The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:35:07

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 4

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตร

ไปสู่การปฏิบัติ การจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอน จำเป็นต้องมี
ความเข้าใจจุดหมายของหลักสูตร เข้าใจสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
ตลอดจนสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนได้

ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไว้
เป็นแนวทาง การใช้หลักสูตรว่า ให้ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง กระบวนการเรียนรู้
กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการพัฒนาค่านิยม

กระบวนการฝึกทักษะและกระบวนการกลุ่มเป็นสำคัญ แต่ในสภาพ
ความเป็นจริง การจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการ
ให้สอดคล้องกับจุดหมายและแนวทางของหลักสูตรได้ เนื่องจากผู้สอน

ส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยายอย่างเดียว ไม่ได้ส่งเสริมหรือกระตุ้น
ให้ผู้เรียนเกิดการคิด ผู้สอนไม่เห็นความจำเป็นของแผนการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนสอนเร็วเกินไปโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้สอน

ไม่มีเวลาเตรียมการสอน การสอนมักมุ่งที่ผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สอนดังกล่าวข้างต้น ส่งผลต่อ
ตัวผู้เรียนหลายประการ เช่น ทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจกระบวนการ

และขาดความเข้าใจอย่างต่อเนื่องในบทเรียน ขาดทักษะในการคิด
ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาไม่เป็น ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้คุณภาพการเรียนการสอน
ไม่มีประสิทธิภาพตามที่หลักสูตรต้องการซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ

สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายเรื่อง “แนวโน้มการจัดการเรียน
เพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้า” ใจความตอนหนึ่ง พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริ
ถึงเรื่องการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






“ในสมัยก่อนเมื่อข้าพเจ้ายังเล็ก การสอนที่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าดี คือ เขาสอนให้เรา

อยากรู้ อยากเห็น อยากดู อยากเรียนไปเสียหมด บางครั้งก็มากเกินไปด้วยซ้ำ
พออยากรู้ อยากเห็น แล้วก็อยากคิด อยากถาม อยากเสนอข้อคิดของตนเองบ้าง

ขณะที่การเรียนในตอนหลังนี้ หลายคนมาบ่นกับข้าพเจ้าว่า เรียนแล้วนักเรียน
อยากได้เพียงเกรดและคะแนนดี ๆ โดยไม่กระตือรือร้นที่จะอยากรู้ หรือค้นคว้า
อะไรเพิ่มเติมเองเลย ข้าพเจ้ายังบอกกับอาจารย์ท่านนั้นว่า สงสัยจะสอนไม่ดี
เองมั้ง ต้องสอนแล้วเขาอยากรู้อยากค้นเพิ่มเติม และเมื่อเรียนแล้วจะต้อง

สามารถที่จะอธิบายความรู้ที่ตนได้รับมา แล้วรวบรวมความคิด เขียน ให้ครูอาจารย์
หรือผู้อื่นทราบได้”

“ครูบางคนมาบอกว่า กลัวหมดความหมายถ้านำระบบใหม่ (การศึกษา

ด้วยเทคโนโลยีการสอนทางไกล) เข้ามาใช้ ข้าพเจ้าคิดว่าหากครูไม่ปรับปรุง
ตนคงหมดความหมายแน่ เพราะระบบการศึกษาเช่นนี้เปนแนวโน้มที่ใช้กัน
ในอนาคต ครูต้องปรับตัวโดยจะต้องอ่านมาก การให้นักเรียนเปนศูนย์กลางนั้น

ถ้ามองให้ดีจะเห็นว่าเปนการให้ครูเปนศูนย์กลางด้วยเช่นกัน ถ้าครูจะเกณฑ์
ให้นักเรียนอ่านโดยครูไม่อ่านนั้นไม่ได้ ครูจะต้องอ่านมากและศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ
ให้มากอยู่เสมอ ไม่ใช่เอาแต่ความรู้ที่เรียนมาจากวิทยาลัยครูเมื่อ 20-30 ปที่แล้ว

มาฉายซ้ำซากแต่เพียงอย่างเดียว ต้องสามารถแนะเด็กได้ว่า หากต้องรู้เรื่องอะไร
จะไปหาความรู้ได้ที่ไหน...”

“สมัยนี้หาความรู้ทาง Internet ได้ด้วย ครูจึงน่าจะไปตรวจดูก่อน

ว่าเรื่องที่จะกำหนดวางแผนให้พูดในชั้นเรียนนั้นจะมี websites อะไรบ้างที่จะส่งเสริม
การสนทนาในชั่วโมงนั้น...ในการสอนนั้นน่าจะทำให้เด็กออกความคิดได้ โดยไม่ใช่ว่า
ครูเปนผู้ถามนำ แล้วให้เด็กตอบคล้อยตามตนเองแต่เพียงอย่างเดียว”

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






จากข้อความดังกล่าวทำให้เรียนรู้ได้ว่า การเรียนการสอนที่เน้น

ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนการสอนที่สอนให้ทำมากกว่าสอนให้จำ
สอนให้แย้งมากกว่าสอนให้เชื่อ สอนกระบวนการแสวงหาความรู้มากกว่า
สอนเนื้อหา สอนตามความสนใจของผู้เรียนมากกว่าสอนตามใจผู้สอน

หรือย้อนกลับไปในอดีต เมื่อวัยเด็กจะพบว่าผลงานนักเรียนติดอยู่บน
ปลายไม้เรียวเมื่อครูสอนหน้าชั้นเรียน นักเรียนนั่งเรียนอย่างเงียบกริบ
กิจกรรมการเรียนการสอนไม่ซับซ้อน มีวลีมาถึงปัจจุบัน “เลข คิด เลิก” ไม่

มีกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูเป็นผู้มอบความรู้จากตำราให้แก่นักเรียน
ซึ่งเป็นส่วนเล็กน้อยในชีวิตของเขา แม้นักเรียนจะมีความรู้มากน้อยเพียงใด
ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกประการ เพราะความรู้ที่ได้รับครูเป็นผู้

หยิบยื่นให้ หรืออาจเกือบถึงยัดเยียดโดยอาศัยความปรารถนาดีที่มากเกิน
ความจำเป็นของชีวิตและวัย นักเรียนไม่มีโอกาสแสดงความคิดในสิ่งที่
ตนเองอยากรู้ อยากเห็น หรืออยากทำ


ดังนั้น จะทำอย่างไรให้ผู้สอนได้ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้
ที่อิงมาตรฐานของหลักสูตรและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แต่ใช่จะหมดหนทาง หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ดูแลการศึกษาพยายามสรรหาวิธีการที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สอนปฏิบัติ
หน้าที่ในชั้นเรียน ได้พัฒนาตนเอง เช่น การผลิตตำรา การสร้างสื่อการเรียนรู้
การเผยแพร่เอกสารวิชาการ การจัดอบรมสัมมนา การนิเทศและการสนับสนุน

หลากหลายรูปแบบ หากผู้สอนได้รับความรู้โดยวิธีการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
ด้วยตนเอง ย่อมนำมาซึ่งขั้นตอนและวิธีการที่จะพัฒนากิจกรรม
การเรียนรู้ในที่สุด ขอเสนอแนะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน

การสอนของผู้สอน ไว้ 2 พฤติกรรม คือ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






¾ÄµÔ¡ÃÃÁ¢Í§¼ÙŒÊ͹ การสอนเป็นการปรับระดับประสบการณ์

ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อผู้ถูกสอนได้พัฒนาไปในทิศทาง
ที่พึงประสงค์ ในการจัดการศึกษาของประเทศไทย กำหนดทิศทางที่
พึงประสงค์ไว้ชัดเจนในกรอบของหลักสูตร ซึ่งหลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม ส่วนการ
จัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ยังเป็นแบบการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาการมากกว่า

การเรียนรู้จากสภาพที่แท้จริง ไม่เน้นกระบวนการให้เกิดวิธีคิด และแสวงหา
ความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังขาดการเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้
เพื่อกระบวนการเรียนรู้และแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับ

บริบทและสภาพแวดล้อม ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอน
จะต้องพัฒนาตนเอง โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ดังนี้

การศึกษาหลักสูตร ผู้สอนทุกคนจะต้องทำความเข้าใจ

หลักสูตรก่อนนำไปปฏิบัติจริงในชั้นเรียน โดยศึกษาสาระมาตรฐาน
การเรียนรู้ และตัวบ่งชี้ เพื่อให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และสามารถ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ


กระบวนการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะ มีกระบวนการ มีกิจกรรมการแสวงหา
ข้อมูลความรู้ การสร้างความรู้จากประสบการณ์ นอกจากนี้ทักษะ

กระบวนการต่าง ๆ ยังสามารถติดตัวผู้เรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิต
ประจำวัน
แนวคิดและทฤษฏีการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องอาศัยแนวคิด

ทฤษฏี มาปรับหรือประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหา สถานการณ์

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






หรือบริบทของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจ

สภาพแวดล้อมและภูมิหลัง ตลอดจนพัฒนาการในด้านต่าง ๆ

การเรียนแบบมีส่วนร่วม เนื่องจากการเรียนการสอนปัจจุบัน
มีการบอกความรู้ โดยผู้สอนป็นผู้บอก ผู้เรียนเป็นผู้ฟัง เป็นความรู้ที่

ผู้เรียนต้องรู้และจำ เพราะฉะนั้นอาจมีการปรับวิธีการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
ปฏิสัมพันธ์ ทั้งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน

การเรียนรู้ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้มากขึ้น

การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม รอบตัวผู้เรียน และชุมชน เป็น
แหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญ ดังนั้น ผู้สอนจะต้องดึงมาใช้ประกอบการเรียน

ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาของบุคคลในท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
สิ่งแวดล้อมทางสังคม และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผู้สอนสามารถสร้าง

หน่วยการเรียนรู้ ที่นำเอาสาระต่าง ๆ มาบูรณาการแล้วจัดกิจกรรม
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น และสนองตอบตรงตามต้องการตรงตาม
หลักสูตร


การเรียนรู้โดยการค้นคว้าด้วยตัวเอง ผู้สอนต้องจัดการเรียนรู้
ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน คือ
ความต้องการอิสระ ปราศจากการควบคุมที่เข้มงวด การสอนที่เปิดโอกาส
ให้ผู้เรียน มีความเป็นอิสระ ต้องการใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเพิ่ม

ประสบการณ์ ทำให้เกิดความมั่นใจ ในการตัดสิน ที่ผ่านการคิด วิเคราะห์
ตรงกับความต้องการของตนเอง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







