The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:13:06

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 3

มือชั้นครู



อาจารย์ทวิช สุภาภรณ์

100 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน







มือชั้นครู



อาจารย์ทวิช สุภาภรณ์






บนเส้นทางชีวิตที่ผ่านมา...ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาที่ผ่านไป
พบว่ามนุษย์ต่างยอมรับกันด้วยความชื่นชมในตัวเองว่า ธรรมชาติ
ได้มอบคุณสมบัติพิเศษเอาไว้ให้หลายประการ รวมทั้งลักษณะเด่น ๆ
ในเรื่องการคิด พูด ทำ โดยมีมือเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของการ

กระทำ และมีพฤติกรรมเป็นผล แต่ธรรมชาติเองก็มีข้อจำกัดตรงที่
ไม่สามารถทำให้ทุก ๆ คนมีความเท่าเทียมกันได้ทั้งหมด

ความไม่เท่าเทียมกันนี่เอง ที่เป็นเหตุให้ผู้คนมีความ
แตกต่างในหลายลักษณะด้วยกัน


แต่ถ้าคิดให้ดีการทำให้มีความแตกต่างก็เป็นความฉลาด
ที่น่ารักอย่างหนึ่งของธรรมชาติ เพราะความแตกต่างยังเป็น
เครื่องจำแนกลักษณะเฉพาะให้เหมาะสมกับ “การกระทำ” ต่าง ๆ
อีกทั้งความแตกต่างในบุคลิกของคน ยังป้องกันไม่ให้สับสนจนไม่รู้ว่า

ใครเป็นใคร (กันมั่ว) ได้อีกด้วย

ขณะที่มนุษย์มีความแตกต่างและไม่เท่าเทียมกันนี้
ยังทำให้สิ่งที่เรียกว่าศักยภาพอันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของ

แต่ละคนนั้น พลอยแตกต่างและไม่เท่าเทียมกันไปด้วย

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 101

คนที่ฉลาดกว่าจึงมีโอกาสเรียนรู้วิธีบริหารจัดการกับ

ศักยภาพที่แตกต่างกันนั้นในทางบวก

ฉลาดในที่นี้หมายถึงความเฉลียวฉลาดเทียบคำฝรั่งว่า
Intelligence คือสติปัญญา, เชาวน์, อำนาจในการเข้าใจ, ไหวพริบ,
ความรู้จักคิด ที่มนุษย์ได้พยายามจำลองเอาเข้าไปใส่ไว้ในซีพียู

คอมพิวเตอร์ (Intel Inside) แต่ถึงอย่างไรก็พลิกแพลงได้ไม่เท่า
ความคิดของ (บาง) คน (จริงไหม?)


ดังนั้น คนที่รู้ว่าตัวเองเป็นครู จึงต้องตระหนักคิด

ตระหนักรู้ ตระหนักทำ ต่อศักยภาพที่มีอยู่บนความแตกต่างและ
ไม่เท่าเทียมกันของศิษย์แต่ละคนนั้นได้ อย่างคนที่ “ฉลาด

อย่างครู”

หมายความว่าคนที่เป็นครูนั้นควรที่จะต้องคิด

พูด และทำ ได้อย่างชาญฉลาด ในระดับที่จะช่วยเสริมให้งานสอน
มีประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์สูงสุด บนความแตกต่างของผู้เรียน

แต่ละคน

ขยายความ : ตรงวลีที่ว่า “ฉลาดอย่างครู” นั้น

เป็นการคิดเชิงตรรกะโดยอนุมานเอาเองว่าคน ที่ประกอบอาชีพครู
ย่อมต้องมีความฉลาดพิเศษในวิชาชีพของตน ทั้งการคิด พูด และ

ทำ ในระดับซึ่งพอที่จะสอนให้ศิษย์ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ตาม

ความคาดหวังของศิษย์ ผู้ปกครอง และรัฐ หาได้บังอาจยกย่องครู

102 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ด้วยกันว่าจะต้องฉลาดกว่าอาชีพอื่นแต่อย่างใดไม่ เพราะแต่ละอาชีพ

ย่อมต้องการคุณสมบัติของบุคคล ที่แตกต่างกันไปโดยกฎธรรมชาติ

ดังกล่าวข้างต้น เช่นเดียวกัน

ธรรมชาติได้สร้างใส่สิ่งนี้ไว้ให้แล้วในสมองของมนุษย์

แต่ความคิดของใครจะฉลาดมากฉลาดน้อยกว่ากันอย่างไรเพียงใด
ก็อยู่ที่ว่าใครจะมีวิธีฝึกฝนใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมและบริหารจัดการ

กับความฉลาดของตนอย่างไรนี่เอง

ยังมีความจริงอีกอย่างคือคนที่เป็นครูอาชีพนั้น หาได้

ทำหน้าที่ครู (หมายถึงภารกิจทุกอย่างในกระบวนการสอนการอบรม)
เท่านั้นไม่ แต่ครูยังต้องทำหน้าที่อื่น ๆ อีก ตามลักษณะของ

ความแตกต่างและไม่เทียมกันโดยธรรมชาติ ที่รวมไปถึงการมีความรู้
ประสบการณ์ ความถนัด อุปนิสัย และสภาพทางสรีระของแต่ละ

บุคคล

“หน้าที่อื่น ๆ” ที่พูดถึงนี้ โดยทั่วไปมักเรียกกันว่า

หน้าที่พิเศษ ที่ครูผู้นั้นมีจิตอาสาเข้ามารับภาระ มาช่วยกันทำ
ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่บางคนอาจมีเจตนาอื่นแฝงอยู่ด้วย ทุกหน้าที่

ล้วนมีปัญหาทั้งเรื่องงานเรื่องคน ที่ยิ่งเมื่อมีภาวะกดดันจากกรอบ
การประเมินอย่างในปัจจุบันก็ยิ่งทำให้มีปัญหาที่แตกฟู กระจายกว้าง
จนบางครั้งบางปัญหาก็ออกอาการรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก ตามกระแส

ความคิดคำพูด การกระทำ รวมทั้งพื้นฐานทางอุปนิสัย อารมณ์
และตามแต่สภาพพฤติกรรม ปัญหา เหตุผลแนวคิด

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 103

และวิธีการแก้ไขปัญหา ที่บางทีก็ยังเกี่ยวกับศรัทธา

และความจริงใจอย่างแท้จริงอีกด้วย


ปัญหาจากกรณีที่ว่านี้มีเข้ามาได้หลายกระแสและ
หลายทิศทาง ด้วยสาเหตุลึก ๆ นานัปการซึ่งบางทีก็เกิดขึ้นจากตนเอง

บางครั้งมาจากผู้ร่วมงาน บางคราวก็มาจากผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
ทั้งที่น่าจะเป็น และที่ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น

คนเป็นครู จึงมักสามารถป้องกันปัญหาอันเป็นการ

ป้องกันตนเอง ป้องกันผู้อื่น และปกป้ององค์กรให้พ้นจากความเสื่อม
ด้วยการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เที่ยงตรง และเที่ยงธรรมใน
ทุกด้านทุกประเด็น ก่อนที่จะตัดสินใจอาสาเข้าไปรับหน้าที่พิเศษนั้น ๆ

หรือวิตกวิจารณ์การกระทำของผู้อื่นนั้น ๆ ทั้งนี้ ด้วยคุณสมบัติและ
กรอบของความเป็นครู ผู้ซึ่งจะต้องมีอุเบกขากับความคิดริเริ่มในทาง
สร้างสรรค์และเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์และสังคม


หน้าที่..บางอย่างต้องการคนปฏิบัติที่มีความแตกต่างไป
จากบุคคลอื่น คือต้องมี “คุณภาพ” ที่เหมาะกับตำแหน่งนั้น ๆ โดยตรง

อันเป็นความโดดเด่นเฉพาะตัว (ที่น่าอิจฉาแต่ไม่ควรอิจฉา) เช่นบุคลิกภาพ
และคุณสมบัติส่วนตัวอื่น ๆ ได้แก่ความรู้ความสามารถประสบการณ์

ปฏิภาณไหวพริบการตัดสินใจ และ มีทักษะในการแก้ปัญหาบางหน้าที่

ก็ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ และน้ำใจ เสริมประกอบเข้าไปเป็นคุณความดี
ที่ได้สร้างสมไว้เป็นบารมีและพลังสนับสนุนอย่างเพียงพอแก่กิจการ

ทั้งปวง กล่าวโดยภาพรวมก็คือ ต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะเหมาะสม
แก่งานในหน้าที่นั้น นั่นเอง

104 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ดังนั้น ความแตกต่างหรือไม่เท่าเทียมกันจึงเป็นเรื่อง

มีประโยชน์ ตามสภาวะที่น่าจะเป็น


ยกเว้นความไม่เท่าเทียมบางอย่างที่เกิดจากบุคคลอื่น
หรือเพียงแต่คิดไปเอง (อันนี้อันตราย)


คนในองค์กรก็เช่นเดียวกับเครื่องหมายบวก (+)
ที่มีเครื่องหมายลบ (–) อยู่ด้วย แต่ก็ไม่หนักหนาอะไรเพราะเครื่องหมายลบ

(–) นั้นอยู่ในลักษณะหรือวิถีที่เรียกว่าแนวนอน ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว
ไม่ค่อยมีน้ำหนักเหมือนแนวตั้ง (ถ้ามองแบบแบ่งข้างก็จะเป็นลบ (–)

ทั้งหมด) แต่เครื่องหมายลบ (–) ก็มีศักยภาพที่อาจขยายตัวในทาง
ยาวได้ไกลจนเสียความเป็นเครื่องหมายบวก


คิดในมุมกลับกัน ถ้ามีเส้นตั้งฉากเป็นหลักจำนวน

มากพอก็สามารถแบ่งแกนความยาวของเส้นลบ (–) ที่ยาวกินเหตุนั้น
ให้สั้นลงเป็นบวก (+) หลายชุดก็ได้เช่นเดียวกัน


แต่ถ้ามองภาพรวมของเครื่องหมายบวก ที่เป็นการ
ผนึกศักยภาพไว้ร่วมกัน เพื่อเพิ่มความมั่นคงและเพิ่มประสิทธิภาพ

ตามศักย์ของเครื่องหมายบวก (+) ก็เป็นเรื่องดีที่พึงประสงค์อย่างยิ่ง

ดังนั้น ถ้าจะช่วยกันเก็บเครื่องหมายบวก (+) เอาไว้ใน

จิตใจของคนเป็นครู ให้ได้มีความคิดเชิงบวก ก็จะสามารถสร้างสรรค์
คุณภาพเชิงบวกให้แก่ศิษย์ของตนและของผู้ร่วมงานได้ตลอดไป

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 105

โดยเฉพาะสำหรับคนเป็นครูผู้มีหน้าที่พิเศษบางระดับ

และผู้บริหาร ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลากหลาย ตามคำจำกัด
ความที่ว่า “การบริหาร (Management) คือดำเนินการ, จัดการ

หมายถึงการจัดสรรและมอบหมายงานให้มีการดำเนินไปอย่าง
เหมาะสมตามคุณสมบัติของบุคลากรและปัจจัย เพื่อให้สำเร็จลุล่วง
ไปตามนโยบายและแผน” ซึ่งต้องมี “การบริหารบุคลากร”เข้ามาเป็น

