The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mbakru1, 2022-06-29 14:17:53

วารสารวิทยาการจัดการปีที่8ฉบับที่2

Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University

Keywords: วารสารวิทยาการจัดการ

1. บทนำ

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักทำการผลิตสินค้าเกษตรหลากหลายให้ผลผลิต
ตลอดทั้งปี ใช้ในการบริโภคภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกในปี 2562 ขยายตัว
เพมิ่ ข้ึนรอ้ ยละ 30-40 จากปี 2561 ทำให้ไทยสง่ ออกไปทวั่ โลกมากกวา่ 4,000 ลา้ นเหรียญสหรัฐ เป็นครงั้ แรก ตลาด
ที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ เวียดนาม จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ,
2562) ความได้เปรียบเกิดจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และความเชี่ยวชาญของเกษตรกร ส่งผล
ให้ผลผลิตมีคุณภาพ มีรสชาติดีเป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในต่างประเทศอย่างแพร่หลาย (กรม
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ, 2559) ซึ่งจะเห็นได้ว่าการส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และชัดเจนมากในช่วงปี
2562 เกิดจากมาตรฐาน และการควบคุมที่เข้มงวด มีการใหค้ วามรู้จากหน่วยงานภาครฐั แก่เกษตรกรเก่ียวกับปฏิบัติ
ทางการเกษตรท่ดี ีในทุกขั้นตอนของการผลิตส่งผลให้ผักและผลไม้ท่ีส่งออกเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มประเทศต่าง ๆ ใน
เรอื่ งคณุ ภาพสนิ ค้าเกษตรของประเทศไทย

จังหวัดนครปฐมเป็นพ้ืนที่สำคัญในการเพาะปลูกผักและผลไม้เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของ
ทรัพยากรธรรมชาติ ความพร้อมด้านการคมนาคมขนส่ง เกษตรกรมีความรู้ความสามารถด้านการเกษตร รวมทั้งมี
ความได้เปรียบทางด้านทำเลที่ตั้งประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดส่งผลต่อโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจให้มี
ความมัน่ คง มีพาณชิ ยกรรมขนาดใหญ่ และมสี ถานประกอบการเกี่ยวกับการส่งออกผักผลไม้มากถึง 26 บรษิ ัท (กรม
วิชาการเกษตร, 2560) ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรไม่รวมบริษัทที่ทำ การส่งออกผักและผลไม้แปรรูป
และสินค้าเกษตรแปรรูปอื่น ๆ ที่สามารถช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางในการจำหน่ายผักและผลไม้ไปยังต่างประเทศ
ทั้งนี้ ผักและผลไม้ส่งออกของบริษัทในจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย มะพร้าวน้ำหอม ส้มโอ มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่
มะนาว กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ลำไย ขา้ วโพดฝักอ่อน แตงกวา กระเจี๊ยบเขยี ว พริกข้ีหนูใหญ่ หน่อไม้ฝร่ัง ผักคะน้า
ถั่วฝักยาว ผักกวางตุ้ง ผักคื่นไช่ ผักชี ผักบุ้งจีน ผักกะเฉด กระชาย ต้นหอม เป็นต้น (สำนักงานจังหวัดนครปฐม,
2559) อย่างไรก็ตาม การส่งออกผักและผลไม้ยังคงพบปัญหาอยู่มากในด้านการบรรจุหีบห่อ การตรวจสอบความ
สะอาดที่อาจทำให้พบสารเคมี เชื้อจุลินทรีย์ แมลงศัตรูพืช และสุขอนามัยพืชยังเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการ
ต้องเผชิญกับต้นทุนในการสร้างโรงคัดบรรจุก่อนการส่งออก โซ่อุปทานการส่งออกผักและผลไม้ พบว่า เกษตรกร
ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย การบริหารจัดการหลังเก็บเกี่ยวไม่ได้มาตรฐาน กระบวนการขนส่งผลผลิตไม่
เหมาะสมทำใหเ้ กิดการเส่ือมคุณภาพ และพบสารเคมีตกค้างเกินข้อกำหนดของลูกค้า รวมถึงปญั หาที่เกิดจากปัจจัย
ภายนอก คือ ต้นทุนการขนส่ง การกีดกันทางการค้าจากประเทศต่าง ๆ ทั้งในระบบภาษี และที่ไม่ใช่ระบบภาษี
(กรมวิชาการเกษตร, 2558) ซึ่งสอดคล้อง กับภัฐชญา สิทธิสร และคณะ 2558 ที่กล่าวว่าปญั หาการส่งออกผักและ
ผลไม้ไทยมีทั้งในด้านของต้นทุนการผลิตของสินค้าบางชนิดที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งทางการค้า และขาดระบบการ
ขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในด้านการผลิต และการจัดจำหน่ายในต่างประเทศ
ลดลง ทำใหใ้ ช้โอกาสจากตลาดต่างประเทศได้ไม่เต็มท่ี

ดงั นั้น งานวิจยั ครงั้ นจ้ี ึงได้ทำการวิเคราะห์ กำหนดกลยุทธ์ความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ และแนวทาง
การการพัฒนากลยุทธ์การแข่งขัน เพื่อนำผลงานวิจัยที่ได้ใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาด้านข้อมูล การตัดสินใจ

83 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

และเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และเพิ่มศักยภาพแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับกฎหมาย ข้อบังคับ มาตรฐานการค้า
ระหว่างประเทศ ขั้นตอน และวิธีการส่งออกส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ให้มีรายได้ ลดปัญหาของผู้ประกอบการใน
พื้นที่จังหวัดนครปฐม ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเลือกที่จะทำการศึกษาเรื่อง “แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันของ
ธุรกิจสง่ ออกผักและผลไม้ในจังหวัดนครปฐม” ท้ังน้ีเพ่ือเป็นประโยชน์แกผ่ ู้ประกอบการธุรกิจส่งออกผักและผลไม้ที่
ตอ้ งการทราบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญม่ ีการใช้กลยุทธ์อยา่ งไร

วตั ถุประสงค์ของการวจิ ยั
เพอ่ื ศกึ ษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์เพื่อการแขง่ ขนั ของธุรกจิ สง่ ออกผัก และผลไมใ้ นจังหวดั นครปฐม

2. เอกสารและงานวิจยั ทเี่ กยี่ วข้อง

ผ้วู ิจัยไดท้ บทวนวรรณกรรม จากแนวคดิ ทฤษฎี และงานวิจยั ทีเ่ ก่ียวขอ้ ง ตามประเดน็ ดงั ต่อไปนี้
2.1 สภาพแวดล้อมทางธรุ กิจเพอื่ การแข่งขนั ท้ัง 5 ดา้ น (Fives-Forces Model)

ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา (2560: 87-90) กล่าวว่า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อการแข่งขันทั้ง 5
ดา้ นคือ เครือ่ งมอื ทางการจัดการชนดิ หนงึ่ ในการวิเคราะห์ความนา่ สนใจของอุตสาหกรรมเพ่ือสร้างความเข้าใจ
ว่าทำไมอุตสาหกรรมหนง่ึ จึงดกี ว่าอตุ สาหกรรมหนง่ึ และการกำหนดตำแหนง่ ทางการแขง่ ขันเพ่ือโอกาสที่ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม เพื่อเลือกอุตสาหกรรมที่น่าสนใจในการลงทุน ผู้บริหารควรพิจารณาถึงศักยภาพการทำกำไรใน
อุตสาหกรรมว่าอุตสาหกรรมนั้น ๆ มีแรงกดดันทางการแข่งขันรุนแรงเพียงใด และแรงกดดันใดมีอิทธิพลมาก
ทส่ี ุดทั้งในปจั จุบัน และอนาคต

แรงกดดันทางการแข่งขัน 5 ประการตามแนวคิดของ ศาสตราจารย์ Michael E. Porter
ประกอบด้วย (จารณุ ี วงศ์ลิมปยิ ะรัตน,์ 2560: 74-75)

1. อำนาจการคุกคามจากผู้แข่งรายใหม่ การเข้ามาของผู้แข่งรายใหม่ส่งผลต่อปริมาณสินค้าใน
ตลาดรวมถงึ สง่ ผลกระทบต่อราคาสินคา้ ที่มกี ารนำเสนอในตลาดการแขง่ ขัน

2. อำนาจการต่อรองของผู้ค้าในตลาด อำนาจการต่อรองของผู้ค้าในตลาดจะมากกหรือน้อย
ขึ้นกับจำนวนของผู้แข่งขันในตลาดลักษณะและความโดดเด่นของสินค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายใน
การเปล่ยี นไปใชผ้ ลติ ภณั ฑ์ (นวตั กรรมผลติ ภณั ฑห์ รอื นวตั กรรมบริการ) ที่นำเสนอในตลาดการแข่งขนั

3. อำนาจการต่อรองหรือผู้บริโภค อำนาจการต่อรองหรอื ผบู้ ริโภคขน้ึ อยู่ปริมาณข้อมูลที่ผู้ซื้อมีใน
ตลาดการแข่งขนั รวมถงึ ความสามารถในการยอมรับราคาท่กี ำหนดโดยผูข้ ายในตลาด

4. อำนาจการคุกคามจากสินค้าทดแทน สินค้าหรือบรกิ ารบางอย่างทีส่ ามารถทดแทนนวัตกรรม
ผลิตภัณฑ์หรอื บรกิ าร ซ่ึงรวมถึงการรับรูใ้ นคณุ ภาพและราคาของสินคา้ ทดแทนท่ีเขา้ มาแข่งขนั ในตลาด

5. อำนาจความรุนแรงของการแข่งขัน ความรุนแรงของการแข่งขันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
จำนวนผู้แข่งขันในตลาด ตลอดจนขีดความสามารถของผู้ค้ารายอื่นว่าในระดับที่เหนือกว่าองค์กรหรือไม่ ซ่ึง
อาจส่งผลให้องคก์ รจำเปน็ ตอ้ งปรับเปลีย่ นกลยุทธ์ในการดำเนนิ ธรุ กจิ เพื่อใหส้ ามารถแข่งขนั ได้

84 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2.2 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (SWOT)
Humphrey (อ้างถึงใน นันทสารี สุขโต, 2553: 44) หมายถึง การวเิ คราะห์จดุ แข็งจุดอ่อนที่เรียกว่า

การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคที่เรียกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ปัจจัย
ภายในที่สามารถควบคุมได้ประกอบด้วย โครงสร้างองค์กร วัตถุดิบ เทคโนโลยี และระบบการดำเนินงาน
ปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัยที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ประกอบด้วย เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ภัยธรรมชาติ
โรคระบาด คแู่ ขง่ ขัน เปน็ ตน้

2.3 แนวคิด Tows Matrix Analysis
Wheelen and Hunger (อา้ งถงึ ใน วชิ ิต ออู่ ้น, 2549: 119-121) คือ เทคนคิ ในการสร้างทางเลือก

กลยุทธ์ระดับบริษัทในการกำหนดกลยุทธ์ที่กว้าง และค่อนข้างง่ายต่อการเข้าใจมากที่สุด เพราะเป็นการ
พิจารณาจากการที่นำเอาผลจากการวิเคราะห์ SWOT ที่ได้ทำการวิเคราะห์ไว้แล้วมาใช้ประกอบการตัดสินใจ
Tows Matrix มีหลกั เกณฑ์ในการวิเคราะห์ดงั นี้

1. เลิกราหาแผนใหม่ (Retrenchment) เป็นทางเลือกกลยุทธ์ WT ใช้เมื่อการดำเนินธุรกิจของ
องคก์ รมีปัญหาทัง้ จากภายในและภายนอกขององค์กรแตม่ ีผลกระทบกับการดำเนินการ สามารถจำแนกได้ดังน้ี
การรว่ มลงทนุ การลดค่าใชจ้ ่าย การเลิกการผลติ

2. ตั้งรับปรับตัว (Turnaround) เป็นทางเลือกกลยุทธ์ WO ใช้เพื่อการดำเนินงานธุรกิจของ
องค์กรมีปัญหาเนื่องจากปัญหาภายในแต่มีโอกาสและลู่ทางในการดำเนินธุรกิจพัฒนาระบบโครงสร้างภายใน
ใหด้ ขี ึน้ เพอื่ สรา้ งโอกาสหรอื ขอ้ ไดเ้ ปรียบจากสภาวะแวดล้อมภายนอกทีเ่ อื้ออำนวยในการดำเนินธรุ กิจ

3. รัง้ รอขอจงั หวะ (Defensive/Diversify) เป็นทางเลอื กกลยุทธ์ ST เป็นกลยทุ ธท์ ่ีใช้จุดแข็งของ
องคก์ รเอาชนะหรอื หลกี เล่ยี งอปุ สรรคทีเ่ กิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายนอก

4. เร่งบุกรุกเร็ว (Aggressive) เป็นทางเลือกกลยุทธ์ SO เป็นกลยุทธ์ที่องค์กรต้องการจะเป็น
เพราะเปน็ สถานการณท์ ีด่ ีท่ีสุด โดยกลยทุ ธน์ ้ี องคก์ รมีจุดแข็งภายในและนำมาสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ

2.4 ทฤษฎสี ่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)
Kotler (อ้างถึงใน ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, 2541: 335-336) ทฤษฎีส่วนประสมการตลาด

ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริม
การตลาด (Promotion) หรือ 4P’s เป็นองค์ประกอบที่ทำให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนอง ความ
ต้องการ สรา้ งความพงึ พอใจใหก้ ับผูบ้ ริโภค และสามารถทำกำไรเพือ่ บรรลุวัตถปุ ระสงค์ของธุรกจิ

85 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2.5 แนวคิดความได้เปรียบทางการแขง่ ขนั
Porter 1980 (อ้างถึงใน ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, 2550: 168-183) กลยุทธ์ระดับธุรกิจ

(Business Strategy) คือ แผนการบริหารจัดการเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในหน่วยธุรกิจ
ประกอบดว้ ยกลยุทธ์ท่สี ำคญั ดงั นี้

1. กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (differentiation strategy) การนำเสนอผลิตภัณฑ์และ
บริการท่แี ตกต่างจากคแู่ ข่งขันเปน็ ความแตกต่างท่ีมีคุณค่าสำหรับลูกคา้ หรือเป็นวธิ ีการสร้างความแตกต่างโดย
การสรา้ งมูลคา่ เพมิ่ ให้กับสนิ คา้ และบริการ

2. กลยุทธ์ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost leadership strategy) หรอื กลยทุ ธต์ ้นทนุ ต่ำ (Low-
cost strategy) ที่ใช้ในการแข่งขันเมื่อธุรกิจมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งใน
อตุ สาหกรรมนัน้ ในการผลติ สนิ ค้าหรอื บริการสำหรบั ลูกค้าทว่ั ไปที่เปน็ กลุ่มเป้าหมายหรอื เปน็ ความสามารถของ
บริษัทหรือหน่วยธุรกิจในด้านการออกแบบ การผลิต และการตลาด ของผลิตภัณฑ์ที่มีความใกล้เคียงกันได้
อยา่ งมีประสิทธภิ าพด้านตน้ ทนุ ท่ีเหนือกว่าคูแ่ ข่งขนั

3. กลยุทธ์มุ่งเฉพาะส่วน (Focus strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เน้นความได้เปรียบด้านต้นทุนหรือ
ความได้เปรียบด้านความแตกต่างอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมุ่งที่กลุ่มลูกค้าหรือส่วนตลาดที่แคบหรือเป็นการมุ่ง
ส่วนตลาดเดยี วในสายผลิตภัณฑ์

2.6 งานวิจัยที่เกยี่ วขอ้ ง
รชตะ รุ่งตระกูลชัย และคณะ (2562) วิจัยเรื่อง การศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนา

ตลาดที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ พบว่า ปัจจัยที่มีระดับภยั คุกคามต่ำคือ อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์
และภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน ส่วนอำนาจการตอ่ รองของผ้ซู ื้อ ภัยคกุ คามของค่แู ข่งรายใหมแ่ ละการแข่งขัน
กันระหว่างคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมเดียวกันมีระดับภัยคุกคามปานกลาง ผลการประเมินความน่าสนใจใน
การประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ พบว่า อุตสาหกรรมมีความน่าสนใจ ถึงแม้จะมีผู้ผลิตวัตถุดิบประเภท
สารสกัดสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น แต่ยังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยท่ี
เกี่ยวข้องหรือปัจจัยในเรื่องของสภาพแวดล้อมทางด้านอุตสาหกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตลาดที่รองรับ
วัตถุดิบในการผลิต บุคลากรและองค์ความรู้ เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตสาร สกัดจาก
ธรรมชาติมีความน่าสนใจในการลงทุนทำให้โอกาสในการทำธุรกิจน้ี เปิดกว้างขึ้น โอกาสที่จะประสบ
ความสำเร็จน้นั มมี ากข้ึน

วิยะดา ชัยเวช และคณะ (2560) วิจัยเรื่องรูปแบบของกลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันใน
การส่งออกลำไยสดไปยังตลาดอาเซียน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ
เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สง่ ออกลำไยสดจำนวน 150 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพดว้ ยการวเิ คราะหเ์ นื้อหา
(Content Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดย
การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน (Content Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ส่งอออกมี

86 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเพ่ือการแขง่ ขนั 4 รูปแบบ คือ กลยทุ ธ์สร้างความแตกต่างทางการตลาด กลยุทธ์ความ
แตกตา่ งเฉพาะกลุ่ม กลยทุ ธก์ ารสรา้ งความแตกต่างท่ีนวตั กรรม และกลยุทธ์ท่ีมงุ่ เน้นผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยเชิง
ปริมาณ พบว่า ในภาพรวมกลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผล การดำเนินงาน
จากการส่งออก แต่ในตัวแปรย่อยมีเพียงกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างที่การตลาดมีความสัมพันธเ์ ชิงบวกกบั
อตั รากำไรขนั้ ตน้ กำไรสทุ ธิ และการเปล่ยี นแปลงยอดสง่ ออกลำไยสด

มฮู ามัด พลี (2560) วจิ ัยเรอื่ ง สภาพแวดล้อมภายนอกกับความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจ
การคา้ ชายแดน: กรณีศกึ ษาอำเภอตากใบ จงั หวดั นราธวิ าส พบวา่ ปัจจัยสภาพแวดลอ้ มภายนอก ดา้ น
เศรษฐกิจ ด้านสังคมวฒั นธรรม ดา้ นการเมืองและกฎหมาย มคี วามสมั พนั ธใ์ นเชิงบวกกบั ความคาดหวังจากผล
กำไรของผู้ประกอบธุรกิจการค้าชายแดนอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกด้าน
เศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านการเมืองและกฎหมาย และด้านเทคโนโลยีไม่มีผลต่อความคาดหวังด้าน
ยอดขาย และความย่ังยนื ในธุรกิจการค้าชายแดนอำเภอตากใบ จังหวดั นราธิวาส

ศันธนีย์ อุ่นจิตติ (2559) วิจัยเรื่อง กลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐานที่ส่งผลต่อความสำเร็จใน
การประกอบธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก พบว่า กลยุทธ์การแข่งขัน
พื้นฐานมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้ประกอบการไทยและ
เมือ่ พจิ ารณาเป็นรายปจั จัยย่อยของกลยทุ ธ์ การแขง่ ขันพ้นื ฐาน พบว่า กลยทุ ธ์การแขง่ ขันพนื้ ฐานดา้ นการสร้าง
ความแตกต่างมีอิทธิพลตอ่ ความสำเร็จของผู้ประกอบการมากทีส่ ุด รองลงมาได้แก่ กลยุทธ์การแข่งขันพ้นื ฐาน
ด้านการมุ่งตลาดเฉพาะสว่ น และกลยทุ ธ์การแขง่ ขันพ้นื ฐานด้านการเป็นผูน้ ำทางด้านตน้ ทุนรวม ตามลำดบั

ฐิติมนต์ ธนกิติเอื้ออังกูร และคณะ (2559) วิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสร้างตราสินค้าสำหรับ
อุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ไทย พบว่า กลยุทธ์การสร้างตราสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปผักและ
ผลไม้ไทย คือ กลยุทธ์ตามกระบวนทัศน์ที่ชื่อว่า SMART PARADIGM ประกอบด้วย S: Study การวิเคราะห์
ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ ได้แก่ ผู้บริโภค คู่แข่งขัน อุตสาหกรรม สภาพแวดล้อมและความสามารถ M:
Management of strategic elements การบริหารจัดการกำหนดทิศทางและองค์ประกอบตราสินค้า ได้แก่
ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย วิสัยทัศน์ จุดครองใจ คำมั่นสัญญา คุณลักษณะ จุดเด่น ความแตกต่าง ชื่อ โลโก้
สโลแกน สญั ลกั ษณ์ บุคลกิ และบรรจุภณั ฑ์ A: Advantages การสรา้ งความไดเ้ ปรียบทางการแขง่ ขันผา่ นกรอบ
ยุทธศาสตร์การสร้างตราสินค้า ได้แก่ สินค้า ราคา การจัดจำหน่าย การสื่อสารทางการตลาด บุคลากร และ
การผลิต R: Relevance การสร้างความสอดคล้องตรงใจกับความต้องการของผู้บริโภคโดยใช้หลักการของ
ประโยชน์และคุณค่าท่ีจะได้รับ T: Trust การสร้างความศรัทธา เชื่อมั่น ไว้วางใจโดยใช้หลักการของการรับรู้
การเช่ือมโยง ความมชี ื่อเสียง ภาพลกั ษณ์และความภกั ดี

