The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mbakru1, 2022-06-29 14:17:53

วารสารวิทยาการจัดการปีที่8ฉบับที่2

Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University

Keywords: วารสารวิทยาการจัดการ

Esther, M. (2016) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ความเครียดจากการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ
พนกั งาน กรณศี กึ ษาประเทศเคนย่า หนว่ ยงานทางหลวง (KeNHA) ผลการวิจัยพบว่า ความเครียดจากการทำงาน
ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในการทำงาน เชิงลบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กรส่งผลต่อประสิทธิภาพ
ของพนักงาน และความสัมพันธ์กับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานมีผลต่อประสิทธิผลของพนักงานในองค์กร
รวมถึงองค์กรที่คอยให้ข้อมูลแก่พนักงานในเรื่องที่สำคัญ การสื่อสารในทุกระดับในองค์กรถือเป็นเรื่องที่ดี
ความเครยี ดอันเกิดจากการประกอบอาชีพถือเป็นสาเหตุของความขัดแย้งสว่ นใหญร่ ะหวา่ งพนักงานภายในองค์กร
และความเครยี ดจากการทำงานน้ีก็เป็นสาเหตหุ ลกั ของความขดั แย้งระหว่างพนกั งานและหวั หน้างาน

แนวคดิ เกย่ี วกบั ประสิทธภิ าพในการปฏิบตั งิ าน
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เป็นผลจากการปฏบิ ัตงิ านของบุคลากรในองค์การน้ัน ๆ ที่ปฏิบัติงาน
บรรลุเป้าหมาย และมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งยังคำนึงถึงความถูกต้อง รวดเร็วของงาน ความ
ประหยัด และปริมาณงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ซึ่งมีหลักการสำคัญ (1) ด้านคุณภาพงาน ผล
การปฏิบัติงานมีความที่ถูกต้อง รวดเร็ว การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่คุ้มค่า รวมถึงการระมัดระวังในการปฏิบัติงาน
ให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด (2) ด้านเวลา สามารถบริหารเวลาในการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม มีความ
ทันสมัย มีการพัฒนาเทคนิคการทำงานให้รวดเร็วขึ้น และต้องปฏิบัติงานให้ได้ผลงานแล้วเสร็จสมบูรณ์ตาม
ระยะเวลาที่กำหนด รู้จักปรับใช้การติดต่อสื่อสาร (Communication) ที่ผ่านระบบออนไลน์ เพื่ออำนวย
ประโยชน์ในการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว และ (3) ด้านปริมาณงาน มีปริมาณผลงานที่ปฏิบตั ิมีความสอดคล้องกับ
เป้าหมายขององคก์ าร และผลงานท่ีออกมานั้นสมดลุ กับอตั รากำลงั คนในองค์การ (Peterson and Plowman,
1989: 325 อ้างถงึ ใน อุทัสน์ วรี ะศักด์ิการณุ ย์, 2556)
สุพัฒน์ ปิ่นหอม และคณะ(2563) ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของ
พนักงานในหน่วยงานวิศวกรรม บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน) สายธุรกิจอาหารสัตว์ ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และ ปัจจัยด้านความพึงพอใจ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน
ทัง้ 3 ดา้ นอย่ใู นระดบั ความคิดเหน็ มาก ในขณะทีป่ จั จยั ที่ส่งผลต่อประสิทธภิ าพในการปฏิบัติงานของพนักงาน
ได้แก่ด้านปัจจัยจูงใจ และปัจจยั ด้านความพึงพอใจ ตามลำดบั อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถิตทิ ี่ระดับ 0.05 และผล
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน
พบว่าอยู่ในระดับมากทุกดา้ น ได้แก่ ปรมิ าณงาน คุณภาพงาน ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน และคา่ ใชจ้ า่ ย

กรอบแนวคดิ ในการวจิ ัย
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยตามแนวคิด โดยนำแนวคิดที่

เกี่ยวกับปัจจัยในการทำงานตามทฤษฎีของ Herzberg (1959: 113 -115 อ้างถึงใน อิสริยา รัฐกิจวิจารย์ ณ นคร,
2557: 4) ประกอบด้วย ด้านลกั ษณะงาน ด้านบทบาทหน้าท่ี ด้านความสำเร็จและก้าวหน้าในงาน ด้านสัมพันธภาพ
ภายในองค์กร ด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร และนำแนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ Peterson

233 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

and Plowman (1989: p.325 อา้ งถึงใน อทุ สั น์ วีระศักดกิ์ ารุณย์, 2556) ประกอบด้วย ด้านคุณภาพงาน ดา้ นเวลา
และด้านปริมาณงาน มาเปน็ แนวทางในการศึกษา

แผนภาพท่ี 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

3. วิธีดำเนินการวจิ ยั

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ
คลองหลวง จังหวัดปทมุ ธานี ซึ่งแบง่ ออกเปน็ 4 กลุ่ม คอื 1) พนกั งานส่วนท้องถ่ิน 2) ลูกจ้างประจำ 3) พนักงานจ้าง
ตามภารกจิ และ 4) พนกั งานจา้ งท่ัวไป มีจำนวนรวมทง้ั สน้ิ 2,177 คน ทำการคำนวณหาขนาดของกลมุ่ ตวั อย่าง โดย
ใช้สูตร Yamane (1967) ซึ่งสามารถคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้เท่ากับ 340 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้
ในการวจิ ยั ในครั้งนี้เป็น แบบสอบถาม (Questionnaire) ซ่งึ ผูว้ จิ ยั แบง่ แบบสอบถามออกเป็น 3 สว่ น ไดแ้ ก่ ส่วนที่ 1
ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยในการทำงาน และส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพใน
การปฏิบัติงาน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป โดยการบรรยายคุณลักษณะของตัวแปรตามกรอบแนวคิดการ
วิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานโดย
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

4. ผลการวจิ ัย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล: พนกั งานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอคลองหลวง จังหวัด
ปทุมธานี ที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 48.2 มีช่วงอายุระหว่าง
26 – 30 ปี จำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 29.7 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ

234 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

62.2 มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท จำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 42.6 เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น

จำนวน 80 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 23.5 และมีประสบการณ์ทำงาน 6 – 10 ปี จำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 37.9

ผลการวเิ คราะห์ปัจจัยในการทำงาน: พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอคลองหลวง จังหวัด

ปทมุ ธานี มีความคิดเหน็ เกีย่ วกับปัจจยั ในการทำงาน โดยภาพรวม มีความคดิ เหน็ อยูใ่ นระดับมาก ซง่ึ มีค่าเฉลี่ย

เท่ากับ 3.80 (SD = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มี

ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความสำเร็จและก้าวหน้าในงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 (SD = 0.74) รองลงมา คือ

ด้านบทบาทหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยเทากับ 3.80 (SD = 0.60) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านสัมพันธภาพ

ภายในองค์กร มีค่าเฉล่ยี เทา่ กับ 3.71 (SD = 0.86)

ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน: พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอคลอง

หลวง จังหวัดปทุมธานี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งมี

ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 ค่า (SD = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน

ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ เวลาในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 (SD = 0.55)รองลงมา คือ ปริมาณงาน มี

ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 (SD = 0.51) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คุณภาพงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69

(SD = 0.65)

ผลการทดสอบสมมตฐิ าน

สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยในการทำงาน มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กร

ปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณปัจจัยในการทำงาน มีผลต่อประสิทธิภาพในการ

ปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองสว่ นท้องถ่ินอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวม

b SE. β t Sig.

ค่าคงที่ 2.114 0.180 11.721 0.000

ดา้ นลักษณะงาน(X1) 0.017 0.050 0.018** 0.344 0.731

ดา้ นบทบาทหน้าท(ี่ X2) 0.236 0.043 0.323** 5.506 0.000*

ด้านความสำเร็จและก้าวหน้าในงาน(X3) 0.015 0.033 0.025** 0.451 0.652

ดา้ นสมั พนั ธภาพภายในองค์กร(X4) 0.016 0.025 -0.031** -0.633 0.527

ด้านสภาพแวดลอ้ มในองค์กร(X5) 0.214 0.028 0.363** 7.518 0.000*

R = 0.580 R2 = 0.337 Adjusted R2 = 0.327 SEEst = 0.362 F = 33.526 p = 0.000
* มนี ยั สำคัญทางสถติ ทิ ี่ระดบั 0.05

จากตารางที่ 1 พบว่า ปัจจยั ในการทำงาน ด้านบทบาทหนา้ ท่ี (β = 0.323, t = 5.506, Sig. = 0.000) และ

ด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร (β = 0.363, t = 7.518, Sig. = 0.000) มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดย

ภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถอธิบายความผันแปรของประสิทธิภาพในการ

ปฏิบัติงานภาพรวม ไดร้ ้อยละ 32.7 (Adjusted R2 = 0.327)

235 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณระหว่างปัจจัยในการทำงาน มีผลต่อประสิทธิภาพใน

การปฏิบัติงานของพนักงานองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ดา้ นคุณภาพงาน

b SE. β t Sig.

คา่ คงท่ี 2.397 0.308 7.784 0.000

ดา้ นลกั ษณะงาน(X1) 0.237 0.085 0.170** 2.793 0.006*

ด้านบทบาทหนา้ ท(ี่ X2) 0.032 0.073 0.030** 0.439 0.661

ดา้ นความสำเร็จและก้าวหนา้ ในงาน(X3) -0.018 0.056 -0.021** -0.329 0.744

ด้านสมั พันธภาพภายในองค์กร(X4) -0.120 0.042 0.159** -2.852 0.005*

ด้านสภาพแวดลอ้ มในองคก์ ร(X5) 0.213 0.049 0.244** 4.383 0.000*

R = 0.346 R2 = 0.120 Adjusted R2 = 0.106 SEEst = 0.618 F = 8.961 p = 0.000
*มีนัยสำคัญทางสถิตทิ ี่ระดับ 0.05

จากตารางที่ 2 พบวา่ ปจั จยั ในการทำงาน ด้านลักษณะงาน (β = 0.170, t = 2.793, Sig. = 0.006) ด้าน

สัมพนั ธภาพภายในองค์กร (β = 0.159, t = -2.852, Sig. = 0.005) และดา้ นสภาพแวดล้อมในองค์กร (β = 0.244,

t = 4.383, Sig. = 0.000) ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย

สามารถอธิบายความผันแปรของประสทิ ธิภาพในการปฏบิ ตั งิ านภาพรวม ได้ร้อยละ 10.6 (Adjusted R2 = 0.106)

ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณระหว่างปัจจัยในการทำงาน มีผลต่อประสิทธิภาพในการ

ปฏบิ ัตงิ านของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินอำเภอคลองหลวง จงั หวดั ปทมุ ธานี ด้านเวลา

b SE. β t Sig.

ค่าคงท่ี 2.241 0.244 9.180 0.000

ดา้ นลักษณะงาน(X1) -0.146 0.067 -0.122** -2.164 0.031*

ดา้ นบทบาทหนา้ ท(ี่ X2) 0.274 0.058 0.295** 4.725 0.000*

ดา้ นความสำเร็จและก้าวหน้าในงาน(X3) 0.084 0.045 0.111** 1.893 0.059

ด้านสัมพนั ธภาพภายในองค์กร(X4) 0.048 0.033 0.074** 1.441 0.150

ดา้ นสภาพแวดล้อมในองคก์ ร(X5) 0.203 0.038 0.271** 5.270 0.000*

R = 0.499 R2 = 0.249 Adjusted R2 = 0.237 SEEst = 0.490 F = 21.842 p = 0.000
*มีนยั สำคัญทางสถติ ิทร่ี ะดับ 0.05

จากตารางที่ 3 พบว่า ปัจจัยในการทำงาน ด้านลักษณะงาน (β = -0.122, t = -2.164, Sig. = 0.031)

ด้านบทบาทหน้าที่ (β = 0.295, t = 4.725, Sig. = 0.000) และด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร (β = 0.271, t =

5.270, Sig. = 0.006) ส่งผลตอ่ ประสทิ ธิภาพในการปฏบิ ตั ิงาน อยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถิตทิ ี่ระดบั 0.05 โดยสามารถ

อธบิ ายความผนั แปรของประสิทธิภาพในการปฏบิ ตั งิ านภาพรวม ได้ร้อยละ 23.7 (Adjusted R2 = 0.237)

236 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณระหว่างปัจจัยในการทำงาน มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

ของพนักงานองค์กรปกครองสว่ นท้องถนิ่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทมุ ธานี ดา้ นปรมิ าณงาน

b SE. β t Sig.

ค่าคงท่ี 2.041 0.221 9.225 0.000

ดา้ นลักษณะงาน(X1) 0.003 0.061 0.002** 0.045 0.964

ดา้ นบทบาทหนา้ ท(่ี X2) 0.311 0.053 0.365** 5.918 0.000*

ด้านความสำเร็จและก้าวหนา้ ในงาน(X3) -0.003 0.040 -0.004** -0.077 0.938

ด้านสัมพนั ธภาพภายในองค์กร(X4) 0.017 0.030 0.029** 0.564 0.573

ดา้ นสภาพแวดล้อมในองคก์ ร(X5) 0.175 0.035 0.254** 5.008 0.000*

R = 0.519 R2 = 0.269 Adjusted R2 = 0.258 SEEst = 0.444 F = 24.281 p = 0.000
*มีนัยสำคัญทางสถติ ิทีร่ ะดับ 0.05

จากตารางที่ 4 พบว่า ปัจจัยในการทำงาน ด้านบทบาทหน้าที่ (β = 0.365, t = 5.918, Sig. = 0.000)

และด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร (β = 0.254, t = 5.008, Sig. = 0.000) ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถิติทีร่ ะดบั 0.05 โดยสามารถอธบิ ายความผนั แปรของประสิทธภิ าพในการปฏบิ ัติงานภาพรวม

ไดร้ อ้ ยละ 25.8 (Adjusted R2 = 0.258)

5. สรปุ อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ

5.1. สรุปและอภิปรายผล
จากผลการวิจัยมีประเด็นสำคัญ เพอ่ื นำมาอภปิ รายผล ดงั นี้

1. ปัจจัยในการทำงาน ด้านบทบาทหน้าที่ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอ โดยภาพรวม เนื่องจาก บุคลากรปฏิบัติงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่
กำหนดบทบาทหน้าท่ีชัดเจน ตรงกบั ความเช่ียวชาญ รวมทัง้ ตัวบุคคลเองมีความรับผิดชอบต่อองค์การ อันส่งผลให้
การปฏบิ ัตงิ านบรรลุวตั ถปุ ระสงค์ขององค์การได้ สอดคลอ้ งกบั งานวจิ ยั ของ กรัญญา สกลุ รกั ษ์ (2561) ทำการศึกษา
วิจัยเรื่อง ปัจจัยบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ปัจจัยด้านความสามารถ และปัจจัยด้านความสำเร็จ ที่มีผลต่อ
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านบทบาท
หน้าที่ความรับผิดชอบ มีผลต่อพนักงานที่ทำงานในธนาคารพาณิชย์ ส่วนด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอ แสดงให้เห็นว่า องค์การต้องสร้าง
สภาพแวดล้อมที่ดี จัดสถานที่ทำงานให้มีความปลอดภัย ไม่ว่าแสงสว่าง เสียง อุณหภูมิให้มีความเหมาะสม มี
อุปกรณ์สำนักงาน ที่ทันสมัยและเพียงพอ ทำให้พนักงานมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานอย่างมีความสุข อันนำไปสู่
การปฏิบัติงานท่ีมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยอัครเดช ไมจ้ นั ทร์ และนุจรีย์ แซ่จิว (2561) ทำการศึกษา
วิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักร

237 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

สายการผลิตในจังหวัดสงขลา ผลการวจิ ัยพบวา่ ปจั จยั ในการทำงาน สภาพแวดลอ้ มในการทำงานมีความสัมพันธ์กับ
ประสทิ ธิภาพในการปฏบิ ตั ิงาน

2. ปจั จยั ในการทำงาน ดา้ นลกั ษณะงาน ดา้ นสัมพนั ธภาพภายในองค์กร และดา้ นสภาพแวดล้อม
ในองค์กร ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านคุณภาพงาน
แสดงให้เห็นว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานตามลักษณะงานหรือรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายที่ตนเองมีความถนัด
และสามารถปฏิบัติงานแทนบุคคลอื่นได้นั้น จะทำให้ผลงานนั้นประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ
แบบมีคุณภาพ สำหรับด้านสัมพันธภาพภายในองค์กร ทั้งนี้ บุคลากรในองค์การจำเป็นต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดี
ระหว่างกัน ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่ว่าจะสายการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน หรือระดับชั้นใด ก็ต้องอาศัย
สัมพันธภาพที่ดีเป็นองค์ประกอบด้วยกันทั้งนั้น เพราะถือว่าเป็นกระบวนการจูงใจในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และ
เป็นปัจจัยสำคัญก่อให้ความร่วมมือในการทำงาน เกิดผลงานที่มีคุณภาพร่วมกัน อันนำมาสู่ความผาสุกในองค์กร
สอดคลอ้ งกับงานวจิ ัยของ Esther. (2016) ทำการศึกษาวิจัยเร่ือง ความเครียดจากการทำงานและประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษาประเทศเคนย่า หน่วยงานทางหลวง (KeNHA) ผลการวจิ ัยพบว่า ความสัมพันธ์
กับหวั หน้างานและเพ่อื นร่วมงานมผี ลต่อประสิทธิผลของพนักงานในองค์กร สว่ นดา้ นสภาพแวดล้อมในองค์กร ท่ี
ส่งผลตอ่ ประสิทธิภาพดา้ นคุณภาพงาน เพราะเป็นปัจจยั สำคัญที่เอ้ือต่อการปฏบิ ัติงานและเสริมสร้างความพึงพอใจ
ในงานของพนักงานประการหนึ่ง กล่าวคือ การที่องค์กรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ว่าเป็นในเรื่องของ
บรรยากาศภายใน วัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอ รวมถึงเทคโนโลยีที่จำเป็นในการสื่อสารต่าง ๆ ล้วนส่งผลให้พนักงาน
สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ผลงานมีคุณภาพ สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุภาภรณ์ วงศ์กรเชาวลิต (2560)
ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของจิตอาสาในองค์การไม่แสวงหาผลกำไร
กรณีศึกษา มูลนิธิแสงธรรม ส่องหล้า กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการ
ปฏิบัติงานของจิตอาสา ได้แก่ ลักษณะขององค์การ ลักษณะสภาพแวดล้อมขององค์การ ลักษณะบุคคลภายใน
องค์การ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน มีประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงานจากความสามารถในการผลิต และ
ประสิทธิภาพและความพึงพอใจในงาน

3. ปัจจัยในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร
ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบตั ิงานของพนักงานองค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถ่ิน ด้านเวลา สำหรับด้านลักษณะงาน
นัน้ สง่ ผลในทศิ ทางตรงกันขา้ ม ทัง้ น้ี เนอ่ื งจากหากลักษณะงานที่มีความยากเกินความสามารถอาจสง่ ผลให้เกิดความ
กดดัน รวมทั้งจะต้องมีการใช้เวลามากกว่าปกติได้ ทำให้ผลงานที่ได้อาจจะเสร็จไม่ทันเวลาที่กำหนด สำหรับด้าน
บทบาทหน้าที่ สามารถอธบิ ายไดว้ า่ เมอื่ พนักงานในองคก์ รรู้จกั บทบาทหน้าท่ีของตนเอง มีความรับผิดชอบงานอย่าง
ชัดเจน นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร ส่วนด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร เมื่อองค์กรมี
สภาพแวดล้อมที่ดี มีจำนวนบุคลากรที่เหมาะสมกับปริมาณงานที่ปฏิบัติ อาคารสถานที่มีความสมดุลทั้ง
สภาพแวดลอ้ มภายในภายนอกองค์การ มคี วามพรอ้ มและเพียงพอของอุปกรณ์สำนักงาน ยอ่ มส่งผลให้การปฏบิ ตั งิ าน
มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับงานวิจัยของสุพัฒน์ ปิ่นหอม และคณะ (2563) ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงานวิศวกรรม บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน) สายธุรกิจอาหาร

238 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

สัตว์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการทำงานตามแนวคิดของเฮิร์ซเบิร์ก ทั้ง 3 ด้าน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ
ปฏบิ ตั ิงานของพนักงาน ด้านคณุ ภาพงาน

4. ปัจจัยในการทำงาน ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านปริมาณงาน แสดงใหเ้ ห็นว่า บทบาทหน้าที่ จะช่วยกำหนด
ความชัดเจนในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะทราบขอบเขตงานของตนเอง รวมถึง
บทบาทหนา้ ที่ตอ้ งรับผิดชอบตามปริมาณที่ได้รับมอบหมาย ทงั้ น้ี ผ้บู รหิ ารต้องวางโครงสร้างขององค์กรให้เกิดระบบ
ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน แบ่งแยกหน้าที่ชัดเจน กำหนดนโยบาย เป้าหมาย วางแผน และติดตามงานอย่าง
สม่ำเสมอ เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองและปฏิบัติงานไม่เกิดข้อบกพร่อง เป็นการ
เสริมสร้างให้ปริมาณงานได้ผลสูงสุด สอดคล้องกับงานวิจัยของอัครเดช ไม้จันทร์ และนุจรีย์ แซ่จิว (2561)
ทำการศกึ ษาวจิ ยั เรือ่ ง ปจั จยั ทม่ี ผี ลต่อประสทิ ธิภาพในการปฏิบัติงานของพนกั งานกลุม่ อุตสาหกรรมตดิ ตั้งเครื่องจักร
สายการผลติ ในจังหวดั สงขลา ผลการวจิ ยั พบว่า ผลการหาความสัมพันธ์ระหว่างปจั จัยในการทำงานกับประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัตงิ านทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความรู้และความเข้าใจในงานที่ทำ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์กบั
บคุ ลในท่ีทำงาน ความมั่นคงกา้ วหนา้ ในงาน และขวัญและกำลงั ในการทำงาน มีความสมั พนั ธ์กับประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงาน ส่วนด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร ก็มีความสำคัญกับเป้าหมายขององค์กรเช่นกัน ทั้งนี้ องค์กรที่มี
บรรยากาศองค์กรที่อยู่ในระดับที่เหมาะสม จะทำให้พนักงานเอาใจใส่ต่องาน ตระหนักต่อภาระหน้าที่ความ
รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย อันนำไปสู่ผลของการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและได้ปริมาณงานที่เหมาะสม สอดคล้อง
กับงานวิจัยสุพัฒน์ ปิ่นหอม และคณะ (2563) ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ
พนกั งานในหน่วยงานวิศวกรรม บริษัท เบทาโกร จาํ กัด (มหาชน) สายธุรกิจอาหารสัตว์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการ
ทำงานตามแนวคิดของเฮริ ์ซเบริ ์ก ท้งั 3 ดา้ น สง่ ผลต่อประสทิ ธภิ าพในการปฏิบตั งิ านของพนักงาน ด้านปริมาณงาน