หัวใจของการบริหารและ นักบริหารมืออาชีพ จึงจะสามารถประสบ
ความสำเร็จอย่างสูงในการทำงาน

แต่ถ้าเป็นความสำเร็จในงานที่เป็นเกียรติยศน่ายกย่อง

ชื่นชม ก็มีคำเรียกกันมาแต่โบราณว่า “มือชั้นครู” และนิยมชมชื่นกับ
ผลงานที่น่ายกย่องของคนเป็นครูว่า “มือชั้นครู” เช่นกัน


ทั้งนี้..นอกจากจะเอา “มือ” มาเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทน
ของการกระทำแล้ว ยังบ่งบอกถึงระดับความสามารถและระดับของ

ผลงานอีกด้วย ดังตัวอย่างที่มักเคยได้ยินจนชินหูก็มีเช่นมือใหม่มือเก่า
มือทอง มือเซียน เป็นต้น หรือบางทีก็ใช้เป็นคำแยกประเภทคนกับ
การกระทำ เช่น มือบอน


ปัญญาชนอย่างคนเป็นครู คงฉลาดพอที่จะรู้วิธี
ยกระดับตัวเองเข้าสู่มาตรฐานมืออาชีพและทำอย่างไรจึงจะไม่เสียชื่อ
“มือชั้นครู”


แต่อย่าเผลอเป็นแบบ “มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ”
ซึ่งคงไม่ต่างกันกับคน “มือคัน ชอบเขียนเครื่องหมายลบ” ก็แล้วกัน

106 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


คิด พูด ทำ
(ข้อคิดนิด ๆหน่อย ๆ)
คิดก่อนพูด พูดอย่างที่คิด ทำอย่างที่พูด ทำอย่างที่คิด
[คิดดี พูดดี ทำดี คือสาธุชน..คบได้]
คิดแล้ว (ไม่พูด) ทำ [น้ำนิ่งไหลลึก]
คิดอย่าง ทำอย่าง พูดอย่าง ทำอย่าง [...คบไปก็เปลืองตัว]
คิดต่าง ทำต่าง คิดไม่ต่างทำต่าง ต่างคิด ต่างทำ ต่างคน ต่างทำ
[แยกตัว..ด้อยพลัง ไร้บารมี]
ต่างคนต่างคิด ต่างช่วยกันคิด ต่างช่วยกันทำ
[สามัคคี มีพลัง..อำนาจความสำเร็จ]
คิดแล้วไม่ทำ [ดีแต่คิด]
พูดแล้วไม่ทำ [ดีแต่พูด]
คิดได้ ทำไม่ได้..ได้คิด ไม่ได้ทำ [เหลวไหลทั้งสิ้น]
คิดเห็น..เห็นตรง เห็นต่าง..[ประชาธิปไตยธรรมดาถ้าถือเอาความ
เห็นข้างมากก็ไม่เป็นการขัดแย้ง]
คนคิด..ปิดทองหลังพระ, คนพูด..ได้หน้า, คนทำ..ได้เหนื่อยทำด้วย
พูดด้วย..มีแต่ได้กับได้ (win win) ความคิดอีกแบบที่ไม่ควรละเลย
ก็คือ คิดเผื่อ ถือเป็นเทคนิควิธีหรือกลยุทธ์ในการวางแผน
ที่เรียกกันว่า แผนสองหรือก๊อกสอง เป็นต้นว่า ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น
จะให้เป็นเช่นไร (เผื่อผลบวกและผลทางลบ)


จงทำสิ่งที่ประสพ ให้เป็นประสบการณ์อันทรงคุณค่า
[ประสพ น. การเกิดผล / ประสบ ก. พบ, พบปะ, พบเห็น ]


สุภาษิตา จยา วาจา เอตมฺมํ คลมุตตมฺมํ :พูดดีเป็นมงคลอย่างยิ่ง
“คิดดี พูดดี ทำดี เป็นความจำเริญแก่ชีวิต”


ขอ...อย่าคิดเข้าข้างตัวเอง “แล้วก็อย่าลืม ‘คิดถึงคนอื่น’ ไว้บ้างล่ะ”

ครู...ของ ครูต้นแบบ



อาจารย์อรพินธุ์ เสนจันทร์ฒิไชย

108 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน










ครู...ของ ครูต้นแบบ



อาจารย์อรพินธุ์ เสนจันทร์ฒิไชย









ข้าพเจ้า เกิดมาในครอบครัวใหญ่ ที่มีพื้นเพดั้งเดิม
อยู่ใน “ไชยบุรี” อดีตเมืองเก่า ซึ่งปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอ

ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

ตั้งแต่จำความได้ ข้าพเจ้ารับรู้มาว่าคุณพ่อเป็นลูกชาย

คนโต ที่มีคุณปู่ชื่อ “พระยาไชยราชวงศา (ปาน)” ผู้สืบเชื้อสายจาก

“ราชวงษ์ ผู้ว่าราชการเมืองไชยบุรี ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
โปรดเกล้าฯ เป็นพระพฤฒิไชยบดี จางวางกำกับราชการเมืองไชยบุรี”

เมื่อวันที่ 8 มกราคม รัตนโกสินทร์ศก 125

คุณพ่อมีพี่น้องชายหญิงร่วมสายโลหิตจำนวน 5 คน

และแต่ละคนมีลูก ๆ ไม่ต่ำกว่า 7-8 คนทั้ง คุณพ่อและคุณอาว์**
ส่วนมากรับราชการเป็น “ครูประชาบาล” ประจำโรงเรียนในหมู่บ้าน




** อาว์ (โบ) น. น้องของพ่อ (อีสาน อา ว่าน้องสาวของพ่อ, อาว ว่าน้องชายของพ่อ) :
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 109

แต่บางคนก็เป็นครูโรงเรียนประจำตำบล แล้วลงมาถึงพี่ ๆ และ

ลูก ๆ ของคุณอาว์ก็เป็นครูกันแทบทั้งนั้น โดยเฉพาะพี่ ๆ ได้รับทุนเรียน

ดีประจำจังหวัดมาเรียนที่วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา) กรุงเทพมหานคร แล้วกลับไปเป็นครูที่บ้านเกิด

เพื่อพัฒนาและให้ความรู้แก่นักเรียนบ้านนอกตามที่คุณพ่อตั้งใจ
เอาไว้ ไม่เว้นแม่กระทั่งตัวข้าพเจ้าเอง ซึ่งท่านก็ได้อบรมสั่งสอนอยู่

เสมอว่าให้ตั้งใจเรียน แล้วก็ให้เรียนเก่ง ๆ เมื่อจบแล้วให้สอบเข้ารับ
ราชการ “เป็นครู” ซึ่งเหตุผลก็เป็นไปตามค่านิยมที่สืบต่อกันมาว่า

การรับราชการนั้นถึงแม้จะเงินเดือนน้อย แต่เปรียบเสมือนน้ำซึมบ่อทราย
รัฐจะเลี้ยงเราเมื่อยามแก่เฒ่าและเจ็บไข้ได้ป่วย เช่นเดียวกันกับที่

คุณตาก็เคยรับราชการครูมาก่อน พอท่านเกษียณอายุเป็นข้าราชการ
บำนาญ รัฐก็มีเงินเดือนให้ทุก ๆ เดือน เมื่อเจ็บป่วยก็มีค่ารักษาพยาบาล

ท่านบอกว่า ท่านได้กำไรชีวิตและมีบุญมาก (เพราะท่านถึงแก่กรรม
เมื่ออายุ 92 ปี) ส่วนคุณพ่อของข้าพเจ้า ท่านถึงแก่กรรมเมื่ออายุ

63 ปี ขณะที่ข้าพเจ้าเพิ่งจะมีอายุได้ 12 ปี

สังคมไทยให้ความเคารพนับถือ และยกย่องคนที่เป็น

ครูสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัยว่า ครูคือพ่อแม่คนที่สองในขณะที่
เทิดทูนกันว่าพ่อแม่คือครูคนแรก ข้าพเจ้าจึงโชคดีสองต่อที่มี
พ่อเป็นครูอาชีพ


คุณพ่อส่งข้าพเจ้ามาเรียนในกรุงเทพฯ และสอบเข้าเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ที่โรงเรียน สามเสนวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียน
รัฐบาลที่มีชื่อเสียงในฐานะโรงเรียนมัธยมแบบประสมแห่งแรกของ

110 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ประเทศ ยิ่งทำให้ข้าพเจ้าภาคภูมิใจเสมอว่าครูโรงเรียนประจำตำบล

ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัด ที่มักเรียกกันว่า “โรงเรียนวัด” ก็มีความรู้ความ
สามารถที่อบรมสั่งสอนทั้งด้านวิชาการและจริยธรรม จนข้าพเจ้า

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 (ตามแผนการศึกษาชาติในสมัยนั้น) แล้ว
ยังสอบแข่งขันจนประสบความสำเร็จตามที่คุณพ่อคุณแม่มุ่งหวัง


ความรู้สึกด้วยจิตสำนึกดังกล่าว ทำให้ข้าพเจ้ามุ่งมั่น
ตามเจตนารมณ์ของคุณพ่อที่จะให้ลูก ๆ รับราชการ “ครู” กระทั่ง
มีวันนี้


ที่เล่าเบื้องหลังเบื้องลึกมานี้ก็เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เชื่อม
ไปสู่ “ครูต้นแบบ” แบบ “เล่าสู่กันฟัง” ตามที่มีโอกาสได้เรียนรู้วิชาครู

และประสบการณ์ โดยไม่ประสงค์ให้เป็นทางการที่เครียดจนเกินไป
ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าเป็น “ต้นแบบ” นั้น ยังคงเป็น “มาตรฐาน

คุณสมบัติครู” ที่สืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน

การมีคุณพ่อเป็นครู ทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสดีเป็น
พิเศษ ที่ได้เรียนรู้คุณสมบัติของคนเป็นครูอีกภาคหนึ่งจาก “สมุดบันทึก”

ของคุณพ่อ ที่ข้าพเจ้าได้ค้นพบว่า ท่านใช้บันทึกความจำและหลักฐาน
ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรายงานการประชุมครู หลักปฏิบัติและอุดมการณ์
ความเป็นครู คำสอน คติเตือนใจ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ

ทุ่มเท อดทน ขยันหมั่นเพียร ความพอเพียง ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
และการช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความสุขโดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นต้น
ซึ่งทุกวันนี้ข้าพเจ้ายังเก็บรักษาไว้เป็นพลังเวลาหมดกำลังใจ หรือ

เมื่อมีปัญหาข้าพเจ้าจะนำบันทึกของคุณพ่อมาอ่าน ก็จะมีความรู้สึก

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 111

เสมือนคุณพ่อคอยให้กำลังใจอยู่ใกล้ ๆ เหมือนเมื่อครั้งอดีตที่ท่านคอย

อบรมสั่งสอนลูก ๆ ทุกคนเวลานั่งล้อมวงรับประทานอาหารเย็นด้วยกัน
ทุก ๆ วัน

ข้าพเจ้าได้เห็นคุณพ่อเป็นครูผู้เสียสละและเอื้ออาทร

ต่อเพื่อนบ้าน บ่อยครั้งหลังเลิกงานจากโรงเรียน ท่านนำเรือออกไป
หาปลาในเวลากลางคืน หรือบางทีก็เช้ามืด เพื่อนำมาให้คุณแม่กับ
พี่ ๆ เอาตากแดดหรือย่างไว้ แล้วนำไปแบ่งปันให้ครอบครัวอื่นที่

