The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:13:06

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 3

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 199

• ใส่ใจ รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างละเอียดอ่อน


• สามารถแสดงความคิดเห็นและความต้องการของ
ตนได้อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง

• ใช้กลไกในการป้องกันตนเอง (Defense Mechanism)
ในสัดส่วนที่เหมาะสม


• เป็นผู้ริเริ่มสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นก่อน

• มีความยืดหยุ่นและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ในด้านที่มีประโยชน์

จะเห็นได้ว่า ลักษณะของบุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเองนั้น

มิได้ยึดติดหรือให้ความสำคัญแต่เฉพาะตนเองเท่านั้น เพราะหาก
บุคคลมีความเชื่อมั่นในความคิดและความสามารถของตนเอง แล้ว
ทะนงตัว ดูถูกผู้อื่นว่าต่ำกว่า ด้อยกว่า ไม่ใส่ใจความเห็นของใคร
นอกจากตน ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มี Self-esteem

ปัจจัยที่มีผลต่อความเห็นคุณค่าในตนเอง แบ่งออกเป็น 2 ด้าน

ได้แก่

1. ปัจจัยภายใน หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวบุคคล
ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่มีรูปร่างหน้าตาดี เบื้องต้นเขาจะเกิดความ
ภาคภูมิใจใจตนเอง ในทางตรงข้าม หากเด็กมีร่างกายพิการ ก็จะมี
ความนับถือในตนเองต่ำ นอกจากนี้ ประสบการณ์แห่งความสำเร็จก็

เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เด็กที่เคยประสบความสำเร็จมักจะมีความ
เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของตน และมีความนับถือตนเองสูงกว่าเด็ก
ที่ประสบแต่ความล้มเหลว

200 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


2. ปัจจัยภายนอก หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อม อันได้แก่

ครอบครัว ครูอาจารย์ เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น ข้อมูลย้อนกลับ
(feedback) ที่บุคคลได้รับจากผู้อื่นจะเป็นสิ่งที่กำหนดความนับถือ
ตัวตน เช่น หากเด็กได้รับคำชื่นชมจากพ่อแม่มากกว่าคำตำหนิ
ก็จะมีความนับถือตนเองค่อนข้างสูง เด็กที่ได้รับการยอมรับจาก
ครูอาจารย์และเพื่อนฝูง ก็จะเกิดความรู้สึกในเชิงบวกต่อตนเอง

ข้อมูลย้อนกลับที่เด็กได้รับจากคนรอบข้างจะถูกประมวลไว้ในภาพ
แห่งตน (Self-image) ซึ่งมีผลต่อการประเมินว่าตนเองมีค่าหรือ
ไร้ค่า

วรากรณ์ สามโกเศศ (2555: 70) ได้กล่าวถึงการ
ทดลองเรื่อง Self-esteem ในประเทศอินเดียไว้ว่า ในการทดลองวันแรก

เด็กกลุ่มทดลองซึ่งคละวรรณะจะต้องแต่งตัวแบบสมัยใหม่ โดย
ไม่ให้รู้ว่าใครอยู่ในวรรณะใด และให้นั่งกันตามสบายอย่างเสมอภาคกัน
ผลการทดสอบเด็กในทุกวรรณะมีคะแนนใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่าง
อย่างมีนัยสำคัญ ในวันต่อมามีการทดสอบเดิมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้
ผู้ทดลองให้เด็กแต่ละคนแต่งตัวตามประเพณีของแต่ละวรรณะ
และขณะสอบผู้ทดลองให้การดูแลเด็กในวรรณะสูงเป็นพิเศษต่อหน้า

เด็กในวรรณะอื่น ผลการสอบปรากฏว่า เด็กในวรรณะสูงที่ได้รับการ
ดูแลเป็นอย่างดี มีคะแนนไม่ต่างไปจากเดิม ในขณะที่เด็กกลุ่มอื่น ๆ
ได้คะแนนต่ำกว่าวันแรกอย่างผิดสังเกต ผู้ทดลองจึงเชื่อว่า
Self-esteem คือคำอธิบายของการมีคะแนนที่แตกต่าง การเชื่อว่า

ตนเองต่ำต้อยกว่าทำให้ขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
อย่างเห็นได้ชัด

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 201


ความแตกต่างระหว่าง การเห็นคุณค่าในตนเองความมั่นใจใน
ตนเอง และความหลงตัวเอง

การเห็นคุณค่าในตนเอง VS ความมั่นใจในตนเอง

การเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายใน
จิตใจโดยตนเองจะเป็นผู้รับรู้ได้ดีที่สุด เป็นความเชื่อว่าตนมีความ

สามารถที่จะเผชิญโลกได้ในทุกสถานการณ์ และรู้ซึ้งดีว่าตนเอง
มีคุณค่า มีความสำคัญ เป็นผลให้เกิดความมั่นคงขึ้นในจิตใจ
ส่วนความมั่นใจในตนเอง (Self-confidence) ซึ่งมีความหมาย
ใกล้เคียงกันนั้น จะเป็นการแสดงออกเพื่อให้บุคคลอื่นได้รับรู้ว่าตัวเรา
มีความกล้า มีความเชื่อมั่นในการกระทำ การจัดการ หรือการตัดสินใจ
กระทำบางสิ่งบางอย่างได้ โดยทั่วไป คนที่มี Self-esteem หรือ

คนที่เห็นคุณค่าในตนเองจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองตามมา
แต่ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้ที่เห็นคุณค่า
ในตนเองเสมอไป เพราะภาพความเชื่อมั่นในตนเองที่บุคคลแสดง
ออกมาเพื่อให้ผู้อื่นเห็นนั้น แท้จริงแล้วอาจแสดงออกเพื่อปกปิดความ
รู้สึกด้อยค่าภายในตนเองอยู่ก็เป็นได้


การเห็นคุณค่าในตนเอง VS ความหลงตัวเอง

จากที่กล่าวมาแล้วตอนต้น ผู้ที่เห็นคุณค่าในตนเอง
จะเป็นผู้ที่มีความเชื่อในความสามารถ และคุณค่าของตน เกิดความ
ยอมรับนับถือตนเองตามสภาพความเป็นจริง แต่การหลงตัวเอง คือ
การมองและประเมินตัวเองให้ดีกว่าความจริง ซึ่งมักจะมองไม่เห็น

ของเสียตนเอง ดังนั้น เวลาที่ถูกผู้อื่นตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์ก็จะรับไม่ได้
โกรธ เสียใจรุนแรง และการหลงตัวเองมักจะมาจากการเปรียบเทียบ

202 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ตัวเองกับผู้อื่น ว่าตนดีกว่า เก่งกว่า แน่กว่า ในทางกลับกัน หากเป็น

ผู้ที่เห็นคุณค่าในตนเองก็จะรู้สึกพอใจกับตนเองโดยไม่จำเป็นต้อง
เปรียบเทียบกับใคร และไม่รู้สึกแย่เมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีหรือเหนือ
กว่าตน

การส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้เห็นคุณค่าในตนเอง


Denis Waitley (อ้างถึงใน ทิพย์วัลย์ สุทิน, 2551)
ให้ข้อมูลว่า Carl Rogers (1902-1987) นักจิตวิทยามนุษยนิยม
ได้อธิบายว่า การนับถือตนเองพัฒนามาจากวัยเด็ก และเกิดจาก
ปฏิสัมพันธ์ของพ่อแม่ และบุคคลรอบข้างที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ด้วย
หากให้การยอมรับหรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อเด็กอย่างไร เด็กก็จะ
พัฒนาปฏิสัมพันธ์ในทิศทางที่ผู้ใหญ่มีต่อเขา พ่อแม่จึงเป็นบุคคลที่มี

ความสำคัญที่สุดในการพัฒนาการนับถือตนเองในวัยเด็กตอนต้น ครั้น
เมื่อพัฒนามาถึงวัยเด็กตอนปลายและวัยรุ่นก็จะได้รับอิทธิพลจากครู
เพื่อนและบุคคลอื่น ๆ ที่เขามีปฏิสัมพันธ์ด้วยว่าจะมีทิศทางในการ
ตอบสนองในลักษณะสร้างสรรค์หรือทำลายความรู้สึกที่เขามีต่อ
ตัวเอง


ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครู
อาจารย์ก็ล้วนแต่มีส่วนช่วยส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองให้แก่
เด็กได้ทั้งสิ้น โดยสามารถประยุกต์เอาแนวทางต่อไปนี้ไปใช้ใน
แต่ละสถานการณ์ได้

• ช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้สึกดีกับตนเอง สังเกตและ

แก้ไขความรู้สึกที่ผิด ๆ ของเด็ก ผู้ใหญ่เป็นเสมือนกับกระจกสะท้อนภาพ
ของตัวเด็ก หากผู้ใหญ่มองว่าเด็กไม่ดี เขาก็จะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีไปด้วย
ขณะเดียวกัน เป็นบทบาทสำคัญที่พ่อแม่ และครูอาจารย์จะสังเกตว่า

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 203

เด็กมีความคิด ความรู้สึกต่อตนเองอย่างไร หากเป็นความคิดที่ผิด

หรือไม่เหมาะสม บุคคลรอบข้างก็ควรจะช่วยแก้ไขก่อนฝังรากลึก

• แสดงการยอมรับในตัวเด็ก การแสดงการยอมรับ
บุคคลรอบข้างต้องแสดงออกด้วยการใช้คำพูดเพื่อแสดงการยอมรับ
ในเชิงทัศนคติหรือความคิดเห็นของเด็ก ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้รับรู้อย่าง
ชัดเจน เช่น “ครูเข้าใจหนูว่าทำไมหนูจึงทำเช่นนั้น แต่ครูยอมรับ

การกระทำของหนูไม่ได้” เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวเป็นการแสดง
การยอมรับในตัวเด็ก แต่ไม่ยอมรับการกระทำของเด็ก ดังนั้น การ
ยอมรับเด็กมิได้หมายถึงการอนุญาตให้เด็กกระทำได้ทุกอย่างตาม
ใจชอบ เมื่อเด็กได้รับการยอมรับ เด็กก็จะเห็นความสำคัญของตนเอง
เกิดความมั่นใจ และกล้าแสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง


• ให้ feedback ที่ถูกต้องและเหมาะสม การชมเชย
เมื่อเด็กทำดีหรือทำในสิ่งที่ถูกต้อง จะช่วยให้เขาเชื่อมั่นในความสามารถ
และการกระทำของตนเอง นำไปสู่การเห็นคุณค่าในตนเองตามมา
ขณะเดียวกันหากเขาทำผิดก็ควรได้รับโทษ เพื่อให้เขารับรู้สภาพ
ความเป็นจริงของตนเองว่าเขาก็สามารถกระทำผิดได้ไม่ต่างจากผู้อื่น

และต้องยอมรับผลจากการกระทำของตน แต่การลงโทษไม่ควรรุนแรง
หรือบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะอาจทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาเป็นคนแย่มาก
ทำอะไรก็ผิดไปหมด

• ให้โอกาสแก่เด็กในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
การที่บุคคลรอบข้างเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกในสิ่งที่ตรงกับ

ความสามารถ ความถนัด และความสนใจ จะเป็นส่วนส่งเสริมและ
พัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองได้เป็นอย่างดี ก่อให้เกิดความ
ภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองเป็น

204 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


• ให้เด็กตัดสินใจในเรื่องที่เหมาะกับวัย เด็กควร

ได้รับความไว้วางใจให้มีอิสระในการเลือกตัดสินใจเอง เช่น ตัดสินใจว่า
จะเรียนอะไร อยากเล่นกีฬาชนิดไหน เพื่อให้เด็กรู้จักรับผิดชอบ และมี
โอกาสได้ลองผิดลองถูกเองบ้าง รวมถึงจะได้ฝึกแก้ปัญหาหากเกิดความ
ผิดพลาด เพราะหากว่าเด็กไม่เคยได้รับอนุญาตให้เลือกอะไรเองเลย
เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินปัญหาด้วยตนเองไม่ได้


ในฐานะครู..การส่งเสริมพัฒนาการเห็นคุณค่า
ในตนเองให้กับเด็กนับจากวันนี้ไป ดูจะเป็นเรื่อง ที่เป็นไปได้มากกว่าจะ
ย้อนกลับไปแก้ปมปัญหาในช่วงวัยเด็กของเขา แต่เราจะพลิกทัศนคติ
จาก “หนูคงทำไม่ได้” ให้กลายเป็น “หนูทำได้” (รวมถึงรู้จักชนะเป็น
และแพ้เป็น) ได้หรือไม่ อย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่ท้าทายและน่าใส่ใจ