การประเมินผล ผู้สอนจะต้องประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
ผู้เรียนและเพื่อตัดสินระดับความ ก้าวหน้าทางการเรียน ผู้สอนจำเป็น
จะต้องพัฒนา และประเมินผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด เพื่อให้บรรลุตาม
มาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ของผู้เรียน มีการประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับ
สิ่งที่ต้องการวัด ธรรมชาติของวิชา และระดับพัฒนาการของผู้เรียน


¾ÄµÔ¡ÃÃÁ¢Í§¼ÙŒàÃÕ¹ เมื่อผู้สอนเห็นแนวทางของการปรับเปลี่ยนĵԡÃÃÁ¢Í§¼ÙŒàÃÕ¹ เมื่อผู้สอนเห็นแนวทางของการปรับเปลี่ยน
¾

พฤติกรรม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางที่คาดหวัง ผู้สอนจำเป็นฤติกรรม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางที่คาดหวัง ผู้สอนจำเป็น
จะต้องให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนไปพร้อม ๆ กัน คือ
ผู้เรียนจะไม่ใช่เป็นผู้รับข้อมูลฝ่ายเดียว ผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรม เพื่อแสวงหา

ข้อมูลด้วยตนเอง การที่ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออก ได้ใช้ความสามารถ
ตามศักยภาพของแต่ละคนนั้น ผู้เรียนควรกระทำในสิ่งต่อไปนี้

การเปดโอกาสให้ผู้เรียนคิด ผู้สอนจะต้องเริ่มด้วยกิจกรรม

นำเป็นการยั่วยุที่สนองตอบวัยอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน การสร้าง
กิจกรรมนำที่หลากหลายจะมีส่วนกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดความตระหนัก

ใช้ความคิด และสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการที่ผู้สอนวางไว้จน
ครบขั้นตอน

การเปดโอกาสให้ผู้เรียนปฏิบัติ กระบวนการจัดการเรียนรู้

ของผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้ฟังไปสู่การเป็น
ผู้ปฏิบัติให้มากขึ้นและมีโอกาสได้สัมผัสกับสื่อหลากหลายประเภท
อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






การเปดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น การเปิดโอกาส

ให้ผู้เรียนร่วมแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออกในสิ่งที่ตนเองกำลังเรียนรู้
จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างถาวรอย่างหนึ่ง และเป็นการฝึกทักษะการคิด
กล้าแสดงออก มีเหตุผล ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้สอนควรตระหนัก และ

เสริมสร้างให้ผู้เรียนมี

จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้หลักสูตร...สู่กระบวนการจัดการเรียนรู้

ไม่ใช่เรื่องยากเกิน ความสามารถของผู้สอนทุกคนที่กระทำได้และเชื่อว่า
สามารถทำได้ดี หากผู้สอนเชื่อว่าผู้เรียนมีความสำคัญ มีความสามารถ
เรียนรู้และสามารถพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นผู้สอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน
สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ หากผู้สอนมีความมั่นใจ

ว่าความสำเร็จของการสอน คือ ความสำเร็จของผู้เรียนที่พร้อมจะนำ
ความรู้และกระบวนการไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันอย่างมี
ความสุข ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ

เป็นผลมาจากผู้สอน ซึ่งเป็นผู้ที่นำการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้ที่ทำหน้าที่
จัดการเรียนรู้ เป็นผู้ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ และเป็นผู้นำหลักสูตร
ไปสู่การปฏิบัติจริง แล้วท่านจะไม่ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน พร้อม

ปฏิรูปการวัดและประเมินผลหรือ ?

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ








บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ฉัตรแก้ว เภาวิเศษ. (2553). การนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ไปสู่การปฏิบัติจริงในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ถ่ายสำเนา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). เอกสารกรอบแนวทางการปรับปรุง
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ
และมาตรฐานการศึกษา.

________. (2551). สื่อประกอบการบรรยาย (power point) การอบรมวิทยากรแกนนำ
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักปฏิรูปการศึกษา
(องค์การมหาชน).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). รัตนาจารย์การศึกษา พระปรีชาด้าน
การศึกษาในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

The Meta Secret :




7 ¨ิตสำนึกทÕèตŒองปÅูก½˜ง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ



















The Meta Secret :

7 ¨ิตสำนึกทÕèตŒองปÅูก½˜ง


อาจารย์สมฤดี แย้มขจร










äÁ‹ÃÙŒ¨ÐàÃÔ่ÁµŒ¹·Õ่µÃ§ä˹ เริ่มต้นอย่างไรดี ชื่อเรื่องยังไม่ได้เลย

เฮ้อ... การจะเขียนอะไรขึ้นมาให้เป็นประโยชน์สักเรื่องหนึ่งนี่เป็นอะไร
ที่ยากจัง (ทำไมการเขียนไม่ง่ายเหมือนการพูดนะ) ยิ่งเป็นการเขียน

เชิงวิชาการโดยแท้ยิ่งยากมาก หากเป็นเช่นนั้นจะขอเปลี่ยนเป็นการเล่าเรื่อง
หรือการถ่ายทอดแนวความคิดและประสบการณ์ของผู้เขียนผ่านตัวหนังสือ
น่าจะดีกว่า (ง่ายกว่า)


เริ่มที่ชื่อเรื่องก่อน ต้องอ่านว่า เดอะ เมทตาซีเคร็ต เจ็ดจิตสำนึก
(จะได้คล้องจองกัน) หลายคนคงตั้งคำถามในใจว่าอะไรของมัน(ว่ะ)
อันที่จริง เป็นเรื่องของความชอบล้วน ๆ ชอบหนังสือที่ชื่อ The Meta Secret :
สุดยอดเดอะซีเคร็ต เขียนโดย เมล กิลล์ เป็นหนังสือขายดีทั่วโลก

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






คนไทยโชคดีที่ได้อ่านด้วยเพราะแปลและเรียบเรียง โดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ของสำนักพิมพ์ดีเอ็มจี เป็นเรื่องของ 7 ความลับเหนือโลกที่ถูกเปิดเผย
เป็นหนังสือที่ดีที่ได้รับคำนิยมของนักเขียนชื่อดังหลายท่าน หนึ่งในนั้นคือ
ท่าน ว.วชิรเมธี ท่านได้ให้คำนิยมไว้ว่า “เป็นหนังสือสำหรับผู้ที่ต้องการความสุข

ความสำเร็จ ควรจะลองหามาอ่านและลงมือปฏิบัติตามมีแต่การลงมือ
ปฏิบัติตามเท่านั้นจึงจะสามารถประเมินค่าของสิ่งที่เขียนเอาไว้ในหนังสือ
ได้อย่างหมดจด” (ลองหามาอ่านดู นะคะ ห้องสมุดเรามี นั่น..ทำหน้าที่

บรรณารักษ์แนะนำหนังสือซะเลย) เมื่ออ่านแล้วชอบจึงขอยืมชื่อมาใช้
ส่วนเลข 7 ชอบและรู้สึกผูกพันยังไงไม่รู้ (7 จิตอาสาพัฒนาผู้เรียนไง)

แล้วทำไมต้องเป็นจิตสำนึกเพราะมักจะได้ยินคำพูดนี้บ่อยครั้งเมื่อ
นักเรียนทำความผิด และทำสิ่งที่ไม่ดีว่า “เด็กพวกนี้ไม่มีจิตสำนึกเลย”
ดังนั้นจิตสำนึกน่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะปลูกฝังเพื่อให้นักเรียน
เป็นเด็กดี เป็นคนดี เพราะมนุษย์เรานั้นจะทำอะไรให้ดีให้ประสบ

ความสำเร็จได้ควรจะต้องมีจิตสำนึกที่ดี สรุปโดยรวม...ความหมายของ
ชื่อเรื่องนี้ง่าย ๆ ก็คือ สุดยอดความลับเกี่ยวกับการพัฒนานักเรียนโดยมุ่งเน้น
ที่การพัฒนาตนเอง พัฒนาที่จิตใจภายในของตนเอง (เป็นการพัฒนา

จิตภายในตัวตน เข้าข่ายจิตตปัญญาศึกษาเช่นกัน) โดยเน้นจิตสำนึก
เป็นฐานในการพัฒนานักเรียน ปลูกฝังให้นักเรียนเกิดจิตสำนึกที่ดีให้ได้และ
เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่มุ่งเน้นการปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียน
ให้มีจิตสำนึกโดยระบุไว้ถึง 2 ข้อ ดังนั้นจิตสำนึกน่าจะเป็นสุดยอดความลับ
ที่จะช่วยพัฒนานักเรียนได้ (หากไม่มีจิตสำนึกท่าจะแย่มาก ๆ) มาดูกันว่า

ทั้ง 7 จิตสำนึกที่ควรปลูกฝังที่ผู้เขียนหมายถึงนั้นมีอะไรบ้าง แต่ก่อนจะไป
ถึงตรงนั้นขอพูดถึงความหมายของจิตสำนึกก่อน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






จิตสำนึก (Conscious) คือ ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถ

ตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง และ
สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย (ราชบัณฑิตยสถาน. 2542 : 312)

จิตสำนึก คือ สภาวะจิตสำนึก หรือภาวะการรู้สึกตัว หมายถึง

การมีความระมัดระวัง มีการเตรียมตัวและตื่นตัว มีความคล่องแคล่ว
กระฉับกระเฉง เสมือนหนึ่งว่าได้ตื่นตัวอย่างเต็มที่ พ้นจากความสะลึมสะลือ

หลังตื่นนอนแล้ว หรือการที่มนุษย์มีความรู้สึกตื่นตัวและพร้อมที่จะมี
ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง (พรพิมล วรวุฒิพุทธพงศ์ และสงคราม
เชาวน์ศิลป. 2549 : 152) ระดับของจิตสำนึกสามารถจำแนกออกได้เป็น
3 ระดับคือ สภาวะของจิตไม่รู้สำนึก สภาวะจิตก่อนสำนึก และสภาวะ

จิตไร้สำนึก ซึ่งสภาวะทั้งสามชนิดนี้จะเกิดขึ้นในกระบวนการของจิตสำนึก
ซึ่งเป็นความรู้สึกตัวของบุคคลต่อสิ่งเร้า ตลอดเวลา

จิตสำนึก (Conscious) เป็นจิตปกติธรรมดาของคนเราในขณะ

ตื่นอยู่ มีความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น ไม่อยู่นิ่ง
มีความเป็นอิสระในการคิดและเลือกคิดเฉพาะสิ่งที่ชอบและสนใจ จิตสำนึก

อาศัยสมองเป็นเครื่องมือทำการแยกแยะเหตุผล แสดงออกถึงความสงสัย
การคาดคะเน การคิดคำนวณ หรือ การยอมรับเรื่องราวต่าง ๆ สิ่งที่ไม่สนใจ
ก็ตัดออก แต่ถ้ามีสิ่งสนใจจะส่งผ่านไปยังจิตใต้สำนึกให้จดจำเก็บเอาไว้
(ดาเรศ บันเทิงจิตร.ออนไลน์)


