The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:35:07

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 4

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






การเป็นผู้นำคนอื่น....ต้อง

- มีภาวะความเป็นผู้นำ
- มีความรับผิดชอบสูง
- วางตัวเป็น กับผู้ใหญ่ ผู้เสมอกัน ผู้น้อย

- รู้กาลเทศะ การแสดงออก
- รู้อะไรควร อะไรไม่ควร
- ให้เกียรติผู้อื่น โดยเฉพาะผู้อาวุโส
- รับฟังคนอื่น ไม่เอาแต่ความเห็นส่วนตน
- ต้องทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี

- ต้องโง่เป็น ฉลาดเป็น นิ่งเป็น
- ต้องนำเป็น ตามเป็น ไม่ใช่นำอย่างเดียว
- ต้องถ่อมตนเป็น อ่อนน้อมเป็น

- ต้องไม่ทนงตน ไม่อวดตน ไม่ผยองตน
- อย่ามั่นใจตนเอง เกินความสามารถคนอื่น....


คนที่พยายามเพื่อชัยชนะตลอด คือคนที่ไม่เข้าใจชีวิต
เพราะชีวิตจริง คำว่า ชัยชนะ อาจจะมีน้อยกว่าคำว่า แพ้ ด้วยซ้ำไป.....



ความพ่ายแพ้ คือขั้นตอนหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จ
ความพ่ายแพ้ จึงไม่ใช่ สิ่งน่ากลัวอะไรเลย สำหรับ

ชีวิตจริง ของคนเรา...

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ









คนที่ชนะตนเองได้ คือยอดคนผู้ชนะที่แท้จริง
คนที่ชอบชนะคนอื่น คือคนแพ้ตนเอง...
มีความรู้มาก มีความสามารถมาก ทำงานเป็น ไม่อวดตน ไม่ถือตัว

ให้เกียรติผู้อื่น ผลลัพธ์ที่จะตามมาคือ มีคนเคารพนับถือ ให้เกียรติ เกรงขาม
เป็นแบบอย่างผู้อื่น มีแต่คนรักและปรารถนาร่วมงานด้วย อย่างนี้เรียกว่า
“บัณฑิต” ถ้าตรงกันข้าม เรียกว่า “คนพาล”


แพ้หรือชนะ ไม่ใช่สาระสำคัญอะไร อยู่ที่ว่า เราได้ทำสิ่งนั้นอย่างเต็ม
ความสามารถของเราแล้ว หรือยัง..
ถ้า “ยัง” แม้ชนะ ก็เหมือน แพ้ อยู่ดี.....


ถ้ายอมได้ ก็ยอม

ถ้ายอมไม่ได้ ก็นิ่ง
ถ้านิ่งไม่ได้ ก็ถอย
ถ้าถอยไม่ได้ ก็เงียบ
ถ้าเงียบไม่ได้ ก็ค่อย ๆ พูดกันด้วยเหตุผล
แต่เน้น “ค่อย ๆ พูดกัน” อย่าใช้อารมณ์เด็ดขาด...


การปฏิเสธความคิด คำแนะนำ และการตักเตือนของผู้อื่น นับเป็นการปิด

เส้นทางความรู้ความฉลาดของตนเอง ปราชญ์ชน ย่อมเปิดใจรับฟัง
ความคิดและคำพูดของผู้อื่นเสมอ....

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






แกล้งโง่ เพื่อฉลาด คือฉลาด

แกล้งฉลาดเพื่อฉลาด คือโง่..
ผู้รู้จักถ่อมตน ย่อมมีโอกาสฉลาดมากกว่า ผู้อวดตน...


อวดรู้ อวดเก่ง อวดเบ่งรู้มาก หาใครเท่า ไม่ยอมใคร ไม่ฟังใคร ชอบเสนอ
ความคิดเห็นทั้ง ๆ ที่รู้ไม่จริง ชอบไถไปข้าง ๆ ชอบเห็นคล้อยตามผู้ใหญ่
ชอบประจบสอพลอ เอาดีเข้าตัว ส่วนชั่วปัดให้ผู้อื่น....

คนประเภทนี้เป็นได้แค่ “ผู้ตาม”




คิดในสิ่งที่ควรคิด พูดในสิ่งที่ควรพูด ทำในสิ่งที่ควรทำ ....ฉลาด...สุข
คิดในสิ่งที่ไม่ควรคิด พูดในสิ่งที่ไม่ควรพูด ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ...โง่...ทุกข์



อวดรู้ในสิ่งที่รู้ ....เท่าตัว
อวดรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ ....โง่
ถ่อมตนในสิ่งที่รู้...ฉลาดจริง

ถ่อมตนในสิ่งที่ไม่รู้...ฉลาดได้


มีความรู้มาก มีความสามารถมาก ทำงานเป็น ไม่อวดตน ไม่ถือตัว
ให้เกียรติผู้อื่น ผลลัพธ์ที่จะตามมาคือ มีคนเคารพนับถือ ให้เกียรติ เกรงขาม

เป็นแบบอย่างผู้อื่น มีแต่คนรักและปรารถนาร่วมงานด้วย อย่างนี้เรียกว่า
“บัณฑิต” ถ้าตรงกันข้าม เรียกว่า “คนพาล”

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ









สอนเด็กให้เก่งนั้น ไม่ยาก แต่การสอนให้เด็กดีนั้น ยากยิ่งกว่าหลายเท่านัก
การสอนเด็กที่เก่งอยู่แล้ว เป็นเรื่องง่าย
แต่การสอนเด็กไม่เก่งให้เก่ง/ฉลาด นี่สิ เป็นเรื่องยากและท้าทาย-

ความสามารถ ความรู้ของผู้ที่เรียกตนเองว่า “ครู”
การสอนเด็กไม่เก่ง ให้ประสบความสำเร็จด้านการเรียนได้ ถือเป็นบทพิสูจน์
ความสามารถด้านการสอนของครู
เด็กเก่งนั้น สอนไม่ยาก แต่การสอนเด็กไม่เก่งให้ฉลาดนี่สิ น่าภาคภูมิใจ
ยิ่งกว่าสิ่งใด



ถ้าพูดแล้ว มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น “จงพูด”
แต่ถ้าพูดแล้ว ก่อเกิดความเกลียดชัง ไร้ซึ่งประโยชน์

ตนเองและผู้อื่น “จงเงียบ” เพราะคนเราควรแบ่งแยกได้
ด้วยสติปัญญาว่า “อะไรควร” “อะไรไม่ควร”

“ความคิดแม้เป็นเพียงทฤษฎี แต่ก็เป็นต้นตอของสรรพสิ่ง”

áค‹ไËนถึง¨Ð¾อ´Õ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























áค‹ไËนถึง¨Ð¾อ´Õ
อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน






ã¤Ãไม่รักลูกบ้าง ผมเชื่อว่าน้อยนักที่จะคลอดออกมาแล้ว
ไม่เติมความรักออกมาด้วย นั่นอาจจะเป็นประเภทที่ยังไม่พร้อมแล้ว
ดันเกิดพลาดพลั้งขึ้นมา ผมคงไม่พูดถึงตรงนั้น แต่จะเลือกพูดในประเภทที่
พ่อแม่ตั้งใจสร้างสรรค์ประกอบกันขึ้นมา


การคลอดลูกที่ว่ายากเย็นแสนเข็ญบวกกับความอันตรายถึงขั้น
เป็นตายเท่ากันเลย (ลูกไม่เคยจะรู้หรอก) ฝ่ายชาย (คุณพ่อ) ต้องรอลุ้น
อย่างมาก ซึ่งอาจจะเสียทั้งแม่และลูกไปในเวลาที่พร้อม ๆ กัน ที่ว่ายากลำบาก
แบบนี้ ก็คงไม่ยากเท่ากับการเลี้ยงลูกให้ “ดี” ได้
จริง ๆ คงไม่มีสูตรสำเร็จเหมือนกาแฟซองหรอก ไม่ง่ายเหมือน
เลี้ยงลูก (บอล) เข้าไปยิงประตู แล้วก็ไม่รับรองว่าหากสตีฟ จอบส์ ไม่ด่วน
จากไปโลกก่อนคงรบกวนให้พี่แกคิด “iWave4s” เป็นเครื่องเลี้ยงลูก
คลอดเสร็จใส่ลูกลงไป เติมนม การศึกษา วัด เงินทอง บิดไปที่อุณหภูมิ
สำหรับอุ่นนม 3 นาที ทิ้งไว้สักพักแล้วเปิดออกมา ลูกก็จะเป็นลูกที่คุณ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






“อยากให้เป็น” เป็นลูกที่คุณต้องการ เป็นลูกที่เชื่อง ตามคู่มือการใช้งาน
ของเครื่อง ว่าแต่...ถ้ามีไอ้เครื่องจริง ๆ “iWave4s” คุณพ่อคุณแม่จะกล้า
ใช้หรือเปล่านะ?


