The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mbakru1, 2022-06-29 14:17:53

วารสารวิทยาการจัดการปีที่8ฉบับที่2

Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University

Keywords: วารสารวิทยาการจัดการ

ได้รับการประเมินเป็นได้แก่ นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Mean = 4.45) ส่วนลำดับสุดท้ายได้แก่ นวัตกรรม
ด้านผลิตภัณฑ์ (Mean = 4.17) คุณภาพของระบบสารสนเทศ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.30)
โดยลำดับแรกทีไ่ ด้รับการประเมินเป็นได้แก่ คุณภาพของสารสนเทศ (Mean = 4.36) ส่วนลำดับสุดท้ายไดแ้ ก่
คุณภาพบริการ (Mean = 4.26) ผลการดำเนินงานขององค์การ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.34)
โดยลำดับแรกที่ได้รับการประเมินเป็นได้แก่ ด้านการเงิน และ ด้านกระบวนการภายใน (Mean = 4.39) ส่วน
ลำดับสดุ ท้ายได้แก่ ด้านการเรียนรแู้ ละการเติบโต (Mean = 4.26)

แผนภาพที่ 2 ผลกระทบเชิงสาเหตุของความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการ

ดำเนนิ งานของบริษัทผปู้ ระกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดจิ ิทัล: การศึกษาตวั แปรค่ันกลาง

ดา้ นนวัตกรรมผลติ ภณั ฑ์ กระบวนการ และการตลาด โมเดลกอ่ นปรับ

ตารางที่ 3 การพสิ จู นค์ วามสอดคลอ้ งกบั ข้อมลู ในเชงิ ประจกั ษ์

ค่า เกณฑ์ ค่าก่อน ผลการ คา่ หลงั ปรับ ผลการ

ปรับ พจิ ารณา พจิ ารณา

χ2 ไม่มีนัยสำคญั 0.000 × 0.048 √

χ2/df น้อยกว่า 2 5.520 × 1.956 √

RMSEA นอ้ ยกวา่ .05 0.095 × 0.048 √

NFI 0.9 ขึ้นไป 0.98 √ 0.98 √

CFI 0.9 ขึน้ ไป 0.99 √ 0.98 √

GFI 0.9 ข้ึนไป 0.92 √ 0.95 √

AGFI 0.9 ขึ้นไป 0.88 × 0.93 √

หมายเหตุ: √ หมายถงึ ผ่านเกณฑผ์ ลการทดสอบดชั นที ี่ใชใ้ นการตรวจสอบความสอดคล้องและความกลมกลืน

ของตวั แบบกับขอ้ มูลเชงิ ประจักษ์

433 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลจากการวิเคราะห์ดัชนีที่ใช้ในการตรวจสอบความสอดคล้องและความกลมกลืนของตัวแบบกับ
ข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบครั้งใหม่ ผลการประเมินความกลมกลืนของตัวแบบพบว่า χ2 =
283.55, df = 145, χ2/df = 1.956, RMSEA = 0.048, NFI = 0.98, CFI = 0.98, GFI =0.95, AGFI = 0.93
จากดัชนีดังกล่าวแสดงว่าตัวแบบใหม่นั้นมีความสอดคล้องในเชิงประจักษ์ที่ดีกว่าเพราะมีความสอดคล้องกับ
ข้อมูลเชิงประจักษ์เพียงพอ ผลการวิเคราะห์สามารถอธิบายจากตัวแปรแฝงภายใน ไปยังตัวแปรสังเกตได้
ภายใน และจากตวั แปรแฝงภายนอก ไปยังตัวแปรสังเกตได้ภายนอก

แผนภาพที่ 3 ผลกระทบเชิงสาเหตุของความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการ
ดำเนนิ งานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทลั : การศึกษาตัวแปรค่ันกลาง
ด้านนวัตกรรมผลติ ภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาด โมเดลหลงั ปรบั

434 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางท่ี 4 ผลการวิเคราะหเ์ สน้ ทาง

นวัตกรรมดา้ น นวตั กรรมดา้ น นวตั กรรมดา้ น ผลการดำเนนิ งาน
ผลติ ภณั ฑ์ กระบวนการ การตลาด
ของบริษัท (FB)
(POD) (POC) (MK) R2 = 0.70
R2 = 0.80 R2 = 0.87 R2 = 0.82
DE IE TE
DE IE TE DE IE TE DE IE TE
0.42 0.31 0.73
ความสามารถเชงิ พลวัต (DC) EP 0.85 - 0.85 0.74 - 0.74 0.86 - 0.86 0.08 0.06 0.04
0.08 17.3 18.2 22.2
SE 0.08 0.08 0.03 0.03 0.08 21.1 0.15 0.05 0.20
0.09 0.05 0.10 0.08
t 20.2 20.2 22.4 22.4 21.1 0.07 7.8 1.42 18.1
1.83 0.43 - 0.43
คุณภาพของระบบสารสนเทศ EP 0.06 - 0.06 0.25 - 0.25 0.09 - 0.16 0.16
23.7 23.7
(ISQ) SE 0.17 0.17 0.04 0.04 0.07 0.13 - 0.13
0.11 0.11
t 1.40 1.40 10.13 10.13 1.83 16.1 16.1
0.07 - 0.07
นวัตกรรมดา้ นผลิตภัณฑ์ EP 0.23 0.23
1.80 1.80
(POD) SE

t

นวตั กรรมดา้ นกระบวนการ EP

(POC) SE

t

นวตั กรรมดา้ นการตลาด EP

(MK) SE

t

ค่าท่นี ำเสนอ EP = Estimation Parameter, SE = Standard Error,t-value

DE=Direct Effect / IE = Indirect Effect/ TE = Total Effect
คา่ ทข่ี ีดเส้น คอื มีอทิ ธิพลอย่างมนี ัยสำคัญทางสถิติ

ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของบริษัทของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อมในยคุ ดจิ ิทลั เกิดจากอทิ ธพิ ลรวมของ ความสามารถเชงิ พลวัติ (TE=0.73) คุณสมบัติของระบบสารสนเทศ
(TE=0.20) นวตั กรรมด้านผลติ ภัณฑ์ (TE=0.430) และนวัตกรรมดา้ นกระบวนการ (TE=0.13) อย่างมีนยั สำคัญ
ทางสถิติ มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 70.00 แต่นวัตกรรมด้านการตลาดไม่มีผลต่อผลการดำเนินงานของ
บริษัทของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล ในขณะที่เมื่อพิจารณาตัวแปร
คัน่ กลางจะพบวา่

1) นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ เกิดจากอิทธิพลรวมของ ความสามารถเชิงพลวัต (TE=0.85) อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 80.00 แต่คุณภาพของระบบสารสนเทศ ไม่มีผลอย่างมี
นัยสำคญั

435 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2) นวัตกรรมด้านกระบวนการ เกิดจากอิทธิพลรวมของ ความสามารถเชิงพลวัต (TE=0.74) และ
คุณภาพของระบบสารสนเทศ (TE=0.25) อยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถติ ิ มีคา่ อำนาจการพยากรณ์รอ้ ยละ 87.00

3) นวัตกรรมด้านการตลาด เกิดจากอิทธิพลรวมของ ความสามารถเชิงพลวัต (TE=0.86) อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 82.00 แต่คุณภาพของระบบสารสนเทศ ไม่มีผลอย่างมี
นัยสำคัญ

ผลการวิเคราะห์สรุปไดว้ ่า
1. อิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัตมีต่อผลการดำเนนิ งานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาด

กลางและขนาดย่อมในยคุ ดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.42 ทางและอิทธิพล
รวมเทา่ กบั 0.73

2. อทิ ธิพลของความสามารถเชิงพลวัต มีต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดของ
บริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าอิทธิพลรวม
เท่ากบั 0.85 0.74 และ 0.86 ตามลำดบั

3. อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศมีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.15 และ
อิทธพิ ลรวมเทา่ กบั 0.20

4. อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศมีต่อนวัตกรรมด้านกระบวนการ ของบริษัท
ผปู้ ระกอบการวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถิติ ค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ
0.25 แต่ อิทธิพลของคณุ ภาพของระบบสารสนเทศจะไม่มตี ่อนวัตกรรมด้าน ผลติ ภณั ฑแ์ ละการตลาด

5. อิทธิพลของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัท
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าอิทธิพลรวมได้แก่
0.43 และ 0.13 ส่วน อิทธิพลของนวัตกรรมด้านการตลาดไม่มีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัท
ผปู้ ระกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มในยคุ ดิจิทลั

6. อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดระหว่าง
ความสามารถเชงิ พลวัตตอ่ ผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุค
ดิจิทัลมีผลอย่างมีนัยสำคัญค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.31 แต่ อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์
กระบวนการ และการตลาดระหว่างคุณภาพสารสนเทศ ต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการ
วิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ มในยคุ ดิจิทลั พบวา่ ไม่มีผลอยา่ งมีนัยสำคญั คา่ อทิ ธพิ ลเทา่ กบั 0.05

436 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

5. สรปุ อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ

5.1. สรุปและอภิปรายผล
1. อิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัตมีต่อผลการดำเนินงานของบริษทั ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้เพราะ ความสามารถเชิงพลวัตจะช่วยองค์การ
ในการสรา้ งสรรค์ ขยายหรือเปล่ยี นแปลงทรัพยากรขององค์การโดยการใชป้ ระโยชนจ์ ากทรัพยากรท่ีมีอยู่อย่าง
มีระบบเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและทำให้ผลการดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพ
(Krasnikov and Jayachandran, 2008) ทั้งนี้ผลการวิจัยดังกล่าวจะสอดคล้องกับงานวิจัยของ Rehman
and Saeed (2015) Zhou, Zhou, Feng, and Jiang (2019) Saenchaiyathon and Liengjindathaworn
(2019) Chien and Tsai (2012) ที่ให้ข้อสรุปที่เป็นเอกภาพเดียวกันไว้ว่า ความสามารถเชิงพลวัตมีอิทธิพล
ต่อผลการดำเนนิ งานขององคก์ ารผา่ นนวตั กรรมอย่างมนี ยั สำคัญทางสถิติ
2. อทิ ธพิ ลของความสามารถเชงิ พลวัต มีต่อนวัตกรรมดา้ นผลติ ภณั ฑ์ กระบวนการ และการตลาดของ
บริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังที่
Tangpinyoputtikhun (2009) เสนอว่า อิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัต มีต่อนวัตกรรมทั้งในแง่ของตัว
บุคคล และกระบวนการภายใน กล่าวคือ 1) ความสามารถในระดับ บุคคลในองค์การ ซึ่งเป็นคณุ ลักษณะหลัก
ของความสามารถเชิงพลวัต ได้แก่ความสามารถใน การปรับตัว ความสามารถในการดูดซับและความสามารถ
ด้านนวัตกรรม และ 2) คุณลักษณะด้าน กระบวนการภายในองค์การซึ่งเปน็ คุณลกั ษณะที่จะมาช่วยสนับสนนุ
ความสามารถในระดับบุคคล ในการสร้างความสามารถเชิงพลวัตให้กับองค์การ ทั้งนี้ผลการวิจัยดังกล่าวจะ
สอดคล้องกับงานวิจัยของ พีรยสถ์ อยู่ประพัฒน์ และ ตรีเนตร ตันตระกูล. (2563) ที่พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพล
ตอ่ การพัฒนานวตั กรรมเทคโนโลยีเพือ่ ส่งเสรมิ ความสามารถในการแข่งขนั ของผปู้ ระกอบการอตุ สาหกรรมผลิต
ช้ินส่วนยานยนต์ในประเทศไทยได้แก่ ความสามารถเชงิ พลวัต ในขณะท่ี พรสวัสด์ิ มงคลชัยอรัญญา และคณะ
(2557) ไดเ้ สนอวา่ ความสามารถเชิงพลวัต ความสามารถเชิงปฏิบตั ิการทม่ี ผี ลต่อความสามารถทางการแข่งขัน
ของ ธุรกิจส่งออกอาหารในประเทศไทย เกิดจาก 1) ความสามารถด้านนวัตกรรม 2) ความสามารถ
ผู้ประกอบการ และ 3) ความสามารถด้านการตลาด ทั้งนี้ Heaton, Linden, and Teece, (2014) ทำวิจัย
เรื่อง นวัตกรรมรูปแบบธุรกิจและการออกแบบองค์การ: มุมมองความสามารถแบบพลวัต งานวิจัยเสนอถึง
ความสามารถแบบพลวัตถูกจารึกไว้อย่างลกึ ซง้ึ ดว้ ยนวตั กรรมรูปแบบธรุ กจิ และการนําไปใช้ ความสามารถแบบ
พลวัตอย่ใู นการเรยี นร้แู ละวฒั นธรรมโดยรวมขององคก์ าร
3. อิทธพิ ลของคณุ ภาพของระบบสารสนเทศมตี ่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลดังกล่าวจะสอดคล้องกับงานวิจัยของ
Novi, Zaki, and Bambang (2017) ท่ี ไดท้ ำการศึกษาเกย่ี วกับ อทิ ธพิ ลของคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อ
ผลการดำเนินงานขององค์การ ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์การ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ในงานของ Kaplan, Kaplan, Norton, Davenport, and Norton

437 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

(2004) ยังให้การสนบั สนุนที่ว่า มุมมองทางด้านกระบวนการ และ มุมมองทางด้านการเรียนรู้และการเตบิ โต
ตอ้ งอาศัยผลของการพฒั นาระบบสารสนเทศในองค์การ

4. อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศมีต่อนวัตกรรมด้านกระบวนการ ของบริษัท
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าอิทธิพลรวม แต่
อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศจะไม่มีต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และการตลาด สอดคล้องกับ ใน
งานของ Kaplan, Kaplan, Norton, Davenport, and Norton (2004) ที่เสนอว่า คุณภาพของระบบ
สารสนเทศ จะมีผลต่อมุมมองทางด้านกระบวนการ และ มุมมองทางด้านการเรียนรู้และการเติบโต แต่ในแง่
ของ มุมมองทางด้านการเงิน และมุมมองทางด้านลูกค้า กลับไม่มีการกล่าวถึง แต่ผลวิจัยดังกล่าวบางส่วนจะ
ขดั แยง้ กับ Abualloush, Bataineh, and Aladwan (2017) ซ่ึงไดท้ ำการศึกษาเกี่ยวกบั ผลกระทบของระบบ
สารสนเทศต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ โดยศึกษา Housing Bank ใน Jordon ผลการวิจัย
พบว่า ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัย
ของ Novi, Zaki, and Bambang (2017) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศ
ต่อผลการดำเนินงานขององค์การ: การปรับเปลี่ยนของการยอมรับระบบสารสนเทศที่ใช้เทคโนโลยีและ
แบบจำลองความสำเรจ็ โดยผลงานวจิ ยั ไดส้ รปุ ว่า ระบบสารสนเทศมีอิทธิพลตอ่ ผลการดำเนินงานขององค์การ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอ้อมผ่านการรับรู้ประโยชน์ ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และการใช้งานระบบที่
เปน็ ตวั แปรในการสง่ ผา่ นไปยงั ผลการดำเนนิ งานขององค์การ

5. อิทธิพลของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัท
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยจะ
สอดคล้องกบั Lin et al. (2015) ทไ่ี ดท้ ำการศกึ ษา 264 กจิ การในประเทศจนี ซง่ึ เกิดการเปลีย่ นแปลงทาง ด้าน
นวัตกรรมทางการแข่งขันอยา่ งรวดเร็วทำให้ความสามารถเชงิ พลวตั มคี วามสำคัญเปน็ อยา่ งมาก โดยนวัตกรรม
ที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวขององค์การให้ทันต่อสภาวะแวดล้อม
ดังกลา่ วอยา่ งไรก็ตามการพึ่งพาความรู้จากภายในองค์การเพยี งอย่างเดยี วเพ่ือนำมาผลติ สนิ ค้าและบริการอาจ
ไม่เพียงพออีกต่อไป ดังเห็นได้จากวิวฒั นาการของกระบวนการสร้างนวตั กรรม ที่ต้องอาศัยความรู้และแนวคดิ
ต่างๆ จากภายนอกมากขึ้น เพื่อที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาให้กับองค์การ และการที่จะนำเอาองค์ความรู้จาก
ภายนอกมาได้นั้น องค์การจะต้องมีคุณลักษณะของความสามารถในการดูดซับ ซึ่งเป็นความรู้ความสามารถ
พืน้ ฐานท่ีองคก์ ารมีอย่ใู นการท่จี ะเสาะหาและ เห็นคุณค่าในการนำองคค์ วามรู้ใหม่ที่อยู่ภายนอก มาประยกุ ต์ใช้
กับองค์การเพื่อสร้างโอกาส ในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด หรือช่วยให้ประสิทธิภาพในการพัฒนา
สินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด หรือช่วยให้ประสิทธิภาพ ในการทำงานขององค์การสูงขึ้น ทั้งนี้ Schaltegger,
Lüdeke-Freund, and Hansen (2012) เสนอว่า นวัตกรรมรูปแบบธุรกิจอาจจะตอ้ งสนับสนุนการสร้างกรณี
ธุรกิจอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน กรอบสำหรับนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจถู กเสนอเป็นวิธีการ
สร้างกลยุทธ์กรณีธุรกิจเป็นประจำเป็นองค์ประกอบโดยธรรมชาติและบูรณาการอย่างลึกซึ้งของกิจกรรมทาง
ธุรกิจ Visser (2017) เสนอว่า การปฏิบัติสำหรับธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อความสามารถและประสิทธิผล ต้อง

438 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ขับเคลื่อนบนพื้นฐานของการใช้นวัตกรรมและการแก้ปัญหา งานวิจัยของ Saunila (2014) ได้ศึกษา
ความสามารถด้านนวัตกรรมสําหรับธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง ที่ประสบความความสําเร็จ ผ่านมุมมอง
ผลการปฏิบัติงานด้านการเงินและการดำเนินการ ทั้งนี้ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านนวัตกรรมและผล
การปฏบิ ตั ิงานด้านการดําเนนิ การมีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสําคญั

6.อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดระหว่าง
ความสามารถเชิงพลวัตต่อผลการดำเนนิ งานของบริษัทผู้ประกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุค
ดิจิทัลมผี ลอยา่ งมนี ัยสำคัญค่าอิทธิพลเท่ากับ ทงั้ นเ้ี พราะ ความสามารถเชิงพลวัต เป็นจดุ เร่ิมต้นในการผลักดัน
นวัตกรรม ดังที่ Tuominen, Rajala and Moller (2004) ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถทาง
นวัตกรรมในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การปรับกลยุทธ์ ซึ่งประกอบด้วยระบบเทคโนโลยี การให้
ความสําคัญตลาด และการออกแบบองค์การ โดยศึกษาว่า มิติใดที่มีความสําคัญมากที่สุดต่อการปรับตัวของ
โครงสร้าง ความสามารถทางนวัตกรรมของบริษัทมีผลต่อการปรับตัวอย่างไร ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ระบุว่า
ความสามารถเชิงพลวัต เป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันนวัตกรรม เช่นเดียวกับ Lee and Tsai (2005) ได้ศึกษา
เกีย่ วกบั ผลกระทบของรูปแบบการปฏิบัตงิ านของธุรกจิ ท่ีมี ผลต่อการมุ่งเน้นตลาด การมงุ่ เนน้ การเรียนรู้ และ
ความสามารถทางนวตั กรรม ได้ข้อสรุปใหเ้ ห็นถึงความสำคัญของ ความสามาถเชิงพลวัตเช่นกนั
ในขณะที่ อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดระหว่างคุณภาพ
สารสนเทศ ตอ่ ผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดจิ ทิ ลั พบว่า
ไมม่ ผี ลอยา่ งมนี ยั สำคญั คา่ อทิ ธพิ ลเท่ากับ 0.05 สอดคล้องกับงานวจิ ยั ของ Sirirak, Islam, and Khang (2011)
ที่ได้ศึกษาเรื่องการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อความสามารถเพิ่มผลการปฏิบัติงาน ผลการวิจัย
พบว่า คณุ ภาพของสารสนเทศ อันประกอบไปด้วย1) ความพรอ้ มของอปุ กรณเ์ ทคโนโลยสี ารสนเทศ 2) การบูร
ณาการของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) ความเข้มข้นของการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
สว่ นการวดั ผลการปฏิบัตงิ านใชก้ ารวัด 1) ประสิทธภิ าพการปฏบิ ัติงาน และ 2) ความพงึ พอใจของลูกค้า ทัง้ ผล
ผลการวิเคราะห์เชิงถดถอย (Regression Analysis) ระหว่าง การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศกับผลการ
ปฏิบัติงานของโรงแรมพบว่า การยอมรับเทคโนโลยี สารสนเทศมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญกับ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน แต่การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ กลับไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญต่อ
ความพึงพอใจของลูกค้า หรือกล่าวอกี นัยหน่งึ คือ การทำหน้าท่ี จากอิทธพิ ลคัน่ กลางของตวั แปรดา้ นนวัตกรรม
ผลิตภณั ฑ์ กระบวนการ และการตลาดระหวา่ งคุณภาพสารสนเทศ ไมม่ ผี ลตอ่ ผลการดำเนินงาน

5.2 ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบาย
1.การดำเนินงานของบริษัทของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล
เกิดจากอิทธิพลรวมของ ความสามารถเชิงพลวัตเป็นสำคัญ เพราะส่งผลทั้งอิทธิพลทางตรง และทางอ้อมผ่าน
ตัวแปรนวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาร่วมกับการวิเคราะห์องค์ประกอบจะพบว่า ผู้ประกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล มีจุดเด่นในเรื่อง ความสามารถด้านการปรับตัว ส่วน

439 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักปัจจัยน้อยที่สุดได้แก่ ความสามารถในการดูดซับ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรใช้
ศักยภาพที่เป็นจุดแข็งในเรื่องความสามารถในการพลิกแพลงสถานการณ์ต่าง ๆ และการค้นหาช่องทางทำ
การตลาดใหม่ ๆ มาช่วยเสริม จุดอ่อนในแง่ ความสามารถในการรับรู้คุณค่าของข้อมูลใหม่จากภายนอกของ
องคก์ ารเพ่ือดูดซบั และนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์จากความรู้ภายนอกมายกระดับความรู้เดิม ทัง้ นี้ความสามารถใน
การพลิกแพลงและหาช่องทางการตลาดใหม่ อาจไม่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับองค์การได้ หากขาด
ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลใหม่ เพอื่ ช่วยให้การพลิกแพลงดังกล่าว ตรงความต้องการของลูกค้า และจะทำ
ใหก้ ารทำงานไม่ตอ้ งออกแรงเสยี ไปกบั การลองผดิ ลองถูกมากจนเกินไป

2. การดำเนินงานของบริษัทของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทลั
ยังต้องพึ่งพาคุณสมบัติของระบบสารสนเทศ ด้วยเช่นกัน เมื่อวิเคราะห์ตามค่าน้ำหนักปัจจัย พบว่าค่าน้ำหนัก
ปัจจัยมากที่สุดได้แก่คุณภาพของสารสนเทศ ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักปัจจัยน้อยที่สุดได้แก่ คุณภาพ
บริการสารสนเทศ งานวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า บริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
มจี ุดแข็งในเรอื่ ง การใช้งาน การใช้ประโยชน์ การเข้าใจไดง้ า่ ย มีความชัดเจน มคี วามสมบรู ณ์ แมน่ ยำ เพียงพอ
น่าเชื่อถือ และทันเวลา แต่จุดที่ควรปรับปรุงได้แก่ การดึงพนักงานให้เข้ามามีจำนวนระยะเวลาที่ใช้ในการ
ทำงาน การเขา้ ถงึ ระบบ มีความสม่ำเสมอของการใช้งาน ดงั นั้นผ้ปู ระกอบการจึงควรเรียนรู้ท่ีจะสร้างแรงจูงใจ
ให้พนักงานเข้ามาใช้งานระบบสารสนเทศให้มากขึ้น ยิ่งในภาวการณ์ ภาวะชีวิตวิถีใหม่ ความสำเร็จในการ
ผลักดันให้ทุกคนในองคก์ ารสามารถรู้เทา่ ทัน และใช้งานระบบสารสนเทศอยา่ งเต็มศักยภาพจะชว่ ยผลักดนั ให้
ความสำเรจ็ ในการดำเนินงานของบรษิ ัท มีโอกาสสูงมากยง่ิ ข้นึ

3.ในการวิเคราะห์น้ำหนักปัจจัยของตัวแปรตาม บริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อมในยุคดิจิทัล ยังพบว่าองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักปัจจัยมากที่สุดได้แก่ มิติด้านการเงิน ซึ่งถือเป็นมิติข้ัน
พื้นฐาน ที่หน่วยงานตั้งแต่ในอดีตเน้นปฏิบัติ การการลดลงของต้นทุน การหารายได้ที่เพิ่มขึ้น การ ผลิตผลท่ี
เพิ่มขึ้น เป็นแนวคิดของการประกอบการตั้งแต่ในยุคอดีต และยังคงความสำคัญต่อทุกองค์การ แต่อาจไม่
สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจ ปัญหาสำคัญคือ บริษัท
ผ้ปู ระกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทลั ยงั มีจุดอ่อนใน มิตดิ า้ นการเรยี นรู้และการเติบโต
ซึ่งหมายถึง การพัฒนาองค์การให้เติบโตก้าวหน้า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่ม ความสามารถของ
บุคลากร การลดอัตราการลาออกของบุคลากร และสร้าง ทัศนคติและความพึงพอใจของบุคลากรเป็นสิ่งท่ี
องคก์ ารจำเป็นต้องแกไ้ ขโดยเร่งดว่ น

4. เมื่อพิจารณาถึงตัวแปรคั่นกลางผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ
และการตลาดระหว่างความสามารถเชิงพลวัตต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลมีผลอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในมุม อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรม
ผลิตภณั ฑ์ กระบวนการ และการตลาดระหวา่ งคุณภาพสารสนเทศ กลับไม่มีผล ดังนั้นการปรับกลยุทธ์ในเรือ่ ง
การปรับคุณภาพสารสนเทศให้มีศักยภาพมากขึ้นเพื่อส่งผลไปยังนวัตกรรมจึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับ
ผปู้ ระกอบการในยุคดจิ ิทลั

440 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

5. ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ บริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อมในยุคดิจิทัล มีจุดแข็งในเรื่องการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ให้มีคุณภาพ แต่การพัฒนาและนำเสนอ
ผลติ ภัณฑ์ใหม่เป็นเร่ืองทตี่ ้องปรับปรุง ส่ิงน้ีสะทอ้ นให้เหน็ วา่ การพัฒนาคณุ ภาพของสารสนเทศในการให้ข้อมูล
ในการผลติ สนิ คา้ ทต่ี รงกบั ความทีแ่ ทจ้ ริงของลกู ค้าเปน็ สิง่ ท่ีต้องนำมาทบทวนและพัฒนาเปน็ กลยทุ ธ์ในยคุ ใหม่

6. นวัตกรรมดา้ นกระบวนการ บริษทั ผ้ปู ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มในยุคดจิ ิทัล มี
จุดแข็งในเร่ือง การประยุกต์ใชก้ ระบวนการใหม่ในการผลิต เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีความสามารถสูงใน
การประยุกต์กลวิธีทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นพลวัต แต่สิ่งที่ขาดและต้องปรับปรุงคือ การมุ่ง
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้สูงขึ้นอย่างเป็นระบบ ปัจจัยดังกล่าวทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับ
คู่แขง่ ลดลงได้

7. นวตั กรรมดา้ นการตลาด บริษทั ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทลั มีจดุ
แขง็ ในเรอ่ื ง การนำกลยทุ ธก์ ารตลาดเพ่ือสรา้ งความสมั พันธท์ ย่ี ่ังยืน แตจ่ ุดออ่ นทส่ี ำคัญคอื การม่งุ สร้างการทำ
การตลาดใหม่ ๆ อยเู่ สมอ แม้วา่ การรกั ษาลกู ค้าเก่าจะมีความสำคัญและใช้ต้นทุนทต่ี ่ำกว่าการหาลูกค้าใหม่ แต่
ในยคุ โลกาภิวตั นท์ ล่ี ูกคา้ เร่มิ มชี ่องทางการเลือกท่ีมากขึน้ ความภักดที ีล่ ดลง การไม่พยายามทำการตลาดใหม่ ๆ
อยู่เสมอ ถอื เป็นความสุม่ เสยี่ งตอ่ การจดั การวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดจิ ิทัลเป็นอย่างย่งิ

5.3 ขอ้ เสนอแนะเพ่อื การวจิ ยั ในครง้ั ตอ่ ไป
1. การวิจัยครั้งนี้เน้นเฉพาะในการทำวิจัยเชิงปริมาณผู้ที่สนใจอาจจะต่อยอด โดยทำการวิจัยเชิง
คุณภาพ หรือการทำวจิ ัยเชิงผสม กน็ ่าจะก่อใหเ้ กดิ ความลมุ่ ลึกขององค์ความรทู้ ี่เกยี่ วข้อง และเปน็ ประโยชนต์ ่อ
ผปู้ ระกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มในยุคดิจิทลั
2. งานวิจัยดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การศึกษาในด้านฝั่งอุปทาน หรือผู้ประกอบการเพียงด้านเดียว หากมี
การขยายไปศึกษายงั ฝั่งอปุ สงค์ไดแ้ กล่ ูกค้า กน็ ่าจะได้ผลทม่ี ีความชดั เจนลมุ่ ลกึ มากกวา่ ทเี่ ป็นอยู่
3. ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรคั่นกลางได้แก่ นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และ นวัตกรรมด้านการต ลาด
จากการส่งผ่านของคุณภาพของระบบสารสนเทศ นั้นไม่มีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทของบริษัท
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล ทั้งที่คุณภาพของระบบสารสนเทศนั้นมี
ความสำคัญและอิทธิพลต่อารดำเนินงานของบริษัทของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาด
ย่อมในยุคดิจิทัล ดังนั้นการศึกษาแบบเจาะลึก เพื่อหาเหตุผลดังกล่าวจากการทำวิจัยเชิงคุณภาพจึงมี
ความสำคัญในการศึกษาครัง้ ต่อไป

441 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เอกสารอา้ งองิ

กรธวัตน์ สกลคฤหเดช สุกิจ ขอเชื้อกลาง และลภัสรดา จ่างแก้ว. (2559). ความสามารถเชิงพลวัต ความ
ได้เปรียบทางการแข่งขันและความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของประเทศไทย.
วารสารเกษมบณั ฑิต, 17(2), 225-238.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2562). ความท้าทายจากผลวัตของเทคโนโลยีดิจิทัล.
[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 256 2, จาก https://op.mahidol.ac.th/rm/wp-
content/uploads/2 0 1 9 / 0 4 / Info-Challenges-from-the-dynamics-of-digital-
technology_Apr.pdf

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล.
กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์สามลดา.

กิตติ ภักดีวัฒนกุล และพนิดา พานิชกุล. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. (พิมพ์ครั้งที่ 6).
กรงุ เทพฯ: เคทพี ี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท.์

จารุณี วงศ์ลิมปิยะรัตน์. (2558). การเงินและการบัญชีเพื่อการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:
โรงพมิ พ์มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร.์

พรสวัสดิ์ มงคลชัยอรัญญา สุจินดา เจียมศรีพงษ์ ชาตรีปริดา อนนทสุข และปกรณ์ ประจันบาน. (2557).
ความสามารถเชิงพลวัตที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันธุรกิจส่งออกอาหารในประเทศไทย.
วารสารการจดั การคณะวิทยาการจดั การ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏลำปาง. 7 (2). 164-175.

