การนวดไทย 2
หนังสอื เรียน รายวชิ า 193-303
คณะการแพทยแ์ ผนไทย มหาวทิ ยาลัยสงขลานครินทร์
ฉบับปรังปรงุ ปี 2562
รายนามผูจ้ ดั ทา
อาจารยภ์ ทั รศศิร์ เหลา่ จนี วงค์
อาจารย์กชกร สขุ จนั ทร์ อินทนจู ติ ร
อาจารย์สิริพร จารกุ ิตตส์ กุล
อาจารยพ์ ชี ยา ปฐมพรหมมา
อาจารย์สพุ รรณิกา ใจสมนั
อาจารย์ นพ.สทุ ธพิ งษ์ ทิพชาตโิ ยธิน
อาจารย์ พญ.พิชามญช์ุ คณติ านพุ งศ์
อาจารย์ ผศ.นพ.ปราโมทย์ ทานอทุ ศิ
ออกแบบปก / ตรวจทาน
นายบดนิ ทร์ ชาตะเวที
จดั พิมพ์ / เผยแพร่
คณะการแพทย์แผนไทย
มหาวิทยาลยั สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
15 ถ.กาญจนวณิชย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ 074-282-701-22
โทรสาร 074-282-709
E-mail: [email protected]
คำนำ
เอกสารประกอบคาบรรยายรายวิชา กำรนวดไทย 2 (193-303) ฉบับน้ี จัดทาขึ้นเพ่ือให้
นักศึกษาแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้ประกอบการเรียน ซ่ึงผู้เขียนเอกสารเป็น
คณาจารย์ร่วมสอนรายวิชาการนวดไทย 2 สาหรับนักศึกษาแพทย์แผนไทย โดยจะกล่าวถึงเนื้อหา
เก่ียวกับ การซักประวัติ การตรวจร่างกายแบบทั่วไป การตรวจระบบกระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อและ
ระบบประสาท การอ่านและแปลผลภาพทางรังสีวิทยา การนวดรักษาโรคหรืออาการๆ ที่พบบ่อยด้วย
การนวดไทยแบบราชสานกั และการนวดรกั ษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
คณะผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตาราเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สาหรับผู้เรียนและผู้ที่สนใจ หาก
เอกสารประกอบคาสอนเล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใด กรุณาแจ้งให้ทราบด้วย คณาจารย์ผู้สอนยินดี
นอ้ มรับเพือ่ ปรบั ปรุงแกไ้ ขต่อไป
คณะผ้จู ดั ทา
สำรบญั
เรือ่ ง หน้ำ
คำนำ I
สำรบัญ 1
บทนำรำยวิชำ 30
84
บทท่ี 1 194
การซกั ประวัตแิ ละการบนั ทึกขอ้ มูลทางหตั ถเวชกรรมแผนไทย 258
บทที่ 2 330
การตรวจวนิ จิ ฉยั และตรวจร่างกายท่ีเกี่ยวข้องทางหตั ถเวชกรรมไทย 338
บทท่ี 3
การตรวจระบบกระดูก ข้อ กล้ามเนอ้ื และระบบประสาท
บทท่ี 4
การนวดไทยบาบัดของมูลนธิ ิสาธารณสุขกับการพฒั นา
บทท่ี 5
การนวดไทยบาบดั แบบราชสานกั
บทท่ี 6
การนวดรักษาอมั พฤกษ์ อัมพาต ด้วยภมู ิปัญญาของหมอประวทิ ย์ แกว้ ทอง
บทท่ี 7
คาแนะนาทางหตั ถเวชกรรมแผนไทย
I
บทนา
คาอธิบายรายวิชา
การฝึกกาลังน้ิวมือ หลักการและวธิ กี ารนวดเพ่ือบาบัดโรคท่ีพบบ่อยและโรคซับซ้อน โดยเน้นโรค
ในระบบกระดูกและกล้ามเน้ือ กลไกการเกิดโรคและอาการ การวางแผนการบาบัดและฟื้นฟูส่งเสริม
สขุ ภาพตามหลักการนวดไทยแบบราชสานักร่วมกับการใช้ยาสมุนไพร การซักประวัติและบันทึกประวัติ
ผู้ปุวย การตรวจรา่ งกายและการประเมนิ ผลการนวด การให้สุขศึกษาท่สี ัมพนั ธ์กับโรค การวิเคราะห์โรค
เทียบเคียงกับแผนปัจจบุ ันและการส่งตอ่ ผู้ปุวย
Finger strength training; principles and methods of massage for treating common
and multifactorial disorders, especially osteopathy and myopathy; mechanisms and
symptoms of diseases; planning for treating, restoring and promoting the patients’
health based on royal Thai massage coupled with herbal utilization; interviewing and
recording the patients’ history; physical examination and evaluation of massage effect;
suggesting health education related to diseases; comparison of diseases diagnosed by
traditional Thai medicine concept to those in modern medicine and patient referral.
จดุ มุง่ หมายของรายวิชา
1. สามารถซกั ประวัติ เขยี นบันทึกตามแบบแบบฟอร์มการซักประวัติ และประเมินสัญญาณชีพ
ได้
2. สามารถอธิบายหลักการและตรวจประเมินสภาพทางกระดูก ข้อและกล้ามเน้ือท่ีเก่ียวข้อง
กับการนวดไทยได้
3. สามารถอธิบายหลักการเบื้องต้นของรังสีวินิจฉัยและอ่านแปลผล ฟิล์ม X-ray CT-scan
และ MRI ทเ่ี ก่ียวขอ้ งกบั การนวดไทยได้
4. สามารถอธิบายอาการ การตรวจร่างกายเพ่ือประเมินอาการทางหัตถเวชกรรมไทย การ
วินจิ ฉัยโรคตลอดจนนวดรกั ษาอาการหรือโรคทพ่ี บบอ่ ยได้
5. สามารถอธิบายหลักการการเกิดโรคและนวดรักษาอัมพฤกษ์ อัมพาตตามสูตรภูมิปัญญา
หมอพ้ืนบ้านภาคใต้ได้
6. สามารถให้คาแนะนา ท่าบริหารและวิธีการดูสุขภาพตามด้วยทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
ควบคกู่ บั การนวดไทยรกั ษาอาการหรือโรคแกผ่ ู้ปวุ ยไดอ้ ยา่ งถูกตอ้ งและเหมาะสม
7. สามารถเปรียบเทียบโรคทางหัตถเวชกรรมไทยกับแผนปัจจุบันได้และมีการส่งต่อได้อย่าง
เหมาะสม
8. สามารถปฏิบัตติ นตามจรรยาบรรณวชิ าชีพและคานึงถึงผลประโยชนแ์ ละสทิ ธิของผู้ปวุ ย
II
หมอชีวกโกมารภัจจ์
บรมครูแหง่ การแพทยแ์ ผนโบราณ (แพทย์แผนไทย)
พระคาถาอัญเชญิ บรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์
(แพทยป์ ระจาองค์ พระสมั มาสัมพทุ ธเจ้า)
ต้ัง นะโม ๓ จบ
นะโมตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมั มาสมั พทุ ธสั สะ
นะโมตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมั มาสมั พุทธัสสะ
นะโมตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
บทสวด
โอม นะโม / ชีวะโก / สริ ะสา / อะหัง / กะรุณิโก / สัพพะสัตตานัง / โอสะถะ / ทิพพะมัน
ตัง / ปะภาโส / สุริยาจันทัง / โกมาระภัจโจ / ปะกาเสสิ / วันทามิ / ปัณฑิโต / สุเมธะโส / อะ
โรคา / สุมะนา โหมิ
นะอะนะวะ โรคา พยาธิ วินาสสันติ
บทอธิษฐาน
ขอบารมีแห่งบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ / จงคุ้มครองให้ข้าพเจ้า ( ........ชื่อและนามสกุล
ของตัวเอง ..... ) พ้นจากโรคร้ายภัยเวร / โรคเวรโรคกรรม / ขอให้มีอายุมั่นขวัญยืน / มีสุขภาพ
กาย สุขภาพจิตท่ดี ี / ขอใหอ้ านิสสงส์แห่งแรงอธิษฐานนี้ / คมุ้ ครองข้าพเจ้า / นับตั้งแต่บัดนี้ล่วงไป
เมอื่ หนา้ เทอญ
III
ศาสตราจารยน์ ายแพทยอ์ วย เกตุสงิ ห์
ผกู้ อ่ ตั้งมลู นธิ ิฟ้นื ฟู ส่งเสรมิ การแพทย์ไทยเดิมและอายรุ เวทวิทยาลยั (ชีวกโกมารภจั จ์)
ได้ก่อต้ังโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ.2525 เพ่ือผลิตแพทย์แผนไทยประยุกต์ ท่านได้
พบกับอาจารย์ณรงค์สกั ข์ บุญรัตนหิรัญ ผู้เชี่ยวชาญการนวดแผนไทยแบบราชสานัก ด้วยเห็นว่าเป็น
ศาสตร์ทรงคณุ ค่า จึงเชิญอาจารยม์ าสอนวิชานวดใหแ้ ก่โรงเรยี นอายรุ เวทวิทยาลัยต้ังแตย่ ุคเรม่ิ ต้น
กระท่ังปี พ.ศ.2545 โรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัยถูกนาเข้าไปอยู่ในการดูแลของคณะ
แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และปรับปรุงหลักสูตรจากระดับอนุปริญญาไปเป็นปริญญาตรี “สาขา
การแพทยแ์ ผนไทยประยุกต์” มีการสอนวิชาพ้ืนฐานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับวิชาด้านแพทย์
แผนไทย รวมทง้ั วิชานวดแผนไทยแบบราชสานกั (หัถเวชกรรม) ดว้ ย
IV
อาจารยณ์ รงค์สักข์ บญุ รตั นหริ ัญ
ปรมาจารย์ผู้ถา่ ยทอดวิชาการนวดไทยแบบราชสานกั
ประวตั ิ วันจนั ทรท์ ่ี 18 มีนาคม พ.ศ. 2471
เกิดเม่อื วันพฤหสั บดีท่ี 11 มิถุนายน พ.ศ. 2535 อายุ 64 ปี
ถึงแกก่ รรม อ. สองพนี่ ้อง จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี
ภูมลิ าเนาเดมิ นายอ๊ะ แซเ่ ล้า
บิดาชื่อ นางกี่ แซเ่ ล้า
มารดาชื่อ จานวน 4 คน
พน่ี ้อง - จบการศกึ ษาชั้นประถมชนั้ ปที ่ี 4 จ.สพุ รรณบุรี
วุฒกิ ารศกึ ษา - บวชเรียนนกั ธรรมเอก วัดปากนา้ ภาษเี จริญ กรงุ เทพฯ
- เปน็ อาจารยส์ อน สันนิบาตเสรีชน แหง่ ประเทศไทย ปี 2513
ผลงาน - เป็นอาจารยส์ อนอายุรเวทวทิ ยาลยั ฯ ผปู้ ระสทิ ธิป์ ระสาทวิชาหตั ถเวชใหก้ ับ
นักศกึ ษาตง้ั แต่ปี พ.ศ. 2525-2535 ทาใหส้ ามารถสบื ทอดวิชาหัตถเวชเปน็ ท่ี
แพรห่ ลายมาจนถงึ ปจั จุบัน
- เปน็ กรรมการโครงการนวดไทย
- เปน็ วทิ ยากรบรรยายพเิ ศษให้นกั ศึกษาปริญญาโท หลักสูตรกายภาพบาบัด
โรงพยาบาลศิรริ าชพยาบาล และร่วมทาส่ือการเรียนการสอนวชิ าหตั ถเวชกบั
ภาควชิ ากายวภิ าคศาสตร์ โรงพยาบาลศริ ิราชพยาบาล
V
บทคารวะ และอธิษฐาน
ของอาจารย์ณรงค์สักข์ บญุ รัตนหริ ญั
ว่าดว้ ยเร่อื งระเบยี บและวธิ ีการนวดในราชสานัก ข้าพเจา้ ไดเ้ รยี นมาจาก
ท่านอาจารยก์ รุด ลูกศษิ ยห์ ลวงวาโย
ท่านอาจารยช์ ติ เดชพนั ธ์ บุตรชายคนเลก็ ของหมออนิ ทรเ์ ทวดา
ท่านอาจารย์หลวงรักษา แพทยใ์ นราชสานัก
ทา่ นอาจารย์พัว หลายศรีโพธ์ิ ลกู ศิษยห์ ลวงลามเดชะ
วา่ ดว้ ยเร่ืองสัญญาณ 5 และมาตราส่วนองศา ข้าพเจ้าขอระลึกถึงบรมครูมวยไทย และบรมครู
ดาบไทย ซง่ึ ทา่ นมีกาหนดกฏเกณฑ์และระเบียบศิลปะไว้คล้ายคลึงกัน ทาให้ข้าพเจ้านามาดัดแปลงเป็น
หลกั วชิ า ในการกาหนด ตรวจองศากระดูกและโรคท่เี กิดข้นึ ตลอดจนลลี าท่านวดท่ีใช้ในการรักษาโรค
ขา้ พเจา้ ขอกราบนมัสการเทพดาบสท้งั ร้อยแปดองคผ์ ้ทู รงฌาณ ซึง่ ได้มีท่านอาจารย์บรมครูชีวก
โกมารภัจจ์ เปน็ ประธานอันประเสริฐ และขอกราบนมัสการบรมครูท้ังหลายท่ีกล่าวมาข้างต้นและเทวา
อนุญาตใหข้ ้าพเจา้ สอนศษิ ยใ์ ห้ร้โู รค และรนู้ วดเปน็ ยา ท่จี ะแกโ้ รคท้ังหลาย อีกทั้งขอเทวา อนุญาตเขียน
ตาราหัตถเวช เพ่ือให้เป็นเคร่ืองสังเกตแก่ลูกศิษย์ลูกหาท้ังปวง ขออย่าให้ข้าพเจ้าน้ี สอนผิดพลาด
ประการใด ขอให้สอนได้แม่นยาและเท่ียงตรง เหมือนดังบรมครูสอนเองทุกประการ ขออานุภาพท่าน
บรมครูทงั้ หลาย ช่วยเมตตาปกปูองคุ้มครอง และเชิดชูตัวข้าพเจ้าและศิษยานุศิษย์ท้ังหลาย ที่หมายจะ
ดารงศิลปะนวดไทยในราชสานกั ขอให้วิทยาการเผยแพร่กระจายไปทุกทิศานุทิศ เป็นเกียรติศักดิ์อันพึง
สมั ฤทธ์ิ แกส่ ถาบนั อายรุ เวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภจั จ์) และประเทศไทยชว่ั กาลนาน
ข้าพเจ้าขอน้อมจิตอธิฐาน ขอกุศลอันพึงมีจากการสอน และการใช้ตาราหัตถเวช ในการปลด
เปลอ้ื งทุกข์ของคนไข้ จงบงั เกดิ มแี กท่ ่านเทพยดาและท่านบรมครูอาจารย์ผมู้ คี ุณปู การอันยง่ิ ด้วยเทอญ
VI
คาไหว้ครู คาขอประสาทพร
ขา้ พเจ้า ....(นกั ศึกษาออกชอ่ื ตนเอง)... ผู้สบื ทอดการนวดไทยสายราชสานัก ขอกราบนมัสการ
เทพดาบสทง้ั ร้อยแปดองค์ผทู้ รงญาน ซงึ่ มีทา่ นอาจารยบ์ รมครชู ีวกโกมารภัจจ์ เป็นประธานอันประเสริฐ
และขอกราบบรมครู
1. นายแพทยก์ รดุ ลูกศษิ ยห์ ลวงวาโย
2. หมอชิต เดชพันธ์ บุตรชายคนเลก็ ของหมออนิ เทวดา
3. หลวงราชรกั ษา
4. อาจารย์พวั หลายศรีโพธิ์ ลกู ศิษย์หลวงรามเดชะ
5. บรมครู มวยไทย ดาบไทย
6. อาจารยณ์ รงคส์ กั ข์ บุญรตั นหิรญั
ขออานุภาพของท่านบรมครูทั้งหลาย ช่วยเมตตา ปกปูอง คุ้มครอง เชิดชูตัวข้าพเจ้า และ
บรรดาศิษย์ท้งั หลาย ท่จี ะหมายดารงศิลปะการนวดไทยสายราชสานัก ให้สามารถเผยแพร่วิทยาการ ให้
กระจายไปท่ัวทุกทิศานุทิศ เป็นเกียรติศักด์ิอันพึงสัมฤทธ์ิแก่แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์
และประเทศไทยชั่วกาลนาน (กราบ 3 ครั้ง)
VII