การเลี้ยงลูกไม่ง่ายอย่างที่ทุกท่านคาดหวังไว้แน่นอนมันมีปัจจัย
แวดล้อมต่าง ๆ อีกมากมาย บางครอบครัวให้ทุกอย่างแล้วทำไมลูก
ถึงไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ ไปติดเหล้า ติดยา ติดเพื่อน ติดแฟน
ไม่สนใจเรียน

แต่กับบางครอบครัวเริ่มต้นได้ไม่สมประกอบ มีพ่อหรืออาจจะมี
แม่แค่คนใดคนหนึ่ง หนักหน่อยก็ไม่มีเลย ไม่มีรถ ไม่มีเงิน ไม่มีบ้าน ต้องทำ
งานเลี้ยงตัวเองตั้งแต่เด็ก ชีวิตไม่เคยได้รับการกอดจากคนที่คลอด
มาสักครั้ง แต่เด็กพวกนั้นบางทีก็ดีได้จนน่าตกใจ เป็นเด็กที่มีเปาหมาย
ในชีวิต ต่อสู้กับความลำบากได้ดี ไม่เคยทำให้ใครเดือดร้อน

โลกเราไม่เคยกำหนดค่ากลางมาตรฐานในการเลี้ยงลูก พ่อแม่
ทุกคนเลี้ยงลูกด้วยสัญชาตญาณ ไม่มีผิดไม่มีถูกในวิธี ส่วนผมคิดว่า
การเลี้ยงลูกบางครั้งก็คล้ายกับการตีลูกเทนนิส บางจังหวะต้องแบ็คแฮนด์
บางจังหวะต้องโฟร์แฮนด์ บางจังหวะจำเป็นต้องตบ และบางจังหวะต้อง
วิ่งเข้าหยอด หากเบาเกินไปก็จะถูกคู่ต่อสู้ (ลูกเรานั่นแหละ) ตบกลับมาได้
หากแรงเกินไปก็เตลิดเปิดเปิงออกเส้นหลังไปได้เหมือนกัน

ต้องมีหนักมีเบา ต้องมีพระเดชต้องมีพระคุณ ต้องมีไม้หนักไม้นวม
ต้องพยุงและบ้างครั้งต้องให้ล้ม การให้เด็กได้ล้มบ้างเขาจะได้รู้ว่าการลุกขึ้น
ด้วยขาของตัวเองต้องทำอย่างไร

การตีเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนไม่ค่อยอยากทำเพราะคิดว่าหมดยุค
ไปแล้ว แต่อย่างที่ผู้เขียนกล่าวไปข้างต้นนั่นแหละ มีไม้หนักต้องมีไม้เบา
ลงไม้ได้ แต่อย่าลงมือหรือลงเท้า ตีเสร็จต้องบอกเหตุผลที่ตีด้วย แล้วจะจดจำ
ไม่ใช่ตีอย่างเอาเป็นเอาตาย (ยกเว้นคุณทำอาชีพตีเหล็กขายจนกลาย

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






มาเป็นช่าง “ตีเด็ก”) แต่หากไม่เคยตีเลย ลงโทษด้วยคำพูดอย่างเดียว

อธิบายให้ฟังอย่างเดียวไม่ไหว เด็กสมัยนี้ฉลาดเกินกว่าที่จะตามทัน
คุณเคยพยายาม “วิ่ง” ตามลูกให้ทันหรือเปล่าล่ะ คุณจะรู้ว่ามัน “เหนื่อย”
ด้วยเพราะวัยที่ห่างกัน

ยิ่งพยายามอยากจะเป็นเพื่อนกับลูกนี่ก็อันตราย วิธีแบบนี้เหมือน
ยืนอยู่บนพื้นน้ำแข็ง จะตกลงน้ำเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ บางทีลูกก็จะปฏิบัติตัว
กับแม่ด้วยการเป็นเพื่อน ไม่มีความเกรงใจ อยากจะพูดอะไรก็พูด เวลา
ทะเลาะกันจึงไม่มีเส้นกั้นระหว่างสถานะ “แม่” กับ “ลูก” ไม่เห็นอกเห็นใจ
เท่าที่ควร ต้องทำใจกับความเป็นเพื่อนที่ลูกให้กลับคืนมา


ความยากลำบากเป็นสิ่งที่ควรให้เด็กได้รู้เช่นกัน ลูกคือแก้วตา
ดวงใจของพ่อและแม่ ผมเข้าใจ เราเคยลำบากมาก่อน เราก็เลยไม่อยาก
ให้ลูกลำบากเหมือนเรา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผมเห็นว่าไม่ควรเลย พ่อแม่ควรจะ
แชร์ความลำบากให้ลูกได้รับรู้ด้วยว่า กว่าจะมีเงินให้ลูกใช้ขนาดนั้น พ่อแม่
ต้องต่อสู้อะไรมาบ้าง

กินเองล้างเอง ใส่เองซักเอง (ซักเครื่องก็ได้) อยากซื้อเองก็ต้อง

เก็บเงินเอง เพราะหากสุดท้ายเราขอทำหน้าที่พ่อแม่ที่ดีโดยไม่อยาก
ให้ลูกต้องมาเสียเวลาทำอะไรหนัก ๆ แบบนั้น ถึงตอนที่เราจากโลกนี้ไป
ลูกก็ลำบากอยู่ดีเมื่อไม่มีเรา...

บทความนี้ ไม่มีอ้างอิง ไม่เคยลงหนังสือ เป็นมุมมองมุมหนึ่ง
เท่านั้น เป็นทางเลือกทางหนึ่ง อย่าเพิ่งปดกั้นความคิดด้วยคำว่า
คนเขียนอย่างครูเคยมีลูกหรือเปล่า?? ถึงเขียน เพราะบางครั้ง

โลกใบนี้ก็ไม่เสมอไปหรอก ที่จะต้องอยู่ในสถานะ “เป็น” แล้วจึง
จะเข้าใจ แต่เขียนด้วยความ “ใส่ใจ” ในสิ่งที่คุณเป็นต่างหาก
เพราะความ “ใส่ใจ” มันก็เป็นหนึ่งในจิตวิญญาณของครูเพื่อศิษย์
เช่นกัน

ปรÐสºการ³ãนต‹างá´น



สถาºัน½ƒกอºรมครู



Viikki Teacher Training School เม×อง

Helsinki ปรÐเทÈ Finland

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ















ปรÐสºการ³ãนต‹างá´น

สถาºัน½ƒกอºรมครู

Viikki Teacher Training School

เม×อง Helsinki ปรÐเทÈ Finland


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงใจ จงธนากร




ความนำ


ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปี 2000 ปี 2003 ปี 2006 และ ปี 2009
ประเทศฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับในด้านการจัดการศึกษาเป็นอันดับต้น ๆ
ของโลก จากการประเมินด้วยแบบประเมินที่เรียกว่า PISA (Programme
for International Student Assessment ) จัดทำโดย OECD (Organisation

for Economic Co-operation and Development) ซึ่ง PISA เป็น
การประเมินผลความสามารถทางด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และ
ด้านวิทยาศาสตร์ (Reading Literacy; Mathematical Literacy และ

Scientifi c Literacy) ของเยาวชนจากประเทศต่าง ๆ อายุประมาณ 15 ปี
โดยแบบประเมิน PISA นี้มีคำถามที่ใช้วัดข้อมูลด้านต่าง ๆ เช่น นักเรียน
ได้รับการเตรียมพร้อมสำหรับโลกอนาคตหรือไม่ มีความสามารถ
ในการวิเคราะห์ บอกเหตุผล และสามารถสื่อสารมากน้อยเพียงใด
เป็นผู้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ เป็นต้น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ปี 2009 มีประเทศเข้ารับการประเมิน PISA จำนวน 65 ประเทศ

ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่ม OECD จำนวน 33 ประเทศ ผลการจัดอันดับ
ของประเทศฟินแลนด์ ปรากฎในตารางต่อไปนี้



* กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ


ผลของประเทศฟินแลนด์ คะแนนที่ได้ ประเทศในกลุ่ม OECD ประเทศที่เข้าร่วมทำการ
(33 ประเทศ) ประเมินทั้งหมด (65 ประเทศ)
ความสามรถด้านการอ่าน 536 อันดับที่ 2 อันดับที่ 3

ความสามารถทางคณิตศาสตร์ 541 อันดับที่ 2 อันดับที่ 6

ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ 554 อันดับที่ 1 อันดับที่ 2


ข้อมูลผลการสอบล่าสุดจาก
http://www.minedu.fi /pisa/2009.html?lang=en retrieved 23 March 2012


ข้อมูลของ Viikki Teacher Training School, University of Helsinki

Viikki Teacher Training School, University of Helsinki
เป็นโรงเรียนที่มีลักษณะเป็นโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัย Helsinki
ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ของสถาบันฝึกหัดครูของเมือง Helsinki ประเทศ Finland

มีเปาหมายในการพัฒนานิสิตวิชาชีพครูและนักเรียน คือ พัฒนานิสิต
วิชาชีพครูให้เป็นครูที่มีคุณภาพด้านการจัดการเรียนการสอนการจัดทำ
หลักสูตร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการทำวิจัย และพัฒนานักเรียน
ระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนปลาย (การศึกษาภาคบังคับ ป1 - ม.3

และการศึกษาโดยสมัครใจตั้งแต่ชั้น ม.4 เป็นต้นไป) ให้เป็นผู้เรียนที่มี
ความเป็นมนุษย์ มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม และมีความรู้

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






และทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ปีการศึกษา 2554 Viikki TTS

มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 890 คน ประถมศึกษา 377 คน มัธยมศึกษาตอนต้น
278 คน มัธยมศึกษาตอนปลาย 235 คน มีครู 102 คน นิสิตฝึกสอน
200 - 240 คน และเจ้าหน้าที่ 28 คน

เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดการศึกษาในฟนแลนด


จากการฟังบรรยายที่ Viikki Teacher Training School ถึงสาเหตุ
แห่งความสำเร็จของการจัดการศึกษาของฟินแลนด์ พบว่า จุดเด่นในด้าน
ของการจัดการศึกษาประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้


1. นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาที่มีความสามารถสูง (คนเก่ง) ส่วนใหญ่
มีค่านิยมต่ออาชีพครู (อยากเป็นครู) ทั้ง ๆ ที่ค่าตอบแทนไม่ได้สูงเป็นพิเศษ
เหมือนอาชีพแพทย์ และทนายความ


2. รัฐบาลให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
อย่างมากทั้งการศึกษาภาคบังคับและการฝึกวิชาชีพครู เน้นความเท่าเทียม
ของประชากรในการเข้ารับการศึกษา

3. อาชีพครูเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในสังคม

ของประเทศฟินแลนด์ ความท้าทายในการเป็นครู ได้แก่ เปาหมายของหลัก
สูตรชาติอยู่ในระดับสูง ขนาดชั้นเรียนห้องละ 30 - 35 คน ครูต้องจัด
การศึกษาให้ครอบคลุมเด็กทุกคนรวมทั้งเด็กพิเศษ และความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรมของนักเรียนฟินแลนด์

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






การจัดการศึกษาในฟนแลนดทั้งการศึกษาภาคบังคับ
และการฝกวิชาชีพครู


1. นักศึกษาที่จะเข้าเรียนวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัย Helsinki
ได้รับคัดเลือกจาก นักเรียนมัธยมปลายที่มีคุณภาพระดับหัวกะทิโดยคัดจำ
นวน 120 คน/ปี จากผู้สมัครประมาณ 1,200 คน/ปี โดยการสัมภาษณ์