พงศ์วทิ ติ ธัญญกติ ติกุล (2558) วิจัยเรือ่ ง รปู แบบโซอ่ ปุ ทานผลไม้สดของไทยเพ่ือหาแนวทางใน
การเพ่ิมประสิทธภิ าพการจัดการโซ่อปุ ทานผลไม้สดของไทย และวเิ คราะห์โอกาสและอุปสรรคทางธุรกิจใน
การส่งออกผลไมส้ ดของไทยไปยังตลาด สปป.ลาว กรณีศกึ ษามงั คุด ความสามารถการแขง่ ขันในตลาด สปป.
ลาว เครื่องมือในการวิเคราะห์ศกั ยภาพในการแขง่ ขันคือ การวเิ คราะหจ์ ดุ แข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค

87 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

(SWOT Analysis) และการวิเคราะห์โซ่คุณค่า (Value Chain) พบวา่ หว่ งโซ่อุปทานผลไมส้ ดของไทยยังไม่มี
ประสทิ ธภิ าพมากนกั โดยเฉพาะความเชื่อมโยงของระบบการจัดการโลจิสติกส์ และการจัดการโซ่อปุ ทาน
ระหวา่ งภาครัฐและเอกชนรวมไปถึงหนว่ ยงานสนับสนุน แต่ในขณะเดยี วกนั ก็มีโอกาสการคา้ เกิดขนึ้ เนือ่ งจาก
ผบู้ รโิ ภคในตลาด สปป.ลาว มพี ฤติกรรมชอบบริโภคผลไม้ของไทย

3. วิธีดำเนนิ การวิจยั

รปู แบบการศึกษาเปน็ กาวิจัยเชงิ คุณภาพ ข้อมลู ท่ีใชใ้ นการศกึ ษาเป็นข้อมลู ทตุ ยิ ภมู แิ ละปฐมภูมิที่เก็บรวบรวม
จากประชากรและการคัดเลือกกล่มุ ตวั อย่างดงั ต่อไปนี้

3.1 ผใู้ หข้ อ้ มลู หลกั
ผู้ประกอบการส่งออกผักและผลไม้ในจังหวัดนครปฐมหรือตัวแทนในการให้ข้อมูลเพื่อให้ได้

คำตอบตรงตามวัตถุประสงค์ จำนวน 14 ราย ซึ่งผู้วจิ ยั ได้กำหนดเกณฑก์ ารคัดเลอื กกลุม่ ตวั อย่างไว้ดังต่อไปนี้
1. เปน็ ผทู้ ี่มีความรดู้ า้ นการสง่ ออกผกั และผลไม้แชเ่ ย็นในจังหวดั นครปฐม
2. มปี ระสบการณใ์ นการสง่ ออกผกั และผลไม้แช่เย็น มากกวา่ 5 ปี
3. เปน็ สถานประกอบการอนั ดบั 1-20 ท่ีทำการสง่ ออกผัก และผลไม้แช่เย็นในจังหวดั นครปฐม
4. มีความสมคั รใจและยินดีในการให้ขอ้ มลู ตลอดระยะเวลาการวิจยั
5. ขนาดพื้นที่ของกิจการ 5–10 ไร่ มีความครอบคลุมตั้งแต่ในด้านบริหารจัดการการผลิตจนถึง

การสง่ ออกสินค้า

3.2 เคร่ืองมอื ท่ใี ช้ในการวจิ ยั
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างได้จากการทบทวนเอกสารและ

งานวิจัยทเี่ กี่ยวข้อง โดยการหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย (validity, reliability) สตู รการหาคณุ ภาพเคร่ืองมือวิจัย
ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หาความน่าเชื่อถือ (credibility) ของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
ความเทย่ี งตรง (reliability) และความถกู ตอ้ ง (validity โดยแบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ

ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมลู ปจั จยั ด้านองค์การ
ตอนท่ี 2 การวิเคราะห์ SWOT Analysis
ตอนที่ 3 การวิเคราะห์ TOWS Matric
ตอนท่ี 4 วิเคราะห์สภาพแวดลอ้ มทางอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขัน (Five-Forces Model)
ตอนที่ 5 แนวทางการพัฒนากลยทุ ธ์การแข่งขนั

3.3 สถติ ใิ นการวเิ คราะห์ข้อมูล
ได้แก่ สถิติพรรณนา ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลกึ
โดยการนับข้อมูล ซ้ำ ๆ ในผลทไ่ี ด้เพือ่ หาแก่นเรอ่ื งทีผ่ ้ถู ูกสมั ภาษณ์

88 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

4. ผลการวิจัย

การวิเคราะหข์ อ้ มลู ปัจจยั ด้านองคก์ าร
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการธุรกจิ ส่งออกประกอบกิจการประเภทบริษัทจำกัด (ร้อยละ 64) และ
จดทะเบยี นห้างหุ้นส่วนจำกดั (ร้อยละ 36) เป็นกิจการขนาดเล็ก (ร้อยละ 43) กิจการขนาดกลาง (รอ้ ยละ 36)
กิจการขนาดใหญ่ (ร้อยละ 21) ระยะเวลาดำเนินกิจการ 1-5 ปี (ร้อยละ 14) และระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป (ร้อย
ละ 86) และทุนในการเริ่มดำเนินกิจการครั้งแรก พบว่าทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท (ร้อยละ 50) ทุนจด
ทะเบียน 3,000,000 บาท (ร้อยละ 7) ทุนจดทะเบียน 5,000,000 บาท (ร้อยละ 22) ทุนจดทะเบียน
60,000,000 บาท (ร้อยละ 7) และไมแ่ จง้ ทนุ จดทะเบยี นจำนวน 2 ราย (รอ้ ยละ 14)

ตารางที่ 1 การวิเคราะห์ SWOT Analysis

จุดแข็ง (S-Strengths) จดุ ออ่ น (W-Weakness)

S1 บุคลากรมีความชำนาญ มีความพร้อม และ W1 พนักงานใหม่ขาดความเชี่ยวชาญในตำแหน่ง

เพียงพอตอ่ การปฏบิ ัติงาน งานทีไ่ ด้รับผิดชอบ

S2 การบริหารจัดการทางการเงนิ มสี ภาพคลอ่ งสูง W2 ต้นทุนการบริหารจัดการ และการควบคุม

S3 ผลิตภัณฑ์หลากหลาย บรรจุภัณฑ์โดดเด่น และ คุณภาพของผลผลติ ในการดำเนนิ งานสูง

จดจำง่าย ได้การรับรองมาตรฐานของ EU เช่น GAP, W3 การจัดสรรงบประมาณยังไม่สอดคล้องกับ

GMP, HACCP, EL System, ISO 9001, Organic ระยะเวลาและกจิ กรรมทจ่ี ะดำเนนิ การ

S4. มีตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง W4 บริษัทไม่มีการทำการตลาดให้สอดคล้องกับ

สามารถกระจายสนิ คา้ ไดด้ ี ตลาดในรูปแบบปจั จบุ นั เช่น การขายออนไลน์

S5 ควบคุมการผลิตตั้งแตเ่ พาะปลูก เก็บเกีย่ ว ส่งมอบ W5 ผลผลิตของผกั และผลไม้บางชนิดยังไม่สามารถ

มีห้องปฏิบัตกิ าร และมีโรงคดั ผกั ท่ไี ด้มาตรฐาน ผลิตไดต้ ามมาตรฐานของลูกคา้

S6 แผนการดำเนินงานชดั เจน มีความคลอ่ งตัว W6 ธุรกิจครอบครวั ยึดติดกับค่านิยมเกา่ ๆ ยากต่อ

S7 ผู้บริหารมีความเชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่าง การปรบั เปลี่ยนให้เปน็ ไปตามสมยั

ประเทศ และมีเครือขา่ ยในตา่ งประเทศ W7 ประสบการณ์ในการทำธุรกิจส่งออกผักและ

S8 ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจของลูกค้าใน ผลไม้ยังไม่มากพอ

องั กฤษ ยุโรป เอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใตแ้ ละญี่ปุ่น W8 บริษทั ในเครอื ไม่สามารถบริหารจดั การได้อย่าง

S9. มีแหล่งวัตถุดิบหลากหลายเพียงพอต่อ ความ มีประสิทธิภาพ ระบบการผลิตเมื่อลูกค้าสั่งซื้อด่วน

ตอ้ งการของลกู คา้ ตลอดท้งั ปี ไม่สามารถทำตามคำส่งั ซื้อได้อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ

89 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางที่ 1 (ตอ่ )

โอกาส (O-Opportunities) อปุ สรรค (T-Threats)

O1 แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ T1 เศรษฐกิจของไทยและเศรษฐกิจโลกยังไม่ดี

ลูกค้าในต่างประเทศที่หันมานิยมบริโภคอาหาร ส่งผลต่อการซ้ือสนิ ค้าจากตา่ งประเทศลดลง

ไทย และสินค้าเกษตรของไทยมากขึ้น ส่งผลต่อ T2 ราคาสินค้าเกษตรมีความผันผวนยากต่อการ

ต้องการสินค้าประเภทผัก และผลไม้ในตลาด ควบคุมต้นทุน ผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพ

ส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะเป็นสินค้าบริโภคหลัก ภูมิอากาศ ฤดูกาล ปัญหาโลกร้อน วิกฤตภัยแล้ง

และเปน็ สินคา้ ประกอบของอาหาร ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง และการระบาด

O2 สินค้าเกษตรของประเทศไทยมีเอกลักษณ์ ของศตั รพู ชื สร้างความเสยี หายตอ่ การเพาะปลกู

เฉพาะด้านรสชาติ และกลิ่น ทำให้ประเทศไทย T3 ได้รับรายรับน้อยลงผลมาจาก อ ั ต ร า

เป็นแหล่งผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก พื้นที่การ แลกเปลยี่ นของคา่ เงนิ บาทที่แข็งค่าขน้ึ

เพาะปลกู มาก ผลผลิตเปน็ Need Product ลูกคา้ T4. นโยบายภาครัฐในการปรับขึ้นค่าแรงงาน

เชื่อมั่นในสินค้าของประเทศไทยเรื่องมาตรฐาน ส่งผลตอ่ ต้นทุนของบรษิ ัท

คุณภาพ และความปลอดภยั T5 มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น

O3 รัฐบาลมีการส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือ มาตรการด้านสุขอนามัยพืช ขั้นตอนตรวจสอบที่

เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรทั้งส่วนกลางและส่วน เข้มงวดของกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นไปอย่าง

ท้องถิ่น และเปิดโอกาสด้านการค้าระหว่าง เคร่งครัดตามข้อกำหนด กฎระเบียบ และ

ประเทศมากขึน้ ขอ้ บังคบั ของประเทศปลายทาง เปน็ ตน้

O4 เกษตรกรรุ่นใหม่มีศักยภาพ นำเทคโนโลยีใหม่ T6 ระบบโลจสิ ติกสด์ ้านการเกษตรของประเทศยัง

ๆ เข้ามาพัฒนาการเกษตร สร้างความร่วมมือจาก ขาดประสทิ ธิภาพ

เกษตรกรรูปแบบของ Contract farm T7 จำนวนคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มข้ึน

O5 เทคโนโลยี และเครือ่ งจักรกลการเกษตรท่ีเป็น เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสของการส่งออกผักและ

น ว ั ต ก ร ร ม ส า ม าร ถ ท ด แ ท นแ ร งง า น เ พิ่ ม ผลไม้ รวมถึงจำนวนสนิ ค้าทดแทนเพิ่มขึน้

ประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ

สินค้าเกษตร ช่วยลดต้นทุนและเร่งเวลาของ

กระบวนการผลิตได้

O6 ศักยภาพของคูแ่ ข่งขันยังไม่สามารถผลิตสินค้า

ไดต้ ามมาตรฐานเทา่ กับของประเทศไทย

จากตาราง การวิเคราะห์ SWOT Analysis สรุปได้ว่า จุดแข็ง พบว่า บุคลากรภายในธุรกิจส่งออกผกั
และผลไม้ในจังหวัดนครปฐมมีความชำนาญต่อการปฏิบัติงาน มีสภาพคล่องทางการเงิน ผักและผลไม้ มี
คุณภาพ มีตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ง่ายต่อการจดจำ ได้การรับรองสินค้าปลอดภัยตามมาตรฐานของ EU มี
ตัวแทนจำหน่ายทีม่ ีประสิทธิภาพ มีโรงคัดผัก ห้องปฏิบัติการ (Lab) ที่ได้มาตรฐาน มีเครือข่ายในต่างประเทศ

90 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับไว้วางใจของลูกค้า จุดอ่อน พบว่า พนักงานใหม่ขาดความเชี่ยวชาญในตำแหน่งงานที่ได้
รับผิดชอบ ต้นทนุ การบรหิ ารจัดการและการควบคุมคุณภาพของผลผลิตสูง บรษิ ทั ไม่มรี ปู แบบการทำตลาดให้
สอดคล้องกับตลาดในปัจจุบัน เช่น การขายออนไลน์ ผลผลิตของผักและผลไม้บางชนิดยังไม่สามารถผลิตได้
ตามมาตรฐานของลูกค้า ยึดติดกับค่านิยมเก่า ๆ โอกาส พบว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแนวโน้มของ
ลูกค้าในต่างประเทศที่หันมานิยมบริโภคอาหารไทยรวมถึงสินค้าเกษตรของไทยเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะเป็นสิ นค้า
บริโภคหลัก และเป็นสินค้าประกอบของอาหาร มีเอกลักษณ์เฉพาะด้านรสชาติและกลิ่นจึงเป็น Need
Product ลูกค้าเชื่อมั่นในสินค้าของประเทศไทยเรื่องมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย รัฐบาลส่งเสริม
สนับสนุน เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นและเปิดโอกาสด้านการค้าระหว่างประเทศ
มากขึ้น เกษตรกรรุ่นใหม่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาพัฒนาการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้าง
ความร่วมมือในรูปแบบของ Contract farming อุปสรรค พบว่า เศรษฐกิจของไทยและเศรษฐกิจโลกยังไม่ดี
ส่งผลต่อการซือ้ ส่ังสินค้าจากต่างประเทศลดลง ราคาสินค้าเกษตรมีความผนั ผวนยากต่อการควบคุมผลมาจาก
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาล ปัญหาโลกร้อน วิกฤตภัยแล้ง ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง
และการระบาดของศัตรูพชื สร้างความเสียหายต่อการเพาะปลูก รายรบั นอ้ ยลงผลมาจากอัตราแลกเปล่ียนของ
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยพืช ขั้นตอน
ตรวจสอบที่เข้มงวดของกลุ่มสหภาพยุโรปเกี่ยวกับมาตรฐานของสินค้าที่ส่งออกต้องเป็นไปอย่างเคร่งครัด
ระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตรของประเทศยังขาดประสิทธิภาพ จำนวนคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น
เน่ืองจากเลง็ เห็นโอกาสของการสง่ ออกผักและผลไมร้ วมถงึ จำนวนสินค้าทดแทนเพ่มิ ขน้ึ

ตารางที่ 2 การวิเคราะห์ TOWS Matrix

SO (เชิงรุก) WO (เชิงแกไ้ ข)

S105 สง่ เสรมิ การใช้เทคโนโลยีและเคร่ืองจักรกลทาง W1O5 ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรโดยการนำ

การเกษตรในเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดเวลา เทคโนโลยเี ขา้ มาชว่ ยเพิ่มประสิทธภิ าพในการทำงาน

สรา้ งมูลคา่ เพ่มิ ให้กับสินคา้ เกษตรและลดต้นทุน W4O1 ปรับปรุงรูปแบบการทำตลาด หาช่องทาง

S3O2 สร้างความเชื่อมั่นด้วยมาตรฐาน คุณภาพ การตลาดใหม่ ๆ รองรบั ยอดส่ังซือ้ ที่เพมิ่ ข้นึ

ความปลอดภัย และบรรจุภัณฑ์ให้โดดเด่น สวยงาม W5O3 บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ

สะดดุ ตาและจดจำง่าย เอกชน โดยวางนโยบายที่เป็นรูปธรรมและสามารถ

S4O1 เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้หลากหลาย ปฏบิ ัติไดจ้ รงิ เกย่ี วกบั มาตรฐานส่งออกสนิ คา้ เกษตร

เช่น internet, social media, ตลาดประมูล เป็นตน้ W5O4 บูรณาการความร่วมมือระหว่างบริษัทและ

S8O1 พัฒนาสินค้าใหม้ ีความหลากหลาย สร้างความ เกษตรกรในรปู แบบของ Contract farm

จงรักภักดีต่อตราสินค้า W8O1 ปรับปรุงขั้นตอน วิธีการบริหารจัดการและ

S9O3 ขยายตลาดไปยังประเทศที่เป็นตลาดใหม่ที่มี คำสั่งซื้อดว่ น 60 ชว่ั โมงจากฟารม์ สผู่ บู้ รโิ ภค

ศกั ยภาพ เชน่ สแกนดิเนเวีย ประเทศจีน เปน็ ตน้

91 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางท่ี 2 (ตอ่ )

ST (เชงิ ป้องกนั ) WT (เชิงรับ)

S3T3 วิจยั พฤติกรรมผบู้ ริโภคในตลาดต่างประเทศ W2T6 บริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพท้ัง

S5T2 วจิ ัยเพื่อพฒั นาผลติ ภัณฑ์ การรกั ษาคุณภาพ ด้านการผลิต และระบบโลจสิ ตกิ ส์

S9T2 สรา้ งเครือขา่ ยในรปู แบบ Contract farm W5T5 ควบคุมขั้นตอนการผลิต และฝึกอบรมผู้ท่ี

เกี่ยวข้องกับการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยพืช

กฎระเบียบ และข้อบงั คบั ของประเทศปลายทาง

W8T6 บริหารจัดการและเลือกระบบการขนส่ง

และโลจิสตกิ ส์ดา้ นการเกษตร

จากตาราง การวิเคราะห์ TOWS Matrix สรุปได้ว่า เชิงรุก พบว่า ควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และ
เคร่อื งจักรกลในการเพ่ิมประสิทธิภาพ การผลติ ลดเวลา สร้างมูลคา่ เพมิ่ ใหก้ บั สินค้าเกษตรและลดตน้ ทนุ สร้าง
ความเชื่อมั่นด้วยมาตรฐาน คุณภาพ ความปลอดภัย และสร้างบรรจุภัณฑ์ให้โดดเด่น สวยงาม สะดุดตา และ
จดจำง่าย ควรเพิม่ ชอ่ งทางการจัดจำหนา่ ยให้มีความหลากหลาย เชน่ internet, social media, ตลาดประมูล
เป็นต้น และพัฒนาสนิ ค้าให้มีความหลากหลาย สร้างความจงรักภักดีต่อตราสินค้า ขยายตลาดไปยงั ประเทศท่ี
เป็นตลาดใหมท่ ่ีมศี ักยภาพ เชิงแก้ไข พบว่า ควรส่งเสริม และพัฒนาบุคลากร โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ปรับปรุงรูปแบบการทำตลาด หาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ บูรณาการความ
รว่ มมือระหว่างบริษัทและเกษตรกรในรูปแบบของ Contract farming ปรับปรงุ ขัน้ ตอน วิธีการบริหารจัดการ
เชิงป้องกัน พบว่า ควรมีการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ วิจัยเพือ่ พัฒนาผลิตภณั ฑ์ การรักษา
คุณภาพ สร้างพันธมิตรเคร่ืองข่ายในรูปแบบ Contract farming เชิงรับ พบว่า ควรมีการบรหิ ารจัดการต้นทุน
ให้มปี ระสทิ ธภิ าพทั้งดา้ นการผลิต และระบบโลจสิ ตกิ ส์ ควบคุมกระบวนการข้ันตอนการผลิต และฝึกอบรมผู้ท่ี
เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยพืช กฎระเบียบ และข้อบังคับของประเทศปลายทาง บริหาร
จัดการและเลือกระบบการขนส่ง และโลจสิ ตกิ ส์ดา้ นการเกษตร

วิเคราะหส์ ภาพแวดลอ้ มทางอุตสาหกรรมเพือ่ การแขง่ ขัน (Five-Forces Model)
4.1 อำนาจการคุกคามจากคู่แขง่ ขันรายใหม่
คแู่ ข่งรายใหมส่ ำหรับธุรกิจสง่ ออกผกั และผลไม้ทผี่ ่านมาพบวา่ มผี ปู้ ระกอบการหนา้ ใหม่ เขา้ มาใน

อุตสาหกรรมไมม่ าก เน่อื งจากขอ้ กำหนดระเบยี บมคี วามยงุ่ ยาก
4.2 อำนาจในการต่อรองของผ้ขู ายปจั จัยการผลติ
บริษทั มีอำนาจตอ่ รองสงู กว่าเกษตรกร เพราะปรมิ าณในการสงั่ ซื้อแตล่ ะครง้ั มีมาก และมแี หล่งรับ

ซื้อจากภายในจังหวัดนครปฐม และจังหวัดอื่น ๆ ถือว่าบริษัทเป็นลูกค้ารายหลักของผู้จำหนา่ ยปัจจัยการผลติ

