The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:13:06

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 3

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 49

ถ้าพูดโดยสรุปก็จะได้ความว่าคนที่จะทำงานได้ผลงานดีนั้น

มักจะเป็นบุคคลที่มีความสามารถ มีความพยายาม ถ้าหากมี
ความผิดพลาดเกิดขึ้นก็มักจะคิดว่าตนพยายามน้อยไปใช้ยุทธวิธี

ไม่เหมาะสมหรือเกิดความสับสนเกี่ยวกับเป้าหมายของงานยุทธวิธี
การกระตุ้นเด็กต่อไปนี้จะช่วยให้เด็กรักษาระดับความคาดหวัง
ในความสำเร็จของงานและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างผลสำเร็จ

ของงานกับความสามารถในการทำงาน การตั้งเป้าหมายที่เหมาะสม
และความสามารถที่จะควบคุมการทำงานนั้นโดยตนเอง โดยไม่พึ่งพิง

บุคคลหรือเหตุการณ์ภายนอก ดังนี้

2.1 สอนเพื่อความสำเร็จ (Program for success)
ครูควรจะเริ่มต้นบทเรียนในระดับที่เด็กจะเรียนได้โดยไม่ยากเย็น

แล้วสอนทีละขั้นไม่มากเกินไป โดยการเตรียมเด็กให้พร้อมก่อน
ที่ก้าวไปยังขั้นต่อไป ให้เด็กได้ทราบโครงใหญ่ของบทเรียนด้วย
แล้วสอนตามลำดับขั้นหรือหัวข้อ ความสำเร็จในการเรียนของเด็กจะ

ขึ้นกับความยากง่ายของบทเรียน การเตรียมเด็กเพื่อรับบทเรียนต่อไป
การช่วยเหลือเด็กในการเรียนโดยการแนะแนว และการให้ข้อมูล

ป้อนกลับเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

2.2 สอนทักษะในการกำหนดเป้าหมายการประเมินผล
การทำงานและการเสริมแรงตนเอง (Teach goal setting performance,

appraisal and self-reinforcement skills) ครูช่วยให้เด็กสนใจเป้าหมาย
(1) ที่ใกล้ตัวมากกว่าห่างออกไป เช่น เป้าหมายที่ทำให้เสร็จได้ในวันนี้
หรือพรุ่งนี้ ไม่ใช่เป้าหมายอีกหลายปีข้างหน้า (2) เป้าหมายที่ชัดเจน

เช่น ทำแบบฝึกหัดที่ 5 หน้าที่ 10 ในหนังสือเลขคณิตให้ถูกไม่ต่ำกว่า

50 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


6 ข้อใน 10 ข้อ แทนที่จะเป็นว่าทำอย่างระมัดระวังและทำให้ดีที่สุด

(3) เป้าหมายที่ท้าทายให้ทำไม่ง่ายเกินไปหรือยากเกินไป ครูตรวจงาน
แล้วให้เด็กทราบผล ครูให้เกณฑ์ในการประเมินผลงานของเด็ก

เช่น ให้เปรียบเทียบกับมาตรฐานของชั้นหรือเปรียบเทียบกับผลงาน
ของเด็กเองในบทก่อน แต่ไม่ควรเปรียบเทียบกับของเพื่อนร่วมชั้น
เพื่อเด็กจะได้มองเห็นว่าตนทำได้สำเร็จดีกว่าเดิม เป็นการเสริมแรง

ตนเองโดยตนเองด้วย

2.3 ช่วยให้เด็กมองเห็นความเกี่ยวพันระหว่าง
ความพยายามและผลของงาน (Help students to recognize

linkages between effort and outcome) ครูจะใช้วิธีแสดงให้ดู
เล่าเรื่องให้ฟัง ให้นักเรียนทำเพื่อชี้ให้เห็นว่าผลของงานมีความ

สัมพันธ์กับความพยายามในการทำงาน ครูอธิบายให้เด็กเข้าใจว่า
ความพยายามคือการลงทุนที่จะได้ผลออกมาเป็นความรู้และทักษะ
ซึ่งเพิ่มทีละนิด ๆ ฝึกให้เด็กสังเกตการเพิ่มความรู้และทักษะของตนเอง

ให้พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ความพยายามนำไปสู่ความล้มเหลว
หรือความขายหน้า ในกรณีเช่นนั้นครูควรจะชี้ให้เห็นว่าเป็นเพียง

เตรียมตัวมาไม่พร้อมหรือพยายามไม่พอเท่านั้นโอกาสจะสำเร็จ
ยังคงคอยอยู่ ไม่ใช่เพราะเด็กไม่มีความสามารถ

2.4 จัดให้การสอนซ่อมเสริม (Provide

remedial socialization) เด็กที่ไม่ใคร่ประสบผลสำเร็จหรือเกิดความ
ท้อใจในการเรียน ครูควรจัดเด็กเก่งที่พอจะไปกันได้ให้เพื่อคอยช่วย
เสริมตามที่ครูสอนไปแล้ว ครูอาจจะจัดสอนพิเศษเป็นบางเวลาและ

ให้สอบข้อสอบที่ต่างไปจากคนอื่น ๆ ได้ ครูแนะวิธีการทำงานที่

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 51

มุ่งสนใจเฉพาะงานในขณะนี้โดยไม่พะวงหรือกลัวสอบตกตอน

ปลายภาคหรือปลายปี ครูอาจจะให้นักเรียนวิเคราะห์การทำงาน
ของตนว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนแล้วหาทางแก้ไข พร้อมกับแนะนำว่า

ที่ล้มเหลวมาแล้วนั้นเป็นเพราะพยายามน้อยไป ใช้วิธีการไม่เหมาะ
หรือมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ควรจะพูดว่าเป็นเพราะเด็กขาดความสามารถ
การให้คำมั่นใจหรือให้กำลังใจด้วยคำพูดเท่านั้นยังไม่เพียงพอต้อง

ตามมาด้วยการกระทำ เช่น ให้เพื่อนช่วย ครูช่วยสอน ให้สอบ
ข้อสอบพิเศษที่เด็กจะเห็นได้ชัดเจนว่าประสบผลสำเร็จ

3. การกระตุ้นเพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าหรือประโยชน์

ของการเรียน แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

3.1 การกระตุ้นโดยใช้เครื่องกระตุ้นจากภายนอก

(Motivation by Supplying Extrinsic Incentives) การกระตุ้นเด็ก
โดยใช้เครื่องกระตุ้นจากภายนอกมิใช่จะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของการ

เรียนมากขึ้นกว่าเดิม แต่เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการทำงานกับ
ค่าของผลตอบแทนหรือเครื่องกระตุ้นนั้นยุทธวิธีเหล่านั้นมีดังนี้

(1) ให้รางวัลผลงานที่ดีหรืองานที่ดีกว่าเดิม

(Offer rewards for good or improved performance) นอกจากเกรด
หรือคะแนนแล้วควรจะเพิ่ม (1) รางวัลที่เป็นวัตถุ เครื่องใช้และวัสดุ
ที่รับประทานได้ (2) ให้เป็นกิจกรรม เช่น ให้ใช้อุปกรณ์พิเศษ

ให้เล่นเกมได้ ให้เลือกทำกิจกรรมได้ (3) รางวัลเกียรติยศ เช่น ชื่อขึ้น
บอร์ดเอาผลงานติดบอร์ด (4) ชมเชย เช่น ครูชมเชยเพื่อนร่วมชั้น

ปรบมือให้ (5) รางวัลอื่น ๆ เช่นให้โอกาสไปห้องอุปกรณ์การสอนหรือ

52 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ช่วยงานกับครูโดยเฉพาะ การให้รางวัลควรชี้ให้เห็นว่าเป็นผลมาจาก

การเพิ่มความรู้ หรือทักษะ แต่ไม่ควรเน้นในค่าหรือราคาของรางวัล
นั้น ๆ


(2) เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่าง
เหมาะสม (Structure appropriate competition) การให้โอกาสเด็ก
เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มมีโอกาสทำงานแข่งขันกันในหลายด้าน

หลายทางเพื่อรางวัลหรือเกียรติยศ จะช่วยเสริมการเรียนใน
ห้องเรียนได้มาก การแข่งขันควรจะเป็นกิจกรรมหนึ่งในการเรียนด้วย
เช่น การโต้วาที การเขียนเรียงความเฉพาะเรื่องและอื่น ๆ เพื่อให้โอกาส

เด็กทุกคนมีสิทธิ์เป็นผู้ได้รับรางวัล การให้รางวัลนั้นไม่ควรเน้นว่า
ใครแพ้ใครชนะ แต่ควรจะเน้นว่านักเรียนรู้อะไรมากขึ้นจากการแข่งขัน

หรือเกมที่ผ่านมา อาจจะมีการให้แต้มต่อกันบ้างถ้าหากเด็กเก่ง
แข่งกับเด็กอ่อนเพื่อจะให้เริ่มต้นเท่า ๆ กัน การแข่งขันจะช่วยกระตุ้น
ได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเพิ่มความพยายามแต่ไม่ควรใช้กับงาน

ที่ต้องการความคิดลึกซึ้ง ความคิดสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรม
และการทำงานที่ต้องใช้ฝีมือ


(3) ชี้ให้เห็นคุณค่าของกิจกรรมทางวิชาการ
(Call attention to the instrumental value of academic activities)
ทุกครั้งที่เป็นไปได้ครูควรชี้ให้เห็นว่าความรู้และทักษะที่เรียนไปจะ

สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ และจะเป็นตั๋ว
เดินทางก้าวไปในสังคมมนุษย์ในภายภาคหน้าได้ ชี้ให้เด็กเห็นว่า
วิชาเรียนไม่ใช่เป็นการบังคับ แต่เป็นการเพิ่มความสามารถในการ

ดำรงชีวิตของเด็ก

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 53

รางวัลจากภายนอกมีประโยชน์ในบางสถานการณ์

เท่านั้นครูไม่ควรใช้บ่อยนักเพราะจะทำให้เด็กมองที่ผลตอบแทน
มากกว่าวิชาที่เรียน


3.2 การใช้ประโยชน์จากแรงกระตุ้นภายใน
ที่เด็กมีอยู่แล้ว (Motivating by Capitalizing on Student’s Intrinsic

