The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:13:06

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 3

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 249

นั่นจึงเป็นที่มาให้ดิฉันต้องรีบหา

คำตอบให้ได้ แล้ววันหนึ่งดิฉัน

เล่าให้รู้ เมื่อฉันอยู่ ก็โชคดีที่ได้เจอตัวเป็น ๆ ของเจ้าหมา
ที่อยู่บนบอร์ดรายชื่อนั้น ดิฉันไม่รอรี
Vancouver ที่จะรีบเข้าไปทักทายด้วยการจับมือ

จากนั้นดิฉันก็พยายามจะถาม
อาจารย์ฐานภา รอดเกิด
อะไรต่อมิอะไรหลายอย่างกับมัน
แต่...มันไม่ยอมตอบ ไม่รู้ว่าหยิ่ง

หรือว่าฟังดิฉันไม่รู้เรื่องกันแน่
(อารมณ์นั้นดิฉันดูคล้ายคนบ้าที่นั่ง

คุยกับหมา!! ) และสุดท้ายดิฉันก็ได้รับคำตอบว่า...มันพูดไม่ได้

แถมยังสอนไม่ได้อีกต่างหาก...อ้าว!! หมาไม่ได้เป็นครูแล้วมีรูปมัน

อยู่บนบอร์ดรายชื่อได้ยังไงกัน...งง...

สุดท้ายมิสเตอร์ฮอร์ลีสตัน ผู้ประสานงานของเรา

ระหว่างที่นักเรียนของเราศึกษากันอยู่ที่นี่ ก็ได้พาฉันไปพบกับคนคน
หนึ่งซึ่งเขาบอกว่า เธอผู้นี้จะให้คำตอบกับฉันได้เป็นอย่างดี


เธอผู้นี้เป็นครูของที่นี่ ชื่อ Judi Bott (ซึ่งต่อไปนี้ดิฉันจะ
เรียกเธอว่าพี่ดี้นะคะ) พี่ดี้ผู้นี้สนใจในการนำสุนัขมาใช้งานในด้าน

การศึกษา พี่ดี้จึงได้สมัครเข้าไปขอเลี้ยงสุนัข และพี่ดี้จะต้องเข้าไป

ฝึกการออกคำสั่งพร้อมกับสุนัขจากสมาคมแห่งหนึ่ง (ซึ่งดิฉันจะเล่า
ให้ท่านฟังในอีก 3 ย่อหน้าถัดไปว่าสมาคมแห่งนี้คือสมาคมอะไร)

250 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


และสุดท้ายเธอก็ได้นำสุนัขตัวหนึ่งมาร่วมงานกับเธอ

ที่โรงเรียนนี้โดยมันมีชื่อว่า “Spirit” หรือออกเสียงแบบไทย ๆ ว่า

สปิริต สปิริต เข้ามาทำงานในโรงเรียนในฐานะครูผู้ช่วยให้กับเด็ก
ที่มีความบกพร่องทางการศึกษา และเธอก็ได้นำเรื่องราวระหว่างเธอ

และสปิริตไปเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของเธออีกด้วย
(เสียดายที่ดิฉันไม่มีโอกาสได้อ่านวิทยานิพนธ์ของพี่ดี้เนื่องจาก

อยู่ในขั้นตรวจสอบเนื้อหา)

เราเรียกสุนัขพวกนี้ว่า Canine Assisted Education

(CAE) ถ้าแปลตาม Google Translate ก็จะได้คำแปลที่ว่า การศึกษา
ช่วยสุนัข...เอ่อ...ดูไม่ค่อยเข้าท่าเลยใช่ไหมท่าน งั้นเอาใหม่ ๆ ลองใส่สันธาน

เข้าไปสักหน่อยเพื่อให้ประโยคมันดูน่าอ่าน

กว่านี้ มันก็ควรจะแปลว่าสุนัขที่มีส่วนช่วยเหลือ
ในการศึกษา (ดูดีขึ้นมาหน่อยใช่ไหมท่าน)
สุนัขพวกนี้จะถูกฝึกมาเป็นพิเศษจาก
PADS และนอกจากสุนัขครูพี่เลี้ยงแล้ว

PADS ยังฝึกสุนัขเพื่อภารกิจต่าง ๆ อีกเช่น
สุนัขตำรวจ สุนัขเพื่อคนพิการด้านการฟัง
สุนัขเพื่อคนพิการด้านอื่น ๆ อีกเช่น

สุนัขสำหรับคนตาบอด เป็นต้น


การขอนำสุนัขมาเลี้ยงเพื่อไปใช้งาน จะต้องเสียค่าใช่จ่าย
ในการขอสุนัขรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการฝึกหัดในการออกคำสั่งให้กับ

สุนัขประมาณหนึ่งหมื่นห้าพันเหรียญแคนาดา ถ้าคำนวณตามอัตรา

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 251

แลกเปลี่ยนเงิน ณ ขณะที่เขียนเรื่องนี้ก็ประมาณ สี่แสนกว่าบาท

โดยทางสมาคมมีข้อแม้ว่าหากสุนัขไม่ได้ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์มากนัก

หรือมีการทำผิดข้อตกลง หรือกฎใด ๆ ของสมาคม (ซึ่งมีหลายข้อมาก
และดิฉันจะไม่ขอกล่าวในที่นี้) ทางสมาคมก็จะเรียกสุนัขคืนกลับไป

เพื่อจะส่งให้บุคลลอื่นที่มีความต้องการ โดยทางสมาคมจะจัดส่ง
เจ้าหน้าที่เข้ามาประเมินสถานภาพของพวกมันตลอดเวลา

ตามที่ได้สัญญาไว้เมื่อ

3 ย่อ หน้าที่ผ่านมา (นั่นแน่ะ! กลับไปนับ
กันใหญ่เลยว่าใช่ 3 ย่อหน้าจริงหรือ

เปล่า) ดิฉันจะขอกล่าวถึงสมาคม
นี้สักนิด


ก่อนจะเพิ่มเติมในเรื่องของ CAE สมาคม Pacific
Assistance Dogs Society (PADS) หรือ แพดส์ เป็นองค์กรการ

กุศลซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายการจัดตั้งสมาคมของ รัฐบริติช

โคลัมเบีย เมื่อปี ค.ศ. 1987 โดยครั้งนั้นจัดตั้งในชื่อว่า “Western

Handi andHearing Ear Dogs Society” โดยถูกจัดตั้งขึ้น
เพื่อฝึกสุนัขไว้ช่วยเหลือผู้พิการทางการได้ยิน โดยบุคคลากร

จากองค์กรที่ทำการช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางด้านการฟังโดยจะฝึกให้

พวกมันช่วยฟังเสียงต่าง ๆ ให้กับมนุษย์ แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก

จนสมาคมเกือบจะหายไปจากสังคมแต่สุดท้ายองค์กรนี้ก็กลับมา
อีกครั้งในชื่อใหม่ว่า Pacific Assistance Dogs Society (PADS)

252 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


โดยได้มีการฝึกสุนัขให้มีความสามารถต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำ

สุนัขไปช่วยเหลืองานให้แก่ผู้พิการ ที่ไม่ใช่เฉพาะแต่พิการทางการ

ได้ยินอย่างเดียวซึ่งก็ทำให้ทางสมาคมประสบความสำเร็จโดยสามารถ
ส่งสุนัขไปปฏิบัติงานยังที่ต่าง ๆ ทั่วรัฐบริติชโคลัมเบียและ ขยายไปยังรัฐ
อัลเบอร์ต้าอีกด้วย


เนื่องจาก PADS เป็นองค์กรการกุศลจึงได้รับการ
สนับสนุนค่าใช้จ่ายจากรัฐ แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

ของบุคลากรและสุนัข ดังนั้นทางสมาคมจึงทั้งรับบริจาคเงิน และ รับสมัคร

อาสาสมัครเพื่อเลี้ยงสุนัข ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข และจะต้องเลี้ยงมัน
ตามโปรแกรมที่ทางสมาคมจัดไว้ รวมไปถึงจะต้องจัดเวลาให้ครูฝึกเข้า
ไปฝึกมันได้ที่บ้านของผู้เลี้ยง และเมื่อมันโตเต็มที่พวกมันก็จะถูกนำไป

ใช้งานในด้านต่าง ๆ ตามที่มันถูกฝึกมา ซึ่งจุดนี้ดิฉันได้คุยกับโฮสต์

แม่ของดิฉัน โฮสต์แม่บอกว่า แม้ว่าคนที่เลี้ยงจะไม่ได้รับเงินสนับสนุนใด ๆ
เลยจากสมาคม แต่อาสาสมัครส่วนใหญ่ก็เต็มใจเลี้ยงสุนัขเป็นอย่างดี
รวมทั้งให้ความรักและเมตตามันมากไม่ต่างจากสุนัขของตนเอง ดังนั้น

อาสาสมัครบางคนย่อมจะเสียใจที่ถูกพรากสุนัขไปเมื่อถึงเวลาที่สมควร

(ดูจะใจร้ายต่อคนเลี้ยงนิดหน่อยเพราะเมื่อเราเลี้ยงสุนัขสักตัว มันก็
เป็นความผูกพันระหว่างคนเลี้ยงกับสุนัข แต่ในที่สุดก็ต้องเข้าใจ เพราะ
เราทำเพื่อการกุศลนะ) หน้าที่ที่สุนัขแต่ละตัวจะได้รับ และจะต้องฝึก

