The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:35:07

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 4

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ให้ฝ่ายและกลุ่มสาระ ฯ ได้ประชุมเตรียมการในการทำงานในปีการศึกษา

ต่อไปอีกด้วย และสุดท้ายในการจัดการประชุมทุกปีก็จะมีการสรุปนโยบาย
ของโรงเรียน มีการกำหนดปฎิทินการปฏิบัติงาน และการดำเนินโครงการ
ต่าง ๆ ของฝ่าย ของกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทำให้บุคลากร

ทุกคนได้รับทราบและนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทาง
เดียวกันด้วย


A = Ability : ความสามารถ
บุคลากรทุกคนในสาธิตปทุมวันเป็นบุคคลที่มีความสามารถ
เฉพาะตน ผู้บริหารเห็นความสำคัญในการคัดเลือกบุคคลในการทำงาน
โดยเน้นการใช้คนให้ตรงกับงาน นั่นคือพิจารณาเรื่องความสามารถเป็นสำคัญ

และทุกคนในองค์กรก็จะได้ใช้ความสามารถของตนในการทำงานได้อย่าง
เต็มที่และมีความสุขในการทำงานนั่นเอง


T = Time Management : การบริหารเวลา
เวลา เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดหน้าที่ ดังนั้นการทำหน้าที่
ให้ตรงกับเวลาที่เป็นอยู่จึงสำคัญมาก เพราะบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน

แต่ละเวลาไม่เหมือนกัน เช่น เวลาที่เราเป็นอาจารย์ประจำชั้น เช้าเราต้องทำ
หน้าที่อะไรบ้าง เราก็ทำตามเวลานั้นให้ถูกต้อง ถึงเวลาสอนก็เข้าสอน
ให้ตรงเวลา ถึงเวลาที่เราต้องเข้าประชุมหน้าที่ของเราก็ต้องเป็นผู้เข้าร่วม
ประชุมที่ดีเข้าประชุมตรงเวลา หากผู้เข้าประชุมทุกคนทำหน้าที่ได้ถูกต้อง

การประชุมก็เป็นไปตามกำหนดการที่วางไว้ไม่ต้องเลื่อนเวลาออกไป เป็นต้น
ดังนั้นการตรงต่อเวลาจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรให้ความสำคัญและยึดถือ
ปฏิบัติกันมา อีกทั้งความสามารถในแบ่งเวลาและการบริหารเวลาที่ถูกต้อง

จึงสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






U = Unity : ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ทุกคนในสาธิตแห่งนี้เรียนรู้จากการ “ทำงานเป็นทีม” ทุกคน และ
ทุกคนในสาธิตแห่งนี้ก็ยอมรับและปฏิบัติตามการตัดสินใจในภาพรวม
ขององค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถ ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันและให้

สามารถเติบโต สู่เปาหมายตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรที่ได้วางไว้
เราทุกคนตระหนักว่าการรวมกัน รักกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จะสามารถ
ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ได้ และทุกคนสามารถแสดงศักยภาพของโรงเรียนเรา

ให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้เห็นศักยภาพนี้ได้เป็นอย่างดี สิ่งนี้มีหลักฐานให้เห็น
เป็นประจักษ์หลายครั้ง จนมีสโลแกนที่พูดติดปากว่า “รวมกันเราอยู่
แยกหมู่เราตาย”


M = Merit : คุณธรรม
การใช้คุณธรรมเป็นวัฒนธรรมในด้านการปกครองของผู้บริหาร
หรือระดับผู้นำ ในการที่จะนำมาใช้ในโรงเรียนของเราให้เกิดเป็นขวัญ

กำลังใจในการทำงานของบุคลากร นั่นคือการพยายามขจัดระบบเส้นสาย
พวกพ้องออกไป โดยพิจารณาถึงคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
หรือที่เรียกกันว่า Competency มาใช้ คือ ใช้คนให้เหมาะสมกับงาน โดย

ใช้วิธีการสอบคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงานแบบมีระบบ มีการพิจารณา
จากวุฒิการศึกษา จากประสบการณ์การทำงาน อีกทั้งมีหลักในการคัดเลือก
บุคลากรที่จะเลื่อนขึ้นเป็นหัวหน้างานในแต่ละส่วนโดยพิจารณาที่ความสามารถ

เป็นสำคัญ และที่สำคัญการใช้คุณธรรมและความเป็นธรรมในการพิจารณา
ความดีความชอบ ในการเลื่อนขั้น เหล่านี้ผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนร่วม
ของสาธิตปทุมวันนั้นประพฤติปฏิบัติกันมาโดยตลอด

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






W = Wisdom : มีไหวพริบ ฉลาด แหลมคม

สิ่งนี้ถ้าจะกล่าวไปแล้วคงใช้คำว่า ภูมิรู้ น่าจะเหมาะสมสำหรับ
โรงเรียนเรา เนื่องจากองค์กรของเราเป็นสถานศึกษาที่ผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพ
ดังนั้นอาจารย์ก็คงต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีไหวพริบ ฉลาด แหลมคม

หรือมีภูมิรู้ ให้สมกับเป็นผู้สร้างสรรค์ความรู้ให้กับนักเรียน

W = Worm Welcome : การให้การต้อนรับ

คงไม่มีใครในองค์กรของเราจะไม่ยอมรับว่าวัฒนธรรมนี้มีมาช้านาน
นั่นคือ การต้อนรับอย่างอบอุ่น ใครมาถึงเรือนชานสาธิตปทุมวันแล้ว
ไม่มีผิดหวัง เราต้อนรับทุกคนอย่างดี เรามีฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายปฎิคม
ฝ่ายอาหาร (อาหารว่างและอาหารกลางวันของเราอร่อยสุด ๆ มานานแล้ว

ไม่เชื่อดูได้จากสรีระของบุคลากรของเราได้) และฝ่ายอาคารสถานที่
ที่เข้มแข็ง อันนี้รวมไปถึงการต้อนรับอาจารย์ใหม่ นิสิตฝึกสอน และการต้อนรับ
นักเรียนใหม่ด้วย เราจะมีระบบการปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศที่ปฏิบัติ

สืบต่อกันมายาวนาน

A = Abasement : การอ่อนน้อมถ่อมตน

การอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นสิ่งที่ดี เป็นวัฒนธรรมที่เราปลูกฝังมา
ตั้งแต่บุคลากรของโรงเรียน และถ่ายทอดมายังนักเรียนสาธิตปทุมวันทุกคน
เราให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส อาจารย์มีรุ่นพี่ รุ่นน้อง นักเรียนก็มีรุ่นพี่ รุ่นน้อง
การที่ทุกคนมีความอ่อนน้อมต่อกัน ก็ทำให้งานทุกอย่างที่ยากเปลี่ยน

เป็นง่ายได้ และเราก็สามารถยอมรับความคิดเห็นของกันและกันได้
เพราะความนุ่มนวล อ่อนน้อมนั่นเอง วัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดและประพฤติ
ปฏิบัติกันเป็นกิจวัตรประจำวันที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






และมีสัมมาคารวะ ก็คือ การไหว้ บุคลากรส่วนใหญ่ของเราให้ความสำคัญ

กับการไหว้ทักทายในตอนเช้าและการลากลับในตอนเย็น รวมทั้งการไหว้
เพื่อการขอบคุณด้วย

N = Neatness : ความประณีต

ความประณีตเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะผลงานของสาธิตปทุมวัน
ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นผลงานด้านบุคลากร หรือผลงานที่เป็นชิ้นงานที่เกิดจาก

การทำงานทุกอย่าง เราคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสำเร็จ ความประณีตเสมอ
ไม่สักแต่ว่าทำให้เสร็จๆ ไป ผลงานทุกอย่างต้องมีคุณภาพในระดับที่
เป็นที่พึงพอใจของทุก ๆ ฝ่ายแน่นอน


จากการผสมผสานคำศัพท์ต่าง ๆ ที่นำมาเรียบเรียงใหม่ในครั้งนี้
ความหมายและการกระทำนั้นมาจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเห็น คงจะ
สอดคล้องกับท่านที่มีประสบการณ์ยาวนานเหมือนผู้เขียน และก็คงจะเป็น
การยืนยันได้ว่า วัฒนธรรมสาธิตที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นวัฒนธรรมองค์กร

ที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาที่เป็นข้อดีหรือเป็นจุดแข็งขององค์กรของเรา
แต่ยังคงมีอีกหลายอย่างที่ผู้เขียนยังนึกไม่ออก และยังไม่ได้นำมากล่าวไว้

ในครั้งนี้ จึงขอฝากไว้ให้พวกเราชาวสาธิตปทุมวันได้ค้นหาและเรียบเรียง
ในโอกาสต่อไป แต่อันที่จริงแล้ว วัฒนธรรมในสาธิตปทุมวันนั้นไม่ได้มีแต่
ด้านดีอย่างเดียว เราคงต้องยอมรับว่ายังมีวัฒนธรรมในด้านไม่ดีที่ฝังราก
ปะปนอยู่ด้วย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้นำในทุกระดับของโรงเรียนที่จะต้อง

ค้นหา ส่งเสริมรณรงค์ และกระตุ้นให้บุคลากรทุกคนในโรงเรียนมีจิตสำนึก
ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้เกิดขึ้น (ที่ดีอยู่แล้วก็ช่วยกันรักษาไว้
ที่ไม่ดีช่วยกันเปลี่ยนแปลงและขจัดออกไป) ในการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร

จะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้เลย หากผู้นำขององค์กรโดยเฉพาะ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






อย่างยิ่งผู้นำหมายเลขหนึ่งขององค์กรไม่ให้ความร่วมมือ และไม่ยอม

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีลักษณะขัดแย้งกับวัฒนธรรมองค์กรที่คาดหวัง
และบุคลากรทุกคนในองค์กรไม่ให้ความสำคัญในการสร้างวัฒนธรรม
องค์กร ดังนั้นวัฒนธรรมสาธิตปทุมวันที่ดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมาจาก

ความร่วมมือร่วมใจของพวกเราชาวสาธิตปทุมวันทุกคนนั่นเอง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ










บรรณานุกรม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. (2525). กรุงเทพมหานคร :
ราชบัณฑิตยสถาน.


โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. (2552). การประชุมเชิงปฏิบัติการ
ครั้งที่ 52 เรื่อง วัฒนธรรมสาธิตปทุมวัน (Traditional Satit Patumwan).
กรุงเทพฯ : SL Publication.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. (2557). วิทยนิเทศ พุทธศักราช

2557. กรุงเทพฯ : แปลน ฟอร์ คิดส์.

