The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:35:07

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 4

ชื่อหนังสือ สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 4
พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2559
จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
2 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2251-3934
จัดพิมพ์โดย บริษัท เพจเมคเกอร์ จำกัด
53-57 ซอยเอกชัย 89/1 ถนนเอกชัย บางบอน กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์ 0-2416-8820, 0-2894-3035

ข้อมูลทางบรรณานุกรม
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต(ปทุมวัน) เล่ม 4. บรรณาธิการ ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล.
กรุงเทพมหานคร/ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, 2559.
318 หน้า. ภาพประกอบ.
1.การจัดการเรียนรู้ 2.ความเป็นครู 3.นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
I.ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล, บรรณาธิการ. II.โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. III. ชื่อเรื่อง.

ISBN 978-616-296-126-7
คณะผู้จัดทำ
ที่ปรึกษา
นางอรพินธุ์ คนึงสุขเกษม ผู้อำนวยการ
บรรณาธิการสร้างสรรค์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
กองบรรณาธิการ
นางสาวฐานภา รอดเกิด
นางอภิณห์พร ฤกษ์อนันต์
นางสาวจิตต์ตรา ตั้งศิริพงศ์เมธ
นายชวลิต ศรีคำ
นางสาวศิริวรรณ ของเมืองพรวน
นายสุนทร ภูรีปรีชาเลิศ
นายธนวุฒิ มากเจริญ
นายอมรเทพ ถาน้อย
ออกแบบรูปเล่ม บริษัท เพจเมคเกอร์ จำกัด
ออกแบบปกและภาพประกอบ นางสาวจำนงค์ สดคมขำ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 
















“...ชีวิตครูควรเป็นชีวิตที่สะอาดบริสุทธิ์ เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้
สามารถปลูกฝังเยาวชนให้มีทั้งความรู้และคุณธรรม อันเหมาะสมแก่
การเป็นพลเมืองดีของชาติ ด้วยความรู้และคุณธรรมซึ่งท่านทั้งหลายได้เพียร

สั่งสมไว้ ครูจึงจะสมเป็นปูชนียบุคคลได้ตามคติที่เชื่อกันมาแต่โบราณ
หากครูหวั่นไหวไปตามโลกธรรมเสียแล้ว ความเป็นปูชนียบุคคลก็ย่อม
เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย ผู้ถืออาชีพครูจึงพึงปฏิบัติงานของตนด้วยความรู้

อันมีคุณธรรมเป็นเครื่องกำกับ จึงจะสมกับการเป็นปูชนียบุคคล...”






พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทาน

ปริญญาบัตรแก่บัณฑิตวิทยาลัย วิชาการศึกษา มหาสารคาม
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๖

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 


















“...คุณสมบัติสำคัญสำหรับครูนั้น ก็คือความสามารถที่จะทำให้ศิษย์
มีศรัทธาและความเลื่อมใสในตัวครู ซึ่งครูอาจทำได้ด้วยความ
ตั้งใจขวนขวายศึกษา ให้มีความรอบรู้กว้างขวางแม่นยำชำนาญ
และด้วยการประพฤติปฏิบัติตัวให้สมควรแก่ฐานะหน้าที่

มีความสุจริตเที่ยงตรง รู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
เป็นแบบอย่างที่ดีที่ศิษย์จะยึดถือได้…”








พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู
ณ อาคารใหม่สวนอัมพร
วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๒๖ (ภาคบ่าย)

คำนิยม




























“กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ออกดอกคราวไร งามเด่น การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม”

ศาสตราจารย์ มล. ปิ่น มาลากุล


โคลงสี่สุภาพของศาสตราจารย์ มล. ปิ่น มาลากุล ผู้ดำริ
ก่อตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
สะท้อนให้เห็นว่างานทางด้านการศึกษาต้องใช้เวลาในการดูแลและ
ติดตามเพื่อให้ผลที่เกิดซึ่งหมายถึงนักเรียนมีความสมบูรณ์และสง่างาม
โดยบุคคลสำคัญยิ่งคือ “ครู” ทั้งนี้การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์ต้องครบใน 4 ด้านคือ สติปัญญา อารมณ์ สังคม และร่างกาย
เพื่อองค์ประกอบทั้งหมดมีความสมบูรณ์ครบถ้วนจึงกล่าวได้ว่า
“การศึกษาคือความเจริญงอกงาม”

หนังสือ “สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน)
เล่ม 4” เป็นอีกผลงานหนึ่งของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่สะท้อนให้เห็นถึง “ความเป็นครู” เพื่อ
ส่งเสริมศิษย์ของตนโดยอาศัยความรู้แบบบูรณาการทุกวิชาทาง
ศึกษาศาสตร์ อาทิหลักสูตรและการสอน รูปแบบการสอน วิธีการสอน
เทคนิคการสอน จิตวิทยาทางการศึกษา การวัดและประเมินผล
ผู้เรียนตามสภาพจริง อีกทั้งการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มาใช้
ในการส่งเสริมและเติมเต็มศักยภาพของนักเรียนให้ครบในทุกด้าน

ขอชื่นชมอาจารย์เจ้าของบทความทุกท่าน คณะบรรณาธิการ

ที่ได้กลั่นกรองพิจารณาคัดเลือกบทความที่มีประโยชน์ต่อการ
จัดการเรียนรู้อีกทั้งความมุทิตาจิตในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อความหวังในการเห็นการศึกษา
เติบโตและเจริญงอกงาม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ “สอนสนุก
สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 4” จะก่อประโยชน์ต่อ
ท่านผู้อ่านและเติมเต็มแรงบันดาลใจในการเป็นครูเพื่อศิษย์ต่อไป







นางอรพินธุ์ คนึงสุขเกษม
ผู้อำนวยการ

คำนำ

























การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็น
ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในการนำมาและขับเคลื่อนประเทศชาติในวันข้างหน้า
การอบรมบ่มเพาะทรัพยากรมนุษย์นั้นเป็นภาระสำคัญยิ่งของครู ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอด
และบริหารจัดการเรียนรู้ทั้งด้านสติปัญญาที่หลากหลาย การจัดการอารมณ์
ทักษะสังคม และการจัดการสุขภาพร่างกายให้มีความแข็งแรง

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน เป็นสถานศึกษา
ที่มีฐานะเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มีวิสัยทัศน์ในการเป็นสถานศึกษาชั้นนำ ต้นแบบด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษา
เพื่อผลิตผู้เรียนที่มีคุณธรรม และคุณภาพในระดับสากลบนฐานความเป็นไทย
นอกจากนี้ยังมีพันธกิจสำคัญในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และการฝึก
ประสบการณ์วิชาชีพครู ผลิตงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมด้าน
การจัดการศึกษาเพื่อเผยแพร่สู่สังคม อีกทั้งการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและ
สังคมเพื่อเป็นการดำเนินงานตามภารกิจในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
แก่วงการศึกษา ฝ่ายวิชาการของโรงเรียนได้สร้างสรรค์หนังสือ “สอนสนุก
สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 4” ซึ่งเกิดจากความรู้และประสบการณ์
ตรงของบุคลากรของโรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ที่เป็นแรงบันดาลใจ
ในการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากหลากหลายมุมมองผ่านเอกสาร
ประชุมเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีการศึกษา เนื้อหา
บทความในหนังสือเล่มนี้กองบรรณาธิการได้พิจารณาคัดเลือกจากหนังสือ

ประชุมเชิงปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2550 ถึงปีการศึกษา 2558 ซึ่งจัดทำ
เป็นหนังสือ สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต(ปทุมวัน) ได้ถึง 3 ซีรีย์ จำแนก
บทความได้เป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 เป็นบทความที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน
ตามสไตล์สาธิตปทุมวัน
ตอนที่ 2 เป็นบทความที่เกี่ยวกับความเป็นครู การอบรมและพัฒนา
นักเรียนรวมถึงจิตวิทยาการสอน และประสบการณ์
ในการศึกษาดูงาน ณ ต่างแดน

ตอนที่ 3 เป็นบทความที่เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
เพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนในแต่ละสาระวิชา และ
กิจกรรมเด่นของโรงเรียน

บทความทั้งหมดนี้สร้างสรรค์โดยครู - อาจารย์ของโรงเรียนสาธิต
มศว ปทุมวัน ผู้บอกเล่าและถ่ายทอดประสบการณ์ต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้
และเติมเต็มองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ให้มีศักยภาพอย่างรอบด้าน
หนังสือดังกล่าวจัดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาและภูมิปัญญาของโรงเรียน
สาธิต มศว ปทุมวัน ที่นำเสนออย่างเต็มภาคภูมิ

ผ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
ขอขอบคุณผู้เขียนบทความทุกท่านที่ได้ตอบรับให้นำบทความที่มีคุณค่าและ
เป็นต้นแบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการสำหรับศาสตร์ทางการศึกษาอย่างสนุก
สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) ขอขอบคุณผู้สนับสนุนในการจัดพิมพ์ทุกท่าน
ที่ให้ความสำคัญกับผลงานทางด้านวิชาการสู่สังคมไทย ท้ายนี้ขอขอบคุณผู้อ่าน
ทุกท่านที่มุ่งมั่นจดจ่อกับบทความที่ได้นำเสนอ และขอให้เป็นกำลังใจคอยติดตาม
ซีรีย์ชุดสอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิต (ปทุมวัน) เล่ม 5 ในเร็ววันนี้






ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล

ผู้สร้างสรรค์และบรรณาธิการ

สารบัญ








ตอนที่ 1

17 ครู... ครูเพื่อศิษย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล

31 ปรับวิธีคิด...เปลี่ยนวิธีสอน

อาจารย์ชวลิต ศรีคำ


41 เรียนรู้หลักสูตร...สู่กระบวนการจัดการเรียนรู้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล

57 The Meta Secret : 7 จิตสำนึกที่ต้องปลูกฝัง

อาจารย์สมฤดี แย้มขจร

67 บทบาทครูกับการส่งเสริมประชาธิปไตย...ยากจริงหรือ?
อาจารย์วัฒนโชติ เพ็งพริ้ง


73 เด็กดิจิตอล
ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร

ตอนที่ 2


83 เหตุผลบนความรู้สึก

อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน

93 ฅน...เป็นครู

อาจารย์เชิด เจริญรัมย์

105 ทำไมถึงอยากเป็นครู !?!

ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร

111 สิ่งที่ครูคนหนึ่ง “ทำ”

อาจารย์นงคราญ สุนทราวันต์

117 ครูพันธุ์ใหม่

ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร

123 มากกว่าคำว่าครู

อาจารย์อภิณพร ฤกษ์อนันต์

127 ไทรแห่งกาลเวลา

อาจารย์วราภรณ์ กรุดทอง

131 เรื่องเก่ามาเหลาใหม่

อาจารย์ณัฐิกา ลี้สกุล

137 รวย...จนอย่างไรในอาชีพครู

อาจารย์วัฒนโชติ เพ็งพริ้ง

141 วัฒนธรรมสาธิตปทุมวัน

อาจารย์สมฤดี แย้มขจร

สารบัญ







155 สยามสแควร์ : พื้นที่ทางวัฒนธรรม

อาจารย์ชลภูมิ บรรหาร


163 จากประสบการณ์การเรียนรู้...สู่การนิเทศติดตามนิสิต

ฝึกประสบการณ์...และสรรค์สร้างงานวิจัย
อาจารย์สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ

185 เปลี่ยนเพื่อปรับ...รับการพัฒนา

อาจารย์บุณฑริกา วิศวสมภพ

191 ธรรมะ...ทำได้...ในที่ทำงาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีจันทร์ พันธุ์พานิช

195 สตอรี่ของครูช่างคิด 3

อาจารย์เชิด เจริญรัมย์
203 แค่ไหนถึงจะพอดี

อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน

207 ประสบการณ์ในต่างแดน ณ สถาบันฝึกอบรมครู

Viikki Teacher Training School เมือง Helsinki
ประเทศ Finland

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงใจ จงธนากร

219 ประสบการณ์ในต่างแดน ณ America

อาจารย์ชีวัน เขียววิจิตร

ตอนที่ 3


229 นำสนุก…ปลุกอารมณ์การเรียนรู้

อาจารย์วรดร ใบพักตร์

235 เรียนสนุก สอนสุข ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

อาจารย์เสกสรรค์ หงษ์หิรัญพันธ์

261 สื่อสร้างสัมพันธ์และการเรียนรู้

อาจารย์นุช พุ่มเพชร

267 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

อาจารย์ชวลิต ศรีคำ

289 วรรณคดี...เรียนอย่างเข้าใจ รู้ความนัยอย่างซาบซึ้ง

อาจารย์พรพรรณ เสริมพงษ์พันธ์

295 การออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะทางภาษาควบคู่กับ

ทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21
Lesson Design: Language Learning Skills Plus

st
21 Century Skills
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงใจ จงธนากร

303 กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง : Coaching and Mentoring

อาจารย์อุมาภรณ์ รอดมณี

313 สาน....สร้างไว้ในองค์กร

อาจารย์วัฒนโชติ เพ็งพริ้ง

µÍ¹·Õ่ 1

ครู...ครูเ¾×èอÈิÉย

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ























ครู...ครูเ¾×èอÈิÉย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล






¤ÓÇ‹Ò “¤ÃÙ” เป็นคำที่ทุกคนรู้จักและเข้าใจในความหมาย
อันแสนจะลึกซึ้งและยิ่งใหญ่ของคำคำนี้ แต่จะมีสักกี่คนเล่าที่เข้าใจ
ในความหมาย เข้าใจในการกระทำ และเข้าใจในเจตนาของครูในวันนั้น

อย่างแท้จริง เพราะหากทุกคนลองย้อนนึกถึงวันเวลาในวัยเด็ก นึกถึง
วันที่เราได้สร้างวีรกรรมที่น่าทึ่งไว้กับครูหลาย ๆ ท่าน ซึ่งทุกคนก็ล้วนแต่มี
ความประทับใจในครูบางท่าน และจดจำได้ฝังใจถึงครูหลาย ๆ ท่านที่คอย

อบรมสั่งสอนเราให้เป็นคนดีมาจนถึงทุกวันนี้ด้วยวิธีการที่ไม่เคยลืม


คำว่า “ครู” เป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีคุณค่าอย่างยิ่ง ซึ่งหากครู
ได้ทำหน้าครูได้อย่างบริบูรณ์แล้ว ก็ถือว่าเป็นครูที่ประเสริฐยิ่ง เนื่องจาก
งานครูเป็นงานที่ใหญ่ยิ่ง และมีภาระงานหลาย ๆ อย่าง การเป็นครูที่ดี

ไม่ใช่สักว่าแต่จะสอนหนังสือได้ดีอย่างเดียว หากเป็นอย่างนั้นอาจกล่าว
ได้ว่าผู้นั้นคือผู้ที่สอนหนังสือไม่ใช่ครู เพราะการเป็นครูและเป็นครูที่มี

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






คุณค่าจะต้องมีหลายสิ่งหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกันอย่างกลมกล่อม