ก็จะขึ้นอยู่กับความสามารถพิเศษของสุนัขและสายพันธุ์ของสุนัข

ว่าเหมาะสมกับงานหรือไม่ เช่น สุนัขตัวใหญ่ ๆ เช่นลาบาดอร์ หรือ
โกลเด้นรีทริฟเวอร์ จะไม่ค่อยถูกนำมาฝึกในการช่วยฟัง แต่ก็อาจจะ
มีสุนัขบางตัวที่มีความสามารถโดดเด่นในด้านนี้จนถูกเลือกให้มาฝึก

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 253

และสุนัขช่วยในการฟังจะไม่สามารถนำมาอยู่ร่วมกับสุนัขตัวอื่นได้

(อันนี้เป็นเหตุผลทางด้านกายภาพของสุนัข)

ทีนี้เรากลับมาที่ CAE หรือสุนัขที่มีส่วนช่วยเหลือใน

การศึกษากันบ้าง CAE เป็นสุนัขที่ถูกฝึกมาเพื่อทำงานในการช่วยเหลือ

ผู้ที่บกพร่องทางการเรียน เช่น บุคคลด้อยสติปัญญา พิการทางสมอง
ดาวน์ซินโดรม และกลุ่มออทิสติกโดยมันอาจจะทำงานเพื่อนักเรียน
กลุ่มใหญ่โดยอาจจะเวียนไปช่วยเหลือเด็กหลาย ๆ คน หรือเป็น

สุนัขที่ต้องทำหน้าหน้าที่กับเด็กคนใดคนหนึ่งที่ต้องการมันเท่านั้น

และเนื่องจากเด็กที่ต้องการสุนัขพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มีปัญหา
ความบกพร่องทางสมอง สุนัขพวกนี้จึงถูกฝึกมาให้มีความอดทน
เป็นพิเศษต่อการกดดันด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางใจหรือทางกาย

(หมาก็มีจิตใจนะ..รำคาญบ้าง เบื่อบ้างตามประสา ลองสังเกต

หมาที่บ้านท่านสิ เวลาท่านไปยุ่งกับมันมาก ๆ มันจะชอบเดินหนีท่าน)
และมันก็จะอดทนต่อความเจ็บปวดมากด้วย ซึ่งพวกมันอาจจะ
ถูกกระทำใด ๆ ก็ตามที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ในกรณีที่มันจะต้อง

ติดตามเด็กที่ไม่อาจจะสามารถควบคุมการกระทำของตนเองได้

แต่จากการทำการศึกษาและวิจัยของ พี่ดี้พบว่า พวกมันไม่เคยมี
อารมณ์ก้าวร้าวใส่ใครเลย แม้ว่าบางคนจะทำให้มันรำคาญก็ตาม
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนของเรา ที่ชอบเข้าไปยุ่งเวลามันหลับ

ดิฉันยังรำคาญแทนหมาเลยนะนี่) สุนัขพวกนี้จะช่วยลดการกดดัน

จากการเรียนและสภาพแวดล้อมรอบข้างให้กับเด็ก ๆ และช่วยให้
พัฒนาการทางด้านการเรียนดีขึ้น โดยมันจะถูกจัดอยู่ใกล้ ๆ หรือเดิน
ตามกลุ่มเด็กหรือตัวเด็กที่ต้องการมัน

254 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


การนำสุนัขมาช่วยในการศึกษาของเด็กที่มีความบกพร่อง

ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่สุดของที่นี่ และไม่ใช่แค่โรงเรียนนี้แห่งเดียวที่มีสุนัข

เข้ามีบทบาทสำหรับการเรียนการสอน โรงเรียนในรัฐบิติชโคลัมเบีย
และรัฐ ใกล้เคียงได้นำสุนัขเข้าไปมีบทบาทต่อการเรียนการสอน
มากขึ้น เรื่องราวทั้หมดที่ดิฉันได้เห็นมาในครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้เห็น

พัฒนาการทางการศึกษาอย่างหนึ่งว่า สิ่งที่เราเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน

ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป อย่างสุนัขที่เราเห็นว่าเป็นเพื่อน
คลายเหงา หรือสัตว์เลี้ยงที่น่ารัก ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อ
พัฒนาการของเด็กได้ และเรื่องราวนี้แสดงให้เห็นว่าหากครูมุ่งมั่น

ที่จะพัฒนาเด็กนักเรียน ครูก็สามารถจะหยิบจับสิ่งใด ๆ ก็ได้มา

ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์และทำให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด อย่างที่โรงเรียน Ecole Panorama Ridge Secondary
School ได้ทำให้ดิฉันได้เห็นในวันนี้









แหล่งอ้างอิง :
สมาคมการเลี้ยงสุนัขเพื่อการช่วยเหลือผู้บกพร่องด้านต่าง ๆ Pacific Assistance
Dogs Society (PADS) เว็บไซต์ http://www.pads.ca

ส่วนที่ 3



ความรู้คู่คุณธรรม



อาจารย์อุมาภรณ์ รอดมณี

258 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน




ความรู้คู่คุณธรรม



อาจารย์อุมาภรณ์ รอดมณี










ในพระราชบัญญัติ..การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ได้ให้ทิศทางในการปฏิรูปการศึกษาด้านการเรียนที่ชัดเจนว่าการจัดการ
ศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา มีความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม
ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข แต่ในความ

เป็นจริงการศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมทางด้านสติปัญญา
มากกว่าด้านอื่น ๆ โดยมุ่งหวังให้เด็กนักเรียนเป็นเด็กที่เรียนหนังสือเก่ง
สอบได้คะแนนมาก ๆ กิจกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่มุ่งพัฒนา
เรื่องความฉลาดทางปัญญา เนื้อหาที่ใช้ในการสอนเหมือนกับสอน
ผู้ใหญ่ในร่างเด็กไม่คำนึงถึงวัย และวุฒิภาวะ ขาดธรรมะและการพัฒนา
ด้านจิตใจ ทำให้มีพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือมีจิตใจอ่อนแอ ไม่สามารถแก้
ปัญหาชีวิตของตนได้ ดังคำพังเพยที่ว่า “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด”
ยิ่งในสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีปัญหามากมาย ทั้งด้านการเมือง
สังคมและเศรษฐกิจ ยิ่งนานวันปัญหาต่าง ๆ ก็ยิ่งลุกลามมากขึ้น


การพัฒนาจิตใจโดยการนำธรรมะเข้าสู่โรงเรียนถือ
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์
โรงเรียนเป็นสถาบันหลักสถาบันหนึ่งของสังคมที่มีภารกิจอันยิ่งใหญ่

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 259

คือการให้การศึกษาแก่เยาวชนของชาติเพื่อเติบโตขึ้นเป็นสมาชิกที่ดี

ของสังคมและประเทศชาติ ถึงแม้ว่าสิ่งแวดล้อมทางสังคมและอิทธิพล
ของสื่อมวลชนบางส่วนจะไม่เอื้อต่อการสอนธรรมะและการพัฒนา
ด้านจิตใจของเยาวชน แต่โรงเรียนก็เป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งที่จะปลูก
ฝังให้เยาวชนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันดีงาม

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
ได้จัดโครงการความรู้คู่คุณธรรมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้
นักเรียนเห็นคุณค่าและเข้าใจในหลักธรรม จริยธรรมทางศาสนา
สามารถนำหลักธรรมที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

กระตุ้นเตือนจิตใจให้ปฏิบัติตนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ดำเนิน
ชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ไม่หลงผิดทำในสิ่งที่ไม่ดีงาม สามารถอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

การดำเนินงาน โครงการความรู้คู่คุณธรรมของโรงเรียน
สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน เป็นโครงการที่มีความ
คิดต่างจากที่อื่นอยู่บ้างในส่วนของกระบวนการจัดการเรียนการสอน
เพราะเราต้องการให้เด็กได้ทั้งความรู้ ควบคู่ไปกับหลักธรรมทาง

พระพุทธศาสนา กิจกรรมมีความสนุกสนานไม่น่าเบื่อ มีหลักการจัดการ
เรียนรู้เป็นไปตามกรอบทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษา

แห่งชาติได้เสนอไว้ 5 ทฤษฎี (คณะอนุกรรมการการ
ปฏิรูปการเรียนรู้, 2543) ได้แก่ (1) ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข
(2) ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม (3) ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
การคิด (4) ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ (5) ทฤษฎีการ
เรียนรู้เพื่อฝึกฝนกาย วาจา ใจ แนวคิดนี้นับว่าเป็นโจทย์ที่ยาก

พอสมควร

260 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


เราจึงต้องเริ่มจากการประชุมคณะกรรมการโครงการ

ความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งแต่งตั้งโดยรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
เพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการ พิจารณาว่า
เราจะส่งเสริมคุณธรรมด้านใดบ้างและจะนำมาสอดแทรกกับเนื้อหา
วิชาในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างไร และสิ่งที่ยากยิ่งคือ
การสร้างกิจกรรม จะทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนรูปแบบการเรียนคุณธรรม
แบบเดิม ๆ ให้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน น่าสนใจ เด็กได้เรียนรู้ร่วมกัน
เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์

