The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:35:07

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 4

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เว็บที่มีคุณค่าและเหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ประโยชน์ พร้อมอธิบาย

การประเมินเว็บ เป็นระดับคะแนนต่าง ๆ โดยแนวคิดของอีเวอร์ฮาร์ท
จะมีด้วยกัน 9 ด้าน คือ (1) ความทันสมัย (2) เนื้อหาและข้อมูล (3)
ความน่าเชื่อถือ (4) การเชื่อมโยงข้อมูล (5) การปฏิบัติจริง(6)

ความเป็นมัลติมีเดีย (7) การให้ข้อมูล (8) การเข้าถึงข้อมูล และแต่แนวคิดทั้ง
9 ด้าน ยังขาดรายละเอียด ปรัชญนันท์ นิลสุข (2546) จึงได้ขยายความและ
อธิบายรายละเอียดเพิ่มขึ้นดังนี้

1) ความทันสมัย จัดเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ

ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์
จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ก็ต่อเมื่อ ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่ใหม่ ทันต่อสถานการณ์
และได้รับการปรับปรุงตามระยะเวลาที่เหมาะสม โดยจะทำการประเมิน
3 ประเด็น คือ (1) เว็บไซต์แสดงวันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด (2) การระบุ
วันที่ของแหล่ง ข้อมูลที่นำมาใช้ในเว็บ และ (3) จำนวนผู้เข้าชมหรือใช้งาน

เว็บไซต์

2) เนื้อหาและข้อมูล เว็บไซต์ต้องมีเนื้อหาและข้อมูลที่เป็นประโยชน์
เนื้อหามีความถูกต้อง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ เนื้อหามีลักษณะ

เป็นภาษาเขียนเพื่อให้น่าเชื่อถือ ไม่ใช้ภาษาพูด ไม่หยาบคายใช้ภาษา
ที่เป็นทางการ การพิมพ์ไม่ผิดพลาด การใช้สระ พยัญชนะต่าง ๆ มีความถูกต้อง
สมบูรณ์

3) ความน่าเชื่อถือ เว็บไซต์ที่มีคุณภาพ นอกจากข้อมูลมีความถูกต้อง

ทันสมัย ข้อมูลเป็นประโยชน์แล้วยังต้องมีความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นเรื่อง
สำคัญที่จะนำไปใช้ในการอ้างอิงหรือใช้ประโยชน์รวมถึงการแสดง
ความรับผิดชอบในเว็บอย่างชัดเจน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






4) การเชื่อมโยงข้อมูล เป็นส่วนช่วยให้ผู้เข้าชมเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ

ต่าง ๆ โดยจะประเมินใน 4 ประเด็น ดังนี้ (1) เว็บไซต์ที่ดีควรแสดง
การเชื่อมโยงไปยังส่วนต่าง ๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและอ่านได้อย่างชัดเจน
(2) การเชื่อมโยงควรแสดงรูปแบบที่ชัดเจน ง่ายต่อการสังเกตมีขนาดเหมาะสม

(3) เส้นทางการเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ มีความสอดคล้องเป็นแนวทาง
เดียวกันทุกเว็บเพจ (4) การเชื่อมโยงใน ทุก ๆ เว็บเพจ ควรสามารถเชื่อมโยง
กลับไปยังหน้าแรกของเว็บไซต์หรือหน้าเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ โดยจัดให้
มีปริมาณการเชื่อมโยงที่เหมาะสม


5) การปฏิบัติจริง เว็บเพจที่ดีควรมีเนื้อหาที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ที่กำหนดไว้ และมีการแสดงผลอย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่มีอยู่มีประโยชน์ผู้เข้าชม
สามารถนำไปประโยชน์ได้จริง นอกจากนี้เว็บเพจต้องเป็นที่ดึงดูดสายตา
ของผู้เข้าชม มีความน่าสนใจ ผู้เข้าชมสามารถดูข้อมูลต่าง ๆ ได้เป็นเวลา
นานโดยไม่รู้สึกเบื่อ


6) ความเป็นมัลติมีเดีย เนื่องจากเว็บไซต์จะต้องออนไลน์อยู่ใน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อจำกัดของขนาดช่องสัญญาณ หรือที่รู้จักกัน
ในชื่อว่า แบนด์วิท จึงมีผลต่อการแสดงผล ดังนั้นการเลือกใช้มัลติมีเดีย

จึงควรเลือกให้มีความเหมาะสมทั้งจำนวน และขนาดของสื่อมัลติมีเดีย
หากผู้เข้าชมต้องมาใช้เวลานานในการแสดงผล ก็จะทำให้ผู้เข้าชม
ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์ได้ทันที ซึ่งความเป็นมัลติมีเดียของ
เว็บไซต์ จะประกอบด้วย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเสียง ภาพวิดีโอ เพื่อช่วย

เสริมให้เว็บไซต์มีความน่าสนใจ และช่วยสร้างความเข้าใจแก่ผู้เข้าชม

7) การให้ข้อมูล ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์ จะต้องมีลักษณะที่เข้าใจง่าย
ไม่ซับซ้อน มีการจัดรูปแบบและหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ง่าย
ต่อการตรวจสอบและใช้งาน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






8) การเข้าถึงข้อมูล ผู้เข้าชมสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้สะดวก

และรวดเร็ว นอกจากนี้เว็บไซต์ที่ดีและได้รับความนิยม ควรหาได้จาก
เว็บประเภทสืบค้นข้อมูล หรือ Search Engine เช่น Google หรือ Yahoo
ซึ่งเว็บไซต์ที่ดี มีผู้เข้าชมจำนวนมากจะอยู่ในลำดับต้น ๆ ของการค้นหา

ทำให้เสียเวลาในการค้นหาน้อยลง เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการได้มากขึ้น

9) ความหลากหลายของข้อมูล โดยพิจารณาจากการให้บริการ
เสริมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เช่น (1) ได้รับรางวัลยอดนิยม หรือได้รับ
รางวัลจากการโหวตว่ามีผู้เข้าชมมาก (2) ให้ข้อมูลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

(3) มีบริการฝากข้อมูลและตอบข้อซักถาม (4) มีการสมัครและเข้ารหัส
ข้อมูลของผู้ใช้เป็นความลับ (5) สามารถพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์
โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขใด ๆ (6) มีระบบข้อมูลที่ดี ขนาดของข้อมูล
ไม่สั้น หรือมีองค์ประกอบอื่นมากเกินความจำเป็น และ (7) มีบริการสืบค้น
ข้อมูลภายในเป็นของตนเอง


โดยสรุป การประเมินการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
จะพิจารณาจาก (1) ความทันสมัยของข้อมูล (2) ประโยชน์ของข้อมูล
(3) ความน่าเชื่อถือของข้อมูลและเว็บไซต์ (4) การเชื่อมโยงข้อมูลที่ดี

สะดวกและรวดเร็ว (5) การนำข้อมูลไปใช้ปฏิบัติได้จริง (6) ความเป็น
มัลติมีเดียมี่เหมาะสมและมีคุณภาพ (7) ข้อมูลเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
(8) การเข้าถึงข้อมูลในส่วนอื่น ๆ และ (9) ความหลากหลายของข้อมูล

ประโยชน์และข้อจำกัดของการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย

อิเล็กทรอนิกส์

สำหรับการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาผสมผสานกับรูปแบบการจัดการเรียน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






การสอน ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อวงการศึกษา แต่ก็ยังมีข้อจำกัด

บางประการที่ทำให้การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับ
ผู้เรียนบางกลุ่มบางพื้นที่ไม่สัมฤทธิ์ผลตามที่ต้องการ

สำหรับประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2541 : 55-56) ได้กล่าวถึงความนิยมและคุณค่า

การประยุกต์อินเตอร์เน็ตในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เว็บ
ดังนี้

1) การสอนบนเว็บเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลหรือ

ไม่มีเวลาในการเข้าชั้นเรียน ได้เรียนในเวลาและสถานที่ที่ต้องการ ที่สามารถ
ใช้บริการทางอินเตอร์เน็ตได้ จึงสามารถแก้ปัญหาด้านข้อจำกัดเกี่ยวกับ
เวลาและสถานที่ได้เป็นอย่างดี

2) เป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษามีส่วนร่วม

ในการศึกษา ถกเถียงอภิปรายระหว่างผู้เรียนต่อผู้เรียนหรือผู้สอนกับผู้เรียน
แม้จะต่างสถาบันกัน

3) ส่งเสริมแนวความคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็น
แหล่งความรู้ที่เปิดกว้าง ให้ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง และฝึก

ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

4) นำไปสู่โลกกว้างแห่งการเรียนรู้ นอกเหนือจากห้องเรียน ผู้เรียน
เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ สนับสนุนสิ่งแวดล้อม
ทางการเรียนที่เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับปัญหาที่พบในความเป็นจริงโดยเน้น

ให้เกิดการเรียนรู้ตามบริบทในโลกแห่งความเป็นจริง (Contextualization)
และการเรียนรู้จากปัญหา (Problem- based Learning) ตามแนวคิดแบบ
Constructivism

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 







5) การสอนบนเว็บเป็นวิธีการเรียนที่มีศักยภาพ เพราะเว็บกลาย
เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ ครอบคลุมสารสนเทศทั่วโลก

สะดวกสบายกว่าการค้นคว้าข้อมูลแบบเดิม

6) สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ร่วมคิดร่วมทำกิจกรรม
ต่าง ๆ ตลอดจนเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา

7) ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในลักษณะ 2 รูปแบบคือปฏิสัมพันธ์กับ

ผู้เรียนด้วยกัน หรือผู้เรียนกับผู้สอน และมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน
ในการสอนโดยใช้เว็บ

8) การสอน โดยใช้เว็บสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัย

เนื่องจากข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic) จึงสามารถ
ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา

9) สามารถนำเสนอเนื้อหาได้หลากหลายรูปแบบของมัลติมีเดีย
เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด

ในการเรียนการสอน

ส่วนข้อจำกัดของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
Ross และ Schulz (1999 : อ้างอิงใน บุรีรัตน์ สุขวโรทัย : 2548) ได้สรุปไว้
ดังนี้

1) ผู้เรียนอาจไม่ได้รับความรู้หรือข้อมูลตามต้องการ
2) จะต้องพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ เพื่อประสิทธิภาพในการสืบค้นมากขึ้น
3) ไม่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้ทั้งหมด

4) จะต้องมีการพัฒนาสื่อผสมเพื่อการนำเสนอเนื้อหาที่มี
ประสิทธิภาพดีขึ้น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






5) ผู้เรียนอาจเข้าไม่ถึงจุดมุ่งหมาย หากการเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ

ต้องใช้เวลามาก

โดยสรุป ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
ได้แก่ (1) การเปิดโอกาสทางการศึกษา (2) ส่งเสริมความเท่าเทียม
ทางการศึกษา (3) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (4) เปิดโลกกว้างแห่ง

การเรียนรู้ (5) เชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทั่วโลก (6) ช่วยให้ผู้เรียนมี
ความกระตือรือร้น (7) ช่วยในการเกิดปฏิสัมพันธ์ (8) การปรับเนื้อหา
หลักสูตรให้ทันสมัยทำได้ง่าย และ (9) นำเสนอเนื้อหาได้หลากหลายรูปแบบ

ส่วนข้อจำกัดของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
(1) ข้อมูลอาจไม่ตรงตามความต้องการของผู้เรียน (2) ประสิทธิภาพ
ของเครื่องมือยังมีขีดจำกัด (3) ไม่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้ทั้งหมด
(4) ยังต้องพัฒนาสื่อผสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และ (5) ศักยภาพ
ของระบบเครือข่ายที่จะมีผลต่อความเร็วในการเชื่อมต่อและการแสดงผล


งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ มีนักวิชาการและนักการศึกษาจำนวนมากให้ความสนใจ

และทำการศึกษาวิจัยในหลายหัวข้อ หลายประเด็นที่มีความเกี่ยวข้อง
อาทิเช่น

ทิพย์เกสร บุญอำไพ (2540) ได้ศึกษา การพัฒนาระบบการสอน

เสริมทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ผลการวิจัยพบว่า ระบบการสอนเสริมทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต (DTSI Plan)
ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่พัฒนาขึ้นซึ่งได้รับการประเมินจาก
ผู้ทรงคุณวุฒิทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และทางระบบการศึกษา

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ทางไกลเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ “เหมาะสมมาก” ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

จากการสอนเสริมทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจาก
การสอนเสริม โดยวิธีเผชิญหน้า ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญที่ .05
ความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนจากการสอนเสริมทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต

อยู่ในเกณฑ์ “เห็นด้วยมาก”

พูนศรี เวศย์อุฬาร (2543) ได้ศึกษา ผลการเรียนผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาสังคมศึกษาพบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกแผนก

การเรียนที่เรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสูงกว่าการเรียนในห้องเรียนปกติ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.1

โสมระวี นักรบ (2543) ได้ศึกษา ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจ
ในการเรียนรู้ด้วยตนเองจากอินเทอร์เน็ต โดยวิธีการค้นพบแบบแนะนำ

และไม่แนะนำ ของนักศึกษาสถาบันราชภัฎจันทรเกษม ชั้นปีที่ 2 พบว่า
ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเองจากอินเทอร์เน็ตทั้งสองแบบ แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และผลการศึกษาความพึงพอใจพบว่า ในด้าน
การเรียนรู้จากอินเทอร์เน็ตและรูปแบบกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับมาก

ในด้านความรู้ที่ได้รับ กลุ่มค้นพบแบบแนะนำมีความพึงพอใจในระดับมาก
ส่วนกลุ่มค้นพบแบบไม่แนะนำมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง

ประวิทย์ ไชยเจริญ (2544) การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียน
การสอนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเครือข่าย

คอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยในจังหวัดเชียงราย พบว่า (1) ครูผู้ปฏิบัติการ
สอนและผู้ดูแลโครงการในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่
มีความรู้ในการใช้บริการสืบค้นข้อมูล และนำบริการสืบค้นข้อมูลไปใช้
ในการเรียนการสอนโดยครูและนักเรียนใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อการเรียนการ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







สอนร่วมกัน (2) โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เพื่อโรงเรียนไทยในจังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่ใช้วิธีการเชื่อมต่อเข้าสู่

เครือข่ายโดยใช้โมเด็มหมุนเข้าไปที่เนคเทค มีปัญหาการสื่อสารมีความเร็วต่ำ
ใช้เวลานานในการค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่เป็นภาษาไทยมีน้อย ศูนย์บริการ
จำกัดเวลาและเนื้อที่ในการเก็บข้อมูล มีผู้ติดต่อเข้าใช้มากไม่สามารถ
เข้าใช้ได้ มีปัญหางบประมาณสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ไม่มากพอ

เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ขาดประสิทธิภาพและไม่เพียงพอ
แก่การให้บริการ (3) ผู้บริหารสนับสนุนงบประมาณ การใช้ระบบอินเทอร์เน็ต
อยู่ในระดับปานกลาง แต่สนับสนุนครูในการพัฒนาความรู้โดยจัดหาเอกสาร
ตำรา ให้ครูได้ศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์ (2546)

ได้ศึกษา ผลของการเรียนการสอนบนเว็บที่มีต่อความรู้ความสามารถ
ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
นักเรียนที่ผ่านการเรียนการสอนบนเว็บมีความรู้ความสามารถในการทำ
โครงงานวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ที่ระดับ 0.05

โดยสรุป จากผลการวิจัยข้างต้น พบว่า การเรียนการสอนผ่าน
เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สามารถ


ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนที่ดีกว่าการเรียนในห้องเรียนปกติหรือการเรียนแบบเผชิญหน้า
ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเรียนรู้ที่มีการแนะนำ
จะทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีกว่าการไม่แนะนำ อีกทั้งผู้เรียน
ยังมีความพึงพอใจในการเรียนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ในระดับมาก

แต่รูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการนี้ ต้องอาศัยระบบเครือข่ายที่มี
ความเร็ว มีศักยภาพในการเชื่อมต่อ มีผู้ดูแลระบบที่มีความรู้ความเข้าใจ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 







มีโปรแกรมและคอมพิวเตอร์ที่มีความทันสมัย รวมทั้งมีผู้บริหารที่ให้
การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจัง จึงจะทำให้การเรียนการสอนผ่าน

เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

บทสรุป

การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการเรียน
การสอนที่มีการผสมผสานกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน

กับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุ
ตามวัตถุประสงค์ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน มีการจัดแบ่ง
ตามลักษณะการใช้งานว่าจะใช้เป็นสื่อเสริม สื่อเติมหรือสื่อหลัก ส่งเสริม

การเรียนการสอนให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อกันได้โดยสะดวกให้ผล
ย้อนกลับในทันทีทำให้ผู้เรียนรู้ถึงความสามารถของตนสนับสนุนการทำงาน
เป็นทีม ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสทาง
การศึกษาให้ผู้สนใจใฝ่เรียนรู้มีหลักการออกแบบ ขั้นตอนการสร้าง และวิธี
การประเมินการเรียนการสอนที่ชัดเจน ช่วยให้ผู้สอนนำไปใช้เป็นแนวทาง

ในการดำเนินการได้ ซึ่งการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
นี้มีประโยชน์อย่างมาก โดยช่วยแก้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่
ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ส่งเสริมแนวคิดการเรียนรู้

ตลอดชีวิต ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น อยากเรียนรู้ อีกทั้งยังมี
ผลการวิจัยที่สนับสนุนการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ว่าเป็น
รูปแบบการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าการเรียนในห้องเรียนปกติทั่วไปอย่างชัดเจนและ
จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมา ด้วยยุคสมัยที่แปรเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารที่อยู่

มากมาย อีกทั้งด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดแต่
ราคากลับถูกลง ในฐานะครูผู้สอนคนหนึ่งได้มองเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดี

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ








ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนแบบเดิม ๆ ให้มีชีวิตชีวามากขึ้น ผู้เรียน
จะได้มีความสุขในการเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของตน จะเรียน
ซ้ำหรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้โดยสะดวก ไม่จำกัดเรื่องเวลาและสถานที่
วันใดป่วยหรือติดธุระก็สามารถกลับมาเรียนย้อนหลังได้ โดยไม่ต้องห่วงว่า
จะเรียนไม่ทันเพื่อน รูปแบบการเรียนก็มีความน่าสนใจ มีกิจกรรมหรือแบบ

ทดสอบที่ผู้เรียนสามารถประเมินผลตนเองได้ อีกทั้งด้วยความสามารถของ
สื่อมัลติมีเดียที่จะดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เสมือนกับเป็นเวทย์มนต์
ทางการศึกษา ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทำการเรียนรู้ได้เป็นเวลานานขึ้น และ

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี อีกทั้งผู้สอนก็จะมีความสนุกสนานในการหา
สิ่งต่าง ๆ มาใช้ประกอบในการเรียน การปรับเปลี่ยนเนื้อหาทำได้ง่ายและ
รวดเร็ว เหนื่อยน้อยลง มีเวลามากขึ้น มีความสุขมากขึ้น แล้วอย่างนี้ครูท่าน
ใดจะปฏิเสธการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้ลงคอ...
จริงหรือเปล่าครับ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






บรรณานุกรม


ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2550). วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์.
กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงษ์. (2546). การผลิตชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : เอมพันธ์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์
พับลิสชิ่ง.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2544, มกราคม-มิถุนายน). การสอนบนเว็บ (Web-Base

Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
28(1) : 87-94.

ทิพย์เกสร บุญอำไพ. (2540). การพัฒนาระบบการสอนเสริมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
ของมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงเยาว์ ในอรุณ. (2548). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเว็บ วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น.
วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.