อยู่ไม่น้อย





บรรณานุกรม
ชุตินาถ ศักรินทร์กุล. (2554). มารู้จัก Self-esteem กันเถอะ. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2556, จาก
http://www.damrongchaitham.com/2011/coaching-read.php?id=36
ทิพย์วัลย์ สุทิน. (2551). ตัวตนและอัตมโนทัศน์ กับบุคลิกภาพ. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2556, จาก
http://webhost.wu.ac.th/stipawan/index/chapter/chapter4/index.html
ธรรมนาถ เจริญบุญ. (2555). “Self Esteem: การนับถือตัวเอง,” Health Today, 10 (117) : 1.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2555). เชื่อมั่นในความสำคัญของตนเอง. กรุงเทพฯ: ดีพียู แม็ก.
วิทยากร เชียงกูล. (2552). จิตวิทยาวัยรุ่น ก้าวข้ามปัญหาและพัฒนาศักยภาพด้านบวก.
กรุงเทพฯ: สายธาร.
สรานุช จันทร์วันเพ็ญ และกานดา ผาวงค์ (2549). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้าง
ความเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem) ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในโรงเรียนขยายโอกาสทาง การศึกษา ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้
Satir Model เป็นพื้นฐาน. โครงการวิจัยคณะกรรมการป้องกันผู้มีภาวะซึมเศร้าและ
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข.
Rossarin. (2555). Self Esteem. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2556, จาก www.snc.lib.su.ac
th/snclibblog/?p=20172
Sarawut R. (2552). การสร้าง Self-esteem ให้กับเด็กและเยาวชน. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2556,
จาก http://homehug.blogspot.com/2009/09/self-esteem.html

ครูเพื่อศิษย์


อาจารย์บุศราคัม ช่วงชัย

206 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



ครูเพื่อศิษย์


อาจารย์บุศราคัม ช่วงชัย





















บทความนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของตัวเองที่เป็น
ครูมาแล้วถึง 15 ปี ตอนแรกก็ตกใจเหมือนกันว่าไม่น่าเชื่อที่ตัวเอง
สอนหนังสือมานานขนาดนี้ ยิ่งตกใจมากขึ้นเมื่อวันหนึ่งเดินกลับบ้าน
ผ่านสยามแสควร์ มีนายตำรวจยศระดับร้อยเอกวิ่งมาหาและสวัสดี

สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้นเหมือนเป็นกระจกเงาสะท้อนที่ดีว่าเราไม่ได้
เพิ่งเริ่มสอนหนังสือปีสองปีนะ เริ่มมีนักเรียนของเราไปเป็นใหญ่เป็นโต
หรือบางทีไปอ่านหนังสือเจอรูปภาพนักเรียนของเราไปเป็นดารา

โฆษณาหรือไปประกอบอาชีพอื่นได้ดิบได้ดีกันหลายคน ถ้าหาก
ถามความรู้สึกตั้งแต่ตอนเริ่มเป็นครูจนถึง ณ ปัจจุบันนี้ว่าเป็นความ
ภูมิใจที่บอกออกมาดัง ๆ ไม่ค่อยได้ เพราะเดี๋ยวจะมีคนหาว่าสติไม่ดี
เราจะเฝ้ารออย่างใจจดจ่อทุกปีในฐานะครูประจำชั้นและครูผู้สอนว่า
“ปีนี้นักเรียนของเราจะมีใครบ้างนะ และมีนิสัยอย่างไรบ้าง หรือห้อง

ที่เราสอนจะมีนักเรียนแบบใดบ้าง” ซึ่งถือเป็นความท้าทายการเป็น

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 207

ครูอย่างยิ่งโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การนำเข้าสู่บทเรียน

การดึงความสนใจของนักเรียนให้สนใจครู จนเรามีความรู้สึกว่าเรา
คือคนสำคัญในใจของพวกเขา จากประสบการณ์ของตัวเอง ครูที่ดีต้อง
มีองค์ประกอบดังนี้

1. ความตื่นเต้น (ความกระตือรือร้น) ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

ทุกครั้งในวันมอบตัวนักเรียนและนักเรียนต้องพบครูประจำชั้น ดิฉัน
จะยืนมองหน้านักเรียนทุกคนอย่างมีความสุข เพราะนักเรียนเหล่านี้
คือบุคลากรที่จะเข้ามาอยู่กับเราหนึ่งปีการศึกษา (ประมาณ 9 เดือน)

ดิฉันจะบอกกับนักเรียนทุกคนในห้องว่า ใครจะเป็นอย่างไรมาครูไม่
สนใจ ครูรู้อย่างเดียวว่าตอนนี้พวกหนูคือนักเรียนห้องครูต้องเป็น
คนใหม่ลืมเรื่องที่เคยทำไม่ดีไว้ให้หมด เรามาเป็นคนใหม่กันเถอะ

2. ความรักและการเอาใจใส่ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

สำหรับอาชีพครู การให้ความรักเป็นสิ่งที่ดีทำให้นักเรียนทุกคนรู้สึกว่า
ตัวเองมีค่า เมื่อเราให้ความรักแก่พวกเขาเราจะได้รับความรักนั้นตอบ
แทนกลับมา ในขณะเดียวกันเราต้องเอาใจใส่เขาด้วย ต้องทราบความ
ต้องการของเขา อย่าให้พวกเขาต้องฝืนใจทำในสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบ

ดิฉันมักจะบอกกับผู้ปกครองเสมอว่าถ้าจะให้นักเรียนไปเรียนพิเศษ
วิชาใดก็ตามต้องถามความสมัครใจของเขาก่อนจะได้แก้ปัญหาการ
หนีเรียนพิเศษได้ หรือบางครั้งเอาเรื่องคะแนนมาล่อทำให้นักเรียน
ยึดติดกับการแลกเปลี่ยนผลตอบแทน พอให้ทำอะไรนิดหน่อยจะต้อง

มีเรื่องคะแนนมาเป็นข้อต่อรอง หรือทุกครั้งที่มีการประชุมผู้ปกครอง
ดิฉันจะบอกผู้ปกครองเสมอว่า ผลการเรียนของนักเรียนที่ออกมา
คะแนนไม่ดีเราสามารถแก้ไขได้ แต่ถ้าหากลูกของเรานิสัยไม่ดีและ
ไม่ได้รับการแก้ไขเสียตั้งแต่ตอนนี้จะทำให้เราอาจจะต้องเสียใจกับ

208 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


นิสัยที่เปลี่ยนไปของพวกเขา ดิฉันมักจะเน้นย้ำกับผู้ปกครองเสมอว่า

เมื่อลูกกลับมาจากโรงเรียนให้ถามลูกบ้างว่าวันนี้ที่โรงเรียนมีอะไรเกิด
ขึ้นบ้างหรือเรียนวิชาอะไรไม่รู้เรื่อง หรือเรียนวิชาไหนรู้เรื่องบ้าง
เพื่อน ๆ ในห้องเป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้น บางครั้งดิฉันตั้งเป็นคำถามที่

ไม่ต้องการคำตอบว่า “วันนี้ผู้ปกครองได้โอบกอดลูกแล้วหรือยัง”
เพราะดิฉันสังเกตจากการที่นักเรียนมักมาชวนเราคุยด้วย หรือเวลา
ยืนจะมาจับแขนโยกไปมา หรือบางครั้งนักเรียนหญิงจะมาขอกอด
นั่นคือพวกเขาต้องการความรักจากเรานั่นเอง บางครั้งนักเรียนก็คือ
เด็กที่ยังต้องการความรักและความเอาใจใส่จากคนที่พวกเขารัก


3. ความเข้าใจ และความยุติธรรม จะทำให้ครูและ
นักเรียนสามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบและมีความสุข สิ่งที่ครู
ทุกคนควรจะมีคือความเข้าใจในความรู้สึกของเด็ก ครูทุกคนลอง
มองย้อนไปตอนที่ตัวเองเป็นเด็กในช่วงวัยเดียวกับพวกเขา จะพบว่า

พวกเราเองก็มีลักษณะแบบเดียวกับพวกเขา ทั้งในด้านการพูดจา
กิริยามารยาท การแสดงออกในชั่วโมงเรียน หรือนอกห้องเรียน อาจารย์
บางท่านมักจะปรารภว่าเด็กสมัยนี้พูดจาใช้ไม่ได้ เดินผ่านครูบาอาจารย์

แล้วไม่หยุดหรือทำความเคารพ นั่นแหละ คือสิ่งที่เราซึ่งเป็นครูควร
จะหาทางแก้ไขให้นักเรียนของเรานั้นปฏิบัติ บางครั้งนักเรียนบอก
ด้วยปากว่าอาจารย์สวัสดี แต่ไม่ยกมือไหว้ เราเองจะตอบกลับทันทีว่า
อ้าวมือไม้เป็นอะไรถึงยกไม่ขึ้น พวกเขาจะรู้สึกตัวทันทีว่ากำลังทำ
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเรา จะมีคำพูดตามมา “อาจารย์ครับ

ผมขอโทษ” หรือบางคนพูดตะโกนข้ามหัวเพื่อน หรือโยนของผ่านหัว
เพื่อนไปมา สิ่งที่เรามักจะทำเสมอในฐานะครูคือให้นักเรียนที่เป็นผู้ก่อ
เหตุการณ์นั้นต้องขอโทษครูผู้ที่สอนอยู่ในขณะนั้น และขอโทษเพื่อน

ทั้งห้องเรียนโดยกล่าวคำขอโทษออกมาดัง ๆ พร้อมทั้งยกมือขึ้นไหว้

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 209

ด้วย หรือขณะสอนนักเรียนอาจจะมีปัญหากระทบกระทั่งกันถึงขั้นลง

มือชกต่อยกัน หรือด่ากัน ครูจะต้องสามารถเข้าไปยุติความขัดแย้งนี้
ได้โดยใช้หลักความเข้าใจ และความรักและเอาใจใส่นี่แหละ ซักถาม
ถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น ข้อควรระวังคือเรื่องอารมณ์ของนักเรียนต้องสอบสวน

คู่กรณีที่ละคนอย่างยุติธรรมอย่าเอาลักษณะท่าทางของนักเรียนเป็น
เกณฑ์ในการตัดสินว่าในสายตาของอาจารย์เป็นคนเรียบร้อยไม่น่า
จะไปมีเรื่องก่อนหรือมีเรื่องได้ ทุกครั้งที่เกิดปํญหานี้มักจะพบว่าการ
ทะเลาะกันมักจะเกิดจากการเล่นกันโดยที่อีกฝ่ายไม่มีอารมณ์ร่วมที่
จะเล่น ครูต้องมานั่งสอนว่า ก่อนที่จะเล่นทุกครั้งควรสังเกตเพื่อนก่อนว่า

เขาพร้อมจะเล่นกับเราไหมต้องดูอารมณ์ร่วมด้วย หรือบางทีนักเรียน
ผู้หญิงเล่น msn หรือ hi 5 แล้วมีเรื่องทะเลาะกันถึงขั้นจะตบตีกันก็มี
เราต้องเรียกทั้งสองฝ่ายมาอบรมแล้วสอนให้พวกเขารู้ว่าที่เขาทำอยู่

ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องผู้ที่มีการศึกษาต้องรู้จักเคารพสิทธิส่วนบุคคล
4. การให้ เป็นการสอนเรื่องพื้นฐานที่สำคัญสำหรับ
นักเรียนปัจจุบันการให้ไม่ใช่หมายถึงทรัพย์สินเงินทองแต่หมายถึง
การให้สิ่งที่ดีดีต่อกัน เช่น การให้น้ำใจ การให้ความช่วยเหลือ
เป็นต้น ดิฉันมักจะสอนนักเรียนเสมอว่า เราต้องรู้จักให้กับคนรอบข้าง

ทั้งพ่อแม่ ครูอาจารย์ และเพื่อน กลับบ้านเคยถามพ่อแม่ไหมว่า
วันนี้เหนื่อยหรือเปล่า หรือเคยยกน้ำให้ผู้ปกครองดื่มไหมเมื่อเวลา
กลับบ้าน หรืออยู่ที่โรงเรียนเคยรับอาสาที่จะช่วยกิจกรรมของโรงเรียน

หรือช่วยอาจารย์ถือของหรือไม่ เรามีหน้าที่ต้องปลูกฝังสิ่งเหล่านี้
ลงไปในจิตใจนักเรียน แล้วพวกเขาจะมีความรู้สึกที่อ่อนโยนลงและ
มีความรู้สึกว่าการให้ไม่ใช่การกระทำที่หน้าอาย