ซึ่งจะส่งผลในการปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นครูได้อย่างลึกซึ้ง ในคำว่า “ครู”

และองค์ประกอบของครูที่ดีนั้นจะต้องประกอบไปด้วยบุคลิกที่เหมาะสม
ในการเป็นครูเพราะเวลาสอนนักเรียนสิ่งแรกที่นักเรียนจะสัมผัสได้ก่อน

คือบุคลิกลักษณะ ดังนั้นการเป็นครูที่ดีก็ควรจะมีบุคลิกที่เหมาะสม

อันได้แก่ การแต่งตัวที่เหมาะสม การพูดจาที่น่าฟังและกระตุ้นการอยาก
ที่เรียนรู้ของนักเรียน ใช้คำพูดที่เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียนและเป็น

กำลังใจคอยสนับสนุนให้นักเรียนมีสภาวะในการเรียนรู้ที่ดี มีกิริยา

มารยาทที่ดี หากครูมีพื้นฐานดังกล่าวที่ดีแล้วก็ยังเป็นครูในใจของเด็ก ๆ
หลายคน ซึ่งต่างจากครูที่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับนักเรียน มีวาจาและ

ใช้คำพูดที่ไม่เข้าใจในวัย และความแตกต่างแต่ละบุคคลของนักเรียน
ไม่มีเหตุผล และในบางครั้งก็ใช้คำว่าครูเป็นใหญ่เพื่อเอาชนะนักเรียน

เมื่อทำการสอนก็จะใช้วิธีสอนที่ไม่พัฒนา ใช้แต่วิธีเดิม ๆ ไม่รู้จักค้นคว้า

และออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียน บทเรียนและ
ยุคสมัยในการเรียนรู้ของโลกในปัจจุบัน เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยหรือเสนอ

ความคิดเห็นใด ๆ ที่ไม่เหมือนครู ครูเหล่านั้นก็จะไม่ค่อยยอมรับฟัง
และใช้คำพูดที่เป็นการปิดกั้นความคิดของนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนไม่มี

ความสุขในการเรียน ซึ่งครูที่ดีต้องคอยชี้แนะสนับสนุนให้นักเรียน

คิดแก้ปัญหา ดังนั้นครูควรมีวิธีในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เหมาะสมกับ
นักเรียน มีเหตุผลและสามารถตอบคำถามของนักเรียนอย่างมีเหตุผล

และน่าฟังได้ เพื่อไม่เป็นการทำร้ายความรู้สึกของนักเรียน และทำให้นักเรียน

รู้สึกว่าครูมีเมตตาและเข้าใจในตัวนักเรียน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ในปัจจุบันจะสังเกตเห็นได้ว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียน

ที่ต่ำลงไปมาก ซึ่งทราบได้จากการประเมินผลระดับประเทศและระดับ
นานาชาติ ที่ประเทศของเรานั้นนักเรียนมีทักษะการคิดที่ลดลงไปเรื่อย ๆ

หากเราย้อนมองไปถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดผลเช่นนี้ เราอาจหลีกเลี่ยง

ไม่ได้เลยว่าหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญยิ่งก็คือครู ครูที่ซึ่งไม่พัฒนาตนเอง
ให้เป็นครูที่ดีมีคุณภาพ มีวิธีการสอนที่ดีกระตุ้นความสนใจของนักเรียน

เหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละวัย และมีการออกแบบเตรียม
การสอนมาเป็นอย่างดี มีการใช้สื่อชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการสอน
ในบทเรียนนั้น ๆ เพื่อช่วยในการเรียนรู้ รู้จักใช้จิตวิทยาการเรียนรู้
และวิธีสอนที่หลากหลาย นำมาประยุกต์ออกแบบบูรณาการให้เหมาะสม

กับสภาพในปัจจุบันและการดำเนินชีวิตประจำวัน มีการให้ลงมือปฏิบัติจริง
เพื่อเป็นประสบการณ์ตรงและเกิดการเรียนรู้ และทำให้นักเรียนมีความสุข
ในการเรียนมากขึ้นจากการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็น

การฝึกนักเรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักกระบวนการทำงานกลุ่มและ
การแก้ปัญหาต่าง ๆ ทำให้นักเรียนรู้จักเชื่อมโยงความรู้ให้เหมาะสมกับ
การดำเนินชีวิต พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะ

ที่สำคัญในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพให้แก่นักเรียนอยู่ตลอด ซึ่งหาก
ครูใช้วิธีสอนแบบเดิม ๆ และสอนแต่ในตำราไม่รู้จักการจัดการเรียนรู้ที่ดี
และน่าสนใจ ก็อาจทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย และทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้

ที่เกิดประโยชน์ได้ ดังนั้นครูควรตั้งตนให้เป็นครูนักคิด นักแก้ปัญหา
เนื่องจากในการสอนไม่ใช่ว่าจะพบเจอปัญหาเรื่องการเรียนการสอน และ
ผลการเรียนของนักเรียนที่ไม่เป็นที่พอใจนัก แต่ก็ยังมีปัญหาอื่นอีกมากมาย

ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลอบรมบ่มนิสัย แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
ดังนั้นครูควรมีความเมตตา พยายามอดทนพร่ำสอนเพื่อให้นักเรียน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เป็นเด็กดีและฉลาดในการใช้ชีวิต รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงไป

อย่างรวดเร็วของโลกและการจัดการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ครูที่ดีควรมีวิธีการ
วัดและประเมินผลที่หลากหลายเหมาะสมกับสภาพต่าง ๆ ของห้องเรียน เช่น
ความถนัดของนักเรียน เนื้อหาการเรียน กิจกรรมที่ใช้ในการจัดการ

เรียนรู้เมื่อมีการประเมินก็ควรเลือกให้เหมาะสมไม่ใช่ออกข้อสอบหรือ
วัดและประเมินผล ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่สอน ซึ่งทำให้สิ่งที่วัดและประเมินได้
ไม่ตรงความจริง และยังส่งผลต่อความรู้สึกในการเรียนรู้ของนักเรียน

อีกด้วย เมื่อการสอนในแต่ละครั้งสิ้นสุดลงครูควรมีการบันทึกผลการเรียน
การสอนในแต่ละครั้งเพื่อปรับปรุงพัฒนา การเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
ต่อไป


จากที่กล่าวมาข้างต้น นี่ก็เป็นประสบการณ์ความประทับใจและ
ไม่ประทับใจในครูหลาย ๆ ท่านที่เคยสอนมา ขอขอบพระคุณครูทุกท่าน
ที่ได้อบรมสั่งสอนให้ได้ประสบความสำเร็จในวันนี้ และทำให้เข้าใจ

ในการเป็นครูและมีแนวทางในการเป็นครูที่ดี สิ่งไหนที่คิดว่าการกระทำใด
เป็นสิ่งที่ดีและเป็นความรู้สึกประทับใจในการสอนของครูของผม
ผมก็นำมาปฏิบัติ และสิ่งไหนที่คิดว่าการกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่มี

ความสุข และคิดว่าครูไม่เข้าใจเด็ก ครูไม่มีเหตุผลก็จะพยามยามไม่ทำ
ซึ่งการเป็นครูที่ดีก็คือการเริ่มจาก “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” โดยพัฒนา
ตนเองตั้งแต่บุคลิกภาพที่ดี พูดจาเป็นกัลยาณมิตรเพราะคำพูดของครู

เป็นคำพูดที่ศักดิ์สิทธิ์ มีการเตรียมตัวการสอนและออกแบบการจัดการเรียนรู้
ที่เหมาะสม โดยยึดหลักความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละบุคคล
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย

ได้ครบและตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนดไว้
มีการบันทึกหลังการสอนเพื่อปรับปรุงการสอนให้ดีขั้น รวมถึงการทำวิจัย

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







ในชั้นเรียนและสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คิดว่าครูทุกคนควรจะมี คือ การพัฒนา
ตัวเราเองในทุก ๆ ด้านให้เป็นครูที่ดีในทุก ๆ ครั้งที่ทำหน้าที่ คิดว่าไม่มี
อะไรดีที่สุดในครั้งแรกและครั้งต่อมา แต่จะดีขึ้นเรื่อย ๆ หากเราใส่ใจ
ที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ไม่เหยียบรอยเดิมที่เราเคยทำพลาดไป พร้อมทั้ง

ศึกษาทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 ของ Jame
Bellanca และ Ron Brandt ซึ่งแปลโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ
อธิป จิตตฤกษ์ รวมทั้งบทความทางวิชาการของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

ในเว็บไซต์ที่เผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับครูเพื่อศิษย์ไว้มากมาย ซึ่งผู้เขียน
ขอนำมาเล่าสู่ให้เพื่อนครูสาธิตปทุมวันทุกท่าน ได้ทบทวนไตร่ตรอง
การเรียนรู้จากผลที่เกิดจากการบริหารจัดการการเรียนรู้ การออกแบบ

การเรียนรู้ และการจัดสภาพบรรยากาศการเรียนรู้ในปัจจุบัน อันมีผล
ส่งต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากสถานการณ์ของโลก
ในยุคปัจจุบันนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การนำวิทยาการและเทคโนโลยี

ใหม่ ๆ เข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ จึงส่งผลให้โลก
เปรียบเสมือนองค์ความรู้ขนาดใหญ่ ที่ทำให้เราจำเป็นต้องเกิดการเรียนรู้
ตลอดเวลา องค์ความรู้ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ อีกทั้งเทคโนโลยี

ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการศึกษา
ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่เปลี่ยนแปลง

อาจส่งผลให้ใครหลาย ๆ คนมองเห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่จะหมด
ความจำเป็นไปในอนาคตอันใกล้นี้ จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
อย่างรวดเร็วในยุคศตวรรษที่ 21 เราจึงเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้

แบบที่ผ่านมาอย่างในศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่ 20 นั้นไม่สามารถ
นำมาใช้ได้เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกปัจจุบัน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ในศตวรรษที่ 21 นี้ ครูจึงต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างนักเรียน

พันธุ์ใหม่ที่มีความพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต ดังนั้นครูต้องเร่ง
ผลิตนักเรียนพันธุ์ใหม่ที่สอดคล้องกับทักษะ ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
ซึ่งแบ่งได้กว้าง ๆ เป็น 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะ

การเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ทักษะ
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะความเป็นนานาชาติ


ทักษะชีวิตและการทำงาน

จากความเชื่อเดิมที่ว่า นักเรียนที่เรียนหนังสือเก่ง มักจะประสบ

ความสำเร็จนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ในศตวรรษที่ 21 เพราะสังคม
ได้คาดหวังกับนักเรียนพันธุ์ใหม่ไว้ว่าจะต้องเป็นผู้ที่สามารถนำความรู้
มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน มีความ
ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ มีความคิดริเริ่ม

มีความเป็นผู้นำ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ มีความคิดสร้างสรรค์
ผลงานและนวัตกรรมของตนเองได้ พร้อมทั้งมีทักษะด้านสังคมและทักษะ

ข้ามวัฒนธรรม นั่นคือสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มาจากวัฒนธรรมและ
วิถีชีวิตที่หลากหลายได้

ทักษะการเรียนรูและนวัตกรรม


ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม จัดเป็นพื้นฐานในมนุษย์ยุคศตวรรษ
ที่ 21 ที่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้ เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่าง

รวดเร็ว องค์ความรู้ใหม่ ๆ จึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา คนที่อ่อนแอด้าน
การเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นคนที่ตามโลกไม่ทัน และจะใช้ชีวิต
อย่างลำบากในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นการเรียนรู้ทักษะนี้เพื่อนำไปสู่

การเปลี่ยนแปลงที่ดี ประกอบด้วยทักษะย่อยต่าง ๆ ดังนี้

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และการแก้ปัญหา

(problem solving) ซึ่งหมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (expert thinking)

2. การสื่อสาร (communication) และความร่วมมือ (collaboration)
ซึ่งหมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (complex communication)


3. ความริเริ่มสร้างสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation)
ซึ่งหมายถึงการประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์


ดังนั้น เคล็ดลับที่จะบ่มเพาะทักษะย่อยทั้ง 3 นี้ คือ การฝึกตั้งคำถาม
การตั้งคำถามที่ถูกต้องนั้นสำคัญกว่าการหาคำตอบ ครูจึงต้องชวนศิษย์
ให้เปิดโอกาสในการตั้งคำถามแปลก ๆ และชวนกันหาทางทดลอง หรือ
ค้นคว้าเพื่อหาคำตอบนั้น


ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี


ในยุคศตวรรษที่ 21 การเข้าถึงแหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายนั้น
นักเรียนพันธุ์ใหม่จำเป็นที่จะต้องมีทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
ซึ่งแบ่งออกเป็นทักษะย่อย ๆ ได้แก่ ทักษะด้านสารสนเทศ ทักษะด้านสื่อ และ

ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดังนี้

1. ทักษะด้านสารสนเทศ จำเป็นต้องมีการรู้และเข้าถึงข้อมูล
ได้อย่างรวดเร็ว สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสามารถ

นำข้อมูลไปใช้ได้อย่างสร้างสรรค์

2. ทักษะด้านสื่อ ซึ่งเป็นทักษะ 2 ทาง คือ ด้านการรับสาร
จากสื่อและด้านสื่อสารออกไปยังผู้อื่น ดังนั้นคนในศตวรรษที่ 21 ต้องมี

ความสามารถในการใช้เครื่องมือสื่อสาร และสื่อสารออกไปได้หลายทาง

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เช่น วิดีโอ เว็บไซต์ ออดิโอ เป็นต้น ซึ่งครูต้องเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้

เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์สื่อได้และสร้างผลิตภัณฑ์สื่อได้

3. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เราจะสังเกต
ได้ว่าเด็กในยุคศตวรรษที่ 21 นั้นจะสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารได้เก่งกว่าครูและผู้ปกครอง แต่เด็กก็ควรได้รับคำแนะนำ

จากครูและผู้ปกครองในการใช้เครื่องมือเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้
อย่างสร้างสรรค์ และประเด็นที่สำคัญ คือ สื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็ว ดังนั้นครูและผู้ปกครองควรติดตามและก้าวให้ทันต่อเทคโนโลยี

ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำต่อเด็กได้

ทักษะการคิดอยางมีวิจารณญาณ

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นทักษะสำคัญในการเป็น
มนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21 ดังนั้นครูควรออกแบบการเรียนรู้การคิด

อย่างมีวิจารณญาณที่ไม่ให้เกิดขึ้นแค่ในชั่วโมงเรียน หรือชั้นเรียนแต่ควร
สร้างให้เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นนิสัย

ทักษะความเปนนานาชาติ


เนื่องจากในยุคศตวรรษที่ 21 โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน ครูจึง
มีความจำเป็นต้องศึกษาหาช่องทางทำความรู้จักเพื่อร่วมมือกับครู
ประเทศอื่นที่สนใจการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมร่วมกัน ซึ่งเท่ากับได้เป็น
การทำงานร่วมกันอีกด้วย นอกเหนือจากการทำงานร่วมกันยังสามารถ
เสริมทักษะอื่นได้อีกด้วย เช่น ทักษะการติดต่อสื่อสารกันผ่านเทคโนโลยี