สังเคราะห์ ระหว่างการเรียน และเมื่อคิดกิจกรรมได้แล้วอาจารย์ต้อง
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ใบความรู้ ใบงาน ผลิตสื่อการเรียนการสอน
เช่น POWER POINT ที่จะใช้ในการเรียนการสอน หลังจากนั้นก็
ประชุมอาจารย์อีกครั้งเพื่อให้อาจารย์ทุกท่านรับทราบข้อมูลใน
ทุกกิจกรรม ปรับแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ เช่นความสอดคล้องเหมาะสม
ของกิจกรรม ระยะเวลาการจัดกิจกรรม และร่วมกันเขียนแผนการ
จัดการเรียนรู้ระยะยาว เพื่อให้สามารถวางแผนในการดำเนินงานได้
อย่างต่อเนื่อง โดยรายละเอียดของการจัดกิจกรรมโครงการความรู้คู่
คุณธรรมแสดงเป็นผังความคิด (Mapping) ได้ดังนี้

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 261

ให้นักเรียนเข้าใจในรายละเอียดของโครงการความรู้คู่คุณธรรม ได้แก่

หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์เป้าหมาย ระยะเวลาการดำเนินงาน
รวมถึงขั้นตอนการดำเนินงาน อาจารย์ที่เป็นคณะกรรมการทุกท่าน
จะช่วยกันดูแลให้นักเรียนอยู่ในระเบียบ เพื่อฟังและเข้าใจราย
ละเอียดต่าง ๆ แม้การดูแลเด็กทั้งระดับชั้นจำนวน 420 คนให้อยู่
ในความเรียบร้อยจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แต่การดำเนินงานก็เป็นไป
ด้วยความเรียบร้อยดี ในแต่ละสัปดาห์จะจัดกิจกรรมตามแผนการ
จัดการเรียนรู้ ดังนี้

แผนการจัดการเรียนรู้
โครงการความรู้คู่คุณธรรม ระดับชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550

จำนวน
สัปดาห์ที่ ว / ด / ป กิจกรรม คาบ กลุ่มสาระ อาจารย์
/
สัปดาห์ การเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบ
1. 4 มิ.ย.50 - อธิบายการเรียนรู้ 2 ทุกกลุ่ม อาจารย์ทุกกลุ่ม
“ความรู้คู่คุณธรรม” สาระ สาระฯ
(มอบหมายให้นักเรียน การเรียนรู้
คิดชื่อกลุ่ม สัญลักษณ์
ประจำกลุ่มคำขวัญ
ประจำกลุ่ม)

2. 11 มิ.ย.50 - เพศศึกษาในวัยรุ่น 2 ภาษาไทย อ.อุมาภรณ์
ผศ.คณาภรณ์


3. 18 มิ.ย.50 - ดูดู๊ความรัก 2 สังคมศึกษา อ.ดวงเดือน
หนักหนาหนอ ศาสนา และ อ.นุช
วัฒนธรรม

4. 25 มิ.ย. 50 - วัฒนธรรม 2 สังคมศึกษา อ.รัสมีจันทร์
ประเพณีของเรา ศาสนา และ อ.อุทัย (พ)
วัฒนธรรม

262 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



สัปดาห์ที่ ว / ด / ป กิจกรรม จำนวน กลุ่มสาระ อาจารย์
คาบ การเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบ
/
สัปดาห์
5. 2 ก.ค. 50 - วัฒนธรรม 2 สังคมศึกษา อ.รัสมีจันทร์
ประเพณีของเรา ศาสนา และ อ.อุทัย (พ)
วัฒนธรรม
6. 9 ก.ค. 50 - คำนวณแล้ว 2 คณิตศาสตร์ อ.อุทัย (ก)
ได้เท่าไหร่ อ. ชลธิชา


7. 6 ส.ค. 50 - คำศัพท์เกี่ยวกับ 1 ภาษา อ.ปิยะนันท์
คุณธรรมจริยธรรม ต่างประเทศ


8. 6 ส.ค. 50 - สื่อกับคุณธรรม 2 การงาน อ. ปรเมษฐ์
อาชีพ
และ
เทคโนโลยี


9. 3 ก.ย. 50 - ทำนองครอง... 2 ศิลปะ อ.กสิน
(คุณ)ธรรม อ.ประภัสสร
10. 10 ก.ย. 50 - ทำนองครอง... 2 ศิลปะ อ.กสิน
(คุณ)ธรรม อ.ประภัสสร
11. 17 ก.ย. 50 - อารมณ์และ 2 สุขศึกษา อ.สุพัตรา
ความเครียด และ
พละศึกษา


12. 17 ก.ย. 50 - สรุป 2 ทุกกลุ่ม อาจารย์ทุกกลุ่ม
- ประมวลภาพ สาระฯ สาระฯ
- ประเมินผลกิจกรรม

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 263

ในระหว่างทำกิจกรรม อาจมีปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง

เช่น เด็กคุยกัน บางคนไม่ตั้งใจทำกิจกรรม ฯลฯ แต่ก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น

เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งอาจารย์ทุกคนก็ช่วยกันดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด
เตือนเด็กที่คุยหรืออาจารย์ที่ดำเนินกิจกรรมหยุดกิจกรรมเพื่ออบรม

รวมก่อนที่จะดำเนินกิจกรรมต่อไป กิจกรรมในโครงการความรู้

คู่คุณธรรมนอกจากเด็กจะได้ความรู้และคุณธรรมที่จะนำไปปรับใช้ใน
ชีวิตประจำวันแล้วยังฝึกเด็กในเรื่องระเบียบวินัย การทำงานร่วมกับผู้อื่น

การปรับตัวเข้ากับเพื่อนต่างห้องเรียน ให้เขาเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น

ได้อย่างมีความสุข อีกทั้งเรายังได้ค้นพบศักยภาพในตัวเด็กที่เราอาจ
ไม่พบในระหว่างที่เด็กเรียนอยู่ภายในห้องเรียน เช่น เด็กบางคนใน

ระหว่างการเรียนปกติมักไม่ค่อยตอบคำถาม ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
จนทำให้ครูคิดว่าเด็กคนนั้นไม่เก่ง ไม่มีความสามารถ แต่เมื่อเขา

ได้มาร่วมกิจกรรม ได้ทำในสิ่งที่เขาสนใจ มีความถนัด เขาจะแสดงออก

อย่างเต็มที่ และทำได้ดีมาก เช่น การร้องเพลงหรือเต้นในกิจกรรม
ทำนองครอง (คุณ) ธรรม การแสดงบทบาทสมมุติ ในกิจกรรมวัฒนธรรม

ประเพณีไทย และกิจกรรมอารมณ์กับความเครียด การแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับปัญหาเพศศึกษาในวัยรุ่นจากสื่อต่าง ๆ เป็นต้น


หลังจากที่เด็กได้เรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ จนครบทุกกิจกรรม

เราจะสรุปภาพรวมของกิจกรรมให้เด็กฟังอีกครั้งหนึ่ง และให้เด็กทำแบบ
ประเมินด้านจิตพิสัย (Affective domain) และด้านทักษะพิสัย

264 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


(Psychomoter domain) เพื่อวัดว่าเขามีการเรียนรู้ด้านอารมณ์

ความรู้สึก เกี่ยวกับค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมและด้านการประพฤติ

อย่างไร คำกล่าวที่ว่าเด็กเปรียบเหมือนผ้าขาว แสดงให้เห็นว่าการที่
เด็กจะเติบโตเป็นคนดีหรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ใหญ่คอยแต่ง

แต้มสีสันให้ และสิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือระบบการศึกษาที่จะคอย

หล่อหลอมให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ คงถึงเวลาแล้วที่เราจะ
หันกลับไปมองว่าระบบการศึกษาของไทยควรเป็นไปในทิศทางใด

การเรียนรู้จากกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์


อาจารย์บุศราคัม ช่วงชัย

266 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


การเรียนรู้จากกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์


อาจารย์บุศราคัม ช่วงชัย

























การจัดกิจกรรม..กลุ่มสัมพันธ์ เป็นหลักการศึกษา
ที่เน้นเรื่องความสัมพันธ์ของกลุ่ม และการทำงานกลุ่ม ในการจัด

กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มักอาศัยหลักการเรียนรู้ และหลักการเรียน
การสอนที่เน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ คือหลักการยึดผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลาง การยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ การยึดการเรียนรู้

แบบค้นพบด้วยตัวเอง และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันโดย
สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาในระบบใหม่ที่ต้องการ

ให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวกับสภาพสังคมปัจจุบันได้ เหตุผลในการ
จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาการขาดโอกาสในการทำ
กิจกรรมนอกห้องเรียน ข้อจำกัดในการแสดงความคิดสร้างสรรค์

และการแสดงศักยภาพของนักเรียน การขาดทักษะในการแก้ปัญหา

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 267

เฉพาะหน้าและการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ดังนั้นการจัดโครงการกิจกรรม

กลุ่มสัมพันธ์จึงเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้กลุ่มผู้เรียนได้เพิ่มเติม
ความรู้ความสามารถ และก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่


จุดมุ่งหมายสำคัญของการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้นอกห้องเรียน ด้านการเข้าร่วม
กิจกรรมกลุ่มต้องการให้นำกระบวการการเรียนการสอนนอกห้องเรียน

มาใช้ เพื่อฝึกทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มของนักเรียนสามารถ
แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ การจัดการเรียนรู้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
จึงมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้นักเรียนนำศักยภาพที่มีอยู่ภายใน

ตัวของแต่ละคนออกมา กล้าแสดงออกมากขึ้น นักเรียนเกิดความสามัคคี
จากการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ และสามารถนำความรู้ความเข้าใจ

ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้จากกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์นั้น
มีการดำเนินงานในหลายขั้นตอนดังนี้ คือเมื่อผู้ประสานงานระดับ

ชั้นรับทราบคำสั่งในการจัดกิจกรรมจากรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
และได้เขียนโครงการนำเสนอขอความเห็นชอบต่อผู้อำนวยการ
เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการจัดกิจกรรมนี้ ต่อมาจึงดำเนินการ
แต่งตั้งคณะกรรมการกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์โดยคัดเลือกมาจาก

อาจารย์ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
และจัดประชุมเพื่อวางแผนแบ่งงานเตรียมจัดกิจกรรมในภาคเรียนที่ 1
กำหนดให้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่งแผนการจัดกิจกรรมภายใน
เวลาสองสัปดาห์ ซึ่งได้ข้อสรุปของกิจกรรมดังนี้ กลุ่มสาระการ

เรียนรู้ภาษาไทย “ท่าทางบอกสุภาษิต” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
“สร้างสรรค์งานศิลป์” กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ “สร้างหอคอย”

268 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ “Let’s make a story.”