บุรีรัตน์ สุขวโรทัย. (2548). การศึกษาผลการสอนโดยใช้เว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 โรงเรียนนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฎนครสวรรค์.

ประวิทย์ ไชยเจริญ. (2544). การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของครู

ในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อ
โรงเรียนไทยในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. เชียงราย
: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ








ปรัชญานันท์ นิลสุข. (2546, มกราคม-มิถุนายน). การประเมินคุณภาพเว็บไซต์.
วารสารวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต. 9(1).

พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์. (2546). ผลการเรียนการสอนบนเว็บที่มีต่อความรู้และ
ความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปที่ 2 โรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร.
ปริญญานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนศรี เวศย์อุฬาร. (2543). ผลการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4. ปริญญานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียน
คอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตำราเรียน สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิชุดา รัตนเพียร. (2542, มีนาคม). การเรียนการสอนผ่านเว็บ:ทางเลือกใหม่

ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์. 27(3) : 29 - 35.
สมยศ กล้วยน้อย. (2545). การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เรื่อง การสื่อสารข้อมูล วิทยานิพนธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า
คุณทหารลาดกระบัง.

โสมระวี นักรบ. (2543). ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จากอินเทอร์เน็ต โดยวิธีการค้นพบแบบแนะนำและไม่แนะนำ. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Ross and Schulz. (1999, July) . Using the World Wide Web to Accommodate

Diverse Learning Styles. College Teaching. 47(7) : 123 - 129.

ส×èอสรŒางสัม¾ันธ





áÅÐการเรÕยนรูŒ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






















ส×èอสรŒางสัม¾ันธáÅÐการเรÕยนรูŒ


อาจารย์นุช พุ่มเพชร








Êѧ¤Á¡ŒÁ˹ŒÒ คือ ศัพท์บัญญัติใหม่ของคนไทยที่มาจาก
พฤติกรรมของคนในยุค Social Network เฟ่องฟูอย่างในปัจจุบัน การพกพา

อุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัยไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นเรื่องปกติของคนไทย
ทุกเพศทุกวัย และ พบเห็นภาพการใช้เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ได้ทุกที่
ทุกเวลา ทั้งนี้เพราะอิทธิพลของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีผลสำรวจการใช้

บริการเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์จนได้รับความนิยมสูงสูดและมีผู้ใช้
บริการเป็นอันดับ 1 ของโลกอย่าง Facebook นั่นย่อมทำให้เห็นว่า คนทั่วไป
ใช้ Facebook ใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและสร้างสรรค์กิจกรรม

ร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายขึ้น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






Facebook ทำให้วงโคจรในชีวิตเราแคบลง แต่สามารถสร้างสังคม

ได้กว้างขึ้น เครือข่ายสังคมออนไลน์นี้ทำให้เราพบเพื่อนสมัยมัธยมที่ไม่ได้
พบหน้ากันมาเป็น 10 ปี หรือมากกว่านั้นเพียงปลายนิ้วสัมผัสก็ทำให้
ความมหัศจรรย์เกิดขึ้นได้ Facebook มีระบบการจัดการที่ดี ทำให้เราสามารถ

สร้างระบบกลุ่มเพื่อนได้อย่างง่ายดาย แบ่งเป็นกลุ่มเพื่อนที่ โรงเรียน
มหาวิทยาลัย เพื่อนที่ทำงาน หรือจัดกลุ่มตามความสนใจส่วนตัว
ความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อความ โพสต์ข้อความ

รูปภาพ คลิปวิโอ และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันผ่านเครือข่ายสังคม
ออนไลน์นี้ สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา ทำให้เครือข่าย
สังคมออนไลน์อย่าง Facebook เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็ง


เราไดเรียนรูอะไรในเครือขายสังคมออนไลนอยาง

Facebook

คำตอบ สั้น ๆ ง่าย ๆ จากคำถามนี้ คือได้ รู้เรื่องชาวบ้าน บ่อยครั้ง

ที่เราจะพบข้อความในทำนองน้อยใจ ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ การได้รับความ
ไม่ยุติธรรมในสังคม ในที่ทำงาน การแสดง อารมณ์ สุข เศร้า เหงา
และอีกหลากหลายความรู้สึก ทำให้เกิดปฏิกิริยาของกลุ่มเพื่อนที่เข้าดู
และมีการแสดงออกด้วยการกด ไลค์ หรือส่งข้อความ เข้ามาแสดง

ความคิดเห็นและให้กำลังใจ โดยเฉพาะการกำลังใจก็จะช่วยให้ ความรู้สึกต่าง ๆ
เหล่านี้ดีขึ้นได้ นี่คือข้อดีของอีกประการหนึ่งของ Facebook ที่ทำให้เรารู้ว่า

เรามีตัวตน เรายังมีเพื่อนที่รักและเป็นกำลังใจให้เสมอ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ










“àคร×Í¢‹ายสั§คมÍÍนäÅนÍย‹า§


Facebook Íา¨·ำãËŒà¡ิ´


คำÇ‹า âÅ¡àสม×Íน¨ริ§ Ëร×Í


à¡ิ´สั§คม¡ŒมËนŒา ᵋàม×èÍสิè§àËÅ‹านÕé䴌ࢌามา

໚นส‹ÇนËนÖè§ãนªÕÇิµàราáÅŒÇ àรา¡çคÇร¨ÐËา


·า§ÍยÙ‹¡ับสิè§นÕéÍย‹า§มÕคÇามสØ¢


´ŒÇย¡ารແ´µา ແ´ã¨àรา·Õè¨Ðรับ


áÅÐàรÕยนรÙŒâÅ¡·ัé§สͧãบนÕé仾รŒÍม æ ¡ัน

Íย‹า§มÕสµิ à¾×èÍãËŒà¡ิ´คÇามสรŒา§สรรค


·ั駵‹ÍµนàͧáÅÐคนãนสั§คม


นัèนค×Í¡ารÍยÙ‹ãนสั§คม¡ŒมËนŒา


Íย‹า§มÕ»รÐâยªนáÅÐสรŒา§สรรค”

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






แต่หากเป็นคนที่สนใจในหนังสือหน้านี้ให้มากขึ้นเราจะเห็น

Life Style ที่หลากหลายปรากฏอยู่บนหน้าจอ Facebook หลายคนโพสต์รูป
ตัวเองเหมือนนางแบบ และใช้หน้า Facebook เป็นปกนิตยสาร เราจะเห็น
กลุ่มคนรักแมว กลุ่มนี้จะโพสต์รูปแมวน่ารัก ๆ มีเรื่องราวเกี่ยวกับแมว

มากมาย ไปจนถึงการหาคู่ให้กับแมว และทำให้เรารู้สึกว่าแมวคือเพื่อน
หรือสมาชิกในครอบครัวมากกว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงทั่วไป และเพื่อนที่เรา
ได้พบกันทุกวันพูดคุย เรื่องสัพเพเหระดูไร้สาระ ต่างจากเพื่อนคนเดิมที่พบ

บนหน้าจอ Facebook เธอ หรือ เขา อาจทำให้คุณประหลาดใจ ด้วยการ
โพสต์รูปและข้อความที่เป็นข้อคิด ธรรมะ สร้างเข็มทิศชีวิตให้ตัวเอง
อยู่เสมอ ๆ และคุณอาจไม่เชื่อว่าเราศึกษาอุปนิสัยคนคนหนึ่งให้มากมาย

จากความแตกต่างของกรุปเลือด

เครือข่ายสังคมออนไลน์มีการแบ่งปัน ข้อมูลข่าวสาร และการสร้าง
แหล่งเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ได้ แม้แต่ผู้ที่ใช้เวบไซต์อื่นก็สามารถ

เชื่อมต่อกับ Facebook และสามารถอัพเดท แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งกันและกันได้ ทำให้เกิดแหล่งเรียนรู้ใน Facebook ขึ้น สิ่งดี ๆ ที่เพื่อนดี ๆ
ส่งมาให้เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ เช่น เทคนิคการใช้

อุปกรณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน การระมัดระวังภัยใกล้ตัว เรื่องของ
การดูแลสุขภาพ บางข้อความทำให้เราตระหนักในชีวิต ใช้ชีวิตอย่าง
ระมัดระวังมากขึ้น และพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้มากขึ้น เช่น

การปรับเวลานอน การเลือกรับประทานอาหาร และใส่ใจดูแลเท้าตัวเอง
มากขึ้น นอกจากนี้สังคมออนไลน์ใน Facebook ยังช่วยเราจุดประกาย
ในวิชาชีพ การทำงานอยู่เป็นประจำ ทำให้เราคิดไปเองว่าเรามีทักษะ

และความชำนาญพอเพียงต่อการทำงานแล้ว นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เรา
ไม่ได้เพิ่มพูนความรู้หรือเสาะแสวงหาสิ่งใหม่ ๆ มาเติมเต็มให้ตัวเอง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






การได้รับข้อความที่เป็นความรู้ โดยเพื่อนที่ส่งมาให้ถึงมือ หรืออาจ

เรียนว่าจับใส่มือ มาให้ถึงหน้าจอ Facebook ทำให้เรามิอาจปล่อยผ่านไป
ได้ง่าย ๆ บางอย่างกระตุ้นให้เราเข้าไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มและได้พบ
บทความดี ๆ อีกมากมาย เช่น รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ด้วย “เทคนิค 3 เปลี่ยน เพื่อจุดประกายการศึกษาสู่อนาคต” ยิ่งค้นก็ยิ่งพบ
จนข้อมูลมากมายหยิบมาใช้ไม่ทัน ต้องเก็บไว้ใน Reading List แต่ถ้าจะให้ดี
เราไม่ควรเก็บไว้คนเดียวควรแบ่งปันสู่คนรอบข้างและสังคม โดยใช้

