The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:13:06

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 3

ชื่อหนังสือ สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3
พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2559
จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
2 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2251-3934
จัดพิมพ์โดย บริษัท เพจเมคเกอร์ จำกัด
53-57 ซอยเอกชัย 89/1 ถนนเอกชัย บางบอน กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์ 0-2416-8820, 0-2894-3035


ข้อมูลทางบรรณานุกรม
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3. บรรณาธิการ ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล.
กรุงเทพมหานคร/ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, 2559.
312 หน้า. ภาพประกอบ.
1.การจัดการเรียนรู้ 2.ความเป็นครู 3.นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
I.ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล, บรรณาธิการ. II.โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. III. ชื่อเรื่อง.

ISBN 978-616-296-122-9
คณะผู้จัดทำ
ที่ปรึกษา
นางอรพินธุ์ คนึงสุขเกษม ผู้อำนวยการ
บรรณาธิการสร้างสรรค์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
กองบรรณาธิการ
นางสาวฐานภา รอดเกิด
นางอภิณห์พร ฤกษ์อนันต์
นางสาวจิตต์ตรา ตั้งศิริพงศ์เมธ
นายชวลิต ศรีคำ
นางสาวศิริวรรณ ของเมืองพรวน
นายสุนทร ภูรีปรีชาเลิศ
นายธนวุฒิ มากเจริญ
นายอมรเทพ ถาน้อย
ออกแบบรูปเล่ม บริษัท เพจเมคเกอร์ จำกัด
ออกแบบปกและภาพประกอบ นางสาวจำนงค์ สดคมขำ



“...ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง หันไปห่วงอำนาจ

ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ์ และห่วงรายได้กันมากเข้า ๆ

แล้วจะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้ ความดี ความเจริญของเด็ก

ความห่วงใยในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ บั่นทอนทำลาย

ความเป็นครูไปจนหมดสิ้นจะไม่มีอะไรดีเหลือไว้

พอที่ตัวเองจะภาคภูมิใจหรือผูกใจใครไว้ได้

ความเป็นครูก็จะไม่มีค่าเหลืออยู่ให้เป็นที่เคารพบูชาอีกต่อไป... “







พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูอาวุโส
ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๑



ข้าพเจ้าจะพูดถึงหน้าที่สำคัญของครูอีกประการหนึ่ง

คือการให้การศึกษา แก่เยาวชน. การศึกษา

เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและการพัฒนาความรู้ ความคิด
รวมทั้ง คุณธรรมของบุคคล การให้การศึกษาแก่เยาวชน

จึงต้องให้ให้ครบถ้วนล้วนพอเหมาะกัน ทั้งด้านวิชาการ ด้านการปฏิบัติ

ด้านความประพฤติ ตลอดจนด้านความคิดจิตใจและคุณธรรม
เพื่อให้เยาวชนมีอุปกรณ์ดำเนินชีวิตอย่างครบครัน อันจะช่วยให้เขาได้เติบโต

เป็นพลเมืองดีที่ เพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติ สามารถสร้างตัวเองได้

ควบคุมตัวเองได้ และดำรงชีพอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประโยชน์และผาสุก
นอกจากนี้ข้าพเจ้าใคร่ขอย้ำอีกครั้งหนึ่ง ให้บัณฑิตครูที่กำลังจะออกไปเป็นครู

เป็นอาจารย์ ได้ทราบตระหนักว่า ความเจริญมั่นคงของชาติ
ขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชน ผลการอบรมสั่งสอนเยาวชนของท่าน

ถือได้ว่าเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติ ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจะต้อง

พยายามปฏิบัติหน้าที่ทุกอย่างให้สำเร็จผลโดยไม่บกพร่อง ด้วยพลังกาย
พลังใจ และพลังปัญญา ให้สมกับที่แต่ละคนมีหน้าที่อันสำคัญและมีเกียรติ





พระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร

วันศุกร์ ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๖ (ภาคบ่าย)

คำนิยม






















“กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ออกดอกคราวไร งามเด่น การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม”

ศาสตราจารย์ มล. ปิ่น มาลากุล


โคลงสี่สุภาพของศาสตราจารย์ มล. ปิ่น มาลากุล
ผู้ดำริก่อตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
สะท้อนให้เห็นว่างานทางด้านการศึกษาต้องใช้เวลาในการดูแลและ
ติดตามเพื่อให้ผลที่เกิดซึ่งหมายถึงนักเรียนมีความสมบูรณ์และสง่างาม
โดยบุคคลสำคัญยิ่งคือ “ครู” ทั้งนี้การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์ต้องครบใน 4 ด้านคือ สติปัญญา อารมณ์ สังคม และร่างกาย
เพื่อองค์ประกอบทั้งหมดมีความสมบูรณ์ครบถ้วนจึงกล่าวได้ว่า
“การศึกษาคือความเจริญงอกงาม”

หนังสือ “สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน)

เล่ม 3 ” เป็นอีกผลงานหนึ่งของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ ปทุมวัน ที่สะท้อนให้เห็นถึง “ความเป็นครู” เพื่อส่งเสริมศิษย์
ของตนโดยอาศัยความรู้แบบบูรณาการทุกวิชาทางศึกษาศาสตร์ อาทิ
หลักสูตรและการสอน รูปแบบการสอน วิธีการสอน เทคนิคการสอน
จิตวิทยาทางการศึกษา การวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง
อีกทั้งการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มาใช้ในการส่งเสริมและเติมเต็ม
ศักยภาพของนักเรียนให้ครบในทุกด้าน

ขอชื่นชมอาจารย์เจ้าของบทความทุกท่าน คณะบรรณาธิการ
ที่ได้กลั่นกรองพิจารณาคัดเลือกบทความที่มีประโยชน์ต่อการจัดการ
เรียนรู้อีกทั้งความมุทิตาจิตในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อความหวังในการเห็นการศึกษาเติบโตและ

เจริญงอกงาม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ “สอนสนุก สร้างสุข
สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3” จะก่อประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านและ
เติมเต็มแรงบันดาลใจในการเป็นครูเพื่อศิษย์ต่อไป






นางอรพินธุ์ คนึงสุขเกษม

ผู้อำนวยการ

คำนำ





















การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชน
ของชาติให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในการนำมาและขับเคลื่อนประเทศชาติ
ในวันข้างหน้า การอบรมบ่มเพาะทรัพยากรมนุษย์นั้นเป็นภาระสำคัญยิ่ง
ของครูซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดและบริหารจัดการเรียนรู้ทั้งด้านสติปัญญา
ที่หลากหลาย การจัดการอารมณ์ ทักษะสังคม และการจัดการสุขภาพ
ร่างกายให้มีความแข็งแรง
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
เป็นสถานศึกษาที่มีฐานะเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นสถานศึกษาชั้นนำ
ต้นแบบด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อผลิตผู้เรียนที่มีคุณธรรม
และคุณภาพในระดับสากลบนฐานความเป็นไทย นอกจากนี้ยังมีพันธกิจ
สำคัญในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ผลิตงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมด้านการจัดการศึกษา
เพื่อเผยแพร่สู่สังคม อีกทั้งการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
เพื่อเป็นการดำเนินงานตามภารกิจในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
แก่วงการศึกษา ฝ่ายวิชาการของโรงเรียนได้สร้างสรรค์หนังสือ “สอนสนุก
สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3” ซึ่งเกิดจากความรู้และประสบการณ์
ตรงของบุคลากรของโรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ที่เป็นแรงบันดาลใจ
ในการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากหลากหลายมุมมองผ่าน
เอกสารประชุมเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีการศึกษา
เนื้อหาบทความในหนังสือเล่มนี้กองบรรณาธิการได้พิจารณาคัดเลือก

จากหนังสือประชุมเชิงปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2550 ถึงปีการศึกษา
2558 ซึ่งจัดทำเป็นหนังสือ สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) ได้ถึง
3 ซีรีย์ จำแนกบทความได้เป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 เป็นบทความที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สำหรับ
นักเรียนตามสไตล์สาธิตปทุมวัน
ตอนที่ 2 เป็นบทความที่เกี่ยวกับความเป็นครู การอบรม
และพัฒนานักเรียนรวมถึงจิตวิทยาการสอน และ
ประสบการณ์ในการศึกษาดูงาน ณ ต่างแดน

ตอนที่ 3 เป็นบทความที่เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม
ทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนใน
แต่ละสาระวิชา และกิจกรรมเด่นของโรงเรียน

บทความทั้งหมดนี้สร้างสรรค์โดยครู – อาจารย์ของ
โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ผู้บอกเล่าและถ่ายทอดประสบการณ์ต่าง ๆ
ในการจัดการเรียนรู้ และเติมเต็มองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ให้มี
ศักยภาพอย่างรอบด้าน หนังสือดังกล่าวจัดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา
และภูมิปัญญาของโรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ที่นำเสนออย่าง
เต็มภาคภูมิ

ผ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปทุมวัน ขอขอบคุณผู้เขียนบทความทุกท่านที่ได้ตอบรับให้นำบทความที่มี
คุณค่าและเป็นต้นแบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการสำหรับศาสตร์ทางการ
ศึกษาอย่างสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) ขอขอบคุณผู้สนับสนุน
ในการจัดพิมพ์ทุกท่านที่ให้ความสำคัญกับผลงานทางด้านวิชาการ
สู่สังคมไทย ท้ายนี้ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่มุ่งมั่นจดจ่อกับบทความที่
ได้นำเสนอ และขอให้เป็นกำลังใจคอยติดตามซีรีย์ชุดสอนสนุก สร้างสุข
สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 5 ในเร็ววันนี้






ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล
ผู้สร้างสรรค์และบรรณาธิการ

สารบัญ




ตอนที่ 1


สูตรสำเร็จ :ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน
19 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล


39 ยกเครื่องทางปัญญา...เพื่อพัฒนาการสอน
อาจารย์อภิณห์พร ฤกษ์อนันต์


45 ยุทธวิธีจับใจ..ศิษย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล

61 กล้า ท้า เปลี่ยน

ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร

67 8 คุณลักษณะ สมรรถภาพแห่งตน

อาจารย์ชวลิต ศรีคำ




77 ฉลาดทำบุญ...ด้วยจิตอาสา

อาจารย์สมฤดี แย้มขจร

ครบเครื่องเรื่องนิเทศ : พัฒนาศักยภาพครู

87 ด้วยกระบวนการนิเทศ
อาจารย์ประภารัตน์ ธิติศุภกุล

ตอนที่ 2


มือชั้นครู
99 อาจารย์ทวิช สุภาภรณ์



107 ครู...ของ ครูต้นแบบ
อาจารย์อรพินธุ์ เสนจันทร์ฒิไชย



119 ครูดีศรีสาธิตปทุมวัน
อาจารย์สมฤดี แย้มขจร


131 คนเป็นครู
ดร. ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร


137 ครูมืออาชีพ
อาจารย์บุศราคัม ช่วงชัย


141 ครูผู้ชี้ทำ (ธรรม)
ฉลาดทำบุญ...ด้วยจิตอาสา อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน

อาจารย์สมฤดี แย้มขจร

145 สตอรี่ของครูช่างคิด
ครบเครื่องเรื่องนิเทศ : พัฒนาศักยภาพครู อาจารย์เชิด เจริญรัมย์

ด้วยกระบวนการนิเทศ เรื่องเล่าจากไดอารี่ของครู
อาจารย์ประภารัตน์ ธิติศุภกุล 153
ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร

สารบัญ








159 คุณ นะ ทำ (ธรรมที่คุณ(ครู) ควร ทำ)
อาจารย์อภิณห์พร ฤกษ์อนันต์


167 เล่าเรื่อง ... เรียนรู้วิชาการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล


173 ประสบการ[ณ์] สอน
อาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ โอปัณณา


185 เข้าใจวัยซ่า รู้ปัญหาวัยรุ่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล



195 ภาพแห่งตน คนแห่งคุณภาพ
อาจารย์ดารณี จิรประเสริฐวงศ์


205 ครูเพื่อศิษย์
อาจารย์บุศราคัม ช่วงชัย


213 เด็กดี...สร้างได้
รองศาสตราจารย์สัญญา รัตนวรารักษ์


221 วินัยในตนเอง
อาจารย์พิพรรธพร กาทอง



237 มุมมองครูภาษาไทย
อาจารย์บุณฑริกา วิศวสมภพ

241 จดหมายจากครูแนะแนว
อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน


247 เล่าให้รู้ เมื่อฉันอยู่ Vancouver
อาจารย์ฐานภา รอดเกิด



ตอนที่ 3



257 ความรู้คู่คุณธรรม
อาจารย์อุมาภรณ์ รอดมณี



265 การเรียนรู้จากกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
อาจารย์บุศราคัม ช่วงชัย



271 กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
อาจารย์สุกัลยา ฉายสุวรรณ และคณะ



277 บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์
อาจารย์สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ



287 m-Learning การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
อาจารย์กิตติศักดิ์ นิทาน


299 การสอนทักษะชีวิตผ่านวรรณกรรมและวรรณคดีไทย
อาจารย์พรพรรณ เสริมพงษ์พันธ์


305 มาเป็นครูนักวิจัยกันดีกว่า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณาภรณ์ รัศมีมารีย์



ส่วนที่ 1



สูตรสำเร็จ :


ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล

20 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



สูตรสำเร็จ :


ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล

















พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดความมุ่งหมาย

และหลักการในการจัดการศึกษาว่า ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย
ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และ
คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถ
อยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ

เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข และในหมวด 4 มาตรา 22
บัญญัติไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียน
ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด..กระบวนการ

จัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม
ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” และมาตรา 24 บัญญัติไว้ว่า
“สถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องจัดกระบวนการเรียนรู้โดยจัดเนื้อหา

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 21


สาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัด
ของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ
กระบวนการคิดการวิเคราะห์ การจัดการ การเผชิญสถานการณ์
และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา

จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติ
ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรมค่านิยม

ที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริม
สนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม
สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็น

ส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจ
เรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการ
ประเภทต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่
มีการประสานความร่วมมือของบิดามารดา ผู้ปกครองและ
บุคคลในชุมชนเพื่อร่วมพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ” (สำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545) จะเห็นว่าพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดการเรียนรู้
เพราะได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายชัดเจน ครบถ้วนทั้งในเรื่อง

การให้ความสำคัญกับผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน การพัฒนา
ผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้ มีค่านิยมที่ดีงาม มีคุณลักษณะนิสัยที่ดี
มีทักษะที่จำเป็นเพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมี
ความสุข โดยเน้นการได้ฝึกปฏิบัติจริงและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีกระบวนการ
เรียนรู้ตลอดเวลา ดังนั้นครูจึงเป็นบุคคลสำคัญในกระบวนการ