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี “สมาธิกับคำถาม”
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ “การทดสอบ IQ” กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา “ปริศนาอักษรไขว้อวัยวะมนุษย์”

และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
“The Places Of My Heart”

หลังจากนั้นจึงประสานงานกับฝ่ายสถานที่เพื่อเตรียม
จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ดำเนินการประชาสัมพันธ์โดยการจัดประชุม

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อแจ้งกำหนดตารางเวลาในการ
จัดกิจกรรมในวันอังคาร คาบที่ 7 - 8 จัดทำเอกสารกำหนดการต่าง ๆ
แจกอาจารย์ประจำชั้นและคณะกรรมการกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
จัดแบ่งกลุ่มนักเรียนด้วยการใช้เกมนันทนาการเข้ามาช่วยคือเกมรวม

วันเกิด หรือเกมรวมเงิน โดยอาจารย์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษาเป็นผู้ดำเนินการร่วมกับอาจารย์ในกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ต่าง ๆ ได้นักเรียนมาทั้งหมด 7 กลุ่ม กลุ่มละ 60 คน และ
มอบหมายให้มีการเลือกหัวหน้ากลุ่ม รองหัวหน้ากลุ่ม เลขานุการ

และผู้ช่วยเลขานุการกลุ่มรวมทั้งอนุญาตให้นักเรียนตั้งชื่อกลุ่มได้
ตามใจชอบดังนั้นสิ่งที่พบ คือ นักเรียนตั้งชื่อแปลก ๆ เช่น กลุ่มข้าวต้มเฉย ๆ
กลุ่มปาท่องโก๋ กลุ่มอะไรก็ได้ กลุ่มส้อม กลุ่มโคโดโมะ กลุ่มดินสอ
และ กลุ่ม The No Comment


ในการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งนักเรียนให้ความร่วมมือ
เป็นอย่างดีมีการสร้างกติกาขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติทุกครั้งที่
เข้าร่วมกิจกรรมคือ การมาเข้าแถวพร้อมกันโดยไม่ต้องประกาศเรียก
ให้นักเรียนหญิงสวมกางเกงกีฬาขายาวมาร่วมกิจกรรม และเตรียม

อุปกรณ์เครื่องเขียนติดตัวมาทุกครั้ง เป็นต้น

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 269

ตลอดภาคเรียนที่ 1 กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ มีทั้งหมด

15 ครั้ง การจัดกิจกรรมของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 ครั้ง ที่เหลืออีก
7 ครั้งเป็นกิจกรรมนันทนาการแทรกเพื่อให้นักเรียนเข้าร่วมแข่งขัน
กันและไม่เกิดความเครียด อาทิเช่น เกมเหยียบลูกโป่ง เกมดัดลูกโป่ง

เป็นรูปร่างต่าง ๆ และนำมาประกอบการเล่าเรื่อง เป็นต้น

ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมของแต่ละกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ จะมีการประเมินผลทุกกิจกรรมจากแบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
ซึ่งผลที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจทั้งอาจารย์และนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นผู้ประสานงานระดับชั้น ต้องคอยตอบคำถาม
นักเรียนทุกสัปดาห์ว่า “วันนี้จะมีกิจกรรมอะไรคะอาจารย์” และ
“สนุกหรือเปล่าครับอาจารย์” ทำให้เราทราบว่านักเรียน
ให้ความสนใจกับกิจกรรมมาก


ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเรียนรู้จากกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่าง

เต็มที่สามารถนำเอาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองออกมา กล้าแสดงออก
ได้รับการฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
แต่สิ่งสำคัญมากที่ปรากฏขึ้นภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง

ที่ผู้เขียน และคณะอาจารย์ที่จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์พบคือ นักเรียน
มีความซื่อสัตย์มากขึ้น เมื่อทำผิดก็กล้ายอมรับผิดแม้บางครั้งจะ
มีนักเรียนทำผิดเพียงคนเดียวก็รู้จักกล่าวคำขอโทษทั้งต่ออาจารย์

และเพื่อน ๆ ด้วยความเต็มใจ นักเรียนมีระเบียบวินัยมากขึ้น

270 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมและยอมรับกติกาต่าง ๆ ที่วางไว้

อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนรู้จากกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มีปัญหา
และอุปสรรคเกิดขึ้นทำให้การดำเนินกิจกรรมไม่เป็นไปตามกำหนด

การที่วางไว้ เนื่องจากมีกิจกรรมอื่นเข้ามาแทรกโดยที่ไม่ทราบล่วงหน้า
ทำให้กิจกรรมนันทนาการที่กำหนดไว้ 7 ครั้ง ได้ดำเนินการเพียงแค่
2 ครั้งเพราะต้องนำเวลาที่เหลืออยู่ไปจัดกิจกรรมให้ครบทั้ง

8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งปัญหานี้ในการจัดกิจกรรมในภาคเรียนที่ 2
จะหาวิธีการแก้ไขต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าการจัดการ

เรียนรู้จากกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างนักเรียน
ที่มีคุณภาพและศักยภาพให้กับสังคมไทยได้








บรรณานุกรม
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน สำนักรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.
กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). เอกสารประกอบการ
การจัดหลักการการจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คู่มือการจัดสาระ
การเรียนรู้. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ

ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์


อาจารย์สุกัลยา ฉายสุวรรณ และคณะ

272 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน











กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ
ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์


อาจารย์สุกัลยา ฉายสุวรรณ และคณะ









การศึกษา...ในยุคปัจจุบันมุ่งเน้นให้นักเรียนได้รู้จัก
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ตามพระราชบัญญัติการ

ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้อง
ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้อง

ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
และในมาตรา 23 เน้นการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและ
ตามอัธยาศัย ให้ความสำคัญของการบูรณาการความรู้ คุณธรรม
กระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา ในส่วนของ
การเรียนรู้ต้องให้เกิดทั้งความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี รวมทั้งความรู้

ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและใช้
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าผู้เรียนไม่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ในระหว่างวิชาต่าง ๆ ได้

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 273

ซึ่งการเชื่อมโยงระหว่างวิชาเรียนมีความสำคัญยิ่ง ทำให้เกิดทักษะ

แก่ผู้เรียน ผู้เรียนจะเข้าใจในบทเรียนหรือเกิดแนวความคิดระหว่าง
วิชาเป็นอย่างดี

การจัดการเรียนรู้บูรณาการ เป็นการนำเอาความรู้
สาขาวิชาต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันมาผสมผสานหรือการผสมผสาน
กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการสอน การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม

เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประโยชน์สูงสุด หรือเพื่อให้นักเรียน
ผสมผสานความรู้ประสบการณ์และนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้
โดยเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกกว่าความรู้ของแต่ละรายวิชาและ
เน้นการสร้างความรู้ของนักเรียนมากกว่าการให้เนื้อหาของครู

การจัดการเรียนรู้บูรณาการเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับ

เป้าหมายของการจัดการศึกษาและคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้น
ในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายตามที่ตั้งใจไว้ ในการดำเนินการ
วิธีนี้จะต้องสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และหาแนวทางแก้ปัญหา
ด้วยตนเอง กล่าวคือผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการซักถาม

วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า ผู้เรียนต้องค้นคว้าให้มีความเข้าใจ
มีความสามารถในการหยั่งรู้ (Intuition) รู้จักการค้นคว้าหาข้อมูล
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณลักษณะดังกล่าว จะทำให้เกิดการ
เรียนรู้แบบองค์รวม จะเห็นได้ว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวน

การหรือลำดับขั้นตอนอย่างดี ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน
บูรณาการ หรือเกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมได้เป็นอย่างดี

วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้
ในการหาความรู้ ทั้งนี้อาจมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละสาขา
แต่ในภาพรวมมีลักษณะคล้ายกัน สรุปเป็นขั้นตอนดังนี้

274 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ขั้นที่ 1 การสังเกตหมายถึงการสังเกตโดยใช้ประสาท

สัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส รวมถึงเครื่องมือที่ช่วย
ขยายความสามารถของประสาทสัมผัส และมีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ
ที่ได้อย่างเป็นระบบ

ขั้นที่ 2 การตั้งปัญหา หมายถึง การนำสิ่งที่สังเกตมา
สร้างเป็นปัญหาเพื่อการพิสูจน์

ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน หมายถึง การคาดคะเน

ล่วงหน้าของคำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบ ทั้งนี้ การตั้งสมมติฐาน
เกิดจากการนำข้อมูลที่มาจากการสังเกตมาเป็นส่วนช่วย