92 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

(เกษตรกร) บริษัทยังมีอำนาจในการควบคุมกระบวนการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกร แนะนำวิธีการเพาะปลูก
การให้น้ำ การใหป้ ุย๋ การเกบ็ เกย่ี ว การเก็บรักษา เพือ่ เพิ่มประสทิ ธิภาพของผลผลติ กอ่ นนำเข้าสู่บริษทั

4.3 อำนาจในการตอ่ รองของลกู ค้า
กลุ่มลกู คา้ ประกอบไปด้วยซปุ เปอร์มาร์เกต็ ขนาดใหญ่ไปจนถงึ ร้านขายผลไม้ขนาดเล็ก ร้านอาหาร

ไทย โรงแรม ซง่ึ ตลาดสง่ ออกทสี่ ำคญั ของผกั และผลไมส้ ด คือ เวียดนาม จนี ฮอ่ งกง ญ่ปี ่นุ และสหรฐั อเมรกิ า ที่
มสี ัดสว่ นประมาณร้อยละ 80 ของตลาดสง่ ออกทั้งหมด และในบางประเทศมีภูมิอากาศไมส่ ามารถเพาะปลูกได้
จึงสง่ ผลใหม้ ีการนำเขา้ ผักและผลไมจ้ ากประเทศไทยอย่างตอ่ เนื่อง

4.4 อำนาจคกุ คามจากสินค้าทดแทน
ภายในอตุ สาหกรรมผักและผลไม้ของไทยต้องเผชิญกับคู่แขง่ ภายในของประเทศผู้นำเขา้ ทส่ี ามารถ

เพราะปลูกสินค้าทดแทนจากไทย ได้แก่ ผักชี และโหระพา เป็นต้น ซึ่งมีขนาดใหญ่ แต่ไร้ซึ่งกลิ่นและรสชาติ
แต่บริษัทมีความได้เปรียบเนื่องจากผักและผลไม้ของไทยมีกลิ่นและรสชาติที่ดีกว่า ดังนั้น สินค้าทดแทนจาก
ประเทศผู้นำเข้าจึงไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัท และพบว่ายังไม่มีสินค้าทดแทนของประเทศผู้นำเข้าที่สามารถ
ทดแทนกันได้

4.5 อำนาจความรนุ แรงของการแขง่ ขนั ภายในอุตสาหกรรม
การเตบิ โตของธรุ กิจส่งออกผักและผลไม้เป็นไปในทิศทางเดยี วกับดชั นรี าคาผู้บรโิ ภค ธุรกิจขนาด

เล็กจะมีความผันผวนต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาค่อนข้างสูง ในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่สามารถรักษาอัตรา
การเติบโตของรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง ธุรกิจส่งออกผัก และผลไม้มีการปรับเข้าสู่รูปแบบนิติบุคคลมากขึ้ น
สบื เน่อื งจากสภาวะการแข่งขนั ท้งั จากภายใน และนอกประเทศ จงึ สง่ ผลใหผ้ ู้ประกอบการใช้รปู แบบการดำเนิน
ธรุ กิจทน่ี า่ เช่ือถือ สนิ คา้ มีคณุ ภาพ และมาตรฐาน

แนวทางการพัฒนากลยทุ ธก์ ารแขง่ ขัน
กลยุทธ์ที่กจิ การนำมาใช้ในการแขง่ ขนั ของธุรกจิ ส่งออกผัก และผลไม้จากการสมั ภาษณ์ผู้ประกอบการ
และตัวแทนผู้ประกอบการ ได้ข้อสรุปของการใช้กลยุทธ์ของกิจการในการส่งออกผักและผลไม้ ได้แก่ กลยุทธ์
การสร้างความแตกต่าง ประกอบไปด้วย การกระตุ้นให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์
เดมิ ให้ดีข้ึนถงึ แม้วา่ ต้นทุนจะสงู ข้นึ มีการพฒั นาผลติ ภัณฑใ์ หม่ ๆ อยู่เสมอ มีการวจิ ยั มกี ารนำนวตั กรรมใหม่ ๆ
เข้ามาใช้จัดการเกีย่ วกับผลิตภัณฑ์ในการส่งออก มีบรรจุภัณฑ์ทีเ่ ปน็ เอกลักษณ์ มีความน่าเชื่อถือของตัวแทน
จำหน่าย มีชอ่ งทางการจัดจำหน่าย และจัดแสดงสินค้าตามงานตา่ ง ๆ เพ่อื เข้าถึงลกู คา้ ได้มากขนึ้ มศี ักยภาพใน
การส่งมอบ เช่น รวดเร็ว ครบถ้วน ตรงเวลา ปลอดภัย รองลงมา คือ กลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
ซึ่งประกอบไปด้วยมีผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม มีการมุ่งเน้นความเป็นเลิศ และ
นำเสนอผลติ ภัณฑ์ที่ดกี ว่าคูแ่ ข่งขัน และมีการกำหนดราคาทแี่ ตกตา่ งในแตล่ ะกลุ่ม

93 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

5. สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1. สรปุ และอภปิ รายผล
สรุปไดว้ ่า สภาพแวดลอ้ มทางธุรกิจสง่ ออกผักและผลไม้ในจังหวัดนครปฐม ผลการวจิ ยั พบว่า ท้ัง

สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของกิจการประกอบไปด้วย ด้านทรัพยากรบุคคล ด้าน
การเงิน ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการจัดการ และสภาพแวดล้อมภายนอกกิจการ ประกอบไปด้วย
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี คู่แข่งขัน ปัจจัยต่าง ๆ มีผลกระทบต่อ ผล
ประกอบการ และผลในการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งมีความสำคัญต่อการแข่งขันของธุรกิจในช่วงเวลาท่ี
แตกต่าง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ฮามัด พลี (2560) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง สภาพแวดล้อมภายนอกกับ
ความคาดหวังของผู้ประกอบการธุรกิจการค้าชายแดน: กรณีศึกษาอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พบว่า
ปจั จยั สภาพแวดล้อมภายนอก ด้านเศรษฐกจิ ดา้ นสงั คมวฒั นธรรม ดา้ นการเมอื งและกฎหมาย มคี วามสัมพันธ์
ในเชิงบวกกับความคาดหวังจากผลกำไรของผู้ประกอบธุรกิจการค้าชายแดนอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านการเมืองและกฎหมาย และด้าน
เทคโนโลยไี ม่มผี ลต่อความคาดหวงั ดา้ นยอดขาย และความยงั่ ยืนในธุรกจิ การคา้ ชายแดน

สรุปได้ว่า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อการแข่งขันทั้ง 5 ด้าน (Fives-Forces Model) ของธุรกิจ
ส่งออกผัก และผลไม้ในจังหวัดนครปฐม พบว่า อำนาจการคุกคามที่ไม่รุนแรง ได้แก่ อำนาจคุกคามจาก คู่
แข่งขันรายใหม่ อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต และอำนาจคุกคามจากสินค้าทดแทน ส่วนอำนาจ
การคุกคามที่รุนแรงระดับกลาง ได้แก่ อำนาจความรุนแรงของการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม และอำนาจใน
การต่อรองของลูกค้า เพราะเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ และปริมาณการสั่งซื้อมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจยั ของ รชตะ
ร่งุ ตระกูลชยั และคณะ (2562) การวิจัยเรื่อง การศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาตลาดที่ใช้สารสกัด
จากธรรมชาติ พบว่า ปัจจยั ทีม่ รี ะดบั ภัยคกุ คามตำ่ คอื อำนาจการตอ่ รองของซัพพลายเออร์ และภัยคกุ คามจาก
สินค้าทดแทน ส่วนอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ ภัยคุกคามของคู่แข่งรายใหม่ และการแข่งขันกันระหว่างคู่แขง่
ภายในอตุ สาหกรรมเดียวกันมรี ะดับภยั คุกคามปานกลาง ผลการประเมินความน่าสนใจในการประกอบธุรกิจใน
อุตสาหกรรมนี้ พบวา่ อตุ สาหกรรมมคี วามนา่ สนใจ ถึงแม้จะมีผผู้ ลติ วัตถดุ บิ ประเภทสารสกดั สมุนไพรเพม่ิ มาก
ข้นึ แตย่ ังมจี ำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผบู้ รโิ ภคทีเ่ พม่ิ ข้นึ

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจส่งออกผักและผลไม้ใน
จังหวัดนครปฐม คือ กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ประกอบไปด้วย การกระตุ้นให้พนักงานมีความคิด
สร้างสรรค์ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้ดีขึ้นถึงแม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้น มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
มีการวิจัย มีการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้จัดการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในการส่งออก มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็น
เอกลกั ษณ์ มีความน่าเชอ่ื ถือของตวั แทนจำหนา่ ย มีชอ่ งทางการจัดจำหน่าย และจัดแสดงสินคา้ ตามงานต่าง ๆ
เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น มีศักยภาพในการส่งมอบ เช่น รวดเร็ว ครบถ้วน ตรงเวลา ปลอดภัย ซึ่งสอดคล้อง
กับงานวิจัยของ ศันธนีย์ อุ่นจิตติ (2559) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐานท่ีสง่ ผลต่อความสำเรจ็
ในการประกอบธรุ กจิ ส่งออกสนิ ค้าเกษตรอินทรียข์ องผ้ปู ระกอบการไทยในตลาดโลก ผลการวจิ ัยพบวา่ กลยุทธ์

94 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การแขง่ ขนั พ้นื ฐานมอี ิทธิพลตอ่ ความสำเรจ็ ในการประกอบธรุ กิจสง่ ออกสินคา้ เกษตรอินทรีย์ของผู้ประกอบการ
ไทย พบว่า กลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐานด้านการสรา้ งความแตกต่างมอี ิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ
มากที่สุด นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับการศึกษาของ วิยะดา ชัยเวช และคณะ (2560) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง
รูปแบบของกลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขนั ในการส่งออกลำไยสดไปยังตลาดอาเซียนท่ีมีผลต่อผลดำเนนิ งาน
จากการส่งออกของกิจการ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ส่งอออกมีรูปแบบกลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขัน 4 รูปแบบ
คือ กลยุทธ์สร้างความแตกต่างทางการตลาด กลยทุ ธ์ความแตกต่างเฉพาะกลุ่ม กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง
ทีน่ วตั กรรม และกลยุทธ์ท่ีม่งุ เนน้ ผลติ ภณั ฑ์

5.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจส่งออกผัก และผลไม้ ได้ข้อเสนอแนะ สำหรับการ
พฒั นากลยทุ ธก์ ารแขง่ ขนั ดงั น้ี
แผนระยะสน้ั
1. สรา้ งเอกลกั ษณใ์ หก้ บั ผลติ ภณั ฑ์
2. สร้างคุณภาพใหก้ ับผลิตภณั ฑ์ เช่น ปลอดภัย สะอาด ใหม่ สด
3. สรา้ งความสัมพนั ธ์อนั ดีกับลกู ค้า และตัวแทนจำหนา่ ยในต่างประเทศ
4. ใหค้ วามสำคญั กบั มาตรฐาน ข้อกำหนดของประเทศผู้ซ้อื
แผนระยะกลาง
1. สร้างภาพลกั ษณท์ ี่ดี เช่น ความน่าเช่ือถือ ความเชอ่ื มนั่ ความไววางใจ
2. ให้ความสำคญั กับลูกคา้ ศกึ ษาพฤตกิ รรม และตอบสนองความตอ้ งการให้กับลกู ค้า
3. สร้างความแตกต่างด้านการส่งมอบสินคา้ เชน่ รวดเรว็ ครบถว้ น ตรงเวลา และปลอดภยั
แผนระยะยาว
1. สรา้ งบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในงานอย่างถูกต้องจนเป็นระบบที่มนั่ คง
2. สร้างความแตกตา่ งใหก้ ับผลติ ภัณฑ์อย่างชัดเจน เช่น ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ราคา ช่อง
ทางการจัดจำหน่าย และการสง่ เสริมการตลาด

5.3 ข้อเสนอแนะเพอื่ การวิจัยในคร้ังต่อไป
1. งานวิจัยที่ศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจส่งออกผักและ

ผลไม้ ในจงั หวดั นครปฐม ประเดน็ ที่ควรศกึ ษาในการวจิ ยั ครั้งต่อไปดา้ นปจั จัยท่ีมีผลต่อการตัดสนิ ใจซื้อผัก และ
ผลไม้ของผูบ้ ริโภคในต่างประเทศเพื่อที่จะได้นำขอ้ มูลดังกล่าวมาใช้ในการวางแผนการผลิต การบริหารจัดการ
ตลอดห่วงโซ่อปุ ทานผกั และผลไม้ของประเทศไทยได้

95 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

2. การทำวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาพฤติกรรมการซื้อผักและผลไม้ผา่ นชอ่ งทางออนไลน์ของผู้บริโภค
ในต่างประเทศ เพื่อได้นำข้อมูลมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ การส่งมอบ และช่องทางการจัดจำหน่ายในรูปแบบ
ออนไลนเ์ พื่อตอบสนองความตอ้ งการของผบู้ รโิ ภค

เอกสารอ้างองิ

กรมวชิ าการเกษตร. (2560). จำนวนบริษัทเกย่ี วกับสง่ ออกผกั ผลไมแ้ ช่เย็น แชแ่ ข็ง และแหง้ . [ออนไลน์].
คน้ เม่ือ: 28 ตุลาคม 2561 จาก http://www.doa.go.th/

กรมวิชาการเกษตร. (2558). ปญั หาและอุปสรรคในโซ่อปุ ทานส่งออกผักและผลไม.้ [ออนไลน์]. ค้นเม่อื : 28
ตุลาคม 2561 จาก http://www.doa.go.th/

กรมเศรษฐกิจระหวา่ งประเทศ. (2559). เศรษฐกจิ ประเทศไทย. [ออนไลน์]. คน้ เมอื่ : 28 ตลุ าคม 2561
จาก http://www.mfa.go.th/

กรมสง่ เสรมิ การค้าระหว่างประเทศ. (2562). พาณิชยเ์ ปิดแผนดันยอดสง่ ออกผลไมส้ ด-แปรรปู ท่ัวโลก.
[ออนไลน์]. คน้ เมอ่ื : 22 มกราคม 2563 จาก https://gnews.apps.go.th/news?news=38674

จารณุ ี วงศล์ ิมปิยะรัตน.์ (2560). การบรหิ ารเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์. กรงุ เทพมหานคร. สำนักพิมพ์แหง่
จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.

ฐิติมนต์ ธนกิติเอื้ออังกูร ศรีสุดา จงสิทธิผล เสรี วงษ์มณฑา และชุษณะ เตชคณา. (2559). กลยุทธ์การสร้าง
ตราสนิ ค้าสำหรบั อุตสาหกรรมแปรรปู ผกั และผลไม้ไทย. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ. 11 (1),
109-120.

นันทสารี สขุ โต. (2553). การตลาดระดับโลก. (พิมพ์คร้ังท่ี 3). กรุงเทพมหานคร. มหาวทิ ยาลัยธุรกจิ บัณฑิต.
ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา. (2560). การจัดการเชิงกลยทุ ธ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม. (พิมพ์คร้งั ที่ 5).

กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั .
พงศว์ ทิ ติ ธญั ญกิตตกิ ลุ . (2558). โอกาสและอปุ สรรคการจัดการโซ่อปุ ทานผลไม้สดเพ่ือการสง่ ออกไปตลาด

สปป.ลาว กรณีศกึ ษามังคุด. วทิ ยานพิ นธ์ปริญญามหาบณั ฑติ มหาวทิ ยาลัยแมฟ่ า้ หลวง.
ภัฐชญา สทิ ธสิ ร กดิ าการ สายธนู และจตภุ ัทร เมฆพายพั . (2558). การประเมินมูลคา่ การส่งออกผลไม้ไทยดว้ ย

การวเิ คราะห์แบ่งกลุ่ม วารสารพชื ศาสตร์สงขลานครนิ ทร์. 5 (4). 1-7.
มูฮามัด พล.ี (2560). สภาพแวดล้อมภายนอกกบั ความคาดหวังของผู้ประกอบการธรุ กจิ การค้าชายแดน:

กรณศี ึกษาอำเภอตากใบ จงั หวดั นราธวิ าส. บริหารธุรกจิ มหาบณั ฑติ บัณฑติ วทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั
ราชภัฏยะลา.
รชตะ ร่งุ ตระกูลชัย วฒุ ิ สขุ เจรญิ อนุพงศ์ อวิรทุ ธา และวชั รินทร์ โชตชิ ยั ชรินทร์. (2562). การศึกษาและ
วิเคราะหแ์ นวทางในการพัฒนาตลาดทใี่ ช้สารสกดั จากธรรมชาติ. TNI Journal of Business
Administration and Languages. 7 (1), 75-82.

96 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

วิชิต อู่อ้น. (2549). การจัดการเชิงกลยุทธ์: ขั้นตอนและวิธีการวิเคราะหก์ รณศี ึกษาเชิงกลยุทธ์ แผนธุรกิจ
เชงิ กลยทุ ธ.์ (พิมพ์คร้งั ที่ 3). กรงุ เทพมหานคร. บรษิ ัท พรนิ ทแ์ อทมี (ประเทศไทย).

วยิ ะดา ชัยเวช วชิ ญานัน รัตนวิบูลย์สม และปรดี า ศรีนฤวรรณ. (2560). กลยุทธก์ ารตลาดเพอ่ื การแขง่ ขนั ของ
บริษัทผสู้ ง่ ออกลำไยสดของไทยในตลาดประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี น. วารสารการวิจยั เพ่อื พัฒนา
ชมุ ชน. 11 (1), 151-166

ศนั ธนีย์ อุน่ จติ ต.ิ (2559). กลยุทธ์การแข่งขนั พืน้ ฐานทสี่ ่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกจิ สง่ ออก
สนิ ค้าเกษตรอนิ ทรีย์ของผปู้ ระกอบการไทยในตลาดโลก. วทิ ยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑติ
มหาวิทยาลยั กรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และปริญ ลักษิตานนท์ศุภร. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร.
บริษทั ธีระฟลิ ์มและไซเท็กซ์ จำกัด.

ศิรวิ รรณ เสรีรตั น์ และปริญ ลกั ษิตานนทศ์ ภุ ร. (2550). กลยุทธ์การตลาดและการบรหิ ารเชิงกลยุทธ์โดยมุ่งท่ี
ตลาด. กรุงเทพมหานคร. บรษิ ทั ธนธัชการพิมพ์.

สำนกั งานจังหวดั นครปฐม. (2559). ผลผลติ ทส่ี รา้ งชื่อเสียงใหจ้ ังหวัดนครปฐม. [ออนไลน์]. ค้นเม่ือ: 28
ตลุ าคม 2561 จาก http://www.nakhonpathom.go.th/

97 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ภาวะผ้นู ำแห่งการเปลีย่ นแปลงยุค 4.0 ของผูบ้ ริหารองคก์ ารบริหารส่วนตำบล
ในเขตอำเภอบา้ นแหลม จังหวัดเพชรบุรี

Leadership of Change in the 4.0 Era of District Administrative Administrators
in Ban Laem District Phetchaburi Province

กฤตยา กำไลแก้ว*
(Khittaya Khumlaikaew)

บทคดั ยอ่

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การ
บริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี (2) ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ของผู้บริหาร
องค์การบรหิ ารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวดั เพชรบรุ ี (3) ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ท่มี ีอิทธิพล
กับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่เป็น ข้าราชการ พนักงานจ้างตามภารกิจ และลูกจ้างชั่วคราวของ
องคก์ ารบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบา้ นแหลม จงั หวัดเพชรบรุ ี จำนวน 130 คน จากประชากรทั้งสิ้นจำนวน 282 คน และ
ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และสถติ เิ ชงิ อนุมาน โดยใช้สถติ กิ ารวเิ คราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวจิ ยั พบวา่
1. ระดับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้าน
แหลม จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมและรายด้าน มีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก เรียง
ตามลำดับ ดังนี้ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการประเมินวิสัยทศั น์ ด้านการสร้างวิสัยทศั น์ ด้านการปฏิบัติ
ตามวิสยั ทศั น์ และด้านการเผยแพรว่ สิ ยั ทัศน์
2. ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัด
เพชรบุรี ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ การประสานพลังระหว่าง
ภาครฐั และภาคส่วนอ่ืน ๆ ในสังคม ด้านการปรบั ตัวเข้าสรู่ ะบบดจิ ทิ ลั และดา้ นการสรา้ งนวตั กรรม

*วิทยานิพนธห์ ลักสตู รรัฐประศาสนศาสตรมหาบณั ฑติ คณะรฐั ประศาสนศาสตรแ์ ละสงั คมศึกษา มหาวทิ ยาลัยนานาชาตแิ สตม
ฟอร์ด วิทยาเขตหวั หิน 76120 ภายใต้การควบคมุ ของอาจารย์ ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.บำเพญ็ ไมตรโี สภณ
Thesis Master of Public Administration Program Thesis Faculty of Public Administration and Social Studies
Stamford International University Hua Hin Campus 76120
Corresponding author: [email protected]

98 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3. ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ด้านการสร้างนวัตกรรม มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการ
เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิตทิ ่ีระดับ 0.001 ดา้ นประสานพลังระหวา่ งภาครฐั และภาคสว่ นอ่ืน ๆ ในสังคม และดา้ นการปรับตัวเข้า
สรู่ ะบบดิจิทัล มีอทิ ธิพลกบั ภาวะผู้นำแห่งการเปล่ยี นแปลงของผู้บริหารองคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลในเขตอำเภอ
บ้านแหลม จงั หวัดเพชรบุรี อยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถติ ทิ ่ีระดบั 0.01 สมการมอี ำนาจการพยากรณร์ ้อยละ 57.70
สมการการวิเคราะหถ์ ดถอยพหคุ ูณ คอื

Ŷ = 0.527 + 0.259 (x1) + 0.318 (x2) + 0.282 (x3)

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำแหง่ การเปลี่ยนแปลง, ระบบราชการ 4.0, ผูบ้ รหิ ารองค์การบริหารส่วนตำบล

ABSTRACT

This research aimed to study: (1) level of leadership of change of the administrators of subdistrict
administrative organizations in Ban Laem District Phetchaburi Province (2) success of bureaucratic 4.0
system of the subdistrict administrative organization administrators in Ban Laem District Phetchaburi
Province (3) success of the bureaucratic system 4.0 with a logical relationship with the leadership of
the change of the administrators of the sub-district administration organization in Ban Laem District
Phetchaburi Province The sample group used in the research was personnel who were civil servants,
staff and employees of the Subdistrict Administration Organization in Ban Laem District. Phetchaburi
Province, amount 130 people of the total population of 282, the sample was determined using the
quota random sampling. Data were treated and analyzed by using descriptive and Inferential
Statistics methods, which were percentage, mean, standard deviation and Multiple Regression
Analysis.