5.2 ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะและมีความคาดหวังว่าข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา และ

ปรบั ปรุงการปฏบิ ัติงานของพนักงานในองค์กรปกครองสว่ นท้องถ่นิ ให้มีประสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน ดงั นี้
1.ด้านลักษณะงาน ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ควรกำหนดขอบเขตของงาน

บทบาทหน้าที่ และความรบั ผดิ ชอบให้ชดั เจน ตลอดจนมีการสร้างความเข้าใจในงานที่ได้รบั มอบหมาย รวมทั้ง
กำหนดปัจจัยชี้วัดผลสำเร็จของงานที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นให้พนักงานปฏิบัติงานตามมาตรฐานกำหนด
ตำแหน่ง และต้องปฏิบัติภายใต้กฎระเบียบ อีกทั้ง สามารถปฏิบัติงานตามคุณลักษณะของงานได้อย่างเต็ม
ความสามารถ อันส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานท่ีมีประสทิ ธภิ าพ

2.ดา้ นบทบาทหน้าท่ี จะเหน็ ไดว้ ่า องคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีระบบอุปถัมภ์อยู่ จึงทำให้การ
บริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลเกิดความไม่เหมาะสมในเรื่องของการมอบหมายงาน ดังนั้น ผู้บริหารองค์การ
ควรมอบหมายงานให้ตรงกับโครงสร้างขององค์กรที่วางไว้ โดยคำนึงถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ปฏิบตั ิงานและตำแหน่ง
งานเป็นหลัก ซ่ึงถา้ หากมีการมอบหมายงานท่ชี ัดเจนและเหมาะสมกับตำแหน่งงานของผู้ปฏบิ ัติงานแล้ว ย่อมทำให้

239 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การปฏบิ ัติงานประสบความสำเร็จได้ในเวลาอันรวดเรว็ อันทำให้มีปริมาณงานมากขึ้น และนำไปสู่ผลการปฏิบัติงาน
ที่มีคณุ ภาพย่ิงข้ึน

3.ด้านสัมพันธภาพภายในองค์กร ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนที่เท่าเทียมกัน
และมีความเสมอภาค รวมทั้งควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา แสดงให้เห็นถึง ความเข้าอกเข้าใจ
เคารพในความเป็นมนุษย์เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีในองค์กร นอกจากนี้ ควรส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับมี
สมั พนั ธภาพทดี่ ตี ่อกนั โดยการส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสภี ายในองค์กร ซ่ึงเปน็ กจิ กรรมทสี่ ร้างการมี
ส่วนร่วมระหว่างพนักงานกับผู้บริหารได้ดีที่สุด มีการจัดระบบทีม แบ่งระดับพนักงานให้มีความหลากหลายเท่า
เทยี ม เป็นการสร้างความสามัคคีและสัมพนั ธภาพภายในองค์กร

4.ด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร ผู้บริหารองค์กรควรวางแผนการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมใน
การปฏิบัติงาน โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความสุขในการทำงานให้เหมาะสมกับพนักงาน ทั้งทางพฤติกรรม
และทางทัศนคติ เป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการทำงาน ประกอบไปด้วย บรรยากาศในการทำงานเป็น
กันเอง ความสะอาดของสถานที่ทำงาน ห้องปฏิบัติงานควรมีแสงสว่างที่เหมาะสม สิ่งอำนวยความสะดวก
ในการปฏิบตั ิงาน ควรมีความเพรียบเพียบ ทนั สมัย และเพียงพอ ส่ิงเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่
ใหม้ ปี ระสิทธภิ าพ

5.3 ข้อเสนอแนะเพือ่ การวจิ ัยในคร้ังต่อไป
1. ควรทำการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ

ขยายผลวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อขยายองค์ความรู้ เกี่ยวกับปัจจัยที่คาดว่ามีอิทธิพลต่อองค์กรปกครองส่วน
ทอ้ งถนิ่ เพ่มิ เติม เพื่อใช้เปน็ ข้อมูลในการวางแผนพัฒนาบุคลากร

2. ควรทำการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบการประเมินสภาพการทำงาน ปัญหาและอุปสรรคของบุคลากร
ในหนว่ ยงานภาครฐั และเอกชน เพ่อื นำข้อมลู ท่ีได้มาพฒั นาประสทิ ธิภาพในการปฏบิ ัติงานของพนักงานในองค์กร

3. ควรทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานใน
องค์กรปกครองสว่ นท้องถ่ินให้สอดคล้องกับสถานการณป์ จั จุบัน

240 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เอกสารอ้างอิง

กรัญญา สกลุ รกั ษ์. (2561). ปจั จยั บทบาทหน้าท่ีความรบั ผิดชอบ ปัจจยั ด้านความสามารถ และปัจจยั ด้าน
ความสำเรจ็ ทม่ี ีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัตงิ านของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร.
บริหารธรุ กจิ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จติ ติมา อคั รธติ ิพงศ.์ (2556). การพฒั นาทรัพยากรมนุษย์. คณะวทิ ยาการจัดการ มหาวทิ ยาลยั ราชภัพระนคร
ศรีอยธุ ยา.

สุพัฒน์ ปิ่นหอม มณฑิรา ลีลาประชากุล นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ วิวัฒน์ วรวงษ์ นันทพงศ์ หมิแหละหมัน และ
เฉลมิ ชาติ เมฆแดง. (2563). ปัจจัยทีม่ ผี ลตอ่ ประสทิ ธิภาพการปฏิบตั งิ านของ พนักงานในหน่วยงาน

วศิ วกรรม บริษัท เบทาโกร จาํ กดั (มหาชน) สายธุรกิจอาหารสัตว์. วารสารวชิ าการสถาบัน
เทคโนโลยแี ห่งสวุ รรณภมู ิ. 3(2): 520-533.
สุภาภรณ์ วงศ์กรเชาวลิต. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของจิตอาสาในองค์การ
ไมแ่ สวงหาผลกำไร กรณีศกึ ษา มลู นิธิแสงธรรมส่องหล้า กรุงเทพมหานคร. รฐั ศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์.
อัครเดช ไมจ้ ันทร์ และนุจรีย์ แซ่จิว. (2561). ปัจจัยทม่ี ีผลตอ่ ประสิทธภิ าพในการปฏิบัติงานของพนักงานกล่มุ
อุตสาหกรรมติดต้ังเคร่ืองจักรสายการผลิตในจังหวดั สงขลา. วารสารราชภัฏ สรุ าษฎร์ธานี. 5(1): 93-121.
อิสรยิ า รฐั กจิ วิจารณ์ ณ นคร. (2557). แรงจงู ใจในการปฏิบตั ิงานของครโู รงเรียนมัธยมศึกษาสำนกั งานเขตพื้นท่ี
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 (จันทบุรี-ตราด). รัฐประศาสนศาสตรมหาบณั ฑิต มหาวทิ ยาลัยบูรพา.
อุทัสน์ วีระศักดิ์การุณย์. (2556). ปจั จยั ทมี่ ีผลกระทบต่อความต้องการในการปฏิบตั ิงานของข้าราชการตตำรวจ
กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลย
อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Esther, M. (2016). Occupational Stress and Employee Performance: A Case Study of Kenya
National Highways Authority (KeNHA). Master of Science Human Resource Management
Candidate Department of Business Administration, School of Business Kenyatta University,

241 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การเพ่ิมรายได้ของชุมชนด้วยความรว่ มมอื ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในวิสาหกจิ เพ่อื สงั คม:
กรณีศึกษาวิสาหกจิ ชุมชนแปลงใหญ่ผกั ปลอดสารพิษ ตำบลบา้ นโต้น
อำเภอพระยืน จงั หวดั ขอนแก่น
Increasing Community Income through Collaboration
between the Government and Private Sector in Social Enterprise:

Case Study of Organic Vegetable Cultivation in Tambon Ban Ton, Phrayeun
District, Khon Kaen Province

กนกวรรณ อุ้ยวงค์*
(kanokwan Auiwong)

บทคัดยอ่

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มี 2 ข้อ (1) เพื่อศึกษาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ของ
วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น (2) เพื่อศึกษาผล
ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มรายได้ของวิสาหกิจชุมชน
แปลงใหญ่ผักปลอดสารพษิ ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยนื จงั หวัดขอนแกน่

การวิจัยนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 7 คน
ได้แก่ ภาครัฐ 1 คน ภาคเอกชน 1 คน สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักแปลงใหญ่ ตำบลบ้านโต้น อำเภอ
พระยืน จังหวัดขอนแก่น 5 คน ท่ีเลือกมาแบบเจาะจงข้อมูลที่เก็บได้มาทำการวิเคราะห์โดยอาศัยใช้การ
วเิ คราะหแ์ ก่นสาระ

1) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบล
บ้านโต้น ประกอบดว้ ย 4 ด้าน ดังนี้ ดา้ นการตลาด การวางแผนเตรยี มความพร้อมจดั หาชอ่ งทางตลาดและการ
แปรรูปสินค้าด้านการผลิต การจัดอบรมให้ความรู้ตั้งแต่การเพาะปลูกตลอดจนเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้านการ
จัดการ การปฏิบัติงานตามโครงสร้างบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ ด้านการเงินและการบัญชี การสนับสนุน
เงนิ ทนุ เร่มิ ตน้ และทนุ สำรองหมุนเวียน การจัดอบรมทำบญั ชีรายรบั -รายจ่าย

*นักศึกษาหลักสตู รรัฐประศาสนศาสตรมหาบณั ฑิต วิทยาลัยการปกครองทอ้ งถิน่ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ 40002.
ภายใต้การดแู ลของ ดร.อจริ ภาส์ เพยี รขนุ ทด
Master of Public Administration Local Government College Kohn Kaen University 40002.
Corresponding author: [email protected]

242 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2) ผลของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มรายได้ของ
วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบลบ้านโต้น ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ ด้านการจัดการ ได้แก่
การเพิ่มปริมาณผลผลิตมากข้ึนจากเดิม 2 เท่า ด้านการตลาด ได้แก่เพิ่มยอดขายมากขึน้ 2 เท่า ด้านการสรา้ ง
องค์ความรู้ ได้แก่การเรียนรู้วิธีการลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยราคาสูง การสื่อสารสร้างการรับรู้อย่างยั่งยืน ได้แก่
การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการสร้างแบรนด์สินค้าผักปลอดสารพิษบ้านโต้น และด้านการบริหารจัดการต้นทุน
ได้แก่การพฒั นาตอ่ ยอดขยายพืน้ ท่ใี นการเพาะปลูกต่อไป

คำสำคญั : วิสาหกจิ เพ่อื สงั คม ความรว่ มมอื ระหวา่ งภาครฐั และภาคเอกชน ความสามารถในการเพิ่มรายได้

ABSTRACT

This research had the following objectives: ( 1) To study collaboration between the
government and private sector in social enterprise by conducting a case study of organic
vegetable cultivation in Tambon Ban Ton, Phrayeun District, Khon Kaen Province; and (2) To
study the effect of public-private collaboration on raising the income of the community from
organic vegetable cultivation in Tambon Ban Ton, Phrayeun District, Khon Kaen.

This research was a qualitative study. Data were collected by in- depth interviews
with seven key informants, including one from the government sector, one from the private
sector, and five members of the Community Enterprise Group of Tambon Ban Ton, Phrayeun
District, Khon Kaen Province. This study had the following findings:

1) There was public- private collaboration during implementation of the organic
vegetable cultivation in four dimensions: ( 1) Marketing, including planning and preparation,
identifying markets, and processing raw product; (2) Production, including training to increase
knowledge on vegetable cultivation and harvesting crop; ( 3) Management, including
implementation in accordance with a structure, roles and responsibilities of enterprise group
members; and ( 4) Finance and accounting, including funding for start- up costs, creation of a
revolving loan fund, and training in balancing income and expenditures.

2 ) The public- private collaboration in support of the community enterprise helped
strengthen the host community in the following ways: (1) Management: The enterprise was
able to double the yield from the organic vegetable cultivation; (2) Marketing: Sales of product
doubled; (3) Increased knowledge: Participants learned how to minimize capital costs in the
purchase of fertilizer; (4) Public relations: Participants learned how to add value to the product

243 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

through branding; and (5)Capital fund management:Participants were able to expand the area
for organic vegetable cultivation.

Keywords: Social enterprise; Cooperation between the public and private sectors,
Earning potential

Article history: Received 27 February 2021
Revised 1 April 2021
Accepted 5 April 2021
SIMILARITY INDEX = 0.00 %

1. บทนำ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นโยบายในการพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากระดับชุมชน โดยเฉพาะ
ประชาชนชนบทส่วนใหญ่ของประเทศมีอาชีพหลักเกษตรกรรม ปัจจุบันการพัฒนา “วิสาหกิจเพื่อสังคม”
(Social Enterprise ) เป็นหนึ่งกลไกหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความ
เข้มแข็ง วัตถุประสงค์หลักของวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับสังคม และพัฒนาชุมชนสู่การเป็นผู้
ประกอบกิจการการแข่งขันทางการค้าในระดับสูง กระตุ้นระบบเศรษฐกิจฐานราก โดยประชาชนได้มีส่วน
ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พัฒนาระบบกลไกการเรียนรู้ และการบริหารจัดการกลุ่มภายใน
ชุมชนของตนให้พึ่งตนเองได้ และคนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและ
ครอบครัวได้อย่างย่ังยืนในปจั จุบันความคาดหวงั ท่จี ะพึง่ พาการสนับสนนุ ของภาครฐั ฝา่ ยเดยี วเปน็ ไปได้ยาก จึง
จำเปน็ ต้องให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนขบั เคล่ือนเศรษฐกจิ ฐานรากเปน็ การผสมผสานจุดแขง็ ระหว่างภาครัฐ
และภาคเอกชนที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพในการทำงานแบบ win-win เป็นการทำงานร่วมกันทุกฝ่าย
ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาชน กลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม (สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรฐั วิสาหกจิ , 2555)

การพฒั นาประเทศไทยเขา้ สู่ความมัน่ คง ม่ังคงั่ ยั่งยืน ความสำคญั ของการพฒั นากลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม
การสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานรากในชุมชนท้องถิ่น โดยมีการบูรณาการในการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนมุ่ง
พัฒนาในทุกด้าน อาทิ เกษตรกร วิสาหกิจเพื่อสังคม การท่องเที่ยว มีการบูรณการร่วมกันทุกภาคส่วน เพื่อให้
บรรลุวิสัยทัศน์ประเทศเป็นประเทศที่พัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถสร้างรายได้ให้กับ
ตนเองและครอบครัว คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองในระยะยาวได้อย่างมั่นคงสามารถแข่งขันได้ในระบบ
เศรษฐกจิ ในอนาคต (กรมการพัฒนาชมุ ชน, 2559)
ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนถือเป็นทางเลือกสำคัญในการพัฒนาประเทศในการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากระดับชุมชน ในอดีตการเพาะปลูกผักของตำบลบ้านโต้นมีปัญหาเนื่องจากการ

244 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เพาะปลูกยังใช้แนวทางแบบดั้งเดิมส่งผลให้ผลผลิตของผักไม่มีคุณภาพไม่ตรงตามความต้องการของตลาด
ส่งผลให้คนในชุมชนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใชจ้ า่ ยภายในครอบครัวและมีหนีสิ้นครัวเรือน ปัจจุบันรัฐบาลมี
นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากระดับชุมชนโดยเกิดจากการบูรณาการร่วมกันในการขับเคลื่อนของ
ภาคีเครือข่ายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคนในชุมช นให้มี
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอด
สารพิษ ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ในความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
สามารถเพมิ่ รายไดใ้ ห้กับชมุ ชนได้อย่างไร

วตั ถปุ ระสงค์ของการวิจัย
1. เพ่อื ศึกษาความรว่ มมือระหวา่ งภาครฐั และภาคเอกชน ของวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผกั ปลอด

สารพิษ ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จงั หวัดขอนแก่น
2. เพื่อศึกษาผลของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีต่อความสามารถในการเพิ่ม

รายไดข้ องวิสาหกจิ ชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบลบา้ นโตน้ อำเภอพระยืน จงั หวัดขอนแกน่

2. เอกสารและงานวิจัยทเ่ี ก่ียวขอ้ ง

ผูว้ จิ ยั ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารงานวิจัยทีเ่ กี่ยวข้อง โดยครอบคลุมเนอ้ื หา ดงั นี้
2.1 นโยบายภาครฐั
ตามนโยบายการบรหิ ารราชการแผน่ ดินของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จนั ทรโ์ อชา นายกรฐั มนตรี ซึ่งมี
กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและนโยบาย
กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดให้การพัฒนาอาชพี ครัวเรือน มุ่งเน้นให้เศรษฐกิจครัวเรือนมี
ความมน่ั คงประชาชนใชช้ วี ิตอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก คือ “รายได้” ภายใต้
การสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมและ
พัฒนาเป็นอาชพี ทสี่ ร้างรายไดใ้ หก้ ับครัวเรือนและชมุ ชนมีความม่นั คงและยงั่ ยืน (กรมการพัฒนาชุมชน 2559)

2.2 แนวคิดวสิ าหกิจเพ่ือสังคม
แนวคิด “Social Enterprise” เป็นแนวคิดที่ทำให้เกิดความย่ังยืนทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับ
บริษัท เกิดเป็นธุรกิจที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน และขยายคุณค่าสู่สังคม “Social Enterprise” ถือเป็นการ
สร้างระบบรูปแบบที่สามารถตอบโจทย์ภาคธุรกิจได้ในแง่ของการช่วยเหลือสังคมได้อย่างยั่งยืน การ
ส่งเสรมิ SE รูปแบบการทำธรุ กจิ สามารถสร้างภาพรวมให้ประเทศเกิดความเข้มแขง็ ถา้ สังคมมีความเขม้ แข็ง ก็
จะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศนั้นยั่งยืนต่อไป แต่เศรษฐกิจสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเรว็ ภาครัฐไม่สามารถแก้ไขได้เพียงลำพัง ภาครัฐเห็นถงึ ความจำเป็นในการให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้า
มามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการส่งเสริมและพัฒนา “วิสาหกิจเพื่อสังคม”

245 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

และสนับสนุนสินค้าหรือบริการของ SE ทั้งกิจการที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่สนใจมาทำวิสาหกิจเพื่อสังคม
มากขน้ึ โดยท่ีทุกภาคส่วนร่วมกนั ทำใหเ้ ศรษฐกจิ สงั คมไทยเขม้ แข็งไปพร้อมกัน (วันชัย ศริ ิชนะ 2559)

2.3 การลงทุนระหว่างภาครฐั และภาคเอกชน
การลงทุนระหวา่ งภาครฐั และภาคเอกชน มงุ่ เนน้ การรว่ มลงทุนระหวา่ งรฐั และเอกชนต้ังอยู่บนพ้ืนฐาน
ของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน กำหนดกลไกการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนิน
โครงการร่วมลงทุนมีมาตรการส่งเสริมภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังแก่โครงการร่วมลงทุนอย่างเหมาะสม
รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ไปยังหน่วยงานและบุคลากรของภาครัฐโดยเน้นนวัตกรรมความเชี่ยวชาญของ
เอกชน ในขณะเดียวกันหลักเกณฑ์ขั้นตอนการจัดทำโครงการร่วมลงทุนยังคงโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดย
คณะรัฐมนตรีซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย
ดังกล่าว รูปแบบการดำเนินโครงการในการบริการสาธารณะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของภาครัฐ
โดยให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการที่ภาครัฐเป็นเจ้าของเพื่อประหยัดต้นทุนและส่งเสริมให้
ภาคเอกชนมีโอกาสในการดำเนินธุรกิจมากขึ้นมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน ภาค
ประชาชนจะไดร้ บั การบริการทม่ี ีประสิทธิภาพสูงสดุ (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรฐั วสิ าหกิจ, 2555)
สรุปการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
มุ่งเน้นการให้บริการที่มีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับต้นทุนมากกว่าภาครัฐจะดำเนินการเอง ทั้งนี้ก ารร่วมลงทุน
ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนสามารถก่อให้เกิดประโยชนก์ ับผู้ท่ีเก่ียวข้องท่จี ะได้รับนวัตกรรมใหม่ เทคโนโลยี
จากภาคเอกชนรวมถึงประหยดั ต้นทุนของโครงการ ขณะที่ภาคเอกชนเองมีช่องทางในการดำเนินธุรกจิ ได้มาก
ข้ึน นอกจากน้ภี าคประชาชนยงั ไดร้ บั ประโยชน์จากการบริการที่ราคาทเ่ี หมาะสมและมปี ระสิทธภิ าพดว้ ย

2.4 การพฒั นาและส่งเสรมิ อาชีพ
การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ถือเป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างความมั่นคงยกระดับรายได้เรื่อง
อาชีพในชุมชน ทำให้กิจการอาชพี ของชุมชนมคี วามม่ันคง มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนบั สนุนตามแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับท่ี 12 (พ.ศ.2560-2564) คือการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพตามทิศทางการ
วางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ท่ี 1 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทุน
มนุษย์ ดังนี้ 1) การสง่ เสริมพฒั นาทกั ษะในการประกอบอาชีพให้มีองคค์ วามรแู้ ละพัฒนาคนให้มีความสามารถ
ในการดำรงชีวิตให้มีคุณค่า เช่น มีการสนับสนุนสร้างรายได้ สร้างอาชีพ 2) การสร้างชุมชนเข้มแข็งพร้อมรับ
ผลประโยชน์จากการพัฒนา เช่น การส่งเสริมผู้ประกอบการระดับชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็น
ธรรม ลดความเหลื่อมล้ำให้คนในสังคม ดังนี้ 1) การสร้างศักยภาพชุมชน อาทิ การส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการ
เรียนรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องให้ชุมชนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นเพื่อต่อยอดองค์
ความรูแ้ ละนำไปส่เู ชิงพาณชิ ย์ 2) การพัฒนาเศรษฐกจิ ชุมชนในการประกอบอาชีพระดบั ชุมชน การสร้างความ
ร่วมมือร่วมกันกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการรว่ มกัน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ

246 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เพื่อการสร้างองค์ความรู้ในชุมชน ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 3 สรา้ งความเข้มแข็งทางเศรษฐกจิ และการแข่งขันอย่างย่ังยืน
เก่ียวกบั ภาคการเกษตร ดังนี้ 1) เสริมสร้างฐานการผลติ ภาคเกษตรให้เขม้ แขง็ และย่ังยนื 2) สร้างองค์ความรู้ใน
การถ่ายทอดเชิงวิชาการสร้างนวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนนุ การผลิตเพื่อสร้าง
มูลค่าเพิ่มให้สินค้าทางเกษตรให้มีความปลอดภัย 3) ยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มี
ความเป็นมาตรฐานสากลสอดคล้องกับความต้องการของตลาด 4) เสริมสร้างขีดความสามารถการผลิตสินค้า
ได้แก่ เสริมสร้างศักยภาพของสถาบันเกษตรกรในการรวมกลุ่มด้านการผลิตโดยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนด้าน
ปจั จัยพ้ืนฐานทจี่ ำเปน็ และเช่ือมโยงกับศนู ย์เรียนรูต้ ่าง ๆ ในพ้ืนท่สี ามารถยกระดบั มาตรฐานการผลิต การแปร
รูป การตลาดและการบริหารจัดการ การสนับสนุนการเพิ่มรายได้จากอาชีพนอกภาคเกษตร เพื่อให้เกิดการ
ถา่ ยทอดองค์ความรู้อยา่ งเหมาะสมกบั สภาพแวดลอ้ มในปัจจุบนั (สำนกั งานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ 2559)

2.5 งานวจิ ัยที่เก่ียวข้อง
วรรณภา ฐิติธนานนท์ (2556) ศึกษารูปแบบการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านเครื่องปั่นดินเผา
มอญโบราณเพือ่ การพึ่งพาตนเองอยา่ งยงั่ ยืน วตั ถปุ ระสงค์เพ่ือศึกษาปัจจัยการดำเนินทางดำเนนิ ตา่ ง ๆ ทีส่ ่งผล
ตอ่ การดำเนินงานในปัจจุบนั ของวิสาหกิจชุมชนเครื่องปนั่ ดินเผามอญโบราณและศึกษารูปแบบดำเนินงานและ
ลักษณะการในปัจจุบันตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการเครื่องปั่นดินเผาของวิสาหกิจ
ชุมชนหมู่บ้านเครื่องปั่นดินเผามอญโบราณปัจจัยตต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานวิสาหกิจเครื่องปั่นดินเผา
พบว่ากลุ่มตัวอย่างประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ด้านการผลิต การตลาด การเงินและการจัดการใน
ระดับปานกลาง สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานนั้น พบว่าปัญหาด้านการจัดการและการเงินมี
ความรนุ แรงในระดับน้อย สว่ นปัญหาดา้ นการผลิตและการตลาดมีความรนุ แรงในระดบั ปานกลาง
ปัจจุบันเพื่อเสนอรูปแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคมในการสร้างกลไกการตลาดที่มั่นคงและยั่งยืน การ
พัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการบริการสาธารณะ และการสร้างความเข้มแข็งให้สังคม พบว่า
รูปแบบโครงการสานพลังประชารัฐที่อาศัยความร่วมมือจาก 5 ภาคส่วนได้แก่ รัฐ เอกชน วิชาการ ประชา
สังคมและประชาชนเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการลดความเหลื่อมลำ้ พัฒนาคุณภาพคนเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันโดยการขับเคลื่อนผ่านบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่าง
ยั่งยืน วิภาภรณ์ ชัยรัตน์ (2560) ศึกษารูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมของรัฐบาลกับการพัฒนาเศรษฐกิจของ
ประเทศอย่างยั่งยืน และฐายิกา จันทร์เทพ (2559) ได้ศึกษาผลการดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนา
เศรษฐกิจฐานราก และประชารัฐ จากการศึกษาพบว่ายุทธศาสตร์สานพลงั ประชารัฐเป็นการกระบวนการการ
ทำงานที่มีกระบวนทัศน์การทำงานทีม่ ีการบริหารจดั การร่วมกันทั้งภาครัฐ เอกชน วิชาการ ประชาสังคม และ
ประชาชนที่มีความยืดหยุ่นใช้ระบบกึ่งตลาดด้วยการจัดตั้ง “บริษัทประชารัฐสามัคคี จำกัด” (วิสาหกิจชุมชน
จังหวัด) และการขับเคลื่อนสนับสนุนด้วยภาคเอกชนเป็นหลักเพื่อร่วมกันพัฒนาสินค้า การบริการ การ
ท่องเที่ยว อีกทั้งยังการจูงใจด้วยการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนฐานรากโดยพัฒนาและสร้าง

247 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ประสิทธิภาพตลอด ต้นทางถึงปลายทางด้วย 5 ฟันเฟืองหลัก ได้แก่ 1) การเข้าถึงปัจจัยการผลิตทั้งด้าน
ทรัพยากร และโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน 2) สร้างองค์ความรู้จากในชุมชนและส่งเสริมความรู้เพื่อสร้าง
ประโยชน์ต่อยอด 3) ช่วยพัฒนาการตลาดแบบบูรณาการตั้งแต่การวิเคราะห์ตลาดไปจนถึงช่องทางการขาย
ใหม่ ๆ 4) การส่อื สารสรา้ งการรับรู้เพ่ือความยั่งยนื เน้นสร้างแรงสนับสนุนและเช่ือมโยงคนในพื้นที่ให้มีความรัก
และความภาคภูมิใจในสินค้า การบริการของตนเอง 5) ช่วยบริหารจัดการทั้งด้านต้นทุน บัญชีและการบริหาร
ความเส่ยี ง ระบบการดำเนินการพัฒนาและสร้างประสิทธิภาพจะใช้กลยุทธ์การขับเคลื่อนผ่านบริษัทประชารัฐ
รักสามัคคีจำกัดในรูปแบบของ Social Enterprise (SE) หรือวิสาหกิจชุมชนซึ่งมีโครงสร้างการบริหารเป็น
2 ระดบั ได้แก่ 1) ระดบั ประเทศมีบริษทั ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกดั (บรษิ ัท Holding กลาง) ซ่ึง
ขับเคลื่อนพื้นที่ 18 กลุ่มจังหวัด (ตามโครงสร้างของกระทรวงมหาดไทย) มีหน้าที่บริหารจัดการองค์ความรู้
ส่งเสริมการพฒั นาสนิ คา้ และรูปลกั ษณ์ ผลติ ภณั ฑ์ การสร้างตราสินค้าและมาตรฐานการรับรองสินค้าขบั เคล่ือน
การสร้างมูลคา่ เพมิ่ ของสนิ ค้าชมุ ชน สอดคลอ้ งกบั สมชัย ศรนี อก และชวาล ศริ ิวฒั น์ (2561) ศกึ ษาเรื่องคนจน
4.0 นวัตกรรมสร้างความจน และแก้ปัญหาความจน พบว่าการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นประเด็นสำคัญที่
ทกุ รัฐบาลได้พยายามแก้ไขมาโดยตลอด แต่ภาวะความยากจนดังกล่าวกย็ งั คงอยู่ด้วยเหตุท่ปี ัญหาความยากจน
มีความซับซ้อนเกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกชุมชนที่เป็นทั้งภาครฐั และภาคเอกชน การ
แก้ไขปัญหาจึงมีลักษณะต้องเป็นความร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้การแก้ไขปัญหาความ
ยากจนจึงต้องมกี ารปรบั กระบวนทศั น์และการบริหารจัดการรปู แบบใหมท่ ่ีเรียกวา่ “นวตั กรรม”

จากผลงานวิจัย สามารถสรุปการดำเนินการวิสาหกิจชุมชนในการสร้างกลไกการตลาดที่มั่นคงและ
ย่ังยนื การพัฒนาเศรษฐกจิ และสง่ิ แวดลอ้ ม การบริการสาธารณะ และการสรา้ งความเขม้ แขง็ ใหส้ ังคมจงึ จำเป็น
ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชน
เพื่อเป็นรูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และเป็นแนวทางที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคน
จนให้มีช่องว่างแคบที่สุด ทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในสงั คมให้มีรายได้เพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันในอนาคตไดแ้ บบย่ังยนื

กรอบแนวคิดการวจิ ยั
การศึกษาวิจัยเรื่อง การเพิ่มรายได้ของชุมชนด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนใน

วิสาหกิจเพื่อสังคม: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน
จงั หวัดขอนแกน่ สามารถกำหนดกรอบแนวคิดการวจิ ยั ได้จากการทบทวนวรรณกรรม ดังน้ี

248 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตัวแปรต้น ตวั แปรตาม

ความร่วมมือระหว่างภาครฐั แลภาคเอกชน ความรว่ มมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนทมี่ ีตอ่
ของวิสาหกจิ ชุมชน ความสามารถในการเพม่ิ รายได้

1) ดา้ นการตลาด 1) ดา้ นการจดั การ
2) ด้านการผลติ 2) ดา้ นการตลาด
3) ด้านการจดั การ 3) ดา้ นการสรา้ งองค์ความรู้
4) ด้านการเงนิ และการบัญชี 4) ด้านการสื่อสารสร้างการรับรเู้ พอื่ ความย่งั ยืน
5) ดา้ นการบรหิ ารจดั การตน้ ทุน

แผนภาพท่ี 1 กรอบแนวคิดในการวจิ ัย

3. วธิ ดี ำเนินการวจิ ยั

ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาจากเอกสารทาง
วิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศึกษาเอกสารที่เป็นแหล่งข้อมูล แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้
กำหนดวิธีการวจิ ัย ดงั น้ี

ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ภาครัฐ 1 คน นายเดชา นามโยธา ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริม
การเกษตรชำนาญการ ผู้รับผิดชอบตำบลบ้านโต้น ภาคเอกชน 1 คน นางสาว จุฬาลักษณ์ จักรคำ ตัวแทน
บริษัทเบทาโกร ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษตำบลบ้าน
โต้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษตำบลบ้านโต้น 5 คนได้แก่ 1) นางมณีรัตน์ คำหนูไทย
ประธานกลมุ่ 2) นางสาวศุภลกั ษณ์ สาต่นุ เลขากลุ่ม 3) นางสาวราตรี ศรจี วิ ังษา เหรญั ญกิ 4) นางศณีสมร ศรี
จนั ดี ประชาสัมพนั ธ์ 5) นางสาว ลัดดา เพช็ รสีเขียว เป็นการเลอื กกลมุ่ ตัวอยา่ งแบบเจาะจง

ขั้นตอนที่ 2 เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 3 ตอน ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) คำถาม
เกยี่ วกับความรว่ มมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของกลุ่มวิสาหกจิ ชุมชนแปลงใหญผ่ ักปลอดสารพษิ ตำบล
บ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการจัดการ ด้าน
การเงิน (3) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มรายได้ของวิสาหกิจ
ชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ด้านการ
จัดการ ด้านการตลาด ด้านการสร้างองค์ความรู้ ดา้ นการส่ือสารสร้างการรบั รเู้ พื่อความย่ังยืน ด้านการบริหาร
จดั การต้นทุนและการบัญชี และผา่ นทปี่ รึกษาตรวจสอบความถูกต้องและเท่ยี งตรงของเครอ่ื งมือ จากนั้นผู้วิจัย
ไดด้ ำเนนิ การลงพ้นื ทส่ี ัมภาษณด์ ว้ ยตนเอง

249 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการประสานงานไปยังหน่วยงานราชการ
บริษัทเอกชน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักแปลงใหญ่บ้านโต้น เพื่อขออนุญาตดำเนินการสัมภาษณ์ มีการ
นัดหมาย วัน เวลา และสถานที่ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ให้สัมภาษณ์ และขออนุญาตในการบันทึกเสียง
แล้วนำขอ้ มลู ท้ังหมดมารอ้ ยเรียงวิเคราะห์ขอ้ มูล เพอ่ื ใหไ้ ด้คำตอบของการศึกษาคร้ังนี้

ขั้นตอนที่ 4 การวเิ คราะหข์ ้อมลู จะใช้วิธกี ารวิเคราะห์แก่นสาระ เพอ่ื สรา้ งข้อสรปุ และข้อเสนอแนะ

4. ผลการวิจยั

ผ้วู ิจยั สามารถแบง่ ผลการวิจัยออกเปน็ 2 ประเดน็ ตามวัตถปุ ระสงคข์ องการวิจยั ได้ ดงั น้ี
1. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ
ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการจัดการ
ดา้ นการเงิน ผลการศกึ ษาพบว่า
1.1 ด้านการตลาด ภาครัฐและภาคเอกชนมีการวางแผนด้านการตลาด และหาช่องทางการตลาดใน
การจัดจำหน่ายสนิ คา้ ทำใหม้ คี ุณคา่ สง่ เสรมิ การสร้างมลู ค่าเพิ่มอยา่ งไร
ภาครัฐและภาคเอกชนประสานงานร่วมกัน แจ้งแนวทางปฏิบัติโดยตรงต่อเลขากลุ่มให้ทราบว่ามีงาน
โชว์ หรืองานออกบูทเปิดตลาดที่ไหน เมื่อไหร่ มีการวางแผนเตรียมความพร้อมกันทุกครั้งก่อนออกตลาดเพื่อ
นำสินค้าไปจำหน่าย อาทิ วางแผนในเรื่องชนิดของผักที่กลุ่มต้องเตรียม จำนวนปริมาณกี่ตัน เป็นต้น ซึ่งทั้ง
ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดหาตลาดให้กับกลุ่มภาครัฐส่วนใหญ่จะเป็นการโชว์สินค้า และการออกบูท
ตลาดผักสดตามงานต่าง ๆ ที่ทางภาครัฐจัดขึ้นและภาคเอกชนเป็นหน้าที่หลักในการหาตลาดโดยศึกษาตลาด
และจัดหาตลาดที่จะสามารถซื้อผักได้อย่างต่อเนื่องสินค้าที่จำหน่ายนอกจากจะเป็นผักสดกลุ่มมีการแปรรูป
สินค้าผักสด อาทิ ผกั กาดดอง ส้มผักกาด เป็นต้น
1.2 ดา้ นการผลิต ภาครัฐและภาคเอกชนมีการแนะนำให้ความรู้ และการวางแผนในการผลติ อย่างไร
ภาครัฐและภาคเอกชน ประสานงานร่วมกันเข้ามาจัดอบรมให้ความรู้กับสมาชิกกลุ่มเกี่ยวกับแนว
ทางการป้องกันเช้ือโรค หรือแมลงที่เป็นตัวอันตรายต่อการเพาะปลูกพันธ์ผัก โดยสำนักงานเกษตรที่เปน็ กำลงั
หลักในการให้ความรู้เกี่ยวด้านเมล็ดพันธ์ การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวพันธ์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการประชุม
งานปรึกษาหารือวางแผนและประสานงานไปยังหน่วยงานด้านการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเข้ามาให้
ความรู้กระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ดังนี้ เริ่มต้นศึกษาชนิดพันธ์ุ ผักให้
เหมาะสมกับพืน้ ที่ของกลมุ่ ในสว่ นพื้นทท่ี างกรมทด่ี นิ เข้ามาช่วยดูแลรวมถึงการเตรยี มหนา้ ดินปรับดินให้พร้อม
เตรยี มการเพาะปลูก ขนั้ ตอนการเร่ิมปลกู ผกั ตัง้ แต่การโรยเมล็ ดพันธ์ุ ระยะห่าง ขั้นตอนน้จี ะสง่ ผลใหไ้ ม่เกิดการ
แย่งพ้นื ทใ่ี นการเจริญเติบโตของกนั และกัน และข้นั ตอนการใส่ปุ๋ยต้องเป็นปยุ๋ หมัก ปุ๋ยชีวภาพเท่าน้ันเพ่ือให้ได้
ผักที่ปลอดสารพิษโดยแท้ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ระหว่างนี้ต้องดูแลรดน้ำทุกวันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวันทำทุกวัน
จนถึงการเกบ็ เกย่ี วผลผลิต การเกบ็ เกยี่ วสว่ นใหญ่จะอยใู่ นชว่ ง 2 อาทติ ย์ ถึง 1 เดอื น ข้นึ กบั สายพันธุ์ผักท่ีปลูก

250 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ใช้เวลาในการเติบโตนานแค่ไหน อาทิ ผักบุ้งจีน เฉลี่ย 15-20 วัน กวางตุง เฉลี่ย 30-35 วัน คะน้า 35-40 วัน
จงึ เก็บเกยี่ วผลผลติ ได้และการเพาะปลูกในรอบตอ่ ไปทต่ี รงตามความต้องการของตลาดในแตล่ ะรอบการจดั ซ้ือ

1.3 ดา้ นการจดั การ การบริหารจัดการบทบาทหน้าท่ี และการบรหิ ารจัดการดา้ นทรัพยากรพื้นที่ ดิน
อย่างไร

ตามแผนผังโครงสรา้ งบทบาทหน้าที่ของกลมุ่ วสิ าหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ดังนี้ ประธาน
กลมุ่ 1 คน รองประธานกลุ่ม 1 คน ท่ีปรึกษากลมุ่ 4 คน เลขานกุ าร (จดวาระการประชุมและจดมิเตอร์น้ำเก็บ
ค่าน้ำ) หลกั 1 คน และผ้ชู ่วย 1 คน ฝา่ ยประชาสมั พันธ์ 1 คน ฝ่ายเหรญั ญกิ (จ่ายเงินค่าผกั ถอื เงิน ถือบัญชี) 2
คน และผู้ตรวจสอบบญั ชี เทศบาล 1 คน บริษัทเบทาโกร 1 คน มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ 1 คน ฝา่ ยสง่ เสริมการ
ปลูก (วางแผนการปลูกติดตามแปลงเกษตร) 3 คน ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพผัก QC 6 คน ฝ่ายขนส่งผักหลัก 6
คน และสลับวนเวยี นกนั กบั สมาชิกทง้ั หมดรวมกนั ทั้งหมดจำนวน 44 คน การบรหิ ารจดั การด้านทรัพยากร พ้ืน
ท่ีดนิ นำ้ โดยภาครัฐและภาคเอกชนประสานงามรว่ มกันทกุ ภาคส่วน อาทิ สำนกั งานเกษตรและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเทศบาลบ้านโต้นเป็นผู้รับผิดชอบจัดสรรหาพื้นที่ในการเพาะปลูกที่เป็นศูนย์กลางดูแลเรื่องแหล่ง
ต้นน้ำและทำน้ำบาดาลเพื่อให้กลุ่มได้ใช้น้ำในการเพาะปลูกผักทางกรมที่ดินรับผิดชอบในการดูแลเตรียมดิน
ปรับหนา้ ดินเพือ่ เตรยี มพรอ้ มในการเพาะปลกู ผัก

1.4 ด้านการเงิน และการบัญชี ภาครัฐและภาคเอกชน มีการสนับสนุนเงินทุน และการทำบัญชี
อย่างไร

สำนักงานเกษตรให้การสนับสนุนเงินทุนเริ่มแรกในการเพาะปลูก อาทิ ซื้อเมล็ดพันธ์ผัก ภาคเอกชน
ร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นสนับสนุนในเรื่องทุนค่าใช้จ่ายในการไปศึกษาดูงานนอกพื้นที่ และทาง
กลุ่มจะได้รับเงินจากการส่งสินค้าให้ทางบริษัทในเครอื ข่าย แต่เงินจะออกหลังจากส่งสินค้า 15 วันในรอบการ
จัดส่งสินค้า มหาวิทยาลยั ขอนแก่นเลยเขา้ มาสนับสนุนเงนิ ทุนผ่านรูปแบบคณะกรรมการกลุ่ม จำนวน 1 หมื่น
บาทในช่วงแรก ๆ เรียกว่าทุนสำรองหมุนเวียน การอบรมความรู้ด้านการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย สำนักงาน
เกษตรและทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้ามาแนะนำให้ความรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือนรายรบั -รายจ่าย มี
ความพอเพียง มรี ายจ่ายที่ไมเ่ กินตัวเนื่องจากรู้บญั ชีครัวเรือนรายรับ-รายจา่ ยของตนเอง

2. ผลของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มรายได้ของ
วิสาหกจิ ชมุ ชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพษิ ตำบลบา้ นโตน้ อำเภอพระยืน จงั หวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ด้าน
การจัดการ ด้านการตลาด ด้านการสร้างองค์ความรู้ ด้านการสื่อสารสร้างการรับรู้เพื่อความย่ั งยืน ด้านการ
บริหารจดั การต้นทนุ และการบญั ชี ผลการศึกษาพบวา่

2.1 ด้านการจัดการ การบูรณาการการทำงานร่วมกันทุกภาคสว่ น และการแนะนำให้ความรู้การวาง
แผนการผลิต สามารถเพิ่มรายได้ หรือลดต้นทุนให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบล
บา้ นโต้นอยา่ งไร

การบูรณาการร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเกษตร ภาคเอกชน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เทศบาลบ้านโต้น ถือเป็นแกนนำหลักร่วมกันในการพัฒนาส่งเสริมอาชีพเสริม เพ่ือ