คาไหวค้ รูของเจา้ พระยาเสดจ็ พระสเุ รนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากลุ )
ข้าพเจ้า ขอประณตน้อม ศิรวันทนาการ แต่ท่านอาจารย์ผู้ทรงคุณปกติการุณยภาพ ในศิษย์
สานุศิษย์ท้ังปวง ว่าโดยย่อเปน็ สามประการ คือ
เมตตาคุณ มีจิตปรารถนาและพยายาม เพ่ือชักนาให้ศิษย์ประพฤติดี มีสันดานมั่นอยู่ในทางท่ี
ชอบ และประกอบแตล่ ้วนคณุ ประโยชน์ ประการหน่งึ
กรุณาคุณ มีจิตปรารถนาและพยายาม เพื่อขัดเกลาสันดานศิษย์ คือกาจัดความช่ัวอันมัวหมอง
และเปน็ มลุ เหตแุ ห่งทกุ ข์ โทษภัยทงั้ ปวง ใหล้ ่วงเสียประการหนง่ึ
อนุสิฏฐิคุณ มีจิตปรารถนาและพยายาม พร่าแจงแสดงเวทย์ ขจัดเหตุสงสัยให้ได้ความสว่าง
ประดุจนาไปด้วยดวงประทีป เพื่อจะปลูกฝังความรู้ ไปไว้ในสันดานแห่งศิษย์ ให้เป็นผู้ฉลาดแหลมคม
ด้วยปัญญา ประการหนึง่
ขอท่านอาจารย์รับเครื่องสักการะ อันข้าพเจ้าน้อมนามา และจงสาแดงซ่ึงปกติคุณูปการ แก่
ขา้ พเจ้า ประดุจนายชา่ งหม้อ ผ้พู ยายามกลอ่ มเกลา เพือ่ ให้หม้อมีรปู ร่างอันดีฉันนั้น ข้าพเจ้าขอแสดงแก่
ท่านอาจารย์ พร้อมท้ังกายและใจว่า ข้าพเจ้าจะเป็นผู้ต้ังอยู่ในความสดับ เพื่อให้ได้รับโอวาทด้วยความ
เคารพอยู่ทุกเมื่อ
ขอเดชะปูชนียาธิษฐานอันน้ี จงดลบันดาลให้ สติปัญญาของข้าพเจ้า แตกประดุจหญ้าแพรก
ดอกมะเขือ และให้งอกงามเจริญขึ้นโดยเร็วพลัน นับแต่กาลวันน้ี ให้การศึกษาของข้าพเจ้า เป็น
ผลสาเรจ็ อันดี ดจุ คาอธษิ ฐานฉะน้ี เทอญ
คาถาปลกุ เสกธาตุให้มอื รอ้ น
นะ มะ ถะ ทะ (ถกู มือให้รอ้ น)
บทสวดไม่ใหเ้ ขา้ ตัว
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธสั สะ (3 ครั้ง)
พุทธัง ปจั จะฆามิ
ธรรมมัง ปัจจะฆามิ
สงั ฆงั ปจั จะฆามิ
คาถาสวดก่อนนอน
นะโมตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมั มาสมั พุทธัสสะ (3 ครง้ั )
สหะมุติ สมหุ คโต เสมาตัง พัทธะสมายงั สหะนิตัมโพ เอวังเอหิ
นะถอด, โมถอน, พทุ ธคอน, ธาเคลอ่ื น, ยะเล่ือน หลุดลอยหาย
สะวาหะ สวาหาย
1
บทท่ี 1
การซกั ประวตั แิ ละการบันทึกข้อมลู ทางหัตถเวชกรรมแผนไทย
วัตถุประสงคก์ ารเรียนรู้
1. สามารถอธิบายการซกั ประวตั แิ ละการการบนั ทกึ ข้อมลู โรคหัตถเวชกรรมแผนไทยได้
2. สามารถอธิบายการซกั ประวัตแิ ละการตรวจร่างกายแผนปัจจุบันท่ีเก่ียวข้องกับการนวดแผน
ไทยได้
หวั เรอ่ื ง
1.1 ข้ันตอนการบันทึกข้อมูลทางหัตถเวชกรรมไทย
- การซักประวตั ิ (History Taking)
- การตรวจรา่ งกาย (Physical Examination)
- การตรวจทางหอ้ งปฏิบัติการ (Lab Examination)
- การวินจิ ฉยั โรค (Medical diagnosis)
- การวางแผนการรักษา (Treatment Plan)
1.2 บญั ชีรหัสกลุ่มโรค อาการและหตั ถการดา้ นการแพทย์แผนไทย (ดา้ นหัตถเวชกรรมไทย)
1.3 แบบฟอร์มการบันทึกการนวดไทย (คณะการแพทยแ์ ผนแผนไทย มหาวทิ ยาลยั สงขลานครนิ ทร์)
2
การซกั ประวัติและการบันทกึ ข้อมูลทางหัตถเวชกรรมแผนไทย
1.1 ขนั้ ตอนการบันทึกขอ้ มลู ทางหัตถเวชกรรมแผนไทย
การค้นหาสาเหตขุ องโรค
ในการคน้ หาสาเหตุของโรคทางหัตถเวชกรรมไทยนั้น มขี น้ั ตอนหลกั ๆ อยู่ 5 ขัน้ ตอน คอื
1. การซกั ประวตั ิ (History Taking)
2. การตรวจรา่ งกาย (Physical Examination)
3. การตรวจทางหอ้ งปฏิบตั กิ าร (Lab Examination)
4. การวินจิ ฉยั โรค (Medical diagnosis)
5. วางแผนการรกั ษาโรค (Treatment Plan)
การเตรยี มตวั ของผู้ซกั ประวตั ิและตรวจรา่ งกาย
1. ทางดา้ นรา่ งกาย = สุขภาพแขง็ แรง เลบ็ สั้น แตง่ กายสะอาด สภุ าพ บคุ ลิกดี
2. ทางด้านวาจา = สภุ าพอ่อนนอ้ มถ่อมตน
3. ทางด้านจติ ใจ = เมตตากรณุ า
4. ทางด้านความรู้และทักษะ = มีความรู้ทฤษฎีการแพทย์แผนไทย จุดนวด การดูแล
สุขภาพแบบองค์รวมทีค่ รอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณแ์ ละจิตวญิ ญาณ
1.1.1 การซกั ประวตั ิ (History Taking)
การรกั ษาผปู้ ุวยอยา่ งถูกตอ้ งและมีประสทิ ธภิ าพได้น้ัน จาเป็นอย่างย่ิงที่จะต้องมีความรู้พื้นฐาน
เก่ียวกับซักประวัติและตรวจร่างกาย เพ่ือสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับ
การเจ็บปุวยหรือปัญหาต่างๆ ของผู้ปุวยให้มากท่ีสุด เพ่ือประกอบการวินิจฉัยและนาไปสู่การรักษาท่ี
ถกู ตอ้ ง การที่จะไดข้ อ้ มลู ตา่ งๆ อย่างเพยี งพอนัน้ ประกอบด้วยการปฏบิ ัตติ ามขนั้ ตอน ไดแ้ ก่
1. การซกั ประวตั ิ
2. การตรวจร่างกาย
3. การตรวจทางห้องปฏบิ ัติการต่างๆเช่นการตรวจเลือดการถ่ายภาพรงั สเี ปน็ ตน้
การซักประวตั ิ
การซักประวัติผู้ปุวยจัดว่าเป็นข้ันตอนท่ีสาคัญท่ีสุดในการให้การตรวจรักษาผู้ปุวย ข้อมูลต่างๆ
ที่ซักถามได้จากผู้ปุวยหรือญาติ (Subjective data) จะถูกนาไปประมวลกับข้อมูลที่ได้จากการตรวจ
รา่ งกายและตรวจทางห้องปฏบิ ัตกิ ารทีจ่ าเปน็ ตอ่ ไป (Objective data) ในทางการแพทย์ การซักประวัติ
มีความสาคัญมาก เพราะเป็นบันไดขั้นแรกท่ีจะนาไปสู่การวินิจฉัยในขั้นสุดท้ายของผู้ปุวยได้ถึง 50%
สาหรับการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะช่วยในการวินิจฉัยได้ 30% และ 20%
ตามลาดับ
3
ความสาเร็จของการซักประวัติขึ้นกับองค์ประกอบหลายประการที่สาคัญ คือ ตัวผู้ซักประวัติ
จะตอ้ งมีความรแู้ ละทักษะในการตรวจ การพูดมีบุคลิกภาพที่น่าศรัทธา น่านับถือและเห็นว่าปัญหาของ
ผู้ปุวยเปน็ ส่ิงสาคัญท่ีสดุ ไมร่ บี รอ้ นเกินไป ใชเ้ วลาให้เหมาะสม พ่งึ ระลกึ อยู่เสมอว่าผู้ปุวยหรือญาติผู้ดูแล
มีความกังวลใจในความเจบ็ ปวุ ยและตอ้ งการความเขา้ ใจในโรคที่เขาเป็นอยู่ การซักประวัติที่ใช้เวลานาน
เกินไปในขณะที่ผู้ปุวยเจ็บปุวยอยู่ อาจทาให้ได้ข้อมูลที่ห้วน สับสนและผู้ปุวยได้รับการรักษาท่ีล่าช้าไป
ด้วย สถานท่ีซักประวัติ ควรเงียบและเป็นสัดส่วนเพื่อให้ผู้ปุวยมีความม่ันใจและกล้าบอกความจริง
นอกจากน้ัน ตัวผู้ป่วยเองก็ต้องเข้าใจให้ความร่วมมือเช่ือถือและไว้วางใจผู้ซักประวัติ จะเห็นได้ว่า
องค์ประกอบต่างๆ นั้นมีส่วนที่เก่ียวเน่ืองโยงใยกันอยู่เสมอ ดังนั้น การฝึกฝนหรือการปฏิบัติอย่าง
ต่อเน่ืองจะทาให้นักศกึ ษาเกดิ ความเขา้ ใจและซักประวตั ผิ ู้ปุวยได้อย่างมีประสิทธิภาพในทีส่ ุด
การซักประวัติ ควรปฏิบัติตามข้ันตอนอย่างครบถ้วนแต่เมื่อมีความชานาญแล้วหรือในกรณี
รีบด่วน อาจละเว้นในบางหัวข้อก็ได้ ขึ้นกับตัวผู้ให้การรักษาและปัญหาของผู้ปุวย ท้ังน้ีการแนะนา
ตัวเองว่าเป็นใครและมีจุดประสงค์อะไรเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก่อนเร่ิมซักประวัติและตรวจร่างกาย
ผปู้ ุวยแตล่ ะรายขัน้ ตอนที่ยดึ ถือปฏบิ ตั ิกนั โดยทวั่ ไป ไดแ้ ก่
1. ข้อมูลพ้ืนฐานท่ัวไปของผู้ป่วย (General data, Preliminary data, Data base)
เป็นรายละเอยี ดทวั่ ไปของผ้ปู วุ ย ไดแ้ ก่ ชื่อ อายุ เพศ เชอ้ื ชาติ ศาสนา ท่ีอยู่ อาชีพ การศึกษา เปน็ ตน้
2. อาการสาคัญ (Chief Complaint, C.C.) เป็นอาการท่ีเด่นชัดเพียง 1-2 อย่างที่ทาให้
ผู้ปุวยมาพบแพทย์ อย่าใช้ความรู้สึกของตัวเองเป็นตัวตัดสินว่าอะไรเป็นอาการสาคัญของผู้ปุวย ส่วน
ใหญ่อาการสาคัญมักเป็นลักษณะความเจ็บปวด ความผิดปกติหรือส่ิงที่ผู้ปุวยสังเกตพบ ควรกระตุ้นให้
ผปู้ วุ ยบอกอาการท่จี าเพาะที่สุดที่ส้นั และได้ใจความ รวมถงึ ระยะเวลาท่เี ปน็ ด้วย
3. ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present Illness, P.I.) เป็นประวัติการเจ็บปุวยท่ีจะต้อง
อาศยั อาการสาคัญเปน็ แนวทางนาในการซกั ถามรายละเอยี ดต่อไป เช่น
- อาการนน้ั เริ่มเป็นมาต้งั แตเ่ มือ่ ไรเกดิ ขึ้นทันทหี รือค่อยๆ เปน็ และเปน็ มากเวลาใด
- อาการนัน้ มีลักษณะอยา่ งไร
- เปน็ ทตี่ าแหนง่ ใดสมั พันธ์กบั อวัยวะใกล้เคียงอนื่ หรือไม่
- อะไรทาใหอ้ าการน้นั ดีขึน้ หรือแยล่ ง
- มีอาการอนื่ ร่วมดว้ ยหรอื ไม่
- การรกั ษาและยาทไี่ ดร้ บั มาก่อนทง้ั ท่ซี ้ือกินเองหรือไดจ้ ากหมอและผลเปน็ อยา่ งไร
4. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past Illness) เป็นการซักถามถึงการเจ็บปุวยในอดีตเรียง
ตามลาดับของการเจ็บปุวย ซึ่งอาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับการเจ็บปุวยคร้ังนี้ก็ได้ อย่างไรก็ตามควร
เน้นเก่ียวกับสิ่งท่ีเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับการเจ็บปุวยในปัจจุบัน โดยข้อมูลที่ได้จากการเจ็บปุวย
ปจั จบุ ันจะเปน็ ตัวบ่งช้ีประวัตใิ นอดตี ทค่ี วรถาม เช่น
- โรคทีเ่ คยเปน็ เรียงลาดับต้งั แตว่ ัยเด็ก - ประวัตอิ ุบัตเิ หตุ
- การผ่าตดั และการพกั รักษาตวั ในโรงพยาบาล - การแพย้ าการได้รับภมู คิ ุม้ กัน
4
5. ประวัติครอบครัว (Family History) เป็นการซักถามถึงประวัติการเจ็บปุวยในหมู่ญาติพี่
น้องและบุคคลที่อยู่ในบ้านเดียวกับผู้ปุวยที่อาจสัมพันธ์กับการเจ็บปุวยของผู้ปุวย ได้แก่ โรคทาง
กรรมพันธุ์ต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเลือด ลักษณะปากแหว่งเพดานโหว่และ
ประวัติโรคติดเชอื้ ต่างๆ เช่น วัณโรค หดั เป็นตน้
6. ประวตั ิส่วนตวั (Personal History) ซกั ถามเกี่ยวกับการศึกษาอาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ
สถานทีอ่ ยู่อาศัย นิสัยส่วนตัว เช่น การสูบบหุ ร่ี การทานยา เปน็ ตน้
7. การทบทวนอาการต่างๆ ตามระบบอวัยวะ (Review of Systems) เป็นการถามถึง
อาการต่างๆ ซ่ึงเก่ียวข้องกับระบบอ่ืนๆ ของร่างกาย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสารวจภาวะของระบบ
ต่างๆ ในร่างกายท้ังในอดีตและปัจจุบัน เพื่อค้นหาอาการผิดปกติที่อาจเก่ียวข้องกับการเจ็บปุวยคร้ังน้ี
นอกจากนั้นยังอาจจะช่วยให้ค้นพบอาการหรือความผิดปกติท่ีถูกมองข้ามไปหรือผู้ปุวยคิดว่าไม่มี
ความสาคัญเก่ียวข้องกับการเจ็บปุวยคร้ังน้ี ย่ิงไปกว่าน้ันบางคร้ังทาให้พบสิ่งท่ีอาจก่อให้เกิดปัญหาแก่
สุขภาพของผู้ปุวยต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย การถามควรเริ่มจากภาวะสุขภาพทั่วๆ ไปก่อนแล้วจึงเริ่ม
ตรวจจากศีรษะ ตา หู จมูก ช่องปาก คอและระบบอื่นๆ เช่น ระบบหายใจ ระบบหัวใจ ระบบทางเดิน
อาหาร ระบบประสาท ระบบตอ่ มนา้ เหลอื ง ระบบผวิ หนงั ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ต้องระลึกเสมอว่าการซักประวัติโดยละเอียดนั้นจะกระทาเม่ือมีเวลาพอ ถ้า
ผปู้ ุวยมีอาการหรอื ปญั หาเรง่ ดว่ น เราอาจถามถึงอาการนาและถามประวัติในปัจจุบันเพียงเล็กน้อยก่อน
เพื่อเปน็ แนวทางในการรักษา แล้วค่อยกลบั มาสอบถามรายละเอียดเพม่ิ เตมิ ภายหลังได้
การซักประวัตผิ ปู้ ่วย - เพศ
1) ประวตั ิ / ข้อมูลส่วนบคุ คลทั่วไป
- ช่ือ-สกลุ ผ้รู ับบริการ
- วนั เดอื น ปีเกดิ - อายุ
- ระดบั การศึกษา - สถานภาพการสมรส
- ศาสนา - สัญชาติ
- เชื้อชาติ - อาชพี
- ภมู ิลาเนา - ทีอ่ ยู่ปัจจบุ ัน
- รายได้ - ท่อี ยู่ท่สี ามารถติดต่อได้สะดวก
- สถานทีท่ างาน - ผูท้ สี่ ามารถตดิ ตอ่ ได้
- ประวัตกิ ารรบั การนวดมาก่อนหน้านี้ - ประวัติการผา่ ตัด
- จดุ ประสงค์ของการมานวดครั้งนี้
2) อาการสาคญั (อ.ส.)