ดังนั้นสรุปได้ว่า จิตสำนึก คือ ภาวะที่จิตตื่น หรือภาวะ
การรู้สึกตัว มีความรู้สึกตื่นตัวและพร้อมที่จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบ

ต่อสิ่งแวดล้อม รู้ตัว สามารถตอบสนอง และพร้อมที่จะมีปฏิกิริยา
โต้ตอบต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เริ่มที่จิตสำนึกที่ระบุไว้ในวิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จิตสำนึกที่ 1 ที่ต้องปลูกฝัง คือ มีจิตสำนึก
ในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก นั่นหมายถึงการปลูกฝัง
ให้นักเรียนรู้หน้าที่ของความเป็นพลเมืองไทย ต้องมีความรักชาติ ศาสนา

และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ และในฐานะเป็นคนไทย พูดภาษาไทย
ก็ต้องรักษ์ภาษาไทย (พูด อ่าน เขียน ให้ถูกต้อง) นอกจากภาษาแล้วยังมี
ศิลปะ วัฒนะธรรมประเพณีที่ดีงามของไทย ดังนั้นจึงต้องปลูกฝังจิตสำนึก
ที่ 2 ตามมา


จิตสำนึกที่ 2 คือ จิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและ
ภูมิปญญาไทย หมายถึง การช่วยกันดูแล รักษา สืบสาน และเผยแพร่
ต่อ ๆ ไป โดยเฉพาะภูมิปัญญาไทย เป็นสิ่งที่ต้องอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง เพราะ
เป็นเรื่องที่เด็กรุ่นใหม่ไม่เห็นคุณค่า ต้องให้เขาเปลี่ยนแนวความคิดให้ได้
ต้องแสดงให้เห็นว่าดีอย่างไร มีคุณค่าอย่างไร และในความเป็นพลเมืองไทย

ต้องอยู่ในสังคมของความเป็นไทย การจะให้สังคมไทยมีความสงบสุข
มีแต่สันติสุข นักเรียนก็ต้องมีจิตสำนึกที่ 3 ตามมา

จิตสำนึกที่ 3 คือ จิตสำนึกประชาธิปไตย ต้องปลูกฝัง

ให้นักเรียนรู้สิทธิ หน้าที่ของตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
เคารพสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่น มีความเกรงใจ ให้ความร่วมมือ ยอมรับ
ในมติหรือข้อตกลงของเสียงข้างมาก เคารพและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กติกา
และกฎหมาย อีกทั้งต้องปลูกฝังให้มีน้ำใจที่จะช่วยกันดูแลสังคมไทย

และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้มี จิตสำนึกที่ 4 คือ จิตสำนึกสาธารณะด้วย

จิตสำนึกที่ 4 คือ จิตสำนึกสาธารณะ หรือจิตสำนึก
ของสังคม (Social Consciousness) ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า
คือการตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ได้ให้ความหมายว่า คือการรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่อง
ของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่น
ในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย

ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

ดังนั้น จิตสำนึกสาธารณะ คือ จิตสำนึกของสังคม ที่ถ่ายทอดสืบต่อ
กันมาตราบเท่าที่ยังมีการดำรงอยู่ของสังคม (Social Being)
จิตสำนึกสาธารณะ ประกอบด้วยคำว่า “จิตสำนึก” และ “สาธารณะ”

“จิตสำนึก” เป็นเรื่องของ Mind หรือ Spirit ก่อนที่เราจะกระทำสิ่งใด
จิตที่สามารถส่งผ่านการสั่นสะเทือนทางอารมณ์ โดยผ่านไปยังสมองก่อน
จะกระทำทางกาย คือจะต้องคิดก่อนกระทำนั่นเอง “สาธารณะ” Public
เป็นเรื่องของส่วนรวมที่ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน มีสิทธิ
ในการใช้และมีหน้าที่บำรุงรักษาร่วมกัน สาธารณะ มี 3 ลักษณะ คือ

พื้นที่สาธารณะ โครงสร้างสาธารณะ (เช่น กฎหมาย ระบบโทรคมนาคม
สื่อมวลชน ฯลฯ) และ กระบวนการสาธารณะ (เช่น ประชาพิจารณ์)
พบว่ามีการใช้คำว่า “จิตสำนึก” “จิตสาธารณะ” และ “จิตอาสา”

ในบริบทที่เหมือนกัน ดังนั้น 3 คำ นี้จึงมีความหมายใกล้เคียงกัน
“จิตสำนึกสาธารณะ” ต้องสัมพันธ์อยู่กับ “สำนึกของความเป็นเจ้าของ” และ
“ความสำนึกของความเป็นเจ้าของ” ก็ต้องผูกอยู่กับ “สมบัติชุมชน”
การดูแลสังคมยังไม่เพียงพอ ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย จึงต้องมีจิตสำนึกที่ 5


จิตสำนึกที่ 5 คือ จิตสำนึกสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของการปลูกฝัง
ให้เห็นประโยชน์ของการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เด็ก ๆ จึงจะดูแลรักษา
สภาพแวดล้อมให้ดี รู้ถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ภัยธรรมชาติ
เกิดขึ้นได้อย่างไร การช่วยกันดูแลรักษาโลกของเราในฐานะเป็นพลเมืองโลก

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






จะต้องทำอย่างไร เหล่านี้ต้องปลูกฝัง สิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เป็นสิ่งที่

ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด น่าจะเป็นบ้านและโรงเรียน ดังนั้นจึงต้องปลูกฝัง
จิตสำนึกที่ 6 นี้ด้วย

จิตสำนึกที่ 6 คือ จิตสำนึกรักองค์กร องค์กรที่ว่านี้คือ บ้าน
โรงเรียน และชาตินั่นเอง เราต้องปลูกฝังให้เด็กเห็นความสำคัญของสถาบัน

ครอบครัว มีความรัก ความผูกพันกันระหว่างพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง สำหรับ
โรงเรียนก็สอนให้รุ่นพี่รุ่นน้องรักใคร่ปรองดองกัน มีน้ำใจช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกัน พี่ช่วยน้อง น้องช่วยพี่ จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามัคคี

และส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ส่งเสริม
สายสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน ครูกับนักเรียน ครูกับผู้ปกครอง
ช่วยกันพัฒนาโรงเรียนให้น่าอยู่ น่าเรียน มีความสุขกับการไปโรงเรียน
เหล่านี้ก็จะทำให้เกิดความรักและความผูกพันกับโรงเรียนจนทำให้
ไม่อยากทำความผิด ไม่ทำให้เสียภาพลักษณ์ ช่วยกันรักษาภาพลักษณ์

ที่ดีของโรงเรียนไว้ เมื่อรักบ้าน รักโรงเรียนนั่นหมายความว่า นักเรียนของเรา
เป็นเด็กหรือเยาวชนที่ดี เขาเหล่านั้นก็จะเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
และรักชาติสืบต่อไป เหมือนประเทศญี่ปุ่นเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก

ในขณะนี้ว่า เป็นชาติที่คนมีวินัยและรักชาติมาก ๆ อยากรู้จังว่าเขาทำอย่างไร
จากการค้นคว้าได้พบว่ามีงานวิจัยของ คุณวัฒนา พัฒนพงศ์ เรื่องการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น จากการวิจัยพบว่า “การพัฒนาองค์กร
ในระดับกว้าง เช่น การพัฒนาประเทศชาติ จะต้องให้ความสําคัญและเริ่มต้น
ที่ประชาชน ในฐานะเป็นสมาชิกของครอบครัว ชุมชน และประเทศ

ส่วนการพัฒนาในระดับปัจเจกบุคคล ต้องให้ความสําคัญ และเริ่มต้นที่จิตใจ
การพัฒนาทรัพยากรบุคคลต้องเริ่มต้นตั้งแต่เนิ่น ๆ พ่อแม่ต้องวางแผน
ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพดีมากน้อยเพียงใด

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ย่อมขึ้นอยู่กับสถานภาพของพ่อแม่ ทั้งด้านสุขภาพของร่างกายของพ่อแม่

เจตคติของพ่อแม่ การศึกษาของพ่อแม่ ฐานะทางเศรษฐกิจของพ่อแม่
และจริยธรรมของพ่อแม่ ความสําเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของญี่ปุ่น
คือ ความเป็นระเบียบวินัยของคนในชาติ ความมีจิตสํานึกรักภักดีต่อชาติ

ความมีจิตสํานึกเห็นความสําคัญของผลประโยชน์ระดับชาติมากกว่า
ผลประโยชน์ระดับบุคคล ความมีจิตใจที่แข็งแกร่งทรหดและเอาการเอางาน
ความมีจิตสํานึกชอบแข่งขัน ความมีความคิดในเชิงเปรียบเทียบ การมีอุปนิสัย
ในการใฝ่รู้และสะสมข้อมูลสาระและความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งความสําเร็จทั้งมวล
ของชาวญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนามหายาน และลัทธิชินโต

และระบบการปกครองแบบเจ้านครในอดีต” (วัฒนา พัฒนพงศ์. ออนไลน์)

มาถึงจิตสำนึกที่ 7 ที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นจิตสำนึกที่สำคัญที่สุด
ที่จะทำให้จิตสำนึกทั้งหมดที่กล่าวมาประสบความสำเร็จ และจะล้มเหลว
โดยสิ้นเชิงหากปราศจากซึ่งจิตสำนึกที่ 7 นี้


จิตสำนึกที่ 7 จิตสำนึกของความรัก ในบทความนี้ ถือว่า
ความรักเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งจรรโลงใจผู้คน เป็นกำลังใจ เป็นแรงบันดาลใจ
และผลักดันให้ผู้คนทำในสิ่งที่ดีงาม หากเปรียบเช่นนี้แล้ว ความรักแรก

ที่ควรปลูกฝังให้นักเรียนมีคือ ความรักและเคารพนับถือตนเอง ตระหนัก
ในคุณค่าของตนเอง หรือ self-esteem หากนักเรียนมี self-esteem แล้ว
นักเรียนจะมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง มีความซื่อสัตย์
มีความภูมิใจในผลสำเร็จของงาน เป็นคนซึ่งมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

และมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหา และรับผิดชอบต่อปัญหาที่จะเกิดตามมา
เปนคนที่คนอื่นรักและรักคนอื่น เป็นบุคคลที่สามารถควบคุมตัวเอง
เพื่อให้บรรลุเปาหมายของงาน โดยสรุปแล้วคนที่มี self-esteem สูง
จะหมายถึงคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบสูง และซื่อสัตย์