สารสนเทศ ด้วยภาษาที่สื่อสารกันรู้เรื่องและจะได้เพิ่มความเข้าใจ
คนในประเทศอื่น และสามารถทำงานร่วมกันได้นี่คือมิติสำคัญของ
ความเป็นนานาชาติสำหรับนักเรียน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























จากทักษะข้างต้นที่ได้กล่าวมานั้น ทำให้เราสามารถรับรู้ได้ว่า

การจัดการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ควรเริ่มต้นไปในทิศทางไหน ครู
จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญนอกเหนือจากการที่จะใส่ใจศิษย์นั้น ครูต้องเป็น
ผู้จุดไฟให้กับศิษย์ให้เกิดการรักการเรียนรู้ และสนุกกับการเรียนรู้ และ

กระตุ้นให้อยากเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย
เรียนมาก” นั่นคือ ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ครูต้องตอบได้ว่า
ศิษย์เรียนได้อะไร และเพื่อให้ศิษย์ได้เรียนสิ่งเหล่านั้น ครูต้องทำอะไร

ไม่ทำอะไร

ครูจึงต้องออกแบบการเรียนรู้เพื่อตอบสนองทักษะและเนื้อหา
ต่าง ๆ ที่ศิษย์สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ สาระ

ความสำคัญของวิชาจึงย่อมมีความแตกต่างไปจากเดิมที่เคยมีมา การเรียนรู้
สาระวิชาควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเอง โดยครูเป็นผู้แนะนำ
และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมิน

ความก้าวหน้าการเรียนรู้ของตนเองได้

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ดังนั้นสาระวิชาหลัก ได้แก่

• ภาษาแม่ และภาษาโลก
• ศิลปะ
• คณิตศาสตร์

• เศรษฐศาสตร์
• วิทยาศาสตร์
• ภูมิศาสตร์

• ประวัติศาสตร์
• รัฐ และความเป็นพลเมืองดี

และหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 ได้แก่

• ความรู้เกี่ยวกับโลก
• ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ
และการเป็นผู้ประกอบการ

• ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี
• ความรู้ด้านสุขภาพ
• ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม


จากพลังการเปลี่ยนแปลงของยุคศตวรรษที่ 21 ครูต้องพึงระลึกรู้
อยู่ตลอดเวลาว่าการเรียนการสอนต้องไม่ใช่ความรู้ของตน แต่เป็นเรื่อง
การคิดและทักษะของศิษย์ จุดเน้นคือต้องเปลี่ยนจากการสอนของครู

ไปสู่การเรียนรู้ของศิษย์

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ



































ซึ่งขณะนี้ ในฐานะที่เรากำลังเติบโตในฐานะอาชีพครูแห่งยุค

ศตวรรษที่ 21 นั้น การเตรียมตัวในการเป็นครูที่ดีจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
ในการที่จะดำรงวิชาชีพนี้ เพราะยุคสมัยการเรียนการสอนที่เราเคยเจอนั้น
ย่อมมีความแตกต่างอย่างชัดเจนในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นในฐานะที่เรา

จะเป็นครู จึงควรทำการศึกษาเกี่ยวศตวรรษที่ 21 ว่าเป็นอย่างไร โลกแห่งยุคนี้
ดำเนินไปในลักษณะไหน เด็กในยุคนี้มีความต้องการทางด้านใด จากศึกษา
เรื่องราวในข้างต้นก็ทำให้เราพอทราบได้พอสมควรว่า ทักษะต่าง ๆ ล้วนมี

ความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ของคนเป็นครู ต้องมีการปรับเปลี่ยน
วิธีการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม และสร้างความพร้อม
ให้นักเรียนที่จะก้าวเดินต่อไปในอนาคต

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






จากการสอนแบบเดิมที่คนเป็นครูมุ่งที่จะให้ความรู้เยอะ ๆ เด็กรับ

ความรู้เยอะ ๆ แล้วท่องจำนั้นมันอาจสามารถใช้ได้ในศตวรรษที่ 20 หรือ
ศตวรรษที่ 19 แต่ในโลกของศตวรรษที่ 21 ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะ
การสอนแบบมอบความรู้กันตรง ๆ นั้นใช้ไม่ได้ผลกับเด็กยุคนี้ ซึ่งเนื้อหา
ที่จะใช้ในการสอนนั้นมีเยอะมากมาย จนครูเองก็ไม่รู้ว่าจะจัดการเนื้อหา
ในการสอนอย่างไร และการสอนในยุคศตวรรษที่ 21 เราคิดว่าควร
จัดการสอนที่เน้นเฉพาะส่วนสำคัญ เพื่อให้เด็กสามารถต่อยอดความรู้
เองได้ และเรียนรู้ด้วยตนเองในส่วนที่ไม่ได้สอน จากคำกล่าวของ

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
เหมาะกับคำว่า Teach Less Learn More จึงจะเป็นสิ่งที่เหมาะในการ
จัดการเรียนรู้ที่มีต่อเด็ก เปลี่ยนกระบวนการศึกษาเปลี่ยนเปาหมายจาก
ความรู้ไปสู่ทักษะ เปลี่ยนจากครูเป็นหลักเป็นนักเรียนเป็นหลัก ซึ่งเรามองว่า
การเรียนรู้ที่เหมาะสมในยุคศตวรรษที่ 21 คือ การสอนแบบ Project Based
Learning ซึ่งเป็นการสอนที่น่าจะสอดคล้องกับทักษะต่าง ๆ มากที่สุด
เป็นการเรียนรู้ผ่านการทำงานจริง โดยที่ครูมีหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ
และส่งเสริม กระตุ้นเด็กทางด้านจิตใจ อารมณ์ และสร้างแรงบันดาลใจ
ให้กับเด็ก ซึ่งเด็กจะได้รับประโยชน์ตั้งแต่การตีโจทย์ การค้นคว้าหาความรู้

การประเมินข้อมูล การนำข้องมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์และการปฏิบัติจริง
ทั้งยังช่วยในเรื่องของทักษะการสื่อสาร และการนำเสนออย่างสร้างสรรค์
ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ทำให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งสามารถ
จัดองค์ความรู้เป็นของตนเองได้ และจุดเด่นของการจัดการเรียนรู้นี้คือ
การเรียนรู้ที่ไม่ขีดกรอบให้กับเด็ก เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กเกิดเสรีภาพทาง
ปัญญา เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นไปที่คำตอบ แต่เน้น
กระบวนการหาคำตอบมากกว่า ซึ่งการวัดและประเมินก็จะมุ่งวัดประเมิน

ความก้าวหน้าของเด็ก เพราะเด็กทุกคนไม่ว่าจะเก่ง หรือไม่เก่ง ย่อมมี
การพัฒนาอยู่ในตนเองเรื่อย ๆ ต่อไป และจากแนวคิดอีกอย่างหนึ่ง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ที่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในอนาคต เป็นแนวคิดที่มาจาก

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้นำเสนอการสอนในรูปแบบการบ้านทั้งปี
คือละครใหญ่ ซึ่งในปีหนึ่งเราจะจัดการบ้านชุดใหญ่เพียงการบ้านเดียว
คือให้เด็กสร้างละครที่เกิดจากความรู้ที่ได้รับ การบ้านแบบนี้จะทำให้เด็ก
มีใจมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งที่เป็นระยะยาว และสามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
อีกทั้งจะไม่มีปัญหาเรื่องสมาธิสั้นเพราะสมาธิเด็กจะมีทั้งปี นี้คือการเรียนรู้
ที่ไม่มีการสอน ดังนั้นในอนาคตเราจึงควรหานวัตกรรม หรือเครื่องมือใหม่
ที่จะนำมาใช้ในการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการให้เท่าทันกับยุคสมัย

และการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ที่ดีในยุคศตวรรษที่ 21
ควรจะเกิดจากความคิดของครูหลาย ๆ คน ร่วมมือกันออกแบบการเรียนรู้
เพราะครูแต่ละคนจะเจอเด็กไม่เหมือนกัน ดังนั้นครูคนเดียวไม่สามารถ
ออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองเด็กได้ทุกคน จึงจำเป็นที่ครูต้องร่วมมือกัน
เพื่อออกแบบการสอน ที่ตอบสนองกับเด็กในยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อให้
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 นั้นดำเนินไปได้ด้วยดี และเด็กก็จะเติบโต
และมีความพร้อมที่จะก้าวเดินต่อไปในอนาคตได้อย่างสมบูรณ์แบบ






บรรณานุกรม
ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. (2555). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2556,
จาก http://apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefi x-12122555-124333-
X1x217.pdf
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 มีกันครบหรือยังคะ. (2555). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน
2556, จาก http://www.preeyadaedu.com/?p=650
เบลลันกา, เจมส์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. แปลโดย
วรพจน์ วงศ์กิจ รุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. กรุงเทพฯ: openworlds.
วิวิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
reading thailand. (2555). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร.
สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2556, จาก http://www.qlf.or.th/HomeDetails?contentId=417

ปรัºวิธÕคิ´
ปรัºวิธÕคิ´
ปรัºวิธÕคิ´


เปÅÕèยนวิธÕสอน
เปÅÕèยนวิธÕสอน
เปÅÕèยนวิธÕสอน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ


















ปรัºวิธÕคิ´ ... เปÅÕèยนวิธÕสอน

อาจารย์ชวลิต ศรีคำ











¡ÒèѴ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมี
ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ
ที่สุด กระบวนจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม

ธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ [สคศ], 2543: 25 – 26) แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคน
มีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมี

ทักษะพื้นฐานที่สำคัญต่อการเรียนรู้อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด
อ่าน และเขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา ความพร้อม
ทางร่างกายและอารมณ์ที่ต่างกัน ดังนั้นควรมีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม

ในลักษณะที่แตกต่างกันตามปัจจัยหรือลักษณะหรือศักยภาพของผู้เรียน
แต่ละคน โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการเรียนรู้นี้ คือ ครู

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ครูตามความหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. 2542 หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้าน
การเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ
ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน (สคศ, 2543: 10) ดังนั้นหน้าที่หลัก

ของครู คือ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ เพื่อพัฒนา
ความสามารถของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ ผู้เป็นครูควรเป็นผู้มีอุดมคติ
ของครูอย่างแน่วแน่ เป็นผู้นำในด้านคุณธรรม วัฒนธรรม การปรับตน

และการสร้างสรรค์ (ไกรนุช ศิริพูล, 2531: 3) ครูต้องเป็นผู้เสียสละ
ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่หวังผลตอบแทน


ไกรนุช ศิริพูล (2531: 35) ให้ทัศนะว่าผู้ที่จะเป็นครูที่ดีควรมี

คุณลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ คือ


1. สอนดี คือ สอนให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ มีความเฉลียวฉลาด
สอนได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง มีความรู้กว้างขวางสามารถถ่ายทอดให้
ศิษย์สนใจด้วยกลวิธีการสอนที่แปลกใหม่อยู่เสมอ และเหมาะสมกับบทเรียน
สอนแล้วนำไปปฏิบัติได้ รู้หลักจิตวิทยาในการเรียนรู้ การปกครองชั้นเรียน

ขยันในการอบรมสั่งสอนศิษย์ ตลอดจนรู้หลักในการทดสอบ การวัดผล
และการประเมินผล สอนให้เต็มที่ เต็มเวลา และสอนให้เป็นคนดี


2. ประพฤติดี คือ มีความประพฤติเป็นแม่แบบที่ดีของศิษย์

ละเว้นอบายมุข อันก่อให้เกิดความเสื่อมเสียทั้งปวง เช่น เสพสุรา เล่นการพนัน
เล่นแชร์ สูบบุหรี่ ชู้สาว เที่ยวสถานเริงรมย์ที่ไม่เหมาะสมกับฐานะครู
รักษาระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน การแต่งกายที่ถูกต้องหรือเหมาะสม

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ตรงเวลา มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอและมีความซื่อสัตย์ สุจริต

ยุติธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครู


การประเมินผลการศึกษาของไทยโดยหน่วยงานทั้งภายในประเทศ
และต่างประเทศ ชี้ชัดว่าคุณภาพการศึกษาไทยมีปัญหา


ผลการประเมินในโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Program
for International Student Assessment: PISA) ปี 2549 โดยองค์การ OECD
พบว่า มีนักเรียนไทยถึงร้อยละ 47 รู้วิทยาศาสตร์ต่ำกว่า

ระดับพื้นฐาน ผลการประเมินขององค์กรยูเนสโก (UNESCO) พบว่า
ประเทศไทยควรปรับปรุงคุณภาพการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัยจนถึง
อุดมศึกษา และผลการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ปี 2548 พบว่า ระดับปฐมวัย

เด็กปฐมวัยมากถึง 1 ใน 6 (กว่า 4 แสนคน) ได้รับการศึกษาไม่ทั่วถึง
ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ส่วนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาต่าง ๆ ต่ำกว่าร้อยละ 50 ทุกวิชา และขาด
ทักษะการคิด สำหรับระดับอาชีวศึกษา ไม่สามารถจัดการศึกษา
เพื่อสนองต่อตลาดแรงงาน และระดับอุดมศึกษา ขาดศักยภาพ
ในการพัฒนางานวิชาการ การควบคุมคุณภาพการศึกษาไม่ดีพอ

มีการเปิดหลักสูตรที่ไม่ได้คุณภาพ หากปล่อยให้การศึกษาไร้คุณภาพ
เช่นนี้ต่อไปทรัพยากรบุคคลของประเทศจะด้อยคุณภาพลงเรื่อย ๆ

นอกจากนี้ผลประเมินการบังคับใช้กฎหมายการศึกษา ปี 2548 ของ สกศ.
โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผู้ตอบร้อยละ 92.62
กล่าวว่า อัตรากำลังครูที่ได้รับจัดสรรจากส่วนกลางยังไม่เพียงพอต่อ
จำนวนนักเรียนและชั้นเรียน (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2555:

ออนไลน์)

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






จากข้อมูลอันเป็นวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียน

ที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่าครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเอง
ไม่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวครูควรปรับวิธี ... เปลี่ยนวิธีสอน
โดยเริ่มจากการทบทวนและปรับแต่งความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับ

ความหมายของการเรียนรู้ เทคนิควิธีสอนแนวใหม่ การออกแบบการจัดการ
เรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล จิตวิทยา ตลอดจนความแตกต่างระหว่าง
บุคคล โดยต้องถือว่าแก่นแท้ของการเรียน คือ การเรียนรู้ของผู้เรียน ต้อง
เปลี่ยนจากการยึดสาระวิชาเป็นตัวตั้ง มายึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง หรือที่เรียกว่า