อาการท่ีนามาพบแพทย์ และระยะเวลาที่เร่ิมมอี าการ
“Symptoms + Onset”
5
อาการสาคัญทีน่ ามาและที่พบบอ่ ย
ปวดตามสว่ นของร่างกาย
เคลด็ ขัดยอก บวม
กลา้ มเนื้อออ่ นแรง กล้ามเนื้อลีบ ไม่มคี วามร้สู ึก
ขอ้ อกั เสบ ข้อยดึ ขอ้ ตดิ แขง็ ข้อเคล่อื น
ความพกิ ารผิดรูป ขาโก่ง เดนิ กระเผลก
เครยี ด นอนไมห่ ลบั
ระยะเวลาท่ีเปน็ มานาน
เฉียบพลนั = 2-3 วัน
เร้ือรัง = มากกว่า 6 เดอื น
มีโรคประจาตัว/ลกั ษณะของพยาธสิ ภาพ เช่น อัมพาต
เปน็ ๆ หายๆ รักษาไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนหมอรกั ษา/ วธิ กี ารรกั ษาบ่อย
3) ประวตั ิการเจ็บปว่ ยปัจจุบัน (ป.ป.)
เป็นการซกั ถามเก่ยี วกับความเปน็ มาของโรคท่ีเป็นอยู่ขณะน้ี พฤติกรรมการดูแลรักษา
ในระยะทผี่ ่านมาและสาเหตทุ ที่ าใหต้ อ้ งมารบั บริการนวดคร้งั น้ี
4) ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (ป.อ.)
เป็นการซักถามประวัติการเจ็บปุวยที่เคยเป็นในอดีตก่อนที่จะมีอาการเจ็บปุวยครั้งน้ี
การดูแลรักษาและความพิการที่หลงเหลืออยู่ปัจจุบัน เช่น โรคประจาตัว การผ่าตัด อุบัติเหตุ
การตง้ั ครรภ์ ยาทเ่ี คยใช้ การแพ้ยาหรอื อาหาร
5) ประวตั กิ ารเจบ็ ป่วยครอบครัว (ป.ค.)
เป็นการซักถามประวัติการเจ็บปุวยของสมาชิกสายโลหิตในครอบครัว โรคทาง
พันธกุ รรม และการดแู ลรักษา
6) ประวัติส่วนตวั (ป.ส.) / พฤติกรรมการดแู ลสขุ ภาพ
- วิถีการดาเนินชวี ติ สว่ นตวั - การรับประทานอาหาร
- การออกกาลังกาย - การนอนหลบั พกั ผ่อน
- สภาพจติ ใจ ภาวะเครียด อารมณ์ จิตสงั คม จิตวิญญาณ
- อาชีพทีม่ ีความสัมพนั ธก์ บั การเจบ็ ปุวย
- การขับถ่าย
- งานอดิเรก
- ความเช่อื คุณค่าและส่งิ ยดึ เหนย่ี วทางดา้ นจิตใจ
6
- การรับรสู้ ขุ ภาพและการดแู ลสขุ ภาพ
- พฤตกิ รรมเส่ียง
- สติปญั ญาและการรับรู้
7) ประวัติประจาเดือน - ระยะห่างของการมีประจาเดือน
- การมีประจาเดอื นครัง้ แรก - อาการผิดปกตขิ ณะมีประจาเดอื น
- จานวนวันที่มปี ระจาเดอื น
- อาการผิดปกติก่อนมปี ระจาเดอื น
1.1.2 การตรวจร่างกาย (Physical Examination)
การตรวจร่างกายผู้ปุวยควรเร่ิมต้ังแต่แรกเห็นผู้ปุวย สาหรับผู้ตรวจใหม่อาจมีความตื่นเต้นไม่
แน่ใจในตนเอง ดังน้ันจึงควรพยายามสงบและตรวจด้วยความมั่นใจ บอกเล่าให้ผู้ปุวยฟังทุกครั้งว่าเรา
เป็นใครและกาลังจะทาอะไร การตรวจควรทาอย่างสุภาพอ่อนโยน ควรเลือกตรวจจุดท่ีไม่มีอาการเจ็บ
ก่อน ควรตรวจในสถานที่ที่เหมาะสม การเปิดหรือเปล้ืองเสื้อผ้าผู้ปุวยควรพิจารณาในเฉพาะรายท่ี
จาเป็น ถ้าเป็นผู้ปุวยหญิงและผู้ตรวจเป็นชาย ต้องมีบุคคลที่สามอยู่ด้วย ขณะตรวจควรสังเกตสีหน้า
ผปู้ วุ ยเสมอ และถา้ หากมกี ารตรวจทอ่ี าจจะทาให้ผูป้ วุ ยเจบ็ ตอ้ งบอกให้ผปู้ วุ ยทราบกอ่ น
ระบบการตรวจรา่ งกาย
อาจใชร้ ะบบการตรวจได้หลายระบบ อาทิเชน่
1. Head-To-Toe assessment criteria เป็นการตรวจท่ีเริ่มจากการดูสภาพท่ัวๆ ไป
สัญญาณชพี ศีรษะ และหน้า ต าหู จมกู ช่องปาก ลาคอ หน้าอก เรื่อยไปจนถงึ สว่ นของแขนขา
2. Body systems assessment criteria เป็นการตรวจท่ีเริ่มจากการดูสภาพทั่วๆไป
สัญญาณชีพและตรวจตามระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบประสาท ระบบการหายใจ ระบบหัวใจ ระบบ
ทางเดินอาหาร ระบบผวิ หนัง ระบบอวัยวะสืบพนั ธ์ุ เป็นต้น
หลกั การและวธิ ีตรวจรา่ งกาย
โดยท่ัวไปมีวิธปี ฏิบัติ 4 วิธี ได้แก่ ดู คลา เคาะ ฟงั
1. การดู (Inspection) เป็นการสารวจดว้ ยสายตาว่าผู้ปุวยมีสิ่งผิดปกติอย่างไรบ้าง ควรเริ่มดู
ตัง้ แต่ผปู้ ุวยเดนิ เขา้ มาและขณะซกั ประวตั สิ ขุ ภาพ โดยดทู ั่วไปดว้ ยตาเปลา่ (unaided eyes) หรืออาจใช้
เครื่องมือช่วย (aid eyes) เช่น Otoscope, Ophthalmoscope เป็นต้น ส่ิงท่ีควรดูเป็นประจา คือ สี
ต่างๆ เช่น ซีด (anemia) เหลือง (jaundice) และเขียว (cyanosis) รูปร่าง ขนาดความสูง-ต่า ความ
เหมือนกันสองขา้ ง (symmetry) เปน็ ตน้
2. การคลา (Palpation) เป็นการตรวจร่างกายโดยการสัมผัสด้วยมือฝุามือหรือหลังมือ
บางคร้ังอาจทาร่วมกับการดูด้วย ลักษณะการคลาอาจใช้วิธีการคลาเบาๆ (light or superficial
palpation) หรอื การคลาลึกๆ (deep or bimanual palpation) การคลาทีถ่ ูกต้องจะทาให้แยกได้ถึง
7
• ความหยาบ-ละเอียด (texture) ซ่ึงส่วนท่ีใช้ในการตรวจได้ดี คือ บริเวณปลายน้ิว ส่ิงที่พบ
อาจบรรยายได้ตั้งแต่ลักษณะผิวหนังแห้งหยาบ ผ่ืนลักษณะต่างๆ เช่น papule macule plaque ฯลฯ
ตลอดจนลกั ษณะของกอ้ นต่างๆ ท่ีผิดปกติ เช่น ก้อนตอ่ มนา้ เหลือง เปน็ ตน้
• ขนาด (dimension) อาจใชห้ ลายน้ิวทั้งมือหรือท้ังสองมือ (bimanual) ข้ึนกับขนาดของส่วน
ที่ต้องการตรวจ เช่น การคลาไตหรอื ตับ เป็นตน้
• ความแข็งอ่อน (consistency) ข้ึนกับความหนาแน่นของส่ิงนั้น จะรู้สึกได้ดีโดยใช้ปลายนิ้ว
เช่น การคลาต่อมน้าเหลืองว่านิ่ม (soft) แข็งเหมือนยางลบ (rubbery) หรือแข็งมาก (stony hard/
bony hard)
• อุณหภูมิ (temperature) หลังมือจะเป็นส่วนท่ีใช้ตรวจได้ดีที่สุด เพราะมีลักษณะบางและ
เส้นประสาทมาก บรเิ วณที่มีการอักเสบมกั จะอนุ่ กวา่ และบรเิ วณท่มี ีเลือดมาเลย้ี งน้อยก็จะรู้สึกเย็น
• นอกจากนั้นการคลายังช่วยบอกว่ามีการกดเจ็บ (tenderness) ก้อนมีการเคลื่อนไหว
(movable) หรอื ยดึ ติดแน่น (fixed) ได้อกี ด้วย
3. การเคาะ (Percussion) วัตถุประสงค์ คือ ทาใหเ้ กิดเสียงและความส่ันสะเทือนแล้วจึงฟังดู
ว่าเกิดเสียงลกั ษณะอยา่ งไรการเคาะทาได้ 2 วธิ ี คอื
1. Direct percussion เปน็ การเคาะโดยตรง โดยใช้มือที่งองุ้มเลก็ น้อยเคาะลงไปตรงๆ หรือใช้
เพยี งบางนิว้ เคาะ
2. Indirect percussion เป็นวิธีที่ใช้มากที่สุด สาหรับคนที่ถนัดมือขวา ให้ใช้มือซ้ายวางทาบ
ลงบนผิวหนังของผู้ปุวยแล้วใช้ปลายนิ้วกลางข้างขวาเคาะลงไปบนน้ิวกลางข้างซ้ายที่วางทาบอยู่บน
ผิวหนังผู้ปุวยตรงบริเวณรอยต่อระหว่างข้อนิ้วอันกลางกับปลายสุด เสียงท่ีได้จากการเคาะจะแตกต่าง
กันตามความหนาแนน่ (density) ของสิง่ ท่ีเคาะ เชน่
- Flatness (absulute dullness) เปน็ เสียงทึบมาก เทยี บไดก้ บั การเคาะตน้ ขา
- Dullness เป็นเสียงทึบ เทียบได้กบั เสียงเคาะตรงตาแหน่งของตับ
- Resonance เปน็ เสยี งโปร่ง เทียบได้กบั เสียงเคาะบริเวณปอดทปี่ กติ
- Tympany เป็นเสียงโปร่งมาก เทียบได้กับเสียงเคาะหน้าทอ้ งในรายทีม่ ีแก๊สมาก
4. การฟัง (Auscultation) การฟังท่ีดีจะต้องสังเกตเก่ียวกับความถ่ี (frequency) ความ
หนาแน่นหรือความดัง (intensity) ระยะเวลา (duration) และคุณภาพ (quality) ของเสียงน้ันๆ การ
ฟังเสียงมี 2 วิธี
1. การฟังโดยตรง (direct auscultation) หมายถึง การฟังด้วยหูโดยตรงไม่ผ่านตัวกลางหรือ
เคร่อื งมอื เชน่ ฟังเสียงพดู เสยี งหายใจทดี่ ังผดิ ปกติ
2. การฟังโดยใช้เคร่ืองมือ (indirect auscultation) หมายถึง การฟังโดยผ่านตัวกลางท่ีจะทา
ให้ผ้ตู รวจรับฟังความแตกต่างได้ชัดเจน เครื่องมือที่นิยมใช้เรียกว่า หูฟัง (stethoscope) ประกอบด้วย
3 สว่ น คอื
8
b.
a. ส่วนอก (chest piece) ใช้วางแนบตรงตาแหน่งทจ่ี ะฟังมี 2 ดา้ น คือ
a. - ดา้ นกรวย (bell) ใชฟ้ งั เสยี งความถ่ตี ่า
diaphragm
bell - ดา้ นตลบั (diaphragm) ใชฟ้ งั เสยี งความถ่ีสงู
b. ส่วนหู (ear piece) ควรมขี นาดเหมาะสมกบั ช่องหแู ละใส่เข้าในแนวทถี่ ูกตอ้ ง
c. c. ทอ่ ยาง (tubing) รขู องท่อยางควรมีเส้นผา่ ศนู ยก์ ลางประมาณ 1/8 นิว้ ฟตุ และยาว
ไมค่ วรเกิน 1 ฟุต เพอื่ การนาเสียงท่ีดี
การตรวจรา่ งกาย ในที่น้ีจะขอกล่าวแยกตามหัวขอ้ ดังต่อไปน้ี
- การสารวจทัว่ ๆไป (General Survey)
- การตรวจทางระบบประสาท (Nervous system)
- การตรวจทางระบบกล้ามเนือ้ (Muscle system)
การสารวจท่ัวๆไป (General Survey)
1. State of health ดคู วามสมบรู ณ์ของร่างกาย
2. State of distress ดูการแสดงออกของสีหน้าเหงื่อออกการพยายามปกปูองบริเวณท่ี
เจบ็ ปวด
3. Stature and posture ดรู ปู ร่างและท่ายืนเดนิ (gait) อตั ราสว่ นระหว่างแขนขาส่วนสูง
4. Weight ดวู ่าอว้ นหรอื ผอมเปรียบเทียบกบั นา้ หนกั มาตรฐาน
5. Personal hygiene ดูสุขวิทยาส่วนบคุ คลการแต่งกาย
6. Speech, mood, state of awareness and consciousness ของผู้ปวุ ย
7. Vital signs
a. ชีพจร (Heart rate) วิธีที่ใช้บ่อย คือ การตรวจโดยใช้ปลายนิ้วชี้และน้ิวกลาง
สัมผัสเบาๆ ท่ี radial artery (บริเวณข้อมือ) นอกจากนั้นสามารถตรวจได้ท่ี common
carotid artery (บริเวณข้างแนวกลางลาคอ) superficial temporal artery (บริเวณหน้าหู)
หรอื brachial artery (บรเิ วณใต้ biceps tendon) เปน็ ต้น ค่าปกติอยู่ระหว่าง 60-100 คร้ัง/
นาที ถ้าค่ามากกว่า 100 ครั้ง/นาที เรียกภาวะนี้ว่า tachycardia ถ้าน้อยกว่า 60 คร้ัง/นาที
เรียกภาวะน้ีว่า bradycardia (ในผู้ที่ออกกาลังกายเป็นประจาหรือผู้ปุวยท่ีทานยากลุ่ม beta-
blocker อาจพบว่านอ้ ยกว่า 60 ครง้ั /นาทไี ด้)
b. อัตราการหายใจ (Respiratory rate) สามารถสังเกตดูการเคล่ือนไหวของ
หนา้ อกผู้ปุวยหรอื ใชห้ ฟู ังบรเิ วณ upper sternum คา่ ปกตปิ ระมาณ 14-20 ครั้ง/นาที
c. ความดันโลหิต (Blood pressure) ควรพัน cuff เหนือ brachial pulse ขึ้นมา
ประมาณ 1.5 ซม. Cuff ที่เหมาะสมควรมีขนาดความกว้างประมาณ 2/3 ของความยาวเส้น
รอบแขนผู้ปุวย ค่าปกติของความดันโลหิตซึ่งรายงานเป็น systolic blood pressure (SBP) /
diastolic blood pressure (DBP) มีค่าไม่เกินประมาณ 140-90/90-60 มิลลิเมตรปรอท ค่า
9
ความแตกต่างระหว่าง SBP และ DBP เรียกว่า pulse pressure มีค่าอยู่ระหว่าง 30-70
มิลลเิ มตรปรอท
d. อณุ หภูมริ ่างกาย (Temperature) ตาแหน่งทีใ่ ชว้ ดั ได้แก่ ใต้ล้ิน รักแร้และทวาร
หนัก ตาแหน่งที่ใช้บ่อย คือ ใต้ล้ิน ซึ่งมีค่าปกติประมาณ 36-37.5 องศาเซลเซียส ถ้าวัดทาง
รักแร้จะมคี า่ ต่ากว่าประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส และจะสูงข้ึนประมาณ 0.5 องศาเซลเซียสถ้า
วดั ทางทวารหนัก
สญั ญาณชพี และการตรวจร่างกาย
- การประเมินสัญญาณชีพ
- การตรวจรา่ งกายทั่วไป
- การตรวจเฉพาะโรค
1) การประเมินสัญญาณชีพ
อุณหภมู ิ (T)
การอา่ นค่าอณุ หภูมใิ นร่างกาย
ค่าปกติ = 36.2-37.4 องศาเชลเซยี ส
- ถา้ <35 องศาเชลเซยี ส ผูป้ ุวยจะเสียชวี ิต
- ถา้ ≥43 องศาเชลเซียส ผู้ปุวยอาจเสยี ชวี ิตได้
- ถ้า ≥38.5 องศาเชลเซียส แสดงวา่ มีการตดิ เชื้อ
- ถา้ >40 องศาเชลเซียส ผปู้ ุวยอาจมีอาการชกั
การวดั อณุ หภูมใิ นรา่ งกาย
- ทางปาก อมใต้ลน้ิ เป็นเวลา 3-5 นาที
- ทางรกั แร้ สอดใตร้ กั แร้นาน 5-10 นาที
(ค่าจะต่ากว่าทางปากประมาณ 0.5 องศาเชลเซยี ส)
- ทางทวารหนัก สอดเข้าทางทวารหนักนาน 1-2 นาที
ชพี จร (P.R.)
