The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mbakru1, 2022-06-29 14:17:53

วารสารวิทยาการจัดการปีที่8ฉบับที่2

Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University

Keywords: วารสารวิทยาการจัดการ

Kotler, P. (1997) Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and
Control. (9th ed.), Prentice Hall, Upper Saddle River.

Kotler, P. (2012). Marketing Management, Pearson Education., New Jersey: Prentice Hall.

383 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

อิทธพิ ลคุณคา่ ตราสินค้าในฐานะปัจจัยตวั แปรคน่ั กลางทีเ่ ชื่อมโยงสว่ นประสมทางการตลาด
ส่คู วามตัง้ ใจซอ้ื รถยนตโ์ ตโยต้าฝั่งธนบุรี กรงุ เทพมหานคร

Influence of Brand Equity as a Mediator Linked to Marketing Mix to Purchase
Intention of Toyota Cars in Thonburi Side of Bangkok

ณัฐพล ไชยกุสินธุ์1* และ สมุ าลี รามนัฏ2
(Nathapol Chaikusint and Sumalee Ramanust)

บทคดั ยอ่

การศกึ ษาครงั้ น้ีมีวัตถุประสงค์ (1) เพือ่ ศึกษาปจั จยั สว่ นประสมทางการตลาด คุณค่าตราสินค้า และความ
ตง้ั ใจซ้ือรถยนตโ์ ตโยต้า ฝงั่ ธนบรุ ี กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาคุณค่าตราสินค้าในฐานะปัจจยั ตัวแปรคั่นกลางที่
เชอ่ื มโยงกลยทุ ธก์ ารตลาดทีส่ ่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนตโ์ ตโยตา้ ฝั่งธนบุรี กรงุ เทพมหานคร เครื่องมอื ท่ีใช้ในการ
วจิ ยั คร้ังน้ี คือ แบบสอบถาม โดยทำการเก็บข้อมลู กับผู้ซ้ือรถยนต์โตโยต้าฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 500
คน ตามแนวคดิ ของ Comrey & Lee (2013) สถติ ทิ ี่ใชใ้ นการวจิ ัยไดแ้ ก่ ค่าเฉล่ยี ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน และการ
วิเคราะหต์ วั แบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS

ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับของส่วนประสมทางการตลาด ระดับของคุณค่าตราสินค้า และระดับของ
ความตั้งใจซื้อโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) คุณค่าตราสินค้าในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงกลยุทธ์
การตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์โตโยต้า ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยเรียงค่าตามอิทธิพลรวม
ประกอบไปดว้ ย คุณคา่ ตราสนิ ค้าดา้ นการเชื่อมโยงตราสินคา้ (BAS) (TE=0.360) คุณค่าตราสินค้าดา้ นการรับรู้
ตราสินค้า (BAW) (TE=0.202) คุณค่าตราสนิ ค้าด้านการรับร้คู ณุ ภาพ (PQ) (TE=0.132) คณุ คา่ ตราสนิ ค้าความ
ภักดีต่อแบรนด์ (BL) (TE=0.220) และส่วนประสมทางการตลาดบริการมีอิทธิพลรวมต่อความตั้งใจซ้ือ
(TE=0.745) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อมากกว่าอิทธิพล
สง่ ผา่ นไปยังคุณค่าตราสนิ คา้

คำสำคัญ: ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps คุณค่าตราสนิ คา้ ความต้งั ใจซื้อ รถยนตโ์ ตโยต้า

* หลกั สูตรบริหารธุรกิจมหาบณั ฑติ บัณฑติ วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 10160
Master of Business Administration Program, Graduate School, South East Asia University.10160
*Corresponding Author; E-mail: [email protected]

384 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ABSTRACT

The objectives of this research are: (1) to study marketing mix factors, brand equity, and
Toyota car purchase intention of consumers in Thonburi area, Bangkok; (2) to study brand equity
as mediator connecting marketing strategies affecting Toyota car purchase intention of consumers
in Thonburi area, Bangkok. Research tool was questionnaire. Data were collected from 500
purchasers who purchased Toyota cars in Thonburi area, Bangkok, under the concept of Comrey
& Lee (2013). Statistics used in this research were mean, Standard Deviation, and Structural
Equation Model (SEM) by using Smart PLS program.

The results revealed that: (1) Overall marketing mix, brand equity, and purchase intention
level were in high level; and (2) Brand Equity as a mediator linked to marketing mix to purchase
intention of Toyota Cars in Thonburi side of Bangkok, sorted by overall influence consisted of
Brand Associate (BAS) (TE=0.360), Brand Awareness (BAW) (TE=0.202), Perceived Quality (PQ)
(TE=0 . 1 3 2 ) , Brand Loyalty (BL) (TE=0 . 2 2 0 ) , and Marketing Mix has an overall on purchase
intention (TE=0.745). Which shows that marketing mix has an overall on purchase intention
more than connecting to influence on brand equity.

Keywords: marketing mix 7Ps, Brand Equity, Purchase intention, Toyota Cars

Article history: Received 10 April 2021
Revised 5 June 2021
Accepted 7 June 2021
SIMILARITY INDEX = 0.00 %.

385 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1. บทนำ

วิกฤตกิ ารแพรร่ ะบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปท่ัวโลกในปัจจุบนั ได้สง่ ผลต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ไทย
ในแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทั้งในไทยและในระดับโลกอันเป็นปัจจัย
หลักที่มีผลต่อคำสัง่ ซื้อรถยนต์จากทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ซึ่งส่งผลต่อเนือ่ งมาสู่ปริมาณการผลิต
รถยนต์ในไทยที่คาดว่าจะหดตัวรุนแรงในปีนี้ (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2563)จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลต่อ
เศรษฐกจิ โดยรวมของประเทศและระดับโลก ทำใหต้ ลาดรถยนต์ในประเทศและส่งออกหดตวั ในชว่ งไตรมาส 1
และตอ่ เนื่องถึงไตรมาส 2 ทางดา้ นบรษิ ัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกดั นนั้ ไดร้ บั ผลกระทบดว้ ยเช่นกัน
ทั้งนี้จากการผ่อนปรนให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องภายใต้มาตรการที่ภาครัฐกำหนด มี
การคาดการณว์ ่าในชว่ งคร่ึงหลังของปี 2563 เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มที่ดีข้ึน” (บริษทั โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศ
ไทย จำกัด, 2563)

บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ปฏิบัติตามมาตรการการหยุดสายการผลิตเป็นการ
ชว่ั คราวไปส่งผลให้ตลาดรถยนตข์ องไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ลดลงไปท่ีประมาณ 128,500 คนั คิด
เป็นร้อยละ 49 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยโตโยต้ามียอดขายอยู่ที่ 38,100 คัน หรือคิด
เป็นร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับปี 2562 แล้ว ในทางกลับกันหากพิจารณาถึงยอดจำหน่ายรายเดือนของช่วงไตร
มาสที่ 2 จะเห็นได้ว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงค่อย ๆ ฟื้นตัว อันเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ทยอยออกมาตรการ
ผ่อนคลายต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสรุปยอดขายรวมและ
ยอดขายของโตโยต้าของปีนี้ได้ดงั นี้

ตารางท่ี 1 สถิติการขายรถยนต์รวม มกราคม-มถิ ุนายน 2563

ปริมาณการขายรวม 328,604 คัน ลดลง 37.3%
ลดลง 42.0%
รถยนตน์ งั่ 119,716 คัน ลดลง 34.2%
ลดลง 35.6%
รถเพอ่ื การพาณิชย์ 208,888 คนั ลดลง 33.7%

รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดดั แปลง) 166,409 คนั

รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดดั แปลง) 149,432 คนั

ทมี่ า: (บรษิ ัทโตโยตา้ มอเตอร์ ประเทศไทย จำกดั , 2563)

จากตารางที่ 1 สามารถกล่าวได้ว่า ในช่วงมกราคม ถึง มิถุนายน 2563 ยอดขายของรถยนต์โดยรวม
ลดลงไปถึง 37.3% ซึ่งรถยนต์นั่งลดลง 42.0% รถเพื่อการพาณิชย์ ลดลง 34.2% รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถ
กระบะดัดแปลง) ลดลง 35.6% และรถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 33.7% โดยสามารถแยก
ออกมาเปน็ ยอดขายของรถยนต์โตโยต้าประจำปี 2563 ในชว่ งคร่ึงปแี รกไดด้ งั ตารางท่ี 2 ดงั นี้

386 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางที่ 2 สถติ กิ ารขายรถยนตข์ องโตโยตา้ มกราคม-มิถนุ ายน 2563

ปริมาณการขายโตโยต้า 94,222 คัน ลดลง 45.1% สว่ นแบ่งตลาด 28.7%

รถยนต์นั่ง 29,926 คนั ลดลง 50.4% สว่ นแบ่งตลาด 25.0%

รถเพ่อื การพาณิชย์ 64,296 คัน ลดลง 42.2% ส่วนแบง่ ตลาด 30.8%

รถกระบะ 1 ตนั

(รวมรถกระบะดดั แปลง) 56,265 คัน ลดลง 43.3% สว่ นแบง่ ตลาด 33.8%

รถกระบะ 1 ตัน

(ไม่รวมรถกระบะดดั แปลง) 49,622 คนั ลดลง 41.5% สว่ นแบง่ ตลาด 33.2%

ทมี่ า: (บริษัทโตโยตา้ มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, 2563)

จากตารางที่ 2 สามารถกล่าวได้ว่ายอดขายรถยนต์โดยรวมของโตโยต้ามีปริมาณาการขายลดลง
45.1% ส่วนแบ่งตลาด 28.7% แยกออกเป็นรถยนต์นั่ง ลดลง 50.4% ส่วนแบ่งตลาดลดลงอยู่ที่ 25.0% รถ
เพื่อการพาณชิ ย์ ลดลง 42.2% ส่วนแบง่ ตลาด 30.8% รถกระยะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดดั แปลง) ลดลง 43.3%
ส่วนแบ่งตลาด 33.8% และรถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมกระบะดัดแปลง) ลดลง 41.5% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
ส่งผลให้โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้คิดแผนกลยุทธ์ทางการตลาดขึ้นมาหลากหลายทิศทางเพื่อให้
สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในช่วงโควิดกำลังแพร่ระบาดหลังทางรัฐบาลประกาศผ่อนปรนทางด้าน
เศรษฐกิจ ซึ่งแผนการตลาดที่เหมาะสมและกำลงั ได้รับการตอบรับอย่างดีสำหรับผู้เข้ามาใช้บริการภายในศนู ย์
โตโยต้านั่นก็คือกลยุทธ์ Alive Space ที่ยกระดับประสบการณ์ซื้อรถยนต์และการเข้าใช้บริการตรวจเช็ค
สขุ ภาพของรถยนต์ในแบบท่ีไม่เคยมีมาก่อน โดยแคมเปญน้ีได้เริ่มมาต้ังแตป่ ีพ.ศ.2561 ซง่ึ แตเ่ ดิมทางโตโยต้ามี
แค่ 8 สาขา แตป่ ัจจุบนั ไดม้ ีการปรบั ขยายสาขาเพมิ่ ขึน้ เพอ่ื ใหท้ นั เกมรุกตลาดวยั ร่นุ

บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการตลาดนั้นส่งผลให้มีการ
สร้าง Brand Equity หรือที่เรียกว่า คุณค่าตราสินค้าให้ดีขึ้น โดยเป็นที่จดจำจากลูกค้าหรือผู้คนทั่วไปต่อการ
ปลูกฝังแบรนด์ให้กับบุคคลรุ่นใหม่นั่นคือการที่โตโยต้าได้ส่งต่อแนวคิดในการออกแบบรถยนต์ ที่สามารถตอบ
โจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมไปถึงข้อมูล
รถยนต์รุ่นต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าให้ได้รับการติดต่อจากผู้แทนจำหน่ายหรือศูนย์บริการ
ใกล้เคียงอย่างสะดวก รวดเร็วที่สุด นอกจากนี้ยังออกแบบคอมมิวนิตี้ที่หลากหลาย ทั้งทางดนตรี กีฬา
ท่องเที่ยว หรือเทคโนโลยี ที่สามารถแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการโฆษณา ป้าย
ประชาสัมพันธ์บิลบอร์ด ฯลฯ เรียกว่า เป็นการฝังแบรนด์โตโยต้าติดลึกอยู่กับคนรุ่นใหม่ เมื่อไหร่จะเลือกซ้ือ
รถยนต์กจ็ ะคดิ ถึงและตัดสนิ ใจซ้อื โตโยตา้

การที่โตโยต้าได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่นั้นส่งผลใหต้ ้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการบริการด้วย
เพอื่ ใหส้ อดคล้องกับบรกิ ารดา้ นงานขายและการซอ่ มบำรงุ โดยไดก้ ำหนดใหศ้ ูนยบ์ ริการท่วั ประเทศ ต้องเปลย่ี น
ทุกความรู้สึกให้กับลูกค้า “Change for the new touch” เพื่อยกระดับการบริการลูกค้าที่คุ้มค่าและเกิด

387 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ความประทบั ใจมากกว่าเดมิ ลูกค้าท่เี ข้ามาสามารถรบั รู้ได้ถงึ ระดับคุณภาพของการบริการ และระบบบริการท่ี
เป็นมาตรฐานที่ดีขึ้นโดยนำระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามาใช้ ดังนั้นลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการจะได้เห็นทุก
กระบวนการซอ่ มบำรงุ สว่ นการสอ่ื สารถงึ ลูกคา้ ลกู คา้ จะได้รบั ขอ้ มูลขา่ วสาร โปรโมชน่ั กิจกรรมการตลาด จาก
หลากหลายช่องทางทั้งทางไลน์ เฟสบุ๊ค แอพพลิเคชั่น ที-คอนเนค เทเลเมติกส์ สามารถสื่อสารแบบสองทาง
(Two-way Communications) และยังรวมถึงเว็บไซด์ของโตโยต้าเองด้วย ซึ่งทั้งหมดสามารถเขียนรีวิวและ
เห็นรีวิวโปรดักส์ต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด ซึ่งการทำการตลาดอย่างรวดเร็วนั้นจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรม
ของผู้บริโภคที่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในการทำตลาดของโตโยต้าในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ
ในการรุกตลาดของกลุ่มผู้ซื้อรุ่นใหม่ และสำหรับ First Jobber เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะกลายมาเป็นผู้มีกำลัง
ซื้อภายในอนาคต ดงั นนั้ การสร้าง Branding ให้กบั กลุ่มผซู้ อื้ ดงั กล่าว เชื่อมั่น และเชื่อใจ การทำตลาดใหเ้ ติบโต
และสร้างยอดขายก็จะสามารถทำได้อย่างไม่ใช่เร่ืองยาก (ไทยรฐั , 2563)

จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาข้างต้น จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจทีจ่ ะศึกษาอิทธิพลคุณค่าตรา
สินค้าในฐานะปัจจัยตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงกลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์โตโยต้า
โดยจะศกึ ษาประเดน็ ท่วี า่ สว่ นประสมทางการตลาดมีอทิ ธพิ ลตอ่ ความตงั้ ใจซ้ือรถยนตย์ ี่ห้อโตโยตา้ อย่างไร และ
การสร้างคุณค่าตราสนิ ค้าท่เี ป็นตัวแปรคนั่ กลางระหว่างสว่ นประสมทางการตลาดสู่การต้งั ใจซ้ือรถยนต์โตโยต้า
ไดอ้ ย่างไร ผู้วจิ ยั จึงไดเ้ ล็งเหน็ ความสำคัญทห่ี ลายคนยังมองไม่เห็นในประเด็นนจี้ ึงนำมาพัฒนาและจดั ทำวิจัยใน
ครั้งนี้ เพื่อที่จะนำไปสู่ประโยชน์ต่อการพัฒนาการวางแผนกลยุทธ์ในการส่งเสริมทางการตลาดทั้งในภาครัฐ
และภาคเอกชน ประกอบกับสามารถขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายสินค้าของกลุ่มผู้บริโภคให้สูงขึ้นท่ี
สามารถพัฒนาธรุ กิจยานยนตใ์ หม้ ีขีดความสามารถในการแข่งขนั ทีเ่ อ้ือตอ่ การเพ่ิมยอดขายธุรกจิ ยานยนต์ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวจิ ัย
1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด คุณค่าตราสินค้า และความตั้งใจซื้อรถยนต์โตโยต้าฝ่ัง

ธนบรุ ี กรงุ เทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาคุณค่าตราสินค้าในฐานะปัจจัยตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อ

ความต้งั ใจซ้ือรถยนตโ์ ตโยต้าฝั่งธนบรุ ี กรงุ เทพมหานคร

2. เอกสารและงานวจิ ยั ทเ่ี ก่ียวข้อง

การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการศึกษาตามแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ ส่วนประสมทางการตลาด
(Marketing Mix 7Ps) คุณค่าตราสนิ คา้ (Brand Equity) และการตัดสนิ ใจซ้อื (Purchase Intention) ไวด้ ังนี้

1. ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix 7Ps: 7Ps) หมายถึง กิจกรรมทางการตลาดของบริษัท
โตโยต้าได้ดำเนินการให้เกิดขึ้นโดยสามารถควบคุมได้ภายในบริษัทและถูกนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ทาง
การตลาด ซึ่ง Kotler and Armstrong (1996) ได้กล่าวว่า ส่วนประสมทางการตลาด เป็นการรวมกันของ
ตลาดกจิ กรรมทชี่ ว่ ยให้ธรุ กจิ มกี ารพฒั นาเพื่อใหบ้ รรลวุ ัตถุประสงค์ขององค์กรในตลาดกลุ่มเป้าหมาย โดยแตล่ ะ

388 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

องค์กรจะยกส่วนประสมทางการตลาดตัวใดมาใช้ก็ได้ขึ้นอยู่กับกลุ่มตลาดเป้าหมายของแต่ละองค์กรที่ได้
กำหนดทิศทาง ซึ่งมิติสำหรับส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วย 7Ps ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์ (2) ราคา (3)
ชอ่ งทางการจดั จำหนา่ ย (4) การส่งเสรมิ การตลาด (5) บุคคล (6) กระบวนการ (7) และลกั ษณะทางกายภาพ

2. คุณค่าตราสินค้า (Brand Equity: BE) หมายถึง การสร้างแบรนด์ของโตโยต้าให้มีความโดดเด่น
ชัดเจน บ่งบอกถึงคุณภาพและบ่งบอกว่าตราสินค้านี้ คือ รถยนต์ เมื่อลูกค้ามองเห็นสัญลักษณ์ตราสินค้าจะ
สามารถนึกถึงโตโยต้าได้ทันทีและเมื่อคิดถึงรถยนต์ก็จะคิดถึงโตโยต้า โดย Aaker (1991) ได้กล่าวว่า
ภาพลกั ษณ์ท่มี ีความชัดเจนแตกต่างนอกเหนือไปจากสนิ คา้ ธรรมดา เปน็ กลุ่มของสนิ ทรัพย์และหน้ีสินที่มีความ
เชื่อมโยงกับช่ือและสัญลกั ษณ์ของตราสินค้า โดยเป็นการเพ่มิ หรอื ลดมลู คา่ ของสินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิมของ
บริษัท (Barwise, 1993) ซึ่งคุณค่าตราสินค้าจะสามารถแบ่งออกได้ดังน้ี (1) การรับรู้แบรนด์ (Brand
Awareness) (2) การรับรคู้ ุณภาพ (Perceived Quality) (3) การเชอ่ื มโยงแบรนด์ (Brand Association) และ (4)
ความจงรกั ภักดตี ่อแบรนด์ (Brand Loyalty)