Findings:
1 . The level of leadership of change of the administrators of the subdistrict
administrative organizations in Ban Laem District Phetchaburi Province in the overall and in
each aspect, there is a leadership level of change at a high level in the following order: for
being a good role model Vision evaluation Vision creation Vision Compliance and in the field
of vision distribution
2. Success factors of the bureaucratic system 4.0 of the administrators of the subdistrict
administrative organizations in Ban Laem District Phetchaburi Province In overall and in each

99 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

aspect, it was practiced at a high level in the following order Power coordination between
government and other sectors in the digital adaptation society and in the field of innovation

3 . There were casual relationships between Government success factors in terms of
Innovation, Collaboration, and Digitalization Aspects and transformational leadership at a
statistic significance of 0.001 and 0.01 respectively, the equation has 57.70% predictive power.
The multiple regression analysis equations are: Ŷ = 0.527 + 0.259 (x1) + 0.318 (x2) + 0.282 (x3)

Keywords: Leadership of Change, Bureaucratic System 4.0, Administrators of Subdistrict
Administration Organizations

Article history: Received 3 August 2020
Revised 14 October 2020
Accepted 16 October 2020
SIMILARITY INDEX = 2.62 %

1. บทนำ

การพัฒนาระบบราชการที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)
ได้ให้ ความสำคัญกับการเปิดระบบราชการ ให้ประชาชนหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยที่กระแส การปฏิรูป
ภาครัฐ (Public Sector Reform) ทีม่ ุ่งแสวงหาแนวทางท่ีเหมาะสม ในการสรา้ งระบบบรหิ ารงานภาครัฐ ให้มี
ความทนั สมยั มีความคลอ่ งตัว มีความคุ้มค่า มปี ระสทิ ธิภาพ จะสรา้ งการมีส่วนรว่ มของประชาชน อย่างไรให้มี
คุณภาพ ในการใช้ทรัพยากรเพื่อจัดบริการสาธารณะ และสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชน
ผู้รับบริการหรือตอบสนอง ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งท่ี
หน่วยงานภาครัฐต้องหันมาให้ความสำคัญ เพื่อนำพาประเทศไทยพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0 (สำนักงาน
ก.พ.ร., 2559: 28)

ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส และทราบวิธีการ
ค้นหาการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง อย่างมีประสิทธิผล ทั้งจากภายนอกและภายในองค์กร
ได้แก่ ด้านนโยบายการสร้างอนาคต ด้านวิธีการอย่างเป็นระบบในการมองหาและคาดการณ์ถึงการ
เปลี่ยนแปลง ด้านวิธีที่ถูกต้องในการสร้างความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลง ด้านนโยบายในการสร้างสมดุล
ระหว่างการเปลี่ยนแปลงกับความต่อเนื่อง เพราะนโยบายการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างเป็นระบบสามารถสร้าง
จิตสำนกึ ให้องคก์ รในฐานะที่เป็นผู้นำการเปล่ยี นแปลง อกี ทงั้ ยงั ทำให้องค์กรมองเห็นวา่ การเปล่ยี นแปลงนั้นคือ
โอกาสที่เกิดขึ้นมาใหม่ภายใต้บทบาทสำคัญ คือ การทำความรู้จักกับการเปลี่ยนแปลง (To Make the
Change) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาจากการแข่งขันที่ไร้พรมแดน โลกกำลังอยู่ในยุคของเทคโนโลยีและ

100 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ข่าวสาร ผู้นำต้องสรา้ งการเปลีย่ นแปลง (Leadership to Change Intervention) ของแผนปฏิบัติการในการ
ปรับแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้แตกต่างจากเดิม การเป็นนักคิด นักพัฒนาที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก (The
Thinkers Developers Keep Pace with the Changing World) มีวิสัยทัศน์ในการบริหารงานที่พร้อมรับ
การเปลี่ยนแปลง และไม่ยดึ ตดิ ต่อสงิ่ ใด (พรชัย เจดามาน และคณะ, 2559: 8-9)

การปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้ยุคการเปลี่ยนแปลง ถือเป็นความท้าทายใหม่ท่ี
เกิดขึ้น เพราะทำให้ต้องปรับตัว คือ ต้องปรับวัฒนธรรมองค์การใหมป่ รับระบบการบริหารงานบุคคลแนวใหม่
การส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บุคลากรมีศักยภาพที่สูงขึ้น เน้นการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม
(Participations) โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงการตรวจสอบการดำเนิน
โครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผู้บริหารแนวใหม่ เช่น เป็นผู้ซึ่งมีจิตอาสา เป็นผู้กล้าคิด เป็นผู้กล้า
ทำการเปลี่ยนแปลง และปรับบทบาทท้องถิ่นให้สามารถจัดการตนเองได้ (Self-Management) โดยต้อง
ประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบเครือข่ายทางสังคม ปัจจุบันองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมีบทบาทและความสำคัญมากขึ้นทั้งในด้านการพัฒนาพื้นที่การจัดบริการสาธารณะให้กับ
ประชาชน รวมถึงเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาที่รากฐาน อย่างไรก็ตามการทำงานขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถ่ินยังเผชิญกับปัญหาอุปสรรคหลากหลายประการ อาทิเช่น ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ขาดความร่วมมือ
จากประชาชนในพื้นที่ ปัญหาในพื้นที่ที่ยังแก้ไม่ได้ จากบริบทของการเปลี่ยนแปลงยุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็น
ภูมิอากาศ ภัยพิบัติ ขาดความรู้ด้านเทคโนโลยียุคดิจิทัลใหม่ ๆ ความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาปากท้อง
ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นยังขาดความเข้มแข็ง ยังไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ผู้นำยังขาด
วิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์กร การตัดสินใจของผู้นำท้องถิ่นมุ่งประโยชน์พวกพ้อง ความล้าหลังในการใช้
เทคโนโลยี ของผู้บริหารและบุคลากร ไม่มีการคิดสร้างสรรค์ส่ิงใหม่ ๆ ตามไม่ทันการเปลีย่ นแปลง บริหารงาน
แบบเดิม ๆ ต้องรอใหส้ ่วนกลางเป็นผู้กำหนด การสัง่ การของผู้นำมุ่งผลประโยชนต์ อบแทน ขาดการบูรณาการ
ร่วมทำให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน การทำงานเป็นทีมเพราะคิดว่าการบริหารของตนเองดีที่สุดถูกต้องที่สุด ไม่มี
การนำนวัตกรรมมาพฒั นาท้องถน่ิ ให้เกิดมลู ค่าเพิ่มให้กับประชาชนในพื้นท่ี

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุค 4.0 ขององค์การ
บริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อนำผลการศึกษาไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาการ
บริหารงานของผู้บริหารใหท้ ันยุคการเปล่ียนแปลง โดยศึกษาด้านพฤติกรรมของผู้นำเชิงวิสัยทัศนท์ ี่ก้าวทันยุค
4.0 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและเป็นการ
สะท้อนภาพการบริหารงานให้กับผู้บริหารท้องถิ่นได้นำไปปรับปรุงพฤติกรรมการบริหารของตน ในส่วนที่ต้อง
พัฒนาให้สามารถบริหารจัดการองค์กรภายใต้การเปลี่ยนแปลงตามยุคและสมัยโลกาภิวัตน์ได้อย่างเหมาะสม
ตอ่ ไป

101 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

วัตถุประสงคข์ องการวจิ ยั
1. เพื่อศกึ ษาระดับภาวะผูน้ ำแหง่ การเปล่ียนแปลงของผ้บู รหิ ารองค์การบรหิ ารสว่ นตำบลในเขตอำเภอ

บา้ นแหลม จงั หวดั เพชรบุรี
2. เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลใน

เขตอำเภอบา้ นแหลม จงั หวดั เพชรบรุ ี
3. เพื่อศึกษาความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของ

ผู้บรหิ ารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบา้ นแหลม จงั หวดั เพชรบุรี

สมมติฐานการวิจยั
ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การ

บรหิ ารสว่ นตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบรุ ี

2. เอกสารและงานวจิ ยั ทเี่ กย่ี วข้อง

2.1 แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำแห่งการเปล่ียนแปลง
Bennis and Nanus, (1985 อ้างถึงใน นิกัญชลา ล้นเหลือ, 2554: 33) ได้ศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิง
วิสัยทัศน์โดยเน้นพฤติกรรมหลักที่สำคัญ คือ ความเป็นผู้นำในการทำงานที่ท้าทาย มีความสามารถในการสร้าง
นวัตกรรมใหม่ๆ และส่งเสริมสมาชิกให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีแรงบันดาลใจและกระตือรือร้นโดยการทำให้
เกิดวิสัยทัศน์ร่วมกันกับสมาชิก และมีการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมให้การสนับสนุนสมาชิกทำตนเป็นต้นแบบ
ตัวอย่างที่ดีแก่สมาชิก นำมาซึ่งการบรรลุความสำเร็จสูงสุดในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถแยกเป็น
องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่สำคัญ ประกอบด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ (Formulating) การเผยแพร่
วิสัยทัศน์ (articulating) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (Implementing) การเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) และ
การประเมนิ วสิ ัยทัศน์ (Evaluating)
จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากนักวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงของเนื้อหาสาระเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
แห่งการเปล่ียนแปลง ผ้วู ิจัยไดก้ ำหนดภาวะผู้นำแห่งการเปลีย่ นแปลง ของผบู้ ริหารองค์การบรหิ ารส่วนตำบลบ้าน
แหลม จังหวัดเพชรบุรี ตามแนวคดิ ของ Bennis and Nanus, (1985 อา้ งถงึ ใน นกิ ัญชลา ล้นเหลือ, 2554: 33) ใน
การวิจัยภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ประกอบด้วย (1) การสรา้ งวสิ ัยทศั น์ (2) การเผยแพร่วิสยั ทัศน์ (3) การปฏิบัติตามวสิ ยั ทศั น์ (4) การเป็นแบบอย่าง
ท่ีดี และ (5) การประเมินวสิ ยั ทัศน์

2.2 แนวคิดเก่ียวกบั ระบบราชการ 4.0
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2559: 3) กล่าวว่า ความสำเร็จของการพัฒนาไปสู่ระบบ
ราชการ 4.0 ต้องอาศัยปัจจยั สำคัญอย่างน้อย 3 ประการได้แก่

102 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1) การประสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม (Collaboration) เป็นการยกระดับ
การทำงานใหส้ งู ขึ้นไปกวา่ การประสานงานกัน (Coordination) ไปสกู่ ารร่วมมือกัน (Collaboration) อยา่ งแท้จริง
โดยจัดระบบให้มีการวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน มีการระดมและนำเอา
ทรัพยากรทุกชนิดเข้ามาแบ่งปันและใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีการยอมรับความเสี่ยงและรับผิดชอบต่อผลสำเร็จท่ี
เกดิ ข้ึนรว่ มกันเพ่ือพัฒนาประเทศหรือแกป้ ัญหาความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อนมากข้ึน จนไม่มี
ภาคส่วนใดในสังคมจะสามารถดำเนินการได้ลุล่วงด้วยตนเอง โดยลำพังอีกต่อไป หรือเป็นการบริหารกิจการ
บา้ นเมืองในรูปแบบ “ประชารฐั ”

2) การสร้างนวัตกรรม (Innovation) เป็นการคิดค้นและแสวงหาวิธีการหรือ Solutions ใหม่ๆ ทำ
ให้เกิด Big impact เพื่อปรับปรุงและออกแบบการให้บริการสาธารณะและนโยบายสาธารณะให้สามารถตอบ
โจทยค์ วามทา้ ทายของประเทศ หรือตอบสนองปัญหาความต้องการของประชาชนได้อย่างมีคณุ ภาพ อันแปรผันไป
ตามสภาพพลวัตของการเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยรูปแบบห้องปฏิบัติการ (GovLab/Public Sector Innovation
Lab) และใช้กระบวนการความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในลักษณะท่ใี ห้ประชาชนเขา้ มามีสว่ นรว่ มเพ่ือ
สร้างความเข้าใจและเข้าถึงความรู้สึกนึกคิด (Empathize) ก่อนจะสร้างจินตนาการ (Ideate) พัฒนาต้นแบบ
(Prototype) ทำการทดสอบ ปฏบิ ตั ิจริงและขยายผลต่อไป

3) การปรับตัวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (Digitization / Digitalization) เป็นการผสมผสานกันของการ
จัดเก็บและประมวลผลข้อมลู ผ่านระบบคลาวด์ (cloud computing) อปุ กรณ์ประเภท สมารท์ โฟน และ เครอื่ งมือ
เพื่อการใช้งานร่วมกัน (collaboration tool) ทำให้สามารถติดต่อกันได้อย่างเรียลไทม์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดและ
สามารถวิเคราะห์ข้อมูล อันสลับซับซ้อนต่างๆ ได้ และช่วยให้บริการของทางราชการสามารถตอบสนองความ
คาดหวังของประชาชนที่ต้องการให้ดำเนินการได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์และช่องทางได้อย่างมั่นคง
ปลอดภยั และประหยัด

จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากนักวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงของเนื้อหาสาระเกี่ยวกับปัจจัยแห่ง
ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ผู้วิจัยได้กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ตามแนวคิดของ
สำนกั งาน กพร. (2559: 3) ในการวิจัยภาวะผู้นำแหง่ การเปล่ียนแปลง ของผู้บริหารองค์การบริหารสว่ นตำบลบ้าน
แหลม จังหวัดเพชรบุรี คือ (1) การประสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม (2) การสร้าง
นวัตกรรม และ (3) การปรบั ตวั เขา้ สู่ระบบดิจิทัล

2.3 งานวิจยั ทีเ่ ก่ียวข้อง
อ้อยฤดี สันทร (2560: 187-194) วิจัยเรื่องกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ
ผู้บริหาร เทศบาลนครในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารเทศบาลนครในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านการประสานงานกับ
หน่วยงานหรือสถาบันอื่น เพื่อความร่วมมือในการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก และ พบว่า สัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ระหวา่ งตัวแปรปจั จัยที่มีผลต่อปจั จัยดา้ น ภาวะผนู้ ำการเปล่ยี นแปลง ได้แก่ ปัจจัยภายนอกที่มีผล

103 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารเทศบาลนครในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านการประสานงาน
กับหน่วยงานหรือสถาบันอื่น เพื่อความร่วมมือในการบริหารจัดการ กับ กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการ
เปลี่ยนแปลงของผบู้ รหิ ารเทศบาลนครในเขตจังหวดั ภาค ตะวนั ออกเฉยี งเหนือ มคี วามสมั พันธ์กัน ในเชิงบวก
อย่างมนี ัยสำคญั ทางสถิตทิ ี่ ระดบั 0.01 (r = 0.876, Sig = 0.01)

จีราภา ประพันธ์พัฒน์ (2560: 91-92) วิจัยเรื่องการศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร
สถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ผลการวิจัย
พบว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตาม
ความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีจำแนกตามขนาดสถานศึกษา
พบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง ด้านการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม ด้านการคิดสร้างสรรค์
ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการสร้างบรรยากาศ
ขององค์กรนวตั กรรม โดยรวมและรายดา้ นแตกต่างกนั อยา่ งมีนัยสำคัญทางสถติ ิท่รี ะดับ 0.05

การวจิ ัยเร่ือง ภาวะผู้นำแห่งการเปล่ียนแปลงยุค 4.0 ของผ้บู ริหารองค์การบริหารสว่ นตำบล ในเขตอำเภอ
บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยโดยใช้แนวคิดและ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ ได้แก่ ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย (1) การประสานพลัง
ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม (2) การสร้างนวัตกรรม และ (3) การปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล
ประยุกตม์ าจากแนวคิดของ สำนกั งาน กพร. (2559: 3) และภาวะผูน้ ำแห่งการเปลีย่ นแปลง ของผ้บู ริหารองค์การ
บริหารส่วนตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย (1) การสร้างวิสัยทัศน์ (2) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ (3)
การปฏบิ ตั ติ ามวสิ ยั ทศั น์ (4) การเป็นแบบอยา่ งที่ดี และ (5) การประเมนิ วสิ ัยทศั น์

กรอบแนวความคิด
ผลจากการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจยั ที่เกย่ี วขอ้ งสามารถสร้างเป็นกรอบแนวความคดิ ได้ดงั นี้

แผนภาพที่ 1 กรอบแนวความคดิ ในการวิจัย

104 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3. วิธีดำเนินการวจิ ัย

การวจิ ยั เร่ือง ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงยุค 4.0 ของผูบ้ ริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอ
บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้
วิธีการสำรวจ (Survey Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างท่ี
ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่เป็น ข้าราชการ จำนวน 136 คน พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 64 คน และ
ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 82 คนขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งส้ิน
จำนวน 282 คน ผู้วิจัยกำหนดขนาดตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 130 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ
โควต้า (Quota Random Sampling)

โดยให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอยา่ งตามสัดส่วนของบุคลากรที่เป็น ข้าราชการ จำนวน 85 คน พนักงานจ้างตาม
ภารกิจ จำนวน 20 คน และลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 25 คน ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม
จังหวดั เพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ในงานวจิ ัย คือ แบบสอบถาม แบง่ ออกเป็น 4 ตอน คอื ตอนที่ 1 ข้อมูลลักษณะส่วน
บุคคล ประกอบด้วย (1) เพศ (2) อายุ (3) สถานภาพ (4) ระดับการศึกษา (5) รายได้ต่อเดือน (6) ประสบการณ์
ทำงาน และ (7) ตำแหน่งงาน ตอนท่ี 2 ขอ้ มูลความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย (1) การประสานพลัง
ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสงั คม (2) การสร้างนวัตกรรม และ (3) การปรบั ตัวเขา้ ส่รู ะบบดิจทิ ัล ตอนที่ 3
เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกบั ภาวะผนู้ ำแห่งการเปลีย่ นแปลง ของผู้บริหารองค์การบริหารสว่ นตำบลบ้านแหลม จังหวัด
เพชรบุรี ประกอบด้วย (1) การสร้างวิสัยทัศน์ (2) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ (3) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (4) การเป็น
แบบอย่างที่ดี และ (5) การประเมินวิสัยทัศน์ และตอนที่ 4 คำถามปลายเปิด (Open Ended Questionnaire)
เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงยุค 4.0
ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ
โดยนำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) จำนวน 3 ท่าน
มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ (Index of Item Objective Congruence : IOC) จากการ
คำนวณหาค่า IOC ครัง้ น้ี ได้เท่ากับ 1.00

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้ค่าร้อยละ
(Percentage) การแจกแจงความถี่ (Frequency) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 และ
ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ค่าเฉล่ีย
(Mean) และคา่ เบ่ียงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวเิ คราะห์ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ท่ีมอี ทิ ธิพลกับภาวะผู้นำ
แห่งการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้การวิเคราะห์การ
ถดถอยพหุ (Multiple Linear Regression Analysis) และทดสอบความเป็นอิสระกันของความคลาดเคลื่อน คือ
Durbin-Watson ซ่งึ มคี ่าเทา่ กับ 1.5 ≤Durbin–Watson≤2.5

105 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

4. ผลการวจิ ัย

1. ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัด

เพชรบรุ ี ในภาพรวมและรายดา้ น มภี าวะผนู้ ำแห่งการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดบั มาก เรียงตามลำดบั ดังน้ี ด้านการ

เป็นแบบอยา่ งท่ีดี ดา้ นการประเมนิ วิสยั ทัศน์ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ ด้านการปฏบิ ัติตามวสิ ยั ทัศน์ และดา้ นการ