ค่าปกติ ประมาณ 60-80 คร้ัง/นาที ในผ้ใู หญ่
ในเด็กเล็กประมาณ 90-130 ครัง้ /นาที
ในทารกประมาณ 120-130 ครง้ั /นาที
10
อัตราการหายใจ (R.R.)
คา่ ปกติ = 12-20 คร้ัง/นาที
ถา้ มากกวา่ 20 ครั้ง/นาที ภาวะหอบ
ถา้ น้อยกว่า 12 คร้งั /นาที ภาวะหายใจลาบาก
ความดันโลหิต (B.P.)
ค่าปกติ ไมเ่ กิน 140/90 มลิ ลเิ มตรปรอท
ค่าชว่ งบน = ค่าของหัวใจ บบี ไล่เลอื ดแดงไปเลี้ยงร่างกาย
ค่าช่วงลา่ ง = ค่ากาลังเลือด ไหลกลบั เขา้ สหู่ ัวใจ
2) การตรวจร่างกายทั่วไป
ศรี ษะ: ลกั ษณะรปู รา่ ง บวม ยุบ ขม่อม (ในเด็ก) ปกติ
ผม: มนั แวว เป็นประกาย ไมห่ ลดุ งา่ ย
ผิวหนัง: ความยดื หย่นุ บวม บาดแผล ผื่น ตมุ่ แดง
เล็บ: ซีด ผิดรูป มจี ดุ ขาว มลี าย/เปน็ เส้น
ตา: ลักษณะรปู ร่าง สี ความใส การมองเหน็ ชดั ทา่ เดิน
ห:ู ลกั ษณะรูปรา่ ง เป็นแผล บวม การได้ยินชัดเจน
จมกู /โพรงจมูก: มีน้ามกู อักเสบ เจ็บโพรงจมกู แน่นจมูก หายใจไมโ่ ลง่
ช่องปาก คอ ฟัน: แดง บวม เป็นฝูา เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ เป็นหนอง ฟันผุ มี
กลนิ่ เหล้า กล่นิ เหมน็ เน่า
มอื /เทา้ : รอ้ น เยน็ เปน็ ผื่นแดง อกั เสบ
ตอ่ มนา้ เหลือง: โต
ไทรอยด์: โต
ลกั ษณะทอ้ ง: โต ตงึ มีแผลผ่าตัด ท้องอืด ตับโต ม้ามโต มีก้อนในท้อง เสียว
ในลาไส้
การประเมินสภาพท่ัวไปกอ่ นทาการนวด
- ตรวจดลู ักษณะโดยทัว่ ไป บวม แดง
- คลาบริเวณที่มีอาการ สัมผัสความร้อน เย็นของผิวหนัง ก้อน ลา
กลา้ มเน้ือ ความแขง็ เกรง็ คลอนลูกสะบา้
11
- ตรวจดูองศาการเคล่ือนไหวของข้อท่ีมีอาการ :ก้มหน้า-เงยหน้า
หันซ้าย-ขวา เอยี งซา้ ย-ขวา ยกมือข้ึนเหนือหูท้ังสองข้าง ยกมือเท้าสะเอว ยก
มอื ไพล่หลังเขยอ้ื นขอ้ ไหล่ หย่งข้อเข่า กระดกขอ้ เท้า
- วดั ความยาวส้นเท้า
3) การตรวจเฉพาะโรค / เฉพาะที่ (Body chart)
ภาพแสดง Body chart
การตรวจบรเิ วณที่มปี ัญหาเฉพาะท่ี เชน่
- ปวด บวม แดง รอ้ น
- แข็งเกรง็ เปน็ ลากล้ามเนื้อ เปน็ ก้อน
- ความผิดรปู
- ความแขง็ แรงของกล้ามเนอื้
- ความสามารถในการเคลอ่ื นไหวของขอ้
- การรบั ความรสู้ กึ
- ปฏกิ ิริยาสะท้อน (Reflex)
การตรวจทางระบบประสาท (Nervous system)
การตรวจผปู้ ุวยทางระบบประสาท โดยท่วั ไปมีเครื่องมือทจี่ าเปน็ ดงั น้ี
1. Stethoscope 2. Reflex hammer
3. Ophthalmoscope and Otoscope 4. Tuning forks 256 C and 128 C
5. ไฟฉาย 6. สาลี
7. เขม็ กลดั ซอ่ นปลายอันใหญข่ นาดเหมาะมือ ใชต้ รวจความร้สู ึกเจ็บ
8. หลอดแก้วใช้บรรจุน้าอุน่ และน้าเยน็ อย่างละหลอด
9. ไมก้ ดล้ิน
10. ขวดเล็กๆบรรจุสารทดสอบการรับกลนิ่ และรบั รส
12
11. เข็มหวั สขี าวสาหรับการตรวจลานสายตา
12. two-point discriminator
13. stereognosis
14. Snellen’s type chart and Jaegar type card สาหรับตรวจความชดั ของสายตา
สง่ิ ที่ตอ้ งทาการตรวจ ไดแ้ ก่
• Consciousness
• Cranial nerves
• Motor system
• Sensory system
• Reflex
• Meningeal sign
Consciousness
ผู้ปวุ ยท่มี ีพยาธสิ ภาพในระบบประสาทสว่ นกลางหรือโรคทางระบบต่างๆท่ีมีผลต่อการ
ทาหน้าทข่ี องระบบประสาทสว่ นกลางอาจมกี ารเปล่ยี นแปลงในระดับความร้สู กึ ตัวได้ตามลาดับ
ดังนี้
1. Confusion ผู้ปุวยจะมีลักษณะเช่ืองช้ารู้สึกสับสนไม่มีความต้ังอกต้ังใจทางาน
ความรสู้ ึกตอบสนองตอ่ สง่ิ แวดล้อมลดลง
2. Drowsy ผู้ปุวยจะสะลึมสะลือถ้ามีส่ิงกระตุ้นภายนอก (external stimuli) ผู้ปุวย
จะมกี ารตอบสนองบา้ งเชน่ การต่อตา้ นแตพ่ อหยุดกระตนุ้ ผ้ปู วุ ยกจ็ ะซมึ หรือหลับไป
3. Stupor จะมีการลดลงของ mental and physical activity อย่างมากมีการ
ตอบสนองต่อ external stimuli ลดลงไปอกี ตอ้ งใช้การกระตุ้นท่รี ุนแรงมากขึน้
4. Delirium ผู้ปุวยจะมี confusion ร่วมกับอาการกระวนกระวายและอาการ
ประสาทหลอน (hallucination)
5. Semicoma ผู้ปุวยจะไม่ค่อยรู้ตัวเมื่อกระตุ้นด้วย stimuli ท่ีรุนแรงผู้ปุวยจะมีการ
ตอบสนองได้แต่เป็นแบบ unpurposeful ในพวกนี้ reflex ตา่ งๆยงั คงอยู่
6. Coma ผู้ปุวยไมต่ อบสนองต่อ stimuli เลยไมว่ ่าจะเปน็ ความเจ็บปวดขนาดใด เช่น
การกดบริเวณกระบอกตา ซ่ึงทาให้เกิด deep pain หรือการกดบริเวณโคนเล็บมือเล็บเท้า
ผู้ปวุ ยกไ็ ม่มีการตอบสนอง reflex ตา่ งๆจะหายไปหมด
Cranial nerve
1. Olfactory nerve ทาหน้าท่ีเก่ียวกับการได้กล่ินให้ผู้ปุวยหลับตาแล้วดมสาร
บางอยา่ งซ่งึ ไม่มีพิษระคายกับเยอ่ื บใุ นจมูกและเป็นกลิ่นท่ีคนท่ัวๆ ไปรู้จักแล้วให้บอกว่าได้กล่ิน
อะไรหรอื ไม่เชน่ ดมกลนิ่ ไม้ขดี ที่ดับใหม่ๆ
13
2. Optic nerve ทาหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นอาจตรวจคร่าวๆโดยปิดตาทีละข้าง
แล้วใหน้ ับนวิ้ หรืออาจใช้ Snellen’s chart ทเ่ี ปน็ ตัวอกั ษรหรือรูปภาพก็ได้
3. Oculomotor nerve ทาหน้าที่เกี่ยวกับการหดตัวของ pupils การยกเปลือกตา
บนข้ึนการกลอกตาแทบทกุ ทางยกเวน้ ท่ีควบคมุ โดย cranial nerveที่ 4 และ 6
4. Trochlear nerve ทาหน้าที่เก่ียวกับการกลอกตาลงข้างล่างและเข้าด้านใน
(downward inward)
5. Trigeminal nerve มี 2 สว่ น
- Motor supply กล้ามเนื้อ temporal บริเวณขมับและ masseter
muscle ทท่ี าหนา้ ทหี่ บุ ปาก
- Sensory รับจากบริเวณใบหน้าท้ังหมดแบ่งได้ 3 divisions ย่อยคือ
ophthalmic, maxillary, mandibular division
6. Abducens nerve ทาหน้าที่เกี่ยวกับการกลอกตาไปทางด้านข้าง (lateral) ซึ่ง
การตรวจ nerve 3, 4, 6 จะสามารถทาไปด้วยกันได้โดยให้ผู้ปุวยมองตามน้ิวมือของผู้ตรวจใน
ทศิ ทางต่างๆ
7. Facial nerve
- Motor supply กล้ามเน้ือของใบหน้าทั้งหมดท่ีรวมเรียกว่า muscle of
expression ตรวจไดง้ ่ายๆโดยใหผ้ ู้ปุวยหลบั ตายงิ ฟันยกั คว้ิ
- Sensory รับความรู้สึกจาก anterior 2/3 ของลิ้นตรวจได้โดยให้ผู้ปุวยใช้
ปลายน้ิวแตะสารบางอย่างทีม่ ีรสเช่นหวานเผ็ด
8. Acoustic nerve ทาหน้าที่เก่ียวกับการได้ยิน (cochlear division) และการทรง
ตวั ของร่างกาย (vestibular division)
- Cochlear division การตรวจละเอียดต้องอาศัยส้อมเสียงแต่อาจตรวจ
ครา่ วๆโดยการกระซบิ เบาๆขา้ งหแู ลว้ สงั เกตวา่ ผู้ปุวยได้ยนิ หรือไม่
- Vestibular division ตรวจโดยดูการทรงตัวของผู้ปุวย
9. Glossopharyngeal nerve
- Sensory รับความรู้สึกจากบริเวณ pharynx และด้านหลัง posterior 1/3
ของลิ้นรวมทงั้ รสดว้ ย
- Motor เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเน้ือบริเวณคอหอยตรวจดู Gag
reflex
10. Vagus nerve
- Sensory บริเวณ pharynx และ larynx
- Motor บริเวณ palate, pharynx และ larynx
- การตรวจมักตรวจควบคู่ไปกบั cranial nerve 9
14
11. Spinal accessory nerve
- Motor เล้ียงกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ที่ทาหน้าที่หันหน้าและ
trapezius muscle ทที่ าหน้าทย่ี ักไหล่
12. Hypoglossal nerve ทาหน้าที่เกย่ี วกบั การเคล่ือนไหวของลิน้
Sensory System
สังเกตความสามารถรับรู้ต่อส่ิงกระตุ้น (Stimulating) เปรียบเทียบบริเวณสองข้างที่
สมมาตรกันและเปรียบเทียบระหว่างส่วนต้นกับส่วนปลายเข่นแขนกับมือโคนขากับเท้าตรวจ
ตามส่วนของร่างกายที่ถูกเล้ียงด้วย sensory nerve เส้นต่างๆ โดยตรวจตามลักษณะของ
receptors ตา่ งๆ
• Pain: โดยอาศยั เขม็ หมดุ หรือเข็มกลัดซ่อนปลาย
• Temperature: อาศัยหลอดแก้วใส่นา้ อนุ่ และนา้ เย็นแตะบริเวณตา่ งๆ
• Touch: ใชส้ าลแี ตะเบาๆ
• Vibration: ใชส้ ้อมเสยี งเคาะแลว้ แตะบริเวณปุมกระดกู ตามข้อต่างๆ
• Position: ให้ผู้ปุวยหลับตาแล้วจับปลายนิ้วมือกระดกข้ึนลงและถามผู้ปุวยว่าอยู่ใน
ทา่ ใด
• Stereognosis: ให้ผู้ปุวยหลับตาแล้วกาวัตถุบางอย่างเช่นกุญแจเหรียญและให้บอก
วา่ เปน็ อะไรหรอื ใหห้ ลับตาแลว้ เขยี นเลขบนฝุามือ
Reflex
การตรวจ reflex มี 2 ลกั ษณะไดแ้ ก่
• Deep tendon reflex
- Biceps โดยเคาะบริเวณด้านหน้าของแขนพับเล้ียงโดย cervical nerve
5,6
- Triceps โดยเคาะบริเวณด้านหลังของแขนเหนือศอกเล็กน้อยเลี้ยงโดย
cervical nerve 7, 8
- Knee jerk โดยเคาะบรเิ วณเข่าเลย้ี งโดย lumbar nerve 2, 3, 4
- Ankle jerk โดยเคาะบรเิ วณขอ้ เทา้ ด้านหลงั เลย้ี งโดย sacral nerve 1, 2
การตอบสนองของกล้ามเนือ้ เม่ือเคาะบรเิ วณใกล้ขอ้ ต่างๆแบ่งเป็น 4 ระดบั (Grade)
Grade 0 ไม่มกี ารตอบสนองเลย
Grade 1 มีการตอบสนองเลก็ นอ้ ย
Grade 2 ปกติ
Grade 3 ไวกว่าปกติ
Grade 4 ไวมาก
15
• Superficial reflex
- Corneal reflex ใช้สาลีขมวดให้เล็กแล้วแตะตาบริเวณ limbus จะพบมี
การกระพริบตาสมั พันธ์กบั cranial nerve 5, 7
- Light reflex ใช้ไฟส่องในตาจะพบมีการหดตัวของ pupils สัมพันธ์กับ
cranial nerve 2, 3
- Cremasteric reflex ใช้วัตถุทื่อๆขีดทางด้านในของต้นขาจะมีการหดตัว
ของ testis ข้ึนไปขา้ งบนสมั พันธก์ บั lumbar nerve 1, 2
- Plantar reflex (Babinski’s sign) ใช้วัตถุขีดบริเวณฝุาเท้าจากส้นเท้าข้ึน
ไปหาน้ิวเท้าน้ิวเท้าจะงองุ้มลงสัมพันธ์กับ lumber nerve 4, 5 และ sacral nerve
1, 2
Meningeal sign
• Neck stiffness เป็นอาการที่ผู้ปุวยไม่สามารถก้มคอมาจรดหน้าอกขณะนอนหงาย
ไดเ้ หมอื นคนปกติพบได้ในผปู้ วุ ยทีม่ ีการอักเสบของเย่ือหมุ้ สมอง
• Kernig’s sign ให้ผู้ปุวยนอนหงายชันเข่าแล้วจับขาเหยียดข้ึนไปตรงๆโดยจับเข่าให้
อย่ใู นแนวด่ิงต้ังฉากกับพ้ืนผู้ปุวยท่ีมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังจะเหยียดขาข้ึน
ไปไม่ได้เพราะเจ็บนอกจากท่ีกล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีการตรวจระบบประสาทและการตรวจ
อวัยวะต่างๆอีกหลายอย่างที่น่าสนใจซึ่งนักศึกษาสามารถหาอ่านได้จากหนังสือเกี่ยวกับการ
ตรวจร่างกายอ่ืนๆเพ่มิ เตมิ
การตรวจทางระบบกล้ามเนือ้ (Muscle system)
หลกั การตรวจกาลงั ของกลา้ มเนือ้
กล้ามเน้ือ (Muscle) มีหน้าท่ีหลัก ทาให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆและช่วยใน
การทรงตวั สามารถแบง่ ประเภทของกล้ามเน้อื ตามการเคล่ือนไหวของข้อได้ ดังน้ี
- Agonist หรือ Prime mover หมายถึง กล้ามเนื้อหลักที่ทาให้เกิดการเคลื่อนไหว
ของขอ้ ในทศิ ทางใดทศิ ทางหน่ึง
- Antagonist หมายถึง กล้ามเนื้อที่ทาให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อในทิศทางตรงกัน
ขา้ มกบั การเคลอื่ นไหวทเี่ กดิ จากการหดตัวของกลา้ มเนอื้ หลัก
- Synergist หมายถงึ กล้ามเนอื้ ที่หดตวั พรอ้ มๆ กับกลา้ มเนอ้ื หลัก อาจเป็นกล้ามเนื้อ
ที่ทาให้เกดิ การเคลอ่ื นไหวเชน่ เดยี วกัน หรอื ทาใหเ้ กดิ การเคล่ือนไหวทขี่ ้ออ่นื ซึ่งสมั พันธ์กัน
- Fixator หรือ Stabilixer หมายถึง กล้ามเน้ือที่หดตัวเพื่อตรึงการเคล่ือนไหวของข้อ
ที่อย่ตู น้ กว่า ในขณะทก่ี ลา้ มเนือ้ หลกั หดตัว เพ่ือทาใหเ้ กดิ การเคลือ่ นไหวของข้อที่อยถู่ ดั ไป
16
ปัจจยั ทีเ่ ก่ยี วข้องกบั การตรวจกาลังของกล้ามเน้อื
1. มีกล้ามเนื้อหลายมัดที่หดตัวพร้อมๆ กัน และทาให้เกิดการเคล่ือนไหวของข้อใน
ทศิ ทางเดียวกนั
2. กล้ามเนื้อหลายมัดท่ีทาให้เกิดการเคล่ือนไหวของข้อเพียงข้อเดียว (one-joint
muscle) เชน่ กล้ามเน้อื Deltoideus, Brachialis, Gluteus maximus และ Soleus เปน็ ต้น
3. กล้ามเน้ือบางมัดสามารถทาให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อมากกว่าหนึ่งข้อ (Multi-
joint muscle) เช่น กล้ามเน้ือ Flexor digitorum longus, Rectus femoris และ
Hamstrings เป็นตน้
4. เมื่อกลา้ มเนอ้ื ทที่ าให้เกิดการเคล่ือนไหวของข้อเดียว หดตัวพร้อมกับกล้ามเนื้อท่ีทา
ให้เกิดการเคล่ือนไหวของหลายข้อ เราสามารถทาให้การหดตัวหรือการทางานของกล้ามเนื้อ
ชนิดแรกเด่นชัดขึ้น โดยการทาให้กล้ามเนื้อชนิดหลังอยู่ในลักษณะที่เสียเปรียบเชิงกล
ตวั อยา่ งเชน่
- การงอเข่าในขณะเหยียดข้อตะโพกทาให้กล้ามเนื้อ Hamstrings หย่อนตัวและ
กล้ามเนอื้ Gluteus maximus จะหดตัวไดเ้ ตม็ ท่แี ละทาให้ขอ้ ตะโพกเหยียด
- การหงายปลายแขนและข้อมือในขณะท่ีข้อศอกอยู่ในท่าเหยียด ทาให้กล้ามเน้ือ
Biceps Brachialis ตงึ เกนิ ไป การหงายขอ้ มือจงึ เกิดจากการทางานของกล้ามเนื้อ Supinator
5. ควรคานึงถึงการจัดเตรียมท่า (Starting position) เพื่อให้กล้ามเน้ือที่ถูกตรวจหด
ตัวได้เต็มท่ีและให้เกิดการเคล่ือนไหวของข้อในทิศทางที่ต้องการ โดยอาศัยหลักการทาง
กลศาสตร์ เมื่อกล้ามเน้ือหดตัวในขณะที่แนวแรงดึงต้ังฉากกับกระดูกที่ยึดเกาะ จะทาให้เกิด
แรงดึงต่อกระดูกมากกว่าเม่ือแนวแรงดึงขนานหรือเฉียง นอกจากนี้ เม่ือระยะทางระหว่างแรง
ดึงทีต่ ั้งฉากกับจุดหมนุ ของข้อเพ่มิ มากข้นึ แรงบิด ทเี่ กดิ ขนึ้ ต่อขอ้ น้ันย่ิงเพิม่ มากขึ้น
6. การตรวจกล้ามเนื้อถอดผ่านหลายข้อ ควรหลีกเลี่ยงท่าที่ทาให้กล้ามเน้ือน้ันหย่อน
อกี นัยหนง่ึ คือทาใหค้ วามยาวของกล้ามเน้ือส้ัน ก่อนที่จะหดตัว เพราะจะทาให้กล้ามเน้ือหดตัว
ไดไ้ มเ่ ต็มที่ในทางตรงกันข้าม ควรจัดมุมของข้อก่อนการตรวจให้เหมาะสมเพ่ือให้กล้ามเนื้อนั้น
ยืดออกและตึง ทาให้กล้ามเน้ือหดเกร็งเต็มที่ ท้ังน้ีอาศัยหลักการทางสรีรวิทยาเก่ียวกับความ
ยาวของกล้ามเนอ้ื และความตงึ ตัวของกลา้ มเน้อื
7. การตรวจกาลังของกลา้ มเน้ือ (Strength) ด้วยมือ เป็นการตรวจแรง ที่เกิดจากการ
หดตัวของกล้ามเน้ือมัดหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง ทาให้เกิดการเคล่ือนไหวของข้อ นั่นคือ ในช่วงแรก
ควรตรวจการเคล่ือนไหวของขอ้ ทเ่ี กดิ จากการหดตวั ของกล้ามเนื้อแบบ Isotonic contraction
และถ้ากล้ามเน้ือมีกาลังมากพอ จึงตรวจดูว่ากล้ามเนื้อนั้นสามารถเกร็งต้านแรงได้มากน้อย
เพียงใด น่ันคือตรวจกาลังกล้ามเนื้อในขณะที่ข้อไม่เคลื่อนไหว หรือท่ีเรียกว่า Isometric
contraction (Resisted)
17
8. ในขณะตรวจกาลังของกล้ามเนื้อ ถ้าใช้แรงต้านท่ีมากเกินกาลังของกล้ามเน้ือชนิด
น้ันที่ทาให้ข้อเพียงข้อเดียวเคล่ือนไหว กล้ามเน้ือมัดอ่ืนท่ีทาให้เกิดการเคล่ือนไหวในทิศทาง
เดยี วกนั จะหดตวั ช่วยดว้ ย และอาจทาให้การประเมินกาลังของกล้ามเนื้อนั้นผิดพลาดได้ จึงพึง
ระวงั เม่อื ใชแ้ รงตา้ นต่อกลา้ มเนื้อมัดเล็กๆ
9. ควรตรวจการเคลอ่ื นไหวของข้อกอ่ นการตรวจกาลังกล้ามเนื้อเสมอ เพราะข้อท่ีไม่มี