และการทดสอบความรู้ทางวิชาการด้วยแบบทดสอบ Book Test ซึ่งเป็น
ข้อคำถาม 100 ข้อมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทความทางวิชาการ (research articles)
จัดทำจากความร่วมมือของนักวิชาการสังกัดมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบัน
ฝึกหัดครู


2. การฝึกหัดครูเน้นกระบวนการฝึกหัดที่มีคุณภาพ มีระบบการนิเทศ
“a mentor training program” ที่เน้น การให้คำปรึกษาโดยการพูดคุย
(dialogue) มากกว่า การสั่งการ (dictating) เน้นกระบวนการไตร่ตรอง/

สะท้อนความคิด (refl ection) ของนิสิตหลังปฏิบัติการสอนด้วยคำถาม เช่น
What happened? What did you feel? Why? What did you learn?
What’s your strength? What’s your weakness? เป็นต้น

3. การจัดการศึกษาภาคบังคับชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยม

ศึกษาตอนปลายเป็นการจัดการศึกษาแบบให้เปล่า (เรียนฟรีที่โรงเรียนใกล้
บ้าน) วิชาที่เรียนในโรงเรียนคือ 1. ภาษาแม่ (Finnish/ Swedish)/
ภาษาต่างประเทศ 2. คณิตศาสตร์/ฟิสิกส์/ เคมี 3. ชีววิทยา/ภูมิศาสตร์/
สิ่งแวดล้อมศึกษา 4. ประวัติศาสตร์/สังคมศึกษา 5.ศาสนา/จริยศาสตร์
6.สุขศึกษา/ดนตรี/ศิลปะ/หัตถกรรม 7. พลานามัย 8. คหกรรม นักเรียน

ประถมศึกษาเรียนคาบละ 45 นาที นักเรียนมัธยมศึกษาเรียนคาบละ
75 นาที

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






4. หลักสูตรแกนกลางกำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการแต่เพียง

กรอบโครงสร้าง โดยให้อิสระแก่โรงเรียนแต่ละแห่งในการจัดหลักสูตร
สถานศึกษา (school autonomy) ที่เน้นให้ครูคิดสร้างกิจกรรมการเรียน
การสอนได้อย่างอิสระ (teachers’ pedagogical autonomy) ให้อิสระ

ในการกำหนดเอกสารประกอบการสอน (no offi cial control of materials)
นักเรียนเป็นผู้จัดการความรู้จากการเรียนรู้ของตนอย่างอิสระ (Student
Autonomy) โดยให้ความไว้วางใจต่อครูในการจัดหลักสูตรที่เน้น
กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด project-based learning, problem-based
learning, inquiry-based learning, collaborative learning เป็นต้น


5. การจัดการศึกษาพิเศษ (Special Education) มีการดำเนินการ
ในทุกโรงเรียนในฟินแลนด์ เพราะให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันและ
ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการจัดการศึกษา โดยจะจัดให้กับนักเรียน
ที่มีปัญหาด้านการเรียน (learning problems) ปัญหาด้านการพูด (speech

problems) ปัญหาด้านการขาดเรียน (absence from school)
ปัญหาด้านการเจ็บป่วย (sickness, recovery) และปัญหาด้านอารมณ์
(emotional problems) การประเมินว่านักเรียนคนใดต้องได้รับการจัดการ

ศึกษาพิเศษ ประเมินโดย

5.1 คัดกรองนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยแบบ
ทดสอบภาษาและการอ่าน

5.2 การเสนอชื่อจากครูประจำชั้น (class teacher) หรือครู

ประจำวิชา (subject teacher)

5.3 การเสนอชื่อจากกลุ่มสวัสดิการนักเรียน (student welfare
group)

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






5.4 ความประสงค์ของผู้ปกครองหรือตัวนักเรียนเอง

(guardian/student desire)

5.5 ประวัตินักเรียนที่ส่งต่อมาจากปีการศึกษาก่อน ๆ
(former history)


กระบวนการในการจัดการศึกษาพิเศษ มี 3 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 สอนโดยให้เรียนร่วมกับนักเรียนปกติและสังเกต
พฤติกรรมอย่างน้อย 6 เดือน

ขั้นที่ 2 ให้การดูแลเพิ่มเติมแบบเข้มข้นโดยจัดแผนการเรียนรู้ให้


ขั้นที่ 3 ให้การดูแลเพิ่มเติมแบบพิเศษยิ่งขึ้น จัดแผนการเรียนรู้
รายบุคคล Individual Education Plan (IEP)

หลักสูตรการฝกสอน ที่ Viikki Teacher Training School
มหาวิทยาลัย Helsinki


หลักสูตรคณะศึกษาศาสตร์เป็นหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต
ใช้เวลาเรียน 5 ปี

โครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วยรายวิชารวม 300 ECTS แบ่งเป็น


1. Communication and Orienting Studies 25 ECTS

2. Main Subject Studies 140 ECTS : Cultural, Psychological and
Pedagogical Basics of Education 50 ECTS; Research Studies in

Education (Research Methods+ Bachelor’s thesis+Master’s thesis)
70 ECTS; Teaching Practice 20 ECTS

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






3. Minor Subjects Studies 120 ECTS: Multidisciplinary studies in

subjects taught in school 60 ECTS; Optional minor subject studies
60 ECTS

4. Optional Studies 15 ECTS


(ECTS ย่อมาจาก Europeon Credit Transfer and Accumulation System
หมายถึง ระบบการนับหน่วยกิตที่ใช้ในยุโรป 1 ปีการศึกษา เท่ากับ 60 ECTS
เทียบเท่ากับ 27 ชั่วโมงการทำงาน)

*ทุกรายวิชาที่นิสิตวิชาชีพครูเรียน จะเน้นแนวคิดเกี่ยวกับการทำ

วิจัย (research-based approach)

*นิสิตจะฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่โรงเรียน ทั้ง 3 ระดับชั้น
(ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย) รวมจำนวน

20 ECTS แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 เมื่อนิสิตอยู่ชั้นปีที่ 3 จะฝึกประสบการณ์
(minor subject practicum) จำนวน 12 ECTS ในเวลา 7 สัปดาห์ ช่วงที่ 2
เมื่อนิสิตอยู่ ชั้นปีที่ 4/ปีที่ 5 (main subject practicum) จำนวน 8 ECTS
ในเวลา 7 สัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 1: เตรียมการ สัปดาห์ที่ 2-7 : ฝึกสอน 60
บทเรียน)

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






การเปนครูพี่เลี้ยง (mentors) และงานการพัฒนา
ครูพี่เลี้ยงในอนาคต

1. กระบวนการนิเทศ (mentoring process) มีครูพี่เลี้ยง (mentor)

อาจารย์นิเทศจากมหาวิทยาลัย (didactic lecturer) และนิสิตร่วมสอนอื่น
(student teacher peers) มีการสังเกตการสอนโดยครูพี่เลี้ยงรวมทั้ง
อาจารย์นิเทศ และสังเกตระหว่างนิสิตด้วยกันเอง มีการอภิปราย (discussion)
ภายหลังการสังเกตการสอนภายใต้บรรยากาศเชิงบวก (positive feedback)

หลีกเลี่ยงการวิจารณ์เชิงลบเกินไป (avoid too negative comments)
รวมทั้งครูพี่เลี้ยงควรจะเป็นต้นแบบที่ดีด้านวิธีสอนและนิเทศแบบ
ให้กำลังใจ (act as a pedagogical model and provide inspiring and
supporting mentoring)


2. กระบวนการนิเทศ มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้นิสิตวิชาชีพครู
ตระหนักถึงอัตลักษณ์ในการเป็นครูของตน (teacher identity) ซึ่งอัตลักษณ์
ของแต่ละคนมาจากประสบการณ์ส่วนตัว (personal experiences)

ประสบการณ์ในโรงเรียนและการสอน (experiences with schooling and
instruction) และความรู้ที่ได้รับการยอมรับในกลุ่มนักวิชาการว่ามีคุณค่า
(knowledge which has been approved within a community of
scholars as valuable and valid)

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






3. ตัวอย่างกิจกรรมกลุ่ม ฝึกให้ตระหนักถึงอัตลักษณ์ในการเป็นครู

(teacher identity) ทำได้โดยให้จับกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดังนี้

3.1 จดรายการ/บอกความเชื่อเกี่ยวกับงานในฐานะครูพี่เลี้ยง
ของคุณ (Make a list of essential beliefs concerning your
work as a mentor teacher)


3.2 บอกที่มาของความเชื่อของคุณ (Identify the sources of
each belief : where your beliefs come from)

3.3 ยกตัวอย่างการกระทำที่แสดงความเชื่อนั้น ๆ (Provide

examples of what your beliefs look like in action)

การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษที่
Viikki Teacher Training School

1. นักเรียนของประเทศฟินแลนด์เริ่มเรียนภาษาอังกฤษชั้นประถม

ปีที่ 3 ด้วยแบบเรียนที่แต่งขึ้นโดยครูฟินแลนด์

2. การเรียนการสอนในชั้นประถมศึกษาเน้นการพูด (speaking)
การแสดงท่าทาง (acting) และการเคลื่อนไหว (moving) ในชั่วโมงที่

ไปสังเกตการสอนนั้น เป็นชั้น ป.3 อาจารย์ประจำ Mr.Martti Mery เป็นผู้สอน
สอนเนื้อหาเกี่ยวกับชื่ออาชีพและการปฏิบัติตามคำสั่ง เกมที่ใช้ในการสอน
คือ เกม Simon Says สื่อที่ใช้คือ เครื่องฉายภาพทึบแสง (visualizer)
และกระดานอัจฉริยะ (smartboard)


3. การเรียนการสอนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเน้นทักษะ
ทางภาษาทั้ง 4 ทักษะ ในชั่วโมงที่ไปสังเกตการสอนนั้น เป็นชั้น ม.5
นิสิตฝึกสอนเป็นผู้สอน เนื้อหาเกี่ยวกับงานและอาชีพ กิจกรรมการเรียน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






การสอนประกอบด้วยการให้นักเรียนอ่านบทอ่าน กิจกรรมสอนคำศัพท์
โดยใช้ mindmapping ให้นักเรียนจับกลุ่มทักทายอาชีพต่าง ๆ ให้นักเรียน