Facebook เป็นเครื่องมือสร้างแหล่งการเรียนรู้ต่อไป

การวิ¨ัย





เ¾×èอ¾ัฒนาการเรÕยนรูŒ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ


















การวิ¨ัย


เ¾×èอ¾ัฒนาการเรÕยนรูŒ

อาจารย์ชวลิต ศรีคำ









ËÑÇã¨สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2544 คือ การปฏิรูปการเรียนรู้ซึ่งเน้นผู้เรียน

เป็นสำคัญ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการผลักดันให้การปฏิรูป
การศึกษาประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ ครู เวลาที่ครูใช้ในการทำงาน

มิได้มีเพียงแค่การทำหน้าที่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังต้องใช้เวลา
ในการทบทวนผลการทำงานของตนเองว่าในแต่ละวันสามารถทำให้
ผู้เรียนบรรลุตามเปาหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ กล่าวคือ ในแต่ละวัน
ครูต้องประเมินผลตนเองอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นงานที่จำเป็นสำหรับ

การประกอบอาชีพครู นอกจากนี้การเรียนการสอนในยุดปัจจุบันเป็น
การเรียนแบบร่วมมือกันระหว่างครู ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เรียน
เกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นการเรียนการสอนที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันหา

แนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิด ซึ่งแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ครูสามารถ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






พัฒนาการปฏิบัติงานของตนเอง พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

หรือค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เหมาะสม คือ กระบวนการวิจัย

ในอดีตที่ผ่านมาการทำวิจัยของครูส่วนใหญ่เป็นการทำวิจัย
ในชั้นเรียนเนื่องจากไม่ว่าครูจะวิจัยในเรื่องใดก็ตามจะเกี่ยวข้องกับปัญหา

ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานสอนในห้องเรียนทั้งสิ้น ครูเป็นบุคลากร
ที่มีหน้าที่ในการให้ความรู้กับผู้เรียน และกระบวนการพัฒนาครูโดยทั่วไป

จะเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์การสอนมากกว่าศาสตร์การวิจัย ทำให้
ครูส่วนใหญ่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนั้นการให้ความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อครูในการนำ
ความรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งนักวิชาการต่าง ๆ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการวิจัย

(Research) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

การวิจัย (Research) หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้
ข้อเท็จจริง หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างมีระบบแบบแผน และมี

จุดมุ่งหมายที่แน่นอน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ (Reliable
knowledge)

การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research) หมายถึง

กระบวนการหาความรู้หรือวิธีการใหม่ ๆ รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ
เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอน

ในชั้นเรียน หรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งทำโดยครูผู้สอน
ผลการวิจัยใช้ได้เฉพาะกลุ่มที่ทำการศึกษาเท่านั้น โดยผลที่ได้จะนำไปใช้
ในการปรับปรุงการเรียนการสอนหรือส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

ให้ดียิ่งขึ้น บางทีเราเรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom
Action Research) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หรือการวิจัยหน้าเดียว

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยดังนี้

1. วิเคราะห์ปัญหา/การพัฒนา
2. วางแผนแก้ปัญหา/การพัฒนา
3. จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/การพัฒนา

4. เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
5. สรุปผลการแก้ปัญหา/การพัฒนา


การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้และข้อเท็จจริง ความ
มุ่งหมายของการนำข้อค้นพบนั้นไปใช้ประโยชน์จึงเป็นสาเหตุสำคัญให้มี
การทำวิจัยเกิดขึ้น ดังนั้นการวิจัยจึงมีความมุ่งหมายที่สำคัญดังนี้
(สุวิมล ติรกานันท์. 2546: 6–7)


1. เพื่อการบรรยาย (Description) เป็นการใช้ข้อค้นพบที่ได้มา
บรรยายปรากฎการณ์ว่ามีลักษณะอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
มีองค์ประกอบอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง เป็นการให้รายละเอียดเพื่อสร้าง

ความชัดเจนของปรากฏการณ์

2. เพื่อการอธิบาย (Explanation) เป็นนำข้อค้นพบมาอธิบายถึง
สาเหตุของปรากฎการณ์และผลที่เกิดขึ้นจากปรากฎการณ์นั้น

แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้องและความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่ง
ต่าง ๆ


3. เพื่อการทำนาย (Prediction) เป็นการนำข้อค้นพบที่ได้จาก
การวิจัยมาใช้ในการทำนายซึ่งเป็นการคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า ได้แก่
การวิจัยเชิงอนาคต การศึกษาแนวโน้ม เป็นต้น ทำให้ทราบว่าหากมี

เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก็จะมีโอกาสที่จะเกิดอีกเหตุการณ์หนึ่งตามมา

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






4. เพื่อการควบคุม (Control) การนำข้อค้นพบเกี่ยวกับ

ความสัมพันธ์มาทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ เป็นผลให้เกิดความพยายาม
ที่จะควบคุมเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา หรือเหตุการณ์ที่ไม่เป็นประโยชน์
เช่น การปองกันโรคระบาดที่เกิดขึ้นหลังน้ำท่วม


ในงานวิจัยหนึ่ง ๆ อาจมีความมุ่งหมายครบทั้ง 4 ข้อ หรืออาจมี
เพียงข้อหนึ่งข้อใดหรืออาจมีมากกว่า 1 ข้อประกอบกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับ

ประเด็นที่ต้องการศึกษา (สุวิมล ติรกานันท์. 2546: 7)

การวางแผนการวิจัย


การวางแผนการวิจัยเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
ที่สำคัญหลายประการ ดังนี้ (สุวิมล ว่องวาณิช. 2550: 48 – 72)

1. การวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน

เพื่อตั้งข้อสงสัย

สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน คือ ปรากฏการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน หรือสิ่งที่เกิดกับผู้เรียนซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลให้การเรียน

การสอนไม่บรรลุเปาหมายตามที่กำหนด โดยมีประเด็น ในการวิเคราะห์
ดังนี้

• ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร

• ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาของใคร
• ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อใครและอะไรบ้าง
• ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความสำคัญในระดับใด เมื่อเทียบกับปัญหาอื่น

ปัญหาใดสำคัญกว่ากัน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






• ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาหรือเหตุการณ์อื่น ๆ

อะไรบ้างอย่างไร

• ใครคือผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และ
การแก้ปัญหานั้นต้องเกี่ยวข้องกับใครหรือไม่ อย่างไร


ผลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพปัญหานี้นำไปสู่การกำหนดคำถาม
วิจัยที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ทำให้ผู้วิจัยสามารถ
ตัดสินใจในการวางแผนการวิจัยได้ดังนี้


• สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นนำไปสู่การกำหนดคำถามวิจัยได้หลาย
คำถามที่ไม่เหมือนกัน การวิเคราะห์สภาพปัญหาจะทำให้ทราบว่าคำถาม
วิจัยใดมีความสำคัญที่สุดหรือเร่งด่วนที่สุดที่ต้องนำมาหาคำตอบก่อน


• สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดกับนักเรียนทั้งห้องหรือเกิดกับ
นักเรียนบางคน การวิเคราะห์ปัญหาทำให้ผู้วิจัยตัดสินใจได้ว่ากลุ่มเปาหมาย

ของการศึกษาครั้งนั้นคือใคร

• สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นบางครั้งครูคนเดียวแก้ไขไม่ได้ต้องอาศัย
เพื่อนครูคนอื่น หรือผู้เกี่ยวข้อง หรือนักวิชาการภายนอกมาร่วมกันวางแผน

การแก้ไขปัญหา ดังนั้นครูผู้ที่กำลังทำวิจัยจะมีข้อมูลตัดสินว่าในการวิจัยนั้น
สมควรใช้รูปแบบการวิจัยแบบใด จำเป็นต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องใครบ้างเพื่อ
มาช่วยระดมความคิด ซึ่งการวิจัยที่เหมาะสมสำหรับกรณีนี้ คือ การวิจัย

ในชั้นเรียนแบบร่วมมือ

• ในบางคำถามวิจัยจำเป็นต้องแก้ไขในระดับกว้างหรือทำในระดับ
โรงเรียนไม่ใช่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ในชั้นเรียน / ห้องเรียนนั้น เช่น ปัญหาใน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






การเรียนวิทยาศาสตร์ หากผู้เรียนมีพื้นฐานอ่อนอันเนื่องมาจากการจัด

กระบวนการเรียนรู้ก่อนหน้านั้น การแก้ไขเฉพาะรายบุคคลไม่ได้ขจัดต้นเหตุ
ของปัญหาได้ทั้งหมด อาจจำเป็นต้องแก้ไขโดยปฏิรูปการเรียนรู้เกี่ยวกับ
การสอนวิทยาศาสตร์ใหม่ทั้งหมด ลักษณะงานวิจัยที่เหมาะสมควรเป็น

การวิจัยแบบทำระดับโรงเรียน

การตั้งข้อสงสัยของครูนั้นต้องอาศัยการเป็นคนช่างสังเกต แล้ว

สะท้อนสิ่งที่ตนเองสังเกตเห็น และตั้งเป็นข้อสงสัยโดยถามตนเอง เช่น

• มีข้อสงสัยอะไรบ้างเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้ของนักเรียน
ในห้องเรียนที่ตนเองสอน

• สิ่งที่ทำให้สงสัยว่าเป็นปัญหาในชั้นเรียนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ

เนื้อหาสาระ หรือการจัดการเรียนรู้หรือไม่

• ลักษณะอะไรบ้างในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ต้องการทำ

ความเข้าใจให้ดีขึ้น

• ลักษณะของการสอนอะไรบ้างที่เป็นปัญหาและทำไมจึงเป็น
เช่นนั้น


• สิ่งใดบ้างที่เกี่ยวกับการสอน และเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียน
ที่ต้องการตรวจสอบ ฯลฯ


2. การตั้งคำถามวิจัยที่มีความเฉพาะเจาะจง มีความเป็น
รูปธรรม และเป็นคำถามที่วิจัยได้

คำถามวิจัย เป็นการกำหนดประเด็นข้อสงสัยที่ต้องการค้นหา

คำตอบโดยเขียนในรูปประโยคที่เป็นคำถาม มีความเฉพาะเจาะจง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






