The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:13:06

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 3

การสอนทักษะชีวิตผ่านวรรณกรรม

และวรรณคดีไทย

อาจารย์พรพรรณ เสริมพงษ์พันธ์

300 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน










การสอนทักษะชีวิตผ่านวรรณกรรม
และวรรณคดีไทย

อาจารย์พรพรรณ เสริมพงษ์พันธ์










“วรรณคดีไทย..เรียนไปทำไม โบร่ำโบราณ ไม่ได้

ใช้ประโยชน์อะไรในชีวิตประจำวันสักหน่อย น่าจะตัดออกจาก
หนังสือเรียนได้แล้ว”


คำพูดข้างต้นนี้เป็นคำพูดของคุณหมอท่านหนึ่งพูดกับ
ผู้เขียนสมัยที่ผู้เขียนยังเรียนมหาวิทยาลัย การเรียนวรรณคดีไม่มี

ประโยชน์และควรตัดออกจากหนังสือเรียนจริงหรือ? อย่างไรก็ดี
คำพูดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงปัญหาการเรียนการสอนวรรณคดีไทย

ในระดับมัธยมศึกษาได้เป็นอย่างดี ทำไมคุณหมอและคนอื่น ๆ
อีกหลายคนจึงมองว่าการเรียนวรรณคดีไทยเป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์

และไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน?

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 301

การเรียนการสอนที่ดีควรมีกระบวนการที่จะทำให้ผู้เรียน

สามารถเรียนรู้ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่ต่อยอดจากความ

รู้เดิมของตนได้ เชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับกับตนเองได้ว่าตนเองสามารถ
นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง ความรู้ที่ได้เรียนรู้จึง
จะเป็นสิ่งที่ “มีความหมาย” จากคำพูดของคุณหมอและความคิดเห็น

ของคนอีกหลายคนแสดงให้เห็นว่ากระบวนการเรียนการสอนวรรณ

คดีไทยที่พวกเขาได้รับไม่ได้ให้คำตอบที่ควรจะได้รับ สิ่งที่เรียนไปจึง
“ไม่มีความหมาย” กับพวกเขา


ครูภาษาไทยเช่นผู้เขียนควรจะจัดการเรียนการสอน
วรรณกรรมและวรรณคดีแบบใดให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ใน
ชีวิตประจำวันได้ และตระหนักถึง “ความหมาย” ของสิ่งที่เรียน


ในการเรียนการสอนวรรณกรรมและวรรณคดีไทย นอกจาก

ผู้สอนจะต้องสอนฉันทลักษณ์และรูปแบบทางภาษาที่ปรากฏแล้ว
ครูผู้สอนยังต้องสอนเนื้อหาสาระเรื่องราวของตัวละครผู้ประสบกับ

ปมขัดแย้งในชีวิต ซึ่งกลายมาเป็นปมของวรรณกรรมหรือวรรณคดี
เรื่องนั้น เพื่อให้ตัวละครได้แสดงบทบาท การแก้ปัญหา การเรียนรู้ชีวิต

ของตนเองไปตามบทบาทที่ปรากฏในเรื่อง ตัวละครก็คือตัวแทนของ
มนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยมนุษย์ก็ยังคือมนุษย์

มีแรงขับและพื้นฐานของการกระทำไม่แตกต่างจากมนุษย์ในอดีต
เหตุการณ์หรือปัญหาของมนุษย์ในสังคมก็ยังคงเป็นปัญหาเดิม ๆ

302 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


ที่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงที่เนื่องกับสภาพแวดล้อมที่

เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเท่านั้น การสอนวรรณคดีและวรรณกรรมต่าง ๆ

จึงทำให้ผู้สอนสามารถสอน “ทักษะชีวิต” ให้กับนักเรียนผ่านชีวิตของ
ตัวละครได้ โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องลองผิดลองถูกด้วยชีวิตของตนเอง


บทพระราชนิพนธ์เรื่อง “หัวใจชายหนุ่ม” ของพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นนวนิยายที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับ
ชายหนุ่มในสมัยรัชกาลที่ 6 คนหนึ่งที่ชื่อ “ประพันธ์” หนุ่มนักเรียนนอก