“ผู้เรียนเปนสำคัญ” โดยครูต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก (Teach
Less, Learn More)” ซึ่งเป็นอุดมการณ์ด้านการศึกษาของประเทศสิงคโปร์
โดยครูสอนน้อยลง คือ สอนเท่าที่จำเป็น ซึ่งครูต้องรู้ว่าตรงไหนควรสอน
ตรงไหนไม่ควรสอนเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เอง ครูทำหน้าที่ออกแบบ

กิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากกิจกรรม (Project – Based Learning หรือ PBL)
แล้วชักชวนผู้เรียนทบทวนไตร่ตรอง (reflection หรือ AAR) ว่าในแต่ละ
กิจกรรมของการเรียนรู้ ผู้เรียนรู้อะไรบ้าง ยังไม่ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
และอยากเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งจะทำให้ครูเข้าใจอัตราความเร็ว
ของการเรียนรู้ของผู้เรียนที่หัวไวไม่เท่ากัน (ความแตกต่างระหว่างบุคคล)

ในสภาพการเรียนเช่นนี้จะทำให้ผู้เรียนตื่นตัวและต้องเตรียมตัวเรียน
ตลอดเวลา จะไม่มีเวลาเฉไฉไปทำเรื่องไม่เหมาะไม่ควร และครูมีเวลา
ออกแบบการเรียนรู้ ทบทวนผลการเรียนรู้มากขึ้น กล่าวคือ ครูต้อง

เรียนรู้วิธีทำหน้าที่ครูของตนอยู่ตลอดเวลา เพราะครูจะไม่รู้ว่าวีธีการ
ที่ดีที่สุดที่จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากนั้นทำอย่างไร ครูจึงต้องจับกลุ่มกัน
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของกันและกัน สำหรับผู้บริหาร
ก็ต้องคอยจับเอาประเด็นเรียนรู้สำคัญ ๆ ไปจัดระบบของโรงเรียนให้เอื้อต่อ
การเรียนรู้ตามแนว “สอนน้อย เรียนมาก” (วิจารณ์ พานิช, 2555: 64 - 66)

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






การจัดการเรียนรู้ที่ยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” ถือเป็น

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และคำนึงถึงความแตกต่าง

ระหว่างบุคคล โดยเน้นให้ผู้เรียนรักและสนุกกับการเรียนรู้ รู้จักเรียนรู้
ด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้สอน” เป็น “โค้ช (ผู้ฝึก)” กล่าวคือ

ครูคอยแนะนำ ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน

ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ และจุดประกาย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
และพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือ

ปฏิบัติจริง ได้คิดค้นคว้าศึกษาทดลอง ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตน

เอง ครูควรมีบทบาท ดังนี้ (ชาติ แจ่มนุช และคณะ, 2555: ออนไลน์)

1. เป็นผู้จัดการ (Manager) เป็นผู้กำหนดบทบาทให้ผู้เรียน

ทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรม แบ่งกลุ่ม หรือจับคู่ เป็นผู้มอบหมาย
งาน หน้าที่ความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนทุกคน จัดการให้ทุกคนได้ทำงาน

ที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของตน


2. เป็นผู้ร่วมทำกิจกรรม (An active participant) เข้าร่วม
ทำกิจกรรมในกลุ่มจริง ๆ พร้อมทั้งให้ความคิดและความเห็น หรือเชื่อมโยง

ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เรียนขณะทำกิจกรรม


3. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งวิทยาการ (Helper and resource)
คอยให้คำตอบเมื่อผู้เรียนต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการ ตัวอย่าง เช่น

นิยามศัพท์ การให้ข้อมูลหรือความรู้ในขณะที่ผู้เรียนต้องการ ซึ่งจะช่วย

ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 














“àม×èÍครÙáส´§บ·บา·áÅзำËนŒา·Õè¢Í§µนàͧ


໚นÍย‹า§´Õ ࢌาã¨Åั¡É³ÐËร×ÍÈั¡ยÀา¾

¢Í§¼ÙŒàรÕยนᵋÅÐคน ¡ç¨Ð·ำãËŒสามาร¶¨ั´¡าร

àรÕยนรٌ䴌Íย‹า§มÕ»รÐสิ·¸ิÀา¾มา¡ยิ觢Öéน


¼ÙŒàรÕยนสามาร¶¾ั²นาµาม¸รรมªาµิ


áÅÐàµçมµามÈั¡ยÀา¾ «Ö觡ç¨Ðสามาร¶á¡Œ»˜ญËา

Çิ¡Äµ·า§¡ารÈÖ¡Éา¢Í§ªาµิ áÅÐÇิ¡Äµ

¢Í§¼ÙŒàรÕยนä´Œ นÍ¡¨า¡นÕéàม×èÍครÙมÕ¡ารàรÕยนรÙŒ


มา¡¨า¡§าน¢Í§µน ครÙย‹Íมà¡‹§¢Öéนä´Œรับ


¡ารยÍมรับสÙ§¢Öéน áÅÐä´Œรับ¡ารµÍบá·น
µ‹า§ æ µามมา”




(วิจารณ์ พานิช, 2555: 66)

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






4. เป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง (Supporter and encourager)

ช่วยสนับสนุนด้านสื่ออุปกรณ์ หรือให้คำแนะนำที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียน
สนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง


5. เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ (Monitor) คอยตรวจสอบงาน
ที่ผู้เรียนผลิตขึ้นมาก่อนที่จะส่งต่อไปให้ผู้เรียนคนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ด้านความถูกต้องของคำศัพท์ ไวยากรณ์ การแก้คำผิด ซึ่งอาจจะทำได้ทั้ง

ก่อนทำกิจกรรม หรือบางกิจกรรมอาจจะแก้ทีหลังก็ได้


ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการจัดการเรียนรู้ของครูแบบเก่า
กับครูแบบใหม่ก็จะเห็นความแตกต่าง ดังนี้




ครูแบบเกา ครูแบบใหม


1. สอนแยกเนื้อหาวิชา 1. สอนผู้เรียนโดยวิธีบูรณาการเนื้อหา
วิชา วิชา

2. มีบทบาทในฐานะตัวแทนของ 2. แสดงบทบาทในฐานะผู้แนะนำ
เนื้อหาวิชา (Knowledge) (Guide) ประสบการณ์ทางการศึกษา

3. ละเลยเฉยเมยต่อบทบาทผู้เรียน 3. กระตือรือร้นในบทบาทความรู้สึก
ของผู้เรียน

4. ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมแม้แต่จะพูด 4. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน
เกี่ยวกับหลักสูตร ของหลักสูตร

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 












ครูสมัยเกา ครูสมัยใหม
(กอนปรับวิธีคิด… เปลี่ยนวิธีสอน) (หลังปรับวิธีคิด… เปลี่ยนวิธีสอน)
1. ใช้เทคนิคการเรียนโดยใช้ 1. ใช้เทคนิคการค้นพบด้วยตนเอง
การจำเป็นหลัก ของผู้เรียนเป็นกิจกรรมหลัก

2. มุ่งเน้นการให้รางวัลภายนอก เช่น 2. มีเสริมแรงหรือให้รางวัลมากกว่า
เกรด แรงจูงใจภายนอก การลงโทษมีการใช้แรงจูงใจภายใน

3. เคร่งครัดกับมาตราฐานทาง 3. ไม่เคร่งครัดกับมาตราฐานทางวิชาการ
วิชาการมาก จนเกินไป

4. มีการทดสอบสม่ำเสมอเป็นระยะ ๆ 4. มีการทดสอบเล็กน้อย

5. มุ่งเน้นการแข่งขัน 5. มุ่งเน้นการทำงานแบบร่วมใจ

6. สอนในขอบเขตของห้องเรียน 6. สอนโดยไม่ยึดติดกับห้องเรียน
7. เน้นย้ำประสบการณ์ใหม่ 7. มุ่งสร้างสรรค์ ประสบการณ์ใหม่
เพียงเล็กน้อย ให้ผู้เรียน

8. มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการเป็นสำคัญ 8. มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการและทักษะ
ละเลยความรู้สึกหรือทักษะทางด้าน ด้านจิตพิสัยเท่าเทียมกัน
จิตพิสัย


9. ประเมินกระบวนการเล็กน้อย 9. มุ่งเน้นการประเมินกระบวนการ
เป็นสำคัญ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ










บรรณานุกรม

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2555). 3 วิกฤตการศึกษาไทยที่รัฐบาลใหม่ต้องเร่งแก้.
สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2555, จาก http://www.kriengsak.com/node/1207

ไกรนุช ศิริพูล. (2531). ความเป็นครู (Self – Actualization for Teachers).
กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครู
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์.