3. ความตั้งใจซื้อ (Purchase Intention: PI) หมายถึง ความตั้งใจของลูกค้าที่ต้องการเข้ามาซื้อรถยนต์
ภายในโชว์รูมของโตโยต้า โดยผ่านการไตร่ตรองมาแล้วส่วนตัวจากการเปรียบเทียบกับแบรนด์อื่น ๆ โดย
Spears and Singh (2004) ได้กล่าวถึง ความตั้งใจซื้อ (PI) หมายถึง ความรู้สึกส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่เกิดจาก
การสะสมความรู้และการประเมินผ่านประสบการณ์ที่เกิดขึ้นต่อตราสินค้าและบริการจากข้อความที่ถูกส่งผ่าน
เครอื่ งมือวัดความต้องการของผูบ้ รโิ ภคต่อตราสนิ คา้ นั้น ๆ จากมมุ มองทางด้านทัศนคตโิ ดยเกิดจากการประเมินผล
ทางความรู้สึกความเชื่อของผู้บริโภคผ่านข้อมูลที่ได้รับรู้จากประสบการณ์จริงจนทำให้เกิดการประมวลผลและ
แสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ตามมาด้วยการซื้อ ในขณะที่ Howard (1994) ได้กล่าวถึง ความตั้งใจซื้อ (PI) เป็น
กระบวนการทางด้านจิตใจท่ีมีความเกี่ยวข้องกับแผนการของผู้บริโภคที่จะซื้อตราสินค้าหน่ึง ๆ โดยความตั้งใจซื้อ
สามารถช่วยพยากรณ์พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคได้ และเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับจิตใจที่บ่งบอกถึง
แผนการของผู้บริโภคที่จะซื้อตราสินค้าใดสินค้าหนึ่ง โดยความตั้งใจซื้อจะเกิดขึ้นมาจากทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้า
จากผบู้ ริโภคและความม่ันใจของผู้บริโภคในการประเมินตราสินค้าทผ่ี า่ นมา

จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องข้างต้น ผู้วิจัยได้พัฒนากรอบแนวความคิดในการ จากทฤษฎี
และงานวจิ ัยตา่ ง ๆ ที่เกย่ี วข้องกบั อิทธิพลคุณค่าตราสนิ คา้ ในฐานะปัจจยั ตวั แปรคน่ั กลางท่ีเช่อื มโยงสว่ นประสม
ทางการตลาดสู่ความตั้งใจซื้อรถยนต์โตโยต้าฝ่ังธนบุรี กรุงเทพมหานคร ซง่ึ ผวู้ ิจัยไดท้ ำการสรุปและสร้างกรอบ
แนวคดิ ในการวิจยั ดงั ตอ่ ไปนี้

389 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

กรอบแนวคิดในการวจิ ยั

แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

3. วธิ ดี ำเนนิ การวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาอิทธิพลคุณค่าตราสินค้าในฐานะปัจจัยตัวแปรคั่นกลางที่
เชื่อมโยงกลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อความต้งั ใจซ้อื รถยนตโ์ ตโยต้า ประชากรทีใ่ ช้ในการวจิ ัย กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้รถยนต์แบรนด์โตโยต้า ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน โดยผู้วิจัยได้
กำหนดขนาดของกลมุ่ ตวั อย่างตามสูตรของ Comrey & Lee (2013) ซงึ่ เสนอแนะวา่ กลุ่มตัวอยา่ งจำนวน 500
ตวั อย่างถือวา่ ดีมาก

การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยมีขั้นตอน
ดงั น้ี

1. เก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำในระหว่างเดือน กันยายน 2563 – กุมภาพันธ์
2564 ไดแ้ บบสอบถามจำนวน 500 ฉบบั มอี ัตราการตอบกลบั อยทู่ ่ี 100 เปอร์เซ็นต์

2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถามลงรหัส และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีทางสถิติ
ตอ่ ไป

การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาประมวลผลด้วย
โปรแกรมสำเรจ็ รปู ทางสถติ ิ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ขอ้ มูลดงั นี้

390 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1 การวเิ คราะหข์ อ้ มูลปัจจยั สว่ นบคุ คลของคือ ผใู้ ช้รถยนต์โตโยตา้ ฝั่งธนบรุ ี กรงุ เทพมหานคร ด้วยการ
แจกแจงค่าความถ่ี (Frequency) และรอ้ ยละ (Percentage) ใช้อธบิ ายข้อมูลเกีย่ วกับลกั ษณะส่วนบุคคล

2 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาระดับของส่วนประสมทางการตลาด คุณค่าตราสินค้า ความตั้งใจซ้ือ
ด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้ในการแปลความหมายของ
ข้อมลู ตา่ ง ๆ เพอื่ สรุปและอธบิ ายลักษณะของตัวแปร

3 สถิติอนุมานหรือสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) เป็นการนำวิธีทางสถิติมาใช้สำหรับทดสอบ
สมมติฐาน (Hypothesis Testing) เพ่อื หาความสัมพนั ธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุและหาระดับปัจจัยท่ีมีอิทธิพลต่อ
ตัวแปรทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยตัวแบบสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling--SEM) โดย
ใชโ้ ปรแกรมสำเรจ็ รูป SmartPLS3 (Hair et al., 2018)

4. ผลการวิจัย

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 30-40 ปี ระดับการศึกษาอยู่ที่ปริญญาตรี ทำอาชีพ
ธุรกจิ สว่ นตวั มีรายไดเ้ ฉล่ยี ต่อเดอื นอยู่ที่ 28,001-30,000 บาท

การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม เรื่องระดับของส่วนประสมทางการตลาดของ
ผู้ใช้บริการรถยนต์โตโยต้า พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.44) โดยสามลำดับแรกที่ได้รับการ
ประเมินสูงสุดได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด (Mean = 4.48) ด้านบุคลากร (Mean = 4.47) และด้าน
กระบวนการ (Mean = 4.46) ตามลำดับ

การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม และระดับของคุณค่าตราสินค้าของผู้ใช้บริการ
รถยนต์โตโยต้า พบวา่ ในภาพรวมอยใู่ นระดับมาก (Mean = 4.44) โดยสามลำดับแรกท่ีได้รบั การประเมินสูงสุด
ไดแ้ ก่ ดา้ นการรบั รูใ้ นคุณภาพ (Mean = 4.49) ด้านการรบั ร้แู บรนด์ (Mean = 4.46) และดา้ นความจงรักภักดี
ตอ่ แบรนด์ (Mean = 4.45) ตามลำดับ

การวเิ คราะหค์ วามคดิ เหน็ ของผู้ตอบแบบสอบถาม และระดบั ของความต้ังใจซอ้ื ของผู้ใชบ้ ริการรถยนต์
โตโยต้า พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.49) โดยสามลำดับแรกที่ได้รับการประเมินสูงสุดได้แก่
การเปรียบเทียบคุณสมบัติโตโยต้าเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น (Mean = 4.53) ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ
(Mean = 4.52) และความประหยดั ในค่าใชจ้ ่าย (Mean = 4.49) ตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างในภาพรวม ซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดย
สัมประสิทธิ์ถดถอยทางตรงที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อและผลการทดสอบสมมติฐาน โดยผลเป็นวิเคราะห์ได้ดัง
แผนภาพที่ 2

391 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

แผนภาพที่ 2 ตัวแบบสมการโครงสร้างอิทธิพลเชิงโครงสร้างของอิทธิพลคุณค่าตราสินค้าในฐานะปัจจัยตัวแปร
ค่ันกลางทเี่ ช่อื มโยงกลยุทธท์ างการตลาดทีส่ ง่ ผลตอ่ ความตั้งใจซื้อรถยนตโ์ ตโยต้าฝัง่ ธนบรุ ี กรงุ เทพมหานคร

ตารางที่ 3 ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งอิทธิพลของตัวแปรท่มี ตี ่อความต้งั ใจซ้ือ

ตวั แปร (LV) ค่าความ อทิ ธิพล 7PS BE
ผนั แปร (EFFECT)

ความตง้ั ใจซ้ือ (PI) 0.716 DE N/A 0.845***

IE 0.746*** 0.000

TE 0.746 0.845
0.000
คณุ ค่าตราสินค้า 0.782 DE 0.844*** 0.000
0.000
(BE) IE 0.000

TE 0.844

หมายเหตุ: DE; Direct Effect, IE; Indirect Effect, TE; Total Effect, N/A; Not Applicable

หมายเหตุ: * หมายถงึ p-value ≤ 0.10 หรือ ค่า t ≥ 1.65

** หมายถึง p-value ≤ 0.05 หรอื ค่า t ≥ 1.96

*** หมายถึง p-value ≤ 0.01 หรือ คา่ t ≥ 2.58

392 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1.ปัจจัยที่มีผลโดยรวมต่อความตั้งใจซื้อ (PI) พบว่า ด้านคุณค่าตราสินค้าส่งผลโดยรวม
(BE/DE=845***) และส่วนประสมทางทางการตลาด (7PS) มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจซื้อ (PI) (IE=
0.746***)

2.ปัจจัยที่ส่งผลโดยรวมต่อคุณค่าตราสินค้า (BE) พบว่า ด้านส่วนประสมทางการตลาด 7PS) ส่งผล
โดยรวม (DE=0.844***)

จากผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของตัวแปรที่มีต่อ
ความตั้งใจซื้อ โดยจะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลเชิงโครงสร้างของคุณค่าตรา
สินค้าในฐานะตัวแปรคน่ั กลางที่เช่อื มโยงระหวา่ งสว่ นประสมทางการตลาดสูค่ วามต้ังใจซ้ือ

จากตารางท่ี 3 แสดงใหเ้ ห็นว่า สว่ นประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อคณุ ค่าตราสนิ คา้ และความตั้งใจ
ซ้อื รถยนต์โตโยต้าฝัง่ ธนบรุ ี กรุงเทพมหานคร

ผลการวิเคราะห์อิทธิพลคั่นกลางที่เป็นตัวแปรที่เข้ามาเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและ
ตัวแปรตามโดยที่มีตัวแปรคั่นกลางที่จะนำมาอธิบายอิทธิพลทางอ้อม ซึ่งผลการทดสอบอิทธิพลทางอ้อมจะ
ปรากฏตามตารางที่ 4

ตารางท่ี 4 ผลการทดสอบอิทธพิ ลคั่นกลาง

สมมติฐานการวิจยั (Hypothesis) Effect Boot Boot Boot

SE LLCI ULCI

H3 คุณค่าตราสินค้าเป็นปัจจัยคั่นกลางระหว่างส่วนประสม

ทางการตลาดกับความตงั้ ใจซ้อื .4972 .0505 .1025 .6006

จากตารางที่ 7 แสดงให้เห็นว่า คุณค่าตราสินค้าในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างส่วนประสมทาง

การตลาดกับความตั้งใจซื้อของผู้ใช้รถยนต์โตโยต้าฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีค่าผลคูณของสัมประสิทธิ์ของ

ล่าง (Boot LLCI) อยู่ที่ .4025 และขอบบน (Boot ULCL) อยู่ที่ .6006 แสดงให้เห็นว่า คุณค่าตราสินค้ามี

อทิ ธพิ ลในการเช่ือมโยงส่วนประสมทางการตลาดให้ผู้บรกิ ารเกดิ ความตัง้ ใจซื้อสนิ ค้าเพ่ิมขน้ึ

5. สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1. สรปุ และอภปิ รายผล
ส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อคุณค่าตราสินค้า โดยสอดคล้องกับงานวิจัยของ Al-

Dmour, Al-Zu'bi & Kakeesh (2013). ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อ
คุณค่าตราสินค้าโดย ด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ การส่งเสริมการตลาด บุคคล ลักษณะทางกายภาพ และ
กระบวนการ มีอิทธิพลต่อ การรับรู้แบรนด์ของคณุ ค่าตราสินค้า และด้านผลติ ภัณฑ์หรือบริการ ราคา สถานที่
การส่งเสริมการตลาด และกระบวนการ มีอิทธิพลต่อ ภาพลักษณ์แบรนด์ของอิทธิพลคุณค่าตราสินค้า และ
ผลิตภณั ฑห์ รอื บริการ ราคา การสง่ เสรมิ การตลาด บุคคล ลกั ษณะทางกายภาพ และกระบวนการ มอี ิทธพิ ลต่อ

393 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การรับรู้คุณภาพ สุดท้าย ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ราคา สถานที่ การส่งเสริมการตลาด และกระบวนการ มี
อทิ ธพิ ลต่อความภักดีตราสินค้าของคณุ ค่าตราสินคา้ อย่างนัยสำคัญทางสถิติ

ปจั จยั คุณค่าตราสินค้ามีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อ โดยสอดคล้องกับงานวิจัยของ Tharmi (2011). ผล
การศึกษาพบว่า คุณค่าตราสินค้า (Brand Equity: BE) ด้านการรับรู้แบรนด์ ด้านการรับรู้คุณภาพ และด้าน
การเชื่อมโยงแบรนด์มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการซื้อ (Purchase Intention: PI) ในระดับสูงต่อการ
เลือกซื้อสบู่เด็ก แต่การวิเคราะห์สหสัมพนั ธ์ของ Pearson ไดส้ ำรวจความสัมพันธ์เชิงเส้นท่ีมีนัยสำคัญเชิงบวก
ระหว่างคุณค่าตราสินค้าและความตัง้ ใจในการซือ้ หมายความว่าความตัง้ ใจในการซื้อของลูกคา้ สำหรับการซอ้ื
สบู่เด็กที่มีตราสินค้าสามารถคาดการณ์ลักษณะการซื้อของลูกค้าตามคุณค่าตราสินค้าได้ โดยค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้าและความตั้งใจในการซื้อบ่งชี้ว่าคุณค่าตราสินค้าของลูกค้ามีประโยชน์ต่อ
การรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงในความตั้งใจซื้อของลูกค้า ซึ่งสอดคล้องกับ Raza et al. (2018) ผลการศึกษา
พบว่า คณุ ค่าตราสนิ ค้าด้านความภักดีต่อตราสนิ คา้ ดา้ นการรับรถู้ ึงตราสนิ ค้า และด้านความชอบในตราสินค้า
มีนัยสำคญั ทางสถติ ิมผี ลกระทบเชงิ บวกต่อความต้ังใจซ้ือ โดยความภกั ดีตอ่ แบรนดม์ ผี ลตอ่ ความตงั้ ใจในการซื้อ
มากที่สุดรองลงมาคือด้านความชอบในแบรนด์และด้านการรับรู้แบรนด์ได้รับอิทธิพลน้อยที่สุด นอกจากน้ี
ผลการวิจัยพบว่าการตลาดของผู้ประกอบการกลั่นกรองความสัมพันธ์ของความภักดีต่อตราสินค้าก ารรับรู้ถึง
ตราสนิ ค้าและความชอบในตราสนิ ค้ากบั ความต้งั ใจซอ้ื ของผบู้ รโิ ภคท่ีมีตอ่ แบรนด์ FMCG ในปากีสถาน อย่างไร
ก็ตามภาพลักษณ์ของแบรนด์ไม่ได้มีอิทธิพลต่อความตง้ั ใจในการซื้อและการตลาดของผู้ประกอบการไม่ได้ปรับ
ความสมั พนั ธ์กับความต้ังใจในการซ้ือเกย่ี วกบั แบรนด์ FMCG ในปากสี ถาน

5.2 ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบาย
1. อิทธพิ ลของส่วนประสมทางการตลาด ส่งผลต่อการตดั สนิ ใจซื้อมากกวา่ อิทธิพลทางอ้อมท่ี

ส่งยังไปยังคุณค่าตราสินค้า แสดงว่าปัจจุบันผู้ซื้อรถยนต์โตโยต้าไม่ได้สนใจคุณค่าตราสินค้าต่อการเลือกซื้อ
รถยนต์เท่าส่วนประสมทางการตลาด องค์กรควรใส่ใจในเรื่องของการส่งเสริมทางการตลาดที่มากขึ้นเพื่อเป็น
การเสริมสร้างจุดแข็ง และด้านบุคลากรที่ต้องมีใจรักในการบริการ มีความรู้เรื่องเครื่องยนต์ที่สามารถตอบ
คำถามตอ่ ผู้เขา้ มาเลือกซ้อื ได้ สรา้ งความนา่ ประทับใจให้กบั ลกู ค้าได้ดี

2. บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ควรใส่ใจในเรื่องของการรับรู้คุณค่าที่มากขึ้น เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ท่ี
เลือกซื้อรถยนต์โตโยต้ามาจากการที่ลูกค้าเปรียบเทียบคุณสมบัติของรถยนต์ก่อนการตัดสินใจซื้อ ดังนั้นบริษัท
ควรมีการทำโฆษณาหรือการทำประชาสัมพันธส์ ่ือบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ คณุ สมบัตทิ ีแ่ ตกต่างของโตโยต้ากับ
แบรนด์อ่ืนเพื่อเป็นการสร้างความนา่ เชื่อถือให้ลูกค้าได้รบั รู้มากยงิ่ ขึน้

394 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

5.3 ข้อเสนอแนะเพอ่ื การวจิ ยั ในครัง้ ต่อไป
1 การวิจัยครั้งต่อไปควรทำการวิจยั ในเชงิ ลึกด้านคณุ ภาพ เพอ่ื ให้ได้ข้อมลู ท่ีมีคุณภาพมากขึ้น

สำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดทางด้านการตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ในด้านการแข่งขันอย่างตรงจุด ตรง
ประเด็น ต่อการเปลย่ี นแปลงไปของทศิ ทางตลาดในอนาคต

2 ควรนำโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยของคุณค่าตราสินค้าสู่ความตั้งใจซื้อรถยนต์โตโยต้า
ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมด้านอื่นตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อเพิ่มความได้เปรียบทางด้านการ
แข่งขันด้านแบรนด์

3 สำหรับการวิจัยในครั้งต่อไปควรศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 7C ของลูกค้า เพื่อจะได้
ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงไปของทิศทางตลาดและเพื่อปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่เกิดขึ้นได้
อย่างย่ังยืน

เอกสารอ้างอิง

ไทยรัฐ. (2563). โตโยต้าแถลงยอดขายรถยนต์ปี 2563. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. จาก
https://www.thairath.co.th/business/economics/2023877.

บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด. (2563). โตโยต้าแถลงยอดขายตลาดรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2562
พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมคงอยู่ในระดับ 1 ล้านคัน. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564 จาก
https://www.toyota.co.th/prdatabase/detail/Y4mLbkOk.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). คาดยอดผลิตรถยนต์ไทยปีนี้ลดลง 21-25% ต่ำสุดในรอบ 9 ปี. [ออนไลน์] ค้น
เ ม ื ่ อ 1 0 ม ก ร า ค ม 2 5 6 4 จ า ก https://www.efinancethai.com/LastestNews/
LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=bWg1MmwzZGtNVUU9.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New
York, NY: Free Press.

Al-Dmour, H., Al-Zu'bi, Z., & Kakeesh, D. (2013). The Effect of Services Marketing Mix Elements
on Customer-Based Brand Equity: An Empirical Study on Mobile Telecom Service
Recipients in Jordan. International Journal of Business and Management, 8(11), 13-
26.