สามารถสังเกต สำรวจ และศึกษาได้ ซึ่งมีเกณฑ์การกำหนดคำถามวิจัย

ดังนี้

• การตั้งคำถามที่ดี ไม่ควรใช้คำถาม “Yes / No” แต่ควรใช้คำถาม
“ทำไม อย่างไร หรืออะไร”

• ควรมีความน่าสนใจที่จะศึกษา หรือควรเป็นการศึกษาเพื่อช่วย
นักเรียนที่มีปัญหา

• ควรมีความสำคัญทั้งต่อตัวครูผู้สอนและนักเรียน
• ควรมีความเป็นไปได้ในการทำ มีความเหมาะสมกับเวลาและ
ทรัพยากร
• คำถามวิจัยต้องสามารถจัดการให้อยู่ภายใต้การควบคุมของ

ผู้วิจัยได้ และสามารถตัดสินใจทำอะไรก็ได้ตามข้อค้นพบ
• ควรหลีกเลี่ยงปัญหาวิจัยที่ครูหรือผู้เกี่ยวข้องไม่สามารถทำอะไร
ได้แม้จะทราบคำตอบ


การคัดเลือกคำถามวิจัยนั้นผู้วิจัยควรถามคำถามตนเองดังนี้

• คำถามนั้นมีความสำคัญกับผู้วิจัยเพียงใด
• คำถามนั้นเกิดประโยชน์ต่อนักเรียนเพียงใด

• โอกาสในการสำรวจข้อมูลมีมากน้อยเพียงใด
• ใครบ้างที่สามารถช่วยในการทำวิจัยนี้ได้

• ผู้วิจัยสามารถจัดการเรื่องเวลาในการวิจัยเรื่องนั้นได้มากน้อย
เพียงใด

คำถามวิจัยนั้นมี 2 ระดับ คือ ระดับแรกเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อ

ตอบคำถามว่า “ใครทำอะไร” “ได้ผลอย่างไร” เช่น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนดีเพียงใดหลังจากใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูสร้างขึ้น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 







กิจกรรมแบบใดทำให้นักเรียนเรียนรู้เรื่อง เรขาคณิต ได้ดีที่สุด เป็นต้น
ส่วนระดับที่สองเป็นการศึกษาเพื่อตอบคำถามว่า “คนรับรู้สิ่งที่ตนเอง

ทำอย่างไร” (ศึกษาความคิดของคนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น) ซึ่งเป็นการศึกษาที่ลึกซึ้ง
กว่าระดับแรก เช่น นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบใด
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เป็นต้น


การตั้งคำถามที่ดีต้องอาศัยกระบวนการต่อไปนี้
• ฝึกเป็นคนช่างสังเกต
• สร้างนิสัยรักการอ่าน โดยเฉพาะการอ่านเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับ

ปัญหาของนักเรียนและวิธีการแก้ปัญหา
• ฝึกตั้งข้อสงสัยและตั้งคำถามวิจัย ลองทดลองตั้งคำถาม
และคาดเดาคำตอบ

• หาเวลาสะท้อนความคิดกับเพื่อนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบ
ความคิดของตนเอง โดยเฉพาะความสมเหตุสมผลของคำถามวิจัย
• สามารถปรับคำถามวิจัยระหว่างการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม

กว่าเดิมได้ (ถ้าจำเป็น)

ในการเลือกคำถามวิจัยมาศึกษามีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้


• ปัญหาของนักเรียนทุกคนต้องได้รับความสนใจจากครูในการ
แก้ไขอย่างเท่าเทียมกัน

• ผลการวิจัยต้องเกิดประโยชน์กับชั้นเรียนหรือโรงเรียน

• คำถามวิจัยที่เลือกมาศึกษาต้องคำนึงถึงจริยธรรมของการวิจัย
ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใด

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






• คำถามวิจัยนั้นสามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในห้องเรียนไม่จำเป็น

ต้องเก็บใหม่จนกระทบการจัดการเรียนรู้ในขณะนั้น หากจำเป็นต้องเก็บ
ใหม่เพิ่มเติมควรวางแผนให้เหมาะสม


3. การกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา

มีบ่อยครั้งที่พบว่าที่ครูกำหนดปัญหาวิจัยหรือตั้งคำถามวิจัยแล้ว
ทำให้ได้คำตอบเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหา ซึ่งครูสามารถวิเคราะห์ได้จาก
พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และพฤติกรรมการสอนของครู

แต่ไม่สามารถหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้เลย ซึ่งทุกวันนี้ครูส่วนใหญ่คิดที่
จะพัฒนาตนเอง และรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน แต่ครูไม่ทราบว่า

จะใช้วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ทำให้หัวข้อวิจัยส่วนใหญ่เน้นการสำรวจ
ปัญหา แล้วไม่สามารถดำเนินงานต่อถึงขั้นการหาวิธีแก้ปัญหาได้ ทำให้
ปัญหาในห้องเรียนหลายปัญหาจึงยังไม่ได้แก้ไข สาเหตุที่เป็นเช่นนี้
เนื่องจากครูมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปศึกษา

ค่อนข้างจำกัด และครูยังไม่กล้าคิดนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในห้องเรียน หรือ
หากใช้ก็อธิบายเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมจึงนำแนวคิดนั้นมาใช้ ทำให้การทำวิจัย

ของครูไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ปัญหาดังกล่าวมีแนวทางการแก้ไขดังนี้

• ครูต้องอ่านมาก ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิทยาการ
ด้านการสอนให้มากขึ้นอยู่เสมอ

• ครูต้องมีการรวมกลุ่มกัน และหาโอกาสอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ด้านการสอนใหม่ ๆ เนื่องจากกลุ่มครูเป็นผู้ปฏิบัติที่รู้เรื่องดี
ที่สุดเกี่ยวกับ “ นักเรียน” และ “ ห้องเรียน”
• ต้องมีการสำรวจและจัดระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรม

ด้านการเรียนรู้ เทคนิคการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่ที่ผ่านมายังไม่มี

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






การจัดระบบฐานข้อมูลหรือเผยแพร่อย่างจริงจัง ซึ่งการจัดระบบข้อมูล

เพื่อรวบรวมเทคนิคการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ จะเป็นการขยายความคิดและ
เปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ให้กับครู ทำให้ครูได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ของตนเอง โดยขยายความคิดต่อจากที่ผู้อื่นคิดไว้แล้ว


• จัดตั้งเครือข่ายการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research
Network) เพื่อเป็นศูนย์กลางของการเก็บรวบรวมผลการวิจัยแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์ และแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียน แล้วจัดทำเป็นฐานข้อมูล
ระดับชาติ ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์มากต่อครูอีกจำนวนมากที่สนใจ
จะนำไปใช้ในห้องเรียนหรือนักเรียนของตน


4. การกำหนดรูปแบบการวิจัย

การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ปรากฏการณ์ตามที่เป็นอยู่ อาจเป็น ความรู้ ความคิดหรือพฤติกรรม

ของนักเรียน ดังนั้นรูปแบบการทำวิจัยจึงสามารถดำเนินการได้หลายแบบ
เช่น การวิจัยแบบทำคนเดียว การวิจัยแบบร่วมมือ และการวิจัยแบบ
ทำระดับโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการวิจัยนั้นอาจเป็นการสำรวจการศึกษา
ความสัมพันธ์ การศึกษาเฉพาะกรณี หรือการวิเคราะห์พฤติกรรม ก็ได้ฉะนั้น

หลังจากที่ครูกำหนดปัญหาวิจัยได้แล้ว ก็ต้องกำหนดว่าจะใช้รูปแบบ
ในการทำวิจัยอย่างใดโดยวิเคราะห์จากปัญหาวิจัยว่าเกี่ยวข้องกับใครและ

เป็นปัญหาระดับใด ดังตัวอย่างในตารางที่ 1

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ตารางที่ 1 ตัวอย่างการกำหนดรูปแบบการวิจัยในชั้นเรียน



ประเด็น สาเหตุ ระดับของปัญหา รูปแบบ กลุ่มทำงาน

1. นักเรียนอ่าน พื้นฐานการอ่านและการเขียน ระดับห้องเรียน / ชั้นเรียน การวิจัยแบบร่วมมือ คณะครูในกลุ่มสาระ
จับใจความ อ่อนตั้งแต่ระดับชั้น การเรียนรู้
สำคัญและเขียนสรุป ก่อนหน้านี้ ภาษาไทย
ความไม่ได้
เป็นส่วนใหญ่

2. นักเรียน 5 – 10 คน - ไม่สนใจเรียน ระดับบุคคล การวิจัยแบบ ครูที่สอนวิชา
อ่อนคณิตศาสตร์ - ไม่ชอบคณิตศาสตร์ ทำคนเดียว คณิตศาสตร์ในห้องเรียนนี้

3. นักเรียนไม่สนใจ - ไม่ได้รับการฝึกฝน ระดับโรงเรียน การวิจัยแบบทำระดับ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
อ่านหนังสือ - ไม่ได้รับการชี้แนะ โรงเรียน เช่น ผู้บริหาร ครู นักเรียน
หรือไม่รู้จัก - แหล่งการเรียนรู้น้อย ผู้ปกครองและ
ค้นคว้าหาความรู้ - สิ่งอำนวยความสะดวกใน นักวิชาการต่าง ๆ
ด้วยตนเอง โรงเรียนไม่พร้อม



5. การออกแบบการวิจัย สำหรับเป็นแนวทางในการศึกษา
เพื่อให้ได้คำตอบก่อนที่จะนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติจริง

การทำวิจัยในชั้นเรียนโดยทั่วไปมีการดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่หนึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นพื้นฐาน

ก่อนการแก้ไขปัญหา ระยะที่สองเป็นการทดลองพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหา
ในทางปฏิบัติจริงแบบวิจัยที่เหมาะสมจึงมักเป็นแบบอนุกรมเวลาโดย
การใช้นักเรียนกลุ่มเดิมเป็นกลุ่มควบคุม และระยะที่สามเป็นการตรวจสอบ