ขั้นที่ 4 การทดลอง หมายถึงการดำเนินการตรวจสอบ
สมมติฐานโดยอาศัยการรวบรวมข้อมูล ทั้งจากการสำรวจ การทดลอง
หรือวิธีอื่น ๆ ประกอบกัน

ขั้นที่ 5 การสรุปผลการทดลอง หมายถึง การลงข้อสรุป
จากผลการทดลอง ตรวจสอบผลจากการสรุปอาจเป็นส่วนที่ทำให้

เกิดหลักการ กฎ ทฤษฏี

จากขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน จะเห็นได้ว่าผู้เรียนสามารถที่จะ
มีความเข้าใจในเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ หรือเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง
สามารถเชื่อมโยงในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เกิดความคิด
สร้างสรรค์ เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ สามารถมองปัญหาและแก้ปัญหา

ในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง
เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวม ที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะสามารถนำ
วิชาที่หลากหลายมารวมเป็น “หนึ่งเดียว” และเรียนรู้จาก “หนึ่งเดียว”

ได้เป็นอย่างดี

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 275

การจัดการเรียนรู้บูรณาการด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

หรือการทำโครงงาน (Project) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับ
ธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการสังเกต สำรวจตรวจสอบ และการทดลอง
เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและนำผลมาจัดระบบตาม

หลักการ แนวคิด และทฤษฎี ดังนั้น การทำโครงงานจึงมุ่งเน้นให้
ผู้เรียนได้เป็นผู้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด นั่นคือ การจัด
การเรียนการสอนนั้นจะต้องเน้นที่บทบาทของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้เรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการศึกษาหาความรู้ด้วย
ตนเอง ครูจะเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษา คอยให้ความช่วยเหลือเท่าที่

จำเป็น และตามความต้องการของผู้เรียนเท่านั้น ปัญหาที่ควรจะได้มี
การพิจารณาสำหรับการจัดการเรียนการสอนในอนาคตจึงควรจะอยู่ที่
เราจะทำอย่างไรผู้เรียนจึงจะสอนตนเองได้ ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียน

ได้ตัดสินใจและเลือกวิธีการหาความรู้ของตนเองอย่างมีเหตุผล
เหมาะสม และเป็นประโยชน์แก่ตนเองและเพื่อนได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งสิ่งที่ผู้สอนควรจะยึดถือคือการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้สอนตนเองได้
ต่อไป การจัดการเรียนรู้บูรณาการด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ
การทำโครงงาน สำหรับหลักสูตรขั้นพื้นฐาน มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียน

รู้การบูรณาการที่เน้นกระบวนการอันนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่
โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนทุกขั้นตอน ผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรม
หลากหลาย ทั้งเป็นกลุ่มและเป็นรายบุคคล โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้ที่

เป็นสากลและท้องถิ่น และผู้สอนมีบทบาทในการวางแผนการเรียนรู้
กระตุ้น แนะนำ ช่วยเหลือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ บรรลุตามเป้าหมาย
และวิสัยทัศน์ที่กล่าวไว้

276 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


การเรียนรู้บูรณาการด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

หรือการทำโครงงาน นอกจากจะเกิดการเรียนรู้อย่างดีแก่ผู้เรียนแล้ว
ยังช่วยให้ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตรที่มีเนื้อหาของ
แต่ละสาระการเรียนรู้มากเกินไป และยังทำให้ผู้สอนสามารถจัดหัวข้อ

ทักษะ และแนวความคิดหลายอย่างพร้อมกัน แทนที่จะแยกสอนเป็น
สาระการเรียนรู้แต่ละสาระได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้กิจกรรมการเรียน
รู้ดังกล่าวยังช่วยลดภาระงานในการทำกิจกรรมหรืองานที่ซ้ำซ้อนหรือ
หลากหลายในแต่ละรายวิชา ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้สอนจะต้องศึกษา
และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร เนื้อหา และความคิดรวบยอดใน

แต่ละสาขาวิชา ตลอดจนคำนึงถึงความสนใจ ความถนัดและศักยภาพ
ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเอง
รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางด้านการคิดอย่างสร้างสรรค์

มีความเป็นผู้นำ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการร่วมงานกับผู้อื่น
เข้าใจตนเองและผู้อื่น ยอมรับในการสามารถ และมีเจตคติที่ดีต่อ
ตนเองและผู้อื่น สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทาง
ในการศึกษาในระดับสูง หรือนำไปก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนิน
ชีวิตในลำดับต่อไป







บรรณานุกรม
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน สำนักรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.
กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). เอกสารประกอบ
การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คู่มือการจัดสาระการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:
คุรุสภา.

บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์


อาจารย์สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ

278 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



บทเรียนวิทยาศาสตร์ออนไลน์


อาจารย์สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ

























ในปีการศึกษา 2554 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับมอบหมาย

จากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอนใน
รายวิชา ว 30101 วิทยาศาสตร์เคมีพื้นฐาน ในภาคเรียนที่ 1 และ

ว 31221 วิทยาศาสตร์เคมีเพิ่มเติม 1 ในภาคเรียนที่ 2 สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนที่ 1 คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นได้มีการออกแบบและพัฒนาบทเรียน
e – learning สำหรับนักเรียนของทางโรงเรียน โดยใช้โปรแกรม

Moodle ซึ่งเป็นทรัพยากรที่กลุ่มงาน ICT ของทางโรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ได้จัดเตรียมไว้เพื่ออำนวย

ความสะดวกและเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 279

การสำรวจสภาพภูมิหลังและความเป็นมาที่สำคัญ

ประการหนึ่งที่ผู้เขียนได้ดำเนินการก่อนการจัดทำและพัฒนาบทเรียน

e – learningคือการสอบถามข้อมูลและความต้องการของนักเรียน
ว่าในรายวิชาดังกล่าวนักเรียนต้องการสิ่งใด คำตอบของนักเรียน

ที่ได้จากการสอบถามนักเรียน ม.4/131 ม.4/133 และ ม.4/134
ว่านักเรียนต้องการอะไรบ้างได้แก่


ต้องการหนังสือแบบเรียนและเอกสารแบบฝึกหัด
ที่ทันสมัย รูปเล่มสวยงามน่าสนใจที่อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เรียบเรียง

ขึ้น สามารถสืบค้นและทบทวนการเรียกอ่านได้จากระบบออนไลน์

ต้องการลงมือทำกิจกรรมปฏิบัติการทดลองเคมีที่เคย

ได้เรียนรู้จากการบอกเล่าข้อสรุปหรือได้ดูได้ชมจากคลิปวีดิโอที่มีอยู่
ทั่วไปใน youtube แต่ไม่เคยได้เห็นผลการทดลองและแสดงขั้นตอน

การทดลองด้วยทักษะปฏิบัติการของตนเอง


คลิปวีดิโอที่มีอยู่ทั่วไปใน youtube แปลและจับใจ
ความได้ยาก ต้องการคำอธิบายเป็นภาษาไทยที่ใช้ภาษาง่ายและ

กระชับ

ต้องการให้เอกสาร powerpoint ประกอบการสอน

ของอาจารย์ คลิปวีดิทัศน์ที่อาจารย์นำมาแสดงในขั้นนำเข้าสู่
บทเรียน

280 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ต้องการบันทึกเสียงบรรยายของอาจารย์ขณะที่ดำเนิน

การสอน เพื่อใช้ประกอบการทบทวนเมื่อใกล้สอบหรือทำการบ้านไม่ได้


ต้องการให้มีการบ้านและแบบฝึกหัดที่มีแนววิธีคิด
หรือแนวทางในการหาคำตอบและทราบผลได้ทันทีว่าตนเองทำ

แบบฝึกหัดนั้นได้ถูกต้องหรือไม่

ก่อนที่จะมีการสอบระหว่างเรียน สอบกลางภาคเรียน

และปลายภาคเรียน ต้องการให้มีแบบประเมินตนเองที่มีลักษณะ
แนวคำถาม และเฉลยคำตอบอย่างละเอียด รวมถึงการจับเวลาที่ใช้

ในการทำแบบทดสอบ และการวิเคราะห์ว่านักเรียนนั้นยังบกพร่องใน
วัตถุประสงค์ข้อใด หรือมีมโนทัศน์หลักที่คลาดเคลื่อนอย่างไร


ผู้สอนทำการสำรวจข้อมูลส่วนตัวและความสามารถ

ในการเข้าหาและเข้าถึงบทเรียน E – learning พบว่า

1. นักเรียนสามารถใช้บริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เนต

โดยการให้บริการของห้องคอมพิวเตอร์และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ของทางโรงเรียน ในช่วงเวลาพักกลางวันและช่วงเวลาหลังเลิกเรียน


2. นักเรียนทุกคนมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เนต
ใช้ที่บ้าน


3. นักเรียนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับโปรแกรม Moodle
เนื่องจากในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเคยเข้าไปศึกษาและทำงาน

ที่ได้รับมอบหมายในบางรายวิชาของกลุ่มงานคอมพิวเตอร์

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 281

4. นักเรียนมีความต้องการที่จะเข้าศึกษาในระบบ

e – learning


หลังจากนั้นจึงได้ทดลองสร้างบทเรียน e – learning
ประกอบการจัดการเรียนการสอนในบทเรียนต่าง ๆ เช่น


บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเคมี ได้พัฒนาบทเรียน
e – learning โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแบบฝึกหัดและการฝึกฝน

( Drill and Practice ) โดยการสร้างคำถามและคำตอบ จัดเรียง
ในลักษณะสุ่ม โดยให้เวลาในการทำแบบฝึกหัดจำกัด และมีการแนะนำ