สยามสáควร:


¾×éนทÕèทางวัฒนธรรม

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ























สยามสáควร:
¾×éนทÕèทางวัฒนธรรม

อาจารย์ชลภูมิ บรรหาร







ÊÂÒÁÊá¤ÇÏ (Siam Square) หรือเรียกกันว่า “สยาม”

เป็นศูนย์การค้าแบบเชิงราบในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวัน
หัวมุมถนนพญาไท ทิศเหนือติดกับถนนพระราม 1 และทางทิศตะวันตก
ติดกับถนนพญาไท ทางด้านทิศตะวันออกติดกับถนนอังรีดูนังต์และทาง
ทิศใต้ คือ ซอยจุฬา 64 ซึ่งในบริเวณใกล้เคียงมี ศูนย์การค้ามาบุญครอง

สยามดิสคัฟเวอร์รี สยามเซ็นเตอร์ สยามพารากอน และยังติดกับ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัดปทุมวนาราม วังสระปทุม และสนามศุภชลาศัย
เป็นต้น รถไฟฟาบีทีเอส สถานีสยามยังเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางของรถไฟฟา
บีทีเอส สายสุขุมวิทและสายสีลม อีกด้วย โดยสยามสแควร์เป็นพื้นที่

ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ต่อไป

จะเขียนเพียงสั้น ๆ ว่า “สาธิตปทุมวัน”) เป็นสถานการศึกษาที่อยู่ใกล้เคียง
และเด็กนักเรียนสาธิตปทุมวันเองรวมครู อาจารย์ของสาธิตปทุมวันเอง
ก็เป็นกลุ่มผู้ใช้บริการพื้นที่สยามสแควร์อยู่ไม่น้อย ผู้เขียนอยากเขียนเรื่องราว

ของบริบทด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับความเป็นสาธิตปทุมวัน
ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง โดยผู้เขียนต้องการให้มองอิทธิพลของสยามสแควร์
ที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผู้ที่เข้าไปใช้พื้นที่ และแน่นอนว่านักเรียน
โรงเรียนสาธิตปทุมวัน ก็มีไม่น้อยที่ได้รับ “วัฒนธรรมสยามฯ” มาจะโดยตั้งใจ
หรือไม่ตั้งใจ รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตามและนี่คืออิทธิพลในทางสัญญะของ

สยามสแควร์

สยามสแควร์นั้นมีความเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมสมัยใหม่
สูงมาก และยังมีความเป็นพลวัตร (dynamic) โดยมีการเปลี่ยนแปลง
อยู่เสมอ ๆ โดยการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่ของสยามสแควร์นั้นได้รับอิทธิพล

จากบริบทของสังคม พัฒนาการทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนด
กระบวนการวิวัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่สยามสแควร์ และ
ตัวสยามสแควร์เองก็ได้มีกระบวนการปรับตัว (adaptation) ภายใต้อิทธิพล

ของสิ่งแวดล้อมและนโยบายต่าง ๆ ของเจ้าของพื้นที่ทั้งทางพฤตินัย
และนิตินัย พื้นที่ทางวัฒนธรรมของสยามสแควร์จึงเป็นพื้นที่ที่มีกระแส
ของวัฒนธรรมใหม่ ๆ ถาโถมเข้ามาและกลายเป็นสัญญะของพื้นที่ที่สร้าง
ตัวตนของผู้เข้าไปใช้พื้นที่ได้อีกด้วย ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าสยามสแควร์
มีอิทธิพลต่อการแสดงออกในด้านต่างของผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ที่เข้าไปใช้พื้นที่

จำนวนไม่น้อย เนื่องจากในสยามสแควร์มีความหลากหลาย ทั้งโลกของธุรกิจ
แฟชั่น อาหาร พื้นที่โฆษณา โรงเรียนกวดวิชา สังคมเด็กวัยรุ่นที่นำสมัย
ก่อนใคร ๆ พื้นที่วัฒนธรรมร่วมสมัย หรือในแวดวงทางการธุรกิจการตลาด

เป็นสถานที่ที่มีการทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาดแบบแปลกใหม่

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






และเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่ง มีจำนวนคนเดินในสยามสแควร์ในวันธรรมดา

เฉลี่ยวันละ 20,000 คน วันหยุดไม่ต่ำกว่า 50,000 คน ซึ่งแต่ละคนมีกำลังซื้อ
เฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง/คน

ก่อนการสร้างสยามสแควร์ (ชื่อเดิม ปทุมวันสแควร์) ในช่วงปี
พ.ศ. 2505 ที่ดินย่านนั้นเป็นสวนผัก เป็นชุมชนแออัด จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์

ไฟไหม้ ชาวบ้านก็ออกจากพื้นที่ไปและนิสิตจุฬาฯ ก็มาช่วยคุ้มกันพื้นที่
ไม่ให้ชาวบ้านกลับเข้ามา เจ้าของที่ดิน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งมี
พลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งครั้งนั้นได้

ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแผนในการพัฒนาที่ดิน
บริเวณสยามสแควร์ ให้เป็นแหล่งค้าขาย เพื่อปองกันการบุกรุกที่ดินของ
ชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยแต่เดิม ต่อจาก พ.ศ. 2505 รวมเป็นระยะเวลากว่า
50 ปี ชุมชนแห่งนี้มีวิวัฒนาการจนกลายเป็นย่านการค้าที่มีชื่อเสียงของ
กรุงเทพมหานคร โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของที่ดิน


สยามสแควร์ในยุคแรกไม่ได้มีสถานประกอบการร้านค้าที่หลากหลาย
และมากมายเช่นปัจจุบัน เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการตึกแถวได้รับสิทธิ
ในการเก็บผลประโยชน์จากการเซ้งตึกแถวสำหรับช่วงระยะเวลา 10 ปีแรก

เท่านั้น ในช่วงนั้นผู้พัฒนาโครงการสยามสแควร์จึงเร่งที่จะเก็บเกี่ยว
ผลประโยชน์จากการเซ้งสิทธิ โดยไม่ได้มีการวางกลยุทธ์ทางการตลาด
หรือจัดสรรพื้นที่รองรับกิจกรรมในกระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่ ขาดการ
คัดสรร การเลือกและจัดวางตำแหน่งประเภทของกิจการร้านค้าต่าง ๆ

ภายในบริเวณสยามสแควร์ ตลอดจนปราศจากกิจกรรมส่งเสริมการตลาด
ให้แก่บรรดาผู้ประกอบการค้า สยามสแควร์ในยุคแรกจึงเป็นเรื่องของ
บรรดาผู้เซ้งสิทธิตึกแถวที่ผู้ประกอบการแต่ละรายที่จะต้องต่อสู้ทางธุรกิจ
ตามกระแสทุนนิยมในลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่ได้มีประเภทกิจการร้านค้า

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่ตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าเปาหมายอย่างเฉพาะเจาะจง

แต่ด้วยสยามสแควร์มีทำเลที่เหมาะแก่การนัดพบปะสังสรรค์ มีแหล่งบันเทิง
คือ โรงภาพยนตร์ถึง 3 โรง มีโรงโบว์ลิ่งใกล้สถานศึกษา และด้วยความบังเอิญ
ที่เมื่อบริษัทเอกชนผู้ประกอบการได้ก่อสร้างตึกแถวจำนวน 600 กว่าคูหา

แล้วเสร็จ จำเป็นต้องมีการเร่งเซ้งพื้นที่ให้บรรดาผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ
เข้ามาประกอบการโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาย่านการค้า
พาณิชย์ กลุ่มผู้เซ้งตึกแถวในสยามสแควร์ยุคแรกมีกลุ่มผู้ค้าผ้าจากย่าน
พาหุรัดและราชประสงค์ที่เข้ามาเซ้งไปคนละหลายคูหาบางรายเหมาไป
มากถึง 20 คูหา ประกอบกับสังคมไทยในยุคนั้นคนไทยยังไม่นิยมซื้อเสื้อผ้า

สำเร็จรูป แต่นิยมตัดเย็บเสื้อผ้าตามสั่งมากกว่า ดังนั้นตึกแถวในสยามสแควร์
ยุคแรกจึงกลายเป็นที่ตั้งของบรรดาร้านตัดเย็บเสื้อผ้า หรือที่เรียกว่า
“ห้องเสื้อ” ตลอดจนร้านขายผ้ามากมายหลายร้านซึ่งส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่

ชั้นล่างเป็นพื้นที่จัดแสดงผ้า เสื้อผ้า และห้องลองสำหรับลูกค้า ส่วนชั้นบน
ก็จะใช้พื้นที่เป็นเสมือนโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ตลอดจนที่พักอาศัยของ
บรรดาช่างตัดเสื้อ

นอกเหนือจากร้านตัดเย็บเสื้อผ้า หรือที่เรียกว่า “ห้องเสื้อ” แล้ว

สยามสแควร์ยังมีร้านทำผมซึ่งสมัยนั้นเน้นสำหรับสุภาพสตรีและได้รับ
ความนิยมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ร้านอาหารที่เรียกว่า “ภัตตาคาร”
ซึ่งมีลักษณะหรูหราในแบบ “เหลา” ก็มีอยู่หลายร้านด้วยกัน สยามสแควร์
ในยุคเริ่มแรกจึงเป็นพื้นที่สำหรับผู้ที่มีรายได้สูงพอสมควร และอยู่ในวัย
ทำงานเป็นหลัก ในขณะที่นิสิตนักศึกษาและนักเรียนในย่านนั้นไม่ว่าจะเป็น

นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทนยาลัย รวมทั้งนักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยี
ราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย สถาบันเทคโนโลยีช่างกล
ปทุมวัน นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เป็น

กลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้จัดเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของบรรดา
ผู้ประกอบการในสยามสแควร์ในยุคแรก แต่ก็เป็นกลุ่มที่แวะเวียนเข้ามา
จับจ่ายใช้สอยในย่านนี้มากพอสมควร

ช่วงสำคัญที่ทำสยามสแควร์เปลี่ยนแปลงด้านภาพลักษณ์

จนกลายมาเป็นแหล่งรวมของกลุ่มวัยรุ่นก็คือ ในช่วงหลัง พ.ศ. 2520
เมื่อเริ่มมีบรรดาสถาบันกวดวิชาเข้ามาเปิดกิจการในสยามสแควร์มากขึ้น
อย่างชัดเจน ทำให้มีกลุ่มเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้ามาในสยามสแควร์