พูดบรรยายเกี่ยวกับประกาศสมัครงานที่ตนเขียนเป็นการบ้านของชั่วโมง
ที่แล้ว การบ้านของชั่วโมงนี้ คือให้นักเรียนฝึกเขียนใบสมัครงาน ฝึกเขียน
resume หลังหมดชั่วโมงได้สังเกตวิธีการนิเทศ (mentoring) ของครูพี่เลี้ยง
มีการพูดคุยเชิงบวกถามนิสิตให้แสดงการสะท้อนความคิดเห็น (refl ection)

เกี่ยวกับการสอนของตน (สิ่งที่นิสิตทำได้สำเร็จ สิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผนการ
สอน การจัดการชั้นเรียน การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์การสอน เช่น กระดานดำ)
การกระตุ้นถามให้นิสิตวางแผนการสอนของชั่วโมงถัดไปโดยครูพี่เลี้ยงเป็น
ผู้ฟังมากกว่าผู้สั่งการ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับแบบทดสอบย่อย ที่จะให้

นักเรียนทำในชั่วโมงหน้าพร้อมทั้งวิธีตรวจให้คะแนน การนัดหมาย
เพื่อดูแผนการสอนในครั้งถัดไป เป็นต้น

การใชเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในการจัดการการเรียนรู


Viikki Teacher Training School โดย Lecturer Ari Myllyviita
ได้บรรยายวิธีการใช้ Wikispaces (http://www.wikispaces.com) ในการ
จัดการการเรียนรู้และติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนออนไลน์
นอกจากนี้ข้อมูลและเอกสารที่ใช้ระหว่างการอบรมได้รับการอัพโหลด
ในเว็บ Wikispaces และ ผู้เข้าอบรมทุกคนสามารถติดต่อกับบุคลากร

ที่สอนในโครงการครั้งนี้ ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ








บทสรุป

จากประสบการณ์การเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ดิฉันขอสรุปประโยชน์ที่ได้รับ

ดังนี้

1. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในฟินแลนด์ ทั้งด้าน
การจัดการศึกษาภาคบังคับ การจัดการศึกษาสำหรับนิสิตวิชาชีพครู และ
ข้อมูลหลักสูตรโดยรวมของการฝึกวิชาชีพครู ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมา

ประยุกต์จัดทำหลักสูตรอาจารย์พี่เลี้ยงของโรงเรียนสาธิตฯ และหลักสูตร
อาจารย์นิเทศและอาจารย์ พี่เลี้ยงของ M.I.T คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ

2. ได้เรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในการจัดการ

การเรียนรู้วิธีการใช้ Wikispaces (http://www.wikispaces.com/) เพื่อติดต่อ
สื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนออนไลน์ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวก
ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ เครื่องฉายภาพทึบแสง (visualizer)
และกระดานอัจฉริยะ (smartboard) เป็นต้น


ท้ายนี้ดิฉันขอขอบคุณโรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน และ
คณะศึกษาศาสตร์ มศว ที่สนับสนุนให้ดิฉันได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ค่ะ

ปรÐสºการ³





ãนต‹างá´น ³ America

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ



















ปรÐสºการ³ãนต‹างá´น


³ America
อาจารย์ชีวัน เขียววิจิตร







ã¹âÅ¡ยุคปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีความสำคัญ

มากเท่าไร การอ่านก็มีความสำคัญและความจำเป็นมากเท่านั้น การอ่าน
สำหรับคนไทยนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับเกณฑ์ของประเทศ
อื่น ๆ จากประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสัมมนาและการศึกษาดูงาน
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนระดับ

ปริญญาเอก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขา
วิทยาการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา เป็นรายวิชาที่ต้องศึกษาศาสตร์
ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น หลักสูตรการสอน การประเมิน การประกันคุณภาพ
และการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ฯลฯ ในที่นี้จะมีหัวข้อที่น่าสนใจอย่าง

หลากหลาย เช่น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






1. Mentoring Student Teacher and Induction of New Teachers

2. Response to Intervention (RTI)
3. Classroom Assessment and Evaluation
4. Educational Research

5. Assistive Technology
6. Common Core Standards, Overview of the History of Literacy
in the U.S.A
7. Update on Curriculum Theory and Practice
8. Students with Disabilities

9. Educational System in the U.S.A
10. Educational Technology
11. English Lessons

เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ

มุมมองทางการศึกษาในบางมุมที่ได้รับจากการเข้าร่วมสัมมนาและ
การศึกษาดูงาน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจและน่าศึกษา ก็คือเรื่อง RTI ย่อมาจาก
(Response to Intervention) ความหมาย โดยรวมหมายถึง

การตอบสนองต่อการสอน หรือการตอบสนองต่อการให้ความช่วยเหลือ
กล่าวคือ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่นำการวัดผลและการสอนมา
ใช้ร่วมกัน และดำเนินการเป็นขั้นตอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน และขณะเดียวกันก็ปองกันความล้มเหลวทางการเรียน
ของนักเรียนไม่ให้เกิดขึ้นโดยง่าย และผลที่ตามมาก็คือ การลดปัญหา

ทางพฤติกรรมทางการเรียนที่เป็นปัญหาของนักเรียน สิ่งสำคัญก็คือ
ครูผู้สอนจะต้องปรับกระบวนการจัดการสอนให้สอดคล้องกับ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ความต้องการและปัญหาของนักเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของ

นักเรียนต่อการสอนของครู ซึ่งจะทำให้ครูได้ค้นพบนักเรียนที่มีความ
ยากลำบากและเรียนรู้ช้าในการเรียน ดังนั้นครูจะต้องติดตามผลการเรียน
ได้ทันและแก้ปัญหาของนักเรียนได้ตรงจุด จึงจะทำให้ผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้นพฤติกรรมไม่พึงประสงค์บางอย่างของนักเรียน
ก็จะลดลง

จากการที่นำเรื่อง RTI มากล่าวในข้างต้นก็เพราะเป็นประเด็น
ที่โรงเรียนในสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญและความสนใจกับนักเรียน

ที่ประสบปัญหาทางการเรียนเป็นอย่างมาก เช่น นักเรียนที่มีปัญหาด้าน
การอ่าน การเขียน การอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง และปัญหาด้านคณิตศาสตร์
ในเรื่องการคิดคำนวณ ซึ่งในขณะนี้ RTI กำลังเป็นเรื่องที่สนใจของโรงเรียน
ในประเทศไทยอีกหลาย ๆ โรงเรียน ซึ่งก็มีบางโรงเรียนได้นำ RTI มาทำการ
ทดลองใช้เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กทางการเรียนในเบื้องต้น เช่นการพัฒนา

ทักษะการอ่านของเด็กระดับประถมศึกษา โดยทำงานวิจัยควบคู่ไปกับ
การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน เพราะปัญหาในโรงเรียนส่วนใหญ่
มักจะพบเด็กที่ประสบกับปัญหาด้านการเรียน เช่น การอ่านหนังสือ

ยังไม่คล่อง การประสมคำไม่ถูกต้อง อ่านได้แต่ไม่เข้าใจความหมายของ
เรื่องที่อ่าน และปัญหาในการคิดคำนวณ สิ่งที่สำคัญต่อนักเรียนก็คือยังขาด
ทักษะทางความคิด เนื่องจากการเรียนรู้และความบกพร่องทางการรับรู้
ของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นการทำ RTI ก็จะช่วยทำให้การเก็บข้อมูล
ของเด็กเป็นระบบมากยิ่งขึ้น จากการที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมศึกษาดูงาน

ที่โรงเรียนสาธิตฝ่ายประถม ซึ่งสังกัดอยู่กับ Illinois State University
ในชั่วโมงการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่าครูผู้สอนจะจัด
การเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย เช่น การเล่านิทาน

ประกอบภาพให้เด็กฟัง เรื่องที่นำมาเล่าให้นักเรียนฟังจะเป็นเรื่องที่เน้น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






จินตนาการเพื่อเป็นการฝึกทักษะการฟัง และการคิด จากนั้นก็นำมาเขียน

สรุปสาระตามความเข้าใจของนักเรียน นอกจากนี้ การเลือกสื่อการเรียน
การสอน ครูก็นำมาจาก Aims Web ซึ่งเวปไซด์นี้เป็นที่แพร่หลาย
ในการสร้างสื่อการสอนตรงตามสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วยเนื้อหา

การสอนที่หลากหลายและตรงตามมาตรฐานของหลักสูตร โดยครูผู้สอน
จะเลือกเนื้อหาที่มีความสอดคล้องเหมาะสมกับหลักสูตรและมีความ
น่าสนใจต่อการเรียน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการอ่านตามระดับชั้นของ
นักเรียน ในขณะเรียนเมื่อครูผู้สอนพบเด็กที่มีปัญหาด้านการอ่านครูจะ
แก้ไขพฤติกรรมการอ่านของผู้เรียนทันที โดยการให้นักเรียนนำเรื่องที่อ่าน

ในวันนี้กลับไปอ่านทบทวนให้ผู้ปกครองฟังและชั่วโมงการอ่านในวันรุ่งขึ้น
นักเรียนที่มีปัญหาการอ่านก็จะมาอ่านให้ครูฟังเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องและ
เพื่อเป็นการฝึกฝนและปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านครูก็จะมีวิธีให้รางวัล

แก่นักเรียนที่มีความสามารถในการพัฒนาตนเองในเรื่องการอ่าน ทำให้เด็ก
ไม่รู้สึกกดดันหรือถูกบังคับให้อ่าน เมื่ออ่านจบครูก็จะมีคำถามปอนให้
นักเรียนได้ใช้ทักษะการคิดในเรื่องที่ได้อ่าน การวัดผลความก้าวหน้า
ของการอ่านก็จะมีการทดสอบวัดการอ่านทั้งระดับชั้นเรียน โดยแบ่ง
ระดับคะแนนเป็น 3 ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ เมื่อผลการทดสอบออกมา