ลำบาก และเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนที่ยากจนได้ปิ้งกินกับ
ข้าวเหนียวจิ้มแจ่ว ได้อย่างดี อร่อย และให้คุณค่าทางโภชนาการ

ทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้นำมาปฏิบัติเป็นหลัก

ยึดเหนี่ยว เป็นกำลังใจ แม้จะปฏิบัติได้ไม่เต็มรูปแบบเหมือนคุณพ่อ
แต่ข้าพเจ้าก็ได้รับรู้ในความเป็นครูของคุณพ่อ ที่ทุ่มเท เสียสละ อดทน
โดยไม่หวังผลตอบแทนมากมาย ซึ่งดูได้จากที่ท่านเริ่มรับราชการครู

ประชาบาลเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2467 ได้รับพระราชทานเงินเดือน
เดือนละ 8 บาท

จนกระทั่งย้ายมาเป็น “ครูใหญ่” โรงเรียนบ้านไชยบุรีเมื่อ

พ.ศ.2469 จึงได้รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ 10 บาท
แล้วต่อมาจนถึงปี พ.ศ.2510 จึงได้รับเงินเดือนเพิ่มขั้นละ 30 บาท

ความเป็นครูของคุณพ่อไม่ใช่การที่คุณพ่อเป็นครูคน

แรกของข้าพเจ้าหรือการเป็นครูอาชีพ แต่คือความเป็นเพียงผู้หนึ่ง
จำนวนครูต้นแบบซึ่งเชื่อว่ามีอยู่ไม่น้อยเมื่อครั้งกระโน้น ที่ข้าพเจ้ามี

112 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


โอกาสสัมผัสและซึมซับได้ด้วยตนเองมาแต่เยาวัย และที่ยิ่งไปกว่านั้น

ก็คือ “สมุดบันทึก” ซึ่งข้าพเจ้าได้อ่านและศึกษา แล้วพยายามตั้งใจ
ปฏิบัติตามคำสอนของคุณพ่อต่อไป ให้เกิดคุณประโยชน์แก่หน้าที่

รวมทั้งผู้ร่วมงาน นักเรียน และการศึกษาของชาติโดยส่วนรวม

ขอปิดบรรยากาศความแตกต่างระหว่างครูชนบท
ในอดีตกับครูปัจจุบัน เพื่อก้าวเข้าสู่การแบ่งปัน คำสอนและอุดมการณ์

ในการพัฒนาตน พัฒนาครู พัฒนานักเรียน จากบันทึกความ
จำบางส่วนบางประการของครูใหญ่ชนบทคนหนึ่งซึ่งข้าพเจ้ายึดถือ
เป็น “ครูต้นแบบ” ตลอดมา และตลอดไป


ข้อที่ 1 ครูที่ดีจะต้องประกอบด้วย...

1. มีความรู้ดี หมั่นศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา
อ่านหนังสือมาก ๆ ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ


1.1 มีความรู้ในวิชาชีพและวิชาที่ตนถนัด

1.2 มีความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ

1.3 มีความรู้ด้านภาษามากขึ้นสื่อสารได้หลาย

ภาษายิ่งดี

2. มีความประพฤติดี ดีทั้งภายนอกภายใน ดีทั้งกาย

วาจา และจิตใจ ไม่หน้าไหว้หลังหลอก

3. มีวิธีการสอนที่ดี ถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนเข้าใจ

ได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจความทุ่มเทเพื่อให้นักเรียนเรียนอย่างมี
ความสุขอยากมาโรงเรียน

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 113

4. มีการปกครองดี ปกครองทั้งในชั้นเรียน-นอกชั้นเรียน

มีความยุติธรรมอบรมสั่งสอนเขาเสมือนลูกหรือหลานเรา

5. มีความคิดริเริ่ม พัฒนาตนเองขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ
ด้านโดยเฉพาะวิธีสอนการถ่ายทอดความรู้ เป็นต้น


ข้อที่ 2 การเป็นคนดีจะต้องประกอบด้วย...

1. มีน้ำใจ มีจิตสำนึกของความเป็นครูมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

มีความเป็นเลิศทางิชาการ (ตามที่ตนเองถนัด) และต้องมีคุณธรรม
ประจำใจเสมอ

2. มีวินัย เคารพและยอมรับในระเบียบ กฎ กติกา

มารยาท ของโรงเรียน มีวินัยต่อตนเองและผู้อื่น

3. มีมารยาท มีกิริยา วาจาไพเราะ มีความอดกลั้น
คิดก่อนพูดเสมอ พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา


4. มีกาลเทศะ การเคารพผู้ใหญ่ การแต่งกายเหมาะสม
การวางตนที่ดีในโอกาสต่าง ๆ ไม่ก้าวล่วงผู้อื่นโดยไม่ได้ศึกษาข้อมูล
และรายละเอียดที่แท้จริง (จะเป็นตราบาป)


5. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความจงรักภักดีต่อชาติ
ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง (จำไว้เสมอว่า
เราโกหกผู้อื่นได้ แต่เราโกหกตัวเราเองไม่ได้ เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

จะรับรู้ในสิ่งที่เรากระทำ)

114 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



ข้อที่ 3 พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

คุณพ่อบันทึกพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระราชทานไว้ให้ข้าราชการ

ปฏิบัติ “หลักราชการ 10 ประการ” และหลัก 10 ประการนี้ ข้าพเจ้าได้
อ่านพบในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เพื่อเตือนสติให้ข้าราชการไทยไม่ใส่
เกียร์ว่าง (ฉบับวันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2553) นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังได้

อ่านพบในคู่มือจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของศูนย์
ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ. แจกแจงไว้ดังนี้

1. ความสามารถ หมายถึงความชำนาญในการปฏิบัติ

งานในด้านต่าง ๆ ให้เป็นผลสำเร็จได้ดียิ่งกว่าผู้มีโอกาสเท่า ๆ กัน

2. ความเพียร หมายถึงความกล้าหาญไม่ย่อท้อต่อ

ความลำบากและบากบั่นเพื่อจะข้ามความขัดข้องให้จงได้ โดยใช้

ความวิริยภาพมิได้ลดหย่อน

3. ความมีไหวพริบ หมายถึงรู้จักสังเกตเห็นโดยไม่ต้อง

มีใครเตือนว่าเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนั้นจะต้องปฏิบัติอย่างนั้นเพื่อให้

บังเกิดผลที่ดีที่สุดแก่กิจการทั่วไปและรีบทำการอันเห็นควรนั้นโดย
ฉับพลัน


4. ความรู้เท่าถึงการณ์ หมายถึงรู้จักปฏิบัติการอย่างไร
จึงจะเหมาะสมแก่เวลา และอย่างไรที่ได้รับเหตุผลสมควรถึงจะเป็น

ประโยชน์ที่สุด

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 115

5. ความซื่อตรงต่อหน้าที่ หมายถึงตั้งใจกระทำกิจการ

ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต


6. ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป หมายถึงให้ประพฤติ
ซื่อตรงต่อคนทั่วไป รักษาตนให้เป็นคนที่เขาทั้งหลายจะเชื่อถือได้


7. ความรู้จักนิสัยตน ข้อนี้เป็นข้อสำคัญสำหรับผู้มี

หน้าที่ติดต่อกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย

8. ความรู้จักผ่อนผัน หมายความว่าต้องเป็นผู้ที่รู้จัก

ผ่อนสั้นผ่อนยาว ว่าเมื่อใดควรตัดขาดและเมื่อใดควรโอนอ่อนหรือ

ผ่อนผันกันได้ มิใช่แต่จะยึดถือหลักเกณฑ์หรือระเบียบอย่างเดียว
ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสีย ควรจะยืดหยุ่นได้


9. ความมีหลักฐาน ข้อนี้ประกอบด้วยหลักสำคัญ

3 ประการคือ มีบ้านอยู่เป็นที่เป็นทาง มีครอบครัวอันมั่นคง และ
ตั้งตนไว้ในที่ชอบ


10. ความจงรักภักดี หมายความว่า ยอมเสียสละเพื่อ
ประโยชน์แห่งชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์


“ หลักราชการ 10 ประการ ” นี้ครบถ้วนกระบวนความ

ข้าราชการหรือคนทั่วไปยึดถือก็หายห่วงเรื่อง “ซื่อสัตย์-ซื่อตรง”

นอกจากบันทึกความจำของคุณพ่อทั้ง 3 ข้อใหญ่ ๆ แล้ว

ยังมีข้อสุดท้ายที่ข้าพเจ้าคิดว่าสำคัญมาก ๆ เพราะตอนข้าพเจ้าเด็ก ๆ

116 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


คุณพ่อให้แขวนพระองค์หนึ่ง เลี่ยมด้วยพลาสติกใส มีก้านธูป พับเป็น

W คือตัวอักษร พ พันด้วยสายสิญจน์พร้อมสร้อยสแตนเลสเล็ก ๆ

1 เส้น ต้องกราบไหว้ก่อนนอนทุกคืน เมื่อข้าพเจ้าโตขึ้นมาเพิ่งจะเข้าใจ
ว่าสิ่งที่คุณพ่อให้ยึดเหนี่ยวนั้นคือ “ความพอเพียง” ซึ่งตรงกับพระบรม

ราโชวาทเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รัชกาลปัจจุบัน

นอกจากนั้น ข้อเขียนในคอลัมน์ “ปลายนิ้วนายกำแหง

เน้นการเมือง ปกิณกะ สารัตถชีวิต” ของคุณกำแหง ภริตานนท์
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม 2549 กล่าวว่า


“ณ วันนี้ไม่มีอะไรดีเท่ากับทำตนเป็นคนพอเพียง พอดี

โดยยึดหลัก 5 พอ 3 อ่อน ดังนี้”

พอหนึ่งคือพอมี เกียรติศักดิ์ศรีไม่ต้อยต่ำ

มีทรัพย์พอหนุนนำ ทุกเช้าค่ำไม่ยากเย็น


พอสองคือพอกิน มีชีวิตไม่ลำเค็ญ

กายใจไร้กรรมเวร หมดทุกข์เข็ญเพราะพอกิน

พอสามคือพออยู่ ไม่หดหู่ชั่วชีวิน

มีบ้านสมใจจินต์ เทพราชินทร์ช่วยอวยชัย


พอสี่คือพอรู้ ไม่อดสูอับอายใคร
พูดคุยกับผู้ใด ย่อมพอใจภูมิปัญญา

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 117

พอห้าคือพอเพียง มีพอเลี้ยงทุกชีวา

ลูกเมียเปรมปรีดา เชิดชูหน้าบรรพชน


ผู้ใดมี “ห้าพอ” สุขจริงหนอปราชญ์สอนไว้
เกิดมาชาติภพใด จงพอใจมี “ห้าพอ”






อันมนุษย์สุดดีมีสามอ่อน
หนึ่งอ่อนน้อมกรเคารพประสบศรี

สองอ่อนหวานหากพจน์หมดราคี
สามอ่อนโยนสุภาพกำซาบใจ.