พิมกาญดา จนั ดาหัวดง และพลอยพรรณ สอนสวุ ิทย์. (2561). ความสามารถเชิงพลวตั การมงุ่ เน้นความเป็น
ผู้ประกอบการและความสามารถทางการแข่งขัน. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย
ระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย ครั้งที่ 4
(น.386-406). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

พีรยสถ์ อยู่ประพัฒน์ และ ตรีเนตร ตันตระกูล. (2563). การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการแข่งขันของ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย.
วารสารวชิ าการสถาบันเทคโนโลยีแหง่ สวุ รรณภูมิ. 6(1), 480-494.

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2560). Digital transformation. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563,
จ า ก https://www.nbtc.go.th/getattachment/News/Information/2 8 9 0 9 / Digital-
Transformation.pdf.aspx

สำนักงานสง่ เสริมวสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563).การจดแจง้ บริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดยอ่ มในประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเม่อื 27 เมษายน 2563, จาก
https://www.sme.go.th/th/?

442 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

สุภาพรรณ วัฒนาอุดมชัย. (2559). SMEs ไทยยุคใหม่กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อก้าวทัน e-Commerce.
กรุงเทพฯ : ธนาคารแหง่ ประเทศไทย.

Abualloush, S., Bataineh, K., & Aladwan, A. S. (2 0 1 7 ) . Impact of information systems on
innovation (product innovation, process innovation)-field study on the housing bank in
Jordon. International Journal of Business Administration, 8(1), 95-105.

Cabral, J. D. O. (2010). Firms' dynamic capabilities, innovative types and sustainability: a
theoretical framework. In Embrapa Agroindústria Tropical-Artigo em anais de
congresso (ALICE). International conference on industrial engineering and operations
management, 1 6 . , 2 0 1 0 , São Carlos. Anais... Rio de Janeiro: Associação Brasileira de
Engenharia de Produção, 2010.

Chien, S. Y., and C. H. Tsai. (2 0 1 2 ) . Dynamic Capability, Knowledge, Learning, and Firm
Performance. Journal of Organization Change Management, 25 (3): 434-444.

Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Eisenhardt, K. M., & Martin, J. A. (2 0 0 0 ) . Dynamic capabilities: what are they? Strategic

management journal, 21(10‐11), 1105-1121.
Garrison, R. H., & Noreen, E. W. (2000). Managerial accounting. New York: McGraw-Hill.
Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). London:

Pearson Education Limited.
Kaplan, R. S., Kaplan, R. E., Norton, D. P., Davenport, T. H., & Norton, D. P. (2 0 0 4 ) . Strategy

maps: Converting intangible assets into tangible outcomes. Harvard Business Press.
Krasnikov, A., & Jayachandran, S. (2 0 0 8 ) . The relative impact of marketing, research-and-

development, and operations capabilities on firm performance. Journal of marketing,
72(4), 1-11.
Lee, T-S. and Tsai, H-J. (2005). The effects of business operation mode on market orientation,
learning orientation and innovativeness. Industrial Management & Data Systems,
105(3), 325-348.
Lin, H., Su, J., & Higgins, A. (2015). How dynamic capabilities affect adoption of management
innovation. Retrieved July 2 3 , 2 0 2 0 , from http://www. sciencedirect.com/
science/article/pii/S0148296315002878

443 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Novi, T., Zaki, B., & Bambang, H. (2 0 1 7 ) . The influence of information system quality on the
organization performance: A modification of technology-based information system
acceptance and success model. Russian Journal of Agricultural and Socio-Economic
Sciences, 72(12).1-14.

Poels, G., & Cherfi, S. S. S. (2 0 0 6 , November). Information quality, system quality and
information system effectiveness: introduction to QoIS’0 6 . In International
Conference on Conceptual Modeling (325-328). Springer, Berlin, Heidelberg.

Rehman, K. U., & Saeed, Z. (2 0 1 5 ) . Impact of dynamic capabilities on firm performance:
Moderating role of organizational competencies. Sukkur IBA Journal of Management
and Business, 2(2), 20-42.

Richard, P. J., Devinney, T. M., Yip, G. S., & Johnson, G. (2 0 0 9 ) . Measuring organizational
performance: Towards methodological best practice. Journal of Management, 35(3),
718-804.

Rogers, E. M. (2010). Diffusion of innovations (4th ed.). New York: Simon and Schuster.
Saenchaiyathon, K., & Liengjindathaworn, S. (2 0 1 9 ) . An Influence of Dynamic Capability to

Corporate Performance. TEM Journal, 8(3), 848.
Saunila, M. (2 0 1 4 ) . Innovation Capability for SME Success: Perspectives of Financial and

Operational Performance. Journal of Advance in Management Research, 11 (2): 163-
175.
Schaltegger, S. Lüdeke-Freund, F. and Hansen, E. G. (2012). Business Cases for Sustainability:
The Role of Business Model Innovation for Corporate Sustainability. International
Journal of Innovation and Sustainable Development, 6 (2). 95-119.
Schilling, M. A. (2 0 0 8 ) . Strategic management of technology innovation. (2 nd Ed.). New
York: McGraw-Hill Education.
Sirirak, S., N. Islam, and D. B. Khang. (2011). Does ICT Adoption Enhance Hotel Performance?
Journal of Hospitality and Tourism Technology, 2: 34-49.
Sudirman, I., Govindaraju, R., & Pratiwi, A. A. (2014). Information System Quality and Its Impact
on Individual Users’ Benefit: Analyzing the Role of Knowledge Enablers. Journal Teknik
Industri, 16(2), 65-72.
Tangpinyoputtikhun, P. (2 0 0 9 ) . Dynamic capabilities and sustainable competitive
advantage: empirical evidence from Thailand (Doctor Dissertation).Mahasarakham:
Mahasarakham University.

444 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Tuominen, M. Rajala, A. and Moller, K. (2004). How does adaptability drive firm innovativeness?
Journal of Business Research, 57(5):495-506. DOI:10.1016/S0148-2963(02)00316-8

Visser, W. (2017). Innovation Pathways Towards Creating Integrated Value: A Conceptual
Framework. International Humanistic Management Association, Research Paper Series
No. 17-41, Retrieved July 23, 2020, from http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3045898

Wang, C. L., & Ahmed, P. K. (2 0 0 7 ) . Dynamic capabilities: A review and research agenda.
International Journal of Management Reviews, 9(1), 31-51.

Wiliams, R. S. (2 0 0 2 ) . Managing employee performance: Design and implementation in
organization. London: Thomson.

Zhou, S. S., Zhou, A. J., Feng, J., & Jiang, S. (2 0 1 9 ) . Dynamic capabilities and organizational
performance: The mediating role of innovation. Journal of Management &
Organization, 25(5), 731-747.

Zizlavsky, O. (2 0 1 2 ) . The development and implementation of marketing information
system within innovation: The increasing of innovative performance.
Entrepreneurship–Creativity and Innovative Business Models. eBook (PDF) ISBN:
978-953- 5 1- 4 33 9- 0 Retrieved July 23, 2020, from https://www.intechopen.com
/books/2262

445 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การตดั สนิ ใจเลอื กใช้บริการทพี่ ักของนักท่องเทย่ี วชาวไทยในจงั หวัดสพุ รรณบรุ ี
จากสว่ นประสมทางการตลาดบริการ

The Decision to Choose Accommodation Services for Thai Tourists
in Suphan Buri Province from the Service Marketing Mix

จนิ ดา ทับทมิ ดี*
(Jinda Tubtemdee)

บทคดั ย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยใน
จังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสมทางการตลาดบริการ เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) การตัดสินใจเลือกใช้
บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสมทางการตลาดบริการ เมื่อจำแนกตาม
พฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พัก ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 ราย ด้วยวิธีการเลือก
ตัวอย่างแบบสะดวก วเิ คราะหข์ อ้ มูลโดยใช้ค่าสถิตเิ ชงิ พรรณนา ไดแ้ ก่ คา่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบยี่ งเบนมาตรฐาน และ
สถติ เิ ชิงอนมุ าน โดยใช้การทดสอบที และการวิเคราะหค์ วามแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวจิ ัยพบวา่
1. การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสมทาง
การตลาดบริการเมือ่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล มีความแตกต่างกนั ตามเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2. การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสมทาง
การตลาดบริการ เมื่อจำแนกตามพฤตกิ รรมการเลือกใช้บริการทีพ่ ัก มีความแตกต่างกันตาม ความถี่ในการเดินทาง
วตั ถปุ ระสงคห์ ลกั ผรู้ ่วมเดินทาง แหลง่ ทไี่ ด้มาของขอ้ มลู และ ค่าใช้จ่ายตอ่ ครง้ั อยา่ งมนี ยั สำคัญทางสถิติ

คำสำคญั : ส่วนประสมทางการตลาดบรกิ าร นักทอ่ งเทยี่ วชาวไทย พฤตกิ รรมการเลอื กใช้บรกิ ารท่ีพกั

*อาจารย์ประจำหลกั สตู รบริหารธุรกิจบณั ฑิต คณะบรหิ ารธรุ กิจและรฐั ประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทริ ์น 12150
Instructor of the curriculum of Bachelor of Business Administration, Faculty of Business Administration and
Public Administration, Western University, 12150
Corresponding author: [email protected]

446 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ABSTRACT

The objectives of this research were to study 1) the decision to use accommodation services
of Thai tourists in Suphanburi Province. from the service marketing mix when classified by personal
factors (2) decision to choose accommodation services of Thai tourists in Suphanburi Province from
the service marketing mix when classified by accommodation selection behavior. The researcher
collected data from 400 Thai tourists using Convenience Sampling method. Data were analyzed
using descriptive statistics such as percentage, mean, standard deviation. and inferential statistics by
using the t test and one-way analysis of variance.
The results showed that

1. The decision to choose accommodation services for Thai tourists in Suphan Buri Province
from the service marketing mix when classified by personal factors are different by gender statistically
significant.

2. The decision to choose accommodation services for Thai tourists in Suphan Buri Province
from the service marketing mix when classified by accommodation selection behavior are different
according to travel frequency main purpose travel companion source of information and cost per
time statistically significant.

Keywords: service marketing mix, Thai tourists, accommodation selection behavior

Article history: Received 1 February 2021
Revised 1 September 2021
Accepted 9 September 2021
SIMILARITY INDEX = 1.49 %

447 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1. บทนำ

จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2580) ที่มีวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง
ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจเพยี งพอ” ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2580) เป็นแผนแม่บทที่กำหนดเป้าหมายอนาคตประเทศในระยะยาว 20 ปี โดยจะมุ่งเน้น
ในการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตและบริการ เพื่อเพิ่มมูลค่าทาง
เศรษฐกิจซึ่งม่งุ เน้นการพัฒนาโครงสรา้ งพ้นื ฐานของประเทศในมติ ติ ่าง ๆ ทัง้ โครงขา่ ยระบบคมนาคมและขนส่ง
โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนา
อตุ สาหกรรมและบริการอนาคต (กองเศรษฐกิจการท่องเทยี่ วและกีฬา กระทรวงการทอ่ งเทย่ี วและกฬี า, 2560)

การทอ่ งเท่ยี วเป็นอตุ สาหกรรมในภาคบริการท่ีมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและสรา้ ง เสถยี รภาพทาง
เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวเน่ืองมากมาย เช่น ธุรกิจ โรงแรมและที่พัก ภัตตาคาร
ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึก และการคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงก่อให้เกิดการลงทุน
การจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับคนในชาติ กระจาย รายได้ลงสู่ท้องถิ่น สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจใน
ชมุ ชน (ณฐั พร ดอกบญุ นาค และฐาปกรณ์ ทองคำนชุ , 2558) ดังนนั้ จึงนบั เป็น โอกาสอันดีทป่ี ระเทศไทยจะได้
กำหนดกรอบแนวคิดและปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาการท่องเที่ยว ให้ตอบสนองกบั เจตนารมณ์ตาม
หลักการและวิสัยทัศน์ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกัน (มาลินี สนธิมูล และ
อิทธกิ ร ขำเดช, 2557)

ธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กเป็นโรงแรมที่ใช้เงินทุนไม่มาก แต่ลงทุนทางด้านความคิดสร้างสรรค์ในการ
ดีไซน์ที่แตกต่างและการใส่ใจในเรื่องบริการ เป็นทางเลือกที่ลงตัวสำหรับเจ้าของเงินทุนรายเล็กในการแข่งขัน
กบั โรงแรมทีม่ อี ำนาจทุนและการตลาดมากกว่า และตอบสนองตอ่ วถิ กี ารดำเนินชวี ิตของนกั ท่องเท่ียวยคุ ใหม่ได้
ดีกว่า โรงแรมขนาดเล็กจึงกลายเป็นโรงแรมทางเลือก สำหรับนักเดินทางยุคใหม่ที่แสวงหาประสบการณ์ที่
แตกต่าง (ธัญพรนภัส แฟงสม, 2556) โดยปัจจัยเหลา่ นสี้ ง่ ผลให้ความตอ้ งการในการเขา้ พักในโรงแรมขนาดเล็ก
เพม่ิ มากขึน้ จงึ ทำให้การแข่งขันในธรุ กจิ นี้ค่อนข้างสูง ซ่งึ โรงแรมแต่ละท่ีพยายามหาจดุ เด่นหรือเอกลักษณ์ของ
ตนเองมาเปน็ จุดขายเพ่ือดงึ ดูดนักท่องเทย่ี วให้มาใช้บริการโรงแรมของตนให้มากข้ึน อกี ท้ังประเด็นสำคัญที่ทำ
ให้ธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กเป็นท่ีน่าสนใจในการศึกษา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกเกี่ยวกับความ
ต้องการของลกู ค้าผู้ใชบ้ รกิ าร ปรบั เปลีย่ นความต้องการจากการเข้าพักในโรงแรมขนาดใหญ่ระดบั 5 ดาว ซึ่งมี
การให้บริการที่ดเี ช่นเดียวกับธรุ กิจโรงแรมขนาดใหญม่ ีความเปน็ ส่วนตัวสูง และได้รับการดูแลใกล้ชิดเอาใจใส่
สร้างความคุ้นเคยได้มากกว่าธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ ทำให้ลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและ
ต่างประเทศมีความต้องการใช้บริการดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น แต่สถานการณ์ของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กไทยส่วน
ใหญ่ที่ดำเนินการอยู่ทั่วประเทศในปัจจุบันกลับประสบปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ส่งผลกระทบเป็น
ลูกโซ่ตอ่ การดำเนินธรุ กจิ ทงั้ ทางตรงและทางอ้อมทธ่ี ุรกิจโรงแรมขนาดเล็กเองไมส่ ามารถรองรบั และตอบสนอง
ไดต้ รงความต้องการของลกู ค้า เปน็ ผลใหล้ ูกคา้ เกิดความลงั เลและไม่แน่ใจในการเขา้ ใชบ้ ริการ จนถงึ ปฏเิ สธการ

448 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ใช้บริการ ทำให้ธุรกิจไม่ถูกเป็นตัวเลือกในการเข้าใช้บริการของลูกค้า ทำให้ธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กไม่ประสบ
ความสำเร็จในการดำเนินงานตามเป้าหมายหรือตามความคาดหวังของผู้ประกอบการ (ณัฏฐ์นรี แก้วจันทร์
เพชร, 2556)