Motivation) ครูควรสอนโดยอาศัยสิ่งที่เด็กสนใจหรือชอบให้เป็น
ประโยชน์แต่โอกาสที่จะทำได้คงมีไม่มากนัก เพราะหลักสูตรบังคับไว้
การควบคุมจากเบื้องบน การสอบไล่และเด็กมีความสนใจแตกต่างกัน

แต่อย่างไรก็ตามครูก็ควรจะหาเวลาและโอกาสสอดแทรกสิ่งเหล่านี้
ไปในชั่วโมงเรียนเท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย

(1) ปรับงานสอนให้เหมาะสมกับความสนใจ

ของเด็ก (Adapt tasks to student’s interests) ถ้าหากวัตถุประสงค์
ของหลักสูตรสามารถทำให้สำเร็จได้หลายวิธี ครูควรจะฉวยโอกาส

ใช้วิธีหรือเนื้อหาที่เด็กสนใจเมื่อยกตัวอย่างประกอบ ครูควรใช้เหตุการณ์
ปัจจุบัน บุคคลที่เป็นข่าวหรือบุคคลที่เด็กสนใจ หรือความนิยม
ประจำยุคประจำสมัยเข้ามาช่วยเร้าความสนใจของเด็กด้วย


(2) ให้มีอะไรใหม่ ๆ แปลกแทรกในบทเรียนด้วย
(Include novelty / variety elements) ทุกกิจกรรมหรือทุกบทเรียน
ที่สอน ครูควรมีอะไรใหม่หรือแปลกแทรกเข้ามาด้วยจะเป็นวัตถุ วิธีการ

เรื่องราว หรืออะไรจากสื่อมวลชนก็ได้จะเร้าความสนใจของเด็กได้
อย่าใช้เฉพาะบทเรียนตามหลักสูตรโดยไม่มีอะไรใหม่หรืออะไร

เสริมเข้ามา

54 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


(3) ให้โอกาสเด็กเลือกหรือใช้ความคิดของ

เด็กบ้าง (Allow choices or autonomous decision) ภายในขอบ
เขตจำกัดของหลักสูตร ครูเสนอแนะทางเลือกให้เด็กทำเพื่อบรรจุ

เป้าหมายและให้โอกาสเด็กใช้ความคิดของตนเอง ตัดสินใจว่าควรจะ
ทำอะไรหากเด็กคิดอะไรไม่ออก ให้ครูเสนอทางเลือกทางปฏิบัติให้
หลาย ๆ ทาง หรือเมื่อเด็กเลือกแล้วให้นำเสนอครูก่อนปฏิบัติก็จะดี


(4) ให้โอกาสเด็กปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ (Provide
opportunities for students to respond actively) เด็กส่วนมาก
อยากทำงานที่เกี่ยวข้องกับครูและเพื่อนนักเรียน โดยการทำอะไร

สักอย่างแทนที่จะนั่งฟังคำบรรยายของครูแต่เพียงอย่างเดียว เช่น
ให้เด็กมีโครงการ การทดลอง กิจกรรมเสริมอื่น ๆ


(5) ให้ข้อมูลป้อนกลับทันที (Provide immediate
feedback to student responses) เด็กส่วนมากจะชื่นชอบกับงาน

ที่ลงมือปฏิบัติและได้รับการประเมินผลทันที เพื่อใช้เป็นแนวทาง
ในการทำงานครั้งต่อไป ถ้าหากครูไม่สามารถตรวจผลงานได้ด้วย
ตนเองครูควรจะให้คำตอบแก่เด็กเพื่อแก้ไข ให้เด็กเก่งช่วยตรวจ

คนอื่น ๆ หรือให้เด็กตรวจงานกันเองเป็นคู่ ๆ เป็นต้น

(6) ให้โอกาสเด็กสร้างงานที่เป็นรูปร่างสมบูรณ์
(Allow students to create finished products) เด็กชอบทำงาน

ที่เป็นผลสำเร็จเห็นได้ชัดเจนมากกว่างานที่ทำเพียงชิ้นส่วนของ
ผลผลิตเท่านั้น เช่น วาดแผนที่ ทำรูปจำลอง เขียนเรียงความ เป็นต้น

เด็กจะได้รับความพอใจจากผลงานของตนมาก

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 55

(7) ให้เด็กมีโอกาสสร้างจินตนาการ หรือ

สถานการณ์จำลอง (Include fantasy or simulation elements)
ในกรณีที่ไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้โดยตรง ครูให้จินตนาการ เช่น

จินตนาการความรู้สึกของนักประพันธ์หรือนักวิทยาศาสตร์ เมื่อค้นพบ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือจินตนาการว่าถ้าหากเด็กมีชีวิตอยู่ในยุคนั้นหรืออีก
โลกหนึ่งจะมีความรู้สึกอย่างไร เด็กชอบสิ่งที่เป็นจินตนาการมาก


(8) ให้ทำแบบฝึกหัดคล้ายกับการเล่นเกม
(Incorporategame-like feature into exercises) ครูควรเปลี่ยน
แบบฝึกหัดธรรมดาให้เป็นแบบฝึกหัดที่เด็กสามารถทดสอบตนเอง

ได้ท้าทาย มีความงุนงงและต้องใช้ความคิด เช่น แก้ปัญหา
หลีกเลี่ยงหลุมพรางและข้ามสิ่งกีดขวาง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ให้มีการเสี่ยงทายหรือสุ่มเดาหรือความไม่แน่นอนบ้าง จะทำให้เด็ก
เกิดความสนุกสนานยิ่งขึ้น


(9) ให้มีคำถามในระดับสูงขึ้นไปและต้อง
การความคิดอย่างกว้างขวาง (Include higher - level objectives
and divergent questions) เด็กส่วนมากเมื่อทำแบบฝึกหัดใน

ระดับยากง่ายเท่าเดิมบ่อย ๆ ก็จะเกิดความเบื่อ เพราะฉะนั้นครูควร
จะมีคำถามที่ต้องการความคิดระดับสูงขึ้นไปอีก เช่น การนำไปใช้
วิเคราะห์สังเคราะห์หรือประเมินผลเข้ามาบ้างแล้วให้เด็กบรรยาย

หรืออธิบายและชี้แจงเกี่ยวกับที่เคยเรียนมาแล้วอย่างไร ทั้งนี้รวมทั้ง
ถามคำถามที่ต้องการคิดอย่างกว้าง เช่น การทำนาย การเสนอ
แนวทางปฏิบัติและการแก้ปัญหา เป็นต้น

56 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


(10) ให้โอกาสเด็กทำงานร่วมกับเพื่อน

(Provide opportunities to interact with peers) เด็กจะชอบงาน
ที่ต้องทำร่วมกับเพื่อน ๆ ในชั้น เพราะฉะนั้นครูต้องกำหนดให้มีกิจกรรม

ที่เด็กสามารถทำร่วมกันได้ เช่น ละคร โต้วาที สถานการณ์จำลอง
รวมทั้งให้เด็กมีโอกาสทำงานช่วยเหลือกันเช่น ช่วยสอนกัน กิจกรรม
ที่เด็กทำร่วมกันจะมีผลดีมากถ้าหาก (1) บทเรียนนั้นมีคุณค่าและได้

ความรู้เกี่ยวพันกับหลักสูตร (2) เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน
นั้นอย่างสมบทบาท

3.3 การกระตุ้นแรงจูงใจใฝ่เรียนของเด็ก

(Strategies for Stimulating Student Motivation to Learn) ยุทธวิธีที่
บรรยายมาแล้วในข้อ 3.2 จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนสนุกสนานกับ

กิจกรรมของห้องเรียน แต่จะไม่กระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากเรียน
ความรู้หรือทักษะที่ครูสอน ยุทธวิธีต่อไปนี้จะกระตุ้นให้เด็กเรียนอย่าง
จริงจัง สามวิธีแรกบรรยายสภาวการณ์ทั่วไปที่ควรจะมีในห้องเรียน

วิธีที่เหลือจะเป็นวิธีกระตุ้นให้เด็กเรียนดังต่อไปนี้

(1) ครูทำตนเป็นตัวอย่างในการเรียนและ

ความจริงจังในการเรียนครูต้องทำตัวเป็นตัวอย่างในการสนใจ
แสวงหาความรู้และเล่าให้เด็กฟังเกี่ยวกับหนังสือที่ครูอ่านบทความ
และรายการโทรทัศน์ที่ครูดู ภาพยนตร์ที่สนใจ และชี้ให้เห็นว่า

สิ่งเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับวิชาการอย่างไร และจะประยุกต์ใช้ในชีวิต
ประจำวันได้อย่างไร

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 57

(2) สื่อความให้เด็กทราบว่าครูคาดหวัง

ในทัศนคติความเชื่อ และการนำไปปฏิบัติอย่างไรให้นักเรียนทราบ
เสมอ นั่นก็คือ ครูให้เด็กทราบว่าเด็กต้องเป็นคนอยากรู้ อยากเห็น

อยากเข้าใจแนวความคิดอยากเพิ่มทักษะเห็นคุณค่าในสิ่งที่เรียน
และสามารถนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

(3) ลดความกระวนกระวายใจในการเรียน

ของเด็ก ครูควรทำบทเรียนให้เป็นการเรียนรู้มากกว่าการประเมิน
ผลความรู้ของเด็ก ถ้าหากมีบทเรียนเป็นลักษะคล้ายแบบทดสอบ
ก็สอนให้เป็นการประยุกต์เนื้อหาที่เรียนแล้ว การทดลองก็

ทำเหมือนกับว่าวัดความก้าวหน้าในการเรียนไม่ใช่ประเมินความ
สามารถ ควรมีการสอบย่อยบ่อย ๆ และควรสอนวิธีลดความเครียด

และวิธีการทำข้อสอบให้เด็กด้วย

(4) เตือนให้เด็กรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับเนื้อหาสำคัญ

หรือเนื้อหาใหม่โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การอธิบายช้า ๆ การอธิบาย
ทีละขั้นตอนหรือการหยุดมองรอบ ๆ ห้อง หรือการใช้เสียงดังกว่า
ปกติ เมื่อครูสอนเนื้อหาใหม่ แสดงวิธีการใหม่ หรือออกคำสั่งให้เด็ก

ปฏิบัติตาม

(5) สร้างความกระตือรือร้น ครูสอนบทเรียน
หรือให้การบ้านในลักษณะที่ว่าสิ่งนั้นน่าสนใจและมีคุณค่า พร้อมกับ