5. เป็นที่ปรึกษาที่ดี คุณครูทั้งหลายต้องพึงสำนึก

ไว้ด้วยว่า “เมื่อไหร่ที่มีนักเรียนมาด้อม ๆ มอง ๆ หน้าห้องพัก หรือ

210 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


เดินไปเดินมาที่หน้าห้องของเรา นั่นแสดงว่านักเรียนผู้นั้นกำลังมีปัญหา

ที่เขาแก้ไม่ได้ และต้องการคำปรึกษาจากเรา” เราซึ่งเป็นครูในความ
รู้สึกของพวกเขาคือเราเป็นผู้รู้ในทุกเรื่องเพราะนักเรียนส่วนใหญ่
เห็นคุณครูเป็นเหมือนผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ

ให้กับพวกเขาโดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพื่อนและเรื่องความรัก
ซึ่งถือเป็นปัญหาพื้นฐานสำหรับนักเรียนที่อยู่ในวัยนี้ หน้าที่ของเรา
คือทำอย่างไรให้เขาดำเนินชีวิตไปในทิศทางที่ถูกต้องเราโดยเราต้อง
เป็นผู้ที่ให้ข้อคิด ชี้ให้เห็นผลดีและผลเสียที่จะเกิดตามมา


6. รู้จักสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ ในช่วงวัย
ของนักเรียนสิ่งหนึ่งที่เราจะสังเกตเห็นได้ค่อนข้างชัด คือพฤติกรรมที่
ค่อนข้างไปในทางเลียนแบบเพื่อนบางคนที่เขาคิดว่าดี หรือเห็น
พฤติกรรมบางอย่างที่เพื่อนทำแล้วไม่โดนดุ ก็จะกระทำบ้าง หรือบาง
ครั้งมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลซึ่งเหตุการณ์ที่

พบเห็นเสมอ คือ การที่นาย ก.เป็นเพื่อนกับนาย ข. และทราบมาว่า
นาย ก. กับนาย ค. ไม่ค่อยชอบหน้ากันเท่าไรนัก เมื่อไปได้ยิน
นาย ค.ว่า นาย ก. หน้าตาไม่ดี นาย ข.จึงนำเรื่องนี้ไปบอก

นาย ก. จนกลายเป็นเรื่องชกต่อยกัน หรือ กรณีที่เล่นกันในสนามบาส
แล้วมีเรื่องทะเลาะกันจนเป็นความขัดแย้งถึงขั้นลงมือกันก็มี หรือ
บางทีล้อชื่อแม่กันตอนแรกก็เห็นเล่นกันอยู่พักเดียวยืนดันกันกันมา
ทำท่าจะชกกันอีกแล้ว หรือบางครั้งการล้อเล่นกันก็นำมาซึ่งความขัดแย้ง
เช่นคำว่า “ตุ๊ด” คำนี้ก็เป็นปัญหาได้เหมือนกัน ครูต้องเป็นผู้ยุติปัญหา

เหล่านี้อย่างละมุนละม่อม ไม่ใช่ไปสร้างการท้าทายหรือเข้าข้างฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่ง ทุกครั้งที่ตัวเองตัดสิน จะบอกคู่กรณีทั้งสองฝ่ายว่าตอนเล่นกัน
ได้สังเกตอารมณ์ของเพื่อนหรือเปล่าว่าอยากเล่นกับเราหรือไม่ เราจะ

ยุติปัญหาโดยให้ทั้งสองฝ่ายขอโทษซึ่งกันและกัน รวมทั้งชี้ให้พวกเขา

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 211

เห็นความสำคัญของเพื่อนและอย่าใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล และ

ต้องสอนให้เขารู้จักการให้อภัยด้วย

7. การปรับตัว ครูต้องสอนให้นักเรียนรู้จักปรับปรุง
พฤติกรรมของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของคนสังคมให้ได้ไม่ว่าจะเป็น
สังคมเล็กภายในห้องเรียน หรือสังคมใหญ่ระดับชั้นหรือระดับโรงเรียน

ดิฉันจะต้องแก้ปัญหานี้ตลอด เช่น นักเรียนคนนี้มีนิสัยเห็นแก่ตัว
ไม่มีเพื่อนคบ นักเรียนคนนี้ตัวเหม็น นักเรียนคนนี้โดนกล่าวหาว่า
ชอบขโมยของเพื่อน นักเรียนคนนี้ชอบอวดรวย หรือนักเรียนคนนี้

ปากไม่ดี เป็นต้น พึงจำไว้ว่าครูอย่าได้มีส่วนร่วมในพฤติกรรมเหล่านี้
เป็นอันขาดเพราะจะทำให้นักเรียนบางคนแอบผิดหวังในตัวครูเนื่องจาก
จะมีนักเรียนที่ค่อนข้างหัวหมอหาแนวร่วมโดยชักชวนเพื่อนในห้อง
มาเป็นแนวร่วมเราต้องให้ข้อคิดกับเพวกเขาว่าการที่เราจะกล่าว
หาใครก็แล้วแต่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเขาด้วยถ้าหากเป็นเรา

โดนบ้างจะรู้สึกอย่างไร ดิฉันจะบอกกับนักเรียนเสมอว่าเราเพียง
คนเดียวต้องปรับตัวให้เข้ากับคนทั้งห้องให้ได้ไม่ใช่ให้คนทั้ง 50 คน
มาปรับตัวเข้าหาเรา ตัวครูเองสอนหลายห้องและเป็นครูประจำชั้นด้วย

ครูยังต้องปรับตัวให้เข้ากับนักเรียนให้ได้เลย

8. ความรอบรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน ครูต้องติดตามข่าวสาร
อยู่ตลอดเวลาเพื่อแสดงว่าเป็นคนทันสมัย นักเรียนพูดเรื่องละคร
หรือเพลง เราต้องรู้เรื่องด้วย และสามารถนำมาใช้เป็นกรณีตัวอย่างใน

การนำมาสอนให้พวกเขารู้จักระมัดระวังตัวเอง เช่น ข่าวเรื่องการ
หลอกลวงนักเรียนหรือข่าวการทำร้ายร่างกาย หรือการล่อลวงไปทำ
อนาจาร การไปเล่นเกมส์ในร้านเกมส์และถูกข่มขู่เอาเงิน เป็นต้น
หรือการติดตามข่าวการเมืองซึ่งมีนักเรียนให้ความสนใจโดยเฉพาะ

212 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


นักเรียนชาย หรือนักเรียนหญิงบางคนก็ให้ความสนใจ เราสามารถ

เข้าไปมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็นของเขาได้รวมทั้งมีการ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน บางครั้งการดูละครทางโทรทัศน์หรือ
การโฆษณาก็เป็นสิ่งที่เราสามารถที่จะถ่ายทอดเรื่องของคุณธรรม

จริยธรรมและเรื่องบาปบุญคุณโทษทั้งหลายให้นักเรียนทราบได้ เช่น
ตัวเองดูรายการกรรมลิขิต ซึ่งสอนเรื่องบาป-บุญ และกฎแห่งกรรม
วันรุ่งขึ้นจะตั้งคำถามกับนักเรียนว่า “เมื่อคืนใครดูกรรมลิขิตบ้างน่ากลัว
มากเลยนะ” หรือเกมซ่าท้ากึ๋น ซึ่งเป็นการแข่งขันการสร้างความคิด
สร้างสรรค์ ทีมที่ชนะความคิดดีมาก ๆ นะ หรือใครดูโฆษณาไทย

ประกันชีวิตเรื่องป้าต้อยหรือเปล่าดีมาก ๆ นะเชื่อไหมคะแค่คำพูดที่
ครูเกริ่นนำเพียงแค่นี้จะทำให้นักเรียนอยากดูรายการเหล่านี้และพอ
สัปดาห์ต่อ ๆ มานักเรียนก็จะมาคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ

เราซึ่งมีทั้งแนวคิดที่ดีและแนวคิดที่ต้องการคำแนะนำจากครู

จากประสบการณ์ทั้ง 8 ข้อที่ดิฉันนำเสนอมานั้น ดิฉัน
มีความคิดเห็นว่า ครูและนักเรียนก็ไม่ได้มีความแตกต่างกัน
มากนัก ต่างฝ่ายยังต้องอาศัยการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งถ้าสามารถทำได้การสร้างความรักและความสามัคคี การมีน้ำใจ
และความเอื้ออาทรระหว่างครูกับนักเรียนจะทำให้บรรยากาศในการ
เรียนหนังสือในห้องเรียนเต็มไปด้วยความสนุกสนานทุก ๆ วันค่ะ

เด็กดี...สร้างได้


รองศาสตราจารย์สัญญา รัตนวรารักษ์

214 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน




เด็กดี...สร้างได้


รองศาสตราจารย์สัญญา รัตนวรารักษ์






















ทำอย่างไร..นักเรียนจึงจะได้ชื่อว่า เป็นนักเรียน

ที่ดีและเป็นศรีของโรงเรียน

คำว่า “ดี” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ระบุว่า “ ดี ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทาง ที่ต้องการ น่าปรารถนา

น่าพอใจ” (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546: 409) ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า
ทุกคนที่เกิดมาต้องการทำดีเพราะเป็นไปในทางที่ต้องการน่าปรารถนา

และน่าพอใจ แต่มีความสำคัญอยู่ที่เป็นการทำดี เพื่อใคร ซึ่งอาจจะ

เป็นสังคม ประเทศชาติ หรือแม้กระทั่งการทำความดีเพื่อโลกของเรา

ซึ่งเป็นความดี ในระดับที่มีความเป็นเลิศมากที่สุด

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 215

อย่างไรก็ตามมีปัญหาว่า ถ้าเราทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งไปใน

ทางที่เราต้องการน่าปรารถนาและน่าพอใจของเรา จะนับว่าเป็นความดี

เสมอไปหรือไม่ เมื่อพิจารณาแล้วพอสรุปเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ

ได้ว่า การกระทำใด ๆ ที่ทำแล้วไม่ส่งผลให้เป็นที่เดือดร้อนหรือเบียดเบียน

ตนเอง ผู้อื่น สังคม ตลอดจนประเทศชาติแล้ว ก็นับว่าเป็นการ
กระทำที่ดี เป็นความดีที่ตรงความหมายมากที่สุด


ส่วนคำว่า “ศรี” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ระบุว่า “ศรี น. มิ่ง ศิริมงคล ความรุ่งเรืองความสว่างสุกใส ความงาม

ความเจริญ” (ราชบัณฑิตยสถาน 2546: 1093) รวมความแล้ว
การกระทำความดีและเป็นศรีแก่โรงเรียน เป็นสิ่งที่พึงกระทำ เพราะ

มีผลดีแก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และความ

เจริญรุ่งเรืองต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ


สำหรับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปทุมวัน มุ่งมั่น ปลูกฝังและส่งเสริมให้นักเรียนทำความดีในทุกด้านอยู่

ตลอดเวลา เพื่อให้นักเรียนประพฤติปฏิบัติจนเป็นนิสัยติดตัวไปอย่าง

ถาวร และเพื่อให้ตระหนักและจำได้ถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีงามสมควรที่

จะทำตามเพื่อความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติ
โรงเรียนจึงให้นักเรียนทุกคนร้องเพลงประจำโรงเรียนเป็นประจำ

ทุกวัน

216 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ในตอนเช้าหลังจากนักเรียนร้องเพลงชาติ พร้อมสวดมนต์

แล้วนักเรียนทุกคนของโรงเรียนสาธิตปทุมวัน จะต้องร้องเพลงประจำ

โรงเรียนพร้อมกัน โดยเนื้อร้องนั้นนักเรียนรุ่นพี่ชื่อ นางสาวกนกจันทน์

พัฒนพิชัย เป็นผู้แต่งเนื้อร้อง (ขณะนั้น เป็นนักเรียนชั้น ม.5/939

พ.ศ. 2527 ซึ่งเป็นเพลงที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแต่งเนื้อร้อง
เพลงประจำโรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน) ทำนองโดยคุณประสิทธิ์