เผยแพรว่ สิ ัยทศั น์

2. ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัด

เพชรบุรี ในภาพรวมและรายดา้ นมกี ารปฏิบตั ิอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการประสานพลังระหว่างภาครฐั

และภาคสว่ นอืน่ ๆ ในสังคม ดา้ นการปรบั ตวั เขา้ สรู่ ะบบดิจทิ ลั และดา้ นการสรา้ งนวัตกรรม

3. ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ด้านการสร้างนวัตกรรม มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ

0.001 ด้านการประสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม และด้านการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล มี

อิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัด

เพชรบุรี อยา่ งมนี ยั สำคัญทางสถติ ิท่รี ะดับ 0.01

4. ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 36-45 ปี มีสถานภาพ

สมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 15,001–25,000 บาท ตำแหน่งพนักงาน/ลูกจ้าง และมี

ระยะเวลาการปฏิบตั ิงาน 11–15 ปี

ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 : ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการ

เปลย่ี นแปลงของผ้บู ริหารองค์การบรหิ ารสว่ นตำบลในเขตอำเภอบา้ นแหลม จงั หวัดเพชรบรุ ี

ตารางที่ 1 การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุของความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 กับภาวะผู้นำแห่งการ

เปล่ยี นแปลงของผบู้ รหิ ารองคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลในเขตอำเภอบา้ นแหลม จงั หวดั เพชรบรุ ี

b SE. Beta t sig

(คา่ คงท)ี่ 0.527 0.265 1.991* 0.049

1. การประสานพลังระหว่างภาครัฐและ 0.259 0.092 0.233 2.825** 0.005

ภาคสว่ นอ่ืน ๆ ในสงั คม

2. การสรา้ งนวตั กรรม 0.318 0.081 0.348 3.909*** 0.000

3. การปรบั ตวั เขา้ สู่ระบบดิจทิ ัล 0.282 0.098 0.270 2.873** 0.005

หมายเหตุ * P  0.05 R = 0.759

** P  0.01 R2 = 0.577

*** P  0.001 R2ปรบั = 0.567

F = 57.242

ระดบั นัยสำคัญ = 0.000

Durbin–Watson = 1.815

106 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

จากตารางที่ 1 ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล พบวา่ ความสำเรจ็ ของระบบราชการ 4.0 มอี ิทธิพลกับภาวะผู้นำ
แห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยมีค่า
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม (R) อยู่ในระดับสูง 0.759 และสมการมีอำนาจการพยากรณ์
ร้อยละ 57.70 ซึ่งการทดสอบความเป็นอิสระกันของความคลาดเคลื่อน (Durbin-Watson) ในครั้งนี้มีค่าเท่ากับ
1.815 กล่าวคือ ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ค่า ประกอบด้วย (1) การประสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ใน
สังคม (2) การสร้างนวัตกรรม และ (3) การปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล มีความสัมพันธ์เชิงอิสระในตัวเอง ในการ
วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และค่า สปส. Beta เรยี งตามลำดบั ดงั น้ี ดา้ นการสร้างนวัตกรรม (นวตั กรรม = 0.348, Sig. =
0.000) ด้านการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล (ระบบดิจิทัล = 0.270, Sig. = 0.005) และด้านการประสานพลังระหว่างภาครัฐ
และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม (ประสานพลัง = 0.233, Sig. = 0.005) กล่าวคือ ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของ
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัย
ไดแ้ ก่ ด้านการสร้างนวัตกรรม ดา้ นการปรบั ตัวเข้าสรู่ ะบบดจิ ิทัลและด้านการประสานพลังระหวา่ งภาครัฐและ
ภาคสว่ นอืน่ ๆ ในสังคม ตามลำดบั

จากตาราง 1 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดงั น้ี
Ŷ= b0+ b1x1 + b2x2 + b3x3

= 0.527 + 0.259 (การประสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม) + 0.318 (การ
สร้างนวตั กรรม) + 0.282 (การปรบั ตวั เขา้ ส่รู ะบบดจิ ิทลั )

Ŷ หมายถึง ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้าน
แหลม จงั หวดั เพชรบุรี ซ่ึงมคี วามเหมาะสมกับค่า R2 (Coefficient of Determination) = 0.577

5. สรปุ อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ

5.1. สรปุ และอภปิ รายผล
ผลการวิจัยพบว่า ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ด้านการสร้างนวัตกรรม มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำ
แห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านการประสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม และด้านการ
ปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลใน
เขตอำเภอบา้ นแหลม จงั หวัดเพชรบรุ ี อย่างมีนัยสำคัญทางสถติ ิท่ีระดับ 0.01 สามารถอภิปรายเป็นรายดา้ น ดังน้ี

1. การประสานพลงั ระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอน่ื ๆ ในสงั คม พบวา่ ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0
ด้านการประสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของ
ผู้บริหารองค์การบรหิ ารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวดั เพชรบรุ ี ด้านการประเมนิ วิสยั ทัศน์อยา่ งมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และด้านการปฏิบัติตาม

107 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

วิสัยทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตทิ ี่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นวา่ การประสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ
ในสังคม เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ที่มีอิทธิพลทำให้ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขต
อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผู้บริหารมีการสร้างวิสัยทัศน์ เผยแพร่
วิสัยทัศน์ ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ เป็นแบบอย่างที่ดี และประเมินวิสัยทัศน์ ในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลใน
เขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีให้ประสบผลสำเร็จตามที่องค์กรตั้งเป้าไว้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ อ้อยฤดี
สนั ทร (2560: 187-194) วิจัยเร่อื งกลยทุ ธ์การพฒั นาภาวะผนู้ ำการเปลีย่ นแปลงของผูบ้ ริหาร เทศบาลนครในเขตจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยพบว่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยที่มีผลต่อปัจจัยด้าน ภาวะ
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารเทศบาลนครในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านการประสานงานกับหน่วยงานหรือสถาบันอื่น เพื่อความร่วมมือในการบริหารจัดการ กับ
กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลนครในเขตจังหวัดภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มี
ความสมั พนั ธก์ นั ในเชงิ บวก อยา่ งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01

2. การสร้างนวัตกรรม พบว่า ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ด้านการสร้างนวัตกรรม มีอิทธิพลกับ
ภาวะผนู้ ำแหง่ การเปลี่ยนแปลงของผูบ้ ริหารองค์การบรหิ ารสว่ นตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จงั หวดั เพชรบุรี ด้านการ
สรา้ งวสิ ัยทศั น์ ด้านการเผยแพร่วสิ ยั ทัศน์ ดา้ นการเป็นแบบอยา่ งท่ีดี และด้านการประเมินวสิ ัยทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติทร่ี ะดบั 0.001 และดา้ นการปฏิบตั ิตามวสิ ัยทัศน์ อยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถิติทีร่ ะดบั 0.05 แสดงให้เห็นว่า การ
สร้างนวัตกรรม เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ที่มีอิทธิพลทำให้ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
ในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผู้บริหารมีการสร้างวิสัยทัศน์
เผยแพร่วิสัยทัศน์ ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ เป็นแบบอย่างที่ดี และประเมินวิสัยทัศน์ ในการบริหารองค์การบริหารส่วน
ตำบลในเขตอำเภอบา้ นแหลม จงั หวัดเพชรบุรใี ห้ประสบผลสำเร็จตามทีอ่ งค์กรตง้ั เปา้ ไว้ สอดคลอ้ งกบั งานวจิ ยั ของ จีรา
ภา ประพันธ์พัฒน์ (2560: 91-92) วิจัยเรื่องการศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความ
คิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ความ
แปรปรวนเพอ่ื เปรียบเทยี บภาวะผู้นำเชิงนวตั กรรมของผ้บู ริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสงั กดั สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีจำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ด้านการสร้างบรรยากาศขององค์กร
นวตั กรรม โดยรวมและรายด้านแตกตา่ งกนั อย่างมนี ยั สำคญั ทางสถติ ิที่ระดบั 0.05

3. การปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล พบว่า ความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ด้านการปรับตัวเข้าสู่ระบบ
ดิจิทัล มีอิทธิพลกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม
จังหวัดเพชรบุรี ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ ด้านการเผยแพร่วสิ ยั ทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และด้าน
การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า การปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล เป็น
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบราชการ 4.0 ที่มีอิทธิพลทำให้ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้าน
แหลม จังหวัดเพชรบุรี มีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผู้บริหารมีการสร้างวิสัยทัศน์ เผยแพร่วิสัยทัศน์

108 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ เป็นแบบอย่างที่ดี และประเมินวิสัยทัศน์ ในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอ
บ้านแหลม จงั หวดั เพชรบรุ ีใหป้ ระสบผลสำเรจ็ ตามที่องค์กรต้งั เปา้ ไว้ สอดคลอ้ งกบั งานวจิ ยั ของ จรี าภา ประพนั ธ์พัฒน์
(2560: 91-92) วิจัยเรื่องการศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบ
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปทุมธานีจำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ระบบ
ดิจิทลั ) โดยรวมและรายดา้ นแตกตา่ งกนั อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถติ ิที่ระดับ 0.05

5.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. ควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการบริหารงานขององค์การ

บรหิ ารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
2. ควรมีการประเมินสมรรถนะด้านภาวะผู้นำของบุคลากรเป็นระยะ เพื่อให้บุคลากรได้พัฒนา

ศกั ยภาพดา้ นความเป็นภาวะผูน้ ำอยา่ งตอ่ เนือ่ ง
3. ควรมีการฝึกอบรมหลักสูตรภาวะผู้นำ เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานสามารถนำหลักภาวะผู้

นำมาประยกุ ตใ์ นการปฏิบตั ิงานได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ

5.3 ข้อเสนอแนะเพื่อการวจิ ยั ในคร้ังต่อไป
1. ควรทำการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงยุค

4.0 ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีในแต่ละด้าน เพื่อให้ได้ข้อมูลท่ี
หลากหลายเพ่ิมข้นึ

2. ควรทำการศึกษาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงยุค 4.0 ของ
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เช่น ด้านการเปิดกว้างและสามารถ
ทำงานเชือ่ มโยงกับทุกฝ่าย ด้านการมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมยั และดา้ นการยดึ ประชาชนเป็นศนู ย์กลาง

109 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

เอกสารอา้ งอิง

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความ
คิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบณั ฑิต มหาวิทยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลธัญบรุ ี.

นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้น
พืน้ ฐาน. ปรชั ญาดษุ ฎบี ัณฑิต สาขาวิชาบรหิ ารการศกึ ษา มหาวิทยาลยั ขอนแก่น.

พรชัย เจดามาน นิตยาพร กินบุญ และ ไพฑูรย์ พิมดี. (2559). ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษท่ี
21: ไทยแลนด์ 4.0. กรงุ เทพฯ: สูตรไพศาลบวิ เดอร.์

สำนกั งานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2559). สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน
ก.พ. 2560 ประเทศไทยในบรบิ ทไทยแลนด์ 4.0. สำนกั งานคณะกรรมการพฒั นาระบบราชการ

อ้อยฤดี สันทร. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร เทศบาลนครในเขต
จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราช
ภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถมั ภ์ จงั หวดั ปทุมธาน.ี

110 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

การวเิ คราะหต์ ้นทนุ และผลตอบแทนจากการผลิตหหู นขู องกลมุ่ เกษตรกรแปลงใหญเ่ หด็ หหู นู
อำเภอบางแพ จงั หวัดราชบุรี

Cost and Return Analysis on Jew's Ear Mushroom Growing of Large Farmers
Association in Bang Phae District, Ratchaburi Province.

พมิ ลวรรณ เกตพันธ์ * รพี ดอกไม้เทศ1 ธำรง เมฆโหรา2 และธัญญลกั ษณ์ สีทาวนั 1
(Pimolwan Katepan, Rapee Dokmaithes, Thamrong Mekhora and Thanyaluck Srithawan)

บทคดั ยอ่

เห็ดหูหนูเป็นเห็ดราชนิดหนึ่งที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ และน่าสนใจทำการผลิตใน
เชิงการค้าเนื่องจากเป็นสินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่ต้องมีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของ
ตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเกษตรกรที่สนใจเพาะเห็ดหูหนูเพื่อจำหน่ายเป็นการค้าภายในประเทศ เนื่องจาก
เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับด้านการตลาดและการจัดการการผลิต ส่งผลให้ประสบปัญหาราคาตกต่ำ
เกษตรกรบางรายได้รบั ผลตอบแทนไมเ่ พียงพอกับเงนิ ท่ลี งทนุ ไปจนต้องล้มเลกิ กิจการ การศกึ ษาคร้งั น้ีมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตเห็ดหูหนูของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เหด็ หูหนู อำเภอบางแพ จังหวดั
ราชบรุ ี งานวจิ ัยนีเ้ ปน็ การวิจยั เชงิ คุณภาพและการวิจยั เชงิ สำรวจ เกบ็ รวมรวบรวมข้อมลู ปฐมภูมกิ ับประชากร 28 คน
ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือน
เมษายน พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลสถิตเิ ชงิ พรรณนาโดยใช้ค่าความถแ่ี ละคา่ รอ้ ยละ

1ภาควชิ าส่งเสริมและนเิ ทศศาสตรเ์ กษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนนครปฐม
73140
Department of Agricultural Extension and Communication, Faculty of Agriculture at Kam Phaeng Saen,
Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus, Nakhon Pathom 73140
2 หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
10520
Economics Program in Business and Managerial Economics, Faculty of Administration and Management at
King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, Bangkok 10520

* Corresponding author: [email protected]

111 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหูหนู อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี มีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย
49,305.57 บาทต่อรอบการผลิตต่อโรงเรือน คิดเป็นร้อยละ 80.76 มีต้นทุนคงที่เฉลี่ย 11,746.50 บาทต่อรอบการ
ผลิตต่อโรงเรือน คิดเป็นร้อยละ 19.24 มีต้นทุนรวมทั้งหมดเฉล่ยี 61,052.07 บาทตอ่ รอบการผลติ ตอ่ โรงเรอื น มีกำไร
สุทธิเฉลี่ย 63,947.93 บาทต่อรอบการผลิตต่อโรงเรือน หรือมีกำไรเฉลี่ยสุทธิ 15,986.98 บาทต่อโรงเรือนต่อเดือน
และในระยะเวลา 1 ปี มีกำไรสทุ ธเิ ฉลย่ี 165,255.21 บาทตอ่ โรงเรือน

คำสำคัญ: การวเิ คราะหต์ น้ ทนุ และผลตอบแทน การผลติ เห็ดหูหนู กลุม่ เกษตรกรแปลงใหญเ่ ห็ดหูหนู

ABSTRACT

Jew's ear mushroom is one type of fungus that is interesting to trade because it is a high-
yielding economic crop. But farmers must have a production plan in line with the market
demand, especially, farmers who are interested in cultivating jew's ear mushroom for sale as
a domestic trade. Regarding to most farmers still lack of marketing and production
management information, which may cause a price drop, some farmers are not receiving
enough return on the investment. Therefore, this research aimed to investigate cost and return
in jew's ear mushroom of Large Mushroom Farmers' Association in Bang Phae District,
Ratchaburi Province. Qualitative and survey research were analyzed. In-depth interview was
the tool to gather the primary data from 28 jew's ear mushroom farmer samples who were
main informant, using a purposive sampling technique. Data were analyzed by descriptive
statistics, comprise of: frequency and percentage. Result of cost and return analysis revealed
that the average total cost of mushroom growing was 61,052.07 baht per production cycle per
mushroom growing house with the average fixed cost of 11,746.50 baht per production cycle
per mushroom growing house and the average variable cost was 49,305.57 baht per
production cycle per mushroom growing house. The average net profit was 63,947.93 baht
per production cycle per mushroom growing house or 15,986.98 baht per mushroom growing
house per month. In 1 year, the average net profit was 165,255.21 baht per mushroom growing
house.
Keywords: Cost and return analysis, cost, return, jew's ear mushroom growing, jew's ear
mushroom Large Farmers Association

112 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Article history: Received 1 September 2020
Revised 1 November 2020
Accepted 6 November 2020
SIMILARITY INDEX = 1.14 %

1. บทนำ

อุตสาหกรรมอาหารมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็นอุตสาหกรรมลำดับแรกที่ได้รับ
การสนับสนุนมาตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มาใช้ในปี พ.ศ. 2504
เน่ืองจากอตุ สาหกรรมอาหารเปน็ อุตสาหกรรมท่ีใช้เงนิ ลงทนุ นอ้ ย ใชว้ ัตถุดบิ ภายในประเทศสูง และสามารถนำ
ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณข์ องประเทศไปพฒั นาเพ่ือประโยชนใ์ นอตุ สาหกรรมได้มาก ซึ่งคาดวา่ ดชั นีการผลิตใน
ภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารปี พ.ศ. 2563 ขยายตวั เล็กนอ้ ยจากปี พ.ศ. 2562 ร้อยละ 1.2-1.5 (กระทรวง
อุตสาหกรรม, 2563) นอกจากนี้ ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตเห็ดอยู่ในระดับสูง
ประมาณปีละ 120,000 ตัน (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2559) เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการ
เจริญเติบโตของเห็ด มีองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
ประกอบกับประเทศไทยมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอยู่มากมาย เช่น ขี้เลื่อย เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมา
เปน็ วสั ดุหลักในการเพาะเห็ดได้เป็นอยา่ งดี

สำหรับปัญหาในการผลิตเห็ดหูหนูนั้น พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับด้าน
การตลาดและการจดั การการผลิตส่งผลให้ประสบปัญหาราคาตกต่ำ ทำให้เกษตรกรบางรายได้รับผลตอบแทน
ที่ไม่คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไปจนต้องล้มเลิกกิจการ (กมลรัตน์ นนทรีย์, 2546) ซึ่งการวิเคราะห์ต้นทุน
ผลตอบแทนเป็นการวัดประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร โดยการวิเคราะห์จะแสดงถึงต้นทุน รายได้และ
กำไรจากการผลติ ซึ่งถือเปน็ เครื่องมือชนิดหน่ึงในการวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐกิจ (สุภาวดี ขุนทองจนั ทร์, 2556)
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตเห็ดหูหนู ประกอบกับกระแสการให้ความสนใจในการบริโภค
สินค้าเพื่อสุขภาพตามความต้องการของตลาด ทำให้เห็ดหูหนูเปน็ พืชที่น่าสนใจและสามารถสร้างรายได้ใหก้ ับ
ชุมชนอกี ทางหน่งึ ดังนน้ั การศึกษาต้นทนุ และผลตอบแทนจากการผลติ เห็ดหูหนู จงึ เปน็ เรื่องทส่ี ำคัญในการใช้
เป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจผลติ เห็ดหูหนเู พือ่ การค้าของเกษตรกรและผู้สนใจเพือ่ สรา้ งรายได้ และเพื่อ
ใช้เป็นแนวทางในการขยายโอกาสในการยกระดับรายได้ของกลุ่มเกษตรกร (Celik & Peker, 2009) ตลอดจน
ใช้เป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหูหนู
อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ทำการผลิตเห็ดหูหนูได้จริง (กรมส่งเสริมการเกษตร,
2561) และถือเปน็ ตวั แทนทด่ี ขี องกลุม่ เกษตรกรผผู้ ลิตเหด็ หหู นูท้ังประเทศ ดงั นัน้ กรมวิชาการเกษตร และกรม
สง่ เสริมการเกษตร ควรเข้าไปดแู ลและใหค้ ำแนะนำแก่เกษตรกรที่ผลติ เหด็ หูหนูในพืน้ ที่อนื่ ตามวธิ ีการของกลุ่ม
เกษตรกรในอำเภอบางแพ เพื่อสร้างรายได้ที่มากขึ้นให้แก่เกษตรกร ซึ่งเมื่อเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นย่อม
สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตด้านความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามไปด้วย สอดคล้องกับกลยุทธ์และมาตรการและ

113 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

แนวทางปฏิบัติของแผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2561-2564 (สำนักงานจังหวัดราชบุรี, 2562) และเพ่ือ
กอ่ ใหเ้ กดิ การถ่ายทอดองค์ความรแู้ ละกระบวนการการผลิตเหด็ หหู นทู ่เี ปน็ แบบแผนในอนาคตต่อไป

2. เอกสารและงานวิจัยทเี่ กีย่ วขอ้ ง

2.1 ความรู้เกย่ี วกบั เห็ดหหู นู
มนุษย์ทั่วโลกรู้จัก “เห็ด” และนำมาบริโภคเป็นอาหารเป็นเวลานานมาแล้ว มีหลักฐานว่าเห็ดเกิดขน้ึ

บนโลกมานานกว่า 130 ล้านปีก่อนที่มนุษย์จะเกิดขึ้นบนโลก ซึ่งเห็ดมีทั้งประเภทที่นำมาใช้เป็นอาหารและ
ประเภททมี่ พี ษิ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2563)