ให้เหตุผลว่าทำไมครูจึงคิดเช่นนั้น

58 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


(6) ชี้นำความน่าสนใจของบทเรียน ครู กระทำได้

โดยการชี้แนะว่าบทเรียนนี้หรืองานที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
ที่เด็กสนใจมาแล้วในอดีตอย่างไร ครูยกตัวอย่างว่าเด็กสามารถนำ

บทเรียนนั้นไปใช้ได้อย่างไร หรือชี้แนะว่าเด็กจะพบอะไรน่าตื่นเต้น
หรือมีลักษณะพิเศษในบทเรียน หรือการฝึกทักษะนั้น ๆ

(7) ชี้นำความแปลกหรือสิ่งที่ยังไม่รู้ ครูตั้ง

คำถามหรือยกเรื่องราวที่ก่อให้เกิดความสนเท่ห์ในการเรียนบทเรียน
หรือแก้ปัญหาหรือเพิ่มเติมที่นักเรียนยังรู้ไม่หมดจากในเรื่องที่เกี่ยวกับ
บทเรียนนั้น ๆ


(8) ชี้นำข้อขัดแย้ง เมื่อบทเรียนง่าย ๆ หรือ
ธรรมดาหรือเด็กมีแนวโน้มคิดว่าตนเองรู้หมดแล้ว ครูควรยกเรื่องที่

ขัดแย้งไม่คาดฝันหรือข้อยกเว้น มาพิจารณาหาทางแก้ไขหรือ
วิเคราะห์วิจารณ์

(9) ทำเรื่องที่เป็นนามธรรมให้ดูเป็นรูปธรรม

ครูอาจจะทำได้โดยการยกตัวอย่างที่เป็นบุคคลที่เด็กรู้จักหรือน่าสนใจ
ใช้วัตถุหรือภาพประกอบ หรือมีการสาธิตประกอบ อธิบายให้เห็นว่า

เกี่ยวพันกับของเก่าที่เด็กเรียนแล้ว และเพิ่มเติมข้อมูลบางประการ
เพื่อให้เด็กเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น


(10) ชี้นำให้เด็กใช้ความสนใจใฝ่เรียนของตน
ครูให้เด็กจัดทำรายการสิ่งที่เด็กสนใจ ปัญหาที่เด็กอยากจะรู้หรือสิ่งที่
เด็กสนใจ เมื่อผ่านพบในหนังสือหรือสภาพแวดล้อมทั่วไป

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 59

(11) ให้เด็กทราบวัตถุประสงค์ของบทเรียน

และเค้าโครงของบทเรียน กระตุ้นความอยากเรียน โดยแจ้งวัตถุประสงค์
ของบทเรียนให้เด็กทราบ และให้ทราบเค้าโครงของบทเรียนนั้น

ด้วยพร้อมกับแจ้งให้เด็กทราบว่า ควรจะสนใจอะไรบ้างจากบทเรียน
ภาพยนตร์ หรือข้อความที่ให้อ่านเป็นการบ้าน พร้อมกับแนะนำวิธีการ
ทำบันทึกย่อเพื่อช่วยในการจดจำบทเรียนที่เรียนแล้ว


(12) แสดงวิธีการคิดและการแก้ปัญหาครูควร
แสดงหรือสาธิตวิธีการแก้ปัญหาและวิธีการคิดให้เด็กดูทีละขั้น
บนกระดานหรืออธิบายให้ฟัง และขณะเดียวกันครูก็สาธิตความอดทน

ความเชื่อมั่น ทัศนคติ การให้เหตุผล การตัดสินใจให้เด็กดูด้วย

แม้ว่า..การกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากเรียน

จะไม่สามารถสอนโดยตรงได้เหมือนกับความรู้และทักษะ
แต่ครูสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นในตัวเด็กได้โดยใช้วิธีการต่าง ๆ

ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยถือว่ายุทธวิธีเหล่านี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น
การวิจัยในยุคต่อไปคงจะช่วยให้เรารู้อะไรมากกว่านี้ขึ้นไปอีก

60 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



แหล่งอ้างอิง
Brophy, Jere. “Synthesis of Research on Strategies for Motivating Students to
Learn” Educational Leadership. October, 1987. P.40-48.

กล้า ท้า เปลี่ยน



ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร

62 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน









กล้า ท้า เปลี่ยน



ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร








ความท้าทายในวิชาชีพครูที่สามารถสร้างนักเรียนให้มี
คุณภาพและคุณลักษณะที่ดี นั่นคือ การสร้างแรงบันดาลใจ (inspiration)

หรือแรงจูงใจ (motivation) ให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียนซึ่งถือเป็นหัวใจ
ในหน้าที่ครู กล่าวคือ การสร้างนิสัยรักเรียน สร้างพลังในการเรียนรู้
ให้เกิดในตัวนักเรียนซึ่งสำคัญกว่าการรู้เนื้อหาวิชา การมีนิสัยรักเรียน
จะสามารถติดตัวนักเรียนไปตลอดชีวิต ตัวแปรสำคัญที่นำไปสู่การเรียนรู้
ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ คือ เจตคติต่อการเรียน (attitude)
ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่นักเรียนมีต่อปัจจัยแวดล้อมของการเรียน
ประกอบด้วย ความรู้สึกต่อตัวนักเรียนเอง ความรู้สึกต่อผู้สอน ความรู้สึก

ต่อหลักสูตร ความรู้สึกต่อกิจกรรมการเรียนรู้ ความรู้สึกต่อโรงเรียน
ความรู้สึกต่อเพื่อน และความรู้สึกต่อพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่บ้าน
ที่เป็นข้อมูลเกี่ยวข้องกับการเรียน สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลโดยตรงต่อการเรียน
การสอนของนักเรียนทั้งสิ้นจึงเป็นสิ่งที่ครูยุคใหม่ไม่ควรละเลย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดและการเปลี่ยนแปลง
เจตคติ มีดังนี้ 1) บ้าน หรือ การอบรมเลี้ยงดูจากบิดามารดา มีอิทธิพล
ต่อเจตคติมากทั้งยังมีความศรัทธานับถืออยู่ในจิตใจอีกด้วย เจตคติของ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 63

เด็กย่อมจะเอนเอียงไปหาบิดามารดาโดยไม่รู้ตัว กล่าวได้ว่าบิดามารดา

มีอิทธิพลต่อการเกิดหรือการสร้างเจตคติของเด็กอย่างมาก บิดามารดา
จึงควรเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก ส่งเสริมให้พัฒนาเจตคติที่ดี
และปรับปรุงแก้ไขเจตคติที่ไม่ถูกต้อง 2) วัฒนธรรม มี 2 ด้าน
ด้านวัตถุและจิตใจ บุคคลที่มีเพศ วัย การศึกษาอาชีพ ศาสนา
สิ่งแวดล้อมสถานภาพ ฯลฯ แตกต่างกันย่อมมีเจตคติต่างกัน
3) การศึกษา สถาบันการศึกษาเป็นสถานที่จัดให้มีการฝึกอบรมเด็ก
อย่างมีระเบียบแบบแผน เด็กหันเหไปตามทิศทางที่ครูชี้แนะเป็นส่วนใหญ่

และการศึกษาเป็นพื้นฐานให้เด็กเกิดความคิดสติปัญญาและ
ประสบการณ์ใหม่ เปลี่ยนเจตคติไปสู่แนวทางที่ถูกที่ควร 4) สังคม
สิ่งแวดล้อม และสื่อมวลชนได้แก่ หนังสือพิมพ์ รายการวิทยุโทรทัศน์
ภาพยนตร์ ฯลฯ จะมีอิทธิพลต่อการสร้างและเปลี่ยนแปลงเจตคติของ
เยาวชนอย่างยิ่ง ดังนั้นรัฐบาลจึงควรตรวจและควบคุมการนำเสนอ
ข่าวสารของสื่อมวลชนอย่างสร้างสรรค์ ให้มีประโยชน์มากกว่า
การมอมเมาให้หลงเชื่อเพื่อประโยชน์ของตนเพียงอย่างเดียว

การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนได้เสนอแนวทางการ

สร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนดังนี้

1) จัดสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่ทำให้นักเรียน
พอใจและสนุกสนาน

2) ครูต้องเป็นตัวแบบที่ดีทั้งด้านความคิด ความ
ประพฤติระเบียบวินัยตลอดจนการวางตัวในสังคม

3) การสอนต้องยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ให้นักเรียน

มีโอกาสแสดงออกหรือได้ลงมือปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนด้วย

64 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


4) ครูต้องพยายามให้การเสริมแรงอย่างสม่ำเสมอ

และต่อเนื่อง เพราะทั้งนี้การเสริมแรงทำให้นักเรียนเกิดความพอใจ
และเกิดความรู้สึกที่ดีต่อครูและวิชาที่เรียน

5) ให้ความรักความเอาใจใส่ต่อนักเรียนอย่างทั่วถึง

6) อธิบายชี้แจงให้เห็นคุณค่าของการเรียน วิชาเรียน
และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนการวัดหรือการ
ตรวจสอบเจตคติ มีหลายวิธีการ ได้แก่ การใช้แบบทดสอบวัดเจตคติ

โดยตรง การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบทดสอบทางอ้อม
และการใช้การต่อประโยคให้สมบูรณ์ ซึ่งการวัดเจตคตินั้น
ผู้ศึกษาควรเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมซึ่งอาจจะใช้วิธีการหลายอย่าง
ร่วมกันเพื่อให้ได้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือ

จากปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติและ
แนวทางในการสร้างเจตคติ ทำให้ครูในศตวรรษนี้ต้องเปิดใจ
เรียนรู้ลูกศิษย์ของตนให้มากขึ้น กล้าที่จะยอมรับการ
เปลี่ยนแปลงและที่สำคัญต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียน

สอนจากเดิมที่เคยเป็นศูนย์กลางผู้ถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
ความรู้ มาเป็นครูยุคใหม่ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังและคอย
อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนเป็น
บุคคลสำคัญในการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ เผชิญปัญหาและลงมือทำ
ด้วยตนเอง โดยการเรียนรู้ในรูปแบบนี้นอกจากนักเรียนจะได้เนื้อหา
ความรู้แล้ว นักเรียนจะได้รับความสนุก ความท้าทาย การได้ทำงาน
ร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนที่ได้มีรับความนิยม
มากที่สุดแบบหนึ่งในขณะนี้คือ การเรียนรู้แบบ PBL (Project
-based learning) ซึ่งเป็นรูปแบบวิธีสอนที่จะนำนักเรียนเข้าสู่การ

