The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by atitayaporn, 2019-11-15 00:35:07

สอนสนุก สร้างสุข สไตล์สาธิตปทุมวัน เล่ม 4

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






พระเทศน์ ประสิทธิภาพการเรียนรู้อาจด้อยกว่าที่ควรจะเป็น ดีไม่ดี

นักเรียนอาจจะหลับ เพราะเสียงไม่เร้าใจ ไม่น่าฟัง เหมือนการออกเสียง
ภาษาอังกฤษ ต้องมีจังหวะเสียงขึ้น-ลง ที่เรียกว่า Intonation จึงจะน่าฟัง
และไพเราะ


ตองกวาดสายตามองใหรอบหองเรียน (ควรยืน-เดินสอน)


จิตวิทยาการสอนประการหนึ่ง คือการสบตาผู้เรียนหรือผู้ฟัง
จะให้นักเรียนรู้ว่า เราสนใจเขา และการมองกวาดสายตาไปรอบ ๆ ห้องเรียน
นับเป็นการปิดโอกาสที่นักเรียนจะคุย เล่น หรือหลับในห้องเรียนได้

ในระดับหนึ่ง ส่วนการยืนหรือเดินสอนนั้น ก็เป็นวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้นักเรียน
มองตามครูผู้สอน ผู้สอนก็เดินไปหานักเรียน เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อมิให้
เกิดความน่าเบื่อสำหรับผู้เรียน



ตองยกตัวอยางใหเห็นเปนรูปธรรม หรือโยงเขากับ

เหตุการณปจจุบัน

การที่จะสอนให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหาได้ดีวิธีหนึ่ง ก็คือ

การยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมหรือการโยงเข้าสู่เหตุการณ์โลก เหตุการณ์
บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนในเนื้อหานั้น ๆ เช่น
สอนเรื่อง สติ แล้วยกตัวอย่างเรื่องการฃับรถ การเดิน การกินอย่างไร

มีสติหรือไม่มีสติ หรืออาจเป็นคลิปวีดิโอ ของคนขาดสติ หรือคนมีสติมั่นคง
สอนเรื่องการเมือง ก็ยกตัวอย่างเรื่องการประท้วง ความขัดแย้งระหว่าง
ประเทศเป็นต้น

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ตองแมนยำและยึดมั่นในระเบียบวินัย (กฎระเบียบ)


ความเป็นครู สิ่งที่ขาดไม่ได้ประการหนึ่ง คือต้องแม่นยำ
และยึดมั่นในระเบียบวินัย ต้องมีระเบียบวินัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
แน่นอนระเบียบวินัย ย่อมไม่เป็นที่พอใจสำหรับนักเรียนบางกลุ่ม แต่

ความเป็นครูก็ต้องรักษามาตรฐานของความเป็นครูที่มีหน้าต้องรักษาไว้
ซึ่งระเบียบวินัยและความถูกต้อง ปฏิบัติกับนักเรียนทุกคนอย่าง

เท่าเทียมกัน โดยปราศจากอคติ และต้องอธิบายให้นักเรียนเห็น
ความสำคัญของระเบียบวินัยให้ได้ ดังคำว่า “บ้านมีกฎบ้าน เมืองมีกฎเมือง”
โรงเรียนก็ต้อง “มีกฎโรงเรียน”


ตองตรงเวลา เขาสอนตรงและออกตรงเวลา
การตรงเวลา แสดงออกถึงความเป็นคนรับผิดชอบต่อหน้าที่
ความซื่อสัตย์ ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นคุณสมบัติของผู้นำและผู้ตามที่ดี

ครูจึงต้องเป็นคนตรงต่อเวลา เข้าสอนตรงเวลา หมดเวลาหรือหมดคาบสอน
แล้วก็ต้องออก สอนจบไม่จบก็ต้องหยุดแค่นั้น เพราะนั่นหมายถึง

ความซื่อสัตย์ และยังเป็นทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนด้วย


ตองเปนแบบอยางที่ดีในทุกดาน เชน การแตงกาย การใชคำพูด

มารยาท ฯลฯ


อาชีพครู เป็นอาชีพที่ต้องทำความเข้าเรื่องการแต่งกาย ถ้าพูดถึงครู
ต้องนึกถึงความล้าสมัย ความเชยในการแต่งตัว ต้องเรียบร้อย
สุภาพทุกกระเบียดนิ้ว โดยเฉพาะครูผู้หญิง การแต่งตัวฉูดฉาด ตามสมัย

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






นิยมเหมือนสาวออฟฟิต ไม่พึงมีในอาชีพครู ดังคำพูดว่า “ถือถุง พุงป่อง

น่องทู่ ครูชัด ๆ” บกบอกถึงความเรียบง่ายสุภาพในการแต่งกายของครู
ส่วนการใช้คำพูดนั้น ครูต้องไม่พูดหยาบคาย ไม่ส่อเสียด กระแทกแดกดัน
ครูต้องใช้วาจาสุภาพ อ่อนหวานชวนฟัง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียน

ได้ถือเป็นต้นแบบในการปฏิบัติตน

ตองเตือนนักเรียนสม่ำเสมอเมื่อนักเรียนทำผิด


ครู ต้องมีลักษณะเด่นประการหนึ่ง คือ “พร่ำสอน” หมายถึง
การย้ำเตือน การสอนแล้วสอนอีก การสอนซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้นักเรียน

ที่ทำผิด ปรับเปลียนพฤติกรรมไปในทางดีขึ้นครูจึงเปรียบเหมือนพ่อแม่
ที่ต้องคอยพร่ำสอนลูก โดยไม่มีคำว่า “เบื่อที่จะสอนแล้ว” หรือไม่สอนแล้ว
เพราะนั่นหมายถึงความเมตตาและกรุณา ที่มีอยู่โดยจิตวิญญาณของความ
เป็นครู



ตองเรียนรูและพัฒนาตนเองเสมอ ใหทันโลกทันเหตุการณ


ครูต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ที่ทันโลกทันเหตุการณ์
อยู่เสมอ จะได้สอนนักเรียนได้ ต้องอบรม บ่มความรู้ในด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ

อย่าให้ขาด เพราะวิวัฒนาการของการเรียนรู้นั้น ไม่มีคำว่า “หยุดอยู่กับที่”
เพราะความคาดหวังของสังคมนั้น ครูต้องมีความรู้มากกว่านักเรียน
จึงจะสามารถสอนนักเรียนได้

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






สอนนักเรียนเรื่องใด จะตองไมกระทำผิดในเรื่องนั้นๆ


ครู ต้องเป็นคนตรง ซื่อสัตย์ ไม่หน้าไหว้หลังหลอก ถ้าสอนนักเรียนว่า
“อย่า” ตนเองก็ไม่มีข้อบกพร่องในเรื่องนั้นๆ หรือสอนนักเรียนว่า “ต้องทำ”
ครูก็ต้องทำในสิ่งนั้น ๆ ให้ได้ด้วย อย่าให้เขาสำนวนว่า “ว่าแต่เขา อีเหนา

เป็นเอง” หรือ “ปากว่าตาขยิบ” “สอนแต่คนอื่น ตนเองไม่เคยมองดู”
ต้องสำนึกเสมอว่า “สอนอย่างไร ต้องทำอย่างนั้น” ถึงจะเป็นต้นแบบ หรือ

แม่พิมพ์พ่อพิมพ์ที่มีคุณภาพได้


ตองมีวิญญาณความเปนพอแม


ครู ต้องมีวิญญาณความเป็นพ่อแม่อยู่ในตัวครูด้วย พ่อแม่รักลูก
อย่างไร ครูก็ต้องรักลูกศิษย์อย่างนั้น ต้องใช้พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา
มุทิตา และอุเบกขา ในการปกครองนักเรียน เพื่อให้เขาเจริญเติบโต

ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ เหมือนที่เราพูดกันเสมอ ๆ ว่า
“ครูคือพ่อแม่คนที่สองของนักเรียน” แต่อย่ารักมากจนมองไม่เห็นความผิด

ที่นักเรียนทำ มิฉะนั้น จะเข้าสำนวนที่ว่า “พ่อแม่รังแกฉัน”

ตองมีวิญญาณความเปนครู


คำว่า “วิญญาณความเป็นครู” หมายถึง คนเป็นครูต้องรักใน
วิชาชีพครู ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม เช่นมีเมตตากรุณาต่อนักเรียน
มีความหนักแน่นในเหตุผล ไม่มีอคติกับนักเรียน ซื่อสัตย์ในวิชาชีพ ปฏิบัติ

ต่อนักเรียนเหมือนพ่อแม่ปฏิบัติต่อลูก ต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณครู
หรือความเป็นครูที่ดี ดังต่อไป

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






1. ปโย ครูต้องประพฤติตนให้เป็นที่รักของลูกศิษย์ มีความรักและ

เมตตากรุณาต่อนักเรียนอย่างเท่าเทียมกัน
2. ครุ เป็นผู้น่าเคารพนับถือ เป็นผู้หนักแน่นในเหตุผล เป็นหนักแน่น
ด้วยคุณธรรมจริยธรรมของความเป็นครูที่ดี

3. ภาวนีโย เป็นผู้น่าเลื่อมใส ศรัทธา น่ายกย่องสรรเสริญ เพราะ
ครูต้องเป็นต้นแบบที่ดีในทุกด้าน
4. วตฺตา เป็นผู้ปฏิบัติตนที่ดี มีความประพฤติดี ปฏิบัติตนตาม

ระเบียบแบบแผน คนเป็นครูต้องไม่เห็นแก่ได้ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นประโยชน์
ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ให้ความรู้ (สอน) แก่นักเรียน
ด้วยความเที่ยงธรรม ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตนเอง

5. วจนกฺขโม เป็นผู้หนักแน่น อดกลั้นต่อถ้อยคำของผู้อื่น หรือ
อดกลั้นไม่พูดในสิ่งที่ไม่ควร อันขัดต่อคุณธรรมความเป็นครูของตนเอง
มีความมั่นคงทางอารมณ์ กับสิ่งที่มากระทบ โดยเฉพาะนักเรียน