จังหวัดสุพรรณบุรีท่องเที่ยวใกล้กรุงที่มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ ทั้งธรรมชาติภูเขา ตลาด
เก่าโบราณ ชมุ ชนวิถชี วี ิต วัดวาอาราม และแหล่งประวตั ศิ าสตร์ รวมท้งั อาหารทอ้ งถิ่นอรอ่ ยเด็ด และคาเฟ่สวย
ให้เท่ียวไดแ้ บบบไมม่ เี บ่ือ สามารถเทีย่ วได้ท้งั แบบเช้าไปเยน็ กลับ หรือจะพักค้างคนื สัมผสั บรรยากาศก็ย่งิ ดี โดย
เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทย เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย เป็น
เมืองที่พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ถนนหนทางสะดวกสบาย สามารถเดินทางไปตามแหล่งท่องเที่ยวที่
กระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัดได้อย่างง่ายดาย สุพรรณบุรี ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยทาง
การตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัด
สุพรรณบุรี” โดยงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาประเด็นปัญหาดังกล่าวเพื่อค้นหาวิธีการกระบวนการในการบริหาร
จดั การ ผลักดนั ใหธ้ รุ กจิ โรงแรมท่ีพักสามารถดำเนินธุรกจิ ตอบสนองได้ตรงความต้องการของลูกค้าผู้ใช้บริการ
ได้ตามที่ธุรกิจคาดหวัง เพื่อเป็นการร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความเข้มแข็งรองรับการขยายตัวของ
ธุรกิจได้สอดคล้องกัน ด้วยการจัดการอย่างเป็นระบบและการบริหารทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิด
ประโยชน์สงู สดุ ต่อไป

วัตถปุ ระสงคข์ องการวิจยั
1. การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสมทาง

การตลาดบรกิ าร เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
2. การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสมทาง

การตลาดบริการ เม่ือจำแนกตามพฤติกรรมการเลือกใชบ้ รกิ ารทีพ่ กั

2. เอกสารและงานวิจัยทเ่ี ก่ยี วข้อง

2.1) แนวคดิ และทฤษฎีที่เกี่ยวกบั องคป์ ระกอบของแหล่งท่องเที่ยว
Pike (2008) กล่าวถึง คุณลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวว่าแหล่งท่องเที่ยวเป็นการ ผสมผสาน

ระหว่างผลติ ภณั ฑท์ างการท่องเทยี่ ว ประสบการณ์ และการน าเสนอทรัพยากรที่จบั ต้อง ไมไ่ ดอ้ นื่ ๆแก่ผู้บริโภค
องค์ประกอบ 6 ประการ ได้แก่ ความสามารถใน การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว (Available Package)
ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities)
กจิ กรรม (Activities) การให้บรกิ ารของ แหล่งท่องเท่ยี ว (Ancillary Service)

449 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2.2) แนวคิดและทฤษฎที ่ีเกยี่ วกับพฤตกิ รรมของผูบ้ ริโภค
นภาวรรณ คณานุรักษ์ (2559 : 14) ได้กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมผู้บริโภค โดยการพิจารณาจาก

ผลประโยชน์ที่จะได้รับอย่างมีเหตุผล และจะต้อง ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจึงจะท าการตัดสินใจ แต่ใน
ภายหลังพบว่าการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ไม่ได้ตัดสินใจซื้อด้วยตนเองเท่านั้น แต่ยังได้รับอิทธิพลจาก
ครอบครวั เพือ่ น ส่ือ และบุคคล ตน้ แบบ รวมทั้งการตัดสินใจซอ้ื เกดิ จากอารมณ์

ในขณะที่ สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ (2558 : 10) เสนอว่าพฤติกรรมผู้บริโภคจะเกี่ยวข้องกับ
ความรู้สึก และการจัดการความรู้สึกเป็นความรู้สึกทางด้านจิตวิทยาอันเกิดจากขั้นตอนการตัดสินใจในการ
บรโิ ภค ผู้บรโิ ภคตอ้ งมีการจัดการตามข้ันตอนของกระบวนการบรโิ ภคดว้ ย

2.3) แนวคิด ทฤษฎี เก่ียวกับส่วนประสมทางการตลาดบริการ
ฉัตยาพร เสมอใจ (2558 : 254) ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือ 7 Ps

หมายถงึ ตัวแปรทางการตลาดทค่ี วบคุมได้ ประกอบด้วย ผลติ ภณั ฑ์ (Product) ราคา (Price) การจัดจำหน่าย
(Place) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) พนักงาน (People) กระบวนการ ให้บริการ (process)และ
สง่ิ แวดลอ้ มทางกายภาพ (physical evidence) ซึง่ เรียกว่าเปน็ “เคร่ืองมือทาง การตลาด (Marketing Tool)”
ท่ีผ้บู รหิ ารและนักการตลาดน ามาใช้ในการวางแผน เพื่อให้บรรลุ เปา้ หมายทางการตลาดของธุรกิจ

วิทวสั รุง่ เรืองผล (2558 :157) การสง่ เสริมการตลาด (Promotion) เป็นหนง่ึ ในองค์ประกอบ
หลักของส่วนประสมทางการตลาด โดยมีความสัมพันธ์ องค์ประกอบอื่นๆ ในส่วนประสมทางการตลาดอย่าง
ใกล้ชิด เพื่อกระจายข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ราคา และสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภค
กล่มุ เปา้ หมาย

ฤดี หลิมไพโรจน์ (2557 : 87) ได้กล่าวว่า ปัจจัยสนับสนุนการส่งเสริมการขาย ในธุรกิจ
บริการ การส่งเสริมการขายเป็นเครื่องมือการส่งเสริมการตลาดที่สำคัญและสามารถเห็น ผลสัมฤทธิ์ใน
ระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า การส่งเสริมการขายถูกออกแบบมาเพื่อดึงดูดความ สนใจและจูงใจให้
ผบู้ รโิ ภคเกิดการซื้อโดยฉบั พลัน

จากการทบทวนวรรณกรรม ผ้วู ิจัยสามารถนำมากำหนดเป็นกรอบแนวคิดได้ดังน้ี

450 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

กรอบแนวคิดในการวจิ ัย การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของ
น ั ก ท ่ อ ง เ ท ี ่ ย ว ช า ว ไ ท ย ใ น จ ั ง ห วั ด
ขอ้ มูลสว่ นบุคคล ได้แก่ สุพรรณบรุ ี จากส่วนประสมทางการตลาด
- เพศ บรกิ ารประกอบไปดว้ ย
- อายุ
- ระดบั การศึกษา - ปัจจัยด้านผลติ ภณั ฑ์
- สถานภาพสมรส - ปัจจยั ดา้ นราคา
- อาชพี - ปัจจัยด้านสถานที่หรือช่องทางการ
- รายได้เฉลยี่ ต่อเดือน ใหบ้ ริการ
- ปัจจยั ด้านการส่งเสรมิ การตลาด
พฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พัก - ปัจจัยดา้ นบคุ ลากร
ได้แก่ - ปจั จัยดา้ นกระบวนการใหบ้ ริการ
- ปจั จัยดา้ นลกั ษณะทางกายภาพ
- ความถ่ีในการเดินทาง
- วตั ถปุ ระสงค์หลกั
- ผู้ร่วมเดินทาง
- แหล่งทไี่ ดม้ าของข้อมลู
- คา่ ใชจ้ ่ายต่อครง้ั

ภาพที่ 1. กรอบแนวคดิ ในการวิจัย

3. วิธดี ำเนนิ การวิจยั

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการเก็บข้อมูลจาก
แบบสอบถามความคดิ เห็น ของนักทอ่ งเทย่ี วชาวไทยที่เดินทางมาในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใชส้ ตู รการหาขนาด
ตัวอย่างเมื่อไม่ทราบจำนวนประชากรของ Cochran (1953) ไดข้ นาดกล่มุ ตวั อย่างเท่ากบั 385 ตวั อยา่ ง ผ้วู ิจัย
ของเพิ่มกลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นจำนวน 400 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก
เครื่องมือคือแบบสอบถามที่มีการตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามไปทดสอบโดย
ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) ซึ่งบุญชม ศรีสะอาด (2553 : 99) กำหนดค่า

451 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ความเชื่อมั่นไม่ต่ำกว่า 0.70 โดยทดสอบกับประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 ตัวอย่าง ผลการ
วิเคราะห์ไดค้ า่ α - Coefficient เท่ากับ 0.907 ซ่ึงถอื ได้ว่าแบบสอบถามมีความหนา้ เชื่อถือตามหลักสถิติ

การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยขอนำหนังสือรับรองจากคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ถึงผู้จัดการโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการแจก
แบบสอบถามในการเก็บข้อมลู จากลูกค้าผู้มาใชบ้ ริการ ผวู้ จิ ัยแนะนำตวั เอง พรอ้ มชแ้ี จงวัตถปุ ระสงค์การศึกษา
เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แจกแบบสอบถาม และอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เข้าใจผู้วิจัย
ติดตามขอรบั แบบสอบถามคนื ดว้ ยตนเอง จำนวน 400 ฉบบั แล้วนำไปดำเนินการตามขน้ั ตอนการวจิ ยั ต่อไป

สถิติท่ีใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบไปด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ด้วยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์
ความแปรปรวนแบบทางเดียว

4. ผลการวจิ ยั

1. ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิด
เป็นร้อยละ 54.50 มีอายุระหว่าง 41–50 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.75 มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญา
ตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.75 ประกอบอาชีพค้าขาย ประกอบธุรกิจส่วนตัว มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ
55.25 และมีรายไดเ้ ฉลี่ยต่อเดอื น ระหวา่ ง 20,001–30,000 บาท มากท่สี ุด คิดเป็นร้อยละ 28.50 ตามลำดบั

2. ผลการวเิ คราะหร์ ะดบั ความคิดเหน็ พฤติกรรมการตดั สนิ ใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาว
ไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยแจกแจงความถี่ (Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage) พบว่าส่วนใหญ่
ท่านเคยมา จำนวน 2 ครั้ง จำนวน 180 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความ
เพลิดเพลิน จำนวน 180 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 ส่วนใหญเ่ ดินทางมากับแฟน/คู่รัก จำนวน 180 คน คิดเป็น
รอ้ ยละ 40.0 ส่วนใหญ่รูข้ อ้ มูลจากอินเตอร์เน็ตจำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 75.0 และส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย
ต่อคร้ังในการเลือกใชบ้ รกิ ารทีพ่ กั 2,001-5,000 บาท จำนวน 250 คน ตามลำดบั

3. ผลการวิเคราะหข์ ้อมูลปจั จัยทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พกั ของนักท่องเที่ยวชาว
ไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงแบบมาตรฐาน (Standard Deviation) พบว่า
โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทีส่ ดุ ( x = 4.67, SD=0.24) เม่อื จำแนกเป็นรายด้านพบว่า มี 6 ด้าน
อยใู่ นระดบั มากทีส่ ดุ โดยดา้ นทีม่ ีค่าเฉลีย่ มากทีส่ ุด ไดแ้ ก่ ด้านผลติ ภณั ฑ์ ( x= 4.78, SD=0.24) รองลงมา คือ
ด้านสถานทหี่ รือช่องทางการจัดจำหน่าย ( x = 4.74, SD=0.29) ดา้ นบคุ คล ( x = 4.71, SD=0.29) ด้านราคา
( x = 4.67, SD=0.43) ด้านกระบวนการ ( x = 4.65, SD=0.33) และด้านกายภาพและการนำเสนอ ( x =
4.63, SD=0.33) ตามลำดับ และมดี ้านที่อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ดา้ นการสง่ เสริมการตลาด ( x = 4.46,
SD=0.42) ตามลำดับ

452 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทย
โดยจำแนกตามปจั จัยสว่ นบุคคลของนกั ท่องเท่ียว

การตัดสินใจเลือกใช้บรกิ ารทพ่ี กั จำแนกตามขอ้ มลู สว่ นบคุ คลของนกั ท่องเทยี่ ว

ของนกั ทอ่ งเทยี่ วชาวไทยใน เพศ อายุ ระดับ สถานภาพ อาชีพ รายไดเ้ ฉลี่ย
จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี การศึกษา สมรส ตอ่ เดือน

ดา้ นผลิตภัณฑ์ .319 .047* .222 .584 .983 .196

ดา้ นราคา .387 .326 .952 .384 .438 .452

ชอ่ งทางการใหบ้ ริการ .843 .796 .565 .812 .379 .714

ดา้ นการส่งเสรมิ การตลาด .831 .733 .945 .920 .538 .112

ดา้ นบคุ ลากร .027* .980 .746 .793 .596 .320

ดา้ นกระบวนการใหบ้ รกิ าร .021* .488 .861 .450 .550 .078

ด้านลักษณะทางกายภาพ .467 .620 .866 .227 .564 .145

สว่ นประสมทางการตลาด 0.049* 0.441 0.682 0.744 0.781 0.338

นัยสำคัญทางสถติ ิท่รี ะดับ .05

การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสมทาง

การตลาดบริการ เม่อื จำแนกตามปจั จยั สว่ นบุคคลพบว่ามีความแตกต่างกันตามเพศ อย่างมนี ัยสำคัญทางสถิติ

ตารางที่ 2. การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสม
ทางการตลาดบรกิ ารโดยจำแนกตาม พฤติกรรมการเลือกใช้บรกิ ารทีพ่ กั

พฤตกิ รรมการเลอื กใชบ้ รกิ ารท่ีพกั

การตดั สนิ ใจเลอื กใช้บริการที่พักของ ความถ่ี วัตถุประสงค์ ผรู้ ่วม แหลง่ ที่ ค่าใช้จ่าย
นกั ทอ่ งเที่ยวชาวไทยในจงั หวดั สุพรรณบุรี ในการ หลกั ในการ เดินทาง ไดม้ า ต่อคร้งั
เดนิ ทาง ท่องเท่ียว ของ ในการ
ด้านผลิตภัณฑ์ ข้อมูล เทีย่ ว
ด้านราคา
ดา้ นสถานทห่ี รอื ชอ่ งทางการให้บรกิ าร .001** .036* .001** .083 .001**
ดา้ นการส่งเสรมิ การตลาด
ด้านบุคลากร .001** .046* .001** .109 .001**
ดา้ นกระบวนการใหบ้ รกิ าร
ดา้ นลักษณะทางกายภาพ .001** .001** .001** .001** .001**

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ .001** .001** .001** .001** .001**

.012* .001** .017* .001** .059

.041* .001** .618 .001** .001**

001** .001** .066 .227 .001**

001** 001** 002* 001** 001**

453 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสมทาง
การตลาดบริการเมื่อจำแนกตามพฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พัก มีความแตกต่างกันตาม ความถี่ในการ
เดินทาง วัตถุประสงค์หลัก ผู้ร่วมเดินทาง แหล่งที่ได้มาของข้อมูล และ ค่าใช้จ่ายต่อคร้ัง อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ

5. สรุป อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ

5.1. สรุปและอภปิ รายผล
1. การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสม

ทางการตลาดบริการ เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่ามีความแตกต่างกันตามเพศ ผลการวิจัยดังกล่าว
สอดคล้องกบั งานวิจัยของ วสนั ต์ กานตว์ รรัตน์ (2563) ท่ศี ึกษาปัจจยั ทสี่ ัมพนั ธ์กับพฤติกรรมการเลือกใชบ้ ริการที่
พักรีสอร์ทของนักท่องเที่ยวในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วน
บุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามกับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พักรีสอร์ทของนักท่องเที่ยวในอำเภอสวนผึ้ง
จำแนกตามด้านเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่จะขัดแย้ง กับงานวิจัยของ เตือนใจ ศรีชะฏา
(2560) ที่ศึกษาปัจจัยทส่ี ่งผลต่อการตดั สินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตพ้ืนท่เี มืองพัทยา ผล
การทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบคุ คลด้านเพศและอายุของนักท่องเทยี่ วชาวไทยที่แตกต่างกันจะตัดสินใจ
เลอื กท่พี ักแรมในเขตพัทยา จงั หวดั ชลบรุ ี โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจยั สว่ นบุคคลด้านการศึกษา รายได้
และอาชีพของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่แตกต่างกันจะตัดสินใจเลือกที่พักแรมในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี โดย
ภาพรวมแตกต่างกนั อย่างมีนัยสำคญั ที่ระดบั 0.05