เหด็ หหู นู (Auricularia auricula-judae (Bull.) J. Schrot.) เปน็ เหด็ ที่ประชาชนนิยมรับประทานกัน
มาก เพราะเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีใยอาหาร (fiber) สูง และปลอดภัยจากสารเคมีเม่ือ
เปรยี บเทียบกับพืชผักชนิดอื่น นอกจากนี้ เห็ดยังมีกรดอะมิโน (amino acid) เป็นสว่ นประกอบถึง 21 ชนิดใน
ปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้มีอยู่ 9 ชนิดที่มีความสำคัญต่อร่างกายและร่างกายมนุษย์ไม่
สามารถสร้างขึ้นเองได้ ได้แก่ lysine, methionine, tryptophane, threoine, valine, isolycine, leucine,
cystine และ phenylalaine ซึ่งเห็ดหูหนูที่เพาะในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ เห็ดหูหนูดำและเห็ดหูหนูขาว
โดยเห็ดหูหนูขาวเป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงปอด ช่วยบรรเทาอาการแก้ไอ แก้ร้อนใน มีฤทธิ์
สงบประสาททำให้นอนหลับสบาย ส่วนเห็ดหูหนูดำ มีคุณสมบัติที่เย็นกว่าเห็ดหูหนูขาว จึงมีฤทธิ์ในการลด
ความร้อนของเลือด หยุดเลือด ลดความร้อนของกระเพาะอาหาร เป็นยาบำรุงเลือดและบำรุงพลัง จึงเหมาะ
สำหรับใช้ในการประกอบอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการลดไขมันในเส้นเลือดอีกด้วย (ภาสกิจ วัณนาวิบูล, 2547)
ทำให้ความตอ้ งการของตลาดในการบริโภคเห็ดชนดิ นเ้ี พ่มิ สูงข้ึนตามลำดบั ในขณะทปี่ รมิ าณผลผลิตไม่เพียงพอ
ตอ่ ความตอ้ งการโดยเฉพาะในตลาดอาเซียนซ่งึ มีอนาคตที่สดใส (กรมเศรษฐกจิ ระหวา่ งประเทศ, 2561)

2.2 ทฤษฎีตน้ ทนุ ผลตอบแทน
การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทนเป็นการวัดประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร โดยนำข้อมูลของ

เกษตรกรมาวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างต้นทุนและผลตอบแทน ซึ่งพิจารณาจากต้นทุน
ผลตอบแทนทั้งหมด และผลตอบแทนสุทธิ โดยแบ่งการวิเคราะห์เป็นด้านต้นทุน ด้านผลตอบแทน และด้าน
กำไร (McFadden, 1966)

2.2.1 การวิเคราะห์ต้นทนุ ผลตอบแทน
ในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิต การวิเคราะห์จะแสดงถึงต้นทุน รายได้

และกำไรจากการผลิต ซึ่งเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐกิจ (สุภาวดี ขุนทองจันทร์ ,
2556) องค์ประกอบของต้นทุนการผลิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ต้นทุนคงที่ และต้นทุนผัน
แปร

114 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1) ต้นทนุ คงท่ี เป็นคา่ ใช้จา่ ยทีไ่ ม่เปล่ยี นแปลงไปตามปริมาณการผลติ หรือไม่เปลี่ยนแปลงแม้ไม่ได้ทำ
การผลติ เลย ซ่งึ เปน็ ค่าใช้จา่ ยทีเ่ กดิ ข้ึนจากการใช้ปจั จัยคงที่ในการผลิตประกอบ

การคำนวณค่าเสื่อมราคา ใช้วิธีคิดแบบเส้นตรง การคำนวณโดยวิธีนี้จะได้ค่าสึกหรอ หรือค่า
เสือ่ มราคาทรัพยส์ ินตอ่ ปคี งทเี่ ท่า ๆ กัน โดยมีสูตรดังนี้

คา่ สกึ หรอหรือค่าเส่ือมราคาต่อปี = (ราคาทรัพย์สนิ ท่ีซ้ือมา - มลู คา่ ซาก) / อายุการใชง้ าน (คิด
เปน็ ป)ี

2) ต้นทุนผนั แปร เปน็ ค่าใชจ้ ่ายที่เปลยี่ นแปลงไปตามผลผลิตท่ีผลิต
ต้นทุนทั้งหมด หมายถึง ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นเงินสด และไม่ได้เป็นเงินสดจากการ

ผลิตทป่ี ระกอบดว้ ยต้นทนุ คงท่ที ้ังหมด และต้นทนุ ผันแปรทงั้ หมด
หลังจากทราบต้นทุนการผลิตแล้วสามารถคำนวณหาผลตอบแทนของการผลิตได้ เนื่องจาก

ผลตอบแทนจากการผลติ คือ สว่ นต่างของรายไดร้ วมจากการขายผลผลติ กับต้นทนุ การผลติ ทั้งหมดทใ่ี ช้ โดยท่ี
ผลผลิต (quantity of output: Q) หมายถงึ จำนวนผลผลติ ทัง้ หมดท่ผี ู้ผลิตขายไดต้ ่อหนึง่ รอบ

การผลิต
ราคาของผลผลิต (price: P) หมายถึง ราคาทผี่ ูผ้ ลติ ขายได้หรอื ไดร้ ับจากการขายผลผลติ
รายได้ หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่ผู้ผลิตได้รับจากการผลิตหนึ่งรอบการผลิต ซึ่งเท่ากับจำนวน

ผลผลิตทง้ั หมดคณู ดว้ ยราคาของผลผลติ ที่เกษตรกรขายได้
รายได้รวม (TR) หมายถึง จำนวนผลผลิตทั้งหมดต่อหนึ่งรอบการผลิต (Q) คูณด้วยราคาของ

ผลผลติ ที่เกษตรกรไดร้ ับ (P)
ผลตอบแทนสทุ ธิ (net revenue: NR) หมายถึง รายไดท้ ง้ั หมด (total revenue: TR) ลบด้วย

ตน้ ทุนผนั แปรทงั้ หมด (total variable cost: TVC)

2.3 งานวิจัยท่ีเกย่ี วขอ้ ง
กมลรัตน์ นนทรีย์ (2546) ได้ศึกษาเรื่องต้นทุนและผลตอบแทนของการเพาะเลี้ยงเห็ดหอม ในอำเภอ

ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการศึกษาฟาร์มเห็ดหอมขนาดเล็กจำนวน 20 ราย ขนาดกลางจำนวน
5 ราย และขนาดใหญจ่ ำนวน 13 ราย จากการศึกษาพบวา่ ฟารม์ ขนาดเลก็ ฟาร์มขนาดกลาง และฟารม์ ขนาด
ใหญ่ มตี ้นทนุ รวมต่อเห็ดหอม 1,000 กอ้ น เท่ากบั 6,470.69 บาท 5,822.45 บาท 5,510.73 บาท ตามลำดับ
มีรายได้เฉลี่ยต่อ 1,000 ก้อน เท่ากับ 10,614.24 บาท 10,845.14 บาท 11,405.36 บาท ตามลำดับ มี
อตั ราส่วนกำไรต่อทุนเท่ากบั รอ้ ยละ 64.04 86.26 และ 106.97 ตามลำดบั มอี ตั ราสว่ นกำไรตอ่ ยอดขายเท่ากับ
ร้อยละ 39.04 46.31 และ 51.68 ตามลำดับ มีผลตอบแทนจากการลงทนุ เท่ากับร้อยละ 161.52 274.36 และ
200.06 ตามลำดบั และมีระยะเวลาคืนทนุ ประมาณ 9 เดอื น 5 เดือน และ 6 เดอื น ตามลำดับ
ชุติมา ธัญญรักษ์ (2546) ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนในการเพาะเห็ดหูหนู
เพื่อการค้าในเขตจังหวัดราชบุรี โดยศึกษาจากเกษตรกรที่มีโรงเรือนขนาดเล็กจำนวน 10 ราย ขนาดกลาง

115 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

จำนวน 20 ราย และขนาดใหญ่จำนวน 20 ราย ใช้การวิเคราะห์ทางการเงินเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผล
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของเกษตรกรที่ผลิตเห็ดหูหนูทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า มีต้นทุนในการ
ก่อสร้างโรงเรือนและอุปกรณ์ทางการเกษตรประมาณ 48,000 บาทสำหรับโรงเรือนขนาดเล็ก 70,600 บาท
สำหรับโรงเรือนขนาดกลาง และ 75,300 บาทสำหรับโรงเรือนขนาดใหญ่ มีต้นทุนการซื้อวัสดุทางการเกษตร
เพื่อการผลิตเท่ากับ 6,900 บาท 5,302 บาท และ 6,697 บาทต่อรุ่น ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 2,102 กิโลกรัม
3,246 กิโลกรัม และ 4,326 กิโลกรัมต่อรุ่น เกษตรกรขายเห็ดหูหนูได้ราคาเฉลี่ย 17 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้มี
กาํ ไรสทุ ธเิ หนือตน้ ทนุ เงินสดเท่ากบั 25,422.83 บาท 43,401.60 บาท และ 52,224.13 บาทต่อร่นุ ตามลำดับ

3. วธิ ดี ำเนนิ การวจิ ัย

3.1 ประชากรในการวิจัย
ประชากรในการวิจัยนคี้ ือ สมาชิกกลมุ่ เกษตรกรแปลงใหญ่เหด็ หูหนู อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี

จำนวน 28 คนโดยเป็นเกษตรกรผผู้ ลิตเห็ดหูหนูในฤดูกาลเดียวกนั ในปีการเพาะปลูก 2562/63 ในพื้นท่ีอำเภอ
บางแพทั้งหมด ซึง่ ถือเป็นตัวแทนท่ดี ีของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเหด็ หูหนูทั้งประเทศ เนื่องจากเป็นกลุ่มเกษตรกร
ที่ทำการผลิตเหด็ หูหนูไดจ้ ริงและไดผ้ ลตอบแทนท่ีค่อนขา้ งคุ้มค่ากับการลงทุน (กรมสง่ เสริมการเกษตร, 2561)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2551) และนำ
ข้อมูลที่รวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออภิปรายผล ประกอบด้วยค่าความถี่และค่า
ร้อยละ

4. ผลการวิจยั

4.1 ขอ้ มูลสถานภาพทางเศรษฐสงั คมของกล่มุ เกษตรกรแปลงใหญเ่ ห็ดหูหนู
ข้อมูลสถานภาพทางเศรษฐสังคมของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญเ่ ห็ดหูหนู ซึ่งเป็นข้อมูลทีไ่ ด้จาก

การสมั ภาษณเ์ ชิงลึก มีรายละเอียดดงั ตารางที่ 1

ตารางท่ี 1 จำนวนและร้อยละของข้อมลู ทั่วไปของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เหด็ หูหนู

เพศ จำนวน ร้อยละ
46.4
ชาย 13 53.6
ร้อยละ
หญิง 15 14.3
46.4
อายุ จำนวน 39.3

31-40 ปี 4

41-50 ปี 13

>50 ปี 11

116 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางที่ 1 (ต่อ) จำนวน รอ้ ยละ
ระดบั การศกึ ษา 21 75.0
ประถมศกึ ษา 4 14.3
มัธยมศึกษาตอนตน้ และตอนปลาย 5 10.7
อนุปรญิ ญา/ปวส.
จำนวนสมาชกิ ในครัวเรือนทีม่ ีส่วนร่วมในการผลติ เหด็ หหู นู จำนวน รอ้ ยละ
1 คน 2 7.1
2 คน 21 75.0
3 คน 5 17.9
ประสบการณใ์ นการผลติ เหด็ หหู นู
<10 ปี จำนวน ร้อยละ
11-20 ปี 4 14.3
>21 ปี 17 60.7
7 25.0
Source: Computed from Field Survey Data (2020)

จากตารางท่ี 1 พบว่า ในภาพรวมสมาชิกกลมุ่ เกษตรกรแปลงใหญเ่ หด็ หูหนทู ่ศี ึกษา สว่ นใหญเ่ ปน็ เพศ
หญิงรอ้ ยละ 53.6 โดยอายขุ องเกษตรกรรอ้ ยละ 46.4 มีอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 32.1 มีอายุ 51-60 ปี รอ้ ยละ
14.3 มีอายุ 31-40 ปี สว่ นอายมุ ากกว่า 60 ปขี ึ้นไปมสี ดั สว่ นเพยี งรอ้ ยละ 7.1 ตามลำดบั

ระดับการศึกษาสูงสุดของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหูหนู ในภาพรวมร้อยละ 75.0 สำเร็จ
การศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา รอ้ ยละ 14.3 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้ และมัธยมศึกษาตอน
ปลาย สว่ นเกษตรกรทส่ี ำเรจ็ การศึกษาระดับระดบั อนปุ รญิ ญา/ปวส. มีรอ้ ยละ 10.7 ตามลำดบั

จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มสี ่วนรว่ มในการผลติ เห็ดหูหนขู องสมาชกิ กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญเ่ หด็ หู
หนู ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.0 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 2 คนในการผลิตเห็ดหูหนู ร้อยละ 17.9 มีจำนวน
สมาชกิ ในครัวเรือน 3 คนในการผลติ เห็ดหูหนู และร้อยละ 7.1 มจี ำนวนสมาชิกในครวั เรือนเพียง 1 คนในการ
ผลิตเห็ดหูหนู

ประสบการณใ์ นการผลิตเหด็ หูหนขู องสมาชกิ กลุม่ เกษตรกรแปลงใหญเ่ ห็ดหหู นู สว่ นใหญ่ร้อยละ 60.7
มีประสบการณ์ในการผลิตเห็ดหูหนู 11 - 20 ปี ร้อยละ 25.0 มีประสบการณ์ในการผลิตเห็ดหูหนูมากกว่า 21
ปขี ึน้ ไป และร้อยละ 14.3 มีประสบการณใ์ นการผลติ เหด็ หูหนตู ำ่ กวา่ 10 ปี

4.2 ข้อมูลดา้ นการดำเนนิ งานในการผลติ เหด็ หหู นู
ขอ้ มลู ดา้ นการดำเนินงานในการผลิตเห็ดหูหนูของสมาชิกกล่มุ เกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหูหนู ดังตาราง

ที่ 2

117 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางท่ี 2 จำนวนและร้อยละของสภาพทางการผลิตเหด็ หูหนูของสมาชิกกลมุ่ เกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหหู นู

แหล่งท่ีมาของกอ้ นเช้ือเห็ด จำนวน ร้อยละ

ผลิตกอ้ นเชือ้ เอง 25 89.3

ซอ้ื กอ้ นเช้อื สำเร็จรูป 3 10.7

ระบบการผลติ เหด็ หูหนู จำนวน รอ้ ยละ

เกษตรเคมี 26 92.9

เกษตรอินทรยี ์ 2 7.1

แหล่งนำ้ ที่ใช้ในการผลิตเหด็ หูหนู จำนวน ร้อยละ

นำ้ บ่อบาดาล 2 7.1

น้ำชลประทาน 2 7.1

นำ้ ประปา 24 85.7

ระยะทางจากแหลง่ ผลิตถงึ แหลง่ รับซื้อ จำนวน รอ้ ยละ

11 – 15 กิโลเมตร 2 7.1

16 – 20 กิโลเมตร 6 21.4

21 – 25 กโิ ลเมตร 16 57.1

26 – 30 กิโลเมตร 4 14.3

Source: Computed from Field Survey Data (2020)

จากตารางท่ี 2 พบว่า สว่ นใหญร่ ้อยละ 89.3 ผลติ กอ้ นเชอื้ เห็ดเอง ร้อยละ 10.7 ใชว้ ธิ ีการซ้ือก้อนเช้ือ
เห็ดสำเร็จรูป ในส่วนของระบบการทำการเกษตรส่วนใหญ่ร้อยละ 92.9 ผลิตเห็ดหูหนูด้วยระบบเกษตรเคมี
ร้อยละ 7.1 ผลิตเห็ดหูหนูด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ในด้านของแหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร ส่วนใหญ่
ร้อยละ 85.7 ใชน้ ำ้ ประปาในการผลิตเห็ดหูหนู รอ้ ยละ 7.1 ใชน้ ้ำบอ่ บาดาลและน้ำชลประทานในการผลิตเห็ด
หูหนตู ามลำดับ ในดา้ นของระยะทางจากแหลง่ ผลิตถงึ แหลง่ รบั ซ้อื ส่วนใหญ่รอ้ ยละ 57.1 มีระยะทางจากแหล่ง
ผลิตเห็ดหูหนูถึงจดุ รวบรวมผลผลิตหรือแหล่งรับซื้อ 21-25 กิโลเมตร ร้อยละ 21.4 มีระยะทางจากแหล่งผลติ
เห็ดหหู นูถงึ จุดรวบรวมผลผลติ หรือแหล่งรับซื้อ 16-20 กิโลเมตร ร้อยละ 14.3 มีระยะทางจากแหล่งผลิตเห็ดหู
หนูถึงจุดรวบรวมผลผลติ หรอื แหลง่ รบั ซ้อื 26-30 กโิ ลเมตร และรอ้ ยละ 7.1 มีระยะทางจากแหล่งผลติ เหด็ หูหนู
ถงึ จุดรวบรวมผลผลติ หรือแหล่งรบั ซอื้ 11-15 กโิ ลเมตร ตามลำดบั

4.3 ข้อมูลดา้ นต้นทุนและผลตอบแทน
ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตเห็ดหูหนูของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหูหนู

ดังตารางท่ี 3

118 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางท่ี 3 ตน้ ทนุ และคา่ ใชจ้ ่ายในการผลติ เห็ดหหู นูดา้ นเคร่อื งจักรและอุปกรณ์สำหรับผลติ เห็ดหหู นู 1 รอบ

การผลติ ตอ่ 1 โรงเรือน

ตน้ ทนุ /รอบการผลติ /โรงเรอื น

รายการ จำนวน ราคาเฉลย่ี มลู ค่า อายุการ ค่าเส่ือม
ใช้งาน
1. เข่งพลาสติกหนา (Ø 66X66X48 ซม.) (หนว่ ย/ (บาท/ (บาท/ (ป)ี (บาท/โรงเรือน)

โรงเรอื น) หน่วย) โรงเรอื น) 5.00 4,125.00

25 825.00 20,625.00

2. ไม้ไผ่ 50 300.00 15,000.00 5.00 3,000.00

3. รถเขน็ 2 1,121.43 2,242.86 5.00 448.57

4. สายยาง 1 607.14 607.14 5.00 121.43

5. มีด 10 55.71 557.13 5.00 111.43

6. สายไฟ 1 407.14 407.14 5.00 81.43

7. เคร่อื งสูบน้ำและอปุ กรณ์ 1 1,511.90 1,511.90 10.00 151.19

8. เคร่อื งนึ่งกอ้ นเชื้อเหด็ 1 13,333.33 13,333.33 10.00 1,333.33

9. เครื่องผสมขีเ้ ลื่อย 1 10,000.00 10,000.00 10.00 1,000.00

10. ค่าสร้างโรงเรือน 1 6,666.67 6,666.67 5.00 1,333.33

รวม 34,828.33 70,951.18 - 11,705.71

Source: Computed from Field Survey Data (2020)

จากตารางที่ 3 พบว่า การลงทุนเพาะเห็ดหูหนูครั้งแรกต้องใช้เงินทุน 34,828.33 บาทต่อโรงเรือนตอ่
รอบการผลิต โดยแบ่งเป็นค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเพาะเห็ด 3,316.43 บาทต่อโรงเรือนต่อรอบการผลติ และ
ค่าเครื่องจักร 24,845.24 บาทต่อโรงเรือนต่อรอบการผลิต ซึ่งประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์
1,511.90 บาทต่อโรงเรือนต่อเครื่องต่อรอบการผลิต เครื่องนึ่งก้อนเชื้อเห็ดหูหนู 13,333.33 บาทต่อโรงเรือน
ต่อเครื่องต่อรอบการผลิต เครื่องผสมขี้เลื่อย 10,000.00 บาทต่อโรงเรือนต่อเครื่องต่อรอบการผลิต และค่า
สรา้ งโรงเรือน 6,666.67 บาทตอ่ โรงเรือนต่อรอบการผลิต โดยเคร่ืองนง่ึ ก้อนเช้ือเห็ดหูหนใู ช้ในการฆ่าเชื้อ ส่วน
เครื่องผสมขี้เล่ือยใช้ในการทำกอ้ นเชื้อเหด็ หูหนู เพื่อให้ส่วนผสมต่าง ๆ คลุกเคล้ากัน ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา
ในการใช้แรงงานคนในการผสม และสามารถผสมก้อนเชื้อได้ตลอดเวลาเมื่อต้องการก้อนเชื้อเห็ดหูหนู โดย
เครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ เครื่องนึ่งก้อนเชื้อเห็ด และเครื่องผสมขี้เลื่อย เป็นการลงทุนครั้งแรกเพียงครั้งเดียว
โดยโรงเรือนมขี นาด 6x12 เมตรต่อก้อนเหด็ 5,000 ก้อน

การจำแนกพฤติกรรมต้นทุน (cost behavior analysis) โดยแบ่งออกเป็นต้นทุนคงที่และต้นทุนผัน
แปร ซึ่งค่าใชจ้ า่ ยในการผลิตเห็ดหหู นูจากการวิเคราะห์ตน้ ทุนและผลตอบแทนในการผลติ เห็ดหูหนู 1 รอบการ
ผลิตต่อ 1 โรงเรือน โดย 1 รอบการผลิตมีระยะเวลา 4 เดือน พบว่า ต้นทุนผันแปร ประกอบด้วย ค่าขี้เลื่อย
คิดเป็นร้อยละ 25.80 ค่าแรงในการบรรจุ นึ่ง ใส่เชื้อ เปิดดอกและทำก้อนเชื้อเห็ด คิดเป็นร้อยละ 15.74 ค่า
เชือ้ เพลงิ คิดเป็นร้อยละ 10.13 คา่ วัสดกุ อ้ นเชอ้ื เห็ด คดิ เป็นร้อยละ 10.10 ค่าแรงในการเก็บเกี่ยว คิดเป็นร้อย