6. คมฺภีรฺจ กถํ กตา เป็นผู้สุขุม มีความรู้ลึกซึ้ง รอบรู้ในศาสตร์
ทั้งหลาย สามารถอธิบายให้นักเรียนฟังได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
7. โน จฐาเน นิโยชเย ไม่ชักชวนหรือชักจูงนักเรียนไปในทาง

ที่เสียหาย ไม่เหมาะสม ไม่สอนในสิ่งที่ไม่ควรสอน


ตองวางตนใหเหมาะสมกับนักเรียน


ขอบเขตหรือเส้นกั้นระหว่างครูกับศิษย์ ต้องมี อย่าสนิทสนม
กับนักเรียนจนเกินขอบเขตความเป็นครู เช่นการคุยเล่น การเรียกชื่อ

หรือความสัมพันธ์เชิงชู้สาว คือสิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่ง เรื่องเหล่านี้จะเกิดขึ้น
หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการวางตัวของครู

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






สรุปว่า ฅน...เป็นครู นั้นต้องรักที่จะเป็นครู รักในอาชีพครู

รักนักเรียนเหมือนลูกตนเอง ยึดมั่นในหลักธรรมความเป็นครู เช่น
พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไม่มีอคติ 4 คือ ลำเอียง
เพราะรัก ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะหลง

ต้องเป็นแบบอย่าง เป็นต้นแบบหรือพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ที่ดีที่สุดแก่นักเรียน
เพราะไม่ว่านักเรียนจะทำผิดหรือถูก โง่หรือฉลาด เก่งไม่เก่ง ผลจะสะท้อน
กลับมาที่ครูเสมอ อย่าเป็นครูเพียงเพราะมีวุฒิการศึกษาสูง อย่าเป็นครู

เพียงเพราะความอยากเป็น อย่าเป็นครูเพียงเพราะมีความเชี่ยวชาญ
ในศาตร์นั้น ๆ แต่จงเป็นครูด้วยจิตวิญญาณที่ปรารถนาจะยกระดับสติปัญญา
ความรู้ความสามารถ ความประพฤติ กิริยามารยาทและคุณธรรมจริยธรรม

ของนักเรียนให้สูงขึ้นกว่าที่เขาเป็นอยู่

ทำไมถึงอยากเป็นครู!?!

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























ทำไมถึงอยากเป็นครู !?!
ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร











อาชีพครู มีความสูงส่ง และสำคัญมาก การที่จะคัดเลือกใครสักคน

เข้ามาเป็นบุคคลสำคัญนี้จำเป็นต้องสัมภาษณ์พิจารณาอย่างรอบคอบ
เสียก่อน และคำถามที่ขาดไม่ได้ คือ “ ทำไมถึงอยากเปนครู ” ผู้ใดก็ตาม
ที่ได้รับคำถามว่าทำไมถึงมาสมัครเป็นครู แล้วให้คำตอบที่แสดงให้เห็นว่า

ขาดอุดมการณ์ เช่น เพราะไม่รู้ว่าจะประกอบอาชีพอะไรเลยมาเป็นครู
หรือหางานอื่นไม่ได้ ถ้ายังตอบแบบนี้ก็ไม่สมควรเป็นครูบาอาจารย์
แต่ถ้าตอบว่า “ผมหรือดิฉันอยากเป็นครู เพราะครูคือผู้ให้แสงสว่าง

ให้กับนักเรียนและโลกใบนี้ อยากให้ชีวิตใหม่แก่เด็กนักเรียนที่เกิดมา
ภายหลัง และเพราะอาชีพครูนี้เป็นเส้นทางของมหาปูชนียาจารย์ เส้นทาง
เดียวกับพระบรมโพธิสัตว์ ” ถ้าตอบได้เช่นนี้ จะสมควรรับตำแหน่งเป็นครู

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เพราะบุคคลนั้นจะต้องมีวิญญาณครูก่อนแล้วถึงจะมาทำหน้าที่ครูได้ เราจึง

ต้องถามกันทุกคนทุกครั้งก่อนจะเข้ารับบรรจุตำแหน่งอันสำคัญนี้

เมื่อตัดสินใจที่จะดำเนินวิชาชีพครูแล้ว ควรพึงตระหนักถึงสิ่ง
ที่พึงกระทำเพื่อจะได้เป็นครูที่ดีสมกับที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น

แม่พิมพ์ของชาติ มีบทดอกสร้อยบทหนึ่ง กล่าวถึงครูดีไว้ช่วยให้จดจำ
ได้ง่ายไว้ว่า


คนเปนครูตองมีความรู

เนื่องจากครูจะต้องทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้และ
ความเป็นกัลยาณมิตร ครูจึงต้องมีความรู้อย่างน้อย 3 ด้าน คือ ความรู้ทั่วไป

ในสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ความรู้
ในสาขาที่สอนและความรู้ในการสอนหรือเทคนิคการสอน รวมถึง
การวางแผนการสอน การเตรียมการสอน การดำเนินการสอน การประเมิน

ผลการสอน การใช้สื่อการสอน เป็นต้น

คนเปนครูตองปกครองชั้นได


หมายถึง ครูจะต้องทำงานร่วมกับนักเรียน เพื่อให้เป็นไปตามแผน
การจัดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง เรียนรู้ร่วมกับเพื่อนและเรียนรู้
ร่วมกับครู การปกครองชั้นในการเรียนการสอนแบบใหม่ จะเน้นบทบาท

ของนักเรียนที่มีความกระตือรือร้นตามความต้องการหรือความสนใจของ
นักเรียนมากกว่าการบังคับขู่เข็ญ หรือการลงโทษที่เข้มงวด ครูจึงต้องมี
จิตวิทยาในการปกครองชั้นว่า จะทำอย่างไรให้นักเรียนเรียนได้อย่าง

มีความสุข เข้าเรียนสม่ำเสมอ และให้ความร่วมมือกับครูในการเรียน
การสอนและรักการเรียน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






คนเปนครูจะตองสอนดี


การสอนให้ได้ดีต้องมีหลักการสอน เช่น
- ต้องมีการเตรียมการสอนทุกครั้ง
- สอนโดยคำนึงถึงหลักจิตวิทยา เช่น จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาการศึกษา เป็นต้น

- สอนจากง่ายไปหายาก
- สอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม
- สอนอย่างมีขั้นตอน เช่นการนำเข้าสู่การเรียน การสอนประเมินผล

และสรุป เป็นต้น
- สอนโดยใช้สื่อเสริมเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจ
- สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

- สอนโดยให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมเป็นรายบุคคล และกลุ่ม
- ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนการเรียนรู้เป็นสำคัญ
- สอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ

- สอนให้นักเรียนได้รู้จักคิดสร้างสรรค์และคิดวิเคราะห์
- สอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
- สอนแบบสหสัมพันธ์หรือองค์รวม ฯลฯ


นอกจากการสอนแล้วครูยังต้องทำหน้าที่อบรมจริยธรรมและ
คุณธรรมให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงการทำความดี
อยู่ในศีลธรรมอันดี

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






คนเปนครูตองมีความประพฤติดี


ความประพฤติของครูเริ่มตั้งแต่การแต่งกายเหมาะสมเป็นตัวอย่าง
ในการทำความดีให้กับนักเรียนได้ มีจรรยามารยาท การพูดด้วยถ้อยคำ
ที่ไพเราะ เป็นผู้นำทางความคิดและการกระทำที่ซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม

ตรงต่อเวลา เป็นต้น

คนเปนครูตองมีความมานะอดทน


ครูต้องเกี่ยวข้องกับนักเรียนที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านสติปัญญา
อารมณ์ สังคม ครูจึงต้องใช้ความใจเย็น สุขุม รอบคอบในการสอน

ในการทำงานร่วมกับนักเรียน

นอกจากนั้น ครูยังต้องเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเพื่อน ครู ผู้บริหาร
ผู้ปกครอง ปัญหาต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องปกติ ครูจึง

ต้องมีความมั่นใจในตนเอง และมีมุ่งมั่นในการทำงานไม่ย่อท้อ อีกทั้ง
ครูต้องมีทั้งปัญญาและเมตตาคือ ความรู้ที่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติหน้าที่
ของครูแล้วก็เมตตาที่เพียงพอสำหรับอดกลั้น อดทน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ












ครูเอยครูดี จำต้องมีหลักสี่สถาน


หนึ่ง ความรู้เก่งกล้าวิชาการ สอง เชี่ยวชาญการปกครองต้องใจคน


สาม ชำนาญการอบรมสั่งสอนศิษย์ รู้จักคิดหาอุบายให้ได้ผล

สี่ ประพฤติชอบและอดทน ใครได้ผลชื่นชมนิยมเอย

สิèงทÕèครูคนËนึèง “ทำ”“ทำ”“ทำ”

สิèงทÕèครูคนËนึèง
สิèงทÕèครูคนËนึèง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ

























สิèงทÕèครูคนËนึèง “ทำ”

อาจารย์นงคราญ สุนทราวันต์









“âçàÃÕ¹” เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของนักเรียนทั้งหลาย

บ้านหลังนี้เป็นสถานที่ที่คอยสร้างเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน
ชีวิตของคนเราตั้งแต่ในวัยเด็กจะได้รับความรู้เบื้องต้นในการดำรงชีวิต
จากพ่อแม่ผู้ปกครองเมื่อโตขึ้นถึงวัยเรียนก็จะต้องเข้าโรงเรียนเพื่อเข้ารับ

การศึกษา ต้องห่างจากครอบครัวเพื่อเข้ารับการเรียนรู้ในโรงเรียน แน่นอน
ผู้ที่มีบทบาทและเป็นกำลังสำคัญในการเสริมความรู้และสร้างประสบการณ์
ต่าง ๆ ก็คือคนที่พวกเราทุกคนเรียกว่า “ ครู ” การที่ฉันมาเป็นครู คงเป็น

ความคิดที่ฉันคิดไม่ผิด ฉันคิดว่าฉันเลือกถูก เพียงแต่สิ่งที่ได้ทำอาจจะ
ยังไม่เป็นไปในสิ่งที่ฉันหวังไว้ได้ ฉันยังคงต้องหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อจะได้
มาสอนลูกศิษย์ได้อย่างดีที่สุดโดยใส่ความตั้งใจและเอาใจใส่เพื่อมอบ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