จากวันนั้น..ณ ที่นั้นในอดีต ถึงวันนี้..ที่สาธิตปทุมวัน

ในปัจจุบันสมัยจากครูผู้พ่อถึงครูผู้ลูก ยังผูกโยงถึงกันด้วยความรู้สึก
ลึก ๆ อีกหนึ่งภาคส่วน ที่เรียกรวมกันว่า “สำนึกของความเป็นครู”

ซึ่งถอดรหัสออกมาเป็นหน้าที่กับความรับผิดชอบทั้งหมดที่ครูที่ดี

ควรจะมีในท่วงทำนองเดียวกันกับที่ปรากฏในสถาบันครูโดยภาพรวม
และนั่นคือสิ่งตกผลึกที่ตกทอดต่อกันมาเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรี

ที่สังคมไทยให้ความเคารพนับถือ และยกย่องว่าเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์
ของความดี ที่สมควรเชิดชูไว้เป็นแบบอย่างสืบไป ทั้งนี้ย่อมสื่อถึง

ความจริงต่อไปอีกว่า ครูดี จะต้องมีต้นแบบที่ดี และเป็นต้นแบบที่ดี.

www.oknation.net

118 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


































ปากน้ำไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นบริเวณที่

แม่น้ำสงครามและแม่น้ำโขงไหลมาบรรจบกัน ทำให้บริเวณนี้มีสี ๒ สี
คือสีฟ้าและสีแดง อีกทั้งบริเวณดังกล่าวมีปลาชุกชุมมาก :

www.thaitambon.com

ครูดีศรีสาธิตปทุมวัน


อาจารย์สมฤดี แย้มขจร

120 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน








ครูดีศรีสาธิตปทุมวัน


อาจารย์สมฤดี แย้มขจร

















คอละคร..หลังข่าวหลาย ๆ คน คงยังจำละคร
เรื่องหนึ่งได้ เรื่องทางช้างเผือก ที่คุณจินตหรา สุขพัฒน์ สวมบทบาท
เป็นครูได้อย่างน่าประทับใจยิ่ง จะพูดถึงครูดีทำไมต้องพูดถึงละคร

หลังข่าว ที่หลาย ๆ คนชอบว่าเป็นละครน้ำเน่า (เน่าจริง ๆ) ที่หยิบยก
ละครเรื่องนี้มากล่าว เพราะละครเรื่องนี้จัดว่าเป็นละครน้ำดี (ซะมากกว่า)
ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับครูที่ดี ลูกศิษย์ที่ดีเป็นอย่างไร ด้วยความดีหลาย ๆ
อย่างทำให้ละครเรื่องนี้ได้รับรางวัลจากสถาบันต่าง ๆ มากมาย ความดี

ของละครเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นครูที่ดีนั้น เป็นอย่างไร
ทั้งการปฏิบัติตนตามหน้าที่ บุคลิกภาพ การแต่งกาย การวางตัว
การพูดจา มีให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ ดียิ่ง (หากนึกไม่ออก หรือลืมไปแล้ว
หาดูจาก Youtubeได้) นอกจากละครเนื้อหาดีแล้ว เพลงประกอบ

ก็ไม่น้อยหน้า เพลงไพเราะ เนื้อหาดีมากบ่งบอกหน้าที่ครูไว้อย่าง

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 121

ชัดเจน (มีเนื้อเพลงอยู่ท้ายบทความ)ชื่อเพลง “ คนเก่งคนดี ” ขับร้องโดย

คุณศันสนีย์ นาคพงศ์ ซึ่งเป็นผู้ที่ออกเสียงภาษาไทยได้ชัดเจนมาก
ทั้งละครและเพลงประกอบดีนี่เอง ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้เขียน
จนต้องทำตามคำกล่าวที่ได้ยินบ่อย ๆ ว่า “ดูละครแล้วย้อนดูตัวเอง”

อาจารย์สมฤดี แย้มขจร จากการดูละครแล้วย้อนดูตัวเอง (ไม่ใช่ดูตัวผู้เขียน

แต่ดูรอบ ๆ ตัวผู้เขียน) ทำให้เห็นว่าสาธิตปทุมวันของเรานั้นมีครูดี
มากมาย (ที่เป็นเหมือนในละคร) มีครูหลายคนของเราประพฤติ
ปฏิบัติตน สมกับเป็นครูดี เป็นปูชนียบุคคลหรือบุคคลที่น่าเคารพ

กราบไหว้ น่านับถือ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542: 704)
โดยมีผลงานประจักษ์ให้เห็นตั้งแต่รางวัลโรงเรียนพระราชทานที่
จัดการศึกษาดีเด่นมากมายรวมถึง 16 ครั้ง ศิษย์เก่าของโรงเรียนและ
นักเรียนปัจจุบันสร้างชื่อเสียง ได้รับรางวัลมากมาย ส่วนหนึ่งของ
ความภาคภูมิใจที่กล่าวมาน่าจะกล่าวได้ว่าท่านปูชนียบุคคลทั้งหลาย

ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นหากจะพูดว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้นก็คือ
ครูดีศรีสาธิต ก็คงไม่ผิด ผู้เขียนคงจะไม่เอ่ยนามท่านปูชนียบุคคล
ทั้งหลาย แต่จะนำคุณลักษณะ คุณสมบัติ และการประพฤติปฏิบัติ

ตนของท่านทั้งหลายเหล่านั้นมาถ่ายทอดและสะท้อนภาพ ให้ผู้อ่าน
ทุกท่านได้นึกภาพไปพร้อม ๆ กันว่า “ ครูดีศรีสาธิตปทุมวัน ” นั้นมี
คุณลักษณะอย่างไรบ้าง (ใครนึกถึงใคร เห็นภาพท่านใดบ้าง…
ยกมือ)


ครูดีศรีสาธิต มีจิตวิญญาณ (ความเป็น) ครู

จิตวิญญาณครู คืออะไร ลองมาดูความหมายกัน
ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน อธิบายคำว่า “จิตวิญญาณ” ไว้ในบทความ
บทหนึ่งว่า จิตวิญญาณเป็นเรื่องภายในแล้วก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล ต้อง

122 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



ปฏิบัติเองจึงจะรู้ จึงจะเข้าใจ จิตวิญญาณเป็นเรื่องภายนอก เกี่ยวข้อง
เชื่อมโยง หรือสัมพันธ์กับสังคมกับวัฒนธรรมหรือพูดในระดับที่ไกล
หรือเหนือออกไปอีก จิตวิญญาณเชื่อมโยงสัมพันธ์กับโลกกับ

จักรวาล และกับสรรพสิ่งแยกกันไม่ออก เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
ส่วนคำว่า “ครู” นั้น หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์
ดังนั้นเมื่อรวมเข้าด้วยกันเป็นคำว่า “จิตวิญญาณครู” จึงหมายถึง
จิตสำนึก ความคิด ทัศนคติพฤติกรรมการแสดงออกที่ดี ลุ่มลึก สงบเย็น

เป็นประโยชน์ตามกรอบของจริยธรรม คุณธรรม ค่านิยม จารีตประเพณี
วัฒนธรรม และความคาดหวังของสังคม อันเป็นองค์รวมธาตุแท้
ของบุคคลผู้ใฝ่รู้ค้นหา สร้างสรรค์ ถ่ายทอด ปลูกฝัง และเป็น
แบบอย่างที่ดีของสังคมซึ่งมีขึ้นได้ในทุกคนไม่เฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพครู

เท่านั้น ส่วนอีกความหมายที่ยกมา (ค่อนข้างยาว...เพราะมีคำอธิบายด้วย)
พระมหาวุฒิชัย (ท่านว.วชิรเมธี) ได้กล่าวไว้ว่า จิตวิญญาณความ
เป็นครูนั้นต้องมี 3 อย่าง คือ

1. ปรากฏเด่น 2.คาย 3.รสให้เย็น และอธิบายเพิ่มเติม

ว่า 1.ปรากฏเด่น คือ ครูต้องเด่นด้วยวิชาการความรู้ สอนเรื่องอะไร
ก็มีความรู้เด่นในเรื่องนั้นสักเรื่อง คือไม้ต้องเก่งไปทุกเรื่อง แต่ขอให้
เป็นเลิศในเรื่องที่รับผิดชอบ และความรู้ของครูนั้นแบ่งเป็น 3 ประเภท
คือ ต้องรู้ คือ ต้องรู้ในเนื้อหาที่ตัวเองสอนอย่างลึกซึ้ง แตกฉาน

ซึ่งปัจจุบันปัญหาของครูคือ รู้ไม่ลึก รู้ไม่จริง ในสาขาที่ตัวเองสอน
อาจเกิดจากครูไม่ขวนขวายความรู้ เมื่อไปสอนก็ทำให้การสอนน่าเบื่อ
ควรรู้ คือ รู้ในสิ่งที่เป็นไปของเหตุบ้านการเมืองในปัจจุบัน ข่าวสาร
บ้านเมืองต่าง ๆ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ในตอนนี้ ส่งผลกระทบ

อะไรกับใคร สิ่งผลกระทบอะไรกับเรา ซึ่งครูควรหาหนังสืออ่าน

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 123


หาข่าวอ่าน ติดตามข่าวเยอะ ๆ รู้ใว้ใช่ว่า คือ รู้ไว้เฉย ๆ เช่น ดารา x คบกับ
ดารา y หรือ นาย a ชอบกินส้มตำ เอาไว้คุยสนุก ๆ สรุปว่า เป็นครูนั้น

ควรจะรู้ลึก และ กว้าง เมื่อรู้ลึกและกว้างทำให้การถ่ายทอดสนุก
ซึ่งครูไม่ต้องรู้ไปหมดทุกเรื่อง แต่สิ่งที่เรารู้นอกเนื้อจากสิ่งต้องรู้
นั้น คือ ของแถมเอาไว้คุยสนุก ๆ ความรู้เป็นของกลาง ใครเดิน
เข้ามาคว้าคนนั้นรู้เอง และการรู้ลึกแต่ไม่กว้างนั้น ทำให้การสอนล้มเหลว


2. คาย หมายถึง การมีศิลปะในการคายความรู้คายสติ
ปัญญาที่แหลมคม ซึ่งก่อนเราจะคายได้นั้น ต้องกลืนด้วยตัวเองเสียก่อน
การคายมีระบบดังนี้ ค้นคว้า>เคี้ยว>กลืน>คาย ค้นคว้า คือ อ่าน
ให้มากค้นหาคำตอบให้มาก ไม่มีคนโง่ในโลกนี้ เพียงแค่เขายัง
ค้นคว้ามาไม่มากพอ หรือค้นไม่เป็น เอาแต่ขยะข้อมูล ปฏิกูลข่าวสาร

มาใส่หัวเต็ม ๆ โดยไม่กรอง ได้มาอย่างไร ก็ยกมาอย่างนั้น เคี้ยว คือ
เมื่อเราได้ข้อมูลมาแล้วก็ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา กลืน คือ
เมื่อวิเคราะห์แล้วนำผลที่ได้มาคิดและเก็บไว้ คาย คือการมีศิลปะ
ในการคาย เลือกคายในเวลาอันเหมาะสม สรุปได้ว่า ก่อนจะไป