22 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


เรียนรู้ของผู้เรียน เพราะมีหน้าที่โดยตรงในการจัดการเรียนการสอน

ครูจำเป็นต้องเตรียมการในภารกิจของตนให้สมบูรณ์ ปรับภารกิจ
ด้านการสอนของตนเองเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอน
ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้

เต็มศักยภาพ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 มีแนวคิดเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐานคือ การกำหนดมาตรฐาน
การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

โดยมาตรฐานการเรียนรู้จะระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้
การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญในการนำหลักสูตร
ลงสู่การปฏิบัติโดยครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในภารกิจดังกล่าว
โดยมีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน
หลักสำคัญในการจัดการเรียนรู้คือครูผู้สอนต้องคำนึงถึงการจัดการ

เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
พัฒนาการทางสมองและเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมค่านิยม
ที่พึงประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ครูต้องใช้สื่อการเรียนรู้ที่

หลากหลายและใช้แหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศูนย์สื่อการเรียนรู้
ระบบสารสนเทศ เครือข่ายการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือสำคัญต่อการ
พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของหลักสูตร
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2552)

จากสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนตาม

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 พบว่า (สำนักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษา, 2556)

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 23

1. ผู้เรียนขาดทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้

โดยเฉพาะทักษะด้านการอ่าน การเขียน การพูดสื่อสาร การฟัง
การคิดเลข และการจัดลำดับความคิด ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการ
เรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอน

2. ผู้เรียนมีปัญหาครอบครัวและขาดความพร้อม
ในการเรียนรู้ โดยผู้เรียนจำนวนหนึ่งเป็นเด็กในครอบครัวแตกแยก
ผู้ปกครองไม่มีเวลาให้การอบรมดูแลและไม่ได้รับการสนับสนุน

ส่งเสริมจากผู้ปกครองเท่าที่ควร เป็นเหตุให้ขาดความพร้อม
ในการเรียนรู้

3. ผู้เรียนขาดความรับผิดชอบและไม่ตั้งใจทำงาน
โดยผู้เรียนกลุ่มนี้มักไม่นำอุปกรณ์การเรียนมาเรียน ไม่ตั้งใจทำงาน
ทำให้มีผลงานที่ไม่มีคุณภาพและเป็นปัญหาในชั้นเรียน

4. ผู้เรียนไม่ให้ความสำคัญ มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการ

เรียนและขาดนิสัยใฝ่เรียนรู้ ทั้งนี้เพราะมีสิ่งอื่นที่เร้าความสนใจ
มากกว่าการเรียน เช่น การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ การสนใจเพศตรงข้าม
เนื่องจากเข้าสู่วัยรุ่น การเที่ยวห้างสรรพสินค้าและแหล่งบันเทิง
การไม่เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ทำให้เรียนไม่ให้ความสำคัญ
ต่อการเรียน

5. ครูมีภาระงานอื่นที่นอกเหนือจากภาระงานสอนมาก
เช่น งานโครงการบริการวิชาการ งานประกันคุณภาพ เป็นต้น ทำให้ครู

ไม่มีเวลาทุ่มเทให้กับการสอนอย่างเต็มที่

6. ครูมีศักยภาพไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียน
การสอน สาเหตุมาจากการขาดทักษะและประสบการณ์ในการสอน
ไม่ลุ่มลึกในเนื้อหาวิชารวมทั้งไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

24 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


7. ครูใช้เวลาในการสอนพิเศษมากทำให้สนใจ

การสอนน้อยลง เนื่องจากค่าตอบแทนมากและทำให้ครูต้องใช้
เวลาในการทำเอกสารในการสอนพิเศษ ทำให้ไม่มีเวลาในการเตรียม
การสอนและการจัดกิจกรรมสอนในชั้นเรียน

8. ครูสอนโดยไม่ใช้สื่อการสอน สาเหตุมาจาก
การขาดแคลนสื่อ การไม่ให้ความสำคัญกับสื่อ และครูไม่ยอม
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน


9. ครูขาดความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรอย่างลึกซึ้ง
ทั้งเรื่องการพัฒนาหลักสูตรและการแปลงหลักสูตรไปสู่การเรียน
การสอน เนื่องจากไม่ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

10. ครูขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน สืบเนื่องจาก
การได้รับมอบหมายให้ทำงานหนักไม่มีเวลาพัก ความเบื่อหน่าย
ท้อแท้ ความไม่ก้าวหน้าในอาชีพและการมีเงินเดือนน้อย

11. ครูขาดการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการ
พัฒนา ครูส่วนใหญ่ไม่ได้รับการนิเทศจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ

เฉพาะทาง การอบรมพัฒนาครูที่ผ่านมาขาดการติดตามและ
ประเมินผลการพัฒนาครู

12. สถานศึกษาจัดโครงสร้างหลักสูตรเอง ทำให้
การจัดเวลาเรียนและรายวิชาของสถานศึกษาแต่ละแห่งแตกต่างกัน
ซึ่งเกิดปัญหาในกรณีที่ผู้เรียนย้ายสถานศึกษา

13. หลักสูตรสถานศึกษาขาดความครอบคลุม

และไม่สอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษาและผู้เรียนเนื่องจากการ
จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาหลายแห่งไม่ได้ดำเนินการ
ตามหลักการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างแท้จริง

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 25

14. สถานศึกษาไม่ได้จัดทำหลักสูตรและจัดทำแผนการ

จัดการเรียนรู้เอง แต่ใช้ตัวอย่างในเอกสารหลักสูตรของกระทรวง
ศึกษาธิการเป็นหลักสูตร สถานศึกษาหลายแห่งนำหลักสูตร
ของสถานศึกษาอื่นมาใช้โดยไม่ได้ปรับให้สอดคล้องกับสภาพ

ผู้เรียนและบริบทของตน

15. การจัดการเรียนการสอนของครูส่วนใหญ่เน้นการ
บรรยายและยังใช้สื่อนวัตกรรมการสอนน้อย โดยครูยังใช้การสอนแบบ
ครูเป็นศูนย์กลาง ไม่นิยมใช้สื่อการเรียนการสอนหรือนวัตกรรม


16. ครูส่วนใหญ่จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ แต่ไม่ได้
จัดการเรียนรู้ตามแผน สอนตามความเคยชินและประสบการณ์เดิม
ทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรครูส่วนหนึ่ง
ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ของสำนักพิมพ์เอกชนซึ่งเมื่อจัดกิจกรรม

การเรียนการสอนจริงก็ไม่ได้จัดตามแผนดังกล่าว

17. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ได้ฝึกฝน
ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย หรือข้อมูล
ที่มาจากชีวิตและประสบการณ์จริง ส่วนใหญ่ผู้เรียนนิยมค้นคว้า

และใช้การคัดลอกเนื้อหาจากสื่อเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมา
นำเสนอครูผู้สอน ซึ่งทำให้ขาดการอ่านหรือคิดวิเคราะห์

18. เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนไม่เชื่อมโยง

กับชีวิตจริง ส่วนใหญ่ครูยกตัวอย่างตามตำราขาดการแปลงเนื้อหา
ที่เป็นนามธรรมและหลักการให้เป็นรูปธรรมและสภาพจริงทำให้
ไม่สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาและกิจกรรมการสอนเข้ากับชีวิตจริงได้