2. การตัดสินใจเลอื กใช้บรกิ ารที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จากส่วนประสมทาง
การตลาดบริการ เมื่อจำแนกตามพฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พัก ผลการวิจัยดังกล่าวจะสอดคล้องกับ งานวิจัย
ของ วสันต์ กานต์วรรัตน์ (2563) ที่ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พักรีสอร์ทของ
นักท่องเที่ยวในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ผลการวิจัย พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทาง
การตลาดบริการกบั พฤติกรรมการเลือกใชบ้ ริการท่ีพักรีสอร์ทของนักท่องเท่ียวในอำเภอสวนผึง้ จังหวัดราชบุรี ใน
เร่อื งความถี่ในการใช้บริการท่ีพักรสี อร์ทมีความสัมพันธ์กันกับด้านลักษณะทางกายภาพ จำนวนวนั ในการเข้าพักรี
สอร์ทต่อครั้งไม่มีความสัมพันธ์กัน ราคาที่พักรีสอร์ทที่เลือกใช้บริการ มีความสัมพันธ์กันกับด้านการส่งเสริม
การตลาดและด้านบุคลากร จำนวนคนทเ่ี ข้าพักรีสอร์ทไม่มีความสัมพันธ์กัน การเลอื กชว่ งวันในการเข้าพักรีสอร์ท
มีความสัมพันธ์กันกับด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด วิธีการสำรองห้องพักรีสอร์ทมี
ความสัมพันธ์กันกับด้านกระบวนการให้บริการ และในเรื่องเหตุผลในการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักรีสอร์ทมี
ความสัมพันธ์กันกับด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านบุคลากรอย่างมี
นัยสำคัญทางสถติ ิทร่ี ะดับ .05

454 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

5.2 ขอ้ เสนอแนะเชิงนโยบาย
1. การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี จะไม่

แตกต่างกันหากพิจารณาแยกตามปัจจัยส่วนบุคคล ยกเว้นตัวแปรเพศ ซึ่งเพศชายมีแนวโน้มที่จะการตัดสินใจ
เลือกใชบ้ รกิ ารที่พัก ไดด้ กี ว่า ในขณะที่ปัจจัยที่มคี วามสำคัญคือ ตามพฤตกิ รรมการเลอื กใช้บรกิ ารที่พัก มีความ
แตกต่างกันตาม ความถีใ่ นการเดินทาง วัตถุประสงค์หลัก ผู้ร่วมเดินทาง แหล่งที่ได้มาของข้อมูล และ ค่าใช้จ่ายต่อ
ครั้ง ดังนั้นผู้ประกอบการควรวางกลยุทธ์บริการที่สอดคล้องกับ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเป็นอันดับต้น ใน
เวลาเดียวกัน ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับพนักงานโรงแรม โดยการฝึกอบรมพนักงานให้มีความ
ชำนาญและสามารถให้บรกิ ารได้อย่างถูกต้องภายในครั้งแรก ให้พนกั งานโรงแรมรบั รู้คุณคา่ งานบริการที่แท้จริง
ต้องมา จากจิตใจที่รักงานบริการเพื่อให้พนักงานรู้สึกตั้งใจและอยากทำงานให้กับทางโรงแรม ให้ความสำคัญ
กับการจดั การสถานท่ีใหส้ อดคล้องกบั ความคาดหวังลกู คา้

2. และเพื่อให้การให้บริการเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์
ผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสาร และสื่อสารมวลชนในท้องถิ่น ให้มากขึ้น พร้อมทั้งการปรับปรุง หรือขยาย
สถานที่จอดรถให้มีความกวา้ งขวาง ความสะดวก และปลอดภยั ในทรพั ยส์ นิ ของผมู้ าใชบ้ รกิ าร

5.3 ข้อเสนอแนะเพอ่ื การวจิ ยั ในครั้งต่อไป
1. ผู้ที่สนใจควรมีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อ

เปรียบเทียบผลการศึกษาในอนาคตจึงควรจะศึกษาในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์เชงิ บวกและมีประสิทธภิ าพในการทำนายในระดบั ทสี่ ูงขึ้น พรอ้ มทง้ั การกำหนดตวั แปรใหม่ ๆ มา
ใชใ้ นการทำวิจยั อยเู่ สมอเพื่อค้นหาขอ้ เท็จจริงต่าง ๆ ซง่ึ จะส่งผลดีต่อองค์การต่อไป

2. ผู้ที่สนใจควรศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อนของโรงแรม เพื่อคาดการณ์ว่าผู้บริโภคจะมีการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางใด เพื่อสามารถปรับกลยุทธ์ในการบริหารให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของ
ผู้บริโภคเนื่องจากผลการวิจัยมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง ด้านความพึงพอใจของลูกค้ากับความ
จงรักภักดีซึ่งเมื่อมีการศึกษาถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ของคู่แข่งจะทำให้รับรู้ถึงข้อดี ข้อเสียของโรงแรม เพื่อนำมา
พัฒนาและปรับปรุงบรกิ ารในอนาคต

3. ผู้ที่สนใจควรศึกษาถึงศักยภาพการให้บริการในด้านอื่นๆ ให้เพิ่มมากขึ้น อาจเป็นการ
บริการแบบใหม่หรือการรวมกนั ของโรงแรม เพอื่ ใหม้ บี ริการที่แปลกใหมม่ ากยิ่งข้ึน เพอ่ื นำผลการวจิ ัยที่ได้ไปใช้
เปน็ แนวทางในการวางแผนการตลาดให้มีความเหมาะสมต่อความต้องการของผู้ใชบ้ รกิ ารมากยิง่ ข้นึ

455 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เอกสารอ้างอิง

กองเศรษฐกิจการท่องเท่ยี วและกีฬา กระทรวงการทอ่ งเที่ยวและกีฬา. (2560). SPORTS TOURISM รายงาน
ฉบับสมบรู ณ์โครงการพัฒนารปู แบบทางธรุ กิจของการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของไทย ประจำปี 2560.
กระทรวงการทอ่ งเท่ยี วและกีฬา.

ฉตั ยาพร เสมอใจ. (2558). การจัดการธุรกจิ ขนาดย่อม. กรงุ เทพฯ : ซเี อดย็ ูเคชั่น.
ณัฐพร ดอกบุญนาค และฐาปกรณ์ ทองคำนุช. (2558). ความต้องการเลือกใช้โรงแรมของนักท่องเที่ยวชาว

ไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานการวิจัยกองทุนส่งเสริมการวิจัย.มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลสวุ รรณ.
ณัฏฐ์นรี แก้วจันทร์เพชร. (2556). พฤติกรรมและปัจจัยสวนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้
ความสำคัญในการท่องเที่ยวเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ในการประชุมวิชาการระดับ
บัณฑติ ศึกษามหาวทิ ยาลยั กรงุ เทพ. หน้า 264-273. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เตือนใจ ศรีชะฏา. (2560).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตพื้นท่ี
เมอื งพัทยา.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนษุ ยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์.12 (1).247-259.
ฤดี หลิมไพโรจน์.(2557). การตลาดบริการ. ปทมุ ธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรงุ เทพ.
ธัญพรนภสั แฟงสม. (2556). แนวทางการพฒั นาการตลาดของโรงแรมระดับ 4 ดาวเครือภายในประเทศใน
เขตเมืองพัทยา. วารสารการบรกิ ารและการท่องเทีย่ วไทย, 8(1), หนา้ 49-60.
นภาวรรณ คณานรุ ักษ์ .(2559). กลยทุ ธ์การตลาด. กรงุ เทพฯ : บรษิ ัททริปเพลิ้ กรุป๊ จำกัด.
บุญชม ศรสี ะอาด. (2553). การวจิ ัยเบือ้ งต้น (พิมพค์ รัง้ ที่ 8). กรงุ เทพฯ: สวุ ีรยิ สาสน์.
มาลินี สนธิมูล และอิทธิกร ขำเดช. (2557). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการใช้
บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุนการตลาดและการ
บรหิ ารธุรกจิ , 4(2), หน้า 204-217.
วสันต์ กานตว์ รรตั น.์ (2563). ปัจจยั ท่ีสมั พันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใชบ้ ริการที่พักรีสอรท์ ของนักท่องเท่ียวใน
อำเภอสวนผึง้ จังหวดั ราชบรุ ี.วารสารนวัตกรรมการศกึ ษาและการวจิ ยั . 4 (22). 157-170
วิทวัส รุ่งเรอื งผล. (2558). ตำราหลักการตลาด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์
สมชาย ภคภาสน์ววิ ัฒน์. (2558). การบรหิ ารเชงิ กลยทุ ธ์ (พิมพ์ครง้ั ท่ี 3). กรุงเทพฯ: สำนักพมิ พ์อมรนิ ทร์.
Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. NJ. John Wiley.
Pike, S. D. (2008). Destination Marketing : an integrated marketing communication
approach. Butterworth-Heinmann, Burlington, MA.

456 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

อทิ ธิพลของความผกู พนั ท่ีสง่ ผลตอ่ พฤตกิ รรมการเป็นสมาชกิ ทด่ี ีในองคก์ าร
ของพนกั งานเจนเนอเรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล

The Influence of Engagement Affecting Organizational Citizenship Behavior
of Generation Y Employees in Bangkok and its Vicinity

ศิรนิ นั ท์ ทพิ ยเ์ จริญ และคณะ*
(Sirinan Tipcharoen et al.)

บทคดั ย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานเจนเนอ
เรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (2) อิทธิพลของความผูกพันที่ส่งผลต่อ
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนกั งานเจนเนอเรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล ผู้วิจัยใช้การเลือก
ตัวอยา่ งแบบสะดวก โดยการเก็บแบบสอบถามออนไลนจ์ าก พนกั งานบริษทั เอกชนในกรุงเทพ และปรมิ ณฑล จำนวน
400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิง
อนุมาน การทดสอบที การวเิ คราะหค์ วามแปรปรวนแบบทางเดยี ว และ การวเิ คราะหถ์ ดถอยเชิงพหุ

1* คณะบรหิ ารธรุ กจิ มหาวทิ ยาลยั รามคำแหง 10240
Faculty of Business Administration, Ramkhamhaeng University 10240
ทมี งานวิจยั ประกอบไปดว้ ย ดร.ชยั พร ธนถาวรลาภ และ ดร.พนดิ า ชินสุวพลา
คณะบริหารธรุ กจิ มหาวทิ ยาลัย รามคำแหง 10240
Faculty of Business Administration, Ramkhamhaeng University 10240
ดร.จรูญ ชำนาญไพร
ตลาดสี่มมุ เมือง ปทุมธานี 12000 (Si Mum Muang Market, Pathum Thani 12000)
ดร.ภธั รภร ปุยสุวรรณ
คณะธุรกจิ ศกึ ษา มหาวทิ ยาลัยราชภฏั นครปฐม 73000
Faculty of Business Studies Nakhon Pathom Rajabhat University 73000

Corresponding author: [email protected]

457 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลการวิจยั พบว่า
1. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกท่ีดีในองค์การของพนักงานเจนเนอเรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล มี

ความแตกต่างกนั ตามสถานภาพ และรายไดอ้ ยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถติ ิทร่ี ะดบั 0.05
2. อิทธิพลของความผูกพันที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานเจนเนอ

เรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล ประกอบไปด้วย ความยินยอมทำตาม (b=0.22) การยึดถือองค์การ (b=0.27)
และ การซึมซับค่านิยมองค์การ (b=0.36) สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 44 โดย สามารถเขียนสมการ
พยากรณไ์ ด้ดงั นี้

Ŷ= 0.18+ 0.22 x1 ** + 0.27 X2 **+ 0.36 X3**

คำสำคัญ: ความผูกพัน สมาชกิ ท่ดี ีในองคก์ าร เจนเนอเรช่นั วาย

ABSTRACT

The objectives of this research were to study (1) organizational citizenship behavior of
Generation Y employees in Bangkok and its vicinity when classified by personal factors and (2) the
influence of engagement affecting organizational citizenship behavior of Generation Y employees in
Bangkok and its vicinity. The researcher used convenience selection, by collecting online
questionnaires from employees of private companies in Bangkok and its vicinity. Data were treated
and analyzed by using descriptive and Inferential Statistics methods, which were percentage, mean,
standard deviation, independent t-test, One Way ANOVA and Multiple Regression Analysis.

Findings:
1 . A good member of the organization of Generation Y employees in Bangkok and its
vicinity There is a difference according to the status and the income was statistically significant
at the 0.05 level
2. Influences of engagement affecting organizational membership of Generation Y
employees in Bangkok and and its Vicinity consisted of compliance (b=0.22), organizational
identification (b=0.27), and organizational internalization (b=0.36) The equation has 44%
predictive power. The forecast equation can be written as follows.

Ŷ= 0.18+ 0.22 x1 ** + 0.27 X2 **+ 0.36 X3**
Keywords: Engagement, Organizational Citizenship Behavior, Generation Y

458 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Article history: Received 8 January 2021
Revised 15 February 2021
Accepted 28 February 2021
SIMILARITY INDEX = 2.56 %

1. บทนำ

การขบั เคลื่อนขององค์การไปสู่ทิศทางทด่ี ี เปน็ ไปตามพนั ธกิจ และวสิ ยั ทัศน์ขององค์การ ต้องเกิดจาก
การขับเคลื่อน จากคุณภาพของคน ทุกองค์การต่างต้องการคนดี คนขยัน และตั้งใจจริงในการทำงาน สำหรับ
แนวคิดเรื่อง “พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี” เป็นแนวคิดที่เริ่มต้นแสดงให้เห็นถึงตั้งแต่ กว่า 40 ปีที่ผ่านมา
โดยมีงานวิจัยที่ต่อเนื่องกันมา ตั้งแต่ Organ (1988) จวบจนปัจจุบันในงานเขียนของ Spitzmuller Van
Dyne & Ilies (2008) หรือ งานของ Farh, Zhong and Organ (2004) ที่ศึกษาพฤติกรรมการเปน็ สมาชิกท่ดี ี
ในประเทศจีน ทั้งนี้ยังไม่นับรวมงานวิจัยอีกเป็นจำนวนมากที่มีการศึกษากันในประเทศไทย แสดงให้เห็นถึง
ความสำคญั ของปจั จยั ดังกลา่ ว

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกองค์การปรารถนา เพราะสังคมที่ประกอบไปด้วยคนดี
มีพฤติกรรมที่ดี ย่อมสร้างความสุขในการทำงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน (ธนัชพร เลขวัต และรัชนี
วรรณ วนิชย์ถนอม, 2560) การทำงานในองค์การปัจจุบันต้องมีการทำงานเป็นทีม การเป็นสมาชิกที่ดีของ
พนกั งานจะชว่ ยลดความขดั แย้งของพนักงาน ก่อให้เกิดประสทิ ธภิ าพในการทำงาน ประเด็นนี้จึงมีความสำคัญ
ทำให้ผู้บริหาร และหัวหน้างานคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง การบริหารจัดการให้สมาชิกทุกคน มีส่วนร่วมในการ
ทำงาน เพื่อให้สมาชิกของทีมทุกคนปฏิบัติงานจนประสบผลสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ต้องการ ความสามารถใน
การบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้สูงสุดนั้นต้องอาศัยพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ด้วยความขยันหมั่นเพียร
ตั้งใจทำงานด้วยความกระตอื รือร้น โดยคำนึงถงึ ผลประโยชน์ขององค์การภาพรวมเปน็ หลัก จึงต้องอาศัย การ
เป็นสมาชิกท่ดี เี ปน็ ตัวขบั เคล่ือน