เป็นจำนวนมาก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะสยามสแควร์ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญในการทำให้
สยามสแควร์ได้กลายเป็นสถานที่รวมของบรรดาธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา
หลากหลายสถาบันมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทำให้พื้นที่ของย่าน
การค้าแห่งนี้มีลูกค้าที่เป็นบรรดานักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่

เป็นวัยรุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี เข้ามาใช้พื้นที่เป็นจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่ง
อีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้บรรดานักธุรกิจการค้าส่วนใหญ่ในสยามสแควร์จึงต้อง
ปรับสภาพทางธุรกิจตนเองครั้งใหญ่เพื่อมุ่งตอบสนองต่อตลาดวัยรุ่น

เป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นส่งผลมาถึงปัจจุบันที่สยามสแควร์
กลายเป็นแหล่งรวมวัยรุ่น เป็นพื้นที่วัฒนธรรมสมัยนิยมตามกระแสของ
วัยรุ่นที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย

ประเด็นสำคัญที่ทำให้สยามสแควร์กลายมาเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม

อย่างชัดเจนมากขึ้นคือ ใน พ.ศ. 2541 บริษัท พรไพลิน ดีเวลลอปเมนต์
ได้เข้ามาบริหารโครงการเซ็นเตอร์พอยท์ออฟสยามสแควร์ (Center point of
Siam square) บริเวณซอย 5 บนเนื้อที่ 1 ไร่ 41 ตารางวา โครงการนี้

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เป็นการจัดกิจกรรมในลานอเนกประสงค์ ให้เป็นศูนย์รวมวัยรุ่น มีลานกิจกรรม

ลานน้ำพุ สามารถเปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2542 การเกิดขึ้นของ
“เซ็นเตอร์พอยท์” ได้สร้างสีสันและความคึกคักขึ้น โดยจัดเป็นกิจกรรม
ส่งเสริมการแสดงออกของกลุ่มวัยรุ่น เช่น การจัดการแสดงดนตรี จัดลาน

ขายสินค้า “แบกะดิน” การจัดงานส่งเสริมการขายสินค้าสมัยใหม่ต่าง ๆ
เป็นต้น มีสินค้าและบริการหลายอย่างที่ต้องการเปิดตัว ก็มักมาทำกิจกรรมที่นี่
พิจารณาจากภาพรวมแล้วจะเห็นได้ว่าศักยภาพของย่านยังเกิดจากการ
เกื้อกูลกันของกิจการต่าง ๆ ในสยามสแควร์ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งดึงดูด
ลูกค้าวัยเรียนอย่างโรงเรียนกวดวิชา สถานพักผ่อนหย่อนใจอย่าง

โรงภาพยนตร์และร้านค้า เสื้อผ้าสำเร็จตามแฟชั่นต่าง ๆ แหล่งพบปะสังสรรค์
อย่างร้านอาหารและร้านกาแฟ ไปจนถึงธุรกิจซึ่งเกิดจากความนิยม
เป็นครั้งคราวอย่างร้านถ่ายภาพสติ๊กเกอร์ หรือสตูดิโอถ่ายภาพวัยรุ่น ฯลฯ

จากการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเองตลอดเวลาของสยามสแควร์ บวกกับ
ทำเลที่แวดล้อมไปด้วยสถาบันการศึกษา ทำให้กระแสวัฒนธรรมป็อป
จากซีกโลกตะวันตกและตะวันออก และ”เทรนด์” ใหม่ ๆ รวมทั้งการ
จะเปิดตัวสินค้า กิจกรรมที่มีกลุ่มวัยรุ่นเป็นเปาหมายหลักมักจะมาปรากฏ
ที่สยามสแควร์เป็นที่แรก ๆ เสมออีกทั้งการเปิดตัวของสยามพารากอน

และการปรับโฉมของสยามเซ็นเตอร์ มาบุญครอง ก็เอื้อให้จำนวนคนที่
แวะเวียนมาในสยามสแควร์มากขึ้น

พื้นที่บริเวณสยามสแควร์ ในปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม
ป็อปที่นำกระแส หรืออาจจะเป็นกระแสหลักของวัยรุ่นไทยและนอกจาก

เป็นสนามทดลอง การประชาสัมพันธ์ของแบรนด์สินค้าใหม่ ๆ และบริการต่าง ๆ
แล้วยังเป็นพื้นที่แสดงสื่อใหม่ ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์แปลก ๆ ใหม่ ๆ
เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าต่าง ๆ ให้เป็น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ที่สะดุดตาของคนทุกกลุ่ม ทุกวัย เอกลักษณ์ความเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม

ป็อป หรือภาพตัวแทนของย่านแฟชั่นสำหรับวัยรุ่นในมืองกลายมาเป็น
ปัจจัยสำคัญทำให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ของสยามสแควร์ได้รับการประเมิน
ไว้สูงมาก เนื่องจากตลาดวัยรุ่นในกรุงเทพฯที่มีกำลังซื้อสูง และมีขอบเขต ¨ากปรÐสºการ³
ในการซื้อสินค้าและบริการอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับโอกาส

ในการประกอบธุรกิจในสยามสแควร์ซึ่งเปิดกว้างรองรับตลาดวัยรุ่น ประเภท การเรÕยนรูŒ...สู‹การนิเทÈติ´ตาม
ธุรกิจ ซึ่งเป็นที่นิยมในย่านนี้นอกเหนือจากโรงเรียนกวดวิชาแล้วยังมีร้านค้า
แฟชั่น เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า กระเปา และเครื่องประดับ ร้านขายของ นิสิต½ƒกปรÐสºการ³...
ที่ระลึก ร้านอาหาร ร้านกาแฟและขนม ร้านถ่ายภาพ ร้านทำผม ทำเล็บ

ร้านนวดและสปา คลีนิกทันตกรรม ตลอดจนสถานบริการด้านคลีนิกเสริม
ความงาม เป็นต้น áÅÐสรรคสรŒางงานวิ¨ัย

จากที่กล่าวมาทั้งหมดหากเรามองสยามสแควร์ในเชิงสัญญะ
ทางพื้นที่ทางวัฒนธรรมและเข้าใจบริบททางวัฒนธรรมอันมีความเป็น

พลวัตรอยู่เสมอ และเปิดใจรับความเป็นพลวัตรนั้นครูหลาย ๆ ท่านอาจจะ
ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะ “ล้าหรือ เฉื่อยทางวัฒนธรรม” นำไปสู่ความเข้าใจ
และไม่พะวงกับกระแสวัฒนธรรมที่ไม่ถูกจริตกับยุคตนเอง และไม่ยึดติด

กับมาตรฐานของยุคตนโดยหารู้ไม่ว่านั่นคือ “หลุมหรือ กับดักทางวัฒนธรรม”
เปิดใจ เปิดมุมมอง แล้ววัฒนธรรมในหลายๆยุคก็จะประสานและกลายเป็น
วัฒนธรรมร่วมสมัยไปด้วยกัน ครูก็จะได้ชื่อว่า “ร่วมสมัย” ไม่ใช่แค่เป็นครูก็ต้อง
“ล้าสมัย” เสียแล้ว

¨ากปรÐสºการ³





การเรÕยนรูŒ...สู‹การนิเทÈติ´ตาม



นิสิต½ƒกปรÐสºการ³...



áÅÐสรรคสรŒางงานวิ¨ัย

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ




















¨ากปรÐสºการ³


การเรÕยนรูŒ...สู‹การนิเทÈติ´ตาม

นิสิต½ƒกปรÐสºการ³...áÅÐสรรคสรŒางงานวิ¨ัย
อาจารย์สุนทร ภูรีปรีชาเลิศ



»ÃÐʺ¡Òóหนึ่งของนิสิตคณะครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์


ที่ได้มีโอกาสศึกษา สัมผัส และเรียนรู้ เมื่อมองนึกย้อนกลับไปสมัยเมื่อครั้ง
ยังเป็น “อาจารย์นิสิต” เชื่อได้ว่าขณะนั้นส่วนใหญ่คงมีคำถามมากมายว่า
นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูหรืออาจารย์นิสิตนั้นมีภาระงานใดบ้าง
ที่ต้องปฏิบัติและปฏิบัติเช่นไรจึงจะถือว่าถูกต้องไม่ขาดตกบกพร่อง

ผลการประเมินเป็นที่น่าพึงพอใจของทั้งผู้ประเมิน และผู้ถูกประเมิน และ
การวางตัวอย่างไรจึงจะเป็นที่ชื่นชมของบุคคลรอบข้างที่เกี่ยวข้อง

และพบเห็น

ปัจจุบันต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษา จึงจะ
ถือว่านิสิตคณะครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ได้ผ่านด่านอรหันต์และพร้อม

ที่จะสำเร็จการศึกษามีความรู้และความเพียบพร้อมรวมถึงศักดิ์และสิทธิ์
แห่งปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตหรือศึกษาศาสตร์บัณฑิตทุกประการ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 







เมื่อทำการสุ่มถามครูปฏิบัติการ หรือครูทดลองงานจากสถาบัน
การศึกษาใดก็ตามคงพบผลการสำรวจหนึ่งว่า เมื่อสถานภาพของอาจารย์

นิสิตหรือนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่านพ้นตามกาลเวลาและฝังแน่น
อยู่ในความทรงจำกลายเป็นคำสรรพนามที่นักเรียนกล่าวเรียกหรือกล่าวถึง
เพียงคำสั้น ๆ ว่า “ ครู ” หรือ “ อาจารย์ ” นั้นจะนำภาระที่ยิ่งใหญ่ซึ่งขัดแย้ง
อย่างยิ่งกับคำเรียกขานที่สั้นลง


นอกจากภาระด้านการสอนแล้ว ผู้เขียนในฐานะอาจารย์โรงเรียน
สาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐยังมีหน้าที่ที่สำคัญ อาทิ ให้คำแนะนำ
และนิเทศการจัดการเรียนรู้ของนิสิต โดยทำหน้าที่เป็นอาจารย์นิเทศ

ฝ่ายโรงเรียน และทำหน้าที่สรรค์สร้างงานวิจัยตามยุทธศาสตร์หนึ่งของ
โรงเรียนในการพัฒนาฃนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนและการจัดการ

ชั้นเรียน

“ จากประสบการณ์การเรียนรู้…”

ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาทฤษฎี/หลักการเรียนรู้ที่มีอยู่อย่าง
หลากหลายเพื่อจะได้นำมาใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพของตน


ทฤษฎี / หลักการเรียนรู้ดังกล่าว เป็นทฤษฎีที่ได้ผ่านการพิสูจน์
ทดสอบมาแล้ว จึงเป็นสิ่งที่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอที่ครูจะนำไปใช้ได้

แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีทุกทฤษฎีก็มีข้อจำกัด เพราะแต่ละทฤษฎีล้วน
ให้คำอธิบายในแง่มุมที่ทฤษฎีนั้นสนใจเท่านั้น ไม่มีทฤษฎีใดที่สามารถ
อธิบายปรากฏการณ์การสอนได้อย่างครอบคลุมทุกด้าน ทฤษฎี / หลักการต่าง ๆ

มีทั้งทฤษฎีทั่วไป (generic) หลักการเฉพาะ (specifi c) ซึ่งมีความเหมาะสม
กับการเรียนเฉพาะเรื่อง เช่น ทฤษฎี/หลักการเรียนรู้ภาษา คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา สุนทรียภาพ เป็นต้น ดังนั้น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






จึงเป็นที่ครูควรศึกษาทฤษฎี/หลักการต่าง ๆ อย่างมากมาย เพื่อจะได้สามารถ

เลือกนำไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของตน

มีรูปแบบการสอนและวิธีการสอนอะไรบ้างที่จะช่วยให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ได้ดี คงต้องเริ่มที่หลักการและจัดกระบวนการสอนให้สอดคล้อง

กับหลักการ โดยอาศัยรูปแบบการสอน วิธีการสอน และเทคนิคการสอน
ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลายเข้ามาช่วยให้กระบวนการสอนเกิดประสิทธิภาพ

สูงสุด รูปแบบการสอนและวิธีการสอนมีอยู่จำนวนมาก ผู้สอนท่านใด
มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวมาก ก็ย่อมมีทางเลือกที่จะนำไปใช้ประโยชน์
ในการสอนได้อย่างมาก


การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแนวคิด
ของการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ส่วนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเน้นครู
เป็นศูนย์กลาง หรือเน้นสื่อและเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางนั้น เป็นการจัดกลุ่ม

ของลักษณะการสอนที่ยึดบทบาทสำคัญและเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอน
เป็นเกณฑ์โดยใช้หลักการ / แนวคิดชุดใดชุดหนึ่ง การจัดกระบวนการเรียนรู้

ตามมาตรา 24 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
นับเป็นตัวอย่างของหลักการ / แนวคิด ชุดหนึ่งที่นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้อง
เห็นพ้องกันซึ่งครูสามารถนำมาใช้เป็นแนวคิดในการสอนโดยเน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลาง


การจัดกลุ่มของลักษณะการสอนทำได้หลายแบบแล้วแต่เกณฑ์
ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้ทักษะกระบวนการเป็นเกณฑ์การจัดกลุ่มจะสามารถจัดเป็น
การสอนแบบเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบเน้นกระบวนการสืบสอบ

แบบเน้นกระบวนการคิด แบบเน้นกระบวนการแก้ปัญหา แต่ถ้าใช้เกณฑ์

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






การจำแนกตามประเภทของเนื้อหาสาระแล้ว อาจจัดเป็นการสอนแบบเน้น

การพัฒนาด้านพุทธิพิสัย แบบเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการและ
แบบเน้นการบูรณาการ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด ครูผู้สอนจำเป็นต้อง

แสวงหาและเลือกใช้รูปแบบการสอน วิธีสอน หรือเทคนิคการสอนต่าง ๆ
เข้ามาช่วยเพื่อให้ผู้เรียนเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้บรรลุตามจุดมุ่งหมาย

ที่กำหนด ซึ่งครูควรเลือกรูปแบบ วิธีการ และเทคนิคการสอนที่มีอยู่อย่าง
หลากหลายไปใช้ให้เหมาะสมกับหลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ
ความสนใจหรือความต้องการของผู้เรียน และสถานการณ์ของการเรียน
การสอน


เมื่อมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนแล้ว ครูจะรู้ได้อย่างไร
ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
จะช่วยให้การปฏิบัติงานของครูเป็นไปอย่างครบวงจร


การวัดผลเป็นวิธีการหรือกระบวนการในการดำเนินการเพื่อให้ได้
ข้อมูลว่า สิ่ง ๆ หนึ่งมีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเป็นไปตามที่ต้องการ
หรือไม่ ซึ่งอาจจะแสดงออกมาเป็นสิ่งที่สังเกตได้ วัดได้ โดยเป็นตัวเลข

หรือสัญลักษณ์ที่แทนจำนวนหรือปริมาณของคุณลักษณะนั้น ๆ การวัดผล
ทางการศึกษาโดยทั่วไปจะครอบคลุมด้านต่าง ๆ

วิธีการวัดความสามารถของผู้เรียน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล

ที่หลากหลาย ผู้ใช้ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของการเรียนรู้
วิธีการวัดที่นิยมใช้ เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การสอบถาม การสังเกต

การตรวจผลงาน การใช้แฟมสะสมงาน เป็นต้น แต่ละวิธีสามารถใช้
เครื่องมือวัดได้แตกต่างกันตามความเหมาะสม

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






นักการศึกษาบางท่านใช้คำว่าการประเมินผลในความหมาย

ที่ครอบคลุมการวัดผลด้วย แต่บางท่านแยกความหมายของการวัดผล
และการประเมินผลออกจากกัน ในส่วนของการประเมินผลนั้นมีแนวคิด
สำคัญ 2 แนว คือ


1. การประเมินผลที่ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “evaluation”
จะหมายถึง การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียนด้านต่าง ๆ

ที่ได้ทำการวัดผลไว้แล้ว และนำมาวินิจฉัยตัดสินคุณค่าด้วยเกณฑ์ใด
เกณฑ์หนึ่ง การประเมินผลเป็นผลของการตัดสินใจจากผู้ประเมิน ไม่ใช่
ผลจากการวัดโดยตรงแต่ต้องนำผลการวัดมาตัดสินด้วยเกณฑ์อีกครั้งหนึ่ง





2. การประเมินที่ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Assessment ”
เป็นคำที่นำมาใช้ในความหมายของ การประเมินแนวใหม่เพื่อให้ต่างไป

จากแนวคิดเดิม หมายถึง กระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถ
ของผู้เรียนด้านต่าง ๆ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณลักษณะ และนำมา
เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ และปอนกลับให้แก่ผู้เรียน หรือตัดสิน
ประสิทธิภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน


โดยทั่วไป ครูผู้สอนจำเป็นต้องดำเนินการประเมินอย่างน้อย
ใน 2 ลักษณะดังนี้


1. การประเมินผลย่อยเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
(formative evaluation)

การประเมินผลนี้ผู้สอนจะทำเป็นระยะ ๆ เพื่อที่จะดูว่าผู้เรียน

มีอุปสรรคข้อขัดข้องในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 







และเจตคติตามที่ต้องการอะไรบ้าง ข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ในบทเรียนย่อย ๆ ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกต่อกระบวนการเรียนการสอน

การจัดกิจกรรมการใช้สื่อและต่อผู้สอนล้วนเป็นข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์
ต่อผู้สอนในการแก้ไข ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนให้เหมาะสมขึ้น
เป็นระยะ ๆ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือผู้เรียนและช่วยแก้ปัญหา
การเรียนรู้ของผู้เรียนตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มต้น


2. การประเมินผลรวมเพื่อตัดสิน (summative evaluation)

การประเมินผลนี้เป็นการประเมินเพื่อวัตถุประสงค์ในการตัดสินผล

เช่นการประเมินผลปลายปีเพื่อเลื่อนชั้น การประเมินผลให้ระดับคะแนน
รายวิชาเมื่อเรียนจบ การประเมินผลนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบระดับ
ความสำเร็จในการเรียนรู้ของตนเอง


วิธีการประเมินผลที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้

1. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (norm – referenced evaluation)
การประเมินผลด้วยวิธีนี้ใช้การเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้เรียนที่ได้รับ

การวัดผลการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือชุดเดียวกัน ดังนั้นความสามารถของผู้เรียน
ที่ได้รับการประเมินหรือตีค่าออกมา ขึ้นกับความสามารถของกลุ่มที่ได้รับ
การทดสอบ


2. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (criterion – referenced
evaluation) การประเมินผลแบบนี้เป็นการประเมินความสามารถของ
ผู้เรียนโดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น หากผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรม

การเรียนรู้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
ดังนั้น การกำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสม ถือเป็นเรื่องสำคัญในการประเมินผล
แบบนี้ “...สู่การนิเทศติดตามนิสิตฝึกประสบการณ์....”

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต้องเรียนรู้และฝึกประสบการณ์
งานเกี่ยวกับวิชาชีพครูหลายด้าน ดังที่ สัญญา รัตนวรารักษ์ (2550) ได้
รวบรวมและเรียบเรียงไว้คืองานสอน งานธุรการ งานกิจการนักเรียน
งานให้คำปรึกษาและแนะแนว งานพัฒนาสังคมและงานพัฒนาคน

ยิ่งไปกว่านั้นนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต้องเตรียมแสดงบทบาทของ
ครูผู้ช่วยและบทบาทของครูผู้สอน ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละงานด้านดังกล่าว

ผู้เขียนเองในฐานะของอาจารย์นิเทศสถานศึกษาหรืออาจารย์
พี่เลี้ยงของทางโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน นั้นมี
วิธีการช่วยเหลือน้องนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในเบื้องต้นด้วยการ
พูดคุย แนะนำทำความรู้จักทักทาย โดยให้น้องนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
เขียนเล่าประวัติส่วนตัวเบื้องต้น และตอบคำถามแสดงทัศนคติหรือ
ความคิดเห็นของตนเอง โดยใช้คำถามดังนี้


1. น้องนิสิตมีแรงจูงใจและความตั้งใจอย่างไรในการเลือกศึกษา
ในคณะครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์

2. สิ่งที่ต้องการให้พี่เลี้ยงช่วยเหลือ / ดูแลขณะที่ฝึกประสบการณ์
ที่โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน

3. ความรู้สึกและความคาดหวังต่อการฝึกประสบการณ์ที่โรงเรียน
สาธิต มศว ปทุมวัน

จากการอ่านการตอบคำถามความคิดเห็นของนิสิตทำให้ผู้เขียน

ในฐานะอาจารย์พี่เลี้ยงมีความเข้าใจและสามารถที่จะจัดการให้
ความช่วยเหลือและดูแลนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูได้ตรงตาม
วัตถุประสงค์และความต้องการได้ในเบื้องต้น นอกจากนั้นผู้เขียนยังได้
แนะนำและชี้แจงเกี่ยวกับเกณฑ์ในการประเมินการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพครู

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 








ผู้เขียนได้ศึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตของปุญชรัสมิ์
เต็มชัย (2546) ได้กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการและเกณฑ์การประเมิน
ที่น่าสนใจและเป็นข้อเตรียมตัวอย่างดีสำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์หรือ
แม้กระทั่งการเตรียมตัวและการปฏิบัติตนในการสอนได้เป็นอย่างดี เช่น


คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูในการฝึก
ประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติประจำตัว
ของนักศึกษาวิชาชีพครูที่แสดงออกถึงพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ในการฝึก

ประสบการณ์วิชาชีพครูที่แสดงออกถึงพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ในการฝึก
ประสบการณ์วิชาชีพครูครอบคลุมองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ คือ

1. การวางแผนและเตรียมการจัดการเรียนรู้ 2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. กระบวนการใช้สื่อการเรียนการสอน 4. การจูงใจ
และการเสริมแรง 5. การจัดชั้นเรียนและสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้
6. การสื่อสารและส่งเสริมกระบวนการคิด 7. การประเมินผลการเรียนรู้

ของผู้เรียน 8. คุณลักษณะความเป็นครู 9. ทักษะการวิจัยเพื่อพัฒนา
การเรียนรู้

การวางแผนและเตรียมการจัดการเรียนรู้ หมายถึง วิธีการ

ที่นักศึกษาวิชาชีพครูวางแผนและเตรียมตัวในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนล่วงหน้าโดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนที่จะดำเนินการสอนจริง

เพื่อให้การสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การศึกษา
เอกสารหลักสูตร มาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ การเตรียมความพร้อม
ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การวิเคราะห์หลักสูตร การจัดทำแผน
การจัดการเรียนรู้โดยมีองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ครบถ้วน

สมบูรณ์ เช่น การกำหนดเปาหมายในการจัดการเรียนรู้ การกำหนด

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






สาระการเรียนรู้ การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ การเตรียมแหล่งข้อมูล

และเอกสารประกอบการเรียนรู้ตลอดจนการกำหนดวิธีการประเมินผล

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง ความรู้
ความสามารถ วิธีการหรือพฤติกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูในการ

จัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การจัดกิจกรรม
หรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ได้พัฒนากระบวนการ

เรียนรู้ สร้างความรู้ด้วยตนเองและได้ฝึกฝนการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
โดยครูทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทาง กระตุ้น สร้างแรงจูงใจ และอำนวย
ความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนา
ตนเองได้เต็มศักยภาพ


กระบวนการใช้สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ความสามารถ
ของนักศึกษาวิชาชีพครูในการใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีระบบเหมาะสม
และสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้

ความถนัดและความต้องการของผู้เรียน รวมถึงวิธีการหรือหลักการ
ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการเลือก / เตรียม / ผลิตและเก็บบำรุงรักษาสื่อ

การเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอนและการประเมินสื่อการเรียน
การสอน

การจูงใจและเสริมแรงในการเรียน หมายถึง วิธีการหรือพฤติกรรม

ที่นักศึกษาวิชาชีพครูแสดงออกเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนทำพฤติกรรม
ตามจุดมุ่งหมาย ได้แก่

1. การใช้เทคนิคกระบวนการต่าง ๆ เช่น การใช้อุปกรณ์ที่เร้า

ความสนใจ การแข่งขัน การอธิบาย การให้ข้อมูลย้อนกลับ การใช้วิธี
การต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






2. การยอมรับหรือนำความคิดเห็นของผู้เรียนมาใช้ เป็นการยอมรับ

ความคิดเห็นกับการตอบที่มีเหตุผลของผู้เรียน การนำข้อเสนอแนะของ
ผู้เรียนมาใช้ในการสอนการสรุปผลการตอบของผู้เรียน

3. การให้รางวัล เช่น การชมเชยการสนับสนุนให้กำลังใจ

ในการกระทำต่าง ๆ โดยอาจแสดงออกทางวาจาหรือท่าทางก็ได้

การจัดชั้นเรียนและสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ หมายถึง วิธีการ
ที่นักศึกษาวิชาชีพครูใช้ควบคุมให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมในทิศทางที่มุ่งหวัง

ตลอดจนการจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ได้แก่ การฝึกให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง การส่งเสริมความสัมพันธ์

ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียน กระบวนการ
ติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
การอบรมตักเตือนนักเรียน การแสดงความเอาใจใส่นักเรียนและเปิดโอกาส
ให้ผู้เรียนได้แก้ไขข้อผิดพลาดและรับปรึกษาปัญหาทั้งในและนอกเวลาเรียน

รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
ของผู้เรียนทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน

การสื่อสารและส่งเสริมกระบวนการคิด หมายถึง ความรู้

ความสามารถ วิธีการหรือพฤติกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูในการสื่อสาร
ที่ใช้ภาษาและไม่ใช้ภาษา รวมถึงเทคนิคการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียน

แสดงความคิดเห็น อภิปรายและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และ
เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนในขณะดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้

การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน หมายถึง วิธีการหรือพฤติกรรม

ของนักศึกษาวิชาชีพครูในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง
ด้วยวิธีการที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







คุณลักษณะความเป็นครู หมายถึง คุณลักษณะของนักศึกษา
วิชาชีพครูที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีคุณลักษณะส่วนตัวทั้งภายในและ

ภายนอกเป็นที่ยอมรับของสังคม ได้แก่ การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ
ต่อหน้าที่ การปฏิบัติตนและการวางตน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
ความเป็นผู้นำ ทักษะการเรียนรู้ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทักษะการทำงานเป็นหมู่คณะ เป็นต้น


ทักษะการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หมายถึง ความรู้ความสามารถ
ของนักศึกษาวิชาชีพครูที่เกี่ยวกับความรู้ความสามารถในการวิจัย

ปฏิบัติการในชั้นเรียน ได้แก่ การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย การแสวงหา
หรือกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาและตั้งสมมุติฐาน การวางแผนการ
ทดลองแก้ปัญหาและเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น มีการออกแบบการวิจัย

การกำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง การเลือกหรือพัฒนาเทคนิค
และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูล
แปลผลและสรุปผลการวิจัย


ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้สำเร็จดังเปาหมายที่ได้มุ่งมั่น
และตั้งใจไว้นั้น ครูนับเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและส่งผลตรงต่อการเรียนรู้
ของผู้เรียนมากที่สุด นอกจากนั้นครูหรือนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

การทำงานตามวงจรพัฒนางาน PDCA คือ Plan – วางแผน Do – ปฏิบัติ
Check – ตรวจสอบ และ Action – ปรับปรุง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้
ในการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยการวิจัยและ

พัฒนาน่าจะเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอน
ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 








ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าหากนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคนใด
มีการเตรียมความพร้อม จัดระบบและเรียงลำดับความสำคัญของภาระงาน
มีมารยาทและดำรงตนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไทย รู้จักยอมรับ
ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และยึดหลักว่าการรับฟังคำติเป็นการเติมเต็ม

ประสบการณ์ให้แก่ชีวิต เพียงเท่านี้การทำหน้าที่ของนิสิตฝึกประสบการณ์
วิชาชีพครูนั้นประสบความสำเร็จและมีความสุขใจในการปฏิบัติงาน

“....และสรรค์สร้างงานวิจัย ”

วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เป็นบทบาท
สำคัญของครูในยุคปัจจุบันเป็นไปตามมาตรา 30 ที่ครูควรสามารถวิจัย

เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษาตามหมวด
4 แนวการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2548) ได้ให้ความหมาย

ของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการวิจัยประเภทปฏิบัติการ
(action research) คือการวิจัยมีเปาหมายเพื่อนำผลไปใช้ปฏิบัติงานจริง
ด้วยเพราะเป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยมีครูเป็นผู้ทำการวิจัย
จึงเรียกว่า การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (classroom action reseach :

CAR )

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการวิจัยเพื่อนำผลไปพัฒนา
และถ้าพบข้อบกพร่องก็จะทำการวิจัยและนำผลไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจึงเป็นการวิจัยและพัฒนา (research &
development)

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนคือการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

ค้นคว้าเพื่อสร้างความรู้ใหม่ทางการศึกษาและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ทางการศึกษา
ความรู้ใหม่ทางการศึกษา เช่น วิธีสอน เทคนิคการสอน รูปแบบการสอนใหม่
หลักการสอนใหม่ ทฤษฎีการศึกษาใหม่ ส่วนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ทางการศึกษา
คือสื่อการเรียนการสอน เช่น ชุดการเรียน แบบฝึกหัด โปรแกรมการเรียน

ความรู้และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ได้จากการวิจัย ผ่านการตรวจสอบอย่างมีระบบ
ผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีประโยชน์คือ ใช้ผลการค้นพบเป็น
แนวทางนำไปจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้

ตามเปาหมาย อีกทั้งเป็นการพัฒนาตนเอง คือเป็นผู้สร้างความรู้เป็น หรือ
กล่าวว่าครูเป็นนักวิจัยและพัฒนา ทำให้เป็นผู้ก้าวหน้าในอาชีพครู เพราะ
การค้นพบความรู้ใหม่จะทำให้ได้ผลงานทางการศึกษาตามมาอีกมากมาย

เช่น ตำราที่ได้จากการวิจัย

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เกิดจากแนวคิดพื้นฐานคือ
การบูรณาการวิธีการปฏิบัติงานกับการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดจาก

การปฏิบัติ โดยมีความสำคัญ คือ

1. เป็นการพัฒนาหลักสูตรและการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน
เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยการวิจัย


2. เป็นการพัฒนาวิชาชีพครู

3. เป็นการแสดงความก้าวหน้าทางวิชาชีพครูด้วยการเผยแพร่

ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ

4. เป็นการส่งเสริมสนับสนุนความก้าวหน้าของการวิจัยทาง
การศึกษา

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 








ข้อจำกัดของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ได้แก่

1. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไม่ควรทำวิจัยคนเดียวแต่ควร
แสวงหาความร่วมมือจากคณะครูในโรงเรียน ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง

หรือชุมชน หรือเป็นการวิจัยทั้งโรงเรียน

2. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นการวิจัยปฏิบัติการ
เพื่อนำผลไปใช้ ดังนั้นจึงต้องทำวิจัยอย่างต่อเนื่องหรือสม่ำเสมอ คือเป็น

กระบวนการที่ควรทำอย่างไม่สิ้นสุด เพราะเป็นการพัฒนาผู้เรียน อีกทั้ง
พัฒนาตัวครูเองไปตลอด

3. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการศึกษากลุ่มเปาหมาย

ผู้เรียนที่ครูรับผิดชอบในสภาพแวดล้อมของโรงเรียนนั้น จึงไม่สามารถ
สรุปอ้างอิงไปยังประชากรเปาหมายอื่น แต่หากพัฒนาเป็นความรู้ที่สามารถ
สรุปอ้างอิงได้ต่อไป


กระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือวิธีการทางวิทยาศาสตร์
(Scientifi c method) ซึ่งเป็นวิธีการที่มีระบบ มีขั้นตอนตามแผนภาพดังนี้

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ









1.กำหนดคำถามวิจัย


2.กำหนดวัตถุประสงค์


3.ตั้งสมมุติฐาน

วางแผนวิจัย ปรับปรุงแก้ไข
4.ออกแบบหาคำตอบ



5.สร้างเครื่องมือวิจัย



1.จัดเก็บข้อมูล



2.วิเคราะห์ข้อมูล
ตรวจสอบ

ดำเนินการวิจัย 3.นำเสนอข้อมูล การดำเนินงาน
ตามแผนเพื่อ
4.แปลผล ปรับปรุงแก้ไข





สรุปผลการวิจัย 1. สรุปผล
2. อภิปราย
3. เสนอแนะ

นำไปใช้และเผยแพร่


แผนภาพที่ 1 ขั้นตอนของกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เครื่องมือวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน


1. เครื่องมือทดลอง คือ นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหา
หรือใช้ทดลองเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน อาทิ การใช้วิธีสอน เทคนิค
การสอน รูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งแบบฝึกหัด

โดยครูผู้ทำวิจัยจะใช้นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ข้างต้นเพื่อแก้ปัญหา
โดยการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าแผนการจัดการเรียนรู้

เป็นเครื่องมือทดลองนั่นเอง

2. เครื่องมือรวบรวมข้อมูล เพื่อตอบปัญหาการวิจัย เครื่องมือวัด
มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะการใช้ต่างกันขึ้นอยู่กับตัวแปร

ที่ต้องการศึกษา เช่น แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบวัด แบบสำรวจรายการ
แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยปฏิบัติการ
ในชั้นเรียน


ในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมักใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยวิธีการ เช่น นับจำนวน / ความถี่ คิดร้อยละ หาค่าเฉลี่ย วัดการกระจาย
ค่า t- test วิเคราะห์เนื้อหา นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้วิจัยปฏิบัติการ
ในชั้นเรียน ตัวอย่างนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้ทดลองแก้ปัญหาการเรียน

การสอน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







เพื่อพัฒนาความรู้ เพื่อพัฒนาการคิดและ เพื่อพัฒนาการทำงาน
ความเข้าใจ กระบวนการคิด ร่วมกันอย่างเป็นกลุ่ม
อย่างเป็นทีม





การใช้การอ่านจากเอกสาร 1. โปรแกรมสำเร็จรูปและ 1. กระบวนการกลุ่ม
ประเภทต่าง ๆ เมื่อผู้เรียน ชุดการเรียนการสอน 2. กลุ่มสัมพันธ์
ได้อ่านแล้ว สามารถทำ 2. การใช้ผังกราฟิก 3.การเรียนแบบร่วมมือ
กิจกรรมต่อไปนี้ภายหลัง 3. หมวกเพื่อการคิด 6 ใบ 4.การเรียนแบบร่วมพลัง
อ่านแล้ว 4. รูปแบบการสอนที่พัฒนา
การคิดและกระบวนการ
คิด

5. การใช้กิจกรรมเพื่อพัฒนา
1. เสนอความรู้โดยใช้ พหุปัญญา
ผังกราฟิก 6. การบริหารกายสู่การบริหาร
2. ทำแบบฝึกหัด ตอบคำถาม สมอง

3. ตั้งคำถามและตอบด้วย
ตนเอง
4. ย่อเรื่อง
5. กำหนดประเด็น
เพื่ออภิปรายด้วยตนเอง
6. อภิปรายตามประเด็นที่
ครูกำหนดให้



แผนภาพที่ 2 ตัวอย่างนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้ทดลอง
แก้ปัญหาการเรียนการสอน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ภายหลังจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและบทความที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
ทางการศึกษา ผู้รู้โดยมากได้แสดงทัศนะว่าภาพลักษณ์ใหม่ของครู ในปัจจุบัน

นอกจากจะจัดการเรียนการสอน ครูต้องเป็นครูนักวิจัย ดำเนินบทบาทในการสอน
ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งภาพลักษณ์นี้มีความสำคัญอยู่ตรงที่ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่ง
ของกระบวนการเรียนการสอนหรือใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการเรียนรู้ ดังนั้น
การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งที่ควรจัดให้อยู่ในกระบวนการเรียนการสอน อันจะนำมาซึ่ง
ประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ของนักเรียน “ จากประสบการณ์การเรียนรู้...สู่การนิเทศติดตามนิสิต
ฝึกประสบการณ์...และสรรค์สร้างงานวิจัย ”

ในมุมมองของผู้เขียนซึ่งเคยเป็นนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของ
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ปีการศึกษา 2548 ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่อาจารย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปทุมวัน เชื่อว่าการมุ่งมั่นและพัฒนาตนเองของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
อาจารย์ นิเทศก์สถานศึกษาหรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าอาจารย์พี่เลี้ยง
ของทางโรงเรียนนำพาทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศไทยให้วัฒนะได้
โดยมีหลักการปฏิบัติตนง่าย ๆ ดังนี้

1. หมั่นศึกษา ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น
ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน เพื่อนร่วมงาน
นอกจากนั้นคงต้องอาศัยการเรียนรู้โดยใช้หนังสือในห้องสมุด เว็บไซต์ประกอบ

การเรียนการสอนเป็นแหล่งพัฒนาความรอบรู้
2. ขวนขวายและเปิดหาโอกาสในการเข้าร่วมสัมมนาหรืออบรม

เชิงปฏิบัติการเพื่อขยายความรู้

แผนภาพที่ 2 ตัวอย่างนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้ทดลอง 3. เรียนรู้ภาษาต่างประเทศบ้าง เช่น ภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นต้อง
แก้ปัญหาการเรียนการสอน เติมศักยภาพในด้านเทคโนโลยี

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






4. รวบรวมจัดเก็บหลักฐานเพื่อพัฒนาคลังความรู้ของตนเอง เช่น บทความ
ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสือทางการศึกษา เอกสารงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์

ของนิสิตปริญญามหาบัณฑิต รวมถึงดุษฎีนิพนธ์ที่เป็นปัจจุบัน

5. เรียนรู้และเปิดใจยอมรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่นบ้าง
บางครั้งอาจแสดงบทบาทผู้ขอคำปรึกษาจากบุคคลรอบข้าง แต่บางครั้งตัวเรา
ก็สามารถทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แก่เพื่อนร่วมงาน
ได้บ้างก็อย่าเก็บความรู้ไว้แต่ผู้เดียว

6. เปิดโอกาสให้กับตนเองและผู้อื่น อย่าทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สะสม แต่ทำ
หน้าที่เป็นผู้สรรค์สร้างและแบ่งปัน รวมถึงยอมรับคำแนะนำหรือความคิดเห็น

ที่หลากหลายเพื่อพัฒนา

7. ลงมือศึกษาค้นคว้าและทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอย่างน้อย 1 เรื่อง
ต่อ 1 ภาคเรียน และวิจัยเชิงวิชาการ 1 เรื่องต่อ 2 ปีการศึกษา และพัฒนาเป็น
งานวิจัยระดับชั้น หรือสาขาวิชาเอกต่อไป

ผู้เขียนเชื่อมั่นจากประสบการณ์การเรียนรู้....สู่การนิเทศติดตามนิสิต
ฝึกประสบการณ์...และสรรค์สร้างงานวิจัย เป็นภารกิจสำคัญที่คณาจารย์หลายท่าน
ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและผลักดันให้การปฏิบัติงานทั้งต่อตนเองและส่วนรวมไปสู่
ความสำเร็จได้เริ่มต้นวันนี้โดยการเติมเต็มประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง
ของเรา เป็นประโยชน์สำคัญของความก้าวหน้าในวงการศึกษาศาสตร์และเป็นแนว
ทางในการสร้างสรรค์และพัฒนาเยาวชนไทยต่อไป

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 









บรรณานุกรม


เกดิษฐ์ จันทร์ขจร. (2550). “การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้,” ใน สมฤดี แย้มขจร
(บรรณาธิการ). ธรรมและทำสู่ความสำเร็จ. หน้า121 – 127. กรุงเทพฯ :
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน.

ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล. (2550). “ธรรมและทำของครู ... สู่ความสำเร็จ,” ใน สมฤดี แย้มขจร
(บรรณาธิการ). ธรรมและทำสู่ความสำเร็จ. หน้า19 -33. กรุงเทพฯ :
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน.

ทิศนา แขมมณีและคนอื่น ๆ . (2545). กระบวนการเรียนรู้ ความหมาย แนวทางการพัฒนา
และปัญหาข้องใจ Learning Process. กรุงเทพฯ: บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ
(พว.) จำกัด.
ปุญชรัสมิ์ เต็มชัย. (2546). การพัฒนาแบบประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2548). ทักษะ 5 C เพื่อการพัฒนาหน่วย
การเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนโชติ เพ็งพริ้ง . (2548). “ การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ... มุมมองหรือมิติใหม่,”
ใน สมฤดี แย้มขจร (บรรณาธิการ). มิติใหม่ในการพัฒนาการเรียนการสอน.
หน้า 87 – 90. กรุงเทพฯ : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปทุมวัน.

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ








ศิริชัย กาญขนวาสี. (2546). “นโยบายการประเมินผลการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ” ใน สุวิมล ว่องวาณิช (บรรณาธิการ). การประเมินผล
การเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญญา รัตนวรารักษ์. (2550). “บทบาทและการเตรียมตัวของนิสิตฝึกสอน”
(เอกสารโรเนียว) ปฐมนิเทศนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2550 งานนิเทศ ติตตามและประเมินผล ฝ่ายวิชาการ โรงเรียน
สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน.