ชาติ แจ่มนุช และคนอื่นๆ. (2555). บทบาทของผู้สอน. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2555,
จาก http://www.sut.ac.th/tedu/news/Step_teach.html

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร
: มูลนิธีสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2543).
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท สยามสปอร์ต ชินดิเคท จำกัด.

เรÕยนรูŒËÅักสูตร ...





สู‹กรкวนการ¨ั´การเรÕยนรูŒ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ














เรÕยนรูŒËÅักสูตร ...


สู‹กรкวนการ¨ั´การเรÕยนรูŒ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล











¨Ò¡á¼¹พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
(พ.ศ.2550 - 2554) ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนจุดเน้น
ในการพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณภาพ และมีความรอบรู้อย่างเท่าทัน

มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และศีลธรรม สามารถ
ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่งคง
วางแนวทางการพัฒนาคน มุ่งเด็กและเยาวชนให้มีพื้นฐาน จิตใจที่ดีงาม

มีจิตสาธารณะ มีสมรรถนะ ทักษะ และความรู้พื้นฐานที่จำเป็น
ในการดำรงชีวิต รวมทั้งนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งส่งเสริมให้
ผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์

คิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและ
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ จึงก่อเกิดให้มีการทบทวน
และนำมาสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






พุทธศักราช 2551 ขึ้น โดยได้กำหนดความสัมพันธ์ของการพัฒนาคุณภาพ

ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 6 ส่วนที่เชื่อมโยงกัน ได้แก่
วิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนา

ผู้เรียน
กล่าวคือ จุดหมายของหลักสูตร มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี
มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

รวมทั้งให้มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา
การใช้เทคโนโลยีและการมีทักษะชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับสมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียนทั้ง 5 ประการ ตรงกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้

พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้าน เพื่อความเป็นมนุษย์
ที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะกิจกรรมผู้เรียน มุ่งพัฒนาความเป็นผู้มีระเบียบวินัย
มีความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบ มีการทำงานร่วมกัน รู้จัก

แก้ปัญหา มีการตัดสินใจที่เหมาะสม มีเหตุผล มีการช่วยเหลือแบ่งปันกัน
เอื้ออาทรและสมานฉันท์ โดยให้จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสามารถ
ความถนัด ความสนใจของผู้เรียนให้ได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่

การศึกษา วิเคราะห์ วางแผน การปฏิบัติตามแผน การประเมินผล
และการปรับปรุงการทำงาน และยังสอดคล้องกับจุดเน้นที่ต้องการให้เกิดขึ้น
กับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

(ช่วงชั้นที่ 2) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดในเรื่องต่อไปนี้

1. สำรวจความถนัดและความสนใจของตนเอง
2. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคล

3. มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์และ
คิดแก้ปัญหา

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






4. มีทักษะในการดำเนินชีวิต

5. มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
6. มีความรับผิดชอบต่อสังคม
7. มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม

8. มีความภูมิใจในความเป็นคนไทย
9. มีความรู้ความสามารถเป็นพื้นฐาน ในการประกอบอาชีพและ
การศึกษาต่อ


ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 3) เน้นการเพิ่มพูน

ความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองความสามารถ ความถนัด และความสนใจ
ของผู้เรียนแต่ละคน ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะในการใช้วิทยาการ

และเทคโนโลยี มีทักษะกระบวนการคิดชั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาคน
และประเทศ ตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำและผู้ให้บริการชุมชน
ในด้านต่าง ๆ


นอกจากนั้นยังมีกระบวนการการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการ
สำคัญในการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยมีมาตรฐานการเรียน
สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นจุดหมายในการพัฒนา

เด็กและเยาวชน ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามจุดหมายของ
หลักสูตร ผู้สอนพยายามคัดสรรกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดย

ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ปลูกฝังสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาทักษะต่าง ๆ อันเป็น
สมรรถนะสำคัญให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดหมาย ซี่งมีแนวทางการจัดการเรียนรู้
ดังนี้

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






1. หลักการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางใหม่ ให้ยึดหลักว่า

“ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด” เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ
พัฒนาได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้
ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้
ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม


2. กระบวนการเรียนรู้ ให้ใช้กระบวนการ ดังต่อไปนี้
1) กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2) กระบวนสร้างความรู้
3) กระบวนการคิด

4) กระบวนการทางสังคม
5) กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา
6) กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

7) กระบวนการปฏิบัติและลงมือทำจริง
8) กระบวนการจัดการ
9) กระบวนการวิจัย

10) กระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้ของตนเอง
11) กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย

3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องเลือกใช้วิธีสอน

เทคนิคการสอน สื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
ให้สอดคล้องกับหลักการและกระบวนการดังกล่าวข้างต้น การพัฒนา
ผู้เรียนจึงจะบรรลุเปาหมายที่กำหนดไว้

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






4. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ทั้งผู้เรียนและ

ผู้สอนต้องเข้าใจ และตีบทของกันและกันให้แตกจึงจะบรรลุเปาหมาย ดังนี้
4.1 บทบาทผู้สอน ควรมี 7 ประการดังนี้
1) ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แล้วนำข้อมูลไป

ใช้ในการวางแผนการจัด การเรียนรู้ที่ท้าทาย
ความสามารถของผู้เรียน
2) กำหนดจุดหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

ด้านความรู้และทักษะกระบวนการที่เป็นความคิด
รวบยอด หลักการและความสัมพันธ์รวมทั้งคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์

3) ออกแบบการเรียนรู้ และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนอง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง
เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดหมาย

4) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และดูแลช่วยเหลือ
ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
5) จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพ

นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยี ที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้
ในการจัดการเรียนการสอน
6) ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการ

ที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา และ
ระดับพัฒนาการของผู้เรียน
7) วิเคราะห์การประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนา

ผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุง การจัดการเรียนรู้ของตนเอง

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






4.2 บทบาทของผู้เรียนอย่างน้อย 5 ประการ ดังนี้

1) กำหนดจุดหมายวางแผนและรับผิดชอบการเรียนรู้
ของตนเอง
2) เสาะแสวงหาความรู้เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ วิเคราะห์

สังเคราะห์ข้อความรู้ ตั้งคำถาม คิดหาคำตอบหรือ
หาแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ
3) ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองและ

นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ
4) มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและครู
5) ประเมิน และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเอง

อย่างต่อเนื่อง

แนวทางการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู


1. วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้
และหน่วยการเรียนรู้ ที่ได้จัดทำไว้แล้ว

2. เชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
3. วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชาทุกสาระที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนด
จุดประสงค์การเรียนรู้
4. ออกแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบ

ของแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






องคประกอบของแผนการจัดการเรียนรู


Click to View FlipBook Version