26 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


19. จำนวนผู้เรียนต่อห้องมากเกินไปทำให้การเรียน

การสอนไม่มีประสิทธิภาพ โดยสถานศึกษาจัดให้แต่ละห้องมีนักเรียน
45 – 55 คน ทำให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและดูแลผู้เรียน

ได้ไม่ทั่วถึง

20. การจัดชั้นเรียนแบบคละความสามารถเป็นอุปสรรค
ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และควบคุมชั้นเรียนได้ยาก โดยครู

ต้องปรับกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมากเพื่อให้เด็กทุกระดับ
ความสามารถเรียนด้วยกันได้


21. ครูผู้สอนส่วนใหญ่ใช้สื่อการเรียนการสอน
ไม่หลากหลาย โดยใช้สื่อการเรียนการสอนสำเร็จรูปที่เป็นหนังสือ
แบบเรียนมากเกินไปไม่ใช้สื่อประกอบการสอนอื่น ๆ


22. ครูขาดความรู้และทักษะในการผลิตและพัฒนา
สื่อการเรียนการสอน เนื่องจากครูไม่ได้รับการพัฒนาให้มีทักษะ
ในการผลิตและพัฒนาสื่อ ประกอบกับไม่ได้รับการสนับสนุนจาก

สถานศึกษาเท่าที่ควร

23. สื่อและเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน

ไม่เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งนี้เพราะครูขาดความรู้และทักษะในการเลือกใช้
สื่อ และครูผู้สอนไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดซื้อสื่อโดยตรง

24. ครูใช้วิธีการวัดและประเมินผลไม่เหมาะสม

โดยครูส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในการวัดผลและ
ประเมินผลการเรียนที่เหมาะสม

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 27

25. นโยบายที่ไม่ให้ผู้เรียนติด 0 ติด ร และการเรียน

ซ้ำชั้นมีผลต่อคุณภาพการเรียนการสอน เนื่องจากทำให้ผู้เรียน
เลื่อนชั้นไปเรียนในชั้นที่สูงขึ้นขณะที่มีความรู้ความสามารถ
ไม่เพียงพอ ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนและคุณภาพ

ของผู้เรียนในระยะยาว

26. ครูขาดทักษะในการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือวัด
และประเมินผล การสร้างข้อสอบส่วนใหญ่เป็นการวัดด้านความรู้
ความจำ


27. ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองให้ความสำคัญ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่เท่าเทียมกันส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ
และการสนับสนุนช่วยเหลือในกลุ่มสาระวิชาที่ต้องไปสอบคัดเลือก
และการสอบแข่งขันมากกว่า


28. การนิเทศภายในสถานศึกษายังไม่เข้มแข็ง ผู้นิเทศ
ภายในสถานศึกษาส่วนใหญ่ขาดความรู้ความสามารถด้านการ
นิเทศทำให้ขาดความรู้ในเนื้อหาสาระและความชำนาญในการนิเทศ

29. นโยบายการจัดการศึกษาทั้งด้านหลักสูตรและการ

จัดการเรียนการสอนขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง
นโยบายบ่อย ๆ ตามผู้บริหาร ทำให้การจัดการศึกษาดำเนินงาน
ไม่ต่อเนื่อง

30. การขาดตัวอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตน

โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ผู้เรียนที่ใน
สภาพจริง ชุมชนบางแห่งยังขาดตัวแบบที่ดีที่ผู้เรียนจะใช้เป็น
ตัวอย่าง

28 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


31. หน่วยงานต้นสังกัดมีงานมอบหมายให้สถานศึกษา

ปฏิบัติมากและกระทบต่อการสอนของครู โดยเฉพาะเป็นกิจกรรม
ตามโครงการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นกิจกรรมของหน่วยงานภายนอก หน่วยงาน
ต้นสังกัดและกิจกรรมของชุมชนซึ่งนักเรียนและครูต้องเข้าร่วมกิจกรรม
ทำให้กระทบต่อการเรียนการสอน

32. หน่วยงานภายนอกให้การสนับสนุนการเรียน
การสอน โดยสถานศึกษาบางแห่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน
ภายนอกอย่างดีทั้งด้านงบประมาณ สื่อวัสดุอุปกรณ์การสอนแหล่ง
เรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น


จากสภาพและปัญหาดังกล่าวได้ปรากฏผลเป็นที่
ประจักษ์ คือ คุณภาพผู้เรียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ คุณภาพของครู
ผู้สอนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้
ของผู้เรียน ด้านหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริม
และสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นในกระบวนการจัดการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูมีบทบาทสำคัญมากเพราะครูจะต้อง
เปลี่ยนบทบาทจากครูเป็นสำคัญมาเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งต้องพัฒนา

ผู้เรียนโดยจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและ
เต็มตามศักยภาพซึ่ง วิชัย วงษ์ใหญ่ (2543) ได้กล่าวถึงบทบาท
ของครูในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือ

1. ผู้สอนต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์เกี่ยวกับการเรียนรู้ใหม่
เปลี่ยนวิธีคิดโดยมีความเชื่อว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้

2. ผู้สอนต้องมีความเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลง

และเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้จะกระตุ้น
ให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้จากประสบการณ์
การเรียนรู้ตามสภาพจริง ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นสำคัญของการเรียนรู้

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 29

3. การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ ซึ่งผู้สอนจะยิ่งมี

ความสำคัญจะต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนและการออกแบบ
กิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองและสามารถพัฒนาขึ้นไป
โดยอาศัยความรู้ภายในของตนเองกับการเรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ

รอบตัวผู้เรียน

4. เน้นกระบวนการมากกว่าเนื้อหา กระบวนการเรียนรู้
ที่มาจากผู้เรียนจะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้เรียน
แต่ละคน โดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ใช่คุณภาพ

ของการจำ แต่เป็นศักยภาพของความใส่ใจและผลักดันของแต่ละ
บุคคล

5. พัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมเนื่องจากธรรมชาติ
ของผู้เรียนมีศักยภาพที่หลากหลายและซับซ้อน ดังนั้นกิจกรรมการ

เรียนรู้ต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทุก ๆ คนและทุก ๆ ด้าน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

6. กิจกรรมการเรียนรู้เป็นโครงสร้างแบบเปิดมี
ความยืดหยุ่นหลากหลาย ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน

รู้เพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทักษะการคิด
ทักษะกระบวนการ ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ทักษะการจัดการ
ซึ่งทักษะเหล่านี้จะหลอมรวมเป็นทักษะชีวิตของผู้เรียน


7. การประเมินในขณะมีการเรียนการสอนเป็น
การประเมินที่เป็นธรรมชาติสอดคล้องกับความเป็นจริง

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นการกำหนดจุดหมาย สาระ กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน

30 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


และการวัดประเมินผล ที่มุ่งพัฒนา “คน” และ “ชีวิต” ให้เกิด

ประสบการณ์การเรียนรู้เต็มตามความสามารถ สอดคล้อง
กับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน ลักษณะ
ที่สำคัญที่สามารถระบุได้ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ สรุปได้ดังนี้

กิจกรรมการเรียนคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่
เป็นเพื่อนมนุษย์ ธรรมชาติและเทคโนโลยี ผู้เรียนได้ค้นคว้า ทดลอง
ฝึกปฏิบัติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จนค้นพบสาระสำคัญของบทเรียน