เปÅÕèยนเ¾×èอปรัº...



รัºการ¾ัฒนา

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ























เปÅÕèยนเ¾×èอปรัº...รัºการ¾ัฒนา

อาจารย์บุณฑริกา วิศวสมภพ








¨Ò¡Í´Õµสู่ปัจจุบัน ผันผ่านกาลเวลามามิใช่น้อย สิ่งที่ทุกคน
เห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดของสังคมปัจจุบันคือการบริโภควัตถุนิยมจนลืม

หรือเลิกชื่นชม ขนบธรรมเนียม ประเพณีนิยม คุณธรรมจริยธรรมในตนกัน
เกือบเสียสิ้นแล้ว

อย่างไรก็ตามพื้นฐานของจิตใจมนุษย์ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงไปเพราะ
ธรรมชาติที่บริสุทธิ์เปรียบเสมือนมนุษย์ที่มีสติสามารถแยกแยะสิ่งดีงาม

อันควรและเหมาะสมได้

พวกเราเป็น “ ครู ” ย่อมมีธรรมชาติของจิตใจที่มีคุณค่าในตัวตน
ของทุกคน และหากเรามองเห็นคุณค่าของผู้อื่นมากกว่าคุณค่าของตน

แล้วจะยังเป็นผู้มีคุณสมบัติที่ดีงามสามารถเป็นผู้นำหรือต้นแบบที่ดี
แก่บรรดาศิษย์ทั้งหลายได้

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ความเข้มแข็ง ความอดทนต่อเหตุการณ์ที่ทุกคนผ่านพ้นมา

ได้ด้วยดี แล้วจะกลายเป็นประสบการณ์ที่มีไว้เตือนใจของเราอย่างดียิ่งนัก

*สัจธรรม ได้ชี้ไว้อย่างชัดเจนว่า หากใจเป็นกลางย่อมมองเห็น
ทุกสิ่งได้สองด้าน อย่างมีเหตุผลสอดคล้องต้องกัน
(* อ้างถึง วิญญาณผู้นำ ของ ระพี สาคริก)


ไม่ว่าสิ่งใดก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อเราคิดได้เช่นนั้น ก็ควรทำ
เวลาที่มีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม องค์กรที่มีส่วนร่วมให้ได้มาก
และดีที่สุด จะช่วยให้คุณค่าในตนเพิ่มขึ้น


สิ่งสำคัญในหน้าที่ของ “ครู” คือ การแสวงหาความรู้เพิ่มพูน
ปัญญา ปรารถนาดีต่อศิษย์อย่างสม่ำเสมอและที่ไม่ควรย่อหย่อนไปกว่ากัน
คือการพัฒนาบุคลิกภาพให้ควบคู่กันไปด้วย


หากทว่าตัวเรารู้ใจตัวเอง เห็นคุณค่าและความสำคัญของตัวเอง
แล้วจะเป็นพลังเสริมให้ทำสิ่งใดเพื่อผู้อื่นได้อีกมากมายโดยเฉพาะศิษย์
ของครูทุกคน ที่รอการเติมเต็มและช่วยปรุงแต่งต่อเติมให้พวกเขาสมบูรณ์
แบบต่อไปในอนาคตด้วยฝีมือของเรา อีกทั้งการช่วยชี้แนะสิ่งต่าง ๆ
ที่เหมาะสมแก่ศิษย์ด้วยความเมตตา รักใคร่


เราเองเคยเหนื่อย เคยท้อ เคยแม้แต่คิดที่จะถอยแต่เมื่อคิดได้
ก็จะโตขึ้นมากกว่าที่ได้คิดอีกลำดับหนึ่ง ฉะนั้นการประสงค์ให้ศิษย์ของเรา
เป็นคนดี มีคุณธรรม รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้
ก็ย่อมตามมา เพราะการเสริมสร้างทักษะการดำเนินชีวิตประจำวันให้แก่

ศิษย์อย่างเข้มแข็ง มั่นใจ และภูมิใจในตนเอง สถาบันที่ร่วมอยู่ การมองเห็น
คุณค่าในตนเองย่อมบังเกิดขึ้นได้ ในทางตรงกันข้ามแล้วหากศิษย์ของเรา

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ยังไม่คิดที่จะรักแม้แต่ตนเองสักนิดการเติมความรู้ใดก็ไม่เป็นผล

ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของศาสตราจารย์ระพี สาคริก ที่ว่าเกียรติและ
ศักดิ์ศรีเป็นสิ่งได้มาเพราะรู้จักชนะใจตนเอง

ในสังคมยุคภายใต้อิทธิพลวัตถุนิยม ถ้ามีคนลักษณะเช่นนี้
เป็นจำนวนมาก เมืองไทยจึงเต็มไปด้วยคนประเภทฉ้อราษฏร์บังหลวง

และนิยมนำสิ่งที่ไม่ใช่สิทธิของตนมาใช้ในทางสร้างสรรค์ที่ผิดไปจาก
ความจริง ซึ่ง *ศาสตราจารย์ระพี สาคริก กล่าวถึง บุคลิกภาพ หมายถึง
รากฐานจิตใจที่เข้มแข็งลึกซึ้ง หากผู้มีบุคลิกภาพที่ชัดเจนมักมีนิสัย

ยกผู้อื่นให้เหนือตน จึงเป็นคนสุภาพอ่อนโยนกับคนที่ต่ำกว่าตน แต่สามารถ
ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางคนที่อยู่เหนือคนได้อย่างสง่างามเช่นที่กล่าวกันว่า
คนดีจริงย่อมตกน้ำไม่ไหลตกไฟ ไม่ไหม้ หรือ คนดีจริงย่อมหยิ่งในศักดิ์ศรี
ของตน คนประเภทนี้ย่อมว่างตัวเข้าได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานภาพ
ไม่ว่ายากดีมีจน และทุกความคิด อีกทั้งแสดงออกอย่างมั่นคงอยู่กับเหตุ

และผล

คนที่มีบุคลิกภาพ ย่อมซื่อสัตย์ต่อตนเองและจริงใจต่อทุกคน
ทั้งนี้บุคคลผู้มีสัจจะ ย่อมมีศิลปะอยู่ในจิตวิญญาณ จึงรู้จักใช้ศิลปะเพื่อ

ปฏิบัติให้บังเกิดผลเสียหายต่อผู้อื่นน้อยที่สุด

ชีวิตเราแต่ละคนเกิดมาเพื่อการเรียนรู้ จงมองคนในด้านดี
และมองสังคมในด้านดี เพราะบุคคลใดมองคนในด้านดีได้ บุคคลนั้นย่อม
มีคุณงามความดีอยู่ในรากฐานจิตใจของตนเองแล้วจงเอาน้ำดีไล่น้ำเสีย

กำจัดคนไม่ดี ออกไปจากขอบเขตความรับผิดชอบของตนเพื่อนำคนดี
เข้ามาแทนที่ ธรรมชาติของคนเรา ทุกคน ย่อมมีทั้งสิ่งดี สิ่งไม่ดี อยู่ด้วยกัน
คงมีแต่ความจริงซึ่งอยู่ในใจอันควรเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อีกทั้งยกความสำคัญ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ของผู้อื่นไว้เหนือตนเองย่อมมีผลกำหนดวิถีทางนำสู่ความสุขทั้งแก่ตนเอง

และหมู่คณะได้อย่างแท้จริง

ก็คงยังไม่สายสำหรับ “ครู” อย่างพวกเรา ในการคิดที่จะฝึกให้ศิษย์
รู้จักการบริหารเวลาให้เป็น โดยการจัดความสำคัญก่อนหลังในการกระทำ
ใด ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องพร้อมทั้งฝึกทักษะในการตั้งใจฟัง

เพื่อการเรียนรู้แม้กระทั่งการฝึกทักษะการสื่อสารที่ดี มีสาระถูกต้องเหมาะสม
ง่ายและเข้าใจได้มากที่สุดต่อผู้ฟัง คงเห็นได้แล้วว่าเพียงการจัดการเรียน
การสอนโดยแทรกกิจกรรมเสริมทักษะเล็กน้อยนี้ ก็ถือได้ว่า “ครู” ช่วยกัน

พัฒนาศิษย์อย่างถูกทาง ดั่งคำคมของ ชัย ป่ายางหลวง ที่ว่า การเริ่มต้นดี
มีชัยไปกว่าครึ่ง

ทั้งครูและศิษย์ หากมีทัศนคติที่ดีต่อกันย่อมเป็นตัวช่วย

ในการสร้างความศรัทธา ความไว้วางใจและเกิดการยอมรับต่อกัน
การเรียนการสอนก็ง่ายขึ้น สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่กล่าวยกมาแล้วนั้น ก็เป็น
อีกประการหนึ่งของการอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ
ที่สุดการฝึกตนให้รู้จักมองโลกในแง่ดีนั้น จะยังมาซึ่งการพัฒนาตนให้ก้าวสู่
ความสำเร็จในชีวิตสามารถบังเกิดความสุขสมหวังได้ไม่ยากเลย

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






“เพื่อสาธิต.......เพื่อศิษย์.......คิดพัฒนา”



การเริ่มต้น ที่ดี มีความคิด
แยกถูกผิด รับผิดชอบ รู้หน้าที่

ยืนเดินนั่ง แต่งกายา ดูเข้าที
สมศักดิ์ศรี ชวนเคารพ นบนอบครู
ด้วยศิษย์รัก พร้อมรับ การเติมต่อ
ช่วยถักทอ คุณธรรม นำความรู้
แต่งกายดี ระเบียบเด่น น่าเชิดชู

การเรียนรู้ คู่กิจกรรม ล้ำปัญญา











แหลงอางอิง

ระพี สาคริก. (2547). วิญญาณผู้นำ จากรากฐานสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ. คบไฟ.

ธรรมÐ...