แก้ปัญหาที่ท้าทายและสร้างชิ้นงานได้สำเร็จด้วยตนเองโครงงานที่

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 65

จะมาช่วยสร้างสภาวะการเรียนรู้ภายในชั้นเรียนจะเกิดได้ในหลายกลุ่ม

สาระการเรียนรู้ในหลายเนื้อหาและในหลายระดับช่วงชั้น

ครูที่นำการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานมาสู่ชั้นเรียน
จำเป็นจะต้องนำเอากลวิธีการสอนใหม่ ๆ ปรับรูปแบบการเรียน
การสอน โดยเน้นความสำคัญในการฝึกประสบการณ์ด้านการเรียนรู้
แก่นักเรียนมากกว่า สิ่งที่ครูต้องกล้าเผชิญในการเรียนการสอนรูป
แบบนี้คือความเสี่ยงในการที่จะเอาชนะความท้าทายตั้งแต่การจัดการ
กระบวนการเรียนรู้ เปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็นผู้ฝึกประสบการณ์
ด้านการเรียนรู้ การวางแผนและการร่วมมือกับเพื่อนครูเพื่อบูรณาการ

ข้ามกลุ่มสาระฯ การนำเทคโนโลยีการสอนมาใช้ได้อย่างเหมาะสม

แนวทางในการประเมินผลงานตามสภาพจริงเพื่อ
ความถูกต้องและยุติธรรม ตลอดจนการได้รับการสนับสนุนจาก
ฝ่ายบริหารจะช่วยทำให้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานนี้สามารถนำ
ไปใช้จริงและเกิดประโยชน์สูงสูดแก่นักเรียน

จากที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า

การที่คนเราจะทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ดี หรือประสบความสำเร็จนั้น
ส่วนใหญ่มักจะมาจากความชอบ ความอยากทำ ในเรื่องของการเรียน
ก็เช่นเดียวกัน การสร้างทัศนคติหรือเจตคติต่อการเรียนก็นับเป็นการ
วางรากฐานที่สำคัญของการเรียนที่ประสบความสำเร็จ เป็นสิ่งสำคัญ
และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังมากันตั้งแต่ครอบครัว ซึ่งเป็น
สถาบันแห่งแรกของชีวิต และส่งต่อมาถึงสถาบันการศึกษา โดยมี “ครู”
เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดวิชาความรู้ ขัดเกลาพฤติกรรม
สร้างเจตคติที่ดีของนักเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนได้บรรลุตาม
มาตรฐานการเรียนรู้ของชาติและสากล ผลิตนักเรียนที่ทั้ง “เก่ง” และ

“ดี” ที่สังคมต้องการต่อไป

66 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



บรรณานุกรม
เฉลา ประเสริฐสังข์. (2542). จิตวิทยาการเรียนการสอน. จันทบุรี : สถาบันราชภัฎ
รำไพพรรณี.

ทองดี ศรีอันยู้. (2555). เจตคติต่อการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2555. จาก
http://www.superbk3.net/attitude.pdf,

ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค
กระบวนการคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนในระดับมัธยม
ศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
เพราพรรณ เปลี่ยนภู่. (2542). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ
: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร:
ตถาตาพับลิเคชั่น. -------. การศึกษาไทย 2552-2553 สู่เส้นทางแห่งอาจาริยบูชา
ครูเพื่อศิษย์. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2555. จาก : http://www.kmi.or.th/attachments/
TFSBook2553_Final.pdf,

Bransford, J., Brown, A.; & Cocking, R. (2000). How People Learn : Brain, Mind, and
Experience & School. Washington, DC : National Academy Press.

8 คุณลักษณะ สมรรถภาพแห่งตน


อาจารย์ชวลิต ศรีคำ

68 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน











8 คุณลักษณะ สมรรถภาพแห่งตน
อาจารย์ชวลิต ศรีคำ








การปฎิรูปทางการศึกษา คือ การปฏิรูปกระบวนการ
เรียนรู้เพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขตามพระราช

บัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 มาตรา 23 ได้กำหนด
แนวทางการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม
กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละ
ระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและ
ความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ครอบครัว ชุมชน ชาติ และ
สังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ
สังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความรู้และทักษะด้าน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโยลี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์
เรื่องการจัดการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน มีความรู้เกี่ยวกับศาสนา
ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้
ภูมิปัญญามีความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการ
ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องและมีความรู้และทักษะในการประกอบ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 69

อาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข (พระราชบัญญัติการศึกษา

แห่งชาติ. 2542: 26) และการจัดการศึกษาตามแนวทางที่กำหนดไว้
ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นหลักสูตรการ
ศึกษาที่แต่ละโรงเรียนใช้เป็นแนวจัดการศึกษานั้นเป็นหลักสูตร
ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข
และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ
(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2545: 4) สำหรับการจัดการเรียนรู้
นั้นจะมุ่งปลูกฝังด้านปัญญา พัฒนาการคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถ

ในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ แล้วยังมุ่งพัฒนาความ
สามารถทางอารมณ์ โดยการปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง
เข้าใจตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทาง
อารมณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
2545: 21) และตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
มาตรา 22 กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษา
ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
ได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ฉะนั้นครู ผู้สอน และผู้จัดการ
ศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอด

ความรู้ ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหา
ความรู้จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่
ผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ของตน
(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2545: 21) กล่าวคือ ครูผู้สอน
ยังคงมีบทบาทสำคัญในที่จะการสนับสนุนและสร้างเสริมประสบการณ์
การเรียนรู้ที่มีความหมายแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้
ให้มากที่สุด ดีที่สุดตามศักยภาพของแต่ละบุคคล (ธนู ฤทธิกูล.

2542: 43)

70 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ในปัจจุบันการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

นอกจากจะประเมินผลจากระดับผลการเรียนในแต่ละรายวิชาแล้ว
ยังมีการประเมินผลในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ได้แก่ การประเมินกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์การ
ประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ เพื่อประเมินว่า
นักเรียนมีปัญญาดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือไม่ตามหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 (โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. 2550: 134) และตัวชี้วัดว่ามีคุณภาพ

ชีวิตที่ดีก็คือการมีสุขภาพดี ซึ่งการมีสุขภาพดีถือเป็นเรื่องของ
ตัวบุคคล สมรรถภาพในตัวบุคคลนั้นประกอบด้วยสมรรถภาพ
ทางอารมณ์ สมรรถภาพด้านสมอง สมรรถภาพทางสังคมและ
สมรรถภาพทางกาย (ถนนสุขภาพ. 2550: ออนไลน์) โดยองค์ประกอบหนึ่ง
ของสมรรถภาพในตัวบุคคลดังกล่าวมีสมรรถภาพด้านหนึ่งคือสมรรถภาพ
ทางสังคมที่บางโรงเรียนกำหนดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
นักเรียนในปัจจุบัน มีสื่อต่าง ๆ ทำให้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านนี้
ของนักเรียนเป็นคุณลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งนักเรียนแต่ละคนหรือ
แต่ละวัยหรือแต่ละเพศน่าจะมีสมรรถภาพทางสังคมแตกต่างกัน

เนื่องจากแต่ละคนหรือแต่ละวัยหรือแต่ละเพศมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
ทั้งทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ ทางด้านสังคม และทางด้าน
สติปัญญา (สุภัททา ปิณฑะแพทย์. 2542: 60) บุคคลแต่ละวัย
จะต้องเรียนรู้และพบสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เป็นประสบการณ์ส่วนตัว
จึงทำให้เกิดผลต่อพัฒนาการทางด้านสังคม (สุภัททา ปิณฑะแพทย์.
2542: 69; อ้างอิงจาก Erikson) ถ้าบุคคลใดมีสมรรถภาพทางสังคมดี
ก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมในสภาพต่าง ๆ ได้ดี ฉะนั้น

เราจึงมีความจำเป็นต้องเรียนรู้พฤติกรรมที่ดีทางสังคม สามารถทำงาน
ร่วมกับผู้อื่นได้ รู้คุณค่าของสิ่งที่ดี มีความอดทนต่อปัญหา
รักความยุติธรรม (ถนนสุขภาพ. 2550: ออนไลน์)

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 71

จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่า

สมรรถภาพทางสังคม หมายถึง ความสามารถในการใช้ชีวิต
ของบุคคล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมในสภาพต่าง ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นถ้าบุคคลใดมีสมรรถภาพทางสังคมดี
ก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมในสภาพต่าง ๆ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีคุณธรรมจริยธรรม
ซึ่งมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. การแสดงออกทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถ
ในการสื่อสารกับบุคคลอื่นโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ซึ่งเป็นการสื่อความทาง

สีหน้า ท่าทาง โดยรวมถึงการแสดงเจตคติ ความรู้สึกและพฤติกรรม
ระหว่างบุคคลโดยไม่ใช้ถ้อยคำ คนที่มีการแสดงออกทางอารมณ์สูง
จะเป็นคนที่มีอารมณ์รื่นเริง มีชีวิตชีวา และสามารถกระตุ้นให้บุคคลอื่น
รู้สึกเช่นเดียวกับตนโดยการถ่ายทอดความรู้สึกของตนเองออกมา

2. ความไวในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่น หมายถึง ความสามารถ
ในการรับรู้และตีความหมายการสื่อสารที่ไม่ใช้ถ้อยคำของบุคคลอื่นได้
คนที่มีความไวในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่นสูงจะเป็นคนที่มีความรู้สึกไว

มีความอ่อนไหวไปกับอารมณ์และความรู้สึกของบุคคลอื่นได้ง่าย
มีความรู้สึกร่วมและเอาใจใส่ต่ออารมณ์ของผู้อื่น

3. การควบคุมอารมณ์ของตนเอง หมายถึง ความ
สามารถในการควบคุม กำกับ สะกดกลั้น และปรับอารมณ์ของตนเอง
รวมถึงซ่อนหรือปิดบังความรู้สึกไว้ภายใน สามารถทำสีหน้าชื่นบาน
เพื่อปกปิดความเศร้าใจ หรือหัวเราะ ยิ้ม เมื่อฟังเรื่องตลกได้อย่าง
เหมาะสมคนที่มีการควบคุมอารมณ์สูงจะเป็นที่คนควบคุมหรือฝืน
การแสดงความรู้สึกของตนเอง