ได้ฝึกวิธีคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์จินตนาการ และสามารถแสดงออก
ได้ชัดเจนมีเหตุผล

บทบาทครู ทำหน้าที่การปลุกเร้าและเสริมแรงศิษย์
ในทุกกิจกรรมให้ค้นพบคำตอบและแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมทั้ง
การร่วมทำงานเป็นกลุ่ม จัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม ความมีวินัย
รับผิดชอบในการทำงาน ผู้เรียนมีโอกาสฝึกการประเมินและปรับปรุง
ตัวเอง ยอมรับผู้อื่น สร้างจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองและเป็น

พลโลก

การเรียนรู้ เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา เกิดขึ้นได้
ในหลายระดับ ทั้งในตัวผู้เรียน ในห้องเรียน และนอกเหนือไปจาก
ห้องเรียนที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

การเรียนรู้ระดับผู้เรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียน
มีส่วนร่วมในการกำหนดจุดมุ่งหมาย กิจกรรมและวิธีการเรียนรู้

ได้คิดเอง ปฏิบัติเอง ได้เรียนรู้ด้วยตนเองรวมทั้งร่วมประเมินผลการ
พัฒนาการเรียนรู้ ตามศักยภาพ ความต้องการ ความสนใจ และ
ความถนัดของแต่ละคน

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 31

กระบวนการเรียนรู้ระดับห้องเรียนเป็นกระบวนการ

เรียนรู้ที่ ผู้เรียน ได้คิดเอง ทำเอง ปฏิบัติเอง และสร้างความรู้ด้วย
ตนเองในเรื่องที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต จากแหล่งเรียนรู้
ที่หลากหลาย มีส่วนร่วมในการกำหนดจุดมุ่งหมาย กิจกรรมและ

วิธีการเรียนรู้ ความสามารถเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
มีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้ ครูเป็นผู้วางแผน
ขั้นต้น ทั้งเนื้อหาและวิธีการแก่ผู้เรียน จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้
และช่วยชี้แนะแนวทางการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ผู้เรียนเป็น
รายบุคคลการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับห้องเรียนนี้ผู้ที่มีส่วนร่วม

ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ นอกจากครูและผู้เรียนแล้ว ผู้ที่มีบทบาท
สนับสนุนอย่างสำคัญคือ ผู้บริหารโรงเรียนบุคลากรสนับสนุนการสอน
ตลอดจนการจัดสื่อการเรียนการสอน การสร้างบรรยากาศและ

สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวผู้เรียน

กระบวนการเรียนรู้ระดับนอกเหนือห้องเรียนเป็นกระบวนการ
เรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน
การเรียนการสอน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความต้องการของผู้เรียน

ให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายที่สอดคล้อง
กับการดำรงชีวิตในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนทุกขั้นตอน

ระดับนอกเหนือห้องเรียนนี้ นอกจากผู้มีส่วนร่วมใน

2 ระดับที่กล่าวแล้วยังรวมถึงฝ่ายนโยบาย ผู้บริหาร พ่อแม่
ผู้ปกครอง ชุมชน และฝ่ายสนับสนุนอื่น ๆ

32 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



กล่าวโดยสรุป..การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียน
สำคัญที่สุด เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งประโยชน์สูงสุด
แก่ผู้เรียน ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ผู้เรียนมีทักษะ
ในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถ
นำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน

เพื่อพัฒนาผู้เรียน

ดังนั้นครูเป็นความหวังของการเป็นแบบอย่างที่ดีด้าน
จริยธรรมต่อนักเรียนและบุคคลอื่นในสังคม เพราะสังคมคาดหวัง
ให้ครู คือต้นแบบที่ดี ที่ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมมากกว่า
วิชาชีพอื่น ผู้เปิดประตูของวิญญาณไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง ผู้ควรเคารพ

ผู้มีความหนัก ผู้เป็นเจ้าหนี้อยู่เหนือศีรษะของทุกคนและหน้าที่ของครู
คือ สร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์
การศึกษาที่สมบูรณ์ คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่ ให้ความรู้
ทางโลกให้ความรู้ทางธรรมเพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจาก
ความครอบงำของกิเลสและให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อ
ตนเองและสังคม ปัจจุบันการสอนหนังสือจะสอนแต่เนื้อหาวิชาไม่ได้

แต่ต้องสอนคุณธรรมจริยธรรมด้วย เพราะครูที่สอนได้ดี ก็ต้องทำตัว
เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับศิษย์ ซึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวิชาชีพครู
ให้ความสำคัญกับจริยธรรมในวิชาชีพมาตลอด

คุณธรรมเป็นเสมือนหลักการสำคัญที่ให้ไว้สำหรับบุคคล
หรือสังคมได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต จะช่วยให้บุคคล

ปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น มีความสำเร็จในงานที่ทำ เป็นคนดีของ
ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ สำหรับครูกับคุณธรรมนั้น
จะต้องเป็นของคู่กัน หากครูขาดคุณธรรมเมื่อใดก็เหมือนกับ
นักบวชที่ไร้ศีล

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 33

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

พระราชทานหลักคุณธรรมสำหรับคนไทย ในพระราชพิธีบวงสรวง
สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ ท้องสนามหลวง วันจันทร์ที่
5 เมษายน พ.ศ. 2525 เพื่อยึดถือปฏิบัติ มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

ประการแรก คือ การรักษาความสัจความจริงใจ

ต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเองฝึกใจตนเอง
ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น


ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม
ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด

ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความสุจริต

และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของ
บ้านเมือง

คุณธรรมทั้ง 4 ประการ นี้จะช่วยให้ประเทศชาติ
บังเกิดความสุข ร่มเย็นโดยเฉพาะผู้ที่เป็นครู จำเป็นต้องยึดถือ

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น

ครูดีตามแนวพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
(พระบรมราโชวาท, 2552)

34 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


“...ผู้เป็นครูอาจารย์นั้น ใช่แต่ว่ามีความรู้ในทาง

วิชาการและในทางการสอนเท่านั้นก็หาไม่ จะต้องฝึกอบรมเด็ก
ทั้งในด้านศีลธรรม จรรยา และวัฒนธรรม รวมทั้งให้มีสำนึก
รับผิดชอบ ในหน้าที่ และในฐานะเป็นพลเมืองที่ดีของชาติต่อไป

ข้างหน้า การให้ความรู้ หรือที่เรียกว่าการสอนนั้น ต่างกับการอบรม
การสอนคือ การให้ความรู้แก่ผู้เรียน ส่วนการอบรมเป็นการฝึก
จิตใจของผู้เรียนให้ซึมซาบจนติดเป็นนิสัย ขอให้ท่านทั้งหลาย
จงอย่าสอนแต่อย่างเดียวให้อบรมความรู้ดังกล่าวมาแล้วด้วย...”


พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิต
นักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา ในวันที่ 15 ธันวาคม 2503




“...ครูจะต้องตั้งใจในความดีอยู่ตลอดเวลา แม้จะเหน็ดเหนื่อย

เท่าไรก็จะต้องอดทน เพื่อพิสูจน์ว่าครูนี้เป็นที่เคารพสักการะได้
แต่ถ้าครูไม่ตั้งตัวในศีลธรรม ถ้าครูไม่ทำตัวเป็นผู้ใหญ่ เด็กจะ
เคารพได้อย่างไร...”