ครูก็จะให้ความช่วยเหลือกับนักเรียนที่ยังไม่มีความก้าวหน้าและไม่พัฒนา
ในเรื่องการอ่าน หากนักเรียนที่มีปัญหาได้รับความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาการ
อ่านในทิศทางที่ดีขึ้น ก็จะถูกเลื่อนระดับความก้าวหน้าในชั้นต่อ ๆ ไป

จนถึงระดับที่ได้รับการพัฒนาที่สูงสุดส่วนเกณฑ์การให้คะแนนการอ่าน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น เช่น ประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน
จะตั้งเกณฑ์โดยเฉลี่ย คือนักเรียนทุกคนจะต้องอ่านหนังสือได้ 126 คำ
ขึ้นไป และมีความถูกต้องโดยครูจะต้องตั้งเกณฑ์ให้มีความสัมพันธ์
กับความสามารถในระดับการอ่านของนักเรียนด้วย ดังนั้นความหมาย

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






การอ่านของระบบการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่อ่าน

หนังสือเร็วจะเป็นเด็กเก่งในการอ่านหนังสือ เพราะการอ่านหนังสือเร็ว
แต่ไม่มีความเข้าใจในความหมายของการอ่านก็ถือว่ายังอ่านหนังสือ
ได้น้อย เพราะไม่มีความเข้าใจความหมายของการอ่านได้ทั้งหมด

แต่การจัดการเรียนการสอนของอเมริกา จะเน้นการอ่านเพื่อความเข้าใจ
หากนักเรียนมีความเข้าใจความหมายในเรื่องที่อ่านมากเท่าไร ก็จะทำให้
อ่านได้คล่องขึ้นมากเท่านั้น

ดังนั้นการติดตามความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนเพื่อจะดูว่าการสอนและการประเมินแบบ RTI นั้นมีผลต่อเด็ก
หรือไม่อย่างไร จากนั้นจะนำผลการทดสอบมาปรับเปลี่ยนวิธีการให้
ความช่วยเหลือ เพราะกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์มีหลากหลาย ซึ่งนักเรียน
แต่ละคนมีกระบวนการและวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันแต่สามารถบรรลุ
ถึงเปาหมายเดียวกันได้ นอกจากนี้ก็ได้มีโอกาสไปดูงานที่โรงเรียนสาธิต

ฝ่ายมัธยม ของ Illinois State University พอมาถึงในระดับชั้นมัธยม
การจักการเรียนการสอน ครูผู้สอนจะกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
โดยเน้นทักษะการคิดมากยิ่งขึ้น ฝึกวิเคราะห์สิ่งที่ได้มาจากการอ่าน

การฟัง และการติดตามเหตุการณ์ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในวันไปดูงาน
ที่โรงเรียนสาธิตฝ่ายมัธยม ได้ดูการเรียนการสอนรายวิชาสังคม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นสอน ครูนำวีดิทัศน์ภาพเหตุการณ์
ย้อนหลังของเมื่อวานตอนเกิดเหตุการณ์วางระเบิดที่ บอสตัน มาให้ดู
ซึ่งนักเรียนให้ความสนใจกับภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก จากนั้น

ครูก็ตั้งคำถามขึ้นว่า “ถ้าคุณอยู่ในเหตุการณ์นี้คุณจะทำอย่างไรให้ตนเอง
มีความปลอดภัยมากที่สุด” และ “เมื่อคุณมีความปลอดภัยแล้ว
และเหตุการณ์สงบลงคุณจะให้ความช่วยเหลือผู้อื่นอย่างไร” ซึ่งนักเรียน

จะต้องใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการตอบคำถาม

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






จากการศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียน

ทำให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านเนื่องจากการอ่านเป็นความรู้
ในระดับพื้นฐานที่มีความสำคัญในการนำมาต่อยอดทางการศึกษา
ได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนของครูแต่ละคน

ก็มีความแตกต่างกันไปตามบริบทของรายวิชา ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ
เหมือนกับประเทศเราก็คือการจัดชั้นเรียน ซึ่งในแต่ละชั้นเรียนจะมีเด็ก
คละกัน ตั้งแต่เก่ง กลาง อ่อน แต่ที่เห็นได้ชัดเจนและทุกโรงเรียนที่ไปดูงาน
จะเห็นเขาพัฒนาเด็กที่เรียนไม่เก่งหรือเรียนไม่ทันเพื่อนนั้นก็คือ การนำเด็ก
มาพัฒนาทักษะการอ่านและส่งเสริมทักษะการคิด เพราะเขามีความเชื่อว่า

หากเด็กอ่านหนังสือไม่ออกและไม่เข้าใจในเรื่องที่อ่านก็ไม่สามารถนำไป
พัฒนาการเรียนวิชาอื่นได้เลย ซึ่งก็น่าเป็นที่ตระหนักถึงความจริง
ในสังคมไทย เพราะเด็กไทยในปัจจุบันอ่านหนังสือน้อยลง ไม่สนใจทบทวน

บทเรียน ไม่สามารถเข้าใจบทเรียนจากการอ่านได้ ทำให้ทักษะการคิด
วิเคราะห์และการแก้ปัญหาของนักเรียนไม่บรรลุตามจุดประสงค์ของ
การเรียน นอกจากนี้ ยังพบเด็กไทยบางคนยังอ่านหนังสือภาษาไทยบางคำ
ไม่ออกและไม่เข้าใจ ทำให้มีปัญหาด้านการสื่อความหมายในการเขียน ทำให้
ทักษะทางการคิดไม่พัฒนาตามไปด้วย แต่วิธีการแก้ปัญหาของโรงเรียน

ที่ไปศึกษาดูงานเขาจะนำ RTI เข้ามาช่วยในการพัฒนาเด็กที่เรียนอ่อน
ให้เรียนได้ทันเพื่อนตามศักยภาพของตนเพื่อเป็นการช่วยเหลือนักเรียน
เบื้องต้นซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิดต่อไปว่าการจัดการเรียนการสอนในประเทศไทย

ส่วนใหญ่สมควรจะใช้ RTI เข้ามาช่วยนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียน
หรือไม่ และเพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนครูทุกคนควร
ให้ความสนใจในเรื่องการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ ว่านักเรียน
อ่านแล้วเข้าใจในเรื่องที่อ่านและสามารถใช้พัฒนาทักษะการคิดของตนเอง
เพื่อเป็นการแก้ปัญหารากฐานที่สำคัญของการศึกษาไทยในอนาคต

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ








แหลงอางอิง

ดรุณี ปันวงศ์.(2556,มิถุนายน).“การตอบสนองต่อการเรียนการสอน.”(ออนไลน์)
สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.surat3.go.th


________.(20 มิถุนายน 2556). “RTI กระบวนการสอนแนวใหม่(ออนไลน์).
สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.kotakob.wordpress.com

พรรษชล ศรีอิสราพร.(2556). “อะไรคือ RTI”. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์
2559 จาก http://www.braille-cet.in.th

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 

























µÍ¹·Õ่ 3

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ

นำสนุก…







ปÅุกอารม³การเรÕยนรูŒ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ

























นำสนุก…ปÅุกอารม³การเรÕยนรูŒ

อาจารย์วรดร ใบพักตร์






¢ŒÒ¾à¨ŒÒเป็นครูสอนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน มาตั้งแต่ครั้งยังเป็นนิสิตฝึกประสบการณ์

วิชาชีพครู จนกระทั่งปัจจุบันสิ่งที่ข้าพเจ้าสังเกตเห็นความเหมือนและ
ความต่างของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
กับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนเอกชน คือ

ถึงแม้ว่าพื้นฐานทางความพร้อมในการเรียนรู้จะต่างกันแต่ครูผู้สอน
สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้โดยวิธีการต่าง ๆ ได้เหมือน ๆ กัน


ในการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจต่อการเรียน
ควรจะกระทำตั้งแต่ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ครูหลาย ๆ คนมักละเลยการนำเข้า
สู่บทเรียน โดยอาจมีปัจจัยจากหลาย ๆ อย่าง เช่น กว่านักเรียนจะนั่ง

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เรียบร้อยก็ใช้เวลาไปเกือบห้านาที หรือกิจกรรมของโรงเรียนที่ทำให้

ต้องเสียคาบเรียนไป ครูหลาย ๆ คนจึงต้องรีบสอนสอนเพื่อให้จบเนื้อหา

ตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้สิ่งที่ถูกมองข้ามสิ่งแรกเลย คือ
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนเพราะถูกมองว่าทำให้เสียเวลาอาจทำให้สอนไม่ทัน
ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด ข้าพเจ้าก็เคยเริ่มการสอนโดยที่ข้ามขั้นนำเข้าสู่

บทเรียน ผลปรากฏว่าเมื่อสอนไปสักพักสิ่งที่ข้าพเจ้าสังเกตเห็น คือนักเรียน

เริ่มเกิดการเรียนรู้ไม่พร้อมเพียงกัน นักเรียนที่มีผลการเรียนดีจะตั้งใจและ
เกิดการเรียนรู้ตั้งแต่เริ่ม แต่กลับกันนักเรียนที่ไม่สนใจเรียนกว่าจะเกิด
การเรียนรู้นั้นเวลาผ่านไปห้าถึงแปดนาที ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องมี

การว่ากล่าวเพื่อให้หันมาสนใจเนื้อหาบทเรียนด้วย ดังนั้นแรงจูงใจจึงมี

ความสำคัญทั้งต่อนักเรียนและครูผู้สอนตั้งแต่เริ่มทำการสอน ดังที่โลเวลล์
(Lovell, 1980:109) ให้ความหมายของแรงจูงใจไว้ว่า “เป็นกระบวนการ
ที่ชักนำโน้มน้าวให้บุคคลเกิดความมานะพยายามเพื่อที่จะสนองตอบ

ความต้องการบางประการให้บรรลุผลสำเร็จ” หรือดังที่ไมเคิล คอมแจน

(Domjan 1996:199) อธิบายว่าการจูงใจไว้ว่าเป็นภาวะในการเพิ่มพฤติกรรม
การกระทำกิจกรรมของบุคคลโดยบุคคลจงใจกระทำพฤติกรรมนั้นเพื่อ
ให้บรรลุเปาหมายที่ต้องการ สรุปได้ก็คือการสร้างแรงจูงใจเป็นกระบวนการ