251 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ส่งเสริมให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกลุ่มมีความเข้มแข็ง สังคมเกิดความเข้มแข็ง ทำให้คนในชุมชนและ
ผู้สงู อายุมกี ิจกรรมช่วยผ่อนคลาย คนในชมุ ชนไม่เกิดการว่างงานและลดปัญหาทางสังคมในหลายรูปแบบ อาทิ
ลดปัญหาความยากจน ปัญหาครอบครัว ลดการเกิด ปล้น จี้ ชิงทรัพย์ คดกง หลอกลวง ต้มตุ๋น ทุจริต รวมถึง
การคิดฆ่าตวั ตาย เป็นต้น การแนะนำให้ความรู้ด้านการผลิต ภาครฐั และภาคเอกชนประสานงานร่วมกันมีการ
จัดอบรมให้ความรู้กับสมาชิกเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันเชื้อโรค หรือแมลงที่เป็นอันตรายต่อการเพาะปลูก
เดิมกลุ่มยังขาดความรู้เรื่องการป้องกันเชื้อโรคก่อให้เกิดความเสียหายในการเพาะปลูก ผลผลิตได้รับความ
เสียหายอย่างมาก อาทิ ผักมีเชื้อราบางชนิดทำให้ผลผลิตเน่าเสียหายเป็นจำนวนมาก ผักบางชนิดถูกแมลงที่
เป็นตัวอันตรายทำลาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพของผัก ปัญหาเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ศักยภาพ
ของผลผลิตลดลง ส่งผลให้ปริมาณของผลผลติ ลดลง เพราะถูกทำลายจากพวกเช้อื โรค เกิดการปะปนของวชั พืช
ในผลผลติ

ปัจจบุ นั กลมุ่ ได้นำเอาความรู้ท่ไี ด้รบั จากการอบรม ความเสียหายในการเพาะปลกู น้อยลง อาทิ ผักไม่มี
เชื้อโรคไม่เกดิ เชื้อรา ความเสียหายต่อผกั น้อยลงทำให้ศักยภาพของผลผลิตเพิม่ ขึ้น การแนะนำให้ความรู้เกีย่ ว
การทำป๋ยุ หมกั ปุ๋ยชวี พันธ์ กลมุ่ ไมม่ ีการใชย้ าฆ่าแมลงในการเพาะปลูกและสารเร่งผลผลิตโดยเดด็ ขาดเพ่ือให้ได้
มาตรฐานผักทีป่ ลอดสารพิษอย่างแทจ้ ริง เดมิ กล่มุ ใส่ปุ๋ยตามความต้องการของตน ทำให้ผลผลิตออกมาผักไม่ได้
คุณภาพ สีของผักไม่สวยงาม ผักซ้ำและเหี่ยวเร็วกว่าปกติ และที่สำคัญผักไม่ได้ตามมาตรฐานของตลาด แต่
ปจั จบุ ันไดน้ ำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในกลุ่มอย่างการทำปุย๋ หมัก ซ่ึงเปน็ ปุ๋ยทางธรรมชาตินำไปใช้ในการปรับปรุง
หน้าดนิ เปน็ การบำรุงหน้าดินทำให้ดินร่วนซุยโดยวิธธี รรมชาติ ช่วยประหยดั และลดปริมาณการซื้อปุ๋ยที่มีราคา
แพง นอกจากนั้นปุ๋ยหมักยังช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้น สีของผักสวยขึ้น และผลผลิตได้จำนวนมากขึ้น ที่
สำคัญส่งผลให้ผักอยู่ไดน้ านถึง 1 อาทิตย์ และได้มาตาฐานของตลาด เช่น ผู้บริโภคที่ซื้อผกั สดไปรวมถึงพ่อค้า
แม่ค้าได้รับการตอบรับเหมือนกันว่าเหมือนได้ทานผักสดใหม่ทุกวัน อยู่ได้นานขึ้นและผักยังคงสภาพเดิม
สวยงามน่ารับประทานทำให้ปริมาณของผลผลิตเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้กลุ่มจำหน่ายผลผลิตมากขึ้นจากเดิม 2
เท่า การวางแผนในการผลิต ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันโดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้ามาวางแผน
กระบวนการเริ่มตั้งแต่การวางแผนตลอดจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต อาทิ จัดสรรพื้นที่ การเตรียมหน้าดิน
ขั้นตอนการโรยเมลด็ พันธุ์ ขนั้ ตอนการใส่ปยุ๋ การดแู ลรดนำ้ จนถึงการเก็บเกีย่ วผลผลิต ทำให้รรู้ ะยะเวลาในการ
เพาะปลูกในแต่ละรอบว่าใช้ระยะเวลากี่วนั ซึ่งการวางแผนการเพาะปลูก สามารถรู้ลว่ งหน้าได้ว่าระยะของผัก
ชนิดนี้มเี วลาในการปลูกก่วี ันผลผลติ ถงึ โตเต็มที่

เดิมกลุ่มไม่มีการวางแผนต่างคนต่างปลูกตามพื้นที่ของตน ปลูกตามใจตนและการเพาะปลูกแบบเดิม
ๆ ทำใหเ้ กิดปัญหาผักท่ีปลูกไม่ได้เป็นท่ีต้องการของตลาดทำให้เสยี โอกาสในเรื่องของเงินทุนและเวลา ปัจจุบัน
สำนักงานเกษตรและองคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่นเทศบาลบ้านโต้น จัดสรรหาพน้ื ที่ให้กลุม่ เป็นศูนย์กลางในการ
เพาะปลูกเป็นการลดต้นที่ในเรื่องของพื้นที่ และภาคเอกชนเข้ามาวางแผนจัดตารางในการเพราะปลูกในแต่
รอบและทำให้สินค้าตรงตามความตอ้ งการของตลาด ส่งผลใหไ้ มใ่ ห้ผลผลติ ไม่ล้นตลาด

252 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2.2 ด้านการตลาด การวางแผนและการจัดหาช่องทางด้านการตลาดของหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชนสามารถเพิ่มรายได้ หรือลดต้นทุนให้กับกลุ่มวสิ าหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบลบ้าน
โตน้ อย่างไร

ภาครฐั และภาคเอกชนร่วมประสานงานแจ้งแนวทางปฏบิ ัติโดยตรงต่อเลขากลุ่มให้ทราบว่ามีงานออก
บูทเปิดตลาดที่ไหน เมื่อไหร่ เดิมกลุ่มต่างคนต่างขายเกิดปญั หาผลผลิตซ้ำ ๆ กันหลาย ๆ เจ้าผลผลิตขายไม่ได้
ราคามีการกดราคาเกิดขึ้นแต่ปัจจุบันกลุ่มมีความพร้อมมากขึ้น อาทิ การเตรียมชนิดผัก กลุ่มต้องเตรียมผัก
ชนิดไหน เช่น ผักบุ้ง 5 ตัน ผักคะน้า 5 ตัน ผักหอม 10 ตัน สามารถคาดการณ์ปริมาณสินค้าที่จะออกสูต่ ลาด
ได้ ส่งผลใหผ้ กั ไมล่ น้ ตลาด ชนิดของผกั เปน็ ไปตามความต้องการของตลาด ในส่วนชอ่ งทางดา้ นตลาด ส่วนใหญ่
เป็นการออกบูทตลาดผักสด เดิมขายในตลาดชุมชนขายได้จำนวนน้อย แต่ปัจจุบันได้ทางภาครัฐและ
ภาคเอกชนจัดหาตลาดได้จัดทำข้อตกลงการซื้อขายกับทางบริษัทคิงส์ วิช จำกัด โลตัส ซึ่งถือเป็นเอเย่นต์ราย
ใหญ่ของกลุ่ม ส่งผลใหก้ ลุ่มมรี ายไดเ้ พิ่มขึ้นจากเดิม 2 เท่า เดมิ มรี ายไดต้ ่อเดอื นห้าพันบาทปจั จบุ ันเพ่ิมเป็นหนึ่ง
หมื่นบาทต่อสมาชิกหนึ่งคน ในส่วนของการส่งออกผลผลิต ทางกลุ่มจะวางแผนล่วงหน้าก่อน 1 วัน อาทิ
เพื่อให้ทราบว่าทางกลุ่มมีผักชนิดใดบ้างที่พร้อมส่ง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดและตรงตามความต้องการของ
ตลาด

2.3 ด้านการสร้างองค์ความรู้ ภาครัฐและภาคเอกชน การสร้างกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่ม เพ่ือ
สร้างประโยชน์ ต่อยอดในอนาคตสามารถเพิ่มรายได้ หรือลดต้นทุนให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผัก
ปลอดสารพิษตำบลบ้านโตน้ อย่างไร

การสรา้ งกระบวนการเรียนร้รู ว่ มกันโดยมกี ระบวนการให้คนทป่ี ระสบผลสำเรจ็ ในกลุม่ เป็นแกนนำเป็น
ตัวอย่างโดยจัดให้เปน็ เกษตรต้นแบบ เพื่อที่จะถ่ายทอดความรูใ้ ห้สมาชิกภายในกลุ่ม เดิมกลุ่มไม่มีผู้นำเมื่อพบ
ปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องมีการลองผิดถูกซ้ำ ๆ ทำให้ผลผลิตออกมากไม่มีประสิทธิภาพขาดการ
พัฒนาต่อยอดไม่มีความมั่นคง ปัจจุบันมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันมีแกนนำที่มีประสบการณ์จริง อาทิ เรื่อง
การทำปุ๋ยหมักมีวิธีการหมักปุ๋ยที่ทำให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพสูงสุด โดยเป็นการลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยจาก
แหล่งอื่นที่มีราคาแพง โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่มร่วมกันแก้ไขปัญหา ถือเป็นการพัฒนาการต่อ
ยอดให้กลุ่มเกิดความม่นั คงในระยะยาว ถา่ ยทอดองคค์ วามรู้จากรุ่นสูร่ ุ่นต่อไปในอนาคต

2.4 ด้านการสือ่ สารสร้างการรับรู้เพื่อความยั่งยนื ภาครัฐและภาคเอกชน การสร้างแรงบันดาลใจให้
กลุ่มมีความรักและความภาคภูมิใจในสินค้า/บริการของตนเองสามารถเพิ่มรายได้ หรือลดต้นทุนให้กับกลุ่ม
วิสาหกจิ ชุมชนแปลงใหญผ่ ักปลอดสารพิษ ตำบลบา้ นโตน้ อยา่ งไร

ภาครัฐและภาคเอกชน และมหาวิทยาลยั ขอนแก่นลงมตริ ว่ มกันในการผลักดนั การสร้างแบรนด์สินค้า
ผักปลอดสารพิษบ้านโต้น เพื่อให้กลุ่มมีแรงบันดาลใจและมีความภาคภูมิใจร่วมกันโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น
เป็นแกนหลักในการออกแบบแบรนด์สินค้าสร้างบรรจุภัณฑ์สามารถสื่อสารและสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคที่
ดึงดูดและสร้างการจดจำของตลาด เป็นตัวชี้วัดบ่งบอกและสื่อสารรายละเอียดสินค้า การประชาสัมพันธ์แบ
รนด์สินค้า ผ่านรูปแบบที่เรียกว่าแบรนด์สินค้าผักปลอดสารพิษบ้านโต้น เมื่อบรรจุภัณฑ์ดี ส่งผลให้กลุ่มมีอัต

253 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ลักษณ์ทำให้ลูกค้ารู้แบรนด์สินค้าผักปลอดสารพิษบ้านโต้น ดังนั้นการทำให้แบรนด์สินค้าดูโดดเด่นต่างจากที่
อนื่ ถือเป็นการสร้างจดุ แข็งของกลุ่มเป็นการสรา้ งมูลคา่ ใหส้ ูงข้นึ ปัจจุบันอย่ใู นชว่ งของการวางแผน

2.5 ด้านการบริหารจัดการต้นทุน ภาครัฐและภาคเอกชน การบริหารจัดหาต้นทุน สามารถเพิ่ม
รายได้ หรือลดต้นทุน ใหก้ บั กลมุ่ วสิ าหกจิ ชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบลบ้านโต้นอยา่ งไร

รูปแบบแผนการจัดหาเงินทุนให้กับกลุ่มโดยมีมติร่วมกันจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายในการ จด
ทะเบยี นเปน็ วิสาหกจิ ชุมชนลุ่มวสิ าหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบลบา้ นโต้น และข้ึนทะเบียนเป็น
แปลงใหญ่ถูกตามกฎหมายเพื่อที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลาง เดิมกลุ่มไม่ได้จดทะเบียนเป็น
วิสาหกิจชุมชน ส่งผลให้ไม่ได้รับงบใด ๆ ทั้งสิ้นจากส่วนกลางเกิดปัญหาเรื่องของต้นทุนในการผลิตทุกอย่าง
ปัจจุบันเมือ่ มีงบประมาณจากสว่ นกลางเขา้ มาเพ่ือเปน็ แหล่งทุน เพอ่ื นำทุนมาพฒั นาต่อยอดการสร้างกลไกการ
สนับสนุนความสามารถการแข่งขนั ของวสิ าหกจิ ชมุ ชนได้ตอ่ ไปในอนาคต

5. สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1. สรุปและอภปิ รายผล
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ของวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบล
บ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการจัดการ ด้าน
การเงิน และการบัญชีเกิดการบูรณาการของภาคีเครือข่ายท่ีร่วมกันส่งเสริมอาชีพเสริมในชุมชน พัฒนากลุ่ม
วิสาหกิจชมุ ชนให้มคี วามสามารถในการดำรงชีวติ ใหม้ ีคุณค่า เสรมิ สรา้ งขดี ความสามารถด้านการผลิต สามารถ
ยกระดบั มาตรฐานการผลติ รวมถึงการแปรรปู สนิ คา้ เสริมสรา้ งศักยภาพด้านการตลาด และการบรหิ ารจัดการ
ตลอดจนผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และลดรายจ่ายภายใน
ครัวเรือน ลดปัญหาความยากจน ปัญหาครอบครวั ไมเ่ กิดการว่างงาน ส่งผลให้ชมุ ชนเกดิ ความเข้มแข็ง สามารถ
แข่งขันในระบบเศรษฐกิจในอนาคตได้ โดยมีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นและ
เชอื่ มโยงกับศูนย์เรยี นรู้ต่าง ๆ เพือ่ เกดิ การถ่ายทอดองคค์ วามรู้ใหม่ ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในชุมชน
ปจั จุบนั ซง่ึ สอดคล้องกับงานวิจัยของ สมชัย ศรนี อก และชวาล ศิรวิ ัฒน์ (2561) ทศ่ี กึ ษาวจิ ยั เรอื่ ง “คนจน 4.0
นวัตกรรมสร้างความจนและแก้ปัญหาความจน” ปัญหาความยากจนมีความซับซ้อนเกี่ยวโยงกับหลาย
หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกชุมชนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การแก้ไขปัญหาจึงมีลักษณะต้องเป็นความ
ร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้การแก้ไขปัญหาความยากจนจึงต้องมีการปรับกระบวนทัศน์และ
การบริหารจัดการรูปแบบใหมท่ ่ีเรียกว่า “นวัตกรรม”
ผลของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีต่อความสามารถในการเพิ่มรายได้ของ
วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดสารพิษ ตำบลบา้ นโตน้ อำเภอพระยืน จงั หวดั ขอนแก่น ประกอบด้วย ด้าน
การจัดการ ด้านการตลาด ด้านการสร้างองค์ความรู้ ด้านการสื่อสารสร้างการรับรู้เพื่อความยั่งยืน ด้านการ
บริหารจัดการต้นทุน ส่งผลใหม้ ีการจำหน่ายผลผลิตเพิม่ มากขึน้ จากเดิม 2 เท่า และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 2
เท่า เดิมที่มีรายได้ต่อเดือนห้าพันบาทปัจจุบันเพิ่มเป็นหนึ่งหมื่นบาทต่อสมาชิกหนึ่งคน ซึ่งสอดคล้องกับ

254 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

งานวิจัยของ วิภาภรณ์ ชัยรัตน์ (2560) ที่ศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบวิสาหกิจเพื่อสงั คมของรัฐบาลกับการพัฒนา
เศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ยึดแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์
ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก คือ “รายได้” ภายใต้การสร้างอาชีพเสริม
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำใหค้ นในชุมชนมรี ายได้เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างกลไกการตลาดที่มัน่ คง
และยั่งยืน ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศมีความเข้มแข็ง สามารถรองรับสถานการณ์การแข่งขัน
ในทางธุรกิจได้ทุกระดับ ผู้วิจัยได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาในครั้งนี้ ด้านการสร้างองค์ความรู้ เป็น
การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้แก่สมาชิกกลุ่มโดยมีแกนนำที่เป็นสมาชิกในกลุ่มที่ประสบผลสำเรจ็
ทอดถ่ายประสบการณ์จริง อาทิ เรื่องการทำปุ๋ยหมัก มีวิธีการหมักปุ๋ยที่ทำให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพสูงสุด
ควรทำวิธีใด ถือเป็นการลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยจากแหล่งอื่นที่มีราคาสงู ถือเป็นการพัฒนาการต่อยอดให้กลุ่ ม
เกดิ ความม่ันคงในระยะยาว ถา่ ยทอดองค์ความรู้จากรุ่นสูร่ นุ่

5.2 ขอ้ เสนอแนะเชิงนโยบาย
1.ภาครฐั บาลควรสง่ เสรมิ การพัฒนาต่อยอดองค์ความร้ใู นส่วนของด้านการผลิตสินคา้ รวมถงึ

การแปรรปู สนิ คา้ ให้มคี วามพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีดา้ นการผลิต หรือนวตั กรรมใหม่ ๆ เปน็ นโยบายท่ี
สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการเพิ่มคุณภาพสนิ คา้ และประสิทธิภาพดา้ นการผลติ สนิ ค้า และเพ่ือให้
สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

2.ภาครัฐบาลควรส่งเสริมการพฒั นาตอ่ ยอดเพื่อใหท้ ุกพื้นที่ของประเทศในการสง่ เสรมิ การ
ดำเนินนโยบายแนวทางการปลกู ผักแปลงใหญ่หรือแนวทางการทำการเกษตรแบบปลงใหญใ่ หค้ รอบคลุมทัว่ ทุก
พนื้ ทีใ่ นประเทศและมีแนวทางชว่ ยเหลือดา้ นงบประมาณทเ่ี ปน็ รปู แบบท่ีชัดเจน เพื่อเป็นชอ่ งทางในการเพม่ิ
รายไดใ้ ห้ชุมชนต่อไป

5.3 ข้อเสนอแนะเพ่อื การวิจยั ในครั้งตอ่ ไป
1. ผู้ทสี่ นใจศึกษาต่อยอดจากการวิจยั ในเรอื่ งน้ี ควรศึกษาด้านการผลิต การแปรรปู สนิ ค้าใหม้ ี

คุณภาพ และเปน็ ทตี่ ้องการของตลาด ควรมหี น่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแนะนำให้ความรู้ เป็นการสรา้ ง
นวตั กรรมและมลู คา่ เพม่ิ ให้กับสินคา้ ให้มีคุณภาพและเป็นทดี่ งึ ดดู ของผบู้ รโิ ภค

2. ผู้ที่สนใจศึกษาต่อยอดจากการวิจัยในเรื่องนี้ ควรศึกษาด้านการตลาดแบบออนไลน์ โดยมี
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาบูรณาการร่วมกันเพื่อสร้างภาคีเครือข่าย หาแนวทางร่วมกัน เพื่อจำหน่ายสินค้า
ทางออนไลน์ เพราะคนส่วนใหญ่เขา้ ถึงได้ง่าย และเจาะกล่มุ เป้าหมายลกู ค้าไดห้ ลากหลายมากข้นึ โดยยึดหลัก
กระแสความนิยมเป็นสิ่งสำคญั ความนยิ มของผูบ้ ริโภคเป็นหลกั

255 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เอกสารอา้ งองิ

กรมการพฒั นาชุมชน. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมการพฒั นาชมุ ชน พ.ศ.2560-2564.กรงุ เทพฯ: [ม.ป.พ.]
ฐายิกา จนั ทรเ์ ทพ. (2559). การศึกษาผลการดำเนนิ งานของคณะทำงานการพฒั นาเศรษฐกจิ ฐานราก

และประชารัฐ. การค้นควา้ อสิ ระหลักสตู ร รฐั ศาสตรมหาบัณฑิต lบรหิ ารรัฐกจิ และกจิ การสาธารณะ)
สาขาวิชาบรหิ ารรัฐกิจและกจิ การสาธารณะ สำหรับนกั บรหิ ารคณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.์
วรรณภา ฐติ ิธนานนท์. (2556). รูปแบบการดำเนินงานวสิ าหกจิ ชมุ ชน หมบู่ า้ นเคร่อื งปั้นดินเผา มอญโบราณ
เพื่อการพ่ึงพาตนเองอยา่ งยั่งยนื . วารสารวจิ ยั ราชภฏั พระนคร สาขามนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์.
,8(1),67.
วันชยั ศิรชิ นะ.(2559). เจาะแนวคดิ ของ โมเดลธุรกิจ ‘Social Enterprise’ ทำอย่างไร ถงึ จะประสบ
ผลสำเรจ็ แบบยัง่ ยนื . [ออนไลน์]. ค้นเม่ือ 30 สิงหาคม 2563,
จาก https://www.marketingoops.com/news/biz-news/singha-park-social-enterprise/
วภิ าภรณ์ ชยั รตั น.์ (2560). รปู แบบของวิสาหกจิ เพ่อื สังคมของรัฐบาลกบั การพัฒนาเศรษฐกจิ ของประเทศ
อย่างยง่ั ยนื . [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 27 ตลุ าคม 2563,
จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2559-2560/wpa_8229.html
สมชัย ศรีนอก และ ชวาล ศิริวฒั น์. (2561). คนจน 4.0 : นวัตกรรมสรา้ งความจนและแกป้ ัญหาความจน.
วารสารมหาจฬุ าวชิ าการ.,5 (ฉบับพเิ ศษ),83.
สำนกั งานคณะกรรมการนโยบายรัฐวสิ าหกจิ .(2555). การร่วมลงทุนระหวา่ งรฐั และเอกชน. [ออนไลน]์ .
คน้ เมอื่ 29 ตลุ าคม 2563, จาก http://www.ppp.sepo.go.th/contents/4
สำนักงานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาต.ิ .(2559). ยทุ ธศาสตร์การพฒั นาประเทศตาม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ ฉบับที่ 12. [ออนไลน์]. ค้นเมอ่ื 25 ตุลาคม 2563,
จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

256 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

โครงสรา้ งผู้ถือหุ้น ความสามารถในการทำกำไร และโครงสร้างเงินทุนทม่ี ผี ลต่อ
การวางแผนภาษขี องบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรพั ย์แหง่ ประเทศไทย:

กลุม่ อตุ สาหกรรมอสงั หาริมทรพั ย์และก่อสร้าง
The Effects of Shareholder Structure, Profitability and Capital Structure on
Corporate Income Tax Planning of Listed Companies on The Stock Exchange

of Thailand: Real Estate and Construction Industries

จรรยา ครองบญุ * และ กุสมุ า ดำพิทักษ์
(Janya Krongboon and Kusuma Dampitakse)

บทคัดย่อ

งานวจิ ัยนมี้ ีวตั ถุประสงคเ์ พื่อศกึ ษา โครงสร้างผถู้ ือหนุ้ ความสามารถในการทำกำไร และโครงสรา้ งเงินทุน ท่ี
มีผลต่อการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กลุ่มตัวอย่างคือ
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลกั ทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหารมิ ทรัพย์และกอ่ สร้าง ยกเว้นบรษิ ัท
ในลกั ษณะกองทุนรวมอสงั หาริมทรพั ย์และกองทรัสตเ์ พ่อื การลงทุนในอสงั หาริมทรัพย์ วิธีการศึกษาใชข้ อ้ มูลทุติยภูมิ
ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน แบบแสดงรายงานข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี ระหว่างปี
2560 – 2562 จากระบบข้อมูลตลาดหลักทรัพยบ์ นอนิ เทอร์เน็ต จำนวน 237 ตัวอย่าง การวดั คา่ การวางแผนภาษีใน
ส่วนของภาษีเงินได้นิติบคุ คลวัดค่าจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง โครงสร้างผู้ถือหุ้นศึกษาในกลุ่มผู้ถือหนุ้
แบบครอบครวั ความสามารถในการทำกำไรวัดค่าโดยอัตราสว่ นกำไรตอ่ ส่วนของผูถ้ อื หนุ้ และโครงสร้างเงินทุนวดั จาก
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยเชงิ
พหุ ที่ระดับทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีผู้ถือหุ้น
แบบครอบครัวและโครงสร้างเงินทนุ ของบริษัทท่ีมีแหลง่ เงินทนุ มาจากการกู้ยืมมีอทิ ธิพลเชงิ บวกต่อการวางแผนภาษี
สว่ นความสามารถในการทำกำไรมอี ทิ ธิพลเชิงลบตอ่ การวางแผนภาษี

คำสำคัญ : การวางแผนภาษี โครงสรา้ งผถู้ ือหุน้ ความสามารถในการทำกำไร โครงสรา้ งเงนิ ทนุ

* หลักสตู รบรหิ ารธรุ กิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธรุ กิจ วชิ าเอกการบัญชี มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีราชมงคลธญั บรุ ี. 12110
Master of Business Administration Program (Accounting), Faculty of Business Administration, Rajamangala University
of Technology Thanyaburi. 12110
Corresponding author: [email protected]

257 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ABSTRACT

The objectives of this research were to investigate the effects of shareholder structure,
profitability, and capital structure on tax planning of listed companies on The Stock Exchange of
Thailand: real estate and construction industry. The samples were listed companies in real estate
and construction industry except property funds and real estate investment trusts. The research
using secondary data collected financial statement, form 56–1 and annual report during year 2017
to 2019 from Set Market Analysis and Reporting Tool (SETSMART). The data collected from 84
companies consisted of 237 firm-year. The measurement of tax planning concentrated on corporate
income tax planning measured by Effective Tax Rate (ETR). While shareholder structure focused on
family ownership. In addition, profitability measured by return on equity and capital structure
measured by debt-to-equity ratio. The statistics used were descriptive and multiple regression
analysis at 0.05 significant level. The results revealed that the shareholder structure and capital
structure had the positive influence on corporate income tax planning. In addition, profitability had
the negative influence on corporate income tax planning.

Keywords : Tax Planning, Shareholder Structure, Profitability, Debt Ratio

Article history: Received 18 February 2021
Revised 10 March 2021
Accepted 19 March 2021
SIMILARITY INDEX = 0.00 %

1. บทนำ

อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างเป็นหนึ่งในภาคการผลิตที่มีความสำคัญต่อระบบ
เศรษฐกิจของประเทศไทย (ชาครยี ์ อักษรถงึ และ คธาฤทธิ์ สทิ ธิกลู , 2559) มีสว่ นในการขับเคล่ือนการเติบโต
ของเศรษฐกิจของประเทศ เป็นอุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าจึงเป็นที่สนใจในการลงทุน แต่เมื่อเกิด
สถานการณ์โควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมฯ ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการก่อสร้างที่มีความจำเป็นจาก
มาตรการเชิงป้องกันเพื่อลดการแพร่ของโรคระบาด เพื่อปรับตัวในการทำงานทำให้ต้นทุนที่เกิดจากการ
ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น เช่น ค่าเดินทางคนงาน ค่าที่พัก และอุปกรณ์ป้องกัน ตั้งแต่ มีนาคม 2563 จนปัจจุบัน ปี
2564 การยบั ย้งั การแพร่ระบาดยงั ทำให้เกดิ ความผนั ผวนของราคาวัสดกุ ่อสร้าง เกิดจากสถานการณ์ขาดแคลน
แร่เหล็ก (Supply shortage) ต้นทุนการกอ่ สรา้ งจงึ มีการปรับตวั สูงข้ึน (ศนู ยว์ ิจยั กสิกรไทย, 2563) ผปู้ ระกอบ

258 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ธุรกิจในปัจจุบันจึงต้องประเมินสถานการณ์เพื่อเตรียมกระแสเงินสด และการวางแผนแนวทางการทำงานใน
รูปแบบใหมเ่ พือ่ ลดต้นทุนและเพม่ิ กระแสเงนิ สดในกจิ การ

การลงทุนของผู้ประกอบธรุ กิจเป้าหมายหลกั คือการทำกำไรสูงสุด และการสร้างความม่ังค่ังให้กจิ การ
เมื่อมีกำไรจากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาระหน้าที่ของผู้มี
กำไรที่ต้องชำระภาษีตามอัตราท่ีกฎหมายกำหนด ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนของผูป้ ระกอบธุรกิจลดลง ทางออก
ทส่ี ามารถชว่ ยลดภาระค่าใชจ้ ่ายภาษขี องกิจการได้อยา่ งถูกต้อง คือ กิจการต้องมีการวางแผนภาษี เพอื่ เป็นการ
เตรียมการในการเสียภาษี โดยกำหนดแนวทางปฏบิ ัติในการเสียภาษีให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง ประหยัดภาษี
ได้สูงสุด โดยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล ใช้แตกต่างระหว่างเกณ์การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย
ทางบัญชแี ละทางภาษี ซงึ่ การวางแผนภาษจี ะทำใหอ้ ัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริง (Effective Tax Rate หรอื ETR)
ลดลง รูปแบบการวางแผนภาษีที่กระทบต่อค่า ETR เป็นการวางแผนที่ทำให้กำไรทางภาษีลดลงโดยไม่ทำให้
กำไรทางบัญชีลดลงด้วย (ธัญพร ตันติยวรงค์, 2552) บริษัทที่มีการวางแผนภาษีจะมีค่าอัตราภาษีเงินได้ท่ี
แท้จริงต่ำ (Hanlon, Mills & Slemrod, 2005) ทำให้สามารถแสดงผลกำไรหลังภาษีได้มากขึ้น ยังเป็นการ
บริหารจดั การภาษีเพื่อช่วยเพม่ิ กระแสเงินสดใหแ้ ก่กิจการอีกดว้ ย การวางแผนภาษีควรทำอย่างรอบคอบ
ถกู ต้องตามหลักเกณฑ์ท่ีกฎหมายภาษีกำหนด ป้องกนั มิใหเ้ กิดความเสียหายจากเบี้ยปรบั เงนิ เพิ่ม และเป็นการ
รกั ษาชื่อเสยี งของกิจการ กลมุ่ ผปู้ ระกอบธรุ กจิ จึงคำนึงถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมท่ีจะใช้สิทธิประโยชน์
จากการวางแผนภาษี จึงเกิดคำถามการวิจัยว่า “ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มใดที่มีการใช้สิทธิประโยชน์โดยการ
วางแผนภาษีเงินไดน้ ิติบุคคล”

การตัดสินใจกำหนดนโยบายและการวางแผนเป็นอำนาจของผู้บริหาร โครงสร้างผู้ถือหุ้นเป็นปัจจัยที่
สำคัญและมีอิทธิพลในการกำกับดูแลกิจการ (La Porta et al., 2000) ในการบริหารธุรกิจโครงสร้างของผู้ถอื
หุ้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนต้องพิจารณา โดยลักษณะโครงสร้างผู้ถือหุ้นจะมีความหลากหลาย (ศิลปพร
ศรีจั่นเพชร, 2551) ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร แต่ละแบบทำให้เกิดผลการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ผู้บริหารใน
บริษัทที่มีโครงสร้างการถือหุ้นแบบกระจายตัว มักมีแรงจูงใจให้ทำการปรับแต่งตัวเลขและข้อมูลบัญชีใน
รายงานทางการเงินเพื่อที่ตนจะได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น โดยไม่สนใจผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น
ในขณะที่ผู้มีอำนาจควบคุมในโครงสร้างแบบกระจุกตัวมกั สร้างรายการทางการเงินท่ีเป็นเท็จเพื่อการแสวงหา
ผลประโยชน์ภายในกลมุ่ ของตน (กรัณฑรัตน์ บุญญวฒั น์ และศกั ดา มาณวพฒั น์, 2554)

โครงสร้างเงินทุนที่มีการก่อหนี้เพื่อการลงทุน (Project Finance) โดยจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อเป็น
ตน้ ทุนมคี วามสำคัญในอุตสาหกรรมอสังหารมิ ทรัพย์และการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ท่ีมี
ต้นทุนสูง การก่อหนี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ที่จะส่งผลต่อกำไรและภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล โครงสร้าง
เงนิ ทนุ ท่ีดีท่ีสุดจะสามารถทำใหบ้ ริษัทมมี ูลคา่ เพมิ่ ขึน้ จากการประหยัดภาษี (Modigliani & Miller, 1958)

อตั ราความสามารถในการทำกำไรเป็นเคร่อื งมือท่ีชว่ ยในการประเมินศักยภาพของผู้บรหิ าร เปน็ ข้อมูล
สำคญั ที่ผ้สู นใจโดยท่วั ไปใช้เปน็ หลักในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจในเร่ืองการลงทนุ ผูบ้ ริหารจงึ จำเป็นต้องมีการ
จัดการ วางแผน และควบคุมเพื่อให้เกิดผลกำไรซึ่งจะแสดงข้อมูลออกมาในรูปแบบของงบการเงิน เมื่อนำมา

259 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

วิเคราะห์จะทำให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ดังนั้น
การศกึ ษาน้จี ึงสนใจศึกษาโครงสร้างผู้ถือหุน้ ความสามารถในการทำกำไร และโครงสรา้ งเงินทุน ที่มีผลต่อการ
วางแผนภาษี ของบริษทั ท่ีจดทะเบียนในตลาดหลักทรพั ย์ ในกลมุ่ อตุ สาหกรรมอสังหารมิ ทรพั ยแ์ ละกอ่ สร้าง

วัตถุประสงค์ของการวจิ ัย
เพื่อศึกษารูปแบบของโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบครอบครัว ความสามารถในการทำกำไร โครงสร้าง

เงินทุนที่ส่งผลทำให้เกิดการวางแผนภาษี ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม
อตุ สาหกรรมอสงั หารมิ ทรพั ยแ์ ละกอ่ สร้าง

2. เอกสารและงานวิจยั ทเี่ ก่ยี วขอ้ ง

จากทฤษฎีการวางแผนภาษีที่ชื่อว่า Hoffman’s Tax Planning Theory ของ Hoffman (1961) ได้
ให้ความหมายของการวางแผนภาษี คือ ความพยายามในการที่จะเคลื่อนย้ายเงินสดซึ่งปกติจะไหลไปยัง
หน่วยงานที่ทำหน้าที่จดั เก็บภาษีให้ไปสู่กิจการหรือหน่วยงาน การวางแผนภาษีจึงสามารถออกแบบได้ภายใน
ขอบเขตของการลดรายได้ที่ตอ้ งเสยี ภาษีใหเ้ หลือน้อยทส่ี ุดโดยไมต่ ้องสูญเสียกำไรทางบญั ชี จากงานวจิ ัยในอดีต
พบว่าการวัดค่าอัตราภาษเี งินไดน้ ิตบิ ุคคลที่แทจ้ ริง(ETR) เมอ่ื มีอตั ราภาษเี งนิ ได้ทีแ่ ทจ้ ริงต่ำถือว่ามีการวางแผน
ภาษี (Dyreng Hanlon, and Maydew 2006)

เยาวนารถ เพียรธนะกูลชัย (2552) ได้ศึกษาการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านขนาดและ
สัญชาติของบริษัทกับระดับการวางแผนภาษีอากรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มตัวอย่างคือบริษัทจำกัดจด
ทะเบียนกับสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดปทุมธานี พบว่าขนาดของบริษัทอสังหาริม ทรัพย์ มี
ความสัมพันธ์เชิงบวกต่อระดับการวางแผนภาษีอากร สัญชาติของบริษัทอสังหาริมทรัพย์มีผลต่อระดับการ
วางแผนภาษีอากร บริษัทสัญชาติต่างชาติมีการวางแผนภาษีอากรที่ในระดับรุนแรง บริษัทสัญชาติไทยมีการ
วางแผนภาษอี ากรในระดบั ตำ่

ธัญพร ตันติยวรงค์ (2552) ศึกษาปัจจัยท่ีมอี ิทธิพลต่อการวางแผนภาษีและความสมั พันธ์ระหว่างการ
วางแผนภาษีกับมูลค่าของกิจการ พบว่าโครงสร้างการถือหุ้นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการวางแผนภาษีท่ี
แตกต่างกัน โดยโครงสร้างการถือหนุ้ ท่ีมีกลุ่มครอบครัวเป็นผู้ถือห้นุ ที่มีอาํ นาจในการควบคุมมีความสัมพันธ์กับ
การเพิ่มข้นึ ของการวางแผนภาษี บริษัทท่มี ีชาวต่างประเทศและบริษัทท่ีมรี ัฐบาลเปน็ ผู้ถือหุ้นท่ีมีอํานาจควบคุม
มกี ารวางแผนภาษีท่ีทําให้กําไรทางบญั ชลี ดลง

Irianto, Sudibyo, & Wafirli (2017) การศึกษาอิทธิพลของความสามารถในการทำกำไร โครงสร้าง
เงินทุนกลุ่มขา้ ราชการอิสระ ขนาดของบริษทั ต่อการวางแผนภาษี ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
อินโดนีเซยี 2556-2558 พบว่า ความสามารถในการทำกำไรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการวางแผนภาษี โครงสร้างผู้
ถือหุ้นไม่มอี ทิ ธพิ ลตอ่ การวางแผนภาษี และขนาดของบริษทั มอี ิทธิพลเชงิ บวกต่อการวางแผนภาษี

260 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Manurung (2019) ทำการศกึ ษาอทิ ธิพลของสภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร สินค้าคงเหลือ
หน้สี นิ ของกจิ การทเ่ี กย่ี วข้องและขนาดของบริษัท ต่อการวางแผนภาษีเชงิ รุก ของบรษิ ทั ที่จดทะเบียนในตลาด
หลักทรพั ยอ์ นิ โดนเี ซียในชว่ งปี 2556-2560 พบว่าสภาพคลอ่ งทางการเงนิ มผี ลกระทบในเชิงลบต่อการวางแผน
ภาษี ความสามารถในการทำกำไรผลกระทบเชิงลบต่อการวางแผนภาษี บริษทั มีประสิทธภิ าพมากขึ้นและมีผล
กำไรสูงจะจ่ายภาษีต่ำ ขนาดของบริษัทมีผลกระทบในทางลบต่อความการวางแผนภาษี สินค้าคงคลังมีผลใน
เชงิ บวกตอ่ การวางแผนภาษี หน้ีของกจิ การท่ีเกีย่ วขอ้ งกันไม่มีผลกระทบต่อการวางแผนภาษี

Aminah, Chairina & Sari (2017) ศึกษาอิทธิพลของขนาดของบริษัท มูลค่าของสินทรัพย์ถาวร
โครงสร้างเงินทุน ความสามารถในการทำกำไร และความเกี่ยวข้องทางการเมืองกับวางแผนภาษี บริษัทที่จด
ทะเบียนในตลาดหลกั ทรัพย์อินโดนีเซีย ปี 2554 - 2558 พบว่าตัวแปรความสามารถในการทำกำไรและความ
เชื่อมโยงทางการเมืองมีอิทธิพลต่อการวางแผนภาษี ส่วนขนาดของบริษัท โครงสร้างเงินทุน ไม่ส่งผลต่อการ
วางแผนภาษขี องบรษิ ัททจี่ ดทะเบียนในตลาดหลักทรพั ย์อนิ โดนเี ซียชว่ งปี 2554 - 2558

จากการศึกษาผลงานในอดีตเรื่องการวางแผนภาษี พบว่างานวจิ ยั ทผี่ ่านมามีผลการศึกษาที่ขัดแย้งกัน
ในเรื่องโครงสร้างผู้ถือหุ้น ความสามารถในการทำกำไร และโครงสร้างเงินทุน เพื่อเพิ่มความชัดเจน จึงสนใจ
ทำการศึกษาครั้งนเ้ี พื่อทดสอบอิทธพิ ลของตัวแปรดังกล่าวสง่ ผลอย่างไรตอ่ การวางแผนภาษี
กรอบแนวคิดในการวจิ ยั
จากการทบทวนวรรณกรรมข้างตน้ สามารถพฒั นากรอบแนวคิดการวิจัย ดงั น้ี

แผนภาพท่ี 1 กรอบแนวคิดในการวจิ ยั
261 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3. วธิ ดี ำเนินการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวจิ ัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมขอ้ มูลจากงบการเงิน รายงานประจำปี แบบ
แสดงรายงานขอ้ มลู ประจำปี (56-1) จากฐานข้อมลู SETSMART ประจำปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562

3.1 ประชากรและกลมุ่ ตัวอยา่ ง
ข้อมูลที่ทำการศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2563) กลุ่ม
อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ระหว่างปี 2560-2562 หมวดธุรกิจ ได้แก่ หมวดธุรกิจบริการ
รบั เหมากอ่ สร้าง หมวดพฒั นาอสงั หารมิ ทรพั ย์ และหมวดวัสดุกอ่ สร้าง รวม 99 บริษัท เกบ็ ข้อมูลเปน็ เวลา 3 ปี
295 ตวั อย่าง (ตารางที่ 1)และมีการปรบั ข้อมูลให้เป็นการแจกแจงปกติ โดยตดั ขอ้ มลู ท่ีไม่สมบูรณ์ 51 ตัวอย่าง
และ Outlier 7 ตัวอยา่ ง คงเหลือ 237 ตวั อยา่ ง

ตารางที่ 1 ข้อมูลทใ่ี ชใ้ นการวิเคราะห์

ข้อมูลทใี่ ช้ในการศึกษา ประชากร ตวั อย่าง ขอ้ มูลไม่ Outliers ตวั อย่างท่ี ร้อยละ
หมวด ธรุ กิจบริการรบั เหมาก่อสรา้ ง (บริษัท) สมบรู ณ์ ศึกษา
66 2 48 20
22 166 16 4 131 55
63 31 1 25
หมวด ธรุ กจิ พัฒนาอสังหารมิ ทรพั ย์ 56 295 7 58 100
4
หมวด วัสดกุ ่อสรา้ ง 21 237
51
รวม 99

กลุ่มตัวอย่างอยู่ในหมวดธุรกิจพัฒนาอสงั หารมิ ทรัพย์มากทีส่ ดุ จำนวน 131 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ
55 รองลงมาเป็นหมวดธุรกิจวัสดุกอ่ สรา้ ง จำนวน 58 บรษิ ัทคิดเป็นรอ้ ยละ 25 และหมวดธุรกจิ บริการรบั เหมา
กอ่ สร้างนอ้ ยที่สดุ มจี ำนวน 48 บรษิ ทั คิดเป็นรอ้ ยละ 20

3.2 ขัน้ ตอนการดำเนินงานวจิ ัย
รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและดำเนินการหาค่าของตัวแปร โดยวัดค่าโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบครอบครัว
เป็นตัวแปรหุ่น (dummy variable) ให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากความเกี่ยวข้องและนามสกุลไม่มีความเป็น
ครอบครัวมีค่าเป็น 0 และมีความเกี่ยวข้องเป็นแบบครอบครัวมีค่าเป็น 1 ความสามารถในการทำกำไรวัดจาก
คา่ อตั ราส่วนรอ้ ยละของกำไรสุทธติ ่อสว่ นของผูถ้ ือหุ้น โครงสรา้ งเงนิ ทนุ เปน็ จำนวนเท่าของหนีส้ ินต่อส่วนของผู้
ถือหุ้น ตัวแปรควบคุมคือขนาดของบริษัทวัดจากการหาค่าลอการิทึมของสินทรัพย์รวม และตัวแปรตามการ
วางแผนภาษีวัดค่าอัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริง (ETR) จากค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อกำไรทางบัญชีก่อน
ภาษี โดยคา่ ETR มคี า่ ต่ำแสดงถงึ มีการวางแผนภาษรี ะดับสูง

262 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3.3 การวิเคราะห์ข้อมลู ทางสถติ ิ
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive
Statistics) รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลเบื้องต้น สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ใช้การ
วเิ คราะหค์ ่าสัมประสิทธส์ิ หพนั ธข์ องเพียรส์ นั (Pearson Correlation Coefficient) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์
กันเองของตัวแปรอิสระ และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบ
ความสัมพันธ์ของตัวแปรอสิ ระกับตัวแปรตาม โดยมสี มการทดสอบความสัมพันธ์ของโครงสร้างผ้ถู ือหุ้น (FAM)
ความสามารถในการทำกำไรวัดจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) โครงสร้างเงินทุนของบริษทั
(DEBT) ต่อการวางแผนภาษี (ETR) และตวั แปรควบคมุ ขนาดของบริษทั (Size) ดงั นี้

ETR I,t = β0 + β1FAMi,t + β2ROEi,t + β3DEBTi,t + β4Sizei,t + ei,t

กำหนดให้ หมายถงึ อัตราภาษเี งินได้นติ บิ ุคคลทแี่ ทจ้ รงิ ของบริษัท i ปที ี่ t
หมายถึง กลมุ่ ผูถ้ อื หนุ้ ตา่ งชาติของบริษัท i ปที ี่ t
ETRi,t หมายถงึ ผลตอบแทนตอ่ สว่ นของผถู้ ือห้นุ ของบริษัท i ปที ี่ t
FAMi,t หมายถงึ โครงสรา้ งเงินทุนของบริษัท i ปีท่ี t
ROEi,t หมายถงึ ขนาดของบรษิ ัท i ปที ่ี t
DEBTi,t หมายถงึ ค่าความคลาดเคลอื่ น
Sizei,t
ei,t

4. ผลการวิจัย

4.1 การวิเคราะห์ขอ้ มูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)

กลุ่มตัวอย่างอยู่ในหมวดธุรกิจพัฒนาอสงั หาริมทรพั ย์มากทีส่ ดุ จำนวน 131 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ
55 รองลงมาเป็นหมวดธรุ กจิ วสั ดกุ อ่ สร้าง 58 บรษิ ทั คดิ เป็นร้อยละ 25 และหมวดธุรกิจบริการรับเหมากอ่ สร้าง
น้อยที่สดุ มีจำนวน 48 บริษทั คิดเป็นร้อยละ 20
ตารางที่ 2 คา่ เฉล่ียและค่าเบีย่ งเบนมาตรฐานของอตั ราภาษที ่แี ท้จริง อตั ราส่วนทางการเงนิ และขนาดบริษทั

ตัวแปร ตวั ยอ่ หน่วย Minimum Maximum Mean S.D.