พระราชทานแก่คณะครูโรงเรียนราษฎร์ทั่วราชอาณาจักร
ณ ศาลาผกาภิรมย์ 8 พฤษภาคม 2513

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 35

“...ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง หันไปห่วง

อำนาจ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ์และห่วงรายได้กันมากเข้า ๆ แล้ว
จะเอาจิตเอาใจที่ไหน มาห่วงความรู้ ความดี ความเจริญของเด็ก
ความห่วงในสิ่งเหล่านั้น ก็จะค่อย ๆ บั่นทอนทำลายความเป็นครู

ไปจนหมดสิ้นจะไม่มีอะไรเหลือไว้พอที่ตัวเองจะภาคภูมิใจหรือผูกใจ
ใครไว้ได้ ความเป็นครูก็จะไม่มีค่าเหลืออยู่ให้เป็นที่เคารพบูชา
อีกต่อไป ...”

พระราชดำรัสแก่ครูอาวุโส ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ

วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2521




“...สำหรับครูนั้น จะต้องทำตัวให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ
เป็นที่เชื่อใจของนักเรียน คือ ข้อแรก ต้องฝึกฝนตนเองให้แตกฉานและ

แม่นยำ ชำนาญทั้งในวิชาความรู้ และวิธีสอน เพื่อสามารถสอน
วิชาทั้งปวงได้โดยถูกต้อง กระจ่างชัด และครบถ้วนสมบูรณ์ อีกข้อหนึ่ง
ต้องทำตัวให้ดี คือ ต้องมีและแสดงความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์
สุจริต ความสุภาพ ความเข้มแข็งและอดทนให้ปรากฏชัดเจน

จนเคยชินเป็นปกติวิสัย เด็ก ๆ จะได้เห็นได้เข้าใจในคุณค่าของความรู้
ในความดี และในตัวครูอย่างซาบซึ้งและยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง
ภารกิจของครู คือ การให้การศึกษา ก็จะได้บรรลุตามที่มุ่งหวัง...”


พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ครูโรงเรียนวังไกลกังวล
ในโอกาสที่เข้ารับพระราชทานรางวัล
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2521

36 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


“…ความเป็นครูนั้นประกอบด้วย สิ่งที่มีคุณค่าสูง

หลายอย่าง อย่างหนึ่ง ได้แก่ปัญญา คือ ความรู้ที่ดีประกอบด้วย
หลักวิชาการอันถูกต้อง ที่แน่นแฟ้นกระจ่างแจ้งในใจ รวมทั้ง
ความฉลาดที่จะพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนกิจที่จะทำคำที่จะ

พูดทุกอย่างได้โดยถูกต้องด้วยเหตุผลอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความดี
คือ ความสุจริต ความเมตตากรุณา เห็นใจ และปรารถนาดีต่อ
ผู้อื่นโดยเสมอหน้า อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความสามารถที่จะ
เผยแผ่และถ่ายทอดความรู้ความดีของตนเองไปยังผู้อื่นอย่างได้ผล
ความเป็นครูมีอยู่แล้วย่อมฉายออกให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ด้วย

กล่าวคือ ความแจ่มแจ้งแน่ชัดในใจย่อมส่องแสงความรู้ออกมาให้
เข้าใจตามได้โดยง่าย และความหวังดี โดยบริสุทธิ์ใจย่อมน้อมนำให้
เกิดศรัทธาแจ่มใส มีใจพร้อมที่จะรับความรู้ความดีด้วยความชื่นบาน

ทั้งพร้อมจะร่วมงานด้วยโดยเต็มใจและมั่นใจโดยนัยนี้ ผู้ที่ได้รับ
แสงสว่างแห่งความเป็นครูชุบย้อมกายใจแล้ว จึงเป็นผู้ใฝ่หาความรู้
ใฝ่หาความดี ทั้งตั้งใจและเต็มใจที่จะช่วยเหลือสนับสนุนผู้อื่นโดย
บริสุทธิ์ จะประกอบกิจการใดก็จะทำให้กิจการนั้นดำเนินไปโดย
สะดวกราบรื่น และสำเร็จประโยชน์ที่มุ่งหมายได้โดยสมบูรณ์

ผู้ที่มีความเป็นครูสมบูรณ์ในตัว นอกจากจะมีความดีด้วยตนเอง
แล้ว ยังจะช่วยทุกคนให้มีโอกาสเข้ามาสัมพันธ์เกี่ยวข้องบรรลุถึง
ความดีความเจริญไปด้วย...”


พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูอาวุโส
ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2522

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 37

“…ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ทำแต่ความดี คือ

ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะ พากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และ
เสียสละ ต้องหนักแน่น อดทน และอดกลั้น สำรวมระวังความประพฤติ
ปฏิบัติของตน ให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงามรวมทั้งต้อง

ซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ วางใจเป็นกลางไม่ปล่อยไปตาม
อำนาจอคติ...”

พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูอาวุโส
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2523





จากแนวคิด..ดังกล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า ครูทุกคน
สามารถเป็นครูต้นแบบขอเพียงแต่ให้ครูมีความรักและศรัทธา
ในวิชาชีพ พัฒนาคน ด้วยบทบาทหน้าที่สร้างคน ฉะนั้น อาชีพ

นี้จึงไม่ใช่ใครจะมาเป็นครูก็ได้ แต่ต้องเป็นคนที่มีใจรักในความเป็นครู
อย่างแท้จริง ซึ่งเครื่องมือที่จะสร้างคนให้เป็นคนดีนั้น มี 2 ปัจจัยหลัก
คือ ศรัทธา และ ปัญญา ซึ่งครูต้องมีศรัทธาในอาชีพครู และ
สร้างศรัทธาในเด็กได้ด้วย และปัญญานั้นครูต้องลับสมองให้คมเสมอ

ด้วยการพยายามเรียนรู้และติดตามให้ตัวเองทันสมัยและก้าวหน้า
อยู่เสมอ ตลอดจนทำให้ศิษย์เกิดความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และรู้จัก
เอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้กับคนรอบข้าง เพราะถ้าครูได้ประพฤติปฏิบัติ
เช่นนี้แล้ว ก็ย่อมจะเป็นครูที่ สอนเป็น หมายถึง ครูมีการวางแผน

การจัดการเรียนการสอนโดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็น
รายบุคคล จากนั้นจัดทำแผนการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรม
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประสบการณ์จริง
โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและมีการวัดประเมินผล

38 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ตามสภาพจริง เห็นผล หมายถึง คุณภาพหรือภาพแห่งความสำเร็จ

ที่เกิดกับผู้เรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการ
จัดการศึกษา นั่นคือผู้เรียนเป็นคนดี เป็นคนเก่งและสามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข คนยกย่อง หมายถึง

ผลแห่งการพัฒนาและการสะสมความดีงามที่ครูได้ถ่ายทอด
ให้กับลูกศิษย์ ที่ได้นำมวลความรู้และประสบการณ์จากครูไปใช้ใน
การพัฒนาตนเองและสังคมให้เจริญงอกงาม จนเป็นที่ยอมรับ
ของสังคมในระดับต่าง ๆ และเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณงาม
ความดีแก่เยาวชนและประเทศชาติสืบต่อไป