Barwise, P. (1993). Brand equity: Snark orboojum. International Journal of Research in
Marketing, 10(1), 93-104.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (2013). A First Course in Factor Analysis. (2nd Edition), Psychology
Press, Hove.

395 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Hair Jr, J. F., Sarstedt, M., Ringle, C. M., & Gudergan, S. P. (2018). Advanced issues in partial
least squares structural equation modeling. Sage publications.

Howard, A. D. (1 9 9 4 ) . A detachment-limited model of drainage basin evolution. Water
Resources Research, 30(7), 2261-2286.

Kotler, P., & Armstrong, G. (1996). Principles of marketing. EngleWoodCliffs, NJ.
Raza, M., Frooghi, R., Abd Rani, S. H. B., & Qureshi, M. A. (2018). Impact of brand equity drivers

on purchase intention: A moderating effect of entrepreneurial marketing. South Asian
Journal of Management Sciences, 12(1), 69-92.
Spears, N., & Singh, S. N. (2004). Measuring attitude toward the brand and purchase intentions.
Journal of Current Issues and Research in Advertising, 26(2), 53-66.
Tharmi, U. (2011). The Relationship of Brand Equity to Purchase Intention. The IUP Journal of
Marketing Management, 11(2) 7-26.

396 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลกระทบในการดำเนินงานทางการเงนิ จากการใช้เทคโนโลยคี วิ อาร์โค้ด
เพื่อรบั ชำระค่าสินคา้ และบรกิ าร :กรณีศึกษาผปู้ ระกอบการสม้ โอในอมั พวา
The Impact of financial performance to use of the QR-Code technology
to receive payments for goods and services: Case Study of pomelo

operators in Amphawa

วีรกิจ อุฑารสกุล1 ก่งิ กาญจน์ จารกุ รณุ า2 *และกุสมุ า สงั ขะกลุ 3
(Veerakij Utharnsakul, Kingkan Jarukana and Kusuma Sangkhakun

บทคัดยอ่

งานวจิ ยั นีม้ วี ัตถุประสงคเ์ พือ่ ศึกษาผลกระทบในการดำเนนิ งานทางการเงินจากการใชเ้ ทคโนโลยี ควิ อาร์โค้ด
เพื่อรับชำระค่าสินค้าและบริการ : กรณีศึกษาผู้ประกอบการส้มโอในอัมพวา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เกษตรกร
ชาวไร่ส้มโอ อาศัยอยู่ในตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 72 ราย โดยใช้วิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิใน 4 หมู่บ้านของผู้ประกอบการส้มโอในตำบลบางนางลี่ และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมี
โครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และ การ
วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การนำเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดมาใช้ในการรับชำระค่าสินค้าและบริการ :
กรณีศึกษาผู้ประกอบการส้มโอในอัมพวา ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนการรับ
ชำระคา่ สนิ ค้าและบริการดว้ ยคิวอารโ์ ค้ด (β = 0.41) และความเชอ่ื ม่ันในการใชง้ าน (β = 0.20) โดยมีค่าอำนาจการ
พยากรณ์ร้อยละ 23.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังต่อไปน้ี

Y =58.99 + 0.41(X1)** + 0.20(X2)**

คำสำคญั : เทคโนโลยีควิ อารโ์ ค้ด อตั ราผลตอบแทนจากการลงทนุ ความเชอ่ื มน่ั ในการเข้าใช้งานระบบควิ อารโ์ คด้

* 1, 2 อาจารย์ คณะวทิ ยาการจดั การ สาขาวิชาบญั ชี มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏนครปฐม 73000
Lecturer in Faculty of Management Science (Accounting). Nakhon Pathom Rajabhat University 73000
3 ผู้ประกอบการสม้ โอ ตำบลบางนางล่ี อำเภออมั พวา จังหวดั สมทุ รสงคราม 75110
Pomelo operators in Bang Nang Li sub district, Amphawa district, Samut Songkhram 75110

Corresponding author: [email protected]

397 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ABSTRACT

The research objective is to the impact of financial performance to use of the QR-Code
technology to receive payments for goods and services: Case study of pomelo operators in
Amphawa. The study samples composed of a case study of pomelo operators in Amphawa and
structured interviews were used as a tool to collect data from 72 pomelo owners. By sampling using
the formula for finding the sample population with the formula of Taro Yamane from the population
of 88 pomelo owners in Bang Nang Li Subdistrict, Amphawa District, Samut Songkhram Province. The
statistics used in data analysis were only the descriptive statistics, and the multiple regression analysis
(stepwise). The results of the research showed that the introduction of QR code technology to
receive payments for goods and services: case study of pomelo operators in Amphawa has affected
the financial performance of owners. This is based on the number of payments for goods and
services with QR code (β = 0.41) and confidence in use (β = 0.20) with a predictive power 23.10%
with significant difference of 0.05 the regression equation was

Y =58.99 + 0.41(X1) **+ 0.20 (X2)**

Keywords: QR Code Technology, return on investment (ROI), Confidence in using QR code system

Article history: Received 16 May 2021
Revised 1 August 2021
Accepted 4 August 2021
SIMILARITY INDEX = 0.00 %

398 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1. บทนำ

การทำธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนในอดีต เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและซับซ้อนเป็นอย่างมาก
สำหรับคนทั่วไป ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในด้านการเงิน หรือ FinTech มาช่วยในการทำ
ธรุ กรรมทางการเงินให้สะดวกสามารถใช้ รบั จา่ ย โอนเงินได้ง่ายมากข้นึ โดยมีเทคโนโลยตี า่ ง ๆ ทน่ี ำมาใช้ เช่น
เทคโนโลยีที่นำมาใช้กับธนาคาร (Internet Banking), ระบบการจ่ายเงินที่ดำเนินการด้วยเทคโนโลยี
(Payment Technology), สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency), การกู้ยืมเงินผ่านระบบเทคโนโลยี (Lending
Technology) รวมไปถึงเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์โค้ด (QR Code) (เพียร์ พาวเวอร์, 2562) ซึ่งรหัสคิวอาร์โค้ด
(QR Code) หรือ Quick Response Code นับเป็นเทคโนโลยีใหม่ของการจัดเก็บข้อมูลการถ่ายโอนและการ
รับรู้สามารถถอดรหัสได้ด้วยโทรศพั ท์มอื ถือในทกุ ที่ ทุกเวลา จึงถูกนำมาใชก้ ันอยา่ งแพร่หลายในแอพพลิเคช่ัน
ท่มี คี วามปลอดภัย อาทเิ ช่น การชำระเงนิ ค่าสาธารณปู โภคผ่านแอพพลิเคช่ันของสถาบันการเงิน การชำระเงิน
ผ่านรหสั คิวอาร์โค้ด กลายเป็นส่งิ สำคญั ในการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ทำให้เทคโนโลยที างการเงินเกิดข้ึน
ไดง้ า่ ยเพียงแค่มีโทรศัพทม์ อื ถือ (Ozkaya, Roxas, Bryant, and Whitson, 2015)

คิวอาร์โค้ดกับระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นกลไกสำคัญที่บุคคลและองค์กรนำมาใช้ ถือเป็นวิธีท่ี
ปลอดภัยและสะดวกสบายในการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต (Georgescu, 2006) สามารถใช้ระบบชำระเงิน
อิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องไปถึงธนาคารก็สามารถใช้เทคโนโลยีทางการเงินได้ ซึ่งการนำ
เทคโนโลยีการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ จะช่วยให้ลดอัตราการทุจริตในระบบการชำระเงินในปัจจุบัน ท้ัง
ในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา (Kabir, Saidin and Ahmi, 2015) นอกจากนี้ระบบการ
ชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ยังได้กลายเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่สำคัญในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งประสบ
ความสำเร็จทางธรุ กิจอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มแี นวโน้มท่ีจะเป็นท่ีนิยมอยา่ ง
มาก ซึ่งสถาบันการเงินได้มีทางเลือกในการให้บริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ
ให้กับลูกค้า เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต ธนาคารออนไลน์บนมือถือ และการชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด
(Oyewole, Gambo, Abba and Onuh, 2013) ส่งผลให้เทคโนโลยีการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่นิยมใน
การนำมาใชเ้ พิ่มมากข้นึ เทคโนโลยีทางการเงินไดเ้ ขา้ มามบี ทบาทเปน็ อยา่ งมากในทุกองคก์ ร ทั้งในดา้ นธรุ กรรม
ทางการเงิน การซื้อขายสินค้า การสื่อสาร และการศึกษา รวมถึงอาชีพเกษตรกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีการ
ชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ โดยการใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด มาช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนทาง
การเงิน และช่วยอำนวยความสะดวกเป็นอย่างมาก ทำให้ก้าวทันโลกในยุคปัจจุบัน ตามกรอบแนวคิดไทย
แลนด์ 4.0 และกา้ วเข้าสู่ “เกษตรยคุ ใหม่” ดงั นนั้ การนำเทคโนโลยีทางการเงินเขา้ มาใช้ จึงจำเป็นอย่างย่ิงต่อ
เกษตรกรในยุคปจั จบุ ัน

ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาเรื่องผลกระทบในการดำเนินงานทางการเงินจากการใชเ้ ทคโนโลยี
คิวอารโ์ ค้ดเพ่ือรับชำระค่าสนิ ค้าและบริการ (กรณศี ึกษาผู้ประกอบการส้มโอในอมั พวา) เนอ่ื งจากคณะผู้วิจัยได้
เล็งเห็นว่า ส้มโอขาวใหญ่ที่เป็นพันธุ์ผลไม้ดั้งเดิมของจังหวัดสมุครสงคราม มีลักษณะเด่นคือ ไม่มีเมล็ด กลีบ
ของเนื้อส้มโอเป็นสีน้ำผึ้ง เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคเนื่องจากมีรสชาติอร่อย และเป็นผลไม้ที่สร้างรายได้จาก

399 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การส่งออกได้เป็นอย่างมากให้กับเกษตรกรผู้ประกอบการส้มโอ และหนึ่งในผู้วิจัยเป็นผู้ทำไร่ส้มโอ ตำบลบาง
นางลี่ ที่จบจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมและได้รับการจ้างงานตามโครงการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ของ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และต่อมาได้รับการจ้างงานจาก องค์การบริหารส่วน
ตำบลบางนางล่ี โครงการ U2T จึงทำใหอ้ ยากหาแนวทางในการพัฒนาตอ่ ยอดความรใู้ นการทำธรุ กรรมทาง
การเงินผ่านเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด และนำความรู้ด้านเทคโนโลยีเข้าไปเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่
ชุมชนบ้านเกิดตามแนวคิดบัณฑิตคืนถิ่น ทางคณะผู้วิจัยจึงคิดว่าถ้าหากได้นำเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเข้ามา
ประยุกต์ใช้งานในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการส้มโอจะทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกและ
ได้รับผลดีมากขึ้น ทั้งด้านการยกเว้นค่าธรรมเนียมธนาคาร ด้านความปลอดภัย เนื่องจากไม่ต้องพกเงินสดไว้
กับตัวในจำนวนมาก ซึ่งในเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เป็นการทำธุรกรรมชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่ติดกับ
ตัวอยู่แล้ว ไม่ต้องใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่ต้องส่งให้ผู้อืน่ ไปรดู บัตรเพื่อชำระเงนิ ทำให้ปลอดภัยจากการ
โจรกรรมข้อมลู บัตร และยังเป็นการบันทึกการใช้จา่ ยเงินของตนเองไวใ้ นโทรศัพท์มือถอื ไดอ้ ีกทางหน่ึง

วัตถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั
เพื่อศึกษาผลกระทบในการดำเนินงานทางการเงินจากการใช้เทคโนโลยี คิวอาร์โค้ดเพื่อรับชำระค่า

สินค้าและบริการ : กรณีศึกษาผู้ประกอบการส้มโอในอัมพวา

สมมติฐานการวิจัย
1.จำนวนครั้งการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยคิวอาร์โค้ด (X1) ส่งผลต่อผลตอบแทนจากการ

ลงทนุ (ROI) (Y)
2. ความเชอื่ ม่ันในการใชง้ าน (X2) ส่งผลตอ่ ผลตอบแทนจากการลงทนุ (ROI) (Y)
3. ความสะดวกในการให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยคิวอาร์โค้ด( X3) ส่งผลต่อ

ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) (Y)

2. เอกสารและงานวิจัยทเี่ กย่ี วข้อง

2.1 การใช้งานเทคโนโลยคี วิ อาร์โคด้ (QR Code)
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาวิวัฒนาการและการเตบิ โตทางการเงนิ เป็นสิ่งทีม่ ีการพัฒนาเปน็ อยา่ ง

มาก เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและการใช้มาตรการกำกับดูแลที่สำคัญถูกนำมาใช้ทั่วโลก เช่น ลายเซ็น
อิเล็กทรอนิกส์และการติดต่อข้ามพรมแดน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตกำลังเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างและลักษณะของบริการทางการเงินไปอย่างมาก อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทำให้ผู้ให้
บริการทางการเงินรายใหม่สามารถแข่งขันกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยกี ำลงั เร่งการพัฒนาภาคการเงินโดยการลดต้นทุน เพิ่มความกว้างและคุณภาพ และขยายการเข้าถงึ
บริการทางการเงิน สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนของระบบภายในได้อย่างมากในหน้าที่ทาง

400 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ธุรกิจ เช่น การรายงานค่าใช้จ่าย การจัดการแรงงานตามสัญญา รวมถึงขั้นตอนและเวลาในการเรียกเก็บเงิน
(Shahrokhi, 2008) การพฒั นารหัสคิวอารโ์ ค้ดได้เกิดขึ้นและข้อมูลที่ใช้เข้ารหสั ควิ อาร์โค้ด อาจจะเปน็ ขอ้ ความ
URL หรือข้อมูลอื่น ซึ่งสามารถอ่านรหัสคิวอาร์โค้ดได้โดยการใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือ โดยปัจจุบัน
โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีใครเลยที่ไม่ใช้
โทรศัพท์มือถือ ในตัวโทรศัพท์มือถือก็ได้เพิ่มแรงจูงใจด้วยการมีแอพพลิเคชั่นต่างๆที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น รวมถึง
แอพพลิเคชั่นในการอ่านรหัสคิวอาร์โค้ดก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน (Lo, Coleman and Theiss, 2013) ในส่วนของ
ผู้บริโภคจะมีทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยีใหม่และปรับใช้ทันเหตุการณ์ เมื่อผู้บริโภครับรู้เทคโนโลยีที่มีประโยชน์
และสามารถใช้งานงา่ ย เขา้ ใจงา่ ย ซึ่งเทียบจากทฤษฎกี ารยอมรบั เทคโนโลยี หรอื Technology Acceptance
Model (TAM) ทีไ่ ดใ้ ห้ความสนใจไปทีแ่ รงจงู ใจในการใชป้ ระโยชน์ เชน่ การรับรู้ประโยชนแ์ ละการรับรูถ้ ึงความ
สะดวกในการใช้งานของผู้บริโภค การซื้อสินค้าในยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันสำหรับ
ผู้บริโภคบางคนไปแลว้ และโทรศัพทม์ ือถือเปน็ อปุ กรณท์ ่ใี ชท้ ุกวนั เปรยี บเสมือนอวัยวะอีกอย่างของมนุษย์เลยก็
ว่าได้ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ จะมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจยอมรับของผู้บริโภค
รวมถึงการใช้งานรหสั ควิ อาร์โค้ดในทางการคา้ ของผคู้ ้าปลีกเพื่อให้ผู้บรโิ ภคมีความสนุกสนานหรือความสะดวก
ต่อการซื้อสินค้ามากขึ้น (Ryu and Murdock, 2013) นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดจะนำมาใช้กับ
สินค้าทางการเกษตร เช่น การปลูกส้มโอ จะแสดงข้อมูล รายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตหรือสินค้า
เกษตร รวมทง้ั ยงั สามารถใสร่ ูปภาพของสินคา้ ทางการเกษตรเก่ียวกบั การเจริญเติบโตของตน้ ส้มโอและผลผลิต
ทางการเกษตรลงไปได้เรื่อย ๆ และสามารถตรวจสอบและติดตามผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ทำการจัดส่ง
สินค้าไปยงั ผซู้ ้ือได้

2.2 ผลตอบแทนจากการดำเนินงาน และผลตอบแทนจากการลงทนุ (ROI)
เป็นการวิเคราะห์ถึงอัตราส่วนระหว่างกำไรสุทธิหลังหักภาษี กับเงินลงทุน อัตราส่วนนี้เป็น

การวัดความสามารถในการทำกำไรของเงินลงทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน ว่าให้ผลตอบแทนจากการดำเนินงาน
ได้มากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูง แสดงถึงการใช้เงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีสมการที่ใช้ในการคำนวณ
คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) = กำไรสุทธิ ( Net Profit ) / เงินลงทุน (Investment) หรือ
ผู้ประกอบการอาจใช้การวเิ คราะห์หาจุดคุ้มทุนเปน็ แนวทางในการวางแผนการทำกำไรจากการดำเนินงานของ
เกษตรกรโดยมองที่ราคาขาย ต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปรของการประกอบกิจการเพื่อคำนวณหาจดุ ท่ที ำให้
ธุรกิจนั้นไม่กำไร หรือไม่ขาดทุน นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้ในการคำนวณหาจุดที่ธุรกิจต้องการขายสินค้า
หรือผลติ สนิ ค้าและมีกำไรตามท่ีต้องการได้ เพอ่ื เปน็ เครื่องมือชว่ ยในการวางแผนการผลิตและวางแผนปริมาณ
การขายของธรุ กจิ ได้

ซึ่งเกษตรกรชาวสวนส้มโอนั้นจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน คือ การได้เก็บเกี่ยวผลผลิต
จากต้นส้มโอที่ตนเองปลกู ขึ้นมา ในการคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนอาจต้องทำในหลาย ๆ ปีเพราะการ
ลงทุนทำสวนนัน้ สามารถหวังผลในระยะยาวได้มากกว่าการลงทุนแบบอื่น โดยในปีแรก ๆ นั้นการทำกำไรของ

401 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เกษตรกรชาวไร่สวนส้มโอน้ันขาดทุนเป็นส่วนใหญ่การคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนจึงจะเห็นผลในปีหลัง
ๆ นั้นเอง ซึ่งการเลือกลงทุนนั้นผู้จัดการสวนจะต้องประเมินการลงทุนทางเลือกพิจารณาว่าการลงทุนนั้นทำ
กำไรไดห้ รอื ไม่ และตดั สินใจว่าจะยอมรับความเสี่ยงทไี่ ด้จากการลงทนุ ได้มากน้อยเพยี งไร (Gloy and Ladue,
2003)

2.3 เทคโนโลยคี ิวอารโ์ คด้ (QR Code) กับผลการดำเนินงานทางการเงนิ
การใช้บาร์โค้ดได้ขยายตัวเข้าสู่การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและได้เริม่ มีบทบาทในร้าน