นักเรียนในแต่ละข้อ หากนักเรียนตอบคำถามไม่ถูกต้องว่าตนเองยัง
บกพร่องและควรเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ในประเด็นใด


บทที่ 2 โครงสร้างอะตอมและสมบัติธาตุเบื้องต้น

ได้มีการพัฒนาบทเรียน e – learning ในระดับที่เป็นส่วนเสริม
( Supplementary ) กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการทดลอง

ปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งมีองค์ประกอบครบตามหลักในการออกแบบ
พัฒนา e – learning ว่าต้องประกอบด้วย (ศึกษาธิการ,2548)


1. เนื้อหา (content) ประกอบด้วย
1.1 โฮมเพจ

1.1.1 คำประกาศ / คำแนะนำ
1.1.2 ระบบสำหรับใส่ชื่อผู้เรียนและรหัสลับ

สำหรับ login

282 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


1.1.3 รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมที่จำเป็น

สำหรับการเรียกดูเนื้อหาอย่างสมบูรณ์

1.1.4 ชื่ออาจารย์ผู้จัดทำและพัฒนา และวิธี
การติดต่อด้วยไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์

1.2 หน้าแสดงรายชื่อวิชา

1.3 เว็บเพจแรกของรายวิชา

1.3.1 รายชื่อผู้สอน
1.3.2 ประมวลรายวิชา

1.3.3 ห้องเรียน
1.3.4 เว็บเพจสนับสนุนการเรียน

1.3.5 เชื่อมโยงสำหรับการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

1.4 การออกจากระบบ


2. ระบบบริหารจัดการรายวิชา ประกอบด้วย ผู้สอน
ผู้เรียน และผู้บริหารระบบเครือข่าย


3. รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ( Modes of communication)

3.1 การประชุมทางคอมพิวเตอร์

3.2 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e – mail)

4. แบบฝึกหัด / แบบทดสอบ

4.1 การจัดให้มีแบบฝึกหัดสำหรับผู้เรียน เพื่อ
ตรวจสอบความเข้าใจ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 283

4.2 การจัดให้มีแบบทดสอบผู้เรียน สามารถอยู่ใน

รูปแบบทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน หรือ
หลังเรียน

หากมองย้อนกลับไปในช่วงเดือนตุลาคมของปีที่ผ่านมา

ประเทศไทยประสบกับภาวะมหาอุทกภัยอย่างหนัก ทำให้โรงเรียน
สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ต้องเลื่อนเปิดเทอม
จากปลายเดือนตุลาคมมาเป็นวันที่ 13 ธันวาคม 2554 ทำให้เวลา

เรียนและการอธิบายโจทย์ที่มากมายและหลากหลายประสบผล
กระทบ ดังเช่นในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 นั้นในรายวิชา
ว 31221 วิทยาศาสตร์เคมีเพิ่มเติม 1 มีเนื้อหาเคมีในบทที่ 5 เรื่องพันธะ

เคมีที่สร้างขึ้นในระบบ e – learning ถือว่าเป็นความสำเร็จ โดยการ
ตอบรับและชื่นชมของนักเรียนกลุ่มหนึ่งว่า “อาจารย์มีวิธีในการดำเนิน
การให้พวกเราเรียนได้ทันและเหมาะสม โชคดีมากที่อาจารย์

ตัดสินใจศึกษาและพัฒนาบทเรียน e – learningให้พวกเรา
ได้เข้าไปเรียน” ซึ่งมีส่วนประกอบหลักดังนี้


1. แบบทดสอบก่อนเรียน

2. powerpoint และ/หรือ animation ประกอบ

คำบรรยายของอาจารย์


3. แหล่งเรียนรู้และเว็บไซต์ที่ต้องการให้นักเรียน
เข้าศึกษา

4. แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามบนกระดาน

เสวนาประจำรายวิชา

284 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


5. ทำแบบฝึกหัดประกอบการเรียนในแต่ละหัวข้อย่อย


6. ทำแบบทดสอบหลังเรียนภายในเวลาที่กำหนด
ทั้งนี้ปรากฏคะแนนที่นักเรียนทำได้และอธิบายเฉลย

ละเอียด และวินิจฉัยว่าจุดประสงค์ใดที่นักเรียน
ควรศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มเติม

การออกแบบผลิตและพัฒนาบทเรียน e – learning

ในรายวิชาวิทยาศาสตร์เคมีพื้นฐาน และวิทยาศาสตร์เคมีเพิ่มเติม 1
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นั้นถือได้ว่าเป็นการเตรียม

นักเรียนได้เพิ่มพูนทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ได้บ้าง กล่าวคือ
Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ
การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) Communications , information

& media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
และ Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) อย่างไรก็ตามบทเรียน e – learning
ที่สร้างขึ้นนั้นได้มีการพัฒนาบางส่วนเพื่อปรับกิจกรรมให้มีความ
น่าสนใจและทันสมัย นอกจากนั้นภายหลังจากการสอบถามความ

พึงพอใจต่อการใช้บทเรียน e – learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 อยู่ในระดับดีมาก

ในปีการศึกษา 2555 ที่กำลังจะก้าวมาถึง ผู้เขียนหวัง

เป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถผลิตบทเรียน e – learning ในรายวิชา
วิทยาศาสตร์เคมีพื้นฐานและวิทยาศาสตร์เคมีเพิ่มเติม ในระดับชั้น

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 285

มัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดคล้องและเป็น

ที่พึงพอใจของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกศิษย์ของเราใน

ศตวรรษที่ 21 นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่น่าสนใจเช่น การพัฒนา
แบบฝึกเรื่องปริมาณสัมพันธ์โดยใช้ e – learning หรือมีเป้าหมาย
ที่การผลิตและพัฒนาบทเรียน e – learning ในรายวิชาเคมีระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเนื้อหาที่ต้องใช้สอบ O – NET ต่อไป

ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติ ศรีประเสริฐ

และอาจารย์พรพรหม ชัยฉัตรพรสุข อาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์

และเคมีโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
อาจารย์สมศรี เซี๊ยกสาด อาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และเคมี
โรงเรียนวัดสุทธิวราราม รองศาสตราจารย์ ดร.นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์

และอาจารย์ ดร.สุทธิดา จำรัส อาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษา

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช รวมถึงผู้ช่วยศาสตร์เทอด
แก้วคีรี อดีตอาจารย์ผู้สอนวิชาเคมี ที่เป็นต้นแบบและกำลังใจ
อันสำคัญ อาจารย์พงศธร นันทธเนศ อาจารย์ผู้สอนวิชาเคมีร่วมกัน

กับผู้เขียนที่ให้ความอนุเคราะห์ในการให้คำปรึกษาในด้านเนื้อหาสาระ

ในรายวิชาเคมี และการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม
กับนักเรียน อาจารย์กิตติศักดิ์ นิทาน และอาจารย์ปรเมษฐ์ คำจร
และอาจารย์เสกสรรค์ หงส์หิรัญพันธ์ อาจารย์กลุ่มงานคอมพิวเตอร์

สำหรับการดูแลช่วยเหลือ และให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องการจัดทำ

และพัฒนาบทเรียน e – learning ตลอดมา

286 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน

e – learning เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการจัดการเรียนรู้สำหรับ

ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ขอเชิญชวนอาจารย์ผู้สอนในกลุ่มสาระ
วิทยาศาสตร์ ในรายวิชาชีววิทยา ฟิสิกส์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ

ลองตัดสินใจเลือกใช้การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบบทเรียน ด้วยระบบ
e – learning แล้วท่านจะติดใจในความสามารถของโปรแกรม

Moodle ที่สำคัญนักเรียนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปทุมวัน ทุกคนมี Username และ Password และมีใจจดจ่อ

รอคอยบทเรียน e – learning ของท่านอยู่แล้ว เนื่องจากว่าใช้
Username และ Password เดียวกันกับการใช้งานคอมพิวเตอร์

ที่โรงเรียน และเราจะได้ช่วยกันพัฒนานักเรียนของเราให้ก้าวเดินต่อไป
อย่างมั่นคงสมดังเจตนารมย์ของครูทุกคนที่มุ่งหวังให้ลูกศิษย์ประสบ

ความสำเร็จ







เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การเรียนรู้แบบออนไลน์ e – learning. กรุงเทพฯ :
กระทรวงศึกษาธิการ

m-Learning


การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

อาจารย์กิตติศักดิ์ นิทาน

288 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน








m-Learning


การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

อาจารย์กิตติศักดิ์ นิทาน







เป็นที่..ยอมรับว่ากันว่าการเรียนการสอนผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของ e-Learning มีผลทำให้เกิดการ
พัฒนาทางด้านความคิดอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งส่งให้มีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจุบันจึงมีการประยุกต์ใช้
e-Learning อย่างแพร่หลายสำหรับการศึกษาและฝึกอบรมตั้งแต่
หน่วยงานทางการศึกษาไปจนถึงหน่วยงานเอกชน โดยมีลักษณะ

การศึกษาแบบเผชิญหน้า (face to face) และการศึกษาทางไกล
(distance learning) แต่การใช้งาน e-Learning ก็ยังมีข้อจำกัดมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องคุณภาพของบทเรียน ซึ่งเกิดจากความสถิตย์
(Static) ของเนื้อหา ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเข้าไปศึกษา
บทรียนซ้ำหลายครั้ง ซึ่งปัญหานี้ยังต้องเป็นประเด็นที่ต้องศึกษาและ