ผลการวิจัยให้มีความเชื่อถือมากขึ้นว่าจะยังสามารถยืนยันผลการวิจัย
เป็นแบบเดิมหรือไม่ ซึ่งหากทำการวิจัยในชั้นเรียนให้ครบทั้ง 3 ระยะ
น่าจะใช้เวลานาน แต่จะดีในแง่ที่นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ

ศาสตร์การสอนให้เข้มแข็งขึ้น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






การออกแบบการวิจัยเพื่อให้การวิจัยสำเร็จอย่างมีคุณภาพและมีความ

น่าเชื่อถือ ผู้วิจัยต้องออกแบบการวิจัยที่ถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งเกี่ยวข้องกับ
เทคนิคที่สำคัญ 4 ประการ คือ
• การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง

• การพัฒนาและสร้างเครื่องมือการวิจัย
• การเก็บรวบรวมข้อมูล
• การวิเคราะห์ข้อมูล


6. การเตรียมแผนสู่การปฏิบัติ

การจัดทำแผนการสอน (Lesson plan) เป็นงานในหน้าที่ของครู

ทุกคน แผนการสอนประกอบด้วยจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ สาระที่ต้องการ
ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผล
และบันทึกหลังการสอน โดยทั่วไปครูจะทำแผนการสอนเพื่อเป็นแนวทาง
การจัดการเรียนรู้ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ระหว่างการเรียนการสอน

หากสภาพที่เกิดขึ้นในห้องเรียนไม่เป็นไปตามที่คาดหมายล่วงหน้า และ
ที่ผ่านมาพบว่าแผนการสอนของครูไม่ได้รับความสำคัญเท่าที่ควร เนื่องจาก

ครูทำแผนการสอนเพราะเป็นส่วนหนึ่งของภาระหน้าที่ที่กำหนดไว้ให้ทำ
การเรียนการสอนในห้องเรียนอาจแตกต่างไปจากที่กำหนดในแผนการสอน
และไม่มีการบันทึกผลหลังการสอนหรือแนวทางที่ครูใช้ในการแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนการสอนที่เป็นระบบ กล่าวคือ ครูมีแผน

การประเมินการจัดการเรียนรู้แต่ไม่ได้มีการบันทึกผลหลังการประเมิน
ไม่ได้บันทึกถึงสภาพที่เกิดขึ้นจากการประเมินผลของครูไม่ได้มีระบบ

การบันทึกว่า “มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น” “ครูได้แก้ไขอย่างไร”
“ผลการแก้ไขเป็นเช่นใด” นอกจากนี้ยังไม่ได้มีการจัดทำแผนการแก้ไข

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสัมฤทธิผลของการแก้ไข

ปัญหานั้น ดังนั้นเพื่อการจัดทำแผนการสอนมีประโยชน์สูงสุด ครูควรจัดทำ
แผนการสอนที่ครอบคลุมสาระเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนรวมอยู่ด้วย
โดยมีกระบวนการที่ประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผน การปฏิบัติการนำแผน

สู่การปฏิบัติ การสังเกต ประเมินผล การสะท้อนผลและปรับปรุง กล่าวคือ
หลังจากที่ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการสอนในแต่ละคาบควรมี
การบันทึกหลังการสอน โดยบันทึกอย่างเป็นระบบว่า “มีปัญหาอะไร

เกิดขึ้น” “ครูได้แก้ไขอย่างไร” “ผลการแก้ไขเป็นเช่นใด” แล้วนำข้อมูล
นั้นมาเขียนเป็นรายงานการวิจัยในชั้นเรียนอย่างง่าย ๆ โดยระบุสาเหตุ
ของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา และผลการแก้ปัญหา ซึ่งอาจมีข้อเสนอแนะ

หรือข้อสังเกตต่อท้าย และแนบหลักฐานสิ่งที่ได้ดำเนินการ เช่น แบบฝึก
แบบบันทึก ฯลฯ ซึ่งการเขียนรายงานการวิจัยอาจมีความยาว 1 หน้ากระดาษ
หรือมีความยาว 2 – 3 หน้ากระดาษก็ได้ ถ้ามีความยาว 1 หน้ากระดาษ

ก็จะเรียกว่า “การวิจัยหน้าเดียว”

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย


การทำวิจัยในชั้นเรียนนั้นมีทั้งการทำวิจัยแบบเป็นทางการและ
แบบไม่เป็นทางการ แต่ที่ครูส่วนใหญ่จะเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ง่าย
คือ การวิจัยแบบไม่เป็นทางการ เนื่องจากการวิจัยในชั้นเรียนเป็น
การวิจัยเล็ก ๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริง เพื่อมุ่งแก้ปัญหาหรือพัฒนา

ผู้เรียนเป็นสำคัญ รูปแบบการหาความรู้อาจได้มาจากการพูดคุย แลกเปลี่ยน
เรียนรู้กับเพื่อนครูด้วยกัน จากเอกสารต่าง ๆ ที่ได้รับจากการประชุมอบรม
สัมมนา จากรายการโทรทัศน์ทางการศึกษา จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






Internet วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัยต่าง ๆ ที่มีผู้ทำไว้ ซึ่งครูผู้สอนสามารถ

เริ่มต้นด้วยวิธีง่าย ๆ คือ สอนไปสังเกตไปว่านักเรียนแต่ละคนมีจุดเด่น
จุดด้อยตรงไหน แล้วพยายามบันทึกไว้ จากนั้นสรุปข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งจะทำให้
ทราบว่าเด็กในชั้นมีกลุ่มเก่งกี่คน กลุ่มอ่อนกี่คน ใครบ้างที่เรียนอ่อน

อ่อนในเรื่องอะไร เพื่อจะได้คิดหานวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือ
กลุ่มอ่อนต่อไป การนำเสนอรายงานวิจัยมักนำเสนออย่างสั้น ๆ และ
ไม่ยึดรูปแบบการนำเสนอตายตัว ขอเพียงให้มีสาระครบถ้วนทำให้เข้าใจ

สิ่งที่ศึกษาและสิ่งที่ค้นพบเท่านั้น เพื่อทำให้ผลการวิจัยมีความแข็งแกร่ง
และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ควรมีการแสดงหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการ
ที่มี การสะท้อนผลกลับให้ทราบ เช่น มุมมองหรือการวิพากษ์วิจารณ์จาก

ผู้มีส่วนร่วมทั้งหมด

สำหรับ การวิจัยแบบเป็นทางการ นั้นจะมีการนำเสนอที่มีรูปแบบ
ตายตัว ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยดังนี้ (ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2549: 3–5)


1. การกำหนดหัวข้อวิจัย เป็นข้อความที่แสดงถึงประเด็นหลัก
ที่สนใจจะศึกษาหรือต้องการค้นหาคำตอบ ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องระบุ คือ

ตัวแปร คือ สิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษา
ประชากร คือ กลุ่มที่ผู้วิจัยสนใจจะอธิบายหรือทำความเข้าใจ
รูปแบบการวิจัย อาจเป็นแบบสำรวจ แบบเปรียบเทียบ แบบทดลอง
หรือแบบความสัมพันธ์


2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะศึกษาจาก
เอกสารต่าง ๆ เช่น ตำรา บทความทางวิชาการ วารสาร เป็นต้น และศึกษา
จากรายงานการวิจัยจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์

จากรายงานการวิจัยของบุคคลหรือหน่วยงาน เป็นต้น ผู้วิจัยจำเป็นต้อง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ทุ่มเทเวลาในการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อให้มีพื้นฐานความรู้หรือพื้นฐานทาง

ปัญญามากพอที่จะทำงานวิจัยให้สำเร็จและมีคุณภาพ

3. การนิยามปัญหา คือ การล้อมกรอบปัญหาวิจัยหรือหัวข้อวิจัย
ให้มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจง โดยมีสาระสำคัญที่ต้องนิยาม ดังนี้


3.1 คำถามวิจัย
คำถามวิจัย คือ ประเด็นปัญหาเฉพาะที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบ
ซึ่งประกอบด้วยประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่กำหนดไว้

ในการทำวิจัยแต่ละครั้งผู้วิจัยจะต้องมีความชัดเจนว่า ต้องการคำตอบ
เกี่ยวกับอะไร หลังจากนั้นก็นำไปเขียนเป็น วัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือ
ความมุ่งหมายของการวิจัย


3.2 ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
ในการทำวิจัยแต่ละครั้งผู้วิจัยต้องพิจารณาคำถามวิจัยและ
ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยไปพร้อม ๆ กันเพื่อจะได้ทราบว่า การทำวิจัย

แต่ละครั้งนั้นผู้วิจัยต้องการทราบอะไร ทราบได้จากการใช้การวิจัยรูปแบบใด
ทราบแล้วเกิดประโยชน์อะไรบ้าง และจะนำผลที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์
อย่างไร ครอบคลุมขอบเขตแค่ไหน หลังจากพิจารณาแล้วก็นำไปเขียน

เป็น ความสำคัญของการวิจัย

3.3 กลุ่มประชากรและตัวแปรที่จะศึกษา
3.3.1 กลุ่มประชากรที่กำหนดไว้ในหัวข้อวิจัยจะมีลักษณะกว้าง ๆ

เช่น นักเรียนโรงเรียน นิสิตคณะวิทยศาสตร์ เป็นต้น แต่ในนิยามปัญหา
ผู้วิจัยต้องกำหนดประชากรให้มีความเฉพาะเจาะจง เช่น นักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 4 เป็นต้น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






3.3.2 ตัวแปรที่กำหนดไว้ในหัวข้อวิจัยจะกล่าวเฉพาะตัวแปรหลัก ๆ

เท่านั้น เช่น ความสนใจ ความพึงพอใจ เป็นต้น แต่ในนิยามปัญหา ผู้วิจัย
ต้องกล่าวถึงตัวแปรทั้งหมดที่จะศึกษาโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของ
การวิจัยทุกข้อที่กำหนดไว้