ขายของชำหรือร้านค้าสะดวกซื้อทัว่ ไป ในช่วงคริสต์ศักราช 1970 ได้เปลี่ยนรายการสินค้าในร้านขายของเป็น
แบบอัตโนมัติ ทำให้เกิดความสะดวกสบายสำหรับผู้จำหน่ายและผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันรหัสบาร์โค้ดถูก
นำมาใช้เพือ่ ระบุตัวตนในธุรกิจมากมาย เกือบทุกประเภท ต่อมาได้มีการพฒั นาการใช้ QR Code หรือ Quick
Response Code คือ บาร์โค้ด 2 มิติ ประเภทหนึ่งที่สามารถอ่านได้โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด QR หรือ
โทรศัพท์มือถือที่ใช้กล้องถ่ายรูปพร้อมซอฟต์แวร์อ่าน QR Code ได้ ซึ่ง QR Code สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งใน
แนวตั้งและแนวนอนซึ่งเป็นสาเหตุที่เรียกว่าบาร์โค้ด 2 มิติ ทำให้ได้มีการนำ QR Code นั้นมาใช้ในการทำ
เกษตรกรรมและการทำสวน ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปลูก ความอันตรายที่อา จเกิดจากพืช
เหล่านั้น หรือเคล็ดลับสูตรอาหารต่าง ๆ (Várallyai, 2013) ทั้งนี้ QR Code ยังมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ค้า
ปลกี เน่อื งจากเป็นประตสู ู่ปฏสิ ัมพันธ์ของผู้บรโิ ภคที่รวดเร็วและสะดวกสบาย ผคู้ า้ ปลกี สามารถติด QR Code
ไว้กับวัตถุเกือบทุกชนิดโดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยรวมเข้ากับสื่อทั่วไป เช่น โฆษณาทางทีวีหรือโฆษณา
สิ่งพิมพ์เชื่อมต่อกับลูกค้าทางออนไลน์ได้ทันที และปรับเปลี่ยนเนือ้ หาที่ฝังอยู่ในโคด้ ได้งา่ ยตามต้องการ ทำให้
ผู้บริโภครับข้อมูลผลิตภัณฑ์ รับข้อเสนอส่งเสริมการขาย ซื้อสินค้าออนไลน์และสัมผัสประสบการณ์ในการซ้ือ
ขายสินค้าที่ดีขึ้น (Ryu and Murdock, 2013) การเพิ่มขึ้นของบริการต่าง ๆ ที่สมาร์ทโฟนสามารถให้ได้ ซ่ึง
รวมถึงความสามารถในการใช้การแลกเปลี่ยนทางการเงินด้วย QR Code ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีหลักใน
อนาคตของการชำระเงนิ ผ่านมอื ถือ (Ugwu and Mesigo, 2015)

กรอบแนวคดิ ในการวิจัย
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกย่ี วข้อง เพื่อวเิ คราะหผ์ ลกระทบในการดำเนินงานทางการเงินจากการ

ใช้เทคโนโลยีควิ อารโ์ คด้ เพ่อื รบั ชำระค่าสนิ คา้ และบริการ สามารถกำหนดกรอบแนวคิดจากการวิจัยได้ดงั นี้

แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวจิ ัย

402 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3. วิธีดำเนินการวจิ ยั

3.1 แบบแผนการวิจัย
ศึกษาข้อมูลและค้นคว้าข้อมูลบทความวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากฐานข้อมูล Online

ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เช่น ฐานข้อมูล Emerald Management (EM92) และ Google Scholar เป็น
ต้น ซึ่งเปน็ บทความทางวิชาการและบทความงานวิจัย จำนวนทั้งส้ินประมาณ 50 บทความ และสามารถนำมาใช้ได้
จริง 28 บทความ เพื่อกำหนดกรอบแนวคดิ ของการวจิ ยั

3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการผู้มีอาชีพปลูกส้มโอ ในพื้นที่ตำบลบางนางลี่ อำเภอ

อมั พวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมจี ำนวน 88 ราย โดยผปู้ ระกอบการผู้มีอาชีพปลูกส้มโอมีประสบการณ์ ในการใช้
เทคโนโลยีควิ อารโ์ ค้ดมาประมาณ 2-3 ปี กลุม่ ตวั อย่างที่ใช้ในการศึกษาคร้ังน้ี คอื ผูป้ ระกอบการผู้มีอาชีพปลูกส้มโอ
ในพื้นที่ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro
Yamane ได้จำนวน 72 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตวั อยา่ งแบบแบ่งชั้นภูมใิ น 4 หมู่บา้ นของผู้ประกอบการสม้ โอในตำบล
บางนางล่ี อำเภออมั พวา หม่บู า้ นละ 18 ราย

3.3 เคร่อื งมอื วจิ ยั
คณะผวู้ จิ ัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการทำวิจัย โดยใชส้ ถิติเชิงปริมาณ สำหรับการศึกษา

ผลกระทบในการดำเนินงานทางการเงินจากการใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเพื่อรับชำระค่าสินค้าและบริการ
(กรณีศึกษาผู้ประกอบการส้มโอในอัมพวา) โดยคณะผู้วิจัยทำการร่างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างโดยเน้นข้อมลู
เชิงปริมาณจากการศึกษาค้นคว้าบทความวิจัยต่าง ๆ ที่ได้จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีกรอบแนวคิดที่ประกอบ
ไปด้วยคำถามในแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ดังนี้ จำนวนการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยคิวอาร์โคด้ (X1)
ความเชื่อมั่นในการใช้งาน (X2) และความสะดวกในการให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการดว้ ยคิวอาร์โค้ด (X3)
ทีส่ ง่ ผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) (Y)

3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นการดำเนินการวจิ ัยในรูปแบบของการสัมภาษณ์ โดยมกี ารเก็บแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจาก

ชาวสวนส้มโอ ในอำเภออัมพวา ซ่ึงแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจะเกี่ยวกับข้อมลู ท่ัวไปของผู้ตอบ และลักษณะใน
การประกอบธุรกิจ โดยเป็นแบบเข้าสัมภาษณ์ตามบ้านต่าง ๆ และนำผลที่ได้จากการลงพื้นท่ี ในการสำรวจข้อมูล
การวิจัยเชิงปริมาณทำการวิเคราะห์ และการพัฒนาผลการดำเนินงานของเกษตรกรชาวไร่ส้มโออัมพวา และเพื่อ
เปน็ การยืนยันกรอบแนวคิดและการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ ท่ีนำมาศึกษาโดยนำผลมาวิเคราะห์เป็นตัวแบบโครงสร้าง
ตวั แปร

403 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3.5 การวเิ คราะหข์ ้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติที่เป็นสถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานจากการตอบแบบ

สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างของชาวไร่ส้มโอในอัมพวา เกี่ยวกับผลกระทบในการดำเนินงานทางการเงินจากการใช้
เทคโนโลยีควิ อารโ์ ค้ดเพื่อรับชำระค่าสนิ ค้าและบริการ เมอื่ ไดท้ ำการเกบ็ รวบรวมข้อมูลเปน็ ที่เรียบร้อยแล้ว ผ้วู ิจยั ได้
ดำเนินการกำหนดสถติ ทิ ี่มี ความเหมาะสม และสอดคล้องกบั ข้อมูลทางสถิติ เพอื่ ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยท่ีได้
ตั้งไว้โดยสถติ ิที่ใชใ้ นการวิเคราะหข์ ้อมลู ประกอบดว้ ย 2 สว่ นดงั นี้

สถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผวู้ จิ ัยไดน้ ำสถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณนามาใช้ เพอื่ การอธิบายบรรยาย
ถึงคุณสมบัติ หรือลักษณะของการแจกแจงข้อมูลตัวแปรตามปัจจัยด้านคุณลักษณะของกลุ่มโดยแบ่งข้อมูลเชิง
พรรณนาเปน็ 3 ดา้ นดงั น้ี

1.ประสบการณ์ในการปลูก 2. พื้นที่ในการปลูกส้มโอ และ 3. แหล่งที่มาของเงินทุน โดยแสดงข้อมูลอยู่ใน
รปู แบบของความถ่ีและคา่ ร้อยละ (Martina, Shamadiyah, and Praza, 2018)

สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressions) ผู้วิจัยได้นำการวิเคราะห์การถดถอย
พหุคูณ นำมาใช้เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรอิสระ (X) หลายตัว ที่มีต่อตัวแปรตามเพียง 1 ตัว (Y) (Davis,
Gaburici and Hare, 1998)

4. ผลการวิจัย

4.1 ผลการวเิ คราะห์จากสถติ เิ ชิงพรรณนา
ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ เป็นผู้ประกอบการผู้มีอาชีพปลูกส้มโอ โดยมีประสบการณ์ในการ

ปลูกส้มโออยู่ระหว่าง 1-10 ปี คิดเป็นร้อยละ 54.17 มีพื้นที่ในการปลูกส้มโอ ระหว่าง 1-10 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
65.28 และมีแหล่งที่มาของเงินทุนมาจากเงินทุนส่วนตัว คดิ เป็นร้อยละ 88.89 ลำดับรองลงมาจะเป็นผู้ประกอบ
ท่ีมีประสบการณ์ในการปลูกส้มโออยู่ระหวา่ ง 11-20 ปี คิดเปน็ ร้อยละ 33.33 และมปี ระสบการณ์ในการปลูกส้ม
โอตั้งแต่ 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 12.5 ตามลำดับ โดยมีพื้นที่ในการปลูกส้มโอรองลงมา ระหว่าง 11-20 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 30.56 และมพี ื้นทใี่ นการปลูกส้มโอต้งั แต่ 20 ไร่ขน้ึ ไป คดิ เป็นร้อยละ 4.17 ตามลำดบั ซ่ึงมแี หล่งท่ีมาของ
เงินทุนมาจากธนาคาร/สหกรณ์ คิดเป็นร้อยละ 5.56 จากญาติพี่น้อง คิดเป็นร้อยละ 4.17และแหล่งเงินทุนจาก
กองทนุ หมู่บา้ น คดิ เป็นรอ้ ยละ 1.39 ตามลำดบั

เมื่อพิจารณาปัจจัยทสี่ ่งผลกระทบในการดำเนินงานทางการเงินจากการใช้เทคโนโลยคี ิวอาร์โค้ดเพื่อ
รับชำระค่าสินค้าและบริการ พบว่าปัจจัยด้านความเชื่อมั่นในการใช้งาน และจำนวนการรับชำระค่าสินค้าและ
บริการดว้ ยคิวอาร์โค้ด อยู่ในระดับมาก ส่วนปจั จยั ด้านความสะดวกในการให้บริการรับชำระค่าสนิ ค้าและบริการ
ดว้ ยควิ อาร์โค้ด อยใู่ นระดับนอ้ ย

404 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

4.2 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
การวิเคราะหก์ ารถดถอยเชิงพหคุ ูณเป็นการศึกษาความสัมพนั ธ์ระหว่างตวั แปรอิสระหลายตัว

กับตัวแปรตาม 1ตัว เพื่อศึกษาว่ามีตัวแปรอิสระตัวใดบ้างที่ร่วมกันทำนายหรือพยากรณ์ หรืออธิบายการผัน
แปรของตวั แปรตามได้ผลดงั นี้

ตารางที่ 1 ผลการวเิ คราะห์การถดถอยพหุคณู แบบ Multiple Regression Stepwise

ตวั แปร B S.E. Beta
0.41**
จำนวนการรับชำระคา่ สนิ ค้าและบริการดว้ ยควิ อารโ์ ค้ด (X1) 1.72 .656 0.20**
ความเช่ือม่ันในการใชง้ าน (X2) 2.81 .833

R2 = .231 F = 14.080 sig = .000

* ระดับนัยสำคัญทางสถติ ิที่ระดบั 0.01

จากตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Multiple Regression Stepwise พบว่า
ผลตอบแทนจากการลงทุนจะขึน้ อยูก่ บั ตวั แปรอสิ ระ2 ตัว ได้แก่ จำนวนการรบั ชำระค่าสินคา้ และบรกิ ารด้วย

คิวอารโ์ คด้ (β = 0.41) และค่าความเช่ือมั่นในการใช้งาน (β = 0.20) มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 23.10
อยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถิติท่รี ะดับ 0.05 ซึง่ สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังต่อไปน้ี (Y) =58.99 + 0.41(X1)
+ 0.20(X2) ซึ่งมีผลเป็นไปในทิศทางเดียวกับงานวิจัยที่เคยผ่านมาตามแนวคิดของ Podilchuk (2013) และ
Cerulli and Potì (2013)

สำหรับตัวแปรอิสระในเร่ืองความสะดวกในการให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยคิวอารโ์ ค้ด
(X3) ถือว่าเป็นตัวแปรที่ไม่ส่งผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุน อาจเนื่องมาจากข้อมูลที่ได้สัมภาษณ์
ผู้ประกอบการส้มโอได้ให้ความเห็นเรื่องของความสะดวกในการให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยควิ
อาร์โค้ดนั้นบางครั้งไม่สามารถทำได้เนื่องจากความคล่องตัวในการหยิบใช้อุปกรณ์ รวมถึงการเกิดปัญหาจาก
สัญญาณอินเตอรเ์ นต็ ที่ขดั ข้องระหวา่ งการใชง้ านด้วยควิ อารโ์ ค้ด

5. สรุป อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ

5.1. สรุปและอภิปรายผล
การวจิ ัยเรือ่ งผลกระทบในการดำเนินงานทางการเงินจากการใช้เทคโนโลยคี วิ อาร์โคด้ เพ่ือรับชำระ

ค่าสินค้าและบริการ (กรณีศึกษาผู้ประกอบการส้มโอในอัมพวา) ผลการวจิ ยั พบว่า ปจั จัยทีด่ ีท่ีสุดท่ีส่งผลต่ออัตรา
ผลตอบแทนจากการลงทนุ จำนวน 2 ปจั จยั คอื ความเช่อื ม่ันในการใช้งาน (X2) และจำนวนการรับชำระค่าสินค้า
และบริการด้วยคิวอาร์โค้ด (X1) สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลกระทบในการดำเนินงานทางการเงิน จากการใช้
เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเพื่อรับชำระค่าสินค้าและบริการ (กรณีศึกษาผู้ประกอบการส้มโอในอัมพวา) อย่างมี
นัยสำคญั ทางสถติ ทิ ร่ี ะดับ 0.05 ตามลำดับ

405 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลการวิจัย พบว่า ความเชื่อมั่นในการใช้งาน (X2) เป็นตัวแปรที่ดีที่สุดที่สามารถพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อ
ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) (Y) พบว่า ความเชื่อมั่นในการใช้งานมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนจาก
การลงทุน ตามแนวคิดของการหาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนจะไดผ้ ลการวิเคราะหว์ ่า ความเชื่อม่ันในการใช้
งานของนวัตกรรมสมัยใหม่จะส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Cerulli and Potì, 2013) เนื่องจากจะ
ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานทางการเงินของผู้ประกอบการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการรู้สึกถึงความยุติธรรมและ
ความโปร่งใสในการใช้บริการทางการเงิน จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้งานของผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถ
อธบิ ายไว้วา่ ความเชอ่ื ม่ันในการใช้งานนวตั กรรมทางการเงินของผู้ประกอบการส่งผลต่อการเพมิ่ ประสิทธิภาพการ
จัดการเงินลงทุน สามารถแสดงให้เห็นว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนของกลุ่มผู้ประกอบการสวนส้มโอ ได้รับ
ผลกระทบจากความเช่ือมนั่ ในการใช้งาน

ในประเด็นจำนวนการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยคิวอาร์โค้ด (X1) เป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่สามารถ
พยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุน และเป็นไปตามแนวคิดของงานวิจัยที่ผ่าน ๆ มาเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ทางเทคโนโลยีกับการเพิ่มขน้ึ ของอตั ราผลตอบแทนและในนวัตกรรมบางประเภทจะมผี ลต่อการเพิ่ม
สภาพคล่องทางการเงิน (Podilchuk, 2013) เนื่องจากในปัจจุบันโลกมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น ซ่ึง
การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยคิวอาร์โค้ด ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เกิดสภาพ
คล่องของผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า เทคโนโลยีทางการเงินเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยใน
การจดั การสภาพคล่องและช่วยสร้างกำไร เพม่ิ ผลตอบแทนจากการลงทุนในกลมุ่ ผูป้ ระกอบการสวนสม้ โอ

5.2 ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย
1. ผปู้ ระกอบการสม้ โอควรต้องนำเอาเทคโนโลยีควิ อารโ์ ค้ดเพ่ือรับชำระค่าสินค้าและบริการไปใช้

เป็นเครื่องมอื ในการจัดการสภาพคล่อง และช่วยสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ
2. การประกอบการปลูกส้มโอ ควรต้องจัดให้มีหน่วยงานทีม่ ีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาดูแล หรือต้องมี

การรวมศูนย์ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำความเข้าใจ เข้าถึง และการนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับ
เทคโนโลยีทางการเงินให้กับเกษตรกร ที่จะสามารถนำไปพัฒนาและต่อยอดในธุรกิจต่อไป หรืออาจมีการ
นำเสนอข้อมูลสารสนเทศทางด้านการตลาด ให้กับเกษตรกรโดยการใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ และมี
ข้อเสนอแนะทางด้านการตลาด ราคาสินค้าทางการเกษตร ปริมาณความต้องการผลิตผล เช่น การพยากรณ์
แนวโน้มและความต้องการ การควบคมุ ปริมาณ การผลิตใหส้ อดคลอ้ งกบั ความต้องการ

3. อาจสนับสนุนให้มีการร่วมลงทุนระหว่างเกษตรกรกับกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมและ
ศักยภาพในการยกระดับความสามารถทางการตลาดและการขยายช่องทางในการจัดจำหน่าย โดยการร่วม
ลงทุนหรือให้ทุนสนับสนุนในลักษณะของ FIN TECH หรือ Startup เพื่อกระตุ้นให้เกิด Smart Farmer ตาม
นโยบาย Thailand 4.0

406 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

5.3 ข้อเสนอแนะเพอ่ื การวิจยั ในครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาปัจจัยด้านอื่น ๆ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่นอกเหนือจากงานวิจัย ผลกระทบการ

ดำเนนิ งานจากการนำเทคโนโลยี QR-Code มาใชร้ ับชำระค่าสนิ ค้าและบริการ เช่น อปุ สรรคในการใช้งานระบบการ
รบั ชำระเงินผ่าน QR Code ของเกษตรกร เป็นตน้

2. ควรมกี ารศกึ ษากับกลุ่มตวั อย่าง และประชากรในสถานทที่ ี่แตกต่างกัน เชน่ การศกึ ษาในจังหวัดอื่น
หรือพื้นที่อื่น ๆ เพื่อนำมาทำการเปรียบเทียบกับงานวิจัยฉบับนี้ ซึ่งผลที่ได้นั้นสามารถนำมาปรับปรุง พัฒนา และ
สามารถกำหนดแนวทางการรบั ชำระเงินผา่ นระบบ QR Code ท่ตี รงกับความคาดหวังของผู้ประกอบการไดด้ ีข้นึ

3. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างการรับชำระเงินเป็นเงินสดและการรับชำระเงิน
ผ่านระบบคิวอาร์โค้ดเพื่อนำผลการวิจัยมาหาข้อแตกต่างและนำไปพัฒนาระบบการรับชำระเงิน เพื่อให้ได้ข้อมูล
ครบถ้วนและเป็นประโยชน์มากทสี่ ุด

เอกสารอา้ งองิ

เพียร์ พาวเวอร์. (2562). ฟนิ เทค (Fintech) เทคโนโลยีทางการเงิน. [ออนไลน์] คน้ เมือ่ 20 มนี าคม 2564
จาก https://www.peerpower.co.th/blog/investor/invest/fintech-technology/

Cerulli, G. and Potì, B. (2013). Managerial capacity in the innovation process and firm
profitability: Evidence for Italy. Università Della Calabria, 17.