ที่บุคคลนั้นถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้เกิด

การบรรลุจุดประสงค์บางอย่างซึ่งจะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เกิดจาก
การจูงใจเป็นพฤติกรรมที่มิใช่เป็นเพียงการตอบสนองสิ่งเร้าตามปกติ
ธรรมดา ซึ่งสิ่งเร้าจะกระตุ้นให้พฤติกรรมแสดงออกมาเป็นพิเศษเพื่อ

ความสำเร็จนั่นเอง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ในการถ่ายทอดประสบการณ์ในครั้งนี้ข้าพเจ้าขอมุ่งเน้นในส่วน

ของการนำเข้าสู่บทเรียนเพราะการนำเข้าสู่บทเรียนเป็นด่านแรกที่จะ
สร้างแรงจูงใจและเป็นขั้นที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้พร้อมเพียงกัน
การนำเข้าสู่บทเรียนที่จะทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจต่อเนื้อหาบทเรียนนั้น

ข้าพเจ้าก็ได้นำเข้าสู่บทเรียนในหลาย ๆ วิธีด้วยกัน เช่นในวิชาภาษาไทยนั้น
จะมีการเรียนทั้งหลักภาษาไทยและวรรณคดีไทย ครั้งหนึ่งข้าพเจ้า
สอนนักเรียนในส่วนของวรรณคดีไทยเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ซึ่งเป็นเรื่อง

ที่เกี่ยวกับหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสเพื่อสั่งสอน
ถึงหลักมงคลสามสิบแปดประการ หนึ่งในนั้นมีหลักที่ว่า “บูชาผู้ที่ควรบูชา”
ซึ่งก็คือผู้มีพระคุณ อาทิ บิดา มารดา และหมายรวมถึงครูบาอาจารย์ด้วย

ข้าพเจ้าจึงสร้างขั้นนำเข้าสู่บทเรียนโดยเตรียมให้นักเรียนคนหนึ่งแสดง
บทบาทสมมติโดยไม่บอกเพื่อนนักเรียนในห้อง ซึ่งบทบาทสมมติก็คือ
ให้นักเรียนที่เตรียมไว้คนนั้นไม่กราบสวัสดีเมื่อหัวหน้าห้องบอกทำความเคารพ

และเมื่อข้าพเจ้าทำเป็นดุว่าทำไมไม่ทำความเคารพนักเรียนคนนั้น
ก็จะไม่ยอมรับผิดและเกิดการโต้เถียงกัน เมื่อนักเรียนในห้องเรียนเกิด
ความสนใจและต่อว่าถึงกริยาที่ไม่ดีของนักเรียนคนนั้น ข้าพเจ้าก็เฉลย

โดยให้นักเรียนทุกคนในห้องปรบมือให้นักเรียนที่แสดงบทบาทสมมติ
และกล่าวว่า “พฤติกรรมนี้เป็นตัวอย่างของบุคคลผู้ที่ไม่มีมงคล
สามสิบแปดประการ คือ ไม่ให้ความเคารพครูบาอาจารย์ มงคลสามสิบแปด

ประการ มีอะไรบ้างเราจะได้เรียนในวรรณคดีไทยเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์”

อีกตัวอย่างเป็นเรื่องของหลักภาษาไทยเรื่องที่ข้าพเจ้าสอน
ในครั้งนี้เป็นเรื่องการสร้างคำ หนึ่งในนั้นคือ “คำซ้ำ” ครั้งนี้ข้าพเจ้าเลือก

นำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้วีดิทัศน์โฆษณษผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่ง โดยเนื้อเรื่อง

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งช่วยแม่ทำอาหารอยู่ในห้องครัว แล้วเด็กผู้หญิงคนนั้น

ก็พูดขึ้นว่า “หมูฉึก ๆ” หลังจากชมโฆษณาจบข้าพเจ้าจึงนำคำว่า “หมูฉึก ๆ”
ซึ่งเป็นคำซ้ำเป็นคำที่นำเข้าสู่บทเรียน ด้วยความน่ารักของเด็กผู้หญิง
ในโฆษณา และด้วยตัวโฆษณาเองก็เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว จึงทำให้นักเรียน

เกิดความสนใจและนำเข้าสู่บทเรียนได้ไม่ยาก ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่าง
หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการนำเข้าสู่บทเรียนมีความสำคัญและทำได้ไม่ยาก


ในการนำเข้าสู่บทเรียนนั้นยังสามารถทำได้หลายวิธีนอกเหนือ
จากตัวอย่างที่ข้าพเจ้ายกตัวอย่างมา อาจจะใช้การเล่าเรื่องที่มีความตื่นเต้น
หรืออาจจะใช้สื่อต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทเรียนมาแสดง
ให้นักเรียนเห็นเพื่อให้นักเรียนสังเกต ซักถาม และเกิดเป็นเรื่องราวเอง เช่น

วิชาวิทยาศาสตร์สอนเรื่องการสืบพันธุ์ ครูอาจจะอุ้มตุกตาเด็กเข้ามา
ในห้องเรียนด้วย เมื่อนักเรียนเห็นก็จะเกิดคำถามว่าครูนำเข้ามาทำไม
ครูจึงพูดถึงเด็กและโยงเข้าสู่บทเรียน เป็นต้น


อีกประการหนึ่งที่จะทำให้การนำเข้าสู่บทเรียนประสบความสำเร็จ
จะเห็นได้ว่าสื่อการสอนเป็นอีกสิ่งที่ทำให้การนำเข้าสู่บทเรียนประสบ

ความสำเร็จได้ ดังที่ข้าพเจ้ายกตัวอย่างการใช้ตุกตา วีดิทัศน์ หรือแม้กระทั่ง
ตัวนักเรียนเองก็สามารถนำมาเป็นสื่อในการนำเข้าสู่บทเรียนหรือการสอน
ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามทั้งขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน และขั้นสรุปบทเรียน
นั้นก็มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น แต่งสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นที่จะทำให้

ทุกขั้นตอนในการสอนประสบความสำเร็จได้ก็คือตัวของครูผู้สอนเอง
ซึ่งเป็นผู้ที่จะใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์
การเรียนรู้ที่วางไว้นั่นเอง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ

เรÕยนสนุก สอนสุ¢



¼‹านเคร×อ¢‹ายอิเÅçกทรอนิกส

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ



















เรÕยนสนุก สอนสุ¢


¼‹านเคร×อ¢‹ายอิเÅçกทรอนิกส

อาจารย์เสกสรรค์ หงษ์หิรัญพันธ์








บทนำ

ã¹Âؤสังคมปัจจุบันที่เป็นสังคมความรู้ ข้อมูลความรู้ในวิชาการ

ต่าง ๆ มีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความเจริญก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เจริญและพัฒนาไปอย่างมาก
ส่งผลให้วิถีการดำรงชีวิตของคนในสังคมเริ่มแปรเปลี่ยนความเป็นอยู่ และ
การทำงานของผู้คนมีความ สะดวกสบายมากขึ้น ในหลาย ๆ ประเทศต่าง

ให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำคอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยกระตุ้น
ความสนใจให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เรียน ช่วยในการเสริมแรง ตลอดจน
ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์และ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 







ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่รู้จักกัน ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านระบบ

เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์หรือการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์นั่นเอง

โดยในบทความนี้จะกล่าวถึง (1) ความหมายของการเรียนการสอน
ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (2) ประเภทของการเรียนการสอนผ่าน

เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (3) หลักการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ (4) หลักการออกแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ (5) ขั้นตอนการสร้างการ เรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ (6) การประเมินการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

(7) ประโยชน์และข้อจำกัดของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
และ (8) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

ความหมายของการเรียนการสอนผานเครือขาย
อิเล็กทรอนิกส


การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นรูปแบบหนึ่ง
ของการนำเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียนสูงสุด โดยมีนักวิชาการและนักการศึกษา
ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ดังนี้

Complese, C. and Complese K. (1998 : อ้างอิงใน สมยศ กล้วยน้อย,
2545) กล่าวว่า การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง
การจัดการเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือบางส่วน โดยใช้เครือข่าย

อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างกัน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544 : อ้างอิงใน บุรีรัตน์ สุขวโรทัย, 2548)
กล่าวว่า การเรียนการสอน ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการผสมผสาน

กันระหว่างเทคโนโลยีปัจจุบันกับกระบวนออกแบบการเรียนการสอน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้าน
สถานที่และเวลา โดยประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บ
ในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน

ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเวิลด์ไวด์เว็บนี้อาจเป็นบางส่วนหรือ
ทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2546) กล่าวว่า การเรียนการสอนผ่าน
เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ระบบการเรียนการสอน ซึ่งองค์ประกอบหลัก

ผ่านการวางแผน เตรียมการ ดำเนินการ ประเมินและติดตาม ทางเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารทั้งตามสายและไร้สาย

ใจทิพย์ ณ สงขลา (2550) กล่าว่า การเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง หน่วยของการเรียน โมดูล รายวิชา และหลักสูตร

การเรียนการสอนที่กำหนดให้มีกิจกรรมการเรียน การสอน และการประเมิน
มุ่งหวังผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือเปาหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้
ซอฟต์แวร์ระบบบริหาร จัดการ อำนวยความสะดวกในการจัดให้เกิดกิจกรรม

การเรียนรู้ ประกอบด้วยระบบย่อยอย่างน้อย 4 ระบบ ได้แก่ ระบบบริหารเนื้อหา
ระบบบริหารรายวิชา หลักสูตร ระบบประเมิน และระบบการสื่อสาร

โดยสรุป ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ คือ ระบบการเรียน การสอนที่มีการผสมผสานกระบวนการ

ออกแบบการเรียนการสอนกับเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร เพื่อให้
การเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
ระหว่างกัน แก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 







ประเภทของการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำไปใช้ได้
กับทุกสาขาวิชา โดยมีการ แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะ
การนำไปใช้ ซึ่งมนชัย เทียนทอง (2548) ได้จัดแบ่งประเภทของการเรียน
การสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ 3 ประเภท ดังนี้


1. ผู้สอนใช้เป็นสื่อเสริม โดยให้ผู้เรียนไปทบทวนความรู้จาก
ที่ผู้สอนได้สอนในขั้นเรียนไปแล้ว รวมถึงการจัดเนื้อหาหรือประสบการณ์
เสริมในเนื้อหานั้นแก่ผู้เรียน