การเคล่ือนไหวเลย อาจเกดิ เนือ่ งจากกล้ามเนือ้ ยึดข้อตดิ (Contracture) หรือเกิดเนื่องจากการ
เกร็ง (Spasticity) ของกล้ามเนื้อท่ีอยู่รอบๆ ข้อ ซ่ึงการยืดกล้ามเน้ืออย่างช้าๆ (Passive
Stretching) ทาให้อาการเกร็งลดน้อยลงและข้อสามารถเคล่ือนไหวได้คล่องย่ิงขึ้น ทาให้
สามารถตรวจแยกสภาวะขอ้ ตดิ หรอื เกรง็ ออกจากการอ่อนแรงหรือเป็นอมั พาตของกล้ามเน้ือได้
10. การตรวจกาลังกล้ามเน้ือ ควรเปลื้องเส้ือผ้าบางส่วนออก เพ่ือจะได้เห็นลักษณะ
ผิดปกติของกล้ามเน้ือที่ลีบ (Atrophy, Wasting) ได้ชัดเจน และสามารถคลาหรือเห็นการหด
เกรง็ ของกลา้ มเนื้อและเอ็นไดช้ ัดเจนยง่ิ ข้ึน
11. ควรใช้มือทง้ั สองขา้ งจับสว่ นตน้ และสว่ นปลายของข้อเสมอในขณะตรวจ ท้ังน้ีเพ่ือ
ช่วยประคองข้อเม่อื กลา้ มเน้อื อ่อนแรง หรอื ช่วยตรึงส่วนตน้ ของข้อไม่ให้มีการเคล่ือนไหว ทาให้
กล้ามเนือ้ ทก่ี าลังถกู ตรวจหดตวั ได้เตม็ ท่ี อีกท้งั ช่วยยับยง้ั การเกดิ Trick movement
12. Trick movement คือ การเคลื่อนไหวของข้อ เม่ือกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือ
หลายมัดมีอาการอ่อนแรง กล้ามเนื้อมัดท่ีเหลือก็ยังหดตัวได้อย่างปกติ ทาให้เกิดการ
เคลื่อนไหวของข้อไดเ้ ชน่ เดิม
13. การให้เกร็งกล้ามเนื้อเต็มที่ ในขณะท่ีกล้ามเน้ืออยู่ในท่าหดสั้นอยู่แล้ว อาจทาให้
เกดิ ตะครวิ (Cramp)
Motor system
เปน็ การตรวจดวู า่ กล้ามเนื้อทางานได้ตามปกติหรือไม่ มีการอ่อนแรงหรือไม่ ทาได้ง่าย
โดยการให้เดินกระโดดบนขาข้างเดียว ให้ทา Flexion และ extension ตามข้อต่อต่างๆโดย
ตา้ นแรงของผู้ตรวจ การวดั power of muscle แบง่ ระดบั ได้เปน็ 5 ระดับ (Grade)
Grade 0 ไมส่ ามารถจะเคลือ่ นไหวไดเ้ ลย
Grade 1 สามารถเคล่อื นได้เล็กน้อย แตเ่ ฉพาะในแนว horizontal
Grade 2 สามารถเคลอื่ นตา้ นแรงดงึ ดูดของโลกตามแนว vertical ได้
Grade 3 สามารถเคลือ่ นตามแนว vertical และตา้ นแรงของผ้ตู รวจได้
Grade 4 สามารถตา้ นแรงของผู้ตรวจได้ปานกลาง
Grade 5 ปกติ
นอกจากนั้นควรตรวจดู ความตึงตัว (tone) ของกล้ามเนื้อด้วยว่ามีลักษณะอย่างไร
เช่น อ่อนปวกเปียก (flaccid) แข็งแกร่ง (spastic) คลาดู muscle mass ด้วยว่ามี atrophy
หรอื ไม่
18
1.1.3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab Examination)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือ การตรวจทางห้องแลบ หรือบางคนเรียกย่อว่า การตรวจ
แลบ (Laboratory investigation หรือ ย่อว่า Lab test) คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยขั้นตอนวิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ท่ีให้การตรวจในห้องตรวจที่เรียกว่าห้องปฏิบัติการ หรือย่อว่าห้องแลบ
(Lab/Laboratory) เช่น การตรวจเลือดต่างๆ การตรวจปัสสาวะ การตรวจอุจจาระ การตรวจน้าไขสัน
หลงั จากการเจาะนา้ ไขสนั หลงั การตรวจเช้อื การตรวจเพาะเชอ้ื
การตรวจทางห้องปฏิบตั ิการเปน็ วธิ ีการหน่ึงของการสบื ค้น ทัง้ นเี้ พื่อ
- ช่วยยืนยันการวินิจฉยั โรคทางคลนิ กิ ของแพทย์
- ช่วยการวนิ จิ ฉยั โรคของแพทย์
- ช่วยประเมินวธิ รี กั ษาและผลขา้ งเคียงจากการรักษา
- ชว่ ยในการติดตามโรค
- ช่วยการประเมนิ สุขภาพผู้ปุวย
ท้ังนี้ ข้อบ่งชี้ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ อาการผู้ปุวย ประวัติทางการแพทย์ต่างๆ ผล
จากการตรวจร่างกาย รวมทง้ั จากดลุ พินิจของแพทย์
1.1.4 การวินิจฉัยโรค (Medical diagnosis)
ช่ือโรคทางหตั ถเวชกรรมแผนไทย แบง่ ได้เปน็ 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มท่ีมีช่ือโรคตามธาตุท้ัง 4 ที่พิการ เช่น โรคมังสังนหารูพิการ (กล้ามเนื้อเส้นเอ็นพิการ)
อฎั ฐิพิการ (กระดูกพกิ าร) ลสกิ าพิการ (น้าไขขอ้ พิการ) เปน็ ต้น
2. กลุ่มที่มีช่ือโรคตามเบญจอินทรีย์ เช่น พรายเลือดพรายย้า เป็นตัวอย่างชื่อโรคท่ีจัดเป็น
พหทิ ธโรโค หรอื โรคทีเ่ กดิ ขึน้ ตามผวิ กาย เปน็ ตน้
3. กลุ่มท่ีมีชื่อโรคตามหมอสมมุติ เช่น ดานเลือด ดานลม มดลูกด่า มดลูกลอย มดลูกตะแคง
ข้อกระดูกเบี่ยง กระดูกเคล่ือน สะบ้าเจ่า สะบ้าจม สันนิบาตตีนตก ลมปลายปัตคาด ลมปราบ ลม
ลาบอง ลมจบั โปง ลมอมั พฤกษ์ และลมอัมพาต เปน็ ต้น
1.1.5 การวางแผนการรักษา (Treatment Plan)
การรกั ษาโรค
1. อาศยั เส้น 10 เสน้ จดุ สัญญาณ 50 จดุ
2. วิธีการนวดรกั ษาจะแบ่งออกเปน็ 3 สว่ น คือ
• กระบวนการ ท่านวด สถานท่ี การวางมอื และนิว้ มอื
• การจา่ ยพลัง โดยอาศัยหลักการแตง่ รสมอื คือ ขนาดของแรงและระยะเวลา
ในการนวดแต่ละจุด
• สูตรนวด การนวดจุดใดก่อน หลัง การนวดซ้าในแต่ละจุด ความถ่ีห่างใน
การนวด
19
3. ผลการรักษา มี 3 ระดบั
• นวดแล้วหาย
• การนวดตอ้ งอาศยั เวลา
• นวดแบบประคับประคอง
ประเมินผลการรกั ษา
ตรวจรา่ งกายเหมือนกอ่ นการรักษาเพือ่ ประเมินอาการและความกา้ วหนา้ ของการรกั ษา
คาแนะนาหลงั การนวด
1. การประคบน้าร้อน
2. งดอาหารแสลง
3. ท่าบรหิ ารเฉพาะสว่ น
4. ห้ามบดิ ดัด สลัด ส่วนที่เป็นโรค
5. พักผอ่ นใหเ้ พยี งพอ
6. หลกี เลีย่ งสาเหตุของโรค
การนดั มารบั การรักษาคร้ังต่อไป (ควรคานงึ ถงึ ระยะความถ่ี-ห่างในการมารบั การรักษา)
การกาหนดระยะเวลา ความถ่ีในการมารับการรักษาน้ัน มีความสาคัญมากในการก่อให้เกิด
ผลดกี ับผปู้ วุ ย ทาให้ผลการรักษาไดผ้ ลดแี ละเรว็ ข้ึน เรื่องนผี้ ูน้ วดจะต้องเป็นผู้พิจารณาแนะนาผู้ปุวยเป็น
รายๆไป ตามความเหมาะสมรวมทัง้ จานวนครง้ั ในการรกั ษา เร่ืองน้ีผู้นวดต้องพิเคราะห์จากอายุโรคและ
อายผุ ปู้ วุ ย ประกอบกบั ผลการรกั ษาทที่ าไปแลว้ มีความก้าวหนา้ มากน้อยเพียงใดตามความเหมาะสม
การซักประวัติเป็นการรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้เร่ืองราวความเจ็บปุวยของผู้ปุวย จัดเป็นการ
รักษาพยาบาลอันดับแรกเพื่อให้ได้ข้อมูลการเจ็บปุวยของผู้ปุวยว่าเป็นอะไรรุนแรงมากน้อยแค่ไหน
เป็นมานานเท่าไร เคยรักษาแล้วหรือยัง ถ้าเคยรักษามาแล้วผลการรักษาเป็นอย่างนอกจากนี้ยังทาให้
ทราบถึงสุขภาพของผู้ปุวยว่าเป็นคนมีสุขภาพอย่างไร สูบบุหร่ี ด่ืมสุรา หรือใช้ยาเสพติดอะไรหรือไม่
ประกอบอาชีพอะไร ฐานะทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร การซักประวัติยังก่อให้เกิดความร่วมมือในการ
รักษาพยาบาลผู้ปุวย เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้ปุวย และเกิดสัมพันธภาพท่ีดีกับผู้ปุวยในการท่ีจะให้
การรักษาพยาบาลต่อไป อีกท้ังผู้ปุวยจะรู้สึกว่าปัญหาของเขาได้รับความสนใจ และมีคนท่ีจะช่วยเหลือ
หรอื อย่างน้อยกม็ คี นเข้าใจหรือเห็นใจ
การซักประวัติผู้ปุวยเป็นศิลปะ (แต่สามารถฝึกได้) ต้องมีประสบการณ์และทักษะในการ
สัมภาษณ์จึงจะได้ข้อมูลท่ีเท่ียงตรงและเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ วินิจฉัย และดาเนินการรักษา
ต่อไป สถานท่ีซักประวัติควรมีความเป็นส่วนตัวเพราะผู้ปุวยอาจไม่ต้องการให้ผู้อ่ืนได้ยินหรือล่วงรู้
นอกจากน้กี ารมบี รรยากาศส่วนตัว ทาใหผ้ ปู้ ุวยสามารถเลา่ เร่อื งไดโ้ ดยไมป่ ดิ บงั ซึง่ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อ
การรักษา
20
ก่อนซักประวัติ ผู้ซักประวัติต้องแนะนาตนเองกับผู้ปุวย เพ่ือให้ผู้ปุวยได้รับรู้ว่ากาลังให้ประวัติ
กับใคร ผู้ซักประวัติต้องมีอารมณ์ดีและความรู้สึกท่ีดีต่อผู้ปุวย ไม่รีบร้อนและเร่งเร้าให้ผู้ปุวยตอบและ
ปล่อยให้ผู้ปุวยตอบอย่างอิสระไม่พูดตัดบท ไม่ถามนาและไม่ควรใช้คาถามปลายปิดถ้าหากไม่
จาเป็น เพราะคาถามปลายปิดทาให้ได้ข้อมูลไม่ละเอียด ไม่เพียงพอ และอาจไม่กระจ่างชัดเจนเมื่อได้
ขอ้ มูลแล้ว ให้ผู้ซักประวตั ิบนั ทึกข้อมูลที่ผปู้ วุ ยใหอ้ ยา่ งเป็นระบบ
1.2 บญั ชีรหสั กลมุ่ โรค อาการและหตั ถการด้านการแพทย์แผนไทย (ดา้ นหตั ถเวชกรรมไทย)
รหัสการแพทย์แผนไทยนี้ถูกสร้างข้ึนเป็นส่วนหน่ึงของรหสั ICD-10-TM (บัญชีจาแนกโรค
ระหว่างประเทศ ฉบับแก้ไขคร้ังที่ 10 ดัดแปลงสาหรับประเทศไทย) โดยประกอบด้วยทั้งรหัสการ
วินิจฉัยโรคและอาการและรหัสหัตถการ เพ่ือตอบสนองความต้องการของแพทย์แผนไทยที่ต้องการมี
รหัสการวินิจฉัยและหัตถการเป็นของตนเอง ซ่ึงจะสร้างประโยชน์อย่างยิ่งในงานรวบรวมเวชสถิติ เพ่ือ
การพัฒนาและเสริมสร้างมาตรฐานการแพทย์แผนไทย ในหนังสือเรียนเล่มน้ีได้ยกมาให้ดูในส่วนของ
รหัสกลุ่มโรค อาการและหัตถการด้านหัตถเวชกรรมไทยพร้อมเปรียบเทียบกับโรคทางแผนปัจจุบัน
เพอ่ื ให้นกั ศกึ ษาไดน้ าไปปรบั ใชใ้ นการฝึกปฏิบัตงิ านเชงิ วิชาชพี และการปฏติ ิงานต่อไปในอนาคต
ตารางเปรียบเทยี บโรคทางหัตถเวชกรรมไทยกับโรคทางแผนปจั จบุ ัน (ICD 10 TM)
ท่ี โรคทางเวชกรรมไทย รหัสโรค วินจิ ฉัยโรคทางแผนปัจจบุ ัน รหสั โรค
1. สตรหี ลังคลอดมนี ้านมน้อย O924
2. สตรีหลงั คลอดไมม่ ีนา้ นม U504 Hypogalactia O923
3. โรคดานเลอื ด N921
4. มดลกู ต่าหรอื หยอ่ น U505 Agalactia N814
5. มดลูกลอย N814
6. มดลกู ตะแคง U522 Metrorrhagia N739
7. ลมปลายปัตคาตบา่ M7901
8. ลมปลายปัตคาตแขน U5230 Prolapse Uteri M6253
9. ลมปลายปัตคาตข้อศอก M7712
10. ลมปลายปตั คาตข้อมือ U5231 Prolapse Uteri M7793
11. นิว้ ไกปนื M6531
12. ลมปลายปตั คาตขา U5232 Pelvic Inflammatory disease M7906
13. ลมปลายปตั คาตสน้ เท้า M7927
14. ลมปลายปัตคาตโคง้ คอ U5720 Myofascial pain Syndrome M5422
15. ลมปลายปตั คาต ส.1 หลงั M545
16. ลมปลายปัตคาต ส.3 หลัง U5722 Neuralgia and neuritis forearm M545
17. ลมปลายปตั คาต ส.4 หลัง M7901
U5723 Tennis elbow
U5724 Tendinitis Wrist
U5725 Trigger finger
U5726 Myofascial pain Lower leg
U5727 Plantar Fasciitis
U5730 Cervicalgia
U5731 Lower Back Pain
U5732 Lower Back Pain
U5733 Myofascial pain Syndrome
21
ตารางเปรยี บเทยี บโรคทางหตั ถเวชกรรมไทยกบั โรคทางแผนปจั จุบนั (ICD 10 TM) (ต่อ)
ท่ี โรคทางเวชกรรมไทย รหัสโรค วนิ จิ ฉยั โรคทางแผนปจั จุบัน รหัสโรค
18. ลมปลายปัตคาต ส.5 หลงั M7908
19. ลมปราบแขน U5734 Myofascial pain Syndrome M6253
20. ลมปราบขา M6256
21. ลมปราบหนา้ อก U5740 Muscle atrophy forearm M6258
22. ลมปราบหลงั M6258
23. ลมจบั โปงนา้ เขา่ U5741 Muscle atrophy lower leg M199
24. ลมจับโปงน้าข้อเทา้ M7967
25. ลมจบั โปงแห้งเขา่ U5742 Muscle atrophy M199
26. ลมจับโปงแหง้ ข้อเท้า M7967
27. ลมลาบองกระดูกสนั หลงั U5743 Muscle atrophy M450
28. ลาบอง ส. 1 หลัง M6265
29. ลาบอง ส. 3 หลงั U5750 Knee Arthritis M512
30. อมั พฤกษ์-อัมพาต G819
31. อัมพาตครีงทอ่ น U5751 Ankle Arthritis G822
32. อมั พาตทัง้ ตวั G825
33. อมั พาตแขน U5753 Osteoarthritis Knee G832
34. อมั พาตขา G831
35. อัมพาตใบหนา้ U5754 Ankle Arthritis G510
36. ลมปะกงั G439
37. พารก์ นิ สนั U5764 Ankylosing Spondylitis G20
38. สนั นบิ าตหนังตาตก H024
39. หูออ้ื U5765 Muscle strain Pelvic region and thigh H931
40. หอบหดื J459
41. โรคดานลม U5766 HNP (Herniated Nucleus Pulposus) K590
42. เส่ือมสมรรถภาพทางเพศ N484
43. ไหลต่ ดิ เฉยี บพลนั U6110 Hemiplegia old CVA M750
44. ไหลต่ ดิ เร้อื รงั M750
45. หัวไหลเ่ บี่ยง U6111 Paraplegia M6361
46. ขอ้ ศอกเคล่อื น M7793
47. ข้อมือเคลด็ (เสน้ เอน็ อักเสบ) U6112 Tetraplegia M7793
48. สนั นบิ าตข้อมอื ตก M2133
49. ขอ้ สะโพกเบยี่ ง U6113 Monoplegia of upper limp M7901
U6114 Monoplegia of lower limp
U6115 Bell’s palsy
U612 Migraine
U614 Parkinson’s disease
U625 Ptosis
U630 Tinnitus
U644 Asthma
U6686 Constipation
U675 Impotence
U7100 Acute Adhesive capsulitis of shoulder
U7100 Frozen shoulder
U7101 Muscle strain Shoulder region
U7110 Tendinitis
U7120 Tendinitis Wrist
U7121 Wrist drop
U7130 Myofascial pain Syndrome
22
ตารางเปรยี บเทียบโรคทางหัตถเวชกรรมไทยกบั โรคทางแผนปจั จุบัน (ICD 10 TM) (ตอ่ )
ท่ี โรคทางเวชกรรมไทย รหัสโรค วินิจฉยั โรคทางแผนปจั จุบัน รหสั โรค
50. หัวเขา่ เบี่ยง M6268
U7140 Muscle strain of Knee M6267
M2137
51. ขอ้ เทา้ แพลง U7163 Ankle sprain R252
M626
52. สันนบิ าตเทา้ ตก (ตนี ตก) U7164 Foot drop M4199
D693
53. ตะคริวนอ่ ง U7174 Muscle cramp M7906
M7906
54. คอตกหมอน U7180 Muscle strain of Neck F430
55. โรคกระดูกสนั หลงั คด U7184 Scoliosis
56. โรคพรายเลอื ด พรายย้า U7401 Purpura
57. ยอกเดีย่ ว U7510 Spinal stenosis (Lumbar)
58. ยอกคู่ U7511 Lower Back Pain
59. เครยี ดจากการทางาน U7520 Stress
60. หลังคลอด O924
61. หลังคลอด U504
62. หลงั คลอด U77
63. ส่งเสรมิ สขุ ภาพและการปอู งกนั โรค U77
ภาพแสดง ปกหนา้ และตวั อย่างข้อมลู รหัสโรคทางหัตถเวชกรรมไทย
กล่มุ อาการลมปลายปัตฆาตคอ หลงั และท่ีอ่นื (U57.3)
1.3 แบบฟอรม์ การบันทกึ (คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร)์
23
แบบบันทกึ การฝกึ ปฏิบัติงานเชิงวิชาชพี ชดุ ท่ี .......
การนวดไทย
วันท่ี........./........./..............
เลขท่ีบตั ร...........................
ประวัติ
ช่อื – นามสกลุ ......................................................................................... เพศ........................อายุ..................................
วันเดือนปีเกดิ ...................................................................................... ธาตุเจา้ เรือน........................................................
สถานภาพ.............................. เชือ้ ชาติ........................ สัญชาติ......................อาชีพ ......................................................
ภูมิลาเนาเดิม....................................................................................................................................................................
ท่อี ยู่ปจั จุบนั ......................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