Davis, J. R., Gaburici, A. and Hare, P. (1998). Understanding the Determinants of Private Farmers’
Access to Credit. Heriot-Watt University, 14, 2-44.

Georgescu, M. and Georgescu, L. (2006). The emergence of electronic payment systems for
the growth of e-business. Retrieved March 20, 2021 from
https://www.researchgate.net/publication/228318542, 1-10.

Gloy, B. and Ladue, E. (2003) Financial Management Practices and Farm Profitability.
Agricultural Finance Review. 63. 157-174. DOI: 10.1108/00215060380001147.

Kabir, M., Saidin, S. Z. and Ahmi, A. (2015). Adoption of e-Payment Systems: A Review of
Literature. Paper presented at the meeting of the International Conference on
E-Commerce, Kuching, Sarawak

Lo, L., Coleman, J. and Theiss, D. (2013). Putting QR codes to the test. New Library World,
114 (11/12), 459-477. DOI 10.1108/NLW-05-2013-0044

Martina, Shamadiyah, N. and Praza, R. (2018). The Contribution of Revenue and
Consumption Cost of Soybean Farmers in Muara Batu Subdistrict Aceh Utara.
Emerald Reach Proceedings Series, 1, 289-294. DOI:10.1108/978-1-78756-793-1-00014

407 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Oyewole, O. S., Gambo, M. J., Abba, M. and Onuh, M. E. (2013). Electronic Payment System
and Economic Growth: A Review of Transition to Cashless Economy in Nigeria.
International Journal of Scientific Engineering and Technology, 2(9), 913-918.

Ozkaya, E., Ozkaya, H. E., Roxas, J., Bryant, F. and Whitson, D. (2015). Factors affecting consumer
usage of QR codes. Journal of Direct, Data and Digital Marketing Practice, 16(3),
209-224. DOI:10.1057/dddmp.2015.18

Podilchuk, Z. (2013). Impact of liquidity management. Kyiv School of Economics, 15, 1-34.
Ryu, J. and Murdock, K. (2013). Consumer acceptance of mobile marketing communications

using the QR code. Journal of Direct Data and Digital Marketing Practice. 15. 111-
124. DOI:10.1057/dddmp.2013.53.
Shahrokhi, M (2008). E-finance: status, innovations, resources and future challenges.
Managerial Finance, 34 (6), 365-398. DOI 10.1108/03074350810872787
Ugwu, C. and Mesigo, T. (2015). A Novel Mobile Wallet Based on Android OS and Quick
Response Code Technology. International Journal of Advanced Research in
Computer Science and Technology. 3. 85.
Várallyai, L. (2013). From Barcode to QR Code Applications. Journal of Agricultural
Informatics. 3.(2).9-17. DOI:10.17700/jai.2012.3.2.92.

408 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การบริหารความเสี่ยงของผ้พู ักอาศัยอาคารชดุ ไอ คอนโด กรนี สเปซ สขุ มุ วทิ 77 เฟส 1
Risk Management Process of Occupants in I Condo Green Space
Sukhumvit 77 Phase 1

ณัฐนันท์ ขำดี*
(Natthanun Khamdee)

บทคดั ยอ่

การวจิ ัยครงั้ นีม้ ีวตั ถุประสงคเ์ พื่อศึกษาแนวคิดการบริหารความเสย่ี งในการบริหารจัดการกิจกรรมของ
นิติบุคคลของผู้พักอาศัยของ ไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขุมวิท 77 เฟส 1 โดยศึกษาจาก ลักษณะทาง
ประชากรศาสตร์ของผู้พักอาศัย และการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพของอาคารชุดอันประกอบด้วย
ปัจจัยด้านการบริหารจัดการสถานที่ (Place) กระบวนการปฏิบัติงาน (Process) และทรัพยากรบุคคล
(People) ซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่า มีความสัมพันธก์ ับการบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการกจิ กรรมอาคารชุด ใน
สว่ นประชากรในการศึกษานีค้ ือผู้พักอาศัยอาคารชุด ไอ คอนโด กรีนสเปซ สขุ ุมวิท 77 เฟส 1 ในปัจจุบนั และ
กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 216 คน จากนั้น จงึ รวบรวมขอ้ มลู จากแบบสอบถามเพื่อวเิ คราะห์ด้วยโปรแกรม
สำเร็จรูปคำนวณค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถ่ี ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การ
วิเคราะหค์ วามแปรปรวนแบบทางเดยี ว และ การวเิ คราะห์ถดถอยพหคุ ณู

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี สถานภาพ
โสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานธุรกิจเอกชน ช่วงรายได้ระหว่าง 15,001 – 30,000 บาท
ต่อเดือน ส่วนความเห็นต่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพ พบว่า การบริหารจัดการทรัพยากรทาง
กายภาพของอาคารชุดโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความ
คิดเห็นในระดับดีมาก คือ ด้านคนหรือบุคลากร รองลงมาคือ ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านสถานที่
ตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นในการการจัดการกับความเสี่ยงอาคารชุดของผู้พักอาศัยเมื่อพิจารณาเป็นราย
ด้านแล้วพบว่า ด้านที่มีระดับความเสี่ยงสูงมากที่สุด คือ การบริหารจัดการทางการเงินในประเด็นของการ
เรียกเก็บเงินผู้เช่าให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดความนา่ เชือ่ ถือ และเจ้าของอาคารไดร้ บั เงินครบถ้วน ประการต่อมาคอื
ดา้ นการจัดการความเสี่ยงการปฏบิ ัติการ ประเด็นท่มี ีระดบั ความเส่ียงสงู มากท่สี ุด คือ ประเดน็ ที่เจ้าหน้าที่ต้อง
ดแู ลรักษาอาคารตามทก่ี ฎหมายอาคารชุด และขอ้ บงั คบั ท่เี กี่ยวข้องตามทท่ี างราชการกำหนดไว้

* วิทยานพิ นธ์ หลกั สูตรบริหารธุรกจิ มหาบณั ฑติ มหาวิทยาลัยเวสเทิรน์ 12150 ภายใตก้ ารควบคุม
ของอาจารย์ ดร.พิชญะ อุทัยรตั น์
Thesis Master of Business Administration Program western university 12150
Corresponding author: [email protected]

409 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้นประเด็นที่มีระดับความเสี่ยงสูงมากที่สุดคือ การประชาสัมพันธ์ ให้ผู้พักอาศัยมี
ความเขา้ ใจตรงกนั ในการส่ือข้อความตามกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบงั คับของทางอาคารชดุ

คำสำคญั : การบรหิ ารความเสีย่ ง ผพู้ ักอาศัย อาคารชดุ

ABSTRACT

The objectives of this research were: to study personal information for residents that affect
condominium risk management: to study the level of physical resource management of buildings:
to study the level of condominium risk management: and to study the relationship between general
information and the risk management of occupants in I Condo Green Space Sukhumvit 77 Phase 1.
Population were residents of I Condo Green Space Sukhumvit 77, Phase 1. The samples consisted
of 216 people which collected data from questionnaires and analyzed by computer package
program. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent-
Samples t-test, One-Way ANOVA, F-test and Multiple Linear Regression.

The results indicated that: (1) the most of respondents were male; aged between 21-30
years old; graduated in bachelor degree; private employees; income between 15,001-30,000 Baht:
(2) managing physical resources by people to manage beyond expectations: (3) the risk management
of condominiums of residents were the risks associated with financial management, which were at
the highest level of risk: (4) the different of gender, age, educational level, occupation and income;
the opinion about risk management were not difference at statistical significant level of 0.05, as for
the different status, opinions on strategic risk management were difference at statistical significant
level of 0.05; these results found that single and married, had a different opinion: and (5) human
resource management affected to risk management while location and work aspects did not affect
risk management at statistically significant level of 0.05.

Keywords: risk management, condominium, residents

Article history: Received 8 February 2021
Revised 25 June 2021
Accepted 1 July 2021
SIMILARITY INDEX = 6.55 %

410 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1. บทนำ

จากการขยายตัวของเมืองและประชากรท่ีมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในปัจจบุ ัน ทำให้ความต้องการปัจจัยในท่ี
อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่จำกัด ในขณะที่ที่ดินในเขตเมืองหลวงเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้
รปู แบบทอ่ี ยู่อาศัยในปัจจบุ นั ปรบั เปล่ียนจากแนวราบเป็นแนวสูง ดังเห็นไดจ้ ากปริมาณของอาคารชุดพักอาศัย
ที่เพิ่มสูงขึ้น อาคารพักอาศัยลักษณะดังกล่าวในเขตเมืองหลวงน้ีได้รับความสนใจมากจากผู้บริโภคมากขึ้น
เนื่องจากประชาชนทั่วไปสามารถเลือกจัดหาเป็นที่พักอาศัยในระดับราคาที่เหมาะสมกับสถานภาพของ
เศรษฐกิจของตนเองได้มากกว่าอาคารพักอาศัยรูปแบบอนื่ ๆ

โครงการไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขุมวิท 77 เฟส 1 (I Condo Green Space Sukhumvit 77 Phase
ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกของผู้อยู่อาศัย เป็น
รูปแบบคอนโดมิเนียมซึ่งถูกออกแบบตามแนวคิด Live in Green Life มีจำนวนห้องพักทั้งหมด 470 ห้อง
เสนอขายพร้อมพื้นที่ส่วนกลางท่ีทำให้ผู้อยู่อาศัยได้สัมผัสกับธรรมชาติมากกว่าที่เคย มีความสะดวกเรื่องการ
เดินทางเพราะมีทำเลตั้งอยู่ใกล้มอเตอร์เวย์และทางด่วนพระราม 9 จากการที่เป็นอาคารชุดท่ีได้รับความนยิ ม
ดังกล่าว และมีผู้พักอาศัยจำนวนมากยอ่ มเกิดโอกาสที่ผู้พกั อาศัยจะประสบปัญหา และได้รับผลกระทบต่าง ๆ
จากการพักอาศัย ซึ่งแม้ว่า ปัจจุบันกฎหมายจะกำหนดให้มีนิติบุคคลอาคารชุดเข้ามาช่วยในการบริหารงานก็
ตาม แต่ก็ยังประสบปัญหาต่างๆจากการร้องเรียนของผูพ้ ักอาศัยจึงมีการบริหารความเสี่ยงทีจ่ ะเกิดขึ้นตามมา
อย่เู สมอ ๆ (บรษิ ัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน), 2562)

โครงการไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขุมวิท 77 เฟส 1 (I Condo Green Space Sukhumvit 77 Phase
ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการอาคารชุดบัญญัติไวท้ ุกประการเช่นเดียวกับอาคารชุดชัน้
นำในประเทศไทยอื่นๆ กล่าวคือ กฎหมายข้อกำหนดให้มีการดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะซึ่งถือ
เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการทรัพย์สินโครงการอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.
2522 และพระราชบัญญัตอิ าคารชุด พ.ศ. 2551 โดยให้ นิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่ดูแลทรัพย์ส่วนกลาง เพ่ือ
ประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยทุกคน ซึ่งทำหน้าที่ดูแลงาน 2 ส่วนได้แก่ งานด้านกฎหมายซึ่งรวมถึงงบประมาณให้
เพียงพอต่อการดูแลทรัพย์ส่วนกลาง และงานด้านกายภาพที่ต้องดูแลจัดการระบบสาธารณูปโภคหรือระบบ
ประกอบอาคาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่จากประสบการณ์ของผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการ
บริหารจดั การอาคารชุดดังกลา่ วยังพบไดว้ ่า คงมปี ัญหาต่าง ๆเกดิ ขึ้นจากการปฏบิ ัติหน้าทีข่ องนิติบุคคลอาคาร
ชุด ดังนั้น จากข้อเท็จจริงข้างต้นจึงถือเป็นเหตุผลสำคัญของการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้วิจัยมีแนวคิดที่ต้องการให้
เจา้ ของรว่ มหรือผู้พกั อาศัยในอาคารชุดซึ่งไดร้ ับผลกระทบโดยตรงเข้ามามสี ว่ นรว่ มในการบริหารของนิติบุคคล
อาคารชดุ ทตี่ นเองพกั อาศยั ท้ังน้ี เพื่อประโยชนร์ ่วมกันของผู้พกั อาศยั ทุกคน โดยทผ่ี ู้วิจยั ได้รวบรวมข้อมูลความ
คิดเห็นจากผู้พักอาศัยอาคารชุดต่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพ และการบริหารความเสี่ยง เพื่อ
กำหนดเป็นแนวทางในการการบริหารความเสี่ยงของผู้พักอาศัยอาคารชุด ไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขุมวิท 77
เฟส 1 ทเี่ ปน็ รูปธรรมต่อไป

411 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

วตั ถุประสงค์ของการวิจยั
1. เพอ่ื ศกึ ษาลกั ษณะทางประชากรศาสตรข์ องผู้พักอาศยั ที่มีผลตอ่ การบริหารความเสี่ยงอาคารชุด ไอ

คอนโด กรนี สเปซ สุขุมวิท 77 เฟส 1
2. เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการทรพั ยากรทางกายภาพของอาคารชดุ ท่ีมีผลต่อการบริหารความ

เสยี่ งของอาคารชุด ไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขมุ วทิ 77 เฟส 1
3. เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้พักอาศัย และการบริหารจัดการทรัพยากรทาง

กายภาพท่มี ผี ลตอ่ การบริหารความเสย่ี งอาคารชุด ไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขมุ วิท 77 เฟส 1

2. เอกสารและงานวจิ ยั ทเ่ี กี่ยวขอ้ ง

2.1) แนวคดิ และทฤษฎีเกยี่ วกับประชากรศาสตร์
ศริ วิ รรณ เสรีรัตน์ สมชาย หริ ญั กิตติ และธนวรรธ ตงั้ สินทรัพย์ (2550) กลา่ ววา่ ลกั ษณะด้าน

ประชากรศาสตร์ประกอบด้วย อายุ เพศ ขนาดครอบครวั สถานภาพครอบครวั รายได้ อาชพี ระดบั การศึกษา
เป็นเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการแบ่งส่วนตลาด ลักษณะด้านประชากรศาสตร์เป็นลักษณะที่สำคัญ และสถิติที่วัดได้
จากประชากรช่วยกำหนดตลาดเป้าหมาย ส่วนลักษณะด้านจิตวิทยา และสังคมวัฒนธรรมอธิบายถึงความคิด
และความรสู้ กึ ของกลมุ่ เป้าหมายเทา่ นั้น ขอ้ มลู ดา้ นประชากรศาสตรจ์ ะสามารถเข้าถึงและมีประสิทธิผลต่อการ
กำหนดตลาดเปา้ หมายรวมทงั้ งา่ ยต่อการวัดมากกว่าตวั แปรอ่ืน ซ่ึงในงานวจิ ยั นี้ ผู้วิจัยตอ้ งการเพยี งศึกษาถึงตัว
แปรด้านประชากรศาสตร์ต่าง ๆของผู้พักอาศัยในอาคารชุดที่ศึกษาที่แสดงความคิดเห็นต่อการบริหารความ
เสย่ี งของผ้พู ักอาศยั

2.2) แนวคดิ ด้านการบริหารทรพั ยากรกายภาพ (Facility Management)
แนวคิดนี้เป็นทั้งหลักการ และแนวการปฏิบัติที่มุ่งเน้นให้มีการบริหารและจัดการ เพื่อให้

ทรพั ยากรกายภาพขององค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการและกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิด
นี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอาคารหลายประเภท รวมทั้งโครงการประเภทที่อยู่อาศัยแบบรวมที่มีอยู่ใน
ประเทศไทย ซึ่งเสรชิ ย์ โชติพานิช (2549) ได้แสดงแนวคิดการบรหิ ารทรัพยากรกายภาพสำหรับโครงการท่อี ยู่
อาศัยแบบรวมนี้ว่า ประกอบด้วยการบริหารจัดการสองส่วน คือการจัดการดา้ นกฎหมาย และการจัดการด้าน
กายภาพ ซงึ่ ประกอบดว้ ยงานบรหิ ารและจดั การทรัพยากรกายภาพ และงานบรกิ ารที่เกยี่ วเน่อื ง

การจัดการด้านกายภาพน้ีเป็นสว่ นงานทส่ี ำคัญของการบรหิ ารจัดการในโครงการที่อยู่อาศัยรวมอันจะ
ส่งเสริมให้เกิดความสะดวก ปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ผู้อยู่อาศัยทัง้ ยังจะเป็นส่วนทีช่ ่วยรักษามูลค่า
ทรัพย์สนิ ภายในพื้นท่ีโครงการ ซึง่ ในงานวจิ ยั น้กี ำหนดองค์ประกอบทีเ่ ปน็ ปัจจัยเส่ียง(Risk Factor) ซงึ่ หมายถึง
ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยใช้หลักเกณฑ์การ
ประเมนิ ความเสีย่ ง (Risk Assessment) ซง่ึ หมายถงึ กระบวนการระบุความเส่ียง การวเิ คราะหค์ วามเส่ียงและ
จัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact) คือ

412 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1) โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง 2) ผลกระทบ
(Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง และ3)
ระดับของความเสยี่ ง (Degree of Risk) หมายถงึ สถานะของความเส่ยี งท่ีได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบ
ของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก ทั้งนี้เพื่อจะได้วิเคราะห์
และกำหนดมาตรการจัดการความเสย่ี ง ในภายหลงั ได้อย่างถกู ตอ้ งดง้ นี้

1) สถานที่ (Place) ถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด โดยทั่วไปประกอบด้วย (1) ระบบ
สาธารณปู โภค หรือระบบประกอบอาคาร โดยที่ระบบสาธารณูปโภคของโครงการฯ แนวราบ ได้แก่ ถนน ทาง
เท้า ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสียระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบรักษาความปลอดภัย เป็นต้น (2) พื้นท่ี
ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกได้แก่ สวนสนาม ภูมิทัศน์ อาคารสโมสร ที่จอดรถ ห้องโถง ห้องประชุม
ทางเดิน โถงลิฟต์ สวนในอาคาร ห้องออกกำลังกาย ที่จอดรถของผู้มาติดต่อ บริเวณโดยรอบอาคาร เป็นต้น
(3)สิ่งแวดล้อม ได้แก่ คู คลอง ทางน้ำสาธารณะที่ผ่านเข้ามาในหรืออยู่โดยรอบพื้นที่โครงการฯ อากาศ
พลังงาน ทัศนียภาพ สัตว์ และแมลง เป็นต้น และ (4)พื้นที่อื่น ๆ เช่น สิ่งประดับโครงการ ได้แก่ ซุ้มประตู
ทางเขา้ หมูบ่ า้ น ภมู ิทัศน์ริมถนน เปน็ ตน้