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ตรงกันข้ามกับคนที่มี self-esteem ต่ำหรือพฤติกรรมปองกัน (defensive)

คนกลุ่มนี้มักจะต้องการ พิสูจน์ตัวเอง หรือวิจารณ์คนอื่น ใช้คนอื่น
เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง บางคนอาจจะหยิ่ง หรือดูถูกผู้อื่น มักจะไม่มี
ความมั่นใจในตัวเอง ไม่มั่นใจว่าตัวเองจะมีคุณค่าหรือความสามารถ

หรือการยอมรับ ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่กล้าที่จะทำอะไร เนื่องจากกลัว
ความล้มเหลว คนกลุ่มนี้มักจะวิจารณ์คนอื่นมากกว่าการที่กระทำ
ด้วยตนเอง และยังพบอีกว่าคนกลุ่มนี้มักจะชอบความรุนแรง ติดยาเสพติด
มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย คนที่มี self-esteem จะต้องมีความสมดุลของ
ความต้องการผลสำเร็จ หรืออำนาจ และความรู้จักคุณค่า ความมีเกียรติ

และความซื่อสัตย์ ซึ่งอาจจะหมายถึงจิตใต้สำนึก และพฤติกรรมนั่นเอง
จิตใต้สำนึกของคนที่มี self-esteem จะต้องรู้จักบาป บุญคุณโทษ รู้สิ่งใดดี
สิ่งใดไม่ดี ความสื่อสัตย์ ความมีเกียรติ ส่วนพฤติกรรมของ self-esteem

มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหา เชื่อมั่นในความคิดและความสามารถ
ของตัวเอง สามารถเลือกวิธีการตัดสินใจที่ถูกต้อง หากสูญเสียความสมดุล
ก็จะทำให้เกิดปัญหา เช่น หากจิตใต้สำนึกไม่แข็งแรง หรือสมบูรณ์พอ
ก็จะทำให้คนเกิด พฤติกรรมเชื่อมั่นตัวเองมากเกินไป หยิ่งยโส
เมื่อนักเรียนรักตนเองแล้วก็ควรปลูกฝังให้นักเรียนมอบความรัก ความห่วงใย

ให้กับคนรอบข้าง เริ่มจากที่บ้าน..รักพ่อ รักแม่ ญาติพี่น้อง มาโรงเรียน...
รักเพื่อน รักน้อง รักพี่ รักอาจารย์ รักบุคลากรส่วนอื่น ๆ ของโรงเรียน
เป็นรักแบบบริสุทธิ์ (ไม่ใช่รักแบบชู้สาว) เห็นด้วยกับผู้เขียนแล้วหรือยัง

ว่าจิตสำนึกของความรักเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เมื่อมีความรัก ความเมตตา กรุณา
ก็จะตามมา โรงเรียน สังคม ประเทศชาติก็จะสงบสุขตามไปด้วย

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






จะเห็นได้ว่า การปลูกฝังจิตสำนึกส่วนมากที่กล่าวมา ได้บรรจุ

ไว้แล้วในเรื่องของการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่า
จะเป็นบทเรียนหรือกิจกรรมในวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ ก็ดี (ไม่ผ่าน
ในเนื้อหาวิชาก็ผ่านทางการอบรมจริยธรรม คุณธรรมที่แทรกไว้ในการสอน)

และได้แทรกซึมเข้าไปในกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งโรงเรียนจัดเป็นประจำ
อยู่แล้ว แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจิตสำนึกดังกล่าวได้เกิดขึ้นจริง
ในนักเรียนของเรา ในโรงเรียนของเรา คงจะต้องเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก
สำหรับอาจารย์ทุกท่าน เพราะทุกท่านมีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียน ให้เกิด
ให้มีจิตสำนึกดังกล่าวทั้งหมด เราคงต้องมาร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง ติดตาม

ดูแลและประเมินผลแห่งความสำเร็จ เพราะเราทุกคนมีจิตสำนึกของ
ความเป็นมนุษย์ และที่สำคัญยิ่งคือ ทุกคนมีจิตสำนึกของความเป็นครู
อย่างเต็มเปี่ยม






บรรณานุกรม
จิตสำนึก. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2554. จาก http://nounlaor123.exteen.com/20090407/entry

ดาเรศ บันเทิงจิตร.(2554). จิต. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2554.จาก www.dss.go.th/
dssweb/st-articles/fi les/sti_1_2551_Mind.pdf
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2542). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุสค์ จำกัด.

พรพิมล วรวุฒิพุทธพงศ์ และสงคราม เชาวน์ศิลป. (2549, กรกฎาคม - ธันวาคม).
“การสร้างแบบวัดการสนับสนุนทางสังคม,” มนุษยศาสตร์สาร. 7 (2 ):32-47.

วัฒนา พัฒนพงศ์. (2554). บทคัดย่องานวิจัยเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
แบบญี่ปุน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2554. จาก http://www.thaihrhub.
com/index.php/archives/research-view/research-829/

self-esteem. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2554. จาก http://www.novabizz.com/NovaAce/
SelfEsteem.htm

ºทºาทครู






กัºการส‹งเสริมปรЪาธิปไตย...


ยาก¨ริงËร×อ?

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ



















ºทºาทครูกัºการส‹งเสริม

ปรЪาธิปไตย...ยาก¨ริงËร×อ?


อาจารย์วัฒนโชติ เพ็งพริ้ง










¤Ã١ѺÃкº»ÃЪҸԻäµÂ ถ้ามองอย่างผิวเผินแล้ว
อาจดูว่าเป็น “เรื่องคนละเรื่องกัน” แต่ในความเป็นจริงแล้ว “ครู” คือ
บุคคลที่มีความสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจ ส่งเสริม ปลูกฝัง และร่วม
พัฒนาระบบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะเยาวชนไทยวันนี้ คือผู้ร่วมจรรโลง

ประชาธิปไตยในวันข้างหน้า หลายคนมักจะบ่นกันเสมอว่าประชาธิปไตย
ไม่พัฒนาเพราะมีแต่นักการเมืองน้ำเน่า ดังนั้นในอนาคตจะเกิด

นักการเมืองน้ำดี หรือ น้ำเน่า ก็คงหนีไม่พ้นหน้าที่ครูที่จะช่วยกันปลูกฝัง
เยาวชนไทยในวันนี้ ถึงแม้ว่าเยาวชนทุกคนจะไม่ก้าวไปเป็นนักการเมือง
แต่สิ่งสำคัญที่ทุกคนควรจะเป็นนั่นก็คือ การเป็นนักประชาธิปไตย
ที่ดี ดังนั้น การปลูกฝังประชาธิปไตยต่อเยาวชนจึงเป็นสิ่งที่น่าห่วง

และต้องรีบดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดสภาวะความขัดแย้งดังเช่นสภาพสังคม

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ไทยในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ให้มีความเข้าใจ

ในระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จึงจะสามารถวิเคราะห์ได้อย่างเข้าใจ
และเท่าทันกับสิ่งที่แอบแฝงกับประชาธิปไตย

การสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียนนับเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียน

ได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบประชาธิปไตยซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับ
การนำไปใช้ในสังคมและชุมชน เป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้

เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต สร้างลักษณะนิสัยให้ผู้เรียนได้รู้จักระเบียบ
ข้อบังคับ กฎเกณฑ์และกติกาของสังคม ตลอดจนรู้จักรับผิดชอบหน้าที่
ของตน ทีมงาน ชุมชน และสังคมได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น
นอกจากการเรียนรู้ในระบบการศึกษาและจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย

ในโรงเรียน อาทิ คณะกรรมการนักเรียน กิจกรรมชุมนุมต่าง ๆ กิจกรรมกีฬา
กิจกรรมส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กิจกรรมกลุ่มจัดการแสดงต่าง ๆ
แล้ว สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนก็ต้องมีการจัดให้มีบรรยากาศประชาธิปไตยคือ

มีระบบและการยอมรับซึ่งกันและกัน เกิดการปฏิบัติจนเป็นนิสัย และ
มีพฤติกรรมในการแสดงออกตามแนวทางของประชาะธิปไตย อาทิ
การเคารพซึ่งกันและกันทางกายคือ มีการทักทายให้เกียรติผู้อื่น แสดง

ความเคารพแก่บุคคลซึ่งอาวุโสกว่า มีการแสดงความเอื้อเฟอต่อกันและกัน
การเคารพซึ่งกันและกันทางวาจา โดยการพูดจาสุภาพ ไม่ก้าวร้าว ส่อเสียด
ใช้คำพูดเหมาะสมกับกาลเทศะ เหมาะสมตามฐานะของบุคคล ไม่พูดในสิ่ง

ที่จะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่พูดนินทาหรือโกหกหลอกลวงและไม่นำ
ความลับของบุคคลอื่นไปเปิดเผย การเคารพสิทธิของผู้อื่น ด้วยการ
ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นทั้งทางกายหรือวาจา เคารพในสิทธิของคน

ที่มาก่อนหลัง เคารพในความเป็นเจ้าของสิ่งของเครื่องใช้ รู้จักการขอ
อนุญาตเมื่อล่วงล้ำเข้าไปในบริเวณที่พำนักอาศัยหรือขอบเขตของ
บุคคลอื่น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






การเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น พร้อมที่จะเป็นผู้นำและ

ผู้ตามที่ดี ยอมรับฟังความคิดเห็นโดยการฟังต้องเกิดด้วยความตั้งใจ
และคิดใคร่ครวญด้วยวิจารณญาณหากพบว่าเป็นแนวคิดที่ดีมีประโยชน์
ก็ควรยอมรับและปฏิบัติ


การเคารพในกฎระเบียบของสังคม ด้วยการปฏิบัติตนอยู่
ในกฎเกณฑ์ของสังคม รู้จักการใช้เสรีภาพให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย

และขนบธรรมเนียมประเพณี

การรู้จักประสานประโยชน์ คือการยึดถือประโยชน์ส่วนรวม
เป็นที่ตั้ง รู้จักการทำงานร่วมกันอย่างสันติวิธี มีการประนีประนอม เสียสละ

ความสุขส่วนตนหรือหมู่คณะเพื่อส่วนรวม ช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างตั้งใจ
และจริงจัง ไม่หลีกเลี่ยงหลบงานหรือเอาเปรียบผู้อื่น

การรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทั้งที่ได้รับมอบหมายและอาสาจาก

ส่วนรวมและสังคม การใช้ปัญญา ใช้เหตุผลและความถูกต้องในการตัดสิน
แก้ไขปัญหาทั้งปวง รู้จักการปฏิบัติตามมติของเสียงส่วนมากแต่ไม่ใช่
การใช้เสียงข้างมากในการตัดสินปัญหาโดยปราศจากการร่วมกันคิด
และร่วมกันตัดสินใจโดยใช้เหตุผล หากมีปัญหาโต้แย้งต้องพยายาม