ถ่ายทอดความรู้ให้ใครได้นั้น ครูต้องรู้จักค้นคว้าหาความรู้และ
วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่เรามีเสียก่อน ค้นมากรู้มาก ค้นสาระได้สาระ
และเลือกเวลาอันเหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้


3. รสให้เย็น คือ เย็นด้วยเมตตา เมตตาต่อศิษย์
สอนและรักเหมือนลูก เมื่อเห็นศิษย์โง่ให้เมตตาเขา ถือว่านี่คือ
ความท้าทายความเป็นครูที่จะสอนให้เขาพัฒนา เมื่อเห็นศิษย์ฉลาด
ให้ยินดี ว่าเรานี่แหละ สอนให้ลูกศิษย์เก่งอย่าไปหาเรื่องกลั่นแกล้งเขา
เมื่อเห็นศิษย์สวยหน้าตาดี ให้คิดว่าเราโชคดีที่มีลูกศิษย์สวยหน้าตาดี

เราจะไม่เกิดอกุศลทางจิต

124 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ครูดีศรีสาธิต เป็นมิตรกับนักเรียน


อันนี้มีผลงานประจักษ์อีกเช่นกัน จากปากของศิษย์เก่ารุ่น
แล้วรุ่นเล่า กล่าวว่าไม่มีอาจารย์ที่ไหนที่จะให้ความสนิทสนมกับ
นักเรียนมากอย่างนี้ ครูสาธิตให้ความเป็นมิตรที่ดี (คำว่ามิตร หมายถึง

เพื่อนที่รักใคร่คุ้นเคยกัน) แก่นักเรียน นักเรียนจึงไว้วางใจ ปรึกษา
ทุกเรื่อง มิตรที่ดีจึงต้องแนะนำสิ่งที่ดีให้กับนักเรียน โดยไม่เห็นแก่
อามิสสินจ้าง มีการปฏิบัติต่อนักเรียนโดยเสมอหน้าเท่ากันหมด
ไม่คิดว่าเป็นลูกใคร แต่ในความสนิทสนมนั้นเพื่อให้นักเรียนอุ่นใจ

ว่ามีมิตรที่คอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ให้ความสนิทสนม
เพื่อเป็นเพื่อนเล่นกับนักเรียน ยอมให้นักเรียนมาหยอกล้อ เรียกชื่อ
เล่นอย่างสนิทสนมต่อหน้าสาธารณชน โดยไม่มีความเคารพยำเกรง
และไม่รู้กาลเทศะ อันนี้ต้องสอนให้นักเรียนรู้ด้วยว่าไม่ถูกต้อง นักเรียน

ก็จะเข้าใจและปฏิบัติต่ออาจารย์ท่านอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้องด้วย

ครูดีศรีสาธิต คิดเชิงบวก

คงไม่มีใครคิดจะปฏิเสธนะว่า การคิดบวกนั้นดีกับเรา

ขนาดไหน อย่างน้อยก็ช่วยให้เรามีความสุข สดชื่น และทำให้เราทำหน้า
ที่ของเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้เราประสบความสำเร็จในการ
ทำงานในระดับหนึ่งได้นั่นเอง เพราะถ้าเรามัวคิดเชิงลบ มันจะเป็น
การบั่นทอนจิตใจของเรา ทำให้ไม่อยากทำงาน งานเลยออกมา
ไม่สมบูรณ์แบบ เรียกว่าทำไปแบบแกน ๆ ทำแบบไม่มีใจ รับรองได้

ไม่สนุกแน่ แก่เร็ว… (ฮา) มีน้อง ๆ หลายคน เคยบ่นเคยท้อแท้
(ผู้เขียนเองก็เคยประสบ) เลยให้ลองคิดย้อนกลับว่า “เออเค้าทำ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 125

แบบนี้ กับเรา เค้าน่าจะหวังดีกับเรานะ ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่

สุดแล้วกัน อย่าให้ใครเค้าว่าเราได้” อันนี้ก็เป็นความดีเป็นกุศล
เราคิดดีคิดบวกกับคนอื่น คนอื่น ๆ เค้าก็จะติดดี คิดบวกกับเราเช่นกัน
อ้อ…คิดดีคิดบวกแล้ว อย่าลืมคำพูดที่ดี คำพูดที่เป็นบวกด้วย

จะดีมาก ๆ

ครูดีศรีสาธิต คิดสร้างสรรค์

คำนี้มาแรง “คิดสร้างสรรค์” ยังไงเรียกว่าคิดสร้างสรรค์
ไม่อยากจะพรรณนาเป็นวิชาการ แต่เพื่อความทันสมัย ไม่ตกยุค

ตกเทรนด์ ก็เอ่ยสักนิด เพราะยุคนี้เค้าเรียกว่า ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ในฐานะเป็นครูสาธิต ก็ต้องสอนให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ให้ทัน
ยุคทันสมัยหากครูไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีปรับเปลี่ยนการสอน
ไม่คิดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้าง

นวัตกรรมต่าง ๆ แล้วรับรองไม่เกิดแน่นอน อย่าเพียงแต่ใช้การสอน
แบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (แบบผิด ๆ) แล้วจะเพียงพอ (ศึกษาการ
จัดการเรียนการสอนจากบทความของ ผศ.ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล


ครูดีศรีสาธิต มีจิตอาสา

ได้ยินคำพูดนี้บ่อยมาก ๆ ระยะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
“เด็กนักเรียนเราเดี๋ยวนี้ไม่มีน้ำใจ ไม่เคยคิดอาสาทำอะไรเลย
ต้องให้เรียกชื่อ บางที่เรียกชื่อ… ยังไม่ทำเลย” นั่นไงเด็กนักเรียน

เราไม่มีจิตอาสานั่นเอง รณรงค์ไปเถอะ ทำโครงการไปเถอะ 7 จิตอาสา
พัฒนาผู้เรียน พูดไปแล้วก็ขอกราบขอบพระคุณงาม ๆ สำหรับผู้มี
อุปการะคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือทำให้โครงการนี้สำเร็จและ
ผ่านไปได้ทุกปี (แต่ผลการประเมินยังไม่เต็ม 100 %) กลับมาที่ว่า

126 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


การจะทำให้นักเรียนของเราเป็นเด็กที่มีจิตอาสานั้นจะทำอย่างไร

กันดี ก็คงต้องบอกว่า หากจะให้นักเรียนเป็นเช่นไร ครูน่าจะเป็น
แบบอย่างให้นักเรียนเห็นเช่นนั้นใช่หรือไม่ ถ้าใช่.... ครูสาธิต
ต้องมีจิต..คิดอาสาก่อน (ใช่หรือไม่คะ) แต่ผู้เขียนขอยืนยันว่า

ครูสาธิตที่มีจิตอาสานั้นมีเยอะมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์
ประจำชั้น และอาจารย์ในกลุ่มสาระต่าง ๆ ที่มาช่วยงานของกลุ่ม
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย)

ครูดีศรีสาธิต เกาะติดสถานการณ์


คำว่า เกาะติดสถานการณ์นี้ (ใช้คำนี้เพราะว่าคล้องจองกัน)
ผู้เขียนขอให้หมายถึง ความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
รู้จักการใช้ ICT หรือ IT บ้าง รวมไปถึงการรู้สารสนเทศ และการ
ใฝ่รู้รักการอ่านด้วย ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นก็คือคุณสมบัติของ

นักเรียนสาธิตปทุมวันนั่นเอง ฉะนั้นเมื่อจะทำให้นักเรียนเป็นอย่างไร
ครูก็ควรต้องทำเช่นนั้นเหมือนกัน เพื่อเป็นแม่แบบที่ดี

ครูดีศรีสาธิต คิดพัฒนาตนเอง

การพัฒนาตนเอง นี่เป็นคุณสมบัติของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น

มนุษย์อยู่แล้ว พัฒนาตนเองทุกด้าน (IQ, EQ & MQ) ด้านบุคลิกภาพ
อารมณ์สำคัญมาก อย่าให้ใครเค้ารู้ว่าเราอยู่ในวัยทอง (บอกตัวเอง)
การทำตัวไม่อยู่กับร่องกับรอย ปล่อยให้อารมณ์ครอบงำ จะทำให้

ภาพลักษณ์เราเสีย นักเรียนจะเก็บภาพที่ไม่ดีของเราไว้ แล้วไปบรรยาย
ให้ผู้ปกครองฟัง วันดีคืนดีผู้ปกครองมีโอกาสมาพบ พูดคุยกับเรา
เอ๊า...อาจารย์ไม่เห็นเหมือนกับที่ลูกเล่าเลย (เสียไปแล้ว...) ส่วนด้าน
ความรู้ อย่าคิดว่าความชำนาญ และประสบการณ์ในการสอน

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 127

มานานของเราจะช่วยเราได้เสมอไป เนื้อหาความรู้ในปัจจุบันนั้น

สำคัญยิ่ง เพราะโลกเปลี่ยนไป วิชาการความรู้ต่าง ๆ ก็มี
วิวัฒนาการไป ความรู้ที่จะนำมาใช้ในการสอนก็ต้องมีการพัฒนา
เปลี่ยนไปตามวิทยาการที่เกิดใหม่ ๆ หากยังคงใช้ความรู้เดิมที่เคย

เรียนมาไม่ค้นคว้าหาเพิ่มเติม (จากหนังสือหรือสื่อออนไลน์) คงไม่พอ
แน่นอน และการยกตัวอย่างใด ๆ เพื่อประกอบการอธิบายให้นักเรียน
เกิดความเข้าใจนั้นจะใช้ตัวอย่างเดิมตลอดคงไม่ได้ นักเรียนรุ่นใหม่ ๆ
คงงงว่าอาจารย์หมายถึงอะไร (เกิดไม่ทัน… ฮา) คงต้องให้ทันยุค
ทันเหตุการณ์บ้าง หรือแม้แต่การใช้เทคโนโลยี ครูสาธิตคงจะปฏิเสธ

การใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการเรียน การสอนไม่ได้แล้ว เพราะ
อุปกรณ์สื่อเทคโนโลยีของโรงเรียนค่อนข้างจะพร้อมและทันสมัย ดังนั้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้ (บ้าง) นั้นน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง

ของครู เพราะสามารถเร้าใจให้ผู้เรียนเกิด การตื่น(ตัว) กระตือรือร้น
หรือสนใจการเรียนขึ้นมาได้บ้าง นอกจากการใช้เทคโนโลยีแล้ว
ครูสาธิตต้องรู้จักการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ รู้จักการ
เลือกหรือการประเมินข้อมูลที่จะนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
แต่ครูสาธิตก็จะไม่ทิ้งการเน้นเรื่องการใช้สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับนักเรียนด้วย

เพราะการอ่าน หรือการค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์นั้นแตกต่างจากสื่อ
ออนไลน์หลาย ๆ อย่าง อย่างหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความมั่นใจ
ในความถูกต้องของข้อมูล โดยไม่ต้องประเมินเหมือนสื่อออนไลน์

และความรู้ที่ครูไม่ควรจะละเลยอีกเรื่องคือ ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู
มาตรฐานต่าง ๆ ตัวชี้วัด ซึ่งเป็นตัวกำหนดการปฏิบัติการของครู
เพราะเราจะต้องเข้าสู่ระบบการประกันคุณภาพ และการประเมิน
โรงเรียนนั่นเอง