สิ่งดีดีและเต็มความสามารถให้แก่ลูกศิษย์ ผู้ใหญ่ที่ฉันรักสอนฉันว่า

“งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” ประโยคนี้ฉันคิดว่าจริง เพราะการทำงานหนัก
แค่ไหน เหนื่อยแค่ไหน ถ้าได้มาซึ่งความสำเร็จ เราก็ย่อมได้ความภาคภูมิใจ
เป็นอย่างยิ่ง แต่การทำงานหนักมากเท่าไร ก็ไม่เคยรู้สึกว่ามันเหนื่อย ถ้าเรา

ทำงานนั้นด้วยความสุข ทั้งๆ ที่สิ่งต้องการนั้นไม่ใช่ยศถาบรรดาศักดิ์ใดใด
เพียงทำเพื่อความรู้สึกว่าอยากทำอะไรให้แก่สังคมบ้าง และฉันก็ไม่ใช่
เป็นคนที่เก่ง หรือร่ำรวยแต่ประการใด ก็ยังเป็นคนคนหนึ่งที่ยังต้องการ
ปัจจัยต่าง ๆ ในสังคม ในหลวงเคยตรัสว่า “ ถ้าเราปิดทองเสียแต่หน้าพระ
เพียงอย่างเดียวแล้ว พระทั้งองค์จะสวยงามได้อย่างไร” สิ่งที่ฉันทำได้

แค่เพียงเศษเสี้ยวอันน้อยนิดของพระองค์ท่าน แต่ฉันก็อยากทำให้
“พ่อแห่งแผ่นดิน” โดยการเป็นครูที่ตั้งใจสั่งสอนลูกศิษย์ให้เป็นคนดี
มีความรู้ในวิทยาการทั้ง ปฏิบัติหน้าที่ในการสอนและต้องเพิ่มสมรรถภาพ

ในการสอนให้แก่ตนเอง ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ให้ได้มากที่สุด
พยายามที่จะสอน และอบรมให้ลูกศิษย์ไปเป็นประชากรที่ดีของสังคม
ให้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ทุกคน แต่ก็อยากให้ทุกคนเอาความรู้ และสิ่งที่ถ่ายทอด
ให้ไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ลูกศิษย์ของฉันจะรู้หรือไม่ว่า เรารักและ
ห่วงใยลูกศิษย์เสมอ อาจเป็นเพราะความเป็นแม่ (ขี้บ่น) ที่คอยเป็นห่วง

เป็นใยในตัวของลูก ๆ ทำให้ในบางครั้งดุ บ่น เพื่ออยากให้ลูก (ศิษย์)
อ่านหนังสือ คอยดูลูกศิษย์ว่าทำอะไรอยู่ สั่งสอน ให้คำแนะนำเพื่อไม่ให้
ลูกศิษย์ประพฤติในสิ่งที่ไม่ดี การสั่งการบ้านและการเฉลยแบบฝึกหัด

เพื่อให้ลูกศิษย์มีความเชี่ยวชาญ และทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไป ออกข้อสอบ
ที่อยู่ในระดับที่มีทั้งง่ายและยาก ในบางครั้งการออกข้อสอบที่ยาก
เพื่อเป็นการวัดความรู้ของลูกศิษย์ เพื่อว่าเวลาไปเจอข้อสอบ ก็จะได้
ไม่ต้องท้อถอยเคยเจอมาบ้างแล้ว ฉันไม่เคยท่องจำว่าหน้าที่ของครู
ที่ดีมีอะไรบ้าง ต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง แต่ฉันก็มีความรู้สึกที่อยากจะทำ

ในหน้าที่ของครูให้ดีที่สุด

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ












“ËนŒา·Õè¢Í§ครÙ·Õè´Õ äม‹สามาร¶บ͡䴌Njา



»รСÍบ´ŒÇยÍÐäรบŒา§



มÕËนŒา·Õè¡ÕèÍย‹า§ à¾ราÐคำÇ‹า “´Õ”


¢Í§áµ‹ÅÐคนค§มÕมาµร°านäม‹àËม×Íน¡ัน



ᵋ©ันคิ´Ç‹า·Ø¡คน·Õè໚นครÙ



¨ÐµŒÍ§รÙŒËนŒา·Õè·Õ赌ͧ “·ำ”



·Õè¨ÐµŒÍ§สรŒา§ÈิÉย”

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ฉันเรียนรู้การทำงานจากอาจารย์ผู้ใหญ่ที่อาวุโส สอนฉันโดยการปฏิบัติ

หน้าที่ต่าง ๆ ของครูโดยไม่ได้บอกว่าเป็นหน้าที่ของครูดีเป็นอย่างไร
อาจารย์ผู้ใหญ่ไม่ได้สอนฉันเป็นข้อ ๆ แต่การทำงานของท่านทำให้ฉันรู้สึก
ทึ่งในการทำงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตรงต่อเวลา การทำงานที่

ได้รับมอบหมายโดยไม่เคยเกี่ยงงาน เป็นแม่แบบในการทำงาน เมื่อทำงาน
เสร็จจะมาคอยช่วยเหลือน้อง ๆ สอนงานในทางอ้อม และการกระทำ
ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ฉันเรียนรู้และปฎิบัติตามในสิ่งที่ฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ควร

ทำตามอย่าง “ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด” นี่คือสิ่งที่ฉันได้รับคำสอน
จากผู้ใหญ่ที่เคารพรักและปฎิบัติตาม ถึงแม้ว่าฉันจะทำตามได้ไม่ดี
เท่าที่ควรแต่ฉันก็พยายามที่จะทำตามแบบอย่างที่ดีเหล่านั้น ฉันหวังว่า

เมื่อฉันเป็นครูผู้สูงวัยบ้าง ฉันคงทำประโยชน์ได้อย่างต้นแบบดี ๆ เหล่านี้
การมีส่วนร่วมกับเพื่อน ๆ พี่ ๆ และน้อง ๆ ในการทำงานเป็นส่วนสำคัญ
ที่ทำให้เรามีความสุขในการทำงาน ทุกคนเป็นคนที่มีความสามารถ ในบางครั้ง

ที่รู้สึกท้อแท้ และเหนื่อยในบางครั้ง บุคคลเหล่านี้คอยเป็นกำลังใจ
กำลังความคิด ร่วมกันสร้างความฝันให้กลายเป็นความจริงได้ นั่นคือ
ความสามัคคีเป็นจุดสำคัญในการทำงานกับผู้อื่นเมื่อเราร่วมเดินไป

พร้อม ๆ กัน คนหนึ่งล้มคนหนึ่งพยุง ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ช่วยเหลือกัน
การทำงานก็จะสำเร็จ และเราก็จะได้เพื่อนแท้เพิ่มขึ้น การมองโลกในแง่ดี
ทำให้เรามีความสุข สนุกในการทำงาน ในบางครั้งฉันได้รับความรู้จาก

ลูกศิษย์ของฉัน เราเรียนรู้ได้จากลูกศิษย์ของเรา คุณเชื่อมั้ย ??

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ในการทำงานบางครั้งก็มีความรู้สึกว่ามันไม่สนุก ไม่ถูกใจ ไม่ได้ดั่งใจ

ฉันก็มีความรู้สึกเหมือนกับคนทั่วไป แต่เชื่อไหมว่า ลูกศิษย์ของฉัน
เป็นกำลังใจที่ดีแค่เพียงบางประโยคก็ทำให้รู้สึกดี “อาจารย์เป็นอะไร

หรือเปล่าคะ ไม่สบายอย่าลืมไปทานยานะคะ” “อาจารย์ให้หนู (ผม)
ช่วยอะไรไหมคะ (ครับ)” “อาจารย์สู้สู้” (ไม่รู้ว่าจะสู้อะไร?) ฯลฯ
นอกจากนี้ฉันยังได้กำลังใจจากบุคคลรอบข้าง ความรัก และความห่วงใย
จะเป็นการส่งผลให้ให้เกิดกำลังใจในการทำงานต่อไป สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ

ครอบครัวที่ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ฉันได้รับ และเป็นสิ่ง
ที่เหมือนน้ำทิพย์ชโลมใจฉันอยู่เสมอ และตลอดไป...

จากบทความนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูจึงควรพิจารณาตนเองอยู่เสมอ

ว่าที่ได้ทำหน้าที่หรือปฏิบัติตนอยู่ทุกวันนี้เป็นอย่างไร จัดได้ว่าเป็นครู
ได้กระทำตนเป็นครูที่ดี ทำหน้าที่แล้วหรือไม่ ฉันคิดว่าหน้าที่ของครูที่ดี
ไม่สามารถบอกได้ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง มีหน้าที่กี่อย่าง เพราะคำว่า “ดี”

ของแต่ละคนคงมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน แต่ฉันคิดว่าทุกคนที่เป็นครู
จะต้องรู้หน้าที่ที่ต้อง “ทำ” ที่จะต้องสร้างศิษย์ ให้เป็นคนดีมีสติปัญญา
ต้องสร้างตัวเองและครอบครัวให้ดี สร้างสังคม และสร้างงานให้เกิดขึ้น

ได้อย่างแน่นอน


แรงบันดาลใจจาก

(** ข้อความบางส่วนเรียบเรียงจากอุดมการของครูในยุคปัจจุบัน
ของ อาจารย์ โกญจนาท เจริญสุข และ รศ.สัญญา รัตนวรารักษ์ )

ครู¾ันธุãËม‹

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























ครู¾ันธุãËม‹
ดร.ปัทมา ดีสวัธน์ศรีเพชร











ã¹»˜¨¨ØºÑ¹ วิกฤติในวงการครูทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ปัญหาหลัก ๆ จะคล้ายคลึงกัน ได้แก่ การที่คนดีคนเก่งไม่สนใจเข้าเรียน
ครูเป็นลำดับต้น ๆ เมื่อเรียนสำเร็จแล้วส่วนหนึ่งจะไม่ประกอบอาชีพครู
ทำให้ไม่สามารถบำรุงรักษาครูดี ๆ ไว้ได้ ทั้งนี้เหตุผลหนึ่งเนื่องมาจาก