72 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


4. การแสดงออกทางสังคม หมายถึง ความสามารถ

ในการแสดงออกโดยใช้ถ้อยคำในการเข้าร่วมสนทนา อภิปราย
ร่วมกับบุคคลอื่น คนที่มีการแสดงออกทางสังคมสูง จะมีความคล่องแคล่ว
ในการใช้ถ้อยคำ แสดงความเป็นมิตร ชอบเข้าสังคม ชอบสังสรรค์
ตลอดจนมีทักษะในการเริ่มต้นสนทนา

5. การควบคุมทางสังคม หมายถึง ความสามารถ
ในการแสดงบทบาททางสังคม และมีความสามารถในการแสดงตนใน
โอกาสที่เหมาะสม คนที่มีการควบคุมทางสังคมที่ดีจะมีความคล่องแคล่ว
มีไหวพริบ มีความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ

และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี

6. การมีทักษะในการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถ
ในการเข้าใจและตีความหมายการสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำของบุคคลอื่น
และสื่อสารโต้ตอบด้วยความชัดเจน

7. ความสามารถในการทำงานเป็นทีม หมายถึง
ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถดึงความสามารถ

ของผู้ร่วมงาน และสร้างสรรค์พลังกลุ่มเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จของงาน
ตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

8. การมีภาวะความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถ
ที่จะชักชวนคนอื่น ๆ ให้ทำตามหรือแสวงหาวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนด
ไว้ด้วยความเต็มใจ สามารถประสานรอยร้าว หรือแก้ไขความไม่ลงรอยกัน
สามารถสร้างสัมพันธภาพให้แน่นแฟ้น และสามารถเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง
หรือพลิกแพลงสิ่งต่าง ๆ ได้ ตลอดจนเสียสละ ไม่ลำเอียงและ

ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 73

สมรรถภาพทางสังคม..เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ

และควรจะพัฒนาในตัวบุคคล เนื่องจากสมรรถภาพทางสังคม
เป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ
ชีวิตที่ดี ประสบความสำเร็จในชีวิตและมีศักยภาพพร้อมที่จะ
พัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง พัฒนาการทางสังคมของบุคคลนั้น
จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต (เติมศักดิ์
คทวณิช. 2549: 63) ความแตกต่างทางพันธุกรรมของเพศชายและเพศ
หญิงทำให้เกิดความแตกต่างทางสังคมของแต่ละบุคคลได้ด้วย

(เติมศักดิ์ คทวณิช. 2549: 51) นอกจากนี้เด็กที่มีอายุตั้งแต่
12 ปีขึ้นไปบุคลิกภาพของชายจริงและหญิงแท้จะปรากฎเด่นชัดขึ้น
(เติมศักดิ์ คทวณิช. 2549: 239) และเด็กวัยรุ่น (อายุตั้งแต่ 13 – 20 ปี)
นั้นเป็นวัยแห่งการเสริมสร้างสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ และเป็นระยะหนึ่ง
ที่มีบทบาทสำคัญต่อสังคมอย่างมาก (สุชา จันทน์เอม และสุรางค์
จันทน์เอม. 2515: 2) อีกทั้งยังเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทาง
อารมณ์ได้ง่ายและรุนแรง (สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม.
2515: 77) นอกจากนี้ยังเป็นวัยที่มีความรู้สึกรวดเร็วต่อสิ่งต่าง ๆ
ที่อยู่รอบตัว และแสดงความรู้สึกออกมาอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา

(เปรมจิต เอกธรรมชลาลัย. 2531: 189) วัยรุ่นเป็นวัยที่มีสังคมที่กว้างขวาง
มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
ในชีวิตของตนเอง (สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม. 2515:
83–87) ได้เรียนรู้ถึงการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้รู้จักการปรับพฤติกรรม
ของตนให้สอดคล้องกับผู้อื่น ซึ่งเป็นการแสดงว่าวัยรุ่นนั้นรู้จัก
การปรับตัวทางสังคม (เปรมจิต เอกธรรมชลาลัย. 2531: 193-194)

การเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้
โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบ

จากตัวแบบ (Modeling) สำหรับตัวแบบไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแบบ

74 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ที่มีชีวิตเท่านั้นแต่อาจจะเป็นตัวแบบสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็น

ในโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกมคอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเป็นรูปภาพ
การ์ตูน หนังสือ นอกจากนี้คำบอกเล่าด้วยคำพูดหรือข้อมูลที่เขียน
เป็นลายลักษณ์อักษรก็เป็นตัวแบบได้ และการเรียนรู้ (Learning)
กับการกระทำ (Performance) นั้นมีความแตกต่างกันเพราะคนเรา
อาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกทุกอย่าง
เช่นเราอาจจะเรียนรู้วิธีการทุจริตในการสอบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
แต่ถึงเวลาสอบจริงเราอาจจะไม่ทุจริตก็ได้ หรือเราเรียนรู้ว่าการ

พูดจาและแสดงกริยาอ่อนหวานกับพ่อแม่ซึ่งเป็นสิ่งดีแต่เราอาจจะ
ไม่เคยทำกริยาดังกล่าวเลยก็ได้ (หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับ
การเรียนรู้. 2550: Online)

ฉะนั้นการปรับปรุง ส่งเสริม และพัฒนากิจกรรม
ที่จะทำให้นักเรียนหรือเยาวชนมีสมรรถภาพทางสังคมที่ดีมากขึ้น
พร้อมเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศชาติ
ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปนั้นเป็นหน้าที่ของทุก ๆ ฝ่ายที่ต้องร่วมมือกัน
ไม่ว่าจะเป็นครูอาจารย์ ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

หรือแม้กระทั่งตัวนักเรียนเอง โดยเฉพาะครูอาจารย์ซึ่งมีบทบาท
สำคัญหรือหน้าที่โดยตรงในการอบรมสั่งสอนให้นักเรียนมีความรู้
และเป็นคนดีนั้นนอกจากจะมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาหรือมี
เทคนิคและวิธีการสอนที่ดีแล้วครูต้องมีความประพฤติที่ดีงาม
สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนได้ เพราะการเป็นแบบอย่างที่ดี
หรือตัวแบบที่ดีตามหลักทฤษฎีปัญญาทางสังคมของแบนดูราที่ระบุว่า
“ บุคลิกภาพของแต่ละคนเกิดจากการที่บุคคลนั้นมีการเรียนรู้จาก
ตัวแบบ (Model) ทั้งหลายในสังคมโดยใช้การสังเกต ” จะส่งผลให้
การพัฒนานักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 75


บรรณานุกรม
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จิตวิทยาอุตสาหกรรม. (2550). ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอีริคสัน (Erikson’s
Developmental Theory). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2550 จาก http://dit.dru.ac.th/
home/023/psychology/chap3. html.
เติมศักดิ์ คทวณิช. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ถนนสุขภาพ. (2550). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2550 จาก http://gotoknow.org/blog/
chamnan/ 105151.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). อีคิว...การพัฒนาสู่วุฒิภาวะทางอารมณ์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม
2550 จาก http://www.smartdcamp.com/a03-EQ%20empowerment.htm

ธนู ฤทธิกูล. (2542, มิถุนายน). การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วารสารวิชาการ.
2(6) : 42 – 45.
นฤมล บุญแต่ง. (2550). ความหมายของทักษะทางสังคมและสมรรถภาพทางสังคม.
สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2550 จาก http://www.royin.go.th/th/ board/add-board.php
เปรมจิต เอกธรรมชลาลัย. (2531). จิตวิทยาพัฒนาการ. ลำปาง : ภาควิชาจิตวิทยาและ
การแนะแนว วิทยาลัยครูลำปาง สหวิทยาล้านนา.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. (2550). วิทยนิเทศ. กรุงเทพมหานคร
: แปลนฟอร์คิดส์ จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2543). พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์.
สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม. (2515). จิตวิทยาวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
แพร่พิทยา.
สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2542). พฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิต
วิทยาและการแนะแนว สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. (2550). สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2550 จาก
http://www. suphet. com/index.php?lay=show&ac=article&Id=110814&Ntype=2

76 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


อุษณีย์ โพธิสุข. (2545). สร้างเด็กให้เป็นอัจริยะ เล่มที่ 5 : E.Q. ปัญหาหนักของมนุษยชาติ.
กรุงเทพฯ : มุลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.
Argyle, Michael. (1995). “Social Skill”, Learning and Skill. New York : Longman Group
Limited.
Gloeman, Daniel. (1998). Working With Emotional Intelligence. New York : Bantam
Book.
Riggio, Ronald E. (1989). Social Skill Inventory. U.S.A : Consulting Psychologists.
Press.
-----------. (2007). Social Skill Inventory. Retrieved October 11 , 2007, from http://www.
mindgarden.com /products/ssins.htm
Social Cognitive Theory. (2007). The Netherlands : University of Twente. Retrieved
November 9 , 2007, from http://www.tcw.utwente.nl/theorieenoverzicht/Theory%
20clusters/Health%20Communication/Social_cognitive_theory.doc

ฉลาดทำบุญ...ด้วยจิตอาสา



อาจารย์สมฤดี แย้มขจร

78 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



ฉลาดทำบุญ...ด้วยจิตอาสา



อาจารย์สมฤดี แย้มขจร























จิตอาสาคืออะไร?..ทำไมต้องมีจิตอาสา? มีจิต
อาสาไปทำไม? คำถามเหล่านี้ผุดขึ้นในความคิดของผู้เขียน

หลังจากได้ยินการกล่าวถึง “จิตอาสา” และ “จิตสาธารณะ”
จากปากของผู้คนรอบข้างบ่อยครั้ง เมื่อมีคำถามก็คงต้องหาคำตอบ

ให้กระจ่าง การหาคำตอบจึงเริ่มขึ้นด้วยการค้นหาจากอินเทอร์เนต
ใช้ Search engine ที่ทุกคนรู้จักดี (Google นั่นเอง) จาก Google

ทำให้ทราบว่ามีหนังสือมีบทความที่เขียนถึงเรื่องนี้มากพอสมควร
จึงเริ่มศึกษาและขอถ่ายทอดมาเล่าสู่กันฟังดังนี้


ก่อนที่จะเริ่มตอบคำถามที่เกริ่นไว้ในตอนต้นขอพูดถึง
เรื่องนี้ก่อน คือปี พ.ศ.2550 ที่ผ่านมามีการกำหนดเรื่องจิตอาสา