ในยุควิถีชีวิตใหม่ การทำงานร่วมกันในองค์การ กำลังถูกท้าทาย เนื่องจากกระแสการทำงานอยู่กับ
บ้าน ทำให้คนวัยทำงาน โดยเฉพาะคนวัยเจนเนอเรชั่นวาย กำลังได้รับผลกระทบ เป็นที่น่าสนใจว่า ใน
สถานการณด์ งั กลา่ ว พนักงานยังจะคงมกี ารเป็นสมาชิกท่ีดตี ่อองค์การ หรอื ไม่ และการบริหารในภาวะปัจจุบัน
องค์การต่างๆ ยังสามารถสร้างความผูกพัน เพื่อทำให้พนักงานกลุ่มดังกล่าว สามารถสร้างประสิทธิภาพต่อ
องค์การได้หรือไม่ งานวิจัย อิทธิพลของความผูกพันที่ส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานเจน
เนอเรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล เป็นวิจัยเชิงสำรวจ ที่ต้องการศึกษาสภาพการณ์ดังกล่าว และหวังว่า
ผลการวิจัยน่าจะสรา้ งประโยชน์ต่อผู้ท่สี นใจต่อไป

459 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

วัตถุประสงคข์ องการวิจยั
1. ศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานเจนเนอเรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล

เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
2. ศึกษาอิทธิพลของความผูกพันที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานเจนเนอ

เรชน่ั วายในกรุงเทพและปรมิ ณฑล

2. เอกสารและงานวิจยั ทเ่ี กีย่ วข้อง

2.1 แนวคิดและทฤษฎเี ก่ียวกับพฤตกิ รรมการเปน็ สมาชกิ ท่ดี ใี นองคก์ าร
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกดีขององค์การ เป็นแนวที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งงานวิจัย

เกี่ยวกับการเป็นสมาชิกดีขององค์การการกล่าวในระยะแรกโดย Organ (1988, 4) และนักวิจัยท่านอื่น เช่น
Bateman & Organ (1983, 587- 595) รวมถึง Smith Organ & Near (1983, 655-663) โดยพัฒนามาจาก
แนวความคิดของ Chester (1938, 46-61) เรื่อง การร่วมมือกันทำงานอย่างสมัครใจ (Willingness to
Cooperate) นักวิจัยที่มุ่งศึกษาตัวแปรดังกล่าว คือ Organ (1990) ได้ให้ความหมายของพฤติกรรมการเป็น
สมาชิกดขี ององค์การอยา่ งชดั เจนว่า เปน็ การกระทำของแต่ละบุคคลที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองและตัดสินใจ
กระทำอย่าง อิสระด้วยตนเอง ซ่ึงพฤติกรรมหรือการกระทำเหล่าน้ันไม่ได้ผลต่อการได้รับรางวัลหรือ ค่าตอบแทน
โดยตรง แตเ่ ป็นพฤติกรรมของพนักงานท่ีส่งเสริมประสิทธภิ าพการทำงานของ องคก์ าร ซ่ึง Organ, Podsakoff &
MacKenzie (2006, 3) ได้ยึดใช้ความหมายในการ ศกึ ษาพฤตกิ รรมการเปน็ สมาชิกดีขององคม์ าโดยตลอด

Organ (1990) ได้จำแนก พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีออกเป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พฤติกรรม
ด้านความเอ้อื เฟื้อ (Altruism) หมายถงึ การกระทำท่ีแสดงถึงความเอื้อเฟ้ือ การกระทำให้ความช่วย เพือ่ นรว่ มงาน
ทันทีเมื่อเกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน หรือการช่วยแนะนำพนักงานใหม่ เกี่ยวกับวิธีการใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ
เครือ่ งใช้ต่าง ๆ เพือ่ ประโยชน์โดยรวมขององค์การ 2) พฤตกิ รรมด้านการคำนึงถึงผู้อื่น (Courtesy) หมายถึง การ
กระทำที่คำนึงถึงผู้อื่น เคารพสิทธิของผู้อื่น 3) พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น (Sportsmanship) หมายถึง การ
กระทำที่พนักงาน มีความเต็มใจที่จะเผชิญปัญหาที่เกิดจากการทำงานหรือการประสานงานกับเพื่อนร่วมงาน
หลกี เล่ยี งทีจ่ ะกระทบกระท่ังในการปฏบิ ัตงิ าน 4) พฤติกรรมดา้ นการให้ความร่วมมือ (Civic Virtue) หมายถึง การ
ท่ีพนกั งานมสี ่วนร่วมกับกจิ กรรมตา่ งๆ ขององคก์ ารอยา่ งรับผิดชอบ ใหค้ วามสนใจกับนโยบายตา่ ง ๆ และประกาศ
ต่าง ๆ ขององค์การ พร้อมท่จี ะรักษาภาพลักษณ์ขององค์การ แสดงความคิดเห็น และเขา้ ร่วมประชุมหรือเป็นฝ่าย
เดียวกันกับองค์การ 5) พฤติกรรมด้านความสำนึกในหน้าที่ (Conscientiousness) หมายถึง การกระทำท่ี
พนักงาน ปฏิบัติตามกฎระเบียบ สนองนโยบายขององค์การ ขยันทำงาน ตรงต่อเวลา การประหยัด รักษา
ทรัพยากร และดูแลสงิ่ ของท่เี ก่ียวข้องรวมถึงไม่ใช้เวลาในการปฏิบัติงานไปกับงานส่วนตวั ซ่ึงคนทม่ี ีสานึกในหน้าที่
จะปฏิบัติตามกฎระเบียบและนโยบายขององค์การได้เป็นอย่างดี ซึ่งการศึกษานี้พิจารณาพฤติกรรมการเป็น
สมาชกิ ท่ีดีขององค์การใน 5 องค์ประกอบดังกล่าว

460 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2.2 แนวคิดและทฤษฎเี ก่ยี วกับความผกู พนั องค์การ
ประไพศรี ธรรมวิรยิ ะวงศ์ (2562) เสนอว่าความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ คอื การแสดงออกที่

มากกว่าความจงรักภักดีที่เกิดขึ้นตามปกติ เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและผลักดันให้บุคคลเต็มใจอุทิศ
ตนเองเพื่อสร้างสรรค์ให้องค์การอยู่ในสถานะท่ีดีขึ้น ความผกู พันของพนักงานต่อองค์การมีความสำคัญที่แสดงถึง
ความเต็มใจใน การพยายามกระทำสิ่งดีๆ ให้กับองค์การ เพื่อผลประโยชน์ขององค์การและของบุคคลในองค์การ
ให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการ อีกทั้งเชื่อว่า บุคคลจะคงอยู่เป็นสมาชิกขององค์การต่อไป เมื่อความต้องการหรือ
เปา้ หมายส่วนบุคคลได้รับการตอบสนองแล้ว ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การจะทำให้เกิดผลดีและผลเสียได้
กล่าวคือ ในสว่ นของผลดี จะทำใหเ้ ขามีความก้าวหน้าในองค์การ เช่น ไดเ้ ลื่อนข้นั ตำแหน่ง ได้ข้ึนเงินเดือน เป็นตน้
ส่วนผลเสียนั้นคือ เขาอาจมีโอกาสดีๆ ในการทำงานอย่างอื่น ที่ให้ประโยชน์กับเขามากกว่าองค์การปัจจุบัน แต่
เพราะความผูกพันทำให้เขาไม่อยากเปลี่ยนงาน ความผูกพันจึงเป็นทัศนคติที่สำคัญสำหรับองค์การไม่ว่าจะเป็น
องค์การแบบใด เพราะความผูกพันเป็นตัวเชื่อมระหว่างจินตนาการของมนุษย์กับจุดมุ่งหมายขององค์การ ทำให้
ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การและเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสภาพความเป็นอยู่ดีกินดีของ
องคก์ าร

Byrne (2014) กล่าวว่าความผูกพันของพนักงานต่อองค์การว่า เป็นความเชื่อทางจิตวิทยาของคนที่
ผูกพันกับองค์การ รวมทั้งความรู้สึกผูกพันกับงาน ความจงรักภักดี และความเชื่อในค่านิยมขององค์การ
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ความยินยอมทำตาม (Compliance) คือ การที่คนยอมกระทำตามความต้องการ
ขององค์การ เพื่อให้ได้บางสิ่งบางอย่างจากองค์การ 2) การยึดถือองค์การ (Identification) คือ การที่บุคคลยอม
กระทำตามความต้องการขององค์การ และความภมู ใิ จที่ได้เป็นส่วนหน่งึ ขององค์การ 3) การซึมซบั ค่านยิ มองค์การ
(Internalization) คอื การท่ีคนรับเอาค่านยิ มขององค์การมาเป็นค่านยิ มของตนเอง

ความผูกพันต่อองค์การ (Employee engagement) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การเปน็ สมาชิกที่ดีขององค์การ เนื่องจากความผูกพันต่อองค์การเป็นปัจจัยท่ีเกยี่ วข้องกับความรู้สึกของบุคคลท่ีมี
ต่องานและองค์การ โดยบุคคลที่มีความผูกพันต่อองค์การแสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องการจะอยู่กับองค์การต่อไป ด้วย
เหตุผลต่าง ๆ เช่น เพราะเห็นวา่ องค์การได้ให้ความช่วยเหลือ ให้ประโยชนแ์ กต่ นเอง และรสู้ ึกวา่ เป็นส่วนหน่ึงของ
องค์การ จึงมีความต้องการที่จะตอบแทนให้กับองค์การโดยแสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมบทบาทพิเศษตาม
ความสามารถ และศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ เพื่อส่งเสริมให้องค์การมีประสิทธิผลพฤติกรรมบทบาทพิเศษที่ว่าน้ี
พฤตกิ รรมการเป็นสมาชิกทดี่ ีขององค์การนัน่ เอง (Riggio, 2002: 239)

จากการทบทวนวรรณกรรมผู้วิจัยนำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม และสามารถสร้างเป็นกรอบแนวคิดได้
ดงั นี้

461 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

กรอบแนวคิดในการวิจัย พฤตกิ รรมการเป็นสมาชิกที่ดใี น
องคก์ ารของพนักงานเจนเนอเรช่นั วายใน
ขอ้ มูลสว่ นบุคคล
- เพศ กรุงเทพและปริมณฑล
- ระดบั การศึกษา 1) พฤติกรรมด้านความเอื้อเฟื้อ
- สถานภาพ (Altruism)
- อาชพี 2) พฤติกรรมด้านการคำนึงถึงผู้อื่น
- รายได้เฉล่ียตอ่ เดือน (Courtesy)
3) พฤติกรรมความอดทนอดกล้ัน
ความผกู พนั ต่อองค์การ (Sportsmanship)
1) ความยินยอมทำตาม (Compliance) 4) พฤติกรรมด้านการให้ความร่วมมือ
2) การยดึ ถือองค์การ (Identification) (Civic Virtue)
3) การซึมซบั คา่ นิยมองค์การ 5) พฤติกรรมด้านความสำนึกในหน้าท่ี
(Internalization) (Conscientiousness)

แผนภาพท่ี 1 กรอบแนวคิดในการวิจยั

3. วิธีดำเนนิ การวจิ ยั

ประชากรที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพ และปริมณฑล ที่อยู่ในวัย
เจนเนอเรชันวาย ซึ่งไม่พบจำนวนประชากรที่ชัดเจนผู้วิจัยใช้การหาขนาดตัวอย่างแบบไม่ทราบประชากรของ
Cochern 1953 ใช้เลือกตัวอย่างแบบสะดวก โดยการเก็บแบบสอบถามออนไลน์จาก พนักงานบริษัทเอกชนใน
กรุงเทพ และปรมิ ณฑล จำนวน 400 ราย

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน เพื่อสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความ
ผูกพันต่อองค์การ และการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยนำแบบสอบถามให้
ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) จำนวน 3 ท่าน มาหาค่าดัชนีความ
สอดคล้องตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ (Index of Item Objective Congruence : IOC) จากการคำนวณหาค่า IOC
มีนำแบบสอบถามไปทดสอบ (Try-Out) กับพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 30 คน ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อหาค่า
ความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการคำนวณหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่า
ของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อม่นั สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของปัจจยั ในการให้บริการ

462 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผูกพนั ต่อองค์การในช่วง 0.88-0.91 และการเปน็ สมาชิกท่ีดตี ่อองค์การ ในช่วง 0.81-0.92 แสดงใหเ้ ห็นคุณภาพของ
เคร่ืองมือก่อนำไปจัดเกบ็ ข้อมลู

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้ค่าร้อยละ
(Percentage) การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิง
อนมุ าน โดยใช้ การทดสอบที การวเิ คราะหค์ วามแปรปรวนแบบทางเดียว และสถติ กิ ารวเิ คราะหก์ ารถดถอยพหุคูณ

4. ผลการวจิ ยั

ผลการวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น
เพศหญิง (ร้อยละ 63.00) ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 73.40) มีสถานภาพโสด (ร้อยละ 88.00)
อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน (ร้อยละ 42.20) และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 15,001-30,000 (ร้อยละ
70.50)

ความผูกพนั ต่อองคก์ าร ของพนกั งานเจนเนอเรช่ันวายในกรงุ เทพและปริมณฑล อยใู่ นระดับปานกลาง
(Mean = 3.39) โดยแต่ละด้านได้คา่ เฉลี่ยดังต่อไปนี้ ความยินยอมทำตาม (Mean = 3.42) การยึดถือองค์การ
(Mean = 3.62) และ การซมึ ซับค่านิยมองค์การ (Mean = 3.12)

พฤติกรรมการเปน็ สมาชกิ ทีด่ ีในองค์การของพนักงานเจนเนอเรช่นั วายในกรงุ เทพและปรมิ ณฑล อยใู่ น
ระดับมาก (Mean = 4.07) โดยแต่ละด้านได้ค่าเฉลี่ยดังต่อไปน้ี พฤติกรรมด้านความเอื้อเฟือ้ (Mean = 4.10)
พฤติกรรมด้านการคำนึงถงึ ผู้อ่นื (Mean = 4.08) พฤติกรรมความอดทนอดกล้ัน (Mean = 4.02) พฤติกรรม
ด้านการให้ความรว่ มมือ (Mean = 4.22) และ พฤติกรรมดา้ นความสำนกึ ในหน้าที่ (Mean = 3.96)

ตารางที่ 1 พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานเจนเนอเรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล

เมื่อจำแนกตามปจั จัยสว่ นบุคคล (คา่ sig)

เพศ การศกึ ษา สถานภาพ อาชพี รายได้

1) พฤตกิ รรมดา้ นความเออ้ื เฟื้อ 0.08 0.18 0.05* 0.16 0.02*

2) พฤติกรรมดา้ นการคำนึงถึงผู้อ่นื 0.12 0.22 0.03* 0.12 0.01**

3) พฤติกรรมความอดทนอดกลน้ั 0.17 0.07 0.02* 0.18 0.01**

4) พฤติกรรมด้านการให้ความร่วมมือ 0.21 0.12 0.01** 0.07 0.03*

5) พฤตกิ รรมด้านความสำนกึ ในหนา้ ที่ 0.36 0.16 0.03* 0.13 0.00**

การเป็นสมาชกิ ท่ีดีในองค์การ 0.10 0.19 0.02* 0.11 0.02*

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานเจนเนอเรชั่นวายในกรุงเทพ
และปริมณฑล มีความแตกตา่ งกนั ตามสถานภาพ และรายไดอ้ ยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถติ ิที่ระดบั 0.05

463 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางที่ 2 อิทธิพลของความผูกพันที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานเจนเนอ

เรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล

B S.E. Beta t Sig.