ค่าตอบแทนของครูต่ำมากเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น ความตั้งใจและทุ่มเท
ต่อการเรียนการสอนของครูก็ลดต่ำลงประกอบกับการเรียนการสอน
ในสถาบันฝึกหัดครูมุ่งสอนเนื้อหามากกว่าให้คิดวิเคราะห์และปฏิบัติ

การสอนไม่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นครูในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงขาด
ความเชี่ยวชาญในการสอนทั้งทางวิชาการและคุณลักษณะความเป็นครู
ความเอาใจใส่ต่อเด็กลดลง ความนิยมยกย่องของสังคมต่อครูจึงลดลง
ทำให้วิชาชีพครูตกต่ำลง

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






จากสภาพปัญหาและความสำคัญดังที่กล่าวมา คำว่า “ครูพันธุ์ใหม่”

จึงเกิดขึ้นทั้งในวงการ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้แต่ในวงการประชุม
สัมมนา หลายคนคงพอนึกได้ว่าครูพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นหลังจากมีการปฏิรูป
การศึกษาตามนัยแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2542

ที่กำหนดว่าระบบและกระบวนการผลิตพัฒนาครู จะต้องปรับเปลี่ยนให้ได้
ครูที่มีศักยภาพ คุณภาพ สมกับเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงได้มีการผลิตครู
ระบบใหม่เกิดขึ้น ออกแบบหลักสูตรเป็น 5 ปี ซึ่งหลายคนก็เรียกว่า

“ครูห้าปี” เมื่อจบหลักสูตรจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สังคม
และในวงวิชาการต่างคาดหวังว่า “ครูห้าปี” จะเป็นสายเลือดใหม่และ
ผู้นำทางการศึกษารุ่นใหม่ที่จะมากู้วิกฤตศรัทธาในวิชาชีพครูมาเป็นอัศวิน

ม้าขาวในการปฏิรูปการศึกษา จึงมีคำถามมากมายว่า “ครูพันธุ์ใหม่”
เป็นอย่างไร แตกต่างจากครูรุ่นก่อน ๆ อย่างไร จากการที่ได้รวบรวมแนวคิด
การทำวิจัย การประกาศหลักการของประเทศต่าง ๆ การประชุมสัมมนา

รวมทั้งการสำรวจแล้วจัดทำคุณลักษณะครูพันธ์ใหม่ที่คาดหวังโดยสะท้อน
มาจากหลักการ 10 ประการ ซึ่งน่าจะใช้เป็นมาตรฐานการผลิตและพัฒนา
ครูใหม่-ครูเก่าที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาได้ ดังต่อไปนี้


• ต้องเข้าใจแนวคิดหลักแห่งวิชาชีพครู เครื่องมือที่จะใช้แสวงหา
ความรู้ โครงสร้างของสาขา ที่ตนเองสอน สามารถสร้างสรรค์ประสบการณ์
การเรียนรู้เพื่อให้เนื้อหาวิชาเหล่านั้นเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน


• เข้าใจในเรื่องการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก สร้างโอกาส
ให้เกิดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางปัญญา สังคมและพัฒนาการ
ส่วนบุคคล

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






• เข้าใจความแตกต่างในการเรียนรู้ของเด็ก สามารถสร้างสรรค์

โอกาสจัดการเรียนการสอนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับผู้เรียนที่หลากหลายได้

• เข้าใจและรู้จักใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย ในการสอนเพื่อกระตุ้น
ให้เด็กรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ไขปัญหาและมีทักษะในเชิงปฏิบัติ


• เข้าใจในตัวเด็กแต่ละคน สร้างแรงจูงใจและใช้พฤติกรรมกลุ่ม
มาสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในเชิงสร้างสรรค์
มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในการเรียนรู้


• รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดผล สามารถใช้อากัปกิริยา
ท่าทีและ เทคนิควิธีสื่อความหมายที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กรู้จักถาม
รู้จักแสวงหาความรู้


• รู้จักวางแผนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ความต้องการ
ของชุมชนและเปาหมายของหลักสูตร


• เข้าใจและใช้ยุทธวิธีการประเมินผล ในรูปแบบทั้งที่เป็น
ทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อประเมินผู้เรียนในการพัฒนาการ
ทางสติปัญญา สังคม และร่างกายอย่างต่อเนื่อง


• ต้องเปนนักปฏิบัติการที่มีความถี่ถ้วน รู้จักประเมินผล
การปฏิบัติงานของตนและผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งหาโอกาสสร้างความ
ก้าวหน้าในวิชาชีพตน


• ต้องสร้างความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานในโรงเรียน พ่อแม่
ผู้ปกครอง และหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชนขนาดใหญ่ เพื่อสนับสนุน
การเรียนรู้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเด็ก

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ในฐานะที่พวกเราซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “ครูสาธิตปทุมวัน” ซึ่งไม่จำ

เป็นว่าจะต้องเป็นครูรุ่นใหม่ถึงจะเป็นครูพันธุ์ใหม่ได้ ครูทุกคนมีศักยภาพ
และความสามารถเป็นครูพันธุ์ใหม่ได้ ขึ้นอยู่ที่ว่าเราพร้อมที่จะเปดรับ
แนวคิดนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ตลอดจน

การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงและ
ยุติธรรมแก่ผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีสอนจากแบบเดิมๆ ที่เน้นครู
เป็นศูนย์กลาง อยู่แต่หน้ากระดาน มาเป็นครูผู้เป็นแรงกระตุ้นและเป็น

แรงบันดาลใจ (inspirator)ให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้นั้นด้วยตนเอง
เป็นสำคัญ ไม่คอยแต่จะรอรับความรู้จากครูในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว
นอกจากนั้น ครูพันธุ์ใหม่ต้องเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน

ทั้งในเชิงพฤติกรรมและศักยภาพในการเรียนรู้ อีกทั้งต้องเข้าถึงภูมิหลัง
ของผู้เรียน คอยบรรเทาแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดกับตัวผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ท่านผู้เป็นครูทั้งหลาย คงตั้งคำถาม

กับตนเองแล้วว่าเราพร้อมจะเป็นครูพันธุ์ใหม่แล้วหรือยัง บางท่านอาจได้คำ
ตอบกับตัวเองแล้ว หากเราได้ลองเริ่มจากการเป็นครูพันธุ์ใหม่ อีกไม่นานครู
เหล่านี้ก็จะกลายเป็น “ครูพันธุ์อมตะ” ที่จะอยู่ในหัวใจของลูกศิษย์

ตลอดไป .....


“ The secret of success in life is to be ready for
your opportunity when it comes.”

- - Benjamin Disraeli - -

ความลับของความสำเร็จ คือ เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอสำหรับโอกาสที่มาถึง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







บรรณานุกรม

คณะกรรมการครู, สำนักงาน. (2544). การปฏิรูปการสรรหาครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
โณทัย อุดมบุญญานุภาพ. (2552). คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตร
ผลิตครูในศตวรรษ 21 สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553. จาก: http://school.
obec.go.th/nitest/article02.doc
ประเวศ วะสี. (2543). จุดประกายปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้สู่สหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์คุรุสภา.
พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. (2547). 10 คุณลักษณะ ครูพันธุ์ใหม่ (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่
25 มีนาคม 2553 จาก http://www. sammajivasil.net/news11.htm.
สุรศักดิ์ หลาบมาลา. (2543). คุณภาพครูสู่การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:
ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

มากกว‹าคำว‹าครู

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























มากกว‹าคำว‹าครู
อาจารย์อภิณพร ฤกษ์อนันต์









Teacher คำนี้ที่ใคร ๆ ต่างก็รู้ความหมายกันดีว่าหมายถึง “ครู”

แต่ถ้าเราลองคิดให้ถ้วนถี่อีกที Teacher หมายถึง “ผู้สอน” เพราะคำว่า
teach แปลว่า “สอน” ซึ่ง ผู้สอน กับ ครู มีหน้าที่แตกต่างกัน จริงอยู่
ครูมีหน้าที่สอน แต่ ครูในความคิดข้าพเจ้าไม่ใช่ผู้สอนเท่านั้น


“ครู” คือผู้ที่มีหน้าที่อบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งด้านวิชาการและ
ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีหลายคนกล่าวว่า “ครู” เปรียบเสมือน พ่อแม่
คนที่สอง เนื่องจากเวลาส่วนใหญ่ที่เด็กมีคือเวลาที่อยู่โรงเรียน ดังนั้น “ครู”

ย่อมมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของเด็ก ๆ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า
“ครู” ไม่ใช่แค่พ่อแม่คนที่สอง แต่ครูยังเป็นมิตร (เพื่อน) สำหรับเด็ก ในเวลา
ที่พวกเขาต้องการคำปรึกษาที่พวกเขาไม่กล้าที่จะถามจากพ่อแม่และ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ไม่อาจได้จากเพื่อนในวัยเดียวกัน ดังนั้นบุคคลที่พวกเขาคิดถึงก็คือ “ครู”

นั่นเอง ซึ่งสิ่งนี้ข้าพเจ้าได้จากประสบการณ์การเป็นครู บางครั้งเป็นเรื่องที่
ผู้ใหญ่อาจมองว่าเล็กน้อยบ้าง ไร้สาระบ้าง แต่มันอาจจะเป็นเรื่องใหญ่มาก
สำหรับเด็กคนหนึ่ง กับการที่โดนเพื่อน ๆ คว่ำบาตร ซึ่งเป็นเรื่องเด็กทะเลาะกัน

เรื่องเด็ก ๆ แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าเคยประสบมา มันไม่เป็นแค่นั้น เรื่องเด็ก ๆ
แต่มันมีความหมายกับเด็กคนหนึ่งมาก ซึ่งทำให้เด็กคนนั้นถึงกับไม่อยาก
มาโรงเรียน ร้องไห้ตลอดเวลา และจากการสอบถามถึงกับอยากฆ่าตัวตาย