2) งาน (Process) ในงานวิจยั วิจยั น้ี หมายถึงกระบวนการทำงานการปฏิบัติงานดา้ นบริหารทรัพยากร
กายภาพเพื่อสนองตอบต่อสภาวะการพักอาศัยที่มีความสุขสบายของผู้พักอาศัย และสนองต่อวัตถุประสงค์
การจัดตั้งนิติบุคคลอาคารชุด ในการนี้ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดต้องทำหน้าที่ เป็นผู้บริหารจัดก ารดูแล
ทรัพย์ส่วนกลางในนามของนติ ิบุคคลอาคารชุด ซึ่งภารกิจหน้าที่อันอยู่ในขอบเขตการปฏิบัติงานของนิติบุคคล
อาคารชุด เช่น การจัดการงานดูแลและบำรุงรักษาการทำงานของระบบประกอบอาคาร ระบบสาธารณูปโภค
เป็นต้น งานการจัดการงานบริการ และการจัดกิจกรรม เช่น การจัดหาผู้มาปฏิบัติงาน การจัดทำข้อกำหนด
และวิธีการปฏิบัติงานและเกณฑ์คุณภาพ การวางแผนปฏิบัติงาน เป็นต้น งานการจัดการการเงิน เช่น การ
จัดทำงบประมาณ การจัดทำบัญชรี ายรับรายจา่ ย และงบดลุ เปน็ ต้น งานการจดั การการใช้ประโยชนพ์ ื้นที่ เช่น
การวางแผนและกำหนดระเบียบการใช้พื้นที่ การจัดหาร้านค้า หรือบริการ การจัดพื้นที่จอดรถ เป็นต้น งาน
การจัดการพลังงาน เช่น การศึกษาพฤตกิ รรมการใช้พลงั งาน การจัดทำแผนปรบั พฤตกิ รรมการใช้พลังงาน การ
ปรับปรุงระบบฯ ให้มีประสิทธิภาพ การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เป็นต้น งานการ
จดั การความปลอดภัยในชวี ติ และทรัพยส์ ิน ไดแ้ ก่ การจดั ระบบรักษา ความปลอดภยั การป้องกนั อัคคภี ัย และ
ดับเพลิง การจัดระบบการสัญจร และการเข้าออก การป้องกันโรคระบาด เป็นต้น รวมถึงงานการจัดการ
สิง่ แวดล้อม ได้แก่ การจัดระบบเก็บและกำจัดขยะ การป้องกนั การเกิดมลภาวะ เปน็ ต้น

3)คน (People) เปน็ ตวั แปรต้นทสี่ ำคัญอกี ตัวหนึ่งสำหรับงานวจิ ัยน้ี ซึ่งหมายถึงบคุ ลากรของนิติบุคคล
อาคารชุด หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในคณะนิติบุคคลอาคารชุดภายใต้ขอบเขตงานจัดการของการบริหาร
ทรัพยากรกายภาพเท่านั้น โดยความสำคัญในแนวการบริหารงานบุคคลที่มุ่งถึงการบริหารจัดการด้าน
ประสิทธิภาพของการทำงานตลอดจนการประเมินผลการทำงาน ( Appraisals and Performance

413 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Management) ซึ่งการประเมินผลการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะทำใหเ้ ห็นว่าองคก์ รหรือนิติบุคคลอาคาร
ชดุ นนั้ มศี กั ยภาพในระดับใด ควรปรบั ปรุงแก้ไขจดุ บกพร่องตรงจดุ ไหนดว้ ย

2.3) แนวคดิ เก่ยี วกบั การบรหิ ารความเส่ยี ง
ความเสี่ยง (Risk) คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นและมีผลต่อการบรรลุเป้าหมาย หรือ

วัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ความเสี่ยงนี้จะถูกวัดด้วยผลกระทบที่ได้รับและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ หรือ
โอกาส หรือ เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่จะทำให้องค์กรไม่บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ ดังนั้น การบริหารความ
เสี่ยงหรือการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) จึงหมายถึง กระบวนการวางแผนการบริหารและการ
จัดการความเสี่ยง เพื่อช่วยในการตัดสินใจของบุคคลหรือธุรกิจใด ๆ ในอันที่จะหาวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อใช้เป็น
แนวทางในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตทั้งนี้เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้
น้อยที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ในการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) จะต้องมีกระบวนการใน
การระบุ (Risk Identification) การวิเคราะห์(Risk Analysis) การประเมิน(Risk Assessment) การดูแล
ตรวจสอบและควบคุมความเสี่ยง(Risk Control) ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมและกระบวนการทำงานเพื่อให้องค์กร
ลดความเสียหายจากความเสีย่ งมากที่สุดอันเนื่องมาจากความเสี่ยงที่องค์กรต้องเผชญิ ในช่วงเวลาใดเวลาหนง่ึ
(พลอยไพลนิ สกลอรรจน์, 2561).

ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ระบุปัจจัยเสี่ยงไว้ 3 ปัจจัยจากปัจจัยในการบริหารจัดการทรัพยากรทาง
กายภาพ ประกอบด้วย ปัจจยั เสยี่ งในการบรหิ ารสถานที่ (Place) ปัจจยั เสี่ยงในกระบวนการทำงาน (Process)
และปัจจัยเสี่ยงจากการบริหารงานบุคคล(คน (People)) ดังรายละเอียดข้างต้น และจากการทบทวน
วรรณกรรมพบว่า หากบรหิ ารจัดการปจั จัยเส่ยี งดงั กลา่ วนไ้ี ดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพแล้ว ผลการวิจัยสามารถสรา้ ง
แนวคิดใหม่ในการจัดการความเสี่ยงด้านต่าง ๆคือ 1) ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR) 2)
ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR) 3) ความเสี่ยงทางดา้ นการปฏบิ ัติงาน (Operational Risk :
OR) และ 4) ความเส่ยี งทางดา้ นกฎหมาย และขอ้ กำหนดผกู พนั องคก์ ร (Compliance Risk : CR)

414 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

กรอบแนวคดิ ในการวิจัย

แผนภาพท่ี 1 กรอบแนวคดิ ในการวจิ ัย

3. วธิ ีดำเนนิ การวิจยั

ผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้พักอาศัยในอาศัยอาคารชุด ไอ คอนโด
กรีนสเปซ สุขุมวิท 77 เฟส 1 มีจำนวน 470 ห้อง โดยกำหนดให้มีตัวแทนห้องละ 1 คน จึงสามารถกำหนด
จำนวนประชากรได้ 470 คน และคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane,
1967) ท่รี ะดบั ความเช่ือมั่น 95 %ได้ขนาดกลมุ่ ตวั อยา่ งเปน็ จำนวนเท่ากบั 216 ตัวอยา่ ง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่สร้างจากการทบทวน
วรรณกรรมเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยทเ่ี กย่ี วข้อง และได้นำเครอื่ งมือไปทดลองใช้ (Try out) กับประชากรท่ี
ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง พร้อมทั้งตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามด้วยวิธีวัดความสอดคล้องภายในของ
ขอ้ คำถามจากแบบสอบถาม 30 ชดุ ไดค้ ่า α - Coefficient เท่ากับ 0.810

ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล ผ้วู จิ ัยดำเนนิ การโดยการจัดเตรยี มแบบสอบถามใหเ้ พียงพอกบั จำขนาดกลุ่ม
ตัวอย่าง พร้อมชี้แจงให้ผู้ตอบแบบสอบถามเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อขอความร่วมมือในการเก็บ
รวบรวมข้อมูล โดยผู้วิจัย และผู้ช่วยผู้วิจัยติดตามขอรับแบบสอบถามคืนด้วยตนเอง จำนวน 216 ฉบับแล้ว
นำไปดำเนนิ การตามข้ันตอนการวจิ ัยต่อไป

415 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ(2) สถิติเชิง
อ้างอิงเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัว (Independent-
Samples T Test) และจะใช้สถิติการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัว ด้วยการ
วเิ คราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance: One-way Anova) (F-Test) พร้อมท้ัง
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่
กำหนดไว้

4. ผลการวจิ ยั

1. ผลการวเิ คราะหข์ ้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้พักอาศัย พบวา่ ผตู้ อบแบบสอบถามส่วน
ใหญเ่ ปน็ เพศชาย จำนวน 116 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 53.70 มีอายุอยู่ในชว่ ง 21 – 30 ปี จำนวน 127 คน คดิ เป็น
ร้อยละ 58.80 มีสถานภาพโสด จำนวน 181 คน คิดเป็นร้อยละ 83.80 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน
176 คน คิดเป็นร้อยละ 81.48 อาชีพพนักงานเอกชน จำนวน 113 คน คิดเป็นร้อยละ 52.31 และมีรายได้อยู่
ในช่วงระหว่าง 15,001 – 30,000 บาท จำนวน 117 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 54.17

2. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้พักอาศัยเก่ียวกับการบริหารจัดการทรพั ยากรทางกายภาพของ
อาคารชุด โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับความคิดเห็นดีมาก (x̅ = 4.04) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
ด้านที่มีความคิดเห็นดีมาก คือ คน (x̅ = 4.13) รองลงมาคือ งาน (x̅ = 4.01) และ สถานที่ (x̅ = 3.97)
ตามลำดบั

3. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นการจัดการกับความเสี่ยงอาคารชุดของผู้พักอาศัยโดยรวมและราย
ด้าน อยู่ในระดับความเสี่ยงสูง (x̅ = 4.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยด้านที่อยู่ในระดับความเสี่ยงสูงมาก
ที่สุด คือ ความเสี่ยงที่เกีย่ วข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน (x̅ = 4.28) รองลงมา อยู่ในระดับความเสีย่ ง
สูง คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (x̅ = 4.18) การจัดการความเสี่ยงด้านการ
ปฏิบตั กิ าร (x̅ = 4.13) และ การจัดการความเส่ยี งด้านกลยทุ ธ์ (x̅ = 3.93) ตามลำดับ

4. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของผู้พักอาศัยต่อการบริหารความเสี่ยงใช้สถิติ
ทดสอบความแตกต่างของค่าที (t-Test) และทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน
(One-Way ANOVA) ใชว้ ิธี Fisher’s Least Significant Difference หรอื (LSD) โดยนำเสนอตามตารางที่ 1

416 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางท่ี 1. การวิเคราะห์เปรียบเทยี บการบรหิ ารจัดการทรัพยากรทางกายภาพ และการจดั การกับความเสี่ยง

โดยจำแนกตามปัจจยั สว่ นบคุ คลของผพู้ ักอาศยั

n = 216

การบริหารจดั การทรพั ยากรทาง เพศ อายุ สถานภาพ การศกึ ษา อาชพี รายได้
กายภาพ

สถานที่ (Place) .300 .340 .056 .293 .383 .981

งาน (Process) .056 .425 .117 .391 .841 .022*

คน (People) .039* .166 .262 .068 .319 .001*

ความเสีย่ งดา้ นกลยทุ ธ์ .626 .196 .012* .566 .906 .783

ความเสยี่ งดา้ นการปฏิบัติการ .755 .700 .181 .713 .373 .204

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร .422 .661 .417 .158 .417 .989

จดั การทางการเงนิ

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตาม .329 .313 .273 .159 .186 .911

กฎระเบยี บการบริหารความเสยี่ ง

* มีระดบั นัยสำคญั ทางสถติ ิ .05

จากตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยสรุปวา่ 1) การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพของผู้
พักอาศัยโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านงาน (Process) แตกต่างกันใน
เรื่องรายได้ และด้านคน(People) แตกต่างกันในเรื่องเพศและรายได้ 2)การจัดการกับความเสี่ยงผู้พักอาศัย
โดยจำแนกตามปจั จยั สว่ นบุคคลภาพรวมไม่แตกต่างกนั ยกเว้นในด้านความเสี่ยงด้านกลยุทธ์แตกตา่ งกันในเรื่อง
สถานภาพ อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถิตทิ ีร่ ะดับ .05

ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพของอาคารชุดส่งผลต่อ

การจัดการกบั ความเสย่ี ง

การบริหารจดั การทรัพยากรทางกายภาพ B S.E. β t p

ของอาคารชดุ

ค่าคงท่ี 2.037 0.213 9.578 0.000

ดา้ นสถานท่ี (x1) -0.021 0.068 -0.028 -0.315 0.753

ด้านงาน (x2) 0.089 0.063 0.127 1.424 0.156

ดา้ นคน (x3) 0.440 0.033 0.674 13.342 0.000*

R = 0.678, R2 = 0.460, R2adj = 452, F = 60.210, p = 0.000

* มีระดบั นยั สำคญั ที่ .05

417 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

จากตารางที่ 2. ผลการวิเคราะห์พบว่า การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพของอาคารชุดส่งผล
ต่อการจัดการกบั ความเสยี่ ง คือ การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพด้านคน (x3) (β = 0.674, P<0.000)
การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพของอาคารชุดท่ีไม่ส่งผลต่อการจัดการกับความเสี่ยง คือ การบริหาร
จัดการทรัพยากรทางกายภาพด้านสถานที่ (x1) (β = -0.315, P>0.753) การบริหารจัดการทรัพยากรทาง
กายภาพด้านงาน (x2) (β = 1.424, P>0.156) ดังนั้น สามารถพยากรณ์ว่า การบริหารจัดการทรัพยากรทาง
กายภาพดา้ นคน (x3) เป็นปัจจยั ท่ีคาดว่าจะสง่ ผลต่อการจัดการกบั ความเส่ยี ง (y) รอ้ ยละ 46 (R2 = 0.460)

การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพด้านคน (x3) มีผลต่อการจัดการกับความเสี่ยง (y) = 0.674
โดยสามารถสามารถสรุปผลการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพของอาคารชุดส่งผลต่อการจัดการกับ
ความเสี่ยง ได้ว่า การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพด้านคน (x3) (β = 0.674, P<0.000) ดังนั้นจึง
ปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H0) ยอมรับสมมติฐานรอง (H1) แสดงว่า การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพ
ด้านคน (x3) ส่งผลต่อการจัดการกับความเส่ียง (y) ส่วนการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพด้านสถานท่ี
(x1) (β = -0.315, P>0.753) และการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพด้านงาน (x2) (β = 1.424,
P>0.156) ดังนั้นจึงยอมรับสมมติฐานหลัก (H0) ปฏิเสธสมมติฐานรอง (H1) แสดงว่า การบริหารจัดการ
ทรัพยากรทางกายภาพด้านสถานท่ี (x1) และการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพด้านงาน (x2) ไม่ส่งผล
ต่อการจดั การกับความเสีย่ ง (y)

5. สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1. สรุปและอภิปรายผล
1. การบรหิ ารจัดการทรัพยากรทางกายภาพของอาคารชุด ด้านคน มีความคิดเห็นเกินความคาดหวัง

ทีม่ ีระดับค่าเฉล่ียมากท่ีสุด เม่ือพิจารณาเป็นรายด้าน การบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพของอาคารชุดด้าน
สถานที่ พบว่ามีระดับความคิดเห็นเกินความคาดหวัง คือ ข้อมีการปรับปรุง ปรับเปลี่ยน และพัฒนาทรัพย์
ส่วนกลางอย่างเหมาะสมตามความต้องการพฤติกรรมและจำนวนผู้ใช้ ด้านงาน พบว่ามีระดับความคิดเห็นเกิน
ความคาดหวัง คือ ข้อการกำหนดกรอบบริหาร ประกอบด้วยปัจจัย เช่น นโยบายของผู้บริหาร แนวทางการ
ปฏิบัติงานบุคลากร สภาพแวดล้อมในอาคารชุด กระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ ระเบียบ เป็นต้น ด้านคน
พบวา่ อยู่ในระดับความคิดเห็นดีอย่างไมม่ ีท่ตี ิ คือ ขอ้ เจา้ หนา้ ที่ใหบ้ ริการตลอดเวลา 24 ชัว่ โมง สามารถทำงานใน
หน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่สอดคล้องกับงานวิจัยของ โสภาพร ร่มพูลทอง (2554) ศึกษาการมีส่วนร่วม
ในการดำเนินงานบริหารจัดการชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร: กรณีศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล
สาย 4, โครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 5 และโครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 5 (อ้อมน้อย)
จังหวัดนครปฐม ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการทำงานของนิติบุคคลอาคารชุด และสอดคล้องกับ
งานวิจัยของวิชชุลดา ศรีบุตร (2561) ศึกษาการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของนิติบุคคลอาคารชุดใน
กรุงเทพและปริมณฑล การบริหารจัดการทางกายภาพ ที่สำคัญที่สุดคือ ด้านผู้ปฏิบัติงาน และด้านกิจกรรมของ
องคก์ าร

418 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2. การจัดการกับความเส่ยี งอาคารชุดของผู้พักอาศยั ดา้ นทอ่ี ยู่ในระดับความเสี่ยงสูงมากที่สุด คือ ความ
เสีย่ งที่เกี่ยวขอ้ งกับการบริหารจัดการทางการเงนิ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน การจดั การความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
อยใู่ นระดบั ความเส่ียงสูง คือ ข้อควรจัดทำแผนการปฏบิ ตั ิความเส่ียง เพอ่ื ป้องการความเสย่ี งที่เกิดขึ้นในอาคารชุด
การจดั การความเส่ยี งดา้ นการปฏิบตั ิการ อยใู่ นระดับความเส่ียงสูงมากท่สี ดุ คือ ข้อเจา้ หน้าทีค่ วรดแู ลรกั ษาอาคาร
ตามที่กฎหมายพระราชบัญญัติ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับทางราชการกำหนดไว้ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการ
บริหารจัดการทางการเงิน พบว่า อยู่ในระดับความเสี่ยงสูงมากที่สุด คือ ข้อการเรียกเก็บเงินผู้เช่าให้ถูกต้อง เพื่อ
ความน่าเชื่อถือ และเจ้าของอาคารได้รับเงินไม่ครบถ้วน ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ อยู่
ในระดับความเสี่ยงสูงมากที่สุด คือ ข้อมีการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้พักอาศัยมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อข้อความ
ตามกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคบของทางอาคารชุด สอดคล้องกับงานวิจัยของหาญศึก หับสุภา (2553) ศึกษาการ
บริหารจดั การอาคารชุดพักอาศัยของการเคหะแห่งชาติ : กรณศี ึกษา อาคารชุดพักอาศัย เคหะชมุ ชนร่มเกล้าระยะ
3 จากการศึกษาพบว่า สภาพกายภาพอาคารชุดพักอาศัยมีลักษณะแตกต่างกัน ต้องวางการวางแผนการ
ปฏิบัติงานมีการจัดแผนงานบริการอาคาร แผนงานการจัดกิจกรรม แผนงานดูแลบำรุงรักษาอาคาร และการ
วางแผนงบประมาณมีแผนการบำรุงรักษา การวางแผนการทำงานของนิติบุคคลอาคารชุดจะช่วยห้องกันปัญหา
และเป็นการจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของวันวิสา งามวัฒนาเจริญ (2553) ศึกษา
การบรหิ ารจัดการอาคารชุดพักอาศัยของการเคหะแห่งชาติ : กรณศี ึกษาโครงการอาคารชดุ พักอาศัย เคหะชุมชน
ธนบุรี ซึ่งพบว่านิติบุคคลอาคารชุดที่มีการกำหนดนโยบายที่เหมาะสม มีโครงสร้างการบริหารจัดการที่มีการ
กำหนดขอบเขตงานชัดเจน และเป็นระบบ จะสามารถกำหนดแผนการบริหารและแผนการปฏิบัติงานที่มี
ประสทิ ธิภาพท่ีดีส่งผลให้เกิดสภาพทางกายภาพของอาคารชุดพักอาศัยทีด่ ี และสอดคล้องกับงานวิจัยของฐิตารีย์
ฉ่องสวนอ้อย (2559) ศึกษาการประเมินความเสี่ยงของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กถึงขนาดกลางใน
พน้ื ท่จี ังหวัดนนทบุรี พบว่า ผปู้ ระกอบการจึงควรมีการตอบสนองความเส่ยี งท่ีเกิดขนึ้ โดยการลดหรือควบคุมความ
เสี่ยง โดยควรทำการปรับปรุงระบบหรือออกแบบวิธีการทำงานใหม่ พร้อมทั้งติดตามและประเมินผล เพื่อลด
โอกาสทจ่ี ะเกิดหรือลดผลกระทบให้อยใู่ นระดบั ท่ีองค์กรยอมรบั ได้

3. จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีความ
คิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนปัจจัยสถานภาพที่
แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารความเสีย่ งด้านกลยุทธ์แตกต่างอย่างมนี ัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดย
พบว่า สถานภาพโสด กับสถานภาพสมรส มีความคิดเห็นแตกต่างกัน สอดคล้องกับงานวิจัยของกุลิสรา เปล่งศรี
(2560) ศึกษาคณุ ภาพการให้บริการของนิติบุคคลอาคารชุดลาซาลพาร์คอาคาร A สขุ ุมวิท 105 กลมุ่ ตัวอย่างคือผู้
พักอาศัยในอาคารชุดลาซาลพาร์คอาคาร A สุขุมวิท 105 พบว่า เพศ อายุ การศึกษาอาชีพรายได้ต่างกันมีความ
คิดเห็นเกี่ยวกับระดับคุณภาพการบริการของอาคารชุดภาพรวมไม่แตกต่างกัน สถานภาพต่างกันมีความคิดเห็น
เกีย่ วกับระดบั คณุ ภาพการให้บริการรายด้านแตกต่างกันท่ีระดับนัยสำคัญทางสถติ ิ 0.05

419 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

5.2 ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบาย
1. สามารถนำผลการศึกษาไปปรับใชง้ านนิติบุคคล และนำไปพัฒนาต่อในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวขอ้ ง

เพ่อื ช่วยในงานดา้ นการบริหารทรัพยากรอาคาร ของนติ บิ ุคคลอาคารชุดฯ ได้
2. ผู้บริหารบริษัทนำผลการศึกษาไปวางแผนกลยุทธ์เพื่อจัดการกับความเสี่ยงในการบริหาร

จัดการนิติบุคคลอาคารชุด และให้การบริหารจดั การนติ ิบุคคลอาคารชุดได้ปรับปรุงการดำเนินการในหน้าที่ได้
อย่างมีประสิทธิภาพเพิม่ ขน้ึ

3. ในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการจัดการกับความเสี่ยง ควรพิจารณาในรายละเอียดข้อมูลในแต่
ละด้านจากผลการวิจัยอย่างรอบคอบเพื่อให้ได้ประเด็นที่สอดคล้องกับการจัดการความเส่ี ยงและให้กลยุทธ์ท่ี
พฒั นามปี ระสิทธภิ าพมากทีส่ ดุ

5.3 ขอ้ เสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งตอ่ ไป
1. ควรทำการศึกษาวรรณกรรมเพิ่มเติม เพื่อค้นหาตัวแปรปัจจัยความเสี่ยงอื่น ๆ ให้ครอบคลุมปัจจัย

เสี่ยงด้านการประมาณการต้นทุนการดำเนินงานนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภทที่จะ
เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับนิติบุคคลอาคารชุด อาทิเช่น 1) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (Socio-
Cultural) 2) ปัจจยั ทางเทคโนโลยี (Technological) 3) ปจั จยั ทางเศรษฐกิจ (Economic) 4) ปจั จยั ทางสงิ่ แวดล้อม
(Environmental) 5) ปจั จยั ทางนโยบายและการเมือง (Political) เป็นตน้

2. ควรศึกษาการวางแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งควรทําการศึกษา
ในลกั ษณะเดียวกัน หากเป็นประเภทอาคารชดุ พักอาศัย เพิ่มเตมิ การศึกษาในระดับช่วงราคา หรือพนื้ ท่ีอื่น ๆ อกี ทั้ง
ยังสามารถแยกศึกษาตามประเภทของอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น เช่น หมู่บ้านจัดสรร, อาคารสำนักงาน เป็นต้น
เพ่ือจัดทำแผนการบริหารความเสย่ี งให้มีประสิทธภิ าพมากยิง่ ข้นึ

420 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เอกสารอา้ งอิง

กุลิสรา เปล่งศรี. (2560). คุณภาพการให้บริการของนติ ิบุคคลอาคารชดุ ลาซาลพาร์ค อาคาร A สุขุมวิท 105.
Southeast Bangkok Journal, 3(2), 30-39.

ฐติ ารีย์ ฉอ่ งสวนออ้ ย. (2559). การประเมนิ ความเสย่ี งของผู้ประกอบการอสงั หาริมทรัพย์ขนาดเล็กถึงขนาด
กลางในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนา
อสงั หารมิ ทรัพย์, คณะสถาปตั ยกรรมศาสตรแ์ ละการผงั เมือง.มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร.์

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน). (2562). ข้อมูลอาคารชุดไอ คอนโด กรีนสเปซ สุขุมวิท 77
เฟส 1. [ออนไลน์]. สืบคน้ เมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก https://bit.ly/3jjmvNS.

พลอยไพลิน สกลอรรจน.์ (2561). การจัดการความเส่ียง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภยั
ทางถนน มูลนิธนิ โยบายถนนปลอดภัย

วิชชุลดา ศรีบุตร. (2561). การบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของนิติบุคคลอาคารชุด ในกรุงเทพ และ
ปรมิ ณฑล. The Journal of Pacific Institute of Management Science (Humanities and
Social Science), 4(2), 233-246.

วันวสิ า งามวัฒนาเจริญ. (2553). การบรหิ ารจัดการอาคารชดุ พกั ตากอากาศ: กรณศี ึกษาโครงการ สมบัติ
พทั ยาคอนโดเทล .วิทยานพิ นธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑิต ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ สมชาย หิรัญกิตติ และธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรม
องคก์ าร. กรงุ เทพมหานคร : ธรี ะฟลิ ์ม และไซเทก็ ซ์.

เสริชย์ โชติพานิช.(2549). แนวคิดการบริหารทรัพยากรกายภาพสำหรับโครงการที่อยู่อาศัยแบบรวม..
วารสารวชิ าการคณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.2.103-118.

โสภาพร ร่มพูลทอง. (2554). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการชุมชนในโครงการบ้าน เอ้ือ
อาทร: กรณีศกึ ษาโครงการบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑลสาย 4, โครงการบ้านเอ้อื อาทร พทุ ธ มณฑล
สาย 5 และ โครงการบา้ นเออ้ื อาทร พทุ ธมณฑล สาย 5 (ออ้ ม น้อย) จังหวดั นครปฐม .วิทยานพิ นธ์
ปรญิ ญามหาบณั ฑติ ภาควิชาเคหการ.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั

หาญศึก หับสุภา . (2553). การบรหิ ารจดั การอาคารชดุ พักอาศัยของการเคหะแหง่ ชาติ : กรณีศึกษา อาคาร
ชุดพักอาศัย เคหะชุมชนร่มเกล้าระยะ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ คณะ
สถาปตั ยกรรมศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั

อิศร เศรณี. (2555). ความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยที่มีต่อการดำเนินการของส่วนกลางของนิติบุคคล อาคาร
ชดุ รงั สติ ซติ ี้ (แฟลตปลาทอง). วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญามหาบัณฑิต ภาควชิ าเคหการ คณะสถาปัตยกรรม
ศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั

Yamane.T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.

421 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลกระทบเชิงสาเหตขุ องความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศตอ่ ผลการ
ดำเนนิ งานของบริษัทผู้ประกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทลั
: การศึกษาตัวแปรคั่นกลางด้านนวัตกรรมผลติ ภณั ฑ์ กระบวนการ และการตลาด

The Casual Effect of Dynamic Capabilities and Information System Quality on the
Performance of Small and Medium Enterprises in the Digital Age

: The Study of Mediating Variables of Product, Process and Marketing Innovation

บุญฑริกา วงษ์วานชิ และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข*
(Boontharika Wongwanich and Kritsada Chienwatthanasuk)

บทคัดยอ่

งานวจิ ัยในครั้งน้ีมวี ตั ถุประสงคเ์ พ่ือศกึ ษา เพ่ือศกึ ษา 1. อิทธพิ ลของความสามารถเชิงพลวัตที่มีต่อผล
การดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล 2. อิทธิพลของ
ความสามารถเชิงพลวัตที่มีต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดของบริษัทผู้ประกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล 3. อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีต่อผลการ
ดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล 4. อิทธิพลของคุณภาพ
ของระบบสารสนเทศที่มีต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดของบริษัทผู้ประกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล 5. อิทธิพลของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และ
การตลาดที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล
และ 6. อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดระหว่าง
ความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย จำนวน 500 ราย โดย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
เครื่องมือได้แก่แบบสอบถามที่ใช้มีการทดสอบความตรงเชงิ เนื้อหา จากผู้ทรงคุณวฒุ จิ ำนวน 3 ราย และหาคา่
ความเชื่อมั่นแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์
เส้นทาง และการวิเคราะหอ์ งคป์ ระกอบเชิงยนื ยัน

* คณะบริหารธรุ กจิ สาขาวชิ าการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลธัญบรุ ี 12110
Faculty of Business Administration Management Rajamangala University of Technology Thanyaburi 12110
Corresponding author: [email protected]

422 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลการวจิ ัยพบว่า
1. อิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัตมีต่อผลการดำเนินงานของบริษทั ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อมในยุคดิจทิ ัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.42 ทางและอิทธิพล
รวมเท่ากับ 0.73
2. อทิ ธิพลของความสามารถเชิงพลวัต มตี ่อนวัตกรรมด้านผลติ ภณั ฑ์ กระบวนการ และการตลาดของ
บริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าอิทธิพลรวม
เท่ากับ 0.85 0.74 และ 0.86 ตามลำดับ
3. อิทธพิ ลของคุณภาพของระบบสารสนเทศมีต่อผลการดำเนนิ งานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.15 และ
อิทธิพลรวมเทา่ กับ 0.20
4. อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศมีต่อนวัตกรรมด้านกระบวนการ ของบริษัท
ผปู้ ระกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถิติ คา่ อิทธิพลรวมเท่ากับ
0.25 แต่ อิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศจะไม่มีต่อนวัตกรรมดา้ น ผลิตภัณฑแ์ ละการตลาด
5. อิทธิพลของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ มีต่อผลการดำเนินงา นของบริษัท
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าอิทธิพลรวมได้แก่
0.43 และ 0.13 ส่วน อิทธิพลของนวัตกรรมด้านการตลาดไม่มีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัท
ผปู้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มในยคุ ดิจิทัล
6. อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดระหว่าง
ความสามารถเชงิ พลวัตต่อผลการดำเนินงานของบริษทั ผู้ประกอบการวสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุค
ดิจิทัลมีผลอย่างมีนัยสำคัญค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.31 แต่ อิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์
กระบวนการ และการตลาดระหว่างคุณภาพสารสนเทศ ต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการ
วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มในยคุ ดจิ ทิ ัลพบวา่ ไมม่ ีผลอย่างมีนัยสำคญั ค่าอิทธิพลเทา่ กับ 0.05

คำสำคัญ: ความสามารถเชิงพลวัต คุณภาพของระบบสารสนเทศ วสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม

423 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ABSTRACT

This research aimed at studying 1) the effect of dynamic capabilities on the
performance of small and medium enterprises in the digital age; 2) the effect of dynamic
capabilities on product, process and marketing innovation of small and medium enterprises
in the digital age; 3) the effect of information system quality on the performance of small and
medium enterprises in the digital age; 4) the effect of information system quality on product
innovation, process and marketing of small and medium enterprises in the digital age; 5) the
effect of product, process and marketing innovation on the performance of small and medium
enterprises in the digital age; and 6) the mediating effect of product, process and marketing
innovation variables between dynamic capabilities and information system quality on the
performance of small and medium enterprises in the digital age. The researcher used a
multistage sample technique to gather data from 500 small and medium-sized business
entrepreneurs in Thailand. The research instrument was a questionnaire with content validity
tests conducted by three experts in the area and reliability tests. Percentage, mean, standard
deviation, path analysis, and confirmatory factor analysis were utilized in the study.

The result indicated as follows:
1) Dynamic capabilities statistically affected the performance of small and medium
enterprises in the digital age with a direct effect of 0.42 and a total effect of 0.73.
2) Dynamic capabilities statistically affected product innovation, process and marketing
of small and medium enterprises in the digital age with direct effects of 0.85, 0.74, and 0.86,
respectively.
3) Information system quality statistically affected the performance of small and
medium enterprises in the digital age with a direct effect as of 0.15 and a total effect of 0.20.
4) Information system quality statistically affected the process innovation of small and
medium enterprises in the digital age with a total effect of 0.25; however, information system
quality did not statistically affect product and marketing innovation.
5) Product and process innovation statistically affected the performance of small and
medium enterprises in the digital age with a total effect of 0.43 and 0.13; however, marketing
innovation did not statistically affect performance of small and medium enterprises in the
digital age.

424 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

6) Product, process and marketing innovation had a mediating effect between dynamic
capabilities and the performance of small and medium enterprises in the digital age with an
effect value of 0.31; however, product, process and marketing innovation did not have a
mediating effect between information system quality and the performance of small and
medium enterprises in the digital age at the statistically significant level of 0.05.

Keywords: Dynamic Capabilities, Information System Quality, Small and Medium Enterprises

Article history: Received 22 May 2021
Revised 10 August 2021
Accepted 16 August 2021
SIMILARITY INDEX = 2.59 %

1. บทนำ

ปัจจุบันทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ที่เกิดนวัตกรรมและ
เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้ทุกองค์การเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยแี ละข้อมูลขนาด
ใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้ในการทำธุรกิจที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วทุกมุมโลกและเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันกับคู่แข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างก้าวกระโดด จึงทำให้กลยุทธ์ดิจิทัลจึงเป็นประเด็น
สำคัญขององค์การที่จะต้องนำไปปฏิรูปกระบวนต่าง ๆ ภายในองค์การเพื่อขับเคลื่อนองค์การให้เป็นดิจิทัลใน
ทุกระดับทั้งพนักงาน ลูกค้าและการดำเนินกิจการเพื่อให้อยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง (เศรษฐพงค์
มะลิสุวรรณ, 2560) ในขณะเดียวกนั ประเทศไทยก็ได้ตระหนักถงึ ความสำคัญของการเปลี่ยนผา่ นดิจิทัลจึงได้มี
การกำหนดนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) โดยมุ่งเน้นพัฒนาดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกจิ และสังคมที่ทำให้
ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ดังนั้นจึงต้องอาศัยกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์การภาครัฐ
และเอกชนผา่ นยทุ ธศาสตรด์ ้านเทคโนโลยี ด้านการบริหารจัดการ ด้านทรพั ยากรมนุษย์ ด้านความหลากหลาย
ขององค์ความรู้ และดา้ นโครงสร้าง

พลวัตของเทคโนโลยดี ิจิทลั เช่น การเปลยี่ นแปลงของเทคโนโลยีอุปกรณ์เคล่ือนที่ เทคโนโลยีเชื่อมต่อ
กบั อนิ เทอร์เนต็ ทกุ ท่ีทกุ เวลา (Internet of Things: IOT) การวิเคราะห์ขอ้ มูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics)
ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) หุ่นยนต์ (Robotics) เป็นต้น นอกจากนี้การแข่งขันด้าน
นวตั กรรม ระบบอจั ฉรยิ ะและข้อมูลเปน็ ความท้าทายในการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกจิ และสังคมดจิ ิทัลอย่าง
ยิ่ง (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2562) ซึ่งผู้ประกอบการจะเป็นขุมพลังที่สำคัญในการ
ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมจากความคิดริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงองค์การสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และ

425 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

บริการใหม่ ๆ โดยอาศัยความสามารถเชิงพลวัต (Dynamic Capability) ได้แก่ ความสามารถด้านนวัตกรรม
ความสามารถด้านการปรบั ตัว และความสามารถในการดูดซบั องค์ความรู้ให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้
เกิดข้ึนทงั้ ผลิตภัณฑ์และบริการ กระบวนการ มาเป็นกญุ แจสำคัญในการแปรสภาพทรัพยากรทส่ี ร้างมูลค่าเพิ่ม
และความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ (พิมกาญดา จันดาหัวดง และพลอยพรรณ สอนสุวทิ ย์, 2561;
กรธวตั น์ สกลคฤหเดช สุกิจ ขอเช้ือกลาง และลภัสรดา จ่างแกว้ , 2559)

ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการ
ขับเคลอ่ื นเศรษฐกิจดิจิทัลจากข้อมูลสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ท่ีชี้ให้เห็นว่า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ของประเทศไทยในปี พ.ศ.2556 มีมูลค่า 4.5 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 37.4
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากในปี พ.ศ.2552
ที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมร้อยละ 37.8 ทำให้ SMEs ของประเทศไทยจำเป็นจะต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการ
ดำเนนิ กจิ การเพื่อการบรหิ ารจัดการท่ีมีประสิทธิภาพ ตน้ ทุนและขยายตลาด ในขณะท่ีสัดสว่ นการทำธุรกิจบน
แพลตฟอร์มอนิ เตอรเ์ น็ตของ SMEs ของประเทศไทยสงู กวา่ ประเทศอ่นื ๆ ในภูมภิ าคอาเซยี นอยรู่ อ้ ยละ 34 ทำ
ให้เห็นวา่ SMEs ไทนมศี กั ยภาพในการพัฒนาธุรกจิ บนอนิ เตอร์อย่างมาก นอกจากนผ้ี ลสำรวจความคดิ เห็นของ
ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมจากธนาคารแห่งประเทศไทยยังพบว่า SMEs มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
ในทางธุรกิจ 3 ประการ ได้แก่ การผลิต การจัดการข้อมูล และการเงิน (สุภาพรรณ วัฒนาอุดมชัย, 2559)
สอดคล้องกับศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2560) ที่พบว่า เทคโนโลยีดิจิทัลที่ภาคธุรกิจบริการในประเทศไทยนิยม
นำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) และซอฟต์แวร์
วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงการใช้งานระบบไอทีได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะใน
กลุ่มธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งออนไลน์ (e-Commerce) รวมไปถึงผู้ประกอบการธุรกิจบริการอย่างร้านอาหารและ
โรงแรม ซึ่งการนำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศดังกล่าวมาใช้งานเพื่อเพิ่มคุณภาพในการดำเนินกิจการให้
องค์การสามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของระบบ
สารสนเทศ (Information System Quality) (Sudirman, Govindaraju, & Pratiwi, 2014)