ทำไ´Œ ...ãนทÕèทำงาน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























ธรรมÐ...ทำไ´Œ ...ãนทÕèทำงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีจันทร์ พันธุ์พานิช






Ëѹ价ҧä˹ก็มีแต่คนบ่นเรื่องสังคมกำลังเปลี่ยนไป

วัฒนธรรมกำลังแปรเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่กำลังมาแทนที่คนรุ่นเก่า แต่ก็
ละเลยไม่สืบทอดสิ่งดีงามที่เคยมี บ้างก็ว่าสงสารประเทศไทย แต่ก็ไม่รู้
จะทำอย่างไรดี

ข้าพเจ้าเองก็คนหนึ่งละที่แอบคิดเหมือนกันว่า อนาคตสังคมไทย

จะเป็นอย่างไร แม้กระทั่งสังคมโรงเรียนของเรา แต่ก็นึกเข้าข้างตัวเองว่า
เด็กโรงเรียนอื่น เขาก็เป็นแบบนี้แหละอาจจะมากกว่ากระมัง ครูมักจะโทษ
เด็กไว้ก่อนจริงไหม ทำไมเราไม่ลองนึกย้อนดูตัวเองก่อน บางครั้งก็เส้นผม

บังภูเขานะ อยู่ที่ว่าเราจะยอมรับความจริงหรือเปล่า

เราเป็นครู เราสอนนักเรียน แล้วเราล่ะใครสอนเรา เป็นผู้ใหญ่กันแล้ว
ผู้ใหญ่เขาก็ให้เกียรติ ไม่ว่ากล่าวกัน เพียงแต่ขอร้องฉันพี่น้องที่เคยร่วมทุกข์
ร่วมสุขกันมา หวังในความสมานฉันท์ที่ดีต่อไป

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






วันหนึ่งข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือของ ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านเขียนเรื่อง

การงานคือการปฏิบัติธรรม อ่านแล้วก็รู้สึกชอบใจและซาบซึ้งมาก
จึงถือโอกาสนำมาเล่าสู่กันฟัง สนใจไหมล่ะ ธรรมะในที่ทำงาน

ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวถึงการปฏิบัติธรรมะว่าเราไม่จำเป็น
ต้องไปฝึกปฏิบัติธรรมะที่วัดหรือที่มุมสงบไหนหรอก เราสามารถทำใน

ที่ทำงานหรือที่อื่น ๆ ก็ได้ เช่น การไปช่วยเขาโกยดิน โกยทราย จัดของ
เตรียมงาน เช็ดโตะ ต้อนรับแขก พิธีกร นักแสดง การทำอย่างนี้ท่านว่า
ได้ทั้งประโยชน์ตน ได้ทั้งประโยชน์คนอื่น เรื่องนี้มิใช่เรื่องเล็ก ๆ นะแต่เป็น

เรื่องของการเสียสละต่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นการทำงานที่ต้องเหนื่อย
ต้องอดทน นอกจากนั้นท่านยังกล่าวถึงเรื่องการทำงานอีกว่าให้เราทำงาน
เหมือนเครื่องจักร ไม่หวังจะเอาอะไรตอบแทนมา โดยมากคนเราแม้จะ
ไม่หวังเงิน หวังของอะไรตอบแทน แต่ยังหวังอย่างน้อย...หวังให้เขาชม
นั่นก็คือยังหวังการตอบแทน


ธรรมะในที่ทำงาน ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นการต่อสู้กับกิเลสของตนเอง
ถ้าเราอยู่คนเดียวไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครเราคงตัดกิเลสออกไปได้ง่ายกว่า
การมาทำงานร่วมกับผู้อื่น เราต้องพบกับคนที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า

ฯลฯ ท่านกล่าวว่ายิ่งถ้าเป็นคนที่มีนิสัย ยกหูชูหาง อยู่ในใจมาแต่เดิมแล้ว
ไม่ว่าเข้าใกล้ใครจะต้องเกิดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แล้วสุมมากขึ้น
หรือไม่เท่านั้น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ










“§าน à¢าãËŒ·ำÍÐäร¡ç·ำä»à¶ิ´


àÍา§าน໚นบ·àรÕยน·´สÍบ¨ิµã¨


Íย‹าàÍา§านมา໚นµัÇสรŒา§¡ิàÅส


สรŒา§àÇร สรŒา§Àัย สรŒา§คÇามÍา¦าµ


Íย‹าàÍา§านมาสรŒา§คÇามรŒาÇ©าน


ᵡสามัคคÕ »˜´á¢Œ§»˜´¢า¡ัน”



เสียสละได้ก็ไม่ต้องให้ใครรู้ ไม่ต้องให้ใครชม ภายในจิตใจพยายาม

สละด้วยความบริสุทธิ์ใจ ปฏิบัติด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำอย่างนี้ท่านว่า
จะเจริญก้าวหน้าสูงสุดในการปฏิบัติธรรมะ การงานเป็นเรื่องเล็กน้อยไปเลย
เพราะการปฏิบัติธรรมะมันใหญ่กว่า มันมีค่ามากกว่า

ในสังคมเรานี้ถ้าอยู่กันอย่างปฏิบัติธรรมะในการงานดังกล่าว

โลกเราคงมีแต่ความสุข ปัญหาความขัดแย้งก็จะไม่เกิด หากเราทำไม่ได้
อย่างน้อยก็พึงระมัดระวังให้ดีๆ พลาดไปก็กลับตัวใหม่ ผิดไปก็กลับตัวทันที
ยิ่งยากนั่แหละยิ่งทำให้เร็วในการบรรลุธรรม

สตอรÕè¢องครูª‹างคิ´ 3

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























สตอรÕè¢องครูª‹างคิ´ 3
อาจารย์เชิด เจริญรัมย์






ความคิดคือจุดเริ่มตนของชีวิต.....




แพ้หรือชนะ ไม่สำคัญ ถ้าเรายอมรับมันได้ นั่นคือ เราชนะตนเอง
เพราะแพ้หรือชนะ มันไม่ได้อยู่ที่ใคร แต่มันอยู่ในใจเรา.....




ครูที่ดี ไม่จำเป็นต้องเรียนจบสูง ๆ ปริญญาโท ปริญญาเอก
เพียงแต่มีความรู้ความสามารถที่จะสอนให้นักเรียนมีความรู้
ทันโลก ทันสังคม ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน พร้อมทั้งเป็นคนดี
มีคุณธรรมได้ ก็เพียงพอแล้ว....

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






“ครู” ต้องไม่ใช่เพียงนักทฤษฎี นักพูด คือ เก่งแค่สอนให้นักเรียนรู้ตาม

หลักวิชาการ แต่ “ครู” ต้องเป็นนักปฏิบัติ เป็นผู้นำ เป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่าง
ในด้านความประพฤติ การแสดงออก คุณธรรมจริยธรรม เพียงพอที่จะทำให้
ลูกศิษย์และคนทั่วไป กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ



ก้าวเดินไปข้างหน้าตามกำลังขาของตนเอง
ก้าวสู่ตำแหน่งสูงขึ้นตามกำลังปัญญาของตนเอง
แต่ถ้าก้าวเดินหรือขึ้นไปถึงจุดหนึ่ง หมดแรง อ่อนล้า
ก็จงถอยมาเพื่อตั้งหลักใหม่...และเปิดโอกาสให้คน

ที่แรงดีกว่าความสามารถดีกว่า ก้าวแทนที่ นั่นคือสิ่ง
ควรเป็น.....



คนที่มั่นใจตนเองสูงเกินไป เวลาทำงาน ถ้าประสบผลสำเร็จจะยิ่งมั่นใจ
ตนเองมากขึ้น ผยองมากขึ้น แต่ถ้าล้มเหลวเมื่อไหร่ นั่นอาจหมาย “ชีวิต”.....
เพราะคนประเภทนี้ เวลาล้มเหลวหรือพ่ายแพ้ จะแคร์คนอื่นมากกว่า
ที่จะดูแลความรู้สึกของตนเอง.....


คนที่ผยอง ทนงตน ถือตนว่าเรียนสูง มีความรู้มากกว่าผู้อื่น และโง่ไม่เป็น
เป็นใหญ่ยาก อยู่เหนือคนอื่นยาก...อย่างมากเป็นได้แค่ “ผู้ตาม”...




ถ้าเรียนสูงกว่าผู้อื่น แล้วพัฒนาทางความคิด

คำพูดและการกระทำแย่กว่าเขา สู้เลือกเป็นคนไร้การศึกษาดีกว่า
อย่าหยิ่งยะโสและโอหัง เกินคุณความดีและความสามารถที่ตนมีอยู่
เพราะสิ่งที่จะตามมาคือ คำตำหนิ ขาดความน่าศรัทธา น่าเคารพ ไร้เกียรติ
และถ้าพลาดพลั้งอะไรขึ้นมา น้อยคนที่จะช่วย แต่มากคนที่คอยซ้ำเติม.....

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ เป็นสิ่งที่ดี อย่าให้ถึงกับประจบสอพลอ

การประเมินตนสูง มั่นใจตนเองสูง ไม่ใช่สิ่งเสียหายอะไร
แต่อย่าให้ถึงกับดูถูกคนอื่น
คนมีความรู้ความสามารถ มีวุฒิการศึกษาสูง ควรแสดงออกทางกาย

และวาจาให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะที่ตนเองเป็นอยู่......


ถ้าหนัก ก็วาง ถ้าเหนื่อย ก็หยุดพัก
ลองคิดดู ชีวิตเราไม่ได้อยู่เพื่อยึดถือยึดครอง เพื่อแบกหามหรือเพื่อ
ก้าวข้ามไปเพียงอย่างเดียว บางครั้งต้องวาง บางครั้งต้องถือ บางครั้งต้อง

ก้าวไปข้างหน้า บางครั้งก็ต้องหยุดอยู่กับที่ บางครั้งก็ต้องถอย...
เพราะจริง ๆ แล้ว เรามีชีวิตอยู่เพื่อแสวงหาความสุขมากกว่าสิ่งอื่นใด...
ก็เท่านั้นเอง...



วุฒิภาวะของความเป็นผู้นำ จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเอง
เพื่อก้าวไปเป็นผู้บริหารในอนาคต ถ้าไม่มีวุฒิภาวะผู้นำ แต่อยู่ในกลุ่มผู้บริหาร
ก็จะเป็นได้แค่ “เบี้ยล่างหรือหมากตัวหนึ่ง” ในทุกเกมที่เขาเล่นอยู่.....
ถ้าเราไม่ฉลาดพอ ก็ฝึกฟังคนอื่นให้มาก อย่าฉายความโง่มากเกิน บางครั้ง

เป็นเพราะเรามั่นใจตนเองเกินไป จนทำให้เราถูกมองว่าโง่ในสายตา
ของคนอื่น..



อย่าทำงานด้วยลำพังแต่ปาก(คำพูด คำสั่ง) เพราะจะไม่ได้ใจผู้ใต้บังคับบัญชา
แต่จงทำด้วยปากให้น้อยที่สุด ทำด้วยกายและใจให้มากที่สุด สิ่งที่เราจะได้
คือใจที่ภักดีของผู้ใต้บังคับบัญชา....


Click to View FlipBook Version