ข้าพเจ้าเลยต้องทำหน้าที่สายสืบ หาสาเหตุที่มา และต้องพยายามคุยกับ
ทุก ๆ ฝ่ายโดยเปิดใจและเป็นธรรม ไม่ลำเอียง พยายามติดตามเรื่องราวจน
สิ่งต่าง ๆ เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น สุดท้ายสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับก็คือ รอยยิ้ม

ความสุข ของเด็กคนหนึ่งกลับคืนมา นี่แหละรางวัลที่ข้าพเจ้าคิดว่ามันมีค่า
กว่าประกาศนียบัตรหรือโล่รางวัลใด ๆ ความรู้สึกดี ๆ ความหวังดีที่มีต่อ
เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ผู้ปกครองของเด็กคนนั้นบอกว่า ลูกผมเรียกอาจารย์ว่า

พี่สาว แกอยากให้อาจารย์เป็นพี่สาว และข้าพเจ้าจะได้ของขวัญจากเด็กคนนี้
ในวันวาเลนไทน์ ซึ่งคุณค่าไม่ใช่อยู่ที่วัตถุหากอยู่ที่จิตใจมากกว่า ของขวัญ
ชิ้นนั้นข้าพเจ้าเก็บไว้ในห้องนอน และทุกครั้งที่ข้าพเจ้ามองมัน ข้าพเจ้ารู้สึก

ดีทุกครั้งและเมื่อเวลาท้อใจกับงาน ก็จะมองของสิ่งนี้ อย่างน้อยก็ทำให้รู้สึก
ดีขึ้นมาบ้าง

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






จากประสบการณ์ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงนั้น มันเป็นสิ่งที่อยู่ในใจ

และคอยเตือนสติเราว่า บางครั้งเรื่องที่เรามองว่าเล็กน้อย ไร้สาระ แต่มันมี
ความหมายกับคนคนหนึ่งมาก การเป็นผู้สอนใคร ๆ ก็เป็นได้ เพียงแค่

คนนั้นมีวิชาความรู้พร้อมที่จะสอน แต่การเป็น “ครู” นั้นไม่ใช่มีเพียง
วิชาความรู้ที่จะสอนเท่านั้น ต้องมีความเข้าใจ ความเมตตา ให้อภัย
คอยอบรมในสิ่งที่ไม่สมควร และเนื่องจากยุคสมัยเปลี่ยนไป เด็ก ๆ
ต้องประสบปัญหาต่าง ๆ ที่หลากหลายซึ่งทำให้คนเป็นครูต้องคอยปรับตัว

และพร้อมที่จะเผชิญและช่วยนักเรียนหรือโรงเรียนแก้ปัญหานั้น ๆ ซึ่งต้อง
อาศัยประสบการณ์ และที่สำคัญที่สุด คือ “ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ”

ไทรáË‹งกาÅเวÅา

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























ไทรáË‹งกาÅเวÅา
อาจารย์วราภรณ์ กรุดทอง









µŒ¹ä·Ãขนาด 4 คนโอบ สูง เกินอาคาร 5 ชั้น ยืนต้นตระหง่าน

ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านแรงลม ท้ากาลเวลา ผ่านความเชื่อมาหลายยุค
หลายสมัยกว่า 100 ปี ที่ต้นไทรขยายกิ่งก้านสาขาไปแสนไกล เหมือนดัง
นักเรียนของสถาบันแห่งนี้ที่ได้เติบโต และเดินออกสู่สังคมอย่างภาคภูมิใจ

มีหน้าที่การงานที่ดี หลายคนที่จบออกไปเป็นหมอ ตำรวจ ทหาร นักวิชาการ
ที่มีชื่อเสียงในแวดวงสังคม หลายคนได้เป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่
เป็นที่นับหน้าถือตา นั้นคือสิ่งที่สะสม และผ่านกาลเวลาที่เลยผ่านมาเกือบ

100 ปี เหมือนดังต้นไทรที่ยังคงอยู่คู่สถาบัน อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถมองเห็น
ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นฝังอยู่ภายใต้ผืนดิน ซึ่งวันนี้ถูกปกปิด ถูกบดบังไปด้วย
สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ แผ่นอิฐ แผ่นปูนที่ทับทม ทำให้ไม่สามารถมองเห็น

ได้นั้น คือ รากแก้ว รากฝอย ของต้นไทรแห่งกาลเวลาต้นนี้ที่ยังคงขยายออก

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ไปไม่ต่างจากลำต้น และกิ่งก้านสาขา ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถมองเห็นหรือ

หยั่งรู้ได้ว่า รากแก้ว รากฝอยนั้น ขยายเติบใหญ่ไปได้ไกลสักเพียงใด

หากจะเปรียบไปก็คือ ความเชื่อที่ศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเหล้า มีต่อสถาบัน
ที่พวกเขาได้เคยใช้ช่วงเวลาที่สำคัญช่วงหนึ่งของชีวิตอยู่ในสถานที่

แห่งนี้ บางคนอยู่ 3 ปี บางคนอยู่ 6 ปี หากแต่ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นศิษย์ที่

ได้จบไปจากสถาบันแห่งนี้แล้วล้วนแต่เป็นที่ยอมรับของสังคมภายนอก
ทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เหมือนดังต้นไทรใหญ่ ที่ยังคงเติบโต

ท้ากาลเวลาต่อไป หากใครสักคนจะตั้งคำถามว่า แล้วต้นไทรใหญ่ต้นนี้

จะเติบโตไปถึงเมื่อไหร่ คำตอบ คือ ผู้ถามนั้นจะมีช่วงชีวิตที่ยืนยาวพอ
ที่จะอยู่ดูต้นไทรเจริญเติบโตหรือไม่ เหมือนดังคำถามที่ว่า วันพรุ่งนี้จะมีอยู่

จริงหรือเปล่า คำตอบ คือ จะรู้ก็ต่อเมื่อ คุณมีชีวิตอยู่จนถึงวันพรุ่งนี้
เช่นกัน สิ่งหนึ่งที่ควรรู้สำหรับต้นไม้ใหญ่ คือ เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งต้องมี

การผลัดกิ่ง ผลัดใบ แต่แล้วก็จะสามารถกลับมายืนต้นตระหง่านได้อีกครั้ง

ช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นต้นไทรได้ถูกทดสอบ ได้ถูกปรับแต่งกิ่งก้านสาขา
บางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับอาคาร และสถานที่ แต่ต้นไม้ใหญ่ต้นนี้

ก็ยังคงอยู่และจะยังคงอยู่ตลอดไปตราบเท่าที่ความเชื่อของผู้คนยังคงอยู่
การเจริญเติบโตต่อไปข้างหน้า ภายใต้เงื่อนไขการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น

ตลอดเวลานั้น จำเป็นที่จะต้องผ่านบททดสอบอีกมากมายแต่ท้ายที่สุดแล้ว

ทุกอย่างที่ได้ถูกกำหนดไว้จะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดีดังเช่นที่ผ่านมา
จากนี้จนนิรันดร์

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






ต้นไม้ใหญ่ที่มากมายไปด้วยความเชื่อของผู้คน ทั้งที่เป็นศิษย์เก่า

ศิษย์ปัจจุบันจากสถาบันแห่งนี้ หรือผู้คนภายนอกที่ได้ผ่านมาก็ตาม
การบรรลุถึงเปาหมายไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ที่แห่งนี้ได้ผ่านบททดสอบ
มามากมาย การดำรงคงไว้นั้นยิ่งยากกว่า ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายต้นไม้ใหญ่

แห่งกาลเวลาต้นนี้ ก็เช่นกัน การเดินทางของต้นไม้ใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุดตราบ
เท่าที่ความเชื่อ หรือรากแก้ว รากฝอย ของต้นไทรแห่งกาลเวลายังคงอยู่

เร×èองเก‹ามาเËÅาãËม‹

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ



















เร×èองเก‹ามาเËÅาãËม‹

อาจารย์ณัฐิกา ลี้สกุล













“à¾Õ§ᵋสอนนั้นไซร้ ไม่ลำบาก แต่เป็นครูนั้นซิยาก

เป็นหนักหนา เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา อีกมีความเมตตาอยู่ในใจ” คำกล่าว
ของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นคำกล่าวที่ไม่ว่าจะฟังสักกี่ครั้งก็ยังซึ้ง
ประทับใจข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง และข้าพเจ้าได้ยึดเอาคำกล่าวนี้ไว้ปฏิบัติ

กับนักเรียนตลอดมา มนุษย์เราเกิดมาทุกคนย่อมมีสิ่งที่ภาคภูมิใจมากที่สุด
ในชีวิต และความภาคภูมิใจของเราก็สามารถแสดงคุณค่าของการเกิดมา
เป็นมนุษย์ได้เป็นอย่างดี คนเราเกิดมาไม่รู้กี่ร้อยชาติต้องลำบากมาเท่าไร

ก็ไม่มีใครรู้ รู้แต่เพียงว่าถ้าได้เกิดมาในชาตินี้ขอทำชีวิตนี้ให้ดีที่สุด แล้วถ้า
ได้เกิดมาเป็นครูก็คงจะดีไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว อาชีพครูซึ่งหากครูจะทำแต่
การสอนให้เป็นไปตามหน้าที่ในการถ่ายทอดเพียงวิชาความรู้ให้กับเด็ก

นั้นไม่มีความยากลำบากอะไรเลย แต่การเป็นครูให้ที่ดีทำหน้าที่ดูแล

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






เด็กนักเรียนให้ครบถ้วนสมบูรณ์นั้นต้องอาศัยความอดทนทุ่มเท เสียสละ

อุทิศตน เพื่อเด็ก ต้องใช้ทั้งความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป ต้องรักและเมตตาต่อเด็ก
เพื่อให้เด็กซึ่งจะเติบโตเป็นอนาคตของชาติในภายภาคหน้า เป็นคนดี
คนเก่งและมีความสุขได้นั้น จักต้องมีครูคอยดูแลเอาใจใส่หล่อหลอมให้เด็ก

มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสังคม เพื่อให้เด็กที่เปรียบเสมือนผ้าขาว
ที่ได้ครูดีคอยแต่งแต้มสีสัน ลงบนผืนผ้า อย่างประณีตและใส่ใจ ผืนผ้า
ก็จะออกมาอย่างสวยงาม ทรงคุณค่า และคงไม่มีใครปฏิเสธว่าครู