119 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ละ 4.91 ค่าแรงงานในการดูแลรักษา คิดเป็นร้อยละ 4.88 และค่ารำละเอียด คิดเป็นร้อยละ 4.74 ตามลำดับ
ต้นทุนคงที่ประกอบด้วย ค่าเสื่อมเครื่องจักรและอุปกรณ์ คิดเป็นร้อยละ 19.17 โดยคิดค่าเส่ือมราคาตาม
หลกั การคิดแบบเสน้ ตรง และคา่ เช่าทดี่ ิน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 0.07

ตารางท่ี 4 ต้นทุนและคา่ ใช้จ่ายในการผลติ เห็ดหหู นู ดา้ นค่าใช้จา่ ยในการดำเนินงานต่อรอบการผลติ ต่อ

โรงเรือน

รายการ ต้นทุน รอ้ ยละ
ราคาเฉลยี่ (บาท)

ต้นทุนคงท่ี

ค่าเช่าทดี่ นิ 40.79 0.07

ค่าเส่อื มราคาเครื่องจกั รและอปุ กรณ์ 11,705.71 19.17

ตน้ ทุนคงท่ที ัง้ หมด 11,746.50 19.24

ต้นทุนผนั แปร

คา่ วัสดุเพือ่ ใช้ในการทำกอ้ นเชอื้ เหด็ 6,164.29 10.10

ขี้เลอ่ื ย 15,750.00 25.80

รำละเอยี ด 2,896.00 4.74

อาหารเสรมิ สำหรับเห็ด 315.40 0.52

ปนู ขาว 611.60 1.00

ค่าเชอ้ื เพลงิ 6,184.00 10.13

คา่ นำ้ 639.64 1.05

ค่าไฟฟา้ 420.00 0.69

ค่ายากำจดั ศัตรูพืช 511.43 0.84

คา่ นำ้ มันเชอื้ เพลงิ ในการทำก้อนเชอ้ื เห็ด 223.93 0.37

คา่ แรงในการเพาะเห็ด บรรจุ น่ึง ใส่เชอ้ื เปิดดอก 9,610.71 15.74

คา่ แรงงานในการดแู ลรกั ษา 2,978.57 4.88

ค่าแรงในการเกบ็ เก่ยี ว 3,000.00 4.91

ต้นทุนผันแปรทัง้ หมด 49,305.57 80.76

ต้นทุนรวมท้ังหมด 61,052.07 100.00

ปริมาณผลผลติ (กโิ ลกรัม/รอบการผลิต/โรงเรอื น) 2,500.00

ราคาผลผลติ (บาท/กิโลกรัม) 50.00

รายไดท้ งั้ หมด (บาท/รอบการผลติ /โรงเรือน) 125,000.00

กำไรสทุ ธิ (บาท/รอบการผลติ /โรงเรือน) 63,947.93

กำไรสทุ ธิ (บาท/เดือน/โรงเรือน) 15,986.98

Source: Computed from Field Survey Data (2020)

120 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

จากตารางที่ 4 พบว่า ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสำหรับผลิตเห็ดหูหนู 1 รอบการผลิตต่อ 1 โรงเรือน มี
ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 49,305.57 บาทต่อรอบการผลิตต่อโรงเรือน คิดเป็นร้อยละ 80.76 มีต้นทุนคงที่เฉลี่ย
11,746.50 บาทต่อรอบการผลติ ต่อโรงเรอื น คิดเป็นรอ้ ยละ 19.24 มีต้นทุนรวมท้งั หมดเฉลย่ี 61,052.07 บาท
ต่อรอบการผลิตต่อโรงเรือน และมีกำไรสุทธิเฉลี่ย 63,947.93 บาทต่อรอบการผลิตต่อโรงเรือน หรือมีกำไร
เฉลยี่ สุทธิ 15,986.98 บาทต่อโรงเรือนตอ่ เดือนต่อรอบการผลติ

ตารางท่ี 5 การลงทนุ ปลกู เห็ดหหู นูต่อโรงเรือนในระยะเวลา 1 ปี

รายการ รอบการผลติ ที่ รอบการผลิตท่ี รอบการผลติ ที่
1 2 3

(Oct-Feb) (Feb-May) (May-Oct)
0 0
ค่าเส่อื มราคาเครอ่ื งจกั รและอปุ กรณ์ 11,705.71
40.79 40.79
ค่าเชา่ ทีด่ ิน 40.79 49,305.57 49,305.57
49,346.36 49,346.36
ต้นทุนผนั แปรท้งั หมด* 49,305.57 2,500.00 2,500.00
ต้นทนุ รวมทัง้ หมด 61,052.07
50.00 30.00
ปรมิ าณผลผลติ (กโิ ลกรมั /รอบการผลติ /โรงเรือน 2,500.00 125,000.00 75,000.00
75,653.64 25,653.64
ราคาผลผลติ (บาท/กิโลกรมั ) 50.00 165,255.21

รายไดท้ ้งั หมด (บาท/รอบการผลิต/โรงเรอื น) 125,000.00

กำไรสุทธิ (บาท/รอบการผลติ /โรงเรอื น) 63,947.93

กำไรสุทธิ (บาท/โรงเรือน/ปี)

Note: * Refer to details of total variable cost in table 4

Source: Computed from Field Survey Data (2020)

จากตารางที่ 5 เป็นข้อมูลการศึกษาการเพาะเห็ดหูหนู 1 โรงเรือน เป็นระยะเวลา 1 ปี ผู้วิจัยพบว่า
ราคาของผลผลิตเห็ดหูหนูจะมีความผันผวนในแต่ละรอบการผลิตตามฤดูกาล โดยผลผลิตเห็ดหูหนูจะมีราคา
ประมาณ 30 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงฤดฝู น และจะมีราคาสูงถงึ 50 บาทตอ่ กโิ ลกรมั ในชว่ งฤดูหนาวและฤดูร้อน
(ตลาดนัดเกษตรไพรซ์, 2563) ในขณะที่ 1 โรงเรือน จะให้ผลผลิตประมาณ 2,500 กิโลกรัมต่อรอบการผลิต
ดังนั้น สมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหูหนูจะกำไรสุทธเิ ฉล่ีย 165,255.21 บาทต่อโรงเรือนในระยะเวลา
1 ปี

4.4 ปญั หาในการการผลิตเห็ดหหู นู
สมาชิกกลุ่มเกษตรกรเห็ดหูหนสู ่วนใหญ่ ถึงร้อยละ 60.7 ระบุว่ามีปัญหาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช ได้แก่

ไรศตั รเู ห็ด (ไรไขป่ ลา) รองลงมาคือ ปญั หาโรคพืช ร้อยละ 25.0

121 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของปัญหาสำคญั ในการผลติ เห็ดหหู นู

ปญั หาสำคญั ในการผลติ เห็ดหูหนู จำนวน ร้อยละ
60.7
แมลงศัตรูพชื 17 25.0
14.3
โรคพืช 7

ก้อนเชื้อเห็ด 4

Source: Computed from Field Survey Data (2020)

5. สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1. สรปุ และอภิปรายผล
ผลการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตหูหนขู องกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่
เห็ดหหู นู อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี อภปิ รายผลตามวตั ถุประสงคข์ องการวิจัยไดด้ งั นี้
1. การผลติ เหด็ หหู นจู ัดเป็นอาชีพหลักท่ีทำให้เกษตรกรทุกครวั เรือนมีกำไรสุทธิเฉลยี่ 63,947.93 บาท
ต่อรอบการผลิตต่อโรงเรือน หรือมีกำไรเฉลี่ยสุทธิ 15,986.98 บาทต่อโรงเรือนต่อเดือน โดยกลุ่มเกษตรกร
แปลงใหญ่เห็ดหูหนูสามารถผลิตเห็ดหูหนเู พือ่ จำหนา่ ยประมาณ 3 รอบการผลิตต่อปี ซึ่ง 1 รอบการผลิตจะใช้
เวลาประมาณ 4 เดือนตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว เมื่อศึกษาข้อมูลการเพาะเห็ดหูหนู 1 โรงเรือนเป็น
ระยะเวลา 1 ปี พบว่า สมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหูหนูจะกำไรสุทธิเฉลี่ย 165,255.21 บาทต่อ
โรงเรือนในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมผี ลกำไรต่อปสี งู กว่าการเพาะเห็ดนางฟ้าเมื่อเทยี บกบั งานวิจยั ของชลธชิ า โค
ประโคน (2559) ศึกษาการลงทุนเพาะเห็ดนางฟ้า พบว่า การเพาะเห็ดนางฟ้า 1 โรงเรือน มีผลกำไรต่อปี
95,940.00 บาทต่อโรงเรือน ดังนั้นผลกำไรที่ได้จากวิจัยในครั้งนี้เป็นตัวเลขที่น่าสนใจในการลงทุนเป็น
อย่างมาก เพราะได้ผลกำไรที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งผลผลิตเห็ดหูหนูยังเป็นที่ต้องการของตลาด จึงถือเป็นอาชีพ
หนึ่งท่ีใหผ้ ลตอบแทนทีด่ ีแกเ่ กษตรกรผูล้ งทนุ
2. จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหูหนูมตี ้นทนุ และค่าใชจ้ ่ายต่อรอบการ
ผลิตต่อโรงเรือน ส่วนใหญ่เป็นค่าค่าขี้เลื่อย รองลงมาคือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตเห็ดหูหนู ค่าวัสดุ
กอ้ นเชอื้ เหด็ ค่าจ้างแรงงาน และคา่ ใชจ้ า่ ยอื่น ๆ ซง่ึ สอดคล้องกบั ผลการศึกษาของ Ram et al. (2010) ศึกษา
การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และการตลาดของการผลิตเห็ดในฮาเรียนา พบว่า ส่วนใหญ่มีต้นทุนและ
ค่าใช้จ่ายเป็นค่าวัสดุก้อนเชื้อเห็ด รองลงมาเป็นค่าจ้างแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามลำดับ นอกจากนี้ยัง
พบว่า สมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหูหนูมีต้นทุนในการผลิตสูงกว่าเกษตรกรที่เพาะเห็ดชนิดอื่น
เนื่องจากปจั จัยการผลิตที่ตา่ งกนั เชน่ คา่ เครอ่ื งจักรและอปุ กรณ์ สภาพแวดลอ้ มในพ้ืนทีป่ ลกู เปน็ ต้น

5.2 ขอ้ เสนอแนะเชิงนโยบาย
1. องค์การบริหารส่วนตำบลบางแพ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ควรเข้าไป

จัดการฝกึ อบรมเพ่มิ ทักษะความรู้ให้เกษตรกรอย่างต่อเน่ืองและเป็นรปู ธรรมในเร่ืองของการส่งเสริมการผลิตที่

122 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ถูกวิธี เพื่อให้สมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เห็ดหูหนูสามารถผลิตเห็ดหูหนูในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อสร้าง
รายได้ที่มากขึ้นให้แก่เกษตรกร และยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเกษตรกรในชุมชนเพื่อเป็นการพัฒนาที่
ยงั่ ยนื ตอ่ ไป

2. กรมศุลกากร กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ควรโฆษณาและประชาสัมพันธ์
เกีย่ วกบั การบริโภคเหด็ หหู นูให้มากขึ้น เน่ืองจากประเทศไทยจัดเป็นประเทศท่ีมศี ักยภาพในการผลิตเห็ดอยู่ใน
ระดับสูง สามารถแขง่ ขนั กับประเทศอื่น ๆ ได้ ดังนั้นรฐั บาลควรขยายตลาดในต่างประเทศใหม้ ากข้นึ

5.3 ขอ้ เสนอแนะเพอื่ การวจิ ัยในคร้ังตอ่ ไป
1. ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตเพาะเห็ดหูหนูของเกษตรกรแปลงใหญ่

อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
2. ควรทำการศึกษาสินคา้ เกษตรประเภทอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคยี งกัน โดยการเปลี่ยนชนิดของ

สินค้าเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้สนใจที่อยู่นอกภาคเกษตร และสามารถขยายโอกาสในการยกระดบั
รายได้ของกล่มุ เกษตรกร

เอกสารอ้างอิง

กมลรัตน์ นนทรยี ์. (2546). ต้นทนุ และผลตอบแทนของการเพาะเลย้ี งเห็ดหอมในอำเภอดอยสะเกด็ จังหวดั
เชียงใหม่ [ออนไลน]์ . ค้นเมื่อ 12 ตลุ าคม 2563 จาก http://cmuir.cmu.ac.th/

กรมวทิ ยาศาสตร์การแพทย์. (2563). เหด็ และสารพิษจากเห็ด [ออนไลน]์ . ค้นเม่ือ 12 ตุลาคม 2563 จาก
http://nih.dmsc.moph.go.th/

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2559). แนวโน้มการเพาะเห็ดจะความเตบิ โตในตลาดโลก [ออนไลน]์ . คน้ เมื่อ 21
สงิ หาคม 2563 จาก www.agriman.doae.go.th

กรมสง่ เสรมิ การเกษตร. (2561). ภาพ/ข่าวกจิ กรรม [ออนไลน์]. คน้ เมอื่ 12 ตลุ าคม 2563 จาก
http://bangphae.ratchaburi.doae.go.th/page_3_8.html

กรมเศรษฐกิจระหวา่ งประเทศ. (2561). โอกาสใหม่เพ่ือการเติบโตของธุรกิจไทยในตา่ งแดน” กลไกการทตู
เศรษกจิ เชิงรกุ เพือ่ ร่วมผลกั ดันธรุ กิจไทยใหแ้ ขง่ ขันไดใ้ นเวทโี ลก [ออนไลน]์ . คน้ เม่อื 25 กรกฎาคม
2563 จาก https://globthailand.com/china_0159/.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2563). สรปุ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ปี 2562 และแนวโน้ม ปี 2563
[ออนไลน]์ . คน้ เม่ือ 13 สิงหาคม 2563 จาก https://www.ryt9.com/s/oie/3086947.

ชลธิชา โคประโคน. (2559). การศึกษาการลงทนุ เพาะเห็ดนางฟ้า. วทิ ยานพิ นธ์วิทยาศาสตรมหาบณั ฑิต
สาขาวิชาการจดั การโลจิสตกิ สแ์ ละโซ่อุปทาน มหาวทิ ยาลัยบรู พา.

123 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ชตุ มิ า ธัญญรกั ษ์. (2546). การวเิ คราะห์ตน้ ทุนและผลตอบแทนจากการลงทนุ ในการเพาะเห็ดหูหนเู พื่อ
การคา้ ในเขตจังหวัดราชบุรี [ออนไลน]์ . ค้นเมอื่ 12 ตุลาคม 2563 จาก https://tdc-thailis-or-
th.portal.lib.ku.ac.th/

ตลาดนัดเกษตรไพรซ์. (2563). ราคาเห็ดย้อนหลัง [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2563 จาก
https://www.kasetprice.com/ราคาเหด็ ยอ้ นหลัง.

บุญธรรม กิจปรดี าบริสุทธ์ิ. (2551). ระเบียบวิธกี ารวจิ ัยทางสงั คมศาสตร์. (พิมพ์ครัง้ ที่ 10). กรงุ เทพฯ.จามจรุ ี
โปรดกั ท,์

ภาสกจิ วณั นาวบิ ลู . (2547). เห็ดหหู นู : สุดยอดของเหด็ . นิตยสารหมอชาวบา้ น, เลม่ ที่ 300.
ศิริกุล คล่องคำนวณการ. (2528). ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนในการผลิตเห็ดหูหนู เห็ดนางรม

เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อเพื่อการค้า. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2556). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนกะหล่ำปลีของเกษตรกรลาวภายใต้
ข้อตกลงการผลิตในระบบพันธสัญญาไทย-ลาว: Cost and Benefit Analysis of Cabbage
Production of Lao Farmers under Thai – Laos Contract Farming. วารสารบรหิ ารธรุ กิจ. 36
(140). 56-70
สำนกั งานจงั หวดั ราชบุรี. (2562). ทิศทางของแผนพัฒนาจังหวัดราชบรุ ี พ.ศ. 2561-2564 (ฉบบั ทบทวน ปี
2562) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2563 จาก http://www.ratchaburi.go.th/plan-
2551/p_61-64/stratigy%2062.pdf
Celik, Y. & Peker, K. (2009). Benefit/ cost analysis of mushroom production for diversification
of income in developing countries. Bulgarian Journal of Agricultural Science. 15 (3),
228-235.
McFadden, D. ( 1 9 6 6 ) . Cost, revenue and profit functions: A cursory review. Institute for
business and economic research working paper no. 8 6 . Berkeley, CA: University of
California.
Ram, S., Bishnoib, D.K. & Abhey S. (2010). Cost Benefit Analysis and Marketing of Mushroom in
Haryana. Agricultural Economics Research Review, 23, 165-171.

124 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ความผกู พนั ตอ่ องค์กรของบคุ ลากรสายสนบั สนุนวชิ าการ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวดั ชลบรุ ี
Organizational Commitment of Academic Supporting Staff,
Burapha University, Chonburi Province.

ระชา เมืองสวุ รรณ์*
(Racha Muengsuwan)

บทคัดยอ่

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน
วชิ าการ มหาวทิ ยาลยั บูรพา 2) การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัย
บูรพา 3) การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ
มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบของการวจิ ัยเชงิ ปริมาณ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ
การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าไคสแควร์และการวิเคราะห์
การถดถอยพหุคูณ สุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นและกำหนดวิธีเลือกสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ
เพื่อหาจำนวนตัวอย่างในแต่ละส่วนงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ
มหาวทิ ยาลัยบูรพา จำนวน 340 คน

ผลการศึกษา พบว่า 1) ความผูกพันต่อองค์กรในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การรับรู้
ความสำเร็จในอาชีพในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ ได้แก่ ด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (X2) และ ด้านความก้าวหน้าในการเลื่อนตำแหน่ง (X4) ส่งผลต่อความผูกพัน
ต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยร่วมกันทำนายได้รอ้ ยละ 34.30 อย่างมี
นยั สำคัญทางสถติ ทิ ร่ี ะดบั 0.01

โดยสมการวเิ คราะหก์ ารถดถอย คือ Ŷ = 1.183 + 0.146(X1) + 0.202(X2) + 0.088(X3) + 0.265(X4)

คำสำคัญ: ความผกู พันต่อองค์กร บคุ ลากรสายสนบั สนุนวิชาการ มหาวทิ ยาลยั บรู พา

* วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติ
แสตมฟอรด์ วทิ ยาเขตหวั หิน 76120 ภายใต้การควบคมุ ของอาจารย์ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.นติ ยา สนิ เธาว์
Thesis Master of Public Administration, Faculty of Public Administration and Social Studies, Stamford
International University, Hua Hin Campus 76120
Corresponding author: [email protected]

125 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

ABSTRACT

This research aimed to study 1) organizational commitment of academic supporting
staff of Burapha University, 2) perceived career success of academic supporting staff of Burapha
University, 3) perceived career success influenced the organizational commitment of academic
supporting staff of Burapha University. Data were treated and analyzed by using descriptive
and Inferential Statistic Methods, which were percentage, Frequency, mean, standard
deviation, Chi-square test and Multiple Regression Analysis. Using Probability Sampling and
Stratified Random Sampling. Sample group consisted of 340 academic supporting staff working
in Burapha University.

Finding: 1) organizational commitment, as a whole and each aspect was at high level,
2) perceived career success, as a whole and each aspect was at high level, 3) perceived career
success in aspects of interpersonal success (X2) and hierarchical success (X4) affecting
organizational commitment of academic supporting staff of Burapha University at the
percentage of 34.30 with statistical significance level of 0.01.