(คา่ คงท)่ี 0.18 0.10 1.22 0.17

1. ความยนิ ยอมทำตาม X1 0.22 0.05 0.21 4.12** 0.00
2. การยึดถอื องคก์ าร X2
0.27 0.07 0.28 5.22** 0.00

3. การซึมซบั ค่านยิ มองค์การ X3 0.36 0.06 0.38 7.41** 0.00

R2 = 0.44

อิทธิพลของความผูกพันที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานเจนเนอ

เรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล ประกอบไปด้วย ความยินยอมทำตาม (b=0.22) การยึดถือองค์การ (b=0.27)

และ การซึมซับค่านิยมองค์การ (b=0.36) สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 44 โดย สามารถเขียนสมการ

พยากรณ์ไดด้ ังน้ี

Ŷ= 0.18+ 0.22 x1 ** + 0.27 X2 **+ 0.36 X3**

5. สรปุ อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ

5.1. สรุปและอภิปรายผล
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานเจนเนอเรชั่นวายในกรุงเทพและปริมณฑล

มีความแตกต่างกันตามสถานภาพ และรายได้ ผลการวิจัยดังกล่าวจะสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชนม์ขนิษฐ์
วิศิษฎ์สมบัติ ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ และ พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ (2562) ซึ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ
พฤตกิ รรมการเป็นสมาชิกที่ดขี ององค์การของบุคลากรในมหาวิทยาลัย ปจั จยั สว่ นบคุ คลประเภทบุคลากร โดย
ผลการวิจัยพบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ในขณะที่งานวิจัย
ของ วิภาพร สิงห์บุตร (2562) ซึ่งศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การที่มี
อิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรส่วนกลาง กรมศุลกากร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วน
บคุ คลดา้ น อายุ ระดับการศกึ ษา ตำแหน่งงาน รายไดต้ ่อเดือน และอายุงาน มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิก
ที่ดีของบุคลากรส่วนกลาง กรมศุลกากรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งจะเห็นได้ว่า มี
บางตัวแปรขัดแย้งกับผลที่เกิดขึ้นทัง้ นี้ ผู้ที่อยู่ใน เจนเนอเรชั่นวาย จะมีคุณลักษณะบางประการที่แตกต่างจาก
บรบิ ทของงานวจิ ัยทอี่ ้างถงึ

อทิ ธพิ ลของความผูกพันที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกท่ีดีในองค์การของพนักงานเจนเนอเรชั่น
วายในกรุงเทพและปริมณฑล ประกอบไปด้วย ความยินยอมทำตาม การยึดถือองค์การ และ การซึมซับค่านิยม
องค์การ ซึ่งจะสอดคล้องกับงานวิจัยของ ของ วิภาพร สิงห์บุตร (2562) ซึ่งศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมในการ
ทำงาน และความผูกพันต่อองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรส่วนกลาง กรม
ศุลกากร โดยผลการวจิ ัยพบวา่ ความผูกพันต่อองค์การมีความสามารถในการพยากรณ์พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่

464 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ดี ร้อยละ 56 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานและความผูกพันต่อ
องคก์ ารมอี ิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกท่ีดีของบุคลากรส่วนกลาง กรมศุลกากร

5.2 ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบาย
1. ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการทำงานอยู่ใน ยุคชีวิตวิถีใหม่ การสำรวจข้อมูลจากพนักงาน กลุ่ม

เจนเนอเรชั่นวาย พบว่า พนักงานที่มีสถานภาพ และรายได้แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี
แตกต่างกัน การสำรวจถึงความแตกต่าง และสรา้ งแรงจูงใจให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของกลุ่มเป้าหมายเป็น
หนา้ ที่ ท่ีผมู้ สี ว่ นเกีย่ วขอ้ งต้องใหค้ วามสำคัญ

2. ผลการวิจยั พบวา่ แม้ในยคุ ชีวติ วิถีใหม่ พนกั งานจะทำงานอยูท่ ี่บ้าน แต่ความผกู พันต่อองค์การ
ก็ยังสามารถสร้างได้ และยิ่งมีความสำคัญที่จะสร้าง พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ให้เกิดขึ้นกับพนักงาน เจน
เนอเรชน่ั วาย ซ่ึงเปน็ ผู้เปน็ กำลังสำคัญในปัจจบุ ันขององค์การ

5.3 ข้อเสนอแนะเพ่อื การวิจัยในคร้ังตอ่ ไป
1. ด้วยข้อจำกัดในการเก็บข้อมูล การเก็บข้อมูลทางออนไลน์ อาจได้ข้อมูลที่ไม่ได้การกระจายที่ดี

ดังนนั้ ผ้ทู ่ีสนใจอาจดำเนนิ การเก็บแบบสอบถามใหม่เม่ือสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแลว้
2. งานวิจัยดังกล่าวจำกัดโดยการทำวิจัยเชิงปริมาณ และเก็บกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ พนักงานเจนเนอ

เรชั่นวาย ในกรุงเทพ และปริมณฑลเท่านั้น ผู้ที่สนใจอาจจะขยายเขตแดนในการจัดเก็บข้อมูลให้มีการกระจายมาก
ย่ิงขนึ้ ในโอกาสต่อไป

เอกสารอา้ งอิง

ชนม์ขนิษฐ์ วิศษิ ฎส์ มบัติ ประพันธ์ ชยั กจิ อุราใจ และ พีระพงษ์ กิตเิ วชโภคาวฒั น์. (2562). ปัจจยั ทมี่ ีผลต่อ
พฤตกิ รรมการเป็นสมาชกิ ท่ดี ีขององคก์ ารของบุคลากรในมหาวิทยาลยั ปจั จัยสว่ นบคุ คลประเภท
บุคลากร รายได้เฉลย่ี ตอ่ เดือน และวุฒิการศึกษา มผี ลต่อพฤตกิ รรมการเป็นสมาชิกทีด่ ขี ององค์การ.
วารสารบณั ฑติ ศึกษา มหาวิทยาลยั ราชภฎั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ.์ 13 (1).37-50.

ธนัชพร เลขวตั และรัชนีวรรณ วนชิ ย์ถนอม. (2560).ความสมั พันธร์ ะหว่างบุคลิกภาพหา้ องค์ประกอบ การรับรู้
บรรยากาศองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชกิ ทด่ี ีขององค์การ โดยมีความสขุ ในการทำงานเปน็ ตัว
แปรสอ่ื ของขา้ ราชการในหน่วยงานราชการแห่งหน่งึ .วารสารสงั คม และมนษุ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ .43 (1).99-118.

ประไพศรี ธรรมวริ ิยะวงศ์. (2562).แนวทางการพัฒนาความผกู พนั ของพนักงานในองค์กร. วารสารวทิ ยาลัย
ดุสติ ธานี .13 (2).493-504

465 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

วิภาพร สงิ ห์บตุ ร.(2562).ปัจจยั สภาพแวดลอ้ มในการทำงาน และความผกู พนั ต่อองคก์ ารที่มีอิทธพิ ลต่อ
พฤตกิ รรมการเปน็ สมาชกิ ท่ดี ีของบคุ ลากรส่วนกลาง กรมศลุ กากร.วารสารบริหารธรุ กจิ และ
สงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 1 (2). 110-12.

Bateman, T. S., & Organ, D. W. (1983). Job Satisfaction and the Good Soldier: The
Relationship between Affect and Employee “citizenship”. Academy of Management
Journal, 26(4), 587-595

Byrne, Z. S. (2014). Understanding employee engagement: Theory, research, and practice.
NY: Routledge.

Chester, B. I. (1938). The Functions of the Executive. Cambridge, MA: Harvard
University Press.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. NY: John Wiley
Farh, J. L., Zhong, C. B., & Organ, D. W. (2004). Organizational citizenship behavior in the

People's Republic of China. Organization Science, 15 (2), 241-253.
Organ, D. W. (1988). Organizational Citizenship Behavior: The Good Soldier Syndrome.

Lexington, MA: Lexington Books.
Organ, D. W. (1990). The motivational basis of organizational citizenship behavior. In

B. M. Staw & L. L. Cummings (Eds.), Research in organizational behavior. (pp.
43–72). (12th ed.) Greenwich, CT: JAI
Organ, D. W., Podsakoff, P. M., & MacKenzie, S. B. (2006). Organizational Citizenship
Behavior: Its Nature, Antecedents and Consequences. Thousand Oaks: Sage.
Riggio, R. E. (2002). Introduction to Industrial / Organizational Psychology. (4th ed.)
NJ:Prentice-Hall.
Smith, C. A., Organ, D. W., & Near, J. P. (1983). Organizational Citizenship Behavior:
Its Nature and Antecedents. Journal of Applied Psychology, 68(4), 653-663.
Spitzmuller, M., Van Dyne, L., & Ilies, R. (2008). Organizational citizenship behavior: A review
and extension of its nomological network. The SAGE handbook of organizational
behavior, 1, 106-123.

466 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ

1. บทนำ

ต้นแบบ (template) จัดเตรียมได้โดยใช้ทั้งโปรแกรม Ms Word และบันทึกอยู่ในรูปของไฟล์
ต้นแบบนามสกุล .docx และ .doc เพ่ือให้ผูเ้ ขียนบทความนำไปใช้ และทราบถึงรปู แบบ (format) ต่างๆ ท่ใี ช้
ในการจัดทำบทความตน้ ฉบับ โดส่วนประกอบต่างๆ ของบทความจะต้องมีลกั ษณะที่เหมอื นกนั เพื่อให้วารสาร
มีความเปน็ ระเบียบเรยี บร้อย

บทความจะต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ตามลำดับต่อไปนี้ คือ ส่วนนำ ประกอบด้วย ช่ือเร่ือง
ภาษาไทย ชอื่ เรอ่ื งภาษาอังกฤษ ชื่อผเู้ ขียนบทความ ชื่อหน่วยงานหรอื สถาบันของผู้เขียน ท่ีอยู่ E-mail เฉพาะ
ของผู้เขียนผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding author) บทคัดย่อภาษาไทย คำสำคัญ บทคัดย่อ
ภาษาอังกฤษ และคำสำคัญภาษาอังกฤษ ในส่วนเน้ือเรื่อง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของบทความ
ดังนี้

1. บทความวิจยั เนอื้ เร่ือง ควรประกอบด้วย (1) บทนำ วตั ถุประสงค์ในการศกึ ษา/การวิจัย สมมติฐาน
ใน การศึกษา/การวิจัย (ถ้ามี) (2) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง/กรอบแนวความคิด (3) วิธีดำเนินการ
ศึกษา/การวิจัย (4) ผลการศึกษา/การวิจัย (5) สรุปผลการศึกษา/การวิจัย อภิปรายผลการศึกษา/การวิจัย
ข้อเสนอแนะ (6) กิตตกิ รรมประกาศ (ถ้ามี) (7) เอกสารอา้ งอิง

2. บทความทางวิชาการ เนื้อเร่ือง ควรประกอบด้วย (1) ความนำ/บทนำ (2) วัตถุประสงค์ของ
บทความ (3) เนือ้ เรอื่ ง/เน้ือหาของบทความ (4) บทสรปุ (5) เอกสารอ้างองิ

2. คำแนะนำในการเขียนตน้ ฉบบั บทความ

2.1 การจัดหนา้ กระดาษ
บทความท่ีจะใช้ภาษาไทยเป็นหลัก (และอาจจะมีคำภาษาอังกฤษแทรกได้) ตามรูปแบบท่ีกำหนด
ขนาดของบทความจะอยู่ในพ้ืนที่ของกระดาษ A4 พิมพ์แนวตั้ง (portrait) โดยต้ังค่าหน้ากระดาษ (page
setup) ทุกด้านให้มีระยะขอบ(margins) ด้านละ 1 นิ้วเท่ากันท้ังหมด และความยาวของบทความ (รวมหน้า
บทคัดย่อ) ไม่ควรเกิน 12 หน้า
ท้ังนี้ต้นแบบน้ีจะบอกรายละเอียดของรูปแบบของบทความทถี่ ูกต้อง เชน่ ขนาดของกรอบ ความกว้าง
ของคอลัมน์ระยะห่างระหว่างบรรทัด และรูปแบบของตัวอักษร ห้ามปรับเปล่ียนให้ต่างไปจากท่ีระบุ กรุณา
ระลึกเสมอวา่ บทความของท่านจะถกู นำไปรวมกับบทความอนื่ ๆ ในวารสารฯ ไมใ่ ช่เอกสารท่ีพิมพ์เดย่ี วๆ ดงั นั้น
บทความทัง้ หมดควรที่จะต้องอยู่ในรูปแบบเดียวกนั อย่าขยายขนาดระยะห่างระหว่างบรรทัดเม่อื จะข้ึนย่อหน้า
ใหม่
การลำดับหัวข้อในเนื้อเร่ืองให้ใส่เลขกำกับ โดยให้บทนำเป็นหัวข้อหมายเลข 1 และหากมีการแบ่ง
หัวขอ้ ยอ่ ย กใ็ ห้ใชเ้ ลขระบบทศนิยมกำกับหัวขอ้ ย่อย เชน่ 2.1, 2.1.1 เป็นตน้

2.2 ขนาดตวั อักษรและการเวน้ ระยะ
2.2.1 ขนาดตัวอกั ษร
ตัวอักษรท่ีใช้ในการจัดทำบทความนี้คือ “TH SarabunPSK” สำหรับชื่อเร่ืองบทความ ให้ใช้

ตัวอักษรแบบหนาขนาด 18 จุด (points) ชื่อผู้เขียนบทความ ใช้ตัวอักษรแบบธรรมดาขนาด 16 จุด ช่ือ
หน่วยงานหรือสถาบนั ของผู้เขียน และที่อยู่ E-mail ใช้ตัวอักษรแบบธรรมดาขนาด 14 จุด ชื่อหัวขอ้ หลัก (เช่น
1., 2.) หวั ข้อยอ่ ย (เชน่ 1.1, 1.2, …) หรอื หัวข้อย่อย (เชน่ 1.1.1, 1.1.2, …) ใช้ตัวอกั ษรแบบหนาขนาด 16 จุด
บทคัดย่อและเนือ้ ความตา่ งๆ ใชต้ ัวอกั ษรแบบธรรมดาขนาด 16 จดุ รายละเอยี ดดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางท่ี 1 รายละเอียดรูปแบบตัวอักษรสำหรบั การจัดทำบทความตน้ ฉบับ

องค์ประกอบ ตัวอกั ษร รปู แบบอักษร ขนาดอักษร (จดุ )

ช่อื เรอ่ื งบทความ TH SarabunPSK หนา 18

ชอ่ื ผูเ้ ขยี น TH SarabunPSK ธรรมดา 16

ช่อื หน่วยงานหรอื สถาบนั TH SarabunPSK ธรรมดา 14

ของ ผเู้ ขยี น และท่ีอยู่ E-

mail

หัวเรอื่ ง 1 (1.,2.,..) TH SarabunPSK หนา 18

หัวเรื่อง 2 (1.1,1.2,..) TH SarabunPSK หนา 16

หวั เรอ่ื ง 3 (1.1.1, …) TH SarabunPSK หนา 16

เนอ้ื หาและบทคดั ย่อ TH SarabunPSK ธรรมดา 16

คำอธิบายรูป TH SarabunPSK ธรรมดา 16

คำอธบิ ายตาราง TH SarabunPSK ธรรมดา 16

ตัวแปรในสมการ ** ** ** **

เอกสารอา้ งองิ TH SarabunPSK ธรรมดา 16

** จัดทำโดยการใช้ MathType/ Ms Equation Object 3.0 ดูรายละเอียดเพ่มิ เติมในหวั ขอ้ ท่ี 2.5

2.2.2 การเวน้ ระยะ
เน้ือเรอ่ื งในแต่ละบรรทดั ให้จดั เรียงชิดซา้ ยและขวาอยา่ งสวยงามโดยตง้ั ค่าการกระจายแบบไทย
(Thai Distributed)
การเว้นระยะระหวา่ งบรรทัดสำหรับหัวเรอ่ื ง 1 เชน่ 1. และ 2. จะใชข้ นาดระยะ 14 จดุ
การเว้นระยะระหวา่ งบรรทดั สำหรับหัวเรอื่ ง 2 และ 3 เช่น 2.1, 2.2 หรอื 2.2.1, 2.2.2 จะใชข้ นาดระยะ 8 จุด
กำหนดระยะในการยอ่ หน้า ย่อหน้าแรกอย่ทู ี่ 0.5 นวิ้ ย่อหน้าต่อไปย่อหนา้ ละ 0.25 น้ิว (0.5, 0.75, 1.00, ….)