เปรียบเหมือนพ่อแม่คนที่สองของลูก ที่เฝาอบรมดูแล อุทิศตนสั่งสอนให้ลูก
เป็นคนเก่ง คนดี มีคุณธรรม สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่าง
มีความสุข ครูอาชีพเป็นอาชีพที่ไม่ว่าจะอยู่ไหน ไม่ว่าพ่อแม่เด็กจะเป็นใคร

ทุกคนก็ต้องไหว้บุคคลที่ได้ชื่อว่า ครู

ขอกล่าวถึงนักพูดที่เป็นที่รู้จักกันดีท่านหนึ่งได้เริ่มการสัมนา
ของเขาโดยการหยิบแบงค์ 1,000 ขึ้นมา ในห้องที่มีผู้เข้าร่วม 200 ท่าน

แล้วเขาก็พูดว่า “ใครอยากได้แบงค์ 1,000 นี้บ้าง?” มือได้ถูกยกขึ้น
เป็นจำนวนมาก และเขาก็พูดต่อว่า “ฉันจะให้เงินแบงค์ 1,000 นี้แก่
หนึ่งในพวกท่านแต่ครั้งแรกนี้ฉันจะทำอย่างนี้” เขาเริ่มที่จะขยำ ๆ เงิน

นั้นแล้วเขาก็ถามอีกว่า “ใครจะยังต้องการมันอีก” ยังคงมีมือที่ยกขึ้นอีก “ดี”
เขาตอบ “แล้วถ้าฉันทำอย่างนี้ล่ะ” และเขาก็ทิ้งมันลงที่พื้นและเริ่มที่เหยียบ
ย่ำมันด้วยรองเท้าของเขา แล้วเขาก็เก็บขึ้นมา ขณะนี้มันทั้งยับยู่ยี่และ

สกปรก “ตอนนี้ใครยังต้องการมันอีก” ก็ยังคงมีคนยกมืออีก เพื่อน ๆ คุณได้
เรียนรู้บทเรียนที่มีคุณค่ามากที่สุดบทหนึ่งแล้วว่าไม่ว่าฉันจะทำอะไรกับเงิน
คุณก็ยังต้องการมันอยู่ เพราะว่ามันไม่ได้ลดคุณค่าในตัวมันลงเลยมันก็ยังคง

มีค่า 1,000 บาทอยู่นั่นเอง เหมือนกับหลาย ๆ ครั้งในอาชีพของเรา อาชีพ
ที่เรียกว่า อาจารย์ คุณครู ที่ถูกทิ้ง ถูกเหยียบย่ำ และถูกทำให้สกปรก

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






โดยสิ่งที่เราตัดสินใจทำมันและสภาพแวดล้อมที่เราเจอ ทำให้เรารู้สึกว่า

คุณค่าของเราลดน้อยลง แต่ไม่ว่าอะไรที่ได้เกิดขึ้นหรืออะไรที่จะเกิดขึ้น
คุณไม่เคยสูญเสียคุณค่าของคุณ คุณเป็นคนพิเศษ อย่าลืมมันตลอดไป

ครูอาชีพเป็นอาชีพที่เด็กส่วนใหญ่ใฝ่ฝันที่จะเป็นตั้งแต่เด็กเพราะ

เป็นอาชีพที่สวยงาม ครูต้องเป็นคนดีแล้วก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ คุณค่าของครู
ไม่ว่าจะเป็นครูที่ทุรกันดานขนาดไหนก็ยังเป็นครูแต่ความเป็นครูนั้น

เปรียบได้กับดอกกล้วยไม้ต้องใช้เวลานาน ต้องดูแลเอาใจใส่เราจึงจะเห็น
ดอกกล้วยไม้ การผลิตบุคคลในวิชาชีพครูยิ่งต้องสร้างให้งดงามมาก
ให้เขาเข้าใจความเป็นครู


และความเป็นครูนั้นไม่เพียงแต่จะต้องมีความรู้ ทางวิชาการ
เพื่อจะสอนนักเรียนเท่านั้น แต่ครูยังจะต้องเป็นผู้ช่วยนักเรียนให้พัฒนา
ทางด้านสติปัญญา บุคลิกภาพ อารมณ์ และสังคมด้วย ดังนั้นครูต้องเป็น
ผู้ให้ความอบอุ่นแก่นักเรียน เพื่อนักเรียนจะได้มีความเชื่อและไว้ใจครู

พร้อมที่จะพบครูเวลาที่มีปัญหา นอกจากนี้ครูจะต้องเป็นต้นฉบับที่ดี
แก่นักเรียน ถ้าหากจะถามนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถม จนถึงนิสิตนักศึกษา

ขั้นมหาวิทยาลัย ว่ามีใครบ้างในชีวิตของนักเรียนที่นักเรียนยึดถือเป็นต้นฉบับ
นักเรียนส่วนมากจะมีครูอยู่อย่างน้อยหนึ่งคนเป็นต้นฉบับหรือตัวแบบ
และนักเรียนจะยอมรับค่านิยมและอุดมการณ์ของครู เพื่อเป็นหลักของชีวิต
อิทธิพลของครูที่นักเรียนยึดเป็นต้นฉบับจะติดตามไปตลอดชีวิต


มีผู้กล่าวว่า ครูเปรียบเสมือนนักศิลปินที่ปันรูป เพราะครูทุกคน
มีส่วนในการพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียน แต่ผลงานของครูไม่เหมือนกับ
ประติมากรที่พองามแต่ละชิ้นสำเร็จก็เห็นผลงาน อาจจะตั้งให้ ชมได้ หรือ

ถ้าไม่ชอบอาจจะแก้ไขเพิ่มเติมได้ ส่วนครูนั้นจะต้องรอจนนักเรียน

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






กลับมาบอกครูว่าครูได้ช่วยเขาอย่างไร หรือมีอิทธิพลต่อชีวิตเขาอย่างไร

และบางครั้งต้องรอก็เป็นการเสียเวลาเปล่าเพราะแม่ว่านักเรียนบางคน
จะคิดถึงความดีของครูแต่ก็คิดอยู่ในใจไม่แสดงออกจึงทำให้คนทั่วไปรู้สึก
ว่าอาชีพครูเหมือนเรือจ้างมีหน้าที่ส่งคนข้ามฟากเท่านั้น ซึ่งเป็นเครื่องชี้ถึง

ทัศนคติทางลบที่มีต่ออาชีพครูมีส่วนทำให้บางคนตัดสินใจเลือกอาชีพครู
เป็นอาชีพสุดท้าย


ขอมอบบทกลอนแด่ครูที่เปนเรือจ้างที่ไม่ยอมเหน็ดเหนื่อย
ทุกคนที่แค่ขอเพียงศิษย์ได้ดีบนโลกใบนี้
“ครู” ประดุจ “เรือจ้าง” ใครช่างเปรียบ
“ครู” ควรเทียบฟากระจ่างกว้างไพศาล

“ครู” ตักเตือนเมตตา-อภิบาล
“ครู” สอนสั่งวิชาการ...วิชาคน
เปนผู้แนะนำให้ได้ประจักษ์

ว่าด้วยหลักวิทยา – หาเหตุผล
และเตือนย้ำคุณธรรมประจำตน
นั้นจะดลให้ชิวิต “ศิษย์” ได้ดี

หากแนวทางที่ “ลูกศิษย์” คิดผิดพลาด
“ครู” ไม่อาจภาคภูมิได้ ในศักดิ์ศรี
ประหนึ่งว่าคนพาย “เรือจ้าง” ลำนี้

ทำหน้าที่ขาดตกบกพร่องไป
เรือเทียบฝังเข้าส่งตรงริมท่า
“คนโดยสาร” รู้เถิดว่า เหนื่อยแค่ไหน

“คนพายเรือ” ถ่อนำค้ำด้วยใจ
ขอเพียงให้ “ศิษย์” สมหวังดังกมล

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






“ครู” ประดุจ “เรือจ้าง” ใครช่างเปรียบ

“ครู” ควรเทียบแสงสว่างกลางไพรสณฑ์
เปนแสงทองส่องชี้ชีวิตคน

พระคุณล้นเกินรำพรรณจำนรรจา
แม้ไม่มีข้าวตอก-ดอกไม้หอม
ประดับพร้อมเปนพุ่มพานอันหรูหรา
แต่ขอนำจิตร้อยถักอักษรา

ประณตน้อม “สักกาฯ” พระคุณ “ครู”

สุดท้ายความเป็นครูของทุกคนที่รักในครูอาชีพคงจะจบลงก็ต่อเมื่อ
สิ้นลมหายใจเพราะไม่ว่าบุคคลที่ ได้ชื่อว่าเป็นครูจะอายุ 25 หรือจะ 60

จะแก่หรือจะสาว จะสวยหรือขี้เหร่ ร่างกายจะครบ 32 หรือไม่หรือร่างกาย
จะพิการ ความเป็นครูของเขาก็ยังติดตัวเค้าไปจนกว่าเค้าจะไม่มีลมหายใจ
อยู่บนโลกใบนี้แล้ว









บรรณานุกรม
ไกรนุช ศิริพูล. 2531.ความเป็นครู.กรุงเทพฯ : นิยมวิทยา.

เฉลียว บุรีภักดีและคณะ.2520.ลักษณะของครูที่ดี. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์.
กรมการฝึกหัดครู.
ณัฐินี กิตติพลภักดี.2551.”ครูอาชีพกับอาชีพครู” ครูดี [ออนไลน์]. สือค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์
2559 จาก https://www.gotoknow.org/posts/194480.