บรรณานุกรม

พระบรมราโชวาท.(2552). พระราโชวาทพระโอวาทพิธีพระราชทานปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์
และปริญญาบัตร วิทยาลัยวิชาการศึกษาและมหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒพุทธศักราช 2502 – 2551. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ : ผู้เรียนสำคัญที่สุด สูตรสำเร็จ หรือกระบวนการ.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานโครงการพิเศษ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แบบยุทธการยกระดับคุณภาพครู
ทั้งระบบ. (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร
: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครู
ทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน
กรุงเทพมหานคร :พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

ยกเครื่องทางปัญญา...เพื่อพัฒนาการสอน

อาจารย์อภิณห์พร ฤกษ์อนันต์

40 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน




ยกเครื่องทางปัญญา...เพื่อพัฒนาการสอน

อาจารย์อภิณห์พร ฤกษ์อนันต์
























ประเทศไทย..เราปฏิรูปการศึกษามาหลายครั้งแต่ผล
จากการทดสอบระดับชาตินักเรียนส่วนใหญ่ยังได้ผลการทดสอบ

อยู่ในระดับที่ต่ำมาก ทั้ง ๆ ที่นักเรียนต้องเรียนในโรงเรียนเต็มวัน
และยังมีการเรียนพิเศษเพิ่มเติมทั้งหลังเลิกเรียนและวันสุดสัปดาห์
หากเราเปรียบเทียบระบบการเรียนการสอนของเรากับต่างชาติ
จะเห็นว่ามีความแตกต่างอยู่มาก กล่าวคือ การเรียนการสอน
ในประเทศไทยเน้นการเรียนด้านวิชาการอย่างเต็มที่ และมีการแข่งขัน

ที่สูงมาก แต่ในการเรียนการสอนในต่างประเทศ นักเรียนเรียนเพียงครึ่งวัน
และใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนและในวันสุดสัปดาห์ในการทำกิจกรรม
ยามว่าง แต่ประเทศได้พัฒนาไปไกลกว่าประเทศเราอย่างมาก

ซึ่งตัวแปรที่สำคัญก็คือนักเรียน นักศึกษาที่ได้นำวิชาความรู้จาก
การเรียนรวม ทั้งกระบวนการคิดและการปรับตัว ไปปรับใช้ในการทำงาน

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 41

เมื่องานมีประสิทธิภาพ ประกอบกับทักษะการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ

ทำให้สังคมโดยรวมและประเทศชาติพัฒนาไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด

ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาในสังคมไทยมีบทบาท
มากน้อยเพียงไร กับการที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศพัฒนาต่อไป
เราจึงจำเป็นต้องมาวิเคราะห์การปฏิรูปการศึกษาว่า เราปฏิรูป

การศึกษาอย่างเป็นระบบและให้ผลที่ดีขึ้นกับการเรียนการสอน
จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่เปลี่ยนแปลงข้อความ เอกสารทาง
วิชาการเท่านั้น หากเป็นดังนั้นระบบการศึกษาไทยย่อมจะไม่มีวัน

เดินหน้าทันเท่าประเทศอื่น ๆ การปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นต้อง
เน้นที่กระบวนการเรียนการสอนที่เป็นระบบและส่งผลให้นักเรียน
เกิดกระบวน การคิด การแก้ปัญหา การนำไปใช้ และยังรวมถึงเจตคติ
ต่อตนเองและสังคมด้วย เพราะหากเราเน้นเฉพาะเรื่องวิชาการ
เท่านั้น ประเทศเราก็จะมีแต่คนเก่งที่เห็นแก่ตัว ซึ่งไม่ก่อให้เกิด

ประโยชน์ใด ๆ ในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นเราควรเน้นทั้งด้าน
สติปัญญาและเจตคติอารมณ์ ทักษะการใช้ชีวิต และการอยู่ร่วมกัน
ในสังคมซึ่งประเทศเราก็จะมีทั้งคนเก่ง ดี และมีสุข ดังนั้นครูจึงจำเป็น

ต้องปรับการเรียนการสอนโดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ
ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
การเรียนการสอนจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองได้อย่าง
เต็มศักยภาพและตามธรรมชาติ โดยครูผู้สอนจึงต้องปรับบทบาท
ของตนเองจากผู้บอกความรู้ให้จบไปในแต่ละครั้งที่เข้าสอนมาเป็น

ผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน กล่าวคือ เป็นผู้กระตุ้นสนับสนุน
และจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ
ตนเองจริง ๆ

42 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


โดยผู้เรียนเป็นผู้ได้ลงมือเอง ผ่านกระบวนการ คิด

วิเคราะห์ สร้างสรรค์ ค้นคว้า จนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งนับว่าเป็นความรู้
ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า ไม่ใช่เกิดจากครูผู้สอนเป็นผู้บอก
เพียงอย่างเดียวซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนมีนิสัยสนใจใฝ่หาความรู้

ด้วยตนเองรักการเรียนรู้นำไปสู้การเรียนรู้ตลอดชีวิตผู้สอนจึงต้อง
เน้นที่การสอนคิดมากกว่าการท่องจำ เน้นผู้เรียนมากกว่าเนื้อหา
วิชาดังที่ ศ.นพ. ประเวศ วะสี (2541 : 72) ได้กล่าวไว้ว่า “ต้องปฎิรูป
กระบวนการเรียนรู้ใหม่จากการเอาวิชาเป็นตัวตั้งไปสู่การ
เอาคนและสถานการณ์จริงเป็นตัวตั้งเรียนจากประสบการณ์

และกิจกรรมจากการฝึกหัดจากการตั้งคำถามและจากการ
แสวงหาคำตอบซึ่งจะทำให้สนุก ฝึกปัญญาให้กล้าแข็ง ทำงานเป็น
ฝึกคุณลักษณะอื่น ๆ เช่น ความอดทน ความรับผิดชอบการช่วยเหลือ

ซึ่งกันและกัน การรวมกลุ่มการจัดการการรู้จักตน...” ดังนั้นจึง
เห็นได้ว่าการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการพัฒนาทักษะ
ผู้เรียนทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนรู้ เนื้อหาสาระยังรวมถึง
ด้านการปรับตัวการทำงานร่วมกับผู้อื่นอีกด้วยซึ่งการจัดการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ จำเป็นต้องมีกระบวนการและ

กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริง
ดังนี้

1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม คือ การเรียนรู้
แบบสืบค้นแบบค้นพบ แบบแก้ปัญหา แบบสร้างแผนผังความคิด

แบบใช้กรณีศึกษา แบบตั้งคำถาม แบบใช้การตัดสินใจ เป็นต้น

2. การศึกษาเป็นรายบุคคล คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง
อาจจะใช้ชุดการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 43

3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น

การใช้ตำราเรียน แบบฝึกหัด บทเรียนสำเร็จรูป อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

4.การจัดการเรียนรู้แบบเน้นปฏิสัมพันธ์ เช่น
การโต้วาที การอภิปราย การระดมพลังสมอง (brainstorm)
กลุ่มแก้ปัญหา การแสดงบทบาทสมมติ เป็นต้น


5. การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์
เช่น การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกมส์ กรณีตัวอย่างสถานการณ์
จำลอง ละคร บทบาทสมมติ เป็นต้น


6. การเรียนแบบร่วมมือ เช่น กลุ่มสืบค้น กลุ่มเรียนรู้
ร่วมกัน การทำโครงงาน เป็นต้น