พยอมยงค์ เนื้อร้องมีดังนี้


สาธิตปทุมวัน


เนื้อร้อง : กนกจันทน์ พัฒนพิชัย ทำนอง : ประสิทธิ์ พยอมยงค์

สีน้ำเงินชมพูเชิดชูวิชช์ นามสาธิตปทุมวันอันแกร่งกล้า


เป็นแหล่งเพาะคนดีมีปัญญา มีน้ำใจนักกีฬาสามัคคี


มีสัมมาคารวะสมสมัย แบ่งเวลาเรียนเล่นได้รักศักดิ์ศรี


ปรับตัวเป็นสำเร็จทั่วชั่วชีวี คตินี้ตริย้ำประจำตน


รักวินัยใฝ่คุณธรรมประจำจิต รู้จักคิดสังเกตรู้เหตุผล


รู้หน้าที่รู้คุณครูรู้คุณคน สุขกมลสานน้ำใจสานสัมพันธ์

รวมพลังรักมั่นฉันน้องพี่ มิตรไมตรีเรืองรุ่งผดุงสรรค์


ขอทูนขอเทิดสาธิตปทุมวัน ศรีนครินทรวิโรฒอันเกรียงไกร

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 217

จากเนื้อเพลงนี้ทุกวรรคทุกตอนจะบ่งบอกถึงการปฏิบัติ

ตนเพื่อเป็นนักเรียนที่ดี เริ่มตั้งแต่คำว่า เป็นแหล่งเพาะคนดีมีปัญญา

แสดงว่านักเรียนสาธิตปทุมวันทุกคน มาอยู่ในสถานที่ที่เพาะบ่ม

ให้เป็นคนดีและอบรมสั่งสอนให้นักเรียนมีปัญญา ซึ่งหมายถึง

มีความรู้ในด้านศาสตร์ต่าง ๆ จนเกิดเป็นปัญญา และเป็นคนดีที่จะ
อยู่ในสังคมต่อไปได้อย่างดี


นอกจากเป็นคนดีมีปัญญาแล้ว นักเรียนสาธิตปทุมวัน

จะต้องมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รวมทั้งต้องมีความสามัคคี

ไม่แตกแยกกัน รุ่นน้องต้องเคารพรุ่นพี่ รุ่นพี่จะต้องรักเอ็นดูเอื้ออาทร
รุ่นน้อง คำว่า มีสัมมาคารวะสมสมัย หมายความว่า นักเรียนสาธิต

ปทุมวันทุกคนจะต้องเป็นผู้ที่มีสัมมาคารวะ รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ ทำด้วย

ความตั้งใจ และจริงใจ เหมาะกับกาลเทศะ รวมทั้งต้องรู้จักแบ่งเวลา
เรียนเล่น ได้อย่างเหมาะสม รู้จักแบ่งเวลาว่าตอนใดเรียนจะต้องตั้งใจ

เรียนอย่างเต็มที่ให้เกิดความรู้และเพิ่มพูนปัญญา และยามใดที่เป็น

เวลาพักผ่อนทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือเล่น ย่อมแบ่งได้อย่างถูกต้อง

เหมาะสม


นักเรียนสาธิตปทุมวันจะต้องรักศักดิ์ศรี ของความ
เป็นลูกปทุมวัน ประพฤติปฏิบัติตนแต่ในด้านที่ดีงาม รู้จักเคารพสิทธิ์

ของผู้อื่น รักชื่อเสียง สร้างชื่อเสียงเกียรติยศให้แก่ชาวสาธิตปทุมวัน

มีความเคารพและเชื่อมั่นในตนเอง มีศักดิ์ศรี แต่ไม่ใช่ยึดมั่นว่า

218 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


“ฉันดีที่สุด” “ฉันเก่งที่สุด”... เพราะเรื่องเหล่านี้ย่อมไม่อยู่ ในความคิด

ของชาวสาธิตปทุมวัน แต่จะต้องรู้จักว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร ทั้งด้าน

ความคิดและการปฏิบัติตน ถ้าปฏิบัติตามที่กล่าวมาได้จึงจะเรียกว่า

มีศักดิ์ศรีอย่างสมบูรณ์

จากคติพจน์ของโรงเรียนที่กล่าวว่า “สมรรถภาพ

ในการปรับตัวคือความสำเร็จในชีวิต” หมายความว่า จะต้องรู้จัก

การปรับตัวในทางที่ถูกที่ควร ไม่ใช่ปรับตัวไปในทางที่ผิด ดังนั้น
นักเรียนสาธิตปทุมวันทุกคนต้องรู้จักการปรับตัวให้อยู่ในสภาพ

แวดล้อมได้เป็นอย่างดีและเป็นไปในแนวทางที่ดีงามด้วย ประโยคของ

เนื้อเพลงที่กล่าวว่า รักวินัยใฝ่คุณธรรมประจำจิต หมายความว่า
นักเรียนทุกคนจะต้องมีวินัย ซึ่งหมายถึงการอยู่ในระเบียบแบบแผน

และข้อบังคับ มีระเบียบ หมายถึงแบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติ

หรือดำเนินการ รวมทั้งปฏิบัติตนอยู่ในกรอบที่ดี หรือกล่าวสรุปว่าต้อง
เป็นนักเรียนที่ดีปฏิบัติตนตามระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับของโรงเรียน

โดยเฉพาะจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมอยู่ในจิตใจ คือใฝ่ดี รู้ผิดชอบ ชั่วดี
มีจิตใจเมตตา กรุณา ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของคุณธรรมที่นักเรียน

สาธิตปทุมวันจะต้องมีไว้ประจำใจแล้วต้องปฏิบัติอีกด้วยเช่นกัน


นักเรียนสาธิตปทุมวันทุกคนจะต้องรู้จักคิดในทางที่
ถูกต้อง และเป็นผู้ที่ช่างสังเกต รู้เหตุผล ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก สิ่งใดควร

หรือไม่ควรทำ รวมทั้งต้องรู้หน้าที่ ของตนเองว่านักเรียนมีหน้าที่อย่างไร

จะต้องปฏิบัติตนเองอย่างไร ทั้งด้านการเรียน การปฏิบัติตน

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 219

ครูเป็นผู้ที่ประสิทธิประสาทวิชา อบรม สั่งสอน ซึ่งเปรียบ

เสมือนพ่อแม่คนที่สอง ดังนั้น นักเรียนสาธิตปทุมวันจะต้องรู้คุณครู

คือรู้จักบุญคุณของครู เคารพ กตัญญูกตเวที ช่วยเหลือเชื่อฟัง
และไม่เฉพาะปฏิบัติหน้าที่ศิษย์ที่ดีเท่านั้น ยังต้องรู้จักบุญคุณของ

ผู้ที่มีพระคุณคือ รู้คุณคน นั่นเอง


ในที่ใดก็ตามถ้าไม่มีความสามัคคีมีแต่ความแตกแยก

แก่งแย่งที่นั้นจะไม่เจริญ ไม่ก้าวหน้า เมื่อกระทำการใดก็ไม่สำเร็จ
เพราะขาดความสามัคคี ดังนั้น นักเรียนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรัก

สามัคคีกัน รู้จักสานน้ำใจสายสัมพันธ์ กลมเกลียว รักใคร่

ช่วยเหลือกัน เพื่อให้โรงเรียนอันเป็นที่รักของเราทุกคนก้าวไปใน

ทางที่ดีมีชื่อเสียง เป็นที่กล่าวขวัญของคนทั่วไป โดยเฉพาะจะได้รับการ
ยกย่องและชมเชยไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านกิจกรรมต่าง ๆ

เป็นต้น และเมื่อจะทำการใดจะต้องรวมพลังรักมั่นฉันน้องพี่

เพื่อให้งานนั้น ๆ สำเร็จได้เป็นอย่างดี ดังตัวอย่างมากมายที่เกิดจาก

การรวมพลังกันทำงานทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงไม่ว่าจะเป็นด้านงาน
วิชาการการแข่งขันต่าง ๆ ในเรื่องของกีฬา ก็สามารถสร้างชื่อเสียง

อย่างเยี่ยมยอด เช่น กีฬาสาธิตสามัคคีหรือเรื่องของการแสดง เช่น

งานวิพิธทัศนาฯ เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดจากความสามัคคี รวมพลัง

ของพวกเราชาวสาธิตปทุมวันทั้งสิ้น

220 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


และสิ่งสำคัญที่สุด คือ ชาวสาธิตปทุมวันทุกคนจะต้องรัก

สถาบันอันทรงเกียรติ สถาบันที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ประสบการณ์

ที่ดีให้แก่นักเรียน ทุกคนจึงต้อง ขอทูนขอเทิดสาธิตปทุมวัน ของพวก

เราให้เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงขจรไปอย่างเกรียงไกร

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ถ้านักเรียนปฏิบัติตามเนื้อเพลง

ที่บรรจงแต่งไว้อย่างครอบคลุมถึงเนื้อหาสาระของความเป็นนักเรียน

สาธิตปทุมวันที่ดี นักเรียนจะประสบผลสำเร็จในชีวิตอย่างแน่นอน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงออกในความเป็นภาพลักษณ์ของนักเรียน

สาธิต มศว ปทุมวัน กล่าวคือ เป็นผู้ที่สุภาพ เป็นมิตร กล้าคิด กล้าทำ
กล้านำเสนอได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้เมื่อนักเรียนร้องเพลงนี้ได้

ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตาม มิใช่สักแต่ว่าร้องเพลง

“สาธิตปทุมวัน” ให้จบ ๆ ไปเท่านั้น โดยไม่ได้ตั้งใจที่จะร้องพิจารณา
เนื้อหา นำเนื้อหาของเพลงมาพิจารณาแต่ละวรรคแต่ละตอนด้วย

ความตั้งใจและปฏิบัติตามให้เป็นประจำ นักเรียนสาธิตปทุมวันทุกคน

จะจัดว่าเป็น “นักเรียนดีศรีสาธิตปทุมวัน”








เอกสารอ้างอิง

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วินัยในตนเอง


อาจารย์พิพรรธพร กาทอง

222 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน











วินัยในตนเอง



อาจารย์พิพรรธพร กาทอง











ปัญหาที่หนักใจ..และสร้างความคับข้องใจให้มาก
เรื่องหนึ่งของโรงเรียน คือ ทำอย่างไรจะสามารถจัดการชั้นเรียนของ

ตนเองได้ ทำอย่างไรจะทำให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง รู้ว่าเมื่อไหร่จะต้อง
ทำอะไร รู้จักกาลเทศะ เคารพกฎกติกาข้อตกลง ร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนที่เด็กคิด เด็กและครูร่วมกันคิด หรือบุคคลอื่น ๆ
คิดเสนอขึ้นมา


นั่นคือทำอย่างไรเด็กจึงจะมีวินัยโดยเฉพาะวินัยในตนเอง
ควบคุมตนเองได้ ถ้าเด็กในห้องเรียนที่ครูรับผิดชอบอยู่ส่วนใหญ่มีวินัย
ครูทุกคนก็คงจะมีความสุขในการที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องมาพะวงกับการต้องคอยตักเตือนสลับกับ

กิจกรรมตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นการขัดจังหวะการทำกิจกรรม ขาดความ
ต่อเนื่องในกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ และจะดูสร้างความรำคาญให้เด็กใน
ชั้นเรียนรวมทั้งครูเองด้วย

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 223

ความมีวินัย ....เป็นที่พูดกันมาก ความวุ่นวายต่าง ๆ

มักจะเกิดมาจากการขาด..วินัย

ความหมายของความมีวินัย หมายถึง ความสามารถ
ของนักเรียนในการควบคุมตนเองในการกระทำและการปฏิบัติ

ตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนและข้อบังคับขององค์กร
ในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

วินัยแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ วินัยภายนอก
และวินัยในตนเอง


วินัยภายนอก หมายถึงการที่บุคคลหนึ่งประพฤติปฏิบัติ
โดยเกรงกลัวอำนาจหรือการถูกลงโทษ เป็นการปฏิบัติที่บุคคลดังกล่าว
ไม่มีความเต็มใจ ตกอยู่ในภาวะจำยอม ถูกควบคุมวินัยภายนอก
เกิดจากการใช้อำนาจบางอย่างบังคับให้บุคคลปฏิบัติตาม ซึ่งบุคคล

อาจกระทำเพียงชั่วขณะ เมื่อมีอำนาจนั้นคงอยู่ แต่หากอำนาจนี้
หมดไป วินัยก็จะหมดไปด้วยเช่นกัน คนส่วนมากเห็นว่าวินัยเกิดจาก
การดูแลควบคุม