การกำหนดกลุ่มประชากรและตัวแปรที่จะศึกษาดังกล่าว
จะนำไปสู่การเขียนรายละเอียดในขอบเขตของการวิจัย


3.4 กรอบแนวคิดในการวิจัยและสมมติฐานของการวิจัย
การวิจัยที่ดีต้องมีการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยก่อนการตั้ง
สมมติฐานของการวิจัย และต้องเป็นกรอบแนวคิดที่ได้จากผลงานวิจัย

และทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
นิยามศัพท์เฉพาะ คือ การให้ความหมายกับคำศัพท์ที่สำคัญ

ในการวิจัยนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่เป็นตัวแปรที่ศึกษา ซึ่งการนิยาม
ศัพท์เฉพาะมีสำคัญมากต่อการสร้างเครื่องมือการวิจัย ดังนั้นเพื่อให้
การวิจัยมีคุณภาพ ผู้วิจัยจำเป็นต้องนิยามคำศัพท์ให้ครอบคลุมและครบถ้วน


4. การออกแบบการวิจัย เพื่อให้การวิจัยสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
มีความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยต้องออกแบบการวิจัยที่ถูกต้อง เหมาะสม
ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคนิคที่สำคัญ 4 ประการ คือ


4.1 การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและการเลือก
กลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยที่มีประชากรขนาดใหญ่ (มีจำนวนมาก) การศึกษาประชากร

ทั้งหมดย่อมเป็นการสิ้นเปลืองทั้งงบประมาณ เวลา และแรงงาน ดังนั้น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ต้องศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างแล้วใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสม

เพื่อให้สรุปผลจากกลุ่มตัวอย่างไปยังประชากรได้ ผู้วิจัยจึงต้องมีความรู้
ความเข้าใจในเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีอยู่หลายวิธี เพื่อจะได้
ออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้เหมาะสม แต่การวิจัยในชั้นเรียน

เป็นการศึกษากับนักเรียนเฉพาะกลุ่ม ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
จึงได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง


4.2 การพัฒนาและสร้างเครื่องมือการวิจัย
เครื่องมือการวิจัยมีอยู่หลายแบบ เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ
แบบวัดเจตคติ แบบสัมภาษณ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมือการวิจัยที่ใช้เก็บ
รวบรวมข้อมูลของตัวแปรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา เช่น ถ้าต้องการศึกษา

เจตคติต่อการทำโครงงานบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เครื่องมือการวิจัยที่ควรใช้ คือ แบบวัดเจตคติต่อการทำโครงงาน
บูรณาการ เป็นต้น ซึ่งการออกแบบการเลือกเครื่องมือการวิจัยต้องคำนึงถึง

ลักษณะของตัวแปรที่ศึกษา และลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยจะเก็บ
ข้อมูล ดังนั้นเพื่อให้สามารถเลือกใช้เครื่องมือการวิจัยได้อย่างเหมาะสม
หรือสร้างเครื่องมือการวิจัยที่มีคุณภาพ ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ

เครื่องมือการวิจัยประเภทต่าง ๆ ทั้งในแง่ของลักษณะเครื่องมือ วิธีการสร้าง
และการหาคุณภาพ ตลอดจนต้องศึกษานิยามของตัวแปรที่จะศึกษา
อย่างลึกซึ้ง


4.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
เพื่อให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะส่งผลให้การวิจัยมี
ความน่าเชื่อถือ ในที่สุดผู้วิจัยจะต้องวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล

ให้รอบคอบและชัดเจนว่าจะเก็บข้อมูลเมื่อใด เก็บอย่างไร เก็บโดยใคร

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เก็บกับใคร มีผู้ช่วยวิจัยหรือไม่ ที่สำคัญผู้วิจัยไม่ควรวางแผนการเก็บข้อมูล

โดยคำนึงถึงความสะดวก เช่น ฝากเพื่อนเก็บ ส่งทางไปรษณีย์ หรือให้ทาง
สถานศึกษาหรือหน่วยงานช่วยเก็บโดยขาดการติดต่อประสานงานที่ชัดเจน
เป็นต้น


4.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
การออกแบบวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

หรือความมุ่งหมายของการวิจัยแต่ละข้อและให้ครบทุกข้อ เพราะวัตถุประสงค์
หรือความมุ่งหมายของการวิจัยแต่ละข้อก็คือคำถามที่ผู้วิจัยต้องการคำตอบ


5. การดำเนินการวิจัย เมื่อผู้วิจัยวางแผนการวิจัยตลอดจน

เขียนเค้าโครงวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้วก็เริ่มต้นดำเนินการวิจัยตามที่ได้
ออกแบบไว้ในประเด็นต่อไปนี้
 การเลือกกลุ่มตัวอย่าง

 การพัฒนาหรือสร้างเครื่องมือการวิจัย
 การเก็บรวบรวมข้อมูล
 การวิเคราะห์และสรุปผล


6. การเขียนรายงานการวิจัย เมื่อผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเสร็จ
สมบูรณ์แล้ว ก็ให้เขียนรายงานการวิจัยซึ่งการเขียนรายงานการวิจัยนั้น
ให้ยึดตามรูปแบบของหน่วยงานนั้น ๆ หรือตามรูปแบบของแหล่งผู้ให้ทุน

หรือจะใช้รูปแบบที่เป็นสากล ก็ได้

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ









เพื่อให้การทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูสอดคล้องกับวิถีชีวิต
ของการทำงานปกติ ดังนั้นการ ทำวิจัยของครูควรเป็นงานวิจัยที่มีลักษณะ

ดังนี้ (สุวิมล ว่องวาณิช. 2550: 7 – 8)

1. งานวิจัยของครูควรเป็นงานวิจัยขนาดเล็ก (Small scale) มุ่งที่
การแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนซึ่งเป็น

กระบวนการที่ไม่ใช้เวลานานเกินไป จนทำให้งานหลัก (งานสอน) ได้รับ
ผลกระทบ

2. ในแต่ละภาคเรียนครูสามารถทำการศึกษาในประเด็นวิจัยหรือ

หัวข้อวิจัยได้หลายประเด็นและสามารถดำเนินการได้พร้อมกัน
ในขณะเดียวกัน

3. การวิจัยของครูเน้นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientifi c

method) มาแสวงหาคำตอบ เพื่อให้ข้อค้นพบที่ได้มีความหนักแน่น
เชื่อถือได้ และนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนของตนได้จริง

4. การทำวิจัยของครูต้องเกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยที่เกิดมาจาก

สภาพปัญหาที่เป็นจริงขณะนั้น และครูไม่สามารถใช้วิธีการเดิม ๆ
แก้ปัญหาได้ จำเป็นต้องค้นหาวิธีการใหม่ ๆ

5. กระบวนการวิจัยของครูต้องเป็นอย่างง่าย ๆ สามารถใช้ข้อมูล

ที่มีอยู่ในห้องเรียนมาใช้ในการค้นหาคำตอบ

6. การวิจัยของครูไม่ใช่การมุ่งสร้างผลงานทางวิชาการเพื่อตนเอง
แต่เป็นงานที่ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียน คือ ครูทั้งโรงเรียนมาร่วมมือ

กันพัฒนาผู้เรียน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






การวิจัยในชั้นเรียนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เป็นการศึกษา

ถึงลักษณะที่แท้จริงของปัญหา ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ความเป็นเหตุ
เป็นผล รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียน
การสอนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนในชั้นเรียน หรือเพื่อ

พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างมีระบบ ทำให้
ได้ข้อค้นพบที่เป็นปรนัย จนทำให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจและให้การยอมรับ
โดยข้อค้นพบที่ได้นั้นจะเป็นประโยชน์ทั้งในระดับชาติ ระดับสังคม

และระดับบุคคล ดังนั้นการวิจัยนี้จึงเป็นการวิจัยที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม
หรือมีการรวมพลังในการทำวิจัย เพื่อมุ่งหาทางแก้ปัญหาในลักษณะ
องค์รวม มากกว่าทำวิจัยเดี่ยวและแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน เนื่องจากปัญหา

ในห้องเรียนส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่มีความเกี่ยวพันกันหรือสัมพันธ์กัน
ครูคนเดียวอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยตัวคนเดียวไม่ได้จึงต้องอาศัยผู้เกี่ยวข้อง
หลาย ๆ ฝ่ายร่วมมือกัน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ








แหลงอางอิง


การวิจัยในชั้นเรียน. (2553). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 จาก
http://www.ipst.ac.th/research/classroom/ knowledge.htm

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2549). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย :

แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ไทเนรมิตกิจ
อินเตอร์ โปรแกรสซีฟ จำกัด.

สุวิมล ติรกานันท์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ :

แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom

Action Research). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรร³ค´Õ...