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 79

เป็นวาระแห่งชาติ (2550 ... ปีแห่งการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม)

เนื่องด้วยสังคมไทยน่าเป็นห่วง เพราะคนไทยส่วนใหญ่ขาดจิตสำนึก

ในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น เช่น คนไทยขาดน้ำใจ ไม่แบ่งปัน เห็นแก่ตัว
ทำลายสิ่งแวดล้อม เพิ่มมลพิษ เอาเปรียบผู้ด้อยโอกาสกว่า
ว่าร้ายเสียดแทง แก่งแย่งชิงดี ฯลฯ ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนมาจาก

สาเหตุเบื้องต้นคล้าย ๆ กันคือ ความเห็นแก่ตัวนั่นเอง และแท้จริง

แล้วเรื่องของจิตอาสานี้ มีการปลูกฝังกันมานานแล้วในฐานะพุทธ
ศาสนิกชน แต่จะใช้คำว่า “ทานและการอาสาสมัคร” มาในยุคนี้มี
การบัญญัติคำขึ้นใหม่ว่า “จิตอาสา” บ้าง “จิตสาธารณะ” บ้าง ฯลฯ

ล้วนมีความหมายตรงกัน คือ เริ่มจากการไม่เบียดเบียนตนเองและ

คนอื่น แล้วเผื่อแผ่แบ่งปันเอื้อเฟื้อเกื้อกูลผู้คนและสังคม ดังนั้นใน
บทความนี้จะมีการพูดถึงทาน การอาสาสมัคร จิตอาสา และจิต

สาธารณะ ก็ขอให้เข้าใจว่ากำลังพูดถึงเรื่องเดียวกันนั่นเอง

จิตอาสาคืออะไร? ลองหาความหมายจากพจนานุกรม

ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ไม่มีการกำหนดความหมาย

ของคำนี้ จึงแยกค้นเป็น 2 คำ คือ คำว่า “จิต” และ “อาสา”
จิตหมายถึง (2542: 312) สิ่งที่มีหน้าที่ รู้ คิดและนึก ส่วนคำว่า

อาสา หมายถึง (2542: 1370) การรับทำด้วยความเต็มใจเสนอตัว
เข้ารับทำ สรุปถ้านำ 2 คำรวมกัน น่าจะมีความหมายว่า การมีความคิด

การมีจิตใจที่จะรับทำอะไรด้วยความเต็มใจหรือจะหมายถึงการทำ

ความดีเพื่อตนเองและผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ไม่หวังผลประโยชน์หรือ
หวังสิ่งตอบแทน คือทำด้วยใจนั่นเอง

80 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


พระครูประโชติธรรมาภิรมย์ หรือพระอาจารย์สาย

เจ้าอาวาสวัดวังศิลาธรรมาราม (วัดวังหิน) กล่าวว่า จิตอาสา (2550:

online) หมายถึง จิตวิญญาณ อุดมการณ์ ที่ทำประโยชน์ให้ส่วนรวม
มากกว่าส่วนตน โดยจิตที่บริสุทธิ์ มีคุณธรรม จริยธรรม ดำรงชีวิต

อย่างพอเพียงไม่เบียดเบียนคนอื่น จิตอาสา เป็นการทำจิตของเราให้

เบิกบาน อย่าให้จิตของเราขุ่นข้นด้วยตะกอนอารมณ์ การอาสา คือ
ความสมัครใจอันเกิดจากจิตภายใน ปลดเปลื้องอารมณ์ขุ่นข้น ทำงาน

ร่วมกันระหว่างกาย (ภายนอก) และจิต (ภายใน) การทำงานอาสา คือ

การทำงานที่ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์จะทำให้เราทำงานอย่างเบิกบาน
สนุกสนาน จิตเสมือนน้ำใสที่หล่อเลี้ยงชีวิต หากทำงานหวังผลตอบแทน

แล้วไม่ได้รับจิตจะขุ่นข้นด้วยอารมณ์ท้อแท้ เหมือนน้ำใสขุ่นข้น
ด้วยตะกอนจิตใจจะเกิดการอุดตันเวลานั้นจะยิ้มไม่ออก


พระไพศาล วิสาโล ได้กล่าวไว้ว่า “จิตอาสา” ได้แก่

จิตที่พร้อมจะสละเวลา แรงกายและสติปัญญาเพื่อสาธารณประโยชน์
จิตที่ไม่นิ่งดูดายเมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากเกิดขึ้นกับผู้คน

เป็นจิตที่มีความสุข เมื่อได้ทำความดี และเห็นน้ำตา เปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม

เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย “บุญ” คือความสงบเย็นและพลังแห่งความดี

อมรรัตน์ เจริญชัย (2550: online) กล่าวว่า จิตสาธารณะ

หมายถึงการประพฤติตนทั่ว ๆ ไป ทำให้ตนเอง ครอบครัว และสังคม
มีความสุข รวมทั้งการแสดงความห่วงใยต่อสังคม ท่านพูดถึง

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 81

ผลกระทบของการปฏิบัติตนของบุคคล ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เราต้องมีจิตสาธารณะ ถ้าทำสิ่งใดแล้วเกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม

ไม่ควรทำ การทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลองทำให้น้ำเน่าเหม็น ทำให้
ปลาตาย คนอยู่ใกล้น้ำต้องลำบาก บ้านเมืองหมดความสวยงาม

ถ้าทิ้งเศษอาหารไว้ตามพื้น จะเน่าเหม็นเป็นอาหารของแมลง

เป็นที่เพาะแมลงให้มากขึ้น ทำความรำคาญไปทั่วและทำให้เกิด
เชื้อโรค ไม่ควรทำคนไทยยังขาดความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม

การสร้างนิสัยและต้องเริ่มต้นจากในบ้าน เมื่อเห็นสิ่งไม่ถูกต้อง ผู้ใหญ่

จะต้องบอกเด็กทันที แล้วต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องไม่อายที่จะ
ทำความดี และช่วยกันชมเชยคนทำความดี มาช่วยกันสร้างจิต

สาธารณะให้มาก ๆ

ดร.มิชิตา จำปาเทศ กล่าวว่า จิตอาสา คือจิตที่ต้องการ

ให้ผู้อื่น ตั้งแต่การให้เงิน ให้ของ จนกระทั่งให้แรงงาน แรงสมองหรือ

ที่เรามักเรียกว่า อาสาสมัคร เพื่อช่วยให้ผู้อื่นหรือสังคมมีความสุขมากขึ้น
การให้หรือเสียสละนี้สามารถทำไปได้จนถึงการเสียสละความเป็น

ตัวตนหรืออัตตาของเราลงไปเรื่อย ๆ


สุจิตต์ วงษ์เทศ (2550: online) กล่าวว่าจิตสาธารณะ
หมายถึง การเผื่อแผ่แบ่งปัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีความหมายเดียวกับ

ทำบุญทำทาน ทั้งเพื่อคนอื่นที่เป็นตัวเป็นตน กับเพื่อสาธารณะ
รวมหมดทั้งคนทั้งชุมชนจนถึงบ้านเมืองประเทศชาติและโลก

82 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


เหวง โตจิราการ (2550: online) ให้ความหมายของ

“จิตสาธารณะ” อย่างกว้างว่าน่าจะหมายถึง จุดประกายเพื่อจิตสาธารณะ

ดังนี้ คือ

1. อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด จิตสำนึกที่เป็นไปเพื่อเป็น

ประโยชน์เกื้อกูล ส่งเสริมสนับสนุนสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

คนหมู่มาก

2. ให้กำลังใจ ให้ความอบอุ่น ให้แรงบันดาลใจ แก่ผู้คน
ในการต่อสู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคในชีวิตของตน เพื่อจะได้ดำรง

ตนอย่างปกติสุขในสังคมชุมชน และเข้าร่วมในการสร้างสันติสุข
ให้เกิดขึ้นแก่ชนในวงกว้าง


3. ในขณะเดียวกันอาจจะหมายรวมถึง บทบาทใน
การลดทอนอำนาจของกิเลสตัณหาต่าง ๆ ที่เพิ่มความยึดมั่นถือมั่น
ในเรื่อง ตัวกูของกู โลภะโทสะโมหะ ของปัจเจกชนให้มากมายยิ่ง

ขึ้นไปด้วยก็ได้ เพราะหากเพลงหรือคีตศิลป์เป็นไปในทำนองเชิดชู
ส่งเสริม เรื่องกิเลสตัณหาต่าง ๆ มนุษย์ก็จะถูกมอมเมาให้หลงหัวปัก
หัวปำในกองกิเลสต่าง ๆ แล้วก่อให้เกิดการเบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น

ซึ่งก็คือสังคม หรือสาธารณชนให้เกิดความเดือดร้อนอย่างไม่มี
ที่สิ้นสุด


4. ในขณะเดียวกันก็อาจจะกล่าวขวัญถึงสังคมอุดมการณ์
หรือสภาพอันเป็นที่พึงปรารถนาร่วมกันของมนุษยชาติโดยรวม

ซึ่งสำหรับชาวพุทธเราอาจจะเรียกว่า “สังคมพระศรีอาริย์หรือศาสนิกอื่น”

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 83

ก็อาจจะเรียกกันในชื่ออื่น แต่โดยเนื้อแท้แล้วก็มีความหมายตรงกัน

คือ มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีการเบียดเบียนกัน
มีความอุดมสมบูรณ์ในโภคทรัพย์ ทุกคนต่างมีจิตสำนึกที่สูงส่ง

ไม่มีความเห็นแก่ตัวเหลืออยู่แม้แต่น้อยนิด ไม่ว่าในระดับปัจเจกชน
หรือสังคมก็ตาม สรุปตามความหมายข้างต้นว่าจิตสาธารณะหมายถึง
การจุดประกายเพื่อให้คนทำประโยชน์เพื่อสังคมตลอดจนการให้ความ

เอื้ออาทร ลดความขัดแย้งและการให้ขวัญและกำลังใจต่อกันเพื่อให้
สังคมเป็นสุข


จากที่กล่าวมาทั้งหมด..น่าจะสรุปความหมาย

ของจิตอาสา จิตสาธารณะ ได้ว่าคือ การให้ การเสียสละ การแบ่งปัน
การอาสา คือหลักใหญ่ โดยมีจิตใจที่เห็นแก่ผู้อื่นด้วย ไม่ใช่เพียงแต่

ตัวเราเอง เราอาจจะยื่นมือออกไปทำอะไรให้ใครได้บ้าง เสียสละอะไร

ได้บ้าง ช่วยเหลืออะไรได้บ้าง แบบเพื่อนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจ
แก่กันและกัน ไม่นิ่งดูดายแบบที่เรื่องอะไรจะเกิดขึ้น ไม่เกี่ยวกับฉัน

ฉันไม่สนใจ สามารถแสดงออกมาได้ในหลายรูปแบบ ทั้งการให้
รูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมนั่นเอง


ทำไมต้องมีจิตอาสา? มีจิตอาสาไปทำไม?

จากความหมายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คงตอบปัญหานี้ได้ดี ลองคิดเล่น ๆ
ถ้าทุกคนในสังคมไทยเรานิ่งดูดาย ไม่สนใจกัน ไม่เอื้ออาทรกัน

ใครอยากทำอะไรก็ทำ อยากทิ้งขยะตรงไหนก็ทิ้ง แค่เล็ก ๆ น้อย ๆ

84 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


แค่นี้ก็แย่แล้ว และถ้าพิจารณาจากข่าวที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นข่าวที่ดังมาก

คือข่าวคนขโมยน็อตเสาไฟฟ้า แอบตัดสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์

ไปขายเป็นเรื่องเหมือนจะเล็ก ก็แค่การขโมยของเล็ก ๆ น้อย ๆ (สายไฟ
เส้นเล็กนิดเดียว) แต่เป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก ส่งผลกระสบต่อคนส่วนใหญ่

อย่างมากเพราะทำให้การสื่อสารล้มเหลว เสาไฟฟ้าล้มไม่มี

กระแสไฟฟ้าไปใช้ในชีวิตประจำวัน นี่เป็นตัวอย่างของคนเห็นแต่
ตัวเอง ไม่เห็นแก่ส่วนรวม เห็นรึยังว่าทำไมต้องมีจิตอาสา จิตสาธารณะ

ฉะนั้นเป็นเรื่องที่ดีมาก ที่โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวันจะจัดให้มีการ

ปลูกฝังเรื่องจิตอาสา จิตสาธารณะ เป็นวาระของโรงเรียนในปีการ
ศึกษา 2551 เพราะโรงเรียนเปรียบเสมือนสังคมเล็ก ๆ แต่สำคัญมาก

เพราะนักเรียนส่วนใหญ่ใช้เวลาในโรงเรียนมากกว่าที่บ้าน ดังนั้นโรงเรียน
จึงต้องทำหน้าที่บ่มเพาะให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่ดี ที่พึงประสงค์

เป็นเด็กดีของผู้ปกครอง ครูอาจารย์ โรงเรียน และเป็นเยาวชนที่ดี

ของสังคมและประเทศชาติต่อไป

ดังนั้น ในปีการศึกษา 2551 เราทุกคนในสาธิตปทุมวัน

คงต้องร่วมมือกันทำให้วาระสำคัญนี้ ประสบความสำเร็จด้วยดี

ด้วยการช่วยกันสร้างจิตอาสา จิตสาธารณะแก่นักเรียนให้เกิดขึ้น
เป็นนิสัย โดยที่อาจารย์ทุกท่านเป็นแม่แบบ เป็นตัวอย่างที่ดีในการ

ทำความดี ไม่อายที่จะทำความดี ช่วยกันชมเชยคนที่ทำความดี
และช่วยกันปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตใจที่ดี มีความรัก เอื้ออาทร และ

คิดจะทำแต่ความดี ทำสิ่งดี ๆ อย่างน้อยก็เริ่มที่ตนเอง และ ขยายวง

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 85

ออกไปสู่คนรอบข้าง เช่น เพื่อน ผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า บิดามารดา

ครูอาจารย์ และเผื่อแผ่ไปถึงคนรอบข้างในสังคม ดูแลสังคมรอบ ๆ ตัว

เริ่มที่การทำสิ่งดี ๆ ในโรงเรียน เช่นการปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย
ของโรงเรียน มีคุณธรรมจริยธรรม ไม่กระทำสิ่งที่เสื่อมเสียหรือเป็น

ปัญหาต่อโรงเรียน ต่อสังคม รวมไปถึงประเทศชาติบ้านเมือง


สำหรับอาจารย์ทุกท่าน..ที่มีจิตวิญญาณของความ
เป็นครู เพียงเท่านี้ ก็ขึ้นชื่อว่า ท่านเป็นผู้ที่มีจิตอาสาและ

จิตสาธารณะแล้วเพราะการทำความดีต้องมาจากจิตวิญญาณ
ที่ดี จิตวิญญาณของความเป็นครูเป็นสิ่งที่ดีที่สุด สูงที่สุดแล้ว

ครูคือผู้ให้ ผู้เสียสละและทำดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ดังนั้นท่านจง

ภูมิใจในความเป็นครูและภูมิใจในการที่จะเป็นแม่แบบที่ดีในการสร้าง
นิสัยที่ดีให้กับนักเรียน ในโอกาสนี้ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ทุกท่าน

ที่ต้องทำงานหนักขึ้น เหนื่อยมากขึ้นอีก (รับรองผลที่ได้คุ้มค่า)

และขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยโปรดอำนวยพรให้แก่แม่แบบ
ที่ดีทุกท่านจงประสบความสำเร็จในการประกอบสัมมาอาชีพ

มีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน มีสุขภาพแข็งแรง

ทุกท่านเทอญ

86 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



บรรณานุกรม
บ้านครูคิม. (2550). ความหมายจิตสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2551. จาก
http://www.krukimpbmind.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5386
03400&Ntype
มติชน. (2550, พฤศจิกายน). “8 วิธีง่าย ๆ ทำดีเพื่อพ่อ” มติชน. 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550. หน้า 10.
มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ. (2550). จิตอาสา คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2551. จาก
http://volunteers.in.th/blog/vsarticle/142
--------. (2550). จิตอาสา...ทำไม?. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2551. จาก
http://volunteers.in.th/blog/vsarticle/142

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ:
นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
สุจินต์ วงษ์เทศ. (2550). ทานและการอาสาสมัคร. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2551. จาก
http://thaicivicnet.com/blog/?p=17
เหวง โตจิราการ. (2550). จุดประกาย... คีต (ดนตรี) เพื่อจิตสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ
10 มีนาคม 2551. จาก http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.
pl?0323

ครบเครื่องเรื่องนิเทศ :


พัฒนาศักยภาพครู ด้วยกระบวนการนิเทศ
อาจารย์ประภารัตน์ ธิติศุภกุล

88 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน







ครบเครื่องเรื่องนิเทศ :

พัฒนาศักยภาพครู ด้วยกระบวนการนิเทศ
อาจารย์ประภารัตน์ ธิติศุภกุล








บทนำ

การนิเทศเป็นงานที่มีความสำคัญ ในกระบวนการ
ของการศึกษา ปัจจุบันงานด้านการศึกษาเจริญก้าวหน้ามาก มีการ
เปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ความรู้ในสาขา
วิชาการเพิ่มขึ้น แนวความคิดและแนวการเรียนการสอนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายของการศึกษา แต่ยังพบว่า
ผู้บริหาร ครู และผู้เกี่ยวข้อง ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้ทันต่อ
ความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การนิเทศการศึกษาจึงเป็นความร่วมมือ
ระหว่างผู้นิเทศ และครูในการพัฒนาการเรียนการสอน อันมีผล
สืบเนื่องโดยตรงไปยังนักเรียน นอกจากนี้แล้ว การนิเทศการศึกษา
เป็นการสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการอภิปราย
เพื่อการแก้ปัญหา และมุ่งให้เกิดการส่งเสริมความเจริญ
งอกงามของนักเรียนและครู

การนิเทศ คือ การประยุกต์ใช้ความรู้ ทัศนคติ

ประสบการณ์ และทักษะที่จำเป็น เพื่อการพัฒนา ปรับปรุงงาน
ให้ดียิ่งขึ้น โดยผ่านกระบวนการส่งเสริม สนับสนุน ชี้แนะ และการให้
ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ปฏิบัติงาน (รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ : 2557)

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 89

การนิเทศ (Supervision)


จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านข่าวสารข้อมูล
และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของโลก ความหมายของคำว่า การนิเทศ
ในปัจจุบัน จึงมีความหมายแตกต่างจากเดิม พจนานุกรมของ
Webster (1980 : 320 , 812 , 1162 อ้างถึงใน รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ
: 2557) ให้ความหมายว่า


Supervision คือ การแนะนำ (Direction)
การจัดการ (Management)

Supervise คือ การดู to see

Superintend คือ เอาใจใส่ หรือพิจารณา to
attend, direct, attention to

Oversee คือ การสำรวจ การมองดู
to survey, watch


คำจำกัดความ Supervision แยกเป็น Super หมายถึง
Above, Over หรือ Beyond และ Vision ซึ่งแยกมาจาก Video
(to see)

The elements of supervision are evident in
the process of overseeing or directing the work of others.
As a process, supervision is a series of decisions, actions,
and interactions directed toward overseeing the work of others.
In sum, Supervision is an integration of process, procedures
and conditions that are consciously designed to advance
the work effectiveness of individuals and groups. สรุปได้ว่า
การนิเทศการศึกษา เป็นกระบวน การนิเทศการปฏิบัติงานโดยตรง

90 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น เป็นการพัฒนาความ
ก้าวหน้าในการปฏิบัติงานทั้งบุคคล และทีมงาน


จุดหมายสำคัญของ Supervision คือ การช่วยครู
ให้นิเทศตนเอง (Self-Supervision)

การนิเทศการศึกษาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะ
กระบวนการนิเทศ เป็นการแสวงหาความจริง ความรู้ และคุณค่า
ในสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ส่วนที่ว่าเป็นศิลป์ก็เพราะต้องอาศัย
เทคนิควิธี และมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นการ
ประสานงานการจูงใจเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายของการ
จัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

กลยุทธ์ในการพัฒนาครู

ปฏิบัติการนิเทศจะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้
หากขาดการพัฒนาในตัวครู เพราะครูมีหน้าที่โดยตรงต่อความ
รับผิดชอบในกระบวนการทางการศึกษา ผู้นิเทศต้องเสนอแนะแนว
ทางแก่ครู และมีลักษณะเป็นมิตร วัตถุประสงค์ของการนิเทศการศึกษา
ไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์หรือจับผิด แต่เป็นการปรับปรุงครูและ
การเรียนการสอนเพื่อให้ผลทางการศึกษาได้รับการปรับปรุง

ผู้นิเทศจะต้องมีกลยุทธ์ ให้ความสนใจต่อบุคคล โดยใช้
กระบวนการดังนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศกับครู ความสามัคคี
ของหมู่คณะ หมู่คณะและการทำงานเป็นหมู่คณะและการพัฒนา
ครู

ครูเป็นปูชนียบุคคล ครูมีอยู่หลายประเภทระยะเวลา
ในการทำงานนาน ก็อาจทำให้ครูมีการกระทำที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
ได้ดังที่จะยกตัวอย่างลักษณะของครูที่ไม่พึงประสงค์ (Kimball Wiles.