The regression equation was Ŷ = 1.183 + 0.146(X1) + 0.202(X2) + 0.088(X3) + 0.265(X4)

Keywords: Organizational commitment, Academic supporting staff, Burapha University

Article history: Received 31 August 2020
Revised 1 November 2020
Accepted 6 November 2020
SIMILARITY INDEX = 2.90 %

126 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

1. บทนำ

สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่สำคัญในการผลิตทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานา
ประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถชี้นำและสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้เป็น
ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) (มหาวิทยาลัยบูรพา,
2560: 2) สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการสอนและการวิจัยควบคู่กับคุณธรรมต่อสังคม โดย
มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นหน่งึ ในสถาบนั อดุ มศึกษาจึงมภี ารกิจหลักในการใหก้ ารศึกษา ส่งเสริมงานวจิ ยั ทจี่ ะสร้าง
และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีบนพื้นฐานของหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
สนับสนุนความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม พัฒนาศักยภาพแก่สังคมชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนท่ี
สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งการที่จะทำให้เป้าหมายขององค์กรบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้นั้น องค์กร
จำเป็นต้องมีทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทรัพยากรในองค์กรประกอบด้วย คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการ
จัดการ โดยปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้
เกดิ ผลอยา่ งมีประสิทธิภาพและประสทิ ธผิ ล ดงั น้ันการเอาใจใสต่ ่อบุคลากรในองค์กรจงึ เป็นเรือ่ งทผี่ ู้บริหารต้อง
ให้ความสำคัญพร้อมที่จะเข้าถึงความต้องการและสร้างความพึงพอใจในการทำงาน เพื่อให้บุคลากรมีความ
ผูกพันต่อองค์กร พร้อมอุทิศกำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญาให้กับงานอย่างเต็มที่ (สุภารัตน์ น้ำใจดี, 2548:
2) ส่งผลให้การปฏิบัติงานเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยทำให้อัตราการลาออก การ
ขาดงาน และความกระตือรือร้นในการทำงานลดลงอีกด้วย โดยปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
เงนิ เดอื น ผลตอบแทน และความกา้ วหนา้ ในงานมผี ลตอ่ ความผกู พันต่อองคก์ ร (วรรณา อาวรณ์, 2557: 107)

มหาวิทยาลัยบูรพา แบ่งประเภทบุคลากรออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ และ
บคุ ลากรสายสนับสนุนวชิ าการ (มหาวิทยาลยั บรู พา, 2560: 23) โดยบุคลากรสายสนบั สนุนวิชาการมสี ่วนอย่าง
มากในการชว่ ยผลักดัน พัฒนา และส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยสามารถปฏิบัติภารกิจให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (มหาวิทยาลัยบรู พา, 2560: 35) ดังนั้นผู้บริหารจึงจำเปน็ ต้องหาวิธีท่จี ะ
รักษาบุคลากรให้อยู่กับมหาวิทยาลัยให้ได้นานที่สุด โดยการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ
เกิดความผูกพนั กับองค์กร และพรอ้ มทจี่ ะแสดงศกั ยภาพในการปฏิบตั งิ านอย่างเตม็ ความสามารถ (ประสิทธิชัย
เดชขำ, 2557: 189) สร้างการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพของแต่ละบุคคลที่จะส่งผลให้บุคลคนนั้นเห็นคุณค่าใน
ตนเองและมีความมุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติงาน เพิ่มพูนความรู้และความชำนาญในสายงานอยู่เสมอ (Robbins,
2003: 30) โดยการได้รับโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัย
บูรพายังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย เนื่องจากการกำหนดโครงสร้างการบริหารและเส้นทาง
ความก้าวหน้าของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมีความแตกต่างกัน ซึ่งหมายรวมถึงตำแหน่งบริหารด้วย
(มหาวิทยาลยั บูรพา, 2560: 42) ส่งผลให้บุคลากรเกิดความรู้สึกท้อถอยในการปฏบิ ัตงิ าน ไมม่ ีแรงผลักดันหรือ
สิ่งกระตุ้นในการพัฒนาวิธีการทำงาน พัฒนาตนเองให้รับรู้ความสำเร็จในอาชีพ (มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560:
32) ซึ่งหากองค์กรมีบุคลากรที่ขาดการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพเพิม่ มากขึ้นจะส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร
ของบคุ ลากร

127 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

จากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นอาจก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่อการก้าวเข้าสู่ตำแหน่ง ในระดับท่ี
สูงขึ้นทั้งตำแหน่งทางวิชาชพี และตำแหน่งทางการบริหาร ซึ่งเป็นการบั่นทอนกำลังใจในการปฏิบัติงาน ส่งผล
ให้เกิดความรู้สึกนึกคิดในดา้ นลบของบุคลากรสายสนับสนุนวชิ าการ การขาดความจงรักภักดีตอ่ องค์กร ความ
ผูกพันต่อองค์กรลดลง ตลอดจนการลาออกเพื่อเข้าสู่องค์กรใหม่ที่สามารถตอบสนองให้บุคคลนั้น ๆ รับรู้ถึง
ความสำเร็จในอาชีพท้ังในด้านความก้าวหน้าในสายงานและต่างสายงาน รายได้ และการยอมรบั ในสงั คม จาก
สภาวะปัญหาดังกลา่ ว ผู้วิจยั สนใจท่จี ะศึกษาการรับรู้ความสำเรจ็ ในอาชีพท่สี ่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของ
บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อนำผลของการศึกษาครั้งนี้นำเสนอแก่ผู้บริหาร
ระดับสูง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายด้านการบริหารงานบุคคลได้อย่างเหมาะสม อันจะก่อให้เกิด
การรบั รู้ความสำเร็จในอาชีพของพนักงานสายสนบั สนุนวชิ าการในเชงิ บวก เพื่อใหบ้ ุคลากรเกิดความผูกพันต่อ
องคก์ รส่งผลใหก้ ารปฏิบตั ิงานมปี ระสิทธภิ าพและประสทิ ธผิ ลเพ่ิมข้ึน

วตั ถุประสงคข์ องการวจิ ัย
1. เพอื่ ศกึ ษาระดับความผูกพนั ต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวทิ ยาลัยบูรพา
2. เพือ่ ศกึ ษาการรบั ร้คู วามสำเร็จในอาชีพของบคุ ลากรสายสนับสนนุ วิชาการ มหาวิทยาลยั บูรพา
3. เพ่อื ศกึ ษาการรบั รู้ความสำเร็จในอาชพี ทส่ี ง่ ผลต่อความผูกพันต่อองคก์ รของบคุ ลากรสายสนับสนุน

วชิ าการ มหาวทิ ยาลัยบรู พา

2. เอกสารและงานวิจัยทเ่ี กีย่ วขอ้ ง

ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมจากแนวคิด ทฤษฎี และงานวจิ ยั ที่เกีย่ วขอ้ งตามประเด็น ดังต่อไปนี้
2.1 ทฤษฎเี ก่ยี วกบั ความผกู พนั ต่อองค์กร

Allen and Meyer (1997: 67-70 อ้างถึงใน ชุติวรรณ ชมพรนานันท์, 2556: 18) ได้กล่าวว่า
ความผูกพันต่อองค์กร คือความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อองค์กร เป็นสิ่งที่ยึดเหนีย่ วให้บคุ ลากรยังคงอยู่กับองคก์ ร
แบง่ ออกเปน็ 3 มติ ิ ดังน้ี

1) ความผูกพันต่อองค์กรด้านความรู้สึกหรือด้านจิตใจ (Affective Commitment) เป็น
ความรู้สึกของบุคคลที่รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เต็มใจที่จะอุทิศตนให้กับองคก์ ร โดยบุคลากรที่มี
ความผกู พันต่อองคก์ รในด้านความร้สู ึกในระดบั สงู จะมที ัศนคตเิ ชิงบวกต่อองค์กร

2) ความผูกพันต่อองค์กรด้านความต่อเนื่อง (Continuous Commitment) เกิดจากการท่ี
บุคลากรตระหนักถึงผลตอบแทนที่ได้จากการทำงานในองค์กร โดยมีการเปรียบเทียบผลได้และผลเสียที่เกิด
จากการละทิง้ สมาชิกภาพของบคุ ลากรไป มีความสมำ่ เสมอของพฤติกรรม ไมเ่ ปลย่ี นแปลงหรือโยกย้ายงาน

3) ความผูกพันต่อองค์กรด้านบรรทัดฐานทางสังคม (Normative Commitment) เป็น
ความรู้สึกภายในจิตใจที่รับรู้ในบุญคุณที่ได้เข้ามาทำงานในองค์กร เกิดจากค่านิยมของสังคมทำให้รู้สึกต้อง
จงรกั ภักดแี ละอุทิศตนให้องคก์ ร เน่อื งจากเป็นส่ิงท่ีถกู ตอ้ งและเหมาะสมตามบรรทัดฐานของสังคม

128 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Steers (1977: 46-56) ให้นิยามความผูกพันต่อองค์กรไว้ว่า เป็นความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งของ
องค์กรของบุคลากร มเี ปา้ หมายและค่านิยมเดียวกันกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในองค์กร และพร้อมจะปฏิบัติภารกิจ
ใหส้ ำเร็จลุลว่ ง อกี ทง้ั ยงั มีความตัง้ ใจอย่างแรงกลา้ ท่จี ะทำงานกบั องค์กรไปตลอด

สรุปได้ว่า ความผูกพันต่อองค์กรคือความรู้สึกของบุคลากรที่มีต่อองค์กร เช่น การยอมรับ
เป้าหมายและค่านิยมขององค์กร การจงรักภักดีและเชื่อว่าองค์กรจะนำพาไปสู่ความสำเร็จ ความรู้สึกว่าตน
เป็นสว่ นหนงึ่ ขององคก์ รพร้อมจะอยู่กบั องคก์ รไปตลอด ดงั นั้นความผกู พนั ตอ่ องคก์ รจึงเป็นสิ่งสำคญั ที่
แต่ละองค์กรต้องตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญ เร่งเสริมสร้างความผูกพันให้เกิดขึ้นในองค์กรเพื่อให้การ
ปฏบิ ตั งิ านเป็นไปไดอ้ ย่างย่งั ยืน ในการศึกษาครง้ั น้ีผู้วจิ ยั จงึ ไดเ้ ลือกศึกษาความผูกพันตอ่ องค์กรตามแนวคิดของ
Allen and Meyer (1997) เนื่องจากได้รับความนิยมในการศึกษา อีกทั้งยังครอบคลุมในหลายมิติ สามารถ
ประเมนิ ระดับความรสู้ ึกผกู พนั ของบุคลากรในองค์กรได้อย่างชัดเจน

2.2 ทฤษฎเี กยี่ วกบั การรบั รูค้ วามสำเรจ็ ในอาชพี
Gattiker & Larwood (1986: 79-80) ได้ศึกษาแนวคดิ เก่ยี วกบั การรับรคู้ วามสำเร็จในอาชีพ โดย

แบ่งการรบั ร้คู วามสำเร็จในอาชีพออกเปน็ 2 ด้าน คือความสำเรจ็ ด้านวัตถุหรือการรับร้โู ครงสรา้ งภายนอกและ
ความสำเร็จดา้ นความรูส้ ึกภายใน ซงึ่ สามารถพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบ ได้ดงั น้ี

1) ด้านบทบาทการทำงาน (Work Role Success) มาจากการรวบรวมพฤติกรรมขณะ
ปฏบิ ัตงิ านไปจนถึงปฏบิ ตั งิ านได้บรรลุตามวตั ถุประสงค์ จากการรบั ร้แู นวคดิ อาชพี ของตนเอง

2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Success) เกิดขึ้นภายในจิตใจของ
บุคคล โดยพจิ ารณาจากการเปน็ ท่ยี อมรบั และการไดร้ ับการช่นื ชมอย่างจรงิ ใจจากเพ่ือนร่วมงาน ผูบ้ ังคบั บัญชา
สามารถทำงานรว่ มกับผ้อู ืน่ ได้เป็นอยา่ งดี

3) ด้านการเงิน (Financial Success) เป็นการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพจากภายนอกว่า
ตนเองได้รับผลประโยชน์และค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับผลการปฏิบัติงาน เมื่อเทียบกับ
ความรคู้ วามสามารถในการทำงานกบั เพ่ือนร่วมงานในระดบั เดยี วกนั โดยค่าตอบแทนควรอยใู่ นระดบั ท่ี พึง
พอใจและเป็นไปตามเปา้ หมายท่ตี ้งั ไว้

4) ด้านความก้าวหน้าในการเลื่อนตำแหน่ง (Hierarchical Success) เป็นการรับรู้
ความสำเร็จในอาชีพของตนว่ามีโอกาสจะได้รบั ความก้าวหนา้ ในหนา้ ท่ีการงาน ไดเ้ ล่อื นตำแหน่งตามระยะเวลา
และการทำงานในตำแหนง่ นนั้ ๆ ตามท่อี งคก์ รกำหนด โดยใช้ความรคู้ วามสามารถและทักษะที่มีปฏิบัติงานจน
ประสบความสำเรจ็ เปน็ ท่ยี อมรบั

Hennequin (2007: 565-581) ให้นิยามความสำเร็จในอาชีพไว้ว่าเป็นมุมมอง ส่วนบุคคลท่ี
แต่ละคนจะใช้เกณฑ์ในการวัดความสำเร็จในอาชีพแตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การรับรู้
ความสำเรจ็ ดา้ นวัตถุ การรับรู้ความสำเรจ็ ด้านจิตใจและการรบั รคู้ วามสำเรจ็ ดา้ นสังคม

129 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

Thomsom & Mabey (1994: 23 อา้ งถึงใน กมลภัทร กาญจนเพญ็ , 2556: 41) ได้ศึกษาเกีย่ วกับ
การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ พบว่า ตัวแปรด้านบุคคล ลักษณะหัวหน้างาน และอายุการปฏิบัติงาน เป็น
องค์ประกอบที่สำคัญที่ส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันในอาชีพ และความยึดมั่นผูกพันในอาชีพนี้จะส่งผลต่อ
ความสำเรจ็ ในอาชพี

สรปุ ไดว้ ่าการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพมักจะพิจารณาปจั จัยจากการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพด้าน
วัตถุหรือการรับรู้โครงสร้างภายนอก และการรับรู้ความสำเร็จด้านความรู้สึกภายใน เนื่องจากเป็นการ
ตอบสนองความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านจิตใจและคุณภาพชีวิ ต
โดยปจั จยั ทั้ง 2 ด้านนัน้ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อความยึดม่ันผูกพันในอาชีพ ตลอดจนการนำไปสู่
การบรรลสุ ู่เป้าหมายในอาชีพทแ่ี ตล่ ะบุคคลตัง้ เปา้ ไว้

2.3 แนวคิดเกี่ยวกบั การบรหิ ารงานบคุ คลของมหาวทิ ยาลยั บูรพา
การกำหนดตำแหนง่
มหาวิทยาลัยบูรพา (2556: 5) มีการกำหนดระบบจำแนกตำแหน่งบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายใน

มหาวิทยาลัยบูรพาออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ จำนวน 2 ประเภท ได้แก่ 1) พนักงานมหาวิทยาลัย ได้แก่
ผ้บู ริหาร คณาจารย์ และพนักงานสนับสนนุ วิชาการ 2) ลูกจา้ งมหาวทิ ยาลยั

ความกา้ วหนา้ ในการแตง่ ตั้งพนกั งานมหาวิทยาลัยใหด้ ำรงตำแหน่งสงู ขนึ้
มหาวิทยาลัยบูรพา (2556: 5) ได้กำหนดประเภทตำแหน่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ประเภทตำแหน่งวิชาชพี เฉพาะ และประเภทตำแหน่งเช่ียวชาญเฉพาะ โดยมีระดับตำแหน่ง ได้แก่ ปฏิบัติการ
ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และทรงคุณวุฒิ โดยกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของ
บุคลากรในองคก์ ร เพอื่ เปน็ การสร้างแรงจงู ใจในการทำงานของบุคลากร

2.4 งานวิจยั ที่เก่ยี วขอ้ ง
ผกาทิพย์ สัจจามั่น และคณะ (2559: 69) วิจัยเรื่อง ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสาย

สนับสนุนทั่วไปใน Generation Y ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ผลการวิจัยพบว่า การ
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบทบาทการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร พบว่า ปัจจัยด้าน
บทบาทการทำงาน ได้แก่ ความหลากหลายของงาน ความมีอิสระในการทำงาน ความท้าทายของงาน
มีความสัมพันธก์ บั ความผกู พันตอ่ องค์กร

ชินกร และ ปภาดา (2559: 54) วิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อ
องค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านความ
มั่นคงและความก้าวหน้าในงาน ปัจจัยค่าตอบแทน ปัจจัยด้านโอกาสและการพัฒนาความสามารถของตนเอง
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กร ด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่กับองค์กรและด้านบรรทัดฐาน
อย่างมีนัยสำคญั ทางสถิติทร่ี ะดับ 0.01

130 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

โศรตี โชคคณุ ะวัฒนา (2557: 109) วิจัยเร่อื ง คุณภาพชีวิตในการทำงานท่มี ีผลต่อความผกู พันต่อ
องคก์ รของพนักงานธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่ ผลการวิจยั พบวา่ 1) บทบาทในการทำงานมีความสัมพันธ์
กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน อยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถิตทิ ่ีระดับ 0.01 โดยมีความสัมพนั ธ์กันในระดับ
ปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าพนักงานมีโอกาสได้นำความรู้ความสามารถมาใช้ในการ
ปฏิบตั ิงานอย่างเตม็ ที่ ผลการปฏิบตั งิ านเกดิ ประสิทธภิ าพอยู่เสมอ จะสง่ ผลให้พนกั งานมีความผูกพนั ต่อองค์กร
เพิ่มขึ้น 2) ความก้าวหน้าในการเลื่อนตำแหน่งมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
กล่าวคือ ถ้าพนักงานทราบถึงเส้นทางความก้าวหน้าในตำแหน่งงานที่สงู ขึ้นอยา่ งชัดเจน ก็ย่อมทำให้พนักงาน
ได้รับรู้ว่าตนเองยังมีความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน จะส่งผลให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กร
เพ่ิมขึน้ 3) ค่าตอบแทนที่เปน็ ธรรมมคี วามสมั พันธ์กับความผูกพันต่อองคก์ รของพนักงาน อย่างมนี ยั สำคัญทาง
สถิติทร่ี ะดบั 0.01 โดยมีความสัมพนั ธ์กนั ในระดบั ปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กลา่ วคือ ถ้าพนกั งาน
ได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายตามภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพ และเหมาะสม
กับตำแหนง่ งาน ปรมิ าณงานท่ีรับผิดชอบ จะสง่ ผลให้พนกั งานมีความผูกพันต่อองคก์ รเพ่ิมขึ้น 4) ความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมี
ความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าพนักงานได้ทำงานร่วมกัน
ให้ความช่วยเหลือกัน ใหค้ ำแนะนำในการแกป้ ัญหาในการทำงานจากหวั หนา้ งานและผู้ร่วมงานอยู่เสมอ จะทำ
ให้พนกั งานรู้สกึ มีความสขุ ส่งผลให้พนักงานมคี วามผกู พนั ต่อองค์กรสูงข้ึน

จากการทบทวนวรรณกรรมและการศึกษางานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยจงึ ได้กำหนดกรอบแนวคิดในการ
วิจยั ดงั นี้

ตวั แปรอิสระ ตวั แปรตาม

แผนภาพท่ี 1 กรอบแนวคิดในการวิจยั
131 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021

3. วิธดี ำเนนิ การวิจยั

3.1 ประชากรและกลุ่มตวั อยา่ ง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
จังหวัดชลบุรี จำนวน 31 ส่วนงาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,910 คน (มหาวิทยาลัยบูรพา: 2563) ผู้วิจัยกำหนด
กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวนของ Yamane (1973 : 727-728) ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น 95% และ
ความคลาดเคลื่อน 5% จำนวน 340 คน ใช้วิธีเลือกสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random
Sampling) เพ่อื หาจำนวนตัวอยา่ งในแต่ละสว่ นงาน

ตารางท่ี 1 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอยา่ ง

สว่ นงาน ประชากร กลมุ่ ส่วนงาน ประชากร กลมุ่
ตัวอยา่ ง ตัวอยา่ ง

1. สำนกั งานสภามหาวทิ ยาลยั 4 1 17. วทิ ยาลยั การบริหารรฐั กจิ 15 2

2. สำนกั งานอธิการบดี 435 77 18. คณะศึกษาศาสตร์ 105 19

3. คณะการจัดการและการ 23 4 19. คณะการแพทย์แผนไทยอภัย 8 1

ทอ่ งเทย่ี ว ภเู บศร

4. คณะสาธารณสขุ ศาสตร์ 25 5 20. คณะสหเวชศาสตร์ 16 3

5. คณะพยาบาลศาสตร์ 45 8 21. คณะศิลปกรรมศาสตร์ 22 4

6. คณะแพทยศาสตร์ 573 102 22. วทิ ยาลัยนานาชาติ 17 3

7. คณะดนตรีและการแสดง 8 1 23. วิทยาลยั พาณชิ ยศาสตร์ 25 5

8. คณะเภสัชศาสตร์ 31 6 24. บัณฑิตวิทยาลยั 21

9. ค ณ ะ ม น ุ ษ ย ศ า ส ต ร ์ แ ล ะ 45 8 25. วิทยาลัยวิทยาการวิจัย 8 1

สงั คมศาสตร์ วิทยาการปัญญา

10. คณะภมู ิสารสนเทศศาสตร์ 17 3 26. คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า 9 1

11. คณะรัฐศาสตร์และนติ ิศาสตร์ 27 5 27. สถาบันวิทยาศาสตร์ทาง 113 20

ทะเล

12. คณะโลจสิ ตกิ ส์ 23 4 28. สำนกั คอมพวิ เตอร์ 52 9

13. คณะวทิ ยาการสารสนเทศ 15 3 29. สำนักบรกิ ารวิชาการ 50 9

14. คณะวิทยาศาสตร์ 75 13 30. สำนักหอสมดุ 52 9

15. สถาบนั ภาษา 8 1 31. สำนักพฒั นานวตั กรรม 21

16. คณะวิศวกรรมศาสตร์ 60 11 รวม 1,910 340

132 Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University Vol.8 No.2 July- December 2021


Click to View FlipBook Version