128 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ครูดีศรีสาธิต พิชิตปัญหา


คำว่า “พิชิตปัญหานี้” ผู้เขียนหมายถึง การที่ครูเป็น
ผู้ที่มีความคิดที่จะแก้ปัญหา มากกว่าสร้างปัญหาเพราะการทำงาน
ทุกอย่างส่วนใหญ่จะมีปัญหาอุปสรรค หากไม่คิดที่จะแก้ปัญหา

งานต่าง ๆ ก็ไม่บรรลุถึงความสำเร็จแน่นอน และหากคนหนึ่งคนใด
ในทีมพยายามแต่จะสร้างปัญหาให้เกิดขึ้น นั่นแสดงว่าคนคนนั้น
กำลังถ่วงความสำเร็จของเพื่อน ๆ ในทีมให้ล่าช้าลงหรือไม่ประสบ
ความสำเร็จในที่สุด แต่ครูสาธิตปทุมวันส่วนใหญ่เป็นผู้ที่แก้ปัญหา

ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ หลายคน
เผชิญปัญหาและแก้ปัญหาได้ในที่สุด ครูสาธิตส่วนใหญ่จะไม่มีการ
หนีปัญหาอย่างแน่นอน

ครูดีศรีสาธิต คิดแตกต่างแต่ไม่แตกแยก


ข้อนี้สำคัญมากในยุคนี้ เพราะยุคนี้สมัยนี้ผู้คนจะมี
ความแตกต่างในด้านความคิดมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเมือง
ผู้เขียนไม่ขอกล่าวถึงดีกว่า เพราะความคิดเห็นทางการเมืองก่อให้

เกิดความแตกแยกอย่างเห็นได้ชัด สำหรับครูสาธิตแล้วเรามีความ
คิดเห็นแตกต่างกันได้ ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเอง
ได้ แต่จะลงเอยด้วยการใช้หลักประชาธิปไตย ทุกคนจะเคารพในสิทธิ
หน้าที่ของตนเองและของผู้อื่น โดยยึดมติที่ประชุมหรือตัดสินกันที่เสียง
ข้างมากนั่นเอง และเมื่อส่วนรวมหรือคนส่วนใหญ่มีความเห็นอย่างไร

ทุกคนก็ปฏิบัติตามอย่างนั้นโดยไม่มีเงื่อนไข ทำงานอย่างเต็มที่

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 129

เต็มใจทุกคนงานทุกอย่างจึงประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี งานจบ

ทุกคนแฮปปี้ (มีโบนัสเป็นการพาไปทัศนศึกษา) ไม่มีการแตกแยก

จะเห็นได้ว่าคุณลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น
(จริง ๆ ยังไม่หมด แต่ครั้งนี้ผู้เขียนคิดได้เท่านี้ เพราะดันคิดเป็นคำ
คล้องจอง ใครคิดได้…บอกด้วย เผื่อจะมีภาค 2 ในปีหน้า) ไม่ใช่เป็น

คุณประโยชน์สำหรับนักเรียนเท่านั้น ยังเป็นคุณประโยชน์กับโรงเรียน
ของเรา และที่สำคัญก็คือ เป็นคุณประโยชน์สำหรับตัวของครูอาจารย์
เองด้วย เพราะคำว่าครูดีศรีสาธิตนั้นคงไม่ใช่ครูดีอย่างเดียว เพราะมี

ครูดีแล้วนักเรียนของเราก็ต้องดี (เพราะเค้ามีแม่แบบที่ดี) ครูดี นักเรียน
ดีหนีไม่พ้นโรงเรียนของเราก็ต้องเป็นโรงเรียนที่ดีแน่นอน (อันนี้ก็
เข้าข่าย 3 ดีได้เหมือนกัน) มาถึงตรงนี้แล้ว เห็นภาพอาจารย์ผู้ใดบ้าง
หรือเห็นภาพตัวเองชัดเจน อาจจะไม่ครบทั้ง 9 คุณลักษณะ
เพียงคุณลักษณะเดียวที่มีก็นับว่าใช่...เลย สำหรับผู้เขียนคิดว่าอาจารย์

ทุกท่านของสาธิตปทุมวันนั้นก็เป็น “ครูดีศรีสาธิตปทุมวัน” ด้วยกัน
ทุกคน เพราะคุณลักษณะเดียวที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดที่ทุกคน
มีก็คือ ครูดีศรีสาธิต มีจิตวิญญาณความเป็นครู นั่นเอง (หรือว่า...

ท่านไม่มี)

ท้ายสุดนี้..ฝากเนื้อเพลง คนเก่งคนดี เพลงประกอบ
ละครที่ได้เกริ่นไว้ในตอนต้นมาให้อ่านกัน เนื้อหากินใจมาก ๆ
ขอบอก.....และที่สำคัญครูดีศรีสาธิตปทุมวันทุกคน ก็ปฏิบัติเช่นใน

เนื้อเพลงนี้เช่นกัน

130 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


“คนเก่ง คนดี”

ปาเจรา จริยา โหนติ คุณุตรานุสาสกา

ด้วยความรักและห่วง ห่วงใยดังลูกแท้ ๆ เฝ้าอบรมดูแล ด้วยใจ
ไม่ได้หวังเงินทอง ไม่ต้องการสิ่งไหน ครูหวังเพียงให้เจ้าได้มีความรู้
จะเป็นเหมือนสะพาน ให้เจ้าข้ามสู่จุดหมาย

นี่คือความตั้งใจของครู
โลกใบนี้กว้างใหญ่ มากมายที่เจ้าต้องรู้ เจ้าจงเรียนรู้เพื่อวันต่อไป

* จงตั้งใจให้เป็นคนเก่งคนดี เจ้าไป ได้ดีโชคดี ครูก็สุขใจ
แต่อย่าเอาความรู้ไปคดโกงใคร จงใช้ชีวิตบนความดีงาม

คอยจ้ำจี้จ้ำไช ให้เจ้านั้นอ่านนั้นเขียน ผิดก็คอยเฝ้าเตือนเรื่อยมา
เจ้าคงคิดคงบ่น ว่าอะไรนักหนา เด็กน้อยวันหนึ่งเจ้าจะเข้าใจ

( * )
แต่อย่าเอาความรู้ไปคดโกงใคร จงใช้ชีวิตบนความดีงาม









บรรณานุกรม
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2552). จิตวิญญาณครู. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2552 จาก

http://gotoknow.org/blog/spirituality/153239
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. (2542). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์.
พระมหาวุฒิชัย (ว. วชิรเมธี). (2552). ธรรมเทศนา เรื่อง “ จิตวิญญาณความป็นครู”
ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คนเป็นครู



ดร. ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร

132 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน










คนเป็นครู




ดร. ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร






ปา เจ รา จริยา โหนติ คุนุตรา นุสา สกา

ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา จารึกพระคุณสูงค่า
ผู้นำวิชามาให้ เป็นศิษย์มีครู จึงยืนสู้อย่างผู้มีชัย คุณครูชี้นำทางใจ

จึงทำให้ศิษย์มีวันนี้ ภาพครูแสนดี ยังติดตรึงที่ดวงใจ เป็นคนผู้มีแต่ให้
มีใจสู้งานเต็มที่ รักศิษย์ทุกคน ไม่เคยบ่นจนหรือมั่งมี
จับชอล์คเขียนคุณความดี จับมือชี้คุณธรรม ครูทำงานหนัก

แต่ก็รักศักดิ์ศรี พอใจสิ่งที่ตนมี เป็นพิมพ์ดีให้ลูกศิษย์จำ
ทุกเส้นทางสู้ ศิษย์ยึดครูนั้นเป็นผู้นำ คำสอนทุกอย่างจดจำ
ทุกการกระทำเรียนรู้ ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา

บันทึกความดีสูงค่า นำมาเป็นแนวทางสู้ สังคมวุ่นวาย
ขอส่งใจมายืนข้างครู ครูยัง สังคมจึงอยู่ ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ
ขุนลำดวน ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา บันทึกความดีสูงค่า

นำมาเป็นแนวทางสู้ สังคมวุ่นวาย ขอส่งใจมายืนข้างครู ครูยัง สังคมจึงอยู่

ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ
เพลง ครูในดวงใจ, อรวี สัจจานนท์

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 133


จะมี..สักกี่อาชีพที่จะมีผู้แต่งประพันธ์เพลง ตลอดจน
สร้างละครและภาพยนตร์ให้เพื่อเชิดชูคุณงามความดี ความเสียสละ
ความอุตสาหะ ในวิชาชีพ “ครู” เป็นอาชีพแห่งความคาดหวังของ
สังคมเป็นต้นแบบพันธุกรรมแห่งความดี ต้องมีภาพลักษณ์ที่สร้าง
คนเป็นครู ความเชื่อและศรัทธาเพื่อถ่ายทอดไปยังลูกศิษย์ แต่เนื่องจากในระยะ


ที่ผ่านมา อาชีพครูค่อนข้างได้รับการดูถูกดูแคลนจากสังคมเป็น
ดร. ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร อย่างมากจน ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น คนดีคนเก่งไม่เรียนครู
คณาจารย์ที่สอนครูย่อหย่อนในการปฏิบัติหน้าที่ภาระงานของครู

มีมาก แรงจูงใจค่อนข้างต่ำ ระบบการพัฒนาไม่มีประสิทธิภาพ
การอบรมพัฒนาไม่ตรงตามที่ต้องการ เป็นต้น องค์กรและสถาบันการ
ศึกษาต่าง ๆ จึงตระหนักถึงความสำคัญด้าน “ จิตสำนึกและวิญญาณครู”
ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างศรัทธาให้กลับมาสู่อาชีพไม่ใช่เรื่องง่าย

ที่คนทุกคนจะสามารถเป็นครูได้ และยิ่งเป็นเรื่องยากในการเป็น
ครูที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง
จุดเริ่มต้นที่เราควรทำความเข้าใจในความเป็นครูให้มากขึ้นมาจาก
ภาษา อังกฤษง่าย ๆ ใกล้ตัวเราที่สุดก็คือ คำว่า “TEACHER”
T – Teach

E – Example
A – Ability
C – Characteristic

H – Health
E – Enthusiasm
R – Responsibility

1. TEACH (การสอน) คุณลักษณะประการแรกของ

ความเป็นครูก็คือ ต้องสอนได้ สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการ

134 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


เรียนรู้ในตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี การสอน

ของครูแต่ละคนนั้นขึ้นกับทักษะและลักษณะของตนเอง เป็นการนำ
เทคนิควิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านมาผสมผสานให้เหมาะสม
สอดคล้องกัน จึงต้องใช้เทคนิคและทักษะหลายด้านร่วมกับประสบการณ์

เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และต้องมุ่งจัดสรรการเรียนรู้นั้นไปใน
ทิศทางที่ดีและมีคุณธรรมในสังคม