วินัยในตนเอง หมายถึง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง

เลือกข้อประพฤติปฏิบัติสำหรับตนเองขึ้นโดยสมัครใจ ไม่มีใครบังคับ
หรือควบคุมจากอำนาจใด ๆ และข้อประพฤติปฏิบัตินี้ต้องไม่ขัดกับ
ความสงบสุขของสังคม วินัยในตนเองเกิดจากความสมัครใจ

ของบุคคลที่ผ่านการเรียนรู้ อบรมเลือกสรรไว้เป็นหลักปฏิบัติประจำ
ของตนดังนั้น ในสังคมมีความจำเป็นที่ต้องให้คนในสังคมมีวินัย
นอกจากจะต้องกฏ บังคับ บทลงโทษแล้ว ที่สำคัญที่สุดคนในสังคม
น่าจะต้องมีวินัยในตนเองมากที่สุด

224 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



การมีวินัยในตนเองนั้น เป็นสิ่งที่จะทำให้เรามีความ
ก้าวหน้าทั้งในหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัว และเรื่องของวินัยใน
ตนเองนี้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการฝึกฝน และความอดทน
เป็นอย่างมาก มีคำถามที่เคย ได้ยินมาบ่อย ๆ ว่า ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้ว่า

ถ้าเรามีวินัยต่อตนเองได้ ก็จะทำให้เราเกิดความก้าวหน้าได้ ทำอะไร
ก็สำเร็จได้ไม่ยากเกินความพยายาม แล้วทำไมถึงไม่ค่อยจะมีคน
อยากทำให้ตนเองมีวินัยสักเท่าไร คำว่าวินัยไม่ได้หมายความว่า
จะต้องปฏิบัติตนตามกฎระเบียบข้อบังคับเท่านั้น แต่จะกินความหมาย
ที่กว้างกว่านั้นมาก ซึ่งครอบคลุมไปถึงการควบคุมตนเองให้ปฏิบัติ

ตามแผนงาน ซึ่งอาจจะเป็นแผนงานของชีวิต เป็นแผนงานที่เรา
กำหนดไว้เพื่อให้ชีวิตเราไปสู่ความสำเร็จได้ หรือเป็นแผนงานในการ
ทำงานก็ได้ อุปสรรคของการมีวินัยในตนเองนั้น ก็คือ “ความสบาย”

การที่เรารักความสบาย อยู่แบบสบาย ๆ และมีความเคยชินต่อ
การทำอะไรสักอย่างหนึ่ง มันจะทำให้เรายึดติดกับความสบายนั้น
เมื่อไรที่เราจะต้องละทิ้งความสบายนั้นไป เพื่อทำอะไรใหม่ ๆ ที่ทำให้
เรารู้สึกลำบากมากขึ้นในการใช้ชีวิต เราก็จะไม่อยากทำมัน และถ้า
แรงจูงใจในเป้าหมายนั้นแรงไม่พอ ก็จะยิ่งทำให้เราไม่อยากทำมัน

มากขึ้นไปอีก ความสบายในชีวิตของเราซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความมี
วินัย มีดังต่อไปนี้

นอนตื่นสาย เช้าแล้วแต่ไม่อยากลุกเลยเพราะ
มันสบายเหลือเกิน ขอต่ออีกหน่อยนะ แล้วก็ไปทำงานสายทุกที

เพราะการนอนต่อ ทั้ง ๆ ที่สัญญากับตัวเองว่าจะเปลี่ยนแปลง
ตนเองให้ตื่นเช้าให้ได้

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 225

ดูทีวี กลับถึงบ้านต้องดูทีวี ติดรายการโปรด และ

ละครกำลังสนุก ให้อ่านหนังสือ หรือ เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ แทน ก็ไม่เอา
อ้างว่า ขอดูทีวีให้จบก่อน พอจบแล้ว ก็ง่วง พอง่วง ก็นอน สุดท้ายก็
ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ตามที่เราตั้งใจไว้เลย

เล่นอินเทอร์เน็ต เมื่อมีเวลาว่าง ก็เปิดเว็บไซต์

ดูไปเรื่อย ๆ สนุกดี งานเอาไว้ก่อน ไว้ทำทีหลังก็ได้

แชทกับเพื่อน ต้องเข้า msn หรือไม่ก็ Facebook
เพื่อ update รูป และเรื่องราวของตัวเอง และต้องเข้าไปแชทกับเพื่อน ๆ

ส่วนเรื่องความตั้งใจที่จะทำงานอื่น ๆ เอาไว้ก่อนดีกว่าเพราะยัง
มีเวลาอีกเยอะ

กินของอร่อยถูกปาก เมื่อไรที่เห็นช็อคโกแลตเป็น
ไม่ได้ ต้องกินซะหน่อย กินแล้วก็หยุดไม่ได้ เพราะอร่อยเหลือเกิน

ทั้ง ๆ ที่สัญญากับตัวเองไว้ว่าจะลดน้ำหนัก

ทำงานแบบเดิมจนชิน พอหัวหน้าบอกว่าจะเปลี่ยนแปลง
วิธีการทำงานให้ดีขึ้น โดยทุกคนจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่
ต้องเรียนรู้ระบบคอมพิวเตอร์แบบใหม่ หาวิธีสอนแบบใหม่ ๆ ก็เริ่ม

ต่อต้าน และคิดเสมอว่า ระบบเก่ามันก็ดีอยู่แล้วทำไมต้องเปลี่ยนด้วย
ก็ไม่รู้ ในเรื่องของการยอมรับการเปลี่ยนแปลง ก็ได้รับการต่อต้าน
อยู่เสมอ

มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชู มีคนเอาอกเอาใจ คอยช่วยเหลือ

ทำงานแทนให้ เช่น พ่อแม่ สามี ภรรยา เพื่อนร่วมงาน ทำให้ไม่ต้อง
รับผิดชอบ แต่ก็ได้ดีมีความก้าวหน้า จริง ๆ คงมีอีกมาก เรื่องของ
ความสบายที่เกิดขึ้นในชีวิต จนทำให้เราไม่ค่อยอยากจะมีวินัยใน

226 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ตนเองสักเท่าไร เห็นหลายคนพยายามไปหาหนังสือที่ให้กำลังใจ

ตนเอง หนังสือที่อ่านแล้วทำให้เกิดความมุ่งมั่น ก็บรรดา Self
Development ทั้งหลาย อ่านก็แล้ว ทำความเข้าใจก็แล้ว แต่ก็ยังไม่
สามารถทำได้คิดว่าจะอ่านหนังสือไปอีกสักกี่เล่ม กี่รอบ หรือแม้แต่มี

ก็ช่วยไม่ได้ ถ้าเราไม่บังคับตัวเองให้ได้ ตัวเราเองนี่แหละครับ ที่จะต้อง
เป็นนายของตัวเอง และจะต้องสร้างวินัยให้เกิดขึ้นในตัวเองให้ได้
คนอื่นทำให้ไม่ได้และยิ่งในยุคปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีต่าง ๆ เกิดขึ้น
มากมาย จะทำให้เรายิ่งไม่สามารถที่จะควบคุมตนเองได้ หรือควบคุม
ตนเองได้ยากขึ้น ดังนั้นถ้าเรามีความตั้งใจจะทำอะไรแล้ว เราต้อง

ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และจะต้องกำหนดแผนงานเพื่อไปสู่เป้าหมาย
นั้นให้ได้ และจะต้องทำ ทุกวัน เพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย ทำวันละนิด
ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำเลยปกติเราย่อมมองเห็นยอดเขาที่เราจะปีน

ถ้าเราไม่ออกเดิน ยังไงซะเราก็ไปไม่ถึงยอด แต่ถ้าเราเริ่มออกเดิน
แม้จะวันละนิด วันหนึ่งเราก็จะไปถึงยอดเขาได้โดยไม่ยาก เช่นกัน
ชีวิตของเราก็เหมือนกับการปีนเขา เรามีเป้าหมายที่เราตั้งใจจะทำ
แต่ถ้าเรายังไม่ละทิ้งความสบายเล็ก ๆ น้อย ๆ เราก็ไปไม่ถึงเป้าหมาย
แต่ถ้าเรายึดเป้าหมายไว้ให้มั่น นึกภาพถึงความสำเร็จที่จะได้มา

แล้วก็ออกเดิน ช่วงแรกอาจจะลำบากสักนิด แต่เมื่อเวลาผ่านไป
มันจะง่ายขึ้น และไม่ต้องฝืนอีกเหมือนกับการปล่อยจรวดไปสู่อวกาศ
นะครับ ตอนปล่อยนี่ต้องใช้แรงอย่างมากทีเดียว แต่พอจรวดปล่อย

ไปได้ระยะหนึ่งแล้ว มันก็จะใช้พลังงานน้อยลง และไปได้เร็วขึ้นเอง
ขอให้เราเริ่มต้นเท่านั้น เคยลองถามตนเองสักครั้งบ้างไหม ว่าคุณ
เป็นคนมีวินัยต่อตนเองมากน้อยแค่ไหน

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 227

การมีวินัยต่อตนเอง หรือ self-discipline หมายถึง

การฝึกและควบคุมตนเองให้มีความประพฤติ การปฏิบัติที่ดีและมีการ
ปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่อง สามารถปฏิบัติภารกิจได้โดยไม่หวั่น
ภาวะทางอารมณ์ ทำให้ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่อยากทำยกตัวอย่างง่าย ๆ

เช่น การลดความอ้วนหรือลดน้ำหนัก ที่เราต้องมีวินัยต่อตนเอง
ไม่กินเยอะ ไม่นิ่งอยู่กับที่แต่ต้องออกกำลังกายบ้าง แม้ขี้เกียจก็ต้องฝืน
แม้จะอยากกินก็ต้องยอมอด (บ้าง) แต่ถ้าเราไม่มีวินัยต่อตนเอง
น้ำหนักเราก็จะไม่มีวันลด รอบเอวเราก็มีแต่จะหนาพอกพูนกลายเป็น
พุงขึ้นทุกวัน


ดังนั้น การมีวินัยต่อตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อ
เปรียบเทียบกับการทำงานในแต่ละวันก็เช่นกันคุณคิดว่าคุณมี
วินัยต่อตนเองมากน้อยแค่ไหน วันนี้คุณตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกเบื่อ
ไม่อยากไปทำงาน หงุดหงิดเจ้านาย เกลียดเพื่อนร่วมงานเบื่อการ

จราจร เรียกว่าโลกนี้มันขัดข้อง วุ่นวายจริงหนอไปหมด

แต่งาน ก็คือ งาน เป็นสิ่งที่คุณจะต้องทำให้เสร็จ
เสร็จอย่างเดียวยังไม่พอ แต่ต้อง “สำเร็จ” ด้วย คือ บวกคุณภาพและ

ผลลัพธ์ที่ดีเข้าไปอีกถ้าคุณไม่มีวินัยต่อตนเองคุณก็อาจคิดว่า “เอาน่า
ไปทำงานสายดีกว่า เก ๆ มันเสียบ้าง ให้เขารู้ว่าขาดฉันแล้วเธอ
จะรู้สึก”

หรือคุณอาจไปเข้าทำงานทันเวลา แต่แทนที่จะเริ่ม

ทำงานเวลา 8.00 น. คุณก็มัวแต่คุยเล่น กินข้าวเช้าอย่างนาน กว่า
จะเริ่มงานปาเข้าไปเก้าโมง ทั้งที่จริง ๆ แล้ว เขาให้คุณทำงานจริง ๆ
เพียง 7 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น บวกเวลาพักอาหารกลางวัน 1 ชั่วโมง
นี่คือตัวอย่างของการมีวินัยในตัวเอง ที่เห็นกันง่าย ๆ

228 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ทางจิตวิทยากล่าวไว้ว่า บุคคลที่มีวินัยในตัวเองนั้น

มักจะประสบความสำเร็จในชีวิต นั่นคือ แม้วันนี้จะไม่มีอารมณ์
อยากจะทำ แต่ก็ต้องบังคับ ฝืนตัวเองบ้าง ฝึกฝนตัวเองให้ทำงาน
ได้ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่ไม่พึงใจบ้าง ไม่ใช่ตามใจตัวเอง

เลือกทางสบายดีกว่า อุปมาเหมือนกับเด็กขี้เกียจเรียนหนังสือ
ถ้าตามใจตัวเองด้วยการไม่ไปเรียน ก็คงไม่มีวิชาความรู้ไว้เลี้ยงตัว
ได้ในอนาคต