2. ผู้สอนใช้เป็นสื่อเติม โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้
เพิ่มเติมจากที่ผู้สอนได้สอนไปใช้เรียนช่วยให้เกิดทักษะการค้นหาความรู้
ด้วยตนเอง เกิดพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียน


3. ผู้สอนใช้เป็นสื่อหลัก โดยให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอนทำหน้าที่อำนวยความสะดวกด้าน
เครื่องมือและเนื้อหา สื่อที่ใช้จะต้องสามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียง
กับการสอนจริงของผู้สอนมากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้เป็นสื่อมัลติมีเดีย


โดยสรุป ประเภทของการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ จัดแบ่งโดยใช้ ความต้องการของผู้สอนเป็นหลักว่าจะให้
เป็นสื่อเสริม สื่อเติม หรือสื่อหลัก โดยผู้สอนจะเลือกให้ตรงกับความต้องการ
การนำไปใช้ และความพร้อมทั้งของตนเองและผู้เรียน


หลักการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

หลังจากที่ได้ทราบถึงความหมายและประเภทของการจัดการเรียน
การสอนผ่านเครือข่าย อิเล็กทรอนิกส์มาแล้ว ลำดับต่อไปก็จะเป็น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ Angelo

(1993 : อ้างอิงใน วิชุดา รัตนเพียร, 2542) ได้สรุปหลักการพื้นฐาน
ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ไว้ 5 ประการดังนี้

1) ส่งเสริมให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
ตลอดเวลา การติดต่อระหว่างผู้เรียนและผู้สอนมีส่วนสำคัญในการสร้าง

ความกระตือรือร้นกับการเรียนการสอน ทำให้ผู้สอนสามารถให้ความ
ช่วยเหลือแก่ผู้เรียนได้ตลอดเวลาในขณะกำลังศึกษา ทั้งยังช่วยเสริมสร้าง
ความคิดและความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมทั้งซักถามข้อข้องใจ
กับผู้สอนได้ทันที


2) สนับสนุนให้มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้เรียน ซึ่งจะช่วย
พัฒนาความคิดความเข้าใจ ได้ดีกว่าการทำงานคนเดียว ฝึกการยอมรับ
ความคิดเห็นของคนอื่น สร้างความสัมพันธ์เป็นทีมโดยการแลกเปลี่ยน

ความคิดเห็นระหว่างกันเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุด

3) สนับสนุนให้ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยน
บทบาทของผู้สอนจากผู้ปอนความรู้มาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยให้ผู้เรียน
สามารถหาข้อมูลได้ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว ทั้งยังหาข้อมูลได้จาก

แหล่งข้อมูลทั่วโลกเป็นการสร้างความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้

4) การให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนโดยทันที ช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึง
ความสามารถของตน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับแนวทางวิธีการ
หรือพฤติกรรมให้ถูกต้อง แม้ว่าผู้เรียนแต่ละคนจะไม่ได้นั่งเรียนในชั้นเรียน

แบบเผชิญหน้ากันก็ตาม

5) สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่ไม่มีขีดจำกัด สำหรับบุคคล
ที่ใฝ่หาความรู้ เป็นการขยายโอกาสให้กับทุก ๆ คนที่สนใจศึกษา ผู้ที่สนใจ
สามารถเรียนได้ด้วยตนเองในเวลาที่สะดวก

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






โดยสรุป หลักการของการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย

อิเล็กทรอนิกส์ มี 5 ประการได้แก่

(1) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนกับผู้สอน
ติดต่อกันได้ตลอดเวลา
(2) ให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนได้ทันที

(3) สนับสนุนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม
(4) รู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และ
(5) ขยายโอกาสทางการศึกษาสำหรับผู้สนใจใฝ่ที่จะเรียนรู้


หลักการออกแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

การจัดการเรียนการสอนที่ดีควรมีหลักการออกแบบที่ใช้สำหรับ
เป็นกรอบในการดำเนินงานให้มาตรฐานที่ยอมรับได้ มีความเป็นสากล
และได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่มุ่งหวังไว้ ซึ่ง Ritchie and Hoffman. (1997 :

อ้างอิงใน บุรีรัตน์ สุขวโรทัย, 2548)

กล่าวถึงหลักการออกแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ อาศัยหลักการออกแบบ 7 ประการ ดังนี้


1) สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน มีการออกแบบบทเรียนโดยการวางผัง
ที่น่าสนใจ มีการใช้ภาพกราฟิกที่มีสีสันสวยงาม มีขนาดที่เหมาะสม มีการใช้
ภาพเคลื่อนไหวบ้าง แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ใส่มากจนเป็นที่รำคาญ
แก่ผู้เรียน การเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นต้องน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับเนื้อหา


2) บอกวัตถุประสงค์ของการเรียน ประเด็นสำคัญของเนื้อหา
ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ ใช้กราฟิกง่าย ๆ เช่น กรอบ ลูกศร
เพื่อให้การแสดงวัตถุประสงค์น่าสนใจยิ่งขึ้น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







3) ทบทวนและเชื่อมโยงความรู้เดิมของผู้เรียนเพื่อเป็นการเตรียม
พื้นฐานสำหรับความรู้ใหม่ เช่น แบบทดสอบ ภาพ หรือหลายอย่างผสมกัน

4) ให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นระหว่างเรียน ควรหาเทคนิคต่าง ๆ

ในการกระตุ้นความรู้เดิมและหาทางทำให้การศึกษาความรู้ใหม่ของผู้เรียน
กระจ่างชัดมากขึ้น เช่น ให้ผู้เรียนทำบทสรุป วิจารณ์ นำเสนอแง่มุมมอง
ของตนเองต่อเรื่องที่เรียน

5) ให้คำแนะนำและให้ข้อมูลปอนกลับระหว่างที่ศึกษาอยู่ เป็น

การกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนทราบความก้าวหน้า
ในการเรียนของตนเอง การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมคิดร่วมกิจกรรม
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา การถาม การตอบ จะทำให้ผู้เรียนจดจำ

ได้มากกว่าการอ่านหรือลอกข้อความเพียงอย่างเดียว

6) การทดสอบความรู้ ผู้สอนสามารถออกแบบทดสอบแบบออนไลน์
หรือออฟไลน์ก็ได้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียน
ของตนเองได้ อาจจัดให้มีการทดสอบระหว่างบทเรียนหรือท้ายบทเรียน

ทั้งนี้ควรสร้างบทเรียนให้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของบทเรีย ข้อสอบ คำตอบ
และข้อมูลปอนกลับ ควรอยู่ในกรอบเดียวกันและแสดงต่อเนื่องกัน
อย่างรวดเร็ว ไม่ควรให้ผู้เรียนพิมพ์คำตอบยาวเกินไป ควรบอกถึงวิธีตอบ
ให้ชัดเจน คำนึงถึงความแม่นยำและความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบ


7) นำความรู้ไปใช้และเสริมความรู้ เป็นการสรุปแนวคิดสำคัญ
ควรให้ผู้เรียนทราบว่าความรู้ใหม่มีส่วนสัมพันธ์กับความรู้เดิมอย่างไร
ควรเสนอแนะสถานการณ์ที่จะนำความรู้ใหม่ไปใช้และบอกผู้เรียนถึงแหล่ง
ข้อมูลที่จะใช้อ้างอิงหรือค้นคว้าต่อไป

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 







โดยสรุป หลักการออกแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ที่ดี จะต้องคำนึงหลัก 7 ประการ ได้แก่

(1) การสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียน
(2) บอกวัตถุประสงค์การเรียน

(3) ทบทวนและเชื่อมโยงความรู้เดิม สำหรับเป็นพื้นฐาน
ของความรู้ใหม่
(4) สร้างความกระตือรือร้นให้แก่ผู้เรียน
(5) การให้คำแนะนำและข้อมูลปอนกลับ

(6) การทดสอบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง
(7) ชี้แนะการนำความรู้ไปใช้และการเสริมความรู้เพิ่มเติม

ขั้นตอนการสร้างการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

ในส่วนของการสร้างการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

ที่เหมาะสม ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545 : อ้างอิงใน นงเยาว์ ในอรุณ :
2548) ได้เสนอไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้

1) ขั้นการเตรียมตัว

การสร้างการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น
3 ระดับ คือ (1) ระดับข้อความเป็นส่วนใหญ่ (2) ระดับมัลติมีเดีย
อย่างง่าย และ (3) ระดับมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบคุณภาพสูง ซึ่งผู้สอน
โดยส่วนใหญ่สามารถทำในระดับข้อความเป็นส่วนใหญ่และระดับมัลติมีเดีย

อย่างง่ายได้เอง แต่ถ้าเป็นระดับมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบคุณภาพสูง จะต้องมี
ผู้เชี่ยวชาญในหลายด้านด้วยกัน อาทิเช่น ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ
การสอน ด้านการออกแบบกราฟิก ด้านสื่อและด้านการเขียนโปรแกรม

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






2) ขั้นการเลือกเนื้อหา

ในขั้นตอนนี้สิ่งที่สำคัญคือ การเลือกเนื้อหาวิชาที่ต้องการจะนำมา
ออกแบบและสร้างเป็นการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
ในปี ค.ศ.1990 พบว่าในการสร้างระดับมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบคุณภาพสูง

ผู้เรียนใช้เวลาเรียน 1 ชั่วโมง ซึ่งมีเนื้อหาที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก แต่ต้อง
ใช้เวลาในการสร้างประมาณ 30-200 ชั่วโมง ถ้าเนื้อหามีความซับซ้อน
ในระดับปานกลาง จะใช้เวลาในการสร้าง 72-250 ชั่วโมง และหากเนื้อหา
ที่มีความซับซ้อนในระดับสูง จะใช้เวลาในการสร้าง 200-600 ชั่วโมง
สรุปได้ว่าการออกแบบและสร้างการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย

อิเล็กทรอนิกส์ ในระดับมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบคุณภาพสูงนั้นต้องการเวลา
และความพยายามในการสร้างเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็น
อย่างยิ่งในการเลือกเนื้อหาวิชาที่เหมาะสมเป็นเนื้อหาวิชาที่เป็นรายวิชา