รวย...¨นอย‹างไรãนอาªÕ¾ครูครูครู

รวย...¨นอย‹างไรãนอาªÕ¾
รวย...¨นอย‹างไรãนอาªÕ¾
รวย...¨นอย‹างไรãนอาªÕ¾
รวย...¨นอย‹างไรãนอาªÕ¾

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























รวย...¨นอย‹างไรãนอาªÕ¾ครู

อาจารย์วัฒนโชติ เพ็งพริ้ง








àÁ×่Í¡Å‹ÒǶ֧อาชีพครู สังคมในปัจจุบันคงจะนึกถึงคนที่เลือก

เรียนอะไรไม่ได้แล้วจึงมาเรียนสาขานี้ หรืออาชีพที่จนที่สุด มีหนี้สินมากที่สุด
แต่คงลืมนึกไปว่าทุกคนกว่าจะมายืนในจุดต่าง ๆ ของสังคมได้ จะต้องผ่าน
คนที่เรียกว่าครูมาแล้วทั้งสิ้น แล้วคุณซึ่งเป็นคนหนึ่งที่ถูกเรียกว่า ครู

อยู่ทุกวันล่ะ !.....คิดกันอย่างไร ?

อาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องดำรงสถานภาพของตนในการเป็นต้นแบบ
ที่ดี และเป็นบุคคลอันควรเคารพตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดเมื่อเจอกับ

ลูกศิษย์หรือผู้ปกครองเราก็ยังต้องเป็นครูผู้ที่ได้รับความเคารพและ
ให้ความเชื่อมั่นอยู่เสมอ ต่างจากหลาย ๆ สาขาอาชีพที่เมื่ออยู่นอกเวลา
และสถานที่ปฏิบัติงานแล้วก็จะกลับมาเป็นตัวตนของตน ยกตัวอย่างเช่น

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






















“ËÅายคนค§นÖ¡äม‹¶Ö§


Ç‹าÍาªÕ¾ครÙ¡ç໚นÍาªÕ¾·ÕèรÇย·ÕèสØ´



·ÕèÍาªÕ¾Í×èนäม‹สามาร¶รÇยà·‹าä´Œ



¡çค×Í Íริย·รั¾ย

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






หากเราเดินไปพบกับเจ้าหน้าที่ธนาคารในตลาดสดก็คงไม่มีใครยื่นเงิน

ของตนเองฝากกับเจ้าหน้าที่คนนั้น ดังนั้นคนเป็นครูจึงมีความยากในอาชีพ
มากกว่าอาชีพอื่น ตรงที่ต้องปฏิบัติตนให้ดำรงอยู่ในฐานะปูชนียบุคคล
ดังที่กล่าวให้ได้ แล้วสิ่งใดล่ะที่จะสามารถเป็นรากฐานของการปฏิบัติตน

ในความเป็นครู ก็คงจะหนีไม่พ้นหลักธรรม คำสั่งสอนขององค์สัมมา-
สัมพุทธเจ้า ที่ว่า จงดำรงตนอยู่ในศีล ในธรรม ตั้งใจเพียรพยายาม
ในการทำความดี เป็นผู้ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ ละเว้นการประพฤติชั่ว ผิดศีลธรรม
จรรยา เมื่อพูดดูเหมือนง่ายแต่ยากและกว้างในการปฏิบัติเหลือเกิน
โดยเฉพาะความยากที่สุดตรงที่สิ่งที่คิด ที่ปฏิบัตินั้นถูก ผิด เหมาะสมหรือไม่

ตามใจของตนหรือของใคร แล้วสิ่งใดจะมาใช้เป็นตัวชี้วัด...

หลายคนคงมีหลายคำตอบ แต่คำตอบหนึ่งที่คงจะชี้วัดได้ก็คือ
เรายังคงได้รับความเคารพในฐานะปูชนียบุคคลอยู่หรือไม่ อาชีพครูเป็น
อาชีพที่ไม่สามารถทำให้รวยทรัพย์สินเงินทองได้ นอกจากมีอาชีพเสริม

มีทรัพย์สินเงินทองสั่งสมมาจากบรรพบุรุษ หรือเป็นครูครุธุรกิจตามสมัยนิยม
ดังนั้นคนเป็นครูจึงบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคารได้ยาก แต่ทุกคนคงปฏิเสธ
ไม่ได้ว่าคนเป็นครูจริง จริง เมื่อไปที่ใด ถึงจะไม่ได้สุขสบายอย่างหรูหรา แต่ก็

ไม่ลำบาก เพราะเหตุใด... ก็เพราะทุกที่เรามีลูกศิษย์คอยต้อนรับช่วยเหลือ
อำนวยความสะดวก หรือกลับมาหาทักทาย ปรึกษายามทุกข์ บอกกล่าว
ยามสุขอย่างน้อยที่สุดก็ไม่น้อยกว่า 1 คน สิ่งเหล่านี้เองที่บอกเราได้
อย่างแน่ชัดว่าเรายังดำรงความเป็นครูและเป็นปูชนียบุคคลอันควรเคารพ
ของศิษย์ แต่ถ้าไม่เป็นดังเช่นที่กล่าว ! ลูกศิษย์ให้ความรู้จัก ทักทายสนิทสนม

เมื่อยามเรียนอยู่ แต่เมื่อเวลาล่วงเลยไป แต่ละรุ่นผ่านเข้ามาและผ่านไป
เหมือนสายน้ำ ไม่ทักทายดูแล นั่นก็คงจะเป็นคำตอบที่ดีเยี่ยมอีกเช่นกันว่า
คุณนั้น... คือครูหรือตัวอะไรในโลกใบนี้

วัฒนธรรมสาธิตปทุมวัน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ
























วัฒนธรรมสาธิตปทุมวัน
อาจารย์สมฤดี แย้มขจร









เริ่มจากความหมาย...พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย “วัฒนธรรม” คือ พฤติกรรมและสิ่งที่คน
ในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกันและร่วมใช้อยู่ในหมู่
พวกของตน


ดังนั้น วัฒนธรรมสาธิตปทุมวันก็คือ พฤติกรรมที่ชาวสาธิตปทุมวัน
สร้างขึ้นโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็น
ธรรมเนียมปฏิบัติในสาธิตปทุมวัน


จากบทความ “วัฒนธรรมสาธิตปทุมวัน” ที่ผู้เขียนได้เคยเขียนไว้
ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 52 หน้า 53-58 ได้กล่าวไว้ว่า
“หากจะให้สรุปว่า “วัฒนธรรมสาธิตปทุมวัน” มีอะไรบ้าง...ลองนั่งคิดเล่น ๆ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ดูว่าถ้าจะนำคำภาษาอังกฤษคำนี้ “S A T I T P A T U M W A N” มาเป็น

ฐานจะได้มั๊ยนะ?... และมีข้อสรุปในบทความว่า “วัฒนธรรมสาธิตที่กล่าวมา
ทั้งหมดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาที่เป็นข้อดีหรือ
เป็นจุดแข็งขององค์กรของเราแต่ยังคงมีอีกหลายอย่างที่ผู้เขียนยังนึก

ไม่ออก และยังไม่ได้นำมากล่าวไว้ในครั้งนี้ (เพราะไม่ได้อยู่บนฐาน
ของคำว่า S A T I T P A T U M W A N) จึงขอฝากไว้ให้พวกเราชาวสาธิต
ปทุมวันได้ค้นหาและเรียบเรียงในโอกาสต่อไป” แต่เวลาล่วงเลยมา 6 ปี

ยังไม่มีผู้ใดนำมาบอกเล่าและเขียนถึง จนกระทั่งผู้เขียนได้อ่านข้อเขียนของ
ท่านผู้อำนวยการอรพินธุ์ คนึงสุขเกษม ที่เขียนไว้ใน วิทยนิเทศ พุทธศักราช
2557 หัวข้อ ปรัชญาและคติพจน์การบริหารงาน หน้า 41 ความว่า...


อุดมการณ์ในการพัฒนาสาธิต มศว ปทุมวัน เพื่อความเป็นสากล
PDS ที่เป็นมากกว่า Patumwan Demonstration School
P = Participation : ทุกคนมีส่วนร่วมและมีความสำคัญที่จะกำหนด

นโยบายต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียน
ให้มีศักยภาพตามแผนกลยุทธ์ ซึ่งต้องสนองต่อ
แผนยุทธศาสตร์ของคณะศึกษาศาสตร์ และมหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ
D = Discipline : การยึดถือระเบียบข้อบังคับ ระเบียบวินัย การลงโทษ
การอบรม และฝึกฝน ให้เป็นคนดีของสังคม บนพื้นฐาน

คุณธรรมและจริยธรรม
S = Smartness : บุคลากรและนักเรียนมีความสง่างามในทุกๆ ด้าน


“Participation and Discipline for Smartness”
“ร่วมแรง ร่วมใจพัฒนา เพื่อความงามสง่า “สาธิตปทุมวัน”

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ







อุดมการณ์ในการพัฒนาโครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
ภาคภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นสากล
EPTS ที่เป็นมากกว่า The English Program for the Talented Students

E = Ethical : พัฒนาศักยภาพของโรงเรียนในทุกด้านโดยยึดหลัก

คุณธรรม จริยธรรม

P = Practiced : ต้องฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ให้เกิดความเชี่ยวชาญ
เพื่อเป็น “คนเก่ง คนดี ศรีปทุมวัน”

T = Teamwork : ยึดหลักการทำงานเป็นหมู่คณะ เพื่อความสำเร็จร่วมกัน
ขององค์กร

S = Smartness : บุคลากรและนักเรียนมีความสง่างามในทุก ๆ ด้าน

“ Ethical, Practiced and Teamwork for Success”
“ทีมงานเชี่ยวชาญ บนฐานจริยธรรม นำมาซึ่งความสำเร็จอย่างสง่างาม”


จากการทบทวนข้อเขียนของท่านผู้อำนวยการแล้วเห็นได้ว่า
ทั้งหมดคือ วัฒนธรรมสาธิต ปทุมวัน นั่นเอง ดังนั้น ผู้เขียนจะใช้คำศัพท์
ของท่านผู้อำนวยการมาผสมผสานกับฐานคำเดิม S A T I T P A T U M W A N

ที่เคยเขียนไป แต่จะมีบางคำที่จะใช้คำศัพท์ที่เปลี่ยนไปตามคำแนะนำ
ของผู้รู้

ดังนั้น “วัฒนธรรมสาธิตปทุมวัน” จากคำภาษาอังกฤษ

“S A T I T P A T U M W A N” มาเป็นฐาน และเรียบเรียงใหม่ ได้ดังนี้
(บางตัวมีคำศัพท์หลายคำ)