อาการสาคญั ...................................................................................................................................................................
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจบุ นั ...........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
ประวตั ิการเจบ็ ปว่ ยในอดตี .............................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
ประวัตคิ รอบครัว ............................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
ประวตั ิส่วนตัว ................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
ประวัตปิ ระจาเดือน .........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
24
การตรวจสัญญาณชพี R.R…………......./min B.P........................mmHg
T ..............OC P.R................./min BMI………………kg/m2 แปลผล...............................
Wt ............kgs Ht ..................cms
การตรวจร่างกาย
รีแฟลกซ์ (REFLEX) Rt Lt
BICEPS JERK
....................................................................
TRICEPS JERK ....................................................................
....................................................................
KNEE JERK ....................................................................
ANKLE JERK
ผลการตรวจร่างกายทางห้องปฏิบัติหรือการตรวจพิเศษอน่ื ๆ ทพ่ี บ
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
ข้อหา้ มขอ้ ควรระวงั
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
25
การประเมินระดับความเจ็บปว่ ย : กอ่ นการรักษา (0) และหลงั การรกั ษา (X)
การตรวจทางหัตถเวช
1. ................................................................................................................................................................
ปัญหาท่ีพบ กอ่ น........................................................................... หลัง..........................................................................
2. ................................................................................................................................................................
ปญั หาที่พบ กอ่ น........................................................................... หลงั ..........................................................................
3. ................................................................................................................................................................
ปัญหาที่พบ ก่อน........................................................................... หลัง..........................................................................
4. ................................................................................................................................................................
ปญั หาที่พบ ก่อน........................................................................... หลงั ..........................................................................
5. ................................................................................................................................................................
ปัญหาท่ีพบ กอ่ น........................................................................... หลัง..........................................................................
6. ................................................................................................................................................................
ปญั หาที่พบ ก่อน........................................................................... หลงั ..........................................................................
7. ................................................................................................................................................................
ปัญหาทพี่ บ ก่อน........................................................................... หลัง..........................................................................
การวินิจฉัยโรคทางหัตถเวช...........................................................................................................................................
การวนิ จิ ฉัยโรคแผนปจั จุบัน ...........................................................................................................................................
สตู รการรกั ษา
1. ................................................................................................................................................................
2. ................................................................................................................................................................
3. ................................................................................................................................................................
4. ................................................................................................................................................................
5. ................................................................................................................................................................
6. ................................................................................................................................................................
7. ................................................................................................................................................................
8. ................................................................................................................................................................
9. ................................................................................................................................................................
10. ..............................................................................................................................................................
26
การรักษาร่วมอนื่ ๆ (ถา้ ม)ี
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
คาแนะนา 1. ................................................................................................................................................................
2. ................................................................................................................................................................
3. ................................................................................................................................................................
4. ................................................................................................................................................................
5. ................................................................................................................................................................
6. ................................................................................................................................................................
7. ................................................................................................................................................................
8. ................................................................................................................................................................
9. ................................................................................................................................................................
ผลการรกั ษา ( ประเมินโดยผู้นวด )
1. ( ) อาการดขี น้ึ เพราะ................................................................................................................
2. ( ) คงเดิม เพราะ................................................................................................................
3. ( ) แยล่ ง เพราะ................................................................................................................
ความรสู้ กึ ผถู้ ูกนวด 2. ( ) คงเดิม 3. ( ) แย่ลง
1. ( ) อาการดีขน้ึ
ลงชือ่ ............................................................... นกั ศกึ ษา
(...............................................................)
วันท่ี .........../ .............../ ..............
ความสามารถของผูน้ วด (ประเมินโดยอาจารย์ประจาแหลง่ ฝึก)
1. ( ) ดีมาก 2. ( ) ดี 3. ( ) พอใช้
4. ( ) ควรปรับปรุง 5. ( ) อนื่ ๆ ระบ.ุ .....................
ความคดิ เหน็ ของอาจารย์แหล่งฝกึ ................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ ............................................................... อาจารย์ประจาแหลง่ ฝึก
(...............................................................)
.........../ .............../ ..............
27
การตดิ ตามผลการรกั ษาครง้ั ที่ ......... วนั ท่ี………………………………………..
อาการดาเนนิ โรค…………………………………………………………………………………………………………...……………………………..
…………………………………………………………………………………………………………...………………………………………………………..
……..…………………….………………………………………………………………………………………...……………………………………………..
….……................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
การตรวจสัญญาณชพี
T ..............OC
P.R................./min R.R…………......./min B.P. .......................mmHg
Wt ............kgs Ht ..................cms BMI………………kg/m2 แปลผล...............................
ผลการตรวจรา่ งกายทางห้องปฏิบัติหรือการตรวจพิเศษอนื่ ๆ ท่ีพบ
…………………………………………………………………………………………………………...………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………………...…………………………………………………….....
การประเมนิ ระดับความเจบ็ ป่วย : กอ่ นการรกั ษา (0) และหลังการรักษา (X)
การตรวจทางหัตถเวช
1. ................................................................................................................................................................
ปัญหาทพ่ี บ ก่อน........................................................................... หลัง..........................................................................
2. ................................................................................................................................................................
ปัญหาทีพ่ บ ก่อน........................................................................... หลัง..........................................................................
3..................................................................................................................................................................
ปญั หาทพ่ี บ ก่อน........................................................................... หลงั ..........................................................................
4. ................................................................................................................................................................
ปญั หาที่พบ ก่อน........................................................................... หลงั ..........................................................................
5. ................................................................................................................................................................
ปญั หาทพ่ี บ กอ่ น........................................................................... หลงั ..........................................................................
6. ................................................................................................................................................................
ปญั หาทีพ่ บ ก่อน........................................................................... หลัง..........................................................................
7..................................................................................................................................................................