2. EXAMPLE (เป็นตัวอย่าง) ผู้เรียนโดยทั่วไปนั้นจะ
“เรียน” และ “เลียน” จากตัวครู การทำตัวเป็นต้นแบบหรือแบบอย่าง

จึงเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากกว่าการบอกกล่าวเฉย ๆ เพราะเป็นภาพ
ที่มองเห็นชัดเจนและง่ายต่อการลอกเลียนยิ่งกว่าการรับฟังและบอกเล่า
อย่างปกติ ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเป็นอะไร จงพยายามแสดงออกเช่นนั้น
ทั้งในการดำเนินชีวิตและในการสนทนา


3. ABILITY (ความสามารถ) คำว่า “ความสามารถ”
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความสามารถทั่วไป และความสามารถ
พิเศษ ซึ่งกว่าจะได้มาก็จะต้องผ่านการเรียนรู้ ฝึกฝน อบรมพัฒนา
ตนเองอยู่เสมอ นอกจากนั้นครูจะต้องทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่

หรือนวัตกรรมทางการศึกษา (innovation in teaching) เพื่อจะช่วย
ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนให้ดี
ยิ่งขึ้นไป เพื่อให้ผลการสอนดีที่สุด

4. CHARACTERISTIC (คุณสมบัติ) ความหมายที่ใช้

โดยทั่ว ๆ ไป หมายถึง คุณภาพหรือคุณสมบัติที่สังเกตได้ชัดเจนในตัว
บุคคล ทำให้ทราบได้ว่าบุคคลนั้นแตกต่างไปจากบุคคลอื่น ๆ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 135

ในความหมายเฉพาะด้านคุณสมบัติของครูนั้น สิ่งสำคัญคือ ครูจะต้อง

มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน ต่อวิชาที่สอน และต่องานที่ทำ

5. HEALTH (สุขภาพ) ผู้ที่เป็นครูนั้นต้องทำงานหนัก
ดังนั้นสุขภาพทางด้านร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่าคือ
สุขภาพจิต คงเคยได้ยินคำว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ดังนั้น

ครูจึงจำเป็นต้องมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย จิตดีนั้นไม่เพียงแต่ไม่เป็นโรคจิต
โรคประสาทเท่านั้น แต่เป็นผู้ที่มีสมรรถภาพ มีการงานและมีชีวิตที่
เป็นสุขทำประโยชน์ต่อสังคมด้วยความพอใจ สามารถปรับตัวให้เข้ากับ

สิ่งแวดล้อม รวมทั้งต่อบุคคลที่เราอยู่ร่วมและต่อสังคมที่เรา
เกี่ยวข้อง โดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

6. ENTHUSIASM (ความกระตือรือล้น) ความกระตือ
รือล้นของครูนั้น อาจจะเป็นการใฝ่หาความรู้ใส่ตน เพราะจะต้องถือว่า

การใฝ่หาความรู้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการ
อย่างหนึ่งของการพัฒนาตน การเพิ่มพูนความรู้มีหลายรูปแบบ เช่น
การประชุม สัมมนา จะทำให้ครูที่ขาดความรู้ในเรื่องที่ตนสอนได้มี
ความรู้เพิ่มเติมและทำให้มีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น


7. RESPONSIBILITY (ความรับผิดชอบ) ครูที่ดี
จะต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนอย่างดี รวมทั้งยอมรับผล
แห่งการกระทำนั้น ๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม และพร้อมที่จะปรับปรุง
แก้ไข


จากคำเพียงสั้น ๆ “TEACHER” ที่มีความหมายอันแสน
ยิ่งใหญ่ แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะเฉพาะในอาชีพครู ได้เรียนรู้ถึง

136 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ความหมายที่แท้จริงในคำว่า “ความเป็นครู ของ คนเป็นครู” การเป็น
ครูมืออาชีพใช่ว่าจะเป็นกันได้ง่าย ๆ เพราะงานครูเป็นงาน

ที่ยิ่งใหญ่และหนัก ๆ กว่างานใด ๆ เป็นงานสร้างและพัฒนาคน
และองค์ประกอบแรกที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคือ สติปัญญา
ซึ่งต้องยอมรับความเป็นจริงว่า โดยรวมผู้เรียนส่วนใหญ่มิได้มีระดับ
สติปัญญาดีเลิศ ดังนั้นการจะพัฒนาพวกเขาจึงต้องอาศัยครูอย่าง

พวกเราเป็นหลัก นักเรียนจะดีได้ต้องมีครูที่ดีเป็นต้นแบบ เป็นผู้นำ
คอยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้
คงจะเป็นแนวทางหรือแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งในชีวิตของคนเป็น
ครูอย่างพวกเราต่อไป .....











บรรณานุกรม
กรมวิชาการ . (2541) . “ทิศทางการจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ใน เอกสารประกอบการ
สัมมนาเชิง
วิชาการระดมความคิดเห็น. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2541 ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ.
(อัดสำเนา)
ทิศนา แขมณี และคนอื่น ๆ. (2540, กรกฎาคม - คุลาคม) . “การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด”.
วารสาร ครุศาสตร์. 26(3) : 35-60.
สิริพร ทิพย์คง. (ม.ป.ป.) . ความเป็นครู. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (อัดสำเนา)

ครูมืออาชีพ


อาจารย์บุศราคัม ช่วงชัย

138 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน









ครูมืออาชีพ



อาจารย์บุศราคัม ช่วงชัย









“จิตตปัญญาศึกษา หรือ “contemplative education”
เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาการ
ตระหนักรู้สำรวจภายในตนเอง (อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ

มุมมองต่อชีวิต และโลก) โดยเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงให้คุณค่า
ในเรื่องการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญและการรับฟังด้วยใจเปิดกว้าง
โดยมีเป้าหมายคือเกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (fundamental)
อย่างลึกซึ้งทางความคิดและจิตสำนึกใหม่เกี่ยวกับตนเองและโลก
ส่งผลให้มีการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและมีปัญญา มีความรักความ
เมตตาต่อสรรพสิ่ง ซึ่งนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติที่ดีต่อกันในสังคม”
เมื่ออ่านความหมายของจิตตปัญญาที่ส่งมาทาง Face book ของ
อาจารย์สมฤดี เกี่ยวกับความหมายของคำว่าจิตตปัญญาศึกษา
อยากจะบอกว่าตรงใจมากเลย เพราะปัจจุบันนี้มีอีกหลายคนที่ไม่เห็น

ความสำคัญของการศึกษา ข้าพเจ้าจะบอกกับนักเรียนที่สอนทุกคน
ว่าเราจะต้องให้การศึกษานั้นเป็นสิ่งที่นำมาใช้ขัดเกลานิสัยของตัวเอง
เพราะว่าการศึกษาจะให้สิ่งที่ดี ๆ กับผู้ที่เรียนเสมอการศึกษาไม่เคย
ให้สิ่งที่ไม่ดีกับผู้ที่ศึกษาอย่างท่องแท้ นักเรียนจะได้รับสิ่งที่ดีเหล่า

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 139

นี้จากที่ไหน แหล่งการถ่ายทอดที่ดีที่สุด คือโรงเรียนที่มีบุคลากรที่

ทรงคุณค่าก็คือ ครูนั่นเอง ครูซึ่งเป็นผู้ที่ประสิทธิประสาทวิชาต่าง ๆ
ให้กับนักเรียน และทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสู่การ
พัฒนาตนเอง รู้จักวางแผนการดำเนินชีวิต โดยเลือกเรียนในสิ่งที่
ตัวเองชอบ เพราะครูจะเป็นผู้ที่เปิดโลกทัศน์ให้กับนักเรียนด้วยการ
นำประสบการณ์จากการเรียนรู้มาสอนนักเรียนทำให้นักเรียนเกิด
ความรู้สึกรักและศรัทธาในตัวของครู อาชีพครูยังคงเป็นอีกอาชีพ
หนึ่งที่ไม่มีผู้ใดอยากที่จะเป็นนัก บางครั้งอาจจะเป็นอาชีพสุดท้าย

ที่หลายคนนึกถึง แม้กระทั่งตัวของข้าพเจ้าเองในตอนแรกก็ไม่ได้
คิดที่จะมาเป็นครูแต่เมื่อมาเป็นแล้วก็ชอบอาชีพนี้มาก การเป็นครู
ได้ให้อะไรกับข้าพเจ้าหลายอย่าง แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าได้อย่างแน่นอน
คือความภาคภูมิใจที่เห็นนักเรียนประสบความสำเร็จและนำสิ่งที่
ตัวเองสั่งสอนมานำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทุกครั้งที่เข้าไปสอนหนังสือ
ในห้องเรียนสิ่งที่ทำอยู่เสมอคือจะบอกนักเรียนว่า “การเรียนรู้เป็นสิ่ง
ที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต และไม่มีคำว่าสายถ้าหากเราอยากจะเรียนรู้”
เราอยากจะรู้เรื่องอะไรต้องรู้จักค้นคว้าหาข้อมูลด้วยการอ่านหนังสือ
แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันนี้การอ่านหนังสือลดความสำคัญ

เพราะนักเรียนส่วนใหญ่จะเน้นการใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เป็นหลัก
เทคโนโลยีประเภทนี้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของนักเรียนมากขึ้น
การเป็นครูประจำชั้นของเราก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีนี้
เหมือนกัน ทุกวันนี้ข้าพเจ้าต้องมี Face book ไว้เพื่อทักทายพูดคุยกับ
นักเรียน ไว้ตามการบ้าน หรือบางครั้งอาจจะได้สื่อสารกับผู้ปกครอง
ไปด้วยถึงพฤติกรรมหรือเรื่องเกี่ยวกับการเรียนของนักเรียน ครูอย่าง
เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นค่อนข้างชัดกับนักเรียนของเรา

เรื่องของอารมณ์ของเด็กวัยรุ่น การพูดจาที่ไม่ค่อยจะถูกกาละเทศะ
หรือใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ถ้าเปิดเข้าไปเจอเมื่อไรครูจะต้องบอกกับ
นักเรียนว่า “ใช้ถ้อยคำให้สุภาพหน่อย เพราะอาจมีคนอื่นมา

140 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


เปิดอ่านจะไม่ดีนะ” นักเรียนจะรีบส่งข้อความมาทันทีว่า “ขอโทษครับ”

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอีกประการหนึ่ง คือให้ความสนใจ
กับเรื่องของดนตรีมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่นักเรียนจะแสดงความ
สามารถด้านนี้ซึ่งครูอย่างเราก็ต้องเปิดตัวเอง ต้องยินยอมที่จะฟังพวก
เค้าเล่นหรือบางครั้งก็ต้องไปดูพวกเค้าแสดงด้วยเพื่อเป็นการให้กำลัง
ใจแม้ว่าจะไม่ถึงขั้นเป็นมืออาชีพก็เถอะ คำชมเพียงเล็กน้อยของเรา
สามารถสร้างความสุข และเกิดความรู้สึกภูมิใจที่เรานั้นให้ความ
สนใจกับเรื่องเหล่านี้ บางคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญที่ไปสนใจ

ความรู้สึกเหล่านี้ของนักเรียน แต่นั่นคือการสร้างเงื่อนเล็ก ๆ ของ
ความผูกพันระหว่างครูกับนักเรียนเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ครูประจำชั้น
อย่างเรา ต้องลงมาเชียร์การแข่งขันกีฬาฟุตซอล ต้องไปดูนักเรียน
ที่ห้องไปแสดงดนตรีที่ Crescendo และดูนักเรียนแข่งขันกีฬาสี เป็นต้น
การให้ความสนใจกับกิจกรรมที่นักเรียนทำทั้งในห้องเรียน และนอก
ห้องเรียนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน

ความเป็นครูนั้นมีความสำคัญมาก เพื่อนของข้าพเจ้า

บอกกับข้าพจ้าว่า “จงภูมิใจที่ได้ประกอบอาชีพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน
โลก เพราะทุกคนในโลกนี้ต้องเรียนหนังสือไม่ว่าจะเป็นใครมา
จากไหนก็ตาม” จากคำพูดนี้กล่าวได้ถูกต้อง เพราะครูทุกคนต้อง
เป็นผู้ที่มีความรู้ มีความสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ การเรียนรู้ต่าง ๆ
ให้กับนักเรียน และสามารถควบคุมภาวะอารมณ์ของตัวเองได้
ที่สำคัญครูต้องมีเมตตาต่อนักเรียน ต้องสั่งสอนด้วยความรักและ
ปรารถนาดีจากใจจริง ต้องคอยชี้แนะให้นักเรียนทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ทำให้นักเรียนมีการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและมีปัญญา มีความรัก
ความเมตตา ซึ่งนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติที่ดีต่อกันในสังคม ครูคือ
ผู้ผลิตคนดีสู่สังคมด้วยความเมตตา

ครูผู้ชี้ทำ (ธรรม)



อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน

142 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ครูผู้ชี้ทำ (ธรรม)



อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน






















เด็ก ๆ สมัยนี้..เครียดกับการเรียน แต่มันก็ต้องเรียน

แล้วจะทำยังไงล่ะ ประเด็นที่เราจะเอามาช่วยเหลือแก้ไขมันก็มี
หลายอย่าง ว่าสมัยก่อนแต่ละคนเคยทำอย่างไรบ้าง โดดเรียน !

หลับ ! แกล้งตายในห้องเรียนวิชาที่ไม่ชอบ ! ป่วยขึ้นมากะทันหัน

จนต้องเข้าห้องพยาบาล ฯลฯ สุดท้ายเราก็มานั่งคิดว่า มันก็ไม่ใช่ทางแก้

เป็นแค่ทางเลี่ยง ในที่สุดแล้วก็ต้องอยู่กับมันอยู่ดีหนีไม่พ้น พอพูดประเด็นว่า
หนีไม่พ้น จึงคิดถึงหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าขึ้นมาทันที ผมคิด

ไตร่ตรองและสรุปอย่างเห็นพ้องกับตัวเองแล้วว่า นี่แหละ หลักธรรม

ของพระพุทธเจ้าสามารถแก้ความทุกข์ ดับทุกเรื่องได้จริง ๆ จึงเป็นที่

มาของคอลัมน์นี้ “ถามธรรมตอบธรรม”

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 143


หากธรรมะของพระพุทธเจ้าสามารถแก้ความทุกข์
ได้จริงแล้วเราจะนำมาดับทุกข์เรื่องเรียนได้อย่างไรและใช้

ธรรมะข้อไหนครับ ?


เรื่องความพอดี พอเพียง เรียนให้พอเพียง หลักการ
เดียวกันกับเศรษฐกิจพอเพียงเลย ความพอเป็นธรรมะอย่างหนึ่ง

คือ รู้จักพอ แล้วความพอมันแค่ไหนล่ะ ? “ขนาด” ของความพอ

คือ มันต้องไม่อึดอัด รัดจนไม่สบายตัว “แรงกด” ของความพอ

คือ ไม่บีบให้เราต้องเครียดจนเกินไป “ปริมาณ” ของความพอ คือ

ไม่เยอะเกินไปจนต้องอ้วกออกมาก ต้องการแค่ไหนก็ใช้แค่นั้น
ทำแค่นั้น .. อ่านหนังสือแค่ไหน? ก็อ่านแค่ที่จะใช้มัน ใช้มากน้อย

แค่ไหน? ก็ต้องถามว่า คุณจะเป็นอะไรล่ะ?


หากคุณอยากจะเป็นนักฟุตบอลอาชีพ คุณก็ไม่ต้องมา

บ้าคลั่งนั่งอ่านหนังสือเยอะ คุณเองจะรู้ว่าแค่ไหนถึงจะพอ เกรดจะ
ไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อคุณสักเท่าไหร่ แต่เรื่องการฝึกซ้อมและรักษา

สุขภาพนั้นจะ หนักกว่า หากถ้าคุณชอบ “พอ” คุณก็จะมีความสุข

กับมันไง แล้วมันจะเครียดตรงไหน


แต่หากว่าคุณอยากจะเป็น “หมอ” มันก็ต้องรู้เยอะหน่อย
ใช้เยอะหน่อย เพราะมันหมายถึง การช่วยเหลือชีวิตคน คุณจำเป็นต้อง

แบกรับน้ำหนักความเหนื่อยและความลำบากได้ หากเข้าใจมันว่า

144 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


จะเป็นหมอ มันต้องหนักแบบนี้แหละ คุณก็จะได้เตรียมใจถึงจะยอมรับ

มันได้ตั้งแต่ตอนแรกเลย แล้วพอมันเข้าใจและรับได้ มันจะไม่

กระโดดตึกตายเลยล่ะ


ยังมีอีกประเด็นหนึ่งคือหากชีวิตคุณเอาเกรดเป็นที่ตั้ง
คุณจะไม่พบความ “สุข” เลย เพราะถ้าหากโลกนี้มีมากกว่าเกรด 4

ชีวิตของคุณมันจะยากกว่านี้อีกเยอะ เพราะมันต้องได้มากกว่าคนอื่น

มันต้องได้มากกว่า “ลูกคนอื่น” แล้วมันจะพอ จะยิ้มออกได้ตอนไหน


จริงอยู่บางมหาวิทยาลัยที่ใช้เกรดเป็นใบเบิกทาง

จนมันทำให้คุณต้องดิ้นรนสุดชีวิตเพื่อให้ได้ มหาลัยนั้นมาครอบครอง
หากสุดท้ายแล้วมันไม่ได้ตามที่คุณหวัง ก็แสดงว่า มันไม่เหมาะสม

กับคุณ มันไม่พอดีกับคุณ คุณจงเลือกไปอยู่ที่ ๆ เหมาะสมกับคุณ

อาจเป็นที่เล็ก ๆ แต่สามารถทำให้ยิ่งใหญ่ได้ในอนาคต ก็จงเลือก

มันเถอะ เพราะเมื่อคุณ “พอ” คุณก็จะมีความสุข ธรรมะ การเรียน
และก็ตัวคุณ มันก็เรื่องแค่นี้แหละ

สตอรี่ของครูช่างคิด



อาจารย์เชิด เจริญรัมย์

146 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



สตอรี่ของครูช่างคิด


อาจารย์เชิด เจริญรัมย์





















ต้นแบบในจิตนาการ.....

จงทำตนเหมือนไม้กวาด ที่คอยกวาดฝุ่นละออง ธุลีกิเลสออกจาก
ความคิดหรือใจเราออกไป


จงทำตนเหมือนไม้ถูพื้น ที่คอยกำจัดคราบสกปรกที่ฝังอยู่ลึก ๆ
จากใจเราออกให้หมดไป

อย่าทำตนเหมือนถังขยะ เป็นที่รองรับสิ่งสกปรกสิ่งปฏิกูล ซึ่งไม่มี

ใครอยากเข้าใกล้และสัมผัส

อย่าทำตนเหมือนปลาหมอ ที่แม้แต่ชีวิตตนเองก็รักษาไว้ไม่ได้

เพียงเพราะปากของตนเอง

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 147

ความสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราลงมือทำ ลำพังแต่ความคิด

หรือคำพูด เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น.....เมื่อเปรียบเทียบกับการ
ก้าวเดิน ก็อาจเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้นเอง....

ไม่มีใครฉลาดเกินที่จะเรียนรู้ และก็ไม่มีใครโง่เกินที่จะเรียนรู้ไม่ได้

คนเรา ความเร็ว ขีดความสามารถของสมองอาจจะไม่เท่ากัน แต่ที่
สำคัญกว่า คือความพยายาม ความฉลาดหรือความโง่ จึงขึ้นอยู่กับ

ความพยายามที่จะเรียนรู้ด้วย...

คนที่รู้จักตนเอง มักจะเข้าใจผู้อื่นด้วย แต่คนที่ไม่เข้าใจผู้อื่น
มักเป็นคนที่เห็นแก่ตัวอย่างรุนแรง คนประเภทนี้ ควรหลีกเลี่ยงเป็น

ที่สุด...

อย่าดีแต่สอนผู้อื่น แนะนำผู้อื่น แล้วละเลยการอบรมบ่มนิสัยตนเอง

เพราะนั่น ไม่ใช่วิสัยของผู้เจริญแล้ว (อารยะชน)

ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ย่อมไม่ตำหนิผู้อื่น โดยเอาความคิดของตนเอง
เป็นตัวตั้ง ย่อมมองเห็นความหลากหลายของความคิดและการกระทำ

ของผู้อื่นและย่อมเคารพในสิทธิการแสดงออกของผู้อื่นเสมอ....

คนเป็นหัวหน้า (ผู้นำ)....ต้อง 5 ก 5 ป

1. กล้ารับผิดชอบ (ต้องรับได้ทั้งผิดและชอบ)


2. กล้าตัดสินใจ (กล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง)

3. กล้าเผชิญหน้า (กล้าเผชิญหน้ากับความจริง ไม่ใช่เกี่ยวกับ

ตนเองแล้วหนีปัญหา)

148 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


4. กล้าพูด (กล้าพูดในสิ่งที่ถูกต้อง ภายใต้กาลเทศะอันควร)


5. กล้าแสดงออก (กล้าทำในสิ่งที่ผู้นำต้องทำ เช่นกล้ารับหน้าแทน
ลูกน้อง ฯลฯ)


6. โง่เป็น (บางครั้ง ความฉลาดไม่ได้ช่วยอะไร ก็ควรต้องโง่บ้าง)

7. ฉลาดเป็น (เวลาไหน สถานที่ไหน ควรแสดงภูมิความรู้ความสามารถ
ของตน)


8. พูดเป็น (ต้องมีวาทะศิลป์ เสียงหนักเสียงเบา น้ำเสียงของคำพูด
ต้องพลังน่าเชื่อถือ)

9. ทำเป็น (มีความคล่องตัวในการทำงาน ร่วมลงมือทำงานกับ

ลูกน้องได้)

10. ประสานงานเป็น (ทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดียิ่ง)

จงกล้าที่จะพูด ถ้าเราต้องการการเปลี่ยนแปลง
จงกล้าที่จะทำ ถ้าเราต้องการภาพลักษณ์ใหม่
จงกล้าที่จะฟันฝ่าก้าวไป ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จ


คนเราถ้าไม่อยากให้ใครสอน
ก็ต้องเป็นคนดีคนเก่งด้วยตนเองให้ได้

ถ้าไม่อยากให้ใครมาอบรมเรา หรือต่อว่าเรา
เราก็ต้องควบคุมตนเอง อบรมหรือสอนตนเอง
ให้อยู่ในกรอบของความดีงามให้ได้..


Click to View FlipBook Version