อภิปรายใช้เหตุผลชักจูงให้ทุกคนเห็นคล้อยตาม ถ้าเกิดกรณีที่ต่างก็
มีเหตุผลที่ดีด้วยกัน และไม่อาจโน้มน้าวความคิดเป็นหนึ่งเดียวกันได้

จึงจะใช้วิธีการออกเสียงลงมติ

ดังนั้นหากครูทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจ สามารถทำให้นักเรียนมีความคิด
มีวิถีชีวิตเป็นไปตามแนวทางระบบประชาธิปไตยดังกล่าวข้างต้นได้แล้ว

การเคารพในสิทธิหน้าที่ของผู้อื่นก็จะติดตามมา การทะเลาะกันแบบไร้เหตุผล

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 











“สิ觷Õèครٷءคน¨ÐµŒÍ§·ำ¡çค×Í



¡าร´ำร§µน µามรÐบบ»รЪา¸ิ»äµย


ãˌ䴌Íย‹า§á·Œ¨ริ§ à¾×èÍ໚นáบบÍย‹า§



¢Í§àยาǪนãน¡าร»¯ิบัµิµน


à¾×èÍนำ¾าคÇามส§บสØ¢มาสÙ‹·Ø¡คน



áÅлรÐà·ÈªาµิÍย‹า§á·Œ¨ริ§”

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการสร้างบรรยากาศห้องเรียนในปัจจุบันจึงไม่ใช่

บรรยากาศของห้องเรียนในระบบการศึกษาไทย ในอดีตที่ยกอำนาจ
ให้กับครูประจำชั้นในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ของห้องเรียนตามความพึงพอใจ
ครูจะต้องให้สิทธินักเรียนแสดงความคิดเห็น พิจารณาและดำเนินการ

ร่วมกันอย่างถูกต้องตามระบบประชาธิปไตย โดยครูประจำชั้นเป็นเพียง
หนึ่งในสมาชิกที่คอยชี้แนะให้คำปรึกษา ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวจะเป็น
การส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ประชาธิปไตยได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ทำให้

เยาวชนไทยเกิดทักษะในการแสดงความคิดเห็น คิดเป็น นำเสนอเป็น
อย่างถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามในฐานะครูก็คงจะหลีกพ้นไม่ได้ที่จะต้อง
แสดงบทบาทเป็นต้นแบบที่ดีด้วยการเป็นแม่พิมพ์ของชาติตามระบบ

ประชาธิปไตย

เ´çก´ิ¨ิตอÅ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ

























เ´çก ´ิ¨ิตอÅ

ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร










I fear the day that technology will surpass our human interaction.

The world will have a generation of idiots.

“ฉันกลัวเหลือเกินที่วันหนึ่งเทคโนโลยีจะทำใหคนปฏิสัมพันธกันนอยลง

โลกจะมีแตคนรุนใหมที่มีแตความโงเขลา”

Albert Einstein

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ã¹âÅ¡Âؤ»˜¨¨ØºÑ¹ที่ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนี้ทำให้เราได้รับข้อมูล
ข่าวสารมากมายอย่างรวดเร็ว ซึ่งในศตวรรษที่ 21 เราคงไม่ค้นหาข้อมูล
จากหนังสือในห้องสมุดอย่างในศตวรรษที่ 20 แต่เราสามารถค้นหาข้อมูล

จากโปรแกรมค้นหาสมัยใหม่ซึ่งอาจได้ข้อมูลหลายหมื่นหลายแสนชิ้น
ภายในไม่กี่วินาที แต่ข้อมูลเหล่านั้นคงมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ตรงกับ
ความต้องการของเราหรือไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ หรืออาจพบ

ข้อมูลที่ขัดแย้งกัน ดังนั้นความสามารถในการกรองข้อมูลข่าวสารจึงเป็น
อีกทักษะหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพลเมืองในยุคดิจิตอล
(Digital Citizen) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นที่ได้รับอิทธิพลโดยตรง

ที่ควรต้องได้รับการพัฒนาในทิศทางที่ถูกต้องเพื่อให้คนสามารถเลือก
แยกแยะ และสกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ เพื่อดำเนินการเรื่องใด
เรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเจริญด้านเทคโนโลยี หรือยุคดิจิตอล
ที่พบเห็นกันบ่อย ๆในสังคมในกลุ่มวัยรุ่นคือ การไม่ตระหนัก ขาดการยับยั้ง
การใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง ถึงแม้เทคโนโลยีจะมีประโยชน์มาก แต่ก็

ก่อให้เกิดปัญหาตามมาเช่นกัน ด้วยเพราะเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นและ
ชอบเลียนแบบ ถ้าขาดการชี้แนะที่ถูกต้องในด้านใดด้านหนึ่งแล้วย่อม
ก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ โดยเฉพาะในยุคเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท

ในสังคมนี้ รู้สึกว่าวัยรุ่นจะเป็นเปาหมายหลักของ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น
สื่อโฆษณาที่ทันสมัยที่เน้นบริโภคนิยม ในยุคทุนนิยม อุปกรณ์การสื่อสาร
ที่ทันสมัย มีระบบการใช้งานที่สลับซับซ้อนและเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น

โดยเฉพาะในสถานศึกษานักเรียนแทบทุกคนต้องมีโทรศัพท์มือถือและ

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ค่อนข้างมีราคาแพง ซึ่งพ่อแม่ต้องตามใจลูก เพราะกลัวลูกจะไม่มาโรงเรียน

หรือไม่มีอย่างลูกคนอื่น จึงเกิดค่านิยมที่ผิดๆขึ้นมาในยุคดิจิตอลนี้
ปัญหาสำคัญอีกประการคือ การเสพติดการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทาง
สังคมออนไลน์ (social network) หรือ การแชท (chat) ความจริงแล้ว

การติดต่อสื่อสารแบบนี้มีประโยชน์มาก ถ้ารู้จักกาลเทศะ โดยไม่ลืมไปว่า
ในสังคมแห่งความเป็นจริงนั้นการติดต่อสื่อสารที่นับว่าปลอดภัยที่สุดคือ
การที่คนเราต้องเห็นหน้า รู้จักกันพอสมควรก่อนที่จะเชื่อใจกัน แต่ปัญหาที่

พบสำหรับวัยรุ่นที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ การขาดวิจารณญาณ
ในการติดต่อสื่อสารในโลกไร้พรมแดน จะเห็นได้จากวัยรุ่นรู้จักกัน
ทางอินเตอร์เน็ตแล้วเชื่อทันที โดยที่พ่อแม่ไม่รู้ไม่เห็น จึงเกิดการติดต่อ

สื่อสารกันและ บางกรณีมีการล่อลวงหรือหลอกลวงกัน ยิ่งไปกว่านั้น
การใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่หน้าจอโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา
จนทำให้ลืมกิจกรรมในโลกแห่งความเป็นจริงกับครอบครัว เช่น คุยกับพ่อแม่

ญาติพี่น้องน้อยลง เกิดปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัวน้อยลงกว่าเดิม
เชื่อคนในอินเตอร์เน็ตมากกว่าพ่อแม่ จนเกิดเป็นปัญหาครอบครัว
ในที่สุด


จากปัญหาวัยรุ่นกับเทคโนโลยีที่กล่าวมาในข้างต้น ในฐานะ
ครูผู้สอนจึงมีบทบาทอย่างมากในการชี้แนะแนวทาง ส่งเสริมให้นักเรียน
ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น พร้อมพัฒนาตนเองสู่โลกเทคโนโลยีในอนาคต สามารถ

สรุปได้ดังต่อไปนี้

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






1. การสร้างกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity) ครูควร

ส่งเสริมจัดหากิจกรรมการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้รู้จักคิด โดยใช้เทคโนโลยี
เข้ามาเป็นสิ่งช่วยพัฒนาความคิดนั้นให้ออกมาเป็นรูปธรรม ทั้งต้องปลูกฝัง
ความรับผิดชอบต่อการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับของตนเองและส่วนรวม

สนับสนุนการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ การลอกเลียนความคิดคนอื่นซึ่งถือเป็น
ที่พึงตระหนักเป็นอย่างมาก


2. การสร้างทัศนคติเชิงบวก (Positive Attitude) เพื่อพัฒนา
การเรียนรู้การทำงานร่วมกันโดยผ่านเทคโนโลยี กล่าวคือ คนที่กระทำการ
ใด ๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งเลวร้ายในสังคมออนไลน์ก็มากขึ้น หากเราได้ปลูกฝัง
การสร้างทัศนคติให้กับนักเรียนที่จะไม่ต่อยอดความเลวร้ายเหล่านั้น

ไม่เป็นคนส่งต่อข้อมูลที่ซึ่งไม่กลั่นกรองเป็นการช่วยลดความขัดแย้ง
ที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างมาก

3. การสร้างความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learner)

ข้อมูลข่าวสารมากมายถูกถ่ายทอดโดยผ่าน youtube facebook website
ต่าง ๆ ผู้ที่เรียนรู้ได้ก่อน จึงได้เปรียบในอนาคต องค์ความรู้สามารถเรียนทัน

กันได้ สามารสร้างชุมชน เครือข่าย ตามความสนใจได้ เผยแพร่ความเป็น
ปัจเจกของตนเองได้โดยผ่านตัวกลางอินเตอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน
หากเราต้องการจะอยู่ในสังคมแห่งโลกดิจิตอล เด็กต้องพัฒนาความรู้
วิชาการ ศึกษานวัตกรรมซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

และตลอดชีวิตไม่อย่างนั้นจะไม่ทันคนอื่น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






4. การสร้างภาวะความเป็นผู้นำในโลกของเทคโนโลยีในอนาคต

(E-Leadership) ครูต้องสอนให้นักเรียนเข้าถึงและเข้าใจในบทบาท
ภาวะความเป็นผู้นำ ผู้นำในยุคดิจิตอลต้องเผชิญกับเทคโนโลยีไม่เพียงแต่

การสื่อสารระหว่างผู้นำกับผู้ตามที่ต้องผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัย
และมีความซับซ้อนขึ้น อย่างไรก็ตามภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ
ของผู้นำไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เพียงแต่ผู้ตามต้องการผู้นำที่เข้าใจ
ในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าใจการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อการปฏิสัมพันธ์

กับผู้ตาม สามารถสร้างความไว้ใจและการยอมรับการทำงาน ผู้นำ
ไม่จำเป็นต้องมีเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี แต่ต้องรู้วิธีการทำงาน
ร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุเปาหมายที่องค์กรได้ตั้งไว้


ในบทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 ผู้เขียนได้อ่านและสนใจแนวคิด
ทฤษฎีของ Alan November ที่นำเสนอการจัดการความรู้ในรูปแบบ

ที่เรียกว่า “Digital Learning Farm Model” โดยเป็นการจัดการเรียนรู้
โดยนักเรียนลงมือทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของตน เลียนแบบชีวิตของ
เด็กที่เติบโตในไร่นาหรือฟาร์มในสมัยก่อน ที่เด็กลงมือทำช่วยงานของ
ผู้ใหญ่ทั้งสิ้น เขาเน้นที่การเรียนโดยลงมือทำ (learning by doing) แต่เด็ก

สมัยนี้ไม่มีงานฟาร์มให้ฝึก ก็ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นเครื่องมือให้ได้
ฝึกลงมือทำเพื่อการเรียนรู้ ให้รู้จริง นักเรียนต้องเป็นเจ้าของการเรียนรู้
ของตนเอง ลงมือทำ หรือปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ของตนเอง โดยมีเปาหมาย

หรือแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้ และเรียน/ฝึกวิธีเรียนรู้ ไปพร้อม ๆ กัน
กับการเรียน/ฝึก ทักษะตามเปาหมายของตน และในชีวิตจริงนักเรียน
จะเรียนจากกันและกัน คือช่วยกันฝึก หรือเรียนเป็นทีมและที่สำคัญ ครู

ก็เรียนจากนักเรียนด้วยโดยครูทำหน้าที่ครูฝึก(โค้ช) ไม่ใช่ครูสอน บทบาทหรือ
หน้าที่สำคัญของครูคือ ทำให้กระบวนการเรียนรู้มีความหมายต่อนักเรียน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย มีคุณค่า ซึ่งอาจเป็นคุณค่าต่ออนาคตของ

ตนเอง หรือคุณค่าในลักษณะได้ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือต่อสังคมก็ได้
ครูสมัยใหม่จึงต้องเป็นนักจัดการคุณค่า เพื่อกระตุ้นแรงบันดาลใจ

ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ในการเรียนแบบ digital learning farm
นักเรียนไม่ใช่แค่เรียนเพื่อชีวิตอนาคตของตน แต่การเรียนนั้นเอง
คือชีวิต เป็นการเรียนจากชีวิตจริง ได้ทำคุณประโยชน์จริง คุณภาพ
ของการเรียนรู้เปลี่ยนไปอยู่ในความรับผิดชอบของนักเรียน ทำให้

นักเรียนมุ่งมั่นอยู่กับกระบวนการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ คิด และเรียนรู้ ถือเป็น
การเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียน มาเป็นนักเรียนเป็นผู้ให้ ผู้ร่วมมือ และผู้วิจัย
เป็นการเรียนรู้ที่ปลูกฝังจิตใจที่มุ่งมั่นทำประโยชน์แก่ผู้อื่น และแก่ส่วนรวม

โดยไม่ต้องสอน มองจากมุมของครู Digital Learning Farm คือ เครื่องมือ
สร้างความเอาใจใส่และการมีสมาธิมุ่งมั่นต่อการเรียนของนักเรียนเหมาะกับ
การนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง


สุดท้ายนี้อยากฝากถึงครูในยุคดิจิตอลทุกคน แม้ว่าในยุคนี้
นักเรียนจะมีครูเกิ้ล (google) ที่มาช่วยให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร
ได้รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์แก่พวกเขา แต่สิ่งที่ครูเกิ้ลไม่สามารถ

มีให้เหมือนครูอย่างพวกเรานั่นคือ ความมีคุณธรรมและจิตวิญญาณ
ของความเป็นครูนั่นเอง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ








แหลงอางอิง

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). แนวโน้มหลักสูตรในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ
16 เมษายน 2558 จาก https://www.gotoknow.org/posts/535839.

ไพศาล กาญจนวงศ์. (2558). E-leadership กับการบริหารงานองค์กรดิจิตอล.
สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2558. จาก http://drpaisarn.blogspot.com/2010/10/
e-leadership.htm.
วรากรณ์ งามศรีนวสกุล. (2558). สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558.
จาก https://www.gotoknow.org/posts/420574.

________. (2558).New vision for education. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558.
จาก http://www3.weforum.org/docs/WEFUSA_NewVisionforEducation_
Report2015.pdf.

_________. (2558). หน้าที่ของคนในยุคดิจิตอล. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2558.
จาก www.schoolguide.in.th/index.php?option=com_school&view=contentd
etail&id=22&Itemid=56.

November, Alan C. (2012). Who owns the learning ? : preparing Students for.

Success in the Digital Age. (2012). The United State of America. Solution Tree.

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 

























µÍ¹·Õ่ 2

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ

เËตุ¼ÅºนความรูŒสึก

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ


















เËตุ¼ÅºนความรูŒสึก

อาจารย์ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน












12.03 น.
เรากลัวผีเพราะด้วย “ เหตุผล ” หรือ “ ความรูสึก ” ?

ที่เรากินจนอ้วนเพราะ “ ความรูสึก ” หรือ “ เหตุผล ” ?
พอเราหาเหตุผลให้กับคำตอบ มันจึงเกิดความสงสัยขึ้นว่า /

เหตุผลหรือความรู้สึกอะไรสำคัญกว่าอะไร
เวลาคนเราเถียงกัน หากเปนเพศชายคงต้องการ ๆ ใช้เหตุผล /

หากเปนเพศหญิง คงต้องการ ๆ ใช้ความรู้สึก
แต่บางคู่ก็อาจสลับกันขึ้นอยู่กับฮอร์โมนก็มี

การมีอย่างใดอย่างหนึ่งมาก...ไปก็คงไม่ได้ ผมรู้สึกเช่นนั้น
หากวันใดวันหนึ่งและเมื่อไหร่ก็ตาม /

เราถูกด่าทอว่า “ ไอคนไมมีเหตุผล ” กับ “ ไอคนไมมีความรูสึก ”

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






อันไหนเจ็บปวดกว่ากัน (ถ้าถามถึงความเจ็บปวด คงต้องตอบว่าความรู้สึกสินะ)

มนุษย์คงถูกสร้างให้มีความรู้สึกขึ้นมาโดยธรรมชาติตั้งแต่เกิด

แต่พระเจ้าคงเล็งเห็นว่า ไม่รอดแน่ หากให้มนุษย์ใช้ความรู้สึกเพียงอย่างเดียว
จึงต้องประทานสมองเพื่อมาใช้เหตุผล มาเปนตัวควบคุม /
(จะใช้สมองรึเปล่าขึ้นอยู่กับการได้รับการเลี้ยงดูนะ)

และถ้าพระเจ้าให้สมองมาเพื่อใช้เหตุผลเพียงอย่างเดียว สงครามอาจจะเกิดขึ้น

ง่ายกว่านี้อีก เพราะมันคงปราศจาก “ ความรูสึก ” สงสารเห็นอกเห็นใจกัน


13.30 น.

เรามีความรู้สึกไว้ “ รัก ” มีเหตุผลไว้ “ ควบคุม ” ความรักอีกทีนึง

ถ้าคนเรามีความรู้สึกอย่างเดียว / มันอาจทำให้วุ่นวาย /
ความรู้สึกอาจพาไปทำให้เรารักใครได้หลายๆ คน
พอมีเหตุผลมาควบคุม / มันจึงทำให้เราได้คิดไตร่ตรองว่าถูกหรือไม่

เคยมั้ยที่ถามกันว่า เธอรักฉันเพราะอะไร ? มันก็ตอบไม่ได้เพราะมันไม่มีเหตุผล

เริ่มต้นมีความรัก เราใช้ความรู้สึก / พอเลิกรัก เราต้องการเหตุผล
เราอยากรู้ว่าที่เลิกรักกันนั้นเพราะอะไร
บางคนไม่มีเหตุผลให้ในการเลิกกัน / เพราะมันชัดเจนได้ว่า

แค่ “ รูสึก ” หมดรักเท่านั้นเอง

จะตอบแบบให้มีเหตุผลแค่ไหน อีกฝายก็ไม่ยอมเข้าใจอยู่ดี
ยังต้องการเหตุผลที่ดีในการเลิกรัก
โลกมีสองมุมให้มองเสมอ จึงมีบางคนเลิกกันด้วย “ เหตุผล ” เช่นเดียวกัน

/ ความรวยจน / เจ้าอารมณ์ / ญาติพี่น้องไม่ยอมรับ / การศึกษา อาชีพ

/ และหลายเรื่องที่อยากร้างลา เราสามารถหาเหตุผลเลิกกันได้

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ





14.00 น.


มีเรื่องราวมากมายบนโลกนี้ที่เราต้องตัดสินใจด้วยสองสิ่งนี้เสมอ
เหตุผลกับความรู้สึก

ความรู้สึกช่วยให้เราอ่อนโยน / เหตุผลช่วยให้เราหนักแน่น
มันยากที่จะมีแนวทางบอกให้ทุกคนรู้ว่าเรื่องไหนควรใช้ความรู้สึก

เรื่องไหนควรใช้เหตุผล
บางอย่างถ้าใช้ความรู้สึกอย่างเดียวอาจจะทำให้เสียมันไป

บางอย่างถ้าใช้เหตุผลอย่างเดียวอาจไม่ได้มันมา
หากเจอเรื่องราวที่ต้องตัดสินใจ ให้เรานิ่งสักพัก

ความรู้สึกที่มีสติจะบอกคุณเองว่าควรใช้อะไรมาตัดสิน



วิชาออกเดินทาง เพื่อฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับครู

แว่นของคุณไม่ใสแล้ว เช็ดหน่อยก็ดี
ผมกำลังเช็ดอยู่เหมือนกัน

เปลี่ยนเลนส์ก็ดี ลองใส่ len wide ดูสิ
โลกกว้างและน่าอยู่ขึ้นเยอะ
วันหิมะตกหนักที่สุดในรอบหลาย ๆ ปี ที่ญี่ปุ่น

ผมเดินลุยแบบไม่มีเครื่องปองกันใด...
ทันใดนั้นหิมะก็ตกลงใส่แว่นตา
และในดวงตาของหลาย ๆ คน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เพราะบางที่สิ่งที่เราบอกเรารู้จัก

เรากลับไม่รู้จักอะไรเลย
ตอนไปญี่ปุ่น วันแรกที่เดินหลงทาง
เกือบไม่รอดแล้ว

ผมมองย้อนไปหาสาเหตุที่เดินหลงครั้งแรกว่าเพราะอะไร
มีคนบอกทางผม 5-6 คน ปรากฏว่าคนที่บอกทางผิดดันเป็น “คนแรก”


ตอนนั้นถ้ามีใครไปด้วยกับผม ผมจะรู้สึกผิดมาก
พาเค้าเดินทางผิดทาง ผมคงอยากจะบอกเค้าว่า
ผมไม่มีเจตนาแบบนั้นที่จะพาเดินทางผิด /
การมาเดินทางคนเดินจึงแค่รับผิดชอบความรู้สึกของตัวเอง

ถ้าคุณเข้าใจสิ่งนั้นผิดไป คุณกล้ารับผิดชอบสิ่งที่คุณตัวเองตัดสินแบบนั้น
ได้รึเปล่า
ผมเองก็รับผิดชอบความรู้สึกนั้นไม่ได้เช่นกัน

ผมไม่ได้รู้สึกอยากต่อว่าคนแรกที่บอกทางผมผิด
แต่ผู้ชายคนแรกคนนั้น พาผมไปเจอคนที่สอง
เพราะหลังจากคนที่สองผมก็ไม่หลง สามารถเดินต่อไปได้

จนไปเจอคนผู้ชายคนสุดท้ายที่กำลังทิ้งขยะ
และเค้าพาผมไปเจอที่พักได้
เราสวมกอดด้วยความจริงใจ

มนุษย์เคยชินกับการแลกเปลี่ยนมาตลอด
พอได้เจอมุมที่พบกับการให้โดยไม่หวังอะไรจึงเกิดคำถาม
คำถามที่ทับใจของหลายคนว่า ทำให้แบบนี้แอบคิดสิ่งใดอยู่หรือเปล่า?

