความผูกพันซึ่งกันและกัน มีทัศนคติ อุดมการณและคานิยมรวมกัน องค์การก็จะได้รับประโยชน์จาก
บุคลากรในดา้ นคุณภาพของผลการปฏิบตั งิ านและสามารถพฒั นาองค์การดว้ ย ซง่ึ พนกั งานองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประสบกับปัจจัยที่ทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานมี
ประสทิ ธภิ าพลดลง เนือ่ งจาก การปรับเปลยี่ นผบู้ รหิ าร ความขดั แย้งภายในองค์การเดยี วกนั สภาพแวดล้อมไม่
เหมาะสม ไดร้ ับมอบหมายมากเกนิ ไป ขาดโอกาสก้าวหนา้ ในตำแหน่งงาน การตงั้ กฎเกณฑเ์ ครง่ ครดั การจัดทำ
เอกสารไมถ่ กู ตอ้ งตามระเบียบงานสารบรรณ การประสานงานมคี วามลา่ ช้า ปฏิบัตงิ านผิดพลาด การตดิ ตามผล
การดำเนินงานไม่สามารถติดตามได้ เป็นต้น ซ่งึ สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถึงปัญหาหรืออปุ สรรคทีจ่ ะเกิดข้ึนในการทำงาน
จึงทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจทำการศึกษาวิจัยในเรื่องปัจจัยในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยมาเป็นแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขปัญห าการ
ปฏิบตั งิ านของพนกั งานองคก์ รปกครองสว่ นท้องถนิ่ อนั จะนำไปสกู่ ารปฏบิ ตั งิ านทม่ี ีประสิทธภิ าพยงิ่ ข้ึน

วัตถุประสงค์ของการวิจยั
1. ศึกษาปัจจัยในการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอคลองหลวง จังหวัด

ปทมุ ธานี
2. ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยในการทำงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน

องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถ่นิ อำเภอคลองหลวง จงั หวดั ปทมุ ธานี

สมมติฐานการวิจยั
ปัจจัยในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านความสำเร็จและก้าวหน้าในงาน ด้าน

สัมพันธภาพภายในองค์กร ด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน
องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ อำเภอคลองหลวง จงั หวดั ปทมุ ธานี

231 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2. เอกสารและงานวิจยั ทเี่ กย่ี วข้อง

แนวคดิ เก่ียวกบั ปจั จัยในการทำงาน
ปัจจัยในการทำงาน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานโดยตรง เป็นเหตุจูงใจให้พนักงานในองค์กร
เกิดความชื่นชม ยินดีในผลสำเร็จตนเอง หรืออาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความกดดันหรือข้อบกพร่องในการ
ปฏิบัติงาน ได้แก่ (1) ด้านลักษณะงาน ลักษณะงานที่รับผิดชอบมีความท้าทายความสามารถ ขั้นตอนการ
ปฏิบัตงิ านมีความซับซ้อน (2) ด้านบทบาทหน้าท่ี การไดร้ บั แต่งต้ังเป็นคณะกรรมการฯ ท่ีสำคญั ในการดำเนินงาน
โครงการที่เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะหรือการสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ หรือได้รับมอบหมาย
หน้าที่ให้ปฏิบัติงานหลายอย่างพร้อมกัน (3) ด้านความสำเร็จและก้าวหน้าในงาน มีโอกาสได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
หรือได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น ได้รับโบนัสประจำปี และงานที่ปฏิบัติสามารถนำมาพัฒนาความรู้ตนเองได้มากขึ้น
(4) ด้านสัมพันธภาพภายในองค์กร เมื่อมีปัญหาไม่รับการช่วยเหลือจากคนอื่น ปัญหาการแก่งแย่งความดี
ความชอบระหว่างเพื่อนร่วมงาน (5) ด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร สถานที่ทำงานมีความคับแคบทรุดโทรม
จำนวนบุคลากรในหน่วยงานไม่เพียงพอต่อปริมาณงานของแต่ละตำแหน่ง Herzberg (1959: 113-115 อ้างถึงใน
อสิ รยิ า รัฐกิจวิจารย์ ณ นคร, 2557: 4)
อัครเดช ไม้จันทร์ และนุจรีย์ แซ่จิว (2561) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการ
ปฏิบตั งิ านของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมตดิ ต้ังเคร่ืองจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา ผลการวิจยั พบว่า ผลการ
หาความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งปัจจัยในการทำงานกับประสิทธิภาพในการปฏบิ ัติงานทั้ง 5 ดา้ น ได้แก่ ความรู้และความ
เข้าใจในงานท่ีทำ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสมั พันธ์กับบุคลในท่ีทำงาน ความมนั่ คงก้าวหน้าในงาน และ
ขวัญและกำลังในการทำงาน มีความสัมพนั ธ์กบั ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไดร้ ้อยละ 5.4
สุภาภรณ์ วงศ์กรเชาวลิต (2560) ทำการศึกษาวจิ ัยเรื่อง ปจั จยั ท่ีส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ
จิตอาสาในองค์การไม่แสวงหาผลกำไร กรณีศึกษา มูลนิธิแสงธรรม ส่องหล้า กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของจิตอาสา ได้แก่ ลักษณะขององค์การ ลักษณะสภาพแวดล้อมของ
องค์การ ลักษณะบุคคลภายในองค์การ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน มีประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงาน
จากความสามารถในการผลติ ประสทิ ธิภาพ และความพงึ พอใจในงาน
กรัญญา สกุลรักษ์ (2561) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ปัจจัยด้าน
ความสามารถ และปัจจัยด้านความสำเร็จ ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ใน
กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ มีผลต่อพนักงานที่ทำงานใน
ธนาคารพาณิชย์ โดยบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบมีผลต่อพนักงานที่ทำงานในธนาคารพาณิชย์ ร้อยละ 25.30
ปัจจัยเกี่ยวกับความสามารถมีผลต่อการทำงานของพนักงานที่ทำงานในธนาคารพาณิชย์ โดยปัจจัยเกี่ยวกับ
ความสามารถมีผลต่อการทำงานของพนักงานที่ทำงานในธนาคารพาณิชย์ ร้อยละ 36.80 และปัจจัยเกี่ยวกับ
ความสำเรจ็ มผี ลต่อการทำงานของพนักงานทท่ี ำงานในธนาคารพาณิชย์ โดยปจั จัยเกย่ี วกบั ความสำเร็จมีผลต่อการ
ทำงานของพนักงานที่ทำงานในธนาคารพาณชิ ย์ ร้อยละ 56.80

232 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021


Click to View FlipBook Version