พื้นฐาน ซึ่งมีผู้เรียนจำนวนมาก เพื่อให้เกิดความคุ้มทุนในด้านเวลาและ
งบประมาณ

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการเลือกเนื้อหา ได้แก่
การวิเคราะห์ความต้องการในการใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการ

สอนในรายวิชานั้น ๆ ด้วยการวิเคราะห์ความต้องการนี้ คำถามที่ผู้ออกแบบ
ควรพิจารณาหาคำตอบ คือ ผู้สอนต้องการแก้ปัญหาใด การเรียนการสอน
ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร
เป็นประโยชน์ทางด้านการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง รวมทั้ง
ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนในทางใดที่สื่ออื่น ๆ ไม่สามารถทำได้


3) ขั้นการวิเคราะห์หลักสูตร

หลังจากที่เลือกเนื้อหาในการออกแบบและพัฒนาการเรียน
การสอนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ จะต้องทำการวิเคราะห์หลักสูตร

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ซึ่งการวิเคราะห์หลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้


(1) การตั้งเปาหมายการเรียน คือ การกำหนดวัตถุประสงค์กว้าง ๆ
ที่ผู้เรียนพึงได้รับหลังการเรียนในรายวิชานั้น ๆ ซึ่งบางทีก็เรียกวัตถุประสงค์
นี้ว่า วัตถุประสงค์ทั่วไป ในการเขียนเปาหมายการเรียนนั้นมักนิยมใช้คำ
ที่มีความหมายกว้าง เช่น ทราบ มีความรู้ มีความเข้าใจ มีความสนใจ

มีทัศนคติที่ดี ซึ่งในขั้นนี้ยังไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของวัตถุประสงค์
เชิงพฤติกรรม หมายถึง การกำหนดวัตถุประสงค์ที่จำเพาะเจาะจงและชัดเจน
(2) การกำหนดลักษณะของผู้เรียน คือ การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับ

ผู้เรียน ซึ่งเป็นกลุ่มเปาหมายหรือผู้ใช้ตัวจริงของบทเรียนที่สร้างขึ้น คุณลักษณะ
ของผู้เรียนอาจหมายถึง พื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้น ความชอบรูปแบบ
การเรียนระดับความกระตือรือร้นของผู้เรียน ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
(3) การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียน จำเป็นต้องมีการพิจารณา
ถึงสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากบริบทการเรียนรู้

ที่แตกต่างกัน ส่งผลโดยตรงกับการออกแบบการเรียนการสอน
ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ออกแบบสำหรับผู้เรียนทางไกล ซึ่งนำไปใช้
แทนที่การเรียนการสอนในชั้นเรียน จะต้องออกแบบให้มีความสมบูรณ์

ในตัวมากที่สุด ในขณะที่การออกแบบสำหรับใช้เพื่อการสอนเสริม
อาจไม่จำเป็นต้องมีความสมบูรณ์เท่ากับในลักษณะแรก โดยผู้ออกแบบ
การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเข้าใจเกี่ยวกับระดับของ
บทเรียน ระดับการนำไปใช้ และลักษณะของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเปาหมาย
(4) การวิเคราะห์ภาระงาน เป็นงานที่มีความสำคัญมาก โดยผู้ออกแบบ

จะต้องตอบคำถามว่า การที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุเปาหมายตามที่ตั้งไว้
ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ทักษะอะไรบ้างเสียก่อน แล้วจึงจัดประเภทการเรียนรู้
และงานที่จะส่งเสริมความรู้และทักษะที่ต้องการ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






4) ขั้นการออกแบบหลักสูตร


การออกแบบหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ (1) การกำหนด
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หมายถึง การกำหนดสิ่งที่ผู้เรียนควรจะ
ประสบความสำเร็จหลังจากที่ได้เรียนรู้เนื้อหาในหน่วยการเรียน นั้นแล้ว
ผู้สอนจะต้องเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้

ซึ่งวัตถุประสงค์ที่ดีควรประกอบด้วยข้อความที่ระบุถึงการกระทำของผู้เรียน
ที่จะเกิดขึ้น ข้อความที่กำหนดเงื่อนไขที่สัมพันธ์กับการกระทำนั้น ๆ และ
ข้อความที่กำหนดมาตรฐานหรือเกณฑ์ของการกระทำนั้น ๆ (2) การวางแผน

วิธีการวัดผล วิธีการวัดผลสามารถช่วยผู้เรียนในการตรวจสอบความสำเร็จ
ของตนเองตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้วิธีการ
วัดผลจะช่วยผู้พัฒนาในการออกแบบกิจกรรม แบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบ
ในลักษณะที่เหมาะสม และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
(3) การทบทวนทรัพยากรสำหรับการออกแบบและการส่งผ่านเนื้อหา

ซึ่งจำเป็นต้องมีการทบทวนเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรูปแบบ
ต่าง ๆ (4) การกำหนดกลยุทธ์การเรียนการสอน เป็นขั้นตอนที่มี
ความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นขั้นตอนซึ่งแนะนำวิธีการเรียนสำหรับ

ผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้ได้ผลสำเร็จในการเรียนเทคนิคและกลยุทธ์
ทางการเรียนการสอนควรจะได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา
รวมทั้งนักออกแบบการสอน เพราะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์
ที่ต้องการใช้ ได้แก่ กิจกรรมก่อนการเรียนการสอน การนำเสนอเนื้อหา
การฝึกฝน การวัดผลการเรียนรู้ การติดตามผล และการซ่อมเสริม


5) ขั้นสร้างการเรียนการสอน

ในขั้นตอนนี้จะครอบคลุมการออกแบบและการสร้างการเรียน
การสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการจัดระบบและจัดการระบบ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






สนับสนุน ดังนี้ (1) การออกแบบและการสร้างจะครอบคลุม 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนของโครงสร้างของเว็บเพจ ซึ่งจะมีผลต่อการดึงดูดความสนใจ
ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
และส่วนของเนื้อหาบทเรียนโดยหลังจากออกแบบแล้วจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญ

ตรวจสอบ และทำการออกแบบกราฟิกและสื่อต่าง ๆ ต่อไป (2) การจัดระบบ
และจัดการระบบสนับสนุน รวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่สนับสนุนการสอน
รวมทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ เช่น คู่มือ ใบงาน เป็นต้น นอกจากนี้
ผู้สร้างระบบควรผลิตคู่มือการใช้งานการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ควบคู่ เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนที่มีปัญหา โดยคู่มือ

การใช้งานที่ดีจะต้องประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์และ
ซอฟต์แวร์ที่จำเป็น แนะนำการเรียนการสอน แจ้งวัตถุประสงค์ของ
การเรียนการสอน การใช้งาน ปัญหา และเอกสารอ้างอิง

6) ขั้นการประเมินผล


เป็นการประเมินผลผู้เรียนที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอน
ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ว่า ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์เชิง
พฤติกรรมที่กำหนดไว้ และผลการประเมินที่ได้เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่

โดยการประเมินผลมี 3 ระดับ ดังนี้ (1) การประเมินตัวต่อตัว เพื่อรับทราบ
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนระหว่างการใช้งาน อาจใช้วิธีสัมภาษณ์ หรือให้
ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นขณะที่กำลังเรียนบทเรียนก็ได้ (2) การประเมิน
กลุ่มเล็ก โดยใช้ผู้เรียน 6 - 8 คน ทดลองใช้การเรียนการสอนผ่านเครือข่าย

อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้น เพื่อศึกษาว่าผู้เรียนใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างไร
ผู้เรียนต้องการความช่วยเหลือมากน้อยเพียงใด โดยข้อมูลที่ได้มาจะช่วยให้
บทเรียนมีความสมบูรณ์มากขึ้น และช่วยให้ผู้สร้างการเรียนการสอน
ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สามารคาดคะเนถึงประสิทธิผลของสื่อการสอน

ที่จะนำไปใช้กับกลุ่มใหญ่ด้วย (3) การประเมินกลุ่มใหญ่เป็นการให้ผู้เรียน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ทั้งชั้นได้ทดลองเรียน ด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้สร้างขึ้น

หลังจากที่ได้ทำการปรับปรุงแล้วใน 2 ขั้นตอนที่ผ่านมา การประเมินกลุ่ม
ใหญ่สามารถทำได้ทั้งในลักษณะระหว่างการเรียน และหลังการเรียน
โดยการประเมินระหว่างการเรียนการสอนนี้เป็นกิจกรรมที่สอดแทรกไปกับ

การเรียนการสอน และหลังจากการเรียนแล้ว ผู้เรียนจะต้องทำแบบทดสอบ
เพื่อศึกษาว่าบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่ รวมทั้ง
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

7) ขั้นการบำรุงรักษา


เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง โดยปรับปรุงเนื้อหาสารสนเทศใหม่
ให้มีความทันสมัย รวมทั้งตอบสนองคำแนะนำในการปรับปรุงให้ดีขึ้น

โดยสรุป ขั้นตอนในการสร้างการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน โดยเริ่มจาก (1) การเตรียมตัว

(2) การเลือกเนื้อหา (3) การวิเคราะห์หลักสูตร (4) การออกแบบหลักสูตร
(5) สร้างการเรียนการสอน (6) การประเมินผล และ (7) การบำรุงรักษา
ซึ่งหากทำได้ครบทั้ง 7 ขั้นตอนนี้แล้ว ก็จะทำให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์
การเรียนที่กำหนดไว้


การประเมินการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

หลังจากที่ได้ดำเนินการเรียนการสอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อไป
ที่ต้องทำคือการประเมินการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
ในรูปแบบของเว็บ ซึ่ง ดร.แนนซี อีเวอร์ฮาร์ท (Everhart : 1996) ภาควิชา

บรรณรักษ์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น รัฐนิวยอร์ก
สหรัฐอเมริกา (อ้างอิงใน ปรัชญนันท์ นิลสุข : 2546) ได้ศึกษาการออกแบบ
และพัฒนาเว็บว่า เว็บแบบไหนที่มีคุณภาพดี เว็บแบบใดจึงจะถือว่าเป็น


Click to View FlipBook Version