ผมยังเผลอแลกเปลี่ยนกับคนญี่ปุ่นคนนั้นไม่ได้เลย

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ในเมื่อเค้าพาผมมาถูกทาง ผมจึงชวนเค้ามาเที่ยวให้ ผมให้พักฟรี ถ้าสนใจ

ของฟรีมีในโลกเหรอ? หรือผมจะหลอกเค้ามาข่มขืน ใครก็ตามที่จะคิด
คงห้ามกันลำบาก เพราะมันเป็นกรอบแว่นสายตาของคน ๆ นั้น

ตลอดเส้นทางการไปญี่ปุ่น ผมถามทางเพศ “หญิง” มากกว่าเพศ “ชาย”
เพราะด้วยหลักคิดของผมคือ เพศตรงข้ามจะมีแรงดึงดูดในการช่วยเหลือ
กันมากกว่า

(ความคิดผมคนเดียว) แต่เพศที่ 3 อาจพาผมไปอีกทางหนึ่ง 55555
ผมคิดเพิ่มเติม เชิงเปรียบเทียบชีวิตจริงของคนเรา มีคนเข้าใจเราก็เยอะ

และไม่เข้าใจเราก็เยอะ
แต่ถ้าเราหรือคุณมีสติพอ อย่าให้สิ่งที่คุณไม่เข้าใจกัน
มาทำให้คุณทุกข์ใจสิ เหมือนเวลาคุณซื้อเสื้อไปฝากเป็นของขวัญให้เค้า

แล้วเค้าใส่ไม่ได้ / เพราะบางทีความหวังดีของเราก็อาจทำให้เค้าทุกข์
การเดินทางที่ดีควรเบียดเบียนผู้อื่นให้น้อยที่สุด
ไม่ทำให้คนอื่นทุกข์กับการเดินทางของเรา

อาจจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับการเดินทางที่เที่ยงแท้ก็ได้
การเดินทางครั้งนี้ผมซื้อของเขา มาเป็นของตัวเอง น้อยมาก
เหตุผลก็เรื่องเงินด้วย

แต่เหตุผลที่สำคัญคือ เวลาเราซื้อของ ๆ เขามาเป็นของ ๆ เรา
มันทำให้เราทุกข์

เพราะเราต้องแบกมันไปตลอดการเดินทาง
ความหวังดีก่อก็เกิดความทุกข์ได้
ผมอยากลองชวนให้คุณออกเดินทางดูบ้าง มันอาจจะทำให้เรา

ใจกว้างมากขึ้น
เพราะมันจะเปลี่ยนจุดที่คุณเคยยืนอยู่มาตลอดชีวิตก็ได้

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






วิชาออกเดินทางสำคัญมากกับอาชีพครูจริง ๆ นะครับ

ออกไปดูอะไรใหม่ ๆ จากกรอบเดิม ๆ
มีร้านอาหารที่ฝรั่งเศสที่หนึ่ง ชื่อดังมาก เสน่ห์ของร้านนี้อยู่ที่การเปิดขาย
6 เดือน ปิด 6 เดือน

ครับ ได้ยินไม่ผิด ตาไม่ฝาดหรอก ไม่เชื่อ ผมย้ำให้อีกครั้ง
ทำงาน 6 เดือน ปิด 6 เดือน
คนจองคิวล่วงหน้าเป็นปี ๆ คิดว่าจะได้กินง่าย ๆ ไม่มีทาง
เหตุผลของการปิดร้านคือ ให้เชฟ พักและออกเดินทางไปเที่ยวทั่วโลกที่ไหน
ก็ได้ตามใจต้องการ

เพื่อผักผ่อนและจะได้เกิดแรงบันดาลใจในการทำอาหารที่อร่อย
เพื่อร้านนี้ต่อไป
การออกไปเจอโลก เจอผู้คน เจอสิ่งของ เจอความรัก เจอความผิดหวัง

เจอรสชาติอาหารของที่อื่น
สร้างแรงบันดาลใจให้กับเชฟที่นี่มาก คุณเดาได้เลยว่าพวกเขาจะกลับมา
พร้อมเมนูสร้างสรรค์ใหม่ ๆ อีกเพียบ
ทำเต็มที่ ได้พักเต็มที่ นี่คือหัวใจของการทำงานให้ดีเลยนะครับ



ผมกลับมานั่งคิดว่า ครู ก็คือ เชฟ นั่นแหละ เรามีหน้าที่เลือกปรุงความรู้
ที่เหมาะสม สร้างสรรค์ แปลกใหม่
เราควรได้ออกเดินทางในแบบนี้เรากำหนดได้และเป็นการเดินทางจริง ๆ

ไม่เกี่ยวกับการไปทัศนศึกษาอะไรนั่น
รสชาติคนล่ะเรื่องเลยนะครับ ถ้าทำได้จริง ๆ การปิดเทอมของครู
ก็จะเป็นการปิดเทอมที่แท้จริง
การได้หยุดพัก จึงเป็นการก้าวไปข้างหน้าอย่างดียิ่งเลยทีเดียว


ส่วนหนึ่งในบันทึกการเดินทางไปประเทศญี่ปุนคนเดียว (เดือนกุมภาพันธ์ ป 2557)

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ














“มันยา¡·Õè¨ÐมÕáนÇ·า§บÍ¡ãËŒ·Ø¡คน


รٌNjาàร×èͧäËนคÇร㪌คÇามรÙŒสÖ¡


àร×èͧäËนคÇร㪌à˵ؼÅ

บา§Íย‹า§¶Œา㪌คÇามรÙŒสÖ¡Íย‹า§à´ÕยÇ


Íา¨¨Ð·ำãËŒàสÕยมันä»


บา§Íย‹า§¶Œา㪌à˵ؼÅÍย‹า§à´ÕยÇ

Íา¨äม‹ä´Œมันมา


Ëา¡à¨Íàร×èͧราÇ·Õ赌ͧµั´สินã¨


ãËŒàรานิè§สั¡¾ั¡คÇามรÙŒสÖ¡·ÕèมÕสµิ


¨ÐบÍ¡คسàͧNjาคÇร㪌ÍÐäรมาµั´สิน”

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 







เล่านิทานให้ครูฟง
เรื่อง โลกน่าอยู่

ในจักรวาลอันกว้างใหญ่และไกลโพ้น

มีของแข็งชนิดหนึ่ง สีฟาคราม มีน้ำเป็นส่วนผสม มีชื่อเล่นสั้น ๆ ว่า โลก

มีสิ่งมีชีวิตที่ยืนสองขาได้ ชื่อเล่นว่า คน อยู่อาศัยด้วยกัน
สองสิ่งนี้เป็นเพื่อนสนิทกันมาก
ทุกเช้า โลกมันถามคนว่า เช้านี้เป็นไงบ้าง

คนก็ตอบว่า เช้านี้ อากาศไม่ค่อยดีเลย เราขออากาศที่สดชื่นหน่อยสิเพื่อนรัก

โลกตอบว่า ได้เลย เราจะทำให้
อยู่ดี ๆ... ก้อนใหญ่ ๆ สีแดงฉานเป็นแหล่งให้ความร้อนก็หล่นหาย
ไปบนขอบโลก

ความมืดปกคลุม

โลกถามคนว่า คืนนี้เป็นไงบ้าง
คนบอกโลกว่า เธอทำไมไม่โรแมนติกเลย
โลกคิดอยู่นานว่าจะทำไงดี คิดได้ทันใด จึงสร้างดวงดาวหลายล้านดวงขึ้นมา

คนสดชื่นดีใจ จนเผลอหลับไป

ทุกเช้าและค่ำ
โลกก็จะถามคนด้วยความเอาใจใส่เสมอ
และคนก็จะถามโลกกลับไปทุกครั้ง

ว่าทำไมวันนี้แดดแรงจัง

ทำไมฝนตกน้อยจัง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ





เราอยากเล่นหิมะ ช่วยหาให้หน่อย

เมื่อคืนเธอทำอะไรเสียงดัง ทำแผ่นดินไหวเหรอ เรานอนไม่หลับเลย
วันนี้น้ำตกไม่เปิดเหรอ เราอยากอาบน้ำ

จนกระทั่งวันหนึ่ง โลกเหนื่อยมาก ๆ จากการทำงานหนัก
แต่ก็ยัง ใช้แรงที่เหลืออยู่เอ่ยปากถามคนว่า เธอมีความสุขดีหรือเปล่า

คนจึงตอบว่า ไม่ค่อยเลย ทำไมโลกอย่างเธอไม่น่าอยู่เหมือนเดิมเลย
คนอย่างเราจะทำไงดี จะทำอย่างไรให้โลกอย่างเธอน่าอยู่เหมือนเดิม

มีอะไรที่คนอย่างเราพอจะช่วยได้ก็บอกนะ
โลกรวบรวมลมหายใจเฮือกสุดท้าย ตอบวิธีการทำให้โลกน่าอยู่

ไปอย่างง่าย ๆ และจริงใจว่า
“แค่คนอย่างเธอ ออกไปอยู่ที่ดาวดวงอื่น โลกอย่างฉันคงน่าอยู่ขึ้น”