อัตราภาษีทแ่ี ท้จรงิ ETR รอ้ ยละ 0.00 36.47 15.45 7.91

อตั ราผลตอบแทนต่อสว่ นของผู้ถือหุ้น ROE รอ้ ยละ -55.80 69.29 7.84 13.83

อัตราส่วนหนส้ี นิ ตอ่ ส่วนของผถู้ ือหนุ้ DEBT เท่า 0.03 13.42 1.50 1.43

โครงสรา้ งผ้ถู อื หุน้ แบบครอบครวั FAM Dummy 0 1 0.31 0.46

ขนาดบริษัท ASSET ล้านบาท 509.09 634733.22 30652.55 71387.65

ขนาดบรษิ ัท (log) SIZE Log10 5.71 8.80 7.07 0.59

263 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลการวิเคราะห์พบว่า อัตราภาษีที่แท้จริง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 15.45 มีอัตราภาษีต่ำสุดร้อยละ 0 มี

อัตราภาษีสูงสุดร้อยละ 36.47 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีค่าเฉลี่ย 7.84 เท่า มีอัตราส่วน

ต่ำสุด -55.80 อัตราส่วนสูงสุด 69.29 เท่า อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีค่าเฉลี่ย 1.50 มีอัตราส่วน

ต่ำสุด 0.03 มีอัตราส่วนสูงสุด 13.42 เท่า ขนาดบริษัทวัดจากสินทรัพย์รวมมีค่าเฉลี่ย 30,652.55 ล้านบาท

ขนาดใหญท่ ีส่ ดุ 30,652.55 ลา้ นบาท และขนาดเลก็ ทีส่ ุด 509.09 ลา้ นบาท

4.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยวิธีสหพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation

Coefficient)

ตารางท่ี 3 แสดงการวิเคราะหส์ ัมประสทิ ธเ์ิ พียรส์ ันของอตั ราส่วนทางการเงนิ และขนาดบรษิ ัท

ตัวแปร ETR ROE DEBT SIZE

ETR 1

ROE .540** 1

DEBT .152* .172** 1

SIZE .291** .186** .272** 1

หมายเหตุ : *.** หมายถึง มีระดบั นยั สำคัญทางสถติ ิท่ีระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ

ผลการวเิ คราะหส์ มั ประสิทธเิ์ พยี ร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์

ของตัวแปรอิสระ จากตารางไม่พบว่าตัวแปรอิสระคู่ใดที่มีความสัมพันธ์กันเอง จึงไม่มีปัญหาเชิงเส้นในการ

วิเคราะห์การถดถอย หรอื ไมเ่ ปน็ Multicollinearity (Pearson, 1932)

4.3 การวิเคราะหก์ ารถดถอยเชงิ พหุ (Multiple Regression Analysis)

ตารางที่ 4 แสดงการวิเคราะห์การถดถอยของตวั แปรอสิ ระทมี่ ีอทิ ธิพลตอ่ อัตราภาษีเงนิ ได้นิตบิ ุคคลที่แท้จรงิ

ค่าพยากรณ์ Unstandardized standardized Collinearity
CBoefficieSnEt CoeBfefitcaient t Sig. ToleSrtaantciseticsVIF

คา่ คงท่ี (Constant) -7.554 5.200 -1.453 .148

โครงสรา้ งผถู้ ือหนุ้ แบบครอบครัว (FAM) -2.050 .903 -.120 -2.270 .024* .982 1.018

ผลตอบแทนตอ่ สว่ นของผ้ถู อื ห้นุ (ROE) .276 .032 .483 8.750 .000** .905 1.105

หน้สี นิ ต่อสว่ นของผู้ถอื หุ้น (DEBT) -.807 .311 -.146 -2.591 .010** .870 1.150

ขนาดบรษิ ทั (SIZE) 3.211 .757 .239 4.24 .000** .870 1.149

R = .600 R2 = .360 Adjusted R2 = = .349

หมายเหตุ *,** หมายถงึ มรี ะดับนยั สำคัญทางสถติ ทิ ่ีระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดบั

264 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่ออัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือมีอิทธิพลเชิงลบต่อ
การวางแผนภาษี ประกอบด้วย ผลตอบแทนตอ่ ส่วนของผูถ้ ือหนุ้ (beta=.486) และ ขนาดบริษทั (beta=.239)
และอิทธิพลเชิงลบต่ออัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการวางแผนภาษี ได้แก่ โครงสร้าง
ของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นแบบครอบครัว (beta =-.120) และหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (beta =-
.146) สมการรว่ มกันพยากรณไ์ ดร้ ้อยละ 36 โดยสามารถเขียนสมการได้ดังนี้

ETR = - 0.120FAM* + 0.483ROE** - 0.146DEBT** + 0.239SIZE** + e
โครงสร้างผู้ถือหนุ้ ทีม่ สี ัดส่วนการถอื หุ้นแบบครอบครัวมีนยั สำคญั ทางสถิติท่รี ะดับ 0.05 โดยโครงสร้าง
ผู้ถือหุน้ มคี วามสัมพนั ธ์ในทศิ ทางตรงกันขา้ มกับอัตราภาษีเงินไดน้ ิตบิ ุคคล หรืออีกนัยหนงึ่ คือมีความสัมพันธ์ใน
ทิศทางเดียวกันกับการวางแผนภาษี และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของสมการมีค่าร้อยละ -0.120 แสดงว่า
การถือหุ้นของโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีผู้ถือหุ้นแบบครอบครัวเพิ่มข้ึน 1 สัดส่วน จะทำให้วางแผนภาษีเพิม่ ขึ้นทำ
ให้อตั ราภาษีเงินไดน้ ิติบุคคลทแ่ี ท้จรงิ ลดลงร้อยละ 0.120
อัตราผลตอบแทนต่อสว่ นของผู้ถือหนุ้ มีนยั สำคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.01 โดยมีความสมั พันธ์ในทิศทาง
เดียวกันกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล หรืออีกนัยหนึ่งคือมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการวางแผน
ภาษี สัมประสิทธิ์การถดถอยของอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์มีค่าเท่ากับ 0.483 แสดงว่าความสามารถใน
การทำกำไรทวี่ ัดจากอตั ราผลตอบแทนตอ่ ส่วนของผู้ถือห้นุ เพม่ิ ขึ้น 1 เท่า จะวางแผนภาษีลดลงทำใหอ้ ตั ราภาษี
เงินได้นติ ิบคุ คลเพม่ิ ข้ึนร้อยละ 0.483
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทาง
ตรงกันข้ามกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งก็คือมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการวางแผนภาษี
สัมประสิทธิ์การถดถอยของอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าเท่ากับ -0.146 แสดงว่าหากโครงสร้าง
เงนิ ทุนท่ีวดั จากอัตราส่วนหนสี้ นิ ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเพิม่ ขนึ้ 1 เทา่ จะวางแผนภาษเี พม่ิ ขึน้ ทำใหอ้ ัตราภาษีเงินได้
นิตบิ คุ คลลดลงรอ้ ยละ 0.146
ขนาดของบริษัท มีนัยสำคัญทางสถติ ิที่ระดับ 0.01 ในทิศทางเดียวกับอตั ราภาษีเงินได้นติ ิบุคคล หรือ
อีกนัยหนึ่งคือมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการวางแผนภาษี ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของขนาด
ของกิจการมีค่า 0.239 แสดงว่าขนาดของกิจการที่วัดจากสินทรัพย์รวมเพิ่มขึน้ 10,000 บาท จะวางแผนภาษี
ลดลงทำใหอ้ ตั ราภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คล เพ่มิ ข้ึนรอ้ ยละ 0.239
สรุปผลได้ว่าโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีผู้ถือหุ้นแบบครอบครัว และโครงสร้างเงินทุนที่วัดจากอัตราหนี้สนิ
ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลทิศทางตรงข้ามกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลง
หรืออีกนัยหนึ่งคือมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการวางแผนภาษี และความสามารถในการทำกำไรที่วัดจากอัตรา
ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลทิศทางเดียวกันกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้อัตราภาษีเงินได้นิติ
บุคคลเพม่ิ ข้นึ หรอื มีอิทธิพลเชงิ ลบตอ่ การวางแผนภาษี

265 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

5. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1. สรุปและอภิปรายผล
การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการเตรียมการเพื่อให้บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เสีย
ภาษอี ยา่ งประหยัดและถูกต้อง จากการศกึ ษาครั้งนพี้ บว่า
1. กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง โครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบครอบครัวเป็นผู้ถือหุ้น
รายใหญ่หรอื เปน็ ผูบ้ รหิ าร คำนึงถึงประโยชน์ที่กิจการจะได้รับจากการวางแผนภาษีมากกว่าผู้ถอื หุน้ ท่ีไม่อยู่ใน
กลมุ่ ครอบครวั และประโยชน์จากกระแสเงนิ สดและมูลค่าของกจิ การ
2. บริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงจะมีการวางแผนน้อยลง เพราะกิจการที่มีความสามารถ
ทำกำไรได้ดี จะคำนึงถึงมูลค่าหลักทรัพย์ ความมั่งคั่ง ภาพลักษณ์ และชื่อเสียงมากกว่าประโยชน์จากการ
วางแผนภาษี
3. จัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายนอกหรือสินเชื่อโครงการ (Project Finance) จะทำให้บริษัท
ได้รับประโยชน์ทางภาษีเพราะมีค่าใชจ้ ่ายจากดอกเบ้ีย จึงมีผลต่อกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบคุ คล แต่
หากหนี้สินจากแหล่งเงินทุนภายนอกน้อยจะส่งผลให้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมากขึ้น จึงเป็นประโยชน์ใน
พิจารณาการบริหารงานเพ่ือการลงทนุ ของผู้ประกอบธุรกิจ และเปน็ ข้อมลู ทส่ี นับสนุนนโยบายการจัดเก็บภาษี
ของรฐั บาล

5.2 ขอ้ เสนอแนะเชิงนโยบาย
การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการเตรียมการเพื่อให้บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

เสียภาษีอย่างประหยัดและถูกตอ้ ง จากการศึกษาคร้ังนี้พบว่า
1. กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง โครงสร้างผู้ถอื หุ้นแบบครอบครัวเป็นผู้ถอื

หุ้นรายใหญ่หรือเป็นผู้บริหาร คำนึงถึงประโยชน์ท่ีกจิ การจะได้รับจากการวางแผนภาษีมากกว่าผู้ถือหุ้นที่ไม่อยู่
ในกลุ่มครอบครัว และประโยชน์จากกระแสเงนิ สดและมูลค่าของกจิ การ

2. บริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงจะมีการวางแผนน้อยลง เพราะกิจการที่มี
ความสามารถทำกำไรได้ดี จะคำนงึ ถงึ มูลค่าหลักทรัพย์ ความม่งั ค่งั ภาพลกั ษณ์ และชื่อเสียงมากกวา่ ประโยชน์
จากการวางแผนภาษี

3. จัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายนอกหรือสินเชื่อโครงการ (Project Finance) จะทำให้
บริษัทได้รับประโยชน์ทางภาษีเพราะมีค่าใช้จ่ายจากดอกเบี้ย จึงมีผลต่อกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้นิ ติ
บุคคล แต่หากหนี้สินจากแหล่งเงินทุนภายนอกน้อยจะส่งผลให้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมากขึ้น จึงเป็น
ประโยชน์ในพจิ ารณาการบริหารงานเพื่อการลงทุนของผู้ประกอบธุรกจิ และเปน็ ขอ้ มูลท่ีสนับสนุนนโยบายการ
จดั เก็บภาษีของรฐั บาล

266 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

4. ผลจากการวจิ ยั แสดงใหเ้ ห็นถึงโครงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครวั มีการวางแผนภาษีมาก รัฐฯ
อาจตอ้ งใหค้ วามสนใจในผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่มนี้มีการเสยี ภาษีในอัตราภาษีเงินได้นติ ิบุคคลที่แท้จริงที่ต่ำกว่า
เกณฑ์ และอาจส่ือสารใหเ้ ห็นถึงความถูกตอ้ งของการวางแผนภาษีและการหลกี เลีย่ งภาษี

5. บริษัท/สถานประกอบการที่มีการวางแผนภาษีจะสามารถประหยัดภาษี โดยจะทำให้อัตรา
ภาษีเงินได้ที่แท้จริงต่ำ ซึ่งการวางแผนภาษีที่ถูกต้องไม่เป็นการผิดกฎหมาย และยังทำให้บริษัท/สถาน
ประกอบการประหยัดค่าใชจ้ ่ายทางภาษไี ด้อีกด้วย

5.3 ข้อเสนอแนะเพ่ือการวจิ ยั ในคร้งั ต่อไป
1. การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาการวางแผนภาษีเพียงกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีสัญชาติไทย งานวิจัย
ครง้ั ตอ่ ไปอาจจะทำการศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการหรืออุตสาหกรรมอื่น และศึกษาโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีสัดส่วน
ผู้ถือห้นุ ต่างชาติ วา่ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรเพื่อท่ีเป็นข้อมลู สำหรบั ผู้เก่ียวข้อง

2. การศึกษาครั้งต่อไปผู้สนในควรทำการศึกษาตัวแปรสำนักงานสอบบัญชี เนื่องจากการใช้สำนัก
งานสอบบัญชีที่มีความเคร่งครัดในการตรวจสอบงบการเงินที่แตกต่างกัน อาจส่งผลทำให้ผลการศึกษา
เปล่ยี นแปลงไป

267 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เอกสารอา้ งอิง

กรณั ฑรัตน์ บุญญวัฒน์ และ ศกั ดา มาณวพฒั น์. (2554). โครงสรา้ งการถือหุ้นและคุณภาพของการรายงาน
ทางการเงิน. วารสารนกั บริหาร, 31(2), 152-158.

ชาครีย์ อกั ษรถึง และ คธาฤทธิ์ สิทธิกูล. (2559). การพัฒนาดชั นรี าคาที่อยู่อาศัยของไทย. Stat-Horizon
Statistics and Information Systems Department. ธนาคารแห่งประเทศไทย [ออนไลน]์ .
ส ื บ ค ้ น เ ม ื ่ อ 5 ม ก ร า ค ม 2 5 6 4 จ า ก https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/Articles/
Doc_Lib_stat isticsHorizon /RPPI.pdf.

ตลาดหลกั ทรัพย์แหง่ ประเทศไทย. (2563). การจัดกลุม่ อตุ สาหกรรมและหมวดธุรกจิ . [ออนไลน์] สบื ค้นเม่อื
12 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/
indus try_sector_p1.html

ธัญพร ตนั ตยิ วรงค์. (2552). การศึกษาปจั จยั ท่ีมอี ทิ ธิพลตอ่ การวางแผนภาษีและความสัมพันธ์ระหวา่ งการ
วางแผนภาษกี บั มลู ค่าของกจิ การ : หลักฐานเชงิ ประจักษ์จากประเทศไทย. ดุษฎนี พิ นธ์ปริญญา
บัญชีดษุ ฎบี ณั ฑติ จฬุ าลงกรณมหาวทิ ยาลยั .

เยาวนารถ เพยี รธนะกูลชยั . (2552). การวเิ คราะห์ความสมั พันธ์ของปจั จยั ดา้ นขนาดและสัญชาตขิ องบริษทั
กบั ระดบั การวางแผนภาษีอากรในธุรกิจอสังหารมิ ทรพั ย์. วทิ ยานิพนธป์ รญิ ญาบรหิ ารธรุ กจิ
มหาบัณฑิต มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลธญั บุรี.

ศิลปพร ศรจี ่นั เพชร. (2551). ความรบั ผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท โครงสร้างของผถู้ อื ห้นุ กับมลู ค่าเพิ่ม
เชิงเศรษฐศาสตร.์ วารสารวชิ าชีพบัญชี, 4(10), 26-39.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). กระแสทรรศน์ 3168. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564
จาก https:// kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3168-
construction.aspx.

Aminah, A., Chairina, C. & Sari, Y. Y. (2017) The influence of company size, fixed asset intensity,
leverage, profitability, and political connection to tax avoidance. AFEBI Accounting
Review (AAR), 2(2), 30-43.

Dyreng, S.D., Hanlon, M., and Maydew, E.L. (2006). Long-Run Corporate Tax Avoidance.
Retrieved December 25, 2020, from http://papers.ssrn.com/sol3/ papers .cfm?abstract
_id=1017610

Halon, M., Mills, L. F., & Slemrod, J. B. (2005). An empirical examination of corporate tax
noncompliance. Ross School of Business Paper No. 1025 Retrieved December 26,
2020, from http://ssrn.com/abstr act=891226 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.
.891226.

268 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Hoffman, W. H. (1961). The theory of tax planning. The Accounting Review, 36(2), 274 – 281.
Irianto, B. S., Sudibyo, Y. A. & Wafirli, A. (2017). The influence of profitability, leverage, firm size

and capital intensity towards tax avoidance. International Journal of Accounting and
Taxation. 5(2), 33-41.
La Porta, R., Lopez-de-Silanes, F., Shleifer, A., & Vishny, R. (2000). Investor protection and
corporate governance. Journal of Financial Economics, 58(1-2), 3-27.
Manurung, A. H. (2019). The influence of liquidity, profitability, intensity inventory, related
party debt, and company size to aggressive tax rate. Archives of Business Research,
7(3). 105-115.
Modigliani, F., & Miller, H. M. (1958). The cost of capital corporation finance and the theory of
investment. The American Economic Review, 48(3), 264-297.
Pearson, E. S. (1932). The test of significance for the correlation coefficient: Some further
results. Journal of the American Statistical Association, 27(180), 424–426.

269 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ปัจจัยในการพิจารณาขอสินเชื่อจากธุรกจิ เงนิ รว่ มลงทนุ สำหรับวสิ าหกจิ ขนาดกลาง
และขนาดย่อมในประเทศไทย กรณศี ึกษาภาคบริการธุรกจิ ทอ่ งเท่ยี ว

Factors in Considering Loan Applications from Venture Capital for Small and
Medium Enterprises in Thailand a Case Study of The Tourism Business
Service Sector

มนสั นันท์ งามขำ1 และศริ พิ ร แพรศรี2
(Manussanun Ngamkhum and Siriporn Praesri)

บทคดั ยอ่

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจขอสินเช่ือ
จากธุรกจิ เงนิ ร่วมลงทุน สำหรับวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มในประเทศไทย กรณศี ึกษาภาคบริการธุรกิจ
ท่องเที่ยว 2) ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยในการพิจารณาขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน สำหรับ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการพิจารณา
ขอสินเชื่อกับการตัดสินใจขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมใน
ประเทศไทย กรณีศึกษาภาคบรกิ ารธรุ กิจท่องเที่ยว การดำเนนิ การวิจัย เปน็ การวจิ ยั เชงิ ปริมาณ กลมุ่ ตวั อยา่ งท่ี
ใช้ในการวิจัยครัง้ นี้ คือ ผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทยที่เป็นธุรกิจหลักของภาคบริการท่องเที่ยว ได้แก่
โรงแรม ที่พัก ภัตตาคาร ร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน
400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมลู สถิติที่ใช้ในการวเิ คราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถ่ี
คา่ รอ้ ยละ คา่ เฉลยี่ และส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมตฐิ านการวจิ ัย โดยใชส้ ถิติ การทดสอบที การ
วเิ คราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะหค์ า่ สัมประสทิ ธิ์สหสัมพันธแ์ บบเพยี ร์สนั

ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการ
ดำเนินธรุ กจิ และวงเงนิ ท่ตี ้องการขอสินเชื่อ มีผลตอ่ การตดั สินใจขอสนิ เชือ่ จากธุรกจิ เงนิ รว่ มลงทนุ แตกตา่ งกัน
2. กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการพิจารณาขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน โดย
ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับดังนี้ 2.1 ด้านผู้ประกอบการและทีมบริหาร 2.2 ด้านลักษณะสินค้า
และบริการ 2.3 ดา้ นลกั ษณะการตลาด และ 2.4 ด้านลักษณะการเงนิ

1 คณะบริหารธรุ กิจและนเิ ทศศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา กรงุ เทพมหานคร 10330
College of Management University of Phayao, Bangkok 10330
2 ประธานหลกั สตู รบรหิ ารธุรกจิ มหาบัณฑติ วทิ ยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลยั พะเยา กรุงเทพมหานคร 10330
Chairperson of M.B.A. Program, College of Management University of Phayao, Bangkok 10330
Corresponding author: [email protected]

270 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3. ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหวา่ งปัจจัยในการพิจารณาขอสนิ เชื่อกับการตดั สินใจ
ขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน พบว่า ปัจจัยในการพิจารณาขอสินเชื่อ ได้แก่ ด้านผู้ประกอบการและทีม
บริหาร ด้านลักษณะสินค้าและบริการ ด้านลักษณะการตลาด และด้านลักษณะการเงิน มีความสัมพันธ์กัน
อย่างมนี ัยสำคญั ทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05

คำสำคัญ: วิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกจิ เงนิ ร่วมลงทนุ ภาคบริการธรุ กจิ ท่องเทย่ี ว

ABSTRACT

This research aimed to 1) study demographic factors which affect the decision to
request loans from Venture Capital Business for small and medium sized enterprises in
Thailand. A case study of the tourism business service. 2) study the level of important of
factors in considering Loan applications from Venture Capital Business for small and medium
sized enterprises in Thailand. A case study of the tourism business service. 3) study the relation
between the factors in considering Loan applications and the decision to request loans from
Venture Capital Business for small and medium sized enterprises in Thailand.