ปญั หาท่พี บ ก่อน........................................................................... หลัง..........................................................................
การวนิ ิจฉยั โรคทางหตั ถเวช ...........................................................................................................................................
การวินจิ ฉยั โรคแผนปัจจุบัน ...........................................................................................................................................
28
สูตรการรักษา
1. ................................................................................................................................................................
2. ................................................................................................................................................................
3. ................................................................................................................................................................
4. ................................................................................................................................................................
5. ................................................................................................................................................................
6. ................................................................................................................................................................
7. ................................................................................................................................................................
8. ................................................................................................................................................................
9. ................................................................................................................................................................
10. ..............................................................................................................................................................
การรกั ษาร่วมอ่ืนๆ (ถ้าม)ี
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
คาแนะนา 1. ................................................................................................................................................................
2. ................................................................................................................................................................
3. ................................................................................................................................................................
4. ................................................................................................................................................................
5. ................................................................................................................................................................
6. ................................................................................................................................................................
ผลการรกั ษา ( ประเมินโดยผ้นู วด )
1. ( ) อาการดีขนึ้ เพราะ................................................................................................................
2. ( ) คงเดิม เพราะ................................................................................................................
3. ( ) แย่ลง เพราะ................................................................................................................
ความรสู้ กึ ผถู้ กู นวด 2. ( ) คงเดมิ 3. ( ) แยล่ ง
1. ( ) อาการดีขึ้น
ความสามารถของผู้นวด (ประเมินโดยอาจารยป์ ระจาแหล่งฝกึ )
1. ( ) ดมี าก 2. ( ) ดี 3. ( ) พอใช้
4. ( ) ควรปรบั ปรงุ 5. ( ) อ่ืน ๆ ระบ.ุ .........................
ลงช่อื …………………………………....... อาจารยป์ ระจาแหลง่ ฝกึ ลงชื่อ …………………………………………… นักศกึ ษา
(…………………………………………) (….……………..…………………………)
........../............./............ .........../............./...........
29
บรรณานุกรม
ณรงค์สักข์ บุญรัตนหิรัญ. (2532). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาหัตเวชกรรมแผนเดิม.
กรงุ เทพฯ: อายรุ เวทวทิ ยาลยั ฯ.
มูลนิธิฟ้ืนฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ โรงเรียนอายุรเวท. (2548). หัตเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบ
ราชสานกั ). กรุงเทพฯ:พิฆเณศ พรน้ิ ทต์ ้งิ เซ็นเตอร์ จากัด.
เพ็ญจันท์ ส. โมไนยพงศ์, คู่มือตรวจผู้ปุวยนอก โตรงการตาราภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะ
แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธบิ ดี มหาวิทยาลยั มหดิ ล, พิมพ์ครง้ั ท่ี 11, 2537
วเิ ชียร โพธ์แิ ก้ว, เอกสารประกอบการสอนเร่ือง “คู่มือการซักประวัติและการตรวจร่างกาย” คณะทันต
แพทย์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่, 2544
วิทยา ศรีดามา, การสัมภาษณ์ประวัติและตรวจร่างกาย โครงการตาราจุฬาอายุรศาสตร์ คณะ
แพทยศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , พิมพค์ ร้ังท่ี 9, 2543
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข. (2558). บัญชีรหัสกลุ่มโรค อาการ และหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย. สานัก
กิจการโรงพมิ พ์ องคก์ ารสงเคราะห์ทหารผา่ นศกึ ในพระบรมราชูปถมั ภ์.
อภิชัย ลลี ะสิริ, วิชยั ประยูรวิวัตน์, กฤษฏา ดวงอไุ ร, สรุ ีย์พร คณุ าไทย, การซกั ประวตั แิ ละตรวจร่างกาย
โครงการตาราวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า, พมิ พ์คร้งั ที่ 1, 2544
Barbara B., Lynn SB., Robert AH.: Physical Examination and History Taking, 6th ed.
Philadelphia, JB Lippincott, 1995.
Henry MS., Jane WB., Joyce ED., G. William B.: Mosby’s Guide to Physical Examination,
3rd ed., St. Louis, Mosby, 1995.
Anne MRA., Ming JL.: Grant’s Atlas of Anatomy, 9th ed., Baltimore, Williams & Wilkin,
1991.
30
บทท่ี 2
การตรวจวนิ จิ ฉยั และตรวจรา่ งกายท่เี กีย่ วขอ้ ง
ทางหตั ถเวชกรรมไทย
วตั ถุประสงคก์ ารเรียนรู้
1. สามารถอธิบายการซกั ประวตั ิและการตรวจรา่ งกาย โรคหัตถเวชกรรมแผนไทยได้
2. สามารถอธบิ ายการซักประวัติและการตรวจรา่ งกายแผนปัจจบุ ันท่ีเกีย่ วข้องกับการนวดแผน
ไทยได้
หัวเรื่อง
2.1 การตรวจวินิจฉยั โรคทางหัตถเวชกรรมแผนไทย
2.2 ตรวจรา่ งกายทเี่ ก่ยี วข้องทางหัตถเวชกรรมไทย
- การตรวจร่างกายทางระบบประสาท (Nervous system)
- การตรวจทางระบบกลา้ มเนื้อ (Muscle system)
- การตรวจรา่ งกายทางระบบกระดูกและข้อต่อ (Skeleton and Articulation
system)
2.3 การตรวจรา่ งกายทางออร์โธปดิ ิคส์
2.4 การประเมินสภาพผปู้ ่วยกอ่ นนวด
31
การตรวจวนิ ิจฉัยและตรวจร่างกายทเี่ กยี่ วขอ้ งทางหัตถเวชกรรมไทย
2.1 การตรวจวนิ จิ ฉยั โรคทางหตั ถเวชกรรมแผนไทย
การตรวจวินิจฉัยโรคทางหัตถเวชกรรม ผู้นวดบาบัดจะประมวลข้อมูลจากการซักถามประวัติ
และการตรวจร่างกายตามท่ีได้ศึกษาจากเวชกรรมแผนไทย เข้ากับศาสตร์แห่งโรคทางหัตถเวชกรรม
เพื่อคน้ หาสมุฎฐาน เชน่ อายุ ฤดู กาล เวลา ถน่ิ ทีอ่ ยู่ และพฤตกิ รรมของผู้เข้ารับการบาบัด ซึ่งมีอิทธิพล
ต่อการเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบต่อความสมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย เม่ือได้ข้อมูลแล้ว ผู้นวด
บาบัดก็จะทาการวินิจฉัยตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยว่าเป็นโรคอะไร และวิเคราะห์ว่าโรคน้ันเกิด
จากสมุฎฐานกองธาตใุ ด พิกดั อะไร ธาตุย่อยช่อื อะไร และผดิ ปกติ (กาเริบ หย่อน พิการ) อย่างไร
หลังจากนั้นผู้นวดบาบัดต้องวางแผนว่าจะใช้วิธีการใดในการบาบั ดรักษาให้สอดคล้องกับ
หลักการ จะต้องใช้ยาสมุนไพรหรือไม่ ตารับใด หรือต้องทาหัตถเวชกรรมอะไร หรือต้องใช้ร่วมกัน
เพราะหตั ถเวชกรรมที่ใช้ในการบาบัดรกั ษา นอกจากการนวดไทยแบบราชสานักแล้ว ยังมีหัตถเวชกรรม
อ่ืนรว่ มด้วย เช่น การประคบสมนุ ไพร การประคบนา้ ร้อน และการแปะยา เป็นตน้
ผู้นวดบาบัดควรพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการตรวจวินิจฉัยโรค ด้วยการศึกษา
ขั้นตอน การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และความรู้เกี่ยวกับโรคทางหัตถเวชกรรม เพ่ือเป็นข้อมูล
พ้ืนฐานในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สมุฎฐานของโรค สาหรับประเด็นการซักประวัติและการตรวจ
รา่ งกายประกอบด้วย
2.1.1 การซกั ถามประวตั ิ
การตรวจรักษาผู้ป่วยที่ต้องการรักษาโรคด้วยวิธีการทางหัตถเวชกรรม ผู้นวดบาบัดจะต้อง
ซักถามให้ได้ขอ้ มูลที่สาคัญเพื่อประเมิน อายุคน และอายโุ รค ดงั น้ี
1. อายุคน หมายถึง ขอ้ มูลประวัติท่ีเกี่ยวกับอายุของผู้เข้ารับการบาบัด ทางวิชาหัตถเวชกรรม
อายุคนถือเป็นข้อมูลสาคัญที่มีผลต่อการรักษา เพราะมนุษย์แต่ละช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัย มัชฌิมวัย และ
ปัจฉิมวัย ย่อมมีความสมบูรณ์แข็งแรงแตกต่างกัน ร่างกายหรือธาตุทั้ง 4 ของผู้สูงวัยที่เสื่อมลงทาให้
อทิ ธิพลของธาตลุ มมีมากข้ึน จะทาให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแข็งตึง การฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยก็ช้ากว่า
ปกติ ฉะน้นั การนวดรักษาผู้สงู อายจุ งึ ตอ้ งระมัดระวัง และต้องใช้ศิลปะในการรักษาเปน็ พิเศษ
2. อายโุ รค หมายถงึ ขอ้ มลู เกย่ี วกับระยะเวลาที่มีอาการของโรค หากโรคมีอาการมานาน การ
รกั ษาก็จะยากขึน้ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกบั กล้ามเนือ้ เสน้ เอน็ ถา้ เปน็ เรอื้ รงั เส้นจะแข็งตึง เป็นก้อนเป็นลา
บางรายอาจมีอาการข้อติด การนวดรักษาต้องใช้เวลานานข้ึน ผู้รับการบาบัดท่ีอยู่ในมัชฌิมวัย มีโรคมา
ไม่นาน หรือมีอาการเล็กน้อย การรักษาก็จะหายได้เร็ว แต่ถ้าอยู่ในปัจฉิมวัยและมีโรคมานาน เรียกว่า
คนกแ็ ก่ โรคก็แก่ การรักษาจะมขี ั้นตอนทซ่ี ับซอ้ นมากขึ้น การรักษาให้หายต้องใช้เวลานานขึ้น และอาจ
ตอ้ งกดนวดแนวเสน้ หรอื สญั ญาณเพ่ิมมากข้ึน เพอื่ ให้เลือดลมเดนิ ไดส้ ะดวก
32
2.1.2 การตรวจร่างกาย
ผู้เข้ารับการบาบัดรักษาทุกคนนอกจากจะต้องได้รับการตรวจร่างกายท่ัวไปแล้ว ผู้นวดบาบัด
จะ ต้องตรวจร่างกายเพ่ือเก็บข้อมูลเพ่ิมเติม เพ่ือให้สามารถวินิจฉัยแยกโรคได้ว่า เป็นโรคทางหัตถเวช
กรรมชนดิ ใด การตรวจรา่ งกายสาหรบั โรคทางหัตถเวชกรรมมีหลายจุดประสงค์ ดังนี้
1. ตรวจเพ่ือหาตาแหน่ง/ความรุนแรง/ชนิดของโรค เป็นการตรวจเพ่ือให้รู้ว่าผู้รับการบาบัด
มีความผดิ ปกติท่ีตาแหน่งใด ลกั ษณะเป็นอย่างไร เป็นมากหรือน้อยเพียงใด และเพือ่ แยกว่าเปน็ โรคใด
- ใหช้ ูแขนทั้งสองขา้ งแนบชดิ ใบหู เพอ่ื ตรวจดูว่ามีความผิดปกติที่หัวไหล่หรือไม่ ให้ก้ม
หน้าคางชิดอก เพื่อตรวจดูกล้ามเน้ือคอว่าตึงหรือไม่ การตรวจในลักษณะนี้ทางหัตถเวชกรรม
แผนไทยนิยมเรียกกันวา่ การตรวจองศาของขอ้
- ฟงั เสยี งขณะเขยือ้ นหรือเคล่อื นไหวขอ้ ต่อตา่ งๆ เพ่อื ตรวจดวู ่ามีลมในขอ้ หรอื ไม่