ทุนเล่าเรียนหลวงที่มีความมั่นใจในตนเองนิยมชมชอบวัฒนธรรม

ตะวันตกพร้อม ๆ ไปกับการดูถูกวัฒนธรรมประเพณีของบ้านเกิด
ปฏิเสธการสมรสกับหญิงที่บิดามารดาเลือกให้ ต้องการเลือกคู่ที่เป็น
หญิงทันสมัยด้วยตนเอง ต้องการมีชีวิตของตนเองโดยไม่อยู่ในบังคับ

ของบุพการี จนกระทั่งในที่สุด ประพันธ์ก็ได้พบกับอุไร หญิงสาวสวย

ทันสมัยเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มมากมาย ประพันธ์หลงรักอุไร
ที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงามโดยไม่ทันได้เรียนรู้อุปนิสัยใจคอซึ่งกัน
และกัน ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ลึกซึ้งในเวลาอันรวดเร็วจนอุไรคนรัก

ของประพันธ์ตั้งครรภ์ ประพันธ์ขอให้บิดาไปสู่ขออุไรอย่างเร่งด่วน

ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว แต่ก็ไม่มีใครสามารถ
ทัดทานได้ หลังแต่งงานชีวิตสมรสของประพันธ์กับอุไรไม่ราบรื่น
อุไรแท้งลูก ทั้งคู่มีเรื่องระหองระแหงกันตลอดเวลาเนื่องมาจากนิสัย

ของอุไร จนกระทั่งอุไรออกจากบ้านไปอยู่กินกับพระยาตระเวนนคร

หนุ่มใหญ่ที่มีภรรยาแล้วถึง 7 คน ประพันธ์กลุ้มใจและเสียใจมากแต่
ก็พยายามเบนความสนใจของตนเองโดยทุ่มเทให้กับหน้าที่การงาน

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 303

จนเจริญก้าวหน้าและได้เป็นคุณหลวง เลือกคู่ครองใหม่โดยเรียนรู้

อุปนิสัยใจคอ ไม่ได้เลือกแต่ความสวยงามอย่างเดียว และประพันธ์

ยังได้ให้บิดามารดาได้ช่วยพิจารณาหญิงคนใหม่ที่ตนเลือกด้วย

ประพันธ์คือตัวแทนของวัยรุ่นชายคนหนึ่งที่มีรูปร่าง

หน้าตาดี ฐานะดี กำลังปรับตัวไปสู่วัยผู้ใหญ่ อยากเป็นตัวของตัวเอง
ไม่อยากให้ผู้ใหญ่บังคับ ซึ่งเป็นธรรมชาติสากลของวัยรุ่นทุกยุคสมัย
ไม่ว่าจะในสมัยรัชกาลที่ 6 หรือสมัยปัจจุบัน ประพันธ์ขัดแย้งกับ

บุพการีซึ่งก็เป็นปัญหาที่เกิดกับวัยรุ่นหลาย ๆ คนในระยะปรับตัว

เขาจัดการกับปัญหาด้วยวิธีการต่อต้าน ไม่รับฟังความคิดเห็นของ
ผู้ใหญ่ และทำตามใจตนเอง จนนำไปสู่การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
ของคนรักและชีวิตสมรสที่ล่มสลาย ปมปัญหาและการเรียนรู้ชีวิต

ของประพันธ์ทำให้ผู้เขียนสามารถสอนทักษะชีวิต การแก้ไขปัญหา

การจัดการกับความขัดแย้งในครอบครัว การเลือกคู่ การป้องกันไม่ให้
ตนเองประสบกับภาวะการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม สิ่งที่วัยรุ่นควรให้
ความสนใจนอกจากความรัก ซึ่งก็ได้แก่ การเรียน และหน้าที่การงาน

โดยที่นักเรียนไม่ต้องเรียนรู้บทเรียนชีวิตที่ผิดพลาดนี้ด้วยชีวิตของ

ตนเอง

กลอนบทละครเรื่อง “อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง”

บทเรียนในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีเรื่องราว
เกี่ยวกับเจ้าชายวิหยาสะกำ เจ้าชายหนุ่มน้อยผู้หลงรักเจ้าหญิงบุษบา

คู่หมั้นของระตูจรกา กินไม่ได้นอนไม่หลับจนระตูกะหมังกุหนิงผู้เป็น

304 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


บิดาสงสารจึงจัดทัพและออกรบพร้อมโอรสเพื่อชิงเจ้าหญิงบุษบา

ไม่ว่าจะมีใครทัดทานว่าไม่มีโอกาสชนะและจะทำให้ประชาชน

เดือดร้อน ระตูกะหมังกุหนิงก็ไม่ฟัง ประกาศสงครามกับเมืองดาหา
และพันธมิตรซึ่งเป็นเมืองมหาอำนาจ จนต้องสิ้นพระชนม์ในสนามรบ
ทั้งบิดาและโอรส


เจ้าชายวิหยาสะกำเป็นชายหนุ่มวัยรุ่นอีกคนหนึ่งที่รูปร่าง
หน้าตาดี มีความสามารถตั้งแต่อายุยังน้อย อนาคตไกล เป็นแก้วตา

ดวงใจของบิดามารดา แต่ต้องมาเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและเป็นเหตุ

ให้บิดาของตนเสียชีวิตไปด้วย เพราะรักคนที่มีเจ้าของแล้วแต่ไม่รู้จัก
หักห้ามใจของตนเอง พยายามแย่งชิงคู่หมั้นของคนอื่น แม้จะรู้ว่าเป็น
การกระทำที่ผิดศีลธรรม การสอนอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงนี้ทำให้

ผู้เขียนได้สอนทักษะชีวิตในการจัดการกับอารมณ์ ความรู้สึก ของวัยรุ่น

โดยเฉพาะความรัก ให้นักเรียนรู้จักจัดการกับความรู้สึกของตนเอง
ไม่ทำตามอารมณ์ความต้องการของตนเองจนต้องผิดพลาดหรือกระทำ
ผิดศีลธรรม และทำให้บิดามารดาต้องทุกข์ใจและเดือดร้อนไปด้วย


การสอนวรรณกรรมและวรรณคดีไทยจะไม่เป็นเพียง

แค่บทเรียนที่โบราณ คร่ำครึ ไร้ความหมาย นำมาใช้ในชีวิตจริงไม่ได้
หากผู้สอนชี้แนะและสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ชีวิต เพื่อจะได้มีทักษะชีวิต

ผ่านวรรณกรรมและวรรณคดีไทย

มาเป็นครูนักวิจัยกันดีกว่า


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณาภรณ์ รัศมีมารีย์

306 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน









มาเป็นครูนักวิจัยกันดีกว่า


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณาภรณ์ รัศมีมารีย์











สาเหตุ..ที่ครูต้องวิจัยเพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์

ของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ซึ่งการวิจัยเป็นยุทธศาสตร์การเสริมสร้าง

การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ หรือตามยุทธศาสตร์ทางปัญญาและ

วิจัยของมหาวิทยาลัย หรือตามยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและพัฒนา

ของคณะศึกษาศาสตร์ หรือตามมาตราฐาน สพฐ. มาตรฐานที่ 10
ที่กล่าวว่า “ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมี

ประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตัวชี้วัดที่ 10.7 มีการวิจัย

เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน” สอดคล้อง

กับมาตรฐาน สมศ. มาตรฐานที่ 22 และตรงกับประเด็นยุทธศาสตร์

ที่ 3 ของโรงเรียนที่กล่าวว่า “ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

ในการจัดการศึกษาให้มีศักยภาพสู่ระดับสากล” หรือเพื่อขอตำแหน่ง

ทางวิชาการ

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 307

ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใดก็ตาม การพัฒนาการศึกษา

การพัฒนาบุคลากร หรือการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนต้อง

บริหารบนฐานข้อมูลที่นำไปสู่การตัดสินใจ ข้อมูลสารสนเทศจาก

การวิจัยเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้ผู้เกี่ยวข้องได้เห็นหนทางที่เป็นไปได้