เรÕยนอย‹างเ¢Œาã¨




รูŒความนัยอย‹าง«าº«ึéง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ


















วรร³ค´Õ...เรÕยนอย‹างเ¢Œาã¨


รูŒความนัยอย‹าง«าº«ึéง

อาจารย์พรพรรณ เสริมพงษ์พันธ์









ÀÒÉÒเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสารความรู้
ความคิดเห็น ความรู้สึก ประสบการณ์ และจินตนาการ ของผู้ส่งสารไปยัง

ผู้รับสาร การศึกษางานเขียนไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรมหรือวรรณคดีให้ซาบซึ้ง
จึงควรศึกษาความเป็นตัวตนของผู้เขียนให้ลึกซึ้ง รวมทั้งบริบทแวดล้อม
ที่ทำให้ผู้เขียนมีความรู้ ความคิดเห็น ความรู้สึก และจินตนาการเช่นนั้นด้วย

อาทิเช่น ครอบครัว อาชีพ ความสนใจ ความชำนาญ หรือแม้แต่ประสบการณ์
ชีวิตของผู้เขียน ผู้ศึกษาจึงจะสามารถศึกษาวรรณกรรมหรือวรรณคดี
ได้ลึกซึ้งถึงจิตวิญญาณที่แฝงอยู่ในงานนั้น


ในปีพ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมความรู้
ทางวรรณคดีหัวข้อ “เกร็ดความรู้ชูรสชาติวรรณคดีไทย : เกร็ดความรู้และ
ความหมายที่ลึกซึ้งในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” ณ คณะอักษรศาสตร์

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรผู้อบรมคือ รองศาสตราจารย์ ดร. ชลดา

เรืองรักษ์ลิขิต ได้รับความรู้ทางวรรณคดี และเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์
อันเป็นประโยชน์อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรักอันเป็น
ความเป็นมาที่สร้างแรงบันดาลใจให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า-

นภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีซึ่งปัจจุบันปรากฏชื่อในหนังสือ
แบบเรียนวรรณคดีวิจักษ์ชั้นม.๑ ของกระทรวงศึกษาธิการว่า “กาพย์เห่
ชมเครื่องคาวหวาน” หรือชื่อเดิมที่เคยใช้หนังสือเรียนชุดทักษสัมพันธ์

ชั้นม.๓ ว่า “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน และว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์”
เป็นที่ทราบกันดีว่า “นาง” ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงกล่าวถึงในวรรณคดีเรื่องนี้คือสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

พระชายาผู้ทรงมีพระปรีชาสามารถในการปรุงอาหารทั้งคาวและหวาน
อย่างมีผู้หาฝีมือเปรียบได้ยาก เมื่อพระสวามีกล่าวรำพันถึงความรักที่มี
ต่อพระนางจึงกล่าวถึงอาหารคาวหวานต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงเคยปรุงมา

แต่ความนัยบางอย่างที่แฝงในถ้อยความนั้นเล่าคืออะไร และเหตุใดจึงมี
การกล่าวรำพันความโศกเศร้าที่ต้องจากรักกับงานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ
ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์เป็นถึง “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ

เจ้าฟากรมหลวงอิศรสุนทร” ยังจะมีเหตุอะไรที่ทำให้พระองค์ต้องทรงทุกข์
โศกเพราะความรักถึงเพียงนั้นอีกหรือ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ตัวอย่างความนัยที่แฝงอยู่อย่างน่าสงสัยก็เช่น


“ ทองหยอดทอดสนิท ทองม้วนมิดคิดความหลัง

สองปสองปดบัง แต่ลำพังสองต่อสอง”


ทั้งสองมีความหลังอะไรที่ทำให้ต้องปิดบังเพียงลำพังสองพระองค์ถึงสองปี

“ สังขยาหน้าไข่คุ้น เคยมี
แกมกับข้าวเหนียวสี โศกย้อม

เปนนัยนำวาที สมรแม่ มาแม่
แถลงว่าโศกเสมอพ้อม เพียบแอ้อกอร
สังขยาหน้าตั้งไข่ ข้าวเหนียวใส่สีโศกแสดง

เปนนัยไม่เคลือบแคลง แจ้งว่าเจ้าเศร้าโศกเหลือ”

“เจ้า” ซึ่งหมายถึงสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งในสมัยนั้น
ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟาบุญรอด เศร้าโศก

ด้วยเหตุอันใดจนต้องใช้ข้าวเหนียวสังขยาย้อมสีโศก (สีเขียว) เป็นเครื่องมือ
ในการสื่อสารถึงความโศกในพระทัยแทนคำพูด หรือทุกอย่างเป็นเพียง
จินตนาการและลีลาในการทรงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ

พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเท่านั้น

หลังจากเข้าร่วมอบรมผู้เขียนจึงได้รับความรู้จากการค้นคว้าวิจัย
ของวิทยากรว่าความรักระหว่างสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟากรมหลวง

อิศรสุนทร กับสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟาบุญรอด หาได้สะดวกราบรื่น
อย่างที่ควรจะเป็นไม่ หากแต่เป็นความรักที่มีอุปสรรคอันเนื่องจากการ
ทำผิดกฎมณเฑียรบาล ลักลอบรักใคร่กันเป็นเวลาถึง ๒ ปีจนทรงพระครรภ์

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ซึ่งตรงกับความในกาพย์ที่กล่าวว่า “สองปีสองปิดบัง แต่ลำพังสองต่อสอง”

ผลจากการลักลอบทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช
กริ้วและแยกทั้งสองพระองค์จากกันเป็นเวลา ๓ เดือน โดยห้ามพบปะ
พูดคุยกัน จะทำได้ก็เพียงให้คนอื่นไปเยี่ยมแทนตัวพระองค์เท่านั้น

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟาบุญรอดจึงได้ทรงทำข้าวเหนียวหน้าสังขยา
โดยผสมสีเขียวหรือสีโศกในข้าวเหนียว ฝากไปให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟากรมหลวงอิศรสุนทร เพื่อเป็นสื่อบอกนัยยะว่าพระองค์ทรงเศร้าโศก

เหลือกับการจากลาครั้งนี้

เมื่อได้ทราบเรื่องราวความรักอันเป็นเบื้องหลังของบท
พระราชนิพนธ์ รวมทั้งได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำและการปรุงอาหาร

ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ในบทพระราชนิพนธ์
นี้ ทำให้ผู้เขียนกลับมาอ่าน “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและว่าด้วย
งานนักขัตฤกษ์” ใหม่ด้วยความรู้สึกที่ซาบซึ้งกว่าเดิม และได้นำความรู้

และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้กับการเรียนการสอนนักเรียน โดยให้นักเรียน
สืบเสาะหาเรื่องราวอันเป็นบริบทเบื้องหลังของวรรณคดีไม่ว่าจะเป็น
สภาพบ้านเมือง วัฒนธรรม และชีวประวัติของกวีผู้แต่ง เพื่อเข้าถึงและ

เข้าใจเนื้อหาและความนัยที่แอบแฝงอย่างลึกซึ้งและซาบซึ้ง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ

การออกẺการเรÕยนรูŒ




ทÕèเนŒนทักÉÐทางÀาÉาควºคู‹



กัºทักÉÐสำËรัºÈตวรรÉทÕè 21





Lesson Design : Language Learning Skills



st
Plus 21 Century Skills

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
















การออกẺการเรÕยนรูŒทÕèเนŒนทักÉÐทางÀาÉา


ควºคู‹กัºทักÉÐสำËรัºÈตวรรÉทÕè 21

Lesson Design : Language
st
Learning Skills Plus 21 Century Skills

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงใจ จงธนากร











»ÃÐà·Èสิงคโปร์เป็นที่ยอมรับในด้านการจัดการศึกษาอย่าง

มีคุณภาพ กระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์มีสโลแกนเกี่ยวกับ
การการจัดการศึกษาว่า “Teach Less. Learn More” กล่าวคือเน้น
การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่าการปอนข้อมูลให้ผู้เรียน หรือ

เปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้กำกับ (Teacher-directed) เป็น
การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered)
กระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยก็เช่นกัน มีนโยบายให้จัดการเรียน

การสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เมื่อพิจารณาแผนภาพต่อไปนี้เกี่ยวกับความสมดุลย์ในการจัดการ
st
เรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 (21 Century Learning Balance)
จะเห็นได้ว่าในทางปฏิบัติ การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21
จะต้องไม่ใช่ลักษณะทางด้านขวามือทั้งหมด แต่ต้องเป็นการจัดการเรียนรู้
ให้พอเหมาะพอดี มิใช่เลือกทางใดทางหนึ่งหรือสุดขั้วไปที่ด้านใด
ด้านหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การสอนให้ผู้เรียนมีทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้
(Applied skills) มิใช่การละเลยที่จะสอนทักษะที่เป็นพื้นฐาน (Basic skills)
แต่ต้องสอนเนื้อหา(Content) ควบคู่ไปกับทักษะกระบวนการ (Process)

การประเมินความก้าวหน้าเพื่อการพัฒนา (Formative evaluations) เช่น
(Quiz) การสะท้อนความคิด (Refl ection) แล้วจึงมีการประเมินเพื่อตัดสิน
สรุป (Summative tests) ทั้งนี้ ลักษณะการดำเนินการจัดการเรียนรู้
ควรผสมผสานอย่างสมดุลย์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีทักษะ
สำหรับศตวรรษที่ 21

แผนภาพที่ 1 : ความสมดุลย์ของการจัดการเรียนรู้ทักษะ
ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Balance) (Trilling and Fadel:

2009,38)

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






Trilling and Fadel (2009: 175-177) ยังกล่าวถึงสูตรที่แสดงถึง
st
ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 นั่นคือ 3Rs X 7Cs = 21
Century Learning ซึ่ง 3Rs ประกอบด้วย ทักษะการอ่าน (Reading)
ทักษะการเขียน(wRiting) และทักษะการคำนวณ (aRithmetic) ส่วน 7Cs

ประกอบด้วย ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญานและการแก้ปัญหา
(Critical thinking and problem solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และ
นวัตกรรม (Creativity and innovation) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงาน

เป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, teamwork and leadership) ทักษะ
ด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม (Cross-cultural understanding)
ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ ( Communications,

information and media literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT literacy) ทักษะด้าน
อาชีพและการเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง (Career and learning

self-reliance)

การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ดังกล่าวข้างต้น
สามารถทำได้โดยการจัดการเรียนรู้ในลักษณะโครงงาน (Project-based

learning) โดยกำหนดหัวเรื่องที่ใกล้ตัวผู้เรียนหรือเกี่ยวข้องกับปัญหา
ในสังคม ซึ่งจะสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา
สร้างสรรค์ผลงานหรือนวัตกรรม ทำงานร่วมกันเป็นทีมและนำเสนอข้อมูล

ผ่านสื่อดิจิตอล มีการวิเคราะห์วิจารณ์ มีการประเมินให้ความเห็นจากเพื่อน
และครู มีการสะท้อนความคิดท้ายโครงงาน อาจกล่าวเป็นขั้นตอนได้
7 ขั้นตอน คือ 1.การกำหนดหัวเรื่องและชิ้นงาน (Topics, Tasks)


Click to View FlipBook Version