7. การเรียนการสอนแบบบูรณาการ เช่น การทำ

โครงงาน การเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากิจกรรมการเรียนการสอนที่กล่าวมา
ผู้เรียนได้เป็นผู้ลงมือทำเอง ศึกษาและทดลองด้วยตนเองทั้งสิ้น
โดยครูเป็นผู้จัดกิจกรรม และอำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้

สนับสนุน เสริมแรง และติดตามผลจากการเรียนรู้ ซึ่งครูอาจจะต้อง
มีความรู้และเข้าใจนักเรียนแต่ละคนเป็นอย่างดีว่านักเรียนแต่ละคน
มีความสามารถด้านใดบ้าง และพยายามที่จะดึงความสามารถของ
นักเรียนแต่ละคนให้แสดงออกมา ซึ่งนักเรียนก็จะเกิดความภูมิใจ
ในตนเอง มีความสุข สนุก และเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ต่อไปซึ่งเป็นการ

เรียนรู้ที่ยั่งยืน และจะเสริมสร้างลักษณะนิสัยในการขวนขวายหา
ความรู้และการปรับตัวในสังคมสิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นการปฏิรูป
การศึกษาอย่างแท้จริง

44 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



บรรณานุกรม
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (2543). (ร่าง) การปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด.
เอกสารอัด สำเนา.

ประเวศ วะสี. (2541). ปฏิรูปการศึกษา-ยกเครื่องทางปัญญา : ทางรอดจาก
ความหายนะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2.) กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

อาภรณ์ ใจที่ยง. (เมษายน , 2544). (การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ) . คุรุสาร. 3(4) : 10-12.

ยุทธวิธีจับใจ..ศิษย์


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล

46 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



ยุทธวิธีจับใจ..ศิษย์


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล























โบรฟี..(Brophy) อาศัยทฤษฎี Expectancy X Value
Theory ของฟีเธอร์ (Feather :1982) เป็นแนวทางในการจัดลำดับ

ของวิธีการกระตุ้นเด็ก ทฤษฎีนี้มีใจความสำคัญว่า ความพยายาม
ที่มนุษย์กระทำสิ่งใดมากน้อยเพียงใดนั้นจะเป็นผลคูณของ
(1) ความคาดหวังในขนาดของความสามารถของตนที่จะทำงานนั้น

ได้รับผลสำเร็จ และ (2) ปริมาณของคุณค่าที่ตนจะได้รับจากการ
กระทำงานนั้นหรือผลตอบแทนที่ตนจะได้รับเมื่องานนั้นสำเร็จลง
ทฤษฎีนี้เน้นว่าถ้าหากมองเห็นแล้วว่าทำไม่สำเร็จหรือทำแล้วสำเร็จ

แต่ไม่มีผลตอบแทนทั้งทางกายหรือทางใจคนก็จะไม่พยายามทำงานนั้น ๆ
เลย เพราะฉะนั้นในการใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอนครูต้อง

ชักจูงให้เด็กเห็นคุณค่าของกิจกรรมการเรียน และให้เด็ก

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 47


มองเห็นว่างานที่เด็กทำนั้นมีโอกาสสำเร็จผลอย่างมากถ้าหาก
เด็กใช้ความพยายาม

บทความนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 จะกล่าวถึง

สภาวการณ์เบื้องต้นจำเป็นต่อการกระตุ้นเด็ก ตอนที่ 2 กล่าวถึง
ยุทธวิธีต่าง ๆ ที่จะสร้างและรักษาระดับความคาดหวังว่าจะสำเร็จ
ให้คงอยู่ในตัวเด็ก ตอนที่ 3 กล่าวถึงยุทธวิธีส่งเสริมให้เด็กเห็น

คุณค่าหรือความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอน ตอนที่ 3 นี้
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ (3.1) การใช้เครื่องกระตุ้นจากภายนอก
(3.2) การใช้ประโยชน์จากแรงกระตุ้นภายในที่เด็กมีอยู่แล้ว และ

(3.3) การกระตุ้นแรงจูงใจใฝ่เรียนของเด็ก แต่ละตอนและแต่ละ
หัวข้อย่อยจะขอกล่าวโดยสังเขปเพื่อเป็นแนวทางเท่านั้น ดังต่อไปนี้


1. สภาวการณ์เบื้องต้นอันจำเป็นต่อการกระตุ้น
(Essential Preconditions) สภาวการณ์เช่นนี้ครูต้องสร้างให้เกิดขึ้น

ในห้องเรียนก่อนที่จะใช้วิธีการกระตุ้นเด็กวิธีใดวิธีหนึ่ง มิฉะนั้นแล้ว
การกระตุ้นจะไม่ได้ผล

1.1 บรรยากาศแบบสนับสนุน (Supportive

environment) นั่นคือ บรรยากาศในห้องเรียนต้องมีความเรียบร้อย
มีวินัย ปราศจากความวุ่นวาย เด็กเรียนด้วยความสบายใจรู้สึกว่าตน
เป็นเจ้าของห้องเรียน ครูสอนและให้กำลังใจเด็ก สนับสนุนความพยายาม

ในการเรียนของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นออกมาได้
โดยไม่กลัวการผิดพลาด ถูกหักคะแนน หรือถูกวิพากษ์วิจารณ์

48 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


1.2 บทเรียนมีความเหมาะสมกับระดับเชาวน์

ปัญญาของเด็ก (Appropriate level of challenge / difficulty)
ถ้าบทเรียนง่ายเกินไปเด็กจะไม่สนใจ ถ้าหากยากเกินไปเด็กจะท้อใจ

เด็กจะมีกำลังใจเรียนถ้าหากบทเรียนนั้นยากพอประมาณเพียงพอ
ที่จะให้เด็กใช้ความพยายามแล้วได้รับผลสำเร็จ

1.3 วัตถุประสงค์ของบทเรียนมีความหมาย

(Meaningful learning objectives) บทเรียนที่นำมาสอนหรือ
ทักษะที่นำมาฝึกควรจะเป็นบทเรียนที่เด็กมองเห็นว่าใช้ประโยชน์
ได้ หรือมิฉะนั้นเด็กก็เข้าใจว่าเป็นขั้นต้นที่จะนำไปสู่บทเรียนต่อไป

อันมีประโยชน์มากขึ้น

1.4 ควรมีการกระตุ้นในระดับที่เหมาะสม

(Moderation / Optimal use) นั่นคือ ถ้าหากครูใช้วิธีการกระตุ้น
บ่อยเกินไป การกระตุ้นจะไม่มีผลดี ขาดความหมายเด็กรู้สึกว่าเป็น

เรื่องธรรมดาหรือของเก่ามาเล่าใหม่เท่านั้น

2. การกระตุ้นเพื่อรักษาระดับความคาดหวังในความ
สำเร็จ (Motivating by Maintaining Success Expectations)


การวิจัยจากหลาย ๆ แห่ง ได้แสดงให้เห็นว่าบุคคล
ที่จะใช้ความพยายามทำงานมากขึ้น คือ บุคคลที่ (1) ตั้งเป้าหมาย

ของงานไว้พอที่จะทำได้สำเร็จ (2) ได้ตั้งใจแน่วแน่ไว้ว่าจะทำงานนั้น
ให้บรรลุเป้าหมาย (3) มุ่งผลของงานและไม่กลัวความล้มเหลว
(4) เชื่อในความสามารถของตนที่จะทำงานนั้นได้ (5) สามารถควบคุม

งานนั้นได้โดยตนเอง โดยที่บุคคลภายนอกไม่เกี่ยวข้อง


Click to View FlipBook Version