วิจัยกันอีกต่อไป แต่ปัญหาที่สำคัญอีกประเด็นก็คือเรื่องของสถานที่
และอุปกรณ์ที่ไม่พร้อม รวมทั้งปัญหาเรื่องความเร็วของสัญญาณ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 289

เครือข่ายที่ไม่ครอบครุม ซึ่งส่งผลถึงความเร็วในการส่งผ่านบทเรียน

ยังผู้เรียนปลายทาง ทำให้ e-Learning อยู่ในวงจำกัดแค่ในสถาน

m-Learning ศึกษาและสถานประกอบการเท่านั้น แม้ว่าในปัจจุบันตามบ้านเรียน
ทั่วไปจะมีคอมพิวเตอร์เกือบทุกหลัง แต่วัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ใช้ใน

การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ความบันเทิงและค้นหาข้อมูลเท่านั้น ในขณะเดียวกันโทรศัพท์มือถือ
(Mobile Phone) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
อาจารย์กิตติศักดิ์ นิทาน
และมีราคาที่ถูกลง ทำให้สามารถเป็นเจ้าของได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมาก
อันเป็นผลจากการพัฒนาด้านระบบเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคม
จึงเกิดแนวทางในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ

และคอมพิวเตอร์พกพา โดยใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์ไร้สายเป็นช่องทาง
การบริหารและจัดการบทเรียน ซึ่งเรียกว่า m-Learning

m-Learning (mobile learning) เกิดจากคำศัพท์
2 คำที่มีความหมายในตัวเอง ได้แก่ m มาจาก mobile ซึ่งหมายถึง

เครื่องมือสื่อสารที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเพื่อใช้ใน
การพกพาไปในทุกที่ที่ต้องการได้อย่างสะดวก เช่น โทรศัพท์มือถือ
คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เรียกว่า PDA (Personal Data Assistant)

คอมพิวเตอร์แบบเขียน (Tablet PC) รวมถึงคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ก
(Notebook PC) ส่วน Elearning มีความหมายรวมทั้งการเรียน
และการสอน m-Learning จึงเป็นการจัดการเรียนการสอนหรือ
บทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรม
การเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพา

โดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย (wireless telecommunication network)

290 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา

โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ อีกทั้งยังมีปฏิสัมพันธ์กับ
โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาเครื่องอื่นโดยใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัล เช่น Bluetooth เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกัน

สำหรับพัฒนาการของ m-Learning เป็นพัฒนาการ

นวัตกรรมการเรียนการสอนมาจากนวัตกรรมการเรียนการสอนทางไกล
หรือ d-Learning (Distance Learning) และการจัดการเรียน
การสอนแบบ e-Learning (Electronic Learning) (Sharma and

F.Kitchens,2004) ดังภาพประกอบต่อไปนี้




























รูปที่ 1 : รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง d-Learning, e-Learning และ m-Learning
ที่มา : http://ecet.ecs.ru.acad.bg/cst04/Docs/sIV/428.pdf

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 291

m-Learning เป็นส่วนหนึ่งของ e-Learning นับว่าเป็น

อีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้สนับสนุนการเรียนการสอนทางไกล นับว่าเป็น
แนวทางใหม่ต่อการจัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องตามเป้าหมายที่ทำ
ให้ผู้เรียนมีอิสระอย่างเต็มที่ในการศึกษาบทเรียนผ่านจอภาพของ

โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพา ณ สถานที่ใด และใน
เวลาใด ๆ ก็ได้ แทนที่จะต้องนั่งศึกษาบทเรียนผ่านจอภาพของ
คอมพิวเตอร์ในโรงเรียน หรือที่บ้าน ซึ่งผู้เรียนบางคนอาจประสบปัญหา
เกี่ยวกับสภาพความพร้อมทางการเรียน เช่น ปัญหาส่วนบุคคล
ต้องเดินทางไกล ติดภารกิจหน้าที่ประจำ และปัญหาอื่น ๆ ในขณะที่

การเรียนรู้ด้วย m-Learning สามารถกระทำได้ตลอดเวลา แม้ระหว่าง
การประกอบภารกิจหน้าที่ประจำวันก็ตาม

การจัดการเรียนการสอนแบบ m-Learning นั้น ผู้เรียน
ต้องใช้อุปกรณ์แบบติดตามตัวหรือเคลื่อนไปได้โดยสะดวก (mobile

devices) ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทมีความสามารถ มีขนาดและราคา
ที่แตกต่างกันไป อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือ
สำหรับการเรียนการสอนแบบ m-Learning ได้ มีดังนี้


Notebook computers เป็นคอมพิวเตอร์ขนาด
พกพาได้ มีความสามารถเทียบเท่าหรือเหนือกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์
ทั่วไป (Desktop of Personal Computer) ปัจจุบันมีขนาดเล็กและ
สามารถพกพาได้โดยสะดวก แต่ราคายังค่อนข้างสูง


Tablet PC เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดพกพามีความสามารถ
เหมือนกัน PC บางชนิดไม่มีแป้นพิมพ์แต่ใช้ซอฟต์แวร์ประเภทรู้
จำลายมือในการรับข้อมูล ยังมีราคาแพงอยู่มาก ยิ่งในปัจจุบัน

292 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


Personal Digital Assistant (PDA) เป็นอุปกรณ์พกพา

เสมือนเป็นผู้ช่วยดิจิตอลส่วนตัว หน่วยประมวลผลมีความสามารถสูง
จอภาพแสดงผลได้ถึง 65000 สีขึ้นไป สามารถประมวลผลไฟล์ประเภท
มัลติมีเดียได้ทุกประเภท ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการมักใช้ Palm หรือ

Microsoft Pocket PC มีซอฟต์แวร์ให้เลือกติดตั้งได้หลากหลาย

Cellular phones เป็นอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์มือถือ
ทั่วไป เน้นการใช้ข้อมูลประเภทเสียงและการรับส่งข้อความ (SMS)
มีข้อจำกัด คือ มีหน่วยความจำน้อย อัตราการโอนถ่ายข้อมูลต่ำ

ในรุ่นที่มีความสามารถ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน WAP
(Wireless Application Protocol) หรือ GPRS (General Packet
Radio Service)

Smart Phones เป็นอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่

ความสามารถสูง รวมความสามารถของ PDA และ Cellular phones
เข้าด้วยกัน อาจมีขนาดเล็กกว่า PDA และใหญ่กว่า Cellular phones
ใช้ระบบปฏิบัติการ คือ Symbian หรือ Windows Mobile มีโปรแกรม
ประเภท Internet Browser ใช้เป็นอุปกรณ์ Multimedia สำหรับ

การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับ m-Learning นั้น
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อแบบไร้สายเพื่อใช้กับอุปกรณ์
เคลื่อนที่หลายรูปแบบ (Jamalipour, 2003) แต่ละรูปแบบมีความ

สามารถในการโอนถ่ายข้อมูลและขอบเขตที่แตกต่างกันไป ดังนี้

Global System for Mobile Communications
(GSM) เป็นมาตรฐานของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ได้รับความนิยม
มากที่สุดในโลก

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 293

Wireless Application Protocol (WAP)

เกิดจากความร่วมมือกันของหลาย ๆ บริษัท ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ
เพื่อนำเอาลูกเล่นหรือ ความสามารถ ต่าง ๆ ของ Wireless Application
และของทางด้าน Internet ให้มาใช้ได้ บนเครื่องโทรศัพท์มือถือ

WAP จะทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้งานทางด้าน Internet ทั่ว ๆ ไปได้
เหมือน ๆ กับใช้งานผ่านทาง เครื่องคอมพิวเตอร์

General Packet Radio Service (GPRS)
เป็นบริการส่งข้อมูลสำหรับโทรศัพท์มือถือแบบ GSM โดย GPRS

มักถูกเรียกว่าเป็นโทรศัพท์มือถือยุค 2.5G ซึ่งอยู่ระหว่าง 2G และ 3G
ทางเทคนิคแล้ว GPRS ใช้ช่องสัญญาณแบบ TDMA ของเครือข่าย
GSM ในการส่งข้อมูล ในทางทฤษฎีความเร็วสูงสุดของ GPRS
อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลบิตต่อวินาที


Bluetooth เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ทำให้อุปกรณ์ 2 ชุด
สื่อสารเข้าด้วยกันได้ในระยะทางสั้น ๆ ไม่เกิน 10 เมตร ด้วยความเร็ว
สูงสุด 1 Mbps เช่นการต่อโทรศัพท์มือถือเข้ากับคอมพิวเตอร์ แต่
ปัญหาของ Bluetooth คือการรักษาความปลอดภัยที่ยังไม่ดีพอ

และระยะทางในการเชื่อมต่อที่น้อยเกินไป

IEEE 802.11 เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายไร้สาย
หรือ WLAN (Wireless LAN) โดยมีด้วยกันหลายมาตรฐาน เช่น IEEE
802.11b IEEE 802.11g และ IEEE 802.11n เป็นต้น คอมพิวเตอร์

พกพาหรือโทรศัพท์มือถือที่มีมาตรฐานเหล่านี้สามารถนำไปใช้งาน
ร่วมกับอุปกรณ์ยี่ห้ออื่น ๆ ที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้

294 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ความแตกต่างระหว่าง m-Learning and e-Learning