จากข้อมลู ข้างตน้ ทำให้เห็นว่าความสามารถเชิงพลวตั และคุณภาพของระบบสารสนเทศจงึ เป็นปัจจัยท่ี
สำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยในยุค
ดิจิทัล นอกจากนี้ปัจจัยดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดนวัตกรรม (Innovation) ให้กับธุรกิจทั้งในด้าน
ผลิตภัณฑ์และบริการ (Product Innovation) ด้านกระบวนการ (Process Innovation) และด้านการตลาด
(Marketing Innovation) จากความสามารถในการปรับตัว การดูดซับองค์ความรู้และการใช้ระบบข้อมูล
สารสนเทศมาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจบริหารธุรกิจของผู้ประกบอการ (Abualloush, Bataineh, &
Aladwn, 2017; Zizlavsky, 2012; Cabral, 2010) ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบเชิงสาเหตุของ
ความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล โดยศึกษาตัวแปรคั่นกลางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์

426 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

กระบวนการ และการตลาดท่เี ปน็ กลไกสำคัญในการพัฒนา SMEs ให้มีบทบาทที่เข้มแข็งและผ้นู ำพาเศรษฐกิจ
และสงั คมของประเทศไทยให้มีความสามารถในการแข่งขนั และย่ังยืน

วตั ถุประสงค์ของการวจิ ัย
1. เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัตที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการ

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มในยคุ ดจิ ิทัล
2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัตที่มีต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และ

การตลาดของบรษิ ัทผปู้ ระกอบการวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจทิ ัล
3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัท

ผูป้ ระกอบการวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ มในยคุ ดจิ ิทลั
4. เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีต่อนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ

และการตลาดของบริษทั ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยคุ ดจิ ทิ ัล
5. เพื่อศึกษาอิทธิพลของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดที่มีต่อผลการดำเนินงาน

ของบรษิ ทั ผู้ประกอบการวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจทิ ลั
6. เพื่อศึกษาอิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาด

ระหว่างความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการดำเนินงานของบริษัท
ผ้ปู ระกอบการวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทลั

2. เอกสารและงานวจิ ยั ทเี่ ก่ียวขอ้ ง

2.1 ความสามารถเชงิ พลวตั
เป็นความสามารถที่องค์การจะสร้างรวบรวมและเปลี่ยนแปลงความสามารถที่องค์การมีอยู่ ท้ัง

ภายนอกและภายในให้สามารถตอบสนองต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์การ หรือ ความสามารถใน
การจัดกระบวนการ ขององค์การในการบรู ณาการปรบั ปรงุ เพ่ิมพูนทรัพยากรที่องค์การมีอย่เู พอ่ื ใหเ้ หมาะสมกับ
สภาวะ ทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลง หรือ ความสามารถในการแสวงหาและฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจอย่าง
ชำนาญและรวดเร็ว โดยท่อี งคก์ ารมกี จิ กรรมทม่ี ีรปู แบบแนน่ อนและสามารถเรยี นรู้ได้ในการท่จี ะ ทำให้องคก์ าร
สามารถสร้างและปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยอาศัยตัวชี้วัดสามประการได้แก่ ความสามารถ
ด้านนวัตกรรม ความสามารถด้านการปรับตัว และ ความสามารถ ในการดูดซับ (Krasnikov &
Jayachandran, 2008 ; Eisenhardt & Martin, 2000 ;Wang and Ahmed, 2007) ประกอบไปดว้ ย

1. ความสามารถด้านนวัตกรรม (Innovative Capability) หมายถึง ความสามารถในการพัฒนา
ผลติ ภัณฑ์และการค้นหาตลาดใหม่ขององค์การจากกลยุทธเ์ ชิงนวัตกรรม

2. ความสามารถด้านการปรับตัว (Adaptive Capability) หมายถึง ความสามารถในการกำหนดและ
ใช้ประโยชน์จากโอกาสทางการตลาดทีเ่ กิดขนึ้ ใหม่ขององคก์ ารโดยอาศยั กลยุทธ์ทย่ี ืดหยนุ่

427 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3. ความสามารถในการดูดซับ (Absorptive Capability) หมายถึง ความสามารถในการรับรู้คุณค่า
ของข้อมูลใหม่จากภายนอกขององค์การเพื่อดูดซับและนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์จากความรู้ภายนอกมายกระดบั
ความรู้เดมิ

2.2 คุณภาพของระบบสารสนเทศ
เป็นความคาดหวังเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่มีคุณภาพในการจัดการธุรกิจ เทคโนโลยี

สารสนเทศ และข้อมูลที่มีบทบาทสำคัญในการที่นำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเชิงกลยุทธ์ เช่น การเป็น
ผู้นำด้านต้นทุน การเพิ่มผลกำไร การเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นต้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ใน
องค์การนั้นจะช่วยทำให้องค์การมีประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ประกอบไปด้วย คุณภาพของ
สารสนเทศ คุณภาพของระบบ และคุณภาพบรกิ าร (Poels and Cherfi, 2006 ;กติ ติ ภักดีวฒั นกลุ และพนิดา
พานชิ กลุ 2551) ประกอบไปด้วย

1. คุณภาพของสารสนเทศ (Information Quality) หมายถึง การวัดผลของสารสนเทศ เช่น
ความสำคัญของสารสนเทศ การใช้งาน การใช้ประโยชน์ การเข้าใจได้ง่าย มีความชัดเจน มีความสมบูรณ์
แม่นยำ เพยี งพอ นา่ เชือ่ ถือ และทนั เวลา เป็นต้น

2. คุณภาพของระบบ (System Quality) หมายถึง การวัดผลของระบบ เช่น ความถูกต้องของข้อมูล
เนื้อหาของขอ้ มูล การเขา้ ถึงระบบไดง้ า่ ย มีความยดื หยุ่น ทันสมัย และมปี ระสิทธภิ าพ เปน็ ตน้

3. คุณภาพบริการ (Service Quality) หมายถึง การวัดผลของการใช้งาน เช่น จำนวนระยะเวลาท่ใี ช้
ในการทำงาน การเข้าถึงระบบ ความสม่ำเสมอของการใช้งาน วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ความเหมาะสมใน
การใช้งาน ระดับในการใชง้ าน และแรงจงู ใจในการใช้งาน เป็นตน้

2.3 แนวคิดเรื่องนวตั กรรม
เป็นความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งของที่เป็นสิ่งใหม่สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานนำไปใช้ใช้เชิง

ปฏิบัติ ซึ่งประเภทของนวัตกรรมสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะขอบเขตและวัตถุประสงค์การ
นำไปใช้ โดยการจำแนกตามเป้าหมายของนวัตกรรม ประกอบไปด้วย นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม
ด้านกระบวนการ และนวัตกรรมด้านการตลาด (Rogers, 2010 ; Schilling, 2008 ;จารุณี วงศ์ลิมปิยะรัตน์,
2558) ประกอบไปด้วย

1.นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) หมายถึง การพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่
ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี หรือวิธีการใช้ง่าย รวมไปถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ให้มีคุณภาพและ
ประสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้

2.นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process Innovation) หมายถึง การประยุกต์ใช้แนวคิด วิธีการ หรือ
กระบวนการใหม่ ๆ ในกระบวนการผลิตและการทำงานที่มีประสิทธภิ าพและประสิทธิผลสูงขึน้ อย่างเห็นได้ชัด
เช่น การใชค้ อมพิวเตอรใ์ นการออกแบบกระบวนการใหม่ เปน็ ต้น

428 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3. นวัตกรรมด้านการตลาด (Marketing Innovation) หมายถึง รูปแบบการทำการตลาดใหม่ เช่น
การเข้าตลาดใหม่ การเพม่ิ ชอ่ งทางใหม่ การเข้าถึงลกู คา้

2.4 แนวคิดเรอ่ื ง ผลการดำเนินงานขององค์การ
ไดแ้ ก่ ผลลพั ธ์สุดทา้ ยของกิจกรรมหนง่ึ ๆ ซึ่งอาจวดั ใน รปู ของเวลา หน่วย เงนิ และอ่นื ๆ เปน็

ผลลัพธ์สะสมขั้นสุดท้ายของกระบวนการ ทำงานและกิจกรรมทั้งหมดขององค์การ เช่น กำไร ยอดขาย ความ
พอใจของลูกค้า ผลิตภาพ เป็น ต้น การจัดการผลปฏิบัติงานขององค์การจึงเป็นแนวคิดสำคัญที่ผู้จัดการ
จำเป็นต้องเข้าใจ องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานระดับสูง ในเรื่องของผลการปฏิบัติงานนน้ั
นอกจากนยี้ ังเป็นระบบที่ช่วยในการบริการผลงานขององค์การและผลงานของบุคคลนำไปสู่การปรับปรุงระบบ
การทำงาน และจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ สำหรับ งานวิจัยครั้งนี้จะประเมินในมิติของ ด้านการเงิน ด้าน
ลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และการเติบโต (Garrison and Noreen, 2000 ; Richard,
Devinney, Yip, and Johnson 2 0 0 9 ;Wiliams 2 0 0 2 ; Kaplan, Kaplan, Norton, Davenport, and
Norton 2004) ประกอบไปดว้ ย

1. มิติด้านการเงิน (Financial Perspective) หมายถึง การลดลงของต้นทุน (Cost Reduction)
รายได้ทเ่ี พ่มิ ขึ้น (Revenue Growth) ผลิตผลทเ่ี พม่ิ ขึ้น (Productivity Improvement)

2. มิติด้านลูกค้า (Customer Perspective) หมายถึง ข้อมูลจากลูกค้าและความต้องการของลูกค้า
เพื่อให้องค์การสามารถตอบสนองความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทัง้ สินค้าและบริการทีม่ ีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่วน
แบ่งตลาด การรกั ษาลูกค้าเกา่ และการเพิม่ ข้ึนของลกู ค้าใหม่

3. มิติด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) หมายถึง กระบวนการบริหาร
จดั การภายในองคก์ ารทเ่ี กี่ยวข้องกับบุคลาการและพนกั งาน เพือ่ สรา้ งความมั่งคงและเขม้ แขง็ ใหก้ ับองค์การ

4. มิติด้านการเรียนรู้และการเติบโต (Learning and Growth Perspective) หมายถึง การพัฒนา
องค์การให้เติบโตก้าวหน้า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ ความสามารถของบุคลากร (Skill) การลดอัตรา
การลาออกของบุคลากร (Turnover Rate) ทัศนคติและความพึงพอใจของบุคลากร (Attitude and
Employee Satisfaction)

กรอบแนวคดิ ในการวจิ ยั
การศึกษาวิจยั เรื่อง ผลกระทบเชิงสาเหตุของความสามารถเชงิ พลวัตและคณุ ภาพของระบบสารสนเทศ

ตอ่ ผลการดำเนินงานของบริษัทผปู้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล: การศึกษาตัวแปร
คั่นกลางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาด ผู้วิจัยได้ประยุกต์แนวคิดและ ทฤษฎีเกี่ยวกับ
ความสามารถเชิงพลวัต ของ Krasnikov & Jayachandran, (2008) ; Eisenhardt & Martin, (2000) ;Wang
and Ahmed (2007) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับคุณภาพของระบบสารสนเทศ ของ Poels and Cherfi
(2006) ;กิตติ ภักดีวัฒนกุล และพนิดา พานิชกุล (2551) ; แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม ของ Rogers

429 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

(2010) ; Schilling (2008) ;จารุณี วงศ์ลิมปิยะรัตน์, (2558) และแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน
ขององค์การ ของ Garrison and Noreen, (2000) ; Richard, Devinney, Yip, and Johnson (2009)
;Wiliams (2002); Kaplan, Kaplan, Norton, Davenport, and Norton (2004) รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
มาสร้างกรอบแนวคิดได้ดงั น้ี

แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวจิ ยั

3. วธิ ีดำเนนิ การวิจยั

เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีขอบเขตด้านประชากรและกลุม่ ตัวอย่าง ในการวิจัยนี้ศึกษาจากบริษัท
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย โดยมีจำนวนทั้งหมด 3,084,290 ราย
(สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [สสว.], 2563) จึงกำหนดขนาดตัวอย่างที่เพียงพอต่อ
การประมาณค่าและการใช้สถิติตามสูตรคำนวณของ Hair et al. (2010) ที่แนะนำให้กำหนดขนาดตัวอย่าง
จากจำนวนตัวแปรสังเกตทีก่ ำหนดให้ 5-20 เท่าของตัวแปรสังเกต ซึ่งงานวิจัยนี้มจี ำนวนตัวแปรสังเกตทัง้ หมด
25 ตัวแปรสังเกต จึงได้จำนวนตัวอยา่ งทัง้ สิ้น 500 ตัวอย่าง โดยเก็บแบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มตวั อย่างแบบ
หลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) 1. สุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling)

430 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

แบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เพื่อแบ่งสัดส่วนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางกับขนาดย่อม

และ 2. สุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) แบบเจาะจง (Purposive

Sampling) เพอ่ื ใหไ้ ด้ตวั แทนกลุ่มตัวอยา่ งทเ่ี ปน็ ตวั แทนทด่ี ขี องประชากร

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ใช้เป็นเครื่องใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น

5 ส่วน ได้แก่

1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบปลายปิดเลือกตอบ จำนวน 7 คำถาม

ประกอบไปด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพทางการสมรส ประเภทของวิสาหกิจ จำนวนพนักงาน

และจำนวนปกี ารประกอบการ

2) แบบสอบถามเกี่ยวกับความสามารถเชิงพลวัต ประกอบไปด้วย ความสามารถด้านนวัตกรรม

ความสามารถด้านการปรับตวั และความสามารถในการดูดซบั จำนวน 10 ขอ้ คำถาม

3) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพของระบบสารสนเทศ ประกอบไปด้วย คุณภาพของสารสนเทศ คุณภาพ

ของระบบ และคณุ ภาพบริการ จำนวน 15 คำถาม

4) แบบสอบถามเกี่ยวกับนวัตกรรมของบริษัท ประกอบไปด้วย นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมด้าน

กระบวนการ และนวตั กรรมด้านการตลาด จำนวน 10 คำถาม

5) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัท ประกอบด้วย ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้าน

กระบวนการภายใน ดา้ นการเรียนรู้และการเติบโต จำนวน 20 คำถาม

ซึ่งแบบสอบถามส่วนที่ 2-5 ใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบ Rating Scale 5 ระดับ โดยนำแบบสอบถามมา

ทดสอบค่าความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ราย และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามจากผู้ที่มีลักษณะ

ใกลเ้ คียงกับกลุ่มตวั อย่างจำนวน 30 คน ซ่ึงหากแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.7 แสดงว่าแบบสอบถาม

มคี วามนา่ เชอ่ื (กลั ยา วานชิ ยบ์ ญั ชาและฐิตา วานิชย์บัญชา, 2558)

ผวู้ ิจัยนำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคณุ ภาพจากผเู้ ชย่ี วชาญแลว้ เฉพาะข้อท่ีอยู่ในเกณฑ์และข้อ

ที่ปรบั ปรุงแลว้ สรา้ งเป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ และนำไปทดลองใช้ (try out) กบั กลุม่ นกั ท่องเท่ียวที่ไม่ใช่

ตัวอย่าง จำนวน 30 คน หลังจากนั้น นำแบบสอบถามมาหาความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถาม

โดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach’s Alpha

Coefficient) (Cronbach, 1974: 161)

ตารางท่ี 1 ผลการวิเคราะหค์ ่าความเที่ยงตรงและความเชื่อม่ัน

ตวั แปร ความเที่ยงตรง ความเชอื่ มน่ั

ความสามารถเชงิ พลวตั 0.67-1.00 0.72-0.77

คณุ ภาพของระบบสารสนเทศ 0.67-1.00 0.70-0.88

นวัตกรรมของบริษัท 0.67-1.00 0.82-0.92

ผลการดำเนนิ งานของบริษทั 0.67-1.00 0.86-0.91

431 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เส้นทาง และ
การวิเคราะห์องคป์ ระกอบเชงิ ยืนยนั

แบบจำลองโครงสร้าง (Structural Model) โดยทดสอบผลกระทบเชิงสาเหตุของความสามารถเชิง
พลวัตและคณุ ภาพของระบบสารสนเทศตอ่ ผลการดำเนินงานของบริษทั ผ้ปู ระกอบการวิสาหกจิ ขนาดกลางและ
ขนาดย่อมในยุคดิจิทัลผ่านนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาดโดยใช้สถิติการวิเคราะห์
เสน้ ทาง (Path Analysis) โดยใชว้ ธิ กี ารวิเคราะหอ์ ทิ ธิพลทางตรงและทางออ้ ม

ทั้งนี้เกณฑ์การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจำลองสมการโครงสร้างตามทฤษฎีกับ
ข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยค่าสถิติต่าง ๆ ได้แก่ ค่า Chi-square ค่า p-value ค่า Chi-square/df ดัชนีวัดระดับ
ความกลมกลืน (GFI) ดัชนีวดั ระดับความกลมกลืนที่ปรับปรุงแล้ว (AGFI) ดัชนีวัดระดับความเหมาะสมพอดีอิง
เกณฑ์ (NFI) ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) และดัชนีวัดความคลาดเคลื่อนในการประมาณ
ค่าพารามเิ ตอร์ (RMSEA) (Hair, et al., 2010)

ตารางท่ี 2 เกณฑก์ ารตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจำลองสมการโครงสรา้ งตามทฤษฎีกับข้อมูล

เชงิ ประจกั ษ์

ดัชนีตรวจสอบ ความหมาย เกณฑก์ ารตรวจสอบ

Chi-square ค่าสถิตไิ คสแควร์ ไมม่ ีนัยสำคัญทางสถติ ิ

Chi-square/df ค่าสถติ ไิ คสแควร์ต่อองศาอสิ ระ ควรมคี า่ น้อยกวา่ 2

GFI ดชั นีวดั ระดับความกลมกลนื ควรมีคา่ มากกว่า 0.90

AGFI ดชั นวี ดั ระดบั ความกลมกลืนที่ปรบั ปรุงแล้ว ควรมคี ่ามากกวา่ 0.90

NFI ดัชนวี ดั ระดบั ความเหมาะสมพอดีองิ เกณฑ์ ควรมีค่ามากกว่า 0.90

CFI คา่ วัดระดบั ความกลมกลนื เปรยี บเทยี บ ควรมีค่ามากกว่า 0.90

RMSEA ค่าความคลาดเคล่อื นในการประมาณค่าพารามเิ ตอร์ ควรมีคา่ นอ้ ยกว่า 0.05

ท่ีมา: Hair, et al., 2010

4. ผลการวิจยั

ขอ้ มลู สว่ นบคุ คลของผ้แู บบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 51.80) อายุ
ในช่วง 31-40 ปี (ร้อยละ 35.40) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 64.20) ระดับการศึกษาสูงสุดได้แก่ ปริญญาตรี
หรือเทียบเท่า (ร้อยละ 59.20) ประเภทของวิสาหกิจอยู่ในกลุ่มการค้า (ร้อยละ 55.00) จำนวนพนักงานอยู่
ในช่วง 51-100 คน (42.80) และจำนวนปใี นการประกอบการคอื 6-10 ปี (ร้อยละ 46.00)
ความสามารถเชิงพลวัต ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.31) โดยลำดับแรกที่ได้รับการประเมินเป็น
ได้แก่ ความสามารถด้านนวัตกรรม (Mean = 4.50) ส่วนลำดับสุดท้ายได้แก่ ความสามารถด้านการปรับตัว
(Mean = 4.20) ความสามารถด้านนวัตกรรมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.36) โดยลำดับแรกท่ี

432 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021


Click to View FlipBook Version