ในการพัฒนา การวิจัยเป็นกระบวนการที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

ในการศึกษา เป็นกระบวนการที่มีหลักการ มีการเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิเคราะห์ การประมวลผล เพื่อให้ได้ข้อมูลใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพนำ

ไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรและการสอนและ

การพัฒนาองค์กร สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน การที่
จะทำให้สังคมก้าวหน้านั้น คนในสังคมต้องมีความรู้ ในทำนองเดียวกัน

โรงเรียนจะก้าวหน้าก็ด้วยการขับเคลื่อนของครูในโรงเรียน ครูต้อง

ร่วมมือกันสร้างพลังความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาโรงเรียน ให้โรงเรียน

เป็นแหล่งเรียนรู้และผลิตนักเรียนที่ดีมีศักยภาพออกสู่สังคม ครูต้อง

มีการพัฒนาทักษะอาชีพของตนเองอยู่ตลอดเวลา การทำวิจัยจึง

เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยครูในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ


ปัญหาที่เกิดขึ้นกับครูที่จะทำวิจัย มักเกิดจากครูส่วนใหญ่

ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร และทำอย่างไร หรือครูบางคนมีภาพลักษณ์ของ
การวิจัยว่าเป็นเรื่องยาก ทำไม่ได้ เป็นงานวิชาการ ไม่มั่นใจว่าจะทำได้

ไม่มีที่ปรึกษา ไม่มีใครแนะนำ จึงไม่คิดที่จะทำ ถึงแม้ว่าในการเรียน

308 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


จะต้องทำงานวิจัยเพื่อจบการศึกษา แต่มีอาจารย์หลายท่านเป็นผู้ให้

คำแนะนำ ในความเป็นจริงแล้วหัวใจสำคัญของการปฏิบัติงาน

ของครู คือการใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนานักเรียนในชีวิตประจำวัน

การที่ครูบันทึกการเรียนการสอนของตนเองทุกครั้งหลังการสอน

ว่าสอนอย่างไร ผลการสอนเป็นอย่างไร นักเรียนเกิดการเรียนรู้มาก

น้อยเพียงใด และจะปรับปรุงการเรียนการสอนในครั้งต่อไปอย่างไร

ก็เป็นหลักฐานสะท้อนให้เห็นว่าครูได้ใช้กระบวนการทำวิจัยในการ

ทำงานของครูแล้ว

การศึกษาข้อมูลที่มีการบันทึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของ

ผู้เรียนเป็นราย ๆ เมื่อนำข้อมูลมารวมกันเป็นจำนวนมาก นำมาวิเคราะห์

และสังเคราะห์ได้ข้อมูลในลักษณะสรุปรวม นำไปสู่การทำงานวิจัย

ที่ได้มาตรฐานงานวิจัยทั่วไป ก็สามารถทำได้ไม่ยาก หากครูลงมือ

ดำเนินการวิจัยการตั้งหัวข้องานวิจัยอาจเป็นปัญหาหนึ่งที่ครูส่วนใหญ่

มีความวิตกกังวลในการตั้งชื่อ ถึงแม้ว่าครูหลายท่านจะได้รับการอบรม

งานวิจัยมาแล้วหลายครั้ง แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีการตั้งชื่อที่

อาจจะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกัน แต่มีหลักการเดียวกันคือในชื่อ

เรื่องต้องมีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และที่ขาดไม่ได้คือกลุ่มตัวอย่าง
หรือกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่ครู

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 3 309

สามารถบอกได้ง่ายในการเขียนหัวข้องานวิจัย แต่ครูบางคนอาจจะงง

ว่าตัวแปรต้น ตัวแปรตามคืออะไร จะหาได้จากไหน เป็นเรื่องง่าย

มากที่ครูหาได้จากการเรียนการสอนในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น

เมื่อพิจารณาผลการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียน พบว่า

นักเรียนครึ่งห้องสอบตกวิชาวิทยาศาสตร์ เมื่อสอบถามจากนักเรียน

พบว่าเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ค่อนข้างยาก เพื่อนที่นั่งข้าง ๆ ไม่ตั้งใจเรียน