Steve Pavlina ผู้เชี่ยวชาญด้านบุคลิกภาพได้

แนะนำการฝึกฝนตนเองให้มีวินัยไว้ 5 ขั้นตอนได้แก่

การยอมรับ (acceptance) การมองเห็นภาพความ
จริงอย่างถูกต้อง ยอมรับความจริงได้ทุกรูปแบบอย่างที่มันเป็นจริง ๆ
ไม่ใช่การคิดปรุงแต่งไปเอง


การมีความมุ่งมั่น (willpower) ความสามารถของ
ตัวเราที่จะสั่งตัวเองว่า “ต้องทำ” และ “ต้องมีความรับผิดชอบในสิ่ง
ที่ทำ” มีคำกล่าวว่า ความแตกต่างระหว่างคนที่ประสบความ

สำเร็จกับคนธรรมดาทั่วไปอยู่ที่ “จิตใจที่มุ่งมั่น” ไม่ใช่อยู่ที่ “ความรู้”
บางคนมีความรู้มากมาย แต่ขาดความมุ่งมั่นในการทำงาน ก็ไม่
สามารถประสบผลสำเร็จได้

การทำงานหนัก (hard work) การทำงานหนัก คือ

ความท้าทายในชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง ว่าคุณจะก้าวข้าม “ความขี้เกียจ”
ในตัวไปได้หรือไม่ งานทุกงานล้วนสำเร็จได้ถ้าคุณลงแรงทำอย่าง
จริงจัง

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 229

การทำงานด้วยความอุตสาหะ (industry) คือความ

มุ่งมั่นในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานยากหรืองานง่ายถ้าขยันหมั่นเพียรทำ
ก็ประสบผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน

การทำงานด้วยความมุมานะ อดทน (persistence)
คือการฝึกตัวเองให้มีความอดทน ทำงานได้ทุกสภาวะไม่ว่าอารมณ์

จะเป็นอย่างไร

การมีวินัยในตัวเองขององค์กรเราจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญ
เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ผู้ที่มีวินัยมักทำงาน

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงถึงสมรรถนะของบุคลากรในองค์กร
และส่งผลต่อการให้การบริการที่ดีต่อผู้มาขอรับบริการถ้าบางคนบอกว่า
ฉันไม่เห็นจะรักหรือพอใจงานที่ฉันทำ ก็ต้องเอาคำของฝรั่งมาใช้ว่า
You chose it, so learn to live with it. นั่นคือ ในเมื่อเราเลือก

ทำงานนี้แล้ว เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันไปให้ราบรื่น และมีความ
สุขในทุกอย่างที่ต้องทำ

ทำอย่างไร ครูและนักเรียน จึงจะมีวินัยในตนเอง


ความจำเป็นที่ต้องมีระเบียบวินัย

1. ช่วยให้ครูและนักเรียน เป็นผู้มีระเบียบเรียบร้อย

2. ช่วยให้มีความสามัคคีปรองดองในสถาบันโรงเรียน

3. ช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ


4. ช่วยให้ครูและนักเรียนรู้จักควบคุม และปกครองตนเองตามหลัก
ประชาธิปไตย หรือมีวินัยสำหรับตนเอง

230 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


5. ช่วยให้ครู และผู้เรียนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้นหากเพียรพยายาม

สร้างระเบียบวินัยในชีวิตของแต่ละคนได้ ท้ายที่สุดเมื่อคนในสังคม
คนในประเทศมีลักษณะชีวิตที่มีระเบียบวินัยแล้ว นอกจากตนเองจะ
ก้าวสู่ความสำเร็จแล้ว ยังสามารถพัฒนาสังคมให้มีระเบียบเรียบร้อย

ตลอดจนประเทศชาติให้ทัดเทียมกับอารยประเทศด้วย

ลักษณะของผู้ที่มีวินัยในตนเอง

1. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์

2. มีความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์

ของสังคม

3. มีความเชื่อมั่นในตนเองและความซื่อสัตย์

4. มีความรับผิดชอบและอดทนสูง


5. มีความสามารถในการชะลอความต้องการ

6. สามารถคาดหวังผลกรรมที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

7. มีการตั้งเป้าหมายเพื่ออนาคต


8. มีลักษณะความเป็นผู้นำ

9. เคารพในสิทธิของผู้อื่นและยอมรับการกระทำของตนเอง

10. มีความตรงต่อเวลา

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 231

สาเหตุของการขาดวินัย


การที่เด็กขาดวินัยนั้น มีสาเหตุอยู่หลายประการด้วยกัน
ดังที่เกิดจากตัวเด็ก โดยมีสาเหตุ 2 ประการ คือทางกาย เช่น มีร่างกาย
ผิดปกติปัญญาอ่อน ขาดสารอาหาร เป็นต้นส่วนทางใจ เกิดจากการสูญเสีย

บุคคลอันเป็นที่รักทำให้ขาดความอบอุ่น ความน้อยใจที่ไม่ได้รับความรัก
ความเอาใจใส่ ทำให้เป็นเด็กเงียบขรึมไม่พูดจา และแยกตัวออกจาก
สังคมเกิดจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมทางบ้าน
ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวที่เป็นแบบตามใจ เข้มงวด หรือ

ปล่อยปละละเลยมากเกินไป สัมพันธภาพภายในบ้านที่คนในครอบครัว
ชอบทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนได้แก่
เพื่อนในโรงเรียนชอบข่มเหงรังแก ครูขาดความยุติธรรม ขาดความ
เอาใจใส่ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ การสอนและการปกครองของ

ครู กฎระเบียบของโรงเรียนที่เด็กไม่มีส่วนร่วมในการบัญญัติขึ้น
หรือกฎ ระเบียบที่ขัดกับพัฒนาการทางธรรมชาติของเด็กสิ่งแวดล้อม
ทางสังคม ได้แก่ แหล่งการพนัน แหล่งซื้อขายสิ่งเสพติดและของ
มึนเมาแหล่งมั่วสุมทางเพศ คนในชุมชนชอบใช้ความรุนแรงในการ

แก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมทางสื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร
นิตยสาร โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และอินเทอร์เน็ตที่เสนอสิ่งไม่เหมาะสม
ทำให้เด็กมีนิสัยก้าวร้าวและประพฤติตนไม่เหมาะสมกับวัย

แนวทางปฎิบัติเพื่อสร้างวินัยในตนเอง


จัดทำข้อตกลงในการปฎิบัติตนภายในห้องเรียน
เพื่อนักเรียนจะได้ทราบความคาดหวังของพฤติกรรมนักเรียน โดย
ข้อตกลงต้องเป็นการพิจารณาร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน เมื่อมีการ

232 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ทำผิดข้อตกลง ก็มีการทบทวนด้วยวิธีการใหม่ เพื่อจะได้ไม่เป็นการบ่น

พูดซ้ำซากพร่ำเพรื่อ ชวนให้เกิดความเบื่อหน่าย และมีอารมณ์อยาก
ต่อต้าน เมื่อมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเกิดขึ้น ศึกษาสาเหตุให้ชัดเจน
แล้วช่วยกันคิดหาแนวทางในการแก้ไขปัญหามีวิถีทางในการแก้ปัญหา

หลากหลายโดยมุ่งไปที่จุดหมายเดียวกันคือ แก้ปัญหานั้นได้เพื่อเป็น
แนวทางในการให้เด็กคิดแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองต่อไป ครูเป็นแบบอย่าง
ให้กับเด็กได้ มีข้อตกลงในการปฎิบัติอย่างไร ครูควรจะเป็นตัวอย่าง
ในเรื่องเหล่านั้นสำหรับเด็กได้ ไม่ใช่ครูแนะนำให้เด็กปฏิบัติอย่างหนึ่ง
แต่ครูเองปฎิบัติอีกอย่าง ตรงข้ามกัน ครูสอนให้เด็กรู้จักพูดจาดี ๆ

กับเพื่อนรู้จักควบคุมอารมณ์ไม่โกรธเพื่อนแล้วส่งเสียง ดัง ทุบตี
ทะเลาะกัน แต่เมื่อเด็กทำผิด ครูเองจับเด็กเขย่า ตะคอก ขู่ด็กเสียงดัง
หรือครูมีปัญหา กันเอง ทะเลาะกัน เสียงดัง ก็คงจะขัดกับที่ครูได้

แนะนำเด็กเอาไว้ เด็กก็คงจะงง เกิดความสับสน ในใจ ว่าจะทำ
อย่างไรทำตามที่ครูแนะนำไว้ หรือทำตามตัวอย่างจริงที่เห็นครู
ปฎิบัติอยู่คือ ครูทำ ในสิ่งที่ไม่อยากให้นักเรียนทำ มีความสม่ำเสมอ
ในการปฎิบัติต่อเด็กทุกคนโดยเท่าเทียมกัน มีความยุติธรรมในการ
วินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ด้วยเหตุผลหลักการ ตามข้อตกลงเป็นจุดสำคัญ

ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานของใคร เอาจริง ทำจริง ก็จะได้ผลจริง
ถ้าครูทำได้ เด็กจะศรัทธาในตัวครู วินัยก็จะเกิดตามมา บางครั้งมี
กรณีทำผิดเกิดขึ้น นักเรียนกลุ่มหนึ่งถูกลงโทษ อีกกลุ่มหนึ่งมีความผิด

กรณีเดียวกัน ครูเพิกเฉย เพราะว่าในกลุ่มนั้นล้วนแต่เป็นลูกผู้มีอิทธิพล
ผู้มีพระคุณของตนเองหรือโรงเรียน ถ้าทำเช่นนี้เมื่อไหร่เด็กทั้ง 2 กลุ่ม
ก็คงจะไม่เคารพศรัทธาในตัวครู กลุ่มแรกก็เกิดความคิดมุ่งร้าย มองเห็น
ความ ไม่ยุติธรรมไม่สม่ำเสมอของครู เพราะครูเลือกปฎิบัติ กลุ่มหลัง
จะได้ใจทำอีก และจะไม่เกิดการเรียนรู้ที่จะทำตนให้มีวินัย เพราะว่า

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 233

ไม่เข้าใจแนวทางปฎิบัติที่ถูกต้อง เนื่องจากไม่มีใครกล้าแตะต้อง

กล้าทำอะไรคงจะต้องอยู่ในโลกมืดต่อไป และปัญหาพฤติกรรม
จะยิ่งมีมากขึ้นในวัยรุ่นเนื่องจากไม่ได้มีการปูพื้นฐานการปฏิบัติใน
แนวทางที่เหมาะสมในวัยเด็ก

เมื่อมีกรณีตักเตือนเด็ก ไม่ว่าในเรื่องใด ข้อเตือนใจ

สำหรับครู คือ ไม่ควรนำเด็กมาเปรียบเทียบกันว่า ทำไมคนนี้จึง
ไม่ทำตัวเหมือนคนนั้น เพราะก็จะเป็นการสร้างความรู้สึกมุ่งร้าย
ให้เกิดขึ้นแก่เด็กทั้งต่อตัวเพื่อนที่ได้รับการเปรียบเทียบหรือเพื่อนที่

ได้รับการชมเชยเสมอ ๆ รวมทั้งตัวครูเองด้วย การเปรียบเทียบควรจะ
เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร่วมกัน บ่อยครั้งที่ครูจะเผลอพูดว่า
“เมื่อไหร่เธอจะทำได้เรียบร้อยน่ารักเสียที ดูซิเขาทำตัวได้ดีมาก
สม่ำเสมอครูชื่นชมทุกคน ถ้าเธอทำตัวได้ครึ่งหนึ่งของเขาห้องก็คงจะ
สงบกว่านี้ เธอนี่ไม่รู้อะไร น่าเบื่อ” ถ้ามีการพูด แบบนี้ซ้ำ ๆ ไม่นาน กรณี

ปัญหาระหว่างเด็กที่ถูกเปรียบเทียบกัน คงเกิดขึ้น ปรับเปลี่ยนเทคนิค
ในการจัดการเรื่องวินัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละวัย
เพราะเด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน เทคนิคเดิมที่เคยใช้มาแล้ว

อาจจะใช้ไม่ได้ในอีกวัยหนึ่งให้เด็กรู้แผนงานในแต่ละวัน แต่ละ
สัปดาห์เพื่อเด็กจะได้มีความรู้สึกมั่นคงเพราะได้รู้ ว่าเขาต้องทำกิจกรรม
อะไรบ้างในวันนั้น สัปดาห์นั้นช่วยให้ได้เตรียมตัวเตรียมใจ รู้อะไร
คือความคาดหวังที่มีต่อตัวเขาในการเรียน ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
จะได้ควบคุมตนเองในการเข้าไป ร่วมมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนงาน

ที่กำหนดหรือตามข้อตกลงที่กำหนด การมีป้ายประกาศแจ้งให้ทราบ
ประกอบกับการมีสัญญาณ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยในการ
ดำเนินการตามแผนงาน จะช่วยได้ดีทีเดียว เมื่อมีพฤติกรรมต่าง ๆ

เกิดขึ้นที่เรียกร้องความสนใจจากครูตลอดเวลา ครูอาจจะต้องใช้

234 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


วิธีการเมินเฉยไม่สนใจ ถ้าครูทราบว่าพฤติกรรมนั้นไม่ได้มีอันตราย

ใด ๆ เด็กทำเพื่ออยากให้ครู อยากให้เพื่อนสนใจ การไม่ให้ความสนใจ
บางครั้งก็ช่วยหยุดพฤติกรรมนั้น ๆ ได้ดีทีเดียว ในทำนองเดียวกัน
ถ้ามีพฤติกรรมอะไรที่ครูคิดว่าจะเป็นอันตรายต่อเด็ก ต่อบุคคลอื่น

ก็ต้องเข้าไปจัดการทันที หยุดพฤติกรรมนั้น เมื่อเด็กสงบแล้วจึงพูดด้วย
สอบถามสาเหตุ และช่วยกันคิดหาแนวทางในการแก้ปัญหานั้น ๆ

บางครั้งการกระทำต่าง ๆ ของเด็ก สร้างความเดือดร้อน
ให้กับทุกคน ครูต้องสื่อสารกับเด็กให้ตรงประเด็นเปิดเผยความรู้สึก

ของครู ของเพื่อน เพื่อยกระดับจิตสำนึกของเด็ก สิ่งแวดล้อมที่ดี
จะช่วยในการจัดการกับวินัยได้ สภาพแวดล้อมภายในห้องที่อบอุ่น
เต็มไปด้วยความรัก ความเข้าใจ ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะช่วยทำให้
เด็กมีจิตที่สงบ ทำงานต่าง ๆ ผ่านไปด้วยดี เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ต้องการ
แก้ไขการใช้กลุ่มย่อยเพื่อนในห้องเป็นสื่อช่วยในการรักษาวินัยใน

ห้องเรียนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เด็กจะดูแลตัวเองให้ทุกคนเข้ามาอยู่
ในกรอบที่ตกลงกันไว้ได้ บางเรื่องเด็กช่วยกันเอง ดูแลกันเองผลที่
ได้ออกมาจะดีกว่าผู้ใหญ่เข้าไปคอยกำกับมีมุมสงบ ให้เด็กมีเวลา

ไปนั่งสงบจิตใจ เมื่อเกิดอารมณ์เสีย ไม่พอใจ หรือเป็นต้นเหตุใน
การทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในห้อง โดยมุมนี้ ไม่ใช่มุมทำโทษ
แต่เป็นมุมที่เด็กจะเข้าไป นั่งทำใจให้สงบ โดยไม่ให้ใครเข้าไปรบกวน
สมาธิ อาจจะทำเป็นบ้านหลังเล็ก ๆ ในห้องเรียน เด็กโมโหไม่พอใจ
จะเข้าไปนั่ง เป็นที่รู้กันในห้องว่าเพื่อนคนอื่นจะไม่เข้าไปรบกวน

พอเด็กรู้สึกว่าสบายใจเด็กก็จะเดินออกมาเอง และเข้าร่วมกิจกรรม
ของห้องเรียนต่อไป

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 235

นอกจากนี้ ในกรณีที่เด็กควบคุมตนเองไม่ได้ และไม่

อยู่ในสภาพที่จะอธิบายเหตุผลได้ การให้เวลานอกก็จะช่วยเด็กได้
(Miller,1986) ได้กล่าวถึงเวลานอกว่า การใช้เวลานอกนั้น จะต้องให้
ประสบการณ์ทางบวกแก่เด็กคือเวลานอกไม่ใช่การลงโทษ เด็กไม่ควร

จะได้รับการขู่ให้เกิดความกลัวในเรื่องนี้ เวลานอกไม่ได้ทำให้ขายหน้า
และการให้เวลานอก ก็ให้ได้นานเท่าที่จะทำ ให้เด็กสงบและช่วงเวลานี้
ผู้ใหญ่และเด็กควรจะได้คุยกันเกี่ยวกับความรู้สึกเมื่อเด็กสงบ การให้เวลา
นอกเพื่อทำจิตให้สงบ โรงเรียนบางแห่งจะให้เด็กนั่งเก้าอี้ไปนั่งที่
มุมใดมุมหนึ่งไม่ต้องทำงาน แต่จะนั่งหันหน้ามาดูเพื่อน ๆ ที่กำลัง

ทำงานอยู่ในห้อง นั่งนานเท่าที่ต้องการ เมื่อเห็นว่าตนเองจะเข้าร่วม
กิจกรรมได้อย่างสงบแล้ว ก็กลับเข้ามาร่วมกิจกรรมต่อได้ การมองการ
ทำงานของเพื่อนจะช่วยให้เข้ามาร่วมกิจกรรมได้ต่อเนื่องไปเลย การ

ใช้เวลานอกแก่เด็กแบบนี้ ไม่ได้ถือว่าเป็นการลงโทษ แต่เป็นการพักสัก
ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีเวลาเป็นตัวของตัวเองเตรียมตัว เตรียมใจให้เพื่อน
ให้สงบพอที่จะทำงานต่อไปได้

สรุป..โรงเรียนต้องการให้บุคลากรภายในโรงเรียน

ทุกคนมีวินัย ครูทุกคนต้องการให้เด็กมีวินัยให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง
ได้เอง โดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่คอยควบคุมดูแลอยู่ตลอดเวลา เทคนิค
ในการสร้างวินัยที่มีประสิทธิผลมากที่สุด คือ ใช้แล้วสามารถไปเสริม
ความยอมรับนับถือตนเองของเด็กด้วย (Miller,1986 ) การสร้างวินัย
ส่วนหนึ่ง คือ การดำเนินการทันทีที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น

ให้เด็กรู้ถึงผลที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเขา การฝึกวินัย
ให้ได้ผลต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง มีความสม่ำเสมอในวิธีการ

236 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ปฎิบัติ และปฎิบัติได้ยุติธรรมกับทุกคน ความก้าวหน้าของการฝึก

วินัยให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิผลจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ต้องการเวลา
ที่เด็กจะใช้ในการฝึกควบคุมตนเอง สูตรสำเร็จสำหรับการสร้างวินัย
แบบตายตัวไม่มี มีแต่การรู้จักเลือกเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ให้เหมาะกับ

พฤติกรรมของเด็กแต่ละคน เวลา สถานที่ และบุคคลิกภาพของครูด้วย
พฤติกรรมเดียวกัน เทคนิควิธีการที่ใช้ ครูคนหนึ่งอาจจะใช้ได้สำเร็จ
ครูอีกคนนำวิธีการเดียวกันไปใช้กับเด็กของตนอาจไม่สำเร็จก็ได้
เพราะความถนัดเฉพาะตน ความสามารถในการแก้ปัญหาการ
ตัดสินใจของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กมีความแตกต่างกัน

ครูมีความแตกต่างกัน ผู้ปกครองมีความแตกต่างกัน สังคมของแต่ละ
ชนชาติมีความแตกต่างกัน สูตรสำเร็จในการสร้างวินัยได้อย่างมี
ประสิทธิผลเป็นสากลจึงไม่มี ครูที่ตั้งใจจะทำงานอุทิศตนเพื่อคุณภาพ

ของเด็กโดยแท้เท่านั้น ที่จะตั้งใจจริงจังศึกษาหาเทคนิควิธีการที่ดีไป
ใช้ให้เหมาะกับบุคลิกของตนและเหมาะกับเด็ก และใช้ได้อย่างถูก
วิธีโดยเด็กมีสุข ครูมีสุข สังคมมีสุข นำไปสู่ความสำเร็จในการสร้าง
เด็กให้มีวินัย เพื่อจะได้เติบโตไปเป็นคนมีวินัยในสังคมต่อไป

มุมมองครูภาษาไทย


อาจารย์บุณฑริกา วิศวสมภพ

238 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


มุมมองครูภาษาไทย



อาจารย์บุณฑริกา วิศวสมภพ























กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชีวิตคนเราในแต่ละวันมีเรื่องตั้งมากมายที่ผ่านเข้ามา
และผ่านไปไม่เว้นแต่ละวัน ถึงกระนั้นทุกสิ่งอย่างก็ย่อมมีความหมาย

อีกทั้งสำคัญกับการดำเนินชีวิตของแต่ละคนวันแล้ววันเล่า

มีมุมมองของครูภาษาไทยมาเล่าสู่กันฟังลองชั่งใจ
ดูว่าคุณครู ครู และครูอ่านดูแล้วคิดเห็นเป็นอย่างไร จึงค่อยถาม
ใจตัวเองให้ได้คำตอบ เมื่อไตร่ตรองรอบคอบแล้ว จะได้สานต่อยัง

ศิษย์ที่รักกันต่อไป ดั่งนี้ ระหว่างคำว่า ...

หายใจ กับ ใจหาย

มอบให้ กับ ให้มอบ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 239

ทำได้ กับ ได้ทำ


เป็นกรรม กับ ทำกรรม

ด้วยความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ที่นำอ้างถึงทุกคำที่กล่าวไว้ได้ให้ความหมายไว้ว่า


หายใจ ก. กริยาที่ทำให้อากาศเข้าสู่และออกจากปอด ยังมี
ชีวิตอยู่

ใจหาย ว. อาการที่ตกใจ เสียวใจขึ้นทันที


มอบให้ ก. สละให้ ยกให้ ให้ในสิ่งดีงาม

ให้มอบ ก. กะให้ กำหนดให้ ยอมทำตามหน้าที่

ทำได้ ก. ทำให้เกิดขึ้น เช่น “เขาทำได้ดี” อย่างนี้ความหมาย
เชิงบวก “เขาทำได้ลงคอ” อย่างนี้ความหมายเชิงลบ


ได้ทำ ก. ทำตามหน้าที่

เป็นกรรม ก. การกระทำที่ส่งผลร้ายยังปัจจุบัน

ทำกรรม ก. ทำสิ่งที่เป็นทุกข์ เป็นโทษ


แต่นัยของครูอย่างฉันนั้น การที่เราหายใจในแต่ละวัน
อย่างมีคุณค่า สามารถเอื้อประโยชน์แก่ศิษย์ที่ฉันรักให้อยากมา
โรงเรียน อยู่ในห้องเรียนอย่างมีความสุข ดีกว่าศิษย์รักของฉันเบื่อ
การเรียน สร้างเหตุให้ตนเกิดปัญหา จนทำให้ฉันและเพื่อน แม้คน

รอบข้างนั้นต้องใจหายได้ตลอดไม่เว้นวัน อีกทั้งฉันมีเวลาว่างพอที่

240 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


จะมอบให้ในทุกสิ่งที่เอื้อประโยชน์แก่ศิษย์ให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วย

ความสุข สนุก ไม่หน่ายในการเรียน ในทางตรงกันข้าม เสมือนหนึ่ง
การถูกบังคับจิตใจให้มอบความพึงพอใจ ให้คิดจะตั้งใจเรียนใน
ชั่วโมงของฉัน ถ้าเป็นเช่นนั้น คงไม่งดงามยิ่งนัก และอีกนั่นแหละ

เมื่อศิษย์เกิดความรัก ไว้วางใจ มีศรัทธา ปัญญาย่อมเกิด กำลังใจ
เป็นพลังใจให้ศิษย์ทำได้อย่าภาคภูมิใจ มิใช่ทำไปเพราะคิดเพียงว่า
ได้ทำตามหน้าที่ซึ่งไร้คุณภาพ หาให้เกิดประโยชน์อันใดไม่

ที่สุดแล้ว เราก็มักได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็นกันอยู่บ่อยครั้งว่า

เพราะมันเป็นกรรมที่ติดตัวมาแต่ชาติปางไหนศิษย์ของเราหลาย
ต่อหลายคน จึงประพฤติปฏิบัติตนผิดต่อกฎระเบียบของโรงเรียน
ซึ่งบังควรกระทำด้วยกันตามข้อกำหนดของสถาบันที่ทุกคนควรทั้ง
รักและภาคภูมิใจได้เช่นนี้ หรือทว่าทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นจากการ
กระทำที่อาจกล่าวได้ว่า “เราได้ทำกรรมใด” ให้เกิดขึ้นแก่ศิษย์แล้ว