2.3 ชื่อเร่อื ง ชื่อผแู้ ต่ง และหัวขอ้
การพิมพ์ชื่อเร่ือง ให้วางไว้ตำแหน่งกลางหน้ากระดาษ เร่ิมจากชื่อเรื่องภาษาไทย ขึ้นบรรทัดใหม่เป็น
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ (กรณีช่ือเร่ืองเกิน 2 บรรทัดให้จัดในลักษณะสามเหล่ียมกลับหัว) ช่ือผู้เขียนภาษาไทย
และอังกฤษ สำหรับช่ือหน่วยงานหรือสถาบันของผู้เขียนและท่ีอยู่ Corresponding author : ให้พิมพ์ไว้
ส่วนท้ายของหนา้ แรกของงานทนี่ ำเสนอ

2.4 การจดั ทำรปู ภาพ
รูปภาพท่ีใช้จะต้องมีความคมชัดเพียงพอเพ่ือท่ีจะให้ผู้อ่านสามารถเห็นรายละเอียดในรูปภาพได้
ชัดเจน แต่ไม่ควรมีขนาดไฟลท์ ่ใี หญ่จนเกินไป เพราะจะทำใหไ้ ฟล์บทความต้นฉบบั มขี นาดใหญ่ตามไปด้วย โดย
รูปภาพจะต้องวางไว้ตำแหน่งกลางหน้ากระดาษ ตัวอักษรทั้งหมดในรูปภาพ จะต้องมีขนาด 16 จุด เพ่ือให้
ผูอ้ า่ นสามารถอ่านได้สะดวก โดยรูปภาพทุกรูปจะต้องมหี มายเลขแสดงลำดับและคำบรรยายได้ภาพ หมายเลข
และคำบรรยายรวมกันแล้วควรจะมีความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด และควรจะเว้นบรรทัด 1 บรรทัด เหนือขอบ
ของรปู ภาพและใต้ คำอธบิ ายภาพ

2.5 การเขียนสมการ
สมการท่ีใช้ในบทความควรจะเป็นการสร้างจากโปรแกรม MathType หรือเป็นวัตถุของ Microsoft
Equation มีขนาด 14 จุด และเป็นตัวอักษร “TH SarabunPSK” ขนาด 14 จุด สมการทุกสมการจะต้องมี
หมายเลขกำกับอยู่ภายในวงเล็บ และเรียงลำดับที่ถูกต้อง ตำแหน่งของหมายเลขสมการ (ใช้ตัวอักษร TH
SarabunPSK ธรรมดาขนาด 16 จุด) และจะตอ้ งจดั ตำแหนง่ ของสมการให้มคี วามสวยงาม

2.6 การจดั ทำตาราง
ตัวอักษรในตาราง ให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK หนาขนาด 16 จุด สำหรับหัวข้อของตาราง และ
ให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ธรรมดาขนาด 16 จุด สำหรับเน้ือหา ควรตีเส้นกรอบตารางด้วยหมึกดำให้
ชัดเจน (ทั้งน้ีผู้เขียนบทความอาจจะใช้ขนาดอักษรท่ีเล็กกว่า 16 จุดได้ โดยขึ้นอยู่กับเนื้อหาและความ
สวยงามของการจดั ตาราง)

2.7 การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง
การอา้ งอิงในบทความ กรณีที่ผเู้ ขยี นต้องการระบแุ หล่งท่ีมาของข้อมูลในเนอื้ เรอื่ งให้ใช้วิธกี ารอ้างองิ ใน
ส่วนเนื้อเรื่องแบบนาม-ปี (author-date in-text citation) โดยระบุ ชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสาร ไว้
ข้างหน้าหรอื ข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง เพ่ือบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้นและอาจระบุเลขหน้าด้วยก็ได้
เชน่ มานะ รักย่ิง (2555: 45) กล่าวว่า ......หรือ ...... (มานะ รักย่งิ , 2555: 45) ในกรณที ่ีมีผู้แต่งตั้งแต่ 3 คนขึ้น
ไปให้ใช้ และคณะ เช่น มานะ รักยิ่ง และคณะ (2555: 51) หรือ (มานะ รักย่ิง และคณะ, 2555: 51) ถ้าเป็น

ภาษาอังกฤษหรือภาษาใดๆ ที่เขียนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษให้ใช้ et al. ต่อท้ายผแู้ ต่งคนแรก เช่น Schaad
et al. (1992: 405) หรือ (Schaad et al., 1992: 405)

การอ้างอิงท้ายบทความ เป็นการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดท่ีผู้เขียนบทความได้ใช้อ้างอิงในการ
เขียนบทความจัดเรียงรายการตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อ เอกสารอ้างอิง สำหรับบทความ
ภาษาไทยหรือ Reference สำหรับบทความภาษาอังกฤษ โดยให้เรียงลำดับเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยขึ้น
ก่อนและตามด้วยภาษาอังกฤษหรือภาษาอ่ืนๆ และไม่ต้องใส่หมายเลขนำหน้า ให้แสดงเฉพาะเอกสารท่ีนำมา
อ้างอิงในเนื้อเร่ืองเท่าน้ัน ไม่ควรอ้างอิงเอกสารใดๆ ที่ยังไม่ได้มีการตีพิมพ์ โดยเรียงลำดับตามตัวอักษร หาก
รายละเอียดของเอกสารอ้างองิ มีความยาวมากกว่าหนงึ่ บรรทัดให้พิมพ์ต่อบรรทัดถดั ไป โดยท่ีย่อหน้าเว้นระยะ
จากขอบซ้ายของหน้ากระดาษ 0.5 น้ิว โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American
Psychological Association) ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงมดี งั น้ี

2.7.1 หนงั สือหรือตำรา
รูปแบบ: ชอ่ื ผู้แต่ง. (ปที ี่พิมพ์). ชื่อหนงั สือ. เมืองที่พิมพ์: สำนกั พมิ พ์. (ตวั อย่างเชน่ )
นนั ทวัฒน์ บรมานนั ท์. (2545). การปกครองส่วนท้องถ่นิ ตามรฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย พ.ศ.
2540. (พิมพค์ ร้ังที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
Tzeng, O.C.S. (1993). Measurement of love and intimate relations: Theories, scales and
Applications for Love development, Maintenance, and dissolution. London:
Praeger.

2.7.2 หนงั สอื หรือตำราที่มีบรรณาธิการ
รูปแบบ: ชือ่ ผู้แตง่ . (ปีทพี่ ิมพ์). ชอื่ บทความ. ใน ช่ือบรรณาธกิ าร, ชื่อหนังสือ. (เลขหนา้
บทความ). เมืองที่พิมพ์: สำนกั พมิ พ์. (ตวั อย่างเช่น)
Hartley, J. T., Harker, J. O., & Walsh, D. A. (1980). Contemporary issues and new directions in
adult development of learning and memory. In Poon, L. W. (Ed.), Aging in the 1980s:
Psychology issues (239-252). Washington, DC: American Psychology Association.

2.7.3 วารสาร/ขา่ วสาร/นิตยสาร
รูปแบบ: ช่ือผแู้ ต่ง. (ปที พ่ี มิ พ์, เดอื น). ช่อื บทความ. ชือ่ วารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหนา้ บทความ.
(ตัวอยา่ งเช่น)
ประหยดั หงษ์ทองคำ. (2544, เมษายน). อำนาจหนา้ ท่ีของรฐั สภาตามบทบญั ญัตริ ัฐธรรมนญู พ.ศ. 2540.
รัฐสภาสาร, 49 (4), 1-16.

2.7.4 วิทยานพิ นธ์และดษุ ฎนี ิพนธ์
รปู แบบ: ชื่อผู้เขยี นวิทยานิพนธ์. (ปีท่วี ิจัยสำเร็จ). ชอื่ วิทยานพิ นธ์. วิทยานพิ นธป์ รญิ ญา(ระดบั ) ช่อื
สาขาวชิ าสงั กัดของสาขาวิชา มหาวิทยาลัย. (ตัวอยา่ งเชน่ )
เขม็ ทอง ศริ แิ สงเลิศ. (2540). การวเิ คราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชวี ศึกษาเอกชน
กรงุ เทพมหานคร.ดุษฎนี พิ นธ์ปรญิ ญาครุศาสตรดุษฎีบณั ฑิต สาขาวิชาการบรหิ ารการศึกษา บัณฑติ
วทิ ยาลัยจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั .

2.7.5 รายงานการวิจัย
รปู แบบ: ชอ่ื ผแู้ ต่ง. (ปีทีพ่ ิมพ์). รายงานการวิจัยเรอื่ ง . เมอื งท่ีพิมพ์: สำนักพิมพ์. (ตวั อยา่ งเชน่ )
ชวนพิศ สุทัศนเสนยี ์. (2534). รายงานการวิจยั เรอ่ื ง การใช้และไมใ่ ช้บรกิ าร กฤตภาคของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรงุ เทพมหานคร: มหาวทิ ยาลัยรามคำแหง.

2.7.6 เอกสารอเิ ล็กทรอนิกส์
รปู แบบ: ชื่อผู้แตง่ .(ป)ี .ชื่อเรือ่ ง. [ออนไลน์]. คน้ เมื่อ [วัน เดอื น ปี] จาก แหลง่ สารสนเทศ.[หรือ
URL] ] (ตัวอย่างเชน่ )
ภาควชิ าบรรณารกั ษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่ (2552). การลงรายการบรรณานกุ รม
ตามกฎ APA Style [ออนไลน์]. สืบค้นเม่ือ 1 มิถุนายน 2552 จาก
http://www.human.cmu.ac.th/~lib/documents/Bliography.pdf
Urmila, R. & Parlikar, M., S. (2002). Organizational Citizenship Behaviors. Retrieved May 20,
2014, from http:/www.worktrauma.org.

3. การสง่ ตน้ ฉบับ

ส่งต้นฉบับพร้อมไฟล์ข้อมูลทางไปรษณีย์ถึงกองบรรณาธิการวารสารฯ ซ่ึงมีสำนักงานอยู่ท่ีคณะ
วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตามท่ีอยู่ด้านล่างน้ี หรือส่งไฟล์ข้อมูลผ่าน E-mail:
[email protected]

“กองบรรณาธกิ ารวารสารวทิ ยาการจดั การ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏนครปฐม”
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 หมู่ 3 ถนนมาลยั แมน ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
โทรศัพท์. 0-3426-1021-36 ตอ่ 3360 โทรสาร 0-3426-1068

สอบถามรายละเอยี ดเพม่ิ เติม ตดิ ต่อ
นางสาวอุทัยวรรณ รงุ้ ทองนริ ันดร์ โทร. 034-261021-36 ต่อ 3360 โทรสาร 034-261068

แบบฟอร์มการนำส่งบทความ

วันท่ี....................เดอื น................................... พ.ศ. .........................................

เรียน บรรณาธิการวารสารวิทยาการจัดการ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏนครปฐม
เรื่อง ส่งบทความ

สิ่งทส่ี ง่ มาดว้ ย
1. บทความจำนวน 3 ชุด
2. ไฟลข์ ้อมลู จำนวน 1 แผ่น

ขา้ พเจ้า นาย/นาง/นางสาว ชื่อ...................................................... นามสกุล......................................................
I, Mr./Mrs./Miss Name & Surname…………………………………………………………….……………………………………
ทอ่ี ยเู่ พื่อการตดิ ต่อโดยละเอียด บา้ นเลขท่ี .................................................ตำบล/แขวง......................................
อำเภอ/เขต............................................................ จงั หวดั .................................................................................
รหัสไปรษณยี ์....................................................... โทรศัพท์เคลอ่ื นท.ี่ ...................................................................
โทรศพั ท์................................................................ โทรสาร .................................................................................
อเี มล์....................................................................................................................... ..............................................
บทความดังกลา่ วเป็น

 บทความวิจยั
 บทวจิ ารณ์หนงั สือ
 บทความปรทิ ัศน์
 ไม่ไดเ้ ปน็ สว่ นหน่ึงของการศกึ ษา
 เป็นสว่ นหน่งึ ของการศกึ ษา ตามหลกั สูตร....................................................
สาขา................................................. สถาบันการศึกษา.......................................................................

ดังรายละเอียดต่อไปน้ี
1. ช่ือบทความภาษาไทย............................................................................................................................................
2. ชื่อบทความภาษาอังกฤษ ......................................................................................................................................
3. เจ้าของผลงาน ตำแหนง่ ทางวชิ าการ/ระบคุ ำนำหน้าชอื่

ช่อื บทความภาษาไทย ............................................................................................................................. ......
คนที่ 1 ชื่อ
(ภาษาไทย)..................................................................................................... ....................................................
(ภาษาอังกฤษ).................................................................................................................. ...................................
สถานบนั การศึกษา/สถานทท่ี ำงาน.....................................................................................................................
............................................................................................................................. ...............................................

คนท่ี 2 ชอ่ื
(ภาษาไทย)................................................................................................................................................ .........
(ภาษาองั กฤษ).....................................................................................................................................................
สถานบันการศึกษา/สถานท่ีทำงาน................................................................................................. ....................
............................................................................................................................................................................

คนที่ 3 ชื่อ
(ภาษาไทย).................................................................................................................... .....................................
(ภาษาอังกฤษ)................................................................................. ....................................................................
สถานบนั การศึกษา/สถานทท่ี ำงาน.....................................................................................................................
...................................................................................................................................................................... ......

สถานทีต่ ิดต่อของผู้ตดิ ต่อของผู้สง่ บทความ (ซ่ึงกองบรรณาธกิ ารสามารถติดตอ่ ได้สะดวก)
ทอ่ี ยู่ (Contact Info)..................................แขวง/ตำบล (Sub district) ...............................................
เขต/อำเภอ (District).............................................จังหวดั (Province)..................................................
รหัสไปรษณยี ์ (Postal code)...............................................................
โทรศพั ท์ (Telephone)..........................................................................................................................
โทรศัพท์เคล่ือนท่ี (Mobile) ..................................................................................................................
E-mail: …………………………………………………………………………………………………………………………………

ข้าพเจา้ ขอรับรองว่าบทความน้ี I hereby acknowledge this manuscript
 เป็นผลงานของขา้ พเจ้าแตเ่ พยี งผ้เู ดยี ว (is my original work)
 เปน็ ผลงานของขา้ พเจา้ และผรู้ ว่ มงานตามทรี่ ะบุในบทความจรงิ
(is the original work of authors as indicated above)

โดยบทความดงั กลา่ วไม่เคยตีพิมพ์ และไม่อยูร่ ะหวา่ งการเสนอชื่อเพ่อื ตีพิมพใ์ นวารสารใดมาก่อน

ข้าพเจ้ายินดีให้กองบรรณาธิการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเพ่ือพิจารณาต้นฉบับบทความดังกล่าวได้ตาม
สมควร

This manuscript has never been previously published elsewhere for publication. I
acknowledge that the editorial board reserves the full right to select appropriate peer
reviewers to review my manuscript and to edit it for publication guidelines.

จงึ ขอส่งบทความมาเพ่ือพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

ลงชือ่ ..............................................
ผู้สง่ บทความ

ขัน้ ตอนการจัดทำ
วาสารวทิ ยาการจัดการ มหาวิทยาลยั ราชภัฏนครปฐม


Click to View FlipBook Version