- ตรวจดคู วามร้อน-เย็น ออ่ น-แขง็ ของกล้ามเนือ้ และจุดเจบ็ เพ่ือดตู าแหนง่ ของโรค
- ทาปูนท่ีข้อหรือกล้ามเน้อื เพอื่ ตรวจดอู ุณหภมู ขิ องรอยโรค
- วัดระดับส้นเทา้ เพ่ือตรวจดตู าแหนง่ และชนิดของโรค
2. ตรวจเพื่อทดสอบกาลัง เป็นการตรวจเพื่อดูแรง หรือกาลังของกล้ามเน้ือตามส่วนต่างๆ
ของรา่ งกาย เช่น
- ใหถ้ ีบปลายเท้าต้านกับมอื ของผนู้ วดบาบัด
- ใหย้ ืนเขย่งปลายเท้า
- ใหอ้ อกแรงบบี มอื ของผ้นู วดบาบัด
- ใหอ้ อกแรงดงึ แขนของผ้นู วดบาบัด 3 จังหวะ
3. ตรวจเพ่ือให้รู้กาลังเลือดและลม เป็นการตรวจชีพจรบริเวณข้อมือและหลังเท้าพร้อมกัน
โดยผู้รับการบาบัดจะอยู่ในท่านอนหงาย เพื่อดูลมเบื้องสูง (อุทธังคมาวาตา) และลมเบื้องต่า (อโธคมา
วาตา) ของผ้รู ับการบาบัด
- การตรวจชีพจรบริเวณข้อมือ ผู้ตรวจจะใช้ปลายนิ้วมือ 3 น้ิว (น้ิวช้ี น้ิวกลาง และ
นิ้วนาง) สมั ผัสทีต่ าแหนง่ ชพี จรบรเิ วณขอ้ มือขา้ งซ้ายหรอื ขวา
- การตรวจชีพจรบริเวณหลังเท้า ผู้ตรวจจะใช้ปลายน้ิวมือ 3 น้ิว (น้ิวชี้ น้ิวกลาง และ
น้ิวนาง) สัมผัสที่ตาแหน่งชีพจรบริเวณหลังเท้าข้างซ้ายหรือขวา ตาแหน่งชีพจรนี้ อยู่บริเวณ
ร่องระหว่างน้ิวหวั แมเ่ ท้ากับน้ิวท่สี อง
2.1.3 การวนิ จิ ฉัย
ช่อื โรคทางหัตถเวชกรรมแผนไทย แบ่งได้เป็น 3 กลุม่ คือ
1. กลุ่มท่ีมีช่ือโรคตามธาตุทั้ง 4 ที่พิการ เช่น โรคมังสังนหารูพิการ (กล้ามเน้ือเส้นเอ็นพิการ)
อฎั ฐพิ กิ าร (กระดกู พกิ าร) ลสกิ าพกิ าร (นา้ ไขขอ้ พกิ าร) เป็นต้น
33
2. กลุ่มท่ีมีช่ือโรคตามเบญจอินทรีย์ เช่น พรายเลือดพรายย้า เป็นตัวอย่างช่ือโรคท่ีจัดเป็น
พหิทธโรโค หรอื โรคทเี่ กดิ ข้ึนตามผวิ กาย เปน็ ต้น
3. กลุ่มที่มีชื่อโรคตามหมอสมมุติ เช่น ดานเลือด ดานลม มดลูกด่า มดลูกลอย มดลูกตะแคง
ข้อกระดูกเบ่ียง กระดูกเคลื่อน สะบ้าเจ่า สะบ้าจม สันนิบาตตีนตก ลมปลายปัตคาด ลมปราบ ลม
ลาบอง ลมจับโปง ลมอัมพฤกษ์ และลมอัมพาต เปน็ ตน้
2.1.4 การรักษา
หลังจากการตรวจและได้วินิจฉัยโรคแล้ว ผู้นวดบาบัดต้องวางแผนการรักษาว่าโรคน้ันๆ จะ
รกั ษาอยา่ งไร จะใช้วิธกี ารรกั ษาใดจึงจะสอดคล้องกบั หลักการ นอกจากการนวดไทยแบบราชสานักแล้ว
ผู้นวดบาบัดอาจเลือกใช้หัตถเวชกรรมอื่นประกอบการรักษาก็ได้ เช่น การประคบสมุนไพร การทาปูน
การแปะยา การประคบนา้ รอ้ น หรืออาจใช้ยาสมนุ ไพร หรือใช้วธิ กี ารหลายอย่างร่วมกัน
2.2 ตรวจรา่ งกายที่เก่ียวข้องทางหัตถเวชกรรมไทย
2.2.1 การตรวจรา่ งกายทางระบบประสาท (Nervous system)
1) การดูกระดกู สันหลัง
1.1) ดูแนวโครงสรา้ ง
1.1.1) ดูดา้ นหลงั แนวกระดูกสนั หลัง
ปกติ เปน็ แนวตรง
ผดิ ปกติ กระดูกสนั หลังคด (Scoliosis)
กระดกู สันหลังคด
สาเหตุ
1. จากโครงสร้างกระดกู แต่กาเนดิ
2. จากการทางานของโครงสร้างผิดปกติ เช่น กลา้ มเน้ือทา่ ทาง
วธิ ีตรวจ
ปกติแนวเชิงกรานจะต้ังฉากกับกระดูกสันหลัง ดูกระดูกเชิงกรานเปรียบเทียบกับ
ระดบั บา่
*ถ้าแนวระดับเชิงกราน และแนวระดับบ่า สูง / ต่า ข้างเดียวกัน (ขนานกัน)
กระดกู สนั หลงั จะโคง้ รูปตัว S
*ถ้าแนวระดับเชิงกราน และแนวระดับบ่า สูง / ต่า คนละข้าง (ไม่ขนานกัน)
กระดกู สนั หลังจะโค้งรปู ตัว C
- ถ้าผปู้ ่วยนัง่ หรือยืน แล้วกม้ ตัวลงช้าๆ ถ้าคดหายไป สาเหตุเกิดจากกลา้ มเนอ้ื
- ถา้ ผู้ป่วยนัง่ หรือยืน แลว้ กม้ ตวั ลงช้าๆ ถา้ คดไม่หาย สาเหตจุ ากกาเนดิ รกั ษาไม่หาย
หลกั การ
จะปวดข้างท่มี ีการหดตวั และปวดบา่ ข้างที่สงู
34
1.1.2) ดดู ้านข้าง
ปกติ คอ มีลกั ษณะแอ่นหน้า (Cervical lordosis)
อก มีลกั ษณะแอ่นหลัง (Thoracic kyphosis)
เอว มลี ักษณะแอน่ หน้า (Lumbar lordosis)
กระเบนเหนบ็ มีลักษณะแอน่ หลงั (Sacral kyphosis)
ผิดปกติ แอน่ มากเกนิ ไป (Hyper lordosis, Hyper kyphosis)
แอน่ น้อยเกนิ ไป (Hypo lordosis, Hypo kyphosis)
1.2) ดูการเคลื่อนไหว ใหด้ ูว่าเคล่ือนไดม้ ุมปกติหรือไม่ ปวดหรือไม่ ในทา่ ต่อไปน้ี
1.2.1) กม้ -เงย (Flexion-Extension)
กม้
ปกติ ปลายนิว้ ต้องแตะพืน้ คางชดิ อกได้
ผดิ ปกติ ก้มหลังไม่ได้ แสดงว่า มีปัญหาท่ีหลัง หรือกล้ามเน้ืองอเข่า
(Hamstring)
ก้มแล้วปวด แสดงว่า หมอนรองกระดูกไปกดรากประสาท
(Nerve root)
เงย / แอน่ หลงั
ปกติ แอน่ มองเพดานได้
ผิดปกติ แอ่นแล้วปวดมาก แสดงว่ามีปัญหาท่ีข้อต่อกระดูกสันหลัง
(Facet joint) หรอื มีปัญหาทก่ี ลา้ มเน้อื
1.2.2) เอียงซา้ ย-ขวา (Lateral bending)
ปกติ เอยี ง 2 ด้านจะสมดลุ กัน
ผิดปกติ เอยี งไดน้ ้อย แสดงวา่ มีปัญหาทเ่ี อว
เอียงแล้วปวด แสดงว่า มปี ญั หาท่กี ล้ามเน้ือขา้ งที่เอยี ง
เอยี งแลว้ ตึง แสดงวา่ มีเสน้ ตึงดา้ นตรงข้าม
1.2.3) หันซ้าย-ขวา (Rotation)
หนั ซา้ ย-ขวา ได้น้อย แสดงว่า มีปัญหาส่วนอก
ภาพแสดง ความผิดปกติของกระดูกสนั หลงั
35
2) การคลากระดูกสันหลัง
คลารูดลงมาตามแนวกระดูกสนั หลงั (Spinal process) ใหด้ ูในเรือ่ งตอ่ ไปนีข้ ณะรดู
2.1) แนวของกระดูกสนั หลงั
ปกติ จะเรยี งตามแนวตรง
ผิดปกติ ไม่เรียงในแนวเดียวกัน มีเบี่ยง (Deviate) หรือ มีข้ันบันได
(Step) จากการเคล่ือนของกระดูกสันหลังท่อนบนไป
ขา้ งหน้า กรณีน้ีห้ามแอ่นหลังเพราะจะทาให้เคล่ือนมากขึ้น
การกม้ จะเคล่ือนเข้าท่ีเดิม เกรด 1 ไม่กดเส้นประสาท นวด
ได้แตห่ า้ มแอ่นหลัง
2.2) ระยะห่างของข้อต่อ
ปกติ ระยะหา่ งเท่าๆกนั
ผดิ ปกติ ระยะห่างไมเ่ ทา่ กนั
3) การเคาะ การกด
ใช้ปลายนิว้ เคาะเบาๆ ตามแนวตอ่ ไปนี้
3.1) แนวกลางตามกระดูกสันหลัง บนกระดูกสันหลัง หรือเอ็น ถ้าเจ็บ แสดงว่ามี
ปญั หาเสน้ เอน็
3.2) แนวข้าง ขนาบสันหลัง บนกล้ามเน้ือชิดกระดูก และข้อต่อด้านหลังกระดูกสัน
หลัง (Facet joint) ถ้ากดกล้ามเน้ือเจ็บ จะมีอาการปวดร้าวแบบเจ็บกล้ามเน้ือ ถ้ากดเจ็บ
Facet joint เจ็บ จะมอี าการปวด สะดุ้ง
3.3) กดน้าหนักลงบนศีรษะ (Cervical compression
test) เป็นการตรวจผู้ป่วยที่มีอาการปวดต้นคอ และมีอาการร้าวหรือ
ชาลงแขน และมือ เพื่อแบ่งแยกโรคประสาทไขสันหลัง (ประสาท
สว่ นบน) กบั รากประสาท (ประสาทส่วนล่าง) โดยให้ผู้ป่วยน่ัง ผู้ตรวจ
ใช้มือท้ัง สองขา้ งกดลงบนกลางศีรษะในท่านั่งและคอต้ังตรง (ดังภาพ)
ดูและถามเร่ืองความเจ็บปวดหรืออาการชาว่ามีหรือไม่ ถ้ามีปัญหาที่
รากประสาทจะมีอาการแปล๊บเหมอื นไฟช๊อตลงไปแนวบ่า ภาพแสดง
การกดนา้ หนักลงบนศีรษะ
3.4) Spurling test ตรวจโดยจับศีรษะผู้ป่วยให้หันหน้าไปพร้อมกับเงยคอข้ึน
สงั เกตวา่ มอี าการแปลบ็ เหมอื นไฟช๊อตไปทีใ่ ดหรือไม่ ท่าหันหน้าและเงยคอ จะทาให้กระดูกสัน
หลังกดเบียดกัน มีผลทาให้หมอนรองกระดูกถูกกดด้วย ถ้ามีปัญหาท่ีหมอนรองกระดูก หมอน
รองกระดกู จะปลิน้ ไปกดเส้นประสาท ทาให้มอี าการแปลบ๊ เหมอื นไฟช๊อต
36
4) การตรวจท่เี ก่ียวกับการทางานของระบบประสาท
4.1) การทางานของสมอง ตรวจสอบไดจ้ ากส่ิงต่อไปน้ี
- ถาม ตอบ รูเ้ รื่อง
- รู้บุคคล เวลา และสถานท่ี
- คาพดู ชัดเจน
- ทาตามคาสง่ั ได้ เช่น เอานิ้วแตะจมูก เอามอื จับกนั ยกขึ้นเหนอื ศีรษะ
4.2) อาการเกร็งตามแขน ขา เพ่ือตรวจว่ามีปัญหาท่ีประสาทส่วนบน หรือประสาท
ส่วนล่าง โดยจับศอก หรือ เขา่ งอ-เหยยี ดเรว็ ๆ ถ้ามอี าการเกรง็ ผู้ปว่ ยจะคา้ ง ตอ้ งดัดลง แสดง
วา่ มปี ัญหาท่ีสมองหรือไขสันหลัง (ประสาทส่วนบน)
4.3) ตรวจกาลังของกล้ามเน้ือแขน ขา ตรวจโดยการต้านแรงกล้ามเน้ือ ซึ่งมี
หลกั การตรวจวา่ ตรวจส่วนไหนข้างไหน ผู้ตรวจตอ้ งใช้สว่ นน้ันข้างน้ันของผู้ตรวจสู้แรงด้วย ถ้า
กล้ามเนื้อมัดใดอ่อนแรงหรือไม่มีแรง แสดงว่า รากประสาทเส้นท่ีมาเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดนั้นมี
ปญั หา ซึ่งมีรายละเอียดดงั นี้
ตารางท่ี 1 การตรวจกาลงั ของกล้ามเน้ือแขน ขา
ระดบั ช่ือกลา้ มเนือ้ วธิ ที ดสอบกาลงั กลา้ มเนอ้ื
ประสาท (หน้าท่กี ล้ามเนื้อ) งอนว้ิ กลางแล้วส้แู รงเหยยี ดกับน้ิวกลางผู้ตรวจ
C8 Flexor digitorum superficialis
(งอนว้ิ มือ)
C7 Triceps งอศอกแล้วสู้แรงเหยยี ดศอกออกกับผู้ตรวจ
(เหยยี ดศอก)
C6 Extensor carpi เอาหลังมอื ชดิ กันแลว้ สูแ้ รงกัน
(กระดกข้อมือขน้ึ )
C5 Biceps สแู้ รงงดั ข้อกนั
(งอศอก)
T1 Abductor digiti minimi ใช้นว้ิ ก้อยมอื ขา้ งเดียวกนั สแู้ รงกางออก
(กางน้วิ กอ้ ยออก)
L2 Iliopsoas นั่งงอเขา่ ยกเข่าข้ึนสแู้ รงกับมอื ผตู้ รวจท่กี ดลงเขา่
(งอสะโพก)
L3 Quadriceps น่ังเหยยี ดเข่าตรง สแู้ รงกบั ผู้ตรวจทกี่ ดปลายขาลง
(เหยียดเขา่ )
L4 Tibialis anterior กระดกปลายเทา้ ขึน้ สแู้ รงกบั การกดปลายเท้าลง
(กระดกขอ้ เท้าขึ้น)
L5 Extensor Hallucis longus ดนั สู้แรงกระดกนว้ิ ขึน้ ตรงโคนน้วิ โปง้
(กระดกนิ้วโปง้ เท้าขน้ึ )
S1 Gastrocnemius สู้แรงกบั ตัวเองโดยยนื เขยง่ เทา้ ขา้ งเดียวข้นึ -ลง 5 ครัง้
(กระดกข้อเท้าลง)
37
ภาพแสดง การตรวจกลา้ มเนื้อ Biceps และ Triceps
ภาพแสดง การตรวจกาลงั กล้ามเนอื้ Quadriceps
ภาพแสดง ทดสอบกาลังกล้ามเนื้อกระดกข้อมือ
4.4) การรับความรู้สกึ ตามแขน-ขา
ให้ลูบหนา้ แขน ขา ทั้ง 2 ขา้ ง แลว้ ถามความรูส้ กึ รับรวู้ า่ รู้สกึ พอๆกันหรือไม่ ในผู้ป่วย
อัมพาตสมอง ถ้าสมองรับรู้การสัมผัส แสดงว่ามีแนวโน้มจะเดินได้ เช่น จับนิ้วโป้งดึงข้ึน หรือ
กดลง แล้วผู้ป่วยบอกได้ว่า น้ิวโป้งถูกกดข้ึน ลงได้ถูกต้อง แสดงว่าผู้ป่วยมีโอกาสหาย เดินได้
เป็นต้น
4.5) การสะท้อนของกล้ามเนือ้ (Muscle stretch reflex / Deep tendon
reflex)
การตรวจการสะท้อนของกล้ามเนอื้ บอกถึงปัญหาว่าเกิดที่ระบบประสาทส่วนบนหรือ
ส่วนล่าง โดยการเคาะที่กล้ามเน้ือถ้ามีแรงสะท้อนกลับไวกว่าปกติ แสดงว่า มีปัญหาที่ระดับ
ประสาทส่วนบนถา้ มแี รงสะท้อนกลับเบากวา่ ปกติ แสดงวา่ มปี ัญหาทีร่ ะดับประสาทสว่ นลา่ ง
38
ตารางที่ 2 ระดบั ประสาททส่ี มั พันธ์กับกล้ามเนื้อ และตาแหนง่ ที่ทาการเคาะ มดี งั น้ี
ระดบั กล้ามเน้ือ ตาแหนง่ ท่ีเคาะ
ประสาท Triceps brachii เหนือศอกแขนดา้ นนอก ใหง้ อศอกขณะเคาะ (Triceps reflex)
C7
C6 Brachioradialis และ Extensor carpi ใตศ้ อก ด้านนอก (ขา้ งน้วิ โป้ง) (Brachioradialis)
C5 Biceps brachii เหนือขอ้ พับศอก แขนด้านใน (Biceps reflex)
L3-L4 Rectus femoris ( Quadriceps ) เอน็ ใต้สะบา้ (knee jerk)
S1-S2 Gastrocnemius เอ็นร้อยหวาย (ankle jerk)
ถ้ามีอาการปวดคอให้เคาะทุกตาแหน่ง เพราะถ้ามีปัญหาท่ีไขสันหลังจะไวท้ังซีก (ทุก
ตาแหนง่ ) แต่ถา้ มีปญั หาท่รี ากประสาท จะไวเป็นตาแหน่งๆ ไป
ในการตรวจโดยการเคาะ ตอ้ งให้ผู้ป่วยอยูใ่ นทา่ ท่ีผ่อนคลาย ไม่เกร็ง มิฉะนั้น จะตรวจ
ไมพ่ บ
ภาพแสดง การตรวจปฏกิ ริ ิยาสะทอ้ นของกลา้ มเนื้อ Triceps
ข
ก
ภาพแสดง การตรวจปฏิกริ ิยาสะทอ้ น (reflex) ของ
กล้ามเนือ้ Extensor carpi triceps (ก) และ กล้ามเน้ือ Bicep (ข)
39
กข
ภาพแสดง การตรวจปฏกิ ริ ิยาสะทอ้ นของเอน็ ใตส้ ะบ้า Knee jerk (ก)
และ เอ็นร้อยหวาย Ankle jerk (ข)
4.6) การทดสอบท่ีแสดงว่ามีปัญหาท่ีสมองหรือไขสันหลัง (ระบบประสาทส่วนบน)
โดยทาการทดสอบดังน้ี
4.6.1) Hoffmann’s test จับนิ้วกลางงอปลายน้ิวเล็กน้อย แล้วสะกิดที่
ปลายน้ิวกลางโดยสะกิดจากด้านเล็บมาหน้าน้ิว ถ้าสังเกตเห็นนิ้วโป้งกระดกในขณะ
สะกดิ (flexion response ของนว้ิ มอื และหัวแมม่ ือ) แสดงว่ามีปัญหา
4.6.2) Babinski’s test ใช้วัสดุที่ blunt เช่น ลูกกุญแจหรือส่วนปลายของ
ไม้เคาะรีเฟล็ก (jerk) ขดี ผิวหนังด้านนอกของฝ่าเท้าเบาๆ เริ่มจากส้นเท้ามาหัวแม่เท้า
ถา้ สังเกตเหน็ นิว้ หวั แมเ่ ท้าแอน่ ข้นึ (dorsi flexion) ขณะขดู ลาก แสดงวา่ มปี ญั หา
กข
ภาพแสดง การตรวจปฏิกริ ิยา Babinski
ก. คนปกติ (Normal plantar reflex)
ข. คนทีม่ ปี ญั หาทป่ี ระสาทสว่ นบน (Extensor plantar reflex)
4.7) การทดสอบการกดทบั ของรากประสาทสนั หลัง (ระบบประสาทส่วนลา่ ง)
โดยทาการทดสอบดงั นี้
4.7.1) Straight leg raising test (SLRT) ทดสอบโดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย
แล้วจบั ประคอง ขาข้ึนตรงๆให้สูงถึง 70 องศา ถ้าปวดหลังขณะยกขาข้ึน แสดงว่ามีการ
กดทับอยู่ที่รากประสาท L4-L5 ในบางคร้ังอาการแสดงอาจทาให้ผลการตรวจผิดพลาด
ได้ เน่ืองจากกลา้ มเนอื้ Hamstring ตงึ ดังนัน้ ให้ตรวจด้วย Bowstring ต่อไป