คุยและเล่นเกมทำให้เสียสมาธิ เมื่อทำงานกลุ่มเพื่อนไม่ให้ความร่วมมือ

ในการทำงาน เมื่อพิจารณาจากความสนใจของนักเรียนพบว่านักเรียน

ชอบเล่นเกม ครูจึงควรใช้เกมในการจัดการเรียนรู้ดังนั้นตัวแปรต้น
คือการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมประกอบการสอนเรียนวิทยาศาสตร์

เป็นวิธีที่ครูใช้ในการวิจัยเพื่อนำไปพัฒนานักเรียนที่ครูต้องการโดย

พัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรม

การทำงานกลุ่มของนักเรียนซึ่งเป็นตัวแปรตามและกลุ่มตัวอย่างหรือ

กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีปัญหาด้านการเรียน

ดังนั้นหัวข้องานวิจัยที่เป็นไปได้นี้คือ “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมประกอบการสอน

วิทยาศาสตร์” หรือ “ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมประกอบการสอน

310 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน


วิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรม

การทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2”


จะเห็นได้ว่างานวิจัยไม่ใช่เรื่องยากสำหรับครูอีกต่อไป

เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในการทำงานของครู การแก้ปัญหาการจัดการ

เรียนการสอนในแต่ละวัน ในแต่ละระดับชั้น แต่ละห้องและแต่ละปี

ในเด็กแต่ละคน มีขึ้นอยู่ตลอดเวลาและอาจจะเหมือนกันหรือ

ไม่เหมือนกัน การวิจัยไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระมากเกินไปสำหรับ

ครูเพราะการลงมือปฏิบัติการวิจัยเกิดขึ้นในขณะที่มีการจัดการเรียน
การสอน ดังนั้นการสอนและการวิจัยเกิดขึ้นในกระบวนการเดียวกัน

การสังเกตผลการวิจัยก็คือการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู

ซึ่งต้องดำเนินงานตามปกติอยู่แล้ว เครื่องมือที่ครูใช้ในการประเมิน

ผู้เรียนกับเครื่องมือวิจัยก็เป็นชุดเดียวกัน ความรู้ที่ได้จากการวิจัยจะ

เป็นข้อมูลที่มีคุณภาพที่สามารถนำไปพัฒนาด้านการเรียนการสอน

พัฒนาโรงเรียน พัฒนาสังคมและบุคลากรของสังคมที่คุณภาพ

ต่อไป







เอกสารอ้างอิง

สุวิมล ว่องวาณิช. (2545). เคล็ดลับการทำวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์อักษรไทย.

NOTE

รายชื่อผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์

























1. คุณเจริญ-คุณหญิงวรรณา 10. คุณวีระชัย – คุณบุศยา พรธิสาร

สิริวัฒนภักดี 11. คุณศักดิ์ชัย วงศ์แจ่มเจริญ

2. คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี 12. คุณยิ่งแก้ว – รองศาสตราจารย์จงอร พีรานนท์
3. นางธนวรรณ คงรัศมี 13. พ.ต.อ.พันธนะ นุชนารถ

4. คุณนวลพรรรณ ล่ำซำ 14. พ.ต.อ.ฉัตรชัย คำวิสัย

(บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)) 15. พ.ต.อ.ปิติ นิธินนทเศรษฐ์

5. คุณวรวรรณ สนองชาติ 16. คุณวิวัฒน์ อุทารวงศ์สกุล
6. คุณกษิรา สิริวันต์ 17. พ.ต.อ.พันลภ แอร่มหล้า

7. คุณวิวัฒน์ – คุณจารุณี สิงห์ชัย 18. คุณสมหวัง กัลยาวุฒิพงศ์ –

8. ดร.กีรติ รัชโน คุณศศิวิรัล จารุศิริพิพัฒน์

9. คุณสมพงศ์ เลิศอัษฏมงคล 19. คุณสมโภชณ์ อาหุนัย




Click to View FlipBook Version