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






S = Smartness : บุคลากรและนักเรียนมีความสง่างามในทุก ๆ ด้าน

(Participation and Discipline for Smartness)
S = Seniority : ความเป็นผู้มีอาวุโส, การให้ความเคารพผู้มีอาวุโสสูงกว่า

สิ่งนี้มีแน่นอน ตั้งแต่แรกที่เข้ามาทำงานที่สาธิตปทุมวันแห่งนี้

(ปีนี้ปีที่ 32) จะเห็นได้เลยว่าที่นี่ให้ความสำคัญกับระบบอาวุโสและให้
ความสำคัญกับอาจารย์อาวุโสมาก มีทั้งให้ความเคารพ ให้เกียรติ ให้ความรัก

ความห่วงใยและคอยดูแลให้ความช่วยเหลือโดยไม่ต้องรอให้ท่านร้องขอ
เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำและชี้แนะ จะเรียนรู้งานด้วยความเต็มใจ
รับอาสาทำงานช่วยท่านด้วยความเต็มใจโดยไม่มีข้อแม้เพราะท่าน
ทั้งหลายนั้น เป็นผู้เริ่มก่อตั้ง และสร้างสมคุณงามความดีทั้งหลาย

ไว้ให้พวกเราได้ดูจากรูปลักษณ์ของอาจารย์รุ่นแรก ๆ แล้ว บอกตรง ๆ
ว่าดูน่าเกรงขามมาก แต่พอได้ใกล้ชิดแล้ว อาจารย์เหล่านั้นไม่ได้ดุเลย
กลับมีแต่ความเมตตาให้เรา แต่เราก็ยังให้ความเคารพนบนอบ ไม่กล้า

ที่จะแสดงกริยาที่ไม่ดี ไม่ค่อยจะกล้าเถียงและแสดงความคิดเห็นเท่าไร
แต่เมื่อพูดอะไรออกไปแบบมีเหตุมีผล ท่านก็จะรับฟังเป็นอย่างดี สิ่งนี้ทำให้
เกิดเป็นความรักความผูกพันต่อมา และได้ถ่ายทอดมาเรื่อย ๆ จากอาจารย์

สู่นักเรียน จากนักเรียนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จะเห็นภาพที่สวยงามนี้ได้ในวันครู
ของทุกปีที่มีอาจารย์อาวุโสมาเยี่ยมโรงเรียน อาจารย์ก็ดีใจที่ได้เห็นพี่ ๆ
มาเยี่ยม ศิษย์เก่าหลายต่อหลายรุ่นมากราบอาจารย์ของเขามาพาอาจารย์

ไปเที่ยว เห็นแล้วปลาบปลื้มใจจริง ๆ นี่แหละความภูมิใจ ปลาบปลื้มใจ
ของคนเป็นครู...แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว วัฒนธรรมนี้น่าจะคงอยู่ต่อไปตราบนาน
เท่านาน

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ









A = Accountability : ความสำนึกรับผิดชอบ
บุคลากรทุกคนในสาธิตปทุมวันมีจิตสำนึกและมีความตระหนัก
ในความรับผิดชอบของตนที่มีต่อวิชาชีพ ต่อหน้าที่ มีความเป็นครูมืออาชีพ

พร้อมที่จะผลิตเยาวชนที่ดีมีคุณภาพต่อสังคม การรักษาวัฒนธรรมนี้
ทำได้โดยคอยกระตุ้นเตือนให้ทุกคนรู้ว่าหน้าที่ของตนเองว่ามีอะไรบ้าง
เวลาใดควรทำอะไร มีการมอบหมายงานไปตามลำดับขั้น มีการกระจายงาน
และความรับผิดชอบไปสู่ทุกคน ผลสำเร็จของงานเป็นเครื่องชี้วัดและ

รับประกันได้ การกระทำดังกล่าวนั้น สามารถทำได้โดยกระบวนการซึมซับ
จากการทำงานโดยไม่รู้ตัว และอาจารย์ก็ยังถ่ายทอดวัฒนธรรมนี้ไปยัง

ลูกศิษย์ของเรา ด้วยการสอดแทรกเพียงเล็กน้อยในการสอนทุกครั้ง
วัฒนธรรมองค์กรนี้ก็จะถูกถ่ายทอดต่อไม่มีวันจบสิ้น นอกจากความรับผิดชอบ
ต่อการกระทำแล้ว ควรเพิ่มความรับชอบต่อคำพูด รวมถึงการพูดและ
การเขียนโพสต์ใน Social Networks ด้วย คำพูดควรเป็นบวก สุภาพ

สร้างสรรค์ ไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก ควรรักษาภาพลักษณ์ขององค์กร
และภาพลักษณ์ของความเป็นบุคลากรที่ดีในองค์กรด้วย

T = Teamwork : การทำงานเป็นหมู่คณะ ยึดหลักการทำงาน

เป็นหมู่คณะ เพื่อความสำเร็จร่วมกันขององค์กร
วัฒนธรรมนี้สำคัญมากและทุกคนในสาธิตปทุมวันแห่งนี้

คงเห็นด้วยกับผู้เขียนว่า การทำงานคนเดียวทำไม่ได้ ผู้นำนำไปคนเดียว
ไม่มีผู้ตาม งานจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร งานทุก ๆ อย่าง กิจกรรม
ทุกกิจกรรม ทุกภาคส่วนของสาธิตปทุมวันมีส่วนร่วมในการทำงานทั้งสิ้น
ทุกคนให้ความสำคัญกับทุกคน (คำพูดของผู้บริหารทุกคนของเรา คือ

ทุกคนสำคัญเท่ากันหมด) ทุกคนต้องร่วมมือกัน ต้องมีการให้คำแนะนำ

“Ê͹ʹء ÊÃéÒ§ÊØ¢ ÊäµÅìÊÒ¸Ôµ (»·ØÁÇѹ) àÅèÁ 4” 






ซึ่งกันและกัน ให้ความเคารพในสิทธิหน้าที่ของแต่ละคน มีการร่วมกัน

วางแผนการทำงานอย่างมีระบบ การทำงานก็จะราบรื่นและประสบ
ความสำเร็จอย่างน่าภาคภูมิใจ

I = Integrity : ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ไม่คดโกง เป็นคุณลักษณะที่ทุกคนในองค์กร
ต้องมี ได้แก่ ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมงาน ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ

และที่สำคัญซื่อสัตย์ต่อองค์กร เหล่านี้จะทำให้องค์กรมีแต่ความสำเร็จ
เจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น

I = Innovation : นวัตกรรม

ในความเก่าแก่ของความเป็นสาธิตแห่งแรกโรงเรียนสหศึกษา
แห่งแรก ไม่ได้บอกว่าเราควรอยู่กับความเก่า ความแก่ สิ่งใดที่เป็นสิ่งที่ดี
มีคุณค่า ที่เก่าแก่เราจะอนุรักษ์เอาไว้ แต่วิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียน
สาธิต ต้องเป็นองค์กรที่มีการพัฒนา และผลิตผลงานเพื่อสร้างสรรค์

สิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการเรียนการสอนจากอาจารย์ผู้สอน หรือ
การฝึกให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วิจัย

เพื่อสร้างสรรค์ ให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรม โรงเรียนของเรา
ก็ปฏิบัติกันมาโดยตลอด และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ทั้งผลงานอาจารย์
และนักเรียน


T = Teaching : การสอน
วัฒนธรรมข้อนี้โรงเรียนเห็นความสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน เพราะ
โรงเรียนสาธิตเป็นโรงเรียนที่มีลักษณะเฉพาะ ฉะนั้นการจัดการเรียน
การสอนต้องเป็นไปตามหลักสูตรของสถานศึกษา และต้องมีรูปแบบ

ของการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างจากโรงเรียนสังกัด สพฐ.

 âçàÃÕ¹ÊÒ¸ÔµÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÃÕ¹¤ÃÔ¹·ÃÇÔâò »·ØÁÇѹ






อาจารย์ต้องเน้นกระบวนการสอนที่สอนวิธีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

เป็นหลัก เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้เรียนรู้และจัดกิจกรรม
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และผลิตผลงานสร้างสรรค์ที่
เรียกว่า นวัตกรรม และนักเรียนสามารถนำเสนอผลงานในรูปงานวิจัย

โครงงาน และการบูรณาการต่าง ๆ ได้ และจุดสำคัญของข้อนี้ก็คืออาจารย์
ผู้สอน ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนคงต้องมีภูมิรู้อย่างแท้จริงในสาขาวิชาที่ตนเอง
สอนด้วย


P = Participation : การมีส่วนร่วม
ทุกคนในองค์กร มีส่วนร่วมและมีความสำคัญที่จะกำหนดนโยบาย
ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนให้มีศักยภาพตามแผนกลยุทธ์

ซึ่งต้องสนองต่อแผนยุทธศาสตร์ของคณะศึกษาศาสตร์ และมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ

P = Politeness : ความสุภาพ

ความสุภาพ เป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งที่โรงเรียนของเราให้ความสำคัญ
และต้องการปลูกฝังให้บุคลากรและนักเรียนมี จนเกิดเป็นภาพลักษณ์

ของนักเรียนที่ว่า “สุภาพเป็นมิตร กล้าคิด กล้าทำ กล้านำเสนอ”

P = Planning : การวางแผน
แน่นอนที่สุด การวางแผนการทำงานทุกเรื่องสำคัญที่สุด

สาธิตปทุมวันนั้นมีวัฒนธรรมอย่างนี้มานานมาก จะเห็นได้จากการโรงเรียน
ของเรามีการจัดการประชุมปฏิบัติการมาถึงครั้งนี้เป็นครั้งที่ 58 แล้ว เพราะ
การประชุมเชิงปฏิบัติการนั้นมีวัตถุประสงค์ให้ทุกคนในองค์กรได้มี
การประชุมร่วมกัน ได้มีการแสดงความคิดเห็นในแต่ละเรื่องได้อย่างเต็มที่

เพื่อนำไปแก้ปัญหาต่าง ๆ ของหน่วยงานที่ผ่านมา อีกทั้งยังได้มีการเปิดโอกาส


Click to View FlipBook Version