ฅน....เป็นครู

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























ฅน....เป็นครู
อาจารย์เชิด เจริญรัมย์











¥¹...໚¹¤ÃÙนั้น ไม่ได้เป็นกันได้ง่ายๆ เพียงเพราะมีความรู้

มีการศึกษาสูง หรือความปรารถนาอยากเป็น เพราะคำว่าครูนั้น
มีความหมายมากกว่าที่หลายคนเข้าใจและให้คำจำกัดความ คำว่าครู
คำนี้มาจากภาษาบาลีว่า ครุ หรือภาษาสันสกฤษ ว่า คุรุ ซึ่งแปลว่า น่าเคารพ

แปลว่าหนัก หรือหนักแน่น ซึ่งหมายถึงความหนักแน่นด้วยคุณธรรม
จริยธรรม ภูมิความรู้ การวางตัว การใช้คำพูด การถ่ายทอดความรู้
ความเป็นแบบอย่าง การเป็นต้นแบบ (แม่พิมพ์)การเป็นผู้นำทั้งด้านวิชาการ

กิริยามารยาท การใช้ชีวิต ฯลฯ ดังนั้น คงต้องทำความเข้าใจและสำเนียง
ในความเป็นครู หรือ ฅน..เป็นครู ในประเด็นต่อไปนี้

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ตองมีความรู ความสามารถในการถายทอด (สอน)


บุคคลผู้ได้ชื่อว่า ครู ต้องเป็นผู้ทรงความรู้ในทุกด้าน ถึงไม่ทุกเรื่อง
แต่ก็ต้องให้รู้มากที่สุด พอที่จะให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษาได้เป็นอย่างดี
ในปัจจุบันจึงมีการกำหนดให้วิชาชีพครูนั้นต้องเรียนถึง 5 ปี ตามหลักสูตร

ของคณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ เพื่อให้บุคคลที่จะเป็นครูนั้นได้ศึกษา
เรียนรู้อย่างเต็มที่ และเพิ่มเติมประสบการณ์สอนก่อนเป็นครู

โดยการฝึกสอนในโรงเรียนต่าง ๆ 1 ปีการศึกษาหรือ 2 ภาคเรียน เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพในการสอนในเวลาสอนนักเรียนในชั้นนั้น ๆ

นอกจากนี้ ครู ยังต้องมีเทคนิควิธีการถ่ายทอดความรู้นั้นให้นักเรียน

ความอยากรู้ อยากเรียน มีความเพลิดเพลิน สนุกกับการเรียนรู้ในคาบเรียน
หรือรายวิชานั้น ๆ มิฉะนั้น จะกลายเป็นว่า มีแต่ความรู้ แต่ไม่สามารถ
นำความรู้ที่มีอยู่ไปให้ผู้อี่น (นักเรียน) ได้ ซึ่งเทคนิควิธีการสอนนั้น
แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน อาจลอกเลียนกันได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่

เป็นความสามารถเฉพาะบุคคล เช่นครูบางคนอาจเก่งการเล่านิทาน
ประกอบเนื้อหาที่สอน ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม หรือนำเหตุการณ์ปัจจุบัน

บุคคลสำคัญมาเป็นตัวละครในเนื้อหา เพื่อให้นักเรียนมองเห็นภาพ
ตามไปด้วย เป็นต้น

ตองมีเทคนิคการสอนที่หลากหลายมีเสียงหัวเราะ

ขณะสอน (นักเรียน)


ผู้เป็นครูต้องพยายามหาวิธีการสอน เทคนิคการที่หลากหลาย
รูปแบบมาสอน เช่นเรามักจะพูดกันเล่นว่า ครูสมัยก่อน มีแค่ ทอก์ค แอนด์
ชอก์ค คือ คุยหรือพูดกับเขียนชอก์คบนกระดานดำ แล้วก็อธิบายไปตามนั้น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






แต่ครูพันธุ์ใหม่ต้องมีอะไรมากกว่า ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ต้องใช้สื่อ

เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบในการถ่ายทอดความรู้ ผสมผสานวิธีการสอน
ให้มีความน่าสนใจ เร้าใจ สนุกสนานขณะเรียนหรือฟัง บางครั้งควรมี
เล่นเกมส์ทาย หรือมุขตลกบ้าง เพื่อบรรยากาศการเรียนรู้ที่ไม่น่าเบื่อ

เพราะครูบางคน ต้องยอมรับในระดับหนึ่งว่า มีความรู้มากมาย แต่สุดท้าย
ถ่ายทอดไม่เป็น คือไม่มีวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนที่ดีพอ


ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า ทรงมีเทคนิคการสอนที่สมบูรณ์แบบ
ใช้ได้ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนกระทั่งปัจจุบัน ก็ยังใช้ได้อย่างดีเยี่ยม
พระพุทธเจ้าทรงมีเทคนิคการสอนดังนี้


1. ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม หรือ ทรงทำของยากให้ง่าย ดังนี้

ทรงใช้อุปมาอุปมัย คือการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน
เช่น การตรัสสอนว่า หลักธรรมที่ทรงนำมาสอนเปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือ

ของพระองค์ ส่วนหลักธรรมที่ตรัสรู้นั้นเปรียบเหมือนใบไม้ในป่า

ยกนิทานประกอบ คือการใช้นิทานเป็นตัวเดินเรื่องหลักธรรม
ที่จะสอน เช่นเรื่องทาน ทรงยกเรื่องพระเวสสันดรชาดกว่า พระเวสสันดร

บริจาคทานอย่างไร

ใช้สื่อประกอบการสอน คือการใช้สื่อที่มีอยู่รอบตัวประกอบ
คำอธิบาย เช่นบุคคล 4 ประเภท ก็ ยกบัว 4 เหล่ามาเป็นสื่อคนขาดสติ

เช่นคนเมา ผลการทำชั่ว เช่น คนที่ต้องรับโทษ ในเรือนจำ เป็นต้น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 







2. ทำตนให้เป็นตัวอย่าง

สาธิตให้ดูหรือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น รำฉุยฉาย ท่ารำเป็นอย่างไร
ต้องวางมือหรือนิ้วมืออย่างไร จึงจะถูกต้องตามท่ารำ การยิงมือ ต้องจับปน
มือเดียวหรือสองมือ จับลักษณะไหนจึงจะถูกต้องตามหลักวิชาการ

การแต่งกายสุภาพ ควรแต่งอย่างไรให้เหมาะสมกับความเป็นครู ฯลฯ

ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง ทั้งด้านกายและวาจา เป็นครูต้องแต่งกาย
ให้เรียบร้อยสุภาพ ดูดี น่าเคารพนับถือ วาจาคำพูดต้องสุภาพ ถูกกาลเทศะ

ฯลฯ เหมือนคำโบราณว่า “สอนคนอื่นอย่างไร ต้องทำตนอย่างนั้น” ครูต้อง
เป็นต้นแบบให้กับนักเรียนในทุกด้าน

3. ทรงเลือกใช้คำที่เหมาะสม คือทรงใช้คำพูดให้เหมาะกับบุคคล สถานที่

เพศ วัย ความรู้ของบุคคลนั้น ๆ เช่น ครูสอนอนุบาล ก็ต้องใช้คำพูดที่เหมาะสม
กับเด็กเล็ก น้ำเสียงก็ต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก ครูมัธยม หรือครูมหาวิทยาลัย

ก็ต้องใช้คำพูดอีกระดับหนึ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน นักศึกษา

4. รู้จังหวะและโอกาส คือการรอความพร้อม สำหรับการสอนบุคคล
ที่ไม่เหมือนกัน เช่น คนใจร้อน กำลังโกรธมาก ก็ไม่ควรสอนในขณะนั้น

เหมือนพระพุทธเจ้าทรงรอโอกาสในการเทศน์โปรดพุทธบิดา ซึ่งผ่านหลายปี
พระองค์จึงเสด็จไปเทศน์โปรด ทรงรอให้พุทธบิดา ทรงคลายทิฏฐิมานะ
ของกษัตริย์ก่อนจึงสอนได้
5. ยืดหยุ่นในการใช้เทคนิควิธี คือ ทรงดูว่า กรณีไหนควรใช้วิธีใด

บางครั้งนุ่มนวล บางครั้งเข้มงวด คือต้องใช้ทั้ง “พระเดชและพระคุณ”

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






6. เสริมแรง คือ การใช้จิตวิทยาการชื่นชม ยกย่อง สรรเสริญ ให้กำลังใจ

สำหรับคนที่ทำได้ ทำเป็น เป็นคนดี เช่น นักเรียนตอบถูก ก็ชื่นชมเขา
นักเรียนทำความดี ก็ยกย่อง เป็นต้น


ตองสามารถปกครองนักเรียนทั้งในและนอกเวลาสอนได

ครูนอกจากใช้ “พระคุณ” ในการสอนแล้ว ที่ไม่ควรลืมและ

ขาดไม่ได้คือ “พระเดช” ครูต้องใช้พระเดชควบคู่กับพระคุณในการ
ทำหน้าที่สอน ขณะสอนต้องสามารถควบคุมบรรยากาศการเรียนการสอน
หรือพฤติกรรมของนักเรียนขณะเรียนได้ ต้องมีบุคลิกที่นักเรียน

ให้ความเกรงขาม แต่ไม่ใช่กลัว เช่นบุคลิกของครูฝ่ายปกครอง พอได้ยินคำว่า
“ฝ่ายปกครอง” นักเรียนต้องเกรงขาม หรือยำเกรง ไม่กล้าแสดงกิริยา
ที่ผิดระเบียบให้เห็น เป็นต้น ดังนั้น ครูต้องสามารถทำให้นักเรียนตั้งใจเรียน
ในห้องได้อย่างดี


ตองมีอำนาจในคำพูด (เสียงมีพลัง มีอำนาจ)


ครู ต้องใช้คำพูดที่สามารถสะกดนักเรียนให้หยุดฟังได้ มีพลัง
ในประโยคคำพูดนั้น ๆ บางครั้งครู ต้องสวมบทบาทเสียงตัวร้าย เพื่อใช้
ในการปกครองนักเรียน มิฉะนั้นนักเรียนอาจขาดระเบียบวินัยในการเรียน

การสอน อาจเรียกได้ว่า “ครูต้องมีวาจาสิทธิ์”

ตองใชน้ำเสียง จังหวะคำพูดไดดี มีเสียงเบา-ดัง สูง-ต่ำ


ในการสอนนั้น ครูต้องใช้น้ำเสียงที่ต่างระดับกัน มีสูง มีต่ำ มีเสียงดัง
เสียงเบา มีเน้น ไม่เน้น เสียงดังกังวาล ชัดถ้อยชัดคำ เพื่อกระตุ้น
ให้นักเรียนตั้งใจเรียน มิใช่ใช้เสียงโทนเดียว ไปเรื่อย ๆ เป็นเหมือนทำนอง


Click to View FlipBook Version