This research is qualitative research. The sample for this research is SMEs entrepreneurs
from the Tourism Industry in Thailand such as hotels, accommodations, restaurants, Travel
Agents in Thailand. The techniques that were used for this study is convenience sampling. The
sample was 400 SMEs entrepreneurs from the Tourism Industry in Thailand by using the
questionnaire to collect the data. The statistical techniques that used to be analyzed for this
research are frequency, percentage, means and standard deviation, hypothesis testing. The
research hypothesis used T-test, One-way ANOVA or F-test and Pearson's correlation
coefficient for analyzing.

The research results were as follows: 1. Demographic factors are male age education
level experience to run business and total amount to request loans. These factors will affect
for considering Loan applications differently. 2. The samples’ perceived important levels of
factors in considering Loan applications from Venture Capital Business which overall are
moderate. The order will be 2.1 Entrepreneurship and management team 2.2 product and
service characteristics 2.3 Marketing characteristics and 2.4 Financial characteristics. 3. The
result of analysis by using Pearson's correlation coefficient is that factors in considering Loan
applications which are Entrepreneurs and Management Team Products and Services

271 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Characteristics Marketing Characteristics and Financial Characteristics had relationship with the
decision to apply from Venture Capital Business which is statistically significant at the .05 level.

Keywords: small and medium enterprises, venture capital, tourism business service

Article history: Received 6 January 2021
Revised 18 March 2021
Accepted 22 March 2021
SIMILARITY INDEX = 2.86 %

1. บทนำ

สถานการณ์โลกในยุคปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป
คอ่ นข้างมาก สว่ นหนง่ึ เป็นผลมาจากความก้าวหนา้ ทางเทคโนโลยี ทางด้านขอ้ มลู ข่าวสารและทางด้านการเงิน
ดังนัน้ รฐั บาลในหลายประเทศรวมถงึ ประเทศไทย จึงมีนโยบายส่งเสรมิ และสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ให้เติบโตและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทย ถือเป็นกลไกลที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจและเปน็ แหลง่ จา้ งงานทส่ี ำคญั ของประเทศ และมีปัจจยั เอ้ือตอ่ การดำเนนิ ธุรกิจสำหรับวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นอย่างมาก ในด้านการสนับสนุนทางการเงินของภาครัฐและธนาคารพาณิชย์
นโยบายภาครัฐที่ยกระดับให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมสนับสนุน
แหล่งเงนิ ทุนทางเลือกที่เหมาะสมสำหรบั วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไดแ้ ก่ การจดั ตัง้ ธรุกิจเงิน
ร่วมลงทุน (Venture Capital) เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) ที่มีนวัตกรรม มีการใช้เทคโนโลยีในระดับสูง เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ (สำนักงาน
วสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ ม, 2560) ปัจจยั ทธี่ รุ กจิ เงินร่วมลงทุนใช้พจิ ารณาใหส้ นิ เช่อื แก่ผ้ปู ระกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้แก่ ด้านผู้ประกอบการและทีมบริหาร ด้านลักษณะสินค้าและ
บริการ ดา้ นลกั ษณะการตลาด ดา้ นลกั ษณะการเงิน ( MacMillan Siegel & Narasimha, 1985)

จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มากกว่าร้อยละ 80
เผชิญกับปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแบบดั้งเดิมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึง
แหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น
ไม่มีหลักทรัพย์ค้าประกัน เงื่อนไขการชำระหนี้ แผนธุรกิจ ประวัติธุรกรรมทางการเงิน และการรับประกัน
รายได้ในอนาคต ปัจจุบนั วสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ ม (SMEs) สรา้ งมูลค่าตอ่ เศรษฐกจิ ของไทยเป็นอย่าง
มาก พบว่าในปี 2561 มูลค่าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย มีมูลค่าเกือบ 5
ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43 ของ GDP รวมทั้งประเทศ และมีการเติบโตประมาณร้อยละ 5 มีจำนวน

272 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผู้ประกอบการประมาณ 3 ล้านราย ส่งผลให้เกิดการจ้างงานกว่า 10 ล้านคน (สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อ้ึง
ภากรณ์, 2560) จากขอ้ มูลศูนย์วจิ ัยกสกิ รไทย พบว่าในช่วง 4-5 ปที ่ผี ่านมา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) ภาคบริการธุรกิจท่องเที่ยวของไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการขยายตัวของอุปสงค์
ภายในประทศ จากนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ จากการเติบโตของ E-commerce และรายรับ
จากนักท่องเทีย่ วตา่ งชาติ โดยดูจากสถิตนิ กั ท่องเทีย่ วตา่ งชาติทีม่ าไทย ในปี 2561 ตลาดนักท่องเทีย่ วต่างชาติ
เติบโตประมาณร้อยละ 7.1 (38.1 ล้านคน) สร้างรายได้ประมาณ 2.20 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9-8.9
จากปีก่อน (ศูนย์วจิ ยั กสิกรไทย, 2562) นบั เปน็ โอกาสท่ีดขี องผปู้ ระกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) ภาคบริการธุรกิจท่องเที่ยวในการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้าน
พฤติกรรมในการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนรูปแบบจาก ออฟไลน์ มาสู่ ออนไลน์
เนื่องจากการเขา้ ถึงขอ้ มูลข่าวสารทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างตน้ เป็นเรื่องท่ีนา่ สนใจ ทำให้เห็นความสำคัญในการเข้าถึงแหล่งเงนิ ทุนของ
ผู้ประกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ภาคบรกิ ารธุรกิจท่องเที่ยว ผ้วู จิ ยั จึง
ไดท้ ำการศึกษาค้นควา้ วจิ ัย เรอ่ื งปจั จยั ในการพจิ ารณาขอสนิ เช่อื จากธุรกิจเงินร่วมลงทนุ สำหรบั วิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ที่เป็นธุรกิจหลักของภาคบริการท่องเที่ยว ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ที่พัก
ภัตตาคาร ร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2561) เพื่อเป็นแนวทางในการ
เข้าถึงแหลง่ เงินทุน และเตรยี มความพร้อมก่อนการขอสินเช่ือของผ้ปู ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อม (SMEs) เพื่อเป็นการลดปัญหาและอุปสรรคให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) และเพื่อปรับปรุงพัฒนาข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วม
ลงทุน

วตั ถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพ่ือศกึ ษาปจั จัยประชากรศาสตร์ท่ีมผี ลต่อการตัดสินใจขอสินเชื่อจากธรุ กิจเงินร่วมลงทุน สำหรับ

วิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ มในประเทศไทย กรณศี ึกษาภาคบรกิ ารธรุ กจิ ทอ่ งเทีย่ ว
2. เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยในการพิจารณาขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน สำหรับ

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย กรณีศกึ ษาภาคบรกิ ารธุรกิจทอ่ งเที่ยว
3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการพิจาณราขอสินเชื่อกับการตัดสินใจขอสินเชื่อจาก

ธุรกิจเงินร่วมลงทุน สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย กรณีศึกษาภาคบริการธุรกิจ
ทอ่ งเท่ียว

273 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2. เอกสารและงานวิจัยทเ่ี กี่ยวขอ้ ง

ผวู้ ิจัยได้ศกึ ษาและรวบรวมแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยทีเ่ ก่ียวข้อง ตามประเด็นต่อไปน้ี
2.1 แนวคิดและทฤษฎีเก่ียวกบั ธรุ กิจเงนิ รว่ มลงทนุ

ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) หมายถึง เงินลงทุนที่ธุรกิจเงินร่วมลงทุนนำไปลงทุนใน
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยจะลงทุนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกับเจ้าของ
กิจการ พร้อมให้คำปรึกษาด้านการเงิน และด้านการดำเนินงานต่าง ๆ มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เพื่อให้
ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว พร้อมที่จะจดทะเบียนเป็นบริษทั มหาชนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ธุรกิจเงินร่วม
ลงทุนได้ถอนการลงทนุ ผา่ นการขายหุ้นในตลาดหลกั ทรัพย์ หรือขายคนื ใหก้ ับเจ้าของเดิมในราคาท่ีตกลงกันไว้
(สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2560) ซึ่งสอดคล้องกับวิจัยของ MacMillan Siegel &
Narasimha (1985) ได้ทำการศึกษาในเรื่อง บริษัทจัดการเงินร่วมทุนท่ีลงทนุ ในบรษิ ัทสตาร์ทอัพ (startup) ที่
อยู่ในช่วง Later-stage น้นั มเี กณฑใ์ นการพจิ ารณาอย่างไรแลว้ ใหน้ ้ำหนักกบั สิง่ ใดเป็นสำคัญ ได้กล่าววา่ เกณฑ์
ที่บริษัทจัดการเงินร่วมทุนใช้ในการพิจารณาประกอบด้วย 1) บุคลิกของผู้ประกอบการ 2) ประสบการณ์ของ
ผู้ประกอบการ 3) ลักษณะของสินคา้ หรือบรกิ าร 4) ลักษณะของตลาด และ 5) ลักษณะการเงิน พบว่า บริษัท
จัดการเงินร่วมทุนที่อยู่ใน National Venture Capital Association ของสหรัฐอเมริกากว่า 40% ให้
ความสำคญั กบั บคุ ลิกของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการน้นั จะต้องเป็นผ้ทู ี่ใส่ใจในรายละเอยี ดตา่ ง ๆ และมี
ทักษะในการประเมินความเสี่ยง จากนั้นจึงพิจารณาในด้านของสินค้าหรือบริการ และการตลาด เป็นลำดับ
ถัดไป และสอดคล้องกับงานวิจัยของ (Zhang, 2012) ได้กล่าวว่า เกณฑ์ที่บริษัทจัดการเงนิ ร่วมทุนในประเทศ
จีนใช้ในการพิจารณาบริษัทสตาร์ทอัพ (startup) และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผลวิจัย
พบวา่ บรษิ ทั จดั การเงินร่วมทุนสว่ นใหญ่ในประเทศจีนนั้นจะพจิ ารณาจากเกณฑต์ ่าง ๆ เหล่าน้ี 1) ทางดา้ นการ
บริหารจัดการจะพิจารณาในเรื่อง ศักยภาพในการบริหารจัดการ แผนงานและหน้าที่ความรับผิดชอบของ
พนักงาน ค่าตอบแทนที่พนักงานได้รับ และ การจัดการข้อมูลและการรายงาน 2) ด้านการดำเนินงานจะ
พิจารณาในเรื่อง แผนการหารายได้และแผนการสร้างผลกำไร การจัดการค่าใช้จ่าย แผนการดำเนินงาน และ
กระบวนการผลิตที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 3) ด้านกลยุทธ์จะพิจารณาในเรื่องแนวโน้มของตลาด
ตำแหน่งการแข่งขนั ในตลาด กลยุทธ์การเตบิ โต และการจัดการลูกค้า 4) ด้านการติดต่อทางธุรกิจจะพิจารณา
ในเรื่อง การตระหนักถึงคุณค่า การเข้าซื้อกิจการ และกลยุทธ์ในการออกจากตลาด 5) ทางด้านต้นทุนจะ
พิจารณาในเรือ่ งต้นทุนทางการเงนิ อัตราส่วนรายรับรายจา่ ย และ โครงสรา้ งของสินทรัพย์

2.2 แนวคดิ และทฤษฎเี ก่ียวกบั วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม
วสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) หมายถงึ กลุ่มธรุ กจิ

3 กลุ่ม ได้แก่ กิจการการผลิต กิจการค้าส่งและค้าปลีก กิจการบริการ มีมูลค่าของสินทรัพย์ และการจ้างงาน
ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2550) วิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ถือเป็นกลุ่มธุรกิจท่ีมคี วามหลากหลาย ทงั้ ในด้านขนาด คอื ตงั้ แต่ขนาดเล็ก

274 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

แบบร้านคา้ เจ้าของคนเดยี ว ผ้ใู หบ้ ริการ ผ้สู ง่ ออกไปจนถงึ ผผู้ ลติ ชิน้ สว่ นใหก้ ับบริษทั ขนาดใหญ่ และดา้ นระดับ
การเติบโตของธรุ กิจ รปู แบบการจัดต้งั กิจการ ตลอดจนระดับความรขู้ องเจ้าของธรุ กจิ ในการวจิ ยั ครัง้ น้ี มงุ่ เน้น
ศึกษา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็นธุรกิจบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว พิจารณา
เฉพาะธุรกิจหลักของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรม ที่พัก ภัตตาคาร ร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยวและ
มัคคุเทศก์ ในปี 2560 พบว่ามีจำนวนสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในธุรกิจ
หลัก จำนวน 373,398 ราย คิดเปน็ รอ้ ยละ 54.2 ของจำนวนสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
ยอ่ ม (SMEs) ท้ังหมดในอุตสาหกรรมทอ่ งเทีย่ ว (กระทรวงการทอ่ งเที่ยวและกฬา, 2561)

2.3 แนวคดิ และทฤษฎที ี่เกีย่ วกับอตุ สาหกรรมการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Industry) หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัย

การผลิตต่าง ๆ มาผลิต การบริการอย่างใดอย่างหนึ่งด้านการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายหรือ
ความพึงพอใจ ให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะผลิตสินค้า
และบริการผสมกัน แต่ส่วนใหญ่จะผลิตการบริการที่ไม่มีตัวตนมากกว่า โดยจะปรากฏให้เห็นในลักษณะของ
คุณค่าทางจิตใจที่นักท่องเท่ียวจะได้รับ เช่น ความพึงพอใจ ความสุข และความไม่ประทับใจ เป็นต้น (บุญเลิศ
จิตตั้งวัฒนา, 2548) ดังนั้นจึงทำให้เกิดธุรกิจเชื่อมโยงบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จากการวิจัยของ
(กองเงิน สุทธิพิทักษ์, 2550) ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ไทย พบว่า มีนักวิชาการบางท่านเรียกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมการบริการ (Hospitality
Industry) ทั้งนี้เพราะในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประกอบด้วยธุรกิจการให้บริการ อำนวยความสะดวกแก่
นักทอ่ งเท่ยี วหลายประเภท ได้แก่ ธรุ กิจท่ีพัก เชน่ ธรุ กิจโรงแรม (Hotel) ธรุ กจิ อาหารและเครอื่ งด่ืม เชน่ ธรุ กิจ
อาหารบฟุ เฟต์ (Buffet) ธุรกิจจำหน่ายของทรี่ ะลกึ ธรุ กจิ บริการการท่องเทย่ี ว มัคคุเทศก์ (Tour Guide)

2.4 แนวคดิ และทฤษฎีเกยี่ วกับหลักเกณฑ์ท่ีใช้พจิ ารณาขอสินเชอ่ื
สินเช่ือ หมายถงึ ความเชอ่ื ถอื และไวว้ างใจระหว่างบคุ คล 2 ฝา่ ย ในการท่ีจะให้สินคา้ หรอื บริการ

หรือเงนิ จำนวนหน่ึงไปใชก้ ่อน โดยมีสัญญากำหนดเงอ่ื นไข และเงอ่ื นเวลาการชำระคืนในอนาคต บคุ คล 2 ฝา่ ย
ทกี่ ลา่ วถงึ นั้นอาจมีการตดิ ตอ่ กันเปน็ รายบุคคล กลุ่มบคุ คลหรือนิติบุคคลหรือระหว่างกันก็ได้ และส่ิงที่ฝ่ายผู้ให้
สินเชื่อจะต้องรับภาระต่อมา คือ ความเสีย่ งด้านสินเช่ือนอกจากจะต้องต้ังอยู่บนรากฐานของความเช่ือถือแลว้
ยังต้องอาศยั หลกั ประกนั ซ่งึ อาจเป็นได้ท้ังบุคคลหรอื หลักทรพั ย์ทีจ่ ะนำมาใช้เพ่ือลดความเสี่ยงด้วย (ดารณี พุทธ
วิบูลย์, 2543) การพิจารณาให้สินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศมีหลักเกณฑ์
คลา้ ยๆกัน โดยทั่วไปจะใช้หลกั เกณฑใ์ นการพจิ ารณาสนิ เชื่อของผขู้ อกู้ก่อนจะอนุมตั ิสินเช่ือ หลักนโยบาย 5C’s
ที่มักจะถูกใช้เป็นหลักในการประเมินเครดิตของผู้ขอสินเชื่อ ประกอบด้วย 1. บุคลิกลักษณะ อุปนิสัย
(Character) 2. ความสามารถในการชำระหนี้ (Capacity) 3. เงินทุน (Capital) 4. หลักประกัน (Collateral)
5. เงือ่ นไขของสินเชื่อ (Conditions) (จดิ าภา น่ิมนอ้ ย, 2555)

275 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2.5 แนวคดิ และทฤษฎีเกี่ยวกบั การตัดสนิ ใจขอสนิ เชอ่ื
การตัดสินใจ (Decision making) หมายถึง การตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่ต้องการทำสิ่งใดส่ิง

หนึ่งหรือหลายสิ่งให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ มักจะเกิดจากการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่
ซับซอ้ น เพ่อื หาวิธแี ก้ไข ผู้วนิ ิจฉยั จะตอ้ งตดั สินใจเลือกปฏิบัตติ ามแนวทางท่ีดีท่ีสดุ ซึ่งมีมากกว่าหนึ่งทางเลือก
เสมอ เพ่อื ใหบ้ รรลุเป้าหมายและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องคก์ ร (สมคิด บางโม, 2548) กระบวนการตดั สินใจ มี
ขั้นตอนดังนี้ การกำหนดปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ลำดับถัดไปกำหนดทางเลือกต่าง ๆ ที่จะใช้
แก้ปัญหา ผู้บริหารทำการประเมินผลทางเลือกต่าง ๆ ที่ได้กำหนด จากนั้นจึงทำการประเมินผลทางเลือก
ต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวทางการนำปัญหาไปสู่การแก้ไข และทำการตัดสินใจเลือกทีเ่ หมาะสมที่สดุ จากนั้นจึงนำผล
การตัดสินใจสูก่ ารปฏบิ ตั แิ ละประเมินผลไปส่ขู ้ันตอนสดุ ท้าย (ชนงกรณ์ กณุ ฑลบุตร, 2547)

ปัจจัยในการตัดสินใจขอสินเชือ่ จากธุรกิจเงินรว่ มลงทุน ได้แก่ ด้านเงื่อนไขการขอสินเชือ่ ด้านอัตรา
ดอกเบยี้ และคา่ ธรรมเนียม ด้านชอ่ งทางในการติดต่อขอสนิ เช่ือ ด้านการส่งเสริมสินเช่อื ของธุรกจิ เงนิ ร่วมลงทุน
ด้านการให้บริการของพนักงาน ด้านสถานที่ในการติดต่อขอสินเชื่อ ด้านกระบวนการขอสินเชื่อ ซึ่งสอดคล้อง
กับแนวคิดส่วนประสมการตลาดสำหรับธุรกิจบริการของ ศาสตราจารย์ฟิลลิป ค็อตเลอร์ (Kotler, 2009) ได้
กล่าวว่า ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือ 7P’s หมายถึงเครื่องมือทางการตลาดที่นำมาใช้
เพื่อสร้างความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1. ด้านผลิตภณั ฑ์
(Product) 2.ด้านราคา (Price) 3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) 4.ด้านการส่งเสริมการตลาด
(Promotion) 5.ด้านบุคคล (People) 6.ด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence and Presentation)
7.ด้านกระบวนการ (Process) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทย ภาคบริการธุรกิจ
ท่องเที่ยว ให้ความสำคัญกับการตัดสินใจขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน ในด้านกระบวนการในการขอ
สินเชื่อมากที่สุด รองลงมา ด้านเงื่อนไขการขอสินเชื่อ ในเรื่องของ วงเงินกู้ที่ได้รับตรงตามวัตถุประสงค์ มี
ขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน สะดวกและรวดเรว็ มีอตั ราดอกเบี้ยพเิ ศษ มีการโฆษณาประชาสัมพนั ธต์ ามสื่อต่าง ๆ
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ (ณัฏฐพงษ์ ศรวิวัฒน์, 2556) ที่พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีความสำคัญมาก
โดยเฉพาะวงเงินสินเชื่อที่ได้รับตรงกับความต้องการ ด้านราคาในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ด้านการ
สง่ เสรมิ การตลาดในเรื่องการมีโฆษณาผา่ นส่ือต่าง ๆ ก็มอี ทิ ธพิ ลตอ่ การใชบริการสินเชื่อบุคคลของธนาคารออม
สิน สาขามะลิวลั ย์ จังหวัดขอนแก่น และสอดคล้องกับงานวจิ ัยของ (สกล ชอมุ่ , 2551) พบวา่ ปัจจัยด้านราคา
ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชือ่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ของลกู ค้าธนาคารกรุงศรอี ยธุ ยา จำกดั (มหาชน) สาขาในจังหวัดสมุทรสาคร มากทีส่ ุด

จากแนวคิดเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาดบรกิ าร (7P’s) หมายถึง ตัวแปรทางการตลาดที่ควบคุมได้
เพื่อตอบสนองความต้องการแก่ผู้บริโภค โดยมีส่วนประสมการตลาดเป็นตัวสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ขายและผู้
ซื้อที่มีศักยภาพเพื่อชักจูงทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อส่วนประสมการตลาด ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ
ของแนวคิดส่วนประสมการตลาดบริการ (7P’s) จึงนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการตัดสินใจขอสินเชื่อจาก
ธุรกิจเงินร่วมลงทุน เพื่อเป็นแนวทางให้กับธุรกิจเงินร่วมลงทุนและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ

276 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ขนาดยอ่ มในประเทศไทย กรณีภาคบริการธรุ กิจทอ่ งเท่ียว ใหม้ คี วามพร้อมในการให้บริการและผู้ประกอบการ
SMEs ประสบความสำเร็จในการตัดสินใจขอสนิ เชื่อจากธรุ กจิ เงินร่วมลงทุน

2.6 งานวิจัยทเ่ี กย่ี วข้อง
จงธิดาพา นิตย์นรา (2561) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อ

ธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างด้าน
ลักษณะประชากรศาสตร์ ผตู้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่เปน็ เพศชาย มีอายุ 41 - 50 ปี ระดบั การศกึ ษาปริญญา
ตรี รายได้สูงสุดเฉลี่ยต่อเดือน 100,001 - 300,000 บาท ด้านประเภทธุรกิจส่วนใหญ่คือธุรกิจค้าปลีก
ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ 3 -5 ปี ลักษณะการประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด
บรกิ ารสนิ เชื่อธรุ กจิ ระดบั มากท่ีสุด และกลุม่ ตวั อยา่ งด้านลักษณะประชากรศาสตร์ ไดแ้ ก่ เพศ ระดับการศึกษา
ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ และประเภทการดำเนินธุรกจิ ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรกิ าร
สินเชอ่ื ธรุ กจิ ทแี่ ตกตา่ งกนั นอกจากนีย้ งั สอดคลอ้ งกบั งานวิจัย เรือ่ ง ปัจจัยทมี่ ผี ลตอ่ การตดั สินใจเลอื กใช้บริการ
สินเชอื่ ของผูป้ ระกอบการ SMEs พบวา่ ปจั จยั สว่ นประสมการตลาดบริการ ดา้ นการสรา้ งและนำเสนอลักษณะ
ทางกายภาพ มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อธุรกิจของผู้ประกอบการ (SMEs) อย่างมี
นยั สำคัญทางสถติ ทิ ่รี ะดบั 0.05

สุรศักด์ิ อำนวยประวิทย์ (2559) ได้ศกึ ษาวจิ ัยเรือ่ ง “กลยทุ ธ์การเข้าถึงแหลง่ เงนิ ทุนของผ้ปู ระกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ด้านผู้ประกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะต้องปรับปรุงการจัดการภายในองค์กรอย่างจริงจัง รวมถึงการ
ปรบั ปรุงดา้ นระบบบัญชีและการเงนิ ผู้ประกอบการในอนาคต และจะต้องรกั ษาวินัยทางด้านการเงนิ ไม่นำเงิน
ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจ ด้านธนาคารพาณิชย์ จะต้องปรับเปลี่ยนขั้นตอนการวิเคราะห์
สินเชื่อให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และควรจะเข้าร่วมกับโครงการของภาครัฐ เพื่อสนับสนุนเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้ง่ายขึ้น รวมถึงการจัดอบรมหลักสูตรทางด้านการเงินและบัญชี
ให้แกผ่ ู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม (SMEs) เพื่อให้ผูป้ ระกอบการมคี วามรู้ในระบบการเงิน
และบัญชีที่ถูกต้อง ถูกต้อง จะทำให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้าถึงแหล่ง
เงินทุนได้มากขึ้น ด้านภาครัฐ หน่วยงานของรัฐ เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ง
ประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องให้การสนับสนุนเงินทุนกับผู้ประกอบการโดยตรง แต่ในอดีตที่ผ่านมา
ผู้ประกอบการขนาดย่อม มักจะไม่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
แหง่ ประเทศไทย ในทางปฏิบัติของเจา้ หน้าทธ่ี นาคารมักจะพิจารณาสนิ เช่ือใหก้ ับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม (SMEs) ทีแ่ ข็งแรงแลว้ เนอ่ื งจากผ้บู รหิ ารของธนาคารอาจจะกลัวปญั หาดา้ นหนีเ้ สยี

277 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

กรอบแนวคดิ ในการวจิ ัย

ปจั จยั ในการพิจารณาขอสินเช่ือจากธุรกิจเงินรว่ มลงทุน สำหรับวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน

ประเทศไทย กรณีศึกษาภาคบริการธุรกิจท่องเที่ยว ผู้วิจัยได้ศึกษาทบทวนวรรณกรรม แนวคิดและทฤษฎี

เกี่ยวกับปัจจัยในการพิจารณาขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน และศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องจนสามารถ

นำมาสร้างเป็นกรอบแนวคิดไดด้ งั นี้

ตัวแปรอิสระ ตวั แปรตาม

ปจั จยั ประชากรศาสตร์ การตัดสินใจขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน
1. เพศ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน
2. อายุ ประเทศไทย กรณีศึกษาภาคบริการธุรกิจ
3. ระดับการศึกษา ทอ่ งเที่ยว
4. ประเภทของธุรกจิ
5. ประสบการณ์ในการดำเนนิ ธุรกิจ 1. เงื่อนไขการขอสินเชือ่
6. วงเงนิ ทตี่ อ้ งการขอสนิ เชือ่ 2. อัตราดอกเบีย้ และค่าธรรมเนยี ม
3. ช่องทางในการตดิ ต่อขอสินเช่ือ
ปัจจัยในการพิจารณาขอสนิ เช่อื 4. การส่งเสริมสินเชื่อของธุรกิจเงินร่วม
1. ผู้ประกอบการและทมี บรหิ าร
2. ลักษณะสินคา้ และบริการ ลงทนุ
3. ลกั ษณะการตลาด 5. การให้บรกิ ารของพนกั งาน
4. ลกั ษณะการเงิน 6. สถานท่ีในการติดต่อขอสินเชอื่
7. กระบวนการขอสนิ เช่ือ
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวจิ ยั

3. วธิ ดี ำเนินการวจิ ัย

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่เป็นธุรกิจ
หลกั ของภาคบรกิ ารท่องเท่ียว ได้แก่ โรงแรม ทีพ่ ัก ภัตตาคาร รา้ นอาหาร ธุรกจิ นำเที่ยวและมคั คเุ ทศก์ จำนวน
400 ราย โดยผู้วิจัยได้กำหนดระดับความเชื่อมั่นเท่ากับร้อยละ 95 และระดับความคลาดเคลื่อนยอมรับได้ไม่
เกนิ 0.05 โดยผู้วิจัยได้คำนวณขนาดกล่มุ ตัวอย่างที่เหมาะสมตามตารางสูตรของ Yamane (1973)

278 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3.2 เคร่อื งมือทใี่ ช้ในการวิจัย
การศึกษาเรื่อง "ปัจจัยในการพิจารณาขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน สำหรับวิสาหกิจขนาด

กลางและขนาดย่อมในประเทศไทย กรณีศึกษาภาคบริการธุรกิจท่องเที่ยว” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้
วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่ใช้มาทดสอบหาความเชื่อมั่นกับ
ธุรกิจที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสทิ ธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s
Alpha) ปรากฏว่าได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาเท่ากับ 0.875 จากเกณฑ์ที่กำหนดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาตั้งแต่ 0.70
ขนึ้ ไป (ยทุ ธ ไกยาวรรณ์, 2552) ถือว่าค่าที่ได้เพยี งพอและเป็นท่ยี อมรับทางสถิติ

โดยแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน ดงั น้ี ส่วนท่ี 1 ข้อมลู ปจั จยั ส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
โดยลกั ษณะของคำถามเปน็ แบบเลือกตอบ (multiple choice) ได้แก่ เพศ อายุ ระดบั การศกึ ษา ประเภทของ
ธุรกิจ ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ วงเงินที่ต้องการขอสินเชื่อ จำนวน 6 ข้อ ส่วนที่ 2 ข้อมูลปัจจัยในการ
พิจารณาขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศ
ไทย ได้แก่ ด้านผู้ประกอบการและทีมบริหาร ด้านลักษณะสินค้าและบริการ ด้านลักษณะตลาด ด้านลักษณะ
การเงิน จำนวน 16 ข้อ ส่วนที่ 3 ข้อมูลปัจจัยในการตัดสินใจขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุนของ
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ได้แก่ ด้านเง่ือนไขการขอสินเชือ่ ด้านอัตรา
ดอกเบ้ยี และค่าธรรมเนยี ม ดา้ นชอ่ งทางในการตดิ ต่อขอสนิ เช่ือ ดา้ นการส่งเสรมิ สนิ เช่อื ของธุรกจิ เงนิ ร่วมลงทุน
ดา้ นการใหบ้ รกิ ารของพนักงาน ด้านสถานทใ่ี นการตดิ ตอ่ ขอสนิ เชื่อ ด้านกระบวนการขอสินเช่ือ จำนวน 28 ข้อ
โดยลักษณะของแบบสอบถามใช้ประเภทมาตรวัด (Likert’s scale) ซึ่งในแต่ละคำถามจะมีคำตอบให้เลือก 5
ระดับ คือ มากทส่ี ดุ มาก ปานกลาง น้อย และนอ้ ยทส่ี ดุ (สุมิตรา ศรีสุชาติ, 2550)

3.3 สถิติทีใ่ ชใ้ นการวเิ คราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ผู้วิจัยทำการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้วยวิธีการทางสถิติ โดย

ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์และเสนอผลการศึกษาโดยเสนอ
เป็นข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน ดังนี้ 1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) เพื่อใช้พรรณนา
ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างจากปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) 2. สถิติเชิงอนุมาน
(Inferential statistics) เพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ดังนี้ 1. การทดสอบที ใช้วิเคราะห์ความ
แตกตา่ งของค่าเฉลี่ยเปน็ รายคดู่ ้วยวธิ ีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) สำหรับตวั แปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัย
ประชากรศาสตร์ ในดา้ นเพศ ของผูป้ ระกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ภาคบรกิ าร
ธุรกิจทอ่ งเที่ยวท่ีมีผลต่อการพิจารณาขอสนิ เช่ือจากธรุ กิจเงนิ รว่ มลงทุน 2. สถติ ิ การวิเคราะห์ความแปรปรวน
แบบทางเดียว ใช้วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสำหรับตัวแปรอิสระมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป ได้แก่ อายุ
ระดับการศึกษา ประเภทของธุรกิจ ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ วงเงินที่ต้องการขอสินเชื่อ ของ
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ภาคบริการธุรกิจท่องเที่ยวที่มีผลต่อการ

279 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

พิจารณาขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน 3. การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
(Pearson’s product-moment correlation) (Hinkle, 1998)

4. ผลการวิจัย

4.1 ขอ้ มูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผ้ตู อบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย

(ร้อยละ 53.25) มีอายุระหว่าง 30-39 ปี (ร้อยละ 48.75) มีระดับการศึกษปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (ร้อยละ

80.00) ประเภทของธุรกิจ เป็นโรงแรม ที่พัก (ร้อยละ 38.25) มีประสบการณ์ในการดำเนนิ ธุรกิจ 7-9 ปี (ร้อย

ละ 42.75) และวงเงนิ ที่ตอ้ งการขอสนิ เช่อื นอ้ ยกวา่ 3 ลา้ นบาท (ร้อยละ 55.50)

ตารางท่ี 1 สรปุ ผลปัจจัยประชากรศาสตร์ของผ้ปู ระกอบการ SMEs ในประเทศไทย กบั การตดั สนิ ใจขอสินเชื่อ

จากธรุ กจิ เงินร่วมลงทุน

การตดั สินใจ เพศ อายุ ปจั จยั ประชากรศาสตร์ ประสบการณ์ วงเงินท่ีต้องการ
ขอสินเชื่อจากธรุ กิจ ระดบั การศกึ ษา ประเภทของธรุ กิจ ในการดำเนิน ขอสนิ เช่อื
F = 20.609 F = 2.055 F = 22.658
เงนิ ร่วมลงทุน ธรุ กิจ
F = 21.172 (Sig. = .000*)
ด้านเงือ่ นไขการขอ t = 1.620 F = 14.406 F = 1.846

สินเชือ่ (Sig. = .138)
F = 8.729
(Sig. = .106) (Sig. = .000*) (Sig. = .000*) (Sig. = .106) (Sig. = .000*)
F = 2.140 F = 12.051 F = 10.498 (Sig. = .000*)
ดา้ นอัตราดอกเบี้ยและ t = 0.151 F = 11.463 F = 11.802
(Sig. = .000*)
คา่ ธรรมเนยี ม
F = 1.466
(Sig. = .880) (Sig. = .000*) (Sig. = .119) (Sig. = .000*) (Sig. = .000*)
F = 3.544 F = 7.556 F = 2.845 (Sig. = .223)
ดา้ นช่องทางในการ t = 0.627 F = 5.212 F = 14.411

ตดิ ต่อขอสินเช่ือ (Sig. = .000*)
F = 19.452
(Sig. = .531) (Sig. = .002*) (Sig. = .030*) (Sig. = .000*) (Sig. = .038*)
F = 8.298 F = 11.520 F = 13.402 (Sig. = .000*)
ดา้ นการสง่ เสริม t = 0.326 F = 11.120 (Sig. = .000*) (Sig. = .000*) (Sig. = .000*) F = 17.424
(Sig. = .000*)
สินเชื่อของธรุ กิจ (Sig. = .744) (Sig. = .000*)

เงินรว่ มลงทุน

ดา้ นการใหบ้ ริการของ t = -0.859 F = 4.691 F = 1.093 F = 9.672 F = 5.010

พนักงาน

(Sig. = .391) (Sig. = .003*) (Sig. = .336) (Sig. = .000*) (Sig. = .002*)
F = 14.823 F = 3.290 F = 48.077
ดา้ นสถานที่ในการ t = 0.689 F = 7.036

ตดิ ตอ่ ขอสินเช่อื

(Sig. = .491) (Sig. = .000*) (Sig. = .000*) (Sig. = .021*) (Sig. = .000*)

ดา้ นกระบวนการใน t = 1.830 F = 9.778 F = 6.808 F = 6.223 F = 34.508

การขอสินเช่อื

(Sig. = .068) (Sig. = .000*) (Sig. = .001*) (Sig. = .000*) (Sig. = .000*)
F = 11.999 F = 0.474 F = 16.583
รวม t = 1.992 F = 4.696 (Sig. = .000*) (Sig. = .700) (Sig. = .000*)

(Sig. = .047*) (Sig. = .003*)

* มนี ัยสำคญั ทางสถติ ทิ ี่ระดบั 0.05

280 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

จากตารางที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา
ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ และวงเงินที่ต้องการขอสินเชื่อ มีผลต่อการตัดสินใจขอสินเชื่อจากธุรกิจเงนิ
รว่ มลงทุนท่ี แตกตา่ งกนั

4.2 กล่มุ ตวั อย่างให้ความสำคัญกับปัจจยั ในการพจิ ารณาขอสินเชอ่ื จากธุรกิจเงนิ ร่วมลงทุน ภาพรวม
อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 โดยจำแนกเป็นรายด้าน เรียงตามลำดบั ค่าเฉล่ียจากมากทีส่ ดุ ไป

หาน้อยที่สุด ได้ดังนี้ ผู้ประกอบการและทีมบริหาร (ค่าเฉลี่ย 3.86) ลักษณะสินค้าและบริการ (ค่าเฉล่ยี 3.37)

ลกั ษณะการตลาด (ค่าเฉลี่ย 3.32) และลักษณะการเงิน (คา่ เฉล่ีย 3.30)
4.3 ปัจจัยการตัดสินใจขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมี

ค่าเฉลี่ยเท่ากบั 3.22 โดยจำแนกเปน็ รายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากท่ีสุดไปหาน้อยที่สดุ ได้ดังนี้ ดา้ น
กระบวนการในการขอสินเชื่อ (ค่าเฉลี่ย 3.86) ด้านเงื่อนไขการขอสินเชื่อ (ค่าเฉลี่ย 3.81) ด้านการส่งเสริม
สนิ เช่อื ของธุรกิจเงินรว่ มลงทุน (คา่ เฉล่ีย 3.41) ดา้ นการใหบ้ รกิ ารของพนักงาน (คา่ เฉลี่ย 3.37) ดา้ นช่องทางใน
การติดต่อขอสินเชือ่ (ค่าเฉลี่ย 3.24) ด้านอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนยี ม (ค่าเฉลี่ย 3.20) ด้านสถานทีใ่ นการ
ตดิ ตอ่ ขอสินเชอื่ (คา่ เฉลยี่ 3.18)

4.4 การวเิ คราะห์ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการพิจารณาขอสินเชื่อกับการตัดสินใจ
ขอสินเชื่อจากจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน ภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำในทิศทางเดียวกันที่ 0.227
และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเรียงลำดับ
ความสมั พันธ์ (r) จากมากไปหานอ้ ย ได้ดงั นี้ ดา้ นผู้ประกอบการและทีมบรหิ าร (r = 0.259) ดา้ นลักษณะสินค้า
และบรกิ าร (r = 0.229) ด้านลกั ษณะการเงนิ (r = 0.194) ด้านลกั ษณะการตลาด (r = 0.111) ตามลำดบั

ตารางท่ี 2 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการพิจารณาขอสินเชื่อกับการตัดสินใจขอสินเชื่อจาก

ธรุ กิจเงินรว่ มลงทนุ

ตวั แปรท่ศี กึ ษา การตัดสินใจขอสินเช่อื จากธุรกจิ เงนิ รว่ มลงทุน

Pearson’s (r) Sig. ระดบั วามสมั พนั ธ์

ดา้ นผู้ประกอบการและทีมบริหาร 0.259 .000* มคี วามสัมพันธใ์ นระดบั ตำ่

ด้านลักษณะสนิ คา้ และบริการ 0.229 .000* มคี วามสัมพนั ธ์ในระดบั ต่ำ

ดา้ นลักษณะการเงิน 0.194 .000* มีความสมั พนั ธใ์ นระดบั ต่ำ

ดา้ นลักษณะการตลาด 0.111 .027* มคี วามสัมพนั ธ์ในระดับต่ำ

รวม 0.227 .000* มีความสมั พนั ธใ์ นระดบั ต่ำ

* มีนัยสำคัญทางสถติ ิท่ีระดับ 0.05

281 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

5. สรุป อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ

5.1. สรปุ และอภิปรายผล
1. ปจั จยั ประชากรศาสตรท์ ี่มีผลต่อการตัดสินใจขอสินเช่ือจากธุรกจิ เงนิ รว่ มลงทนุ ได้แก่ เพศ

อายุ ระดับการศกึ ษา ประสบการณ์ในการดำเนนิ ธุรกิจ และวงเงนิ ที่ตอ้ งการขอสินเชอ่ื แตกตา่ งกัน มีผลต่อการ
ตัดสินใจขอสินเชื่อจากธุรกิจเงินร่วมลงทุนท่ีแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จงธิดาพา นิตย์นรา
(2561) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม (SMEs) ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา
ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ ที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อธุรกิจท่ีแตกต่างกัน อย่างมี
นยั สำคญั ทางสถติ ิที่ระดับ 0.05 อาจเป็นเพราะวา่ กลมุ่ ตวั อยา่ งทีเ่ ปน็ เพศชายและเพศหญิงมีขนาดใกล้เคียงกัน
และตอ้ งการเงินลงทนุ เพื่อใชห้ มุนเวยี นในธุรกจิ เหมือนกัน ในเรอ่ื งของช่วงอายุ มีบทบาทสำคญั ตอ่ การตัดสินใจ
ขอสินเชื่ออย่างมาก จากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการ SMEs มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ซ่ึง
จะต้องมีการตัดสินใจอย่างรอบครอบในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ โดยระดับการศึกษาน้ัน
เป็นเพียงคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่แสดงถึงความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ถึงผู้ประกอบการจะมี
การศึกษาระดับใด ย่อมต้องการบริการทางการเงินทีส่ อดคล้องและตรงกับความตอ้ งการทางธุรกิจ ทั้งในเรื่อง
ของประสบการณ์ในการดำเนินงาน และวงเงินที่ต้องการขอสินเชื่อเช่นกัน ในส่วนของประเภทธุรกิจของ
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจขอสินเชื่อจาก
ธุรกิจเงินรว่ มลงทนุ ไม่แตกต่างกัน ทงั้ นอ้ี าจเป็นเพราะว่า ธุรกจิ โรงแรม ท่พี กั ทีเ่ ปน็ สัดสว่ นของธุรกิจมีจำนวน
มากกว่าธุรกิจในภาคอื่น ๆ มีสัดส่วนการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นอันดับสูงสุดของวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม (SMEs) ทั้งหมด (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2562) สอดคล้องกับ
งานวจิ ยั ของ โสรญา เพชรานนท์ (2561) ศกึ ษาเร่ือง ปจั จยั ทม่ี ผี ลต่อผ้ปู ระกอบการ sme ในการเลือกใช้บรกิ าร
สินเชือ่ ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย (SME Bank) สาขาทุ่งสง จังหวดั
นครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่า ประเภทธุรกิจ ระยะเวลาในการดำเนินการธุรกิจ ลักษณะธุรกิจ และ
ประเภทวงเงินสินเชื่อที่ต่างกัน มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อ ไม่แตกต่างกัน แต่ไม่สอดคล้องกับ ละออง
มังตะการ (2561) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการเงินด้านสินเช่ือ
ธนาคารพาณิชย์ไทยของผ้ปู ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจงั หวัดอุบลราชธานี ผล
การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก รองลงมาเป็นธุรกิจการให้บริการ และ
เปน็ ธรุ กจิ ผลติ สนิ ค้า

2. ระดบั ความสำคญั ของกลุ่มตัวอย่างท่ีให้ความเห็นต่อปัจจยั ในการตัดสินใจขอสินเชื่อจากธุรกิจ
เงินร่วมลงทุน ผลวจิ ัยพบว่า ภาพรวมอยูใ่ นระดบั ปานกลาง โดยปัจจยั ในการพิจารณาขอสินเชอ่ื อนั ดบั มากที่สุด
คือ ด้านผู้ประกอบการและทีมบริหาร ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการและทีมบริหาร มีความรู้ มีความสามารถ
และเชี่ยวชาญในการประกอบธุรกิจ มีการจัดทำแผนธุรกิจหรือแผนการดำเนินงาน เช่น แผนบริหารบุคลากร
แผนการตลาด แผนการผลติ แผนการเงิน เปน้ ตน้ เพ่อื โอกาสของธรุ กิจท่จี ะประสบความสำเรจ็ โดยมีการกำหนด

282 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021


Click to View FlipBook Version