อ้างถึงใน ชารี มณีศรี, 2542 : 111-118))

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 91


1. ครูเกียจคร้าน (The lazy Teacher)

ครูไม่ขยันสืบเนื่องมาจากสาเหต เช่น ทำงานหรือ
ไม่ทำงานก็ได้รับเงินเดือนอยู่แล้ว (ทำก็ชามไม่ทำก็ชาม) ไม่สนใจคิด
ทำอุปกรณ์การสอนใหม่ ๆ กลับบ้านเร็ว ตลกขบขันเมื่อเห็นครูใหม่
ขยันเรียน เพื่อปรับวุฒิเลื่อนเงินเดือน ชอบคุยในสโมสรนาน ๆ
บันทึกการสอนครั้งเดียวใช้ได้ตลอดปี หลีกเลี่ยงการประชุม ไม่สนใจ
ตรวจงานนักเรียน หรืออาจจะสืบเนื่องจากสาเหตุ เช่น หมู่คณะมองข้าม
ไม่ให้ความยอมรับนับถือ พลาดหวังในสิ่งที่หวังไว้ ปัญหาครอบครัว
ไม่มีส่วนรับผิดชอบแผนงานต่าง ๆ ในโรงเรียน ไม่มีความเชื่อมั่น
(ศรัทธา) ในตัวผู้บริหาร (เลยไม่อยากจะทำอะไร) และการที่เขาไม่ทำ
อะไรเขายังมีความแน่ใจว่า ยังจะได้รับเงินเดือนตามปกติ

ข้อเสนอแนะบางประการในการแก้ไข

1. ยกย่องครูที่มีความรับผิดชอบต่อการเรียนการสอน
การตรวจงานของเด็ก พยายามกระตุ้นครูอื่น ๆ ได้รู้สึกและเกิดความ
รับผิดชอบมากขึ้น

2. เมื่อมีโอกาสผู้บริหารโรงเรียน ควรเดินตรวจภายใน
บริเวณโรงเรียน ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ของครู

3. ส่งเสริมให้ครูทุกคน ได้แสดงผลงานเกี่ยวกับการเรียน
การสอนของแต่ละภาคเรียน พร้อมทั้งพิจารณาความดีความชอบ
ตามความเป็นจริง (ยุติธรรม)

4. พยายามศึกษา ให้เข้าใจปัญหาของครูแต่ละคน
ให้คำแนะนำช่วยเหลือในการแก้ปัญหา

5. ใช้หลักจิตวิทยาช่วย รวมทั้งการบำรุงขวัญและกำลังใจ
หากไม่ได้ผลหรือยังไม่มีการปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ต้องกำหนดโทษ
ตามโทษานุโทษ

92 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



2. ครูไม่มีชีวิตชีวา ไม่กระตือรือร้น (The Colorless
Teacher)

ลักษณะครูประเภทนี้ เช่น

2.1 มีความรู้สึกท้อแท้เหมือนถูกทอดทิ้ง มองโลก
ไม่สดชื่น

2.2 ไม่ยินดียินร้ายต่อการทำงาน เช่น การสอนนักเรียน
ถือเป็นงานประจำ สอน ๆ ให้หมด ๆ ไปวัน ๆ เท่านั้น


2.3 ไม่ชอบให้นักเรียนซักถาม

2.4 ลักษณะการทำงานเป็นเพียง รอรับคำสั่งจาก
ผู้บังคับบัญชา

ข้อเสนอแนะบางประการในการแก้ไข

2.1 มอบงานที่เหมาะสมกับความสามารถให้ทำ

2.2 ยกย่องชมเชยในผลงานของเขา


2.3 ทำให้ครูมองเห็นความสำคัญของตนเอง เช่น
ถามข้อคิดเห็นในที่ประชุม

2.4 ให้ความยุติธรรมในการปฏิบัติงาน

3. ครูขวางโลก (The Teacher Who Disagree)

ครูประเภทนี้ไม่ให้ความร่วมมือในกิจการงานต่าง ๆ

แสดงพฤติกรรมในทางต่อต้าน มีลักษณะดังนี้

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 93

3.1 ยึดถือความเห็นของตนเองเป็นหลัก ไม่สนใจ

ข้อเสนอแนะหรือการทักท้วงจากคนอื่น

3.2 มีความคิดเห็นขัดแย้งกับบุคคลอื่นหรือหมู่คณะ
อยู่เสมอ

3.3 มุ่งเอาแพ้ชนะกัน โดยปราศจากเหตุอันควร

3.4 ชอบคุยโวอวดตัวเอง ยกตนข่มท่าน


3.5 ชอบวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น ติเพื่อทำลาย

ข้อเสนอแนะบางประการในการแก้ไข

3.1 สนับสนุนให้เขามีโอกาสแสดงความสามารถ
ในด้านการงานอย่างเต็มที่

3.2 ข้อทักท้วง หรือ ความเห็นที่ขัดแย้ง มิใช่เป็นเรื่อง
เสื่อมเสียเกียรติ ศักดิ์ศรีแต่ประการใด หากจะนำมาพิจารณาอาจจะ
ใช้ประโยชน์ได้บ้าง


3.3 ควรได้ศึกษาภูมิหลังของครูประเภทนี้ เพื่อจะได้
แก้ไขให้ตรงจุดที่สุด

3.4 หากเป็นคนที่ชอบคัดค้าน โดยไม่ยอมรับฟัง
ความคิดเห็นของผู้อื่น อาจจะแก้ไขโดยให้ความเป็นกันเอง ให้ร่วมงาน
เป็นที่ปรึกษาในกิจการบางอย่าง เพื่อขจัดปมด้อยบางประการ

94 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



4. ครูสูงอายุ (The Older Teacher)

ลักษณะของครูสูงอายุที่เป็นปัญหา

4.1 เชื่อในระบบอาวุโสและเชื่อในอนุรักษ์นิยมอย่าง
แน่นแฟ้น


4.2 ปฏิบัติงานโดยยึดถือระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด
เกินไป ไม่ยืดหยุ่น

4.3 ถือตนว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ มีความชำนาญ
ไม่ยอมฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ


4.4 ทำงานมานานแล้ว เกิดความเบื่อหน่าย เฉื่อยชา
ไม่คล่องแคล่วว่องไว เพราะอายุไม่อำนวย

4.5 ถือว่าเงินเดือนสูงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องปรับปรุง

การทำงานรอเกษียณอายุ

ข้อเสนอแนะบางประการในการแก้ไข

4.1 ให้การยอมรับโดยแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาในหน้าที่
การงานต่าง ๆ


4.2 พิจารณาการสอนโดยลดชั่วโมงการสอนให้
น้อยลง มอบหมายงานด้านอื่น ๆ ที่ต้องใช้ประสบการณ์แทน เช่น
สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน


4.3 ลดช่องว่างทางความคิดระหว่างครูหนุ่มสาว
และครูสูงอายุ โดยให้มีการพบปะสังสรรค์อย่างเป็นกันเองเสมอ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 95

4.4 เปลี่ยนแปลงหน้าที่การงาน สอบถามความสมัครใจ

เกี่ยวกับสถานภาพในการทำงาน

5. ครูจอมเผด็จการ (The Undemocratic Teacher)

ครูที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอาจจะเป็นได้ทั้งด้านการ
เรียนการสอน เช่น ไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นตาม
สมควร การสอนเป็นการบอกกล่าว การให้วิชาความรู้ ครูมีหน้าที่
Give นักเรียนเป็นฝ่าย Take การให้และการรับเป็น One way

communication ในการทำงานร่วมกับหมู่คณะต้องการเป็นผู้นำ
ที่ใช้อำนาจ ต้องการควบคุมหมู่คณะ หรือผลักดันหมู่คณะให้ทำตาม
ความเห็นของตนเอง

ข้อเสนอแนะบางประการในการแก้ไข

แนะนำให้ศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพราะระบบ
การทำงานสมัยใหม่จะเน้นถึงการทำงานร่วมกัน (Cooperation)
พยายามค้นหาสาเหตุแห่งการใช้อำนาจเผด็จการ และพยายาม
แก้สาเหตุนั้น ๆ (รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ : 2557)


บทสรุป

ตามทฤษฎี แล้วไม่มีอะไรจะดีโดยสมบูรณ์และเลวโดย
สิ้นเชิง หากแต่ควรส่งเสริมสิ่งที่เห็นว่าถูกต้องอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
ปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เป็นปัญหา ผู้นิเทศจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์
ในการครองคน แต่ก็จะต้องให้ได้งาน จะต้องคำนึงถึงความ

แตกต่างระหว่างบุคคล และไม่มีสูตรสำเร็จในการทำงาน
สถานการณ์และสถานที่ที่แตกต่าง การทำงานอยู่กับคนที่มีความ
ละเอียดอ่อนทางด้านจิตใจ บางครั้งต้องอาศัยประสบการณ์ในการ
เข้าใจคนอื่น มีความจริงใจ และมีมิตรไมตรีกับทุก ๆ คน

96 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


อย่างไรก็ตามการนิเทศการศึกษาสู่การพัฒนาการ

เรียนการสอนนั้น ยังต้องอาศัยความร่วมมือกับทุก ๆ ฝ่ายในอันที่
จะนำพาผลลัพธ์ไปสู่คุณภาพการเรียนการสอนที่ดี มีประสิทธิภาพ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับนักเรียน โรงเรียนสังคมและประเทศชาติ
ต่อไป








บรรณานุกรม

ชารี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : บูรพาศาส์น.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การนิเทศการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุง.
สงขลา. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

ส่วนที่ 2


Click to View FlipBook Version