นั้นคือ e-Learning สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่นอกห้องเรียนหรือ
โรงเรียน m-Learning ก็เป็นสิ่งที่ทำให้การเรียนรู้ไม่จำกัดในเรื่องของ
สถานที่ ในขณะที่ e-Learning เป็นทางเลือกของการเรียนรู้ในห้องเรียน
(ซึ่งแท้จริงแล้ว e-Learning ควรจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในการเรียน
ในห้อง) m-Learning ก็เป็นกิจกรรมที่สมบูรณ์ของทั้ง e-Learning

และการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม m-Learning ยึดหลักที่ว่าผู้ใช้
ควรจะปฏิสัมพันธ์กับแหล่งเรียนรู้ซึ่งอาจอยู่ไกลจากจากสถานที่ปกติ
ในการเรียน ห้องเรียน หรือคอมพิวเตอร์

ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งคือ m-learning เกิดขึ้น
มานานกว่า e-learning เช่นหนังสือและแหล่งอื่น ๆ ที่พกพาได้ แต่ด้วย

ขนาดของเทคโนโลยีในปัจจุบันเหมาะต่อการใช้ m-learning
เทคโนโลยีในปัจจุบันจึงทำให้เราสามารถบรรจุแหล่งความรู้มหาศาล
เข้าไปในอุปกรณ์แบบพกพาและนำไปใช้ในที่ไหนก็ได้ซึ่งทำให้เกิด
ความสะดวกสบายขึ้น เทคโนโลยียังทำให้เราเชื่อมต่อกับเพื่อนได้
ในพริบตาเดียวและทำงานร่วมกันขณะที่อยู่ห่างไกลกันด้วยวิธีการ
ที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้อุปกรณ์ m-learning ได้ใช้เทคโนโลยี

ที่ตอบสนองผู้ใช้งานอย่างหลากหลายเช่น จอขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
การประมวลผลที่รวดเร็ว การตอบสนองดังกล่าวเหล่านี้สื่อให้รู้ว่า
การปรับตัวออกจากการใช้บริการ e-learning และนำเนื้อหามาใช้ใน
m-learning เป็นงานที่ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป m-learning เป็นรูปแบบ

ที่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ และรุ่นเก่าที่เติบโตมากับการใช้เครื่องวิดีโอเกม
แบบพกพาและเทคโนโลยีไร้สาย (wireless) สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดึงดูด
ไม่เฉพาะคนที่ต้องการเรียนรู้ที่พกพาเคลื่อนที่ได้ แต่รวมไปถึงคนที่
เติบโตมากับการจัดการกระบวนการรับรู้โดยใช้เครื่องมือแบบพกพา
ซึ่งเป็นความต้องการในการเรียนรู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 295

m-Learning เองนั้นใช่ว่ามีแต่ข้อดี ข้อเสียเองก็มีเช่นกัน

ซึ่งข้อดีและข้อเสียของการเรียนการสอนด้วย m-Learning นั้นมีดังนี้




ข้อดี ข้อเสีย

1.การใช้ m-Learning สามารถ 1.จอภาพแสดงผลของอุปกรณ์
ใช้ได้ทุกสถานที่และทุกเวลา ถึงแม้ เคลื่อนที่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก
สถานที่นั้นจะไม่มีสายสัญญาณให้ โดยเฉพาะในโทรศัพท์มือถือ ทำให้
เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถแสดงข้อมูลสารสนเทศ
เป็นการแก้ไขปัญหาในการเรียน ให้ผู้เรียนเห็นได้อย่างชัดเจน
แบบ Location Dependent
Education

2.อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อแบบ 2.อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ส่วนมาก
ไร้สายส่วนมากมักมีราคาต่ำกว่า มีขนาดหน่วยความจำมีความจุน้อย
เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและ กว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป
มีขนาด น้ำหนัก น้อยกว่าคอมพิวเตอร์ ทำให้มีข้อจำกัดในการจัดเก็บไฟล์

ส่วนบุคคลทั่วไป ทำให้สะดวกในการ ประเภทมัลติมีเดีย
พกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ ผู้เรียน
สามารถเลือกเรียนสถานที่ใด เวลาใด
ก็ได้

3.จำนวนผู้ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่มี 3.การปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มอุปกรณ์
จำนวนมาก และใช้อยู่แล้วในชีวิต ในอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ทำได้ยาก
ประจำวัน หากนำอุปกรณ์หรือ กว่าคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีไร้สายมาใช้ในการจัดการ
เรียนการสอน ก็จะเป็นการเพิ่มช่อง
ทางและจำนวนผู้เรียนได้

296 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



4.การเรียนในรูปแบบ m-Learning 4.เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือ
เป็นการเรียนรู้แบบเวลาจริง เนื้อหา เทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
มีความยืดหยุ่นกว่าบทเรียนแบบ เครือข่ายมีความเร็วต่ำ เป็นอุปสรรค
e-Learning ทำให้การเรียนรู้ได้ สำคัญในการเรียนแบบ m-Learning
รับข้อมูลที่ทันสมัยและสอดคล้อง เพราะไม่สามารถใช้สื่อประเภท
กับสถานการณ์ปัจจุบันได้ดีกว่า มัลติมีเดียขนาดใหญ่
e-Learning

5.ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับ 5.แบตเตอรี่หรือแหล่งจ่ายไฟของ
ผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ทันที อุปกรณ์เคลื่อนที่มีระยะเวลาที่จำกัด
เช่น การส่งข้อความ การส่งไฟล์ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตลอด
รูปภาพ หรือแม้กระทั่งการสนทนา เวลา
แบบเวลาจริง (Real time)
6.มีค่าใช้จ่ายโดยรวมถูกกว่าบทเรียน 6.อุปกรณ์แบบไร้สายมีหลายรุ่น
ที่นำเสนอผ่านไมโครคอมพิวเตอร์ หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของแต่ละ
ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เครื่องก็แตกต่างกันการใช้งานก็ย่อม
ข้อจำกัดของ m-Learning แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น
หน้าจอที่เล็กหน่วยความจำที่มี
จำกัดและน้อย ทำให้ไม่เอื้ออำนวย
ต่อการดาวน์โหลดข้อมูลโดยเฉพาะ
ข้อมูลรูปภาพและเสียงที่ต้องใช้
หน่วยความจำมาก


แม้จะมีข้อจำกัดบางประการทางด้านขนาดและ

ความสามารถของระบบ แต่เมื่อพิจารณาในด้านความเป็นส่วนตัว
ในการใช้งานแล้ว บทเรียน m-Learning ที่นำเสนอผ่านระบบมือถือ
หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาก็มีข้อได้เปรียบที่มากกว่า e-Learning

ทำให้เกิดการศึกษาวิจัย m-Learning มากขึ้น เนื่องจากมีการใช้
โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย เพราะมีราคาถูกกว่า

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 297

และพกพาได้สะดวกกว่า ยิ่งผู้พิการทางร่างกายนั้นยิ่งได้รับประโยชน์

มาก เพราะโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์แบบพกพานั้นใช้งานได้
ง่ายและสะดวกกว่าไมโครคอมพิวเตอร์

จากความเจริญก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

และโทรคมนาคมทำให้คาดกันว่าจะมีการโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์
พกพาจำนวนมากในอนาคต และด้วยโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน
มีการพัฒนาการใช้งานให้ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์มากขึ้นเท่าใด

ก็จะทำให้การเรียนการสอนด้วยวิธีนี้เป็น ที่แพร่หลายมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งบทเรียนที่ใช้โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์แบบพกพาจะเป็น
ช่องทางในการส่งผ่านองค์ความรู้ และเป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทต่อ

การเรียนการสอนมากขึ้น เนื่องจากการจัดการศึกษาในยุคถัดไป
จะเป็นการเน้นความเป็นอิสระในการเรียน ทำให้ผู้เรียนเลือกได้
ตามถนัดและความสนใจของผู้เรียนเอง โดยไม่ขึ้นกับเวลาและสถานที่

อย่างไรก็ตาม m-Learning ยังคงต้องการเทคโนโลยีระดับสูง ไม่ว่า
จะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สายที่มีแถบกว้างของความถี่ที่สูงมาก
พอที่จะสนับสนุนการส่งผ่านข้อมูล เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวิดิทัศน์
ที่มีคุณภาพเทียบเคียงหรือดีกว่าบนระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง

เทคโนโลยีที่ทันสมัยอื่น ๆ เช่น การบีบอัดข้อมูล เพื่อใช้ในการโอนถ่าย
ข้อมูลระหว่างกันในการเรียนการสอน รวมทั้งปริมาณความจุของ

ข้อมูลที่มากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการที่มากขึ้นอีกด้วย
ดังนั้น m-Learning จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งในการนำไปใช้ในการ
เรียนการสอนสมัยใหม่และนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนของผู้เรียนใน
อนาคตต่อไป

298 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน



เอกสารอ้างอิง
มาตรฐาน IEEE 802.11 WLAN: ความรู้เบื้องต้น ช่องโหว่ และการรักษาความปลอดภัย
ตอนที่ )Available On 29th March 2010. from: http://documents.iss.net/whitepapers/
wireless_LAN_security.pdf
Jamalipour, A. (2003) . The Wireless Mobile Internet : Architectures,protocols, and
Services. John Wiley & Sons.
Sharma, S ., F.Kitchens. (2004). Web Service Architecture for m-Learning, EJEL vol 2.
Issue.
Wireless LAN security, ISS Technical White Paper. (2004) . Available on 29th March
2010. fromhttp://documents.iss.net/whitepapers/wireless_LAN_security.pdf


Click to View FlipBook Version