หรือไม่ น่าจะลองชั่งใจดู

คนเป็นครูมิใช่เพียงแต่ดูเพื่อให้เกิด แต่ครูเป็นผู้สรรสร้าง
กับสรรพสิ่งนานา เพื่อเป็นเกาะกำบัง โดยหล่อหลอมให้ศิษย์รักของ

เราพริ้งเพริศรอบด้าน ด้วยฝีมือของครูอย่างเรานั่นเอง

“ยังไม่สาย”

คิดดี ทำดี มีความรู้
คนเป็นครู มีคุณธรรม เพียรนำสอน

ศิษย์ย่อมรัก ย่อมเชิดชู ครูอาทร
อบรมสอน ศิษย์ได้ดี ชีวีสราญ

จดหมายจากครูแนะแนว


อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน

242 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


จดหมายจากครูแนะแนว



อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน




























นี่เป็น..จดหมายฉบับแรกที่ได้เขียนส่งกลับมาบ้าน
หลังนี้ ผมหวังว่าพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ ทุกท่านจะสบายดี ขอให้สบายนะครับ

แต่ชีวิตจริงของการเป็นครูคงไม่มีคำว่าสบายเลย เราเลือกผิดหรือ
เปล่านะ ผมถามตัวเอง นี่ก็นานมากแล้วหลังจากก้าวออกมาจาก

รั้วโรงเรียนอันเป็นที่รัก

ผมเคยได้ยินหลายคนเหมือนกัน ที่บอกว่าการเป็น

อาจารย์มหาวิทยาลัยคงจะสบาย ผมเกือบเชื่อล่ะ จนได้มาลองเป็น
ดูด้วยตัวเอง การสอนเด็กระดับอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่สร้างความหนักใจ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 243

ให้กับครูที่ศึกษามาน้อยอย่างผมมาก ผมคิดว่าเด็กมหาลัยคงมี

ความต้องการจะรู้เนื้อหาเชิงลึกซึ้งมากกว่าเด็กมัธยม ผมคิดว่า

ประสบการณ์ที่ผมพอมีอยู่บ้างมันจะช่วยให้ผมทำตัวง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ใช่
หลังจากที่ออกมาจากสาธิต ผมเอาแค่ทักษะการจับไมค์โครโฟนมาใช้
ได้เท่านั้น นอกนั้นแทบจะใช่ไม่ได้กับที่นี่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เด็กและการเรียนรู้ที่นี่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ในจิตนาการของผม

การเรียนมหาลัยควรจะเก่งมากจนสร้างความกดดันให้ผม จะซักถามผม
จะโต้เถียงผม จะจี้ผมว่าผมพูดผิด แต่ไม่ใช่เลย ทุกอย่างกลับกัน


แว่บแรก ที่ผมเดินเข้าไปสอนพวกเขา พวกเขาเหมือน
หลุดออกมาจากป่าลึก ที่ไม่มีตัวหนังสือใช้ พูดจาติด ๆ ขัด ๆ เหมือนกำลัง
ปรับตัวกับภาษาทางการ ขี้อาย หลบหน้าหลบตา เอาแล้วล่ะสิ ผมคิด

นี่แหละ การที่พวกเขาเป็นแบบนี้ มันยากกว่าที่ผมคิดและกลัวไว้ซะอีก

ถ้าเด็กที่เก่ง ๆ ผมก็อาจจะแค่ประหม่า หรือแค่กังวลนิดหน่อย ผมมัก
ไม่ค่อยกลัวเด็กเรียนเก่ง ตรงกันข้าม ผมมักกลัวเด็กที่พื้นฐาน
ไม่แน่นมาเลย เพราะไม่ว่าเราจะพูดอะไรไป เขาจะทำหน้าเหมือน

เด็กแรกเกิดใส่ เพื่อเป็นการแสดงท่าทีตอบกลับมาเสมอ ใช่ มันทำให้

ผมไปต่อไม่ถูก

สิ่งที่ผมเจอคือ การอ่านหนังสือไม่ออก อ่านติด ๆ ขัด ๆ

แบ่งวรรคตอนไม่ถูก เขียนหนังสือไม่ถูก สะกดแบบพ่อขุนรามแทบ
อยากจะฟื้นคืนชีพกลับมาอธิบายตัวหนังสือด้วยตัวเองอีกครั้ง ไม่ต้อง

พูดถึงการกล้าแสดงออก หรือการแสดงความคิดเห็นด้วยการพูดต่อ

244 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


หน้าชุมชน ซึ่งครั้งหนึ่งผมลองให้นักศึกษาได้ลองออกมาพูดแสดง

ความคิดเห็น พระเจ้า!! เวลาเหมือนถูกหยุดไว้ มันผ่านไปช้ามากจน

ผมคิดว่าพวกเขาช๊อคตายไปแล้วหรือเปล่า กว่าจะเป่าคำพูดออกมา
ได้ทีล่ะคำ ผมลุ้นจนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอกตามไปติด ๆ


สิ่งที่ผมคิดว่าจะเอามาสอนนี่ ล้มกระดานไปทั้งหมด
ต้องมาตั้งต้นใหม่หมดเลย งานยากเลยทีนี้ อ้อ ลืมบอกทุกคนไปว่า
ผมได้รับบัญชาให้สอนเด็กที่ทุกคนคิดว่าสอนได้ยากที่สุด คือ เด็กพละ

และศิลปะ ปี 2 และได้สอนนักศึกษาคณะที่หน้าโหดมากคือ

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี 1 หากคิดถึงหน้าไม่ออกให้คิดถึงว่า
ผมกำลังยืนสอนเสก โลโซ 100 คน ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าผมจะรอดชีวิต
ออกไปจากคาบแรกได้หรือเปล่า


ผมพยายามใช้ประสบการณ์จากสาธิตมาขู่เขาแต่ก็

นั่นแหละพวกเขาใช้ความนิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว คือ ไม่มีปฏิกิริยา
อะไรทั้งนั้น ผมคิดว่าพวกเขาตายด้วยซ้ำ ภาวะหนึ่งที่ผมคิดว่าคือ

ผมรู้สึกว่าตัวเองโง่มาก แปลกนะ สอนไปสอนมาแล้วรู้สึกว่า
อาจารย์โง่เองไปเลย


ผมรู้สึกว่าพวกเขามาเพื่อให้มันจบ ๆ ไป (ซึ่งก็ดีที่เขายัง
มาเรียน ไม่โดดเรียนไปสยาม อาจด้วยเพราะคงไกลไป) ขาดความ

กระตือรือร้น ขาดเป้าหมายในชีวิต ขาดแรงจูงใจที่ดีในการเรียน
นั่นเองที่ทำให้ผมไปหาสาเหตุที่พวกเขาเป็นแบบนั้น

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 245

การศึกษาที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะโรงเรียนในตำบล

อำเภอ หรือโรงเรียนขยายโอกาสต่าง ๆ ครูแต่ละคนไม่ได้เป็นครูเลย

ไม่ได้ทำหน้าที่ครูตามที่ได้จบมาเลย ล้วนแต่ถูกคำสั่งให้ไปทำอย่างอื่น
ทำทุกอย่างยกเว้นสอน ประชุมเอย ดูงานเอย ขายของในสหกรณ์เอย
ทำงานพัสดุเอย ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ทำลายอนาคตและโอกาส

ในการเรียนรู้ของเด็กทั้งนั้น ซึ่งมันจะต้องใช้เป็นพื้นฐานในการเรียน

ระดับที่สูงขึ้น ครูไม่มีเวลาเป็นครูเลยจริง ๆ

“นักเรียน เปิดหน้าสอง อ่านให้จบ เดี๋ยวครูมา” ขณะที่

ครูเองยังไม่รู้ตัวเลยว่าให้เด็กอ่านหน้าสารบัญ

เทอมสอง ผมได้สอนเด็กโตขึ้นมาหน่อย ปี 3 แต่สิ่งที่

ยังเป็นปัญหาคือการอ่าน และที่มากที่สุดคือการเขียน เขียนคำง่าย ๆ
ยังผิดเลย


ผมยังคิดว่าเด็กคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์หลายคน
เริ่มต้นด้วยอุดมการณ์ที่ดีนะ เด็กจบใหม่หลายคนมีไฟมาก แต่พอ

เข้าไปในโรงเรียนได้สักพัก ก็เจอกับวิถีชีวิตที่อยู่กับเอกสารการ
ประเมิน ต้องทุ่มเทใช้พลังงานในชีวิตนั่งหาหลักฐานและนั่งทำ

หลักฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อให้โรงเรียนและครูอย่างเราอยู่รอด ส่วนเด็ก....
..ใช่ อนาคตของชาติ แต่นั่นเป็นเรื่องในอนาคตไม่ใช่เหรอ เอาไว้ก่อนสิ

ปัจจุบันครูยังไม่รอดเลย

246 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


สภาพทุกคนในโรงเรียนจึงเหมือนขับรถขึ้นเขาไปดูงาน

แล้วพลัดตกเหว น่าสงสารจนไม่รู้จะสงสารใครเป็นคนแรกดี

แต่นั่นก็ยังเป็นแรงบันดาลใจชั้นดีที่จะให้ผมได้ลองทำ

ให้ทุกอย่างมันดีขึ้น เหมือนที่ผมบอกพี่ ๆ บางคนว่า ถ้าผมยังอยู่ที่สาธิต

ต่อให้ผมเก่งจริง ผมก็สอนเด็กให้เก่งได้แค่สองพันคนต่อปี แต่ถ้า
ผมมาอยู่ในจุดที่น่าจะดีที่สุด คือการมาเป็นอาจารย์ของคนที่จะไป
เป็นครูในอนาคตจะอาจจะดี เพราะถ้าผมสอนและให้แรงบันดาลใจ

กับพวกเขาให้อยากเป็นครูที่ดีได้ พวกเขาเองก็จะออกไปสอนเด็ก ๆ

ที่อื่นให้ดีได้อีกหลายหมื่นคน เพราะนั่นเริ่มจากครูดีแค่ไม่กี่ร้อยคน

ผมบอกนักศึกษาเสมอว่า ผมลาออกมาจากโรงเรียน

ที่ดีที่สุด ที่ผมรักที่สุด ผมลาจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ผมรัก
หลายคน และออกมารับเงินเดือนที่น้อยกว่าเดิม ผมมาเพื่อมา

บอกคุณเพียงแค่ว่า

“เชื่อผม คุณทุกคนที่นี่ สามารถเป็นครูที่ดีได้” เท่านั้นเอง


โลกใบนี้เปลี่ยนได้เพราะอาชีพครูเท่านั้น เรากู้โลกได้ด้วยการ
เป็นครู


ป.ล. รักและคิดถึง เคารพอย่างสุดซึ้ง และที่ปทุมวัน
สำหรับผมดีที่สุดในชีวิตแล้วครับ ขอบคุณที่สร้างให้ผมมาช่วยคนอื่น

ได้ครับ

เล่าให้รู้ เมื่อฉันอยู่


Vancouver


อาจารย์ฐานภา รอดเกิด

248 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน








เล่าให้รู้ เมื่อฉันอยู่


Vancouver


อาจารย์ฐานภา รอดเกิด










หากทุกท่าน..ได้เห็น
ชื่อเรื่องแล้วก็อย่าเพิ่งตกใจ (ซึ่งดิฉัน

เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านเมื่อเห็นชื่อเรื่องแล้ว

ก็คงจะรีบเปิดมาที่หน้านี้ เพื่อจะเข้ามา
อ่านดูว่า..โอ้..อะไรกันนี่ มีอะไรแบบนั้น

ด้วยเหรอ) และท่านก็อย่าเพิ่งจินตนา
การจนเลยเถิดไปว่า ท่านกำลังเห็นสุนัขตัวหนึ่ง ใส่เสื้อเชิ้ต

แขนยาวสีขาวผูกไทค์ใส่แว่น ถือไม้เรียว หรือไม่ก็ชอล์ก
ทำหน้าเคร่งขรึมยืนอยู่ที่กระดานหน้าชั้นเรียน เพราะสิ่งที่ท่านกำลัง

จินตนาการมานั้นผิดทั้งหมดเพราะ “หมา” หรือ “สุนัข” ที่ว่านี้ ก็คือ
“หมา” หรือ “สุนัข” ที่เดินสี่ขาทั่วไป ซึ่งดิฉันเองก็ตกใจในครั้งแรกที่ได้เห็น

รูปของหมาตัวหนึ่งบนบอร์ดรายชื่อเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนนี้


Click to View FlipBook Version